สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2555 - สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ ...
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2555 - สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ ...
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2555 - สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ ...
Transform your PDFs into Flipbooks and boost your revenue!
Leverage SEO-optimized Flipbooks, powerful backlinks, and multimedia content to professionally showcase your products and significantly increase your reach.
สรุปผลการดําเนินงาน ประจําปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา<br />
Khao TaPoo : Ao Phang-Nga<br />
เอกสารวิชาการ ๐๐๒/๒๕๕๖ กุมภาพันธ ๒๕๕๖
คํานํา<br />
จังหวัดพังงา เป็นหนึ่งในสิบสี่จังหวัดภาคใต้ เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันที่มีพื้นที่กว้างขวาง<br />
เมื่อเทียบกับจํานวนประชากร ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจ<br />
ของจังหวัด โดยเฉพาะการปลูกยางพารา ปาล์มน้ํามัน และมังคุด นอกจากนั้นภาคการท่องเที่ยวก็มีบทบาทสําคัญ<br />
เป็นอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของจังหวัด ด้วยเหตุว่าพังงา เป็นจังหวัดที่มีป่าไม้เพิ่มขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ<br />
และภาคใต้ อันบ่งถึงความสามารถในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สภาพความสมบูรณ์<br />
ของสภาพแวดล้อม ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศอันหลากหลายบริเวณอ่าวพังงา มีผลต่อการส่งเสริม<br />
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทําให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดสาขาอาชีพตามมา<br />
อย่างมากมาย และหลากหลาย เกิดธุรกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น<br />
จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี รักษาประเพณีวัฒนธรรม<br />
ดั้งเดิมได้อย่างสมบูรณ์ มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายแบบสังคมเกษตร ประชาชนให้ความสําคัญ<br />
กับการศึกษาของบุตรหลาน มีการจัดสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง เครือข่ายภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง<br />
มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์แต่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่มีความแตกแยก ด้วยเหตุนี้ จังหวัดพังงา<br />
จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองน่าอยู่อันดับต้น ๆ ของประเทศ<br />
อย่างไรก็ตาม ภายใต้สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก็ยังมีปัญหา ที่คล้ายคลึงกับพื้นที่อื่น ๆ ที่มี<br />
ผลกระทบต่อ คน ครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาคนพิการ ปัญหา<br />
ผู้สูงอายุ ปัญหาสตรี ครอบครัว ปัญหาแรงงานต่างด้าว และอื่น ๆ ซึ่งทําให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน<br />
ก็ยังมีปัญหาอยู่เหมือนกัน<br />
ในรอบ<strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๕๕ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา<br />
ซึ่งเป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาค สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์<br />
ซึ่งมีภารกิจและอํานาจหน้าที่ทางด้านสังคม ได้มีการดําเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ<br />
ที่เกี่ยวข้องทั้งที่ดําเนินการเอง ร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ที่เป็นภาคีเครือข่าย หรือสนับสนุนการดําเนินงาน<br />
ขององค์กรอื่น ๆ ซึ่งได้มีการนําเสนอผลงานไว้ในสรุปผลการดําเนินงานประจํา<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ นี้แล้ว หวังว่า<br />
คงมีประโยชน์สําหรับผู้สนใจตามสมควร<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา<br />
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
สารบัญ<br />
หน้า<br />
บทที่ ๑ : ข้อมูลทั่วไปจังหวัดพังงา<br />
ข้อมูลทั่วไป 2<br />
ข้อมูลด้านสังคม ๑4<br />
- สรุปข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น (อปท.๑) ๑4<br />
- งานอาสาสมัครของจังหวัดพังงา 16<br />
บทที่ ๒ : การแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ 17<br />
บทที่ ๓ : ผลการดําเนินงาน<br />
- แหล่งที่มาของงบประมาณ ๒2<br />
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ 23<br />
- ประมวลภาพผลการดําเนินงาน 28<br />
- ผลงานเด่นและรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับ 41<br />
ภาคผนวก<br />
โครงสร้างการบริหารงานสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา 45<br />
กรอบอัตรากําลัง 45<br />
ข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น (อปท.๑) 47<br />
สรุปผลการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัด 60<br />
*****
สารบัญตาราง<br />
หน้า<br />
ตาราง ๑ : ข้อมูลประชากรของจังหวัด 6<br />
ตาราง ๒ : ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ 6<br />
ตาราง ๓ : ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขต 7<br />
ตาราง ๔ : ข้อมูลอาสาสมัครและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 16<br />
ตาราง ๕ : ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ <strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๕5 23<br />
ตาราง ๖ : ข้อมูลปัญหาเชิงประเด็นสังคม <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ 48<br />
ตาราง ๗ : ข้อมูลปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 48<br />
ตาราง ๘ : ข้อมูลปัญหาสุขภาพอนามัย 49<br />
ตาราง ๙ : ข้อมูลปัญหาด้านการศึกษา 49<br />
ตาราง ๑๐ : ข้อมูลปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้ 49<br />
ตาราง ๑๑ : ข้อมูลปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 50<br />
ตาราง ๑๒ : ข้อมูลปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม 50<br />
ตาราง ๑๓ : ข้อมูลปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา 50<br />
ตาราง ๑๔ : ข้อมูลปัญหาเด็กและเยาวชน 51<br />
ตาราง ๑๕ : ข้อมูลปัญหาครอบครัว 51<br />
ตาราง ๑๖ : ข้อมูลปัญหาสตรี 52<br />
ตาราง ๑๗ : ข้อมูลปัญหาผู้สูงอายุ 52<br />
ตาราง ๑๘ : ข้อมูลปัญหาคนพิการ 52<br />
ตาราง ๑๙ : ข้อมูลปัญหาแรงงาน 53<br />
ตาราง ๒๐ : ข้อมูลเปรียบเทียบประเด็นปัญหาเชิงประเด็นสังคม 53<br />
ตาราง ๒๑ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 54<br />
ตาราง ๒๒ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพอนามัย 54<br />
ตาราง ๒๓ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาด้านการศึกษา 55<br />
ตาราง ๒๔ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้ 55<br />
ตาราง ๒๕ : ข้อมูลเปรียบเทียบประเด็นปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 55
สารบัญตาราง (ต่อ)<br />
หน้า<br />
ตาราง ๒๖ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม 56<br />
ตาราง ๒๗: ข้อมูลเปรียบเทียบประเด็นปัญหาเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา 56<br />
ตาราง ๒๘ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาเด็กและเยาวชน 57<br />
ตาราง ๒๙ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาครอบครัว 57<br />
ตาราง ๓๐ : ข้อมูลเปรียบเทียบประเด็นปัญหาสตรี 58<br />
ตาราง ๓๑ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาผู้สูงอายุ 58<br />
ตาราง ๓๒ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาคนพิการ 59<br />
ตาราง ๓๓ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาแรงงาน 59<br />
ตาราง ๓๔ : สรุปประเด็นปัญหาด้านสตรีของจังหวัด 60
บทที่ ๑<br />
ข้อมูลทั่วไปจังหวัดพังงา<br />
แผนที่จังหวัดพังงา<br />
PHANGNGA MAP<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๑
ข้อมูลทั่วไป<br />
ประวัติความเป็นมา<br />
สมัยก่อนประวัติศาสตร์<br />
จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดที่เก่าแก่จังหวัดหนึ่งในประเทศไทยจากการขุดค้นของนักโบราณคดี<br />
พบเครื่องมือและภาพเขียนสีแบบต่าง ๆ ตามถ้ําในละแวกอ่าวพังงา ซึ่งอยู่ในเขต อําเภอเมือง และอําเภอทับปุด<br />
และยังพบเครื่องมือขวานหินขัด อาวุธที่ทําด้วยกระดูกสัตว์และภาชนะที่ทําจากดินเผาที่บริเวณ อําเภอตะกั่วป่า<br />
ทําให้เชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณเมื่อราว ๆ หลายพัน<strong>ปี</strong>มาแล้ว<br />
สมัยประวัติศาสตร์<br />
ได้มีการขุดค้นพบเทวรูปพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ และชิ้นส่วนเทวรูปบนเขาเวียง<br />
ที่บริเวณ อ.กะปง ทําให้เชื่อว่ามีบรรดานักเดินเรือ พ่อค้า พราหมณ์และช่างฝีมือจากอินเดีย ซึ่งอยู่ใน<br />
เขตการปกครองของราชวงศ์ปัลลวะซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ได้มาขึ้นบก ณ ชุมชนโบราณในเขตเมืองตะกั่วป่าแห่งนี้<br />
นอกจากนี้ในตํานานเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงเมือง "ตะกั่วถลาง" ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการขุดแร่ดีบุก<br />
ชาวพื้นเมืองสมัยนั้นเรียกดีบุกว่า "ตะกั่วดํา" ดังนั้นเมืองตะกั่วถลาง จึงน่าจะหมายถึง บริเวณ อําเภอตะกั่วป่า และ<br />
อําเภอตะกั่วทุ่ง ในเขต จังหวัดพังงา และ อําเภอถลางในเขต จังหวัดภูเก็ต<br />
สมัยกรุงศรีอยุธยา<br />
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตะกั่วป่ามีฐานะเป็นหัวเมืองทางใต้ส่วนเมืองพังงาเป็นเมืองแขวง ขึ้นกับ<br />
เมืองตะกั่วป่า สมัยนั้นเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอก และมีหัวเมืองต่าง ๆ ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช<br />
หลายเมือง รวมถึงเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่งและเมืองถลางด้วย ตะกั่วป่ามาปรากฏชื่ออีกครั้งเมื่อเกิดสงคราม<br />
เก้าทัพ ในช่วง<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๓๒๕<br />
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์-ปัจจุบัน<br />
จากพงศาวดารปรากฏว่าก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เมืองพังงาเป็นเมืองแขวงขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า<br />
จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง<br />
และโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็น ฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา โดยจากประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้<br />
และสืบค้นได้แน่ชัด ปรากฏว่าเมืองพังงาได้รับการจัดตั้งเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์<br />
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ซึ่งใน<strong>ปี</strong>พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เสด็จสู่สวรรคตมีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่<br />
เจ้าปะดุง กษัตริย์พม่า ได้มอบหมายให้ อะเติงหวุ่น เป็นแม่ทัพ นํากองทัพเรือของพม่าได้เข้าตีเมืองตะกั่วป่า<br />
ตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง จนแตก ในการนี้ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้<br />
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวร ยกทัพหลวงจากกรุงเทพฯ มาช่วย<br />
แต่ไม่ทันการณ์ ทรงเห็นว่ากําลังที่จะรักษาเมืองอ่อนแอลงจึงโปรดให้รวบรวมพังงาที่ "กราภูงา" (ภาษามลายู แปลว่า<br />
ป่าน้ําภูงา) ซึ่งตั้งอยู่ปากแม่น้ําพังงา แขวงเมืองตะกั่วทุ่ง และจัดการปกครองขึ้นเป็นเมือง และจัดการปกครอง<br />
เป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏว่ามีหมู่บ้านชื่อ “ถลาง” ซึ่งเป็นผู้คนที่อพยพจากอําเภอถลาง มาอยู่<br />
ในเขตท้องที่อําเภอตะกั่วทุ่งในปัจจุบัน<br />
๒<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชดําริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตก<br />
ที่ถูกพม่าตีให้เข้มแข็ง จึงได้แต่งตั้งข้าราชการมาเป็นเจ้าเมืองดังกล่าว โดยให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และได้ทรงแต่งตั้ง ให้<br />
พระยาบริรักษ์ภูธร(แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรกใน<strong>ปี</strong>พ.ศ. ๒๓๘๓ รวมทั้งได้ยุบเมืองตะกั่วทุ่ง เป็นอําเภอ<br />
ขึ้นกับเมืองพังงา ตั้งแต่นั้นมา เมืองพังงาก็ดํารงความเป็นเมืองท่าและเมืองแห่งเหมืองแร่ดีบุกควบคู่ไปกับจังหวัดภูเก็ต<br />
และจังหวัดระนอง เรื่อยมา<br />
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๓๗ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเมืองพังงาและเมืองตะกั่วป่า<br />
ขึ้นอยู่กับมณฑลภูเก็ต จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําทั่วประเทศ จึงยุบเมืองตะกั่วป่ามาขึ้นกับเมือง<br />
พังงาตั้งแต่<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นต้นมา แรกเริ่มที่ตั้งเป็นเมืองนั้นที่ทําการของรัฐบาล อยู่ที่บ้านชายค่าย<br />
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงได้มาสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่บ้านท้ายช้าง ครั้น พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้สร้างศาลากลาง<br />
หลังใหม่ขึ้นบริเวณถ้ําพุงช้างจนถึงปัจจุบัน<br />
จนกระทั่งประมาณ<strong>ปี</strong> พ.ศ. ๒๕๒๔ ราคาแร่ดีบุกในตลาดโลกตกต่ําลง ภูเก็ตเริ่มเปลี ่ยนเป็นเมือง<br />
ท่องเที่ยวธุรกิจ การท่องเที่ยวได้ขยายตัวไปยังจังหวัดใกล้เคียง ทั้งจังหวัดตรัง กระบี่รวมถึงพังงาด้วย ส่งผลให้การ<br />
ท่องเที่ยวและสภาพเศรษฐกิจของพังงาดีขึ้นปัจจุบันนักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดพังงา โดยตรงและ<br />
เพิ่มจํานวนมากขึ้นในทุกๆ<strong>ปี</strong><br />
สัญลักษณ์ประจําจังหวัด<br />
“เขาตาปู”<br />
เขา “ตาปู” หรือที่เราเรียกว่าเขา “ตะปู” ตามความ<br />
เข้าใจ และเรียกกันจนติดปากในหมู่นักท่องเที่ยว เป็นเขาที่มี<br />
ลักษณะเป็นแท่งยาว ๆ ส่วนล่างที่อยู่ในทะเล เมื่อโดนน้ํากัดเซาะ<br />
ไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มที่จะทําให้มีพื้นที่แคบลง เมื่อมองไกลๆ<br />
ก็จะมีลักษณะเหมือน “ตาปู” แต่นักท่องเที่ยวบางคนก็มองว่ามัน<br />
เป็นเหมือน”ตะปู”เหมือนกัน จึงเรียกเขานี้ว่า เขา “ตะปู”<br />
“เขาตาปู” หรือ “เขาตะปู” คือ สัญลักษณ์ ของจังหวัด<br />
ที่คนทั่วไปเมื่อได้เห็นแล้ว จะรู้ได้ทันที่ว่าเป็นสัญลักษณ์ ของจังหวัด<br />
พังงา เนื่องจากมีเพียงที ่จังหวัดพังงาที่เดียวเท่านั้น ชาวต่างชาติ รู้จักในนาม “เจมบอนส์ ไอซ์แลนด์” เนื่องจากเคยใช้เป็น<br />
สถานที่ถ่ายทําภาพยนตร์ เรื่องเจมส์บอนส์ ตอนเพชรฌาตปืนทอง (The Man With The Golden Gun)<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๓
ตราประจําจังหวัด<br />
รูป เขาตาปู หรือ เขาตะปู รูปเรือขุดแร่ และรูปเขาช้างอยู่ด้านหลัง<br />
รูปเขาช้าง หมายถึง สัญลักษณ์ภูเขาสูงรูปช้าง ซึ่งอยู่หลังศาลากลางจังหวัด<br />
พังงา ประวัติศาสตร์กล่าวว่าในพ.ศ. ๒๕๓๒ พม่ายกกองทัพมาตีหัวเมือง<br />
ฝ่ายใต้ (ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ถลาง) ราษฎรบางส่วนที่ไม่มีอาวุธ และกําลังจะต่อสู้<br />
ต้องอพยพไปหลบภัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ําพังงาซึ่งมีภูเขาล้อมรอบและ<br />
ตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงนั้นตลอดมา<br />
รูปเรือขุดแร่ หมายถึง สัญลักษณ์การประกอบอาชีพในอดีตของจังหวัดพังงาที่มีอาชีพหลักทางด้านการทําเหมืองแร่<br />
ดีบุก สามารถผลิตแร่ดีบุกได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศและเป็นที่ยอมรับกันว่า ในอดีตนั้นเศรษฐกิจและอาชีพของ<br />
จังหวัดพังงาขึ้นอยู่กับแร่เป็นสําคัญ<br />
รูปเขาตาป ู หรือ เขาตะปู หมายถึง สัญลักษณ์ทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา<br />
ต้นไม้ประจําจังหวัด<br />
“เทพทาโร”<br />
ชื่ออื่น จะไคหอม จะไคต้น จวงหอม พลูต้นขาว<br />
ลักษณะ ไม้ต้นสูง ๑๐-๓๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะ<br />
มีคราบขาวเปลือกสีเทาอมเขียว หรือสีน้ําตาลคล้ํา แตกเป็นร่อง<br />
ตามยาวลําต้น ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่<br />
ความยาว ประมาณ๗-๒๐ เซนติเมตร ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน<br />
ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง<br />
ประมาณ ๐.๗ เซนติเมตร สีเขียว ขึ้นในป่าดงดิบบนเขาทั่วประเทศ<br />
พบมากในภาคใต้ขยายพันธุ์โดยเมล็ด<br />
ประโยชน์ เนื้อไม้มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทําเตียงนอน ทําตู้ หีบใส่เสื้อผ้า กันมอด และแมลงอื่น ๆ<br />
และใช้เป็นยาสมุนไพรเปลือกเป็นยาบํารุงร่างกายอย่างดี โดยเฉพาะหญิงสาวรุ่นต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ<br />
ดอกไม้ประจําจังหวัด<br />
ดอกจําปูน<br />
จําปูนเป็นพันธุ์ไม้ที่พบทั่วไปในป่าดงดิบชื้น โดยเฉพาะข้างลําธาร<br />
พืชชนิดนี้พบเฉพาะในท้องที่ภาคใต้ ตั้งแต่ชุมพรลงไป คนภาคใต้นิยมปลูกไม้ชนิด<br />
นี้ไว้ริมบ่อ เพื่อให้สามารถให้น้ําได้เพียงพอกับความต้องการลักษณะทางวนวิทยา<br />
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๒-๘ เมตร ใบสีเขียว ดอกมี ๓ กลีบ กลีบดอกแข็ง<br />
ดอกสีเขียวแต่ด้านในจะมีสีขาว มีกลิ่นหอม เป็นลักษณะเด่นของไม้ชนิดนี้<br />
ยอดอ่อนกินได้<br />
