19.12.2015 Views

ISR_re _OnePage

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สารบาน


น่า<br />

คำอธิบาย ๖<br />

ตอนที่ ๑ ว่าด้วยตำนานปืนใหญ่ ๑๕<br />

ตอนที่ ๒ ตำรายิงปืนใหญ่รบกลางแปลง ๒๔<br />

ตอนที่ ๓ ตำรายิงปืนป้อม และปืนเรือรบ ๓๗


6<br />

คำาอธิบาย<br />

พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำารงราชานุภาพ


การป้องกันพระนครอมรรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ ต้องเตรียมต่อสู้<br />

แต่พม่าข้าศึกซึ่งจะมาทางบกเปนสำาคัญ ทางทเลไม่มีข้าศึก ด้วยในสมัยนั้น<br />

พวกฝรั่งต่างชาติกำาลังติดสงครามครั้งประเทศฝรั่งเศสเกิดจลาจล ส่วนประเทศ<br />

ทางตะวันออกที่ใกล้เคียงประเทศญวนก็เปนจลาจล องเชียงสือผู้ซึ่งจะสืบราชวงศ์<br />

ญวนต้องหนีพวกขบถเข้ามาพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จ ฯ พระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกอยู่ในกรุงเทพ ฯ ต่อมาได้พระราชทานกำาลังช่วยอุดหนุนจนได้อาณาเขตร<br />

คืนกลับตั้งเปนเอกราชดังแต่ก่อน ก็เปนไมตรีโดยคิดถึงพระเดชพระคุณที่ได้มี<br />

แต่หนหลัง ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ แม้พม่าถอยกำาลังลงก็ยังคงเปนข้าศึกมุ่งร้ายอยู่<br />

อย่างแต่ก่อน แต่ส่วนทางประเทศญวนนั้น เมื่อถึงรัชกาลที่ ๒ องเชียงสือซึ่ง<br />

เปนพระเจ้ายาลองครองกรุงอานัม ไม่เคารพกรุงเทพ ฯ เหมือนเมื่อในรัชกาล<br />

ที่ ๑ คงแต่เปนไมตรีอย่างประเทศที่เสมอกัน พอประจวบเวลานักพระองค์จันทร<br />

ซึ่งได้ทรงราชย์เปนสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชาเกิดความไม่พอใจไทย<br />

ญวนก็เข้าเกลี้ยกล่อมอุดหนุนนักพระองค์จันทร โดยอ้างว่ากรุงกัมพูชาเคยพึ่ง<br />

ทั้งไทยและญวนมาแต่ก่อน คิดกันเอากรุงกัมพูชาไปไว้ในความป้องกันของญวน<br />

ฝ่ายไทยก็จำาต้องอดออมเอาใจดีต่อญวน เพื่อจะมิให้เกิดศึกขึ้น ๒ ด้านในคราว<br />

เดียวกัน<br />

ฝ่ายทางยุโรปนั้น เมื่อถึงตอนปลายรัชกาลที่ ๒ เสร็จการสงคราม อังกฤษ<br />

อยู่ในฝ่ายที่มีชัยชนะ ได้เมืองขึ้นของข้าศึกซึ่งมีอยู่ทางตวันออกนี้ มีอำ านาจมาก<br />

แต่ชาติเดียว ก็คิดขยายการค้าขายกว้างขวางกว่าแต่ก่อน มาตั้งเกาะหมากขึ้น<br />

เปนเมืองสถานีสำาหรับการค้าขายอิกแห่ง ๑ และเกาะหมากนี้เดิมเปนของ<br />

เมืองไทรบุรี อังกฤษมาขอเช่าไปจากเจ้าเมืองไทรแต่ ในเวลาเมื่อไทยกำาลังทำา<br />

สงครามติดพันอยู่กับพม่า ครั้นถึงรัชกาลที่ ๒ เจ้าพระยาไทร (ปะแงรัน) เปน<br />

ขบถไปเข้ากับพม่า จะร่วมมือกันมาตีเมืองไทย โปรด ฯ ให้กองทัพเมืองนคร<br />

7


8<br />

ศรีธรรมราชยกลงไปชิงตีเมืองไทรเสียก่อน เจ้าพระยาไทรก็หนีไปพึ่งอังกฤษ<br />

อยู่ที่เมืองเกาะหมาก อังกฤษรับเลี้ยงไว้ เจ้าพระยาไทรได้อาศัยเมืองเกาะหมาก<br />

เป็นที่พัก คิดอ่านให้พรรคพวกมาเที่ยวยุยงพวกมลายูให้เปนขบถต่อไทย ครั้น<br />

ไทยไปว่ากล่าวแก่อังกฤษ ๆ ก็ปฏิเสธว่ามิได้รู้เห็นเปนใจด้วย แต่ความจริงนั้น<br />

อังกฤษไม่อยากที่จะให้ไทยมีอำานาจปกครองไปถึงหัวเมืองมลายู ด้วยเกรงจะ<br />

ไปกีดขวางแก่ความประสงค์ที่อังกฤษจะขยายอำานาจ และการค้าขายของตน<br />

ให้กว้างขวางทางแหลมมลายู ก็ไม่เห็นเปนประโยชน์ที่จะช่วยไทยในครั้งนั้น<br />

จึงเปนเหตุให้ไทยระแวงว่าอังกฤษจะมาเป็นศัตรูอิกทาง ๑<br />

ถึงตอนปลายรัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๖ อังกฤษเกิดรบขึ้นกับพม่า<br />

เปนครั้งแรก อังกฤษชวนให้ไทยตีเมืองพม่าอีกด้าน ๑ การที่ปฤกษากันต่อเนื่อง<br />

มาถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้กองทัพไทย<br />

ยกไปช่วยอังกฤษทางเมืองเมาะลำาเลิง (ที่มักเรียกกันว่าเมืองมอละเมนฤามอร<br />

แหม่ง) ผลของการที่อังกฤษกับไทยเข้ากันครั้งนั้น อังกฤษให้เอาตัวเจ้าพระยา<br />

ไทรย้ายไปไว้เสียที่อื่น ยอมให้ไทยปกครองเมืองไทรโดยสดวก และให้เฮนรี<br />

เบอร์นี เปนทูตเข้ามาทำาหนังสือสัญญาทางไมตรีมีมาแต่ครั้งนั้น<br />

พอเสร็จปากเสียงกับอังกฤษทางทิศตวันตก ก็มาเกิดเหตุขึ้นทางทิศตวันออก<br />

ด้วยเจ้าอนุวงศเวียงจันท์เปนขบถเพราะญวนยุยงส่งเสริม เหตุการที่เกิดขึ้นใน<br />

ตอนนี้ พระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้ามินมางราชบุตรได้รับรัชทายาท<br />

ครองเมืองญวน ตั้งให้องต๋ากุน ซึ่งพระเจ้ามินมางยกย่องเปนพระราชบิดาเลี้ยง<br />

เพราะเคยเปนเพื่อนยากของพระเจ้ายาลองช่วยกันกู้บ้านเมืองมาแต่ก่อน ให้เปน<br />

อุปราชครองมณฑลฝ่ายใต้ซึ่งเขตรติดต่อกับเมืองไทย องต๋ากุนหมายจะขยาย<br />

แดนญวนขึ้นมาทางหัวเมืองลาวซึ่งขึ้นแก่ไทย จึงเกลี้ยกล่อมส่งเสริมเจ้าอนุวงศ<br />

ให้เอาใจออกหากจากไทยไปพึ่งญวนเหมือนเช่นได้เคยทำาทางเมืองเขมร พระบาท


สมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าญวนกำาเริบนัก ถึงเวลาที่จำาจะต้อง<br />

เปลี่ยนรัฏฐาภิปาลโนบาย เพราะมาถึงสมัยนั้น อังกฤษได้หัวเมืองมอญซึ่งเคย<br />

เปนที่มั่นของพม่าสำาหรับยกกองทัพมาตีเมืองไทย ไม่ต้องเกรงศึกพม่าดัง<br />

แต่ก่อนแล้ว จะเอาใจดีต่อญวนยอมให้เบียดเบียฬดังแต่ก่อนไม่ได พอปราบ<br />

ขบถเวียงจันท์ราบคาบแล้วประจวบเวลาองต๋ากุนตาย ญวนพวกองต๋ากุนเกิด<br />

เกี่ยงแย่งขึ้นกับญวนพวกเมืองเว้ซึ่งเปนราชธานี พระบาทสมเด็จ ฯ พระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวก็โปรด ฯ ให้กองทัพยกลงไปตีเมืองญวน และไปขับไล่ญวนออกจาก<br />

กรุงกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำารงพระยศเปน<br />

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ได้เคยเสด็จนำาทัพเรือ<br />

ลงไปตีเมืองญวนครั้งที่ ๑ และครั้งนั้นได้พวกญวนเข้ารีตอพยพตามเข้ามาพึ่ง<br />

พระบารมี โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามเสน และให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงควบคุมหัดเปนทหารปืนใหญ่ไว้รับราชการ พระบาทสมเด็จพระ<br />

ปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษจากพวกมิชชันนารีอเมริกัน<br />

ทรงทราบพอเปนทางที่จะอ่านตำาราภาษาอังกฤษได้ จึงทรงแปลตำานานและ<br />

ตำาราปืนใหญ่ที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ เมื่อปีฉลูตรีศก พ.ศ. ๒๓๘๔ สำาหรับใช้ฝึกหัด<br />

ทหารปืนใหญ่ญวนเปนชั้นเดิม<br />

ครั้งไทยกับญวนรบกันอยู่หลายปี ไทยจึงได้กรุงกัมพูชาคืนมา ทางเมือง<br />

ไทรบุรีพวกแขกก็เปนขบถขึ้น ๒ คราว ในการปราบปรามมักไปเกิดกระทบ<br />

กระเทือนขึ้นกับอังกฤษเนือง ๆ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

พระราชดำาริห์ว่า ถ้าญวนฤ าอังกฤษยกกองทัพเรือจู่มาทางทเล ไทยไม่มีป้อม<br />

ป้องกันปากน้ำาไว้ให้มั่นคงก็จะเสียทีข้าศึก จึงโปรด ฯ ให้สร้างป้อมเพิ่มเติมขึ้น<br />

ที่เมืองสมุทปราการ และเมืองนครเขื่อนขันธ์ (คือ เมืองพระประแดงเดี๋ยวนี้)<br />

และให้ไปสร้างป้อมตามเมืองที่อยู่ปากน้ ำาที่สำาคัญ คือ เมืองฉะเชิงเทรา เมือง<br />

9


สมุทสาคร เมืองสมุทสงคราม ทั้งให้สร้างป้อมที่เมืองจันทบุรีและเมืองสงขลา<br />

อันเป็นเมืองสำาคัญทางชายทเลด้วยทั้ง ๒ เมือง<br />

การสร้างป้อมครั้งนั้น หาซื้อปืนใหญ่สำ าหรับประจำาป้อมมาจากต่างประเทศ<br />

ไม่ได้ทันการ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด ฯ ให้หาช่างมาฝึกหัด<br />

หล่อปืนใหญ่เปนปืนเหล็กขึ้นในกรุงเทพ ฯ เปนครั้งแรก ส่วนทหารสำาหรับ<br />

ประจำาป้อมนั้น ทรงพระราชดำาริห์ว่าจำานวนคนที่มีประจำาป้อมอยู่โดยปรกติ<br />

เวลาเกิดศึกสงครามคงจะไม่พอแก่การ จึงโปรดให้เกณฑ์ขุนหมื่นกรมต่าง ๆ<br />

ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ผลัดเปลี่ยนกันเปนเวรมาฝึกหัดยิงปืนใหญ่ไว้สำารอง<br />

ราชการ (คำาที่เรียกว่า ทหารเกณฑ์หัด เห็นจะเกิดขึ้นในเรื่องนี้) มีสำาเนาหมาย<br />

รับสั่งครั้งปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ อยู่ในหอพระสมุด ฯ ได้คัดมาพิมพ์ไว้ต่อไปนี้<br />

พอให้ทราบลักษณะการที่จัดในครั้งนั้น<br />

หมายเกณฑ์ขุนหมื่นหัดยิงปืนใหญ่<br />

ด้วยพระยาราชสุภาวดีรับพระราชโองการใส่เกล้า ฯ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้า ฯ สั่งว่า ซึ่งหมายมาแต่ก่อนให้เกณฑ์ขุนหมื่น ฝ่ายทหารพลเรือน<br />

พระราชวังหลวงและพระราชวังบวร ซึ่งได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ให้หัด<br />

ยิงปืนใหญ่ให้รู้ชำานิชำานาญไว้ มีราชการศึกสงครามจะได้ช่วยกันสู้รบป้องกัน<br />

พระสาสนารักษาแผ่นดิน ให้ยิงปืนใหญ่สำารับหนึ่ง นายบอก ๑ ลูกบอก ๑๐<br />

รวม ๑๑ คน แต่การเกณฑ์เปน ๘ ผลัด แจ้งอยู่ในหมายแต่ก่อนนั้นแล้ว ๑<br />

บัดนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์<br />

เปนแม่กองจัดแจงหัดครั้งนี้จึงทรงจัดเป็น ๑๒ ผลัด ๆ หนึ่งเปลี่ยนกันสำารับ<br />

10<br />

๑<br />

ที่อ้างถึงหมายแต่ก่อนตรงนี้ แสดงให้เห็นว่าการที่เกณฑ์ขุนหมื่นไปหัดยิงปืนใหญ่<br />

ได้มีมาแต่ก่อน พ.ศ. ๒๓๙๒ แล้ว


หนึ่ง ๑๒ เดือนยิงครั้งหนึ่งจงทุกคนทุกสำารับนั้น ให้เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์<br />

บาญชี เจ้าหมู่มุลนาย เร่งเอาขุนหมื่นตามเดือนที่ต้องเกณฑ์ มาส่ง ณ โรงหัด<br />

น่าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ตั้งแต่ ณ วันเดือน ๓ ขึ้นค่ ำา ๑ เสมอไปทุกเดือน จะ<br />

ได้ให้ครูฝรั่งซักซ้อมให้พร้อมกันจงทุกสำารับ ครั้น ณ วันสิ้นเดือนจะได้ลงไปใส่<br />

ดินยิง ณ เมืองนครเขื่อนขันธ์ ให้เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บาญชี เจ้าหมู่มุลนาย<br />

คุมทหารปืนไปด้วยเสมอจงทุกเดือน และการสิ่งใดมิแจ้งให้ถามเจ้าพนักงาน<br />

ผู้เกณฑ์ อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ<br />

11


วันพุธ เดือนยี่ แรม ๑๑ ค่ ำา ปีระกาเอกศก ส่งหมายกรมวังเวรนายจำาเนียร<br />

ส่งมหาดไทยเวรนายแกว่น<br />

กรมมหาดไทย ปืน ๑๐ สำารับ คน ๑๑๐ คน<br />

กรมเมือง ปืน ๘ สำารับ คน ๘๘ คน<br />

กรมนา ปืน ๖ สำารับ คน ๖๖ คน<br />

กรมท่ากลาง ปืน ๕ สำารับ คน ๕๕ คน<br />

กรมท่าซ้าย ปืน ๔ สำารับ คน ๔๔ คน<br />

กรมท่าขวา ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

เวรจมื่นจงซ้าย ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

ชาวเบาะชาวม่าน ปืน ๑ สำารับ คน ๑๑ คน<br />

เวรจมื่นจงขวา ปืน ๔ สำารับ คน ๔๔ คน<br />

เวรปลัดวังซ้าย ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

เวรปลัดวังขวา ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

หมื่นก้อนแก้ว ปืน ๑ สำารับ คน ๑๑ คน<br />

หมื่นก้อนทอง ปืน ๑ สำารับ คน ๑๑ คน<br />

การขาดซ้ายขวา ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

วังนอกซ้ายขวา ปืน ๒ สำารับ คน ๒๒ คน<br />

นาฬิกาประโคมยาม ปืน ๑ สำารับ คน ๑๑ คน<br />

น้ ำาสรงช่างสุหร่าย ปืน ๑ สำารับ คน ๑๑ คน<br />

ไพร่หลวงขุดต้นไม้ ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

สังฆ์การีซ้ายขวา ปืน ๓ สำารับ คน ๓๓ คน<br />

เฝ้าพระมหาปราสาท ปืน ๒ สำารับ คน ๒๒ คน<br />

12


(ต่อนี้มีชื่อกรมต่าง ๆ และบอกจำานวนปืนจำานวนคนยืดยาว เห็นไม่จำา<br />

จะต้องพิมพ์ให้ตลอด จึงตัดไว้เพียงนี้)<br />

การที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฝึกหัดทหารเกณฑ์หัด<br />

