08.10.2021 Views

ผลการดำเนินงานของ กห. ปี 63

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ผลการดำำเนิินิงนิ

ของกระทรวงกลาโหม

ประจำำปี

๒๕๖๓


“กลาโหมเทิดราชา

รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง”


คำนำ

กระทรวงกลาโหม มีบทบาทและภารกิจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกำหนดให้

กระทรวงกลาโหมมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของ

รัฐ ความสงบเรียบร้อย สนับสนุนงานด้านการพัฒนาประเทศ ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติและช่วยเหลือ

ประชาชน สมดังกับปณิธานของกระทรวงกลาโหมที่ว่า “เทิดราชา รักษ์ราษฎร์ ชาติมั่นคง”

จากปณิธานดังกล่าว กระทรวงกลาโหม จึงได้ทุ่มเททั้งกำลังกายและใจในการปฏิบัติงานตามบทบาท

และหน้าที่ รวมถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการเทิดทูนและการพิทักษ์

สถาบันพระมหากษัตริย์ การปกป้องเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนและ

การพัฒนาประเทศ นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมได้มีส่วนสำคัญในการเข้าไปดูแลและช่วยแก้ไขปัญหาความ

เดือดร้อนต่างๆ ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะผู้้ที่่ได้รับผู้ลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติซึ่งมีแนวโน้มที่เกิดขึ้น

บ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ ้น รวมทั้งได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

ในการขับเคลื่อนแผู้นงาน/โครงการพัฒนาต่างๆ ที่สำคัญตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ

ของชาติอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการทำงานทั้งหมดของกระทรวงกลาโหมเพื่อให้พี่น้องประชาชนมีชีวิต

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความสุข อันส่งผู้ลให้ประเทศชาติเกิดความมั่นคง

หนังสือเล่มนี้มีเจตนาเพื่อสร้างการรับรู้แก่พี่น้องประชาชนได้รับทราบถึงการทุ่มเททำงานอย่างหนัก

ของกระทรวงกลาโหม เพื่อประเทศชาติ เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน

โดยมุ่งหวังนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

กระทรวงกลาโหม

“เพราะเรา คือ ทหารของพระราชาและประชาชน”


สารบัญ

เทิดราชา

สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทยและกิจการทหารไทย ๖

การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ๖

การจัดพิธีีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิิญาณของทหาร-ตำารวจ เน่องในโอกาสพระราชพิธีีบรมราชาภิิเษก

พุทธีศักราช ๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย ๗

การสนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำาริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๒

การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เน่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

วันที ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ๑๖

การจัดกิจกรรมน้อมสำน ึกในพระมหากรุณาธิิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิิเบศร

มหาภููมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๑๙

การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ พระบรมราชินีนาถ

พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๒๑

การพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ๒๓

ระบบเฝ้าระวังการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ในสื่อสังคมออนไลน์ ๒๔

รักษ์ราษฎร์

การบรรเทาสาธีารณภิัย ๒๖

การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุ “โนอึล (NOUL)” ๒๗

การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุระดับ ๒ (ดีเปรสชัน) ๒๙

การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภิัยในพื้นทีภิาคใต้ ๓๓

การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภิัยแล้ง ๓๗

การบรรเทาผลกระทบจากปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ๓๘

การพัฒนาคุณภิาพชีวิตประชาชน ๔๒

การพัฒนาโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเจริญอย่างยังย่น ๔๒


ชาติมั่นคง

การป้องกันประเทศ ๕๐

ด้านการป้องกันชายแดน ๕๑

การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภิาคใต้ ๕๕

ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภิายในประเทศ ๕๗

ด้านการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำาคัญของชาติ ๕๙

การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) ๕๙

การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๖๖

การส่งเสริมความร่วมมือกับมิตรประเทศและประเทศสมาชิกอาเซียน ๗๑

การฝึกร่วม/ผสมกับมิตรประเทศ ๗๘

การฝึก Cobra Gold ๗๘

การฝึกผสม Lightning Forge ๘๓

การฝึก COPE TIGER ๘๕

การสนับสนุนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภิาคตะวันออก ๘๗

การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหมในอนาคต ๙๐

ปัจฉิมบท ๙๔


เทิดราชา


6

สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทยและกิจการทหารไทย

ประวัติศาสตร์ชาติไทย เริ ่มต้นเป็นราชอาณาจักรและมีการจัดการปกครองด้วยอำนาจรัฐตั้งแต่

ปี พ.ศ.๑๗๙๒ เป็นต้นมา โดยสถาปนาเป็นราชอาณาจักรสุโขทัย หรือกรุงสุโขทัยที่มีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง หลังจากนั้นชาติไทยได้มีวิวัฒนาการที่รุ่งเรือง เป็นยุคสมัยต่างๆ สืบต่อ

กันมา กล่าวคือ ราชอาณาจักรสุโขทัย ราชอาณาจักรศรีอยุธยา ราชอาณาจักรธนบุรี และราชอาณาจักร

รัตนโกสินทร์ ตราบจนปัจจุบัน

องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์จอมทัพไทย นำกองทัพเพื ่อปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจาก

ภัยคุกคามกองทัพ และทรงดำเนินพระราชกรณียกิจทำนุบำรุง และสนับสนุนการพัฒนากิจการทหารของไทย

ให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ เพื่อก่อให้เกิดศักย์ทางสงครามในการปกป้องอธิปไตย

และเอกราชของประเทศเสมอมา จึงกล่าวได้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ และกิจการทหารของไทย คงอยู่เคียงคู่

กับประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่อดีตสืบเนื่องตลอดมา

สถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นสถาบันหลัก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ ด้วยพระมหา

กรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประเทศชาติ กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานต่างๆ จึงได้สนองพระราชดำริของ

พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์กับพร้อมที่จะถวายงานด้วยความมุ่งมั่นและจงรักภักดี ตลอดไป

การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

กระทรวงกลาโหมได้ริเริ่มจัดกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ และรณรงค์ให้สังคมไทย เกิดความรัก

ความสามัคคี ปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ สร้างจิตสำนึกในการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ และยึดมั่น

ในเจตนารมณ์อย่างมั่นคง แน่วแน่ในการสนองพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดังพระปฐมบรมราชโองการ ความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด

และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


7

การจัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร-ตำรวจ

เนื ่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย

โดยเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ตามมาตรา ๘ แห่ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กองทัพไทยจึงได้กำหนดจัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณอย่างยิ่งใหญ่

สมพระเกียรติ โดยได้ขอพระราชทานกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ

พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร-

ตำรวจเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย เมื่อวันเสาร์ที่๑๘ มกราคม

๒๕๖๓ ณ ศูนย์การทหารม้า จ.สระบุรี

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


8

นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัย

ที่ทหาร-ตำรวจทุกหมู่เหล่าได้ร่วมใน

พิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณ

โดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อแสดงออกถึง

ความจงรักภักดี ความสามัคคี ความ

สามารถ ความเข้มแข็ง และความ

พร้อมเพรียงของเหล่าทัพ และ

เป็นการถวายพระเกียรติแด่พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งดำรงพระราช

สถานะเป็น ‘องค์จอมทัพไทย’

สำหรับการจัดกำลังสวนสนามฯ

ในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๙ กองพัน

กำลังพลรวม ๖,๘๑๒ นาย ประกอบด้วย

กรมเดินเท้าสวนสนาม จำนวน ๗ กรม

(รวม ๒๘ กองพัน) กรมวิ่งสวนสนาม

จำนวน ๑ กรม (๔ กองพัน) กองพัน

ทหารม้ารักษาพระองค์ จำนวน ๑ กองพัน กรมยานยนต์ จำนวน ๒ กรม (รวม ๖ กองพัน) นอกจากนี้

ยังจัดให้มีการสวนสนามทางอากาศโดยหมู่บินเฮลิคอปเตอร์จาก ๔ เหล่าทัพ และการแสดงการบินของหมู่บิน

เครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศ โดยยุทโธปกรณ์ที่นำมาสวนสนามจากเหล่าทัพ มีดังนี้

กองทัพบก เช่น ยานเกราะล้อยาง Stryker BTR-3E1 รถถัง M60A3 รถถังแบบ OPLOT รถถังแบบ

VT-4 ปืนใหญ่ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร และขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร ปืนใหญ่ต่อสู ้อากาศยานขนาด ๓๕ มิลลิเมตร

รถบรรทุกจรวด และจรวดหลายลำกล้อง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


9

กองทัพเรือ เช่น รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAVP ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 จรวด TOW และ

ปืนใหญ่ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร

กองทัพอากาศ เช่น เครื่องบิน F-5, F-16, T-50 และ Gripen JAS-39 รวมถึง เฮลิคอปเตอร์ แบบ

EC 725

F-5

F-16

T-50

EC 725

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


10

การจัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร-ตำรวจในครั้งนี้ กองทัพไทยและสำนักงานตำรวจ

แห่งชาติ ได้เปล่งเสียงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระพักตร์อย่างพร้อมเพรียงทั่วประเทศ แสดงถึงความ

เป็นปึกแผ่นในการผนึกกำลังของทหาร-ตำรวจ เพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โดย พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้้บ ัญชาการทหารสูงสุด ได้กราบบังคมทูลถวายรายงานความ

เป็นมาของการจัดพิธีสวนสนาม และถวายสัตย์ปฏิญาณฯ กล่าวคำำถวายพระพรชัยมงคล ความว่า

“ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี

ผูู้้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมด้วยผูู้้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ ผูู้้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและทหาร-ตำรวจ

ทุกนาย ล้วนมีความปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของ

ทหาร-ตำรวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และวันกองทัพไทย เป็นการบำรุงขวัญ

และยังความปลื้มปีติแก่เหล่าทหาร-ตำรวจทั่วราชอาณาจักรเป็นล้นพ้น

วันกองทัพไทย ๑๘ มกราคมของทุกปี เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่สมเด็จพระนเรศวร

มหาราช กระทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือข้าศึก รักษาราชอาณาจักรให้ธำรงความเป็นชาติจนถึงปัจจุบัน และเนื่อง

ในโอกาสมหามงคลที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงรับบรมราชาภิเษก และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

กองทัพไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงน้อมใจจัดการสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์

อย่างพร้อมเพรียงทั่วประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดี พร้อมทั้งแสดงถึงแสนยานุภาพ

ความเป็นปึกแผู้่นของทหารทั้ง ๓ เหล่าทัพ และตำรวจ ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทและพระบารมีของ

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


11

นับแต่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบพระบรมราชสันตติวงศ์ ได้ทรงอุทิศ

เวลา กาลังพระวรกาย กาลังพระสติปัญญา และกาลังพระราชทรัพย์ บำำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อ

ความผู้าสุกร่มเย็นของอาณาประชาราษฎร์ด้วยพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงบ่มเพาะ

ให้พสกนิกรมีจิตอาสา จิตแห่งความดีงาม เสียสละเวลา แรงกาย แรงสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์โดยไม่

หวังผู้ลตอบแทน ส่งผู้ลให้คนในชาติสมัครสมานสามัคคีบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ยังความผู้าสุกร่มเย็นและมั่นคง

ภายใต้ร่มพระบารมีแห่งใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ผูู้้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

ปวงข้าพระพุทธเจ้า ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม และขอพระราชทานถวาย

สัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักปฏิบัติหน้าที่สนองพระมหากรุณาธิคุณ เจริญรอยตามเบื้อง

พระยุคลบาท ด้วยความจงรักภักดี ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ปกป้องราชอาณาจักรไทย และขอพระราชทานถวาย

พระพรชัยมงคล ขออัญเชิญอานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช สรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล

ตลอดจนพระบรมเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า โปรดอภิบาลรักษาใต้ฝ่าละอองธุลี

พระบาท และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ ให้ทรงพระเจริญ

ด้วยพิพิธพรชัย ทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากโรคาพาธและอุปัทวันตรายใดๆ ให้พระเกียรติคุณแผู้่ไพศาล

สถิตเป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าปวงข้าพระพุทธเจ้า และเหล่าพสกนิกรชาวไทย ตราบจิรัฐิติกาลเทอญ พระพุทธเจ้าข้า

ขอรับ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


12

การสนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานพระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทาน

“เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีความสมัครสมานสามัคคี มีความสุข และ

ประเทศชาติมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน ด้วยการเสียสละความสุขส่วนตน มุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญ

สาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน

เพื่อเป็นการสนองแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสานความรัก และความ

สามัคคีของประชาชนชาวไทย ตลอดจนเป็นการถ่ายทอดศักยภาพและรวมพลังของประชาชนด้วยการสร้าง

ความสามัคคี สร้างความเอื้อเฟื้อเผู้ื่อแผู้่และความเสียสละให้แก่ส่วนรวมด้วยการพัฒนาสังคม รวมทั้งบำเพ็ญ

ประโยชน์ โดยให้นายทหารราชองครักษ์ เป็นแกนนำให้กับกำลังพลจิตอาสาและประชาชนจิตอาสาในพื้นที่

ต่างๆ ทั่วประเทศ ทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมให้เป็นรูปธรรมมีความต่อเนื่องตามพระบรมราโชบาย

โดย สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


13

ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและสนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริของหน่วย และ

ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาฯ ทั้ง ๓ ประเภท ได้แก่ จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ และจิตอาสา

เฉพาะกิจ พร้อมเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมกิจกรรมจิตอาสาอย่าง

ต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น

การพัฒนาทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน สถานีรถไฟ แหล่งชุมชน สวนสาธารณะ

และทางสาธารณะ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


14

การพัฒนาทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ

การพัฒนาทำความสะอาดเก็บขยะและผักตบชวาในแม่น้ำและลำคลอง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


15

การบริการต่างๆ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การตัดผม และการซ่อม

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ส่งผลให้ประชาชนที่ร่วมกิจกรรม เกิดความรัก ความสามัคคีเป็นหมู่คณะ กระท ำความดี สร้างสรรค์

เพื่อสังคมส่วนรวม เป็นแบบอย่างให้ประชาชนในพื้นที่ ร่วมแรงร่วมใจ รักษาสถานที่สาธารณะดังกล่าว

เพื่อประโยชน์ของชุมชนต่อไป

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


16

การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื ่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓

รัฐบาลได้กำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ โดยการจัดกิจกรรมจิตอาสา “ชีวิตวิถีใหม่ใต้ร่มพระบารมี

เราสร้างไปด้วยกัน” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อ

พสกนิกรชาวไทย ระหว่างวันที่ ๒๘ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ รวม ๔ วัน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


17

กระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก

กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้ร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่

๑. การจัดกิจกรรมจิตอาสา “ชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี เราสร้างไปด้วยกัน” โดยดำเนินการ

เป็นภาพรวมของกระทรวงกลาโหม ภายใต้ชื่อ “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที...ชีวิตวิถีใหม่ใต้ร่มพระบารมี

เราสร้างไปด้วยกัน” ซึ่งจะแบ่งการดำเนินกิจกรรมเป็น ๒ ส่วน คือ

เต็นท์ ๑ นำเสนอโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช

มหาราช บรมนาถบพิตร ในรูปแบบโมเดลจำลอง ภายใต้ชื่อ “จากนภา ผู้่านภูผู้า สู่มหานที...ชีวิตวิถีใหม่

ใต้ร่มพระบารมี เราสร้างไปด้วยกัน”

เต็นท์ ๒ นำเสนอกิจกรรมการพัฒนา คู คลอง ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ

กองทัพไทย และเหล่าทัพ ในรูปแบบวีดิทัศน์แสดงผู้ลการดำเนินงาน และการนำเสนอถ่ายทอดความรู้

โดยวิทยากรประจำบูธของแต่ละหน่วย รวมทั้งการแจกสิ่งของมอบให้กับผูู้้เข้าร่วมกิจกรรม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


18

๒. การจัดอาหารและเครื่องดื่มบริการประชาชนที่มาร่วมงาน โดยใช้รถครัวสนามของกองบัญชาการ

กองทัพไทยและกองทัพบก ทำอาหารแจกจ่ายวันละ ๔ รอบ พร้อมจัดกำลังพลจิตอาสาจากทุกหน่วย

ร่วมแจกจ่ายอาหารและเครื่องดื่มให้แก่ผูู้้ร่วมงาน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


19

การจัดกิจกรรมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

รัฐบาลได้กำหนดจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ ระหว่างวันที่

๑ - ๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ ณ บริเวณตลอดแนวถนนสนามไชย ตั้งแต่บริเวณหน้าศาลาว่าการกลาโหม จนถึง

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) โดยแบ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมเป็น ๕ โซน ได้แก่ โซนที่ ๑

โซนพิเศษนิทรรศการ “ไตรโครงการ” และการออกร้านของโครงการกำลังใจในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)

ยามยาก สภากาชาดไทย สโมสรกีฬา BBG (BBG Club) โซนที่ ๒ นิทรรศการ “ความสุขที่พ่อให้” และ

“ความดีที่แบ่งปัน” โซนที่ ๓ การแสดง “รู้รักสามัคคี เพราะพระบริบาล” โซนที่ ๔ “กิจกรรมวัยใสปล่อยพลัง

ปังสุดใจ” และโซนที่ ๕ การออกร้าน “เลิศลิ้มชิมรส เหนือจรดใต้” และ “เดินชิมริมทาง”

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


20

กระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก

กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดนิทรรศการในโซน “ความสุขที่พ่อให้” และพื้นที่จัดการแสดง “รู้รักสามัคคี

เพราะพระบริบาล” โดยร่วมกันจัดนิทรรศการภายใต้ชื่อ “ใต้ร่มพระบารมี ทศราชา บรมมหาราชจักรีวงศ์”

บริเวณหน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ถนนสนามไชย ซึ่งได้นำเสนอเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของ

พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะขจัดความทุกข์ยาก

ของอาณาประชาราษฎร์ ตลอดระยะเวลา ๒๓๘ ปีที่่ผ่่านมา และแนวพระราชดาริของพระบาทสมเด็จพระบรม

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทย มีผูู้้เข้าร่วม

ชมนิทรรศการ ประมาณ ๒๘,๕๐๐ คน และเข้าร่วมชมการแสดงชุด “รู้รักสามัคคีเพราะพระบริบาล” ประมาณ

๔,๐๐๐ คน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


21

การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม

ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรง

บำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ด้วยความ

ตรากตรำพระวรกาย ในการสร้างความเจริญ

รุ่งเรืองแก่ประเทศและสังคมไทย อาทิ การส่งเสริม

อาชีพ และด้านการศึกษาในถิ่นทุรกันดาร

การสนับสนุนให้พสกนิกรมีรายได้เพิ่มจาก

อาชีพเสริม การจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

การฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมและการปลูกป่าขึ้นใหม่ ในโครงการป่ารักษ์น้ำ และการเผู้ยแพร่เอกลักษณ์และ

วัฒนธรรมไทย

รัฐบาลได้กำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จ

พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ ซึ่งจัดกิจกรรม

จิตอาสา “วันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ รักเอยรักลูก” ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓

ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


22

กระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก

กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้แสดงความจงรักภักดีโดยการจัดกิจกรรมจิตอาสาในภาพรวมของกระทรวง

กลาโหม เป็นการจัดนิทรรศการที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จ

พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งโครงการพระราชดำริ และการจัด

แสดงงานฝีมือจากศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง เช่น หัวโขน ผู้้าปัก และงานเซรามิก เป็นต้น โดยได้จัดกำลังพล

ร่วมเป็นวิทยากรจิตอาสาบรรยายให้ความรู้และเผู้ยแพร่พระเกียรติคุณที ่ทรงมีคุณูปการต่อปวงชนชาวไทย

และประเทศชาติ รวมทั้งมีการสาธิต/ฝึกอาชีพ และแจกของที่ระลึกให้กับกลุ่มเด็ก สตรี ผูู้้สูงอายุ และ

กลุ่มเปราะบาง ตลอดจนการบริการอาหารและเครื่องดื่มให้กับประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


23

การพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์

การถวายความปลอดภัย

ทหารทุกนายต่างมีจิตน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันหลัก

ของชาติ โดยตระหนักในหน้าที่สำคัญคือ การพิทักษ์รักษา และปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ถือเป็น

ภารกิจที่ทรงเกียรติและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้มีโอกาสสนองพระเดชพระคุณ ด้วยการจัดกำลัง

ถวายความปลอดภัยต่อองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยหน่วยทหารรักษาพระองค์ที่่ผ่่าน

การฝึกอบรม ทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเสด็จไปยังที่แห่งใด

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

กระทรวงกลาโหม มุ่งเน้นการปฏิบัติเพื่อถวายความปลอดภัยต่อองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรม

วงศานุวงศ์อย่างเต็มขีดความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ รวมทั้งในเรื่องการแจ้งเตือนทางด้านการข่าว การ

ตอบโต้และชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในทางที่ถูกต้องต่อสาธารณชน การประสานงานและแจ้งเตือน

ให้ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อดำเนินการให้ถูกต้อง และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ

กฎหมาย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


24

ระบบเฝ้าระวังการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ในสื ่อสังคมออนไลน์

การตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวัง และรวบรวมข้อมูลผูู้้กระทาผู้ิดที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน

พระมหากษัตริย์การล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ที่พบบ่อยคือ การนำเสนอข้อมูลผู้่านสื่อสังคมออนไลน์

ทั้งในลักษณะที่เสนอข้อมูลอันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หรือลักษณะอื่นที่เป็นการจาบจ้วงสถาบันพระมหา

กษัตริย์ ซึ่งทำให้สังคมเข้าใจไปในทางที่ผู้ิด หรือมีลักษณะหมิ่นหรือล่วงละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

กระทรวงกลาโหม จึงกำำหนดมาตรการป้องกันการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการปฏิบัติ

การเฝ้าตรวจพฤติกรรมของผูู้้ไม่หวังดีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการดำเนินการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจน

ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเฝ้าระวังติดตาม การเผู้ยแพร่ข้อมูล

และการกระจายข่าวสารอันบิดเบือน ที่เป็นการหมิ่นพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ และพระบรม

วงศานุวงศ์ ผู้่านสื่อสังคมออนไลน์จากกลุ่มผูู้้ไม่หวังดีต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความแตกแยก และทำลาย

ความสงบสุขในสังคมไทย อันจะส่งผู้ลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และความมั่นคงของชาติในภาพรวม

โดยดำเนินการดังนี้

๑) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ เพื่อการประสานการปฏิบัติ

ในการป้องกันการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มีความต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

๒) การจัดประชุมเครือข่ายเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่าง

หน่วยงานด้านความมั่นคง และการข่าวในการดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวัง และรวบรวมข้อมูล

ผูู้้กระทาผู้ิดที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งจะนำมาสู่การปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง

การร่วมตรวจสอบข้อมูลและแหล่งเผู้ยแพร่ข้อมูล และป้องกันปัญหาการแพร่กระจายข้อมูลอันคลาดเคลื่อน

จากความเป็นจริงที่จะสร้างความสับสนให้แก่สังคม

๓) การแลกเปลี่ยนด้านการข่าว เพื่อให้เกิดการแจ้งเตือนทางด้านการข่าว การตอบโต้ และชี้แจง

ข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในทางที่ถูกต้องต่อสาธารณชน รวมถึง การประสานงานด้านข้อมูลข่าวสาร

และการแจ้งเตือนให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อดำเนินการให้ถูกต้อง และเป็นไป

ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

โดยในปี ๒๕๖๓ ที่ผู้่านมา ได้มีการรวบรวมข้อมูลการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ฯ เพื่อดำเนิน

การปกป้องและยับยั้งการเผู้ยแพร่สารสนเทศเชิงลบ จาก ๒ ช่องทาง ทั้งโดยการค้นหาและเฝ้าระวัง และ

การรับแจ้งจากพี่น้องประชาชน พบว่า มีการล่วงละเมิดสถาบันฯ ผู้่านสื่อสังคมออนไลน์รวมมากกว่า

๔,๘๐๐ รายการ โดยได้ดำเนินการส่งข้อมูลดังกล่าวให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อดำเนินการ

ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


รักษ์ราษฎร์


26

การบรรเทาสาธารณภัย

ท.ทหาร พร้อมช่วยเหลือประชาชน

พายุ...น้ำท่วม...ภัยแล้ง...ภัยหนาว...แผ่นดินไหว...ไฟป่า...มลพิษ รวมทั้งสาธารณภัยต่างๆ

เราจะทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนมีความปลอดภัยและเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด?

กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม เพื่อขับเคลื่อน กำกับดูแล

ประสานงาน และอำนวยการ ให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในการ

ป้องกันและลดผู้ลกระทบจากภัยพิบัติ และให้ความช่วยเหลือแก่ผูู้้ประสบภัยอย่างทันท่วงที โดยได้แบ่งมอบ

พื้นที่รับผู้ิดชอบให้แก่หน่วยงานทหารในพื้นที่ซึ่งสนับสนุนงานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม

ประกอบด้วย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก

กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เพื่อรับผู้ิดชอบการปฏิบัติอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่ก่อนเกิดภัย

ขณะเกิดภัย และภายหลังเกิดภัย

โดยกระทรวงกลาโหมได้มีส่วนสำคัญในการ

สนับสนุนกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในภารกิจช่วยเหลือ

ผูู้้ประสบภัย และสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

ภัยพิบัติในเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


27

การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุ “โนอึล (NOUL)”

เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งเตือนพายุระดับ ๒ (ดีเปรสชัน) “โนอึล

(NOUL)” ในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ซึ่งพายุดังกล่าว ได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยและ

ทวีความรุนแรงเป็นพายุระดับ ๓ (โซนร้อน) “โนอึล” ในเวลาต่อมา จากนั้น ได้เคลื่อนที่ขึ้นฝั่งที่เมืองดานัง

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓ และยังคงเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก

ผู้่านทางตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนลาวเข้าสู่ประเทศไทยทาง จ.อำนาจเจริญ จ.มหาสารคาม และ

จ.ขอนแก่น ตามลำดับ โดยอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ ๒ ในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ และสลายตัวเป็นหย่อมความ

กดอากาศต่ำกำลังแรง ในพื้นที่ จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๓

จากอิทธิพลของพายุดังกล่าว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน

ประเทศไทยและอ่าวไทย ส่งผู้ลทําให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก วาตภัย และดินสไลด์ ใน

พื้นที่๑๘๖ ตำบล ๙๑ อำเภอ ใน ๒๖ จังหวัด ได้แก่ จ.ลำปาง จ.ตาก จ.เพชรบูรณ์ จ.เลย จ.อุดรธานี จ.ขอนแก่น

จ.ชัยภูมิจ.มุกดาหาร จ.อุบลราชธานีจ.ร้อยเอ็ด จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์จ.บุรีรัมย์จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา

จ.ลพบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.จันทบุรี จ.ตราด จ.ชุมพร จ.ระนอง จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ภูเก็ต จ.สตูล และ จ.ตรัง

โดยมีพี่น้องประชาชนได้รับผู้ลกระทบกว่า ๑,๙๐๐ ครัวเรือน มีผูู้้เสียชีวิต จำนวน ๑ ราย และผูู้้ได้รับบาดเจ็บ

จำนวน ๒ ราย

กระทรวงกลาโหม โดยศูนย์บรรเทา

สาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ได้ยกระดับ

การติดตามสถานการณ์สาธารณภัยพิบัติเป็น

ระดับ ๒ และได้ประสานงานกับหน่วยทหาร

ที่รับผู้ิดชอบในพื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับ

ผู้ลกระทบจากพายุดังกล่าว ตามแผู้น

บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม

๒๕๕๘ โดยขอให้ทุกหน่วยจัดเตรียมกำลัง

พล เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ เตรียมพร้อม

ให้การสนับสนุนและประสานการปฏิบัติโดย

ใกล้ชิดกับหน่วยงานพลเรือนที่เกี่ยวข้องใน

ทุกระดับ และสามารถให้การช่วยเหลือ

ประชาชนได้อย่างทันท่วงที

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


28

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยต่างๆ ภายใต้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ได้แก่ สำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้มอบหมาย

ให้หน่วยทหารในสังกัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดเตรียมและตรวจสภาพความพร้อมของกำลังพล เครื่องมือ

สื่อสาร และยุทโธปกรณ์ในการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือประชาชน โดยได้จัดเตรียมกำลังพลทั้งสิ้น

จำนวน ๓,๗๘๓ นาย รวมถึงเครื่องมือและยุทโธปกรณ์ เช่น รถยนต์บรรทุกขนาดต่างๆ จำนวน ๑,๐๖๘ คัน

รถครัวสนาม จำนวน ๑๔ คัน รถประปาสนามและผู้ลิตน้ำดื่ม จำนวน ๓๗ คัน รถบรรทุกน้ำ จำนวน ๘๙ คัน

รถสะพานขนาดต่างๆ จำนวน ๑๗ ชุด รถขุดตักและรถบรรทุกติดปั้นจั่น จำนวน ๔ คัน เรือ จำนวน ๓๗๖ ลำ

อากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์) จำนวน ๒ ลำ ชุดแพทย์เคลื่อนที่ จำนวน ๑๘ ชุด และชุดช่างทั่วไป จำนวน ๗ ชุด

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


29

ซึ่งหน่วยทหารในพื้นที่ได้ระดมทรัพยากรทางทหารที่มีอยู่ ตลอดจนทุ่มเททั้งแรงกายและใจในการ

ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ของพี ่น้องประชาชน โดยได้ดำเนินการตั้งแต่ก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และภายหลังสิ้นสุดภัย เช่น การ

อพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัยและขนย้ายสิ่งของเครื ่องใช้ขึ้นที ่สูง การกำจัดสิ่งกีดขวางทางระบายน ้ำ

การบรรจุกระสอบทรายทำพนังกั้นน้ำ การเปิดเส้นทางคมนาคมที่ถูกดินโคลนถล่มและขนย้ายสิ่งกีดขวาง

เส้นทางสัญจร การขนย้ายซากปรักหักพัง การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค และการอำนวยความสะดวก

ด้านการจราจร รวมถึงการทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายบางส่วน โดยมุ่งหวังให้

พี่น้องประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว

การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุระดับ ๒ (ดีเปรสชัน)

จากอิทธิพลพายุระดับ ๒ (ดีเปรสชัน) และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน

ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม

ฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์ และวาตภัย ตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ ในพื้นที่ ๑,๘๙๑ หมู่บ้าน ๔๕๒

ตำบล ๑๒๘ อำเภอ ๓๓ จังหวัด ได้แก่ จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิจ.ศรีสะเกษ จ.บุรีรัมย์จ.สุรินทร์

จ.อุทัยธานีจ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรีจ.ปทุมธานี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ปราจีนบุรีจ.สระแก้ว จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี

จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร จ.สุพรรณบุรี จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.นครปฐม จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ภูเก็ต จ.ตรัง จ.สตูล และ จ.สงขลา โดยมี

ประชาชนได้รับผู้ลกระทบกว่า ๗๓,๐๐๐ ครัวเรือน มีผูู้้เสียชีวิต จำนวน ๔ ราย และผูู้้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน

๓ ราย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


30

กระทรวงกลาโหม โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ได้ยกระดับการติดตามสถานการณ์

สาธารณภัยพิบัติเป็นระดับ ๒ และได้ประสานงานกับหน่วยทหารที่รับผู้ิดชอบในพื้นที ่เสี ่ยงต่อการได้รับ

ผู้ลกระทบจากพายุดังกล่าว ตามแผู้นบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ๒๕๕๘ ซึ่งในส่วนของศูนย์บรรเทา

สาธารณภัยกองบัญชาการกองทัพไทยและศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพ ได้นำศักยภาพและขีดความ

สามารถของหน่วยในการให้การสนับสนุนส่วนราชการและช่วยเหลือผูู้้ประสบภัยโดยทันทีอย่างเต็มกำลังความ

สามารถ เพื่อลดผู้ลกระทบจากภัยที่อาจเกิดขึ้นและบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด

โดยได้จัดกำลังพลหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ให้การช่วยเหลือประชาชน เฉลี่ยวันละกว่า ๔,๐๐๐ นาย รวมทั้ง

เครื่องมือและยุทโธปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์บรรทุกขนาดต่างๆ จำนวน ๓๘๕ คัน รถประปาสนาม จำนวน

๓ คัน รถครัวสนาม จำนวน ๑๐ คัน รถพยาบาล จำนวน ๑๗ คัน เรือ จำนวน ๗๕ ลำ สะพานเครื่องหนุนมั่น

จำนวน ๕ ชุด และเฮลิคอปเตอร์แบบ ๑๑ จำนวน ๑ ลำ เป็นต้น โดยได้มีการดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ สรุป

ได้ดังนี้

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในพื้นที่

๑๓ จังหวัด ได้แก่จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิจ.ชัยนาท จ.อุทัยธานีจ.เพชรบุรีจ.กาญจนบุรีจ.ราชบุรีจ.ปราจีนบุรี

จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.สตูล โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การกำจัดวัชพืชและ

สิ่งกีดขวางทางน้ำ การทำแนวคันดินกั้นน้ำ การขุดเปิดเส้นทางน้ำ การบรรจุกระสอบทรายทำพนังกั้นน้ำ

การเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางเส้นทางและซ่อมแซมถนนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกน้ำกัดเซาะ การจัดรถ

ประปาสนามผู้ลิตน้ำดื่มบรรจุขวด แจกจ่ายให้แก่ผูู้้ประสบภัย การอพยพประชาชน สัตว์เลี้ยง และขนย้าย

สิ่งของเครื่องใช้ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยาและเวชภัณฑ์ การสนับสนุน

รถครัวสนามผู้ลิตอาหารกล่องแจกจ่ายผูู้้ประสบภัย การอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผูู้้ประสบภัย

การติดตั ้งสะพานเครื่องหนุนมั่นเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางที่ถูกตัดขาดจากน้ำป่าไหลหลาก รวมถึงภายหลังน้ำลด

ยังได้ทำำความสะอาดอาคารสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ และบ้านเรือนของพี่น้องประชาชน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


31

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้

ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ ๔๓ จังหวัด

ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.พะเยา จ.แพร่

จ.อุตรดิตถ์ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก จ.สุโขทัย

จ.บุรีรัมย์ จ.นครราชสีมา จ.อุบลราชธานี จ.ชัยภูมิ

จ.ศรีสะเกษ จ.สุรินทร์จ.อุทัยธานีจ.สระบุรีจ.ชัยนาท

จ.สิงห์บุรี จ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม

จ.นครปฐม จ.ปทุมธานี จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร

จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.กระบี่ จ.พังงา จ.ภูเก็ต จ.ตรัง จ.สตูล และ จ.สงขลา โดยมีการปฏิบัติที่

สาคัญ เช่น การกาจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำำ การบรรจุกระสอบทรายทำำพนังกั้นน้ำำ การอพยพประชาชน

สัตว์เลี้ยง และขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคและน้าดื่มให้แก่ผูู้้

ประสบภัย การติดตั้งสะพานเครื่องหนุนมั่นเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางที่ถูกตัดขาด การอำำนวยความสะดวกด้านการ

จราจรและการเดินทางให้แก่ผูู้้ประสบภัย การจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพประชาชน และการสนับสนุน

รถครัวสนามผู้ลิตอาหารกล่องแจกจ่ายผูู้้ประสบภัย รวมถึงการช่วยเหลือเกษตรกรเก็บเกี่ยวผู้ลผู้ลิตที่ถูกน้ำ

ท่วมได้รับความเสียหาย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


32

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ได้ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ ๒ จังหวัด ได้แก่

จ.ระยอง และ จ.เพชรบุรี โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การบรรจุกระสอบทรายทำพนังกั้นน้ำ การขนย้าย

ซากปรักหักพังและสิ่งกีดขวางทางน้ำ และการสนับสนุนเรือผู้ลักดันน้ำ จำนวน ๒๐ ลำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี

โดยมีประสิทธิภาพการผู้ลักดันน้ำได้กว่า ๒ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ ๓ จังหวัด

จ.นครราชสีมา จ.นครปฐม และ จ.สุพรรณบุรี โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การบรรจุกระสอบทรายทำพนัง

กั้นน้ำ การอพยพประชาชน สัตว์เลี้ยง และขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ

การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มให้แก่ผูู้้ประสบภัย รวมถึงการจัดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน ๑ ลำ

เพื่อบินสำรวจและถ่ายภาพพื้นที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


33

การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื ้นที่ภาคใต้

จากอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ประกอบกับมีหย่อมความ

กดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมาก

บางพื้นที่ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ดินสไลด์และวาตภัย ตั้งแต่วันที่ ๒๕

พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ในพื้นที่ ๔,๒๒๐ หมู่บ้าน ๕๘๔ ตำบล ๑๐๑ อำเภอ ใน ๑๑ จังหวัด ได้แก่ จ.ชุมพร

จ.สุราษฎร์ธานีจ.กระบี่จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.สตูล จ.สงขลา จ.ปัตตานีจ.ยะลา และ จ.นราธิวาส

โดยมีประชาชนได้รับผู้ลกระทบกว่า ๖๙๑,๐๐๐ ครัวเรือน และมีผูู้้เสียชีวิต จำนวน ๓๐ ราย

กระทรวงกลาโหม โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ได้ยกระดับการติดตามสถานการณ์

สาธารณภัยพิบัติเป็นระดับ ๒ และได้ประสานงานกับหน่วยทหารที่รับผู้ิดชอบในพื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับ

ผู้ลกระทบจากมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าว ตามแผู้นบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ๒๕๕๘

ซึ่งในส่วนของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการกองทัพไทยและศูนย์บรรเทาสาธารณภัยเหล่าทัพ ได้นำ

ศักยภาพและขีดความสามารถของแต่ละหน่วย เพื่อให้การสนับสนุนส่วนราชการที่รับผู้ิดชอบเป็นไปอย่าง

มีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะสามารถลด

ผู้ลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นและบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยได้จัดกำลังพล ๒,๔๖๐

นาย หมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่ให้การช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งเครื่องมือและยุทโธปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์

บรรทุกขนาดต่างๆ จำนวน ๑๐๖ คัน รถขุดตักและรถบรรทุกติดปั้นจั่น จำนวน ๙ คัน รถโกยตัก จำนวน

๑ คัน รถยนต์บรรทุกเทท้าย จำนวน ๖ คัน รถครัวสนาม จำนวน ๓ คัน รถประปาสนาม จำนวน ๒ คัน

รถบรรทุกน้ำ จำนวน ๔ คัน สะพานเครื่องหนุนมั่น จำนวน ๑ ชุด เรือ จำนวน ๑๘ ลำ (เรือหลวง จำนวน

๒ ลำ เรือตรวจการณ์ จำนวน ๔ ลำ และเรืออื่นๆ จำนวน ๑๒ ลำ) เรือผู้ลักดันน้ำ จำนวน ๒๐ ลำ และ

อากาศยาน จำนวน ๓ ลำ โดยได้มีการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


34

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ให้การช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่๖ จังหวัด

ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง จ.สงขลา จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญ

เช่น การบรรจุกระสอบทรายทำแนวพนังกั้นน้ำ การอพยพประชาชน เคลื่อนย้ายผูู้้ป่วยติดเตียง สัตว์เลี้ยง และ

ขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ผูู้้ประสบภัย การจัดชุด

ค้นหากู้ภัยเพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่กู้ภัยจังหวัด การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร การเดินทางให้แก่

ประชาชน และการจัดรถประปาสนามผู้ลิตน้ำดื่มแจกจ่ายผูู้้ประสบภัย รวมถึงการกำจัดผู้ักตบชวาและ

สิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเปิดทางระบายน้ำ

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้ให้การช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ ๗ จังหวัด ได้แก่ จ.กระบี่

จ.นครศรีธรรมราช จ.ยะลา จ.พัทลุง จ.สุราษฎร์ธานี จ.ตรัง และ จ.สงขลา โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การกำจัด

ผู้ักตบชวาและสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเปิดทางระบายน้ำ การบรรจุกระสอบทรายทำแนวพนังกั้นน้ำ การเคลื่อน

ย้ายสิ่งกีดขวางเส้นทางคมนาคม การจัดรถประปาสนามผู้ลิตน้ำดื่มบรรจุขวดแจกจ่ายให้แก่ผูู้้ประสบภัย การ

จัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำอุปโภคในพื้นที่ที่น้ำประปาไม่สามารถใช้การได้ การอพยพประชาชน สัตว์เลี้ยง

และขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยาและเวชภัณฑ์

ให้แก่ผูู้้ประสบภัย การอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน การสนับสนุนรถครัวสนามประกอบ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


35

อาหารแจกจ่ายผูู้้ประสบภัย การจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่บริการประชาชน การแจกจ่ายถุงยังชีพ การทำความ

สะอาดอาคารบ้านเรือนของพี่น้องประชาชน และสถานที่ราชการ ตลอดจนพื้นที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ

รวมถึงการซ่อมและปรับปรุงเส้นทางที่ถูกน้ำกัดเซาะ

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ ได้ให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่จ.สงขลา โดยมีการ

ปฏิบัติที่สำคัญ เช่น การสนับสนุนเรือผู้ลักดันน้ำ จำนวน ๒๐ ลำ เพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังลงสู่ทะเลสาบสงขลา

ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผู้ลักดันน้ำเฉลี่ย ๑๐๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร/ลำ/วัน การอพยพประชาชนและ

ขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนเคลื่อนย้ายผูู้้ป่วยติดเตียงไปยังพื้นที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเครื่องอุปโภค

บริโภคให้แก่ผูู้้ประสบภัย การจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่เยี่ยมบ้านผูู้้ประสบภัย การกาจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำำ การบรรจุ

กระสอบทรายทำแนวพนังกั้นน้ำ การอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับ

ผู้ลกระทบ และการติดตั้งสะพานเครื่องหนุนมั่นเพื่อเชื่อมต่อเส้นทางที่ถูกตัดขาด รวมถึงการจัดหมู่เรือบรรเทา

สาธารณภัย ประกอบด้วย กำลังพล ๑๒๐ นาย เรือหลวงปัตตานี ๑ ลำ และเรือหลวงคลองใหญ่ จำนวน ๑ ลำ

เรือตรวจการณ์ จำนวน ๔ ลำ และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง จำนวน ๑ ลำ เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือ

ผูู้้ประสบภัยเพิ่มเติม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


36

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ

ได้ให้การช่วยเหลือพี ่น้องประชาชนในพื้นที่ ๓

จังหวัด ได้แก่ จ.สงขลา จ.สุราษฎร์ธานี และ

จ.นครศรีธรรมราช โดยมีการปฏิบัติที่สำคัญ เช่น

การอพยพประชาชน สัตว์เลี้ยง และขนย้ายสิ่งของ

เครื่องใช้ไปยังพื้นที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเครื่อง

อุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยาและเวชภัณฑ์ ให้แก่

ผูู้้ประสบภัย การสนับสนุนรถครัวสนามประกอบ

อาหารแจกจ่ายผูู้้ประสบภัย รวมถึงการแจกจ่าย

ถุงยังชีพ นมกล่อง และน้ำดื่ม ให้แก่ผูู้้ประสบภัย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


37

การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง

รัฐบาล มีความห่วงใยต่อปัญหาภัยแล้ง ซึ่งได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดย พลเอก ประยุทธ์

จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยผลกระทบต่อภัยแล้งที่จะ

เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างมาก จึงได้กำชับให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ เตรียมการ

และปฏิบัติตามแผนบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม โดยให้ประสานงานกับทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

เพื่อรับทราบแผนงานของแต่ละหน่วย ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และเกิดการประสานสอดคล้องกันในภาพรวมของประเทศ โดยให้นำศักยภาพ และขีดความสามารถ

ของหน่วยมาใช้ในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องใน ๒ ลักษณะ คือ

๑) การช่วยเหลือเชิงป้องกัน เช่น การขุดลอกคูคลอง การสร้างฝาย การขุดบ่อน้ำบาดาล การพัฒนาบ่อน้ำ

บาดาล การก่อสร้างถังเก็บน้ำ การก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปา การกำจัดผักตบชวา และการปลูกป่า และ

๒) การช่วยเหลือเฉพาะหน้า เช่น การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำและเรือบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายน้ำในพื้นที่ประสบภัย

การสนับสนุนเรือผลักดันน้ำเพื่อผลักดันน้ำทะเลที่หนุน และการสนับสนุนอากาศยานในการปฏิบัติการฝนหลวง

โดยในปี ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหม โดยกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ

และกองทัพอากาศ ได้ให้การสนับสนุนส่วนราชการที่รับผิดชอบและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยแล้ง

เช่น การแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในทุกภูมิภาคของประเทศ

จำนวนกว่า ๕๒,๓๙๐,๐๐๐ ลิตร การขุดเจาะบ่อบาดาล จำนวน ๗๐๖ บ่อ ประกอบด้วย โครงการที่ได้รับการ

สนับสนุนงบกลาง จากรัฐบาล จำนวน ๓๘๓ โครงการ และโครงการที่ใช้งบประมาณประจำปีของกองบัญชาการ

กองทัพไทย จำนวน ๓๒๓ โครงการ รวมถึงการจัดอากาศยานจากกองทัพบกและกองทัพอากาศเพื่อสนับสนุน

การปฏิบัติการฝนหลวง รวมทั้งสิ้น ๖๗๗ เที่ยวบิน (๘๕๙.๖ ชั่วโมงบิน) ทำให้ในห้วงฝนทิ้งช่วงเดือนกรกฎาคม

มีฝนตกในพื้นที่เป้าหมายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.อุดรธานี จ.กาฬสินธุ์

จ.บุรีรัมย์ และ จ.นครราชสีมา รวมทั้งในภาคใต้ ได้แก่ จ.กระบี่ และ จ.สุราษฎร์ธานี

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


38

ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมยังได้ให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในด้านอื่นๆ อีก เช่น การใช้

สถานีวิทยุในเครือข่ายของกระทรวงกลาโหม และสถานีวิทยุสาธารณะในเครือข่ายความมั่นคง ในการสร้าง

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งให้กับพี่น้องประชาชน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ โรคที่อาจ

เกิดขึ้นจากภัยแล้ง และการป้องกันไฟป่า รวมทั้งจัดกำลังพลลงพื้นที่รณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันใช้น้ำ

อย่างประหยัดและเห็นคุณค่า ทำความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และเป็นวิทยากรแนะนำ

แก่เกษตรกรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่

การบรรเทาผลกระทบจากปั ญหาไฟป่ า หมอกควัน และฝุ ่ นละออง

ส่วนใหญ่ไฟป่ามักจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในห้วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

ของประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศและหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัย

ของพี่น้องประชาชน รวมทั้งยังกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในภาพรวมของประเทศ นอกจากนี้

ยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว และเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลของ

ระบบนิเวศอีกด้วย

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เก็บข้อมูลสถิติการเกิดไฟป่าในประเทศไทยระหว่าง

ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒ พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์แทบทั้งสิ้น เช่น การเผาเพื่อเก็บของป่า

คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๙๐ ของสาเหตุการเกิดไฟป่าทั้งหมด ในขณะที่สถานการณ์ไฟป่าในปี ๒๕๖๒ มีพื้นที่ป่า

ถูกไฟไหม้ จำนวนกว่า ๑๕๑,๐๐๐ ไร่ ซึ่งในปี ๒๕๖๓ มีแนวโน้มความรุนแรงไม่น้อยกว่าที่ผ่านมา โดยศูนย์

ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี ่ยของประเทศไทยจะสูงกว่าค่าปกติ และมีน้ำฝน

ต่ำกว่าค่าปกติ ต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี ๒๕๖๓

อย่างไรก็ตาม ควันไฟจากไฟป่า ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองเท่านั้น

หากแต่ยังเกิดจากควันของการเผาในที่โล่ง การเผาเศษวัชพืชจากภาคเกษตรกรรม ฝุ่นละอองจากยานยนต์

และเครื่องจักรจากภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งหมอกควันไฟป่าข้ามพรมแดนจากประเทศข้างเคียง ดังนั้นความ

พยายามในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จึงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและ

ภาคประชาชน เพื่อปกป้องผืนป่า และทรัพยากรธรรมชาติให้คงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ ตลอดจน

สุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชน

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาไฟป่า ฝุ่นละออง และหมอกควันในภาคเหนืออย่างเป็น

รูปธรรมและยั่งยืน โดย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายความมั่นคง) ได้มอบ

นโยบายเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ไฟป่า ปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ

อนามัยของประชาชน และให้ทุ่มเทสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อหยุดการเผา และควบคุมไม่ให้ปริมาณ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


39

ฝุ่นละอองสูงเกินค่ามาตรฐานตลอดปี ๒๕๖๓ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมดำเนินการลดจุดความร้อน (Hotspot) รวมทั้งระดมสรรพกำลังทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือ

เพื่อสนับสนุนการลาดตระเวนเฝ้าระวังและดับไฟป่า โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบในการอำนวยการ

สั่งการ (Single Command) และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามสถานการณ์และบูรณาการสั่งการป้องกัน

และควบคุมการเผาในจังหวัดอย่างเคร่งครัด หากพบค่าฝุ่นละอองสูงเกินมาตรฐานให้ประกาศห้ามเผาทันที

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมสนับสนุนการลาดตระเวนและดับไฟทั้งภาคพื้นดินและ

ทางอากาศอย่างเต็มที่ ตลอดจนหารือในกรอบความร่วมมือของคณะกรรมการชายแดนเพื่อให้ความ

ร่วมมือ และกำชับให้ควบคุมการเผาชายแดนอย่างเคร่งครัด

กระทรวงกลาโหม ในฐานะหน่วยสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามแผนการป้องกัน

และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษ

ด้านฝุ่นละออง” และแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ดังนั้น กองทัพบกจึงได้

จัดกำลังพล เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ ลาดตระเวนค้นหาจุดเสี่ยงเกิดไฟป่า และจัดทำแนวกันไฟ พร้อมทั้ง

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการป้องกันไฟป่า ตลอดจนดับไฟป่า โดยในส่วนของกองทัพอากาศได้จัดกำลังพล

และเครื่องบินไร้คนขับ จำนวน ๑ ระบบ เพื่อสนับสนุนการลาดตระเวนทางอากาศและแจ้งพิกัดที่เกิดไฟป่า

ให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งเตรียมพร้อมให้การสนับสนุนเครื่องบินแบบ C-130 จำนวน ๑ เครื่อง และ