๔<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ข้อมูลพื้นฐานจังหวัด<br />
ขนาดและที่ตั้ง พังงาตั้งอยู่ในภาคใต้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก อยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ ๘ องศา<br />
๒๗ ลิบดา ๕๒.๓ ฟิลิบดาเหนือกับเส้นลองติจูด ที่ ๙๘ องศา ๓๒ ลิบดาตะวันออก<br />
ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๗๘๘ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ<br />
๔,๑๗๐.๘๘๕ ตารางกิโลเมตร (๒,๖๐๖,๘๐๓.๑๒๕ ไร่) พื้นที่เกษตร ๑,๔๒๕.๙๓๑<br />
ตารางกิโลเมตร (๘๙๑,๒๐๖.๘๗๕ ไร่ ) พื้นที่ป่าไม้ ๑,๑๒๔.๕๐ ตารางกิโลเมตร<br />
๗๑๔,๐๖๒.๒๕ ไร่) เนื้อที่อื่น ๆ ๑,๖๐๒.๔๕๔ ตารางกิโลเมตร (๑,๐๐๑,๕๓๔ ไร่)<br />
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดระนอง<br />
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดภูเก็ตตรงช่องแคบปากพระ เชื่อมกัน<br />
โดยสะพานสารสิน และสะพานเทพกระษัตรี<br />
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่<br />
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย<br />
ลักษณะภูมิประเทศ<br />
สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดพังงา เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทอดเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศ<br />
ใต้ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ ๒๓๙.๒๕ กิโลเมตร มีพื้นที่ป่าไม้ เป็นป่าไม้ประเภทไม้ผลัดใบ มีชนิดป่าที่<br />
สําคัญ ได้แก่ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้นและป่าชายเลนสําหรับบริเวณที่เป็นที่ราบจะลาดลงจากทิศตะวันออกไปยังทิศ<br />
ตะวันตกลงสู่ทะเลอันดามันตามชายฝั่งทะเลจะมีป่าชายเลนเกือบตลอดพื้นที่ประกอบด้วยเกาะประมาณ ๑๐๕ เกาะ<br />
และมีเกาะอยู่ในทะเลอันดามันจํานวนมาก เช่น เกาะยาว หมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน<br />
ลักษณะภูมิอากาศ<br />
พังงามีภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้และลม<br />
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๒ ฤดู คือ<br />
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ไปถึง เดือนเมษายน<br />
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปถึง เดือนธันวาคม<br />
จากการที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อน อุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก<br />
คือ อยู่ระหว่าง ๒๙-๓๖ องศาเซลเซียส และปริมาณน้ําฝนโดยเฉลี่ย<strong>ปี</strong>ละประมาณ ๓,๖๑๔.๕ มิลลิเมตร<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๕
หน่วยการปกครอง<br />
จังหวัดพังงาแบ่งการปกครองเป็น ๘ อําเภอ ๔๘ ตําบล ๓๒๑ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหาร<br />
ส่วนจังหวัด ๒ เทศบาลเมือง ๙ เทศบาลตําบล และ ๔๐ องค์การบริหารส่วนตําบล<br />
ตาราง ๑ : ตารางแสดงจํานวนประชากร จําแนกตามเขตการปกครองรายอําเภอ<br />
อําเภอ<br />
พื้นที่<br />
(ตร.กม.)<br />
ห่างจาก<br />
จังหวัด (กม.) ตําบล หมู่บ้าน เทศบาล<br />
ประชากร<br />
อบต.<br />
เมือง ตําบล ชาย หญิง รวม<br />
จํานวนบ้าน<br />
เมืองพังงา ๕๔๙.๕๕๒ - ๙ ๔๒ ๑ - ๗ ๑๙,๗๗๓ ๒๐,๔๑๙ ๔๐,๑๙๒ ๑๕,๑๙๖<br />
เกาะยาว ๑๔๑.๐๖๕ ๔๐.๕ ๓ ๑๘ - ๑ ๓ ๖,๙๐๖ ๖,๖๒๒ ๑๓,๕๒๘ ๔,๓๓๐<br />
กะปง ๕๘๘.๗๙๓ ๓๗ ๕ ๒๒ - ๑ ๔ ๖,๙๕๔ ๖,๙๕๗ ๑๓,๙๑๑ ๕,๕๒๗<br />
ตะกั่วทุ่ง ๖๑๐.๗๗๙ ๑๓ ๗ ๖๘ - ๒ ๗ ๒๑,๓๖๗ ๒๑,๓๓๒ ๔๒,๖๙๙ ๑๔,๙๒๐<br />
ตะกั่วป่า ๔๗๘.๕๓๘ ๕๗ ๘ ๕๑ ๑ ๕ ๒๓,๒๑๐ ๒๓,๔๗๘ ๔๖,๖๘๘ ๒๑,๘๑๑<br />
คุระบุรี ๙๑๗.๙๔๘ ๑๓๗ ๔ ๓๓ ๑ ๑ ๔ ๑๓,๒๘๙ ๑๒,๙๒๙ ๒๖,๒๑๘ ๑๐,๖๑๘<br />
ทับปุด ๒๗๒.๔๒๙ ๒๖ ๖ ๓๘ - ๑ ๕ ๑๒,๗๔๐ ๑๒,๖๑๐ ๒๕,๓๕๐ ๗,๓๗๕<br />
ท้ายเหมือง ๖๑๑.๗๙๓ ๕๗ ๖ ๔๙ - ๒ ๕ ๒๔,๐๗๔ ๒๓,๖๕๖ ๔๗,๗๓๐ ๑๘,๙๔๔<br />
รวม ๔,๑๗๐.๘๙๗ - ๔๘ ๓๒๑ ๒ ๙ ๔๐ ๑๒๘,๓๑๓ ๑๒๘,๐๐๓ ๒๕๖,๓๑๖ ๙๘,๗๒๑<br />
ที่มา : ฐานข้อมูลสํานักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕<br />
การเมืองและการเลือกตั้ง<br />
ความสนใจทางการเมืองของประชาชนจังหวัดพังงา ในการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะพบว่า จํานวน<br />
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความสนใจทางการเมืองค่อนข้างมาก โดยประเมินผลจากจํานวนร้อยละของผู้มา<br />
ใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น<br />
ตาราง ๒ : แสดงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ของจังหวัดพังงา<br />
การเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (๓ ก.ค. ๒๕๕๔) จํานวน (คน) (%)<br />
ผู้มีสิทธิลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ๑๘๒,๙๓๙ ๑๐๐.๐๐<br />
ผู้มาใช้สิทธิลงคะแนน ๑๔๓,๗๑๘ ๗๘.๕๖<br />
บัตรดี ๑๓๓,๕๗๗ ๙๒.๙๔<br />
บัตรเสีย ๕,๗๔๕ ๔<br />
ผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ๔,๓๙๕ ๓.๐๖<br />
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดพังงา กรกฎาคม ๒๕๕๔<br />
๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ตาราง ๓ : แสดงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ของจังหวัดพังงา<br />
การเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (๓ ก.ค. ๒๕๕๔) จํานวน (คน) (%)<br />
ผู้มีสิทธิลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ๑๘๒,๙๓๙ ๑๐๐.๐๐<br />
ผู้มาใช้สิทธิลงคะแนน ๑๔๓,๗๑๘ ๗๘.๕๖<br />
บัตรดี ๑๒๗,๑๕๘ ๘๘.๔๘<br />
บัตรเสีย ๙,๘๙๒ ๖.๘๘<br />
ผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนน ๖,๖๖๘ ๔.๖๔<br />
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดพังงา กรกฎาคม ๒๕๕๔<br />
การท่องเที่ยว<br />
จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวอันงดงามทั้งทางบก และทางทะเลโดยเฉพาะแหล่ง<br />
ท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ได้ให้การยอมรับในระดับโลก ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวใน<br />
จังหวัดพังงาที่น่าสนใจแยกเป็นรายอําเภอต่าง ๆ ดังนี้<br />
อําเภอเมืองพังงา<br />
ถ้ําพุงช้าง อยู่ภายในวัดประภาษประจิมเขต หลังศาลากลางจังหวัดพังงาสภาพภายในถ้ํามีหิน<br />
งอกหินย้อยสวยงาม มีธารน้ําไหลตลอด<strong>ปี</strong><br />
ถ้ําฤๅษีสวรรค์และถ้ําลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ริมถนนเพชรเกษมเยื้องกับ<br />
ศาลากลางจังหวัด เป็นถ้ําที่สามารถทะลุถึงกันได้โดยมีถ้ําฤๅษีสวรรค์อยู่ด้านหน้า ภายในถ้ํามีธารน้ําใสและมีหิน<br />
งอกหินย้อย ด้านหน้าถ้ําเป็นสวนสาธารณะ<br />
วนอุทยานสระนางมโนราห์ หรือธารน้ําตกสระนางมโนราห์ ใช้เส้นทางพังงา-ตะกั่วป่า<br />
ไป ๓ กิโลเมตร แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก ๓ กิโลเมตร ถึงบริเวณธารน้ําตก สภาพ<br />
โดยทั่วไป เป็นป่าร่มรื่น มีธารน้ําตกที่เกิดจากลําธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งใหญ่ตลอด<strong>ปี</strong><br />
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ในเขตอําเภอเมือง และอําเภอตะกั่วทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่<br />
๒๕๐,๐๐๐ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๒๔ การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข ๔<br />
ซึ่งมุ่งไปสู่ตําบลโคกกลอยและจังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวง<br />
หมายเลข ๔๑๔๔ อีก ๔ กิโลเมตร ถึงที่ทําการอุทยานฯ การเดินทางไปชมอุทยานแห่งชาติ อ่าวพังงาโดยทั่วไป<br />
ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง ซึ่งจะมีเรือนําเที่ยวไปยังเกาะปันหยี เขาพิงกันเกาะตาปู ถ้ําลอด เกาะห้อง หรือ<br />
แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง แล้วแต่จะตกลงกับเรือนําเที่ยว ซึ่งเป็นเรือหางยาวบรรจุลําละ ๖–๘<br />
คน เที่ยวละประมาณ ๑,๐๐๐–๑,๕๐๐ บาท โดยมีที่ให้เช่าเรือหลายแห่ง เช่น ท่าเรือด่านศุลกากร ใกล้<br />
โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ท ท่าเรือสุระกุล หรือท่าเรือกระโสม ในอําเภอตะกั่วทุ่ง เป็นเรือหางยาว ท่าเรือในบริเวณ<br />
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๗
อําเภอตะกั่วป่า<br />
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก – ลํารู่ ครอบคลุม เขตอําเภอท้ายเหมือง อําเภอกะปง อําเภอ<br />
ตะกั่วป่าอําเภอเมือง เมื่อผ่านอําเภอตะกั่วป่าไป ๓๓ กิโลเมตร จะถึงที่ทําการอุทยานฯ มีแหล่งท่องเที่ยว<br />
ที่เรียกโดยทั่วไปว่า ชายหาดเขาหลัก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอําเภอตะกั่วป่า ๒๕ กม. ตามเส้นทางหมายเลข ๔<br />
(สายท้ายเหมือง - ตะกั่วป่า แล้วเลี้ยวซ้ายที่กิโลเมตร ที่ ๕๖ - ๕๗ ก่อนเข้าเขตอําเภอท้ายเหมือง จะเห็นเขาลูก<br />
หนึ่งชื่อเขาหลักมีศาลเจ้าพ่อเขาหลัก ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามของเขาหลักจะเป็นชายทะเลเขาหลัก ซึ่งเป็น<br />
หาดหิน และหายทรายสวยงาม ตลอดชายฝั่ง เช่น ชายหาดนางทอง หาดบางเนียง<br />
แหลมปะการัง อยู่ระหว่างเส้นทางตะกั่วป่า - เขาหลัก จากตัวเมืองตะกั่วป่า อยู่ด้านขวามือ<br />
เลี้ยวเข้าไปจาก ถนนเพชรเกษมประมาณ ๕ กม. เป็นหาดทรายที่มีคลื่นซัดซากปะการังเขากวางหัก ขึ้นมาบน<br />
ฝั่งจนเต็มหาดจนได้ชื่อหาดว่า "แหลมปะการัง" มีทิวสนเป็นแนวร่มรื่นเหมาะสําหรับตั้งแคมป์พักผ่อนหย่อนใจ<br />
หาดบางสัก จะอยู่ในท้องที่ตําบลบางม่วง ริมถนนเพชรเกษม กิโลเมตรที่ ๗๖ -๗๗ มีทางแยก<br />
ขวามือเข้าไปอีก ๑ กม. หาดบางสักเป็นหาดทรายขาวสะอาดเป็นแนวยาว ร่มรื่นด้วยทิวสน<br />
น้ําตกโตนช่อฟ้า อยู่ระหว่างเส้นทางตะกั่วป่า - เขาหลัก เช่นเดียวกับแหลมปะการัง<br />
อําเภอตะกั่วทุ่ง<br />
วัดสุวรรณคูหา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๒ ตําบลกระโสม อําเภอตะกั่วทุ่ง การเดินทางใช้เส้นทางสาย พังงา -<br />
โคกกลอย (ทางหลวงหมายเลข ๔) ไป ๗ กม. ถึงหมู่ที่ ๒ ( กิโลเมตรที่ ๓๑) อําเภอตะกั่วทุ่ง จะมีถนน เข้าไปทางขวา<br />
มืออีก ๑ กม. วัดสุวรรณคูหาชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดถ้ํา เป็นวัดที่น่าสนใจ และมีความสําคัญมากวัดหนึ่งของ<br />
จังหวัดพังงา เนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ ในบริเวณ ที่ตั้งวัดมีภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเขาลูกนี้มีถ้ ํา<br />
ใหญ่น้อยหลายแห่งทั้ง ถ้ําใหญ่ ถ้ําแจ้ง ถ้ํามืด และ ถ้ําแก้ว ถ้ําใหญ่ซึ่งอยู่ตอนล่างสุด เวลาเข้าถ้ําจะต้องผ่านก่อนเสมอ<br />
มีขนาดใหญ่มากกว่าถ้ําอื่น กว้างประมาณ๒๐ เมตรเศษ ยาวประมาณ ๔๐ เมตรเศษ พื้นถ้ําเรียบ เพดานโค้งครึ่งวงกลม<br />
เหมือนประทุนเรือ ตลอดความยาวของถ้ําประดับ ด้วยกระเบื้องถ้วยจานเชิงลายครามและเบญจรงค์ ซึ่งมีขนาดต่างๆ<br />
ถ้ําใหญ่ ใช้เป็นวิหาร มีพระพุทธรูปปูนปั้นต่างๆ อยู่หลายองค์ ที่สําคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ ขนาดยาว ๗ วา ๒ ศอก มี<br />
ความสวยงามมาก<br />
น้ําตกรามัญ อยู่ใกล้กับวัดสุวรรณคูหา จากกิโลเมตรที่ ๓๑ มีทางแยกขวาเข้าไปอีก ๗ กม.<br />
น้ําตกรามัญเป็นน้ําตกขนาดกลาง บริเวณโดยรอบเป็นป่ารก มีน้ําตกตลอด<strong>ปี</strong><br />
ชายทะเลท่านุ่น จากทางหลวงหมายเลข ๔ ต่อเข้า จังหวัดภูเก็ตโดยหลวงทาง หมายเลข ๔๐๒<br />
ก่อนถึงเกาะภูเก็ต บริเวณ ช่องแคบปากพระ จะมองเห็นหาดทรายทั้งด้านซ้ายและขวา<br />
อําเภอท้ายเหมือง<br />
อุทยานแห่งชาติเขาลํา<strong>ปี</strong> - หาดท้ายเหมือง ครอบคลุมพื้นที่ ๔๕,๐๐๐ ไร่ ประกาศเป็นอุทยานฯ<br />
เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลํา<strong>ปี</strong> - หาดท้ายเหมือง ได้แก่<br />
น้ําตกลํา<strong>ปี</strong> ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตําบลท้ายเหมือง ริมถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔) บริเวณ<br />
กิโลเมตร ที่ ๓๒ -๓๓ จะมีทางลูกรัง แยกซ้ายมือเข้าไปอีก ๑.๕ กิโลเมตร น้ําตกลํา<strong>ปี</strong> เป็นน้ําตก ขนาดกลางมี ๓ ชั้น<br />
แต่ละชั้นมีความสูง ประมาณ ๑๐๐ เมตร มีน้ําตกตลอด<strong>ปี</strong><br />
๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
น้ําตกโตนไพร ที่บริเวณกิโลเมตร ๒๘- ๒๙ จะมีทางลูกรังแยกซ้ายเข้าไปอีก ๗ กิโลเมตร แล้วเดิน<br />
เข้าไปอีก ๑ กิโลเมตร น้ําตกโตนไพรมีขนาดใหญ่มีน้ําตลอด<strong>ปี</strong> การเดินทางไปชมน้ําตกโตนไพรนั้น<br />
ควรไปชมในฤดูแล้งรวมถึงหาดท้ายเหมืองบางส่วน<br />
หาดท้ายเหมือง อยู่ในเขตสุขาภิบาลท้ายเหมือง มีทางราดยางแยกขวาเข้าไปอีก ๑.๕ กิโลเมตร<br />
จากนั้นเข้าถนนเลียบชายหาดไปอีก ๕ กิโลเมตร สภาพเป็นหาดทรายสะอาดขนานไปกับทางหลวงแผ่นดิน<br />
มีความยาวกว่า ๑๓ กิโลเมตร น้ําทะเลใสเล่นน้ําได้ เป็นที่ตั้งสนามกอล์ฟแห่งแรก ของจังหวัดพังงา ในระหว่างเดือน<br />
พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ จะมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ จึงมีกิจกรรมเดินดูเต่าในตอนกลางคืนเดือนหงาย<br />
ศูนย์อนุรักษ์กลางโครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์ ตั้งอยู่ในกองเรือภาค ๓ ทับละมุ จังหวัดพังงา<br />
จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เป็นอาคาร ๒ ชั้น<br />
จัดแบ่งออกเป็นส่วนที่ประทับและห้องทรงงานขององค์ประธาน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ห้องอาหาร ห้องประชุม<br />
ศาลาการแสดง และห้องแสดงนิทรรศการซึ่งแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกแบ่งเป็น ๔ ห้อง ห้องที่ ๑ แสดงจุดกําเนิดของ<br />
โครงการ ห้องที่ ๒ แสดงคุณค่าและความสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ห้องที่ ๓ แสดงมิติ<br />
ใหม่ของ การท่องทะเลไทย เชิงอนุรักษ์ห้องที่ ๔ แสดงจินตนาภาพของโลกใต้ท้องทะเล ส่วนที่ ๒ เป็นห้องนิทรรศการ<br />
แหล่งความรู้ ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่หมุนเวียนถ่ายทอด เรื่องราวเชิงสร้างสรรค์<br />
บ่อน้ําพุร้อนบ้านบ่อดาล ตั้งอยู่ที่ตําบลนาเตย ริมฝั่งทะเลอันดามัน หากเดินทางจากภูเก็ต<br />
ผ่านสี่แยกตําบลโคกกลอย ตรงไปหลักกิโลเมตรที่ ๖ จะเป็นเห็นทางเข้า ข้างโรงเรียนบ้านบ่อดาล เข้าไป ๓ กิโลเมตร<br />
อําเภอทับปุด<br />
แหล่งท่องเที่ยวเป็นลักษณะแหล่งน้ําตก และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การเดินทางไปอําเภอ<br />
ทับปุด จากตัวเมืองพังงาตามเส้นทางสายเพชรเกษม ระยะทางประมาณ ๒๖ ก.ม.แหล่งท่องเที่ยว ที่สําคัญ คือ<br />
วัดราษฎร์อุปถัม (วัดบางเหรียง) ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บางเหรียง ห่างจาก ที่ว่าการอําเภอทับปุด<br />
ถนนเพชรเกษม ๑๑ ก.ม. โดยเลี้ยวเข้าเส้นทางสาย ทับปุด - พนม วัดบางเหรียง เป็นวัดที่มีสภาพแวดล้อมอัน<br />
สวยงาม เพราะเป็นวัดที่มีภูเขาล้อมรอบ มีถาวรวัตถุที่สําคัญคือ พระบรมธาตุเจดีย์นิมิตร ตั้งอยู่บนยอดเขา<br />
ล้าน เป็นเจดีย์รูประฆังคว่ํา รูปหล่อเจ้าแม่กวนอิม อันงดงามและ พระพุทธรูปองค์โต ซึ่งประดิษฐานอยู่บน<br />
ยอดเขาใกล้เคียงกับพระบรมธาตุเจดีย์นิมิตรและรูปหล่อเจ้าแม่กวนอิม<br />
น้ําตกเต่าทอง อยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอประมาณ ๙ ก.ม. การเดินทางใช้เส้นทางสายเพชร<br />
เกษม เดินทางถึงหมู่ที่ ๓ ตําบลบ่อแสน อ. ทับปุด จะมีทางลูกรังแยกเข้า น้ําตกอีก ๑๑ กม. สามารถเล่นน้ําได้<br />
อําเภอเกาะยาว<br />
พื้นที่ ประมาณ ๑๓๗.๖ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ๒ เกาะใหญ่ คือ เกาะยาวน้อยและ<br />
เกาะยาวใหญ่ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กๆ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ มีชายหาดที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่<br />
หาดโละปาแรด ตั้งอยู่บนเกาะยาวใหญ่ เป็นหาดทรายร่มรื่นไปด้วยสวนมะพร้าว<br />
หาดทรายขาว ละเอียดเป็นแนวยาวเหยียด ทางเหนืออ่าวมีแหลมประกอบด้วยโขดหินสวยงาม ลงเล่นน้ําทะเล<br />
ได้ทุกเวลา<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๙
หาดป่าทราย อยู่ห่างจากอําเภอเกาะยาวน้อยราว ๗ กิโลเมตร หาดทรายขาวสะอาด มีทิวไม้<br />
ร่มรื่น สามารถลงเล่นน้ําได้โดยปลอดภัย ทิวทัศน์นอกฝั่งมองเห็นเกาะต่างๆ ของจังหวัดกระบี่<br />
หาดเท่าเขา อยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอเกาะยาวน้อยประมาณกิโลเมตร หาดทราย<br />
ประกอบด้วย โขดหิน นอกจากนี้ยังมีก้อนหินเล็กๆหลากหลายลวดลายห่างจากฝั่งออกไปเล็กน้อย มีเกาะนก ซึ่ง<br />
เป็นเกาะเล็กๆยามน้ําลด สามารถเดินไปเที่ยวเกาะนี้ได้โดยสะดวก บนเกาะมีไม้ป่าและกล้วยไม้ปกคลุมอยู่<br />
ทั่วไป<br />
อ่าวคลองสน ตั้งอยู่บนเกาะยาวใหญ่ หาดทรายร่มรื่นไปด้วยทิวสน ด้านซ้ายมือ มีโขดหิน<br />
เล็กหลากสีสวยงาม อ่าวนี้เล่นน้ําทะเลได้ และสามารถชมปะการังสวยงาม เวลาน้ําลดสามารถหาหอยต่างๆ<br />
บริเวณชายหาดได้<br />
อ่าวทราย ตั้งอยู่บนเกาะยาวใหญ่ เป็นหาดทรายละเอียดมีโขดหินสวยงาม เล่นน้ําได้<br />
อ่าวล้าน ตั้งอยู่บนเกาะยาวใหญ่ เป็นหาดทรายสวยงามลงเล่นน้ําได้ ทิศเหนือของอ่าวเป็น<br />
หน้าผาชัน น้ําลึก การคมนาคมทางบกไม่สะดวก ไปได้สะดวกเฉพาะทางเรือ<br />
อ่าวหินกอง ตั้งอยู่บนเกาะยาวใหญ่ เป็นหาดร่มรื่นไปด้วยป่าไม้เคี่ยม มีลูกปลากระเบน<br />
มากมาย ไม่เหมาะสมสําหรับการเล่นน้ํา<br />
เกาะไข่ เป็นเกาะเล็กๆ ๒ เกาะ เรียกว่าเกาะไข่นอก และเกาะไข่ใน ทั้ง ๒ เกาะ มีหาด<br />
ทรายขาว น้ําทะเลใส มีปลาสวยงาม และปะการัง การเดินทางไปเกาะไข่ สามารถซื้อทัวร์จากบริษัทนําเที่ยว<br />
หรือเช่าเรือเหมาลําได้จากท่าเรือสิเหร่ ท่าเรือแหลมหิน หรืออ่าวฉลองจังหวัดภูเก็ต<br />
อําเภอกะปง<br />
น้ําตกลํารู่ เป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ในเขตป่าเทือกเขากระได เป็นน้ําตกที่มีความสูงขนาดกลาง<br />
