19.09.2017 Views

ASA CREW VOL.4

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ISSUE 04<br />

MAY-JUNE<br />

2017<br />

วารสารของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

Journal of The Association of Siamese Architects<br />

under the Royal Patronage<br />

- CORE VALUE -


คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2559-2561<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา / Chairman of Northern Region (Lanna)<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน / Chairman of Northeastern Region (Esan)<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ / Chairman of Southern Region (Taksin)<br />

อัชชพล ดุสิตนานนท์ / Ajaphol Dusitnanond<br />

เมธี รัศมีวิจิตรไพศาล / Metee Rasameevijitpisal<br />

ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์ / Asst.Prof.Thana Chirapiwat, Ph.D.<br />

ผศ.สุดจิต สนั่นไหว / Asst.Prof.Sudjit Sananwai<br />

ผศ.กิจโชติ นันทนสิริวิกรม / Asst.Prof.Quijxote Nuntanasirivikrom<br />

ปรีชา นวประภากุล / Preecha Navaprapakul<br />

ชาติเฉลิม เกลียวปฏินนท์ / Chartchalerm Klieopatinon<br />

พ.ต.ท.สักรินทร์ เขียวเซ็น / Pol.Lt.Col.Sakarin Khiewsen<br />

ภิรวดี ชูประวัติ / Pirawadee Chuprawat<br />

ทรงพจน์ สายสืบ / Songpot Saisueb<br />

ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย / Asst.Prof.Surapong Lertsithichai, Ph.D.<br />

พ.ต.ท.ดร.บัณฑิต ประดับสุข / Pol.Lt.Col.Bundit Pradabsook, Ph.D.<br />

ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ / M.L.Varudh Varavarn<br />

ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ / Asst.Prof.Nattawut Usavagovitwong, Ph.D.<br />

ณคุณ กนลมาศ / Nakhun Kumnolmas<br />

ขวัญชัย สุธรรมซาว / Khwanchai Suthamsao<br />

ผศ.สุรศักดิ์ โล่ห์วนิชชัย / Asst.Prof.Surasak Lowanitchai<br />

วิวัฒน์ จิตนวล / Wiwat Chitnuan<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong><br />

กองบรรณาธิการอาษาครู<br />

บรรณาธิการบริหาร / Editor-in-Chief<br />

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ / Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

<strong>ASA</strong><br />

BOARD<br />

นายกสมาคม / President<br />

อุปนายก / Vice President<br />

OF DIREC-<br />

เลขาธิการ / Secretary General<br />

นายทะเบียน / Honorary Registrar<br />

TORS<br />

เหรัญญิก / Honorary Treasurer<br />

ปฏิคม / Social Event Director<br />

ประชาสัมพันธ์ / Public Relations Director<br />

กรรมการกลาง / Executive Committee<br />

EDITORIAL<br />

DEPART-<br />

MENTS<br />

รองบรรณาธิการบริหาร / Assistant to Editor-in-Chief<br />

บรรณาธิการ / Editor<br />

กองบรรณาธิการ / Editorial Staffs<br />

บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ / Art Director<br />

กองบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ / Art Editorial Staffs<br />

ช่างภาพ / Photographers<br />

ชนพ ศิริกมลมาศ / Chanop Sirikamonmas<br />

รติรัตน์ นิมิตรบรรณสาร / Ratirat Nimitrabannasarn<br />

ยินดี พุฒศิรยากร / Yindee Phuttasirayakorn<br />

วีรภา ดำสนิท/ Weerapa Dumsanit<br />

กฤษฎา ข้ามแปด / Kritsada Khampaet<br />

วีรพล เจียมวิสุทธิ์ / Werapon Chiemvisudhi<br />

จรรยาพร จันทร์แสงโชติ / Junyaporn Junsangchote<br />

มนตรี ศรีพุทรา / Montree Sriphuttha<br />

สุเมธ ดาวขุนทด / Sumet Daokhuntod<br />

ชัยวุฒิ พุตทอง / Chivudh Buthdong<br />

ตุลย์ หิรัญญลาวัลย์ / Tul Hirunyalawan<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถนนพระรามที ่ 9 แขวงบางกะปิ<br />

เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310<br />

The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage<br />

248/1 Soi Soonvijai 4, Rama IX Rd., Bangkapi,<br />

Huaykwang, Bangkok, 10310 Thailand<br />

Tel: 0-2319-6555 Fax: 0-2319-6555 press 120 or 0-2319-6419<br />

www.asa.co.th / Facebook : asacrew / Email: asacrewmag@gmail.com<br />

นักแปล / Translator<br />

ประสานงานกองบรรณาธิการ / Administration<br />

พิมพ์โดย / Printed By<br />

สุทักษ์ ศิรินุช / Sutak Sirinuch<br />

ณัฐพงษ์ วัจนะภูมิ / Nattapong Vadjanapoom<br />

วรนัส จันทร์ธรรม / Woranas Janthum<br />

นิศาขล บุญช่วยคุ้ม / Nisachon Boonchuaykum<br />

ฐาปนี ประภาศิริ / Thapanee Prapasiri<br />

เค.ซี.เพรส / K.C.PRESS<br />

59.2 gsm<br />

www.papergreen.co.th<br />

02-682-8852-4<br />

COVER<br />

CONCEPT<br />

คุณค่าสารัตถะ<br />

สถาปนิกไม่ใช่ผู้สร้างบ้าน แต่เป็นผู้สร้างสภาวะที ่เอื ้อต่อการเป็นบ้าน<br />

สถาปนิกไม่ได้มีหน้าที ่สร้างอาคารบ้านเรือน แต่มีหน้าที ่สร้างสภาวะของการอยู่<br />

อาศัยและใช้งาน<br />

Core ที ่แปลว่า แก่น นั ้น โดยรากศัพท์แล้วมาจาก cor ในภาษาฝรั ่งเศสโบราณ<br />

และ coeur ในภาษาละติน ที ่แปลว่า “หัวใจ” นั ่นเอง หนทางในการตามหาหัวใจ<br />

ก็คือ การดึงเอาหัวใจออกมาจากเปลือกจากเนื้อที่ปกปิดห่อหุ้มมันเอาไว้ให้ได้ ซึ่งก็<br />

เป็นไปในทางเดียวกันกับความหมายจากรากศัพท์ของคำว่า “นามธรรม” (การ<br />

สกัดออก) การจะค้นพบนามธรรมได้นั ้นก็ต้องอาศัยการสกัดเอารูปธรรมอันเป็น<br />

เปลือกออกไปให้หมด<br />

แก่น (สารัตถะ) จึงเป็นนามธรรมที่ปกคลุมไปด้วยมุมมองจากภายนอกที่สามารถ<br />

มองได้ในหลายแกน ซึ่งสามารถทำให้เกิดการรับรู้ที ่แตกต่างกันออกไปได้ แต่<br />

แก่นของแต่ละสิ่ง ไม่เคยเปลี ่ยนแปลงและไม่สามารถถูกทำให้เปลี ่ยนไปได้ การ<br />

หาแก่น ก็คือการสกัดเปลือกออก ซึ่งมันจะนำมาซึ่งโอกาสที ่เป็นไปได้มากมาย<br />

เหลือคณานับให้สถาปนิกได้ใช้เป็นพื้นที่ในการออกแบบ “สภาวะความเป็นอยู่”<br />

และ/หรือ “สภาวะทางความรู้สึก” ของผู้คนหรือองค์กรที่เข้ามา ใช้งานในพื้นที่นั ้น<br />

สารัตถะจึงเป็นคุณค่า<br />

คุณค่าสารัตถะ<br />

Core Value<br />

Architects never build houses but homes. Architects never design<br />

buildings but state of living.<br />

Core - by its root word - is derived from Old French (cor) and<br />

Latin (coeur) that means “heart”. The way to find it is to remove<br />

or take the core out of something covering it. It seems like the<br />

meaning of “abstract” (drag away). To find the abstract is to drag<br />

all the concretes away.<br />

Core is abstract that covered by multiaxial perspectives and elements<br />

outside those which could be perceived differently. But<br />

core (of something) might never change and never be changed.<br />

To find the core is to extract what covers it away. It brings out<br />

uncountable possibilities to architects to design “state of being”<br />

and/or “state of feeling” for people to stand and/or for corporate<br />

to establish. Statement is value.<br />

Core Value<br />

ณัฐวิทย์ ทองประเสริฐ / Natthawit Tongprasert<br />

Designer of the Year Awards 2017 สาขา Graphic Design


คุณค่าหลัก<br />

คุณค่าหลักด้านการทำงานและวิธีคิดของนักออกแบบ ถือเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก<br />

สำหรับคนทั่วไป ในวารสารแจกฟรี “อาษาครู” เล่มที่ 4 นี้ ทีมงานได้นำเสนอเนื้อหา<br />

ในรูปแบบการแกะกล่องความคิดของนักออกแบบ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มีโอกาส<br />

ทำความเข้าใจกระบวนการคิดด้านการออกแบบได้ง่ายขึ้น<br />

ในเล่มนี้ ผมได้เชิญนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ให้เขียนบทความ<br />

เกี่ยวกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ตนเองศึกษาอยู่ในปัจจุบัน โดยขอให้อธิบายถึง<br />

จุดเด่นทั้งด้านวิธีคิด เพื่อการพัฒนาสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ และรูปแบบการเรียนการสอน<br />

เพื่อเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านที่เป็นอาจารย์หรือนักศึกษาสถาปัตยกรรมได้บ้างเราจะ<br />

เปิดพื้นที่ให้นักศึกษาและสถาปนิกไทยที่มีโอกาสศึกษาหรือทำงานในต่างประเทศ<br />

ในวารสารอาษาครูให้มากยิ่งขึ้น<br />

การเปลี่ยนแปลงด้านสื่อของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ไม่ได้มีแค่วารสารแจกฟรี<br />

“อาษาครู” ที่ท่านถืออยู่ขณะนี้เท่านั้น สมาคมฯ ยังได้ปรับปรุงเว็บไซต์ของสมาคมฯ<br />

(www.asa.or.th) เพื่อให้เป็นประโยชน์กับสมาชิกและบุคคลทั่วไปที่ต้องการรู้จักกับ<br />

สมาชิกของสมาคมฯ ได้ง่ายขึ้น ผ่านระบบค้นหาสถาปนิกในเว็บไซต์นี้ได้<br />

พร้อมทั้งการออกแอปพลิเคชั่นของสมาคมฯ (<strong>ASA</strong> Application) ซึ่งรวบรวม<br />

ข้อมูลของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะทำให้การค้นหาคาตาล็อกสินค้าที่จำเป็น<br />

ในการทำงานของสถาปนิก ทำได้โดยง่ายผ่านโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ทั้งหมดนี้<br />

เพื่อยืนยัน “แก่น” หรือ คุณค่าหลักของทีมงานอาษาครูที่มีขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่ตรงกลาง<br />

ระหว่างสถาปนิก นักออกแบบ และคนในสังคมไทย<br />

* ไม่พลาดการติดตามวารสาร พร้อมรับสิทธิประโยชน์มากมาย เพียงสมัครเป็นสมาชิก<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ที่ http://asa.or.th/member-information/<br />

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์<br />

บรรณาธิการบริหาร<br />

asacrewmag@gmail.com<br />

CORE VALUE<br />

The core value of designers’ work is sometimes hard to understand. In<br />

this free journal “<br />

issue 04”, the main content is about unwrapping<br />

the thought of designers, to allow our readers to understand the design<br />

thinking process.<br />

In this issue, I invited abroad student to write about the architectural<br />

institute she is studying at, to describe the thinking method in developing<br />

new generation architects. I hope this can be useful for thai teachers and<br />

architect students in architecture school. We will give space for Thai architects<br />

and students who work or study abroad to participate more in .<br />

The change about social media of the Association of Siamese Architects<br />

is not only this free journal , but also the new website – www.asa.or.th,<br />

for members and anyone who wants to contact our members through the<br />

“find-an-architect” menu.<br />

As well as the <strong>ASA</strong> Application, which added materials and products<br />

information, will help architects search for catalogues more easily on mobile<br />

phones or tablets. We did all this to keep up<br />

team’s core value as<br />

a media center between architects, designers and the public in Thailand.<br />

*If you don’t want to miss Journal and get many benefits from us, just apply for a member<br />

of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage at http://asa.or.th/memberinformation/.<br />

Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

Editor-in-Chief<br />

asacrewmag@gmail.com<br />

CONTENTS<br />

06 10 12 14 20<br />

<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

A Conversation with<br />

WHBC Architects<br />

บทสนทนากับ WHBC Architects<br />

26 30 36 38 40<br />

SPOTLIGHT<br />

Interview in-depth with the<br />

president of The Association of<br />

Siamese Architects under the<br />

Royal Patronage on Mahakan Fort<br />

Community and Giag-Gaai Bridge<br />

เจาะลึกประเด็นป้อมมหากาฬ<br />

– สะพานเกียกกาย<br />

กับนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

GRAND MASTER<br />

Core Value Reflection<br />

ให้สัจจะสะท้อนตัวเรา<br />

42 46 48 51 52<br />

TRAVEL<br />

PATTANI, in the new<br />

different story<br />

ปัตตานี ในวิถีที่ถูกบอกเล่าใหม่<br />

<strong>ASA</strong> WORLD<br />

Bartlett School of Architecture<br />

โรงเรียนสถาปัตย์ผลิตนักคิด<br />

CUISINE<br />

The Original Cantonese<br />

Chinese Sausage<br />

ต้นตำรับกุนเชียงสไตล์กวางตุ้ง<br />

ARTICLE<br />

Architects and Copyright Protection<br />

in “Architectural Design”<br />

สถาปนิกกับลิขสิทธิ์<br />

ใน “งานสถาปัตยกรรม”<br />

SPECIAL STORY<br />

<strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards<br />

2017<br />

ประกาศผลรางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่<br />

“บ้าน บ้าน”<br />

HANGOUT<br />

Soi Ratchakru - Co-drinking Space<br />

ซอยราชครู<br />

ส่วนต่อขยายของความคึกคัก<br />

SCOOP<br />

Architect Expo’17 Tour<br />

พาชมงานสถาปนิก‘60<br />

Q&A<br />

Home Problems Come with Rain<br />

ฝนมากับปัญหาบ้าน บ้าน<br />

BOOK<br />

Caravan of Life<br />

ระหว่างทางของชีวิต<br />

CLASSIC<br />

Australian Embassy<br />

สถานทูตออสเตรเลีย : สถาปัตยกรรม<br />

สีเหลืองทองบนถนนสาทรที่กำลัง<br />

จะกลายเป็นอดีต<br />

TIPS<br />

Water Drainage in Houses<br />

การระบายน้ำในบ้าน<br />

ARTS<br />

When the bus stop can be<br />

more than you think<br />

เมื่อป้ายรถเมล์เป็นได้มากกว่าที่คิด<br />

54<br />

MUSIC<br />

What We’ve Listened?<br />

เพลงของเด็กถาปัตย์<br />

56<br />

HOW TO<br />

Can we get no flood when it rains?<br />

ฝนตกน้ำไม่ท่วม (จะได้มั้ย)


เว็บเดียวครบ จบเรื ่องบ้านและงานออกแบบ<br />

www.asa.or.th<br />

ค้นหาสถาปนิก<br />

ทั่วประเทศ<br />

ค้นหางาน<br />

ในวงการสถาปนิก<br />

ไม่พลาดทุกข่าวสาร<br />

และกิจกรรม<br />

ในแวดวงสถาปนิก<br />

ติดตามสื่อทุกช่องทางของสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ทั้งวารสาร <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> / อาษา / จดหมายข่าว /<br />

<strong>ASA</strong> Youtube Channel / <strong>ASA</strong> แอปพลิเคชั่น / เฟซบุ๊กสมาคมฯ<br />

พร้อมสมัครสมาชิกสมาคมฯ ทางออนไลน์ได้ทันที<br />

“ถ้าคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ www.asa.or.th จะเห็นว่ามี<br />

การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีเมนูใหม่ๆ ซึ่งเป็นไฮไลต์ เช่น<br />

‘find an architect’ ซึ่งสถาปนิกสามารถนำผลงานของ<br />

บริษัท ทั ้งผลงาน รูปภาพ แม้แต่วิดีโอมาลงบนเว็บไซต์<br />

เป็นการแนะนำบริษัท ส่วนบุคคลทั ่วไปก็สามารถเข้ามาค้นหา<br />

สถาปนิกได้ เป็นการตอบโจทย์ทั้งบริษัทสถาปนิกและ<br />

ผู้บริโภคที ่ต้องการสร้างบ้าน ขณะเดียวกันบุคคลหรือ<br />

บริษัททั ่วไปสามารถนำโฆษณามาลงได้ โดยโฆษณาดังกล่าว<br />

จะแสดงผลต่อเมื ่อผู้เข้าชมได้แสดงความสนใจในเนื ้อหา<br />

ที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์นั ้นๆ<br />

นอกจากนี้เว็บไซต์ดังกล่าวยังเป็นแหล่งรวมสื่อต่างๆ<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เช่น จดหมายเหตุ วารสาร<br />

คลิปวิดีโอ รวมถึงเฟซบุ๊ก เพื่อให้เข้าชมง่ายขึ้น อ่านง่ายขึ้น<br />

บนทุกอุปกรณ์ และยังสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ<br />

สมาคมฯ ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ได้อีกด้วย<br />

กลุ่มคนหลักๆ ที ่จะได้ประโยชน์จากเว็บไซต์นี้ กลุ่มแรก<br />

คือ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ สามารถนำผลงานมา<br />

ลงบนเว็บไซต์ได้ทั้งในรูปแบบของสมาชิกที ่เป็นรูปแบบ<br />

บริษัทและรูปแบบบุคคล เพื่อให้มีคนเข้าถึงได้มากขึ้น รวมถึง<br />

ประกาศหางานบนเว็บไซต์ก็ได้<br />

กลุ่มต่อมาคือ นักศึกษาหรือสถาปนิกที<br />

- 4 - ่กำลังหางาน<br />

สามารถเข้ามาหาโอกาสการทำงานกับบริษัทที่เป็นสมาชิก<br />

ของสมาคมฯ และเชื่อถือได้<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04<br />

กลุ่มต่อมาคือ บุคคลทั ่วไป สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล<br />

เพื่อค้นหาสถาปนิกตามประเภทงาน สถานที่และความถนัด<br />

รวมไปถึงติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับวงการสถาปนิก<br />

อยากขอเชิญชวนท่านสมาชิกสมาคมฯ อัปโหลดผลงาน<br />

ข้อมูลบริษัทและข้อมูลส่วนตัวของท่านขึ้นบนระบบเว็บไซต์<br />

ของสมาคมฯ และรับสิทธิ ์ประกาศหางาน ส่วนบุคคลทั ่วไป<br />

ลองเข้าชม อ่านบทความที่น่าสนใจ รับชมสื่อต่างๆ ของสมาคมฯ<br />

และลองใช้เมนูใหม่ ‘find an architect’ ดู รับรองว่า<br />

ได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ”<br />

ศิริมาศ บิ๊กเลอร์<br />

Senior Account Director<br />

Adelphi Digital Consulting Group<br />

ผู้พัฒนาเว็บไซต์ www.asa.or.th


CONTRIBUTORS<br />

<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

C1 : คัทลียา จิรประเสริฐกุล<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รุ่นที่ 61 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาเอก Faculty of Architecture, Building and Planning มหาวิทยาลัย<br />

เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย<br />

Cuttaleeya Jiraprasertkun<br />

Assistant Professor, Faculty of Architecture, Kasetsart University<br />

Bachelor of Architecture, Chulalongkorn University<br />

Ph.D. (Architecture and Planning), The University of Melbourne, Australia<br />

<strong>ASA</strong> WORLD<br />

C2 : อริสา จึงโสภณวิทวัส<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาโท MSc Spatial Design: Architecture and City, The Bartlett School of<br />

Architecture, UCL สหราชอาณาจักร<br />

Arisa Juengsophonvitavas<br />

BSc Design and Architecture, International Program in Design and Architecture<br />

(INDA), Chulalongkorn University<br />

MSc Spatial Design: Architecture and City, The Bartlett School of Architecture, UCL,<br />

United Kingdom<br />

<strong>ASA</strong> ARTICLE<br />

C3 : ช้องนาง วิพุธานุพงษ์<br />

อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม<br />

ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ปริญญาเอก Intellectual Property Law, University of Nottingham สหราช<br />

อาณาจักร<br />

SPECIAL STORY<br />

C4 : นพพล พิสุทธอานนท์<br />

กรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก ควินตริค จำกัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ปริญญาโท Architectural Design, New Jersey Institute of Technology (NJIT)<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

Chongnang Wiputhanupong<br />

Lecturer, School of Law, Sripatum University<br />

LLB, Chulalongkorn University<br />

Ph.D. Intellectual Property Law, University of Nottingham, United Kingdom<br />

Noppon Pisutharnon LEED AP, TREES-A<br />

Director, Quiintrix Architects Company Limited<br />

Bachelor’s Degree in Architecture, Silpakorn University<br />

Master of Architectural Design, New Jersey Institute of Technology (NJIT), U.S.A.<br />

Q & A<br />

C5 : ปิยะ ดโนทัย<br />

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า<br />

พระนครเหนือ<br />

ปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบัน<br />

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง<br />

ปริญญาโท ภาควิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง<br />

Piya Danothai<br />

Lecturer, Faculty of Architecture and Design, King Mongkut’s University of<br />

Technology North Bangkok<br />

Bachelor of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang<br />

Master of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang<br />

TRAVAL<br />

C6 : ราชิต ระเด่นอาหมัด<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ เขตภาคใต้ตอนล่าง<br />

Design Director บริษัท SUBPER จำกัด<br />

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคยะลา<br />

ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย<br />

RACHIT RADENAHMAD<br />

Director of MELAYU LIVING<br />

Design Director, SUBPER Company Limited<br />

High Vocational Certificate of Architecture, Yala Technical College<br />

Rajamangala University of Technology Srivijaya<br />

TRAVAL<br />

C7 : อาซีซี ยีเจะแว<br />

สถาปนิกเทศบาลเมืองปัตตานี<br />

ผู้ก่อตั้ง IN_T_AF Cafe<br />

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคยะลา<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก<br />

วิทยาเขตอุเทนถวาย<br />

RZZ YEEJEHWAE<br />

Founder, IN_T_AF Café<br />

Architecture, Pattanicity Municipality<br />

High Vocational Certificate of Architecture, Yala Technical College<br />

Bachelor of Architecture (Architectural Technology), Rajamangala University of<br />

Technology Tawan-ok: Uthenthawai Campus<br />

TRAVAL<br />

C8 : สมโภช เจ๊ะอาลี<br />

ผู้ก่อตั้ง IN_T_AF Cafe<br />

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคยะลา<br />

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคยะลา<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี<br />

Sompoaj Jah-Aree<br />

Founder, IN_T_AF Café<br />

Vocational Certificate of Architecture, Yala Technical College (Thailand)<br />

High Vocational Certificate of Architecture, Yala Technical College (Thailand)<br />

Bachelor of Architecture (Architectural Technology), Rajamangala University of Technology<br />

Thanyaburi<br />

TRAVAL<br />

C9 : เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา<br />

ผู้ก่อตั้ง โรงงานเซรามิก เบญจเมธา<br />

สถาบัน Ecole Nationale Supérieure des Arts Décoratifs ประเทศฝรั่งเศส<br />

สถาบัน Ecole des beaux-arts de Versailles ประเทศฝรั่งเศส<br />

Diploma in Architecture, มหาวิทยาลัยศรีปทุม<br />

Emsophian Benjametha<br />

Founder, Benjametha Ceramic<br />

Ecole Nationale Supérieure des Arts Décoratifs PARIS<br />

Ecole des beaux-arts de Versailles, FRANCE<br />

Diploma in Architecture, Sripatum University<br />

HANGOUT<br />

C10 : วิกาวี พินิจ<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน<br />

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง<br />

Vikavee Pinit<br />

Bachelor of Architecture in Interior Architecture, Faculty of Architecture,<br />

King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang<br />

BOOK<br />

C11 : พิเชษฐ์ ดลราศี<br />

Design Director และหุ้นส่วนบริษัท Collective Studio จำกัด<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

Pichate Dolrasee<br />

Design Director and Partner, Collective Studio co.,ltd.<br />

Bachelor of Architecture, Chulalongkorn University<br />

ART<br />

C12 : สุพิชชา โตวิวิชญ์<br />

หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ปริญญาโท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ปริญญาโท Humanitarian and Development Practice, Oxford Brookes University<br />

ปริญญาเอก Development Planning Unit, University College London<br />

Supitcha Tovivich<br />

Bachelor’s degree in Architecture, Silpakorn University<br />

Master degree in Architecture, Silpakorn University<br />

M.A. Humanitarian and Development Practice, Oxford Brookes University<br />

Ph.D. Development Planning Unit, University College London<br />

- 5 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


<strong>ASA</strong> DIALOGUE<br />

A Conversation with WHBC Architects<br />

บทสนทนากับ WHBC Architects<br />

“ในสตูดิโอของเรา เรานาแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรม<br />

ตะวันออกมาทางานร่วมกับวิถีตามครรลอง เพื่อที่จะสนทนา<br />

ตั้งคาถามและพูดคุยกับสถานการณ์นั้นๆ”<br />

BC Ang ทิ้งท้ายการบรรยาย 1 ชั่วโมงเต็มด้วยการสรุป<br />

วิถีการทำงานที่เฉพาะของ WHBC Architects จากนั้นบท<br />

สนทนาบนเวทีราว 50 นาทีจึงได้เริ่มต้นขึ้น การพูดคุยและ<br />

ตอบคำถามในวันนั้นเปิดโอกาสให้เขาและ Wen Hsia Ang<br />

ได้อธิบายวิธีการคิดและการทำงานในสตูดิโอที่น่าสนใจ<br />

และเป็นประโยชน์บทความนี้จึงได้คัดเลือกบทสนทนาบาง<br />

ส่วนมาเผยแพร่สู่สาธารณะ<br />

คัทลียา: เหมือนว่าคุณมุ่งที่จะมองหา“คำถามที่ใช่” และ<br />

“วิธีการแก้ปัญหาที่เฉพาะ”ในทุกๆ โปรเจ็กต์ของคุณอยู่เสมอ<br />

แล้วกระบวนการที่อยู่เบื้องหลัง“คำถามที่ใช่” เหล่านี้คืออะไร<br />

พวกคุณมีวิธีการตัดสินใจอย่างไรว่า นี่คือสิ่งที่ใช่และคุณจะ<br />

ต้องจัดการกับมัน<br />

BC: มันอาจจะฟังดูง่ายนะ เวลาที่เราอธิบายงานให้ฟังว่า<br />

เราแก้ปัญหาแบบใด ผมเชื่อว่านักออกแบบทุกคนต่างรู้ดีว่า<br />

ขั้นตอนการวิเคราะห์นั้นมีความซับซ้อนและหลากหลาย<br />

ความพยายามในการหาจุดสมดุลของความต้องการและ<br />

ข้อกำหนดต่างๆ นั้น มันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและ<br />

ยุ่งเหยิงอยู่ไม่น้อยเลยกว่าที่จะสามารถหา “คำถามๆ นั้น” หรือ<br />

“สิ่งๆ นั้น” ที่คุณต้องการจะคลี่คลายได้ แต่พวกเรานักออกแบบ<br />

ถูกสอนมาโดยเฉพาะให้สามารถกลั่นกรองความคิดอันยุ่งเหยิง<br />

เหล่านี้ ให้กลายมาเป็นความคิดที่เรียบง่ายได้ ในความคิด<br />

ของผม นักออกแบบมีความรู้ที่หลากหลายแบบกว้างๆ แต่<br />

ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้ลึกเฉพาะด้านดังนั้น เราจึงมีหน้าที่ที่จะ<br />

สังเคราะห์สิ่งเหล่านี้และกลั่นมันออกมาเป็นวิธีการแก้ปัญหา<br />

ที่ชัดเจน<br />

*เนื้อหาในบทความนี้ถอดความมาจากบทสนทนาบนเวที ของ WHBC Architects<br />

กับผู้ดำ เนินรายการ (ผศ.ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล) ในโครงการ <strong>ASA</strong><br />

Dialogue 2017 ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 เวลา<br />

15.00-17.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

WH: มันเป็นคำถามที่ดีมากเลย ที่จริงฉันก็เคยไป<br />

บรรยายเรื่องนี ้ ในหัวข้อ “จะไปสู่ความชัดเจนได้อย่างไร”<br />

เพราะพวกเรานักออกแบบมักจะมีความคิดที่กระจัดกระจาย<br />

ไปหมด แล้วเราจะสามารถไปสู่ความชัดเจนและไปถึงจุดๆ<br />

นั้นได้อย่างไร จุดที่คุณจะพูดว่า“อ้า...ฉันรู้แล้ว!” และคุณก็จะ<br />

รู้ทันทีว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป<br />

มีคนกล่าวว่า “การค้นหาคำถามที่ใช่นั้นคือสิ่งที่ยาก<br />

ที่สุด ถ้าคุณพบมันแล้ว ขั้นตอนที่เหลือก็จะไม่ใช่เรื่องยาก<br />

อีกต่อไป” ดังนั้น ขั้นแรกคือเราจะต้องค้นหาคำถามที่ใช่เสีย<br />

ก่อน ในประเด็นนี้ นอร์แมน ฟอสเตอร์กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ผม<br />

อธิบายให้คุณฟังนั้นเป็นเพียงปลายยอดของภูเขาน้ำแข็ง<br />

แต่สิ่งที่คุณไม่เห็นนั้น แท้ที่จริงแล้วมันเป็นเส้นทางที่ลาก<br />

ยาวมาก เป็นการตรวจสอบที่ไม่สิ้นสุด ทำนองนั้น...”<br />

ดังนั้น การออกแบบจึงไม่มีวันจบแค่บนกระดาษ การ<br />

ตรวจสอบเกิดขึ้นได้ตลอดกระบวนการ ในการก่อสร้าง การ<br />

ตกแต่ง แม้กระทั่งในขั้นตอนที่เราส่งมอบงาน มันมีอะไร<br />

มากมายให้เราได้เรียนรู้ตลอดกระบวนการนี้ ซึ่งถึงมันจะ<br />

ยุ่งเหยิง แต่คุณก็ต้องเฝ้าตรวจสอบและปรับมันอยู่ตลอด<br />

เวลา และถ้าคุณสามารถถามคำถามที่ใช่และค้นหาทิศทาง<br />

ที่ใช่ได้แล้ว คุณก็จะสามารถไปต่อได้ เพราะคุณจะรู้ได้เลย<br />

ว่าต้องทำอะไรบ้าง...<br />

BC: ผมอยากจะแนะนำหนังสือดีๆ ที่เกี่ยวกับ “การคิด”<br />

เราสนใจในกระบวนการคิดและการออกแบบมาก เราสนใจ<br />

ว่าจิตของเราทำงานอย่างไร ผมเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์<br />

เป็นกล้ามเนื้อที่เราฝึกได้ แม้มันจะเป็นสิ่งที่เรามีติดตัวเรา<br />

มาแต่กำเนิด ดังนั้น เราจึงต้องการเครื่องมือช่วยคิดเหล่านี้<br />

เพื่อฝึกให้จิตของเราทำงานแตกต่างออกไปจากเดิม เอ็ดเวิร์ด<br />

เดอ โบโน ผู้เขียนหนังสือเรื่องการคิดนอกกรอบ ได้แนะนำ<br />

วิธีการที่เรียกว่า“ความสัมพันธ์แบบบังคับ”(Force Association)<br />

โดยให้ลองหาอะไรหลายๆ อย่างมา แล้วเอาคำเหล่านั้นมา<br />

ใช้กับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ดังนั้น เมื่อคุณถูกบังคับให้เอา<br />

ของ 2 สิ่งมาสัมพันธ์กัน จิตของคุณก็จะสร้างรูปแบบใหม่<br />

ทางความคิดขึ้นมาทันทีวิธีนี้มันเป็นวิธีการเดียวกันกับที่เราฝัน<br />

ฉะนั้น มันมีเครื่องมือหลายอย่างที่ช่วยสร้างรูปแบบใหม่<br />

ทางความคิดและหนังสือเหล่านั้นก็เป็นสิ่งน่าเรียนรู้<br />

ผู้ฟัง: คุณมีวิธีการทำงานและโน้มน้าวลูกค้าได้อย่างไร<br />

BC: ถ้าคุณสามารถจัดการให้โปรเจ็กต์อยู่ภายใน<br />

งบประมาณและบรรลุวัตถุประสงค์ ลูกค้าก็จะยอมรับงาน<br />

นั้นได้ ดังนั้น วิธีการที่เรียบง่ายและใช้ได้จริงนี่แหละที่จะ<br />

ทำให้ลูกค้ายอมรับ แต่แนวทางการแก้ปัญหาที่คลุมเครือ<br />

หรือเฉพาะตัวมากๆ เช่น เน้นสไตล์การออกแบบ กลับจะ<br />

โน้มน้าวลูกค้าได้ค่อนข้างยาก<br />

WH: อธิบายอีกแบบก็คือ เราโน้มน้าวลูกค้าด้วยข้อ<br />

เท็จจริงและการวิเคราะห์มากกว่าจะใช้ความรู้สึกและสไตล์<br />

ของการออกแบบ ฉันคิดว่ามันง่ายกว่าที่จะโน้มน้าวใจลูกค้า<br />

ถ้าหากว่าคุณทำการบ้านมามากพอ<br />

ภาพ : www.artsfwd.org/munch-club-3-what-is-lateral-thinking/<br />

- 6 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ผศ.ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C1<br />

Mr.Boo Chung Ang<br />

The Kissing Tower, on-paper project in KL<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

ผู้ฟัง: คุณจะช่วยอธิบายมุมมองที่มีต่อตัวเองในโลก<br />

ใบใหญ่นี้ได้มั้ย ทั้งมุมเชิงบวกและลบ คือผมมองในด้านดีนะ<br />

ว่าคุณมีวิธีคิดเป็นของตัวเองและไม่ได้ถูกกลืนไปในสังคมใหญ่<br />

BC: ผมคิดว่าเราตัวเล็กมาก เราก้มหน้าก้มตาทำงาน...<br />

หวังว่านะ บางครั้งเราอาจอยากจะทำอะไรที่แปลกออกไปบ้าง<br />

แต่ท้ายที่สุด งานออกแบบควรจะเป็นอะไรที่บวกนะ เพราะ<br />

คุณกำลังสร้างสรรค์และมันไม่เหมือนกับการเมืองที่มีแต่<br />

การต่อสู้แย่งชิงตลอดเวลา การออกแบบมันวิเศษเพราะว่า<br />

เราสร้างสรรค์ดังนั้น ถ้าคุณทำแล้วมีความสุข ก็จงทำต่อไปเถิด<br />

WH: บางครั้งที่เราตั้งคำถามกับตัวเองว่าสิ่งที่เราทำนั้น<br />

มันยิ่งใหญ่เพียงพอมั้ย หรือเราแค่มีความสุขอยู่กับการทำ<br />

สิ่งเล็กๆ ที่มันอาจจะให้ประโยชน์ต่อมนุษยชาติหรือไม่ก็ได้<br />

นี่เป็นคำถามที่ทั้งนักออกแบบและไม่ใช่นักออกแบบมัก<br />

ถาม แต่ฉันคิดว่าในความเป็นมนุษย์นั้น ทุกๆ ก้าวเล็กๆ ที่<br />

เราก้าวไป เราอาจไม่เห็นผลกระทบมากมายหรือเห็นได้ใน<br />

ทันที แต่ถ้าทุกๆ ก้าวของคุณไปในทิศทางที่ถูกที่ควร และ<br />

ทุกคนรอบตัวก็ทำเช่นเดียวกัน เราก็สามารถบอกตัวเองได้ว่า<br />

เราได้พัฒนาขึ้นแล้ว<br />

กลับมาที่คำถาม ฉันคิดว่าเราพยายามอย่างดีที่สุด<br />

ที่จะท ำให้สิ่งที่เราคิดออกมาเป็นงานออกแบบหรือสถาปัตยกรรม<br />

และเราก็หวังว่ามันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก<br />

จะในระดับท้องถิ ่นหรือในระดับโลกนั้นเราก็ไม่อาจทราบได้<br />

แต่ถ้ามันไม่เกิดผลใดๆ ก็ไม่เป็นไร ถ้าเราสามารถทำให้ตัวเรา<br />

มีความสุข เพื่อนบ้านมีความสุข ลูกค้าก็มีความสุข ฉันก็คิดว่า<br />

มันพอแล้วล่ะ<br />

คัทลียา: คุณทั้งคู่ดูถ่อมตัวและติดดินมากเลยค่ะ มัน<br />

เลยทำให้นึกถึงคำที่คุณอธิบายบริษัทตัวเองว่าเป็น“สถาปนิก<br />

ติดดิน” (Blue-collar Architects) คุณช่วยอธิบายได้ไหม<br />

คะ ว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรในระหว่างที่ประกอบวิชาชีพ<br />

เพราะฉันคิดว่าคุณชัดเจนและกล้าหาญมากที่พูดแบบนั้น<br />

WH: วิชาชีพของเราเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ไม่ง่ายเลย<br />

ครอบครัวและญาติๆ ของเรามักจะถามว่า “เราทำอะไร”<br />

ผู้รับเหมาหรือเปล่า หรือเป็นคนทำงานอิสระ ในมุมหนึ่งมัน<br />

ก็ใช่นะ เพราะเราก็ลงพื้นที่รางวัดด้วยตัวเอง และพูดคุยกับ<br />

ช่างก่อสร้าง ดังนั้น เราจึงมองภาพของตัวเองเป็นสถาปนิก<br />

ที่ติดดิน มากกว่าที่จะเป็นสถาปนิกชั้นสูงที่คนเข้าถึงไม่ได้<br />

BC: เราไม่ใช่แค่คิดอย่างเดียวนะ แต่เราเชื่อในการ<br />

กระทำและการทำให้ดีด้วย แต่การจะทำอะไรให้ได้ดีนั้น เรา<br />

จำเป็นจะต้องรู้จักช่างที่ทำงานนั้น เพราะช่างจะรู้ว่าต้องทำ<br />

อย่างไรงานจึงจะออกมาดีที่สุด ความรู้นี้มันทำให้เราเป็น<br />

นักออกแบบที่ดีขึ้น เพราะเราจะสามารถออกแบบได้อย่าง<br />

มีประสิทธิภาพ ไม่เหลือเศษ และลงรายละเอียดได้ ฉะนั้น<br />

เราจึงต้องทำงานกับผู้รับเหมาอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่ใช้ระบบสั่ง<br />

ลงมา เอาแบบนี่นะ...ฉันไม่สนใจ! ความไม่เข้าใจกระบวนการ<br />

ทั้งหมดจะทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรจำนวนมาก<br />

ผู้ฟัง: คุณช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุคอนกรีตได้มั้ย<br />

เช่น มีวิธีเตรียมไม้แบบอย่างไร หรือตกแต่งผิววัสดุอย่างไร<br />

BC: ผมคิดว่าคอนกรีตนั้นมี 2 เรื่อง คือ คอนกรีตใน<br />

ฐานะที่เป็นโครงสร้างนั้นจะสัมพันธ์กับรูปทรงเรขาคณิต<br />

เพราะมันจะทำให้โครงสร้างนั้นสามารถตั้งอยู่ได้นอกจากนี้<br />

ยังมีรายละเอียดเทคนิควิธีทางวิศวกรรม เช่น ส่วนผสมของ<br />

คอนกรีตผสมและเหล็กเสริม ซึ่งทำให้เราต้องทำงานใกล้ชิด<br />

กับวิศวกรเพื่อกำหนดโครงสร้างร่วมกัน<br />

เรื่องที่สองคือการตกแต่งผิววัสดุ ซึ่งแน่นอนว่ามันเกิด<br />

จากแบบหล่อที่เลือกใช้ดังนั้น การทำความเข้าใจแบบหล่อ<br />

จึงเป็นสิ่งที ่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นชนิดของแบบหล่อ<br />

ว่าไม้แบบชนิดต่างๆ ที่มาจากต่างถิ่นกันจะมีการดูดซับน้ำ<br />

ที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้ผิววัสดุออกมาแตกต่างกัน ที่สำคัญ<br />

สถาปนิกต้องเข้าใจและยอมรับด้วยว่า ไม้เป็นวัสดุธรรมชาติ<br />

จึงมีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้แบบที่หล่อออกมามีผิวใน<br />

ลักษณะเดียวกัน แต่ถ้าคุณอยากได้ผิววัสดุที่เรียบสม่ ำเสมอ<br />

คุณก็ควรจะใช้แบบหล่อที่ทำด้วยเหล็ก<br />

WH: มันเป็นข้อจำกัดด้านราคา ถ้าคุณเห็นงานคอนกรีต<br />

ในญี่ปุ่น จะพบว่ามันสมบูรณ์แบบมาก เส้นคมชัดและสวยงาม<br />

เพราะว่าเขาสามารถจ่ายค่าแบบหล่อที่ทำจากเหล็กได้ แต่<br />

ในมาเลเซีย เราไม่มีงบประมาณขนาดนั้น เราจึงต้องเลือกใช้<br />

แบบหล่อชนิดอื่นๆ โดยที่เรารู้และยอมรับว่ามันจะมีความ<br />

ไม่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นที่ผิววัสดุ แต่เราสามารถออกแบบ<br />