เครื่องบินแบบ BT-67 จำนวน ๒ เครื่อง เมื่อได้รับการร้องขอ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการภายใต้ศูนย์อำนวยการ

ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันระดับภาค ที่เป็นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การ

แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ ๙ จังหวัดภาคเหนือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ เนื่องจากสภาพทางอุตุนิยมวิทยาและความแห้งแล้งในปี ๒๕๖๓ ทำให้เกิดไฟป่าในพื้นที่

จังหวัดอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง

เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ได้เกิดไฟป่า

ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย กระทรวง

กลาโหม โดยกองทัพบกได้จัดกำลังพลและ

ยุทโธปกรณ์ รวมถึงสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ จำนวน

๑ ลำ เพื่อลำเลียงสิ่งอุปกรณ์และเครื่องมือหนักของ

ส่วนราชการที่รับผิดชอบในพื้นที่ โดยในส่วนของ

กองทัพอากาศได้สนับสนุนเครื่องบินแบบ BT-67 ำนวน จ

๒ เครื่อง เข้าปฏิบัติการดับไฟป่าร่วมกับหน่วยงานที่

รับผิดชอบ จนสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และ

ลดความสูญเสียของพื้นที่ป่าไม้ไว้ได้ จึงทำให้พื้นที่

ป่าไม้ถูกไฟไหม้ไปเพียง ๓,๔๐๐ ไร่

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


40

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ยังได้เกิดไฟป่าในพื้นที่ จ.สระบุรี และได้ลุกลามไปยังพื้นที่

จ.นครนายก กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพบกได้จัดกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และเฮลิคอปเตอร์ จำนวน ๓ ลำ

ในขณะที่กองทัพอากาศได้สนับสนุน เครื่องบินแบบ C-130 จำนวน ๑ เครื่อง เครื่องบินแบบ BT-67 จำนวน

๑ เครื่อง และเครื่องบินไร้คนขับ จำนวน ๑ ระบบ เข้าร่วมดับไฟป่ากับส่วนราชการที่รับผิดชอบในพื้นที่

จนสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

นอกจากนี้ยังได้เกิดไฟป่าในพื้นที่เทือกเขามดแดง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่

๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบกได้จัดกำลังพล ยุทโธปกรณ์ และเฮลิคอปเตอร์ จำนวน

๓ ลำ ในขณะที่กองทัพอากาศได้สนับสนุน เครื่องบินแบบ C-130 จำนวน ๑ เครื่อง เครื่องบินแบบ BT-67

จำนวน ๑ เครื่อง และเครื่องบินไร้คนขับ จำนวน ๑ ระบบ เข้าร่วมดับไฟป่ากับส่วนราชการที่รับผิดชอบ

ในพื้นที่จนสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และทำให้มีพื้นที่ป่าได้รับความเสียหายประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่

ทั้งนี้ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนที่เกิดจากไฟป่าในประเทศข้างเคียงนั้น

กระทรวงกลาโหมได้มีการประสานงานและขอความร่วมมือผ่านกลไกความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ การประชุม

คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ครั้งที่ ๒๖ ณ นครหลวงเวียงจันทน์

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ได้รับมอบหมาย

จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) และ พลเอก จันสะหมอน

จันยาลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ เป็นประธานร่วม ได้มีการหารือความร่วมมือในการ

ป้องกันหมอกควันข้ามแดนในระหว่างการพบปะก่อนการประชุมคณะกรรมการฯ นอกจากนี้ ในด้านชายแดน

ไทย - เมียนมา ก็มีการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนในระดับท้องถิ่นอยู่เป็นประจำและต่อเนื่อง

เช่น การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย - เมียนมา โดยหน่วยทหารที่ปฏิบัติภารกิจภายใต้

กองกำลังป้องกันชายแดนและรับผิดชอบด่านชายแดน ไทย - เมียนมา ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยทหาร

เมียนมาในพื้นที่เป็นประจำทุกเดือน

สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนและลดผลกระทบจากปัญหามลพิษจากฝุ่นละออง โดยเฉพาะ

ฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน หรือ PM 2.5 นั้น รัฐบาลโดยท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหมได้แสดงความเป็นห่วงต่อผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น โดยได้สั่งการในที่ประชุม

สภากลาโหมให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ สนับสนุนทรัพยากรทางทหารในการแก้ไขปัญหา

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


41

ดังกล่าว ให้ยึดแนวทางการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษ

ด้านฝุ่นละออง” และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในช่วงสถานการณ์วิกฤต

รวมถึงมาตรการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนบูรณาการ

การปฏิบัติร่วมกับทุกภาคส่วน

ซึ่งในส่วนของกระทรวงกลาโหม โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้จัดกำลังพล เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ สนับสนุนการแก้ไข

ปัญหาฝุ่นละออง เช่น การตรวจควันพิษและควันดำของรถราชการ การรณรงค์ไม่ขับช่วยดับเครื่อง การควบคุม

และป้องกันฝุ่นบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง การฉีดน้ำทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ และการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อ

บรรเทาปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ นอกจากนี้ กองทัพเรือยังได้มีการพัฒนาและสร้างเครื่องบำบัด

ฝุ่น PM 2.5 โดยได้ติดตั้ง จำนวน ๒ เครื่อง ที่บริเวณลานจอดรถฝั่งด้านหน้านันทอุทยานสโมสร กองบัญชาการ

กองทัพเรือพื้นที่วังนันทอุทยาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนมาใช้บริการและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก

รวมถึงติดตั้งบริเวณรอบวังสระปทุม จำนวน ๔ เครื่อง และรอบวัดราชบพิธ จำนวน ๓ เครื่อง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


42

การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

การพัฒนาโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเจริญอย่างยั่งยืน

กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการปฏิรูปกองทัพและปรับบทบาทมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้อง

กับการเปลี ่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต ตลอดจน

ความท้าทายของความมั่นคงรูปแบบใหม่ จะเห็นว่าปัจจุบันกองทัพไม่ได้มีภาระหน้าที่แค่เพียงการป้องกัน

ประเทศจากภัยคุกคามทางทหารเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของชาติ

ไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาภัยพิบัติ การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนในด้านต่างๆ

ตามตัวอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ “ยามศึกเรารบ ยามสงบเราพัฒนา” ยังเป็นประโยคที่กองทัพยึดถือปฏิบัติมาตลอด

โดยปัจจุบันกองทัพได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน

ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

ที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงกลาโหม ได้มอบนโยบายให้หน่วยทหารในทุกพื้นที่ ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือพี่น้อง

ประชาชน ให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการส่งเสริมให้น้อมน ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จ

พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาจัดทำโครงการเพื่อถ่ายทอดแนวทาง

การดำเนินชีวิต และสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติตน อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่

๑. การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้ดำเนินการอย่าง

ต่อเนื่อง และปัจจุบันมีศูนย์การเรียนรู้ฯ ทั่วทุกภูมิภาคกว่า ๒,๖๐๐ ศูนย์ ซึ่งมุ่งหวังจะให้ศูนย์เรียนรู้ฯ นี้

เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ การทำเกษตรในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และนวัตกรรมที่เหมาะสม สอดคล้อง

กับการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะด้านการเกษตรเพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้สามารถ

นำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพเสริม เพื่อลดรายจ่ายหรือเพิ่มรายได้ในครัวเรือน และศึกษาการทำการ

เกษตรในรูปแบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


43

๒. การดำเนินการโครงการยกระดับการฝึกอาชีพให้แก่ผู้รับการสงเคราะห์เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจ

พิเศษและเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมุ่งเน้นฝึกอาชีพให้แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก

และทหารนอกประจำการ ให้เป็นแรงงานคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสาร

และสนทนาขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว

เพิ่มขึ้น โดยเปิดฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือในหลายหลักสูตร ประกอบด้วย ๑) การฝึกอาชีพ เช่น ช่างเสริมสวย

แบบมืออาชีพ ขับรถยนต์แบบมืออาชีพ และศิลปะการทำกาแฟแบบมืออาชีพ ๒) การฝึกอบรมและพัฒนา

ฝีมือแรงงานในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น วิชาไฟฟ้า วิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิชาพิมพ์ดีดและคอมพิวเตอร์ วิชาช่างโลหะ

วิชาช่างเครื่องยนต์และขับรถยนต์ และวิชาคหกรรม และ ๓) การฝึกหาความชำนาญในพื้นที่ส่วนภูมิภาค

เช่น วิชาไฟฟ้า วิชาคหกรรม วิชาอิเล็กทรอนิกส์ และวิชาช่างเครื่องยนต์และขับรถยนต์

๓. ยุทธศาสตร์ โคเนื้อ กระทรวงกลาโหม โดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย

ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ “ยุทธศาสตร์ โคเนื้อ” ก่อเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน

อย่างเป็นรูปธรรม โดยริเริ่มโครงการนำร่องเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและอาชญากรรม โดยเฉพาะกลุ่ม

เกษตรกร จากที่เคยเลี้ยงโคพันธุ์พื้นเมืองเพียงไม่กี่ตัว ปล่อยให้หากินเองตามท้องนา ขายได้กำไรแค่หลักหมื่น

เป็นรายได้เสริมจากการทำนา หรือกรีดยางพารา เมื่อผลผลิตด้านการเกษตร หรือยางพารา ราคาตกต่ำ รายได้

แทบไม่พอกิน หลายคนว่างงาน บ้างก็หันไปเสพยาเสพติด และมีจำนวนไม่น้อยถูกชักชวนไปสู่การก่อเหตุ

รุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


44

โดยได้ทำการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ การจัดหน่วยเคลื่อนที่ (ชุดผสมเทียมโค)

ให้บริการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อโคคุณภาพดี การอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการผสมเทียมโคเนื้อ เพื่อให้เกษตรกร

มีความรู้ ความเข้าใจ ในการสร้างโคเนื้อคุณภาพดี ราคาสูง และสามารถนำไปปฏิบัติเองได้ ซึ่งผลจาก

การดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รวมถึงผู้หลงผิดได้เห็นโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตตนเองและครอบครัวต้องการกลับตัวกลับใจ

กลับบ้านมาอยู่กับครอบครัว ร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนา ชุมชน โดยลูกหลานก็สามารถนำความรู้ที่ได้รับ

ไปใช้ประกอบอาชีพได้ในอนาคต

นอกจากการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฟาร์มแบบครบวงจรแล้ว ยังได้ส่งเสริมให้ชาวบ้าน

หันมาปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง ๑ เพื่อเป็นอาหารให้แก่โค ช่วยลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่งด้วย อีกทั้ง

ในปี ๒๕๖๓ ยังได้ใช้สถานีผสมเทียม จำนวน ๗๐ สถานีทั่วประเทศ ช่วยเหลือเกษตรกรในการผสมเทียมโคกว่า

๒๑,๖๐๐ ครั้ง ได้ลูกโคกว่า ๑๒,๙๖๐ ตัว โดยมุ่งหวังว่า รายได้ที่มั่นคงทางปศุสัตว์ จะช่วยทำให้ชีวิต

ความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรดีขึ้น ลดปัญหาการว่างงานและอาชญากรรม ช่วยทำให้เหตุความรุนแรง

ในพื้นที่ด้านความมั่นคง และปัญหาในถิ่นทุรกันดารลดลงหรือหมดไปในอนาคต

๔. โครงการทหารพันธุ์ดี กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบกได้ดำเนิน “โครงการทหารพันธุ์ดี”

มาอย่างต่อเนื่องกว่า ๔ ปี ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่หน่วยทหารทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น

๑๐๖ หน่วย ในพื้นที่ ๓๑ จังหวัด โดยกองทัพบกได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์

เพื่อการบริโภคให้กับกำลังพลและครอบครัว ตลอดจนพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบค่ายทหารอีกด้วย

ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ด้วยการนำกำลังพลและครอบครัว รวมถึงพลทหารกองประจำการที่มีความสนใจ

ด้านการเกษตรได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยการลงมือทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) เพื่อปลูกผักที่ปลอดภัย

ไว้บริโภค ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเพื่อให้แก่ทหารกองประจำการที่กำลังจะปลดประจำการได้นำไปขยายผล

ในภูมิลำเนา และยังสำรองเมล็ดพันธุ์เพื่อไว้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ อันเป็นการบรรเทา

ความเดือดร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


45

“หน่วยทหารทำโครงการที่ประสบความสำเร็จ คือ โครงการทหารพันธุ ์ดี ไม่ใช่พันธุ ์ทหารดีอย่างเดียว

พันธุ์ข้าว พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ผลิตและนำไปมอบให้ราษฎรที่ประสบภัยต่างๆ ก็ทำได้ดี”

พระราชดำรัสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก

โดยตลอดปี ๒๕๖๓ ที่ประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาอุทกภัย

ในหลายพื้นที่ ทำให้พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก กองทัพบกจึงได้นำผลผลิต

จาก “โครงการทหารพันธุ์ดี” เช่น ข้าวเปลือก ผักสวนครัว ปลาน้ำจืด ไข่เป็ด และไข่ไก่ แจกจ่ายฟรีผ่าน

โครงการ “Army Delivery” ของกองทัพบก รวมทั้งยังได้จำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ซึ่งช่วยลดภาระ

ค่าใช้จ่ายครัวเรือน และช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

โดยกองทัพบกมุ่งหวังจะเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


46

นอกจากนี้ ยังได้จัดการฝึกอบรมให้ทหารกองประจำการ ได้รับความรู้และประสบการณ์ในเกษตร

ผสมผสานจำนวนกว่า ๑,๒๐๐ นาย ลงพื้นที่ไปดูแลและให้คำแนะนำการทำเกษตรแก่พี่น้องประชาชน

ในพื้นที่ทุรกันดาร หรือได้รับความเดือดร้อน อีกทั้งยังได้ขยายผลจาก “โครงการทหารพันธุ์ดี” และต่อยอด

ในโครงการอื่นๆ เช่น “โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “โครงการอาหารชุมชนโรงเรียนต้นแบบ”

เพื่อให้ชุมชนสามารถปลูกผักได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย อันจะทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ จำนวน

กว่า ๔๙,๐๐๐ คน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


47

๕. โครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ”

กองทัพเรือได้ดำเนินการโครงการนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ โดยได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

บรมนาถบพิตร มาประยุกต์เป็นต้นแบบให้แก่กำลังพลและครอบครัว ตลอดจนพี่น้องประชาชนทั่วไป

สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง สอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระบรม

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


48

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร

กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ความว่า

“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม

เพื ่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”

โดยปัจจุบันพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ ของกองทัพเรือ มีจำนวน ๗ พื้นที่ จาก ๑๐ หน่วยงาน ประกอบด้วย

- พื้นที ่กรุงเทพมหานคร และ จ.นครปฐม จำนวน ๒ หน่วยงาน คือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ และ

กรมยุทธศึกษา

- พื้นที่ จ.ชลบุรี จำนวน ๓ หน่วยงาน คือ กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ และหน่วยบัญชาการ

ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

- พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ กรมสวัสดิการทหารเรือ

- พื้นที่ จ.ตราด จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ ทัพเรือภาคที่ ๑

- พื้นที่ จ.สงขลา จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ ทัพเรือภาคที่ ๒

- พื้นที่ จ.พังงา จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ ทัพเรือภาคที่ ๓

- พื้นที่ จ.จันทบุรี จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


ชาติมั่นคง


50

การป้องกันประเทศ

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ในมาตรา ๕๒ กำหนดไว้ว่ารัฐ

ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทย

มีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน

เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ รัฐต้องจัดให้มีการทหาร การทูต และการข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ กำลังทหาร

ให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศด้วย

จากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลโดยกระทรวงกลาโหมจึงมีความจำเป็นต้องจัดเตรียมกำลัง

กองทัพให้มีความพร้อมไว้ตั้งแต่ยามปกติ ทั้งในเรื่องของกำลังพล หลักนิยม การฝึกศึกษา และโครงสร้างการ

จัดหน่วย รวมไปถึงเตรียมความพร้อมของอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีความทันสมัย เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจ

และสอดคล้องกับหลักนิยมการรบที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเป้าหมายหลักในการเตรียมกำลังเพื่อการป้องกัน

ตนเอง การปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และมีความพร้อมในการใช้กำลังเพื่อการป้องปราม มิได้

มีวัตถุประสงค์เพื่อคุกคาม หรือรุกรานประเทศอื่นแต่อย่างใด

แม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันจะยังไม่มีแนวโน้มที่ประเทศจะเผชิญกับภัยคุกคามขนาดใหญ่แต่จากปัญหา

เส้นเขตแดนที่ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเขตแดนทางบกและทางน้ำ ระยะทางกว่า ๕,๖๗๑ กิโลเมตร (เป็นเขตแดน

ทางบก ๓,๕๒๗ กิโลเมตร และเขตแดนทางน้ำ ๒,๑๔๔ กิโลเมตร) รวมถึงทางทะเลซึ่งมีพื้นที่น่านน้ำตามแนว

เขตแดนความยาวกว่า ๑,๖๘๐ ไมล์ทะเล และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า ๑,๕๐๐ ไมล์ทะเล รวมพื้นที่ทะเลกว่า

๓๒๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร รวมไปถึงการซ้อนทับของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone: EEZ)

๒๐๐ ไมล์ทะเล ซึ่งความไม่ชัดเจนเหล่านี้อาจนำไปสู่การปกป้องแหล่งผลประโยชน์ของชาติ และอาจเกิด

เป็นความขัดแย้งในระดับต่ำ และอาจพัฒนาไปสู่การใช้กำลังในลักษณะสงครามจำกัด (Limited War) ได้

ซึ่งกองทัพจะต้องมีความพร้อมที่จะสามารถรองรับสถานการณ์ต่างๆ ได้ตลอดเวลา

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


51

กระทรวงกลาโหมจึงได้กำหนดแนวทางในการเตรียมกำลังทางบก กำลังทางเรือ และกำลัง

ทางอากาศโดยคำนึงถึงภาระด้านงบประมาณของประเทศ ซึ่งกำลังในส่วนนี้จะมีการจัดหน่วยที่มีความ

ทันสมัย เป็นอเนกประสงค์ สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลายรูปแบบ มีขีดความสามารถในการรบผสมเหล่า

มีอำนาจการยิงและความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ มีระบบอำนวยการยุทธ์ที่คล่องตัว มีความพร้อมรบ

และมีขีดความสามารถในการป้องกัน ป้องปราม และต่อต้านภัยคุกคามที่มีต่ออธิปไตยของดินแดน

น่านน้ำ และน่านฟ้า รวมทั้งคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล ตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของชาติได้อย่าง

มีประสิทธิภาพในทุกระดับของสถานการณ์

ด้านการป้องกันชายแดน

ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง

ของชาติในปัจจุบัน เป็นผลกระทบมาจากกระแสความ

เชื่อมโยงกันของโลกหรือโลกาภิวัตน์ กระทรวงกลาโหมจึง

ได้จัดเตรียมและพัฒนากำลังพลให้มีความพร้อมทั้งร่างกาย

และจิตใจ รวมทั้งปลูกฝังจิตวิญญาณของทหารอาชีพ

โดยเฉพาะด้าน “ความเสียสละเพื่อประเทศชาติ” และได้

เตรียมยุทโธปกรณ์เพื่อให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

อยู่เสมอ โดยดำเนินการจัดหายุทโธปกรณ์และเครื่องมือ

ที่ทันสมัยเพื่อป้องปรามการรุกราน และปกป้องการรุกล้ำ

อธิปไตย รวมทั้งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชาติ

กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพไทยได้พัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของทั้งกำลังพลและ

เครื ่องมือ รวมทั้งยุทโธปกรณ์ โดยมุ่งเน้นการซ่อมปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน

ให้สามารถดำรงการปฏิบัติภารกิจได้อย่างต่อเนื่องเป็นหลัก สำหรับการจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่จะจัดหา

เฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถรองรับความเสี่ยงจากภัยคุกคามในห้วงนั้นๆ ได้

“พี่น้องทหารที่กำลังทำหน้าที่เป็นรั้วของประเทศอยู่ตามป่ าเขา

เพื ่อดูแลรักษาอธิปไตยและปกป้องผลประโยชน์ของชาติตามแนวชายแดน

มุ่งหวังให้พี่น้องประชาชนในพื ้นที่ส่วนหลังใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกับครอบครัวในทุกๆ วัน”

กองทัพได้จัดกองกำลังป้องกันชายแดน จำนวน ๘ กองกำลัง ได้แก่ กองกำลังบูรพา กองกำลังสุรนารี

กองกำลังสุรสีห์ กองกำลังนเรศวร กองกำลังผาเมือง กองกำลังเทพสตรี กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี และกองกำลัง

ป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด โดยการหมุนเวียนกำลังพลเข้าไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความพร้อม

และความสดใหม่ของกำลังพลอยู่เสมอ รวมทั ้งมีขวัญกำลังใจที่ดี ซึ่งกองกำลังป้องกันชายแดนจะทำหน้าที่

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


52

หลักในการป้องกันชายแดน โดยการสกัดกั้น ยับยั้งโต้ตอบ และผลักดันการละเมิดอธิปไตยของกองกำลัง

ต่างชาติในพื้นที่รับผิดชอบ รวมถึงการลาดตระเวนเฝ้าตรวจ การจัดระเบียบพื้นที่ชายแดน และการเสริม

สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นยังได้รับมอบภารกิจเพิ่มเติม ได้แก่ การป้องกัน

และปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน การสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง

โดยผิดกฎหมาย การป้องกันการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงการสนับสนุนการดับไฟป่าตามห้วงฤดู

เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องทำการลาดตระเวน

ทั้งทางบกและทางทะเล ตลอดจนการเฝ้าตรวจทางอากาศและห้วงอวกาศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง

การวางเครื่องกีดขวาง รั้วลวดหนามตามช่องทางผ่านแดนทางธรรมชาติในพื้นที่เพ่งเล็งต่างๆ การติดตั้งระบบ

ไฟส่องสว่างเพื่อช่วยในการตรวจการณ์ และการใช้เครื่องมือพิเศษสนับสนุนการลาดตระเวน/เฝ้าตรวจเพิ่มเติม

ได้แก่ โดรน (Drone) และกล้องตรวจจับความเคลื่อนไหว นอกจากนี้ กองทัพยังได้พัฒนาสถานีตรวจวัตถุ

ในอวกาศด้วยกล้องโทรทรรศน์ เพื่อติดตามและเฝ้าระวังวัตถุในอวกาศ และพัฒนาดาวเทียมสำรวจระยะไกล

เพื่อเสริมมาตรการการตรวจการณ์จากห้วงอวกาศ ซึ่งสามารถตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ที่จำเป็นต่อความมั่นคง

ของชาติ เพื่อปกป้องไว้ซึ่งอธิปไตยของชาติ และรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน รวมทั้งการดูแล

รักษาทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรทางทะเล ซึ่งจากผลการดำเนินการทั้งหมดในภาพรวมนั้น ทำให้พี่น้อง

ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนสามารถค้าขายได้อย่างปกติ และดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


53

ถึงแม้ว่า ระยะทางตามแนวชายแดนจะมีมากกว่าจำนวนกำลังพลและเครื่องมือที่มีอยู่ รวมถึงลักษณะ

พื้นที่ที่เป็นป่ารกทึบ ซึ่งค่อนข้างเป็นข้อจำกัดต่อการเฝ้าตรวจให้ครอบคลุมแนวชายแดนอย่างทั่วถึงได้ตลอด

เวลา อย่างไรก็ตาม กำลังพลทุกนายได้ทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ

โดยตลอดปี ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา สามารถสกัดกั้นและจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

รวมถึงแรงงานต่างด้าว ได้กว่า ๕,๗๐๐ ราย

สกัดจับและยึดยาเสพติดได้จำนวนมาก เช่น ยาบ้า จำนวนกว่า ๙๓ ล้านเม็ด กัญชาอัดแท่ง

จำนวนกว่า ๑๑,๐๐๐ กิโลกรัม เฮโรอีน จำนวนกว่า ๒๐,๐๐๐ กิโลกรัม ยาไอซ์ จำนวนกว่า ๕ ล้านกรัม

และยาเคตามีน จำนวนกว่า ๔๐,๐๐๐ มิลลิลิตร

รวมทั้ง สามารถจับยึดของกลางที่เป็นไม้มีค่าได้หลายรายการ เช่น ไม้พะยูง จำนวนกว่า ๑,๘๐๐ ท่อน

ไม้สัก จำนวนกว่า ๖๐๐ ท่อน และไม้ประดู่แปรรูป จำนวนกว่า ๑๐๐ แผ่น

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


54

สำหรับภารกิจในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น กระทรวงกลาโหม

ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสัมพันธ์ และเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกัน

และลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน รวมทั้งมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาตาม

แนวชายแดนอย่างสันติวิธี ความร่วมมือในการบริหารจัดการชายแดน รวมถึงการจัดระเบียบและพัฒนา

ชายแดนไปพร้อมกันในลักษณะคู่ขนาน อันจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อปัญหาต่างๆ และความสัมพันธ์อันดี

ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ครอบคลุมในทุกมิติ ได้แก่ การค้า การเกษตร การรักษา

สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข และการท่องเที่ยว รวมถึงการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

การลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และการสกัดกั้นยาเสพติด

กลไกการประสานงานกับกองทัพประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญในระดับต่างๆ

