03.01.2015 Views

FOCAL GRANDE UTOPIA EM - Piyanas

FOCAL GRANDE UTOPIA EM - Piyanas

FOCAL GRANDE UTOPIA EM - Piyanas

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

IN-DEPTH EXPERIENCE < TEXT : มนตรี คงมหาพฤกษ์ PHOTO : ฐานทอง กาญจน์ภูดิส<br />

<strong>FOCAL</strong><br />

<strong>GRANDE</strong><br />

<strong>UTOPIA</strong> <strong>EM</strong><br />

The best acoustic<br />

loudspeaker<br />

in the world<br />

MARCH 2013<br />

052<br />

G M 2 0 0 0<br />

ผมเชื่อว่าเราทุกคนมี ‘ความฝัน’ ความฝันในที่<br />

นี้หมายถึงฝันอยากมีอยากได้ อยากสัมผัสใกล้<br />

ชิดหรืออาจจะเลยเถิดไปถึงขั้นเป็นเจ้าของ แต่เมื่อ<br />

ใดที่ขึ้นชื่อว่าความฝันแล้ว สิ่งนั้นมักจะเป็นอะไรที่<br />

ค่อนข้างไกลตัว หรือพูดง่ายๆ ว่าอาศัยแค่ความ<br />

พยายามอาจจะยังไม่พอไปถึงฝั่งฝันต้องอาศัย<br />

โชคชะตาหรือวาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย<br />

G M 2 0 0 0 MARCH 2013<br />

5053


สำหรับคุณสาวๆ ความฝันของพวกเธออาจจะเป็นการเที่ยวรอบโลก<br />

ทัวร์ยุโรป การได้เป็นเจ้าของกระเป๋าหนังจระเข้เลี้ยงเดี่ยวแบรนด์เนมสัก<br />

ใบหรือแหวนเพชรสักวง แต่หนุ่มๆ ที่ชอบเครื่องเสียงด้วยอย่ างเราถ้าไม่ใช่<br />

รถสปอร์ตคันหรู นาฬิการุ่นลิมิเต็ด ก็คงหนีไม่พ้นสุดยอดลำโพงระดับที่<br />

สามารถทำให้หยุดหายใจไปได้ชั่วขณะตั้งแต่แรกเห็นหรือเพียงแค่ได้ยิน<br />

เสียง<br />

ในวงการเครื่องเสียงเราลำโพงระดับนี้มีไม่มากนักหรอกครับ แถม<br />

ลำโพงบางคู่ต่อให้คุณมีเงินมากพอก็อาจไม่เหมาะที่จะเป็นเจ้าของเพราะ<br />

มันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อคนธรรมดาทั่วไป แต่มันถูกสร้ างขึ้นเพื่อ ‘คนพิเศษ’<br />

More Grande Than Ever<br />

<strong>EM</strong> DRIVER<br />

MARCH 2013<br />

054<br />

G M 2 0 0 0<br />

เมื่อครั้งที่ไปงานเปิดตัวลำโพง Focal ของตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็น<br />

ทางการในประเทศไทยล่าสุด ผมได้พบกับลำโพงที่เขาว่าเป็นหนึ่งในสุด<br />

ยอดลำโพงระดับไฮเอนด์ที่ว่ากันว่าชาตินี้คนเล่นเครื่องเสียงควรมีโอกาส<br />

จะได้ฟังสักครั้งเป็นบุญหู มันคือ Grande Utopia <strong>EM</strong><br />

ลำโพงขนาดใหญ่สีแดงแปร๊ดตัวสูงท่วมหัวคู่นี้เอาเป็นว่าแค่เห็นก็น่า<br />

ทึ่งแล้วล่ะครับ แต่ในงานเปิดตัวจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ผมคิดว่ าเสียงที่ได้ยิน<br />

ในวันนั้นยังไม่สมกับนิยามหนึ่งในสุดยอดลำโพงที่มันได้รับการยกย่อง<br />

หลังจากนั้นผมได้รับการเชิญชวนจาก บอ.กอ.ธานีบอกว่ามีคนชวน<br />

เราไปฟังลำโพง Grande Utopia <strong>EM</strong> คราวนี้นอกจากมันจะอยู่ในสภาพ<br />