ให้ออกมาดูดีได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องมีความเข้าใจ<br />

ในวัสดุท้องถิ่นและหาวิธีการพลิกแพลงมัน<br />

The subtracted house, Bangsaar, KL<br />

คัทลียา: ถามถึงโปรเจ็กต์ที่Wen Hsia ออกแบบให้กับ<br />

ชุมชนท้องถิ่น Orang Asli ว่าในการพูดคุยกับชาวบ้านนั้น<br />

มันยากลำบากแค่ไหน กว่าจะออกมาเป็นกระบวนการ<br />

ก่อสร้าง<br />

WH: จริงๆ มันก็เหมือนกับงานอื่นๆ ที่เราทำ คือ เราต้อง<br />

เข้าใจคนและสถานที่อย่างดีและพูดคุยกับพวกเขาว่าจะ<br />

ทำงานกันอย่างไร ฉันจำคลิปวิดีโอ ของ TEDx Talk อันหนึ่ง<br />

ที่เป็นกลุ่มคนไปทำงานชุมชนชนบท นักออกแบบก็คิดที่จะ<br />

ปลูกผักเพื่อช่วยชาวบ้าน แต่พอผักที่ปลูกไว้ใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว<br />

ก็มีโขลงช้างมาทำลายพืชผักเสียหายหมด พวกเขาจึงถาม<br />

ชาวบ้านว่าแถวนี้มีช้างด้วยเหรอ ชาวบ้านจึงได้บอกว่า...มีสิ<br />

พวกเราถึงไม่ปลูกผักยังไงล่ะ เพราะมันจะถูกช้างทำลายหมด<br />

บทเรียนจากเรื่องนี้ก็คือ บางครั้งเวลาที่เราไปสถานที่ใหม่ๆ<br />

และเริ่มทำงานด้วยความรู้และความเข้าใจที่มีอยู่เดิม<br />

เราอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดครั้งใหญ่หลวงได้ ดังนั้น<br />

เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจและพูดคุยกับชาวบ้าน รวมทั้ง<br />

ทำความเข้าใจด้วยว่าอะไรเป็นข้อจำกัด วัสดุที่หาได้ หรือ<br />

กำลังคนของเขา เราจำต้องสื่อสารเยอะมากๆ และใช้เวลา<br />

มากที่นั่น<br />

BC: ในการพูดคุยกับคนนั้น บางครั้งเราก็อาจไม่ได้ข้อ<br />

เท็จจริง ดังนั้น บางครั้งเราจึงต้องอ่านระหว่างบรรทัด และ<br />

เราก็บอกได้เลยจากประสบการณ์ว่าเราก็ผิดพลาดมามาก<br />

เหมือนกันจากความเข้าใจที่ไม่ถ่องแท้ ดังนั้น พวกเราก็ยัง<br />

ต้องเรียนรู้ต่อไป และเราทุกคนก็เป็นเช่นนั้น...<br />

*ติดตามฟังการบรรยายและบทสนทนาฉบับเต็มได้ที่ Facebook<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือทางเว็บไซต์ www.asa.or.th<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

- 7 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


WH: It’s a very good question. In fact, I was<br />

giving a lecture on the topic – How to achieve<br />

clarity? Because as designers, our mind status is<br />

always all over the place. How can we achieve the<br />

so called “EREKA moment”? It is when you say<br />

“Oh, I got it!” and suddenly you know what to do.<br />

So, first of all, there is a quote by someone whom<br />

I forgot the name. He said “To find the right question<br />

is actually the hardest. If you find it, then the rest<br />

is very easy.” So, there is the first step to find the<br />

right question. I will quote Norman Foster on that.<br />

He said “What I describe to you is like the tip of<br />

the iceberg. But what you don’t see is actually the<br />

long haul, the endless auditing and things like that.”<br />

Design never stop on paper. The auditing<br />

happens throughout the entire process, in the<br />

11 TH House, Petaling Jaya, Selangor<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

construction, the finishing, until the project is<br />

handed over. There is so much to learn along the<br />

process. The process is always messy and you have<br />

to keep on auditing and adjusting. However, if you<br />

find the right question to ask and find the right<br />

direction to go, then you will be alright. You will<br />

know what to do.<br />

BC: Perhaps I could share a few books which<br />

I think it’s very interesting. Actually, we are very<br />

interested in design thinking: how our mind works.<br />

So, it’s actually very important to learn how our<br />

Mrs.Wen Hsia Ang<br />

Chempenai House, Damansara Heights, KL<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

own mind works. Creativity, I believe, is a muscle<br />

that can be trained though you are born with it.<br />

Edward de Bono has books on lateral thinking and<br />

there are techniques that he use. One certain<br />

technique is “Forced Association”: you take something<br />

“In our studio, we take inspiration from an<br />

Eastern culture to work with the flow, to have a<br />

dialogue and a conversation with the situation.”<br />

After BC Ang ended the one-hour presentation<br />

by concluding the working nature of WHBC Architects<br />

(as quoted above), the 50-minute conversations<br />

then started. It was a chance for WHBC Architects<br />

to explain their ways of thinking and working. This<br />

article has selected some of the interesting conversations<br />

and share with the public.<br />

CJ: It seems that all of your projects would<br />

always look for “the right questions” and “the specific<br />

solutions”. What is the process lie behind all these<br />

right questions? How did you make the decision<br />

that this is the right one and you want to tackle<br />

with it?<br />

BC: When we presented the solution, it may<br />

seem very simple. But I am sure, as designers,<br />

everyone always knows that through analysis and<br />

a lot of different complexity and balancing different<br />

needs and requirements, it’s a very complicated<br />

and a very messy process in order to find “that<br />

questions” or “that gist” that you want to resolve.<br />

By distilling these messy thoughts into a simple<br />

thought is what all of us as designers are trained.<br />

In my view, designers are generalist, meaning that<br />

we are not specialist. We know a little bit of<br />

everything and it’s our job to synthesize it and<br />

distill all these different things into a clear solution.<br />

*The contents in this article are transcribed from the conversations<br />

of WHBC Architects with the moderator (Asst.Prof.<br />

Dr.Cuttaleeya Jiraprasertkun) in <strong>ASA</strong> Dialogue No.2, which<br />

was held on 1st April 2017, from 3pm-5pm at the 5th-floor<br />

auditorium, BACC, Bangkok.<br />

Office, Passion Republic, Puchong, Selangor<br />

- 8 -<br />

Office, Tujuan Gemilang, Damansara Perdana, Selangor<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

Showroom, Green Cage, Petaling Jaya, Selangor<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


andom and you put those random words to whatever<br />

you are doing. Once you are forced to associate<br />

these two things together, your mind forms new<br />

interesting pattern. It’s like how our dreams are<br />

formed. There are many tools that you could use<br />

to make your mind form interesting pattern and<br />

those books are good things to learn about.<br />

Audience: How do you work with the client<br />

and how do you convince the client?<br />

BC: If you manage to do the project within the<br />

budget and achieve the objective, then they will<br />

be convinced. So, it’s actually very simple and<br />

practical solutions that make the clients convinced.<br />

If it’s a solution that is based on hazy or very<br />

personal methods like stylistic method, then it’s<br />

pretty difficult to convince your client.<br />

WH: In other words, we convince the client<br />

with facts and the analysis rather than just feelings<br />

and stylish. I think it will be easier to convince<br />

your client if you have done enough work.<br />

Audience: Can you comment on how you see<br />

yourself within the big community, in both positive<br />

and negative ways? I see it as a positive thing that<br />

you are not suck in by this big community.<br />

BC: I guess we are small. We just put our heads<br />

down and do our work, I hope. Obviously, sometimes<br />

you’d like to do different typology of projects. But<br />

in the end, design should be a positive thing. Because<br />

you are creating and it’s not like politics which is<br />

always fighting. Design is wonderful because you<br />

create. If you are happy doing it, then continue<br />

doing it.<br />

WH: Sometimes we question ourselves: Is our<br />

contribution big enough? Or we’re just happily<br />

doing little things that may or may not contribute<br />

to humankinds? These are the questions I think<br />

maybe lots of designer or even non-designer will<br />

ask. Every little step you take, you may not see<br />

the immediate effect or huge impact. However,<br />

you should more every little step towards the<br />

correct direction, and then you can really see you<br />

are improving.<br />

Back to the question, I guess we just try our<br />

best to do what we think in terms of design and<br />

architecture, and hopefully that will become positive<br />

changes locally or globally. Or if it’s doesn’t have<br />

any impact, it doesn’t matter. If I can make myself<br />

happy, the neighbors happy, and the clients happy,<br />

I think that’s good enough.<br />

CJ: You two seem to appear very humble and<br />

down-to-earth and that reminds me of how you’ve<br />

described your firm as “blue-collar architects”. Can<br />

you talk a bit more about that because I think that<br />

perspective is very strong, bold and daring? How did<br />

that idea been developed through architectural<br />

practices?<br />

WH: Architect or designer is the profession<br />

that is not easy to understand. So, sometimes our<br />

parents and relatives misunderstand us – are you a<br />

contractor or a free-lancer? In a way, we are because<br />

we go to the site, measure everything ourselves<br />

and speak to the workers. So, that’s how we see<br />

ourselves as blue-collar architects rather than the<br />

architects who are doing up there and unreachable.<br />

BC: Not only on thinking about idea but we<br />

also believe in making, and making well. In order<br />

to make well, you need to know the persons doing<br />

the work because they will know very well how<br />

things are best done. Knowing how things are best<br />

made makes us better designers. We will design<br />

more efficiently. We will not design to waste. We<br />

will design to know how to detail. Therefore, we<br />

need to work very closely with our builders rather<br />

than a top down approach: I want it done this way,<br />

I don’t care! If you don’t understand the whole<br />

process then you are wasting a lot of resources.<br />

Audience: Can you explain more about the<br />

concrete? How did you prepare the formwork and<br />

how did you get the finish of it?<br />

BC: I think there are two things with concrete.<br />

First thing with concrete is concrete as a structure.<br />

Concrete as a structure would go into geometry.<br />

Like a paper, if you put it up, it will fall because it<br />

doesn’t have strength. The geometry itself gives<br />

structure. The second thing in that structure sense<br />

is the concrete mix and the steel bars. Those are<br />

engineering methods and we believe in working<br />

very closely with our engineers, to refine how<br />

structures are done.<br />

The second portion of concrete is about the<br />

surface treatment and it obviously comes from<br />

the formwork. So, understanding the formwork is<br />

crucial; for example, the type of formwork, different<br />

types of ply come from different location, different<br />

sets will absorb water differently. It will also act<br />

differently and cause different surface finishing.<br />

Also, understanding that because ply is made of<br />

wood and wood is natural material which is not<br />

consistent. So, understanding that the inconsistency<br />

will cause inconsistency in surface and accepting<br />

them that way is also important. If you want consistent<br />

surface, you can work with steel because<br />

they are consistent.<br />

Bathroom, Asli, Pahang<br />

WH: It’s because of the cost limitation. If you<br />

see the concrete work in Japan, they will be very<br />

perfect. The line is so straight and so beautiful<br />

because they can invest on formwork. They can<br />

use steel formwork and the end product will be<br />

very neat. In Malaysia, we don’t have that kind of<br />

budget instead we have to work around the budget.<br />

We can use whatever formwork we can get and<br />

then we design. We know that certain imperfection<br />

will appear, and then we design to how we make<br />

the imperfection design looks good. So, understanding<br />

what’s available in your local context and how you<br />

can tweak it, that’s important as well.<br />

CJ: On the project Wen Hsia did with the Orang<br />

Asli local community, how tough was that talking<br />

to people and coming up with the building process?<br />

WH: It’s actually very similar to all our jobs.<br />

You really have to understand the people and place<br />

well and speak to them on how to go about certain<br />

things. I remember seeing TEDx Talk about a group<br />

of people doing a community project in rural area.<br />

In order to help the rural people, they start planting<br />

vegetables. When the vegetables is about to be<br />

harvested, suddenly a group of elephants come<br />

and all the vegetables are gone. Then they asked<br />

the local how come there are elephants in this<br />

area. They said yes, that’s why we never have<br />

vegetable in this area because there are elephants.<br />

So, the lesson of this story is that sometimes if<br />

you go to a place or other area and start working<br />

with your own knowledge or perception, you will<br />

find that you are going to make a huge mistake.<br />

You really have to talk to people and understand<br />

what kind of limitation, available material, and<br />

manpower you can get. You really have to do a lot<br />

communications. You have to spend a lot of time<br />

there.<br />

BC: Talking to people, sometimes you won’t hear<br />

the truth. Sometimes you need to read between<br />

the lines. We are saying from experiences that we<br />

made a lot of mistakes as well by not understanding<br />

truly, so we continue learning and all of us do...<br />

*Follow the full lecture and conversations at Facebook Page<br />

of <strong>ASA</strong>. or www.asa.or.th<br />

ภาพ : www.whbca.com<br />

- 9 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


<strong>ASA</strong> WORLD<br />

BARTLETT SCHOOL OF ARCHITECT<br />

โรงเรียนสถาปัตย์ผลิตนักคิด<br />

ภาพ : www.facebook.com/BartlettArchitectureUCL<br />

The Bartlett School of Architecture, University College London (UCL) ไม่ได้มุ่ง<br />

เน้นที่จะผลิตสถาปนิกเพียงอย่างเดียว แต่มีระบบการเรียนการสอนที่เปิดกว้างให้นักศึกษา<br />

ได้ทดลองและค้นคว้าหาสิ่งที่ชอบและนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับ<br />

งานสถาปัตยกรรมก็ได้<br />

สิ่งหนึ่งที่ได้เปรียบสำหรับโรงเรียนคือที่ตั้งกลางกรุงลอนดอน เมืองระดับโลกที่เปิดโอกาส<br />

ให้นักศึกษาจากทั่วโลกได้สัมผัสและเรียนรู้จากสิ่งที่พบเจอในชีวิตประจำวัน และเนื่องจาก<br />

โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนด้านวิชาการหลากหลายด้าน จึงมีห้อง<br />

สมุดที่มีประสิทธิภาพและ e-database ที่รวบรวมหนังสือและบทความเกี่ยวกับความรู้ งานวิจัย<br />

ด้านต่างๆ จากทั่วโลกไว้บริการนักศึกษาอีกด้วย<br />

ระบบการเรียนการสอนที่นี่เป็นรูปแบบสหพันธวิชา…<br />

เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์<br />

ระหว่างวิชาเรียนและความสนใจส่วนตัว<br />

ซึ่งมีส่วนทำให้ Bartlett เป็นหนึ่งในโรงเรียนระดับโลก<br />

ที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ระบบการศึกษาของอังกฤษมุ่งเน้นไปในด้านงานวิจัยทางด้านวิชาการหรือ Academic<br />

Research แม้แต่ในโรงเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์เอง นักศึกษาในทุกๆ สาขาวิชาจะต้องผ่าน<br />

การฝึกเขียนรายงานอย่างถูกต้อง การเขียนเป็นหนึ่งในวิธีการหาความรู้ เพราะจำเป็นต้องมี<br />

การอ่านหนังสือเพื่อค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เขียน วิธีการนี้ถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบ<br />

นำตัวเองหรือ Self-Learning Process ซึ่งนักศึกษาทุกคนต้องขวนขวายเองในหัวข้อที่ตนเอง<br />

สนใจ โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำ ส่วนการเรียนการสอนวิชาต่างๆ นั้น<br />

ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสัมมนา ซึ่งผู้เรียนจะได้รับรายการของสิ่งที่ต้องอ่านก่อนเรียนแต่ละคาบ<br />

เพื่อทำความเข้าใจและนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับอาจารย์และเพื่อนๆ ซึ่งเป็นวิธี<br />

การเรียนที่มีประสิทธิภาพกว่าการฟังและจดจากอาจารย์ผู้สอน<br />

การเรียนปริญญาโท หรือ Postgraduate ที่อังกฤษมีระยะเวลาสั้นมาก ส่วนใหญ่จะมี<br />

ระยะ 12 เดือนเต็ม ซึ่งช่วงเวลาปิดเทอมจะเป็นช่วงทำรายงานส่งและอ่านหนังสือสอบ ดังนั้น<br />

จึงเป็นระยะเวลา 1 ปีที่เข้มข้นมาก เพราะนอกจากจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้ว ยังต้องทำ<br />

วิทยานิพนธ์ในระยะเวลาไม่ถึงครึ่งปี<br />

ภาพ : www.facebook.com/BartlettArchitectureUCL<br />

- 10 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ระบบการเรียนการสอนที่นี่เป็นรูปแบบสหพันธวิชาหรือInterdisciplinary<br />

เป็นการผสมผสานความรู้หลายๆ แขนงเข้าด้วยกัน ทำให้<br />

แนวทางการเรียนไม่ได้เจาะจงแค่สถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว<br />

แต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเรียน<br />

และความสนใจส่วนตัว ซึ่งมีส่วนทำให้Bartlett เป็นหนึ่งในโรงเรียน<br />

ระดับโลกที่มีความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

โลกยุคปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีสิ่งต่างๆ<br />

เกิดขึ้นใหม่และหายไปตลอดเวลา ในด้านการศึกษาก็เช่นกัน<br />

เนื้อหาของบทเรียนไม่สามารถปรับทันตามกระแสโลกได้ แม้จะ<br />

มีการปรับเปลี่ยนอยู่ทุกๆ ปี สิ่งที่สำคัญกว่าคือการหาความรู้<br />

และรับข่าวสารให้ทันโลกโดยผู้สอนและผู้เรียนเอง<br />

อริสา จึงโสภณวิทวัส<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C2<br />

The Bartlett เป็นโรงเรียนที่มีความหลากหลายในเชื้อชาติเปิด<br />

โอกาสให้เราได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับคนจากทั่วโลกและไม่ใช่ทุกคน<br />

ในโรงเรียนมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นสถาปนิกแต่ภายในโรงเรียนรูปแบบ<br />

สหพันธวิชานี้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทดลองค้นหาสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง<br />

และสอนวิธีคิดที่มีประสิทธิภาพที่สามารถน ำไปประยุกต์ใช้ได้กับงาน<br />

ในทุกสายอาชีพที่เกี่ยวข้องได้ในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นการฝึกฝนที่มี<br />

ประโยชน์สอดคล้องกับสภาวะโลกในยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง<br />

อยู่ตลอดเวลา<br />

มุมมองจากชานพักบันไดของบันไดกลางสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างสองชั้น<br />

View from the main stair landing showing activities happening on 2 floors<br />

The English education system focuses on academic research. Even<br />

in the architecture school itself, students in every branch need to learn<br />

how to write a proper report. Writing essays is one of the ways to study<br />

because the students need to read books to find data related to their<br />

topics. This can be called a self-learning process, which every student<br />

must pay attention to the topic they’re interested in. Teachers are only<br />

advisors. Usually the classes are held in seminars. Students will receive<br />

a list of things that they need to read before each class to understand<br />

and to discuss with teachers and their friends. This way of studying is<br />

more effective than just listening and taking notes from teachers.<br />

Post graduate study in England has a very short time span, usually about<br />

12 months. The semester break is the time for doing reports and revising<br />

before exams so this will be a very intense year because not only will<br />

students need to learn new things but they will have to finish their theses<br />

in less than half a year as well.<br />

The education system here is interdisciplinary, which is a mixture of<br />

various subjects. Studying here is not limited to architecture, but allows<br />

students to create relationships between the subjects and their personal<br />

interests. As the result, Bartlett School has become one of the<br />

world class schools with advance architectural curriculum.<br />

The current world is changing rapidly; many things are happening<br />

and disappearing, and this happens in the education industry as well.<br />

The content of lessons, even if they are updated every year, cannot be<br />

adapted fast enough to catch up to the world. Searching and gathering<br />

information to catch up with the moving world by teachers and students<br />

are more important.<br />

There are various nationalities in the Bartlett school. That gives us<br />

opportunities to exchange our ideas with people from around the world.<br />

Not everyone in the school dreamed of becoming an architect but the<br />

interdisciplinary education system allows everyone to try and search for<br />

what suits each of them, and teaches them how to do efficient thinking<br />

that can be applied to any career in the future. That is the useful training,<br />

according to the situation of the modern world that changes all the time.<br />

ล็อบบี้โดยปกติใช้เป็นจุดนัดพบ/กินอาหาร<br />

ในบางโอกาสจัดปาร์ตี้และแสดงงาน Concept Multi-purpose Space ทั้งตึก<br />

The main lobby space normally fuctions as a meeting and lunch<br />

area and is occationally used for exhibition and party.<br />

The Bartlett School of Architecture, University College London (UCL),<br />

doesn’t focus only on producing architects but also has a wide-open<br />

education system for students to experience and search for what they<br />

are interested in, and students could apply it in other things aside from<br />

architecture.<br />

One advantage of this school is its location, at the center of London,<br />

which allows students from all over the world to learn from things they<br />

encounter in their daily basis. Because the school is a part of the university<br />

which has variety of subjects, there are both an effective library and an<br />

e-database which contains books and articles about research from all<br />

over the world.<br />

ภาพ : www.facebook.com/BartlettArchitectureUCL<br />

- 11 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ARTICLE<br />

Architects and Copyright Protection<br />

in “Architectural Design”<br />

สถาปนิกกับลิขสิทธิ์ใน “งานสถาปัตยกรรม”<br />

ภาพซ้าย : http://www.telegraph.co.uk/luxury/property-and-architecture/1974/pirated-zaha-hadid-building-under-construction-in-china.html<br />

ภาพ : http://www.telegraph.co.uk/luxury/property-and-architecture/1974/<br />

pirated-zaha-hadid-building-under-construction-in-china.html<br />

Galaxy Soho อีกหนึ่งแลนด์มาร์คในกรุงปักกิ่ง ออกแบบโดย Zaha Hadid สถาปนิกหญิงระดับโลกเชื้อสายอิรัก-อังกฤษ<br />

Galaxy Soho, another landmark in Beijing, designed by Zaha Hadid, a world famous female Iraqi-British architect.<br />

อาคาร The Meiquan 22nd Century ณ เมืองฉงชิง ซึ่งถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนแบบอาคาร Galaxy Soho<br />

The Meiquan 22nd Century Building located in Chongqing, allegedly replicating the Galaxy Soho.<br />

สิ่งใกล้ตัวที่สุดซึ่งหลายคนมักนึกถึงเมื่อเอ่ยถึง<br />

“ลิขสิทธิ์” คือภาพถ่าย ซึ่งเราเป็นคนกดชัตเตอร์และเซฟ<br />

ไว้ในโทรศัพท์มือถือ หลายคนอาจนึกถึงเพลงและ<br />

ภาพยนตร์ซึ ่งเพิ่งโหลดบิตมายังไม่เสร็จตั้งแต่เมื่อคืน เกม<br />

คอมพิวเตอร์ เพจการ์ตูนออนไลน์ คลิปวิดีโอที่กดดูจากบน<br />

หน้าเพจเฟซบุ๊กระหว่างรอรถไฟฟ้า รวมถึงภาพสวัสดีตอนเช้า<br />

ที่ได้รับจากกรุ๊ปไลน์ของญาติแทบจะตรงเวลาทุกเช้าวัน<br />

จันทร์ถึงศุกร์<br />

หลายคนอาจไม่ทราบว่า นอกจากสิ่งใกล้ตัวที่เรามักนึกถึง<br />

บ่อยๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ลิขสิทธิ์ยังคุ้มครองครอบคลุม<br />

ไปถึงสิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า “งานสถาปัตยกรรม” ด้วย<br />

“งานสถาปัตยกรรม” ที่ว่านี้ได้แก่งานออกแบบอาคาร<br />

หรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก<br />

ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือการ<br />

สร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยงาน<br />

เหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มงานศิลปกรรม ซึ่งสถาปนิกผู้สร้างสรรค์<br />

จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ ์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช<br />

บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6<br />

กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์งานสถาปัตยกรรมแค่ไหน<br />

เป็นที่น่าสังเกตว่า กฎหมายใช้คำว่า “งานออกแบบ”<br />

จึงหมายความว่า สิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง ตลอดจนสิ่งที่<br />

สถาปนิกผู้สร้างสรรค์สามารถเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่<br />

ตัวชิ้นงานที่เป็นงานออกแบบ แต่ไม่รวมถึงตัวตึกหรือตัว<br />

อาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาตามการออกแบบนั้นๆ ตัวอย่างของ<br />

งานเหล่านี้เช่น “งานออกแบบ” วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร อาคาร<br />

สำนักงาน ห้างร้าน ตลอดจนอาคารสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ<br />

When referring to Copyright, people may think of<br />

those photos that you have pressed the shutter and<br />

saved them on the mobile phone. Many may think of<br />

songs and movies that have unsuccessfully been<br />

downloaded via bit torrent since last night. Computer<br />

games, online comic pages, or video clips watched on<br />

Facebook page while waiting for the BTS or MRT might<br />

also be included. Some may as well think of those ‘good<br />

morning’ pictures received from the Line Group of relatives<br />

almost every Monday to Friday.<br />

In addition to those works mentioned above copyright<br />

protection also extends to what is commonly<br />

known as “Architectural Design”.<br />

“Architecture design” (or “work of architecture”, as<br />

stated in the Copyright Act, BE 2537), means a design<br />

of buildings or constructions, a design of interior or exterior<br />

decoration as well as a landscape design or a creation<br />

of a model of buildings or constructions. These works<br />

are categorized as artistic works, which could be protected<br />

by copyright and the architects who creates the design<br />

could receive the exclusive rights based on that copyright<br />

protection according to Section 6 of the Act.<br />

Copyright Protection in Architectural Work<br />

It is noteworthy that the law uses the term “design”.<br />

Therefore, what the law protect, as well as what the<br />

architects could claim a copyright, is the “design” not<br />

the building itself or the building that was built according<br />

to that design. For examples, these work of architectures<br />

include a “design” of temples, a “design” of churches, cathedrals,<br />

office buildings, department stores, and any<br />

other tourist attractions.<br />

- 12 -<br />

อย่างไรก็ตาม ความสนุกและน่าสนใจของงาน<br />

สถาปัตยกรรม ซึ่งทำให้งานประเภทนี้โดดเด่นและแตกต่าง<br />

อย่างสำคัญจากงานลิขสิทธิ์ประเภทอื่นๆ คือ เรื่องของการ<br />

ละเมิด<br />

อย่างไหนเรียก “ละเมิดลิขสิทธิ์” ในงานสถาปัตยกรรม<br />

โดยทั่วไปการกระทำที่จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น<br />

มาตรา 27 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ระบุว่า ได้แก่ การ<br />

ทำซ้ำหรือดัดแปลง หรือการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงาน<br />

อันมีลิขสิทธิ์ใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์โดย<br />

กฎหมายให้ความหมายของการ “ทำซ้ำ” ไว้ว่า หมายความถึง<br />

การคัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์<br />

บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ<br />

จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ<br />

ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน<br />

ด้วยเหตุนี้ จึงมีประเด็นน่าสนใจว่า การ “ทำซ้ำ” ด้วย<br />

การทำแม่พิมพ์บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและ<br />

ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ<br />

ลิขสิทธิ์ จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีไปหรือไม่?<br />

ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ หรือวาดภาพอาคารสถาปัตยกรรม<br />

ต่างๆ ได้หรือไม่<br />

เรื่องนี้ มาตรา 38 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ระบุไว้<br />

ชัดเจนว่า การวาดเขียน การเขียนระบายสีการแกะลายเส้น<br />

การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่าย<br />

ภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้<br />

ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ช้องนาง วิพุธานุพงษ์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C3<br />

กฎหมายใช้คําว่า ‘งานออกแบบ’ จึงหมายความว่า<br />

สิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง ตลอดจนสิ่งที่สถาปนิกผู้สร้างสรรค์<br />

สามารถเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่ ตัวชิ้นงานท่ี่เป็นงานออกแบบ<br />

แต่ไม่รวมถึงตัวตึกหรือตัวอาคารที่ถูกสร้างขึ้นมา<br />

ตามการออกแบบนนั้นๆ<br />

ภาพขวา : http://blogs.artinfo.com/objectlessons/2013/12/31/<br />

artinfos-10-best-architecture-and-design-stories-of-2013/<br />

นั่นหมายความว่า กฎหมายอนุญาตให้บุคคลทั่วไป<br />

สามารถวาดภาพ ถ่ายภาพ และแพร่ภาพซึ่ง “งาน<br />

สถาปัตยกรรม” ได้ โดยยกเว้นไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์<br />

แม้ว่าการกระทำที่กล่าวมานั้นจะไม่ได้รับอนุญาตจาก<br />

เจ้าของลิขสิทธิ์เลยก็ตาม<br />

อย่างไรก็ดี กรณีการถ่ายภาพหรือแพร่ภาพที่กล่าวมา<br />

นี้ น่าจะเป็นคนละเรื่องกับการนำงานสถาปัตยกรรมนั้นมา<br />

“ทำซ้ำ” ด้วยการสร้างขึ้นใหม่แบบลอกเลียนกันมาทุก<br />

ประการ เช่นกรณีของ ซาฮา ฮาดิด สถาปนิกหญิงผู้มีสไตล์<br />

การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเมื่อปี 2556 พบว่างาน<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมของเธอถูกนำไปลอกเลียนและทำ<br />

ซ้ำในประเทศจีน ชนิดที่เรียกว่าเหมือนกันอย่างกับแกะออก<br />

มาจากแม่พิมพ์เดียวกันเลยทีเดียว (เปรียบเทียบความ<br />

เหมือนและอ่านรายละเอียดของความพยายามในการ<br />

ดำเนินคดีได้ที่ https://fordhamartlawsociety.<br />

com/2015/10/30/a-tale-of-two-buildings-a-case-ofarchitectural-copyright-infringement-in-china/)<br />

การ “ทำซ้ำ” แบบในกรณีของ ซาฮา ฮาดิด นี้จะถือเป็น<br />

ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ขอทิ้งเป็นประเด็นคาใจให้สถาปนิก<br />

เอาไว้เถียงกันเล่นสนุกๆ เวลาติดฝนก็แล้วกัน<br />

ภาพ : www.zaha-hadid.com/architecture/galaxy-soho/<br />

ภาพ : http://matthewniederhauser.com/research/2012/11/11/<br />

galaxy-soho-lights-up-the-beijing-skyline/<br />

One interesting point of copyright protection in<br />

ภายนอกและภายในของ Galaxy Soho ซึ่งออกแบบโดย Zaha Hadid<br />

Exteria and Interia of Galaxy Soho, by Zaha Hadid<br />

work of architecture that makes this type of work different<br />

from other types of copyright works, is about the<br />

infringement issues.<br />

Piracy in Architectural Work<br />

In general, Section 27 of the Act states that it is<br />

considered to be an infringement of copyright if a person<br />

makes reproduction, adaptation, or publicly distribution<br />

of any copyrighted works without permission of<br />

the copyright owner. According to the law, “reproduction”<br />

means any material method of copying, imitation, duplication,<br />

block-making, sound recording, video recording<br />

or sound and video recording from an original, a copy<br />

or a publication, whether in whole or in part.<br />

Therefore it is interesting that whether taking photos<br />

or making video recording of an architectural work<br />

without permission of the copyright owner would be<br />

considered as unauthorised “reproduction” of such work,<br />

which would create a copyright infringement.<br />

A Drawing of Architectural Buildings?<br />

Article 38 of the Copyright Act clearly stated that a<br />

drawing, painting, engraving, molding, carving, lithography,<br />

อาคาร The Meiquan 22nd Century ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง<br />

The Meiquan 22nd Century Building, underconstruction<br />

ภาพ : hhttp://www.globaltimes.cn/content/754764.shtml<br />

photograph, film or video broadcast of an architectural<br />

work shall not be deemed an infringement.<br />

This means that the law allows people to draw,<br />

photograph, film, video or broadcast architectural work<br />

even though they are done without permission of the<br />

copyright owner. This is considered as an exception to<br />

copyright infringement in architectural work.<br />

However, in the case of photography or broadcasting<br />

mentioned above, it would be quite different from<br />

making reproduction of architectural work by means of<br />

creating a replica in all respects. For example, in case of<br />

Zaha Hadid, a female architect who held a unique design<br />

style, which, in 2013, found that her architectural work<br />

was copied in China. In this very interesting case, both<br />

pirated and original architectural works are almost<br />

identical. (Compare the similarity and read the details<br />

of the litigation efforts here. https://fordhamartlaw society.<br />

com/2015/10/30/a-tale-of-two-buildings-a-case-ofarchitectural-copyright-infringement-in-china/<br />

)<br />

Is the “reproduction” in the above case of Zaha<br />

Hadid an infringement of copyright in architectural<br />

design? Let’s leave it for discussion amongst all the<br />

architects, who are waiting, while it is raining cats and<br />

- 13 -<br />

dogs out there.<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


SCOOP<br />

Architect Expo 2017 Tour<br />

พาชมงานสถาปนิก’ 60<br />

บรรยากาศของงานสถาปนิก’60 โดยสมาคมสถาปนิก<br />

สยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เมื่อวันที่2-7 พฤษภาคม 2560<br />

ที่ผ่านมา ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี<br />

ได้สร้างความประทับใจและแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชม<br />

นิทรรศการต่างๆ อย่างมาก ด้วยการจำลองพื้นที่จัดแสดง<br />

นิทรรศการทั้งหมดภายในส่วนที่เรียกว่า <strong>ASA</strong> Zone ให้<br />

สอดคล้องกับการจำลองภาพของชุมชนที่มีการจัดวางพื้นที่<br />

ใช้สอย เพื่อให้ผู้คนในชุมชนได้มีการสร้างความสัมพันธ์<br />

ต่อกัน โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่ผู้คนมาพบปะพูดคุย<br />

ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดหลักของการกลับมา<br />

ทบทวนเรื่องบ้านและที่อยู่อาศัย ภายใต้แนวคิดหลักของ<br />

การจัดงานปีนี้“บ้าน บ้าน : BAAN BAAN Reconsidering<br />

Dwelling”<br />

นิทรรศการ “สถาปนิกแห่งแผ่นดิน”<br />

Architect of the Kingdom<br />

เมื่อเดินเข้าสู่ภายในอาคารชาเลนเจอร์ ผ่านจุดลง<br />

ทะเบียนแล้ว ผู้เข้าชมจะได้พบกับส่วนจัดแสดงนิทรรศการ<br />

สำคัญที่สุดตรงกลางของ <strong>ASA</strong> Zone ที่จัดทำขึ้น เพื่อเทิด<br />

พระเกียรติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณใน<br />

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้เป็น<br />

ที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ในนิทรรศการ “สถาปนิกแห่ง<br />

แผ่นดิน” ซึ่งประกอบด้วยภาพการเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านสถาปัตยกรรม ในการ<br />

ออกแบบตัวนิทรรศการมีการเลือกใช้วัสดุนั่งร้านก่อสร้าง<br />

และผ้าใบคลุมงานก่อสร้าง มาใช้เป็นโครงสร้างหลักของตัว<br />

นิทรรศการ ซึ่งตรึงสายตาผู้เข้าชมงานได้เป็นอย่างดีภายใน<br />

จัดแสดงมัลติมีเดียเกี่ยวกับโครงการชั่งหัวมันในพระราชด ำริ<br />

เพื่อให้ผู้ที่รับชมสามารถสัมผัสและรับรู้ถึงพระอัจฉริยภาพ<br />

ของพระองค์ท่าน ในการพลิกพื้นผืนดินที่แห้งแล้งให้สามารถ<br />

กลับมาปลูกพืชได้<br />

นิทรรศการภาพของพ่อ<br />

Image of King Bhumibol Adulyadej<br />

เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเพื่อให้เพื่อนพี่น้องสถาปนิก<br />

ศิลปิน และประชาชนทั่วไป สามารถส่งผลงานภาพวาดที่<br />

แสดงออกถึงความรักความระลึกถึงองค์พ่อหลวงของ<br />

ปวงชนชาวไทย เพื่อนำมาร่วมจัดแสดงกว่า 140 ผลงาน<br />

หลากหลายทั้งเทคนิคและสีสันในการนำเสนอ<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้านจำลอง<br />

BAAN BAAN Mockup<br />

จากนิทรรศการสถาปนิกแห่งแผ่นดิน เดินชม<br />

นิทรรศการตามเข็มนาฬิกาจากฝั่งขวาไปตามลำดับ แรกสุด<br />

จะได้พบกับ นิทรรศการ บ้าน บ้านจำลอง BAAN BAAN<br />

Mockup ซึ่งรวบรวมแบบจำลองการออกแบบต่างๆ ทั้งบ้าน<br />

ที่อยู่อาศัย สวนสาธารณะและอาคารโครงการขนาดใหญ่ที่<br />

รวบรวมมาจากบริษัทออกแบบต่างๆ กว่า 100 โมเดล แทบจะ<br />

เรียกได้ว่านี่คือพื้นที่แสดงผลงานของสถาปนิกทั่วประเทศ<br />

เลยทีเดียว ที่พิเศษคือชอบไอเดียดีไซน์งานชิ้นใด สแกน<br />

QR Code รับข้อมูลได้ทันที<br />

The atmosphere of Architect Expo 2017, organized<br />

by The Association of Siamese Architects under the<br />

Royal Patronage, on 2-7 May 2017 at Challenger<br />

Hall 1-3, IMPACT Muang Thong Thani, had impressed<br />

and inspired visitors very much. The exhibition<br />

area in <strong>ASA</strong> Zone imitated a real community that<br />

is arranged its functional area to build communal<br />

relationship. The arrangement emphasized the<br />

meeting area for people to meet and join events,<br />

which is one of the main idea of “BAAN BAAN<br />

Reconsidering Dwelling”, the theme of the exhibition<br />

this year.<br />

- 14 -<br />

“Architect of the Kingdom” Exhibition<br />

When passing through the registration point to<br />

enter the Challenger Hall, visitors would see the<br />

most important exhibition area in the middle of<br />

<strong>ASA</strong> Zone. The area was honorably dedicated to<br />

remembrance of His Majesty King Bhumipol Adulyadej,<br />

our beloved king. Photographs of His Majesty<br />

royal architectural duties were exhibited in<br />

the area. The main structures were scaffoldings<br />

with mesh sheet, which attracted visitors very well.<br />

There was a multimedia show about “Chang-Hua-<br />

Mun” Royal Initiative Project, to let people learn<br />

about the genius of His Majesty King Bhumipol<br />

Adulyadej in recovering the arid land to be fertile.<br />

“Image of King Bhumibol Adulyadej” Exhibition<br />

Over 140 pictures created by architects, artists<br />

and interested people were exhibited here to show<br />

our love and remembrance of Thai’s royal father.<br />

Those pictures were presented colorfully in various<br />

techniques.<br />

BAAN BAAN Mockup Exhibition<br />

If you walked around the exhibition clockwise,<br />

started on the right side from the “Architect of the<br />

Kingdom Exhibition” zone, the first you met would be<br />

“Baan Baan Mock up Exhibition”. There were over<br />

100 models of houses, resident parks and resident<br />

buildings from many design companies, displayed<br />

in this area. Each model had the QR code for visitors<br />

to scan to get more information right away.<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


นิทรรศการ บ้าน บ้าน<br />

Reconsidering Dwelling<br />

ใกล้ๆ กันมีส่วนจัดแสดงแนวคิดการทบทวนเรื่องที่อยู่<br />

อาศัยที่ถือเป็นไอเดียหลักของการจัดงานในปีนี้นิทรรศการ<br />

บ้าน บ้าน Reconsidering Dwelling นำกลุ่มตัวอย่างของ<br />

ผู้อยู่อาศัยที่แตกต่างไปจากความคุ้นเคยเมื่อพูดถึงบ้าน<br />

ทั้งคนงานก่อสร้าง คนเร่ร่อน พระสงฆ์และอื่นๆ มาถ่ายทอด<br />

ประสบการณ์และแนวคิดต่อที่อยู่อาศัยของตน สะกิดใจให้<br />

เราตั้งคำถามกับตัวเอง ซึ่งจะทำให้มิติของบ้านกว้างไป<br />

มากกว่าแค่สิ่งปลูกสร้างที่ผู้คนเข้าใจกัน เพิ่มเติมด้วยการ<br />

เขียนข้อความผ่าน Post-It บอกเล่าถึงบ้านของฉัน และบ้าน<br />

ในฝันของผู้เข้าชมได้ด้วย<br />

Reconsidering Dwelling Exhibition<br />

Nearby the Mockup zone, there’s an exhibition<br />

showing ideas about dwellings, which is the main<br />

theme of this year event. The exhibition in this<br />

zone was presented by setting a discussion with<br />

variety of guests, such as workmen, homeless<br />

people, and monks. These guests presented their<br />

experience and opinions about their dwellings,<br />

twitched us to question ourselves, and could expand<br />

the dimension of “houses” wider than just a building<br />

as people thought. There was a board for visitors<br />

to write on “Post-It”, telling about their houses and<br />

their dream houses too.<br />

TEXT :<br />

TEAM<br />

นิทรรศการ นิสิต นักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

Student Exhibition<br />

แวะชมงานของนิสิต นักศึกษาสถาปัตย์จากสถาบัน<br />

ต่างๆ ทั่วประเทศที่ส่งแบบเข้ามาประกวดภายใต้หัวข้อ<br />

เดียวกับการจัดงาน นั่นคือ “บ้าน บ้าน : BAAN BAAN<br />

Reconsidering Dwelling” สิ่งที่น่าสนใจคือวิธีคิดและการ<br />

ตีความที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบของนักศึกษาที่จะเป็น<br />

