22.01.2018 Views

เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong><br />

พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong><br />

พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


บทอาเศียรวาท<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

จารจารึกพระเกียรติเกริกเกรียงไกร คู่ไผทถิ่นงามสยามแดน<br />

เนิ่นนานกว่าชาติไทยจะใหญ่ยิ่ง ผ่านหลากสิ่งอันลำเค็ญยากเข็ญแสน<br />

ด้วยมุ่งมั่นทหารไทยให้ทดแทน บนดินแผ่นแห่งสยามนามประเทือง<br />

ด้วยพระเดชบุญราศีที่หาญกล้า นำนคราผ่าโพยภัยในทุกเรื่อง<br />

ทรงนำทัพนำปวงชัยใคร่รุ่งเรือง นามเมลืองเปี่ยมบุญญาบารมี<br />

ทรงสร้างนำคำว่าไทยให้หาญกล้า งามสง่าสวยเด่นเป็นศักดิ์ศรี<br />

ทรงกรำศึกราญราบปราบไพรี ปฐพีจึงร่มเย็นเด่นในธรรม<br />

ขออัญเชิญพระบุญญามาเหนือเกล้าฯ ทุกหมู่เหล่าทหารไทยใจชื่นฉ่ำ<br />

ขอเทิดทูนสถาบันกษัตริย์ด้วยสัตย์นำ ทรงเลิศล้ำคู่ถิ่นไทยไปชั่วกาล<br />

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ<br />

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม<br />

(พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)


สารบัญ<br />

บทอาเศียรวาท ๒<br />

ปฐมบท ๔<br />

กิจการทหารไทย ก่อนยุคกรุงสุโขทัย ๙<br />

กิจการทหารไทย ยุคกรุงสุโขทัย ๑๗<br />

กิจการทหารไทย สมัยราชอาณาจักรอยุธยา ๒๗<br />

กิจการทหารไทย สมัยราชอาณาจักรธนบุรี ๔๑<br />

กิจการทหารไทย สมัยราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ๔๙<br />

ศัสตราวุธในยุคก่อนกรมยุทธนาธิการ ๑๐๔<br />

ปัจฉิมบท ๑๕๓<br />

เอกสารอ้างอิง ๑๕๖


ปฐมบท<br />

ประวัติศาสตร์ชาติไทยมีการบันทึกประวัติไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้กำหนดเขตแดนและอำนาจการปกครองในรูปแบบ<br />

ของรัฐที่เรียกว่า “รัฐไทย” นั้น เริ่มต้นเป็นราชอาณาจักร (Kingdom) และมีการจัดการปกครองด้วยอำนาจรัฐ ตั้งแต่ปี<br />

พ.ศ.๑๗๙๒ เป็นต้นมา โดยสถาปนาเป็นราชอาณาจักรสุโขทัยหรือกรุงสุโขทัย ที่มีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเป็นปฐมกษัตริย์<br />

แห่งราชวงศ์พระร่วง หลังจากนั้น ประวัติศาสตร์ชาติไทยก็ได้มีวิวัฒนาการที่รุ่งเรืองเป็นยุคสมัยต่าง ๆ สืบต่อกันมา กล่าวคือ<br />

ราชอาณาจักรศรีอยุธยา ราชอาณาจักรธนบุรี และราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ตราบจนปัจจุบัน<br />

4 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ความมั่นคงของรัฐไทยตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา กอปรด้วยสิ่งสำคัญที่อยู่เคียงคู่ความเป็นรัฐ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์<br />

ที่ทรงดำรงพระราชสถานะเป็นพระประมุขของรัฐ ทรงเป็นผู้นำกองทัพเพื่อปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากภัยคุกคามที่มา<br />

จากภายนอกประเทศ ทั ้งยังดำรงพระราชสถานะเป็นองค์จอมทัพที่มีพระราชอำนาจบังคับบัญชากองทัพสยาม (ซึ่งต่อมาได้<br />

พัฒนาจนมาเป็นกองทัพไทยในปัจจุบัน) ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจทำนุบำรุงและสนับสนุนการพัฒนากิจการทหารของไทย<br />

ให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ เพื่อก่อให้เกิดศักย์ทางสงครามในการปกป้องอธิปไตย และเอกราชของ<br />

ประเทศเสมอมา จึงกล่าวได้ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ และกิจการทหารของไทย คงอยู่เคียงคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่<br />

อดีตสืบต่อเนื่องตลอดมา<br />

ภาพแผนที่ประเทศไทยในอดีต<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

5


พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ราชอาณาจักรไทยมีศูนย์กลาง<br />