• ไทย - เมียนมา ได้แก่ ๑) คณะกรรมการระดับสูง ไทย - เมียนมา (HLC) มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เป็นประธานร่วม ๒) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย - เมียนมา (RBC) มีแม่ทัพภาคที่ ๓

เป็นประธานร่วม และ ๓) คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น ไทย - เมียนมา (TBC) มีผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ

ในพื้นที่เป็นประธานร่วม

• ไทย - ลาว ได้แก่ ๑) คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย - ลาว

(GBC) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานร่วม และ ๒) คณะอนุกรรมการร่วมมือรักษา

ความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย - ลาว (Sub - GBC) มีเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการ

กองทัพไทย

• ไทย - กัมพูชา ได้แก่ ๑) คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย - กัมพูชา (GBC) มีรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานร่วม ๒) คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน

ไทย - กัมพูชา (BPKC) มีผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานร่วม และ ๓) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค

ไทย - กัมพูชา (RBC) ประกอบด้วย ๓ พื้นที่ โดยมีแม่ทัพภาคที่ ๑ แม่ทัพภาคที่ ๒ และผู้บัญชาการกองกำลัง

ป้องกันชายแดนจันทบุรี - ตราด เป็นประธานร่วมตามพื้นที่รับผิดชอบ

• ไทย - มาเลเซีย ได้แก่ ๑) คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย - มาเลเซีย (GBC) มีรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานร่วม ๒) คณะกรรมการระดับสูง ไทย - มาเลเซีย (HLC) มีผู้บัญชาการ

ทหารสูงสุด เป็นประธานร่วม และ ๓) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ไทย - มาเลเซีย (RBC) มีแม่ทัพ

ภาคที่ ๔ เป็นประธานร่วม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


55

การแก้ไขปั ญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการทับซ้อนของปัญหาในหลายด้าน ซึ่งเชื่อมโยงกันหลายมิติ

ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นอัตลักษณ์

เฉพาะของพื้นที่ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ

เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

(พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) และแผนระดับรองตั้งแต่แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคง

และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ซึ ่งเป็นแผนระดับ ๒ และนโยบายการบริหาร

และพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบ

จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ.๒๕๖๒ - ๒๕๖๕) ซึ่งเป็นแผนระดับ ๓ เป็นเครื่องมือแปลงนโยบายไปสู่

การปฏิบัติ มี ๓ กลุ่มกลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย ๑) กลุ่มกลยุทธ์การแก้ปัญหาที่มุ่งดำเนินการต่อศูนย์ดุล

ของปัญหาในพื้นที่ ๒) กลุ่มกลยุทธ์การป้องกันปัญหาที่มุ่งขจัดเงื่อนไขเก่าและไม่ให้เกิดเงื่อนไขใหม่ และ

๓) กลุ่มกลยุทธ์การเสริมความมั่นคงเพื่อการพัฒนาที่มุ่งสร้างความยั่งยืน

โดยได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียง มาขับเคลื่อนในลักษณะบูรณาการอย่างต่อเนื่อง เน้นการเสริมสร้างเอกภาพของหน่วยงานภาครัฐ

และประสานภาคีเครือข่ายนอกภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ ให้เกิดพลังร่วมบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล

ที่มุ่งขจัดเงื่อนไขรากเหง้าของปัญหา การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน โดยมี ส ำนักงาน

สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในภาพรวม มีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ราชอาณาจักร รับผิดชอบด้านความมั่นคง และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบ

ด้านการพัฒนา

ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด

ผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน ทั้งด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา จนสถานการณ์ความ

ไม่สงบในพื้นที่ดีขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งก็เป็นผลจากการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและ

ความร่วมมือของพี่น้องประชาชน โดยในปี ๒๕๖๓ มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนที่เกิดขึ้น

ทั้งด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


56

โดยกระทรวงกลาโหมได้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์จาก กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

เพื่อสนับสนุนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในการแก้ไขปัญหา

ด้านความมั่นคงในพื้นที่ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเร่งนำสันติสุข ความสงบสุข และความปลอดภัย

ทั้งในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนกลับมาสู่พื้นที่โดยเร็ว ถึงแม้ว่า ำลังพลจำนวนมากจะได้รับบาดเจ็บ

และเสียชีวิตก็ตาม แต่ทหารทุกนายยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจอย่างเต็มความสามารถ เพื่อที่จะทำให้พี่น้อง

ประชาชนในพื้นที ่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยและมีความสุขเช่นเดียวกับคนไทยในภาคอื่น

โดยผลการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง สามารถลดระดับความรุนแรงลงได้อย่างมี

นัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ สถิติเหตุการณ์และการสูญเสียลดลง

อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปี ๒๕๖๒ กล่าวคือเหตุการณ์ลดลง ร้อยละ ๕๖.๘๐ และการสูญเสีย

ลดลง ร้อยละ ๒๖.๙๒ เกินกว่าเป้าหมายตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา

ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กำหนดให้เหตุความรุนแรงลดลง ร้อยละ ๒๐

นอกจากนี้ สัญญาณที่บ่งบอกว่าสถานการณ์ในพื้นที่ดีขึ้น

สามารถพิจารณาได้จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัด

ซึ่งได้มีร้านค้า โรงแรม และปั๊มน้ำมัน เกิดขึ้นบริเวณสองข้างถนน

เพิ่มขึ้น และมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น ก่อนเกิดการแพร่ระบาด

ของโควิด-19 ที่สำคัญ ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจและให้ความ

ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐเพิ่มขึ ้น รวมทั้ง การพูดคุยเพื่อสันติสุขกับกลุ่ม

ผู้เห็นต่าง ก็เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งผลจากการดำเนินการต่างๆ

ของกระทรวงกลาโหมในการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความ

รุนแรง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งแสดงให้เห็น

ถึงความทุ่มเทและความมุ่งมั่นของทหารทุกนาย ที่ต้องการนำความ

สงบสุข และสันติสุขกลับมาสู่พื้นที่โดยเร็ว

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


57

ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

กระทรวงกลาโหม ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์

ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้เป็นผล

อย่างรวดเร็ว โดยรับผิดชอบการจัดตั้งและดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ด้านความมั่นคง เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

โดยให้มีการจัดตั้งกองบัญชาการ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง และศูนย์ปฏิบัติการ

แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ โดยได้จัดกำลังพลทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง จัดตั้งจุดตรวจ/

จุดคัดกรองในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินการตามมาตรการผ่อนปรนและ

การปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งออกตามประกาศภายใต้

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ศ.๒๕๔๘ เช่น การจัดกำลังพลจัดตั้งจุดตรวจร่วม

ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า ๒๕๐ จุด และ

จัดชุดสายตรวจ กว่า ๕๐๐ ชุด รวมถึงจัดชุดสนับสนุน

การตรวจคัดกรองประจำจุดผ่านแดนทางบก

ทางท่าเรือ และท่าอากาศยาน จนทำให้การควบคุม

การแพร่ระบาด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ

เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการ

ผ่อนปรนเป็นระยะๆ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


58

นอกจากนี้ ในช่วงที่พี่น้องประชาชนได้หยุดยาว

ในช่วงเทศกาลที่สำคัญต่างๆ และได้มีการเดินทาง

กลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีการ

ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก กระทรวงกลาโหม

โดยสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ

กองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และ

กองทัพอากาศ ในฐานะหน่วยสนับสนุนการดำเนิน

การของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

ได้จัดกำลังพลและยานพาหนะ เพื่อดูแลความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชน

ในการเดินทางทั้งไปและกลับ โดยได้มอบหมายให้หน่วยทหารที่มีที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะตามถนน

สายหลักและสายรอง จัดตั้งจุดอำนวยความสะดวกหรือจุดพักรถ และจัดเจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสภาพ

และซ่อมแซมยานพาหนะ เพื่อให้การบริการแก่พี่น้องประชาชนในการเดินทาง รวมทั้งจัดเตรียมชุดแพทย์

และพยาบาลเคลื่อนที่ และโรงพยาบาลทหารในสังกัด สำรองเตียงไว้รองรับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินอีกด้วย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


ด้านการสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปั ญหา

ที่สำคัญของชาติ

59

การแก้ไขปั ญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื ้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19)

ที่ผ่านมา ในกรณีที่เกิดสถานการณ์สาธารณภัยต่างๆ กระทรวงกลาโหมโดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย

กระทรวงกลาโหม ได้ประสานงานกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย อย่างใกล้ชิด

เพื่อนำทรัพยากรทางทหารทั้งกำลังพล เครื่องมือ และยุทโธปกรณ์ ไปสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามบทบาทหน้าที่ภายใต้กรอบของ

พ.ร.บ.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐ พ.ร.บ.การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม

พ.ศ.๒๕๕๑ ตลอดจนกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมติของคณะรัฐมนตรี

สำหรับกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส

และโรคเมอร์สนั้น กระทรวงกลาโหมภายใต้การบูรณาการและประสานงานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัย

กระทรวงกลาโหมได้ให้การสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขภายใต้กรอบของ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๒๓

ซึ่งปัจจุบันเราใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ จนทำให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่

ภายในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตของพี่น้องประชาชน

ในกรณีของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นในประเทศตั้งแต่

เดือนธันวาคม ๒๕๖๒ นั้น กระทรวงกลาโหม ได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์บริหารสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งสนับสนุนและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหา

การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยได้นำศักยภาพของกองทัพทั้งกำลังพล ยุทโธปกรณ์

โรงพยาบาล และหน่วยแพทย์ทหาร ตลอดจนการอำนวยการและประสานงาน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


60

ในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง

และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเป็นวงกว้าง จึงได้ยกระดับการปฏิบัติงานภายใต้

กรอบการดำเนินงานของศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์

ด้านความมั่นคง เพื่อติดตามสถานการณ์ ควบคุม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยทหารและ

หน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมบูรณาการในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดให้เป็นไปอย่าง

มีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กระทรวงกลาโหม

โดยกองทัพเรือได้สนับสนุนอาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งเป็นสถานที่พักของคนไทยที่เดินทางกลับจาก

เมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๑๓๘ คน โดยเฝ้าสังเกตอาการประมาณ ๑๔ วัน ตลอดจน

จัดเจ้าหน้าที่แพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ สนับสนุน

ตลอดห้วงระยะเวลาการเฝ้าสังเกตอาการ รวมถึงให้การรักษากรณีพบผู้ติดเชื้อด้วย

ซึ่งต่อมา ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการฝึกจําลอง

สถานการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ

กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ใน

พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในห้วงกลาง

เดือนมีนาคม ๒๕๖๓ โดยนำประสบการณ์จากการ

ฝึกซ้อมด้านการบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับทหาร

มิตรประเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการฝึกซ้อมแผน

บนโต๊ะ หรือ Table Top Exercise (TTX) ซึ่งเป็นการจำลองสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และซักซ้อม

ความเข้าใจของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในเรื่องบทบาทและอำนาจหน้าที่

ของแต่ละหน่วยงานในการร่วมกันแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนการปฏิบัติ

ตามแผนของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิดการ

บูรณาการและเป็นเอกภาพ รวมทั้งเพื่อจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอและพร้อมในการดำเนินการ

อีกด้วย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


61

และเพื่อเป็นการเตรียมการรองรับการแพร่

ระบาดเป็นวงกว้าง กระทรวงกลาโหมได้จัดเตรียม

โรงพยาบาลสนาม โดยได้ปรับปรุงอาคารโรงเรือน

ภายในค่ายทหารตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

ให้เป็นโรงพยาบาลสนาม ซึ่งมีขีดความสามารถ

ในการรองรับผู้ติดเชื้อได้จำนวน ๒,๔๕๐ เตียง รวมทั้ง

จัดเตรียมโรงพยาบาลทหาร จำนวน ๕๔๕ เตียง

สำหรับรองรับผู้ป่วยอาการไม่หนัก จ ำนวน ๔๕๑ เตียง

และสำหรับรองรับผู้ป่วยอาการปานกลาง ถึงอาการหนัก

จำนวน ๙๔ เตียง

ทั้งนี้เมื่อปลายเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ได้มอบหมายให้กองทัพไทย

รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อให้การด ำเนินการการแก้ไขสถานการณ์

ฉุกเฉินเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยให้มีการจัดตั้งกองบัญชาการ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข

สถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เหล่าทัพ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่างๆ โดยได้จัดกำลังพลทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง

จัดตั้งจุดตรวจ/จุดคัดกรองในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินการตามมาตรการผ่อนปรน

และการปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งออกตามประกาศภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

พ.ศ.๒๕๔๘ เช่น การจัดกำลังพลจัดตั้งจุดตรวจร่วมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ กว่า ๒๕๐ จุด และจัดชุดสายตรวจ

กว่า ๕๐๐ ชุด รวมถึงจัดชุดสนับสนุนการตรวจคัดกรองประจำจุดผ่านแดนทางบก ทางท่าเรือ และ

ท่าอากาศยาน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


62

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังมีพี่น้องคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและติดค้างอยู่ในประเทศต่างๆ

เป็นจำนวนมาก รัฐบาลภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ได้วางแผนนำคนไทย

กลับมาสู่บ้านเกิดอย่างปลอดภัยและป้องกันการเป็นพาหะนำเชื้อโควิด-19 มาแพร่ระบาดภายในประเทศด้วย

ดังนั้น ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

กรุงเทพมหานคร จังหวัดอื่นๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดตั้งพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State

Quarantine) และพื้นที่กักกันโรคทางเลือก (Alternative State Quarantine) เพื่อรองรับพี่น้องคนไทย

ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ และต้องคุมไว้สังเกตอาการเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๔ วัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด

การแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยปัจจุบัน มีพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ

จำนวน ๒ แห่ง และสถานประกอบการของภาคเอกชน รวมจำนวน ๒๔ แห่ง และพื้นที่กักกันโรคทางเลือก

(Alternative State Quarantine) จำนวน ๑๒๕ แห่ง ซึ่งได้รับการพัฒนามาโดยลำดับจากการรองรับคนไทย

ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ จำนวนวันละ ๑๐๐ คน ๒๐๐ คน ๓๐๐ คน ๔๐๐ คน และ ๕๐๐ คน

ตามลำดับ จนมีจำนวนห้องรองรับได้ประมาณ ๒๓,๐๐๐ ห้อง โดยกระทรวงกลาโหมได้จัดชุดแพทย์

และพยาบาลเพื่อดูแลสุขภาพ ความเป็นอยู่และความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าพักตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งตั้งแต่

ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ มีผู้เข้าพักสะสมเพื่อคุมไว้สังเกตอาการ จำนวนกว่า

๑๙๐,๐๐๐ คน และเสร็จสิ้นกระบวนการคุมไว้สังเกตอาการแล้วกว่า ๑๘๐,๐๐๐ คน ยังคงอยู่ระหว่าง

การคุมไว้สังเกตอาการ ณ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐต่างๆ และพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก รวมจำนวนกว่า

๑๒,๐๐๐ คน โดยสามารถตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อได้มากกว่า ๑,๕๐๐ คน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


63

สำหรับการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ ๒ ได้กระทรวงกลาโหม

ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการจัดการฝึกเตรียมพร้อม ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓ เพื่อทดสอบ

แผนเผชิญเหตุการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระดับต่างๆ และทดสอบแนวทางการจัดสรร

และบริหารทรัพยากรทางการแพทย์ในภาวะวิกฤตด้านการสาธารณสุข ที่ผ่านมา โดยมีการฝึกเฉพาะหน้าที่

ผสมผสานกับการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ ณ ศาลาว่าการกลาโหม และผ่านระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ ซึ่งมี

ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมการฝึกประมาณ ๓๖ หน่วยงาน กรุงเทพมหานคร และ ๑๐ จังหวัด ได้แก่

จ.ชลบุรี จ.สมุทรสาคร จ.พระนครศรีอยุธยา จ.เชียงใหม่ จ.ตาก จ.สระแก้ว จ.ระนอง จ.สุราษฎร์ธานี จ.กระบี่

และ จ.ภูเก็ต สำหรับอีก ๖๖ จังหวัด ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ฝึกผ่านระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ด้วย

กระทรวงกลาโหมได้เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่

ระบาดของโควิด-19 จึงได้นำศักยภาพทั้งด้านกำลังพลและเครื่องมือ รวมถึงยุทโธปกรณ์ มาใช้ในการบรรเทา

ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นด้วยการจัดรถยนต์บรรทุกน้ำผสมสาร

ฆ่าเชื้อโรคเข้าดำเนินการฉีดล้างสิ่งปนเปื้อนบนท้องถนนในพื้นที่

กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการจัด

ทำโครงการเพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมสำหรับการแก้ไขปัญหาการ

ระบาดของโควิด-19 เช่น กองทัพบกได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่ง

ประเทศไทยและภาคเอกชน ได้ร่วมวิจัยและประดิษฐ์นวัตกรรม

ห้องแยกโรคสำหรับผู้ติดเชื้อที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศ

แบบประยุกต์ (Mobile Modified Airborne Infection Isolation Room: Modified AIIR) ชนิดเคลื่อนที่ได้

โดยได้มีการผลิตและแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและใช้ในโรงพยาบาลในสังกัด

ของกองทัพบก สำหรับในส่วนของกองทัพอากาศ ได้วิจัยและประดิษฐ์เครื่องช่วยหายใจ เครื่องวัดอุณหภูมิ

หุ่นยนต์ลำเลียงส่งอาหาร ยา เสื้อผ้า แก่ผู้ป่วยโควิด-19 อุปกรณ์สำหรับป้องกันละอองลอยจากผู้ป่วยติดเชื้อ

โควิด-19 ที่อยู่ในขั้นวิกฤตในขั้นตอนการใส่เครื่องช่วยหายใจสำหรับป้องกันการติดเชื้อไปสู่บุคลากร

ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อระหว่างผู้โดยสารกับคนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


64

นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมยังได้ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน

ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อาทิ การจัดทำโครงการตู้ปันสุข การจัดทำอาหารและแจกจ่ายให้แก่พี่น้อง

ประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การจัดชุดช่างเคลื่อนที่เพื่อให้บริการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า

ให้บริการตัดผม การช่วยเหลือเกษตรกรทั้งการสนับสนุนแรงงาน ยานพาหนะในการขนส่ง รวมถึงการรับซื้อ

ผลผลิตเพื่อนำไปจำหน่าย การสนับสนุนโครงการปลาแลกข้าว ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าตามภูมิภาค เช่น

อาหารทะเล และข้าวสาร เป็นต้น

สำหรับการสนับสนุนมาตรการสกัดกั้นการหลบหนีเข้าเมืองนั้น ภายหลังจากที ่มีการตรวจพบว่า

มีคนไทยที่ทำงานในเขตท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้หลบหนีเข้าเมืองมาและเป็นต้นเหตุให้เกิด

การแพร่ระบาดในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย นั้น กองทัพได้จัดกำลังป้องกันชายแดนทางบกเพิ่มเติม

เพื่อเสริมช่องว่างที่เป็นจุดเสี่ยงต่างๆ เนื่องจากในห้วงนี้เป็นฤดูแล้ง บางช่วงของล ำน้ำแห้ง จนสามารถเดินข้ามได้

ดังนั้น จึงได้มีการวางลวดหนามและเครื่องมือพิเศษเพิ่มเติมเพื่อปิดช่องว่างในการลาดตระเวนอีกด้วย รวมทั้ง

ได้มอบหมายให้กองทัพเรือเป็นหน่วยหลักในการบูรณาการการปฏิบัติในพื้นที่ชายแดนด้าน จ.จันทบุรี และ

จ.ตราด ตลอดจนการสกัดกั้นการลักลอบเข้าออกราชอาณาจักรทางทะเล

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


65

และเพื่อเป็นการเสริมมาตรการด้านสาธารณสุข กองทัพได้จัดกำลังพลและยานพาหนะสนับสนุน

การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร รวมถึงได้ดำเนินการจัดตั้ง

โรงพยาบาลสนาม จำนวน ๒๙ แห่ง ในพื้นที่ ๑๕ จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสาคร

จ.ชลบุรี จ.จันทบุรี จ.นครปฐม จ.ฉะเชิงเทรา จ.ลพบุรี จ.ปราจีนบุรี จ.นครราชสีมา จ.ร้อยเอ็ด จ.เพชรบูรณ์

จ.พิษณุโลก จ.นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะสามารถรองรับได้ จำนวนกว่า ๖,๗๐๐ เตียง

และจากกรณีที่สภากาชาดไทยและโรงพยาบาลหลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนโลหิตนั้น กองทัพ

ยังได้จัดกำลังพลร่วมบริจาคโลหิตเป็นจำนวนกว่า ๘ ล้านซีซี อีกด้วย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


66

การรักษาความมันคงและผลประโยชน์ของชาติิทางทะเล

กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพเรือได้จััดกำล ังพล เครื องมือ และยุทโธปกรณ์์ให้การสนัับสนุุนั

ศููนย์์อำานัวยการรักษาผลประโยชน์์ของชาติิทางทะเล (ศูรชล.) ซึ่่งเป็็นหน่วยงานหลัักในด้้านการรักษาความ

มันคงแลัะผลัป็ระโยชน์ของชาติิทางทะเลั โด้ยดำำาเนินงานติามแผนย่อยการป้้องกันแลัะแก้ไขปััญหาท่ม่

ผลักระทบต่่อความมั นคง แลัะเป็็นหน่วยสนับสนุน ร่วมดำำาเนินงานในด้้านอ่นๆ สำาหรับการป้้องกันแลัะ

แก้ไขปััญหาด้้านความมันคงของชาติิ

ในการดำำาเนินงานของ ศรชลั. นันได้้มุ่งเน้นการป็ฏิิบัติิงานติาม

แผนงานยุทธศาสตร ์ป้้องกันแลัะแก้ไขปััญหาท่ม่ผลักระทบต่่อความมั นคง

ซึ่่งม่วัติถุุป็ระสงค์เพื่่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน แลัะภาคป็ระชาชน

ม่ความพื่ร้อมท่จะแก้ไขปััญหาท่ส่งผลักระทบต่่อความมันคงของป็ระเทศ

ทุกรูป็แบบ ทุกมิติิ แลัะทุกระดัับความรุนแรง โด้ยการรักษาความมันคง

แลัะผลัป็ระโยชน์ทางทะเลันัน ศรชลั. ได้้รับมอบหน้าท่ในการกำาหนด้

แนวทางพื่ัฒนาการรักษาความมั นคงแลัะผลัป็ระโยชน์ของชาติิทางทะเลั

ภายใต้้แผนย่อยการป้้องกันแลัะแก้ไขปััญหาท่ม่ผลักระทบต่่อความมันคง ส่วนการรักษาความมันคง

ภายในราชอาณาจักรแลัะการพื่ัฒนาป็ระเทศ เป็็นไป็ติามแนวความคิด้การบริหารจัด้การ แผนแม่บทภายใต้้

ยุทธศาสตร์์ชาติิ ป็ระเด็็นความมันคง

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


67

ในการดำำาเนินการป้้องกันแลัะแก้ไขปััญหาท่ม่ผลักระทบต่่อความมั นคงทางทะเลั ได้้ดำำาเนินการติาม

แนวทางการป็ฏิิบัติิ ในการแก้ไขปััญหาความมันคงทางทะเลัในปััจจุบัน การติิด้ติาม เฝ้้าระวัง ป้้องกันแลัะแก้ไข

ปััญหาท่อาจอุบัติิข่นใหม่ แลัะการรักษาความมันคงแลัะผลัป็ระโยชน์ทางทรัพื่ยากรธรรมชาติิแลัะสิงแวด้ลั้อม

ทางทะเลั รองรับภัยคุกคามทางทะเลั ๙ ด้้าน ได้้แก่ ๑) การช่วยเหลืือผู้้ประสบภัย ๒) การทำาป็ระมงผิด้กฎหมาย

๓) การค้ามนุษย์/ลัักลัอบเข้าเม่อง ๔) ปััญหายาเสพื่ติิด้/สินค้าผิด้กฎหมาย/อาวุธสงคราม ๕) การทำาลัาย

สิงแวด้ลั้อมทางทะเลัแลัะชายฝ้ัง ๖) การป้้องกันแลัะบรรเทาสาธารณภัย ๗) โจรสลััด้/การป็ลั้นเร่อ

๘) การก่อการร้าย ๙) การขนส่งสินค้า รวมทังภัยคุกคามด้้านอ่นๆ

โดยในปีีงบประมาณ์ ๒๕๖๓ ม่การดำำาเนินการท่สำคััญ ยกตััวอย่างเช่น

การช่วยเหลือผู้ประสบภััยในัทะเล เช่น เม่อ ๒๕ พื่ฤศจิกายน ๒๕๖๒ เร่อสำาราญขนาด้ใหญ่

ช่อ LA BELLE DES OCEAN สัญชาติิเบลัเย่ยม ม่ผู้โด้ยสารจำานวน ๗๘ คน ป็ระสบอุบัติิเหตุุเกยหิน

ท้องเร่อทะลุุ บริเวณเกาะพื่่พื่่ จังหวัด้กระบ่ ในการน่ กองทัพเรือได้จััด เรือหลวงศรีีราชา สนัับสนุุนัภัารกิจั