บุคลากรด้านสถาปัตยกรรมในอนาคต ผลการตัดสิน รางวัล<br />

ที่1 ได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร รางวัล<br />

ที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และรางวัล<br />

ที่ 3 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่<br />

Architectural Student Exhibition<br />

A lot of architectural students, from many<br />

institutes all over country, sent in their designs to<br />

join “BAAN BAAN Reconsidering Dwelling Competition”.<br />

It’s interesting to see ideas and interpretation<br />

beneath the designs created by these students<br />

who will be architectural personnel in the future.<br />

The first prize winner is Rajamangala University<br />

of Technology Phra Nakhorn, the second prize is<br />

Rajamangala University of Technology Srivijaya,<br />

and the third prize is Chiang Mai University.<br />

- 15 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


นิทรรศการประกวดแบบเชิงความคิด<br />

<strong>ASA</strong> International IDEAS Competition<br />

นิทรรศการนี้เราจะได้เห็นการตีความที่อยู่อาศัยในรูป<br />

แบบแนวความคิดที่ถ่ายทอดออกมาอย่างหลากหลาย ภาย<br />

ใต้หัวข้อ Home-ly ซึ่งรางวัลชนะเลิศเป็นของกลุ่มสถาปนิก<br />

ที่นำโดยคุณชัยเศรษฐ์เศรษฐสกุลชัย ที่นำเสนอแนวคิดจาก<br />

“บ้านเกิด” คือการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ให้สอดคล้องกับอาชีพ<br />

ของผู้อยู่อาศัย โดยให้ผู้ชมมีการตีความร่วมกัน เพื่อนำเสนอ<br />

การออกแบบที่อยู่อาศัย<br />

*ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.asa.or.th<br />

<strong>ASA</strong> International IDEAS Competition Exhibition<br />

In this exhibition we can see the conceptual<br />

interpretation of dwellings which presented in<br />

various forms, under the category of “Home-ly”.<br />

The grand prize is a group of architects, leads by<br />

Mr. Chaiyaset Settasakulchai. They presented the<br />

idea of “homeland”, using large area according to<br />

dwellers’ career, and allowed the audience to join<br />

the interpretation for the dwelling designation.<br />

นิทรรศการการประกวดแบบรางวัล<br />

สถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ “บ้าน บ้าน”<br />

<strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards<br />

“BAAN BAAN”<br />

บริเวณใกล้กันยังมีนิทรรศการการประกวดแบบรางวัล<br />

สถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ “บ้าน บ้าน” เป็นรางวัลสำหรับ<br />

สถาปนิกรุ่นใหม่อายุไม่เกิน 45 ปีที่มีความโดดเด่นในวิธีคิด<br />

และการนำเสนอการออกแบบที่อยู่อาศัย โดยโจทย์ของการ<br />

ประกวดออกแบบปีนี้คือ บ้าน บ้าน และผู้ที่ได้รางวัลดีเด่น<br />

ในการประกวดครั้งนี้คือ คุณฉัตรพงษ์ชื่นฤดีมล ในโครงการ<br />

ชื่อ บ้านเอกมัย (Ekamai House)<br />

<strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards “BAAN BAAN”<br />

Exhibition<br />

There’s also <strong>ASA</strong> Emerging Architecture Competition.<br />

This award is for new generation architects<br />

with age under 45, whose idea and presentation<br />

of a dwelling are outstanding under this year’s<br />

topic,“Baan Baan”. The winner of this competition<br />

is “ Ekamai House” by Mr.Chatpong Chuenrudeemol.<br />

- 16 -<br />

นิทรรศการชิ้นส่วนบ้าน Dwelling Elements<br />

ถ่ายทอดแนวคิดที่แหวกแนวของการออกแบบส่วน<br />

ต่างๆ ของบ้าน โดยจำลองการออกแบบใหม่ของบันได<br />

ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ ผนัง หลังคา เช่น บานหน้าต่าง<br />

ปลูกต้นไม้ กลายเป็นโต๊ะได้ ผนังบ้านที่เดินทะลุเข้าออกได้<br />

Dwelling Elements Exhibition<br />

This zone exhibits many innovative designs of<br />

parts of a house by imitating new ideas for stairs,<br />

doors, windows, tables, chairs, walls, roof, etc., such<br />

as a window panel with plants turn to be a table,<br />

a walk through wall.<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


นิทรรศการคบหุ่นสร้างบ้าน<br />

BAAN BAAN Technology<br />

แวะชมแขนกลโรบอติกที่กำลังเข้ามามีบทบาทในการ<br />

ก่อสร้างสมัยใหม่มากขึ้น รวมถึงการสแกนและการพิมพ์<br />

แบบ 3 มิติที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายรวมถึง<br />

การใช้ VR (Virtual Reality) จำลองโลกเสมือนจริงในการ<br />

ออกแบบการจำลองต่างๆ ส่วนนี้จะได้รับความนิยมอย่าง<br />

มากจากเด็กๆ ที่ได้สนุกกับการได้เล่นเกม VR<br />

นิทรรศการบ้านไทย บ้านใคร<br />

Traditional and Vernacular Thai House<br />

เป็นอีกนิทรรศการที่จัดทำได้อย่างน่าสนใจโดยนำเสนอ<br />

แนวคิดเรื่องรูปแบบที่อยู่อาศัยแตกต่างไปจากที่ผ่านๆ มา<br />

โดยใช้การนำเสนอจากผู้อยู่อาศัย “บ้านใคร” เป็นหลัก ซึ่ง<br />

ถือเป็นผู้กำหนดรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่จะสอดคล้องไปกับ<br />

วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมและสภาพถิ่นที่อยู่ เราจะได้เห็น<br />

แบบจำลองสวยงามของบ้านแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น<br />

เรือนไทยในแต่ละภาค ตึกแถว รวมไปถึงเรือนแพแม่น้ำ<br />

BAAN BAAN Technology Exhibition<br />

Visitors would see a mechanical arm “ Robotic”<br />

which interested more in modern construction<br />

industry. The exhibition also showed scanning and<br />

the popular 3 dimensional printing technology,<br />

including using VR (Virtual Reality) technology in<br />

the simulation designs. This zone got a lot of<br />

interests from children who enjoyed playing VR<br />

games.<br />

Traditional and Vernacular Thai House Exhibition<br />

Another interesting exhibition that presented<br />

ideas about dwellings differently, using presentation<br />

from the dwellers, “Whose House”. These dwellers<br />

determined forms of their houses which were<br />

according to their way of life, culture and geography<br />

of their neighborhood. Many beautiful models of<br />

traditional houses from each part of the country,<br />

commercial buildings, as well as houseboats were<br />

displayed.<br />

นิทรรศการบ้าน บ้าน รูปเล่าเรื่อง<br />

BAAN BAAN Photo Essay<br />

อีกหนึ่งงานประกวดภาพเล่าเรื่องที่ถ่ายทอดมุมมอง<br />

เรื่องที่อยู่อาศัยผ่านภาพถ่าย จากผลงานที่ส่งเข้าประกวด<br />

จำนวน 200 กว่าชุดผลงาน คณะกรรมการได้คัดเลือก<br />

ผลงานจำนวน 6 ชุดผลงาน ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 “The<br />

Strongest Structure” โดยคุณพนม อาชาฤทธิ์ และคุณ<br />

สุนิตย์อาชาฤทธิ์ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพความทรงจำของ<br />

บ้านชายฝั่งทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ถูกคลื่น<br />

กัดเซาะพังทลายเหลือเพียงความทรงจำที่ยังสวยงามอยู่<br />

เด็กน้อยชุดแดงกอดตุ๊กตาหมีพูห์ยืนมองซากปรักหักพังของ<br />

บ้านริมทะเล หญิงสาวกำลังสีไวโอลินอยู่ในบ้านที่พังทลาย<br />

เหลือเพียงผนังและเสา สะท้อนความรู้สึกและมีพลัง<br />

สะเทือนอารมณ์ เป็นผลงานที่โดดเด่นมาก<br />

BAAN BAAN Photo Essay Exhibition<br />

Another photographs competition showed<br />

various points of view about dwellings through<br />

photographs. Judges selected 6 from over 200 sets<br />

of competitors’ photographs and the first prize<br />

winner is “The Strongest Structure” by Mr.Panom<br />

Archarit & Mr.Sunit Archarit. Their photos showed<br />

a seaside house in Nakorn Srithammarat province,<br />

ruined by the sea waves, but still maintained its<br />

beautiful memory. A little girl in red, holding a Pooh<br />

Bear, was staring at the seaside house wreck.<br />

A young lady was playing the violin in a ruined<br />

house, left only a wall and columns. Those are very<br />

emotional influential photos.<br />

- 17 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


่<br />

BAAN BAAN Case Study Zone<br />

This zone looks interesting with triangle prism<br />

display stands, which one part of it was designed<br />

to be a chair and other 2 parts were information<br />

boards. Visitors can check on the information, each<br />

one contains design, area, and cost. They can scan<br />

QR Code to contact with the designers of each<br />

project.<br />

หมอบ้านอาษา <strong>ASA</strong> Guide เป็นการเปิดพื้นที่ในการ<br />

พบปะพูดคุยกับสถาปนิก เพื่อให้คำปรึกษาต่างๆ ด้านที่อยู<br />

อาศัยทุกวันตลอดเวลาการจัดงาน<br />

<strong>ASA</strong> Guide Zone provides area for visitors to<br />

consult architects for advices about dwellings<br />

every day during the event.<br />

Other than the <strong>ASA</strong> Zone, there were also<br />

interesting exhibitions out of the hall. <strong>ASA</strong> Conservation<br />

& Network Exhibition displayed case<br />

studies from different places. This Conservation &<br />

Network Zone contains small interesting exhibitions,<br />

such as <strong>ASA</strong> Architectural Conservation Awards,<br />

vernacular documentation works on architectural<br />

heritage by VERNADOC, and Network Exhibition,<br />

cooperation of <strong>ASA</strong> and Ecomos Thailand.<br />

นิทรรศการ บ้าน บ้าน ตัวอย่าง<br />

BAAN BAAN Case Study<br />

นิทรรศการนี้ออกแบบพื้นที่จัดแสดงได้อย่างน่าสนใจ<br />

เป็นแท่งสามเหลี่ยมที่ออกแบบส่วนหนึ่งให้เป็นที่นั่ง และ<br />

การแสดงข้อมูลแบบบ้าน พื้นที่ราคา ให้ผู้เข้าชมได้เลือกสรร<br />

เป็นไอเดีย ที่สำคัญยังสแกน QR Code เพื่อติดต่อกับบริษัท<br />

ผู้ออกแบบได้ด้วย<br />

URBA(A)N Exhibition is very interesting with<br />

a large area, opens for opinions through writing<br />

and drawings, that turned to be a large piece of<br />

art work.<br />

นอกเหนือจากในส่วนจัดแสดงบริเวณ <strong>ASA</strong> Zone แล้ว<br />

ด้านนอกฝั่งตรงข้ามกับจุดลงทะเบียนยังมีนิทรรศการที่น่า<br />

สนใจอีกส่วนหนึ่ง เช่น นิทรรศการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม<br />

และภาคีเครือข่าย นำเสนอผ่านกรณีศึกษาจากสถานที่<br />

ต่างๆ แบ่งออกเป็นนิทรรศการรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

ดีเด่น เช่น เคหสถานและบ้านเรือนเอกชน อาคารพาณิชย์<br />

อาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ ปูชนียสถานและวัดวา<br />

อาราม รวมถึงชุมชน นิทรรศการย่านเก่าเล่าเรื่อง นิทรรศการ<br />

ผลงานการสำรวจรังวัดมรดกสถาปัตยกรรมด้วยวิธี<br />

VERNADOC และนิทรรศการภาคีเครือข่าย จากสถาบัน<br />

สถาปนิกสยามร่วมกับอิโคโมสไทย และนิทรรศการเออเบิ้น<br />

เออบ้าน ก็เป็นอีกนิทรรศการที่น่าสนใจมีการให้พื้นที่แสดงออก<br />

ถึงการมีส่วนร่วมของสถาปนิกกับชุมชนหรือประชาชน<br />

ในโครงการต่างๆ มีพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นผ่านการเขียน<br />

และวาดภาพได้อย่างอิสระ จนเป็นผลงานศิลปะขนาดใหญ่<br />

เต็มพื้นที่นิทรรศการ<br />

- 18 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


<strong>ASA</strong> Films Exhibition<br />

Architectural documentary films were shown here,<br />

as well as lectures from various expert guests that<br />

shared their points of view and interesting experiences.<br />

Further than those exhibitions, visitors could<br />

meet , a media of <strong>ASA</strong> to connect to the<br />

public through journals, Facebook page, website,<br />

and mobile application. They will also enjoy shopping<br />

products for dwellings from many booths in the<br />

area. See you again in the Architect Expo’ 2018 !<br />

อีกส่วนสำคัญคือ นิทรรศการสัมมนา <strong>ASA</strong> Forum<br />

ในปีนี้มีสถาปนิกรับเชิญระดับนานาชาติมาร่วมงาน เช่น<br />

Mr.David Schafer จาก Studiomake ฟังการทำงานที่ได้<br />

รับแรงบันดาลใจจากประเพณีเทคโนโลยีและความสัมพันธ์<br />

ในการออกแบบระหว่างเครื่องมือและวัสดุที่ทำให้เป็นทั้ง<br />

สถาปนิกและนักประดิษฐ์ Mr.Keisuke Maeda จาก UID<br />

จากญี่ปุ่น เจ้าของผลงานการประกวดระดับนานาชาติ<br />

มากมาย กับแนวคิดสถาปัตยกรรมคือการสร้างสภาพ<br />

แวดล้อม สถาปนิกชาวญี่ปุ่น Mr.Shingo Masuda ที่มีชื่อ<br />

เสียงอย่างมากในการออกแบบบูรณะอาคารต่างๆ ในญี่ปุ่น<br />

นักออกแบบหรือผู้ที่สนใจร่วมฟังบรรยายสัมมนาใน <strong>ASA</strong><br />

Forum น่าจะได้แรงบันดาลใจที่หลากหลายจากสถาปนิก<br />

ที่มีชื่อเสียงที่มาร่วมงานครั้งนี้<br />

The Architect Expo’2017<br />

was very successful with<br />

392,319 visitors in 6 days<br />

of the event. That is the<br />

highest record in past 5 years.<br />

<strong>ASA</strong> Films จัดฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับ<br />

สถาปัตยกรรม และร่วมฟังบรรยายจากแขกรับเชิญผู้เชี่ยว<br />

ชาญด้านสถาปัตย์ ที่หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันมาถ่ายทอด<br />

มุมมองและประสบการณ์ส่วนตัวที่น่าสนใจ<br />

นอกจากจะได้ชมนิทรรศการต่างๆ แล้วผู้เข้าชมงานยัง<br />

มีโอกาสได้สัมผัสกับ สื่อดีๆ จากสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ ที่จะเข้าถึงประชาชนทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น ผ่านรูปแบบ<br />

ของวารสาร เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่น นอกจากนี้<br />

ยังได้เลือกสรรสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับการ<br />

ออกแบบก่อสร้างที่อยู่อาศัยจากบูทแสดงสินค้าอีกมากมาย<br />

ในงานอีกด้วย แล้วพบกันครั้งหน้าในงานสถาปนิก’61<br />

งานสถาปนิก’60<br />

ประสบความสำเร็จ<br />

เป็นอย่างสูง จากจำนวน<br />

ผู้เข้าชมงานสูงถึง<br />

392,319 คน<br />

ตลอดการจัดงานทั ้ง 6 วัน<br />

ถือเป็นสถิติสูงสุด<br />

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา<br />

Another important part of the Architect Expo<br />

is <strong>ASA</strong> Forum. This year we have some international<br />

guests such as Mr.David Schafer of Studiomake<br />

shared his inspiration from tradition, technology<br />

and relationship between tools and materials, that<br />

made him both architect and inventor. Mr.Keisuke<br />

Maeda of UID, from Japan, the winner of many international<br />

competitions, shared his concept which is<br />

“architecture is to build the environment”. Mr.Shingo<br />

Masuda, a very famous Japanese architect in buildings<br />

renovation in Japan. Designers and interested people<br />

would get a lot of inspiration from these guests.<br />

- 19 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


CLASSIC<br />

AUSTRALIAN EMBASSY<br />

สถานทูตออสเตรเลีย : สถาปัตยกรรมสีเหลืองทองบนถนนสาทรที่กำ ลังจะกลายเป็นอดีต<br />

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สัญจรไปมาบนถนนสาทร<br />

เราเชื่อว่าคุณต้องเคยสะดุดตาอาคารสีเหลืองทองทรง<br />

โมเดิร์น อันเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย<br />

ประจำประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่ถนนสายนี้มายาวนานกว่า 38 ปี<br />

และเร็วๆ นี้สถานที่แห่งนี้กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อ<br />

ปรับตัวสอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป<br />

ข่าวการย้ายสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และ<br />

การเตรียมพร้อมย้ายไปยังที่ทำการใหม่ในย่านสวนลุมพินี<br />

ด้วยเหตุผลด้านการประเมินพื้นที่ของรัฐบาลออสเตรเลีย<br />

ถึงตัวอาคารที่มีอายุยาวนาน รวมไปถึงการประเมินความ<br />

เหมาะสมกับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้สร้าง<br />

ความสนใจไม่น้อยในหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวออนไลน์ รวม<br />

ไปถึงวงการอสังหาริมทรัพย์ เมื่อกระทรวงการต่างประเทศ<br />

ออสเตรเลียได้ประกาศขายที่ดินบนถนนสาทร เนื้อที่ประมาณ<br />

7.5 ไร่<br />

ร่วมเก็บบันทึกความทรงจ ำ รวมไปถึงจดบันทึก<br />

ความรู้ทางสถาปัตยกรรมในครั้งนี้ นำโดยทีมอาจารย์จาก<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และน้องๆ<br />

นักศึกษา โดยได้รับการต้อนรับพร้อมเปิดบ้านพักอันแสน<br />

อบอุ่นของคุณฮานาน โรบิลลิอาร์ด ภริยาเอกอัครราชทูต<br />

ออสเตรเลียประจำประเทศไทย<br />

- 20 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


Mr.Ken Woolley<br />

สถาปนิกชั้นนำของออสเตรเลีย<br />

ผู้ออกแบบสถานฑูตออสเตรเลีย<br />

Architect<br />

หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล<br />

สถาปนิกที่ปรึกษาชาวไทย<br />

M.L. Tritodsayud Devakula<br />

Thai co- architect<br />

สถานทูตแห่งนี้ได้รับการออกแบบโดย Mr.Ken<br />

Woolley สถาปนิกชั้นนำของออสเตรเลียในขณะนั้น และมี<br />

สถาปนิกที่ปรึกษาชาวไทยคือ หม่อมหลวงตรีทศยุทธ<br />

เทวกุล โดยผสมผสานการออกแบบในยุค 70s ร่วมกับความ<br />

เป็นไทยไว้ด้วยกัน นำแรงบันดาลใจจากแม่น้ำลำคลองใน<br />

กรุงเทพฯ บ้านไทยที่ยกใต้ถุนสูง รวมไปถึงสีเหลืองทอง<br />

อันเป็นแรงบันดาลใจจากวัดไทย การก่อสร้างมีขึ้นเมื่อวันที่<br />

17 มิถุนายน 2518 และมีพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการ<br />

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2523<br />

ในบทบาทของสถาปนิก Mr.Ken Woolley ได้เข้ามาดู<br />

พื้นที่ และพบว่าบริเวณของถนนสาทรเมื่อ 38 ปีก่อนนั้น<br />

มีปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี หากแก้ปัญหาด้วยการถม<br />

ที่ดินลงไปจะทำให้ที่ดินรอดจากการถูกน้ำท่วม แต่จะส่งผล<br />

กระทบน้ำท่วมไปยังที่อื่นแทน ระหว่างนั้นเอง Mr.Ken<br />

Woolley ได้ไปเยี่ยมชมวังสวนผักกาดร่วมกับหม่อมหลวง<br />

ตรีทศยุทธ จึงนำแนวคิดไทยในการออกแบบ การใช้น้ำใน<br />

ภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์อันโดดเด่นให้กับ<br />

สถานที่มาปรับใช้ นอกจากช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับ<br />

สถานที่แล้ว ยังช่วยรองรับน้ำท่วมได้อีกด้วย<br />

The golden yellow architecture on Sathorn Street,<br />

which will soon become the past.<br />

If you are the one who has roamed on Sathorn<br />

Street, we believe that you must have seen a modern,<br />

eye catching, golden-yellow building. That is the Australian<br />

Embassy to Thailand which has been on this street for<br />

longer than 38 years. At the soonest, the place will be<br />

changed to adapt itself as time goes by.<br />

The news concerning moving the Australian Embassy<br />

to the new office at the area of Suan Lumpini, as a result<br />

of the Australian government’s assessment on the long<br />

age of the building and the appropriate requirements<br />

at the present and in the future, have drawn a lot of<br />

attention to newspapers readers, social media and<br />

real-estate industry when the Australian government<br />

made a selling announcement of 7.5 Rai land on Sathorn<br />

Street.<br />

TEXT :<br />

TEAM<br />

PHOTO : Australian Embassy, วงศ์วิศว์ ไชยรักษ์<br />

team, led by the professors from the<br />

School of Architecture, Bangkok University and its students,<br />

took part in recording the memoir and making notes of<br />

architectural content of this building. They were welcomed<br />

to make a visit at the Ambassador’s residence by Mrs.<br />

Hanan Robilliard, wife of H.E. Mr. Paul Robilliard, Australian<br />

Ambassador to Thailand.<br />

This embassy is designed by Mr. Ken Woolley, the<br />

leading Australian architect at that time, and Thai coarchitect,<br />

M.L. Tritodsayud Devakula. Its design was<br />

combined with the 70’s style and Thai style. The inspiration<br />

was from the river and canals in Bangkok, Thai tradition<br />

house with high ground floor and the yellow color from<br />

Thai temples. The construction started on 17 June 1975,<br />

and the official opening ceremony was organized on 26<br />

January 1980.<br />

Mr. Ken Woolley, as the architect, had studied the<br />

location and found that 38 years ago, the land on<br />

Sathorn Street had a flood problem every year. Although<br />

the problem could be solved by piling the land up, as<br />

an effect, the water would spread over the area nearby.<br />

At that time, Mr.Ken Woolley as well as M.L.Tritodsayud<br />

Devakula had a chance to visit Suan Pakkad Palace,<br />

he decided to apply the Thai idea - using water in the<br />

landscape – that is not only to make the layout outstanding<br />

but also to help secure the building and prevent flooding.<br />

- 21 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ภาพบรรยากาศบริเวณภายนอกและภายในบ้านพักเอกอัคราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย


Photo Credit : National Archives of Australia<br />

อาคารสถานทูต โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม<br />

การจัดแปลนของสถานทูตฯ เป็นรูปสี่เหลี่ยมกลวง<br />

โดยมีด้านหน้าเป็นถนนสาทร และมีบ้านพักท่านทูตอยู่<br />

ด้านหลัง ตำแหน่งของอาคารทั้งสองจัดวางโดยคำนึงถึงการ<br />

รักษาต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยมีหินชนวนจากสัตหีบ<br />

และพัทยาปูเชื่อมทางระหว่างสองอาคารนี้ด้วยกัน<br />

โครงสร้างของอาคารที่ทำการสถานทูตฯ เป็นคอนกรีต<br />

ใช้คานมุมทแยง เพื ่อช่วยรองรับการกระจายน้ำหนักของ<br />

พื้นที่มีช่วงเสากว้าง 12x12 เมตร พื้นผิวด้านหน้าของอาคาร<br />

รวมทั้งตัวเสาปิดทับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองจาก<br />

โรงงานที่ลำปางอันเป็นแรงบันดาลใจจากวัดไทย ด้านบน<br />

ตัวอาคารโดดเด่นด้วยพื้นที่ระเบียง Grey Space สร้างร่มเงา<br />

ด้วยต้นไม้ ทำให้สถานที่มีความร่มรื ่นเย็นสบาย โดยสวน<br />

ได้รับการออกแบบจาก Mr.Bruce Mackenzie ผู้ก่อตั้ง<br />

สถาบันภูมิสถาปนิกแห่งออสเตรเลีย<br />

บ้านพักท่านทูต บนแนวคิด “Outside In”<br />

อาคารสองชั้นที่โดดเด่นด้วยผิวกระเบื้องเคลือบสี<br />

เหลืองทอง จุดเด่นคือการนำวัสดุจากธรรมชาติเข้ามาหลอม<br />

รวมเป็นองค์ประกอบเดียวทั้งพื้นไม้ ประตูไม้ ฝ้าเพดานไม้<br />

สถาปนิกออกแบบโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการ<br />

อยู่อาศัย รวมถึงการจัดลำดับความเป็นส่วนตัวในห้องโถง<br />

แต่ละชั้น เมื่อเข้าไปจะพบกับโซนแรกคือส่วนของห้อง<br />

ทำงาน ถัดมาโซนที่สองคือโถงต้อนรับด้านหน้า โซนที่สาม<br />

คือพื้นที่ต้อนรับแขกคนสำคัญผ่านห้อง Living Room<br />

โดดเด่นด้วยกระจกบานใหญ่ เพื่อรับแสงธรรมชาติและลด<br />

การใช้พลังงานนับเป็นดีไซน์ที่ร่วมสมัยมากที่เกิดขึ้นเมื่อ<br />

38 ปีก่อน และโซนด้านในสุดเพื่อรองรับแขกพิเศษในห้อง<br />

รับประทานอาหาร โดดเด่นด้วยกระจกทรงโค้งสไตล์โมเดิร์น<br />

เมื่อมองออกไปจะพบกับต้นไม้น้อยใหญ่ในสวนเขียวขจี<br />

รวมไปถึงสระน้ำที่ได้รับการออกแบบให้ครบวงจรระบบ<br />

นิเวศ มีทั้งปลาและเต่า ทั้งนี้สีประจำชาติของออสเตรเลีย<br />

คือสีเขียวและทองด้วยเช่นกัน<br />

บ้านพัก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตเป็นสถานที่ที่ต้องการ<br />

ความเป็นส่วนตัวสูง ระแนงบังสายตาจะช่วยทำให้บริเวณ<br />

บ้านพักคงความเป็นส่วนตัวเมื่อมองจากภายนอก แต่ใน<br />

ขณะเดียวกันผู้อยู่ในอาคารก็สามารถมองเห็นเหตุการณ์<br />

และความเคลื่อนไหวจากภายในได้เช่นกัน โดยผสานจาก<br />

แนวคิด “Outside In”<br />

The embassy building is outstanding in terms<br />

of environment.<br />

The floor plan of the embassy building is in<br />

shape of square doughnut with the front facing<br />

Sathorn Street and the diplomatic residence of<br />

the ambassador in the back. The layout, consists<br />

of 2 buildings, was planned with concern to keep<br />

the big trees in the area. There is the pavement,<br />

paved with slate from Pattaya and Sattaheep,<br />

connecting the two buildings.<br />

The structure of the embassy building is concrete,<br />

using diagonal beams to spread weight bearing. It<br />

has a span of 12X12 metres. The texture of the<br />

front façade and the columns are covered with yellow<br />

mosaics from the factories in Lumpang province.<br />

It was inspired by Thai temples. The upper floors<br />

of the building are notable with the Grey Space<br />

balconies which were shaded by trees and help<br />

keep the building cool. The garden was designed by<br />

Mr.Bruce Mackenzie, the founder of the Australian<br />

Institute of Landscape Architects.<br />

The ambassador’s residence based on<br />

“Outside In” concept<br />

The two-storey building is outstanding with<br />

golden yellow mosaics. The distinctive feature is<br />

the combination of natural materials into one<br />

element such as wooden floor, wooden doors, and<br />

wooden ceiling. The architect’s design was focused<br />

on the living requirement including the privacy in<br />

each hall. When we enter the building, the first<br />

zone is the office area. The second zone is the<br />

reception hall. The third zone is the VIP reception<br />

area, through the living room, stunning with high<br />

glass walls to get the natural light and saving<br />

energy. The design was very modern 38 years ago.<br />

The deepest zone is a dining room for special<br />

guests, with modern style arch glass windows,<br />

which give the green view of trees in the garden.<br />

There’s also a pool that is designed with the<br />

complete ecology, with fish and turtles, and to<br />

match national colors of Australia, which are green<br />

and gold.<br />

The residence of the ambassador needs high<br />

privacy. The battens can keep the residence private<br />

when looking from the outside, while allowing<br />

people inside see what is happening outside.<br />

This comes from the “Outside In” concept.<br />

ทีมอาจารย์และนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ<br />

ขณะเยี่ยมชมสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย<br />

Photo Credit : National Archives of Australia<br />

- 24 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


AUSTRALIAN EMBASSY : The Inspiration<br />

Asst.Prof. Dr.Rittirong Chutapruttikorn<br />

Dean, School of Architecture, Bangkok University<br />

“When I was an architect student decades ago, I<br />

studied this building through the photos which my<br />

teacher showed and learned about the structure of the<br />

building such as waffle slabs. Now, almost 20 years past,<br />

I can see more other things that are hidden under the<br />

architect’s concept, like the way he applied Thai architectural<br />

intellect with the international architecture and<br />

merging the building with its surrounding.”<br />

ภาพ : วงศ์วิศว์ ไชยรักษ์ / Photo Credit : Wongwiss Chaiyarux<br />

ภาพ : วงศ์วิศว์ ไชยรักษ์ / Photo Credit : Wongwiss Chaiyarux<br />

ภาพ : วงศ์วิศว์ ไชยรักษ์ / Photo Credit : Wongwiss Chaiyarux<br />

4 2 3 1 5<br />

1 ผศ.ดร.ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร<br />

คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ<br />

“เมื่อครั้งที่เป็นนักเรียนสถาปัตย์ ผมได้มีโอกาสศึกษา<br />

แนวคิดทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ของที่นี่ผ่านภาพที่อาจารย์<br />

นำเสนอ เช่น การใช้ Waffle Slabs ซึ่งล้ำสมัยมากๆ ในเวลา<br />

นั้น วันนี้ผ่านมากว่า 20 ปี ผมเพิ่งได้เข้ามาเห็นอาคารจริง<br />

และได้เห็นแนวคิดของสถาปนิกหลายๆ อย่างที่ซ่อนอยู่<br />

ที่ประทับใจมากคือการนำเอาภูมิปัญญาไทยเข้ามาประยุกต์<br />

กับความเป็นสากล ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมกับอาคารเป็น<br />

ส่วนหนึ่งของกันและกัน การออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง<br />

นอกอาคารกับในอาคาร หรือที่เรียกกันว่า Grey Space ใน<br />

หลายๆ จุด เช่น ระเบียงภายในลานกลางอาคารที่ปลูกต้นไม้<br />

ใต้ชายคาโดยรอบ ชานเชื่อมระหว่างสวนและห้องนั่งเล่น<br />

ภายในบ้านพักท่านทูต พื้นที่เหล่านี้แสดงถึงลักษณะไทยที่<br />

สถาปนิกดึงออกมาใช้ได้อย่างมีประโยชน์เหมาะสมกับ<br />

ภูมิอากาศเขตร้อนของบ้านเรา”<br />

2 ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี<br />

ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง<br />

“ประทับใจสองเรื่อง คือ เรื่องของรูปแบบอาคาร ซึ่งเป็น<br />

แนวราบ เชื่อว่านำเอาบริบทของพื้นที่ในเมืองของกรุงเทพฯ<br />

ย่านสาทร ซึ่งยังคงมีพื้นที่เพียงพอส ำหรับอาคารและบริเวณ<br />

พื้นที่สีเขียวรอบๆ เมื่อกว่า 40 ปีที่ผ่านมา อาคารมีการเปิดรับ<br />

เอาอากาศจากภายนอกถ่ายเทเข้ามาภายในอาคาร และ<br />

สามารถมองสภาพแวดล้อมภายนอกจากภายในอาคารได้ดี<br />

สังเกตว่า รูปแบบอาคารของสถานทูตแห่งใหม่เปลี่ยนไป (ตั้ง<br />

อยู่ที่ถนนวิทยุ) ที่รูปแบบเริ่มปิดล้อมมากขึ้น แน่นอนเพราะ<br />

บริบทของกรุงเทพฯ เปลี่ยนไปมาก ที่ตั้งของสถานทูตถูกล้อม<br />

ด้วยอาคารสูง สภาพอากาศ และการจราจร ต่างไปเยอะ น่า<br />

สนใจที่การออกแบบไม่ได้มีเพียงปัจจัยการใช้งานที่มาจาก<br />

ภายในเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงบริบทรอบๆ และปัจจัย<br />

ภายนอกเข้ามามีส่วนกำหนดรูปแบบอาคารอย่างเห็นได้ชัด<br />

ส่วนความประทับใจอีกเรื่อง คือ ความรู้สึกของคนที่อยู่ที่นี่<br />

มานาน มีความผูกพันกับสถานที่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากเวลา<br />

ผ่านไปหลายสิบปี แทบทุกพื้นที่ของอาคารยังคงตอบสนอง<br />

พฤติกรรมและความต้องการได้ดี”<br />

3 ผศ.ดร.ธนธร กิตติกานต์<br />

อาจารย์ประจคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ<br />

“แวบแรกที่เดินเข้ามาที่นี่ผมรู้สึกเสียดาย แต่ก็เข้าใจถึง<br />

บริบททางสังคมและเศรษฐกิจในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ที่ส่งผล<br />

ให้ย่านนี้กลายเป็นย่านส ำนักงานและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ<br />

สิ่งที่ผมประทับใจในอาคารหลังนี้คือความเข้าใจใน<br />

สถาปัตยกรรมไทยของสถาปนิก เพราะแม้ว่าในภาพรวม<br />

จะดูเป็นงานยุคโมเดิร์น แต่ในหลายๆ รายละเอียดกลับ<br />

แสดงถึงรสนิยมไทยอย่างไม่เคอะเขิน เช่น การเลือกใช้<br />

กระเบื้องดินเผาที่มีสีไม่เท่ากันมาประดับผนังอาคาร และ<br />

การสอดแทรกพื้นที่ระเบียงหรือนอกชานให้ร่มรื่นไปด้วย<br />

ต้นไม้ เป็นต้น”<br />

4 อ.ภิรายุ มารศรี<br />

อาจารย์ประจคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ<br />

“ผมประทับใจพื้นที่ภายในที่ว่างของอาคารที่เปิดโล่ง<br />

ตรงกลาง ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นไทยที่ชัดเจน นับเป็น<br />

โครงสร้างอาคารแบบ Waffle Slabs ที่กว้างมากแห่งหนึ่ง<br />

เท่าที่ผมเคยเห็น รวมถึงการเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างในร่มและ<br />

กลางแจ้งที่ไม่ได้ปิดทึบเหมือนอาคารทั่วไป เป็นอาคารที่ให้<br />

ความรู้สึกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตัว รวมไปถึงรายละเอียด<br />

ของหินคอนกรีตที่สภาพดูเก่า แต่ผ่านไป 38 ปียังคงสวยงาม<br />

และร่วมสมัย”<br />

5 อ.นัจพร โกศลานันต์<br />

อาจารย์พิเศษประจคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ<br />

“รู้สึกทึ่งกับการใช้วัสดุของที่นี่ ถ้าเทียบว่าอาคารสร้างขึ้น<br />

เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว ในห้องครัวปูกระเบื้องยางที่คงทน การ<br />

เลือกใช้วัสดุ UPVC รวมไปถึงรายละเอียดเทคนิค เช่น การ<br />

เซาะร่องประตูการจบงานของช่างฝีมือที่ประณีตมากๆแน่นอน<br />

40 ปีก่อนเราจะไม่มีทางเห็นรายละเอียดของวัสดุเหล่านี้ ได้เลย<br />

เพราะบ้านเราเพิ่งมานิยมใช้แนวคิดเหล่านี้เมื่อ15 ปีที่ผ่านมา<br />

นี่เอง นั่นเพราะการก่อสร้างทั้งหมดยึดมาตรฐานจากออสเตรเลีย<br />

อีกหนึ่งความประทับใจคือการใช้รูปทรงเรขาคณิตในงาน<br />

สถาปัตยกรรมที่ชัดเจนมาก เช่น การเจาะรูข้างหน้าอาคาร<br />

เป็นวงกลม นับเป็นความทันสมัยอย่างมากในสมัยนั้น”<br />

หนึ่งในมุมมองของนักศึกษา<br />

“เมื่ออาจารย์บอกว่าจะพาพวกเรามาศึกษาที่นี่ รู้สึก<br />

ตื่นเต้นมาก พยายามหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตล่วงหน้าแต่แทบ<br />

ไม่เจอข้อมูลเลย นั่นยิ่งทำให้พวกเราตื่นเต้นมากว่าวันนี้จะ<br />

มาเจออะไรบ้าง และเมื่อได้มาแล้วก็รู้สึกประทับใจทั้งแนวคิด<br />

Waffle Slabs ที่เคยเรียนในตำรา วันนี้ได้มาเห็นของจริงได้เห็น<br />

ข้อเปรียบเทียบของโครงสร้างคานในปัจจุบันกับอดีตห้องครัว<br />

ของบ้านท่านทูตกับวัสดุที่ใส่ใจในรายละเอียดการนำธรรมชาติ<br />

มาสู่อาคาร เช่น การนำน้ำเข้ามาสู่อาคารบริเวณโดยรอบได้เห็น<br />

ความทันสมัยที่ถูกออกแบบอย่างเหนือกาลเวลาเกือบ 40 ปี<br />

แล้ว พวกเรารู้ดีว่าสถานทูตเป็นสถานที่ที่เข้าชมได้ยากเชื่อว่า<br />

ยังมีอีกหลายๆ คนที่อยากเข้ามาชมและศึกษาที่นี่ พวกเรา<br />

อยากให้มีการเก็บบันทึกสถานที่เหล่านี้หรือจัดเป็นพิพิธภัณฑ์<br />

ให้เด็กๆ อย่างเราเข้าถึงบ้าง”<br />

“Many spots around the building are Grey Spaces,<br />

which are the spaces between outside and inside. They<br />

are designed to adjust the environment for more comfortable<br />

living, such as the terrace out of the living room<br />

in the residence of the ambassador or the terrace with<br />

plants around the embassy building. This is the character<br />

of Thai style that the architect bought it out usefully<br />

and very suitable for our hot climate.”<br />

Asst.Prof. Dr.Antika Sawadsri<br />

Assistant Rector, King Mongkut’s Institute of Technology<br />

Ladkrabang<br />

“I noticed that the building is low-rise which was<br />

suitable for the environment of Bangkok 40 years ago.<br />

I guess, at that time, the weather near Sathorn street<br />

was still natural enough to have the air flow into the<br />

building. On the other hand, the new building on Wireless<br />

road has more enclosure, that’s because the context<br />

around buildings have been changed. There are more<br />

high-rise buildings in Bangkok. The weather, traffic,<br />

including the city character has been changed. It’s not<br />

changing from the inside but the outside contexts<br />

identify the design of buildings. The other reminding<br />

thing is the relationship between the building and people<br />

who used to stay together for a long time at this place.”<br />

Asst.Prof. Dr.Thanathorn Kittikant<br />

Lecturer, School of Architecture, Bangkok University<br />

“The first step I arrived into this place, I felt sad to<br />

learn about the moving. At the same time, I understood<br />

that the contexts of society and economy have been<br />

changed during the past 40 years. The urban planning<br />

has changed this area to a commercial zone. What<br />

impressed me is that the architect may well understand<br />

Thai architecture, I noticed from using materials that<br />

are not so neat like in other western style buildings. The<br />

gold tiles that have variations of color because of the<br />

kiln drying and not so straight tiling made it look more<br />

Thai than western. This place could be very modern 40<br />

years ago.”<br />

Mr.Pirayu Marasri<br />

Lecturer, School of Architecture, Bangkok University<br />

“I’m impressed with the space in the building with<br />

opened-well at the center, which obviously shows Thai<br />

architecture character. It has the widest waffle slabs<br />

structure I’ve ever seen. The connection of space between<br />

indoor and outdoor doesn’t have as much enclosure as<br />

in other buildings. This building gives us the feeling of<br />

regards including the details of concrete stones that<br />

look aged but still beautiful and contemporary.”<br />

Miss Natjaporn Kosalanun<br />

Special Lecturer, School of Architecture, Bangkok University<br />

“I am amazed by the materials of this building,<br />

considering it was built almost 40 years ago. The durable<br />

rubber tiles in the kitchen, UPVC materials, details of<br />

doors grooving and the very neat finishing work by the<br />

craftsmen, these can’t be seen in normal 40 years old<br />

buildings. This kind of techniques has been popular for<br />

just past 15 years. It’s because this building was built<br />

on Australian standard. Another impressive feature is<br />

using geometric shapes in the design apparently such<br />

as the circle void at the front façade was such a new<br />

fashion at that time.”<br />

A comment from a student<br />

“We were very excited to hear that the teacher<br />

would take us to study this building. We searched for<br />

some information on the internet but it’s really hard to<br />

find, that excited us more about what we would see<br />

today. Now that we are here, the place really impresses<br />

us. We can see the real waffle slabs structure that we<br />

studied from textbooks. We can see the comparison<br />

between modern and past structural methods. The<br />

particular materials in the kitchen of the ambassador’s<br />

residence, the flowing of the nature into the building<br />

such as having water to surround the building, show us<br />

the modernity of the design that has lasted over the 40<br />

years of time. We realized that the embassy is a secured<br />

place and we believe that more people wish to visit<br />

here to see and study it. We would like to see these<br />

places to be noted or set them as museums for young<br />

ones to study later.”<br />

- 25 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


SPOTLIGHT<br />

Interview in-depth<br />

with the president of The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage<br />

on Mahakan Fort Community and Giag-Gaai Bridge<br />

เจาะลึกประเด็นป้อมมหากาฬ – สะพานเกียกกาย กับนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

