22.05.2017 Views

ASA CREW VOL.3

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ISSUE 03<br />

MAR-APRIL<br />

2017<br />

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

The Journal of<br />

The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

- OPEN HOUSE -


คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2559-2561<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา / Chairman of Northern Region (Lanna)<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน / Chairman of Northeastern Region (Esan)<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ / Chairman of Southern Region (Taksin)<br />

อัชชพล ดุสิตนานนท์ / Ajaphol Dusitnanond<br />

น.อ.สันติ พรหมสุนทร / Capt.Santi Promsuntorn<br />

ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์ / Asst.Prof.Thana Chirapiwat, Ph.D.<br />

ผศ.สุดจิต สนั่นไหว / Asst.Prof.Sudjit Sananwai<br />

ผศ.กิจโชติ นันทนสิริวิกรม / Asst.Prof.Kijchot Nuntanasirivikrom<br />

ปรีชา นวประภากุล / Preecha Navaprapakul<br />

นันทพล จั่นเงิน / Nantapon Junngurn<br />

ชาติเฉลิม เกลียวปฏินนท์ / Chartchalerm Klieopatinon<br />

พ.ต.ท.สักรินทร์ เขียวเซ็น / Pol.Lt.Col.Sakarin Khiewsen<br />

ภิรวดี ชูประวัติ / Pirawadee Chuprawat<br />

ทรงพจน์ สายสืบ / Songpot Saisueb<br />

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย / Asst.Prof.Surapong Lertsithichai, Ph.D.<br />

ณัฐสิทธิ์ อิทธิถาวร / Nathasith Itthithavorn<br />

ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ / M.L.Varudh Varavarn<br />

ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร / Weeraphan Shinawatra, Ph.D.<br />

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ / Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

ขวัญชัย สุธรรมซาว / Khwanchai Suthamsao<br />

ผศ.สุรศักดิ์ โล่ห์วนิชชัย / Asst.Prof.Surasak Lowanitchai<br />

วิวัฒน์ จิตนวล / Wiwat Chitnuan<br />

<strong>ASA</strong><br />

BOARD<br />

นายกสมาคม / President<br />

อุปนายก / Vice President<br />

OF DIREC- เลขาธิการ / Secretary General<br />

TORS<br />

นายทะเบียน / Honorary Registrar<br />

เหรัญญิก / Honorary Treasurer<br />

ปฏิคม / Social Event Director<br />

ประชาสัมพันธ์ / Public Relations Director<br />

กรรมการกลาง / Executive Committee<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong><br />

EDITORIAL<br />

DEPART-<br />

MENTS<br />

บรรณาธิการบริหาร / Editor-in-Chief<br />

รองบรรณาธิการบริหาร / Assistant to Editor-in-Chief<br />

กองบรรณาธิการอาษาครู<br />

บรรณาธิการ / Editor<br />

กองบรรณาธิการ / Editorial Staffs<br />

บรรณาธิการภาษาอังกฤษ / English Editor<br />

บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ / Art Director<br />

กองบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ / Art Editorial Staffs<br />

ช่างภาพ / Photographers<br />

ประสานงานกองบรรณาธิการ / Administration<br />

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ / Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

ชนพ ศิริกมลมาศ / Chanop Sirikamonmas<br />

รติรัตน์ นิมิตรบรรณสาร / Ratirat Nimitrabannasarn<br />

ยินดี พุฒศิรยากร / Yindee Phuttasirayakorn<br />

วีรภา ดำาสนิท/ Weerapa Dumsanit<br />

จิตติมน มันทรานนท์ / Jittimon Manthranon<br />

พลภัทร์ จาดเจริญ / Ponrapat Jajarern<br />

กฤษฎา ข้ามแปด / Kritsada Khampaet<br />

ดร.ภรณี ธนภรรคภวิน / Porranee Thanapakpawin, Ph.D.<br />

วีรพล เจียมวิสุทธิ์ / Werapon Chiemvisudhi<br />

วริญญา จันทร์ดี / Warinya Chandee<br />

สุเมธ ดาวขุนทด / Sumet Daokhuntod<br />

ชัยวุฒิ พุตทอง / Chivudh Buthdong<br />

ตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ / Tul Hirunyalawan<br />

สุทักษ์ ศิรินุช / Sutak Sirinuch<br />

ณัฐพงษ์ วัจนะภูมิ / Nattapong Vadjanapoom<br />

วรนัส จันทร์ธรรม / Woranas Janthum<br />

ฐาปนี ประภาศิริ / Thapanee Prapasiri<br />

พิมพ์โดย / Printed By<br />

เค.ซี.เพรส / K.C.PRESS<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage<br />

Tel: 0-2319-6555<br />

Fax: 0-2319-6555 press 120 or 0-2319-6419<br />

Email: asacrewmag@gmail.com<br />

248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถนนพระรามที่ 9 แขวงบางกะปิ<br />

เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310<br />

248/1 Soi Soonvijai 4, Rama IX Rd., Bangkapi,<br />

Huaykwang, Bangkok, 10310 Thailand<br />

www.asa.co.th


เปิดบ้าน<br />

หลังจากที่วารสารแจกฟรี “อาษาครู” โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ใน<br />

พระบรมราชูปถัมภ์เล่มที่1 และ 2 ได้ออกสู่สายตาประชาชนทั่วประเทศ ทีมงาน<br />

ได้รับคําแนะนําที่ดีมากมาย โดยเฉพาะจากสถาปนิกทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง รวมถึง<br />

เพื่อนๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อย่างที่ได้กล่าวไปในเล่ม 2 แล้วครับว่า<br />

“การเริ่มต้นทําสิ่งใหม่ ตื่นเต้นเสมอ”<br />

สําหรับวารสารอาษาครูเล่มที่ 3 นี้ ถูกเรียบเรียงขึ้นในหัวข้อ “เปิดบ้าน -<br />

Open House” เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้องานสถาปนิก’60 ในวันที่ 2-7<br />

พฤษภาคม 2560 ที่ใช้ชื่องานว่า “บ้าน บ้าน : BAAN BAAN” Reconsidering<br />

Dwelling วารสารอาษาครูเล่มนี้ทีมงานได้ปรับปรุงในหลายๆ ด้าน เช่น เนื้อหา<br />

ที่อัดแน่นมากขึ้น และการนําเสนอเพื่อให้บุคคลทั่วไปอ่านเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น<br />

รวมถึงการออกแบบรูปเล่มใหม่ให้ดูสดใสเหมาะกับบรรยากาศการพักผ่อน<br />

ในช่วงวันหยุดสงกรานต์นี้<br />

ทีมงานขอขอบคุณทุกคําแนะนําและการต้อนรับจากผู้อ่านทุกท่าน และ<br />

ขอแจ้งว่าเรามาพบกันได้ในงานสถาปนิก’60 ที่บูธของอาษาครูพร้อมทําความ<br />

รู้จักกับสื่อใหม่ของสมาคมฯ ในรูปแบบดิจิทัลครับ<br />

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์<br />

บรรณาธิการบริหาร<br />

asacrewmag@gmail.com<br />

Open House<br />

After the Association of Siamese Architects under Royal<br />

Patronage released the first and second issues of the free journal<br />

“<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>” nationwide, the team received lots of great<br />

recommendations from fellow architects, and friends from all over<br />

Thailand. Like I have said in the second issue, “Taking on something<br />

new always brings excitement.”<br />

For the third <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> issue, the content is crafted to match<br />

the theme “Open House” to be consistent with the theme of the<br />

Architect’17 Exposition on May 2-7, 2017, which is “BAAN BAAN :<br />

Reconsidering Dwelling”. The <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> team has made<br />

improvements in many ways regarding this issue, such as more<br />

content and easier reading for non-architects and designers. Also,<br />

we redesigned the journal to be more vibrant, suiting the vacation<br />

atmosphere of the Songkran holidays.<br />

The team would like to thank all our readers for the suggestions<br />

and welcomes. We would like to invite you to meet us at the <strong>ASA</strong><br />

<strong>CREW</strong> booth in the Architect’17 Exposition to get to know our<br />

association’s new digital media content.<br />

Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

Editor-in-Chief<br />

asacrewmag@gmail.com<br />

CONTENTS<br />

06<br />

08<br />

10<br />

14<br />

18<br />

<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

WHBC Architects: Blue<br />

Collar Architects<br />

WHBC สถาปนิกติดดิน<br />

SOCIETY<br />

Archiprix, Contest for<br />

The World’s Best Thesis<br />

งานประกวดวิทยานิพนธ์โลก<br />

CLASSIC<br />

Rewind to the Past at<br />

Bangkokian Museum<br />

ย้อนเวลาหาอดีต<br />

ที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก<br />

SPOTLIGHT<br />

“BAAN BAAN” : Reconsidering<br />

Dwelling<br />

เตรียมพบกับงานสถาปนิก‘60<br />

INTERVIEW<br />

Ajarn Nantapon Junngurn<br />

The Chairman of the Architect’17<br />

Exposition<br />

อาจารย์นันทพล จั่นเงิน<br />

ประธานจัดงานสถาปนิก’60<br />

24<br />

28<br />

30<br />

34<br />

36<br />

SPECIAL STORY<br />

<strong>ASA</strong> Emerging Architecture<br />

Awards 2017 “BAAN BAAN”<br />

ผลการคัดเลือกรางวัล<br />

สถาปัตยกรรมรุ่นใหม่<br />

ประจำปี 2560 “บ้าน บ้าน”<br />

INSPIRE<br />

Digital Architecture<br />

สถาปัตยกรรมยุคดิจิทัล<br />

IN CLIENT’S VIEW<br />

Worth and Value Creation;<br />

Tackle the challenge<br />

สร้างมูลค่าและคุณค่า<br />

ตอบโจทย์อันท้าทาย<br />

DETAILS<br />

Aperture House<br />

บ้าน-ช่อง-แสง<br />

Q&A<br />

Common Problems at Home<br />

(in the Summer)<br />

ปัญหาบ้านๆ (ช่วงหน้าร้อน)<br />

38<br />

40<br />

44<br />

47<br />

50<br />

TIPS<br />

Keep Old & Stay Cool<br />

มีดีที่ “เก่า”<br />

TRAVEL<br />

Rangsi Kasem Building<br />

School of Nan, and Baan (Home)<br />

for Foreigners<br />

ตึกรังษีเกษม โรงเรียนของคนเมืองน่าน<br />

บ้านของคนต่างแดน<br />

HANGOUT<br />

Charoen Krung Road<br />

New in the old, Old in the new<br />

ถนนเจริญกรุง...<br />

ใหม่ในเก่า เก่าในใหม่<br />

CUISINE<br />

The Classic Cafe &<br />

Restaurants<br />

อร่อยระดับตำนาน ย่านเจริญกรุง<br />

ARTS<br />

The State of Impermanence 15<br />

สภาวะแห่งความไม่เที่ยง<br />

51<br />

52<br />

54<br />

55<br />

MUSIC<br />

Feels Like Home<br />

เพลงที่ผมฟังแล้วคิดถึง “บ้าน”<br />

FILM<br />

Connecting Dots<br />

(the Purpose of Life)<br />

ลากเส้นต่อจุด (หมายของชีวิต)<br />

BOOK<br />

The Existence of Architectural<br />

Design Books<br />

หนังสือออกแบบทางสถาปัตยกรรม<br />

HOW TO<br />

What Lies Beneath<br />

That Water Basin?<br />

โอ่งนั้นสำคัญไฉน?


- 4 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


CONTRIBUTORS<br />

<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

C1 : คัทลียา จิรประเสริฐกุล<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 61จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาเอก Faculty of Architecture, Building and Planning มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น<br />

ประเทศออสเตรเลีย<br />

Cuttaleeya Jiraprasertkun<br />

Assistant Professor, Faculty of Architecture, Kasetsart University<br />

Bachelor of Architecture, Chulalongkorn University<br />

Ph.D. (Architecture and Planning), The University of Melbourne, Australia<br />

SOCIETY<br />

C2 : สิปปวิชญ์ กำบัง<br />

อาจารย์ประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี<br />

ปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม) สถาบันเทคโนโลยี<br />

ราชมงคล ธัญบุรี<br />

ปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(สถาปัตยกรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (โครงสร้างรับแรงดึง) Anhalt University of Applied<br />

Sciences, Germany<br />

Sippawich Kambung<br />

Lecturer, Faculty of Architecture<br />

Rajamangala University of Technology Thanyaburi<br />

B.Arch (Architectural Technology) Rajamangala Institute of Technology, Pathumthani Thailand<br />

M.Arch (Architecture) Chulalongkorn University, Bangkok Thailand.<br />

M.Eng (Membrane structures) Anhalt University of Applied Sciences, Germany<br />

CLASSIC<br />

C3 : ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว<br />

อุปนายก และกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

อาจารย์ประจํา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สาขาการอนุรักษ์และฟื้นฟูสถาปัตยกรรม<br />

และชุมชน) มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ผู้ริเริ่มนําแนวคิดการเขียนภาพ VERNADOC เข้ามาในเมืองไทย<br />

INSPIRE<br />

C4 : ฐกฤต จิระอุดมชัย<br />

สถาปนิก ผู้จัดการกลุ่ม BIM บริษัท design worldwide partnership จํากัด (dwp)<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

ปริญญาโท สถาบัน Southern California Institute of Architecture (SCI-Arc)<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

Assistant Professor Sudjit (Svetachinda) Sananwai<br />

Vice President and Member of the Committee for Architectural Conservation, the<br />

Association of Siamese Architects<br />

Faculty Member, Faculty of Architecture (Conservation and Revitalization of<br />

Architecture and Community), Rangsit University<br />

The initiator of adopting the VERNADOC approach in Thailand<br />

Takrit Jirawudomchai<br />

Architect and Group BIM Manager, design worldwide partnership (dwp)<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Khonkaen University<br />

Master’s degree, Architecture, Southern California Institute of Architecture (SCI-Arc), USA<br />

DETAILS<br />

C5 : ชนาสิต ชลศึกษ์<br />

สถาปนิกบริษัท Stu/D/O Architects<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาโท Architectural Association School of Architecture สาขา Sustainable<br />

Environmental Design ประเทศอังกฤษ<br />

Chanasit Cholasuek<br />

Architect, Stu/D/O Architects<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University<br />

Master’s degree in Sustainable Environmental Design, Architectural Association<br />

School of Architecture, UK<br />

Q & A<br />

C6 : วิจิตรารัตน์ เฉลยทรัพย์<br />

สถาปนิก เจ้าของบริษัท VVdesine จํากัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร<br />

Vichittrarat Chaloisap<br />

Architect, Owner of Wdesine Co., Ltd.<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Shinawatra University<br />

Q & A<br />

C7 : วงศ์วสุ เฉลยทรัพย์<br />

ภูมิสถาปนิก เจ้าของบริษัท VVdesine จํากัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

Q & A<br />

C8 : รัชต์พล บัวจ้อย<br />

สถาปนิกบริษัท Design 61 จํากัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 15 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

Vongvasu Chaloisap<br />

Landscape architect, Owner of Wdesine Co., Ltd.<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University<br />

Ratchapol Boajoy<br />

Architect, Design 61 Co., Ltd.<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, 15th Class, Chiang Mai University<br />

Q & A<br />

C9 : ธนกร สมสุข<br />

สถาปนิกบริษัท พ อ สถาปัตย์ จํากัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />

Q & A<br />

C10 : วัทธิกร โกศลกิจ<br />

สถาปนิก เจ้าของบริษัท Fatt! Studio<br />

ปริญญาตรีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

Tanakorn Somsuk<br />

Architect, POAR ARCHITECT<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture and Planning,<br />

Thammasat University<br />

Wattikon Kosonkit<br />

Architect and Owner of Fatt! Studio<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Kasetsart University<br />

TIPS<br />

C11 : ธนพร โลหะวิจิตรานนท์<br />

สถาปนิกอิสระ<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน จุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย<br />

HANGOUT / CUISINE<br />

C12 : รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์<br />

สถาปนิก ผู้อํานวยการด้านออกแบบ<br />

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Openbox Architects จํากัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

Thanaporn Lohavichitranon<br />

Freelance architect<br />

Bachelor’s degree, Department of Interior Architecture, Faculty of Architecture,<br />

Chulalongkorn University<br />

Ratiwat Suwannatrai<br />

Architect and Co-Founder / Design Director,<br />

Openbox Architects CO.,LTD<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University<br />

HANGOUT / CUISINE<br />

C13 : วรรณพร สุวรรณไตรย์<br />

ภูมิสถาปนิก กรรมการผู้จัดการ<br />

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Openbox Architects จํากัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

MUSIC<br />

C14 : ธนพลพจน์ โรจน์ณัฐกุล<br />

สถาปนิก หุ้นส่วน ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท INTEGRATED FIELD (IF)<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร<br />

ลาดกระบัง<br />

ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (Fast-track) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ<br />

Wannaporn Suwannatrai<br />

Landscape architect, Co-Founder / Managing Director<br />

Openbox Architects Co.,Ltd.<br />

Bachelor’s degree, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University<br />

Thanapolpoj Rochnattakul<br />

Architect, Partner, and Co-Founder, INTEGRATED FIELD (IF)<br />

Bachelor of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL)<br />

Master of Business Administration (Fast-track), Assumption University (ABAC)<br />

FILM<br />

C15 : อมตะ หลูไพบูลย์<br />

สถาปนิก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Department of ARCHITECTURE<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาโท ด้านการศึกษาการออกแบบ ในการพัฒนาเมืองในประเทศกําลังพัฒนา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา<br />

ปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา<br />

Amata Luphaiboon<br />

Architect and Co-Founder, Department of ARCHITECTURE<br />

Bachelor’s degree (First-class Honors and a Gold Medal), Faculty of Architecture, Chulalongkorn University<br />

Master of Design Studies in urban development in developing countries, Harvard University, USA<br />

Master of Architecture, University of Washington, USA


<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

WHBC Architects : Blue Collar Architects<br />

WHBC สถาปนิกติดดิน<br />

ไม่บ่อยนักที่เราจะได้ยินสถาปนิกเรียกตัวเองว่าเป็น “Blue<br />

Collar Architects” ซึ่งอันที่จริงแล้ว ในด้านหนึ่ง สถาปนิกก็คือ<br />

คนที่ทํางานติดดิน เพราะต้องลงไปคลุกกับปัญหา ทําความ<br />

เข้าใจ และหาหนทางสร้างสรรค์ผลงานที่ช่วยแก้ไขหรือคลี่คลาย<br />

ปัญหานั้นไปให้ได้<br />

แนวคิดดังกล่าวนี้เป็นแกนหลักให้กับการทํางานของบริษัท<br />

สถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงในมาเลเซียที่ใช้ชื่อว่า WHBC Architects<br />

ซึ่งมีสองสามีภรรยา Boo Chung Ang และ Wen Hsia Ang<br />

ร่วมกันก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2007 วิธีคิดและกระบวนการออกแบบ<br />

ของพวกเขามีความเฉพาะตัวและไม่เหมือนใคร เขาประกาศ<br />

จุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่สนใจภูมิหลัง ปฏิเสธการคบค้ากับผู้ดี<br />

ไม่เลือกงาน และไม่ยึดติดกับปรัชญาการออกแบบใดๆ<br />

ผลงานแต่ละชิ้นของ WHBC Architects จึงเริ่มต้นด้วยการ<br />

ค้นหาและตั้งคําถามเฉพาะกับงานออกแบบแต่ละชิ้น คําถามที่<br />

ใช่เหล่านี้นําไปสู่การแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละชิ้นงาน<br />

ซึ่งส่งผลให้สถาปัตยกรรมนั้นๆ ถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์<br />

เฉพาะตัว พวกเขาทั้งคู่ได้ให้นิยามของการออกแบบไว้ว่า<br />

“เป็นการสร้างความสมดุลที่ซับซ้อนของประโยชน์ใช้สอย<br />

เทคโนโลยีและอารมณ์ที่เกิดขึ้น ณ ที่นั้นๆ” ซึ่งทั้งสามสิ่งนี้จะถูก<br />

ขมวดและสกัดออกมาเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถหาจุด<br />

สมดุลของงานนั้นๆ ได้<br />

สถาปัตยกรรมที ่พวกเขาออกแบบแม้จะมีขนาดเล็ก แต่<br />

เนื้อหาของงานจะมีความพิเศษและแตกต่างจากอาคารทั่วๆ ไป<br />

เช่น ผลงานการออกแบบ Shelter กลางสวนทุเรียนในเมือง<br />

Negeri Sembilan ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเริ่มต้นจากการตั้งคําถาม<br />

ง่ายๆ ว่า “จะสร้างอาคารใต้ต้นทุเรียนได้อย่างไร” อาคารที่ออก<br />

มาได้แสดงการแก้ปัญหาที่ตอบรับกับโจทย์ได้อย่างตรงไปตรง<br />

มา จะเห็นได้จากโครงสร้างหลังคาคอนกรีตที่มีความแข็งแรง<br />

และปีกชายคาที่สามารถรองรับลูกทุเรียนที่ตกลงมาได้ รวมทั้ง<br />

การออกแบบช่องเปิดบริเวณสันหลังคา เพื่อระบายอากาศและ<br />

รับแสงอาทิตย์<br />

It’s not very often that we hear architects call<br />

themselves “Blue Collar Architects”. On one hand, an<br />

architect is a laborer because he or she has to deal with<br />

problems, try to understand, and create works that<br />

solves or reduce those problems.<br />

This concept is the core value of the emerging<br />

architect film from Malaysia known as WHBC Architects,<br />

co-founded by the couple Boo Chung Ang and Wen Hsia<br />

Ang in 2007. Their thought and design processes are<br />

very unique. They state that they do not care about<br />

personal backgrounds, refuse to network with high class<br />

people, will take any job regardless of size or price, and<br />

do not adhere to any strict design philosophy.<br />

Thus, each piece of work by WHBC Architects begins<br />

with researching and asking specific questions related<br />

to the function of that individual project. This leads to<br />

a tailored solution, resulting in the creation of architecture<br />

with a unique character. The couple has defined that<br />

designing is a creation with a complex balance between<br />

functionality, technology, and the emotions of the place.<br />

These three components are intertwined and extracted<br />

into a method of balanced problem solving.<br />

Although the architecture that they design is small<br />

in size, the content of the work is special and is different<br />

from other ordinary buildings. For example, the<br />

design of a durian garden shelter in Negeri Sembilan<br />

Malaysia begins with a simple question, “How can we<br />

construct a building under a durian tree?” The finished<br />

building has shown a straightforward answer to the<br />

problem as can be seen from the strong concrete roof<br />

structure and the eaves overhang that can hold the<br />

falling durians. Also in the design is an opening on the<br />

roof ridge to vent and to get sunlight.<br />

The design of Dog Hotel in Negeri Sembilan in<br />

Malaysia is another work contributed to WHBC Architect’s<br />

reputation, for the attention to details regarding dog lifestyle.<br />

Six concrete dog houses sit on top of big and small<br />

grassy hills. Each is connected by fields with short and<br />

long runways and gets sunshine, which promotes good<br />

hygiene. Therefore, dogs that are bored can turn playful,<br />

happy again in nature.<br />

- 6 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


คัทลียา จิรประเสริฐกุล<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C1<br />

<strong>ASA</strong> Dialogue 2017<br />

โครงการ <strong>ASA</strong> Dialogue 2017 โดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ได้จัดการบรรยายโดย WHBC Architects ในวันเสาร์ที่ 1<br />

เมษายน พ.ศ.2560 เวลา 13.00-18.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม<br />

ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และมีการ<br />

ถ่ายทอดสดผ่านระบบการประชุมทางไกลไปยังที่ทําการสมาคม<br />

สถาปนิกภูมิภาค ทั้ง 3 ภาค (อีสาน ล้านนา และทักษิณ)<br />

อาคารใต้ต้นทุเรียน (Durian Garden Shelter)<br />

ผลงานการออกแบบโรงแรมสุนัข (Dog Hotel) ในเมือง<br />

Negeri Sembilan ประเทศมาเลเซีย เป็นอีกหนึ่งผลงานที่สร้าง<br />

ชื่อเสียงให้กับ WHBC Architects ในเรื่องของการใส่ใจในราย<br />

ละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของสุนัข บ้านสุนัขคอนกรีต 6<br />

หลังตั้งอยู่บนเนินหญ้าทั้งใหญ่และเล็ก เชื่อมต่อกันด้วยลาน<br />

พร้อมทางวิ่งสั้นและยาว มีแสงแดดส่องตามสุขลักษณะที่ดี<br />

ทําให้บรรดาสุนัขที่รู้สึกเบื่อหน่ายสามารถกลับมาใช้ชีวิตวิ่งเล่น<br />

ได้อย่างมีความสุขท่ามกลางธรรมชาติอีกครั้ง<br />

นอกจากนี้ Wen Hsia Ang ยังมีผลงานการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นร่วมสมัยที่น่าสนใจ เธอได้มีโอกาสเข้าร่วม<br />

งานเทศกาลคนพื้นเมืองแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 2013 โดยได้<br />

ออกแบบอาคารห้องนํ้ำและห้องอาบนํ้ำให้กับคนพื้นเมือง<br />

Orang Asli ในเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย อาคารหลังนี้นับ<br />

เป็นการทดลองผสมผสานองค์ความรู้ท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยี<br />

การก่อสร้างและประโยชน์ใช้สอยในยุคสมัยใหม่ที่ประสบความ<br />

สําเร็จ สถาปนิกได้เลือกใช้วัสดุท้องถิ่น เช่น แผ่นผนังที่ถักทอ<br />

ด้วยใบจาก (Bertam และ Nipah) หรือประตูที่ทําจากผ้าโสร่ง<br />

พื้นเมือง ขณะเดียวกันก็ได้เลือกใช้ชุดโครงสร้างนั่งร้าน (Scaffoldings)<br />

เพื่อแก้ปัญหาข้อต่อของโครงสร้างอาคารพื้นถิ่นแบบ<br />

เดิมที่ใช้วัสดุธรรมชาติเป็นตัวรัด ซึ่งจะเกิดการหย่อนคล้อยใน<br />

ภายหลัง<br />

โรงแรมสุนัข (Dog Hotel)<br />

การเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและเทคนิควิธีที่ไม่ซับซ้อนนี้<br />

ทําให้อาคารสามารถก่อสร้างได้สําเร็จโดยความร่วมมือร่วมใจ<br />

กันของทั้งชาวบ้าน (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) อาสาสมัคร ผู้เชี่ยวชาญ<br />

และสถาปนิก ความสนใจในเรื่องการเลือกใช้วัสดุนี้ยังได้ถูก<br />

ถ่ายทอดออกมาในงาน Telegraph Pole House ซึ่งสถาปนิก<br />

ได้นําเอาเสาไฟฟ้าที่ทําจากไม้ ซึ่งถูกกองทิ้งไว้เป็นจํานวนมาก<br />

เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีนโยบายให้เปลี่ยนไปใช้เสาไฟฟ้า<br />

คอนกรีตแทน มาใช้เป็นโครงสร้างเสาและหลังคาของบ้านพัก<br />

อาศัยบนเกาะลังกาวี นอกจากการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลหลาย<br />

อย่างในงานนี้แล้ว ตัวบ้านยังได้รับการออกแบบให้ตอบรับกับ<br />

สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นได้ดีทั้งเรื่องการถ่ายเทของอากาศ การ<br />

กันแดด และการรับลม<br />

ผลงานของ WHBC Architects แสดงให้เห็นถึงความ<br />

พิถีพิถันของสถาปนิกในการออกแบบอาคารที่สอดคล้องกับ<br />

สภาพอากาศร้อนชื้นได้อย่างดีบ้านพักอาศัย Chempenai หรือ<br />

Tropical Box House ในเมืองกัวลาลัมเปอร์ เป็นการแก้ปัญหา<br />

การกันแดดภายนอกอาคาร ด้วยการใช้แผงกันแดดคอนกรีตที่<br />

หนาถึง 90 เซนติเมตร แต่เจาะรูขนาดใหญ่ แผงนี้ทําหน้าที่เป็น<br />

เหมือนเปลือกที่ห่อหุ้มตัวอาคาร ทําให้พื้นที่ภายในได้รับแสง แต่<br />

สามารถป้องกันรังสีความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้<br />

In addition, Wen Hsia Ang’s design works also include<br />

interesting contemporary vernacular architecture. She<br />

got a chance to join the 2013 indigenous festival and<br />

has designed a bathhouse and bathroom for the native<br />

Orang Asli in Penang Malaysia. This building is considered<br />

a successful experiment to integrate indigenous knowledge,<br />

construction technology and modern functionality. The<br />

architect uses local materials such as Bertam and Nipah,<br />

and the door is made of native sarong. Meanwhile, scaffoldings<br />

are used to fix the problem of loose joints which<br />

occurs due to the use of natural material as fasteners<br />

in the traditional building structure.<br />

The use of easy-to-find materials and simple techniques<br />

make it possible to finish the construction with cooperation<br />

from villagers (children and adults), volunteers, experts,<br />

and the architect. The attention in material selection<br />

is also demonstrated in the Telegraph Pole House. The<br />

architect has reclaimed wooden telegraph poles abandoned<br />

due to the Malaysian’s governmental policy to switch<br />

to concrete columns and use them as the main frame<br />

and the roof of a house on Langkawi Island. Additional<br />

to material reuse for this project, the house is designed<br />

to accommodate a humid tropical climate regarding it’s<br />

ventilation.<br />

The works by WHBC Architects illustrates the<br />

architect’s meticulous building design to suit the hot<br />

humid weather. For the residential project Chempenai<br />

or Tropical Box House in Kualalampur in Malaysia, the<br />

exterior sun protection is accomplished by using 90-cm<br />

thick concrete panels, but with large holes. The panel<br />

acts like the shroud of the building, allowing the light,<br />

but blocks the heat from penetrating the building.<br />

Their curious character and new experiments have<br />

paved the way for these couple architects to win several<br />

national and international awards such as 2 consecutive<br />

years of Architecture Asia Award (2013 and 2014)<br />

and a recipient of 7 PAM Awards, which are Malaysia’s<br />

highest recognition for architectural excellence given<br />

by Malaysian Institute of Architects, in 2009, 2011, and<br />

2014. They were also nominated for Aga Khan Award<br />

for Architecture in 2016.<br />

Telegraph Pole House<br />

บ้านพักอาศัย Chempenai หรือ Tropical Box House<br />

ลักษณะนิสัยของการอยากรู้อยากเห็นและการทดลอง<br />

ใหม่ๆ ของสถาปนิกคู่นี้ผลักดันให้พวกเขาได้รับรางวัลในระดับ<br />

ชาติและนานาชาติมากมาย เช่น Architecture Asia Award<br />

2 ปีซ้อน (ค.ศ. 2013 และ 2014) รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น<br />

ของมาเลเซีย (PAM Award) จัดโดย Malaysian Institute of<br />

Architects ถึง 7 รางวัล ใน ค.ศ. 2009, 2011 และ 2014 รวม<br />

ทั้งได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัล Aga Khan Award for<br />

Architecture ใน ค.ศ. 2016 ที่ผ่านมาอีกด้วย<br />

- 7 -<br />

<strong>ASA</strong> Dialogue 2017<br />

<strong>ASA</strong> Dialogue 2017 Project organized by the Association<br />

of Siamese Architects (<strong>ASA</strong>) had arranged a lecture with<br />

WHBC Architects as speakers on April 1, 2017 during<br />

13:00-18:00 at the main auditorium, 5th floor, Bangkok<br />

Art and Culture Center. A Lecturer was boardcasted<br />

to 3 <strong>ASA</strong> regional offices (northeastern, northern, and<br />

southern).<br />

ภาพ: - www.whbca.com<br />

- www.facebook.com/pg/whbc.architects<br />

- www.dezeen.com/2014/09/10/whbc-house-malaysiareclaimed-telegraphpoles/<br />

- www.ARCHDAILY.COM/635387/HOUSE-TROPICAL-BOX-WHBC-<br />

ARCHITECTS<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


SOCIETY<br />

งานประกวดวิทยานิพนธ์โลก<br />

ARCHIPRIX, Contest<br />

for the World’s Best Thesis<br />

วิสุทธิ์ นุชนาบี (ซ้าย)<br />

โรจน์ มหาวงศ์ไพศาล (ขวา)<br />

Archiprix อาจเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหูในวงการศึกษา<br />

สถาปัตยกรรมบ้านเรานัก องค์กรนี้มีเป้าประสงค์ในการจัด<br />

กิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพสถาปนิกรุ่นใหม่ เกิดจากการ<br />

รวมตัวกันของบุคลากรทางการศึกษาด้านออกแบบชุมชนเมือง<br />

สถาปัตยกรรม และภูมิสถาปัตยกรรม ตั้งอยู่ณ กรุงรอทเทอร์ดาม<br />

ประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มดําเนินกิจกรรมมาตั้งแต่ปี 2544<br />

โครงการหนึ่งซึ่งมีการจัดขึ้นประจําทุกสองปีคือ การ<br />

ประกวดผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาจากทั่วโลก ในชื่อ<br />

Archiprix International ซึ่งจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน<br />

ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมในแต่ละภูมิภาคของโลก เพื่อเป็น<br />

เจ้าภาพในการจัดการประกวด พร้อมกับมีการเวิร์คช้อปร่วมกัน<br />

สําหรับผู้ส่งผลงาน<br />

ARCHI<br />

This year the Archiprix International 2017 was held<br />

ในปีนี้มีการจัดงาน Archiprix International 2017 ขึ้น<br />

ระหว่างวันที่1-10 กุมภาพันธ์2560 ที่Centre for Environmental,<br />

Planning and Technology University (CEPT) เมืองอัห์มดาบาด<br />

ประเทศอินเดีย มีผลงานวิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรม ผังเมือง<br />