ที่พร้อมอวดเสียงมากกว่าเมื่อครั้งเปิดตัวนั้นแล้ว เขายังอนุญาตให้เราลอง<br />

เล่นกับมันได้ด้วย<br />

โอ้โฮ มีโอกาสได้เป็นเจ้าของลำโพงไฮเอนด์ที่เขาว่าเจ๋งสุดในสามโลก<br />

แบบชั่วคราวไร้การผูกมัดและพันธะใดๆ อย่างนี้ มีหรือที่ผมจะปฏิเสธ<br />

ก่อนจะไปเป็นเจ้าของ Grande Utopia <strong>EM</strong> แบบไร้พันธะ ผมว่า<br />

ผมควรจะทำความรู้จักมันให้มากกว่าที่เป็นอยู่สักหน่อยน่าจะดีกว่า แล้วก็<br />

พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า มันเป็นพัฒนาการลำดับที่สามของรุ่นเรือธงระดับ<br />

ultimate reference อย่าง Grande Utopia มันสูงมากกว่า 2 เมตรและ<br />

หนักถึง 260 กิโลกรัม! ถ้าเป็นรถยนต์ก็ต้องถือว่าเป็นโปรเจ็กต์พิเศษที่ไม่ได้<br />

ทำกันออกมาบ่อยๆ และทุกเทคโนโลยี ทุกนวัตกรรมในการออกแบบล้วน<br />

แล้วแต่ถูกนำออกมาใช้กันเต็มที่ชนิดหมดหน้าตัก<br />

ไม่เชื่อลองดูย่อหน้าถัดไปสิครับ !<br />

• เจ้าหน้าที่ของปิยะนัสยืนเทียบขนาดกับล ำโพง<br />

• ขนาดลำโพงเทียบกับแอมป์ Octave<br />

ถ้าคุณได้เห็น timeline ในการพัฒนาลำโพง Grande Utopia <strong>EM</strong><br />

ตั้งแต่ series แรกจนถึงรุ่นล่าสุด จะพบว่า Focal ตั้งใจกับลำโพง<br />

รุ่นสุดยอดของพวกเขามากๆ แต่ละอย่างใน timeline สามารถพูด<br />

ได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการออกแบบลำโพงได้เลยทีเดียว<br />

อย่างเช่นที่มาของตัวอักษร ‘<strong>EM</strong>’ ในชื่อรุ่น Grande Utopia <strong>EM</strong><br />

นั่นก็เป็นอะไรที่น่าทึ่งไม่น้อยเลยล่ะครับ<br />

<strong>EM</strong> มาจากคำเต็มว่า Electro-Magnet มีความหมายว่าแม่<br />

เหล็กไฟฟ้า Focal อธิบายที่มาที่ไปว่าพลังงานของตัวไดรเวอร์<br />

แบบไดนามิกนั้น ‘แรง’ ที่เกิดสนามแม่เหล็กในตัวไดรเวอร์มีส่วน<br />

สำคัญอย่างมาก ผมเองก็เห็นด้วยเพราะไม่เช่นนั้นเราคงไม่เห็นผู้คน<br />

พยายามพัฒนาแม่เหล็กที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่ างนีโอไดเมียมหรือ<br />

อัลนิโคมาใช้กับไดรเวอร์ลำโพง ในอดีต Focal เองก็พัฒนาระบบ<br />

แม่เหล็ก ‘Multiferrite’ แม่เหล็กที่วางเรียงตัวในแนววงกลมรูป<br />

ทรงเหมือนดอกไม้ออกมาใช้ในลำโพงรุ่นก่อนหน้า แต่ทั้งหมดนี้ก็<br />

เป็นเพียงแค่แม่เหล็กถาวร (permanent magnet) ซึ่งมีข้อจำกัด<br />

ในพลังงานและขนาดทางกายภาพ<br />

ในการออกแบบวูฟเฟอร์นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่ากรวยขนาด<br />

ใหญ่และแกร่งพอที่จะตอบสนองความถี่ต่ำลึกมากๆ ได้ด้วยนั้น<br />

ตัวกรวยจำเป็นต้องน้ำหนักมากกว่าปกติ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นสวน<br />

ทางกับประสิทธิภาพเสมอ ฉะนั้นการเอาชนะอุปสรรคนี้ก็คือการ<br />

เพิ่มแรงจากสนามแม่เหล็ก ซึ่ง Focal พบว่าการพัฒนาระบบแม่<br />

เหล็กถาวรนั้นพวกเขาได้ดำเนินไปจนถึงทางตัน และนั่นคือที่มา<br />

ของ Electro-Magnet ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต้องอาศัยไฟเลี้ยง<br />

เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กแรงสูงที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคเดิมที่<br />

ระบบแม่เหล็กถาวรประสบพบเจออยู่<br />

Focal พัฒนาและนำระบบแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้งานกับลำโพง<br />

Utopia III Series จำนวน 2 รุ่นคือ Grande Utopia <strong>EM</strong> และ<br />

Stella Utopia <strong>EM</strong> ทำให้ลำโพงทั้งสองรุ่นนี้จำเป็นต้องมีการจ่าย<br />

ไฟเลี้ยงพิเศษเข้าไปในตัวลำโพงเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็น<br />

ผลให้สนามแม่เหล็กใน air gap ของตัวไดรเวอร์มีความเข้มข้นสูง<br />

ถึง 1.75 เทสลาร์ เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับ 0.9 เทสลาร์<br />

ในไดรเวอร์ที่ใช้กับ Grande Utopia Be รุ่นก่อนหน้ าซึ่งใช้ระบบ<br />

แม่เหล็ก Multiferrite อยู่แล้ว<br />

ไดรเวอร์ระบบแม่เหล็กไฟฟ้านี้บรรลุวัตถุประสงค์ในการ<br />

ออกแบบเพราะวูฟเฟอร์ขนาดใหญ่ยักษ์เส้นผ่าศูนย์กลางมากถึง<br />

16 นิ้วที่ใช้อยู่ใน Grande Utopia <strong>EM</strong> นั้นมีความถี่เรโซแนนซ์ดำ<br />

ดิ่งลงไปถึง 24Hz และมีประสิทธิภาพสูงถึง 97dB ระบบ Electro-<br />

Magnet สร้างขึ้นจากขดลวดทองแดงหนักถึง 7 กิโลกรัม และตัว<br />

วูฟเฟอร์มีน้ำหนักรวมทั้งตัวมากถึง 24 กิโลกรัม!<br />

MARCH 2013<br />

055<br />

G M 2 0 0 0<br />

• บิ๊กซิสเต็มที่ใช้กับ Grande Utopia <strong>EM</strong>


• OPC+ และการตอบสนองของลำโพง<br />

Fine Tuning<br />

MARCH 2013<br />

056<br />

G M 2 0 0 0<br />

ADJUSTABLE<br />

เช่นเดียวกันกับรถยนต์ไฮคลาสที่ผู้ออกแบบไม่อาจทราบได้ว่าลูกค้า<br />

ของเขานั้นมีบุคลิกเป็นเช่นใด สภาพถนนที่เขาใช้งานเป็นอย่างไร<br />

รถยนต์ระดับนั้นจึงต้องออกแบบเผื่อให้ระบบการตอบสนองของ<br />

ช่วงล่าง เครื่องยนต์ เกียร์ รวมถึงระบบแอคทีฟเซฟตี้สามารถเลือก<br />

ปรับแต่งได้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงประสบการณ์ใช้งานและความ<br />

พึงพอใจในระดับสูงสุดโดยปราศจากเงื่อนไข<br />

Focal : Grande Utopia <strong>EM</strong> มีองค์ประกอบสำคัญที่เปิด<br />

โอกาสให้ผมสามารถปรับแต่งมันได้ถึง 3 ส่วนด้วยกัน ที่เด่นชัดที่สุด<br />

ก็คือระบบ ‘Focus Time Adjustment’ คุณจะเห็นว่าตัวตู้ของ<br />

ลำโพงรุ่นนี้มีการแยกส่วนเป็นแต่ละ chamber สำหรับไดรเวอร์<br />

ทั้ง 5 ตัว และดูเหมือนทั้งหมดที่วางเรียงตัวกันในแนวดิ่งจะมีมุม<br />

กระจายเสียงยิงเข้าหาตัวคุณอยู่ แต่ทราบหรือไม่ครับว่ามุมยิงเหล่า<br />

นั้นสามารถปรับแต่งได้ด้วย<br />

การปรับ ‘Focus Time Adjustment’ นั้นเป็นการหาจุด<br />

sweet spot ที่สัมพันธ์กับระยะห่างระหว่างตำแหน่งนั่งฟังและ<br />

ลำโพง การปรับต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษที่มีลักษณะเป็นมือหมุน<br />