การปกครองในแต่ละยุคตั้งแต่กรุงสุโขทัย เป็นต้นมา โดยมี<br />

พระมหากษัตริย์ที่ทรงดำรงพระราชสถานะเป็นองค์พระประมุข<br />

องค์รัฏฐาธิปัตย์และองค์จอมทัพ และแม้ว่าภายหลังจากเหตุการณ์<br />

เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕<br />

เป็นต้นมา ได้ส่งผลให้ประเทศไทยปรับเปลี่ยนระบอบการปกครอง<br />

จากเดิมคือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarchy)<br />

มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข<br />

(Democracy) ก็ตาม แต่ก็ยังคงสถานะของประเทศเป็น<br />

ราชอาณาจักร (Kingdom) อยู่เช่นเดิมมิได้เปลี่ยนแปลง จึงเป็น<br />

การบ่งบอกให้เห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบารมีของ<br />

องค์กษัตริยาธิราชเจ้า คือ ศูนย์รวมใจของประชาชนชาวไทย<br />

ที ่เปี่ยมล้นไปด้วยความเคารพเทิดทูน ความสำนึกในพระมหา<br />

กรุณาธิคุณ และพร้อมถวายความจงรักภักดีตลอดมา และยังทรง<br />

เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้แก่ทหารหาญทั้งปวงที่ปฏิบัติหน้าที่และ<br />

ดำเนินชีวิตภายใต้ร่มฉัตรขององค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงดำรง<br />

พระราชสถานะ จอมทัพไทย อย่างมิรู้คลาย จึงเป็นการยืนยัน<br />

ให้สาธารณชนได้รับทราบว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ คือ<br />

สถาบันหลักที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและช่วยก่อให้เกิดพลังใจ<br />

ให้ประชาชนทั่วประเทศเปี่ยมล้นไปด้วยความหวัง บังเกิดความ<br />

มั่นคงในจิตใจ และพร้อมดำเนินกิจต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นราชพลีโดยพร้อมเพรียง อีกทั้ง กิจการทหารไทย คือ กลไกสำคัญ<br />

ที่พร้อมถวายงานแด่สถาบันพระมหากษัตริย์ในกิจการการสร้างความมั่นคงหลากหลายมิติ และเป็นข้ารองพระบาท<br />

แห่งองค์พระมหากษัตริย์สืบมา กับพร้อมที่จะถวายงานด้วยความมุ่งมั่นและจงรักภักดีตลอดไป<br />

6 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการบันทึกทาง<br />

ประวัติศาสตร์และการค้นคว้าของนักวิชาการด้าน<br />

ประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีที่รวบรวมและเรียบเรียง<br />

จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ สามารถสรุปข้อสันนิษฐานได้<br />

ว่า ชนชาวไทยได้รวมกันและสร้างเป็นแว่นแคว้นในยุค<br />

โบราณบนดินแดนสุวรรณภูมิมาแต่ก่อนการสถาปนา<br />

ขึ้นเป็นราชอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งได้แก่ อาณาจักรฟูนัน<br />

ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๑ และมีการเกิดขึ้น<br />

ของอาณาจักรอื่นนับเนื่องกันมา ทั้งนี้ การเกิดขึ้นเป็น<br />

แว่นแคว้นต่าง ๆ ก็มีการเกิดขึ้นมาพร้อมกับกำลังทหาร<br />

หรือกิจการทหารที่มีคุณลักษณะ มีเรื่องราว และมีการ<br />

ดำเนินบทบาทค่อนข้างแจ่มชัดของยุคโบราณในแต่ละยุค<br />

จึงเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามเพราะการใช้กำลังทหาร<br />

ในการสัประยุทธ์แต่ละครั้ง ย่อมหมายถึงความเสียสละ<br />

ความเหนื่อยยากและความสูญเสียที่เกิดขึ้นของบรรพชน<br />

ไทย เพื่อรักษาเอกราชและอิสรภาพให้คงอยู่ในดินแดน<br />

สุวรรณภูมิ ซึ่งส่งมอบความเป็นไทมาให้คนในยุคปัจจุบัน<br />

และจะส่งต่อไปยังอนุชนคนรุ่นหลังต่อไป<br />

ดังนั้น การเรียบเรียงและนำเสนอสารัตถะของ<br />

หนังสือ “<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ<br />

เหล่าทหารไทย” นี้ จึงเป็นการบันทึกเรื่องราวสำคัญ<br />

ของสถาบันพระมหากษัตริย์และกิจการทหารไทยใน<br />

ทุกยุคทุกสมัยที่เป็นราชอาณาจักรตั้งแต่กรุงสุโขทัย<br />

เป็นต้นมา รวมถึงกิจการทหารไทยก่อนยุคกรุงสุโขทัย<br />

เพื่อให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ และประกาศให้<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