รวม ๕ ชั้น เดินทางโดยใช้ทางแยกจาก ทางหลวง ๔๐๙๐ ผ่านที่ว่าการ อําเภอกะปง ไปยังหมู่บ้านลํารู่<br />
ประมาณ ๙ กิโลเมตร และเดินทางต่อไปยัง น้ําตกลํารู่อีก ๑ กิโลเมตร<br />
น้ําตกหินลาด ห่างจากที่ว่าการอําเภอกะปงไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๘ กิโลเมตร เกิด<br />
จากคลอง ๓ คลอง คือ คลองบางใหญ่ คลองเขาไม้แก้ว และคลองมะละกอ ไหลมาบรรจบกัน เกิดเป็นน้ําตก<br />
หินลาดที่มีโขดหินสวยงามธารน้ําใสสะอาด<br />
วัดนารายนิการาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอ ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐาน<br />
เทวรูป พระนารายณ์ พระลักษณ์และนางสีดา รูปสลักเหล่านี้มีความสําคัญเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของเมือง<br />
"ตะโกลา" (ชื่อเดิมของเมืองตะกั่วป่า) และการเผยแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมอินเดียในภูมิภาคแถบนี้<br />
บ่อน้ําร้อนอําเภอกะปง อยู่ห่างจากตัวอําเภอ ๘ กิโลเมตรมีน้ําแร่ไหลผ่านทางอําเภอ ได้จัด<br />
บ่อกักน้ําแร่ไว้ น้ําแร่มีอุณหภูมิประมาณ ๖๕ องศาเซลเซียส<br />
น้ําตกแสงทอง เป็นน้ําตกขนาดกลาง ห่างตัวเมือง พังงา ๔๘ กิโลเมตร ตรงข้ามโรงพยาบาล<br />
กะปงชัยพัฒน์ มีทางเข้าน้ําตกระยะ ทาง ๖ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๕ กิโลเมตร และเป็นถนนลูกรังปน<br />
ทรายอีก ๑ กิโลเมตร น้ําตกแสงทอง มีทั้งหมด ๑๑ ชั้น เล่นน้ําได้ตลอด<strong>ปี</strong><br />
๑๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
อําเภอคุระบุรี<br />
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ<br />
๕๐ กิโลเมตร เป็นหมู่เกาะเล็กๆ ๙ เกาะ ในทะเลอันดามันเรียงลําดับจากเหนือมาใต้ ได้แก่ เกาะบอน<br />
เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะเมี่ยง (มี ๒ เกาะติดกัน) เกาะปาหยัน เกาะปายัง เกาะหูยง ที่ทําการ<br />
อุทยานฯ อยู่ที่เกาะเมี่ยงเพราะเป็นเกาะที่มีน้ําจืดหมู่เกาะเหล่านี้ ได้รับการยกย่องจากนิตยสาร สกินไดฟวิ่ง<br />
ของอเมริกาว่า “มีความสวยงาม ทั้งบนบกและใต้น้ําเป็น ๑ ใน ๑๐ ของสถานที่ท่องเที่ยวของโลกที่น่าสนใจ”<br />
เกาะสิมิลัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดลักษณะอ่าวโค้งเหมือนเกือกม้า ใต้ท้องทะเล อุดมไปด้วยก้อนหิน<br />
และแนวปะการัง สภาพหาดทรายเนื้อละเอียดสวยงามมากเหมาะสําหรับดําน้ําดูปลา และปะการัง ทางด้านเหนือ<br />
ของเกาะมีก้อนหินขนาดใหญ่รูปร่างแปลกตามาก เช่น หินรูปรองเท้าบูท หินรูปเรือใบ ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม<br />
เกาะบางู หรือ เกาะหัวกะโหลก สภาพใต้น้ําเหมือนหุบเขาใต้น้ําที่เต็มไปด้วยทุ่งหญ้า<br />
ปะการัง หุบเหวลึก และฝูงปลา<br />
เกาะหูยง เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวสะอาดและยาว มากที่สุด ในจํานวน ๙ เกาะ เมื่อถึง<br />
ฤดูวางไข่ของเต่า คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ จะมีร่องรอยของเต่าที่ขึ้นมาวางไข่บน<br />
ชายหาดคล้ายกับรอยตีนตะขาบเล็ก<br />
เกาะเมี่ยง เป็นเกาะขนาดใหญ่รองจากเกาะสิมิลัน เป็นที่ตั้งของที่ทําการอุทยานฯ มีแหล่ง<br />
น้ําจืด มีหาดทรายที่สวยงามเหมาะแก่การพักแรม<br />
การเดินทางและที่พัก สามารถติดต่อจองที่พักได้ที่ ที่ทําการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่<br />
๑ ตําบลลําแก่น อําเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โทร. ๐-๗๖๕๙-๕๐๔๕ การเดินทาง จากท่าเรือทับละมุ<br />
อําเภอท้ายเหมืองใช้เวลาในการเดินทาง ๓ ชั่วโมง มีเรือขนาดใหญ่ให้เช่า หรือติดต่อผ่านที่ทําการอุทยานฯ<br />
เช่นกัน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเล อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน<br />
หลังจากนั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม จน ถึงตุลาคม ทางอุทยานจะปิดเกาะ งดรับนักท่องเที่ยว<br />
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ประกอบด้วยเกาะ ๕ เกาะ คือเกาะสุรินทร์เหนือ เกาะ<br />
สุรินทร์ใต้ เกาะรี เกาะไข่ และเกาะกลาง เป็นหมู่เกาะที่อยู่ติดกับเขตแดนไทย - พม่า มีแนวปะการังน้ําตื้น ที่<br />
อุดมสมบูรณ์และสวยงามมาก เหมาะเป็นแหล่งน้ําตื้นดูปะการัง สถานที่น่าสนใจมีเกาะสุรินทร์เหนือ และเกาะ<br />
สุรินทร์ใต้ ในเกาะนี้มีอ่าวทั้งหมด ๑๐ กว่าอ่าว อ่าวที่มีชื่อเสียง คือ อ่าวแม่ยาย หรือ แม่ใหญ่ เป็นอ่าวที่มี<br />
คลื่นลมสงบและมีขนาดใหญ่ที่สุด อ่าวลึกอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของเกาะสุรินทร์เหนือมีน้ําลึกจนเป็นสีเขียว<br />
เข้ม มีปะการังน้ําตื้นที่สวยงามมาก หมู่เกาะสุรินทร์ มีชาวเลเผ่ามอแกนที่ยังดํารงชีวิตแบบดั้งเดิมกลุ่ม<br />
สุดท้ายในประเทศไทย ที่บริเวณชายหาด เกาะสุรินทร์ใต้ในวันขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๓ ของทุก<strong>ปี</strong>จะมีงานพิธีกรรม<br />
ลอยเรือชาวเลบนเกาะมีที่พักสําหรับนักท่องเที่ยว รายละเอียด ติดต่อที่ทําการอุทยานฯ โทร. ๐-๗๖๔๗-<br />
๒๑๔๕-๖ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเล อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน<br />
เมษายนหลังจากนั้น ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคมจนถึงตุลาคม ทางอุทยานจะปิดเกาะงดรับนักท่องเที่ยว<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๑๑
การรักษาความสงบเรียบร้อย<br />
ใน<strong>ปี</strong> พ.ศ.๒๕๕๕ จังหวัดพังงา มีสถานีตํารวจจํานวน ๑๑ สถานี และมีป้อมยามตํารวจ ๕๐<br />
ป้อมยาม อัตรากําลังทั้งหมด ๙๐๔ จําแนกเป็น ตํารวจสัญญาบัตร ๑๑๐ นาย และชั้นประทวน ๗๙๔ นาย<br />
และอื่นๆ - ลูกจ้าง ๗ คน สภาพปัญหาอาชญากรรมหรือความสงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพังงา<br />
มีความแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วสภาพปัญหา<br />
ต่างๆ ประกอบด้วยปัญหาหลักที่สําคัญ ได้แก่ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาการประทุษร้าย<br />
ต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน อันมีสาเหตุจากการแก่งแย่งที่ดินทํากิน การแก่งแย่งการประกอบอาชีพ<br />
ปัญหาแหล่งบันเทิง สถานเริงรมย์ ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ํา ปัญหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวสภาวะ<br />
การท่องเที่ยวซบเซา และปัญหาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ประกอบกับจังหวัดพังงา มีพื้นที่เป็นภูเขา<br />
สลับซับซ้อน ทอดเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ มีพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล มีความยาว ๒๓๙.๒๕<br />
กิโลเมตร มีเกาะแก่ง ประมาณ ๑๐๕ เกาะ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม เช่น หมู่เกาะสุรินทร์, เกาะสิมิลัน,<br />
อ่าวพังงา จึงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เป็นจํานวนมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆจากสถานการณ์ที่<br />
เกิดขึ้น และสภาพพื้นที่เอื้ออํานวยและล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรมขึ้น การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม<br />
มาตรการ ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมได้ระดมการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมเดือนละ ๒ ครั้ง ๆ ละ<br />
๓ วันเร่งรัดการสืบสวนติดตามจับกุมผู้กระทําผิดในคดีค้างเก่าตามหมายจับจัดชุดสืบสวนหาข่าว เพิ่มความถี่<br />
ของสายตรวจตามสภาพพื้นที่รับผิดชอบเน้นในพื้นที่ล่อแหลมและการเกิดอาชญากรรมสูง<br />
มาตรการในการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว<br />
๑. อํานวยการรักษาความปลอดภัย รวมถึงในแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนพื้นที่ล่อแหลมที่อาจจะเกิดภัย<br />
แก่นักท่องเที่ยวได้ง่าย<br />
๒. เพิ่มความเข้มในการตรวจตรา สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม จุดรับส่งนักท่องเที่ยวและโรงแรม<br />
อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ<br />
๓. พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษแก่ข้าราชการตํารวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว<br />
๔. ระดมปราบปรามอาชญากรรม และกลุ่มมิจฉาชีพตามแหล่งท่องเที่ยว และบริเวณใกล้เคียง หรือ<br />
แก๊งคนร้ายตามแหล่งท่องเที่ยวตลอดจนผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวบุคคลที่สร้าง<br />
ความเดือดร้อนรําคาญแก่นักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง<br />
การศาสนา<br />
ศาสนาพุทธ ชาวพุทธในจังหวัดพังงา นิยมไปทําบุญและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดในวัน<br />
สําคัญต่างๆ เช่นเดียวกับพุทธศาสนิกชนจังหวัดอื่น ได้แก่ วันธรรมสวนะ วันมาฆบูชา วันวิสาขะบูชา<br />
วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันอาสาฬหบูชา<br />
ศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมในจังหวัดพังงาปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนา ได้แก่ การละหมาด การถือศีลอด<br />
วันอีดิ๊ลฟิตรี วันอีดิ๊ลอัฎฮา และ พิธีเข้าสุนัต<br />
๑๒<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
การศึกษา<br />
ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ จังหวัดพังงา มีการจัดระบบการศึกษาออกเป็น ๒ ประเภทคือ การศึกษาภาครัฐบาล และ<br />
ภาคเอกชน มีสถานศึกษาทั้งหมด ๒๑๐ แห่ง มีนักเรียน ๕๖,๗๐๐ คน<br />
ด้านวัฒนธรรม<br />
ประเพณีที่สําคัญ<br />
ประเพณีวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีทําบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว<br />
ทุก<strong>ปี</strong>เมื่อถึงวันสารทเดือนสิบ (ขึ้น ๑๕ ค่ํา เดือน ๑๐) ชาวบ้านในชุมชน จะชักชวนญาติพี่น้องไปวัด<br />
เพื่อร่วมกันทําบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว นําอาหารคาวหวานไปถวายพระที่วัด<br />
ฟังพระธรรมเทศนา และถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุ จากนั้นก็จะนําอาหารส่วนหนึ่งใส่กระทงเปรต<br />
นําไปตั้งในสถานที่ที่ทางวัดได้จัดเตรียมไว้ให้เพื่อเป็นการเซ่นไหว้วิญญาณผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้นจะนําอาหาร<br />
ส่วนหนึ่งไปแจกชาวไทยใหม่ (ชาวเล)<br />
ประเพณีกินเจ ประเพณีกินเจหรือประเพณีกินผักเป็นประเพณีเก่าแก่ประเพณีหนึ่งของ<br />
ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดพังงา ในระหว่างวันขึ้น ๑ - ๙ ค่ํา จะถือศีลกินเจหยุดกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด<br />
เพื่อละเว้นจากการกระทําบาป<br />
ประเพณีปล่อยเต่า (ประเพณีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล) วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลซึ่งเป็น<br />
สัตว์หายาก ที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายชายทะเลของอําเภอท้ายเหมือง เป็นประจํา โดยจัดขึ้นระหว่าง<br />
วันที่ ๑ – ๑๐ มีนาคมของทุก<strong>ปี</strong> ณ บริเวณหาดท้ายเหมือง ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตําบลท้ายเหมือง อําเภอท้ายเหมือง<br />
ประเพณีลอยแพ จะทํากัน<strong>ปี</strong>ละหนึ่งครั้งในราวเดือน ๑๒ ของทุก<strong>ปี</strong> เมื่อจะถึงกําหนดวันลอยแพ ชาวบ้าน<br />
จะไปช่วยกันตัดไม้ไผ่มาต่อเป็นแพ โดยให้แพมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุสิ่งของได้แล้วจัดตกแต่งประดับประดา<br />
ให้สวยงาม ใส่เล็บ เส้นผม และสิ่งของต่าง ๆ จากนั้นจะนําแพไปทําพิธีสวดสมโภช ในวันรุ่งขึ้น<br />
ก็จะช่วยกันนําแพไปลอยที่ชายหาดหรือแหล่งน้ําในหมู่บ้าน ก่อนลอยแพจะมีการแสดงธรรม ถวายภัตตาหารเพล<br />
แก่พระภิกษุ และร่วมกันรับประทานอาหาร<br />
ประเพณีของชนกลุ่มน้อย (ชาวไทยใหม่ ชาวมอแกน) เช่น ประเพณีส่งหาบส่งคอน ประเพณีฉลอง<br />
เสาวิญญาณบรรพบุรุษ (เหนียะเอนหล่อโบง)<br />
พิธีกรรมที่สําคัญ ประชาชนในจังหวัดพังงามีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่<br />
บรรพบุรุษหลายแบบอย่าง ที่สําคัญ ได้แก่<br />
การตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ (หลาพ่อตา) คนพังงามีความเชื่อกันว่าแผ่นดินทุกแห่งมี พระภูมิเจ้าที่<br />
สิงสถิตอยู่ การเข้าไปอยู่อาศัยต้องให้ความเคารพยําเกรงไม่ลบหลู่ และควรมีการตั้งศาลเพื่อเป็นที่สิงสถิตของ<br />
พระภูมิเจ้าที่ พระภูมิเจ้าที่จะช่วยปกปักรักษาคุ้มครองให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง โดยเรียกการตั้งศาลเจ้าที่ว่า<br />
ตั้งหลาพ่อตา (คําว่า หลาพ่อตา เป็นภาษาถิ่นใต้ที่กร่อนมาจากคําว่า “ศาลา” หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง “ศาล”<br />
นั่นเอง)<br />
การทําภูมิ เป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่มีมาแต่ครั้งบรรพบุรุษโดยเชื่อว่าการได้ทําภูมิบ้านหรือทํา<br />
ภูมิแต่งงานนั้นจะทําให้เกิดความเป็นสิริมงคล เกิดโชคลาภ มั่งมีศรีสุข และช่วยให้งานพิธีสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๑๓
แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถานที่สําคัญ<br />
จังหวัดพังงาสามารถจําแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ บริเวณที่เป็นเมืองเก่า ได้แก่ เมืองตะกั่วป่า<br />
เมืองคุระบุรี เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองพังงา และบริเวณที่เป็นแหล่งหรือสถานที่ที่พบโบราณ วัตถุหรือโบราณสถาน<br />
ในยุคสมัยต่าง ๆ จากการสํารวจปรากฏรายละเอียด ดังนี้<br />
เมืองตะกั่วป่า เป็นชุมชนโบราณตะกั่วป่า หมายถึง ชุมชนในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ลุ่ม<br />
แม่น้ําตะกั่วป่า เริ่มจากแหล่งโบราณคดีใกล้ต้นแม่น้ําตะกั่วป่าในเขตอําเภอกะปง ไปจนถึงแหล่งโบราณคดีปาก<br />
แม่น้ําตะกั่วป่า เขตอําเภอตะกั่วป่า และเขตอําเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เขตชุมชนโบราณตะกั่วป่า สันนิษฐาน<br />
ว่าอยู่ตรงบริเวณเขตอําเภอกะปง เขตอําเภอคุระบุรี และเขตอําเภอตะกั่วป่า รวมกันเรียกว่า ตะโกลา ซึ่งเป็น<br />
ชื่อที่ใช้เรียกเมืองตะกั่วป่าในสมัยโบราณ<br />
แหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่สําคัญ เป็นแหล่งชุมชนโบราณตะกั่วป่า ตั้งอยู่<br />
ในแนวลําน้ําตะกั่วป่าโดยมีแหล่งโบราณคดีเขาเวียง (เขาพระนารายณ์) ตั้งอยู่ในบริเวณที่บรรจบกันของแม่น้ํา<br />
ตะกั่วป่ากับคลองกะปง (คลองกะปงมีต้นน้ําอยู่ที่เขาไม้แก้วทางทิศใต้ของเขาพระนารายณ์)<br />
บ้านทุ่งตึก อยู่บนเกาะคอเขาตอนท้ายเกาะ ลักษณะพื้นที่เป็นลานทราย มีต้นไม้ขึ้นไม่มากนัก<br />
บางแห่งก็เป็นป่าละเมาะ สาเหตุที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ทุ่งตึก ก็เนื่องจากบนลายทรายระหว่างป่าละเมาะแห่ง<br />
นี้ มีซากอาคารโบราณสถานคล้ายกับเป็นตึกหรือวิหารปรากฏอยู่ และได้พบชิ้นส่วนของศาสนสถานและ<br />
สัญลักษณ์รูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ จากหลักฐานเหล่านี้ทําให้นักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลง<br />
ความเห็นว่าทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณซึ่งชาวอินเดีย จีนอาหรับ และชาวมลายูมาทําการค้าขาย ส่วนสาเหตุ<br />
การซบเซาลงไปนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดสันนิษฐานว่า คงมาจาก เกิดสงครามหรือถูกศัตรูรุกรานในตอนปลาย<br />
ข้อมูลด้านสังคม<br />
รายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น (อปท.๑)<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา ได้มีการจัดเก็บข้อมูล<br />
สถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น (อปท.๑) ตั้งแต่ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๑ เป็นต้นมา<br />
สําหรับใน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ จังหวัดพังงาได้ขอความร่วมมือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสํารวจ<br />
ข้อมูลตามแบบรายงานสถานการณ์ทางสังคม ดังกล่าวซึ่งสํานักงานได้สรุปข้อมูลจากแบบสํารวจ ฯ ดังกล่าว<br />
จากจํานวนครัวเรือน จํานวน ๗๗,๙๒๘ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๒๑๔,๗๑๗ คน เพศชาย ๑๐๗,๔๘๑ คน เพศหญิง ๑๐๗,๒๓๖<br />
คนมีข้อมูลจากการสํารวจ ดังนี้<br />
ผู้ประสบปัญหาเชิงประเด็นสังคม ผู้ประสบปัญหาเรียงตามลําดับ คือ ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม<br />
จํานวน ๒,๗๕๔ ครอบครัว/ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๘๘ รองลงมา คือ ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />
จํานวน ๒,๑๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๑๖ อันดับสาม คือ ปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้ จํานวน ๑,๘๓๔ คน คิดเป็นร้อย<br />
ละ ๒๐.๕๗ อันดับสี่ คือ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จํานวน ๑,๖๕๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๕๒ อันดับห้า ปัญหาด้านการศึกษา<br />
จํานวน ๒๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๒๐ และผู้ประสบปัญหาน้อยที่สุด คือ ปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม จํานวน ๒๓๘<br />
คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๗<br />
๑๔<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ข้อมูลประเด็นปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเด็ก<br />
และเยาวชน จํานวน ๒,๓๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๔๗ รองลงมา คือ ปัญหาแรงงาน จํานวน ๒,๑๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ<br />
