15.09.2016 Views

lakmuang 276

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์<br />

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล<br />

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์<br />

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา<br />

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร<br />

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร<br />

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์<br />

พล.อ.อู้ด เบื้องบน<br />

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ<br />

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล<br />

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ<br />

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท<br />

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์<br />

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์<br />

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

ที่ปรึกษา<br />

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก<br />

พล.ร.อ.พลวัฒน์ สิโรดม ร.น.<br />

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์<br />

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์<br />

พล.อ.สนธิศักดิ์ วิทยาเอนกนันท์<br />

พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ<br />

พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม<br />

พล.อ.สิรวุฒิ สุคันธนาค<br />

พล.อ.อภิชาต แสงรุ่งเรือง<br />

พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์<br />

พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์<br />

พล.ท.พฤษภะ สุวรรณทัต<br />

พล.ท.ยุทธนา กล้าการยุทธ<br />

พล.ท.พันลึก สุวรรณทัต<br />

พล.ท.บรรเจิด เทียนทองดี<br />

พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ<br />

พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล<br />

พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์<br />

พล.ท.พัชราวุธ วงษ์เพชร<br />

พล.ท.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง<br />

พล.ต.ทวี พฤกษาไพรบูลย์<br />

พล.ต.สังสิทธิ์ วรชาติกุล<br />

ผู้อำนวยการ<br />

พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์<br />

รองผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส<br />

พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์<br />

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์<br />

กองจัดการ<br />

ผู้จัดการ<br />

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร<br />

ประจำกองจัดการ<br />

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ<br />

น.ท.วิษุวัติ แสนคำ ร.น.<br />

พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์<br />

เหรัญญิก<br />

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์<br />

ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

ร.ท.เวช บุญหล้า<br />

ฝ่ายกฎหมาย<br />

น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ<br />

ฝ่ายพิสูจน์อักษร<br />

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำรง<br />

ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.<br />

ร.ท.หญิง ประภาพันธ์ มูลละ<br />

กองบรรณาธิการ<br />

บรรณาธิการ<br />

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.<br />

รองบรรณาธิการ<br />

พ.อ.ทวี สุดจิตร์<br />

พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์<br />

ผู้ช่วยบรรณาธิการ<br />

พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช<br />

ประจำกองบรรณาธิการ<br />

น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ<br />

น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.<br />

พ.ท.หญิง ณิชนันทน์ ทองพูล<br />

พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม<br />

พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต<br />

ร.อ.หญิง อัญชลีพร ชัยชาญกุล<br />

ร.อ.หญิง ลลิดา ดรุนัยธร<br />

ร.ต.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต<br />

ร.ต.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน<br />

จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง<br />

ส.อ.ธีร์นริศวร์ ขอพึ่งธรรม<br />

น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น.<br />

พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง<br />

พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม<br />

น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น.<br />

ร.อ.หญิง ณิชาภา กุหลาบเพ็ชร์<br />

ร.อ.ยอดเยี่ยม สงวนสุข<br />

ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล<br />

ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม<br />

จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค<br />

ส.อ.หญิง ศิริพิมพ์มา กาญจนโรจน์


บทบรรณาธิการ<br />

หากนึกถึงสภาพจิตใจของคนไทยในช่วงเวลานี้ ทุกคนคงมีสภาพจิตใจที่เหมือนกัน<br />

คือ ห่วงใยกับสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเป็นอยู ่ในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนคงตั้งคำถามกับ<br />

ตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่า เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญจะจบอย่างไร และเมื่อ<br />

ใด ซึ่งความขัดแย้ง รวมถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น กำลังส่งผลกระทบสร้างความเสียหาย<br />

ให้กับประเทศในทุกด้าน และยิ่งความขัดแย้งนี้ยืดเยื้อ มีการสร้างเงื่อนไขและปัจจัย<br />

ที่เป็นเงื่อนปมต่าง ๆ จะยิ่งทำให้การแก้ปัญหา หรือจบปัญหายากยิ่งขึ้น ตลอดจน<br />

จะต้องใช้ระยะเวลาในการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นนานยิ่งขึ้น ประเด็นนี้เป็นส่วน<br />

หนึ่ง แต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งคือความแตกแยกแบ่งฝ่ายของคนในชาติที่เป็นเรื่องที่สำคัญ<br />

ความรุนแรงที่เพิ่มและขยายวงกว้างมากขึ้น การรับข้อมูลข่าวสารด้านเดียว<br />

บทบาทของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่รวดเร็ว การสร้างและเกิดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่<br />

เพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสที่จะเห็นสองฝ่ายหันมาเจรจากันมีน้อยลง หรือเกือบจะไม่มีเลย<br />

ทั้ง ๆ ที่เป็นคนไทยด้วยกัน เชื่อว่าทุกคนที่เป็นคนไทย คงไม่อยากเห็นสงครามกลางเมือง<br />

หรือแบ่งเป็นประเทศไทยเหนือ ไทยใต้ หรือจะเรียกชื่อตัวเองว่าอะไรก็ตามแต่ มีกอง<br />

กำลังเป็นของตนเอง มีอาณาเขตดูแลเป็นของตัวเอง จากสภาวะขณะนี้ ดูจะใกล้กับ<br />

สิ่งที่คนไทยไม่อยากจะเห็นแล้ว แล้วจะหาทางออกให้ประเทศไทยอย่างไรดี...<br />

2


ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๗๖ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

๔<br />

สามัคคีธรรม...<br />

นำชาติพ้นวิกฤต<br />

๘<br />

สถิตในหทัยราษฎร์<br />

๑๒<br />

๑๒๗ ปี กรมการเงิน<br />

กลาโหม<br />

๑๔<br />

๒๕ ปี<br />

สำนักงานเลขานุการ<br />

สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

๑๖<br />

การบังคับใช้กฎหมาย<br />

ในภาวะไม่ปกติ<br />

(ตอนที่ ๒)<br />

๒๐<br />

การเตรียมความ<br />

พร้อมของ กรมการ<br />

อุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหาร<br />

เข้าสู่ประชาคมอาเซียน<br />

๒๒<br />

จับกระแสความมั่นคง<br />

ของอาเซียนและจีน<br />

๒๖<br />

แนวความคิด<br />

การพัฒนาการเตรียม<br />

กำลังระบบอาสาสมัคร<br />

ของกระทรวงกลาโหม<br />

๓๐<br />

ดุลยภาพทางทหาร<br />

ของประเทศอาเซียน<br />

แนะนำปืนใหญ่สนาม<br />

อัตตาจรล้อยางแบบ<br />

ซีซาร์ขนาด ๑๕๕<br />

มิลลิเมตร<br />

๘<br />

๒๐<br />

๓๐<br />

๔๔<br />

๑๒<br />

๒๒<br />

๓๔<br />

๔๘<br />

๔<br />

๑๔<br />

๒๖<br />

๓๘<br />

๕๔<br />

๓๔<br />

แนวความคิด<br />

การป้องกัน<br />

และบรรเทาภัยพิบัติ<br />

อย่างยั่งยืน<br />

๓๘<br />

เปิดประตูสู่เทคโนโลยี<br />

ป้องกันประเทศ ๑๗<br />

จรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง<br />

๔๐<br />

หลักการของนายพล<br />

แพตตัน (ตอนที่ ๒๐)<br />

๔๔<br />

หลักการแห่งอหิงสา<br />

ของมหาตมะ คานธี<br />

๔๘<br />

สงคราม พม่า - อังกฤษ<br />

ครั้งที่ ๓<br />

๕๒<br />

“When You and<br />

Your Friend<br />

Disagree Politically”<br />

๕๔<br />

สาระน่ารู้<br />

ทางการแพทย์<br />

“ผู้ใหญ่วัย ๔๐+...<br />

จำเป็นต้องฉีดวัคซีน<br />

ด้วยหรือ?”<br />

๖๒<br />

กิจกรรมสมาคม<br />

ภริยาข้าราชการ<br />

สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm<br />

พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

3


สามัคคีธรรม...<br />

นำชาติพ้นวิกฤต<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

4<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


“...ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้ปรากฏตลอดว่า ชาติใดเสื่อมสูญย่อยยับอับปางไป ก็เพราะประชาชาติขาดสามัคคีธรรม<br />

แตกแยกเป็นหมู่คณะ เป็นพรรคเป็นพวก คอยเอารัดเอาเปรียบ ประหัตประหารซึ่งกันและกัน บางพรรคบางพวกถึงกับ<br />

เป็นไส้ศึกให้ศัตรูมาจู่โจมทำลายชาติของตนดังนี้ ข้าพเจ้าจึงขอชักชวนพี่น้องชาวไทยทั้งหลายให้ระลึกถึงพระคุณของ<br />

บรรพบุรุษ ซึ่งได้กอบกู ้รักษาบ้านเกิดเมืองนอนของเรามานั้นให้จงหนักแล้วถือเอาความสามัคคี ความยินยอมเสียสละส่วนตัว<br />

เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติเป็นคุณธรรมประจำใจอยู่เนืองนิตย์ จึงขอให้ชาวไทยทั้งหลาย จงบำเพ็ญกรณียกิจ<br />

ของตนแต่ละคนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร อดทนและกล้าหาญ แล้วอุทิศความเสียสละส่วนตัว ความเหน็ดเหนื่อย<br />

ลำบากยากแค้นเป็นพลีบูชาบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้ก่อสร้างชาติเป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราชาวไทยจนบัดนี้...”<br />

พระราชด ำรัสที่ผู้เขียนอัญเชิญมา<br />

ถ่ายทอดในโอกาสนี้ เป็นข้อความตอนหนึ่งของ<br />

พระราชดำรัสพระราชทานแก่ประชาชนชาว<br />

ไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๔๙๔<br />

ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๓ ซึ่งพระราชดำริ<br />

ที่ทรงถ่ายทอดออกมานั้นเป็นการเตือนสติพสก<br />

นิกรชาวไทยให้มีความตระหนักในเรื่องของ<br />

ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การรู้จัก<br />

คำว่าเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์<br />

ของประเทศชาติ และที่สำคัญที่สุดคือโทษของ<br />

การสามัคคีที่ทำลายประเทศชาติ ซึ่งผู ้เขียนใคร่<br />

ขอขยายความในข้อความพระราชดำรัสเพื่อให้<br />

ทุกท่านได้กรุณาประจักษ์ในพระราชปณิธาน<br />

ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรง<br />

พระราชทานถ่ายทอดต่อสาธารณชนเมื่อ ๖๓<br />

ปีก่อน กล่าวคือ<br />

ประการแรก : ลักษณะและโทษของ<br />

การแตกสามัคคี<br />

ประวัติศาสตร์ในอดีตได้บันทึกและแสดง<br />

ให้ปรากฏมาโดยตลอดว่า ความเสื่อมสูญและ<br />

สิ้นสลายลงของประเทศ ของชาติ มีปัจจัย<br />

และสาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการที่ประชาชน<br />

ในชาติขาดสามัคคีธรรม โดยมีลักษณะ<br />

พื้นฐานของการแตกสามัคคี โดยการแบ่ง<br />

ฝัก แบ่งฝ่ายของประชาชนจากที่เคยมีความ<br />

กลมเกลียว จากที่เคยมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน<br />

ให้แตกแยกออกเป็นหมู่เป็นคณะ ก่อตั้งองค์กร<br />

ออกเป็นพรรคเป็นพวกที่คำนึงถึงผลประโยชน์<br />

ร่วมกันเพื่อคอยรักษาประโยชน์ของพวกตน<br />

ในลักษณะต่างๆ อาทิ มุ่งเอารัดเอาเปรียบ<br />

สังคมด้วยการสร้างอุดมการณ์ร่วมที่ดูเสมือน<br />

ว่าเป็นคุณต่อสังคมแต่เคลือบแฝงไปด้วย<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

การปกป้องผลประโยชน์ของฝ่ายตนเอง หรือ<br />

คอยเวลาที่มุ่งจะประหัตประหารฝ่ายตรงกัน<br />

ข้ามกับตนเองให้คงเหลือแต่ฝ่ายของตนเอง<br />

ซ้ำที่ร้ายไปกว่านั้นคือบางพรรคบางพวกถึงกับ<br />

ยอมขายตัวเองหรือขายจิตวิญญาณของตนเอง<br />

เพื่อก้าวไปเป็นไส้ศึกให้ศัตรูเข้ามาจู ่โจมทำลาย<br />

ชาติของตนเอง ดังเช่นที่เคยปรากฏมาแล้วทั้ง<br />

ในประวัติศาสตร์โลกและประวัติศาสตร์ของ<br />

ไทย ซึ่งการแตกสามัคคีนี้เองถือเสมือนกับเป็น<br />

เนื้อร้ายในการทำลายประเทศชาติให้สูญสิ้น<br />

นั่นก็คือ สภาวการณ์ที่ประชาชนในชาติแตก<br />

ความสามัคคี นั่นเอง<br />

ประการที่สอง : คุณธรรมความดีของ<br />

คนในชาติ<br />

สิ่งที่ประชาชนชาวไทยไม่ควรหลงลืมคือ ผืน<br />

แผ่นดินไทยที่เราได้ร่วมกันอาศัยอยู่ในปัจจุบัน<br />

อันเกิดมาจากความมุ ่งมั่น ทุ ่มเทแรงกาย แรงใจ<br />

กอปรกับความเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของ<br />

บรรพบุรุษไทยในอดีต ซึ่งในโอกาสอันเดียว<br />

กันนี้ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้<br />

ทรงชักชวนให้พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายได้<br />

ตระหนักและระลึกถึงพระคุณอันงดงามของ<br />

บรรพบุรุษไทยที่ได้เพียรสร้าง เพียรกอบกู้<br />

เพียรรักษาบ้านเกิดเมืองนอนของเราเพื่อดำรง<br />

ไว้ให้แก่ลูกหลานคือคนไทยทุกคน พร้อมกับ<br />

ได้ทรงย้ำเตือนให้พสกนิกรชาวไทยถือเอา<br />

ความสามัคคีเป็นแบบอย่างในการอยู่ร่วมกัน<br />

ของคนในสังคมควบคู่ไปกับการตกลงปลงใจ<br />

ที่จะให้ความยินยอมในการเสียสละประโยชน์<br />

ส่วนตัว เพื่อเกื้อกูลต่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของ<br />

ประเทศชาติ ทั้งนี้ พสกนิกรพึงตระหนักใน<br />

เรื่องของคุณธรรมความสามัคคีและยึดถือไว้<br />

เป็นคุณธรรมประจำใจอยู่ตลอดเวลา เพราะ<br />

จะเป็นหนทางสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศ<br />

ชาติสามารถก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่ออำนวย<br />

ประโยชน์ของประชาชนและสังคมได้อย่างมี<br />

เสถียรภาพ<br />

5


ประการสุดท้าย : กรณียกิจอันสมควร<br />

แนวทางสำคัญอย่างยิ่งที่องค์พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะให้พสกนิกร<br />

ชาวไทยพิจารณาปฏิบัติเป็นกรณียกิจ (กิจที่<br />

พึงกระทำ) อันเหมาะสม โดยขอให้พสกนิกร<br />

ชาวไทยทั้งหลาย ต่างบำเพ็ญกรณียกิจของตน<br />

หรือของแต่ละบุคคลบนพื้นฐานของความ<br />

ซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร ความ<br />

อดทนและกล้าหาญ ในขณะเดียวกัน ก็ให้<br />

อุทิศความเสียสละที่ตนเองบำเพ็ญหรือปฏิบัติ<br />

ด้วยความตั้งมั่นแม้ว่าจะต้องประสบกับความ<br />

เหน็ดเหนื่อยหรือลำบากยากแค้นในทุกกรณี<br />

เพื่อเป็นการบวงสรวงบูชาในคุณงามความดี<br />

ของบรรพบุรุษไทย ผู้ซึ่งได้อุทิศแรงกายแรงใจ<br />

ในการก่อร่างสร้างประเทศ สร้างเสถียรภาพ<br />

และบูรณภาพแห่งประเทศชาติ จนสืบทอด<br />

มาเป็นมรดกตกทอดให้แก่ประชาชนชาวไทย<br />

ในปัจจุบัน หรือพิจารณาอีกนัยหนึ่งคือทรง<br />

ชี้แนะให้พสกนิกรชาวไทยยึดมั่นในคุณธรรม<br />

ความดีและบำเพ็ญเพียรตามหน้าที่ของตน<br />

ด้วยความมุ ่งมั่นศรัทธาโดยมิได้หวังประโยชน์ที่<br />

ตนเองจะได้รับจากการกระทำ ในทางกลับกัน<br />

ผลประโยชน์ที่ได้รับจะบังเกิดแก่สังคมไทย<br />

และประเทศชาติ จึงถือเสมือนกับเป็นการ<br />

อุทิศความดีนี้แด่บรรพบุรุษ ซึ่งนับว่าเป็น<br />

พระราชกุศโลบายอันแยบคายและเป็น<br />

สิริมงคลแก่พสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง<br />

หากนับเวลาที่เดินทางของพระราชดำรัส<br />

พระราชทานบทนี้นับได้ว่าเป็นเวลามากกว่า<br />

๖๓ ปี ซึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองในห้วงเวลา<br />

6<br />

ดังกล่าวก็นับเป็นวิกฤตที่บั่นทอนการก้าวเดิน<br />

ไปข้างหน้าของประเทศชาติมากพอสมควร<br />

เพราะประเทศไทยในห้วงเวลาดังกล่าวเป็น<br />

ห้วงเวลาที่เปราะบางทางการเมืองในยุคเริ่มต้น<br />

ของสงครามเย็น จนนำไปสู่การกระทบกระทั่ง<br />

ของกลุ่มชนทางการเมืองที่มีความคิดเห็น<br />

แตกต่างกันอยู่หลายครั้งหลายคราว<br />

แม้กระทั่งวันนี้ สถานการณ์ทางการเมือง<br />

ก็ยังคงเป็นผลกระทบจากความแตกแยก<br />

ทางความคิดของพี่น้องชาวไทยที่มีความเห็น<br />

แตกต่างกันอยู่ หากเปรียบไปแล้วก็เสมือน<br />

กับวงล้อเกวียนที่หมุนทับลงบนรอยเกวียน<br />

เดิมนั่นเอง ผู้เขียนเชื่อว่าสังคมไทยส่วนใหญ่<br />

ต่างน้อมรับความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่ต่าง<br />

ฝ่ายต่างแสดงออกให้เห็นถึงความตระหนักใน<br />

ทางการเมืองและอุดมการณ์ทางการเมืองของ<br />

แต่ละฝ่าย โดยต่างหวังว่าวิถีทางของตนเอง<br />

หรือกลุ่มของตนนั้นว่า จะอำนวยประโยชน์<br />

ให้แก่ประเทศชาติและพี่น้องประชาชน แต่ใน<br />

ทางกลับกันอาจตั้งอยู่บนความคิดเห็นที่เป็น<br />

อุดมคติหรือความคิดเห็นที่สุดโต่งไปบ้างหรือ<br />

ไม่ จนทำให้ความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายเป็น<br />

เสมือนเป็นเส้นขนานหรือทางขนานกับความ<br />

คิดของกลุ่มอื่นไปโดยปริยาย<br />

ดังนั้น หากว่าเราจะทำให้เส้นขนานนั้นมา<br />

บรรจบกันด้วยวิถีทางที่ตั้งบนพื้นฐานของเสน่ห์<br />

ความเป็นไทยอันเกิดจากการแบ่งปันรอยยิ้ม<br />

การแบ่งปันน้ำใจ การส่งมอบไมตรีและความ<br />

ปรารถนาดีบ้างจะดีหรือไม่ โดยที่หลักคิดนี้อาจ<br />

เริ่มต้นจากแนวทางอันเนื่องมาจากพระราช<br />

ดำรัสข้างต้น ที่เริ่มต้นจากความตระหนัก<br />

ในคุณธรรมความสามัคคี และประยุกต์เอา<br />

ความสามัคคีมาเป็นแบบอย่างในการอยู่ร่วม<br />

กันของคนในสังคม ควบคู่ไปกับการบำเพ็ญ<br />

กรณียกิจในการเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อ<br />

เกื้อกูลต่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ<br />

แนวทางนี้อาจเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อน<br />

ความสงบสุข ความรักใคร่กลมเกลียวของคน<br />

ในชาติให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่<br />

ขาดหายไปหลายปี และคาดหวังได้ว่าเป็น<br />

ความสงบสุขที่ยั่งยืน มีเสถียรภาพ ตลอดจน<br />

ผลักดันให้ประเทศชาติสามารถก้าวเดินไป<br />

ข้างหน้าได้อีกครั้ง<br />

ถือได้ว่า ประชาชนชาวไทยเป็นคนที่โชคดี<br />

ที่เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทยที่อุดมสมบูรณ์ มี<br />

ภาษา มีศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม มีพื้นฐานทาง<br />

จิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และที่สำคัญที่สุดที่เกิด<br />

ภายใต้ร่มฉัตรแห่งพระเมตตาธรรมขององค์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทาน<br />

พระราชดำริเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชาวไทย<br />

มาโดยตลอด และถ้าวันนี้เราลองตั้งสติ ลอง<br />

หันกลับไปดูเหตุการณ์ที่ผ่านมาด้วยใจที่<br />

ปราศจากอคติพร้อมกับอัญเชิญพระราชดำรัส<br />

พระราชทานข้างต้นมาเป็นกรอบแนวทางใน<br />

การคิด ในการดำเนินกิจกรรม และบำเพ็ญ<br />

กรณียกิจ สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นทางออกให้<br />

ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตอันเชี่ยว<br />

กรากในครั้งนี้ไปได้ ลองทำดูเถิดครับ! คงไม่<br />

เสียหายอะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว !<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ช่วยกันเถอะครับ ! ช่วยกันขับเคลื่อน<br />

ประเทศไทยให้กลับคืนมาสู่ความเป็นเสือ<br />

แห่งอาเซียนอีกครั้ง อย่าทำให้ประเทศไทย<br />

อันเป็นที่รักของเราเป็นแมวป่วยของ<br />

อาเซียนอย่างทุกวันนี้เลย และก่อนที่จะจบ<br />

ลงไป ผู ้เขียนขอนำเอาบทประพันธ์ที่ชื่อว่า<br />

เพลงชาติ ของ อาจารย์นภาลัย (ฤกษ์ชนะ)<br />

สุวรรณธาดา ที่ได้กรุณาประพันธ์ไว้เมื่อ<br />

ปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ มาทบทวนความ<br />

จำกันอีกครั้ง และขอให้บทสุดท้ายของ<br />

บทประพันธ์เป็นเพียงอนุสติเตือนใจ<br />

พี่น้องชาวไทยของเรา และขออย่าได้เกิด<br />

เหตุการณ์อันเลวร้ายนั้นเลย<br />

ธงชาติไทยไกวกวัดสะบัดพลิ้ว แลริ้วริ้วสลับงามเป็นสามสี<br />

ผ้าผืนน้อยบางเบาเพียงเท่านี้ แต่เป็นที่รวมชีวิตและจิตใจ<br />

ชนรุ่นเยาว์ยืนเรียบระเบียบแถว ดวงตาแน่วนิ่งตรงธงไสว<br />

"ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" ฟังคราวใดเลือดซ่านพล่านทั้งทรวง<br />

ผืนแผ่นดินถิ่นนี้ที่พำนัก เราแสนรักและแสนจะแหนหวง<br />

แผ่นดินไทยไทยต้องครองทั้งปวง ชีพไม่ล่วงใครอย่าล้ำมาย่ำยี<br />

เธอร้องเพลงชาติไทยมั่นใจเหลือ พลีชีพเพื่อชาติที่รักทรงศักดิ์ศรี<br />

เพลงกระหึ่มก้องฟ้าก้องธาตรี แม้ไพรีได้ฟังยังถอนใจ<br />

แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไทยร้าวใจเหลือ คือเลือดเนื้อเป็นหนอนคอยบ่อนไส้<br />

บ้างหากินบนน้ำตาประชาไทย บ้างฝักใฝ่ลัทธิชั่วน่ากลัวเกรง<br />

ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง<br />

ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง<br />

จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง!<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

7


สถิตในหทัยราษฎร์<br />

นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา<br />

ย้<br />

อนหลังกลับไปเมื่อประมาณหกสิบ<br />

กว่าปีที่แล้ว เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๙<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ยังทรงดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระเจ้า<br />

น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช ในเช้าวันที่<br />

๙ มิถุนายนเกิดเหตุอันไม่มีใครคาดฝัน<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จ<br />

สวรรคต วันเดียวกันรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์<br />

ที่จะกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระ<br />

อนุชาผู้มีพระชนมายุเพียง ๑๘ พรรษาเสด็จ<br />

ขึ้นดำรงสิริราชสมบัติ ค่ำนั้น ขณะที่ความ<br />

8<br />

ทุกข์ที่สุดจากการสูญเสียพระบรมเชษฐา<br />

ธิราชอย่างฉับพลันยังท่วมท้นในพระราชหฤทัย<br />

ต้องทรงตัดสินพระทัยว่าจะทรงรับพระราช<br />

ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้หรือไม่ สมเด็จพระบรม<br />

ราชชนนีทรงถามพระโอรสว่า “รับไหมลูก”<br />

ทรงตอบด้วยพระราชหฤทัยเข้มแข็งว่า “รับ”<br />

ซึ่งต่อมาพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภ<br />

พฤฒิยากร อดีตประธานองคมนตรี ทรงเล่า<br />

เหตุการณ์ในวันนั้นว่า “ได้กราบบังคมทูลถาม<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงเรื่องที่ทรง<br />

รับราชสมบัติ มีพระราชดำรัสตอบว่า หน้าที่<br />

และความเป็นคนไทยทำให้ทรงรับ...เพราะ<br />

ฉันเป็นคนไทย ประชาชนเขาต้องการให้ฉัน<br />

ทำหน้าที่....” ในช่วงนั้นนับเป็นช่วงเวลายาก<br />

จะทำใจเมื่อคนไทยต้องสูญเสียพระเจ้าอยู่หัว<br />

รัชกาลที่ ๘ ผู้ทรงเป็นความหวังอันสดใส<br />

ด้วยทรงริเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจอย่าง<br />

“พระเจ้าแผ่นดินยุคใหม่” เสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปเยี่ยมเยียนพสกนิกรอย่างใกล้ชิด โดย<br />

มีพระอนุชาธิราชทรงร่วมปฏิบัติพระราช<br />

ภารกิจอย่างเข้มแข็ง เมื่อเสด็จสู่สวรรคาลัย<br />

รวดเร็วเช่นนี้ ความหวังอันเรืองรองที่อยู่ใน<br />

นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


ใจคนไทยก็ดูคล้ายจะดับวูบไปชั่วขณะว่า<br />

ประเทศไทยไม่มีพระเจ้าอยู่หัวแล้ว และนี่คือ<br />

พระราชดำรัสปลุกปลอบ ที่กลายเป็นเปลว<br />

เทียนจุดสว่างกลางความมืดมนในใจราษฎร์<br />

ว่า “พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่ พระอนุชาต่างหาก<br />

ที่ไม่มีแล้ว”<br />

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์<br />

ยุคล ได้กราบบังคมทูลถวายชัยมงคลแทน<br />

พระบรมวงศานุวงศ์เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน<br />

๒๕๑๔ เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเถลิง<br />

ถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี โดยมีความตอน<br />

หนึ่งย้อนอดีตกลับไปยังวันที่ทรงรับอัญเชิญขึ้น<br />

ครองราชย์ว่า “...เมื่อ ๒๕ ปี โพ้นต่อหน้ามหา<br />

สมาคมกอปรด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร<br />

นายกรัฐมนตรี พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่<br />

และข้าราชการผู้ใหญ่ พระราชาพระองค์<br />

หนึ่งตรัสมีความโดยสังเขปว่า ‘ข้าพเจ้าขอ<br />

ขอบใจที่มอบราชสมบัติให้ ข้าพเจ้าจะทำทุก<br />

อย่างเพื่อประเทศชาติและเพื่อความผาสุก<br />

ของประชาชนอย่างเต็มความสามารถ ขอให้<br />

ท่านจงช่วยร่วมกันทำดังกล่าว แล้วก็เสด็จไป<br />

จากมหาสมาคมนั้น ครั้นแล้วทรงหันกลับมา<br />

ใหม่แล้วตรัสอย่างหนักหน่วงว่า และด้วยใจ<br />

สุจริต...’ พระราชกระแสรับสั่งและสีพระพักตร์<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

9


10<br />

ตอนที่รับสั่งนั้น เป็นที่ซาบซึ้งจับจิตและตื้นตัน<br />

ใจแก่ผู้ที่มีวาสนาได้เห็นได้ฟังอย่างยากยิ่งที่จะ<br />

พรรณนาให้ถูกต้องได้เพราะ ประการแรกขณะ<br />

นั้นมีพระชนม์เพียง ๑๘ พรรษา อีกทั้งขณะ<br />

นั้นเป็นยามที่ตื่นตระหนกและยามเศร้าหมอง<br />

อย่างที่สุดที่พระมหากษัตริย์หรือบุคคลใดจะ<br />

พึงกำลังเผชิญในชีวิต อีกทั้งเป็นกาลเวลาที่<br />

บ้านเมืองกำลังปั่นป่วน มิอาจที่จะทรงทราบ<br />

หรือทรงเดาได้ว่าเหตุการณ์ภายในประเทศ<br />

ต่อไป แม้เพียงในชั่วโมงข้างหน้า วันหน้า จะเป็น<br />

อย่างไร ประการที่สอง พระราชกระแส<br />

พระสุรเสียง ตลอดจนสีพระพักตร์ในขณะที่<br />

รับสั่งนั้นแสดงถึงความจริงจัง ความแน่ชัด<br />

และความเด็ดขาดเห็นได้ชัดว่าเป็นพระราช<br />

กระแสรับสั่งที่มาจากเบื้องลึกของพระราช<br />

หฤทัย จึงเป็นราชปฏิภาณที่แน่นอนและเด่น<br />

ชัด และเห็นได้ว่าเป็นพระราชดำรัสที่มิได้ทรง<br />

ตระเตรียมแต่งหรือเขียนไว้ก่อน จึงไม่มีผู้ใดได้<br />

เตรียมบันทึกพระราชกระแสนั้นไว้...”<br />

๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ หลังจากทรงรับ<br />

อัญเชิญขึ้นครองราชย์ได้สองเดือนก็ต้องทรง<br />

อำลาประเทศไทยเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไป<br />

ศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะ<br />

รถยนต์แล่นจากพระบรมมหาราชวังผ่าน<br />

ถนนราชดำเนินกลางมุ่งสนามบินดอนเมือง<br />

ท่ามกลางประชาชนชาวไทยที่มาส่งเสด็จ<br />

สองข้างทาง อาจด้วยอารมณ์อ้างว้างและ<br />

ใจหายผลักดันให้ชายคนหนึ่งในหมู่พสกนิกร<br />

ตะโกนขึ้นมาขณะที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านว่า<br />

“ในหลวงอย่าละทิ้งประชาชน” ไม่มีใครรู้<br />

ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อเสียงนั้นจนเมื่อ<br />

ได้พระราชทานพระราชนิพนธ์ “เมื่อข้าพเจ้า<br />

จากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์”ลงตีพิมพ์ใน<br />

หนังสือ“วงวรรณคดี”อีกหลายเดือนต่อมาว่า<br />

“...อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชน<br />

ไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งได้อย่างไร..”<br />

แล้วความอ้างว้างทั้งมวลตลอดเวลาที่ทรง<br />

จากไปเพื่อการศึกษาก็มลายหายไปจนหมดสิ้น<br />

เมื่อเสด็จนิวัตพระนครในอีกสี่ปีต่อมา ในครั้ง<br />

นี้ได้พระราชทาน “คำมั่นสัญญา” ที่ไม่เพียง<br />

ทรงกำหนดไว้ในพระราชหฤทัยเพียงลำพังอีก<br />

แล้วแต่ทรงเปล่งพระบรมราชโองการอันหนัก<br />

แน่นยิ่งให้คนไทยรู ้ทั่วกันในวันพระราชพิธีบรม<br />

ราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๙๓ ซึ่ง<br />

ถือเป็นพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะ<br />

ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่ง<br />

มหาชนชาวสยาม” ปี ๒๔๙๓ จึงเป็นปีที่หัวใจ<br />

คนไทยได้รับการถมเต็มด้วยความสุขความ<br />

ปลื้มปีติจนอิ่มล้น และได้ทรงตั้งพระราชหฤทัย<br />

อย่างแน่วแน่ว่าจะไม่เสด็จออกนอกประเทศ<br />

ถ้าไม่มีเหตุผลสำคัญ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุข<br />

ของชาวไทยสมควรที่จะประทับอยู่ในบ้าน<br />

เมืองเพื่ออยู่ใกล้ชิดราษฎรให้มากที่สุด<br />

นาวาอากาศเอกหญิง กาญจนารัตน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา


การประทับอยู่ในบ้านเมืองนั้นมิได้หมายถึง<br />

การประทับอยู่ในเมืองหลวงเท่านั้นแต่ยังเสด็จ<br />

ไปเยี่ยมเยียนราษฎรของพระองค์จนแทบทั่ว<br />

ทุกตารางนิ้วที่พระบาทจะย่างไปถึงได้ และเมื่อ<br />

วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๗ ได้ปรากฏว่าเกิด<br />

เหตุการณ์อัคคีภัยครั้งร้ายแรงขึ้นที่ อ.บ้านโป่ง<br />

จ.ราชบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร<br />

ผู้ประสบภัยในท้องที่ ทรงทอดพระเนตร<br />

บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้และพระราชทานสิ่งของ<br />

บรรเทาทุกข์ การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น<br />

นับได้ว่าเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยม<br />

ราษฎรครั้งแรกในรัชกาลนี้ ต่อมาในปี พ.ศ.<br />

๒๔๙๘ เสด็จเยี่ยมราษฎรต่างจังหวัดเป็นครั้ง<br />

ที่สองที่ จ. สุพรรณบุรีจึงไม่แปลกที่ราษฎรใน<br />

แดนไกลผู้ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน<br />

ของเขาเป็นครั้งแรกและอาจเป็นครั้งเดียว<br />

ในชีวิต เมื่อได้ทราบข่าวว่าจะเสด็จลงเรือ<br />

พระที่นั่งเพื่อประพาสในแม่น้ำสุพรรณบุรีจะ<br />

พากันแห่มารอชมพระบารมีทั้งสองฟากฝั่ง<br />

บางคนยอมถึงกับลุยลงไปเฝ้ารออยู่ในน้ำเพื่อ<br />

ให้เห็นพระองค์ใกล้ชิดที่สุด โดยไม่หวั่นว่าจะ<br />

ต้องแช่น้ำอยู่นาน ๆ ท่ามกลางแดดร้อนเปรี้ยง<br />

แต่อย่างใด ปลายปีเดียวกันนั้นเองชาวอีสาน<br />

ทราบข่าวดีว่าในหลวงและพระราชินีของพวก<br />

เขาจะเสด็จฯเยี่ยมอีสานเป็นเวลา ๑๙ วันใน<br />

ระหว่าง ๒ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ในช่วง<br />

นั้นเป็นช่วงเวลาที่ภาคอีสานแห้งแล้งมากไม่มี<br />

อ่างเก็บน้ำชลประทานดังเช่นปัจจุบัน เส้นทาง<br />

รถยนต์ยังเป็นดินแดงทุรกันดาร น้ำพระราช<br />

หฤทัยที่แสดงออกด้วยการเจาะจงเสด็จเยี่ยม<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

อีสานจึงเสมือนน้ำฝนเย็นฉ่ำที่หยาดลงมาบน<br />

ผืนดินที่แห้งผาก ยังไม่ทันที่ทั้งสองพระองค์จะ<br />

เสด็จฯ มาถึง น้ำพระทัยที่เย็นดุจสายฝนหยด<br />

แรกก็หยาดนำทางลงมาเสียแล้วเมื่อมีข่าวว่า<br />

กรมทางหลวงเตรียมนำ “น้ำ” มาราดถนนทาง<br />

เสด็จพระราชดำเนินเพื่อไม่ให้ถนนเกิดฝุ่นแดง<br />

คลุ้งเมื่อรถพระที่นั่งแล่นผ่าน พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวมีพระกระแสรับสั่งห้ามว่า “ไม่<br />

ให้นำน้ำซึ่งเป็นของมีค่าหายากมาราดถนน<br />

รับเสด็จ แต่สงวนน้ำไว้ให้ราษฎรใช้อาบกิน”<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้มี<br />

พระราชดำรัสพระราชทานเกี่ยวกับการปฏิบัติ<br />

พระองค์ในการเยี่ยมเยียนราษฎรซึ่งพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบ<br />

อย่างว่า “เวลามีพระราชปฏิสันถารกับราษฎร<br />

ซึ่งเป็นชั่วโมง ๆ ทีเดียวทรงคุยกับราษฎรนี่<br />

ไม่โปรดทรงยืน ทรงถือขนบธรรมเนียมไทยที่<br />

จะไม่ยืนค้ำผู้เฒ่าผู้แก่ จะประทับลงรับสั่งกับ<br />

ราษฎรเสมอมา แม้จะเป็นตอนเที่ยงแดดร้อน<br />

เปรี้ยงก็ตาม ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นพระราชจริยวัตร<br />

นี้มาตั้งแต่ตอนต้นรัชกาลแล้ว...”<br />

และเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ต้องทรงงานหนักเพื่อพสกนิกรนั้นสมเด็จพระ<br />

นางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้พระราชทาน<br />

คำอธิบายไว้ว่า “...รับสั่งว่าเราต้องตอบแทน<br />

ความรักของประชาชนด้วยการกระทำมากกว่า<br />

คำพูด ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่จะบำบัดความทุกข์<br />

ของเขา เพราะเขาเป็นหลักพึ่งพาของพระมหา<br />

กษัตริย์ตลอดเวลา จึงตัดสินพระทัยว่าการ<br />

เสด็จไปไหน ๆ แล้วแจกผ้าห่มแจกเสื้อผ้า<br />

เป็นการถมมหาสมุทร อย่างไรก็ช่วยไม่ได้หมด<br />

ทางที่ดีรับสั่งว่าต้องลงไปพูดคุยกับเขาเรียก<br />

ว่าสอบถามถึงความทุกข์ของเขาว่าอยู่ที่ใหน..<br />

ตั้งแต่นั้นมาเมื่อเริ่มตั้งพระทัยเช่นนั้นก็เริ่มทรง<br />

ศึกษาแผนที่ซึ่งกรมแผนที่และกรมชลประทาน<br />

ช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาได้รัฐบาลที่คอย<br />

ช่วยเหลือเกื้อกูลพระองค์ตลอดเวลา เพื่อที่<br />

จะได้ทรงตอบแทนพระคุณประชาชนได้อย่าง<br />

เต็มที่...”<br />

11


๑๒๗ ปี กรมการเงินกลาโหม<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

ห<br />

ากจะกล่าวถึง กรมยุทธนาธิการ<br />

ซึ่งถือได้ว่าส่วนราชการแรกเริ่ม<br />

ในยุคของกิจการทหารยุคใหม่<br />

ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ซึ่ ง ใ น เ ว ล า ต ่ อ ม า ไ ด ้ มี<br />

พัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนเป็นกระทรวง<br />

กลาโหมในปัจจุบันที่มีอายุและเกียรติภูมิ<br />

ยืนยาวมาจวบจน ๑๒๗ ปี ในวันที่ ๘ เมษายน<br />

๒๕๕๗ นี้<br />

แต่ท่านทราบหรือไม่ว่ายังมีส่วนราชการ<br />

ในสังกัดกระทรวงกลาโหมอีกหนึ่งหน่วยที่มี<br />

เกียรติประวัติและมีความยืนยาวของหน่วยมา<br />

ถึง ๑๒๗ ปี เช่นเดียวกันกับกระทรวงกลาโหม<br />

ทั้งยังมีวันสถาปนาหน่วยเป็นวันที่ ๘ เมษายน<br />

๒๔๓๐ ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับการสถาปนากรม<br />

ยุทธนาธิการอีกด้วย ส่วนราชการที่กล่าวถึงนี้<br />

คือ กรมการเงินกลาโหม นั่นเอง<br />

ในยุคกว่า ๑๓๐ ปีที่ผ่านมา สยามประเทศ<br />

ต้องเผชิญกับปัญหาร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อ<br />

เสถียรภาพของประเทศเป็นอย่างยิ่ง กล่าว<br />

คือ ประเทศมหาอำนาจจากโลกตะวันตกที่มี<br />

แสนยานุภาพทางทหารที่สูงมากและทันสมัย<br />

ต่างแสวงหาอาณานิคม และสยามประเทศก็<br />

เป็นที่หมายตาของมหาอำนาจเหล่านั้นด้วย<br />

จึงนับเป็นวิกฤตการณ์สำคัญของประเทศที่อยู่<br />

ท่ามกลางภัยคุกคามที่เหนือกว่าและถือเป็นจุด<br />

ล่อแหลมกับการสูญเสียเอกราชของชาติ หาก<br />

ไม่มีการวางรากฐานของประเทศและดำเนิน<br />

วิเทโศบายอย่างรัดกุม<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงมีพระราชปณิธานที่จะพัฒนาขีดความ<br />

สามารถของกองทัพสยามประเทศให้มีความ<br />

เจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศโลกตะวันตก<br />

ด้วยการพัฒนากองทัพให้มีแบบธรรมเนียม<br />

วิธีการบริหารจัดการในลักษณะที่เทียบเคียง<br />

ได้กับประเทศโลกตะวันตก เมื่อเป็นเช่นนี้<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศ<br />

พระบรมราชโองการที่เรียกว่า ประกาศจัดการ<br />

12<br />

ทหาร เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ จัดตั้ง กรม<br />

ยุทธนาธิการ ให้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาทหาร<br />

บกและทหารเรือให้เกิดความเป็นเอกภาพ<br />

ในการบังคับบัญชา รวมทั้งจัดระเบียบการ<br />

บริหารราชการทหารอย่างเป็นมาตรฐานทั้ง<br />

ในเรื่องการเตรียมกำลังและการสนับสนุน<br />

ในด้านต่าง ๆ โดยประกาศจัดการทหาร ได้<br />

มีการจัดส่วนราชการของกรมยุทธนาธิการ<br />

ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ กรมใช้จ่าย<br />

และกรมยุทธภัณฑ์ พร้อมทั้งทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งผู้บังคับบัญชาการทั่วไป<br />

สำหรับกรมทหาร เรียกว่า คอมมานเดออินชิฟ<br />

(Commander In Chief) โดย สมเด็จพระบรม<br />

โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎ<br />

ราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้ เพื่อ<br />

ให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี และมีการ<br />

แต่งตั้งเจ้าพนักงานใหญ่ผู ้จัดการในกรมสำหรับ<br />

ช่วยผู้บัญชาการทั่วไปอีก ๔ ตำแหน่ง ซึ่งมี<br />

ตำแหน่งสำคัญที่น่าสนใจคือ เจ้าพนักงานใหญ่<br />

ผู้บัญชาการใช้จ่าย หรือ เปมาสเตอเยเนอราล<br />

(Paymaster General)<br />

ซึ่งหากพิจารณาให้ถ่องแท้ จะเห็นได้ว่าใน<br />

ประกาศจัดการทหาร ได้ให้ความสำคัญต่อ<br />

การบริหารจัดการและควบคุมการใช้จ่ายของ<br />

กรมยุทธนาธิการเป็นอย่างมาก จนกำหนดให้<br />

มีหน่วยงานระดับกรม มีหน้าที่ดำเนินกิจการ<br />

ในการใช้จ่ายในภาพรวมโดยใช้ชื่อว่า กรมใช้<br />

จ่าย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง<br />

ให้ นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรา<br />

นุวัตติวงศ์ เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการ<br />

ใช้จ่าย เพื่อบริหารจัดการในเรื่องการบริหาร<br />

ทรัพยากรประเภทเงิน ๆ ทอง ๆ ของทหาร<br />

ซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจนในหน้าที่ว่า “...ให้<br />

จัดการทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับการเบิกเงิน<br />

ใช้สอย จ่าย ที่เกี่ยวข้องด้วยประมาณราคาของ<br />

แลตรวจตราลดหย่อนเติมเงินขึ้นที่จะใช้ใน<br />

กรมทหารทั้งปวง…”<br />

ในเวลาต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ ได้<br />

มีการตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิ<br />

การ ร.ศ.๑๐๙ ด้วยการยกฐานะกรมยุทธนาธิ<br />

การขึ้นเป็น กระทรวงยุทธนาธิการ ก็ได้มีการ<br />

จัดส่วนราชการให้มี กรมใช้จ่าย ซึ่งมีผู้บังคับ<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


หน่วยใช้ชื่อว่า เจ้ากรมคลัง เป็นผู้รับผิดชอบ<br />

ดำเนินการ ในขณะเดียวกัน ในส่วนของกรม<br />

ทหารเรือได้มีการตั้ง กองบัญชีเงิน ขึ้นเพื่อ<br />

ปฏิบัติงานด้วย<br />

ปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ ได้ปรับเปลี่ยน<br />

ส่วนราชการจาก กระทรวงยุทธนาธิการ ให้<br />

คงเหลือเป็นกรมยุทธนาธิการ ดังนั้น กรม<br />

ใช้จ่าย จึงได้เปลี่ยนเป็น กรมคลัง และใน<br />

ส่วนกรมทหารเรือก็ยังคงใช้ กองบัญชีเงิน<br />

เช่นเดิม แม้ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ จะได้<br />

มีการรวมกรมยุทธนาธิการและกรมทหาร<br />

เรือมาขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมก็ตาม<br />

กรมคลังและกองบัญชีเงินก็ยังคงปฏิบัติใน<br />

ลักษณะเดิม ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อมีการปรับ<br />

ส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก<br />

หลายครั้ง กิจการการเงินของทหารเรือยังคง<br />

เดิม แต่สำหรับกิจการการเงินของทหารบกได้มี<br />

การเปลี่ยนแปลงมาเป็น กรมคลังเงินทหารบก<br />

และเป็น กรมปลัดบัญชีทหารบก ตามลำดับ<br />

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระบรมราชโองการ<br />

ประกาศตั้งกระทรวงทหารบก ทหารเรือ ร.ศ.<br />

๑๒๙ โดยให้ยกฐานะกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น<br />

กระทรวงทหารเรือ คู่กับกระทรวงกลาโหม<br />

มีหน้าที่กำกับดูแลทหารบก จึงได้มีการตั้งกรม<br />

ปลัดบัญชีทหารบกและกรมปลัดบัญชีทหาร<br />

เรือ ขึ้นเพื่อกำกับดูแลกิจการการเงินของทั้ง<br />

๒ กระทรวง<br />

หลักจากนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ<br />

ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการ ให้<br />

รวม กระทรวงทหารเรือ กับ กระทรวงทหาร<br />

บก เข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม<br />

กระทรวงกลาโหม ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔<br />

จึงทำให้มีการรวมกรมปลัดบัญชีทหารบกและ<br />

กรมปลัดบัญชีทหารเรือ เป็นกรมเดียวกันใน<br />

นาม กรมปลัดบัญชี<br />

ต่อมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการ<br />

ปกครอง มีพระบรมราชโองการ ประกาศจัด<br />

ระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้<br />

จัดส่วนราชการออกเป็น ๓ ส่วน คือ กอง<br />

บังคับการกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และ<br />

กรมทหารเรือ โดย กรมปลัดบัญชี ขึ้นอยู่ใน<br />

กองบังคับการกระทรวงกลาโหม มีเจ้ากรมเป็น<br />

ผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อปลัดทูลฉลอง ซึ่งเป็น<br />

ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้ากองบังคับการ<br />

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้มีการตราพระ<br />

ราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร<br />

พ.ศ. ๒๔๗๖ มีการเปลี่ยนนามหน่วยและจัด<br />

ส่วนราชการกระทรวงกลาโหมขึ้นใหม่ โดย<br />

กำหนดให้ กรมปลัดบัญชี ขึ้นอยู่ในสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวง ซึ่งมีปลัดกระทรวง เป็นผู้บังคับ<br />

บัญชา และเมื่อกิจการของกองทัพบกได้ขยาย<br />

ตัวมากขึ้น กรมปลัดบัญชี จึงได้มีการพิจารณา<br />

แยกงานออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายกระทรวง<br />

กลาโหม และฝ่ายกองทัพบก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการ<br />

เตรียมการแยกงานเบิกจ่ายของกองทัพบก<br />

ออกจากกรมปลัดบัญชีเช่นเดียวกันกับการ<br />

แยกงานเบิกจ่ายของกองทัพเรือ ซึ่งต่อมาฝ่าย<br />

กองทัพบกก็ได้แยกออกไปจัดตั้งเป็น กรมการ<br />

เงินทหารบกขึ้นตรงต่อกองทัพบก เมื่อวันที่ ๖<br />

มิถุนายน ๒๔๘๑<br />

ต่อมา ได้มีการปรับปรุงแก้ไขการจัดแบ่ง<br />

หน้าที่ราชการใหม่ตาม พระราชบัญญัติจัด<br />

ระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๑<br />

ส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

จึงได้ปรับเปลี่ยนไปตาม พระราชกฤษฎีกา<br />

จัดวางระเบียบราชการสำนักงานเลขานุการ<br />

รัฐมนตรีและสำนักงานปลัดกระทรวง ใน<br />

กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งได้ลง<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ ๖๑ เล่ม<br />

๖๕ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๑ เปลี่ยนชื่อ กรม<br />

ปลัดบัญชี เป็น กรมการเงินกลาโหม ซึ่งเจ้ากรม<br />

การเงินกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่<br />

เกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การบัญชี<br />

และการที่ดินของกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่<br />

วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๑ เป็นต้นมา<br />

ตลอดระยะเวลา ๑๒๗ ปี ของการเดิน<br />

ทางในภารกิจการบริหารจัดการธนกิจหรือ<br />

กิจการทางการเงินของกรมยุทธนาธิการจน<br />

สืบทอดมาถึงกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่เริ่มตั้ง<br />

กรมใช้จ่าย มาเป็นกรมคลัง กรมคลังเงิน กรม<br />

ปลัดบัญชี และกรมการเงินกลาโหม ตามลำดับ<br />

ซึ่งผลงานในห้วงเวลาต่าง ๆ ได้สะท้อนให้เห็น<br />

ถึงความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการปฏิบัติภารกิจ<br />

ของผู้บังคับบัญชาและกำลังพลมาโดยตลอด<br />

และในวันนี้แม้ว่ากรมการเงินกลาโหมจะมี<br />

ภารกิจเพิ่มขึ้นมากมายเท่าใดก็ตาม แต่ความ<br />

มุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง<br />

ไปด้วยดีก็มิได้ลดน้อยถอยลง ในทางกลับกัน<br />

ยังจะเพิ่มขึ้นต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดเพื่อภารกิจ<br />

สำคัญในการบริหารจัดการธนกิจเพื่อกระทรวง<br />

กลาโหมสืบไป<br />

และในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๗ จะเป็น<br />

วันครบรอบวันสถาปนากรมการเงินกลาโหม<br />

ปีที่ ๑๒๗ กำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ใคร่ขอมอบความปรารถนาดีไปยัง<br />

ผู้บังคับบัญชาและกำลังพล กรมการเงิน<br />

กลาโหม ทุกท่าน ณ โอกาสนี้<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

13


๒๕ ปี<br />

สำนักงานเลขานุการ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ส<br />

ำนักงานเลขานุการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วย<br />

ขึ้นตรงของสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม มีหน้าที่ดำเนินงานด้านการเลขานุการ<br />

และการประชาสัมพันธ์ ตลอดระยะเวลา ๒๕ ปี<br />

ที่ผ่านมา สำนักงานเลขานุการฯ ได้มีการ<br />

พัฒนาศักยภาพและเติบโตอย่างต่อเนื่อง<br />

ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้<br />

ทักษะ และประสบการณ์อย่างมืออาชีพ โดย<br />

มีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยี<br />

ต่าง ๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติ<br />

งาน ภายใต้การบริหารจัดการที่มีขอบเขต<br />

และรูปแบบของโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ<br />

ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา และสอดรับ<br />

กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน<br />

อันส่งผลให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร<br />

อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เกิดความเชื่อมั่นศรัทธา<br />

และพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สำหรับ<br />

งานด้านการเลขานุการ ได้มีการพัฒนาการ<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ให้บริการ การรับรอง และอำนวยความ<br />

สะดวกให้กับผู้บังคับบัญชาในการเข้าร่วมงาน<br />

พระราชพิธี งานพิธีการ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ<br />

โดยประสานการดำเนินงานกับสำนักงาน<br />

เลขานุการเหล่าทัพ เพื่อให้การปฏิบัติเป็น<br />

ไปด้วยความถูกต้อง สง่างาม และสมเกียรติ<br />

จนได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจาก<br />

ผู ้บังคับบัญชา และหน่วยงานในสังกัดกระทรวง<br />

กลาโหม ตลอดจนหน่วยงานภายนอก สำหรับ<br />

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ มีดังนี้<br />

งานด้านการประชาสัมพันธ์ของ สป. และ<br />

กระทรวงกลาโหมในภาพรวม ซึ่งเป็นภารกิจ<br />

หลักของสำนักงานเลขานุการฯ โดยเน้นให้<br />

ความสำคัญในการประชาสัมพันธ์เชิงรุกด้วย<br />

การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทุกชนิดที่มีอยู่ รวมทั้ง<br />

ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ และเครือข่าย<br />

วิทยุชุมชนอย่างเป็นระบบเพื่อกระจายข่าวสาร<br />

อย่างทั่วถึง ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์<br />

14<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


งานการเทิดทูน การป้องกัน รวมทั้ง<br />

ตอบโต้และทำความเข้าใจมิให้มีการล่วงละเมิด<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยดำเนินการจัดทำ<br />

ป้ายประชาสัมพันธ์ Banner และ Cutout เผย<br />

แพร่แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างจิตสำนึกใน<br />

การเทิดทูนและปกป้องสถาบัน รวมทั้ง การจัด<br />

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในสื่อต่าง ๆ ประกอบ<br />

ด้วย การจัดทำสปอตวิทยุเฉลิมพระเกียรติ<br />

การจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ การผลิต<br />

โปสเตอร์เผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ตลอดจน<br />

การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอย่างต่อเนื่อง<br />

งานการสร้างความปรองดองสมานฉันท์<br />

ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตยของ<br />

คนในชาติ โดยการจัดกิจกรรมในรูปแบบ<br />

ต่าง ๆ ประกอบด้วย กิจกรรมสื่อสารมวลชน<br />

เพื่อความมั่นคง โดยจัดอบรมหลักสูตร “การ<br />

พัฒนาสัมพันธ์สื่อสารมวลชน เพื่อความ<br />

มั่นคงของชาติ” เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบ<br />

การวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ในการสร้าง<br />

จิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการสนับสนุน<br />

งานด้านความมั่นคงร่วมกับ สป. รวมทั้งได้<br />

ลงพื้นที่เพื่อพบปะและพัฒนาสัมพันธ์กับสื่อ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

วิทยุกระจายเสียงในทุกภูมิภาคเพื่อการมี<br />

ส่วนร่วมในการสร้างความรัก ความสามัคคี<br />

รวมทั้ง ความเข้าใจในวิถีการปกครองระบอบ<br />

ประชาธิปไตยที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังได้<br />

ดำเนินโครงการ “สถานีวิทยุสีขาว เทิดไท้<br />

องค์ราชา” ด้วยการขับเคลื่อนเครือข่ายวิทยุ<br />

กระจายเสียงเพื่อความมั่นคงของ สป. ในการ<br />

ปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และ<br />

การดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วมกัน<br />

และการดำเนิน โครงการจิตสำนึกรักเมือง<br />

ไทย ด้วยการเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วประเทศ<br />

ได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ในการสร้าง<br />

ความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ สร้าง<br />

จิตสำนึกในการปกป้องประเทศชาติ และ<br />

เทิดทูนสถาบันผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ใน<br />

รูปแบบของการประกวดภาพถ่าย สปอต<br />

โทรทัศน์ และบทเพลง ชิงทุนการศึกษา โดย<br />

นำผลการประกวดขยายผลสู่การรณรงค์สร้าง<br />

จิตสำนึกในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม<br />

ผ่านสื่อมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรม<br />

ทั้งหลายเหล่านี้ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง<br />

เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง<br />

และในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๗ นี้ เป็นวัน<br />

คล้ายวันสถาปนาสำนักงานเลขานุการสำนัก<br />

งานปลัดกระทรวงกลาโหม ครบรอบปีที่ ๒๕<br />

ซึ่งนับเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งแห่งความ<br />

ภาคภูมิใจของกำลังพลทุกนาย ภายใต้การนำ<br />

ของ พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมท่านปัจจุบัน<br />

ที่ได้มอบนโยบายในการปฏิบัติงานว่า<br />

“รับคำสั่ง ทำทันที ทำดีที่สุด” หรือ<br />

CAN DO นั่นเอง<br />

15


การบังคับใช้กฎหมาย<br />

ในภาวะไม่ปกติ (ตอนที่ ๒)<br />

พลตรี โชคดี เกตสัมพันธ์<br />

16<br />

พลตรี โชคดี เกตสัมพันธ์


ใ<br />

นฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงภาพรวม<br />

ๆ<br />

ข อ ง ก ฎ ห ม า ย ใ น ภ า ว ะ ไ ม ่ ป ก ติ<br />

อันประกอบด้วย ๑. พ.ร.บ.การรักษา<br />

ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑<br />

๒. พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์<br />

ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓. พ.ร.บ.กฎอัยการศึก<br />

พ.ศ. ๒๔๕๗ ส่วนในฉบับนี้จะกล่าวถึงข้อ<br />

สังเกต ข้อดี ข้อเสียของกฎหมายในภาวะ<br />

ไม่ปกติทั้ง ๓ ฉบับ ดังต่อไปนี้<br />

เจตนารมณ์ในการ<br />

บังคับใช้กฎหมาย<br />

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราช<br />

อาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มีเจตนารมณ์เพื่อ<br />

กำหนดให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานพิเศษ<br />

ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคปฏิบัติที่นำนโยบาย<br />

ความมั่นคงมาแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ซึ่ง<br />

กระทบความมั่นคงภายในราชอาณาจักร<br />

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์<br />

ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มีเจตนารมณ์เพื่อใช้ใน<br />

การบริหารราชการในพื้นที่ที่มีการประกาศ<br />

สถานการณ์ฉุกเฉิน<br />

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ มี<br />

เจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ฝ่าย<br />

ทหารในพื้นที่ที่อยู่ในสภาวะสงคราม หรือการ<br />

จลาจล หรือมีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความ<br />

เรียบร้อยปราศจากภัย<br />

ข้อสังเกต<br />

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราช<br />

อาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ กำหนดขึ้นเพื่อให้<br />

กอ.รมน. เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ<br />

อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายก<br />

รัฐมนตรี โดยวิธีการปฏิบัติราชการ การ<br />

บริหารงาน การจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนงาน<br />

อำนาจหน้าที่ และอัตรากำลังเป็นไปตามที่คณะ<br />

รัฐมนตรีกำหนด ได้รับการจัดสรรงบประมาณ<br />

โดยตรงตามที่ ผอ.รมน. ร้องขอ ตามความ<br />

เห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการรักษา<br />

ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั้งนี้ให้ถือว่า<br />

กอ.รมน. เป็นส่วนราชการตามกฎหมาย ว่า<br />

ด้วย วิธีการงบประมาณและเงินคงคลัง การ<br />

มอบอำนาจ นอกจากจะเป็นไปตามระเบียบ<br />

บริหารราชการแผ่นดินแล้ว อำนาจหน้าที่ตาม<br />

กฎหมายฉบับนี้ ผอ.รมน. จะมอบอำนาจให้<br />

ผอ.รมน.ภาค, ผอ.รมน.จังหวัด หรือ ผอ.ศอ.บต.<br />

ปฏิบัติแทนได้ หน่วยงานของรัฐต้องจัดส่ง<br />

เจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน.<br />

ตามที่ ผอ.รมน., ผอ.รมน.ภาค, ผอ.รมน.<br />

จังหวัด ร้องขอ หากสถานการณ์ที่ปรากฏ<br />

เหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช<br />

อาณาจักร ตามกฎหมายนี้สิ้นสุดลงให้นายก<br />

รัฐมนตรีรายงานผลต่อสภาผู้แทนราษฎร และ<br />

วุฒิสภาทราบโดยเร็ว ในการให้ความเห็นทาง<br />

คดีของ ผอ.รมน. เพื่อกำหนดการเข้ารับการ<br />

อบรมให้แก่ผู้กระทำผิด เป็นไปตามที่ กอ.รมน.<br />

กำหนด และเงื่อนไขของศาลที่จะกำหนดแทน<br />

การลงโทษ เป็นไปตามข้อบังคับของประธาน<br />

ศาลฎีกากำหนด พนักงานเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.<br />

อาจได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือสิทธิประโยชน์<br />

ต่าง ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ข้อกำหนด<br />

ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำในกฎหมายนี้<br />

ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติ<br />

ราชการทางปกครอง กล่าวคือ จะยกขึ้นกล่าว<br />

อ้างเพื่อยกเลิกข้อกำหนด ประกาศ หรือ คำสั่ง<br />

ต่าง ๆ ไม่ได้แม้จะลิดรอนสิทธิเสรีภาพก็ตาม<br />

ในการใช้อำนาจของ กอ.รมน. หากก่อให้เกิด<br />

ความเสียหายแก่ผู้สุจริตจะได้รับการชดเชยค่า<br />

เสียหายตามควรแก่กรณี ตามหลักเกณฑ์และ<br />

เงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด การดำเนินคดี<br />

ตามกฎหมายฉบับนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาล<br />

ยุติธรรม และสามารถใช้มาตรการคุ้มครอง<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

17


หรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้<br />

คือ การสืบพยานก่อนเริ่มการพิจารณา หรือ<br />

การคุ้มครองพยาน เป็นต้น<br />

พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์<br />

ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นการเพิ่มขีดความ<br />

สามารถในการสอบสวนและรวบรวมพยาน<br />

หลักฐานให้กับพนักงานสอบสวน เป็นการ<br />

ใช้อำนาจโดยเพ่งเล็งผู้กระทำการก่อให้เกิด<br />

สถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเพียงผู้ต้องสงสัย จึง<br />

กำหนดให้มีการขอหมายจับ และควบคุมตัว<br />

เพื่อเปลี่ยนทัศนคติเป็นเวลา ๓๐ วัน การที่<br />

รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.ฯ และประกาศใช้ใน<br />

พื้นที่ ๓ จชต. ได้มีข้อคิดเห็นที่ไม่เห็นด้วย อ้าง<br />

ว่า เป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ให้อำนาจ<br />

กับเจ้าหน้าที่ของรัฐมากเกินไป เป็นการจำกัด<br />

สิทธิและเสรีภาพของประชาชน การประกาศ<br />

ใช้ พ.ร.ก.ฯ ในพื้นที่ ๓ จชต. ฝ่ายตรงข้ามอาจ<br />

ใช้เป็นโอกาสในการโจมตีรัฐบาลและทำลาย<br />

ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการปกครองของรัฐ<br />

เป็นการยอมรับโดยปริยายว่าสถานการณ์<br />

การก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จชต. เป็น<br />

สถานการณ์ที่ถึงขั้นรุนแรง<br />

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็น<br />

กฎหมายที่จะประกาศใช้ได้เฉพาะในเวลาที่มี<br />

สงครามหรือการจลาจล หรือมีความจำเป็น<br />

ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยให้ปราศจาก<br />

ภัย ซึ่งอาจมาจากภายนอกหรือเกิดขึ้นภายใน<br />

ราชอาณาจักร เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกับ<br />

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารอย่างค่อนข้างเบ็ดเสร็จ<br />