และภูมิสถาปัตยกรรมส่งเข้าร่วมประกวดจาก 84 ประเทศ<br />

จํานวนทั้งสิ้น 385 ผลงาน ในจํานวนนี้มีผลงานจากประเทศไทย<br />

เข้าร่วมจํานวน 5 ผลงาน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัย<br />

เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันละ 1 ผลงาน และมีตัวแทนจาก<br />

ประเทศไทยเข้าร่วมเวิร์คช้อป จํานวน 2 คน คือ นายวิสุทธิ์<br />

นุชนาบี บัณฑิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย<br />

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และนายโรจน์ มหาวงษ์ไพศาล<br />

บัณฑิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็น<br />

โอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายสถาปนิก<br />

รุ่นใหม่ในระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเดินทางไป<br />

เข้าร่วมสังเกตการณ์กิจกรรม Archiprix International 2017<br />

พร้อมกับตัวแทนจากประเทศไทยในครั้งนี้ด้วย<br />

The Archiprix organization may be an unfamiliar<br />

name in the field of architectural study in Thailand. It’s<br />

mission is to organize activities that build capacity for<br />

a new generation of architects. It emerges from the<br />

combination of urban planning, architecture, and landscape<br />

architecture educational community, and its headquarters<br />

is located in Rotterdam, Netherlands. It has been in operation<br />

since 2001.<br />

There is a project that is held every two years: the<br />

international thesis contest named ‘Archiprix International’.<br />

It is through the cooperation of universities with architecture<br />

programs across the world, and each takes turn to host<br />

this contest. Workshops for contestants are also available.<br />

between Feb 1–10, 2017 at the Center for Environmental,<br />

Planning and Technology University (CEPT) in Ahmedabad<br />

in India. There were a total of 385 theses in the field of<br />

urban planning and landscape architecture from 84<br />

countries. Of these, 5 were from Thailand, one of each<br />

from Chulalongkorn University, Rajamangala University<br />

of Technology Thanyaburi, Kasetsart University, King<br />

Mongut’s University of Technology Thonburi, and Rangsit<br />

PRIX<br />

University. Two Thai representatives attended the workshop,<br />

Mr.Wisut Nuchnabe an architectural graduate from<br />

Rajamangala University of Technology Thanyaburi and<br />

Mr. Roj Mahawongpaisarn, an architectural graduate from<br />

Rangsit University. It is an opportunity for knowledge<br />

sharing and networking with emerging architects on the<br />

international level. The author had a chance to join the<br />

trip and observed the activity at Archiprix International<br />

2017, along with the Thai representatives.<br />

Bangkok Urban Events โดย วิสุทธิ์ นุชนาบี<br />

- 8 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03<br />

NEW TYPOLOGY FLOATING LIVING IN BANGKOK 2600<br />

โดย โรจน์ มหาวงศ์ไพศาล


สิปปวิชญ์ กำาบัง<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C2<br />

For workshop, the theme ‘Making habitat – Megacity,<br />

Micronarratives’ which is an open-ended questions for<br />

participants to study the complexity of Ahmedabad in<br />

different aspects and come up with design ideas to<br />

solve problems or create a specific type of space for<br />

the city.<br />

สําหรับกิจกรรมเวิร์คช้อปกําหนดธีมไว้ว่า “Making habitat<br />

– Megacity, Micronarratives” เป็นโจทย์ปลายเปิดให้ผู้เข้าร่วม<br />

กิจกรรมได้ศึกษาความซับซ้อนของเมืองอัห์มดาบาดในแง่มุม<br />

ต่างๆ แล้วนําเสนอแนวทางการออกแบบ เพื่อแก้ปัญหาหรือ<br />

สร้างสรรค์พื้นที่บางอย่างให้กับเมือง<br />

ทางผู้จัดได้แบ่งกลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมตามความสนใจของ<br />

แต่ละคน สองสถาปนิกจากไทยคือ โรจน์(เนม) เลือกทํากิจกรรม<br />

กับกลุ่ม Hybrid use spaces ส่วนวิสุทธิ์ (อีน) สนใจกลุ่ม An<br />

introduction to the city through the culture of play ทางผู้จัด<br />

ได้มีการทํางานวิจัยพื้นฐานเรื่องเมืองอัห์มดาบาดในแง่มุมต่างๆ<br />

ไว้ และได้ทํา Cross Section Ahmedabad ผ่านส่วนต่างๆ ของ<br />

เมือง ซึ่งเป็นจุดสําคัญๆ แล้วทําเป็นเอกสารแผ่นพับความกว้าง<br />

เท่ากระดาษขนาด A3 ที่พับทบกัน เมื่อคลี่ออกจะมีความยาว<br />

รวม 8 เมตรเศษ เอกสารส่วนนี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วม<br />

กิจกรรม เพื่อให้งานออกแบบที่จะสร้างสรรค์ขึ้นมานั้นมีความ<br />

สอดคล้องสัมพันธ์กับบริบทของเมืองจริงๆ<br />

หลังจากใช้เวลา 5 วันสําหรับการลงพื้นที่ศึกษาเมืองแล้ว<br />

ก็มีการจัดการนําเสนอช่วงแรก เรียกว่า Mid Jury เป็นการเปิด<br />

เวทีให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกมาเล่าการศึกษาเมืองผ่านมุม<br />

มองของกลุ่ม แนวคิดที่จะพัฒนางานออกแบบเพื่อนําเสนอต่อ<br />

ไปในขั้นสุดท้าย ระหว่างการร่วมทํากิจกรรมเราพบว่าทางผู้จัด<br />

ได้มีการจัดบรรยายพิเศษจากสถาปนิกและนักวิชาการในระดับ<br />

นานาชาติมากมายทุกเย็น มีผู้เข้าฟังกันแน่นห้องแทบทุกวัน<br />

อีกกิจกรรมที่มีนักศึกษาสนใจกันมากคือ การนําเสนอผล<br />

งานที่ส่งเข้าร่วมประกวดในแบบ Pecha-Kucha จากผู้เข้าร่วม<br />

เวิร์คช้อป ซึ่งเป็นเวทีที่มีนักศึกษาปัจจุบันของ CEPT เข้ามา<br />

จับจองที่นั่งกันเต็มทุกเย็น ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับนักศึกษา<br />

หลายคน ได้ความคล้ายกันว่า อยากรู้ว่าการเรียนสถาปัตยกรรม<br />

ในต่างประเทศนั้นเป็นอย่างไร การจัดโครงการครั้งนี้ขึ้นที่<br />

มหาวิทยาลัย ทําให้นักศึกษาหลายคนที่ไม่มีโอกาสไปต่าง<br />

ประเทศ ได้รู้ได้เห็นแนวทางการศึกษาและการออกแบบใน<br />

วัฒนธรรมและแนวคิดที่ต่างออกไป<br />

สิ่งหนึ่งซึ่งผู้เขียนสังเกตเห็นคือ ผลงานการออกแบบทุกชิ้น<br />

ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมนี้นั้น มีความพยายามที่จะศึกษาปัญหา<br />

ที่เกิดขึ้นในสังคม แล้วใช้ความรู้ด้านการออกแบบมาเป็นส่วน<br />

ช่วยในการแก้ปัญหาเหล่านั้น โดยเนื้อหาของงานส่วนใหญ่นั้น<br />

ก้าวออกไปเกินขอบเขตของอาคารปกติซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์<br />

ปัญหาการใช้สอยพื้นที่ร่วมสมัยปัจจุบันได้ครบ<br />

นอกจากร่วมสังเกตการณ์แล้ว ผู้เขียนยังมีโอกาสได้พบปะ<br />

และพูดคุยกับ Jacob van Rijs ประธาน Archiprix และ Henk<br />

van der Veen, the director of Archiprix International รวมถึง<br />

ศาสตราจารย์ Anne Feenstra สถาปนิกชาวดัชท์ คณบดีคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ CEPT ระหว่างร่วมสังเกตการณ์กิจกรรม<br />

ซึ่งท่านให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี<br />

ผู้เขียนเห็นว่ากิจกรรมของ Archiprix ได้รับความสนใจจาก<br />

นักศึกษาสถาปัตยกรรมและการออกแบบจากทั่วโลกมากขึ้น<br />

เรื่อยๆ จากข้อมูลที่พบในเว็บไซต์ของ Archiprix นั้น จํานวนของ<br />

โครงการและผู้ส่งงานเข้าร่วมประกวดมีสูงขึ้นทุกๆ ปี การสร้าง<br />

เครือข่ายสถาปนิกรุ่นใหม่นั้นเป็นเรื่องสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเขา<br />

เหล่านี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้กับ<br />

วงการศึกษาและวิชาชีพสถาปัตยกรรมในอนาคต<br />

งาน Inbabiting Highest in the Andes ของสถาปนิกชาวชิลี<br />

ชนะเลิศสาขา Infrastruture, Vergional, Small<br />

The workshop organizer has grouped participants<br />

based on individual interests. Two architects from Thailand,<br />

the first one, Mr.Roj (Name), joined the activity with the<br />

group ‘Hybrid use spaces’, and the other one, Mr.Wisut<br />

(Eean), participated in the group ‘An introduction to the<br />

city through the culture of play’. The organizer did basic<br />

research in several aspects of Ahmedabad and has made<br />

a cross-section of several important parts of the town.<br />

A folded pamphlet in A3 size, which is unfolded into a<br />

total length of 8 meters, is an information guide for the<br />

participants so that their design creation is in fact consistent<br />

with the context of the city.<br />

After spending 5 days in a field study of the city,<br />

the first part of the presentation was set up and was<br />

called ‘Mid Jury’ which is a venue for participants to<br />

share their thoughts about the city study through the<br />

group’s perspective and the idea for developing the<br />

design of the final presentation. During the event, we<br />

found that the organizer has arranged several special<br />

lectures by international architects and scholars in every<br />

evening. There was a big crowd of attending audiences<br />

almost every day.<br />

Another activity that many students were very<br />

interested in was the presentation of works in the style<br />

‘Pecha-Kucha’ from workshop participants. This is the<br />

stage where current students of CEPT come and the<br />

seats are full every evening. I got a chance to talk to<br />

several students, and their thoughts are similar. They<br />

want to know how architectural study in other countries<br />

is like. Since this project is held in universities, it gives<br />

a great opportunity for students who couldn’t go abroad<br />

to observe the study and design approach of different<br />

cultures and perceptions.<br />

One thing that the author noticed is all design<br />

entries have shown the effort to understand problems<br />

in society and apply design knowledge to help find<br />

solutions to those problems. Most of the works is beyond<br />

typical building design that not enough to address today’s<br />

contemporary living space problems.<br />

In addition to being an observer, the author had a<br />

chance to meet and talk with Jacob van Rijs, the Chairman<br />

of Archiprix and Henk van der Veen, the director of<br />

Archiprix International, incoulding Prof. Anne Feenstra,<br />

a Dutch architect and Dean of the Faculty of Architecture<br />

at CEPT University. They provided great hospitality.<br />

Housing for construction workers in Ahmedabad<br />

ของสถาปนิกชาวนิวซีแลนด์<br />

- 9 -<br />

The author sees that the activities organized by<br />

Archiprix have gained more interest from architectural<br />

and design students around the world. Based on the<br />

information found on Archiprix’s website, the number of<br />

project entries and of contestants is increasing every<br />

year. Networking a new generation of architects is very<br />

important because they will be the driving force of<br />

changes to architectural education and the profession<br />

in the future.<br />

ภาพ : www.archiprix.org<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


CLASSIC<br />

REWIND TO THE PAST AT BANGKOKIAN MUSEUM<br />

ย้อนเวลาหาอดีตที่พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก<br />

ผู้เขียนเคยได้ยินชื่อพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร<br />

เขตบางรัก หรือในอีกชื่อคือพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ซึ่งมีที่ตั้งอยู่<br />

ณ เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก<br />

กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2550 จากการที่มีผู้เสนอ<br />

ชื่อเข้ารับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคม<br />

สถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

จากนั้นทีมที่เข้าไปถ่ายทําภาพนิ่งก็เล่ายํ้ำอีกครั้งว่า ที่นี่ดี<br />

จริงๆ น่าจะพาเด็กเรียนอนุรักษ์มาดูสักครั้ง แต่ด้วยความที่เห็น<br />

ว่าอยู่ใกล้แค่นี้ทําให้หาเวลามาดูไม่ได้สักทีจนเมื่อมหาวิทยาลัย<br />

เกษมบัณฑิตได้ขอให้เข้ามาช่วยประเมินเพื่อขอรับรางวัลอนุรักษ์<br />

มรดกสถาปัตยกรรมจาก UNESCO Asia-Pacific Awards จึง<br />

มีโอกาสเข้ามาพิสูจน์ด้วยตาตนเอง หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์<br />

มาร่วม 5 ปี<br />

สิ่งที่เห็นไม่ได้ทําให้ผิดหวังไปจากที่ได้ยินได้ฟังมา ไม่ว่าจะ<br />

เป็นทําเลที่ตั้งที่เคยเข้าออกได้จากทางคลองหน้าบ้าน ซึ่งแปร<br />

สภาพมาเป็นถนนในภายหลัง ผนวกความร่มรื่นด้วยพรรณไม้<br />

พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป ตลอดจนตัวเรือนหลักทั้ง 3<br />

หลังที่มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมตามสมัยนิยม ที่ใช้จัดแสดง<br />

นิทรรศการให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนเมืองในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2<br />

ซึ่งดูสงบและสบายในสภาวะอากาศเมืองร้อนเช่นนี้<br />

- 10 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C3<br />

I first heard of the Bangkok Local Museum of Bangrak<br />

District, or so called the Bangkokian Museum, in 2007.<br />

It is located at 273 Soi Charoen Krung 43, Charoen<br />

Krung Road, Bangrak District, Bangkok. I heard of it<br />

because the museum was nominated for Outstanding<br />

Art Architecture Conservation Award from the Association<br />

of Siamese Architects under Royal Patronage.<br />

After that first occasion, the photo-shooting team<br />

told me again that this place is really awesome and I<br />

should bring students majoring in Conservation to tour<br />

it once. But because I thought the museum was so close,<br />

I just never made time to see it. It was not until Kasem<br />

Bundit University has asked me to help evaluate this<br />

location for potential nomination for the Architectural<br />

Heritage Conservation Award from UNESCO Asia-Pacific<br />

Awards that I got a chance to verify its reputation with<br />

my own eyes after hearing about it for 5 years.<br />

What I saw did not disappoint at all, both its location,<br />

previously accessible by canals in front of the house<br />

and later changed into roads and the breeze and shade<br />

from local household plants. Also, the three fashionably<br />

architecturally-unique main houses used as an exhibition<br />

hall offers an insight of the urban lifestyle in World War II,<br />

looking tranquil and relaxing in a hot climate city like this.<br />

รู้จัก VERNADOC<br />

คำนี้ย่อมาจากคำว่า “Vernacular Architecture” ที่แปล<br />

ว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ “Documentation” ที่แปลว่า การ<br />

เก็บบันทึกข้อมูล รวมกันหมายถึงกระบวนการศึกษาสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นของสถาปนิก ที่เน้นการเก็บข้อมูลจริงในพื้นที่ผ่านการ สรวจ<br />

รังวัด และนเสนอด้วยเทคำนิคำพื้นฐานอย่างการใช้มือ ดินสอ ปากกา<br />

เขียนแบบ และไม้บรรทัดเท่านั้น แต่สามารถได้คำุณภาพของผลงาน<br />

ในระดับสูง ใกล้เคำียงกับคำวามเป็นจริงในเกือบทุกองคำ์ประกอบอย่าง<br />

มิติแสงเงา สัดส่วนต่างๆ ของอาคำาร รวมถึงร่องรอยคำวามทรุดโทรม<br />

สหรับผู้ริเริ่มโคำรงการ VERNADOC ในประเทศไทย คำือสถาปนิก<br />

สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จากคำณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสถาปนิกชาว<br />

ฟินแลนด์ Markku Mattila อาจารย์จาก Helsinki University<br />

of Technology (HUT) (Aalto U/A ในชื่อปัจจุบัน) ผู้ริเริ่ม<br />

เผยแพร่แนวทางการศึกษาแบบ VERNADOC นี้ขึ้นมาจัดเป็นคำ่าย<br />

สรวจรังวัดในระดับนานาชาติ จากวิธีการสรวจรังวัดแบบที่<br />

สถาปนิกฟินแลนด์แทบทุกคำนคำุ้นเคำยกันดี<br />

เรือนหลังที่ 1 พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รูปด้านทิศเหนือ<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:50 โดย พนิดา ณ นคร, 2555<br />

The first house at Bangkok Folk Museum. View of the northern side.<br />

Scale (original) 1:50, by Miss Panida Na Nakorn, 2012.<br />

Get to know ‘VERNADOC’<br />

This word is abbreviated from “Vernacular Architecture”<br />

which means local architecture and “Documentation”<br />

which is the process of data collection and recording.<br />

Combined, “VERNADOC” refers to the methodology that<br />

an architect uses to study local architecture with the<br />

focus on collecting data in the field through surveys.<br />

Then, make presentation with basic techniques such as<br />

the use of hand, pencil, drawing pen, and ruler. However,<br />

this process yields very high quality work that matches<br />

almost all the details in reality like lights, shadows, and<br />

proportions of the building, including signs of decay.<br />

The VERNADOC Project Initiator in Thailand is Sudjit<br />

(Svetachinta) Sananwai, an architect and assistant<br />

professor from Faculty of Architecture, Rangsit University,<br />

and Markku Mattila, a Finnish architect and a<br />

professor from Helsinki University of Technology (HUT)<br />

(now known as Aalto U/A) who started the VERNADOC<br />

education initiative and international survey camps from<br />

the survey method that almost all Finnish architects are<br />

familiar with.<br />

*สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ไฟล์ภาพเและข้อมูลเหล่านี้<br />

นอกจากลงในวารสาร <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> เท่านั้น<br />

- 11 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


เรือนหลังที่ 2 พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รูปตัด<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:50 โดย ศรายุทธ สายบุญจันทร์, 2555<br />

The second house at Bangkok Folk Museum. Cross-sectional view.<br />

Scale (original) 1:50, by Mr.Sarayut Saiboonjun, 2012.<br />

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก<br />

273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร<br />

เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.<br />

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 0-2233-7027<br />

Bangkokian Museum<br />

273 Soi Charoen Krung 43, Charoen Krung Road, Bangrak District, Bangkok<br />

Open: Wednesday – Sunday from 10.00 am - 5.00 pm<br />

For more information, call 0-2233-7027<br />

ส่วนที่เกินจากความคาดหมายคือประวัติความเป็นมาของเรือนหลังเล็กที่ย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆ<br />

ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวแทนของชาวบางกอกในยุคนั้น<br />

เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่มีคนอย่างน้อย 3 ชั่วคน และ 3 เชื้อชาติ ได้มาใช้ชีวิตผูกพันกัน ณ อาคารเหล่านี้<br />

โดยมีสังคมเมืองบางกอกยุครัตนโกสินทร์เป็นฉากหลัง<br />

นางอิน ตันบุ้นเต็ก คุณยายของเจ้าของเรือนมีเชื้อสายจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากทํามาหากินอยู่ที่<br />

เมืองสยามตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนนางสอาง สุรวดีผู้เป็นมารดา ได้แต่งงานครั้งแรกกับ นายแพทย์<br />

ฟรานซีส คริสเตียน ศัลยแพทย์ชาวอินเดียที่สําเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ โดยพบกันครั้งแรกที่<br />

ปีนัง แล้วติดตามสามีมาสร้างครอบครัวที่บางกอก เสียดายที่หมอฟรานซีสอายุสั้นจนไม่ได้เปิดกิจการ<br />

ตามที่ตั้งใจ ทิ้งไว้แต่เพียงอาคารที่จัดสร้างเพื่อเตรียมท ําคลินิก และเครื่องไม้เครื่องมือแพทย์ตามยุคสมัยนั้น<br />

ไว้เป็นอนุสรณ์ รวมถึง รศ.วราพร สุรวดี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ก็มีชีวิตผูกพันกับสถานที่<br />

แห่งนี้ด้วยเช่นกัน<br />

อาคารทั้งหมดที่ปรากฏในพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแห่งนี้ประกอบด้วยเรือนไม้2 ชั้นหลังเดิม 1 หลัง<br />

จัดแสดงเครื่องเรือนและวิถีชีวิตของครอบครัวในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหลัก ส่วนเรือนไม้ 2<br />

ชั้นด้านหลัง เป็นคลินิกเดิมของหมอฟรานซีสที่รื้อย้ายมาจากทุ่งมหาเมฆ ปัจจุบันจัดแสดงประวัติและ<br />

รูปหล่อโลหะของคุณหมอ จากต้นแบบฝีมือปั้นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ตลอดจนหนังสือและ<br />

อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์สุดท้ายคืออาคารแถวครึ่งตึกครึ่งไม้อีก 1 หลังที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และ<br />

ของสะสมส่วนตัวของครอบครัวสุรวดี<br />

ทุกอาคารได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีตามรูปแบบเดิมเมื่อแรกสร้าง แม้จะไม่ได้ใช้เครื่องปรับ<br />

อากาศในบางอาคาร แต่อาศัยร่มไม้ที่ครึ้มอยู่โดยรอบ ก็ช่วยให้สามารถเดินชมได้ด้วยความเพลิดเพลิน<br />

แม้ในวันที่อากาศอบอ้าว ชวนให้คิดถึงความสบายในยุคสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี<br />

เมื่อ พ.ศ.2555 สมาคมสถาปนิกสยามฯ มีโอกาสได้นําสถาปนิกและอาสาสมัครเข้าไปช่วยสํารวจ<br />

รังวัดอาคารในพิพิธภัณฑ์ ในโครงการ <strong>ASA</strong> VERNADOC 2012 โดยได้จัดแสดงนิทรรศการและตีพิมพ์<br />

เผยแพร่ผลงานในหนังสือ VERNADOC Vol.1 : Thailand ออกสู่สาธารณชน ทําให้พิพิธภัณฑ์เป็นที่รู้จัก<br />

และถูกจดจําผ่านภาพลายเส้นที่งดงาม<br />

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก รูปด้านหน้าซุ้มประตูทางเข้า<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:2.5 โดย พนิสรา บุญสม, 2555<br />

Bangkok Folk Museum, Front view of the entrance arch.<br />

Scale (original) 1:2.5, by Miss Panisara Boonsom, 2012.<br />

ผู้สนใจสามารถติดตาม VERNADOC ได้ที่ www.facebook.com/vernadoc<br />

- 12 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


เรือนหลังที่ 3 พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก แบบขยายห้องครัว<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:10 โดย ชนิกา รักษาบุญ, 2555<br />

The third house at Bangkok Folk Museum. Kitchen extension plan.<br />

Scale (original) 1:10, by Miss Chanika Rucksaboon, 2012.<br />

Of all the buildings in this Bankokian Museum, the<br />

first one, is a two-storey building exhibiting furniture and<br />

the family lifestyle, primarily from the World War II<br />

period. The two-storey wooden building in the back is<br />

the original clinic of Dr.Francis relocated from Thung<br />

Maha Mek. Currently it is used to display Dr.Francis’s<br />

biography and the metal casting of him based on the<br />

master sculpture of Professor Silpa Bhirasri, books, and<br />

medical equipment. The final building is half-brick<br />

half-wooden and is used to display Surawadee family’s<br />

household relics and private collection.<br />

เรือนหลังที่ 1 พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก แบบขยายหน้าต่าง<br />

มาตราส่วน (ต้นฉบับ) 1:10 โดย ณัฐณิชา ช่างเหล็ก, 2555<br />

The first house at Bangkok Folk Museum. Window extension plan.<br />

Scale (original) 1:10, by Miss Natnicha Changlek, 2012.<br />

What exceeds expectation is the history of the<br />

small house relocated from the Thung Maha Mek area<br />

that moved to this location. It shows the linkage that<br />

this museum is ideal to represent the Bangkokian in the<br />

World War II era because the place was the residence<br />

of at least three generations and three races living<br />

together in these buildings, with the city of Bangkok’s<br />

Rattanakosin era as the backdrop. Mrs. In Tonbuntek,<br />

the grandmother of the home owner, was the descendant<br />

of Chinese and had settled in Siam since the early<br />

Rattanakosin period. Mrs.Sa-ang Surawadee, the mother<br />

of the home owner, was first married to Dr.Francis<br />

Christian, an Indian surgeon who graduated from England.<br />

They first met in Penang and she followed her husband<br />

to start a family in Bangkok. Unfortunately, Dr.Francis<br />

was short-lived and did not start business as hoped;<br />

leaving only the building intended to be his clinic and<br />

medical equipment during that period as a memorial.<br />

Including Associate Professor Waraporn Surawadee who<br />

is the founder of Bankokian Museum had also lived her<br />

life in this place.<br />

- 13 -<br />

All buildings have been very well preserved and are<br />

in their original construction form. Even without air<br />

conditioning in some buildings, the shades from<br />

surrounding trees make it pleasant to walk, even in the<br />

humid weather. This reminds us of the comfort in those<br />

old days.<br />

In 2012, the Association of Siamese Architects had<br />

the opportunity to lead architects and volunteers in an<br />

effort to survey the museum buildings in the <strong>ASA</strong><br />

VERNADOC 2012 Project and set up an exhibition as<br />

well as publish works for public consumption in the<br />

journal VERNADOC Vol.1 : Thailand. This increases the<br />

museum’s renown and remembrance through spectacular<br />

drawings.<br />

For more information about VERNADOC, see<br />

www.facebook.com/vernadoc<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


SPOTLIGHT<br />

“BAAN BAAN” : Reconsidering Dwelling<br />

เตรียมพบกับงานสถาปนิก’60<br />

กลับมาอีกครั้งกับงานด้านสถาปัตยกรรมแห่งปี ในงาน<br />

สถาปนิก’60 จัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ ภายใต้หัวข้อ “บ้าน บ้าน : BAAN BAAN” Reconsidering<br />

Dwelling งานนี้นอกจากจะเป็นงานที่แสดงความ<br />

สามารถให้เห็นถึงศักยภาพของวงการสถาปัตยกรรมระดับ<br />

ประเทศสู่ระดับนานาชาติแล้ว ยังมุ่งเน้นการเผยแพร่แนวคิด<br />

และนวัตกรรมในวงการสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย<br />

การให้พื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และความคิดเห็นต่างๆ ซึ่ง<br />

กันและกัน ทั้งในกลุ่มวิชาชีพสถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา นัก<br />

ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงประชาชนทั่วไป<br />

การแสดงงานครั้งนี้ออกแบบพื้นที่จัดแสดงเป็นนิทรรศการ<br />

ต่างๆ ที่มีองค์ประกอบสําคัญ 3 ส่วนหลักๆ คือ บ้าน (Dwellings)<br />

องค์ประกอบบ้าน (Dwelling Elements) และพื้นที่นอกบ้าน<br />

(Dwelling Surroundings)<br />

บ้าน<br />

(Dwellings)<br />

นิทรรศการบ้าน มีนิทรรศการและกิจกรรมที่สําคัญ ได้แก่<br />

นิทรรศการน้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 แบ่งออกเป็น<br />

2 นิทรรศการหลัก ได้แก่ นิทรรศการสถาปนิกแห่งแผ่นดิน<br />

บ้านในพระราชานิยม เป็นนิทรรศการรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรง<br />

ประกอบพระราชกรณียกิจเพื่ออาณาประชาราษฎร์ โดยเฉพาะ<br />

พระราชกรณียกิจทางด้านสถาปัตยกรรม ทรงดําริโครงการไว้<br />

มากมาย ซึ่งภายในนิทรรศการจะเผยให้เห็นถึงพระปรีชาญาณ<br />

และพระราชนิยมในเรื่องที่อยู่อาศัย หลักคิดทฤษฎีเรื่องความ<br />

พอเพียง จัดแสดงผ่านสื่อมัลติมีเดียรูปแบบใหม่ เพื่อให้ผู้ที่เข้าชม<br />

สามารถเข้าใจและรับรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ และนิทรรศการ “ภาพ<br />

ของพ่อ” ซึ่งแสดงงานผ่านสื่อศิลปะภาพ 2 มิติจัดทําโดยสถาปนิก<br />

เพื่อน้อมรําลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์<br />

Back again with the architectural event of the year<br />

‘Architect’17’, organized by the Association of Siamese<br />

Architects under Royal Patronage, with the theme “BAAN<br />

BAAN : Reconsidering Dwelling.” Not only is this event<br />

for showcasing the potential of the architecture industry<br />

to move from a national to an international level, but it<br />

is also for disseminating new ideas and innovations in<br />

architecture regarding dwellings and for providing a venue<br />

for knowledge and opinion sharing among architects,<br />

engineers, contractors, and related business professions,<br />

as well as the general public.<br />

In this exhibition, the space is designed to display<br />

exhibits with 3 main elements: dwellings, dwelling’ elements,<br />

and dwelling surroundings.<br />

Exhibition “Dwellings”, consisting of the following<br />

sub-themes and important activities:<br />

Exhibition In Remembrance of His Majesty King<br />

Bhumipol Adulyadej There are 2 main exhibition zones.<br />

The first one ‘The Kingdom’s Architect’, ‘Baan’ (dwelling),<br />

the King’s Choice of Dwelling”, is an exhibition to commemorate<br />

King Bhumibol Adulyadej’s benevolence for the people,<br />

especially his works regarding architecture. He initiated<br />

so many projects. This exhibition reveals his wisdom<br />

and principle about dwelling and the sufficiency theory<br />

though modern multimedia forms, so the visitors can<br />

understand and appreciate those stories easily. The<br />

other exhibition zone presents through art media in the<br />

form of two-dimensional images created by architects<br />

to remember the King’s great kindness.<br />

- 14 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้าน เป็นนิทรรศการที่แสดงให้เห็นถึง<br />

ที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ (Dwelling Typology) โดยแสดงผ่าน<br />

กรณีศึกษาที่น่าสนใจ จําแนกเป็นหมวดหมู่ความสัมพันธ์<br />

ระหว่างลักษณะการครอบครองพื้นที่อยู่อาศัย กับคนที่ใช้สอย<br />

พื้นที่นั้นๆ ประกอบด้วย ลักษณะการอยู่อาศัยแบบชั่วคราว<br />

ทั้งผู้อยู่อาศัยและสถาปัตยกรรม (Temporary User / Temporary<br />

Site) ลักษณะการอยู่อาศัยแบบวนเปลี่ยนผู้อาศัยแต่สถาปัตยกรรม<br />

มีความถาวร (Temporary User / Permanent Site) ลักษณะการ<br />

อยู่อาศัยที่ผู้อยู่อาศัยและสถาปัตยกรรมมีความถาวรทั้งคู่<br />

(Permanent User / Permanent Site)<br />

Exhibition ‘Reconsidering Dwelling’ This<br />

exhibition demonstrates different types of dwellings<br />

(Dwelling Typology) using interesting case studies. The<br />

classification is based on the relationship between the<br />

characteristics of living space occupancy and the users.<br />

The classification consists of: Temporary User / Temporary<br />

Site, Temporary User / Permanent Site, and Permanent<br />

User / Permanent Site.<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้าน รูปเล่าเรื่อง เป็นพื้นที่แสดงภาพ<br />

ผลงานของนิสิต นักศึกษา สถาปนิก รวมถึงบุคคลทั่วไป ที่ร่วมกัน<br />

ถ่ายทอดความหมายของคําว่า “บ้าน” “ความเป็นบ้าน” และ<br />

“การอยู่อาศัย” โดยมี “คน” เป็นโจทย์สําคัญ บอกเล่าเรื่องราว<br />

ขอบเขต และมิติอันหลากหลายของ “บ้าน” พร้อมกับเปิด<br />

ประเด็นให้ขบคิดเกี่ยวกับบทบาทของสถาปนิกและสถาปัตยกรรม<br />

ที่เกี่ยวข้องกับการดํารงชีวิต<br />

Exhibition ‘BAAN BAAN Photo Essay’ This area<br />

showcases the works by architectural students, architects,<br />

and the general public who, together, narrate the meaning<br />

of the terms “home”, “the feeling of being at-home”, and<br />

“home living”, with human as the center of the story. It<br />

depicts stories, boundaries, and diverse perspectives<br />

of the term “home”, and intrigues the public to ponder<br />

on the role of architects and of architecture concerning<br />

the living space.<br />

นิทรรศการ บ้านไทย บ้านใคร นิทรรศการนี้จะแสดง<br />

ให้เห็นถึงรูปแบบที่พักอาศัยต่างๆ ของคนไทยในหลากหลายช่วง<br />

เวลา ในรูปแบบบ้านไทยประเพณีและบ้านพื้นถิ่นแบบต่างๆ<br />

ผ่านผู้ใช้สอยจากหลากหลายกลุ่ม เช่น เรือนเจ้านาย เรือนคหบดี<br />

เรือนพ่อค้าชาวต่างชาติ เรือนชาวเขา เป็นต้น โดยแสดงผ่าน<br />

หุ่นจําลองที่มีรายละเอียดของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ภายใน<br />

Exhibition ‘Traditional and Vernacular Thai<br />

Dwelling’ This exhibition illustrates the evolution of patterns<br />

of Thai dwelling in different eras, both traditional and<br />

vernacular, for various groups of users. Examples are<br />

houses of royal-family, wealthy man, foreign trader, and<br />

hill tribe, made into physical models with surrounding<br />

elements to show the living lifestyles.<br />

นิทรรศการคบหุ่นสร้างบ้าน แ ส ด ง ใ ห ้ เ ห็ น ถึ ง<br />

การออกแบบก่อสร้างบ้านด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่าน<br />

คอมพิวเตอร์ทั้งส่วนซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ มีการสาธิตการ<br />