ซึ่งแถมมากับลำโพงเป็นอุปกรณ์ช่วยปรับมุมยิงเสียงให้ก้มหรือเงย<br />

การปรับก็ไม่มีอะไรวุ่นวายไปกว่าการสอดอุปกรณ์พิเศษนี้เข้าไปใน<br />

เดือยด้านหลังลำโพงแล้วหมุนเพื่อปรับมุม ซึ่งค่ าที่ Focal แนะนำ<br />

ไว้นั้นมี 3 ค่าด้วยกัน (มีสเกลบอก) เริ่มจากตำแหน่ง 00.0 แต่ละ<br />

chamber จะเงยขึ้นมากที่สุด เหมาะกับระยะนั่งฟังที่ 4-5 เมตร (นั่ง<br />

ไกล) ค่าต่อมาคือ 06.0 แต่ละ chamber จะก้มลงมากขึ้น เหมาะ<br />

กับระยะนั่งฟังที่ 3-4 เมตร (นั่งใกล้เข้ ามา) ค่าสุดท้ายที่แนะนำคือ<br />

12.0 แต่ละ chamber จะก้มลงมามากที่สุด เหมาะกับระยะนั่งฟัง<br />

ที่ค่อนข้างใกล้คือประมาณ 2-3 เมตร<br />

ผมได้ทดลองปรับ ‘Focus Time Adjustment’ เพื่อดูผลที่<br />

เกิดกับเสียงและพบว่ามันให้ความเปลี่ยนแปลงที่น่ าตกใจมาก อีกทั้ง<br />

ค่าเดิมที่ทางโชว์รูมเขาปรับไว้แต่เดิมนั้นก็ลงตัวดีอยู่แล้ว สุดท้ ายจึง<br />

ได้ปรับกลับมาไว้ที่ตำแหน่งเดิม<br />

• ปรับ Focus Time กันอย่างนี้ครับ<br />

ในส่วนของ <strong>EM</strong> หรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้าของลำโพงก็สามารถปรับแต่งได้เช่นกันครับ การปรับแต่งใน<br />

ส่วนนี้จะเป็นการปรับที่โมดูลชุดจ่ายไฟเลี้ยงให้ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งแยกอยู่นอกตู้ลำโพง สามารถปรับแต่ง<br />

ได้มากถึง 6 ค่า ในโบรชัวร์ของลำโพงอธิบายเอาไว้ว่าการปรับแต่งในส่วนนี้เป็นการปรับค่าพลังงานไฟฟ้าที่จะ<br />

ป้อนเข้าไปสู่ระบบแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวไดรเวอร์ ซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตั้งแต่ 9-90 วัตต์ พลังงานไฟฟ้า<br />

ที่แตกต่างกันนี้มีผลกับ ‘Bass Level’ หรือระดับความดังของเสียงทุ้ม ซึ่งมีผลโดยตรงกับย่ านความถี่ต่ำลึก<br />

หรือ Sub-Bass<br />

ที่ตำแหน่ง NOM (Nominal = normal mode) คือตำแหน่งที่การตอบสนองของเสียงทุ้มจากการวัด<br />

ในห้องแล็บของ Focal มีค่าราบเรียบมากที่สุด ซึ่งถ้าสภาพแวดล้อมของห้องฟังจำเป็นต้องปรับแต่งค่ านี้เสีย<br />

ใหม่ก็สามารถปรับลดได้อีก 2 ระดับ และปรับเพิ่มได้อีก 3 ระดับ แต่ละระดับจะมีอัตราการลดทอนหรือเพิ่ม<br />

ขึ้นของ Bass Level ตำแหน่งละ 2dB ในห้องฟังที่โชว์รูมของร้ านปิยะนัสนี้เข้าใจว่ามีสภาพอะคูสติกและการ<br />

ตอบสนองของอุปกรณ์อื่นๆ ในซิสเต็มเองที่ค่อนข้ างเป็นกลาง ดังนั้นที่ตำแหน่ง NOM จึงออกมาฟังค่อนข้าง<br />

ลงตัวดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องปรับไปที่ตำแหน่งอื่น<br />