เด็ดขาดและเป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ<br />

ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ฝ่าย<br />

ทหารมาก เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ<br />

ประชาชน ฝ่ายตรงข้ามใช้เป็นเงื่อนไขในการ<br />

โจมตีและทำลายความเชื่อมั่นต่อกระบวนการ<br />

ปกครองของรัฐ ที่ผ่านมาได้รับการต่อต้าน และ<br />

ได้รับการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากองค์การ<br />

มุสลิมโลกและองค์การสหประชาชาติ จน<br />

ต้องแก้ไข โดยออก พ.ร.ก.การบริหารราชการ<br />

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาแก้ไขสถานการณ์<br />

๓ จชต. เพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.กฎอัยการศึกฯ<br />

การเปรียบเทียบผลดีและ<br />

ผลเสียของกฎหมายทั้ง<br />

๓ ฉบับ<br />

พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน<br />

ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑<br />

ผลดี<br />

มีการบูรณาการอำนาจและบุคลากร<br />

ทั้งจากฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร ภายใต้การ<br />

สังกัดของ กอ.รมน. ในการแก้ไขปัญหา<br />

มีบทบัญญัติที่เปิดโอกาสผู้กระทำ<br />

ความผิดไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการ<br />

พิจารณาคดีของศาลตามปกติ<br />

การใช้อำนาจตามกฎหมายมีขั้นตอน<br />

การปฏิบัติงานที่ชัดเจน รวมทั้งมีการกำหนด<br />

แผนการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความรอบคอบ<br />

ในการปฏิบัติงาน<br />

เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคม<br />

ทั้งจากฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการ ภาค<br />

ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน<br />

ของ กอ.รมน.<br />

มีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก<br />

การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกเหนือจาก<br />

กฎหมายปกติที่ได้กำหนดไว้<br />

ผลเสีย<br />

การใช้อำนาจตามกฎหมายมีขั้นตอน<br />

การใช้ตามลำดับความรุนแรงทำให้ผู้ปฏิบัติ<br />

งานอาจเกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน<br />

วิธีการใช้อำนาจต้องมีการออกข้อ<br />

กำหนด/จัดทำแผนเสนอ ครม. และคณะ<br />

กรรมการ ดังนั้นอาจทำให้ไม่สามารถนำมาใช้<br />

แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที<br />

มีระยะเวลาและพื้นที่ที่จำกัดในการ<br />

ปฏิบัติงาน<br />

ผู้ปฏิบัติงานอาจถูกฟ้องในศาลยุติธรรม<br />

ปกติหากการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามข้อ<br />

บัญญัติของกฎหมาย<br />

เป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหา<br />

ในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจส่ง<br />

ผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ<br />

พ.ร.ก.การบริหารราชการ<br />

ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘<br />

18<br />

พลตรี โชคดี เกตสัมพันธ์


ผลดี<br />

มีการรวมศูนย์อำนาจในการแก้ไขปัญหา<br />

เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ<br />

สามารถใช้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย<br />

ได้ทั้งจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และ<br />

ทหาร รวมทั้งฝ่ายการเมือง<br />

อำนาจในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่<br />

ได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ<br />

ผู้ปฏิบัติงานได้รับการคุ้มครองจากการ<br />

ปฏิบัติงาน หากทำตามหน้าที่โดยสุจริต ไม่<br />

เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือเกิน<br />

กรณีที่จำเป็น<br />

มีอำนาจครอบคลุมการแก้ไขปัญหาทั้ง<br />

ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และภัยพิบัติ<br />

ทางธรรมชาติ<br />

มีบทบัญญัติที่เปิดให้เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจ<br />

ในการควบคุมผู้กระทำความผิดได้มากกว่า<br />

กฎหมายปกติ<br />

ผลเสีย<br />

การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่มีระยะเวลา<br />

และพื้นที่จำกัดในการดำเนินการ<br />

การใช้อำนาจมีขั้นตอนในการปฏิบัติ<br />

อาทิ การออกประกาศ/คำสั่ง ทำให้การแก้ไข<br />

ปัญหาในบางกรณีอาจไม่ทันการณ์<br />

ผู้ปฏิบัติงานอาจถูกฟ้องในศาลยุติธรรม<br />

ปกติหากการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามข้อ<br />

บัญญัติของกฎหมาย<br />

ไม่มีข้อบัญญัติที่จะชดเชยให้กับ<br />

ผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงาน<br />

ของเจ้าหน้าที่<br />

เป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาใน<br />

เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจส่งผล<br />

กระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ<br />

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗<br />

ผลดี<br />

ฝ่ายทหารมีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียง<br />

ลำพังในการแก้ไขปัญหาทำให้มีความรวดเร็ว<br />

และมีประสิทธิภาพ<br />

ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจตามกฎหมาย<br />

ที่เด็ดขาด ครอบคลุมการปฏิบัติงาน และ<br />

สามารถดำเนินการได้ทันที<br />

ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องรับผิดจากการ<br />

ปฏิบัติงาน<br />

ผู้ปฏิบัติงานสามารถประกาศใช้<br />

กฎหมายได้ด้วยตนเอง<br />

ผลเสีย<br />

การประกาศใช้กฎหมายสามารถ<br />

ดำเนินการได้โดยง่าย แต่การยกเลิกจะต้อง<br />

เป็นพระบรมราชโองการ<br />

เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเฉพาะ<br />

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทำให้ไม่มีการบูรณาการ<br />

การใช้อำนาจจากองค์กรอื่น ๆ ในสังคม<br />

กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะ<br />

กรณีที่เกิดสงครามหรือการจลาจล การนำมาใช้<br />

จึงมีข้อจำกัดในการปฏิบัติงานค่อนข้างสูง<br />

เป็นกฎหมายที่อาจก่อให้เกิดปัญหาใน<br />

เรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจส่งผลกระทบ<br />

ต่อภาพลักษณ์ของประเทศ<br />

สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทย<br />

ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่ต้องนำกฎหมาย<br />

ในภาวะไม่ปกติมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์<br />

ภัยคุกคามที่มีต่อความมั่นคงของประเทศใน<br />

ระดับที่ไม่สามารถใช้มาตรการตามกฎหมาย<br />

ทั่วไปเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ เช่นในพื้นที่จังหวัด<br />

ชายแดนภาคใต้ หรือแม้แต่ในกรุงเทพมหานคร<br />

เองก็ตาม แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงการใช้กฎหมาย<br />

ในภาวะไม่ปกตินี้ คือ ควรใช้ทรัพยากรที่มี<br />

อยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขั้นตอนการใช้<br />

อำนาจตามกฎหมายอย่างเหมาะสมและมี<br />

การใช้กฎหมายตามลำดับความรุนแรงของ<br />

สถานการณ์ ดังนั้น กฎหมายในภาวะไม่ปกติจึง<br />

เป็นเครื่องมือ (Mean) สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ<br />

ที่จะนำไปสู ่เป้าหมาย (End) สูงสุดของประเทศ<br />

คือความสงบเรียบร้อยของประเทศอันนำไปสู่<br />

การใช้ชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุขของประชาชน<br />

ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย<br />

อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

19


การเตรียมความพร้อมของ<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร<br />

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ<br />

และพลังงานทหาร เข้าสู่ประชาคมอาเซียน<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

ก<br />

รมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์<br />

ก า ร อุ ต ส า ห ก ร ร ม ป ้ อ ง กั น<br />

ประเทศและพลังงานทหาร มี<br />

ภารกิจในการควบคุมการนำเข้า - ส่งออก<br />

สินค้าประเภทอาวุธยุทธภัณฑ์ และมีภารกิจ<br />

ในการออกหนังสือ / ใบอนุญาตต่าง ๆ ในการ<br />

นำเข้าและส่งออกสินค้าดังกล่าว ภายใต้<br />

กฎหมายความมั่นคง ได้แก่ พระราชบัญญัติ<br />

โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐,<br />

พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๓๐<br />

และพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไป<br />

นอกราชอาณาจักร ซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์และ<br />

สิ่งที่ใช้ในการสงคราม พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งกรม<br />

การอุตสาหกรรมทหารฯ ได้มีการเตรียม<br />

ความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคม<br />

อาเซียนของประเทศไทย โดยได้มีการส่งเสริม<br />

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศควบคู่ไปกับ<br />

การควบคุมอาวุธยุทธภัณฑ์ โดยกำหนด<br />

มาตรการในการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่<br />

ในกฎหมายด้านความมั่นคง เพื่ออำนวยความ<br />

สะดวกให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนและ<br />

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การ<br />

20<br />

กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร


รับมอบอำนาจในการลงนามในหนังสืออนุญาต<br />

ใบอนุญาต, ลดขั้นตอนการดำเนินงาน,<br />

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบใบอนุญาต/หนังสือ<br />

อนุญาตโดยปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง<br />

ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้อง กอปรกับปรับปรุง<br />

ขั้นตอนและลดระยะเวลาการปฏิบัติราชการ<br />

ในเรื่องการตรวจสอบประวัติ และการตรวจ<br />

สอบสถานที่ผลิตและสถานที่เก็บยุทธภัณฑ์<br />

เป็นการลดภาระของผู้ประกอบการที่จะยื่น<br />

ขออนุญาตสั่งเข้ามา นำเข้ามา ผลิตหรือมีซึ่ง<br />

ยุทธภัณฑ์ อีกทั้งยังเป็นการลดขั้นตอนและ<br />

ระยะเวลาทางธุรการที่ไม่จำเป็น<br />

อีกทั้งกรมการอุตสาหกรรมทหารฯ ได้ลง<br />

นามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเชื่อมโยง<br />

ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (MOU) ร่วมกับกรม<br />

ศุลกากร เพื่อแสดงความตกลงร่วมกันใน<br />

การเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า-ส่งออกอาวุธ<br />

ยุทธภัณฑ์ระหว่างหน่วยงานผ่านระบบ<br />

National Single Window หรือ NSW เพื่อ<br />

เชื่อมโยงกับระบบ ASEAN Single Window ได้<br />

ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งปัจจุบันกรมการอุตสาหกรรม<br />

ทหารฯ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเชื่อมโยง<br />

ข้อมูลใบอนุญาตผ่าน National Single<br />

Window ของ กรมการอุตสาหกรรมทหาร ฯ<br />

โดยเซ็นสัญญาจ้างงานกับบริษัท สมาร์ท<br />

อัลลายแอนส์ จำกัด เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน<br />

๒๕๕๕ เพื่อจัดทำระบบการควบคุมยุทธภัณฑ์<br />

ทั้งหมด เช่น การตรวจสอบประวัติ การตรวจ<br />

สถานที่เก็บ การยื่นคำขอ และการออกใบ<br />

อนุญาต รวมถึงหนังสือนำเรียนผู้บังคับบัญชา<br />

ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้ง การออก<br />

รายงานแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเชื่อม<br />

โยงข้อมูลกับกรมศุลกากรผ่านระบบ NSW<br />

ด้วยเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วย<br />

งานภาครัฐ (Government Information<br />

Network : GIN) และได้เริ่มใช้ระบบดังกล่าว<br />

แล้วซึ่งจากการพัฒนาระบบเครือข่ายดังกล่าว<br />

จะส่งผลให้ลดภาระในการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน<br />

ของผู้ประกอบการ โดยสามารถกรอกข้อมูล<br />

เพียงชุดเดียวแล้วสามารถส่งให้กรมศุลกากร<br />

ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ เป็นการ<br />

บูรณาการการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลและ<br />

การบริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อใช้<br />

ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันตามอำนาจหน้าที่<br />

ของหน่วยงานตนรวมทั้งเป็นการสนับสนุน<br />

และรองรับการทำงานแบบไร้กระดาษ ลด<br />

ขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการเกี่ยวกับ<br />

การนำเข้า - ส่งออก ให้เหลือเท่าที่จำเป็น<br />

และลดปริมาณเอกสาร เป็นการลดต้นทุน<br />

การบริหาร การจัดการ ซึ่งผู้ประกอบการจะ<br />

ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการดำเนินการ<br />

ขออนุญาตนำเข้า – ส่งออกอาวุธยุทธภัณฑ์<br />

และเป็นการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร<br />

ให้แก่ผู้ประกอบการ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของ<br />

ผู้ประกอบการในกระบวนการนำเข้าและ<br />

ส่งออก อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการค้า<br />

ระหว่างประเทศให้สามารถแข่งขันกับต่าง<br />

ประเทศได้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมทั้ง<br />

เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมงานอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศภายใต้กฎหมายด้านความ<br />

มั่นคง<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

21


จับกระแสความมั่นคง<br />

ของอาเซียนและจีน<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ<br />

22<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


ใ<br />

นปี ค.ศ. ๒๐๑๕ หรือ พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออก<br />

เฉียงใต้หรือ “อาเซียน” จะรวมตัวกัน<br />

เป็นประชาคมที่มีความยิ่งใหญ่และมีอำนาจ<br />

ต่อรองสูงมากที่สุดประชาคมหนึ่งของโลก<br />

โดยเฉพาะประชาคมการเมืองและความมั่นคง<br />

ซึ่งถือเป็นเสาหลักที่สำคัญของประชาคม<br />

อาเซียนเช่นเดียวกับประชาคมเศรษฐกิจ<br />

อาเซียนหรือ เออีซี ที่เรารู้จักกันดี ในช่วง<br />

เวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการเมืองและความ<br />

มั่นคงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีความ<br />

เคลื่อนไหวที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง โดย<br />

เฉพาะการเสริมสร้างแสนยานุภาพด้วยการ<br />

จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์<br />

วิจารณ์จากสังคมโลกว่า อาจก้าวไปสู่การ<br />

แข่งขันสะสมอาวุธครั้งใหญ่ จนนักวิเคราะห์<br />

ตะวันตกบางคนถึงกับกล่าวว่าปรากฏการณ์นี้<br />

เกิดขึ้นมาจากแนวความคิดที่ว่า “.. อาเซียนคือ<br />

ภูมิภาคแห่งความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ..”<br />

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน<br />

กำลังพิสูจน์ให้โลกเห็นว่า คำกล่าวนั้นผิดพลาด<br />

อย่างสิ้นเชิง เพราะอาเซียนกำลังก้าวสู่ความ<br />

เป็นหนึ่งเดียว พร้อม ๆ กับกองทัพของแต่ละ<br />

ประเทศที่กำลังจะก้าวสู่ความเป็นกองทัพ<br />

เดียว ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีการเสริม<br />

สร้างแสนยานุภาพอย่างขนานใหญ่ แต่การ<br />

สร้างแสนยานุภาพดังกล่าวก็มีจุดประสงค์<br />

เดียวกัน คือการสร้างความสมดุลย์ทางอำนาจ<br />

(Balance of Power) และเพื่อปกป้องอำนาจ<br />

อธิปไตยตลอดจนผลประโยชน์ของชาติเป็น<br />

สำคัญ โดยเฉพาะการคานอำนาจกับจีน<br />

หาใช่สะสมอาวุธเพื่อนำมาใช้บดขยี้ ห้ำหั่น<br />

กันเองแต่อย่างใด บทความนี้จึงขอเสนอ<br />

ทิศทางด้านความมั่นคงของกองทัพประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียนบางประเทศที่มีต่อจีน เพื่อเป็น<br />

ข้อมูลให้กับผู้สนใจได้ใช้ประกอบการศึกษา<br />

ด้านความมั่นคงของอาเซียนต่อไป<br />

เริ่มต้นที่กองทัพฟิลิปปินส์ซึ่งดูจะเป็น<br />

กองทัพที่กำลังประสบปัญหามากที่สุด ภายหลัง<br />

จากที่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติด้านเศรษฐกิจ<br />

มาเป็นเวลานาน ทำให้การพัฒนาประเทศ<br />

แทบจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ จนไม่สามารถพัฒนา<br />

ศักยภาพกองทัพให้มีความแข็งแกร่งทัดเทียม<br />

กับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ได้ มูลนิธิ เจมส์<br />

ทาวน์ (Jamestown Foundation) ในกรุง<br />

วอชิงตัน ดี.ซี. ของสหรัฐฯ ทำการประเมิน<br />

กองทัพฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. ๒๐๐๗ ว่าเป็น<br />

กองทัพที่อ่อนแอที่สุดกองทัพหนึ่ง (one of<br />

the weakest military forces) ในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

แม้ปัจจุบันรัฐบาลของประธานาธิบดี<br />

เบนิกโน อาคิโนที่ ๓ (Benigno Aquino III)<br />

ซึ่งเข้าบริหารประเทศมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๐<br />

ได้ประกาศนโยบายต่อต้านการฉ้อราษฎร์<br />

บังหลวงอย่างเอาจริงเอาจัง ตลอดจนมุ ่งพัฒนา<br />

เศรษฐกิจด้วยการรักษาวินัยทางการเงินอย่าง<br />

เคร่งครัด ส่งผลให้ “ผลิตภัณฑ์มวลรวม” หรือ<br />

จีดีพี (GDP : Gross Domestic Product) พุ่ง<br />

สูงขึ้นจนถึงระดับร้อยละ ๗.๒ ในช่วงเดือน<br />

กรกฎาคมถึงกันยายนของปี ค.ศ. ๒๐๑๒<br />

ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียน สวนทางกับประเทศข้างเคียง<br />

ที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว<br />

แต่อย่างไรก็ตามในขณะที่การพัฒนา<br />

เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นั้น การพัฒนา<br />

กองทัพก็ยังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ตาม<br />

แผนการที่วางไว้ ห้วงเวลานี้ฟิลิปปินส์จึง<br />

พยายามคานอำนาจกับภัยคุกคามจาก<br />

มหาอำนาจดังเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน<br />

ที่อ้างสิทธิการครอบครองเหนือพื้นที่พิพาท<br />

บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ โดยเฉพาะเกาะที่<br />

ฟิลิปปินส์เรียกว่า “ปานาตัค” (Panatag) ส่วน<br />

จีนเรียกว่า “ฮวงหยาน” (Huangyan) อันเชื่อ<br />

ว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน<br />

จำนวนมหาศาล ฟิลิปปินส์จึงวางยุทธศาสตร์<br />

ด้วยการเชื่อมความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ซึ่งนับ<br />

เป็นพันธมิตรที่มีความใกล้ชิดกับฟิลิปปินส์มา<br />

ตั้งแต่อดีต จนถึงระดับที่อาจมีการกลับมาใช้<br />

ฐานทัพเรือในดินแดนฟิลิปปินส์อีกครั้งตาม<br />

นโยบาย “การปรับสมดุล” (Rebalancing)<br />

ของสหรัฐฯ ที่ต้องการหวนกลับมายังภูมิภาค<br />

เอเชียแปซิฟิกเพื่อมุ ่งคานอำนาจกับจีน อันเป็น<br />

วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันของทั้งฟิลิปปินส์<br />

และสหรัฐฯ นอกจากนี้เมื่อเดือนสิงหาคม<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

23


ค.ศ. ๒๐๑๑ สหรัฐฯ ได้มอบเรือตรวจการณ์<br />

ชายฝั่ง “เกรโกริโอ เดล พิลาร์” (Gregorio<br />

del Pilar) และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งอีกลำ<br />

หนึ่งให้กับกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ทำให้เรือดัง<br />

กล่าวนี้กลายเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดและใหม่ที่สุด<br />

ในกองทัพเรือฟิลิปปินส์<br />

สิ่งที่ปรากฏออกมาอย่างชัดเจนถึงการ<br />

หวนกลับมาของสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ คือ<br />

ภายหลังจากที่พายุไต้ฝุ่น “ไห่เยี่ยน” พัด<br />

เข้าถล่มฟิลิปปินส์อย่างรุนแรงช่วงปลายปี<br />

ค.ศ. ๒๐๑๓ นั้น สหรัฐฯ ได้ส่งเรือบรรทุก<br />

เครื่องบิน “ยูเอสเอส จอร์ช วอชิงตัน” (USS<br />

George Washington) นำความช่วยเหลือ<br />

ด้านมนุษยธรรมพร้อมกำลังพลและอากาศยาน<br />

นานาชนิดเดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือ<br />

เกือบจะในทันที อันเป็นการแสดงให้เห็น<br />

ถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นของ<br />

ทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี<br />

นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังเร่งพัฒนาความ<br />

สัมพันธ์กับญี่ปุ ่น ซึ่งนับเป็นคู ่กรณีที่มีข้อขัดแย้ง<br />

เรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนเกาะ<br />

เซนกากุ (Senkaku) กับจีนเช่นเดียวกัน ดัง<br />

จะเห็นได้จากเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดี ชินโซ<br />

อะเบะ (Shinzo Abe) ของญี่ปุ่นเดินทาง<br />

ไปเยือนฟิลิปปินส์เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.<br />

๒๐๑๓ ที่ผ่านมาและได้รับการต้อนรับอย่าง<br />

อบอุ ่น จนนิตยสาร “ไทม์” (Time) ฉบับวันที่ ๗<br />

ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๓ ระบุว่า นับตั้งแต่จีนกลาย<br />

เป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงต่อฟิลิปปินส์<br />

ทำให้ชาวฟิลิปปินส์กว่าร้อยละ ๘๐ หันกลับมา<br />

มองญี่ปุ ่นในแง่บวก แม้จะมีความทรงจำอันเจ็บ<br />

ปวดในสงครามโลกครั้งที่สองก็ตาม นอกจากนี้<br />

ญี่ปุ่นยังเสนอให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา<br />

หน่วยยามฝั่งของฟิลิปปินส์โดยจะมอบเรือ<br />

ลาดตระเวนจำนวน ๑๐ ลำ มูลค่าลำละกว่า<br />

๑๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่ฟิลิปปินส์อีกด้วย<br />

ทางด้านเวียดนามนั้นก็นับเป็นตัวละคร<br />

สำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวัน<br />

24<br />

ออกเฉียงใต้เช่นกัน เมื่อตกเป็นคู่กรณีกับจีน<br />

ในข้อพิพาทเหนือพื้นที่หมู่เกาะพาราเซลและ<br />

หมู่เกาะสแปรตลีย์ในทะเลจีนใต้ ภายหลัง<br />

จากที่มีปัญหากันมานานนับร้อยปี ซึ่งหมู่เกาะ<br />

สแปรตลีย์หรือที่เวียดนามเรียกว่า “ควาน เด๋า<br />

เตรือง ซา” (Quan Dao Truong Sa) และจีน<br />

เรียกว่า “นาน ชา” (Nan Cha) ประกอบไป<br />

ด้วยเกาะเล็ก เกาะน้อยจำนวนมาก ในปี ค.ศ.<br />

๑๙๗๓ จีนได้ส่งกำลังทหารเข้าครอบครองหมู่<br />

เกาะจำนวนหนึ่ง โดยในจำนวนนี้มี ๒ เกาะ<br />

ที่ยึดไปจากเวียดนามในปี ค.ศ. ๑๙๘๘<br />

ความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลให้เวียดนามมี<br />

การสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างขนานใหญ่<br />

เช่น มีการสั่งซื้อเรือดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น<br />

“กิโล” (Kilo) ที่ทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่งของรัสเซีย<br />

จำนวน ๖ ลำ มูลค่ากว่า ๑,๘๐๐ ล้านเหรียญ<br />

สหรัฐฯ โดยเรือดำน้ำลำแรกหมายเลขประจำ<br />

เรือ เอชคิว-๑๘๒ ฮานอย (HQ-182 Hanoi)<br />

มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนามไป<br />

เรียบร้อยแล้ว และจะทยอยส่งมอบต่อไป<br />

ปีละ ๑ ลำจนถึงปี ค.ศ. ๒๐๑๘ ประกอบด้วย<br />

เรือดำน้ำ หมายเลข เอชคิว-๑๘๓ โฮ จิ มินห์ซิตี้<br />

(HQ-183 Ho Chi Minh City), เอชคิว-๑๘๔<br />

ไฮ ฟอง (HQ-184 Hai Phong), เอชคิว-๑๘๕<br />

ดา นัง (HQ-185 Da Nang), เอชคิว-๑๘๖<br />

คานห์ หัว (HQ- (HQ-186 Khanh Hoa) และ<br />

เอชคิว-๑๘๗ บา เรีย - วัง เทา (HQ-187 Ba<br />

Ria - Vung Tau)<br />

นอกจากนี้เวียดนามยังเดินยุทธศาสตร์ด้วย<br />

การร่วมมือกับรัสเซียทำการพัฒนาฐานทัพเรือ<br />

ที่อ่าวคัมรานห์ (Cam Ranh) เพื่อรองรับเรือ<br />

ดำน้ำทั้ง ๖ ลำอีกด้วย พร้อมทั้งยังเดินหมาก<br />

ทางการทูตด้วยการพัฒนาความสัมพันธ์ด้าน<br />

ความมั่นคงกับรัสเซีย โดยเฉพาะการกู้ยืม<br />

เงินจำนวน ๘ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อ<br />

พัฒนาโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่ง<br />

แรกของประเทศ รวมถึงการให้สัมปทานแก่<br />

บริษัทพลังงานก๊าซธรรมชาติของรัสเซียคือ<br />

“แกซพรอม” (Gazprom) ซึ่งเป็นบริษัทของ<br />

รัฐบาลรัสเซียในโครงการพัฒนาแหล่งก๊าซ<br />

ธรรมชาติ บริเวณนอกชายฝั่งเวียดนามจำนวน<br />

๒ โครงการ ซึ่งจะทำให้รัสเซียได้รับสัมปทาน<br />

ก๊าซธรรมชาติ จำนวนร้อยละ ๔๙ ของพลังงาน<br />

ที่มีอยู่หรือประมาณ “สองแสนล้านลูกบาศก์<br />

ฟุต” และก๊าซอัดแน่นอีกกว่า ๒๕ ล้านตัน<br />

ผลประโยชน์มากมายมหาศาลนี้ ได้กลายเป็น<br />

สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ารัสเซียพร้อมจะปกป้องแหล่ง<br />

พลังงานของเวียดนามซึ่งรวมถึงหมู่เกาะ<br />

สแปรตลีย์และพาราเซลด้วย ท่ามกลาง<br />

ความกังวลใจของจีนที่เฝ้ามองการพัฒนา<br />

ความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด จน<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


กระทั่งบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์<br />

“โกลบอล เดลี่” (Global Daily) ซึ่งเป็น<br />

สื่อของรัฐบาลจีนได้วิจารณ์ความร่วมมือ<br />

ครั้งนี้ว่า “.. ความร่วมมือทั้งหมดก้าวหน้า<br />

ไปไกลเกินกว่าขอบเขตของความร่วมมือ<br />

ทางเศรษฐกิจ มันก้าวล่วงเข้าไปสู่ขอบเขต<br />

ของการเมืองและความมั่นคงอย่างเห็น<br />

ได้ชัด .. ”<br />

ทางด้านมาเลเซียซึ่งมีปัญหาข้อพิพาท<br />

กับจีนบริเวณพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลีย์ใน<br />

ทะเลจีนใต้เช่นกัน ได้ส่งกำลังทางเรือเข้าไป<br />

ครอบครองน่านน้ำบริเวณเกาะหินโสโครกที่<br />

อ้างว่าเป็นของตนจำนวน ๓ เกาะตั้งแต่ปี ค.ศ.<br />

๑๙๘๓ และสร้างเป็นสถานีเทียบเรือเรียกว่า<br />

“สถานียูนิฟอร์ม” (Uniform Station) อยู่<br />

ห่างจากเมือง “คินาบาลู” (Kinabalu) ของรัฐ<br />

ซาบาห์ (Sabah) ประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร<br />

โดยมาเลเซียเรียกเกาะแนวหินปะการังนี้ว่า<br />

“แนวหินนกนางแอ่น” (Swallow reef) หรือ<br />

ในภาษามลายูเรียกว่า “ลายัง ลายัง” (Layang<br />

Layang) ส่วนจีนเรียกเกาะเล็ก ๆ ที่มาเลเซีย<br />

ครอบครองนี้ว่า “ดาน วาน เจียว” (Dan<br />

Wan Jiao)<br />

จากความสำเร็จทางเศรษฐกิจของมาเลเซีย<br />

ส่งผลให้มีการพัฒนากองทัพอย่างเข็มแข็ง โดย<br />

การสร้างแสนยานุภาพครั้งใหญ่เริ่มต้นในช่วงปี<br />

ค.ศ. ๒๐๐๓ - ๒๐๑๑ เมื่องบประมาณทางการ<br />

ทหารได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว จนอยู่ในลำดับ<br />

ที่ ๔ ของอาเซียน มีการสั่งซื้อเรือดำน้ำสกอร์<br />

ปีเน่ (Scorpene) จำนวน ๒ ลำจากการร่วม<br />

ผลิตของประเทศฝรั่งเศสและสเปน โดยตอน<br />

หน้าของตัวเรือผลิตที่อู่ต่อเรือ “ดีซีเอ็นเอส”<br />

(DCNS) ในเมือง “แชร์บูร์ก” (Charbourg)<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

ของฝรั่งเศส ส่วนตอนหลังของลำเรือผลิตโดย<br />

บริษัท “นาวานเทีย” (Navantia) ที่เมือง “คาร์<br />

ทาจีน่า” (Cartagena) ซึ่งเป็นบริษัทต่อเรือที่<br />

รัฐบาลสเปนเป็นเจ้าของกิจการ และนับเป็น<br />

บริษัทต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าในยุโรป<br />

และเป็นอันดับเก้าในโลก โดยเรือดำน้ำลำแรก<br />

คือ เรือดำน้ำ “เกเด ตุนกู อับดุล ราห์มาน”<br />

(KD Tunku Abdul Rahman) เดินทางมาถึง<br />

มาเลเซียในเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๐๙ และ<br />

เข้าประจำการในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง<br />

ส่วนเรือดำน้ำอีกลำหนึ่งคือเรือดำน้ำ “เกเด<br />

ตุนกู อับดุล ราซัก” (KD Tunku Abdul<br />

Razak) เดินทางมาถึงมาเลเซียในวันที่ ๒<br />

กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๐ เรือทั้งสองลำนี้ติด<br />

อาวุธปล่อยนำวิถีจากใต้น้ำต่อต้านเรือผิวน้ำ<br />

แบบ เอ็กโซเซต์ เอสเอ็ม ๓๙ (Exocet SM39)<br />

อันทรงอานุภาพของฝรั่งเศส<br />

สำหรับกองทัพสิงคโปร์นั้น ผลจากความ<br />

สำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้มีการ<br />

พัฒนากองทัพอย่างเต็มขีดความสามารถ<br />

จนกลายเป็นกองทัพที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์<br />

ที่ดีที่สุดในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะการใช้<br />

เทคโนโลยีขั้นสูงทดแทนจำนวนกำลังทหาร<br />

ซึ่งเป็นขีดจำกัดของกองทัพสิงคโปร์ ปัจจุบัน<br />

สิ่งที่ต้องจับตามองคือ กองทัพอากาศสิงคโปร์<br />

ได้สั่งซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ<br />

ล็อคฮีด มาร์ติน เอฟ-๓๕ (Lockheed Martin<br />

F-35) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ยุคที่ ๕ (Fifth<br />

Generation) ที่มีขีดความสามารถหลากหลาย<br />

และใช้เทคโนโลยี “สเตลท์” (Stealth) หรือ<br />

ล่องหนทำให้ยากต่อการตรวจจับด้วยเรดาร์<br />

โดยสิงคโปร์ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนด้านความ<br />

มั่นคง (Security Partner) กับสหรัฐฯ ด้าน<br />

การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ เอฟ-๓๕ มาตั้งแต่ปี<br />

