15.08.2016 Views

lakmuang_305

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๓๐๕ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง<br />

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๓๐๕ หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

www.<strong>lakmuang</strong>online.com


บทอาเศียรวาท<br />

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา<br />

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

ธ สถิต เคียงคู่ขวัญ ราชันย์สง่า พระเดชา เกริกไกร ไทยล้วนเห็น<br />

นานากิจ พระองค์ ทรงบำเพ็ญ ก่อร่มเย็น เด่นหล้า ปรีชาชาญ<br />

ดุจประทีป ส่องนำไทย ให้สว่าง แจ่มพราวพร่าง เพื่อชนไทย ใคร่สุขสานติ์<br />

มวลไทยสุข สมหวัง ดังต้องการ ดุจต้นธาร ชุ่มฉ่ำ เลิศล้ำทวี<br />

ป่ารักษ์น้ำ หล่อพืชพันธุ์ ปันความสุข บรรเทาทุกข์ บนต้นทาง สร้างสุขี<br />

พฤกษ์พันธุ์ไม้ มิแห้งเหี่ยว เขียวขจี ส่ำสัตว์มี ชีวา เริงร่าครัน<br />

ศิลปาชีพ โครงงาน สานคุณค่า ภูมิปัญญา บรรพชน ดลรังสรรค์<br />

ทรงดำริ รักษาค่าอนันต์ คืนชีวัน ฟื้นความรู้ คู่เชาวน์ไว<br />

สิทธิสตรี ทรงตระหนัก รักษาสิทธิ์ ทรงวินิต กระบวนทัศน์ วิวัฒน์ให้<br />

ถนอมเกียรติ เพิ่มศักดิ์ศรี สตรีไทย ธำรงไว้ ดอกไม้ชาติ ประกาศนาม<br />

สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ พิทักษ์ค่า ทรงบัญชา ให้ฟื้นฟู คู่สยาม<br />

ป่าชายเลน ควรคงไว้ ไม่เสื่อมทราม สิ่งงดงาม ประเสริฐ บังเกิดแทน<br />

คุณภาพชีวิตคน ชนทั้งเมือง พึงรุ่งเรือง มีคุณค่า สง่าแสน<br />

พระดำรัส ประสาทผล ท้นทั่วแดน สยามแคว้น มีคุณค่า เป็นอาจิณ<br />

แปดสิบสี่ พรรษา สิงหามาส ประชาราษฎร์ แซ่ซ้อง ก้องทั่วถิ่น<br />

ดิถีกาล อันสูงส่ง องค์ธรณินทร์ ทั่วแผ่นดิน ล้วนจงรัก และภักดี<br />

กลาโหม อัญเชิญผล มงคลฤทธิ์ จงประสิทธิ์ พระเดชเพิ่ม เฉลิมศรี<br />

น้อมเกล้าฯ เทิดบุญญา พระบารมี องค์ราชินี ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ<br />

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ<br />

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการ สังกัดกระทรวงกลาโหม<br />

(พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์<br />

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล<br />

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์<br />

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา<br />

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร<br />

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร<br />

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์<br />

พล.อ.อู้ด เบื้องบน<br />

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ<br />

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล<br />

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ<br />

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท<br />

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์<br />

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์<br />

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก<br />

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์<br />

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล<br />

ที่ปรึกษา<br />

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา<br />

พล.ร.อ.อนุทัย รัตตะรังสี ร.น.<br />

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ<br />

พล.อ.พอพล มณีรินทร์<br />

พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ<br />

พล.อ.วิสุทธิ์ นาเงิน<br />

พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ<br />

พล.อ.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง<br />

พล.ร.อ.กฤษฎา เจริญพานิช ร.น.<br />

พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร<br />

พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล<br />

พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน<br />

พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี<br />

พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน<br />

พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์<br />

พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ<br />

พล.ท.สัมพันธ์ ธัญญพืช<br />

พล.ท.อภิชาติ อุ่นอ่อน<br />

พล.ท.รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์<br />

พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ<br />

พล.ร.ต.สหพงษ์ เครือเพ็ชร ร.น.<br />

พล.ต.สราวุธ รัชตะนาวิน<br />

พล.ต.อนุมนตรี วัฒนศิริ<br />

พล.ต.พิสิทธิ์ สิงหราไชย<br />

พล.ต.สมชาติ ศิลป์เจริญ<br />

พล.ต.ต่างแดน พิศาลพงศ์<br />

ผู้อำนวยการ<br />

พล.ต.ยุทธนินทร์ บุนนาค<br />

รองผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ภัทร์นรินท์ วิจิตรพฤกษ์<br />

พ.อ.ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร<br />

ผู้ช่วยอำนวยการ<br />

พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ<br />

กองจัดการ<br />

ผู้จัดการ<br />

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร<br />

ประจำกองจัดการ<br />

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ<br />

พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม<br />

พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์<br />

เหรัญญิก<br />

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์<br />

ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

ร.ท.เวช บุญหล้า<br />

ฝ่ายกฎหมาย<br />

น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ<br />

พิสูจน์อักษร<br />

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำรง<br />

กองบรรณาธิการ<br />

บรรณาธิการ<br />

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.<br />

รองบรรณาธิการ<br />

พ.อ.ทวี สุดจิตร์<br />

พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์<br />

ผู้ช่วยบรรณาธิการ<br />

พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช<br />

ประจำกองบรรณาธิการ<br />

น.อ.ณัทวรรษ พรเลิศ<br />

น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น.<br />

น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.<br />

พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง<br />

พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม<br />

น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น.<br />

พ.ต.หญิง สิริณี จงอาสาชาติ<br />

พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต<br />

พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร<br />

น.ต.หญิง ปรางทอง จันทร์สุข ร.น.<br />

น.ต.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.<br />

ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ<br />

จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค<br />

จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง


บทบรรณาธิการ<br />

เดือนสิงหาคมนับเป็นเดือนมหามงคลของปวงชนชาวไทยอีกเดือนหนึ่ง เนื่องจากในวันที่ ๑๒<br />

สิงหาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หรือวันแม่แห่งชาติ<br />

โดยเฉพาะในปีนี้เป็นปีที่พิเศษเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา<br />

คณะบรรณาธิการวารสารหลักเมือง ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ขอพระองค์ทรงมีพระพลานามัย<br />

สมบูรณ์ เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย และทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน<br />

สำหรับประชาชนคนไทย ในวันนี้เป็นวันที่ลูกๆ จะได้แสดงความเคารพต่อแม่ของแผ่นดิน<br />

และแม่ผู้ให้กำเนิด เพราะที่ผ่านมาหลายคนอาจจะไม่ค่อยได้แสดงความรักกับแม่สักเท่าไหร่<br />

วันที่ ๑๒ สิงหาคมนี้ อาจจะทำให้เป็นวันเริ่มต้นบอกรักแม่ และมอบสิ่งดีๆ ให้กับแม่ แม้เป็นแค่เพียง<br />

คำพูดดีๆ ก็ทำให้แม่มีความสุขแล้ว<br />

สำหรับบทความภายในเล่มนี้ ยังคงมีบทความที่น่าสนใจ อาทิ “ประเทศไทย ๔.๐” หรือ<br />

“ไทยแลนด์ ๔.๐” โมเดลใหม่ที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษา<br />

ความสงบแห่งชาติ สร้างขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และ “กาติบะห์ นูซันตารา” (Katibah<br />

Nusantara)…ไอเอสแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตอนที่ ๑) และบทความเรื่อง การเปลี่ยนผ่าน<br />

ทางการเมืองในเมียนมา ซึ่งพม่าเปลี่ยนผ่านการเมืองมาสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน เป็นครั้งแรก<br />

ในรอบกว่า ๕๐ ปี รวมทั้งบทความอื่นๆ ขอเชิญติดตามอ่านกันครับ


๔<br />

“รอตันบาตู” พื้นที่ปลอดภัย...จากน้ำ<br />

พระราชหฤทัย สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ<br />

๘<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ตอนที่ ๗<br />

๑๔<br />

ประเทศไทย ๔.๐ (Thailand version 4.0)<br />

...สิ่งท้าทายการเดินหน้าประเทศไทย<br />

๑๘<br />

๕๓ ปี วันคล้ายวันสถาปนาโรงงาน<br />

เภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

๒๐<br />

ข้าคือ “กาติบะห์ นูซันตารา” (Katibah<br />

Nusantara) ไอเอสแห่งเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้<br />

๒๔<br />

การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในเมียนมา<br />

(พม่า)<br />

๒๘<br />

แนะนำอาวุธเพื่อนบ้าน เครื่องบินฝึก<br />

ไอพ่นขั้นก้าวหน้า ที-๕๐<br />

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

๔<br />

๘ ๑๔<br />

๒๐<br />

๒๘<br />

๓๒<br />

Russian Roulette “ปฏิบัติการทางอากาศ<br />

แบบวัดดวงและวัดใจ...”<br />

๓๘<br />

พระเจ้าอลองพญาเริ่มต้นขยายดินแดน<br />

๔๒<br />

บทเรียนจากการไม่อยากอยู่ร่วมกัน<br />

ของมนุษยชาติ<br />

๔๖<br />

เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๔๔<br />

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทาง<br />

ยุทธวิธี<br />

๕๐<br />

เตือนพ่อแม่ระวังโรคใหม่ “โรคไม่รู้จัก<br />

ความลำบาก”!!<br />

๕๒<br />

“Mother”<br />

๕๔<br />

“ฝนตกครั้งใด อย่าลืมใส่ใจภัยในบ้าน”<br />

๕๖<br />

ภาพกิจกรรม<br />

๔๒ ๔๖<br />

๓๒<br />

๕๐ ๕๒ ๕๔<br />

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อราชการแต่อย่างใด<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm<br />

พิมพ์ที่ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์ ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘<br />

E-mail : info@aroonkarnpim.co.th www.aroonkarnpim.co.th<br />

ออกแบบ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์


“รอตันบาตู”<br />

พื้นที ่ปลอดภัย...จากน ้ำพระราชหฤทัย<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

...........................................................................................................................................................................................................<br />

ข้<br />

อความบางตอนของพระราช<br />

ดำรัสพระราชทานของสมเด็จ<br />

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

ที่ผู้เขียนขออัญเชิญเพื่อให้ท่านผู้อ่าน<br />

ได้รับทราบ ณ ที ่นี้ คือ พระราชดำรัส<br />

พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า<br />

ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิม<br />

พระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย ใน<br />

พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดีที่ ๑๑<br />

สิงหาคม ๒๕๔๘ ซึ่งภายหลังจากนั้น<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน<br />

พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดซื้อที่ดิน<br />

ในการจัดตั้ง “โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

“...ต่อไปนี้มีโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่หมู่บ้านรอตันบาตู<br />

โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านรอตันบาตู ที่จังหวัดนราธิวาสนั้น ข้าพเจ้าได้นำเงินที่ท่านทั้งหลายมอบให้ข้าพเจ้าในโอกาส<br />

อายุครบ ๗๒ พรรษา ไปจัดซื้อที่ดินจำนวน ๗๐๗ ไร่ ที่นราธิวาสและขอให้ทางหน่วยทหาร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และ<br />

ส่วนราชการต่างๆ ช่วยข้าพเจ้าจัดสร้างบ้าน ๑๕๐ หลัง เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของประชาชน ข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ<br />

ทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมที่สูญเสียหัวหน้าครอบครัว...”<br />

พอเพียงและฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จ<br />

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”<br />

ที่บ้านรอตันบาตู หมู่ที่ ๗ ตำบลกะลุวอ<br />

อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส<br />

โครงการอันเนื่องมาจากพระ<br />

ราชดำริ ที่บ้านรอตันบาตู เป็นผลจาก<br />

พระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

4 พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


พระบรมราชินีนาถ ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๖<br />

กันยายน ๒๕๔๗ ณ ห้องประชุม ที่<br />

บังคับการทางยุทธวิธีราชองครักษ์ (บ้าน<br />

พักนายทหารเสริมกำลังพิเศษ) พระ<br />

ตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อำเภอเมือง<br />

จังหวัดนราธิวาส ซึ่งในวันนั้น พลเอก ณพล<br />

บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ ได้อัญเชิญ<br />

พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ แจ้งให้หน่วยงาน<br />

ราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการช่วยเหลือ<br />

ครอบครัวเจ้าหน้าที ่และประชาชน ที่<br />

ประสบเคราะห์กรรมจากการกระทำของผู้<br />

ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน<br />

ภาคใต้ (นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) โดย<br />

ให้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ<br />

พอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง ที่บ้านรอตันบาตู<br />

หมู่ที่ ๗ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัด<br />

นราธิวาส เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่<br />

ประสบเคราะห์กรรมจากสถานการณ์<br />

ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน<br />

ภาคใต้ ที่ส่งผลกระทบต่อความตื่นกลัว<br />

การดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ที่<br />

ได้เปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถประกอบ<br />

อาชีพได้ตามปกติ ขาดความปลอดภัย<br />

ในชีวิตและทรัพย์สิน จนเกิดเป็นปัญหา<br />

เศรษฐกิจและปัญหาสังคมต่อครอบครัว<br />

ข้าราชการ (เจ้าหน้าที่ ครู ทหาร และ<br />

ตำรวจ) และประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่<br />

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประสบปัญหา<br />

อย่างใหญ่หลวงคือ ปัญหาการขาดผู้นำ<br />

ครอบครัว ซึ่งสร้างความทุกข์เทวษแก่สตรี<br />

และครอบครัวผู้ประสบเคราะห์กรรม<br />

ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง<br />

ครั้นปลายปีพุทธศักราช ๒๕๔๗<br />

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม<br />

ราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรง<br />

เยี่ยมราษฎรในจังหวัดนราธิวาส ได้ทรงทราบ<br />

ถึงความเดือดร้อน ความทุกข์ทรมาน<br />

ทั้งร่างกายและจิตใจของราษฎรที่เป็น<br />

ครอบครัวของผู้ประสบเหตุ จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำริ<br />

แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความ<br />

ช่วยเหลือแก่ครอบครัวเจ้าหน้าที่ และ<br />

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อ<br />

ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค<br />

ใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส<br />

ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายในอัน<br />

ที่จะสนองพระราชดำริที่พระราชทานไว้<br />

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จึงได้พิจารณา<br />

แนวทางให้ความช่วยเหลือและบรรเทา<br />

ความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่<br />

ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ราษฎรได้มีที่อยู่<br />

อาศัย และมีที่ดินทำกิน สามารถเลี้ยง<br />

ตนเองและครอบครัวได้<br />

ปัจจุบันโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจ<br />

พอเพียงและฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จ<br />

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่บ้าน<br />

รอตันบาตู มีพื้นที่ ๗๑๖ ไร่ โดยได้แบ่ง<br />

พื้นที่การดำเนินงานออกเป็น ๒ ส่วน คือ<br />

พื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน<br />

๓๓๘ ไร่ และพื้นที่ฟาร์มตัวอย่าง จำนวน<br />

๓๗๘ ไร่ มีลักษณะพึ่งพาอาศัยกันและกัน<br />

ในการดำเนินกิจการ โดยมีการดำเนินการ<br />

ดังนี้<br />

๑. พื้นที่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง<br />

พื้นที่ ๓๓๘ ไร่ ได้จัดสรรแบ่งพื้นที่ออกเป็น<br />

จำนวน ๑๕๐ แปลง มีพื้นที่แปลงละ ๒ ไร่<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

5


ด้วยการสร้างบ้านพักให้แก่ครอบครัวผู้<br />

ประสบเคราะห์กรรมจากการกระทำของผู้<br />

ก่อความไม่สงบเพื่อเป็นหลักประกันความ<br />

ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่<br />

ครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นการตอบแทน<br />

บุญคุณผู้เสียสละชีวิตในการปกป้อง<br />

ผืนแผ่นดินไทย โดยพื้นที่บริเวณรอบบ้าน<br />

ได้ยกร่องสวน เพื่อให้ผู้อาศัยทำการ<br />

เพาะปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล เลี้ยงปลา<br />

เลี้ยงสัตว์ปีกไว้เป็นอาหารและจำหน่าย<br />

เป็นรายได้เสริม<br />

๒. พื้นที่ฟาร์มตัวอย่าง พื้นที่ ๓๗๘<br />

ไร่ ได้จัดสรรแบ่งพื้นที่ออกเป็นแหล่งผลิต<br />

อาหาร แหล่งสร้างงาน และต้นแบบแห่ง<br />

การเรียนรู้ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานของ<br />

โครงการจะเป็นลักษณะให้ราษฎรเป็นผู้<br />

ดำเนินการเอง โดยมุ่งหวังที่จะให้ฟาร์ม<br />

ตัวอย่างเป็นแหล่งผลิตหรือศูนย์ผลิต<br />

อาหารอย่างแท้จริงในอนาคต และเป็น<br />

แหล่งสร้างงานให้ราษฎร ทำให้ราษฎรมี<br />

อาชีพและรายได้เสริม รวมทั้งเป็นแหล่ง<br />

เรียนรู้ในการประกอบอาชีพให้กับผู้สนใจ<br />

สามารถนำไปดำเนินการได้เอง โดยมุ่งเน้น<br />

เป็นพื้นที่การสาธิตด้านเกษตรกรรม และ<br />

การพัฒนาที่ดินจากสภาพพื้นที่นาร้างและ<br />

พื้นที่ดินเปรี้ยวที่มีอยู่ทั่วไปในจังหวัด<br />

นราธิวาส ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำ<br />

6 พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ซึ่งเกิดประโยชน์ในองค์รวมให้กับราษฎร<br />

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านรอตันบาตู<br />

และราษฎรที่อยู่ใกล้เคียงได้ดีเป็นอย่างยิ่ง<br />

การปรับเปลี่ยนพื้นที่สีเหลืองแดง<br />

แห่งความหวาดระแวงและรุนแรงใน<br />

จังหวัดนราธิวาส ให้กลายมาเป็นพื้นที่สี<br />

เขียวแห่งความบริบูรณ์และความหวัง นับ<br />

เป็นพระมหากรุณาธิคุณจากน้ำพระราช<br />

หฤทัย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม<br />

ราชินีนาถ ที่ได้ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก<br />

แสนเข็ญของครอบครัวเจ้าหน้าที่ผู้ประสบ<br />

เคราะห์กรรมจากการปฏิบัติงานและ<br />

ราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ<br />

ทรงพลิกฟื้นจิตใจที่สิ้นหวังให้เกิดเป็นจิตใจ<br />

ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความหวังของครอบครัว<br />

ผู้พำนักและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ<br />

นอกจากนี ้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ ยังทรงพระกรุณาโปรด<br />

เกล้าฯ พระราชทานโครงการในลักษณะ<br />

เช่นเดียวกันนี้ คือ โครงการฟาร์มตัวอย่าง<br />

ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

จำนวนรวม ๒๐ แห่ง กระจายไปในพื้นที่<br />

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย<br />

o จังหวัดนราธิวาส ๙ แห่ง<br />

o จังหวัดปัตตานี ๙ แห่ง<br />

o จังหวัดยะลา ๒ แห่ง<br />

โดยทุกโครงการคือโครงการที่ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทาน<br />

พระราชดำริดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ<br />

ครอบครัวกำลังพลและราษฎรผู้ประสบ<br />

เคราะห์กรรมด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้<br />

พระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรง<br />

เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ของโครงการอย่าง<br />

ต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งในความ<br />

มั่นคงด้านอาชีพ ความปลอดภัยในชีวิต<br />

และทรัพย์สิน การสร้างขวัญและกำลังใจ<br />

แก่ครอบครัวและราษฎรเหล่านั้นให้<br />

สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความหวัง<br />

และความสุข เพื่อลบเลือนบาดแผลแห่ง<br />

ความเจ็บช้ำในใจที่ต้องประสบกับสูญเสีย<br />

บุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวไปใน<br />

เหตุการณ์ไม่สงบ และเป็นการฉุดรั้งและ<br />

ประคับประคองให้บุคคลเหล่านี้สามารถ<br />

ยืนหยัดได้ในสังคมอย่างมีความสุขและ<br />

เปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่สดชื่นได้ทุกๆ วัน<br />

พระราชกรณียกิจอันสำคัญที่<br />

ผู้เขียนได้อัญเชิญมานำเสนอในโอกาสนี้<br />

คือพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนาง<br />

เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อยังความสุข<br />

ของสังคมไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดน<br />

ภาคใต้ จึงเป็นสิ่งที่พสกนิกรชาวไทยจะได้<br />

รับทราบและอัญเชิญขึ้นไว้เหนือเกล้าฯ<br />

เพื่อเป็นสิริมงคลของตนเองและสังคม<br />

และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม<br />

พระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา<br />

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙ ผู้เขียนขอเชิญชวน<br />

พสกนิกรชาวไทยร่วมกันถวายพระพร<br />

ชัยมงคล ขอให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ ทรงพระเจริญยิ่ง<br />

ยืนนาน<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

7


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ตอนที ่ ๗<br />

พระราชดำริในการปกครอง<br />

บ้านเมือง<br />

ด้านสังคม : การสร้างคน<br />

สร้างชาติ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงมีความรักราษฎรประดุจบิดา<br />

รักบุตร ดังที่มีพระราชดำรัสต่อชาวเมือง<br />

ตราด ในคราวที่ชาวเมืองตราดจัดการรับ<br />

เสด็จเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนิน<br />

กลับจากยุโรปครั้งที่ ๒ ความตอนหนึ่งว่า<br />

“...ซึ่งเจ้าทั้งหลายคิดเห็นว่า เรา<br />

เหมือนบิดาซึ่งพลัดพรากจากบุตรจึงรีบมา<br />

หานั้น เป็นความคิดอันถูกต้องแท้ ขอให้<br />

เชื่ออยู่ในใจเสมอไปในเบื้องหน้าดังเช่นคิด<br />

เห็นในครั้งนี้ ว่าเราคงจะเป็นเหมือนบิดา<br />

ของเจ้าเสมอตลอดไป ย่อมยินดีด้วยใน<br />

เวลามีความสุขและจะช่วยปลดเปลื้อง<br />

อันตรายในเวลามีภัยได้ทุกข์...”<br />

ในเมื่อเป็นความรักของบิดาที่มีต่อ<br />

บุตรจึงเป็นความรักที่มีแต่ให้พระองค์ย่อม<br />

ทรงยินดีเมื่อบุตรคือราษฎรมีความสุข<br />

ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะช่วยปลดเปลื้อง<br />

ทุกข์ภัยอันตรายใดๆ ให้พ้นจากบุตรคือ<br />

ราษฎรของพระองค์เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงนำ<br />

ไปสู่พระราชกรณียกิจที่จะช่วย “ปลดเปลื้อง”<br />

ให้ราษฎรพ้นพันธนาการแห่งความเป็น<br />

ไพร่และทาสซึ่งไม่มีอิสระในชีวิตและ<br />

ทรัพย์สินสู่การเป็น “พลเมือง” ผู้เป็นอิสรชน<br />

ตามแบบนานาอารยประเทศ<br />

ปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่งที่ทำให้<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีพระราชดำริเกี่ยวกับราษฎรผู้เป็นไพร่<br />

และทาสดังกล่าว รวมทั้งการประกอบ<br />

พระราชกรณียกิจเพื่อสร้างคนสร้างชาติ ก็<br />

คือ “กระบวนการเรียนรู้” ที่ทรงได้รับจาก<br />

สมเด็จพระบรมชนกนาถตั้งแต่ยังทรงพระ<br />

เยาว์เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ ดังกล่าวมาแล้ว<br />

ในเรื่องราษฎร หรือที่บางครั้งทรงเรียกว่า<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม<br />

ประชาชนหรืออาณาประชาราษฎร์นั้น<br />

พระองค์ได้ทรงดำเนินการเปรียบเสมือน<br />

ทรงสืบทอด “เจตนารมณ์” ของสมเด็จ<br />

พระบรมชนกนาถที่จะทำให้ราษฎรมีสิทธิ<br />

เสรีภาพ มีความเป็นอิสระและปลอดภัยใน<br />

การดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ<br />

ตลอดจนมีโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร<br />

โดยเริ่มจากกระบวนการเรียนรู้ในด้านการ<br />

ศึกษา เพื่อเป็น “พลเมือง” ของประเทศ<br />

ต่อไป ดังจะเห็นได้ว่าทรงเอาพระราช<br />

หฤทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรตามที่<br />

ต่างๆ ด้วยการเสด็จประพาสต้นซึ่งเป็นการ<br />

เสด็จส่วนพระองค์ “เจริญรอย” ตามที่<br />

สมเด็จพระบรมชนกนาถได้ทรงปฏิบัติมา<br />

แล้ว ผลจากการเสด็จประพาสต้นนี้เอง<br />

ทำให้ทรงรับรู้ชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริง<br />

ของราษฎร นำไปสู่หนทางที่จะทรงช่วย<br />

แก้ไขปัญหา และปลดเปลื้องพันธนาการ<br />

ของความเป็นไพร่และทาสของราษฎรไทย<br />

8<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการเปลี่ยนแปลง<br />

สถานภาพของไพร่และทาสสู่การเป็น<br />

“พลเมือง” ของประเทศไทยโดยการยกเลิก<br />

ระบบไพร่และทาส การให้การศึกษา การ<br />

สร้างและส่งเสริมอาชีพ การอำนวยความ<br />

สะดวกสบาย และรวดเร็วในการคมนาคม<br />

การให้ความยุติธรรมและการให้มีส่วนร่วม<br />

ในการปกครองท้องถิ่น ดังนี้<br />

(๑) การยกเลิกระบบไพร่และทาส<br />

พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้<br />

ยกเลิกระบบไพร่และทาสซึ่งมีอยู่ในสังคม<br />

ไทยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว เนื่องจากทรง<br />

เห็นว่าเป็นการขัดต่อการบริหารราชการ<br />

แผ่นดินแบบใหม่ และไม่เหมาะสมกับ<br />

ลักษณะทางเศรษฐกิจที่พระองค์กำลังทรง<br />

ดำเนินการปฏิรูป กับทั้งยังทรงพิจารณา<br />

เห็นว่าการมีไพร่และทาสนั้น ได้รับการ<br />

ดูถูกจากประเทศตะวันตกว่าเป็นประเพณี<br />

ที่ป่าเถื่อนล้าสมัย ทั้งยังเป็นการกดขี่<br />

ลดคุณค่า และเกียรติภูมิของความเป็นคน<br />

เป็นอุปสรรคต่อการติดต่อกับต่างประเทศ<br />

แสดงถึงความล้าหลังไม่ทัดเทียมนานา<br />

อารยประเทศ<br />

การดำเนินการยกเลิกระบบไพร่<br />

และทาสนี้ พระองค์ได้ทรงทำอย่างค่อย<br />

เป็นค่อยไปเพื่อที่จะรักษาน้ำใจผู้ที่เคย<br />

อาศัยไพร่ทาสเป็นบริวารอยู่ ในขณะ<br />

เดียวกัน ก็เป็นการเตรียมการให้ไพร่และ<br />

ทาสที่จะได้รับการปลดปล่อยจากระบบ<br />

เดิม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสถานภาพ<br />

ใหม่ที่ตนได้รับ<br />

ในด้านการเลิกระบบไพร่ พระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง<br />

ดำเนินการเป็น ๒ แนวคือ<br />

แนวการเก็บเงินช่วยราชการ<br />

แผ่นดิน คือการเก็บเงินค่าราชการแทน<br />

การเกณฑ์แรงงานในระบบเดิม<br />

แนวการสร้างชาติ โดยการผนึก<br />

กำลังคนเข้าอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ<br />

หน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียว ในรูปแบบ<br />

ของทหารที่ได้รับการฝึกหัดแบบสมัยใหม่<br />

อย่างไรก็ดีการเลิกระบบไพร่แม้จะ<br />

เริ่มในช่วงการปฏิรูปประเทศระยะแรก<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