7


สังคมไทยและประชาชนชาวไทยได้รับทราบถึงพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรง<br />

สร้างชาติ การดำรงความเป็นเอกราชของชาติไทย ทรงนำกองทัพ และทรงมีพระราชดำริในการพัฒนากิจการทหารไทยให้มีความ<br />

เจริญรุ่งเรือง จนเป็นกลไกหลักสำคัญในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทย<br />

มีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน และการพัฒนา<br />

ประเทศสืบต่อไป<br />

ภาพการสงครามในอดีต<br />

8 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

ภาพวาดกระบวนการจัดทัพสมัยอยุธยา<br />

จากจิตรกรรมฝาผนังวัดประดู่ทรงธรรม<br />

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


กิจการทหารไทย<br />

ก่อนยุคกรุงสุโขทัย


กิจการทหารไทยก่อนยุคกรุงสุโขทัย<br />

กิจการทหารไทยในยุคโบราณนั้น เริ่มต้นขึ้นจากการรวมกลุ่มของเมืองที่อยู่ในภูมิภาคใกล้กันเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นรัฐหรือ<br />

แว่นแคว้นที่มีรูปแบบเป็น “อาณาจักร” หรือ “แคว้น” ในลักษณะของการรวมตัวกลุ่มชนชาติ หรือกลุ่มเมือง ซึ่งกระจายไปตาม<br />

ภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งเป็นรัฐสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๙ โดยอาณาจักรโบราณที่สำคัญ ประกอบด้วย<br />

๑. อาณาจักรทางตอนเหนือ<br />

๑.๑ แคว้นโยนกนาคนครหรือสุวรรณโคมคำหรือเชียงแสน<br />

(บริเวณลุ่มแม่น้ำกก) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๑<br />

๑.๒ อาณาจักรล้านนา (เดิมคือแคว้นหิรัญนครเงินยาง)<br />

(บริเวณลุ่มแม่น้ำกก) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๘<br />

๑.๓ แคว้นพะเยา (บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๒๐<br />

๑.๔ อาณาจักรหรือแคว้นหริภุญชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๙<br />

๒. อาณาจักรทางตอนกลาง<br />

๒.๑ อาณาจักรฟูนัน (บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๑<br />

๒.๒ อาณาจักรทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖<br />

๒.๓ อาณาจักรละโว้ หรืออาณาจักรลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘<br />

๓. อาณาจักรทางตอนใต้<br />

๓.๑ อาณาจักรหรือแคว้นตามพรลิงค์<br />

(นครศรีธรรมราช) ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ – ๑๙<br />

๓.๒ อาณาจักรศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๘<br />

ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการตั้งรกรากและถิ่นเดิม<br />

ของชาวไทยในสุวรรณภูมิ ที่ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ รวมถึง ๕ แนวความคิด กล่าวคือ<br />

10 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


อาณาจักรฟูนัน<br />

อาณาจักรทวารวดี<br />

อาณาจักรตามพรลิงค์<br />

อาณาจักรละโว้<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

11


อาณาจักรล้านนา<br />

แนวความคิดแรก เป็นแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนกลางของจีน<br />

แนวความคิดที่สอง เป็นแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในบริเวณตอนใต้ของจีน<br />

แนวความคิดที่สาม เป็นแนวคิดชนชาติไทยเป็นเชื้อสายมองโกลถิ่นเดิมอยู่แถบภูเขาอัลไต<br />

แนวความคิดที่สี่ เป็นแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย<br />

แนวความคิดที่ห้า เป็นแนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน<br />

12 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


อาณาจักรหริภุญชัย<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

13


ภาพจำหลักการจัดทัพของทหารไทยโบราณ<br />

ในยุคขอมเรืองอำนาจ ที่ชื่อว่า “เสียมกุก”<br />

ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน<br />

ส่วนใหญ่มีความมั่นใจในแนวความคิดที่ห้า<br />

มากขึ้น ทั้งนี้เพราะได้มีการขุดพบศิลาจารึกใน<br />

ยุคก่อนราชอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเป็นศิลาจารึก<br />