เกิดอะไรขึ้นกับชุมชนป้อมมหากาฬ เขาประท้วงกันทำไม สะพานเกียกกายมีประเด็นอะไรให้ต้องสนใจ สมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์มีจุดยืนอย่างไรกับสองโครงการนี้ ฉบับนี้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์อัชชพล ดุสิตนานนท์<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งได้ติดตามและเข้าร่วมประชุมทั้งสองโครงการนี้มาโดยตลอด เพื่อขอ<br />

ทราบถึงที่มาที่ไปและเบื้องหลังเบื้องลึกที่หลายคนอาจยังไม่รู้<br />

What happened to Mahakan Fort Community? Why have people protested? What is the interesting issue on<br />

Giag-Gaai Bridge? Where is the standpoint of <strong>ASA</strong> on these 2 projects? In this issue of<br />

journal, we had<br />

a chance to interview Prof. Atchaphol Dusittanont, President of the Association of Siamese Architects who has followed<br />

and joined the conferences on the 2 projects time to time, to ask about some concerned information that many<br />

people might not have known.<br />

: ก่อนอื่นอยากขอให้อาจารย์ช่วยเล่า<br />

ที่มาคร่าวๆ เรื่องป้อมมหากาฬให้ฟังสักนิดครับ<br />

อ.อัชชพล : ประเด็นนี้เป็นเรื่องของที่ดินประมาณ 5 ไร่<br />

บริเวณป้อมมหากาฬที่ถูกโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ<br />

กรุงเทพมหานครในปี2503 ต่อมาในปี2535 รัฐบาลได้ออก<br />

พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือเพื่อรื้อย้ายอาคาร<br />

บ้านเรือนซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยบริเวณป้อมมหากาฬนั้น<br />

มาพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ ตามแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์<br />

และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ชุมชนป้อมมหากาฬแห่งนี้มี<br />

หลักฐานบ่งชี้การตั้งถิ่นฐานชุมชนเก่าบริเวณตามแนว<br />

กำแพงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์กว่า 100 ปีที่ยังคงเหลืออยู่<br />

และเป็นตัวอย่างสุดท้ายที่เราจะได้เห็นโบราณสถานอยู่คู่กับ<br />

ชุมชน การรื้อถอนจึงเป็นเหมือนการทำลายประวัติศาสตร์<br />

ซึ่งทางสมาคมฯ เห็นว่าควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนรุ่น<br />

หลังได้ศึกษา แต่ก็ยังสามารถทำเป็นพื้นที่สาธารณะได้ตาม<br />

เจตจำนงเดิม<br />

: ทำอย่างไรครับ<br />

อ.อัชชพล : ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ เสนอให้ทำเป็น<br />

“พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” ในรูปแบบมรดกวัฒนธรรมที่ยั่งยืน เปิด<br />

ให้คนทั่วไปเข้าชมและศึกษาวิถีชุมชนพื้นถิ่นของป้อม<br />

มหากาฬ เรื่องนี้ต้องเริ่มเล่าจากที่อาจารย์ชาตรี ประกิตน<br />

นทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้ลงพื้นที่ป้อมมหากาฬเพื่อ<br />

สำรวจคุณค่าของชุมชน พบว่าในจำนวนบ้านทั้งหมด 102<br />

หลัง มีบ้านโบราณทรงคุณค่าถึง 16 หลัง สันนิษฐานว่าน่า<br />

จะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่5 จำนวน 2 หลัง และ อีก 14 หลัง<br />

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งเทคนิคและเชิง<br />

ช่างไทยของยุคนั้นเลือนหายไปมากแล้วในปัจจุบัน สิ่งที่ยัง<br />

หลงเหลืออยู่นี้ควรจะรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา<br />

: At first, we would like you to brief us<br />

a bit about Mahakan Fort issue?<br />

Prof. Atchapol: “This is the story about 5 Rai of land<br />

near Mahakan Fortress that was transferred to be property<br />

of Bangkok Metropolitan Administration in 1960. Later<br />

in 1992, the BMA had a promulgation of the expropriation<br />

decree on the rest land in order to remove buildings in<br />

the area, which mostly are dwellings, to develop to be<br />

a public park as said in the master plan concerning<br />

conservation and development of Krung Rattanakosin.<br />

The Mahakarn Fort community is an evidence of the over<br />

a century old community settlement along the Rattanakosin.<br />

city wall. It is also the last historic site within the neighborhood;<br />

therefore, the removal means destroying the history of the<br />

area. The <strong>ASA</strong>’s opinion is to conserve the community<br />

for further studying as well as the public space as previously<br />

planned.”<br />

- 26 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


TEXT :<br />

TEAM<br />

แนวทางการพัฒนาตามกระบวนการ Co-creation<br />

ผังบริเวณพิพิธภัณฑ์ประวัตศาสตร์ที่มีชีวิต (Living Museum) ชุมชนป้อมพระกาฬ<br />

1. ป้อมมหากาฬ 2. อาคารอนุรักษ์<br />

3. ระเบียงริมน้ำ 4. บานอเนกประสงค์<br />

5. ลานกิจกรรม 6. บ้านไม้โบราณ เรือนไทยเดิมใต้ถุนสูง สมัยก่อนรัชกาลที่ 5<br />

7. บ้านไม้โบราณ เรือนไทยอิทธิพลตะวันตก สมัยรัชกาลที่ 5-7 8. บ้านไม้ร่วมสมัย สมันรัชกาลที่ 9<br />

หลังจากนั้นทางสมาคมฯ ก็ได้ส่งทีมลงไปสำรวจเพิ่มเติม<br />

พบว่ามีอาคารที่ควรอนุรักษ์เพิ่มเติมอีก 8 หลัง เพราะเป็น<br />

งานสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่8 ถึงรัชกาลที่9<br />

รวมแล้วควรอนุรักษ์ไว้24 หลัง ในระหว่างนั้น ทางสมาคมฯ<br />

ได้ส่งทีม VERNADOC นำโดย ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว<br />

เข้าไปเก็บบันทึกในรูปแบบงานเขียนเชิงอนุรักษ์รวมถึงเปิด<br />

รับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการและตัวแทนชุมชนป้อม<br />

มหากาฬอย่างเป็นรูปธรรมของกรุงเทพ-มหานคร ซึ่งถือว่าเป็น<br />

นิมิตหมายที่ดี โดยมีคุณยุทธพันธ์ มีชัย เลขานุการผู้ว่า<br />

ราชการกรุงเทพมหานคร (พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง)<br />

เป็นประธาน ซึ่งต้องชื่นชมว่าคุณยุทธพันธ์เป็นผู้ที่เข้าใจใน<br />

ปัญหา และเล็งเห็นถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้<br />

เป็นอย่างดี<br />

เมื่อได้ข้อสรุปจากการรับฟังปัญหาแล้ว อาจารย์ยงธนิศร์<br />

พิมลเสถียร อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และ<br />

การผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เสนอว่าเราไม่ควร<br />

มองแต่ตัวอาคารบ้านเรือนเพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ความ<br />

สำคัญกับประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานด้วย ซึ่งทางสมาคมฯ<br />

ก็ได้เสนอเพิ่มเติมว่าไม่ควรมองเรื่องนี้จบแค่พื้นที่ 5 ไร่แต่ควร<br />

เชื่อมโยงไปถึงเครือข่ายชุมชนใกล้เคียง ทั้งวัดราชนัดดาราม<br />

ถนนบริพัตร ถนนมหาไชย และถนนราชดำเนิน เพื่อสร้างทั้ง<br />

ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่โดยให้กลุ่มอาคารอนุรักษ์<br />

ในพื้นที่และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าศึกษาเยี่ยมชมคือรื้อถอน<br />

บ้านออกบางส่วน เหลือเพียง 24 หลังที่ควรค่าอนุรักษ์ไว้ แล้วค่อย<br />

เติมอาคารประกอบบางอย่างลงไป รวมถึงการสร้างสะพาน<br />

ข้ามคลอง เพื่อเชื่อมต่อไปยังภูเขาทอง หรือมีกิจกรรมการ<br />

ปลูกพืชผักสวนครัว ให้เห็นการใช้ชีวิตในแบบพื้นถิ่น คือ<br />

ไม่ใช่มีเพียงอาคารทิ้งร้าง แต่ควรให้มีคนอยู่อาศัยจริง เพื่อ<br />

ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เพียงแต่ผู้อยู่อาศัยใน<br />

อาคารอนุรักษ์ต้องอยู่ในกรอบกติกาว่า อะไรทำได้ อะไรทำ<br />

ไม่ได้ เช่น ห้ามต่อเติมหรือทำลายอาคารนั้น เป็นต้น<br />

เรื่องลักษณะนี้สมาคมฯ มองว่า ทางกรุงเทพมหานคร<br />

หรือภาครัฐควรเลิกการทำลาย รื้อถอน เปลี่ยนสภาพ สิ่งที่<br />

มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะเมื่อทุบทิ้งไปแล้วไม่สามารถ<br />

สร้างทดแทนได้ อย่างที่เคยผิดพลาดมาแล้วในอดีต<br />

: How can we do that?<br />

Prof. Atchapol: “The <strong>ASA</strong> suggests it be the living<br />

museum for the public to visit and study the way of life<br />

in Mahakarn Fort. It commenced when Prof. Chatree<br />

Prskitnontagarn, professor of the Faculty of Architecture,<br />

Silpakorn University, made a field study for the appraisal<br />

of the community. He found out that, among 102 houses,<br />

there are 16 valuable old houses and 2 of them were<br />

assumed to be built in Rama V period and the other 14<br />

were built during Rama V and Rama VII period. The<br />

techniques and art of the Thai craftsmanship during that<br />

period have gradually been withered. These historic<br />

remains should be kept for next generation to study.”<br />

“After that, the <strong>ASA</strong> sent a survey team for more<br />

field study and found that 8 more buildings should be<br />

conserved because they are the perfect architecture in<br />

the period of King Rama VIII to King Rama IX. The<br />

totaling 24 houses should be conserved. At the same<br />

time, the <strong>ASA</strong> sent VERNADOC Team to record those<br />

old buildings by doing the vernacular documentation of<br />

architectural conservation. Including with conference<br />

conducted by the BMA, led by Mr. Yuthaphant Meechai,<br />

Secretary to the Governor of Bangkok Metropolitan<br />

Administration (Pol.Gen. Asawin Kwanmuang) as the<br />

chairman, to hear more opinions from both the scholars<br />

and representatives of the community, which is a good<br />

hint of the beginning. I admired Mr.Yuthaphant for his<br />

understanding to the problems and his appreciation to the<br />

historical value of this area.”<br />

“When we got the conclusion from the hearing, Prof.<br />

Yongthanit Pimolsatien, professor of the Faculty of<br />

Architecture and Planning at Thammasat University,<br />

suggested we should pay attention not only to the<br />

buildings but also to the history of the settlement. The<br />

<strong>ASA</strong> added that the 5 Rai land of Mahakan Fortress<br />

included the communities nearby, Wat Ratchanadda,<br />

Paribatra Road, Maha Chai Road, and Ratchadamnoen<br />

Road, should be considered as a new tourist attraction.<br />

These conserved dwellings in the area will open for<br />

tourists to visit and study. Some dwellings will be demolished<br />

but 24 worth conserving houses will remain.<br />

Some extra buildings will be added in as well as a bridge<br />

to cross the canal to the Golden Mount, or plant some<br />

backyard garden to show daily local living. There should<br />

not be just vacant buildings but there should be real<br />

people living in the area. This can make it a living museum.<br />

While the dwellers in the conserved area have to respect<br />

the rules and regulations what they can do or not such<br />

as augmentation or demolition are prohibited.”<br />

“In the situation like this, the <strong>ASA</strong> would like to ask<br />

the BMA or the government sector should give up the<br />

demolition and transformation of the historical buildings<br />

in the area because they can’t be rebuilt. Please don’t make<br />

the same mistake that had done before in the past.”<br />

- 27 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เสนอโมเดลตามข้อเสนอเดิมของ กทม. รวมทั้งข้อเสนอของสมาคมสถาปนิกสยามฯอีก 3 ทางเลือก<br />

ในการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559 โดย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการประชุม<br />

ภาพ : www.prachachat.net/news_detail.<br />

php?newsid=1474267710<br />

ภาพ : www.alepaint.com/<br />

: ขอถามไปถึงอีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ<br />

โครงการสะพานเกียกกาย ทางสมาคมฯ มีความเกี่ยวข้อง<br />

อย่างไร และความคืบหน้าตอนนี้เป็นอย่างไรแล้วครับ<br />

อ.อัชชพล : สำหรับเรื่องนี้ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผมได้เข้า<br />

ร่วมประชุมกับคณะทำงาน ซึ่งมี พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในการ<br />

ประชุม เบื้องต้นกรมโยธาธิการและผังเมืองได้มอบหมาย<br />

ให้ทางกรุงเทพมหานครเป็นผู้สร้างสะพานเกียกกายขึ้นใน<br />

บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาย่านเกียกกายใกล้ทำเลที่ตั้ง<br />

อาคารรัฐสภาแห่งใหม่เพื่อแก้ปัญหาจราจรที่จะเกิดขึ้นหลัง<br />

จากที่มีการเปิดใช้รัฐสภาแห่งใหม่<br />

ความจริงแล้วนโยบายการสร้างสะพานเกียกกายเกิด<br />

ขึ้นก่อนที่จะมีการเลือกที่ตั้งอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ แต่ใน<br />

ระหว่างที่มีการจัดประกวดแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่นี้<br />

ทางคณะจัดการทำเรื่องขอทราบแนวของสะพานเกียกกาย<br />

ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ แต่ขอไปกี่ทีก็ไม่มีคำตอบ จนกระทั่ง<br />

คณะกรรมการได้แบบที่ชนะการประกวด แล้วก็ทำแบบ<br />

ก่อสร้าง จากนั้นก็เริ่มสร้างไปได้ราว 20 เปอร์เซ็นต์<br />

ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็ได้รับเชิญเข้าร่วมรับฟัง<br />

ซึ่งทางเราก็ได้ให้ความเห็นไปว่า ถ้าสะพานเกียกกายใช้<br />

แนวทางตามแบบที่กรุงเทพมหานครเสนอมานั้น จะเป็น การ<br />

ทำลายมากกว่าส่งเสริมความสง่างามของอาคารรัฐสภา<br />

สาเหตุเพราะถนนทางเข้าของรัฐสภา รวมถึงเส้นทางเสด็จ<br />

จะถูกคร่อมด้วยสะพานเกียกกาย ลักษณะคล้ายถนน<br />

สุขุมวิทที ่มีรถไฟฟ้าคร่อมไปตลอดสาย จึงมีปัญหาต่อ<br />

ทัศนียภาพของอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ทำให้ทางเข้าอาคาร<br />

รัฐสภา ซึ่งเป็นอาคารที่มีความสำคัญระดับชาติขาดความ<br />

สง่างาม<br />

: May I ask about the Giag-Gaai Bridge<br />

project? How has the <strong>ASA</strong> involved in this project, and<br />

how does the project progress?<br />

Prof. Atchapol : “For this project, in the past year I<br />

have participated in the conferences with the working<br />

group, led by Gen. Anupong Paojinda, Minister of Interior<br />

as the chairman. At first, the Department of Public<br />

Works and Town & Country Planning has assigned the<br />

Bangkok Metropolitan Administration to be responsible<br />

for the construction of Giag-Gaai Bridge located at the<br />

vicinity of the new parliament, in order to solve the<br />

traffic problem that might have been occurred when<br />

the new parliament is opened.”<br />

- 28 -<br />

“As the matter of fact, the construction plan of Giag<br />

Gaai Bridge had occurred before the location of the new<br />

parliament was chosen. While the design competition<br />

for the new parliament was being organized, the working<br />

group sent letters to ask about the location of the bridge<br />

which might have affected the parliament project. The<br />

letters were sent many times but no reply. The time<br />

passed until the committee had gotten the competition<br />

winner, the winner made the working drawings and<br />

started the construction.”<br />

“When the construction was done for about 20%,<br />

the drawing of the bridge was suddenly revealed. The<br />

<strong>ASA</strong> was invited to join the conference of the bridge<br />

project. We suggested if the bridge will be constructed<br />

as proposed design by the BMA, it will destroy the elegance<br />

of the new parliament because the road to the parliament,<br />

including the royal pathway, would be covered by the<br />

Giag-Gaai Bridge, the same way as the sky train runs over<br />

Sukhumvit Road. That bridge could cause big problem<br />

for perspective, make the entrance less elegant for the<br />

new parliament, which is the national important building.”<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


3 ข้อเสนอของสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ข้อเสนอที่ 1<br />

แนวสะพานตัดตรงตั้งแต่แยกเกียกกาย<br />

จนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ฝั่งธนบุรี<br />

และย้ายจุดขึ้นลงไปถนนทหาร<br />

ข้อเสนอที่ 2<br />

แนวสะพานขนานกับอาคารรัฐสภา<br />

เริ่มจากแยกเกียกกายตัดตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

และเชื่อมกับแนวเดิมตรงถนนจรัญสนิทวงศ์ฝั่งธนบุรี<br />

และย้ายจุดขึ้นลงไปถนนทหาร<br />

ข้อเสนอที่ 3<br />

แนวสะพานขนานกับคลองบางซื่อ<br />

และไปลงที่ถนนกำแพงเพชร<br />

ข้อสรุปที่ทางรัฐบาลเห็นชอบว่ามีความเหมาะสม คือ แนวทาง “สะพานที่เบี่ยงขนานไปกับอาคารรัฐสภา” ตามข้อเสนอที่ 2 ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ทางสมาคมฯ ได้ขออนุญาตท่านประธานไปทำการ<br />

วิเคราะห์และนำเสนอทางออกอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยข้อ<br />

เสนอของสมาคมฯ มี 3 ทางเลือก<br />

ข้อเสนอที่ 1 คือ ขอให้ไม่มีทางขึ้นลงตรงบริเวณอาคาร<br />

รัฐสภา เพื่อให้สะพานมีขนาดแคบที่สุด<br />

ข้อเสนอที่ 2 คือ จากสี่แยกเกียกกายปรับแบบให้<br />

สะพานปัดตั้งฉากกับอาคารรัฐสภา ซึ่งจะเขยิบสะพานออก<br />

มาห่างอาคารรัฐสภาประมาณ 70 เมตร<br />

ข้อเสนอที่ 3 คือ เบี่ยงแนวสะพานอ้อมไปทางคลอง<br />

บางซื่อ<br />

หลังจากการพิจารณาร่วมกันแล้ว ท่านอนุพงษ์ได้เลือก<br />

ข้อเสนอที่ 2 พร้อมทั้งมอบหมายให้ทางกรุงเทพมหานคร<br />

ทำการศึกษาผลกระทบซึ่งอาจเกิดขึ้้นกับโบราณสถานหรือ<br />

อาคารสำคัญอื่นๆ ที่แนวสะพานใหม่พาดผ่านได้<br />

“The <strong>ASA</strong> asked the chairman a permission to study<br />

for some appropriate solutions. <strong>ASA</strong> proposed 3 choices<br />

as follows<br />

1. No ramp up or down to the bridge in the parliament<br />

area in order to make the bridge as narrow as possible.<br />

2. Adjust the direction of the bridge, from the Giag<br />

Gaai junction, to be perpendicular to the parliament so<br />

that will make the bridge 70 meters far away from the<br />

parliament.<br />

3. Move the bridge divert to Bangsue Canal, which<br />

will be about 500 meters far away from the parliament.<br />

After considering, Gen. Anupong chose the 2nd<br />

choice and assigned the BMA to study about the effect<br />

to the historic sites and area nearby.”<br />

- 29 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


TEXT :<br />

TEAM<br />

GRAND MASTER<br />

CORE VALUE REFLECTION<br />

ให้สัจจะสะท้อนตัวเรา<br />

การจะมองเห็นความจริงได้ตำราทุกเล่มบอกตรงกันว่า<br />

ต้องมีของสองสิ่งเป็นสำคัญ อย่างแรกคือต้องมีใจเปิดกว้าง<br />

อย่างที่สองคือต้องมีกระจก ที่ต้องเปิดใจกว้างเพราะความ<br />

จริงอาจจะไม่เหมือนที่เราคิด ไม่ใช่อย่างที่เราหวัง หากเรา<br />

ไม่เปิดใจ ความจริงก็เข้าไปสู่ใจเราไม่ได้ และยิ่งกระจกที่<br />

เราใช้สะท้อนมีความคมชัดมากเท่าไหร่เรายิ่งเห็นความจริง<br />

ได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น ทีมงาน ได้สนทนากับ<br />

คุณต่อ-ธนญชัย ศรศรีวิชัยผู้กำกับโฆษณาระดับโลก การันตี<br />

ด้วยรางวัลสิงโตเมืองคานส์ (Cannes Lion) ในมุมสะท้อน<br />

ความหมายที่แท้จริงของ Core Value สถาปนิกและการ<br />

พัฒนาตัวเอง<br />

: คำว่า Core Value ถูกใช้กันมากขึ้น ใน<br />

ปัจจุบัน ในความหมายของคุณ Core Value แปลว่า<br />

อะไรครับ<br />

ธนญชัย : (คิดตรึกตรอง) ผมว่ามันคือ “คุณค่าที่แท้”<br />

หรือมันคือ “สัจจะ” ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน มันก็<br />

จะยังคงความเป็นเช่นนั้นอยู่เสมอ<br />

: ความสำคัญของ Core Value หรือสัจจะนี้<br />

อยู่ตรงไหนครับ<br />

ธนญชัย : สัจจะคือความเป็นจริง ผมคิดว่าถ้าเราเข้าใจ<br />

ถึงสัจจะของสิ่งนั้นๆ เราจะเห็นถึงสิ่งที่เป็นแก่นสาร เราจะ<br />

แยกเปลือกตัดปลอมออกได้โดยง่าย เห็นความเป็นจริง<br />

ภายในของสิ่งต่างๆ เห็นจนพบว่าแท้จริงมันก็แค่นี้เอง เช่น<br />

การเคลื่อนที่ คือ การที่ตัวเราสามารถเปลี่ยนสถานที่จาก<br />

จุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง แปลว่า ไม่ต้องมีรถก็ได้ขี่จักรยานก็ได้<br />

เดินก็ได้หรืออย่างการสื่อสาร มันไม่ใช่มีแค่โทรคุยหรือไลน์<br />

หากัน การสื่อสารมีหลายร้อยวิธีที่ทำให้อีกฝ่ายเข้าใจความ<br />

ที่เราจะสื่อได้ การคุย การมองหน้ากัน สบตากันนั้น ก็เรียก<br />

การสื่อสารและเผลอๆ อาจจะดีกว่าด้วย เพราะการคุยต่อหน้า<br />

ทำให้เรารู้ว่าคนที่พูดนั้นเขาพูดจริงหรือไม่จริง รู้สึกหรือไม่<br />

รู้สึก เพราะมนุษย์มีเซ้นส์ในทางจิตวิญญาณและความรู้สึก<br />

อยู่แล้ว การสื่อสารแบบนี้สำหรับผมถือว่าละเอียดมากและ<br />

ได้ประโยชน์กว่ามาก<br />

: แล้วเราจะเข้าใจได้ยังไงครับ ว่าอะไรคือ<br />

สัจจะของสิ่งนั้นๆ<br />

ธนญชัย : ผมก็ยังไม่รู้ แต่ผมหาวิธีที่จะทำให้รู้ เราต้อง<br />

เป็นคนอยากรู้อยากศึกษา ตั้งคำถามและฝึกการตั้งคำถาม<br />

ที่ดีและมีประโยชน์ ฝึกที่จะถามให้ลึกลงไปเรื่อยๆ ทะลุ<br />

เปลือก ทะลุกระพี้ พุ่งตรงไปหาแก่น แต่เราจะตั้งคำถาม<br />

เพียงอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องลงมือทำ ปฏิบัติ ทดลองและ<br />

เผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ หาวิธีหาสาเหตุและด้วยการหา<br />

สาเหตุของปัญหานี้จึงพาให้เราไปพบต้นตอที่ลึกขึ้น ยิ่งหา<br />

มากขึ้น ก็ยิ่งลึกขึ้น ลึกจนไปพบแก่น จากนั้นเราจะรู้วิธีแก้ไข<br />

ที่ถูกต้อง ที่สำคัญต้องลงมือทำ ทำจนเป็นวิถี<br />

ยกตัวอย่างเช่น ผมไม่สบาย ผมไม่กินยา เพราะพบว่า<br />

ยาไม่ใช่ทางออก มีเพื่อนผมแนะนำให้กินฉี่ผมศึกษาจนพบ<br />

กับวิดีโอของหมอเขียว หมอเขียวอธิบายเรื่องยากให้เป็น<br />

เรื่องง่าย บอกว่าในพระไตรปิฎกระบุว่าการกินฉี่เป็นการ<br />

รักษาโรค เหมือนกินเซรุ่ม กินวัคซีน ผมก็ทดลองกิน กินไป<br />

ผมก็รู้ได้ด้วยตัวเองว่าร่างกายดีขึ้น ผมทดลองเดินแทนการ<br />

ใช้รถยนต์เดินทั่วกรุงเทพฯ มาหนึ่งปีผมพบว่าการเดินทำให้<br />

- 30 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ผมแข็งแรง ทำให้ผมเห็นชีวิตที่ละเอียดขึ้นเข้าใจคนอื่นมากขึ้น<br />

เป็นต้น ดังนั้น การจะมองเห็นและเข้าใจสัจจะต้อง<br />

ทดลองด้วยตัวเอง รู้สึกได้ด้วยตัวเองและพิจารณาสิ่งที่<br />

เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ผมเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ผมคือคนที่<br />

ยังไม่รู้ คนอ่อนแอ คนโง่ ไม่ว่าใครจะพูดถึงผมยังไง ผมรู ้ตัว<br />

ดีว่ายังมีเรื่องที่ผมต้องพัฒนาอีกเยอะ บางเรื่องแม่บ้าน ยาม<br />

คนงาน ยังรู้ดีกว่าผมอีก ทั้งๆ ที่เขาจบ ป.4<br />

สำคัญที่สุดเราต้องทบทวนตัวเองและทบทวนความรู้<br />

ที่เรารู้ตลอดเวลา เราต้องตั้งคำถามกับความเชื่อต่างๆ อย่าลืม<br />

ว่าเราเติบโตมาเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ทันทีที่เราเกิดมาก็จะ<br />

ถูกอบรมบ่มเพาะด้วยชุดความคิดต่างๆ จากสังคมค่านิยม<br />

เราต้องกลับไปคิดว่าเมื่อก่อนเราเป็นอย่างไร ตอนนี้เราเป็น<br />

อย่างไร ถ้าคุณเชื่อว่าการศึกษาในกระแสหลักที่เรามีอยู่<br />

ตอนนี้เป็นสิ่งที่ดีผมก็ขอถามกลับว่า ทำไมโลกแย่ลง ทำไม<br />

คุณธรรมและจริยธรรมเสื่อมทรามลง<br />

: สมมุติว่าเรายกตัวอย่างเป็นเรื่องการ<br />

ออกแบบบ้าน สัจจะของการออกแบบบ้านคืออะไรครับ<br />

ธนญชัย : ก็ต้องเริ่มด้วยคำถามว่า บ้านคืออะไร บ้าน<br />

หมายถึง ที่อยู่อาศัย คำว่า “ที่-อยู่-อาศัย” คือมีสถานที่แล้ว<br />

แล้ว “อยู่” อยู่กันอย่างไร อาศัยกันอย่างไร มีกินนะ หายใจนะ<br />

จับอะไร ดมอะไร เราพูดถึงผัสสะ อายตนะ 6 ตา หู จมูก ลิ้น<br />

กาย ใจ ที่อยู่อาศัยที่ดีก็ต้องทำให้คนกินดีสูดอากาศบริสุทธิ์<br />

หายใจคล่อง มองเห็นร่มรื่น คนที่อยู่อาศัยมีสุขภาพดีถึงจะ<br />

เรียกว่าอยู่ดี เมื่อทราบตรงนี้แล้ว เราก็กลับไปตั้งคำถามต่อ<br />

ว่าจะทำให้อยู่อาศัยดีแบบนี้ได้อย่างไร<br />

ทุกวันนี้มักมีคำพูด “เราออกแบบบ้านสนองความ<br />

ต้องการของเจ้าของบ้าน” คำว่า “สนอง” คืออะไร สนองคือ<br />

ตอบ รับใช้ สนองความต้องการของเจ้าของบ้าน แล้วความ<br />

ต้องการของเขาเนี่ย มันดีไหม ซึ่งก็อยู่ที่สถาปนิกคนนั้นว่า<br />

จะเลือกสร้างที่อยู่อาศัยที่ดีหรือสร้างที่อยู่อาศัยสนองความ<br />

ต้องการเจ้าของบ้าน<br />

: แต่เจ้าของบ้านเขาต้องการให้บ้าน<br />

ออกมาเท่ๆ แบบบ้านฝรั่งที่ได้รางวัลในนิตยสาร ถ้า<br />

สถาปนิกไม่ทำตามสถาปนิกก็ไม่ได้งาน<br />

ธนญชัย : บางครั้งเจ้าของบ้านหรือผู้ว่าจ้างเราเขาติดอยู่<br />

ในค่านิยม ติดในความหลง ติดในรูปลักษณ์เส้นสาย แต่เขา<br />

อาจจะไม่รู้ว่ารูปลักษณ์นั้นๆทำให้เขาอยู่แล้วเครียดไม่เป็นสุข<br />

มีบ้านสวยๆ เอาไว้โชว์มีของแพงๆ มีห้องหลายห้อง มีเครื่อง<br />

ใช้ไฟฟ้า มีทรัพย์สินมากมายแต่ทั้งหมดเราต้องดูแลต้องระแวง<br />

ต้องสอบประวัติคนใช้ ต้องมีสัญญาณกันขโมย ต้องมียาม<br />

ต้องคอยโทรเช็ก คอยดูกล้องวงจรปิดในมือถือวันละหลายรอบ<br />

ทั้งๆ ที่เรารู้อยู่แก่ใจว่าเราต้องตายเราเอาอะไรไปไม่ได้แต่เรา<br />

ก็ยินยอมและพอใจที่จะทำให้ช่วงเวลาในชีวิตของเรา<br />

เต็มไปด้วยความเครียด พูดถึงตรงนี้หลายคนอาจจะบอกว่า<br />

เรื่องของกูกูรวย มึงอย่าเสือก ผมก็ต้องขอโทษ แต่ผมอยากให้<br />

พวกพี่และพวกเสี่ยที่มีเงินทั้งหลายได้ใช้เวลาขบคิดแม้เพียง<br />

น้อยนิดก็ยังดี เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน<br />

และถ้าผมเป็นสถาปนิก ผมจะหาความรู้ให้มากที ่สุด<br />

เพื่อทำที่อยู่อาศัยให้ดีที่สุด คำว่า “งานที่ดีที่สุด” คืออะไร<br />

ก็อยู่ที่เราจะให้คุณค่าของงานมันไปจบที่ตรงไหนบ้านที่สวย<br />

ที่สุด บ้านที่แปลกที่สุดหรือบ้านที่น่าอยู่ที่สุด เพราะถ้าเรา<br />

จะต้องออกแบบบ้านหลังหนึ่งให้เป็นบ้านที่น่าอยู่ที่สุดก็ต้อง<br />

ทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้มีชีวิตที่ดีที่สุดเราก็ต้องคุยกับ<br />

เจ้าของบ้านว่าชีวิตที่ดีและมีคุณภาพเป็นอย่างไร ดีกับชีวิต<br />

ของเขาเอง ทีนี้เราจะไปแนะนำเขาได้ เราก็ควรต้องใช้ชีวิต<br />

ให้ดีและมีคุณภาพก่อน เราต้องรู้เราต้องศึกษา ต้องทดลอง<br />

ต้องใช้ชีวิตเป็นแบบนั้น ยิ่งศึกษา เราจะรู้ว่าการปูพื ้นบ้าน<br />

ด้วยหินแกรนิตมันดูดีก็จริง แต่อยู่แล้วกระด้างนะ มันนำ<br />

กระแสไฟฟ้านะ เป็นมะเร็งได้นะ อยากได้กระจกใหญ่ๆ แต่<br />

ต้องติดแอร์ทั้งบ้านนะ ทำให้ผิวหนังคุณไม่ได้ปรับสภาพกับ<br />

อากาศที่แท้จริง คุณก็ป่วยบ่อยนะ มีโอกาสเป็นมะเร็งตับ<br />

ได้นะ คุณจะเริ่มออกแบบบ้านที่ไม่มีทีวี ไม่มีห้องนั่งเล่น<br />

เพราะการนั่งบ่อยๆ นั่งนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อของคุณไม่<br />

ขยับตัว เจ้าของบ้านจะอ่อนแอลง คุณจะเริ่มบอกเจ้าของบ้าน<br />

ว่าให้เอาไม้ประดับออกไปจากบริเวณบ้านบ้าง แต่เอาไม้<br />

ประแดกมาแทนที่เพราะเจ้าของบ้านจะได้เริ่มปลูกผักกินเอง<br />

ออกแรงเอง แข็งแรงขึ้นเอง คุณจะเริ่มบอกว่า ไม่จำเป็นต้อง<br />

เปลืองพื้นที่ในการสร้างห้องฟิตเนส เพราะเจ้าของบ้านจะ<br />

ทำสวนเอง คุณภาพชีวิตเจ้าของบ้านจะดีขึ้น จะหล่อจะสวย<br />

อายุยืน พอคุณยิ่งศึกษาเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ที่เชื่อมโยง<br />

กับที่อยู่อาศัย คุณจะเข้าใจโลก จะเข้าใจน้ำ จะเข้าใจอากาศ<br />

จะเข้าใจต้นไม้จะเข้าใจความเป็นมนุษย์จะเข้าใจชีวิต คุณจะ<br />

ได้ความรู้มากมายมหาศาล คุณจะได้พัฒนาปัญญาให้สูงขึ้น<br />

เรื่อยๆ<br />

ทัศนคติในการทำงานของผม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ยิ่งเรา<br />

ทำงาน เรายิ่งต้องเก่งขึ้น ยิ่งเข้าถึงสัจจะมากขึ้น แต่ถ้าแค่<br />

ทำงานแล้วมีเงินมากขึ้น รวยขึ้น มันไม่ได้แปลว่าคุณจะมี<br />

ปัญญามากขึ้น<br />

เมื่อเราเข้าใจถึงสัจจะของสิ่งนั้นๆ แล้ว<br />

เราจะเห็นถึงสิ่งที่เป็นแก่นสาร<br />

เราจะแยกเปลือกตัดปลอมออกได้โดยง่าย<br />

สถาปนิกที่เรามีอยู่ในประเทศตอนนี้มีหลายท่านที่มี<br />

ความรู้ มีปัญญาที่สูง และยังไม่หยุดที่จะศึกษา คนเหล่านี้<br />

ยังมีสายตาที่เป็นเด็ก ใฝ่รู้ ไม่มีอีโก้ พร้อมที่จะฟังคนอื่น<br />

นอบน้อม เป็นมิตร สุภาพ คิดถึงคนอื่น คิดถึงธรรมชาติคิดถึง<br />

โลก โลกที่กำลังทำลายธรรมชาติด้วยอัตราเร่ง คนเหล่านี้จะใช้<br />

ทรัพยากรอย่างประหยัดและรู้คุณค่า เพราะถือว่านี่คือหน้าที่<br />

เป็นภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ คนเหล่านี้เคารพตัวเอง ศึกษา<br />

ประวัติศาสตร์ ศึกษาและเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ<br />

ตัวเอง ศึกษาคน สังคม ศึกษาดิน ภูมิอากาศ ธรรมชาติของ<br />

ประเทศไทยและของโลกอย่างลึกซึ้ง เข้าถึงแก่นแท้คนเหล่า<br />

นี้จะไม่เอารูปแบบหรือเปลือกของวัฒนธรรมอื่นๆเข้ามาโดย<br />

ไม่ยั้งคิด คนเหล่านี้ไม่ได้มองความเป็นไทยแค่ในเชิงอัตลักษณ์<br />

แต่มีปัญญาที่สามารถมองทะลุไปถึงเหตุผล ซึ่งนำมาสู่<br />

ความเป็นอัตลักษณ์ เมื่อคนเหล่านี้สามารถเข้าใจเหตุที่มา<br />

ที่ไปได้อย่างถ่องแท้แล้ว เขาจึงสามารถนำเอาปัญญาที่มี<br />

มาปรับและประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมในการใช้ชีวิต<br />

ได้ดี คนเหล่านี้เติบโตอย่างช้าๆ แต่มีพื้นฐานที่หนักแน่น<br />

อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไปในวันนี้แต่ผมเชื่อว่า<br />

ในอนาคตข้างหน้า คนเหล่านี้จะกลายเป็นที่รู้จักของคน<br />

ทั้งโลก จะกลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า เพราะโลกใน<br />

ยุคหน้า สิ่งที่มีค่าที่สุดคือวัฒนธรรมและภูมิปัญญา<br />

: แล้วความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด คืออยู่ยังไงครับ<br />

ธนญชัย : ดีที่สุดของแต่ละคนไม่เหมือนกันแต่สำหรับผม<br />

ผมเชื่อว่าต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติเพราะผมคือส่วนหนึ่งของ<br />

ธรรมชาติกินน้อย อยู่น้อย ไม่รุงรัง ไม่เยอะ รู้จักพอ อยู่เงียบๆ<br />

ไม่เสือกเรื่องชาวบ้าน ทำสวน ออกกำลัง ตากแดด ตากลม<br />

เก็บเห็ด เก็บหอย ทำกับข้าว อยู่กับต้นไม้ตื่นเช้าขึ้นมาก็เห็น<br />

การเปลี่ยนแปลง เห็นความเจริญเติบโต เจริญหู เจริญตา<br />

เห็นบ่อยๆ อยู่บ่อยๆ ก็จะเจริญสติ แล้วก็คิดในเรื่องที่เจริญ<br />

เห็นดอกเห็นผล เก็บกินเผื่อแผ่คนรอบข้างอยู่แบบคนบ้านนอก<br />

อยู่กับความเป็นจริงของความเป็นมนุษย์<br />

- 31 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


: แสดงว่าชุดความรู้ของชาวบ้านกับชุด<br />

ความรู้ของคนเมือง ไม่เหมือนกันเลย<br />

ธนญชัย : ชุดความรู้ของชาวบ้านถูกถ่ายทอดต่อๆ กัน<br />

มายาวนานมากๆ อาจจะเกิน 2,000-3,000 ปีก็ได้ แต่ชุด<br />

ความรู้ของการศึกษาปัจจุบันอายุไม่น่าเกิน 200-300 ปีเช่น<br />

มีต้นไม้ต้นหนึ่งผลเต็มต้นเลย คนเมืองเดินไปก็เด็ดกิน<br />

แน่นอน แต่เชื่อไหมชาวบ้านเขาไม่กิน เพราะอะไร เพราะ<br />

เขารู้ว่ามันกินไม่ได้เขารู้จากนก นกก็มีความหิว นกก็อยาก<br />

กินผลไม้ แต่ต้นนี้ทำไมผลเต็มต้น แสดงว่าต้องมีอะไรไม่<br />

ชอบมาพากล น้ำตรงนี้ทำไมไม่มีปลา แสดงว่าน้ำอาจจะมี<br />

สารปนเปื้อน เขาก็จะไม่กินน้ำตรงนี้ เพราะความรู้มันเป็น<br />

เรื่องกิน-อยู่-ปากท้อง เป็นเรื่องชีวิต แต่ความรู้ที่เราเรียนกัน<br />

อยู่ไม่ค่อยเกี่ยวกับชีวิต เราเรียนเรื่องกฎหมายระหว่าง<br />

ประเทศ เรียนเรื่องมาร์เก็ตติ้ง แล้วเรียนจบก็ไปทำงานบริษัท<br />

ทำงานบริษัทแล้วก็ได้เงิน แล้วค่อยเอาเงินไปซื้ออาหาร เรา<br />

อยู่ในระบบที่อ้อมค้อมนะ แล้วระบบเนี่ยมันก็เพิ่งจะเกิดมา<br />

ไม่เกิน 300 ปีเอง เรายิ่งเรียนยิ่งไม่รู้เรื่องตัวเอง ยิ่งอ่อนแอ<br />

เวลาน้ำท่วม เราก็ต้องรอความช่วยเหลือ เรามีเงิน เราเดิน<br />

เข้าไปในป่า ในสวน เราไม่รู้ว่าอะไรกินได้กินไม่ได้เราไม่รู้จัก<br />

ต้นไม้ ปลูกต้นไม้ไม่เป็น เรากลายเป็นคนมีเงินแต่ไม่มีความรู้<br />

ทุกวันนี้เรารู้ทุกเรื่องแต่เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ปู่ย่า<br />