๓๖.๓๒ อันดับสาม คือ ปัญหาครอบครัว จํานวน ๗๕๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๖๖ อันดับสี่ คือ ปัญหาสตรี จํานวน ๓๘๕ คน<br />
คิดเป็นร้อยละ ๖.๔๓ อันดับห้า คือ ปัญหาผู้สูงอายุ จํานวน ๒๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๘ ส่วนประเด็นปัญหาที่น้อยที่สุด คือ<br />
ปัญหาคนพิการ จํานวน ๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๒๔<br />
เมื่อนําข้อมูลของ<strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ และ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ มาเปรียบเทียบกัน ปรากฏผล ดังนี้<br />
ผู้ประสบปัญหาเชิงประเด็นสังคม<br />
ตามประเด็นนี้ในภาพรวม มีจํานวนลดลง คือ จากจํานวน ๑๑, ๙๖๓ คนใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๔<br />
ลดลงเหลือจํานวน ๘,๙๑๘ คน ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ ลดลงจํานวน ๓,๐๔๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๔๕<br />
มองในแต่ละประเด็นปัญหา จํานวน ๖ ปัญหา มีปัญหาที่ลดลง จํานวน ๕ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ และ<br />
เพิ่มขึ้น จํานวน ๑ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๔<br />
ปัญหาที่ลดลงมากที่สุด คือ ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จากจํานวน ๔,๔๐๑ คน เป็น จํานวน ๒๗๕๔ คน<br />
ลดลง ๑,๖๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๔๒ อันดับสอง คือ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จาก จํานวน ๒,๕๒๖ คน เป็น ๑,๖๕๒<br />
คน ลดลง จํานวน ๘๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๔๐ อันดับสาม คือ ปัญหาการมีงานทําและการมีรายได้ จากจํานวน ๒,๗๘๖<br />
คน เหลือ จํานวน ๑,๘๓๔ คน ลดลง จํานวน ๙๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๑๗ อันดับสี่ คือ ปัญหาด้านการศึกษา จากจํานวน<br />
๓๖๗ คน เหลือ จํานวน ๒๘๕ คน ลดลงจํานวน ๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๓๔และปัญหาที่ลดลง น้อยที่สุด คือ ปัญหาด้าน<br />
วัฒนธรรมและจริยธรรม จาก จํานวน ๒๕๕ คน เหลือ จํานวน ๒๓๘ คน ลดลงจํานวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๖๗<br />
ปัญหาที่เพิ่มขึ้น คือ ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นจาก จํานวน ๑,๖๒๘ คน เป็น<br />
จํานวน ๒,๑๕๕ คน เพิ่มขึ้น จํานวน ๕๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๓๗<br />
ผู้ประสบปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา<br />
ตามประเด็นนี้ในภาพรวม มีจํานวนลดลง คือ จากจํานวน ๗,๘๘๓ คนใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ ลดลงเหลือจํานวน<br />
๕,๙๘๕ คน ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ ลดลงจํานวน ๑,๘๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๐๘<br />
มองในแต่ละประเด็นปัญหา จํานวน ๖ ปัญหา มีปัญหาที่ลดลง จํานวน ๕ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓<br />
และเพิ่มขึ้น จํานวน ๑ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๗<br />
ปัญหาที่ลดลงมากที่สุด คือ ปัญหาคนพิการ จากจํานวน ๑๗๐ คน เหลือ ๗๔ คน ลดลง<br />
จํานวน ๙๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๔๗ อันดับสอง คือ ปัญหาผู้สูงอายุ จากจํานวน ๔๐๕ คน เหลือ จํานวน ๒๓๒ คน ลดลง<br />
จํานวน ๑๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๗ อันดับสาม คือ ปัญหาแรงงาน จากจํานวน ๓,๑๒๐ คน เหลือ จํานวน ๒,๑๗๔ คน<br />
ลดลง จํานวน ๙๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๓๒ อันดับสี่ คือ ปัญหาเด็กและเยาวชน จาก จํานวน ๓,๑๓๙ คน เหลือ จํานวน<br />
๒,๓๖๒ คน ลดลง จํานวน ๗๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๗๕ และที่ลดลงน้อยที่สุด คือ ปัญหาสตรี ซึ่งลดลงจาก จํานวน ๔๓๘<br />
คน เหลือ จํานวน ๓๘๕ คน ลดลงจํานวน ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๑๐<br />
ประเด็นปัญหาที่เพิ่มขึ้น คือ ปัญหาครอบครัว จากจํานวน ๖๑๒ คน เพิ่มเป็นจํานวน ๗๕๘ คนครัว<br />
เพิ่มขึ้นจํานวน ๑๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๖<br />
*** สามารถดูรายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญหาได้ในภาคผนวก ***<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๑๕
งานอาสาสมัครของจังหวัด<br />
ตาราง ๔ : ข้อมูลอาสาสมัครและองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง<br />
ที่ อาสาสมัคร จํานวน หมายเหตุ<br />
๑ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา (อพม.) ๔๒๐ คน<br />
๒ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ๓๘๐ คน<br />
๓ ผู้ช่วยคนพิการ ๑ คน<br />
๔ องค์กรสาธารณประโยชน์ ๑๒ องค์กร<br />
๕ องค์กรสวัสดิการชุมชน ๔๒ องค์กร<br />
** ข้อมูล ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕<br />
องค์กรสาธารณประโยชน์<br />
เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือชุมชน สังคม ดําเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กรการ<br />
กุศลอื่นเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ช่วยเหลือกลุ่มเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสใน<br />
จังหวัดพังงามีองค์กรที่จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ จํานวน ๑๒ องค์กร<br />
องค์กรสวัสดิการชุมชน<br />
ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดสวัสดิการด้านต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกในชุมชน เช่น ช่วยเหลือค่าทําคลอด ค่ารักษาพยาบาล<br />
ค่านอนโรงพยาบาล ค่าสงเคราะห์ศพ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการตกลงกันของสมาชิกในกลุ่มนั้น ๆ<br />
โดยตั้งแต่ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ เป็นต้นมา รัฐบาลได้มีการสมทบประมาณแก่กองทุนสวัสดิการชุมชน ที่มีการจดทะเบียนโดยมีการกําหนด<br />
เงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ โดยให้ถือ ๑ อปท. ๑ กองทุนฯ ในจังหวัดพังงามีการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนฯ และดําเนินการจนถึง<br />
ปัจจุบันมีกองทุนฯ ที่จดทะเบียนเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน จํานวน ๔๒ กองทุน<br />
๑๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
บทที่ ๒<br />
การแปลงนโยบาย<br />
และยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ<br />
นโยบายระยะการบริหารราชการ ๔ <strong>ปี</strong> ของรัฐบาล<br />
๑. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต<br />
๒.นโยบายเศรษฐกิจ<br />
๓. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม<br />
๔. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม<br />
๕. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ<br />
๖. นโยบายความมั่นคงของรัฐ<br />
๗. นโยบายการบริหารจัดการที่ดี<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๑๗
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การพัฒนาจังหวัด<br />
วิสัยทัศน์จังหวัด<br />
“แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ชั้นนําระดับโลก เกษตรกรรมยั่งยืน แหล่งเรียนรู้ สังคมน่าอยู่ ฝั่งทะเลอันดามัน”<br />
ยุทธศาสตร์ที่ ๑<br />
ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ<br />
๑. ส่งเสริมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรม<br />
ทางเลือกการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่หลากหลาย<br />
และได้มาตรฐาน<br />
๒. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ Logistics<br />
๓. เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรและการบริหาร<br />
จัดการด้านการท่องเที่ยว<br />
๔. จัดระบบการรักษาความปลอดภัย<br />
และการสื่อสารที่ทันสมัย<br />
๕. พัฒนาการตลาดและการประชาสัมพันธ์<br />
ที่มีประสิทธิภาพ<br />
๖. ขยายฐานตลาดท่องเที่ยวใหม่และรักษาตลาด<br />
นักท่องเที่ยวเก่า โดยเน้น นักท่องเที่ยวคุณภาพ<br />
ยุทธศาสตร์ที่ ๓<br />
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ<br />
และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล<br />
๑. ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทําลายทรัพยากร<br />
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />
๒. ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม<br />
หรือถูกทําลาย<br />
๓. ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างจิตสํานึกการมีส่วนร่วมในการ<br />
บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />
๔. ใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากร<br />
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />
ยุทธศาสตร์ที่ ๒<br />
พัฒนาเกษตรกรรมสู่ความสมดุลและยั่งยืน<br />
๑. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร<br />
๒. สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร<br />
และองค์กรเกษตรกร<br />
๓. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอนุรักษ์ฟื้นฟู<br />
ทรัพยากรการเกษตร<br />
๔. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ<br />
ด้านการเกษตร<br />
๕. ส่งเสริมการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง<br />
ยุทธศาสตร์ที่ ๔<br />
พัฒนาคุณภาพชีวิต และสังคม<br />
แห่งการเรียนรู้ สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน<br />
๑. พัฒนาการศึกษาและทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ<br />
ครอบคลุมทั่วถึง และสามารถแข่งขันได้<br />
๒. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ความสามารถ และการ<br />
มีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการชุมชน<br />
๓. เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม<br />
๔. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมให้ทั่วถึงและเป็นธรรม<br />
๕. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและระบบ<br />
การให้บริการประชาชน<br />
๖. พัฒนาระบบสุขภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐาน<br />
๗. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />
๘. เสริมสร้างความมั่นคงในการดํารงชีวิตของครัวเรือน<br />
ยากจน<br />
๙. ส่งเสริมฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น<br />
๑๐. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น<br />
๑๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
แผนพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดพังงา ๔ <strong>ปี</strong> (พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔)<br />
วิสัยทัศน์ : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมเข้มแข็งและมีคุณธรรม<br />
พันธกิจ : ๑. ส่งเสริม พัฒนา คุณภาพชีวิตประชาชน<br />
๒. พัฒนาความมั่นคงในการดํารงชีวิต<br />
๓. พัฒนาและสร้างความเป็นธรรมในสังคม<br />
ยุทธศาสตร์ : ๑. พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนกลุ่มเป้าหมาย<br />
ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง<br />
๒. เสริมสร้างความเข้มแข็งและอบอุ่นของบุคคล<br />
สถาบันครอบครัว ชุมชน และสังคม<br />
๓. พัฒนาเครือข่ายด้านสังคม<br />
การแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ<br />
ในการแปลงนโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ สู่การปฏิบัติ สํานักงานฯ ได้มีการดําเนินการ ดังนี้<br />
การวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคม<br />
การที่รัฐบาลได้มีนนโยบายการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับ<br />
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนและความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาที่ผ่านมาของ<br />
จังหวัดพังงาเน้นการท่องเที่ยว ทําให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น สภาพภายในจังหวัดมีองค์กรเครือข่ายและหน่วยงานภายนอกที่<br />
สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดได้อย่างดี จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรมประเพณี<br />
ที่หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่อยู่ร่วมกันสมานฉันท์ ไม่มีความแตกแยกทางสังคม รักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมได้อย่าง<br />
สมบูรณ์ ดํารงวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายแบบสังคมเกษตร ประชาชนให้ความสําคัญกับการศึกษาของบุตรหลาน มีระบบการจัด<br />
สวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคุณภาพชีวิต หรืองานด้านการพัฒนาสังคม ยังได้รับความสําคัญจาก<br />
อปท. ไม่มากนัก แรงงานต่างด้าวซึ่งมีจํานวนมากส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรับบริการแฝงจากรัฐ<br />
เช่น ด้านสาธารณสุข สภาพแวดล้อม ในส่วนของสภาพดินฟ้าอากาศ มีผลต่อ การประกอบอาชีพด้านการเกษตร<br />
กระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจด้านสังคม ค่านิยมในสังคมเปลี่ยนไปจากวิถีชีวิตดั้งเดิม เด็กมี<br />
พฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง เกี่ยวกับยาเสพติด ติดเกมส์ และการพนันการมุ่งเน้นสนองความต้องการด้านวัตถุทําให้<br />
ความรู้สึกช่วยเหลือเกื้อกูลหรือจิตสาธารณะ รวมถึงการจัดการศึกษายังไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ทําให้มีผลต่อ<br />
ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนที่อยู่ในระดับลดลง ผู้นําองค์กรชุมชนยังขาดความรู้และทักษะ และจิตอาสา โครงการต่าง ๆ<br />
ที่ดําเนินการในพื้นที่ ขาดความต่อเนื่อง ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานภาครัฐ การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม<br />
ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย<br />
ดังนั้น สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา จึงได้ตระหนัก<br />
ในการดําเนินงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนไม่เสื่อมศรัทธา เพื่อตอบสนองพื้นที่หรือความต้องการของประชาชนในพื้นที่<br />
โดยการกระตุ้น ผลักดัน ส่งเสริม สนับสนุน ปลูกฝัง ยกระดับ พัฒนา มุ่งเน้นการ พัฒนา ส่งเสริม สร้างความแข็งแกร่ง รวมทั้ง<br />
การบริหารจัดการทรัพยากรและปรับกระบวนการ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารทรัพยากร และการจัดกระบวนการภายใน<br />
ให้ทํางานครบถ้วน รวดเร็ว ถูกต้อง ตรงเวลา และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ตลอดจนการดําเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อ การสร้าง<br />
ประโยชน์ ให้กับสาธารณชนในกรอบของภารกิจระยะยาว โดยใช้การจัดทําแผนปฏิบัติการ หรือการดําเนินงานประจํา<strong>ปี</strong><br />
๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ได้กําหนดกรอบ แนวทาง การดําเนินงาน ดังนี้<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๑๙
วิสัยทัศน์ : ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สู่สังคมสวัสดิการ<br />
พันธกิจ : ๑. ส่งเสริม พัฒนา คุณภาพชีวิตประชาชน<br />
๒. พัฒนาความมั่นคงในการดํารงชีวิต<br />
๓. พัฒนาและสร้างความเป็นธรรมในสังคม<br />
แผนงานโครงการ<br />
๑. การจัดสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง<br />
๑.๑ การจัดสวัสดิการแก่เด็กและเยาวชน<br />
๑.๒ จัดสวัสดิการสังคมแก่สตรี<br />
๑.๓ จัดสวัสดิการสังคมแก่ครอบครัว<br />
๑.๔ จัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ<br />
๑.๕ จัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้พิการ<br />
๑.๖ จัดสวัสดิการแก่ผู้พ้นโทษ<br />
๑.๗ สัมมนาและเผยแพร่ความรู้กฎหมาย<br />
๑.๘ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์<br />
๑.๙ การบริหารงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ก.ส.ค.)<br />
๑.๑๐ โครงการกระจายการจัดสวัสดิการสังคมสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น<br />
๑.๑๑ การบริหารจัดการกองทุนและสนับสนุน (กบท.)<br />
๒. ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนต่างวัยในครอบครัว<br />
๒.๑ ส่งเสริมงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว (ศปพ.)<br />
๒.๒ โครงการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน<br />
๒.๓ แผนการใช้เวลาว่างร่วมกันของครอบครัว<br />
๒.๔ โครงการสานสายใยเครือข่ายครอบครัว (กิจกรรมสานสัมพันธ์ครอบครัว)<br />
๒.๕ โครงการครอบครัวคุณธรรมนําสังคมไทยเข้มแข็ง (กิจกรรมพาลูก จูงหลานเข้าวัด โบสถ์ มัสยิด)<br />
๒.๖ กิจกรรมวันครอบครัวและสมัชชาครอบครัว<br />
๒.๗ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว<br />
๒๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๓. การเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม<br />
๓.๑ การสํารวจข้อมูลรายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น (อปท.๑)<br />
๓.๒ การสํารวจข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม<br />
๓.๓ การรณรงค์เพื่อการเฝ้าระวังและเตือนภัยในเทศกาลต่าง ๆ<br />
๔. เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายในการจัดสวัสดิการสังคม<br />
๔.๑ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นเครือข่ายในการ<br />
ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคม<br />