ที่เขียนด้วยอักษรมอญและอักษรขอม โดย<br />

เขียนเป็นภาษามอญ ภาษาขอม ภาษาบาลี<br />

และสันสกฤต แต่ไม่มีจารึกเป็นภาษาไทยเลย<br />

ย่อมแสดงได้ว่าในยุคก่อนสมัยราชอาณาจักร<br />

สุโขทัย คนไทยในยุคแรก เป็นการผสมผสาน<br />

ของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ปะปนกับกลุ่มชน<br />

ที่มีการตั้งรกรากอย่างมั่นคงและมีภาษาพูดเป็นของตนเอง อาทิ มอญ เขมร ซึ่งหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการมีกลุ่มชนที่ใช้<br />

ภาษาไทย ได้ปรากฏอยู่ในจารึกของจามปา เขมร และมอญ โดยปรากฏคำว่า “เสียม” หรือ “สยาม” ในจารึกพุทธศตวรรษ<br />

ที่ ๑๖ เป็นครั้งแรก<br />

เมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่๑๗ ได้ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีคือ ภาพจำหลักหน้าหนึ่ง ที่ระเบียงปราสาทนครวัด<br />

ประเทศกัมพูชา ซึ่งจากการบันทึกทราบว่าได้จำหลักขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ประมาณ พ.ศ.๑๗๒๔ – ๑๗๖๑)<br />

โดยภาพจำหลักดังกล่าว เป็นภาพทหารกองหนึ่งที่อยู่ในขบวนพยุหยาตราของกองทัพพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (ประมาณ พ.ศ.<br />

๑๖๕๖ – ๑๖๙๕) ที่กรีฑาทัพไปตีอาณาจักรจามปา และสามารถยึดเมืองวิชัยราชธานีของจามไว้ได้ เมื่อประมาณ พ.ศ.<br />

๑๖๘๘ โดยภาพจำหลักตอนหนึ่งเป็นภาพขบวนทหารที่เดินอยู่ทางตอนหน้าของขบวนทัพ มีผู้บังคับบัญชาอยู่บนหลังช้าง และ<br />

มีอักษรจารึกไว้ว่าเป็นหน่วยทหารที่มีชื่อว่า “เสียมกุก” คือ กองทัพของชาวเสียม (สยาม) ที่มีการแต่งกายในลักษณะที่แตกต่าง<br />

จากทหารกองอื่น และภาพจำหลักอีกตอนหนึ่งคือ กองทหารชาวละโว้ โดยรูปทหารชาวละโว้แต่งกายเหมือนกับพวกขอม โดย<br />

นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสคณะหนึ่งกล่าวว่า หน่วยทหารของสยามเข้าร่วมรบในฐานะที่เป็นพันธมิตรกับอาณาจักรขอม (กัมพูชา)<br />

ได้เป็นกองระวังหน้าในกองทัพพระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒ ดังนั้น ภาพจำหลักและคำจารึกภาษาเขมรที่อธิบายภาพขบวนทหารสยาม<br />

ว่า “เสียมกุก” นั้น จึงนับว่าเป็นหลักฐานของกองทัพไทยในยุคโบราณที่ชัดเจนและเก่าแก่ที่สุด นอกจากนี้ ได้มีนักโบราณคดีไทย<br />

บางท่านกล่าวว่า กองทัพเสียมกุกนั้น เป็นการจัดทัพที่รวบรวมกำลังพลมาจากลุ่มแม่น้ำกก ซึ่งมี ขุนเจื๋อง (ท้าวฮุง) ผู้นำแห่ง<br />

อาณาจักรเงินยาง (ครองเมืองพะเยา) เป็นผู้รวบรวมกำลังชาวเสียม (ประกอบด้วย ชาวไทย ชาวลาว ชาวข่า และชนเผ่าต่าง ๆ)<br />

14 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพวาดที่ถอดมาจากภาพจำหลัก ที่ชื่อว่า “เสียมกุก”<br />

ส่งกำลังพลไปช่วยรบในกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมัน ที่ ๒ ทั้งนี้ หากพิจารณาจากการแต่งกายที่มีลักษณะการเกล้าผมทรงสูง<br />

ไว้กลางกระหม่อม รวบผมรัดด้วยเกี้ยวเป็นชั้นและบนยอดสุดประดับพู่ สวมใส่ต่างหู นุ่งผ้าแหวกข้างหน้า และยังประดับพู่ห้อย<br />

รอบเอว จะมีลักษณะการแต่งกายคล้ายการแต่งกายของผู้ชายในภาคกลางของสมัยอาณาจักรทวารวดีนอกจากนี้ สิ่งที่น่าสนใจ<br />

คือ การถืออาวุธของพลเดินเท้าที่มือขวาถือหอกด้ามยาวปลายประดับพู่ มือซ้ายถือโล่ห์แบบกาบกล้วยโค้งยาว และสำหรับ<br />