ทํางานของหุ่นยนต์ในการก่อสร้างบ้าน<br />

นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการประกวดแบบระดับชาติจากนิสิต<br />

นักศึกษาทั่วประเทศ นิทรรศการรางวัลสถาปนิกรุ่นใหม่เป็นรางวัล<br />

ใหม่ที่เป็นการแสดงงานของสถาปนิกที่อายุตํ่ำกว่า 45 ปี<br />

นิทรรศการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม นิทรรศการความ<br />

สัมพันธ์บ้านกับชุมชน “เออบ้าน เออเบิ้น”<br />

Exhibition ‘Techtonic and Technology’, This exhibition<br />

shows the design of dwelling construction using modern<br />

technology through computers, both by software and<br />

hardware. There is also a demonstration of dwelling<br />

construction work by robots.<br />

In addition, there is also a section featuring works<br />

submitted to the national design contest from college<br />

students all over the country, a section highlighting the<br />

Emerging Architecture Awards displaying works of architects<br />

younger than 45 years old, a section regarding architecture<br />

conservation, and a section showcasing the relationship<br />

of dwelling and community, ‘Urba(a)n’.<br />

- 15 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


นิทรรศการ บ้าน บ้าน ตัวอย่าง เป็นนิทรรศการแสดง<br />

ความคิดสร้างสรรค์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในการ<br />

ออกแบบบ้านเดี่ยว ทั้งแบบที่สร้างใหม่(New House) และบ้าน<br />

ที่ปรับปรุงจากบ้านเก่า (Adaptive Reused House) ทําให้เห็น<br />

รูปแบบของบ้านที่ต่างกันออกไปตามขนาดพื้นที่ใช้สอยและ<br />

งบประมาณการก่อสร้างบ้านเดี่ยวในรูปแบบต่างๆ<br />

Exhibition ‘BAAN BAAN Case Study’ is an exhibition<br />

to showcase the creativity of the Association of Siamese<br />

Architects in designing single-family houses, both new<br />

and adaptive-reused. The single-family exhibits vary in<br />

terms of the house style, the square footage, and the<br />

budget.<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้าน จำลอง เป็นนิทรรศการที่แสดง<br />

โครงการที่พักอาศัยในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งงาน<br />

สร้างจริง (Built Project) งานที ่ไม่ได้สร้าง (Unbuilt Project)<br />

และงานเชิงทดลอง (Experimental Project) ในรูปแบบที่เกี่ยว<br />

กับที่พักอาศัย โดยเปิดโอกาสให้สถาปนิกสมาชิกสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ จากทั่วประเทศ สามารถนําส่งผลงานของตัว<br />

เองประเภทที่อยู่อาศัยมาเพื่อรับการคัดเลือกจัดแสดงในรูปแบบ<br />

หุ่นจําลองและรายละเอียดแนวคิดในการออกแบบ โดยมี<br />

วัตถุประสงค์ให้ประชาชนโดยทั่วไปรับรู้และง่ายต่อการทําความ<br />

เข้าใจในการสร้างสรรค์ของสถาปนิก<br />

Exhibition ‘BAAN BAAN Mockup’ This exhibition<br />

features various forms of residential projects which can<br />

either be a built project, an unbuilt project, or an<br />

experimental project in relation to dwelling. Member<br />

architects of the Association of Siamese Architects from<br />

across the country can submit their works from the<br />

category of residential projects to qualify for an exhibit<br />

in the form of a physical model and a design concept.<br />

The purpose is to allow the general public to recognize<br />

and easily understand the thinking process of an architect.<br />

องค์ประกอบบ้าน<br />

(Dwelling<br />

Elements)<br />

นิทรรศการองค์ประกอบบ้าน มีนิทรรศการสําคัญๆ ได้แก่<br />

นิทรรศการชิ้นส่วนต่างๆ ของบ้าน (Dwelling Elements) ที่นํา<br />

เสนอความสําคัญของชิ้นส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น ประตูหน้าต่าง<br />

กําแพง บันได โต๊ะ เก้าอี้ หรือชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ถูกออกแบบอย่าง<br />

สัมพันธ์กับผู้อยู่อาศัยและบริบทอื่นๆ ด้วยการจัดแสดงชิ้นส่วน<br />

ที่มีความเฉพาะในบริบทที่แตกต่างกันออกไป โดยเปิดโอกาส<br />

ให้นักออกแบบ 12 ทีม ได้ทบทวน (Reconsidering) หน้าที่ของ<br />

ชิ้นส่วนต่างๆ เหล่านั้นใหม่อีกครั้งว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของบ้านที่ดี<br />

ควรจะมีหน้าตาอย่างไร โดยจัดแสดงออกมาเป็นชิ้นส่วนขนาด<br />

เท่าจริง และบางชิ้นส่วนออกแบบมาภายใต้แนวคิด Universal<br />

Design อีกด้วย<br />

Exhibition ‘Dwelling Elements’ In this zone, the<br />

exhibition features parts of the dwelling (Dwelling Elements)<br />

and presents the importance of various elements such<br />

as doors, windows, walls, stairs, tables, chairs or other<br />

parts that are designed in relation to residents and<br />

other contexts. The set up of displays show elements<br />

that are specific to different contexts. Twelve design<br />

teams get an opportunity to reconsider the functions<br />

of those various elements by thinking of how they<br />

should appear in dwellings with good design practices.<br />

Then the elements are displayed in their actual size,<br />

including some pieces designed using the concept of<br />

universal design.<br />

- 16 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


งานในปีนี้ยังมีแนวคิดการนํากลับไปใช้ใหม่ของการ<br />

ออกแบบส่วนจัดแสดง ให้มีการนําสิ่งของที่ติดตั้งเพื่อจัดแสดง<br />

ในงานครั้งนี้ หลังการจัดแสดงจะมีการนําสิ่งของต่างๆ ไปใช้ให้<br />

เกิดประโยชน์สูงสุด ต้นไม้ต่างๆ ก็จะนําไปปลูกในพื้นที่ที่เหมาะ<br />

สมต่อไป นับเป็นแนวคิดที่ให้ความสําคัญกับประชาชนทั่วไป<br />

และสาธารณประโยชน์สอดคล้องกับแนวคิดในการจัดงานครั้งนี้<br />

ถือว่าเป็นงานสําคัญที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งในปีนี้<br />

Additionally, there are areas to encourage recreational<br />

and activity use, and the emphasis is on creating<br />

a communal sense, so participants can mingle. For example,<br />

<strong>ASA</strong> Sketch is an activity space for youth and those<br />

interested in drawing. Other activity areas include a<br />

demonstration of mechanical robots for construction,<br />

an area staffed by a team of expert architects who act<br />

as volunteer “dwelling doctors” providing consultation<br />

about dwelling issues, and a space to share knowledge<br />

and understanding via multimedia.<br />

พื้นที่นอกบ้าน<br />

(Dwelling<br />

Surroundings)<br />

นิทรรศการในส่วนของพื้นที่นอกบ้าน เป็นพื้นที่<br />

นิทรรศการบริบทรอบบ้าน ซึ่งนําเสนอสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กับบ้าน<br />

และการดํารงชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัวบ้าน เริ่มต้นจากภายในรั้วบ้าน<br />

ตลอดจนพื้นที่ใช้สอยนอกบ้าน พื้นที่ชุมชนรอบๆ บ้าน ซึ่งเป็น<br />

องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ชีวิตประจําวันเชิงสังคม<br />

และสาธารณะ มีการจัดแสดงความเป็นไปได้ในการออกแบบ<br />

พื้นที่บริบทรอบๆ บ้าน เช่น พื้นที่สวน พื้นที่ตลาด พื้นที่กิจกรรม<br />

สาธารณะที่มีความสัมพันธ์กับบ้านที่อยู่อาศัย เช่น <strong>ASA</strong> Shop,<br />

<strong>ASA</strong> Market และอื่นๆ<br />

Exhibition ‘Dwelling Surroundings’ The exhibition<br />

includes a display of the context around the dwelling,<br />

showing things that are related to the dwelling and the<br />

livelihood around the body of the dwelling. This begins<br />

with the inside of the dwelling’s perimeter and includes<br />

the usable area outside the dwelling boundary, as well<br />

as the nearby community areas. All of which are components<br />

related to our daily life with respect to society and the<br />

public. There are exhibits illustrating the possibilities in<br />

the design of the context around the dwelling, such as<br />

a garden area, market area, and a public activity area that<br />

relates to the dwelling like <strong>ASA</strong> Shop, <strong>ASA</strong> Market, etc.<br />

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมและสันทนาการที่ให้<br />

ความสําคัญกับความเป็นพื้นที่สาธารณะ ให้ผู้ร่วมงานได้มา<br />

พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เช่น <strong>ASA</strong> Sketch เป็น<br />

พื้นที่กิจกรรมสําหรับเยาวชน และผู้ที่สนใจการวาดเขียน มีลาน<br />

กิจกรรมเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การแสดงการทํางานของเครื่องกล หุ่น<br />

ยนต์การก่อสร้าง หมอบ้านอาสาที่ช่วยให้คําปรึกษาปัญหาต่างๆ<br />

เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โดยทีมงานสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ และพื้นที่<br />

ให้ความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อมัลติมีเดีย<br />

สําหรับสถาปนิกและผู้ที่อยู่ในวงการสถาปัตยกรรม ยังมี<br />

งานสัมมนาวิชาการต่างๆ ที่น่าสนใจได้แก่ <strong>ASA</strong> Forum 2017<br />

งานสัมมนาวิชาการ โดยนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญด้าน<br />

สถาปัตยกรรม ทั้งในและต่างประเทศ เช่น Studiomake โดย<br />

David Schafer, UID Architects โดย Keisuke Maeda, Architect<br />

of Sri Lanka โดย Anjalendran, Studio Schwitalla โดย Max<br />

Schwitalla และ Shingo Masuda+Katsuhisa Otsubo<br />

Architect โดย Shingo Masuda รวมทั้งยังมี <strong>ASA</strong> Films ที่จัด<br />

ฉายภาพยนตร์และสารคดีเกี่ยวกับแนวคิดในการทํางานด้าน<br />

สถาปัตยกรรมให้ได้ชมอีกด้วย<br />

For architects and those in the architectural field,<br />

there are various interesting seminar topics in <strong>ASA</strong><br />

Forum 2017, which is an academic seminar by designers<br />

and architecture professionals, both locally and internationally.<br />

Example guest speakers include David Schafer<br />

from Studiomake, Keisuke Maeda of UID Architects,<br />

Anjalendran of Architect of Sri Lanka, Max Schwitalla of<br />

Studio Schwitalla, and Shingo Masuda from Shingo<br />

Masuda+Katsuhisa Otsubo Architect. There will also be<br />

<strong>ASA</strong> Films featuring films and documentary films related<br />

to concepts and ideas in architectural works.<br />

In the event this year, there is the idea to re-use<br />

design materials that are props and exhibits from this<br />

exhibition to maximize their usage. Trees will be replanted<br />

in suitable locations. This concept is devoted to the<br />

importance of the general public and of public usage,<br />

which is consistent with the principle of this event’s<br />

theme. So make sure you don’t miss such an important<br />

exhibition this year!<br />

พบกับงานสถาปนิก’60 งานแสดงเทคโนโลยีด้านการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมและวัสดุก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 31<br />

ระหว่างวันที่ 2-7 พฤษภาคม 2560 เวลา 10.00 – 20.00 น.<br />

ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี<br />

ติดตามทุกความเคลื่อนไหวได้ทาง www.ArchitectExpo.com<br />

หรือ www.facebook.com/ArchitectExpo<br />

และ ID line: @BuilderNews<br />

Featured Architect’17, the 31 st Asean’s largest architectural<br />

design and building technology exposition, May 2-7,<br />

2017 during 10.00 AM -08.00 PM at Challenger Hall 1-3,<br />

IMPACT Muang Thong Thani.<br />

Follow every movement at www.ArchitectExpo.com<br />

or www.facebook.com/ArchitectExpo<br />

and ID line: @BuilderNews<br />

- 17 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


INTERVIEW<br />

Ajarn Nantapon Junngurn<br />

The Chairman of the Architect’17 Exposition<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องกลับมาคิด<br />

ทบทวนเรื่อง ‘บ้าน’<br />

อ.นันทพล : บ้านเป็นจุดเริ่มต้นแรกๆ ของชีวิต การให้ความสําคัญ<br />

และการกลับมาคิดทบทวน ทั้งในฐานะผู้ออกแบบและ เจ้าของ<br />

บ้าน ทั้งสถาปนิกและผู้ที่ต้องการบ้าน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน<br />

ไอเดียกัน การเอาแนวคิดหลายๆ แนวคิดมาขบคิด อาจนําไปสู่<br />

การนําเสนอใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ไม่เพียงแต่เราต้อง<br />

ทบทวนวิธีคิดในส่วนของการออกแบบบ้านเท่านั้น เรายังต้อง<br />

มองถึงบริบทของสังคมด้วย เช่น ถ้าบ้านทุกหลังปลูกต้นไม้บ้านละ<br />

1 ต้น ใต้ต้นไม้บ้านเราก็เย็น ทั้งหมู่บ้านก็จะมีความร่มรื่นจาก<br />

ต้นไม้ของแต่ละบ้าน อุณหภูมิใต้ต้นไม้ต่างจากกลางแจ้ง 2-3<br />

องศา มองในเชิงความยั่งยืนของหมู่บ้านก็จะช่วยประหยัดพลังงาน<br />

การเข้าใจการออกแบบที่อยู่อาศัยมากขึ้น จะช่วยให้วิธีคิดต่อ<br />

สังคมเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างง่ายๆ เรามีที่ดินแบบคล้ายๆ กันกับ<br />

พื้นที่ข้างๆ เรามาออกแบบร่วมกัน เปิดพื้นที่สีเขียวร่วมกันถ้าสนิท<br />

กันมากๆ อาจจะไม่ต้องมีรั้วก็ได้ผมมองว่าแนวคิดเหล่านี้จะเป็น<br />

ส่วนหนึ่งในอีกหลายๆ แนวคิดที่จะเกิดขึ้นจากการที่เรากลับมา<br />

คิดทบทวนเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย ที่เราจะได้เห็นในงาน<br />

สถาปนิกครั้งนี้<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: What is the reason to reconsider about<br />

‘BAAN’?<br />

ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้กําลังจะมีงานใหญ่หนึ่งงาน นั่นคือ งานสถาปนิก’60 ภายใต้แนวคิด “บ้าน บ้าน : BAAN BAAN”<br />

Reconsidering Dwelling ครั้งนี้เราจึงมาคุยกับ อาจารย์นันทพล จั่นเงิน อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และประธานจัดงาน เพื่อ<br />

บอกเล่าถึงความน่าสนใจของงานแสดงศักยภาพด้านสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ของปีงานนี้<br />

This May, there is going to be another big event, which is the Architect’17 Exposition, under the theme “BAAN<br />

BAAN”: Reconsidering Dwelling. So, we have talked to Ajarn Nantapon Junngurn, one of the Vice Presidents of The<br />

Association of Siamese Architects and the president of the organizing committee. He will share with us the highlights<br />

of this event of the year, showing the architectural potentials.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: ในฐานะประธานจัดงานงานสถาปนิก’60<br />

อยากให้เล่าถึงแนวคิดหลักของงานในปีนี้ ทำไมต้อง “บ้าน<br />

บ้าน” Reconsidering Dwelling<br />

อ.นันทพล : เรามองว่า ‘บ้าน’ เป็นหน่วยย่อยของ<br />

สถาปัตยกรรมที่สําคัญที่สุดของคนทั่วไป การสร้างหรือ<br />

เปลี่ยนแปลงอะไร การเริ่มจากหน่วยเล็กๆ อย่างบ้านที่ออกแบบ<br />

มาดี วางแผนดี จะส่งผลให้ภาพรวมหรือชุมชนระดับเมืองออก<br />

มาดีมีคุณภาพ ในขณะเดียวกัน ‘บ้าน’ น่าจะเป็นเครื่องมือทาง<br />

สถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดที่สถาปนิกจะสามารถสื่อสารกับ<br />

ประชาชนคนทั่วไปได้ซึ่งตรงนี้เป็นนโยบายของสมาคมสถาปนิก<br />

สยาม ในพระราชูปถัมภ์ เราอยากให้ประชาชนรู้จักและเข้าใจ<br />

บทบาทของสถาปนิกมากขึ้น โดยมีเครื่องมือคือ ‘บ้าน’ ที่จะทําให้<br />

ประชาชนและสถาปนิกได้มาเจอกัน<br />

นอกจากนั้นเรามองว่า ‘บ้าน’ น่าจะทําให้สถาปนิกรุ่นใหม่<br />

ได้มีส่วนร่วมกับสมาคมฯ มากขึ้น เพราะสถาปนิกแทบทุกคน ได้<br />

โครงการแรกๆ ของการทํางานส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการออกแบบ<br />

บ้าน<br />

ส่วนที่มาของชื่อ ‘บ้าน บ้าน’ เราอยากได้ชื่อแบบไทยๆ เป็น<br />

คําซํ้ำที่ทําให้เกิดการตีความได้หลายอย่าง นอกจากหมายถึง<br />

บ้านแล้ว อาจหมายถึง บ้านหลายๆ หลัง สื่อถึงชุมชน หรือการ<br />

เล่นกับคําซํ้ำที่เราคุ้นเคยก็อาจจะหมายถึง ความสบายๆ ง่ายๆ<br />

ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมาก แต่อยู่ได้มีความสุข และทุกแนวความ<br />

คิดที่มารวมตัวกันที่จะพูดคุยถึงเรื่อง ‘บ้าน’ มันก็จะเกิดการคิด<br />

ทบทวน เป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษที่เราใช้ คือ ‘Reconsidering<br />

Dwelling’ คนที่มางานนี้จะได้มีโอกาสคิดทบทวนเรื่อง<br />

บ้านผ่านแนวคิดและผลงานต่างๆ ที่จัดแสดงในปีนี้<br />

อาจารย์นันทพล จั่นเงิน<br />

ประธานจัดงานสถาปนิก’60<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: As the Chairman of Architect’17 Exposition<br />

Organizing Committee, can you tell us the concept<br />

behind this year’s theme? Why “BAAN BAAN” Reconsidering<br />

Dwelling?<br />

Ajarn Nantapon: We view that ‘BAAN (or a dwelling)’ is<br />

the most important architectural unit for general people.<br />

To build or change something starting at a small scale,<br />

such as a well-designed well-planned house, will result<br />

in a great overall picture or community. At the same<br />

time, ‘BAAN’ is perhaps the best architectural tool that<br />

an architect can use to communicate with the general<br />

public. This is a policy of the Association of Siamese<br />

Architects under Royal Patronage. We want to make<br />

everyone know and have a better understanding about<br />

the role of architects, using ‘BAAN’ as a tool to bring<br />

together the public and the architects.<br />

In addition, we see that ‘BAAN’ could attract new<br />

generation of architects to get more involved with the<br />

association because, for almost all architects, the first<br />

projects in their careers begin with home design.<br />

As for the origin of the name ‘BAAN BAAN’, we want<br />

to find a Thai name, and this is a name with repeated<br />

words that can be interpreted in different ways. In<br />

additional to the meaning ‘a dwelling’, it can refer to a<br />

group of dwellings, a community or the repeated word<br />

slang that we are used to. It can also imply comfort and<br />

simplicity, without lots of decoration, but can still make<br />

us live happily. And all the ideas that are gathered for<br />

the talk about ‘BAAN’ come from reconsidering dwellings,<br />

and that’s how we come up with the English title for this<br />

event, ‘Reconsidering Dwelling’. Visitors will have an<br />

opportunity to reconsider about dwellings through<br />

concepts and displayed works this year.<br />

- 18 -<br />

Ajarn Nantapon: A dwelling is one of the beginning<br />

points of life. Recognizing its importance and rethinking,<br />

both as a designer and a user, when an architect and a<br />

home owner get a chance to exchange ideas, Bringing<br />

in and digesting different types of ideas may lead to<br />

new ideas that are more beneficial. Not only do we have<br />

to reconsider the approach in home design, but we also<br />

need to analyze it in the context of society. For example,<br />

if every house plants a tree, not only do we feel cool<br />

from the shade of our tree, but the whole village has<br />

shading from all the trees from everyone’s house. Usually<br />

the temperature under trees is 2-3 degrees different<br />

than in the non-shaded outdoor area. In terms of the<br />

village sustainability, we help reduce energy use. Better<br />

understanding of the dwelling design gives way to<br />

different perceptions about society. To give an easy<br />

example, if we have a piece of land that is similar to our<br />

neighbor’s, we can co-design and have a common open<br />

green space. If we are friendly with each other, there<br />

may be no need for fencing. I think this type of concept<br />

will be one of the emerging ideas from reconsidering<br />

about houses and dwellings seen in this architectural<br />

exposition”.<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

activity ‘Planting for Home, for City’ and ‘For Home’. We<br />

will bring 25 trees back to plant at our association,<br />

following the policy of Ajarn Ajaphol Dusitnanond,<br />

the president of the association, who wishes to increase<br />

green spaces. We will plant the trees in the parking area<br />

of the association so that we can use that area for a<br />

recreational purpose like an exercise and activities.<br />

In the future, we will open the space for the general<br />

public to take advantage of. As for ‘For City’ we collaborate<br />

with Big Tree Group and Bang Kra Jao community to<br />

bring the other 25 trees to plant at Bang Kra Jao, the<br />

lung of Bangkok, to increase the green areas. In the<br />

activity hall, each day 999 seedlings will be distributed<br />

from the Royal Forest Department to the public for<br />

planting. We want the plantation to be the beginning of<br />

how we make the surroundings of the dwelling and the<br />

community to be more livable. and I would like to have<br />

the teams responsible for each section talk about them.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: งานครั้งนี้เตรียมอะไรไว้ให้กับผู้เข้าชมงานบ้าง<br />

อ.นันทพล : จุดเริ่มต้นของงาน เราอยากให้ทุกคนได้ร่วมน้อม<br />

รําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ เพื่ออาณา<br />

ประชาราษฎร์และได้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านสถาปัตยกรรม<br />

ของพระองค์ท่าน โดยจัดทําขึ้นเป็นนิทรรศการในหลวง รัชกาล<br />

ที่ 9 โดยแบ่งเป็น 2 นิทรรศการหลัก ได้แก่ นิทรรศการสถาปนิก<br />

แห่งแผ่นดิน ‘บ้าน’ บ้านในพระราชนิยม และนิทรรศการน้อม<br />

รําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เรานําเสนอเป็นรูปแบบมัลติมีเดีย<br />

ในนิทรรศการต่างๆ และมีการนําเสนอเนื้อหาบ้านที่พระองค์ทรง<br />

ประทับทรงงานในโครงการชั่งหัวมัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่อาศัย<br />

ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<br />

ส่วนนิทรรศการอื่นๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ<br />

นิทรรศการบ้าน (Dwellings) พูดถึงรูปแบบของบ้านต่างๆ<br />

บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม รวมไปถึงความเป็นบ้าน<br />

ในมิติต่างๆ เช่น บ้านเรือนแพ บ้านของคนไร้บ้าน ส่วนที่ 2 คือ<br />

นิทรรศการองค์ประกอบบ้าน (Dwelling Elements) เช่น ผนัง<br />

ประตู หน้าต่าง บันได ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ส่วนเล็กๆ ที่ประกอบ<br />

กันเป็นบ้าน และส่วนที่3 คือ นิทรรศการพื้นที่นอกบ้าน (Dwelling<br />

Surroundings) บริบทต่างๆ นอกบ้าน นอกจากตัวบ้านจนถึงรั้ว<br />

ไปจนถึงนอกรั้วบ้านระหว่างบ้านแต่ละหลังเป็นระดับชุมชนอันนี้<br />

เราอยากเล่าให้คนทั่วไปเข้าใจแนวคิด ‘บ้าน บ้าน Reconsidering<br />

Dwelling’ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของงานปีนี้<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: What have you prepared for the visitors?<br />

Ajarn Nantapon: At the entrance, we want everyone to<br />

join us in the memory of His Majesty King Rama IX’s<br />

benevolence and his works for the people. Also we want<br />

all to see his wisdom in architecture. There are 2 main<br />

exhibitions; the first one is ‘The Kingdom’s Architect’,<br />

‘Baan’, the King’s Choice of Dwelling, and the other<br />

exhibition is to commemorate his great kindness. We<br />

make a presentation of the King’s home office in Chang-<br />

Hua-Mun Project, which shows the concept of dwelling<br />

based on the Sufficiency Economy philosophy.<br />

Other exhibitions are divided into 3 main sections.<br />

The first one is about ‘Dwelling’, showcasing different<br />

types of dwellings such as single family houses, townhouses,<br />

and condominiums. Various aspects contributing<br />

to the sense of home are also presented through case<br />

studies of a rafting house and a homeless house. The<br />

second section is the Exhibition featuring Dwelling’s<br />

Elements, including walls, doors, windows, and stairs, all<br />

the way to furniture. These small elements are what<br />

made up a house. The third section is the Exhibition<br />

featuring Dwelling’s Surroundings, focusing on the context<br />

of the surroundings of the house, from the house to the<br />

fence, and also the area outside of the fence of each<br />

house and between houses. This is the context on the<br />

community scale. Here, we want to tell the public about<br />

the concept ‘BAAN BAAN Reconsidering Dwelling’, which<br />

is the theme of this year’s exposition.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: ทราบมาว่างานปีนี้มีการออกแบบการจัดงาน<br />

ให้เกิดการนำกลับไปใช้ต่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม<br />

ได้อีกด้วย<br />

อ.นันทพล : เรามีต้นไม้ยืนต้นที่นํามาติดตั้งในงาน 50 ต้น เราจะ<br />

แบ่งเป็น 2 ส่วน คือหลังงานจบเราจะมีกิจกรรม ‘ปลูกต้นไม้ เพื่อ<br />

บ้าน เพื่อเมือง’ โดย ‘เพื่อบ้าน’ จะนําต้นไม้ 25 ต้นกลับไปปลูกที่<br />

สมาคมฯ บ้านของเรา ตามนโยบายของท่านอาจารย์ อัชชพล<br />

ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมฯ ที่ต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยจะ<br />

นําไปปลูกในบริเวณลานจอดรถของสมาคมฯ ทําให้ลานจอดรถ<br />

สามารถใช้พื้นที่สันทนาการเพื่อออกกําลังกาย และทํากิจกรรม<br />

ต่างๆ ได้ในอนาคตจะมีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้<br />

ประโยชน์ได้ด้วย ส่วน ‘เพื่อเมือง’ เราร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร<br />

และชุมชนบางกระเจ้า โดยจะนําต้นไม้อีก 25 ต้นไปปลูกที่สวนรถไฟ<br />

ซึ่งถือเป็นปอดของกรุงเทพฯ ช่วยทําให้เมืองมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น<br />

และบริเวณลานกิจกรรมในงานยังมีการแจกต้นกล้าจากกรมป่าไม้<br />

วันละ 999 ต้น ให้กับประชาชนทั่วไปได้นําไปปลูกกัน เราอยากให้<br />

การปลูกต้นไม้เป็นจุดเริ ่มต้นของการสร้างบริบทรอบบ้านและ<br />

ชุมชนให้น่าอยู่มากขึ้น<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: I have heard that this year, the event design<br />

takes into consideration the reusability in order to<br />

benefit the society as well.<br />

Ajarn Nantapon: We have 50 perennial plants that we<br />

will set up as props in the event. We divide them into<br />

2 parts. After the exposition ends, we will have the<br />

- 19 -<br />

การทบทวนวิธีคิดเรื่องบ้าน<br />

อาจนำไปสู่การนำเสนอใหม่ๆ<br />

ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: ความตั้งใจในการจัดงานปีนี้ให้ความสำคัญ<br />

ในการสื่อสารกับประชาชนทั่วไปมากเป็นพิเศษ ผู้เข้าชม<br />

จะได้อะไรเพิ่มเติมจากการไปดูงานนี้อีกบ้าง<br />

อ.นันทพล : ประชาชนจะเข้าใจความสําคัญของที่อยู่อาศัยที่มี<br />

ความสัมพันธ์กันทุกส่วน ตั้งแต่ในบ้านออกไปนอกบ้าน ไปถึง<br />

ชุมชนโดยภาพรวม เห็นภาพทั้งหมดตามแนวคิดหลัก ‘บ้าน บ้าน’<br />

ที่เราตั้งไว้<br />

นอกจากนี้ผู้ที่มีความสนใจยังสามารถเข้าฟังบรรยาย <strong>ASA</strong><br />

Forum งานสัมมนาวิชาการที่เราเชิญนักออกแบบสถาปนิกชั้น<br />

นําทั้งในและต่างประเทศมาให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์<br />

การทํางาน และยังมีพื้นที่อีกมากมายในอาคารจัดแสดงสินค้า<br />

ที่สามารถเลือกซื้อสินค้า วัสดุการก่อสร้างจากแบรนด์สินค้าชั้น<br />

นําต่างๆ ได้อีกด้วย หรือถ้าสนใจแบบบ้านไหนสามารถสแกน<br />

QR Code เพื่อทราบข้อมูลต่างๆ ของสถาปนิกผู้ออกแบบ และ<br />

ข้อมูลการติดต่อได้เลย บริเวณลานกิจกรรมก็มีกิจกรรมอบรม<br />

พูดคุยกับสถาปนิก มีเวิร์คช้อปฟรี เป็นงานที่สร้างความสัมพันธ์<br />

ระหว่างสถาปนิกกับประชาชนได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong>: The intention of this year’s event is to<br />

emphasize on the public communication. What will be<br />

some additional benefits for coming to this event?<br />

Ajarn Nantapon: The public will understand the importance<br />

of dwellings that all components are related, from inside<br />

to outside, and, on a broader scale, to the community<br />

level. They will see all the pictures according to the main<br />

concept ‘BAAN BAAN’ that we set.<br />

Furthermore, those who are interested can attend<br />

lectures in the <strong>ASA</strong> Forum, an academic seminar with<br />

top designers and architecture professionals, both<br />

locally and internationally, sharing knowledge and<br />

experiences in their careers. There is a huge area to<br />

shop for a variety of construction materials from leading<br />

brands in the exhibition building. Or if you are interested<br />

in a particular house style, scan QR Code for information<br />

about the architect who is the designer and his or her<br />

contact information. At the activity hall, there are training<br />

sessions, talks with architects, and free workshops. It is<br />

an event that will build closer relationships between<br />

architects and the public.<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


What’s in Architect’17?<br />

BAAN BAAN : Reconsidering Dwelling<br />

มีอะไรน่าค้นหา ในงานสถาปนิก’60<br />

นิทรรศการสถาปนิกแห่งแผ่นดิน ในหลวงรัชกาลที่ 9<br />

นิทรรศการบ้านในพระราชานิยม<br />

บอกเล่าโดย คุณมนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา (Hypothesis) (1)<br />

คุณพันธวิศ ลวเรืองโชค (Apostrophy’s) (2)<br />

“ตัวโครงสร้างที่ใช้ในนิทรรศการเป็นนั่งร้านก่อสร้าง ให้<br />

ความรู้สึกเหมือนตึกที่ยังสร้างไม่เสร็จ มีผ้าใบคลุมไว้ เปรียบ<br />

เหมือนประเทศไทยที่พระองค์ร่วมก่อรูปขึ้นมาใหม่แม้ยังไม่เสร็จ<br />

สมบูรณ์ แต่เราอยากให้ผู้เข้าร่วมงานช่วยกันสร้างและสานต่อ<br />

ในสิ่งที่พระองค์ได้วางรากฐาน”<br />

นิทรรศการภาพของพ่อ<br />

บอกเล่าโดย คุณมนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา (Hypothesis) (1)<br />

คุณพันธวิศ ลวเรืองโชค (Apostrophy’s) (2), คุณถวัลย์ วงษ์สวรรค์ (DOTV) (3)<br />

“เชิญชวนทุกคนแสดงความรักผ่านนิทรรศการภาพของพ่อ<br />

ด้านการออกแบบทีมงานได้น้อมนําพระราชดํารัสมาประยุกต์ใช้<br />

และยึดเป็นหัวใจสําคัญ 3 ด้าน คือ ความพอเพียง ความประหยัด<br />

และคํานึงถึงประโยชน์ใช้สอย นิทรรศการนี้เลือกใช้เป็นวัสดุที่<br />

สามารถส่งมอบเพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ส่วนรูปถ่ายเมื่อ<br />

จัดแสดงแล้ว ก็จะนําส่งคืนทุกคนให้กลายเป็นรูปที่มีทุกบ้านต่อไป”<br />

1 2 3 4 5<br />

6 7 8 9 10<br />

กิจกรรมการเสวนาที่กล่าวถึงผลงานประติมากรรมแสง<br />

บอกเล่าโดย อาจารย์ทรงพจน์ สายสืบ ปฏิคมสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (4)<br />

“หลังจากการเสด็จสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่9 อาจารย์<br />

บุรินทร์ ธราวิจิตรกุล และอาจารย์กานต์ คําแก้ว อาจารย์คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สร้างผลงาน<br />

เพื ่อแสดงความรําลึกถึงพระองค์ท่านผ่านประติมากรรม<br />

แสงแดด ภาพคล้ายพระพักตร์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อถูก<br />