ตายาย บรรพบุรุษของเรา เขารู้ในสิ่งที่มนุษย์ควรจะรู้และ<br />

ต้องรู้<br />

: แต่ถ้าเราออกแบบบ้านตามชุดความรู้<br />

พื้นถิ่น งานก็ไม่มีอัตลักษณ์ของผู้ออกแบบเลยสิครับ<br />

ธนญชัย : คำว่าอัตลักษณ์ว่ากันตามตรงมันคือ คำว่า<br />

อัตตาและรูปลักษณ์ มันคือรูปฟอร์มของอัตตา อัตตาก็คือ<br />

ตัวกูของกู กูเป็นศูนย์กลาง กูเก่ง เมื่อไหร่ที่เรายึดมั่นในตัว<br />

กูของกูเราจะไม่เรียนรู้คนอื่นสิ่งอื่นเราจะโง่ลง ดังนั้น สำหรับผม<br />

อัตลักษณ์ในงานออกแบบไม่สำคัญ แต่กระบวนการเรียนรู้<br />

จากการทำงานสำคัญกว่า งานเราจะเป็นอะไรก็ได้เป็นแบบไหน<br />

ก็ได้ ที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้น<br />

ตัวอย่างเช่น กาแล ที่เราบอกว่ามันเป็นอัตลักษณ์ของ<br />

บ้านทางเหนือ ถ้าเราสืบค้นประวัติศาสตร์ก็พบว่าจริงๆ มัน<br />

คือเครื่องหมายที่พม่าเขาบังคับให้เราทำสัญลักษณ์ไว้ เพื่อ<br />

บ่งบอกว่าเรายอมจำนนต่อการเป็นเมืองขึ้น และอาจจะมี<br />

เหตุผลอื่นๆ อีก ทั้งหมดเป็นเรื่องตัวกูของกู เป็นเรื่องความ<br />

อยาก เป็นเรื่องอำนาจ แต่ไม่ใช่เหตุผลของความจำเป็นใน<br />

เชิงโครงสร้างของหลังคา แต่ลักษณะเฉพาะที่มาจากวิถีเช่น<br />

หลังคาจั่วระบายน้ำได้ดี เพราะประเทศไทยมีฝนตกชุก<br />

เรือนไทยเป็นเรือนยกสูง เพราะมีน้ำมากป้องกันน้ำท่วม<br />

ชายคาต้องยื่นมากๆ เพื ่อกันน้ำฝนให้ตัวบ้านร่ม เพราะ<br />

ประเทศเราแดดจัด หรือพื้นที่บริเวณใต้หลังคาเหมาะกับ<br />

การระบายอากาศ ฝาไม้ปะกนที่เกิดจากนำเศษไม้จากพื้น<br />

มาต่อกันขึ้นให้เป็นผนัง เพื่อประหยัดไม้ ไหนจะช่องแมว<br />

ลอด ชาน บ่อน้ำหน้าบ้าน ลาน เดิ่น โคก อื่นๆ อีกมากมาย<br />

ที่เราต้องศึกษาถึงเหตุผลที่คนโบราณทำขึ้นมาจนเป็นวิถี<br />

อย่าลืมว่าบรรพบุรุษเรามีชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุด<br />

จึงเข้าใจภูมิอากาศ ธรรมชาติและชีวิตได้ดีกว่าเรา จะเป็น<br />

เรื่องที่น่าเสียดายมาก ถ้าเราเอาความชอบส่วนตัวและ<br />

ความรู้ที่เรียนมาในระยะเวลาสั้นๆ น้อยนิด มาตัดสิน ดูถูก<br />

และทิ้งขว้างทรัพย์สมบัติอันมีค่าทางภูมิปัญญานับพันปีนี้<br />

ให้หายไปจากแผ่นดิน<br />

: ขอย้อนกลับมาถามเรื่อง “ความเป็น<br />

อยู่ที่ดีคือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ” แนวคิดนี้คือสาเหตุ<br />

ที่คุณเริ่มต้นปลูกป่าใช่ไหมครับ<br />

ธนญชัย : ใช่ครับ ผมเชื่อ ผมเลยทำ เมื่อทำผมจึงรู้ว่าดี<br />

ป่า คือที่สุดของการอยู่ร่วมกันของชีวิต มนุษย์ก็คือสิ่งมีชีวิต<br />

ชนิดหนึ่งที่ต้องมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในธรรมชาติ<br />

: เห็นบ้านสร้างใหม่ของคุณก็แวดล้อม<br />

ไปด้วยสวนป่า บ้านคุณจะติดแอร์หรือเปล่าครับ<br />

ธนญชัย : คิดว่าจะไม่ติด เปิดพัดลมเอา มียุงก็กางมุ้ง<br />

เดี๋ยวรอต้นไม้โต หนาครึ้ม มันก็จะเย็นเอง (ยิ้ม)<br />

: ไม่กลัวยุง กลัวงู กลัวตะขาบบ้างเหรอครับ<br />

ความปลอดภัยในชีวิตถือเป็นสัจจะของการอยู่อาศัย<br />

นะครับ<br />

ธนญชัย : ผมไม่กลัวยุง แต่งูยังกลัวอยู่นิดๆ แต่จะ<br />

พัฒนาตัวเองให้ไม่กลัว ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหา แต่<br />

ผมเองต่างหากที่มีปัญหา ผมต้องปรับตัวและศึกษาให้อยู่<br />

ร่วมกับสัตว์เหล่านี้ให้ได้ ผมสังเกตว่าเรากลัวเพราะเราไม่รู้<br />

ไม่ศึกษาให้เข้าใจ เรากลัวยุง กลัวงู กลัวโน่นกลัวนี่ไปหมด<br />

แต่สมัยก่อนเวลามีปัญหากับธรรมชาติ ชาวบ้านจะมีการ<br />

ศึกษาปัญหา เช่น “กลัวยุง” ยุงคืออะไร ยุงคือสิ่งมีชีวิตชนิด<br />

หนึ่ง อาศัยอยู่ในน้ำขัง หากินในช่วงหนึ่งทุ่มถึงสองทุ่ม แล้ว<br />

มันก็ไป เฮ้ย เรารู้จักยุงแล้วนี่เราก็เปิดพัดลม เผาตะไคร้หอม<br />

ไล่มัน น้ำขังก็เทออก ไม่ก็เลี้ยงปลาหางนกยูง ถ้าลำบากนัก<br />

ก็อาบน้ำเข้ามุ้งนอนไปเลย<br />

“กลัวงู” งูคืออะไร งูคือสิ ่งมีชีวิตที่รับสัมผัสการสั่น<br />

สะเทือนได้เร็ว ถ้าเราเดินย่ำแรงๆ ให้งูรับรู้ได้มันก็หนีไป คือ<br />

ก่อนที่จะกลัว อยากให้เรียนรู้มันเสียก่อนไม่ใช่สักแต่จะฆ่ามัน<br />

ถ้ากลัวยุง กลัวงู มันมีป่าไม่ได้หรอก เพราะป่ามันต้องมีสิ่ง<br />

เหล่านี้ฉะนั้นถ้าเราศึกษาก่อน ศึกษาแล้วเราก็จะรู้เมื่อรู้แล้ว<br />

เราจะกลัวน้อยลง พอกลัวน้อยลง ก็มีความมั่นคงในจิตใจก็เกิด<br />

ความสุข<br />

: บ้านหลังนี้จะโดนแซวไหมว่า ไม่ศิวิไลซ์<br />

เอาซะเลย<br />

ธนญชัย : เราก็ต้องถามว่าศิวิไลซ์คืออะไรคำว่า “Civili -<br />

zation” Civic หมายถึง เมือง Civilization คือสภาวะแห่ง<br />

ความเป็นเมือง ถ้าบอกว่าบ้านหลังนี้ไม่มีสภาวะแห่งความ<br />

เป็นเมือง... ก็ถูกต้องแล้ว (ยิ้ม)<br />

: แต่คุณจะให้คนที่เกิดและโตในเมือง<br />

ไปอยู ่แบบป่าเหมือนคุณ ใครก็ต้องบอกว่าเขาทำไม่ได้<br />

ธนญชัย : ผมอยากจะบอกว่า ขอให้เรามองตัวเองให้ดี<br />

มองให้ละเอียด มองมือ มองแขน มองขา มองขนตา มอง<br />

ขนคิ้ว ศึกษาตัวเราเองให้ถ่องแท้ แล้วเราจะพบว่า เราเคย<br />

เป็นลิงมาก่อน มีมือไว้จับ มีเล็บไว้แกะแคะ มีกะโหลกไว้<br />

ปกป้องสมอง เราวิวัฒนาการมาโดยธรรมชาติมาหลายล้านปี<br />

แต่เรากลับบอกตัวเองด้วยประวัติศาสตร์อันสั้นเหลือเกิน<br />

เพียงแค่ชั่วอายุของเรา ว่าเราทำแบบนั้นแบบนี้ไม่ได้แสดงว่า<br />

เราเองมองตัวเองได้ไม่ลึกพอ เราสร้างข้อจำกัดให้ตัวเรา<br />

ด้วยประวัติศาสตร์สั้นๆ<br />

: คุณเรียนรู้อะไรบ้างจากการปลูกป่า<br />

ธนญชัย : เรียนรู้สัจจะของป่า คือ ต้องปล่อยให้เขา<br />

จัดการตัวเอง เรานำเขามาปลูกได้เราเรียงเขาไปใกล้ๆ กันได้<br />

แต่สุดท้ายแล้วเขาจะจัดการตัวเอง มันมีกระบวนการพึ่งพา<br />

อาศัยที่ซับซ้อนแล้วซับซ้อนอีก มีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เรา<br />

ต้องเฝ้าสังเกตทุกวัน เพราะฉะนั้น เมื่อผมอยู่กับป่าแล้ว ป่า<br />

ทำให้ผมรู้อะไรมากขึ้น พระพุทธเจ้าอยู่ในป่า ท่านเข้าใจ<br />

ความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงก็จากป่า ท่านไม่ได้ตรัสรู้<br />

ในพระราชวัง ทุกอย่างเกิดขึ้นใต้ต้นไม้ป่าต้องมีอะไรดีแน่ๆ<br />

- 32 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


เวลาผมอยู่กับป่า ผมไม่กล้าพูดว่าผมสร้างท่านขึ้นมา<br />

ผมพูดได้แค่เพียงว่า ช่วยผมหน่อย ช่วยบอกและสอนผม<br />

ช่วยทำให้ผมมีความรู้หน่อยเถอะ เพื่อที่ผมจะได้นำความรู้นี้<br />

มาช่วยท่านอีก นี่คือสิ่งที่ผมพูดกับป่า<br />

: แล้วในแง่ของการปลูกคนล่ะครับ คุณมี<br />

วิธีการพัฒนาคนยังไงบ้าง<br />

ธนญชัย : ต้นไม้ที่ขึ้นดีที่สุด เราต้องดูแลเขาแต่พอดี<br />

ต้องปล่อยให้เขาเจอปัญหา เจอลมบ้าง เขาต้องเจอรากคลอน<br />

บ้าง ต้องเจอใครบังแสงเขาบ้าง เมื่อไหร่ก็ตามที่ีใครบังแสง<br />

เขาก็ต้องพยายามกระเสือกกระสนเพื่อที่จะรับแสงแดดให้ได้<br />

แล้วสภาวะนั้นเขาเรียกว่าท ำให้มีพลังชีวิต ทำให้เขาแข็งแกร่ง<br />

ขึ้น เพราะฉะนั้นการปลูกคนหรือการให้ความคิดคน จะต้อง<br />

ให้คนนั้นนำความคิดนั้นไปขบคิด แล้วต้องปล่อยให้เขาไป<br />

เผชิญหน้ากับความทุกข์และความยากลำบาก เรื่องนี้ไม่มี<br />

ทางลัด เพราะเมื่อคนเจอปัญหาจะเกิดพลังชีวิต และเกิด<br />

กระบวนการพัฒนา และเกิดปัญญา<br />

แต่เรื่องที ่สำคัญอีกเรื่องคือ ไม้แต่ละต้น คนแต่ละคน<br />

ก็ไม่เหมือนกัน มีความถนัดความชอบไม่เหมือนกัน เราเอา<br />

ต้นไม้ภูเขาไปปลูกริมน้ำไม่ได้ เขาถูกออกแบบมาไม่<br />

เหมือนกัน ถ้าเราศึกษาและเข้าใจเขา เราจะรู้ว่าเขาอยู่ตรงไหน<br />

จะพัฒนาได้เร็วที่สุด นี่คือสิ่งที่เราจะช่วยเขาได้ดีที่สุดให้เขา<br />

มีพื้นที่ของเขา ให้เขาพัฒนาตัวเองในวิถีของเขา จนพึ่งพา<br />

ตัวเองได้และสามารถออกดอกออกผล เผื่อแผ่ให้กับผู้อื่น<br />

Every book says it needs 2 important things to see<br />

the truth. The first is open mind and the second is a<br />

mirror. We have to have open mind because the truth<br />

may not be like what we think nor expect. If we don’t<br />

open our mind, the truth can’t reach us. The clearer<br />

mirror we use, the more clearly we can see the truth.<br />

had talked to Mr.Tor – Thanonchai Sornsriwichai,<br />

a world class director and Cannes Lion winner, about<br />

the real meaning of Core Value, architects, and self<br />

development.<br />

: The word “Core Value” is used more<br />

often nowadays, what does it mean in your opinion?<br />

Thanonchai : (Thinking) “I think it means “the real<br />

value” or “the truth”. No matter how long the time passes,<br />

it will always be the truth.”<br />

: What is the significance of “Core<br />

Value” or “the truth”?<br />

Thanonchai : The core value is the truth. When we<br />

understand the core value of something, we will know<br />

what not the matter. We will be able to cut off the fake<br />

easily because we see the core, the beauty, and the<br />

truth inside. Such as the core value of the locomotion,<br />

it is moving from one place to another, so that we don’t<br />

really need a car, we can walk, crawl, roll, creep, hop,<br />

etc. The communication, for example, there’re not just phone<br />

or Line application. There are many ways to get a person<br />

to understand what we want to communicate. Talking,<br />

looking at each other, or eye-contacting are communication.<br />

They might be better because talking face to<br />

face makes us know if that person is speaking the truth<br />

or not, feeling it or not. Human beings have sense in soul<br />

and feeling. I think this kind of communication is very<br />

sensitive and much more useful.<br />

: How can we understand what is the<br />

core value of that thing?<br />

Thanonchai : I always find the way to answer that<br />

question. We need to focus on the right and useful<br />

questions. Train to ask many questions that will bring you<br />

to understand the core of any topic. However, we can’t<br />

just do questioning, we also have to practice, prove, and<br />

confront the problems, find the ways and the reasons.<br />

The process of finding reasons will bring us to the deeper<br />

sources. The more we find the deeper we go, deep to<br />

the core, then we will get the right solution. The key is not<br />

to be exhausted. Questioning and practicing until it’s in<br />

your daily life. For example, if I was sick, I didn’t take<br />

medicines because I found out medicines are not the<br />

solution. My friend suggested me drink the urine so I<br />

went on studying until I found a video of doctor Kheaw.<br />

Doctor Kheaw’s explanation made it easy to understand.<br />

He said that in the Tripitaka – Buddhist Scriptures, drinking<br />

urine is curing like taking serum or vaccine. So I tried<br />

drinking urine. While trying, I felt my body was getting<br />

better myself. I tried to walk instead of driving a car. I<br />

had walked around Bangkok for a year, and I found out<br />

that walking can make me strong, make me see and<br />

understand life and other people better. So, you have<br />

to prove, feel, and consider it yourself to see and to<br />

understand the core value. I always warn myself that I<br />

am an unenlightened, weak and dumb. No matter what<br />

people say about me, I know that I still need more<br />

development. The maids, guards, or workmen know<br />

something better than I, even they had finished just<br />

Grade 4.<br />

- 33 -<br />

The most important thing is to review ourselves and<br />

our knowledge all the time. We have to question on<br />

those beliefs. Don’t forget that we have a short life. Once<br />

we were born, we were taught and planted some ideas.<br />

We live among the environment of the society, popularity,<br />

which we have to admit that many things are getting<br />

worse. We have to think back how we were in former<br />

time and how we are now. If you believe that the main<br />

education system we have now is good, I would like to<br />

ask you why the world is getting worse, why the morality<br />

and ethics are deteriorating.<br />

: Let’s use the house designing for an<br />

example, what is the core value of designing a house?<br />

Thanonchai : We have to start at the question<br />

“What is a house?”. A house means a place to live, there’s<br />

a “place” and there’s “living”, and the next question is how<br />

they live. People live by eating, breathing, touching, etc.<br />

We are talking about senses, 6 sense doors (Ayatana 6).<br />

A good residence must help the dwellers to eat well, to<br />

have fresh air to breath, to see green trees for relaxation,<br />

to have good health. So when we reach this, we should<br />

get back to question how to make a good dwelling for<br />

those requirements.<br />

Nowadays we say “we design the house to serve<br />

the owner’s requirement”. What does the word “serve”<br />

mean? “Serve” means answer, fulfill, and satisfy the<br />

need of the owner. Is that need good? It’s up to the<br />

architect’s choices, to build a good dwelling or a place<br />

that “serves” the owner.<br />

: But the owners want their houses to<br />

look cool, like those western awarded houses in magazines,<br />

if the architects don’t do that, he will not get the job.<br />

Thanonchai : Sometimes the owners or our customers<br />

stuck in popularity, in the fascination, in the forms and<br />

lines, in the delusion of ignorance. They don’t know that<br />

those forms might make them live unhappily. They just<br />

have a beautiful house to show off, collect many expensive<br />

things, many rooms, many electrical appliances, a lot of<br />

assets. In fact, all of those make us nervous, make us<br />

check on maids, make us need burglar alarm, guards,<br />

need to check the close circuit TV on cell phones many<br />

times a day. Even we know that we all will die, we can’t<br />

take anything with us, but we allow to make our life time<br />

filled with stress. At this point, someone might say “I’m<br />

rich, it’s not your business.”, then I have to apologize<br />

but I want those rich men to think a bit, for their better<br />

sustainable lives.<br />

If I were an architect, I will study hard and smart<br />

to make the best dwelling. What “the best job” means?<br />

It depends on what we think the core value of our work<br />

is. If our highest value is the acceptance from the westerns,<br />

we should design a fantastic house, like those in magazines.<br />

If you want to build a house that can make the dwellers<br />

live the best lives, you have to study, talk to the owner,<br />

spend time to make him believe and build the best<br />

house for his own life. This can’t give you any awards,<br />

any fame, but the best benefit you will get is your<br />

knowledge. You will know that paving the floor with<br />

granite stones might look great, but it has hard surface,<br />

is electricity conductor and can cause cancer. A house<br />

with glass walls will need to be all air-conditioned, won’t<br />

let your skin to be adjusted to the real air, you can get<br />

sick often and can get liver cancer. You will start to<br />

design a house without a television, no living room,<br />

because sitting for a long time will make the house<br />

owner’s muscles weak. You will start to tell the owner<br />

to take off some ornamental plants, and bring in some<br />

eatable plants. The owner will plant his own vegetables,<br />

do some exercise, being stronger. They won’t waste the<br />

space for a fitness room, because they can exercise<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


while gardening. The quality of owner’s life will be better.<br />

They will look good and have longer life. The more you<br />

study about good living that relates to dwelling, you will<br />

understand the world, the water, the air, the trees, and<br />

human beings. You will understand life and get knowledge<br />

tremendously. You will develop your wisdom.<br />

However, if you just want to design an outstanding house<br />

with good forms and lines for photographing and don’t<br />

care about the core value of living, so it is fine. We just<br />

value things differently.<br />

The most important thing in my attitude about<br />

working is the more we do, the better we are, the closer<br />

we get to the core value. If the more you work, the<br />

richer you get, that doesn’t mean you have more wisdom.<br />

In our country, there are many architects who have<br />

knowledge, high wisdom, and didn’t stop studying. These<br />

architects have vision of a youngster, love to learn, and<br />

have no ego, willing to listen, humble and friendly, care<br />

about people and nature, care about the world that is<br />

destroying the nature with acceleration. These architects<br />

will save natural resource and use it worthily. Because<br />

architect is an important career, their duty is to take<br />

responsibility. These guys respect themselves, their own<br />

history, ancestors’ intellectual. They study cultures,<br />

people, society, earth, climate, nature in Thailand and<br />

the world deeply, right to the core. They will not use<br />

foreign pattern or culture without consideration. They<br />

don’t look at Thai characteristic just as an identity but<br />

they have wisdom to look through into the cause of the<br />

identity. When these guys understood the sources<br />

clearly, they can apply their wisdom to create appropriate<br />

architecture for the living. They grow slowly but with<br />

solid base. They might not be popular today but I believe<br />

they will be world famous in the future. In the future<br />

world, culture and intellectual will worth the most.<br />

Whenever they are popular and start to be conceited,<br />

obsessed with the money or the fame, then their<br />

development will stop and degenerate eventually.<br />

: And what is the best living?<br />

Thanonchai : I believe the best living is living with<br />

the nature. Nowadays we try to separate human from<br />

the nature by our new shallow knowledge. We will die,<br />

we will collapse, because we are lost in our own knowledge<br />

without learning our nature deeply. An example is fashion<br />

of architecture that changes every year. You will see the<br />

award winner architecture in each year has changed but<br />

the dwellings which according to the nature don’t change<br />

much. The example is local architecture, which is the<br />

knowledge from the good living, healthy and sustainable.<br />

We will see that local architecture has changed slightly<br />

in past centuries. If there are some changes, they are<br />

material change or minor change. Those local people<br />

don’t use the word “romantic” or “aesthetic”, but they<br />

are happy and live closer to the core value than townsmen.<br />

: That means the knowledge of local<br />

men and of townsmen are totally different.<br />

Thanonchai : The local knowledge has been inherited<br />

for very long time, might be over 2,000-3,000 years, but<br />

the modern knowledge is not over 200-300 years old.<br />

If there’s a tree full of fruits, townsmen will go pick some<br />

to eat, but the local won’t do that, because they know<br />

those fruits aren’t eatable. The local learn from the birds,<br />

birds are hungry and want to eat the fruit, but this tree<br />

still has its fruit all over, that means there must be<br />

something wrong. Why is there no fish here? The water<br />

there might be toxic, the local won’t drink it. These are<br />

knowledge about living and life. The knowledge we study<br />

is not about life, we study international law, marketing, etc.<br />

After we graduate, we work in companies, to get salary,<br />

and spend on food. We are in such a detouring system, and<br />

this system has just happened for not over 300 years.<br />

The more we study, the more foolish and weaker we<br />

are. If we walk into a forest or a garden, we don’t know<br />

what is eatable, what is not. We don’t know any trees,<br />

can’t grow a tree. We have money but no knowledge.<br />

Nowadays we know what we don’t need to know but<br />

our ancestors knew what human beings should know.<br />

: But if we design by local knowledge,<br />

then our design won’t have the designer’s identity.<br />

Thanonchai : The identity is important only for the<br />

judges (in design competition). The judges will check if<br />

your work has its identity, if it deserves the award. However,<br />

designing to please those judges can’t make us reach<br />

the core value of the work. If our lives depend on awards,<br />

on someone’s judgments, I think that wastes our time.<br />

We should spend our time on developing ideas, more<br />

studying, more basic knowledge, and higher wisdom.<br />

One day we will realize our identity and our ego are not<br />

important, but reaching the core value is the most<br />

important.<br />

The identity, actually, it is about self and form, it’s<br />

the form of one’s self. The example is “Galae”, which we<br />

call it the identity of Northern houses. If we search in<br />

the history, we will find out it is a Burmese colony sign<br />

marked on houses, not a necessary roof structure. There<br />

are forms that follow functions, such as the gable roof to<br />

drain rain water because it’s rainy in Thailand, or elevated<br />

detached houses to avoid floods, or long eaves to prevent<br />

rain splash and for shading because our country is<br />

sunny, or the space under the gable roof that is good<br />

ventilation, or wooden partitions made from small pieces<br />

of wood to save the wood, as well as the cat crotch,<br />

terrace, front pond, patio, etc. We need to study why<br />

the primitive men created them to be architectural<br />

tradition. Don’t forget that our ancestors lived near the<br />

nature, they understood the weather, the nature and life<br />

better than us. It will be shameful if we use shallow<br />

personal style and our tiny knowledge we learned to<br />

judge or ignore our thousands years old worthy intellectual<br />

and let them disappear from our country.<br />

: Let’s get back to the concept of<br />

“good living is to live with nature”, is it the reason why<br />

you started to cultivate a forest?<br />

Thanonchai : The Forest is the entire organisms,<br />

the ultimate of coexisting of lives. Human being is just<br />

one kind of organisms who participates in dealing with<br />

the nature with one condition, to coexist with the nature.<br />

“To coexist” means people must not be denied from the<br />

nature. The reforestation must include way of human’s life.<br />

: Your new home is built with the<br />

forest park surrounding. Will it be air conditioned?<br />

Thanonchai : I don’t think so, I will use fans. If there<br />

are mosquitoes, I’ll use the mosquito net. And, I know<br />

if I wait a bit longer, when the trees grow up bigger and<br />

provide shade, it will be cool.<br />

: Aren’t you afraid of mosquitoes,<br />

snakes, or centipedes? Safety is the core value of<br />

living too, isn’t it?<br />

Thanonchai : I’m not afraid of mosquitoes but a<br />

little scared of snakes, but I’m trying to get rid of my<br />

fear. I don’t think they are problems, but I myself have<br />

to adapt and study to live with these animals. They made<br />

me smarter though. I noticed that we fear because we<br />

didn’t study about that thing enough. Formerly when<br />

people had trouble with nature, they would stay with<br />

the problems and study them, the mosquitoes, as an<br />

instance. What are mosquitoes? They are just a living<br />

thing, they live in the water when they are born, and<br />

they come out in the late evenings. That’s it! We know<br />

mosquitoes! So we just use fans to blow them away, use<br />

smelly lemongrass, get rid of water ditches or get some<br />

guppy fish, and if those do not work then we sleep in<br />

mosquito nets.<br />

As for being afraid of snakes, snakes are a living<br />

thing that can sense vibrations very fast. If we stomp,<br />

snakes will feel it and go away. We got to know them<br />

before being afraid of them. Killing them is not appropriate.<br />

We cannot help the forest grow if we are afraid<br />

of those animals; they are needed to fulfill the forest.<br />

We can reduce our fear by studying, and when we fear<br />

less, we will feel more secure and be happy.<br />

- 34 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


“ฝาไหล ภูมิปัญญาการก่อสร้างของคนไทยแต่โบราณที่คุณต่อ-ธนัญชัย นำมาใช้ในส่วนประกอบของบ้าน”<br />

: Will this house be made fun of for<br />

not being civilized?<br />

Thanonchai : We have to ask what “civilization” is.<br />

“Civil” means city so civilization means being a city. If<br />

people say this house doesn’t have the city’s character<br />

then that is correct. (smiles)<br />

: But you expect people who were<br />

born and raised in the city move to live in the forest<br />

like you, any of them would say it’s impossible.<br />

Thanonchai : I’d like to tell you to consider yourself,<br />

examine yourself, hands, arms, legs, eyelashes, eyebrows,<br />

examine them well. Then you will realize that you had<br />

been an ape, a living thing developed from apes, from<br />

the nature. You have hands to grab, nails to pick, skulls<br />

to protect the brain, you had been developed by the<br />

nature for millions years. But you are telling yourself,<br />

with such a short history, short as your lifetime, twentythirty-forty<br />

years, that you can’t do this. It means you<br />

can’t see your soul deep enough, you dictate your future<br />

with only your short history.<br />

: What did you learn from forests<br />

cultivating ?<br />

Thanonchai : I learned the core value of the forest,<br />

that is to let it grow itself. We can plant, arrange but it<br />

will adjust and manage itself at last. There’re very complicated<br />

dependency processes, many changes so that<br />

we have to observe every day. When I live with the<br />

forest, it made me smarter, it gave me wisdom. The Lord<br />

Buddha lived in the woods, he understood the continuity<br />

and the changes from the woods, he didn’t enlighten in<br />

the palace, every thing happened under trees. The forest<br />

must have something special, that’s my first re-mark.<br />

When we live with the forest, I don’t dare say I built<br />

him. When I am in the woods, I would just ask him to<br />

help. “Help teach me to help you, please.” that’s what I<br />

said to the forest.<br />

: About humans cultivating, how do you<br />

develop people?<br />

Thanonchai : The tree that we take care of properly<br />

grows best. We have to let him face the problems, wind,<br />

loose roots, blocked sunlight. When he was blocked, he<br />

would try hard to get the light, and that situation can<br />

give him energy, make him stronger. The humans cultivating<br />

is giving them ideas to consider, and let them<br />

confront the difficulty. There’s no detour for this, people<br />

have to face the problems to gain energy, to develop,<br />

and to have their wisdom.<br />

Another important thing is each tree, each man, is<br />

different. Each of them has different talent, likes different<br />

things. We can’t plant mountain trees near water, they<br />

were designed for different purpose. If we study and<br />

understand them, we will know where they should be<br />

and how to develop fastest. The best to help them is<br />

to give them a space, let them develop themself by<br />

thier own way, until they can stand on their feet then<br />

grow and give to others.<br />

หลังการบันทึกบทสนทนาจบลง แต่เรายังคุย “คุณต่อ-ธนญชัย” อีกหลายเรื่อง<br />

และนี่คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากการพูดคุยนอกรอบ<br />

คุณต่อเน้นว่า กระบวนการสังเกตเป็นรากฐานของการเกิดปัญญา<br />

หลายคนชอบบอกคุณต่อว่า วัยของเขาโอเคแล้ว ต้องนิ่งแล้ว ไม่ต้องทำอะไรแล้ว แต่เขารู้สึกว่าการนิ่งทำให้มนุษย์ตาย ทำให้<br />

คนเราหยุดพัฒนา มนุษย์ต้องแก้ปัญหา เวลาเจอปัญหาจะมีพลังงานที่ขับตัวเองไปข้างหน้า<br />

คุณต่อแนะนำว่า ให้พึงระวังกิจกรรม “อยู่หมัด” ถ้างานนั้นทำได้ง่ายๆ เราต้องหนี ต้องไปในโซนที่เราไม่ถนัด แล้วรู้ไหมว่า<br />

พอเราไปโซนใหม่ เราสามารถเอาความรู้เดิมมาใช้ได้ ความรู้ประยุกต์ได้ตลอด คือไม่ได้ทิ้งความรู้เดิม มีแต่ได้ความรู้ใหม่<br />

เพิ่มขึ้นตลอด ถ้าเราเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง<br />

คำถามที่เขาเจอบ่อย คือ เราต้องทำยังไงถึงจะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง เขาตอบว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลง<br />

ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงทำให้เราดูเป็นตัวอย่างมาตลอดชีวิต คือ ต้องค่อยๆ ทำ ต้องมีความอดทน และที่สำคัญ<br />

ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงคือ ต้องไม่เลิกทำ ต้องอึด แล้วผลลัพธ์จะเกิดขึ้นเอง<br />

เขายังเน้นอีกว่า ถ้าจะทำการเปลี่ยนแปลง ขอบอกเลยว่าอย่าท้อ อย่าไปหวังว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นฉับพลันทันที<br />

ให้ค่อยๆ ทำไป แล้วพอเห็นเริ่มมีการเปลี่ยนนิดๆ จะมีความปิติเกิดขึ้นในใจ<br />

ถามถึงแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คุณต่อตอบว่าดูคลิปพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 บ่อยมาก เพราะยิ่งดู<br />

ยิ่งทำให้รู้ว่าพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถขนาดไหน ทำให้ตระหนักรู้ความกระจ้อยร่อยของตัวเอง ทำให้เห็นว่าเรายังมี<br />

ช่องว่างในการพัฒนาได้อีกไม่มีวันจบสิ้น<br />

แต่ก่อนเขาบ้าเรื่องเฟอร์นิเจอร์มาก ไปแทบทุกร้านที่มีของเจ๋งๆ ซื้อแหลก ซื้อแล้วไปฝากไว้บ้านคนนู้นคนนี้แต่ทุกวันนี้ไม่มี<br />

ความต้องการเรื่องนี้เหลือเลย อยากขายออกให้หมด เพื่อเอาเงินมาทำทุนในการทำตามคำสอนของพระองค์ท่าน คือ<br />

บันได 9 ขั้นสู่เศรษฐกิจพอเพียง เขาเชื่อว่านี่คือปรัชญาที่เหมาะสมกับยุคสมัยอย่างแท้จริง และจะลองทุ่มเททั้งชีวิต<br />

ทำตามคำสอนพระองค์ท่านอย่างจริงจัง<br />

After the recorded conversation, we continued talking with Mr.Tor Thanonchai.<br />

These are some tips from off record talking.<br />

Mr.Tor confirms that the process of observation is the base for the wisdom.<br />

Someone told Mr.Tor that his age is OK, it’s age of being still, no need to do anything more. However,<br />

he thinks being still can kill humans. It can stop our development. People have to solve problems.<br />

They will have energy to push themselves forward when they have problems.<br />

Mr.Tor suggested aware of “under control” events. If those works are too easy, we have to run away,<br />

out of our comfort zone. When we reach the new zone, we still can use and apply our existing knowledge.<br />

We didn’t discard the old knowledge but gain more new wisdom if we go for the change.<br />

The question Mr.Tor was asked very often is “How can we change?” He usually answers, “His Majesty<br />

King RAMA IX had showed us the process of changing for all of his life.” The key is being patient, don’t<br />

quit, be tough, and the result will happen.<br />

Mr.Tor also said not to expect an immediate change, changing should go slowly and continuously, don’t<br />

give up. When you begin to see a little change, you will be happy.<br />

About his role model, Mr.Tor said he watched the royal duties video of his majesty King RAMA IX very<br />

often. The more he watches, the more he knows how brilliant our beloved king was. That makes him<br />

realize how tiny he is and see many more channels for eternity development.<br />

Mr.Tor used to be crazy about the furniture. He bought a lot from almost every furniture shop. But<br />

today he doesn’t have any needs about that, he wanted to sell off and spend the money on funding<br />

the project to follow his majesty royal guidance – Nine steps to reach sufficiency economy. He believes<br />

this is the perfect philosophy for the era, and he will dedicate his life to follow the royal guidance.<br />

- 35 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


C4<br />

นพพล พิสุทธอานนท์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

SPECIAL STORY<br />

<strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards 2017<br />

ประกาศผลรางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ “บ้าน บ้าน”<br />

รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ เป็นรางวัลที่ให้กับผลงาน<br />

การออกแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกที่มีอายุไม่เกิน45 ปี<br />

เพื่อเป็นการยกย่องเชิญชูเกียรติสถาปนิกรุ่นใหม่และเป็น<br />

เวทีแสดงผลงานที่แตกต่างให้เป็นที่รู้จักเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน<br />

ให้สถาปนิกมีกำลังใจในการทำงานต่อไป โดยในปีนี้เพื่อให้<br />

ตอบรับกับธีมหลักของงานสถาปนิก’60 คือ “บ้าน บ้าน”<br />

จึงกำหนดประเภทของอาคารเฉพาะบ้านเท่านั้น<br />

การตัดสินรางวัลแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน การตัดสินรอบแรก<br />

จะเป็นการคัดเลือกผลงานจากบอร์ดที่ผู้เข้าประกวดส่งเข้ามา<br />

โดยมีกรรมการรับเชิญ 3 ท่าน ได้แก่ผศ.บุญเสริม เปรมธาดา<br />

คุณชาติเฉลิม เกลียวปฏินนท์ และคุณบุญเลิศ เหมวิจิตร<br />

พันธ์ ทั้งนี้มีผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกจำนวน 8 ผลงาน<br />

โดยผลงานของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบนี้ได้ถูกจัดแสดง<br />

ในงานสถาปนิก’60 ในรูปแบบของบอร์ดและโมเดล<br />

การตัดสินในรอบที่สองเป็นการเยี่ยมชมสถานที่จริง<br />

และสัมภาษณ์เจ้าของบ้านโดยมีสถาปนิกเป็นผู้นำชม โดย<br />

คณะกรรมการคัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย<br />

จำนวน 5 ผลงาน<br />

การตัดสินในรอบสุดท้ายเป็นการนำเสนอผลงานบน<br />

เวทีแบบเปิดให้บุคคลภายนอกและผู้สนใจสามารถเข้าร่วมฟัง<br />

การตัดสินได้ ในรอบนี้นอกเหนือจากกรรมการหลัก 3 ท่าน<br />

แล้ว ยังมีกรรมการชาวต่างชาติเข้าร่วมการตัดสินอีก 2 ท่าน<br />

คือ Mr.Chelvadurai Anjalendran และ Mr.Shingo Masuda<br />

The <strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards are given<br />

to the architecture designs by young architects under<br />

the age of 45, to commend new generation architects.<br />

This will also provide a venue to exhibit variety of works<br />

to the public in order to motivate and encourage them<br />

further. This year, in recognition of the main theme of<br />

the Architect Expo’17-Baan Baan, the competition<br />

category is limited to “houses” only.<br />

The judging process comprises 3 phases. In the<br />

qualifying phase, judges chose from all the competitors’<br />

presentation boards. The three guest judges were Prof.<br />

Boonserm Premthada, Mr. Chartchalerm Kleawpatinont<br />

and Mr. Boonlert Hemwijitphan. There were 8 qualified<br />

competitors and their works were displayed in the<br />

Architect Expo’17 on boards and models.<br />

In the final round, the competitors presented their<br />

works on public stage, open to outsiders and anyone<br />

interested. In addition to the three main judges, two<br />

foreigner guest judges, Mr.Chelvadurai Anjalendran and<br />

Mr.Shingo Masuda, were invited.<br />

The second phase was visiting the actual sites and<br />

interviewed the houses owners, with the architect<br />

competitors as guides. Five works were chosen to enter<br />

the final round.<br />

- 36 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ผลการตัดสิน<br />

Gold Medal Award<br />

รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ดีเด่น<br />

โครงการบ้านเอกมัย (Eakamai House)<br />

ออกแบบโดย: บริษัท Chat Architects<br />

สถาปนิก: นายฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล<br />

“เนื้อหาของงานมีมุมมองในการตั้งคำถามว่า<br />

สถาปัตยกรรมจะสร้างประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และบริบท<br />

โดยรอบได้อย่างไร และยิ่งโดยเฉพาะแนวคิดที่ผ่านมาของ<br />

การสร้างบ้าน หลายๆ คนมักตีความหมายว่า สร้างบ้าน =<br />

สร้างโลกส่วนตัว ภาพถ่ายขาวดำของบ้านเดี่ยวในซอยแห่ง<br />

หนึ่งที่มีรั้วสูงทอดยาวไปตลอดทั้งซอย เป็นตัวตอบคำถาม<br />

ได้ดีว่า บ้านคือโลกส่วนตัวอย่างไร แต่หากมองย้อนไปใน<br />

อดีต สังคมไทยมีบ้านเรือนไทยที่มีใต้ถุนสูง เอื้อให้เพื่อน<br />

บ้านแวะเข้ามาทักทาย บ้านเรือนไทยที่ติดกับศาลาท่าน้ำ<br />

เอื้อให้เรือมาจอดและพูดคุย ทั้งหมดคือ Public Component<br />

บ้านพักอาศัยมีความเป็นสาธารณะและเอื้อให้กับสังคม<br />

บ้านหลังนี้จึงมีรั้วที่ทำจากบานเฟี้ยมสูงสามารถเปิด<br />

และปิดได้คนธรรมดาอาจคิดว่ารั้วคือปราการกันขโมย แต่<br />

บ้านเอกมัย นำรั้วมาเป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน และเปิดเพื่อ<br />

ให้เจ้าของบ้านได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนบ้าน คนขายยาคูลท์<br />