ผู้ที่เป็นนายทัพอยู่บนหลังช้าง โดยยืนอยู่บนสัปคับช้าง มือถือธนู มีกลดด้ามยาวชูกันแดดและเป็นเครื่องประดับยศ สำหรับ<br />

ควาญหน้าถือหอก ปลายประดับพู่หลายชั้น<br />

ซึ่งจากการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า รัฐไทยในยุคโบราณเกิดขึ้น<br />

มาจากปรากฏการณ์ที่ชนชาติไทยมีจำนวนมากขึ้น อันสืบเนื่องจากความเจริญของพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนและมีผู้นำที่มี<br />

ความเข้มแข็งสามารถกำจัดอิทธิพลของคนพื้นเมืองหรือพวกที่มีอำนาจอยู่แต่ก่อนเก่า ทำให้พลเมืองต่างยกฐานะผู้นำขึ้นเป็น<br />

ผู้ปกครองและมีการขยายอำนาจเกิดเป็นแคว้นและอาณาจักรของคนไทยขึ้น โดยรัฐไทยที่มีการก่อตั ้งในยุคแรกเกิดขึ้นในภาค<br />

เหนือตอนบน สำหรับอาณาจักรฟูนัน (บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง) สันนิษฐานว่า เป็นอาณาจักรของขอมยุคโบราณและอาจ<br />

มีชนเผ่าต่าง ๆ รวมถึงไทยโบราณที่เข้ามารวมกันและตั้งขึ้นเป็นอาณาจักรในพื้นที่กัมพูชาและเวียดนามในปัจจุบัน ในขณะที่<br />

ทางตอนใต้ก็เกิดเป็นอาณาจักรตามพรลิงค์ ที่สันนิษฐานว่าเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากทางตะวันตกหรืออินเดียและมาตั้งรกราก<br />

ในสุวรรณภูมิและมีการผนวกชนเผ่าไทย ในพื้นที่ดังกล่าวไว้ด้วยกัน มีลักษณะการเป็นอาณาจักรที่มีพื้นที่ในต่างภูมิภาค จึงไม่มี<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

15


การรุกรานกันอย่างเป็นสงครามขนาดใหญ่ และต่างมีพัฒนาการในยุคต่อมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น บทบาทในการปกครอง จึงมี<br />

ลักษณะเป็นการจัดสายการปกครองที่มีระยะสั้น กล่าวคือ มีผู้นำที่เป็นชนชั้นปกครองระดับหนึ่ง กับประชาชนที่ให้การยอมรับ<br />

และมีความเกรงกลัวในความสามารถของผู้นำเพียงอีกระดับหนึ่ง<br />

ในส่วนของกิจการทหาร มีการจัดสายการบังคับบัญชาเป็นผู้นำทัพ และกำลังพลที่ส่วนใหญ่เป็นการเดินเท้า ที่ใช้การ<br />

เกณฑ์หรืออาสาสมัครจากประชาชนมาฝึกอาวุธ สังเกตได้จากการใช้หอกด้ามยาวและใช้โล่ห์ป้องกันตัวขนาดใหญ่ ที่เข้าสู่พื้นที่<br />

การรบในระยะที่ยังไม่เป็นการรบประชิดมากนัก และการที่ผู้นำทัพยืนบนหลังช้างและใช้ธนูหรือศรเป็นอาวุธ ย่อมเห็นได้ว่ามีการ<br />

ทำการรบในระยะห่างตามรัศมีของการยิงธนู ที่อาจนำกำลังเข้าปะทะกันในลานกว้างเพื่อรู้ผลแพ้ชนะในแต่ละวัน ในลักษณะ<br />

เช่นเดียวกับการรบแบบจีนโบราณที่ใช้อาวุธด้ามยาวเพื่อหลีกเลี่ยงการรบลักษณะประชิด และให้ผู้นำทัพหรือขุนศึกเข้าต่อสู้กัน<br />

เพื่อชัยชนะในแต่ละวัน จนกว่าจะเกิดผู้แพ้หรือผู้ชนะในสมรภูมิที่มีการจำกัดพี้นที่ และผลแพ้ชนะจะชี้ขาดที่การต่อสู้ของผู้นำทัพ<br />

หรือขุนศึกของแต่ละฝ่าย จึงมีลักษณะการสูญเสียไพร่พลน้อย<br />

ภาพการจัดทัพขอม จากจำหลักปราสาทนครวัด<br />

ซึ่งในยุคดังกล่าวมีอาณาจักรของเพื่อนบ้านที่สำคัญคือ อาณาจักรขอมหรืออาณาจักรเขมร (ระหว่างพุทธศตวรรษที่<br />