๔.๒ โครงการส่งเสริมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาสตรีและครอบครัว<br />
๔.๓ โครงการสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค (คนดีศรีแผ่นดิน)<br />
๔.๔ โครงการขยายผลอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.)<br />
๔.๕ โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน (อพมก.)<br />
๔.๖ โครงการสนับสนุนบทบาทสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด<br />
๔.๗ ส่งเสริมการดําเนินการกิจกรรมหอพักให้เป็นไปตามกฎหมาย (พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ.๒๕๐๗)<br />
๕. งานตามนโยบายและงานอื่น ๆ<br />
๕.๑ โครงการสนับสนุนสวัสดิการชุมชน<br />
๕.๒ โครงการตําบลต้นแบบการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ<br />
๕.๓ โครงการชุมชนบ้านน้ําใส<br />
๕.๔ ศูนย์บริการซัมซุง<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๒๑
บทที่ ๓<br />
ผลการดําเนินงาน<br />
แหล่งที่มาของงบประมาณ<br />
ใน<strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๕๕ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงาได้รับการ<br />
จัดสรรงบประมาณ จํานวน ๑๑,๘๗๐,๙๐๕ บาท จากแหล่งงบประมาณดังนี้<br />
๑. สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ๕,๙๕๒,๑๔๘ บาท<br />
๒. สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ๑,๓๙๕,๓๒๐ บาท<br />
๓. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ๘๕๕,๓๖๑ บาท<br />
๔. สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ๑,๒๘๐,๓๖๐ บาท<br />
และผู้สูงอายุ (สท.)<br />
๕. สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) ๓๓๑,๖๐๐ บาท<br />
๖. งบกลาง ๓,๙๖๙,๖๑๖ บาท<br />
๗. พอช. (กองทุนสวัสดิการชุมชน) ๘๙๓,๐๐๐ บาท<br />
แผนภูมิที่ ๑ : งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร<br />
พก.<br />
๓๓๑,๖๐๐<br />
สท.<br />
๑,๒๘๐,๓๖๐<br />
งบกลาง<br />
๓,๙๖๙,๖๑๖<br />
พอช.<br />
๘๙๓,๐๐๐<br />
พส.<br />
๘๕๕,๓๖๑<br />
สค.<br />
๑,๓๙๕,๓๒๐<br />
สป.พม.<br />
๕,๙๕๒,๑๔๘<br />
สป.พม.<br />
สค.<br />
พส.<br />
สท.<br />
พก.<br />
งบกลาง<br />
พอช.<br />
๒๒<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ<br />
แผนภูมิที่ ๒ : ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ <strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๕๕<br />
5,000,000<br />
4,500,000<br />
4,000,000<br />
3,500,000<br />
3,000,000<br />
2,500,000<br />
2,000,000<br />
1,500,000<br />
1,000,000<br />
500,000<br />
0<br />
สป.พม. สค. พส. สท. พก. งบกลาง พอช.<br />
งบประมาณ<br />
เบิก - จ่าย<br />
ตาราง ๕ : ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ <strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๕๕<br />
รายการ ได้รับจัดสรร โอนมาแล้ว เบิก - จ่าย คงเหลือ หมายเหตุ<br />
สํานักปลัดกระทรวงฯ สป.<br />
ผลผลิตที่ ๑ ประชากรเป้าหมายที่ได้รับบริการสวัสดิการสังคม<br />
กิจกรรม ส่งเสริม ประสานและดําเนินการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าเช่าสํานักงาน) ๒๔๐,๐๐๐.๐๐ ๒๔๐,๐๐๐.๐๐ ๒๔๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าเช่าโรงเก็บพัสดุ) ๑๐๘,๐๐๐.๐๐ ๑๐๘,๐๐๐.๐๐ ๑๐๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างเหมา พนง.ขับรถยนต์) ๙๖,๐๐๐ ๙๖,๐๐๐ ๙๖,๐๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างเหมา ผช.งานการเงิน ฯ) ๙๙,๖๐๐ ๙๙,๖๐๐ ๙๙,๖๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างเหมา ผช.บันทึกข้อมูล) ๙๐,๐๐๐ ๙๐,๐๐๐ ๙๐,๐๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างเหมา พนง.ทําความสะอาด) ๖๗,๕๐๐ ๖๗,๕๐๐ ๖๗,๕๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบบุคลากร (ค่าตอบแทนพนักงานราชการ) ๓๒๗,๒๗๐.๐๐ ๓๒๗,๒๗๐.๐๐ ๓๒๗,๒๗๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ประกันสังคมพนักงานราชการ) ๑๑,๘๙๖.๐๐ ๑๑,๘๙๖.๐๐ ๑๑,๘๙๖.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าสาธารณูปโภค) ๑๗๘,๕๐๐.๐๐ ๑๗๘,๕๐๐.๐๐ ๑๗๘,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (งบบริหารสํานักงาน) ๓๙๒,๔๐๔.๐๐ ๓๙๒,๔๐๔.๐๐ ๓๙๒,๔๐๔.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน (งบบริหารสํานักงาน ๑๖๐,๐๐๐.๐๐ ๑๖๐,๐๐๐.๐๐ ๑๖๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ค่าน้ํามันเชื้อเพลิง)<br />
- งบเงินอุดหนุน (สงเคราะห์กรณีฉุกเฉิน) ๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบลงทุน (ครุภัณฑ์เผยแพร่และโฆษณา, ๕๕,๐๐๐.๐๐ ๕๕,๐๐๐.๐๐ ๕๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว)<br />
รวม ๒,๒๒๖๑๗๐.๐๐ ๒,๒๒๖๑๗๐.๐๐ ๒,๒๒๖๑๗๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน ๑,๔๔๓,๙๐๐ ๑,๔๔๓,๙๐๐ ๑,๔๔๓,๙๐๐ ๐.๐๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๒๓
รายการ ได้รับจัดสรร โอนมาแล้ว เบิก - จ่าย คงเหลือ หมายเหตุ<br />
ผลผลิตที่ ๒ ประชากรเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันและคุ้มครองจากปัญหาการค้ามนุษย์<br />
กิจกรรม การพัฒนากลไกและการบริหารจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์<br />
- งบดําเนินงาน โครงการป้องกันแก้ไขปัญหา ๑๖๙,๓๐๐.๐๐ ๑๖๙,๓๐๐.๐๐ ๑๖๙,๒๙๙.๘๕ ๐.๑๕<br />
การค้ามนุษย์<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างผู้ช่วยปฏิบัติงานพัฒนา ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
สังคม)<br />
รวม ๒๖๘,๙๐๐.๐๐ ๒๖๘,๙๐๐.๐๐ ๒๖๘,๘๙๙.๘๕ ๐.๑๕<br />
ผลผลิตที่ ๓ การกําหนดนโยบาย มาตรการและแผนด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์<br />
กิจกรรม การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างเหมาเจ้าหน้าที่ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐ ๐.๐๐<br />
ระบบงานคอมพิวเตอร์)<br />
- งบดําเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ๒๒,๐๐๐.๐๐ ๒๒,๐๐๐.๐๐ ๒๑,๙๙๙.๔๒ ๐.๕๘<br />
และการสื่อสาร<br />
รวม ๑๒๑,๖๐๐.๐๐ ๑๒๑,๖๐๐.๐๐ ๑๒๑,๕๙๙.๔๒ ๐.๕๘<br />
กิจกรรม การบริหารนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และกลไกด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์<br />
- งบดําเนินงาน การบริหารงานตาม พรบ. ๑๔๒,๐๐๐.๐๐ ๑๔๒,๐๐๐.๐๐ ๑๔๒,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ (สคด.)<br />
- งบดําเนินงาน การบริหารงานตาม พรบ. ๑๗๐,๐๐๐.๐๐ ๑๗๐,๐๐๐.๐๐ ๑๗๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (กสจ.)<br />
- งบดําเนินงาน เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน การจัดทําแผนการพัฒนาสังคม ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ระดับจังหวัด<br />
- งบดําเนินงาน จัดทําแผนปฏิบัติราชการ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ประจํา<strong>ปี</strong> ๒๕๕๗<br />
- งบดําเนินงาน ค่าพาหนะเข้าร่วมประชุมเชิง ๑๓,๘๐๘.๐๐ ๑๓,๘๐๘.๐๐ ๑๓,๘๐๘.๐๐ ๐.๐๐<br />
ปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร<br />
งบประมาณ<br />
- งบดําเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล ๗,๐๐๐.๐๐ ๗,๐๐๐.๐๐ ๗,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ตามตัวชี้วัด<br />
รวม ๓๗๒,๘๐๘.๐๐ ๓๗๒,๘๐๘.๐๐ ๓๗๒,๘๐๘.๐๐ ๐.๐๐<br />
กิจกรรม การบริหารจัดการและอํานวยการ<br />
- งบดําเนินงาน การบริหารจัดการกองทุนและ ๑๕๓,๗๕๐.๐๐ ๑๕๓,๗๕๐.๐๐ ๑๕๓,๗๔๙.๕๖ ๐.๔๔<br />
เงินสนับสนุน (กบท.)<br />
- งบดําเนินงาน ค่าเช่าบ้าน ๒๔๔,๘๐๐.๐๐ ๒๔๔,๘๐๐.๐๐ ๒๔๔,๘๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รวม ๓๙๘,๕๕๐.๐๐ ๓๙๘,๕๕๐.๐๐ ๓๙๘,๕๔๙.๕๖ ๐.๔๔<br />
กิจกรรม การพัฒนากฎหมายและติดตามการบังคับใช้<br />
- งบดําเนินงาน (ค่าจ้างเหมานิติกร) ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รวม ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๙๙,๖๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
๒๔<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
รายการ ได้รับจัดสรร โอนมาแล้ว เบิก - จ่าย คงเหลือ หมายเหตุ<br />
ผลผลิตที่ ๔ เครือข่ายที่ได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ<br />
กิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วม และพัฒนากลไกการประสานองค์การ อาสาสมัคร<br />
- งบดําเนินงาน โครงการเสริมสร้างและพัฒนา ๔๒๕,๕๒๐.๐๐ ๔๒๕,๕๒๐.๐๐ ๔๒๕,๕๒๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ศักยภาพ อพม.<br />
- งบรายจ่ายอื่น โครงการคนไทยใจอาสา ๑๒๕,๕๐๐.๐๐ ๑๒๕,๕๐๐.๐๐ ๑๒๕,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รวม ๕๕๑,๐๒๐.๐๐ ๕๕๑,๐๒๐.๐๐ ๕๕๑,๐๒๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น<br />
- งบเงินอุดหนุน รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อ ๑,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
กรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น<br />
รวม ๑,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑,๔๐๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รวมทั้งสิ ้น ๕,๔๓๘,๖๔๘.๐๐ ๕,๔๓๘,๖๔๘.๐๐ ๕,๔๓๘,๖๔๖.๘๓ ๑.๑๗<br />
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๐.๐๐<br />
สํานักงานกิจการสตรี (๐๖๐๔) สค.<br />
ผลผลิตที่ ๑ ประชากรเป้าหมายได้รับการส่งเสริมความเสมอภาค ฯ<br />
- งบดําเนินงาน วันสตรีสากล ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน โครงการส่งเสริมความเสมอ ๕๕,๒๐๐.๐๐ ๕๕,๒๐๐.๐๐ ๕๕,๒๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ภาคหญิงชาย (สมัชชาสตรีระดับจังหวัด)<br />
ผลผลิตที่ ๒ เครือข่ายที่ได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ<br />
- งบดําเนินงาน โครงการส่งเสริมเครือข่าย ๓,๐๐๐.๐๐ ๓,๐๐๐.๐๐ ๓,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
เพื่อการพัฒนาสตรีและครอบครัว<br />
- งบดําเนินงาน อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา ๕๘,๐๐๐.๐๐ ๕๘,๐๐๐.๐๐ ๕๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
สนับสนุนการดําเนินงานด้านสตรีและครอบครัว<br />
- งบอุดหุน โครงการส่งเสริมเครือข่ายเพื่อ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
การพัฒนาสตรีและครอบครัว<br />
ผลผลิตที่ ๓ ประชากรเป้าหมายได้รับการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นครอบครัวเข้มแข็ง<br />
- งบดําเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน ๕๐,๐๐๐.๐๐ ๕๐,๐๐๐.๐๐ ๕๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัว<br />
- งบดําเนินงาน ค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว ๑๐๙,๙๒๐.๐๐ ๑๐๙,๙๒๐.๐๐ ๑๐๙,๙๑๙.๗๐ ๐.๓๐<br />
ประจําศูนย์ยุติความรุนแรง<br />
- งบดําเนินงาน โครงการคลินิกครอบครัว ๗๕,๐๐๐.๐๐ ๗๕,๐๐๐.๐๐ ๗๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
(ครอบครัวคุณธรรมนําสังคมไทยเข้มแข็ง)<br />
- งบดําเนินงาน กิจกรรมวันแห่งครอบครัว ๑๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๑๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
และสมัชชาครอบครัวระดับจังหวัด<br />
- งบดําเนินงาน สํารวจสถานการณ์ความ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๐.๐๐<br />
เข้มแข็งของครอบครัวในพื้นที่<br />
- งบดําเนินงาน โครงการ ศพค. ๑๔,๔๐๐.๐๐ ๑๔,๔๐๐.๐๐ ๑๔,๔๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบอุดหนุน ศพค. ๖๘๙,๘๐๐.๐๐ ๖๘๙,๘๐๐.๐๐ ๖๘๙,๘๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน ศพค.รูปแบบใหม่ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รวม ๑,๓๙๕,๓๒๐.๐๐ ๑,๓๙๕,๓๒๐.๐๐ ๑,๓๙๕,๓๑๙.๗๐ ๐.๓๐<br />
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๒๕
รายการ ได้รับจัดสรร โอนมาแล้ว เบิก - จ่าย คงเหลือ หมายเหตุ<br />
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (๐๖๐๓) พส.<br />
ผลผลิตที่ ๑ เด็กและเยาวชนที่ได้รับการเสริมสร้างความรู้และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่เหมาะสม<br />
- งบดําเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการประชุม ๑๗,๐๐๐.๐๐ ๑๗,๐๐๐.๐๐ ๑๗,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
คณะอนุกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม<br />
- เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวช่วยเหลือ ๔๒๐,๐๐๐.๐๐ ๔๒๐,๐๐๐.๐๐ ๔๒๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
เด็กขาดแคลน ฯ (ครอบครัวอุปถัมภ์)<br />
- งบดําเนินงาน ค่าใช้จ่ายดําเนินกิจกรรม ๒๗,๐๐๐.๐๐ ๒๗,๐๐๐.๐๐ ๒๗,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
เกี่ยวกับสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน<br />
ผลผลิตที่ ๒ ประชากรเป้าหมายที่ได้รับบริการสวัสดิการทางสังคม<br />
- เงินอุดหนุน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน ๓๕,๐๐๐.๐๐ ๓๕,๐๐๐.๐๐ ๓๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- เงินอุดหนุน สงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากใน ๑๒,๐๐๐.๐๐ ๑๒,๐๐๐.๐๐ ๑๑,๕๘๕.๐๐ ๔๑๕.๐๐<br />
ประเทศกลับภูมิลําเนาเดิม<br />
- เงินอุดหนุน สงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และ ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ครอบครัว<br />
- เงินอุดหนุน เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว ๓๐,๐๐๐.๐๐ ๓๐,๐๐๐.๐๐ ๓๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ช่วยเหลือเด็กขาดแคลน ฯ (คลีนิคครอบครัว)<br />
- งบบุคลากร ค่าตอบแทนพนักงานราชการ ๑๖๑,๕๒๐.๐๐ ๑๖๑,๕๒๐.๐๐ ๑๖๑,๕๒๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบดําเนินงาน ค่าประกันสังคม พนักงาน ๖,๙๒๑.๐๐ ๖,๙๒๑.๐๐ ๖,๑๕๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ราชการ<br />
ผลผลิตที่ ๓ ประชากรเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมความรู้และพัฒนาอาชีพ<br />
- งบบุคลากร ค่าตอบแทนพนักงานราชการ ๒๕,๙๒๐.๐๐ ๒๕,๙๒๐.๐๐ ๒๕,๙๒๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
รวม ๘๕๕,๓๖๑.๐๐ ๘๕๕,๓๖๑.๐๐ ๘๕๔,๙๔๖.๐๐ ๔๑๕.๐๐<br />
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๑๐๐ ๙๙.๙๕ ๐.๐๕<br />
สํานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก ฯ (๐๖๐๕) สท.<br />
ผลผลิตที่ ๑ เด็กและเยาวชนที่ได้รับการเสริมสร้างและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม<br />
- งบเงินอุดหนุน โครงการสนับสนุนสภาเด็กฯ ๒๑๘,๕๐๐.๐๐ ๒๑๘,๕๐๐.๐๐ ๒๑๘,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบเงินอุดหนุน โครงการสร้างบทบาทและ ๑๕๗,๕๐๐.๐๐ ๑๕๗,๕๐๐.๐๐ ๑๕๗,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
พื้นที่สร้างสรรค์สําหรับเด็กและเยาวชน<br />
- งบเงินอุดหนุน โครงการสร้างกระแสพัฒนา ๗๖,๗๐๐.๐๐ ๗๖,๗๐๐.๐๐ ๗๖,๗๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
คนและสังคมในระดับจุลภาค(คนดีศรีแผ่นดิน)<br />
- งบดําเนินงาน โครงการส่งเสริมทักษะชีวิต ๙๗,๕๐๐.๐๐ ๙๗,๕๐๐.๐๐ ๙๗,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
เด็กและเยาวชนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง<br />
ผลผลิตที่ ๒ ผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมให้เข้าถึงหลักประกันทางสังคม<br />
- งบดําเนินงาน โครงการขยายผลอาสาสมัคร ๔๑๒,๑๖๐.๐๐ ๔๑๒,๑๖๐.๐๐ ๔๑๒,๑๖๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.)<br />
- งบดําเนินงาน โครงการงานวันผู้สูงอายุ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๒๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
แห่งชาติ<br />
- งบดําเนินงานโครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
- งบเงินอุดหนุน โครงการส่งเสริมสนับสนุน<br />
การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี<br />
๒๘๘,๐๐๐.๐๐ ๒๘๘,๐๐๐.๐๐ ๒๘๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
๒๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
รายการ ได้รับจัดสรร โอนมาแล้ว เบิก - จ่าย คงเหลือ หมายเหตุ<br />
งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น<br />
- งบดําเนินงาน โครงการผึกอาชีพเพื่อ ๙๓๐,๐๐๐.๐๐ ๙๓๐,๐๐๐.๐๐ ๙๓๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบอุทกภัย<br />
- งบดําเนินงาน โครงการเยาวชนอาสาเพื่อ ๗๙๔,๕๐๐.๐๐ ๗๙๔,๕๐๐.๐๐ ๗๙๔,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
พัฒนาและฟื้นฟูระบบการจัดการชุมชน<br />
ด้านภัยพิบัติ<br />
รวม ๓,๐๐๔,๘๖๐.๐๐ ๓,๐๐๔,๘๖๐.๐๐ ๓,๐๐๔,๘๖๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๐.๐๐<br />
สํานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (๐๖๐๗) พก.<br />
ผลผลิต ประชากรเป้าหมายที่ได้รับการส่งเสริมความเสมอภาค ฯ<br />
- งบเงินอุดหนุน สนับสนุนหน่วยบริการ ๒๘,๐๐๐.๐๐ ๒๘,๐๐๐.๐๐ ๒๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
สํารวจข้อมูลคนพิการ<br />
- งบดําเนินงาน โครงการสนับสนุน ๘๕,๘๐๐.๐๐ ๘๕,๘๐๐.๐๐ ๘๕,๖๕๐.๐๐ ๑๕๐.๐๐<br />
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ<br />
ชีวิตคนพิการ<br />
- งบเงินอุดหนุน ส่งเสริมการปรับสภาพ ๘๐,๐๐๐.๐๐ ๘๐,๐๐๐.๐๐ ๘๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
แวดล้อมที่อยู่อาศัยสําหรับคนพิการ<br />
- งบเงินอุดหนุน สนับสนุนดําเนินงาน ๕,๐๐๐.๐๐ ๕,๐๐๐.๐๐ ๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ศูนย์บริการคนพิการโดยชุมชนฯ และ<br />
