26.09.2015 Views

90 ปี 40 ปี Wat Thai Washington, D.C.

  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.


พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

(สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท)<br />

• ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ชีวประวัติ<br />

พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

(สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท)<br />

ภูมิลำเนา<br />

เกิดเมื่อวันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๗ <strong>ปี</strong>ฉลู ตรงกับวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ บ้านโพนงาม<br />

ต.บ้านค้อ อ.มุกดาหาร จ.นครพนม (ปัจจุบันขึ้นกับ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร) บิดาชื่อ นายจันทร์ มารดาชื่อ<br />

นางมุน<br />

บรรพชา<br />

เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ พัทธสีมา วัดโพธิ์ไทร บ้านโพนงาม อ.มุกดาหาร จ.นครพนม<br />

โดยมี พระอธิการหงษ์ สิทฺธโร เป็นพระอุปัชฌาย์<br />

อุปสมบท<br />

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ศรีแก้ว บ้านคำชะอี<br />

อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยมี<br />

เจ้าอธิการลุน เขมิโย เป็นพระอุปัชฌาย์<br />

พระลำแก้ว าณวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์<br />

พระเพ็ง สุรกฺขิโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์<br />

ได้รับฉายาว่า “ชีวานนฺโท”<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

3


การศึกษา<br />

น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ด.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช<br />

วิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย<br />

หน้าที่การงาน<br />

อดีต<br />

• กองงานเลขานุการ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร<br />

• ครูสอนพระปริยัติธรรม, กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง กิ่งอำเภอคำชะอี<br />

• เจ้าคณะอำเภอคำชะอี จ.นครพนม<br />

• พระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนักวิเวกอาศรม จ.ชลบุรี<br />

• พระวิปัสสนาจารย์ประจำวัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์<br />

• พระวิปัสสนาจารย์วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร (วัดทุ่งสาธิต) กรุงเทพมหานคร<br />

ปัจจุบัน<br />

• เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

• ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

• กรรมการอุปถัมภ์โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

ที่อยู่ปัจจุบัน<br />

<strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.<br />

134<strong>40</strong> Layhill Rd.<br />

Silver Spring, MD 20<strong>90</strong>6 USA<br />

Tel. (301) 871-8660-1 Website : www.watthaidc.org<br />

วัดที่สังกัด วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร<br />

4 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ประสบการณ์การเผยแผ่ในต่างประเทศ<br />

พ.ศ. ๒๕๑๘–ปัจจุบัน อยู่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพระธรรมทูตประจำ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. (๔๐ <strong>ปี</strong>)<br />

พ.ศ. ๒๕๓๖ ร่วมประชุมผู้นำสภาศาสนาโลก ครบรอบ ๑๐๐ <strong>ปี</strong> ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา<br />

พ.ศ. ๒๕๔๑ ร่วมงานฉลองวัดไทยมิวนิค ประเทศเยอรมัน ครบรอบ ๓ <strong>ปี</strong> เยี่ยมวัดไทยในยุโรปอีก<br />

๓ ประเทศ คือ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์, ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษ<br />

พ.ศ. ๒๕๔๔ เดินทางจาริกธรรมท่องแดนพุทธภูมิ นมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ประเทศอินเดีย–เนปาล<br />

พ.ศ. ๒๕๔๗ ร่วมประชุมผู้นำสภาศาสนาโลก ครั้งที่ ๔ ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน<br />

• เยี่ยมสถานทูตไทย ณ กรุงแมดริด ประเทศสเปน<br />

• เยี่ยมสถานทูตไทย ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส<br />

พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมประชุมผู้นำสภาศาสนาโลก ที่เมืองมอนทริออล ประเทศแคนาดา<br />

ผลงานด้านสาธารณูปการในประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นประธานดำเนินการสร้างวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นประธานดำเนินการสร้างอุโบสถวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างวัดป่าสันติธรรม รัฐเวอร์จีเนีย<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างวัดวิเทศธรรมรังษี รัฐแคนซัส<br />

พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นประธานดำเนินการสร้างอาคาร ๘๘ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างวัดป่าธรรมรัตน์ รัฐเพ็นซิลเวเนีย<br />

พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมบีเวอร์เล็ค รัฐนิวยอร์ก<br />

ผลงานเด่นการประพันธ์หนังสือธรรมะ<br />

เป็นพระนักเทศน์ นักเขียน ประจำวารสาร “แสงธรรม” ซึ่งเป็นหนังสือรายเดือนของวัดที่ออกมาเป็นเวลา<br />

สี่สิบ<strong>ปี</strong> โดยใช้นามปากกาว่า “ชีวานนฺโท, ชีวานนฺทภิกฺขุ และหลวงตาชี”ผลงานการเขียนของท่านมีทั้งเป็นนิยาย<br />

ธรรมะ เรื่องสั้น บทความ ถามตอบปัญหา รวมแล้ว กว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง และได้รวบรวมจัดพิมพ์แจกเป็นธรรม<br />

ทานแล้วหลายเล่ม อาทิ แรงกรรม, แรงพยาบาท, สตรีผู้รักธรรม, พระอินทร์เมืองคน, เศรษฐีพิสูจน์พระ, สาร<br />

ธรรมคำกลอนหลวงตาชี, คลายสงสัย เล่ม ๑-๒, คน คน คน เล่ม ๑-๒, ชุดข้อเขียนจากความคิด จำนวน ๒๔<br />

เล่ม, หนังสือสังคมครอบครัว, ครูสี – หลวงตาสอน ซึ่งเป็นการถามตอบปัญหาธรรมะมีผู้อ่านแสงธรรมติดตาม<br />

กันประจำ นอกจากนี้ บทความธรรมะของท่านบางเรื่องได้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์เผยแผ่ พร้อมกันนี้<br />

ท่านได้บันทึกเสียงเทปธรรมะรายการเสียงธรรมจากวัดไทย มีจำนวนหลายร้อยม้วน และนำเปิดทางสถานีวิทยุ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ภาคอินเตอร์เน็ต ทุกวัน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

5


ผลงานด้านการประพันธ์หนังสือธรรมะ<br />

จัดพิมพ์ในโอกาสทำบุญ อายุครบ ๘๐ <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๘<br />

• หนังสือสวดมนต์แปล ฉบับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

• หนังสือชุด คลายสงสัย เล่ม ๑-๒<br />

• หนังสือชุด มงคลชีวิต เล่ม ๑-๒<br />

• หนังสือชุด ๓๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

• หนังสือชุด ๘๐ เรื่อง ๘๐ รส ๘๐ <strong>ปี</strong> หลวงพ่อชีวานันทะ<br />

• หนังสือธรรมะหลวงตาชี ฉบับภาคภาษาอังกฤษ<br />

• หนังสือพรธรรม<strong>ปี</strong>ใหม่ฉบับรวมเล่ม<br />

• หนังสือข้อเขียนจากความคิด ชุด หลวงตาชีลิขิต (ลายมือเขียน)<br />

• หนังสือ “เปิดประตูสู่ยุโรป-จาริกธรรมร่วมประชุมผู้นำสภาศาสนาโลก”<br />

• หนังสือ “คารวะหลวงตาชี จากใจครูอาสาฯ จุฬา ฯ”<br />

ผลงานด้านการประพันธ์หนังสือธรรมะ<br />

จัดพิมพ์ในโอกาสทำบุญ อายุครบ ๗ รอบ (๘๔ <strong>ปี</strong>) พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

• หนังสือ สมุดภาพชีวิตหลวงตาชี เล่ม ๑<br />

• หนังสือ สมุดภาพชีวิตหลวงตาชี เล่ม ๒<br />

• หนังสือ ๗ รอบ ๑๒ ราศี หลวงตาชีแจกกลอนสอนธรรม เล่ม ๑-๒-๓<br />

• หนังสือ The Life and Works of Luangta Chi<br />

• หนังสือ The Lady who loves Dhamma Essay of Luangta Chi<br />

ผลงานด้านการประพันธ์หนังสือธรรมะ<br />

จัดพิมพ์ในโอกาสทำบุญอายุครบ ๘๘ <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

• หนังสือ ๘๘ อายุ ๘๘ ธรรมะ พระวิเทศธรรมรังษี (หลวงตาชี)<br />

• หนังสือ นานาทัศนะ ๘๘ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

• หนังสือ The Life and Works of Luangta Chi<br />

• หนังสือ Dhamma for Life : Essay of Luangta Chi<br />

6 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ผลงานด้านการประพันธ์หนังสือธรรมะ<br />

จัดพิมพ์ในโอกาสทำบุญอายุครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

• หนังสือพระธรรมนำชีวิต ชุด : ครูสี - หลวงตาสอน เล่ม ๓<br />

• ประวัติและผลงาน ๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

• อัตชีวประวัติหลวงตาชี ภาคภาษาไทย<br />

• หนังสือ Dhamma for Life by Luangta Chi<br />

ผลงานด้านสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทย<br />

แม้ว่าหลวงพ่อเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประเทศสหรัฐ<br />

อเมริกา เป็นเวลานานถึง ๔๐ <strong>ปี</strong> ท่านเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธา เผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทยให้มั่นคง<br />

ในอเมริกา แต่ท่านก็ไม่เคยลืมบ้านเกิดเมืองนอน ได้ช่วยอนุเคราะห์ทุนสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม ณ แดน<br />

มาตุภูมิ คือประเทศไทยอยู่เสมอ อาทิ<br />

• ตั้งมูลนิธิ ชีวานันทภิกขุ โรงเรียนบ้านโพนงาม ต.โพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร<br />

• ตั้งมูลนิธิ หลวงตาชี โรงเรียนคำชะอีพิทยาคม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร<br />

• ตั้งกองทุนมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร<br />

• ตั้งกองทุนธรรมรัตน์ เพื่อสร้างศาสนทายาทสืบอายุพระพุทธศาสนา โรงเรียนพระปริยัติธรรม<br />

วัดโสมนัสสันตยาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี<br />

• ตั้งกองทุนสนับสนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร<br />

• สร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านโพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร<br />

• สร้างห้องสมุดโรงเรียนบ้านโพนงาม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร<br />

• สร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านคำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร<br />

• สร้างศาลา ๘๖ <strong>ปี</strong> พระวิเทศธรรมรังษี (หลวงตาชี) มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

วิทยาเขตสุรินทร์ จ.สุรินทร์<br />

นอกจากนี้ยังได้ร่วมสนับสนุนโครงการของหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

7


เกียรติคุณที่ได้รับ<br />

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัล “เสาเสมาธรรมจักร” ในฐานะผู้บำเพ็ญ ประโยชน์ดีเด่นต่อพระพุทธศาสนา<br />

ประเภท “ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ”<br />

พ.ศ. ๒๕๓๘ รับโล่รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์” ในฐานะผู ้บำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ<br />

พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬา<br />

ลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย<br />

พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระวิเทศธรรมรังษี”<br />

เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา ๖ รอบ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒<br />

พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระราชมงคลรังษี” เนื่องใน<br />

วโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

8 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


คำปรารภ<br />

เนื่องในโอกาสมงคลสมัยที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่<strong>ปี</strong>พุทธศักราช ๒๕๑๗ โดยความ<br />

ร่วมแรงร่วมใจและพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้เจริญก้าวหน้าและพัฒนามาโดย<br />

ลำดับ พร้อมทั้งดำเนินกิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครบ ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

ดังนั้น คณะกรรมการ คณะศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ พิจารณาเห็น<br />

สมควรให้มีการจัดงานทำบุญธรรมสมโภช เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสอันเป็นมหามงคลครั้งนี้ รวมเป็น<br />

๓ งานด้วยกัน คือ<br />

๑. สมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

๒. ฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ป.ธ.๔, พธ.ด.) ประธานสงฆ์วัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อน<br />

สมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ “พระราชมงคลรังษี”<br />

๓. ทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี<br />

พระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) หรือหลวงตาชี เป็นพระธรรมทูตไทยผู ้อยู ่ปฏิบัติ<br />

หน้าที่ในประเทศสหรัฐอเมริกานานถึง ๔๐ <strong>ปี</strong>แล้ว ได้ยึดหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<br />

เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตของท่านอย่างหนักแน่นมั่นคง จนเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่เป็นหลักให้แก่คณะสงฆ์ และ<br />

พระธรรมทูตที่ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ และพุทธศาสนชิกชนได้อย่างน่าเคารพศรัทธามิเสื่อมคลาย<br />

ชีวิตของพระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษีนั้น ได้ใช้ชีวิตด้วยการเป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่<br />

ธรรมะอย่างต่อเนื่องเป็นชีวิตที่มีคุณค่าน่าศึกษา เอาเป็นแบบอย่าง สำหรับการเผยแผ่ธรรมนั้น ท่านได้เทศน์<br />

ได้เขียนลงพิมพ์ในวารสาร “แสงธรรม” ซึ่งเป็นหนังสือวารสารรายเดือนของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ตลอด<br />

ระยะ ๔๐ <strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ท่านได้ทำหน้าที่ประกาศและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทุกๆ รูปแบบจนเป็นที่ประจักษ์<br />

เนื่องในโอกาสที่พระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี หรือ หลวงตาชี เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong><br />

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับคณะศิษยานุศิษย์คณะสงฆ์อุบาสกอุบาสิกาวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้<br />

กำหนดจัดงานธรรมสมโภชขึ้นระหว่างวันที่ ๓-๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ มีการจัดงานทำบุญ จัดปฏิบัติธรรม<br />

จัดกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวแล้ว และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการจัดงานครั้งนี้ ได้จัดพิมพ์หนังสือประวัติและผลงาน<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ในรอบ ๔๐ <strong>ปี</strong> รวมทั้งประวัติชีวิตและผลงานของพระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี<br />

เพื่อแจกเป็นธรรมานุสรณ์ในงานครั้งนี้ด้วย<br />

หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของการสร้างวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. และผลงานหลักๆ<br />

๔ ด้าน คือ งานด้านการเผยแผ่ งานด้านการศึกษา งานด้านสาธารณูปการ (ก่อสร้าง) และงานด้านสาธารณสงเคราะห์<br />

ซึ่งได้รวบรวมภาพถ่ายและเรื่องราวในอดีต เพื่อเป็นการแสดงหลักฐาน การพัฒนาการของวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. และเผยแผ่ผลงานการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง งานนี้จะสำเร็จได้ด้วยความเสียสละของท่านผู้มีศรัทธา<br />

คณะศิษยานุศิษย์หลวงตาชี ได้ร่วมจิตร่วมใจ ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งมุทิตาสักการะ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

9


กตัญญูกตเวที ด้วยการได้มีส่วนร่วมในการแสดงผลงานด้านธรรมะของพระเดชพระคุณหลวงตาชีให้ปรากฏ<br />

ในบรรณพิภพ หากว่ามีข้อมูลส่วนใด ขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์ คณะผู้จัดพิมพ์ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และ<br />

ขอคำชี้แนะจะได้พัฒนาปรับปรุงในโอกาสต่อไป แต่หากว่าเกิดกุศลผลความดีจากการพิมพ์หนังสือนี้ ขอน้อม<br />

ถวายเป็นมุทิตาสักการะแด่พระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี ขอได้เจริญรุ ่งเรืองงอกงามไพบูลย์ในร่มพระธรรม<br />

อยู่เป็นร่มโพธิ์ทองในพระพุทธศาสนาตลอดกาลนานเทอญ<br />

พระครูสิริอรรถวิเทศ<br />

ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

บรรณาธิการ<br />

10 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


สารบัญ<br />

ชีวประวัติพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี, สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) ๓<br />

คำปรารภ โดย พระครูสิริอรรถวิเทศ ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๙<br />

ภาคที่ ๑ <strong>ปี</strong>ติพจน์ และสารจากบุคคลสำคัญ ๑๓<br />

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ๑๔<br />

พระพรหมวชิรญาณ ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ๑๕<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ๑๗<br />

พระพรหมสิทธิ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ๑๙<br />

พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี ม.มจร. ๒๐<br />

พระราชพุทธิวิเทศ ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ๒๑<br />

สารจากนายกรัฐมนตรี ๒๒<br />

สารจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ๒๓<br />

สารจากผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๔<br />

สารจากอธิบดีกรมการศาสนา ๒๕<br />

สารจากคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๖<br />

สารจากเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา ๒๗<br />

สารจาก ม.จ.หญิง วุฒิเฉลิม วุฒิชัย ๒๙<br />

สารจากประธานจัดงาน ๙๐ <strong>ปี</strong> คุณครุฑ-คุณสอางค์ สมบัติใหม่ ๓๐<br />

ภาคที่ ๒ ประวัติวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๓๓<br />

๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) ๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๓๔<br />

บทนำ-จุดเริ่มต้นการจัดตั้งวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๓๔<br />

การก่อตั้งสำนักสงฆ์แห่งแรกในเมืองสหรัฐอเมริกา ๓๕<br />

วัดแห่งแรก และพระธรรมทูตชุดแรก ๓๖<br />

วัดแห่งที่สอง และวัดปัจจุบัน ๓๗<br />

Ninetieth years of Phra Rajamongkolrangsi and Fourty years of <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> D.C. ๔๓<br />

เหตุการณ์สำคัญของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๕๑<br />

ประมวลภาพเหตุการณ์สำคัญ ๕๔<br />

พระธรรมทูตที่ปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี ๖๔


รายนามที่ปรึกษา, ประธานสภา, และนายกพุทธสมาคม ๘๓<br />

กฎข้อบังคับของการบริหารวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๙๐<br />

BYLAWS OF WAT THAI WASHINGTON, D.C. ๑๐๙<br />

ประกาศคณะกรรมการอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ในรอบ ๔๐ <strong>ปี</strong> ๑๒๗<br />

ภาคที่ ๓ ผลงานวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ในรอบ ๔๐ <strong>ปี</strong> ๑๔๗<br />

๑. งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๑๔๘<br />

๒. งานด้านการศึกษา ๑๕๒<br />

• ห้องสมุดหลวงตาชี โดย รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ ๑๖๔<br />

• โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในสหรัฐอเมริกา ๑๖๗<br />

• ครูอาสาสมัคร โรงเรียนภาคฤดูร้อน จากอดีต-ปัจจุบัน ๑๗๑<br />

๓. งานด้านสาธารณูปการ ๑๗๙<br />

• ประวัติการสร้างวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๑๙๓<br />

• การสร้างศาลาเอนกประสงค์พระพุทธมงคลวิมลดีซี ๑๙๗<br />

• <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> Importance to American community ๑๙๘<br />

• โครงการสร้างอาคารเอนกประสงค์ ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี ๒๐๐<br />

๔. งานด้านสาธารณสงเคราะห์ ๒๐๘<br />

ภาพพระเถระ และบุคคลสำคัญมาเยี่ยมวัด ๒๐๙<br />

ประมวลภาพกิจกรรมวันสำคัญตลอด<strong>ปี</strong> ๒๒๙<br />

Luang Tha Chi and Me ๒๕๒<br />

มุมมอง แลไปข้างหน้า ดูอนาคตวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ๒๕๔<br />

บทส่งท้าย ๒๕๖


ภาค ๑<br />

<strong>ปี</strong>ติพจน์ และสารจากบุคคลสำคัญ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

13


นวุติวัสสายุวัฒนมงคลกถา<br />

โย โหติ พฺยตฺโต จ วิสารโท จ พหุสฺสุโต ธมฺมธโร จ โหติ<br />

ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี<br />

ส ตาทิโส วุจฺจติ สงฺฆโสภโณ.<br />

ภิกษุใดเปนผูเฉียบแหลม แกลวกลา เปนพหูสูต ทรงธรรม และ<br />

ปฏิบัติธรรมสมควรแกธรรม ภิกษุนั้นเรียกวา ผูทําสงฆใหงาม<br />

(องฺ.จตุกฺก.)<br />

เจาคุณพระราชมงคลรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) เจาอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี., ที่ปรึกษา<br />

สมัชชาสงฆไทยในสหรัฐอเมริกา เปนพระมหาเถระที่ฉลาด แกลวกลา รอบรูในกิจนอยใหญ มั่นอยู<br />

คุณธรรม ปฏิบัติธรรมพระกัมมัฏฐานอยูเสมอ เปนผูทําใหคณะสงฆไทยงดงาม เปนเนื้อนาบุญของ<br />

ประชาชนทั้งหลายในประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

เนื่องในวโรกาสที่คณะศิษยานุศิษยทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและในตางประเทศ ตางพรอมใจ<br />

กันจัดงานสมโภชสัญญาบัตรพัดยศถวายเจาคุณพระราชมงคลรังษี พรอมกับทําบุญฉลองอายุวัฒนมงคล<br />

๙๐ ป ของเจาคุณพระราชมงคลรังษี ขอชื่นชมและอนุโมทนา ในกุศลเจตนาและกตัญูกตเวทิตาของ<br />

คณะศิษยานุศิษยของเจาคุณพระราชมงคลรังษีทุกทานมา ณ ที่นี้ อนึ่งในปนี้ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

จะมีอายุครบ ๔๐ ป ทางคณะสงฆและศรัทธาสาธุชนจึงไดพรอมกันสมโภชวัดไปในคราวเดียวกัน นับเปน<br />

งานบุญกุศลครั้งประวัติศาสตรของคณะสงฆและประชาชนชาวไทยในสหรัฐอเมริกา เปนนาที่ปลาบปลื้ม<br />

ใจ<br />

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสีลสุตาทิคุณ ที่อภิบาลรักษาเจาคุณพระราชมงคลรังษี ใหมี<br />

สุขภาพสมบูรณแข็งแรง เปนมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทยและชาวสหรัฐอเมริกาไปสิ้นกาลนาน และได<br />

โปรดอํานวยพรใหคณะศิษยานุศิษยของเจาคุณพระราชมงคลรังษีผูมั่นในกตัญูกตเวที จงเจริญดวยอายุ<br />

วรรณะ สุขะ พละ เจริญรุงเรืองในธรรมขององคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา ตลอดกาลเปนนิจเทอญฯ<br />

,<br />

(สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย)<br />

เจาอาวาสวัดปากน้ํา<br />

ผูปฏิบัติหนาที่สมเด็จพระสังฆราช<br />

14 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


่<br />

<strong>ปี</strong>ติธรรมกถา<br />

๙๐ พรรษากาลหลวงตาชี<br />

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

ท่านเจ้าคุณ พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ; หลวงตาชี) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทาน<br />

เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชมงคลรังษี” นับเป็นเกียรติมงคลแก่ท่านเจ้าคุณ<br />

แก่การพระพุทธศาสนาและพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ตลอดถึงแก่พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์<br />

ผู้มีความเคารพนับถือในท่านเจ้าคุณ หาที่สุดมิได้<br />

ทั้งนี้ เพราะท่านเจ้าคุณ เป็นพระเถระรัตตัญญู ผู้มีอายุพรรษามากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ท่านเป็นหนึ่ง<br />

ในคณะพระเถระผู้ก่อตั้ง “สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา” ซึ่งเป็นองค์กรการประชุมพระธรรมทูตไทยใน<br />

สหรัฐอเมริกา ที่มีบทบาทสำคัญในการสนองงานคณะสงฆ์ไทย ทำให้งานคณะสงฆ์และวัดไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

เริ่มแต่วัดไทยลอสแองเจลิส จนถึงวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. มีความเจริญมั่นคง จวบจนวัดนี้ได้มีโอกาสฉลอง<br />

วัดครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๘ นี้<br />

โดยที่ บทบาทจริยวัตรและศาสนกิจในการแสดงพระธรรมเทศนาในที่ต่างๆ และการเขียนหนังสือธรรมะ<br />

มากมายหลายเล่มนั้น เป็นเหตุให้คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาถวายสรรพนามท่านว่า “หลวงตาชี” ตามฉายา<br />

“ชีวานนฺโท” ของท่าน แม้ในงานอายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> วันที่ ๙ มิถุนายน ศกนี้ คณะศิษยานุศิษย์และ<br />

ผู้ที่เคารพนับถือในท่าน ได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก ในนาม “ชีวานนฺโท” ถวายเป็นเกียรติมงคลแก่ท่าน ดังที่<br />

เคยปฏิบัติสืบมาเช่นกัน<br />

ท่านเจ้าคุณ เป็นพระเถระที่มีคุณธรรมสูง มีความรู ้ความสามารถ ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติมีความแน่วแน่<br />

มั่นคงในการศึกษาเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ถือองค์ แม้แต่พระผู้น้อยตลอด<br />

ถึงพุทธศาสนิกชนทุกชั้นวัย ก็เข้าถึงได้อย่างใกล้ชิด จึงเป็นที่ยกย่องนับถือของคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชน<br />

ทุกระดับ แม้ในการไปแสดงธรรมหรือไปร่วมปฏิบัติธรรม ณ วัดใดๆ ใกล้หรือไกลก็ตาม ถ้าไม่ติดศาสนกิจสำคัญ<br />

หรือไม่อาพาธ ท่านจะให้ความเมตตาไปทุกวัดทุกแห่ง แต่ถ้าอยู ่ประจำที่วัด ตามปรกติท่านจะตื่นแต่เช้าปฏิบัติ<br />

ธรรมและเดินจงกรม เป็นกิจวัตร เพื่อบริหารร่างกายไปในตัว เพราะฉะนั้น ท่านจึงมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัย<br />

ทั้งปวง<br />

ท่านเจ้าคุณ เป็นพระเถระที่มีความเมตตาต่อพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านสอนให้ชาว<br />

พุทธละเว้นความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และทำใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ ท่านมองชาวพุทธในปัจจุบันนี้เหมือนตกอยู ่ในที่<br />

มืด ไม่ได้รับแสงสว่างทางปัญญา ถึงมีความรู ้ความสามารถ มีปัญญาแต่ถ้ายังขาดคุณธรรม ก็ไม่สามารถนำตัวเอง<br />

ให้พ้นจากความทุกข์ได้ ท่านจึงสอนให้ใช้เมตตาธรรม เพราะเมตตาเปรียบเสมือนน้ำที่จะดับไฟที่เผาใจตนเองอยู<br />

เปลี่ยนจากศัตรูมาเป็นเมตตา บุคคลที่มีเมตตาเป็นอารมณ์มีน้ำใจปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ จึงน่ายกย่องสรรเสริญ<br />

ท่านเจ้าคุณ เป็นพระเถระที่ยึดมั่นในการใช้ธรรมปัญญา ความรู้ชอบในการดำเนินชีวิตและกิจการงาน<br />

แม้ในการเทศนาและการปฏิบัติธรรม คือต้องรู้เหตุแห่งความเสื่อมและเหตุแห่งความเจริญ ใช้ไหวพริบ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

15


้<br />

ปฏิภาณในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เป็นพระเถระที่กล้าคิด กล้าพูด และกล้าทำ ในทางที่ชอบที่ไม่ผิดศีล<br />

ผิดธรรมและกฎหมายบ้านเมือง สนใจใฝ่สดับตรับฟังเรื่องราวต่างๆ เสมอ ใฝ่ศึกษาหาความรู ทั้งในทางคดีโลก<br />

คดีธรรม ทั้งในทางปริยัติและปฏิบัติเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว<br />

แล้วนำมาประยุกต์ใช้ และแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามสถานการณ์นั้นๆ<br />

ท่านเจ้าคุณ มิใช่เป็นพระนักเทศน์ที่เพียงแต่แสดงธรรมพร่ำสอนคนอื่นเท่านั้น แม้ตัวท่านเอง ก็ได้<br />

ยึดมั่นในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ให้เป็นแบบอย่างที่ดีงาม ตามหลักพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมา<br />

สัมพุทธเจ้า และตามกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด โดยเหมาะสมแก่ภาวะฐานะ ความเป็นพระเถระ<br />

ผู้ใหญ่ที่มีเมตตากรุณาต่อผู้น้อย และเป็นผู้นำของหมู่คณะตามหลักพรหมวิหารธรรม โดยปราศจากอคติใดๆ<br />

เพราะฉะนั้น ท่านเจ้าคุณจึงเป็นพระเถระที่เ<strong>ปี</strong>่ยมด้วยคุณธรรมสัมมาปฏิบัติ จัดเป็นพระเถระที่ครองตน<br />

ครองพระ ครองคน ครองงาน และครองวัดไทยกรุงวอซิงตัน, ดี.ซี. ที่บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ พระศาสนา<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และปวงชนนานาชาติ ตลอดถึงชาวโลก ได้อย่างสง่างาม จึงเป็นพระเถระที่ควร<br />

แก่การเคารพบูชาอย่างสูงของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป<br />

คุณงามความดีของท่านเจ้าคุณ พระราชมงคลรังษี ที่ปรารภมานี้ เป็นเพียงส่วนน้อย ที่มิได้นำมากล่าว<br />

ถึงยังมีอีกเป็นอันมาก เนื่องจากเนื้อที่ในหนังสือนี้มีจำกัด ในที่นี้จึงขอกล่าวเป็นคำกลอนกวีสั้น ๆ ว่า<br />

งานฉลองเลื่อน สมณศักดิ์ พุทธสยาม<br />

ราชทินนาม “พระวิเทศ- ธรรมรังษี”<br />

นามเดิมคือ “สุรศักดิ์” “หลวงตาชี”<br />

เป็น “พระราชมงคลรังษี” ชี้ เพิ่มฐานันดร์<br />

พร้อมฉลอง สิริมงคล อายุวัฒน์<br />

ครบเก้าสิบ <strong>ปี</strong>นักษัตร เกษมสันติ์<br />

ขอบุญกุศล คุณไตรรัตน์ อวยฉัตรพลัน<br />

ได้ครบครัน พรพิพิธ สิทธิวรงค์<br />

พระ สงฆ์สุรศักดิ์ซึ้ง ศาสน์วิธาน<br />

ราช มงคลรังษีศานติ์ ศึกษ์อะเคื้อ<br />

มงคล ปฏิบัติแผ่ภาร พุทธวิเทศ<br />

รังษี สวัสดิ์อวยฉัตรเกื้อ กิตติพร้อมพรสมณ์<br />

ขอพลังกาย พลังสติ ปัญญาเลิศ<br />

สรรพพร ได้ทูนเทิด ท่านสุขสนม<br />

อายุยิ่ง ร้อย<strong>ปี</strong>ขี้น จิตรื่นรมย์<br />

ด้วยปรารถนาดี จาก “พระพรหมวชิรญาณ”<br />

(พระพรหมวชิรญาณ)<br />

กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐<br />

ที่ปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (มหานิกาย) ของมหาเถรสมาคม<br />

กรรมการอุปถัมภ์ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร<br />

ประธานอำนวยการ วัดธัมมาราม นครชิคาโก, วัดพุทธธรรม รัฐอิลลินอยส์,<br />

วัดนวมินทรราชูทิศ นครบอสตัน<br />

16 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดไทย ดี.ซี. คู่มากับหลวงตาชี<br />

ย้อนหลังไป ๖ <strong>ปี</strong>ก่อน ใน พ.ศ.​ ๒๕๕๒ ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ที่เรามักคุ ้นในนาม “หลวงตาชี” ครั้งยังเป็นพระวิเทศธรรมรังษี<br />

มีอายุครบ ๗ รอบ ก็ได้มีงานทำบุญสมโภชอายุวัฒนมงคล ครบ ๘๔ <strong>ปี</strong><br />

ในครั้งนั้น ได้เป็นอันรู้กันว่า “หลวงตาชี” เป็นพระมหาเถระผู้ได้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะ<br />

เป็นประธานสงฆ์ เป็นผู ้ใหญ่ เป็นผู ้นำของพุทธบริษัทมายาวนานที่สุด ด้วยว่าวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ที่ท่าน<br />

เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกนี้ เป็นวัดไทยในอเมริการุ่นแรกเริ่ม ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ และท่านก็ดำรงฐานนั้น<br />

ยั่งยืนตลอดมาจนถึง<strong>ปี</strong>๒๕๕๒ นั้น อีกทั้งยังเป็นผู ้ร่วมก่อตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาใน<strong>ปี</strong>พ.ศ. ๒๕๑๙ แล้ว<br />

ร่วมบริหารสมัชชาสงฆ์ไทยฯ นั้นมาจนควรแก่เวลา จึงได้เป็นที่ปรึกษาของสมัชชาฯ นั้น ในปัจจุบัน ท่านจึงเป็น<br />

พระมหาเถระผู้รัตตัญญูในถิ่นแดนของอภิมหาอำนาจนี้<br />

ในสถานะแห่งรัตตัญญูบุคคลนั้น ท่านเจ้าคุณพระวิเทศธรรมรังษี เป็นผู ้รู ้ ความเป็นไปเป็นมาของพระพุทธ<br />

ศาสนาและชุมชนไทยในดินแดนสำคัญนี้กว้างลึกทั่วรอบ และได้บำเพ็ญประโยชน์ไว้มากมาย ทั้งในฐานะเป็น<br />

หัวหน้าพระสงฆ์ ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยในถิ่นแดนแกนกลาง คือเมืองหลวงของประเทศอเมริกา และใน<br />

การเผยแพร่ธรรมเพื่อให้ประชาชนเจริญธรรม เจริญปัญญา พร้อมกับทำหน้าที่ผู้นำของวัด และพุทธบริษัท<br />

อย่างกว้างขวาง<br />

บัดนี้ เวลาผ่านล่วงมาอีก ๖ <strong>ปี</strong> ถึง พ.ศ. ๒๕๕๘ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก<br />

และดำรงความเป็นประธานสงฆ์ตลอดมา มีอายุยืนยาวนับได้ถึง ๔๐ <strong>ปี</strong> พร้อมกับที่ท่านเจ้าคุณพระวิเทศธรรมรังษี<br />

ก็เจริญชนมวัสส์จาก ๘๔ ขึ้นมาเป็น ๙๐ <strong>ปี</strong> และเจริญสมณฐานันดรสูงขึ้นเป็นท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี<br />

นาม “วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.” จึงคู ่มาเหมือนเป็นอันเดียวกับนามท่านเจ้าอาวาสที่เรียกกันง่ายๆ สบายๆ ว่า<br />

“หลวงตาชี”<br />

พร้อมกันนั้น กว้างออกไปในดินแดนกว้างใหญ่ไพศาลของชนชาติอเมริกานี้ ความเป็นรัตตัญญูของท่าน อัน<br />

มั่นคงยืนนาน ก็ลึกซึ้งหนักแน่น ทั้งข้างนอกด้านสังคมทางสถาบัน และข้างในทางจิตใจและความเข้าใจของประชาชน<br />

ในมงคลวารแห่งการสมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> และฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระราช<br />

มงคลรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท, ป.ธ. ๔, พธ.ด.) เจ้าอาวาส ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา โดยมีการ<br />

ทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล ที่พระราชมงคลรังษี เจริญชนมวัสส์ครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> ในวันที่ ๓-๗ มิถุนายน ๒๕๕๘<br />

นี้ ขอเจริญมุทิตาธรรม อนุโมทนาศาสนกิจที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ภายใต้การนำของ “หลวงตาชี” คือ<br />

ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี ได้บำเพ็ญแล้ว เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา และแผ่ขยายประโยชน์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

17


สุขของประชาชนสืบมา ขอให้พรั่งพร้อมด้วยกำลังที่จะชี้ธรรมนำทางชาวไทยและชาวเทศในอเมริกาแดนอัสดง<br />

ตลอดทั้งปวงมนุษยชาติ สู่สันติสุข สมตามพุทธคติที่บรรดาพุทธสาวกได้ดำเนินสืบต่อกันมา ให้จาริกไปเพื่อ<br />

ประโยชน์สุขของพหูชน เพื่อเกื้อการุณย์แก่มวลชาวโลกสืบไป<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)<br />

๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘<br />

18 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


,<br />

,<br />

,<br />

,<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

19


<strong>ปี</strong>ติพจน์<br />

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “โย โหติ พฺยตฺโต จ วิสารโท พหุสฺสุโต ธมฺมธโร จ โหติ ธมฺมสฺส โหติ<br />

อนุธมฺมจารี ส ตาทิโส วุจฺจติ สงฺฆโสภโณติ” แปลว่า ผู้ใดเป็นคนฉลาด กล้าหาญ มีความรู้ดี เป็นผู้ทรงจำ<br />

พระธรรมและปฏิบัติตามธรรมสมควรแก่ธรรม ผู ้นั้น เรียกว่าเป็นสังฆโสภณ พระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี<br />

(สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) หรือ หลวงตาชี เป็นพระสังฆโสภณ คือทำให้หมู่คณะงดงาม เพราะท่านมีคุณธรรมทั้ง ๕<br />

ประการข้างต้น เป็นพระกล้วยไม้ ไปอยู่ที่ไหนก็ดี ความงดงามขึ้นที่นั่น อยู่ประเทศไทย คณะสงฆ์ประเทศไทย<br />

ก็งดงาม ครั้นมาอยู่กรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ทำให้คณะสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

งดงาม ในโอกาสที่พระเดชพระคุณเจริญอายุวัฒนมงคล ๙๐ <strong>ปี</strong> ขอตั้งกัลยาณจิตอธิษฐานให้พระเดชพระคุณ<br />

เจริญรุ่งเรือง งอกงามไพบูลย์ในร่มธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นผู้นำทาง<br />

สติปัญญาของศิษยานุศิษย์ตราบนานเท่านาน<br />

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)<br />

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

กรรมการมหาเถรสมาคม<br />

Dear Most Venerable Phra Rajmangalarangsi (Luang-ta Chi) The Abbot of <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> D.C.<br />

May your <strong>90</strong> th birthday be another year to celebrate and rejoice in all the great Dhamma activities,<br />

which have radiated under your direction. Like a sun, which illuminates the world from darkness,<br />

may the light of your actions continue to benefit so many beings including your <strong>Thai</strong> community<br />

and all the lay followers of the Triple Gem. I send you all my very best wishes and prayers for<br />

another wonderful year ahead in your temple and in <strong>Thai</strong>land. May your health be strong for the<br />

Sangha. May your shining wisdom be brighter for the Sangha. And, may all devotees dedicate their<br />

energy towards the goal of developing the Buddhasasana in the land of America and beyond.<br />

With much love,<br />

20 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ตามที่คณะกรรมการ คณะศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ และพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชน<br />

ทั้งชาวไทยชาวต่างชาติ มีมติเป็นเอกฉันท์จัดงานทำบุญธรรมสมโภช ๓ ประการ คือ<br />

๑. สมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> โดยที่วัดไทยกรุงวอชิงตันแห่งนี้ได้เจริญก้าวหน้า<br />

มาโดยลำดับดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นที่ชื่นชมยินดีของพวกเราทั้งหลาย ก่อนจะมาถึงวันนี้ก็ผ่านอุปสรรค<br />

นานับประการ วัดได้ย้ายสถานที่มาถึงสามครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามก็น่าจะเป็นสถานที่ตั้งวัดถาวรมั่นคงแล้ว ซึ่ง<br />

ปัจจุบันวัดก็มีความสมบูรณ์ครบตามหลักทั่วๆ ไป มีอุโบสถสำหรับประกอบกิจกรรมสำคัญของพระสงฆ์ และกุฏิ<br />

ที่อยู ่ของพระสงฆ์ ตลอดทั้งเสนาสนะอื่นๆ เพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศลและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โรงเรียนพุทธศาสนา<br />

วันอาทิตย์เป็นต้น ที่ดำเนินมาด้วยดีอย่างนี้เพราะความตั้งใจทำงานของพระสงฆ์ผู ้เป็นผู ้นำคือ พระราชมงคลรังษี<br />

ได้ทำงานด้วยความเสียสละอดทนเป็นอย่างยิ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าของพระศาสนา ตลอดทั้งสาธุชนพุทธ<br />

บริษัททั้งฝ่ายราชการและสาธุชนทั่วๆ ไป ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานกันอย่างเต็มความสามารถ จึงได้วัดดังที่<br />

เราได้เห็นอยู่ปัจจุบัน<br />

๒. งานฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) เจ้าอาวาส ที่ได้รับพระราชทาน<br />

เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชมงคลรังษี ได้นำมาซึ่งความปลาบปลื้ม<br />

ยินดีแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์สาธุชนญาติโยมชาวกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. และเมืองอื่นๆ เพราะพระราชมงคลรังษี<br />

(หลวงตาชี) ที่เราคุ้นเคยและเรียกท่านมาตลอด ท่านทำงานทั้งด้านการสอนและการปฏิบัติธรรม โดยมุ่งให้<br />

ผู ้เรียนได้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นได้เขียนหนังสือธรรมะจำนวน<br />

หลายสิบเล่ม ท่านมีปฏิปทาเรียบง่ายจึงเป็นที่เคารพของศรัทธาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย นับว่าเป็นพระธรรมทูต<br />

ต้นแบบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นราชดังกล่าว<br />

๓. ทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี โดยที่ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี<br />

มีอายุครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> เหล่าศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาสได้จัดงานฉลองอายุ<br />

วัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> ถวายมุทิตาสักการะท่านอีกด้วย<br />

ในนามของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ขอแสดงความ<strong>ปี</strong>ติยินดีกับท่านทั้งหลายชาววัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. และเมืองใกล้เคียง ขออวยพรให้ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) จงมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง<br />

เป็นที่พึ่งของเหล่าศิษยานุศิษย์ชั่วกาลนาน และขอให้วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เจริญก้าวหน้าต่อๆ ไป<br />

(พระราชพุทธิวิเทศ)<br />

ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

21


คำมุทิตาจิต<br />

เนื่องในงานสมโภชอายุวัฒนมงคลพระราชมงคลรังษี ครบรอบ ๙๐ <strong>ปี</strong><br />

และฉลองสัญญาบัตรพัดยศพระราชมงคลรังษี<br />

วัดไทยในต่างประเทศถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวไทย นอกจากเป็นสถานที่<br />

ในการอบรมหลักธรรม และการปฏิบัติศาสนกิจทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง<br />

วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยให้แก่ลูกหลานชาวไทยที่เกิดและเติบโตในต่างแดน ทั้งด้านภาษา<br />

ขนบธรรมเนียมประเพณี และกิริยามารยาท เพื่อให้พวกเขามีความรัก ความผูกพัน และความภาคภูมิใจ<br />

ในสายเลือดไทย<br />

นับตั้งแต่การก่อตั้งวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เมื่อ<strong>ปี</strong>๒๕๑๗ จนถึงปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ถือว่าได้<br />

เป็นศูนย์รวมของสังคมชาวพุทธไทยในสหรัฐอเมริกาให้เป็นปึกแผ่น มีความรัก ความสามัคคี และสืบทอด<br />

หลักธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาให้แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง โดยมีพระราชมงคลรังษี<br />

ประธาสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นผู้นำในการบริหารและพัฒนา รวมทั้งการส่งเสริมบทบาท<br />

พระธรรมทูตในต่างแดน พระคุณท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และเป็นกำลังสำคัญ<br />

ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามในสหรัฐอเมริกา<br />

ในโอกาสที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. จัดงานสมโภชครบรอบ ๔๐ <strong>ปี</strong> และงานทำบุญธรรม<br />

สมโภชอายุวัฒนมงคลพระราชมงคลรังษี ครบรอบ ๙๐ <strong>ปี</strong> รวมทั้งการฉลองสัญญาบัตรพัดยศ กระผม<br />

ขอน้อมถวายมุทิตาจิตแด่พระคุณท่าน ขออาราธนาพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล โปรดดล<br />

บันดาลประทานพรให้พระราชมงคลรังษีมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง และมีความเจริญงอกงาม<br />

ในบวรพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้น เทอญ<br />

พลเอก<br />

(ประยุทธ์ จันทร์โอชา)<br />

นายกรัฐมนตรี<br />

22 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


สารแสดง<strong>ปี</strong>ติพจน์<br />

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี<br />

พระธรรมทูต คือ พระภิกษุผู้เผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยการนำหลักความ<br />

จริงและแบบอย่างชีวิตอันประเสริฐไปเผยแผ่แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก<br />

พระธรรมทูตสายต่างประเทศ จึงเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในการประกาศพระศาสนา ซึ่งไปปฏิบัติศาสนกิจ<br />

ด้วยความรับผิดชอบและมีความตั้งใจสูงในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการสร้างชื่อเสียงของประเทศไทย<br />

ไปสู่ประชาคมโลก ดังจะเห็นจากผลงานที่ผ่านมา คือการที่วัดไทยในต่างประเทศเป็นศูนย์รวมจิตใจ<br />

ของชาวพุทธทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะเห็นเด็กๆ ลูกหลานของชาวไทยมาวัดเพื่อเรียนภาษาไทย<br />

ศิลปวัฒนธรรมไทย หรืออื่นๆ นอกจากนี้ได้มีหน่วยงานราชการ เอกชน ที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับประเทศไทย<br />

ต้องใช้วัดเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารและเป็นสถานที่จัดกิจกรรม ดังนั้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงความ<br />

สำคัญของบทบาท ภารกิจ ของพระธรรมทูต จึงได้มอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การดูแล เอาใจ<br />

ใส่ และถวายการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเต็มที่<br />

ในโอกาสที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ซึ่งได้ก่อตั้งมาตั้งแต่<strong>ปี</strong> ๒๕๑๗ และได้ดำเนินกิจกรรม<br />

เผยแผ่พระพุทธศาสนามาครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> ภายใต้การนำของพระเดชพระคุณ พระราชมงคลรังษี (สุรศักดิ์<br />

ชีวานนฺโท) เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. และที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระคุณ<br />

ท่านเป็นสมณทูตต้นแบบในการทำหน้าที่ประกาศและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างมีประสิทธิภาพ<br />

นำความเจริญมั่นคงมาสู่สังคมไทยในต่างแดนอย่างที่เห็นประจักษ์จนตราบเท่าทุกวันนี้ จะดำเนินการ<br />

จัดงานทำบุญธรรมสมโภช ระหว่างวันที่ ๓-๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ จำนวน ๓ งาน ประกอบด้วย<br />

๑. สมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

๒. ฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระราชมงคลรังษี<br />

๓. ฉลองอายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี<br />

ในโอกาสนี้ กระผมขอชื่นชมแสดง<strong>ปี</strong>ติโสมนัสน้อมนำถวายเป็นมุทิตาจิต อนุโมทนาในกุศลเจตนา<br />

ของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. คณะกรรมการจัดงาน และคณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์<br />

ที่ได้กำหนดการจัดงานมหามงคลนี้ขึ้นมา<br />

(นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ)<br />

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

23


<strong>ปี</strong>ติพจน์<br />

นายพนม ศรศิลป์<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นวัดไทยในต่างประเทศ ที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน อันเกิดขึ้น<br />

จากพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่พำนักอยู่ในเขตกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แมรี่แลนด์, เวอร์จิเนียและรัฐใกล้เคียงได้เล็ง<br />

เห็นว่าในถิ่นที่ตนพำนักอยู ่ขณะนั้น ยังขาดศาสนสถานอันเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธ<br />

ศาสนา ทำบุญให้ทาน รักษาศีล ศึกษาและปฏิบัติธรรม และด้วยแรงศรัทธาดังกล่าว จึงได้ร่วมกันระดมทุนเพื่อ<br />

ดำเนินการจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ และนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติศาสนกิจใน<strong>ปี</strong><br />

เดียวกัน สำนักสงฆ์หรือวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แห่งนี้ ได้สถิตสถาพรเป็นศาสนสถานอันมั่นคงสำหรับปฏิบัติ<br />

ศาสนกิจบำเพ็ญบุญกุศล เพื่อดำรงศรัทธาประชาชนเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เป็นสถานที่ ให้การศึกษา<br />

สอนภาษาไทย ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแก่กุลบุตรกุลธิดาชาวไทยและชาวต่างชาติที่สนใจ<br />

ตลอดทั้งยังเป็นสถานที่ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม กล่อมเกลาลักษณะนิสัยให้เยาวชนชาวพุทธ ให้มี<br />

ความรู ้ คุณธรรมและจริยธรรม ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ศึกษาปฏิบัติและสัมผัสอย่างใกล้ชิด<br />

เกิดความสงบร่มเย็นภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลากว่า ๔๐ <strong>ปี</strong> ซึ่งควรค่าแก่การอนุโมทนาสาธุการ<br />

แสดงความยินดีชื่นชมของสาธุชนเป็นอย่างยิ่ง<br />

อนึ่ง ร่มเงาของพระพุทธศาสนาที่ชื่อว่าวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงได้ ส่วนหนึ่ง<br />

ก็ด้วยอาศัยบารมีของพระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี ประกอบกับศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อพระเดชพระคุณ<br />

และวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมในการสร้างสรรค์ความดีงามจวบจนทุกวันนี้<br />

ในโอกาสการจัดงานบำเพ็ญกุศลฉลองวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> ฉลองสัญญาบัตร พัดยศ และ<br />

ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี ระหว่างวันที่ ๓-๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ นี้ กระผมในฐานะผู ้บริหารของ<br />

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่สนับสนุนส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา<br />

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขอแสดงมุทิตาจิตถวายความยินดีต่อคณะสงฆ์และปวงพุทธศาสนิกชนของวัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ที่ได้ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนากิจการของวัดจนเจริญรุ่งเรืองมั่นคงเป็นที่ประจักษ์แก่สายตา<br />

ของสาธารณชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และขอน้อมจิตเปล่งสาธุการถวายมุทิตาสักการะแด่พระเดชพระคุณ<br />

พระราชมงคลรังษี ที่ได้นำหลักพระธรรมคำสั่งสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า มาเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของ<br />

ศรัทธาประชาชน คณะสงฆ์และพระธรรมทูตสายต่างประเทศที่ประจำอยู่ ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี แห่งนี้<br />

ให้มีความมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์เผยแผ่พุทธธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมนุษยชาติอย่างแท้จริง และสถิตเป็น<br />

สาวกผู้ควรค่าแก่การเคารพนบไหว้บูชาของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดไป<br />

(นายพนม ศรศิลป์)<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ<br />

24 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

25


พระเดชพระคุณ “พระราชมงคลรังษี” แห่งวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นศูนย์รวมที่พึ่งทางใจ<br />

ของชาวพุทธ ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสำนึกความเป็นไทย และหล่อหลอมสังคมไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

แก่ลูกหลาน โดยมีโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โรงเรียนสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย<br />

ภาคฤดูร้อน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเกียรติ และโอกาส<br />

ให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ก็ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ<br />

“พระราชมงคลรังษี” ตลอดระยะเวลา ๒๕ <strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา คณะครุศาสตร์ได้ประจักษ์ถึง “ความเป็นพระ<br />

งาม” “ความเป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ” และ “ความเมตตาอันหาที่สุดมิได้” ของพระเดชพระคุณ<br />

“พระราชมงคลรังษี” ที่จะจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์หนึ่งของ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ในโอกาสการจัดงานทำบุญธรรมสมโภชฉลองสัญญาบัตรพัดยศพระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท<br />

ป.ธ. ๔, พธ.ด.) ประธานสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ<br />

ชั้นราชที่ “พระราชมงคลรังษี” งานทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล ครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี และ<br />

งานสมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอปวารณา<br />

ตัวสนับสนุนงานด้านการศึกษา โดยเฉพาะด้านภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

อย่างเต็มกำลังและความสามารถ และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ได้โปรดอภิบาลให้พระเดชพระคุณ<br />

“พระราชมงคลรังษี” มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง เป็นเสาหลักและปราการอันมั่นคงทางสติปัญญา และ<br />

ความงดงามทางจิตใจแก่ชุมชนชาวไทยในต่างแดนตลอดไป<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ชลาภิรมย์<br />

คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

26 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


<strong>ปี</strong>ติพจน์<br />

นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน<br />

หนังสืออนุสรณ์งานสมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

ฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระวิเทศธรรมรังษี เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์<br />

เป็นพระราชมงคลรังษี<br />

ทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี<br />

-----------------------<br />

ในโอกาสสมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> รวมทั้งฉลองพระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์<br />

ชีวานนฺโท, ป.ธ. ๔, พธ.ด.) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชมงคลรังษี สุธีวิเทศศาสนกิจ มหาคณิสสร<br />

บวรสังฆาราม คามวาสีพระราชาคณะชั้นราช เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว<br />

ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ และทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล ๙๐ <strong>ปี</strong> ของพระราชมงคลรังษี เจ้าอาวาส<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ผมขอแสดงความชื่นชมคณะกรรมการ อุบาสก อุบาสิกา และศิษยานุศิษย์วัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ที่ได้พร้อมใจกันจัดงานทำบุญธรรมสมโภช เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสอันเป็นมงคลในครั้งนี้<br />

พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ประชาชนชาวไทย<br />

และผู้ยึดมั่นศรัทธานำหลักธรรมไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตและเป็นร่มเงาแห่งความสงบสุขในสังคม นอกจากนี้<br />

พุทธศาสนายังเป็นสิ่งล้ำค่าที่สุดที่มีอยู่คู่ราชอาณาจักรไทย และด้วยอาศัยพระสงฆ์ผู้เสียสละ เป็นผู้เผยแผ่หลัก<br />

ธรรมคำสอนและการปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในต่างประเทศ พุทธศาสนาจึงแตกกิ่งก้านไปแทบทุก<br />

ภูมิภาคของโลก<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ก่อตั้งขึ้นด้วยศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๑๗ โดยกลุ ่มพุทธศาสนิกชน Assembly of Buddhists รวมตัวกันนมัสการพระมหาธีรพันธ์ เมตฺตาวิหารี<br />

วัดไทยในนครลอสแองเจลิส เป็นที่ปรึกษาในการก่อตั้ง ปัจจุบันนอกจากวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. จะดำเนินกิจกรรม<br />

เผยแพร่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยและสร้างโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้<br />

ภาษาไทยความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการรักษาศิลปวัฒนธรรม<br />

และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในบริเวณกรุงวอชิงตันและมลรัฐใกล้เคียง<br />

พระราชมงคลรังษี (นามฉายา “ชีวานันโท”) เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นผู้เ<strong>ปี</strong>่ยมด้วย<br />

พลังสติปัญญาและใส่ใจใฝ่หาความรู้ในทางธรรมตั้งแต่เยาว์วัย โดยบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ ๑๔ <strong>ปี</strong> และ<br />

ได้รับนิมนต์มาประจำและปฏิบัติศาสนกิจที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ จวบจนปัจจุบัน โดย<br />

พระราชมงคลรังษีเป็นทั้งพระอาจารย์สอนพระธรรมวินัยและประชาชนผู้สนใจ และยังเป็นพระนักเขียนคติธรรม<br />

และบทความที่สื่อให้ผู ้อ่านเข้าใจได้ง่ายในหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาทิ เสียงธรรมจาก<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

27


วัดไทย เสียงธรรมจากหลวงตาชี และหนังสือเรื่องราวสอดแทรกธรรมะ โดยใช้นามปากกาว่า “หลวงตาชี” ซึ่งได้<br />

รับความนิยมอย่างแพร่หลาย พระราชมงคลรังษีได้อุทิศพลังกาย พลังสติปัญญาในการปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่<br />

พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาอย่างแข็งขัน จนทำให้วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. มีความเจริญก้าวหน้าอันเป็นที่<br />

ประจักษ์ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติอันสะท้อนให้เห็นถึงความพากเพียร ความมุมานะบากบั่น และความเมตตา<br />

ในฐานะพระนักพัฒนาของพระราชมงคลรังษีโดยแท้<br />

สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอถือโอกาสอันเป็นมงคลนี้แสดงความยินดีต่อวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ที่ได้<br />

รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางภายใต้ความเป็นผู ้นำของพระราชมงคลรังษี และขออาราธนาคุณ<br />

พระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เดชะพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ จงรวมกันเป็นพรอันประเสริฐให้พระราชมงคลรังษีมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ดำรงเป็นหลัก<br />

ให้คณะสงฆ์ไทยทั่วสหรัฐอเมริกาได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง และเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งไทยและเทศ<br />

โดยทั่วกัน<br />

(นายพิศาล มาณวพัฒน์)<br />

เอกอัครราชทูต<br />

28 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


<strong>ปี</strong>ติพจน์<br />

ม.จ.(หญิง) วุฒิเฉลิม วุฒิชัย<br />

เนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้ก่อตั้งมาครบ ๔๐ <strong>ปี</strong> ใน<br />

โอกาสนี้ หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระวิเทศธรรมรังษี หรือหลวงตาชี ประธานสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. และ<br />

ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์<br />

เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชมงคลรังษี” ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ พร้อมทั้งเจริญอายุวัฒนมงคล<br />

ครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ คณะศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งคณะกรรมการ อุบาสกอุบาสิกา วัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. มีมติเป็นเอกฉันท์ ได้กำหนดจัดงานธรรมสมโภชเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสอันเป็น<br />

มงคลในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ ๓-๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ เพื่อเป็นการประกาศผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา<br />

ของวัด พร้อมทั้งแสดงมุทิตาสักการะ และเผยแผ่ผลงานการประกาศพระพุทธศาสนาที่ได้กระทำมาตลอด<br />

ชีวิตในสมณเพศทั้งขณะอยู ่ประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกาของหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี<br />

ให้เป็นที่ปรากฏแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป<br />

ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่คณะกรรมการร่วมใจกันให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาส มีส่วนในการแสดง<br />

ความกตัญญูกตเวที ต่อหลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี ในโอกาสพิเศษครั้งนี้ ผลงานแห่งคุณงาม<br />

ความดีที่หลวงพ่อท่านเจ้าคุณฯ ได้กระทำนั้นประจักษ์ชัดด้วยสายตา สาธุชนได้ให้ความเคารพนับถือ เปรียบ<br />

เสมือนบิดาทางธรรม ซึ่งได้เพียรพยายามอบรมสั่งสอนตักเตือนให้เรามีวิถีชีวิตดีงาม ยึดมั่นในหลักธรรม<br />

คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เข้าสู่มรรคผลตามที่แต่ละคนจักบำเพ็ญบารมี<br />

หลวงพ่อท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี เน้นหลักพุทธธรรมมาตลอด นอกจากนี้ได้เป็นหลักในการสร้าง<br />

อาราม ณ ดินแดนอเมริกา ซึ่งเป็นความพยายามตั้งหลักปักฐานอย่างถาวร ปัจจุบันวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. เป็นวัดใหญ่วัดหนึ่ง มีอุโบสถที่งดงามเป็นสง่า มีสวนป่ารุกขธรรมเหมาะแก่การพักผ่อนทางจิตวิญญาณ<br />

มีการเปิดอบรมส่งเสริมการศึกษาปฏิบัติธรรม ส่งเสริมภาษาวัฒนธรรมไทย รำไทย ดนตรีไทย และเป็น<br />

ศูนย์รวมใจการพบปะสังสรรค์ของชาวพุทธทั้งหลาย ดังว่าเป็นชุมชนเรียนรู้พุทธศาสนาที่ได้รับการยอมรับใน<br />

สังคมทั่วไป<br />

ชีวิตเก้าสิบ<strong>ปี</strong>แห่งคุณค่าของพระมหาเถระรูปหนึ่ง ซึ่งมีคุณูปการยิ่งต่อชาวโลก ซึ่งท่านเพียรพยายาม<br />

อนุเคราะห์ด้วยเมตตาธรรม นำทางใจให้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย การแสดงออกซึ่งมุทิตาสักการะแด่หลวงพ่อ<br />

ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี ในครั้งนี้ เป็นการกระทำเพียงน้อยนิดหากเทียบกับความเสียสละทั้งชีวิต<br />

เพื่อสังคมส่วนรวมของท่าน<br />

ข้าพเจ้าและคณะศิษยานุศิษย์ ยินดีปรีดาที่ได้ร่วมกันจัดงานในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่หลวงพ่อ<br />

ท่านเจ้าคุณพระราชมงคลรังษี เจริญอายุครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> ถือว่าโชคดีมีบุญอย่างยิ่ง จึงขอรวมกระแสบุญอัน<br />

ศักดิ์สิทธิ์น้อมถวายเป็นมุทิตาสักการะอวยพรให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจริญอายุยิ่งยืนนาน เป็นร่มโพธิ์ไทร<br />

ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่สาธุชนนานแสนนานด้วยเทอญฯ<br />

(ม.จ. (หญิง) วุฒิเฉลิม วุฒิชัย)<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

29


พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)...ชีวิตนี้...พลีเพื่อธรรม<br />

ในโอกาส วัดไทย ดี.ซี. นี้บรรจบ วาระครบ สี่สิบ<strong>ปี</strong> ดิถีสมัย<br />

แหล่งเผยแผ่ ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ให้เลื่องลือ ระบือไกล ในอเมริกา<br />

พระราชมงคลรังษี หลวงตาชี ชีวิตนี้ พลีเพื่อธรรม นำส่องหล้า<br />

เป็นเสาหลัก พิทักษ์ธรรม นำปัญญา เก้าสิบ<strong>ปี</strong> ทรงคุณค่า สมัชชาสงฆ์ไทย<br />

ครอบครัวสมบัติใหม่ เลื่อมใส ในปฏิปทา เป็นประธาน งานมุทิตา อันยิ่งใหญ่<br />

พระผู้เป็น เนื้อนาบุญ อุ่นฤทัย ศิษย์รวมใจ น้อมศรัทธา หลวงตาชี<br />

ขออำนาจ คุณพระศรี รัตนตรัย คุ้มครองให้ พระราชมงคลฯ ดลสุขี<br />

สถิตมั่น เป็นหลักชัย คู่วัดไทยฯ ดี.ซี. เป็นศูนย์รวม แห่งความดี นิรันดร์เทอญฯ<br />

จากจุดเริ่มต้นชุมชนไทยในเขตกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี รัฐแมรี่แลนด์ รัฐเวอร์จิเนีย และรัฐใกล้เคียงที่มี<br />

ความประสงค์อยากมีวัดให้เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน จึงได้ร่วมแรงร่วมใจโดยอาศัยพลังศรัทธาของประชาชน<br />

ได้เริ่มก่อตั้งวัดขึ้นเป็นแห่งแรกของรัฐแมรี่แลนด์ และเป็นวัดแห่งที่ ๒ ของสหรัฐอเมริกา โดยตั้งชื่อว่า “วัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.” เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๗ (ค.ศ.๑๙๗๔-ค.ศ.๒๐๑๔) จนถึงปัจจุบัน มีอายุถึง ๔๐ <strong>ปี</strong>แล้ว<br />

วัดไทยฯ ดี.ซี. ได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้านถาวรวัตถุ และสิ่งที่เป็นนามธรรม คือทำหน้าที่หล่อหลอมสังคมไทย<br />

และสังคมชาวพุทธในอเมริกาได้อย่างรวดเร็ว จนต้องย้ายสถานที่ประกอบศาสนกิจถึง ๒ ครั้ง และวัดปัจจุบัน<br />

เป็นแห่งที่ ๓ เป็นสถานที่ที่เหมาะสมและสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชน คนที่เข้ามาวัดมีจุดมุ ่งหมาย<br />

ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เพื่อเรียนรู้ภาษาไทย<br />

วัฒนธรรมไทย และเพื่อบำเพ็ญบุญกุศลในโอกาสต่างๆ โดยมีคณะสงฆ์เป็นผู้นำชุมชนในการทำหน้าที่ด้วย<br />

ความเข้มแข็ง ไม่ย่อท้อและบากบั่นฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนทำให้วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้เจริญรุ่งเรือง<br />

วัฒนาสถาพรมาตราบเท่าทุกวันนี้<br />

พระสงฆ์ผู ้ที่ทำหน้าที่เป็นผู ้นำทางจิตวิญญาณนั้น มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชมงคลรังษี<br />

หรือหลวงตาชี (ภาษาที่ชาวบ้านเรียกด้วยความเคารพอย่างสูง) ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนมา<br />

ตลอดตั้งแต่เริ่มแรก พร้อมด้วยคณะสงฆ์พระธรรมทูตรุ่นต่อๆ มา เป็นผู้เสียสละอุทิศเวลาทำหน้าที่<br />

หล่อหลอมสังคมไทยด้วยการใช้หลักพุทธธรรมนำชีวิต สร้างความมั่นใจ และมั่นคงในหลักธรรมแก่ชาวพุทธ<br />

จนทำให้สังคมชาวพุทธไทยในอเมริกามีความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เพราะพลังแห่งความสามัคคี อันมีวัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นศูนย์กลางทางจิตใจ แม้ว่าวัยของพระเดชพระคุณจะล่วงเข้าสู่<strong>ปี</strong>ที่ ๙๐ แล้ว แต่ยัง<br />

ทำหน้าที่ของพระพุทธสาวกอย่างเข้มแข็งและเกรียงไกร โดยประพันธ์หนังสือพระธรรมนำชีวิต และ<br />

ลิขิตบทกลอนสอนธรรมในวารสารแสงธรรมนำปัญญาสู ่มหาชนทั่วสหรัฐอเมริกา เป็นเวลาร่วม ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

เพราะเหตุฉะนี้ พระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) จึงเป็นผู้พลีชีวิตนี้เพื่อธรรม เปรียบ<br />

ดั่งเสาหลักพิทักษ์ธรรมนำพุทธศาสนิกชนให้เข้าถึงความสุขเกษมสำราญตราบนานแสนนาน<br />

ตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๓ ข้าพเจ้า (ขณะนั้นคือพระมหาครุฑ จิรสฺสุโต) ได้รู้จักพระเดชพระคุณ<br />

พระราชมงคลรังษี หรือหลวงตาชี (ขณะนั้นคือหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) หลวงตาชีเป็นลูกศิษย์<br />

เอกของหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ<br />

30 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ยุวราชรังสฤษฎิ์ และพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิมหาเถร) พระอาจารย์ใหญ่ฝ่าย<br />

วิปัสสนาธุระ แห่งประเทศไทย โดยท่านพระครูวชิรธรรมโสภณ (หลวงพ่อสีนวล) วัดทุ่งสาธิต หรือ<br />

วัดวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ได้ไปขอตัวพระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท จากหลวงพ่อ อาสภมหาเถร<br />

(สมเด็จพระพุฒาจารย์) เพื่อไปสอนวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดทุ่งสาธิตตั้งแต่ <strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๑๓–๒๕๑๗ (รวมเวลา<br />

๕ <strong>ปี</strong> )<br />

พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท เข้ามาอยู่วัดทุ่งสาธิตในฐานะอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานก็ได้<br />

ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความมั่นใจ โดยมุ ่งงานสอนวิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก งาน<br />

เทศน์ในวันพระ การอบรมพระเณรและศิษย์วัดเป็นงานรอง และด้วยความที่ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความ<br />

สามารถด้วยภูมิรู ้ ภูมิธรรม ในการเทศน์ การสอน การอบรม การปกครอง ท่านพระครูวชิรธรรมโสภณ<br />

จึงมอบหมายให้ท่านดูแลงานบริหารและงานปกครองแทบทุกอย่างภายในวัด โดยจัดระเบียบความเป็น<br />

อยู่ของพระเณรและศิษย์วัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูแลความสะอาดของอาคาร สถานที่ สวนหญ้า<br />

สวนหย่อม และบริเวณวัดให้ร่มรื่น เป็นที่ชื่นชมสรรเสริญและเจริญศรัทธาของบุคคลที่มาเยี่ยมชม<br />

วัดอย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ทำให้วัดทุ่งสาธิตได้เจริญรุ่งเรืองและพัฒนาสถาพรมาโดยลำดับ<br />

จากนั้น พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงได้กราบลาท่านพระครูวชิรธรรมโสภณ เพื่อมาศึกษาดูงานเผยแผ่พระพุทธ<br />

ศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ท่านหลวงพ่อสีนวล ได้ทักท้วงและทัดทานไว้ เพราะเป็นที่โปรดปรานและ<br />

ไว้วางใจในการบริหารงานของวัดวชิรธรรมสาธิตยิ่งนัก พระมหาสุรศักดิ์จึงเรียนท่านว่าจะขอศึกษาดูงานก่อน<br />

ถ้าอยู่ไม่ได้ก็จะขอกลับมาปฏิบัติงานตามเดิม ท่านจึงยอมเซ็นอนุมัติเพื่อไปทำหนังสือเดินทาง และได้เดินทาง<br />

มาประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนมกราคม โดยพักที่วัดไทยลอสแองเจลิสเป็นเวลา ๒ อาทิตย์ หลังจากนั้น<br />

ได้เดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตรุ่นบุกเบิก ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ผู้มีอุดมการณ์อัน<br />

แน่วแน่ในการเผยแผ่พุทธธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้เป็นเวลาร่วม ๔๐ กว่า<strong>ปี</strong><br />

และข้าพเจ้าก็มีความมั่นใจว่า ท่านจะต้องเป็นพระธรรมทูตทีมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างแน่นอน และบัดนี้ผลงาน<br />

ก็เป็นที่ปรากฏชัดแจ้งแล้ว โดยได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระธรรมทูตต้นแบบ” ของวงการคณะสงฆ์ไทย<br />

ในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง<br />

สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจและต้องบันทึกจารึกจดจำบุญคุณนี้ไปตลอดชีวิตคือ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๙<br />

ได้มากราบท่านหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ที่วัดไทยฯ ดี.ซี. ก่อนกลับไปลาสิกขาที่ประเทศไทย<br />

(ขณะนั้นเป็นพระมหาครุฑ จิรสฺสุโต พระธรรมทูตปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดวชิรธรรมปทีป รัฐนิวยอร์ก)<br />

ขณะนั้นมีเงินอยู่ ๑๐๐ เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ท่านหลวงพ่อได้มีเมตตามอบปัจจัยให้ข้าพเจ้า ๒๐๐<br />

เหรียญสหรัฐ พร้อมทั้งให้พรอันเป็นมหามงคลยิ่งแก่ชีวิตว่า “จงไปต่อสู้และให้ใช้หลักธรรมะของ<br />

พระพุทธเจ้าในการดำเนินชีวิต เพื่อความเจริญรุ ่งเรืองในการงานต่อไป” ข้าพเจ้าจึงรู ้สึกเป็นหนี้บุญคุณ<br />

และปวารณากับหลวงพ่อตั้งแต่นั้นว่า จะถวายความอุปถัมภ์เพื่อตอบบุญแทนคุณของหลวงพ่อผู้ให้<br />

แสงสว่างทางเดินของชีวิตตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่<br />

ในนามคณะศิษยานุศิษย์ ข้าพเจ้าและครอบครัวสมบัติใหม่ รู ้สึกมีความปลาบปลื้มและดีใจที่สุดในชีวิต ที่<br />

ได้รับเกียรติให้เป็นประธานจัดงานธรรมสมโภชอันเป็นมหามงคล รวม ๓ งาน คือ สมโภชวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. ครบ ๔๐ <strong>ปี</strong>, ฉลองสัญญาบัตรพัดยศพระราชมงคลรังษี และทำบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล<br />

๙๐ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี เพื่อน้อมถวายเป็นมุทิตาสักการะอาจริยบูชา ระหว่างวันที่ ๓-๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

31


ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. จึงขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) พร้อมด้วย<br />

คณะสงฆ์ พระธรรมทูต ท่านเอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา คณะข้าราชการ หัวหน้าสำนักงาน<br />

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน นายกสมาคมชมรมไทย แขกผู้มีเกียรติ คณะกรรมการจัดงานทุกฝ่าย<br />

ที่มีความสมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจทำให้งานครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยดีงามทุกประการ<br />

ขอบารมีหลวงพ่อพระพุทธมงคลวิมลดีซี พระราชมงคลรังษีผู้มีบุญอุ่นหนักหนา<br />

รวมกุศลผลความดีที่ทำมา ประทานพรอันล้ำค่าให้ผาสุกทุกเมื่อเทอญฯ<br />

คุณครุฑ – คุณสอางค์ สมบัติใหม่ และครอบครัว<br />

Two Minutes Restaurant Zephyrhills, FL<br />

ประธานจัดงาน<br />

๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘<br />

32 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ภาค ๒<br />

ประวัติวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.


๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

บทนำ<br />

คณะสงฆ์ไทยได้เริ่มงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา<br />

เข้าสู่สหรัฐอเมริกา เมื่อประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๒<br />

(1969) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเดินทางรอบโลก<br />

เพื่อปฏิบัติศาสนกิจของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ<br />

พระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัด<br />

มหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ในสมัยที่<br />

ดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระพิมลธรรม”<br />

ต่อมาพระมหาเถระหลายรูป อาทิเช่น ท่านเจ้า<br />

พระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร)<br />

วัดสระเกศ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลา-<br />

จารย์(ช่วง วรปุญญมหาเถร) วัดปากน้ำ ท่านเจ้าพระคุณ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เดินทางปฏิบัติ<br />

ศาสนกิจประเทศสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก คณะสงฆ์<br />

จึงได้เริ่มมีพระสงฆ์ไทยเดินทางออกไปต่างประเทศ<br />

เพื่อตั้งวัด หรือศูนย์ปฏิบัติธรรม เป็นศูนย์รวมใจของ<br />

ชาวพุทธไทยในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก<br />

เนื่องจากชุมชนไทยในเขตวอชิงตัน, ดี.ซี., แมรี่<br />

แลนด์, เวอร์จิเนีย และมลรัฐใกล้เคียง ซึ่งพำนักอยู่<br />

ด้วยหน้าที่การงานต่างๆ กัน ทั้งข้าราชการ นักศึกษา<br />

พ่อค้า ประชาชนและผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ<br />

เมื่อจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนมานานๆ ก็เกิด<br />

ความว้าเหว่ทางจิตใจในบางครั้งบางคราว แม้ว่า<br />

แดนดินถิ่นนี้จะเป็นดินแดนแห่งความเจริญก้าวหน้า<br />

ในด้านต่างๆ แต่คนไทยทั้งหลายปรารถนามีวัด<br />

ศาสนสถานศูนย์รวมใจให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้าน<br />

จิตใจ ได้ทำบุญให้ทาน ศึกษา ปฏิบัติธรรม ประกอบ<br />

พิธีกรรมทางศาสนา ตลอดทั้งแสดงออกทางด้าน<br />

ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของ<br />

ชาวพุทธ ชาวไทย ดังนั้น จึงได้รวมตัวกันเพื่อสร้าง<br />

สรรค์วัดซึ่งเป็นศูนย์รวมใจให้เกิดขึ้นในเวลาต่อมา<br />

จุดเริ่มต้นจัดตั้งวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เมื่อต้น<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๔ (ค.ศ. ๑๙๗๑) ชุมชนชาว<br />

ไทยกลุ่มหนึ่งได้จัดตั้ง “ชมรมชาวพุทธ” ขึ้นเป็นครั้ง<br />

แรก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรมทาง<br />

ศาสนา เพื่อให้ประชาชนชาวพุทธทั้งหลายได้มีโอกาส<br />

ทำบุญทำกุศลร่วมกัน พร้อมทั้งขอคำแนะนำปรึกษา<br />

ทางธรรม และเพื่อให้มีศาสนสถานสำหรับประกอบ<br />

ศาสนกิจ แสวงหาธรรมะ อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทาง<br />

จิตใจเป็นครั้งคราว ต่อมา ชมรมชาวพุทธได้มีความ<br />

เห็นเป็นเอกฉันท์ยกฐานะชมรมขึ้นเป็นสมาคมโดยใช้<br />

ท่านทูตอานันท์ ปันยารชุน<br />

34 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ชื่อว่า “พุทธสมาคมแห่งกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.” มีชื่อ<br />

เป็นภาษาอังกฤษว่า “The Buddhist Association in<br />

<strong>Washington</strong>, D.C.”<br />

เมื่อยกฐานะขึ้นเป็นพุทธสมาคมฯ แล้ว โดยมี<br />

เอกอัครราชทูต ฯพณฯ สุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นที่<br />

ปรึกษาของสมาคมฯ พ.อ.ปราโมทย์ ถาวรฉันท์ ผู ้ช่วย<br />

ทูตทหารบก เป็นนายกพุทธสมาคมฯ ประกอบด้วย<br />

กรรมการอีกจำนวน ๑๔ ท่าน<br />

ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตฯ<br />

ท่านต่อมา ได้เป็นที่ปรึกษาของสมาคมฯ เมื่อมีพุทธ<br />

สมาคมฯ ขึ้นแล้ว คณะกรรมการสมาคมฯ ได้ดำเนิน<br />

การจัดหาทุนเรื่อยมา ซึ่งส่วนใหญ่ในตอนเริ่มแรกนั้น<br />

ได้รับเงินบริจาคจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป เพื่อดำเนิน<br />

การจัดตั้งสำนักสงฆ์ต่อไป<br />

จนปลาย<strong>ปี</strong>พ.ศ. ๒๕๑๖ พ.อ.ปราโมทย์ถาวรฉันท์<br />

นายกพุทธสมาคมฯ ได้เดินทางกลับไปรับราชการที่<br />

ประเทศไทย คณะกรรมการจึงได้เรียนเชิญ พ.อ.วิเชียร<br />

บุรณศิริ ที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา สำนักงานผู้ดูแล<br />

นักเรียนไทย ในสหรัฐอเมริกา เป็นนายกพุทธสมาคมฯ<br />

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๖ (1973) คณะ<br />

กรรมการชุดใหม่ได้วางโครงการบริหารพุทธสมาคม<br />

ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป<br />

ในเทศกาลวันสงกรานต์ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๗<br />

(1974) จัดงานที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง<br />

วอชิงตัน ได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดไทยลอสแองเจลิส<br />

มาเป็นประธานในการประกอบพิธีทางศาสนา หลังจาก<br />

เสร็จงาน พุทธสมาคมมีเงินทุนทั้งหมด ๓,๗๔๔.๓๓<br />

เหรียญสหรัฐ<br />

การก่อตั้งสำนักสงฆ์ครั้งแรกในเขตเมือง<br />

หลวงสหรัฐอเมริกา<br />

เมื่อมีเงินบ้างแล้ว คณะกรรมการทุกฝ่ายมีความ<br />

เห็นร่วมกันว่า ควรดำเนินการจัดตั้ง “สำนักสงฆ์” และ<br />

นิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา เพื่อปฏิบัติศาสนกิจ<br />

อย่างน้อยสัก ๒ รูป จะได้เพิ่มพูนศรัทธาแก่สาธุชน<br />

มากยิ่งขึ้น คณะกรรมการจึงได้จัดประชุมใหญ่ได้<br />

เชิญชาวไทยทั้งส่วนข้าราชการ นักศึกษา พ่อค้า ประชาชน<br />

เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗<br />

(1974) เวลา ๒๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมผู ้ดูแลนักเรียน<br />

ไทย มีผู้เข้าร่วมประชุม ๒๘ ท่าน<br />

เมื่อผู้เข้าร่วมประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้าง<br />

ขวาง ทุกแง่ทุกมุมแล้ว ในที่สุดก็ลงมติพร้อมกันตามที่<br />

คณะกรรมการพุทธสมาคมแห่งกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. นำ<br />

เสนอ ต่อมาได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อติดต่อ<br />

หาสถานที่เช่าเป็นสำนักสงฆ์ชั่วคราว ได้พบบ้านเลขที่<br />

705 Wayne Avenue, Silver Spring, MD ได้ตัดสิน<br />

ใจเช่ากับเจ้าของบ้านหนึ่ง<strong>ปี</strong> ในอัตราค่าเช่าเดือนละ<br />

๓๕๐.๐๐ เหรียญสหรัฐฯ<br />

ส่วนการนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่ประจำปฏิบัติ<br />

ศาสนกิจนั้น พ.อ.วิเชียร บุรณศิริ นายกพุทธสมาคมฯ<br />

ได้ติดต่อขอความเมตตาจากพระมหาโสบิน โสปาโก<br />

หัวหน้าสงฆ์วัดไทยลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย ได้<br />

พิจารณาสงเคราะห์ และท่านได้ทำหนังสือกราบ<br />

เรียนไปยังพระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ<br />

อนุจารี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เพื่อขอความ<br />

เมตตาได้กรุณาส่งพระสงฆ์มาอยู ่ประจำปฏิบัติศาสนกิจ<br />

ในวันเข้าพรรษา ซึ่งจะได้ถือเป็นปฐมฤกษ์ เปิดสำนัก<br />

สงฆ์ในวันนั้นด้วย<br />

พันเอกวิเชียร์ บุรณะศิริ นายกพุทธสมาคมคนแรก<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

35


พระธรรมทูตชุดแรกของวัดไทยกรุง<br />

วอชิงตัน, ดี.ซี. เข้าปฏิบัติศาสนกิจประจำ<br />

ด้วยพุทธานุภาพและแรงศรัทธาของชุมชน<br />

ชาวไทย ในวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ (1974)<br />

เป็นวันชาติสหรัฐอเมริกา และประจวบเหมาะตรงกับ<br />

วันเพ็ญเดือน ๘ เป็นวันอาสาฬหบูชา ท่านพระครู<br />

พิบูลโพธาภิรัต (คูณ บุญธรรม) และพระปลัดวรศักดิ์<br />

ทีปงฺกโร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ท่าพระจันทร์<br />

กรุงเทพมหานคร ได้เดินทางมาถึงวอชิงตัน, ดี.ซี. เพื่อ<br />

เข้าอยู ่ประจำปฏิบัติศาสนกิจตามคำนิมนต์ณ สำนักสงฆ์<br />

ตั้งอยู ่ที่705 Wayne Avenue, Silver Spring, Maryland<br />

เมื่อครบ ๓ เดือน หลังออกพรรษาแล้ว ในเดือน<br />

ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ พระปลัดวรศักดิ์ ทีปงฺกโร ได้<br />

เดินทางกลับเมืองไทยเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ<br />

ต่อมา พ.อ.วิเชียร บุรณศิริ นายกพุทธสมาคมฯ ได้<br />

ติดต่อกับท่านพระมหาโสบิน โสปาโก หัวหน้าสงฆ์<br />

วัดไทยลอสแองเจลิส ได้พิจารณาเมตตาส่งพระธรรม<br />

ทูตรูปใหม่มาแทน พระมหาโสบิน โสปาโก ได้นิมนต์<br />

พระมหาเกลี้ยง เตชวโร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่<br />

วัดไทยลอสแองเจลิส เดินทางมาช่วยปฏิบัติศาสนกิจ<br />

ณ สำนักสงฆ์อยู่ร่วมกับท่านพระครูพิบูลโพธาภิรัต<br />

หลังจากนั้นประมาณเดือนมกราคม พ.ศ.<br />

๒๕๑๗ (1975) พระครูพิบูลโพธาภิรัต ขอเดินทาง<br />

กลับประเทศไทย เพราะมีภาระจำเป็น ไม่สามารถ<br />

เดินทางกลับมาอยู่ประจำสำนักสงฆ์ได้อีก ท่านนายก<br />

พุทธสมาคมฯ ได้ติดต่อกับหัวหน้าสงฆ์วัดไทย<br />

ลอสแองเจลิสอีกครั้ง ท่านพระมหาโสบิน โสปาโก จึงได้<br />

ทำหนังสือนิมนต์ พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท แห่ง<br />

วัดวชิรธรรมสาธิต พระโขนง กรุงเทพฯ ประกอบกับ<br />

ท่านพระมหาเกลี้ยง เตชวโร ได้เขียนจดหมายส่วนตัว<br />

ไปขอความเมตตาจากท่านพระมหาสุรศักดิ์ให้มาอยู่<br />

ร่วมปฏิบัติศาสนกิจ ณ สำนักสงฆ์ ดังนั้น เมื่อวันที่<br />

๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ (1975) พระมหาสุรศักดิ์<br />

ชีวานนฺโท ได้เดินทางมาถึงวอชิงตัน, ดี.ซี. ตามคำนิมนต์<br />

และได้อยู่ประจำปฏิบัติศาสนกิจจนถึงปัจจุบันนี้<br />

เมื่อมีพระสงฆ์มาอยู่ประจำแล้ว การดำเนิน<br />

งานเพื่อหาทุนจัดตั้งวัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์<br />

ของพุทธสมาคมฯ ก็ดำเนินมาด้วยความราบรื่นและ<br />

รวดเร็ว บรรดาท่านสาธุชนผู ้ใจบุญทั้งหลายทั้งในเขต<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แมรี่แลนด์ เวอร์จิเนีย ตลอดถึงรัฐ<br />

ห่างไกลและรัฐใกล้เคียง ต่างก็ให้ความร่วมมือร่วมใจ<br />

บริจาคสมทบทุนในการจัดตั้งวัดด้วยกำลังศรัทธาอัน<br />

แรงกล้าอย่างน่าอนุโมทนาและชื่นชมยิ่ง ทำให้พุทธ<br />

36 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


สมาคมฯ สามารถซื้อบ้านหลังที่เช่าอยู่นั้นถวายเป็น<br />

สมบัติของพระพุทธศาสนาสำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม<br />

พ.ศ. ๒๕๑๙ (ค.ศ.1976) ในราคา ๕๒,๕๐๐ เหรียญ<br />

สหรัฐฯ<br />

เนื่องจากอาคารของวัดไทยฯ ดี.ซี.แห่งนี้ยัง<br />

คับแคบ ไม่เพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกแก่ท่าน<br />

สาธุชนทั้งหลายที่มาร่วมบำเพ็ญกุศลได้อย่างทั่วถึง<br />

โดยเฉพาะในคราวที่วัดมีงานช่วงฤดูหนาว ทำให้ต้อง<br />

เข้าไปแออัดยัดเยียดกันอยู ่ภายในอาคาร อีกประการ<br />

หนึ่ง ทางวัดได้ขยายกิจกรรม อันอำนวยประโยชน์<br />

แก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น เช่น เปิดสอนธรรมภาคปฏิบัติ<br />

การสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การฝึก<br />

สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นกิจกรรมสำคัญ<br />

ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงจำเป็นที่จะต้องหา<br />

สถานที่แห่งใหม่<br />

กลาง<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๒๐ (ค.ศ.1977) คณะกรรมการ<br />

พุทธสมาคมแห่งกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้ประชุมกัน<br />

มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าควรจัดหาสถานที่ใหม่ เพื่อให้<br />

เหมาะสมกับการที่จะจัดตั้งเป็นวัดให้สมบูรณ์ได้ต่อไป<br />

ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง<br />

เรียกว่า “คณะกรรมการจัดหาที่วัดใหม่” คณะกรรมการ<br />

ชุดนี้ได้ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ <strong>ปี</strong>เศษ พบ<br />

สถานที่ที่อยู่ในข่ายความสนใจของกรรมการฯ กว่า<br />

๑๐ แห่ง และได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่ของ<br />

พุทธสมาคมฯหลายครั้ง แต่ผลที่ออกมายังไม่เป็นที่<br />

พอใจของทุกฝ่าย<br />

ย้ายจากวัดแรก สู ่แห่งที่สองบนถนน GEORGIA<br />

และสู่แห่งที่สามบนถนน LAYHILL<br />

ในที่สุด เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓<br />

(ค.ศ. 1980) คณะกรรมการฯ ได้พบบ้านเลขที่ <strong>90</strong>33<br />

Georgia Avenue, Silver Spring, Maryland 20910<br />

ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากที่วัดเก่าเหมาะจะเป็นศูนย์กลาง<br />

สำหรับคนไทย สะดวกในการไปมา หาง่ายไม่ลำบาก<br />

เป็นสถานที่ปลอดโปร่ง ร่มรื่นเป็นรมณียสถานเหมาะ<br />

สมสำหรับการตั้งวัดกว่าที่อื่นๆ คณะกรรมการจึง<br />

นำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ของพุทธสมาคมฯ อีก<br />

ครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้อภิปรายกันในประเด็นต่างๆ<br />

อย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมจนเป็นที่พอใจของทุก<br />

ฝ่ายแล้ว จึงลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ซื้ออาคารสถานที่<br />

แห่งนี้ ซึ่งเจ้าของประกาศขายในราคา ๒๖๐,๐๐๐<br />

เหรียญสหรัฐฯ คณะกรรมการได้ต่อรองราคา ซื้อได้<br />

ในราคา ๒๔๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ และได้ทำสัญญา<br />

ซื้อบ้านหลังนี้โดยได้ย้ายเข้าไปอยู ่เมื่อวันที่๗ ธันวาคม<br />

พ.ศ. ๒๕๒๓ (ค.ศ. 1980)<br />

วัดได้ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาที่บ้านเลข<br />

ที่ <strong>90</strong>33 Georgia Ave. เป็นระยะเวลา ๕ <strong>ปี</strong>เศษ<br />

คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า อาคารสถานที่ไม่<br />

เพียงพอต่อกิจกรรมของวัดที่เพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ<br />

คณะกรรมการฯ จึงได้จัดหาสถานที่แห่งใหม่อีกครั้ง<br />

และตั้งวัดอย่างถาวร ในที่สุดได้สถานที่เหมาะสม จึง<br />

ตกลงซื้ออาคาร เลขที่ 134<strong>40</strong> Layhill Road, Silver<br />

Spring, Maryland 20<strong>90</strong>6 พร้อมทั้งที่ดิน ๕ เอเคอร์<br />

ในราคา ๒๖๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ และได้สร้างห้อง<br />

พระประธานขึ้นติดกับตัวอาคารเดิม<br />

นิมิตมงคลใหม่ วันย้ายสู่วัดปัจจุบัน<br />

ในเวลาเย็นของวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.<br />

๒๕๒๙ (ค.ศ. 1986) ซึ่งเป็น “วันอาสาฬหบูชา” ตรง<br />

กับวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำเดือน ๘ คณะกรรมการฯ และ<br />

พุทธศาสนิกชนได้อัญเชิญหลวงพ่อ “พระพุทธมงคล<br />

วิมล ดี.ซี.” ซึ่งเป็นพระประธานประจำวัดไทยฯดี.ซี.<br />

มาตลอดขึ้นประดิษฐาน ณ ห้องพระประธานที่แห่งใหม่<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

37


นับว่าเป็นมงคลนิมิตหมายคล้ายกับวันที่พระพุทธองค์<br />

เสด็จจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยาไปยังป่าอิสิป-<br />

ตนมฤคทายวัน เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ในสมัยพุทธกาล<br />

เมื่อย้ายเข้าอยู่ประจำที่แห่งใหม่แล้ว คณะสงฆ์<br />

และคณะกรรมการวัดฯ ได้ดำเนินการขออนุญาต<br />

จัดตั้งวัดให้ถูกต้องตามกฎหมายทางการสหรัฐฯ เมื่อ<br />

ทางเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาเอกสาร และวัตถุประสงค์<br />

ของการจัดตั้งเป็นวัดโดยถี่ถ้วนแล้ว ได้แนะนำให้<br />

กรรมการวัดดัดแปลงอาคารสถานที่ให้ถูกต้องตามกฎ<br />

ระเบียบของทางการทุกอย่าง ทางคณะกรรมการวัดฯ<br />

ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางการทุกขั้นตอน<br />

จนได้รับอนุญาตให้เป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย โดย<br />

สมบูรณ์ทุกประการ ตั้งแต่วันที่๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕<br />

(1992)<br />

หลังจากได้รับอนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์<br />

แล้ว คณะกรรมการวัดได้ประชุมกัน มีมติเป็นเอกฉันท์<br />

ตั้งอนุกรรมการสร้างอุโบสถศาลาขึ้นคณะหนึ่ง<br />

คณะกรรมการชุดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย<br />

ด้วยความเสียสละอดทน โดยได้เริ่มดำเนินการขอ<br />

อนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.<br />

๒๕๓๖ (1993) ในขณะที่รอการอนุญาตจากทาง<br />

เทศบาล ทางวัดได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่<br />

๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ตรงกับวันวิสาขบูชา ต่อมา<br />

เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (1994) ได้รับอนุญาต<br />

ให้ก่อสร้างได้<br />

ทางคณะอนุกรรมการฯ จึงได้ตกลงเซ็นสัญญา<br />

การก่อสร้าง กับบริษัท Warder & Associates Inc.<br />

ในราคา ๑,๑๔๓,๘๘๓ เหรียญสหรัฐฯ และได้เริ่มลงมือ<br />

ก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ศาลาหลังนี้<br />

เป็นศาลา ๒ ชั้น มีลักษณะเป็นทรงไทยผสม มีขนาด<br />

กว้าง ๔๐ ฟุต ยาว ๑๐๐ ฟุต ชั้นบนใช้เป็นอุโบสถ<br />

ประดิษฐานองค์พระประธานเป็นที่ประกอบสังฆกรรม<br />

และพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นที่ปฏิบัติวิปัสสนา<br />

กรรมฐาน สามารถบรรจุคนได้ประมาณ ๓๐๐ คน ชั้นล่าง<br />

ใช้เป็นห้องโถงอเนกประสงค์ สามารถดัดแปลงเป็น<br />

ห้องประชุมห้องเรียน ห้องจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณี<br />

วัฒนธรรมต่างๆ การก่อสร้างศาลาได้ดำเนินมาโดย<br />

ลำดับ จนสำเร็จเรียบร้อยตามสัญญาทุกประการ<br />

เมื่อการสร้างวัดได้เสร็จสมบูรณ์ มีอาคาร<br />

สถานที่เป็นถาวรวัตถุมั่นคงแล้ว คณะสงฆ์และ<br />

คณะกรรมการวัดฯ ได้ประชุมตกลงจัดงานสมโภช<br />

ฉลองอุโบสถศาลา ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เพื่อให้<br />

วัดมีฐานะอันสมบูรณ์ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ<br />

โดยได้จัดงานขึ้นเมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ ๑๗-๑๘<br />

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. 1994) มี ฯพณฯ<br />

มนัสพาสน์ ชูโต เอกอัครราชทูต เป็นประธานจัดงาน<br />

ในการนี้ ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ-<br />

วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย เสด็จเป็นองค์ประธาน<br />

ประกอบพิธีตัดลูกนิมิตวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

ในการจัดงานครั้งนี้ สมัชชาสงฆ์ไทยใน<br />

สหรัฐอเมริการับเป็นเจ้าภาพร่วมกับวัดไทยกรุง<br />

วอชิงตัน, ดี.ซี. จัดให้มีการประชุมสมัชชาสงฆ์ฯ สมัย<br />

สามัญประจำ<strong>ปี</strong> ครั้งที่ ๑๙/๒๕๓๘ ในวันที่ ๑๕-๑๖<br />

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการสมัชชาสงฆ์<br />

ไทยในสหรัฐอเมริกา และพระธรรมทูตจากวัดต่างๆ<br />

พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ เจ้าคณะ พระสังฆาธิการ<br />

จากประเทศไทย และคณะผู้บริหาร คณาจารย์จาก<br />

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เดินทาง<br />

38 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


เข้าร่วมงานครั้งนี้จำนวนมาก โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จ<br />

พระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) วัดสระเกศ<br />

ราชวรมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่<br />

หนตะวันออก ได้เมตตานุเคราะห์มีบัญชาให้ พระเดช<br />

พระคุณ พระธรรมราชานุวัตร ประธานสงฆ์วัดไทย<br />

ลอสแองเจลิส เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์<br />

อนึ่ง โดยการสนับสนุนของสภาสังคมสงเคราะห์<br />

แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการ<br />

ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ งานฉลองสิริราชสมบัติ<br />

ครบ ๕๐ <strong>ปี</strong>ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวฯ และขอ<br />

พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม<br />

ราชินีนาถ ประดิษฐานที่อุโบสถศาลา นับเป็นเกียรติ<br />

และสิริมงคลต่อพสกนิกรชาวไทยในต่างแดนเป็น<br />

อย่างยิ่ง<br />

ทำบุญยกฉัตรพระประธานและงานทำบุญ<br />

อายุวัฒนมงคล ๖ รอบ ๗๒ <strong>ปี</strong> หลวงพ่อชีวานันทะ<br />

เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์<br />

ชีวานนฺโท เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖ รอบ ๗๒ <strong>ปี</strong><br />

ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (1997) คณะ<br />

สงฆ์ คณะกรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ วัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้จัดงานทำบุญถวายเป็นมุทิตา<br />

สักการะ ระหว่างวันที่ ๖-๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐<br />

มีการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ และปฏิบัติ<br />

ธรรมเป็นธรรมสมโภช โดยสภาสังคมสงเคราะห์<br />

แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง “ประเทศไทยใน<br />

ปัจจุบันและอนาคต” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ<br />

ราชวิทยาลัย สัมมนาเรื่อง “พระธรรมทูตไทย ยุคผู้ให้<br />

และผู ้นำ” มี พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทะ) และ<br />

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นองค์บรรยาย<br />

ธรรม และ ฯพณฯ นิตย์ พิบูลย์สงคราม เอกอัครราชทูต<br />

แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง พระธรรมทูตไทยใน<br />

สหรัฐอเมริกาในทศวรรษหน้า<br />

หลังเสร็จสิ้นการจัดงานครั้งนี้ ทำให้เกิดความ<br />

ร่วมมือกันในคณะพระธรรมทูต และอุบาสกอุบาสิกา<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

39


ช่วยกันสนับสนุนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วย<br />

การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการสนับสนุน<br />

วิทยากรและเทคนิคของบริษัท IIRT. Corp. ร่วมกับ<br />

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา และวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. จัดอบรมโครงการศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา<br />

ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับพระธรรมทูตและ<br />

ผู้สนใจ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ (1998) ทำให้<br />

พระธรรมทูตมีความรู ้ความสามารถสร้างโฮมเพจเวปไซต์<br />

พัฒนางานเผยแผ่พุทธศาสนาตามการเปลี่ยนแปลง<br />

ของโลกในแต่ละสมัยที่ดำเนินไปได้อย่างทันสถานการณ์<br />

หลวงตาชีได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น<br />

เจ้าคุณพระวิเทศธรรมรังษี<br />

เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม<br />

พระชนมพรรษา ๖ รอบ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒<br />

(1999) พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์) ได้รับ<br />

พระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ<br />

ที่ “พระวิเทศธรรมรังษี”<br />

คณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. และคณะศิษยานุศิษย์ ได้จัดงานทำบุญฉลอง<br />

สัญญาบัตรพัดยศ และทำบุญวันคล้ายวันเกิดแด่<br />

พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) ในวันที่ ๗-๑๑<br />

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ (2000) มีการจัดปฏิบัติธรรม<br />

สัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศทั่วโลก ดำเนิน<br />

การโดยมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย และสมัชชาสงฆ์<br />

ไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

ธรรมสมโภช ๘๐ <strong>ปี</strong> พระวิเทศธรรมรังษี<br />

(หลวงตาชี)<br />

เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อพระวิเทศธรรมรังษี<br />

เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๘๐ <strong>ปี</strong> วันที่ ๙ มิถุนายน<br />

พ.ศ. ๒๕๔๘ (ค.ศ. 2005)<br />

คณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. และคณะศิษยานุศิษย์ ได้จัดงานทำบุญวันคล้าย<br />

วันเกิดแด่พระเดชพระคุณ ในวันที่ ๓-๑๒ มิถุนายน<br />

พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการจัดปฏิบัติธรรม สัมมนาพระธรรม<br />

ทูตสายต่างประเทศทั่วโลก ทำบุญเป็นธรรมสมโภช<br />

การประชุมของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สมัย<br />

สามัญประจำ<strong>ปี</strong> ครั้งที่ ๒๙/๒๕๔๘<br />

ในการจัดงานครั้งนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์<br />

อาคารห้องสมุดหลวงตาชี โดยมี พระเดชพระคุณ<br />

พระวิสุทธาธิบดี กรรมการมหาเถรสมาคม วัดสุทัศน-<br />

เทพวราราม เป็นประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ม.จ. หญิง<br />

วุฒิเฉลิม วุฒิชัย เป็นประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส<br />

ธรรมสมโภช ๘๔ <strong>ปี</strong> พระวิเทศธรรมรังษี<br />

(หลวงตาชี)<br />

เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อพระวิเทศธรรมรังษีเจริญ<br />

อายุวัฒนมงคลครบ ๘๔ <strong>ปี</strong> วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.<br />

๒๕๕๒ (ค.ศ. 2009)<br />

คณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. และคณะศิษยานุศิษย์ ได้จัดงานทำบุญวันคล้าย<br />

วันเกิดแด่พระเดชพระคุณ ในวันที่ ๑-๗ มิถุนายน พ.ศ.<br />

๒๕๕๒ มีการจัดปฏิบัติธรรม ทำบุญเป็นธรรมสมโภช<br />

จัดสัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็น<br />

ครั้งแรกในการนิมนต์พระธรรมทูตจากองค์กรต่างๆ<br />

ทั่วทุกทวีป เช่น สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป<br />

องค์กรพระธรรมทูตไทยแห่งสหราชอาณาจักร และ<br />

โอเชียเนีย และประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ประเทศ<br />

อินเดีย-ญี่ปุ ่น ทำให้เกิดปฏิญญากรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ขึ้น<br />

ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ<br />

ระหว่างองค์กรพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ดำเนิน<br />

การโดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสมัชชาสงฆ์<br />

ไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

<strong>40</strong> • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ธรรมสมโภช ๘๘ <strong>ปี</strong> พระวิเทศธรรมรังษี<br />

(หลวงตาชี)<br />

เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อพระวิเทศธรรมรังษี<br />

เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๘๘ <strong>ปี</strong> วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.<br />

๒๕๕๖ (2013)<br />

คณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. และคณะศิษยานุศิษย์ ได้จัดงานทำบุญอายุวัฒน<br />

มงคลขึ้น ระหว่างวันที่ ๓-๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

มีการจัดปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาถวายเป็น<br />

อาจริยบูชา ๓ วัน และร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬา<br />

ลงกรณราชวิทยาลัย จัดสัมมนาทางวิชาการพระธรรมทูต<br />

สายต่างประเทศทั่วโลก เรื่องการสอนวิปัสสนากรรมฐาน<br />

ในโลกตะวันตก มีการแสดงปาฐกถา โดย พระพรหม<br />

บัณฑิต อธิการบดี มหาจุฬาฯ และพระอาจารย์ปสันโน<br />

แห่งวัดอภัยคีรี (สายหลวงพ่อชา สุภทฺโท) และจัด<br />

ประชุมของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สมัย<br />

สามัญประจำ<strong>ปี</strong> ครั้งที่ ๓๗/๒๕๕๖ มีพระสงฆ์เข้าร่วม<br />

๓๘๕ รูป<br />

การจัดงาน<strong>ปี</strong>นี้ มีกรรมการมหาเถรสมาคม<br />

มาร่วม อาทิเช่น พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาส<br />

วัดยานนาวา, พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส<br />

อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย<br />

ได้ถวายใบประกาศเกียรติคุณ “พระธรรมทูตต้นแบบ”<br />

แด่ พระวิเทศธรรมรังษี อีกด้วย<br />

การจัดสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี ตาม<br />

โครงการที่ได้วางศิลาฤกษ์ตั้งแต่พระเดชพระคุณ<br />

พระวิเทศธรรมรังษี มีอายุ ๘๐ <strong>ปี</strong> ได้ปรับเปลี่ยน<br />

โครงการสร้างห้องสมุดหลวงตาชี เป็นการสร้างอาคาร<br />

เอนกประสงค์อาคารหลังนี้ ชั้นใต้ดิน (Basement)<br />

เป็นห้องเรียน ห้องพักครูภาคฤดูร้อน ห้องอเนกประสงค์<br />

ห้องน้ำ ห้องสุขา, ชั้นที่ ๑ เป็นห้องสำนักงาน ห้อง<br />

หลวงพ่อดำ ห้องฉันภัตตาหาร ห้องครัว ห้องสุขา,<br />

ชั้นที่ ๒ ห้องสมุดหลวงตาชี ห้องพักพระสงฆ์<br />

ห้องพักรับรอง ห้องสุขา โดยมีลิฟท์อยู ่ภายในอาคาร<br />

นอกจากนี้ได้บูรณะลานจอดรถ และปรับปรุงลานวัด<br />

สิ้นงบประมาณการก่อสร้างจำนวน ๒,๗๔๔,๙๔๑<br />

เหรียญสหรัฐคณะกรรมการได้ดำเนินการก่อสร้าง<br />

อย่างต่อเนื่องจนสำเร็จเรียบร้อย และได้เปลี่ยนชื่อ<br />

เป็น “อาคาร ๘๘ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี” ได้ประกอบพิธีเปิด<br />

ป้ายอาคารใหม่ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

(ตรงกับวันเกิดหลวงตาชีพอดี)<br />

ธรรมสมโภช ๘๙ <strong>ปี</strong> พระวิเทศธรรมรังษี<br />

(หลวงตาชี)<br />

๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ค.ศ. 2014)<br />

พระวิเทศธรรมรังษี (หลวงตาชี) เจริญอายุวัฒนมงคล<br />

๘๙ <strong>ปี</strong> คณะศิษย์หลวงตาชี คณะศิษย์เก่ามหาจุฬา<br />

ลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวอชิงตัน, ดี.ซี. รับเป็น<br />

เจ้าภาพ และคณะผู้มีจิตศรัทธาได้จัดงานทำบุญ<br />

อายุวัฒนมงคลถวายเป็นอาจริยบูชามุทิตาสักการะ<br />

ระหว่างวันที่ ๕-๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

ในการจัดงานครั้งนี้ มีพระเถระที่เป็นผู ้ปกครอง<br />

ดูแลคณะสงฆ์ และพระธรรมทูตสายต่างประเทศ<br />

เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม เดินทางมาอนุเคราะห์<br />

ด้วยเมตตาธรรม อาทิเช่น พระพรหมสุธี เจ้าอาวาส<br />

วัดสระเกศ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระภิกษุ<br />

ไปต่างประเทศ และ พระพรหมดิลก เจ้าอาวาส<br />

วัดสามพระยา เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย<br />

พระเถรานุเถระจากทั่วโลกร่วมงานเป็นจำนวนมาก<br />

เป็นประวัติการณ์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

41


พระวิเทศธรรมรังษี รับพระมหากรุณาธิคุณ<br />

เลื่อนสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นราช ที่<br />

พระราชมงคลรังษี<br />

เนื่องในวโรกาสมงคลสมัยวันเฉลิมพระชนม-<br />

พรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู ่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดฯ เลื่อนสมณศักดิ์<br />

พระวิเทศธรรมรังษี (หลวงตาชี) เป็นพระราชาคณะ<br />

ชั้นราช ในพระราชทินนาม ที่พระราชมงคลรังษี สุธีวิเทศ<br />

ศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระ<br />

ราชาคณะชั้นราช สถิต ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา นำความปลาบปลื้ม<strong>ปี</strong>ติ<br />

ยินดีมายังศิษยานุศิษย์โดยทั่วกัน<br />

คณะศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่เคารพ<br />

นับถือในพระเดชพระคุณ ได้กำหนดจัดงานทำบุญ<br />

อายุวัฒนมงคลครบ ๙๐ <strong>ปี</strong> และทำบุญฉลองสมณศักดิ์<br />

ชั้นราช ที่พระราชมงคลรังษีระหว่างวันที่๖-๗ มิถุนายน<br />

พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

ไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศสหรัฐอเมริกายาวนาน<br />

ที่สุด<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เจริญรุ ่งเรืองตั้งหลัก<br />

ปักฐานอย่างมั่นคงจนถึงวันนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ถึงความ<br />

ศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อพระราชมงคลรังษี(หลวงตาชี)<br />

ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธานำพาสืบสานพระพุทธ<br />

ศาสนา ทั้งการสร้างสรรค์ด้านศาสนวัตถุ ศาสนพิธี<br />

ศาสนบุคคลและเผยแผ่ศาสนธรรม<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ดำรงอยู่คู่กับพระ<br />

ราชมงคลรังษี(หลวงตาชี) ได้อำนวยประโยชน์แก่ชุมชน<br />

สังคม ทั้งด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ภาษาไทย<br />

ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามอย่างกว้างขวาง<br />

และฝังรากลึกเป็นปึกแผ่นในแดนดินถิ่นสหรัฐอเมริกา<br />

ย่อมเป็นเครื่องชี้และยืนยันถึงความรักความสมัครสมาน<br />

สามัคคีที่มั่นคงของชุมชนชาวไทยและเป็นนิมิตหมาย<br />

แห่งความเจริญรุ ่งเรืองของพุทธศาสนาในต่างแดนชั่ว<br />

กาลนาน<br />

ฉลองสมโภชมงคลกาลผ่านเวลา ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

จาก<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๗ (1974) ถึง พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

(2014) วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นพุทธาราม<br />

ณ แดนดินถิ่นสหรัฐอเมริกา รวมเวลา ๔๐ <strong>ปี</strong>เริ่มต้นจาก<br />

“ชมรมชาวพุทธ” ของกลุ ่มสายธารแห่งศรัทธาชาวไทย<br />

ผู ้จากบ้านเกิดเมืองนอนมาอยู ่ในต่างแดน รวมกลุ ่มกัน<br />

มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๔ (1971) ความมุ่งมั่นตั้งใจ<br />

ใช้วิริยอุตสาหะหวังจะมีวัดเกิดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมใจ<br />

ของชาวพุทธ ด้วยความรักความสามัคคีของหลายๆ<br />

ฝ่าย ทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักศึกษา ทำให้<br />

สำเร็จผลดังประจักษ์ชัดด้วยสายตาในปัจจุบัน<br />

พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) หรือพระมหา<br />

สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท รับนิมนต์มาปฏิบัติหน้าที่เป็น<br />

พระธรรมทูตประจำวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ตั้งแต่<br />

ช่วงเริ่มต้นของวัดจนกระทั่งปัจจุบัน ช่วงอายุของท่าน<br />

ขณะนั้น ๕๐ <strong>ปี</strong>อยู่ประจำต่อเนื่องมาถึงบัดนี้จนอายุ<br />

๙๐ <strong>ปี</strong>แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นพระมหาเถระพระธรรมทูต<br />

42 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


Phra RajaMongkolrangsi<br />

His ninetieth years<br />

of dedication to Buddhism and<br />

Forty years of <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.<br />

USA (1974 - present)<br />

Introduction<br />

The promotion of <strong>Thai</strong> Buddhism in the U.S.<br />

by missionary monks started in 1969 with the<br />

journey around the world of Somdej Phra<br />

Phutthajahn (Aj Asapamahathera), the Director<br />

General of <strong>Wat</strong> Mahathat Yuwaratrangsarit,<br />

Bangkok while he was “Phra Bhimoldhamma”.<br />

Later many venerable monks such as<br />

Somdej Phra Phutthajahn (Kiao Uppasenamahathera)<br />

from <strong>Wat</strong> Saket, Somdej Phra Maha<br />

Rajamangalajahn (Chuang Worapunyamahathera)<br />

from <strong>Wat</strong> Pak Nam, and Phra Bhramagunabhorn<br />

(Prayudh Payutto) traveled to the U.S. and<br />

other countries. Other groups of <strong>Thai</strong> Buddhist<br />

monks then started to travel abroad to establish<br />

temples or meditation centers as a gathering<br />

places for <strong>Thai</strong> communities abroad.<br />

The initiative in establishing a temple<br />

for Buddhist residents in the local area began<br />

when several <strong>Thai</strong> communities in <strong>Washington</strong>,<br />

D.C., Maryland, Virginia, and neighboring<br />

states recognized that although this country was<br />

modern and developed in many ways, there<br />

was a spiritual void that only a Buddhist temple<br />

could fill. A temple would provide a place for <strong>Thai</strong><br />

people to come and cultivate themselves by<br />

listening to the teachings of Lord Buddha and<br />

participate in religious ceremonies in a familiar<br />

spiritual environment and language.<br />

The Establishment of <strong>Wat</strong><br />

<strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.<br />

Early in 1971, a group of <strong>Thai</strong> people formed<br />

the Assembly of Buddhists. On several occasions,<br />

they invited monks to perform religious ceremonies,<br />

providing an opportunity for the people to<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

43


In order to raise funds, he initiated a variety<br />

of activities and festivities including the first<br />

Songkran festival which was held at the<br />

Ambassador’s residence in April 1974. Monks<br />

from the <strong>Thai</strong> temple in Los Angeles were invited<br />

to perform the religious ceremony at this festival.<br />

After Songkran the Association had raised a<br />

total of US$3,744.33 in its treasury.<br />

make merit. Later on that year, members of the<br />

Assembly of Buddhists unanimously agreed to<br />

rename to the Buddhist Association in <strong>Washington</strong>,<br />

D.C.<br />

The first president of the Association was<br />

Colonel Pramoch Thavonchanta, the Military<br />

Attache of the Royal <strong>Thai</strong> Embassy. The Ambassador<br />

of <strong>Thai</strong>land to the U.S., His Excellency Sunthorn<br />

Hongladarom, served as the first advisor to the<br />

Association which consisted of other fourteen<br />

members.<br />

Upon the Ambassador’s return to <strong>Thai</strong>land,<br />

his successor, His Excellency Anand Panyarachun,<br />

assumed the role of advisor. The task of fund<br />

raising for a new monks’ residence was begun.<br />

The source of main income came from the donation<br />

of the general public.<br />

Late in 1973, after Colonel Thavonchanta<br />

returned to <strong>Thai</strong>land, the Association invited Colonel<br />

Vichian Buranasiri, the Education Counselor<br />

of the Royal <strong>Thai</strong> Embassy, to be the president<br />

in November. Colonel Buranasiri reorganized the<br />

committee structure of the Association to facilitate<br />

its growth and progress.<br />

The First Monks’ Residence<br />

Having sufficient funds, members of the Association<br />

conceived the idea of first to establishing<br />

a monks’ residence and second to invite at least<br />

two monks from <strong>Thai</strong>land to perform religious<br />

ceremonies in order to increase the involvement<br />

and support of the <strong>Thai</strong> community in the area.<br />

In the Education Counselor’s meeting room on<br />

May 1, 1974 at 08:00 pm, the Association called<br />

for an open meeting with 28 participants who<br />

were government officials, students, and <strong>Thai</strong>s of<br />

different occupations in order to obtain their<br />

opinions on this idea. Based on the comments and<br />

suggestions from this meeting, the Association<br />

agreed to use the funds in the treasury to carry<br />

out the proposal. A committee was formed and<br />

directed to find a rental place to be the new<br />

temporary monks’ residence. The committee finally<br />

found a house for rent at 705 Wayne Avenue,<br />

Silver Spring, Maryland. The rental agreement was<br />

one year and the monthly rent was US$350.00<br />

Colonel Vichian Buranasiri, the president<br />

of the Association, contacted Phra Maha Sobin<br />

Sopago, the chief of monks at <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> Los<br />

Angeles, California requesting for monks. Phra<br />

Maha Sobin then wrote a letter to Phra Dhamma<br />

Kosajahn (Chob Anujaree) of <strong>Wat</strong> Mahathat<br />

Yuwaratrangsarit, asking him to send monks<br />

44 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


to come and stay at the new residence. The<br />

new monks will lead in merit-making and others<br />

religious ceremonies on the first day of the<br />

Buddhist’s Lent, which would also be a grand<br />

opening day for the residence.<br />

The First Group of Missionary Monk<br />

Performed Buddhist Ceremonies<br />

On July 4, 1974 which was U.S. Independence<br />

Day and Asalha Puja Day, the first two<br />

monks—Phra Kru Phibulbodhabiratana (Koon<br />

Boontum) and Phra Palad Vorasakdi Dipangkaro<br />

from <strong>Wat</strong> Mahathat Yuwaratrangsarit in<br />

Bangkok—arrived and resided at the house at<br />

705 Wayne Avenue, Silver Spring, Maryland.<br />

Three months later, in October 1974,<br />

Phra Maha Kliang Tejawaro was invited from<br />

the <strong>Thai</strong> temple in Los Angeles to assume the<br />

duties of Phra Palad Vorasakdi Dipangkaro who<br />

had returned to <strong>Thai</strong>land due to health issues.<br />

The invitation was made possible by Phra Maha<br />

Sobin Sopago, the chief of monks at <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong><br />

Los Angeles, who was contacted by Colonel<br />

Vichian Buranasiri.<br />

In January 1975, Phra Kru Phibulbodhabiratana<br />

also returned to <strong>Thai</strong>land. On February 11,<br />

1975, Phra Maha Surasak Chiwanantha of <strong>Wat</strong><br />

Vajiradhammasadhit in Bangkok arrived to assume<br />

position of the Abbot following the invitation of<br />

Phra Maha Sobin Sopako and Phra Maha Kliang.<br />

Furthermore, he still holds this position today but<br />

under the new title of Phra RajaMongkolrangsi.<br />

After the monks have agreed to stay<br />

permanently, the fundraising for the temple becomes<br />

more effective. Laypeople in <strong>Washington</strong>, D.C.,<br />

Maryland, Virginia as well as other states were<br />

willing to donate funds to purchase the rented<br />

house. In July 1976, the Wayne Avenue house<br />

was purchased for US$52,500 by the Association.<br />

However, within a few years, the need for<br />

a larger building became apparent. The house<br />

seemed too small for many religious ceremonies,<br />

especially in winter times when people have to<br />

gathering inside to perform ceremonies. Moreover,<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

45


the temple need to organized more activities<br />

for the communities such as Dhamma practice,<br />

Sunday school, Samatha and Vipassana meditation<br />

which all are very important tasks in promoting<br />

Buddhism.<br />

In the middle of 1977, the Buddhist<br />

Association in <strong>Washington</strong>, D.C. had a meeting<br />

and decided that a larger building was necessary<br />

to establish a new temple. “The New Temple<br />

Committee” was appointed. The committee spent<br />

over three years searching for a proper place and<br />

submitted over ten sites to the Association to<br />

consider, but no conclusion was reached.<br />

The Second Move to Georgia Avenue<br />

and the Third One to Layhill Road<br />

In early July 1980, the committee found a<br />

house at <strong>90</strong>33 Georgia Avenue in Silver Spring,<br />

Maryland. This new location was not far from<br />

the previous temple, easy to commute, and had<br />

a nice landscape. The house selling price was<br />

US$260,000.00 but the Association was able to<br />

negotiate it down to US$2<strong>40</strong>,000.00. The move<br />

was completed on December 7, 1980.<br />

During the five-year period it became<br />

apparent that the Georgia Avenue location would<br />

not be adequate to meet the rapidly growing<br />

needs of its members. The committee therefore<br />

decided to make another move to the house<br />

at 134<strong>40</strong> Layhill Road, Silver Spring, Maryland.<br />

This site has nice surrounding with 5 acres of<br />

land. The purchase price was US$265,000.<br />

Later on a room for the Principal Buddha image<br />

was added to the existing structure.<br />

An Auspicious Move to<br />

the New Temple<br />

On the eve of July 20, 1986 which was<br />

Asalha Puja Day (the full moon of the eighth<br />

lunar month), the committee and laypeople have<br />

relocated the Principal Buddha image “Phra<br />

Buddhamongkol Wimol D.C.” from the house on<br />

Georgia Ave. to be situated at the new location on<br />

Layhill Road. This day in the history was the day<br />

the Lord Buddha travelled from the Bhodi tree in<br />

Bodh Gaya to the Isipatana Forest to preach the<br />

five associates in the ancient times.<br />

46 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


After moving into the new temple on Layhill<br />

Road, the monks and the temple committee did<br />

everything possible to comply with the laws in<br />

the State of Maryland to become recognized as a<br />

true religious temple. <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.<br />

finally received an official permit to function as a<br />

place of worship on June 2, 1992.<br />

A subcommittee for the ordination hall<br />

construction was appointed. This subcommittee<br />

worked diligently to complete the construction<br />

project starting with the permit application on March<br />

5, 1993. While waiting for the local government<br />

to grant the construction permit, the temple organized<br />

the “groundbreaking ceremony” on June 6, 1993,<br />

which was on Visakha Day. On March 5, 1994<br />

the permit was granted to begin the construction.<br />

The subcommittee signed a contract with<br />

Warder & Associates Inc. with the construction<br />

budget of US$1,143,883.00 and started the work<br />

on June 13, 1994. The mixed <strong>Thai</strong> style building<br />

had two stories with the dimension of <strong>40</strong> foot<br />

wide and 100 foot long. The upstairs houses<br />

a worship hall that is used for meditation practices<br />

and religious ceremonies with a capacity of 299<br />

people. The lower level has a large open multipurpose<br />

room with a capacity of 300 people that<br />

is used for social functions, meetings, and can<br />

also be partitioned into a number of classrooms.<br />

The construction was completed according to all<br />

the terms listed in the contract.<br />

The monks and the temple committee organized<br />

the grand opening ceremony on June 17-18,<br />

1995 which included the Blessing of the Cornerstones<br />

and Sema Limit (marking the boundary).<br />

The chairman of the ceremony was His Excellency<br />

Manaspas Xuto, the Ambassador of <strong>Thai</strong>land to<br />

the U.S., and HRH Princess Chulabhorn Walailak<br />

kindly sent HSH Princess Vudhichalerm Vudhijaha<br />

to preside over the ceremony.<br />

In this occasion the Council of the <strong>Thai</strong><br />

Bhikkhus in the U.S.A. and <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>,<br />

D.C. co-hosted the 19 th Seminar of the World Wide<br />

Missionary monks, and the 1995 General Annual<br />

Meeting of the Council of <strong>Thai</strong> Bhikkhus in the<br />

U.S.A. on June 15-16. The event was attended<br />

by the committee of the Council from various<br />

temples, venerable monks from <strong>Thai</strong>land, and<br />

many administrative and teachers from Mahachulalongkornrajavidyalai<br />

University. By the order<br />

of Somdej Phra Phutthajahn (Kiao Uppasenamahathera),<br />

the Region Chief of the Eastern from<br />

<strong>Wat</strong> Saket, Phra Dhammarajanuwatra from <strong>Wat</strong><br />

<strong>Thai</strong> Los Angeles was the Sangha Chairman.<br />

With the support from the National Council<br />

on Social Welfare of <strong>Thai</strong>land, the temple was<br />

allowed to use the emblem of the 50 th Anniversary<br />

Celebrations of His Majesty the King’s Accession<br />

to the Throne and displayed the pictures of<br />

His Majesty the King and Her Majesty the Queen<br />

on the veranda in front of the ordination hall.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