การช่วยเหลือ โด้ยส่งชุด้ป็้องกันความเส่ยหายข่นเร่อ แลัะป็ระคองเร่อกลัับเข้าฝ้ังจังหวัดภ ูเก็ติโด้ยป็ลัอดภ ัย

รวมทังป็ระสานงานกับหน่วยงานท่เก่ยวข้องเพื่่อร่วมให้ความช่วยเหลืือท่ท่าเร่อ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


68

การบังคับใช้กฎหมายกรณีีสิงก่อสร้างในัทะเล (Sea Steading) เป็็นการบังคับใช้กฎหมายต่่อผู้ท่

ฝ่่าฝืืนกฎหมายโด้ยการก่อสร้างบ้านลัอยนำาในเขติติ่อเน่องทางทะเลัของไทย บริเวณจังหวัดภููเก็ติ โด้ย กองทัพื่เร่อ

จัดก ำาลัังพื่ลัแลัะเร่อสนับสนุนการบูรณาการหน่วยงานท่เก่ยวข้องภายใต้้ ศรชลั. เพื่่อดำำาเนินการบังคับใช้

กฎหมายในฐานลัะเมิดสิิทธิอธิป็ไติยติามกฎหมายอาญา มาติรา ๑๑๙ แลัะติามอนุสัญญาสหป็ระชาชาติิว่าด้้วย

กฎหมายทะเลั (UNCLOS) ค.ศ.๑๙๘๒ ข้อ 56B แลัะ ข้อ ๖๐ วรรค ๗ แลัะวรรค ๘ โด้ยเก็บสิงก่อสร้าง

ดัังกล่่าวเป็็นของกลัางในการดำำาเนินคดีี ณ สำนัักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ติ ติังแต่่เดืือนเมษายน ๒๕๖๒

การแก้ไขปัญหาทำาลายสิ งแวดล้อมทางทะเลและ

ชายฝั่่ง และปัญหาการทำาประมงผิดกฎหมาย เช่น

กรณีีเหตุุการณ์์การบุกรุกพืนัทีสาธารณ์ะและการเกิด

ความขัดแย้งจัากการทำาประมงคอกหอยในัพืนัทีบริเวณอ ่าว

บ้านัดอนั จั.สุราษฎร์ธานีี ศรชลั. โด้ย กองทัพื่เร่อแลัะหน่วยงาน

ท่เก่ยวข้อง ได้้เข้าทำาการเจรจาแลัะทำาความเข้าใจกับป็ระชาชน

กลุ่มต่่างๆ ในพื้้นท่ เพื่่อทำาให้สถุานการณ์ความขัด้แย้งระหว่าง

ชาวป็ระมงพื้้นบ้านกับกลุ่มทุนผู้้ประกอบการคอกหอย ได้้

คลั่คลัายความขัด้แย้งลังแลัะทำาให้เกิด้ความสงบเร่ยบร้อย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


69

กรณีีการทำาประมงผิดกฎหมาย ศรชลั. โด้ยการบูรณาการของกองทัพื่เร่อแลัะหน่วยงานท่เก่ยวข้อง

ได้้ทำาการจับกุมเร่อป็ระมงต่่างชาติิลัักลัอบทำาการป็ระมงในน่านนำาไทย แลัะจับกุมเร่อลัักลัอบลำำาเลีียงนำม ัน

โด้ยผิด้กฎหมายป็ระกอบด้้วย การจับเร่อป็ระมงต่่างชาติิในพื้้ นท่รับผิด้ชอบได้้มากกว่า ๒๐ ครั ง รวม ๓๙ ลำำา

เช่น เร่อป็ระมง UTHAIWAN เข้ามาในราชอาณาจักรโด้ยไม่ได้้รับอนุญาติ ในเดืือนกันยายน ๒๕๖๒ เร่อป็ระมง

GRAND MARINE 5 ชักธงป็านามา ในเดืือนธันวาคม ๒๕๖๒ นอกจากน่ ยังสามารถจัับกุมเร่อลัักลัอบ

ลำำาเลีียงนำมัันโด้ยผิด้กฎหมาย รวม ๙ ครัง

การขจััดคราบนัำม ันัในัทะเล เม่อวันท่

๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ เร่อช่อ GOLDEN BRIDGE 2

ได้้จมลังบริเวณป็ากร่องนำาเจ้าพื่ระยา กองทัพื่เร่อ

ได้้จัด้ เร่อหลัวงเทพื่า เร่อหลัวงแสมสาร เร่อหลัวง

หลีีเป๊๊ะ สนับสนุน ศรชลั. โด้ยร่วมกับ เร่อเด่่นสุทธิ

ของกรมเจ้าท่า แลัะอากาศนาว่ เข้าติรวจสอบพื้้นท่

แลัะขจัด้คราบนำมัันในทะเลั พื่ร้อมทังกู้เร่อเข้าฝ้ังท่

จ.สมุทรป็ราการ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


70

การสกัดกั นัการลักลอบเข้าเมืองทางทะเล

โดยผิดกฎหมาย ในพื้้นท่ป็ากแม่นำากระบุร่ แลัะ

แนวเขติแด้นทางทะเลัพื่่นท่ติิด้ติ่อ ไทย - เม่ยนมา

โด้ยจัดตั้้งหน่วยเฉพื่าะกิจสกัด้กันผู้หลับหน่เข้าเม่อง

ด้้วยการสนธิกำาลัังจากกองทัพื่เร่อ แลัะหน่วยงานด้้าน

ความมันคงในพื้้นท่ จ.ระนอง ภายใต้้การบูรณาการ

ของ ศรชลั. ซึ่่งผลัการป็ฏิิบัติิสามารถุสกัด้กันการแพื่ร่

ระบาด้ของโควิด้-19 ท่อาจมาจากผู้ลัักลัอบเข้าเม่อง

ทางทะเลัได้้เป็็นอย่างดีี

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


71

การส่่งเสริิมความรวมมือกับมิติรประเทศและประเทศส่มาชิกอาเซีียน

กรอบยุทธศาสตร์์ชาติิระยะ ๒๐ ปีี ด้้านความมันคงได้้วางกรอบแนวทางในการรักษาความมันคง

แลัะความสงบเร่ยบร้อยภายในป็ระเทศ ติลัอด้จนการบริหารจัด้การความมั นคงชายแด้นแลัะชายฝ้ังทะเลั

การพื่ัฒนาระบบกลัไก มาติรการแลัะความร่วมม่อระหว่างป็ระเทศทุกระดัับ แลัะรักษาดุุลัยภาพื่ความสัมพื่ันธ์

กับป็ระเทศมหาอำานาจ เพื่่อป้้องกันแลัะแก้ไขปััญหาความมันคงรูป็แบบใหม่

ทังน่ จากการป็ระเมินสถุานการณ์สภาวะแวด้ลั้อมทางยุทธศาสตร ์ทำาให้พื่บว่า การเสริมสร้างความ

สัมพื่ันธ์ท่ด้่กับป็ระเทศรอบบ้าน การรักษาความสมดุุลัในการพื่ัฒนาความสัมพื่ันธ์ แลัะความร่วมม่อด้้านความ

มันคงกับป็ระเทศท่ม่บทบาทสำคััญในภูมิภาค รวมทังการรับม่อต่่อปััญหาภัยคุกคามรูป็แบบอ่นๆ ซึ่่งม่ลัักษณะ

ไร้พื่รมแด้น แลัะเก่ยวข้องกับปััจจัยภายนอกป็ระเทศ เป็็นความท้าทายด้้านความมันคงของไทย ดัังนัน จ่งม่

ความจำาเป็็นต้้องกำาหนดท ่าท่ แลัะแนวทางท่ชัด้เจนในการพื่ัฒนาความสัมพื่ันธ์ แลัะความร่วมม่อกับ

มิติรป็ระเทศ เพื่่อให้ได้้รับป็ระโยชน์สูงสุด้บนพื้้นฐานของความม่เก่ยรติิ ศักด้ิศร่ แลัะความเท่าเท่ยมกัน

กระทรวงกลาโหมในัฐานัะกลไกการดำาเนิินัการด้านัความมันัคงทีสำคััญของรัฐบาลมีบทบาทและ

หน้้าทีติามทีได้กำาหนัดไว้ในั พ.ร.บ.จััดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศู.๒๕๕๑ ในการพื่ิทักษ์รักษา

เอกราชแลัะความมันคงแห่งราชอาณาจักร การพื่ิทักษ์รักษาสถุาบันพื่ระมหากษัตร ิย์ ผลัป็ระโยชน์แห่งชาติิ

แลัะการป็กครองระบอบป็ระชาธิป็ไติยอันม่พื่ระมหากษัตร ิย์ทรงเป็็นป็ระมุข รวมถึึงการพื่ัฒนาป็ระเทศแลัะ

การช่วยเหลืือป็ระชาชน ซึ่่งนอกเหน่อจากบทบาทหน้าท่ดัังกล่่าวแล้้ว กระทรวงกลาโหมยังมีบทบาทสำคััญ

ในมิิติิด้านัการต่่างประเทศอีีกด้วย ซึ่่งความร่วมมือด้านัความมันัคง โดยเฉพาะด้านัการทหารทีเป็นักลไก

สำคััญของความร่วมมือระหว่างประเทศู

การดำาเนิินังานด ้านัการต่่างประเทศูของกระทรวงกลาโหมเป็นัการดำาเนิินัการภัายใต้้แนัวคิดในั

การพิจัารณ์าใช้ทรัพยากรทางทหารในัการสนัับสนุุนร ัฐบาลโดยสร้างความร่วมมือกับประเทศูรอบบ้านั

ประเทศูสมาชิกอาเซึ่ียนั มหาอำานัาจมิิติรประเทศู และองค์การระหว่างประเทศู ทังในระดัับทวิภาค่แลัะ

พื่หุภาค่ เพื่่อเสริมสร้างความสัมพื่ันธ์แลัะความไว้เน่อเช่อใจระหว่างกัน ลัด้เง่อนไข แลัะลัด้โอกาสท่จะนำาไปสู่่

ความขัด้แย้ง รวมทั งป้้องกันมิให้ความขัด้แย้ง

ขยายขอบเขติออกไป็จนอยู่นอกเหน่อการควบคุม

โดยย่ดมันัในัหลักการแนัวความคิดเชิงป้องกันั

ซึ่่งเป็นัการแก้ปัญหาในัเชิงรุกก่อนัทีความขัดแย้ง

จัะเกิดข่ นั และแม้ความขัดแย้งเกิดข่ นก ็สามารถ

ควบคุมได้ทันัเวลา โด้ยมาติรการดัังกล่่าวจะต้้องอยู่

บนพื้้นฐานของความม่เก่ยรติิแลัะศักด้ิศร่ในเวท่

การเม่องระหว่างป็ระเทศ รวมทังผลัป็ระโยชน์

ท่ป็ระเทศพื่่งจะได้้รับ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


72

นอกจากน่ กระทรวงกลัาโหมยังให้ความสำค ัญต่่อการพื่ัฒนาความร่วมม่อด้้านความมั นคงกับ

มิติรป็ระเทศทั งในระดัับทวิภาค่แลัะพื่หุภาค่ ในการเสริมสร้างศักยภาพื่แลัะพื่ัฒนาขีีดความสามารถุในการ

ป็ฏิิบัติิการร่วมกัน เพื่่อให้สามารถร ับม่อกับความท้าทายด้้านความมั นคงในปััจจุบัน ซึ่่งม่ลัักษณะเป็็นภัยคุกคามร่วม

แลัะม่ป็ัจจัยความเช่อมโยงระหว่างชาติิ เช่น ปััญหายาเสพื่ติิด้ การหลับหน่เข้าเม่อง การค้ามนุษย์ การเคลั่อน

ย้ายถุินฐานอย่างไม่ป็กติิ การกระทำอัันเป็็นโจรสลััด้ แลัะการเกิดภััยพื่ิบัติิทางธรรมชาติิขนาด้ใหญ่ ซึ่่งส่งผลัติ่อ

เสถีียรภาพื่แลัะความมันคงของภูมิภาค

กระทรวงกลาโหมได้แบ่งกลุ่มประเทศูเป้าหมาย ไว้ดัังน่

๑) ประเทศูรอบบ้านัและประเทศูสมาชิกอาเซึ่ียนั โด้ยมุ่งส่งเสริมความสัมพื่ันธ์แลัะเสริมสร้างความ

ไว้เน่อเช่อใจกับประเทศูรอบบ้านัท่ม่พื่รมแด้นทางบกหร่อทางทะเลัติิดกัับไทย ผ่านกลัไกการหาร่อในรูป็แบบ

ของคณะกรรมการในระดัับต่่างๆ ติังแต่่ระดัับท้องถุิน ระดัับกองทัพื่ จนถึึงระดัับรัฐบาลัเพื่่อเสริมสร้างความ

มันคงร่วมกัน สร้างบรรยากาศความเป็็นมิติร ลัด้เง่อนไข แลัะลัด้โอกาสท่จะนำาไปสู่่ความขัด้แย้ง สำาหรับประเทศู

สมาชิกอาเซึ่ียนัจะมุ่งส่งเสริมการพื่ัฒนาความร่วมม่อเพื่่อเสริมสร้างความไว้เน่อเช่อใจ แลัะการรักษาเสถีียรภาพื่

แลัะความมันคงในภูมิภาค ทังน่ ในส่วนของการดำำาเนินความร่วมม่อระดัับพื่หุภาค่ภายใต้้กรอบอาเซึ่่ยนนัน

กระทรวงกลัาโหมให้ความสำค ัญต่่อความเป็็นปึึกแผ่นแลัะการเป็็นแกนกลัางของอาเซึ่่ยน (ASEAN Centrality)

ในการส่งเสริมเสถีียรภาพื่แลัะความมันคงในภูมิภาค โด้ยกระทรวงกลัาโหมม่บทบาทสำค ัญในเสาหลััก

ป็ระชาคมการเม่องแลัะความมันคงซึ่่งเป็็นหน่งในสามเสาหลัักของป็ระชาคมอาเซึ่่ยนภายใต้้กลัไกการป็ระชุม

รัฐมนตรีีกลัาโหมอาเซึ่่ยน หร่อ ADMM ซึ่่งมีีพััฒนาการก้าวหน้าเป็็นอย่างยิง ทังบทบาทในการเสริมสร้างความ

ไว้เน่อเช่อใจแลัะการส่งเสริมความร่วมม่อในการพื่ัฒนาขีีดความสามารถุในการรับม่อต่่อภัยคุกคามรูป็แบบใหม่

ร่วมกัน

๒) ประเทศูมหาอำานัาจัและประเทศคู่่เจัรจัาของการประชุมรัฐมนัติรีกลาโหมอาเซึ่ียนกัับรัฐมนัติรี

กลาโหมประเทศคู่่เจัรจัา หรือ ADMM - Plus โด้ยมุ่งดำำาเนินความร่วมม่อทางทหารกับป็ระเทศมหาอำานาจ

แลัะป็ระเทศคู่เจรจาของอาเซึ่่ยนอย่างสมดุุลั เพื่่อส่งเสริมสภาวะแวด้ลั้อมระหว่างป็ระเทศท่เหมาะสมกับการ

รักษาผลัป็ระโยชน์ของไทย โด้ยในการพื่ัฒนาความร่วมม่อจะส่งเสริมการสร้างความสัมพื่ันธ์แลัะความเข้าใจ

ร่วมกัน รวมทั งมุ่งเน้นการแลักเปลี่่ยนความเช่ยวชาญแลัะการเสริมสร้างศักยภาพื่ในการป็ฏิิบัติิการของกองทัพื่

เพื่่อให้ม่ข่ด้ความสามารถุในการรับม่อต่่อความท้าทายด้้านความมันคงในปััจจุบันได้้อย่างมีีประสิทธิภาพื่ สำาหรับ

ความร่วมม่อในกรอบพื่หุภาค่เป็็นการดำำาเนินการภายใต้้กลัไกการป็ระชุม ADMM - Plus ซึ่่งเป็็นกลัไก

ความร่วมม่อระหว่างป็ระเทศสมาชิกอาเซึ่่ยนกับ

ป็ระเทศคู่เจรจาจำานวน ๘ ป็ระเทศ ซึ่่งต่่างเป็็น

ป็ระเทศท่ม่บทบาทสูงในทางการเม่องระหว่าง

ป็ระเทศ อ่กทั งยังเป็็นป็ระเทศท่ม่ข่ด้ความสามารถุ

ด้้านการทหารอยู ่ในระดัับต้้นของโลัก ส่งผลัให้

การป็ระชุม ADMM - Plus นับเป็็นกลัไกความ

ร่วมม่อทางทหารท่ม่ความสำค ัญอย่างสูงในภูมิภาค

นอกจากน่ การป็ระชุม ADMM - Plus ได้้ทำาให้

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


73

เกิด้ความร่วมม่อทางทหารท่เข้มข้นแลัะเป็็นระบบระหว่างชาติิ โด้ยได้้จัดตั้้งคณะทำางานผู้เช่ยวชาญรับผิด้ชอบ

ในการพื่ัฒนาศักยภาพื่แลัะขีีดความสามารถุในการป็ฏิิบัติิการร่วมกันเพื่่อรับม่อต่่อปััญหาภัยคุกคามรูป็แบบ

ใหม่ เช่น การต่่อต้้านการก่อการร้าย ความมันคงทางทะเลั การให้ความช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมแลัะการ

บรรเทาภัยพื่ิบัติิ ความมันคงไซึ่เบอร์ แลัะการป็ฏิิบัติิการรักษาสันติิภาพื่ เป็็นต้้น ซึ่่งทำาให้เกิด้การส่งเสริมการ

มีีปฏิิสัมพื่ันธ์แลัะความเข้าใจร่วมกันระหว่างป็ระเทศสมาชิก รวมถึึงได้้ยกระดัับศักยภาพื่แลัะขีีดความสามารถุ

ในการป็ฏิิบัติิการร่วมกันอ่กด้้วย

๓) มิติรประเทศูอืนัๆ หมายถึึง มิติรป็ระเทศนอกเหน่อจากกลุ่่มป็ระเทศท่ได้้กล่่าวมาแล้้วท่ม่ความ

สัมพื่ันธ์ทางทหารท่ด้่กับไทยมาอย่างต่่อเน่อง รวมถึึงมิติรป็ระเทศท่ม่ความก้าวหน้าด้้านอุติสาหกรรมป้้องกัน

ป็ระเทศ โด้ยม่การดำำาเนินการเพื่่อรักษาระดัับความสัมพื่ันธ์แลัะการส่งเสริมความร่วมม่อในการพื่ัฒนาศักยภาพื่

ของกองทัพื่ นอกจากน่ ยังมุ่งเน้นไป็ท่การพื่ัฒนาความร่วมม่อเพื่่อเสริมสร้างขีีดความสามารถุด้้านอุติสาหกรรม

ป้้องกันป็ระเทศของไทย ส่งเสริมนโยบายพึ่่งพื่าตินเองแลัะสนับสนุนการเพิ่่มความสามารถุในการแข่งขันของ

ภาคเอกชน ซึ่่งกระทรวงกลัาโหม อยู่ระหว่างการศ่กษาแลัะเตรีียมการจัดตั้้งเขตส่่งเสริมเศรษฐกิจพื่ิเศษ เพื่่อ

รองรับอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศ แลัะสนับสนุนการพื่ัฒนาเขติพื่ัฒนาพื่ิเศษภาคติะวันออก ซึ่่งได้้กำาหนด้ให้

อุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศเป็็นอุติสาหกรรมเป้้าหมายพื่ิเศษลำำาด้ับท่ ๑๑ หร่อ New S-curve ท่ ๑๑

ในห้วงท่ผ่านมา กระทรวงกลัาโหมได้้ดำำาเนินความร่วมม่อด้้านความมันคงกับมิติรป็ระเทศในระดัับ

ทวิภาค่ โด้ยคำน ึงถึึงความสมดุุลัของดุุลัยภาพื่ระหว่างป็ระเทศ แลัะการสร้างความเช่อมโยงกับมิติิด้้านอ่นๆ

ของรัฐบาลัทังในด้้านความมันคง เศรษฐกิจ แลัะสังคม ซึ่่งม่เคร่องม่อในการดำำาเนินการท่สำคััญ เช่น การแลก

เปลี ยนัการเยือนัของผู้บังคับบัญชาระดับสูง การประชุมหารือในัระดับต่่างๆ ติั งแต่่ระดับนัโยบายจันัถ่ง

ระดับปฏิิบัติิ การฝั่ึกร่วม/ผสม การให้หรือรับการสนัับสนุุนัทางทหารจัากมิติรประเทศู และการแลกเปลียนั

ทีนัังศึึกษา เป็นัติ้นั

และในป ี ๒๕๖๒ ประเทศูไทยเป็นัประธานัอาเซึ่ียนนั้้

นั กระทรวงกลัาโหมได้้ดำำาเนินการอย่าง

ต่่อเน่องติังแต่่ปีีงบป็ระมาณ ๒๕๖๑ จนถึึงปีีงบป็ระมาณ ๒๕๖๓ โด้ยได้้เป็็นเจ้าภาพื่จัด้การป็ระชุมรัฐมนตรีีกลัาโหม

อาเซึ่่ยน หร่อ ADMM การป็ระชุมรัฐมนตร ีกลัาโหมอาเซึ่่ยนกับรัฐมนตร ีกลัาโหมป็ระเทศคู่เจรจา หร่อ

ADMM - Plus รวมถึึงการป็ระชุมต่่างๆ ท่เก่ยวข้อง โด้ยได้้ผลัักดัันแนวคิด้หลัักในการดำำาเนินความร่วมม่อ

ด้้านความมั นคงของกระทรวงกลัาโหม ค่อ “ความมั นัคงทียังยืนั” ภัายใต้้กรอบแนัวความคิด 3S ได้้แก่

๑) Sustainable Security : เสริมสร้างความร่วมม่อด้้านความมั นคงท่ยังย่น ๒) Strengthening

Consolidating and Optimising Defence Cooperation : เสริมสร้างความเข้มแข็ง บูรณาการ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


74

ขับเคลั่อนแลัะเพิ่่ มป็ระสิทธิภาพื่ความร่วมม่อด้้านความมั นคงไปข ้างหน้าร่วมกัน แลัะ ๓) Supporting

Cross - Pillar Activities : สนับสนุนกิจกรรมคาบเก่ยวระหว่าง ๓ เสาความร่วมม่อแลัะส่งเสริมความเช่อมโยง

ในภูมิภาคในการพื่ัฒนาความอยู่ด้่กินดีีของป็ระชาชนอาเซึ่่ยนให้เท่าเท่ยมกัน ซึ่่งสอดคล้องกับนัโยบายที

นัายกรัฐมนัติรีต้้องการสร้างประชาคมอาเซึ่ียนัที มีประชาชนัเป็นัศููนย ์กลาง ไม่ทิงใครไว้ข้างหลัง และ

มองไปสู่อนัาคติ โด้ยม่ความสมดุุลัในทัง ๓ เสาความร่วมม่อโด้ยม่ผลังานท่เป็็นรูป็ธรรม ได้้แก่ การยกระดัับ

ศูนย์แพื่ทย์ทหารอาเซึ่่ยน (ACMM) ให้เป็็นองค์กรภายใต้้กรอบความร่วมม่อของการป็ระชุมรัฐมนตรีีกลัาโหม

อาเซึ่่ยน การเสนอแนวความคิด้ให้ฝ่่ายทหารอาเซึ่่ยนม่บทบาทในการสนับสนุนการบริหารจัด้การชายแด้น

แลัะการร่วมหาร่อในเร่องการทำาป็ระมงผิด้กฎหมายขาด้การรายงาน แลัะไร้การควบคุม หร่อ IUU Fishing

ภายหลัังจากการส่งต่่อป็ระธานอาเซึ่่ยนให้แก่สาธารณรัฐสังคมนิยมเว่ยด้นามในปีี ๒๕๖๓ แล้้ว

พื่ลัเอก ป็ระยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตร ีแลัะรัฐมนติร่ว่าการกระทรวงกลัาโหม ได้้มอบหมายให้

พื่ลัเอก ป็ระวิติร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตร ี เป็็นผู้แทนเข้าร่วมการป็ระชุมรัฐมนตร ีกลัาโหมอาเซึ่่ยน

ครังท่ ๑๔ (14 th ADMM) แลัะการป็ระชุมรัฐมนตร ีกลัาโหมอาเซึ่่ยนกับรัฐมนตร ีกลัาโหมป็ระเทศคู่เจรจา

ครังท่ ๗ (7 th ADMM - Plus) รวมทังการป็ระชุมท่เก่ยวข้อง ระหว่างวันท่ ๙ - ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๓

โด้ยกระทรวงกลัาโหมเว่ยด้นามเป็็นเจ้าภาพื่จัด้การป็ระชุมด้้วยระบบการป็ระชุมผ่านส่ออิเล็็กทรอนิกส์

(Video Teleconference: VTC) ซึ่่งได้้ม่การลังนามในป็ฏิิญญาร่วมของการป็ระชุมทังสอง รวมทั งรับรอง

เอกสารความร่วมม่อริเริมใหม่ จำานวน ๕ ฉบับ ได้้แก่

๑) ระเบ่ยบป็ฏิิบัติิป็ระจำากองกำาลัังเตรีียมพื่ร้อมอาเซึ่่ยน ด้้านการให้ความช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรม

แลัะการบรรเทาภัยพื่ิบัติิ

๒) ระเบ่ยบป็ฏิิบัติิป็ระจำาในการแลักเปลี่่ยนข่าวสารทางยุทธศาสตร์์ของเอกสารแนวความคิด้ ASEAN