แสงอาทิตย์ในช่วงเวลา 15.52 น. สาดส่องมากระทบ จะแปรเปลี่ยน<br />

เป็นภาพพระพักตร์ของพระองค์ปรากฏบนผนัง แทนความหมาย<br />

ว่าพระองค์ไม่ได้จากพวกเราไปไหน แต่ยังสถิตอยู่บนฟากฟ้า<br />

โดยมีแสงอาทิตย์นําพาพระองค์กลับมาหาพวกเราอีกครั้ง ร่วม<br />

ไขคําตอบ และค้นหากระบวนการทํางาน ศึกษาเรื่องราวความ<br />

พยายามระหว่างทางของผลงานชิ้นนี้”<br />

นิทรรศการ องค์ประกอบของบ้าน<br />

บอกเล่าโดย คุณเสก สิมารักษ์ สถาปนิกอิสระ (5)<br />

“นิทรรศการนี้ให้ความสําคัญกับชิ้นส่วนเล็กๆ ภายในบ้าน<br />

โดยเชิญนักออกแบบ 12 คนมาร่วมออกแบบชิ้นส่วนของบ้าน<br />

จํานวน 24 ชิ้นในขนาดจริง คุณจะได้พบกับประตู หน้าต่าง<br />

บันได ผนัง โต๊ะ เก้าอี้ รวมไปถึงหลังคา อยากเชิญชวนให้ทั้ง<br />

เจ้าของบ้านและสถาปนิกมาร่วมสังเกต ทําความรู้จัก และลอง<br />

- 20 -<br />

ใช้งานองค์ประกอบเล็กๆ ทั ้ง 24 ชิ้นนี้ ที่ถูกนํามาตั้งไว้พร้อม<br />

เข้าไปสัมผัสได้จริง”<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้านจำลอง<br />

บอกเล่าโดย คุณปุยฝ้าย คุณาวัฒน์ (CREATIVE <strong>CREW</strong>S) (6)<br />

“เป็นความร่วมมือของสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่<br />

นําเสนอแบบบ้านผ่านโมเดลบ้าน งานนี้คนที่มาดูจะได้เห็นว่า<br />

การออกแบบของสถาปนิกมีความหลากหลายมาก การออกแบบ<br />

มีคุณภาพและไม่จําเป็นต้องแพง ชอบหลังไหนก็สแกน QR Code<br />

เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย”<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

11 12 13 14 15<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้าน ตัวอย่าง<br />

บอกเล่าโดย คุณอภิชาต ศรีโรจนภิญโญ (Stu/D/O Architects) (7) / คุณอัทธา<br />

พรสุมาลี (ForX Design Studio) (8) / คุณกณพ มังคละพฤกษ์ (Archive Studio)<br />

(9) / คุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ (Physicalist) (10)<br />

“นี่คือนิทรรศการที่เปรียบเหมือนนิตยสารฉบับหนึ่งที่<br />

รวบรวมบ้านหลายร้อยหลังเอาไว้ด้วยกัน พร้อมประมวลข้อมูล<br />

ในสิ่งที่เจ้าของบ้านอยากรู้ คนดูสามารถเลือกชมได้จาก 3 แกน<br />

เพียงเดินลัดเลาะเข้าไปในนิทรรศการที่มีข้อมูลทั้งสามทาง<br />

บ้านหนึ่งหลังมองเห็นได้ 3 มุมมอง ข้อมูลทั้งสามส่วนจะถูก<br />

ประมวลผล ออกมาเป็นกราฟสามมิติ ฉายให้คุณเห็นภาพพื้นที่<br />

ก่อสร้าง งบประมาณ และหน้าตาของบ้านที่สัมพันธ์กัน”<br />

นิทรรศการ คบหุ่นสร้างบ้าน<br />

บอกเล่าโดย คุณสมรรถพล ตาณพันธุ์ (FabCafe Bangkok) (11)<br />

16 17 18 19 20<br />

นิทรรศการ รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่<br />

บอกเล่าโดย คุณนพพล พิสุทธอานนท์ (Quintrix) (18) / คุณบุณณดา ยงวานิชากร<br />

(Quintrix)<br />

“เป็นรางวัลใหม่ที่เพิ่งมีปีนี้เป็นปีแรกโดยจะมอบกันทุก 2 ปี<br />

เป็นรางวัลที่เปิดโอกาสให้กับสถาปนิกที่มีอายุไม่เกิน 45 ปี โดย<br />

มุ่งเน้นที่แนวความคิดเป็นหลักสําคัญ โจทย์ของปีนี้คือ บ้าน<br />

ในงานครั้งนี้ผู้เข้าชมงานจะได้ร่วมชมการตัดสินรางวัลในรอบ<br />

สุดท้ายของคณะกรรมการด้วย เหมือนดูประกวดรายการ<br />

เดอะวอยซ์เลย”<br />

“นิทรรศการนี้พูดถึงเทคโนโลยีทั้งสามส่วนหลัก นั่นคือ<br />

ซ่อมสร้าง หุ่นยนต์โรโบติก และ VR โลกเสมือน ซ่อมสร้าง คือ<br />

การนําเทคโนโลยี 3D มาใช้ในบ้าน หุ่นยนต์โรโบติก คือการนํา<br />

หุ่นยนต์ในวงการอุตสาหกรรมเข้ามาช่วยใช้ในการก่อสร้าง และ<br />

VR โลกเสมือน เป็นเครื่องมือสําคัญที่เราใช้ในการเข้าถึงข้อมูล<br />

มากยิ่งขึ้น”<br />

นิทรรศการ รูปเล่าเรื่อง<br />

บอกเล่าโดย ผศ.ดร.วาริชา วงศ์พยัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (12)<br />

“หากชวนให้คิดถึงบ้าน อาจไม่ใช่เพียงแค่ที่อยู่อาศัยหรือ<br />

กายภาพของบ้าน แต่คือการคิดถึงเหตุการณ์ คนที่อยู่ในสถาน<br />

ที่นั้น ความเป็นบ้านอาจขยายสเกลมากกว่าเป็นแค่อาคารหลัง<br />

เดียว แต่เป็นชุมชน บ้านเกิดเมืองนอน ทั้งหมดจะถูกตีโจทย์มา<br />

เป็นภาพถ่ายที่มีมุมมองหลากหลายผ่านซีรีส์การเล่าเรื่อง 3-5<br />

ภาพที่สนุกและชวนให้คิดตาม”<br />

นิทรรศการ บ้านไทย บ้านใคร<br />

บอกเล่าโดย อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (13) / อาจารย์สิริเดช วังกรานต์<br />

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (14) /<br />

อาจารย์พงศกร ยิ ้มสวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (15) / ผศ.ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ อาจารย์ประจำ<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (16) / อาจารย์ธีรชัย<br />

ลี้สุรพลานนท์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้า<br />

คุณทหารลาดกระบัง (17)<br />

“เป็นการนําเสนอบ้านไทยพื้นถิ่นในมุมใหม่ผ่านการใช้งาน<br />

ของคน หรือผู้อยู่อาศัย ที่มีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ฐานะ<br />

และวัฒนธรรม โดยนําเสนอผ่านโมเดลหรือหุ่นจําลองและ<br />

วีดิทัศน์เราอยากให้คนที่มาดูได้ขบคิดและตอบตัวเองว่าบ้านไทย<br />

บ้านใคร และบ้านของเขาเองเป็นอย่างไร”<br />

นิทรรศการ บริบทรอบบ้าน<br />

บอกเล่าโดย คุณดลพร ชนะชัย (Cloud-Floor) (19) / คุณนัฐพงษ์ พัฒนโกศัย<br />

(Cloud-Floor) (20) / คุณก่อเกียรติ กิตติโสภณพงศ์ (Integrated Field) (21)<br />

/ คุณกัลยวัจน์ เลิศพีรากร (Integrated Field) (22)<br />

“พื้นที่บริบทรอบบ้านที่เห็นชัดที่สุดน่าจะเป็นสวน ปีนี้เรา<br />

เลยจําลองสวนมาไว้ในงานบริเวณลานกิจกรรม เป็นสวนตกแต่ง<br />

ไม้กินได้และไม้ยืนต้น ที่เราจะนําไปปลูกคืนสู่ธรรมชาติหลังจบ<br />

งาน มีการนําเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบและการ<br />

จัดการปัญหาที่พบเจอจากพื้นที่รอบๆ บ้าน”<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้าน<br />

บอกเล่าโดย คุณพริมา โกทนุท (23) คุณวศิน เหมชาติวิรุฬห์ (24) คุณธาดา<br />

นันทนพิบูล (Prototype) (25) คุณจิรภัทร ฉันท์พิชัย (26) คุณภวัต เพียรเพ็ญ<br />

ศิริวงศ์, (27) คุณเมธาพร จิตรายานนท์ (28)<br />

“คําว่าที่อยู่อาศัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจึงจัดแสดง<br />

นิทรรศการนี้ด้วยรูปแบบที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันของผู้อยู่อาศัย<br />

12 แบบ ใน 3 กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันในลักษณะของที่ตั้ง<br />

ที่อยู่อาศัยและระยะเวลาในการอยู่อาศัย อยากให้ผู้ชมงานได้<br />

เห็นรูปแบบที่แตกต่างกันของคําว่า บ้าน และการใช้ชีวิต เป็นโอกาส<br />

ของการทบทวนทั้งสถาปนิกในฐานะผู้ออกแบบ และผู้ชมหรือ<br />

ผู้อยู่อาศัย ที่จะได้ตั้งคําถาม ตีความ และให้คําตอบบางอย่าง<br />

ต่อเรื่องที่อยู่อาศัย และร่วมแชร์ไอเดียต่างๆ ได้ด้วย”<br />

นิทรรศการงานอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม<br />

และภาคีเครือข่าย<br />

บอกเล่าโดย คุณปาริฉัตร สกุลเจริญพรชัย กรรมาธิการอนุรักษ์ปี 59-61 (29)<br />

“เป็นนิทรรศการที่จะได้เห็นบทบาทของสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ ในส่วนของกิจกรรมเมืองและนโยบายสาธารณะ โดยมี<br />

นิทรรศการย่อยๆ อีกหลายนิทรรศการ เช่น นิทรรศการรางวัล<br />

อนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น นิทรรศการการสํารวจรังวัด<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือ VERNADOC เป็นต้น”<br />

นิทรรศการภูมิภาค<br />

บอกเล่าโดย คุณปรีชา นวประภากุล (DFAP) (30)<br />

“เป็นการนําเสนอผ่านกรรมาธิการของสมาคมฯ คือ<br />

กรรมาธิการสถาปนิกล้านนา กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน และ<br />

กรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ โดยนําเสนอความเป็นบ้านของ<br />

แต่ละภาค ที่จะเห็นความแตกต่างของการออกแบบบ้านใน<br />

ภูมิภาคที่ต่างกัน”<br />

นิทรรศการ เออบ้าน เออเบิ้น<br />

บอกเล่าโดย ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิทย์ อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร (31) / คุณธาริต บรรเทิงจิตร (Mor and Farmer) (32)<br />

และคุณณัฐวดี สัตนันท์ (Mor and Farmer) (33)<br />

“คุณจะได้เห็นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน<br />

สถาปนิก กับชุมชน โดยมีโครงการต่างๆ ที่เราเข้าไปทํางานร่วม<br />

กับชุมชน ผู้เข้าร่วมงานจะได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น<br />

และออกแบบโครงการต่างๆ เหล่านั้นได้ ผ่านอินเตอร์แอ็คทีฟที่<br />

เราเตรียมไว้ให้ในนิทรรศการ”<br />

- 21 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


elements at their actual sizes. You will find doors, windows,<br />

stairs, walls, chairs, all the way to roofs. We would like<br />

to invite both home owners and architects to make<br />

observations, get to know, and to try using these 24 small<br />

elements that are set up for your direct experience.”<br />

21 22 23 24 25<br />

Exhibition ‘BAAN BAAN Mockup’<br />

Storytelling by Puiphai Khunawat, Director of Creative Crews Ltd. (6)<br />

“This collection is a collaboration among members of<br />

the Association of Siamese Architects to demonstrate<br />

home design through models. Visitors will see that the<br />

designs by architects are very diverse. Quality designs<br />

do not have to be expensive. If one likes any of these,<br />

scan the QR Code to get more information.”<br />

Exhibition ‘BAAN BAAN Case Study’<br />

Storytelling by Apichart Srirojanapinyo from Stu/D/O Architects (7) /<br />

Atta Pornsumalee from Forx Design Studio (8) /Kanop Manghlapruk<br />

from Archive Studio (9) / Karjvit Rirermvanich from Physicalist (10)<br />

นิทรรศการสัมมนา <strong>ASA</strong> FORUM และ <strong>ASA</strong> Films<br />

บอกเล่าโดย ดร.วิญญู อาจรักษา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (34) / คุณสาวิตรี ไพศาลวัฒนา<br />

(PAGA Architect) (35) / คุณจาคอบ กาดอลินสกี้ (PAGA Architect) (36)<br />

“เราเชิญสถาปนิกที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทยและต่างชาติมานํา<br />

เสนอผลงาน ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ใน<br />

การออกแบบ ภายใต้หัวข้อ บ้าน บ้าน นอกจากนี้ยังมี<strong>ASA</strong> Films<br />

จัดฉายภาพยนตร์และสารคดีเกี่ยวกับแนวคิดทางสถาปัตยกรรม<br />

ให้ได้ชม และร่วมฟังบรรยายจากสถาปนิกและผู้สร้างหนังแลก<br />

เปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ด้วย”<br />

หมอบ้านอาสา<br />

บอกเล่าโดย คุณปิยะ ดโนทัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรม<br />

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ (37)<br />

“คุณไม่รู้หรอกว่าบ้านคุณจะป่วยเมื่อไร ดังนั้น หากมาพบ<br />

พาบ้านมาหาหมอ ช่วยให้บ้านสุขภาพดีและอยู่กับเราไปนานๆ”<br />

Graphic Communication<br />

26 27 28 29 30<br />

บอกเล่าโดย คุณพีรพัฒน์ กิตติสุวัฒน์ (P.LIBRARY) (38)<br />

“เบื้องหลังแนวความคิดของคาแร็กเตอร์อันสดใส ข้อความ<br />

หลักในการสื่อสารถึงงาน <strong>ASA</strong> Expo ปี2017 นี้เพราะบ้านไม่ได้<br />

มีความหมายแค่ที่นอนหรือครอบครัว แต่เป็นอย่างอื่นก็ได้ ทั้ง<br />

ออฟฟิศ พื้นที่ทําธุรกิจ เป็นพื้นที่ที่ให้เราใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ<br />

เราจึงพยายามเล่าเรื่องมุมมองต่างๆ ภายในบ้านในหลาย<br />

ความหมาย โดยสื่อสารเป็นคาแร็กเตอร์ที่สัมผัสได้ หากมอง<br />

กราฟิกคอมมิวนิเคชั่นในปีนี้ จะสังเกตว่าตัวการ์ตูนทุกตัวจะใส่<br />

ชุดอยู่บ้านแทนตัวตนของผู้เข้าชมงานที่เดินเข้าไปค้นหา<br />

ความหมายอีกมิติหนึ่ง”<br />

ฝ่ายจัดทำสูจิบัตรงานสถาปนิก ‘60<br />

บอกเล่าโดย คุณกรกต หลอดคำ (39)<br />

“เราจัดทําสูจิบัตรในปีนี้เป็นรูปแบบหนังสือที่รวบรวมภาพ<br />

เกี่ยวกับบ้านและแนวคิดของนักคิด นักเขียน นักวิชาการ<br />

สถาปนิก และผู้คนจากหลายสาขาอาชีพที่มีต่อที่อยู่อาศัย ภาย<br />

ใต้แนวคิดของการจัดงานในปีนี้ เป็นหนังสือสวยๆ ที่เราจะแจก<br />

ให้สําหรับสมาชิกสมาคมฯ ที่มาร่วมงาน”<br />

อนุกรรมการฝ่ายออกแบบและก่อสร้างนิทรรศการ<br />

บอกเล่าโดย คุณสิริชัย เหลืองวิสุทธิ์ศิริ (Apostrophy’S) (40)<br />

“การออกแบบปีนี้เราเน้นความเรียบง่ายให้รู้สึกผ่อนคลาย<br />

เข้ากับธีมของงาน เพื่อให้ผู้ร่วมงานเข้าถึงนิทรรศการต่างๆ ได้<br />

ง่าย และยังเป็นปีแรกที่เราเน้นการออกแบบเพื่อให้นํากลับไป<br />

ใช้ใหม่ได้ ไม่ให้เหลือทิ้งเป็นขยะ เป็นการนํากลับคืนสู่สังคมให้<br />

เกิดประโยชน์สูงสุด”<br />

Exhibition “Dwellings”<br />

Exhibition ‘In Remembrance of His Majesty King Bhumipol<br />

Adulyadej’<br />

Storytelling by Manatspong Sanguanwuthirojana from Hypothesis.Co.Ltd.,<br />

(1) / Pantavit Lawaroungchok from Apostrophy’s Co.,Ltd. (2)<br />

“The main structure in the exhibition is scaffolding,<br />

giving a feeling like an unfinished building covered by<br />

a tarp. This analogy is used to represent the country of<br />

Thailand in the way that the late King has reformed.<br />

Even though the work is not complete, but we want the<br />

participants to help build and continue what the late<br />

King has laid the foundation.”<br />

Exhibition ‘Pictures of Dad’<br />

Storytelling by Manatspong Sanguanwuthirojana from Hypothesis Co., Ltd.<br />

(1) / Tawan Wongsawan from Design on Television Co., Ltd. (DOTV) (3)<br />

“I want to invite everyone to show their love through<br />

the ‘Pictures of Dad’ exhibition. There are 99 pictures<br />

total including drawings and photos from various people<br />

in different fields. In terms of designing, the team follows<br />

the late King’s speech regarding 3 main aspects: sufficiency,<br />

thriftiness, and functionality. In this exhibition we select<br />

materials that can be reused. For example, after the<br />

display the photos will be distributed back to everyone,<br />

thus shifting into ‘the photo in every house’.”<br />

Talk ‘Light Sculpture’<br />

Storytelling by Ajarn Songpot Saisueb, hostess of the Association of<br />

Siamese Architects Faculty member, the Faculty of Architecture, Naresuan<br />

University (4)<br />

“After the death of King Rama IX, Ajarn Burin<br />

Tharavichitkun and Ajarn Karn Khamkaew, faculty members<br />

at the Faculty of Architecture, Chiang Mai University,<br />

have created a work to express their remembrance of<br />

the late King through a sunlight sculpture. When light<br />

casts a shadow of the sculpture onto the wall scene<br />

everyday at 15.52 pm, the King’s face will appear. It’s a<br />

symbol showing that the King has not left us, but he<br />

rests in the sky, and the sunlight has brought him back<br />

to us again. Join us to find the answer and discover the<br />

work process and effort of this masterpiece.”<br />

Exhibition ‘Dwelling’s Elements’<br />

Storytelling by Sake Simaraks, Freelancer (5)<br />

“This exhibition features small sections from inside<br />

a house. We invite 12 designers to design 24 dwelling’s<br />

“This zone is like a magazine that has hundreds of<br />

houses in it and everything every homeowner would<br />

want to know. Visitors can choose from 3 axes to view;<br />

just walk around and view the 3-way information display.<br />

One can view the houses from 3 perspectives, and the<br />

information from the 3 viewpoints will be processed<br />

into a 3-dimensional graph, projecting the construction<br />

area, budget, and the look of the house.”<br />

Exhibition ‘Robot Technology for Construction’<br />

Storytelling by Samustpon Tanapant, Chief Technology Officer (CTO)<br />

of FabCafe Bangkok (11)<br />

“This exhibition consists of 3 parts of technology,<br />

construction and repair, robotics, and a VR world. The<br />

first construction and repair section focuses on the use<br />

of 3D technology for dwellings. The robotics part is<br />

about using industrial robots in construction, and the<br />

VR world is an important tool for better data access.”<br />

Exhibition ‘BAAN BAAN Photo Essay’<br />

Storytelling by Assistant Professor Dr. Waricha Wongphyat, Faculty<br />

Member, Faculty of Architecture, Chulalongkorn University (12)<br />

“If you have been asked to think about home, it<br />

may not be just a dwelling or the physical home, but it<br />

is the thought about events and the people in the<br />

events. The sense of home includes a scale larger than<br />

a single building. It also includes the community, as well<br />

as the homeland. All of these are interpreted into a<br />

series of 3-5 photos taken from diverse perspectives.<br />

They are fun and intrigue us to ponder.”<br />

Exhibition ‘Traditional and Vernacular Thai Dwelling’<br />

Storytelling by Chatri Prakitnonthakan, Faculty Member, Faculty of<br />

Architecture, Silpakorn University (13) / Siridate Wangkran, Faculty<br />

Member, Faculty of Architecture, Silpakorn University (14) / Pongsakorn<br />

Yimsawad, Faculty Member, Faculty of Architecture, Chulalongkorn<br />

University (15) /Assistant Professor Suphawat Hiranthanawiwat, Faculty<br />

of Architecture, Chulalongkorn University (16) / Teerachai Leesuraplanon,<br />

Lecturer, Architecture & Planning Department, Faculty of Architecture<br />

King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (17)<br />

“This is a presentation of vernacular Thai dwellings<br />

in a new outlook, through users or residents with different<br />

backgrounds in ethnicity, wealth, and culture. The<br />

presentation is done using physical models and videos.<br />

We want the visitors to ponder and answer themselves<br />

that Thai house, who’s house, and how is your house?”<br />

Exhibition ‘Emerging Architecture Awards’<br />

Storytelling by Noppon Pisutharnon, Director of Quintrix Architects (18)<br />

Bunnada Yongvanichakorn from Quintrix Architects<br />

“This is the first year of this new award. The award<br />

will be presented every 2 years and is open to architects<br />

who are less than 45 years old. The main focus is on<br />

- 22 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


concept. For this year, the theme is about dwelling. In<br />

the event, the visitors will get to watch the panel critique<br />

in the final round of competition. It will feel like watching<br />

the Voice TV program.”<br />

Exhibition ‘Dwelling Surroundings’<br />

Storytelling by Donlaporn Chanachai from Cloud-Floor Co., Ltd., (19) /<br />

Nattapong Phattanagosai from Cloud-Floor Co., Ltd., (20) / Korkiat<br />

Kittisoponpong from IF Integrated Field Co.,Ltd., (21) / Gullyawat Lertpeerakorn<br />

from IF Integrated Field Co.,Ltd. (22)<br />

“The most visible of a dwelling’s surroundings is the<br />

garden. Thus, this year we create a garden inside the<br />

event in the activity area. It is a garden of edible trees<br />

and 50 perennial plants, all of which will be planted in<br />

nature for public benefit after the event. There will be<br />

a presentation about the concepts of designing and how<br />

to solve problems typically faced in the dwelling’s<br />

surroundings.<br />

Exhibition ‘Reconsidering Dwelling’<br />

Storytelling by Parima Kotanut (23) / Wasin Hemachartiwiroon (24) /<br />

Thada Nantanapiboon (Prototype Co., Ltd.) (25) / Jirapat Chanphichai<br />

(26) / Bhawat Peanpensiriwong (27) / Methaporn Chittrayanont (28)<br />

“The term “dwelling” is not the same for everyone.<br />

Therefore, we organize this exhibit with 12 different<br />

types of dwelling for 3 groups of case studies which<br />

differ based on the characteristics of dwelling locations<br />

and the duration of residency. We want the visitors to<br />

see the different formats of the term “Dwelling” and<br />

“Living”. This is a great opportunity for re-consideration<br />

by both architects, designers, and for visitors or residents.<br />

You may share ideas, ask questions, interpret thoughts,<br />

and even answer some questions about dwellings.”<br />

Exhibition ‘Architectural Conservation and Network<br />

Alliance’<br />

Storytelling by Parichat Sakunjaroenpornchai, Member of the Committee<br />

Focusing on the Conservation Year 2016 – 2018 (29)<br />

“This is an exhibition showcasing the role of the<br />

Association of Siamese Architects in urban activities<br />

and public policy. There are several small exhibits such<br />

as an exhibit about Architectural Conservation Awards<br />

and an exhibit on vernacular survey or VERNADOC, for<br />

example.”<br />

Exhibition ‘Regions’<br />

Storytelling by Preecha Navaprapakul, Managing Director of DFAP<br />

Architect Co., Ltd. (30)<br />

“The regional (northern, northeastern, and southern)<br />

branches of the association present the sense of home<br />

in different regions. The differences in the design of<br />

dwellings found in different regions can be observed.”<br />

Exhibition ‘Urba(a)n’<br />

Storytelling by Assistant Professor Dr. Supitcha Tovivich, Head of<br />

Department of Architecture, Faculty of Architecture, Silpakorn University<br />

(31) / Tharit Bunteongjit (Mor and Farmer Co., Ltd.) (32) /Nuttawadee<br />

Suttanan (Mor and Farmer Co., Ltd.) (33)<br />

“You will see the participatory process of people,<br />

architects, and communities. There are projects that we<br />

work on with communities. The visitors can participate<br />

in sharing opinions and the design of those projects<br />

through interactive media provided in the exhibition.”<br />

Seminar Exhibition <strong>ASA</strong> Forum and <strong>ASA</strong> Films<br />

Storytelling by Winyu Ardrugsa, PhD, Faculty of Architecture and Planning,<br />

Thammasat University (34) / Savitri Paisalwattana, Co-Founder of PAGA<br />

Architect (35) / Jakob Gardolinski, Co-Founder of PAGA Architect (36)<br />

“We invite renowned Thai and foreign architects to<br />

present their works. Visitors will experience new<br />

thoughts and technologies in designing in the theme<br />

‘BAAN BAAN’. There will also be works from <strong>ASA</strong> Films<br />

featuring typical and documentary films related to<br />

concepts and ideas in architectural works. Join the<br />

lectures by architects and film makers and exchange<br />

your thoughts and ideas.”<br />

Dwelling Doctors<br />

Storytelling by Piya Danothai, Faculty member, Faculty of Architecture<br />

and Design, Department of Architecture, King Mongkut’s University of<br />

Technology North Bangkok (37)<br />

“You don’t know when your house will be sick, so,<br />

coming to see a volunteer dwelling doctor is like taking<br />

your house to see the doctor. It will help keep the house<br />

healthy and be with us for a long time.”<br />

Graphic Communication<br />

Storytelling by Peerapat Kittisuwa from P.LIBRARY (38)<br />

“This is about the thought behind bright characters.<br />

The main message to communicate about the 2017 <strong>ASA</strong><br />

Expo is that ‘home’ does not just mean a bed or a family,<br />

but it can be something else, office, business space, or<br />

other areas that we also spend our lives in. Thus, we try<br />

to talk about different views of the space inside the<br />

house in various meanings. We communicate by using<br />

a character that easy to remember. If you look at the<br />

communication graphics this year, you will notice that<br />

all cartoon characters are in lounge wear. We want all<br />

of these characters to represent the physical presence<br />

of visitors who walk in and search for meanings in<br />

another dimension.”<br />

Architect’17 Agenda Publication<br />

Storytelling by Korrakot Loadkam (39)<br />

31<br />

32 33 34 35<br />

“This year the agenda publishing is in the form of<br />

a book that has a collection of home-related images<br />

and ideas of thinkers, writers, academics, architects, and<br />

people in different fields regarding dwellings, under this<br />

year’s theme. It’s a beautiful book that we will give away<br />

to members of the association who join this event.”<br />

Sub-committee for Exhibition Design and Construction<br />

Storytelling by Sirichai Leangvisutsiri, Project Director of Apostrophy’S<br />

Group (40)<br />

36 37 38 39 40<br />

“This year, we focus on a design that is simple and<br />

give the feeling of relaxation to match with the event’s<br />

theme. So, visitors can access the exhibitions easily. It<br />

is also the first year that we stress on making a design<br />

that takes into account the reusability so that there is<br />

no waste.”<br />

- 23 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


SPECIAL STORY<br />

<strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards 2017 “BAAN BAAN”<br />

ผลการคัดเลือกรางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ ประจำปี 2560 “บ้าน บ้าน”<br />

โครงการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ ประจําปี 2560 มีผู้ส่งผลงานจํานวนรวมทั้งสิ้น 42 โครงการ โดยคณะกรรมการตัดสิน<br />

ได้ดําเนินการพิจารณาคัดเลือก รอบที่ 1 มีผลงานที่ผ่านการคัดเลือก 7 โครงการ ดังนี้<br />

In the 2017 Emerging Architect Design Competition Project, the total number of<br />

submissions was 42, and the selection committee has chosen these 7 projects to pass<br />

the first round.<br />

โครงการ: บ้านสมใจ<br />

สถานที่: เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี<br />

เลขที่สมาชิก: 07724<br />

สถาปนิก: นายณัฎฐวุฒิ พิริยประกอบ<br />

Project Name: Somjai House:<br />

Local Handmade<br />

Location: Koh Phagnan, Suratthani<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: 07724<br />

Architect: Mr.Nutthawut Piriyaprakob<br />

โครงการ: บ้านเกียรติฟุ้ง<br />

สถานที่: ย่านเมืองเก่าสงขลา<br />

เลขที่สมาชิก: 07792<br />

สถาปนิก: นายปกรณ์ เนมิตรมานสุข<br />

Project Name: Kiatfung House<br />

(Songkhla Stew Rice Legend)<br />

Location: Songkhla Oldtown<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: 07792<br />

Architect: Mr.Pakorn Nemitrmansuk


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

โครงการ: Pal’s Residence<br />

สถานที่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ<br />

เลขที่สมาชิก: 08660<br />

สถาปนิก: นายพัชระ วงศ์บุญสิน<br />

Project Name: Pal’s Residence<br />

Location: Kaset-Nawamin Bangkok<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: 0866<br />

Architect: Mr.Patchara Wongboonsin<br />

โครงการ: บ้าน 0.60<br />

สถานที่: บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ<br />

เลขที่สมาชิก: อาษา 3-0246<br />

สถาปนิก:<br />

อินทิเกรเตท ฟิลด์ บจก.<br />

นายพงษ์สันต์ สุวรรณมณีโชติ<br />

นายสรกิจ กิจเจริญโรจน์<br />

นายจินตวัฒน์ ชอบสงบ<br />

นายธนพลพจน์ โรจน์ณัฐกุล<br />

นายวรวุฒิ เอื้ออารีมิตร<br />

นายก่อเกียรติ กิตติโสภณพงศ์<br />

นายกัลยวัจน์ เลิศพีรากร<br />

นายคณิน มัณฑนะชาติ<br />

นายเลอพงษ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์<br />

นายกวิน หรยางกูร<br />

Project Name: BAAN 0.60<br />

Location: Bangkhunnon, Bangkok<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: <strong>ASA</strong> 3-0246<br />

INTERGRATED FIELD CO.,LTD.<br />

Architect : Mr.Pongson Suwanmaneechot<br />

Mr.Sorakit Kitcharoenroj<br />

Mr.Jintawat Shobsngob<br />

Mr.Thanapolpoj Rochnattakul<br />

Mr. Worawut Oer-areemitr<br />

Mr.Korkiat Kittisoponpong<br />

Mr.Gullyawat Lertpeerakorn<br />

Mr.Kanin Manthanachart<br />

Mr.Lerpong Rewtrakulpaiboon<br />

Mr.Kavin Horayangkura<br />

- 25 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


โครงการ: บ้านเอกมัย<br />

สถานที่: ซอยเอกมัย 18<br />

เลขที่สมาชิก: 12717<br />

สถาปนิก นายฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล<br />

Project Name: Ekamai House<br />

Location: Soi Ekamai 18<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: 12717<br />

Architect: Mr.Chatpong Chuenrudeemol<br />

โครงการ: บ้านน่ารัก<br />

สถานที่: ย่านเมืองเก่าสงขลา<br />

เลขที่สมาชิก: 07792<br />

สถาปนิก: นายปกรณ์ เนมิตรมานสุข<br />

Project Name: Baan Narak<br />

(Cute Little House)<br />

Location: Songkhla Oldtown<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: 07792<br />

Architect: Mr.Pakorn Nemitrmansuk<br />

- 26 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


โครงการ: O-ART-IM HOUSE<br />

สถานที่: พระราม 9 ซอย 26<br />

เลขที่สมาชิก: อาษา 1-0214<br />

สถาปนิก<br />

สถาปนิกสุข บจก.<br />

นายรุจนัมพร เกษเกษมสุข<br />

Project Name: O-ART-IM HOUSE<br />

Location: Rama IX Soi 26<br />

<strong>ASA</strong> Member Number: <strong>ASA</strong> 1-0214<br />

SOOK Architects Co., Ltd.<br />

Architect: Mr.Rujnumporn Keskasemsook<br />

- 27 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


INSPIRE<br />

DIGITAL ARCHITECTURE<br />

สถาปัตยกรรมยุคดิจิทัล<br />

คุณฐกฤต จิระอุดมชัย สถาปนิกหนุ่มแห่งบริษัท dwp<br />

(design worldwide partnership) ผู้เดินเข้าสู่โลกแห่ง<br />

สถาปัตยกรรมยุคดิจิทัล ด้วยการเรียนรู้ผ่าน Youtube (ใช่ คุณ<br />

อ่านไม่ผิด เขาศึกษาการใช้โปรแกรมด้วยตนเองผ่าน Youtube)<br />

วันนี้เขาจะพาเราไปทําความรู้จักกับการก่อสร้างอาคารรูปแบบ<br />

ใหม่ รวมถึงการปรับตัวในยุคนี้ที่ใครๆต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า<br />

เรากําลังเดินทางสู่ไทยแลนด์ 4.0<br />

สหรับคนไม่รู้จัก BIM คืออะไร<br />

ระบบ BIM (Building Information Modeling) คือ<br />

กระบวนการทํางานรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวการสําคัญ<br />

ในการทํางาน โดยใช้โมเดล 3D ในการเก็บข้อมูล<br />

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ในอดีตการก่อสร้างอาคารจะ<br />

ใช้ระบบ CAD เล่าง่ายๆ ว่า การก่อสร้างอาคารหนึ่งหลังเกิดจาก<br />

สถาปนิก ซึ่งสถาปนิกก็ไม่ได้คิดเองหรอกนะครับ ทั้งหมดได้<br />

ข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า จากนั้นเราก็มาดีไซน์ในสมอง แล้วก็<br />