47


The 72 th Birthday Anniversary<br />

Celebrations of Luang Por Chiwananda<br />

To celebrate the 72 th Birthday Anniversary<br />

of Phra Maha Surasak Chivanandho on June<br />

9, 1997, the monks, the temple committee and<br />

laypeople organized many events during June<br />

6-8, 1997. Educational seminars and meditation<br />

workshops were held. The National Council on<br />

Social Welfare of <strong>Thai</strong>land organized “<strong>Thai</strong>land:<br />

Present and Future” seminar, while Mahachulalongkornrajavidyalai<br />

University organized<br />

“<strong>Thai</strong> Missionary Monks: The Age of Givers and<br />

Leaders” seminar led by Phra Dhammakosajarn<br />

(Panya Nandha) and Phra Rajaworamunee<br />

(Prayoon Dhammajitto). His Excellency Nitya<br />

Pibulsonggram, the <strong>Thai</strong> ambassador to the<br />

U.S., gave a speech on “The Next Decade of <strong>Thai</strong><br />

Missionary Monks in the U.S.”<br />

After the celebrations, the missionary monks<br />

and the laypeople started to promote Buddhism<br />

through internet technology. The IIRT Corp<br />

with the collaboration of the Council of the <strong>Thai</strong><br />

Bhikkhus in U.S.A. and <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>,<br />

D.C. organized a course for missionary monks<br />

and the general public called “Buddhism Promotion<br />

through IT Project” in December 1998. The monks<br />

learned how to create homepages to promote<br />

Buddhism in the modern world.<br />

Phra Maha Surasak (pen-name Luangta<br />

Chi) was promoted to the Venerable<br />

Phra Vidhetdhammarangsi<br />

On the 60 th Anniversary Celebrations of<br />

His Majesty the King’s Accession to the Throne<br />

on December 5, 1999, Phra Maha Surasak<br />

Chivanandho (Dhammarat) was promoted to a new<br />

title the Venerable “Phra Vidhetdhammarangsi”.<br />

The Monks and laypeople of <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong><br />

<strong>Washington</strong>, D.C. celebrated this occasion<br />

and his birthday during June 7-11, 2000 by<br />

organizing meditation courses and others<br />

activities. The Mahachulalongkornrajavidyalai<br />

University and the Council have also organized<br />

seminars for worldwide missionary monks.<br />

Phra Vidhetdhammarangsi<br />

(Luangta Chi)’s 80 th Birthday<br />

Anniversary Celebrations<br />

On June 9, 2005, Phra Vidhetdhammarangsi<br />

turned 80 years old. Monks, laypeople of <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong><br />

<strong>Washington</strong>, D.C. and his students hosted the<br />

birthday celebrations for him during June 3-12,<br />

2005. The activity includes meditation workshops,<br />

the 29 th seminar of the worldwide missionary<br />

monks, and the 2005 General Annual Meeting of<br />

the Council of the <strong>Thai</strong> Bhikkhus in the U.S.A.<br />

48 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


The “groundbreaking ceremony” for<br />

“Luangta Chi’s Library Building” was held and<br />

presided over by Venerable Phra Visutthibodi,<br />

a committee member of Maha Thera Association,<br />

<strong>Wat</strong> Sutat Thepwararam who was the Sangha<br />

chairman, and HSH Princess Vudhichalerm<br />

Vudhijaha was the laypeople chairman.<br />

Phra Vidhetdhammarangsi<br />

(Luangta Chi)’s 84 th Birthday<br />

Anniversary Celebrations<br />

On June 9, 2009, Phra Vidhetdhammarangsi<br />

was 84 years old. The Meditation practice and the<br />

seminars of worldwide missionary monks have<br />

been organized to celebrate this occasion during<br />

June 1-7, 2009.<br />

Phra Vidhetdhammarangsi<br />

(Luangta Chi)’s 88 th Birthday<br />

Anniversary Celebrations<br />

On June 9, 2013, Phra Vidhetdhammarangsi<br />

turned 88 years old. The Monks, laypeople of<br />

<strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C. and his students<br />

hosted various activities to celebrate the occasion<br />

during June 3-12, 2013. The activities organized<br />

were meditation workshops, the 37 th seminar of<br />

worldwide missionary monks, and the 2013<br />

General Annual Meeting of the Council of the<br />

<strong>Thai</strong> Bhikkhus in the U.S.A.<br />

This year’s programs were also attended by<br />

the Committee of the Supreme Sangha Council<br />

of <strong>Thai</strong>land. The senior members of the council<br />

include Phra Promvajirayan the abbot of <strong>Wat</strong><br />

Yannawa, Phra Prombundit the abbot of <strong>Wat</strong><br />

Prayurawongsawas, and the rector of Mahachulalongkornrajavidyalai<br />

University. Together they<br />

presented the Missionary Monk Model Certificate<br />

to Phra Vidhetdhammarangsi at this occation.<br />

The new building project called “Luangta<br />

Chi’s 80 Years Building” has been completed<br />

according to the planned schedule. The ground<br />

breaking ceremony was done since Phra Vidhetdhammarangsi<br />

turned 80 years old on June 9 th ,<br />

2005. Moreover, the project Luangta Chi Library<br />

has changed its name to the Multi-Purpose building.<br />

This new building has three levels. The<br />

basement consists of classrooms, the living<br />

quarters for the summer school teachers, the multiusage<br />

room, shower room, and the restrooms.<br />

The first floor consists of main office, a room for<br />

Luang Por Dum, the dining room, kitchen, and the<br />

restrooms. On the second floor consist of Luangta<br />

Chi’s library, monks’ living quarter, guest rooms<br />

and the bathrooms. Also, this building has one<br />

interior elevator for general public. The parking<br />

lot and landscape have also been improved.<br />

The project total cost was US$2,744,941.00.<br />

The temple committee decided to have a name<br />

changed from the Multi-Purpose building to “88 th<br />

years Luangta Chi” and organized to have Luangta<br />

Chi’s Birthday celebration and the grand opening<br />

ceremony of this new building on June 9, 2013.<br />

Phra Vidhetdhammarangsi<br />

(Luangta Chi)’s 89 th Birthday<br />

Anniversary Celebrations<br />

Phra Vidhetdhammarangsi turned 89<br />

years old on June 9, 2014. The monks, <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong><br />

committee, his students, and the Mahachulalongkornrajavidyalai<br />

University’s Alumni in <strong>Washington</strong>,<br />

D.C. organized the merit-making ceremonies to<br />

pay homage to him during June 5-8, 2014.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

49


The Committee Members of the Supreme<br />

Sangha Council of <strong>Thai</strong>land were among the<br />

attendees which includes Phra Promsuthee the<br />

abbot of <strong>Wat</strong> Saket and the Chairman of the<br />

Missionary Monk Affairs, Phra Promdiloke the<br />

abbot of <strong>Wat</strong> Samphraya and the Governor of<br />

Ecclesiastical Province of Bangkok Metropolis<br />

were among the Maha Thera (senior monks) who<br />

kindly came to celebrate this special occasion.<br />

In addition, there were <strong>Thai</strong> Missionary Monks<br />

from all over the world traveled to <strong>Washington</strong>,<br />

D.C. to participate in this memorable event.<br />

Phra RajaMongkolrangsi (Luangta Chi)<br />

On the auspicious occasion of His Majesty<br />

the King’s Birthday December 5 th , 2014 Phra<br />

Vidhetdhammarangsi was promoted to Phra<br />

RajaGhana as Phra RajaMongkolrangsi with the<br />

full title of “Phra RajaMongkolrangsi Sudheevidhetsassanagij<br />

Mahakanisorn BorvornSangharam<br />

Khamavasi Phra RajaGhana”. This auspicious<br />

occasion has brought the joys and delights to<br />

all members of <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong>. The monks, <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong><br />

Committee Members, and <strong>Thai</strong> people in this area<br />

plan to have his <strong>90</strong> th Birthday Celebration together<br />

with the new title of Phra Rajamongkolrangsi<br />

on June 6-7, 2015.<br />

The <strong>40</strong> th Anniversary of<br />

<strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.<br />

From 1974 to 2014, this period of <strong>40</strong> years<br />

<strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C. has been a Buddhist<br />

Monastery in the United States of America. It<br />

started in 1971 as “The Buddhist Association”, with<br />

the aims of encouraging the study and practice<br />

of Buddhism, of propagating the Buddha’s teachings<br />

and promoting and assisting in meritorious<br />

activities, social welfare works and public service.<br />

The collaboration among <strong>Thai</strong> students, <strong>Thai</strong><br />

business groups, <strong>Thai</strong> government workers, and<br />

general public has made this new temple become<br />

an icon of all <strong>Thai</strong> temples in the US today.<br />

Phra Rajamongkolrangsi (Luangta Chi)<br />

former Phra Maha Surasak Chiwanandho was<br />

a pioneer in the missionary monk project from<br />

<strong>Thai</strong>land. He accepted the invitation to be an<br />

abbot of this temple from the beginning. He was<br />

50 years old at the time, and now he just turned<br />

<strong>90</strong> on June 9, 2015. He is the most senior,<br />

with the longest abbot duty of all the venerable<br />

missionary monks in the United States.<br />

<strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.’s progress and<br />

success were undoubtedly due to the faith that<br />

the laypeople have in Phra Rajamongkolrangsi<br />

(Luangta Chi). He is very well known and kind<br />

spiritual leader of <strong>Thai</strong> Buddhists in the United<br />

States. He has published many books and articles<br />

on Buddhism. He is very strict in maintaining<br />

the Buddhist traditions at this temple. He is the<br />

excellent example of a great Buddhist monk who<br />

has worked very hard to promote Buddhism.<br />

Together, <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C. and<br />

Phra Rajamongkolrangsi (Luangta Chi) have<br />

greatly benefited the society and communities in<br />

cultivating Buddhism, <strong>Thai</strong> language, <strong>Thai</strong> culture,<br />

and <strong>Thai</strong> performing arts. The <strong>Thai</strong> communities<br />

in this area, as the result, are closely integrated.<br />

This signals a blossoming and long-lasting future<br />

of Buddhism abroad.<br />

50 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


เหตุการณ์สำคัญของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๑) วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ (1974) เป็นวันเริ่มต้นตั้งสำนักสงฆ์แห่งกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๒) วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๗ (1974) ได้รับอนุญาตเป็นองค์การ NON-PROFIT ORGANIZATION<br />

๓) วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ (1975) ได้ “พระพุทธมงคลวิมล ดี.ซี.” มาประดิษฐานเป็นประธาน<br />

ประจำวัด<br />

๔) วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๙ (1976) ได้รับอนุญาตยกเว้นภาษีจากรัฐบาลกลาง (IRS)<br />

๕) วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ (1976) ได้จดทะเบียนของรัฐแมรี่แลนด์<br />

๖) วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ (1977) ได้รับยกเว้นภาษีที่ดิน (วัดเก่า)<br />

๗) วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ (1978) ได้รับอนุญาตยกเว้นภาษีซื้อของ<br />

๘) วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ (1978) ได้รับอนุญาตยกเว้นภาษีเงินได้จากรัฐแมรี่แลนด์<br />

๙) วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ (1980) ได้ย้ายเข้าวัดที่ ๒ ถนน Georgia<br />

๑๐) วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ (1981) ได้รับอนุญาตยกเว้นภาษีที่ดิน<br />

๑๑) วันที่ ๕-๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ (1982) จัดประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาครั้งที่ ๖/๒๕๒๕<br />

๑๒) วันที่ ๒๓–๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ (1982) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์<br />

วาสนมหาเถร) วัดราชบพิตร เสด็จมาเยี่ยมและพักที่วัด<br />

๑๓) วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ (1986) ได้ทำสัญญาซื้อที่ดินและบ้าน เพื่อสร้างเป็นวัดถาวร เลขที่<br />

134<strong>40</strong> Layhill Road. (ซึ่งเป็นวัดปัจจุบัน)<br />

๑๔) วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ (1986) ได้ย้ายเข้ามาอยู่วัดปัจจุบัน<br />

๑๕) วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ (1986) ทำบุญขึ้นวัดใหม่<br />

๑๖) วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ (1987) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราช<br />

กุมารี และพระสวามี ได้เสด็จมาเยี่ยมวัดไทยกรุงวอชิงตัน<br />

ดี.ซี.<br />

๑๗) วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (1991) ได้สร้างลานจอดรถ และได้รับอนุญาตจากเทศบาลให้ใช้ได้<br />

๑๘) วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ (1992) ได้สร้างครัวแบบ Commercial Kitchen เสร็จเรียบร้อย ถูก<br />

ต้องตามกฎหมาย และได้รับอนุญาตจากเทศบาลให้ใช้ได้<br />

๑๙) วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ (1992) ได้รับอนุญาตให้เป็นวัดสมบูรณ์ตามกฎระเบียบของรัฐ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

51


๒๐) วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ (1993) ยื่นแบบขออนุญาตสร้างศาลาอเนกประสงค์<br />

๒๑) วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ (1993) พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระองค์<br />

เจ้าอทิตยาธรกิตติคุณ เสด็จมาทรงบำเพ็ญบุญเป็นการส่วน<br />

พระองค์<br />

๒๒) วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (1994) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ และ<br />

พระสวามี พร้อมทั้งพระเจ้าหลานเธอฯ ทั้งสองพระองค์<br />

เสด็จมาทรงบำเพ็ญบุญเนื่องในวันกองทัพไทย<br />

๒๓) วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (1994) ได้รับอนุญาตให้สร้างอุโบสถ-ศาลา<br />

๒๔) วันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ (1994) ได้ลงมือก่อสร้างอุโบสถ-ศาลา<br />

๒๕) วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (1994) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราช<br />

กุมารี เสด็จมาบำเพ็ญบุญเนื่องในวโรกาสคล้ายวันประสูติ<br />

พร้อมด้วยพระสวามี และพระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค์<br />

๒๖) วันที่ ๑๕–๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (1995) จัดประชุมประจำ<strong>ปี</strong>ครั้งที่ ๑๙/๒๕๓๘ ของสมัชชาสงฆ์ไทย<br />

ในสหรัฐอเมริกา<br />

๒๗) วันที่ ๑๗–๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ (1995) งานผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต อุโบสถศาลา “พระพุทธมงคล<br />

วิมล ดี.ซี.”<br />

๒๘) วันที่ ๖-๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ (1997) จัดงานทำบุญยกฉัตรพระประธาน และงานทำบุญเจริญ<br />

อายุครบ ๗๒ <strong>ปี</strong> พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานันโท และจัดประชุม<br />

สัมมนาพระธรรมทูตสายต่างประเทศ โดย มหาจุฬาลงกรณ<br />

ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมัชชาสงฆ์ไทย<br />

ในสหรัฐอเมริกา<br />

๒๙) วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ (1998) ฯพณฯ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทาง<br />

มาปราศรัยและพบปะประชาชนชาวไทยที่วัด<br />

๓๐) วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ (1999) พระมหาสุรศักดิ์ชีวานนโท ประธานสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสัญญาบัตรพัดยศเป็น<br />

พระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระวิเทศธรรมรังษี” เนื่อง<br />

ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ<br />

๓๑) วันที่ ๗–๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ (2000) จัดงานทำบุญฉลองสัญญาบัตรพัดยศ พระวิเทศธรรมรังษี<br />

(สุรศักดิ์ชีวานนฺโท) และมีการจัดปฏิบัติธรรม ประชุมสัมมนา<br />

โดย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ<br />

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

52 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๓๒) วันที่ ๕-๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ (2004) พล.ต.ท.อุดม เจริญ ผู ้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา<br />

แห่งชาติ พร้อมคณะ มาเยี่ยมวัด และจัดบรรยายอภิปราย<br />

เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนาในประเทศไทย<br />

๓๓) วันที่ ๓-๑๒ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๔๘ (2005) เนื่องในโอกาสที่พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานันโท)<br />

หรือหลวงตาชี เจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๘๐ <strong>ปี</strong> ในวันที่<br />

๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นวันสำคัญอย่างยิ่ง คณะสงฆ์อุบาสก<br />

อุบาสิกาวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. และคณะศิษยานุศิษย์<br />

จึงได้จัดงานทำบุญเป็นธรรมสมโภชถวายแด่พระเดชพระคุณ<br />

หลวงพ่อ มีการจัดประชุมสัมมนาทางพระพุทธศาสนาระดับ<br />

นานาชาติ การจัดปฏิบัติธรรม การจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ<br />

การจัดทำบันทึกเทปธรรมะและแผ่นซีดีเผยแผ่ และประกอบ<br />

พิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี เป็นต้น<br />

เพื่อเป็นการน้อมถวายแสดงมุทิตาสักการะและในโอกาสนี้<br />

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาได้จัดประชุมสมัยสามัญ<br />

ประจำ<strong>ปี</strong> ครั้งที่ ๒๙ ด้วย โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อ<br />

พระเทพกิตติโสภณ ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยเป็นประธาน<br />

จัดงานฝ่ายสงฆ์ และมีหม่อมเจ้าหญิง วุฒิเฉลิม วุฒิชัย เป็น<br />

ประธานฝ่ายฆราวาส<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

53


ประมวลภาพเหตุการณ์สำคัญ วัดที่ ๑-๓<br />

54 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

55


56 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

57


58 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

59


60 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

61


62 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

63


พระธรรมทูตที่ปฏิบัติศาสนกิจ<br />

ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๗ - พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แห่งที่ ๑<br />

ณ วัดไทยฯ ดี.ซี. ที่ถนน Wayne Avenue Silver Spring MD<br />

พ.ศ. ๒๕๑๗ มีพระจำพรรษา ๒ รูป<br />

๑. พระครูพิบูลโพธาภิรัต<br />

๒. พระปลัดวรศักดิ์ ทีปงฺกโร<br />

พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙ มีพระจำพรรษา ๒ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาเกลี้ยง เตชวโร<br />

พ.ศ. ๒๕๒๐ มีพระจำพรรษา ๓ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาเกลี้ยง เตชวโร<br />

๓. พระมหาสม สุมโน (พระโสภณเจติยานุรักษ์)<br />

พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๒๕๒๒ มีพระจำพรรษา ๓ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาเกลี้ยง เตชวโร<br />

๓. พระสมุห์สถาพร าณวโร<br />

พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท, พระมหาเกลี้ยง เตชวโร, พระสมุห์สถาพร าณวโร<br />

64 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แห่งที่ ๒<br />

ณ วัดไทยฯ ดี.ซี. ที่ถนน Georgia Avenue Silver Spring MD<br />

พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๕ มีพระจำพรรษา ๓ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาเกลี้ยง เตชวโร<br />

๓. พระสมุห์สถาพร าณวโร<br />

พ.ศ. ๒๕๒๗ - ๒๕๒๘ มีพระจำพรรษา ๓ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระสมุห์สถาพร าณวโร<br />

๓. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส คำพิทักษ์<br />

พ.ศ. ๒๕๒๖ มีพระจำพรรษา ๒ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระสมุห์สถาพร าณวโร<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แห่งที่ ๓<br />

ณ วัดไทยฯ ดี.ซี. ที่ถนน Layhill Road, Silver Spring MD<br />

พ.ศ. ๒๕๒๙ มีพระจำพรรษา ๔ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาวรรณ สุโรจน์ (ปัจจุบันเป็น<br />

พระอมรเวที เจ้าอาวาสวัดสวนดอก)<br />

๔. พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพระจำพรรษา ๓ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๑ มีพระจำพรรษา ๖ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์<br />

๔. พระมหาสมชาติ สงทอง<br />

๕. พระมหาสุพัฒน์ อินทร์สามรัตน์<br />

๖. พระมหามิ่ง เพลิดพราว<br />

พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท, พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส, พระมหาสมชาติ สงทอง,<br />

พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์, พระมหาสุพัฒน์ อินทร์สามรัตน์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

65


พ.ศ. ๒๕๓๒ มีพระจำพรรษา ๖ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์<br />

๔. พระมหาสมชาติ สงทอง<br />

๕. พระมหามิ่ง เพลิดพราว<br />

๖. พระมหาสุพัฒน์ อินทร์สามรัตน์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๓ มีพระจำพรรษา ๔ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหามิ่ง เพลิดพราว<br />

๔. พระมหาสุพัฒน์ อินทร์สามรัตน์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๔ มีพระจำพรรษา ๔ รูป<br />

เหมือน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๓<br />

พ.ศ. ๒๕๓๕ มีพระจำพรรษา ๕ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหามิ่ง เพลิดพราว<br />

๔. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๕. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

พ.ศ. ๒๕๓๖ มีพระจำพรรษา ๖ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหามิ่ง เพลิดพราว<br />

๔. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๕. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

๖. พระสมพงษ์ พิลาแพง<br />

พ.ศ. ๒๕๓๗ มีพระจำพรรษา ๖ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๔. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

๕. พระสมพงษ์ พิลาแพง<br />

๖. พระมหาประกอบ สายแสงจันทร์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๘ มีพระจำพรรษา ๖ รูป<br />

ชุดเดิมกับ<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๗<br />

พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส, พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท, พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์<br />

66 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


พ.ศ. ๒๕๓๙ มีพระจำพรรษา ๗ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

๔. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๕. พระอำพล สุธีโร (พลมั่น)<br />

๖. พระมหาประกอบ สายแสงจันทร์<br />

๗. พระสมพงษ์ พิลาแพง<br />

พ.ศ. ๒๕๔๐ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

๔. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๕. เจ้าอธิการปราโมทย์ อธิปญฺโ (แจะรัมย์)<br />

๖. พระอำพล สุธีโร (พลมั่น)<br />

๗. พระมหาประกอบ สายแสงจันทร์<br />

๘. พระมหาพุทธจักร พุทฺธิสาโร (สิทธิ)<br />

๙. พระมหาสมาน เมธาวี (จันทะนามศรี)<br />

พ.ศ. ๒๕๔๑ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท (ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาบุญธรรม สุจิตฺโต (พิทธยานันท์)<br />

๔. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

๕. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๖. พระมหาแวง วรสุวณฺโณ (ทองสง่า)<br />

๗. พระมหาวรชัย วรเมธี (กลึงโพธิ์)<br />

๘. พระอำพล สุธีโร (พลมั่น)<br />

๙. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

พ.ศ. ๒๕๔๒ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส (คำพิทักษ์)<br />

๓. พระมหาบุญธรรม สุจิตฺโต (พิทธยานันท์)<br />

๔. พระมหาสวรรค์ กิตฺติวฑฺฒโน (สุขวงศ์)<br />

๕. พระจักรพรรณ อคฺคธมฺโม (ทรงยินดี)<br />

๖. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๗. พระมหาแวง วรสุวณฺโณ (ทองสง่า)<br />

๘. พระมหาวรชัย วรเมธี (กลึงโพธิ์)<br />

๙. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๑๐. พระตุลารัตน์ ชาคโร (เชื้อวิริยะ) พระนวกะ<br />

พระธรรมทูตจำพรรษา <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๐<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

67


พ.ศ. ๒๕๔๓ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาบุญธรรม สุจิตฺโต (พิทธยานันท์)<br />

๓. พระจักรพรรณ อคฺคธมฺโม (ทรงยินดี)<br />

๔. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๕. พระมหาแวง วรสุวณฺโณ (ทองสง่า)<br />

๖. พระมหาวรชัย วรเมธี (กลึงโพธิ์)<br />

๗. พระปลัดอำพล สุธีโร (พลมั่น)<br />

๘. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๙. พระอารีย์ อกิญฺจโน (ศรีบูรธรรม)<br />

๑๐. พระแฟรงก์ กาญฺจโน (การ์เนีย) พระนวกะ<br />

พ.ศ. ๒๕๔๔ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระจักรพรรณ อคฺคธมฺโม (ทรงยินดี)<br />

๓. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๔. พระมหาแวง วรสุวณฺโณ (ทองสง่า)<br />

๕. พระมหาวรชัย วรเมธี (กลึงโพธิ์)<br />

๖. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๗. พระเจียน ติกฺขปญฺโ (กันทะบุตร)<br />

๘. พระอารีย์ อกิญฺจโน (ศรีบูรธรรม)<br />

๙. พระโสบิน โสปาโก โพธิ (นามโท)<br />

พระธรรมทูตจำพรรษา <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๑<br />

พ.ศ. ๒๕๔๕ มีพระจำพรรษา ๘ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระจักรพรรณ อคฺคธมฺโม (ทรงยินดี)<br />

๓. พระน้าว นนฺทิโย (เอกรัตน์)<br />

๔. พระมหาแวง วรสุวณฺโณ (ทองสง่า)<br />

๕. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์)<br />

๖. พระครูวินัยธรสมศักดิ์ สกฺกเมธี (ศุภเลิศ)<br />

๗. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๘. พระมหานาวงค์ จิรวฑฺฒโน (บัวทะราช)<br />

พ.ศ. ๒๕๔๖ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระจักรพรรณ อคฺคธมฺโม (ทรงยินดี)<br />

๓. พระน้าว นนฺทิโย (เอกรัตน์)<br />

๔. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์)<br />

๕. พระครูวินัยธรสมศักดิ์ สกฺกเมธี (ศุภเลิศ)<br />

๖. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๗. พระมหานาวงค์ จิรวฑฺฒโน (บัวทะราช)<br />

๘. พระมหาสัมฤทธิ์ ิตสีโล (หาญชนะ)<br />

๙. พระเกตุ สุภาจาโร<br />

68 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


พ.ศ. ๒๕๔๗ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระน้าว นนฺทิโย (เอกรัตน์)<br />

๓. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์)<br />

๔. พระครูวินัยธรสมศักดิ์ สกฺกเมธี (ศุภเลิศ)<br />

๕. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๖. พระมหานาวงค์ จิรวฑฺฒโน (บัวทะราช)<br />

๗. พระมหาสัมฤทธิ์ ิตสีโล (หาญชนะ)<br />

๘. พระเกตุ สุภาจาโร<br />

๙. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม<br />

พ.ศ. ๒๕๔๘ มีพระจำพรรษา ๘ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระมหาพัน สุภาจาโร (แตะกระโทก)<br />

๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๕. พระมหานาวงค์ จิรวฑฺฒโน (บัวทะราช)<br />

๖. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์)<br />

๗. พระมหาสัมฤทธิ์ ิตสีโล (หาญชนะ)<br />

๘. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะนาไร่)<br />

พ.ศ. ๒๕๔๙ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระมหาพัน สุภาจาโร (แตะกระโทก)<br />

๔. พระมหาสม สิริปญฺโ<br />

๕. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์)<br />

๖. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๗. พระมหาสัมฤทธิ์ ิตสีโล (หาญชนะ)<br />

๘. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๙. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะนาไร่)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๐ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระสมุห์ณัฐวุฒิ ปภากโร (กุศลจิต)<br />

๔. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์)<br />

๕. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๖. พระมหาสัมฤทธิ์ ิตสีโล (หาญชนะ)<br />

๗. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะนาไร่)<br />

๘. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๙. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

๑๐. พระอนันต์ภิวัฒน์ พุทฺธรกฺขิโต (โมธรรม)<br />

พระธรรมทูตจำพรรษา <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๗<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

69


พ.ศ. ๒๕๕๑ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระครูสุนทรกิตติวัฒน์<br />

(พนมชัย กิตฺติปุญฺโ ชมศิริ) (พระอาคันตุกะ)<br />

๔. พระสมุห์ณัฐิวุฒิ ปภากโร (กุศลจิตร)<br />

๕. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๖. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๗. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะนาไร่)<br />

๘. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์)<br />

๙. พระอนันต์ภิวัฒน์ พุทฺธรกฺขิโต (โมธรรม)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๒ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระสมุห์ณัฐิวุฒิ ปภากโร (กุศลจิตร)<br />

๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๕. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

๖. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๗. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะนาไร่)<br />

๘. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์)<br />

๙. พระอนันต์ภิวัฒน์ พุทฺธรกฺขิโต (โมธรรม)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๓ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระสมุห์ณัฐิวุฒิ ปภากโร (กุศลจิตร)<br />

๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๕. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

๖. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๗. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะนาไร่)<br />

๘. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์)<br />

๙. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์)<br />

๑๐. พระอนันต์ภิวัฒน์ พุทฺธรกฺขิโต (โมธรรม)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๕ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระมหาถนัด อตฺถจารี (อินธิแสน)<br />

๓. พระมหาสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์)<br />

๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๕. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

๖. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๗. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์)<br />

๘. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์)<br />

๙. พระอนันต์ภิวัฒน์ พุทฺธรกฺขิโต (โมธรรม)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๖ มีพระจำพรรษา ๙ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระครูสิริอรรถวิเทศ (ถนัด อตฺถจารี อินธิแสน)<br />

๓. พระมหาสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์)<br />

๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๕. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

๖. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๗. พระมหาเกษม อานนฺโท (ดวงอินทร์)<br />

๘. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์)<br />

๙. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๗ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์)<br />

๒. พระครูปริยัติธรรมาภิราม (ทวีพงษ์ ทฺวิวํโส คำพิทักษ์)<br />

๓. พระครูสิริอรรถวิเทศ (ถนัด อตฺถจารี อินธิแสน)<br />

๔. พระมหาสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์)<br />

๕. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้)<br />

๖. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

๗. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน)<br />

๘. พระมหาเกษม อานนฺโท (ดวงอินทร์)<br />

๙. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์)<br />

๑๐. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์)<br />

พ.ศ. ๒๕๕๔ มีพระจำพรรษา ๑๐ รูป<br />

ชุดเดิมกับ พ.ศ. ๒๕๕๓<br />

70 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


<strong>ปี</strong> ๒๕๒๒ หลวงตาชี, พระมหาเกลี้ยง เตชวโร,<br />

พระครูสมุห์สถาพร<br />

เวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๒๔<br />

หลวงตาชี เมื่ออายุ ๕๗ <strong>ปี</strong><br />

งานบุญสงกรานต์ <strong>ปี</strong> ๒๕๒๕<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๒๕ หลวงตาชี, พระมหาเกลี้ยง,<br />

พระครูสมุห์สถาพร<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๒๗ หลวงตาชี, พระมหาวรรณ,<br />

พระมหาทวีพงษ์, พระครูสมุห์สถาพร<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

71


ทำบุญวันออกพรรษา ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๘<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๒๙ เวียนเทียน วิสาขบูชา<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๐ พระมหาทวีพงษ์, หลวงตาชี,<br />

พระมหาสมศักดิ์<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๐ หลวงตาชี, พระมหาทวีพงษ์, พระมหาสมศักดิ์,<br />

พระมหาสมชาติ, พระมหาสุพัฒน์<br />

หลวงตาชี, พระมหาวรรณ, พระมหาทวีพงษ์<br />

ใน <strong>ปี</strong> ๒๕๒๙-๒๕๓๐<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๑ หลวงตาชี, พระมหาทวีพงษ์, พระมหาสมชาติ,<br />

พระมหาสมศักดิ์, พระมหาสุพัฒน์<br />

72 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


พระมหาสุพัฒน์, พระมหาทวีพงษ์, พระมหามิ่ง <strong>ปี</strong> ๒๕๓๒<br />

วันแม่<strong>ปี</strong> ๒๕๓๔<br />

ตุลาคม ๒๕๓๕<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๕ หลวงตาชี, พระมหาทวีพงษ์, พระมหามิ่ง,<br />

พระมหาสวรรค์, พระมหาถนัด<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๖ หลวงตาชี, พระมหาทวีพงษ์, พระมหามิ่ง,<br />

พระมหาถนัด,พระสมพงษ์<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๖ หลวงตาชี, พระมหาทวีพงษ์, พระสมพงษ์,<br />

พระมหาถนัด, พระมหามิ่ง<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

73


<strong>ปี</strong> ๒๕๓๗ หลวงตาชี, พระมหาทวีพงษ์,<br />

พระมหาถนัด, พระมหาประกอบ, พระสมพงษ์<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๓๙<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๐<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๐<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๐<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์, พระน้าว, พระมหาวรชัย<br />

74 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


<strong>ปี</strong> ๒๕๔๑<br />

วิสาข นานาชาติ <strong>ปี</strong> ๒๕๔๑<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๓<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๔<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

75


<strong>ปี</strong> ๒๕๔๔ กับ หลวงเตี่ย วัดไทยแอล เอ<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๔๔<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๖ <strong>ปี</strong> ๒๕๔๖<br />

76 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


<strong>ปี</strong> ๒๕๔๖<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๗<br />

รับบิณฑบาต ในวันประเพณีสงกรานต์ <strong>ปี</strong> ๒๕๔๘<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๗<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

77


78 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดป่าสันติธรรม วัดสาขาแห่งที่ ๑<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

79


80 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

วัดป่าธรรมรัตน์ วัดสาขาแห่งที่ ๒


รายนามพระธรรมทูตปฏิบัติหน้าที่<br />

ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. (อดีต - ปัจจุบัน)<br />

พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๕๗<br />

๑. พระครูพิบูลโพธาภิรัต (คูณ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม. (๒๕๑๗-๒๕๑๘)<br />

๒. พระปลัดวรศักดิ์ ทีปงฺกโร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม. (๒๕๑๗)<br />

๓. พระมหาเกลี้ยง เตชวโร วัดเทพธิดาราม (๒๕๑๗-๒๕๒๕)<br />

๔. พระราชมงคลรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท ธรรมรัตน์) ป.ธ. ๔, พธ.ด. (กิตติมศักดิ์)<br />

วัดวชิรธรรมสาธิต ประธานสงฆ์วัดไทยฯ ดี.ซี. (๒๕๑๘-ปัจจุบัน)<br />

๕. พระมหาสม สุมโน Ph.D. วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม (๒๕๒๐)<br />

สมณศักดิ์ก่อนมรณภาพ เป็น พระโสภณเจติยานุรักษ์<br />

๖. พระสมุห์สถาพร าณวโร วัดวชิรธรรมสาธิต กทม. (๒๕๒๑-๒๕๒๘)<br />

๗. พระครูปริยัติธรรมาภิราม (ทวีพงษ์ ทฺวิวํโส คำพิทักษ์) ป.ธ.๔, พธ.บ., Ph.D.<br />

วัดชนะสงคราม กทม. (๒๕๒๗-๒๕๔๓) ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกจันทราราม<br />

บ้านดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร<br />

๘. พระมหาวรรณ สุโรจน์ พธ.บ., M.A. วัดสามพระยา กทม. (๒๕๒๙)<br />

สมณศักดิ์ก่อนมรณภาพ เป็น พระอมรเวที เจ้าอาวาสวัดสวนดอก เจ้าคณะอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่<br />

๙. พระมหาสมศักดิ์ สามพิมพ์ M.A. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. (๒๕๒๙-๒๕๓๒)<br />

๑๐. พระมหาสมชาติ สงทอง วัดอนงคาราม กทม. (๒๕๓๑)<br />

๑๑. พระมหาสุพัฒน์ อินทร์สามรัตน์ ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A. วัดปทุมคงคา กทม. (๒๕๓๑-๒๕๓๔)<br />

๑๒. พระมหามิ่ง เพลิศพราว ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A. วัดประยุรวงศาวาส กทม. (๒๕๓๑-๒๕๓๖)<br />

๑๓. พระครูสิริอรรถวิเทศ (ถนัด อตฺถจารี อินธิแสน) ป.ธ.๕, พธ.บ., Ph.D. วัดอัมพวัน กทม.<br />

(๒๕๓๕-ปัจจุบัน)<br />

๑๔. พระมหาสวรรค์ กิตติวฑฺฒโน (สุขวงศ์) ป.ธ.๖, พธ.บ. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.<br />

(๒๕๓๕-๒๕๔๑)<br />

๑๕. พระสมพงษ์ พิลาแพง น.ธ.เอก, พธ.บ. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม. (๒๕๓๖-๒๕๔๐)<br />

๑๖. พระมหาประกอบ สายแสงจันทร์ ป.ธ.๓, พธ.บ. วัดปทุมคงคา กทม. (๒๕๓๗-๒๕๔๑)<br />

๑๗. พระครูสังฆรักษ์อำพล สุธีโร (พลมั่น) น.ธ.เอก, พธ.บ., M.A. วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๓๙-๒๕๔๑)<br />

๑๘. เจ้าอธิการปราโมช อธิปญฺโ (แจะรัมย์) ประโยค ๑-๒, พธ.บ., M.A. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม.<br />

(๒๕๔๑-๒๕๔๓) ปฏิบัติหน้าที่ ณ วัดป่าสันติธรรม<br />

๑๙. พระมหาพุทธจักร พุทฺธิสาโร (สิทธิ) ป.ธ.๔, พธ.บ., M.A. วัดไชยทิศ กทม. (๒๕๔๑-๒๕๔๖)<br />

ปฏิบัติหน้าที่ ณ วัดป่าสันติธรรม ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้าคณะอำเภอนาหว้า จ.นครพนม<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

81


๒๐. พระมหาสมาน เมธาวี (จันทะนามศรี) ป.ธ.๖, พธ.บ., M.A. วัดพรหมวงศาราม กทม.<br />

(๒๕๔๑-๒๕๔๗) ปฏิบัติหน้าที่ ณ วัดป่าสันติธรรม<br />

๒๑. พระมหาบุญธรรม สุจิตฺโต (พิทธยานันท์) ป.ธ.๓, Ph.D. วัดชำนิหัตถการ กทม. (๒๕๔๒-๒๕๔๔)<br />

๒๒. พระมหาแวง วรสุวณฺโณ (ทองสง่า) ป.ธ.๗, พธ.บ., Ph.D. วัดวรจรรยาวาส กทม. (๒๕๔๒-๒๕๔๕)<br />

๒๓. พระมหาวรชัย วรเมธี (กลึงโพธิ์) ป.ธ.๓, พธ.บ., อ.ม. วัดชำนิหัตถการ กทม. (๒๕๔๒-๒๕๔๕)<br />

๒๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ (ไทยแท้) ป.ธ.๕, พธ.บ. วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๔๒-ปัจจุบัน)<br />

๒๕. พระอารีย์ อกิญฺจโน (ศรีบูรธรรม) (๒๕๔๓-๒๕๔๕)<br />

๒๖. พระเจียน ติกฺขวีโร น.ธ.เอก, พธ.บ., M.A. วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่ (๒๕๔๔-๒๕๔๕)<br />

๒๗. พระจักรพรรณ อคฺคธมฺโม (ทรงยินดี) น.ธ.เอก, พธ.บ., M.A. วัดเทวีวรญาติ กทม. (๒๕๔๔-๒๕๔๖)<br />

๒๘. พระน้าว นนฺทิโย (เอกรัตน์) น.ธ.เอก, พธ.บ. วัดสันติธรรมาราม กทม. (๒๕๔๕-๒๕๔๗)<br />

๒๙. พระมหานาวงค์ จิรวฑฺฒโน (บัวทะราช) ป.ธ.๓, พธ.บ. วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง จ.สกลนคร<br />

(๒๕๔๕- ๒๕๔๘)<br />

๓๐. พระครูวินัยธรสมศักดิ์ สกฺกเมธี (ศุภเลิศ) ป.ธ.๓, พธ.บ. วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. (๒๕๔๕-๒๕๔๗)<br />

๓๑. พระจรินทร์ อาภสฺสโร (ยังสังข์) น.ธ.เอก, นบ., ศศ.ม. วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ (๒๕๔๕-๒๕๕๐)<br />

๓๒. พระมหาสัมฤทธิ์ ฐิตสีโล (หาญชนะ) ป.ธ.๔, วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๔๖-๒๕๕๐)<br />

๓๓. พระเกตุ สุภาจาโร น.ธ.เอก, พธ.บ. วัดใหม่พิเรนทร์ กทม. (๒๕๔๖-๒๕๔๗)<br />

๓๔. พระมหาประดู่ชัย ภทฺทธมฺโม (เพราะน่าไร่) ป.ธ.๔, พธ.บ. วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๔๗-๒๕๕๔)<br />

๓๕. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน) ป.ธ.๕, พธ.บ., รปม. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กทม.<br />

(๒๕๔๙-ปัจจุบัน)<br />

๓๖. พระมหาพัน สุภาจาโร (แตะกระโทก) วัดไทยนาลันทา ประเทศอินเดีย (๒๕๔๘-๒๕๔๙)<br />

๓๗. พระมหาสม สิริปญฺโ วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๔๙)<br />

๓๘. พระสมุห์ณัฐิวุฒิ ปภากโร (กุศลจิตร ) น.ธ.เอก, ม.๖ วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๕๐-๒๕๕๔)<br />

๓๙. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน) น.ธ.เอก, ศน.บ. จ.ศรีสะเกษ (๒๕๕๐-ปัจจุบัน)<br />

๔๐. พระอนันต์ภิวัฒน์ พุทฺธรกฺขิโต (โมธรรม) น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒, พธ.บ., ปวค., M.A.<br />

วัดอัมพวัน กทม. (๒๕๕๐-๒๕๕๕)<br />

๔๑. พระครูสุนทรกิตติวัฒน์ (พนมชัย กิตฺติปุญฺโ ชมศิริ) น.ธ.เอก, ป.ธ.๔ พระอาคันตุกะ (๒๕๕๑-๒๕๕๑)<br />