• เล็งให้ได้องศาก้ม-เงย ตามที่ต้องการ<br />

นอกจาก ‘Focus Time Adjustment’ และ ‘Bass Level’ แล้ว การปรับ<br />

แต่งอีกส่วนหนึ่งที่ผมสามารถกระทำกับลำโพง Grande Utopia <strong>EM</strong> ได้คือ<br />

ส่วนของ OPC+ หรือ Optimum Phase Crossover (OPC) ที่ Focal ได้<br />

ริเริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 กับลำโพงรุ่น Grande Utopia แต่เดิมนั้น<br />

ระบบ Optimum Phase Crossover จะยุ่งเกี่ยวกับการตอบสนองของ<br />

phase และ amplitude โดยอนุมานว่าตัวไดรเวอร์นั้นมีการตอบสนองที่มี<br />

ความเป็น linear ในตัวของมันเอง<br />

แต่ใน Grande Utopia <strong>EM</strong> ระบบนี้ได้รับการพัฒนามาเป็น OPC+<br />

และเป็นครั้งแรกที่ระบบนี้สามารถ ‘fine tune’ การตอบสนองของลำโพงให้<br />

แมตช์กับสภาพอะคูสติกของห้องได้ การปรับแต่งในส่วนนี้จะเชื่อมโยงกับวงจร<br />

พาสสีฟครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์กเกาะอยู่บริเวณแผงหลังของตู้ลำโพง มีกลไกเป็น<br />

ฝาปิดเรียบร้อยสวยงามเวลาไม่ได้ใช้งาน<br />

ระบบ OPC+ นั้นจัดสรรได้ทุกย่านความถี่โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วง Sub<br />

Bass, Bass, Midrange และ Tweeter ช่วง Sub Bass นั้นสามารถปรับค่า<br />

Quality (Q) Factor ได้ 3 ค่า (High Q, Normal, Low Q) ถ้าดูจากกราฟ<br />

ผลการตอบสนองที่ปรากฏในคู่มือค่า Quality Factor จะมีผลกับย่านความถี่<br />

ต่ำมากในช่วง 15-30Hz ที่ค่า High Q การตอบสนองเสียงทุ้มลึกจะมีลักษณะ<br />

โอเวอร์แดมป์กราฟจะลาดลงค่อนข้างเร็ว ตำแหน่ง Normal จะลาดลงช้า<br />

กว่า ในขณะที่ Low Q จะมีลักษณะอันเดอร์แดมป์คือปล่อยให้ความถี่ต่ำลึก<br />

ถูกบูสต์ขึ้นมามากกว่าปกติ<br />

ในย่านความถี่ Bass (Low, Normal, High) จะเป็นการปรับแต่ง level<br />

setting มีผลโดยตรงกับระดับความดังของเสียงในย่านความถี่ตั้งแต่ 35-<br />

250Hz โดยประมาณ ส่วนการปรับย่านความถี่ Midrange (Soft, Normal,<br />

Presence) นั้นเป็นการปรับ slope setting ซึ่งมีผลกับความถี่เสียงกลาง<br />

ช่วงบนที่เป็นรอยต่อกับทวีตเตอร์ (1.5-3kHz) สำหรับการปรับแต่งในย่าน<br />

ความถี่สูงหรือ Tweeter นั้นค่อนข้างพิเศษหน่อยตรงที่สามารถปรับได้ทั้ง<br />

level setting (Low, Normal, High) และ slope setting (Soft, Normal,<br />

Presence)<br />

ในคู่มือมีการอธิบายและคำแนะนำการปรับแต่ง OPC+ เอาไว้พอสมควร<br />

แต่ในการใช้งานจริงผมคิดว่าผู้ปรับแต่งอาจจะต้องเริ่มต้นที่ตำแหน่งกลางๆ<br />

ไว้ทั้งหมดก่อน จากนั้นก็จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ในการเซ็ตตำแหน่ง<br />