9


ก็ตาม แต่เพิ่งจะมาสำเร็จอย่างสมบูรณ์ใน<br />

ช่วงการปฏิรูปประเทศระยะที่สอง<br />

ส่วนกรณีการเลิกทาสนั้น เริ่มด้วย<br />

การออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุ<br />

ลูกทาส ลูกไท เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๗<br />

กำหนดให้ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ยตั้งแต่ปี<br />

พุทธศักราช ๒๔๑๑ (อันเป็นปีที่พระองค์<br />

เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ) เมื่ออายุ<br />

ครบ ๒๑ ปีแล้ว ให้ลูกทาสเหล่านั้นพ้น<br />

ค่าตัวเป็นไท ส่วนทาสที่เกิดก่อนปี<br />

พุทธศักราช ๒๔๑๑ ก็คงให้เป็นทาสต่อไป<br />

เว้นแต่มีค่าไถ่มาให้แก่นายเงิน ทาสที่เป็น<br />

ไทแล้วนี้ห้ามมิให้ตกเป็นทาสอีกไม่ว่ากรณี<br />

ใดๆ<br />

การช่วยลูกทาสในเรือนเบี้ยก่อน<br />

แสดงถึงพระปรีชาสามารถและพระ<br />

มหากรุณาธิคุณที่ทรงพิจารณาเห็นว่า<br />

ลูกทาสตกเป็นทาสโดยไม่มีความผิดและ<br />

ยากต่อการที่จะหลุดพ้นจากการเป็นทาส<br />

เพราะเป็นทาสมาตั ้งแต่เกิดโอกาสที่จะ<br />

ไถ่ถอนตนเองออกจากความเป็นทาสแทบ<br />

ไม่มี นอกจากนี้การช่วยลูกทาสซึ่งเป็น<br />

เยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป<br />

นั้นย่อมอำนวยประโยชน์ได้มากกว่าการ<br />

ช่วยคนสูงอายุซึ่งเป็นทาสมาแต่เดิมซึ่งมัก<br />

มีความเคยชินในสภาพของตนเอง จนแทบ<br />

ไม่มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นไท<br />

ดังทรงมีพระราชดำรัสว่า<br />

“...ข้าพเจ้าคิดเห็นว่าลูกทาสซึ่งเกิด<br />

ในเรือนเบี้ยตั้งแต่ออกจากท้องพอลืมตาก็<br />

ต้องนับเป็นทาส มีค่าตัวไปจนถึงอายุ ๑๐๐<br />

หนึ่งก็ยังไม่หมดดังนี้ดูเป็นหามีความกรุณา<br />

แก่ลูกทาสไม่ ด้วยตัวเด็กที่เกิดมาไม่ได้รู้เห็น<br />

สิ่งไรเลยบิดามารดาทำชั่วไปขายตัวท่านแล้ว<br />

ยังพาบุตรไปให้เป็นทาสจนสิ้นชีวิตอีกเล่า<br />

เพราะรับโทษทุกข์ของบิดามารดาเท่านั้นเอง<br />

หาควรที่จะเอาเป็นทาสจนตลอดชีวิตไม่...”<br />

นอกจากทรงใช้อำนาจทาง<br />

กฎหมายแล้วยังทรงใช้หลักเมตตา โดยทรง<br />

ปล่อยทาสหรือซื้อทาสในวาระครบรอบ<br />

วันพระบรมราชสมภพทำให้ขุนนาง<br />

ข้าราชการดำเนินตาม “พระราชนิยม” ซึ่ง<br />

นับเป็นวิธีการที่แยบคายและได้ผลดีทำให้<br />

ขุนนางไม่รู้สึกว่าตนถูกบีบบังคับ แต่<br />

เป็นการกระทำด้วยความสมัครใจ<br />

การเลิกทาสก็เช่นเดียวกับการเลิก<br />

ระบบไพร่ คือ มาสำเร็จในช่วงการปฏิรูป<br />

ประเทศระยะที่สอง<br />

ในการปฏิรูปประเทศระยะที่สอง<br />

คือหลังจากการถึงแก่พิราลัยของ<br />

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และ<br />

การสิ้นพระชนม์ของกรมพระราชวังบวร<br />

วิไชยชาญ ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินการ<br />

ยกเลิกระบบไพร่และทาสสืบเนื่องจาก<br />

ระยะแรก กล่าวคือในกรณีไพร่สมได้โปรด<br />

เกล้าฯ ให้ยกเลิกไพร่สมทีละน้อยเมื่อ<br />

พุทธศักราช ๒๔๓๐ ได้มีการออกกฎหมาย<br />

ระบุว่า ถ้าเจ้านายหรือขุนนางผู้ใหญ่<br />

สิ้นพระชนม์หรือถึงแก่กรรม ก็ให้โอน<br />

ไพร่สมในกรมกองของเจ้านายขุนนาง<br />

นั้นๆ มาเป็นไพร่หลวงให้หมด ต่อมาเมื่อ<br />

พุทธศักราช ๒๔๓๙ ได้ออกประกาศให้ไพร่<br />

เสียค่าราชการปีละ ๖ บาท เป็นอย่างสูง<br />

โดยที่ไม่ต้องมาถูกเกณฑ์แรงงานพร้อมกัน<br />

นั้น ได้มีการประกาศรับสมัครชายฉกรรจ์<br />

เข้ามารับราชการทหาร โดยมีเงินเดือนให้<br />

และได้รับแจกอาหารกับเครื่องแบบด้วย<br />

ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๘<br />

รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติลักษณะ<br />

เกณฑ์ทหารรัตนโกสินทรศก ๑๒๔ ขึ้น<br />

มีใจความสำคัญว่าชายฉกรรจ์ทุกคนที่<br />

มีอายุครบ ๑๘ ปีต้องเข้ามาเกณฑ์ทหารรับ<br />

10 สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


ราชการในกองประจำการมีกำหนด ๒ ปี<br />

หลังจากนั้นก็จะถูกปลดให้อยู่ในกองหนุน<br />

ผู้ที่ได้รับการเกณฑ์ทหารแล้วไม่ต้องเสีย<br />

เงินค่าราชการแต่อย่างใด ดังนั้น จึงเป็น<br />

อันว่าตอนนี้ระบบไพร่ได้ถูกยกเลิกลงอย่าง<br />

สิ้นเชิง โดยมีวิธีการเกณฑ์ทหารตามแบบ<br />

สากลเข้ามาแทนที่<br />

ส่วนทาสนั้น หลังจากทรงดำเนิน<br />

การค่อยๆ เลิกทาสในการปฏิรูประยะที่ ๑<br />

ดังกล่าวมาพระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงออก<br />

กฎหมายเป็นครั้งๆ ให้ทาสตามมณฑล<br />

ต่างๆ ได้มีโอกาสไถ่ถอนตัวเป็นอิสระ<br />

จนถึงพุทธศักราช ๒๔๔๘ จึงได้ออกพระ<br />

ราชบัญญัติเลิกทาสให้มีผลบังคับใช้โดย<br />

ทั่วไป ยกเว้นมณฑลที่มีกฎหมายออกมา<br />

บังคับใช้อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว และแม้ว่าจะ<br />

ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในฐานะองค์พระ<br />

ประมุขของประเทศในระบบการปกครอง<br />

แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ตาม ในการ<br />

ออกกฎหมายเลิกทาสนั้นได้ทรงทำเป็นขั้น<br />

ตอนอย่างระมัดระวังที่จะไม่ให้กระทบ<br />

กระเทือนต่อศาสนา ขนบธรรมเนียม<br />

ประเพณีและจิตใจของคนในท้องถิ่นต่างๆ<br />

ขณะเดียวกันก็ทรงคำนึงถึงความพร้อมที่<br />

คนในท้องถิ่นนั้นๆ จะรับการเปลี่ยนแปลง<br />

นี้ด้วย ดังจะเห็นได้จากการออกพระราช<br />

บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องทาสในเขตมณฑล<br />

ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ให้เป็นไปตาม<br />

กฎหมายอิสลามของมณฑลนั้นๆ<br />

นับว่าการยกเลิกไพร่และทาสเป็น<br />

งานสำคัญยิ่ง ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถ<br />

และความสุขุมคัมภีรภาพของพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญ<br />

คือเป็นการทำให้คนไทยมีสิทธิเสรีภาพ<br />

เท่าเทียมกันอย่างน้อยที่สุดก็ในแง่ของ<br />

กฎหมาย<br />

(๒) การให้การศึกษา<br />

พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึง<br />

ความจำเป็นในการ “สร้าง” คนไทยให้มี<br />

ความรู้วิทยาการแบบตะวันตกโดยเฉพาะ<br />

ในยามที่ประเทศไทยกำลังปฏิรูปประเทศ<br />

ให้ทันสมัย คนไทยที่มีความรู้ ความ<br />

สามารถในวิชาการสมัยใหม่ จึงจะเป็นที่<br />

ต้องการของทางราชการพระองค์ได้ทรง<br />

เริ่มปฏิรูปการศึกษามาบ้างแล้วในการ<br />

ปฏิรูประยะแรก โดยเริ่มจากในพระบรม<br />

มหาราชวังก่อน การปฏิรูปการศึกษา<br />

ที่สำคัญคือ<br />

(๒.๑) การตั้งโรงเรียนเพื่อ<br />

ฝึกหัดคนเข้ารับราชการ<br />

เมื่อพุทธศักราช<br />

๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียน<br />

นายทหารมหาดเล็กขึ้นเรียกว่า โรงเรียน<br />

นายทหารมหาดเล็ก หรือโรงเรียนพระ<br />

ตำหนักสวนกุหลาบ ในขั้นแรกมีจุดมุ่งหมาย<br />

เพื่อให้ฝึกวิชาทหาร แต่เนื่องจากมีผู้นิยม<br />

ส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนนี้มากขึ้นทุกปี<br />

จึงทรงขยายโรงเรียนให้กว้างขวางออกไป<br />

และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัด<br />

ข้าราชการพลเรือน พร้อมกับเปลี่ยนแปลง<br />

ให้มุ่งฝึกสอนนักเรียนเพื่อการรับราชการ<br />

พลเรือนเป็นสำคัญ ส่วนนักเรียนมหาดเล็ก<br />

ที่มีความประสงค์จะรับราชการเป็นทหาร<br />

มหาดเล็กนั้น เมื่อเรียนสำเร็จวิชาการ<br />

ความรู้เบื้องต้นแล้ว ก็ให้แยกไปฝึกหัดวิชา<br />

ทหารต่อไป อย่างไรก็ดีเนื่องจากการศึกษา<br />

ในระยะนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้พระบรม<br />

วงศานุวงศ์และข้าราชการส่งบุตรหลาน<br />

เข้าฝึกหัดเพื่อรับราชการ การศึกษาจึง<br />

จำกัดอยู่แต่เฉพาะในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์<br />

และชนชั้นสูงเท่านั้น<br />

(๒.๒) การตั้งโรงเรียน<br />

สำหรับราษฎร<br />

ในขณะที่มีการจัดตั้ง<br />

โรงเรียนเพื่อผลิตคนออกมารับราชการ<br />

ตามความต้องการของบ้านเมืองในขณะ<br />

นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงละเลยการศึกษา<br />

ของราษฎร ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง<br />

โรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นที่วัดมหรรณ-<br />

พาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๗ เมื่อได้ผล<br />

แล้วก็ได้ขยายการจัดตั้งโรงเรียนหลวงตาม<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

11


วัดต่างๆ ให้แพร่หลายออกไปตามลำดับ<br />

ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ปรากฏว่าการ<br />

จัดการศึกษาของราษฎรนี้วัดกับรัฐบาลได้<br />

ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด การจัดการศึกษา<br />

ให้โรงเรียนอยู่ในวัด จึงเท่ากับว่าเป็นการ<br />

สนับสนุนให้เด็กสนใจพุทธศาสนาและ<br />

ทำให้ประชาชนยังคงใกล้ชิดกับวัดและ<br />

ศาสนา พระสงฆ์เองก็ได้ตระหนักถึงหน้าที่<br />

ของตนต่อการศึกษาของเยาวชนด้วย<br />

ดังนั้นการศึกษาในวัดจึงมีส่วนส่งเสริม<br />

ให้พุทธศาสนาเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป<br />

ทางหนึ่งด้วย<br />

การศึกษาที่จัดขึ้นในรัชกาลนี้ มีทั้ง<br />

การศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง มีทั ้ง<br />

โรงเรียนหลวง โรงเรียนเชลยศักดิ์ หรือ<br />

โรงเรียนราษฎร์ในความหมายปัจจุบัน<br />

ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา<br />

นอกจากรัฐบาลและวัด ได้แก่ บรรดา<br />

มิชชันนารีอเมริกันทั้งหญิงและชายซึ่งมีส่วน<br />

ทำให้การศึกษาของไทยเจริญก้าวหน้า<br />

ตามแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้<br />

โรงเรียนที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

ผลิตคนเข้ารับราชการก็ขยายตัวไปอย่าง<br />

กว้างขวางตามความต้องการของหน่วย<br />

งานต่างๆ เช่น โรงเรียนไปรษณีย์โทรเลข<br />

โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนกฎหมาย<br />

โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ<br />

โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน<br />

โรงเรียนเกษตร และโรงเรียนราชแพทยาลัย<br />

(๒.๓) การส่งเสริมการศึกษา<br />

ต่อยังต่างประเทศ<br />

นอกจากพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรง<br />

ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้านาย พระบรม<br />

วงศานุวงศ์ และบุตรขุนนางที่ทรงเห็น<br />

สมควรไปศึกษาต่อยังต่างประเทศแล้ว<br />

ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วน<br />

พระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนหลวง ส่งผู้มีสติ<br />

ปัญญาดีที่เรียนภาษาอังกฤษจบพอสอบไล่<br />

แข่งขันได้ไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ<br />

ปีละ ๒ คน เพื่อนำความรู้กลับมาทำ<br />

ประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองต่อไป การสอบ<br />

ชิงทุนเล่าเรียนหลวงนี้ ทรงเปิดโอกาสให้<br />

นักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถโดย<br />

ไม่เลือกชนชั้น ได้มีสิทธิเข้าสอบชิงทุนไป<br />

ศึกษาต่อยังต่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน<br />

ตัวอย่างคือนายพุ่มซึ่งสอบได้ทุนเล่าเรียน<br />

หลวงไปศึกษาต่อยังประเทศรัสเซียโดยได้<br />

ไปเรียน “คู่” กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวง<br />

พิษณุโลกประชานารถ นอกจากนี้ ได้แก่<br />

นายปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป. พิบูล-<br />

สงคราม การให้การศึกษาแก่ราษฎรไทยซึ่ง<br />

พ้นจากสถานภาพไพร่และทาสจึงเป็นการ<br />

“สร้างคน” ที่ทำให้คนเหล่านี้มีความรู้<br />

ความคิดกว้างขวาง มีความทันสมัยและ<br />

เป็นกำลังสำคัญในการ “สร้างชาติ” ร่วมกับ<br />

รัฐต่อไป<br />

(๓) การสร้างและส่งเสริมอาชีพ<br />

พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมการอาชีพ<br />

ให้แก่ “พลเมือง” ที่พระองค์ปลดปล่อย<br />

พันธนาการจากการเป็นไพร่และทาส โดย<br />

นอกจากการให้การศึกษาเพื่อให้พลเมือง<br />

ส่วนหนึ่งได้มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการ<br />

ทั้งการเป็นทหารและพลเรือนตาม<br />

กระทรวง ทบวง กรม ที่เกิดจากการปฏิรูป<br />

การบริหารราชการแผ่นดินแล้ว<br />

“พลเมือง” ที่ไม่มีโอกาสเข้ารับราชการ<br />

และเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก็มัก<br />

ประกอบอาชีพตามบรรพบุรุษคือการเป็น<br />

ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน และบางส่วนซึ่ง<br />

เป็นคนส่วนน้อยก็ประกอบอาชีพค้าขาย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้ทรงส่งเสริมการประกอบอาชีพของ<br />

12 สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


ชาวไร่ ชาวสวน และคนค้าขายด้วยการ<br />

ดำเนินการดังนี้<br />

(๓.๑) การเกษตร และการ<br />

ชลประทาน<br />

พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ส่ง<br />

เสริมการผลิตข้าว ไม้สัก พริกไทย และ<br />

ดีบุกซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของ<br />

ประเทศให้ได้เป็นจำนวนมากขึ้นโดย<br />

เฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมในด้านการ<br />

ชลประทาน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการเพาะ<br />

ปลูกและการคมนาคมขนส่ง โดยการขุด<br />

ลอกคลองเก่าบางแห่ง และขุดคลองขึ้น<br />

ใหม่อีกหลายแห่ง เช่น คลองเปรม<br />

ประชากร คลองนครเนื่องเขต คลองรังสิต<br />

และคลองทวีวัฒนา นอกจากนี้ได้มีการ<br />

สร้างประตูระบายน้ำเพื่อทดน้ำมาหล่อ<br />

เลี้ยงต้นข้าว เช่น ประตูน้ำภาษีเจริญ การ<br />

ขุดคลองเป็นการขยายพื้นที่เพาะปลูก<br />

ทำให้กสิกรของไทยสามารถผลิตพืชผล<br />

เกษตรกรรมได้มากขึ้น รัฐบาลยังได้ตรา<br />

พระราชบัญญัติรักษาคลองและทำนบ<br />

กั้นน้ำขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ ทั้งยังตั้ง<br />

กรมคลองขึ้นควบคุมการทดน้ำและ<br />

กำหนดให้แต่ละเมืองรายงานสถิติน้ำฝน<br />

และราคาข้าวเข้ามายังรัฐบาลทุกเดือน<br />

เพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาปรับปรุง<br />

การผลิตให้ดียิ่งขึ้น<br />

ในด้านการป่าไม้รัฐบาลได้ตั้ง<br />

กรมป่าไม้ขึ้นเพื่อรับผิดชอบงานด้านนี้และ<br />

ตรากฎหมายห้ามเอกชนตัดไม้สักที่ยังไม่โต<br />

ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ปลูกสวนสัก และ<br />

ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาป่าไม้ ณ ต่าง<br />

ประเทศ ส่วนด้านการเหมืองแร่ รัฐบาลได้<br />

ตั้งกรมราชโลหะและภูมิวิทยาขึ้น เพื่อ<br />

ควบคุมในเรื่องนี้ และได้ออกพระราช<br />

บัญญัติการทำเหมืองแร่ มักเป็นนายทุน<br />

ชาวต่างประเทศทั้งชาวตะวันตก และชาว<br />

จีน ส่วนกรรมกรทำงานในเหมืองแร่ส่วน<br />

ใหญ่เป็นชาวจีน<br />

(๓.๒) การค้าขาย<br />

พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระราช<br />

หฤทัยใส่ทำนุบำรุงการค้าขายเช่นเดียวกับ<br />

ด้านอื่นๆ พระองค์มักเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปทรงเยี่ยมดูแลทุกข์สุขและการทำมา<br />

หากินของอาณาประชาราษฎร์ทั้งใน<br />

กรุงเทพฯ และหัวเมืองอยู่เป็นนิจ ทรงซื้อ<br />

สินค้าที่ชาวพื้นเมืองทำขึ ้นมาขาย เพื่อส่ง<br />

เสริมให้มีการผลิตสินค้านั้นๆ เพิ่มขึ้นทั้งยัง<br />

ทรงส่งเสริมการค้าขายด้วยการพัฒนาการ<br />

คมนาคมทั้งทางบกและทางน ้ำทั่วราช<br />

อาณาจักร เพื่อใช้ในการเดินทางติดต่อกัน<br />

และขนส่งสินค้า ยิ่งกว่านั้นพ่อค้าผู้ใดทำมา<br />

หากินโดยสุจริตทำความชอบต่อแผ่นดิน<br />

ก็จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์<br />

เพื่อให้กำลังใจในการประกอบอาชีพต่อไป<br />

ในด้านการค้าขายกับต่างประเทศก็<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับ<br />

ประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายประเทศทั้ง<br />

ยังทรงส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศเข้ามา<br />

ลงทุนดำเนินกิจการค้าขาย และประกอบ<br />

อุตสาหกรรมในเมืองไทยเพิ่มขึ้น ทำให้การ<br />

ค้าขายกับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้นกว่า<br />

เดิม นอกจากนี้เมื่อพระองค์เสด็จประพาส<br />

ยังต่างประเทศ ก็ได้ทรงเยี่ยมกิจการ<br />

ของบริษัทการค้าและแหล่งประกอบ<br />

อุตสาหกรรมต่างๆ เป็นการเชื่อม<br />

สัมพันธไมตรีทางการค้าระหว่างประเทศ<br />

รวมทั้งทรงแต่งตั้งกงสุลขึ้นประจำตาม<br />

ประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการค้าขาย<br />

ระหว่างไทยกับประเทศนั้นๆ ให้เจริญขึ้น<br />

ด้วย การค้าขายกับต่างประเทศและการที่<br />

ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวตะวันตก<br />

เข้ามาเปิดกิจการค้าในประเทศไทยเช่นนี้<br />

เป็นการเปิดโอกาสให้ “พลเมือง” ไทย<br />

ส่วนหนึ่งที่มีความรู้ตามแบบแผนการ<br />

ศึกษาตะวันตกที่ได้รับการส่งเสริมอย่าง<br />

กว้างขวางในรัชกาลนี้ ได้ทำงานกับชาว<br />

ต่างประเทศ เป็นโอกาสให้ได้รับการฝึกฝน<br />

ทั้งการค้าขายและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้<br />

ชาวจีนบางส่วนก็ได้เข้ามาเป็นคอมปราโดร์<br />

หรือคนกลางในการติดต่อค้าขายกับ<br />

ชาวตะวันตกด้วย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

13


ประเทศไทย ๔.๐<br />

(Thailand version 4.0)...<br />

สิ ่งท้าทายการเดินหน้าประเทศไทย<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

คำว่า<br />

ประเทศไทย ๔.๐ ถือ<br />

ได้ว่าเป็นประเด็นที่มี<br />

การกล่าวถึงค่อนข้าง<br />

มากในเวลานี้ ทั้งนี้เพราะเป็นยุทธศาสตร์<br />

ใหม่ของรัฐบาลที่ประกาศต่อสาธารณชน<br />

ในหลายวาระและมีบุคคลในรัฐบาลกล่าว<br />

ถึงหลายท่าน โดยเฉพาะคำกล่าวของ<br />

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายก<br />

รัฐมนตรี ที่ได้กล่าวในรายการคืนความสุข<br />

ให้คนในชาติ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน<br />

๒๕๕๙ ที่กล่าวถึงประเทศไทยตั้งแต่ยุค<br />

๑.๐ ต่อเนื่องมาถึงยุค ๔.๐ ที่กำลังจะเป็น<br />

ยุคของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้<br />

ประเทศไทย ๔.๐ หากจะกล่าว<br />

แบบง่ายๆ ก็คือ ประเทศไทยในเวอร์ชั่นที่<br />

๔ หรือเป็นเวอร์ชั่นใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้า<br />

มาสู่สังคมไทยปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น<br />

จึงมีคำถามตามมาอีกว่าเมื่อมีเวอร์ชั ่น ๔<br />

แล้ว เวอร์ชั่นก่อนหน้านั้นจะเป็นอย่างไร<br />

และมีผลกระทบอย่างไรกับประเทศในยุค<br />

ที่ผ่านมา เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนจึงใคร่ขอ<br />

ใช้โอกาสนี้นำเสนอเรื่องการพัฒนาในยุคที่<br />

ผ่านมาจนส่งผลถึงประเทศไทย ๔.๐<br />

กล่าวคือ<br />

14<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ประเทศไทย ๑.๐ หรือประเทศไทย<br />

เวอร์ชั่น ๑ คือประเทศไทยในยุค<br />

เกษตรกรรม ที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรที่<br />

มีอยู่คือแรงงานทั้งของคนและสัตว์ ใช้<br />

ประโยชน์จากที่ดินและเทคโนโลยีที่เกิด<br />

จากภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมา จึง<br />

เป็นยุคที่ประเทศมีรายได้ต่ำ ซึ่งอาจเรียก<br />

ว่าเป็นยุคดั้งเดิมหรือยุคโบราณที่เน้น<br />

บริโภคในประเทศ<br />

ประเทศไทย ๒.๐ หรือประเทศไทย<br />

เวอร์ชั่น ๒ คือประเทศไทยในยุค<br />

อุตสาหกรรมเบา ที่ขับเคลื่อนด้วย<br />

ประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีลักษณะเป็น<br />

อุตสาหกรรมการแปรรูปวัตถุดิบที่เป็น<br />

ผลิตผลทางการเกษตรด้วยเครื่องจักรกล<br />

เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นเครื่องอุปโภคและ<br />

บริโภค อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและ<br />

เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยาและเครื่อง<br />

สำอาง และอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงนับว่า<br />

เป็นยุคที่ประเทศมีรายได้ปานกลาง<br />

ประเทศไทย ๓.๐ หรือประเทศไทย<br />

เวอร์ชั่น ๓ คือประเทศไทยในยุค<br />

อุตสาหกรรมหนัก ที่ขับเคลื่อนด้วย<br />

ประสิทธิภาพและเทคโนโลยีควบคู่ไปกับ<br />

เงินทุนจากภายนอกประเทศ ซึ่งจะทำให้<br />

เศรษฐกิจขยายตัวค่อนข้างมากเกิดการจ้าง<br />

งานอย่างกว้างขวาง ทำให้ประเทศมีรายได้<br />

ปานกลางค่อนข้างสูง ในขณะที่ยุคนี้เป็น<br />

ยุคที่สังคมไทยประสบปัญหาอย่างมากมาย<br />

เนื่องจากมุ่งเน้นไปในการพัฒนามิติทาง<br />

เศรษฐกิจ จนละเลยมิติทางสังคม ตามมา<br />

ด้วยการเสียสมดุลของประเทศทั้งในเรื่อง<br />

ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ<br />

ปัญหาสังคมจิตวิทยา โดยเฉพาะสิ่งที่น่า<br />

หวั่นเกรงที่สุดคือการเคลื ่อนย้ายเงินทุน<br />

จากต่างประเทศที่ไม่สามารถควบคุมหรือ<br />

เหนี่ยวรั้งให้อยู่ในประเทศได้อย่างมี<br />

เสถียรภาพ ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญ<br />

คือ ประเทศไทยไม่ได้รับการถ่ายทอด<br />

เทคโนโลยีหรือเป็นเจ้าของกิจการขนาด<br />

ใหญ่เอง ในทางกลับกันประเทศได้รับเพียง<br />

ค่าจ้างแรงงานจำนวนไม่มากที่แลกกับ<br />

ความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมและ<br />

สังคม จึงนับว่าเป็นกับดักทางเศรษฐกิจ<br />

ของประเทศที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล ้ำ<br />

ของรายได้และการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่ง<br />

ประกอบด้วย กับดักประเทศรายได้ปาน<br />

กลาง กับดักความเหลื่อมล้ำของความ<br />

มั่งคั่งและกับดักความไม่สมดุลในการ<br />

พัฒนา<br />

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงบริบทของ<br />

ประเทศไทยแล้ว จะพบว่า สภาพแวดล้อม<br />

ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย<br />

ยังมีคุณลักษณะพิเศษถึง ๖ ประการ กล่าว<br />

คือ ๑) มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ<br />

และวัฒนธรรมของตน ๒) พัฒนาคนไทย<br />

เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ๓) มีสังคมที่มี<br />

คุณภาพ ๔) มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ๕)<br />

มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และ ๖)<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 15


การมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับภูมิภาค<br />

และระดับโลก อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มี<br />

ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ<br />

ของประเทศไทยคือปัญหาเงินทุน ที่จะต้อง<br />

ใช้เป็นจำนวนมหาศาลในการพัฒนาระบบ<br />

อุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งในขณะนี้<br />

ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาเงินทุนจาก<br />

ภายนอกประเทศ จึงทำให้ต้องเผชิญ<br />

ปัญหากับดักที่ส่งผลให้ติดหล่มอยู่ในกลุ่ม<br />

ประเทศรายได้ปานกลางขั้นสูง ไม่สามารถ<br />

ข้ามผ่านปัญหาดังกล่าวออกมาได้ เมื่อเป็น<br />

เช่นนี้ รัฐบาลจึงได้กำหนดรูปแบบ (Model)<br />

หรือรหัสใหม่ที่เรียกว่าประเทศไทย<br />

๔.๐ ด้วยการเปลี ่ยนแปลงโครงสร้าง<br />

เศรษฐกิจไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน<br />

ด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy)<br />

ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญรวม ๓<br />

ประการ กล่าวคือ หลักการข้อที่ ๑ ปรับ<br />

เปลี่ยนจากการผลักดันสินค้าโภคภัณฑ์<br />

ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม หลักการข้อที่ ๒<br />

ปรับเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วย<br />

ภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วย<br />

เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ และ<br />

หลักการข้อที่ ๓ ปรับเปลี่ยนจากการเน้น<br />

ภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการ<br />

มากขึ้น โดยมีกลไกการขับเคลื่อนชุดใหม่<br />

(New Growth Engine) รวม ๓ กลไก คือ<br />

๑) กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้าง<br />

และยกระดับผลิตภาพ (Productive<br />

Growth Engine) ซึ่งมุ่งปรับเปลี่ยน<br />

ประเทศไทยสู่ประเทศที่มีรายได้สูง (High<br />

Income Country) ที่ขับเคลื ่อนด้วย<br />

นวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความ<br />

คิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการสร้างเครือ<br />

ข่ายความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ การ<br />

บริหารจัดการสมัยใหม่ การพัฒนารูปแบบ<br />

ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และจัดตั้ง<br />

กิจการร่วมทุนรัฐและเอกชนในโครงการ<br />

ขนาดใหญ่<br />

๒) กลไกขับเคลื่อนที่คนส่วนใหญ่<br />

มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง<br />

(Inclusive Growth Engine) เพื่อให้<br />

ประชาชนได้รับประโยชน์และเป็นการ<br />

กระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่ง<br />

ที่เกิดขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจ<br />

16<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ระดับฐานรากในชุมชน การส่งเสริม<br />