ก็เห็นจะใช้ตำาราหัดยิงปืนใหญ่ที่ทรงแปลไว้นี้นั้นเอง และตำารานี้คงจะได้ใช้<br />

ฝึกหัดทหารปืนใหญ่ต่อมาจนในรัชกาลที่ ๔ จึงได้มีต้นฉบับเปนสมุดเขียน<br />

ตัวรงด้วยลายมืออาลักษณ์ แต่ต้นฉบับนั้นกระจัดกระจายไปไม่มีเหลืออยู่ใน<br />

หอหลวง ครั้นเมื่อต้น พ.ศ. ๒๔๖๕ หอพระสมุด ฯ ได้ต้นฉบับแต่เล่ม ๒ มา<br />

จากวัดรังษีสุทธาวาส จึงสืบหาเล่ม ๑ ทราบว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า ฯ<br />

กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ทรงได้แต่เล่ม ๑ ไว้พระองค์ละฉบับ ทูลขอก็<br />

โปรดประทานมายังหอพระสมุด ฯ ทั้ง ๒ พระองค์ มาอ่านตรวจดูเห็นว่าตำารา<br />

เรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นจะได้ทรงแปลไว้เพียง ๒ เล่ม<br />

สมุดไทยเท่านี้เอง<br />

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช<br />

ทรงพระดำาริห์ว่าควรจะพิมพ์รักษาตำารานี้ไว้อย่าให้สูญเสีย จึงโปรดให้พิมพ์ใน<br />

สมุดเล่มนี้ สำาหรับประทานตอบแทนผู้ซึ่งถวายรดน้ ำาสงกรานต์ใน พ.ศ. ๒๔๖๖<br />

13


14<br />

ตำาราปืนใหญ่


ตอนที่ ๑ ว่าด้วยตำนานปืนใหญ่<br />

จะกล่าวเล่มต้นพงศาวดารปืนใหญ่ และตำาราปืนตำาราดินตั้งแต่ครั้ง<br />

ศักราชฝรั่ง ๑๒๘๐ ปี คิดเป็นจุลศักราชไทยได้ ๖๔๒ ปี (พ.ศ. ๑๘๒๓) มาจน<br />

ถึงทุกวันนี้ได้แปลออกจากภาษาอังกฤษเปนคำาไทย ณ วันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น<br />

๕ ค่ ำา ปีฉลูตรีนิศก (จุลศักราช ๑๒๐๓ พ.ศ. ๒๓๘๔) ใจความว่า แต่ก่อนคน<br />

บุราณนั้นยังหารู้จักทำาปืนทำาดินไม่เลย และมีเครื่องอาวุธอยู่อย่าง ๑ สำาหรับ<br />

ใช้รบแทนปืน ภาษาอังกฤษเรียกว่า มิละตารี แอนแยน ๑ (Military engine)<br />

คือเอาเหล็กและไม้มาทำาเป็นรูปเหมือนอย่างเช่นเขียนไว้ ๓ อย่างนี้ รูปที่ ๑<br />

อยู่ต้นนั้นสำาหรับยิงด้วยลูกก้อนศิลา รูปที่ ๒ นั้นก็ใช้ยิงด้วยก้อนศิลาเหมือน<br />

กัน รูปที่ ๓ นั้นสำาหรับยิงด้วยลูกธนูและหอก<br />

๑<br />

ได้ให้สอบคำาภาษาฝรั่งที่มีอยู่ในตำารา พิมพ์เปนตัวหนังสือฝรั่งไว้ด้วย แต่ที่สอบไม่<br />

ได้ความก็มีบางคำา<br />

15


16


เมื่อเพลาจะรบจะยิงนั้น ต้องมีคนใช้ชักเชือกรอก ขันกว้าน ที่หมายไว้<br />

ด้วยเลข ๑ นั้น แล้วเอาก้อนศิลา เอาหอก เอาลูกธนู วางลงตรงสายที่หมาย<br />

ด้วยเลข ๒ จึงยิงไป ลูกนั้นก็เดินไปทางใกล้และไกลตามกำาลังเหล็กคันที่หมาย<br />

ด้วยเลข ๓ นั้น คนแต่ก่อนเพราะใช้เครื่องอาวุธอย่างนี้จึงเปลืองคนมาก และ<br />

ขณะเมื่อจะทำาการโก่งคันเหล็กขึ้นยิงนั้น ต้องใช้คนถึง ๑๐๐ คนบ้าง ๒๐๐ คน<br />

บ้าง ๓๐๐ คนบ้าง ๑๐๐๐ คนบ้าง ด้วยแต่ก่อนนั้นยังหามีผู้ใดที่จะคิดทำาปืน<br />

ทำาดินปืนใช้เปนไม่<br />

ครั้งเมื่อศักราชฝรั่งได้ ๘๕ ปี (พ.ศ. ๖๒๘) นั้น ได้ยินแต่ข่าวเขาฦากันว่า<br />

เมืองจีนทำาดินปืนใช้ได้ แต่หามีผู้ใดได้เห็นไม่ และคนพวกบรรดาอยู่ในวิลาศ ๑<br />

ทุก ๆ ชาติฝรั่งนั้น หามีผู้ใดที่จะรู้จักทำาดินปืนใช้เปนไม่ จนถึงศักราชฝรั่งได้<br />

๑๒๘๐ ปี คิดเป็นจุลศักราชไทยได้ ๖๔๒ ปี (พ.ศ. ๑๘๒๓) จึงมีคนชาติอังกฤษ<br />

คนหนึ่งชื่อว่า ราชจาเบกกัน (Richard Bacon) และคน ๆ นี้เปนคนมีสติปัญญา<br />

มาก คิดกระทำาเปนดินปืนขึ้นใช้ได้ก่อนบุคคลผู้อื่นทั้งปวงในวิลาศทุก ๆ ชาติ<br />

ฝรั่ง เมื่อกระทำาขึ้นใช้ได้แล้วจึงเขียนหนังสือเปนตำาราไว้ว่า ดินปืนใช้ยิงรบได้<br />

ยังมีคนหนึ่งอิกชื่อว่า สะวอษ (Schwartz) อยู่ในเมืองแยระมานี (Germany)<br />

และคน ๆ นี้เปนบาดหลวงพวกอะละมาร (German) เขาว่าบาดหลวงคนนี้<br />

เปนผู้คิดกระทำาดินปืนได้ก่อนบุคคลผู้อื่นทั้งปวง และที่เมืองแยระมานีนั้น เขา<br />

จดหมายไว้ว่าบาดหลวงสะวอษคนนี้ทำาดินปืนได้แต่ครั้งเมื่อศักราชฝรั่งได้<br />

๑๓๒๐ ปี คิดเป็นจุลศักราชไทยได้ ๖๘๒ ปี (พ.ศ. ๑๘๖๓) และคนสองพวกนี้<br />

ถุ้มเถียงกัน ต่างคนต่างว่าได้คิดกระทำาดินได้ก่อน และขณะว่าเมื่อบาดหลวง<br />

๑<br />

คำาว่าวิลาศในหนังสือนี้ หมายความว่ายุโรป ในอภิธานฮอบสันชอบสัน อธิบายว่า<br />

มาแต่คำาวิลายัต ในภาษาอาหรับ หมายความว่าราชอาณาเขตร์อันหนึ่ง ฤามณฑล<br />

อันหนึ่ง พวกชาวอินเดียใช้เรียกยุโรปว่า พิละยุต ฤา พิละยาต<br />

17


จะทำานั้น ก็หาได้คิดว่าจะทำาดินปืนไม่ ในใจของบาดหลวงนั้น คิดว่าจะ<br />

ประสมเครื่องยาใช้การอื่น ๆ จึงเอาดินประสิวขาว ๑ มาศ ๑ ถ่าน ๑ รวม<br />

ของ ๓ สิ่งนี้ประสมกันเข้าตำาจนเลอียดแล้วเก็บไว้ในครก จึงเอาศิลามาปิด<br />

ปากครกไว้ พอไฟปลิวไปตกลงในครกเครื่องยาที่ประสมไว้นั้นก็ลุกขึ้น ศิลาที่<br />

ปิดปากครกนั้นก็กระเดนไป บาดหลวงสะวอษผู้เปนคนทำาก็คิดเห็นว่ายาสิ่งนี้<br />

คงจะกระทำาเปนดินปืนใช้ได้ในที่รบ ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งปวงจึงเรียกปืนเสวตรัด<br />

ว่า ม่อตา (Mortar) แปลภาษาไทยเรียกว่าปืนครก เพราะว่าบาดหลวงคนนั้น<br />

ได้ตำาดินในครกก่อนจึงเรียกว่าปืนครกมาจนทุกวันนี้ ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งปวงจึง<br />

ได้กระทำาปืนใหญ่ขึ้นยิงใช้ในเมืองวิลาศต่อ ๆ ไปหลายภาษา และเมื่อแรกคิด<br />

ทำาปืนใหญ่นั้น เขาเอาเหล็กมาตีออกเปนแผ่น ๆ แล้วจึงเอามาคุมกันเข้าเหมือน<br />

จะทำาถัง แล้วเอาปลอกเหล็กใส่ตีรุกปลอกเข้าให้รอยที่ต่อนั้นชิดสนิทกัน ครั้น<br />

ชิดดีแล้วก็จะเอาใช้เปนปืนเสวตรัดยิง แต่ว่าไม่ได้ยิงด้วยกระสุนแตกเมือนทุก<br />

วันนี้ และปืนอย่างนี้มีอยู่ที่เมืองวิลาศอังกฤษ ๓ บอก อยู่บนป้อมสูงในเมือง<br />

(Tower of London) บอก ๑ อยู่ที่ป้อมวูลิษ (Woolwich) ๒ บอก กับ<br />

มีอยู่ที่เมืองวิลาศพุทธเกษ (Portugal) บอก ๑ ปืนเหล่านี้เขาเอาเก็บไว้เปน<br />

ของปลาดสำาหรับดูเล่นสืบๆ กระษัตริย์มาจนทุกวันนี้<br />

อีกอย่าง ๑ เขาเอาเหล็กและทองแดงมาแผ่ออกเปนแผ่นแล้วม้วนเข้า<br />

เหมือนม้วนหนังผืน เมื่อม้วนเข้าแล้วจึงเอาเหล็กมาทำ าเปนปลอกใส่เข้ากันแตก<br />

อย่างนี้เขาก็ใช้ได้เปนปืนมาแต่ก่อน ลางทีจะไปรบหามีปืนจะใชไม่ ครั้นจะ<br />

ต้องการปืนเขาก็เอาหนังสัตว์ที่พอจะทำาได้นั้นมาม้วนเข้า แล้วเอาปลอกเหล็ก<br />

ใส่เสียเหมือนอย่างที่ว่าก่อน และปืนหนังอย่างนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ทว่าเสียเร็ว<br />

ยิง ๒ นัด ๓ นัด ก็ต้องเปลี่ยนหนัง เสียไม่ทนเหมือนอย่างที่ว่าเขาทำาด้วย<br />

ทองแดงด้วยเหล็กนั้น<br />

18


กับอนึ่งปืนใหญ่แต่ก่อนนั้นใช้ดินน้อยนัก ด้วยว่ากลัวปืนจะแตกไม่เหมือน<br />

ทุกวันนี้ ซึ่งกระสุนที่ยิงนั้นก็ไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ เขาเอาก้อนศิลามาทำ าเป็นกระสุน<br />

ใช้นั้นและมากกว่าสิ่งอื่น ๆ เพราะอย่างนั้นกำาลังดินน้อยจึงขับกระสุนไปไกล<br />

ได้ ด้วยว่ากระสุนศิลานั้นเบากว่าเหล็กและดีบุก<br />

ประการ ๑ ปืนแต่ก่อนนั้นไม่มีหูพะเนียง เมื่อจะยิงนั้นเอาปืนสอดเข้า<br />

ในกระวินเหล็กที่เขาติดไว้กับรางพอให้อยู่ได้ ใช้แทนหูพะเนียง กับเดิมเมื่อจะ<br />

มีปืนขึ้นไว้ใช้นั้น ใครจะเป็นคนคิดทำาขึ้นก่อนหาได้ชื่อแน่ไม่ แต่ว่าเมื่อเกิดปืน<br />

ขึ้นนั้นในแผ่นดินขุนหลวงอังกฤษที่ชื่อว่าเอดดุเวิดที่ ๓ (King Edward III) ได้<br />

ทำาขึ้นใช้เมื่อไปรบเมืองเกรซี (C<strong>re</strong>cy) ศักราชฝรั่งได้ ๑๓๔๖ คิดเปนจุลศักราช<br />

ไทยได้ ๗๐๘ ปี (พ.ศ. ๑๘๘๙) แล้วไปรบเมืองกะเลีย (Calais) อิกครั้งหนึ่งใน<br />

เมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๓๔๗ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๗๐๙ ปี (พ.ศ. ๑๘๙๐)<br />

และขุนหลวงเอดดุเวิด ได้ยกกองทัพไปรบได้เมืองเกรซี เมืองกะเลีย ทั้ง ๒ เมืองนี้<br />

ก็เพราะมีปืนใหญ่เช่นที่ว่ามานี้อยู่ ๔ บอกเป็นอาวุธ จึงชนะแก่ข้าศึก ครั้นอยู่<br />

มาเมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๓๖๖ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๗๒๘ ปี (พ.ศ. ๑๙๐๙)<br />

มีคนชาติอาละมาร ๒ คนเอาปืนใหญ่ ๒ บอกไปขายให้เจ้าเมืองวีนีซัน (Venice)<br />

และเจ้าเมืองวีนีซันก็ซื้อเอาปืนไว้ แล้วได้เอาปืนนี้ไปรบกับเจ้าเมืองยัดแซ<br />

(Chioggia?) จึงได้เมืองยัดแซเพราะมีปืนคู่นี้ แต่เมื่อยิงรบนั้น เอาดีบุกทำา<br />

กระสุนยิง ซึ่งกระสุนเหล็กอย่างทุกวันนี้แต่ก่อนนั้นยังหามีไม่ ครั้นอยู่มาหลายปี<br />

ถึงศักราชฝรั่งได้ ๑๓๙๔ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๗๕๖ ปี (พ.ศ. ๑๙๓๗)<br />

คนชาติโรมคิดทำาปืนใหญ่ขึ้นได้ที่เมืองเอง<br />

เจ้าเมืองโรมได้เอาปืนไปรบเมืองกอรสะแต้นตีนโนปะ (Constantinople)<br />

ครั้งหนึ่งก็ยังหาได้เมืองไม่ อยู่มาต่อเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๔๕๒ ปี คิดเปนจุลศักราช<br />

ไทยได้ ๘๑๔ ปี (พ.ศ. ๑๙๙๕) ชาวเมืองโรมจึงตีเมืองกอรสะแต้นตีนโนปะได้<br />

19


อยู่ใต้บังคับ และปืนที่เจ้าเมืองโรมทำาขึ้นใช้นั้นกระสุนหนักถึง ๑๐๐ ปอนด์<br />

เมื่อจะยิงก็ต้องเอาก้อนศิลามาทำาเป็นกระสุนใช้ยิง และปืนนั้นก็ทำาด้วยเหล็ก<br />

แผ่นใส่ปลอก เหมือนอย่างที่ว่ามาแต่หลังนั้น ปืนอย่างนี้หาสู้มั่นคงไม่ ที่จะใช้<br />

ยิงมากหลายนัดให้เหมือนอย่างปืนทุกวันนี้ไม่ได้กลัวจะแตก มาทีหลังเจ้าเมือง<br />

ฝรั่งเศสผู้ชื่อว่าลูอิศ (Louis XI) นั้น ได้หล่อขึ้นอิกบอกหนึ่ง กระสุนก็หนัก<br />