ส่งต่อไปให้แผนกอื่น จนถึงกระบวนการก่อสร้าง<br />

การที่เราสร้างอาคารหลังหนึ่ง เราไม่ได้ใช้กระดาษแผ่น<br />

เดียว แต่เราใช้เป็นร้อยแผ่น ทําให้เกิดปัญหาข้อมูลไม่ครบถ้วน<br />

ทางการก่อสร้างก็จะมีปัญหาถามกลับมาเรียกว่า RFI (Request<br />

for Information) ตลอดเวลา เช่น สร้างผิดต้องทุบสร้างใหม่<br />

เพราะข้อมูลขาดบ้างไม่ครบบ้าง เข้าใจไม่ตรงกันบ้าง ทําให้เกิด<br />

ปัญหา เพราะไม่เหมือนกับแบบที่เราออกแบบมาทําให้เราต้อง<br />

สูญเสียทรัพยากรและทรัพย์สินเป็นมูลค่ามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม<br />

ที่เราได้คาดการณ์ไว้<br />

20 ปีที่แล้ว ภาพของการทํางานอาจเป็นเช่นนี้<br />

ลองนึกภาพข้อมูลที่อยู่ในหัวสถาปนิกสิครับ<br />

ข้อมูลจะถูกส่งไปเรื่อยๆ แล้วทีนี้ตัวข้อมูลอันละเอียดยิบจะ<br />

ถูกส่งในรูปแบบไหนล่ะ เพื่อให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่เราคิดมาก<br />

ที่สุด เพราะกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกคงไม่สามารถสร้าง<br />

ได้ด้วยตัวคนเดียว<br />

เราต้องคิดว่าจะสื่อสารออกไปอย่างไรจะตอกเสาเข็มตรงไหน<br />

จะก่ออิฐตรงไหน เจาะรูตรงไหน ที่ผ่านมามีซอฟต์แวร์บางตัว<br />

เข้ามาช่วยจดบันทึกว่าที่เราคิดไว้มีอะไรบ้าง จากนั้นก็พิมพ์ออก<br />

มาเป็นกระดาษส่งไปตามกระบวนการ ซึ่งในกระดาษแต่ละแผ่น<br />

เราต้องหาวิธีทําให้กระบวนการอื่น “เข้าใจ” ในจุดที่เราเขียนลง<br />

ไปให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด และจบงาน<br />

ตามที่เราต้องการ<br />

ได้เวลา BIM บุก<br />

ในวงการก่อสร้างอาคาร มีการพูดถึงเรื่องระบบ BIM กันมา<br />

สักพักแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 เริ่มมีการนําเอา BIM มาใช้และถือว่า<br />

เป็นสิ่งใหม่มากในประเทศไทย หาพนักงานที่มีทักษะนี้ยากมาก<br />

บางองค์กรจําเป็นต้องส่งพนักงานไปฝึกอบรม เพราะหากจะขาย<br />

งานให้ผ่านก็ยาก เพราะฝ่ายขายของบริษัทเองก็ไม่สามารถนํา<br />

ไปประยุกต์ใช้ได้<br />

แต่ปัจจุบันมีการตื่นตัวมากขึ้น นอกจากในวงการสถาปนิก<br />

แล้ว ตัวลูกค้าก็มีความต้องการระบบ BIM มากขึ้น ทําให้ผู้รับเหมา<br />

หันมาสนใจมากขึ้น นับว่าการเข้ามาของระบบ BIM กลายเป็น<br />

แรงผลักจากภายนอก<br />

ลองนึกภาพเกมเดอะซิมส์ (The SIMS) ที่คุณเคยเล่น การ<br />

ออกแบบโดยใช้3D อัจฉริยะ วิธีนี้ไม่ใช้กระดาษแล้ว แต่เป็นการ<br />

ใช้โมเดลแทน โมเดลตัวนี้สามารถเก็บข้อมูลได้มากมาย<br />

มหาศาล และสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ<br />

พูดง่ายๆ นี่คือการนําเอาข้อมูลในสมองของเราไปเป็นแบบ<br />

ก่อสร้างและตกแต่งภายใน<br />

ระบบ BIM จะทําให้ลูกค้าเห็นภาพและรูปร่างแบบอาคาร<br />

ที่เราจะสร้างได้นี่คือหัวใจหลักของการทํางานเลย ช่วยลดระยะ<br />

เวลาการทํางานให้สั้นลง ทําให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระบบมีความเข้าใจ<br />

มากขึ้น (ทั้งฝ่ายลูกค้า สถาปนิก และวิศวกร) และการควบคุม<br />

ค่าใช้จ่ายในระหว่างขั้นตอนของการออกแบบทุกอย่างได้เรายัง<br />

สามารถที่จะลดหรือขจัด RFIs (การขอข้อมูล) จากทางผู้ก่อสร้าง<br />

ลงได้ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวางแผนการ<br />

ออกแบบการก่อสร้างและจัดการอาคาร<br />

BIM ทําให้ลูกค้าควบคุมค่าใช้จ่ายได้ ลดระยะเวลาในการ<br />

ก่อสร้าง ลดต้นทุน เมื่อลูกค้าได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นใน<br />

กระบวนการสร้าง ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นสําหรับลูกค้า<br />

ลงได้ ในการสร้างอาคารมี 2 ส่วนสําคัญคือ การออกแบบกับ<br />

การก่อสร้าง ระบบ BIM จะช่วยลดทอนเวลาในการออกแบบไปถึง<br />

20 เปอร์เซ็นต์และช่วยสร้างความแม่นยํา ลดกระบวนผิดพลาด<br />

ในการก่อสร้างด้วยเช่นกัน<br />

ที่ dwp เราเป็นบริษัทสถาปนิกแห่งแรกในประเทศไทยที่<br />

ปลดระวางล้างระบบ CAD ออกไปทั้งหมดตั้งแต่ปี 2558 และ<br />

นําระบบ BIM มาใช้ในทุก seat (หน่วยในการลงโปรแกรม<br />

คอมพิวเตอร์ต่อเครื่องเขาเรียก seat) เราเลือกใช้โปรแกรม<br />

Autodesk REVIT ทํางานเป็นหลัก และเชื่อมต่อด้วยโปรแกรม<br />

Collaboration BIM ที่ประสานงานร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ<br />

โดยเลือกโปรแกรมที ่ได้รับความนิยมในวงการ มีคุณภาพดี<br />

ใช้งานง่าย<br />

- 28 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ลองนึกภาพเกมเดอะซิมส์ (The SIMS) ที่คุณเคยเล่น<br />

การออกแบบโดยใช้ 3D อัจฉริยะ<br />

วิธีนี้ไม่ใช้กระดาษแล้ว แต่เป็นการใช้โมเดลแทน<br />

โมเดลตัวนี้สามารถ<br />

เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล<br />

และนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ<br />

ตอนนี้ผมมีโปรเจ็กต์ที่ทําอยู่กับกลุ่มเพื่อนที่เป็น BIM<br />

Manager ต่างองค์กรด้วยกัน เราเปิดอบรมทักษะของระบบ BIM<br />

ให้กับทุกคน ทุกสาขาอาชีพที่สนใจ คุณจะเป็นใครก็ได้ วิศวกร<br />

บริษัทรับเหมาก่อสร้างสถาปนิก โปรแกรมเมอร์ขอเพียงถอดหมวก<br />

ที่คุณสวมออกก่อน แล้วมาเจอกันในคลับเล็กๆ หลังเลิกงาน<br />

เดือนละ 1 ครั้ง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ<br />

อยากเข้ามาร่วมฟังใน forum ดังกล่าว ติดต่อได้ที่<br />

takrit.j@dwp.com<br />

Mr.Takrit Jirawudomchai is an architect from dwp<br />

(design worldwide partnership) who walks into the world<br />

of digital architecture by self-learning via Youtube (Yes,<br />

you read it right. He taught himself to use architecture<br />

programs by watching Youtube). Today, he will bring us<br />

knowledge about a new platform of building construction,<br />

as well as adaptation during the journey to Thailand 4.0.<br />

For those who don’t know, what is BIM?<br />

Building Information Modeling (BIM) is a new work<br />

process that uses technology to drive work and use a<br />

3D model for data storage.<br />

In the past, we would use CAD systems to document<br />

design drawing for architectural construction. It begins<br />

at an architect. However, the architect didn’t just come<br />

up with all ideas himself; that came from the initial data<br />

given from the client. Next, we contemplate, construct<br />

the initial design, then pass that design to other specialized<br />

departments, and so on and so forth to the construction<br />

process.<br />

Imagine the amount of data and information in the<br />

architect’s head.<br />

That data is passed on to others, but what type of<br />

format should all this very highly detailed data be transmitted<br />

such that everyone else understands the architect’s<br />

thought as much as possible? Because in the construction<br />

process, the architect can’t do it all himself.<br />

We have to think of how we should communicate.<br />

Where will be the foundation piles? Where will we lay<br />

bricks? Where do we dig holes? In the past, there is<br />

some software that helps us with the documentation,<br />

and we then make a printout to send to various departments<br />

along the process. So, on each piece of paper,<br />

we have to find a way to make sure people in other<br />

processes “understand” our documentation as best we<br />

can, to minimize mistakes, and complete the job the<br />

way we want.<br />

To construct a building, we don’t use just a single<br />

sheet of paper, but we use hundreds. So, the problems<br />

that arise are usually regarding incomplete data. The<br />

construction team constantly asks questions or so<br />

called ‘RFI (Request for Information). Sometimes after<br />

the building construction is finished, we need to demolish<br />

and redo the work because the data led to incomplete<br />

work, or a misunderstanding caused the building to not<br />

conform to the actual design requirements. Thus, we<br />

waste a lot of resources, and costs rise to be much more<br />

than we anticipated.<br />

That was the picture of the process 20 years ago.<br />

It’s time for BIM to emerge<br />

In the field of building construction, there have<br />

been talks about the BIM system for a while. The use<br />

of BIM started in 2013 and it was considered a very<br />

new thing in Thailand. It was very hard to find employees<br />

with this skill. Some organizations had to send their<br />

staff for training because they couldn’t sell their work<br />

if their sales people couldn’t use the software.<br />

Today, there is more awareness about BIM. In addition<br />

to the architecture field, more customers also request<br />

the use of BIM, forcing the contractors to give it more<br />

attention. So, the penetration of BIM system turns out<br />

to be the result from external factors.<br />

Consider “The SIMS” game that you may have used<br />

to play. The design is done using smart 3D; this method<br />

no longer uses paper, but uses a model instead. This<br />

model can store huge amounts of data, and can also<br />

be reused over and over. The model will contain the<br />

level of information we need, and can record data every<br />

single step along the way.<br />

In short, this is the way to transform data in our<br />

brain into a construction and interior design drawing.<br />

The BIM will allow customers to see images and the<br />

shape of the building that we will construct. This is the<br />

heart of the work process. It will help shorten the time<br />

of the work cycle, make those involved in all systems<br />

have a better understanding (the client, the architect,<br />

and the engineer), and control costs in all steps of the<br />

design. We also can reduce or eliminate RFIs (the data<br />

request) from the builders. So, this is an effective tool for<br />

the planning of building construction design and building<br />

management.<br />

BIM enables a client to control the budget, shorten<br />

the time of construction, and reduce costs. When the<br />

client has a clearer picture of the construction process,<br />

it helps him cut down some unnecessary costs. In<br />

building construction, the 2 most important parts are<br />

design and construction. The BIM system helps cut<br />

down the design time by as much as 20 percent, and<br />

ฐกฤต จิระอุดมชัย<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C4<br />

increases accuracy, as well as reducing mistakes during<br />

the construction phase.<br />

At dwp, we are the first architecture company in<br />

Thailand that totally removes CAD from the architecture<br />

process, and have done so since 2015. We brought in<br />

the BIM system to use for every seat (the unit in software<br />

installation per machine is called seat). We choose to<br />

mainly use the program Autodesk REVIT, and use the<br />

program Collaboration BIM to link and coordinate work<br />

with other programs. The programs are chosen based<br />

on their popularity in the field, the quality, and the easy<br />

usability.<br />

Currently I have a forum that I work on with a group<br />

of friends from different organizations. We offer training<br />

in BIM system to everyone, in any occupation. If you<br />

are interested, no matter who you are, an engineer, a<br />

construction contractor, an architect, a programmer,<br />

take off your hat and join us in a small club once a<br />

month after work. It’s free of charge.<br />

If you are interested in this forum, contact<br />

takrit.j@dwp.com<br />

ภาพ : Autodesk ภาพ : Autodesk ภาพ : Autodesk<br />

- 29 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


IN CLIENT’S VIEW<br />

in client view (p.30)<br />

- 30 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

Worth and Value Creation; Tackle the Challenge<br />

สร้างมูลค่าและคุณค่า ตอบโจทย์อันท้าทาย<br />

อดีตปั๊มนํ้ำมันเก่าบนพื้นที่ทรงสามเหลี่ยมบนถนนวงศ์สว่าง<br />

เชิงสะพานพระราม 7 ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งออฟฟิศแห่งใหม่ของ<br />

บริษัท วนชัย กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) นับเป็นโจทย์อันท้าทายของ<br />

สถาปนิกที่ต้องแก้ปัญหาข้อจํากัดของพื้นที่และทําเล แต่เมื่อ<br />

ผลลัพธ์ออกมา การทํางานที่ตอบโจทย์ของสถาปนิกได้สร้าง<br />

“มูลค่า” และ “คุณค่า” อย่างน่าพอใจในมุมมองของผู้เป็น<br />

เจ้าของ<br />

คุณก้อย-ภัทรา สหวัฒน์ กรรมการบริษัท วนชัย กรุ๊ป จํากัด<br />

(มหาชน) และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วูดเทค อินเตอร์<br />

เนชั่นแนล จํากัด บอกเล่ากับ ว่า การได้พบสถาปนิก<br />

ที่รู้ใจถือเป็นโชคเหมือนคุณกําลังได้เจอเพื่อนคู่คิดดีๆ สักหนึ่งคน<br />

“เราเกิดที่นี่ โตที่นี่ วิ่งเล่นที่นี่ บนแปลงด้านหลังที่ในอดีต<br />

เคยเป็นโรงเลื่อยมาก่อน แต่เนื่องจากที่ดินด้านหลังเป็นที่ดิน<br />

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พอหมดยุคโรงเลื่อยก็เลยทําเป็น<br />

สํานักงานใหญ่ของวนชัย ที่นี่มีอายุกว่า 30 ปี เมื่อบริษัทโตขึ้น<br />

เรื่อยๆ สถานที่เริ่มไม่เพียงพอ บวกกับตรงนี้เป็นที่ของทรัพย์สินฯ<br />

เราจึงตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้ที่อยู่ติดกันเพราะถ้าเราจะสร้างตึก<br />

ก็ควรสร้างในที่ดินของเราเอง เราขึ้นตึกเป็น High-Rise Zone<br />

และด้านหลังที่เป็นโรงเลื่อยก็จะพัฒนาทําเป็นศูนย์เรียนรู้<br />

เกี่ยวกับไม้”<br />

พื้นที่ทรงสามเหลี่ยมเชิงสะพานพระราม 7 หากมุ่งหน้ามา<br />

จากแยกวงศ์สว่าง ถ้าไม่ได้ขึ้นสะพานก็ต้องเลี้ยวซ้ายไปตาม<br />

ถนน ที่ตั้งของอาคารวนชัยอยู่ตรงมุมหัวถนนนี้ ทางเข้าบริษัท<br />

เป็นมุมป้านออก เรียกว่าหากขับรถและไม่ได้สังเกต แทบจะมอง<br />

ไม่เห็นอาคารนี้ที่อยู่ฝั่งซ้ายมือ<br />

“พื้นที่มันท้าทาย ท้าทายในความแคบ ท้าทายในมุมของ<br />

ถนนเวลาที่รถวิ่งเข้ามา องศาของถนนในการเลี้ยว การมองเห็น<br />

จะค่อนข้างยาก สถาปนิกจาก Openbox Architects ได้เข้ามา<br />

ตอบโจทย์จะปรับตึกให้สูงขึ้นดีไหม เพื่อให้คนเห็นแล้วสะดุดตา<br />

จากระยะไกล อาคารสูง 8 ชั้นเราทําแผนกต้อนรับไว้ที่ชั้น 5 เลย<br />

ดังนั้นหากใครเดินเข้ามาจะต้องขึ้นบันไดเลื่อนยาวมุ่งหน้า<br />

ตรงมาชั้น 5 เพราะชั้น 1-4 เราทําเป็นที่จอดรถ ชั้น 5-8 เป็น<br />

ออฟฟิศ พื้นที่ทุกตารางเมตรของที่นี่ต้องได้ประโยชน์ และจุด<br />

ประสงค์หลักคือ ต้องการดึงให้ตึกเด่นขึ้นมา เวลาคนสัญจรไปมา<br />

จะได้มองเห็นจากระยะไกล”<br />

The triangle shaped strip of land on Sawang Wong<br />

road at the corner of Rama VII bridge, where an old gas<br />

station used to be, is now the location of Vanachai Group<br />

Public Company Limited’s new office. It was a challenge<br />

for an architect to tackle the limitation of space and<br />

location. However, upon completion, the architect’s killer<br />

work has created ‘worth’ and ‘value’ satisfactorily in the<br />

view of the owner.<br />

Khun Koy – Patra Sahawat, Director of Vanachai<br />

Group Public Company Limited and Deputy Managing<br />

Director of Woodtech International Company Limited,<br />

told that finding an architect who knows your<br />

mind is a gift and it is like finding a good partner.<br />

“We grew up and played here, on the back of this lot<br />

where there used to be a sawmill. However, because the<br />

land next to it is a crown property, after the end of the<br />

sawmill era we built the headquarters of Vanachai here<br />

and it is now more than 30 years old. As the company<br />

expanded, the space was not big enough. Combined<br />

with the fact that the crown property is right here, we<br />

decided to buy an adjacent property so we could construct<br />

a building. We built a High-Rise Zone and in the<br />

back which was a sawmill, we will create a center for<br />

learning about wood.”<br />

The area is triangle-shaped and located at the<br />

base of the Rama VII bridge. If heading from the Wong<br />

Sawang intersection and not going on the bridge, you<br />

have to turn left and follow the road. The Vanachai<br />

Building is right at the corner of this road. The entrance<br />

to the company is obtuse-angled, so if you drive and<br />

do not pay close attention, you could barely see this<br />

building on the left.<br />

“The space itself is challenging in both its narrowness<br />

and the blocked visibility due to the angle of the turn<br />

one takes from the main road. The architects from<br />

Openbox Architects helped us find a solution, which<br />

is to make a taller building in order to improve<br />

its visibility, both from the road and from a<br />

far distance. The building is 8-stories and the<br />

reception area is on the fifth floor. Therefore,<br />

one has to take a long escalator up to the fifth<br />

floor because floor 1st – 4th is for parking. Floor<br />

5th – 8th is office space. Every single square<br />

meter of the area has to be utilized. The main<br />

purpose is to make the building prominent, so<br />

it can be seen from a distance.”<br />

- 31 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


- 32 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


การมีสถาปนิกเป็นสิ่งสำคัญ<br />

แต่การได้เจอสถาปนิกที่รู้ใจเป็นสิ่งสำคัญมาก<br />

สถาปนิกที่ดีจะต้องตอบโจทย์<br />

และต่อยอดมากกว่าสิ่งที่เราต้องการ<br />

“เมื่อเราโยนโจทย์พื้นที่ให้สถาปนิก พวกเขาใช้ความเป็น<br />

‘วนชัย’ เล่าเรื่องให้มากที่สุด เราเริ่มจากโรงเลื่อยก็จริง แต่เมื่อ<br />

หันมาทําไม้ทดแทนธรรมชาติ ตัวโรงงานเราเป็น Zero Waste<br />

ทางสถาปนิกจึงนําแนวคิดนี้มาต่อยอดในการออกแบบตึกให้ตัว<br />

อาคารประหยัดพลังงาน ถึงไม่เปิดไฟในตัวอาคารก็สว่าง และ<br />

ไฮไลต์ของตึกนี้คือบันไดทางเข้าขึ้นมาชั้น 5 โครงบันไดทั้งหมด<br />

เป็นไม้พื้น แต่นักออกแบบเปลี่ยนวิธีการนําเสนอทั้งหมด ลอง<br />

เอาไม้พื้นมาทําฝ้า และเปลือยให้เห็นวัสดุ ตรงนี้จึงเป็นเหมือน<br />

โชว์รูม เป็น Case Study ไปในตัว”<br />

“เมื่อปรับปรุงพื้นที่สังเกตว่าพื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้พัฒนา<br />

และสร้างมูลค่าไปตามๆ กัน บรรดานักลงทุนต่างสนใจมากขึ้น<br />

แต่สําหรับเราคงไม่คิดจะย้ายไปไหน เราเลือกอยู่ตรงนี้ เพราะ<br />

สถานที่แห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้น เป็นพื้นที่ของการค้าขายไม้ที่<br />

สืบทอดมาจากอดีต เคยมีเรือลากซุงมา และเป็นพื้นที่ที่เราจะ<br />

เล่าถึงความเป็นมาอันยาวนาน 73 ปีของวนชัยให้แขกทุกคนได้<br />

รับรู้เป็นอย่างดี”<br />

“การมีสถาปนิกเป็นสิ่งสําคัญ แต่การได้เจอสถาปนิกที่รู้ใจ<br />

เป็นสิ่งสําคัญมาก สถาปนิกที่ดีจะต้องตอบโจทย์ และต่อยอด<br />

มากกว่าสิ่งที่เราต้องการ”<br />

“When we specify the problem, they use “Vanachai”<br />

as the main story board. It’s true that we began from the<br />

sawmill era, but when we entered the wood substitute<br />

business, our factory focused on Zero Waste. Thus, with<br />

this concept, the architects create the building design<br />

with a focus on energy saving. Even if the light is not<br />

turned on, the building is still lit. The highlight of this<br />

building is the entrance stairs up to the 5th floor. The<br />

structure of the stairs is made entirely of flooring wood.<br />

Also the architects entirely changed the way of design<br />

thinking. Experimenting wood material on floor and<br />

ceiling by allowing people enjoy looking at it. Therefore,<br />

this is like a showroom and is, in itself, a Case Study.”<br />

“After the area was renovated, we notice the nearby<br />

area has also developed and has gained in economic<br />

value. Investors are now very interested in this property,<br />

but we won’t be moving anywhere. We choose to be here<br />

because this is the place where we began. It’s the area<br />

for our continuing wood trading business operations.<br />

There was once a wood tow boat passing by and this<br />

is the place where we will tell the 73-year history of<br />

Vanachai to all of our guests.”<br />

“Having an architect is important, but finding the<br />

architect who understand you and your project is very<br />

important. A good architect must find solutions to our<br />

problem and anticipate more than what we need.”<br />

- 33 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


DETAILS<br />

ภาพ : Ketsiree Wongwan<br />

APERTURE HOUSE<br />

บ้าน-ช่อง-แสง<br />

ช่องเปิด คือองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญอย่างหนึ่งในการ<br />

ออกแบบอาคาร นอกจากการใช้งานในแง่แสงสว่าง และการ<br />

ระบายอากาศแล้ว บ่อยครั้งสถาปนิกยังคํานึงถึงการออกแบบ<br />

ช่องเปิดที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายใน<br />

อาคารให้เชื่อมโยงกัน<br />

บ้าน-ช่อง-แสง (หรือที่คุ้นหูในชื่อ บ้านเปา) การันตีด้วย<br />

รางวัล Gold Medal Awards ของสมาคมสถาปนิกสยาม (<strong>ASA</strong>)<br />

ประจําปี 2559 คุณชนาสิต ชลศึกษ์ จาก Stu/D/O Architects<br />

บริษัทผู้ออกแบบ ได้ขยายความเกี่ยวกับช่องเปิดที่เน้นในเรื่อง<br />

แสงและเงา อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหลังนี้และกลายเป็นผล<br />

งานที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง<br />

“ถ้าถามถึงคอนเซ็ปต์โดยรวมของบ้าน เริ่มต้นมาจาก<br />

เจ้าของบ้านเอง ซึ่งเป็นภูมิสถาปนิก และเป็นดีไซเนอร์ที่<br />

เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพด้วย เราจึงแตกความคิดออกมาใน<br />

เรื่องเฟรม มุมมอง แสงและเงา เลยนึกถึงศัพท์ที่ใช้ในวงการ<br />

ถ่ายภาพคือ Aperture หมายถึง รูรับแสงของกล้องถ่ายรูป และ<br />

คําว่า ‘ช่องแสง’ ยังเอามาเล่นกับคําว่า ‘บ้านช่อง’ เลยเป็นที่มา<br />

ของรูปแบบอาคาร คือ เล่นกับช่องว่างและช่องเปิด”<br />

- 34 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ชนาสิต ชลศึกษ์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C5<br />

An opening is a fundamental component in building<br />

design. In addition to its function for lighting and<br />

ventilation, often an architect also considers designing<br />

an opening that can improve coherence between the<br />

interior and the exterior of the building.<br />

Aperture House is commemorated by the 2016<br />

Gold Medal Awards of The Association of Siamese<br />

Architects (<strong>ASA</strong>). Mr.Chanasit Cholasuek from Stu/D/O<br />

Architects, the company that designed this house, has<br />

commented about the openings that are dedicated to<br />

light and shadow and is the signature of this house,<br />

making it a popular work.<br />

“ส่วนรายละเอียดของช่องแสงที่ว่านี้เรานึกถึงโบสถ์ รงช็อง (Ronchamp) ของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลอ คอร์บูซิเยร์(Le Corbusier)<br />

ที่ออกแบบช่องเปิดให้เป็น Cube ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู คือ กรอบด้านนอกจะแคบ และขยายกว้างขึ้นเมื่อเข้าสู่ภายใน เพื่อให้<br />

แสงเวลากลางวันที่สาดเข้ามาในโบสถ์มีเอ็กเฟ็กต์ที่นุ่มนวล แต่โปรเจ็กต์ของเรานี้กลับกัน ช่องเปิดที่เป็น Cube จะถ่างขยายกว้างออก<br />

สู่ภายนอก เราอยากให้แสงที่สาดเข้ามาในบ้านมีความคมชัด ขณะที่ตอนกลางคืน แสงที่ออกจากตัวบ้านมีความนุ่มนวล”<br />

การออกแบบ บ้าน-ช่อง-แสง ยังคํานึงถึงขนาดและสัดส่วนของช่องเปิด โดยช่องเปิดแต่ละบล็อกเมื่อมองจากภายนอกจะมีขนาด<br />

เท่ากัน แต่กลับกันหากมองจากภายใน จะมีขนาดแตกต่างกันไป บล็อกช่องเปิดที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านนี้จึงได้ผลลัพธ์ทั้งแสงเงาและ<br />

ความหลากหลายน่าสนใจ (Variation) ไปพร้อมกัน<br />

“If asked about the overall concept of the house,<br />

it starts from the home owner: a landscape architect<br />

and designer specialized in photography. Thus, we come<br />

up with the idea involving frame, perspective, light and<br />

shadow. Then we think of the photography term ‘Aperture’,<br />

which means an opening through which light travels into<br />

the camera body. The term ‘Aperture’ is also paired with<br />

the word ‘house’ and literally called ‘House Opening’,<br />

and is the origin of this building style, which is to play<br />

with space and openings.”<br />

“As for the details of an aperture, we think of the<br />

Ronchamp church of Le Corbusier, a French architect.<br />

He designs a trapezoidal cube opening, meaning that<br />

the outer frame is narrow, but the opening tunnel is<br />

larger on the interior side. This is so that the daylight<br />

shining into the church has a soft effect. However, our<br />

project is a reverse of that. The cube opening is enlarged<br />

towards exterior because we want a focused light shining<br />

into the house, and at night, soft light is illuminated from<br />

inside out.”<br />

The design of Aperture House also takes into account<br />

the size and proportion of openings. Each opening block<br />

appears to have similar size when looking from the<br />

outside. On the other hand, if looking from the inside<br />

out, their sizes differ. Blocking the unique openings of<br />

the house, therefore, results in an interesting combination<br />

of light, shadow, and variation.<br />

นึกถึงศัพท์ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพคือ<br />

Aperture หมายถึง<br />

รูรับแสงของกล้องถ่ายรูป<br />

และคำว่า ‘ช่องแสง’<br />

ยังเอามาเล่นกับคำว่า ‘บ้านช่อง’<br />

เลยเป็นที่มาของรูปแบบอาคาร คือ<br />

เล่นกับช่องว่างและช่องเปิด<br />

- 35 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03<br />

ภาพ : Ketsiree Wongwan


C6-10 (see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

Q & A<br />

COMMON PROBLEMS AT HOME<br />

(in the summer)<br />

ปัญหาบ้านๆ (ช่วงหน้าร้อน)<br />

ฤดูร้อนกับเมืองไทยเป็นของคู่กัน เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว<br />

และแสงแดดที่แผดเผา หลายคนจึงเลือกที่จะอยู่บ้านคลายร้อนด้วยการกระหนํ่ำเปิดแอร์ผลคือ ตัวเลข<br />

ค่าไฟที่พุ่งปรี๊ด ขณะที่ความร้อนก็ยังสามารถแทรกเข้ามาภายในได้อยู่ดีทั้งจากช่องเปิด หลังคา และ<br />

ผนัง ความจริงแล้วมีวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดกว่าการเปิดแอร์ ฟังคําตอบจากนักออกแบบเหล่านี้<br />

The summer and Thailand are twins. We inevitably face the hot humid weather and<br />

the burning sun. Many people choose to stay cool indoors by cranking up their air<br />

conditioners. The result is a skyrocketing electricity cost while the heat can still penetrate<br />

inside from openings, roof, and walls. In fact, there are alternative solutions that are more<br />

to the point. Let’s hear from these designers.<br />

Q : ขอคำแนะนำสำหรับคนอยู่คอนโดฯ<br />

ที่มีระเบียงเล็กๆ และอยากปลูกต้นไม้เพื่อให้<br />

ห้องเย็นลง<br />

Q : Can you give a recommendation for a condo<br />

resident with a small balcony who would like to have<br />

plants to help cool down the room?<br />

C6 : วิจิตรารัตน์ เฉลยทรัพย์<br />

C7 : วงศ์วสุ เฉลยทรัพย์<br />

A : แนะนําเป็นพวกต้นไม้ที่สามารถปลูกในกระถางได้<br />

เป็นพืชในร่ม มีขนาดเล็ก มีฟอร์มและทรงสวย เช่น ปลูกไม้ใบ<br />

พวกต้นจั๋ง กวักมรกต เฟิร์นฮาวาย ไทรใบสัก ถ้าเป็นพวกรางจืด<br />

เกล็ดกระโห้ แก้วมุกดา หีบไม้งาม จะเป็นไม้ดอก บางชนิดก็มี<br />

กลิ่นหอม สามารถปลูกในร่มและใช้บังแดดได้เช่นกัน หรือทํา<br />

ระแนงให้ไม้เลื้อย เช่น พลู พลูด่าง<br />

A : We recommend species that can be planted in<br />

pots, such as indoor plants that are small and have a<br />

nice shape and form. Examples are leafy plants like the<br />

lady palm, zz plant, Hawaiian fern, and fiddle-leaf fig. If<br />

you choose a Laurel clock vine, balsam apple, perfume<br />

flower tree, or natal plum, they are flowering plants.<br />

Some have fragrance. They can be grown indoors and<br />

be used for shading, or you can build slats for the vines<br />

like the betel or taro vine.<br />

Q : ช่วยแนะนำวัสดุมุงหลังคาที่ไม่ทำให้<br />

บ้านร้อน<br />

Q : Can you suggest roofing materials that help<br />

protecting heat from the sun?<br />

C8 : รัชต์พล บัวจ้อย<br />

A : ปัจจุบันมีวัสดุจําพวกกระเบื้องอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้<br />

เช่น กระเบื้องคอนกรีต กระเบื้องดินเผา กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์<br />

วัสดุเหล่านี้มีความแข็งแรงสูงและป้องกันความร้อนจาก<br />

แสงแดดได้ดี แต่ข้อเสียคือมีนํ้ำหนักมาก จึงต้องใช้โครงสร้างที่<br />

มีความแข็งแรงเพื่อรองรับนํ้ำหนักของวัสดุที่เราเลือกใช้<br />

แต่ปัจจุบันในการออกแบบให้หลังคาบ้านเย็นมีอยู่หลายวิธีเช่น<br />

ใช้ตัวฉนวนกันความร้อนป้องกันความร้อนจากหลังคาอีกชั้นหนึ่ง<br />

หรือออกแบบช่องลมระบายอากาศใต้หลังคา เพื่อไล่ลมร้อน<br />

ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร รวมถึงการวางตัวบ้าน การจัดองศาของ<br />

หลังคา ให้ตอบสนองกับทิศทางของแดด ทั้งนี ้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ<br />