วิสาหกิจเพื่อสังคม การสร้างสภาพ<br />

แวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจของ<br />

SMEs<br />

๓) กลไกการขับเคลื่อนที่เป็นมิตร<br />

กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green<br />

Growth Engine) ซึ่งเป็นการสร้างความ<br />

มั่งคั่งของไทยในอนาคต จะต้องคำนึงถึง<br />

การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตร<br />

ต่อสิ่งแวดล้อม<br />

โดยจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลง<br />

ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative<br />

Advantage) ของประเทศไทย<br />

ที่มีอยู่ ๒ ด้าน คือ ความหลากหลายเชิง<br />

ชีวภาพ (Bio-Diversity) และความหลาก<br />

หลายเชิงวัฒนธรรม (Cultural Diversity)<br />

มาเป็นความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน<br />

(Competitive Advantage) ให้สอดรับ<br />

กับ ๕ กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม<br />

เป้าหมาย ดังต่อไปนี้<br />

กลุ่มที่ ๑ กลุ่มอาหาร เกษตร และ<br />

เทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture &<br />

Bio-Tech)<br />

กลุ่มที่ ๒ กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ<br />

และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health,<br />

Wellness & Bio-Med)<br />

กลุ่มที่ ๓ กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์<br />

อัจฉริยะ หุ่นยนต์และระบบเครื่องกลที่ใช้<br />

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart<br />

Devices, Robotics & Mechatronics)<br />

กลุ่มที่ ๔ กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยี<br />

อินเทอร์เน็ต เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์<br />

ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยี<br />

สมองกลฝังตัว (Digital Devices, Internet<br />

of Things & Embedded Technology)<br />

กลุ่มที่ ๕ กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์<br />

วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง<br />

(Culture, Creativity & High Value<br />

Services)<br />

จึงกล่าวได้ว่า ยุทธศาสตร์<br />

ประเทศไทย ๔.๐ คือแนวทางในการขับ<br />

เคลื่อนประเทศไทยให้เดินหน้าเพื่อก้าว<br />

ข้ามปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่กำลัง<br />

เผชิญอยู่ ด้วยการใช้ประโยชน์จากตัวขับ<br />

เคลื่อน รวม ๓ ตัวคือ ความคิดสร้างสรรค์<br />

(Creativity) ระบบธุรกิจ (Business)<br />

และเทคโนโลยี (Technology) ซึ่งจะ<br />

เป็นการขับเคลื่อนความมั่งคั่งของ<br />

ประเทศไทยให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย<br />

และประเทศไทย ให้สามารถบรรลุ<br />

วิสัยทัศน์ประเทศคือ “มั่นคง มั่งคั่ง<br />

ยั่งยืน” สืบไป<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 17


๕๓ ปี วันคล้ายวันสถาปนา<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

พลตรี อนุมนตรี วัฒนศิริ<br />

ผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การ<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ<br />

พลังงานทหาร ได้จัดตั้งหน่วย<br />

อย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม<br />

พ.ศ.๒๕๐๖ โดยมีที่ตั้ง ณ เลขที่ ๑๘๓ ซอย<br />

ตรีมิตร ถนนพระราม ๔ แขวงพระโขนง<br />

เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร<br />

มีการดำเนินงานในรูปแบบของเงินทุน<br />

หมุนเวียนโรงงานเภสัชกรรมทหาร<br />

สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ปัจจุบันมีเภสัชกรปฏิบัติงาน จำนวน ๓๙<br />

นาย ข้าราชการและพนักงานในส่วนต่างๆ<br />

รวมทั้งสิ้น ๒๘๗ นาย โดยมี พลตรี<br />

อนุมนตรี วัฒนศิริ ผู้อำนวยการโรงงาน<br />

เภสัชกรรมทหารฯ เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

ในปัจจุบัน ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นหลัก<br />

ประกันหนึ่งของความมั่นคงแห่งชาติ<br />

ด้านยา” “To be the Defence Pharmaceutical<br />

Center to guarantee<br />

the National Medicine Security”<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ มีเครื่องจักร<br />

และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ในการผลิต ควบคุม<br />

คุณภาพ วิจัยยาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อ<br />

สนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวง<br />

กลาโหม ส่วนราชการอื่นและประชาชน<br />

โดยได้รับการรับรองมาตรฐานหลักเกณฑ์<br />

และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing<br />

Practice : GMP) จากกระทรวง<br />

สาธารณสุขตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ จนในปัจจุบัน<br />

ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP PIC/S<br />

(Pharmaceutical Inspection Co-operation<br />

Scheme) ซึ่งเป็นมาตรฐานการ<br />

ผลิตยาที่ดีที่บังคับใช้ในทวีปยุโรป อีกทั้งได้<br />

นำระบบสารสนเทศ ERP (Enterprise<br />

Resource Planning) มาใช้ในการเพิ่ม<br />

ประสิทธิภาพการผลิตและการจัดจำหน่าย<br />

ยาและเวชภัณฑ์ และจัดทำเว็บไซต์ www.<br />

dpfthailand.com เพื่อเผยแพร่<br />

ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน<br />

ตลอดระยะเวลา ๕๒ ปีที่ผ่านมา<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ ได้มีการพัฒนา<br />

และเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีขีดความ<br />

18<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร


สามารถในการสนับสนุนกองทัพและ<br />

ประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งใน<br />

ยามปกติและสงคราม ในการผลิตยาแผน<br />

ปัจจุบันและยากำพร้า อาทิ ยาฉีดฟีนอล<br />

(Phenol) ยาวิจัยเพื่อความมั่นคงได้แก่<br />

ยาฉีดอะโทรปีน (Atropine) สำหรับต้านพิษ<br />

แก็สซาริน (Sarin) ชนิดพร้อมฉีด<br />

และยาสำเร็จรูปซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)<br />

จำนวน ๓ ตำรับ ในรูปแบบ<br />

ยาเม็ดและยาน้ำ สนับสนุนให้กับสำนักงาน<br />

คณะกรรมการอาหารและยา เพื่อป้องกัน<br />

การนำไปใช้ในทางที่ผิด ยาเวชกรรม<br />

ป้องกันและผลิตภัณฑ์ทางการทหาร เช่น<br />

ผงโรยเท้า (Foot Powder) โลชั่นทากันยุง<br />

(Insect Repellant Milky Lotion) และ<br />

ผลิตภัณฑ์สีพรางหน้า ยาสมุนไพรเพื่อการ<br />

พึ่งพาตนเอง เช่น ยาเม็ดแคปซูลขมิ้นชัน<br />

และยาครีมน้ำมันไพล<br />

ปัจจุบันโรงงานเภสัชกรรม<br />

ทหารฯ ได้มีการพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ที่<br />

สำคัญ ได้แก่ ยาผงสำหรับรักษาโรคเชื้อรา<br />

ที่ขาหนีบหรือที่ชาวบ้านเรียก โรคสังคัง ใน<br />

ชื่อ ดีเฟ้นซ์พาวเดอร์ (Defence Powder)<br />

มี ๒ ตำรับ คือ สูตรป้องกันสำหรับทาลด<br />

ความอับชื้น และสูตรรักษาที ่มีตัวยา<br />

ต้านเชื้อรา เพื่อสนับสนุนให้กำลังพลของ<br />

กองทัพใช้ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ การพัฒนา<br />

วิจัยยาเม็ดทำน้ำบริสุทธิ์ (Pure Water<br />

Tab) เพื่อใช้สนับสนุนให้กับหน่วยงาน<br />

ต่างๆ ในกรณีเกิดภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน<br />

โรงงานเภสัชกรรมทหารฯ เป็น<br />

สมบัติของกองทัพและประชาชน ความ<br />

ภาคภูมิใจของหน่วยคือการได้รับความ<br />

เชื่อถือ ความเชื่อมั่นจากผู้บังคับบัญชา<br />

และผู้รับบริการ กำลังพลทุกนายพร้อมที่<br />

จะปฏิบัติงานอย่างทุ่มเท เสียสละ อย่าง<br />

ต่อเนื่อง มุ่งมั่นในปณิธาน “ผลิตยา<br />

คุณภาพ เพื่อกองทัพ และประชาชน”<br />

เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ<br />

กองทัพ และประชาชนตลอดไป<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

19


ข้าคือ “กาติบะห์ นูซันตารา”<br />

(Katibah Nusantara)<br />

ไอเอสแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ<br />

การแผ่ขยายอิทธิพลและแนว<br />

ความคิดในการจัดตั้งรัฐอิสลาม<br />

บริสุทธิ์ของกลุ่ม “รัฐอิสลาม”<br />

หรือ “ไอเอส” (IS : Islamic State) จาก<br />

ตะวันออกกลางสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออก<br />

เฉียงใต้ ทำให้ชื่อของ “กาติบะห์ นูซันตารา”<br />

(Katibah Nusantara) ซึ่งเป็นกลุ่ม<br />

ก่อการร้าย “ไอเอส” สาขา “เอเชียตะวัน<br />

ออกเฉียงใต้” กลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว<br />

ดังนั้นบทความฉบับนี้จึงขอนำเสนอเรื่อง<br />

ราวของกลุ่มก่อการร้ายดังกล่าว ซึ่งกำลัง<br />

ถูกจับตามองจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย<br />

ตะวันออกเฉียงใต้ว่า เป็นภัยก่อการร้ายที่<br />

มีความน่ากลัวที่สุดในทศวรรษนี้<br />

“กาติบะห์ นูซันตารา” มีชื่อเรียก<br />

ย่อๆ ว่า “เคเอ็น” หรือ “การ์เอ็น” (KN)<br />

ในภาษามลายู และมีชื่อเต็มว่า “กาติบะห์<br />

นูซันตารา ลิด ดาอูลาห์ อิสลามิย์ยา”<br />

(Katibah Nusantara Lid Daulah<br />

Islamiyya) หรือชื่อในภาษาอาหรับว่า<br />

“มัจมู’อะห์ อัล อัร์คาบิลีย์” (Majmu’ah<br />

al Arkhabiliy) แปลเป็นภาษาไทยว่า<br />

“กองกำลังไอเอสภูมิภาคมาเลย์” มีต้น<br />

กำเนิดมาจากแนวความคิดที่จะรวบรวม<br />

นักรบไอเอสในตะวันออกกลางที ่ใช้ภาษา<br />

มลายูในการสื่อสารเป็นหลัก โดยเฉพาะ<br />

นักรบที่เดินทางมาจากประเทศอินโดนีเซีย<br />

และมาเลเซีย เข้าเป็นกองกำลังเดียวกัน<br />

เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ประสบปัญหาใน<br />

การใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกับนักรบไอเอส<br />

ที่มาจากชาติอาหรับและจากภูมิภาคอื่นๆ<br />

อีกทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียยังมีความ<br />

สัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดทางศาสนา<br />

สุดโต่ง (extremist) โดยเฉพาะในช่วงที่<br />

อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto)<br />

แห่งอินโดนีเซียกำลังเรืองอำนาจ กลุ่มผู้นำ<br />

ศาสนาหัวรุนแรงในอินโดนีเซียจำนวนมาก<br />

ต้องลี้ภัยมาอาศัยอยู่ในมาเลเซีย ความ<br />

สัมพันธ์เหล่านี้จึงทำให้เกิดความเชื่อมโยง<br />

ทางแนวคิดและความเชื่อมั่นระหว่างกัน<br />

ของชาวมาเลเซียและอินโดนีเซีย<br />

การจัดสายการบังคับบัญชาของ<br />

กลุ่ม “เคเอ็น” หรือ “กาติบะห์ นูซันตารา”<br />

ซึ่งมักจะเรียกหน่วยของตนเองว่า<br />

“คอมพี นูซันตารา” (Kompi Nusantara)<br />

20<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


หรือ “คอมพานี นูซันตารา” (Company<br />

Nusantara) ซึ่งแปลว่า “กองร้อย” มี<br />

หน่วยย่อยแบ่งออกได้ประมาณ ๑๐ หน่วย<br />

โดยการบังคับบัญชาทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ<br />

นักรบชาวอินโดนีเซีย แม้จะมีนักรบจาก<br />

มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์รวมอยู่<br />

ด้วยก็ตาม ในช่วงแรกของการก่อตั้งกลุ่ม<br />

“เคเอ็น” ในปี ๕๗ นั้น มีกำลังพลประกอบ<br />

ด้วยชาวอินโดนีเซียราว ๖๐ คน ชาว<br />

มาเลเซีย ๑๐ คน ชาวสิงคโปร์ ๒ คน และ<br />

ชาวฟิลิปปินส์อีก ๒ คน เข้าร่วมทำการรบ<br />

เคียงบ่าเคียงไหล่กับกลุ่ม “ไอเอส” ในซีเรีย<br />

ปัจจุบันคาดกันว่ากลุ่ม “เคเอ็น” มีกำลัง<br />

พลเป็นชาวอินโดนีเซียประมาณ ๒๐๐ ถึง<br />

๓๐๐ คน นักรบจากมาเลเซียจำนวน<br />

๘๐ ถึง ๑๐๐ คน และมีบางส่วนมาจาก<br />

ฟิลิปปินส์<br />

กลุ่ม “เคเอ็น” หรือ “กาติบะห์<br />

นูซันตารา” คาดว่ามีผู้นำอยู่ ๓ คน คือ นาย<br />

อาบู อิบราฮิม อัล อินดูนิซี (Abu Ibrahim<br />

al Indunisy) ซึ่งปรากฏตัวในคลิปวิดีโอ<br />

เมื่อ ๒๒ เม.ย.๕๙ โดยทำหน้าที่กล่าว<br />

ปลุกใจสมาชิกกองกำลัง “เคเอ็น” ในซีเรีย<br />

แต่ก็ยังคงมีความเคลือบแคลงว่า<br />

ในปัจจุบันเขายังคงเป็นผู้นำอยู่หรือไม่<br />

หรือเป็นเพียงผู้นำหน่วยในระดับหนึ่ง<br />

เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าชื่อของ<br />

เขามีแนวโน้มที่จะเป็นชื่อจัดตั้งขึ้นใหม่<br />

ในซีเรีย เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นชาว<br />

อินโดนีเซีย โดยการใช้คำว่า “อินดูนิซี”<br />

นั่นเอง<br />

สำหรับผู้นำคนที่สองนั้น เป็นที่<br />

รู้จักกันมากที่สุดในขณะนี้เพราะมีความ<br />

เชื่อมโยงกับการก่อเหตุกลางกรุงจาการ์ตา<br />

เมื่อเดือน ม.ค.๕๙ ที่ผ่านมา นั่นคือนาย<br />

โมฮัมหมัด บาห์รุน นาอีม (Mohammad<br />

Bahrun Naim) ครูสอนศาสนาจากเมือง<br />

“โปโซ” (Poso) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลาง<br />

ของจังหวัดสุลาเวสี (Sulawesi) แหล่งข่าว<br />

เชื่อกันว่านายบาห์รุน นาอีม ยังคงอาศัย<br />

อยู่ที่เมือง “รัคก้า” (Raqqa) ซึ่งถือกันว่า<br />

เป็นเมืองหลวงของกลุ่ม “ไอเอส” ในซีเรีย<br />

และคอยบงการการขยายตัวของกลุ่ม “เค<br />

เอ็น” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย<br />

เฉพาะในอินโดนีเซียและมาเลเซีย<br />

นอกจากนี้ยังมีชาวอินโดนีเซียอีก<br />

คนหนึ่ง คือ นายบาห์รุม ซยาห์ (Bahrum<br />

Syah) ที่นับเป็นอีกบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาท<br />

ตั้งแต่ช่วงแรกของการก่อตั้งกลุ่ม “เคเอ็น”<br />

โดยเขาได้ปรากฏตัวอยู่ในคลิปวิดีโอที่<br />

โพสต์เมื่อเดือน ก.ค.๕๗ ในการเป็นผู้นำ<br />

การเดินขบวนสนับสนุนกลุ่ม “ไอเอส” ใน<br />

โรงแรมแห่งหนึ่งกลางกรุงจาการ์ตาเมื่อ<br />

เดือนมีนาคมของปีเดียวกัน และหลังจาก<br />

นั้นเพียง ๒ เดือน นายบาห์รุม ซยาห์ก็เดิน<br />

ทางเข้าไปในซีเรีย พร้อมๆ กับส่งสารมายัง<br />

ชาวอินโดนีเซียให้สละสิทธิ์ความเป็น<br />

พลเมืองอินโดนีเซีย และเข้าร่วมรบกับกลุ่ม<br />

“ไอเอส” ในซีเรีย<br />

เอกสารบางฉบับกล่าวว่านาย<br />

บาห์รุม ซยาห์ นี่เองที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม “เค<br />

เอ็น” หรือ “กาติบะห์ นูซันตารา” ที่แท้<br />

จริง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่ม<br />

“เจ-อัต” (JAT) หรือ “ญะมาอะห์ อันซารุต<br />

เตาฮิด” (Jamaah Ansharut Tauhid) ซึ่ง<br />

เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากกลุ่ม “เจไอ”<br />

(JI) หรือ “เจ๊ะมาอะห์ อิสลามิยาห์” (Jemaah<br />

Islamiyah) โดยกลุ่ม “เจ-อัต”<br />

ทำการประสานงานกับกลุ่มก่อการร้าย<br />

“เอ็มไอที” หรือ “มูจาฮิดีนแห่งอินโดนีเซีย<br />

ตะวันออก” (MIT : Mujahideen Indonesia<br />

Timur หรือ Mujahideen of<br />

Eastern Indonesia) ซึ่งมีความเชื่อมโยง<br />

อย่างแนบแน่น โดยทำการปฏิญาณตนว่า<br />

เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มไอเอสใน<br />

ตะวันออกกลางมาแล้ว รวมทั้งกลุ่ม “เอ็ม<br />

ไอที” ยังทำหน้าที่ในการจัดหาเงินทุนเพื่อ<br />

ซื้อตั๋วเครื่องบิน และอำนวยความสะดวก<br />

ให้สมาชิกในการเดินทางไปร่วมกับกลุ่ม<br />

“ไอเอส” ในซีเรีย โดย “เอ็มไอที” มีความ<br />

สัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับกลุ่มก่อการร้าย<br />

“เอ็มไอบี” หรือ “มูจาฮิดีนแห่งอินโดนีเซีย<br />

ตะวันตก” (MIB : Mujahideen of Western<br />

Indonesia) ภายหลังกลุ่มนี้ได้สลาย<br />

ตัวไป ทำให้สมาชิกส่วนใหญ่หันมาเข้าร่วม<br />

กับกลุ่ม “เอ็มไอที” การหลอมรวมกัน<br />

ระหว่างกลุ่ม “เอ็มไอที”, กลุ่ม “เจ-อัต”<br />

และกลุ่ม “เอ็มไอบี” ทำให้การดำเนินงาน<br />

ของกลุ่ม “เอ็มไอที” ในการจัดหากำลังพล<br />

จากอินโดนีเซียให้กับกลุ่ม “ไอเอส” ใน<br />

ซีเรียประสบความสำเร็จอย่างมาก เช่น<br />

การจัดส่งนักรบชาวอินโดนีเซียจากกลุ่ม<br />

“บิมา” (Bima group) จากเกาะสุลาเวสี<br />

จำนวน ๖ คน ไปยังซีเรีย เป็นต้น จนนาย<br />

บาห์รุม ซยาห์ สามารถจัดตั้งกลุ่ม “เค<br />

เอ็น” ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ได้ในที่สุด<br />

อย่างไรก็ตามในช่วงเดือน มี.ค. -<br />

พ.ค.๕๘ เพียงแค่สองเดือนนี้ กลุ่ม<br />

“เคเอ็น” หรือ “กาติบะห์ นูซันตารา” ต้อง<br />

ประสบกับความสูญเสียอย่างหนักในซีเรีย<br />

เมื่อพวกเขาทั้งหมดถูกส่งไปทำการรบกับ<br />

พวกเคิร์ด (kurds) แม้จะสามารถยึดพื้นที่<br />

ได้ถึงห้าเมือง แต่ก็ต้องเสียชีวิตไปกว่า ๔๐<br />

คน ทั้งจากการรบภาคพื้นดินและจากการ<br />

โจมตีทางอากาศของชาติพันธมิตร โดย<br />

เฉพาะการโจมตีทางอากาศรอบเมือง<br />

“อเลปโป” (Aleppo) ในกลุ่มผู้เสียชีวิตนั้น<br />

มีชุดก่อตั้งกลุ่มชาวอินโดนีเซียสี่คนที่เดิน<br />

ทางมาจากกรุงอิสลามาบัดด้วย ยอดความ<br />

สูญเสียนี้ถือได้ว่ามากถึง ๑ ใน ๔ ของ<br />

หน่วยที่มีกำลังพลเพียงสองร้อยกว่าคน<br />

ส่งผลให้กลุ่ม “เคเอ็น” ต้องรีบเกณฑ์ผู้คน<br />

จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าเสริมกำลัง<br />

อย่างเร่งด่วนผ่านสื่อออนไลน์ทุกชนิดที่มี<br />

โดยเฉพาะจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศ<br />

ที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามกว่า ๒๐๐ ล้าน<br />

คนและเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิม<br />

มากที่สุดในโลก<br />

สำหรับอาวุธประจำกายของกำลัง<br />

พลในกลุ่ม “เคเอ็น” นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ปืน<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

21


เล็กยาวอัตโนมัติแบบ เอเค-๔๗ (AK-47)<br />

และจรวดต่อสู้รถถังแบบ อาร์พีจี-๗ (RPG-<br />

7) ซึ่งถือเป็นอาวุธมาตรฐานที่ทุกฝ่ายใช้ใน<br />

พื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรีย ทั้งทหารฝ่าย<br />

รัฐบาลซีเรีย, นักรบกลุ่มไอเอส, นักรบของ<br />

“กองกำลังซีเรียประชาธิปไตย” (SDF :<br />

Syrian Democratic Forces) ที่มีพวก<br />

เคิร์ดเป็นกองกำลังหลัก และนักรบ<br />

ของกองทัพปลดปล่อยซีเรียหรือ “เอฟเอส<br />

เอ” (FSA : Free Syria Army) ทำให้<br />

สามารถหากระสุนได้ง่าย ปรนนิบัติซ่อม<br />

บำรุงได้สะดวก แตกต่างจากนักรบไอเอส<br />

บางกลุ่มจากโลกตะวันตกที่ใช้อาวุธ<br />

ประจำกายแบบ เอ็ม-๔ (M-4) ซึ่งแทบจะ<br />

ไม่มีนักรบของกองกำลังใดเลยที่ใช้อาวุธ<br />

ชนิดนี้ในพื้นที่ซีเรียทางตอนเหนือ จึงอาจ<br />

เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระสุนและการส่งกำลัง<br />

บำรุงอื่นๆ ในภายหลัง<br />

ส่วนการแต่งกายนั้น นักรบ “เค<br />

เอ็น” จะแต่งกายด้วยชุดพรางที่แตกต่าง<br />

กันเหมือนนักรบกองโจร ไม่มีเครื่องแบบ<br />

หรือชุดยูนิฟอร์มที่เฉพาะเจาะจงเหมือน<br />

หน่วยไอเอสอื่นๆ โดยช่วงแรกของปี ๕๗<br />

นักรบ “เคเอ็น” จากมาเลเซียบางคน<br />

ยังคงใช้ชุดพรางของกองทัพมาเลเซีย แต่<br />

จากคลิปวิดีโอล่าสุดในปี ๕๙ นักรบ<br />

“เคเอ็น” ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้ชุดพราง<br />

ดิจิทัลที่หลากหลาย ทั้งจากสหรัฐฯ<br />

เยอรมนี และจอร์แดน รวมทั้งมีอุปกรณ์<br />

ประกอบเครื่องแบบ เช่น สายโยงบ่า เสื้อ<br />

ใส่ซองกระสุน เป้สนาม เข็มขัดกระสุน<br />

ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบูต และวิทยุสื่อสาร<br />

ครบถ้วน อันเป็นการแสดงออกถึงการ<br />

เตรียมการและความพร้อมของหน่วยใน<br />

การเข้าสู่สนามรบได้เป็นอย่างดี เอกลักษณ์<br />

สำคัญของกลุ่ม “เคเอ็น” ก็คล้ายกับกลุ่ม<br />

“ไอเอส” ทั่วไปคือ การไม่สวมหมวกเหล็ก<br />

ทุกชนิด นอกจากสวมผ้าคลุมศีรษะเท่านั้น<br />

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ กลุ่ม “เค<br />

เอ็น” จะเลือกภารกิจที่มีความท้าทายใน<br />

สนามรบมากกว่างานธุรการและงานส่ง<br />

กำลังบำรุงทั่วไป เช่น พวกเขาเลือกที่จะ<br />

ทำการรบในแนวหน้า เป็นพลซุ่มยิง หรือ<br />

แม้กระทั่งเป็นมือระเบิดพลีชีพก็ตาม สิ่ง<br />

เหล่านี้ทำให้ “เคเอ็น” ได้รับการยอมรับ<br />

จากกลุ่มไอเอสในระดับหนึ่งเลยทีเดียว<br />

ดังจะเห็นได้จากการโพสต์ข้อความทาง<br />

สื่อออนไลน์แสดงความชื่นชมเหล่านักรบ<br />

“เคเอ็น” ในนาม “มูจาฮิดีน มาเลเซีย”<br />

และ “มูจาฮิดีน อินโดนีเซีย” อย่างต่อเนื่อง<br />

ในเรื่องของจำนวนตัวเลขของ<br />

กำลังพลกลุ่ม “เคเอ็น” นั้นมีจำนวนที่<br />

ไม่แน่นอน โดยสำนักงานต่อต้านการ<br />

ก่อการร้ายแห่งชาติของอินโดนีเซีย<br />

(National Counterterrorism Agency)<br />

คาดว่ามีชาวอินโดนีเซียมากกว่า ๕๐๐ คน<br />

หรืออาจจะถึง ๗๐๐ คน เข้าร่วมกลุ่ม แต่<br />

ตัวเลขดังกล่าวของทางการอินโดนีเซียนั้น<br />

เป็นการคาดการณ์ที่รวมชาวอินโดนีเซียซึ่ง<br />

เดินทางไปโดยจุดประสงค์อื่น เช่น การเดิน<br />

ทางเพื่อไปเป็นอาสาสมัครในการปฏิบัติ<br />

งานด้านมนุษยธรรมเพื่อช่วยเหลือชาว<br />

ซีเรียที ่ได้รับบาดเจ็บจากการทิ้งระเบิด<br />

และการโจมตีของรัฐบาลซีเรีย รัสเซีย และ<br />

ฝ่ายพันธมิตรตะวันตก ซึ่งไม่ถือว่าเป็น<br />

นักรบของกลุ่มไอเอส จึงไม่สามารถนับรวม<br />

บุคคลเหล่านี้เข้าในจำนวนนักรบได้ อีกทั้ง<br />

ตัวเลขก็ยังคงสับสน เพราะนักรบ “เคเอ็น”<br />

บางคนได้ลักลอบเดินทางกลับมายัง<br />

ประเทศของตนแล้ว ดังนั้นคาดว่าตัวเลข<br />

ของนักรบจากอินโดนีเซียที่แท้จริง น่าจะมี<br />

อยู่ประมาณ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ คนเท่านั้น โดย<br />

ตัวเลขที่ระบุจำนวนชัดเจนอยู่ที่ ๒๐๒ คน<br />

ในจำนวนนี้มีสตรีซึ่งเดินทางร่วมกับสามี<br />

เข้าสู่พื้นที่อีกด้วย กลุ่มสตรีเหล่านี ้ได้รับ<br />

หน้าที่พิเศษในกลุ่ม “เคเอ็น” เช่น เป็นครู<br />

หรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการโฆษณา<br />

ชวนเชื่อผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อ<br />

โน้มน้าวให้บุคคลอื่นๆ เข้าร่วมกับพวกตน<br />

ปัจจุบันผู้ที่ดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อทาง<br />

เครือข่ายออนไลน์ของกลุ่ม “เคเอ็น” เป็น<br />

สตรีชาวอินโดนีเซีย ซึ่งสามีของเธอได้เสีย<br />

ชีวิตจากการสู้รบเมื่อเดือน เม.ย.๕๘<br />

กล่าวกันว่าจุดเริ่มต้นของ “กาติ<br />

บะห์ นูซันตารา” เกิดในกลางปี ๕๖ ที่เมือง<br />

“อัล ชาดาดี” (al Shadadi) จังหวัด “ฮา<br />

ซาก้า” (Hasaka) ประเทศซีเรีย (ปัจจุบัน<br />

ถูกยึดครองโดยกลุ่ม “เคิร์ด” (Kurds) โดย<br />

นายรูไซดัน อับดุล ฮาดี (Rusydan Abdul<br />

Hadi) นักศึกษาชาวอินโดนีเซียกับเพื่อน<br />

รวม ๔ คน ซึ ่งศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย<br />

อิสลามนานาชาติ (the International<br />

Islamic University) ในกรุงอิสลามาบัด<br />

ประเทศปากีสถาน ได้เข้าร่วมกลุ่มต่อต้าน<br />

ติดอาวุธในซีเรียที่มีชื่อว่า “อัจนัด อัล-ฌาม”<br />

(Ajnad al-Sham) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้ต่อมา<br />

ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม “ไอเอส” เขาเป็นบุคคล<br />