๑๐๐ ปอนด์เท่ากันกับของเจ้าเมืองโรมที่ว่ามาก่อน ครั้นอยู่มาเมื่อศักราช<br />

ฝรั่งได้ ๑๔๕๖ ปี (จะเป็น ๑๕๔๖ จ.ศ. ๘๐๘) คิดเปนศักราชไทยได้ ๙๐๘ ปี<br />

(พ.ศ. ๒๐๘๙) เจ้าเมืองฝรั่งเศสยกไปรบกับเจ้าเมืองพุทธเกษ ที่เมืองดายู<br />

(Tagus?) ครั้งหนึ่ง แต่เจ้าเมืองพุทธเกษชนะแก่เจ้าเมืองฝรั่งเศส และเจ้าเมือง<br />

พุทธเกษก็ชิงได้ปืนในที่รบคราวนั้นบอกหนึ่ง ซึ่งปืนที่ชิงได้ไว้นั้นทุกวันนี้ เอาไว้<br />

ในป้อมที่ใกล้กับเมืองหลวงพุทธเกษ ปืนนั้นยาว ๒๐ ฟิต กับ ๗ องคุลี คิดเปน<br />

ไทยยาว ๓ วา กับ ๑๐ นิ้วกึ่ง ปากกว้าง ๖ ฟิต กับ ๓ องคุลี คิดเปนไทยได้<br />

๓ ศอกคืบ ๗ นิ้ว กระสุนหนัก ๑๐๐ ปอนด์ แต่ปืนนั้นไม่มีหูบน หลังไม่มีท้าย<br />

สังข์ และไม่มีลูกแก้วลวดลาย มีแต่อักษรจารึกไว้ที่บนหลังว่า ปืนนี้ทำาที่เมือง<br />

หิ่นดู่สะต่าน (Hindustan) เมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๔๐๐ ปี คิดเปนจุลศักราชไทย<br />

ได้ ๗๖๒ ปี (พ.ศ. ๑๙๔๓)<br />

มาเมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๕๐๓ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๘๖๕ ปี (พ.ศ.<br />

๒๐๔๖) เจ้าเมืองฝรั่งเศสที่ชื่อว่า ลุอิศที่ ๑๒ ได้หล่อปืนทองขึ้นไว้ ๑๒ บอก<br />

ได้จารึกชื่อเจ้าและชื่อขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองฝรั่งนั้นไว้ที่บนหลังปืนทุก ๆ บอก<br />

ครั้นอยู่มาเจ้าเมืองพุทธเกษคิดหล่อปืนใหญ่ขึ้นไว้สำ าหรับจะได้ใช้ที่เมืองพุทธเกษ<br />

แล้วให้จารึกบนหลังปืนใส่ชื่อคนบุราณที่เปนคนดี ๆ สืบ ๆ มา ครั้นอยู่มาเจ้าเมือง<br />

อาละมารผู้ชื่อว่า จาระลิษที่ ๕ (Charlet V) ได้หล่อปืนใหญ่ขึ้นไว้อิก ๑๒ บอก<br />

ให้จารึกชื่อนักบุญลงไว้บนหลังปืนบอกละคน ๆ ทั้ง ๑๒ บอก กับปืนบุราณยังมี<br />

20


อยู่ในเมืองมิเลน (Milan) อิกบอก ๑ กระสุนหนัก ๗๐ ปอนด์ ชื่อว่า ปีมอนเตละ<br />

(Piementais) แล้วยังอีกบอก ๑ อยู่ที่เมือง ยอยละลิตุก ชื่อว่า เดวเวือละ<br />

(Devil) แปลภาษาไทยชื่อว่า ผีปีศาจ อิกบอก ๑ อยู่ที่โดวะกาสะเตอ (Dover<br />

Castle) แขวงเมืองวิลาศอังกฤษ ปืนนั้นกระสุนหนัก ๖๐ ปอนด์ ชื่อว่ากวีน<br />

เอเลษซีเบดป่อเกษปีศต่อละ (Queen Elizabeth’s Pocket Pistol) แปล<br />

ภาษาไทยว่า ปืนมือเสื้อของเจ้าเมืองผู้หญิงผู้ชื่อว่า เอเลษซีเบด อิกบอก ๑ อยู่<br />

ในปราสาทเมืองหลวงแห่งอังกฤษ กระสุนหนัก ๘๐ ปอนด์ เรียกชื่อว่ามอน<br />

สะเม็ด (Mons Meg) แปลภาษาไทยว่า น่ากลัวนัก แล้วยังมีอิกบอก ๑ อยู่ใน<br />

เมืองปาเซีย (Persia) กระสุนหนัก ๘๐ ปอนด์ เรียกชื่อว่าซันแดะ (Thunder)<br />

แปลภาษาไทยว่าชื่อ ฟ้าร้อง ยังอิกบอก ๑ อยู่ในเมืองแม่ลากะ (Malacca)<br />

กระสุนหนัก ๘๐ ปอนด์ ชื่อว่าแตระเบีร (Terrible) แปลเป็นภาษาไทยชื่อว่า<br />

ตกใจ แล้วยังอิก ๒ บอกอยู่ในเมืองอาละมาร เขาเอาไว้ที่คลังอาวุธ กระสุน<br />

หนัก ๖๐ ปอนด์ ทั้ง ๒ บอก เรียกชื่อว่า มิซินจะแอบแบดนิยุท (Messenger<br />

of bad news) และแปลภาษาไทยชื่อว่า คนบอกข่าวชั่ว อิกบอก ๑ นั้นอยู่<br />

ในป้อมเมืองโรมเปนของปลาด ด้วยว่าเขาหล่อด้วยตะปูทองแดงที่ถอนรื้อเอา<br />

มาจากที่ฝาตึกสำาหรับเที่ยวเล่นแห่งกระษัตริย์แต่บุราณ กระสุนหนัก ๗๐ ปอนด์<br />

เขาให้ชื่อว่า เอกสักลาเวษทราบาลีเบดปติกษอากริปะ ๑ (Exclavis…………….<br />

Agrippa) แปลภาษาไทยชื่อว่าทำาด้วยตะปูทองแดงที่ถอนรื้อออกจากฝาตึก<br />

ที่เล่นแห่งกระษัตริย์ ธรรมเนียมแต่ก่อนนั้นถ้าหล่อปืนใหญ่ขึ้นไว้แล้ว ก็ย่อม<br />

จารึกชื่อทุก ๆ บอกเหมือนอย่างที่ว่ามาแตหลัง และชื่อซึ่งจารึกไว้ เขาเลือก<br />

เอาชื่อคนที่ดี ๆ และชื่อสิงสัตว์ที่มีอำานาจเปนอันมากต่าง ๆ และชื่อฟ้าร้อง<br />

ชื่อไฟในนรกกับชื่อของที่ร้าย ๆ มาขนานชื่อปืน และตั้งแต่ศักราชฝรั่งได้<br />

๑<br />

เปนศัพท์ภาษาละติน แปลไม่ได้หมด<br />

21


๑๖๐๐ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๙๖๒ ปี (พ.ศ. ๒๑๔๓) มาจนทุกวันนี้ หาได้<br />

จารึกขนานชื่อคนชื่อสัตว์เหมือนแต่ก่อนไม่ ย่อมจารึกลงไว้แต่ว่ากระสุนหนัก<br />

เท่านั้น ใส่ดินหนักเท่านั้น พอให้คนรู้ที่จะใส่ลูกและดินใช้ต่อ ๆ ไปเหมือนที่เห็น<br />

อยู่ทุกวันนี้ ปืนกระสุนหนัก ๒๔ ปอนด์ เขาก็เรียกชื่อว่าปืนกระสุน ๒๔ ปอนด์<br />

แม้นถ้าปืนกระสุนหนัก ๑๒ ปอนด์ เขาก็เรียกชื่อว่าปืนกระสุน ๑๒ ปอนด์<br />

กับอิกประการ ๑ จะว่าด้วยกำาหนดปืนที่จะใช้สำาหรับที่ต่าง ๆ ตาม<br />

ธรรมเนียมของอังกฤษที่ได้ใช้อยู่ในเมืองวิลาศนั้น ซึ่งปืนสำาหรับใช้ในกำาปั่นรบ<br />

นั้น กำาหนดกระสุนหนักตั้งแต่ ๔๒ ปอนด์ ๓๖ ปอนด์ ๓๒ ปอนด์ ๒๔ ปอนด์<br />

๑๘ ปอนด์ ๑๒ ปอนด์ ๙ ปอนด์ ๖ ปอนด์ จนถึง ๓ ปอนด์ คิดเปนไทย ๘ นิ้ วครึ่ง<br />

๘ นิ้ว ๗ นิ้ว ๓ กระเบียด ๗ นิ้ว ๖ นิ้วครึ่ง ๕ นิ้วครึ่ง ๕ นิ้ว ๔ นิ้วครึ่ง จนถึง<br />

๓ นิ้วครึ่ง<br />

ซึ่งปืนสำาหรับใช้ในป้อมยิงของอังกฤษนั้น กำาหนดกระสุนหนักตั้งแต่<br />

๔๒ ปอนด์ ๓๒ ปอนด์ ๒๔ ปอนด์ ๑๘ ปอนด์ ๑๒ ปอนด์ ๙ ปอนด์ จนถึง<br />

๖ ปอนด์ คิดเปนไทย ๘ นิ้วครึ่ง ๗ นิ้ว ๓ กระเบียด ๗ นิ้ว ๖ นิ้วครึ่ง ๕ นิ้วครึ่ง<br />

๕ นิ้ว จนถึง ๔ นิ้วครึ่ง<br />

ปืนสำาหรับใช้ยิงทลายป้อมยิงทลายกำาแพงนั้น กระสุนหนักตั้งแต่ ๒๔ ปอนด์<br />

๑๘ ปอนด์ จนถึง ๑๒ ปอนด์ คิดเปนไทย ๗ นิ้ว ๖ นิ้วครึ่ง จนถึง ๕ นิ้วครึ่ง<br />

กับปืนทองที่สำาหรับเอาไปใช้ทัพบกรบกลางแปลงนั้น กำาหนดกระสุนหนัก<br />

ตั้งแต่ ๑๒ ปอนด์ ๙ ปอนด์ ๖ ปอนด์ ๓ ปอนด์ ๒ ปอนด์ ๑ ปอนด์ครึ่ง<br />

๑ ปอนด์ ลงมาจนถึงครึ่งปอนด์ คิดเปนไทย ๕ นิ้วครึ่ง ๕ นิ้ว ๔ นิ้วครึ่ง<br />

๓ นิ้วครึ่ง ๓ นิ้ว ๒ นิ้วครึ่ง ๒ นิ้ว จนถึง ๑ นิ้วครึ่งนั้น<br />

22


กับอนึ่งเมื่อศักราชฝรั่ง ๑๔๓๕ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๗๙๗ ปี<br />

(พ.ศ. ๑๙๗๘) เจ้าเมืองอาละมารคนหนึ่งชื่อว่า จาระลิษที่ ๘ นั้น ได้คิดทำา<br />

กระสุนกลวงขึ้นใช้ได้ กระสุนนั้นข้างในใส่ดินปืน และเมื่อจะยิงนั้นเอาประจุเข้า<br />

ในปืนแล้วยิงไป ครั้นตกลงแตกออกถูกข้าศึกตายเปนอันมาก<br />

มาเมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๖๓๔ ปี คิดเป็นจุลศักราชไทยได้ ๙๙๖ ปี (พ.ศ.<br />

๒๑๗๗) มีอังกฤษคนหนึ่งเปนคนฉลาดชื่อว่า มาละเต่อ ได้ไปอยู่ที่ในเมือง<br />

อาละมาร และได้เห็นทหารชาวเมืองอาละมารเขาทำากระสุนแตกใช้ได้ คน<br />

อังกฤษคนนั้นเห็นประหลาดก็อุส่าห์ไปดูจำาได้ ครั้นกลับไปจากเมืองอาละมาร<br />

แล้ว ก็เอามาสั่งสอนคนในเมืองฝรั่งเศสให้ทำา จึงทำาได้สืบ ๆ มาจนทุกวันนี้<br />

กับเมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๕๒๑ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๘๘๓ ปี<br />

(พ.ศ. ๒๐๖๔) เจ้าเมืองสเปน ได้คิดทำาปืนคาบชุดให้ทหารถือใช้ คนก็จำาเอา<br />

ทำาต่อ ๆ ไป<br />

กับอนึ่งแต่ก่อนนั้น กระสุนปืนใหญ่เขาทำาใช้ด้วยศิลาทุกเมือง ตั้งแต่<br />

ศักราชฝรั่ง ๑๖๐๐ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๙๖๒ ปี (พ.ศ. ๒๑๔๓) ฝรั่ง<br />

หลายชาติชวนกันคิดเอาเหล็กมาหล่อเป็นกระสุนปืนใหญ่สืบ ๆ กันมาจนถึง<br />

ทุกวันนี้<br />

กับเมื่อศักราชฝรั่งได้ ๑๗๕๐ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยได้ ๑๑๑๒ ปี (พ.ศ.<br />

๒๒๙๓) คนชาติอาละมารคิดทำาปืนคาบศิลามีนกและน่าเพลิง แล้วมีปลายหอก<br />

ให้ทหารใช้ในที่รบ คนชาติอังกฤษ ชาติฝรั่งเศส ชาติพุทธเกษ กับฝรั่งชาติอื่น ๆ<br />

ทั้งปวงนั้น เห็นทหารชาวอาละมารถือปืนคาบศิลาเข้ามาใช้ในที่รบ ก็พากันจำา<br />

เอาอย่าง คิดทำาปืนใช้สำาหรับทหารถือรบทุก ๆ เมือง สืบ ๆ กันมาจนทุกวันนี้<br />

23


ตอนที่ ๒ ตำรายิงปืนใหญ่รบกลางแปลง<br />

ปืนใหญ่รบกลางแปลง คราวนี้จะว่าด้วยอย่างธรรมเนียมที่หัดปืนใหญ่<br />

รบกลางแปลง และบอกให้ทหารยืนฝึกหัดในกระบวนรบต่าง ๆ ตามอย่างใหม่<br />

ที่ได้ใช้มาตั้งแต่ศักราชฝรั่งได้ ๑๘๓๑ ปี คิดเปนจุลศักราชไทยตั้งแต่ ๑๑๙๓<br />

ปีขาลโทศก (พ.ศ. ๒๓๗๔) มาจนถึงทุกวันนี้ และตำารานี้ได้แปลออกจากภาษา<br />

อังกฤษ ภาษามะลิกัน ภาษาฝรั่งเศส ชาติอื่น ๆ อิกหลายภาษา ในใจความนั้น<br />

ว่าด้วยธรรมเนียมทหารจะยืนประจำาที่ตามตำาแหน่ง เมื่อเพลาจะยิงจะใช้ปืน<br />

สำาหรับจะได้เป็นคติร่ำาเรียนแห่งข้าราชการฝ่ายทหารปืนใหญ่ต่อ ๆ ไป หวังจะ<br />

ให้เข้าใจชำานิชำานาญในการที่จะใช้สอยฝึกหัดทหารและทำางานปืนใหญ่<br />

บทต้นนั้นว่าพวกทหารปืนใหญ่ทั้งปวงนี้ จำาต้องหัดให้ชำานิชำานาญจน<br />

ทุกท่าทุกอย่าง ในการซึ่งจะใช้จะยิงปืนใหญ่นั้น เป็นต้นว่าชักเฝือประจุปืน<br />

และใส่ปัศตัน แยงฉะนวน ปิดฉะนวน เทดินหู และจุดเลงต่าง ๆ กับการอื่น ๆ<br />

มีอิกหลายอย่าง ซึ่งพวกทหารปืนใหญ่นี้จำาต้องเรียนให้รู้มาก จนเป็นนายบอก<br />

ได้ทุกตัวคนแล้ว จะต้องเปลี่ยนกันยัดเปลี่ยนกันประจุใส่ปัศตัน ปิดฉะนวน<br />

จุด ส่งดิน เพราะคนทำางานในปืนใหญ่นี้เหนื่อยไม่เท่ากัน คนที่ชักเฝือและ<br />

ประจุปืน กับคนวิ่งส่งดินนั้นเหนื่อยมากกว่าคนอื่น จึงต้องเปลี่ยนกันรอบ ๆ ไป<br />

ครั้นว่าปืนมาถึงที่หัดและที่รบแล้ว พวกทหารที่จะยิงในสำารับปืนบอก<br />

นั้น ต้องให้มายืนเข้าแถวอยู่ให้พร้อมกันข้างหน้าปืนนั้นก่อน ตามคนซึ่งเปน<br />

เลข ๑ เลข ๒ เลข ๓ เลข ๔ และเลขอื่นต่อไปในสำารับปืนบอกนั้น คนที่เหลือ<br />

อยู่จากที่เข้าในสำารับปืนนั้น ก็ต้องให้คอยระวังและดูคนพวกในสำารับปืนนั้น<br />

ถ้าคนในสำารับปืนมีเหตุการณ์ขัดขวางอย่างหนึ่งอย่างไรก็ดี ก็ต้องเอาคนที่<br />

เหลืออยู่นั้นเข้าเปลี่ยนทำางานยิงปืนแทนต่อไป<br />

กับอนึ่งการเปนข้อใหญ่อยู่ในทหารปืนนี้มีอยู่อย่าง ๑ ว่าเมื่อเพลาจะเข้า<br />

24


รบและเข้าหัดนั้น ให้ตั้งใจให้แน่นอน อย่าได้วอกแวกสดุ้งสเทือนซึ่งสิ่งหนึ่ง<br />

สิ่งใดได้ ให้เอาใจผูกอยู่ที่จะทำางานรบและหัด หูก็ได้ตรับฟังเครื่องสัญญา คือ<br />