สนับสนุน อพมก.<br />
- งบดําเนินงาน ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
เป็นธรรมต่อคนพิการ<br />
- งบดําเนินงาน สนับสนุนการดําเนินงาน ๖๐,๐๐๐.๐๐ ๖๐,๐๐๐.๐๐ ๖๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ออกบัตรประจําตัวคนพิการ<br />
- งบรายจ่ายอื่นๆ สนับสนุนเครือข่ายชมรม ๕,๐๐๐.๐๐ ๕,๐๐๐.๐๐ ๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
อพมก. (ระยะที่๒)<br />
- งบเงินอุดหนุน ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งศูนย์ ๔๗,๐๐๐.๐๐ ๔๗,๐๐๐.๐๐ ๔๗,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
การเรียนรู้ฯ (ใหม่)<br />
- งบเงินอุดหนุน กิจกรรมการสนับสนุน ๑๐,๘๐๐.๐๐ ๑๐,๘๐๐.๐๐ ๑๐,๘๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
ค่าตอบแทนผู้ช่วยคนพิการ<br />
งบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น (งบกลาง)<br />
- งบดําเนินงาน โครงการฝึกอาชีพให้แก่คน ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๑๒๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐<br />
พิการที่ประสบอุทกภัย<br />
- งบรายจ่ายอื่นๆ โครงการส่งเสริมและ ๗๒๕,๑๑๖.๐๐ ๗๒๕,๑๑๖.๐๐ ๗๒๕,๑๑๖.๐๐ ๐.๐๐<br />
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ<br />
รวม ๑,๑๗๖,๗๑๖.๐๐ ๑,๑๗๖,๗๑๖.๐๐ ๑,๑๗๖,๕๖๖.๐๐ ๑๕๐.๐๐<br />
คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ๑๐๐ ๙๙.๙๙ ๐.๐๑<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๒๗
ด้านเด็กและเยาวชน<br />
ประมวลภาพการดําเนินงาน<br />
ประจํา<strong>ปี</strong>งบประมาณ ๒๕๕๕<br />
ประชุมคณะอนุกรรมการการรับเด็ก<br />
เป็นบุตรบุญธรรม<br />
โครงการป้องกันการถูกล่อลวง<br />
ประชุมจัดทําแผนโครงการเยาวชนอาสาเพื่อ<br />
พัฒนาและฟื้นฟูระบบการจัดการชุมชนด้านภัย<br />
สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน<br />
๒๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
เวทีสมัชชาหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา<br />
การตั้งครรภ์ของเด็กและเยาวชนจังหวัดพังงา<br />
กองทุนคุ้มครองเด็ก<br />
โครงการสมัชชาเด็กและเยาวชน โครงการหิ่งห้อยนําทางสู่แสงสว่าง<br />
เพื่อเด็กและเยาวชน รุ่นที่ ๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๒๙
โครงการสร้างบทบาทพื้นที่สร้างสรรค์<br />
สําหรับเด็กและเยาวชน<br />
สภาเด็กและเยาวชน<br />
๓๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
สตรี<br />
โครงการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย<br />
(สมัชชาสตรีระดับจังหวัด)<br />
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการคุ้มครอง<br />
ช่วยเหลือด้านสตรีและครอบครัว<br />
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี<br />
รณรงค์ยุติความรุนแรงในครอบครัว<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๓๑
วันสตรีสากล<br />
ประชุมพัฒนาสตรี<br />
( Conference )<br />
๓๒<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
คนพิการ<br />
ประชุมจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ<br />
ผู้อยู่ในภาวะยากลําบากที่ประพฤติตนดีเด่น<br />
ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๓๓
จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อคนพิการโดยชุมชน<br />
( CLC )<br />
๓๔<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ผู้สูงอายุ<br />
งานวันผู้สูงอายุประจํา<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ กองทุนผู้สูงอายุ<br />
อบรมหลักสูตรพื้นฐานเพื่อเป็นอาสาสมัคร<br />
ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.)<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๓๕
ผู้ด้อยโอกาสและผู้ประสบภัย<br />
มอบบ้านพระราชทานความช่วยเหลือ<br />
สงเคราะห์ผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศ<br />
กลับภูมิลําเนาเดิม<br />
โครงการรัฐบาลร่วมใจฟื้นฟูคุณภาพชีวิต<br />
ผู้ประสบภัย<br />
ประชุมบูรณาการแผนเยียวยา<br />
ผู้ประสบปัญหาอุทกภัย<br />
๓๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
โครงการฝึกอาชีพแก่คนพิการ<br />
ที่ประสบปัญหาอุทกภัย<br />
โครงการฝึกอาชีพแก่ผู้สูงอายุ<br />
ที่ประสบปัญหาอุทกภัย<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๓๗
ครอบครัวและชุมชน<br />
กิจกรรมวันแห่งครอบครัวและ<br />
สมัชชาครอบครัวระดับจังหวัด<br />
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน<br />
โครงการคลินิกครอบครัว<br />
(ครอบครัวคุณธรรมนําสังคมไทยเข้มแข็ง)<br />
๓๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน/องค์กร<br />
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน<br />
การจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด<br />
โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพ อพม.<br />
ประชุมคณะอนุฯ กองทุนฯ<br />
ประชุมอนุกรรมการบริหารกองทุน ฯ<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๓๙
สมัชชาสวัสดิการสังคม<br />
โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์<br />
โครงการอบรมแรงงานต่างด้าว<br />
ตาม พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ.<br />
โครงการคนไทยใจอาสา<br />
๔๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ผลงานดีเด่นและรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับ<br />
นางสุวรรณ ยายมาก<br />
ไดรับรางวัล<br />
“ ผูยูในภาวะยากลําบากที่ประพฤติตนดีเดน ”<br />
นายวีระ วิศาล<br />
ไดรับรางวัล<br />
“ ผูทําคุณประโยชนดีเดน ”<br />
และ “องคการสวัสดิการสังคมที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเดน”<br />
ประจําป ๒๕๕๕<br />
เด็กหญิงธัญสุดา สุขแสง<br />
ประธานสภาเด็กและเยาวชนอําเภอทับปุด<br />
ไดรับคัดเลือกเปน “ยุวทูตความดี”<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๔๑
นางวาสนา มินยัง<br />
เขารับรางวัล “ อาสาสมัครดีเดน ” เนื่องในวันสังคมสงเคราะหแหงชาติและวันอาสาสมัครไทย ประจําป ๒๕๕๕<br />
๔๒<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ภาคผนวก<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๔๓
โครงสร้างการบริหารงานสํานักงาน ฯ<br />
สนง.พมจ.พังงา<br />
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กลุ่มนโยบายและ กลุ่มการพัฒนาสังคม กลุ่มสวัสดิการสังคม<br />
วิชาการ<br />
และพิทักษ์คุ้มครอง<br />
- งานสารบรรณ<br />
งานธุรการ ยานพาหนะ<br />
และอาคารสถานที่<br />
- งานเจ้าหน้าที่<br />
- งานงบประมาณ<br />
- การเงินและบัญชี<br />
- การปฏิบัติงานร่วมกับ<br />
หรือสนับสนุนการ<br />
ปฏิบัติงานของ<br />
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง<br />
หรือที่ได้รับมอบหมาย<br />
- ศึกษาวิเคราะห์และ<br />
รายงายสถานการณ์ทาง<br />
สังคม เศรษฐกิจเพื่อการ<br />
กําหนดนโยบายระดับ<br />
จังหวัด พร้อมทั้งเสนอแนะ<br />
แนวทางแก้ไข<br />
- ประสานและจัดทํา<br />
แผนโครงการและ<br />
กิจกรรมด้านการพัฒนา<br />
สังคมและความมั่นคง<br />
ของมนุษย์จังหวัด ให้<br />
เป็นไปตามแนวนโยบาย<br />
กระทรวง<br />
- เผยแพร่ประชาสัมพันธ์<br />
ความก้าวหน้าทางวิชาการ<br />
และผลการปฏิบัติราชการ<br />
ของกระทรวง ฯ<br />
- การปฏิบัติงานร่วมกับ<br />
หรื อสนั บสนุ นการ<br />
ปฏิบัติงานของหน่วย<br />
งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ<br />
ที่ได้รับมอบหมาย<br />
- ส่งเสริมและประสาน<br />
การดําเนินงานการจัด<br />
กิจกรรมต่าง ๆ ตาม<br />
ภารกิจและเป้าหมาย<br />
ของหน่วยงานในกระทรวง<br />
- ส่งเสริมสนับสนุนและ<br />
ประสานการดําเนินงาน<br />
กับองค์กรเครือข่ายใน<br />
จังหวัด ทั้งภาครัฐ และ<br />
เอกชน<br />
- รณรงค์ให้มีการดําเนิน<br />
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ<br />
การพัฒนาสังคมและ<br />
ความมั่นคงของมนุษย์<br />
- การปฏิบัติงานร่วมกับ<br />
หรือสนับสนุนการ<br />
ปฏิบัติงานของ<br />
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง<br />
หรือที่ได้รับมอบหมาย<br />
- งานส่งเสริม<br />
ประสานงานและ<br />
ดําเนินการช่วยเหลือ<br />
ผู้ประสบปัญหาทาง<br />
สังคม รวมทั้งส่งต่อ<br />
หน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง<br />
ทั้งภาครัฐและเอกชน<br />
- การปฏิบัติงานร่วมกับ<br />
หรือสนับสนุนการ<br />
ปฏิบัติงานของ<br />
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง<br />
หรือที่ได้รับมอบหมาย<br />
๔๔<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
กรอบอัตรากําลังเจ้าหน้าที่<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา<br />
ณ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕<br />
ที่<br />
เลขที่<br />
ตําแหน่ง<br />
ชื่อ - สกุล ตําแหน่ง ระดับ หมายเหตุ<br />
๑ ๘๐๔ นางพิมพร ขอศานติวิชัย ผู้อํานวยการ สูง<br />
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป<br />
๒ ๘๐๖ นางสาวดวงสมร โกศัย จพง.การเงินและบัญชี ปฏิบัติงาน<br />
๘๐๙ นางปุญญาดา อินยอด เจ้าพนักงานธุรการ ปฏิบัติงาน ปฏิบัติ สนง.พมจ.พัทลุง<br />
นายสุธา จันทนา พนง.ขับรถยนต์ ลูกจ้างประจํา<br />
นายการุณร์ ระหาร จนท.อํานวยการขนส่ง พนง.ราชการ<br />
นางสาวสุมิตตา เพ็ชรโสภล ผู้ช่วยปฏิบัติงานการเงิน ลูกจ้าง<br />
การบัญชี และพัสดุ<br />
นายสิทธิกร ฮ่อบุตร พนง.ขับรถยนต์ ลูกจ้าง<br />
นางรัชนก สาวะภู ผู้ช่วยปฏิบัติงานธุรการ ลูกจ้าง<br />
นางอารมณ์ คุ้มภัย พนักงานทําความสะอาด ลูกจ้าง<br />
กลุ่มนโยบายและวิชาการ<br />
๓ ๘๐๗ นายชูรินทร์ ขวัญทอง นักพัฒนาสังคม ชํานาญการพิเศษ<br />
๔ ๘๑๖ นางสาวจิตลดา บริสุทธิ์ นักพัฒนาสังคม ปฏิบัติการ<br />
นายนริศ เปกะมล นิติกร ลูกจ้าง<br />
นายมานิต หัสนีย์ จนท.ระบบงานคอมพิวเตอร์ ลูกจ้าง<br />
นางสาวศิริรัตน์ มูสาลี ลูกจ้าง<br />
กลุ่มการพัฒนาสังคม<br />
๕ ๘๑๔ นางสําอางค์ โชคชัยวัฒนา นักพัฒนาสังคม ชํานาญการ รก.หน.ฝ่ายบริหาร ฯ<br />
๖ ๘๑๕ นายประชาธิป ภักดีประชา นักพัฒนาสังคม ปฏิบัติการ<br />
นางสาวยุวลักษณ์ จันทนา นักพัฒนาสังคม พนง.ราชการ<br />
นางกิติยา มาลี ผู้ช่วยปฏิบัติงานพัฒนาสังคม ลูกจ้าง<br />
กลุ่มสวัสดิการสังคมและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ<br />
๗ ๖๑๕ นายสุเมธ บัวบูชา นักพัฒนาสังคม ชํานาญการ<br />
๘ ๘๑๑ นางสาวนิตยา อุศมา นักสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติการ<br />
๘๑๒ นางสาวเกษกาญจน์ นิลสะอาด นักสังคมสงเคราะห์ ชํานาญการ ปฏิบัติ สนง.พมจ.สงขลา<br />
นางประนอม ก่อบัว พนง.คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก พนง.ราชการ<br />
นางสาวสุรีวรรณ วนกรรม<br />
พนง.ราชการ<br />
นางนฤมล ภักดีประชา ผู้ช่วยปฏิบัติงานพัฒนาสังคม ลูกจ้าง<br />
นายธีระชล ยอดชู ลูกจ้าง<br />
๘๑๐ นางสาวสินีรัตน์ พิมลวิรัชกุล นักสังคมสงเคราะห์ ชํานาญการ ปฏิบัติ สตป.<br />
๙๘๘ นางจุฑามาศ หนูช่วย นักสังคมสงเคราะห์ ชํานาญการ ปฏิบัติ สนง.พมจ.สุราษฎร์ธานี<br />
๘๑๓ - ว่าง -<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๔๕
ข้าราชการตามกรอบ ๑๔ อัตรา ปฏิบัติงานจริง ๘ คน (ที่ ๑ – ๘)<br />
ลูกจ้างประจํา<br />
๑ คน<br />
พนักงานราชการ<br />
๔ คน<br />
ลูกจ้าง<br />
๙ คน<br />
รวม<br />
๒๑ คน<br />
๔๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
รายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น (อปท.๑)<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ความเป็นมา<br />
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แจ้งว่าได้กําหนดแนวทางการดําเนินงาน<br />
ด้านการพัฒนาบูรณาการข้อมูลดัชนีคุณภาพชีวิตและทุนทางสังคมของไทย ข้อมูลระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยทาง<br />
สังคม เพื่อให้เชื่อมโยงกับศูนย์บัญชาการงานพัฒนาสังคม โดยมีสํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม<br />
และความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพในการดําเนินงานและมีวัตถุประสงค์ในการดําเนินงาน เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ผลักดัน<br />
การดําเนินงานด้านข้อมูลดัชนีคุณภาพชีวิตและข้อมูลทุนทางสังคมของไทย ข้อมูลระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยทาง<br />
สังคม (ข้อมูลสถานการณ์ทางสังคมระดับท้องถิ่น อปท.๑) ข้อมูลศูนย์บัญชาการงานพัฒนาสังคม และอื่นๆ ที่<br />
เกี่ยวข้องให้นําไปสู่การกําหนดมาตรการ กลไก การพัฒนาสังคมทั้งเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาระบบ<br />
สารสนเทศ เพื่อจัดทําเป็นฐานข้อมูลประกอบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม ในภาพรวมของกระทรวงการพัฒนา<br />
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยได้ดําเนินการมาตั้งแต่ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๑<br />
สําหรับใน <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ จังหวัดพังงาได้ขอความร่วมมือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสํารวจ<br />
ข้อมูลตามแบบรายงานสถานการณ์ทางสังคม ดังกล่าวซึ่งสํานักงานได้สรุปข้อมูลจากแบบสํารวจ ฯ ดังนี้<br />
๒. ผู้ให้ข้อมูล/จํานวนประชากร<br />
๒.๑ ผู้ให้ข้อมูล<br />
จังหวัดพังงา โดยสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา ได้ขอความร่วมมือองค์กรปกครอง<br />
ส่วนท้องถิ่น ในการสํารวจข้อมูล ตามแบบรายงานสถานการณ์ทางสังคมของท้องถิ่น ทั้งหมดจํานวน ๕๑ หน่วย โดยมีผู้ที่มีส่วน<br />
ในการสํารวจและจัดทําข้อมูล ดังนี้<br />
๒.๑.๑ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน ๘๕ คน ประกอบด้วย<br />
๑) นายก (เทศบาล/อบต.) จํานวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๒๔<br />
๒) หัวหน้าสํานักงานปลัด จํานวน ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๗๑<br />
๓) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จํานวน ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๙๔<br />
๔) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน จํานวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๕๙<br />
๕) เจ้าหน้าที่วิชาการศึกษา จํานวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๕๓<br />
๒.๑.๒ ผู้แทนภาคีเครือข่ายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา รวม ๕๔ คน<br />
ประกอบด้วย<br />
๑) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตําบล จํานวน ๑๖ คน<br />
คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๖๓<br />
๒) ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนระดับตําบล จํานวน ๒๑ คน<br />
คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๘๙<br />
๓) แกนนําเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคมระดับตําบล จํานวน ๑๒ คน<br />
คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒๒<br />
๔) อื่น ๆ จํานวน ๕ คน<br />
คิดเป็นร้อยละ ๙.๒๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๔๗
๒.๒ จํานวนข้อมูลประชากร<br />
๒.๒.๑ จํานวนครัวเรือนที่ได้จากการสํารวจ จํานวน ๗๗,๙๒๘ ครัวเรือน<br />
๒.๒.๒ จํานวนประชากรชาย/หญิง<br />
ชาย ๑๐๗,๔๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๐๖<br />
หญิง ๑๐๗,๒๓๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๙๔<br />
รวม ๒๑๔,๗๑๗ คน<br />
๓. ปัญหาเชิงประเด็นสังคม <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
ตาราง ๖ : ข้อมูลปัญหาเชิงประเด็นสังคม <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
ที่ ปัญหา จํานวน ร้อยละ<br />
๓.๑ ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ๒,๗๕๔ ๓๐.๘๘<br />
๓.๒ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ๑,๖๕๒ ๑๘.๕๒<br />
๓.๓ ปัญหาด้านการศึกษา ๒๘๕ ๓.๒๐<br />
๓.๔ ปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้ ๑,๘๓๔ ๒๐.๕๗<br />
๓.๕ ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๒,๑๕๕ ๒๔.๑๖<br />
๓.๖ ปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม ๒๓๘ ๒.๖๗<br />
รวม ๘,๙๑๘ ๑๐๐<br />
ผู้ประสบปัญหาเรียงตามลําดับ คือ ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จํานวน ๒,๗๕๔<br />
ครอบครัว/ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๘๘ รองลงมา คือ ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จํานวน ๒,๑๕๕<br />
คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๑๖ อันดับสาม คือ ปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้ จํานวน ๑,๘๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๕๗<br />
อันดับสี่ คือ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จํานวน ๑,๖๕๒ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๕๒ อันดับห้า ปัญหาด้านการศึกษา จํานวน<br />
๒๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๒๐ และผู้ประสบปัญหาน้อยที่สุด คือ ปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม จํานวน ๒๓๘ คน คิด<br />
เป็นร้อยละ ๒.๖๗<br />
๓.๑ ปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม<br />
ตาราง ๗ : ข้อมูลปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม<br />
ที่ ปัญหา จํานวน ร้อยละ<br />
๓.๑.๑ ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและสมควร<br />
๑๗๐ คค. ๖.๑๗<br />
ได้รับความช่วยเหลือ<br />