แรกๆ ที่นำแนวคิดการสร้างรัฐอิสลาม<br />

บริสุทธิ์มาเผยแพร่ในอินโดนีเซีย โดยผ่าน<br />

มาทางนายอาบู บัคการ์ บาร์เซียร์<br />

22<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


(Abu Bakar Ba’asyir) ผู้นำตลอดกาลของ<br />

กลุ่ม “เจไอ” เชื่อว่านายรูไซดัน อับดุล<br />

ฮาดี เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้งกลุ่ม “กาติบะห์<br />

นูซันตารา” ขึ้น อย่างไรก็ตามเขาและเพื่อนๆ<br />

ได้เสียชีวิตในการสู้รบที่ภูเขากาหลิบ<br />

(Caliphate Mountain) ในซีเรียเมื่อเดือน<br />

พ.ค.๕๘ นอกจากนี้กลุ่ม “ไอเอส”<br />

ยังประกาศให้ชายแดนอัฟกานิสถานและ<br />

ปากีสถานส่วนหนึ่งให้เป็นดินแดนในครอบ<br />

ครองของไอเอส และขนานนามว่า “โครา-<br />

ซาน” (Khorasan) หรือบางครั้งเรียกว่า<br />

“อินโดนีเซียตะวันออก” เพราะใช้เป็น<br />

พื้นที่ฝึกของกลุ่มไอเอสจากอินโดนีเซียและ<br />

ผู้คนจากชาติอื่นๆ รวมทั ้งชาวอุยกูร์จาก<br />

มณฑลซินเจียงของจีนอีกด้วย<br />

กำลังพลหลักของกลุ่ม “เคเอ็น”<br />

หรือ “กาติบะห์ นูซันตารา” มาจากผู้คน<br />

สองส่วน ส่วนแรกคือประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่<br />

ต้องการปกป้องศาสนาอิสลามตามแนวคิด<br />

แบบ “อุดมคตินิยม” (Idealism) ที่มุ่ง<br />

สร้างสังคมอันบริสุทธิ์และสวยงามตาม<br />

จินตนาการ พวกเขาเหล่านี้บางคนไม่มี<br />

แนวความคิดในการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์<br />

(ญิฮาด : Jihad) หรือทำสงครามต่อต้าน<br />

นิกายชีอะห์ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า แนว<br />

ความคิดในการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ยังคง<br />

มีอยู่ในสังคมมุสลิมอย่างไม่เสื่อมคลาย<br />

แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมานับพันปีก็ตาม<br />

โดยเฉพาะแนวความคิดของ “การสู้รบครั้ง<br />

สุดท้ายของโลกอิสลาม” (Islam Armageddon)<br />

ที่เกิดขึ้นในอาณาจักรซีเรีย<br />

อันยิ่งใหญ่ หรือ “ฌาม” (Sham : Great<br />

Syria) เป็นสงครามที่รู้จักกันในชื่อ “อัล-<br />

มัลฮามาห์ อัล-คูบรา” (al-Malhamah<br />

al-Kubra) ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ได้รับ<br />

ความนิยมในอินโดนีเซียมาเป็นเวลานาน<br />

จนกระทั่งมีการตีพิมพ์เรื่องราวเหล่านี้เป็น<br />

หนังสือวางขายอย่างถูกกฎหมายตามร้าน<br />

ขายหนังสือทั่วไปก่อนที่จะมีการสู้รบใน<br />

ซีเรียเสียอีก หนังสือบางเล่มถูกตีพิมพ์ขึ ้น<br />

โดยกลุ่ม “เจไอ” ที่มีข้อแนะนำในการทำ<br />

สงครามศักดิ์สิทธิ์อย่างเปิดเผย<br />

ประชาชนผู้มีแนวความคิดที่<br />

บริสุทธิ์ และปราศจากกระแสนิยมความ<br />

รุนแรงเหล่านี้ ก็คล้ายกับผู้คนจากยุโรป<br />

และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลกที่มุ่งหน้าเข้าสู่<br />

ซีเรียในปี ๕๕ - ๕๖ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ<br />

ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่<br />

ประชาชนที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการ<br />

ทิ้งระเบิดและการโจมตีของรัฐบาล<br />

ประธานาธิบดีอัสซาดแห่งซีเรีย พร้อมๆ ไป<br />

กับการช่วยเหลือเหล่านั้น ได้เกิดแนวความ<br />

คิดที่เชื่อมโยงไปถึงการต่อสู้เพื่อป้องกัน<br />

การกดขี่ชาวมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ<br />

กดขี่ชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ รวมไปถึงมีแนว<br />

ความคิดในการต่อต้านชาวมุสลิมนิกาย<br />

ชีอะห์จากกลุ่มที่เดินทางเข้าไปช่วยเหลือ<br />

บางกลุ่ม<br />

ชาวอินโดนีเซียกลุ่มแรกๆ ที่ถูก<br />

ระบุชื่อในการเดินทางเข้าไปในซีเรียช่วงนี้<br />

เช่น นายอีสฟานดี ซามซาม (Isfandi<br />

Zamzam) ซึ่งเดินทางไปพร้อมกับลูกสาว<br />

๒ คน และลูกชายอีก ๑ คน, นายอากุส<br />

พรีกันโต้ (Agus Priganto) เดินทางไป<br />

พร้อมกับภรรยาและลูกชาย ๓ คน เป็นต้น<br />

รวมทั้งมีบุคคลอีกส่วนหนึ่งที่ถูกทางการ<br />

อินโดนีเซียจับกุมตัวเมื่อเดินทางกลับจาก<br />

ซีเรีย เช่น นายมูฮัมเหม็ด อารีส ราฮาร์โจ<br />

(Muhammed Aries Rahardjo) ซึ่งเคย<br />

เข้าร่วมกับกลุ่ม “ไอเอส” ในซีเรีย ระหว่าง<br />

๑๕ ธ.ค.๕๖ - ๑๕ ม.ค.๕๗ เป็นเวลากว่า<br />

๑ ปี โดยมีฉายาในสนามรบว่า “อับดุล มาจีด”<br />

(Abdul Majid) ถูกจับกุมเมื่อ ๙ ส.ค.๕๗<br />

ในข้อหาก่อการร้าย และนายตาวี กูนาวัน<br />

(Dwi Gunawan) ชื่อจัดตั้งในกลุ่ม<br />

“ไอเอส” คือ “ดานัง” (Danang) เดินทาง<br />

เข้าไปในซีเรียระหว่างเดือน มี.ค.- เม.ย.๕๖<br />

เป็นเวลากว่า ๑ เดือน โดยทำการรบใน<br />

พื้นที่เมือง “อเลปโป” (Aleppo) ในซีเรีย<br />

เขาถูกจับกุมตัวเมื ่อวันที่ ๑๕ พ.ค.๕๗ ที่<br />

เมือง “เซอมารัง” ตอนกลางของชวา<br />

เป็นต้น<br />

(โปรดติดตามตอนที่ ๒)<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

23


การเปลี ่ยนผ่านทางการเมือง<br />

ในเมียนมา (พม่า)<br />

ศูนย์อำนวยการประสานงานข่าวกรอง สำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

พม่าอยู่ในห้วงการเปลี่ยนผ่าน<br />

ทางการเมืองครั้งประวัติศาสตร์<br />

มาสู่การปกครองโดยรัฐบาล<br />

พลเรือน ที ่มีนางออง ซาน ซูจี แสดง<br />

บทบาทนำ เป็นครั้งแรกในรอบกว่า ๕๐ ปี<br />

ซึ่งกรอบคิดและเป้าหมายที่แตกต่างกัน<br />

ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพม่า ทำให้<br />

การเปลี่ยนผ่านการเมืองดังกล่าวเป็นกรณี<br />

ศึกษาที่น่าสนใจ ดังนี้<br />

๑. กลุ่มกองทัพพม่า ที่ยอม<br />

ปรับรูปแบบการปกครองประเทศสู่<br />

ประชาธิปไตย เพื่อเปิดรับการลงทุนจาก<br />

นานาชาติ เนื ่องจากที่ผ่านมาการลงทุน<br />

ของจีนไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจของชาวพม่า<br />

มากนัก จนเกรงว่าปัญหาเศรษฐกิจอาจนำ<br />

พม่าเข้าสู่ปรากฏการณ์อาหรับสปริง แต่<br />

ในขณะเดียวกัน กองทัพก็มีจุดยืนเรื่อง<br />

ความเป็นอธิปไตยและความเป็นหนึ่งเดียว<br />

ของประเทศ ท่ามกลางความแตกต่างกัน<br />

อย่างสิ้นเชิงของหลากกลุ่มชาติพันธุ์<br />

ที่ต้องการแยกการปกครองตนเองและ<br />

ยังมีเหตุปะทะกันเรื่อยมา ดังนั้น กองทัพ<br />

จึงได้กำหนดอำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ<br />

24 ศูนย์อำนวยการประสานงานข่าวกรอง สำนักนโยบายและแผนกลาโหม


ปี ๒๕๕๑ ด้วย อาทิ การให้ผู้บัญชาการทหาร<br />

สูงสุด (ปัจจุบันคือ พลเอกอาวุโส มินอ่อง<br />

ไหล่) สามารถขึ้นเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ หาก<br />

ประเทศเข้าสู่สภาวะความไม่สงบผ่านการ<br />

ตัดสินของสภาความมั่นคงและการป้องกัน<br />

ประเทศ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นของกองทัพ<br />

(สมาชิก ๖ ใน ๑๑ คนเป็นตัวแทนจาก<br />

กองทัพ) โดย ๓ รัฐมนตรีของกระทรวง<br />

ด้านความมั่นคง มาจากการแต่งตั้งโดย<br />

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นอกจากนั้น<br />

สมาชิกในทุกสภาอีกร้อยละ ๒๕ เป็น<br />

ทหารที่มาจากการคัดสรรโดยผู้บัญชาการ<br />

ทหารสูงสุด เพื่อให้สามารถคานเสียงของ<br />

รัฐบาลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องใช้<br />

เสียงในสภาร้อยละ ๗๕<br />

โดยรัฐธรรมนูญ มาตราที่ถกเถียงกัน<br />

อย่างกว้างขวางและรัฐบาลต้องการแก้ไข<br />

คือมาตราที่ว่าด้วยคุณสมบัติของ<br />

ประธานาธิบดี ที่ห้ามมีพ่อแม่ คู่สมรส หรือ<br />

บุตร ถือสัญชาติอื่น ซึ่งทำให้นางซูจี ซึ่งมี<br />

คู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ ต้องขาด<br />

คุณสมบัติ<br />

๒. นางซูจี ที่มุ่งมั ่นจะเป็นผู้นำให้<br />

พม่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย<br />

เต็มรูปแบบ จากการที่ได้ใช้ชีวิตส่วนหนึ่ง<br />

ในต่างประเทศ โดยการที ่ยังไม่สามารถ<br />

ตกลงกับกองทัพเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ<br />

ได้มอบให้นายอู ถิ่นจ่อ คนสนิท<br />

ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดี ส่วนนางซูจี<br />

ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่า พยายามถ่วงดุล<br />

อำนาจของกองทัพ โดยการขึ้นดำรง<br />

ตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ ที่เสนอตั้งใหม่<br />

ซึ่งจะสามารถทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับ<br />

นายกรัฐมนตรีเคียงคู่กับตำแหน่ง<br />

ประธานาธิบดี รวมถึงการรับตำแหน่ง<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ<br />

เพื่อเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาความมั่นคงฯ<br />

ตลอดจนพยายามตั้งกระทรวงกลุ่ม<br />

ชาติพันธุ์ เพื่อเพิ่มเป็นอีกหนึ่งในสมาชิก<br />

สภาความมั่นคงฯ ที่จะทำให้รัฐบาลมี ๖<br />

เสียงในสภาความมั่นคงฯ เท่ากับของ<br />

กองทัพ<br />

สำหรับประเด็นความท้าทายอื่น ที่<br />

นางซูจีอาจต้องเผชิญได้แก่ การแก้ปัญหา<br />

เศรษฐกิจ เนื่องจากอาจเกิดแรงกดดันจาก<br />

บุคลากรในองค์กรต่างๆ ที่มีสายสัมพันธ์<br />

กับกลุ่มอำนาจทหารเดิม<br />

โดยเฉพาะประเด็นที่กระทบ<br />

ผลประโยชน์เครือข่ายธุรกิจของกองทัพ<br />

บริษัท Union of Myanmar Economics<br />

Holdings (MEHL) ซึ่งครอบคลุมธุรกิจ<br />

จำนวนมากในพม่ารวมถึงธุรกิจข้ามชาติ<br />

ซึ่งหากการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 25


้<br />

ไม่ประสบความสำเร็จ ตามการคาดหวังที่<br />

สูงของประชาชนแล้ว ก็อาจเป็นชนวนเหตุ<br />

ของการประท้วงใหญ่<br />

โดยเฉพาะหากกลุ่มพระสงฆ์ที่มี<br />

ศักยภาพทางการเมืองในพม่า ที่เคยใช้วิธี<br />

การประท้วงที่รุนแรง เช่น กลุ่ม Ma Ba<br />

Tha เข้าร่วมด้วยแล้ว การประท้วง<br />

ดังกล่าวก็อาจบานปลายจนประเทศ<br />

เข้าสู่สถานการณ์ความไม่สงบ เข้า<br />

เงื่อนไขในการเข้าปกครองประเทศ<br />

ของกองทัพได้<br />

๓. กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีหลายกลุ่ม<br />

แต่ละกลุ่มก็มีทั้งกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชน<br />

กลุ่มการเมืองและกลุ่มติดอาวุธ โดยที่<br />

บางครั้ง ๓ กลุ่มก็มีความเห็นแตกต่างกัน<br />

ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลทหารเดิมได้<br />

เจรจาหยุดยิงเพื่อยุติเหตุปะทะกับกลุ่ม<br />

ติดอาวุธไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงมีบางกลุ่ม<br />

ที่ยังไม่ร่วมลงนาม และแม้แต่กลุ่มที่ร่วม<br />

ลงนามแล้วก็ยังมีเหตุปะทะกับกองทัพ<br />

พม่าหรือเหตุปะทะกันเองเรื่อยมา ทำให้<br />

กลุ่มกองกำลังต่างๆ ขาดสภาพความไว้<br />

วางใจกองทัพและไว้ใจซึ่งกันและกัน จึงยัง<br />

ไม่ต้องการวางอาวุธและร่วมเป็นกองกำลัง<br />

ป้องกันชายแดน Border Guard Force<br />

ตามยุทธศาสตร์ “หนึ่งประเทศ หนึ่ง<br />

กองทัพ” ของกองทัพ<br />

ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาล หลังเข้าบริหาร<br />

ประเทศ นอกจากการให้ตำแหน่งทางการ<br />

เมืองแก่พรรคการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์<br />

แล้ว นางซูจีได้เน้นย้ำความสำคัญของ<br />

ขบวนการสร้างความปรองดองกับกลุ่ม<br />

ชาติพันธุ์ โดยอยู่ระหว่างการดำเนิน<br />

กระบวนการสันติภาพภายใต้กรอบการ<br />

เจรจาสันติภาพปางหลวงแห่งศตวรรษที่<br />

๒๑ และเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มเข้ามีส่วน<br />

ร่วม อย่างไรก็ตาม นางซูจีนับว่ายังไม่<br />

เป็นที่แน่ชัดเรื ่องประสบการณ์ ในการ<br />

เจรจากับกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงหากกลุ่ม<br />

ชาติพันธุ์ยืนยันต้องการแยกการปกครอง<br />

ตนเอง ก็อาจสวนทางกับจุดยืนของ<br />

กองทัพ<br />

๔. ชาติมหาอำนาจ ที่พม่าตอบ<br />

โจทย์ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและตำแหน่ง<br />

ทางภูมิศาสตร์เชื่อมโยงการค้าผ่านท่าเรือ<br />

น้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ้าวเผี่ยว<br />

ติละวา และทวาย โดยสำหรับจีน พม่าเป็น<br />

ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พลังงานของจีน<br />

ทั้งก๊าซธรรมชาติ และพลังน้ำเขื่อนมิตโสน<br />

รวมถึงการค้าออกสู่ทะเล แก่พื้นที่ Land<br />

Lock มณฑลยูนนาน ส่วนสหรัฐฯ ประเด็น<br />

ประชาธิปไตยของพม่า ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่ง<br />

ในการกลับมาในภูมิภาค เพื่อผลประโยชน์<br />

ทางการค้าและถ่วงดุลอำนาจจีน ทั้งนี<br />

ประเด็นผลประโยชน์ของมหาอำนาจ มีผล<br />

ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพม่าด้วย<br />

อาทิ เหตุรุนแรงกับกลุ่มว้าที่รัฐฉาน<br />

กับการค้าชายแดนของจีน เหตุปะทะที่รัฐ<br />

กะฉิ่น หลังพม่าประกาศชะลอโครงการ<br />

เขื่อนมิตโสนของจีน ปัญหากลุ่มโกกั้ง<br />

รัฐฉานเหนือ ที่เป็นชนชาวฮั่นเชื้อสายจีน<br />

นอกจากนั ้น การชูประเด็นสิทธิ<br />

มนุษยชนของสหรัฐฯ ก็ถูกมองว่าสัมพันธ์<br />

กับเหตุการณ์ความไม่สงบของชาวโรฮีนจา<br />

ที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ได้ส่งผลเสียหายต่อ<br />

26<br />

ศูนย์อำนวยการประสานงานข่าวกรอง สำนักนโยบายและแผนกลาโหม


ผลประโยชน์จำนวนมากของจีน<br />

ในรัฐยะไข่ เป็นต้น<br />

จากข้อมูลต่างๆ ข้างต้น ทำให้<br />

การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสู่ความเป็น<br />

ประชาธิปไตยของพม่า น่าจะมีนิยาม<br />

ประชาธิปไตยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว<br />

มากกว่าเป็นแบบทั่วไป และจะไม่สามารถ<br />

เป็นเช่นที่บางฝ่ายพยายามนำมาเปรียบ<br />

เทียบกับของไทย แต่จะช่วยเพิ่มการรับรู้<br />

แก่นานาชาติ ถึงรูปแบบของประชาธิปไตย<br />

ว่า อาจไม่สามารถมีลักษณะเช่นเดียวกัน<br />

ในทุกประเทศได้<br />

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความ<br />

ชื่นชมอย่างมากต่อนางซูจี ขณะนี้ อาจ<br />

ทำให้กองทัพไม่สามารถฝืนกระแสได้<br />

แต่หากการบริหารประเทศของรัฐบาล<br />

กระทบกับจุดยืนเรื่องรัฐชาติ Nation<br />

State ของกองทัพแล้ว ก็อาจได้เห็น<br />

การปรับเปลี่ยนรูปแบบประชาธิปไตยใน<br />

พม่าได้อีก ซึ่งสำหรับไทยมีประเด็นที่<br />

น่าจะให้ความสนใจได้แก่<br />

๑. การส่งเสริมประชาธิปไตยใน<br />

พม่า โดยเฉพาะการเป็นผู้อำนวยความ<br />

สะดวก (Facilitator) ในกระบวนการ<br />

สร้างความปรองดอง ซึ่งมีการจัดประชุม<br />

ณ จังหวัดเชียงใหม่มาแล้วกว่า ๑๐ ครั ้ง<br />

โดยพัฒนาการของพม่า จะมีผลต่อ<br />

ภูมิรัฐศาสตร์ของทั้งภูมิภาค<br />

โดยเฉพาะการเป็นระเบียง<br />

เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-<br />

West corridor) เชื่อมมหาสมุทรอินเดีย<br />

และแปซิฟิก ซึ่งพม่าเป็น West Gate ของ<br />

ไทย ผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ท่าเรือน้ำลึก<br />

ทวาย และท่าเรือน้ำลึกกะเลก๊วก (Kalagauk<br />

Deep Sea Port) จังหวัดกาญจนบุรี<br />

๒. การเตรียมความพร้อมรองรับ<br />

สถานการณ์ความไม่แน่นอน อันได้แก่<br />

ปัญหาการขาดแคลนพลังงานกรณีพม่า<br />

ลดปริมาณการส่งออกก๊าซธรรมชาติเพื่อ<br />

สำรองใช้ในการพัฒนาประเทศ (ไทย<br />

นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่า ร้อยละ ๔๐)<br />

ปัญหาการส่งผ่านยาเสพติดจากพม่ามายัง<br />

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<br />

ของไทย ห้วงปลอดการควบคุมห้วงการ<br />

เปลี่ยนผ่านอำนาจทางการเมือง<br />

การเตรียมความพร้อมของไทย<br />

เพื่อเปิดรับการลงทุนจากนานาชาติ<br />

ในภูมิภาค ซึ่งไทยมีความพร้อมในด้าน<br />

โครงสร้างพื้นฐานดีกว่าพม่า การเตรียม<br />

ความพร้อมรองรับปัญหาแรงงานชาวพม่า<br />

ในไทย ที่ต้องการกลับบ้านเกิด หรืออาจ<br />

ตั้งข้อเรียกร้องจากนายจ้างเกินสมควร<br />

ภายหลังการเยือนของนางซูจี และรวมถึง<br />

การดูแลประเด็นอ่อนไหวเรื่องการ<br />

ปลุกระดมชาตินิยม ที่อาจกระทบต่อ<br />

ความสัมพันธ์ ไทย-พม่า ดังเช่นกรณี<br />

เกาะเต่าด้วย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 27


แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน<br />

เครื ่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า ที-๕๐<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าแบบ ที-๕๐ (T-50 Golden Eagle) ขณะอยู่ที่โรงงานผลิตทางตอนใต้ของประเทศ มีคนงาน ๓,๒๕๕ นาย เกาหลีใต้<br />

ผลิตขึ้นมาเพื่อประจำการทดแทนเครื่องบินฝึกรุ่นเก่าแบบ ที-๓๘ (T-38) และเครื่องบินโจมตีแบบ เอ-๓๗ (A-37)<br />

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF)<br />

ได้จัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น<br />

ขั้นก้าวหน้าแบบ เอฟเอ-๕๐ (FA-50) จาก<br />

ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ ๒๘ มี.ค.๕๗<br />

จำนวน ๑๒ เครื่อง เป็นเงิน ๔๑๕.๘ ล้าน<br />

เหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นเครื่องบินฝึกไอพ่น<br />

ขั้นก้าวหน้าและใช้ในภารกิจโจมตีเบาจึง<br />

เรียกว่า เอฟเอ-๕๐ (FA-50) ซึ่งจะติดตั้ง<br />

ระบบอาวุธได้หลายชนิด รับมอบเครื่อง<br />

บินชุดแรกแล้วรวม ๒ เครื่อง เมื่อ ๒๘ พ.ย.<br />

๕๘ ที่เหลือจะได้รับมอบครบตามโครงการ<br />

กลางปี ๖๐ กองทัพอากาศฟิลิปปินส์<br />

(PAF) กำหนดชื่อเรียกใหม่ว่า เอฟเอ-๕๐<br />

พีเอช (FA-50PH) เป็นเครื่องบินรบไอพ่น<br />

แบบแรกภายหลังจากที่ได้ปลดประจำการ<br />

เครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าแบบ เอฟ-๕เอ/บี<br />

(F-5A/B) เมื่อ ก.ย.๔๘ จึงเป็นจุดอ่อนของ<br />

ระบบการป้องกันภัยทางอากาศของ<br />

ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบกับยังมีปัญหา<br />

ความขัดแย้งในเขตแดนทางทะเลที่<br />

ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้านในปัญหา<br />

หมู่เกาะสแปรตลีย์ บริเวณทะเลจีนใต้ กับ<br />

อีก ๕ ประเทศ แต่อยู่ใกล้กับแนวเขตแดน<br />

ทางทะเลของประเทศฟิลิปปินส์มาก<br />

(จังหวัดปาลาวัน) จึงมีความขัดแย้งเกิดนำ<br />

มาสู่ความตึงเครียดเกิดขึ้นหลายครั้ง<br />

กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF) ได้นำ<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ เอฟเอ-๕๐พีเอช<br />

(FA-50PH) เข้าร่วมการฝึกในรหัสบาลิคาตัน<br />

๒๐๑๖ (Exercise Balikatan 2016)<br />

ระหว่างวันที่ ๔ – ๑๕ เม.ย.๕๙ ร่วมกับ<br />

เครื่องบินโจมตีแบบ เอ-๑๐ (A-10<br />

Thunderbolt-II) ของกองทัพอากาศ<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า<br />

รุ่นใหม่แบบ ที-๕๐ (T-50 Golden Eagle)<br />

พัฒนาขึ้นโดย บริษัท เคเอไอ (KAI: Korea<br />

Aerospace Industries ได้รับการ<br />

สนับสนุนทางด้านเทคนิค จากบริษัท ล็อค<br />

ฮีดมาร์ติน สหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตเครื่องบิน<br />

ขับไล่ตระกูล เอฟ-๑๖) สร้างเครื่องบิน<br />

ต้นแบบทำการขึ้นบินครั้งแรก เมื่อ ๒๐<br />

ส.ค.๔๕ จึงเป็นมาตรฐานเดียวกับกองทัพ<br />

อากาศสหรัฐอเมริกา (USAF) มีข้อมูลที่<br />

สำคัญ คือนักบิน ๒ นาย ขนาดยาว<br />

28 พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าแบบ ที-๕๐ (T-50 Golden Eagle) อาวุธ ปืนกลขนาด ๒๐ มิลลิเมตร<br />

ติดตั้งอาวุธได้รวม ๗ จุด มีน้ำหนักรวม ๓,๗๔๐ กิโลกรัม (๘,๒๕๐ ปอนด์) เครื่องบินสามารถ<br />

ติดตั้งอาวุธเพิ่มเติมได้ตามความต้องการของประเทศผู้สั่งซื้อ<br />

๑๓.๑๔ เมตร ความสูง ๔.๙๔ เมตร ช่วง<br />

ปีกยาว ๙.๔๕ เมตร พื้นที่ปีก ๒๓.๖๙<br />

ตารางเมตร น้ำหนักปกติ ๖,๔๗๐ กิโลกรัม<br />

(๑๔,๒๘๕ ปอนด์) น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด<br />

๑๒,๓๐๐ กิโลกรัม (๒๗,๓๐๐ ปอนด์)<br />

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน จีอี เอฟ ๔๐๔ ให้<br />

แรงขับ ๑๗,๗๐๐ ปอนด์ (เมื่อใช้สันดาป<br />

ท้าย) ความเร็ว ๑.๕ มัค พิสัยบินไกล<br />

๑,๘๕๑ กิโลเมตร เพดานบินสูง ๑๔,๖๓๐<br />

เมตร (๔๘,๐๐๐ ฟุต) อาวุธปืนกลขนาด<br />

๒๐ มิลลิเมตร (ชนิดสามลำกล้อง) ติดตั้ง<br />

อาวุธได้ ๗ จุด น้ำหนักรวม ๓,๗๔๐<br />

กิโลกรัม (๘,๒๕๐ ปอนด์) เครื่องบินจะ<br />

สามารถทนแรงจีได้สูง (-3 g/+8 g)<br />

สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการ<br />

รบโดยติดตั้งอาวุธเพิ่มเติมได้ตามความ<br />

ต้องการของประเทศผู้สั่งซื้อ ภารกิจต่อสู้<br />

ทางอากาศ จรวดนำวิถีพิสัยใกล้ชนิด<br />

อากาศสู่อากาศ แบบ เอไอเอ็ม-๙ (AIM-9<br />

Sidewinder) มีระยะยิงไกล ๓๕ กิโลเมตร<br />

และจรวดนำวิถีพิสัยกลางก้าวหน้าชนิด<br />

อากาศสู่อากาศแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-<br />

120 AMRAAM) ระยะยิงไกล ๑๐๕<br />

กิโลเมตร และภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน โดย<br />

การติดตั้งจรวดนำวิถีชนิดอากาศสู่พื้น<br />

แบบ มาเวอร์ริค (AGM-65 Maverick)<br />

นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ ระยะยิงไกล ๒๒<br />

กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งลูก<br />

ระเบิดชนิดธรรมดา (Mk-82 และ Mk-83)<br />

และลูกระเบิดนำวิถีแบบเจแดม (JDAM<br />

นำวิถีด้วยระบบ GPS มีความแม่นยำ<br />

สูงมาก)<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า<br />

แบบ ที-๕๐ (T-50 Golden Eagle) ได้<br />

ทำการผลิตรุ่นหลักรวม ๔ รุ่น คือ รุ่น<br />

ที-๕๐ (T-50) รุ่นฝึกแบบมาตรฐาน รุ่น<br />

ที-๕๐บี (T-50B) รุ่นฝูงบินผาดแผลง<br />

ของกองทัพอากาศเกาหลีใต้ รุ่นทีเอ-๕๐<br />

(TA-50) รุ่นฝึกขั้นก้าวหน้าสู่การเป็น<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นใหม่แบบ ที-๕๐ไอ (T-50i) ชนิด ๒ ที่นั่ง กองทัพอากาศอินโดนีเซีย จัดหามาจากประเทศเกาหลีใต้ รับมอบเครื่องบินชุดแรก<br />