กลอง แตร ธง และคำานายทหารจะบอกบังคับมาต่าง ๆ นั้น แล้ววางใจให้<br />

ชื่นบานสบาย อย่าได้ทุกข์โศกจงทุกตัวคน กับการซึ่งจะกระทำาในการปืนใหญ่<br />

นั้นมีอยู่มากหลายอย่าง ใครเปนทหารจำาต้องหัดไว้ให้เปนทุกอย่างเหมือนกัน<br />

ทุกตัวคน การที่จะนับให้เรียงกันไปนั้น ตั้งต้นแต่คนเลขน้อยเลขต่ำาก่อน แล้ว<br />

จึงต่อไปข้างคนที่เปนเลขสูง ๆ คนที่เปนเลข ๑ นั้นเป็นนายบอก สำาหรับบังคับ<br />

ดูแลคนทั้งปวงในสำารับปืนบอกนั้น ธรรมเนียมอย่างนี้เหมือนกันหมดทุกตำารา<br />

กับซึ่งคนที่สำาหรับจะยิงปืนบอกหนึ่งนั้น ธรรมเนียมว่ามิได้น้อยกว่า ๖ คนเลย<br />

เว้นแต่จะยิงปืนเล็ก ๆ ฤาคราวเมื่อขัดไม่มีคนพอปืน ถ้าจะใช้คนให้น้อยกว่า<br />

๖ คนอย่างนั้น ธรรมเนียมว่าให้ถอนคนที่เปนเลขสูงออกเสีย การที่ทำานั้น<br />

คนเปนเลขต่ำาที่เหลืออยู่ในสำารับปืน ต้องรับกระทำาแทนจนครบท่าที่จะยิงปืน<br />

ประการ ๑ ถ้าปืนนั้นจะต้องการให้มีเชือกลากออกยิงรบกลางแปลงนั้น<br />

ก็ดี ต้องเพิ่มคนให้มากขึ้นอิก ธรรมเนียมว่าคนซึ่งจะลากเชือกนั้น ต้องเติมเข้า<br />

ตั้งแต่คนซึ่งเปนเลข ๑๐ เลข ๑๑ เลข ๑๒ ต่อ ๆ กันขึ้นไปข้างเลขสูง กับอนึ่ง<br />

ธรรมเนียมจำาต้องให้ทหารทั้งปวงเข้ายืนชิด ๆ กันเป็นสองแถว หน้าแถว ๑<br />

หลังแถว ๑ แล้วทหารปืนใหญ่เหล่านี้ ต้องยืนให้ถูกที่ตามตำ าแหน่งของตัวอย่าง<br />

ธรรมเนียมบังคับไว้ มิให้คลาดเคลื่อนได้ ถ้าแม้นนายทหารเขาบอกให้ออกแล้ว<br />

เมื่อใด ธรรมเนียมต้องให้กระทำาแต่ข้างขวาก่อน คนที่เปนเลข ๒ เปนคนยืน<br />

อยู่ข้างขวามือแห่งคนทั้งปวงแถวหลัง คนที่เปนเลข ๓ นั้น เปนคนยืนอยู่ข้าง<br />

ขวามือแห่งคนทั้งปวงแถวน่า คนที่เปนเลข ๔ ยืนที่สองถัดคนที่เปนเลข ๒<br />

ต่อมาอยู่แถวหลัง คนเลข ๕ นั้นยืนที่สองถัดคนเลข ๓ ติดกันมาอยู่แถวน่า<br />

และคนทั้งปวงที่เปนเลขอื่นต่อไปอิกนั้น ก็ยืนต่อ ๆ เป็นลำาดับตามกันไปอย่าง<br />

25


เช่นว่ามานี้ ถ้าคิดเอาคนสำาหรับเชือกลากปืนเข้าแถวยืนปนเข้ากับคนยิงด้วยนั้น<br />

ก็ต้องให้ยืนต่อกันไปเหมือนอย่างเลขนี้<br />

๑๕ ๑๓ ๑๑ ๙ ๗ ๕ ๓ ๑ เลขอย่างนี้คนแถวน่า<br />

๑๔ ๑๒ ๑๐ ๘ ๖ ๔ ๒ เลขอย่างนี้คนแถวหลัง } ทหาร<br />

ทั้งปวงนี้ เขาจัดกันออกให้เปน ๒ แถว เรียกว่า “เสกชั่น” (Section)<br />

คราวนี้จะว่าด้วยตำาแหน่งทหารจะเข้ายืนที่เมื่อจะยิงปืน คนที่เป็นเลข ๑ นั้น<br />

ธรรมเนียมต้องยืนอยู่กับไม้คัดท้ายที่ติดอยู่กับท้ายรางปืนนั้น คนที่เปนเลข ๒<br />

เลข ๓ ยืนอยู่นอกล้อปืน ถ้าแม้นว่าเป็นปืนฉัตรชัยก็ต้องยืนถอยเข้ามาเสียให้<br />

ไกลปากบอกหน่อยหนึ่ง ถ้าแม้นเป็นปืนตามธรรมเนียมก็ยืนนอกล้อ แต่ว่ายืน<br />

เสมอแนวหน้าล้อข้างหน้า คนที่เปนเลข ๔ เลข ๕ นั้นยืนตรงกันกับลวดหน้า<br />

กระดานท้ายปืนริมฉะนวนนั้น คนที่เป็นเลข ๖ ยืนข้างท้ายปืนตรงล้อข้างซ้าย<br />

ลงมาข้างหลังปืน ๕ หยาด (Yard) คิดเปนไทยไกลกับล้อ ๙ ศอก ๒ นิ้ว แต่ว่า<br />

ยืนให้ตรงได้เส้นกับล้อปืนทีเดียว คนที่เปนเลข ๗ นั้นยืนอยู่ข้างหลังหีบดิน<br />

หีบกระสุน คนที่เป็นเลข ๘ ยืนอยู่ตรงกับหลังคนที่เป็นเลข ๖ แต่ว่าห่างกัน<br />

ลงไปอีก ๑๐ หยาด คิดเป็นไทยห่างกับคนที่เป็นเลข ๖ สี่วา ๒ ศอก ๔ นิ้ว<br />

คนที่เป็นเลข ๙ นั้น ยืนอยู่ตรงหลังหีบดินหีบกระสุน แต่ว่าห่างอยู่ ๔ หยาด<br />

คิดเป็นไทยห่างหีบดินหีบกระสุนอยู่ ๗ ศอก ๗ นิ้ว<br />

คราวนี้จะว่าด้วยทหารเข้าแถว แล้วเปลี่ยนที่ยืน ๗ อย่างเมื่อจะยิง<br />

ปืนนั้น<br />

บทที่ ๑ ว่า ทหารยืนเข้าสองแถวอยู่ข้างน่ายืนแล้วเมื่อไรนายทหารบอก<br />

บังคับว่า “เฟีมเดโอดะออบฝะมาจ์” (Form the order of march) คนที่เปน<br />

เลข ๑ นั้นก็บอกว่า “เรกเฟกวิกมาจ์” (Right face quick march) คนที่เปน<br />

เลข ๒ เลข ๓ นั้น เปิดแถวออกเปนปากฉะนางแล้วก็พากันเดินไป ถ้าคนไรไป<br />

26


ถึงที่ของตัวก็ให้หยุดอยู่ คนไรที่ยังไม่ถึงที่ยืนก็ให้เดินต่อไปจนถึงที่ยืนของตัว<br />

แล้วจึงหยุด เมื่อจะหันกลับไปข้างหน้านั้น ให้กลับให้พร้อมกันทุกคน ในขณะ<br />

เดียวให้เร็ว แต่ให้ดูคนที่เปนเลข ๒ นั้นเปนสัญญา ถ้าเขากลับหน้ามาเมื่อไรก็<br />

ให้พร้อมกันเถิด<br />

บทที่ ๒ ว่า พวกทหารทั้งปวงมายืนเข้าสองแถวอยู่ข้างหลังปืน ฤาอยู่<br />

ข้างซ้ายปืน หรืออยู่ข้างขวาปืนนั้นก็ดี เมื่อไรนายทหารบอกบังคับว่า “เฟีมเด<br />

โอดะออบฝะมาจ์” คนที่เปนเลข ๑ ก็บอกว่า “เลบเฟกวิกมาจ์” (Left face<br />

quick march) ถ้าแม้นว่าพวกทหารยืนเข้าสองแถวอยู่ข้างท้ายปืน ฤาอยู่ข้าง<br />

ขวาปืนนั้น ก็ให้เดินไปพร้อมกันแล้วมาเข้าที่ปืนนั้นเถิด ถ้าแม้นว่าพวกทหาร<br />

ยืนเข้า ๒ แถวอยู่ข้างซ้ายปืนแล้ว ถ้าคนเลข ๑ เขาบอกว่าอย่างนั้น พวกทหาร<br />

ทั้งสองแถวก็ต่างคนต่างเดินไป เมื่อใครเดินไปถึงที่ของตัวก่อน ก็ให้หยุดไป<br />

ทีละคน ๆ เหมือนอย่างที่ว่ามาในบทที่ ๑ แล้วนั้น<br />

บทที่ ๓ ว่า นายทหารบอกบังคับว่า “ดิตัดฉะแมนเรีย” (Detachment<br />

<strong>re</strong>ar) คนที่เปนเลข ๑ เขาก็บอกว่า “เรกเอเบาเฟกวิกมาจ” (Right about<br />

face quick march) คนทั้งสองแถวนั้นแบ่งขาดกันออกไปข้างละครึ่ง แต่ว่า<br />

คงเดินเป็นสองแถวอยู่เหมือนเดิม ที่แบ่งขาดออกเป็นสองพวกนั้น พวกหนึ่ง<br />

ให้เดินมาทางข้างซ้ายปืน พวกหนึ่งให้เดินมาทางข้างขวาปืน ครั้นเดินหลีกปืน<br />

พ้นไปแล้ว ก็กลับประจบติดกันเข้าเปนพวกเดียวข้างท้ายปืนเหมือนอย่างเดิม<br />

เดินต่อไปจนถึงที่ ถ้าเดินไปถึงที่แล้ว คนที่เปนเลข ๑ เขาก็บอกว่า “ฮอละ<br />

ฟะรัน” (Halt, front) ทหารทั้งปวงก็หยุดอยู่ แล้วก็หันหน้ากลับไปให้พร้อม<br />

กันโดยเร็ว<br />

บทที่ ๔ ว่า นายทหารเขาบอกบังคับว่า “ดิตัดฉะแมนฟะรัน” (Detachment,<br />

front) คนที่เปนเลข ๑ ก็บอกว่า “กวิกมาจ์” (Quick march) ทหารก็แยก<br />

27


28<br />

ออกเป็นสองพวก เหมือนที่ว่ามาแล้วนั้นเดินหลีกปืนขึ้นไป ครั้นหลีกพ้นปืน<br />

แล้วก็กลับติดกันเข้าเปนพวกเดียว พากันเดินต่อไปข้างหน้าปืน ครั้นถึงที่ยืน<br />

คนที่เปนเลข ๑ เขาก็บอกว่า “ฮอละ” (Halt) ทหารทั้งปวงก็ยืนหยุดอยู่ให้<br />

พร้อมกัน<br />

บทที่ ๕ ว่า เมื่อนายทหารเขาบอกว่า “ดิตัดฉะแมนเรก” (Detachment<br />

right) ฤา “ดิตัดฉะแมนเล็บ” (Detachment left) นั้นก็ดี คนที่เปนเลข ๑ ก็<br />

บอกว่า “เรกหาบฟะเฟกวิกมาจ์” (Right half, face, quich march) หรือ<br />

“เล็บหาบฟะเฟกวิกมาจ์” นั้น พวกทหารทั้งปวงก็หันตัวไปทางข้างขวาครึ่งหนึ่ง<br />

ฤาข้างซ้ายครึ่งหนึ่ง แล้วก็เดินเฉลียงไปตามคำาที่เขาบอกให้ไปซ้ายและขวานั้น<br />

แล้วก็พากันเดินไป เมื่อเดินไปตรงเส้นที่จะยืนแล้ว คนที่เปนเลข ๑ เขาก็บอก<br />

ว่า “ฟะรันเทิน” (Front turn) พวกทหารทั้งปวงก็หันตัวเดินตรงเส้นไปข้างหน้า<br />

พอตรงเพลาล้อ คนที่เปนเลข ๑ ก็บอกว่า “ฮอละ” พวกทหารทั้งปวงก็พากัน<br />

หยุดอยู่ในที่นั้น<br />

บทที่ ๖ ว่า เมื่อนายทหารเขาบอกว่า “ดิตัดฉะแมนเรีย” คนที่เปนเลข ๑<br />

บอกว่า “เรกเอเบาเฟกวิกมาจ์” ทหารทั้งปวงก็กลับตัวเอาหน้าเปนหลัง คนที่<br />

เปนเลข ๒ เลข ๓ นั้นก็กลับเปนคู่หน้าแล้วก็พากันเดินไป เมื่อพ้นปืนแล้วก็<br />

ชักแถวหนีบติดกันเข้าเดินต่อไป พอตรงที่ยืนแล้ว คนเลข ๒ เลข ๓ ก็พาแถว<br />

เลี้ยวมาข้างซ้าย เมื่อถึงที่ยืน คนที่เปนเลข ๑ เขาบอกว่า “ฮอละฟะรัน” ทหาร<br />

ทั้งปวงก็หยุดอยู่แล้วหันหน้ากลับทางข้างซ้ายโดยเร็ว<br />

บทที่ ๗ ว่า นายทหารเขาบอกว่า “ดิตัดฉะแมนฟะรัน” คนที่เปนเลข ๑<br />

ก็บอกว่า “กวิกมาจ์” คนที่เป็นเลข ๘ เลข ๙ ยืนอยู่คู่หน้า แล้วก็พากันเดิน<br />

ตรงไป ครั้นเดินพ้นรางปืนไป และมิได้กีดขวางสิ่งไร คนที่เปนเลข ๘ เลข ๙<br />

ก็ชักแถวหนีบติดกันเข้าเดินต่อไป พอถึงตรงที่จะยืนแล้ว คนที่เปนเลข ๘ เลข ๙


ก็ชักแถวเลี้ยวมาข้างซ้าย เมื่อถึงที่ยืนแล้ว คนที่เปนเลข ๑ ก็บอกว่า “ฮอละ<br />

ฟะรัน” พวกทหารในแถวทั้งปวงก็หยุดยืนในที่นั้น แล้วก็พากันหันหน้ากลับ<br />

มาทางข้างขวา<br />

ทีนี้จะว่าด้วยธรรมเนียมที่จะแบ่งคนยิงปืนบอกหนึ่งนั้นมิให้เท่ากัน ใช้<br />

น้อยบ้างมากบ้าง ตั้งแต่สำารับหนึ่งใช้ ๙ คนลงไปจนถึงสำารับหนึ่งใช้แค่ ๒ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิง ๒ คน ๆ ที่เปนเลข ๑ นั้น เปนคนบังคับเลงปืนปิด<br />

ฉะนวนเทดินหูจุด คนที่เปนเลข ๒ นั้นชักเฝือและประจุใส่ปัศตันเข้าในปืนวิ่ง<br />

ส่งลูกส่งดิน อย่างนี้ยิง ๒ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิง ๓ คน ๆ ที่เปนเลข ๑ นั้นเปนคนบังคับเลงปืนปิด<br />