๓.๑.๒ ครัวเรือนที่มีสภาพที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและสมควรได้รับความช่วยเหลือ ๑๙๒ คร. ๖.๙๗<br />
๓.๑.๓ ครอบครัวที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยทางธรรมชาติในระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ๙๐๐ คค. ๓๒.๖๘<br />
และทรัพย์สิน<br />
๓.๑.๔ ครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ๑,๔๙๒ คร. ๕๔.๑๘<br />
รวม ๒,๗๕๔ ๑๐๐<br />
๔๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๓.๒ ปัญหาสุขภาพอนามัย<br />
ตาราง ๘ : ข้อมูลปัญหาสุขภาพอนามัย<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๓.๒.๑ ประชาชนที่ติดสุราเรื้อรัง ๒๓๔ ๑๔.๑๖<br />
๓.๒.๒ ประชาชนที่ติดสารเสพติดร้ายแรง ๔๑๕ ๒๕.๑๒<br />
๓.๒.๓ ประชาชนที่ติดเชื้อเอดส์ / ป่วยเป็นโรคเอดส์ และสมควรได้รับ<br />
๑๘๑ ๑๐.๙๖<br />
ความช่วยเหลือ<br />
๓.๒.๔ ประชาชนที่ติดโรคระบาดในรอบ<strong>ปี</strong> ๑๔๑ ๘.๕๔<br />
๓.๒.๕ ประชาชนที่เสียชีวิตในรอบ<strong>ปี</strong>จากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน<br />
๑๕๒ ๙.๒๐<br />
โรคความดัน เป็นต้น<br />
๓.๒.๖ ประชาชนที่เจ็บป่วยและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ๒๔๙ ๑๕.๐๗<br />
๓.๒.๗ ประชาชนที่มีอาการทางจิต / ประสาท ๒๘๐ ๑๖.๙๕<br />
รวม ๑,๖๕๒ ๑๐๐<br />
๓.๓ ปัญหาด้านการศึกษา<br />
ตาราง ๙ : ข้อมูลปัญหาด้านการศึกษา<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๓.๓.๑ เด็กที่ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อตามภาคบังคับได้ ๓๔ ๑๑.๙๓<br />
๓.๓.๒ เด็กที่ออกเรียนกลางคันในภาคการศึกษาบังคับ ๙๓ ๓๒.๖๓<br />
๓.๓.๓ เยาวชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี / การศึกษาสายอาชีพ แล้ว ๑๑๙ ๔๑.๗๕<br />
ไม่มีงานทําในรอบ ๑ <strong>ปี</strong>ที่จบการศึกษา<br />
๓.๓.๔ คนที่จบการศึกษาชั้นประถม แต่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ๓๙ ๑๓.๖๘<br />
รวม ๒๘๕ ๑๐๐<br />
๓.๔ ปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้<br />
ตาราง ๑๐ : ข้อมูลปัญหาการมีงานทําและรายได้<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๓.๔.๑ ประชาชนในวัยทํางานที่ไม่มีงานทําหรือไม่ประกอบอาชีพมากกว่า ๖ เดือน ใน<br />
รอบ ๑ <strong>ปี</strong><br />
๕๖๕ ๓๐.๘๐<br />
๓.๔.๒ ประชาชนที่มีรายได้น้อยขาดแคลนทุนประกอบอาชีพเพื่อยังชีพ และสมควรได้รับ ๖๔๐ ๓๔.๙๐<br />
ความช่วยเหลือ<br />
๓.๔.๓ ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่มีหนี้สินและมีปัญหาในการส่งใช้เงินกู้ยืมและสมควร ๖๒๙ ๓๔.๓๐<br />
ได้รับความช่วยเหลือ<br />
รวม ๑,๘๓๔ ๑๐๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๔๙
๓.๕ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />
ตาราง ๑๑ : ข้อมูลปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๓.๕.๑ ประชาชนถูกทําร้ายทางร่างกายในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๘๓ ๓.๘๕<br />
๓.๕.๒ ประชาชนถูกล่วงละเมิดทางเพศในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๑๔ ๐.๖๕<br />
๓.๕.๓ ประชาชนถูกลักทรัพย์/ชิงทรัพย์/ถูกทําลายทรัพย์สินในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๙๕ ๔.๔๑<br />
๓.๕.๔ ประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๓๕๑ ๑๖.๒๙<br />
๓.๕.๕ ประชาชนที่ประสบภัยจากการทํางานในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๑๒๔ ๕.๗๕<br />
๓.๕.๖ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยในรอบ<strong>ปี</strong> ๑,๔๘๗ ๖๙.๐๐<br />
๓.๕.๗ คนสูญหาย/ติดต่อไม่ได้ในรอบ<strong>ปี</strong> ๑ ๐.๐๕<br />
รวม ๒,๑๕๕ ๑๐๐<br />
๓.๖ ปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม<br />
ตาราง ๑๒ : ข้อมูลปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม<br />
ที่ ปัญหา จํานวน ร้อยละ<br />
๓.๖.๑ ร้านค้าที่ขายเหล้า/บุหรี่ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาและศาสนสถาน ๑๒๐ ๕๐.๔๒<br />
๓.๖.๒ ร้านสื่อลามก / ร้านเกมส์ / ร้านอินเตอร์เน็ตภายในท้องถิ่น ๑๑๕ ๔๘.๓๒<br />
๓.๖.๔ กลุ่มเครือข่ายที่ยังมีปัญหาเรื่องความปรองดอง และจําเป็นต้องมี<br />
๓ ๑.๒๖<br />
การจัดการให้เกิดความสมานฉันท์<br />
รวม ๒๓๘ ๑๐๐<br />
๔ ปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
ตาราง ๑๓ : ข้อมูลปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา<br />
ที่ ปัญหา จํานวน ร้อยละ<br />
๔.๑ ปัญหาเด็กและเยาวชน (๐ – ๒๕ <strong>ปี</strong>) ๒,๓๖๒ ๓๙.๔๗<br />
๔.๒ ปัญหาครอบครัว ๗๕๘ ๑๒.๖๖<br />
๔.๓ ปัญหาสตรี ( ๒๕ <strong>ปี</strong>ขึ้นไป – ๖๐ <strong>ปี</strong>) ๓๘๕ ๖.๔๓<br />
๔.๔ ปัญหาผู้สูงอายุ (๖๐ <strong>ปี</strong>ขึ้นไป) ๒๓๒ ๓.๘๘<br />
๔.๕ ปัญหาคนพิการ ๗๔ ๑.๒๔<br />
๔.๖ ปัญหาแรงงาน ๒,๑๗๔ ๓๖.๓๒<br />
รวม ๕,๙๘๕ ๑๐๐<br />
ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเด็กและเยาวชน จํานวน ๒,๓๖๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๔๗<br />
รองลงมา คือ ปัญหาแรงงาน จํานวน ๒,๑๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๓๒ อันดับสาม คือ ปัญหาครอบครัว จํานวน<br />
๗๕๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๖๖ อันดับสี่ คือ ปัญหาสตรี จํานวน ๓๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๔๓ อันดับห้า คือ<br />
ปัญหาผู้สูงอายุ จํานวน ๒๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๘ ส่วนประเด็นปัญหาที่น้อยที่สุด คือ ปัญหาคนพิการ จํานวน<br />
๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๒๔<br />
๕๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๔.๑ ปัญหาเด็กและเยาวชน<br />
ตาราง ๑๔ : ข้อมูลปัญหาเด็กและเยาวชน<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๔.๑.๑ เด็กขาดผู้อุปการะ ๑๘๕ ๗.๘๓<br />
๔.๑.๒ เด็กถูกทอดทิ้ง ๑๑๘ ๕.๐๐<br />
๔.๑.๓ เด็กไม่ได้เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน ๑๗ ๐.๗๒<br />
๔.๑.๔ เด็กกําพร้า (เด็กที่บิดาและ/หรือมารดาเสียชีวิต) ๓๑๗ ๑๓.๔๒<br />
๔.๑.๕ เยาวชนในครอบครัวยากจนไม่มีทุนในการศึกษาต่อ ๑๙๑ ๘.๐๙<br />
๔.๑.๖ เด็กเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมและพบเห็นได้ในที่สาธารณะ<br />
๑) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ๓๙๑ ๑๖.๕๕<br />
ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น<br />
๒) มั่วสุมและทําความรําคาญให้กับชาวบ้าน ๘๔ ๓.๕๖<br />
๓) ติดเกมส์ และเล่นการพนันต่าง ๆ ๖๗ ๒.๘๔<br />
๔) มีพฤติกรรมทางเพศ ๐ ๐.๐๐<br />
๕) อื่นๆ ๔ ๐.๑๗<br />
๔.๑.๗ เด็กเยาวชนเร่ร่อนขอทาน ๐ ๐.๐๐<br />
๔.๑.๘ เด็กเยาวชนไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ๒๒ ๐.๙๓<br />
๔.๑.๙ เยาวชนในชุมชนเลี้ยงดูบุตรตามลําพัง ๙ ๐.๓๘<br />
๔.๑.๑๐ เด็กเยาวชนต่างด้าว ๙๕๗ ๔๐.๕๒<br />
รวม ๒,๓๖๒ ๑๐๐<br />
๔.๒ ปัญหาครอบครัว<br />
ตาราง ๑๕ : ข้อมูลปัญหาครอบครัว<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คค.) ร้อยละ<br />
๔.๒.๑ ครอบครัวหย่าร้าง ๕๘๙ ๗๗.๗๐<br />
๔.๒.๒ ครอบครัวที่กระทําความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ๓ ๐.๔๐<br />
๔.๒.๓ ครอบครัวที่มีบุตรหลานประพฤติตัวไม่เหมาะสมและพบเห็นได้<br />
๑๕๔ ๒๐.๓๒<br />
ในที่สาธารณะ<br />
๔.๒.๔ ครอบครัวที่ไม่เลี้ยงดูบุพการีตามสภาพที่เหมาะสม ๖ ๐.๗๙<br />
๔.๒.๕ ครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวประพฤติตัวไม่เหมาะสม ๖ ๐.๗๙<br />
รวม ๗๕๘ ๑๐๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๕๑
๔.๓ ปัญหาสตรี<br />
ตาราง ๑๖ : ข้อมูลปัญหาสตรี<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๔.๓.๑ สตรีถูกล่วงละเมิดทางเพศ ๕ ๑.๓๐<br />
๔.๓.๒ สตรีถูกทําร้ายร่างกายและจิตใจ ๓ ๐.๗๘<br />
๔.๓.๔ สตรีหม้ายที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลําพัง ๓๗๗ ๙๗.๙๒<br />
รวม ๓๘๕ ๑๐๐<br />
๔.๔ ปัญหาผู้สูงอายุ<br />
ตาราง ๑๗ : ข้อมูลปัญหาผู้สูงอายุ<br />
ที่ ปัญหา จํานวน (คน) ร้อยละ<br />
๔.๔.๑ ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ไปแจ้งจดทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพได้ตามกําหนด<br />
๑๙ ๘.๑๙<br />
(มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน)<br />
๔.๔.๒ ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ<br />
๖๑ ๒๖.๒๙<br />
(ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลําพังและไม่มีผู้ดูแล)<br />
๔.๔.๓ ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการ/กิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เช่น ๒๓ ๙.๙๑<br />
ด้านอาชีพ สุขภาพ นันทนาการ เป็นต้น<br />
๔.๔.๔ ผู้สูงอายุที่ถูกทําร้ายร่างกายและจิตใจ ๙ ๓.๘๘<br />
๔.๔.๕ ผู้สูงอายุที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน / ไม่มีบัตรประชาชน ๗ ๓.๐๒<br />
๔.๔.๖ ผู้สูงอายุที่ยากจนและมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรหลาน ๑๑๓ ๔๘.๗๑<br />
รวม ๒๓๒ ๑๐๐<br />
๔.๕ ปัญหาคนพิการ<br />
ตาราง ๑๘ : ข้อมูลปัญหาคนพิการ<br />
ที่ ปัญหา จํานวน ร้อยละ<br />
๔.๕.๑ คนพิการที่ท้องถิ่นสํารวจไว้แล้ว<br />
คนพิการทางการมองเห็น ๓๔๒ ๙.๒๗<br />
คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ๖๖๐ ๑๗.๘๙<br />
คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว ๑,๗๔๐ ๔๗.๑๕<br />
คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ๒๖๖ ๗.๒๑<br />
คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ (ปัญญาอ่อน) ๔๖๒ ๑๒.๕๒<br />
คนพิการซ้ําซ้อน (มากกว่า ๑ ประเภท) ๒๒๐ ๕.๙๖<br />
รวม ๓,๖๙๐ ๑๐๐<br />
๔.๕.๒ คนพิการที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ๒๖ ๓๕.๑๔<br />
๔.๕.๓ คนพิการที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ<br />
๔๒ ๕๖.๗๖<br />
(ทั้งที่จดทะเบียนแล้วและยังไม่ได้จดทะเบียน)<br />
๔.๕.๔ คนพิการที่ถูกทอดทิ้ง/ไม่ได้รับเอาใจใส่จากครอบครัว ๖ ๘.๑๑<br />
รวม ๗๔ ๑๐๐<br />
๕๒<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๔.๖ ปัญหาแรงงาน<br />
ตาราง ๑๙ : ข้อมูลปัญหาแรงงาน<br />
ที่ ปัญหา จํานวน ร้อยละ<br />
๔.๖.๑ ครอบครัวแรงงานต่างด้าวในท้องถิ่น ๑,๓๔๓ ๖๑.๗๘<br />
๔.๖.๒ คนที่ถูกเลิกจ้างและว่างงานไม่มีรายได้ ๕๓ ๒.๔๔<br />
๔.๖.๓ แรงงานต่างด้าวในท้องถิ่นที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ๕๓๙ ๒๔.๗๙<br />
๔.๖.๔ แรงงานไทยที่อพยพมาจากต่างถิ่น ๒๓๙ ๑๐.๙๙<br />
รวม ๒,๑๗๔ ๑๐๐<br />
๔.๖.๕ แรงงานต่างด้าวในท้องถิ่นที่จดทะเบียนแล้ว ๕,๘๔๔<br />
๕ เปรียบเทียบแต่ละประเด็นปัญหา <strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ ถึง <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๕.๑ เปรียบเทียบประเด็นปัญหาเชิงประเด็นสังคม <strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ ถึง <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
ตาราง ๒๐ : ข้อมูลเปรียบเทียบประเด็นปัญหาเชิงประเด็นสังคม<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ๘,๖๑๘ ๔,๓๕๕ ๔,๓๙๕ ๒,๗๕๔<br />
๒. ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ๔,๐๓๔ ๑,๗๙๓ ๒,๕๒๔ ๑,๖๕๒<br />
๓. ปัญหาด้านการศึกษา ๑,๑๓๕ ๔๔๓ ๓๖๗ ๒๘๕<br />
๔. ปัญหาด้านการมีงานทํา และรายได้ ๘,๗๕๘ ๓,๖๘๖ ๒,๗๘๖ ๑,๘๓๔<br />
๕. ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๔,๒๑๕ ๒,๐๗๐ ๑,๖๒๘ ๒,๑๕๕<br />
๖. ปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม ๒๗๘ ๒๔๓ ๒๕๕ ๒๓๘<br />
๗. อื่น ๆ - (๖๖) (๕) -<br />
รวม ๒๗,๐๓๘ ๑๒,๕๙๐ ๑๑,๙๕๕ ๘,๙๑๘<br />
ตามประเด็นนี้ในภาพรวม มีจํานวนลดลง คือ จากจํานวน ๑๑,๙๖๓ คนใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๔<br />
ลดลงเหลือจํานวน ๘,๙๑๘ คน ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ ลดลงจํานวน ๓,๐๔๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๔๕<br />
มองในแต่ละประเด็นปัญหา จํานวน ๖ ปัญหา มีปัญหาที่ลดลง จํานวน ๕ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓ และ<br />
เพิ่มขึ้น จํานวน ๑ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๔<br />
ปัญหาที่ลดลงมากที่สุด คือ ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม จากจํานวน ๔,๔๐๑ คน เป็น จํานวน ๒๗๕๔ คน<br />
ลดลง ๑,๖๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๔๒ อันดับสอง คือ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย จาก จํานวน ๒,๕๒๖ คน เป็น ๑,๖๕๒<br />
คน ลดลง จํานวน ๘๗๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๔๐ อันดับสาม คือ ปัญหาการมีงานทําและการมีรายได้ จากจํานวน ๒,๗๘๖<br />
คน เหลือ จํานวน ๑,๘๓๔ คน ลดลง จํานวน ๙๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๑๗ อันดับสี่ คือ ปัญหาด้านการศึกษา จากจํานวน<br />
๓๖๗ คน เหลือ จํานวน ๒๘๕ คน ลดลงจํานวน ๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๓๔และปัญหาที่ลดลง น้อยที่สุด คือ ปัญหาด้าน<br />
วัฒนธรรมและจริยธรรม จาก จํานวน ๒๕๕ คน เหลือ จํานวน ๒๓๘ คน ลดลงจํานวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๖๗<br />
ปัญหาที่เพิ่มขึ้น คือ ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นจาก จํานวน ๑,๖๒๘ คน เป็น<br />
จํานวน ๒,๑๕๕ คน เพิ่มขึ้น จํานวน ๕๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๓๗<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๕๓
๕.๑.๑ เปรียบเทียบปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม<br />
ตาราง ๒๑ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และสมควร ๙๖๑ คค ๕๒๐ ๑๒๖ ๑๗๐<br />
ได้รับความช่วยเหลือ<br />
๒. ครัวเรือนที่มีสภาพที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและสมควรได้รับความ ๗๐๓ คร. ๘๑๘ ๒๑๒ ๑๙๒<br />
ช่วยเหลือ<br />
๓. ครอบครัวที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยทางธรรมชาติในระดับที่เป็น ๓,๓๓๓ ๑,๑๕๕ ๑,๒๓๓ ๙๐๐<br />
อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน<br />
คค.<br />
๔. ครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย เช่น อาศัยในพื้นที่สาธารณะ ที่ ๓,๖๒๑ คร. ๑,๘๖๒ ๒,๘๔๔ ๑,๔๙๒<br />
ราชพัสดุ ภายในบริเวณวัด ที่เช่า เป็นต้น<br />
๕. อื่น ๆ - (๒) - -<br />
รวม ๘,๖๑๘ ๔,๓๕๕ ๔,๓๙๕ ๒,๗๕๔<br />
๕.๑.๒ เปรียบเทียบปัญหาสุขภาพอนามัย<br />
ตาราง ๒๒ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพอนามัย<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ประชาชนที่ติดสุราเรื้อรัง ๑,๑๕๙ ๓๓๐ ๑๑๕ ๒๓๔<br />
๒. ประชาชนที่ติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาอี สารระเหย ๑๔๕ ๓๑๑ ๑,๒๓๑ ๔๑๕<br />
กัญชา เป็นต้น<br />
๓. ประชาชนที่ติดเชื้อเอดส์ / ป่วยเป็นโรคเอดส์ และสมควรได้รับ ๒๑๑ ๑๙๐ ๒๐๖ ๑๘๑<br />
ความช่วยเหลือ<br />
๔. ประชาชนที่ติดโรคระบาดในรอบ<strong>ปี</strong> เช่น โรคไข้เลือดออก โรค ๕๕๕ ๓๓๐ ๔๐๐ ๑๔๑<br />
อหิวาตกโรค โรคไข้หวัดนก โรคฉี่หนู เป็นต้น<br />
๕ ประชาชนที่เสียชีวิตในรอบ<strong>ปี</strong>จากโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรค ๑,๑๗๖ ๑๒๑ ๑๐๖ ๑๕๒<br />
ความดัน เป็นต้น<br />
๖ ประชาชนที่เจ็บป่วยและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (ไม่รวมคน ๔๐๔ ๑๖๘ ๑๔๑ ๒๔๙<br />
พิการ)<br />
๗ ประชาชนที่มีอาการทางจิต / ประสาท ๓๘๔ ๓๔๓ ๓๒๐ ๒๘๐<br />
๘. อื่น ๆ - (๖๑) - -<br />
รวม ๒,๑๖๓ ๔,๐๓๔ ๒,๕๑๙ ๑,๖๕๒<br />
๕๔<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๕.๑.๓ เปรียบเทียบปัญหาด้านการศึกษา<br />
ตาราง ๒๓ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาด้านการศึกษา<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. เด็กที่ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อตามภาคบังคับได้ ๖๔๖ ๑๕๘ ๔๑ ๓๔<br />
๒. เด็กที่ออกเรียนกลางคันในภาคการศึกษาบังคับ ๑๕๑ ๑๖๗ ๑๑๖ ๙๓<br />
๓. เยาวชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วแล้วไม่มี<br />
๒๘๒ ๑๐๒ ๑๑๓ ๑๑๙<br />
งานทําในรอบ ๑ <strong>ปี</strong> ที่จบการศึกษา<br />
๔. คนที่จบการศึกษาชั้นประถมแต่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ ๕๖ ๑๖ ๙๗ ๓๙<br />
๕. อื่น ๆ - (๐) - -<br />
รวม ๑,๑๓๕ ๔๔๓ ๓๖๗ ๒๘๕<br />
๕.๑.๔ เปรียบเทียบปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้<br />
ตาราง ๒๔ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาด้านการมีงานทําและรายได้<br />
ที่ ปัญหา<br />
๑. ประชาชนในวัยทํางานที่ไม่มีงานทําหรือไม่ประกอบอาชีพมากกว่า ๖<br />
เดือนในรอบ ๑ <strong>ปี</strong> (ไม่นับรวมผู้ที่จบการศึกษาในรอบ ๑ <strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา)<br />
๒. ประชาชนที่มีรายได้น้อยขาดแคลนทุนประกอบอาชีพ<br />
เพื่อยังชีพ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ<br />
๓. ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่มีหนี้สินและมีปัญหาในการส่งใช้เงินกู้ยืม<br />
และสมควรได้รับความช่วยเหลือ<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑,๘๔๗ ๑,๑๓๙ ๕๓๕ ๕๖๕<br />
๒,๙๗๔ ๑,๓๙๙ ๘๐๔ ๖๔๐<br />
๓,๙๓๗ ๑,๑๔๘ ๑,๔๔๗ ๖๒๙<br />
รวม ๘,๗๕๘ ๓,๖๘๖ ๒,๗๘๖ ๑,๘๓๔<br />
๕.๑.๕ เปรียบเทียบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />
ตาราง ๒๕ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ประชาชนถูกทําร้ายทางร่างกายในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๒๐๐ ๑๔๙ ๑๒๙ ๘๓<br />