เมื่อ ๒๕ ม.ค.๕๗ ประจำการฝูงบินที่ ๑๕ ฐานทัพอากาศอิสวาฮ์ยูดิ (Iswahyudi, AFB) จังหวัดชวาตะวันออก เกาะชวา<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 29


เครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นใหม่แบบ ที-๕๐ไอ (T-50i) ชนิด ๒ ที่นั่ง ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย<br />

จัดหาเข้าประจำการ ๑๖ เครื่อง เป็นเงิน ๔๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔<br />

นักบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีเบา และ<br />

รุ่นขับไล่ เอฟเอ-๕๐ (FA-50) รุ่นเครื่องบิน<br />

ขับไล่ จะเรียกว่า เอ-๕๐ (A-50) เครื่องบิน<br />

ต้นแบบได้ขึ้นทำการบินครั้งแรกเมื่อปี ๕๔<br />

กองทัพอากาศเกาหลีใต้ (ROKAF) นำ<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าเข้าประจำ<br />

การ ประกอบด้วย รุ่นที-๕๐ (T-50 ติดตั้ง<br />

เรดาร์ AN/APG-67) รวม ๔๙ เครื่อง รุ่น<br />

ที-๕๐บี (T-50B) รวม ๙ เครื่อง รุ่น<br />

ทีเอ-๕๐ (TA-50) รวม ๒๒ เครื่อง และรุ่น<br />

เอฟเอ-๕๐ (FA-50 ติดตั้งระบบเรดาร์<br />

ควบคุมการยิง EL/M-2032) รวม ๒๐<br />

เครื่อง กองทัพอากาศเกาหลีใต้ (ROKAF)<br />

ใช้สำหรับทำการฝึกนักบินไอพ่นใหม่ก่อน<br />

ที่จะทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ<br />

เคเอฟ-๑๖ (KF-16 ผลิตในประเทศเกาหลีใต้<br />

ภายใต้ลิขสิทธิ์ ประจำการ ๑๔๐ เครื่อง)<br />

ปัจจุบันเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้า<br />

ที-๕๐ (T-50) ผลิตกว่า ๘๒ เครื่อง<br />

กองทัพอากาศอิรัก (IQAF) จัดหา<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นใหม่แบบ เอฟเอ-๕๐<br />

(FA-50) จำนวน ๒๔ เครื่อง เป็นเงิน ๑.๑<br />

พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ ธ.ค.๕๖ เพื่อใช้<br />

ในภารกิจฝึกนักบินไอพ่นใหม่และภารกิจ<br />

โจมตีเบากองทัพอากาศอิรัก (IQAF) จะได้<br />

รับมอบเครื่องบินชุดแรกในเดือน เม.ย.<br />

๕๙ จะได้รับมอบครบตามโครงการในปี<br />

๖๐ มีชื่อเรียกใหม่ว่าแบบ ที-๕๐ไอคิว<br />

(T-50IQ) ภารกิจทำการฝึกนักบินไอพ่น<br />

ใหม่ก่อนที่จะทำการบินกับเครื่องบินขับไล่<br />

รุ่นใหม่ แบบ เอฟ-๑๖ซี/ดี (F-16C/D<br />

Block 52) ที่ประจำการ ๑๘ เครื่อง (จัดหา<br />

เพิ่มเติมรวม ๓๖ เครื่อง)<br />

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU)<br />

จัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นใหม่แบบ<br />

ที-๕๐ไอ (T-50i) รวม ๑๖ เครื่อง เป็นเงิน<br />

๔๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ พ.ค.๕๔ จาก<br />

ประเทศเกาหลีใต้รับมอบเครื่องบินชุดแรก<br />

เมื่อ ๒๕ ม.ค.๕๗ ประจำการฝูงบินที่ ๑๕<br />

ฐานทัพอากาศอิสวาฮ์ยูดิ (Iswahyudi<br />

AFB) จังหวัดชวาตะวันออก เป็นฐานทัพ<br />

อากาศหลักสำคัญยิ่งประจำการถึง ๓<br />

ฝูงบิน (ฝูงบินที่ ๓ ฝูงบินที่ ๑๔ และฝูงบิน<br />

ที่ ๑๕) เพื่อจะประจำการทดแทนเครื่อง<br />

บินฝึกไอพ่นชนิดสองที่นั่งรุ่นเก่าแบบ<br />

ฮอร์ค ๕๓ (Hawk 53) ที่จัดหาจากประเทศ<br />

อังกฤษเมื่อปี ๕๑ จำนวน ๘ เครื่อง ประจำ<br />

การมานานกว่า ๓๐ ปี กองทัพอากาศ<br />

อินโดนีเซีย (TNI-AU) กำหนดชื่อเรียกใหม่<br />

ว่าแบบ ที-๕๐ไอ (T-50i, Golden Eagle)<br />

เพื่อทำการฝึกนักบินไอพ่นรุ่นใหม่จะเป็น<br />

นักบินขับไล่สำหรับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าแบบ เอฟเอ-๕๐ (FA-50) กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF) จัดหาจาก<br />

ประเทศเกาหลีใต้ จะได้รับมอบครบตามโครงการจัดหากลางปี พ.ศ.๒๕๖๐ กองทัพอากาศฟิลิปปินส์<br />

(PAF) กำหนดชื่อเรียกใหม่ว่า เอฟเอ-๕๐พีเอช (FA-50PH)<br />

30 พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าแบบ ที-๕๐ (T-50 Golden Eagle) ขณะทำการขึ้นบิน เป็นเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้ารุ่นใหม่แบบหนึ่งของโลก<br />

ปัจจุบันเครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้าตระกูล ที-๕๐ (T-50) ผลิตกว่า ๘๒ เครื่อง<br />

แบบ เอฟ-๑๖ซี/ดี บลอค ๒๕ (F-16C/D<br />

Block 25) จำนวน ๒๔ เครื่อง โดยได้รับ<br />

การช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ๕๔<br />

เป็นเครื่องบินเก่าที่เคยประจำการใน<br />

กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกามาแล้ว จะ<br />

ต้องทำการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเป็นเงิน<br />

๗๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐ กำหนดชื ่อเรียก<br />

ใหม่ว่า เอฟ-๑๖ซี/ดี บลอค ๕๒ ไอดี<br />

(F-16C/D Block 52ID) ประจำการที่<br />

ฝูงบินที่ ๑๖ ฐานทัพอากาศสุลต่าน<br />

ซยาริฟ กาซิมที่ II (Sultan Syarif Qasim<br />

II) เกาะสุมาตรา ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับ<br />

มอบเข้าประจำการ จะได้รับมอบครบตาม<br />

โครงการในปี พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นรุ่นที่ทันสมัย<br />

มากรุ่นหนึ่งของตระกูล เอฟ-๑๖ซี/ดี<br />

(F-16C/D) เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.<br />

๒๕๕๘ เครื่องบินฝึกไอพ่นแบบ ที-๕๐<br />

(T-50) ขณะร่วมทำการบินในงานกองทัพ<br />

อากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ครบรอบ ๗๐<br />

ปี ได้ประสบอุบัติเหตุตกที่ยอกยาการ์ตา<br />

(Yogyakarta) เกาะชวา นักบินเสียชีวิตทั้ง<br />

๒ นาย<br />

กองทัพอากาศไทย (RTAF) จัดหา<br />

เครื่องบินฝึกไอพ่นขั้นก้าวหน้ารุ่นใหม่แบบ<br />

ที-๕๐ (T-50) รวม ๔ เครื่อง เมื่อ ๑๗ ก.ย.<br />

๕๘ จากประเทศเกาหลีใต้สำหรับประจำ<br />

การทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่นรุ่นเก่าชนิด<br />

สองที่นั่งแบบ แอล-๓๙ (L-39ZA/ART,<br />

Albatros) มีความเร็ว ๐.๘ มัค มีชื่อเรียก<br />

ว่าเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (บ.ขฝ.<br />

๑) จัดหามาจากประเทศสาธารณรัฐเช็ค<br />

ประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๗ หรือมานานกว่า<br />

๒๑ ปี ปัจจุบันประจำการ ๓๖ เครื่อง เพื่อ<br />

ทำการฝึกนักบินไอพ่นรุ่นใหม่ก่อนที่จะ<br />

ทำการบินกับเครื่องบินขับไล่ที่มีขีดความ<br />

สามารถสูงแบบ เอฟ-๑๖เอ/บี (F-16A/B<br />

Block 15OCU หรือจะเรียกว่าเครื่องบิน<br />

ขับไล่แบบที่ ๑๙ ฝูงบินที่ ๑๐๓)<br />

เอฟ-๑๖เอดีเอฟ (F-16ADF ฝูงบินที่<br />

๑๐๒) เอฟ-๑๖ รุ่นปรับปรุงใหม่ (F-16A/B<br />

MLU เทียบขีดความสามารถใหม่ได้ใน<br />

ระดับเดียวกันกับ F-16C/D Block ๕๒<br />

ฝูงบินที่ ๔๐๓ อยู่ระหว่างปรับปรุงใหม่ใน<br />

เฟสที่ ๓) และเครื่องบินขับไล่แบบกริเพ่น<br />

(Gripen JAS 39C/D หรือจะเครื่องบินขับ<br />

ไล่แบบที่ ๒๐ ฝูงบินที่ ๗๐๑) กองทัพ<br />

อากาศไทย (RTAF) กำหนดชื่อเรียกใหม่<br />

ว่า ที-๕๐ทีเอช (T-50TH) เรียกว่าเครื่อง<br />

บินขับไล่และฝึกแบบที่ ๒ จะได้รับมอบ<br />

เครื่องบินชุดแรกในปี ๖๑<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 31


Russian Roulette<br />

“ปฏิบัติการทางอากาศแบบ วัดดวงและวัดใจ<br />

ของกำลังทางอากาศของสองมหาอำนาจผู้ครอง<br />

ความเป็นที ่สุดของเทคโนโลยีด้านการทหารเหนือน่านฟ้าซีเรีย”<br />

ปี<br />

๒๐๑๑ เริ่มต้นเกิดสงคราม<br />

กลางเมืองขึ้นในซีเรีย เพื่อแย่ง<br />

ชิงอำนาจการบริหารประเทศ<br />

ของกองกำลังสามฝ่ายใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรก<br />

เป็นกองกำลังของรัฐบาลซีเรียภายใต้ผู้นำ<br />

ชื่อ ประธานาธิบดี Bashar al-Assad กลุ่ม<br />

นี้ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและจีน<br />

ส่วนอิหร่านนั้นมีใจให้อยู่เงียบๆ เพราะ<br />

ซีเรียเคยช่วยอิหร่านในสงครามระหว่าง<br />

อิหร่าน-อิรัก กลุ่มที่สองคือกลุ่มกบฏซึ่ง<br />

ประกอบด้วยกลุ่มมุสลิมซุนนี่สายกลางที่ไม่<br />

ต้องการ Assad เพราะชาติกำเนิดของ<br />

Assad ไม่ใช่ซีเรียมุสลิมซุนนี่ แต่เขาเป็น<br />

มุสลิมที่มาจากชนเผ่า Aluwite กลุ่มนี้เป็น<br />

พันธมิตรชั่วคราวกับกลุ่มของชาวเคิร์ด<br />

(Kurdish) ที่เกาะสถานการณ์โดยหวังผล<br />

เพื่อแบ่งแยกดินแดนปกครองตนเอง ซึ่งกิน<br />

พื้นที่ครอบคลุมบางส่วนทั้งในซีเรียตอน<br />

เหนือและตุรกีตอนใต้ ทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับ<br />

การสนับสนุนจากสหรัฐฯ และพันธมิตร<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม<br />

ของสหรัฐฯ<br />

สำหรับกลุ่มสุดท้ายนี้โด่งดังมากมีชื่อ<br />

เสียงไปทั่วโลกคือกลุ่ม ISIS กลุ่มนี้ก็เป็น<br />

มุสลิมซุนนี่เหมือนกันแต่ความต้องการของ<br />

พวกเขาคือ เปลี่ยนประเทศเป็นรัฐอิสลาม<br />

บริสุทธิ์สุดโต่ง กลุ่มนี้ไม่ได้รับการสนับสนุน<br />

อย่างเปิดเผยจากใครทั้งสิ้น แต่ได้รับความ<br />

นิยมศรัทธาจากมุสลิมทั่วโลก ที่มีหัวใจเป็น<br />

Jihadist ในแบบที่พวกเขาเข้าใจ หลายคน<br />

ถึงขั้นอาสาเข้าเป็นแนวร่วม ISIS ใน<br />

32<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ประเทศของตนเอง และบางคนถึงกับแอบ<br />

เดินทางอย่างลับๆ จากประเทศบ้านเกิด<br />

ของตนเอง มาเป็นนักรบของ ISIS ในซีเรีย<br />

แหล่งรายได้สนับสนุนการสงครามของ<br />

ISIS คือการค้าน้ำมันเถื่อนจากแหล่งน้ำมัน<br />

ขนาดใหญ่ที่ยึดได้จากรัฐบาลซีเรีย รวมไป<br />

ถึงการค้าของเถื่อนตามแนวชายแดนและ<br />

การกำหนดการจัดเก็บภาษีขึ้นมา ในเขต<br />

อิทธิพลของตนเอง<br />

สงครามกลางเมืองในซีเรียดำเนินไป<br />

อย่างยืดเยื้อมาจนถึงต้นปี ๒๐๑๖ ก็ยังไม่มี<br />

สัญญาณบ่งบอกถึงความสงบที่แท้จริง<br />

สงครามครั้งนี้มีผู้คนล้มตายไปแล้วไม่น้อย<br />

กว่า ๒๕๐,๐๐๐ คน ประชาชนหลายล้านคน<br />

ต้องอพยพหลบภัยไปอาศัยในประเทศที่<br />

ร่มเย็นกว่า ทั้งที่เป็นเพื่อนบ้านและที่ห่าง<br />

ไกลออกไปอย่างยุโรป เฉพาะในประเทศ<br />

ตุรกีประเทศเดียว ประเทศนี้ต้องแบกรับ<br />

ภาระด้านคุณธรรมดูแลผู้อพยพชาวซีเรีย<br />

กว่า ๒.๗ ล้านคน ที่น่าเห็นใจมากๆ คือ มี<br />

เด็กชาวซีเรียเกิดในแผ่นดินตุรกีถึงกว่าหนึ่ง<br />

แสนคน สมรภูมิกับสนามเด็กเล่นคงจะเป็น<br />

ที่เดียวกัน สำหรับเด็กๆ เหล่านั้น<br />

ในช่วงต้นๆ ของสงคราม สหรัฐฯ<br />

และพันธมิตรเปิดปฏิบัติการของกองกำลัง<br />

ทางอากาศเหนือซีเรีย เรียกว่า “Operation<br />

Inherent Resolve” เพื่อถอนราก<br />

ถอนโคนเจาะลึกถึงต้นตอของปัญหาหรือ<br />

ความรุนแรง ซึ่งในการปฏิบัติการนี้อยู่ภาย<br />

ใต้ข้อตกลงและการแลกเปลี่ยนข่าวสาร<br />

ทางยุทธการร่วมกันอย่างเข้มงวด ของกอง<br />

กำลังทางอากาศร่วมทั้งของสหรัฐฯ และ<br />

พันธมิตร เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุอันใหญ่<br />

หลวงที่อาจจะเกิดขึ้นเช่น การชนกันกลาง<br />

อากาศ, การทำลายเป้าหมายภาคพื้นที่<br />

เป็นฝ่ายเดียวกันเอง และที่น่าวิตกยิ่งกว่า<br />

นั้นคือเป้าหมายพลเรือน ซึ่งจะนำความ<br />

หดหู่และอับอายมาสู่ฝ่ายตนเอง และจะ<br />

เป็นประเด็นชิงความได้เปรียบในเชิง<br />

จิตวิทยาของ ISIS<br />

ปลายเดือนกันยายน ๒๐๑๕ Russia<br />

ได้เคลื่อนย้ายฝูงบินรบและเครื่องบิน<br />

สนับสนุนหลายลำเข้าไปประจำการใน<br />

ฐานทัพอากาศที่เมือง Lakatia ทางตะวันตก<br />

เฉียงเหนือของซีเรียติดกับเมดิเตอร์เรเนียน<br />

ซึ่งเป็นฐานทัพของรัสเซียเองเมื่อครั้งที่ยังมี<br />

อิทธิพลอยู่บางส่วนของภูมิภาคนี้ เพื่อ<br />

แสดงจุดยืนของตนเองในการสนับสนุน<br />

การเป็นรัฐบาลของนาย Bashar al-Assad<br />

รัฐบาลปัจจุบันของซีเรีย ซึ่งที่ฐานทัพ<br />

อากาศแห่งนี้ รัสเซียมีความอุ่นใจหรือรับ<br />

ประกันได้พอสมควรในเรื่องความปลอดภัย<br />

จากการถูกก่อวินาศกรรมจาก ISIS<br />

เนื่องจากเมืองนี้เป็นเขตอิทธิพลของชาว<br />

Aluwite ซึ่งเป็นกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลซีเรีย<br />

อย่างภักดี ซึ่งจะคอยเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตา<br />

ในการป้องกันฐานทัพให้กับรัสเซีย<br />

การเข้ามาในซีเรียของรัสเซียนั้น เพื่อ<br />

ค้ำจุนรัฐบาลมิตรแท้ของรัสเซียให้คงอยู่<br />

ต่อไป เป็นยุทธศาสตร์ที่สวนทางกับสหรัฐฯ<br />

และกลุ่มพันธมิตรในยุโรป ซึ่งกำลังมีการ<br />

ปฏิบัติการทางอากาศเพื่อสนับสนุนกลุ่ม<br />

กบฏโค่นล้มรัฐบาลซีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม<br />

ทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย ต่างก็มีความ<br />

ต้องการปราบศัตรูร่วมที่ตรงกันคือ กลุ่ม<br />

ISIS มุสลิมสุดโต่งนิกาย Sunni ที ่นับวัน<br />

จะเฟื่องฟูขยายตัวเป็นภัยคุกคามอย่างโหด<br />

เหี้ยมต่อทุกประเทศ ที่พวกเห็นว่า เป็น<br />

พวกนอกรีตจากความเป็นอิสลาม บัดนี้<br />

เค้าลางของความยุ่งยากที่มากขึ้นกว่าเดิม<br />

และการดิ้นรนแสวงหาหนทางจบที่สับสน<br />

ของประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในประเด็น<br />

ของ ISIS ในซีเรียและอิรัก ได้ก่อตัวขึ้น<br />

เรียบร้อยแล้วในตะวันออกกลาง<br />

กำลังทางอากาศของรัสเซียที่ส่ง<br />

เข้ามาในซีเรียนั้น ประกอบด้วย เครื่องบิน<br />

รบ ยุคใหม่ชั้นยอดเช่น Su-24 (Fencer),<br />

Su-25 (Frogfoot) และ Su-30 (Franker)<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

33


รวมไปถึงเครื่องบินสนับสนุนแบบต่างๆ<br />

กว่า ๔๐ เครื่อง ที่โดดเด่นคือ เครื่องบิน<br />

ลำเลียงขนาดยักษ์แบบ An-124 (Condor)<br />

ซึ่งเทียบเคียงได้กับ C-5 (Galaxy)<br />

ของสหรัฐฯ สำหรับกำลังทางเรือนั้น รัสเซีย<br />

ก็มีฐานทัพเรือของตนเองที่เมือง Tartus ใน<br />

ย่านเดียวกันกับฐานทัพอากาศของตน<br />

เป็นการผสมผสานกองกำลังนอกประเทศ<br />

ที่ดูจริงจังมาก<br />

พูดถึงเรื่องสนามบินนั้น ใช่ว่าจะ<br />

มีแต่รัสเซียฝ่ายเดียว เรื่องแบบนี้ สหรัฐฯ<br />

ไม่มีทางปล่อยให้รัสเซียได้เปรียบทาง<br />

ยุทธการในซีเรียแต่เพียงลำพังเป็นแน่แท้<br />

สหรัฐฯ ได้เร่งสร้างฐานทัพอากาศของ<br />

ตนเองถึงสองฐานทัพ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ<br />

ของซีเรีย ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของ<br />

กองกำลังชาวเคิร์ด (Kurdish) ที่สหรัฐฯ<br />

ให้การสนับสนุนมาทุกยุคทุกสมัย<br />

ท่ามกลางการมองแบบเคืองๆ ของตุรกี<br />

เนื่องจาก กองกำลังชาวเคิร์ด (Kurdish) นี้<br />

เป็นหนามยอกอกของตุรกีมาตั้งแต่อดีต<br />

เพราะพวกเขากระหายความเป็นชาติ<br />

เอกราชที่ปกครองตนเอง แต่ตุรกีก็ทำอะไร<br />

ได้ไม่มากนัก เพราะมีความใกล้ชิดกับยุโรป<br />

และสหรัฐฯ มาก<br />

เมื่อกำลังทางอากาศขนาดใหญ่<br />

ของทั้งสองฝ่าย ต้องใช้พื้นที่ปฏิบัติการทั้ง<br />

บนดินและในห้วงอากาศเป็นพื้นที่เดียวกัน<br />

ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของการใช้กำลัง<br />

ทางอากาศของทั้งสองฝ่ายที่หวั่นวิตกกัน<br />

มาก่อนหน้านี้แล้ว จึงเกิดขึ้นทันที การ<br />

ปฏิบัติการทางอากาศเหนือน่านฟ้าซีเรียนั้น<br />

ต่างฝ่ายต่างถือความเป็นเอกเทศ มียุทธวิธี<br />

เฉพาะของตนเอง การเฉียดกันหรือเกือบ<br />

จะชนกัน (Close encounter) เกิดขึ้น<br />

บ่อยครั้ง พวกเขาสนใจและมุ่งมั่นต่อคำสั่ง<br />

ยุทธการย่อยของการใช้กำลังทางอากาศ<br />

(ATO : Air Tasking Order) ของตนเอง<br />

เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงเหลือเกิน และ<br />

ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้นคือ ความพยายามที่จะ<br />

34<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ช่วยเหลือประชาชนผู้บริสุทธิ์ทางด้าน<br />

มนุษยธรรมของ UN นั้น ก็เกือบเป็นไป<br />

ไม่ได้ เพราะ UN ก็อาจตกเป็นเป้าหมาย<br />

เสียเอง ช่างเป็นบรรยากาศที่อำมหิต เยือก<br />

เย็นเป็นตายเท่ากัน เหมือนเกมที่บังคับเล่น<br />

คือ “Russian Roulette”<br />

Long range precision guided cruise<br />

missile<br />

ก่อนการโจมตีทางอากาศของรัสเซีย<br />

นั้น พวกเขาเบิกโรงด้วยการยิงขีปนาวุธ<br />

ระยะไกลที่มีความแม่นยำสูงมาก (Long<br />

range precision guided cruise<br />

missile) คือ “The Kalibr” หลายลูกพอ<br />

สมควร ขีปนาวุธปีศาจนี้ถูกยิงจากกองเรือ<br />

รัสเซียในทะเลสาบแคสเปียน (Caspian<br />

Sea) ร่อนลัดเลาะนำวิถีระยะต่ำความเร็ว<br />

สูง ผ่านอิหร่าน อิรัก เป็นระยะทางไกลถึง<br />

๙๐๐ ไมล์ พุ่งเข้าสู่เป้าหมายที่เข้าพิกัดไว้<br />

แล้วอย่างเหลือเชื่อ แค่เริ่มต้นก็ข่มขวัญกัน<br />

ได้น่าอัศจรรย์ใจ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมี<br />

รายงานข่าวมาตัดกระแสเทพของขีปนาวุธ<br />

อันนี้คือ มีรายงานว่า “The Kalibr” ไป<br />

ไม่ถึงที่หมาย ตกในพื้นที่ทุรกันดารของ<br />

อิหร่านถึงสี่ลูก เจ้าปีศาจร่อนของรัสเซียนี้<br />

เทียบชั้นได้กับ Tomahawk ของสหรัฐฯ<br />

“The Kalibr” ทำให้หลายสายการ<br />

บินพาณิชย์ ที่ใช้เส้นทางบินเหนือน่าน<br />

ฟ้าของภูมิภาคนี้ ต้องเปลี่ยนเส้นทางบิน<br />

หรือไม่ก็ยกเลิกไปเลย เนื่องจากความ<br />

หวาดผวาเมื่อครั้งเครื่องบินของมาเลเซีย<br />

แอร์ไลน์ MH-17 ถูกขีปนาวุธแบบ BUK<br />

ซึ่งผลิตในรัสเซียยิงตกที่ยูเครน ในวิกฤต<br />

การณ์ไครเมีย ซึ่งรัสเซียได้ผนวกไครเมีย<br />

เข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน ความเจ็บปวดของ<br />

มาเลเซียที่กล่าวโทษและหาผู้รับผิดชอบ<br />

ไม่ได้นี้ เกิดขึ้นเมื่อ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๑๔<br />

มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด ๒๙๘ คน<br />

การโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินของ<br />

รัสเซียนั้น ชาติตะวันตกออกมาโจมตีรัสเซีย<br />

ว่า รัสเซียไม่เพียงแต่จะโจมตีทำลาย<br />

ขุมกำลัง ISIS เท่านั้น รัสเซียยังเจตนาจงใจ<br />

โจมตีเป้าหมายของกลุ่มกบฏที่ต่อต้าน<br />

รัฐบาลซีเรียด้วย ซึ่งกลุ่มกบฏนี้ได้รับการ<br />

สนับสนุนจากสหรัฐฯ และพันธมิตร รัฐบาล<br />

ซีเรียจึงได้ประโยชน์หลายด้านในการสนับ<br />

สนุนการปฏิบัติการทางอากาศของรัสเซีย<br />

ที่นอกจากจะช่วยปราบ ISIS แล้ว ยังช่วย<br />

ปราบกองกำลังกบฏที่พยายามจะโค่น<br />

รัฐบาลอีกด้วย ถึงขนาดประธานาธิบดี<br />

Assad ต้องเดินทางไปขอบคุณ<br />

ประธานาธิบดีปูติน ของรัสเซียด้วยตนเอง<br />

เลยทีเดียว เมื่อ ๒๐ ตุลาคม ๒๐๑๕<br />

การเข้ามาในซีเรียของรัสเซียครั้งนี้<br />

รัสเซียยังได้ประโยชน์ทางอ้อมนอกเหนือ<br />

จากการทรงไว้ซึ่งอิทธิพลในตะวันออกกลาง<br />

ไว้ค้ำกับชาติตะวันตกแล้ว รัสเซียยังได้ฉวย<br />

โอกาสตัดทอนกำลังมุสลิมในเขตที่เคยอยู่<br />

ใต้ร่มเงาของมหาอาณาจักรสหภาพโซเวียต<br />

มาก่อนและปัจจุบันก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

รัสเซียคือ เชชเนีย กองกำลังมุสลิมเหล่านี้<br />

มีมากกว่า ๔๐๐ คน และกำลัง<br />

ร่วมมือกับ ISIS ในขณะนี้ เพื่อนำลัทธิ<br />

ก่อการร้ายมาบ่อนทำลายและวางแผน<br />

แยกเชชเนียออกเป็นอิสระจากรัสเซีย<br />

การเผชิญหน้ากันของกองกำลัง<br />

ทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ของทั้งสองฝ่ายใน<br />

ซีเรีย ต่างก็ตระหนักทราบกันดีว่า อันตราย<br />

จะมากแค่ไหนในการปฏิบัติการของกำลัง<br />

ทางอากาศที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล<br />

ซึ่งกันและกัน พวกเขาไม่มีความไว้วางใจ<br />

ซึ่งกันและกันเอาเสียเลย ด้วยเหตุผลนานา<br />

ประการ ทำให้การประสานงานด้านการ<br />

ปฏิบัติการจึงไม่เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้นก็<br />

แทบเป็นเรื่องที่เอาสาระไม่ได้<br />

กองกำลังฝ่ายสหรัฐฯ มีพันธมิตร<br />

มากถึง ๖๕ ประเทศ ฝ่ายรัสเซียมีแค่ จีน<br />

อิหร่านและรัฐบาล ประธานาธิบดี Assad<br />

เท่านั้น ซึ่งดูเหมือนว่าแตกต่างกันมาก<br />

สำหรับจีนเองแม้ว่าจะยังไม่เปิดตัวเต็มที่<br />

ทางการทหาร แต่ก็ได้ใช้เวที UN ร่วมกับ<br />

รัสเซียอย่างเหนียวแน่น ในการสนับสนุน<br />

รัฐบาล Assad อีกทั้งจีนก็มีมุมมองใน<br />

ประเด็นของซีเรียสำทับเข้าไปอีกว่า ศึกใน<br />

ซีเรียอาจเป็นสงครามเย็นครั้งที่สองของ<br />

สหรัฐฯ และรัสเซีย ซึ่งลักษณะของสงคราม<br />

เย็นนั้น เป็นสงครามที่รบกันด้วย<br />

ยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจ เป็น<br />

ผู้กำกับและเขียนบท โดยมีประเทศ<br />

กระจิดกระจ้อยต่างๆ เป็นตัวเดินเรื่อง<br />

และรับความเสียหายไปเต็มๆ<br />

ความอึดอัดและกังวลใจในความ<br />

ปลอดภัยเมื่อต้องปฏิบัติการทางอากาศ<br />

ของทั้งสองฝ่ายลดลงมาเพียงเล็กน้อย เมื่อ<br />

เดือนตุลาคม ๒๐๑๕ ทั้งสหรัฐฯ และ<br />

รัสเซีย ได้ทำ MOU ร่วมกันของการปฏิบัติ<br />

การทางอากาศ เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้<br />

กำลังทางอากาศ ทั้งการชนกันเองและการ<br />

โจมตีผิดเป้าหมาย แต่ก็มีเนื้อหาสาระที่<br />

สำคัญและสิ่งที่ต้องการแท้จริงในความ<br />

ร่วมมือนั้น มีน้อยมาก และกล่าวถึงแค่เรื่อง<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