หรือแม้แต่ซาเล้งที่ขี่ผ่านเข้ามา นั่นคือการใช้สถาปัตยกรรม<br />

ของบ้านเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน และบาน<br />

เฟี้ยมแนวยาวนี้เป็นสัดส่วนที่น่ารักเข้ากับซอยได้ดี”<br />

Project: Ekamai House<br />

Architect: Mr. Chatpong Chuenrudeekamol,<br />

CHAT Architects<br />

“The content of the project is to question how the<br />

architecture can be useful to society, community, and<br />

context around it. Especially the past ideas about building<br />

houses, many people think that to build a house is<br />

to build his private world. A black & white photo of a<br />

single house, with high fence along the Soi, can be the<br />

good explanation how private a house is. But if we look<br />

back in the past, Thai society had Thai traditional elevated<br />

detached houses that invited neighbors to come greeting.<br />

Thai houses near the pier invited travelling boats to stop<br />

by. Those all are the public component showing that a<br />

house can have publicity and support the society.<br />

This house has a high folding fence which can be<br />

opened and closed. People may think the fence is a<br />

shield to protect us from burglars. But Ekamai House<br />

uses the fence as a part of the house. The owner can<br />

open it to talk with neighbors, to buy Yakult, or to talk<br />

to tricycle riders. That’s the design using the house<br />

architecture to help connect people to people, and this<br />

long folding fence fits well with the alley.”<br />

คณะกรรมการตัดสินมีความเห็นต่อผลงานดังนี้<br />

The judges comment :<br />

“<br />

The street house<br />

has a consideration<br />

for its neighborhood<br />

but retains its privacy.<br />

”<br />

สำหรับผู้ได้รับรางวัล สมาคมสถาปนิกสยามฯ จะกราบบังคมทูลขอพระราชทานเข้าเฝ้า<br />

รับพระราชทานกิตติบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโล่<br />

ประกาศเกียรติคุณจารึกพระราชลัญจกร เพื่อนำไปติดตั้งยังโครงการที่ได้รับการคัดเลือก<br />

ต่อไป<br />

ผู้เขียนในฐานะภัณฑารักษ์และกรรมการดำเนินงานเชื่อว่ากระบวนการคัดเลือกรางวัล<br />

สถาปัตยกรรมรุ่นใหม่นี้จะเป็นบรรทัดฐานที่ดีต่อวงการสถาปัตยกรรมของไทย และหวังเป็น<br />

อย่างยิ่งว่าโครงการคัดเลือกผลงานนี้จะมีการด ำเนินการต่อเนื่องทุกๆสองปีตามที่ได้วางแผนเอาไว้<br />

* ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.asa.or.th<br />

For the winners, the <strong>ASA</strong> will humbly request Her Royal Highness Princess Maha<br />

Chakri Sirindhorn to graciously grant an audience and to bestow upon them certificates<br />

of merit, as well as plaques engraved with Her Royal Highness’ Seal, to be mounted at<br />

the winner projects sites later.<br />

As the curator and an executive committee member, I believe that the process of<br />

selecting this <strong>ASA</strong> Emerging Architecture Awards will set a good standard for Thai<br />

architecture practice. I sincerely hope that this project will be continued, every 2 years,<br />

as planned.<br />

*For more information, please click www.asa.or.th<br />

- 37 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


Q & A<br />

HOME PROBLEMS COME WITH RAIN<br />

ฝนมากับปัญหาบ้าน บ้าน<br />

Q : เหม็นกลิ่นท่อระบายน้ำในห้องน้ำ<br />

ทอย่างไรดี<br />

Q : How to manage bad smell from the drainage<br />

in the bathroom?<br />

A : กรณีที่เป็นบ้านเก่าไม่ได้วางระบบท่อกันกลิ่น<br />

ไว้แต่แรก สามารถใช้ตะแกรงกันกลิ่นที่เรียกว่า<br />

Bell Trap ติดตั้งบริเวณท่อระบายน้ำได้<br />

ลักษณะของ Bell Trap เป็นฝาปิดรูปทรง<br />

ระฆังคว่ำที่จะปิดลงไปในน้ำที่หล่อเลี้ยงอยู่บริเวณฝาท่อ<br />

เพื่อป้องกันกลิ่นย้อนกลับขึ้นมา การใช้งานให้ได้ผลต้องมี<br />

น้ำหล่อบริเวณฝาท่ออยู่ตลอดเวลา เวลาระบายน้ำแรงดันน้ำ<br />

จะยกฝาปิดให้ลอยขึ้นให้น้ำไหลผ่านและปิดลงเมื่อสิ้นสุด<br />

การระบาย ทำให้กลิ่นไม่สามารถย้อนกลับขึ้นมาได้แต่การ<br />

ใช้ฝาปิดแบบนี้อาจทำให้ระบายน้ำได้ช้าลง ต้องหมั่น<br />

ทำความสะอาดสิ่งตกค้างบนตะแกรงอย่างสม่ ำเสมอ หากเป็น<br />

การออกแบบสร้างห้องน้ำใหม่ แนะนำให้ใช้ท่อระบายน้ำ<br />

แบบ P-Trap หรือ U-Trap เพื่อป้องกันกลิ่นย้อนกลับได้โดยตรง<br />

A : In case of an old house which hadn’t have<br />

anti-odor-pipe at first, you can use Bell Trap installed<br />

at the floor drain. The bell trap, looks like an upside<br />

down bell, will cover over the water around the floor<br />

drain to prevent the smell from drainage pipe. It needs<br />

to have some water at the lid all the time. When you<br />

drain the water, the water will lift up the lid and let the<br />

water to flow through and the lid will be closed when<br />

the draining finished. But this kind of floor drain can<br />

cause slow draining. You have to clean the floor drain<br />

regularly. For the new houses, P-Trap or U-Trap are<br />

recommended.<br />

Q : กระเบื้องลื่นอันตราย แนะนวิธีการเลือก<br />

กระเบื้องอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน<br />

ต่างๆ ของบ้าน<br />

A : กระเบื้องที่มีขายในบ้านเราส่วนใหญ่แบ่ง<br />

ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือกระเบื้องพื้น กับ<br />

กระเบื้องผนัง โดยกระเบื้องพื้นจะมีความแกร่ง<br />

กว่ากระเบื้องผนังสามารถใช้ปูผนังได้ แต่<br />

กระเบื้องผนังไม่สามารถนำมาใช้ปูพื้นได้ ส่วนพื้นผิวของ<br />

กระเบื้องกันลื่นนั้นออกแบบให้เป็นกระเบื้องสำหรับปูพื้น<br />

เท่านั้น ส่วนใหญ่เราควรใช้กระเบื้องกันลื่นกับบริเวณที่มี<br />

การเปียกน้ำหรือทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ห้องน้ำ ระเบียง<br />

ภายนอกอาคาร ลานกว้างที่ฝนสาดได้ในห้องครัว โรงอาหาร<br />

ที่ต้องมีการทำความสะอาด เนื่องจากความสกปรกจากไขมัน<br />

ต่างๆ ก็ควรต้องใช้กระเบื้องกันลื่นในบริเวณดังกล่าว เพื่อ<br />

ความปลอดภัยด้วย<br />

Q : Dangerous slippery tiles, how to choose tiles<br />

for each function in the house?<br />

A : The tiles that are being sold in our country can<br />

be classified into 2 main types; floor tiles and wall tiles.<br />

The floor tiles are stronger than wall tiles, and can be<br />

tiled on the walls. But wall tiles can’t be used on the<br />

floor. The texture of slip resistant tiles is designed for<br />

floor only. We should use the slip resistant tiles in wet<br />

area such as bathrooms, outdoor terraces, outdoor<br />

patios, kitchens or canteens that are often cleaned off<br />

the dirtiness from oil, for more safety.<br />

Q : ไม่อยากเจองูในชักโครก จะป้องกันสัตว์<br />

อันตรายจากระบบระบายน้ำได้อย่างไร<br />

A 3 : สาเหตุที่งูหรือสัตว์ต่างๆเข้าไปในระบบ<br />

ระบายน้ำได้เนื่องจากในระบบระบายน้ ำภายนอก<br />

อาคารมีช่องว่างตามฝาปิดท่อระบายน้ ำ หรือมี<br />

รอยแตกตามท่อที่ทำให้สัตว์ต่างๆ เข้าไปใน<br />

ระบบระบายน้ำได้อย่างกรณีที่มีงูย้อนเข้าไปโผล่ในชักโครก<br />

เกิดจากการที่บ่อเกรอะหรือบ่อซึมมีรอยแตกบริเวณฝาท่อ<br />

หรือในระบบท่อระบายน้ำ ทำให้มีงูเข้าไปได้ดังนั้น จึงต้องหมั่น<br />

ดูแลรักษาระบบระบายน้ ำให้อยู่ในสภาพปกติไม่มีการแตกร้าว<br />

อีกสาเหตุที่เกี่ยวข้องอาจเกิดจากการก่อสร้างบ้านหรือ<br />

การติดตั้งระบบระบายน้ ำอยู่ใกล้กับแหล่งที่อยู่ของสัตว์เหล่านี้<br />

พอมีบ้านคนก็มีเศษอาหาร พอมีเศษอาหาร พวกหนูก็จะมากิน<br />

อาหาร แล้วก็ล่องูให้เข้ามาในบริเวณบ้านด้วยดังนั้นเรื่องของ<br />

การจัดการระบบขยะน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วย<br />

ป้องกันสัตว์เหล่านี้ไม่ให้เข้าบ้านได้ด้วย<br />

Q : Don’t want to see a snake in the flush toilet,<br />

how to prevent drainage system from dangerous<br />

animals?<br />

A 3 : Snakes or other small animals can get into<br />

the drainage because there are some openings on the<br />

outer drainage pipelines, or some cracks on pipes. In<br />

the case of a snake shows up from the flush toilet, it<br />

might be because of the cracks on septic tank covers<br />

or cracks on drainage pipe covers. Those cracks might<br />

be the gates that let snakes get through. So we have<br />

to check on drainage pipelines and keep them in good<br />

condition regularly.<br />

Another reason might be the drainage system that<br />

is installed too close to those animals’ habitat since<br />

when the house was constructed. When people come<br />

live in the house, their leftovers cause the garbage, rats<br />

will come for food and then snakes might come after<br />

rats into the house too. Then the good garbage disposal<br />

is another way to keep those animals away from the house.<br />

- 38 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ปิยะ ดโนทัย<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C5<br />

Q : ฝนตกทีไร น้ำรอการระบายนานมาก<br />

ออกแบบบริเวณสวนรอบบ้านอย่างไรไม่ให้<br />

น้ำขัง<br />

Q : It takes very long time to drain the water every<br />

time it rains. How to design the yard around the house<br />

to be safe from the flood?<br />

A : สาเหตุที่ฝนตกแล้วน้ำระบายช้า อาจเป็น<br />

เพราะไม่ได้มีการติดตั้งระบบระบายน้ำหรือ<br />

บ่อพักน้ำทิ้งไว้โดยรอบของบ้าน โดยทั่วไป<br />

เราจะก่อสร้างบ้านโดยมีการวางระบบระบายน้ ำ<br />

เหล่านี้ไว้รอบๆ บริเวณบ้าน ริมรั้วกำแพงอยู่แล้ว ซึ่งก็ช่วย<br />

ในการระบายน้ำออกจากตัวบ้านได้แต่หากมีระบบระบาย<br />

น้ำรอบบ้านแล้วแต่น้ำยังระบายช้า อาจเกิดจากตะกอนหรือ<br />

เศษขยะในระบบระบายน้ำไปอุดตันในท่อ ทำให้การระบายน้ำ<br />

ได้ไม่ดี และทำให้น้ำท่วมหรือรอระบายนาน ดังนั้น จึงควร<br />

มีการดูแลบำรุงรักษา หมั่นลอกท่อหรือตักขยะออกไปทิ้งให้<br />

เรียบร้อยก่อนฤดูฝนจะเป็นการดี<br />

A : The rainwater might be drained slowly because<br />

there’s no drain pipeline nor drain ditches around the<br />

house. Usually, we build a house with drainage pipeline<br />

along the edge of the property, which can help drain<br />

water out of the land. But if the water is still slowly<br />

drained, even there are drain pipes, there might be silt<br />

or trashes to block the pipes. Those can slow the draining<br />

and might cause the flood. So, the checking and cleaning<br />

the drainage pipes before rainy season is what we<br />

should do.<br />

Q : แนะนเทคนิคการดูแลบ้านรับมือกับ<br />

หน้าฝน<br />

Q : Techniques to take care of the house in<br />

rainy season<br />

A : ปัญหาของบ้านที่ได้รับความเสียหายจากฝน<br />

โดยส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของน้ำรั่ว น้ำซึมตาม<br />

บริเวณต่างๆ ของอาคาร หากเป็นพื้นที่ภายนอก<br />

อาคาร เช่น ระเบียง หรือลานบ้านกลางแจ้ง<br />

ให้ดูแลเรื่องของท่อระบายน้ำที่ต้องสามารถระบายน้ำออก<br />

จากบริเวณระเบียงหรือลานกลางแจ้งได้โดยเร็ว ดูแลเรื่อง<br />

ระบบระบายน้ำโดยรอบอาคารไม่ให้มีสิ่งอุดตันขวางทาง<br />

ระบายน้ำได้<br />

ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัย หรือภายในตัวบ้านเป็นบริเวณ<br />

ที่เราไม่ต้องการให้น้ำเข้า โดยหลักการป้องกันน้ำของบ้าน<br />

พักอาศัยจะใช้หลังคาที่มีความลาดเอียงในการป้องกันน้ำ<br />

ซึ่งอาจจะมีการรั่วซึมได้ เนื่องจากการใช้งานเป็นเวลานาน<br />

จึงควรต้องมีการดูแลบำรุงรักษา ตรวจสอบไม่ให้มีรอยรั่ว<br />

หรือแตกร้าวบริเวณแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา<br />

อีกประเด็นของหลังคาที่ต้องคำนึงคือ เรื่องของระยะยื่น<br />

ของชายคา เนื่องจากประเทศไทยมักจะได้รับผลกระทบจาก<br />

สภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างหนัก การทำระยะชายคาที่<br />

สั้นไปก็อาจไม่สามารถป้องกันฝนสาดได้ดีเท่าที่ควร<br />

ประตู-หน้าต่างก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่น้ำอาจจะรั่วซึมเข้า<br />

มาได้ ต้องหมั่นตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างสามารถปิดได้<br />

สนิทหรือไม่หรือเวลาที่ปิดประตูแล้วมีรูรั่วบริเวณใดหรือไม่<br />

หากเป็นหน้าต่างบานไม้ทั่วไปน้ำอาจจะรั่วซึมเข้ามาตาม<br />

ช่องว่างระหว่างบังใบหน้าต่าง หรือหากเป็นบานกระจกก็<br />

อาจจะรั่วซึมเข้ามาบริเวณยางขอบกระจกที่มีการเสื่อม<br />

สภาพ<br />

รอยแตกร้าวบนผนังหรือพื้นดาดฟ้าก็เป็นอีกบริเวณที่<br />

น้ำจะรั่วซึมเข้ามาได้ ซึ่งในกรณีการรั่วซึมตามผนังหรือพื้น<br />

ดาดฟ้าอาจต้องอาศัยการสังเกตมากกว่าปกติเนื่องจากน้ำ<br />

จะค่อยๆ ซึมเข้ามาทีละเล็กทีละน้อยซึ่งถ้าหากพบรอยแตกร้าว<br />

ก็ต้องดูแลบำรุงรักษากันต่อไป<br />

A : Problems, to damage houses, from the rain<br />

mostly are about leaks in several parts of the building.<br />

For outdoor areas such as terraces or open-air decks,<br />

we should pay attention to water drain pipes that should<br />

drain the water from those areas quickly. We should<br />

check the drainage system around the house to keep<br />

it clean and not to be clogged.<br />

For the living zone inside the house, where we don’t<br />

want the water to leak in, we should have the roof with<br />

a good slope. To prevent leaks on the roof, caused by<br />

aged materials, we should do some maintenance and<br />

checking for cracks or leaks that might have happened<br />

on roof tiles.<br />

We ought to think about the width of eaves too.<br />

Because there usually are variable weather effects in<br />

Thailand, the short eaves would not prevent rain splashes<br />

well enough.<br />

Doors and windows can have leaks too. We have<br />

to check if they can be closed tightly or if there’re some<br />

leaks when they’re closed. For wooden windows, water<br />

might leak in through the rabbets. For glass windows,<br />

there might be leaks on deteriorate rubber edges.<br />

Cracks on walls or rooftop floor can be other places<br />

we find leaks. In the case of leaking on walls or rooftop<br />

floor, it might be more difficult to notice because the<br />

water would seep in. So if the cracks are found, they<br />

need to be repaired.<br />

- 39 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


TIPS<br />

WATER DRAINAGE IN HOUSES<br />

การระบายน้ำ ในบ้าน<br />

ภาพ : www.bloggang.com/mainblog.php?id=crazylazykoodchi&month=14-12-2010&group=1&gblog=222<br />

“ประเทศไทยมีแค่สองฤดู คือ ฤดูร้อนกับฤดูฝน” ถ้า<br />

ได้ยินใครเอ่ยทำนองนี้ เดาได้เลยว่าเขาต้องเกิดและเติบโต<br />

ในประเทศไทยอย่างแน่นอน ลองพิจารณาง่ายๆ จาก<br />

โครงสร้างบ้านทรงไทย ซึ่งสั่งสมภูมิปัญญาในการสร้างที่อยู่<br />

อาศัยให้เกิดความน่าอยู่ น่าสบายนั้น ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐาน<br />

หลักสองประการคือ การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศ<br />

โบราณว่า “อยู่ใต้ฟ้า-อย่ากลัวฝน” ยิ่งอยู่ในประเทศเขต<br />

ร้อนชื้นที่ฝนตกชุก ยิ่งมิต้องกังวลเรื่อง “ความเปียก” แต่<br />

“ความชื้น” ต่างหากที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของบ้าน ใครตากฝน<br />

แล้วไม่เช็ดตัวให้แห้งก็เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย บ้านก็เช่น<br />

เดียวกัน ข้อสำคัญคือการระบายน้ำออกจากตัวบ้านให้<br />

รวดเร็วที่สุด ต้องไม่หลงเหลือความชื้นสะสมในตัวบ้าน<br />

ความชื้นจะทำให้ส่วนประกอบของไม้เกิดการโป่งพอง อีก<br />

ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อรา หากถึงขั้นร้ายแรงอาจเป็น<br />

อันตรายต่อโครงสร้างที่เป็นเหล็กได้<br />

ภาพ : www.sherasolution.com/th/residential/help/icorner/info/158/<br />

“There are only 2 seasons in Thailand; summer and<br />

rainy season.” If you hear someone saying this, you can<br />

guess he was born and raised in Thailand definitely.<br />

Regarding traditional Thai houses, their convenient and<br />

comfortable structures are accumulated from Thai intellect<br />

based on 2 main concepts; draining and ventilation.<br />

The older say, “Beneath the sky, don’t be afraid of<br />

rain”. Especially in the tropical monsoon climate countries,<br />

you shouldn’t be worried about the wet. The humidity<br />

is a real enemy of the house. If you get wet because of<br />

raining, you should dry yourselves as soon as possible<br />

for not catching a cold. The house needs the same - to get<br />

dried as fast as possible - that means the drainage is<br />

required as soon as possible after the rain. Make sure<br />

there’s no dampness left in the house. The humidity can<br />

make wood components swell and also be source of<br />

the fungi. In the worst case, it may cause damages to<br />

the steel structure.<br />

When talking about draining, we ought to understand<br />

the water’s attribute first. Water is in liquid form<br />

that runs from the higher to the lower. Then, to design<br />

the coverage parts of the house such as roof, balcony,<br />

canopy, including edging joints, we have to think of the<br />

slope.<br />

โบราณว่า ‘อยู่ใต้ฟ้า-อย่ากลัวฝน’<br />

ยิ่งอยู่ในประเทศเขตร้อนชื้นที่ฝนตกชุก<br />

ยิ่งมิต้องกังวลเรื่อง ‘ความเปียก’<br />

แต่ ‘ความชื้น’ ต่างหาก<br />

ที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของบ้าน<br />

- 40 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


พูดถึงการระบายน้ำก็จำเป็นต้องเข้าใจน้ำเสียก่อน น้ำ<br />

คือของเหลวที่ไหลลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้น ในการออกแบบส่วน<br />

ปกคลุมบ้าน ไม่ว่าจะหลังคา ระเบียง กันสาด รวมไปถึงขอบ<br />

คิ้วบัวต่างๆ ย่อมต้องคำนึงถึง “ความลาดเอียง”<br />

Generally, roofing with tiles usually needs angle of<br />

slope at least 15 degree. Metal sheet or polycarbonate<br />

roofing can be less slope but not less than 3-5 degree,<br />

as designated in construction standard. The problems<br />

always occur at the joints between the structures of<br />

roof attaching to the wall of the house. Adding flashing<br />

ปีกนกแบบ คสล.<br />

ภาพ : www.scgbuildingmaterials.com<br />

TEXT :<br />

ปีกนกแบบ Flashing<br />

TEAM<br />

ภาพ : www.scgbuildingmaterials.com<br />

หลังคาแบบกระเบื้อง (Tile Roof)<br />

หลังคาแบบเป็นเหล็กแผ่น (Metal Sheet)<br />

ภาพ : www.scgbuildingmaterials.com<br />

หลังคามุงกระเบื้องทั่วไปต้องใช้ความลาดเอียงอย่างต่ ำ<br />

15 องศา ส่วนหลังคาที่เป็นเหล็ก (Metal Sheet) หรือโพลี<br />

คาร์บอเนต สามารถใช้ความลาดเอียงน้อยลงแต่ยังคงไม่<br />

ต่ำกว่า 3-5 องศา โดยมาตรฐานการก่อสร้างแล้ว ปัญหา<br />

ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากจุดเชื่อมต่อโครงสร้างหลังคากับผนัง<br />

บ้าน ซึ่งมักจะเกิดการรั่วซึมบ่อยๆ วิธีแก้ไขปัญหาคือ การ<br />

ทำปีกนก หรือ Flashing ครอบบริเวณที่เกิดการรั่วซึม<br />

over those joints can solve this problem.<br />

Roof tops or slab roofs are most risky for leaks<br />

because its angle of slope is less than 3 degree, so the<br />

water proof course for this kind of roof needs maintenance<br />

every 4 - 5 years.<br />

Before applying the roof sealant we should clean<br />

the surface of the slab first then apply the sealant for<br />

การวางตาข่ายเสริมแรงน้ำยากันซึม (Fiber Mesh)<br />

ภาพ : www.arcane-industries.co.uk<br />

ภาพ : www.arcane-industries.co.uk<br />

ส่วนหลังคาที่มีลักษณะเป็นดาดฟ้าอาคาร เรียกกันว่า<br />

Slab Roof ถือเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการรั่วซึมอย่างมาก เพราะ<br />

ความลาดเอียงต่ำกว่า 3 องศา ดังนั้น ควรมีการบำรุงรักษา<br />

ระบบกันซึมเป็นประจำทุก 4-5 ปี<br />

3 times. Laying the fiber mesh on the edge of the rooftop<br />

slabs can provide more flexibility in adhesion of the<br />

sealant.<br />

การทากันซึมควรทำความสะอาดพื้นผิวก่อน จากนั้น<br />

ทากันซึมซ้ำอย่างน้อย 3 รอบ และในส่วนมุมขอบดาดฟ้า<br />

ควรมีการปูตาข่ายเสริมแรง (Fiber Mesh) เพื่อเพิ่มความ<br />

ยืดหยุ่นในการยึดเกาะของน้ำยากันซึม<br />

fyi<br />

• หลังคามุงกระเบื ้องทั่วไปต้องใช้ความลาดเอียงอย่างต่ำ 15 องศา<br />

• หลังคา Metal Sheet หรือโพลีคาร์บอเนต สามารถใช้ความลาดเอียงน้อยลง<br />

แต่ยังคงไม่ต่ำกว่า 3-5 องศา<br />

• หลังคาแบบ Slab Roof มีความลาดเอียงต ่ำกว่า 3 องศา จึงควรมีการบำรุงรักษา<br />

ระบบกันซึมเป็นประจำทุก 4-5 ปี<br />

• ขั้นตอนการทากันซึม เริ่มจากทำความสะอาดพื ้นผิว จากนั้นทากันซึมซ้ำอย่างน้อย<br />

3 รอบ ในส่วนมุมขอบดาดฟ้าควรมีการปูตาข่ายเสริมแรง (Fiber Mesh) เพื ่อเพิ่ม<br />

ความยืดหยุ่นในการยึดเกาะของน้ำยากันซึม<br />

• Roofing with tiles usually needs angle of slope at least 15 degree<br />

• Metal sheet or polycarbonate roofing can be less slope but not less than<br />

3-5 degree<br />

• Slab roofs need angle of slope less than 3 degree, so the water proof course<br />

for this kind of roof needs maintenance every 4 - 5 years<br />

• Procedure of applying the roof sealant starts at cleaning the surface of the<br />

slab first then apply the sealant for 3 times. The fiber mesh should be laid<br />

on the edge of the rooftop slabs to provide more flexibility in adhesion of<br />

the sealant.<br />

- 41 -<br />

(ฉบับหน้า พบกับเรื่องการถ่ายเทอากาศและความชื้น)<br />

(Next issue : Ventilation and damp evacuation)<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


TRAVEL<br />

PATTANI,<br />

in the new different story<br />

ปัตตานี ในวิถีที่ถูกบอกเล่าใหม่<br />

ปัตตานี เขียนเป็นภาษาอังกฤษที่เป็นสำเนียงอาหรับ<br />

ว่า FATONI (อ่านว่า ฟาตอนี) แปลว่า เมืองแห่งปราชญ์<br />

แต่เมื่อพูดถึงฟาตอนีหรือปัตตานี หลายๆ คนอาจจะนึกถึง<br />

เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จนอาจเกิดความรู้สึก<br />

ในแง่ลบจากการนำเสนอของสื่อและการบอกเล่าต่อๆ กัน<br />

โดยไม่เคยได้สัมผัสความเป็นปัตตานีที่แท้จริง จะเกิดอะไร<br />

ขึ้น เมื่อเหล่าสถาปนิก กลุ่มคนรุ่นใหม่ในพื้นที่อยากให้ผู้คน<br />

ทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาสัมผัสความงามที่ถูกซ่อนอยู่และ<br />

พวกเขาจะพาเราไปร่วมสำรวจ “ปัตตานี” ในวิถีที่ถูกบอกเล่าใหม่<br />

ออกเดินทางสู่ปัตตานี โดยมีไกด์ท้องถิ่น แนะนำ 3 จุด<br />

แวะพัก พวกเขาคือเพื่อนรัก กลุ่มเครือข่ายที่จบจากสถาบัน<br />

วิทยาลัยเทคนิคยะลา โดยมีครูคนแรกร่วมกันคือ อาจารย์<br />

วิวัฒน์ จิตนวล ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ เป็นผู้<br />

บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ในดินแดนแห่งนี้<br />

Pattani, written in English with Arab accent as “FATONI”,<br />

means the town of philosophers. When we talk about<br />

Fatoni or Pattani, many people think of the insurgency<br />

happened in the area. Many people may get some<br />

negative feelings caused by the news or telling but have<br />

never touched the real Pattani. What will happen when<br />

the young generation of architects would like people,<br />

both from inside and outside of the area, to come seeing<br />

the hidden beauty? They will take us to explore Pattani<br />

in the new and different story.<br />

The journey to Pattani started with a plan to visit<br />

3 destinations, guided by a local network of close friends.<br />

They graduated from Yala Technical College and had the<br />

same first teacher – Prof. Wiwat Jitnual, Chairman of<br />

Southern Region (Taksin) as a brooder in this region.<br />

- 42 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ราชิต ระเด่นอาหมัด / อาซีซี ยีเจะแว,<br />

สมโภช เจ๊ะอาลี / เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C6-9<br />

เปิดบ้านนายอากร<br />

โดย มลายู ลีฟวิ่ง<br />

โดย ราชิต ระเด่นอาหมัด<br />

ห้องรับแขกมลายู หรือมลายู ลีฟวิ่ง (Melayu Living)<br />

คือชื่อของกลุ่มสถาปนิกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ<br />

กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รวมตัวกันเพื่อสร้างความเคลื่อนไหวใน<br />

พื้นที่ อาทิ ช่างภาพ กราฟิกดีไซเนอร์ บางคนเรียนจบจาก<br />

กรุงเทพฯ แล้วกลับมาทำงานที่บ้านก็มี กลุ่มมลายู ลีฟวิ่ง<br />

มุ่งนำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น สานต่อเรื่องราวทาง<br />

ประวัติศาสตร์ และนับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการบูรณะ<br />

ตึกแถวเก่าบนถนนปัตตานีภิรมย์ มรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

ของปัตตานีที่น่าประทับใจ ตั้งแต่บ้านไม้แบบมลายูที่แกะ<br />

สลักอย่างประณีต ไปจนถึงตึกแถวจีนปูหลังคากระเบื้อง<br />

หากมีโอกาสมาที่ปัตตานีแวะมาที่บ้านนายอากร พื้นที่แห่ง<br />

แรงบันดาลใจที่จะถูกปรับเปลี่ยนตามกิจกรรมหมุนเวียน<br />

ของกลุ่ม อดีตบ้านหลังนี้เปรียบเสมือนประตูแรกของเมือง<br />

ปัตตานี เคยทำหน้าที่เป็นด่านเก็บภาษี เรือสำเภาทุกลำ<br />

สินค้าทุกอย่างต้องผ่านประตูบ้านนี้เมื่อกาลเวลาหมุนเวียน<br />

ผันเปลี่ยน บ้านหลังนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนตามบริบทของเมือง<br />

จากเมืองท่าที่เคยเป็นด่านเก็บภาษี สู่เมืองธุรกิจประมง<br />

บ้านหลังนี้ก็มีการปรับให้เป็นแพของเรือประมงและถูกปรับ<br />

เปลี่ยนตามระบบเศรษฐกิจ จนกลายมาเป็นบ้านที่ถูกทิ้งร้าง<br />

วันนี้ประตูบ้านที่ถูกปิดมายาวนานได้ถูกเปิดประตูอีกครั้ง<br />

พร้อมๆ กับการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาคน ชุมชนเมือง รวมไปถึง<br />

การเปิดตา เปิดใจและเรียนรู้วิถีชีวิตที่งดงามของสามจังหวัด<br />

*www.facebook.com/MelayuLiving/<br />

Open the House of Mister Argorn by Melayu Living<br />

by Mr.Rachit Radenahmad<br />

The “Melayu Living” is the name of a group of new<br />

generation architects in the 3 southernmost provinces<br />

of Thailand, who gathers to create activities in the area.<br />

This group consists of architects, photographers, and<br />

graphic designers. Some of them graduated from Bangkok<br />

and came back to work in their homeland. The Melayu<br />

Living’s intention is to present local culture and maintain<br />

the local history that became the beginning of the old<br />

buildings on Pattani Pirom Road renovation project.<br />

Those buildings are the interesting architectural heritage<br />

of Pattani, both the wooden Malay style houses with<br />

delicately carved wood and the Chinese commercial<br />

buildings with tile roofs.<br />

If you have a chance to come to Pattani, you should<br />

pay a visit at the House of Mister Argon, the place of<br />

inspiration, where many activities will be alternately<br />

- 43 -<br />

“มลายู ลีฟวิ่ง จัดกิจกรรมฉายภาพยนตร์ ภายใต้ชื่อ ‘มลายูรามา’<br />

ฉายหนังสั้นจากบทกวีของโรสนี นูรฟารีดา Poem Performance:<br />

หลงทาง ในประเทศของตัวเอง กำกับโดย ไรอัน แอนเดอร์สัน<br />

และในอนาคตจะมีนิทรรศการภาพถ่ายของช่างภาพในพื้นที่<br />

และทำแผนที่ชุมชนเพื่อการพัฒนาเป็นแผนที่ชุมชนประวัติศาสตร์”<br />

“The Melayu Living presented a movie event under the name ‘Melayu Rama’,<br />

showing a short film relayed from the poem<br />

by Rossanee Nurfarida : Poem Performance: Lost in Homeland,<br />

directed by Ryan Anderson. In the future, the photo exhibition of local photographers<br />

will be organized and a historical community map<br />

for development will be conducted as well.”<br />

organized. In the past, this house was like the first gate<br />

of Pattani, used to be the customs checkpoint, every<br />

ship with goods had to pass through this gate. As time<br />

goes by, the house was adapted under the changing<br />

context of the town. From being the customs checkpoint<br />

of a seaport town, it was turned to be the raft for fishermen<br />

in a fishery town. I has been changed again and again,<br />

under the changing of the economic situations, at last<br />

it was abandoned. Today the gate of the house, which<br />

was closed for a long time, is opened again along with<br />

collaboration to assist local people and community, to<br />

learn the beauty of their life in the 3 southernmost provinces<br />

of Thailand.<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


IN_T_AF café & gallery<br />

(อิน_ตอ_อาฟ คาเฟ่ แอนด์ แกลอรี)<br />

โดย นายอาซีซี ยีเจะแว สถาปนิกเทศบาลเมือง<br />

ปัตตานี, ผู้ก่อตั้ง IN_T_AF Café<br />

และ สมโภช เจ๊ะอาลี ผู้ก่อตั้ง IN_T_AF Café<br />

IN_T_AF café & gallery<br />

Welcome to Pattani<br />

by Mr.RZZ Yeehehwae, architect of Pattanicity<br />

Municipality, the founder of IN_T_AF Café<br />

Mr.Sompoaj Jah-Aree, the founder of IN_T_AF Café<br />

“พวกเราเลือกใช้ตัวอักษรคำว่า<br />

FATONI ของปัตตานี<br />

โดยเรียงจากซ้ายไปขวาเป็นคำว่า<br />

IN_T_AF อ่านว่า อิน_ตอ_อาฟ<br />

ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีใครเคยได้ยิน<br />

แต่เราคิดว่าชื่อนี้จะทำให้ง่าย<br />

ในการต้อนรับผู้คน<br />

“<br />

IN_T_AF café & gallery ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปัตตานีที่เคย<br />

เป็นเส้นทางนำความเจริญของผู้คน และตั้งอยู่ริมถนน<br />

ปัตตานีภิรมย์ในย่านชุมชนเมืองเก่าของชาวไทยจีน ถนน<br />

สายนี้เป็นถนนเส้นแรกๆ ของเมืองปัตตานีแต่เมื่อเมืองต้อง<br />

เริ่มขยายออกไป ถนนสายใหม่ๆที่มีความกว้างกว่าสะดวกกว่า<br />

ทำให้ย่านธุรกิจของเมืองเปลี่ยนตำแหน่ง บ้านหลายหลัง<br />

ถูกปิดลงให้ทิ้งร้างจนนกนางแอ่นเข้ามาทำรัง ธุรกิจรังนก<br />

สร้างรายได้สูงให้แก่เจ้าของอาคารในย่านชุมชนเมืองเก่า<br />

อาคารเก่าถูกดัดแปลง ถูกรื้อ และสร้างอาคารใหม่มาทดแทน<br />

แต่ทุกครั้งที่เราผ่านมาบนถนนเส้นนี้ เรากลับหลงเสน่ห์<br />

ความเป็นเมืองเก่า เลยอยากลองสร้างทางเลือกให้กับชุมชน<br />

เพื่อคงไว้ หรือฟื้นฟู สถาปัตยกรรม สังคม ชุมชน และมิติ<br />

อื่นๆ ที่เราเองก็ไม่ได้คาดไว้<br />

เราได้นำแนวความคิด วาบิ-ซาบิ ที่พูดถึง สุนทรียภาพ<br />

ซึ่งหมายถึงความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ เพราะ<br />

ทุกสิ่งในโลกล้วนไม่สมบูรณ์แบบ ซึ่งเราคิดว่าที่แห่งนี้เป็น<br />

แบบนั้น ในความไม่สมบูรณ์แบบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น<br />

นั้นมีความสวยงามซ่อนอยู่<br />

ร้านแบ่งเป็น 2 ส่วน ภายในเมื่อเข้ามาในพื้นที่ของร้าน<br />

จะสัมผัสพื ้นกรวดเพื่อเป็นการปรับความรู้สึก ก่อนเข้าร้าน<br />

ทุกคนจะต้องถอดรองเท้า และสัมผัสพื้นไม้พาเลทสี<br />

ธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เฉกเช่นวิถีการนั่งรับ<br />

ประทานอาหารของคนในพื้นที่ได้เห็นการทำน้ำและอาหาร<br />

ในส่วนครัวแบบเปิด ซึ่งผู้มาเยือนสามารถมั่นใจได้ว่าแต่ละ<br />

เมนู ปรุงกันสด ใหม่และสะอาด<br />

IN_T_AF café & gallery is located on the riverside<br />

of Pattani River, which used to be the route bringing the<br />

prosperity to the local people, and also on Pattani Pirom<br />

Road in the old Thai-Chinese vicinity. This road is one<br />

of the first roads in Pattani. When the town has expanded,<br />

those new wider and more comfortable roads had been<br />

constructed and the business center of the town was<br />

also moved. Many houses were abandoned so that they<br />

were conquered by swallows. The bird nests business<br />

made a lot of income to the owners of buildings. These<br />

old buildings were renovated, demolished and replaced<br />

by new ones. However, every time we pass this road, we<br />

are passionate about the characteristic feature of the<br />

old town. We like to create some new options for the<br />

community to maintain or to revive the architecture<br />

society and other dimension that might have not been<br />

expected.<br />

We designed by using the concept of “ Wabi-Sabi”<br />

which describes aesthetic as the beauty of imperfect<br />

things because everything in this world is imperfect. We<br />

think this place matches that meaning. Beneath their<br />

imperfection from whatever happened, there’s the<br />

beauty hidden.<br />

The shop is divided into 2 sections, indoor and<br />

outdoor. When the guests enter the indoor section, they<br />

will meet the gravel paved reception area which will<br />

adjust their feeling. The guests have to take off their<br />

shoes before going in and step on the natural color<br />

wood palette floor which will give as friendly mood as<br />

sitting to eat right on the floor, like the local people<br />

usually do. The open kitchen allows guests see cooking<br />

and preparing foods and drinks, to make sure that every<br />

menu is clean and fresh.<br />

- 44 -<br />

“<br />

We use the letters of the word “FATONI” but<br />

write them backwards, to make the name<br />

“IN_T_AF”. Its pronunciation is in-tor-arf,<br />

which no one ever heard but we think this<br />

name is good to welcome people.<br />

“<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ถัดจากส่วนครัวจะเป็นภายนอกที่เมื่อมองไปแล้วจะได้<br />

พบกับวิวที่สะกดใจ ธรรมชาติของต้นไม้และแม่น้ำปัตตานี<br />

ผู้มาเยือนจะได้ยินเสียงนกที่กำลังหยอกล้อ เสียงเครื่องยนต์<br />

เรือเล็กที่กำลังแล่นอยู่ในแม่น้ำ แสงทองยามเย็นที่สาดลง<br />

บนหินกรวดขาว กระทบสังกะสีเก่าที่ผุกร่อนสามารถดื่มด่ำกับ<br />

บรรยากาศที่บอกเล่าถึงวิถีของเมืองเก่าแห่งนี้ ทั้งสองฝั่งคลอง<br />

นอกจากนี้เรายังตั้งใจให้ที่แห่งนี้เป็นเหมือน “สนามเด็ก<br />

เล่น” มีพื้นที่ให้แสดงงานศิลปะ เราหวังไว้ว่า ผู้ที่มาเยือน<br />

สถานที่แห่งนี้จะมีความสุข และสามารถดื่มด่ำกับความเป็น<br />

เอกลักษณ์ของที่นี่ ก่อนลากลับไปหลายๆ คนมักจะถามว่า<br />

IN_T_AF คืออะไร แปลว่าอะไร เรายิ้มและตอบกลับไปว่า<br />

FA_T_NI เมืองปัตตานียินดีต้อนรับ<br />

*www.facebook.com/In.t.af.Cafe.Gallery/<br />

Next to the kitchen is the outdoor section. Guests<br />

can see the particular view with trees and the Pattani<br />

river. They will hear birds chirping, the noise of small<br />

machine boats running in the river. They will see the<br />

evening golden sunlight shining on white gravel ground<br />

and reflecting on old-aged zinc sheets. The Guests will<br />

be fascinated by the atmosphere that can tell the history<br />

of the town along the riverbanks.<br />

Moreover, we intended to make this place be like<br />

a playground. We provide space for art exhibitions. We<br />

hope our guests would be happy and enjoy the unique<br />

character of this shop. Before saying goodbye, many<br />

people ask what “IN_T_AF” means. We smile and answer<br />

them, “FA_T_NI – Welcome to Pattani”.<br />

โรงงานเซรามิก เบญจเมธา<br />

โดย เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา<br />

ออกไปจากตัวเมืองปัตตานี 30 กิโลเมตร คุณจะได้พบ<br />

กับโรงงานเซรามิก เบญจเมธา ซึ่งนับเป็นโรงงานเซรามิก<br />

แห่งแรกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดยหนุ่มพื้นเมือง<br />

ปัตตานี เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา ด้วยชีวิตที่ผูกพันและ<br />

วิ่งเล่นในโรงงานอิฐมอญของบิดาที่เปิดมานานกว่า 20 ปี<br />

แต่ต้องปิดตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจ เขาเดินทางไปศึกษาต่อ<br />

ด้านศิลปะที่ฝรั่งเศส ด้วยความรักและแรงผลักดันจาก<br />

ครอบครัว เขาได้กลับมายังพื้นที่เพื่อเปิดโรงงานเซรามิกแห่งนี้<br />

โดยนำเอาแรงบันดาลใจจากความงามของศิลปะมลายูและ<br />

ศาสนาอิสลามถ่ายทอดลงบนก้อนดิน โดยมีเป้าหมายให้<br />

สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่แห่งแรงบันดาลใจ โดยมีแนวคิด<br />