๒. ประชาชนถูกล่วงละเมิดทางเพศในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๙๕ ๔๖ ๑๓ ๑๔<br />
๓. ประชาชนถูกลักทรัพย์/ชิงทรัพย์/ถูกทําลายทรัพย์สินในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๒๗๕ ๓๐๔ ๑๗๗ ๙๕<br />
๔ ประชาชนที่ได้รับอุบัติเหตุจากยานพาหนะในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๙๖๔ ๕๑๗ ๓๔๐ ๓๕๑<br />
๕. ประชาชนที่ประสบภัยจากการทํางานในรอบ<strong>ปี</strong>ที่ผ่านมา ๒๕๑ ๔๙ ๕๑ ๑๒๔<br />
๖. ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัยในรอบ<strong>ปี</strong><br />
๒,๔๒๖ ๑,๐๐๑ ๙๑๖ ๑,๔๘๗<br />
(ทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์)<br />
๗. คนสูญหาย/ติดต่อไม่ได้ในรอบ<strong>ปี</strong> ๔ ๔ ๒ ๑<br />
๘. อื่น ๆ - (๓) - -<br />
รวม ๔,๒๑๕ ๒,๐๗๐ ๑,๖๒๘ ๒,๑๕๕<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๕๕
๕.๑.๖ เปรียบเทียบปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม<br />
ตาราง ๒๖ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาด้านวัฒนธรรมและจริยธรรม<br />
ที่ ปัญหา<br />
๑. ร้านค้าที่ขายเหล้า/บุหรี่ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาและ<br />
ศาสนสถาน<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑๕๓ แห่ง ๑๒๔ ๑๒๘ ๑๒๐<br />
๒. ร้านสื่อลามก / ร้านเกมส์ / ร้านอินเตอร์เน็ตภายในท้องถิ่น ๑๐๗ แห่ง ๙๗ ๑๑๐ ๑๑๕<br />
๓. กลุ่มเครือข่ายที่ยังมีปัญหาเรื่องความปรองดอง และจําเป็นต้องมี ๑๘ กลุ่ม ๒๒ ๑๗ ๓<br />
การจัดการให้เกิดความสมานฉันท์<br />
รวม ๒๗๘ ๒๔๓ ๒๕๕ ๒๓๘<br />
๕.๒ เปรียบเทียบปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา<br />
ตาราง ๒๗ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาสังคมเชิงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการพัฒนา<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ปัญหาเด็กและเยาวชน (๐ – ๒๕ <strong>ปี</strong>) ๔,๔๙๖ ๓,๔๓๕ ๓,๑๓๙ ๒,๓๖๒<br />
๒. ปัญหาครอบครัว ๑,๑๘๔ ๑,๐๖๙ ๖๑๒ ๗๕๘<br />
๓. ปัญหาสตรี ( ๒๕ <strong>ปี</strong>ขึ้นไป – ๖๐ <strong>ปี</strong>) ๘๐๙ ๓๙๔ ๔๓๘ ๓๘๕<br />
๔. ปัญหาผู้สูงอายุ (๖๐ <strong>ปี</strong>ขึ้นไป) ๑,๒๓๐ ๕๙๑ ๔๐๔ ๒๓๒<br />
๕. ปัญหาคนพิการ ๒,๓๔๘ ๓,๐๓๐ ๓,๒๗๔ ๗๔<br />
๖. ปัญหาแรงงาน ๑๒,๖๒๓ ๑๑,๒๒๙ ๑๐,๗๗๔ ๒,๑๗๔<br />
๗. อื่น ๆ - (๗๘) - -<br />
รวม ๒๒,๖๙๐ ๑๙,๕๐๐ ๑๘,๖๔๑ ๕,๙๘๕<br />
ตามประเด็นนี้ในภาพรวม มีจํานวนลดลง คือ จากจํานวน ๗,๘๘๓ คนใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ ลดลงเหลือจํานวน<br />
๕,๙๘๕ คน ใน<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ ลดลงจํานวน ๑,๘๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๐๘<br />
มองในแต่ละประเด็นปัญหา จํานวน ๖ ปัญหา มีปัญหาที่ลดลง จํานวน ๕ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๓๓<br />
และเพิ่มขึ้น จํานวน ๑ ปัญหา คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๖๗<br />
ปัญหาที่ลดลงมากที่สุด คือ ปัญหาคนพิการ จากจํานวน ๑๗๐ คน เหลือ ๗๔ คน ลดลง<br />
จํานวน ๙๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๔๗ อันดับสอง คือ ปัญหาผู้สูงอายุ จากจํานวน ๔๐๕ คน เหลือ จํานวน ๒๓๒ คน ลดลง<br />
จํานวน ๑๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๗ อันดับสาม คือ ปัญหาแรงงาน จากจํานวน ๓,๑๒๐ คน เหลือ จํานวน ๒,๑๗๔ คน<br />
ลดลง จํานวน ๙๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๓๒ อันดับสี่ คือ ปัญหาเด็กและเยาวชน จาก จํานวน ๓,๑๓๙ คน เหลือ จํานวน<br />
๒,๓๖๒ คน ลดลง จํานวน ๗๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๗๕ และที่ลดลงน้อยที่สุด คือ ปัญหาสตรี ซึ่งลดลงจาก จํานวน ๔๓๘<br />
คน เหลือ จํานวน ๓๘๕ คน ลดลงจํานวน ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๑๐<br />
ประเด็นปัญหาที่เพิ่มขึ้น คือ ปัญหาครอบครัว จากจํานวน ๖๑๒ คน เพิ่มเป็นจํานวน ๗๕๘ คนครัว<br />
เพิ่มขึ้นจํานวน ๑๔๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๖<br />
๕๖<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๕.๒.๑ เปรียบเทียบปัญหาเด็กและเยาวชน<br />
ตาราง ๒๘ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาเด็กและเยาวชน<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. เด็กขาดผู้อุปการะ ๒๑๘ ๑๑๓ ๑๐๗ ๑๘๕<br />
๒. เด็กถูกทอดทิ้ง ๒๘๖ ๒๗๙ ๑๑๒ ๑๑๘<br />
๓. เด็กไม่ได้เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน ๑๘๙ ๑๐๑ ๕๐ ๑๗<br />
๔. เด็กกําพร้า ๕๕๒ ๘๐๗ ๓๖๖ ๓๑๗<br />
๕. เยาวชนในครอบครัวยากจนไม่มีทุนในการศึกษาต่อ ๕๑๗ ๒๗๘ ๒๕๔ ๑๙๑<br />
๖. เด็กเยาวชนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม (๑,๓๕๒) (๘๖๐) (๑,๕๘๒) (๕๔๒)<br />
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และติดสารเสพติดร้ายแรง เช่น ๙๙๔ ๔๖๑ ๑,๓๓๔ ๓๙๑<br />
ยาบ้า ยาอี สารระเหย กัญชา เป็นต้น<br />
มั่วสุมและทําความรําคาญให้กับชาวบ้าน ๒๓๘ ๑๙๘ ๑๔๖ ๘๔<br />
ติดเกมส์ และเล่นการพนันต่าง ๆ ๖๐ ๑๕๐ ๖๙ ๖๗<br />
มีพฤติกรรมทางเพศ ๖๐ ๓๔ ๓๓ ๐<br />
๗. เด็กเยาวชนเร่ร่อนขอทาน ๐ ๔ ๒ ๐<br />
๘. เด็กเยาวชนไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ๑๔๓ ๔๒ ๘ ๒๒<br />
๙. เยาวชนในชุมชนเลี้ยงดูบุตรตามลําพัง ๓ ๕ ๖ ๙<br />
๑๐. เด็กเยาวชนต่างด้าว ๙๒๘ ๙๖๓ ๖๕๒ ๙๕๗<br />
๑๑. อื่น ๆ - (๖๙) - -<br />
รวม ๔,๔๙๖ ๓,๔๓๕ ๓,๑๓๙ ๒,๓๖๒<br />
๕.๒.๒ เปรียบเทียบปัญหาครอบครัว<br />
ตาราง ๒๙ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาครอบครัว<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ครอบครัวหย่าร้าง ๘๐๒ ๘๐๓ ๔๐๒ ๕๘๙<br />
๒. ครอบครัวที่กระทําความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ๗ ๙ ๓๑ ๓<br />
๓. ครอบครัวที่มีบุตรหลานประพฤติตัวไม่เหมาะสมและพบเห็นได้ใน ๑๔๑ ๑๖๙ ๑๓๗ ๑๕๔<br />
ที่สาธารณะ<br />
๔. ครอบครัวที่ไม่เลี้ยงดูบุพการีตามสภาพที่เหมาะสม ๒๐๒ ๒๔ ๒๔ ๖<br />
๕. ครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวประพฤติตัวไม่เหมาะสม ๓๒ ๖๔ ๑๘ ๖<br />
รวม ๑,๑๘๔ ๑,๐๖๙ ๖๑๒ ๗๕๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๕๗
๕.๒.๓ เปรียบเทียบปัญหาสตรี<br />
ตาราง ๓๐ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาสตรี<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. สตรีถูกล่วงละเมิดทางเพศ ๒ ๓ ๑ ๕<br />
๒. สตรีถูกทําร้ายร่างกายและจิตใจ ๖๑ ๑๑ ๓๒ ๓<br />
๓. สตรีหม้ายที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลําพัง ๗๔๖ ๓๘๐ ๔๐๕ ๓๗๗<br />
๔. อื่น ๆ - (๑) - -<br />
รวม ๘๐๙ ๓๙๔ ๔๓๘ ๓๘๕<br />
๕.๒.๔ เปรียบเทียบปัญหาผู้สูงอายุ<br />
ตาราง ๓๑ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาผู้สูงอายุ<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้ไปแจ้งจดทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพได้ ๓๓๐ ๑๓๙ ๑๔๐ ๑๙<br />
ตามกําหนด(มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน)<br />
๒. ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และสมควรได้รับความช่วยเหลือ ๒๐๑ ๑๖๕ ๗๗ ๖๑<br />
(ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลําพังและไม่มีผู้ดูแล)<br />
๓. ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงบริการ/กิจกรรมสําหรับผู้สูงอายุ ๑๑๒ ๕๖ ๖๐ ๒๓<br />
ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอาชีพ สุขภาพ นันทนาการ เป็นต้น<br />
๔. ผู้สูงอายุที่ถูกทําร้ายร่างกายและจิตใจ ๐ ๑ ๐ ๙<br />
๕. ผู้สูงอายุที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน / ไม่มีบัตรประชาชน ๓๐ ๑๔ ๑๓ ๗<br />
๖. ผู้สูงอายุที่ยากจนและมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตรหลาน ๕๕๗ ๒๑๖ ๑๑๔ ๑๑๓<br />
รวม ๑,๒๓๐ ๕๙๑ ๔๐๔ ๒๓๒<br />
๕๘<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
๕.๒.๔ เปรียบเทียบปัญหาคนพิการ<br />
ตาราง ๓๒ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาคนพิการ<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. คนพิการที่ท้องถิ่นสํารวจไว้แล้ว (๑,๘๔๑) (๒,๘๐๐) (๓,๑๐๔) (๓,๖๙๐)<br />
คนพิการทางการมองเห็น ๒๔๑ ๒๖๓ ๒๙๐ ๓๔๒<br />
คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ๒๙๒ ๔๖๗ ๕๔๗ ๖๖๐<br />
คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว ๗๕๓ ๑,๓๖๗ ๑,๔๘๘ ๑,๗๔๐<br />
คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ๑๐๓ ๑๘๙ ๑๘๘ ๒๖๖<br />
คนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ (ปัญญาอ่อน) ๓๕๔ ๓๕๙ ๔๓๐ ๔๖๒<br />
คนพิการซ้ําซ้อน (มากกว่า ๑ ประเภท) ๙๘ ๑๕๕ ๑๖๑ ๒๒๐<br />
๒. คนพิการที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ๑๘๗ ๖๔ ๔๗ ๒๖<br />
๓. คนพิการที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ<br />
๒๘๔ ๑๕๒ ๑๐๖ ๔๒<br />
(ทั้งที่จดทะเบียนแล้วและยังไม่ได้จดทะเบียน)<br />
๔. คนพิการที่ถูกทอดทิ้ง/ไม่ได้รับเอาใจใส่จากครอบครัว ๓๖ ๑๔ ๑๗ ๖<br />
รวม ๕๐๗ ๒๓๐ ๑๗๐ ๗๔<br />
* หมายเหตุ : จํานวนคนพิการที่ทางท้องถิ่นสํารวจไว้ ไม่นํามาคิดรวมเป็นปัญหาคนพิการ<br />
๕.๒.๕ เปรียบเทียบปัญหาแรงงาน<br />
ตาราง ๓๓ : ข้อมูลเปรียบเทียบปัญหาแรงงาน<br />
ที่ ปัญหา<br />
จํานวน<br />
<strong>ปี</strong> ๒๕๕๒ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๓ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๔ <strong>ปี</strong> ๒๕๕๕<br />
๑. แรงงานต่างด้าวในท้องถิ่นที่จดทะเบียนแล้ว ๕,๙๔๕ ๖,๒๘๕ ๗,๖๕๔ ๕,๘๔๔<br />
๒. แรงงานต่างด้าวในท้องถิ่นที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ๙๕๑ ๒,๘๒๖ ๗๔๙ ๕๓๙<br />
๓. ครอบครัวแรงงานต่างด้าวในท้องถิ่น ๕,๐๒๐ ๑,๔๐๒ ๑,๖๑๒ ๑,๓๔๓<br />
๔. แรงงานไทยที่อพยพมาจากต่างถิ่น ๔๘๓ ๖๑๖ ๕๖๑ ๒๓๙<br />
๕. คนที่ถูกเลิกจ้างและว่างงานไม่มีรายได้ ๒๒๔ ๑๐๐ ๑๙๘ ๕๓<br />
๖. อื่น ๆ - (๘) - -<br />
รวม ๖,๖๗๘ ๔,๙๔๔ ๓,๑๒๐ ๒,๑๗๔<br />
* หมายเหตุ : จํานวนแรงงานต่างด้าวในท้องถิ่นที่จดทะเบียนแล้ว ไม่นํามาคิดรวมเป็นปัญหาแรงงาน<br />
** หมายเหตุ : ทุกประเด็นปัญหา ทั้งปัญหาเชิงประเด็นสังคม และ ปัญหาเชิงกลุ่มเป้าหมายเปรียบเทียบ<br />
เฉพาะประเด็นปัญหาที่ระบุปัญหา ไม่นับรวมประเด็นปัญหา “ อื่น ๆ ” ซึ่งไม่นํามาเปรียบเทียบ<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๕๙
สมัชชาสตรีระดับจังหวัด<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงาได้จัดการประชุมสมัชชาสตรีระดับจังหวัด<br />
ประจํา<strong>ปี</strong> ๒๕๕๕ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมพิงกัน โรงแรมภูงาธานี มีเครือข่ายสตรี<br />
อพม.,อสม.,อผส.,ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ,ภาคเอกชน,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาครอบครัวใน<br />
ชุมชน เข้าร่วมประชุม จํานวน ๑๑๐ คน ซึ่งที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และ<br />
สามารถสรุปประเด็นปัญหาของจังหวัดได้ดังนี้<br />
ตาราง ๓๔ : สรุปประเด็นปัญหาด้านสตรีของจังหวัด<br />
ปัญหา สาเหตุ แนวทางการแก้ไข<br />
๑. ปัญหาการฝึกอบรม<br />
และการศึกษาของสตรี<br />
๒. ปัญหายาเสพติด<br />
และการพนัน<br />
๓. ปัญหาการตั้งครรภ์<br />
ก่อนวัยอันควร<br />
- ขาดโอกาสทางการศึกษาเนื่องจาก<br />
ครอบครัวไม่ส่งเสริมผู้หญิงให้เรียน<br />
หนังสือ หรือเรียนไม่จบหรือเรียนจบ<br />
แต่ไม่มีงานทํา<br />
- รายได้ครอบครัวมีน้อย<br />
- การฝึกอบรมอาชีพต่างๆไม่ต่อเนื่อง<br />
และไม่มีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง<br />
ไม่มีตลาดรองรับ<br />
- การว่างงานและไม่ใช้เวลาว่างให้เป็น<br />
ประโยชน์<br />
- ผู้หญิงมักถูกใช้เป็นเครื่องมือใน<br />
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด<br />
- สถานภาพทางเศรษฐกิจทําให้เกิด<br />
ความเครียด<br />
- การคบเพื่อน/เพื่อนชักชวน/อยากรู้<br />
อยากลอง<br />
- มีปัญหาครอบครัว เช่น ครอบครัว<br />
แตกแยก ขาดความอบอุ่น<br />
- สื่อ/สิ่งแวดล้อมในชุมชน/การมั่วสุม<br />
กับวัยรุ่นต่างถิ่น<br />
- สื่อและเทคโนโลยีต่าง ๆ<br />
- ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเด็กและเยาวชน<br />
เนื่องจากต้องทํางานหาเลี้ยงครอบครัว<br />
- ความมีอิสระในการดําเนินชีวิตของเด็ก<br />
และเยาวชนไทยในปัจจุบัน<br />
- การเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติ<br />
- รู้เท่าไม่ถึงการณ์/ตามเพื่อน/อยาก<br />
ทดลอง<br />
- เปิดโอกาสส่งเสริมการศึกษาแก่กลุ่มสตรี<br />
- ส่งเสริมอาชีพให้ครอบครัวมีรายได้<br />
และพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง<br />
- จัดกิจกรรมให้ครอบครัวทําร่วมกัน<br />
- ส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ว่างงาน<br />
- ชุมชน/หมู่บ้าน จัดกิจกรรมต้านยาเสพติด<br />
เช่น จัดการแข่งขันฟุตบอล<br />
- มีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ อบรม<br />
ให้ความรู้ถึงโทษของยาเสพติด<br />
- กําหนดบทลงโทษตามข้อตกลงของ<br />
ชุมชนกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด<br />
- ส่งเสริมอาชีพ/ฝึกอาชีพ<br />
- ครอบครัว,ผู้นําชุมชน,ภาครัฐ<br />
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดูแล<br />
อย่างจริงจัง<br />
- ออกมาตรการควบคุมสื่อ/ควบคุม<br />
การใช้อุปกรณ์สื่อสาร<br />
- ผู้ปกครองควรเอาใจใส่บุตรหลาน<br />
อย่างใกล้ชิด<br />
- จัดระบบการศึกษาโดยให้ความรู้<br />
เรื่องเพศศึกษา<br />
- ส่งเสริมการศึกษาในเรื่องของการ<br />
อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย รู้จักรักนวล<br />
สงวนตัว<br />
๖๐<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา
ปัญหา สาเหตุ แนวทางการแก้ไข<br />
๔. ปัญหาสุขภาพอนามัย - นิสัยการกิน<br />
- ขาดการออกกําลังกาย<br />
- ขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่อง<br />
สุขภาพและสุขภาพอนามัยของตนเอง<br />
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและ<br />
ควบคุมน้ําหนัก<br />
- ส่งเสริมการออกกําลังกาย<br />
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้เกี่ยวกับ<br />
เรื่องสุขภาพอนามัยในสตรีทุกวัย<br />
- ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเองและ<br />
๕. ปัญหาสตรีหม้าย - รับภาระในการเลี้ยงดูครอบครัว<br />
- ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากสังคม<br />
- ไม่มีความรู้ทําให้ไม่มีงานทํา<br />
๖. ปัญหาความรุนแรงของ<br />
สตรี/การถูกล่วงละเมิด/<br />
เลือกปฏิบัติ<br />
- วัฒนธรรมและความเชื่อเดิม ๆ<br />
- ไม่กล้าต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง /<br />
ถูกละเมิดทางเพศ<br />
- การเลียนแบบสื่อในด้านการแต่งกาย<br />
ในปัจจุบัน<br />
- ระบบพวกพ้อง ความไม่เสมอภาค<br />
และเท่าเทียม<br />
- ไม่มีเวลาให้ครอบครัว ปัญหาครอบครัว<br />
ครอบครัวแตกแยก ความไม่เข้าใจกัน<br />
ในครอบครัว เช่นการนอกใจ การหึงหวง<br />
- การทําร้ายร่างกาย การกดขี่ข่มเหงใน<br />
ครอบครัว (เกิดจากอบายมุข สารเสพติด)<br />
- พื้นฐานการเลี้ยงดู (สภาพแวดล้อม<br />
ตั้งแต่อดีตที่สอนให้ผู้หญิงต้องอยู่ข้าง<br />
หลังผู้ชาย)<br />
ดูแลตนเองเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัย<br />
- รัฐควรส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือ<br />
ครอบครัว<br />
การขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาจากผลการประชุมสมัชชาสตรีในระดับจังหวัด<br />
๑. จัดกิจกรรมวันครอบครัวโดยการบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสํานักงาน<br />
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ในการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน<br />
๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ในโครงการส่งเสริมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาสตรี<br />
และครอบครัว ร่วมกับสํานักงานพัฒนาชุมชนและองค์กรสตรีต่าง ๆ<br />
๓. จัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรีและความรุนแรงในครอบครัว<br />
๔. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่สตรีเรื่องสิทธิสตรีและ พรบ.ที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทํา<br />
ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการ<br />
ค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑<br />
๕. จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและมีการเฝ้าระวัง<br />
และเตือนภัยทางสังคม<br />
สรุปผลการดําเนินงาน ปงบประมาณ ๒๕๕๕<br />
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา ๖๑
คณะผูจัดทํา<br />
ที่ปรึกษา<br />
นายธํารงค์ เจริญกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา<br />
ผู้จัดทํา<br />
นายชูรินทร์ ขวัญทอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา<br />
นายสุเมธ บัวบูชา นักพัฒนาสังคมชํานาญการ<br />
หัวหน้ากลุ่มสวัสดิการสังคมและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิ์<br />
นางมาดี ธนสารพงศกร เจ้าพนักงานธุรการชํานาญงาน<br />
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป<br />
นายมานิต หัสนีย์ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษยจังหวัดพังงา<br />
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย<br />
http://www.phangnga.m-society.go.th