๑๖ - ๑๘) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีเมืองที่เป็นศูนย์กลางการปกครองคือ เมืองพระนคร (เสียมราฐ)<br />

เป็นเมืองหลวง ได้ขยายอำนาจและอิทธิพลเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และที่ราบลุ่มแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาในภาคกลางของดินแดนที่เป็นประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้หรือลพบุรี ซึ่งเมื่อภายหลัง<br />

จากที่อาณาจักรขอมยึดอาณาจักรละโว้ได้แล้ว จึงได้จัดตั้งให้เมืองละโว้เป็นเมืองหน้าด่านด้านตะวันตกของอาณาจักรขอม<br />

ในเวลาต่อมา<br />

16 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


กิจการทหารไทย<br />

ยุคกรุงสุโขทัย


กิจการทหารไทยยุคกรุงสุโขทัย<br />

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์<br />

อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก<br />

๑. การเมืองและการปกครอง<br />

ราชอาณาจักรสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๗๙๒ - ๒๐๐๖)<br />

ได้เริ่มต้นสถาปนาเป็นราชอาณาจักรภายหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้า<br />

ชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชสมบัติระหว่างปี พ.ศ.๑๗๒๕ – ๑๗๖๑)<br />

ซึ่งเป็นยุคที่อาณาจักรขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง ดังนั้น คนไทยที่อยู่<br />

ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (บริเวณจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ที่เคยอยู่<br />

ภายใต้อำนาจของอาณาจักรขอมต่างพยายามที่จะตั้งตนเป็นอิสระ<br />

และด้วยความสามารถในการรบของผู้นำไทยในสมัยนั้น ๒ ท่านคือ<br />

พ่อขุนบางกลางหาว (เจ้าเมืองบางยาง) และพ่อขุนผาเมือง (เจ้าเมืองราด)<br />

ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทยที่เคยถูกกดขี่โดยชาวขอม และนำกำลัง<br />

เข้าสู้รบขับไล่ขอมที่ปกครองพื้นที่เมืองสุโขทัยได้สำเร็จ และในที่สุด<br />

พ่อขุนบางกลางหาว ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง<br />

สุโขทัย เมื่อประมาณปีพ.ศ.๑๗๙๒ ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์<br />

ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง<br />

ในช่วงแรกที่เริ่มตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยนั้น นับว่ายังเป็น<br />

ราชอาณาจักรที่ยังไม่มีความมั่นคงมากนัก ทั้งนี้เพราะเมืองสุโขทัยมีที่ตั้ง<br />

อยู่ท่ามกลางนครรัฐของชนชาติไทยกลุ่มอื่นและชนชาติอื่น ซึ่งต่างตั้งตัว<br />

เป็นอิสระจากขอมและมีอำนาจมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเมืองสุโขทัย<br />

ยังไม่เป็นที่ยอมรับของหลายนครรัฐ แต่ความมั่นคงแข็งแรงก็บังเกิดขึ้น<br />

แก่ราชอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๘๐๕ ซึ่งเกิดเหตุการณ์<br />

การรบครั้งสำคัญ ในคราวที่ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (บริเวณลุ่มแม่น้ำเมย)<br />

ได้ยกทัพเข้ามาล้อมเมืองตาก อันเป็นเมืองหน้าด่านด้านตะวันตกของ<br />

ราชอาณาจักรสุโขทัย การศึกในครั้งนั้น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กษัตริย์<br />

18 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


แห่งกรุงสุโขทัย ได้กรีฑาทัพไปปราบขุนสามชนพร้อมด้วยพระราชโอรสองค์เล็ก<br />

คือ “เจ้าราม” (ต่อมาทรงพระนามว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) ขณะที่ทรงมี<br />

พระชนมายุ ๑๙ พรรษา โดยการรบในครั้งนั้น เจ้ารามทรงช่วยพระราชบิดา<br />

ในการรบกับขุนสามชนอย่างกล้าหาญด้วยการกระทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะ<br />

ภายหลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงพระราชทานนามพระราชโอรสว่า<br />

“เจ้ารามคำแหง”<br />

ภาพการรบกับขอมในสมัย<br />

พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง<br />

ภาพจำหลักการรบของเจ้ารามคำแหง กับขุนสามชน<br />

ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความรุ่งเรืองและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช<br />

(ครองราชย์ประมาณ พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๒) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักรบ จึงทำให้<br />

ราชอาณาจักรสุโขทัยได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไป ซึ่งจากศิลาจารึกหลักที่ ๑ พบว่า ราชอาณาจักรสุโขทัย มีอาณาเขตดังนี้<br />