หลายปัจจัย<br />

A : These days, there are a variety of roof tile<br />

materials such as concrete tiles, clay tiles, and fiber<br />

cement files. These types of materials have high strength<br />

and prevent heat from the sun very effectively. The<br />

drawback is their heavy weight, so we have to use the<br />

type of structure that is strong enough to withhold the<br />

weight of the material we choose. However, there are<br />

many ways of designing that can make the roof cooler,<br />

such as using thermal insulation or a design of vents<br />

under the roof to push out hot air before it gets into<br />

the building. Other options are planning the house orientation<br />

and setting the roof angles to correspond to<br />

the sun direction. In any case, there are many factors<br />

to consider.<br />

- 36 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


Q : จะทำห้องคอนโดหันหน้าไปทิศ<br />

ตะวันตก ซึ่งเป็นหน้าต่างกระจกบานใหญ่<br />

ตลอดแนว แนะนำอย่างไรดี?<br />

Q : I want to finish a condo room facing west and<br />

having large window along the side. What would you<br />

recommend?<br />

C9 : ธนกร สมสุข<br />

A 3 : อาจเลือกให้ฟังก์ชันที่ไม่ได้ใช้งานเป็นประจําไปอยู่<br />

ทางด้านนั้นแทน และอาจออกแบบให้มีระแนงบังสายตา หรือ<br />

ผ้าม่านเพิ่มขึ้น เพราะว่าจะเป็นทิศที่แสงอาทิตย์ตอนพระอาทิตย์<br />

ตกเข้ามาแยงตา และรบกวนการใช้งานต่างๆ ได้มาก<br />

A 3 : Perhaps choose functions that are not used<br />

on a regular basis to be on that side instead, and maybe<br />

create a design that uses slats or more curtains. That<br />

is the direction of the sunset which glares in our eyes,<br />

and really interferes with the use of the area.<br />

Q : เป็นทาวน์เฮาส์สองชั้น หลังคาที่<br />

จอดรถด้านหน้าสะท้อนแดดทำให้ร้อน<br />

แก้ไขอย่างไรดี?<br />

Q : My house is a two-storey townhouse. The front<br />

of the garage roof reflects the sunlight and makes it hot.<br />

How should I fix this?<br />

C10 : วัทธิกร โกศลกิจ<br />

A : ถ้าหลังคาที่จอดรถสะท้อนแดดแสดงว่าใช้วัสดุ<br />

มุงหลังคาที่จอดรถผิดประเภท ถ้าทําไปแล้ว ทางแก้มีหลายทาง<br />

เช่น ให้ช่างมาพ่นสีทาภายนอกทับ ลดการสะท้อนก็ได้แต่ถ้าให้ดี<br />

แนะนําให้เปลี่ยนหลังคา คือ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุดีที่สุด และถ้า<br />

จะเปลี่ยนทั้งที ก็เลือกแบบที่ปลูกต้นไม้ ไม้กระถาง ไม้เลื้อย<br />

เถาวัลย์ อะไรแบบนี้ บ้านจะได้ดูเป็นบ้าน<br />

A : If your garage roof reflects the sunlight, that<br />

means you are using inappropriate roofing materials for<br />

the garage. If everything is done, there are still many<br />

ways to fix the problem. For example, find a technician<br />

to spray paint on-top to help reduce reflection. But it is<br />

better to change the roof, which is fixing the problem<br />

at the cause. And if you do decide to make a change,<br />

select a style so that you can plant trees, pot plants,<br />

crawler vines, or something like this. The house will look<br />

more like a home.<br />

COMMUNITY<br />

ของคนรักงานออกแบบ<br />

พ้นที่รวบรวมเร่องราวและไลฟสไตล<br />

สำหรับคนรักงานออกแบบ<br />

พรอมขาวสารตางๆ ในแวดวงสถาปนิก<br />

ตามหาแรงบันดาลใจใหมๆ ไดที่นี่<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong><br />

- 37 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TIPS<br />

Keep Old & Stay Cool<br />

มีดีที่ “เก่า”<br />

HALL OF FAME (HOF)<br />

ของเก่าในความคิดบางคนอาจรู้สึกว่าเชย ตกยุคไปแล้ว<br />

แต่มองอีกด้าน ความเก่าก็มีเสน่ห์คลาสสิก เปี่ยมคุณค่า และ<br />

ทําให้นึกย้อนถึงช่วงแห่งความสุขในอดีตได้เป็นอย่างดี<br />

คุณเบล-ธนพร โลหะวิจิตรานนท์ สถาปนิกรุ่นใหม่<br />

ที่ชื่นชอบการเดินร้านของเก่า เธอบอกกับเราว่า ปกติเวลาทํางาน<br />

จะเป็นคนคิดก่อนว่าอยากได้อะไร แล้วค่อยไปเสาะหาของชิ้น<br />

นั้นๆ การเดินร้านขายของเก่าจึงเป็นเหมือนความสุขทางใจส่วนมาก<br />

เวลาเดินดูจะได้ของบ้าง ไม่ได้บ้าง หลายครั้งก็ได้ของแปลกๆ ที่ซื้อ<br />

มาใช้เอง<br />

“ชอบตรงเวลาเดินดูจะเกิดไอเดียพลิกแพลงจากของที่เจอ<br />

ในร้าน ยิ่งตอนนี้ทําคอนโดฯ ของตัวเอง อยากหาซื้อประตูเก่าจะ<br />

เอามาทําโต๊ะ เราก็จะไปหาตามแหล่งต่างๆ อย่างร้าน Hall of Fame<br />

มีของเก่าที่คัดมาแล้วอย่างดี เช่น ตู้บรรณารักษ์ โต๊ะ ขาจักร<br />

โต๊ะจิตรกร โต๊ะไม้ใหญ่ เขากวาง แต่ที่ฮิปๆ ส่วนมากเป็นงานไม้<br />

มีให้เลือกสารพัด<br />

Hall of Fame (HOF)<br />

ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย 11) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ<br />

โทร.08-6506-6770<br />

เว็บไซต์ www.facebook.com/hof.halloffame<br />

- 38 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ธนพร โลหะวิจิตรานนท์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C11<br />

เพราะของเก่า มักมีมนต์ขลัง<br />

ของบางอย่าง ยิ่งเก่า ยิ่งมีดี<br />

PAPAYA ANTIQUE DEALER<br />

“อีกร้านที่ชอบไปเดินตั้งแต่ตอนเรียนคือ ร้าน Papaya เป็น<br />

โกดังขนาดใหญ่สามชั้น มีของให้ดูเยอะดีตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์เก่า<br />

หรือโต๊ะไม้ขนาดใหญ่ไปจนถึงไอเท็มต่างๆ ที่เรานึกไม่ถึงก็มีอยู่<br />

ที่นี่”<br />

เพราะของเก่ามักมีมนต์ขลัง ของบางอย่างยิ่งเก่า ยิ่งมีดี<br />

PAPAYA ANTIQUE DEALER<br />

โกดังสินค้าซอยลาดพร้าว 55/2 ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง<br />

เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ เปิดบริการ 09.00 - 18.00 น.<br />

โทร. 0-2539-8220 หรือ 0-8190-56529<br />

Some people may think that antiques are old-fashioned<br />

and outdated, but, on the other hand, antiques are<br />

charmingly classic, full of value, and very well remind<br />

us of the happiness in the past.<br />

Khun Bell – Thanaporn Lohavichitranan, a new generation<br />

architect fascinated in going to antique shops, told<br />

us that, normally, at work, she would think first of what<br />

she wants and then seeks for that. Thus, shopping at<br />

antique shops is like the emotional contentment. Mostly,<br />

when she shops, sometimes she gets something, sometime<br />

she does not. Many times she finds something unique<br />

for personal use.<br />

“I like that while I look around, I get a new idea<br />

twisted from items found in the stores. Especially now<br />

I am making my own condo, so I want to find an old<br />

door to convert into a desk. I go out to different sources<br />

like Hall of Fame store which has a fine selection of<br />

antiques such as a librarian cabinet, a traditional sewing<br />

table, an artist table, a solid big wood desk, and an<br />

antler. But hip items are mostly woodworks. There are<br />

lots to choose from.”<br />

“Another store I like to shop since school days is<br />

Papaya, which is a big 3-storey warehouse. There are<br />

lots to see, from old furniture or big wooden desks to<br />

items we didn’t expect that they would be there.”<br />

Because antiques seem magical, there are things<br />

that the older they get, the cooler they are.<br />

Hall of Fame (HOF)<br />

Soi Sukhumvit 63 (Ekkamai 11), Klongton-Nua sub-district,<br />

Wattana district, Bangkok. Tel.08-6506-6770<br />

Website: www.facebook.com/hof.halloffame<br />

PAPAYA Antique Dealer<br />

Warehouse. Soi Lat Phrao 55/2, Lat Phrao Road, Saphan Song sub-district,<br />

Wang Thonglang district, Bangkok.<br />

Open 09.00-18.00. Tel.0-2539-8220 or 08-1905-6529<br />

- 39 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TRAVEL<br />

RANGSI KASEM BUILDING<br />

School of Nan, and Baan (home) for Foreigners<br />

ตึกรังษีเกษม<br />

โรงเรียนของคนเมืองน่าน บ้านของคนต่างแดน<br />

ยาวนานหลายศตวรรษแล้วที่สายนํ้ำน่านเชื่อมโยงวิถีชีวิต<br />

ผู้คนจากเมืองเล็กๆ ในหุบเขา หล่อเลี้ยงผู้คนริมสองฝั่ง และยัง<br />

เป็นเส้นทางสําคัญให้คนต่างถิ่นเดินทางเข้ามาสัมผัสเมืองสงบ<br />

งามแห่งนี้<br />

นักเดินทางที่มาท่องเที่ยวเมืองน่านจะได้สัมผัสกับ<br />

สถาปัตยกรรมแบบล้านนาอันงดงามเลื่องชื่ออย่างวัดภูมินทร์<br />

วัดหลวงเก่าแก่ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนัง “ปู่ม่านย่าม่าน” ลํ้ำค่า เรือน<br />

ไม้เก่าโฮงเจ้าฟองคําที่คงเอกลักษณ์บ้านไทยโบราณ อาคาร<br />

หอคําคุ้มหลวงเมืองน่าน ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่ง<br />

ชาติเมืองน่าน อีกแห่งที่สะดุดตา คือ ตึกรังษีเกษม อาคารศิลปะ<br />

สถาปัตยกรรมโคโลเนียล ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะ<br />

สถาปัตยกรรมดีเด่นประจําปี 2557 ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนน่าน<br />

คริสเตียนศึกษา เดิมเป็นโรงเรียนหญิงชื่อ เมริเอริสมิทบราวส์<br />

ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ “รังษีเกษม” จากสมเด็จเจ้าฟ้า<br />

ภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระโอรสในรัชกาลที่ 4 และพระอนุชาใน<br />

รัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้<br />

ตึกรังษีเกษม หรือที่เรียกกันว่า ตึกแดง ปัจจุบันมีอายุได้<br />

102 ปี (พ.ศ.2560) ได้รับการปรับปรุงเป็นหอประวัติศาสตร์<br />

เมืองน่านที่รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคอาณานิคม<br />

เฟื่องฟูมีห้องแสดงภาพเก่าต่างๆ เครื่องมือ ของใช้ในอดีตที่พบ<br />

ในพื้นที่จังหวัดน่าน ห้องแสดงภาพเก่าของโรงเรียน นักเรียน<br />

และกลุ่มมิชชันนารีอเมริกัน โดยการนําของศาสนาจารย์ดร.นพ.<br />

ซามูเอล ซี พีเพิลส์ ดร.ฮิวส์ เทเลอร์ ศาสนาจารย์แมเรียน บี<br />

ปาล์มเมอร์ และมิสลูซี่ สตาร์ลิง คณะผู้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้<br />

ห้องแสดงภาพเจ้าผู้ครองนครน่านและวงศ์ญาติ ห้องแสดง<br />

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ ของเมืองน่าน ห้องประวัติ<br />

ภาพยนตร์เรื่องช้าง สารคดีเรื่องแรกของประเทศไทย ที่ถ่ายทํา<br />

ในจังหวัดน่าน และห้องพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม<br />

ราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จฯ ทรงงานในพื้นที่<br />

จังหวัดน่าน<br />

- 40 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

Rangsi Kasem Building, aka “Red building” turns<br />

102 years old in 2017. It was renovated into the Nan<br />

Historical Center which contains a collection of historical<br />

artifacts from the booming colonial period. There is a<br />

gallery displaying old photos, vintage tools and household<br />

items found in parts of Nan province and a gallery<br />

containing pictures of the school, students, and American<br />

missionaries led by Pastor Dr. Samuel C. Peoples, MD,<br />

Dr. Hugh Taylor, Pastor Marion B Palmer, and Ms. Lucy<br />

Starring: the school’s co-founders. There is also a gallery<br />

with portraits of Nan rulers and their relatives, a room<br />

showing the history of Nan, a room dedicated to the<br />

history of the movie “Chang (an elephant)” which is the<br />

first documentary film from Thailand with production in<br />

Nan province, and the room displaying the works of King<br />

Rama IX, Her Majesty Queen Sirikit and members of the<br />

royal family that have worked in Nan province.<br />

ความน่าสนใจของหอประวัติศาสตร์แห่งนี้ ยังรวมถึง<br />

สถาปัตยกรรมของอาคารแห่งนี้ด้วย ตึกรังษีเกษมเป็นตึกสีแดง<br />

เข้มสองชั้นรูปตัวยูใช้ก้อนหินขนาดใหญ่วางเป็นฐานรับนํ้ำหนัก<br />

เสาของตัวอาคาร ก่ออิฐฉาบปูน อิฐที่ใช้นํามาจากเชียงใหม่<br />

เพราะเมืองน่านไม่ชํานาญในการผลิต ปัจจุบันหลังคามุงสังกะสี<br />

แต่เดิมปูกระเบื้องดินเผา แต่เสียหายจากพายุและสงครามโลก<br />

ครั้งที่ 2 ช่องแสงและหน้าต่างก่ออิฐ เป็นทรงโค้งแบบตะวันตก<br />

ห้องโถงชั้นล่างเป็นโถงขนาดใหญ่ เปิดโล่งไม่มีเสารับนํ้ำหนัก<br />

ระหว่างโถง แต่ใช้ผนังสองด้าน และคานไม้ขนาดใหญ่รับนํ้ำหนัก<br />

พื้นไม้ชั้น 2 เพดานไม้ชั้นล่างที่เห็นเพิ่งทําการลอกสีเดิมออก<br />

ทําให้เห็นเทคนิคการสร้างแบบสะพานไขว้ หรือบริดจ์ครอส<br />

โดยการวางไม้เล็กๆ ไขว้กากบาทล็อกแปรไว้ตลอดทั้งเพดาน<br />

ป้องกันไม้บิดตัว และการส่ายของพื้น เพราะช่วงของโถงกว้าง<br />

และยาวมาก นับเป็นเทคนิคงานไม้ชั้นสูง<br />

It has been several centuries that the Nan River<br />

has been linking the lifestyles of people in a small<br />

valley town and nourishing its riverside residents. It is<br />

also an important route that allows outsiders to visit<br />

and experience this calm and beautiful city.<br />

Travelers visiting Nan will get to experience the<br />

famous and charming Lanna architecture such as<br />

Phumin temple (Wat Phumin) which is an old royal<br />

temple which contains the precious moral painting<br />

“Pu Marn Ya Marn (whispering man)”. Other examples<br />

are The House of Chao Fongkham an old wooden house<br />

that possesses a unique old-fashioned Thai style, and<br />

Hor Khum Luang Muang Nan Building, which is currently<br />

used as the National Museum of Nan. Another eye-catching<br />

one is Rangsi Kasem Building, a colonial architectural<br />

structure that won the 2014 Architectural Conservation<br />

Award. It is located inside Nan Christian Suksa School.<br />

Originally this girls’ school was named Meriarismithbrown,<br />

and later was given the name “Rangsi Kasem”<br />

from Prince Bhanurangsi Savangwonse, the son of King<br />

Rama IV and the younger brother of King Rama V, on<br />

the occasion that he visited this school.<br />

- 41 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


แม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น บานหน้าต่าง ที่ออกแบบ<br />

ให้ล็อกอัตโนมัติเมื่อปิด กลอนประตูก็เช่นกันที่ออกแบบให้ใช้<br />

เท้าเหยียบกดปลดล็อกเวลาเปิด และในห้องเรียนเด็กอนุบาล<br />

กลอนประตูก็ออกแบบมาให้คล้องโซ่หรือเชือก เพื่อให้เด็กเล็ก<br />

ดึงเปิดปลดล็อคประตูได้เองด้วย นับเป็นนวัตกรรมที่ลํ้ำสมัยมาก<br />

เมื่อ 100 กว่าปีก่อน<br />

การออกแบบอาคารแห่งนี้ มีการผสมผสานการออกแบบ<br />

ทางเทคนิควัสดุที่มีความสอดคล้องกับธรรมชาติแบบท้องถิ่น ที่<br />

เห็นได้ชัดเจนคือ โถงระเบียงไม้ด้านบนชั้น 2 ของอาคารมีการ<br />

ออกแบบให้พื้นระเบียงเอียงเทออกด้านนอกเล็กน้อย เพราะ<br />

ต้องการให้นํ้ำฝนไม่กักขังบนระเบียง หรือไหลย้อนเข้าไปหาตัว<br />

อาคารทําให้ระเบียงไม้ และผนังปูนผุกร่อนเสียหาย ถือเป็น<br />

ภูมิปัญญาในการออกแบบอันชาญฉลาดของช่างสมัยก่อน<br />

นอกจากห้องจัดแสดงภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์แล้ว<br />

อาคารแห่งนี้ยังมีห้องครัว ห้องนอนและห้องรับแขก อยู่ภายใน<br />

อาคาร เพราะที่นี่เคยเป็นโรงเรียนประจําที่ทันสมัยในอดีตของ<br />

เด็กๆ เมืองน่าน และเป็นบ้านที่พักพิงของกลุ่มครูมิชชันนารี<br />

ที่เดินทางไกลมาจากต่างแดน บางคนได้กลับไปถิ่นฐานบ้านเกิด<br />

บางคนก็อยู่ที่นี่จนวาระสุดท้ายของชีวิต สงครามโลกครั้งที่ 2<br />

ส่งผลให้โรงเรียนแห่งนี้ต้องปิดตัวไป ก่อนจะกลับมาเปิดทําการ<br />

เรียนการสอนอีกครั้งหลังสงครามสงบ และยังคงอนุรักษ์ไว้จนถึง<br />

ปัจจุบัน<br />

เสียงเด็กๆ วิ่งเล่นกันอย่างสนุกสนานบริเวณลานด้านหน้า<br />

อาคารช่วงพัก ทําให้อาคารแห่งนี้เป็นหอประวัติศาสตร์ที่ยังมี<br />

ชีวิตเช่นเดียวกับที่เคยเป็นโรงเรียนตลอดศตวรรษที่ผ่านมา เป็น<br />

อีกหนึ่งมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่ายิ่ง หากใครมีโอกาส<br />

ไปเยือนเมืองน่าน ตึกแดงหรืออาคารรังษีเกษมแห่งนี้ เป็นอีก<br />

หนึ่งสถานที่ที่ไม่ควรพลาดชม<br />

การเดินทาง :<br />

จากสี่แยกช้างเผือกใช้ถนนเปรมประชาราษฎร์ไปประมาณ 650 เมตร พบทางให้เลี้ยวขวา<br />

เข้าถนนสุมนเทวราชไปเล็กน้อย จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรังษีเกษมไปประมาณ 350 เมตร<br />

โรงเรียนอยู่ทางขวามือ<br />

- 42 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ในห้องเรียนเด็กอนุบาล<br />

กลอนประตูก็ออกแบบมาให้คล้องโซ่หรือเชือก<br />

เพื่อให้เด็กเล็กดึงเปิดปลดล็อคประตูได้เองด้วย<br />

นับเป็นนวัตกรรมที่ล้ำ สมัยมาก<br />

เมื่อ 100 กว่าปีก่อน<br />

The attractiveness of this historical center also<br />

includes the architecture of this building. The Rangsi<br />

Kasem building is a deep red 2-storey U-shaped<br />

building that has large rocks placed as the foundation<br />

that holds the weight of the building pillars and has<br />

masonry brick walls. The bricks were brought from<br />

Chiang Mai because Nan didn’t have the capability<br />

for their production. Currently the building has a zinc<br />

roof. Originally the roof tiles were made of clay but<br />

they were damaged by storms and attacks during<br />

World War II. The window openings providing light<br />

are western style brick arches. The hall on the lower<br />

level is large and has no load-bearing columns.<br />

However two sides consist of structural walls and<br />

large wooden beams are used to support the weight<br />

of the wooden second floor. The wooden ceiling<br />

downstairs is seen with its original paint peeled off,<br />

exposing the bridging or cross bracing construction<br />

technique which is the nailing of small wooden<br />

braces to form several sets of X shapes, to hold the<br />

floor joists across the ceiling, to prevent the wood<br />

twisting and flexing. This technique is employed<br />

because the hall is very wide and long, and it’s<br />

considered a high class carpenter technique.<br />

Even small details like window panes are<br />

designed to automatically lock when they are closed,<br />

so are the bolts which are designed to unlock when<br />

a person steps on the pedal. Also, in the kindergarten<br />

classroom, the bolt is designed to tie with a chain<br />

or a rope, so small children can unlock the door by<br />

themselves. This is a very innovative method from<br />

over 100 years ago.<br />

The construction of this building has integrated<br />

material design that blends with the local natural<br />

surroundings. A clear example is the wooden balcony on<br />

the second floor of the building which is designed to tilt<br />

slightly outward, so that there no rain falls on the deck<br />

nor does the rain pour into the building or cause erosion<br />

of its concrete wall. This is the indigenous wisdom of<br />

technician from the past.<br />

In addition to the gallery of historical photographs,<br />

this building contains a kitchen, bedrooms, and living<br />

rooms because it used to be considered a modern<br />

boarding school and was also a shelter for missionary<br />

teachers who came from abroad. Some of them returned<br />

to their homelands; some stayed here until the end of<br />

their lives. World War II resulted in the closing of the<br />

school. It then re-opened again after the war, and has<br />

been conserved until today.<br />

The sounds of children playing during their recess<br />

in the building’s front field makes this a live historical<br />

center, like it has been during the last century. This is<br />

another precious cultural heritage site. If anyone gets a<br />

chance to visit Nan city center, This “Red building” or<br />

Rangsi Kasem building is another attraction that you<br />

shouldn’t miss.<br />

Getting there:<br />

From the Chang Puak intersection, go on Prem Pracha Road for about<br />

650 meters, then turn right onto Sumon Thewarat Road and stay on this<br />

for a little while. After that, turn left onto Rangsi Kasem Road and go<br />

on for about 350 meters. The school will be on the right hand.<br />

- 43 - 43 - -<br />

MAR-APR MAR-APR 2017 - 2017 ISSUE - ISSUE 03 03


HANGOUT<br />

CHAROEN KRUNG ROAD<br />

New in the old, Old in the new<br />

ถนนเจริญกรุง...ใหม่ในเก่า เก่าในใหม่<br />

แม้ว่าช่วง 2-3 ปีมานี้ถนนเจริญกรุงเต็มไปด้วยปรากฏการณ์<br />

สุด “Happening” บาร์เปิดใหม่ ชีวิตไนต์ไลฟ์ที่แอบซ่อนตาม<br />

ซอย โฮสเทลขนาดเล็ก ไปจนถึงโครงการพร็อพเพอร์ตี้ขนาดใหญ่<br />

และการใกล้จะมาถึงของ TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ<br />

ซึ่งจะย้ายมาตั้งอยู่ที่ไปรษณีย์กลาง เราได้เห็นตลาด Bangkok<br />

Dockland The Great Outdoor Market ซึ่งเนรมิตอู่ต่อเรือที่<br />

อยู่คู่กับย่านเจริญกรุงมาช้านาน เพื่อเป็นตลาดนัดริมนํ้ำ หรือ<br />

อาร์ตเฟสติวัล Bukruk ที่เนรมิตกําแพงริมถนนเจริญกรุงให้เต็ม<br />

ไปด้วยภาพอันจัดจ้านแบบสตรีตอาร์ต<br />

ทั้งหมดที่เล่ามาถือเป็นความใหม่ที่กําลังเกิดขึ้น ความ<br />

คลาสสิกที่ยังคงมีชีวิตเคียงข้างกับความเปลี่ยนแปลงบน<br />

ถนนเส้นนี้<br />

ท่าน้ำเอเชียทีค<br />

ถ้าถามว่าอะไรคือจุดเปลี่ยนของถนนเจริญกรุงในยุคนี้<br />

คําตอบคือ เอเชียทีค แม้จะเป็นพลาซ่าโครงการใหม่ที่มีนัก<br />

ท่องเที่ยวเยอะมาก และยังคงมีกิมมิคเก่าๆ ที่อาจจะไม่ค่อย<br />

ถูกใจนักออกแบบสักเท่าไร แต่ต้องยกความดีความชอบให้<br />

เพราะท่านํ้ำเอเชียทีคนับเป็นสถานที่แห่งแรกๆ ที่เปิดให้คนทั่วไป<br />

ได้มีโอกาสใกล้ชิดแม่นํ้ำเจ้าพระยา สามารถเดิน นั่งรถ หรือขี่<br />

จักรยาน ก็เข้าไปในบริเวณริมนํ้ำได้โดยไม่หวงห้าม ลมดีกลางคืน<br />

ก็เย็นสบาย ขี่จักรยานก็สนุก นับเป็นจุดออกสตาร์ตของพวกเรา<br />

ในยามที่รวมกลุ่มกันปั่นจักรยาน<br />

For the past couple years Charoen Krung Road has<br />

been full of a phenomenal “Happening” scene ranging<br />

from new bars, nightlife hidden in alleys, small hostels,<br />

to big development projects. Also, it is almost time for<br />

TCDC, the creativity and design center, to move into the<br />

Grand Postal Building. We have seen Bangkok Dockland<br />

the Great Outdoor Market, which transforms a shipyard<br />

that has been with the Charoen Krung neighborhood for<br />

a long time into a riverside flea market. There is also the<br />

Art Festival ‘Bukruk’ that creates contrasting street arts<br />

on the walls of Charoen Krung Road.<br />

All of these changes are happening now on Charoen<br />

Krung Road. However, classic stores still live alongside<br />

the changes of this road as following places.<br />

Asiatique, the Riverfront<br />

If asking what the turning point of the modern<br />

Charoen Krung Road was, the answer is Asiatique. Even<br />

though this new plaza development project draws in lots<br />

of tourists, there are still old gimmicks that are worthy of<br />

praise, even if they may not be designers’ favourite. It’s<br />

is because Asiatique Riverfront is the first of few places<br />

that opened an opportunity for the general public to be<br />

close to the Chao Phraya River. They can walk, ride in a<br />

car, or bike along the riverside without restrictions. The<br />

weather is pleasant and at night, it is cool. Biking is also<br />

fun, so it is the starting point for our biking group.<br />

- 44 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์<br />

C12-13<br />

และ วรรณพร สุวรรณไตรย์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

ย่านเจริญกรุง 30 ตัดทะลุถนนสี่พระยา<br />

ซอยนี้มีอาคารเก่าแก่ เช่น โกดังแดง อาคารอนุรักษ์ บ้าน<br />

เลขที่1 ตรอกกัปตันบุช สถานทูตโปรตุเกส นับเป็นซอยแห่งอาร์ต<br />

แกลลอรี ต่อมาจากศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ ความน่าสนใจอยู่ที่<br />

โกดังแดงและอาร์ตแกลอรีละแวกนั้น พอได้ยินว่า TCDC จะมา<br />

เปิด แต่ละแห่งตัดสินใจรีโนเวทกันพอหอมปากหอมคอ (เซเลบ<br />

ต่างชาติจะรู้ แต่เซเลบเมืองไทยอาจไม่รู้) จริงๆ ย่านนี้คึกคักมา<br />

ก่อนแล้ว แต่การมาถึงของ TCDC เร็วๆ นี้ มีผลทําให้นักลงทุน<br />

มั่นใจ มีกลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามา และกลายเป็นพื้นที่ศิลปะและ<br />

ความคิดสร้างสรรค์เต็มรูปแบบ สามารถพบเห็นสตรีตอาร์ต<br />

สารพัดเทคนิคได้ในซอยนี้<br />

Neighborhood of Charoen Krung 30 to Si Phraya<br />

Road.<br />

This Soi (alley) has lots of old buildings such as<br />

Red Warehouse, the House number 1 on Captain Bush<br />

alley, and the Embassy of Portugal. It is a real alley of art<br />

galleries, continuing from the River City Shopping Center.<br />

It is interesting that, after hearing about the upcoming<br />

opening of TCDC, the Red Warehouse and nearby art<br />

galleries decided to do some additional renovations (the<br />

foreign celebrities will know, but Thai celebrities may not<br />

know). This area was already a busy area, but the arrival<br />

of TCDC results in high investor confidence. There will<br />

be new groups of customers and this district will turn<br />

into a full-fledged art and creativity space. You can see<br />

all kinds of street arts in this alley.<br />

ภาพ : Dolnapa Ramintra<br />

ภาพ : รติวัฒน์-วรรณพร สุวรรณไตรย์<br />

ใต้สะพานสาทร<br />

เราสองคนขี่จักรยานมาตั้งแต่10 ปีที่แล้ว ตอนแรกปั่นเพื่อ<br />

สุขภาพ แต่ตอนนี้พบว่า เมื่อเราเคลื่อนที่ช้าลง เราก็จะเห็นราย<br />

ละเอียดของสิ่งรอบข้างมากขึ้น ถ้ามาจากเอเชียทีค ใต้สะพาน<br />

สาทรเราจะได้เห็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและมีความลึกซึ้ง แม้<br />

หน้าตาภายนอกเหมือนตึกแถวยุคเก่า แต่นี่คือการเบ่งบานของ<br />

พื้นที่ที่อยู่ข้างใน เราได้เห็นร้านสูท ร้านจิวเวลรี แกลอรีเล็กๆ ที่<br />

ขายเฟอร์นิเจอร์ให้ฝรั่ง เวลาปั่นจักรยานลัดเลาะเข้าไปได้เจอ<br />

รอยต่อแบบนี้ นี่เป็นสิ่งที่มีคุณค่า<br />

ย่านเจริญกรุง ซอย 36-38<br />

บริเวณที่เกิดขึ้นต่อจากโรงแรมโอเรียนเต็ล มี O.P. Place<br />

ร้านค้าเก่าแก่แถวนั้นมีร้านบรรยากาศดีน่านั่งหลายร้านหมุนเวียน<br />

เปลี่ยนไป ที่เด่นเห็นจะเป็นอาร์ตแกลลอรีและร้านจิวเวลรีเดินไป<br />

จนสุดซอยเจริญกรุง 36 เป็นสถานีดับเพลิงบางรัก ซึ่งเป็นอาคาร<br />

ร้างเก่าแก่ที่สวยมากๆ คนชอบไปถ่ายรูปกัน<br />

Under Sathorn Bridge<br />

Both of us began biking 10 years ago. In the beginning,<br />

it was for good health. But now, we discover that if we<br />

move slower, we can observe new details around us. If<br />

we come from Asiatique, under Sathorn Bridge, we will<br />

discover an interesting and profound history. Though the<br />

outward appearances resemble an old-fashioned building,<br />

it hides the blossoming of the spaces inside. We see suit<br />

shops, jewellery stores, and small galleries selling furniture<br />

to westerners. When we bike and find a transition like<br />

this, it is invaluable.<br />

Neighborhood of Charoen Krung Soi 36-38<br />

This area is adjacent to the Oriental Hotel. There is<br />

O.P. Place, an old store, and several places with a good<br />

atmosphere to sit in. The prominent locations are an art<br />

gallery and a jewellery store. If you walk to the end of<br />

Charoen Krung 36, the Bang Rak Fire Station is there. It<br />

is an old beautiful abandoned building that many people<br />

like to take pictures of.<br />

ตลาดน้อย<br />

เลี้ยวผ่านสี่พระยาออกมา วกเข้าไปในตลาดน้อย ยังคง<br />

ความเก่าแก่ของร้านรวงไว้เดินลัดเลาะเข้ามาทางแม่นํ้ำมีอะไร<br />

น่าดูกว่า อาคารอนุรักษ์ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาตลาดน้อย<br />

โบสถ์วัดกาลหว่าร์ สําหรับเราตลาดน้อยยังคงเหมือนสถานที่ที่<br />

ถูกฟรีซไว้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เหมือนได้ย้อนยุคไปเมื่อ<br />

40-50 ปีที่แล้ว<br />

Talad Noi (literally means ‘small market’)<br />

Turning out of Si Phraya, let’s go into the Talad Noi<br />

neighborhood, where stores still remain in an old worn<br />

condition. Walking toward the river, we see some more<br />

attractive locations such as the conserved Siam Commercial<br />

Bank Talad Noi branch building and Kalawar Church (or<br />

Holy Rosary Church). It is as if Talad Noi froze and nothing<br />

has changed; like being the era of 40-50 years ago.<br />

ภาพ : Dolnapa Ramintra<br />

- 45 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ถนนเจริญกรุงเป็นเส้นทางที่มีความขัดแย้งกันเสมอ ถ้าคุณ<br />

มาเวลาเช้าหรือเย็นยํ่ำ บรรยากาศของถนนและสองข้างทางจะ<br />

ไม่มีทางเหมือนกัน ย้อนกลับไปในอดีต ถนนเจริญกรุงเป็นถนน<br />

สายแรกของกรุงเทพฯ ที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ถนน<br />

ที่ทอดยาวขยายตัวมาจากเขตวัง บริเวณเจริญกรุงสายต้นๆ จะ<br />

เป็นบ้านพักเจ้านายของบริษัทเอกชน โรงแรม ถ้าเลยมาถึงฝั่ง<br />

ถนนตกปลายสายจะเป็นแหล่งชุมชนของชาวบ้าน การนั่งรถเมล์<br />

สาย 1 ถนนตก–ท่าเตียน เป็นอีกหนึ่งวิธีลัดถ้าอยากรู้จักถนน<br />

เส้นนี้<br />

จากตลาดน้อย ปั่นจักรยานไปเรื่อยๆ จนถึงวัดราชบพิธฯ<br />

ที่นี่มีพระมหาเจดีย์เป็นแบบทรงกลมแปลกตา อินทีเรียด้านใน<br />

เป็นรูปแบบโกธิคสีทองคํากุฏิพระเป็นหินอ่อนที่สวยงามมาก<br />

ด้านหลังเป็นสุสานหลวง ต่อจากนั้นปั่นไปสวนสราญรมย์บางวัน<br />

วนข้ามไปสะพานพุทธ ซึ่งมีซีเคร็ตเพลสที่สวยงามรออยู่อีกฝั่ง<br />

แม่นํ้ำ นั่นคือ “อุทยานสมเด็จย่า” มีอาคารอนุรักษ์อดีตเรือนประทับ<br />

ของมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเส้นทางนี้ไป-กลับ รวม<br />