ฉะนวนเทดินหูจุด คนที่เปนเลข ๒ นั้นเปนคนชักเฝือและประจุ คนที่เปนเลข ๓<br />

นั้นเปนคนใส่ปัศตันเข้าในปืนวิ่งส่งลูกส่งดิน อย่างนี้ยิง ๓ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิ่ง ๔ คน ๆ ที่เปนเลข ๑ นั้นเปนคนบังคับเลงปืน คนที่<br />

เปนเลข ๒ นั้นเปนคนชักเฝือและประจุปืน คนที่เปนเลข ๓ นั้นเป็นคนใส่ปัศตัน<br />

เข้าในปืนวิ่งส่งลูกส่งดิน คนที่เปนเลข ๔ นั้นปิดฉะนวนเทดินหูจุด อย่างนี้ยิง<br />

๔ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิ่ง ๕ คน ๆ ที่เปนเลข ๑ นั้นเป็นคนบังคับเลงปืน คนที่<br />

เปนเลข ๒ นั้นเป็นคนชักเฝือและประจุ คนที่เปนเลข ๓ นั้นเป็นคนใส่ปัศตัน<br />

เข้าในปืนวิ่งส่งลูกส่งดิน คนที่เปนเลข ๔ นั้นปิดฉะนวนเทดินหู คนที่เปนเลข ๕<br />

นั้นเปนคนจุดปืน อย่างนี้ยิง ๕ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิ่ง ๖ คน ๆ ที่เปนเลข ๑ นั้นเปนคนบังคับเลงปืน คนที่<br />

เปนเลข ๒ นั้นเป็นคนชักเฝือและประจุ คนที่เปนเลข ๓ นั้นเป็นคนใส่ปัศตัน<br />

เข้าในปืน คนที่เปนเลข ๔ นั้นปิดฉะนวนเทดินหู คนที่เปนเลข ๕ นั้นเปนคน<br />

จุดปืน คนที่เปนเลข ๖ นั้นเปนคนวิ่งส่งลูกส่งดิน อย่างนี้ยิง ๖ คน<br />

29


30<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิ่ง ๗ คน ๆ ที่เปนเลข ๑ เลข ๒ เลข ๓ เลข ๔ เลข ๕<br />

เลข ๖ ก็ทำาการเหมือนอย่างที่ว่ามาในบอกที่ใช้ ๖ คนนั้น แต่เติมคนเลข ๗<br />

เข้าอิกคนหนึ่ง คนที่เปนเลข ๗ นี้สำาหรับยืนอยู่รักษาหีบดิน แล้วคอยผลัด<br />

คนที่เปนเลข ๖ วิ่งส่งลูกส่งดินด้วย คน ๒ คนนี้ทำางานเหมือนกันคอยผลัด<br />

เปลี่ยนกัน อย่างนี้ยิง ๗ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่ง ๗ คน ๆ ที่เปนเลข ๘ นั้นสำาหรับช่วยคนเลข ๗ ทำางาน<br />

คนที่เปนเลข ๗ เลข ๘ นี้ทำางานร่วมกัน ลางทีก็ไปเปลี่ยนชักเฝือประจุปืน<br />

แทนคนที่เปนเลข ๒ เมื่อคนที่เปนเลข ๒ มีเหตุการณ์ และคนที่เปนเลข ๑<br />

เลข ๒ เลข ๓ เลข ๔ เลข ๕ เลข ๖ เลข ๗ นั้นก็ทำาการเหมือนอย่างสิ่งที่ว่า<br />

มาแล้วแต่หลังนั้น อย่างนี้ยิง ๘ คน<br />

ถ้าใช้บอกหนึ่งยิง ๙ คน ๆ ที่เปนเลข ๙ นั้นเปนคนพนักงานสำาหรับเฝ้า<br />

หีบดินอยู่กับที่ไม่ได้ไปอื่น และคนที่เป็นเลขอื่น ๆ ทั้งปวงนั้นก็กระทำาเหมือน<br />

อย่างสิ่งที่ว่ามาแล้วแต่หลังนั้น<br />

กับอนึ่งคนที่สำาหรับเชือกจะลากปืนนั้น จึงจะค่อยว่าต่อไปต่อภายหลัง<br />

และพวกทหารทั้งปวงนั้นต้องฝึกหัดให้รู้จงครบท่าจึงจะได้ เพราะว่าจะต้อง<br />

ผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปทุกคน ๆ<br />

คราวนี้จะว่าด้วยท่าทางที่พวกทหารจะประจุปืนใน ๒๐ บทนั้น<br />

บท ๑ ว่า คนที่เปนเลข ๑ นั้นต้องเป็นคนบังคับแล้วระวังระไวบอกคำา<br />

ต่าง ๆ ให้ทหารทั้งปวงที่เป็นลูกบอกของตัวกระทำาการประจุปืนยิงปืน ในเวลา<br />

เมื่อจะรบและจะหัดนั้น แล้วได้รับคำาแห่งทหารทั้งปวงที่เปนลูกบอกของตัว<br />

เขาจะถามปฤกษาสิ่งหนึ่งสิ่งไรก็ต้องบอกให้เขากระทำาไปให้ถูกถ้วนดีด้วย กับ<br />

เมื่อเวลารบอยู่คนที่เปนเลข ๑ นั้น ต้องคอยรับคำาสั่งจากขุนนางนายทหาร<br />

เขาจะบังคับมาว่า ให้ผ่อนดินที่จะยิงนั้นขึ้นลงมากและน้อยตามหนทางซึ่งจะ<br />

ยิงไปใกล้และไกล เมื่อจะยิงปืนกระสุนแตกก็ต้องคอยรับคำาสั่งว่าให้ผ่อน ใช้


หลอดกระสุนแตกนั้นสั้นยาวตามทางใกล้และไกล ให้กระสุนตกถูกตามที่หมาย<br />

จะยิงนั้นด้วย ถ้าอย่างนั้นคนที่เปนเลข ๑ ก็บังคับใช้ให้คนที่เปนเลข ๗ นั้นไป<br />

ให้ผ่อนดินผ่อนหลอดกระสุน สั้นยาวตามกำาหนดอย่างเช่นว่ามานั้น<br />

บท ๒ ว่า เมื่อขณะคำาบังคับว่า “โลด” (Load) คนที่เปนเลข ๑ นั้นก็<br />

ตั้งปากบอกปืนให้ตรงทางที่จะยิงนั้น พอปืนประจุแล้ว คนที่เปนเลข ๑ ก็เข้า<br />

เลงปืน เมื่อเลงตรงหมายที่จะยิงได้แล้ว คนที่เปนเลข ๑ ก็บอกว่า “เรดี”<br />

(Ready) แล้วก็โดดออกมาเสียให้พ้นล้อปืนจะถีบถอยหลัง แล้วก็ไปยืนอยู่<br />

ที่ ๆ ข้างเหนือลม คอยดูกระสุนปืนของตัวที่จะยิงไปนั้น ว่าจะถูกที่หมายตาม<br />

สังเกตฤาไม่ ฤาจะต้องแก้ไขประการใดบ้าง และในขณะนั้นเมื่อโดดออกมานั้น<br />

ร้องบอกว่า “แฟยะ” (Fi<strong>re</strong>) คนที่เปนเลข ๕ เขาก็จุดปืนออกไป พอปืนจุด<br />

ออกไปแล้ว คนที่เปนเลข ๑ นั้น เขาก็กลับเข้ามายืนอยู่ที่เก่าริมไม้คัดท้าย ถ้า<br />

ปืนนั้นเดินถีบถอยหลังพ้นที่ยิงลงมา คนที่เปนเลข ๑ นั้นก็จัดแจงบังคับให้<br />

พวกลูกบอกเข็นปืนขึ้นไปที่เก่า แล้วตัวก็ช่วยจับไม้คัดท้ายเข็นไปด้วย<br />

ชักเฝือปืน บท ๓ ว่า คนที่เปนเลข ๒ ซึ่งเปนคนชักเฝือและประจุนั้น<br />

ยืนหันหน้าไปตามบอกปืน เสมอกันกับแนวหน้าล้อเหลี่ยมข้างหน้า มือขวาถือ<br />

ไม้ยัดภู่ดอกเลา จับไม้ยัดนั้นคะเนราวกลางไม้ เอนภู่ดอกเลาไปข้างน่า ถือ<br />

เอน ๆ ไม้ไว้ประมาณ ๔๕º เมื่อไรคำาบังคับบอกว่า “โลด” จังหวะที่ ๑ ก็ให้<br />

หันหน้ากลับตัวมาข้างซ้าย คือกลับหน้ามาข้างปืน แล้วก้าวเท้าขวาเข้าไปหา<br />

ปืน แต่ว่าก้าวให้เฉลียงไปข้างปากบอกปืนก้าว ๑ ในขณะพร้อมกันนั้น ถือตั้ง<br />

ไม้ยัดตรงขึ้นโดยเร็ว ห้วสากที่ยัดปืนนั้นให้ตรงกันกับหัวแม่เท้าขวาของตัว แต่<br />

ว่าให้สูงห่างหัวแม่เท้าอยู่สักหน่อยหนึ่ง และมือที่ถือไม้ยัดภู่ดอกเลานั้นให้<br />

หนีบศอกเข้าไปชิดสีข้างของตัวด้วย จังหวะที่ ๒ ให้ก้าวเท้าซ้ายไปข้างน่า แต่<br />

เฉลียงไปข้างซ้ายก้าว ๑ ในขณะพร้อมกันนั้น นอนไม้ยัดลง ภู่ดอกเลาอยู่ข้าง<br />

ซ้ายคือข้างปากบอกปืน มือขวานั้นจับอยู่ที่กลางไม้ แล้วก็ก้าวแยกเท้าขวาไป<br />

31


32<br />

ข้างขวา คะเนกว้าง ๓๐ องคุลีก้าว ๑ แล้วก็งอหัวเข่าขวาเข้าหน่อยหนึ่ง นอน<br />

ไม้ยัดลงให้ตรงได้ระดับกับลำาปืนทีเดียว แล้วรูดมือเหยียดแขนทั้งสองข้างออก<br />

ไปให้พร้อมกันจับเอาต้นไม้ ปลายไม้ภู่ดอกเลานั้นอยู่ข้างซ้าย หัวสากนั้นอยู่<br />

ข้างขวา มือขวาที่จับก้านไม้ยัดข้างหัวสากนั้น คว่ำาเอาหลังมือขึ้นข้างบน มือ<br />

ซ้ายที่จับก้านไม้ยัดข้างภู่ดอกเลานั้นหงายเอาฝ่ามือขึ้นข้างบน หลังมือลงข้าง<br />

ล่าง แล้วเอาภู่ดอกเลาแนะเข้ากับลูกแก้วปากบอกปืนเสียประเดี๋ยวหนึ่ง แล้วจึง<br />

เอาพู่ดอกเลาใส่เข้าในปืน แล้วก็วางมือซ้ายห้อยลงมาเสีย ไม่จับไม้ยัดฝ่ามือ<br />

อยู่กับต้นขา และระวังหัวไหล่ให้ตรงอย่าให้เอียงเลย ในขณะพร้อมกันนั้น<br />

ยืดหัวเข่าขวาขึ้นเสีย งอหัวเข่าซ้ายลง เสือกภู่ดอกเลาเข้าไปให้ถึงก้นบึ้งปืน<br />

ให้พร้อมกันในขณะเดียวนั้น แล้วก็หันภู่ดอกเลาเช็ดปืนสองรอบ เมื่อหันนั้น<br />

ให้ใช้ข้อมือแรกหันกดแอ่นข้อมือลงก่อน หันภู่ดอกเลาเข้าข้างตัว แล้วกลับ<br />

หันภู่ดอกเลาออกไปข้างนอก โก่งข้อมือขึ้น ในขณะหันภู่ดอกเลาชำาระปืนนั้น<br />

ให้กดภู่ดอกเลาเข้าไปให้หนัก ๆ ให้ภู่ดอกเลาชิดถึงก้นบึ้งปืนทีเดียว ครั้นเช็ด<br />

ปืนแล้วก็ชักภู่ดอกเลาออกมา ในขณะเมื่อชักภู่ออกมานั้นเหยียดหัวเข่าซ้าย<br />

ตึงขึ้น กลับงอหัวเข่าขวาลง แล้วก็เอามือซ้ายจับเอาก้านไม้ยัดที่ริมภู่ดอกเลา<br />

เอาก้านไม้ยัดที่ริมคอภู่ดอกเลาเคาะเข้ากับลูกแก้วใต้ปากปืน ๒ ที ๓ ที แล้ว<br />

เอาภู่ดอกเลาแนะเข้ากับลูกแก้วปากปืนเหมือนอย่างที่ว่ามาก่อนนั้น แล้วจึง<br />

รูดมือเข้าหากันทั้งซ้ายทั้งขวาที่กลางไม้ยัด กลับไม้ยัดเอาหัวสากเข้ามาข้าง<br />

ปากปืน แล้วเอาหัวสากแนะเข้าไว้กับลูกแก้วปากบอก เหยียดมือออกไปจับ<br />

เอาต้นไม้ปลายไม้ทั้งสองข้าง มือซ้ายที่จับข้างหัวสากนั้นกลับเอาหลังมือขึ้น<br />

ข้างบน มือขวาจับที่ก้านไม้ยัดข้างภู่ดอกเลานั้น หงายเอาฝ่ามือขึ้นข้างบน<br />

หลังมือลงข้างล่าง และในธรรมเนียมว่าถ้ามือไหนอยู่ข้างหัวสาก ต้องจับคว่ำา<br />

หลังมือขึ้นข้างบนร่ำาไป ถ้ามือไหนจับอยู่ข้างภู่ดอกเลา ต้องหงายเอาฝ่ามือขึ้น<br />

ข้างบนร่ำาไป


บท ๔ ว่า ลางทีปืนนั้นเปนปืนชนิดยาว ไม้ภู่ดอกเลาเสือกเข้าไปทีเดียว<br />

นั้นหาถึงก้นบึ้งปืนไม่ ถ้าอย่างนั้นคนที่เปนเลข ๒ ที่ชักเฝือ เขาเสือกไม้ยัดเข้า<br />

ไปพอมือขวาของตัวที่จับอยู่กลางด้ามไม้ยัดนั้น ถึงปากบอกปืนเข้าแล้ว ก็ให้<br />

เหยียดแขนรูดมือขวาเลื่อนขยับไปจับด้ามไม้ยัดเสียใหม่ที่ริมหัวสาก แล้วจึง<br />

เสือกภู่ดอกเลาเข้าไปอิกหนหนึ่งจึงจะถึงก้นบึ้งปืน ด้วยว่าปืนนั้นเปนปืนชนิด<br />

ยาว และในขณะเมื่อขยับมือขวาออกไปจับด้ามไม้ยัดที่ริมหัวสากนั้น ให้งอ<br />

หัวเข่าขวาลง เหยียดหัวเข่าซ้ายตึงขึ้น ครั้นเสือกภู่ดอกเลามาข้างก้นบึ้งปืน ก็<br />

ให้กลับงอหัวเข่าซ้ายลงเหยียดหัวเข่าขวาขึ้น<br />

บท ๕ ว่า ถ้าจะยิงปืนฉัตรชัย และปืนนั้นเปนเรือนดินสองชั้น คนที่เปน<br />

เลข ๒ ต้องกดภู่ดอกเลาเข้าไปในเรือนดินให้ถึงก้นบึ้งปืนทีเดียว แล้วจึงเช็ด<br />

เฝือให้หมดจดดี แล้วก็ถอดเอาภู่ดอกเลาออกมาเช็ดน่าเรือนดินข้างนอกให้ทั่ว<br />

แต่ว่าเมื่อเช็ดนั้นจับไม้ยัดให้แน่นทั้งสองมือ อย่าให้ด้ามไม้ยัดหมุนไปหมุนมา<br />

ในมือได้ ครั้นเช็ดในลำากล้องปืนทั่วแล้วก็ชักไม้ยัดออกมา จับตั้งไม้ยัดขึ้นเอา<br />

ภู่ดอกเลาไว้ข้างบน หัวสากอยู่ข้างแผ่นดินตั้งไม้ยัดตรงทีเดียว แล้วเอาภู่ดอกเลา<br />