ลำโพงให้ได้ตำแหน่งเหมาะสมประมาณหนึ่ง หรืออาจจะพูดได้ว่าดีที่สุดเท่า<br />

ที่สภาพแวดล้อมจะอำนวย จากนั้นจึงต้องมา fine tune ด้วย OPC+ เพื่อ<br />

เก็บรายละเอียดที่ยังขาดๆ เกินๆ ให้เข้าที่เข้าทาง ซึ่งเท่าที่ผมและทีมงานได้<br />

ลองปรับเล่นกันดูนั้นพบว่าแต่ละส่วนมีผลกับเสียงออกมาให้เราได้ยินชัดเจน<br />

มาก (effective) จนน่าขนลุก และค่าที่ทางทีมงานของปิยะนัสปรับตั้งเอาไว้<br />

นั้นน่าจะเหมาะสมที่สุดในสภาพแวดล้อมของห้องฟังนี้แล้วล่ะครับ<br />

• ส่วนของการปรับแต่ง OPC+<br />

ENERGY<br />

สีแดงสดของ Grande Utopia <strong>EM</strong> ที่เราได้พบเจออีกครั้งในห้องฟังที่โชว์รูมสำนักงานใหญ่<br />

ของร้านปิยะนัสที่ซอยสุขุมวิท 101/1 ทำให้ผมรู้สึกได้ถึง ‘พลังงานบางอย่าง’ ในห้องนี้<br />

ระคนกับความระทึกที่อยู่ภายในตัวผม มันเกือบจะเป็นความรู้สึกเดียวกับตอนที่ผมได้เห็น<br />

Ferrari 599GTB สีแดงสดคันจริงสัมผัสได้ปรากฏกายอยู่ตรงหน้า<br />

ในระยะใกล้ชิดและยืนอยู่เคียงคู่กับเหล่ าอิเล็กทรอนิกส์ระดับพระกาฬจาก Accustic<br />

Arts และแอมปลิไฟล์จาก Octave มันยิ่งทำให้ผมรู้สึกได้ถึงพลังแฝงบางอย่างที่สืบทอดมา<br />

จาก Grande Utopia รุ่นก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพการผลิต การออกแบบตัวตู้ รวม<br />

ถึงการออกแบบไดรเวอร์ที่ Focal ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ชำนาญการที่ได้รับการยอมรับใน<br />

วงกว้างทั้งวูฟเฟอร์ w cone และทวีตเตอร์เบอริลเลียมตัวใหม่ที่ถูกปรับปรุงให้ดีกว่ ารุ่น<br />

เดิมขึ้นไปอีก โดยมันมีเรโซแนนซ์ต่ำลง ความเพี้ยนลดลง 40% และมีความไวเพิ่มขึ้นอีก<br />

1.5dB<br />

กรวยลำโพงเสียงกลางและทุ้มแบบ w sandwiched cone ถูกผลิตอย่างแม่นยำมาก<br />

ขึ้นด้วยเทคโนโลยีการตัดด้วยแสงเลเซอร์ ไดรเวอร์ทั้งหมดได้รับการแมตช์มาอย่างลงตัว<br />

ตั้งแต่ต้นจากโรงงาน และติดตั้งอย่างแน่นหนาที่สุดกับตัวตู้ที่ดูหนักแน่น ใหญ่โต วิจิตร<br />

บรรจงและอลังการมาก ซึ่งตัวตู้ลำโพงนี้ก็เป็นผลผลิตมาจากเทคโนโลยีใหม่อย่าง Gamma<br />

Structure ที่เน้นหนักไปในเรื่องของโครงสร้างตู้ที่มีประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งเพิ่ม<br />

มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดน้ำหนักส่วนเกินที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการสะสมพลังงาน จนอาจจะ<br />

เป็นสาเหตุทำให้รายละเอียดเสียงมีความขุ่นมัวเกิดขึ้นได้ แม้ว่าบางส่วนของตัวตู้จะเป็น<br />