“มาจากดิน อยู่กับดิน กลับสู่ดิน” ให้ที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้<br />

ด้านเซรามิกในชุมชน และสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น<br />

*www.facebook.com/BenjamethaCeramic/<br />

Benjametha Ceramic Factory<br />

From the earth, Be with earth, Back to earth<br />

by Mr.Emsophian Benjametha<br />

About 30 Kilometers from Pattani town center, you<br />

will meet Benjametha Ceramic Factory. It is the first<br />

ceramic factory in the 3 southernmost provinces. The<br />

factory is run by a young local man, Mr.Emsophian<br />

Benjametha. He grew in his father’s old brick factory,<br />

operated for longer than 20 years before it was closed<br />

because of economic problem. He went to study art in<br />

France, and with his love and pushing from his family,<br />

he came back home to reopen the factory. He gets the<br />

inspiration from the beauty of Malay and Islamic art and<br />

interprets into the clay. His aim is to make this factory<br />

to be the place of inspiration under the concept “From<br />

the earth, Be with earth, Back to earth”. Besides, he likes<br />

to build this place to be the learning center about the<br />

ceramic in the community and to make income to the<br />

neighborhood.<br />

- 45 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


CUISINE<br />

THE ORIGINAL CANTONESE CHINESE SAUSAGE<br />

ต้นตำ รับกุนเชียงสไตล์กวางตุ้ง<br />

If we go back to the past when the Chinese first<br />

came to settle in Thailand, a simple dish that’s always<br />

seen in the kitchen was “Goon Chiang” (Chinese sausage).<br />

With its good taste and long shelf life due to the<br />

method of preservation, “Kun Chiang” is still popular<br />

today.<br />

In the name “Goon Chiang,” “Goon” doesn’t mean<br />

“pig,” but comes from the Teochew Chinese word “Kung”<br />

which means “fill in”. When combined with the word<br />

“Chiang,” which means “intestine”, the word Kun Chiang<br />

means sausage.<br />

When asking for the store that originally sold Kun<br />

Chiang, the first answer must be “Tung Kuoung Kee<br />

Hiang”, the store that has inherited to its third generation<br />

now. The store has been located at the same old<br />

building for more than 70 years, on Yaowarat street, in<br />

front of the old market near Isaranuparp alley.<br />

หากย้อนกลับไปในสมัยที่ชาวจีนโพ้นทะเลเริ่มเข้ามา<br />

ตั้งรกรากที่เมืองไทย เมนูสามัญประจำบ้านที่ขาดจากตู้<br />

กับข้าวไปเสียมิได้คือ กุนเชียง ด้วยรสอร่อยที่เกิดจากการ<br />

ถนอมอาหาร และสามารถเก็บไว้ได้นาน ทำให้กุนเชียงเป็น<br />

อาหารที่นิยมกันถึงทุกวันนี้<br />

พูดถึงกุนเชียง คำว่า “กุน” มิได้หมายความถึง “หมู” ใน<br />

สิบสองนักษัตร หากแต่ “กุน” ผันจากคำว่า “กุ๊ง” ในภาษา<br />

แต้จิ๋วที่แปลว่า “กรอก” เมื่อรวมกับคำว่า “เชี้ยง” ที่แปลว่า<br />

“ไส้” ก็ได้ความหมายตรงตัวคือ “ไส้กรอก” นั่นเอง<br />

และเมื ่อถามถึงร้านกุนเชียงต้นตำรับ ก็คงหนีไม่พ้น<br />

“ร้านตั้งกวงคี่เฮียง” ซึ่งสืบทอดกิจการจนปัจจุบันมาถึงรุ่น<br />

ที่ 3 แล้ว ตัวร้านยังคงตั้งอยู่ที่เดิมมากว่า 70 ปี คือริมถนน<br />

เยาวราช บริเวณหน้าตลาดเก่าใกล้ปากตรอกอิสรานุภาพ<br />

ชื่อร้านตั้งกวงคี่เฮียง เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว หากออกเสียง<br />

เป็นสำเนียงกวางตุ้งจะเรียกว่า “ฉ่านก๋วงเข่ยฮิ้ง” คำว่า ฉ่าน<br />

เป็นแซ่ตระกูล ก๋วงเข่ยฮิ้ง หมายถึง หอมพิสดารแบบกวางตุ้ง<br />

บนป้ายร้านยังมีคำกำกับไว้ว่า จุ๊นก๊าหล่ำมั่ย (ผู้เชี่ยวชาญ<br />

เนื้อเดือนสิบสอง) หล่ำมั่ย เป็นคำเรียกการถนอมเนื้อโดย<br />

การตากลมและแดดอ่อนๆ ในเดือนสิบสอง ซึ่งจะทำให้เนื้อ<br />

ด้านนอกแห้งแต่ภายในยังฉ่ำสด ไม่เน่าเสีย โดยมีเอกลักษณ์<br />

คือเนื้อสีเข้มและแข็งกว่าการอบหรือรมควันส่วนคำว่า จุ๊นก๊า<br />

หรือผู้เชี่ยวชาญ ก็เป็นการรับรองความพิถีพิถันในการผลิต<br />

- 46 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


TEXT :<br />

TEAM<br />

กุนเชียงของร้านที่ตกทอดจากมณฑลกว่างโจวเป็น<br />

สไตล์กวางตุ้ง มีให้ลูกค้าเลือกหลากหลายรูปแบบ กุนเชียง<br />

หมูมันน้อยจะแขวนไว้ด้วยเชือกสีแดง แบบมันเยอะจะใช้<br />

เชือกสีเขียว สามารถนำไปปรุงอาหารได้ทั้งวิธีนึ่ง และอบ<br />

หม้อดิน แต่ไม่เหมาะกับวิธีการทอดซึ่งจะให้รสชาติมันเลี่ยน<br />

ส่วนกุนเชียงตับซึ่งยัดไส้มันหมูนั้น เรียกว่า “ตับแก้ว”<br />

ถือได้ว่าเป็นราชาแห่งกุนเชียง ยังมีกุนเชียงตับเป็ด หมูสาม<br />

ชั้นแห้ง เป็ดแผ่น และเป็ดทั้งตัวตากแห้งซึ่งให้รสชาติเค็ม<br />

มาก เหมาะสำหรับใช้ทำโจ๊ก<br />

กุนเชียงสไตล์กวางตุ้งที่แพร่หลายในฮ่องกงและทาง<br />

ตอนใต้ของประเทศจีน จะมีลักษณะแข็งและเค็ม เกิดจาก<br />

การตากแห้งและเก็บไว้นานหลายสัปดาห์ส่วนกุนเชียงสูตร<br />

โพ้นทะเลของเยาวราชจะตากแล้วทิ้งไว้เพียง 4-5 วัน ก่อน<br />

นำออกจำหน่าย ซึ่งจะให้รสชาติออกหวาน เค็มน้อยและ<br />

นิ่มกว่า ผ่านกระบวนการผลิตที่ละเอียดอ่อน มีการชั่งน้ำหนัก<br />

ส่วนผสมต่างๆ อย่างแม่นยำ เพื่อให้ได้รสชาติดั้งเดิมเป็น<br />

ที่ถูกปากลูกค้าประจำ แม้กระทั่งชาวต่างชาติหรือพ่อครัว<br />

ชาวฮ่องกงยังข้ามน้ำข้ามทะเลมาซื้อหากัน<br />

The sausages of this store are inherited from<br />

Guangzhou and is made in Cantonese style. There are<br />

many kinds of these sausages for clients to choose<br />

such as pork sausage, which has less fat and is hung<br />

with red string, or the kind with more fat which is hung<br />

with green string. They can be cooked by steaming and<br />

baking in a clay pot but not good to fry as it might be<br />

too greasy.<br />

The liver sausage with pork fat is called “Crystal<br />

liver”, and is called the king of Chinese sausages. There<br />

are also duck liver sausages, dried pork belly, and dried<br />

duck which is very salty and suitable for porridge.<br />

Cantonese Chinese sausage that is well known in<br />

Hong Kong and in southern of China is salty and hard<br />

because of many weeks of the drying process and<br />

preservation. However, the sausages made in Yaowarat<br />

style are only processed for a few days, which make<br />

them a bit sweeter, less salty, and softer. The sausages<br />

here are well preserved, with each ingredient carefully<br />

weighed in order to maintain the original taste that<br />

satisfies regular clients. Even foreigners or cooks from<br />

Hong Kong fly overseas to buy these sausages.<br />

The name “Tung Kuoung Kee Hiang” comes from a<br />

Teochew accent. It would be pronounced “ Chan Kuang<br />

Keng Hing” in Cantonese accent. The word “Chan” is<br />

the name of the clan, while “Kuang Keng Hing” means<br />

amazing smell in Cantonese. On the name board there<br />

are the words “Jun Ga Lum Mai” (the November meat<br />

expert ). “Lum Mai” is the method of meat preservation<br />

of drying the meat beneath wind and under the sun in<br />

November. After that procedure, the meat is dry outside<br />

but still juicy inside and does not go off. The meat will<br />

have a darker color and is harder than if it had been<br />

baked or smoked. The word “Jun Ga” means the expert,<br />

indicating the quality of this careful process of their<br />

sausage making.<br />

- 47 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


C10<br />

วิภาวี พินิจ<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

HANGOUT<br />

Soi Ratchakru - Co-drinking Space<br />

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความคึกคักของ<br />

ย่านอารีย์ (พหลโยธิน 7) ขยายตัวมาสู่ซอย<br />

ข้างเคียงอย่างซอยราชครู (พหลโยธิน 5)<br />

ย่านชุมชนที่เงียบสงบ ในฐานะนักลงทุน<br />

หลายคนบอกว่านี่คือทำเลน้องๆ ของย่าน<br />

ทองหล่อเลยล่ะ เพราะเป็นย่านราชการ<br />

สำนักงาน ออฟฟิศสเปซที่กำลังจะเปิดใหม่<br />

อีก 2 ตึก โฮสเทลใกล้BTS ที่เดินทางสะดวก<br />

แถมด้วยบาร์เปิดใหม่ คาเฟ่น่านั่ง ล้วนเป็น<br />

หลายๆ เหตุผลที่น่าจะชักจูงให้ผู้คนเข้ามา<br />

ใช้ชีวิตในพื้นที่ย่านนี้มากขึ้น<br />

วิกาวี พินิจ (บุ้ง) สถาปนิกสาวจะพา<br />

เราไปเดินเตร็ดเตร่สำรวจย่านราชครูยาม<br />

พระอาทิตย์ตกดิน พิกัดเดินต่อเนื่องกันได้<br />

ไม่ถึง 1 กิโลเมตร โดยมีบรรดา Co-drinking<br />

Space ให้หยุดแวะดื่มได้ตลอดทาง<br />

ซอยราชครู ส่วนต่อขยายของความคึกคัก<br />

LAF Caffe & Hotel<br />

* พหลโยธินซอย 5 (ราชครู)<br />

เปิดทุกวัน โทร.09-0902-1942 www.facebook.com/lafhotel/<br />

What will happen when lively atmosphere<br />

of Ari area (Phahon Yothin 7)<br />

is being expanded to nearby road like Soi<br />

Ratchakhru (Phahon Yothin 5), a peaceful<br />

residential area?<br />

Many investors say this area has as<br />

much potential as Tonglor area because it<br />

is the area of government offices, 2 new<br />

buildings ready for offices, hostels near<br />

BTS station which is convenient transportation,<br />

added with new bars, attractive<br />

café, etc. These are many reasons why<br />

more people are moving to spend their<br />

lives at this area.<br />

Ms. Wipawee Pinit (Boong), a young<br />

female architect, took us to survey<br />

Ratchakhru area in one evening. The<br />

area spans 1 km. long and is full with<br />

co-drinking space along the way.<br />

“LAF ย่อมาจาก Lost And Found<br />

ตึกแถวที่แฝงตัวอยู่ในชุมชนย่านราชครู<br />

เป็นทั้งคาเฟ่บาร์และในขณะเดียวกันก็เป็น<br />

โรงแรมแคปซูลหนึ่งเดียวในย่านนี้ แนวคิด<br />

ของร้านคือใส่คอนเซ็ปต์ City Hall for Ari’s<br />

Millennials สำหรับคนยุคมิลเลนเนียลที่<br />

อยากใช้ชีวิตหลังเลิกงานต่างจากเดิมเลิกงาน<br />

แล้วยังไม่อยากกลับบ้าน รถติดใช่ไหม รอ<br />

ถนนว่างก่อนนะ ก็แวะมาพูดคุยแลกเปลี่ยน<br />

บทสนทนาในบาร์แห่งนี้<br />

“บรรยากาศในร้านเน้นให้อารมณ์ยืน<br />

กิน ยืนดื่ม ยืนคุย ขายความเป็น sense of<br />

community สังเกตจากการออกแบบเป็น<br />

standing bar แสงไฟสีน้ำเงินที่ให้ความ<br />

รู้สึกสงบผ่อนคลาย การออกแบบที่นำเอา<br />

เคาน์เตอร์ครัวมาวางไว้ส่วนข้างหน้า มีเตา<br />

กระทะ หม้อไห ตามแนวคิดว่าที่นี่ขายแต่<br />

เครื่องดื่ม ทั ้งคราฟท์เบียร์ ไซเดอร์ กาแฟ<br />

เป็นร้านอาหารแนว Home Cooking ที่มีแต่<br />

ครัวโดยไม่มีพ่อครัว ดังนั้น หากคุณเป็น<br />

ลูกค้าอยากจะเอาอาหารแบบไหนมากิน<br />

หรือมาจอยกับโต๊ะข้างๆ ก็ทำได้เลย ไม่ว่า<br />

จะเป็นอาหารแนวปิ้งย่าง ไส้กรอก พิซซ่า ที่<br />

คิดว่ากินคู่กับเบียร์แล้วเหมาะ ก็พกมาเลย<br />

(ที่สำคัญไม่เสียค่าเปิดกล่องพิซซ่าด้วยนะ)<br />

“LAF” stands for Lost and Found. One of<br />

commercial buildings hidden at Ratchakhru<br />

area is the café and bar as well as only one<br />

capsule hotel at the area. The concept of the<br />

store is “City Hall for Ari’s Millennial” – a place<br />

for the millennial generation who wishes to<br />

spend time after work somewhere but not<br />

home, while waiting for the traffic clear, come<br />

to get together at this bar.”<br />

“The atmosphere is a standing bar,<br />

with the sense of community. The blue light<br />

gives warm and relaxation feeling. A kitchen<br />

counter decorated with stoves, pans and<br />

pots, under the concept of a beverage bar<br />

- selling craft beer, ciders and coffee, in a<br />

home cooking kitchen but without a cook.<br />

The customers are welcomed to bring any<br />

kind of food they like, no matter what it is,<br />

grilled meat or sausages or pizza, to eat or<br />

share with friends in this shop. (No corkage<br />

charge for your pizza’s boxes!)”<br />

“สังเกตว่าบาร์ในซอยราชครู แต่ละร้าน<br />

จะมีเบียร์หลากยี่ห้อไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละร้าน<br />

จะเลือกเบียร์เฉพาะตามที่เจ้าของร้านชอบ<br />

และร้าน LAF จะมีจุดเด่นคือเมื่อเดินเข้ามา<br />

ในร้าน ที่นี่มีเจ้าของร้านคือ คุณแจน-พรสุภีร์<br />

ชัยธีระพันธุ ์กุล เบียร์เลิฟเวอร์ ที ่จะคอยจับคู่<br />

เบียร์รสชาติต่างๆ ตามโจทย์ของลูกค้าที่<br />

แตกต่างไป วันนี้อยากเมามาก เมาน้อย ดื่ม<br />

ตัวไหนดีวันนี้กินอาหารรสชาติแบบนี้จะเลือก<br />

เบียร์รสไหน และช่วงนี้คราฟท์เบียร์ของไทย<br />

มาแรง ที่ร้านก็มีให้เลือกแทบทุกแบรนด์<br />

เต็มตู้เลย<br />

“อีกหนึ่งกิมมิกของLAF คือการเป็นโรงแรม<br />

แคปซูล โดยนำแนวคิดของมนุษย์เงินเดือน<br />

ชาวญี่ปุ่นที่เลิกงานดึกเริ่มงานเช้าตรู่แต่ในแบบ<br />

คนวัยทำงานย่านนี้ ครั้นจะขับรถกลับบ้าน<br />

และตื่นมารถติดแต่เช้าเบื่อรถติด อยากประหยัด<br />

เวลา ก็มาแวะพักนอนเติมพลังที่นี่ก่อนก็ได้<br />

เป็นห้องพักที่ไม่มีกุญแจหรือคีย์การ์ดใช้ระบบ<br />

- 48 -<br />

MAY-JUNE MAR-APR 2017 - ISSUE 03 04


self-checked in และพิมพ์รหัสที่ถูกตั ้งขึ้น<br />

ตลอดการเข้าพักของเราเท่านั้น เพราะหุ้นส่วน<br />

ของร้านบอกกับเราว่า ถ้าอยู่บ้านคงไม่มีใคร<br />

ใช้ คีย์การ์ดหรอกนะ วันไหนเลิกงานดึก<br />

ทำงานเช้า ฝนตกหนัก อยากแฮงเอาต์ต่อ ก็<br />

จะดื่มที่นี่ แล้วนอนที่นี่เลย”<br />

“We notice that bars at Ratchakhru<br />

area sell various brands of beer, each bar<br />

sells different brands chosen by the bar<br />

owners. In the LAF when you enter, you<br />

will meet the owner, Miss Jan – Pornsupee<br />

Chiteerapunkul – a beer lover who will<br />

match different kinds of beer as each customer<br />

desires. No matter what degrees or<br />

kinds of beer you want to drink with food<br />

you brought, or any brands of Thai craft<br />

beer, they are available here.”<br />

“Other gimmick of LAF is also a capsule<br />

hotel. Under the concept of Japanese salary<br />

men who work late and start working so<br />

early, the working boys and girls at this area<br />

who don’t like to drive home and get up<br />

early can spend a night to recharge here.<br />

There is no key or keycard here, the selfchecked<br />

system and personal codes are<br />

used for check-in. My partner said nobody<br />

uses keycards at home. Therefore, whenever<br />

they work late, have early morning work in<br />

the next day, or like to hang out, they can<br />

have some drinks and spend the night here.”<br />

* พหลโยธินซอย 5 (ราชครู)<br />

เปิดทุกวัน โทร.08-6511-0094 www.facebook.com/butcherbeefandbeer<br />

(นอกจากนี้ยังมีอีก 2 สาขา)<br />

เจริญราษฎร์ (ปิดวันจันทร์) 09-8263-0077 /<br />

เลียบด่วน (เปิดทุกวัน) 09-8263-7700<br />

Butcher<br />

Beef & Beer<br />

*Phahon Yothin Soi 5 (Ratchakhru), open daily<br />

Tel. 09-0902-1942 www.facebook.com/lafhotel/<br />

“<br />

จะเกิดอะไรขึ ้นเมื่อความคึกคัก<br />

ของย่านอารีย์ (พหลโยธิน 7)<br />

ขยายตัวมาสู่ซอยข้างเคียง<br />

อย่างซอยราชครู (พหลโยธิน 5)<br />

ย่านชุมชนที ่เงียบสงบ<br />

”<br />

“ถ้าร้าน LAF คือตัวแทนของบาร์ที่คนวัย<br />

ทำงานหลังเลิกงานมาแฮงเอาต์ บ้างมาเดี่ยว<br />

บ้างมาคู่และมาเพื่อพบเพื่อนใหม่ที่Butcher ก็<br />

เป็นร้านอาหารแนวปิ้งย่างที ่รวมตัวกันของคน<br />

วัยทำงานที่นิยมมากันเป็นก๊วน (ยิ่งมากับเพื่อน<br />

มากกว่า 4 คนขึ้นไปจะกินอร่อยขึ้นมาก) เนื้อดีๆ<br />

เบียร์ดีๆ โดยที่ไม่ต้องแต่งตัวหรูหรา เนื้อกับ<br />

เบียร์ที่เข้ากัน เลือกได้เลยว่าจะเป็นเนื้อย่างติด<br />

มันมากหรือติดมันน้อย กริลล์บนกระทะร้อนๆ<br />

แกล้มน้ำจิ้มแจ่ว คลุกข้าวกระเทียมหอมๆ พร้อม<br />

เบียร์สดรสชาติฟรุ้ตตี้นิดๆ ที่มีให้เลือกทั้งจาก<br />

เบลเยี่ยมและฝรั่งเศส”<br />

“If the LAF represents the bar for working boys and girls to hangout<br />

or to make new friends, the BUTCHER is a grilled dishes restaurant for<br />

them to enjoy as a group (The more, the merrier). At this restaurant, nice<br />

beef with good beer is served. You don’t need to be in formal clothes.<br />

You can choose any kind of beef, with more fat or less fat. Grill it on hot<br />

pans and dip in delicious spicy sauce, added on garlic fried rice. Fruity<br />

tasted draft beer from Belgium and France is also ready to served.”<br />

*Phahon Yothin Soi 5 (Ratchakhru), open daily<br />

Tel.08-6511-0094 www.facebook.com/butcherbeefandbeer/<br />

(2 more branches) Jareonrat (close on Mondays) 09-8263-0077/ LiabDuan<br />

(open daily) 09-8263-7700<br />

- 49 -<br />

MAY-JUNE MAR-APR 2017 - ISSUE 03 04


* พหลโยธินซอย 5 (ราชครู)<br />

โทร. 0-2001-6848 www.facebook.com/bondaoaungkarn<br />

บนดาวอังคาร<br />

Co-workspace and Café<br />

“ร้านนี้ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะ<br />

คงคอนเซ็ปต์ร้านอาหารแนวครอบครัว ดังนั้น<br />

ถ้าอยากดื่ม…ที่นี่มียาคูลท์ปั่นรสชาติชื่นใจ<br />

เหมาะจับคู่กับปลาหมึกชุบแป้งทอด(Calamari)<br />

และแฮมเบอร์เกอร์หมูชาร์โคลเสิร์ฟคู่เฟรนช์ฟราย<br />

รสจัดจ้านเต็มจาน บรรยากาศอบอุ่นเหมาะ<br />

สำหรับนั่งคุยกับเพื่อนหรือกับครอบครัวที่ใช้<br />

เวลานานๆ ชั้นลอยของร้านยังมีSecret Address<br />

ย่านราชครูคือร้านดอกไม้ ร้านตัดชุดราตรี<br />

ห้องประชุมสำหรับจัดเป็น Co-working<br />

Space แถมร้านนี้ยังเป็นร้านของดีเจพี่อ้อย-<br />

นภาพร ไตรวิทย์วารีกุลแห่งคลื่นกรีนเวฟอีกด้วย”<br />

“No alcoholic drink is served in this<br />

shop because the concept is a restaurant<br />

for families. So, if you want to drink… we<br />

have fresh spun Yakult for you. It matches<br />

with fried calamari and charcoal pork<br />

hamburger served with spicy French fries.<br />

The warm atmosphere is suitable for a long<br />

meeting with friends or families. On the<br />

mezzanine there’s “Secret Address of<br />

Ratchakhru”, where contains flower shop,<br />

evening dress shop, conference room as a<br />

co-working space. This shop belongs to<br />

DJ Pi Aoy – Napaporn Triwitwareekul of the<br />

Green Wave station.<br />

*Phahon Yothin Soi 5 (Ratchakhru), Tel. 0-2001-6848<br />

www.facebook.com/bondaoaungkarn<br />

- 50 -<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


BOOK<br />

พิเชษฐ์ ดลราษี<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

C11<br />

CARAVAN OF LIFE<br />

ระหว่างทางของชีวิต<br />

ชีวิต การเดินทาง และความฝัน สามสิ่งนี้เป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการสร้างสรรค์วรรณกรรมมาแล้วหลากหลายเรื่องตั้งแต่ “ไซอิ๋ว” จนถึง “อาหรับราตรี” ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวรรณกรรมชั้นยอด<br />

แต่หากจะพูดถึงงานเขียนที่เกี่ยวกับ “ชีวิต” ในแง่มุมที่จริงจัง ถ่ายทอดเรื่องราวด้วยโทนขึงขังที่สามารถสั่นสะเทือนแก่นความคิดของผู้อ่านได้นั้น คงหลีกหนีไม่พ้นวรรณกรรมสามเรื่องดังจะ<br />

กล่าวต่อไปนี้ (บางเล่มอาจจะอ่านยากสักเล็กน้อย แต่รับรองว่าผู้อ่านจะได้รับความเพลิดเพลิน อีกทั้งได้ทบทวนความคิดของตัวเองไปพร้อมกัน)<br />

Life, journey and dream are three basic materials to create many classic literatures from “Journey to the West” to “Arabian Night”. If we talk about the writings telling the life<br />

story in serious aspect, that can shake readers’ conception, there are absolutely these three literatures. (Some of them may be a little bit difficult to understand, but I guarantee<br />

that the readers will enjoy reading them. By reading these books could make you reconsider about your own thought at the same time.)<br />

ภาพ : www.spirituelevrienden.com<br />

ภาพ : www.amazon.com<br />

ภาพ : http://reviewgala.com<br />

สิทธารถะ (2465)<br />

โดย เฮอร์มาน เฮสเส<br />

หลายคนอาจสับสนกับชื่อ สิทธัตถะ อันเป็นพระนาม<br />

เดิมของพระพุทธเจ้า แต่ สิทธารถะ (สิด-ทา-ระ-ถะ) นี้ไม่ใช่<br />

นิทานชาดก หากเป็นนวนิยายอิงปรัชญาพุทธศาสนา เขียน<br />

โดยคนเยอรมัน (สังเกตว่างานเขียนของเยอรมันมัก<br />

เกี่ยวข้องกับปรัชญาและศาสนามาโดยตลอด) เล่าเรื่องราว<br />

ของพราหมณ์หนุ่มสองคน กับแนวความคิดสองแบบในอัน<br />

ที่จะแสวงหาความรู้แจ้ง ทั้งสองต่างแยกย้ายกันเดินทาง<br />

ผ่านประสบการณ์ตั้งแต่หนุ่มจนแก่เฒ่า ผ่านการเรียนรู้ทั้ง<br />

มนุษย์และธรรมชาติ ผู้เขียนมิได้สรุปตอนจบไว้ชัดเจนนัก<br />

แต่ให้ผู้อ่านล่องไปกับความคิด ตั้งคำถาม-ค้นหาคำตอบ<br />

และสรุปเรื่องราวได้ตามแบบฉบับของตนเอง<br />

โจนาทาน ลิฟวิงสตัน ซีกัล (2513)<br />

โดย ริชาร์ด บาค<br />

ใจความของเรื่องนี้ยังคงเป็นการเดินทาง เรียนรู้ และ<br />

ค้นหาคำตอบ ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาในลักษณะบทกวีสั้นๆ<br />

เปรียบเทียบสังคมมนุษย์ผ่านพฤติกรรมของนกนางนวลฝูง<br />

หนึ่ง (เข้าใจว่าที่ใช้นกนางนวลเพราะผู้เขียนมีอีกอาชีพเป็น<br />

นักบิน) โดยตัวละครเอกเป็นนกที่ชื่อ โจนาทาน นั้นเริ่มต้น<br />

หัดบิน เรียนรู้ชีวิตไปพร้อมๆกับการตั้งคำถามกับทุกสิ่ง จนถูก<br />

มองว่าเป็นตัวประหลาด ซึ่งเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย<br />

ในธรรมชาติพฤติกรรม “ผ่าเหล่า” หรือแปลกแยกนี้อาจมิใช่<br />

หมายความเพียงว่า ดื้อด้าน หรือแหกคอก แต่อาจหมาย<br />

รวมถึง “การก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเอง” ด้วยก็เป็นได้<br />

ขุมทรัพย์สุดปลายฝัน (2531)<br />

โดย เปาโล คูเอลยู<br />

พล็อตเรื่องเกี่ยวกับเด็กหนุ่มเดินตามความใฝ่ฝัน อาจ<br />

มิใช่เรื่องน่าเบื่อซ้ำซากเสมอไป เมื่อนักเขียนชาวบราซิล<br />

สร้างตัวละครเป็นเด็กหนุ่มเลี้ยงแกะจากแคว้นอันดาลูเซีย<br />

(แคว้นทางใต้ของสเปน) ผู้หลงใหลความเชื่อเกี่ยวกับ<br />

สัญลักษณ์แห่งจักรวาล ถึงกับขายสมบัติทั ้งหมดที่มีนำไป<br />

เป็นทุนรอน ออกเดินทางสู่ประเทศอียิปต์เพื่อค้นหา<br />

ขุมทรัพย์ตามนิมิตในความฝันของตน ใจความหลักสะท้อน<br />

ถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครและยถากรรมของมนุษย์<br />

ซึ่งบางครั้งก็สั่นคลอนจิตใจให้หวั่นไหว จนหลงลืมจุดมุ่ง<br />

หมายในตอนแรกไป<br />

Siddhartha (1922), by Hermann Hesse<br />

Some of you may be confused by the name<br />

“Siddhartha”, which is the original name of the Lord<br />

Buddha. “Siddhartha” is not a fable but it is a Buddhism<br />

philosophical novel written by a German writer (notice<br />

that German writings mostly are about philosophy and<br />

religion). The story is about 2 young Brahmins who had<br />

2 different ideas to search for enlightenment. Both of<br />

them travelled separately to get experiences since they<br />

were young until getting older. They learned about human<br />

beings and the nature. The writer did not conclude<br />

at the end clearly but leave the readers to consider, to<br />

question, to answer and end the story themselves.<br />

Jonathan Livingston Seagull (1970),<br />

Richard Bach<br />

The main idea of this writing is still about the<br />

journey, learning and searching answers. The writer used<br />

short poems to pass on the message, to parallel human<br />

society through a hoard of seagulls. (I think the writer<br />

used “seagulls” because his other career is a pilot.) The<br />

main character is a seagull name “Jonathan”. He learned<br />

to fly and to live by questioning on everything, and that<br />

made him a weird one in the hoard. The same as other<br />

living things in this world, someone who is different<br />

might not be recalcitrant but just trying to get over his<br />

own limitation.<br />

The Alchemist (1988), Paulo Coelho<br />

The plot about a young man following his dream<br />

may not be always boring. A Brazilian writer had made<br />

a character of a young shepherd from Andalusia (an<br />

autonomous community in southern Spain), who was<br />

passionate about the symbols of the universe. He sold<br />

all his belongings to get the fund for his journey to Egypt,<br />

to search for the treasure as he had seen in his dream.<br />

The main point of this writing reflects the transforming<br />

and fate of characters, which sometimes can shake one’s<br />

mind and make him forget his original intention.<br />

สรุปโครงสร้างของทั้งสามเรื่องนั้นเน้นไปที่ “ระหว่างทาง” ซึ่งเห็นได้ว่าวรรณกรรมชั้นยอดมักจะสะท้อนถึงวิถีทางอันหลากหลายมากกว่าที่จะรวบรัดพุ่งเป้าไปยัง“จุดมุ่งหมาย” อันเป็นหนึ่งเดียว<br />

The structure of all these three writings points to “things along the journey”. It is clearly seen that the ultimate literatures usually present variety of ways more than targeting<br />

to only one destination.<br />

- 51 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


C12<br />

สุพิชชา โตวิวิชญ์<br />

(see CONTRIBUTORS PAGE)<br />

ARTS<br />

When the bus stop can be more than you think<br />

เมื่อป้ายรถเมล์เป็นได้มากกว่าที่คิด<br />

ป้ายรถเมล์หน้าวัดสุทธิวรารามมีการวางสิ่งของต่างๆ ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น เพื่อศึกษาว่ามีอะไรควร หรือไม่ควรเพิ่มเติม The project “<strong>ASA</strong>-CAN : Ten for Ninety” is held for<br />

โครงการ “<strong>ASA</strong> CAN: Ten for Ninety” โดยกรรมาธิการ<br />

สถาปนิกเพื่อสังคมและเมือง สมาคมสถาปนิกสยาม ใน<br />

พระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 แล้ว มีจุดประสงค์คือ<br />

การตั้งคำถามและการทดลองประเด็นที่เกี่ยวกับพื ้นที่<br />

สาธารณะ ปี 2560 นี้ได้ทีมพี่เลี้ยงสถาปนิกรุ่นใหม่จาก IF,<br />

Cloud Floor และ MOR and Farmer โดยมีที่ปรึกษา<br />

โครงการคือ ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ ประธานกรรมาธิการ<br />

สถาปนิกเพื่อสังคมและเมือง และ ดร.พิชญ์พงษ์สวัสดิ์จาก<br />

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

สำหรับผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปคือ นิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ<br />

และนิสิตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จากหลาก<br />

หลายสถาบัน โดยในปีนี้ได้ทดลองกับ “ป้ายรถเมล์” ด้วย<br />

คำถามที่ว่า…<br />

“<br />

ป้ายรถเมล์<br />

สามารถเป็นได้<br />

มากกว่าป้ายรถเมล์<br />

ได้อย่างไร<br />

”<br />

ภายใต้แนวคิด Dot – Line – Play โดย Dot หมายถึง<br />

ป้ายรถโดยสารประจำทางในฐานะจุดเชื่อมต่อของเมือง<br />

Line คือการเชื่อมต่อระหว่างป้ายฯ ก่อให้เกิดโครงการข่าย<br />

ระบบขนส่งสาธารณะ และ Play คือการใช้ความคิด<br />

สร้างสรรค์แทรกแซงและจู่โจมสภาวะปกติของเมือง มีป้าย<br />

รถเมล์3 ป้าย ในย่านบางรัก-เจริญกรุง ถูกเลือกมาเป็นพื้นที่<br />

ทดลองในครั้งนี้<br />

ป้ายรถเมล์หน้าวัดสุทธิวราราม ผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อป<br />

สังเกตเห็นว่า คนมักไม่นั่งรอเพราะที่นั่งเตี้ยเกินไป หลังคา<br />

ไม่บังแดด ช่วงกลางคืนเสี่ยงอันตรายเพราะไม่สว่าง<br />

เนื่องจากป้ายโฆษณาทรุดโทรมและเสียหาย ผู้เข้าร่วม<br />

เวิร์กช็อปจึงทดลองวางสิ่งของต่างๆ ทั้งที่จำเป็นและ<br />

ไม่จำเป็น ได้แก่ร่ม หมวก เก้าอี้เจลล้างมือ พัด หนังสือ ที่ชั่ง<br />

น้ำหนัก กีตาร์วิทยุลูกอม เป็นต้น และสังเกตพฤติกรรมของ<br />

ผู้ใช้งานป้ายรถเมล์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อศึกษาว่าป้ายรถเมล์<br />

ที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้ควรมีอะไรหรือไม่ควรมีอะไรเพิ่มเติม<br />

- 52 -<br />

the second year by <strong>ASA</strong>-CAN. The purpose is to question<br />

and experiment issues about public areas. In 2017,<br />

young new architects from IF, Cloud Floor, and MOR and<br />

Farmer come to be mentors. The project advisors are<br />

Dr.Supitcha Tovivich, head of <strong>ASA</strong>-CAN, and Dr.Pitch<br />

Pongsawat from the Faculty of Political Science at<br />

Chulalongkorn University.<br />

The workshop participants are students from the<br />

Faculty of Political Science at Chulalongkorn University<br />

and students from the Faculty of Architecture from many<br />

institutions. This year we do experiments with bus stops<br />

with the question…<br />

How can a bus stop be more than a bus stop?<br />

In the concept of “ Dot – Line – Play”, Dot means a<br />

bus stop as a joint of the city; Line means the link between<br />

those bus stops that create a public transportation<br />

network; and Play means to interfere and engage<br />

with the normal condition of the city with creative<br />

thinking. The study areas are 3 bus stops in the Bangrak<br />

- Chareon-krung district .<br />

The bus stop in front of Wat Suttiwararam : The<br />

participants noticed that people don’t like to sit and<br />

wait because the seats at the bus stop are too short;<br />

the roof can’t block the sunlight; it looks dangerous at<br />

night because the lack of light from damaged billboards.<br />

The participants decided to put things, necessary and<br />

unnecessary, such as umbrellas, hats, chairs, hand gel,<br />

fans, books, scales, guitars, radios, candies, etc. They<br />

observed the behavior of the passengers all 24 hours<br />

to study what more is needed or not for this bus stop.<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ป้ายรถเมล์ตลาดน้อย เป็นป้ายที่ไม่มีที่นั่งหรือหลังคา<br />

อย่างเป็นทางการ มีเพียงเต็นท์ที่ทางกรุงเทพมหานครนำมา<br />

กางให้เนื่องจากเป็นย่านที่มีผู้สูงอายุมาใช้ป้ายเป็นที่พบปะ<br />

พูดคุยและนั่งรอรถเมล์ เต็นท์เล็กๆ ที่มีอยู่เดิมจึงถูกทดลอง<br />

ให้กลายเป็น "ห้องรับแขกของชุมชน" ที่เล่าเรื่องราวของ<br />

ตลาดน้อยผ่านชาวชุมชน ทั้งรูปถ่ายและเรื่องราวที่เกี่ยวกับ<br />

ย่านตลาดน้อย รวมถึงการจัดแสดงผลงานศิลปะ สิ่งประดิษฐ์<br />

และการแสดงดนตรีของเยาวชนในชุมชน เพื่อแสดงออกถึง<br />

ศักยภาพและความสัมพันธ์ของชาวชุมชน<br />

The bus stop at TaladNoi : It is a bus stop without<br />

seats and roof. It’s just a temporary tent that Bangkok<br />

Metropolitan Administration had put up. Because many<br />

senior citizens in this area use this bus stop as a meeting<br />

place and to wait for the buses, the participants<br />

changed the old tent to become a “community living<br />

room” to tell stories about TaladNoi. They used photos<br />

to show the history of people in the area, including an<br />

art invention exhibition and a concert from the youth,<br />

to show the potential and relationship of people in the<br />

community.<br />

พื้นที่สุดท้ายคือ ป้ายรถเมล์ที่อยู่บริเวณใต้สะพาน<br />

ตากสิน ซึ่งมีความสับสนอลหม่านและวุ่นวาย คับคั่งไปด้วย<br />

ระบบขนส่งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการทีมเวิร์กช็อป<br />

สะพานตากสินจึงได้ทดลองติดตั้งป้ายให้ข้อมูลระบบการขนส่ง<br />

รูปแบบต่างๆ เช่น รถเมล์ สองแถว มอเตอร์ไซค์ เรือ ตุ๊กตุ๊ก<br />

เพื่อตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความสำคัญและจำเป็นของการ<br />

ขนส่งรูปแบบต่างๆ ที่มี และความสัมพันธ์ระหว่างกัน<br />

“…มีการจัดทำป้ายที่มีใบหน้าของพี่ๆ มอเตอร์ไซค์คน<br />

ขับเรือ คนขับตุ๊กตุ๊ก กระเป๋ารถเมล์คนขับสองแถว บวกด้วย<br />

สโลแกน จุดแข็งของการเดินทางแต่ละประเภทเพื่อให้เห็น<br />

ว่า ‘งาน’ ที่ ‘คน’ เหล่านี้ทำคือกลไกสำคัญของเมืองใหญ่<br />

ที่มีความสัมพันธ์กัน บ้างถูกแต่ช้า บ้างเร็วแต่แพง บ้าง<br />

ความเร็วกลางๆ แต่ขนคนได้เยอะกว่า เป็นต้น<br />

ปัจจุบันพื้นที่ของInformal Transportation Modes ต่างๆ<br />

นี้ยังไม่ค่อยได้ถูกนำมาจัดการร่วมกันอย่างจริงจังในระดับ<br />

นโยบายเท่าไรนัก ที่มากไปกว่านั้นเมืองต้องการ ‘งาน’ จากคน<br />

เหล่านี้ แต่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ ‘คน’ เหล่านี้ไม่มี<br />

อะไรเลย เพราะไม่ถูกมองเห็นอย่างเป็นทางการ” ดร.สุพิชชา<br />

โตวิวิชญ์ กล่าว<br />

* ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/tenforninety<br />

ป้ายรถเมล์ตลาดน้อยที่ถูกทดลองให้กลายเป็น “ห้องรับแขกของชุมชน”<br />

ป้ายรถเมล์บริเวณใต้สะพานตากสินมีการทดลองติดตั้งป้ายให้ข้อมูลระบบการขนส่งรูปแบบต่างๆ<br />

The bus stop under Taksin Bridge : It is a chaotic spot<br />

with people and official and non-official transportation<br />

systems. The workshop team installed signs giving<br />

information about transportation such as buses, mini-buses,<br />

motorcycles, boats, and TukTuks to signify the importance<br />

and necessity of each kind of transportations and relationship<br />

between them.<br />

“… There are signs with pictures of motorcycles,<br />

boats, Tuktuks, mini-bus drivers and ticket takers, with<br />

slogans describing the benefits of each mode of transportation.<br />

This is meant to show that the job these<br />

people are doing is related to the important mechanisms<br />

of the city. Some kind of transportations are fast but<br />

expensive, some have moderate speed but can carry<br />

many passengers.”<br />

“Nowadays the areas of informal transportation<br />

modes are not being used seriously. Other than that,<br />

the city wants these people’s service but there are no<br />

facilities for them because they don’t present formally.”<br />

Dr. Supitcha said.<br />

Look for more information at www.facebook.com/tenforninety<br />

Project no.1 “ทดลองปูเสื่อที่หัวลำโพง”<br />

ปี 2559 โครงการ Ten for Ninety เคยจุดกระแสให้<br />

สังคมหันมาตั้งคำถามกับพื้นที่สาธารณะในระบบขนส่ง<br />

มวลชน กับโครงการ Public Transit Lounge หรือการ<br />

ทดลองสร้างพื้นที่สาธารณะ โดยทดลองนำเสื่อ 40 ผืนและ<br />

bean bag มาวางไว้ในพื้นที่ใจกลางหัวลำโพง ขนาด 144<br />

ตารางเมตร เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคนระหว่างรอรถไฟ<br />