OUR EYES

๓) เอกสารแนวความคิดว่่าด้้วยการป็ระดัับธงอาเซึ่่ยนร่วมกับธงป็ระจำาชาติิของหน่วยทหารป็ระเทศ

สมาชิกอาเซึ่่ยนท่เข้าป็ฏิิบัติิภารกิจรักษาสันติิภาพื่ของสหป็ระชาชาติิ

๔) เอกสารแนวความคิดว่่าด้้วยการพื่ัฒนาความเช่อมโยงระหว่างการป็ระชุมรัฐมนตรีีกลัาโหมอาเซึ่่ยน

กับการป็ระชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุด้อาเซึ่่ยน

๕) เอกสารแนวความคิดว ่าด้้วยการส่งเสริมบทบาทตำำาแหน่งผู้ช่วยทูติฝ้่ายทหารระหว่างป็ระเทศ

สมาชิกอาเซึ่่ยน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


75

นอกจากน่ ท่ป็ระชุม ADMM ยังให้การรับรองแผนงาน ๓ ปีี ของ ADMM (ปีี ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕) แลัะ

เห็นชอบการฝึึกผสมทางทะเลัระหว่างอาเซึ่่ยน - สหพื่ันธรัฐรัสเซึ่่ย ในปีี ๒๕๖๔ รวมถึึง ท่ป็ระชุม ADMM - Plus

ยังได้้ร่วมแลักเปลี่่ยนมุมมองด้้านความมันคงของภูมิภาคโด้ยเห็นพื่้องกับการรักษาความต่่อเน่องของความ

ร่วมม่อด้้านความมันคงท่เป็็นผลัป็ระโยชน์ร่วมกัน แลัะได้้แสด้งความกังวลัในการแก้ไขปััญหาทะเลจ ีนใต้้

โด้ยให้แสวงหาแนวทางอย่างสันติิแลัะสร้างสรรค์ อ่กทังยังเห็นพื่้องถึึงแนวทางการดำำาเนินความร่วมม่อ

ด้้านความมันคงในอนาคติ การปรัับตััวของหน่วยงานแลัะองค์กรต่่าง ๆ ภายในป็ระเทศ ให้สามารถขัับเคลั่อนได้้

ภายใต้้ฐานวิถุ่ช่วิติใหม่ (New Normal)

นอกจากน่ กระทรวงกลาโหมยังได้ส่งเสริมบทบาทของไทยในัเวทีระหว่างประเทศู โด้ยได้้ม่ส่วนร่วม

ในการป็ฏิิบัติิการร่วม/ผสมระหว่างป็ระเทศมาอย่างต่่อเน่อง ทังการเข้าร่วมในการป็ฏิิบัติิเพื่่อสันติิภาพื่ภายใต้้

กรอบสหป็ระชาชาติิ การให้ความช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมแลัะการบรรเทาภัยพื่ิบัติิแลัะการป็ฏิิบัติิการ

เพื่่อความมันคงทางทะเลั ทังในระดัับหน่วยแลัะระดัับบุคคลั

ยกตััวอย่างเช่น การส่งกำล ังทหารไปร่วมปฏิิบัติิภัารกิจร ักษาสันัติิภัาพภัายใต้้กรอบขององค์การ

สหประชาชาติิในัสาธารณร ัฐเซึ่าท์ซึู่ดานั (UNMISS) ซึ่่งองค์การสหป็ระชาชาติิได้้จัดตั้้งภารกิจน่ติังแต่่การ

ได้้รับเอกราชของป็ระเทศซึู่ด้านใต้้ (South Sudan) ในปีี ๒๕๕๔ เพื่่อช่วยเหลืือสร้างเสริมสันติิภาพื่แลัะ

สร้างเสถีียรภาพื่ของป็ระเทศซึู่ด้านใต้้ แต่่ภายหลัังความขัด้แย้งระหว่างผู้นำาในรัฐบาลัแลัะกองกำาลัังติิด้อาวุธ

ต่่างๆ จนลุุกลัามเป็็นสงครามกลัางเม่องรอบใหม่ เม่อปีีี ๒๕๕๖ ต่่อเน่องมาถึึงป็ี ๒๕๕๙ คณะมนตรีีความมันคง

แห่งสหป็ระชาชาติิ (UNSC) ได้้ม่มติิให้เพิ่่ มกองกำาลัังทหารแลัะตำำารวจในภารกิจ เพื่่อบังคับใช้มาติรการ

ติามอาณัติิฯ (Mandate) โด้ยเฉพื่าะการป็กป็้องคุ้มครองพื่ลัเร่อนแลัะการช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมให้กับ

ป็ระชาชนท่อยู่ในภาวะสงคราม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


76

ป็ระเทศไทยในฐานะสมาชิกขององค์การสหป็ระชาชาติิ ได้้รับ การทาบทามให้เข้าร่วมภารกิจรักษา

สันติิภาพื่ในซึู่ด้านใต้้ (UNMISS) ซึ่่งเป็็นการป็ฏิิบัติิงานภายใต้้กรอบขององค์การสหป็ระชาชาติิ ร่วมกับป็ระเทศ

ต่่างๆ กว่า ๔๒ ชาติิ แลัะเป็็นป็ระเทศท่ส่งทหารในรูป็แบบกองกำาลัังเป็็นชาติิท่ ๑๕ ทังน่ องค์การสหป็ระชาชาติิ

เป็็นผู้รับผิด้ชอบค่าใช้จ่ายในการเคลั่อนย้ายยุทโธป็กรณ์แลัะเคร่องม่อทางการช่างทังไป็แลัะกลัับ เพื่่อใช้ในการ

ป็ฏิิบัติิ รวมทังค่าใช้จ่ายทังในส่วนของค่าเบ่ยเลั่ยงกำาลัังพื่ลัแลัะค่าเช่าเคร่องม่อท่ป็ระเทศไทยนำามาใช้ในการ

ป็ฏิิบัติิงาน โด้ยค่นเป็็นเงินให้กับป็ระเทศไทย

โด้ยติังแต่่เดืือนธันวาคม ๒๕๖๑ กองร้อยทหารช่างของไทยได้้เดิินทางไป็ป็ฏิิบัติิหน้าท่ติามท่ได้้รับ

มอบหมายในการก่อสร้างเส้นทางแลัะสิงอำานวยความสะด้วกต่่างๆ เพื่่อให้เจ้าหน้าท่รักษาสันติิภาพื่แลัะองค์กร

ความช่วยเหลืือต่่างๆ ของสหป็ระชาชาติิ สามารถุเข้าไปช ่วยเหลืือป็กป้้องคุ้มครองพื่ลัเร่อนในพื้้ นท่สงคราม

แลัะนำาสิงของบรรเทาทุกข์ ติลัอด้จนการช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมให้แก่พื่ลัเร่อนซึู่ด้านใต้้ นอกจากน่ กองร้อย

ทหารช่างของไทยยังได้้สร้างความสัมพื่ันธ์กับป็ระชาชนท้องถุิน ได้้จัดตั้้งศูนย์การเร่ยนรู้เศรษฐกิจพื่อเพื่่ยง

นำาพื่่ชผลัทางการเกษติรไป็เพื่าะป็ลัูก พื่ร้อมเผยแพื่ร่องค์ความรู้ให้กับชาวซึู่ด้านใต้้แลัะทหารมิติรป็ระเทศ

รวมทังเผยแพื่ร่วัฒนธรรมไทยติามวาระแลัะโอกาสต่่างๆ ควบคู่กันไป็

ซึ่่งผลัการป็ฏิิบัติิงานอย่างทุ่มเทเพื่่อดำำารงไว้ซึ่่งเก่ยรติิแลัะศักด้ิศร่ของป็ระเทศ ทำาให้ได้้รับความช่นชม

ทังจากชาวซึู่ด้านแลัะสหป็ระชาชาติิเป็็นอย่างมาก โด้ยเฉพื่าะ นายเดวิิด้ เช่ยเรอร์ (Mr. David Shearer)

ผู้แทนพื่ิเศษของเลัขาธิการสหป็ระชาชาติิ ผู้บริหารสูงสุด้ของภารกิจ ได้้กล่่าวช่นชมทหารไทยว่า แม้จะต้้องอยู่

ภายใต้้สถุานการณ์อันยากลำำาบากแลัะความเส่ยงจากการแพื่ร่ระบาด้ของโควิด้-19 แต่่ทหารไทยได้้แสด้งให้

เห็นถึึงความอด้ทนแลัะความเป็็นม่ออาช่พื่ในการรักษาสันติิภาพื่ ท่จะย่นหยัด้ในภารกิจแลัะธำารงไว้ซึ่่งการ

ป็ฏิิบัติิงานติามอาณัติิฯ ของคณะมนตรีีความมันคงแห่งสหป็ระชาชาติิได้้อย่างยอด้เย่ยม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


77

นอกจากน่ พื่ลัโท ไซึ่ลั่ส ทิไนคาร์ (Lt.Gen. Shailesh Tinaikar) ผู้บัญชาการกองกำาลัังสหป็ระชาชาติิ

ในภารกิจฯ ยังได้้อนุมัติิแลัะลังนามในใบป็ระกาศเก่ยรติิคุณยกย่องการป็ฏิิบัติิงานให้กับหน่วยทหารไทย

“กองร้อยทหารช่างเฉพื่าะกิจ ผลััด้ท่ ๑” รวมทัง กำาลัังพื่ลัของกองร้อยทหารช่างเฉพื่าะกิจฯ ผลััด้ท่ ๑ ทุกนาย

ยังได้้รับเหร่ยญรักษาสันติิภาพื่ของสหป็ระชาชาติิป็ระดัับหมายเลัข ๓ บนแพื่รแถุบ พื่ร้อมใบป็ระกาศเก่ยรติิคุณ

(Certif icate of Commendation) ในฐานะเจ้าหน้าท่รักษาสันติิภาพื่ของกองกำาลัังสหป็ระชาชาติิ (Troop

Contributing Countries: TCC) ซึ่่งป็ฏิิบัติิงานยาวนานท่สุด้มากกว่ากองกำาลัังใด้ๆ ของสหป็ระชาชาติิอ่กด้้วย

กล่่าวโด้ยสรุป็ กระทรวงกลัาโหมในฐานะกลัไกของรัฐบาลั ได้้ม่บทบาทสำคััญในการสนับสนุนงานมิติิ

ด้้านการต่่างป็ระเทศ นอกเหน่อจากบทบาทในฐานะหน่วยงานด้้านความมันคง โด้ยได้้ดำำาเนินการพื่ัฒนาความ

สัมพื่ันธ์แลัะส่งเสริมความร่วมม่อทังในระดัับทวิภาค่แลัะพื่หุภาค่กับป็ระเทศรอบบ้าน ป็ระเทศสมาชิกอาเซึ่่ยน

มหาอำานาจแลัะมิติรป็ระเทศอย่างสมดุุลั เพื่่อส่งเสริมสภาวะแวด้ลั้อมระหว่างป็ระเทศท่เหมาะสมกับการรักษา

ผลัป็ระโยชน์ของไทย โด้ยมุ่งหวังท่จะเสริมสร้างความไว้เน่อเช่อใจแลัะการพื่ัฒนาศักยภาพื่แลัะขีีดความสามารถุ

ในการป็ฏิิบัติิการร่วมกัน เพื่่อรับม่อต่่อความท้าทายด้้านความมันคงในปััจจุบัน เพื่่อเป้้าหมายในการเสริมสร้าง

สันติิภาพื่

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


78

การฝึึกรวม/ผส่มกับมิติรประเทศ

การเสริมสร้างความสัมพื่ันธ์ท่ดีีแลัะความร่วมม่อด้้านความมันคงกับป็ระชาคมระหว่างป็ระเทศทังใน

ระดัับภูมิภาคแลัะในระดัับโลัก เป็็นยุทธศาสตร์์หน่งในการสร้างความเช่อมัน ลัด้ความหวาด้ระแวง แลัะนำาไป็

สู่ความไว้เน่ อเช่อใจกัน ช่วยเหลืือกันในการป้้องกันยับยั งภัยคุกคามด้้านความมั นคงในภูมิภาค โด้ยส่วนหน่ง

ของความร่วมม่อด้้านความมั นคงก็ค่อการฝั่ึกร่วม/ผสมระหว่างกองทัพื่มิติรป็ระเทศท่ม่ทังการฝึึกในระดัับ

ทวิภาค่แลัะพื่หุภาค่ ซึ่่งนอกจากจะเป็็นการเสริมสร้างความสัมพื่ันธ์อันดีีแลัะความร่วมม่อทางทหารบนพื้้นฐาน

ของการได้้รับป็ระโยชน์ร่วมกันแล้้ว ยังสามารถนำำาความรู้แลัะป็ระสบการณ์ท่ได้้รับมาป็ระยุกต์์ใช้เพื่่อพื่ัฒนา

ศักยภาพื่แลัะขีีดความสามารถุของกำาลัังพื่ลัให้ม่ความพื่ร้อมในการแก้ไขปััญหาแลัะรับม่อกับภัยคุกคามร่วมใน

ภูมิภาค ซึ่่งกองทัพื่ไทยม่ความจำาเป็็นต้้องเตรีียมกำาลัังเพื่่อสนับสนุนการดำำาเนินการในกรอบความร่วมม่อด้้าน

ความมันคงกับป็ระเทศมหาอำานาจ ป็ระเทศสมาชิกอาเซึ่่ยน แลัะป็ระเทศคู่เจรจา

กระทรวงกลาโหม ได้ร่วมกับมิติรประเทศูจััดให้มีการฝั่ึกร่วม/ผสมทางทหารทีสำคััญ ดัังน่

การฝั่ึก Cobra Gold

การฝั่ึก Cobra Gold เป็็นการฝึึก

ทางทหารร่วมผสมนานาชาติิหร่อการฝึึก

แบบพื่หุภาค่ระหว่างกองทัพื่ไทย กองทัพื่

สหรัฐอเมริกา แลัะกองทัพื่มิติรป็ระเทศ

ซึ่่งเริมฝึึกครังแรกเม่อปีี ๒๕๒๕ โด้ยม่

วัติถุุป็ระสงค์เพื่่อพื่ัฒนาความร่วมม่อด้้าน

ความมั นคง ในการแก้ไขสถุานการณ์ความ

ขัด้แย้ง มุ่งไปสู่การเป็็นกองกำาลัังรักษา

สันติิภาพื่นานาชาติิ รวมทั งเตร ียมความ

พื่ร้อมในการช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรม

แลัะการบรรเทาภัยพื่ิบัติิ ติลัอด้จนส่งเสริม

ความสัมพื่ันธ์ทางทหารระหว่างกองทัพื่

มิติรป็ระเทศท่เข้าร่วมการฝึึก

สำาหรับปีี พื่.ศ.๒๕๖๓ การฝึึก

คอบร้าโกลัด้์ ๒๐ นับเป็็นครังท่ ๓๙ (Heavy

Year) ระหว่างวันท่ ๒๔ กุมภาพื่ันธ์ - ๖

ม่นาคม ๒๕๖๓ โด้ยมีีประเทศสมาชิกเข้าร่วม

การฝึึก ๒๔ ป็ระเทศ แลัะม่กำาลัังพื่ลัท่เข้าร่วม

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


79

การฝึึกฯ รวม ๑๐,๙๔๕ นาย ป็ระกอบด้้วย ป็ระเทศไทย ๓,๘๘๑ นาย สหรัฐฯ ๖,๕๘๔ นาย สิงคโปร์์ ๕๒ นาย

ญ่ปุ่่น ๒๔๕ นาย อินโดนีีเซึ่่ย ๕๐ นาย สาธารณรัฐเกาหลีี ๒๔ นาย มาเลัเซึ่่ย ๕๑ นาย ป็ระเทศท่เข้าร่วม

การฝึึกเพิ่่มเติิมในโครงการช่วยเหลืือป็ระชาชน (HCA) ๒ ป็ระเทศ ได้้แก่ ป็ระเทศสาธารณรัฐป็ระชาชนจ่น

๒๕ นาย แลัะอินเดีีย ๕ นาย ป็ระเทศท่เข้าร่วมโครงการฝ่่ายเสนาธิการผสมส่วนเพิ่่ มนานาชาติิ (MPAT)

๗ ป็ระเทศ รวม ๑๓ นาย ป็ระกอบด้้วย ป็ระเทศออสเติรเลีีย แคนาด้า ฝ้รังเศส อังกฤษ เนป็าลั ฟิิลิิป็ป็ินส์

แลัะฟิิจิ ป็ระเทศท่เข้าร่วมสังเกติการณ์การฝึึก (COLT) ๘ ป็ระเทศ รวม ๑๕ นาย ป็ระกอบด้้วย ป็ระเทศ

สาธารณรัฐป็ระชาชนลัาว เว่ยด้นาม เม่ยนมา ป็าก่สถุาน อิสราเอลั เยอรมน่ สว่เด้น แลัะสวิติเซึ่อร์แลันด์์

โด้ยม่ขอบเขติการฝึึกท่สำคััญ ได้้แก่ การฝึึกปััญหาท่บังคับการ (Command Post Exercise: CPX) การฝึึก

ภาคสนาม (Field Training Exercise: FTX) โครงการช่วยเหลืือป็ระชาชน (Humanitarian Civic Assistance:

HCA) แลัะการสัมมนาผู้บริหารระดัับสูง (Senior Leadership Seminar: SLS) โด้ยม่รายลัะเอ่ยด้ด้ังน่

๑. การฝั่ึกปัญหาทีบังคับการ (CPX) เป็็นการนำาแผนยุทธการท่ได้้ไป็ใช้ในการฝึึกปััญหาท่บังคับการ

ในกองบัญชาการกองกำาลัังผสมนานาชาติิ แลัะกองบัญชาการของหน่วยรอง เพื่่อเพิ่่ มขีีดความสามารถุ

การป็ฏิิบัติิการร่วม/ผสม แลัะสามารถุป็ฏิิบัติิติามแผนได้้อย่างมันใจ

๒. การฝั่ึกแลกเปลียนัและการฝั่ึกภัาคสนัาม (Cross Training Exercise: /Field Training

Exercise : FTX) เป็็นการฝึึกยุทธวิธ่ระหว่างเหล่่าทัพื่ร่วมกับฝ่่ายสหรัฐฯ แลัะมิติรป็ระเทศ เช่น การฝึึกของ

กองกำาลัังทหารบกผสม การฝึึกของกองกำาลัังทหารเร่อผสม การฝึึกของกองกำาลัังนาวิกโยธินผสม การฝึึก

ของกองกำาลัังทหารอากาศผสม การฝึึกของหน่วยเฉพื่าะกิจป็ฏิิบัติิการพื่ิเศษร่วม/ผสม การฝึึกโจมตีีสะเทินนำา

สะเทินบก การฝึึกอพื่ยพื่พื่ลัเร่อนออกจากพื้้นท่ขัด้แย้ง การฝึึกดำำาเนินกลยุุทธ์ด้้วยกระสุนจริง การฝึึกกวาด้ลั้าง

ทุ่นระเบิด้แลัะการทำาลัาย การฝึึกภาคสนามทางไซึ่เบอร์

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


80

๓. การดำาเนิินัโครงการช่วยเหลือประชาชนั (HCA) ป็ระกอบด้้วย

การก่อสร้างอาคารอเนกป็ระสงค์ให้แก่โรงเร่ยนในจังหวัด้ในพื้้นท่ท่จัด้การฝึึก โด้ยหน่วยทหารท่

เข้าร่วมการฝึึก จำานวน ๗ โครงการ ได้้แก่ ๑) รร.บ้านแก่งหวาย จ.ระยอง ๒) รร.วัด้ติะเค่ยนทอง จ.จันทบุร่

๓) รร.บ้านนาอิสาน จ.ฉะเชิงเทรา ๔) รร.บ้านกร่าง จ.พื่ิษณุโลัก ๕) รร.วัด้ด้งข่อย จ.พื่ิษณุโลัก ๖) รร.บ้านวังไทร

จ.สุโขทัย แลัะ ๗) รร.บ้านคลัองไผ่งาม จ.สุโขทัย

การฝึึกช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมแลัะการบรรเทาภัยสาธารณภัย ซึ่่งมีีประเทศเข้าร่วมการฝึึก ๗ ป็ระเทศ

ได้้แก่ ป็ระเทศไทย สหรัฐฯ ญ่ ปุ่ ่น สิงคโปร ์ มาเลัเซึ่่ย อินโดน ีเซึ่่ย แลัะสาธารณรัฐป็ระชาชนจ่น ป็ระกอบด้้วย

การฝึึกแก้ปััญหาบนโต๊๊ะในส่วนการช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมแลัะการบรรเทาสาธารณภัย แลัะการฝึึกภาคสนาม

เช่น สถุาน่อาคารถุลั่มแลัะอัคค่ภัย สถุาน่อุทกภัย สถุาน่ด้ินถุลั่ม แลัะการบริการทางการแพื่ทย์

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


81

การดำำาเนินโครงการช่วยเหลืือทางการแพื่ทย์ (Medical Civic Assistant Project: MEDCAP)

โด้ยการจัดช ุด้แพื่ทย์เคลั่อนท่ให้การรักษาพื่ยาบาลัทัวไป็ แลัะบริการทันติกรรมแก่ป็ระชาชนในวันส่งมอบ

อาคารแต่่ลัะโครงการ

การจัดกิิจกรรมชุมชนสัมพื่ันธ์ (COMREL) โด้ยการจัดชุุด้อนุศาสนาจารย์ของฝ่่ายไทย แลัะฝ่่ายสหรัฐฯ

จำานวน ๑๐ นาย เข้าป็ฏิิบัติิการในพื้้นท่ ๗ โครงการก่อสร้าง แลัะพื้้นท่การฝึึก ๗ โครงการ รวม ๑๔ โครงการ

๔. การสัมมนัาผู้บริหารระดับสูง (SLS) ในหัวข้อ “ASEAN Military Ready Group (AMRG) Role

in Disaster Relief บทบาทของ ASEAN Military Ready Group (AMRG) ในการรับม่อกับการบรรเทา

สาธารณภัย” มีีประเทศเข้าร่วม จำานวน ๙ ป็ระเทศ ได้้แก่ ป็ระเทศไทย สหรัฐอเมริกา ญ่ปุ่่น สาธารณรัฐเกาหลีี

สิงคโปร์์ มาเลัเซึ่่ย อินโดนีีเซึ่่ย อินเดีีย แลัะสาธารณรัฐป็ระชาชนจ่น

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


82

ประโยชน์์ทีได้รับจัากการจััดการฝั่ึกคอบร้าโกลด์ แบ่งเป็็น ๓ ระดัับ ป็ระกอบด้้วย

๑. ระดับประเทศู เป็็นการสร้างภาพื่ลัักษณ์ท่ดีีในระดัับนานาชาติิ ในการเตรีียมความพื่ร้อมด้้านการ

ทหารท่ม่ความเข้มแข็ง ทันสมัย สามารถุติอบสนองภารกิจด้้านความมันคงในทุกมิติิ เช่น การรักษาสันติิภาพื่

การช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมแลัะการบรรเทาสาธารณภัยต่่างๆ ได้้อย่างมีีประสิทธิภาพื่ ยังถืือเป็็นกลัไกใน

การเสริมสร้างความร่วมม่อทางทหารท่เป็็นรูป็ธรรม รวมทังลัด้ความหวาด้ระแวง แลัะสร้างความไว้เน่อเช่อใจ

ระหว่างกัน

๒. ระดับกองทัพ เป็็นการพื่ัฒนาขีีดความสามารถุทางทหาร ในการป็ฏิิบัติิงานร่วมกันระหว่างกองทัพื่ไทย

กับกองทัพื่มิติรป็ระเทศ เพื่่อเป็็นหลัักป็ระกันความพื่ร้อมในการป็ฏิิบัติิภารกิจของกองทัพื่ไทยในทุกมิติิ

ทังภายในแลัะภายนอกป็ระเทศ โด้ยเฉพื่าะการช่วยเหลืือด้้านมนุษยธรรมแลัะการบรรเทาสาธารณภัยซึ่่ง

ภัยพื่ิบัติิม่ความถุ่ท่จะเกิดบ่่อยข่นแลัะม่ความรุนแรงมากข่ น อันเป็็นการเสริมสร้างเสถีียรภาพื่ด้้านความมั นคง

ให้แก่ภูมิภาคอย่างยังย่น

๓. ระดับพืนัที ท่เข้าทำาการฝึึกฯ ได้้รับป็ระโยชน์จากการฝึึกในส่วนโครงการก่อสร้างอาคารต่่างๆ

เพื่่อเป็็นสาธารณป็ระโยชน์ของโครงการช่วยเหลืือป็ระชาชน นอกจากนั นยังเป็็นการส่งเสริมการท่องเท่ยว

แลัะสร้างรายได้้ให้กับท้องถุิ น รวมทั งเป็็นการสร้างภาพื่ลัักษณ์ท่ดีีของป็ระเทศไทยในสายติาของกำาลัังพื่ลั

มิติรป็ระเทศ ท่เข้าร่วมการฝึึกอ่กด้้วย

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


83

การฝึึกผส่ม Lightning Forge

กองทัพื่บกได้้จัดส่่งกำาลัังพื่ลัไป็เข้าร่วมการฝึึกผสม Lightning Forge 20 ณ มลรััฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา

ซึ่่งเป็็นหน่งในกลัไกการเสริมสร้างความสัมพื่ันธ์ท่ดีีแลัะความร่วมม่อด้้านความมั นคงกับป็ระชาคมระหว่าง