ค.ศ. ๒๐๐๓ และได้สนับสนุนงบประมาณ ๕๐<br />

ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อใช้ในโครงการพัฒนา<br />

เครื่องบินรบรุ่นนี้ ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์<br />

รายงานเมื่อต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๓ ว่า ความสนใจ<br />

ในการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๓๕ ของ<br />

สิงคโปร์เกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ หลังจากที่จีน<br />

ได้เผยโฉมเครื่องบินขับไล่แบบ เจ-๓๑ (J-31)<br />

ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับเครื่องบิน<br />

ขับไล่แบบ เอฟ-๓๕ โดยเฉพาะ โดยผู ้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านความมั่นคงคนหนึ่งของสหรัฐฯ กล่าวว่า<br />

“.. ทุกครั้งที่จีนทดลองเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่<br />

มันจะเป็นเสมือนโทรศัพท์ปลุก (wake-up<br />

call) ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศสิงคโปร์<br />

ให้ตื่นขึ้นจากภวังค์ ..”<br />

นอกจากนี้่กองทัพเรือของสิงคโปร์ ยัง<br />

สร้างความฮือฮาด้วยการสั่งซื้อเรือดำน้ำ<br />

ชั้น “ชาลเลนเจอร์” (Challenger) จำนวน<br />

๔ ลำจากสวีเดน ในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๙๕ -<br />

๑๙๙๗ คือ เรืออาร์เอสเอส ชาลเลนเจอร์,<br />

เรืออาร์เอสเอส คองเคอเรอร์, เรืออาร์เอสเอส<br />

เซนจูเรียน และเรืออาร์เอสเอส ชีฟเทน ต่อ<br />

มาก็สั่งซื้อเรือดำน้ำชั้น อาร์เชอร์ (Archer)<br />

ซึ่งปรับปรุงมาจากเรือดำน้ำชั้น “ฟาสเธอร์<br />

กอทลันด์” (Vastergotland) เพิ่มอีกเป็น<br />

จำนวน ๒ ลำจากกองทัพเรือสวีเดน คือเรือ<br />

อาร์เอสเอส อาร์เชอร์ และเรืออาร์เอสเอส<br />

ซอร์ดส์แมน ที่เพิ่งขึ้นระวางประจำการในเดือน<br />

เมษายน ค.ศ. ๒๐๑๓ โดยเรือดำน้ำทั้งหมดได้<br />

เข้าประจำการในกองเรือดำน้ำที่ ๑๗๑ (171<br />

Squadron)<br />

สิงคโปร์ยังเดินยุทธศาสตร์ด้วยการเปิด<br />

ฐานทัพเรือ ชางงี (Changi Naval Base :<br />

CNB) ให้เป็นจุดเทียบเรือของกองเรือที่ ๗ ของ<br />

กองทัพเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิคที่ส่งเรือรบ<br />

ต่าง ๆ เช่น เรือยูเอสเอส ฟรีดอม (USS<br />

Freedom) เพื่อคานอำนาจกับกองกำลังทาง<br />

เรือของจีน โดยฐานทัพแห่งนี้จะเป็นจุดส่ง<br />

กำลังบำรุงของเรือสหรัฐฯ ตลอดระยะเวลา<br />

ที่ประจำการอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก<br />

เฉียงใต้ตามข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ และ<br />

สิงคโปร์ในฐานะหุ้นส่วนด้านความมั่นคง<br />

ส่งผลให้ฐานทัพเรือชางงีของสิงคโปร์กลาย<br />

เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง<br />

ในเอเชียไปโดยปริยาย<br />

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง<br />

บางส่วนที่แสดงให้เห็นได้ว่า กองทัพของ<br />

กลุ่มประเทศอาเซียนต่างมีการปรับตัวเพื่อ<br />

เตรียมการรับมือกับการแผ่ขยายอำนาจของ<br />

จีนอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการพัฒนาศักยภาพ<br />

กำลังรบและการเดินเกมทางการทูต ทำให้<br />

สิ่งที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดต่อไปคือ<br />

ความตึงเครียดเหล่านี้จะนำพากลุ่มประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียนและจีนมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางใด<br />

นั่นเอง<br />

25


แนวความคิด<br />

การพัฒนาการเตรียมกำลัง<br />

ระบบอาสาสมัครของ<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

พันเอก สันทัด เมืองคา<br />

“รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบัน<br />

พระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตย และ<br />

บูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้อง<br />

จัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์<br />

และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจำเป็นและ<br />

เพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช<br />

อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบัน<br />

พระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่ง<br />

ชาติ และการปกครองในระบอบ<br />

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์<br />

ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนา<br />

ประเทศ” เป็นข้อความที่กำหนดไว้ใน<br />

มาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช<br />

อาณาจักรไทย<br />

กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานของรัฐ<br />

มีหน้าที่ในการจัดเตรียมกำลังและใช้กำลังเพื่อ<br />

การป้องกันประเทศ ในการจัดเตรียมและเรียก<br />

ทหารกองเกิน ทหารกองประจำการ ทหารกอง<br />

หนุนหรือกำลังสำรองเข้ารับราชการทหารนั้น<br />

จะดำเนินการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร ข้อ<br />

บังคับทหารว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหาร<br />

สัญญาบัตร แนวคิดทางยุทธศาสตร์การป้องกัน<br />

ประเทศ แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการ<br />

ป้องกันประเทศ และแผนแม่บทการพัฒนา<br />

ระบบกำลังสำรองของกระทรวงกลาโหม ที่<br />

กำหนดให้ต้องพัฒนาระบบกำลังสำรองเพื่อ<br />

รองรับการป้องกันประเทศ ด้วยการจัดเตรียม<br />

กำลังสำรองให้ครบตามอัตราของทุกหน่วยที่<br />

อยู่ในระบบกำลังสำรอง สามารถปฏิบัติงาน<br />

ร่วมกับกำลังประจำการได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

รวมทั้งสามารถปฏิบัติภารกิจในการป้องกัน<br />

26<br />

และบรรเทาสาธารณภัยในรูปแบบอื่น ๆ ได้<br />

ในการเรียกทหารกองเกินและทหารกอง<br />

หนุนหรือกำลังสำรอง เข้ารับราชการทหาร<br />

เพื่อให้หน่วยในระบบกำลังสำรองมีความ<br />

พร้อมรบ โดยที่กำลังสำรองสามารถปฏิบัติ<br />

ภารกิจร่วมกับกำลังประจำการได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพนั้น ในการดำเนินการที่ผ่านมา<br />

ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้การเตรียมกำลัง<br />

และการใช้กำลังดังกล่าวมีประสิทธิภาพและ<br />

เป็นรูปธรรมอย่างเป็นระบบได้ ทหารกอง<br />

ประจำการและนักศึกษาวิชาทหาร(นศท.) ซึ่ง<br />

เป็นแหล่งที่มาของทหารกองหนุนหรือกำลัง<br />

สำรองหลัก ก็ไม่ได้เข้ามาสู่ระบบด้วยความ<br />

สมัครใจอย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้กองทัพ<br />

มีทหารกองประจำการ ทหารกองหนุน และ<br />

กำลังสำรองที่มีคุณภาพบนพื้นฐานของความ<br />

สมัครใจ มีเวลาในการพัฒนาขีดความสามารถ<br />

ทางทหารอย่างเพียงพอและเป็นระบบ ตลอด<br />

จนสามารถนำทหารกองหนุนและทหารกอง<br />

เกินมารับราชการทหารชั่วคราวในยามปกติ<br />

ได้ จึงกำหนด แนวความคิดในการพัฒนาการ<br />

เตรียมกำลังระบบอาสาสมัคร (ด้านทหารกอง<br />

เกิน ทหารกองประจำการ ทหารกองหนุนและ<br />

กำลังสำรอง) ขึ้นดังนี้<br />

ทหารกองประจำการ ใช้วิธีเข้ารับราชการ<br />

ทหารกองประจำการด้วยวิธีร้องขอ (อาสา<br />

สมัคร)เป็นหลัก โดยกำหนดแรงจูงใจที่<br />

เหมาะสมและเพียงพอที่จะส่งเสริมให้ทหาร<br />

กองเกินร้องขอ (อาสาสมัคร) เข้ามาเป็นทหาร<br />

กองประจำการ และใช้วิธีเรียกมาตรวจเลือก<br />

เป็นวิธีเสริม เมื่อมีผู ้ร้องขอไม่เพียงพอกับความ<br />

ต้องการ<br />

กำลังสำรองและทหารกองหนุน ปรับ<br />

แนวทางการบรรจุกำลังสำรองในบัญชีบรรจุ<br />

พันเอก สันทัด เมืองคา


กำลังของหน่วยทหาร (บัญชี ตพ.๕) ในอัตรา<br />

นายทหารชั้นประทวนและนายทหารชั้น<br />

สัญญาบัตร ที่ปัจจุบันเน้นการใช้ทหารกอง<br />

หนุนจาก นศท. ด้วยการใช้ทหารกองหนุนที่มา<br />

จากทหารกองประจำการ (อาสาสมัคร) ด้วย<br />

อีกส่วนหนึ่ง โดยกำหนดแรงจูงใจที่เหมาะสม<br />

เพียงพอที่จะส่งเสริมให้ทหารกองหนุนสมัคร<br />

ใจเข้ามาเป็นกำลังสำรอง<br />

การเข้ารับราชการทหารชั่วคราว เมื่อ<br />

กำลังสำรองพ้นจากบัญชี ตพ.๕ ให้กองทัพ<br />

สามารถรับสมัครทหารกองหนุนส่วนนี้ รวมทั้ง<br />

ทหารกองเกินที่ผ่านการฝึกวิชาทหารแล้ว<br />

เข้ารับราชการทหารเป็นการชั่วคราว<br />

ทหารกองเกิน เมื่อมีความจำเป็นหรือเกิด<br />

ภัยพิบัติ ให้กองทัพสามารถเรียกทหารกอง<br />

เกินเข้ามาช่วยปฏิบัติงานตามภารกิจหน้าที่ได้<br />

แนวทางดำเนินการตามระบบอาสา<br />

สมัคร (ระบบ ๓:๓:๓)<br />

เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาตาม<br />

แนวทางนี้ จึงขอเรียกระบบนี้ว่า การเตรียม<br />

กำลัง “ระบบ ๓:๓:๓” ซึ่งเป็นการเตรียมกำลัง<br />

ทั้งระบบ ทั้งทหารกองเกิน ทหารกองประจำ<br />

การ ทหารกองหนุน และกำลังสำรอง ซึ่ง<br />

เป็นการเข้ามาสู่ระบบด้วยความสมัครใจ ดังนี้<br />

เลข ๓ ตัวที่ ๑ ได้แก่ การเข้ารับราชการ<br />

ทหารกองประจำการด้วยวิธีร้องขอ มีกำหนด<br />

เวลา ๓ ปี โดยผู้ร้องขอจะไม่ใช้สิทธิลดเวลา<br />

รับราชการ และต้องสมัครใจรับราชการต่อ<br />

เพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์อีก ๑ ปี และทหาร<br />

กองเกินที่สมัครเข้ารับการฝึกวิชาทหารตาม<br />

หลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด<br />

เลข ๓ ตัวที่ ๒ ได้แก่ ทหารกองหนุนที่<br />

สมัครใจเข้าเป็นกำลังสำรองชั้นนายทหาร<br />

ประทวน และได้รับการคัดเลือกให้บรรจุอยู่<br />

ในบัญชี ตพ.๕ ในอัตรานายทหารชั้นประทวน<br />

มีกำหนดเวลา ๓ ปี<br />

เลข ๓ ตัวที่ ๓ ได้แก่ นายทหารสัญญา<br />

บัตรกองหนุน หรือกำลังสำรองชั้นนายทหาร<br />

ประทวน ที่สมัครใจเข้าเป็นกำลังสำรองชั้น<br />

นายทหารสัญญาบัตร และได้รับการคัดเลือก<br />

ให้บรรจุอยู่ในบัญชี ตพ.๕ ในอัตรานายทหาร<br />

ชั้นสัญญาบัตร มีกำหนดเวลา ๓ ปี<br />

ด้านการจัดเตรียมกำลัง<br />

การผลิตทหารกองหนุนหลัก (เลข ๓ ตัวที่๑)<br />

ดำเนินการเป็น ๒ กลุ่ม ดังนี้<br />

กลุ่มที่ ๑ ทหารกองหนุนที่ได้มาจากทหาร<br />

กองประจำการ (อาสาสมัคร)<br />

กองทัพมีความต้องการทหารกองประจำ<br />

การประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ นาย ดังนั้นในการ<br />

เตรียมกำลังตามระบบ ๓:๓:๓ จึงกำหนดรับ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

สมัครทหารกองเกินอายุ ๑๘ - ๒๐ ปีเข้าเป็น<br />

ทหารกองประจำการด้วยวิธีร้องขอ(อาสา<br />

สมัคร) ปีละประมาณ ๖๕,๐๐๐ นาย เพื่อ<br />

ให้มีทหารกองประจำการในวงรอบ ๓ ปีครบ<br />

ตามจำนวนที่กองทัพต้องการ และให้ร้องขอ<br />

ได้โดยไม่จำกัดภูมิลำเนาทหาร ทั้งนี้ เพื่อให้<br />

เป็นไปตามความต้องการของผู้ร้องขอในขั้น<br />

ต้น (ยื่นใบสมัครที่อำเภอภูมิลำเนาทหาร) และ<br />

ทำการการคัดเลือกเป็นส่วนรวมใน ก.พ. ของ<br />

ทุกปี โดยบรรจุทหารกองประจำการส่วนนี้<br />

ให้เข้ารับราชการในหน่วยส่วนกำลังรบ ส่วน<br />

สนับสนุนการรบ ส่วนภูมิภาค ส่วนส่งกำลัง<br />

บำรุง ส่วนพัฒนาประเทศ ส่วนการศึกษา<br />

และส่วนบัญชาการตามลำดับ เป็นเวลา ๓ ปี<br />

แล้วจึงปลดออกมาเป็นทหารกองหนุน หาก<br />

ในปีใดมียอดการร้องขอไม่เพียงพอกับความ<br />

ต้องการ ให้ทำการตรวจเลือกตามปกติ และ<br />

บรรจุทหารกองประจำการส่วนนี้ให้กับหน่วย<br />

ในส่วนบัญชาการ ส่วนการศึกษา ส่วนพัฒนา<br />

ประเทศ และส่วนส่งกำลังบำรุงตามลำดับ<br />

กลุ่มที่ ๒ ทหารกองหนุนที่ได้มาจาก<br />

นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.)<br />

รับสมัครนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นทหาร<br />

กองเกิน และกำลังศึกษาวิชาที่เป็นคุณวุฒิ<br />

ตามที่กองทัพต้องการ (ในระดับอาชีวะและ<br />

อุดมศึกษา) เข้าเป็น นศท. เมื่อสำเร็จการฝึก<br />

ศึกษาในชั้นปีที่ ๓ ให้แต่งตั้งยศเป็นนายทหาร<br />

ประทวนกองหนุน และมีสิทธิสมัครเข้ารับการ<br />

ฝึกศึกษาในชั้นปีที่ ๔ และชั้นปีที่ ๕ ได้ตามที่<br />

กำหนด และเมื่อสำเร็จการศึกษาให้แต่งตั้ง<br />

ยศเป็นนายทหารชั้นประทวนหรือชั้นสัญญา<br />

บัตรกองหนุน<br />

การผลิตกำลังสำรอง ชั้นพลทหารและชั้น<br />

นายทหารประทวน (เลข ๓ ตัวที่ ๒)<br />

กำลังสำรองชั้นพลทหาร<br />

ได้มาจากทหารกองประจำการ (อาสาสมัคร)<br />

ที่รับราชการครบ ๓ ปี แล้วปลดออกมาเป็น<br />

ทหารกองหนุน โดยกำหนดให้เป็นกำลังสำรอง<br />

พร้อมรบในอัตราพลทหารเป็นเวลา ๓ ปี แล้ว<br />

จึงให้พ้นออกมาเป็นทหารกองหนุนจนกว่าจะ<br />

พ้นราชการ (นับจากปีที่ปลดเป็นทหารกอง<br />

หนุนรวม ๒๓ ปี)<br />

กำลังสำรองชั้นนายทหารประทวน<br />

ได้มาจาก ๒ ช่องทาง โดยกำหนดให้เป็น<br />

กำลังสำรองชั้นนายทหารประทวนเป็นเวลา<br />

๓ ปี ซึ่งจะได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความ<br />

สามารถในระดับนายทหารชั้นประทวนตาม<br />

ตำแหน่งหน้าที่ที่บรรจุ แล้วจึงให้พ้นออกมา<br />

เป็นทหารกองหนุนจนกว่าจะพ้นราชการ (นับ<br />

จากปีที่ปลดเป็นทหารกองหนุนรวม ๒๓ ปี)<br />

ดังนี้<br />

- ช่องทางที่ ๑ ให้มาจากทหารกองประจำ<br />

การ (อาสาสมัคร) ที่รับราชการครบ ๓ ปี แล้ว<br />

ปลดออกมาเป็นทหารกองหนุน โดยพิจารณา<br />

ให้บรรจุอยู่ในบัญชี ตพ.๕ ของหน่วยในส่วน<br />

กำลังรบ ส่วนสนับสนุนการรบ ส่วนภูมิภาค<br />

เป็นหลัก ดังนี้<br />

ปีที่ ๑ บรรจุในบัญชี ตพ. ๕ อัตรา ส.อ.<br />

จ.อ. และแต่งตั้งยศเป็น ส.ต จ.ต. เป็นกำลัง<br />

สำรองชั้นต้น มีหน้าที่เข้ารับการฝึกทบทวน<br />

ฝึกเฉพาะหน้าที่ และฝึกหน่วยทางยุทธวิธี ใน<br />

อัตรา ส.อ. จ.อ.<br />

ปีที่ ๒ เลื่อนยศเป็น ส.ท. จ.ท. และปรับเป็น<br />

กำลังสำรองพร้อมรบ มีหน้าที่เข้ารับการตรวจ<br />

สอบ ทดลองความพรั่งพร้อม และหากมีการ<br />

ระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่เสริมกำลังให้<br />

หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อมรบด้านกำลัง<br />

พลตามที่กำหนด<br />

ปีที่ ๓ เลื่อนยศเป็น ส.อ. จ.อ. ปรับเป็น<br />

กำลังสำรองเตรียมพร้อม มีหน้าที่เข้ารับการ<br />

ตรวจสอบ และหากมีการระดมพลจะเป็นกำลัง<br />

สำรองที่ใช้ทดแทนกำลังสำรองพร้อมรบ (ใน<br />

ตำแหน่งเดียวกัน) ที่ต้องจำหน่ายจากบัญชี<br />

ตพ.๕ เพื่อให้หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อม<br />

รบด้านกำลังพลตามที่กำหนด ในส่วนกำลัง<br />

สำรองเตรียมพร้อมที่เหลือจะมีหน้าที่ในการ<br />

ทดแทนกำลังที่สูญเสีย<br />

ในปีที่ ๓ นี้จะมีกำลังสำรองพร้อมรบบาง<br />

ส่วนได้รับการพิจารณาให้บรรจุใน ตพ.๕ อัตรา<br />

จ.ส.อ. พ.จ.อ. พ.อ.อ. และได้รับการเลื่อนยศ<br />

เป็น จ.ส.ต. พ.จ.ต. พ.อ.ต. และคงเป็นกำลัง<br />

สำรองพร้อมรบต่อไป มีหน้าที่เข้ารับการตรวจ<br />

สอบ ทดลองความพรั่งพร้อม และหากมีการ<br />

ระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่เสริมกำลังให้<br />

หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อมรบด้านกำลัง<br />

พลตามที่กำหนด<br />

- ช่องทางที่ ๒ ให้มาจาก นศท. ที่สำเร็จ<br />

การฝึกศึกษาในชั้นปีที่ ๓ ขึ้นไป ที่ได้รับการ<br />

แต่งตั้งยศเป็นนายทหารชั้นประทวนกองหนุน<br />

แล้ว โดยจะพิจารณาให้บรรจุอยู่ในบัญชี ตพ.<br />

๕ ของหน่วยในส่วนบัญชาการ ส่วนส่งกำลัง<br />

บำรุง ส่วนการศึกษา ส่วนพัฒนาประเทศ เป็น<br />

หลักดังนี้<br />

ปีที่ ๑ บรรจุในบัญชี ตพ. ๕ อัตรา ส.อ.<br />

จ.อ. และ จ.ส.อ. พ.จ.อ. พ.อ.อ. ตามชั้นยศ<br />

เดิม เป็นกำลังสำรองชั้นต้น มีหน้าที่เข้ารับการ<br />

ฝึกทบทวน ฝึกเฉพาะหน้าที่ และฝึกหน่วยทาง<br />

ยุทธวิธีตามตำแหน่งที่บรรจุ<br />

ปีที่๒ ปรับเป็นกำลังสำรองพร้อมรบ มีหน้าที่<br />

เข้ารับการตรวจสอบ ทดลองความพรั่งพร้อม<br />

และหากมีการระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่<br />

เสริมกำลังให้หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อม<br />

รบด้านกำลังพลตามที่กำหนด<br />

ปีที่ ๓ ปรับเป็นกำลังสำรองเตรียมพร้อม<br />

มีหน้าที่เข้ารับการตรวจสอบ และหากมีการ<br />

ระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่ใช้ทดแทนกำลัง<br />

27


สำรองพร้อมรบ (ในตำแหน่งเดียวกัน) ที่ต้อง<br />

จำหน่ายจากบัญชี เพื่อให้หน่วยรับการบรรจุ<br />

มีความพร้อมรบด้านกำลังพลตามที่กำหนด<br />

ในส่วนกำลังสำรองเตรียมพร้อมที่เหลือจะ<br />

มีหน้าที่ในการทดแทนกำลังที่สูญเสีย<br />

ในปีที่ ๓ นี้จะมีกำลังสำรองพร้อมรบบาง<br />

ส่วนได้รับการพิจารณาให้บรรจุใน ตพ.๕ อัตรา<br />

จ.ส.อ. พ.จ.อ. พ.อ.อ. และได้รับการเลื่อนยศ<br />

เป็น จ.ส.ต. พ.จ.ต. พ.อ.ต. และคงเป็นกำลัง<br />

สำรองพร้อมรบต่อไป มีหน้าที่เข้ารับการตรวจ<br />

สอบ ทดลองความพรั่งพร้อม และหากมีการ<br />

ระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่เสริมกำลังให้<br />

หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อมรบด้านกำลัง<br />

พลตามที่กำหนด<br />

การผลิตกำลังสำรอง ชั้นนายทหารสัญญา<br />

บัตร (เลข ๓ ตัวที่ ๓) ได้มาจาก ๒ ช่องทาง<br />

โดยกำหนดให้เป็นกำลังสำรองชั้นนายทหาร<br />

สัญญาบัตรเป็นเวลา ๓ ปี ซึ่งจะได้รับการ<br />

พัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในระดับนาย<br />

ทหารชั้นนายทหารสัญญาบัตรตามตำแหน่ง<br />

หน้าที่ที่บรรจุ แล้วจึงให้พ้นออกมาเป็นทหาร<br />

กองหนุนจนกว่าจะพ้นราชการเมื่อมีอายุครบ<br />

๔๕ ปีบริบูรณ์<br />

28<br />

- ช่องทางที่ ๑ ให้มาจากกำลังสำรองชั้น<br />

นายทหารประทวนที่ได้รับการพัฒนามาแล้ว<br />

เป็นเวลา ๓ ปี ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดและ<br />

ได้รับการพิจารณาให้บรรจุอยู่ใน บัญชี ตพ.๕<br />

ในอัตรานายทหารชั้นสัญญาบัตร โดยกำหนด<br />

ให้เป็นกำลังสำรองชั้นนายทหารสัญญาบัตร<br />

เป็นระยะเวลา ๓ ปี ดังนี้<br />

ปีที่ ๔ บรรจุในบัญชี ตพ. ๕ อัตรา ร.ท.<br />

และเลื่อนฐานะเป็น ร.ต. เป็นกำลังสำรองชั้น<br />

ต้น มีหน้าที่เข้ารับการฝึกทบทวน ฝึกเฉพาะ<br />

หน้าที่ และฝึกหน่วยทางยุทธวิธีตามตำแหน่ง<br />

หน้าที่ที่บรรจุ<br />

ปีที่ ๕ เลื่อนยศเป็น ร.ท. และปรับเป็นกำลัง<br />

สำรองพร้อมรบ มีหน้าที่เข้ารับการตรวจสอบ<br />

ทดลองความพรั่งพร้อม และหากมีการระดม<br />

พลจะเป็นกำลังสำรองที่เสริมกำลังให้หน่วย<br />

รับการบรรจุมีความพร้อมรบด้านกำลังพล<br />

ตามที่กำหนด<br />

ปีที่ ๖ ปรับเป็นกำลังสำรองเตรียมพร้อม<br />

มีหน้าที่เข้ารับการตรวจสอบ และหากมีการ<br />

ระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่ใช้ทดแทนกำลัง<br />

สำรองพร้อมรบ(ในตำแหน่งเดียวกัน) ที่ต้อง<br />

จำหน่ายจากบัญชี เพื่อให้หน่วยรับการบรรจุ<br />

มีความพร้อมรบด้านกำลังพลตามที่กำหนด<br />

ในส่วนกำลังสำรองเตรียมพร้อมที่เหลือจะมี<br />

หน้าที่ในการทดแทนกำลังที่สูญเสีย<br />

ในปีที่ ๖ นี้จะมีกำลังสำรองพร้อมรบบาง<br />

ส่วนได้รับการพิจารณาให้บรรจุใน ตพ.๕ อัตรา<br />

ร.อ. และได้รับการเลื่อนยศเป็น ร.อ. และคง<br />

เป็นกำลังสำรองพร้อมรบต่อไป มีหน้าที่เข้า<br />

รับการตรวจสอบ ทดลองความพรั่งพร้อม และ<br />

หากมีการระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่เสริม<br />

กำลังให้หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อมรบ<br />

ด้านกำลังพลตามที่กำหนด<br />

- ช่องทางที่ ๒ ได้มาจาก นศท. ที่สำเร็จการ<br />

ฝึกศึกษาในชั้นปีที่ ๕ ที่ได้รับการแต่งตั้งยศเป็น<br />

นายทหารชั้นสัญญาบัตรแล้ว ซึ่งมีคุณสมบัติ<br />

ตามที่กำหนดและได้รับการพิจารณาให้บรรจุ<br />

อยู่ในบัญชี ตพ.๕ เป็นกำลังสำรองชั้นนาย<br />

ทหารสัญญาบัตรเป็นระยะเวลา ๓ และออก<br />

มาเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน จนกว่า<br />

จะพ้นราชการ ในระหว่างที่เป็นกำลังสำรอง<br />

จะได้รับการฝึกให้มีความรู้ความสามารถตาม<br />

ตำแหน่งหน้าที่ และได้รับการแต่งตั้งยศและ<br />

เลื่อนยศ ดังนี้<br />

ปีที่ ๑ บรรจุในบัญชี ตพ. ๕ อัตรา ร.ท. /<br />

ร.อ. ตามชั้นยศเดิม เป็นกำลังสำรองชั้นต้น<br />

มีหน้าที่เข้ารับการฝึกทบทวน ฝึกเฉพาะหน้าที่<br />

และฝึกหน่วยทางยุทธวิธีตามตำแหน่งที่บรรจุ<br />

ปีที่ ๒ ปรับเป็นกำลังสำรองพร้อมรบ และ<br />

เลื่อนยศเป็น ร.ท. มีหน้าที่เข้ารับการตรวจสอบ<br />

ทดลองความพรั่งพร้อม และหากมีการ<br />

ระดมพลจะเป็นกำลังสำรองที่เสริมกำลังให้<br />

หน่วยรับการบรรจุมีความพร้อมรบด้านกำลัง<br />

พลตามที่กำหนด<br />

ปีที่ ๓ ปรับเป็นกำลังสำรองเตรียมพร้อม<br />

มีหน้าที่เข้ารับการตรวจสอบ และหากมีการ<br />

ระดมพล จะเป็นกำลังสำรองที่ใช้ทดแทนกำลัง<br />

สำรองพร้อมรบ (ในตำแหน่งเดียวกัน) ที่ต้อง<br />

จำหน่ายจากบัญชี เพื่อให้หน่วยรับการบรรจุ<br />

มีความพร้อมรบด้านกำลังพลตามที่กำหนด<br />

ในส่วนกำลังสำรองเตรียมพร้อมที่เหลือจะ<br />

มีหน้าที่ในการทดแทนกำลังที่สูญเสีย<br />

การควบคุมทหารกองเกิน การดำเนินการ<br />

ต่อชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย คง<br />

ดำเนินการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหารเช่น<br />

เดิม เมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ต้องไปรับหมาย<br />

เรียกเข้ารับราชการทหาร (สด.๓๕) ที่อำเภอ<br />

ภูมิลำเนาทหาร และมารายงานตัวต่อคณะ<br />

กรรมการ ฯ ในเดือน เม.ย. ตามปกติ หากใน<br />

ปีใดมีทหารกองเกินร้องขอ (อาสาสมัคร) และ<br />

ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ<br />

ครบตามจำนวนตามที่กองทัพต้องการ ก็จะงด<br />

การตรวจเลือก แต่หากไม่พอก็จะใช้การตรวจ<br />

เลือกตามปกติ โดยคณะกรรมการฯ จะมีหน้าที่<br />

ในการจัดทำประวัติบุคคลและส่งข้อมูลให้<br />

กับสายงานสัสดีเพื่อนำไปจัดแบ่งกลุ่มไว้ตาม<br />

ความรู้ความสามารถในขั้นต้น และเตรียมการ<br />

เรียกเข้ามาร่วมปฏิบัติงานตามห้วงเวลาและ<br />

สถานการณ์ที่กำหนดในห้วงเวลา ๙ ปี หรือ<br />

จนกว่าจะพ้นสภาพจากการเป็นทหารกองเกิน<br />

ด้านการใช้กำลัง<br />

เมื่อประเทศชาติเกิดภาวะไม่ปกติจนต้องมี<br />

การระดมพล กำลังสำรองที่บรรจุอยู่ในบัญชี<br />

ตพ.๕ ในขณะนั้น ทหารกองหนุน และทหาร<br />

กองเกิน จะต้องเดินทางมารายงานตัวที่หน่วย<br />

ต้นสังกัดในวัน ร. หรือ วัน ต.+๒๐ ซึ่งเป็นวัน<br />

ระดมสรรพกำลังตามที่กระทรวงกลาโหมจะ<br />

ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำหนดขึ้น ดังนี้<br />

กำลังสำรองในบัญชี ตพ.๕ (บัญชี ๑) ที่เป็น<br />

กำลังสำรองขั้นต้น (บรรจุกำลังในตำแหน่ง<br />

นั้น ๆ ในปีแรก ซึ่งมีหน้าที่เข้ารับการฝึก เพื่อให้<br />

สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามตำแหน่งที่บรรจุ)<br />

เมื่อมารายงานตัว หน่วยเรียกพลจะร่วมกับ<br />

หน่วยบรรจุกำลัง ส่งมอบกำลังสำรองขั้นต้น<br />

ให้กับกองร้อยกำลังทดแทน(ร้อย กทท.) เพื่อ<br />

เป็นกำลังทดแทนเป็นบุคคลให้กับหน่วยขึ้น<br />

ตรงของหน่วยเหนือต่อไป<br />

กำลังสำรองในบัญชี ตพ.๕ (บัญชี ๒) ที่เป็น<br />

กำลังสำรองพร้อมรบ (บรรจุกำลังในตำแหน่ง<br />

นั้นๆ เป็นปีที่ ๒ ซึ่งมีหน้าที่เสริมกำลังให้หน่วย<br />

นั้นๆ มียอดกำลังพลครบตามอัตราเต็ม เพื่อ<br />

ให้หน่วยมีความพร้อมรบ) เมื่อมารายงานตัว<br />

หน่วยเรียกพลจะส่งมอบกำลังสำรองพร้อม<br />

รบให้กับหน่วยรับการบรรจุกำลังที่เป็นหน่วย<br />

พันเอก สันทัด เมืองคา


ต้นสังกัด นำไปบรรจุกำลังให้เต็มตามอัตรา<br />

เพื่อให้มีความพร้อมรบด้านกำลังพลภายใน<br />

๗๒ ชั่วโมง<br />

กำลังสำรองในบัญชี ตพ.๕ (บัญชี ๓) ที่<br />

เป็นกำลังสำรองเตรียมพร้อม (บรรจุกำลังใน<br />

ตำแหน่งนั้นๆ เป็นปีที่ ๓ ซึ่งมีหน้าที่ทดแทน<br />

กำลังสำรองพร้อมรบที่ต้องจำหน่ายออกจาก<br />

บัญชี ตพ.๕ เพื่อให้หน่วยนั้นๆ มีกำลังพล<br />

ครบตามอัตรา และเป็นกำลังสำรองที่ใช้ใน<br />

การทดแทนกำลังที่สูญเสีย) เมื่อมารายงาน<br />

ตัว หน่วยเรียกพลจะร่วมกับหน่วยรับการ<br />

บรรจุกำลัง พิจารณาเป็นรายบุคคลเพื่อบรรจุ<br />

แทนกำลังสำรองพร้อมรบที่ต้องจำหน่ายออก<br />

จากบัญชีด้วยสาเหตุต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยนั้น<br />