ระยะทาง 25 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ปั่นทีไรก็มีความสุข<br />

มีคุณค่า และเพียงพอแล้วสําหรับวันหยุด<br />

ภาพ : รติวัฒน์-วรรณพร สุวรรณไตรย์<br />

ถนนเจริญกรุง<br />

ตำแหนงทาเรือ<br />

รานออน ล็อก หยุน<br />

ธนาคารไทยพาณิชย ตลาดนอย<br />

อาคารอนุรักษ บานเลขที่ 1<br />

ไปรษณียกลางบางรัก<br />

สถานีดับเพลิงบางรัก<br />

ทางดวนพิเศษศรีรัช<br />

หางสรรพสินคาโรบินสัน บางรัก<br />

แมน้ำเจาพระยา<br />

ราน โจกปรินซ บางรัก<br />

ถนนเจริญกรุง<br />

รถไฟฟา BTS สถานีสะพานตากสิน<br />

Charoen Krung Road is a path with conflicts. If you<br />

come here in the morning or in the evening, the atmospheres<br />

of the road and of the road sides are not the same. In<br />

the past, Charoen Krung Road was the first road in<br />

Bangkok constructed using western techniques. The road<br />

stretches from the palace area. The first section is full<br />

of the houses of private company leaders and hotels.<br />

The zone near the end of Thanon Tok road is a community<br />

area for villagers. If you would like to get to know this road,<br />

take the bus number 1 Thanon Tok – Tha Tian as a short cut.<br />

From Talad Noi, she usually bikes until she reaches<br />

Wat Ratchabopit. Here stood a great stupa with a peculiar<br />

round shape and a golden gothic interior. The monks’<br />

cubicles are made of beautiful marbles. In the back is<br />

the royal cemetery. After that, she bikes to Saranrom<br />

Park. Some days she goes roundabout to the Memorial<br />

Bridge where a secret and beautiful place awaits on the<br />

other side of the river: the Princess Mother Memorial Park.<br />

There is a historic building which used to be where the<br />

Princess Srinagarindra stayed.<br />

The roundtrip of this route is 20 kilometers. It’s the<br />

route that makes us happy each time we bike. It’s precious<br />

and is enough for holidays.<br />

ราน Ah Yat Abalone<br />

เอเชียทีค เดอะ ริเวอรฟรอนท<br />

ถนนเจริญกรุง<br />

ถนนจันทน<br />

ถนนสีลม<br />

ทางดวนพิเศษศรีรัช<br />

- 46 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


CUISINE<br />

TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

THE CLASSIC<br />

CAFE & RESTAURANTS<br />

ตลอดสองข้างทางของถนนเจริญกรุง ไม่เพียง<br />

มีตึกเก่าเรียงรายมากมาย แต่ยังมีร้านเล็กๆ<br />

ลึกลับประทับใจ และนี่คือ 3 ร้านท้องถิ่นระดับ<br />

ตํานานที่เราอยากแนะนํา<br />

Along Charoen Krung Road, not only<br />

is there an array of old buildings, but there<br />

are also small stalls and restaurants that<br />

are mysterious and impressive. And these<br />

are the three legendary restaurants that we<br />

recommend.<br />

ภาพ : Dolnapa Ramintra<br />

อร่อยระดับตำ นาน ย่านเจริญกรุง<br />

โจ๊กปรินซ์ บางรัก<br />

ร้านโจ๊กเก่าแก่ที่อยู่กลางย่านบางรัก กลิ่น<br />

ข้าวที่ออกกลิ่นไหม้ติดหม้อนิดๆ คือเอกลักษณ์ที่<br />

หาตัวจับยาก หากซื้อกลับบ้านยังคงผูกถุงแบบ<br />

โบราณโดยใช้เชือกฟางพันรอบถุง หมูสับก้อนใหญ่<br />

ในโจ๊กยังคงเป็นหมูล้วน ต่างจากร้านโจ๊กยุคใหม่<br />

ที่นิยมใช้หมูเด้ง (หมูผสมแป้ง)<br />

Joke Prince, Bangrak<br />

This old stall serves rice porridges in<br />

the middle of the Bangrak district. The<br />

smoky flavour of the rice is a signature that<br />

is hard to replicate. If you get to-go orders,<br />

they still tie the bags in an old way using<br />

plastic rope. The jumbo ground pork balls<br />

in the congee are made of just pork which<br />

is different than modern rice porridge places<br />

that use a mix of pork and flour.<br />

* ตรงข้ามโรบินสันบางรัก เยื้องกับโรงแรมแชงกรีลา<br />

เปิดทุกวัน รอบเช้า 06.00-12.00 น. (หรือจนกว่าโจ๊กจะหมดหม้อ)<br />

รอบค่ำ 16.00-22.00 น.<br />

* Opposite to Robinson Bangrak, and almost opposite to<br />

Shangri-La. Open daily. Morning session 06.00 am - 12.00 pm<br />

(or until running out of the porridge) Night session: 04.00PM-10.00PM<br />

- 47 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


ออน ล็อก หยุ่น<br />

ชื่อร้านมาจากภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า สวนสนุก<br />

เป็นร้านในตํานานที่อยู่คู่ถนนเจริญกรุงมากว่า<br />

80 ปี สืบทอดกันมาแล้ว 3 รุ่น เรายังได้เห็น<br />

บรรยากาศของอากง อาแปะมานั่งสังสรรค์ยามเช้า<br />

ในบรรยากาศแบบสภากาแฟ พร้อมเบรกฟาสต์<br />

แบบโบราณ ไข่ดาว กุนเชียงทอด ไส้กรอก แฮม<br />

ขนมปังสังขยา เฟรนช์โทสต์ กาแฟ นมเย็น<br />

ในอดีตร้านออน ล็อก หยุ่น ได้รับความนิยม<br />

ในหมู่คนดัง นักแสดง นักการเมือง ไปจนถึงคน<br />

ทั่วไปที่เดินทางมาดูหนังที่โรงหนังเฉลิมกรุง เป็น<br />

คาเฟ่ยุคต้นตํารับและเป็นหลักฐานแสดงถึง<br />

ความรุ่งเรืองของถนนเจริญกรุง (ในวันที่ทีมงาน<br />

มาเก็บภาพ ระหว่างที่เรากําลังสั่ง<br />

เฟรนช์โทสต์ภายในร้านก็ได้เห็น Line Man ซึ่งคือ<br />

บริการขนส่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชั่น<br />

ยืนรอเฟรนช์โทสต์เหมือนเราเช่นกัน นี่ล่ะหลักฐาน<br />

สําคัญของความคลาสสิก)<br />

* ติดกับซอยเจริญกรุง 4 ใกล้ศาลาเฉลิมกรุง<br />

เปิดทุกวัน 05.30-16.00 น.<br />

ภาพ : Dolnapa Ramintra<br />

On Lok Yun<br />

The name comes from the Teochew<br />

dialect, meaning an amusement park. It’s a<br />

legendary place that has paired with Charoen<br />

Krung Road for over 80 years, handed down<br />

to its third generation of restaurant owners.<br />

We get to see the atmosphere where the<br />

elderly have their morning conversations<br />

like a community cafe, with traditional<br />

breakfast: sunny-side eggs, fried Chinese<br />

sausages, western sausages, hams, egg<br />

custard and breads, French toasts, coffee,<br />

and cold milk. In the past, On Lok Yun was<br />

very popular in the circle of celebrities,<br />

actors, politicians, and people who came to<br />

watch movies in Chalermkrung Theatre. It<br />

is a pioneer cafe and is the evidence of the<br />

rise of Charoen Krung Road. (On the day<br />

that Team came for photo shooting,<br />

while we were ordering French toasts inside<br />

the restaurant, we saw a Line Man it’s mean<br />

a delivery service using a mobile application<br />

waiting for the French toasts as well. This is<br />

an important proof of the classic demand.)<br />

* Adjacent to Soi Charoen Krung 4, near Sala Chalermkrung<br />

Royal Theatre. Open daily 05.30am-04.00pm<br />

- 48 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


Ah Yat Abalone<br />

ภัตตาคารจีนตํารับกวางตุ้งที่จะทําให้คุณ<br />

รู้สึกเหมือนนั่งอยู่กลางเกาะฮ่องกง ท่ามกลางคุณ<br />

ลุงคุณป้า คุณตาคุณยาย ที่ยังคงแวะเวียนมา<br />

ล้อมวงติ่มซําในบรรยากาศที่คุ้นเคย รังสรรค์<br />

ความอร่อยโดยเชฟมิชลินสตาร์ มิสเตอร์ หยาง<br />

คุน ยัท ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องหอยเป๋าฮื้อ ตามชื่อร้านที่<br />

แปลว่า เป๋าฮื้อของอายัท ซึ่งเป็นจานเด่นของที่นี่<br />

เมื่อเราปั่นจักรยานกลับมายังจุดเริ่มต้น เราจะ<br />

แวะที่ร้านนี้เสมอ<br />

* ชั้น 2 โรงแรมรามาดา พลาซ่า แม่น้ำ ซอยเจริญกรุง 72/4<br />

เปิดทุกวัน รอบเช้า 11.00-14.30 น. (เมนูติ่มซ ำลด 50 %<br />

ช่วงกลางวัน ยกเว้นวันอาทิตย์) และช่วงเย็น 18.00–22.30 น.<br />

สำรองที่นั่ง โทร. 0-2688-1000<br />

ภาพ : Dolnapa Ramintra<br />

Ah Yat Abalone<br />

A Cantonese Chinese restaurant that<br />

will make you feel like you are in the middle<br />

of Hong Kong Island among the uncles,<br />

aunts, grandpas and grandmas who still join<br />

the dim sum circle in this familiar atmosphere.<br />

Serving the deliciousness is Michelin Star<br />

Chef - Mr. Yeung Koon Yat. This place is famous<br />

for it’s abalone, just like the restaurant name<br />

which translates to Ah Yat’s abalone, the<br />

signature dish. Whenever we bikes back to<br />

the beginning, we always stop here.<br />

* Second floor, Ramada Plaza Bangkok Menam Riverside, Soi<br />

Charoen Krung 72/4. Open daily. Lunch: 11.00am - 02.30pm<br />

(Dim Sum menu is 50 % off during lunch time, except on<br />

Sunday). Dinner 06.00pm – 10.30pm For reservation, call 0-2688-1000<br />

- 49 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

ARTS<br />

THE STATE OF IMPERMANENCE 15<br />

สภาวะแห่งความไม่เที่ยง<br />

จากการประกวดภาพพิมพ์นานาชาติ The<br />

1 st TKO International Mini Print Exhibition<br />

2016 จัดแสดงในประเทศญี่ปุ่น 3 แห่ง ได้แก่<br />

B-Gallery เมืองโตเกียว (26 กรกฎาคม-14<br />

สิงหาคม 2559) Art Zone Kaguraoka เมืองเกียวโต<br />

(26 สิงหาคม-4 กันยายน 2559) และ Gallery<br />

Irohani เมืองโอซากา (9-21 กันยายน 2559) โดย<br />

การประกวดนี้มีจํานวนผลงานภาพพิมพ์ที่ส่งเข้า<br />

ประกวด 599 ชิ้น จากศิลปินภาพพิมพ์ 330 คน<br />

ใน 43 ประเทศทั่วโลก<br />

ผลงานภาพพิมพ์ชื่อ The State of Impermanence<br />

15 เทคนิค Silk Screen ของศิลปินภาพ<br />

พิมพ์ชาวไทย ผศ.ธำรงศักดิ์ นิ่มอนุสสรณ์กุล<br />

อาจารย์ประจําคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและ<br />

การสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร สามารถคว้า<br />

รางวัล Toshiya Takahama Prize ไปครอง<br />

จากประสบการณ์ในการนั่งวิปัสสนา<br />

ที่นั่งสังเกตความรู้สึกต่างๆ<br />

ทำให้เข้าใจถึงสภาพความไม่เที่ยง<br />

ของกายและจิต<br />

อันเป็นสัจธรรมของสรรพสิ่ง<br />

คือ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมต้องดับไป<br />

จึงนำประสบการณ์นี้<br />

มาถ่ายทอดสู่ผลงานศิลปะ<br />

ศิลปินภาพพิมพ์แนวนามธรรมตามหลัก<br />

พุทธปรัชญา ผู้ผ่านการทํางานภาพพิมพ์มากว่า<br />

20 ปี ผ่านเวทีแสดงศิลปะระดับประเทศและ<br />

นานาชาติมากว่า 80 งาน ได้รับรางวัลระดับชาติ<br />

10 รางวัลและรางวัลระดับนานาชาติ3 รางวัล ได้<br />

เล่าถึงประสบการณ์การทํางานผลงานชุด The<br />

State of Impermanence Series นี้ ว่า<br />

“จากประสบการณ์ในการนั่งวิปัสสนา ที่นั่ง<br />

สังเกตความรู้สึกต่างๆ ทําให้เข้าใจถึงสภาพความ<br />

ไม่เที่ยงของกายและจิต อันเป็นสัจธรรมของ<br />

สรรพสิ่ง คือ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมต้องดับไป จึงนํา<br />

ประสบการณ์นี้มาถ่ายทอดสู่ผลงานศิลปะ โดย<br />

แสดงออกผ่านการใช้สี รูปทรง และจัดวางองค์<br />

ประกอบที่แตกต่างกันไปในแต่ละชิ้นงาน บาง<br />

งานจัดวางองค์ประกอบรูปทรงเดียวกัน แต่นํ้ำ<br />

หนักสีต่างกัน บางงานโครงสร้างเป็นช่อง มีรูป<br />

ทรงของสีที่มีขนาดต่างกันไป มีการทับซ้อนของ<br />

ชั้นสี เล็ก ใหญ่ ต่างกันไป”<br />

รางวัล Toshiya Takahama Prize เป็น<br />

รางวัลที่มีความพิเศษประการหนึ่ง คือ เป็นรางวัล<br />

ที่กรรมการแต่ละคนจะคัดเลือกผลงานที่ตนชื่น<br />

ชอบมากที่สุดจํานวน 1 ชิ้นมารับรางวัล และชื่อ<br />

รางวัลจะเป็นชื่อของกรรมการคนนั้น ดังนั้น<br />

รางวัลนี้จึงมี 4 รางวัลโดยมีชื่อรางวัลไม่ซํ้ำกัน<br />

ตามชื่อคณะกรรมการ ที่มีจํานวน 4 ท่าน<br />

The 1 st TKO International Mini Print<br />

Exhibition, an international printmaking<br />

competition, was showcased in Japan at<br />

3 locations: B-Gallery in Tokyo (July 26 –<br />

August 14, 2016), Art Zone Kaguraoka in<br />

Kyoto (August 26 – September 4, 2016),<br />

and Gallery Irohani in Osaka (Sep 9 – Sep<br />

21, 2016). In this competition, there were<br />

599 prints from 330 printmaking artists in<br />

43 countries around the world.<br />

The print titled “The State of Impermanence<br />

15” uses silkscreen technique<br />

from Thai printmaking artist Assistant<br />

Professor Thamrongsak Nimanussornkul,<br />

a lecturer from Faculty of Information and<br />

Communications Technology at Silpakorn<br />

University, won the Toshiya Takahama Prize.<br />

This Bhuddist Philosophy-based abstract<br />

printmaking artist, who has extensive<br />

experience in printmaking for more than 20<br />

years, has gone to more than 80 national<br />

and international art exhibition venues, and<br />

has won 10 national awards and 3 international<br />

prizes. He shares his experience<br />

during the creation of this work, The “State<br />

of Impermanence” Series.<br />

“From my experience in meditation,<br />

I observe various feelings and that makes<br />

me understand the impermanence of<br />

the physical and mental states, which is<br />

the truth about everything: the cycle of<br />

birth and death. Therefore, I bring that<br />

experience and express it in the art work<br />

through the variation in the use of color,<br />

shape, and composition for each piece of<br />

work. Some pieces of work have the same<br />

compositions and shapes, but the hue of<br />

the color is different. Some works have<br />

structured frames with different sizes of<br />

color shapes. There are overlays of color;<br />

some big and some small.”<br />

The Toshiya Takahama Prize is unique<br />

in that the prize is awarded to the one art<br />

work piece that is a judge’s favorite, with<br />

the prize being named after the judge.<br />

Consequently, there are 4 prizes, one for<br />

each of the 4 judges.<br />

- 50 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


MUSIC<br />

ธนพลพจน์ โรจน์ณัฐกุล<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C14<br />

Feels Like Home<br />

เพลงที่ผมฟังแล้วคิดถึงบ้าน<br />

1<br />

3<br />

สำหรับผม<br />

‘บ้าน’ ไม่ได้หมายถึงสถานที่ครับ<br />

แต่มันคือความสุข<br />

ที่ผมได้อยู่กับคนที่ผมรักต่างหาก<br />

2<br />

สถาปนิกรุ่นใหม่จากกลุ่ม Young Architect ที่รวมตัวกันภายใต้บริษัท Integrated Field หรือ IF ที่เน้นสร้างสรรค์ผลงานจากการตั้งคําถามผ่านเรื่องราวรอบตัว ด้วยความเชื่อที่ว่า การตั้งคําถาม<br />

สําคัญกว่าคําตอบ แต่ครั้งนี้ คุณท๊อป-ธนพลพจน์ โรจน์ณัฐกุล เลิกตั้งคําถามชั่วคราว หันมาหาคําตอบบ้าง เมื่อเราขอให้เขาเลือก 3 เพลงในเพลย์ลิสต์ที่ฟังทีไร รู้สึกคิดถึง “บ้าน”<br />

An architect of new generations from the group “Young Architect” which gathered together under Integrated Field Co., Ltd., Mr. Top-Thanapolpoj Rochnattakul focuses on<br />

creating works firstly by asking questions about the stories around us with the belief that asking questions are more important than the answers. However, this time, he temporarily<br />

stops asking questions and turns to finding answers as we ask him to select 3 songs from his collection that make him think of “Home”.<br />

1. Be Thankful for What You’ve got<br />

by William DeVaughn<br />

ครั้งแรกที่ได้ยินเพลงนี้ผมอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถของเธอ<br />

ใช่ครับผมเมา เธอเลยขับรถมาส่งที่บ้าน ผมจําได้แค่ว่าผมประหม่า<br />

เหลือเกิน พอได้ยินเพลงนี้ดังขึ้นมา ผมทําอะไรไม่ถูก ได้แต่พูด<br />

ออกไปว่า “เพลงอะไรน่ะ เพราะมาก”<br />

พอตื่นเช้าขึ้นมาผมลืมไปแล้วว่า เมื่อคืนผมบอกเธอว่าผม<br />

ชอบเพลงนี้ ไม่รู้อะไรดลใจให้เธอส่งลิงค์เพลงนี้มาก่อนที่เราจะ<br />

จบบทสนทนาใน messenger พร้อมกับข้อความสุดท้ายที่เธอ<br />

พิมพ์ทิ้งเอาไว้ว่า “ลองเอาไปฟังตอนไม่เมานะ ว่ายังจะเพราะอยู่<br />

หรือเปล่า”<br />

หลังจากวันนั้น ผมจะชอบเปิดเพลงนี้ฟังทุกครั้งเวลาที่เธอ<br />

มาส่งผม<br />

When I first heard this song, I was with a woman<br />

in her car. Yes, I was drunk, so she dropped me off at<br />

home. I could only remember that I was so nervous that<br />

when this song was over, I didn’t know what to do but<br />

say “What song is this? It’s so beautiful.”<br />

The next morning I already forgot that the night<br />

before I told her I like the song. I’m not sure what made<br />

her decide to send me a link to it before we ended a<br />

conversation in chat messenger. The last message she<br />

typed was “Try to listen to this when you are not drunk<br />

and see if you still think it is melodious.”<br />

And from that day onward, I like to listen to this<br />

song every time she drops me off.<br />

2. I Can’t Go for That (No Can Do)<br />

by Daryl Hall and John Oates<br />

จริงๆ แล้วเพลงนี้เคยผ่านหูผมมาหลายรอบ มารู้ตัวอีกทีว่า<br />

ชอบเข้าแล้วก็ตอนนั่งรถไปงาน Wonderfruit กับเพื่อนสนิท<br />

คนหนึ่ง มันเปิดเพลงนี้แล้วโยกหัวไปมาโยกหัวอาจไม่ใช่เรื่องแปลก<br />

แต่ที่แปลกคือ มันยอมไม่จับพวงมาลัย! หลังจากวันนั้น เวลาผม<br />

อยากโยกหัวแล้วไม่สนใจอะไร ผมมักจะเปิดเพลงนี้ฟัง<br />

Actually this song is very familiar to me. I realized<br />

that I like it while riding in a car with one of my close<br />

friends to the Wonderfruit festival. He turned on this<br />

song and his head rocked back and forth. Rocking one’s<br />

head might not be strange, but the odd part was that<br />

he let go of the steering wheel! After that day, whenever<br />

I want to rock out and shut myself off from everything,<br />

I often listen to this song.<br />

3. Take Me Home, Country Roads<br />

by John Denver<br />

มีอยู่ปีหนึ่งครอบครัวเราขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัด ขากลับ<br />

คุณพ่อผมเป็นคนขับรถพาทุกคนกลับบ้าน ผมจําได้รางๆ ว่า<br />

พระอาทิตย์กําลังจะตกแล้ว แต่เรายังหลงทางกันอยู่ (สมัยนั้น<br />

ยังไม่มี Google map) อยู่ดีๆ เพลงนี้ก็ดังขึ้นผ่านวิทยุ ท่อนนั้น<br />

ของเพลงร้องว่า...Country roads take me homeeeeee...แล้ว<br />

ทันใดนั ้นเองป้ายสีเขียวบนทางหลวงที่เขียนว่า “กรุงเทพฯ” ก็<br />

ปรากฏขึ้น ใช่ครับ เราทุกคนในรถอดอมยิ้มไม่ได้ว่าอะไรจะ<br />

บังเอิญปานนั้น ทุกครั้งเวลาที่ผมหลงทางตอนท้องฟ้ากําลังเป็น<br />

สีอมส้ม เพลงนี้จะลอยขึ้นมาในหัวผมทันที<br />

There was a year that my family travelled to the<br />

countryside. On the way back, my dad was the driver. I<br />

vaguely recalled that it was almost sun set, but we were<br />

still lost (during that time Google Map didn’t yet exist).<br />

Then suddenly this song came up on the radio, with that<br />

verse … Country roads take me homeeeeee…. Just then<br />

the green sign on the highway saying “Bangkok”<br />

appeared. Yes, all of us in the car couldn’t help but smile.<br />

How coincidental! Every time that I get lost when the<br />

sky is turning orange, this song will come on in my head<br />

immediately.<br />

เลือกมาถึงเพลงสุดท้าย ผมเพิ่งรู้ตัวว่า ยังไม่ได้พูดถึงเพลง<br />

ที่ผมฟังที่บ้านเลย อาจเป็นเพราะคําถามถามว่า เพลงไหนบ้าง<br />

ที่ผมฟังแล้วคิดถึงบ้าน<br />

ผมนึกถึงนิยามคําว่า “บ้าน” ว่าคืออะไร สําหรับผม “บ้าน”<br />

ไม่ได้หมายถึงสถานที่ครับ แต่มันคือความสุขที่ผมได้อยู่กับคน<br />

ที่ผมรักต่างหาก<br />

While selecting the last song, I just realize that I<br />

haven’t talked about music I listen to at home, which<br />

may be due to the question asking which songs make<br />

me think of home.<br />

Thinking of the definition of “home”, for me “home”<br />

doesn’t mean a place, but it is the happiness that I can<br />

be with someone I love.<br />

- 51 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


FILM<br />

CONNECTING DOTS<br />

(the purpose of life)<br />

ลากเส้นต่อจุด (หมายของชีวิต)<br />

ความรักในภาพยนตร์ของ คุณบี-อมตะ หลูไพบูลย์สถาปนิกหนึ่งในสองผู้ก่อตั้งบริษัท Department of ARCHITECTURE<br />

เจ้าของบุคลิกคล่องแคล่ว พลังสร้างสรรค์ล้นเหลือ แปลกแตกต่างจากคนอื่นตรงที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการต้องมนต์ภาพเคลื่อนไหว<br />

ในโลกเซลลูลอยด์ หากแต่ก่อตัวขึ้นจากความหลงใหลในการวาดรูปเพื่อลงคอลัมน์ Art Club ใน Starpics นิตยสารภาพยนตร์<br />

ชื่อดังสมัยนั้น<br />

“ตอนมัธยมชอบซื้อนิตยสาร Starpics มาอ่านที่บ้าน หลักๆ คือติดตามคอลัมน์วาดรูปท้ายเล่ม แล้วก็ค่อยๆ เริ่มอ่านคอลัมน์<br />

วิจารณ์หนัง ในเล่ม จนในที่สุดก็ติดคอลัมน์หนังเข้าจริงๆ ทําให้ เวลาดูหนังแล้วสังเกตเยอะ คิดเยอะ รู้สึกเยอะกว่าความสนุกของ<br />

เนื้อเรื่อง นับเวลาที่รักการดูหนังจริงๆ จังๆ ก็กว่า 30 ปีแล้ว”<br />

นอกจากจะชอบดูหนังแล้ว คุณบีเล่าว่าหนังยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทํางานและการใช้ชีวิตให้กับเขาอีกด้วย มาดู<br />

กันว่ามีหนังเรื่องไหนบ้างที่เขาตั้งใจหยิบมาแนะนําให้กับคุณผู้อ่าน (รวมถึงสถาปนิกรุ่นน้องๆ ในครั้งนี้)<br />

The love of movies in Khun Bee – Amata Lupaiboon , architect and co-founder of the Department of ARCHITECTURE<br />

Co., Ltd., who possess a vivid and powerfully creative character, is different than others in that his love doesn’t<br />

begin with the charm of animation in the celluloid world. Instead, it was formed out of his passion of drawing for<br />

submission to a column called “Art Club” in Starpics, a famous movie magazine in the old days.<br />

“While in a secondary school, I liked to buy Starpics to read at home. Mainly I followed a column about drawing<br />

at the end of the book. Then I started reading columns inside regarding movie reviews. Eventually I became really<br />

addicted to those columns and that made me be very observant when watching movies. I think a lot, I feel a lot<br />

more than just the fun of the story. And so for more than 30 years I have been a serious movie watcher.”<br />

In addition to the joy of watching movies, Khun Bee said movies are the inspiration for work and living to him.<br />

Let’s see which movies he carefully picks as a recommendation to you readers (including junior architects in this case).<br />

ภาพ : www.wikipedia.org<br />

การดูภาพยนตร์ให้อะไรหลายๆ อย่างกับชีวิต<br />

ให้เวลาสั้นๆ ที่นำเรา<br />

หลุดออกจากสิ่งที่คิดอยู่ในหัวตลอดเวลา<br />

บางทีจุดประกายให้เห็นถึง<br />

visual หรือ space ที่น่าสนใจ<br />

ที่อาจนำมาต่อยอดในงาน หรือบางทีให้กำลังใจ<br />

ให้การยืนยันว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ มาถูกทางแล้ว<br />

Twenty Feet from Stardom (2013)<br />

ภาพ : www.collider.com<br />

“หนังสารคดีอเมริกันที่เปิดเผยเบื้องหลังชีวิตนักร้องแบ็กอัพ<br />

แม้ว่าจะร้องเพลงระดับเทพแค่ไหน ก็เป็นได้แค่เงาเสียงของวง<br />

ดนตรีหรือนักร้องใหญ่ๆ พวกเขารู้ว่าจะทําได้ดีแค่ไหนก็ไม่ได้ออก<br />

มาอยู่เบื้องหน้า แต่พวกเขาก็ไม่หยุดที่จะร้องเพลง ผมดูเรื่องนี้แล้ว<br />

รู้สึกประทับใจมาก เพราะคนเรานี่หากรักจะทําอะไรแล้ว ไม่ว่าจะ<br />

เป็นการร้องเพลงหรือการออกแบบ จะต้องมุ่งมั่นทําไปและพัฒนา<br />

ตนเองไปเรื่อยๆ โดยที่ชื่อเสียงไม่ใช่สิ่งสําคัญ เหมือนประโยคใน<br />

หนังของ ลิซา ฟิชเชอร์ หนึ่งในนักร้องแบ็กอัพในเรื่องที่ว่า “Some<br />

people will do anything to be famous. I just wanted to sing.”<br />

เกร็ดหนัง : หนังเรื่องนี้คำว้ารางวัลออสการ์สารคำดียอดเยี่ยม ปี 2014<br />

“This American documentary film reveals the behindthe-scenes<br />

life of backup vocalists who, no matter how<br />

good their singing skill, are only the vocal shadow of big<br />

bands or of famous singers. Even though they know they<br />

are not getting the spot light regardless of how great their<br />

performances are, that won’t stop them from singing. After<br />

I watched this, I was very impressed; because if we love<br />

to do something, whether sing or design, we must strive<br />

for the best and continue improving ourselves. Fame is<br />

not the important thing. It’s like the quote by Lisa Fischer,<br />

a back-up singer in this movie, “Some people will do<br />

anything to be famous. I just wanted to sing.”<br />

Movie tip : This movie won 2014 Best Documentary Film Award.<br />

- 52 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


อมตะ หลูไพบูลย์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C15<br />

Jiro Dream of Sushi (2011)<br />

ภาพ : www.imdb.com ภาพ :www.rottentomatoes.com<br />

Field of Dreams (1989)<br />

“หนังเรื่องนี้มีQuote ที่ผมเชื่อ และขอยืมมา Quote ต่อบ่อยๆ<br />

คือ If you build it, they will come. พระเอกในเรื่องที่เล่นโดย<br />

เควิน คอสต์เนอร์ สร้างสนามเบสบอลกลางทุ่งข้าวโพดในรัฐ<br />

ไอโอวา ตอนแรกใครๆ ก็หาว่าบ้า แต่เมื่อสร้างแล้วก็มีคน<br />

มาเยือนจากทั่วทุกสารทิศ ผมคิดจริงๆ ว่าหากคุณสร้างงาน<br />

สถาปัตยกรรมที่ดี จะมีคนมาใช้ มาชื่นชม ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้<br />

อยู่ในโลเคชั่นที่ดีที่สุดก็ตาม ผมมั ่นใจว่าคุณภาพของ<br />

สถาปัตยกรรมดึงคนได้จริงๆ”<br />

“This movie has quotes that I believe in and I<br />

frequently borrow this quotation: “If you build it, they will<br />

come.” The character played by Kevin Costner, has built a<br />

baseball field in the middle of a corn field in Iowa. At the<br />

beginning, everyone thinks this is crazy. However, after it<br />

is built, the field draws in people from all over the place.<br />

So I really believe that if you create a fine architectural<br />

work, people will come to use it and to admire it. Even<br />

if it may not be in the best location, I am confident that<br />

the quality of the architecture is a real magnet.”<br />

ภาพ : www.imdb.com<br />

ภาพ :www.rottentomatoes.com<br />

นําไปสู่การถูกยกย่องในอาชีพ” หรือ “ผมพยายามที่จะทําให้ได้<br />

ดีขึ้นๆ จะปีนขึ้นไปสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งใจอยากไปให้ถึงยอด แต่ไม่มี<br />

ใครรู้หรอกว่ายอดนั่นมันอยู่ที่ไหน”<br />

This documentary film brings us to know 85-year-old<br />

uncle Jiro Ono, the owner of a small and simple 10-seat<br />

sushi restaurant that is considered the best in the world.<br />

Almost all of his words in the movie are touching and<br />

สตีฟ จ็อบส์ เคยกล่าวไว้ว่า ความสําเร็จในชีวิตมัก<br />

มาจากการ “เชื่อมโยงจุด” ต่างๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกัน แล้ว<br />

สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าขึ้นมาได้สําเร็จ เช่นเดียว<br />

กับชีวิตของ ชายหนุ่มผู้นี้ที่เริ่มต้นจากความสุขในการ<br />

วาดเส้นต่อจุด ตั้งใจและแน่วแน่ในทางเลือกของตนเอง<br />

จนกลายเป็นสถาปนิกที่ประสบความสําเร็จอย่างเช่น<br />

ทุกวันนี้<br />

Steve Jobs once said success in life often<br />

“หนังสารคดีที่ทําให้เราได้รู้จักคุณลุงจิโระ โอโนะ วัย 85 ปี<br />

เจ้าของร้านซูชิขนาดเล็กแค่ 10 ที่นั่งและไม่หรูหราอะไร แต่ได้<br />

รับการยกย่องว่าดีที่สุดในโลก คําพูดของคุณลุงในหนังเรื่องนี้<br />

แทบทุกคํากินใจและ inspiring อย่างที่สุด เช่น “เมื่อเราได้ตัดสิน<br />

ใจเลือกอาชีพอะไรแล้ว เราต้องทุ่มเทกับงาน รักงาน ไม่บ่นอะไร<br />

จะต้องให้ทั้งชีวิตของเราเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถ<br />