ป็ระเทศทังในระดัับภูมิภาคแลัะในระดัับโลัก โด้ยป็ระเทศไทยแลัะสหรัฐอเมริกาม่ความสัมพื่ันธ์ทางทหารอย่าง

แน่นแฟ้้นแลัะยาวนาน ซึ่่งไทยแลัะสหรัฐฯ ได้้ม่ความร่วมม่อทางทหารในการพื่ัฒนาศักยภาพื่กองทัพื่อย่าง

ต่่อเน่อง ทังด้้านกำาลัังพื่ลั ยุทโธป็กรณ์ การฝึึกศ่กษา แลัะการพื่ัฒนาหลัักนิยมให้ม่ความทันสมัย ซึ่่งกองทัพื่ก็ได้้

ม่การพื่ัฒนาแลัะเสริมสร้างความร่วมม่อทางทหารอย่างต่่อเน่อง โด้ยกองทัพื่บกไทยแลัะกองทัพื่บกสหรัฐฯ ได้้

ดำำาเนินการความร่วมม่อทางทหารในระดัับกองทัพื่บกของทังสองป็ระเทศ โด้ยเม่อปีี ๒๕๖๑ ได้้ม่ความติกลังท่

จะยกระดัับแลัะขยายขอบเขติความร่วมม่อระหว่างกันเพิ่่มเติิม ด้้วยการจัดส่่งกำาลัังพื่ลัระดัับกองร้อยเดิินทาง

ไป็สหรัฐอเมริกา เพื่่อเข้าร่วมติรวจสอบแลัะป็ระเมินผลร่่วมกับกองทัพื่บกของสหรัฐฯ ณ ศูนย์ฝึึกทางยุทธวิธ่

กองทัพื่บกสหรัฐฯ โด้ยได้้จัดท ำาเป็็นแผนงานความร่วมม่อระหว่างกองทัพื่บกไทยกับกองทัพื่บกสหรัฐฯ

(Agreed-to-Action Plans for Year 2019: ATA-19) รวมทั งได้้กำาหนด้รหัสการฝึึกผสมภายใต้้ช่อ Lightning

Forge เพื่่อให้ทังสองป็ระเทศได้้จัด้เตร ียมกำาลัังพื่ลัแลัะแผนงานด้้านงบป็ระมาณสำาหรับการฝึึกผสม

ท่จะม่ข่ นต่่อเน่องกันไป็ในทุกๆ ปีี

ซึ่่งในปีี ๒๕๖๑ กองทัพื่บกก็ได้้จัดส ่งกำาลัังพื่ลัขนาด้ ๑ กองร้อยทหารราบ เข้าร่วมการฝึึกผสม

Lightning Forge 19 กับกองทัพื่บกของสหรัฐฯ ระยะเวลัา ๒๑ วัน ในช่วงเดืือนพื่ฤษภาคม - มิถุุนายน ๒๕๖๒

ซึ่่งเป็็นการฝึึกทักษะการใช้อาวุธ แลัะการป็ฏิิบัติิการทางทหารอ่นๆ ติามหลัักนิยมของสหรัฐฯ

สำาหรับปีี ๒๕๖๓ ได้้เกิด้การแพื่ร่ระบาด้ของโควิด้-19 ซึ่่งกองทัพื่บกได้้ติิด้ติามสถุานการณ์การแพื่ร่

ระบาด้ของโควิด้-19 ในสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้้ชิด้แลัะได้้ป็ระเมินสถุานการณ์อย่างต่่อเน่องโด้ยเฉพื่าะมาติรการ

ป้้องกันแลัะควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา รวมถึึงพื้้นท่การฝึึกของกองทัพื่บกสหรัฐฯ ก่อนพื่ิจารณาติกลังใจ

จัดส ่งกำาลัังกองร้อยทหารราบไป็เข้าร่วมการฝึึกผสม Lightning Forge 20 กับกองพื่ลัทหารราบท่ ๒๕

กองทัพื่บกสหรัฐฯ ซึ่่งเป็็นไป็ติามแผนการป็ฏิิบัติิภายใต้้กรอบความร่วมม่อแลัะความติกลังท่ได้้ม่การผูกพื่ันกัน

ไว้ติังแต่่ปีี ๒๕๖๑ โด้ยฝ่่ายสหรัฐฯ ได้้เตร ียมการรองรับการฝึึกครังน่ไว้เร่ยบร้อยแล้้ว จ่งไม่สามารถุเลั่อน

กำาหนด้การฝึึกออกไป็ได้้

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


84

การเข้าร่วมการฝึึกครังน่ นอกจากจะเป็็นการรักษาระดัับความสัมพื่ันธ์แลัะเสริมสร้างความร่วมม่ออันดีี

ระหว่างกันแล้้ว กองทัพื่บกยังได้้รับป็ระโยชน์จากการฝึึกอ่กด้้วย เน่องจากได้้ม่การจัดก ำาลัังพื่ลัจากทุกกองทัพื่ภาค

แลัะนักเร่ยนนายร้อยชันปีีท่ ๕ เข้าร่วมการฝึึกในครังน่ โด้ยกำาลัังพื่ลัทังหมด้ท่เข้าร่วมการฝึึกได้้รับ

ป็ระสบการณ์แลัะความรู้ รวมถึึงทักษะทางทหารเพิ่่มมากข่น แลัะยังสามารถนำำาความรู้ท่ได้้รับไป็ถุ่ายทอด้ให้

แก่กำาลัังพื่ลัของหน่วยตินเอง อันจะเป็็นการพื่ัฒนาแลัะยกระดัับขีีดความสามารถุของกำาลัังพื่ลัแลัะป็ระสิทธิภาพื่

ในการป็ฏิิบัติิภารกิจในภาพื่รวมของกองทัพื่บก

เพื่่อเป็็นการรับป็ระกันว่า ทหารท่ไป็ฝ้ึกต่่างป็ระเทศในช่วงการแพื่ร่ระบาด้ของโควิด้-19 จะไม่ได้้นำา

เช่อโควิด้-19 กลัับมาแพื่ร่ระบาด้ภายในป็ระเทศนัน กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบกได้กำาหนัดมาติรการ

ป้องกันัและควบคุมโรคที สอดคล้องกับข้อแนัะนำำาของกระทรวงสาธารณส ุขติังแต่่ก่อนัเดินัทาง ระหว่าง

เข้าร่วมการฝั่ึก และภัายหลังเสร็จัสินัการฝั่ึกจันัเดินัทางกลับประเทศูไทย ดัังน่

ก่อนัออกเดินัทาง กองทัพื่ได้้ทำาการฝึึกเตรีียมการในพื้้นท่กองทัพื่ภาคท่ ๒ โด้ยม่การวางแผนร่วมกับ

กองทัพื่บกสหรัฐฯ อย่างใกล้้ชิด้ ในการกำาหนด้มาติรการป้้องกันแลัะควบคุมการแพื่ร่ระบาด้ของโควิด้-19

โด้ยทำาการกักกันแลัะสังเกติอาการติามมาติรฐานของการควบคุมโรคติิด้ติ่อ ณ ค่ายสุรนาร่ จ.นครราชส่มา

ระยะเวลัา ๑๔ วัน พื่ร้อมทัง ม่การดำำาเนินการติรวจหาเช่อ จำานวน ๒ ครัง ซึ่่งม่ผลัติรวจเป็็นลับทุกนาย

ระหว่างเข้าร่วมการฝั่ึก ณ ค่ายทหารสหรัฐฯ (สกอฟิิลัด้์) มลรััฐฮาวาย โด้ยได้้ทำาการฝึึกภายใต้้การ

ควบคุมติามมาติรการป้้องกันแลัะควบคุมการแพื่ร่ระบาด้ในพื้้นท่ท่ทำาการฝึึก (Bubble Training) อย่างเคร่งครัด้

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


85

หลังเสร็จัสินัการฝั่ึก กำาลัังพื่ลัทุกนายได้้เดิินทางกลัับถึึงป็ระเทศไทย เม่อวันท่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓

โด้ยผ่านการคัด้กรองติามมาติรการ แลัะได้้เดิินทางไปยัังพื้้นท่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ในพื้้นท่

จ.ชลบุุร่ เพื่่อคุมไว้สังเกติอาการ ๑๔ วัน โด้ยได้้ป็ฏิิบัติิติามมาติรการด้้านสาธารณสุขท่ศูนย์บริหารสถุานการณ์

โควิด้-19 กำาหนด้ไว้อย่างเคร่งครัด้ ซึ่่งผลัการติรวจหาเช่อครังท่สองก่อนป็ลั่อยตััวกลัับบ้านนัน ไม่พื่บผู้ติิด้เช่อ

เพิ่่มเติิม สำาหรับกำาลัังพื่ลัทั งหมด้ท่ติิด้เช่อโควิด้-19 ได้้ถููกส่งตััวเข้ารับการรักษา ณ โรงพื่ยาบาลัพื่ระมงกุฎเกล้้า

โด้ยได้้รับการดููแลรัักษาจนหายป่่วยแลัะป็ลัอด้เช่อแล้้ว

การฝั่ึก COPE TIGER เป็็นการฝึึกระหว่างกองทัพื่อากาศ ๓ ป็ระเทศ ได้้แก่ ป็ระเทศไทย สิงคโปร์์

แลัะสหรัฐอเมริกา เป็็นการฝึึกการสนธิกำาลัังทางอากาศขนาด้ใหญ่ท่สุด้ในภูมิภาคเอเช่ยติะวันออกเฉ่ยงใต้้

โด้ยในปีี ๒๕๖๓ ระหว่างท่ได้้ม่การเตร ียมการจัด้การฝึึกติามแผนท่กำาหนด้ไว้ร่วมกันนัน ได้้เกิด้สถุานการณ์

การแพื่ร่ระบาด้ของโควิด้-19 ทำาให้กองทัพื่อากาศต้้องปร ับแผนการฝึึกใหม่ โด้ยยกเลิิกการฝึึกบินป็ระกอบ

กำาลัังขนาด้ใหญ่ เพื่่อให้สอด้คล้้องกับสถุานการณ์ แต่่ยังคงวัติถุุป็ระสงค์การฝึึกไว้ให้มากท่สุด้ โด้ยเฉพื่าะ

การรักษาระดัับความพื่ร้อมของกองทัพื่ในการป็ฏิิบัติิภารกิจแลัะการพื่ัฒนาขีีดความสามารถุของกำาลัังพื่ลั

อย่างไรก็ติาม กองทัพื่อากาศได้้ยกเลิิกการฝึึกก่อนกำาหนด้ เพื่่อป็ฏิิบัติิติามมาติรการป้้องกันแลัะควบคุมโรค

ของศูนย์บริหารสถุานการณ์โควิด้-19

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


86

การฝึึกครังน่ ป็ระกอบด้้วยการฝึึกด้้านต่่างๆ ได้้แก่ ๑) การฝั่ึกภัาคอากาศู เช่น การบินติอบโต้้ทาง

อากาศเชิงรุกแลัะเชิงรับ การบินโจมตีีทางอากาศ การบินขับไล่่ขันมูลัฐาน การบินรบในอากาศ การบินขัด้ขวาง

ทางอากาศ การบินลัาด้ติระเวนถ่่ายภาพื่ทางอากาศ การบินเดิินทางติำาแลัะทิงสิงบริภัณฑ์์ รวมถึึง การบินค้นหา

แลัะช่วยช่วิติในพื้้นท่การรบ ๒) การฝั่ึกภัาคพืนั เช่น การต่่อสู้อากาศยานร่วมซึ่่งเป็็นการบูรณาการกำาลัังของ

หน่วยป้้องกันภัยทางอากาศของระหว่างกองทัพื่บก กองทัพื่เร่อ แลัะกองทัพื่อากาศ เพื่่อให้กำาลัังพื่ลัม่ความรู้

ความเข้าใจคุณลัักษณะแลัะขีีดความสามารถุของอาวุธต่่อสู ้อากาศยานของแต่่ลัะเหล่่าทัพื่ พื่ร้อมทังม่ความรู้

ความเข้าใจเร่องการวางกำาลััง ให้เป็็นไป็ติามหลัักการใช้กำาลััง แลัะ ๓) การฝั่ึกในส่่วนบััญชาการและควบคุม

โด้ยกองทัพื่อากาศสามารถก ำาหนดว ัติถุุป็ระสงค์แลัะทด้สอบแนวคิด้ ยุทธวิธ่การป็ฏิิบัติิร่วมในการป้้องกันภัย

ทางอากาศท่ไม่สามารถุป็ฏิิบัติิได้้เม่อฝึึกร่วมกับมิติรป็ระเทศ การทด้สอบยุทธวิธีีตอบโต้้ระบบป้้องกันภัยทาง

อากาศระยะป็านกลัาง - ไกลั แลัะทด้สอบขีีดความสามารถุของเคร่องบินท่ม่ระบบเคร่อข่าย แลัะไม่ม่ระบบ

เคร่อข่ายในยุทธวิธ่แบบต่่างๆ

ทังน่ ผลัจากการฝึึกครังน่ ทำาให้กองทัพื่อากาศสามารถุติรวจสอบมาติรฐานการบินแลัะป็ระเมิน

ขีีดความสามารถุของหน่วยบินติามหลัักนิยมกองทัพื่อากาศ พื่.ศ. ๒๕๖๒ แลัะยุทธศาสตร์์กองทัพื่อากาศ ๒๐ ปีี

(พื่.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ได้้เป็็นอย่างดีี อันเป็็นการแสด้งถึึงความพื่ร้อมในการป็กป้้องอธิป็ไติยแลัะรักษา

ผลัป็ระโยชน์ของชาติิ สร้างความอุ่นใจให้แก่พี่่น้องป็ระชาชนในการดำำาเนินช่วิติได้้อย่างป็กติิสุขติลัอด้เวลัา

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


87

การสนัับสนุุนโครงการเขติพััฒนาพิิเศษภาคติะวันออก

รัฐบาลัได้้ดำำาเนินการ โครงการเขตพััฒนัาพิเศูษภัาคติะวันัออก หร่อ East Economy Corridor (EEC)

ติามแผนยุทธศาสตร์์ต่่างป็ระเทศภายใต้้ไทยแลันด์์ ๔.๐ ท่ต่่อยอด้ความสำาเร็จมาจากแผนพื่ัฒนาเศรษฐกิจภาค

ติะวันออก หร่อ Eastern Seaboard ท่ดำำาเนินมาติลัอด้กว่า ๓๐ ปีีท่ผ่านมา โด้ยโครงการน่เป็็นส่วนสำคััญท่

ผลัักดัันให้ป็ระเทศม่การพื่ัฒนาอย่างรวด้เร็ว ส่งผลัให้พื้้นท่ภาคติะวันออกกลัายเป็็นฐานการผลิิตอุุติสาหกรรม

สำค ัญ แลัะด้้วยความพื่ร้อมด้้านโครงสร้างพื้้นฐานเดิิมน่เอง รัฐบาลจ ึงมุ่งหวังว่าโครงการ EEC จะเป็็นความ

หวังใหม่ ในการขับเคลั่อนเศรษฐกิจป็ระเทศในยุคอุติสาหกรรม ๔.๐ แลัะม่เป้้าหมายเพื่่อยกระดัับพื้้ นท่เขติ

เศรษฐกิจภาคติะวันออกให้กลัายเป็็น “World-Class Economic Zone” รองรับการลังทุนอุติสาหกรรม

Super Cluster แลัะอุติสาหกรรมเป้้าหมายของป็ระเทศ รวมทังอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศ เพื่่อเป็็นกลัไก

ขับเคลั่อนเศรษฐกิจในอ่ก ๒๐ ปีีข้างหน้าซึ่่งจะกระตุ้้นให้เศรษฐกิจป็ระเทศขยายตััวอย่างมาก เกิด้การจ้างงาน

ติังแต่่ระดัับรากหญ้า จนถึึงระดัับมหภาคการผลิิติในภาคอุติสาหกรรมแลัะบริการ ดึึงดููดนัักท่องเท่ยวได้้มากกว่า

๑๐ ล้้านคนต่่อปีี แลัะสร้างฐานรายได้้เพิ่่มไม่น้อยกว่า ๔.๕ แสนล้้านบาทต่่อปีี

โด้ยในส่วนของการดำำาเนิน

โครงการพัฒนัาสนัามบินัอู่ติะเภัาและ

เมืองการบินัภัาคติะวันัออกบนพื้้นท่

๖,๕๐๐ ไร่ บริเวณสนามบินอู่่ตะเภา

นานาชาติิ จ.ระยอง ซึ่่งรัฐบาลมุ่่งหวังจะ

ผลัักดัันให้ป็ระเทศไทยเป็็นศูนย์กลัาง

ทางการบินแลัะป็ระตููเศรษฐกิจสู่เอเช่ย

รวมถึึงให้เกิด้การขยายการลังทุนมาสู่

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


88

พื้้นท่เขติพื่ัฒนาพื่ิเศษภาคติะวันออก หร่อ EEC ซึ่่งแต่่เดิิมสนามบินอู่่ตะเภาเป็็นสนามบินท่ใช้ป็ระโยชน์ทาง

ด้้านความมันคงเป็็นหลััก แต่่ปััจจุบันได้้ม่การปรัับเปลี่่ยนการใช้ป็ระโยชน์ของสนามบินติามนโยบายรัฐบาลั

เพื่่อเสริมศักยภาพื่เชิงพื่าณิชย์ แลัะเป็็นส่วนหน่งของการพื่ัฒนาเศรษฐกิจในภาพื่รวมของป็ระเทศให้มากยิงข่น

การดำาเนิินัการโครงการนัี มีสำานัักงานัคณ์ะกรรมการนัโยบายเขตพััฒนัาพิเศูษภัาคติะวันัออก

(สกพอ.) เป็นัหน่่วยงานัหลัก รับผิด้ชอบในภาพื่รวมของโครงการติามสัญญาร่วมลังทุนภาครัฐแลัะเอกชน

ซึ่่งกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพเรือ และ หน่่วยงานัอืนัๆ ทีเกียวข้องร่วมสนัับสนุุนัการดำาเนิินังานัในส่่วนั

ภัาครัฐรับผิดชอบ การดำำาเนินงานท่ผ่านมา สกพอ. ร้องขอ กองทัพเรือให้สนัับสนุุนัโครงการฯ ในัฐานัะผู้ใช้

ประโยชน์์จัากพืนัทีสนัามบินัอู่ติะเภัาเดิม (พืนัที ๖,๕๐๐ ไร่) และบริเวณ์ใกล้เคียง และในัฐานัะผู้ดูแลการ

รักษาความปลอดภััยและป้องกันัภััยให้กับสนัามบินั ทังน่เพื่่อให้การป็ระสานงาน การใช้ป็ระโยชน์ท่ดิินบริเวณ

โด้ยรอบสนามบินอู่่ตะเภาให้เกิด้ป็ระโยชน์สูงสุด้ทังในด้้านความมันคงแลัะเชิงพื่าณิชย์ อาทิ สนับสนุนการ

คัด้เลืือกเอกชนเข้าร่วมทุนกับภาครัฐ ซึ่่ง สกพื่อ. ได้้ร่วมลังนามสัญญากับบริษัท อู่่ตะเภา อินเติอร์เนชันแนลั

เอวิเอชัน จำกััด้ หร่อ UTA เร่ยบร้อยแล้้ว เม่อวันท่ ๑๙ มิถุุนายน ๒๕๖๓ ท่ผ่านมา ทำาให้รัฐได้้ผลัติอบแทน

จากโครงการฯ สูงกว่ารายได้้ป็ระมาณการเป็็นเงินจำานวนมาก (ป็ระมาณการรายได้้ จำานวนเงิน ๕๙,๐๐๐ ล้้านบาท

ผลัการคัด้เลืือกเอกชนเสนอให้ภาครัฐเป็็นจำานวนเงิน ๓๐๕,๕๕๕ ล้้านบาท)

นอกจากน่ กองทัพเรือได้สนัับสนุุนัการดำาเนิินังานก่่อสร้างโครงสร้างพืนัฐานัทีเกียวข้องกับโครงการฯ

เช่นั งานก่่อสร้างทางเชือมทางวิงที ๑ และทางขับกับลานัจัอดศููนย์์ซึ่่อมอากาศูยานัแห่งใหม่ การเตรีียม

การก่อสร้างทางวิงที ๒ และทางขับ และระบบสาธารณููปโภัคพืนัฐานั เป็นัติ้นั ทังน่เม่อดำำาเนินงานข้างต้้น

เร่ยบร้อยแล้้ว จะส่งมอบงานให้กับ สกพื่อ. เพื่่อดำำาเนินการติามสัญญาท่ได้้ร่วมทุนกับภาคเอกชนต่่อไป็

จากการดำำาเนินการของกองทัพื่เร่อ ติามท่ได้้กล่่าวข้างต้้น กองทัพเรือเป็นัเพียงหน่่วยงานัสนัับสนุุนั

การดำาเนิินัโครงการให้กับ สกพอ. ในส่วนท่ภาครัฐต้้องรับผิด้ชอบติามสัญญาร่วมทุนระหว่างภาครัฐแลัะเอกชน

สำาหรับการบริหารสนามบินอู่่ตะเภาในอนาคติ สกพื่อ. อยู่ระหว่างการแต่่งติังคณะกรรมการกำกัับสัญญาร่วม

ลังทุน แลัะคณะกรรมการบริหารสัญญาร่วมลังทุน เพื่่อกำกัับดููแลัแลัะบริหารสัญญาสนามบินอู่่ตะเภา ให้เป็็น

ไป็ติามสัญญาท่ได้้ร่วมทุนกับภาคเอกชน ซึ่่งจะเห็นได้้ว่ากองทัพื่เร่อไม่ได้้เข้าบริหารงานสนามบินอู่่ตะเภา

ในส่วนท่ม่การพื่ัฒนาร่วมกับภาคเอกชน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


89

อย่างไรก็ติาม กองทัพเรือยังสามารถใช้งานัสนัามบินัอู่ติะเภัา โดยเฉพาะอย่างยิง ทางวิงที ๑ และ

ทางขับ เพือรองรับภัารกิจด้้านัความมันัคงทีรับผิดชอบ ซึ่่งท่ผ่านมาได้้ใช้ป็ระโยชน์ในภารกิจต่่างๆ ท่สำคััญ

เช่น สนับสนุนการค้นหาแลัะช่วยเหลืือเด็็กแลัะเยาวชนท่ติิด้อยู่ภายในถุำาหลัวง-ขุนนำานางนอน การช่วยเหลืือ

ด้้านมนุษยธรรมแลัะการบรรเทาภัยพื่ิบัติิทังในป็ระเทศแลัะต่่างป็ระเทศ ซึ่่งเป็็นไป็ติามกรอบแนวทางการใช้

ป็ระโยชน์สนามบินร่วมกันระหว่างภารกิจเพื่่อความมันคงแลัะการบริหารงานในเชิงพื่าณิชย์ (Joint Use

Agreement) โด้ยจะเป็็นการใช้ทรัพื่ยากรท่ม่อยู่ร่วมกันอย่างมีีประสิทธิภาพื่ ทังในด้้านความมันคงแลัะ

การขับเคลั่อนเศรษฐกิจของชาติิควบคู่กันไป็อย่างสมดุุลั ติามนัโยบาย One Airport Two Mission โดยมี

เป้าหมายร่วมกันคืือ ผลประโยชน์์สูงสุดของประเทศูชาติิและประชาชนั

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


90

การพััฒนาอุติส่าหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหมในอนาคติ

รัฐบาลัได้้ให้ความสำคััญในการพื่ัฒนางานด้้านเทคโนโลยีีป้้องกันป็ระเทศ ดัังจะเห็นได้้จากยุทธศาสตร์์ชาติิ

(พื่.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ได้้ม่การกล่่าวถึึงการพื่ัฒนาอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศ ในยุทธศาสตร์์ด้้านความมันคง

แลัะยุทธศาสตร์์ชาติิด้้านการสร้างความสามารถุในการแข่งขัน ในป็ระเด็็นอุติสาหกรรมความมันคงของป็ระเทศ

โด้ยม่จุดมุ่งหมายในการต่่อยอด้พื่ัฒนาอุติสาหกรรมท่เก่ยวข้องในด้้านความมันคงของป็ระเทศให้ม่ความเข้มแข็ง

รวมทังในการแถุลังนโยบายของรัฐบาลั ได้้กำาหนด้นโยบายหลััก ๑๒ ด้้าน ซึ่่งการพื่ัฒนาเศรษฐกิจแลัะความสามารถุ

ในการแข่งขันของไทยโด้ยเฉพื่าะอุติสาหกรรมท่สามารถุติอบสนองการเปลี่่ยนแป็ลังเทคโนโลย ีหร่อแนวโน้ม

การค้าโลัก ซึ่่งอุติสาหกรรมท่เก่ยวข้องกับการส่งเสริมความมันคงของป็ระเทศท่รัฐบาลัให้ความสำค ัญนัน

หากจะพืู่ด้ให้ง่ายต่่อการเข้าใจก็ค่อ จะเป็็นอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศแลัะอุติสาหกรรมท่สามารถน ำามา

ป็ระยุกต์์ใช้ได้้กับภาคพื่ลัเร่อนหร่อเทคโนโลย ีสองทาง โด้ยในปััจจุบัน เทคโนโลย ีต่่างๆ ม่ความเก่ยวเน่อง