35


พื้นๆ เท่านั้นคือ การกำหนดเครือข่ายการ<br />

ใช้วิทยุ ส่วนเรื่องหรือประเด็นสำคัญที่ชี้<br />

เป็นชี้ตายกลับไม่ได้พูดถึงกันเลยเช่น การ<br />

กำหนดเขตการบิน, การแลกเปลี่ยนเป้า<br />

หมายและการข่าว, ระยะปลอดภัย (Safe<br />

Distance), การกำหนดการพิสูจน์ฝ่าย<br />

(IFF : Identification Friend or Foe),<br />

การให้สิทธิ์ในการป้องกันตนเอง<br />

(The Right to Defend) รวมไปถึงการ<br />

ปฏิบัติต่อ UAV เป็นต้น<br />

เมื่อมองในภาพรวมของ MOU ที่<br />

หลวมอย่างมีนัยนี้แล้ว เป็นที่แน่ชัดว่า<br />

กองกำลังทางอากาศทั้งสองฝ่าย จะยังคง<br />

มีความเสี่ยงที่สูงอยู่มาก ซึ่งต้องวัดชะตา<br />

กันเองในแต่ละเที่ยวบิน ทำให้กองกำลัง<br />

แต่ละฝ่ายมีเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น<br />

เพื ่อความปลอดภัยของตนเอง และที่<br />

สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ความกังวลอย่าง<br />

ที่สุดของกำลังทางอากาศทั้งสองฝ่าย ใน<br />

กรณีที่เกิดความผิดพลาดของปฏิบัติการ<br />

ถึงขั้นที่ยอมรับกันไม่ได้ อาจจะนำพา<br />

เหตุการณ์ให้ไปไกลมากขึ้น ไปสู่สงคราม<br />

เต็มรูปแบบ<br />

ในเรื่อง MOU นี้ สหรัฐฯ มีความ<br />

พยายามที่จะเจรจากันใหม่ให้ดูดีขึ้น<br />

สมประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย พร้อมกันนี้<br />

สหรัฐฯ ก็มีแนวความคิดเชิงกดดันแบบ<br />

ข่มๆ เสริมเข้าไปด้วยว่า พวกเขาจะปกป้อง<br />

เป้าหมายที่เป็นพลเรือนและกลุ่มที่สหรัฐฯ<br />

สนับสนุน รวมถึงในกรณีที่กองทัพอากาศ<br />

ซีเรียพยายามที่จะโจมตีเป้าหมายพลเรือน<br />

แบบไม่ยั้งคิด ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพราะชิงความ<br />

ได้เปรียบ เนื่องจากได้รับการสนับสนุน<br />

หรือมีแรงส่งแบบตรงๆ จากรัสเซีย ใน<br />

ประเด็นหลังนี้ ถ้าซีเรียใช้กำลังทางอากาศ<br />

กับเป้าหมายพลเรือน สหรัฐฯ ได้แสดงท่าที<br />

ยืนบนบทที่แข็งกร้าวว่า จะใช้กำลังทาง<br />

อากาศบดขยี้กองทัพอากาศซีเรียให้ละลาย<br />

ไปเลยทีเดียว<br />

ปัจจัยเพื่อความปลอดภัยในการ<br />

ปฏิบัติการ (Safety facters) ที่สหรัฐฯ<br />

ต้องการ เพื่อจัดระเบียบการใช้ห้วงอากาศ<br />

ในซีเรียนั้น สหรัฐฯ ได้แสดงเจตจำนงจะ<br />

เสนอประกาศเขตห้ามบิน (No Fly Zone)<br />

เหนือน่านฟ้าซีเรียตั้งแต่ปี ๒๐๑๑ ซึ่งถ้า<br />

หากเป็นไปตามแผน สหรัฐฯ จะได้ประโยชน์<br />

เต็มๆ แต่เมื่อเรื่องนี้เข้าสู่ UN Security<br />

Council ในปี ๒๐๑๓ ก็ถูกคัดค้านตาม<br />

คาดหมายจากรัสเซีย<br />

Russia : ๑๐ Days Air Campaign<br />

ตามคำกล่าวหาของสหรัฐฯ และ<br />

พันธมิตร ต่อการปฏิบัติการทางอากาศของ<br />

รัสเซียกล่าวว่า ในช่วงสิบวันแรกของการ<br />

บูรณาการใช้กำลังทางอากาศขนาดใหญ่<br />

(Air Campaign) ของรัสเซีย เป้าหมายที่<br />

โดนทำลายหรือโจมตีนั้นโดยส่วนใหญ่แล้ว<br />

เป็นกลุ่มกบฏที่ต้องการโค่นรัฐบาลและ<br />

ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งการทำ<br />

Air Campaign แค่สิบวันของรัสเซียนั้น<br />

ทำลายและสร้างความเสียหายต่อ<br />

องคาพยพของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลซีเรีย<br />

มากกว่าการทำ Air Campaign ของ<br />

สหรัฐฯ ที่เรียกว่า “Half-hearted Campaign”<br />

ซึ่งใช้เวลายาวนานถึงสิบแปดเดือน<br />

เสียอีก<br />

อย่างไรก็ตามผลการปฏิบัติการทาง<br />

อากาศของรัสเซียนั้น ได้สร้างความพิศวง<br />

ในอานุภาพของกำลังทางอากาศรัสเซีย ให้<br />

ปรากฏออกมาสู่นานาชาติชัดเจนมากขึ้น<br />

ทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกต้องกลับมา<br />

ทบทวนเทคโนโลยีทางทหารกันใหม่ โดย<br />

เฉพาะเกี่ยวกับกำลังทางอากาศ ตลาด<br />

การค้าอาวุธสงครามจะเฟื่องฟู<br />

การที่รัสเซียโจมตีถล่มแบบแหลกกัน<br />

ไปข้างในซีเรีย สร้างความเจ็บแค้นใจมาก<br />

ของฝ่ายที่ถูกโจมตี การแก้แค้นจึงเกิดขึ้น<br />

ตอนนี้ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร แต่เป็น<br />

เป้าหมายพลเรือน เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๕<br />

36<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


สายการบินของรัสเซียในเส้นทาง Egypt-<br />

St.Peterburg ถูกก่อวินาศกรรมวางระเบิด<br />

ตกบริเวณคาบสมุทรไซนายในประเทศ<br />

อียิปต์ ไม่ปรากฏว่ามีผู้รอดชีวิต รัสเซียพุ่ง<br />

เป้าไปที่กลุ่ม ISIS ทันที และออกอาการ<br />

ขึงขังจะเอาเป็นเอาตายกันเลยทีเดียว<br />

ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๐๑๕<br />

พิษสงของ “Russian Roulette”<br />

ได้ออกอาการให้เห็น โดยมีต้นตอจาก<br />

MOU การใช้กำลังทางอากาศที่ไม่รัดกุม<br />

เมื่อ F-16 ของตุรกีได้สอยเครื่องบินรบ<br />

Su-24 ของรัสเซียตกในแผ่นดินของซีเรีย<br />

อ้างว่ารุกล้ำน่านฟ้า ซึ่งตุรกีได้ออก<br />

แถลงการณ์ทันทีว่า เครื่องบินรบของ<br />

ตนเองได้มีการแจ้งเตือนตามระบบของ<br />

การป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defense)<br />

แล้ว หากแต่เครื่องบินรบรัสเซียเฉยเมย<br />

กับการแจ้งเตือน นักบินรอดหนึ่งนาย<br />

เสียชีวิตหนึ่งนาย เป็นเรื่องใหญ่มากถึงขั้น<br />

ที่ NATO รีบประชุมกันด่วนเพื่อแก้ไขไม่ให้<br />

เรื่องราวบานปลายกันไปมากจนน่ากลัว<br />

รวมไปถึงการวางแผนร่วมกันช่วยตุรกีตาม<br />

พันธสัญญา NATO หากรัสเซียต้องการ<br />

จะเอาคืน รัสเซียเองคงทำอะไรได้ไม่มาก<br />

นัก เนื่องจากหลักฐานไม่มีความชัดเจน<br />

ทำได้แค่การเสริมกำลังเพื่อแสดงทีท่า และ<br />

การออกคำสั่งห้ามการค้ากับตุรกีเท่านั้น<br />

วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ แสง<br />

แรกของความหวังในสันติภาพระยะสั้นๆ<br />

ก็ได้เกิดขึ้น ท่ามกลางความหวาดหวั่น<br />

ซึ่งกันและกันของกำลังทางอากาศทั้งสองฝ่าย<br />

กับ MOU ที่มีแต่ความเสี่ยงเหมือนเกม<br />

“Russian Roulette” เมื่อผู้นำระดับสูง<br />

ของทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย บรรลุข้อตกลง<br />

ที่พวกเขาเรียกกันว่า “Cessation of<br />

Hostillities” ในซีเรีย ความหมายง่ายๆ<br />

คือ “เอ็งไม่ยุ่งกะข้าและคนของข้า ข้าก็จะ<br />

ไม่ยุ่งกะเอ็งและคนของเอ็ง” ภายใต้<br />

เงื่อนไขที่ไว้ใจกันได้ ข้อตกลงนี้มีผลทันที<br />

ทำให้การปราบปรามหรือการปฏิบัติการ<br />

ทหารที่ไร้ขอบเขตและขัดแย้งกับความรู้สึก<br />

ของอีกฝ่ายหนึ่งที่สนับสนุนอยู่ ต้องยุติลง<br />

โดยสิ้นเชิง ยกเว้นเพียงแค่การปราบปราม<br />

ISIS และกลุ่มลูกพี่ลูกน้องของ Al Quada<br />

คือ Al Nusra Front นั้น ทั้งสองฝ่ายยังคง<br />

มุ่งมั่นดำเนินการปราบปรามต่อไป<br />

ศึกการเผชิญหน้ากันในซีเรียของ<br />

มหาอำนาจครั้งนี้ ก็น่าจะเดินตามรอย<br />

ประวัติศาสตร์เดิมๆ ของสงครามแห่งข้อ<br />

ขัดแย้ง นักวิเคราะห์ทางทหารต่างก็มืดมน<br />

ที่จะพยากรณ์ว่า รัสเซียจะอยู่ในซีเรียนาน<br />

แค่ไหน หรือสหรัฐฯ และพันธมิตรจะถอน<br />

ตัวอย่างไรในปัญหาซีเรีย ประธานาธิบดี<br />

Assad แห่งซีเรีย จะมีอายุยืนยาวนาน<br />

เท่าใดที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงประเทศ<br />

ของเขาเมื่อยามสงครามสงบ หรือเขาจะ<br />

พบชะตากรรมแบบเดียวกับ Gadhafi<br />

ผู้ยิ่งใหญ่แห่ง Libya, Saddam Hussein<br />

ผู้นำที่เด็ดขาดแห่ง Iraq และ Bin Laden<br />

ผู้สร้างรอยด่างที่แสนหดหู่ในแผ่นดินของ<br />

สหรัฐฯ หรือไม่<br />

ในประวัติศาสตร์สงครามหรือ<br />

ข้อขัดแย้งใดๆ บนโลกใบนี้ ซึ่งมีพื้นฐาน<br />

มาจากเรื่องที่ยิ่งใหญ่ของผลประโยชน์และ<br />

เรื่องบาดหมางใจกันมาตั้งแต่อดีต ด้วย<br />

เหตุผลนานาประการของชาติต่างๆ และ<br />

พวกพ้องของตนเองนั้น จะนำพาให้เกิด<br />

การเผชิญหน้ากันแบบตรงๆ หรือใช้<br />

ประเทศอื่นเป็นตัวแทน ไม่เคยมีครั้งใด<br />

ที่เรื่องราวร้ายๆ เหล่านี้จะจบสิ้นในเวลา<br />

อันสั้น กว่าจะถึงเวลาที่ความตึงเครียด<br />

ลดลง ก็ใช้เวลานานหลายปี ซึ่งเมื่อถึง<br />

ตอนนั้นชาติบ้านเมืองก็ย่ำแย่ไปมากแล้ว<br />

ประชาชนและกำลังทหารที่เป็นเด็กหนุ่ม<br />

ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญในการ<br />

พัฒนาชาติบ้านเมือง ต้องสูญเสียไปมาก<br />

ต่อมาก อย่างน่าเสียดาย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

37


พระเจ้าอลองพญา<br />

เริ ่มต้นขยายดินแดน<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

เจดีย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda) ที่ยอดเจดีย์มีเพชรอยู่ ๕,๔๔๘ เม็ด ชั้นบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่ ๗๖ กะรัต และทับทิมอีก ๒,๓๑๗ เม็ด<br />

(เจดีย์ชเวดากองในยุคปัจจุบัน)<br />

38 พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) ก้าวขึ้นครองดินแดนพม่าตอนบนหลังจากรบชนะอาณาจักรมอญ พระเจ้า<br />

อลองพญา (Alaungpaya) เป็นกษัตริย์มีรูปร่างสง่างามลักษณะท่าทางเป็นคนมีอำนาจ สูง ๕ ฟุต ๑๐ นิ้ว ต่อมาทรงนำกองทัพใหญ่<br />

ลงใต้สู่พม่าตอนล่างทำการรบชนะกองทัพอาณาจักรมอญหลายเมืองและที่กรุงหงสาวดีสามารถรวมอาณาจักรพม่าให้เป็นหนึ่งเดียว<br />

อีกครั้งหนึ่ง กองทัพพม่าจึงมีความเข้มแข็ง<br />

ขึ้นเป็นลำดับ............บทความนี้ กล่าวถึง<br />

พระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) แห่ง<br />

อาณาจักรพม่าในยุคที่สาม ที่เริ่มต้นสร้าง<br />

อาณาจักรพม่าขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง<br />

.................................................................<br />

พ<br />

๑. กล่าวทั ่วไป<br />

ระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya)<br />

รวบรวมอาณาจักรพม่า<br />

ตอนบนไว้ในอาณาจักรเมื่อสิ้น<br />

ปี พ.ศ.๒๒๙๕ และขยายอำนาจสู่พม่า<br />

ตอนล่าง (เป็นเมืองในการปกครองของ<br />

อาณาจักรมอญ) ตามแนวลุ่มน้ำ<br />

อิรวดีในปีพ.ศ.๒๒๙๘ ไว้ในอำนาจทั้งหมด<br />

เข้ายึดหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ เป็น<br />

เมืองท่า (มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น<br />

ตะเกิง และดากอน) และทรงตั้งชื่อนี้ใหม่<br />

ว่าเมืองร่างกุ้ง (แปลว่า สิ้นสุดการรบ<br />

หรือสิ ้นสุดการต่อสู้) ต่อมาได้ขยายตัว<br />

เป็นเมืองใหญ่มีประชากรเพิ่มมากขึ้น<br />

พระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya)<br />

พร้อมด้วยกองทัพใหญ่ได้เสด็จมาฉลอง<br />

ชัยชนะที่เชิงพระมหาเจดีย์ชเวดากอง<br />

(Shwedagon Pagota) หรือจะเรียกว่า<br />

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณ<br />

เนินเขาเชียงกุตระ เมืองร่างกุ้ง เชื่อว่าเป็น<br />

มหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของ<br />

พระพุทธเจ้า จำนวน ๘ เส้น (บนยอดสุด<br />

ของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ ๕,๔๔๘ เม็ด<br />

ชั้นข้างบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่๗๖ กะรัต<br />

และทับทิม ๒,๓๑๗ เม็ด มีมรกตเม็ดใหญ่<br />

อยู่ตรงกลางเพื่อรับลำแสงแรกและลำแสง<br />

สุดท้ายของดวงอาทิตย์) เมื่อพระองค์<br />

สามารถที่จะรวมเมืองต่างๆ ของพม่าตอน<br />

ล่างไว้ได้ในอำนาจเป็นผลให้อาณาจักร<br />

พม่ารวมเป็นหนึ่งได้อีกครั้งหนึ่งของ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

39


ขึ้นเป็นราชธานีต่อมาได้ย้ายราชธานีไปยัง<br />

กรุงอังวะ<br />

ในอดีตอาณาจักรพม่ามีกษัตริย์ที่<br />

ยิ่งใหญ่คือพระเจ้าอโนรธา (Anawrahta)<br />

ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม ทรงครอง<br />

ราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๕๘๗ - ๑๖๒๐<br />

นาน ๓๓ ปี ทรงรวมอาณาจักรพม่าให้เป็น<br />

หนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก ตลอดแนวลุ่มแม่น้ำ<br />

อิรวดี (รวมทั้งพม่าตอนล่างในดินแดนของ<br />

อาณาจักรมอญ) ต่อมาพระเจ้าบุเรงนอง<br />

(Bayinnaung) แห่งราชวงศ์ตองอูลำดับที่<br />

สาม ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๙๔ -<br />

๒๑๒๔ นาน ๓๐ ปี พระองค์ทรงขยาย<br />

อาณาเขตมาทางด้านทิศตะวันออกถึง<br />

ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำโขง<br />

พระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) พร้อมด้วย<br />

กองทัพใหญ่ได้เสด็จมาฉลองชัยชนะ เมื่อทรงได้<br />

ดินแดนพม่าตอนล่างไว้ในอาณาจักรพม่า (ภาพ<br />

วาดเจดีย์ชเวดากองปี พ.ศ. ๒๓๖๘-๒๓๖๙<br />

แสดงถึงสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ในอดีต) ที่เชิง<br />

เจดีย์ชเวดากอง<br />

อาณาจักรพม่าในยุคที่สาม ปี พ.ศ.๒๒๙๘<br />

ใช้เวลาสร้างอาณาจักรนาน ๓ ปี<br />

๒. อาณาจักรพม่าในยุคที ่สามเริ ่มต้น<br />

ขยายดินแดน<br />

อาณาจักรพม่าในยุคที่สาม พระเจ้า<br />

อลองพญาทรงสถาปนาขึ้นมาในปี พ.ศ.<br />

๒๒๙๕ จากเมืองขนาดเล็กทรงขยาย<br />

อาณาจักรให้มีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมทั้งมี<br />

ประชากรเพิ่มขึ ้นอย่างรวดเร็ว ทรง<br />

ปรับปรุงให้กองทัพมีอาวุธที่ทันสมัยโดย<br />

การจัดซื้อปืนคาบศิลา (musket) มาจาก<br />

อาณาจักรแห่งยุโรป พร้อมด้วยปืนใหญ่<br />

(สามารถที่จะใช้ยิงทำลายกำแพงเมืองได้<br />

จึงมีขีดความสามารถในการเข้าตีเมือง)<br />

กองทัพพม่าจึงมีความทันสมัยมากเมื่อ<br />

เปรียบเทียบกับอาณาจักรข้างเคียงบริเวณ<br />

ดินแดนอุษาคเนย์ทรงสถาปนาเมืองชเวโป<br />

40<br />

ภาพเขียนสีน้ำมันภายในท้องพระโรงพระราชวังกรุงอมราปุระ (Amarapura) หลังสมัยของพระเจ้า<br />

อลองพญา (วาดโดยชาวอังกฤษที่เดินทางมาพม่าปี พ.ศ.๒๓๙๕ หลังจากที่พระเจ้าอลองพญา<br />

สวรรคตนานถึง ๙๒ ปี)<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


จึงเป็นมหาอำนาจทางทหารแห่งอุษาคเนย์<br />

ที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้น<br />

พ.ศ.๒๓๐๓ พระเจ้าอลองพญา<br />

(Aluangpaya) พร้อมด้วยกองทัพใหญ่<br />

เสด็จลงใต้มาฉลองพระเกศาธาตุที่เมือง<br />

ร่างกุ้ง ต่อมาพระองค์ให้เจ้าชายมังระ<br />

(Hsinbyushin) พระราชบุตรที่สอง และ<br />

แม่ทัพใหญ่มังฆ้องนรธา (มีชื่อเดิมว่าหม่องตุง<br />

เป็นเพื่อนในวัยเด็กกับอองไจยะ เป็นบุตร<br />

ชายหัวหน้าหมู่บ้านมุตโชโป เวลาต่อมาคือ<br />

พระเจ้าอลองพญา ร่วมรบกันมาจนมี<br />

ความก้าวหน้าได้รับตำแหน่งตามลำดับ<br />

เป็นแม่ทัพคนสำคัญในการเข้าตีเมือง<br />

มณีปุระปี พ.ศ.๒๓๐๑) พร้อมด้วยกำลัง<br />

ทหาร ๘,๐๐๐ นาย (มีอาวุธที่ทันสมัยแห่ง<br />

อนุสาวรีย์พระเจ้าอลองพญา ตั้งอยู่ที ่เมืองชเวโป (Shwebo) อยู่ทางด้านทิศเหนือของ<br />

เมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay) ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร<br />

ยุคคือปืนคาบศิลา และมีประสบการณ์รบ<br />

มานานถึง ๘ ปี) ยกกองทัพลงใต้มาตีเมือง<br />

ทวาย (Tavoy) ที่แข็งเมือง สามารถตีเมือง<br />

ได้อย่างรวดเร็วและทราบว่าชาวเมืองบาง<br />

ส่วน (พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ) ได้หนีลง<br />

ทางเรือสู่ทางตอนใต้ไปยังเมืองมะริด<br />

(Mergyi) และเมืองตะนาวศรี(Tenasserin)<br />

ทราบว่ากำลังทหารฝ่ายอยุธยามีกำลังพล<br />

ที่จะรักษาเมืองมีจำนวนไม่มากที่จะรักษา<br />

เมืองเอาไว้ จึงแจ้งข่าวไปทูลให้พระเจ้า<br />

อลองพญา (Aluangpaya) ที่ประทับอยู่ที่<br />

เมืองร่างกุ้ง พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นโอกาส<br />

ที่เหมาะสมจึงสั่งให้กองทัพเข้าตีเมือง<br />

ทั้งสองทันทีเพื่อเป็นการขยายอาณาจักร<br />

กองทัพพม่าสามารถที่จะเข้าตีได้ทั้งสอง<br />

เมืองอย่างรวดเร็วกองทัพพม่าคิดไม่ถึงว่า<br />

กองทัพอยุธยาจะอ่อนแอสูญเสียเมือง<br />

อย่างรวดเร็ว<br />

อาณาจักรอยุธยาตรงกับสมัย<br />

พระเจ้าเอกทัศ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง<br />

ทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๓๐๑<br />

(กษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งราชวงศ์บ้าน<br />

พลูหลวง) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์บ้านพลู<br />

หลวงทรงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๒๓๑<br />

เมื่อกองทัพพม่าสามารถเข้าตีได้เมือง<br />

มะริด(Mergyi) และตะนาวศรี (Tenasserin)<br />

ปี พ.ศ.๒๓๐๓ หลังจากที่พระเจ้า<br />

เอกทัศขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ ๒ ปี<br />

หรือราชวงศ์บ้านพลูหลวงปกครองอยุธยา<br />

ได้ ๗๒ ปี<br />

๓. บทสรุป<br />

พระเจ้าอลองพญา (Aluangpaya)<br />

ราชวงศ์อลองพญา แห่งอาณาจักรพม่า<br />

ในยุคที่สาม ทรงขยายอาณาจักรให้มี<br />

ดินแดนขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยุคที่<br />

อาณาจักรพม่ารุ่งเรืองในอดีตของสอง<br />

กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรพุกามและ<br />

อาณาจักรตองอู มีอำนาจเหนือเมืองต่างๆ<br />

ตลอดแนวลุ่มแม่น้ำอิรวดีไปจนถึงปาก<br />

แม่น้ำ ขณะที่กองทัพมีความเข้มแข็ง<br />

พระองค์ทรงมองไปยังอาณาจักรเพื่อน<br />

บ้านทางด้านตะวันออก<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

41


บทเรียนจากการไม่อยากอยู่ร่วมกัน<br />

ของมนุษยชาติ<br />

จากความเชื่อในอดีตอันยาวนาน<br />

นับตั้งแต่การตั้งรกรากเผ่าพันธุ์<br />

ของมนุษยชาติที่ว่า คนเราเลือก<br />

ที่จะอยู่ร่วมกันจนเป็นกลุ่มชนดีกว่าที่จะ<br />

แยกตัวตามลำพัง จึงทำให้เกิดการรวม<br />

กลุ่มคน เมื่อมีจำนวนมากขึ ้นก่อเกิดเป็น<br />

ชุมชนในสังคม และขยายวงเป็นเมืองเป็น<br />

ประเทศ ต่อมาจึงต้องมีผู้ปกครองและ<br />

สร้างกติกาของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ<br />

แต่จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การ<br />

อยู่ร่วมกันของมนุษย์ก็ไม่เคยราบรื่นและมี<br />

ความเห็นพ้องต้องกัน มีนับครั้งไม่ถ้วนที่<br />

จะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งหากไม่สามารถ<br />

ตกลงความขัดแย้งนั้นได้ ทางเลือกที่จะ<br />

หลีกเลี่ยงการปะทะกันจนกลายเป็น<br />

สงครามคือ การขอแยกทาง ต่างคนต่างอยู่<br />

ต่างคนต่างไป กระบวนการในลักษณะนี้<br />

เริ่มจากการหย่าร้างของสามีภรรยา<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์<br />

ไปจนถึงการขอแยกตัวไปตั้งประเทศใหม่<br />

ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้ปัจจุบันมี<br />

ประเทศเล็กประเทศน้อยมากมายเกิดขึ้น<br />

บนโลกใบนี้ แต่การขอแยกตัวดังกล่าวอาจ<br />

กินเวลา และต้องเผชิญหน้ากับความ<br />

สูญเสียที่ตามมามากมายเสมอ เพราะโลกนี้<br />

ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ต้องเสีย<br />

ผลการลงประชามติของสหราช<br />

อาณาจักร ที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในนาม<br />

42<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ของประเทศอังกฤษที่ตัดสินใจให้รัฐบาล<br />

นำประเทศออกจาก (Leave) การเป็น<br />

สมาชิกภาพของสหภาพยุโรป (European<br />

Union) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน<br />

ที่ผ่านมา ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับ<br />

ประชาคมโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์<br />

ที่เกินความคาดหมายของหลายฝ่าย นับ<br />

ตั้งแต่ความสั่นสะเทือนและตื่นตระหนก<br />

ของผู้คนในแวดวงตลาดทุน ตลาดเงิน<br />

ตลาดทองคำ ที่เกิดความผันผวนในระยะ<br />

แรก ไปจนถึงความยุ่งยากที่จะตามมาใน<br />

อนาคต จากพันธสัญญาต่างๆ ที่เคยทำ<br />

ร่วมกันในหมู่ประเทศสมาชิกอียู ๒๗ ประเทศ<br />

กับสหราชอาณาจักร แม้จะกินเวลาอีก<br />

๒ ปีกว่าจะมีผลอย่างเป็นทางการก็ตาม<br />

จากผลโหวตที่คนอังกฤษให้ออกจาก<br />

อียู (Leave) ร้อยละ ๕๑.๙ หรือประมาณ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