๔๒. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์) ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A. วัดสร้อยทอง กทม. (๒๕๕๑-ปัจจุบัน)<br />

๔๓. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์) ป.ธ.๙, พธ.บ. วัดสร้อยทอง กทม. (๒๕๕๓-ปัจจุบัน)<br />

๔๔. พระมหาสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์) น.ธ.เอก, ป.ธ.๖ (๒๕๕๕-ปัจจุบัน)<br />

๔๕. พระมหาเกษม อานนฺโท (ดวงอินทร์) ป.ธ.๙, พธ.บ., วัดสร้อยทอง กทม. (๒๕๕๖-ปัจจุบัน)<br />

82 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


รายนามที่ปรึกษา, ประธานสภา และนายกพุทธสมาคม<br />

(จากอดีต-ปัจจุบัน)<br />

พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๕<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต สุนทร หงส์ลดารมย์<br />

นายกพุทธสมาคม : พ.อ.ปราโมทย์ ถาวรฉันท์<br />

พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต สุนทร หงส์ลดารมย์<br />

นายกพุทธสมาคม : พ.อ.ปราโมทย์ ถาวรฉันท์<br />

พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อานันท์ ปันยารชุน<br />

นายกพุทธสมาคม : พ.อ.วิเชียร บุรณศิริ<br />

พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อานันท์ ปันยารชุน<br />

นายกพุทธสมาคม : พ.อ.วิเชียร บุรณศิริ<br />

พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๐<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อุปดิษฐ์ ปาจาริยางกูร<br />

นายกพุทธสมาคม : นายสุโข สุวรรณศิริ<br />

ได้มีการแก้ไขระเบียบข้อบังคับพุทธสมาคม ให้มีประธานสภากรรมการ<br />

พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๑<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อรุณ ภาณุพงศ์<br />

ประธานสภา : ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท<br />

นายกพุทธสมาคม : พ.อ.วิเชียร บุรณศิริ<br />

พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๒<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต กลศ วิเศษธุรการ<br />

ประธานสภา : ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท<br />

นายกพุทธสมาคม : นายกลวิทย์ รพีพันธุ์<br />

พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๓<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต กลศ วิเศษธุรการ<br />

ประธานสภา : น.อ. วินิจ ตาปสนันทน์ ร.น.<br />

นายกพุทธสมาคม : นางพวา วัฒนศัพท์<br />

พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ปรก อัมระนันท์<br />

ประธานสภา : น.อ. อรุณ พัฒนศิริ<br />

นายกพุทธสมาคม : นายกิตติ คูณทวีทรัพย์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

83


พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ปรก อัมระนันท์<br />

ประธานสภา : พ.อ. วิจิตร สุขมาก (น.อ. วิเชษฐ์ การุณยวินิช ร.น. ปฏิบัติหน้าที่แทน<br />

ประธาน เนื่องจาก พ.อ.วิจิตร สุขมาก เดินทางกลับประเทศไทย)<br />

นายกพุทธสมาคม : นายสุทนต์ ธรรมประเสริฐ<br />

พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ปรก อัมระนันท์<br />

ประธานสภา : น.อ. สามารถ โสดสถิตย์<br />

นายกพุทธสมาคม : นางสุวิมล รามโกมุท<br />

พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี<br />

ประธานสภา : นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์<br />

นายกพุทธสมาคม : นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส<br />

พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๘<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี<br />

ประธานสภา : นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์<br />

นายกพุทธสมาคม : นายแพทย์โอสถ เลขะกุล<br />

พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๒๙<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี<br />

ประธานสภา : ดร. บุญปลูก ชายเกตุ<br />

นายกพุทธสมาคม : น.อ. ชวลิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ร.น.<br />

พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๐<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อาสา สารสิน<br />

ประธานสภา : น.อ. ประเชิน บุนนาค<br />

นายกพุทธสมาคม : นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส<br />

พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อาสา สารสิน<br />

ประธานสภา : นายอภินันท์ ณ ระนอง<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต อาสา สารสิน<br />

ประธานสภา : นายอภินันท์ ณ ระนอง<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๓<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต วิทยา เวชชาชีวะ<br />

ประธานสภา : ดร. กฤษณ์ กาญจนกุญชร<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

84 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๔<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต วิทยา เวชชาชีวะ<br />

ประธานสภา : น.อ. สุวัชชัย เกษมศุข ร.น.<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๕<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ม.ล. พีระพงศ์ เกษมศรี<br />

ประธานสภา : น.พ. สหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ม.ล. พีระพงศ์ เกษมศรี<br />

ประธานสภา : น.พ. สหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๘<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูต มนัสพาสน์ ชูโต<br />

ประธานสภา : น.พ. สหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๗<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน<br />

ประธานสภา : น.พ. สหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

นายกพุทธสมาคม : นายปรีดี สุดรัก<br />

พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐<br />

ที่ปรึกษาพุทธสมาคม : ฯพณฯ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน<br />

ประธานสภา : น.พ. สหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

นายกพุทธสมาคม : นายประพจน์ คุณวงศ์<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓<br />

ร่างกฎข้อบังคับใหม่ปรับโครงสร้างการบริหาร ยุบสภากรรมการ และกรรมการ<br />

บริหารพุทธสมาคม เป็นคณะกรรมการอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

85


การบริหารวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๕๗)<br />

ในการจัดโครงสร้างรูปแบบการบริหาร แบ่งออกเป็น<br />

๑. คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วยพระสงฆ์ที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ประจำที่วัด และมี ฯพณฯ<br />

เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.<br />

๒. สภากรรมการ ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยราชการ สำนักงานผู้ช่วยทูตทุกหน่วยงานประจำกรุง<br />

วอชิงตัน เป็นกรรมการสภาโดยตำแหน่ง และมีกรรมการจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีหน้าที่กำหนดนโยบายและดูแล<br />

คณะกรรมการบริหารให้สามารถบริหารงานไปตามนโยบาย และวัตถุประสงค์ของพุทธสมาคม หรือวัดไทยกรุง<br />

วอชิงตัน ดี.ซี. พร้อมทั้งคอยช่วยเหลือคณะกรรมการบริหารในกิจการของสมาคม<br />

๓. คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย นายกพุทธสมาคม อุปนายก และคณะกรรมการซึ่งได้รับ<br />

การคัดเลือกจากสมาชิก มีหน้าที่บริหารจัดการกิจการต่างๆ รวมถึงการจัดหารายได้และทรัพย์สิน การบริหาร<br />

ทรัพย์สิน การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคมและสอดคล้องกับนโยบายของสภา<br />

กรรมการ และสนองงานกิจการพระพุทธศาสนา ช่วยเหลือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติงานในวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

การบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการพุทธสมาคมตามกฎข้อบังคับเดิม (Bylaws) The Buddhist<br />

Association in <strong>Washington</strong>, D.C. นี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๐ โดยที่ประชุมของคณะกรรมการ<br />

สภา และคณะกรรมการบริหาร มีมติให้มีการร่างกฎข้อบังคับขององค์กรใหม่ (Bylaws) โดยความเห็นชอบของ<br />

ประธานที่ปรึกษาพุทธสมาคม คือ พระวิเทศธรรมรังษี มีเหตุผลดังต่อไปนี้<br />

86 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

87


หลักการ และเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง<br />

กฎข้อบังคับพุทธสมาคม (By-Laws) แห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.<br />

อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับพุทธสมาคมแห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. หมวดที่ ๑๐ (การแก้ไข<br />

ข้อบังคับ) ข้อ ๕๓ คณะกรรมการบริหาร หรือ สมาชิกสามัญไม่ต่ำกว่า ๑๐ คน เสนอต่อสภากรรมการ<br />

ให้มีการแก้ไขข้อบังคับได้<br />

ประกอบกับพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระวิเทศธรรมรังษี ได้ปรารภให้มีการเปลี่ยนชื่อจาก<br />

“พุทธสมาคม แห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.” เป็น “วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.” เพื่อให้สอดคล้อง<br />

กับการบริหารวัด และแก้ไขปัญหาความยุ่งยากซ้ำซ้อน เรื่องของชื่อองค์การ และคณะผู้บริหาร<br />

องค์การทาง พระพุทธศาสนา (วัด) น่าจะเป็นพระสงฆ์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงต่อการพัฒนา สร้างสรรค์<br />

จรรโลงพระพุทธศาสนา<br />

อนึ่ง พระธรรมทูตที่ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้มาปฏิบัติศาสนกิจประจำในวัดนั้นๆ<br />

จะต้องเป็นวัดที่สมบูรณ์แบบทางด้านกฎหมายของบ้านเมือง และวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็น<br />

หนึ่งในจำนวน ๖ วัดที่ร่วมตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ<br />

ของวัดในเครือสมัชชาสงฆ์ไทย จึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนชื่อ และปรับปรุงแก้ไขกฎข้อบังคับ<br />

พุทธสมาคมเพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป<br />

เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนกฎข้อบังคับ และรูปแบบการบริหาร<br />

๑. เพื่อให้ “พุทธสมาคมฯ ” เป็น “วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.” โดยสมบูรณ์<br />

๒. เพื่อให้พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการบริหาร รับผิดชอบต่อองค์กรโดยตรงให้ถูกต้องตามกฎ<br />

ข้อบังคับที่แก้ไขใหม่<br />

๓. เพื่อให้วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎข้อบังคับของสมัชชาสงฆ์ไทย<br />

ในสหรัฐอเมริกาที่จะอนุมัติพระสงฆ์มาปฏิบัติศาสนกิจในวัดที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น<br />

๔. เพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยากที่เคยเกิดขึ้นแล้วเรื่องที่อยู่ของวัด และชื่อไม่ตรงกัน (The<br />

Buddhist Association in <strong>Washington</strong>, D.C. and <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong>, D.C.) เช่น<br />

การขอวีซ่าของครูภาคฤดูร้อน, การขอพระธรรมทูตมาปฏิบัติศาสนกิจในวัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี.<br />

๕. เพื่อความถูกต้องขององค์กร เมื่อมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เนื่องจาก<br />

เหตุการณ์ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ของ Homeland Security / Immigration ได้เข้ามาตรวจสอบ<br />

ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์พระธรรมทูตในวัดต่างๆ<br />

88 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

89


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

<strong>90</strong> • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

91


92 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

93


94 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

95


96 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

97


98 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

99


ข้อ ๒ กรรมการอำนวยการผู้ใดละเลยต่อหน้าที่ โดยไม่ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ หรือ<br />

ปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับของวัด อันทำให้วัดเกิดความเสียหายทั้งชื่อเสียงและทรัพย์สิน<br />

ให้คณะกรรมการไม่น้อยกว่า ๑๐ คน เสนอชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อถอดถอน<br />

กรรมการผู้นั้น และให้ที่ประชุมลงมติถอดถอน โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒<br />

ใน ๓ ของคณะกรรมการอำนวยการ<br />

100 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

101


102 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ข้อ ๒ การกู ้ยืมและการก่อภาระผูกพันรวมถึงการลงทุนของวัด มีวงเงินตั้งแต่ ๕,๐๐๐.๐๐<br />

เหรียญสหรัฐ จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

103


104 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดจะไม่เอาโทษต่อการตัดสินใจหรือการกระทำของกรรมการจะเป็นส่วนบุคคล หรือคณะกรรมการ<br />

ก็ตาม ที่ทำให้วัดต้องเสียเกียรติ หรือทรัพย์สิน ถ้าผู ้นั้นหรือคณะกรรมการนั้น ตัดสินใจในการทำงาน<br />

ให้วัด โดยเจตนาที่บริสุทธิ์ นอกจากในกรณีที่การกระทำนั้นเกิดขึ้นจากเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

105


106 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

107


108 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

109


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

110 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

111


112 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

113


114 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

115


116 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

117


118 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

119


120 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

121


122 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

123


124 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

125


126 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ประกาศ<br />

เรื่อง คณะกรรมการอำนวยการ ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๑-๒๕๕๓<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๕ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑ ว่า<br />

ด้วยเรื่องการเลือกตั้ง และวาระของคณะกรรมการอำนวยการ โดยความเห็นชอบของที่ประชุมสมัยสามัญ เมื่อ<br />

วันอาทิตย์ที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอำนวยการ ดังต่อไปนี้ :-<br />

พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D. ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

คุณประสาร มานะกุล รองประธานคณะกรรมการลำดับที่ ๑<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์ ไทยแท้ รองประธานคณะกรรมการลำดับที่ ๒<br />

พระสมุห์ณัฐิวุฒิ กุศลจิตร เลขานุการ<br />

คุณประพจน์ คุณวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการลำดับที่ ๑<br />

พระมหาประดู่ชัย เพราะนาไร่ ผู้ช่วยเลขานุการลำดับที่ ๒<br />

คุณพัชรา ตวงเศรษฐวุฒิ เหรัญญิก<br />

คุณมาลินี วังศะเมธีกูร ผู้ช่วยเหรัญญิกลำดับที่ ๑<br />

พระมหาสราวุธ คำวัน ผู้ช่วยเหรัญญิกลำดับที่ ๒<br />

พระมหาศรีสุพรณ์ คำนนท์ กรรมการ<br />

พระอนันต์ภิวัฒน์ โมธรรม กรรมการ<br />

คุณสิทธิศักดิ์ ปรางขำ กรรมการ<br />

คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ<br />

คุณวิโรจน์ บาลี<br />

กรรมการ<br />

คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ<br />

คุณถนัด สิทธิอ่วม กรรมการ<br />

คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร กรรมการ<br />

คุณวรชัย กลึงโพธิ์ กรรมการ<br />

คุณอโนชา ยิ้มศิริวัฒนะ กรรมการ<br />

ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๕ เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

(พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

127


ประกาศ<br />

เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษา ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๑-๒๕๕๓<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑ ว่า<br />

ด้วยเรื่ององค์กรบริหาร คณะกรรมการที่ปรึกษา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมสมัยสามัญ เมื่อวันอาทิตย์ที่<br />

๔ พฤษภาคม ๒๕๕๑<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ดังต่อไปนี้ :-<br />

คณะกรรมการที่ปรึกษา<br />

พระวิเทศธรรมรังษี ประธานกรรมการที่ปรึกษา<br />

พระครูปริยัติธรรมาภิราม กรรมการที่ปรึกษา<br />

ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กรรมการที่ปรึกษา<br />

อัครราชทูต กรรมการที่ปรึกษา<br />

อัครราชทูต ฝ่ายการศึกษา กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.สหัสชัย มุสิกะภุมมะ กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.กรีฑา อภิบุณโยภาส กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.ถาวร หล่อรุ่งโรจน์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.อรุณ สวนศิลป์พงศ์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.บุญยง พฤฒิธาดา กรรมการที่ปรึกษา<br />

พ.ญ.ดวงมาลย์ มาลยมาน กรรมการที่ปรึกษา<br />

พ.ญ.อัญชลี มุสิกะภุมมะ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณปรีดี สุดรัก กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณกลวิทย์ รพีพันธุ์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณประกิต เลาหพันธุ์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสุวิมล รามโกมุท กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณณรงค์ศักดิ์ โชติกเวชกุล กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณดำรงค์ ดวงรัตน์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณวิภา เมฆญารัชชนานนท์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณเกลี้ยง ชูเต กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณกล้า วัฒนา กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสากล สุวรรณคำ กรรมการที่ปรึกษา<br />

ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๕ เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

128 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

(พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ


ประกาศ<br />

รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ กับหน้าที่รับผิดชอบแต่ละแผนก<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประจำ<strong>ปี</strong> ๒๕๕๑-๒๕๕๓<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

พระมหาถนัด อินธิแสน Ph.D. ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

คุณประสาร มานะกุล รองประธานคณะกรรมการลำดับที่ ๑<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์ ไทยแท้ รองประธานคณะกรรมการลำดับที่ ๒<br />

พระสงฆ์ทุกรูป<br />

กรรมการ (เผยแผ่)<br />

พระจรินทร์ / คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร กรรมการ (การศึกษา) (ศิลปวัฒนธรรม) (ศิวิไล)<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์/พระอนันต์ภิวัฒน์ กรรมการ (สื่อ ประชาสัมพันธ์)<br />

คุณวิโรจน์ บาลี<br />

กรรมการ (สาธารณูปการ ซ่อมบำรุง)<br />

คุณวรชัย กลึงโพธิ์ กรรมการ (ศาสนพิธี)<br />

คุณสิทธิศักดิ์ ปรางขำ กรรมการ (ประสานงาน)<br />

คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ (ประสานงาน)<br />

คุณอโนชา ยิ้มศิริวัฒนะ กรรมการ (สื่อ ประชาสัมพันธ์)<br />

คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ (สถานที่)<br />

คุณถนัด สิทธิอ่วม<br />

กรรมการ (แสง เสียง)<br />

พม.ศรีสุพรณ์ คำนนท์<br />

กรรมการ (ปฏิคม)<br />

คุณพัชรา ตวงเศรษฐวุฒิ เหรัญญิก<br />

คุณมาลินี วังศะเมธีกูร ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

พระมหาสราวุธ คำวัน ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

พระสมุห์ณัฐิวุฒิ กุศลจิตร เลขานุการ<br />

คุณประพจน์ คุณวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ<br />

พระมหาประดู่ชัย เพราะนาไร่ ผู้ช่วยเลขานุการ<br />

ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๕ เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

(พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

129


ประกาศ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง คณะกรรมการอำนวยการ ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๓-๒๕๕๕<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๕ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑ ว่า<br />

ด้วยเรื่องการเลือกตั้ง และวาระของคณะกรรมการอำนวยการ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในการประชุมสมัย<br />

สามัญประจำ<strong>ปี</strong> เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานั้น<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอำนวยการ ดังต่อไปนี้ :-<br />

พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D. ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

คุณประพจน์ คุณวงศ์ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์ ไทยแท้ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๒<br />

พระสมุห์ณัฐิวุฒิ กุศลจิตร เลขานุการ<br />

คุณพรรณี เกษมพันธัย ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาศรีสุพรณ์ คำนนท์ ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๒<br />

คุณพัชรา ตวงเศรษฐวุฒิ เหรัญญิก<br />

คุณนิศากร พรายแสงเพชร ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาประดู่ชัย เพราะนาไร่ ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๒<br />

พระสุริยา น้อยสงวน กรรมการ<br />

พระมหาสราวุธ คำวัน กรรมการ<br />

พระอนันต์ภิวัฒน์ โมธรรม กรรมการ<br />

พระมหาคำตัล อายุวงศ์ กรรมการ<br />

คุณมาลินี วังศะเมธีกูร กรรมการ<br />

คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ<br />

คุณวิโรจน์ บาลี<br />

กรรมการ<br />

คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ<br />

คุณกลวิทย์ รพีพันธุ์ กรรมการ<br />

คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิช กรรมการ<br />

คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร กรรมการ<br />

คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ กรรมการ<br />

ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๘ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓<br />

130 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

(พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ


ประกาศ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา<br />

ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๓-๒๕๕๕<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร คณะกรรมการที่ปรึกษา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมสมัยสามัญประจำ<strong>ปี</strong> เมื่อ<br />

วันอาทิตย์ที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานั้น<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ดังต่อไปนี้ :-<br />

พระวิเทศธรรมรังษี ประธานกรรมการที่ปรึกษา<br />

พระครูปริยัติธรรมาภิราม กรรมการที่ปรึกษา<br />

ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กรรมการที่ปรึกษา<br />

อัครราชทูต กรรมการที่ปรึกษา<br />

อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.สหัสชัย มุสิกะภุมมะ กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.กรีฑา อภิบุณโยภาส กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.ถาวร หล่อรุ่งโรจน์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

พ.ญ.ดวงมาลย์ มาลยมาน กรรมการที่ปรึกษา<br />

พ.ญ.อัญชลี มุสิกะภุมมะ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณปรีดี สุดรัก กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณประสาร มานะกุล กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสิทธิศักดิ์ ปรางขำ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณศิวิไล สามัง กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณประกิต เลาหพันธุ์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสุวิมล รามโกมุท กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณณรงค์ศักดิ์ โชติกะเวชกุล กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณดำรงค์ ดวงรัตน์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณวิภา เมฆญารัชชนานนท์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณเกลี้ยง ชูเต กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณกล้า วัฒนา กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสากล สุวรรณคำ กรรมการที่ปรึกษา<br />

ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๘ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓<br />

(พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

131


ประกาศ<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวัด<br />

ช่วยกิจกรรมวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๕<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร ข้อ ค.คณะกรรมการวัด<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อกรรมการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ดังต่อไปนี้<br />

น.พ. บุญยง พฤฒิธาดา<br />

คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา<br />

คุณอัชฌา วอง<br />

คุณศิริพร เกรซเซอร์<br />

น.พ.อรุณ สวนศิลป์พงศ์<br />

คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์<br />

คุณจิรา นาวินทรานนท์<br />

คุณวิรุณ เอี่ยมฉิม<br />

คุณวรชัย กลึงโพธิ์<br />

คุณกัญญภัทร กลึงโพธิ์<br />

คุณบันลือศักดิ์ เมฆาเสถียรกุล<br />

คุณสมพงษ์ พิลาแพง<br />

คุณสมาน จันทนามศรี<br />

คุณอนุกูล ยังมีสุข<br />

คุณสัมฤทธิ์ หาญชนะ<br />

คุณพีรรัตน์ อมรกิจวานิช<br />

คุณอภิสิทธิ์ วิริยะ<br />

คุณพวงทิพย์ มานะกุล<br />

คุณปราณี เทพธาราคุณ<br />

คุณมาลี มานะกุล<br />

คุณปราณี สุวรรณสุทธิ<br />

คุณศิริพร คุณวงศ์<br />

คุณพรพรรณ ปรางขำ<br />

คุณชุติมา รอดอยู่สุข<br />

คุณมนชยา เจตบุตร<br />

คุณสาธิยา ไชยกุล<br />

คุณช่วยชัย เทียมสมบูรณ์<br />

คุณนารีรัตน์ เอี่ยมฉิม<br />

คุณผ่องศรี คาร์ฟี<br />

คุณอานนท์ บุญญรักษ์<br />

คุณสากล กล้าหาญ<br />

คุณมิ่ง เพลิดพราว<br />

คุณโชคชัย หาญศุภิชน<br />

คุณกัญญา สว่างโรจน์<br />

คุณสมศรี มาแตง<br />

คุณวณี ฤทธิ์ถาวร<br />

คุณสมศรี จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณวารี ศุภสิริ<br />

คุณประภา จันทร<br />

คุณกุหลาบ ปารจิตร์<br />

คุณชูนินทร์ ดุจธังกร<br />

คุณวาสนา น้อยวัน<br />

คุณรุ้งฤดี เพลิดพราว<br />

คุณพนมรัตน์ มุขกัง<br />

ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๘ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓<br />

คุณกษิมา ปรุงธัญญพฤกษ์<br />

คุณวนิดา สุนทรพิทักษ์<br />

คุณเมธินี แย้มเพกา<br />

คุณแทน ดาว<br />

คุณวิรัตน์ สุขสมอรรถ<br />

คุณธงชัย เกตุทัต<br />

คุณสมร นามสวัสดิ์<br />

คุณสาธิต มุขกัง<br />

คุณภัคคสิทธิ์ แก้วดวงดี<br />

คุณกุลชาติ สุทธิศาสนกุล<br />

คุณณรงค์ วีรศิลป์<br />

คุณเมฆินทร์ ศรีบุญเรือง<br />

คุณสัมฤทธิ์ ภิรมย์รื่น<br />

คุณอโนชา ยิ้มศิริวัฒนะ<br />

Mr. Kevin Calford<br />

Mr. Du Wayne Engleheart<br />

Mr. Cornell Robinson<br />

Mr. Matt Regan<br />

Mr. Richard Tinker<br />

Mr. Edward Gresser<br />

(พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

132 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ กับหน้าที่ความรับผิดชอบ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประจำ<strong>ปี</strong> ๒๕๕๓-๒๕๕๕<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

๑. พระมหาถนัด อินธิแสน Ph.D. ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๒. คุณประพจน์ คุณวงศ์ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๑<br />

๓. พระมหาเรืองฤทธิ์ ไทยแท้ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๒<br />

๔. พระสุริยา น้อยสงวน กรรมการ (เผยแผ่-วิปัสสนาจารย์)<br />

๕. พระมหาคำตัล อายุวงศ์ กรรมการ (การศึกษา-เผยแผ่)<br />

๖. พระอนันต์ภิวัฒน์ โมธรรม กรรมการ (สื่อ-แสงเสียง-เวปไซต์)<br />

๗. พระมหาสราวุธ คำวัน กรรมการ (ปฏิคม)<br />

๘. คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร กรรมการ (การศึกษา-ศิลปวัฒนธรรม)<br />

๙. คุณวิโรจน์ บาลี กรรมการ (การก่อสร้าง- ซ่อมบำรุง)<br />

๑๐. คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ (ศาสนพิธี)<br />

๑๑. คุณมาลินี วังศะเมธีกูร กรรมการ (ประสานงาน)<br />

๑๒. คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ (ประสานงาน)<br />

๑๓. คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิช กรรมการ (สื่อ ประชาสัมพันธ์)<br />

๑๔. คุณกลวิทย์ รพีพันธุ์ กรรมการ (สถานที่)<br />

๑๕. คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ กรรมการ (ยานพาหนะ)<br />

๑๖. คุณพัชรา ตวงเศรษฐวุฒิ เหรัญญิก<br />

๑๗. คุณนิศากร พรายแสงเพชร ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

๑๘. พระมหาประดู่ชัย เพราะนาไร่ ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๒<br />

๑๙. พระสมุห์ณัฐิวุฒิ กุศลจิตร เลขานุการ<br />

๒๐. คุณพรรณี เกษมพันธัย ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๑<br />

๒๑. พระมหาศรีสุพรณ์ คำนนท์ ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๒<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

133


ประกาศ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง คณะกรรมการอำนวยการ ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๕-๒๕๕๗<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๕ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑ ว่า<br />

ด้วยเรื่องการเลือกตั้ง และวาระของคณะกรรมการอำนวยการ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในการประชุมสมัย<br />

สามัญประจำ<strong>ปี</strong> เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมานั้น<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอำนวยการ ดังต่อไปนี้ :-<br />

พระมหาถนัด อินธิแสน, Ph.D. ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

คุณประพจน์ คุณวงศ์ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์ ไทยแท้ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๒<br />

พระมหาคำตัล อายุวงษ์ เลขานุการ<br />

คุณพรรณี เกษมพันธัย ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาศรีสุพรณ์ คำนนท์ ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๒<br />

คุณนิศากร พรายแสงเพชร เหรัญญิก<br />

คุณมาลินี วังศเมธีกูร ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาสราวุธ คำวัน ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๒<br />

พระมหาสิทธิผล ผลมาตย์ กรรมการ<br />

พระสุริยา น้อยสงวน กรรมการ<br />

พระอนันต์ภิวัฒน์ โมธรรม กรรมการ<br />

พระมหาเกษม ดวงอินทร์ กรรมการ<br />

คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ<br />

คุณวิโรจน์ บาลี<br />

กรรมการ<br />

คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ<br />

คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์ กรรมการ<br />

คุณศิริพร เกรซเซอร์ กรรมการ<br />

คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร กรรมการ<br />

คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิช กรรมการ<br />

คุณวรชัย กลึงโพธิ์ กรรมการ<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕<br />

134 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.


ประกาศ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๕-๒๕๕๗<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช<br />

๒๕๕๑ ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร คณะกรรมการที่ปรึกษา โดยความเห็นชอบของที่ประชุมสมัยสามัญประจำ<br />

<strong>ปี</strong> เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมานั้น<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ดังต่อไปนี้ :-<br />

พระวิเทศธรรมรังษี ประธานกรรมการที่ปรึกษา<br />

พระครูปริยัติธรรมาภิราม กรรมการที่ปรึกษา<br />

ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กรรมการที่ปรึกษา<br />

อัครราชทูต กรรมการที่ปรึกษา<br />

อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.สหัสชัย มุสิกะภุมมะ กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.กรีฑา อภิบุณโยภาส กรรมการที่ปรึกษา<br />

พ.ญ.สุวัฒน์ ศิลปสุวรรณ กรรมการที่ปรึกษา<br />

น.พ.บุญยง พฤฒิธาดา กรรมการที่ปรึกษา<br />

พ.ญ.อัญชลี มุสิกะภุมมะ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณปรีดี สุดรัก กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณประสาร มานะกุล กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสิทธิศักดิ์ ปรางขำ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณศิวิไล สามัง กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสมศรี มาแตง กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณอัชฌา วอง กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณเกลี้ยง ชูเต กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณสากล สุวรรณคำ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณพยุง งามสอาด กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณยุพิน เลาหพันธุ์ กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณไพโรจน์ รังสิกุล กรรมการที่ปรึกษา<br />

คุณไพโรจน์ คงเพชร กรรมการที่ปรึกษา<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

135


ประกาศ<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวัด (ทั่วไป)<br />

ช่วยกิจกรรมวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร ข้อ ค. คณะกรรมการวัด<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อกรรมการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ดังต่อไปนี้ :-<br />

คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา<br />

น.พ.อรุณ สวนศิลป์พงศ์<br />

น.พ.ยรรยง ยรรยงยิ่ง<br />

คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณถนัด สิทธิอ่วม<br />

คุณจิรา นาวินทรานนท์<br />

คุณวิรุณ เอี่ยมฉิม<br />

คุณกัญญภัทร กลึงโพธิ์<br />

คุณบันลือศักดิ์ เมฆาเสถียรกุล<br />

คุณสมพงษ์ พิลาแพง<br />

คุณสมาน จันทนามศรี<br />

คุณอนุกูล ยังมีสุข<br />

คุณสัมฤทธิ์ หาญชนะ<br />

คุณพีรรัตน์ อมรกิจวานิช<br />

คุณพวงทิพย์ มานะกุล<br />

คุณปราณี เทพทาราคุณ<br />

คุณมาลี มานะกุล<br />

คุณศิริพร คุณวงศ์<br />

คุณพรพรรณ ปรางขำ<br />

คุณชุติมา รอดอยู่สุข<br />

คุณสุกานดา เจตบุตร<br />

คุณสาธิยา ไชยกุล<br />

คุณช่วยชัย เทียมสมบูรณ์<br />

คุณนารีรัตน์ เอี่ยมฉิม<br />

คุณสุชาติ สุขสำราญ<br />

คุณอานนท์ บุญญรักษ์<br />

คุณสมศรี จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณวารี ศุภสิริ<br />

คุณประภา จันทร<br />

คุณกุหลาบ ปารจิตร์<br />

คุณชูนินทร์ ดุจธังกร<br />

คุณวาสนา น้อยวัน<br />

คุณรุ้งฤดี เพริศพราว<br />

คุณพนมรัตน์ มุขกัง<br />

คุณกษิมา ศิริภิญโญกิจ<br />

คุณวนิดา สุนทรพิทักษ์<br />

คุณเมธินี แย้มเพกา<br />

คุณแทน ดาว<br />

คุณวิรัตน์ สุขสมอรรถ<br />

คุณธงชัย เกตุทัต<br />

คุณสมร นามสวัสดิ์<br />

คุณสานิต มุขกัง<br />

คุณภคสิทธิ์ แก้วดวงดี<br />

คุณกุลชาติ สุทธิศาสนกุล<br />

คุณเมฆินทร์ ศรีบุญเรือง<br />

คุณสัมฤทธิ์ ภิรมย์รื่น<br />

คุณศักดิ์เกษม วิริยะ<br />

คุณธีนีภรณ์ งามสอาด<br />

คุณธัญญาภรณ์ กุลประเสริฐรัตน์<br />

คุณศิรินทิพย์ โค้ว<br />

คุณสุภาพ อุดานนท์<br />

คุณผ่องศรี เพ็นน์<br />

คุณประพร แรงกิ้น<br />

คุณอุไร นาคบุญมี<br />

คุณแสงทอง คัลฟอร์ท<br />

คุณสัมพันธ์ เอี่ยมเหล็ก<br />

คุณลองรัก ภูศรี<br />

คุณวราลี ภูศรี<br />

คุณประวงศ์ เปรมะวัตร<br />

คุณยุพิน สงวนทรัพย์<br />

คุณจิตรา จันทร์แดง<br />

คุณกุลชลี อนันต์สุขศรี<br />

คุณยุพา สมเขาใหญ่<br />

คุณวาสนา น้อยวัน<br />

คุณธิดารัตน์ ศรีหาคุณ<br />

คุณเมธินี เปรมะวัตร<br />

คุณอำพล แน่นอุดร<br />

คุณวิรัตน์ สุขสมอรรถ<br />

คุณสรายุทธ ฤทธิ์ถาวร<br />

คุณสุชาติ นันทสันติ<br />

คุณชัยยุทธ์ สมเขาใหญ่<br />

คุณสงบ เนาไธสงค์<br />

คุณบุญเลิง วิสีปัตย์<br />

คุณยรรยง ดุลย์แสง<br />

คุณจุฑาลักษณ์ ดุลย์แสง<br />

คุณสุภาภรณ์ วาฤทธิ์<br />

Mr. Kevin Calford<br />

Mr. Du Wayne Engleheart<br />

136 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


คุณสากล กล้าหาญ<br />

คุณมิ่ง เพริศพราว<br />

คุณกัญญา สว่างโรจน์<br />

คุณวณี ฤทธิ์ถาวร<br />

คุณสิริกันย์ ธรรมประเสริฐ<br />

คุณสุภา บรรณวณิชกุล<br />

คุณบรรจง พวงใหญ่<br />

คุณประภารัตน์ จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณดลวรรณ เหวียน<br />

คุณดวงพร เทียบทอง<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕<br />

Mr. Matt Regan<br />

Mr. Richard Tinker<br />

Mr. Edward Gresser<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

137


รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ กับหน้าที่ความรับผิดชอบ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประจำ<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕-๒๕๕๗<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

๑. พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.) ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๒. คุณประพจน์ คุณวงศ์ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๑<br />

๓. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิญาโณ (ไทยแท้) รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๒<br />

๔. พระสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์) กรรมการ (วิปัสสนาจารย์-เผยแผ่)<br />

๕. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน) กรรมการ (ประชาสัมพันธ์-เผยแผ่)<br />

๖. พระอนันต์ภิวัฒน์ ธมฺมรกฺขิโต (โมธรรม) กรรมการ(สื่อ-แสง-เสียง-เวปไซต์-)<br />

๗. คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร กรรมการ (การศึกษา-ศิลปวัฒนธรรม)<br />

๘. คุณวิโรจน์ บาลี กรรมการ (การก่อสร้าง – ซ่อมบำรุง)<br />

๙. คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ (ศาสนพิธี – สถานที่)<br />

๑๐. คุณวรชัย กลึงโพธิ์ กรรมการ (ศาสนพิธี – สถานที่)<br />

๑๑. คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ (ฝ่ายจัดหาทุน)<br />

๑๒. คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์ กรรมการ (ฝ่ายปฏิคม)<br />

๑๓. คุณศิริพร เกรซเซอร์ (Gresser) กรรมการ (ฝ่ายปฏิคม)๑<br />

๑๔. คุณพรรณี เกษมพันธัย กรรมการ (ฝ่ายปฏิคม)<br />

๑๕. คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิช กรรมการ (สื่อ - ประชาสัมพันธ์)<br />

๑๖. คุณนิศากร พรายแสงเพชร เหรัญญิก<br />

๑๗. คุณมาลินี วังศเมธีกูร ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

๑๘. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน) ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๒<br />

๑๙. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์) เลขานุการ<br />

๒๐. คุณพรรณี เกษมพันธัย ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๑<br />

๒๐. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์) ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๒<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

138 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ประกาศ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง คณะกรรมการอำนวยการ ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๗-๒๕๕๙<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๕ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑ ว่า<br />

ด้วยเรื่องการเลือกตั้ง และวาระของคณะกรรมการอำนวยการ โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งในการประชุมสมัย<br />

สามัญประจำ<strong>ปี</strong> เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอำนวยการ ดังต่อไปนี้ :-<br />

พระครูสิริอรรถวิเทศ (พระมหาถนัด อินธิแสน) ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

คุณประพจน์ คุณวงศ์ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิญาโณ (ไทยแท้) รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๒<br />

พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์) เลขานุการ<br />

คุณสุชาติ สุขสำราญ ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์) ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๒<br />

คุณนิศากร พรายแสงเพชร<br />

เหรัญญิก<br />

คุณมาลินี วังศเมธีกูร ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน) ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๒<br />

พระสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์) กรรมการ<br />

พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน)<br />

กรรมการ<br />

พระมหาเกษม อานนฺโท (ดวงอินทร์) กรรมการ<br />

คุณสุกานดา บุพพานนท์<br />

กรรมการ<br />

คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์<br />

กรรมการ<br />

คุณศิริพร เกรซเซอร์ (Gresser)<br />

กรรมการ<br />

คุณพรรณี เกษมพันธัย<br />

กรรมการ<br />

คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิช กรรมการ<br />

คุณวรชัย กลึงโพธิ์ กรรมการ<br />

คุณสานิต มุขกัง<br />

กรรมการ<br />

คุณสรายุทธ ฤทธิ์ถาวร กรรมการ<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗<br />

(พระครูสิริอรรถวิเทศ)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

139


ประกาศ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ประจำ<strong>ปี</strong> พุทธศักราช ๒๕๕๗-๒๕๕๙<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร ข้อ ก. คณะกรรมการที่ปรึกษา<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการอำนวยการ จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังนี้ เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา :-<br />

ประธานกรรมการที่ปรึกษา<br />

พระวิเทศธรรมรังษี<br />

กรรมการ<br />

พระครูปริยัติธรรมาภิราม (พระมหาทวีพงษ์ ทฺวิวํโส)<br />

ฯพณฯ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน<br />

อัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน<br />

อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา<br />

ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก<br />

ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ<br />

ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ<br />

อัครราชทูตฝ่ายการพาณิชย์<br />

อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง<br />

อัครราชทูตฝ่ายการเกษตร<br />

อัครราชทูตฝ่ายวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี<br />

นายแพทย์สหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

แพทย์หญิงอัญชลี มุสิกะภุมมะ<br />

นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส<br />

นายแพทย์สุวัฒน์ ศิลปสุวรรณ<br />

แพทย์หญิงดวงเดือน ศิลปสุวรรณ<br />

นายแพทย์บุญยง พฤฒิธาดา<br />

คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา<br />

คุณปรีดี สุดรัก<br />

คุณประสาร มานะกุล<br />

คุณสิทธิศักดิ์ ปรางขำ<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗<br />

คุณศิวิไล สามัง<br />

คุณสมศรี มาแตง<br />

คุณอัชฌา วอง (Wong)<br />

คุณเกลี้ยง ชูเต<br />

คุณสากล สุวรรณคำ<br />

คุณพยุง งามสอาด<br />

คุณยุพิน เลาหพันธุ์<br />

คุณสุทนต์ ธรรมประเสริฐ<br />

คุณวิโรจน์ บาลี<br />

คุณชัยรัตน์ เจตบุตร<br />

คุณสนั่น เมฆมงคล<br />

คุณนิติ ครุปิติ<br />

คุณสมพันธ์ วนานต์<br />

คุณสมชัย ภาอาภรณ์<br />

คุณอภิรัตน์ ผ่องอักษร<br />

คุณไพโรจน์ รังสิกุล<br />

คุณไพโรจน์ คงเพชร<br />

คุณวิชัย มะลิกุล<br />

คุณพวงทอง มะลิกุล<br />

คุณไพบูลย์ อู่ทิฆัมพร<br />

1<strong>40</strong> • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

(พระครูสิริอรรถวิเทศ)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.