แลัะสามารถนำำามาสนับสนุนซึ่่งกันแลัะกันได้้เป็็นอย่างดีี

ภาพื่รวมในส่วนอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศท่กระทรวงกลัาโหมม่ข่ด้ความสามารถุในการผลิิติแลัะ

ภาคเอกชนท่อยู่ในการกำกัับดููแลัของกระทรวงกลัาโหมดำำาเนินการอยู่ในปััจจุบันนันม่มูลค่่าหลัายพื่ันล้้านบาท

หากรวมถึึงการผลิิติท่สามารถุใช้เทคโนโลย ีสองทางด้้วยแล้้วจะม่มูลค ่าเพิ่่มมากข่นอ่ก ซึ่่งจะม่ส่วนช่วยพื่ัฒนา

แลัะเพิ่่มศักยภาพื่ด้้านการแข่งขันแลัะช่วยพื่ัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคตอีีกทางหน่ง แลัะในปััจจุบันได้้ม่

การป็ระกาศให้อุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศเป็็น ๑ ในอุติสาหกรรมเป้้าหมายพื่ิเศษในพื้้ นท่เขติพื่ัฒนาพื่ิเศษ

ภาคติะวันออก หร่อ S-Curve 11 เม่อวันท่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒

ในการพื่ัฒนาอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศม่เป้้าหมายท่สำคััญเพื่่อมุ่งสู่การผลิิติใช้ในราชการ เพื่่อการ

พึ่่งพื่าตินเอง ลัด้การนำาเข้าจากต่่างป็ระเทศ แลัะส่งเสริมภาคเอกชนของไทยในการพื่ัฒนาต่่อยอด้ไปสู่่การผลิิติ

ในเชิงพื่าณิชย์เพื่่อการส่งออก ซึ่่งจะเป็็นการสร้างรายได้้ให้กับป็ระเทศโด้ยม่แนวทางการพื่ัฒนาดัังน่

๑. ส่งเสริมการจััดหายุทโธปกรณ์์จัากโรงงานัภัายในัประเทศู ด้้วยการบูรณาการความต้้องการของ

หน่วยงานต่่างๆ ในผลิิตภััณฑ์์ท่กระทรวงกลัาโหมแลัะภาคเอกชนไทยม่ข่ด้ความสามารถุในการดำำาเนินการแลัะ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


91

ส่งเสริมให้พื่ิจารณาจัด้หาจากโรงงานของกระทรวงกลัาโหมแลัะภาคเอกชนของไทยเป็็นอันดัับแรก ปััจจุบัน

กำาลัังจัดทำำาแนวทางการบูรณาการการผลิิตยุุทโธป็กรณ์ในภาพื่รวมของกระทรวงกลัาโหม

๒. พัฒนัาผลิติภััณ์ฑ์์อุติสาหกรรมป้องกันัประเทศูให้มีมาติรฐานัและติรงติามความต้้องการของ

หน่่วยผู้ใช้ ด้้วยการบูรณาการงานวิจัยพื่ัฒนา การมาติรฐาน แลัะการผลิิตยุุทโธป็กรณ์ระหว่างหน่วยงานภายใน

แลัะภายนอกกระทรวงกลัาโหม ติลัอด้จนการสร้างความร่วมม่อกับมิติรป็ระเทศ รวมทังพื่ัฒนากระบวนการ

ทด้สอบแลัะรับรองมาติรฐานยุทโธป็กรณ์ให้เป็็นท่ยอมรับของผู้ใช้ทังในแลัะต่่างป็ระเทศ กระทรวงกลัาโหม

แลัะหน่วยงานในการกำกัับดููแลัของกระทรวงกลัาโหมได้้จัดทำำาความร่วมม่อกับกระทรวงท่เก่ยวข้อง หน่วยงาน

วิจัยท่ม่ศักยภาพื่ แลัะสถุาบันการศ่กษาทังในแลัะนอกป็ระเทศเพื่่อท่จะนำศัักยภาพที่่ม่มาบูรณาการร่วมกัน

๓. ส่งเสริมการลงทุนัในกิิจัการอุติสาหกรรมป้องกันัประเทศู โด้ยอยู่ระหว่างการศ่กษาในการจัดตั้้ง

เขตส ่งเสริมเศรษฐกิจพื่ิเศษเพื่่อกิจการอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศในพื้้นท่เขติพื่ัฒนาพื่ิเศษภาคติะวันออก

หร่อพื้้นท่ท่เหมาะสม กำาหนด้มาติรการเชิญชวนนักลังทุนจากต่่างป็ระเทศให้เข้ามาลังทุนหร่อร่วมลังทุนกับ

ภาคเอกชนของไทยแลัะทบทวนกฎระเบ่ยบท่เก่ยวข้องเพื่่ออำานวยความสะด้วกในการลังทุนแลัะการทำธุุรกิจ

ของภาคเอกชน

๔. พิจัารณ์าจััดติั งกลไกในัการขับเคลื อนอ ุติสาหกรรมป้องกันัประเทศูในัระดับชาติิ ซึ่่งเป็็นท่

น่ายินด้่ว่า พื่.ร.บ.เทคโนโลย ีป้้องกันป็ระเทศ พื่.ศ.๒๕๖๒ ได้้ม่ผลบ ังคับใช้แล้้วติังแต่่เดืือนเมษายน ๒๕๖๒

โด้ยม่คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลย ีป้้องกันป็ระเทศเป็็นผู้ให้ทิศทางแลัะนโยบายท่สำค ัญให้กับหน่วยงาน

ต่่างๆ นำาไป็ป็ฏิิบัติิแลัะขับเคลั่อน ซึ่่งจะทำาให้การป็ฏิิบัติิงานเป็็นไป็ในทิศทางเดีียวกันป็ระหยัด้ทรัพื่ยากรแลัะ

ใช้ร่วมกันได้้อย่างมีีประสิทธิภาพื่มากยิงข่น

โด้ยสถาบันัเทคโนัโลยีป้องกันัประเทศู (องค์การมหาชนั) ได้ร่วมกับกระทรวงกลาโหมในัการจััดทำา

แนัวทางการขับเคลื อนอ ุติสาหกรรมป้องกันัประเทศูเพื อเป็นอ ุติสาหกรรมเป้าหมายพิเศูษ ร่วมกับ

ภัาคเอกชนัและหน่่วยงานัที เกียวข้องในห ้วงปี ๒๕๖๒ - ๒๕๗๐ โดยในป ีงบประมาณ์ ๒๕๖๓ ได้มีการ

ดำาเนิินัการทีสำคััญ ได้้แก่

๑. การดำาเนิินัโครงการวิจััยและพัฒนัายานัเกราะล้อยาง ๘ x ๘ ซึ่่งได้้ดำำาเนินการอย่างต่่อเน่องมา

ติังแต่่ปีีงบป็ระมาณ ๒๕๖๒ ติามขอบเขตบัันท่กข้อติกลังว่าด้้วยความร่วมม่อในการวิจัยแลัะพื่ัฒนายานเกราะ

ล้้อยาง สำาหรับป็ฏิิบัติิภารกิจของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ระหว่างกองทัพื่เร่อกับสถุาบันเทคโนโลยีีป้้องกัน

ป็ระเทศ โด้ยได้้ม่การทด้สอบใช้งานในหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเร่ยบร้อยแล้้ว แลัะปััจจุบันอยู่ระหว่างการ

ดำำาเนินการขอรับรองมาติรฐานยุทโธป็กรณ์ทางทหารของกองทัพื่เร่อ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


92

๒. การดำาเนิินัโครงการวิจััยและพัฒนัาระบบจัรวดสมรรถนัะสูง แบบ DTI-2 เป็็นการวิจัยพื่ัฒนา

ระบบจรวด้หลัายลำำากล้้องขนาด้ ๑๒๒ มิลัลัิเมติร (ไม่นำวิิถีี) เพื่่อส่งมอบให้แก่กองทัพื่บกติามบันท่กข้อติกลังฯ

ซึ่่งผลัผลิิติหลัักท่ได้้จากการวิจัยแลัะพื่ัฒนาของโครงการน่ ได้้แก่ ๑) ต้้นแบบลููกจรวด้ขนาด้ ๑๒๒ มิลัลัิเมติร

ระยะยิง ๑๐ กิโลัเมติร สำาหรับการฝึึกพื่ร้อมท่อรองในแลัะโป็รแกรมอำานวยการยิงเพื่่อเตรีียมการรับรองต้้นแบบ

ยุทโธป็กรณ์ ๒) ต้้นแบบลููกจรวด้ขนาด้ ๑๒๒ มิลัลัิเมติร ระยะยิง ๑๐ กิโลัเมติร แลัะ ๔๐ กิโลัเมติร

สำาหรับฐานยิงจรวด้ของกองทัพื่บกเพื่่อเตร ียมการรับรองต้้นแบบยุทโธป็กรณ์ ๓) ต้้นแบบลููกจรวด้ขนาด้

๑๒๒ มิลัลัิเมติร ระยะยิง ๑๐ กิโลัเมติร ๓๐ กิโลัเมติร แลัะ ๔๐ กิโลัเมติร สำาหรับจรวด้หลัายลำำากล้้อง

แบบ ๓๑ ติิดตั้้งแท่นยิงจรวด้ขนาด้ ๑๒๒ มิลัลัิเมติร จำานวน ๑ คัน (จรวด้หลัายลำำากล้้อง แบบ ๓๑ ของ

กองทัพื่บกเดิิม) พื่ร้อมระบบอำานวยการยิงเพื่่อเตรีียมการรับรองต้้นแบบยุทโธป็กรณ์ แลัะ ๔) คลัังเก็บลููกจรวด้

แลัะสถุานท่เก็บจรวด้หลัายลำำากล้้อง แบบ ๓๑ ติิดตั้้งแท่นยิงจรวด้ขนาด้ ๑๒๒ มิลัลัิเมติร เป็็นการใช้พื้้นท่

ร่วมกับคลัังเก็บลููกจรวด้ DTI-1 แลัะโรงเก็บรถยิิงจรวด้ DTI-1

๓. การจััดติังศููนย์์ฝั่ึกอบรมนัักบินัระบบอากาศูยานัไร้คนขัับ ซึ่่งเป็็นหลัักสูติรท่ได้้รับการรับรองจาก

สำน ักงานการบินพื่ลัเร่อนแห่งป็ระเทศไทย แลัะได้้รับมาติรฐานแห่งแรกของป็ระเทศแลัะในภูมิภาคอาเซึ่่ยน

โด้ยจะทำาการฝึึกอบรมการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับให้แก่กำาลัังพื่ลัของกองทัพื่ บุคลัากรของหน่วยงาน

ภาครัฐแลัะเอกชน รวมถึึงป็ระชาชนทัวไป็ ระบบอากาศูยานัไร้คนขัับถือเป็นัเทคโนัโลยีสองทาง (Dual Use)

ทีสามารถนำำาไปใช้งานัทังภัาคทหารและพลเรือนั ในการนำาไป็ป็ระยุกต์์ใช้งานการพื่ัฒนาแผนท่ ๓ มิติิ

การสร้างแบบจำาลัองพื่ยากรณ์สถุานการณ์ เป็็น Solution ในการป้้องกันปััญหา รวมถึึงการนำาไปว ิจัยแลัะ

พื่ัฒนาป็ระยุกต์์ใช้แก้ไขปััญหาในเร่องต่่างๆ เพื่่อส่งเสริมด้้านเศรษฐกิจแลัะสร้างรายได้้ในการขับเคลั่อนนโยบาย

ไทยแลันด์์ ๔.๐ ด้้วยกลย ุทธ์แบบ Blue Ocean ค่อ การเน้นการติอบสนองความต้้องการของผู้ใช้งานด้้วย

นวัติกรรม หร่อติอบสนองลููกค้าด้้วยการสร้างความแติกต่่าง นอกจากการฝึึกอบรมแล้้ว ศูนย์น่ยังทำาการศ่กษา

รวบรวมข้อมูลั สร้างเคร่อข่ายการวิจัยแลัะพื่ัฒนาด้้านการฝึึกอบรมแลัะการป็ระยุกต์์ใช้งาน พื่ร้อมทั งให้ความรู้

การบริการ การส่งเสริม การสนับสนุน การทด้สอบ การซึ่่อมบำรุุง แลัะการบูรณาการความร่วมม่อในด้้านการ

วิจัยแลัะพื่ัฒนา ติลัอด้จนการป็ระยุกต์์ใช้งานร่วมกับหน่วยงานท่เก่ยวข้องทังภายในแลัะภายนอกป็ระเทศ

ม่ส่วนร่วมในการพื่ัฒนามาติรฐานด้้านการบินระบบอากาศยานไร้คนขับให้กับป็ระเทศไทย ป็ระเทศสมาชิก

อาเซึ่่ยน แลัะมิติรป็ระเทศ

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


93

นอกจากน่ ยังได้้เตร ียมการเพื่่อให้เกิด้การ

ร่วมลังทุนกับผู้้ประกอบการภาคเอกชนทังในป็ระเทศ

แลัะต่่างป็ระเทศ เพื่่อให้เกิด้การเพิ่่มขีีดความสามารถุ

ให้กับป็ระเทศในเทคโนโลัย่ชั นสูง เช่น

๑) การเตร ียมการจัดตั้้งเขตส ่งเสริมเศรษฐกิจ

พื่ิเศษรองรับอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศในพื้้ นท่เขติ

พื่ัฒนาพื่ิเศษภาคติะวันออก (EEC) หร่อพื้้นท่ท่เหมาะสม เพื่่อรองรับการดำำาเนินการวิจัยแลัะพื่ัฒนาของ

สถุาบันเทคโนโลยีีป้้องกันป็ระเทศ รวมถึึงการลังทุนของภาคเอกชนทังในแลัะต่่างป็ระเทศในพื้้นท่ EEC

๒) การเตร ียมการร่วมลังทุนจัดตั้้งโรงงานซึ่่อมสร้างยุทโธป็กรณ์ทางทหารกับภาคเอกชน เพื่่อซึ่่อม

สร้างรถุสายพื่านแบบ T-85 ซึ่่งป็ระจำาการในกองทัพื่บก

๓) การเชิญภาคเอกชนต่่างป็ระเทศท่ม่ข่ด้ความสามารถุด้้านอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศ แลัะ

ป็ระเทศไทยยังทำาไม่ได้้ มาลังทุนในพื้้ นท่ EEC หร่อพื้้นท่ท่เหมาะสม เพื่่อเป็็นการพื่ัฒนาแลัะขับเคลั่อน

อุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศในป็ระเทศไทย

๔) การร่วมลังทุนกับภาคเอกชนเพื่่อผลิิติแลัะจำาหน่ายยานเกราะล้้อยาง ๘ x ๘ เพื่่อใช้งานใน

กองทัพื่เร่อ

๕) การร่วมกับภาคเอกชนเพื่่อเตร ียมการผลิิติแลัะจำาหน่ายอากาศยานไร้คนขับ รวมถึึงการเปิิด้

หลัักสูติรฝึึกอบรมนักบินอากาศยานไร้คนขับ เพื่่อเตรีียมการจัดตั้้งเป็็นศูนย์ฝึึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ

ท่ม่มาติรฐานสากลัให้กับบุคลัากรภาครัฐแลัะภาคเอกชนในอนาคตอัันใกล้้

กล่่าวโด้ยสรุป็ รัฐบาลัโด้ยกระทรวงกลัาโหมจะได้้ดำำาเนินการพื่ัฒนาอุติสาหกรรมป้้องกันป็ระเทศ

โด้ยการร่วมม่อ แลัะบูรณาการกับกระทรวงท่เก่ยวข้อง ทังภาครัฐแลัะภาคเอกชนของไทยในการนำาเทคโนโลยีี

สมัยใหม่มาใช้ในการวิจัยแลัะพื่ัฒนา การจัดทำำามาติรฐาน แลัะการผลิิตยุุทโธป็กรณ์ติามความต้้องการของผู้ใช้

รวมทังนำามาป็ระยุกต์์ใช้กับเทคโนโลย ีสองทาง เพื่่อเพิ่่มศักยภาพื่ในการพื่ัฒนาเศรษฐกิจของป็ระเทศ แลัะ

ลัด้การนำาเข้าจากต่่างป็ระเทศ ซึ่่งกระทรวงกลัาโหมจะดำำาเนินการให้เกิด้ผลัอย่างเป็็นรูป็ธรรมโด้ยเร็ว อันท่จะ

นำามาเพื่่อส่งเสริมการพื่ัฒนาเศรษฐกิจแลัะความสามารถุในการแข่งขันของป็ระเทศให้สูงยิงข่นไป็

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


94

ปั จฉิิมบท

ป็ระเทศต่่างๆ ทัวโลักม่ทหารเพื่่อไว้เป็็นหลัักป็ระกันในเอกราชแลัะอธิป็ไติยของชาติิ แลัะเพื่่อป้้อง

ป็รามไม่ให้เกิด้สงคราม พลังอำานัาจด้้านัการทหารเป็นัหนั่งในัพลังอำานัาจัทีสำคััญของชาติิ ซึ่่งป็ระกอบด้้วย

พื่ลัังอำานาจทางการเม่อง เศรษฐกิจ สังคมจิตว ิทยา แลัะด้้านการทหาร จะขาด้สิ งใด้สิงหน่งไม่ได้้ แลัะพลัง

อำานัาจัของชาติิในัแต่่ละด้านัจัำาเป็นัติ้องเกือกูลสนัับสนุุนัซึ่่งกันัและกันัติลอดเวลา ชาติิจึึงจัะมีความมั นัคง

และเจริิญรุ่งเรือง

สำาหรับป็ระเทศไทย ติามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปััจจุบัน มาติรา ๕๒ รัฐต้้องจัด้ให้ม่

กำาลัังทหาร ซึ่่งนอกจากจะใช้กำาลัังทหารในการรักษาเอกราชอธิป็ไติยแลัะความมันคงของชาติิแล้้ว ยังใช้กำาลััง

ทหารเพื่่อป็ระโยชน์ในการพื่ัฒนาป็ระเทศด้้วย โดยในัยามปกติิทหารมีหน้้าทีเตรีียมกำลัังให้มีความพร้อมรบ

เพือใช้กำล ังในัสถานัการณ์์วิกฤติได้ในท ันท ีและมีประสิทธิภัาพ อีกทังยังทำาหน้้าทีในัการพัฒนัาประเทศู

และช่วยเหลือประชาชนัเมื อได้รับความเดือดร้อนัในท ุกสถานัการณ์์ โดยกองทัพจัะสนัับสนุุนท ุกส่วนั

ราชการในัการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนัของประชาชนั

ในัการทำาหน้้าทีของทหารเพือการป้องกันัประเทศนั้้นั ทหารต้้องม่การเตรีียมกำาลัังให้พื่ร้อมรบติังแต่่

ยามป็กติิ รวมทั งการวางแผนการใช้กำาลัังทหาร การเตร ียมการระด้มสรรพื่กำาลััง การฝึึกกำาลัังสำารองการฝึึก

เตรีียมพื่ร้อม แลัะการฝึึกติามวงรอบให้สอด้คล้้องกับแผนการใช้กำาลัังทหารหร่อแผนป้้องกันป็ระเทศ

ขณะเดีียวกันทหารยังต้้องทำาหน้าท่ในการพื่ัฒนาป็ระเทศแลัะการช่วยเหลืือป็ระชาชน เช่น การพื่ัฒนา

แหล่่งนำา ถุนน ในพื้้นท่ความมันคง การพื่ิทักษ์รักษาทรัพื่ยากรธรรมชาติิ การสนับสนุนการป้้องกันแลัะบรรเทา

สาธารณภัย แลัะการสนับสนุนส่วนราชการต่่างๆ ในการแก้ไขปััญหาความเดืือดร ้อนของป็ระชาชน เป็็นต้้น

ซึ่่งในภาพื่รวมทหารต้้องใช้กำาลัังป็ระมาณ ๑ ใน ๓ ไป็ป็ฏิิบัติิภารกิจป้้องกันป็ระเทศติามแนวชายแด้นแลัะ

ในพื้้นท่จังหวัด้ชายแด้นภาคใต้้ ส่วนกำาลัังท่เหลืือ ๒ ใน ๓ จะต้้องฝึึกติามวงรอบแลัะรับภารกิจภายในป็ระเทศ

ในด้้านอ่นๆ ติามท่กล่่าวมาแล้้วด้้วย

ทิศทางในอนาคติ ทหารจำาเป็็นต้้องม่ส่วนสนับสนุนส่วนราชการอ่นในการช่วยเหลืือป็ระชาชนมากข่น

เน่องจากกระทรวงอ่นไม่ม่กำาลัังคนเพื่่ยงพื่อ จะเห็นจากกรณ่การช่วยเหลืือท่มฟุุติบอลัหมูป่่าอะคาเด้ม่ท่ติิด้ใน

ถุำาหลัวง-ขุนนำานางนอน หร่อการอพื่ยพื่ป็ระชาชนไปย ังพื้้นท่ป็ลัอดภ ัยติลัอด้จนการซึ่่อมแซึ่มแลัะสร้าง

บ้านเร่อนให้แก่ป็ระชาชนท่ได้้รับผลักระทบจากพื่ายุโซึ่นร้อนป็าบ่ก พื่ายุโซึ่นร้อนโนอึึล แลัะอุทกภัยติามฤดููกาลั

ทหาร ตำำารวจ แลัะเจ้าหน้าท่ฝ่่ายความมันคงทุกคน ป็ฏิิบัติิหน้าท่ในพื้้นท่ท่ม่ความลำำาบาก ห่างไกลั

เส่ยงอันติรายติลัอด้เวลัาแต่่กล้้าเอาช่วิติเข้าต่่อสู้ข้าศ่กศัตร ูผู้มารุกรานแผ่นดิินไทย เพื่่อให้ป็ระชาชนใช้ช่วิติ

ติามป็กติิสุข ทหารจ่งทำางานด้้วยแรงศรัทธา อุด้มการณ์ท่สำคััญ “ทหาร ก็คือ ลูกหลานัพีน้้องของคนัไทย”

เช่นเดีียวกับอาช่พื่อ่นไม่ควรแบ่งแยกทหารออกจากป็ระชาชน

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


95

กระทรวงกลัาโหม ย่นยันท่จะทุ่มเททังแรงกายแลัะแรงใจในการป็ฏิิบัติิภารกิจหน้าท่ท่ได้้รับมอบหมาย

อย่างเต็็มกำาลัังความสามารถุในการพื่ิทักษ์รักษาเอกราชอธิป็ไติย ป็กป้้องสถุาบันชาติิ ศาสนา พื่ระมหากษัตริิย์

ติลัอด้จนการแก้ไขปััญหาท่ม่ผลักระทบต่่อความมันคงของชาติิ รวมทังพื่ร้อมท่จะก้าวเดิินไปกัับพี่่น้องป็ระชาชน

ในการขับเคลั่อนการพื่ัฒนาป็ระเทศในมิติิต่่างๆ ภายใต้้วิสัยทัศน์ “ประเทศูไทยมีความมันัคง มังคัง ยังยืนั

เป็นัประเทศูที พัฒนัาแล้ว ด้วยการย่ดหลักปรัชญาของเศูรษฐกิจัพอเพียง” เพื่่อทำาให้เป็็นท่เช่อมั นของ

ป็ระชาชน แลัะม่เก่ยรติิ ม่ศักด้ิศร่ในเวท่นานาป็ระเทศส่บไป็

-----------------------------------------

ผลการดำเนินงานของกระทรวงกลาโหม ประจำปี ๒๕๖๓


เพัลง ทหารแหงแผนดิิน

เพัลงทีได้้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการประกวดิแติงบทเพัลงรักชาติิ โดิยกองทัพับก

เนื ้อร้อง / ทำานอง : คุณวิเชียร ตัันติิพิิมลพัันธ์์

โดิยเนื ้อหาของเพัลงนี้ เกียวกับความรักของทหารทีมีติอชาติิ ศาส่นา พัระมหากษัตริิย์ และประชาชน

เกิิดมาเพื่่อเป็็นรั้้วของแผ่่นดิน หยััดยืืนด้วยัชีีวินที่่ห้าวหาญ

จะไม่กิลััวยัากิเย็็นจะไม่เกิรั้งภั้ยัพื่าลั

พื่ิที่้กิษ์์แดนดินถิ่่นบ้้านที่่ผููกิพื่้น

เกิิดมาด้วยมีีห้วใจที่หารั้ ม้นในป็ณิิธานที่่ใฝ่่ฝััน

จะให้ชีาติิดำารั้ง ป็กิป็้ององค์์รั้าชััน

ให้รั้่มเงายััง รั้่มเย็็นสื่บ้ไป็

* ฉัันคืือที่หารั้แห่งแผ่่นดิน ขอที่ำสิ่่งที่่ฝัันอ้นยัิงใหญ่

สู้้เพื่่อค์วามม้นค์ง ให้ยืืนยังติลัอดไป็

สู้้เพื่่อค์นไที่ยัอ่นใจ หลั้บ้สืบ้ายั

ฉัันคืือที่หารั้แห่งแผ่่นดิน ฉัันไม่หว้นพื่รั้่งนีจะดีรั้้ายั

แม้ต้้องพื่ลัีชีีพื่ลัง ชีีวิตินีมีค์วามหมายั

ไม่เสีียัดายัได้ติอบ้แที่นแผ่่นดินนี แผ่่นดินที่่รั้้กิของเรั้า


กลาโหม

เทิิดราชา

รักษ์์ราษ์ฎร์

ชาติิมันคง

กระทรวงกลาโหม

ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง

เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

http://opsd.mod.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!