ทั้งคนเตรียมเดินทางกลับต่างจังหวัด นักท่องเที่ยวชาวไทย-<br />

ต่างชาติหรือแม้แต่คนไร้บ้านที่พักพิงในหัวล ำโพง<br />

- 53 -<br />

Project no.1 “Public Transit Lounge”<br />

Placing mats at Hua Lumpong model in 2016 The<br />

Ten for Ninety project sparked a trend asking society<br />

to think about public spaces in public transportation<br />

systems in the project “Public Transit Lounge”. They<br />

brought 40 mats and bean bags to place in the 144<br />

sq.m. space in the main hall of Hua Lumpong station<br />

to monitor human behavior while waiting for the trains.<br />

The targets of monitoring are people going back to their<br />

country homes, Thai and foreign tourists, and also the<br />

homeless people.<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


TEXT :<br />

TEAM<br />

MUSIC<br />

What We’ve Listened?<br />

เพลงของเด็กถาปัตย์<br />

เพราะหนึ่งวันของเหล่าเด็กถาปัตย์มี 48 ชั่วโมง (บาง<br />

คนบวกเพิ่มไปมากกว่านั้น) ลืมคำว่าบ้านไว้ก่อน เพราะพวก<br />

เขามีสตูดิโอนี่ล่ะเป็นแหล่งพักพิง นอกจากเพื่อนในชีวิตจริง<br />

อีกหนึ่งสิ่งที่พวกเขานับเป็นเพื่อน ก็คือ ดนตรี มิตรแท้ที่อยู่<br />

ด้วยกันทั้งยามหลับ ยามตื่น ยามฟื้นไปส่งงานอาจารย์<br />

จึงสำรวจดนตรีข้างหูของเหล่าเด็กถาปัตย์<br />

จาก 4 สถาบัน ว่าตอนนี้พวกเขากำลังอินกับเพลงอะไรอยู่นะ<br />

ฟังแล้วช่วยให้คิดงานออกบ้างไหม หรือฟังแล้วเป็นยังไง ถ้า<br />

ยังไม่รู้ ก็ได้แต่… #ฟังวนไปค่ะ<br />

ภาพ : www.facebook.com/boeing.loseholiday<br />

ภาพ : www.facebook.com/TheOctopussBand<br />

ภาพ : www.facebook.com/srirajahrockers<br />

Because one day of architecture students<br />

has 48 hours (some may have more than that).<br />

Let’s forget the word “Home” because their studios<br />

are like homes for them. Besides real life friends,<br />

another thing they consider as friends is music,<br />

the true friend which stays with them all the time,<br />

days or nights even when they revive to hand in<br />

their projects.<br />

went to check out about favourite<br />

songs of architecture students from 4 institutes;<br />

about which songs are in hit list, how those songs<br />

help them with their projects, or how they feel<br />

ศิลป์ศุภา แสงวิภาค (หนู)<br />

ปี 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง<br />

• วันหยุด (ศิลปิน Boeing Lose Holidays) “ฟังแล้วอยาก<br />

เก็บของไปทะเล”<br />

• ทำไมเรายังไม่วาร์ป (ศิลปิน The Octopuss) “ฟังแล้ว<br />

หลอนไปทั้งวัน กับท่อนที่ร้องว่า ‘ทำไมเรายังไม่วาร์ป’<br />

วนไป 4 รอบรวด”<br />

• ทุกเพลง (ศิลปิน Srirajah Rockers) “ดนตรีแนวสกาที่ฟัง<br />

จนกลายเป็นซิกเนเจอร์ลาดกระบังไปแล้ว แต่เอาจริง<br />

ถ้าคิดงานไม่ออกก็ไม่มีไรช่วยได้ทั้งนั้น (ฮา)”<br />

Miss Sinsupha Saengwipark (Noo),<br />

a forth year student from The Faculty of<br />

Architecture and Design, King Mongkut's Institute<br />

of Technology, Ladkrabang<br />

• “Wan-Yood” (artist : Boeing Lose Holiday) - “I want<br />

to go to beaches when I hear it.”<br />

• (artist : The Octopuss) – “The repeated 4 times line<br />

“Tam-Mai-Rao-Yang-Mai-Warp” stuck in my head<br />

for an entire day.”<br />

• “Every song” by Srirajah Rockers -“The Ska genre<br />

songs which became Ladkrabang’s signature songs.<br />

In the matter of fact, if you don’t have ideas for<br />

the project, nothing can help. (Laugh)”<br />

about each song. If this can’t get you an answer<br />

... #looping listening.<br />

ภาพ : https://play.spotify.com<br />

ภาพ : https://genius.com<br />

ภาพ : www.amazon.com<br />

ธนัช หาญสุวรรณ (กฤต)<br />

ปี 4 นิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

Mr.Thanat Hansuwan (Krit),<br />

a forth year urban architecture atudent at Faculty<br />

of Architecture Chulalongkorn University<br />

• Redbone (ศิลปิน Childish Gambino) “เพลงจังหวะโซล<br />

ที่นักร้องน ำร้องเสียงสูงมาก ในขณะที่คีย์ดนตรีมาในโทนต่ ำ<br />

ตรงกันข้าม ได้ฟีล ได้เคลิ้ม ได้อารมณ์ ฟังในสตูดิโอนี่<br />

หลอนใช้ได้เลยครับ”<br />

• Hard Times (ศิลปิน Paramore) “ถ้าอยู่ในสตูดิโอส่วนใหญ่<br />

ผมจะรับหน้าที่เป็นดีเจ ถ้าผมต้องเปิดเพลงให้ทุกคนฟัง<br />

ผมจะเปิดเพลงนี้ เพราะจังหวะป๊อบดีครับ”<br />

• The Chain (ศิลปิน Fleetwood Mac) “เพลงเก่าจากยุค<br />

เซเวนส์ตี ้ส์ที่มีรากเหง้ามาจากบลูส์ เสน่ห์คือเสียงร้อง<br />

ชายหญิงที่ประสานกัน จังหวะมันกระแทกกระทั้นสะใจดี<br />

ได้อารมณ์ขณะทำงาน แถมเพลงนี้ถูกนำมาเป็นเพลง<br />

ประกอบภาพยนตร์เรื่อง Guardians of the Galaxy 2 ด้วย”<br />

• Redbone (artist : Childish Gambino) - “A soul song<br />

with high pitch singer but in contrast the song<br />

pitch is low. It’s kind of spooky trance music.”<br />

• Hard Times (artist : Paramore) – “When we are in<br />

the studio, I usually play the DJ role. This song<br />

is the one in my playlist, it has good pop rhythm.”<br />

• The Chain (artist : Fleetwood Mac) - “An old song<br />

from 70s’ got its root from blue music, the charm<br />

of this song is the harmonious voices of both male<br />

and female singers. It’s also used as a soundtrack<br />

in the movie Guardians of The Galaxy 2.”<br />

- 54 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


ธนา เฉยปัญญา (เปาเหมี่ยน)<br />

ปี 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ<br />

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี<br />

Mr.Thana Choeipanya (PaoMian),<br />

a fifth year student at SoA+D School of Architecture<br />

and Design, King Mongkut's University of Technology, Thonburi<br />

• ภาพทรงจำ (ศิลปิน Mahafather) “เวลาที่ผมและเพื่อนอยู่ในสตูดิโอ เรากินและนอนอยู่ในนั้น<br />

เปิดเพลงฟังเรียงตาม ลำดับ เพลงช้าเพลงนี้พีคสุดตรงที่ร้องว่า ‘อยากขอให้นาฬิกาหยุดเดิน<br />

จะได้ไหม’ ”<br />

• Youtube Channel/rapisnowtv (ศิลปิน RAP IS NOW) “ไม่ใช่แค่ฟังเพลง แต่แชนแนลนี้มีอะไร<br />

ให้ฟังอีกเยอะแยะ บีทดนตรีแรป เหล่าแรปเปอร์มารวมตัวดวลกันด้นสดๆ ในช่วงเวลาที่ต้องการ<br />

ฟังอะไรที่กระตุ้นเราให้ตื่นได้ดี แชนแนลนี้ช่วยชีวิต”<br />

• หน้าไม่ทันสมัย (ศิลปิน ปลาคาร์พ เชิญยิ้ม) “เพลงลูกทุ่งช้าๆ ที่ช่วยให้เราสงบจิตสงบใจได้ดีมักเป็น<br />

เพลงสุดท้ายประจำสตูดิโอของพวกเราเวลางานใกล้เสร็จ”<br />

• Parb-Song-Jum (artist : Mahafather) - “When my friends and I are at the studio,<br />

we eat and sleep there, turn on the music sequently. This slow song has the peak<br />

at the line ‘Yark-Kho-Hai-Na-Li-Ka-Yood-Dern-Ja-Dai-Mai.’ ”<br />

• Youtube Channel / rapisnowtv ( artist : RAP IS NOW ) - “Not only songs but many other<br />

things to listen from this channel, beat music, rap music and even live rapper duel.<br />

When you need something urge yourself, you can count on this channel.”<br />

• Nha-Mai-Tan-Sa-Mai (artist : Placarp-Churnyim) – “A slow country song that could<br />

calm us, it’s usually the last song in our studio, right before finishing our project.”<br />

โชติวัฒน์ พรถึง (แอร์)<br />

ปี 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยนเรศวร<br />

• Take You Home (ศิลปิน Baekhyun วง EXO) “เพลงจังหวะช้าๆ ฟังสบายๆ เหมาะสำหรับฟังตอนเริ่มต้นคิดงาน ให้อารมณ์พลิ้วดี”<br />

• เธอทำให้ได้รู้(ศิลปิน Potato) “เพลงใหม่จาก Potato เป็นเพลงที่ร้องติดปาก ฟังติดหูเหมาะมากสำหรับฟังในช่วงคิดคอนเซ็ปต์มาแล้ว”<br />

• Wonder Woman (OST - Rupert Gregson-Williams) “ธีมสกอร์จากภาพยนตร์เรื่อง Wonder Womanให้ความรู้สึกระทึก เร้าใจ<br />

ได้อารมณ์ และที่สำคัญกระตุ้นให้เราได้งานเป็นชิ้นเป็นอันยามเมื่ออยู่สตูดิโอแล้วเกิดความรู้สึกง่วงนอน”<br />

Mr.Chotiwat Pohnthueng (Air),<br />

a forth year student at The Faculty of Architecture,<br />

Naresuan University<br />

• Take You Home (artist : Baekhyun by EXO) - “A slow easy listening song, suitable for starting work because it can<br />

give you smooth mood.”<br />

• Ter-Tam-Hai-Dai-Roo (artist : Potato) - “A new song from Potato, very catchy. It fits really well when you already got a concept<br />

for the project.”<br />

• Wonder Woman (OST by Rupert Gregson - Williams) - “OST from a movie ‘Wonder Woman’. It gives you excitement<br />

and motivates you to work on your projects effectively when you’re feeling sleepy”<br />

ภาพ : https://exochartrecords.tumblr.com<br />

ภาพ : www.youtube.com<br />

ภาพ : http://music.sanook.com<br />

ภาพ : www.fungjai.com<br />

ภาพ : http://www.majorcineplex.com<br />

ภาพ : https://genius.com<br />

ภาพ : www.youtube.com<br />

ภาพ : www.youtube.com<br />

ภาพ : www.youtube.com<br />

วนา ทันท่าหว้า (วีนัส)<br />

ปี 4 นิสิตภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / มือเบสวง The Key<br />

Miss Wana Thunthawa (Venus),<br />

a forth year Landscape Architecture Student At Faculty of Architecture<br />

Kasetsart University, Bass Player The Key Band<br />

• เหงา เหงา (ศิลปิน Ink Warunthorn) “ในวันที่ไม่ได้อยู่คณะหรือนั่งทำงานกับกลุ่มเพื่อน ตอนทำงาน<br />

ที่โต๊ะคนเดียว ยิ่งถ้าลมพัดเบาๆ เพลงนี้ช่วยอยู่เป็นเพื่อนดีมากเลยค่ะ รู้สึกเหมือนว่ามีเพื่อนๆ อีก<br />

หลายคนที่ไกลกัน แยกไปที่นั่งทำงานที่บ้าน หรือที่หอ ก็กำลังเหงาๆ ไปพร้อมๆ กัน”<br />

• I Feel it Coming (ศิลปิน The Weeknd ft. Daft Punk) “ฟังแล้วหัวใจเต้นแรง ฟังตอนทำงาน<br />

แล้วก็เหมือนอยากจะลุกออกมาเต้นเบาๆ ประกอบจังหวะ ชอบเสียงเบสของเพลงและซาวนด์<br />

ต่างๆ ที่ Daft Punk แสดงออกมา เสียงร้องของ The Weekend ลื่นหูสุดๆ ไปเลย”<br />

• Crying in the Corner (ศิลปิน The Key) “เป็นเพลงของวงตัวเอง เหมือนเราร้องขอความช่วยเหลือ<br />

จากใครๆ แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีใครเลยที่จะได้ยิน ฉันก็เลยได้แต่ร้องไห้อยู่ตรงนั้นที่มุมนั้น ยิ่งเป็น<br />

ช่วงทำโปรเจ็กต์นี่ยิ่งเข้าถึงอารมณ์เลยค่ะ (ฮา) ไม่มีใครช่วยคุณได้นอกจากตัวคุณเองเท่านั้น”<br />

- 55 -<br />

• Ngao Ngao (artist : Ink Warunthorn) - “On the day when you’re neither at the studio<br />

nor sitting in a group of friends at the faculty, or when you are working alone,<br />

with slow blowing wind, this song can be a good company. It makes me think of<br />

friends who working at homes or dorms and feel lonely together.”<br />

• I Feel it Coming (artist : The Weekend ft. Daft Punk) - “This song pumps you up,<br />

listen to it while working I feel like to get up to dance with it. I love the bass and<br />

any sounds in the song Daft Punk created. The voice of The Weekend is really smooth.”<br />

• Crying in the Corner (artist : The Key) - “This my band’s song. The song is about begging<br />

for help but nobody can hear, so you end up crying in the corner. if you listen<br />

to this song while doing projects, it’ll get in you more emotionally.(Laugh) There’s<br />

no one to help but yourself.”<br />

MAR-APR 2017 - ISSUE 03


TEXT :<br />

TEAM<br />

HOW TO<br />

Can we get no flood when it rains?<br />

หน้าฝนทีไร ทำไมกรุงเทพฯ ต้องน้ำท่วมทุกที เกิดคำถามในใจชาว กทม.ว่า ทำไมน้ำท่วมง่ายจัง วันนี้ จะเล่าให้ฟังเรื่องวิธีการระบายน้ำในแบบต่างๆ<br />

Why is Bangkok flooded every rainy season? Bangkokians are wondering why Bangkok gets flooded so easily. Today,<br />

will describe various ways to drain away the water.<br />

เข้าใจน้ำ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจ “น้ำ” เสียก่อนว่า<br />

1 น้ำมีความเป็นไปง่ายๆ คือ ไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ<br />

ดังนั้น ที่ลาดคือพื้นที่ที่น้ำจะระบายได้เร็วที่สุด<br />

และที่ลุ่มคือพื้นที่ราบเรียบซึ่งน้ ำจะระบายได้ช้า นี่คือสาเหตุ<br />

ที่หลายบ้านนิยมถมที่ให้สูงกว่าถนนเยอะๆ เพราะนอกจาก<br />

จะไม่ทำให้น้ำจากถนนไหลเข้าบ้านแล้ว ท่อระบายน้ำยัง<br />

เอียงได้มากกว่า น้ำก็ไหลเร็วกว่า<br />

ระบายน้ำด้วยระบบคูคลอง จริงๆ แล้วกรุงเทพ<br />

2 มหานครมีการวางเครือข่ายคูคลองอย่างสุดยอด<br />

แต่เมื่อถึงจุดที่เมืองขยายจนต้องการถนนมากขึ้น<br />

จึงมีการถมคลองที่ไม่ใช่แค่เขตคลองถม พอถมคลองไป<br />

เครือข่ายก็ไม่ต่อเนื่อง การระบายน้ำก็เลยทำไม่ได้ข้อดีของ<br />

ของระบบคูคลองคือระบายน้ ำได้เร็ว แต่เสียพื้นที่มากต้องระวัง<br />

วัชพืชและขยะอุดตัน<br />

Understand the water : Firstly we have to understand<br />

its nature. Water simply flows from higher to lower<br />

ground. Therefore, the slope terrain is the best for the<br />

draining process, while the flat plain drains slowly. This<br />

is why many people prefer to raise their land up much<br />

higher than the roads. Not only will that prevent water<br />

from the nearby roads, but it also enable steeper slope<br />

for the drainage pipes - thus a faster flow.<br />

Open ditch drain : Bangkok did have a brilliant<br />

canal network. But when the city started to exand, more<br />

roads were needed and some canals were filled. Once<br />

canal network was broken, the drainage began to have<br />

problems. The advantage of canal drainage is speed. The<br />

drawbacks are loss of large land area and problems of<br />

unwanted weeds and trashes.<br />

ระบายน้ำแบบรูตุ่น วิธีนี้ไม่ค่อยมีใครท ำกันแล้ว<br />

3 เพราะต้องการความแข็งของผิวดินมาก วิธีการ<br />

คือทำทางน้ำใต้ดินหรือลากโซ่เหล็กลงไปใต้ดิน<br />

แล้วกรีดผิวดินเป็นทางเล็กๆ เพื่อให้น้ำไหลลงไปหาทางน้ำ<br />

ที่ทำไว้ ส่วนใหญ่ ใช้งานชั่วคราวเท่านั้น<br />

Mole drain : Nowadays, this method is rarely used<br />

because it needs the surface soil to be very strong since<br />

watercourses are built or iron chains are laid under<br />

ground. The ground surface is then cut into narrow gutters<br />

so that water flows into the prepared watercourses<br />

underground. This is mostly used as a contemporary<br />

execution.<br />

แบบท่อระบายน้ำ นี่คือวิธีที่ทำกันในปัจจุบัน<br />

4 โดยใช้การฝังท่อลงไปใต้ผิวดินเพื่อให้น้ำไหลไป<br />

ตามท่อ ซึ่งใช้ได้ทั้งท่อซีเมนต์และท่อพีวีซีมีการ<br />

เจาะรูจากบนผิวดินให้ลงไปถึงท่อและต้องมีบ่อพักเป็นระยะๆ<br />

ข้อดีของวิธีนี้คือได้พื้นผิวมาทำถนน ส่วนข้อเสียคือลงทุนสูง<br />

และต้องระวังการอุดตัน<br />

Pipe drain : This is the present method today.<br />

Cement and PVC pipes are laid underground to drain<br />

the water. Holes are then bored from the surface down<br />

to those pipes. There must be intermittent water sumps.<br />

The main advantage of this method is the free surface<br />

for roads. The drawbacks are its high investment cost<br />

and the problem of clogging.<br />

แบบบ่อเก็บน้ำ วิธีนี้เป็นการขุดบ่อเอาไว้เพื่อให้<br />

5 น้ำไหลมารวมกันในบ่อ ซึ่งระดับน้ำในบ่อขึ้นกับ<br />

ระดับน้ำในผิวดินและการปล่อยน้ำออกจากบ่อ<br />

จริงๆ แล้ววิธีนี้คือระบบการทำเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่ใช้กัน<br />

อยู่ทั่วประเทศ ข้อเสียคือเสียพื้นที่มาก แต่ข้อดีคือระบายน้ำ<br />

ลงบ่อได้เร็วมาก<br />

Well drain : Wells are dug to catch water. The level<br />

of water in the wells depends on the water table in the<br />

soil and the draining of the water from those wells. In<br />

fact, this is the same method normally used in dams or<br />

reservoirs in our country. The drawback is lot of land is<br />

needed but the advantage is fast drainage.<br />

แบบ กทม.2017 วิธีนี้ไม่แนะนำอย่างยิ่ง<br />

6 เป็นการระบายน้ำผ่านขยะอุดตันกว่า 5,000<br />

กิโลกรัมที่มีทั้งโซฟาและของใช้ในบ้านเรือนทำให้<br />

น้ำไหลออกได้ช้ามาก ส่งผลให้น้ำท่วมไปทั่วเมือง เราควร<br />

ช่วยกันลดปัญหานี้โดยการไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ ำลำคลอง น้ำท่วม<br />

ที่ผ่านมาเราโทษผู้ว่าฯ โทษฟ้าฝน แล้วอย่าลืมโทษคนกรุง<br />

กันเองด้วยนะ<br />

Bangkok 2017 : This method is absolutely not<br />

recommended. Water flows through over 5,000 Kg.<br />

of clogging trashes, including furniture and unwanted<br />

household appliances. Thus the water can be drained<br />

out very slowly, and the city is submerged. We should<br />

all help reduce this problem by stop throwing away our<br />

garbage into canals and rivers. We used to blame our<br />

governors or bad weather for previous floods, but we<br />

should not forget to blame ourselves too.<br />

- 56 -<br />

MAY-JUNE 2017 - ISSUE 04


เพียงแสดงบัตรสมาชิกหรือแสดงอาษาแอปพลิเคชั่น (<strong>ASA</strong> Application)<br />

ดาวน์โหลด <strong>ASA</strong> Application ได้แล้ววันนี้<br />

: MOST WANTED<br />

รับสมัครทีมงานประจำ วารสาร<br />

1. Content Manager<br />

ดูแลภาพรวมของเนื้อหาที่จะเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ของ asa <strong>CREW</strong> (เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก แอปพลิเคชั่น)<br />

2. นักเขียนแนวสถาปัตย์<br />

นักเขียนประจำ กองบรรณาธิการ ดูแลการผลิตบทความด้านสถาปัตย์ (ควรเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์โดยตรง)<br />

ติดตามข่าวสารในวงการสถาปนิกเป็นประจำ สามารถคิดประเด็นในการเขียนและสัมภาษณ์ได้<br />

3. ประสานงานกองบรรณาธิการ<br />

ประสานงานด้านข้อมูล เนื้อหา การนัดหมาย ระหว่างกองบรรณาธิการ กับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง<br />

4. Proof Reader<br />

พิสูจน์อักษรภาษาไทย และภาษาอังกฤษ<br />

สนใจร่วมงาน ส่งประวัติ ผลงาน และสิ่งที่อยากให้เรารู้มาที่ asacrewmag@gmail.com<br />

(subject สมัครงาน)


<strong>ASA</strong> privilege<br />

สิทธิพิเศษ สำหรับสมาชิก สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

สิทธิพิเศษ สาหรับสมาชิก สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

เพียงแสดงบัตรสมาชิกหรือแสดงอาษาแอปพลิเคชั่น (<strong>ASA</strong> ่น (<strong>ASA</strong> Application) Application)<br />

เพื่อรับสิทธิประโยชน์และส่วนลดจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการฯ<br />

Modernform Furniture<br />

ส่วนลด 20% จากราคาปกติ<br />

สาขาโมเดอร์นฟอร์ม ทาวเวอร์ โทร. 0 2708 9800<br />

สาขา CDC (Crystal Design Center) โทร. 0 2102-2100-3<br />

สาขา ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต โทร.0 2958-5613-4<br />

www.modernform.co.th<br />

**เฉพาะสินค้าเฟอร์นิเจอร์สานักงานเท่านั้น<br />

**สามารถใช้สิทธิพิเศษได้ที่ 3 สาขา ได้แก่ โมเดอร์นฟอร์ม ทาวเวอร์, CDC และ ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต เท่านั้น<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2561<br />

ODST MAKER<br />

777 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม สะพานสอง<br />

วังทองหลาง กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2933 5040-2<br />

www.odstmaker.com<br />

ส่วนลดพิเศษ 5% เพิ่มเติมจาก<br />

ส่วนลดปกติจากโชว์รูมหน้าร้าน<br />

เมื ่อซื ้อสินค้าราคาปกติมูลค่าตั ้งแต่<br />

50,000 บาทขึ ้นไป<br />

**เฉพาะสินค้าราคาปกติ และสินค้า<br />

ที ่ร่วมรายการเท่านั ้น<br />

** ตั ้งแต่วันนี ้ – 28 ธันวาคม 2560<br />

Jessica<br />

Esplanade Ratchadapisek<br />

ชั้น M ถนนรัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2660 9185 www.jessica.co.th<br />

ส่วนลด 20% จากราคาปกติ<br />

** ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

OMAZZ GALLERY<br />

3 สาขา ได้แก่<br />

สาขาเอกมัยซอย 4 โทร. 0 2714 4242<br />

สาขา CDC โทร. 0 2102 2255<br />

สาขาเมกาบางนา โทร. 0 2108 4988<br />

www.omazz.com<br />

ส่วนลดพิเศษ on top 5% เมื ่อซื ้อ<br />

สินค้าประเภทที ่นอน เตียงนอน และ<br />

ชุดเครื ่องนอน (จากราคาส่วนลดปกติ)<br />

พิเศษ! รับหมอนอิง ขนาด 15x15 นิ ้ว<br />

เมื ่อซื ้อสินค้ารายการใดก็ได้ (จ านวนจากัด)<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

94° Coffee<br />

เฉพาะสาขา ได้แก่ สาขา Golden Place ถนน<br />

ประดิษฐ์มนูธรรม, สาขา Golden Place สะพาน<br />

สูง, ลาดพร้าว 120, Home Pro เลียบทางด่วน<br />

เอกมัย-รามอินทรา, Home Pro พระราม 3 และ<br />

2 สาขาในสนามบินเชียงใหม่ (อาคารผู้โดยสาร<br />

ภายในประเทศ และอาคารผู้โดยสารระหว่าง<br />

ประเทศ)<br />

โทร. 0 2933 4090<br />

www.94coffee.com<br />

ส่วนลด 10% เฉพาะเครื ่องดื ่ม<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 30 กันยายน 2560<br />

Above Riva<br />

392/25-28 ถนนมหาราช พระบรมมหาราชวัง<br />

พระนคร กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2221 1188<br />

www.rivaarunbangkok.com<br />

ส่วนลด 10%<br />

สาหรับอาหารเมนูปกติเท่านั ้น<br />

ส่วนลด 10%<br />

สาหรับแพ็คเกจเทศกาลต่างๆ<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

BABBLE AND RUM<br />

23 ถนนพระอาทิตย์ ชนะสงคราม พระนคร กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2633 5000<br />

www.rivasuryabangkok.com<br />

ส่วนลด 10% สาหรับอาหารเมนู<br />

ปกติเท่านั ้น<br />

ส่วนลด 10% สาหรับแพ็คเกจ<br />

เทศกาลต่างๆ<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

Chao Phraya Princess Cruise<br />

94 ซอยเจริญนคร 21 ถนนเจริญนคร บางลาพูล่าง กรุงเทพฯ 10600<br />

โทร. 0 2860 3700<br />

www.chaophrayaprincess.com<br />

ส่วนลด 20% สาหรับล่องเรือรับประทานอาหารค ่า (จากราคา<br />

ปกติ)<br />

**ไม่สามารถใช้เป็นส่วนลดค่าเครื่องดื่มได้<br />

**ไม่สามารถใช้ในกรณีเหมาลาหรือเหมาชั ้นได้<br />

**ไม่สามารถใช้ในโปรแกรมพิเศษและวันหยุดเทศกาลต่างๆ<br />

**สารองที่นั ่งล่วงหน้า 3 วัน<br />

**ตั ้งแต่วันนี้ – 30 ธันวาคม 2560<br />

Louis Leeman The Grande<br />

161 ซอยสุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์) คลองตันเหนือ<br />

วัฒนา กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 0258 2807<br />

www.louisleeman.asia<br />

ส่วนลด 10% เฉพาะค่าอาหาร<br />

จากราคาปกติเท่านั ้น<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 30 กันยายน 2560<br />

Wild & Company<br />

33/1 ซอยฟาร์มวัฒนา พระโขนง คลองเตย<br />

กรุงเทพฯ<br />

โทร. 061 515 6989<br />

www.wildnco.com<br />

ส่วนลด 10% เฉพาะค่าอาหาร<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นหรือ<br />

รายการส่งเสริมการขายอื ่นๆ ได้<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 30 กันยายน 2560<br />

Backyard by Baan<br />

Jas Urban Srinakarin 788 หมู่ 5 ถนน<br />

ศรีนครินทร์ สาโรงเหนือ เมือง สมุทรปราการ<br />

โทร. 0 2386 7338-9<br />

www.facebook.com/pg/Backyardbybaan<br />

ส่วนลด 10% เฉพาะค่าอาหาร<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 30 กันยายน 2560<br />

Medinii<br />

The Continent Hotel Bangkok 413 คลองเตย<br />

เหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2686 7000<br />

www.thecontinenthotel.com<br />

ส่วนลด 10% สาหรับอิตาเลี ่ยนบุฟเฟ่ต์<br />

มื้อกลางวัน (ราคาปกติท่านละ 499+<br />

หรือ 587 net)<br />

**ใช้ส่วนลดได้เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์<br />

**กรุณาจองล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน<br />

**สามารถใช้ส่วนลดได้ 4 ท่าน / 1 บัตร<br />

**ขอสงวนสิทธิ ์การเปลี่ยนแปลงข้อมูล<br />

โดยที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

Luna Sky Garden Café<br />

โรงแรม GLOW Pratunam 919 ถนนเพชรบุรี<br />

พญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2257 3999<br />

www.glowhotels.com/pratunam<br />

ส่วนลด 20% สาหรับอาหารและเครื ่อง<br />

ดื่ม (ไม่รวมเครื ่องดื่มแอลกอฮอล์)<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ตุลาคม 2560


์<br />

<strong>ASA</strong> privilege<br />

Kathu Mining Co.<br />

MAI HOUSE Patong Hill 5/5 ถนนพระบารมี<br />

ป่าตอง กะทู้ ภูเก็ต โทร. 076 637 770<br />

www.maihouse.com/patonghill<br />

ส่วนลด 20%<br />

สาหรับอาหารและเครื ่องดื่ม (ไม่รวม<br />

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์)<br />

**ตั ้งแต่วันนี ้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

Well Spa<br />

Well Hotel Bangkok Sukhumvit 20 10/3<br />

ซอยสุขุมวิท 20 คลองเตย กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2127 5995<br />

www.wellhotelbangkok.com<br />

ส่วนลด 50% สาหรับทรีตเม้นท์พิเศษ<br />

3 รายการ ได้แก่ Indian Head<br />

Massage with Organic Coconut<br />

Oil (60 นาที), Charcoal and Lime<br />

Body Scrub หรือ Coffee Body<br />

Scrub (45 นาที) และ Rejuvenate<br />

Facial (60 นาที)<br />

ส่วนลด 25% สาหรับทรีตเม้นท์อื ่นๆ<br />

จากเมนูปกติ<br />

**กรุณาสารองเวลาล่วงหน้าที่ wellness@<br />

wellhotelbangkok.com หรือโทร. 0 2127 5995<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Dermaster<br />

342 ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) คลองตันเหนือ<br />

วัฒนา กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2714 4471<br />

www.dermaster-thailand.com<br />

ส่วนลดพิเศษสาหรับโปรแกรมปลูกผม<br />

ถาวรด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์รากผมเพื ่อ<br />

แก้ปัญหาผมบาง ศรีษะล้าน<br />

เมื่อปลูกผม 1,000 กราฟขึ ้นไป รับสิทธิ<br />

ซื้อ Hair Reform Treatment ลดการ<br />

หลุดร่วง กระตุ้นการงอกใหม่ ในราคา<br />

ลด 50%<br />

ฟรี! โปรแกรมตรวจสภาพเส้นผมและ<br />

หนังศีรษะ<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

Well Hotel Bangkok Sukhumvit 20<br />

10/3 ซอยสุขุมวิท 20 คลองเตย กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2127 5995<br />

www.wellhotelbangkok.com<br />

ส่วนลด 10% สาหรับห้องพัก จากราคา<br />

ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม, ฟรี! มิ<br />

นิบาร์ (น ้าอัดลมและเบียร์), นวดฟรี 15<br />

นาทีที ่เวลล์สปา, เข้าคลาสออกกาลัง<br />

กายกลุ่มฟรี ที ่เวลล์ฟิตเนส<br />

ส่วนลด 25% ที่ห้องอาหารของโรงแรม<br />

**สมัครสมาชิก Online Member ที่เว็บไซต์<br />

www.wellhotelbangkok.com เพื่อรับโค้ดส่วนลด<br />

ทางอีเมล สาหรับใช้ในการสารองห้องพัก<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560<br />

Ascott Sathorn Bangkok<br />

7 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2676 6868<br />

www.the-ascott.com<br />

ส่วนลด 20% สาหรับห้องพัก จากราคา<br />

ที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่<br />

สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัต<br />

ฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าทางอีเมล<br />

enquiry.thailand@the-ascott.com โดยแจ้ง<br />

Promotion Code : <strong>ASA</strong><br />

**สอบถามข้อมูลเพิ ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2204<br />

4400, 1800 888 272<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Metropole Bangkok<br />

ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ<br />

โทร. 0 2314 8555 www.the-ascott.com<br />

ส่วนลด 30% สาหรับห้องพัก จากราคาที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วัน<br />

หยุดนักขัตฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้ **กรุณาส ารองห้องพักล่วงหน้า<br />

ทางอีเมล enquiry.thailand@the-ascott.com โดยแจ้ง Promotion Code : <strong>ASA</strong><br />

**สอบถามข้อมูลเพิ ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2204 4400, 1800 888 272<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Somerset Serviced Residence<br />

Somerset Ekamai Bangkok, Somerset Sukhumvit Thonglor Bangkok,<br />

Somerset Lake Point Bangkok and Somerset Park Suanplu Bangkok<br />

www.somerset.com<br />

ส่วนลด 20% สาหรับห้องพัก จากราคาที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุด<br />

นักขัตฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้ **กรุณาส ารองห้องพักล่วงหน้าทางอีเมล<br />

enquiry.thailand@the-ascott.com โดยแจ้ง Promotion Code : <strong>ASA</strong><br />

**สอบถามข้อมูลเพิ ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2204 4400, 1800 888 272<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Citadines Apart’ Hotel<br />

Citadines Sukhumvit 8, Citadines Sukhumvit 11, Citadines Sukhumvit 16, Citadines<br />

Sukhumvit 23 and Citadines Grand Central Sri Racha<br />

www.citadines.com<br />

ส่วนลด 20% สาหรับห้องพัก จากราคาที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น และไม่สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุดนักขัตฤกษ์,<br />

วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้ **กรุณาส ารองห้องพักล่วงหน้าทาง<br />

อีเมล enquiry.thailand@the-ascott.com โดยแจ้ง Promotion Code : <strong>ASA</strong><br />

**สอบถามข้อมูลเพิ ่มเติมได้ที่เบอร์ 0 2204 4400, 1800 888 272 **ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Samui Palm Beach Resort<br />

175/3 หมู่ 1 ถนนทวีราษฎร์ภักดี บ่อผุด เกาะสมุย<br />

สุราษฎร์ธานี<br />

โทร. 0 7742 5494-5<br />

www.samuipalmbeachresorts.com<br />

ส่วนลด 10% สาหรับห้องพัก<br />

ทุกประเภท จากราคาที ่ดีที่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

ส่วนลด 20% เฉพาะค่าอาหาร ที ่ห้อง<br />

อาหาร Trade Wind Restaurant<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น<br />

และไม่สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุด<br />

นักขัตฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าทางอีเมล<br />

info@samuipalmbeach.com<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Panviman Resort Koh Phangan<br />

22/1 หมู่ 5 หาดท้องนายปานน้อย บ้านใต้<br />

เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี<br />

โทร. 0 7744 5101-9<br />

www.panviman.com<br />

ส่วนลด 15% จากราคาที ่ดีที ่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

สาหรับการจองห้องพักทุกประเภท<br />

พร้อมอาหารเช้า สาหรับ 2 ท่าน<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน<br />

**ระยะเวลาในการรับสิทธิพิเศษ<br />

ตั้งแต่วันนี้ – 20 ธันวาคม 2560<br />

Grand Mercure Phuket Patong<br />

Resort & Villas<br />

1 ซอยราษฎร์อุทิศ 200 ปี 2 ป่าตอง กะทู้ ภูเก็ต<br />

โทร. 0 7623 1999<br />

www.grandmercurephuketpatong.com<br />

จอง 1 คืน แถม 1 คืน ฟรี!<br />

ห้องพักแบบ Superior พร้อม<br />

อาหารเช้า 2 ท่าน ราคาพิเศษ<br />

6,999 บาท<br />

One Bedroom Pool Villa<br />

พร้อมอาหารเช้า สิทธิ ์ใช้บริการ<br />

ที ่ Grand Club Lounge และรaถ<br />

รับ-ส่ง สนามบินภูเก็ต 2 ท่าน<br />

ในราคาเพียง 19,999 บาท<br />

*สามารถใช้โปรโมชั่นได้ทุกวัน (ในกรณีที่มีห้องว่าง)<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน<br />

ทางอีเมล h8109@accor.com<br />

***ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

Celes Beachfront Resort<br />

175/3 หมู่ 1 ถนนทวีราษฎร์ภักดี บ่อผุด<br />

เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี<br />

โทร. 0 7790 0999<br />

www.celesresorts.com<br />

ส่วนลด 10% สาหรับห้องพัก<br />

ทุกประเภท จากราคาที่ดีที่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

ส่วนลด 20% เฉพาะค่าอาหาร<br />

ที่ห้องอาหาร Sea Grille restaurant<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น<br />

และไม่สามารถใช้ในช่วงวันหยุดต่อเนื่อง, วันหยุด<br />

นักขัตฤกษ์, วันหยุดเทศกาล หรือพีคซีซั่นได้<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าทางอีเมล<br />

info@celesresorts.com<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2560<br />

Mida Hotels and Resorts<br />

ไมด้า โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท<br />

Mida Resort Kanchanaburi<br />

www.midaresortkanchanaburi.com<br />

Mida De Sea Hua Hin<br />

www.midadeseahuahin.com<br />

Mida Grande Hotel Dhavaravati Nakhon<br />

Pathom<br />

www.midadhavaravatigrandehotel.com<br />

Mida Hotel Don Mueang Airport Bangkok<br />

www.midaairporthotelbangkok.com<br />

Mida Hotel Ngamwongwan www.<br />

midahotelngamwongwan.com<br />

โทร. 0 2574 3636<br />

ส่วนลด 10% สาหรับการจองห้องพัก<br />

จากราคาที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของ<br />

โรงแรม<br />

ส่วนลด 10% เฉพาะค่าอาหาร<br />

ที่ห้องอาหาร M Café, Sky Bar,<br />

Mandarin, 711 Bistro, The<br />

Terrace และ River Romance<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้<br />

**กรุณาสารองห้องพักที่หน้าเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

โดยใส่ Promotion Code : <strong>ASA</strong>17<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

MAI HOUSE Patong Hill<br />

5/5 ถนนพระบารมี ป่าตอง กะทู้ ภูเก็ต<br />

โทร. 0 7663 7770 www.maihouse.com/patonghill<br />

ส่วนลด 15% สาหรับห้องพัก จากราคาที่ดีที่สุดบน<br />

เว็บไซต์ของโรงแรม<br />

GLOW Hotels & Resorts<br />

GLOW Pratunam โทร.0 2257 3999<br />

www.glowhotels.com/pratunam<br />

GLOW Elixir Koh Yao Yai โทร. 08 7808 3838<br />

www.glowhotels.com/elixir-koh-yao-yai<br />

GLOW Penang โทร. (+60) 4 226 0084<br />

www.glowhotels.com/penang<br />

ส่วนลด 15% สาหรับห้องพัก จากราคาที่ดีที่สุด<br />

บนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าทางเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

โดยใส่รหัส “<strong>ASA</strong>2U” ในช่อง Voucher | Promo Code<br />

**เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงแรมก าหนด<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

**กรุณาสารองห้องพักล่วงหน้าทางเว็บไซต์ของโรงแรม โดยใส่<br />

รหัส “<strong>ASA</strong>2U” ในช่อง Voucher | Promo Code<br />

**เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงแรมก าหนด<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2560<br />

Pimalai Resort&Spa<br />

99 หมู่ 5 หาดบากันเตียง เกาะลันตา กระบี่<br />

โทร. 0 2320 5500 www.pimalai.com<br />

ส่วนลด 10% สาหรับการจองห้องพักทุกประเภท<br />

จากราคาที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของโรงแรม<br />

**ไม่สามารถใช้ร่วมกับรายการส่งเสริมการขายอื่นได้<br />

**ตั้งแต่วันนี้ – 20 ธันวาคม 2560<br />

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.asa.or.th<br />

ดาวน์โหลด <strong>ASA</strong> Application ได้ทาง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!