๑๗.๔ ล้านคนและให้อยู่ในอียูต่อไป<br />

(remain) เท่ากับร้อยละ ๔๘.๑ หรือ<br />

ประมาณ ๑๖๑ ล้านคน ทำให้เสียงวิพากษ์<br />

วิจารณ์ตามมาอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่า คน<br />

อังกฤษเลือกศักดิ์ศรี และความทระนง<br />

ในการเป็นชาติมหาอำนาจ ทั้งอดีต ปัจจุบัน<br />

และอนาคตของตนกลับคืนมา มากกว่าจะ<br />

รักษาตลาดการค้าและสิทธิพิเศษทางการ<br />

ค้าในอียูไว้ แต่คนอังกฤษอาจไม่คำนึงถึง<br />

ผลสะเทือนที่ย้อนกลับมาว่าจะรุนแรง<br />

ขนาดนี้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อคนใน<br />

ประเทศที่กลายเป็นความแตกแยก<br />

ระหว่างผู้อาวุโสที่อนุรักษ์นิยมกับคนรุ่น<br />

ใหม่ที่มีหัวก้าวหน้าถึงกับเรียกร้องให้มีการ<br />

ทบทวนทำประชามติใหม่ เช่นเดียวกับ<br />

สกอตแลนด์ซึ่งแสดงความไม่พอใจจนมี<br />

แนวโน้มจะขอแยกตัวออกจากสหราช<br />

อาณาจักร ยังไม่นับรวมการแสดงสปิริต<br />

ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายก<br />

รัฐมนตรีของนายเดวิด คาเมรอน ซึ่งจะทำ<br />

หน้าที่ไปจนถึงเดือนตุลาคมศกนี้<br />

การทำประชามติว่าอังกฤษควรยังคง<br />

สภาพเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรือ<br />

อียู หรือจะออกจากการเป็นสมาชิกอียู<br />

ที่เรียกกันว่า เบร็กซิท ซึ่งเป็นการผสมคำว่า<br />

บริเทนกับเอ็กซิท เข้าด้วยกัน เป็นการเปิด<br />

โอกาสให้บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป<br />

ที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถแสดง<br />

ความคิดเห็นได้ โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ได้<br />

คะแนนเสียงรวมเกินกว่าครึ่งหนึ่งของ<br />

จำนวนเสียงในการโหวตทั้งหมดถือเป็น<br />

ผู้ชนะ<br />

ความเป็นมาของเบร็กซิทเกิดขึ้นใน<br />

ช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไปของ<br />

อังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.๒๐๑๕ เมื่อเดวิด<br />

คาเมรอน กล่าวให้สัญญาระหว่างหาเสียง<br />

ว่าจะจัดให้มีขึ้นเพราะถึงเวลาที่อังกฤษจะ<br />

ต้องจัดการกับปัญหานี้ให้แน่ชัดเสียที<br />

ท่ามกลางแรงกดดันจากภายในพรรค<br />

อนุรักษ์นิยมของคาเมรอนเองและจาก<br />

พรรคการเมืองบางพรรค โดยเฉพาะพรรค<br />

อิสรภาพสหราชอาณาจักร ที่ใช้การ<br />

ลาออกจากอียูเป็นนโยบายหลักในการ<br />

หาเสียงเลือกตั้ง<br />

การลงประชามติของสหราช<br />

อาณาจักร ในวันที่ ๒๓ มิถุนายนที่ผ่านมา<br />

ซึ่งถูกหยิบให้มาเป็นต้นแบบของการเลือก<br />

หนทางตัดสินใจของประชาชนในประเทศ<br />

มีความพิเศษหลายประการที่น่าสนใจ<br />

อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้งของ<br />

อังกฤษตั้งงบประมาณเป็นเงินถึง ๖ แสน<br />

ปอนด์ หรือราว ๓ ล้านบาท สำหรับให้ใช้<br />

จ่ายในการรณรงค์เบื้องต้น และเปิดโอกาส<br />

ให้หาเงินบริจาคเพื่อรณรงค์ได้ แต่จำกัด<br />

ไม่เกิน ๗ ล้านปอนด์ หรือ ราว ๓๖ ล้านบาท<br />

รัฐบาลไฟเขียวเต็มที่ในการใช้สื่อรณรงค์<br />

43


เพื่อการลงประชามติ จนถึงการจัดชุมนุม<br />

รับฟังการรณรงค์ เปิดโอกาสให้สื่อมวลชน<br />

ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ และยังเปิด<br />

โอกาสให้ ส.ส. และ ส.ว. ได้คิดและเป็น<br />

อิสระในการตัดสินใจโดยไม่จำเป็นต้องอยู่<br />

ภายใต้แนวทางของพรรค นอกจากนี้<br />

บุคคลสาธารณะ และบิ๊กเนม มีสิทธิแสดง<br />

ความเห็นและความเชื่อของตนต่อ<br />

สาธารณะได้อย่างเปิดเผย ทุกคนสามารถ<br />

เคลื่อนไหวโน้มน้าวใจผู้อื่นได้ในทุกระดับ<br />

จนนักสังเกตการณ์บางคนเรียกประชามติ<br />

ในสหราชอาณาจักรครั้งนี้ว่า สงคราม<br />

โฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ที่สุดใน<br />

ประวัติศาสตร์ และนำมาซึ่งความแตกแยก<br />

สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาเช่นกัน<br />

แม้นักวิเคราะห์จะพากันพูดเป็น<br />

เสียงเดียวว่า ปรากฏการณ์การแยกตัวของ<br />

อังกฤษออกจากอียู จะมีผลกระทบต่อไทย<br />

ในเบื้องต้นไม่มากนัก กล่าวคือ ไทยอาจ<br />

ต้องเจรจาเอฟทีเอกับสหราชอาณาจักร<br />

ต่างหาก จากปัจจุบันมีเอฟทีเอไทย-อียู<br />

เงินปอนด์อ่อน เงินบาทแข็งค่าขึ้น ราคา<br />

สินค้าส่งออกจากไทยจะมีราคาแพงขึ้น<br />

อียูอาจมีนโยบายปกป้องตลาดมากขึ้น<br />

เพิ่มอุปสรรคในการส่งออก กิจการที่ไทย<br />

ไปลงทุนในสหราชอาณาจักรและอียูเสีย<br />

โอกาสเนื่องจากตลาดลดลง และภาวะการ<br />

ค้าที่ชะงักงันระหว่างสหราชอาณาจักรกับ<br />

อียูอาจเป็นโอกาสให้ไทยเข้าไปทดแทน<br />

การตัดสินใจออกจากอียูของสหราช<br />

อาณาจักร เป็นเรื่องท้าทายประเทศต่างๆ<br />

ในโลก แม้จะอยู่บนบรรทัดฐานไม่ใช่เกิด<br />

จากปัญหาการเมือง แต่เป็นเรื่องของ<br />

เศรษฐกิจแต่ละประเทศในอียู ๒๗<br />

ประเทศ มีความแตกต่างกันมาก ขณะที่<br />

โครงสร้างของเศรษฐกิจในอียูกับการ<br />

ยกเลิกนโยบายการเงินของแต่ละประเทศ<br />

ทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับ<br />

ประเทศสมาชิกหาได้ยากมาก โดยเฉพาะ<br />

การปรับอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงเพื่อช่วย<br />

ให้แต่ละประเทศออกจากวิกฤตทำไม่ได้<br />

44<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ซึ่งประเทศใหญ่ยังต้องกันงบประมาณเพื่อ<br />

รับผิดชอบประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจ<br />

เล็กกว่า และทุกคนในประเทศเล็กๆ<br />

เข้ามาแย่งงานทำ เมื่อรวมตัวกันแล้วเกิด<br />

ปัญหา จึงสมควรแก่การอำลาจากและ<br />

แยกตัวออกมา<br />

มีการคาดการณ์ไปถึงการรวมตัวของ<br />

อาเซียน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าไม่น่าจะมี<br />

ใครอยากแยกตัว ขณะเดียวกันอาเซียนยัง<br />

ไม่ได้รวมตัวแบบแนบแน่นเหมือนอียู ยัง<br />

ไม่มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน แต่ละประเทศ<br />

ยังเป็นเอกเทศในการบริหาร แต่คำแนะนำ<br />

ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ อาเซียนต้องเอากรณี<br />

ของอียูมาเป็นบทเรียนในการรวมตัวกัน<br />

เพื่อป้องกันผลในระยะยาวที่อาจเกิด<br />

เอฟเฟคเช่นนี้บ้างก็เป็นได้<br />

นักสังคมวิทยาน่าจะให้คำตอบ<br />

กับมนุษย์โลกในยามนี้ได้ว่า เหตุใด<br />

สัญชาตญาณแห่งการรวมกันเราอยู่ แยก<br />

หมู่เราตายที่เคยใช้เป็นโมเดลมาตั้งแต่การ<br />

รวมชนเผ่าของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณ<br />

เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นกลับมาแปร<br />

เปลี่ยนเป็นการแยกตัวอยู่โดดโดด อย่างที่<br />

ประเทศเล็กประเทศน้อยซึ่งเกิดใหม่<br />

มากมายเลือกที่จะไม่รวมกับประเทศแม่<br />

อีกต่อไป แม้จะต้องแลกกับการสูญเสียที่<br />

จะตามมา สัญชาตญาณของการเอาตัว<br />

รอดของมนุษย์อยู่เหนือความเสียสละใน<br />

การจับมือกันฝ่าวิกฤต ๔๐ กว่าปีของอียู<br />

๒๗ ประเทศ มาถึงจุดแตกหักของอังกฤษ<br />

จึงเป็นอีกบทหนึ่งของการเรียนรู้ที่จะอยู่<br />

ร่วมกันบนความแตกต่างที่ไม่มีฝ่ายใด<br />

ฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบหรือได้เปรียบมาก<br />

จนก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกัน<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

45


เปิดประตูสู่เทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศ ๔๔<br />

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทางยุทธวิธี<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)<br />

อากาศยานไร้คนขับเป็น<br />

ยุทโธปกรณ์ที่ได้เข้ามามี<br />

บทบาทสำคัญต่อการพลิกโฉม<br />

ปฏิบัติการทางทหาร ห้วงทศวรรษที่<br />

ผ่านมานั้น โลกได้พบเห็นปรากฏการณ์<br />

การใช้งานอากาศยานไร้นักบินอย่างเหนือ<br />

จินตนาการ โดยเฉพาะการใช้งานใน<br />

ภารกิจด้านการข่าวและการลาดตระเวน<br />

ตรวจการณ์ ซึ่งได้ช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่<br />

ของอากาศยานที่มีนักบินได้อย่างมาก<br />

สอดคล้องกับปฏิบัติการในยุคแห่งสงคราม<br />

ข่าวสารอย่างสมบูรณ์ ภายใต้สภาพ<br />

แวดล้อมด้านความมั่นคง ที่เต็มไปด้วย<br />

ความท้าทายจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ที่<br />

ครอบคลุมตั้งแต่ภัยจากการก่อความ<br />

ไม่สงบ ไปจนถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติ<br />

จึงไม่เป็นที่แปลกใจที่อากาศยานไร้คนขับ<br />

บางรุ่นมีชั่วโมงบินสูงทะลุหนึ่งล้านชั่วโมง<br />

ไปแล้ว การใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้<br />

อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าของ<br />

ระบบควบคุมการบิน (Flight Control) ที่<br />

เป็นมันสมองในการควบคุมการบินได้<br />

อย่างชาญฉลาด ช่วยให้เครื่องสามารถ<br />

รักษาท่าทางการบินได้โดยอัตโนมัติภายใต้<br />

สภาพอากาศขณะที่บินอยู่ในห้วงอากาศ<br />

ลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม ทำให้<br />

สะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้กล้อง<br />

ตรวจจับ (Payload) ทั้งในแบบกล้องกลาง<br />

คืนและกล้องตรวจจับความร้อน ทำหน้าที่<br />

เปรียบเสมือนเป็นดวงตา รวมถึงขีดความ<br />

สามารถในการถ่ายทอดสัญญาณภาพ จาก<br />

ระยะที่ไกลเกินระยะสายตา (Beyond<br />

Line of Sight, BLoS) ไปยังสถานีภาค<br />

พื้นดิน หรืออุปกรณ์รับสัญญาณภาพได้<br />

ใกล้เคียงเวลาจริง (Real Time) จึงทำให้<br />

เหมาะสมกับภารกิจการลาดตระเวนหา<br />

46 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)


ข่าวทางยุทธวิธีและลาดตระเวนดำรงการ<br />

เกาะข้าศึก (Maintain Contact with<br />

Enemy Forces) หรือภารกิจ Humanitarian<br />

Assistance and Disaster Relief<br />

หรือ (HADR) การค้นหากรณีเกิดภัยพิบัติ<br />

เป็นการลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่<br />

สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ ช่วยให้ผู้<br />

บังคับบัญชาเกิดความตระหนักรู้ใน<br />

สถานการณ์ ณ เวลานั้น เพื่อให้มีข้อมูลใน<br />

การหาข้อตกลงใจ เจ้าหน้าที่ควบคุม<br />

อากาศยานไร้นักบินหรือที่เรียกกันอย่าง<br />

เป็นทางการว่า นักบินภายนอก สามารถ<br />

ทำการบังคับ UAV จากสถานีควบคุม<br />

ภาคพื้นดิน (Ground Control Station)<br />

ในระยะที่ปลอดภัยและยังช่วยลดภาระ<br />

งานของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี<br />

ภารกิจที่อากาศยานไร้คนขับขนาด<br />

เล็กทางยุทธวิธีสามารถตอบสนองได้ดีคือ<br />

ภารกิจการลาดตระเวน ซึ่งมี ๓ แบบ ดังนี้<br />

การลาดตระเวนเส้นทาง ลาดตระเวนพื้นที่<br />

และลาดตระเวนเขต ซึ่งการลาดตระเวน<br />

เส้นทาง เป็นการปฏิบัติการเพื่อให้ได้<br />

ข่าวสารเกี่ยวกับเส้นทาง การลาดตระเวน<br />

พื้นที่คือการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ข่าวสาร<br />

ในรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางทั้งปวง<br />

เพื่อให้ได้ข่าวสารเกี่ยวกับตำบลที่ตั้งหนึ่งๆ<br />

โดยเฉพาะ เช่น หมู่บ้าน หย่อมป่า หรือ<br />

ตามแม่น้ำ เพื่อค้นหาข้าศึกที่อาจจะมีอยู่<br />

หรือพิจารณาหาความเหมาะสมที่จะใช้<br />

พื้นที่นั้น หรือเพื่อให้หน่วยทหารฝ่าย<br />

เดียวกันใช้พื้นที่นั้นในลักษณะอย่างอื่น<br />

การลาดตระเวนเขตเป็นการปฏิบัติการ<br />

หาข่าวสารภายในขอบเขตที่กำหนดขึ้น<br />

เมื่อที่ตั ้งของข้าศึกยังไม่ทราบได้กระจ่าง<br />

ชัด ดังนั้นภารกิจเหล่านี้จึงเหมาะกับการ<br />

ใช้งาน UAV ที่มีขนาดเล็กมาก มีน้ำหนัก<br />

เบา ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Low<br />

noise signature) สะดวกต่อการเคลื่อน<br />

ย้ายและพกพา<br />

สำหรับสถานภาพการใช้งาน<br />

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทางยุทธวิธี<br />

หรือ Mini UAV นั้น ใช้สำหรับภารกิจ<br />

ตรวจการณ์และการลาดตระเวนของ<br />

หน่วยดำเนินกลยุทธ์เดินเท้า เป็นระบบที่<br />

ส่งขึ้นบินด้วยการปาขึ้นและร่อนลงโดยใช้<br />

ร่มหรือการร่อนลงจอด ตัดปัญหาเรื่องของ<br />

การใช้สนามบิน ขนาดของอากาศยานต้อง<br />

มีขนาดเล็กเพียงพอที่จะนำพาไปได้ด้วย<br />

บุคคล ใช้งานง่ายและไม่ต้องเตรียมการ<br />

มาก ทำการบินโดยอาศัยระบบควบคุม<br />

การบินที่ทำหน้าที่รักษาท่าทางการบินโดย<br />

อัตโนมัติ ผู้ควบคุมสามารถกำหนดเส้น<br />

ทางการบินด้วยการกำหนด Way Points<br />

รวมทั้งจุดบินกลับมายังที่ตั้งหรือฟังก์ชัน<br />

Return Home และจุดร่อนลงฉุกเฉิน<br />

อีกทั้งยังสามารถบินติดตามเป้าหมาย<br />

(Target Tracking) ได้อีกด้วย สำหรับ<br />

โครงสร้างลำตัวของอากาศยานผลิตจาก<br />

วัสดุคอมโพสิตที่มีน้ำหนักเบาแต่มีความ<br />

แข็งแรงทนทาน สะดวกและง่ายต่อการ<br />

ซ่อมบำรุง ในปัจจุบันมีอากาศยานไร้<br />

คนขับหลายรุ่นได้รับการพัฒนาขึ้นมา<br />

หลายแบบ ซึ่งแบบที่น่าสนใจมีรายละเอียด<br />

ดังนี้<br />

Raven เป็นอากาศยานไร้คนขับ<br />

ขนาดเล็กทางยุทธวิธี ผลิตโดยบริษัท<br />

Aero Vironment ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ติดตั้งด้วยกล้อง กล้อง EO หรือ IR มีระยะ<br />

ปฏิบัติการที่ ๑๐ กม. ปฏิบัติการได้นาน<br />

ต่อเนื่อง ๔๕ นาที ความยาวลำตัว ๐.๙๑<br />

ม. กางปีก ๑.๓๗ ม. น้ำหนัก ๑.๙ กก.<br />

เพดานบิน ๑๔,๐๐๐ ฟุต Raven เป็น<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 47


อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทางยุทธวิธี<br />

รุ่นแรกๆ ที่มีการผลิตขึ้นและนำไปใช้งาน<br />

ในหลายประเทศ<br />

Skylark ออกแบบและผลิตโดย<br />

บริษัท Elbit Systems ประเทศอิสราเอล<br />

ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่บริเวณ<br />

ด้านหน้า โดยมีกล้อง EO หรือ IR ระยะ<br />

เวลาปฏิบัติการ ๖๐ นาที เพดานบิน<br />

๑๕,๐๐๐ ฟุต ระยะปฏิบัติการ ๑๐ กม.<br />

ส่งขึ้นด้วยมือและร่อนลงจอด โดยมีถุงลม<br />

ติดตั้งอยู่บริเวณใต้ท้องเครื่องเพื่อช่วยลด<br />

แรงกระแทก มีใช้ในประเทศอิสราเอล<br />

ออสเตรเลีย<br />

นอกจากนี้ยังมีอากาศยานไร้คนขับ<br />

ขนาดเล็กทางยุทธวิธีรุ่น Aladin ของ<br />

บริษัท EMT ประเทศเยอรมนี และ Sky<br />

Blade ของบริษัท ST Aerospace<br />

ประเทศสิงคโปร์ ที่มีกล้อง EO หรือ IR<br />

หมุนได้รอบตัว ๓๖๐ องศา อย่างไรก็ตาม<br />

โจทย์สำคัญที่ผู้ออกแบบอากาศยาน<br />

ต้องหาคำตอบคือการป้องกันไม่ให้<br />

อากาศยานได้รับความเสียหายระหว่าง<br />

การลงจอด ซึ่งบริษัท WB Electronics<br />

ประเทศโปแลนด์ ได้พัฒนา Fly Eye มา<br />

ให้ชุด Payload และระบบขับเคลื่อนถูก<br />

ปลดออก พร้อมกับกางร่ม ในขณะที่เครื่อง<br />

กำลังบินอยู่บนระดับความสูงที่เหมาะสม<br />

เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับ<br />

Aladin ของบริษัท EMT<br />

Sky Blade ของบริษัท ST Aerospace<br />

การกระแทกได้ โดยระบบควบคุมการบิน<br />

จะคำนวณระดับความสูงที่เหมาะสมโดย<br />

อัตโนมัติ นอกจากนี้ Fly Eye ยังสามารถ<br />

ทำการเชื่อมต่อกับระบบควบคุมการยิง<br />

และระบบอำนวยการรบ เพิ่มความรวดเร็ว<br />

ในการส่งข้อมูลจากผู้ตรวจการณ์หน้า<br />

Fly Eye ของบริษัท WB Electronics<br />

ไปยังศูนย์อำนวยการยิงให้กับหน่วยทหาร<br />

ปืนใหญ่ได้อีกด้วย<br />

TEagle Eye III เป็นอากาศยานไร้<br />

นักบินที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง<br />

สทป. และโรงเรียนนายเรืออากาศ มีขีด<br />

ความสามารถและคุณลักษณะที่เทียบเท่า<br />

หรือดีกว่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งใน<br />

ด้านของระยะเวลาปฏิบัติการและรัศมี<br />

ปฏิบัติการ สามารถบินได้นาน ๖๐ นาที<br />

ด้วยระยะปฏิบัติการ ๑๐ กม. เพดานบิน<br />

สูงสุดที่ระดับความสูง ๑๕,๐๐๐ ฟุต พร้อม<br />

ติดตั้งด้วยกล้องที่หมุนได้รอบตัว ๓๖๐<br />

องศา และสิ่งที่ TEagle Eye เหนือกว่า<br />

ระบบอื่นๆ คือ ระบบควบคุมการบินที่<br />

พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Flight<br />

Control ทำให้ตอบสนองต่อสภาพอากาศ<br />

ได้อย่างชาญฉลาด ระบบสื่อสารและการ<br />

ลงจอดด้วยร่มชูชีพที่จะช่วยให้ TEagle<br />

Eye III ได้ในบริเวณพื้นที่จำกัด ปราศจาก<br />

แรงกระแทกลดความเสียหายที่อาจจะเกิด<br />

ขึ้นกับระบบภายใน ช่วยยืดอายุการใช้งาน<br />

ของระบบได้เป็นอย่างดี<br />

อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก TEagle<br />

Eye III Mini UAV เป็นอากาศยานไร้นักบิน<br />

ที่มีน้ำหนักเบา ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์<br />

ไฟฟ้า ทำให้ปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่องเป็น<br />

เวลานาน และไม่ส่งเสียงดัง (Low noise<br />

signature) สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย<br />

เหมาะสมกับภารกิจการลาดตระเวนและ<br />

ตรวจการณ์ ช่วยเพิ่มความตระหนักรู้<br />

(Situational Awareness), ค้นหาเป้า<br />

หมาย (Target Acquisition) และประเมิน<br />

ความเสียหาย (Battle Damage Assessment)<br />

องค์ประกอบหลักของ TEagle Eye<br />

ได้แก่ ระบบควบคุมการบิน หรือ Flight<br />

Control System และโครงสร้างที่พัฒนา<br />

ขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตามมาตรฐาน<br />

สากล ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรง<br />

ทนทาน ด้วยกระบวนการผลิตที่ได้รับการ<br />

http://www.mindef.gov.sg/imindef/press_room/official_releases/nr/2013/jan/15jan13_nr2.html#.V2e1_k9lLA4<br />

48 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)


ยอมรับจากอุตสาหกรรมอากาศในต่าง<br />

ประเทศ เป็นหลักประกันถึงคุณภาพและ<br />

มาตรฐานของ TEagle Eye UAV รวมถึง<br />

ระบบการส่งกำลังบำรุง ที่จะช่วยอำนวย<br />

ความสะดวกให้หน่วยผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว<br />

และทันต่อสถานการณ์ TEagle Eye หนึ่ง<br />

ระบบประกอบไปด้วย TEagle Eye<br />

จำนวน ๒ ลำ สถานีควบคุมภาคพื้นดิน<br />

เสาอากาศแบบ Tracking คู่มือการใช้งาน<br />

ชิ้นส่วนและอะไหล่สำรอง<br />

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก<br />

ได้กลายมาเป็นยุทโธปกรณ์พื้นฐานแห่ง<br />

สมรภูมิในปัจจุบัน ที่มีการขับเคลื่อนโดย<br />

ความต้องการใช้งานทางยุทธวิธีและการ<br />

แพร่ขยายของเทคโนโลยีที่มีหัวใจสำคัญ<br />

เป็นระบบควบคุมการบิน (Flight Control)<br />

ระบบสื่อสาร ระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์<br />

ติดตั้งหรือ Payload สำหรับแนวโน้มของ<br />

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กทางยุทธวิธี<br />

นั้นอยู่ในรูปแบบของการพัฒนาเพื่อเพิ่ม<br />

ระยะเวลาปฏิบัติการให้บินได้นานขึ้น<br />

ในขณะนี้ได้มีการแสวงหาแหล่งพลังงาน<br />

ในรูปแบบของเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง<br />

(Fuel Cell) ที่ช่วยให้บินได้นานต่อเนื่อง<br />

กว่าเดิมหลายเท่า นอกจากนี้ยังมี<br />

การพัฒนาระบบควบคุมการบินให้<br />

สามารถทำงานร่วมกับระบบอำนวยการ<br />

รบ (Battle Management System)<br />

ระบบอำนวยการยิง (Fire Control<br />

System) ของยุทโธปกรณ์ประเภท<br />

ปืนใหญ่สนามได้อย่างประสานสอดคล้อง<br />

รวมถึงการผนวกโปรแกรมช่วยฝึกที่จำลอง<br />

สภาพแวดล้อม สถานการณ์และการ<br />

วางแผนภารกิจ (Mission Planner) เข้า<br />

เป็นระบบเดียวกัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้<br />

การใช้งานและเพิ่มพูนทักษะได้อย่าง<br />

รวดเร็ว ซึ่งแนวทางการพัฒนาเหล่านี้มี<br />

การดำเนินการวิจัยและพัฒนาภายใน<br />

ประเทศโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกัน<br />

ประเทศ หน่วยงานวิจัยของกองทัพ<br />

ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ที่มีส่วน<br />

สำคัญที่ช่วยให้ในปัจจุบันประเทศไทย<br />

สามารถพึ่งพาตนเองด้านอากาศยานไร้คน<br />

ขับได้มากขึ้น ซึ่งนอกจากเป็นการประหยัด<br />

งบประมาณแผ่นดินแล้ว ยังเป็นการสร้าง<br />

นวัตกรรมให้เกิดขึ้นภายในประเทศ<br />

อีกด้วย<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 49


จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กในสังคม<br />

ยุคปัจจุบัน ที่ทุกวันนี้เราเห็น<br />

เด็กยุคนี้ได้ถือสมาร์ทโฟนเซลฟี่ มีไอแพด<br />

ไว้เล่นเกมกันตั้งแต่เล็กๆ ความสบาย<br />

ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะเพียงแค่ครอบครัว<br />

คนรวยเท่านั้น แต่ครอบครัวที่ไม่รวยก็<br />

พยายามเลี้ยงลูกไม่ให้ลำบาก จึงทำให้<br />

เด็กไทยมีโรคใหม่ติดตัวที่ชื่อว่า “โรคไม่รู้<br />

จักความลำบาก”<br />

“โรคไม่รู้จักความลำบาก” โรค<br />

ใหม่ที่เกิดขึ้นสำหรับเด็กๆ และจะกลาย<br />

เป็นปัญหาต่อการเติบโตหากพ่อแม่ไม่ได้<br />

เตือนพ่อแม่<br />

ระวังโรคใหม่<br />

“โรคไม่รู้จักความลำบาก”!!<br />

แผนกเผยแพร่ฯ<br />

50<br />

แผนกเผยแพร่ฯ


เลือกสร้างภูมิคุ้มกันของความลำบาก<br />

ให้ลูก ไม่เลือกให้ลูกได้ออกไปพบเจอโลก<br />

ของความจริงที่ว่า ชีวิตแม้ว่าจะรวยหรือ<br />

จนก็ไม่มีใครสบายได้ตลอดไป ต้องมีความ<br />

ลำบาก ความทุกข์ เกิดขึ้นปะปนกันไป ดังนั้น<br />

การเลือกสอนให้ลูกรู้จักกับความลำบาก<br />

ฝึกลูกให้มีหน้าที่รับผิดชอบ รู้การแบ่งปัน<br />

การให้ และเรียนรู้ หรือพยายามทำด้วยตัว<br />

เองได้ตั้งแต่เด็กย่อมเป็นสิ่งที่ดี<br />

สาเหตุที่เด็กเป็นโรคไม่รู้จักความ<br />

ลำบาก<br />

๑. มีเทคโนโลยีครอบงำ<br />

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีใน<br />

ปัจจุบันอย่างการใช้สมาร์ทโฟน แทปเล็ต<br />

ได้กลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทกับเด็กๆ<br />

ตั้งแต่ตัวเล็กในยุคดิจิทัล และมีอิทธิพล<br />

มากขึ้นกว่าในสมัยก่อน ซึ่งมีให้เลือก<br />

หลายแบบ หลายราคา ที่จับต้องได้ ทำให้<br />

พ่อแม่ยุคใหม่หยิบยื่นให้ลูกใช้ง่ายๆ ทั้งๆ<br />

ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร และไม่พยายาม<br />

ปฏิเสธหรือเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูก<br />

ไปทำกิจกรรมอย่างอื่น<br />

๒. อยากให้ลูกสบายเป็นผล<br />

ทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว<br />

การมีพี่เลี้ยงไว้คอยดูแลลูกน้อย<br />

เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่อันเหนื่อยหนัก<br />

ของพ่อแม่ โดยไม่ยอมสอนลูกให้ลองทำ<br />

อะไรด้วยตัวเอง จนลูกไม่สามารถทำอะไร<br />

เป็นได้ เมื่อเติบโตขึ้นในสังคม เช่น เริ่มต้น<br />

เข้าโรงเรียนก็จะกลายเป็นภาระให้กับ<br />

บุคคลรอบข้างที่ต้องคอยช่วยเหลือ<br />

๓. ปกป้องลูกมากเกินไป<br />

เพราะความกังวลเกรงว่าจะเกิด<br />

อันตรายกับลูกรัก จึงไม่หาโอกาสพาลูก<br />

ออกไปเปิดประสบการณ์ต่อโลกภายนอก<br />

และจำกัดที่ทางให้ลูกอยู่ภายใน comfort<br />

zone ยอมให้ลูกนั่งดูทีวี เปิดยูทูป เล่นเกม<br />

ในไอแพด ซึ่งเป็นการปิดโอกาสให้เด็ก<br />

เรียนรู้กับสังคมภายนอก และไม่รู้จักกับ<br />

การแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนดี<br />

กับคนไม่ดี ขาดการสังเกตและเรียนรู้<br />

๔. ไม่ยอมปล่อยให้ลูกลำบาก<br />

เพราะพ่อแม่เคยลำบากมาก่อน<br />

เพราะไม่อยากให้ลูกมีชีวิต<br />

เหมือนที่ตนเองเคยเป็นมาก่อน พอฐานะ<br />

ดีขึ้นจึงส่งเสริมและเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ เงิน<br />