ๆ มีความพร้อมรบด้านกำลังพลตามที่กำหนด<br />

ภายใน ๗๒ ชั่วโมง ส่วนกำลังสำรองเตรียม<br />

พร้อมที่เหลือจะส่งมอบให้ ร้อย กทท. ของ<br />

หน่วยเหนือหน่วยรับการบรรจุกำลังนั้น ๆ เพื่อ<br />

ใช้ในการทดแทนกำลังต่อไป<br />

กำลังสำรองที่พ้นจากบัญชี ตพ.๕ และยังมี<br />

สภาพเป็นทหารกองหนุน และทหารกองหนุน<br />

ทหารกองเกิน ที่ไม่ได้ผ่านการบรรจุกำลังใน<br />

บัญชี ตพ.๕ หากมีการระดมพลด้วย ก็จะต้อง<br />

เดินทางมารายงานตัวที่ต้นสังกัด เพื่อส่งมอบ<br />

ให้กับศูนย์ฝึกกำลังทดแทนของเหล่าทัพต่าง ๆ<br />

(ศฝ.กทท.) นำไปใช้ทดแทนกำลังเป็นหน่วย<br />

และการจัดตั้งหน่วยใหม่ในยามสงคราม<br />

การใช้ทหารกองเกิน ในส่วนทหารกองเกิน<br />

ที่ได้รับการจัดแบ่งกลุ่มตามพื้นฐานความรู้<br />

ความสามารถไว้แล้ว จะมีหน้าที่เข้ารับการ<br />

ฝึกวิชาทหารเบื้องต้นเมื่อมีการเรียกพล ทั้งนี้<br />

เพื่อให้มีฐานะเป็นทหารกองเกินที่ได้รับการ<br />

ฝึกวิชาทหารแล้ว โดยให้หน่วยฝึกนักศึกษา<br />

วิชาทหารของเหล่าทัพ เป็นหน่วยฝึกประจำ<br />

พื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่ง<br />

ตามความรู้ความสามารถทางด้านพลเรือน<br />

ของแต่ละบุคคล ที่ไม่สามารถผลิตได้จากทหาร<br />

กองประจำการ หรือ นศท. ตลอดจนใช้ในการ<br />

ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรูปแบบอื่นๆ<br />

การรับบุคคลเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการ<br />

ชั่วคราว เมื่อกองทัพมีความจำเป็นต้องใช้กำลัง<br />

พลในตำแหน่งที่งดบรรจุ ว่าง บรรจุกำลังจาก<br />

กำลังสำรอง ให้รับสมัครจากทหารกองหนุนที่<br />

ได้ผ่านการบรรจุกำลังในบัญชี ตพ.๕ มาแล้ว<br />

และทหารกองเกินที่สำเร็จการฝึกวิชาทหาร<br />

ตามหลักสูตรที่กำหนด เข้าทำหน้าที่ทหาร<br />

เป็นการชั่วคราวได้<br />

ด้านสิทธิประโยชน์ (แรงจูงใจ)<br />

ทหารกองประจำการ ในขณะรับราชการ<br />

กองประจำการ (อาสาสมัคร) ให้ได้รับเงิน<br />

รายได้ประจำเดือนที่ไม่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำคือ<br />

๙,๐๐๐ บาท (เงินเดือน, เบี้ยเลี้ยงประจำ และ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว) รวมทั้งให้ได้รับ<br />

เงินเพิ่ม (ค่าวิชาชีพ) ตามหลักสูตรวิชาทหารที่<br />

สำเร็จการฝึก และมีสิทธิสมัครเข้ารับการศึกษา<br />

นอกเวลาราชการเพื่อให้มีความรู้และวุฒิการ<br />

ศึกษาที่สูงขึ้น<br />

ทหารกองหนุน เมื่อทหารกองประจำการ<br />

(อาสาสมัคร) และ นศท. ออกมาเป็นทหารกอง<br />

หนุน (รับราชการกองประจำการครบ ๓ ปี หรือ<br />

สำเร็จการฝึกศึกษาในชั้นปีที่ ๓ ขึ้นไป) และมี<br />

คุณสมบัติตามที่กำหนด ให้ได้รับสิทธิดังนี้<br />

- เมื่อสมัครเข้าเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของ<br />

รัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับสิทธิในการรับเข้า<br />

ทำงานก่อนบุคคลอื่น<br />

- มีสิทธิสมัครและสอบคัดเลือกเข้าเป็น<br />

ทหารประจำการ<br />

- มีสิทธิสมัครและสอบเข้าเป็นนักเรียน<br />

นายสิบตำรวจ (ตามจำนวนที่กำหนด)<br />

- ให้มีสิทธิสมัครและสอบเข้าเป็นนักเรียน<br />

ทหารระดับชั้นประทวนของเหล่าทัพ<br />

กำลังสำรอง ทหารกองหนุนผู้ที่ได้รับการ<br />

บรรจุเป็นกำลังสำรองในบัญชี ตพ.๕ ให้ได้รับ<br />

สิทธิประโยชน์ ดังนี้<br />

- เงินค่าตอบแทนรายเดือนที่เหมาะสม การ<br />

เลื่อนยศ/เลื่อนฐานะตามขีดความสามารถ<br />

จนถึงระดับชั้นยศไม่เกิน ร.อ. และได้รับ<br />

สวัสดิการต่าง ๆ เช่น การรักษาพยาบาล การ<br />

โดยสารยานพาหนะของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เงิน<br />

ทุนในการประกอบอาชีพ และการลดหย่อน<br />

ภาษีรายได้ประจำปี เป็นต้น<br />

- เมื่อได้รับการเรียกพลหรือระดมพลให้ได้<br />

รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม<br />

- เมื่อบรรจุอยู่ในบัญชี ตพ.๕ จนครบตาม<br />

กำหนดเวลาแล้ว ให้มีสิทธิสมัครเข้าทำหน้าที่<br />

ทหารเป็นการชั่วคราวตามที่กำหนดได้<br />

ทหารกองเกิน<br />

- ทหารกองเกินที่ได้รับการเรียกพลเพื่อฝึก<br />

วิชาทหารประจำปี จะได้รับสิทธิในการแต่ง<br />

เครื่องแบบทหารตามแผนกและเหล่าที่เข้า<br />

รับการฝึก รวมทั้งสวัสดิการอื่น ๆ และหาก<br />

สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรและมี<br />

คุณสมบัติตามที่กำหนด จะได้รับการพิจารณา<br />

แต่งตั้งยศทหาร<br />

- เมื่อสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตร<br />

และได้รับการแต่งตั้งยศทหารแล้ว ให้มีสิทธิ<br />

สมัครเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวได้<br />

ซึ่งจะเห็นได้ว่าหากกระทรวงกลาโหม<br />

สามารถบริหารจัดการกับทหารกองเกิน ทหาร<br />

กองประจำการ ทหารกองหนุนหรือกำลัง<br />

สำรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้<br />

กองทัพมีความพร้อมในการใช้กำลังเพื่อการ<br />

รักษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศได้<br />

อย่างแท้จริง ดังนั้น“การพัฒนาการเตรียม<br />

กำลังของกระทรวงกลาโหมด้านทหารกอง<br />

เกิน กองประจำการ ทหารกองหนุนและ<br />

กำลังสำรอง” จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่<br />

ต้องศึกษาอย่างจริงจังและพัฒนาอย่างเป็น<br />

ระบบ ทั้งนี้ เพื่อให้ ทหารกองเกิน ทหาร กอง<br />

ประจำการ ทหารกองหนุน และกำลังสำรอง<br />

มีคุณภาพเพียงพอที่จะปฏิบัติงานร่วมกับ<br />

กำลังประจำการได้ในทุกสถานการณ์อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

29


ดุลยภาพทางทหารของประเทศอาเซียน<br />

แนะนำปืนใหญ่สนามอัตตาจร<br />

ล้อยางแบบซีซาร์<br />

ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

30<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ก<br />

องทัพบกอินโดนีเซียจัดซื้อปืนใหญ่<br />

สนามอัตตาจรชนิดล้อยางแบบ<br />

ซีซาร์(Caesar) จำนวน ๓๗ หน่วยยิง<br />

เป็นเงิน ๒๔๐ ล้านเหรียญสหรัฐ จากประเทศ<br />

ฝรั่งเศส ได้รับมอบปืนใหญ่สนามชุดแรกรวม ๒<br />

หน่วยยิง เมื่อกลางเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

จะได้รับมอบปืนใหญ่สนามครบตามโครงการ<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จึงเป็นการปรับปรุงปืนใหญ่<br />

สนามขนาดกลางของกองทัพบกอินโดนีเซียให้<br />

มีขีดความสามารถในการยิงให้สูงยิ่งขึ้น<br />

ปืนใหญ่สนามอัตตาจรแบบซีซาร์ (Caesar)<br />

ทำการพัฒนาขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศสเมื่อ<br />

ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ นำออกเผยแพร่ให้ทราบเมื่อ<br />

ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ข้อมูลที่สำคัญคือกว้างปาก<br />

ลำกล้อง ๑๕๕/๕๒ มิลลิเมตร น้ำหนัก ๑๗.๗<br />

ตัน ขนาดยาว ๑๐.๐ เมตร กว้าง ๒.๕๕ เมตร<br />

สูง ๓.๗ เมตร อัตราการยิง ๖ นัดต่อนาที พล<br />

ประจำปืน ๕ นาย (ยามฉุกเฉินใช้พลประจำ<br />

ปืน ๓ นาย) ติดตั้งบนรถยนต์ชนิด ๖x๖ ล้อ<br />

(รถยนต์แบบ Unimog U2450L เครื่องยนต์<br />

ดีเซล) ความเร็วบนถนน ๑๐๐ กิโลเมตรต่อ<br />

ชั่วโมง ความเร็วในภูมิประเทศ ๕๐ กิโลเมตร<br />

ต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการไกล ๖๐๐ กิโลเมตร<br />

และลูกกระสุนมีระยะยิงไกลสุด ๔๒ กิโลเมตร<br />

(ใช้ลูกกระสุนพิเศษมีระยะยิงไกลสุด ๕๐<br />

กิโลเมตร) เนื่องจากมีน้ำหนักเบาเมื่อเปรียบ<br />

เทียบกับปืนใหญ่อัตตาจรประเภทสายพาน<br />

มีขนาดกว้างปากลำกล้องเท่ากัน จึงใช้การ<br />

เคลื่อนย้ายทางอากาศด้วยเครื่องบินขนส่ง<br />

ทางทหารแบบ ซี-๑๓๐ เฮอร์คิวลิส (C-130<br />

Hercules) ทำการบินไปยังสนามบินทางทหาร<br />

ในเขตหน้าของพื้นที่การรบ และเคลื่อนที่สู่<br />

พื้นที่ตั้งยิงอย่างรวดเร็ว ปัจจัยเวลาจะมีความ<br />

สำคัญยิ่งต่อปฏิบัติการทางทหารในสงคราม<br />

สมัยใหม่ เครื่องบินขนส่งทางทหาร ซี-๑๓๐<br />

(C-130 Hercules) ซึ่งประจำการอย่างแพร่<br />

หลายในกองทัพอากาศพันธมิตรนาโต้<br />

กองทัพบกฝรั่งเศสนำเข้าประจำการครั้ง<br />

แรก ๕ หน่วยยิง เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.<br />

๒๕๔๓ ได้รับมอบปืนใหญ่สนามแบบซีซาร์<br />

(Caesar) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ต่อมากองทัพบก<br />

ฝรั่งเศสจัดซื้อเพิ่มเติมอีก ๗๒ หน่วยยิง เพื่อนำ<br />

เข้าประจำการทดแทนปืนใหญ่สนามอัตตาจร<br />

ชนิดรถสายพานรุ่นเก่าแบบเอยูเอฟ-๑ (AUF-<br />

1) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตรที่หมดอายุการใช้งาน<br />

ประจำการที่หน่วย กรมปืนใหญ่นาวิกโยธิน<br />

ที่ ๑, กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๖๘, กรมทหารปืน<br />

ใหญ่นาวิกโยธินที่ ๓, กรมทหารปืนใหญ่นาวิก<br />

โยธินที่ ๑๑, กรมทหารปืนใหญ่พลร่มที่ ๓๕<br />

และกรมทหารปืนใหญ่ภูเขาที่ ๙๓<br />

กองทัพบกฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการกับ<br />

กองกำลังรักษาความปลอดภัยนานาชาติใน<br />

อัฟกานิสถาน (ISAF) เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

ทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศสเตรียมการบรรจุลูกกระสุนปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์ (Caesar) ขนาด<br />

๑๕๕ มิลลิเมตร พื้นที่ปฏิบัติการในประเทศอัฟกานิสถาน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

๒๕๕๒ พื้นที่ปฏิบัติการจังหวัดกาปิชา (Kapisa)<br />

ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ<br />

กำลังทหาร ๔๕๕ คน (ต่อมาเพิ่มกำลังทหาร<br />

เป็น ๒,๔๕๓ คน) กองบัญชาการอยู ่ที่กรุงคาบูล<br />

กองบัญชาการภาคเมืองหลวงกองทัพบก<br />

ฝรั่งเศสนำปืนใหญ่อัตตาจรแบบซีซาร์ (Caesar)<br />

ปฏิบัติการจำนวน ๘ หน่วยยิง (กรมทหารปืน<br />

ใหญ่นาวิกโยธินที่ ๓) เป็นปฏิบัติการทางทหาร<br />

ขนาดใหญ่อีกครั้งหนึ่งของกองทัพฝรั่งเศส โดย<br />

มีกำลังทหารเข้าปฏิบัติการรวมทั้ง ๓ เหล่าทัพ<br />

พื้นที่ปฏิบัติการในอัฟกานิสถานเป็นปฏิบัติ<br />

การทางทหารขนาดใหญ่ของกำลังนานาชาติ<br />

(ISAF) มีกำลังทหารประมาณ ๑๑๒,๕๗๙<br />

คน (พ.ศ. ๒๕๕๕) สนามรบส่วนใหญ่เป็น<br />

ทะเลทรายที่แห้งแล้งร้อนระอุและมีฝุ่นทราย<br />

เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อ<br />

ปฏิบัติภารกิจทั้งกำลังทหารและยุทโธปกรณ์<br />

กองทัพบกฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการ<br />

สันติภาพในประเทศเลบานอน (UNIFIL)<br />

ทางตอนใต้ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมกับกองกำลัง<br />

นานาชาติ มีกำลังประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน<br />

กองทัพบกฝรั่งเศสส่งปืนใหญ่สนามอัตตาจร<br />

แบบซีซาร์ (Caesar) จากประเทศฝรั่งเศสมา<br />

ทางเรือสู่พื้นที่ปฏิบัติการประเทศเลบานอน<br />

จัดปืนใหญ่ระดับหน่วยขนาดหนึ่งกองร้อยปืน<br />

ใหญ่สนาม<br />

กองทัพบกฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการ<br />

สันติภาพในประเทศมาลี ทวีปแอฟริกา<br />

ปฏิบัติการสันติภาพกับกำลังนานาชาติ ๑๐<br />

ประเทศ ส่วนใหญ่จากกองกำลังนาโต้ที่มี<br />

ประเทศฝรั่งเศสเป็นแกนนำ มีกำลังทหาร<br />

รวม ๑๒,๖๐๐ คน ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่<br />

ปืนใหญ่อัตตาจรชนิดล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร กองทัพบก<br />

ซาอุดิอาระเบีย (กองกำลังรักษาดินแดน รวม ๔ กองพันทหารปืนใหญ่) ใช้สีพลาง ทะเลทราย<br />

31


ทหารฝรั่งเศสพร้อมด้วยปืนใหญ่อัตตาจรแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร ขณะทำการยิงบริเวณใกล้กับฐานทัพอากาศบากรัม<br />

(Bagram) ประเทศอัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒<br />

32<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ปืนใหญ่สนามอัตตาจรชนิดล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร น้ำหนัก ๑๗.๗ ตัน ยาว ๑๐.๐ เมตร กว้าง ๒.๕๕ เมตร สูง<br />

๓.๗ เมตร อัตราการยิง ๖ นัดต่อนาที พลประจำปืน ๕ นาย ความเร็วบนถนน ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในภูมิประเทศ ๕๐ กิโลเมตร<br />

ต่อชั่วโมง ระยะปฏิบัติการไกล ๖๐๐ กิโลเมตร และลูกกระสุนมีระยะยิงไกลสุด ๔๒ กิโลเมตร<br />

ปืนใหญ่อัตตาจรชนิดล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร ขณะทำการยิงที่<br />

สมรภูมิอัฟกานิสถาน รอบที่ตั้งยิงของปืนใหญ่สนามได้รับการป้องกันจากการยิงเล็งตรงจาก<br />

ฝ่ายข้าศึก<br />

กรุงบามาโก (Bamako) กำลังทหารบกจัดมา<br />

จากกองทัพบกฝรั่งเศสมีปืนใหญ่สนามแบบ<br />

ซีซาร์ (Caesar) หนึ่งกองร้อย (กรมทหารปืน<br />

ใหญ่ที่ ๖๘) เนื่องจากมาลีเคยเป็นเมืองขึ้น<br />

เก่าของประเทศฝรั่งเศส มีพื้นที่ ๑.๒๔ ล้าน<br />

ตารางกิโลเมตร ทางตอนเหนือเป็นทะเลทราย<br />

ซาฮาร่า มีประชากร ๑๔.๕ ล้านคน ประชาชน<br />

ส่วนใหญ่ของประเทศมีฐานะยากจนมีปัญหา<br />

ความขัดแย้งอย่างรุนแรงเกิดขึ้นทางตอนเหนือ<br />

ของประเทศกำลังทหารที่เข้าร่วมปฏิบัติการ<br />

เป็นทหารราบยานยนต์ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมี<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

กำลังกองโจรหรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาลประมาณ<br />

๑๑,๐๐๐ คน มีปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญ<br />

คือการรบที่กัว (Goa) ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗<br />

มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ และมียุทธการเซอร์<br />

วอล (Serval) เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม<br />

พ.ศ. ๒๕๕๖<br />

ปืนใหญ่สนามอัตตาจรล้อยางแบบซีซาร์<br />

(Caesar) ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร นำเข้า<br />

ประจำการ ๔ ประเทศ คือ ฝรั่งเศส (๗๗),<br />

ซาอุดิอาระเบีย (กองกำลังรักษาดินแดน หน่วย<br />

ขนาดกองทัพน้อย ประจำการ ๔ กองพัน<br />

ปืนใหญ่อัตตาจรชนิดล้อยางแบบซีซาร์<br />

(Caesar) ขนาดกว้างปากลำกล้อง ๑๕๕<br />

มิลลิเมตร ของกองทัพบกฝรั่งเศส ขณะ<br />

ปฏิบัติการสันติภาพในประเทศเลบานอน<br />

(UNIFIL) ทางด้านตอนใต้ของประเทศในปี<br />

พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมกับกองกำลังนานาชาติ<br />

ทหารปืนใหญ่รวม ๗๖ หน่วยยิง), อินโดนีเซีย<br />

(ประจำการ ๒ กองพันทหารปืนใหญ่ รวม ๓๗<br />

หน่วยยิง) และไทย (รวม ๖ หน่วยยิง)<br />

กองทัพบกไทยนำปืนใหญ่สนามอัตตาจร<br />

ล้อยางแบบซีซาร์ (Caesar) ขนาด ๑๕๕<br />

มิลลิเมตร ประจำการที่กองพันทหารปืนใหญ่ที่<br />

๗๒๑ กองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม<br />

จังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นำออกปฏิบัติ<br />

การทางทหารตามแนวชายแดนด้านตะวันออก<br />

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔<br />

33


แนวความคิดการป้องกัน<br />

และบรรเทาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน<br />

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม<br />

จ<br />

ากสภาวะสิ่งแวดล้อมโลกที่มีการ<br />

เปลี่ยนแปลงและผันผวนอย่างมาก<br />

จนส่งผลกระทบต่อการเกิดภัย<br />

ธรรมชาติที่มีความถี่เพิ่มขึ้นและทวีความ<br />

รุนแรงมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากมหาอุทกภัยที่เกิด<br />

ขึ้นกับประเทศไทยปี พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ซึ่ง<br />

สร้างความสูญเสียอย่างมากให้กับประเทศไทย<br />

ทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ<br />

และสังคม โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ<br />

โดยตรงจำนวน ๖๕ จังหวัด และประชาชน<br />

ประมาณ ๑๒ ล้านคน ซึ่งธนาคารโลกได้<br />

ประเมินความเสียหายไว้ประมาณ ๑.๔๔<br />

ล้านล้านบาท และจัดให้เป็นภัยพิบัติที่สร้าง<br />

ความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่ของโลก<br />

สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ ประเทศไทย<br />

ประสบกับปัญหาอุทกภัยในวงกว้างอีกครั้ง<br />

ซึ่งเป็นผลมาจากเกิดผลตกหนักตั้งแต่ช่วง<br />

34<br />

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม


กลางเดือนกันยายน จนทำให้เกิดน้ำป่าไหล<br />

หลาก น้ำล้นตลิ่ง และ น้ำท่วมขัง ซึ่งส่งผลก<br />

ระทบต่อประชาชนในวงกว้างมากกว่า ๔๐<br />

จังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวัน<br />

ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก รวมถึง<br />

ภาคกลางบางส่วน และมีสถานการณ์ต่อเนื่อง<br />

ยาวนานมากกว่า ๑ เดือน รวมทั้งในช่วงเดือน<br />

พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ในพื้นที่ภาคใต้ก็ได้<br />

รับผลกระทบจากอุทกภัยซึ่งมีจังหวัดที่ได้รับ<br />

ผลกระทบประมาณ ๑๒ จังหวัด ดังนั้นจึง<br />

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น<br />

ประเทศไทยประสบปัญหาภัยพิบัติจากอุทกภัย<br />

ในทุกภาคของประเทศ<br />

นอกจากนี้จากรายงานทางวิชาการ<br />

ขององค์การระหว่างประเทศ อาทิ The<br />

United Nations Office for Disaster Risk<br />

Reduction (UNISDR) ระบุว่า ประเทศใน<br />

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีความเสี่ยงสูงที่จะ<br />

ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง<br />

ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญมี<br />

โอกาสได้รับความสูญเสียจากภัยพิบัติสูงที่สุด<br />

เนื่องจากขาดกระบวนการบริหารจัดการภัย<br />

พิบัติที่มีประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าว<br />

จึงทำให้ประเทศไทยต้องประเมินความพร้อม<br />

และประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทา<br />

สาธารณภัยของทุกภาคส่วน โดยผู้แทนจาก<br />

หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาค<br />

เอกชน และภาคประชาชน ที่ได้มีโอกาส<br />

แลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ใน<br />

หลาย ๆ เวที เห็นพ้องกัน ว่า ส่วนราชการต่าง ๆ<br />

ยังขาดการทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ ขาด<br />

เอกภาพในการบังคับบัญชา ขาดการประสาน<br />

งานที่มีประสิทธิภาพ มองข้ามประเด็นในเรื่อง<br />

การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และยังไม่ได้<br />

ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการ<br />

แก้ไขปัญหา<br />

ปัญหาภัยพิบัติไม่ใช่ปัญหาของชุมชนใด<br />

ชุมชนหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

อีกต่อไป เนื่องจากภัยพิบัติขนาดใหญ่ส่งผล<br />

กระทบในวงกว้างทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับ<br />

ประเทศ จนถึงระดับภูมิภาค ซึ่งประชาคมโลก<br />

ได้มองว่า ภัยพิบัติเป็นปัญหาของโลกที่ต้อง<br />

เผชิญมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะทวี<br />

ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นผลมาจาก<br />

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate<br />

Change) สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียได้<br />

มีการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียว่าด้วยการ<br />

ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Asian Ministerial<br />

Conference on Disaster Risk Reduction:<br />

AMCDRR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึง<br />

ผลการดำเนินงานภายใต้กรอบการดำเนิน<br />

งานเฮียวโกะ พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๘ (Hyogo<br />

Framework for Action 2005 - 2015:<br />

HFA) ซึ่งเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของโลกในการ<br />

ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่มีเป้าหมายสูงสุด<br />

คือ “การลดความสูญเสียจากภัยพิบัติที่มีต่อ<br />

ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของ<br />

ชุมชน และของประเทศ” ที่รัฐบาลของ ๑๖๘<br />

ประเทศได้ตกลงรับรองแผนระยะเวลา ๑๐ ปี<br />

ฉบับนี้ ในการประชุมของโลกว่าด้วยการลดผล<br />

กระทบจากภัยพิบัติ (World Conference on<br />

Disaster Reduction) เมื่อมกราคม ๒๕๔๘<br />

ณ เมืองโกเบ จ.เฮียวโกะ ประเทศญี่ปุ่น โดย<br />

มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ๕ ประการ<br />

ได้แก่ ๑) การกำหนดให้การลดภัยพิบัติมีความ<br />

สำคัญในลำดับแรกของการบริหารจัดการของ<br />

ประเทศทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ๒) การ<br />

ระบุ ประเมิน และติดตามความเสี่ยง และ<br />

การพัฒนาการเตือนภัยล่วงหน้า ๓) การใช้<br />

ความรู้ นวัตกรรม และการศึกษาในการสร้าง<br />

วัฒนธรรมความปลอดภัย และความเข้มแข็ง<br />

ให้กับสังคมทุกระดับ โดยเน้นการมีส่วนร่วม<br />

๔) การลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นที่<br />

การวางแผนและการบังคับใช้กฎหมาย และ<br />

๕) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการ<br />

เตรียมความพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติทุกระดับ<br />

สำหรับประเทศไทยนั้น ได้รับประสบการณ์<br />

และบทเรียนอย่างมากขณะเผชิญกับมหา<br />

อุทกภัยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยกระทรวง<br />

กลาโหมในฐานะหน่วยงานสนับสนุนหลัก<br />

ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ<br />

ประเทศตามแผนการป้องกันและบรรเทา<br />

สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ ซึ่ง<br />

มีแผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม<br />

๒๕๕๔ เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติ ได้<br />

จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บทเรียน<br />

การปฏิบัติการของทหารสนับสนุนศูนย์<br />

บรรเทาภัยพิบัติของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา<br />

อุทกภัยปี ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑<br />

มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ เซอร์เจมส์ รีสอร์ท<br />

อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี นั้น โดยผลจากการสัม<br />

มนาฯ สรุปได้ว่า กระทรวงกลาโหมจำเป็นต้อง<br />

ปรับปรุงแผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง<br />

กลาโหม ๒๕๕๔ ให้เข้ากับสถานการณ์ภัย<br />

พิบัติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการแบ่งมอบพื้นที่<br />

รับผิดชอบ และการประสานงานระหว่างส่วน<br />

ราชการต่างๆ ภาคเอกชน และองค์กรการกุศล<br />

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย<br />

พิบัติเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นั้น กรมป้องกัน<br />

และบรรเทาสาธารณภัยในฐานะหน่วยงาน<br />

กลางด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย<br />

ของประเทศตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ป้องกัน<br />

และบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ และ<br />

แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่ง<br />

ชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗ ได้จัดการสัมมนา<br />

เชิงปฏิบัติการเพื่อวิพากษ์แผนการป้องกัน<br />

และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับปัจจุบัน<br />

เพื่อเตรียมการจัดทำแผนการป้องกันและ<br />

บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งผล<br />

จากการสัมมนาฯ ดังกล่าวทำให้ ทุกฝ่ายเห็น<br />

พ้องกันว่า ปัจจัยหลักที่สำคัญในการบริหาร<br />

จัดการสาธารณภัย คือ ความมีประสิทธิภาพ<br />

ในการทำงานร่วมกันในเชิงบูรณาการ ความมี<br />

35


เอกภาพในการบังคับบัญชา และการประสาน<br />

งานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน รวมถึงภาค<br />

ประชาชน ซึ่งมีผลทำให้การจัดการภัยพิบัติ<br />

ขาดประสิทธิภาพ และการช่วยเหลือประชาชน<br />

ในพื้นที่ประสบภัยเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและ<br />

เกิดความซ้ำซ้อนกัน<br />

กระบวนการการบริหารจัดการภัยพิบัติ<br />

ของประเทศไทย หรือวงจรการบริหาร<br />

จัดการภัยพิบัติ (Disaster Management<br />

Circle) ซึ่งประกอบด้วย ๑) การลดผลกระทบ<br />

(Mitigation) คือ กิจกรรมที่มุ่งในการลด<br />

ผลกระทบและความรุนแรงของภัยพิบัติที่ก่อ<br />

ให้เกิดอันตรายและความสูญเสียแก่ชุมชนและ<br />

ประเทศชาติ ซึ่งบางหน่วยงานใช้เป็นคำว่า การ<br />

ป้องกัน (Prevention) คือ การดำเนินการ<br />

เพื่อหลีกเลี่ยงหรือขัดขวางมิให้ภัยพิบัติและ<br />

ความสูญเสียเกิดขึ้น ๒) การเตรียมความพร้อม<br />

(Preparedness) คือ การเตรียมการล่วงหน้า<br />

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับรัฐบาล องค์กร<br />

ปฏิบัติ ชุมชน และบุคคล ในการเผชิญกับภาว<br />

การณ์เกิดภัยพิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

มากขึ้น ๓) การตอบโต้ (Response) คือ การ<br />

ปฏิบัติอย่างทันทีทันใดเมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น และ<br />

๔) การฟื้นฟูบูรณะ (Recovery) คือ ขั้นตอน<br />

การดำเนินการเมื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติผ่านพ้น<br />