เช็ดข้างนอกให้หมดจด ลางทีปืนฉัตรชัยไม่เป็นเรือนดินสองชั้น เป็นเรือนดิน<br />

ชั้นเดียว เหมือนปืนตามธรรมเนียม ถ้าว่าอย่างนั้น คนที่เปนเลข ๒ ก็ชักเฝือ<br />

ชำาระปืน กระทำาเหมือนปืนตามธรรมเนียมที่ไม่มีเรือนดินสองชั้นนั้น<br />

บท ๖ ว่า เมื่อไรคำาบอกว่า “ชิดสะแฟยะริง” (Cease firing) คนที่เปน<br />

เลข ๒ นั้น ก็เปลี่ยนเอามือซ้ายยัดถอยลงมาข้างหลังล้อปืน เอาไม้ยัดใส่เข้าใน<br />

ห่วงหนังที่ติดไว้สำาหรับใส่ไม้ยัดที่ข้างราง แล้วเอาหนังรวบรัดไม้ยัดข้างภู่ดอกเลา<br />

ขัดเขมขัดเข้าเสีย แล้วกลับมายืนอยู่ที่ ๆ ของตัวดังเก่า หันหน้าไปข้างน่า<br />

ปืน ที่ว่านี้เปนธรรมเนียมเมื่อปืนลากเดินไปบ้าง หยุดยิงบ้าง<br />

ประจุปืน บท ๗ ว่า คนที่เปนเลข ๓ เปนคนใส่ปัศตันเข้าในปืน และยืน<br />

ท่าทางก็เหมือนกันกับคนเลข ๒ ที่ว่ามาแต่หลังแล้วนั้น เมื่อไรคำ าบังคับบอกว่า<br />

33


“โลด” คนที่เปนเลข ๓ ก็หันหน้ากลับตัวมาข้างขวา ก้าวตีนเฉลียงไปข้างซ้าย<br />

เข้าไปหาปากบอกปืน แล้วก็หันหน้ากลับตัวมาข้างขวาอิกทีหนึ่ง รับเอาปัศตัน<br />

จากมือคนที่เปนเลข ๖ และเมื่อรับปัศตันนั้น ต้องยกมือสองมือขึ้น แบมือ<br />

ออกทั้งสองข้างหงายฝ่ามือขึ้นข้างบน ข้างมือข้างนิ้วก้อยทั้งสองมือนั้นติดกัน<br />

หัวแม่มือทั้งสองนั้นชี้ขึ้นข้างบน เพราะทำ ามืออย่างนั้นจึงจับปัศตันได้ถนัดดี และ<br />

เมื่อจับนั้นตัวปัศตันอยู่ข้างมือขวา กระสุนที่ผูกติดปากปัศตันอยู่นั้นอยู่ข้าง<br />

มือซ้าย พอคนที่เปนเลข ๒ ชักภู่ดอกเลาออกจากบอกปืน คนที่เปนเลข ๓ นั้น<br />

ก็หันหน้ากลับตัวมาข้างซ้าย เอาปัศตันกับกระสุนใส่เข้าในปากบอกปืน แต่ว่า<br />

เมื่อใส่นั้นระวังอย่าให้ตะเข็บปัศตันขึ้นข้างบนจะติดฉะนวน แทงฉะนวนยากยิง<br />

ขี้มักสับปลับไม่ดีเลย เมื่อใส่ปัศตันเข้าไปแล้วต้องยืนคอยอยู่ที่นั่นกว่าคนที่เปน<br />

เลข ๒ จะประจุปืนแล้ว ๆ จึงก้าวถอยหลังออกมาให้พร้อมตีนพร้อมจังหวะกับ<br />

คนที่เปนเลข ๒ นั้นทีเดียว<br />

กระทุ้งปัศตัน บท ๘ ว่า พอคนเปนเลข ๓ ใส่ปัศตันเข้าไปแล้ว คนที่เปน<br />

เลข ๒ นั้นก็เอาไม้ยัดใส่เข้าไปในปากปืน รูดมือซ้ายมาจับด้ามไม้ยัดริมมือขวา<br />

ข้างภู่ดอกเลานั้น แล้วก็กระทุ้งปัศตันเข้าไป และเมื่อกระทุ้งนั้นโยนตัวทิ้งตัว<br />

ไปตามมือที่กระทุ้ง เพราะอย่างนั้นจึงจะกระทุ้งปัศตันได้หนักดี แล้วก็งอหัวเข่า<br />

ซ้ายลง เหยียดแขนซ้ายตรงออกไปข้าง ๆ แต่แขนนั้นยกให้สูงเสมอกับหัวไหล่<br />

แบฝ่ามือออกให้ตึง เอาหลังมือขึ้นข้างบน เมื่อกระทุ้งปัศตันเข้าไปถึงที่แล้วก็<br />

กระชากสากออกมาด้วยมือขวา เมื่อไม้ยัดจะออกมาจากลำากล้องปืนนั้น มือขวา<br />

ที่จับด้ามไม้ยัดนั้นอย่าจับให้แน่น กำาแต่หลวม ๆ ให้ด้ามไม้ยัดเสือกเลื่อนออก<br />

มาตามมือ เมื่อไม้ยัดเลื่อนออกมาถึงกลางด้ามจึงคอยจับเอาที่กลางนั้น และ<br />

มือซ้ายนั้นให้คอยจับที่ต้นไม้ยัดริมหัวสาก เมื่อขณะหัวสากพ้นออกมาจาก<br />

ปากบอกปืนนั้น แล้วเอาต้นสากแนะเข้ากับลูกแก้วปากบอกปืน ก้านไม้ยัดนั้น<br />

ให้ตรงได้ระดับกับปืน เหมือนที่ว่ามาแล้วแต่หลังนั้น แล้วยืนยืดหัวเข่าขึ้นให้<br />

34


ตรงทั้งสองข้าง งอแขนทั้งสองข้างเข้า ชักด้ามไม้ยัดตรงเข้ามาให้ติดกับหัวอก<br />

แล้วยกตีนขวาก้าวถอยออกมาให้เร็วก้าวหนึ่ง และขณะเมื่อถอยตีนขวาออก<br />

มาก้าวหนึ่งนั้น สีข้างของตัวพอตรงกับกงล้อปืนข้างน่านั้น แล้วถอยตีนซ้าย<br />

ออกมาข้างหลังอิกก้าวหนึ่ง แล้วยกตีนขวาถอยออกมายืนประจบเคียงกับ<br />

ตีนซ้ายเปน ๓ ก้าวด้วยกัน เมื่อออกมาจากปืนและเมื่อถอยตีนขวาออกมา<br />

ประจบกับตีนซ้ายนั้น ยกมือซ้ายมาตบก้านไม้ยัดไว้ทีหนึ่ง ตั้งไม้ยัดขึ้นให้ตรง<br />

อย่างเก่า หัวสากตั้งอยู่บนหัวแม่เท้าขวา ซึ่งเอามือซ้ายไปตบก้านไม้ยัดเข้าไว้<br />

ทีหนึ่งนั้น เพราะกลัวว่าเมื่อจะยกไม้ยัดตั้งขึ้นนั้นใช้แต่มือขวามือเดียว กลัวไม้<br />

ยัดจะล้มไปข้างน่า ครั้นถอยออกมายืนอยู่แล้วอย่าให้เหลียวไปข้างอื่น ตานั้น<br />

ให้จับอยู่กับปากบอกปืน พอเห็นเขาจุดปืนควันพลุ่งออกไปจากปากบอก แล้ว<br />

ก็กลับเข้าไปเร็ว ๆ ประจุปืนต่อไปอิก เหมือนอย่างที่ทำามาแต่ก่อนนั้น<br />

บท ๙ ว่า ถ้าแม้ว่าปืนนั้นเปนปืนชนิดลำากล้องยาว คนที่เปนเลข ๒ ก็<br />

เดินไม้ยัดขยับมือจับสองหน เหมือนที่ว่ามาในบทชักเฝือนั้น<br />

บท ๑๐ ว่า ถ้ายิงปืนฉัตรชัย กระสุนหนัก ๒๔ ปอนด์ คิดเปนไทยกระสุน<br />

๗ นิ้ว ถ้ากระสุนหนัก ๑๒ ปอนด์ คิดเปนไทยกระสุน ๕ นิ้วครึ่ง เมื่อคนเลข ๓<br />

ใส่ปัศตันเข้าไปในปืน คนที่เปนเลข ๒ ก็กระทุ้งปัศตัน คนที่เปนเลข ๓ ก็ยก<br />

กระสุนแตกใส่เข้าไปในปืนอิก คนที่เปนเลข ๒ ก็ค่อย ๆ เอาไม้ยัดเสือกกระสุน<br />

แตกเข้าไปในก้นบึ้ง การซึ่งประจุกระสุนแตกนี้ต้องระวังมาก ด้วยกลัวหลอด<br />

และฉะนวนกระสุนจะยับเยิน<br />

บท ๑๑ ว่า ถ้ายิงปืนฉัตรชัย กระสุน ๕ องคุลีครึ่ง คิดเปนไทยกระสุน<br />

๖ นิ้ว ๓ กระเบียด คนที่เปนเลข ๓ ประจุปัศตันเข้าไปในปืน แล้วรับเอากระสุน<br />

แตกจากมือคนที่เปนเลข ๘ มาใส่เข้าไปในปืนอิก คนที่เปนเลข ๒ ก็ประจุ<br />

เหมือนอย่างที่ว่ามาแล้วในบท ๑๐ นั้น<br />

บท ๑๒ ว่า คนที่เปนเลข ๔ นั้น เป็นคนสำาหรับปิดฉะนวนใส่ดินหู ยืน<br />

35


36<br />

อยู่ข้างขวาปืนตรงกันกับฉะนวนออกมา อยู่ตรงหลังคนที่เปนเลข ๒ หันหน้า<br />

ตามกันไปข้างหน้าปืน เมื่อคำาบอกว่า “โลด” คนที่เปนเลข ๔ นั้นก้าวเท้าออก<br />

ข้างซ้ายเข้าไปหาฉะนวนปืน แล้วเอาหัวแม่มือข้างซ้ายเช็ดฉะนวนปืน ครั้นเช็ด<br />

หมดจดดีแล้วก็เอาหัวแม่มือซ้ายกดปิดฉะนวนปืนลงไว้ และนิ้วมือนั้นให้ปลาย<br />

นิ้วลงอยู่ข้างซ้ายปืน แล้วก่งศอกยกขึ้นไว้ให้สูง เพราะว่าจะเปิดทางให้คนที่<br />

เปนเลข ๑ เลงปืนสนัด ในเวลาคนที่เปนเลข ๒ ประจุปืนอยู่นั้น และมือขวานั้น<br />

เอาไพล่หลังมาล้วงคันชีพที่ใส่ฉะนวนผูกบั้นเอวไว้ข้างหลัง คอยจะหยิบฉะนวน<br />

ใส่ปืน ครั้นปืนประจุแล้วก็ก้าวกลับออกมาข้างขวาพร้อมกันกับคนเลข ๒ ที่<br />

ประจุปืนอยู่ในขณะเมื่อออกมายืนอยู่นั้น จึงหยิบเอาฉะนวนดอกเห็ดที่ใน<br />

คันชีพขึ้นแกะกระดาษที่ปิดดินฉะนวนศีร์ษะเห็ดเตรียมไว้ดอกหนึ่ง เพราะจะ<br />

ได้จุดติดง่าย ถ้าไม่แกะกระดาษเสียจุดไม่ติดเร็วช้าไป ครั้นแกะแล้วมือก็คงไว้<br />

ในคันชีพมิได้เอาออกเลย ตั้งแต่ก้าวเข้าไปปิดฉะนวนมาแล้วคอยอยู่จนคำาบอก<br />

ว่า “เรดี” เมื่อคำาบอกว่าอย่างนี้ก็จึงก้าวเข้าไปแยงฉะนวน ครั้นแยงฉะนวนแล้ว<br />

ก็เอาดอกเห็ดใส่ลงในรูฉะนวนดอกหนึ่ง แล้วเอามือซ้ายปิดฉะนวนไว้จนถึงคำา<br />

บอกว่า “แฟยะ” จึงก้าวออกมาข้างขวา และเมื่อก้าวนั้นระวังให้พ้นล้อปืน<br />

จะถีบเดินถอยหลังลงมานั้นด้วย ครั้นถอยออกมายืนอยู่แล้ว อย่าให้เหลียวหน้า<br />

ไปข้างอื่น ตานั้นให้จับอยู่กับปากบอกปืน พอเห็นเขาจุดปืนควันพลุ่งออกไป<br />

จากปากบอกแล้วก็กลับเข้าไปให้เร็ว ๆ ปิดฉะนวนให้เขาประจุปืนต่อไปอิก<br />

เหมือนอย่างที่ทำามาแต่หลังนั้น<br />

ประการ ๑ ถ้าปืนนั้นจะหยุดไม่ยิงอีก นายทหารเขาก็บอกว่า “ซิษสะ<br />

แฟยะริง” (Cease firing) คนที่เปนเลข ๔ นั้นก็ถอยออกมา รับเอาต้นไม้ยัด<br />

ข้างศีร์ษะสาก ใส่เข้าในห่วงหนังที่ติดไว้สำาหรับใส่ไม้ยัดที่ข้างราง แล้วเอาหนัง<br />

รวบรัดไม้ยัดข้างหัวสากเข้าขัดเข็มขัดเสียแล้วกลับออกมายืนอยู่ที่ ๆ ของตัว<br />

อย่างเก่า


ตอนที่ ๓ ตำรายิงปืนป้อม และปืนเรือรบ<br />

เล่มนี้จะว่าด้วยฝึกหัดทหารให้รู้ในทำานองที่จะยิงปืนกระสุนโตตั้งแต่<br />

๗ นิ้ว ๘ นิ้ว ๙ นิ้ว ๑๐ นิ้ว ๑๑ นิ้ว ใจความว่าด้วยธรรมเนียมซึ่งทหารจะยืน<br />

ประจำาที่ตามตำาแหน่ง เมื่อเพลาจะยิงปืนรบในป้อมในค่าย และในกำาปั่นรบหลวง<br />

จะให้นายทหารร่ำาเรียนวิชาการปืนใหญ่ต่อ ๆ ไป จะได้เข้าใจชำานิชำานาญใน<br />

การที่จะใช้สอยและทำางานปืนใหญ่ คราวนี้จะว่าด้วยฝึกหัดยิงปืนบนป้อมก่อน<br />

บทต้น ซึ่งบทต้นนี้ว่าเมื่อจะฝึกหัดกันนั้นก็ดี และจะรบด้วยปืนเปรียม<br />

ใหญ่นี้ก็ดี ธรรมเนียมจำาต้องให้คนซึ่งเปนทหารปืนใหญ่นั้นยืนเข้าเปนสองแถว<br />

หน้าแถว ๑ หลังแถว ๑ และคำานายบอกบททั้งปวงนั้นก็เหมือนกันกับทหารที่<br />

ยิงปืนทองในที่รบกลางแปลง การซึ่งให้ทหารเข้ายืนเปนสองแถวนั้น ธรรมเนียม<br />

ว่าถ้าจะบอกให้ออกเดินแล้ว ต้องบอกให้ออกทางข้างขวาก่อน คนที่เปนเลข ๑<br />

นั้น เปนคนบังคับคนที่เปนเลขอื่น ๆ ทั้งปวงในสำ ารับของตัว เมื่อเข้าแถวอยู่นั้น<br />