MDF ที่มีความหนาถึง 6 เซนติเมตรหรือมากกว่า 2 นิ้วก็ตาม<br />

MARCH 2013<br />

057<br />

G M 2 0 0 0


G M 2 0 0 0 058 MARCH 2013<br />

• ลองเล่นกับส่วนของ OPC+<br />

• คณะลูกขุนจาก GM2000<br />

Grande Utopia <strong>EM</strong><br />

Type : 4-way, floorstanding bass-reflex<br />

loudspeaker<br />

Drivers : Electro-Magnetic 16” (40cm)<br />

“W” woofer<br />

Multiferrite 11” (27cm) “W”<br />

midbass<br />

2 Power Flower 61/2” (16.5cm)<br />

“W” midrange drivers<br />

IAL2 pure Beryllium inverted dome<br />

1” (27mm) tweeter<br />

Frequency response : (±3 dB) 18Hz - 40kHz<br />

Low frequency point : (-6 dB) 14Hz<br />

Sensitivity (2.83 V/1 m) : 94dB<br />

Nominal impedance : 4Ohms<br />

Minimum impedance : 3Ohms<br />

Filtering frequencies : 80Hz /220Hz/ 2200Hz<br />

Recommended amplifier power : 50 - 1000W<br />

Dimensions (HxWxD) : 2012 x 654 x 880mm<br />

Net weight : 573.2 lb (260kg)<br />

ดังนั้นจึงอาจจะสรุปได้ว่าส่วนที่ออกแบบให้สามารถ<br />

ปรับแต่งได้ของ Grande Utopia <strong>EM</strong> นั้นเป็นได้ทั้ง<br />

ประโยชน์และโทษ ประโยชน์คือมันสามารถทำให้ลำโพงคู่<br />

นี้อยู่ในสภาพ perfect หรือใกล้เคียง perfect ที่สุดได้ใน<br />

หลายสภาพแวดล้อม แต่ถ้าหากคุณไม่เข้าใจการทำงานและ<br />

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว มันอาจกลายเป็นตัวถ่วงคุณภาพที่ดี<br />

เลิศของ Grande Utopia <strong>EM</strong> จนคุณมิอาจให้อภัยตัวเอง<br />

เลยก็เป็นได้<br />

ผมสัญญากับตัวเองว่าถ้ามีโอกาสได้เป็นเจ้าของลำโพง<br />

คู่นี้อีกครั้ง ผมจะไม่ปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไป ไม่ว่าจะเป็น<br />

เจ้าของเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวหรือเป็นอย่างถาวร<br />

สอดคล้องกับแนวคิด Focus Time ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบส่วนโค้งด้านหน้าตู้และ<br />

วงจรตัดแบ่งความถี่เสียงที่สามารถทำให้เสียงจากมิดเรนจ์และทวีตเตอร์เป็นอิสระจากตัวตู้<br />

ขนาดใหญ่ได้ มันทำให้มิติเสียงของลำโพงขนาดใหญ่ยักษ์คู่นี้สามารถล่องลอยออกมาเต้นรำ<br />

อยู่ในอากาศข้างหน้าผมได้อย่างน่าทึ่ง ราวกับว่ามันเป็นลำโพงเล็กที่มีตู้ขนาดประมาณ 1 ใน<br />

10 ของที่ผมเห็นอยู่ข้างหน้านี้ ต่างกันก็เพียงแต่พลังงานของเสียงนั้นช่างสมจริงและมีมวลแผ่<br />

มาจนถึงเนื้อตัวจนผมคิดว่ามันแทบไม่ได้ถูกย่อส่วนลงมาจากของจริงเลย<br />

แม้จะมีเวลาฟังเพียงไม่นานนักหลังจากลองเล่นซุกซนกับตัวลำโพง ลองการปรับตั้งส่วน<br />

ต่างๆ ที่สามารถกระทำได้กับลำโพงคู่นี้ ผมยังรู้สึกได้ว่ าเสียงของมันไม่ธรรมดา มันเป็นลำโพง<br />

ที่เล่นได้ดังอย่างเป็นธรรมชาติเหมือนรถสปอร์ตที่วิ่งเกิน 250 กม./ชม. ได้แบบชิลๆ นิ่งๆ ไม่มี<br />

อะไรน่าหวั่นไหว และยิ่งถ้ามันได้รับการปรับตั้งส่วนต่างๆ ทั้งทางอะคูสติกและอิเล็กทรอนิกส์<br />

อย่างเหมาะสมแล้วมันเหมือนกล้องแมนนวลที่ได้รับการปรับจูนโฟกัสจนได้ตำแหน่งที่ลงตัวเป๊ะ<br />

แถมยังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สภาพแสงอำนวย เสียงเหล่านั้นจะยิ่งรู้สึกได้ถึงความสมบูรณ์แบบ<br />

มากขึ้นไปอีก artifact หรือส่วนเกินที่เป็นมลพิษกับรายละเอียดเสียงจะไม่มาคอยรบกวนการ<br />

รับฟัง<br />

นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย : บริษัท ไฟว์-เดซิเบล จำกัด<br />

โทร.0-2945-6744-6<br />

ราคา : สอบถามตัวแทนจำหน่าย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!