ไปแล้ว เพื่อให้พื้นที่หรือชุมชนที่ได้รับภัยพิบัติ<br />

กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้น<br />

เมื่อได้พิจารณาวงจรการบริหารจัดการภัย<br />

พิบัติ โดยนำภัยพิบัติ (Disaster) เป็นจุดเริ่มต้น<br />

ของปัญหา จะทราบว่า “ภัยพิบัติ” (Disaster)<br />

เป็นผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ รวมกัน อาทิ<br />

การขาดมาตรการรองรับที่มีประสิทธิภาพหรือ<br />

ไม่มีมาตรการรองรับเมื่อเกิดภัยพิบัติ ความ<br />

มีศักยภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ<br />

บรรเทาหรือจัดการกับภัยพิบัติ ความเสี่ยงต่อ<br />

การเกิดภัยพิบัติของสภาพภูมิประเทศหรือ<br />

ที่ตั้งของชุมชน การขาดความรู ้ของคนในชุมชน<br />

ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนได้<br />

และการมองข้ามประเด็นในการแก้ไขปัญหา<br />

ภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ เป็นต้น จึงทำให้ผล<br />

กระทบจากภัยพิบัติมีความสูญเสียมากทั้งใน<br />

ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ หรือภูมิภาค<br />

อาทิ จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ<br />

จำนวนผู้ไร้ที่อยู่อาศัย มูลค่าของทรัพย์สินทั้ง<br />

เป็นบุคคลและภาพรวมของประเทศ ความ<br />

สูญเสียต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ<br />

การเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อม และ ความ<br />

เสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง<br />

สามารถส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของภูมิภาค<br />

หรือของโลกได้<br />

นายโคฟีอานัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ<br />

กล่าวว่า “เราไม่อาจที่จะหยุดยั้งภัยธรรมชาติ<br />

ได้ แต่เราสามารถที่จะสร้างให้แต่ละคนและ<br />

36<br />

รูปที่ ๑ ภาพแสดงวงจรการบริหารจัดการภัยพิบัติ (Disaster Management Circle)<br />

แต่ละชุมชนมีความสามารถในการเตรียม<br />

พร้อมที่จะเผชิญภัยธรรมชาติเหล่านี้ได้” และ<br />

จากสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น<br />

จะเห็นได้ว่า ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก<br />

และไม่เลือกประเทศหรือภูมิภาคที่จะเกิด โดย<br />

เฉพาะภัยพิบัติที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น<br />

แผ่นดินไหว สึนามิ พายุไต้ฝุ่น พายุเฮอริเคน<br />

พายุโซนร้อน อุทกภัย และดินถล่ม เป็นต้น<br />

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราไม่สามารถห้ามไม่ให้<br />

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถที่จะลด<br />

ขนาดและความรุนแรงของผลกระทบที่จะได้<br />

รับจากภัยพิบัติเหล่านั้นได้ ซึ่งการประชุมทั้งใน<br />

เวทีระดับโลกและระดับภูมิภาค ที่เกี่ยวข้องกับ<br />

การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ได้มีการเสนอ<br />

แนวความคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ การลดความ<br />

เสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction:<br />

DRR) การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable<br />

Development: SD) และ การปรับตัวต่อ<br />

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate<br />

Change Adaptation: CCA) เป็นต้น<br />

แนวความคิดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ<br />

(DRR) คือการลดปัจจัยที่จะทำให้ได้รับผล<br />

กระทบจากสภาวะที่อาจประสบกับอันตราย<br />

(Harm) หรือการอยู่ในสภาวะที่เกี่ยวข้องกับ<br />

อันตรายจากภัยพิบัติ โดยระดับของความเสี่ยง<br />

(Degree of Risk) ขึ้นอยู่กับโอกาสหรือความถี่<br />

ในการเกิดอันตรายและความรุนแรงจาก<br />

อันตรายนั้น ๆ อาทิ การสร้างบ้านเรือนหรือ<br />

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม


ชุมชนให้มีมาตรฐานโครงสร้างที่แข็งแรงและ<br />

ตั้งอยู่นอกพื้นที่เสี่ยงภัย และการพัฒนาระบบ<br />

การแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าให้มีประสิทธิภาพ<br />

เป็นต้น ในขณะที่แนวความคิดการพัฒนา<br />

ที่ยั่งยืน (SD) หมายถึง การพัฒนาที่มีการ<br />

คำนึงถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อม มีการ<br />

ป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม หรือถ้า<br />

จำเป็นจะต้องเกิดความเสียหาย ก็จะต้องจำกัด<br />

ขอบเขตความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การ<br />

พัฒนาที่ยั่งยืนในมิติทางด้านทรัพยากรและ<br />

สิ่งแวดล้อมนี้ จึงเป็นรูปแบบการใช้ทรัพยากร<br />

ที่มีการบำรุงรักษา และมีอัตราการใช้ที่อยู่<br />

ในขอบเขตการอำนวยให้หรือศักยภาพที่<br />

ทรัพยากรนี้จะคืนสู่สภาพปกติได้ นอกจากนี้<br />

แนวความคิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง<br />

สภาพภูมิอากาศ (CCA) ได้อ้างถึงการเข้าสู่<br />

สังคมที่ภาวะคุกคามโดยเฉพาะภัยธรรมชาติใน<br />

อนาคตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงมีความ<br />

จำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาคนและระบบต่าง ๆ<br />

ให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ<br />

ได้ อาทิ ความสามารถในการเรียนรู้และการ<br />

สะสมความรู้และประสบการณ์ ความยืดหยุ่น<br />

ของกระบวนการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและ<br />

โครงสร้างอำนาจที่ตอบสนองต่อความต้องการ<br />

ของกลุ ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับและ<br />

ทุกภาคส่วน<br />

ดังนั้นเมื่อนำแนวคิดการลดผลกระทบ<br />

จากภัยพิบัติ (DRR) แนวความคิดการพัฒนา<br />

ที่ยั่งยืน (SD) แนวความคิดการปรับตัวต่อ<br />

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCA)<br />

และบทเรียนของประเทศไทยที่ได้รับจาก<br />

การเผชิญปัญหาอุทกภัย มาเปรียบเทียบ<br />

กับขั้นตอนหรือวงจรการบริหารจัดการภัย<br />

พิบัติ (Disaster Management Circle) นั้น<br />

อาจกล่าวได้ว่า เนื่องจากความจำกัดด้าน<br />

งบประมาณ ดังนั้นในการวางแผนงานโครงการ<br />

เพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ<br />

ประเทศไทยนั้น จึงควรมุ่งไปที่ขั้นตอบการลด<br />

ผลกระทบ (Mitigation) ซึ่งรวมถึงการป้องกัน<br />

(Prevention) และอาจกล่าวได้ว่าขั้นตอน<br />

ดังกล่าวมีสำคัญมากในวงจรการบริหารจัดการ<br />

ภัยพิบัติ (Disaster Management Circle)<br />

โดยการจัดการกับความเสี่ยงในการเกิดภัย<br />

พิบัติ (Disaster Risk Management) ด้วย<br />

การลดโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียจากภัย<br />

พิบัติ ทั้งต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ความ<br />

เป็นอยู่ และภาคบริหารต่าง ๆ ในชุมชนใด<br />

ชุมชนหนึ่ง ณ ห้วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต<br />

โดยการนำบทเรียนต่างที่ได้รับมาใช้ในการ<br />

ปรับปรุงขั้นตอน และวิธีการต่าง ๆ รวมถึงการ<br />

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความเสี่ยงต่อภัย<br />

พิบัติให้มีความคงทนแข็งแรงขึ้น หรือ ที่เรียก<br />

ว่า “Build-back-Better” อาทิ การขาดของ<br />

คอสะพาน เมื่อนำบทเรียนหรือประสบการณ์<br />

ต่าง ๆ ที่ได้มีการศึกษาและวิเคราะห์อย่าง<br />

เป็นระบบ ก็จะทำให้เราทราบว่าปัญหาที่<br />

คอสะพานขาดเกิดจากปัจจัยหรือตัวแปร<br />

อะไร ซึ่งภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง<br />

ร่วมกับชุมชนเพื่อประเมินและวิเคราะห์ผล<br />

กระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน แล้วปรับปรุงการ<br />

สร้างสะพานใหม่ทดแทนให้มีความคงทนต่อ<br />

ภาวะน้ำหลากได้ ซึ่งรวมถึงการย้ายพื้นที่อยู่<br />

อาศัยไปยังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหรือ<br />

ปลอดภัยมากกว่า พร้อมทั้งสร้างที่อยู่อาศัย<br />

โรงเรียน สถานีอนามัย และอื่น ๆ ของชุมชน<br />

ให้มีความคงทนต่อภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น<br />

ในพื้นที่อย่างเหมาะสมต่อไป เป็นต้น<br />

โดยสรุปเพื่อให้การป้องกันและบรรเทา<br />

ภัยพิบัติของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่าง<br />

ยั่งยืนและพร้อมรับกับสถานการณ์ภัยพิบัติ<br />

ที่มีความถี่สูงขึ้นและทวีความรุนแรงมากขึ้น<br />

ในอนาคต จึงจำเป็นที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่<br />

เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน<br />

ศึกษาวิเคราะห์บทเรียนที่ได้รับจากการบริหาร<br />

จัดการภัยพิบัติในแต่ละครั้ง เพื่อนำผลการ<br />

วิเคราะห์อย่างเป็นระบบมาใช้ในการวางแผน<br />

และดำเนินการตั้งแต่การลดผลกระทบจาก<br />

ภัยพิบัติให้เป็นไปได้อย่างยั่งยืนก่อน ซึ่งนำ<br />

ไปสู่การป้องกันที่มีประสิทธิภาพอันจะนำมา<br />

ซึ่งการลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งกับ<br />

ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งระบบ<br />

เศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไป เพราะเราไม่<br />

สามารถห้ามการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้<br />

แต่เราสามารถลดอันตรายและความสูญเสีย<br />

ที่อาจจะเกิดกับเราและชุมชนของเรา รวมถึง<br />

ประเทศของเราได้<br />

รูปที่ ๒ กรอบแนวความคิดการรับมือและฟื้นกลับเร็วเมื่อเกิดภัยพิบัติ (Resilience)<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

37


เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ ๑๗<br />

จรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง<br />

วิ<br />

วัฒนาการของรถถังและยานเกราะ<br />

เป็นไปอย่างรวดเร็ว และขอบเขตขีด<br />

ความสามารถได้ถูกพัฒนาให้หลาก<br />

หลายกว่ายุคแรกมาก จริงอยู่ที่ว่าระบบอาวุธ<br />

ที่สามารถทำลายรถถังได้ดีที่สุดคือ รถถังด้วย<br />

กันเอง แต่จากความหลากหลายของยานเกราะ<br />

ทำให้จรวดต่อสู้รถถังกลายเป็นระบบอาวุธ<br />

ที่กำลังได้รับการพัฒนา เพื่อตามให้ทันกับ<br />

พัฒนาการของรถถังและยานเกราะ ในปัจจุบัน<br />

สภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์โลกมีแนว<br />

โน้มการเกิดสงครามขนาดใหญ่น้อยลง กลับ<br />

กลายเป็นสงครามนอกแบบที่มีความเด่นชัด<br />

มากขึ้น โอกาสที่จะใช้จรวดต่อสู้รถถังจึงลด<br />

38<br />

น้อยลงไปด้วย ส่งผลให้แนวทางการพัฒนา<br />

จรวดต่อสู้รถถังจะไม่มุ่งเน้นที่การทำลายรถถัง<br />

หรือยานเกราะเท่านั้นแต่จะขยายขอบเขต<br />

ให้สามารถทำลายเป้าหมายอื่นอย่างเช่น<br />

สิ่งปลูกสร้าง หรือบังเกอร์ที่มั่น เป็นต้น สำหรับ<br />

ประเทศไทยคุณสมบัติของจรวดต่อสู้รถถังที่<br />

ต้องการจะเป็นระบบอาวุธที่มีระยะยิงไม่ไกล<br />

(ไม่เกิน ๕ กิโลเมตร) มีน้ำหนักเบา มีอำนาจการ<br />

ทำลายสูงกว่าอาวุธประจำกาย และสามารถ<br />

ใช้สนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ของหน่วย<br />

ทหารราบได้<br />

พัฒนาการของจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง<br />

สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค ได้แก่<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ยุคที่ ๑ การนำวิถีแบบแนวสายตา<br />

บังคับเส้นลวดด้วยมือ Wired Manual<br />

Command to Line of Sight (MCLOS)<br />

สำหรับจรวดแบบนี้จะพุ่งเข้าสู่เป้าหมายได้<br />

โดยอาศัยการควบคุมบังคับทิศทางจากฐาน<br />

ยิง (Command and Launch Unit, CLU)<br />

เพื่อให้จรวดแม่นยำ ผู ้ยิงจะต้องมีความชำนาญ<br />

และต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี<br />

ยุคที่ ๒ การนำวิถีแบบกึ่งอัตโนมัติแบบ<br />

Wired หรือ Semi-Automatic Command<br />

Line of Sight (SACLOS) ผู้ยิงจะทำหน้าที่ชี้<br />

เป้าหมายให้กับจรวด โดยข้อมูลของเป้าหมาย<br />

จะมีการรับส่งข้อมูลผ่านตามสายทองแดง<br />

มายังระบบบังคับทิศทางของจรวด เพื่อให้<br />

พุ่งเข้าสู่เป้าหมาย ตัวอย่างของจรวดแบบนี้<br />

ได้แก่ BGM-71 TOW ของสหรัฐอเมริกา หรือ<br />

MILAN ของฝรั่งเศส สำหรับในกองทัพไทยมี<br />

จรวดนำวิถีแบบ BGM-71 TOW ประจำการ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

ยุคที่ ๓ จรวดแบบ Anti-Tank Guided<br />

Missile (ATGM) ความสามารถที่โดดเด่น<br />

ของจรวดแบบนี้คือ “ความสามารถในการยิง<br />

แล้วลืม” (Fire-and-Forget) กล่าวคือ จรวด<br />

ระบบนี้นอกจากจะสามารถพุ่งเข้าสู่เป้าหมาย<br />

ได้ด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติแล้ว ผู้ยิงยังสามารถ<br />

เลือกตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนของเป้าหมายใน<br />

การเข้าโจมตีได้ด้วย เช่น การโจมตีด้านบนของ<br />

ตัวรถถัง (Fly over Shoot Down) ด้วยหัว<br />

รบแบบ Tandem เพื่อทำลายเกราะปฏิกิริยา<br />

(Explosive Reactive Armor, ERA) หรือ<br />

การโจมตีแบบที่สามารถเปลี่ยนเป้าหมายหลัง<br />

จากที่จรวดถูกยิงออกจากลำกล้องไปแล้ว โดย<br />

ในระบบนี้ จรวดจะมีระบบค้นหาเป้าหมาย<br />

(Seeker) ซึ่งจะเป็นเซ็นเซอร์รับภาพแบบ CCD<br />

(Charge Couple Device) สำหรับปฏิบัติการ<br />

ในเวลากลางวันและเซ็นเซอร์รับภาพแบบ IIR<br />

(Imaging Infrared) ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งปฏิบัติ<br />

การในเวลากลางวันและกลางคืน<br />

จากสถานภาพของจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง<br />

ที่ประจำการในกองทัพไทยกำลังใกล้จะหมด<br />

อายุ นำไปสู่การศึกษาความเป็นไปได้ของการ<br />

ดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาจรวดนำวิถีต่อสู้<br />

รถถัง โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

(องค์การมหาชน) หรือ สทป. ซึ่งหากพิจารณา<br />

ความเป็นไปได้ทางด้านเทคโนโลยีแล้ว เครื่องมือ<br />

และอุปกรณ์สำหรับการวิจัยและพัฒนามีความ<br />

พร้อม แต่ยังขาดองค์ความรู้ด้านระบบชนวน<br />

และระบบนำวิถี และ สทป. เชื่อมั่นว่าองค์<br />

ความรู้ที่ได้จากการวิจัยพัฒนาโครงการ DTI-<br />

1G (จรวดหลายลำกล้องนำวิถี) จะสามารถนำ<br />

มาประยุกต์ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น แนวทาง<br />

ในการดำเนินงานในขั้นต้นจึงควรเริ่มต้นจาก<br />

ง่ายไปหายาก กล่าวคือ เริ่มต้นจากจรวดไม่<br />

นำวิถี ก่อนก้าวไปสู่ระบบนำวิถี และพัฒนา<br />

จรวดพิสัยใกล้ก่อน แล้วจึงขยายระยะยิง<br />

และติดตั้งระบบนำวิถีต่อไป สำหรับตัวจรวด<br />

สทป. มีขีดความสามารถวิจัยพัฒนาขึ้นได้เอง<br />

แล้ว ส่วนหัวรบนั้น สามารถใช้ทรัพยากรที่<br />

กระทรวงกลาโหมมีอยู่แล้วในการดำเนินการ<br />

จะเห็นได้ว่าการวิจัยพัฒนาระบบจรวดนำวิถี<br />

นั้นเป็นงานที่ท้าทาย ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยการ<br />

ร่วมมือร่วมใจกันของหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่<br />

หน่วยผู้ใช้ หน่วยวิจัยพัฒนา และผู้ผลิต แต่<br />

นับว่าคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากสิ่งนี้จะ<br />

นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง<br />

ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอย่างยั่งยืน<br />

ต่อไป<br />

39


หลักการของนายพลแพตตัน<br />

(ตอนที่ ๒๐)<br />

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา<br />

40<br />

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา


หลักการแห่งความสำเร็จหนทางสู ่ชัยชนะ<br />

คือ อย่าแพ้<br />

“เราจะชนะ เพราะว่า เราจะไม่แพ้”<br />

นายพลแพตตัน จะอธิบายต่อกำลังพลว่า<br />

“สงครามเป็นเกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งชีวิต!<br />

เกมส่วนมากจะเล่นในเวลาที่กำหนดแน่นอน<br />

เช่น อเมริกันฟุตบอลก็เล่นกันสี่ควอเตอร์ หรือ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

เบสบอลก็เล่นกันเก้าเกม ไม่เหมือนกับสงคราม<br />

เราจะต้องต่อสู้จนกว่าเราจะชนะ เราจะไม่<br />

ยอมแพ้”<br />

ตรรกวิทยาของนายพลแพตตัน เป็นเรื่อง<br />

ง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้ เป็น<br />

เรื่องที่ชัดเจนว่านายพลแพตตัน จะไม่แพ้<br />

นายพลแพตตันให้คำอธิบายเพิ่มเติมใน<br />

ปรัชญาของท่านที่เต็นท์ของท่านเอง<br />

“ไม่มีการแพ้ถ้ามนุษย์ปฏิเสธที่จะยอมรับ<br />

ความพ่ายแพ้ สงครามจะแพ้ในจิตใจก่อน ต่อ<br />

มาจึงแพ้ในสนามรบ ไม่มีชาติใดพ่ายแพ้จนกว่า<br />

พลเมืองของชาตินั้นตั้งใจที่จะยอมรับความ<br />

พ่ายแพ้ อังกฤษได้พ่ายแพ้ ความหวังสิ่งเดียว<br />

คือ เชอร์ชิลล์ปฏิเสธการยอมรับความพ่ายแพ้<br />

41


ถ้าพลเมืองตั้งใจที่จะสละชีวิตเพื่อประเทศ<br />

ชาติของเขาแล้ว ก็มีหนทางเดียวที่ชาตินั้นจะ<br />

พ่ายแพ้ได้ คือ ทุกคนต้องถูกฆ่าตายหมด ไม่<br />

ว่าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก ๆ ในประวัติศาสตร์<br />

ของโลกไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นว่านี้เกิดขึ้น<br />

สงครามพ่ายแพ้กันที่จิตใจ เราจะไม่สารภาพ<br />

ต่อกำลังพลหรือต่อข้าศึกว่า เราจะยอมรับ<br />

ความพ่ายแพ้”<br />

ความคิดในเรื่องนี้สัมพันธ์กับความคิดของ<br />

นายพลแพตตันในเรื่องที่ว่าร่างกายมนุษย์<br />

ไม่มีการเหนื่อย จิตใจนั่นแหละที่คิดถึงความ<br />

เหนื่อย จิตใจสามารถขจัดความเหนื่อยออก<br />

ไปจากร่างกายได้<br />

หลักการนี้ดูเหมือนว่าเป็นหลักการใหม่<br />

แต่มันมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิ้ล นายพลแพตตัน<br />

จะอธิบายว่า “มีคำจำกัดความของคำว่า<br />

ความตายอยู่หลายความหมายในคัมภีร์ไบเบิ้ล<br />

เช่น “เขายอมแพ้ยมทูต” คนป่วยหลายคนใน<br />

โรงพยาบาลตายไปเพราะพวกเขายอมจำนน<br />

และยอมรับความพ่ายแพ้นั้น ๆ ผมนึกถึงชาย<br />

คนหนึ่งซึ่งสร้างโลงศพของตัวเอง พอทำโลง<br />

ศพเสร็จชายคนนี้ก็ตาย ผมรู้จักคนหลายคนที่<br />

ปลดประจำการไปเพื่อสร้างบ้านในฝันของพวก<br />

เขา พอบ้านสร้างเสร็จพวกนี้ก็ตาย มนุษย์ต้อง<br />

ทำสงครามกับชีวิต ถ้าเขาต้องการที่จะอยู่ต่อ<br />

42<br />

พลโท เด่นดวง ทิมวัฒนา


เขาจะไม่พ่ายแพ้ ถ้าเขาไม่ยอมจำนนต่อความ<br />

พ่ายแพ้นั้น”<br />

หลายปีต่อมา เมื่อผมได้ยินวาทะที่มีชื่อเสียง<br />

ของเชอร์ชิลล์ ผมก็สงสัยขึ้นมาว่า ใครมีความคิด<br />

นี้ก่อนกัน นายพลแพตตัน หรือนายกฯ<br />

เชอร์ชิลล์ วาทะของเชอร์ชิลล์ มีอยู่เก้าคำคือ<br />

“อย่ายอมแพ้! อย่ายอมแพ้! อย่ายอมแพ้!”<br />

นายพลแพตตัน และเชอร์ชิลล์ เคยไปมา<br />

หาสู่กันหลายครั้งในช่วงแรกของสงคราม มัน<br />

ไม่สำคัญหรอกที่ใครจะพูดเป็นคนแรก ความ<br />

คิดเบื้องหลังคำพูดดังกล่าวมีส่วนช่วยประเทศ<br />

อังกฤษ และได้ช่วยนายพลแพตตันให้มีชัยชนะ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

หลายครั้งในสงครามโลกครั้งที่สอง<br />

มีหลายตัวอย่างในเรื่องความคิดง่าย ๆ<br />

แบบนี้ในศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลผ่าตัด<br />

ของทหารมักจะเล่าเรื่องซ้ำ ๆ เสมอที่ว่า นัก<br />

กระโดดสูงคนหนึ่งเสียขาไปหนึ่งข้างแต่เขาได้<br />

ปฏิเสธที่จะหยุดการกระโดดสูง จิตใจควบคุม<br />

ร่างกาย! ด้วยขาข้างเดียว เขาสามารถกระโดด<br />

ได้สูงกว่าที่เขาเคยกระโดดได้ด้วยขาสองข้าง<br />

เขาสามารถกระโดดข้ามคานด้วยขาข้างเดียว<br />

ก็ตอนที่เขามีสองขาน่ะ เจ้าขาข้างที่ถูกตัดไป<br />

มักจะเกี่ยวคานอยู่เสมอ<br />

แพทริค เฮนรี่ (Patrick Henry) ได้ให้<br />

ปรัชญานี้ในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ (ค.ศ. ๑๗๗๖)<br />

เมื่อเขาได้กล่าวว่า<br />

“จงมอบเสรีภาพให้ข้าพเจ้า หรือไม่ก็มอบ<br />

ความตายมาเถอะ”<br />

43


หลักการแห่งอหิงสา<br />

ของมหาตมะ คานธี<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์<br />

44<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ค<br />

งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในระยะหลัง<br />

ประเทศไทยได้สร้างทฤษฎีการ<br />

ปิดล้อมด้วยมวลชนเพื่อล้มรัฐบาล<br />

อย่างมีรูปแบบ จนกำลังเป็นโมเดลที่หลาย<br />

ประเทศต้องนำไปศึกษา ข้ออ้างประการหนึ่ง<br />

ที่มักถูกหยิบยกเพื่อสร้างความชอบธรรม<br />

ให้กับผู้ชุมนุมก็คือ การชุมนุมด้วยความสงบ<br />

ปราศจากอาวุธ และอหิงสา ซึ่งแท้ที่จริงหาก<br />

ไม่มีการศึกษารากเหง้าของอหิงสาอย่างแท้จริง<br />

ก็อาจจะเห็นดีเห็นงาม และพลอยเกิดความ<br />

นิยมชมชอบไปด้วย<br />

ต้นตำรับของอหิงสาเป็นที่ทราบกันดีว่า มา<br />

จากนักปรัชญาฮินดูที่ชื่อคานธี ซึ่งตลอดชีวิต<br />

ของบุรุษผู้สร้างตำนานผู้นี้เป็นตัวอย่างแสดง<br />

ให้เห็นว่า หากมีความเชื่อมั่นในศาสนาแล้ว<br />

จะทำให้คนเรารู้จักควบคุมตัวเอง รักผู้อื่น และ<br />

ทำตนเป็นประโยชน์แก่สังคมและมนุษยชาติ<br />

อย่างบริสุทธิ์<br />

ความคิดพื้นฐานที่นับว่าสำคัญที่สุดของ<br />

คานธีก็คือ ความเชื่อว่าโลกสถิตอยู่ได้ด้วย<br />

หลักธรรม คือ สัจจะ สัจจะ หมายถึงความจริง<br />

อะไรที่เป็นความดีความถูกต้องเป็นสัจจะ<br />

ทั้งสิ้น สัจธรรมเป็นพระเจ้าสูงสุด การบรรลุ<br />

สัจธรรมอย่างสมบูรณ์หรือการเป็นคนดีในทุก<br />

ด้านนั้น คานธีเห็นว่าต้องเข้าถึงหลักอหิงสา<br />

อย่างแท้จริงก่อน หากไม่มีอหิงสาก็ปฏิบัติตาม<br />

ให้สมบูรณ์ไม่ได้<br />

อหิงสา ความหมายโดยพยัญชนะ คือ ความ<br />

ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ปฏิบัติผิดต่อ<br />

ผู้อื่น ไม่ว่าด้วยกาย วาจา หรือใจ ก็ตาม การ<br />

ไม่เบียดเบียน ไม่ทำร้ายผู้อื่นนี้เป็นเพียงแง่ลบ<br />

คานธีเห็นว่าการมีอหิงสธรรมไม่จำเป็นต้องไป<br />

อยู่ป่า ถ้าคนมีอหิงสาอย่างแท้จริง อยู่ที่ไหน<br />

ก็ประพฤติอหิงสาได้ การที่คนอยู่ในสังคมยัง<br />

ทำให้ประพฤติอหิงสาในแง่บวกได้ด้วย กล่าว<br />

คือ การมีความรักผู้อื่น รักมนุษยชาติ และ<br />

สัตว์ทั้งหลาย เป็นความรักอันบริสุทธิ์ไม่หวัง<br />

ผลตอบแทนใด ๆ<br />

เมื่ออหิงสามีหลักการต้องปฏิบัติด้วยกาย<br />

วาจา และใจในการประพฤติ มนุษย์จึงต้อง<br />

ฝึกหัดควบคุมตนเองโดยการตั้งปณิธานที่<br />

ดี แล้วคิด พูด และปฏิบัติตามปณิธานนั้น<br />

อย่างแน่วแน่ การปฏิบัติตนตามนัยนี้ เรียกว่า<br />

การถือความสัตย์ หรือคานธีเรียกว่า สัตยา<br />

เคราะห์ โดยคานธีนำไปใช้ในการต่อต้านความ<br />

อยุติธรรมต่าง ๆ ทางสังคมและการเมืองด้วย<br />

คานธีแยกชีวิตมนุษย์ออกเป็น ๒ แบบคือ<br />

ชีวิตของพรหมจารี คือผู้ประพฤติพรหมจรรย์<br />

และชีวิตของโภคี คือผู ้ที่ยังบริโภคความสุขทาง<br />

โลกอยู่ เขาเห็นว่าทั้งพรหมจารี และโภคีต่างก็<br />

มีนัยน์ตาสำหรับดู โดยพรหมจารีนั้นดูพระเจ้า<br />

ส่วนโภคีดูแต่หนังและละคร ทั้งพรหมจารี และ<br />

โภคีต่างก็มีหูสำหรับฟัง พรหมจารีฟังเพลงสวด<br />

ถวายพระเจ้า โภคีนั้นฟังแต่เพลงโลกีย์ ทั้ง<br />

พรหมจารีและโภคีต่างก็มีการตื่น พรหมจารี<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

45


ตื่นด้วยการระลึกถึงพระเจ้า ส่วนโภคีตื่นด้วย<br />

การร้องรำทำเพลง ทั้งพรหมจารีและโภคีต่างก็<br />

รับประทานอาหาร พรหมจารีรับประทานเพียง<br />

เพื่อยังชีพ ด้วยคิดว่าร่างกายเป็น นิวาสถาน<br />

ของพระเจ้า ส่วนโภคีหาอะไรต่อมิอะไรยัด<br />

เข้าไปในท้อง เพื่อความเอร็ดอร่อยแล้วก็ทำให้<br />

ท้องส่งกลิ่นบูดเน่า<br />

คานธีเห็นว่า การดำเนินชีวิตของคนทั่วไป<br />

และชีวิตที่เรียกว่าความเจริญแบบชาวตะวันตก<br />

นั้นเป็นชีวิตอย่างโภคี เป็นชีวิตที่ไม่ประหยัด<br />

ไม่ทำให้อารมณ์สงบและบริสุทธิ์ แต่กลับทำให้<br />

ฟุ้งซ่านไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความ<br />

หลง ชีวิตที่ดีไม่ใช่ชีวิตที่สนองอารมณ์ แต่เป็น<br />

ชีวิตที่อดกลั้นและควบคุมอารมณ์ การควบคุม<br />

อารมณ์ได้แก่การประพฤติพรหมจรรย์<br />

คานธียกย่องคนทุกคนเสมอกัน พราหมณ์<br />

หรือศูทร ชายหรือหญิงชาวต่างชาติหรือชาว<br />

อินเดีย ล้วนเป็นญาติมิตรกัน จึงไม่มีคนแปลก<br />

หน้าสำหรับคานธี ทุกคนได้รับความรักจาก<br />

เขาเสมอกัน เขาเห็นว่ามนุษย์ควรรักกัน และ<br />

ช่วยเหลือกันตามหลักสัจธรรม คนเราควรรับ<br />

ใช้ผู้อื่นอย่างเต็มที่ ถ้าไม่มีทรัพย์สินอะไร ก็ใช้<br />

กำลังกายเข้ารับใช้ และในการรับใช้นั้น ต้อง<br />

ไม่ยอมรับสิ่งตอบแทนใด ๆ การยอมรับสิ่ง<br />

ตอบแทนจะทำให้ตกเป็นเหยื่อของความโลภ<br />

ในที่สุด<br />

46<br />

การถือความสัตย์ หรือสัตยาเคราะห์ของ<br />

คานธี อยู่บนพื้นฐานจะต้องมีความอดกลั้น<br />

ควบคุมตนเองได้ แน่วแน่กล้าหาญ โดยการ<br />

ที่จะมีลักษณะดังกล่าวได้ก็ด้วยการประพฤติ<br />

พรหมจรรย์ คือเป็นผู ้บริสุทธิ์ เพราะหากไม่เป็น<br />

ผู้บริสุทธิ์ก็จะทำให้จิตใจโอนเอียงไปตามกิเลส<br />

ตัณหา หรือใช้วิธีรุนแรงต่าง ๆ อันเป็นการขัด<br />

หลักอหิงสาได้ ผู้ปฏิบัติสัตยาเคราะห์จะต้อง<br />

เชื่อมั่นในหลักการที่ว่า ที่ใดมีความสัตย์ที่นั่น<br />

ย่อมสงบ ที่ใดขาดความสัตย์ที่นั่นวุ ่นวาย ความ<br />

สัตย์เป็นสิ่งค้ำจุนโลก ไม่มีใครทำลายความ<br />

สัตย์ได้ ในการยึดมั่น แสวงหา หรือเรียกร้อง<br />

ความสัตย์ ต้องกระทำด้วยความอ่อนน้อมถ่อม<br />

ตน ไม่ใช้วิธีบังคับหรือความรุนแรง มีความรัก<br />

ไมตรีจิตและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น<br />

คานธีให้ความสำคัญกับศาสนามากที่สุด ถึง<br />

กับกล่าวว่า เขาอยู่โดยไม่มีศาสนาไม่ได้แม้แต่<br />

วินาทีเดียว แม้แต่การเมืองของคานธีก็เกิด<br />

จากศาสนา ตามทัศนะของเขา ศาสนาเป็นการ<br />

ค้นหาความจริงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นพลังรวม<br />

คนเข้าด้วยกัน ส่งเสริมความร่วมใจและขจัด<br />

ความแตกแยก คานธียังเห็นว่าการทำให้มนุษย์<br />

หลุดพ้น ต้องเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์ และ<br />

ปลุกตัวตนส่วนที่ดีของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น ซึ่งการ<br />