นี่แหละคือความลับของการประสบความสําเร็จ นี่คือกุญแจที่<br />

utmost inspiring. For example, “When we have chosen a<br />

career already, we have to dedicate ourselves to work,<br />

love it, and don’t complain anything. We shall give our<br />

whole life to develop it’s skills and abilities, and this is<br />

the secret of success. This is the key to being highly<br />

regarded in the profession.” Or this example “I try to get<br />

better and better and will climb higher and higher to the<br />

top though nobody really knows exactly where that is.”<br />

comes from “connecting dots” together and create<br />

something of value successfully. This is similar to the<br />

this man’s journey that begins from the happiness<br />

of drawing lines connecting dots, being determined<br />

and focused in selecting his own path, till the day<br />

he has become a successful architect.<br />

- 53 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

BOOK<br />

หนังสือออกแบบทางสถาปัตยกรรม<br />

THE EXISTENCE OF<br />

ARCHITECTURAL DESIGN BOOKS<br />

นับตั้งแต่โลกใช้ตัวอักษรในการส่งต่อข้อมูล การบันทึก<br />

ความรู้ยังเป็นเรื่องของอํานาจเฉพาะกลุ่ม การครอบครองต้อง<br />

ผ่านการคัดลอกเล่มต่อเล่ม แต่เมื่อระบบพิมพ์เริ่มนํามาใช้<br />

มนุษย์ก็เริ่มที่จะเท่าเทียมกัน ความรู้กลายเป็นของทุกคน<br />

หมวดออกแบบเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม ในอดีตนั้นมีรูปแบบที่<br />

เต็มไปด้วยตัวอักษร เข้มข้นไปด้วยเนื้อหาวิชาการ หรืออันที่จริง<br />

ควรเรียกว่าตํารา ที่แบกความหมายเชิงความรู้มากกว่าอ่านเอา<br />

เพลิน อาจไม่มีคําแนะนําที่เหมาะสมกับหนังสือที่ดีที่สุด การ<br />

เลือกอ่านจึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับแต่ละบุคคลไป<br />

หมวดวารสารโลกตะวันตกอย่าง EL Croquis, The Architecture<br />

Review, Architectural Record, ABITARE, I’ARCH,<br />

TOPOS, OFARCH, I’ARCH, domus, Wallpaper* ฯลฯ เป็น<br />

หัวหอกที่คอหนังสือคุ้นเคยในหลายปีที่ผ่านมา<br />

หมวดหนังสือแนวบทความ วิวาทะ ทัศนะ และทฤษฎี ซึ่ง<br />

มักเขียนโดยนักวิชาการ และตัวสถาปนิกเอง เช่น THINKING<br />

ARCHITECTURE, ATMOSPHERES โดย Peter Zumthor กลุ่ม<br />

หนังสือ Talks (Conversations) with Students ของเหล่าตํานาน<br />

อย่าง Le Corbusier, Louis I. Khan, Rem Koolhaas หรือ<br />

Complexity and Contradiction in Architecture โดย Robert<br />

Venturi ฯลฯ ก็เป็นกลุ่มที่มีแฟนคลับเฉพาะไว้คอยตามเก็บ<br />

สะสม<br />

หมวดวารสารฝั่งเอเชียนั้นมาทีหลัง รายชื่ออย่าง GA, AU,<br />

JA, C<strong>ASA</strong> BRUTUS, PROCESS, DI, la china, C3, iSh, art4D<br />

ก็ทําหน้าที่คลื่นลูกใหม่ที่ประคองวงการออกแบบไว้ได้อย่างดี<br />

รวมถึงพวกหนังสือแนวรวมผลงานของสถาปนิกดังแถบนี้อย่าง<br />

SAANA, Sou Fujimoto, Tadao Undo, Kengo Kuma, Toyo<br />

Ito, Junya Ishigami, BAWA, Ma Yangsong, A49, WOHA<br />

etc ก็ขยันออกหนังสือของตัวเองอย่างคึกคักให้แฟนๆ ติดตาม<br />

กันอย่างสมํ่ำเสมอ<br />

หนังสือทําหน้าที่แบกความหมายความเข้าใจหลายระดับ<br />

มานับพันปีปัจจุบันดูเหมือนว่าต้องแบกความถดถอยของความ<br />

นิยมเพิ่มไปอีกอย่าง การพัฒนารูปแบบที่จําเป็นต่อการปรับตัว<br />

เลยกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจในลําดับถัดมา การเดินทางของ<br />

หนังสือระดับ 2,000-3,000 ปี คงไม่ได้จบกันง่ายๆ และยังคง<br />

น่าติดตามต่อไป<br />

Since characters have been used to pass on information,<br />

the recording of knowledge has been the power<br />

of certain groups of people. This possession of power<br />

could only be done by copying: volume by volume.<br />

However, when the printing press was invented,<br />

people became more equal. Knowledge can belong to<br />

anyone.<br />

The topic of design is a niche. In the past, the format<br />

for this category was full of letters and rich academic<br />

content. Therefore, most publications should actually be<br />

considered textbooks because it is meant for technical<br />

knowledge rather than for pleasure. There may not be a<br />

suitable recommendation on the best books. The selections<br />

for a reading list depend on each individual.<br />

For western magazines such as EL Croquis, The<br />

Architecture Review, Architectural Record, ABITARE,<br />

I’ARCH, TOPOS, OFARCH, I’ARCH, domus, Wallpaper*,<br />

these are the leaders that book fans have been familiar<br />

with for the past several years.<br />

For the book style that focuses on articles, debates,<br />

opinions, and theories, these are usually written by<br />

academians and architects themselves. Example titles<br />

include THINKING ARCHITECTURE and ATMOSPHERES by<br />

Peter Zumthor, the book group Talks (Conversations) with<br />

Students by the legendary Le Corbusier, Louis I. Khan,<br />

and Rem Koolhaas, or Complexity and Contradiction in<br />

Architecture by Robert Venturi. These books are collected<br />

by a special fan club.<br />

- 54 -<br />

Asian journals come later and a list includes GA, AU,<br />

JA, C<strong>ASA</strong> BRUTUS, PROCESS, DI, la china, C3, iSh, art4D.<br />

They are the new wave that supports the design business<br />

very well. In addition, there are books that showcase<br />

the works by famous architects in this zone like SAANA,<br />

Sou Fujimoto, Tadao Undo, Kengo Kuma, Toyo Ito, Junya<br />

Ishigami, BAWA, Ma Yangsong, A49, and WOHA, who<br />

regularly release their own books for fans.<br />

Books serve as a way to carry meanings and understanding<br />

for thousands of years. Now, it has to bear the<br />

fact that books have become less popular. The change<br />

of book format is necessary for adaptation, and is an<br />

interesting subject. The journey of books has been 2,000-<br />

3,000 years, so it won’t be ending easily. To be continued.<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


HOW TO<br />

TEXT : <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> TEAM<br />

ภาพ : www.google.com<br />

WHAT LIES BENEATH THAT WATER BASIN?<br />

ฉบับนี้ว่าด้วยเรื่องของบ้านบ้านที่คนไทยประทับใจมาตลอด<br />

คือ “บ้านผีปอบ” ที่ประทับใจไม่ใช่ตัวบ้าน แต่เป็นโอ่งหน้าบ้าน<br />

โอ่ง คือภาชนะเก็บนํ้ำที่อยู่คู่กับบ้านคนไทยมาตั้งแต่สมัย<br />

โบราณ มีลักษณะเช่นเดียวกับภาชนะเก็บนํ้ำของชนชาติอื่นๆ<br />

คือเป็นภาชนะดินเผาทรงกลม แม้ในปัจจุบันโอ่งจะได้รับการ<br />

พัฒนาไปจากเดิมเป็นปั๊มนํ้ำ หรือถังเก็บนํ้ำ แต่ยังคงคุณประโยชน์<br />

ดั้งเดิมไว้คือการเก็บนํ้ำ จะต่างกันเพียงวัสดุซึ่งมีคุณสมบัติต่าง<br />

กันไปทั้งราคาและความทนทาน<br />

ส่วนโอ่งที่เห็นกันในภาพยนตร์บ้านผีปอบ ซึ่งตัวละครมักใช้<br />

อาศัยเป็นที่หลบผีปอบ ความสนุกเกิดจากไอเดียที่ว่าคนหลาย<br />

สิบคนสามารถหนีลงไปซ่อนในโอ่งเล็กๆ ได้อย่างไร<br />

แท้จริงแล้วด้านล่างนั้นเชื่อมต่อกับหลุมหลบภัยนั่นเอง<br />

…แม่เจ้า<br />

โอ่งนั้นสำ คัญไฉน?<br />

ถังเก็บน้ำสแตนเลส<br />

ตั้งบนดิน<br />

ถังเก็บน้ำแบบพลาสติก<br />

ฝังใต้ดิน<br />

ถังเก็บน้ำแบบ<br />

ไฟเบอร์กลาส<br />

ถังเก็บน้ำสแตนเลสตั้งบนดิน<br />

ข้อดี - สะอาดดูแลง่าย แข็งแรงอายุยืนยาว ทนต่อการกัดกร่อน<br />

ได้ดี ไม่เกิดตะไคร่ภายใน<br />

ข้อเสีย - ไม่ควรใช้กับน้ำกร่อยหรือน้ำบาดาล เพราะจะเป็นสนิม<br />

ราคาสูงกว่าวัสดุอื่น รูปแบบให้เลือกน้อย<br />

ถังเก็บน้ำพลาสติกฝังใต้ดิน<br />

ข้อดี - ไม่เป็นสนิม บรรจุน้ ำได้หลายชนิด ราคาไม่แพง มีให้เลือก<br />

มากมายหลายขนาดและหลายวัสดุ บางรุ่นใส่สารก ำจัด<br />

แบคทีเรีย<br />

ข้อเสีย - มีโอกาสเกิดตะไคร่ภายในเพราะแสงผ่านได้ สีซีดเมื่อใช้<br />

ไปนานๆ แตกร้าวง่าย<br />

ถังเก็บน้ำแบบไฟเบอร์กลาส<br />

ข้อดี - แข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่นสูง รับแรงได้ดี มีทั้งแบบวาง<br />

บนดินและฝัง นิยมใช้เป็นบิ๊กแท็งค์<br />

ข้อเสีย - ใช้งานกลางแจ้งอาจท ำให้กรอบร้าวได้ ท ำความสะอาดยาก<br />

อาจมีกลิ่นของเรซิ่น<br />

This issue is all about “House”. The house<br />

that Thai people are always impressed in is “Baan Phi<br />

Porb” or “House of the Dead”, however the aspect that is<br />

impressive is not the actual house, but the water basin<br />

in front of the house.<br />

The water basin is a traditional Thai household<br />

water storage container formed from round pottery, which<br />

is similar to those used in other countries. Today, even<br />

though the water basin has transformed into a water<br />

pump or a holding tank, its purpose remains the same:<br />

to store water. The differences in modern water basins<br />

lie in their price range and durability.<br />

As for the water basin seen in the movie “Baan Phi<br />

Porb”, it is used as a place to hide from the Thai zombies<br />

(Phi Porb). The fun part comes from the idea of how tens<br />

of people can escape and hide in such a confined space<br />

as the water basin.<br />

The answer is that the bottom of the basin is indeed<br />

connected to an underground shelter…Oh Gosh!<br />

Above ground stainless steel water tank<br />

Pros – Easy care, great durability, corrosion resistant,<br />

and algae-proof<br />

Cons – Do not use with brackish water or groundwater<br />

as it will rust. More expensive than other materials.<br />

Limited selections.<br />

Underground plastic water tank<br />

Pros – Rust-free. Can store different types of liquid.<br />

Inexpensive. Wide variety of selections in terms<br />

of sizes and materials. Some are antibacterial.<br />

Cons – There is a chance for algae growth inside due<br />

to light penetration. Turn pale, brittle and easy<br />

to crack after extended use.<br />

Fiberglass water tank<br />

Pros – Durable, strong, and very flexible. High impact<br />

resistance. Available in both above ground and<br />

underground options. Usually used as big storage tanks.<br />

Cons – May become brittle in prolonged sun exposure.<br />

Hard to clean. May have resin smell.<br />

- 55 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


่<br />

Privilege<br />

สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก สมาคมสถาปนิกสยามฯ เพียงแสดงบัตรสมาชิก<br />

หรือแสดงข้อมูลสมาชิกบนอาษาแอพพลิเคชั ่น (<strong>ASA</strong> Application)<br />

เพื่อรับสิทธิประโยชน์และส่วนลดจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ<br />

ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ ตั ้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2560<br />

@thaiwatsadu<br />

Thaiwatsadu.thai homeworksTH baanandbeyondTH<br />

ซื ้อสินค้าครบทุก 5,000 บาท*<br />

รับฟรี! คูปองเงินสด มูลค่า 300 บาท<br />

*แสดงใบเสร็จพร้อมบัตร <strong>ASA</strong> Privilege Card ที่จุดบริการลูกค้า<br />

• ยกเว้นสินค้าโครงสร้าง และสินค้าราคาโครงการ<br />

• จำกัดการแจกคูปองเงินสด ไม่เกิน 6,000 บาท ต่อวัน / สมาชิก / ไทวัสดุ โฮมเวิร์ค<br />

และบ้านแอนบียอนด์ ทุกสาขา<br />

• ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ 15 มีนาคม 2560 – 30 มิถุนายน 2560<br />

Modernform Furniture<br />

ส่วนลด 20% จากราคาปกติ<br />

สาขาโมเดอร์นฟอร์ม ทาวเวอร์ โทร. 0 2708 9800<br />

สาขา CDC (Crystal Design Center) โทร. 0 2102-2100-3<br />

สาขา ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต โทร.0 2958-5613-4<br />

www.modernform.co.th<br />

**เฉพาะสินค้าเฟอร์นิเจอร์สำนักงานเท่านั้น<br />

**สามารถใช้สิทธิพิเศษได้ที่ 3 สาขา ได้แก่ โมเดอร์นฟอร์ม ทาวเวอร์, CDC และ ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต เท่านั้น<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2561<br />

บริษัท เงินมาธุรกิจ จำกัด<br />

238 ถนนรามอินทรา ท่าแร้ง บางเขน กรุงเทพฯ<br />

โทร.0 2943 6661<br />

www.ngernma.com<br />

ส่วนลดพิเศษเมื ่อซื ้อผลิตภัณฑ์<br />

โต๊ะหินโปร่งแสงและโต๊ะไม้<br />

แผ่นใหญ่ เฟลเวอร์<br />

ซื ้อ 1 ชิ้น ลด 5%<br />

ซื ้อ 2 ชิ้น ลด 10%<br />

ซื ้อ 3 ชิ้นขึ ้นไป ลด 15%<br />

MOTIF GROUP<br />

MOTIF ชั้น 3 Erawan Bangkok<br />

โทร. 0 2250 7740 และ ชั้น 4 Central<br />

Embassy โทร.0 2160 5984<br />

FENDI C<strong>ASA</strong> ชั้น 4 Central Embassy<br />

โทร.0 2160 5981<br />

ELEMENTS ชั้น 4 Central Embassy<br />

โทร.0 2160 5984<br />

www.motifartofliving.com<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

ส่วนลดพิเศษ 40%<br />

เมื ่อซื ้อสินค้าภายในร้านที ่กำหนด<br />

KARNIVING<br />

46 ซอยรามอินทรา 32 ถนนรามอินทรา ท่าแร้ง<br />

บางเขน กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2943 6263 www.karniving.com<br />

ส่วนลด 10-40%<br />

สำหรับสินค้าที ่ร่วมรายการ<br />

Almeta<br />

20/3 ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท คลองเตย<br />

เหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2258 4227, 0 2204 1413<br />

www.almeta.com<br />

รับส่วนลดพิเศษ<br />

เมื ่อสั ่งซื ้อผ้า สำหรับทำผ้าม่าน<br />

ส่วนลด 15%<br />

เมื ่อสั ่งซื ้อ 20 เมตร ต่อเส้น<br />

ส่วนลด 20%<br />

เมื ่อสั ่งซื ้อ 50 เมตร ต่อเส้น<br />

ส่วนลด 25%<br />

เมื ่อสั ่งซื ้อ 100 เมตร ต่อเส้น<br />

HUBBA-TO<br />

ห้องเลขที่ 306/2, 307, 307/2 ชั้น 3<br />

ศูนย์การค้า Habito Mall อ่อนนุช (สุขุมวิท 77)<br />

เลขที่ 1 ซอยริมคลองพระโขนง พระโขนงเหนือ<br />

วัฒนา กรุงเทพฯ<br />

โทร.0 2118 0839 www.hubbathailand.com<br />

ฟรี! ค่าเข้าใช้บริการพื ้นที<br />

Co-working Space 1 วัน หรือ<br />

ค่าบริการสำหรับการเข้าใช้ห้อง<br />

ประชุมเป็นเวลา 1 ชั ่วโมง<br />

**ผู้ถือบัตรสมาชิกต้องถ่ายรูปบริเวณ<br />

HUBBA-TO และเช็คอิน พร้อมติด Hashtag<br />

#HUBBATO เพื่อใช้ในการรับสิทธิ ์<br />

Lixil Showroom<br />

อาคาร D Crystal Design Center (CDC)<br />

ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วน<br />

เอกมัย-รามอินทรา) กรุงเทพฯ 10240<br />

โทร.0 2102 2222 กด 1<br />

www.lixil.co.th/americanstandard<br />

รับสิทธิ์ในการเข้าใช้ Lixil Club<br />

ณ Lixil Showroom (CDC)<br />

ทุกวัน เวลา 10.00 - 18.00 น.<br />

HAY<br />

ชั้น 3 Siam Discovery และ ชั้น 2 Central Embassy<br />

โทร. 09 0915 9788 www.hay.dk<br />

สำหรับผู้ถือบัตรสมาชิกประเภทสมาชิกภาคีและประเภท<br />

สำมัญ(สถาปนิก) สามารถแสดงบัตร เพื ่อรับบัตรสมาชิก<br />

พิเศษของ HAY พร้อมส่วนลด 10% ที ่สาขา Siam<br />

Discovery และ สาขา Central Embassy<br />

สำหรับผู้ถือบัตรสมาชิกประเภทบุคคลทั ่วไป<br />

สามารถแสดงบัตรเพื ่อรับส่วนลด 5% ได้ทั ้ง 2 สาขา<br />

BCDE<br />

[Bistro of Creative Drinking & Eating]<br />

LiT Bangkok Hotel 36/1 ซอยเกษมสันต์ 1<br />

ถนนพระราม 1 วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2612 3456 www.litbangkok.com<br />

The Café<br />

โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์<br />

10/1 สุขุมวิท 20 คลองเตย กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2262 1234 ต่อ 1406-1407<br />

www.windsorsuiteshotel.com<br />

Pizza Connection<br />

โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์<br />

10/1 สุขุมวิท 20 คลองเตย กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2262 1234 ต่อ 1888<br />

www.windsorsuiteshotel.com<br />

ซื้อ 1 แถม 1 ฟรี สำหรับเมนูพิซซ่า<br />

สำหรับเมนูอื ่นๆ รับส่วนลด 20%<br />

เฉพาะค่าอาหาร<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2560<br />

ส่วนลด 15% สำหรับอาหาร<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นหรือรายการส่ง<br />

เสริมการขายอื่นๆ ได้<br />

**ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสด<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 20 ธันวาคม 2560<br />

The Twist Bar & Bistro<br />

Well Hotel Bangkok Sukhumvit 20<br />

ถนนสุขุมวิท 20 คลองเตย กรุงเทพฯ<br />

โทร.0 2127 5995<br />

www.wellhotelbangkok.com<br />

ส่วนลด 20% สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม<br />

(ไม่รวมเครื ่องดื่มแอลกอฮอล์) จากเมนูปกติ<br />

พิเศษ! รับฟรีของหวาน 1 ที่<br />

เมื่อมารับประทานอาหารในวันเกิด<br />

**กรุณาสำรองโต๊ะล่วงหน้า และแจ้งพนักงาน<br />

เพื่อใช้สิทธิ ์ก่อนการสั่งอาหาร<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

มา 2 จ่าย 1 สำหรับบุฟเฟ่ต์ Seafood มื ้อค่ำ<br />

จากราคาปกติ 1,655 บาท++ ต่อท่าน<br />

**สามารถใช้สิทธิพิเศษนี้ได้เฉพาะวันศุกร์, เสาร์<br />

และอาทิตย์ เท่านั้น<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นหรือรายการส่ง<br />

เสริมการขายอื่นๆ ได้<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2560<br />

Pasta & Pool<br />

LiT Bangkok Residence 36/1 ซอยเกษมสันต์ 1<br />

ถนนพระราม 1 วังใหม่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2612 3456<br />

www.litbangkok.com<br />

ส่วนลด 15% สำหรับอาหาร<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นหรือรายการส่ง<br />

เสริมการขายอื่นๆ ได้<br />

**ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสด<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 20 ธันวาคม 2560


Privilege<br />

De Naga Chiang Mai<br />

21 ราชมรรคาซอย 2 ถ.มูลเมือง พระสิงห์ เมือง<br />

เชียงใหม่<br />

โทร. 0 5320 9030<br />

www.denagahotel.com<br />

ส่วนลด 10% จากราคาที่ดีที ่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ ์ในการเปลี่ยนแปลง<br />

รายการส่งเสริมการขายและเงื่อนไขต่างๆ โดยไม่<br />

ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และกรุณาส ำรองห้อง<br />

พักล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการ<br />

Panviman Chiang Mai Spa Resort<br />

197/2 หมู่ 1 โป่งแยง แม่ริม เชียงใหม่<br />

โทร. 0 5387 9540-5 www.panviman.com<br />

ส่วนลด 15% จากราคาที่ดีที ่สุดบน<br />

เว็บไซต์ของโรงแรม<br />

สำหรับการจองห้องพักทุกประเภท<br />

พร้อมอาหารเช้า สำหรับ 2 ท่าน<br />

**กรุณาสำรองห้องพักล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ ตั้งแต่วันนี้ – 20<br />

ธันวาคม 2560<br />

Oasis Baan Saen Doi Spa Resort<br />

199/135 หมู่ 3 โครงการหมู่บ้านในฝัน 2 แม่เหียะ<br />

เมือง เชียงใหม่<br />

โทร.0 5392 0199 www.oasisluxury.net<br />

จองห้องพักประเภท Deluxe<br />

พร้อมอาหารเช้า สำหรับ 2 ท่าน ใน<br />

ราคาพิเศษเพียง 2,500 บาท<br />

(จากราคาปกติ 6,474 บาท)<br />

**สามารถสำรองห้องพักได้ทุกวัน ยกเว้นวันหยุด<br />

นักขัตฤกษ์และวันหยุดต่อเนื่องช่วงเทศกาล<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้<br />

**กรุณาแจ้งสิทธิพิเศษให้พนักงานรับทราบทุก<br />

ครั้งก่อนเข้าพัก และสำรองห้องพักล่วงหน้าอย่าง<br />

น้อย 7 วัน ที่ โทร.0 5392 0199 หรือ อีเมล์ cs@<br />

oasisluxury.net **ค่าใช้จ่ายเพิ ่มเติมในกรณีที่มี<br />

เตียงเสริม กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ ่มเติมกับ<br />

ทางโรงแรมก่อนทำการจองอีกครั้ง<br />

Sukhothai Heritage Resort<br />

999 หมู่ 2 คลองกระจง สวรรคโลก สุโขทัย<br />

โทร. 0 5564 7567<br />

www.sukhothaiheritage.com<br />

ส่วนลด 10% จากราคาที่ดีที ่สุดบน<br />

เว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ ์ในการเปลี่ยนแปลง<br />

รายการส่งเสริมการขายและเงื่อนไขต่างๆ โดยไม่<br />

ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และกรุณาส ำรองห้อง<br />

พักล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการ<br />

The Private Pool Villas at Civilai<br />

Hill Khao Yai<br />

495 หมู่ 7 หนองสาหร่าย ปากช่อง นครราชสีมา<br />

โทร.09 2259 5240<br />

www.civilaihillkhaoyai.com<br />

ส่วนลด 10% จากราคาที่ดีที ่สุดบน<br />

เว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ ์ในการเปลี่ยนแปลง<br />

รายการส่งเสริมการขายและเงื่อนไขต่างๆ โดยไม่<br />

ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และกรุณาส ำรองห้อง<br />

พักล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการ<br />

Nhapha Khao Yai Resort<br />

187-189 หมู่ 14 หมูสี ปากช่อง<br />

นครราชสีมา<br />

โทร. 0 4493 8806, 09 3636 9999<br />

www.nhapha-khaoyai.com<br />

ส่วนลด 10% จากราคาที่ดีที ่สุด<br />

ของโรงแรม สำหรับห้องพัก<br />

ประเภท Villa และ Grand<br />

Villa พร้อมอาหารเช้า สำหรับ<br />

2 ท่าน/การเข้าพัก 1 คืน, ฟรี!<br />

มินิบาร์ และ Welcome Drink<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นหรือรายการ<br />

ส่งเสริมการขายอื่นๆ ได้ **สำหรับการจองห้อง<br />

พักโดยตรงผ่านทางเว็บไซต์ของรีสอร์ท หรือ<br />

ทางโทรศัพท์เท่านั้น<br />

The Verona Hua Hin<br />

37 ถ.แนบเคหาสน์ (ซอยหัวหิน 51) หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์<br />

โทร. 0 3251 6260-1 www.veronahuahin.com<br />

ส่วนลด 10% สำหรับการจองห้องพัก<br />

จากราคาปกติ<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 30 พฤศจิกายน 2560<br />

Kameo Collection Hotel<br />

Classic Kameo Hotel Ayutthaya 210-211, 148 ม.5<br />

ถ.โรจนะ ไผ่ลิง พระนครศรีอยุธยา โทร. 0 3521 2535<br />

Kameo Grand Rayong 305/14 ถ.สุขุมวิท เนินพระ เมือง ระยอง<br />

21000 โทร. 0 3862 1626<br />

Classic Kameo Hotel Rayong 11 ซอย 6 ถ.ราษฎร์บำรุง เนินพระ<br />

เมือง ระยอง 20100 โทร. 0 3861 4340-9<br />

www.kameocollection.com<br />

ส่วนลด 10% สำหรับการจองห้องพัก จาก<br />

ราคาที่ดีที ่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ และไม่สามารถใช้ในช่วงวัน<br />

หยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือพีคซีซั่นได้ **ขอสงวนสิทธิ ์<br />

การใช้ส่วนลดส ำหรับการเข้าพักระหว่างวันที่ 13-16 เม.ย. 2560<br />

**กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ ่มเติมกับทางโรงแรมอีกครั้ง และ<br />

กรุณาสำรองห้องพักล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการ **ระยะเวลาในการ<br />

รับสิทธิพิเศษ ตั้งแต่วันนี้ – 19 ธันวาคม 2560<br />

Paradise Beach Resort Samui<br />

18/8 หมู่ 1 หาดแม่น ้ำ เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี<br />

โทร. 0 7724 7228-32<br />

www.samuiparadisebeach.com<br />

ส่วนลด 10% จากราคาที่ดีที ่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ ์ในการเปลี่ยนแปลง<br />

รายการส่งเสริมการขายและเงื่อนไขต่างๆ โดยไม่<br />

ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และกรุณาส ำรองห้อง<br />

พักล่วงหน้าก่อนเข้าใช้บริการ<br />

Panviman Resort Koh Phangan<br />

22/1 หมู่ 5 หาดท้องนายปานน้อย บ้านใต้<br />

เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี<br />

โทร. 0 7744 5101-9<br />

www.panviman.com<br />

ส่วนลด 15% จากราคาที่ดีที ่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

สำหรับการจองห้องพักทุกประเภท<br />

พร้อมอาหารเช้า สำหรับ 2 ท่าน<br />

**กรุณาสำรองห้องพักล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 20 ธันวาคม 2560<br />

Grand Mercure Phuket Patong<br />

Resort & Villas<br />

1 ซอยราษฎร์อุทิศ 200 ปี 2 ป่าตอง กะทู้ ภูเก็ต<br />

โทร. 0 7623 1999<br />

www.grandmercurephuketpatong.com<br />

จอง 1 คืน แถม 1 คืน ฟรี!<br />

ห้องพักแบบ Superior พร้อม<br />

อาหารเช้า 2 ท่าน ราคาพิเศษ<br />

6,999 บาท<br />

One Bedroom Pool Villa<br />

พร้อมอาหารเช้า สิทธิ์ใช้บริการ<br />

ที่ Grand Club Lounge และรถ<br />

รับ-ส่ง สนามบินภูเก็ต 2 ท่าน<br />

ในราคาเพียง 19,999 บาท<br />

*สามารถใช้โปรโมชั่นได้ทุกวัน (ในกรณีที่มีห้องว่าง)<br />

**กรุณาสำรองห้องพักล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน<br />

ทางอีเมล h8109@accor.com<br />

***ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

Cape Hotel Collection<br />

Cape House Serviced Apartments :<br />

43 ซอยหลังสวน ถ.เพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน<br />

กรุงเทพฯ โทร. 0 2658 7444<br />

Cape Racha Hotel<br />

35/1 ถ.เจิมจอมพล ศรีราชา ชลบุรี 20110<br />

โทร. 0 3831 4288<br />

Cape Panwa Hotel Phuket<br />

27, 27/2 หมู่ 8 ถ.ศักดิเดช แหลมพันวา ภูเก็ต<br />

83000 โทร. 0 7639 1123-5<br />

www.capecollection.com<br />

ส่วนลด 10% สำหรับการจองห้อง<br />

พัก จากราคาที่ดีที ่สุดบนเว็บไซต์<br />

ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์ หรือพีคซีซั่นได้ **ขอสงวนสิทธิ ์การใช้<br />

ส่วนลดสำหรับการเข้าพักระหว่างวันที่ 13-16 เม.ย.<br />

2560 **กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ ่มเติมกับ<br />

ทางโรงแรมอีกครั้ง และกรุณาสำรองห้องพักล่วง<br />

หน้าก่อนเข้าใช้บริการ **ระยะเวลาในการรับสิทธิ<br />

พิเศษ ตั้งแต่วันนี้ – 19 ธันวาคม 2560<br />

Kantary Collection Hotel<br />

Kantary Hills Chiang Mai<br />

44, 44/1-2 ถ.นิมมานเหมินทร์ สุเทพ เมือง<br />

เชียงใหม่ 50200 โทร. 0 5322 2111<br />

Kantary Hotel Ayutthaya<br />

168 หมู่ 1 ถ.โรจนะ อุทัย พระนครศรีอยุธยา<br />

13000 โทร. 0 3533 7177<br />

Kantary Hotel Kabinburi<br />

349, 349 /2 หมู่ 8 เมืองเก่า กบินทร์บุรี<br />

ปราจีนบุรี 25240 โทร. 0 3728 2699<br />

Kantary Bay Hotel Sriracha<br />

17/2, 17/3 ซอยเจิมจอมพล 1 ศรีราชา ชลบุรี<br />

21000 โทร. 0 3877 1365<br />

Kantary Bay Rayong<br />

50, 50/2 ถ.เลียบชายฝั่งปากน ้ำ เมือง ระยอง<br />

21000 โทร. 0 3880 4844<br />

Kantary Bay Hotel Phuket<br />

31/11 หมู่ 8 ถ.ศักดิเดช แหลมพันวา ภูเก็ต<br />

83000 โทร. 0 7639 1514<br />

Kantary Beach Hotel Khao Lak<br />

64,65,72 หมู่ 2 คึกคัก ตะกั่วป่า เขาหลัก พังงา<br />

82190 โทร.0 7658 4700<br />

www.kantarycollection.com<br />

ส่วนลด 10% สำหรับการจองห้อง<br />

พัก จากราคาที่ดีที ่สุดบนเว็บไซต์<br />

ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์ หรือพีคซีซั่นได้ **ขอสงวนสิทธิ ์การใช้<br />

ส่วนลดสำหรับการเข้าพักระหว่างวันที่ 13-16 เม.ย.<br />

2560 **กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ ่มเติมกับ<br />

ทางโรงแรมอีกครั้ง และกรุณาสำรองห้องพักล่วง<br />

หน้าก่อนเข้าใช้บริการ **ระยะเวลาในการรับสิทธิ<br />

พิเศษ ตั้งแต่วันนี้ – 19 ธันวาคม 2560<br />

The Golden Palace<br />

โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์<br />

10/1 สุขุมวิท 20 คลองเตย กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2262 1234 ต่อ 1410<br />

www.windsorsuiteshotel.com<br />

Growth Café & Co.<br />

236/8-9 ชั้น 2 สยามสแควร์ ซอย 2 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน<br />

กรุงเทพฯ<br />

โทร. 08 6778 8163<br />

www.facebook.com/GrowthCafeAndCo<br />

ส่วนลด 10% สำหรับค่าอาหาร, เครื่องดื่ม<br />

และบริการ Co-working Space<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้<br />

มา 2 จ่าย 1 สำหรับบุฟเฟ่ต์ติ ่มซำมื ้อกลางวัน<br />

1,099 บาท++ ต่อท่าน<br />

**ราคานี้ไม่รวมซุปหูฉลาม และเครื่องดื่ม<br />

บุฟเฟ่ต์ติ ่มซำมื ้อเย็น 1,655 บาท++ ต่อท่าน<br />

**ราคานี้รวมซุปหูฉลาม แต่ไม่รวมเครื่องดื่ม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2560<br />

Simply W<br />

สาขาสยามพารากอน ชั้น G โทร.0 2610 7519, สาขาเซ็นทรัลเวิลด์<br />

ชั้น 2 โทร.0 2646 1523, สาขา ลา วิลล่า อารีย์ ชั้น G โทร.0<br />

2619 0995, สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 โทร.0 2937 1450,<br />

สาขาเซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น G โทร.0 2103 4899<br />

www.simplywcafe.com<br />

ส่วนลด 10% สำหรับเครื ่องดื่มและเบเกอรี่<br />

**ขอสงวนสิทธิ์การใช้ส่วนลดกับสินค้ารีเทลและสินค้า<br />

จัดรายการ **ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ ตั้งแต่วัน<br />

นี้ – 31 สิงหาคม 2560<br />

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.asa.or.th<br />

ดาวน์โหลด <strong>ASA</strong> Application ได้ทาง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!