คนที่เป็นเลขน้อยเลขต่ำาต้องยืนอยู่ข้างขวามือ ด้วยนับตั้งต้นแต่ขวาก่อน และ<br />

คนที่เปนเลข ๒ นั้น ยืนอยู่ข้างขวามือคนแถวหลัง คนที่เปนเลข ๓ นั้นยืนตรง<br />

หน้าขึ้นไป คนที่เปนเลข ๔ ยืนเคียงกับคนเลข ๒ อยู่แถวหลัง คนที่เปนเลข ๕<br />

นั้นยืนตรงหน้าคนเลข ๔ ขึ้นไปแถวน่า และคนที่เปนเลขอื่น ๆ อีกทั้งปวงก็ยืน<br />

ถัด ๆ กันไปเหมือนอย่างเลขนี้<br />

๑๕ ๑๓ ๑๑ ๙ ๗ ๕ ๓ ๑ เลขอย่างนี้แถวน่า<br />

๑๔ ๑๒ ๑๐ ๘ ๖ ๔ ๒ เลขอย่างนี้แถวหลัง } ให้พึงรู้เถิด<br />

ประการหนึ่ง คนในสำารับที่จะยิงปืนใหญ่นี้ ต้องเปลี่ยนการกันทำาไปให้<br />

รอบ ๆ ต้องจำาหัดให้เปนจงครบท่ากันทุก ๆ คน เมื่อไรคำาบอกว่า “แจนจะ<br />

ฟะโรน” (Change Front) คนยืนข้างขวาปืนนั้นถอยหลังลงมายืนที่ ๆ คน<br />

ตรงหลัง และคนข้างซ้ายปืนนั้นเดินขึ้นไปข้างหน้า แล้วยืนที่ ๆ คนตรงหน้า<br />

ทีนี้จะว่าด้วยยิงสำารับหนึ่ง ๖ คนก่อน เขาเปลี่ยนกันอย่างนี้ คน ๓<br />

37


38<br />

มาเปน ๒ คน ๒ มาเปน ๔ คน ๔ มาเปน ๑ คน ๑ มาเปน ๖ คน ๖ มาเปน ๕<br />

คน ๕ มาเป็น ๓<br />

กับอนึ่งทหารปืนใหญ่นี้ เมื่อไรมาถึงที่รบแล้วธรรมเนียมต้องบอกให้หยุด<br />

ยืนห่างท้ายปืนประมาณสัก ๑๐ ก้าวเท้าฤา ๑๒ ก้าว จึงถึงท้ายปืน หันหน้าไป<br />

ข้างปืน ที่บอกให้หยุดยืน ๒ แถวข้างท้ายปืนอย่างนี้ เพราะเขาปรารถนาจะได้<br />

ตรวจดูคนว่า จะครบสำารับปืนฤาไม่ครบ ใครจะเปนคนทำาการสิ่งไร เมื่อคนยืน<br />

เปน ๒ แถวชิดกันอย่างนี้ตรวจกันง่าย ถ้าเข้ายืนเสียในที่ยิงปืนแล้วตรวจกัน<br />

ยากนัก ด้วยคนนั้นยืนรายกระจัดกระจายกันไป และเมื่อไรจะออกเดินเข้าไป<br />

ยืนในที่ยิงปืนนั้น คนที่เปนเลข ๑ เขาบอกว่า “เรกเฟเตกโปษแอดเกินกวิกมาจ์”<br />

(Right face, Take post at gun, Quick march) และคนที่ยืน ๒ แถวนั้น<br />

กลับตัวหันหน้าไปข้างขวาแล้วเปิดแถวออกเปนปากฉะนาง พากันเดินขึ้นไป<br />

ยืนยังที่ของตัวสองข้างปืน คนที่เปนเลข ๒ เลข ๓ นั้นตรงกันกับลวดลูกแก้ว<br />

ที่คอปืน คนที่เปนเลข ๔ เลข ๕ ตรงหูพะเนียง คนที่เปนเลข ๑ เลข ๖ ตรง<br />

ฉะนวน ครั้นคำาบอกว่า “เตกโปษอันดะระมะโลน” (Take post under …..)<br />

คนที่เปนเลข ๔ เลข ๑ หันขวาครึ่งหนึ่ง คนที่เปนเลข ๕ เลข ๖ หันซ้าย<br />

ครึ่งหนึ่ง เมื่อคำาบอกว่า “กวิกมาจ์” (Quick march) ทหารทั้ง ๖ คนก็เดิน<br />

ไปหาหลังใบเสมา หยุดยืนเสมอกันหน้าไปข้างใบเสมา คนที่ยืนนั้นเป็นแถว<br />

เดียวกันเข้า คนที่เปนเลข ๒ เลข ๓ ยืนเคียงกับปากบอกปืน คนที่เปนเลข ๔<br />

เลข ๕ ถัดนั้นออกไป และ ๕ คนที่เปนเลขอื่นต่อไปอิกทั้งปวงนั้นก็ยืนถัด ๆ<br />

กันไป ครั้นแล้วคำาบอกว่า “อินณุวะระเบาเฟ” (Inward about face) คน<br />

พวกที่อยู่ข้างขวาปืนต้องหันกลับหน้าเข้ามาทางซ้าย คนพวกที่อยู่ข้างซ้ายปืน<br />

นั้น หันกลับหน้าเข้ามาทางขวา ทหารทั้งปวงก็ยืนหันหน้าเข้ามาข้างในป้อม<br />

หลังอยู่ข้างใบเสมา ที่ว่านี้เปนธรรมเนียมรบในป้อมที่มีใบเสมา ถ้ารบในที่ ๆ<br />

ไม่มีใบเสมานั้น เขายืนทำาการเสียนอกแท่นปืน แล้วยืนเปนฟันปลามิให้ตรง


กันเลย เพราะว่ากลัวกระสุนปืนข้าศึกยิงมาจะถูกร้อยกันไปหลายคน จึงต้อง<br />

ยืนอย่างนี้เปนธรรมเนียม<br />

คราวนี้ว่าด้วยกำาลังคน ที่จะยิงปืนกระสุนใหญ่น้อยต่าง ๆ กันพอเข้าใจ<br />

ปืนกระสุนหนัก ๒๔ ปอนด์ คิดเปนไทยกระสุน ๗ นิ้ว ๖ คน ๓ ใส่ปัศตัน<br />

เดินปืนออก คัดสูงคัดต่ำา ๕ เดินปืนออก คัดซ้ายคัดขวาจุด ๖ วิ่งปัศตันมาส่ง<br />

ให้ ๓ ส่งลูกหมอนด้วย ๒ ชักเฝือและประจุเดินปืนออก คัดสูงคัดต่ำา ๔ ปิด<br />

ฉะนวนเดินปืนออก คัดซ้ายคัดขวาใส่ดินฉะนวน ๑ ระวังหันปืนให้ตรงทางที่<br />

จะยิง ถือไม้คัดด้วยเลงปืนเปนคนบังคับด้วย<br />

ปืนกระสุนหนัก ๑๘ ปอนด์ คิดเปนไทยกระสุน ๖ นิ้วครึ่ง ๕ คน ๓ ใส่<br />

ปัศตันเดินปืนออก คัดสูงคัดต่ำา ๕ วิ่งปัศตันมาส่งให้ ๓ ส่งลูกส่งหมอนด้วย<br />

เดินปืนออกคัดซ้ายคัดขวาจุดด้วย ๒ ชักเฝือและประจุดินปืนออกคัดสูงคัดต่ำา<br />

๔ ปิดขบวนเดินปืนออก คัดซ้ายคัดขวาใส่ดินฉะนวน ๑ ระวังหันปืนให้ตรงทาง<br />

ที่จะยิง ถือไม้คัดด้วยเลงปืนเปนคนบังคับด้วย<br />

ปืนกระสุนหนัก ๑๒ ปอนด์ก็ดี ๙ ปอนด์ก็ดี คิดเปนไทยกระสุน ๕ นิ้วครึ่ง<br />

๕ นิ้ว ๔ คน ๓ ใส่ปัศตันเดินปืนออก คัดสูงคัดต่ำาคัดซ้ายคัดขวา ๔ วิ่งปัศตัน<br />

มาส่งให้คนเลข ๓ ส่งลูกส่งหมอนด้วยเดินปืนออกจุดด้วย ๒ ชักเฝือและประจุ<br />

เดินปืนออก คัดสูงคัดต่ำาคัดซ้ายคัดขวา ๑ ปิดฉะนวนใส่ดินฉะนวนเดินปืนออก<br />

เลงปืนเปนคนบังคับด้วย<br />

คนที่เหลือสำารับออกจากปืน ต้องเอาไปใช้ที่ตึกดินและที่ไว้ดินไว้ปัศตัน<br />

บ้าง เพราะสำาหรับจะได้กรอกดินเข้าปัศตัน เมื่อไรปืนนั้นจะใช้ยิงกระสุนแตก<br />

ก็ดี ฤากระสุนอย่างอื่นที่มิใช่กระสุนโดดนั้นก็ดี คนเหล่านี้สำาหรับที่จะได้ใช้<br />

จัดแจงทำากระสุนต่าง ๆ ลางทีต้องตัดหลอดตีหลอดแต่งฉะนวนเข้ากระสุน<br />

แตกแล้ว ใครเปนคนวิ่งส่งปัศตันต้องวิ่งส่งกระสุนแตกและกระสุนต่าง ๆ ทั้ง<br />

ปวงนั้นด้วย และคนที่เปนเลข ๓ สำาหรับใส่ปัศตันเข้าในปืนเช่นที่ว่ามาแต่หลัง<br />

39


40<br />

ต้องเป็นคนเปิดฝาหลอดฉะนวนกระสุนแตกด้วย<br />

อนึ่งปืนใหญ่นี้เมื่อไรหัดคนซ้อมคนเลิกแล้ว ธรรมเนียมเขาต้องหมุนลิ่ม<br />

ท้ายให้สูง ไว้ปากบอกให้คว่ำาลงจนท้องปืนถึงบังหน้าทุก ๆ บอกมิได้เว้นเลย<br />

เปนธรรมเนียมอย่างนี้ทีเดียวทุกแห่งตามท่านบังคับไว้กับคนที่จะทำางานยิงปืน<br />

ใช้ปืนอย่าง ๖ คนนี้ ท่านว่าไว้พอเปนสังเขปพึงให้รู้ไม่สู้มากนัก คนทั้งปวงที่จะ<br />

หัดยิงปืนใหญ่นั้นจงสังเกตดูให้เลอียดเถิดจึงจะเข้าใจ<br />

คราวนี้จะว่าด้วยเครื่องสำาหรับที่จะใช้ ในการปืนเปรียมใหญ่และบอกที่<br />

วางที่ไว้เมื่อเวลาจะใช้รบ ตามอย่างธรรมเนียมทหารใช้สืบ ๆ มาแต่ก่อน<br />

ไม้ยัดข้างปลายมีภู่อัน ๑ ควงปากตะขาบอัน ๑ ของสองสิ่งนี้พิงไว้กับ<br />

ใบเสมาข้างขวาปืนนอกคนที่เปนเลข ๒ ไม้ยัดพิงเอาภู่ขึ้นข้างควงปากตะขาบ<br />

นั้นพิงเอาควงขึ้นข้าง<br />

ไม้คัดปืนบอกหนึ่ง ๕ อัน วางไว้ข้างปืนข้างละ ๒ อันให้ชิดกับริมแท่นปืน<br />

แต่ว่าวางอย่าให้ก่ายกันทับกัน ต้นไม้คัดปืนอยู่ข้างใบเสมา และต้นไม้คัดปืน<br />

คู่หน้านั้น วางไว้ห่างใบเสมาประมาณ ๒ ฟิต คิดเปนไทยศอก ๑ กับ ๕ นิ้ว<br />

ต้นไม้คัดปืนคู่หลังนั้นวางเหลื่อมกันอยู่เพียงกลางไม้อันน่า และไม้คัดปืนอิก<br />

อัน ๑ ให้วางข้างซ้ายแท่นปืนกลางไม้ตรงกลางสูญสายแท่นปืน แต่วางให้ชิด<br />

กับเหลี่ยมแท่นข้างนอก ปลายไม้ข้างเล็กนั้นอยู่ขวา และไม้ ๕ อันนี้วางคว่ำา<br />

เอาปาดขึ้นข้างบนทุกอัน อย่าเอาข้างปาดลงล่าง<br />

คันชีพใส่ฉะนวนปืนใบ ๑ สนับหนังใส่นิ้วมืออัน ๑ และคันชีพนั้นมีสาย<br />

ตะพาย คนที่เปนเลข ๔ นั้นให้ตะพายเอาคันชีพไว้ข้างขวา ระวังฝาคันชีพปิด<br />

ให้จงดีด้วย สนับหนังที่ใส่นิ้วมือปิดฉะนวนให้ใส่หัวแม่มือข้างซ้าย ด้วยมือซ้าย<br />

เป็นมือปิดฉะนวน<br />

เขนงใส่ดินฉะนวนใบ ๑ เหล็กแทงฉะนวนด้วยอัน ๑ และเขนงใส่ดิน<br />

ฉะนวนนี้แขวนไว้กับตะปูที่ตอกอยู่กับใบเสมาข้างหลังคนที่เปนเลข ๔ ลางที


เขาก็วางกับดินบ้างถ้าแผ่นดินนั้นแห้งดี<br />

นกปืนกับสายชักนกสำารับหนึ่งอยู่กับคนที่เปนเลข ๔ ต้องสำาหรับใส่<br />

สำาหรับถอดนกปืน<br />

ไม้คาบชุดอัน ๑ ไม้คาบดอกเทียนอัน ๑ เครื่องมือสำาหรับตัดดอกเทียน<br />

อัน ๑ ถ้าแม้นว่าปืนใหญ่นั้นใช้นกแล้วเครื่องเหล่านี้หาต้องการไม่<br />

ถังน้ำาใบ ๑ เปนพนักงานของคนเลข ๕ ตั้งไว้ข้างหลังคนเลข ๕ ให้ชิด<br />

ใบเสมาทีเดียว ถ้ารบในระดูฝนของเหล่านี้ต้องเอาไว้ที่อื่นบ้าง แต่ทว่าต้องเอา<br />

ไว้ที่จะหยิบใช้ได้คล่องทันท่วงที ให้จัดแจงตามระดูกาลที่ควรเถิด<br />

กลักทำาด้วยไม้มีฝาปิดใบ ๑ ถ้าไม่ใช้อย่างนั้น เขาใช้คันชีพหนังมีสาย<br />

ตะพายใบ ๑ ของสิ่งนี้เปนพนักงานของคนที่เปนเลข ๖ ที่เอาไว้นั้น เขามักเอา<br />

ไว้ที่ตึกดินที่รักษาดิน ลางทีก็เอาไว้ที่อื่นแต่ให้เรียกใช้ได้เร็วทันท่วงที<br />

กระสุนปืนนั้น ให้กองไว้ข้างซ้ายปืน แต่ให้ชิดน่าแท่นปืนทีเดียว หมอนปืน<br />

ถ้าต้องการให้เอาไว้ชิดกับกระสุนจะได้หยิบง่ายทันกัน<br />

ไม้ยุงปัดกับพลั่วเหล็กสิ่งละอันสองอัน จำาต้องมีทุกป้อม<br />

จอบกับคราดกับแครงตักน้ำา สิ่งละอันต้องมีด้วยเปนของต้องการใช้<br />

ประการ ๑ ปืนใหญ่เมื่ออยู่ในที่รบ แต่ที่รบนั้นไม่มีใบเสมาเหมือนป้อม<br />

และวิหลั่นข้างหน้าก็ไม่มี เครื่องใช้ในการปืนทั้งปวงนี้ต้องวางกับแผ่นดิน แต่<br />

วางให้ตรงที่เหมือนอย่างบอกมาแต่ก่อน วางให้ไกลปืนประมาณสัก ๒ ก้าว<br />

ซึ่งไม่ได้แขวนไม่ได้พิงนั้นเพราะไม่มีวิหลั่นและใบเสมา<br />

คนบังคับ, ใครเปนคนเลข ๑ ต้องเปนคนบอกบังคับเขา และที่ยืนของ<br />

ตัวนั้นหามีธรรมเนียมเปนกำาหนดแน่เหมือนคนที่เปนเลขอื่น ๆ ทั้งปวงไม่ แต่<br />

ว่าขี้มักยืนบังใบเสมาอยู่ข้างขวาปืนนั้นและมากกว่าที่อื่น แล้วต้องกำากับระวัง<br />

บอกพวกที่ทำาการทั้งปวงในปืนบอกของตัว ให้ถูกต้องตามธรรมเนียมมิให้<br />

คลาดเคลื่อนได้ แล้วก็เปนคนเล็งปืน ระวังคนคัดปืนเดินขึ้นเดินลงให้ตรงทาง<br />

41


42<br />

ที่จะยิง เมื่อไรจะจุดปืนต้องวิ่งไปข้างเหนือลม คอยดูกระสุนปืนของตัวที่ยิง<br />

ไปนั้น ว่าจะถูกที่หมายตามสังเกตฤาไม่ ฤาจะต้องแก้ไขประการใดบ้าง อย่าง<br />

ธรรมเนียมอย่างนี้สืบ ๆ มาก็ต้องเปนพนักงานของคนที่เปนเลข ๑ นั้นได้กระทำา<br />

ชักเฝือและประจุ, ถ้าแม้นว่าปืนเดินถอยหลังเข้ามาห่างช่องปืนได้ที่แล้ว<br />

ไม้ยัดจะใส่เข้าไปชักเฝือในลำากล้องปืนนั้นก็มิได้กีดขวางสิ่งไร ข้างน่าชักเฝือได้<br />