ปฏิบัติดังกล่าวจะสำเร็จได้ด้วยความอดทน<br />

ขยัน มานะ พยายาม<br />

สำหรับการต่อสู้บนหลักอหิงสาในทัศนะ<br />

ของคานธี มีสองนัยคือ นัยลบ ได้แก่ความไม่<br />

เบียดเบียน ไม่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น นัยบวกได้แก่<br />

ความรัก ความเมตตา และการให้อภัย ด้วย<br />

ความเชื่อว่า ศัตรูที่แท้จริงมิใช่ผู้ทำผิด ความ<br />

ชั่วซึ่งอยู่ในตัวเราทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง ศัตรู<br />

ภายนอกนั้นฆ่าได้ง่าย แต่ศัตรูภายในเป็นศัตรู<br />

ที่ร้ายยิ่งกว่า เมื่อคนเราเห็นศัตรูว่าเป็นเหยื่อ<br />

แห่งอำนาจของความชั่ว และปฏิบัติต่อศัตรู<br />

ด้วยความรัก ความเห็นใจ ขณะเดียวกันจะ<br />

ต่อสู้กับศัตรูภายใน ได้แก่ ความอยาก ความ<br />

เกลียด อย่างกล้าหาญ เมื่อคนเราพยายามเป็น<br />

นายศัตรูภายใน จะได้พบความจริงว่า การจะ<br />

เปลี่ยนผู้อื่นนั้นต้องไม่ใช้ความรุนแรง หรือ<br />

ทำให้เจ็บปวด แต่ต้องอาศัยความสุภาพ การ<br />

ชักจูง ทนรับความเจ็บปวดอย่างร่าเริง และ<br />

เทิดทูนมติ อำนาจที่ได้จากความประพฤติ<br />

เช่นนี้ไม่เพียงเปลี่ยนคนแต่ละคนได้เท่านั้น<br />

ยังเปลี่ยนอำนาจที่มีการจัดตั้งอย่างมีระเบียบ<br />

เช่นรัฐได้ด้วย<br />

แม้คานธีจะไม่เห็นด้วยกับการดำเนินชีวิต<br />

อย่างฟุ ่มเฟือย แต่เสนอให้ทุกคนอยู ่ง่ายกินง่าย<br />

เขาไม่ได้ปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตก แต่ให้รับ<br />

อย่างเลือกสรรอย่างดีแล้วเท่านั้น คานธีให้<br />

ทัศนะว่า การหาประโยชน์จากแสงสว่างของ<br />

ชาวตะวันตกเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องระวังตนไม่ให้<br />

ถูกครอบงำด้วยแสงสีของตะวันตก ในการแลก<br />

เปลี่ยนทางวัฒนธรรมต้องไม่รับข้างเดียว แต่<br />

ต้องเป็นฝ่ายให้ด้วย ต้องไม่เห็นวัฒนธรรมของ<br />

ตนเองเป็นสิ่งไร้ค่า แต่ต้องทำให้วัฒนธรรมที่<br />

เป็นประโยชน์ของชาติอื่นกลมกลืนกับค่าและ<br />

คตินิยมที่เป็นหลักของตน เขาเชื่อว่านี่คือความ<br />

เติบโตของวัฒนธรรม หลักคิดของคานธีนั้นน่า<br />

สนใจมาก เขาคิดว่า คนเราไม่ควรถือว่าทุกสิ่ง<br />

ที่เก่าเป็นสิ่งที่ดี ทุกสิ่งที่เป็นของชาติตนต้อง<br />

เป็นสิ่งที่ดี และควรจะทิ้งสิ่งที่เก่าหรือเป็นของ<br />

ชาติตนโดยทันทีถ้าเป็นสิ่งที่ผิด แต่การที่คน<br />

เราพากันวิ่งไปหาของใหม่ ดูหมิ่นของเก่าโดย<br />

สิ้นเชิงก็เป็นสิ่งที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง คานธี<br />

เชื่อว่าความสามารถในการสร้างเอกภาพใน<br />

ความแตกต่างขึ้น กล่าวคือ คนที่มีวัฒนธรรม<br />

ไม่ควรวิวาทกัน เพระความคิดที่ต่างกัน แต่<br />

ควรหาความเหมือนกัน ในความแตกต่างนั้น<br />

คนเราควรสร้างเสรีภาพในตนขึ้นเสียก่อน ถ้า<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


คนมีจิตใจเสรียอมรับความคิดของผู้อื่น เขาก็<br />

จะเป็นผู้รักเสรีภาพในทางการเมือง แต่ถ้าคน<br />

มีจิตใจเป็นเผด็จการ การเมืองก็จะเต็มไปด้วย<br />

การใช้อำนาจ<br />

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ความแตกต่างทางความ<br />

คิดของคนเราลดลง คานธีมองว่า คือการศึกษา<br />

เขาได้ตั้งหลักการ เรียกว่า สรรโวทัย ขึ้นมา มี<br />

กรอบ ๓ ประการคือ<br />

๑. จงทำความดีแก่คนทั้งปวง<br />

๒. งานของช่างตัดผมและของทนายความ<br />

นั้นควรจะมีค่าเท่ากัน เพราะต่างก็มีสิทธิใน<br />

การประกอบอาชีพของตนเท่ากัน<br />

๓. ชีวิตของกรรมกรและชาวนา หรือชีวิต<br />

ของผู้ที่ใช้แรงงานนั้นเองเป็นชีวิตที่แท้จริง<br />

จะว่าไปแล้ว หากวิเคราะห์หลักการอหิงสา<br />

ของคานธี จะมีรากฐานคล้ายคลึงกับปรัชญา<br />

เศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก คานธีมีหลักคิด<br />

ทางเศรษฐกิจแบบอยู่ง่ายกินง่าย ใช้ปัญญา<br />

ให้มาก เขาไม่ต้องการให้คนแสวงหาวัตถุเกิน<br />

กว่าความจำเป็น อะไรที่ตัดได้ก็ควรตัด แม้เขา<br />

จะเห็นด้วยกับการยกระดับการครองชีพของ<br />

คนในประเทศด้อยพัฒนา แต่ถ้าการยกระดับ<br />

เช่นนั้นทำให้บางคนมีมาตรฐานการครองชีพ<br />

สูง ส่วนบางคนอดอยาก เขาเห็นว่าควรให้ทุกคน<br />

อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และอดอยากด้วยกัน<br />

ดีกว่า การให้คนทุกคนได้กินขนมปังคนละครึ่ง<br />

ก้อน ยังดีกว่าการที่บางคนได้กินทั้งก้อน และ<br />

บางคนไม่ได้กินอะไรเลย ดังนั้นการจะให้ทุกคน<br />

มีความเป็นอยู่ที่ดีจึงต้องไม่ถือมาตรฐานของ<br />

ประเทศที่ร่ำรวย หรือพัฒนาแล้วเป็นเกณฑ์<br />

แต่ต้องถือนโยบายอยู่ง่ายกินง่ายเหมือนกัน<br />

หมด ซึ่งชีวิตของคานธีเป็นตัวอย่างได้อย่างดี<br />

ในการเน้นเรื่องการดำเนินชีวิตแบบง่าย ๆ<br />

นี้ คานธีถือว่า ทุกคนมีความสามารถในการ<br />

ทำงาน ควรมีสิทธิในการทำงานเพื่อยังชีพ<br />

ประเทศด้อยพัฒนาซึ่งมีแรงงานมากและมี<br />

ทุนน้อยควรจะใช้แรงงานคนให้มาก การใช้<br />

เครื่องจักรเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องไม่ใช้มากจน<br />

กระทั่งแย่งงานคนทำเสียหมด เขาเห็นว่า<br />

เครื่องจักรต้องช่วยคนทำงานไม่ใช่แย่งงาน<br />

ยิ่งรัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากขึ้น<br />

เพียงใด ก็ยิ่งเป็นการทำลายงานของประชาชน<br />

มากขึ้นเพียงนั้น รัฐบาลที่ดีจะต้องมีหน้าที่<br />

สงเคราะห์ การสงเคราะห์ทำได้สองวิธีคือ หา<br />

งานให้ทำ หรือสร้างระบบประกันสังคม ขณะ<br />

เดียวกันรัฐจะต้องเข้าควบคุมไม่ให้นายทุนใช้<br />

ความร่ำรวยเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว<br />

โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมส่วนรวม<br />

แต่ในทางตรงข้าม ผู้ใช้แรงงานก็ต้องคำนึงถึง<br />

สิทธิ และหน้าที่ของตน กล่าวคือ ต้องถือว่า<br />

ค่าจ้างจะเพิ่มขึ้นก็เมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น คนทุก<br />

คนควรถือว่าเมื่อไม่ทำงานก็ไม่สมควรรับค่า<br />

ตอบแทน คานธีเห็นว่าการเพิ่มค่าแรงโดยไม่<br />

เพิ่มผลผลิตยังทำให้เกิดปัญหาแก่สังคม ทำให้<br />

สินค้าราคาแพงขึ้น<br />

เห็นได้ว่า การนำคตินิยมแบบคานธีมาใช้<br />

ล้วนเป็นการดำเนินชีวิตตามแนวคิดที่พยายาม<br />

สร้างความสมดุลอย่างกลมกลืน บนพื้นฐาน<br />

ของการเป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม ไม่เบียดเบียน<br />

ทั้งตนเอง เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ เบียดเบียน<br />

สังคม อันจะทำให้คนทุกคนอยู่ร่วมกันอย่าง<br />

สันติ เป็นอหิงสาที่ยากจะหาได้ในปฏิบัติการ<br />

ชุมนุมของเมืองไทย<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

47


สงคราม พม่า-อังกฤษ<br />

ครั้งที่ ๓<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

48<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


พระเจ้ามินดง (Mindon Min) ทรงพยายามดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศแบบ<br />

ประนีประนอม แต่จากการสูญเสียพม่าตอนล่างก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์<br />

อาณาจักรพม่าก็มีขนาดเล็กลงต้องสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีที่เมืองท่าทาง<br />

ตอนใต้ของอาณาจักร พระองค์อยู ่ในราชสมบัตินาน ๒๕ ปี ดำเนินนโยบายในการ<br />

ปกครองอาณาจักรได้เป็นอย่างดี แต่ความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมและ<br />

การขยายตัวทางด้านการค้าระหว่างประเทศทำให้อังกฤษมีอำนาจทางทหารมาก<br />

เมื่อพระองค์สวรรคตลงภาระทั้งหมดก็ตกเป็นของทายาทของพระองค์ ที่ขณะนั้น<br />

ยังทรงพระเยาว์คือ พระเจ้าธีบอ (Thibaw Min)...............บทความนี้ กล่าวถึง<br />

สงคราม พม่า - อังกฤษ ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๒๘<br />

พระเจ้ามินดง (Mindon Min) เป็น<br />

พระราชบิดาของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์พม่า<br />

ที่ทรงปฏิรูปอาณาจักรพม่าให้มีความทันสมัย<br />

พระราชินีคือพระนางศุภยาลัต (Supayalat)<br />

ทรงมีบทบาทต่อการตัดสินพระทัยของพระเจ้า<br />

ธีบอในเหตุการณ์สำคัญ ๆ<br />

๒. สาเหตุของสงคราม พม่า - อังกฤษ<br />

พระเจ้าธีบอ (Thibaw Min) ทรงพยายาม<br />

ที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศให้ฝรั่งเศส<br />

เข้ามาถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษ พร้อมทั้งให้<br />

๓. สงคราม พม่า - อังกฤษ<br />

สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ พม่าได้มีความ<br />

ขัดแย้งกับบริษัทบอมเบย์เบอร์มาเทรดดิ่ง<br />

(Bombay Burmah Trading) ของอังกฤษ<br />

ว่าผิดสัญญาสัมปทานการค้าไม้สักทางภาค<br />

เหนือโดยชักลากไม้ที่ยังไม่ได้ชำระภาษี ศาล<br />

พม่าตัดสินให้ชำระภาษีพร้อมค่าปรับเป็น<br />

เงิน ๒,๓๐๐,๐๐๐ รูปี บริษัทของอังกฤษไม่<br />

ยอมเป็นผลให้พม่าเข้ายึดไม้สัก ซึ่งทางบริษัท<br />

อังกฤษได้เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษเข้าช่วย<br />

๑. สถานการณ์ทั่วไป<br />

พระเจ้าธีบอ (Thibaw Min) ครองราชย์เมื่อ<br />

วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ กษัตริย์ลำดับที่<br />

๑๑ ราชวงศ์อลองพญา มีพระชนมายุได้ ๑๙<br />

พรรษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติใน<br />

สถานการณ์ทั้งภายในอาณาจักรที่มีความขัด<br />

แย้งในราชวงศ์ที่ได้ก่อตัวมาเป็นเวลานาน จาก<br />

ห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ๗๗ ปี พม่าได้มีการ<br />

เปลี่ยนแผ่นดินหลายครั้ง มีความวุ ่นวายเกิดขึ้น<br />

ติดตามมามีการสูญเสียข้าราชการและราชวงศ์<br />

เป็นจำนวนมาก เป็นผลให้อาณาจักรอ่อนกำลัง<br />

ลง และจากภายนอกอาณาจักรที่มีมหาอำนาจ<br />

จากยุโรปคืออังกฤษที่ได้เข้าครอบครองอินเดีย<br />

ได้ขยายดินแดนมาสู่ทางด้านตะวันออกคือ<br />

อาณาจักรพม่า มีความลำบากในการดำเนิน<br />

นโยบายทางด้านต่างประเทศที่ซับซ้อนพร้อม<br />

ทั้งการค้าขายระหว่างประเทศ และพระองค์<br />

ทรงขาดประสบการณ์ในการบริหารประเทศ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

พระเจ้าธิบอ (Thibaw Min) กษัตริย์พม่า<br />

แห่งราชวงศ์อลองพญา ครองราชย์เมื่อวันที่<br />

๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๑<br />

ฝรั่งเศสดำเนินการด้านกิจการไปรษณีย์ในพม่า<br />

และให้ฝรั่งเศสสร้างทางรถไฟบางสายทางตอน<br />

เหนือได้สร้างความไม่พอใจกับอังกฤษเป็น<br />

อย่างมาก ประกอบกับอังกฤษมีความขัดแย้ง<br />

กับฝรั่งเศสซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทหารแห่ง<br />

ยุโรปในหลายพื้นที่<br />

พลตรี เซอร์ แฮร์รี่ เพรนเดอร์กาสท์ (Maj<br />

Gen Sir Harry Prendergast) อายุ ๕๑ ปี<br />

แม่ทัพใหญ่อังกฤษสงคราม พม่า - อังกฤษ<br />

ครั้งที่ ๓<br />

49


50<br />

พันเอก พลเอก ศนิโรจน์ ทรงพล ไพนุพงศ์ ธรรมยศ


เหลือ อังกฤษจึงขอให้พม่าพิจารณาคดีใหม่แต่<br />

ทางพม่าได้ปฏิเสธ เมื่อพม่าปฏิเสธอังกฤษก็ได้<br />

ยื่นคำขาดในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ว่า<br />

อังกฤษจะเข้าดำเนินการเรื่องบริษัทอังกฤษเอง<br />

ห้ามพม่าเกี่ยวข้อง ถ้าหากพม่าจะทำสัญญา<br />

ไมตรีกับต่างอาณาจักรใด อังกฤษจะต้องมี<br />

ส่วนเกี่ยวข้องด้วย เมื่อพม่าได้รับคำขาดจาก<br />

อังกฤษก็ได้ประชุมหารือ ในที่สุดพม่าก็ได้<br />

ปฏิเสธอังกฤษ ประกอบกับอังกฤษไม่มีภารกิจ<br />

สงครามใหญ่ในดินแดนส่วนอื่น (อังกฤษได้<br />

ทำการรบในอัฟกานิสถานครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๘๒<br />

- ๒๓๘๕ และสงครามในอัฟกานิสถานครั้งที่<br />

๒ พ.ศ. ๒๔๒๑ - ๒๔๒๓ กำลังทหารอังกฤษ<br />

และทหารอินเดีย (ชีปอย) รวม ๔๐,๐๐๐ คน<br />

กองทัพอังกฤษได้รับชัยชนะ แต่สูญเสียทหาร<br />

จากการรบ ๑,๘๕๐ คน และได้รับบาดเจ็บ<br />

๘,๐๐๐ คน) จึงมีขีดความสามารถทางทหาร<br />

พร้อมรบมากที่สุด ดังนั้นสงครามครั้งใหม่จึง<br />

เกิดจากความขัดแย้งที่ได้ก่อตัวมานาน<br />

กองทัพอังกฤษมีแม่ทัพใหญ่คือพลตรี เซอร์<br />

แฮร์รี่ เพรนเดอร์กาสท์ (Maj Gen Sir Harry<br />

Prendergast) อายุ ๕๑ ปี(เกิดที่เมืองมัดราส<br />

อาณาจักรอินเดียอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อ<br />

วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ รับราชการปี<br />

พ.ศ. ๒๓๘๘ เหล่าทหารช่าง) พร้อมด้วยกำลัง<br />

ทหาร ๙,๐๓๔ คน แยกเป็น ทหารอังกฤษ<br />

๓,๐๒๙ คน และทหารอินเดีย (ชีปอย) ๖,๐๐๕<br />

คน อาวุธประจำหน่วยคือปืนใหญ่สนาม ๖๗<br />

กระบอก และปืนกล ๒๔ กระบอก พร้อมด้วย<br />

เรือรบกว่า ๕๕ ลำ ส่งกองทัพจากเมืองย่างกุ้ง<br />

เขตยึดครองของอังกฤษ (เรียกว่าพม่าตอนล่าง)<br />

เข้าสู่เขตแดนของพม่าเดินทางโดยทางเรือล่อง<br />

ขึ้นไปตามแม่น้ำอิระวดี<br />

กองทัพอังกฤษมาตั้งกองทัพเพื่อรวมพลที่<br />

เมืองตเยเมียว (Thayetmyo) เป็นเมืองปลาย<br />

แนวชายแดนที่ติดต่อกับอาณาจักรพม่า ได้<br />

เคลื่อนกองทัพเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.<br />

๒๔๒๘ พม่าทำการตั้งรับตามแนวทางเคลื่อนที่<br />

หลักของกองเรืออังกฤษแต่ก็พ่ายแพ้ทั้งหมด<br />

แต่การเคลื่อนที่ของกองเรืออังกฤษตามแนว<br />

แม่น้ำอิระวดี (แม่น้ำอิระวดี ไหลผ่านกลาง<br />

อาณาจักรพม่า มีความยาว ๒,๑๗๐ กิโลเมตร)<br />

ก็ล่าช้าเพราะว่าแม่น้ำไหลเชี่ยวมาก เป็นผลให้<br />

การลำเลียงกำลังพลของอังกฤษล่าช้า แต่ก็ยัง<br />

คงรุกเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์อำนาจของอาณาจักร<br />

พม่า กองทัพพม่าได้ทำการตั้งรับหลักที่เมือง<br />

พุกามด้วยกองทัพขนาดใหญ่ตามหลักพิชัย<br />

สงคราม แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อเทคโนโลยีที่<br />

ก้าวหน้าที่สุดของโลกของกองทัพอังกฤษใน<br />

ยุคนั้นคือปืนใหญ่สนาม<br />

กองทัพอังกฤษยึดได้ครองกรุงมัณฑะเลย์<br />

ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๘ พระ<br />

เจ้าธีบอ (Thibaw Min) จึงยอมแพ้ เป็นผลให้<br />

อาณาจักรพม่าต้องแพ้สงคราม พม่า - อังกฤษ<br />

ครั้งที่ ๓ พร้อมทั้งสิ้นสุดราชวงศ์อลองพญา<br />

หรือราชวงศ์คองบอง (Konbaung)<br />

๔. บทสรุป<br />

พระเจ้าธีบอ (Thibaw Min) แห่งราชวงศ์<br />

อลองพญา ทรงพยายามที่จะรักษาอาณาจักร<br />

พม่าตอนบนโดยการให้ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาท<br />

ภายในอาณาจักรมากขึ้น แต่ในที่สุดก็เกิด<br />

ความขัดแย้งกับอังกฤษอย่างรุนแรงซึ่งนำมา<br />

สู่สงครามครั้งที่สามหรือสงครามครั้งสุดท้าย<br />

ของสองอาณาจักร ความก้าวหน้าทางด้าน<br />

เทคโนโลยีด้านอาวุธของอังกฤษนำมาสู ่ชัยชนะ<br />

ที่รวดเร็ว ในที่สุดอาณาจักรพม่ายุคที่สามแห่ง<br />

กรุงอังวะที่ยิ่งใหญ่ในอดีตก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้<br />

สงครามสมัยใหม่<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

51


“ When You and Your Friend<br />

Disagree Politically ”<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ<br />

ค<br />

งไม่ต้องเท้าความไปมากกว่านี้ว่า<br />

สถานการณ์ทางการเมืองของ<br />

ประเทศไทยในขณะนี้เป็นอย่างไร<br />

รู้แต่เพียงว่า ในฐานะที่เป็นข้าราชการทหาร<br />

เราจะต้องอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด<br />

ควรวางตัวเป็นกลาง ไม่วิพากษ์วิจารณ์ หรือ<br />

เข้าไปร่วมชุมนุมทางการเมืองใด ๆ หรือการ<br />

กระทำใด ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด<br />

และทำให้เกิดความเสียหายแก่กองทัพ หรือ<br />

ต่อสถาบันทหารในภาพรวมได้<br />

อย่างไรก็ตาม การถกเถียงกันในกลุ่มเพื่อน<br />

ฝูง ญาติพี่น้อง หรือสมาชิกในครอบครัวอาจจะ<br />

เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเมือง<br />

ในปัจจุบัน มีหลายคนที่จริงจังกับการเมือง<br />

มากๆ ถึงกับตัดสัมพันธ์ความเป็นเพื่อนที่ดีต่อ<br />

กันเป็นเวลานานเพราะความคิดเห็นทางการ<br />

เมืองต่างกัน ดังนั้น เราควรทำอย่างไร หาก เรา<br />

และเพื่อนมีความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่าง<br />

กัน (When you and your friend disagree<br />

politically) ทิปต่อไปนี้จะช่วยทำให้เราใจเย็น<br />

มากขึ้นอย่างจะคุยกันในเรื่องการเมือง<br />

1. Without Trying to Change<br />

Your Friend's Mind.<br />

(อย่าพยายามเปลี่ยน<br />

ความคิดเห็นของเพื่อน)<br />

Let them be who they want to be.<br />

Don't try to change them or what they<br />

52<br />

believe. Understand that everyone has<br />

an opinion based on the unique things<br />

that have gone on in their life. Change<br />

your focus from "Why doesn't my friend<br />

vote like I do" to "I want to understand<br />

my friend's views about politics and<br />

life." Just try and understand, even if<br />

you don't agree. (ปล่อยให้เขาเป็นคนที่เขา<br />

ต้องการจะเป็น อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงเขา<br />

และสิ่งที่เขาเชื่อ ขอให้เข้าใจว่า ทุกคนมีความ<br />

คิดที่เป็นอัตลักษณ์ที่จากพื้นฐานของวิถีชีวิต<br />

แต่ละคน คุณควรเปลี่ยนแนวคิดของคุณจาก<br />

ที่ “ทำไมเพื่อนฉันไม่เลือกเหมือนฉัน” เป็น<br />

“ฉันต้องการเข้าใจความคิดเห็นของเพื่อนฉัน<br />

เกี่ยวกับทางการเมืองและชีวิตเขาให้ได้ เพียง<br />

แค่พยายามเข้าใจเขา ทั้ง ๆ ที่คุณไม่เห็นด้วย<br />

ก็ตาม)<br />

2. Get the Facts (หาข้อเท็จจริง)<br />

One of the most frustrating things<br />

about discussing politics is that people<br />

on both sides of any issue very rarely<br />

get all the facts straight. When you're<br />

having a discussion with a friend, focus<br />

on the factual statements you know<br />

to be true, and if your friend gets<br />

them wrong, give them the correct<br />

information calmly. If they argue, let<br />

it go. At least you know what the real<br />

issue is. (สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องอึดอัดใจมากที่สุด<br />

คือ การที่ทั้งสองฝ่าย ถกเถียงทางการเมือง<br />

ทั้ง ๆ ที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ดังนั้นเมื่อ<br />

คุณต้องคุยกับเพื่อน ควรเน้นไปที่ข้อเท็จจริงที่<br />

คุณรู้จริง และ หากเพื่อนคุณเข้าใจผิด คุณควร<br />

ค่อย ๆ อธิบายข้อมูลที่ถูกต้องให้เพื่อนฟังเสีย<br />

ก่อน ถ้าเขาเถียง ก็ปล่อยให้เถียงไป อย่างน้อย<br />

คุณก็รู้ว่า เรื่องจริงเป็นอย่างไร)<br />

3. Don't Assume Things<br />

About Your Friend<br />

(อย่าคาดเดาเรื่องต่าง ๆ<br />

เกี่ยวกับเพื่อนของคุณ)<br />

Rather than assume that your<br />

friend shares your views, go into new<br />

discussions with the objective of finding<br />

out what your friend thinks. This is a<br />

switch in intellectual view, and will<br />

actually enhance the conversations you<br />

have. Pretend you know nothing about<br />

your pal and listen closely to what they<br />

say when you ask them about a hotbutton<br />

issue. One thing that tends to<br />

happen with arguments is that someone<br />

starts to talk about their views, but the<br />

person listening instantly gets upset<br />

because their views are different. (แทนที่<br />

จะคาดเดาว่า เพื่อนของคุณคิดอย่างไร คุณ<br />

ควรใช้ช่วงจังหวะนี้เปลี่ยนประเด็นใหม่และ<br />

พยายามคุยกันให้มากขึ้น คุณควรจะแกล้ง<br />

ทำเป็นไม่รู้เรื่อง แต่ควรตั้งใจฟังอย่างใกล้ชิด<br />

เพื่อให้รู้ว่าเขาพูดอะไรกันบ้างในประเด็นที่<br />

สำคัญ ๆ ประการหนึ่งที่มีแนวโน้มจะให้เกิด<br />

การโต้เถียงหรือการที่บางคนเริ่มคุยแต่แนว<br />

ความคิดของตัวเองและคนที่ฟังด้วยไม่พอใจ<br />

เพราะอีกคนมีความคิดที่แตกต่างกัน)<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


4. Avoid the Subject<br />

(หลีกเลี่ยงประเด็นความขัดแย้ง)<br />

Put your focus on the good of your<br />

relationship. If the majority of things<br />

about your friendship are positive, work<br />

with those instead of trying to come<br />

to an agreement politically. (พยายาม<br />

ให้ความสำคัญต่อสิ่งที่ดีในสัมพันธภาพของ<br />

คุณ หากโดยทั่วไป เรื่องที่คุยกันเป็นการเสริม<br />

สร้างสัมพันธภาพในทางบวกแล้ว ก็ควรจะคุย<br />

เรื่องนี้เพื่อมิให้มีการถกเถียงทางการเมืองอีก)<br />

5. Agree to Disagree<br />

(เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย)<br />

This is different than avoiding the<br />

topic altogether, however, it takes a<br />

special pair of friends to just "agree to<br />

disagree" without arguing. What this<br />

means is that you can still voice your<br />

opinions once in awhile, but you won't<br />

have a lengthy discussion about it.<br />

You'll both have patience for listening<br />

to each other vent if need be, but when<br />

things get too heated you'll know to<br />

back off and change the subject. (เรื่องนี้<br />

แตกต่างจากเรื่อง การหลีกเลี่ยงประเด็นความ<br />

ขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม เราอาจจะพบว่า มีเพื่อน<br />

บ้างคู่ที่ อาจจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย แต่<br />

ไม่ได้เถียงกัน นั้นก็หมายว่าคุณยังสามารถที่<br />

จะแสดงความคิดเห็นได้ไปสักระยะหนึ่ง แต่ก็<br />

ไม่ควรมีการถกเถียงกันนาน และทั้งคู่จะต้อง<br />

อดทนฟังซึ่งกันและกัน แต่ถ้าหากสิ่งนั้นเป็น<br />

เหตุให้เกิดอารมณ์คุกรุ่นขึ้น ก็ควรที่จะถอย<br />

ออกมา หรือเปลี่ยนประเด็นเสีย)<br />

มาอ่านประโยคภาษาอังกฤษที่แสดง<br />

ความคิดเห็นต่าง ดังนี้<br />

You have your point of view, and I<br />

have mine. คุณมีความคิดเห็นของคุณ และ<br />

ฉันก็มีความคิดเห็นของฉัน<br />

I won’t argue with you because you<br />

are unfair.<br />

ผมไม่เถียงกับคุณแล้วเพราะคุณไม่ยุติธรรม<br />

That’s a liberal point of view.<br />

นั่นเป็นความคิดเห็นทางเสรี<br />

He seems to have a lot of strange<br />

ideas.<br />

เขาดูเหมือนจะมีแนวคิดที่แปลก ๆ หลาย<br />

เรื่อง<br />

Our views are not so far apart.<br />

ความเห็นของเราไม่แตกต่างกันเท่าไหร่<br />

คำศัพท์ภาษาอังกฤษทางการเมืองที่<br />

น่าสนใจ<br />

1. Department of Special Investigation's<br />

(DSI)<br />

กรมสอบสวนคดีพิเศษ<br />

2. Centre for Maintaining Peace<br />

and Order (CMPO)<br />

ศูนย์รักษาความสงบ<br />

3. People's Democratic Reform<br />

Committee (PDRC)<br />

คณะกรรมการประชาชนเพื่อการ<br />

เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย<br />

ที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข<br />

4. Caretaker government<br />

รัฐบาลรักษาการ<br />

5. Emergency decree<br />

พระราชกำหนดการบริหารราชการใน<br />

สถานการณ์ฉุกเฉิน<br />

6. Region 1 Border Patrol Police<br />

Headquarters<br />

กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน<br />

ภาค ๑<br />

7. A n t i - M o n e y L a u n d e r i n g<br />

Organisation (Amlo)<br />

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการ<br />

ฟอกเงิน<br />

8. Office of the Narcotics Control<br />

Board (ONCB)<br />

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ<br />

ปราบปรามยาเสพติด<br />

9. Interior Ministry<br />

กระทรวงมหาดไทย<br />

10. Immigration Police Division 1<br />

กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๑<br />

11. Internal Security Act<br />

พระราชบัญญัติความมั่นคงในราช<br />

อาณาจักร<br />

12. Office of Aeronautical Radio of<br />

Thailand<br />

สำนักงานวิทยุการบินแห่งประเทศไทย<br />

13. PDRC secretary-general<br />

เลขาธิการ กปปส.<br />

14. Mass rally<br />

การชุมนุมมวลชน<br />

15. Ministry of Commerce<br />

กระทรวงพาณิชย์<br />

16. Thai Farmers Association<br />

สมาคมชาวนาไทย<br />

17. An open letter<br />

จดหมายเปิดผนึก<br />

18. Neutral people<br />

ประชาชนผู้เป็นกลาง<br />

19. Democratic system<br />

ระบบประชาธิปไตย<br />

20. Thailand's political system<br />

ระบบการเมืองประเทศไทย<br />

21. Rice mortgage scheme<br />

โครงการรับจำนำข้าว<br />

22. Solar rooftops project<br />

โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสง<br />

อาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา<br />

23. National Security Council<br />

สภาความมั่นคงแห่งชาติ<br />

24. Feed pipeline<br />

ท่อน้ำเลี้ยง<br />

25. Arrest warrant<br />

หมายจับ<br />

26. Justice Ministry<br />

กระทรวงยุติธรรม<br />

27. Office of the Permanent<br />

Secretary for Defence<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

28. Permanent Secretary for<br />

Defence<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

29. Legal concerns<br />

เรื่องที่เกี่ยวข้องทางกฎหมาย<br />

30. Power decentralisation<br />

การกระจายอำนาจ<br />

31. Allegations<br />

ข้อกล่าวหา<br />

32. State installations<br />

สถานที่ตั้งของราชการ<br />

33. Negotiations<br />

การเจรจา<br />

34. Monopolizing<br />

การถือเอกสิทธิ์<br />

35. Security guard<br />

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย<br />

36. Opponents<br />

ฝ่ายตรงข้าม<br />

37. Public Health Ministry<br />

กระทรวงสาธารณสุข<br />

38. Deportation procedures<br />

กระบวนการเนรเทศออกจากประเทศ<br />

39. Civil Aviation Department<br />

กรมการบินพลเรือน<br />

40. National Human Rights Commissioner<br />

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ<br />

“Give Respect, Earn Respect”<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