ประกาศ<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวัด (ทั่วไป)<br />

ช่วยกิจกรรมวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร ข้อ ค. คณะกรรมการวัด<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการอำนวยการ จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการวัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. :-<br />

น.พ.อรุณ สวนศิลป์พงศ์<br />

น.พ.ยรรยง ยรรยงยิ่ง<br />

คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณถนัด สิทธิอ่วม<br />

คุณจิรา นาวินทรานนท์<br />

คุณวิรุณ เอี่ยมฉิม<br />

คุณกัญญภัทร จันทร์แก้ว<br />

คุณบันลือศักดิ์ เมฆาเสถียรกุล<br />

คุณสมพงษ์ พิลาแพง<br />

คุณสมาน จันทนามศรี<br />

คุณอนุกูล ยังมีสุข<br />

คุณสัมฤทธิ์ หาญชนะ<br />

คุณพีรรัตน์ อมรกิจวานิช<br />

คุณพวงทิพย์ มานะกุล<br />

คุณปราณี เทพทาราคุณ<br />

คุณมาลี มานะกุล<br />

คุณศิริพร คุณวงศ์<br />

คุณพรพรรณ ปรางขำ<br />

คุณสุวภี เดชติศักดิ์<br />

คุณชุติมา รอดอยู่สุข<br />

คุณสุกานดา เจตบุตร<br />

คุณสาธิยา ไชยกุล<br />

คุณช่วยชัย เทียมสมบูรณ์<br />

คุณนารีรัตน์ เอี่ยมฉิม<br />

คุณอานนท์ บุญญรักษ์<br />

คุณรุ้งฤดี เพริศพราว<br />

คุณพนมรัตน์ มุขกัง<br />

คุณกษิมา ศิริภิญโญกิจ<br />

คุณวนิดา สุนทรพิทักษ์<br />

คุณเมธินี แย้มเพกา<br />

คุณแทน ดาว (Daw)<br />

คุณวิรัตน์ สุขสมอรรถ<br />

คุณธงชัย เกตุทัต<br />

คุณสมร นามสวัสดิ์<br />

คุณภคสิทธิ์ แก้วดวงดี<br />

คุณกุลชาติ สุทธิศาสนกุล<br />

คุณเมฆินทร์ ศรีบุญเรือง<br />

คุณสัมฤทธิ์ ภิรมย์รื่น<br />

คุณศักดิ์เกษม วิริยะ<br />

คุณธินีภรณ์ งามสอาด<br />

คุณธัญญาภรณ์ กุลประเสริฐรัตน์<br />

คุณศิรินทิพย์ โค้ว<br />

คุณสุภาพ อุดานนท์<br />

คุณผ่องศรี เพ็นน์ (Penn)<br />

คุณสุภา บรรณวณิชกุล<br />

คุณบรรจง พวงใหญ่<br />

คุณประภารัตน์ จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณดลวรรณ เหวียน (Nguyen)<br />

คุณดวงพร เทียบทอง<br />

คุณประพร แรงกิ้น (Rankin)<br />

คุณอำพล แน่นอุดร<br />

คุณสุชาติ นันทสันติ<br />

คุณชัยยุทธ์ สมเขาใหญ่<br />

คุณสงบ เนาไธสงค์<br />

คุณบุญเลิง วิสีปัตย์<br />

คุณยรรยง ดุลย์แสง<br />

คุณจุฑาลักษณ์ ดุลย์แสง<br />

คุณสุภาภรณ์ วาฤทธิ์<br />

คุณณัฐฐา พงษ์รูป<br />

คุณสุรพล คลังทอง<br />

คุณสุวดี โสภารัตน์<br />

คุณวิไลลักษณ์ อักขราสา<br />

คุณปภัสรา อักขราสา<br />

คุณเนาวรัตน์ เบรเนเก้น (Branagan)<br />

คุณสุรัสวดี เอี่ยม (Iem)<br />

คุณสุกัลยา ตรีกิตติ<br />

คุณวัชรีย์ สง่าอารีย์<br />

คุณโรเบิร์ด สมนาศรี<br />

คุณทัฬห์ อัตวุฒิ<br />

คุณบุณณ์ภัสสร พงศ์วรินทร์<br />

คุณจารุณี พิทโยทัย<br />

คุณสุพร ริงโก (Ringo)<br />

คุณสุภาพ ดูบัวร์ (Dubur)<br />

คุณอนงค์ โรเบอร์สัน (Roberson)<br />

คุณทิพสร พุทธวงศ์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

141


คุณสากล กล้าหาญ<br />

คุณมิ่ง เพริศพราว<br />

คุณกัญญา สว่างโรจน์<br />

คุณวณี ฤทธิ์ถาวร<br />

คุณสิริกันย์ ธรรมประเสริฐ<br />

คุณสมศรี จรรยาทรัพย์กิจ<br />

คุณวารี ศุภสิริ<br />

คุณประภา จันทร<br />

คุณกุหลาบ ปารจิตร์<br />

คุณชูนินทร์ ดุจธังกร<br />

คุณวาสนา น้อยวัน<br />

คุณอุไร นาคบุญมี<br />

คุณแสงทอง คัลฟอร์ท (Calford)<br />

คุณสัมพันธ์ เอี่ยมเหล็ก<br />

คุณลองรัก ภูศรี<br />

คุณวราลี ภูศรี<br />

คุณประวงศ์ เปรมะวัตร<br />

คุณยุพิน สงวนทรัพย์<br />

คุณจิตรา จันทร์แดง<br />

คุณกุลชลี อนันต์สุขศรี<br />

คุณยุพา สมเขาใหญ่<br />

คุณธิดารัตน์ ศรีหาคุณ<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗<br />

คุณอนุรักษ์ ดวงพุฒิ<br />

คุณสุบิน ผลไพบูลย์<br />

คุณนฤนาท ผลไพบูลย์<br />

คุณนิสรา ปัทมเวณุ<br />

Mr. Kevin Calford<br />

Mr. Du Wayne Engelhart<br />

Mr. Matt Regan<br />

Mr. Richard Tinker<br />

Mr. Edward Gresser<br />

(พระครูสิริอรรถวิเทศ)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

142 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการ กับหน้าที่ความรับผิดชอบ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประจำ<strong>ปี</strong> ๒๕๕๗-๒๕๕๙<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

๑. พระครูสิริอรรถวิเทศ (พระมหาถนัด อินธิแสน) ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๒. คุณประพจน์ คุณวงศ์ รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๑<br />

๓. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิญาโณ (ไทยแท้) รองประธานคณะกรรมการ ลำดับที่ ๒<br />

๔. พระสิทธิผล สิทฺธิผโล (ผลมาตย์) กรรมการ (วิปัสสนาจารย์-เผยแผ่)<br />

๕. พระสุริยา เตชวโร (น้อยสงวน) กรรมการ (ประชาสัมพันธ์-เผยแผ่)<br />

๖. พระมหาเกษม อานนฺโท (ดวงอินทร์) กรรมการ(สื่อ-แสง-เสียง-เวปไซต์-บรรณารักษ์)<br />

๗. คุณสรายุทธ ฤทธิ์ถาวร กรรมการ (การศึกษา-ศิลปวัฒนธรรม)<br />

๘. คุณสานิต มุขกัง กรรมการ (การก่อสร้าง – ซ่อมบำรุง)<br />

๙. คุณวรชัย กลึงโพธิ์ กรรมการ (ศาสนพิธี – สถานที่)<br />

๑๐. คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ (ฝ่ายจัดหาทุน)<br />

๑๑. คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์ กรรมการ (ฝ่ายปฏิคม)<br />

๑๒. คุณศิริพร เกรซเซอร์ (Gresser) กรรมการ (ฝ่ายปฏิคม)<br />

๑๓. คุณพรรณี เกษมพันธัย กรรมการ (ฝ่ายปฏิคม)<br />

๑๔. คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิช กรรมการ (สื่อ - ประชาสัมพันธ์)<br />

๑๕. คุณนิศากร พรายแสงเพชร เหรัญญิก<br />

๑๖. คุณมาลินี วังศเมธีกูร ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

๑๗. พระมหาสราวุธ สราวุโธ (คำวัน) ผู้ช่วยเหรัญญิก ลำดับที่ ๑<br />

๑๘. พระมหาคำตัล พุทฺธงฺกุโร (อายุวงษ์) เลขานุการ<br />

๑๙. คุณสุชาติ สุขสำราญ ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๑<br />

๒๐. พระมหาศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป (คำนนท์) ผู้ช่วยเลขานุการ ลำดับที่ ๒<br />

(พระครูสิริอรรถวิเทศ)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

143


ประกาศ<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ (ฝ่ายสงฆ์) วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

กับหน้าที่ความรับผิดชอบ ประจำ<strong>ปี</strong> ๒๕๕๗-๒๕๕๙<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

อาศัยอำนาจตามความในหมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

ว่าด้วยเรื่ององค์กรบริหาร ข้อ ค. คณะกรรมการวัด<br />

เพื่อให้งานด้านบริหารของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุเป้าหมาย<br />

ตามวัตถุประสงค์ จึงประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฝ่ายสงฆ์ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. กับหน้าที่<br />

ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ :-<br />

๑. พระวิเทศธรรมรังษี ที่ปรึกษา<br />

๒. พระครูปริยัติธรรมาภิราม ที่ปรึกษา<br />

๓. พระครูสิริอรรถวิเทศ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๔. พระมหาเรืองฤทธิ์ ไทยแท้ รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

๕. พระมหาสิทธิผล ผลมาตย์ กรรมการ (วิปัสสนาจารย์-เผยแผ่)<br />

๖. พระสุริยา น้อยสงวน กรรมการ (เผยแผ่-ประชาสัมพันธ์)<br />

๗. พระมหาเกษม อานนฺโท กรรมการ (สื่อ-แสง-เสียง-เวปไซต์-บรรณารักษ์)<br />

๘. พระมหาสราวุธ คำวัน ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

๙. พระมหาคำตัล อายุวงษ์ เลขานุการ<br />

๑๐. พระมหาศรีสุพรณ์ คำนนท์ ผู้ช่วยเลขานุการ และบรรณาธิการแสงธรรม<br />

ทั้งนี้ ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป<br />

ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗<br />

(พระครูสิริอรรถวิเทศ)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

144 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

145


146 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ภาค ๓<br />

ผลงานวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

ในรอบ ๔๐ <strong>ปี</strong><br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

147


งานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา<br />

ของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

วัตถุประสงค์แห่งการจัดตั้งวัดขึ้นนั้น ประการแรกเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพื่อสนองความ<br />

ต้องการของพุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสเข้าวัด ฟังธรรม บำเพ็ญบุญกุศลที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติมา เพื่อจะได้น้อม<br />

นำเอาธรรมะมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต<br />

ในด้านพระสงฆ์ผู ้ที่มีหน้าที่โดยตรงในการประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้ทำหน้าที่ของตนโดยสมบูรณ์<br />

ทั้งนี้โดยการนำของพระวิเทศธรรมรังษี ซึ่งท่านมีความรู ้แตกฉานทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติเป็นอย่างดี ได้ทำ<br />

หน้าที่เผยแผ่ธรรมะ ทั้งการเทศน์ การสอน อบรมบรรยาย และเขียนบทความธรรมะในวารสาร “แสงธรรม”<br />

ซึ่งเป็นวารสารรายเดือนของวัดที่พิมพ์ออกประจำอย่างต่อเนื่องตลอดที่ได้ตั้งวัดมา นอกจากนี้ได้รวบรวมข้อ<br />

เขียนเป็นเล่ม จัดเป็นชุดๆ พิมพ์แจกเป็นธรรมทานเนื่องในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ พร้อมกันนี้ได้บันทึกเทป<br />

เสียงธรรม อัดแจกทั้งในรูปแบบม้วนเทปธรรมะ และแผ่นซีดี แจกฟรีทั้งในประเทศไทย และในประเทศอเมริกา<br />

ทั้งภาคภาษาไทยและแปลเป็นภาคภาษาอังกฤษ นับว่างานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นงานหลักสำคัญ<br />

ที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้ให้ความสำคัญมาตลอด ได้ให้บริการอนุเคราะห์สงเคราะห์ทั้งแก่มวลสมาชิก<br />

ของวัด และผู ้คนในชุมชนอีกด้วย ทั้งต้อนรับแก่ผู ้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเข้ามาวัด หรือนิมนต์ไปบรรยาย<br />

ตามโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่างๆ<br />

148 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ส่วนภาคปฏิบัตินั้น ได้จัดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่ผู้สนใจรายบุคคล และคณะ ทั้งชาวพุทธไทย และ<br />

ผู้สนใจชาติอื่นๆ จัดอบรมบรรพชาสามเณรหมู่ภาคฤดูร้อน จัดหลักสูตรแก่เยาวชน ตามโครงการ “หลักธรรม<br />

นำเยาวชน” จัดให้มีการบวชศีลจาริณี สมาทานศีล ๘ ในวันหยุด และในช่วงโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ<br />

ความสำเร็จของวัดที่เกิดขึ้นได้นั้น เพราะได้พระธรรมทูตเป็นผู้นำในการดำเนินงานตั้งแต่ต้น จนถึง<br />

ปัจจุบัน พอสรุปได้ดังนี้<br />

(๑) กิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์<br />

เวลา ๐๕.๓๐ น. ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน<br />

เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้า<br />

เวลา ๐๗.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเช้า (บิณฑบาต เฉพาะวันอาทิตย์)<br />

เวลา ๐๗.๓๐ น. แสดงพระธรรมเทศนา (ทุกวันอาทิตย์ )<br />

เวลา ๑๑.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเพล<br />

เวลา ๑๓.๐๐ น. ปฏิบัติศาสนกิจตามหน้าที่<br />

เวลา ๑๖.๐๐ น. ทำอุโบสถสังฆกรรม ประจำวันขึ้น ๑๕ ค่ำ วันแรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ<br />

ในบางเดือนที่เป็นเดือนขาด<br />

เวลา ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น และเจริญสมาธิภาวนา<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

149


(๒) การอบรม และสอนธรรม<br />

• วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา ๑๙.๐๐ น. ถึง ๒๒.๐๐ น. จัดรายการพระธรรมนำชีวิต นั่งสมาธิ<br />

เดินจงกรม สนทนาธรรม<br />

• วันพุธ เวลา ๑๙.๐๐ ถึง ๒๒.๐๐ น. จัดรายการเสริมสุขภาพกายคลายสุขภาพจิต นั่งสมาธิ<br />

เดินจงกรม สนทนาธรรม และฝึกโยคะ<br />

• วันธรรมดา เปิดโอกาสให้ผู้สนใจในพระพุทธศาสนา นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคล<br />

ที่สนใจพระพุทธศาสนาติดต่อนัดหมาย เข้าฟังการบรรยายธรรมถามปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู ้สนใจ<br />

ใฝ่เรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา<br />

150 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


(๓) การเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ทั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ภาคอินเทอร์เน็ต ในช่วงเวลา ๑๙.๐๐–๒๒.๐๐ น. ทุกวัน และนำชีวประวัติ<br />

ผลงานการประพันธ์ และบันทึกเสียงของพระวิเทศธรรมรังษี (หลวงตาชี) เผยแผ่ทางเวปไซท์ www.watthaidc.<br />

org, www.watthaidc.tv, www.t-dhamma.org และตอบปัญหาธรรมะทาง Email: watthaidc@hotmail.com,<br />

t_inthisan@hotmail.com เป็นประจำทุกวัน<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ก่อกำเนิดขึ้นมาจากสายธารศรัทธาอันแรงกล้าของพุทธศาสนิกชนทุกหมู ่เหล่า<br />

โดยเฉพาะชาวไทยในสหรัฐอเมริกา ทั้งในเขตกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แมรี่แลนด์ เวอร์จิเนีย และรัฐใกล้เคียง ขยาย<br />

ออกไปถึงรัฐอื่นๆ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน แต่หากใครก็ตาม<br />

ที่ได้ย่างกรายเข้าสู่เขตอารามอันร่มรื่นด้วยหมู่แมกไม้สายธารอันเป็นธรรมชาติ ย่อมให้เกิดความเย็นกาย และ<br />

ถ้าได้ดื่มด่ำกับรสแห่งพุทธธรรมแล้ว ย่อมได้รับความฉ่ำเย็นใจสุขสงบภายใต้ร่มโพธิ์ทองของพระพุทธศาสนา<br />

เสมอเหมือนกันหมด<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้อำนวยประโยชน์แก่ชุมชนทั้งทางด้านศาสนา ภาษาไทย ศิลปวัฒนธรรม<br />

ประเพณีอันดีงามอย่างกว้างขวางและฝังรากลึกเป็นปึกแผ่นในดินแดนส่วนนี้ ย่อมเป็นเครื่องชี้และยืนยันถึง<br />

ความรัก ความสมัครสมานสามัคคีที่มั่นคงของชุมชนไทยในสหรัฐอเมริกา และเป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญ<br />

รุ่งเรืองของพุทธศาสนาในต่างแดนชั่วกาลนาน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

151


งานด้านการศึกษา<br />

สิ่งที่สำคัญสำหรับชุมชนชาวไทยในสหรัฐอเมริกา หลังจากที่สร้างวัดเป็นศูนย์รวมใจของชุมชนแล้ว คือ การ<br />

จัดการศึกษา เพื่อสอนภาษาไทยแก่กุลบุตรกุลธิดาของชาวไทยและเพื่อนชาวต่างชาติ ควบคู ่กันไปกับการสอน<br />

พระพุทธศาสนาเบื้องต้น ตลอดถึงวัฒนธรรมประเพณีอันงาม<br />

วัดเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเกือบทุกแขนงมาตั้งแต่สมัยโบราณ สำหรับวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้จัด<br />

บริการทางการศึกษาแก่ประชาชนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะเยาวชนของเราที่เกิดและเติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

จะได้ไม่ลืมความเป็นไทย ทางวัดก็พยายามจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนของเราได้ซึมซับเอาวิถีชีวิต<br />

ความเป็นไทย รู ้จักสื่อสารด้วยภาษาไทย และเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณี ตลอดถึงมารยาทที่ดีของความเป็นไทย<br />

งานด้านการศึกษาที่ทางวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้จัดดำเนินการพอสรุปได้ ดังนี้<br />

(๑) โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์<br />

วัดได้เปิดโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นมาตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๙ (1976) โดยมีคุณพวา วัฒนศิริ<br />

ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตไทยเป็นผู้นำ โดยมีความ<br />

มุ ่งหมายเพื่อสอนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และพระพุทธศาสนา แก่เด็ก เยาวชน ให้มีความสามารถในการฟัง<br />

พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ ตลอดถึงมีความสำนึกในเอกลักษณ์ความเป็นไทย นับเป็นโครงการที่ผู้ปกครอง<br />

ต่างให้ความสนใจและสนับสนุนเป็นอันมากเพื่อให้ลูกหลานจะได้รู้จักภาษา มารยาทวัฒนธรรมไทย และได้<br />

เข้าใกล้ชิดพระพุทธศาสนา โดยมีผู้ปกครอง ข้าราชการ นักศึกษา และพระสงฆ์ เป็นครูอาสามัครช่วยสอนทั้ง<br />

ภาษาไทย พุทธประวัติ หลักธรรม รวมถึงการประกอบศาสนพิธีต่างๆ การฟ้อนรำ การทำอาหาร ดนตรี เป็นต้น<br />

ซึ่งต่อมา<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ (1987-1988) ได้นำหลักสูตรของโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย<br />

ในอเมริกา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาทดลองสอน และให้นักเรียนได้ทดสอบความรู ้สมทบกับวัดวชิรธรรม<br />

ประทีป นิวยอร์ค ซึ่งปรากฎผลออกมาน่าพอใจ<br />

152 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

153


154 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


(๒) โรงเรียนภาคฤดูร้อน (โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย)<br />

<strong>ปี</strong>พ.ศ. ๒๕๓๒ (1989) จึงได้เข้าร่วมโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในอเมริกา ภาคฤดูร้อนของ<br />

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ยังได้มีการสอบเทียบความรู ้แก่เด็กนักเรียนด้วย และโครงการนี้<br />

ดำเนินการมาถึงปัจจุบันเป็น<strong>ปี</strong>ที่ ๓๐ แล้ว โดยโครงการเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน สิ้นสุดโครงการปลาย<br />

เดือนสิงหาคมของทุก<strong>ปี</strong><br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

155


(๓) โรงเรียนนาฏศิลป์และดนตรีไทย<br />

สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ คือ รำไทย โดยจะสอนต่อจากเด็กเรียนภาษา<br />

ไทยและพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการฝึกเด็กนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้มีความสามารถในการ<br />

ฟ้อนรำมากขึ้น และเป็นการเข้าถึงวัฒนธรรมไทยอีกส่วนหนึ่งและเป็นที่สนใจแก่เด็กๆ เป็นจำนวนมากเช่นกัน<br />

ต่อมาจึงขยายเป็นโรงเรียนนาฎศิลป์วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ปัจจุบัน ทำการสอนในทุกบ่ายวันเสาร์ โดยมี<br />

ครูอาสาสมัครผู้มีความชำนาญในด้านนาฎศิลป์เป็นผู้ฝึกสอน<br />

ส่วนดนตรีไทยนั้น หลังจากที่วัดไทยฯ ได้เข้าร่วมโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในอเมริกา<br />

ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๒ (1989) แล้ว ใน<strong>ปี</strong>ที่ ๕ คือ พ.ศ. ๒๕๓๖ (1993) ซึ่งมี นางสาว<br />

จินตนา อินทร์พรหม หรือคุณครูนกเล็ก ได้ฝึกสอนให้เด็กๆ เล่นดนตรีไทย แต่เมื่อสิ้นสุดโครงการภาคฤดูร้อน<br />

ก็เดินทางกลับประเทศไทย ทำให้การเรียนการสอนขาดช่วงจนนายแพทย์บำรุง เลิศบุญ ได้อุทิศเวลาเข้ามา<br />

สอน ฝึกเด็กลูกๆ หลานๆ ค่อยพัฒนาการจนมีครูประการ ๑ <strong>ปี</strong> เพื่อสอนดนตรีในรุ่นต่อๆ มา ซึ่งได้ขยายไปสู่<br />

การสอนผู้ปกครอง ผู้สนใจเรียนดนตรีไทย ปัจจุบันมีการสอนในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์<br />

ผลงานที่น่าภูมิใจของนักเรียนนาฏศิลป์และดนตรีไทย คือ การได้ร่วมโครงการเยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

รวมใจเทิดพระเกียรติ ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๒ (1999) โดยการสนับสนุนของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองทัพบก และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมแสดงเนื่องใน<strong>ปี</strong>มหามงคล<br />

เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว และใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๗ (2004) เนื่องในวโรกาส<br />

ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา<br />

156 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


(๔) จัดสอนภาษาไทยชั้นพิเศษแก่ชาวต่างชาติ<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้จัดสอนภาษาไทยแก่นักเรียนชั้นพิเศษ แก่ชาวอเมริกันที่มีความสนใจในด้าน<br />

ภาษาไทย และวัฒนธรรมไทยเป็นพิเศษ และให้คำแนะนำพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยแก่ชาวต่างชาติ<br />

ที่จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ หรือเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจัดสอนในวันพุธ และวันอาทิตย์<br />

(๕) จัดสอนธรรมศึกษาและศาสนพิธี<br />

เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ประชาชนผู ้ที่สนใจใฝ่ศึกษาธรรมะในภาคปริยัติ ทางวัดได้จัดให้มีการเรียน<br />

การสอนธรรมะจากพระไตรปิฎก และศาสนพิธีในคืนวันเสาร์ โดยพระธรรมทูตได้สลับสับเปลี่ยนกันสอนในหัวข้อ<br />

ต่างๆ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

157


(๖) จัดสอนกรรมฐาน (MEDITATION RETREAT)<br />

ได้จัดให้มีการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งแก่ผู้สนใจชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่ติดต่อนัดหมาย เข้าฟัง<br />

การอบรม และปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งจัดในช่วงวันสำคัญ หรือจัดเป็นหลักสูตรตามกาลเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้<br />

ได้รับพระธรรมทูตได้รับนิมนต์ออกไปสอนตามที่ต่างๆ ตามโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย วัด และศูนย์ปฏิบัติ<br />

158 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

159


160 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


(๗) จัดบรรพชาสามเณร และอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน<br />

ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ได้จัดโครงการบรรพชาสามเณรและอบรมเยาวชนผู้สนใจ ซึ่งแต่ละ<strong>ปี</strong>มีเด็ก<br />

และเยาวชน ซึ่งได้รับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรของทางวัด เข้ามาใช้ชีวิตอย่างใกล้ชิดวัดมากยิ่งขึ้น และมี<br />

หลายคนขอเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม นำความปลาบปลื้ม<strong>ปี</strong>ติแก่บิดามารดาและ<br />

ญาติพี่น้องอย่างยิ่ง<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

161


162 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


(๘) ห้องสมุด<br />

ทางวัดได้จัดห้องสมุด โดยจัดหาหนังสือทางพระพุทธศาสนา ทั้งบาลี อรรถกถา-ฏีกา อนุฏีกา และหนังสือ<br />

ธรรมะทั่วไปทั้งภาคภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตลอดถึงหนังสือวารสารภาคธรรมะ เทป และแผ่นซีดีธรรมะไว้<br />

ประจำห้องสมุด เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และผู ้สนใจในพระพุทธศาสนาเข้าศึกษาค้นคว้า นอกจากนี้<br />

พระราชมงคลรังษี เป็นพระเถระที่ชอบอ่าน ชอบเขียน จึงได้สะสมและจัดหาหนังสือมาไว้ที่วัดมากมาย เก็บไว้<br />

ที่ห้องสมุดวัด สำนักงานของวัด และห้องพักของหลวงพ่อ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

163


ทำไมจึงใช้ชื่อ<br />

“ห้องสมุดหลวงตาชี”<br />

รองศาสตราจารย์กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์<br />

<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้เขียน รองศาสตราจารย์<br />

กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ ข้าราชการบำนาญ ภาควิชา<br />

บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษย-<br />

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้รับรางวัล<br />

ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต “เชิดชูผู้ทำ<br />

ความดีเพื่อสังคม ด้านการพัฒนาห้องสมุด” โดยการ<br />

สนับสนุนของมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย<br />

ได้รับเงินรางวัลมูลค่า ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสน<br />

ห้าหมื่นบาทถ้วน) เพื่อให้เป็นทุนต่อยอดทำงาน<br />

ด้านการพัฒนาห้องสมุดต่อไป<br />

ผู้เขียนและอาสาสมัครจึงได้วางแผนนำเงิน<br />

รางวัลที่ได้รับมา ๒๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำเนินการ<br />

วางระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้กับห้องสมุดเพื่อพระ<br />

พุทธศาสนาและไทยศึกษา รวม ๔ แห่ง<br />

ห้องสมุดในประเทศ ๒ แห่ง คือ<br />

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย<br />

วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น และห้องสมุดวัดโมลี-<br />

โลกยารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ<br />

ห้องสมุดในต่างประเทศ ๒ แห่ง คือ<br />

วัดพุทธสามัคคี นครไคร้สท์เชิร์ช ประเทศ<br />

นิวซีแลนด์<br />

164 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


และห้องสมุดวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. โดยคณะ<br />

อาสาสมัคร เดินทางไปวางระบบและจัดตกแต่งห้อง<br />

สมุดระหว่างวันที่ ๑๒ กันยายน - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖<br />

คณะอาสาสมัครวางระบบห้องสมุดอัตโนมัติ<br />

วัดไทยวอชิงตัน, ดี.ซี. นอกจากข้าพเจ้าแล้ว มีอาจารย์<br />

พงษ์จันทร์ อยู่เป็นสุข ข้าราชการบำนาญ สำนักการ<br />

ศึกษา กรุงเทพมหานคร<br />

อาจารย์สุจิตร สุวภาพ กรรมการบริหารสมาคม<br />

ห้องสมุดแห่งประเทศไทย คุณวรรษมน เสาวคนธ์เสถียร<br />

จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (เดินทางมา<br />

ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖)<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๕๖ ท่านดำรงสมณศักดิ์ พระวิเทศ<br />

ธรรมรังษี ปัจจุบัน พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

ท่านเป็นนักอ่าน นักคิด นักเขียนท่านมีผลงานเขียน<br />

ตลอดมา วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. จึงมีหนังสือมากมาย<br />

แต่ยังไม่มีห้องสมุดที่จะจัดเก็บหนังสือ สิ่งพิมพ์ ตาม<br />

หมวดหมู ่และตามระบบห้องสมุดสมัยใหม่ที่ใช้โปรแกรม<br />

อัตโนมัติในการลงรายการ สืบค้น จัดทำระบบสมาชิก<br />

บัตรสมาชิก ระบบยืม – คืน ฯลฯ<br />

คณะอาสาสมัครเลือกใช้โปรแกรมอัตโนมัติPMB<br />

โดยคณะอาสาสมัครได้ถวายความรู้ แด่พระคุณเจ้า<br />

และอาสาสมัครชาวไทยในวอชิงตัน, ดี.ซี. เพื่อจะได้<br />

สามารถดำเนินการต่างๆ ได้ เมื่อคณะอาสาสมัครเดินทาง<br />

กลับประเทศไทยแล้ว<br />

สำหรับการจัดหมวดหมู ่หนังสือจะใช้ ระบบการ<br />

จัดหมวดหมู ่หนังสือ : ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey<br />

Decimal Classification) หรือเรียกย่อๆว่า D.C. หรือ<br />

D.D.C.<br />

การจัดหมวดหมู ่หนังสือตามระบบทศนิยมของ<br />

ดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู ่ต่างๆ จากหมวด<br />

หมู ่ใหญ่ไปหาหมวดหมู ่ย่อย<br />

การแบ่งหมวดหมู ่ตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ<br />

๑๐ หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้ ดังนี้<br />

000 เบ็ดเตล็ด หรือ ความรู้ทั่วไป<br />

(Generalities)<br />

100 ปรัชญา (Philosophy)<br />

200 ศาสนา (Religion)<br />

300 สังคมศาสตร์ (Social Sciences)<br />

<strong>40</strong>0 ภาษาศาสตร์ (Language)<br />

500 วิทยาศาสตร์ (Science)<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

165


600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือ เทคโนโลยี<br />

(Technology)<br />

700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Arts and<br />

Recreation)<br />

800 วรรณคดี (Literature)<br />

<strong>90</strong>0 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์<br />

(History and Geography)<br />

ในแต่ละหมวดหมู่ใหญ่ๆ สิบหมวด ยังแบ่งเป็น<br />

หมวดหมู่ย่อยๆ ที่จะช่วยให้สะดวกในการค้นคว้า<br />

หาหนังสือ สิ่งพิมพ์ และสื่ออีเล็คโทรนิค ที่เกี่ยวกับ<br />

พุทธศาสนา<br />

ทางวัดไทยวอชิงตัน, ดี.ซี.ได้กำหนดวันเปิด<br />

ห้องสมุดในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2556 โดย พระ<br />

วิเทศธรรมรังษี (หลวงตาชี) และ ท่านเอกอัครราชทูต<br />

ดร.วิชาวัฒน์ อิศรภักดี เป็นประธานในพิธีเปิดห้องสมุด<br />

หนังสือที่หลวงตาชีเขียน และสะสมมานานมี<br />

จำนวนมาก จึงได้จัดมุมพิเศษ หนังสือของหลวงตาชี<br />

ให้เด่นเป็นพิเศษ โดยติดสีที่สันหนังสือเป็นสีชมพู<br />

เพราะท่านเกิดวันอังคาร<br />

เพื่อให้ห้องสมุดมีเอกลักษณ์พิเศษ ในโอกาส<br />

ฉลองอายุมงคล ๘๘ <strong>ปี</strong> อาจารย์สุจิตร สุวภาพ จึงได้<br />

เตรียมออกแบบป้ายห้องสมุดเพื่อสั่งทำที่เมืองไทย<br />

ให้คุณวรรษมน เสาวคนธ์เสถียร ไปดำเนินการสั่งทำ<br />

แล้วนำมาด้วย โดยให้หลวงตาชีเลือกสีป้าย ท่านเลือก<br />

สีเหลือง ข้าพเจ้ากราบเรียนถามท่านว่าจะใช้ชื่อห้อง<br />

สมุดว่าอย่างไร<br />

ท่านตอบทันทีว่า “ห้องสมุดหลวงตาชี” พร้อม<br />

กับอธิบายว่า สมณศักดิ์นั้นต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา<br />

แต่ “หลวงตาชี” จะเป็นชื่อที่อยู ่ยาวนาน ไม่มีวันเปลี่ยน<br />

ห้องสมุดวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. จึงมีชื่อว่า<br />

“ห้องสมุดหลวงตาชี” ชื่อนี้จะคงอยู ่ไปนานแสนนาน<br />

ตราบชั่วนิรันดร์<br />

สาธุ สาธุ สาธุ<br />

166 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

กับโครงการสอนภาษาไทย<br />

และวัฒนธรรมไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

ความเป็นมา<br />

โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย<br />

ในสหรัฐอเมริกา ภาคฤดูร้อน โดยความร่วมมือ<br />

ระหว่างวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. กับคณะครุศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความมุ่งหวังเพื่อ<br />

ต้องการให้ความรู้ด้านภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย<br />

แก่เด็กไทยในสหรัฐอเมริกา ให้มีความเข้าใจ ภูมิใจ ใน<br />

เอกราชและเอกลักษณ์ของชาติไทย ไม่ลืมภาษาไทย<br />

ที่เป็นภาษาประจำชาติ ตลอดจนปฏิบัติตนได้ถูกต้อง<br />

ตามประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ใน<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ. ๒๕๒๗ ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ประธาน<br />

โครงการได้ทำการวิจัยเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม<br />

กิจกรรมการเรียนการสอนที่จะเป็นแรงจูงใจให้เด็ก<br />

ไทยในสหรัฐอเมริกา มีความต้องการอยากเรียนรู้<br />

เพื่อนำไปจัดทำหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็น<br />

แม่บทในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กไทยใน<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

ทางวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้ให้ความร่วมมือ<br />

กับโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยด้วยดี<br />

ตลอดมา ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๐ และ ๒๕๓๑ โรงเรียนพุทธ<br />

ศาสนาวันอาทิตย์วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ซึ่งเปิด<br />

สอนมาตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ทดลองหลักสูตรของ<br />

โครงการและส่งเด็กนักเรียนเข้าทดสอบความรู้ระดับ<br />

๒, ๔ และ ๖ สมทบกับวัดวชิรธรรมปทีป นิวยอร์ค<br />

ปรากฏว่าเด็กนักเรียนโรงเรียนวันอาทิตย์ สามารถ<br />

สอบผ่านความรู้ระดับต่างๆ ได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๒ ทางวัดจึงขอครูอาสาสมัคร<br />

จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มา<br />

ปฏิบัติการสอนจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียน<br />

จำนวน ๙๒ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๓ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๙๕ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๔ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๑๐๙ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๕ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๙๔ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๖ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๙๐ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๗ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๑๑๕<br />

คน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

167


ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๘ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๑๑๔ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๙ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๘๔ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๐ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๖ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน<br />

๑ คน รวมเป็น ๗ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๑๐๘ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๑ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน<br />

๑ คน รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๗๗ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๒ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน<br />

๑ คน รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๕๓ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๓ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน ๑<br />

คน รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๖๗ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๔ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน ๑ คน<br />

รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๕๖ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong>พ.ศ. ๒๕๔๕ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๕๒ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๖ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวนมาก<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๗ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๔๖ คน<br />

168 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๘ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๗๔ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๙ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวนมาก<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๐ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวนมาก<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๑ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๓๘ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๒ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๕๘ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๓ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๔๒ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๔ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๕๘ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๕ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวนมาก<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๖ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คนมีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๔๖ คน<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๗ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติ<br />

งานจำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๔๙ คน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

169


ประธานคณะครูและผู้ปกครอง (PTA)<br />

โรงเรียนวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ภาคฤดูร้อน<br />

ตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๕๗<br />

พ.ศ. ๒๕๓๒ คุณกลวิทย์ รพีพันธ์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๓ คุณกลวิทย์ รพีพันธ์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๔ คุณมานิตย์ อิ่มใจหาญ<br />

พ.ศ. ๒๕๓๕ คุณอนุกูล ยังมีสุข<br />

พ.ศ. ๒๕๓๖ คุณอนุกูล ยังมีสุข<br />

พ.ศ. ๒๕๓๗ คุณกลวิทย์ รพีพันธ์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๘ คุณวิไล พิทยธนกานต์<br />

พ.ศ. ๒๕๓๙ คุณวิไล พิทยธนกานต์<br />

พ.ศ. ๒๕๔๐ คุณเทอดเกียรติ ปลูกสวัสดิ์<br />

พ.ศ. ๒๕๔๑ คุณสุภาศิริ อมาตยกุล<br />

พ.ศ. ๒๕๔๒ คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ<br />

พ.ศ. ๒๕๔๓ คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ<br />

พ.ศ. ๒๕๔๔ คุณนารีรัตน์ เอี่ยมฉิม<br />

พ.ศ. ๒๕๔๕ คุณศิริพร เกรซเซอร์<br />

พ.ศ. ๒๕๔๖ คุณศิริพร เกรซเซอร์<br />

พ.ศ. ๒๕๔๗ คุณศิริพร เกรซเซอร์<br />

พ.ศ. ๒๕๔๘ คุณศิริพร เกรซเซอร์<br />

พ.ศ. ๒๕๔๙ คุณศิริพร เกรซเซอร์<br />

พ.ศ. ๒๕๕๐ คุณศิรพร เกรซเซอร์<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑ คุณบุณยวีร์ จอห์นสัน<br />

พ.ศ. ๒๕๕๒ คุณณัฐฐา พงษ์รูป<br />

พ.ศ. ๒๕๕๓ คุณณัฐฐา พงษ์รูป<br />

พ.ศ. ๒๕๕๔ คุณพนมรัตน์ มุขกัง<br />

พ.ศ. ๒๕๕๕ คุณพนมรัตน์ มุขกัง<br />

พ.ศ. ๒๕๕๖ คุณพนมรัตน์ มุขกัง<br />

พ.ศ. ๒๕๕๗ คุณนฤนาท ผลไพบูลย์<br />

170 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


รายชื่อครูอาสาสมัครคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในสหรัฐอเมริกา<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา<br />

ตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๕๗<br />

รุ่นที่ ๑<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๒ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๙๒ คน<br />

(ชาย ๔๐ คน หญิง ๕๒ คน)<br />

๑. นางสาวพรรณี สุวัตถี (ครูจ๋า)<br />

๒. นางสาววิจิตรา เจือจันทร์ (ครูตา)<br />

๓. นางสาวประนอม เมืองตุ้ม (ครูป๋อง)<br />

๔. นางสาวนฤมล เพ็ชรสุวรรณ (ครูจิ๋ม)<br />

รุ่นที่ ๒<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๓ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๙๕ คน<br />

(ชาย ๓๙ คน หญิง ๕๖ คน)<br />

๑. นางพัชรินทร์ พัฒนาศักดิ์ (ครูพัช)<br />

๒. นางสาววิภาวดี ยงเจริญ (ครูต้อย)<br />

๓. คุณครูสมคิด งามประเสริฐ (ครูแป๊ว)<br />

๔. นางชิดชนก เศวตเศรนี (ครูนก)<br />

๕. นางสาวพรทิพย์ สิงห์โตทอง (ครูพร)<br />

รุ่นที่ ๓<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๔ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๑๑๐ คน<br />

(ชาย ๔๙ คน หญิง ๖๑ คน)<br />

๑. นางสาวพิทยา สพโชค<br />

๒. นางสาวสุวรรณา รัตนธรรมเมธี<br />

๓. นางสาวพงษ์ลดา ตันเจริญ<br />

๔. นางสาวนิตยา มุขลาย<br />

๕. นายมานิตย์ สีสง่า<br />

รุ่นที่ ๔<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๕ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๑๐๙ คน<br />

(ชาย ๕๒ คน หญิง ๕๗ คน)<br />

๑. นางสาวสุมาลี เถียรทอง<br />

๒. นางประสานสุข สุชาตานนท์<br />

๓. นายชัยพร รูปน้อย<br />

๔. นายทวีป มหาวิจิตร<br />

๕. นางสาวสมใจ ชมวิจิตร<br />

รุ่นที่ ๕<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๖ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๑๐๖ คน<br />

(ชาย ๕๒ คน หญิง ๕๔ คน)<br />

๑. นายนพคุณ นวมพันธ์<br />

๒. นางสาวพาชิต ทวีกุล<br />

๓. นางสาวจิณตนา สุขสำราญ<br />

๔. นางสาววารุณี อุดมธาดา<br />

๕. นางสาวจินตนา อินทร์พรหม<br />

รุ่นที่ ๖<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๗ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๑๑๒ คน<br />

(ชาย ๕๐ คน หญิง ๖๒ คน)<br />

๑. นางนิรมล หันหาบุญ<br />

๒. นางสาวสุพัตรา โทวราภา<br />

๓. นางสาวศศิธร จ่างภากร<br />

๔. นางสาวจารุวรรณ พวงมาลี<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

171


รุ่นที่ ๗<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๘ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๑๑๔ คน<br />

(ชาย ๔๕ คน หญิง ๖๙ คน)<br />

๑. นางชูชีพ เปล่งอารมณ์<br />

๒. นางชุมศรี บุญสิงห์<br />

๓. นายอุดมพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ<br />

๔. นางสาววาสนา ศรีอัครลาภ<br />

๕. นางสาวเนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว<br />

รุ่นที่ ๘<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๓๙ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๘๔ คน<br />