ทอง ฯลฯ เหล่านี้จะทำให้เด็กกลายเป็น<br />

คนขาดความอดทน ไม่มีความมั่นคงใน<br />

จิตใจ อ่อนแอ และแข็งกระด้าง<br />

๕. การใช้ชีวิตติดรูปแบบจาก<br />

อิทธิพลของสื่อ<br />

ด้วยเทคโนโลยีที่เข้าถึงอย่าง<br />

รวดเร็ว และมีการนำเสนอรูปแบบการใช้<br />

ชีวิตที่ดูสวยหรูผ่านสื่อทุกช่องทาง ไม่ว่าจะ<br />

เป็นโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์อย่าง<br />

เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ มีการโชว์<br />

และแชร์ถ่ายภาพ อวดของหรู ชูของสวย<br />

ด้วยอิทธิพลของสื่อเองและการเลี้ยงลูก<br />

แบบตามใจมาก่อน ทำให้เด็กเกิดความ<br />

อยากได้อยากมีตามกระแสสังคม<br />

ดังนั้น โรคไม่รู้จักความลำบากของ<br />

เด็กไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม แต่<br />

หากพ่อแม่รับรู้ถึงผลกระทบที่ตามมาแล้ว<br />

ก็สามารถที่จะเตรียมวัคซีน “วินัยวุฒิ<br />

ภาวะ” เพื่อเตรียมรับมือและฝึกลูก<br />

ให้เริ่มต้นตั้งแต่เล็กๆ ก่อนที่จะสายเกินแก้<br />

นะคะ<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

ที่มา : บทความจาก FB Basic-Skill for young children<br />

51


“Mother” พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ<br />

เดือนสิงหาคมเดือนแห่งวันแม่ เรา<br />

จะได้ยินเสียงเพลง “ค่าน้ำนม”<br />

ที่ครูในโรงเรียนมักจะสอนให้เด็กๆ<br />

ร้องเพลงนี้และจะให้ทำกิจกรรมด้วยการ<br />

ทำบัตรอวยพรวันแม่ หรือเชิญแม่ให้ไป<br />

พบปะลูกๆ ที่โรงเรียน ผู้เขียนเป็นคนหนึ่ง<br />

ที่จะรับโอกาสดีๆ เช่นนี้ในการเป็นตัวแทน<br />

แม่ไปพบกับลูกๆ ที่โรงเรียนเช่นกัน และได้<br />

เห็นบรรยากาศที่แสนจะอบอุ่นระหว่างแม่<br />

ลูกที่ได้แสดงความรัก ความผูกพัน<br />

เฉกเช่นตอนหนึ่งของเพลงค่าน้ำนม ที่<br />

ขึ้นต้นว่า<br />

“แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้า<br />

หวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล แม่<br />

เราเฝ้าโอ้ละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปล<br />

ไม่ห่างหันเหไปจนไกล เมื่อเล็กจนโตโอ้แม่<br />

ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปัก<br />

ดวงใจ เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนา<br />

อะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม” ฟังเพลง<br />

นี้ทุกครั้ง น้ำตาก็ไหลมาเกือบทุกครั้ง<br />

อาจจะเป็นว่าเราคิดถึงแม่ หรือเรารู้สึกผิด<br />

ที่ไม่ได้ดูแลแม่ดีพอหรือไม่ก็ไม่แน่ใจ<br />

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่สมัยเด็กๆ ค่อนข้างดื้อ<br />

กับแม่มาก เราเป็นคนที่มีเหตุผลเยอะ<br />

ต้องการคำอธิบายเกือบทุกเรื่อง ในขณะที่<br />

ในบางครั้งแม่ก็คงจะเหนื่อยที่จะอธิบายให้<br />

เราฟังทุกเรื่อง แต่สิ่งที่ผู้เขียนประทับใจ<br />

มากที่สุดก็คือ ทุกครั้งที่กลับบ้าน แม่จะจัด<br />

เตรียมอาหารไว้เสมอ ขนม นมเนย ไม่ขาด<br />

และที่สำคัญท่านจะรู้ใจเราเสมอว่า เรา<br />

ชอบกินอะไร กลับบ้านมืดค่ำ ก็รอจนกว่า<br />

เรากลับบ้าน จนผู้เขียนอายุ ๔๘ แล้วกลับ<br />

ไปบ้านที่สงขลาทีไร แม่คงลืมไปว่าเราโต<br />

แล้ว ยังทำอาหารที่ชอบให้กินเหมือนเดิม<br />

มาดูแลว่าเข้านอนและรอเรากลับบ้าน<br />

เหมือนเดิม วันนี้คุณแม่ของผู้เขียนได้จาก<br />

ไปสองปีแล้วแต่ความทรงจำที่ดียังอยู่ในใจ<br />

เสมอ จึงขอใช้โอกาสนี้ฝากบอกผู้อ่าน<br />

ทั้งหลายที่คุณพ่อ คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ใช้<br />

เวลาอยู่กับท่านบ้างนะคะ คนแก่ไม่<br />

ต้องการอะไรมากมายค่ะ เพียงแค่แวะไป<br />

เยี่ยมเยียนท่านบ้าง ทำให้ท่านได้ชื่นใจบ้าง<br />

แค่นี้ก็ทำให้ชีวิตท่านมีความสุขแล้ว<br />

เรามาเปลี่ยนจากอารมณ์ซึ้งๆ<br />

มาเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับ คำว่า แม่ ใน<br />

ภาษาอังกฤษกันค่ะ ผู้อ่านเคยสังเกตไหมคะ<br />

ว่าคำว่า แม่ ในเกือบทุกๆ ภาษาจะออก<br />

เสียงด้วยเสียงอักษร ม หรือ m ที่ออกเสียง<br />

ออกมาเป็น ม่ะ มา เป็นต้น เช่น Mutter<br />

(ภาษาเยอรมัน) Mere (ภาษาฝรั่งเศส)<br />

Majka (ภาษาเซอร์เบีย) Mat’ (ภาษา<br />

รัสเซีย) Madre (ภาษาสเปน) Moder<br />

(ภาษาสวีเดน) Mathair (ภาษาไอริช)<br />

52<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


Mataji (ภาษาฮินดี) Mooir (ภาษาไอซ์<br />

แลนด์) หรือ Mama (ภาษาจีน, ภาษาสวา<br />

ฮีลี และภาษาอังกฤษ) เป็นต้น แต่ภาษา<br />

ทางการที่ภาษาอังกฤษใช้คือ คำว่า mother<br />

ออกเสียงว่า ม้า เฑอร์ (maoo) คือเราจะ<br />

ไม่ออกเสียงเป็น ม้าเต๊อะ หรือ ม้าเทอะ แต่<br />

จะออกเสียงที่คล้ายๆ เสียง เดอะ แต่ต้อง<br />

เอาลิ้นแลบออกมาระหว่างฟันแล้ว<br />

พ่นลมออกมาเบาๆ เป็น “ ม้าเฑอร์” ลอง<br />

ฝึกดูค่ะ<br />

ต่อไปเรามาดูคำอธิบายเกี่ยวกับ<br />

คำว่า mother กันบ้างว่า เขาอธิบายไว้<br />

อย่างไร เผื่อเราอาจจะต้องใช้ในการเขียน<br />

เรียงความหรือ essay ในงานวิจัยหรือ<br />

เอกสารทางวิชาการก็ตาม จากเว็บไซต์<br />

Free dictionary (http://www.thefreedictionary.com/mothered)<br />

ได้ให้<br />

คำจำกัดความ mother ไว้ว่า<br />

๑. A woman who gives birth to<br />

a child. (ผู้หญิงผู้ให้กำเนิดบุตร)<br />

๒. A woman whose egg unites<br />

with a sperm, producing an embryo.<br />

(ผู้หญิงที่มีไข่ผสมกับสเปริ์มและผลิต<br />

ตัวอ่อน)<br />

๓. A woman who adopts a<br />

child. (ผู้หญิงที่เลี้ยงดูบุตร)<br />

๔. A woman who raises a child.<br />

(ผู้หญิงที่ดูแลอบรมบุตร)<br />

มร.ฮาว์เวิร์ด จอหน์สัน (Mr.<br />

Howard Johnson) ได้แต่งกลอนออกแนว<br />

น่ารักสำหรับการแทนความหมายต่างๆ<br />

ด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ สื่อว่าคำว่าแม่<br />

M-O-T-H-E-R มาอ่านและหัดแปลกันค่ะ<br />

“M” is for the million things she<br />

gave me (ล้านๆ สิ่งที่แม่มอบให้)<br />

“O” means only that she’s growing<br />

old (เพียงแค่แม่แก่ชราลง)<br />

“T” is for the tears she shed to save<br />

me (น้ำตาที่แม่ปกป้องฉัน)<br />

“H” is for her heart of purest gold<br />

(หัวใจที่บริสุทธิ์ดังทองคำ)<br />

“E” is for her eyes, with love-light<br />

shining (สายตาที่ส่องประกายแห่ง<br />

ความรัก)<br />

“R” means right, and right she’ll<br />

always be (แม่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ)<br />

Put them all together, they spell<br />

“MOTHER” (เมื่อนำคำทั้งหมดมารวมกัน<br />

สะกดว่า mother)<br />

A word that means the world to me.<br />

(คำนี้หมายถึง โลก สำหรับฉัน)<br />

ท้ายสุด ฝากตัวอย่างการอวยพร<br />

ในการ์ดวันแม่ให้นำไปปรับใช้ค่ะ<br />

• ขอบคุณที่ให้ความรักมากมาย<br />

แก่ฉันตลอดปีนี้ รักแม่นะ สุขสันต์วันแม่<br />

(Thank you for giving me so much<br />

love all these years I love you Mom<br />

Happy Mother’s Day)<br />

• แด่คุณแม่ที่แสนยอดเยี่ยมและ<br />

เพื่อนที่แสนพิเศษของลูก สุขสันต์วันแม่<br />

(To a wonderful Mom and a very<br />

special friend to me Happy Mother’s<br />

Day)<br />

• ขอบคุณที่ให้โอกาสลูกอีกครั้งเสมอ<br />

รักแม่จ้ะ สุขสันต์วันแม่<br />

(Thank you for always giving me a<br />

second chance I love you Mom<br />

Happy Mother’s Day)<br />

• ขอบคุณสำหรับการสอนลูกให้รู้ผิด<br />

รู้ถูก รักแม่มาก สุขสันต์วันแม่<br />

(Thank you for teaching me right<br />

from wrong I love you Mom Happy<br />

Mother’s Day)<br />

• ขอบคุณที่ให้เวลาลูกได้ค้นพบ<br />

ตัวเอง รักแม่มาก สุขสันต์วันแม่<br />

(Thank you for giving me time to find<br />

myself I love you Mom Happy<br />

Mother’s Day)<br />

“ Love you Mom”<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

“ฝนตกครั้งใด อย่าลืมใส่ใจภัยในบ้าน”<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน้าฝน...เด็กๆ ก็คงชอบอากาศ<br />

หลังฝนตกที่ทั้งสะอาดและ<br />

สดชื่นแต่สิ่งที่ไม่มีใครชอบก็คือ<br />

ความเฉอะแฉะ น้ำเจิ่งนองไปไหนมาไหน<br />

ก็ไม่สะดวก นี่ยังไม่ได้พูดถึงภาวะน้ำท่วม<br />

ที่เป็นมหันตภัยที่มักมาพร้อมฤดูฝน ใน<br />

ขณะที่หลายๆ ครอบครัวเจอปัญหาน้ำเข้า<br />

บ้าน บรรดาสัตว์ทั้งหลายก็ต้องลำบาก<br />

ลำบนไม่น้อยไปกว่าคน ที่ต้องพากันหนีน้ำ<br />

จ้าละหวั่นและสถานที่หลบภัยอันเป็นที่<br />

นิยมของพวกมันก็คือ...บ้านคน<br />

ซึ่งนั่นไม่ได้เพียงสร้างความน่า<br />

รำคาญหรือขยะแขยงให้แก่เด็กๆ แต่มัน<br />

อาจนำมาซึ่งการเสียชีวิต...! โดยเฉพาะ<br />

สัตว์พิษร้ายทั้งหลายที่มักซุกซ่อนอยู่ในที่<br />

ที่เราคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นใต้บันได-ซอก<br />

ตู้-กองผ้าที่รอซัก-ใต้ผ้าห่ม แม้กระทั่งใน<br />

ถุงเท้านักเรียนของลูก...หรือแม้แต่จู่ๆ ก็<br />

เลื้อยยั้วเยี้ยอย่างท้าทายเข้ามาในบ้าน<br />

อย่างไม่ทันตั้งหลัก<br />

หน้าฝนระวัง... สัตว์มีพิษ<br />

แมงป่อง<br />

ตัวเล็กๆ แต่ต่อยทีเดียว ช่างแสน<br />

ปวดทรมาน หรือ...ถึงตาย พิษร้ายของมัน<br />

อยู่ที่ปลายหางซึ่งยกขึ้นดูน่ากลัวเด็กๆ<br />

(หรือแม้แต่ผู้ใหญ่) หากโดนมันตวัดหาง<br />

ต่อยเข้า จึ๊กเดียว จะถึงกับปวดแปล๊บทันที<br />

แล้วพอถึงนาทีที่ ๓๐ จะรู้สึกปวดมาก ทั้ง<br />

บวมแดง และแสบร้อน ปวดหัว อาเจียน<br />

มีไข้สูง หัวใจเต้นรัว หากไม่รีบรักษา อาจ<br />

มีอาการชัก น้ำคั่งปอด และอาจเสียชีวิต<br />

จากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ การ<br />

หายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุดช่วง<br />

หน้าฝน...ในเวลากลางวันมันชอบหมกอยู่<br />

ตาม ซอกหิน, ซอกไม้ แต่พอพลบค่ำยิ่งเป็น<br />

ช่วงหน้าฝนมันมักจะโผล่มาเห็นมากกว่า<br />

ในฤดูอื่น คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสำรวจ<br />

ตรวจตรา โดยเฉพาะตามผนังห้อง (ทุก<br />

ห้อง), ในห้องน้ำ, ห้องครัว, กระทั่งในท่อ<br />

แอร์<br />

ตะขาบ<br />

แค่นึกถึงรูปลักษณ์อันน่าสยดสยอง<br />

ของมันก็ขนลุกเกรียวแล้ว ยิ่งรู้ว่าพิษร้าย<br />

ของมันฉกาจฉกรรจ์ไม่เบา ก็ยิ่งภาวนาว่า<br />

อย่าให้ได้เจอกันเลย แต่เขตร้อนชื้นอย่าง<br />

54<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


บ้านเรานั้นตะขาบชุกซะด้วยซิครับ ยิ่ง<br />

หน้าฝนก็ยิ่งยั้วเยี้ย ในตอนกลางวันมันก็<br />

เหมือนแมงป่องที่ชอบซุ่มอยู่ในที่เย็นๆ<br />

(โดยมากเป็นแถวใต้ก้อนหิน) กลางคืนมัน<br />

ถึงจะเลื้อยออกมาหาเหยื่อ เช่นแมลงต่างๆ<br />

เขี้ยวพิษของตะขาบ มีอยู่ ๑ คู่ ซึ่งอยู่ที่<br />

ปล้องแรกของลำตัว ใครโดนมันกัดจะมี<br />

รอยเขี้ยวเป็นจุดเลือด ๒ จุด แผลจะ<br />

เหมือนรอยไหม้ พิษของตะขาบจะแผ่<br />

ซ่าน เกิดอาการบวมแดง ปวด ร้อน<br />

อาเจียน ปวดหัว มึนงง กระทั่งเป็น<br />

อัมพาตในบริเวณที่ถูกมันกัด แถมอาจมี<br />

การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนด้วยครับ<br />

งู<br />

นอกจากสัตว์ร้ายสองชนิดที่พึงต้อง<br />

ระวังแล้ว “งู” ยังเป็นอสรพิษซึ่งมักเป็น<br />

แขกที่ไม่ได้เชิญในฤดูฝนชุก บ้านใครอยู่<br />

ใกล้แหล่งน้ำต้องไม่ลืมว่า มันมักหนีน้ำขึ้น<br />

มาซุก หรือถึงกับโผล่พรวดเข้ามาในบ้าน<br />

งูเมืองไทยมีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบ<br />

ไม่มีพิษ และมีพิษ (ที่มีพิษร้าย เช่น งูเห่า<br />

ไทย, งูจงอาง, งูสามเหลี่ยม, งูทับสมิงคลา,<br />

งูแมวเซา, งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้<br />

หากลูกถูกงูกัด ให้รีบดูที่บาดแผล ถ้า<br />

โดนงูไม่มีพิษกัดแผลของลูกจะมีเป็นแค่<br />

รอยฟันงูเป็นรูปครึ่งวงกลม ไม่มีรูหรือรอย<br />

เขี้ยว ถ้าเป็นงูพิษจะมีรอยเขี้ยว มี ๒ รอย<br />

ระยะห่างกันประมาณ ๐.๕ – ๓ เซนติเมตร<br />

(แล้วแต่ว่าเจ้างูตัวเล็กหรือตัวใหญ่) แต่ก็<br />

ไม่แน่เสมอไปนะครับ เพราะถ้ามันงับ<br />

มากกว่าหนึ่งครั้ง ก็จะอาจจะมีหลายรอย<br />

(หลายรู) หรือถ้างับไม่จมเขี้ยวก็อาจมี<br />

เหมือนรอยข่วนหรืออาจเห็นเพียงรอยข้าง<br />

เดียว แต่ถึงอย่างไรพิษของมันก็ซึมแทรก<br />

เข้าสู่ร่างกายได้เสมอ นอกจากนั้นลักษณะ<br />

ของงูที่มีพิษนั้น ตาของมันจะเรียวรี รูจมูก<br />

ทั้งสองรูจะอยู่ข้างๆ หัวของมันเป็นรูป<br />

สามเหลี่ยมและมักมีรอยบุ๋มอยู่ตรงกลาง<br />

ระหว่างหัวตา หลังจากถูกงูพิษกัด จะเกิด<br />

อาการบวม ปวดแผลที่ถูกกัด มีเลือดออก<br />

ใต้ผิวหนัง อ่อนแรงลงเรื่อยๆ พูดอ้อๆ แอ้ๆ<br />

หายใจติดๆ ขัดๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไตวาย<br />

อาเจียน หมดสติ และเสียชีวิต (อาการ<br />

อาจแตกต่างกันบ้าง แล้วแต่โดนงูพิษชนิด<br />

ใด) เพื ่อมิให้พิษงูแผ่ซ่านอย่างรวดเร็ว<br />

ใครถูกงูพิษกัดให้นอนนิ่งๆ ไม่ต้องให้ดื่ม<br />

สิ่งกระตุ้นใดๆ เป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นชา<br />

กาแฟ หรือเครื่องดื่มกาเฟอีนทั้งหลาย<br />

วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดนอสรพิษ<br />

ทั้งหลายกัด หรือต่อย แม้ลูกโดนงูไร้พิษ<br />

ฉกกัดก็ใช่ว่าจะละเลยหรือแค่ทายาหม่อง<br />

แต่จะต้องพาลูกไปห้องน้ำแล้วเปิดก๊อก<br />

ล้างแผลให้น้ำไหลผ่านให้มากๆ จากนั้น<br />

เช็ดให้แห้งแล้วทาด้วยครีมปฏิชีวนะและ<br />

ปิดด้วยผ้าพันแผล แล้วพาไปพบแพทย์<br />

เพื่อให้แพทย์พิจารณาฉีดยากันบาดทะยัก<br />

แมลงกัดต่อย ช่วงฝนชุก สัตว์พิษ<br />

ร้ายอาจเป็นเพียงแขกขาจร แต่แขก<br />

ขาประจำตัวจริงก็คือที่ นั่นก็คือ...บรรดา<br />

แมลงสารพัดชนิดที่มักแห่กันมาเป็น<br />

กองทัพ ยังดีที่โดยมากก็มักแค่สร้างความ<br />

รำคาญปนขยะแขยงให้แก่ลูกๆ ของ<br />

เรา แต่ยังมีแมลงอีกหลายพันธุ์ที่ทั้งต่อย<br />

ทั้งกัดทุกคนที่ขวางหน้า ทำให้เด็กๆ เกิด<br />

อาการคันหรือเจ็บจี๊ด บางคนก็ถึงกับเกิด<br />

เป็นภูมิแพ้หลังถูกแมลงกัดต่อย อาจจะ<br />

ภายในไม่กี่นาที หรือหลายวันหลังจากนั้น<br />

อาการภูมิแพ้มีตั้งแต่คัน และปวดบริเวณ<br />

ที่ถูกต่อยถูกกัด, เป็นลมพิษ, ปวดข้อปวด<br />

กระดูก, ไข้ขึ้น บางรายมีอาการมาก มัก<br />

อาเจียน, ปวดท้อง, ปวดหัว, คอบวม,<br />

เป็นลม และอาจถึงกับเสียชีวิต กรณี<br />

ลูกมีอาการแพ้มากให้รีบนำส่งโรงพยาบาล<br />

โดยทันที<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

55


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเททองยอดพระมหาธาตุ<br />

เจดีย์โฆสปัญโญศรีพนม โดยมี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ร่วมพิธี ณ ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ เมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๙<br />

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พล.อ.จ. Mervyn<br />

Tan Wei Ming ผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐ<br />

สิงคโปร์ และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือ<br />

ข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหม ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๕ มิถุนายน<br />

๒๕๕๙<br />

56


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ให้การต้อนรับนาย Andriy<br />

Beshta เอกอัครราชทูตยูเครน<br />

ประจำประเทศไทย และคณะ<br />

ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและ<br />

หารือข้อราชการ ณ ห้องรับรอง<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การ<br />

ต้อนรับนาย Cesar Deban ที่ปรึกษาการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการ<br />

รายงาน และไร้ความควบคุม และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและ<br />

หารือข้อราชการ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 57


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์<br />

อาคารอเนกประสงค์ พร้อมสิ่งอำนวยความ<br />

สะดวกสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(พื้นที่ศรีสมาน) โดยมีหัวหน้าหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี<br />

ณ อาคารอเนกประสงค์ สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน เมื่อ ๒๑<br />

มิถุนายน ๒๕๕๙<br />

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม และนางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายก<br />

สมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เข้ารับการประดับเครื่องหมายเชิดชู<br />

เกียรติฯ ในฐานะเป็นผู้ทำคุณประโยชน์และ<br />

สนับสนุนภารกิจของตำรวจ ณ ห้องศรียานนท์<br />

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ ๔ มิถุนายน<br />

๒๕๕๙<br />

58


สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ<br />

ราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด<br />

กระหม่อมพระราชทานแจกันดอกไม้สดให้กับ<br />

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ๘ กรกฎาคม<br />

๒๕๕๙ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม เมื่อ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีมอบระบบผลิตไฟฟ้าและสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบเคลื่อนที่<br />

ขนาดไม่น้อยกว่า ๑,๒๐๐ วัตต์ เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหาร โดยมอบให้กับหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการ<br />

กองทัพไทย กองทัพบก และกองทัพเรือ ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน) เมื่อ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 59


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เดินทางตรวจเยี่ยมหลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ชั ้นสัญญาบัตรของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รุ่นที่ ๓ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยมีหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมคณะ<br />

ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก เมื่อ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือในการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์<br />

จากระบบเครือข่ายและอุปกรณ์การสื่อสาร ระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยมี<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหมและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

60


พลเรือเอก อนุทัย รัตตะรังสี รองปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม และภริยา เฝ้ารับเสด็จ<br />

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี<br />

พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จแทนพระองค์<br />

ทอดพระเนตรการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต<br />

ครั้งที่ ๔๓ จัดโดย สภากาชาดไทย<br />

ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง<br />

ประเทศไทย เมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๙<br />

พลเอก พอพล มณีรินทร์ รองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในพิธีอุปสมบท ถวายเป็น<br />

พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถนนบางลำพู<br />

กรุงเทพฯ เมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมเป็น<br />

เกียรติในงานเลี้ยงรับรอง เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมภริยาทหารเรือ ครบ ๔๑ ปี โดยมี คุณปราณี อารีนิจ นายกสมาคมภริยา<br />

ทหารเรือ ให้การต้อนรับ ณ ห้องชมวัง ราชนาวิกสภา เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙<br />

62


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในงาน<br />

วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ครบ ๗ ปี และสำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ครบ ๒๖ ปี โดยมี นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายก<br />

สมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะ<br />

กรรมการสมาคมฯ ร่วมพิธี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรีภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

หลักเมือง สิงหาคม ๒๕๕๙ 63


นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการประชุมเพื่อ<br />

ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการของสมาคมฯ ทั้ง ๔ โครงการ ประกอบด้วย โครงการ “ศูนย์ส่งเสริมความรู้สู่อนาคต”, โครงการ<br />

“ครอบครัวอบอุ่นใจ สายใยกำลังพล รักษ์สุขภาพดี มีความสุข”, โครงการ “สานรัก สานฝัน รางวัลแด่น้อง” และโครงการ “รวมพล<br />

คนรักบ้าน ร้านศูนย์บาท” โดยมีคณะกรรมการสมาคมฯ และผู้แทนหน่วยที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ เข้าร่วมประชุมฯ<br />

ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน) เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙<br />

64


บทอาเศียรวาท<br />

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา<br />

๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙<br />

ธ สถิต เคียงคู่ขวัญ ราชันย์สง่า พระเดชา เกริกไกร ไทยล้วนเห็น<br />

นานากิจ พระองค์ ทรงบำเพ็ญ ก่อร่มเย็น เด่นหล้า ปรีชาชาญ<br />

ดุจประทีป ส่องนำไทย ให้สว่าง แจ่มพราวพร่าง เพื่อชนไทย ใคร่สุขสานติ์<br />

มวลไทยสุข สมหวัง ดังต้องการ ดุจต้นธาร ชุ่มฉ่ำ เลิศล้ำทวี<br />

ป่ารักษ์น้ำ หล่อพืชพันธุ์ ปันความสุข บรรเทาทุกข์ บนต้นทาง สร้างสุขี<br />

พฤกษ์พันธุ์ไม้ มิแห้งเหี่ยว เขียวขจี ส่ำสัตว์มี ชีวา เริงร่าครัน<br />

ศิลปาชีพ โครงงาน สานคุณค่า ภูมิปัญญา บรรพชน ดลรังสรรค์<br />

ทรงดำริ รักษาค่าอนันต์ คืนชีวัน ฟื้นความรู้ คู่เชาวน์ไว<br />

สิทธิสตรี ทรงตระหนัก รักษาสิทธิ์ ทรงวินิต กระบวนทัศน์ วิวัฒน์ให้<br />

ถนอมเกียรติ เพิ่มศักดิ์ศรี สตรีไทย ธำรงไว้ ดอกไม้ชาติ ประกาศนาม<br />

สิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ พิทักษ์ค่า ทรงบัญชา ให้ฟื้นฟู คู่สยาม<br />

ป่าชายเลน ควรคงไว้ ไม่เสื่อมทราม สิ่งงดงาม ประเสริฐ บังเกิดแทน<br />

คุณภาพชีวิตคน ชนทั้งเมือง พึงรุ่งเรือง มีคุณค่า สง่าแสน<br />

พระดำรัส ประสาทผล ท้นทั่วแดน สยามแคว้น มีคุณค่า เป็นอาจิณ<br />

แปดสิบสี่ พรรษา สิงหามาส ประชาราษฎร์ แซ่ซ้อง ก้องทั่วถิ่น<br />

ดิถีกาล อันสูงส่ง องค์ธรณินทร์ ทั่วแผ่นดิน ล้วนจงรัก และภักดี<br />

กลาโหม อัญเชิญผล มงคลฤทธิ์ จงประสิทธิ์ พระเดชเพิ่ม เฉลิมศรี<br />

น้อมเกล้าฯ เทิดบุญญา พระบารมี องค์ราชินี ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ<br />

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ<br />

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการ สังกัดกระทรวงกลาโหม<br />

(พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)<br />

พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน<br />

ในพิธีเปิดการอบรมสัมมนา การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์<br />

งานความมั่นคง ครั้งที่ ๒/๕๙ ของสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม และ พลเอก พอพล มณีรินทร์ เป็นประธานในพิธีปิด<br />

การอบรมฯ ซึ่งจัดโดย สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ณ โรงแรม รอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ ระหว่าง<br />

วันที่ ๒๒ – ๒๔ มิ.ย.๕๙

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!