ถนัดแล้ว และคนที่เปนเลข ๒ ต้องเปนคนชักเฝือและประจุ ตามตำาราที่ว่ามา<br />

หลายอาจารย์แต่ก่อน และเมื่อจะจับไม้ยัดนั้นมือข้างริมหัวสาก ธรรมเนียม<br />

ต้องคว่ำาหลังมือขึ้นข้างบนอย่างเดียว และมือข้างดอกเลาต้องหงายเอาหลังมือ<br />

ลงข้างล่างอย่างเดียว และหัวเข่านั้นถ้าทับตัวไปอยู่ข้างไหนต้องงอหัวเข่าข้าง<br />

นั้น ถ้าทับตัวไปข้างซ้ายต้องงอเข่าซ้ายเหยียดเข่าขวา ถ้าทับตัวข้างขวาต้องงอ<br />

เข่าขวาเหยียดเข่าซ้าย คำาบอกว่า “โลด” คนที่เปนเลข ๒ นั้นหันตัวไปข้างซ้าย<br />

จับไม้ยัดด้วยมือขวาที่กลางไม้ และมือซ้ายนั้นจับที่ริมภู่ดอกเลา ห่างภู่ประมาณ<br />

ฟุตครึ่ง คิดเปนไทยห่างภู่ดอกเลาราวคืบ ๑๐ นิ้ว แล้วถือชูไม้ยัดขึ้นให้ตั้งตรง<br />

ก้านไม้ยัดนั้นให้ตรงหัวอกของตัวด้วยจึงจะงาม แล้วหันตัวมาได้ ๓ ส่วนจึงเดิน<br />

เข้าไปหาปืน วางตีนซ้ายตรงกันกับหน้าห่างจากปืนออกมาประมาณฟุตหนึ่ง<br />

คิดเปนไทยคืบ ๒ นิ้วกึ่งแล้วนอนไม้ยัดลง เลื่อนมือซ้ายออกไปจับข้างริมภู่ให้<br />

พร้อมกันในขณะเมื่อนอนไม้ลง แล้วทิ้งตีนขวาไปข้างขวาให้เต็มก้าว ๆ หนึ่ง<br />

แล้วทับตัวโย้ไปข้างใบเสมา ดอกเลาแนะเข้ากับปากบอกปืน แล้วเอาภู่ดอกเลา<br />

ใส่เข้าในลำากล้องปืน เลื่อนมือซ้ายมาติดกับมือขวา เสือกไม้ยัดเข้าไปจนมือ<br />

ของตัวถึงปากบอกปืน ทับตัวโย้มาข้างปืน แล้วเลื่อนขยับทั้งสองมือพร้อมกัน<br />

ไปข้างหัวสากทับตัวโย้ไปข้างใบเสมา แล้วก็เสือกไม้ยัดเข้าไปในลำากล้องปืน<br />

จนถึงก้นบึ้ง ทับตัวโย้มาข้างปืนกำามือขวาแต่ไม่ใช้หันไม้ยัด จนหลังมือมาถึง<br />

ข้างหน้าของตัว ในขณะพร้อมกันนั้นใช้มือซ้ายหันออกจากข้างตัว แล้วจึงจับ<br />

ไม้ยัดเข้าหันไปจากข้างตัวครึ่งรอบครึ่งรอบสองหนทับตัวมาข้างปืน กดดอกเลา<br />

เข้ากับก้นบึ้งปืน ในธรรมเนียมนั้นว่าจำาต้องใช้ชำาระก้นบึ้งปืนให้หมดจด อย่า


ให้มีก้นปัศตันที่ยิงแล้วนัดก่อน ฤาผงอื่นที่อยู่ในก้นบึ้งปืนนั้นติดอยู่ขณะเมื่อ<br />

กระทำาอย่างนี้นั้นต้องหมุนมือไปรอบไม้ยัด แล้วจับเอาไม้ยัดให้ดีย่อตัวลงงอ<br />

เข่าทั้งสองข้าง เมื่อไรหันภู่ชำาระปืนได้ที่แล้วจึงค่อย ๆ ยืดตัวและขาตึงขึ้นทั้ง<br />

สองข้าง แล้วชักภู่ออกมา เมื่อชักภู่ออกมานั้น หันภู่ออกจากข้างตัวด้วย แล้ว<br />

ใส่ภู่เข้าไปแล้วชักออกมาหลายหนชำาระลำากล้องให้หมดจด แล้วจึงชักภู่ออก<br />

มาอิก และเมื่อจะชักออกมานั้น ชักให้ยาวสองเท่าเมื่อเข้าไป ในขณะพร้อม<br />

กันนั้นเลื่อนมือขวามาจากมือซ้าย ในคำากล่าวว่า จับกลางไม้ยัดนั้นให้เที่ยง<br />

เหมือนตราชู เพราะอย่างนั้นเมื่อไรภู่ดอกเลาถึงปากบอก มือขวาของตัวจึงจะ<br />

อยู่ที่กลางไม้ เมื่อภู่ดอกเลาถึงปากบอกนั้นให้กระชากออกมาโดยแรงให้เร็ว<br />

เพื่อจะให้ผงในลำากล้องปืนนั้นออกมาด้วย แล้วเลื่อนมือซ้ายไปจับที่กลางย่าน<br />

หว่างมือขวา หว่างภู่ดอกเลานั้น แล้วให้เอาไม้ภู่เคาะเข้ากับปากบอกปืนข้างล่าง<br />

สองที ผงที่ติดภู่ออกมานั้นจึงจะหลุดออกจากภู่หมด เมื่อจะเคาะไม้นั้นให้หก<br />

ต้นไม้ขึ้นอย่าให้ภู่ถูกปากบอกปืน ยืดหัวเข่าสองข้างขึ้นให้ตรง เมื่อไรนายสั่งว่า<br />

“สีษแฟยะริง” ก็ให้ทำาอย่างนั้นเหมือนกันกับที่ว่ามานี้ เมื่อหกไม้ขึ้นเคาะสองที<br />

แล้ว นอนไม้ลงเสียให้ได้ระดับกับปืน เดินตีนขวาเข้าชิดกับตีนซ้ายยืนให้ตรงตัว<br />

ที่ว่าอย่างนี้เมื่อไรปืนถอยหลังออกไปถึงที่ จนไม้ยัดมิได้ติดวิหลั่นและใบเสมา<br />

ถ้าแม้นต้นไม้ยัดไปติดวิหลั่นและใบเสมาเข้า คนประจุนั้นต้องก้าวเดินไปข้าง<br />

ซ้ายสักหน่อยหนึ่ง แล้วกลับไม้ยัดเสีย มือขวาจับไม้ยัดไว้ให้แน่น ใช้แต่ข้อมือ<br />

กลับไม้ยัดทิ้งภู่ดอกเลาขึ้นข้างบนด้วยมือซ้าย แล้วจับเอาไม้ยัดที่ริมข้างสาก<br />

ครั้นเมื่อจับไม้ยัดแล้วก็แยกเท้าขวาออกจากเท้าซ้าย แล้วก็ยืนเหมือนชักเฝือ<br />

อยู่นั้น แล้วเอาสากแนะเข้าไว้กับปากปืนทำาอย่างภู่ดอกเลา<br />

ปัศตัน, ถุงปัศตันที่ใส่ดินใช้ประจุปืนใหญ่นั้น เขาทำาด้วยปัศตูบาง ๆ นั่น<br />

และมากกว่าที่อื่น แต่ลางทีเขาก็เอากระดาษทำ าตัวเอาปัศตูทำาก้นก็ใช้ได้ บางที<br />

ลางภาษาเขาทำาปัศตันกระดาษใช้ปืนใหญ่ก็มี แต่เมื่อยิงนั้นต้องเอาควงปาก<br />

ตะขาบเข้าชักทุกนัดจึงได้ อิกอย่างหนึ่งเขาไม่ใช้ปัศตันเลย เขาใช้พล้อ ๆ นั้น<br />

43


44<br />

มีด้ามยาวเท่ากับไม้ยัด ครั้นเมื่อจะยิงปืนนั้นเขาเอาดินใส่ลงในพล้อแล้วเอา<br />

พล้อนั้นเสือกเข้าไป เทดินลงในก้นบึ้งปืนก็มีบ้างต่าง ๆ กัน และที่เขาใช้ต่าง ๆ<br />

อย่างนี้ความก็แจ้งอยู่กับคนที่ได้หัดนั้นแล้ว คราวนี้จะว่าด้วยกระทุ้งปัศตันต่อไป<br />

กระทุ้งปัศตัน, คนที่เปนเลข ๓ นั้น ใส่ปัศตันเข้าในปากบอกปืนแล้ว<br />

คนที่เปนเลข ๒ เอาต้นสากที่ประจุนั้นใส่เข้าในปากบอกปืน แล้วรูดมือข้างซ้าย<br />

มาหามือข้างขวา เสือกไม้ยัดเดินปัศตันเข้าไป จนมือถึงปากบอกปืนแล้วเลื่อน<br />

มือขยับออกมาจับข้างใกล้ริมดอกเลา เดินปัศตันเข้าไปจนถึงก้นบึ้งปืน แล้ว<br />

กระทุ้งปัศตันเข้าให้แน่นด้วยกำาลังให้แรง ทิ้งตัวให้เร็วให้แรงไปข้างรางปืน<br />

แขนขวานั้นเหยียดให้ซื่อไปตรงหน้า หัวไหล่ตรงกับน่าปืน เพราะอย่างนั้นตัว<br />

จึงห่างกับปืนได้ และแขนซ้ายนั้นเหยียดให้ตรงเสมอหัวไหล่ตรงไปข้างซ้าย<br />

แบมือออกพลิกหลังมือขึ้นไว้ข้างบนสี่นิ้วให้ติดกันชี้ไปหาฉะนวนปืน แล้วก็<br />

กระชากสากออกมาด้วยมือขวา หย่อนมือให้สากเดินออกมาตามมือ ในบังคับ<br />

ไว้นั้นให้จับสากให้เที่ยงเหมือนตราชู มือซ้ายคอยจับข้างต้นสาก เมื่อไรสาก<br />

พ้นออกมาจากปากบอกปืน ในขณะนั้นมือขวาติดจะคอนอยู่ข้างต้นสากมาก<br />

กว่าข้างปลาย แล้วเอาต้นสากแนะเข้ากับปากบอกปืนให้ได้ระดับกับปืนเหมือน<br />

ทำามาแต่ก่อนนั้น แล้วโย้ตัวไปข้างใบเสมายืนคอยกระสุนอยู่<br />

กระทุ้งกระสุน, ปัศตันที่ใส่ดินนั้น ได้กระทุ้งเข้าไปในปืนก่อนจึงใส่กระสุน<br />

เข้าไป แล้วเอาหมอนทับนอกกระสุนเข้าอิก คิดเข้าเปนสองหนด้วยกัน คนที่<br />

เปนเลข ๒ และเลข ๓ กระทุ้งสองหน ถ้าหมอนนั้นสูง คนเลข ๒ ต้องกระทุ้ง<br />

ด้วยกำาลังแรงจงหนัก แล้วชักสากออกมา ท่าทางกระทำาเหมือนอย่างที่ว่ามา<br />

แต่หนหลังนั้น เมื่อชักสากออกมาแล้ว ยกปลายไม้ข้างมีภู่ดอกเลาขึ้นให้สูงพ้น<br />

ไหล่ช่องปืนต่ำาต้นไม้ลง เอาตีนขวาก้าวถอยหลังออกมาก้าวหนึ่ง แล้วเลื่อน<br />

เท้าซ้ายมาประจบเท้าขวา แล้วจึงเดินไปข้างขวา เปลี่ยนมือซ้ายขึ้นบนมือขวา<br />

ถือไม้ยัดตั้งขึ้นให้ตรง เดินเข้าไปหาใบเสมา วางไม้ยัดลงที่ดังเก่าแล้วหันมา<br />

ข้างขวา คนที่เปนเลข ๓ ก็ถอยออกมาให้พร้อมกับคนที่เปนเลข ๒ แต่คนที่


เปนเลข ๓ นั้นต้องถอยเท้าซ้ายออกไปข้างหลังก้าวหนึ่ง แล้วเลื่อนเท้าขวามา<br />

ประจบเท้าซ้ายเดินขึ้นไปที่บังใบเสมา แล้วหันหน้ากลับเข้ามา แต่ว่าหันทาง<br />

ขวาแล้วยืนคอยอยู่<br />

ควงปากตะขาบ, ถ้าเมื่อไรควงปากตะขาบจะต้องใช้คนที่เปนเลข ๒ จับ<br />

ควงขึ้นถือเดินเข้าไป ถ้าทางก็เหมือนอย่างเข้าชักเฝือ เมื่อเข้าไปถึงปืนแล้วเอา<br />

ควงใส่เข้าในปากปืน จับควงเสือกเข้าไปในก้นบึ้งปืนด้วยมือขวา เดินควงเข้าไป<br />

จนมือถึงปากบอกปืน และมือซ้ายนั้นไม่จับให้แน่น มือขวาเสือกด้ามควงให้<br />

เลื่อนเดินไปในมือซ้าย ตัวนั้นค่อย ๆ โย้ไปข้างรางปืนเอามือซ้ายจับด้ามควง<br />

แล้วก็เลื่อนมือมาข้างต้นสากทั้งสองมือ แต่ว่าเลื่อนทีละมือ กลับโย้ตัวไปข้าง<br />

ใบเสมา เดินควงเข้าไปให้ถึงก้นบึ้งปืน กดควงเข้ากับก้นบึ้งแล้วหันควงออก<br />

จากตัวครึ่งรอบครึ่งรอบสองหน เมื่อควงติดของซึ่งอยู่ในก้นบึ้งปืนออกมาแล้ว<br />

จึงค่อย ๆ ชักควงออกมาเบา ๆ แต่เมื่อชักนั้นให้หันออกจากข้างตัวแต่อย่าหนัก<br />

ถ้าหนักมือไปของที่ติดนั้นจะหลุดลงเสียในลำากล้องอย่างเก่า แล้วค่อย ๆ เลื่อน<br />

มือไปจับที่กลางไม้ ครั้นทีหลังจึงค่อยเลื่อนมือซ้ายออกจากมือขวา เพราะทำา<br />

อย่างนั้นมือของตัวสองมือ เมื่อถอดควงออกมาจึงจะได้อยู่ที่เก่าเหมือนเมื่อจะ<br />

ใส่ควงเข้าไป เมื่อควงออกจากปากปืนแล้ว ยืดเข่าขึ้นให้ตึงทั้งสองข้าง เอาด้าม<br />

ควงเคาะเข้ากับปากปืน กระทำาเหมือนอย่างไม้ยัดภู่ดอกเลาเช่นว่ามาแต่หลังนั้น<br />

เมื่อเอาควงเคาะเข้ากับปากปืนแล้ว ถ้าของที่ติดออกมากับควงมิได้หลุดจาก<br />

ควง ก็ต้องเอามือซ้ายหยิบออกเสีย มือขวาถือด้ามควงไว้ เดินขึ้นไปหาใบเสมา<br />

พิงควงเข้าไว้เหมือนอย่างพิงไม้ยัด ในตำาราว่าเมื่อจะยืนนั้นให้หันหน้าเข้ามา<br />

หันหลังไปข้างใบเสมา แล้วจับไม้ยัดขึ้นทำาต่อไป เหมือนอย่างเช่นที่ว่ามา<br />

แต่หลังนั้น ทีนี้จะว่าด้วยใส่ปัศตันต่อไป<br />

ใส่ปัศตัน, คนที่เปนเลข ๓ นั้น ธรรมเนียมต้องเป็นคนใส่ปัศตันเข้าใน<br />

ลำากล้องปืน ลางทีต้องวิ่งปัศตันเอง ลางทีก็คนที่เปนเลข ๖ วิ่งเอาปัศตันมาส่ง<br />

ให้เพราะว่าปืนนั้นไม่เท่ากัน ถ้าปืนโตใช้คนมากขึ้นไป<br />

45

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!