(ชาย ๔๓ คน หญิง ๔๑ คน)<br />

๑. นางสาวพัฒนพร สุทธิยานุช<br />

๒. นางทัตยา ยาชมภู<br />

๓. นายเทพไท ศรคำรณ<br />

๔. นายรวิช ตาแก้ว<br />

รุ่นที่ ๙<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๐ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๖ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน ๑ คน<br />

รวมเป็น ๗ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๙๐ คน<br />

(ชาย ๔๒ คน หญิง ๔๘ คน)<br />

๑. นางสาววาสี ปรุงสิงห์ (ครูใหญ่)<br />

๒. นายเริงศักดิ์ ปานทอง (ครูแกะ)<br />

๓. นางมาลัย บึงสว่าง (ครูแก่น)<br />

๔. นางศิรยา เพ็ชรแก้ว (ครูศรี)<br />

๕. นางกาญจนาพร รสโหมด (ครูผึ้ง)<br />

๖. ว่าที่ ร.ต.บัญชา สำรวยรื่น (ครูเล็ก)<br />

๗. นายสุขุม พงษ์พล (ครูกบ) ครูประจำการ<br />

๑ <strong>ปี</strong> สอนดนตรีไทย<br />

รุ่นที่ ๑๐<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๑ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน ๑ คน<br />

รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๗๗ คน<br />

(ชาย ๓๓ คน หญิง ๔๔ คน)<br />

๑. ผู ้ช่วยศาสตราจารย์เอื้อพร สัมมาทิพย์ (ครูเอื้อ)<br />

๒. นางสุจิตรา จันทรวิภาส (ครูสุ)<br />

๓. นายมนัส ปลิดโรค (ครูนัท)<br />

๔. นายโอม ทองอุทิศ (ครูโอม)<br />

๕. นายชัฎ กลัดเข็มทอง (ครูชัฎ) ครูประจำ<br />

การ ๑ <strong>ปี</strong> สอนดนตรีไทย<br />

รุ่นที่ ๑๑<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๒ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong>จำนวน ๑ คน รวม<br />

เป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๔๓ คน<br />

(ชาย ๑๖ คน หญิง ๒๗ คน)<br />

๑. นางโสภิต ราชวงศ์ศึก (ครูมิน)<br />

๒. นางอรสา รัศมี (ครูอี๊ด)<br />

๓. นางสาวนุตอนงค์ ทัดบัวขำ (ครูนุต)<br />

๔. นางสาวจินตนา ผลสนอง (ครูอิ๋ว)<br />

รุ่นที่ ๑๒<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๓ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน ๑ คน<br />

รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๖๗ คน<br />

(ชาย ๒๘ คน หญิง ๓๙ คน)<br />

๑. นายวิชิต กำมันตะคุณ (ครูเต้ย)<br />

๒. นางสาวรัชนีวัลย์ จุลบาท (ครูหมู)<br />

๓. นางสาวขนิษฐา ประกอบแสง (ครูเหมียว)<br />

๔. คุณครูกานดา เรืองฤทธิ์ (ครูต๋อง)<br />

๕. คุณครูกัญญภัทร จันทร์แก้ว (ครูแต็ก)<br />

ครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> สอนดนตรีไทย<br />

172 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


รุ่นที่ ๑๓<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๔ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน และครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> จำนวน ๑ คน<br />

รวมเป็น ๕ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๕๖ คน<br />

(ชาย ๒๕ คน หญิง ๓๑ คน)<br />

๑. นายสถาพร พันธุประยูร (ครูอ๊อด)<br />

๒. นายไพรัช สู่แสนสุข (ครูเผือก)<br />

๓. นางสาวพรทิพย์ สุขอร่าม (ครูทิพย์)<br />

๔. นางสาวธวัลรัตน์ วิทิตตระกูล (ครูโบว์)<br />

๕. นายประดิษฐ์ แสงไกร ครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong><br />

สอนดนตรีไทย<br />

รุ่นที่ ๑๔<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๕ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๕๒ คน<br />

(ชาย ๒๓ คน หญิง ๒๙ คน)<br />

๑. นางวัชรินทร์ ดีทรง (ครูน้อย)<br />

๒. นางสาวกรแก้ว แก้วคงเมือง (ครูป้อม)<br />

๓. นายพรเทพ รุ่งคุณากร (ครูเทพ)<br />

๔. นางนันทวรรณ พรหมคช (ครูหมู)<br />

รุ่นที่ ๑๕<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๖ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน มาก<br />

๑. นางปฏิมาภรณ์ ด่านอุดม (ครูจี๊ด)<br />

๒. นางธิดารัตน์ นิตย์รา (ครูแก้ว)<br />

๓. นายไพฑูรย์ ฤทธิ์กระโทก (ครูตี่)<br />

รุ่นที่ ๑๖<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๗ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๔๖ คน<br />

๑. นางอุทัยวรรณ นุ่มมีศรี (ครูเจี๊ยบ)<br />

๒. นางพิกุลทอง เฮงประดิษฐ์ (ครูติ๋ม)<br />

๓. นางเต็มจิต จันทคา (ครูเต็ม)<br />

๔. นางสาวรุ่งรวี ขาวสบาย (ครูรุ่ง)<br />

รุ่นที่ ๑๗<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๘ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๗๔ คน<br />

๑. ดร. พจนี เทียมศักดิ์ (ครูหยก)<br />

๒. นางสาวกัญญภัทร จันทร์แก้ว (ครูแต็ก)<br />

๓. นางสาวมธุรส จินตนะพันธ์ (ครูโรส)<br />

รุ่นที่ ๑๘<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๙ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวนมาก<br />

๑. นางจงกลนี พานารถ (ครูจุ๋ม)<br />

๒. นางสาววราภรณ์ อยู่วัฒนา (ครูเหน่ง)<br />

๓. นางสาวอุไรวรรณ หว่องสกุล (ครูอ๋อย)<br />

รุ่นที่ ๑๙<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๐ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๓ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวนมาก<br />

๑. นางกรกมล ดีรอด (ครูอ้อย)<br />

๒. นางภิญญาพัชญ์ ปลากัดทอง (ครูอ้อม)<br />

๓. นางสาวสมพร ชูสิน (ครูแมว)<br />

รุ่นที่ ๒๐<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๑ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๓๘ คน<br />

๑. นางสาวเชาวนี นารถดนตรี (ครูอ๋อย)<br />

๒. นายศิริชัย หาเมธี (ครูเอก)<br />

๓. นายบุญรัตน์ แผลงศร (ครูหนึ่ง)<br />

๔. นางสาวณัฏฐกาญจน์ อนันทราวัน (ครู<br />

จุ๊บแจง)<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

173


รุ่นที่ ๒๑<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๒ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๕๘ คน<br />

(ชาย ๓๔ คน หญิง ๒๔ คน)<br />

๑. นางทวีทรัพย์ โชติภัคพิพัฒน์ (ครูทรัพย์)<br />

๒.นางกรรณิการ์ แซ่ตั้ง (ครูหมวย)<br />

๓. นางทิวทอง อ่อนบาง (ครูจุง)<br />

๔. นางสาวศิวรี อรัญนารถ (ครูแอม)<br />

รุ่นที่ ๒๒<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๓ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๔๒ คน<br />

(ชาย ๒๔ คน หญิง ๑๘ คน)<br />

๑. นางสาวยุพา มาตยะขันธ์ (ครูยุ)<br />

๒. นางสาวเสาวภา จันทร์สงค์ (ครูเอียร์)<br />

๓. นางสาวนราภรณ์ ขันธบุตร (ครูภรณ์)<br />

๔. นางสาวเจียมจิตร มะลิรส (ครูนุ่น)<br />

รุ่นที่ ๒๓<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๔ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๕๘ คน<br />

(ชาย ๓๑ คน หญิง ๒๗ คน)<br />

๑. นางสาวณัฐธิดา เชื้อทอง (ครูเก๋)<br />

๒. นางรัชญา ติยะวงศ์ (ครูตุ่ม)<br />

๓. นางสาวปัญจรัศมิ์ ลาภชูรัต (ครูปัญจ์)<br />

๔. นางพิสมัย สุวรรณานนท์ (ครูตุ๊ก)<br />

รุ่นที่ ๒๔<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๕ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีผู้ช่วยครู ๑ คน รวมเป็น ๕ คน<br />

มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๔๕ คน (ชาย ๒๒ คน<br />

หญิง ๒๓ คน)<br />

๑. นางปภาดา อัศวธีรากุล (ครูเล็ก)<br />

๒. นางสาวอุมาพร จิตตะโคตร์ (ครูหนุ่ย)<br />

๓. นางสาวณัฐวดี ศรีทองดี (ครูพลอย)<br />

๔. นางสาวเปรมจิตต์ ทะริยะ ( ครูเทียน)<br />

๕. นางสาวชนวรรณ ชีล่า จารุธวัช (Shela)<br />

รุ่นที่ ๒๕<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๖ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน ๔๖ คน<br />

(ชาย ๑๙ คน หญิง ๒๗ คน)<br />

๑. นางสาวิกา แสนกลาง (ครูต้อย)<br />

๒. นางวิไลวรรณ ภูดี (ครูอ๊อด)<br />

๓. นางสุนทรี เจษฎาเมธานนท์ (ครูสุน)<br />

๔. นางสาวจามรี ศิริจันทร์ (ครูนกแก้ว)<br />

รุ่นที่ ๒๖<br />

ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๗ มีครูอาสาสมัครมาปฏิบัติงาน<br />

จำนวน ๔ คน มีนักเรียนมาสมัครเรียนจำนวน<br />

๔๙ คน (ชาย ๒๒ คน หญิง ๒๗ คน)<br />

๑. นางนฤมล กุลวงษ์น้อย (ครูปุ๋ย)<br />

๒. นางสาววชิรา บุญเกื้อ (ครูจุ๋ม)<br />

๓. นางสาวณัชนันท์ ริจนา (ครูภา)<br />

๔. นางสาวชุลีพร จาดขำ (ครูแอร์)<br />

ครูอาสาประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘<br />

๑. นางสาวดลพร อยู่ไทย (ครูแพท)<br />

๒. นางสาวภควรรณ ปกรณ์พานิช (ครูบิว)<br />

174 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ครูสอนภาษาไทย ภาคฤดูร้อน<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๒ ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๓<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๔ ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๕<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๖ ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๗<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

175


ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๘<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๓๙<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๐<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๑<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๓<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๔ ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๕<br />

176 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๖<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๗<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๘ ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๔๙<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๐<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๑<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๒<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

177


ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๖<br />

ครูภาษาไทย ภาคฤดูร้อน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๗<br />

ครูประจำการ ๑ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๗-๒๕๕๘<br />

178 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


งานสาธารณูปการ<br />

การสร้างอุโบสถศาลาพระพุทธมงคลวิมลดีซี<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

179


180 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

181


การสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

182 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

183


ธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๘๐ <strong>ปี</strong><br />

184 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

185


ธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๘๔ <strong>ปี</strong><br />

186 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

187


ธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๘๖ <strong>ปี</strong><br />

188 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๘๘ <strong>ปี</strong><br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

189


1<strong>90</strong> • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๘๙ <strong>ปี</strong><br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

191


192 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ประวัติการสร้าง<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

โดย นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส<br />

ผมรู ้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับมอบหมายให้เขียนประวัติของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี, ช่วงหนึ่ง<br />

ที่ผมมีส่วนรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาวัดในช่วงนั้น เมื่อคิดย้อนหลังถึง<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๑๔<br />

ซึ่งเป็น<strong>ปี</strong>เริ่มต้นของวัดแห่งแรกที่ถนนเวย์น ผมได้รับเป็นกรรมการกลางในตำแหน่งประธานหาทุนประจำ<br />

บัลติมอร์ ผมมีส่วนช่วยสนับสนุนกิจกรรมของวัดเท่าที่โอกาสจะอำนวย จนกระทั่ง<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับเลือก<br />

เป็นกรรมการจากการเลือกตั้ง และต่อมา<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับเกียรติเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. ในครั้งแรก เป็นผู้นำกรรมการบริหารวัดที่ถนนจอร์เจีย ซึ่งขณะนั้น ได้ย้ายมาจากถนนเวย์นเพียง ๓ <strong>ปี</strong><br />

ใน<strong>ปี</strong>นั้น คณะสงฆ์ คณะกรรมการวัด รวมทั้งพุทธศาสนิกชนสมาชิกวัด ได้เริ่มปรารภถึงการขยับขยายสถานที่<br />

และการสรรหาสถานที่แห่งใหม่ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ<br />

๑. วัดขณะนั้นเริ่มจะคับแคบ ทั้งภายในตัวอาคาร และบริเวณภายนอก<br />

๒. การขยับขยายเพื่อสร้างให้เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบได้ยาก ถ้ายังอยู่ที่เดิม<br />

๓. สถานที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน เมื่อวัดมีงานใหญ่ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการจราจร การจอดรถ ทำให้<br />

เกิดปัญหาขึ้นกับชาวบ้านที่อยู่รอบวัด<br />

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทางวัดได้แต่งตั้งกรรมการหาซื้อที่ดินสร้างวัดขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบ ด้วยกรรมการ<br />

๑๒ ท่าน คือ<br />

๑. นายประสาร มานะกุล ๒. น.อ.ชวชิต อิศรางกูรฯ<br />

๓. นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส ๔. ดร.บุญปลูก ชายเกตุ<br />

๕. นายปรีดี สุดรัก ๖. แพทย์หญิงดวงมาลย์ มาลยมาน<br />

๗. ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท ๘. นายสิทธิศักดิ์ ปรางขำ<br />

๙. นายพรรลภ ศรีอุทัย ๑๐. นายธีรพจน์ สมบัติเ<strong>ปี</strong>่ยม<br />

๑๑. นายธัชพงศ์ จันทรปรรณิก ๑๒. นายธีรวุฒิ ธัญญะวัฒน์โภคิน<br />

คณะกรรมการหาซื้อที่ดินสร้างวัด และคณะสงฆ์ได้เริ่มปฏิบัติการเพื่อสรรหาที่ดินสร้างวัดใหม่ ตั้งแต่<strong>ปี</strong><br />

พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยมีหลักการคร่าว ๆ ว่า สถานที่แห่งใหม่จะต้องอยู่ไม่ไกลจากวัดเก่ามากนัก ราคาไม่สูงและ<br />

จะต้องเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินของวัดในขณะนั้น มีเนื้อที่เพียงพอสำหรับขยาย เป็นวัดที่สมบูรณ์<br />

แบบได้ และสถานที่ควรเป็นเอกเทศ ไม่อยู่ใกล้ชุมชนมากนัก คณะกรรมการชุดนี้ได้ดูที่มาหลายสิบแห่ง<br />

และในที่สุดได้นำเสนอในที่ประชุม ซึ่งประกอบด้วยคณะสงฆ์ กรรมการสภา และกรรมการบริหาร เมื่อวันที่<br />

๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เพื่อให้พิจารณาที่ ๕ แห่ง ที่ได้สรรหามา ที่ประชุมไม่พิจารณาที่ ๓ แห่ง ที่มี<br />

ประมาณการณ์ราคาเกิน ๔ แสนเหรียญสหรัฐ และที่ๆ เป็นบ้านอยู ่หลังวัดในขณะนั้น ซึ่งมีเนื้อที่เพียง ๑/๒ เอเคอร์<br />

ราคา ๑๙๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ พิจารณาว่าไม่เหมาะสม ในที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ อนุมัติให้ซื้อที่ผืนที่เป็น<br />

บ้าน ๕ ห้องนอน มีเนื้อที่ ๕ เอเคอร์ ซึ่งใน<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๒๖ ตั้งขายราคา ๔๐๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ราคาลดลง<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

193


เป็น ๒๗๙,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ที่ประชุมอนุมัติให้ น.พ.กรีฑา อภิบุณโยภาส เซ็นสัญญาซื้อในราคา ๒๖๕,๐๐๐<br />

เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นที่ตั้งของวัดแห่งใหม่ เพื่อขยับขยายเป็นวัดที่สมบูรณ์<br />

แบบในขั้นต่อไป<br />

เมื่อซื้อที่แห่งใหม่นี้เรียบร้อยแล้ว ทางวัดได้แต่งตั้งกรรมการวางแผนต่อเติมวัดใหม่ขึ้นอีกคณะหนึ่ง<br />

ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ ๑๑ ท่าน คือ<br />

๑. นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส ๒. ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท<br />

๓. นายปรีดี สุดรัก ๔. นายแพทย์ประสาร นิลประภัสสร<br />

๕. นายธีรวุฒิ ธัญญะวัฒน์โภคิน ๖. นายสิทธิศักดิ์ ปรางขำ<br />

๗. พ.ญ.ดวงมาลย์ มาลยมาน ๘. นายธีรพจน์ สมบัติเ<strong>ปี</strong>่ยม<br />

๙. นายพรรลภ ศรีอุทัย ๑๐. นายแพทย์ถาวร หล่อรุ่งโรจน์<br />

๑๑. นายดำรงค์ อินทรมีทรัพย์<br />

นอกจากนี้ ทางวัดได้แต่งตั้งกรรมการสถาปนิกคณะหนึ่งเพื่อเขียนแบบต่อเติม ซึ่งประกอบ ด้วยกรรมการ<br />

๖ ท่าน คือ<br />

๑. นายปรีดี สุดรัก ๒. นายสนั่น เมฆมงคล<br />

๓. นายธีรวุฒิ ธัญญะวัฒน์โภคิน ๔. นายสุทธิชัย เกษราพงษ์<br />

๕. นายธีรพจน์ สมบัติเ<strong>ปี</strong>่ยม ๖. ม.ล.เพียงทอง ทองแถม เมฆมงคล<br />

ในที่สุด คณะกรรมการสถาปนิกได้เขียนแบบขึ้นสำเร็จเพื่อใช้ในการประมูลราคาก่อสร้าง และการเซ็น<br />

สัญญาก่อสร้าง ผลการประมูลผู้รับเหมาก่อสร้าง ๕ ราย ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ ในวันที่ ๑๓ เมษายน<br />

พ.ศ. ๒๕๒๙ อนุมัติให้นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส เซ็นสัญญากับบริษัท R.J. HOGAN CONTRACTORS,<br />

INC. เป็นผู้ก่อสร้าง ต่อเติมในราคา ๑๓๐,๐๕๐ เหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ขยายเนื้อที่<br />

ประมาณ ๑,๙๐๐ ตารางฟุต เป็นห้องต่อออกมาจากหลังของอาคารเก่า ใช้เป็นห้องประดิษฐานองค์พระประธาน<br />

เพื่อใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีชั่วคราว จนกว่าจะมีโครงการขยับขยายวัดในขั้นต่อไป<br />

รายละเอียดการก่อสร้างและเพิ่มเติม<br />

ราคาประมูลขั้นแรก ๑๓๐,๐๕๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

หักค่าพรมซึ่งทางวัดจะปูเอง ๑,๘๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ราคาค่าก่อสร้างตามสัญญา<br />

๑๒๘,๒๕๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ขยายเนื้อที่ส่วนที่เป็นห้องน้ำ ๑,๐๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ปิดส่วนที่เป็นไม้ด้วยแผ่นโลหะ ๒,๕๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

เปลี่ยนหลังคาอาคารเก่า ๗,๕๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

เพิ่มกระแสไฟฟ้าจาก ๑๐๐ เป็น ๔๐๐ แอมป์ ๑,๘๕๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ต่อเติมบางส่วนที่ไม่อยู่ในสัญญา ๑,๘๗๖.๔๐ เหรียญสหรัฐ<br />

รวมราคาค่าก่อสร้างและเพิ่มเติม ๑๔๒,๙๗๖.๔๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าปรับปรุงเพิ่มเติมและครุภัณฑ์<br />

สร้างห้องเก็บของ<br />

สร้างบันไดและระเบียงต่อจากห้องพระประธาน<br />

๒,๙๕๗.๖๐ เหรียญสหรัฐ<br />

๒,๒๓๔.๙๗ เหรียญสหรัฐ<br />

194 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ปรับปรุงโรงรถเป็นที่ทำงาน ๗,๑๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ซื้อรถแทคเตอร์ยี่ห้อคูโบต้า ๔,๘๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ซื้อรถพ่วงเก็บใบไม้และหญ้า ๙๙๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าต้นไม้และอุปกรณ์ปลูกต้นไม้<br />

๑,๒๐๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าโทรศัพท์ระบบใหม่ ๔ เครื่อง ๘๘๒.๕๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าเครื่องขยายเสียงพร้อมทั้งอุปกรณ์ ๙๘๕.๖๓ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าวัสดุสร้างฐานพระประธาน<br />

๓๕๐.๐๐ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าปูพรมห้องพระประธาน<br />

๒,๔๕๔.๙๗ เหรียญสหรัฐ<br />

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากการก่อสร้างและต่อเติม ๒๓,๙๕๕.๖๗ เหรียญสหรัฐ<br />

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายหลังซื้อที่วัดใหม่ ๑๖๖,๙๓๒.๐๗ เหรียญสหรัฐ<br />

วัดได้กู้เงินจากธนาคาร ๑๕๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ในอัตราดอกเบี้ย ๑๐.๗๕% เวลา ๑๕ <strong>ปี</strong> แต่ทางวัด<br />

สามารถชำระเงินคืนธนาคารทั้งหมดภายในเวลา ๑๓ เดือน หลังจากการก่อสร้างห้องพระประธานเสร็จเรียบร้อย<br />

แล้ว<br />

การขายอาคารวัดที่ถนนเจอร์เจีย<br />

คณะกรรมการสภา กรรมการบริหาร ลงมติแต่งตั้งบริษัท Merrill Lynch Realty เป็นผู ้ประกาศขาย เริ่ม<br />

ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ และมีการแต่งตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาการขายวัดขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบ<br />

ด้วย กรรมการ ๔ ท่าน คือ<br />

๑. ดร.ศรีปริญญา รามโกมุท ๒. นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส<br />

๓. นายปรีดี สุดรัก ๔. นายสิทธิศักดิ์ ปรางขำ<br />

วัดที่ถนนจอร์เจีย ตั้งราคาขาย ๒๙๙,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ มีผู้สนใจที่เซ็นสัญญา ซื้อขายเป็นลายลักษณ์<br />

อักษร ๔ ราย คณะกรรมการพิจารณาขายวัด พิจารณาขายให้กลุ ่มนักลงทุน Alvin M. Walker, Ruby J..Jacobs,<br />

Lina L. Allen ในราคา ๒๙๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ และได้นำเสนอที่ประชุม กรรมการสภาและกรรมการบริหารใน<br />

วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติให้นายแพทย์กรีฑา อภิบุณโยภาส เซ็น<br />

สัญญาซื้อขายกับผู ้ซื้อรายนี้ และต่อมาได้ทำ Settlement โอนวัดเก่าให้กับผู ้ซื้อเป็นที่เรียบร้อยในเดือนเดียวกัน.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

195


ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๙ หลังจากพิธีทำบุญวันเข้าพรรษาเสร็จแล้วหลวงพ่อ<br />

พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท เจ้าอาวาส ได้เป็นประธานนำคณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทำวัตรเย็นที่วัดเก่า<br />

ถนนจอร์เจียเป็นครั้งสุดท้าย และทำพิธีขอขมาองค์พระประธาน พระพุทธมงคลวิมลดีซี เพื่ออัญเชิญไป<br />

ประดิษฐาน ณ ห้องพระประธานที่วัดใหม่ ถนนเลย์ฮิลล์<br />

การเคลื่อนย้ายองค์พระประธานเป็นไปอย่างราบรื่น มีคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนอย่างล้นหลาม<br />

รวมเป็นขบวนใหญ่ โดยมีทั้งรถยนต์ส่วนตัว และรถบรรทุกขนาด ๑๘ ล้อ จากบัลติมอร์ที่มาช่วยบริการ<br />

ในการเคลื่อนย้ายจากอาคารบ้านเลขที่ <strong>90</strong>33 Georgia Avenue, Silver Spring, Maryland เสร็จเรียบร้อย<br />

ในวันเดียว<br />

ท้ายที่สุดนี้ ผมขอนมัสการขออนุญาตพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระวิเทศธรรมรังษี (ปัจจุบันเป็นที่<br />

พระราชมงคลรังษี) นำคำกล่าวสรุปที่พระคุณท่านเขียนไว้ในหนังสือ “การสร้างวัดและคนแก่วัด” ที่พิมพ์แจก<br />

เป็นธรรมบรรณาการ เนื่องในวันทำบุญขึ้นวัดใหม่ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๙ ดังนี้<br />

ได้อัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธมงคลวิมลดีซี ซึ่งเป็นองค์พระประธานไปประดิษฐาน ณ ที่แห่งใหม่ ตั้งแต่<br />

วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เวลาเย็นอันเป็นวันอาสาฬหบูชา นับว่าเป็นมงคลนิมิตหมายคล้ายกับวันที่<br />

พระพุทธองค์เสด็จจากต้นมหาโพธิ์ ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ในสมัยพุทธกาล เหตุการณ์<br />

แห่งวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. แห่งใหม่ มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายกัน วันนั้นเป็น “วันอาสาฬหบูชา” สถานที่<br />

เป็นป่า และมีกวางออกมาบริเวณสนามหญ้าเป็นครั้งเป็นคราว นี่คือข่าวอันเป็นมงคลเกี่ยวกับวัดไทย<br />

กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

196 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


การสร้างศาลาอเนกประสงค์<br />

“พระพุทธมงคลวิมล ดี.ซี.”<br />

หลังจากได้รับอนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์<br />

แล้วคณะกรรมการวัดฯ ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน<br />

มีมติเป็นเอกฉันท์ตั้งกรรมการดำเนินการก่อสร้าง<br />

อุโบสถศาลาขึ้นมาคณะหนึ่งโดยดำเนินการยื่นเอกสาร<br />

ขออนุญาตก่อสร้างอุโบสถศาลา ในวันที่ 5 มีนาคม<br />

พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) ในขณะที่รอการอนุญาตจาก<br />

ทางเทศบาล ทางวัดได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์<br />

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2536 (ค.ศ.1993) ตรงกับ<br />

วันวิสาขบูชามีพระราชกิตติเวที(สมบูรณ์) วัดวชิรธรรม<br />

ประทีป ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ มีพระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ฝ่ายเถรวาท<br />

เข้าร่วมเจริญพระพุทธมนต์ และสวดชัยมงคลคาถา และมีคุณบุษบา บุญนาค อัครราชทูตเป็นประธานวาง<br />

ศิลาฤกษ์<br />

ต่อมาทางเทศบาลได้อนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างได้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2537 (ค.ศ.1994) ทาง<br />

คณะกรรมการรับผิดชอบการก่อสร้างได้ตกลงเซ็นสัญญาจ้างบริษัท Wander & Associate Inc. ดำเนิน<br />

การก่อสร้างอุโบสถอาคารหลังนี้ในราคา 1,143,883.00 เหรียญสหรัฐ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 3<br />

มิถุนายน พ.ศ. 2337 (ค.ศ.1994) อุโบสถศาลาแห่งนี้ เป็นลักษณะอาคารสูง 2 ชั้น มีลักษณะเป็นทรงไทย<br />

ผสม ขนาดกว้าง <strong>40</strong> ฟุต ยาว 100 ฟุต ชั้นบนใช้เป็นอุโบสถ ประดิษฐานพระประธาน พระพุทธมงคลวิมล<br />

ดี.ซี, เป็นที่ประกอบสังฆกรรมและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา, ห้องน้ำ, ห้องเก็บของ, ห้องพักพระสงฆ์และ<br />

ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สามารถจุคนได้ประมาณ 300 คน ชั้นล่างประกอบด้วยห้องน้ำ, ห้องเก็บของและ<br />

ห้องโถงศาลาอเนกประสงค์ที่สามารถดัดแปลงเป็นห้องประชุม, ห้องเรียน, ห้องจัดกิจกรรมและขนบธรรมเนียม<br />

ประเพณีต่างๆ การก่อสร้างได้สำเร็จเรียบร้อยตามสัญญา เป็นระยะเวลาภายใน 8 เดือน และได้รับใบอนุญาต<br />

เข้าใช้อาคารสถานที่ได้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995)<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

197


<strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> importance to American<br />

community, for history document<br />

Since it opened in 1974 in a small rented<br />

house in Silver Spring, <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> <strong>Washington</strong> has<br />

been a connecting point for the American and <strong>Thai</strong><br />

communities in the <strong>Washington</strong> area.<br />

Growing up in <strong>Washington</strong>, I became very<br />

close friends with a <strong>Thai</strong> girl whose father was a<br />

diplomat stationed here. We kept in touch after<br />

the family returned to <strong>Thai</strong>land and I maintained<br />

an interest in <strong>Thai</strong> events, so my husband, David,<br />

and I went to visit <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> shortly after it opened.<br />

We were accepted as friends and became part of<br />

the core group at <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong>.<br />

We recognized the importance of the <strong>Wat</strong><br />

as a community center and a liaison between<br />

<strong>Thai</strong>s living here and the American culture. It fills<br />

an especially significant role in blended <strong>Thai</strong>-<br />

American families, giving the <strong>Thai</strong> partner a link<br />

to home and the American spouse insight into<br />

the culture and customs of the Asian country.<br />

Their children have a place to learn the language,<br />

dance, music and traditions. Volunteer teachers<br />

conducted language and arts classes for children<br />

and adults at the <strong>Wat</strong> even before it became the<br />

site for <strong>Thai</strong> summer school staffed by the Ministry<br />

of Education.<br />

The monks have become part of their<br />

American community, invited to churches and<br />

group meetings to educate their neighbors<br />

about their religion, country and customs.<br />

The <strong>Wat</strong> often hosts religion students from<br />

universities in the region, and the monks are<br />

invited to speak to interfaith groups. It has<br />

developed an especially close relationship with<br />

the Barrie School next door, sharing each other’s<br />

facilities and parking lots as needed.<br />

An important reason David and I have<br />

always felt comfortable at the <strong>Wat</strong> is that, when<br />

they learned that neither of us is Buddhist, nobody<br />

– monk or lay person – ever made any attempt<br />

to persuade us to adopt the religion. Indeed, it<br />

is as incomprehensible to them as it is to me<br />

to think that a person can be coerced, or even<br />

198 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


convinced, to adopt a religion that does not seem<br />

true or important to that person.<br />

During and after my husband’s final<br />

illness, in early February, <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> took<br />

on new importance to us. The monks visited<br />

him several times in his last weeks.<br />

Dr. Thanat was the principal speaker<br />

at his American funeral, in March, then he<br />

arranged a traditional <strong>Thai</strong> 50-day ceremony at <strong>Wat</strong><br />

<strong>Thai</strong> in April. Our lay friends at the <strong>Wat</strong> organized<br />

everything including a buffet lunch for all the<br />

mourners, <strong>Thai</strong> and American. I was not permitted<br />

to pay for the food or anything else. The Abbot<br />

spoke about his friendship with David, and he was<br />

fondly remembered by our <strong>Thai</strong> friends.<br />

David’s ashes were kept at <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> until the<br />

final funeral in October, when they were deposited<br />

in the columbarium at Arlington National Cemetery.<br />

Three of the monks brought the Benjarong<br />

urn containing the ashes to the cemetery and<br />

chanted briefly before it was placed in the niche.<br />

I expect <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> to remain an important<br />

part of the rest of my life.<br />

Adele Chidakel Schwartz<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

199


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

โครงการสร้างอาคารเอนกประสงค์ ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. มลรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา<br />

✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶ ✶<br />

๑. หลักการและเหตุผล<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๔๘ (2005) คณะสงฆ์ คณะกรรมการวัด ศิษยานุศิษย์ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนทั่วไป<br />

ได้จัดงานอายุวัฒนมงคลครบ ๘๐ <strong>ปี</strong> พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระวิเทศธรรมรังษี เพื่อเป็นอนุสรณ์ในโอกาส<br />

อันเป็นมงคลนี้ คณะสงฆ์และคณะกรรมการบริหารวัด ได้มีโครงการสร้างอาคารห้องสมุด ๘๐ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

ได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันหลายครั้ง และมีมติร่วมกันอนุมัติให้มีการสร้างอาคารดังกล่าว ได้จัดให้มีพิธี<br />

วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ (วันทำบุญอายุครบ ๘๐ <strong>ปี</strong>) โดยจะสร้างต่อออกไปด้านหน้าอาคาร<br />

กุฏิหลังเก่า ต่อมาคณะกรรมการได้มีการประชุมปรึกษาหารือและพิจารณาอย่างรอบคอบพร้อมกับได้ศึกษา<br />

ข้อมูลและความเปลี่ยนแปลงไปของสถานการณ์ต่างๆ ประกอบกับหลวงพ่อท่านได้ให้ข้อคิดแนวทาง เพื่อเกิด<br />

ประโยชน์สูงสุด ได้ให้คำแนะนำว่า ถ้าจะสร้างก็ควรจะสร้างให้ได้ประโยชน์ในการใช้สอยให้มากที่สุด<br />

อาคารสถานที่วัดเราก็ไม่เพียงพอต่อปริมาณการใช้สอย และนับวันจะคับแคบ เก่าและทรุดโทรม<br />

ลงตามลำดับ โครงการก่อสร้างอาคารห้องสมุดจึงได้ปรับเปลี่ยนใหม่ โดยได้ดำเนินการไปบ้างแล้วเป็น<br />

บางอย่าง<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๔๙ คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อให้การดำเนินการก่อสร้าง<br />

คืบหน้าต่อไป โดยได้พิจารณาทบทวน ศึกษาข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ ผนวกเข้ากับคำแนะนำของหลวงพ่อ<br />

และความมีอยู ่ของอาคารสถานที่ภายในวัดเรา จึงเห็นสมควรเปลี่ยนแปลงพัฒนาโครงการสร้างอาคารห้องสมุด<br />

๘๐ <strong>ปี</strong> เป็นอาคารเอนกประสงค์ ๘๐ <strong>ปี</strong> ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ :-<br />

๑. ห้องพักของพระสงฆ์ มีเพียง ๕ ห้อง ไม่เพียงพอกับจำนวนพระสงฆ์ที่อยู ่ประจำ (๙ รูป) พระธรรมทูต<br />

ต้องจำวัตรห้องละ ๒ รูปก็มี เวลามีพระสงฆ์อาคันตุกะจากที่อื่นในโอกาสสำคัญ ๆ มีห้องไม่เพียงพอในการ<br />

ต้อนรับ<br />

๒. ห้องทำงานของพระสงฆ์คับแคบ ไม่เป็นสัดส่วนต่างหากเพราะดัดแปลงห้องศาลาเอนกประสงค์<br />

เดิม(ห้องพระประธานเดิม) เป็นห้องทำงาน และกั้นด้านหลังเป็นห้องนอนพระ ๒ ห้อง<br />

๓. ห้องสมุดยังไม่มีเป็นสัดส่วน ที่เก็บหนังสืออันทรงคุณค่าและใช้เป็นห้องสมุดทุกวันนี้ (ดัดแปลงจาก<br />

โรงรถเก่า) ขณะนี้ใช้เป็นห้องเก็บเครื่องดนตรี ห้องพักของผู้มาเยี่ยมวัด(บางครั้ง) ไม่มีสภาพเป็นห้องสมุด<br />

๔. ห้องเรียนไม่เป็นสัดส่วนเท่าที่ควร เพราะใช้ชั้นล่างของอุโบสถ โดยใช้กระดานกั้นชั่วคราวไม่สามารถ<br />

ป้องกันเสียงรบกวนได้ และใช้ห้องใต้ดินอาคารเก่าซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ<br />

๕. สถานที่ฝึกอบรมธรรมะ และที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ไม่มีเป็นสัดส่วน<br />

๖. ห้องใต้ดิน ซึ่งใช้เป็นห้องเรียน และเคยใช้เป็นห้องสมุด มีน้ำท่วมเสียหายบ่อยครั้งต้องใช้เงินในการ<br />

ซ่อมแซมไม่น้อย<br />

200 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๗. อาคารซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน มีสภาพที่เก่าทรุดโทรมมาก หากจะบูรณปฏิสังขรณ์ก็ต้องใช้เงินจำนวน<br />

มาก ระบบน้ำร้อน- แอร์-ฮีตเตอร์ นับวันจะทรุดโทรมลงตามลำดับ<br />

๘. วัดไทยฯ ดี.ซี. เป็นวัดใหญ่มีกิจกรรมมากมาย มีผู้คนมาร่วมทำบุญมาก แต่อาคารสถานที่คับแคบ<br />

ไม่เพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาวัด สมควรสร้างอาคารใหม่ จัดสัดส่วนให้เหมาะสม<br />

ด้วยเหตุดังกล่าว คณะกรรมการบริหารจึงเห็นสมควรเปลี่ยนแปลงจากการสร้างอาคารห้องสมุด<br />

เป็นอาคารเอนกประสงค์ เพื่อจักได้สถานที่ใช้ประโยชน์ใช้สอยมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการขยาย<br />

ต่อเติมและวิธีอื่น ๆ อย่างรอบคอบแล้ว<br />

จึงเห็นสมควรเริ่มลงมือดำเนินการก่อสร้างโดยเร็ว เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงของ<br />

เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและของโลก ยิ่งนานวันทุกอย่างยิ่งสิ้นค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น<br />

๒. รูปแบบของอาคาร<br />

อาคาร ๓ ชั้น ก่ออิฐแข็ง มุงกระเบื้อง<br />

ชั้นที่ ๑ เป็นสำนักงาน (Office) ห้องรับแขก ห้องพระหลวงพ่อดำ ห้องฉันภัตตาหาร ห้องครัว ห้องน้ำ<br />

ชาย-หญิง จำนวน ๔ ห้อง<br />

ชั้นที่ ๒ เป็นห้องนอนพระสงฆ์จำนวน ๘ ห้อง ห้องรับรองพระเถระ (มีห้องน้ำภายใน) ห้องปฏิบัติธรรม<br />

และห้องสมุด<br />

ชั้นใต้ดิน เป็นห้องเรียน ๕ ห้อง ห้องเรียนนาฎศิลป์ ดนตรีไทย ห้องทำงานครู ๒ ห้อง ห้องน้ำ ๒ ห้อง<br />

ห้องซักผ้า ห้องเครื่องทำความร้อน-เย็น และห้องเก็บสิ่งของที่จำเป็น<br />

๓. ตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะอาคารและขนาด<br />

๑. สถานที่ก่อสร้าง บริเวณต่อจากกำแพงอุโบสถด้านทิศตะวันตก ตัวอาคารทอดยาวเป็นรูปตัวแอล<br />

ตัดกับตัวอาคารด้านหลังอุโบสถ<br />

๒. ขนาดของอาคาร กว้าง ๕๗ ฟุต ยาว ๘๐ ฟุต สูง จากพื้นดินถึงหลังคา ๓๕ ฟุต<br />

๓. ลักษณะหน้ามุขทรงไทยประยุกต์ ผสมตะวันตก เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้ประโยชน์สูงสุด<br />

๔. การดำเนินการในการก่อสร้าง<br />

๑. ตั้งคณะอนุกรรมการ การพิจารณาการก่อสร้าง<br />

๒. ทำสัญญากับบริษัทเขียนแบบ Do Architecture<br />

โดยได้รับการอุปถัมภ์จากคุณพงษ์ศักดิ์ เด่นพัฒนาพิทักษ์ (ปู) เป็นสถาปนิก<br />

และมีคุณพิพัฒน์ อิสระ และคุณสนั่น เป็นที่ปรึกษาสถาปนิก<br />

๓. ทำสัญญาจ้างบริษัท MHG ทำ Civil Engineering<br />

๔. ทำสัญญากับ Structure Engineering Group<br />

๕. ทำสัญญากับ David E. Geary Engineering (Mechanical Eng.)<br />

โดยได้รับความช่วยเหลืออุปถัมภ์จากคุณสมชาย อาภาภรณ์ ออกแบบระบบไฟฟ้า (Electrical Eng.)<br />

ได้รับความอุปถัมภ์จากคุณมาลี เกาะวานิช ได้ออกแบบระบบประปา และ Mr. Bruce Johnston เป็นที่ปรึกษา<br />

ด้านไฟฟ้า<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

201


๖. ยื่นแบบขออนุญาตจาก Montgomery County Department of Park Service แล้ว<br />

ก. ขออนุญาตทำ Civil Engineering ตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะอาคารและขนาด<br />

ข. การออกแบบตัวอาคารที่จะก่อสร้าง (Construction Design)<br />

๗. การประมูล (Bidding) ราคาการก่อสร้าง<br />

๕. คณะกรรมการดำเนินการ<br />

๑. คณะกรรมการอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.<br />

๒. คณะอนุกรรมการพิจารณา และดำเนินการก่อสร้าง<br />

๓. สถาปนิก วิศวกร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกแผนก<br />

๖. ระยะเวลาการก่อสร้าง<br />

๑. ขออนุญาตจาก Montgomery County ประมาณ ๒ <strong>ปี</strong><br />

๒. ประมูลการก่อสร้าง ๓ เดือน<br />

๓. เริ่มก่อสร้างอาคารประมาณ ๘ เดือน (มิถุนายน ๒๕๕๔– มีนาคม ๒๕๕๕)<br />

๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ<br />

๑. คณะกรรมการอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

๒. นายสมพันธ์ วนานต์ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง (Construction Manager)<br />