“ผู้ใหญ่วัย ๔๐+...<br />

จำเป็นต้องฉีดวัคซีนด้วยหรือ? ”<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ก<br />

ระทรวงสาธารณสุขได้มีการบรรจุ<br />

วัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับ<br />

ไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค<br />

ของประเทศมานานหลายสิบปีแล้ว และค่อย ๆ<br />

เพิ่มชนิดวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อย ๆ<br />

จนครอบคลุมโรคที่สำคัญ ๆ เกือบทุกโรคใน<br />

ปัจจุบัน ทำให้ปัจจุบันเด็กไทยแทบทุกคนล้วน<br />

ได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อ<br />

ร้ายแรงต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม<br />

หลังจากที่มีการให้วัคซีนกับเด็กไปนานหลาย<br />

สิบปี กระทั่งเด็กเหล่านี้เริ่มเติบโตเป็นผู้ใหญ่<br />

ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากการฉีดวัคซีนเหล่านั้น<br />

บางชนิดก็ยังคงมีระดับสูง เพียงพอในการ<br />

ป้องกันโรค แต่บางชนิดก็มีระดับภูมิคุ้มกัน<br />

ลดลงจนไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคแล้ว<br />

จึงต้องมีการให้วัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก การละเลย<br />

การให้วัคซีนในผู้ใหญ่ ทำให้เกิดการติดเชื้อใน<br />

ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ด้วยโรคที่ป้องกันได้กลับ<br />

เพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น<br />

อย่างน่าเสียดาย<br />

การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูตลอด<br />

ชีวิต และเพราะคนเรามีความเสี่ยงต่อสุขภาพ<br />

ไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องมีแผนวัคซีนตลอดชีพ<br />

เฉพาะตัวของแต่ละคน (Personalized<br />

Lifelong Vaccination Plan) ซึ่งแผนนี้ต้อง<br />

จัดทำขึ้นโดยแพทย์ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง<br />

วัคซีนเป็นอย่างดี โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ<br />

เกี่ยวกับความต้องการวัคซีนที่แตกต่างกัน ที่<br />

ระบุเป็นปฏิทินไปอีกหลายปีในอนาคต ว่าเมื่อ<br />

ไหร่ต้องฉีดวัคซีนอะไร ทั้งนี้เพื่อเป็นแผนการ<br />

สร้างภูมิคุ้มกันโรคของท่านเองอย่างต่อเนื่อง<br />

54<br />

วัคซีนคืออะไร<br />

วัคซีน คือตัวอย่างเชื้อของโรคที่ใช้ใส่เข้าไป<br />

ในร่างกายของคนเราเพื่อกระตุ้นให้ร่างกาย<br />

สร้างภูมิคุ้มกันโรคนั้นขึ้นมา ส่วนใหญ่เป็นการ<br />

สร้างภูมิคุ้มกันที่ถาวรตลอดชีวิต วัคซีนอาจ<br />

จะเป็นโมเลกุลจำลองที่หน้าตาเหมือนเชื้อโรค<br />

หรืออาจจะเป็นตัวเชื้อโรคจริง ๆ ที่ทำให้ตาย<br />

หรือทำให้อ่อนแรงลงไปแล้วก็ได้<br />

ผลดีของวัคซีน<br />

ผลดีของวัคซีน คือเป็นวิธีป้องกันโรคที่ดี<br />

ที่สุด การลงทุนฉีดวัคซีน ถือว่าเป็นการลงทุน<br />

ทางด้านสุขภาพที่คุ้มค่าที่สุดรองลงมาจาก<br />

การลงทุนให้มีน้ำสะอาดไว้ดื่ม โรคที่ป้องกัน<br />

ได้ด้วยวัคซีน ส่วนใหญ่เป็นโรคที่เป็นแล้วมี<br />

ความรุนแรง เมื่อเป็นแล้วมักรักษายาก เช่น<br />

โรคบาดทะยักในผู้สูงอายุ บางโรคทำให้เสีย<br />

ชีวิตเป็นจำนวนมาก เช่นโรคไข้หวัดใหญ่และ<br />

ปอดบวมในผู้สูงอายุหรือผู้มีโรคเรื้อรังอยู่ก่อน<br />

บางโรคหากเป็นแล้วอาจกลายเป็นโรคเรื้อรัง<br />

หรือจบลงด้วยการเป็นมะเร็ง เช่นโรคไวรัสตับ<br />

อักเสบบี, โรคติดเชื้อไวรัสเอ็ชพีวี ฯลฯ เป็นต้น<br />

การแพ้วัคซีน ความกลัวที่เกินจริง<br />

ผลเสียของวัคซีนมีน้อยกว่าผลดีของมัน<br />

อย่างเทียบกันไม่ได้ คนทั่วไปถูกทำให้กลัว<br />

วัคซีนด้วยเข้าใจว่าอาจเกิดอาการแพ้แบบ<br />

รุนแรง ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงการแพ้วัคซีน<br />

แบบรุนแรง (Anaphylaxis) มีอัตราเกิดทั่วโลก<br />

ในระดับต่ำมาก ๆ<br />

การศึกษาการฉีดวัคซีนที่ทำไปแล้ว<br />

๗,๖๔๔,๐๔๙ ครั้ง พบว่ามีแพ้รุนแรงเพียง ๒<br />

ครั้ง นั่นหมายความว่ามีอุบัติการเกิดต่ำกว่า<br />

หนึ่งในล้าน คือต่ำเพียง ๐.๒๖ ในล้านเท่านั้น<br />

เอง ความกลัวแพ้วัคซีนจึงเป็นความกลัว ที่เกิน<br />

จริง อีกทั้งปัจจุบันนี้การรักษาการแพ้รุนแรง<br />

ในสถานพยาบาลมีความสำเร็จอย่างสูง ส่วน<br />

ฤทธิ์ข้างเคียงเช่นฉีดแล้วอาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือ<br />

ปวดเมื่อยไม่สบายนั้น เกิดขึ้นได้กับวัคซีนบาง<br />

ชนิดแต่ถือว่าเป็นฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่มีอันตราย<br />

ส่วนกรณีที่มีการฟ้องร้องกันในต่างประเทศ<br />

โดยกล่าวอ้างว่าเด็กฉีดวัคซีนแล้ว ทำให้เป็น<br />

โรคสมาธิสั้นนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะการ<br />

ทบทวนหลักฐานวิทยาศาสตร์โดยสถาบันที่<br />

เชื่อถือได้สรุปได้ว่าไม่มีวัคซีนตัวใดสัมพันธ์กับ<br />

การทำให้เป็นโรคสมาธิสั้นเลย<br />

ทำไมเป็นผู้ใหญ่วัย ๔๐+ แล้วต้องมา<br />

ฉีดวัคซีน?<br />

คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าวัคซีนมีไว้สำหรับ<br />

เด็กเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ความเข้าใจ<br />

ดังกล่าว ทำให้โรคบางโรคซึ่งไม่เป็นกับเด็กแล้ว<br />

เพราะมีวัคซีนคุ้มกัน แต่ไปเป็นกับผู้ใหญ่และ<br />

ผู้สูงอายุแทน ตัวอย่างเช่นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔<br />

ศูนย์ควบคุมโรคอเมริกันรายงานผู้ป่วยเป็น<br />

บาดทะยัก ๑๓๐ ราย ในจำนวนนี้ ๙๐.๗%<br />

เป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้ป่วย<br />

๑๘% เสียชีวิต ซึ่งในบรรดาผู้เสียชีวิตนี้<br />

ทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่ และ ๗๕% เป็นผู้มีอายุ<br />

มากกว่า ๖๐ ปี ความสูญเสียดังกล่าวนี้เข้าใจ<br />

ได้ไม่ยาก เพราะขณะที่ ๙๕% ของเด็กได้รับ<br />

วัคซีนบาดทะยักครบ แต่ผู้ใหญ่อายุเกิน ๖๐<br />

ปีที่ได้รับการฉีดกระตุ้นวัคซีนบาดทะยักทุก<br />

๑๐ ปีมีเพียง ๔๐% เท่านั้นเอง อีกตัวอย่าง<br />

หนึ่งคือโรคหัดซึ่งเป็นโรคที่มีกระจายอยู่ทั่ว<br />

โลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ชาวอเมริกันคนหนึ่ง<br />

ซึ่งไม่เคยฉีดวัคซีนคางทูม-หัด-หัดเยอรมัน<br />

(MMR) ไปติดหัดมาจากโรมาเนีย เมื่อกลับบ้าน<br />

แล้วเขาเอาโรคหัด มาปล่อยให้เพื่อนบ้าน<br />

ป่วยอีก ๓๔ คน ทุกคนที่ป่วยล้วนไม่เคยฉีด<br />

วัคซีน MMR มาก่อน โชคดีที่เมืองที่เขาอยู่<br />

คนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนวัคซีน MMR<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


กันค่อนข้างครบถ้วน โรคจึงสงบอย่างรวดเร็ว<br />

โรคที่แย่ยิ่งกว่าหัด ซึ่ง MMR ช่วยป้องกันได้<br />

คือหัดเยอรมัน ซึ่งทำให้ทารกในครรภ์พิการ<br />

รุนแรงได้ ทุกวันนี้ยังมีอยู่บ่อย ๆ ที่แพทย์<br />

จำเป็นต้องทำแท้งให้สตรีมีครรภ์ที่ป่วยเป็น<br />

หัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในจำนวนนี้ ส่วน<br />

หนึ่งโรคผ่านมาทางสามี ซึ่งไม่เคยฉีดวัคซีน<br />

MMR เช่นกัน น่าเสียดายที่เมืองไทยไม่มีสถิติ<br />

ที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ในฤดูหนาว<br />

ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่พิสูจน์ทางห้องปฏิบัติ<br />

การ ได้ว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ในสหรัฐ<br />

๓๙,๘๒๗ คน ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งมีปอดบวม<br />

แทรกและเสียชีวิต ทำให้โรคไข้หวัดใหญ่<br />

บวกปอดบวมแทรกติดอันดับสาเหตุการตาย<br />

สิบอันดับแรกของคนอเมริกันมาหลายปี ผู้เสีย<br />

ชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และทั้งสองโรคนี้<br />

ป้องกันได้ด้วยวัคซีน<br />

ไวรัสตับอักเสบบี เป็นอีกโรคหนึ่งที่ยังคง<br />

อาละวาดก่อความเสียหายสุดคณาให้กับคน<br />

ไทย สถิติปี ๒๕๕๐ ซึ่งใหม่ล่าสุดรายงานว่า<br />

มะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงสุดของคนไทย<br />

คือตาย ๔๙,๖๘๒ คน โดยตามการศึกษาของ<br />

สถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่ามะเร็งตับเป็น<br />

แชมป์นำโด่ง (๓๗.๖%) ทิ้งห่างรองแชมป์คือ<br />

มะเร็งปอด (๒๕.๙%) มากพอควร ในบรรดา<br />

คนที่เป็นมะเร็งตับนี้ ๘๐% มีสาเหตุมาจากการ<br />

ป่วยด้วยไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งป้องกันได้ด้วย<br />

วัคซีน กระทรวงสาธารณสุขตั้งกฎเหล็กขึ้นมา<br />

ว่าเด็กไทยเกิดใหม่ทุกคนไม่ว่าจะเกิดที่ไหนใน<br />

แผ่นดินนี้ต้องได้รับการฉีดวัคซีนทันทีตั้งแต่วัน<br />

แรกที่ลืมตาดูโลก ซึ่งดีมากเลย แต่ผู้ใหญ่หละ..<br />

ผู้ใหญ่ที่เดินไปเดินมากันทั่วมีใครรู้บ้างว่าตัว<br />

เองมีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบีหรือยัง สถิติ<br />

คนไทยหายากหน่อยแต่ก็พอมี คือสถาบันวิจัย<br />

วิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารได้ทำการวิจัยใน<br />

นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาลซึ่งเป็น<br />

ผู้ใหญ่กันหมดแล้วทุกคน พบว่ามีภูมิคุ้มกัน<br />

ไวรัสตับอักเสบบี ๑๘.๙๒% เท่านั้นเอง ที่<br />

เหลือยังบริสุทธิ์สะอาดมีโอกาสติดเชื้อเต็ม ๆ<br />

ในอนาคต ซึ่งจะน่าเสียดายอย่างยิ่งถ้าต้องจบ<br />

ชีวิตลงด้วยมะเร็งตับทั้ง ๆ ที่มีวัคซีนป้องกันได้<br />

แผนวัคซีนตลอดชีพรายบุคคล<br />

คนเราทุกคนมีความเสี่ยงต่อสุขภาพไม่<br />

เหมือนกัน แผนดูแลสุขภาพแต่ละคนต้อง<br />

จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับคนคนนั้น<br />

(Personalized Health Plan) เรื่องวัคซีนก็<br />

เช่นกัน การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม<br />

ดูตลอดชีวิต และเป็นเรื่องที่จำเพาะเจาะจง<br />

เฉพาะบุคคล จึงต้องมีแผนวัคซีนตลอดชีพ<br />

เฉพาะตัวของแต่ละคน (Personalized<br />

Lifelong Vaccination Plan) ซึ่งแผนนี้ต้อง<br />

จัดทำขึ้นโดยแพทย์ที่มีความรู้ความเข้าใจ<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

เรื่องวัคซีนดี โดยวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยว<br />

กับความต้องการวัคซีนที่แตกต่างกัน อันได้แก่<br />

เพศ เพราะวัคซีนบางชนิดใช้เฉพาะเพศ<br />

หญิง เช่นวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)<br />

วัคซีนบางชนิดเช่นวัคซีนหัดเยอรมัน ไม่เหมาะ<br />

กับสตรีมีครรภ์ ดังนั้นถ้าเป็นเพศหญิงข้อมูล<br />

การตั้งครรภ์ก็เป็นข้อมูลสำคัญที่แพทย์ต้อง<br />

ทราบ<br />

อายุ เพราะวัคซีนบางตัว ให้เฉพาะบาง<br />

อายุตามความเสี่ยงที่มาพร้อมกับวัย เช่น ถ้า<br />

ไม่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ วัคซีนไข้หวัดใหญ่<br />

จะให้เฉพาะคนทั่วไปที่อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป วัคซีน<br />

ปอดบวมให้เฉพาะคนอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เป็นต้น<br />

อาชีพ เพราะบางอาชีพต้องฉีดวัคซีนบาง<br />

อย่าง เช่นสัตวแพทย์ต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษ<br />

สุนัขบ้า ถ้ามีอาชีพเป็นบุคลากรทางการแพทย์<br />

หรือดูแลผู้สูงอายุก็อาจต้องฉีดวัคซีนหลาย<br />

ชนิดเพื่อป้องกันไม่ให้เอาโรคเหล่านั้นไปติด<br />

คนไข้หรือผู้สูงอายุที่ตนเองดูแล<br />

การใกล้ชิดกับสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะสตรี<br />

มีครรภ์ต้นหน้าฝนซึ่งเป็นต้นฤดูระบาดของ<br />

ไข้หวัดใหญ่ แล้วไข้หวัดใหญ่นี้อันตรายกับสตรี<br />

มีครรภ์ยิ่งนัก ผู้ใกล้ชิดสตรีมีครรภ์ก็ควรจะได้<br />

รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้<br />

เอาโรคไปถึงตัวคนมีครรภ์<br />

การเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งอาจต้อง<br />

เจาะลึกว่าไปประเทศไหน เพราะมีกฎหมาย<br />

วัคซีนแตกต่างกัน เช่นจะไปอัฟริกาต้องฉีด<br />

วัคซีนป้องกันไข้เหลือง จะไปแสวงบุญเมกกะ<br />

ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ<br />

(Meningococcal) สำหรับผู้นิยมเดินทาง<br />

ท่องโลกแบบไม่เลือกที่ระดับอินเตอร์ก็ควรได้<br />

รับวัคซีนอย่างครบถ้วนก่อน รวมทั้งการฉีด<br />

กระตุ้นวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR)<br />

และการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอด้วย<br />

การเข้าหอพักในมหาวิทยาลัย หรือเข้า<br />

ค่ายทหาร เพราะสภาพแออัดอย่างนั้นต้องฉีด<br />

วัคซีนป้องกันโรคบางโรคที่ชาวหอชอบเป็นกัน<br />

เช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือหัด เป็นต้น<br />

การเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคน<br />

ชราหรือเนอร์สซิ่งโฮม ถ้าเป็นก็ต้องฉีดวัคซีน<br />

ป้องกันโรคยอดนิยมในบ้านพักคนชรา เช่นโรค<br />

ปอดบวม โรคไข้หวัดใหญ่<br />

การมีหรือไม่มีภูมิคุ ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี<br />

เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่ก่อความเสียหายรุนแรง<br />

และบางครั้งเป็นความเสียหายที่ต่อเนื่องเรื้อรัง<br />

ไม่รู้จบ อีกทั้งประเทศไทยเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อ<br />

การเป็นโรคนี้ ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงควรได้<br />

รับวัคซีนป้องกันโรคนี้ ยกเว้นผู้ที่เคยตรวจเช็ค<br />

เลือดและพบว่ามีภูมิคุ้มกันโรคนี้แล้ว<br />

การมีความเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบเอ เป็น<br />

พิเศษ เช่น เป็นผู้ชายโฮโมเซ็กซ่วล หรือเป็น<br />

โรคตับเรื้อรัง หรือเป็นผู้ติดยาเสพติด หรือมี<br />

โรคเลือดแข็งตัวผิดปกติ หรือจะเดินทางไปยัง<br />

บ้านเมืองที่มีโรคนี้มาก ก็ควรจะได้รับการฉีด<br />

วัคซีนป้องกันโรคนี้<br />

การไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน มีความ<br />

สำคัญเพราะถ้าไม่เคยเป็น ควรต้องฉีดวัคซีน<br />

อีสุกอีใส เพราะโรคนี้หากมาเป็นเอาตอนอายุ<br />

มากจะมีความรุนแรง<br />

การเลี้ยงสุนัข เนื่องจากเมืองไทยเป็น<br />

ประเทศที่โรคพิษสุนัขบ้าชุกชุมที่สุดในโลก<br />

ปัจจุบันนี้สถานเสาวภาได้นำหลักการฉีดวัคซีน<br />

ป้องกันพิษสุนัขบ้าล่วงหน้า (Pre Exposure)<br />

ขององค์การอนามัยโลก มาแนะนำให้คนไทย<br />

เลือกใช้ได้แล้ว โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนล่วงหน้า<br />

สำหรับคนที่เสี่ยง เช่น ผู ้มีอาชีพยุ ่งเกี่ยวกับสัตว์<br />

รวมไปถึงผู้เลี้ยงสุนัขและเด็กเล็กที่อยู่ในบ้านที่<br />

มีการเลี้ยงสุนัขด้วย ทั้งนี้ต้องเข้าใจด้วยว่าการ<br />

ฉีดแบบป้องกันล่วงหน้านี้เป็นการเตรียมความ<br />

พร้อมให้ร่างกายไว้ล่วงหน้าและป้องกันกรณีที่<br />

สัตว์เลียแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบไม่รู้ตัวซึ่งพบ<br />

บ่อยในเด็ก แต่หากถูกสัตว์กัดแบบเหวอะหวะ<br />

เข้าจริง ๆ ก็ต้องมาฉีดวัคซีนกระตุ้นแบบ<br />

ครบชุด อีกครั้งเสมอ<br />

การมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ<br />

มากกว่าปกติ ซึ่ง ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรค<br />

มากกว่าคนทั่วไป เช่นเป็นมะเร็ง หรือให้ยา<br />

เคมีบำบัด หรือเป็นโรคเลือดที่ทำให้ภูมิคุ้มกัน<br />

ต่ำ หรือเป็นโรคเรื้อรังของอวัยวะสำคัญ เช่น<br />

โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต หรือเป็น<br />

โรคเอดส์ หรือถูกตัดม้ามไปแล้วด้วยเหตุใด ๆ<br />

ก็ตาม<br />

การใช้ยาแอสไพรินกรณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า<br />

๑๘ ปี เพราะเด็กที่ทานยาแอสไพรินประจำมี<br />

ความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของสมองเมื่อ<br />

ได้วัคซีนบางตัวได้ แพทย์จึงต้องมีข้อมูลนี้ก่อน<br />

ตัดสินใจให้วัคซีน<br />

การเป็นโรคที่หากแพ้วัคซีนแล้วอาจมีความ<br />

รุนแรง เช่น เป็นหอบหืด หรือมีโรคของกล้าม<br />

เนื้อหรือระบบประสาทที่ทำให้ทางเดินลม<br />

หายใจบวม หรือมีปัญหาต่อการหายใจหรือ<br />

การกลืน แพทย์จำเป็นต้องใช้ข้อมูลนี้ประกอบ<br />

การวางแผนฉีดวัคซีนเฉพาะบุคคลด้วย<br />

สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลสุขภาพตนเองให้<br />

ปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยที่เข้า<br />

มา ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า “อโรคยา ปรมาลา<br />

ภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ไม่ว่า<br />

จะเป็นยุคใดสมัยใดก็ยังเป็นคำพูดที่ฟังดูแล้ว<br />

ไม่ล้าสมัย เพราะคงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าการ<br />

มีสุขภาพดี มีค่ากว่าการมีเงินทองร้อยล้านด้วย<br />

ซ้ำไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็<br />

ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีให้กลับคืนมาได้ ตัว<br />

เราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมการ<br />

ใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นสิ่งที่จะแสดงผล<br />

ออกมาเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่ง<br />

55


พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นประธานในพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์งานก่อสร้าง<br />

น้ำพุ โดยมีรองปลัดกระทรวงกลาโหม และหัวหน้าหน่วย<br />

ขึ้นตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี เมื่อ<br />

๖ ก.พ.๕๗ ณ บริเวณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม รอง<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมรับฟังการนำเสนอและสาธิตประสิทธิภาพของอากาศยาน<br />

ไร้คนขับแบบขึ้น – ลงทางดิ่ง (VTOL – UAV) จากประเทศบราซิล ณ สนามบินเล็ก<br />

กองทัพอากาศ ทุ่งสีกัน ดอนเมือง เมื่อ ๒๘ ม.ค.๕๗<br />

56


พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศ พลเรือเอก พลอากาศ<br />

เอก และแต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือและประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษา<br />

พระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ โดยมี พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม รองปลัดกระทรวงกลาโหม และผู้บังคับบัญชาระดับสูง ร่วมแสดงความยินดี<br />

ณ ห้องยุทธนาธิการ ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗ ก.พ.๕๗<br />

พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิดการเจาะ (SPUD) หลุมเจาะ FA-MS-57-89 ( แหล่งผลิตน้ำมันดิบแม่สูน)<br />

และรับฟังการบรรยายสรุป ณ ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร<br />

อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ ๒๓ ม.ค.๕๗<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

57


พ ล เ อ ก นิ พั ท ธ ์ ท อ ง เ ล็ ก<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การ<br />

ต้อนรับ นางสาว อนา มาเรีย รามิเรซ<br />

(Ana Maria Ramirez)<br />

เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ<br />

อาร์เจนตินาประจำประเทศไทย<br />

ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและ<br />

หารือข้อราชการ ณ ห้องสนามไชย<br />

เมื่อ ๑๗ ก.พ.๕๗<br />

พ ล เ อ ก นิ พั ท ธ ์ ท อ ง เ ล็ ก<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม มอบ<br />

เครื่องหมายแสดงความสามารถ<br />

ทางการกีฬาชั้น ๑ เสื้อเบลเซอร์<br />

ให้กับ ร้อยโทหญิง จันทร์เพ็ง<br />

นนทะสิน สังกัด สำนักงาน<br />

เลขานุการ สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬา<br />

จักรยานได้รับเหรียญเงิน ประเภท<br />

ถนน ไทม์ไทรอัล บุคคลหญิง<br />

ระยะทาง ๓๐ ก.ม. และ สิบตรี<br />

หญิง วิชชุดา ไพจิตรกาญจนกุล<br />

กองรักษาความปลอดภัย สำนัก<br />

นโยบายและแผนกลาโหมได้รับ<br />

เหรียญทอง จากประเภทปืนยาว<br />

ท่านอน (ทีมหญิง) ในการแข่งขัน<br />

กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๗ ระหว่างวันที่<br />

๑๑ – ๒๒ ธ.ค.๕๖ ณ เมืองเนปิดอร์<br />

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์<br />

58


พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาจัดซื้ออุปกรณ์ กับ บริษัท อธิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด<br />

เพื่อใช้ในโครงการเคลื่อนย้ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (แจ้งวัฒนะ) ไปยังสำนักงานพื้นที่<br />

ศรีสมาน ณ ห้องสราญรมย์ เมื่อ ๗ ก.พ.๕๗<br />

พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม และคณะร่วมงานวันคล้ายวัน<br />

สถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ครบรอบปีที่ ๕๖<br />

ณ โรงเรียนเตรียมทหาร จังหวัดนครนายก เมื่อ<br />

๒๗ ม.ค.๕๗<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

59


พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

เป็นประธานในพิธีเปิดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สถานี<br />

วิทยุสีขาว เทิดไท้องค์ราชาและบรรยายในหัวข้อ ศักยภาพ<br />

ของวิทยุชุมชนในการดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์<br />

ในพื้นที่ ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัด<br />

กระกรวงกลาโหม ณ โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ จังหวัด<br />

นครปฐม เมื่อ ๑๐ ก.พ.๕๗<br />

พลตรี เนรมิต มณีนุตร์ ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีตักบาตรเนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๕๗<br />

ณ บริเวณลานรอบองค์พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อ ๑๔ ก.พ.๕๗<br />

พลตรี พิชาพร ธนะภูมิ เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมพิธีเวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๕๗ ณ บริเวณลานรอบ<br />

องค์พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อ ๑๔ ก.พ.๕๗<br />

60


พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม และคณะ ร่วมพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับ<br />

สื่อมวลชนประเภทวิทยุในพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมทั้งจัดการ<br />

อบรมสัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาสัมพันธ์สื่อสารมวลชน<br />

ให้ร่วมประชาสัมพันธ์งานความมั่นคงร่วมกับสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๗ ณ โรงแรม<br />

ไดมอนด์ ปาร์คอินน์ เชียงรายรีสอร์ท จังหวัดเชียงราย<br />

ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๒๙ ม.ค.๕๗<br />

พลตรี ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ ร่วมพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับสื่อมวลชนประเภทวิทยุในพื้นที่<br />

ภาคใต้ พร้อมทั้งจัดการอบรมสัมมนาเสริมสร้างและพัฒนาสัมพันธ์สื่อสารมวลชนให้ร่วมประชาสัมพันธ์ความมั่นคงร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๗ ณ หรรษา เจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๘ ม.ค.๕๗<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โครงการช่วยเหลือคู่สมรสหรือบุตรที่มีความต้องการพิเศษของกำลังพลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

“สานงาน สานใจ ให้กลาโหม”...เป็นสิ่งที่<br />

สมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหมได้ร่วมมือร่วมแรงและ<br />

ร่วมใจในการทำงานเพื่อดูแลทุกข์สุขรวมทั้ง<br />

สวัสดิการของกำลังพลและครอบครัว<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้ง “กองทุนเพื่อ<br />

การช่วยเหลือบุตรที่มีความต้องการพิเศษของ<br />

กำลังพล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม พ.ศ.๒๕๕๖” ได้มอบเงินช่วยเหลือ<br />

บุตรพิเศษที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จำนวน<br />

๒,๐๐๐ บาทต่อเดือน และช่วยเหลือตัวเองได้<br />

จำนวน ๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน และในขณะนี้<br />

มีจำนวนบุตรที่มีความต้องการพิเศษทั้งสิ้น<br />

จำนวน ๔๑ คน ซึ่งโครงการนี้มีผลตอบรับ<br />

อย่างชัดเจนว่า บุตรที่มีความต้องการพิเศษมี<br />

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครอบครัวมีรอยยิ้มเพิ่มขึ้น<br />

บุตรที่มีความต้องการพิเศษสามารถมีโอกาส<br />

ออกมาจากบ้านเพื่อเข้าสู่สังคมและได้รับการ<br />

ยอมรับจากสังคมเพิ่มมากขึ้น<br />

ความเป็นห่วงเป็นใยจากสมาคมภริยา<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ไม่ได้หยุดนิ่ง มองแค่เพียงบุตรที่มีความต้องการ<br />

พิเศษเท่านั้น ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก<br />

นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เล็งเห็นถึงความ<br />

62<br />

สำคัญของการดูแลครอบครัวทั้งครอบครัว<br />

ที่มี “พ่อ แม่ ลูก” จึงมีดำริให้เพิ่มเติมการ<br />

ดูแลคู่สมรสที่มีความต้องการพิเศษเช่นเดียว<br />

กับบุตรที่มีความต้องการพิเศษควบคู่กันไป<br />

ด้วย เพราะคู่สมรสและบุตรเป็นหน่วยหนึ่ง<br />

ของคำว่า “ครอบครัว” ทุกคนที่อยู่ในหน่วย<br />

ของครอบครัวย่อมได้รับการดูแลเสมือนเป็น<br />

คนคนเดียวกัน จึงได้เกิดเป็น“โครงการช่วย<br />

เหลือคู่สมรสหรือบุตรที่มีความต้องการพิเศษ<br />

ของกำลังพลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม” ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้วตั้งแต่<br />

เดือนตุลาคม ๒๕๕๖<br />

แม้ว่าจำนวนเงินที่ให้การช่วยเหลือจะ<br />

ไม่มากนัก แต่เป็นการดูแลจากใจจริงของ


ทางสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ที่คงดำเนินกิจกรรมของ<br />

สมาคมฯ ตามวัตถุประสงค์หลักที่นายกสมาคมฯ<br />

ท่านแรก ได้ริเริ่มไว้ คือการดูแลทุกข์สุขของ<br />

กำลังพลและครอบครัว เราจะมุ่งมั่นตั้งใจ<br />

ทำงาน ร่วมมือร่วมแรงใจ ปฏิบัติงานให้กับ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตามคำขวัญ<br />

ของสมาคม “สานงาน สานใจ ให้กลาโหม”<br />

หลักเมือง มีนาคม ๒๕๕๗<br />

63


ทันตแพทย์หญิง รัตนาวดี ทองเล็ก นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสมาคม<br />

แม่บ้านทหารอากาศ ครบรอบปีที่ ๒๙ ณ หอประชุมกองทัพอากาศ พหลโยธิน เมื่อ ๒๔ ม.ค.๕๗<br />

สมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารถวายพระศพ สมเด็จ<br />

พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เมื่อ ๓๑ ม.ค.๕๗<br />

64

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!