๓. นายวิโรจน์ บาลี ผู้ช่วยคุมการก่อสร้าง (Asst. Construction Manager)<br />

๔. นายประพจน์ คุณวงศ์ ผู้ประสานงานและเลขานุการ<br />

๕. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิาโณ ตัวแทนคณะสงฆ์ดูแลประสานงาน<br />

๘. งบประมาณในการก่อสร้าง<br />

งบประมาณในการก่อสร้าง ประมาณ ๒.๓-๒.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ($2.3-2.5 millions)<br />

๙. แหล่งที่มาของงบประมาณ<br />

๑. เงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปที่ทางวัดเก็บไว้แล้ว ๑,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ (หนึ่งล้านเหรียญ)<br />

๒. ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุน ระดมทุน โดย<br />

๒.๑ ทางวัดขอกู้ยืมเงินจากสมาชิก-ศิษยานุศิษย์หลวงตาชี (ไม่มีดอกเบี้ย)<br />

๒.๒ ขอกู้ ยืมจากธนาคาร ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐-๑,๕๐๐,๐๐๐ เหรียญฯ (มีดอกเบี้ย)<br />

๒.๓ จัดตั้งกองทุนเฉพาะกิจ (ทุนสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

(รับบริจาค ทุนละ ๙๖ เหรียญฯ , ๙๖๐เหรียญฯ, ๙,๖๐๐ เหรียญฯ)<br />

๒.๔ ทอดกฐิน – ทอดผ้าป่า<br />

๒.๕ ตั้งตู้รับบริจาคตามร้านอาหาร และวัดในสังกัดสมัชชาสงฆ์ไทยฯ<br />

๒.๖ วิธีการระดมทุนอื่น ๆ เช่นการจัดงานหารายได้ เป็นต้น<br />

202 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๑๐. แผนการระดมทุนในการก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี โดยการกู้ยืมสมาชิก และขอรับบริจาค<br />

กลุ่มเป้าหมายต่างๆ (ดูรายชื่อภาคผนวก)<br />

๑๑. ได้รับอนุญาตการก่อสร้างจาก Montgomery County อนุญาตให้ก่อสร้างได้ตามแปลนที่ยื่นไป<br />

ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันนที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕<br />

๑๒. การประมูลการก่อสร้าง คณะกรรมการพิจารณาการก่อสร้างได้ประชุมคัดเลือกบริษัทรับเหมา<br />

ก่อสร้าง ๓ บริษัท คือ<br />

๑. บริษัท Therrien Waddle (TW)<br />

๒. บริษัท Plano-Coudon (PC)<br />

๓. บริษัท Morgan-Keller Construction (MKC)<br />

ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกบริษัท TW. เพราะราคาอยู่ระดับปานกลาง และความน่าเชื่อถือของ<br />

บริษัทนี้ ได้ทำการเซ็นต์สัญญาการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ในราคา ๒,๑๗๑,๙๑๓ เหรียญ<br />

สหรัฐฯ ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๘ เดือน<br />

๑๓. ได้รับใบอนุญาตให้เข้าอยู่อาศัยในอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

๑๔. พิธีเปิดป้ายอาคาร ๘๘ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

๑๕. การย้ายขึ้นอยู่อาศัยของอาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖<br />

๑๖. การรับมอบอาคารจากบริษัท TW (ตามเอกสาร) วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สิ้นค่าก่อสร้าง<br />

ทั้งหมดรวม ๒,๗๔๔,๙๔๑ เหรียญสหรัฐฯ<br />

๑๗. การก่อสร้างอาคาร ๘๘ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี รวมที่จอดรถ เสาไฟฟ้าบริเวณลานจอดรถ และบ่อบำบัดน้ำ<br />

เสีย ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกอย่าง เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

(พระครูสิริอรรถวิเทศ)<br />

ประธานคณะกรรมการอำนวยการวัดไทย ดี.ซี.<br />

ประธานคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

203


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

ประกาศ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ การก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ หมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับ (Bylaws) การบริหาร วัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้ง<br />

บุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้เป็นคณะอนุกรรมการควบคุม และดำเนินการก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

๑. พระมหาถนัด อตฺถจารี ประธานกรรมการ<br />

๒. พระมหาเรืองฤทธิ์ สมิทฺธิญาโณ รองประธานกรรมการ<br />

๓. น.พ.กรีฑา อภิบุญโยภาส รองประธานกรรมการ<br />

๔. น.พ.สหัสชัย มุสิกะภุมมะ รองประธานกรรมการ<br />

๕. พ.ญ.ดวงมาลย์ มาลยมาล กรรมการ<br />

๖. คุณสุวิมล รามโกมุท กรรมการ<br />

๗. คุณกลวิทย์ ระพีพันธ์ กรรมการ<br />

๘. คุณประสาร มานะกุล กรรมการ<br />

๙. คุณชัยรัตน์ เจตบุตร กรรมการ<br />

๑๐. คุณสุกานดา บุพพานนท์ กรรมการ<br />

๑๑. คุณมาลินี วังศเมธีกูร กรรมการ<br />

๑๒. คุณสมพันธ์ วนันท์ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง<br />

๑๓. คุณวิโรจน์ บาลี ผู้ช่วยควบคุมการก่อสร้าง<br />

๑๔. คุณสัมฤทธิ์ ภิรมย์รื่น ผู้ช่วยควบคุมการก่อสร้าง<br />

๑๕. คุณพงศ์ศักดิ์ เด่นพัฒนพิทักษ์ สถาปนิก<br />

๑๖. คุณประพจน์ คุณวงศ์ กรรมการและเลขานุการ<br />

ทั้งนี้ตั้งแต่ วันที่ ๒๐ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

(ลงชื่อ)..............................................<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.<br />

204 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

ประกาศ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายหาทุนก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ หมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับ (Bylaws) การบริหาร วัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เสร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้ง<br />

บุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้เป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายหาทุนในก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

๑. คุณยงยุทธ คุณศิริพรรณ เนตรทองคำ<br />

๒. คุณณรงค์ คุณรัตนา โชติกะเวชกุล<br />

๓. น.พ.อรุณ คุณสุมนา สวนศิลป์พงษ์<br />

๔. คุณพยุง คุณจินตนา งามสะอาด<br />

๕. คุณสุกานดา บุพพานนท์<br />

๖. คุณสุทนต์ ธรรมประเสริฐ<br />

๗. คุณมาลินี วังศเมธีกูร<br />

๘. คุณสุวิมล รามโกมุท<br />

๙. คุณเกลี้ยง ชูเต<br />

๑๐. คุณปราณี เทพทาราคุณ<br />

๑๑. คุณพัชรา ตวงเศรษฐวุฒิ<br />

๑๒. คุณศิริพร คุณวงศ์<br />

๑๓. คุณพรรณี เกษมพันธัย<br />

๑๔. คุณสุพรรณี สัตตวัตรกุล<br />

๑๕. คุณจารุณี พิทโยทัย<br />

๑๖. คุณสุดารัตน์ ตั้งตรงวานิชย์ กรรมการและเลขานุการ<br />

ทั้งนี้ตั้งแต่ วันที่ ๒๐ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

(ลงชื่อ)..............................................<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

205


g<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ด<br />

ี.ซี.<br />

g<br />

WAT THAI WASHINGTON, D.C.<br />

ประกาศ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายช่าง การก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ หมวดที่ ๔ แห่งกฎข้อบังคับ (Bylaws) การบริหาร วัดไทยกรุงวอชิงตัน,<br />

ดี.ซี. พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดีงาม ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ จึงแต่งตั้ง<br />

บุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้เป็นคณะอนุกรรมการฝ่ายช่าง การก่อสร้างอาคาร ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

๑. คุณสมพันธ์ วนานต์ เป็น Project Manager<br />

๒. คุณสมชาย ภาอาภรณ์ ฝ่ายช่างไฟฟ้า (Electrical Engineer)<br />

๓. คุณอภิรัตน์ ผ่องอักษร ฝ่ายช่างไฟฟ้า (Pepco)<br />

๔. คุณสัมฤทธิ์ ภิรมย์รื่น เป็นผู้ช่วย Project Manager<br />

๕. คุณวิโรจน์ บาลี เป็นผู้ช่วย Project Manager<br />

๖. Mr. Bruce Johnston ที่ปรึกษาด้านไฟฟ้า (Electrical Engineer)<br />

๗. คุณมาลี ด้านน้ำประปา (Plumping Engineer)<br />

๘. คุณ Eric วัฒนรังษีขจร ช่างสำรวจ<br />

๙. คุณธนากร พงษ์กิจการุณ ช่างสี<br />

๑๐. คุณถนัด สิทธิอ่วม เครื่องเสียง<br />

๑๑. คุณแทน ดาว ช่างไม้<br />

๑๒. คุณสมร นามสวัสดิ์ ช่างไม้<br />

๑๓. คุณสัมฤทธิ์ หาญชนะ ช่างไม้<br />

๑๔. คุณสมพงษ์ พิลาแพง ช่างปูพรม<br />

๑๕. คุณสมาน จันทนามศรี ช่างปูพรม<br />

ทั้งนี้ตั้งแต่ วันที่ ๒๐ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

(ลงชื่อ)..............................................<br />

(พระมหาถนัด อตฺถจารี, Ph.D.)<br />

ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.<br />

206 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ภาพโครงการสร้างอาคารเอนกประสงค์ ๘๐ <strong>ปี</strong>หลวงตาชี<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. มลรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

207


208 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)<br />

งานสาธารณสงเคราะห์


ภาพพระเถระมาเยี่ยมวัด<br />

วัดแห่งที่ ๑<br />

คณะพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) มิถุนายน ๒๕๒๑<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๑๘ พระมหาเกลี้ยง, พระธรรมโกศาจารย์(ชอบ),<br />

พระมหาจวน, พระมหาเหล็ก (วัดวชิรธรรมปทีป นิวยอร์ก)<br />

คณะพระสุธีรัตนาภรณ์, พระมหาประยุทธ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)<br />

พฤศจิกายน ๒๕๒๐<br />

<strong>ปี</strong> ๒๕๒๑ พระวชิรธรรมโสภณ (สีนวล)<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

209


พระพรหมคุณาภรณ์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) พร้อมคณะ<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) พร้อมคณะ<br />

พระราชวรมุนี, พระสุธีรัตนาภรณ์, พระอาจารย์โสบิน,<br />

พระมหาเกลี้ยง, พระมหาสุรศักดิ์, พฤศจิกายน ๒๕๒๐<br />

สมเด็จพระธีรญาณมุนี ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๐<br />

210 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดแห่งที่ ๒<br />

คุณสมัคร สุนทรเวช กราบหลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์<br />

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก) เมื่อมิถุนายน ๒๕๒๗<br />

พระมหาเกลี้ยง เตชวโร, พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ)<br />

พระมหาสุรศักดิ์ (หลวงตาชี)<br />

พระวิสุทธิสมโพธิ วัดวชิรธรรมปทีป นิวยอร์ก,<br />

เจ้าคุณสังวาลย์ วัดศรีโสดา เชียงใหม่<br />

พระวิมลสีลาจารย์ วัดธรรมประทีป, พระมหาสุทัศน์ สุริโย<br />

วัดวชิรธรรมปทีป นิวยอร์ก, พระสิริสุทัศน์ธรรมาภรณ์<br />

พระมหาวรรณ, พระมหาทวีพงษ์, พระมหาฝ้าย,<br />

พระอาจารย์พยอม, พระราชกิตติโสภณ, พระมหาสุรศักดิ์<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

211


พระอาจารย์พยอม กลฺยาโณ<br />

สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถร)<br />

เมื่อตุลาคม ๒๕๒๕<br />

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อพฤษภาคม ๒๕๒๒<br />

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ<br />

พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีมหาเถระ)<br />

212 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดแห่งที่ ๓<br />

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรฯ<br />

เมื่อมิถุนายน ๒๕๓๑<br />

คณะพระสงฆ์ติดตามสมเด็จพระพุทธชินวงศ์<br />

วัดเบญจมบพิตร เมื่อมิถุนายน ๒๕๓๑<br />

หลวงปู่เจ้าคุณพระราชสารเวที(เหล่ว)วัดธาตุขอนแก่น และ<br />

เจ้าอาวาสวัดหนองแวง เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๑<br />

หลวงปู่เจ้าคุณพระราชสารเวที (เหล่ว) วัดธาตุขอนแก่น<br />

และเจ้าอาวาสวัดหนองแวง เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๑<br />

พระมหาเสริมชัย ชยมฺงคโล วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม<br />

มาแสดงธรรม เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๓<br />

พระธรรมวโรดม คณะสงฆ์ฯ จากประเทศไทย<br />

เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๔<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

213


พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตร <strong>ปี</strong> ๒๕๓๔<br />

พระมหาจรรยงค์ เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยฯ<br />

วัดธัมมาราม ชิคาโก เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๔<br />

พระมหาสุบิน และพระมหาฝ้าย วัดไทยแอล.เอ.<br />

เทศน์มหาชาติ <strong>ปี</strong> ๒๕๓๕<br />

คณะสงฆ์ฯ และ แม่ชี จากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๖<br />

พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย) วัดไทยแอลเอ<br />

เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๘<br />

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตโต) เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๘<br />

214 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


พระเทพมงคลเมธี เจ้าอาวาสวัดมหาธตุ นครพนม<br />

เมื่อมิถุนายน ๒๕๓๑<br />

พระธรรมปริยัติมุนี, พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทะ)<br />

พระธรรมปริยัติมุนี, หลวงพ่อปัญญานันทะ,<br />

หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ (หลวงตาชี), พม.ต่วน, พม.สมชัย<br />

หลวงพ่อปัญญานันทะ<br />

หลวงพ่อพระมหาสุรศักดิ์ (หลวงตาชี) ๙ มิ.ย. ๒๕๔๑.<br />

Lama Kalsang เจ้าอาวาสวัดทิเบต<br />

Silver Spring <strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์) จภ. ๖<br />

วัดพระแก้วเชียงราย <strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

215


พระเทพวิสุทธาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร,<br />

พระครูเศรษฐกิจ เจ้าอาวาสวัดนาคปรก กรุงเทพ (ปัจจุบันเป็น<br />

พระกิตติโสภณวิเทศ) เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

พระราชกิตติเวที ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยฯ<br />

วัดวชิรธรรมปทีป นิวยอร์ก <strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ เมื่อ <strong>ปี</strong> ๒๕๔๕<br />

พระเทพโกศล (สังวาลย์) วัดศรีโสดา เชียงใหม่ พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย) ๖๗ <strong>ปี</strong> หลวงตาชี<br />

216 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ต้อนรับพระพรหมคุณาภรณ์<br />

พระ ดร.สิงห์ทน เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๔๗<br />

พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย)<br />

คณะพระราชสารเวที (หลวงพ่อเหล่ว) วัดพระธาตุขอนแก่น<br />

พระพุทธิวงศมุนี แสดงธรรมวันเกิดพระมหาสุรศักดิ์<br />

พระมหาสุรศักดิ์, พระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิตรฯ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

217


คณะพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)<br />

พระมหาสง่า, พระมหาสุรศักดิ์, หลวงพ่อปัญญานันทะ,<br />

พระธรรมปริยัติมุนี<br />

พระพรหมคุณาภรณ์<br />

พระมหาสุรศักดิ์, หลวงพ่อปัญญานันทะ,<br />

หลวงพ่อคุณรัตนะ วัดภาวนาโซไซตี้<br />

218 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ, พระมหาสุรศักดิ์, พระราชสุตาภรณ์ เลขาเจ้าคณะหนเหนือ<br />

หลวงพ่อปัญญานันทะ<br />

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ วัดสังฆทาน<br />

อัครราชทูตฝ่ายวิทยาศาสตร์ สมชัย เทียมบุญประเสริฐ<br />

หลวงพ่อปัญญานันทะ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

219


ภาพบุคคลสำคัญมาเยี่ยมวัด<br />

พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา, ม.ร.ว.เบญจาภา ไกรฤกษ์<br />

ท่านทูตศักดิ์ทิพย์ และ ม.ร.ว.เบญจาภา ไกรฤกษ์<br />

คณาจารย์ มจร.<br />

นายสมัคร สุนทรเวช, ท่านทูตศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์<br />

ท่านทูตอานันท์ ปันยารชุน, ท่านทูตวิทยา เวชชาชีวะ<br />

เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๓<br />

คณะหมอลำทองคำ เพ็งดี<br />

220 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดแห่งที่ ๒<br />

เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ และ นาวาอากาศ<br />

เอกวีรยุทธ ดิษยะศริน<br />

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๔๒<br />

ท่านทูตอาสา สารสิน ในวันทำบุญขึ้น<strong>ปี</strong>ใหม่ ๒๕๓๐<br />

นายสมัคร สุนทรเวช<br />

นายสมัคร สุนทรเวช และคณะ<br />

ท่านทูตนิตย์ และคุณแพท พิบูลย์สงคราม<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

221


ท่านอัครราชทูตฝ่ายวิทยาศาสตร์ สมชัย เทียมบุญประเสริฐ<br />

ม.จ.(หญิง) วุฒิเฉลิม วุฒิชัย เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๔๐<br />

นายสมพร เทพสิทธา เมื่อพฤศจิกายน ๒๕๓๘<br />

พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เยี่ยมวัดไทย ดี.ซี.<br />

นายสมัคร สุนทรเวช<br />

นายสมพร เทพสิทธา, ดร.ปริญญ์ รามโกมุธ<br />

222 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วัดแห่งที่ ๓<br />

เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ และ นาวาอากาศเอก<br />

วีรยุทธ ดิษยะศริน เมื่อพฤษภาคม ๒๕๓๑<br />

เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ และ นาวาอากาศเอก<br />

วีรยุทธ ดิษยะศริน เมื่อพฤษภาคม ๒๕๓๑<br />

เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ สนทนาธรรม กับหลวงตาชี<br />

พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เยี่ยมวัดไทย ดี.ซี.<br />

เมื่อตุลาคม ๒๕๒๙<br />

พลตรีจำลอง ศรีเมือง เยี่ยมวัดไทย ดี.ซี.<br />

เมื่อพฤศจิกายน ๒๕๒๙<br />

ชุมพล ศิลปอาชา เมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

223


ท่านเจ้าคุณวิมลศีลาจารย์ เมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๓๐<br />

ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช เมื่อมิถุนายน ๒๕๓๐<br />

๓ ธันวาคม ๒๕๓๑<br />

ธันวาคม ๒๕๓๑<br />

อาจารย์ ส. ศิวลักษณ์ เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๓๕<br />

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และคณะสงฆ์<br />

เยี่ยมวัดไทย ดี.ซี. เมื่อมิถุนายน ๒๕๓๒<br />

224 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


คณบดี คณะครุศาสตร์ <strong>ปี</strong> ๒๕๓๕<br />

พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์, พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ<br />

เมื่อ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๖<br />

หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิมชัย (ท่านหญิงนัง) ตัดลูกนิมิต<br />

เมื่อมิถุนายน ๒๕๓๘<br />

คุณณรงค์ - คุณรัตนา โชติเวชกุล เมื่อ<strong>ปี</strong> ๒๕๔๕<br />

คุณพรทิพย์ นาคหิรัญกนก (ปุ๋ย)<br />

อดีตนางงามจักรวาล ๒๕๓๑<br />

คุณหญิงพันธ์เครือ ยงใจยุทธ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

225


คณะแอ๊ด คาราบาว เยี่ยมวัดไทย ดี.ซี.<br />

ท่านทูตมนัสพาสน์ ชูโต ในงานแจกสัมฤทธิ์บัตร<br />

ท่านทูตอาสา สารสิน กราบนมัสการ หลวงตาชี<br />

พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก และท่านทูตอาสา สารสิน<br />

ฟังธรรมจาก หลวงตาชี<br />

ท่านทูต เตช บุนนาค<br />

ท่านทูตนิตย์ และคุณแพท พิบูลย์สงคราม<br />

กับคุณวิชัย มะลิกุล<br />

226 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ท่านทูตพิศาล มาณวพัฒน์<br />

ท่านทูตพิศาล มาณวพัฒน์ และทีมไทยแลนด์<br />

ท่านเอกอัครราชทูตมนัสพาสน์ ชูโต<br />

นายสมพร เทพสิทธา<br />

นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี<br />

นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

227


พล.ต.ท.อุดม เจริญ ผอ.สำนักงานพุทธฯ<br />

ม.จ.(หญิง) วุฒิเฉลิม วุฒิชัย<br />

นาวาอากาศเอกวีรยุทธ ดิษยะศริน, คุณหมอสหัสชัย มุสิกะภุมมะ<br />

พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก กับลูกหลานชาวไทยใน ดี.ซี.<br />

นายสมัคร สุนทรเวช<br />

คุณจุฑารัตน์ บุณยากร อดีต ผอ.สำนักงานพุทธฯ<br />

228 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ประมวลภาพกิจกรรมวันสำคัญ<br />

ทางพระพุทธศาสนา-ศิลปวัฒนธรรมไทย<br />

ขึ้น<strong>ปี</strong>ใหม่<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

229


วันมาฆบูชา<br />

สงกรานต์<br />

230 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

231


232 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วันวิสาขบูชา<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

233


234 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

235


236 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


วันแม่แห่งชาติ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

237


238 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


สารทไทย<br />

เทศน์มหาชาติ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

239


ออกพรรษาตักบาตรเทโว<br />

2<strong>40</strong> • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ทอดกฐิน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

241


242 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


ลอยกระทง<br />

แต่งงาน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

243


วันพ่อแห่งชาติ<br />

244 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

245


สวดมนต์ข้าม<strong>ปี</strong><br />

246 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


คณะสงฆ์ลาว ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถวายสักการะ<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

247


พิธีรับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์พระครูสิริอรรถวิเทศ<br />

248 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


โครงการธรรมสัญจร<br />

วัดป่าสันติธรรม รัฐเวอร์จิเนีย<br />

วัดวชิรธรรมปทีป รัฐนิวยอร์ก<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

249


โครงการธรรมสัญจร<br />

วัดมงคลรัตนาราม แทมป้า<br />

<strong>Thai</strong> Institute of Healing Art รัฐเวอร์จิเนีย<br />

250 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


โครงการธรรมสัญจร<br />

วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์<br />

วัดพระมหาชนก รัฐจอร์เจีย<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

251


Luang Tha Chi and Me<br />

By Monchaya Jetabut<br />

January 15, 2015<br />

We are defined by our backgrounds, shaped by our experiences, and judged by our actions. As<br />

I reflect on Luang Tha Chi’s upcoming <strong>90</strong> th birthday ceremony, a tremendous blessing and humbling<br />

reminder of how precious time and life is, I drift away with nostalgic thoughts of my own upbringing<br />

and how this wise man had a major influence on me as a child up to the present day. My childhood<br />

musings are not unlike the process my students undergo when writing their college essays.<br />

Particular to today’s generation, when self-evolution and recreating one’s identity is the norm and<br />

not the exception, students are genuinely at a loss for words to describe an individual with whom<br />

they are still becoming acquainted. It is indeed, a difficult task. It is about identifying who you are<br />

at this moment, understanding the journey that got you here, and accepting such knowledge with<br />

compassion, forgiveness and gentle confidence in one’s individuality. I cannot profess to be an<br />

expert in this process as I myself, continue to grow as an adult. But where I am reasonably certain<br />

is that I most definitely would not be the person I am now, had it not been for my exposure and<br />

dedication to my <strong>Thai</strong> culture and Buddhist beliefs.<br />

To this day, new and old friends alike would unanimously agree that I am more <strong>Thai</strong> than<br />

American. Perhaps it is my initial quiet manner? Or that I cover my mouth when I laugh? The fact<br />

that I lower my head ever so slightly when passing elders? There may be overlapping characteristics<br />

that mirror introversion, first born children, or basic manners, but I like to think that my oft looked<br />

upon “different” nature is due to the fact that I am very much, <strong>Thai</strong>-blooded and proud of it. Many<br />

of my fellow <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> peers would agree about the virtues of being raised <strong>Thai</strong>-American. Growing<br />

up within an independent, free-spirited American culture while learning and mastering the <strong>Thai</strong> l<br />

anguage, memorizing basic Buddhist scripture in Sanskrit, and taking up challenging classical music<br />

and dance all interlace to create an exquisite tapestry of what it means to be a <strong>Wat</strong> <strong>Thai</strong> kid.<br />

How Luang Tha Chi has become a part of my life, though, is a difficult notion to spell out. Over<br />

time, he has become a subtle presence in my thoughts, a voice of reason when my mind is flustered,<br />

a sort of conscience. <strong>Thai</strong>s consider parents our first teachers and I believe this statement fully. Not<br />

a day goes by that I do not think of my parents or how they raised me – I am the very embodiment<br />

of their decisions, teachings, and ambitions. Luang Tha Chi is an extension of such parenting. He<br />

is a teacher, preacher, and grandfather. The love and undying respect that my parents have for him<br />

perpetuates in me. His serene, yet authoritative tone has always, since I was a little girl, signified<br />

a voice of truth resonating with veracity and conviction. To this day, when I hear his voice at the<br />

temple when I return for a homecoming, tears well up beyond my control.<br />

252 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


A distinct memory I have of Luang Tha’s voice, and moreover, his influence, was during a drive<br />

home from Dulles airport a few years back, on a chilly November afternoon. My uncle, and father’s<br />

young brother, had passed away and I had dropped off my folks at the airport so that they could attend<br />

to funeral services in <strong>Thai</strong>land. I was to drive my father’s car home and wasn’t entirely used to his<br />

car’s switches and controls. As I turned on the ignition and fumbled about with the heat and music<br />

player, I suddenly heard the booming voice of Luang Tha Chi. Initially startled, I decided to keep the<br />

cd playing and proceeded to tune in to what Luang Tha was preaching about. This particular lesson<br />

was about death and impermanence. He was sharing a simple message about birth, aging, sickness,<br />

and death. He touched on the fleeting nature of time and life and how death is a true and typical<br />

event that awaits us all. When my uncle passed away, we all presented a strong veneer to support<br />

my father, while he too, mustered strength and<br />

resiliency during the loss of his younger brother.<br />

But as I listened to Luang Tha’s echoing voice,<br />

I knew that my father was grieving silently and<br />

drawing strength from our beloved abbot. As I<br />

proceeded to drive, I found my vision becoming<br />

increasingly blurred as the tears continued<br />

to stream of their own accord. At that moment,<br />

Luang Tha Chi’s plain, yet powerful words touched<br />

my heart in the same way that I knew, touched<br />

my father’s.<br />

The aforementioned memory was merely one of many countless memories that make up my<br />

childhood and adulthood. Luang Tha Chi’s teachings and moral messages continue to guide my<br />

daily life as I build on new experiences and craft new memories. Whenever I am afraid, doubtful,<br />

or crippled by the unknown future, his teachings are what ground me. Luang Tha Chi, in the most<br />

spiritual sense, is there for me when I am lost. Whether it is about coping with loss or dealing with<br />

a major life decision, Luang Tha Chi centers me. When I was deliberating my move to Norway for<br />

a professional opportunity, this life-changing event triggered newfound fears and anxieties. But<br />

as always, throughout each step of my journey, I had Luang Tha Chi in my heart. Simple lessons<br />

of presence and breathing, rightful thinking and decision-making, kept me on course. My sai sin<br />

bracelet, coupled with Luang Tha’s gift of Pra BuddhaMettha, provided me with the comfort that<br />

no matter where I ventured forth, I would be met with kindness and compassion. While tomorrow<br />

has yet to be discovered, I can attest that each day continues to be a blessing. I am so sincerely<br />

thankful to have had the opportunity to be one of Luang Tha Chi’s pupils, and to have received<br />

a resilient foundation as a child to become a mindful and forward thinking adult, grounded in<br />

faith and loving-kindness. His lessons and guidance silently drive my daily choices as I continue to<br />

build on this work in progress that is my life.<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

253


มุมมอง แลไปข้างหน้า<br />

ดูอนาคตวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.<br />

โดย พระครูสังฆรักษ์อำพล สุธีโร, ดร.<br />

รองเจ้าคณะอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี<br />

หากชีวิตคือการเดินทาง วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. คือหนึ่งชีวิต มีจุดเริ่มต้น เดินก้าวย่างมา เป็นเวลา<br />

เกินสี่ทศวรรษ ๔๐ <strong>ปี</strong>แล้ว<br />

เมื่อเหลียวหลังกลับไปทบทวน ดังเรื่องราวที่ได้นำเสนอ เป็นบันทึกชีวิตที่น่าสนใจ เพราะองค์ประกอบ<br />

หลายส่วนลงตัว เช่น ศาสนบุคคลหรือศาสนทายาท พระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกา นำโดย พระราชมงคลรังษี<br />

(หลวงตาชี) ยังเป็นผู้นำสงฆ์ในการรับใช้พระพุทธศาสนา ศาสนวัตถุ สิ่งก่อสร้างในวัดได้ปักหลักลงถาวร<br />

ณ ถนนเลฮิลล์ เมืองซิลเวอร์สปริง ศาสนธรรม วารสารแสงธรรมยังคงส่องประกายรัศมี เป็นวารสาร<br />

พุทธศาสนาไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด ยังคงออกมายังเสมอต้นเสมอปลายทุกๆ เดือน พร้อมกับมีสื่ออื่นๆ<br />

ที่โลกพัฒนาไป วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้เผยแพร่ผ่านสื่อทันสมัยที่เว๊บไซด์ เฟสบุ๊ก ไลน์ วิทยุ<br />

อินเทอร์เน็ต ทีวีออนไลน์ ศาสนพิธี มีการประยุกต์ให้เข้ากับผู ้คนที่มีวัฒนธรรมประเพณีต่างกัน แต่ผู ้มาร่วมพิธี<br />

ต่างปรับตนเข้ากับรูปแบบของทางวัด เช่น งานทำบุญเทศกาลต่างๆ การทำบุญตักบาตรวันอาทิตย์ เป็นต้น<br />

ความสำเร็จผลประจักษ์ชัด ณ วันนี้ คือ การยอมรับของแวดวงพระสงฆ์ธรรมทูตนานาชาติ จำนวน<br />

ผู้คนที่เข้าวัดอุปถัมภ์ หรือเข้ามาร่วมงาน ตลอดถึงแขกผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ<br />

จากพุทธสมาคมแห่งกรุงวอชิงตัน คือวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. วันนี้ ซึ่งมีความมั่นคง องอาจ พิสูจน์<br />

ถึงความสำเร็จผลแห่งพุทธศาสนา ซึ่งเป็นปณิธานแห่งการทำงานประกาศรับใช้พระพุทธองค์<br />

มุมมอง แลไปข้างหน้า ดูอนาคต<br />

แม้ว่าอนาคตยังมาไม่ถึง แต่เรามีสิทธิ์ใช้วิสัยทัศน์ในการมองไปในโลกทัศน์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อการเดินทาง<br />

ของชีวิตจะได้มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน และกำหนดแนวทางการเดินไปอย่างมั่นคงต่อไป<br />

องค์ประกอบของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ด้านต่างๆ ได้วางมาตรฐานอย่างเป็นระบบ จึงเป็นสถาบัน<br />

ที่จะขับเคลื่อนไปได้ เช่น<br />

ศาสนบุคคล : พระเดชพระคุณ พระราชมงคลรังษี หรือหลวงตาชี ได้ฝึกพระธรรมทูตให้ทำงานเป็นทีม<br />

เป็นคณะทั้งฝ่ายสงฆ์ ฝ่ายคฤหัสถ์ มีโครงสร้างบริหารเป็นพุทธบริษัท ภิกษุเป็นทัพหน้า อุบาสกอุบาสิกา<br />

เป็นฝ่ายสนับสนุนอุปถัมภ์ เปิดโรงเรียนให้ยุวพุทธิกะ ได้รับการอบรมสั่งสอนทั้งวันอาทิตย์ ภาคฤดูร้อน<br />

ดนตรีไทย พุทธศาสนา เป็นต้น<br />

ศาสนธรรม : ธรรมะที่หลวงตาชีท่านประพันธ์ไว้เป็นพันๆ เรื่องขึ้นไป ยังใหม่ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะ<br />

นำมาจากพระไตรปิฎก นอกจากนี้ท่านยกพระนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์<br />

(อาจ) พระธรรมโกศาจารย์(ชอบ) พระธรรมโกศาจารย์ (เงี่ยม) หรือหลวงพ่อพุทธทาส พระพรหมมังคลาจารย์<br />

254 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)


หรือหลวงพ่อปัญญานันทะ พระพรหมคุณาภรณ์ หรือ ป.อ. ปยุตฺโต ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าพระสงฆ์ในหัวใจของ<br />

หลวงตาชีทั้งหลายเหล่านี้ มีจิตวิญญาณแห่งพุทธศาสนทายาท นำเพชรจากพระไตรปิฎกมาประกาศเพื่อให้<br />

ชาวโลกได้พบสันติสุขอย่างแท้จริง<br />

ศาสนวัตถุ : สิ่งก่อสร้างในวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ได้ปลูกลงในพื้นที่อย่างลงตัว วัดอยู่ติดถนน<br />

ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้า มีโรงเรียนแบรี่ อยู่ข้างๆ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลลานจอดรถ ห้องเรียน<br />

ห้องอบรม มีลำธารน้ำใสไหลริน มีป่าพงไพรที่รัฐบาลสำรองไว้ มีถนนเดินป่าเชื่อมประสานกับเส้นเดินป่าอื่นๆ<br />

เหมาะแก่การเดินจงกรม จาริกธุดงค์ หรือการเดินออกกำลังกาย มีอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธมงคลวิมล ดี.ซี.<br />

ที่ผู ้คนนับถือ มีศาลาอเนกประสงค์สำหรับใช้ในงานต่างๆ มีอาคาร ๘๘ <strong>ปี</strong>หลวงตาชีซึ่งมีห้องสมุดพระพุทธศาสนา<br />

ที่จัดระบบทันสมัย ห้องปฏิบัติสมาธิภาวนา มีที่พักพระสงฆ์ที่อำนวยความสะดวกแก่พระธรรมทูตผู ้ปฏิบัติหน้าที่<br />

มีโรงครัวมาตรฐาน ห้องฉันที่งดงาม ห้องทำงานเป็นสัดส่วน ห้องน้ำห้องสุขาที่สะอาดสะอ้าน ห้องเรียนดนตรี<br />

ไทย ห้องพักของญาติโยมที่เป็นสัดส่วน นอกจากนี้มีลานจอดรถ มีการจัดลานวัด ประดับตกแต่งไว้อย่างสวยงาม<br />

ศาสนพิธี : พระราชมงคลรังษี หรือหลวงตาชี ได้อบรมสั่งสอนและวางแนวทางข้อปฏิบัติไว้ให้พระ<br />

สงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกาได้ยึดถือไว้อย่างเป็นระบบ งดงาม เช่น กิจวัตรของพระสงฆ์ ต้องลงทำวัตรเช้าเย็น<br />

ทุกวัน ลงฟังปาฏิโมกข์ทุกวันพระ ลงพร้อมเพรียงกันฉันภัตตาหารเช้า เพล รับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย<br />

อย่างจริงจัง จัดแสดงธรรมทุกวันอาทิตย์ วันทำบุญเทศกาลต่างๆ อุบาสกอุบาสิกาจัดหน้าที่ถวายอุปถัมภ์<br />

ภัตตาหาร ช่วยงานในแผนกต่างๆ ร่วมทำวัตรสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนาเป็นประจำ ทุกกิจกรรมจัดให้เป็น<br />

ระบบเรียบ ระเบียบงาม กระชับ ตรงเวลา แต่ให้มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามเหตุการณ์ เพื่อให้งานออกมา<br />

ดีที่สุด ประณีตที่สุด เพื่อเป็นต้นแบบตัวอย่างให้อนุชนรุ่นหลัง<br />

ส่วนองค์ประกอบการบริหารสมัยใหม่ของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เช่น ด้านบุคคล ด้านบริหาร<br />

ด้านวัตถุ ด้านกองทุนสนับสนุน ได้ร่วมกันบริหารแบบสังฆสามัคคี ทั้งเน้นการสะสาง ความสะอาด สะดวก<br />

สุขลักษณะ สร้างนิสัย แม้จะเป็นวัดของคนไทย แต่เปิดโอกาสให้พี่น้องทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ผู้สนใจใฝ่ธรรม<br />

เข้ามารับบริการ ย่อมประสบผลสำเร็จในการก้าวไปสู ่อนาคตอย่างยั่งยืน และรักษาวัดแห่งนี้ไว้ได้อย่างแน่นอน<br />

๔๐ <strong>ปี</strong> วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. •<br />

255


บทส่งท้าย<br />

ก่อนปิดเล่มหนังสืออนุสรณ์ ๔๐ <strong>ปี</strong>วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ซึ่งได้นำเสนอเหลียวหลังเริ่มต้นก่อตั้ง<br />

ดำเนินมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และมี<strong>ปี</strong>ติพจน์จากพระสงฆ์มหาเถระของคณะสงฆ์ไทย ตลอดถึงคฤหัสถ์ผู ้บริหาร<br />

ประเทศ<br />

คณะผู้จัดทำดำเนินการรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราว เพื่อให้ข้อมูลสาระแก่ท่านผู้อ่าน ทั้งภาคภาษาไทย<br />

และภาษาอังกฤษ พร้อมรูปภาพประกอบ ให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่กระทำได้<br />

พระพุทธศาสนา มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบรมศาสดา ประกาศพระพุทธศาสนามาเกิน<br />

สองพันหกร้อย<strong>ปี</strong> เริ่มต้นแดนพุทธภูมิที่ประเทศอินเดีย ได้แผ่ขยายไปทั่วโลก โดยมีพระสงฆ์ผู้ครองธงชัย<br />

พระอรหันต์ เป็นผู้ทำหน้าที่ศาสนาทายาท นำศาสนธรรม ศาสนพิธี จนสร้างศาสนวัตถุอย่างมั่นคงถาวร<br />

ทั่วทุกมุมโลก<br />

สหรัฐอเมริกา เป็นแดนดินถิ่นพัฒนาที่ชาวโลกมุ่งเข้ามาศึกษา แสวงหาอิสรภาพ เป็นผู้นำของโลก<br />

ด้านต่างๆ แม้แต่ด้านศาสนาเช่นกัน พุทธศาสนาได้รับการยอมรับนับถือจากผู ้คนทุกหมู ่เหล่า ทำให้ศูนย์ปฏิบัติ<br />

วัดวาอาราม ตลอดจนพุทธศาสนิกชน และผู้สนใจเข้ามาศึกษา ปฏิบัติพุทธธรรมเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว<br />

พุทธศาสนาเถรวาทไทยของเราเช่นกัน วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. โดยมี พระราชมงคลรังษี หรือ<br />

หลวงตาชี เป็นองค์กรหนึ่ง ซึ่งมีอายุผ่านมา ๔๐ <strong>ปี</strong>กำลังสู่<strong>ปี</strong>ที่ ๔๑ แล้ว เปรียบกับคนแล้ว คือคนผู้มีชีวิตอยู่<br />

ในวัยสู่วัยกลางคน กำลังพัฒนาตน กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว ให้มีฐานะมั่นคง<br />

หวังว่าหนังสือบันทึกเรื่องราวของวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เล่มนี้ ได้นำเสนอสารประโยชน์แก่ท่าน<br />

ผู้อ่าน หากมีสิ่งใดยังขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์ คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ โอกาสนี้ แต่หากว่าเกิดสิ่งดี<br />

มีประโยชน์ ขอมอบความดีน้อมเป็นพุทธบูชา ถวายแด่หลวงตาชี และท่านพุทธบริษัททุกหมู่เหล่าผู้ได้<br />

สละแรงกาย แรงทรัพย์ ทุ่มเทชีวิตจิตใจ สร้างสรรค์วัดแห่งนี้ให้พัฒนามาได้ และให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ต่อไป<br />

นานแสนนาน<br />

ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และคุณงามความดี อำนวยพรให้ทุกท่านจงประสบจตุพิธพรชัย<br />

คืออายุ วรรณะ สุขะ พละ ยิ่งๆ ขึ้นไป หวังอริยมรรค จงได้รับการบันดล อริยผล จึงได้รับการบันดาล<br />

เป็นปัจจัยเข้าสู่พระนิพพาน คือ การสิ้นทุกข์โดยไวทุกท่านทุกชีวิตเทอญฯ<br />

เจริญธรรม<br />

พระครูสิริอรรถวิเทศ, ดร.<br />

ประธานผู้จัดทำ<br />

256 • ๙๐ <strong>ปี</strong> พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)