ทิศเหนือ จรดล้านนา<br />

ทิศตะวันตก จรดทวาย มะริด ตะนาวศรี และเมาะตะมะของมอญ<br />

ทิศตะวันออก จรดเมืองหลวงพระบาง (ศูนย์อำนาจของล้านช้าง)<br />

ทิศใต้ จรดนครศรีธรรมราชและแหลมมลายู<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

19


ภาพแผนที่ราชอาณาจักรสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช<br />

การขยายอาณาเขตในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ พระองค์ทรงดำเนินพระราชกุศโลบายด้วยการทหารและ<br />

การสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เป็นนโยบายทั้งสันติวิธีและยุทธวิธีกล่าวคือ ทรงเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์มองโกล<br />

ของจีน และอาณาจักรล้านนา ในขณะเดียวกันก็ทรงดำเนินนโยบาย “ช่วยตวงบ้านตวงเมือง” โดยช่วยเหลือสร้างบ้านเมืองอื่น<br />

ที่มาอ่อนน้อมให้เจริญก้าวหน้า เพื่อผูกมัดให้มีความจงรักภักดีต่อราชอาณาจักรสุโขทัย ตลอดจนใช้กำลังทหารขยายอาณาเขต<br />

เพื่อแสวงหาอำนาจและป้องกันราชอาณาจักรไปพร้อมกัน ด้วยการจัดให้หัวเมืองที่ยึดได้หรือหัวเมืองที่มาอ่อนน้อมเป็นแนว<br />

ป้องกันราชอาณาจักรสุโขทัย ทั้งนี้ การปกครองอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับกษัตริย์สุโขทัยเป็นสำคัญ หาก<br />

พระมหากษัตริย์พระองค์ใดทรงมีพระปรีชาสามารถทางทหารแล้ว หัวเมืองต่าง ๆ ก็จะยินยอมเข้ามาอยู่ภายใต้พระราชอำนาจ<br />

แต่ถ้าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่ไม่สนพระทัยต่อการทหารและการปกครอง เมืองต่าง ๆ ก็จะแข็งเมืองและพยายามแยก<br />

เป็นอิสระ<br />

20 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


พระบรมราชานุสาวรีย์พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท)<br />

ณ ทุ่งหัวช้าง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย<br />

พระพุทธชินราช<br />

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑<br />

ภายหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นยุคของการก่อตั้งราชอาณาจักรอยุธยาที่มีความเข้มแข็งทางทหาร<br />

และได้ผนวกรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชอาณาจักรเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๑ ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒<br />

(พญาเลอไท ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท) ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑<br />

หรือขุนหลวงพะงั่ว แห่งราชอาณาจักรอยุธยา<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

21


ต่อมา ในปี พ.ศ.๑๙๓๑ ราชอาณาจักรสุโขทัยกลับเป็นเอกราชใหม่อีกครั้ง จนถึงตอนปลายรัชสมัยพระมหาธรรมราชา<br />

ที่ ๓ (ไสลือไท) ราชอาณาจักรสุโขทัยก็ตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง และมีการสร้างความสัมพันธ์<br />

ทางเครือญาติกันขึ้น โดยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที ่ ๔ ทรงปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยในฐานะประเทศราชของ<br />

ราชอาณาจักรอยุธยา โดยเสด็จประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ครั้นถึง ปี พ.ศ.๑๙๘๑ เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๔ สวรรคต<br />

พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอยุธยา คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) มิได้ทรงตั้งผู้ใดเป็น<br />

พระมหาธรรมราชาอีก เพียงแต่ให้ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก และในที่สุด เมื่อปี<br />

พ.ศ.๒๐๐๖ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราชอาณาจักรสุโขทัยก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอยุธยาโดยสมบูรณ์<br />

ภาพวาดการรบระหว่างสุโขทัยกับอยุธยา<br />

22 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒. กิจการทหาร<br />

ในยุคต้นของราชอาณาจักรสุโขทัย ส่วนใหญ่เป็นการสร้างบ้านเมือง จึงมีเป้าหมายสำคัญคือ การใช้กำลังทหารเพื่อ<br />

การป้องกันและรักษาราชอาณาจักรไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีลักษณะเป็นรัฐทหาร (Military State) กล่าวคือ เป็นการจัดระเบียบ<br />

ปกครองประเทศโดยยึดการป้องกันประเทศเป็นภารกิจหลัก และมีการปกป้องประชาชนเป็นภารกิจรอง ซึ่งพระราชกรณียกิจ<br />

ของพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรสุโขทัย จากศิลาจารึกหลักที่ ๑ ทำให้ได้ทราบว่า การทำสงครามในสมัยราชอาณาจักร<br />

สุโขทัย มีการรบบนหลังช้างหรือยุทธหัตถี ควบคู่ไปกับการใช้กำลังพลที่เป็นทหารม้าและทหารราบ โดยพระมหากษัตริย์<br />

จะทรงเป็นผู้นำทัพในยามเกิดศึกสงคราม และกรีฑาทัพหลวงไปรบด้วยพระองค์เอง ดังนั้น ผลชี้ขาดที่ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้<br />

จึงขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ<br />

ภาพวาดราชธานีสุโขทัย<br />

ภาพวาดเมืองศรีสัชนาลัย (เมืองลูกหลวง)<br />

สำหรับการแบ่งพื้นที่การปกครองในสมัยราชอาณาจักรสุโขทัย ได้กำหนดพื้นที่ออกเป็น ๓ ชั้น ประกอบด้วย ราชธานี<br />

เขตชั้นกลาง เขตชั้นนอก และประเทศราช กล่าวคือ<br />

๒.๑ ราชธานี เป็นเขตชั้นใน และเป็นศูนย์กลางการปกครอง ตั้งอยู่ ณ กรุงสุโขทัย<br />

๒.๒ หัวเมืองชั้นกลาง สันนิษฐานว่า น่าจะมีการแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ<br />

๒.๒.๑ เมืองลูกหลวง เป็นเมืองที่ทรงส่งลูกหลวงหรือบุคคลสำคัญในราชวงศ์ หรือข้าหลวงที่ทรงไว้วาง<br />

พระราชหฤทัยไปปกครอง มีหน้าที่เตรียมกำลังทหารไว้ป้องกันพื้นที่ของตนเองและของราชธานี หรือสมทบกำลังเข้ากับ<br />

ทัพหลวง จึงเรียกว่า เมืองหน้าด่าน ซึ่งเมืองหน้าด่านนี้จะตั้งอยู่บนเส้นทางเดินทัพเข้าสู่ราชธานีทั ้งสี่ทิศ ที่จะต้องใช้เวลา<br />

เดินทัพประมาณ ๑ วัน ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ประกอบด้วย<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

23


๒.๒.๑.๑ ด้านทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย<br />

๒.๒.๑.๒ ด้านทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)<br />

๒.๒.๑.๓ ด้านทิศตะวันตก เมืองนครชุม (กำแพงเพชร)<br />

๒.๒.๑.๔ ด้านทิศใต้ เมืองสระหลวง (เมืองพิจิตรเก่า)<br />

๒.๒.๒ หัวเมืองใหญ่เรียกกันภายหลังว่า เมืองพระยามหานคร มีขุนเป็นผู้ปกครอง เว้นแต่ด้านการต่างประเทศ<br />

และด้านการทหารที่ต้องขึ้นกับราชธานี ทั้งนี้ เมื่อเกิดศึกสงคราม จะได้รับคำสั่งให้ยกมาสมทบกองทัพหลวง เมืองดังกล่าว<br />

ได้แก่ เมืองฉอด เมืองพระบาง และเมืองเชียงของ เป็นต้น<br />

๒.๓ ประเทศราช (เมืองออก) เป็นดินแดนที่ปกครองตนเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่ราชธานี<br />

ตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด และในกรณีที่ราชธานีเกิดมีสงครามใหญ่ อาจมีพระบรมราชโองการให้กรีฑาทัพไปช่วยก็ได้<br />

เมืองดังกล่าว ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองชวา (หลวงพระบาง) เมืองเวียงจันทน์ เมืองหงสาวดี เมืองสุพรรณภูมิ และ<br />

เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น<br />

ภาพวาดทหารและการจัดกำลังสมัยสุโขทัย<br />

24 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


การบังคับบัญชาทางทหารในสมัยราชอาณาจักรสุโขทัย ถือหลักว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงพระราชสถานะเป็น<br />

ผู้บังคับบัญชาสูงสุดทางทหาร และมีเสนาบดีหรือขุนนางผู้ใหญ่อื่นๆ ได้รับตำแหน่งแม่ทัพรองหรือเป็นผู้บังคับหน่วยในกองทัพหลวง<br />

ทั้งนี้ หากพระมหากษัตริย์โปรดให้ขุนนางผู้ใหญ่เป็นแม่ทัพไปรบแทน ก็จะทรงมอบอาญาสิทธิ์ให้และมีเสนาบดีเป็นแม่ทัพ<br />

รองลงมา ซึ่งสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือ มีการกำหนดให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยการฝึกหัดทหารจะใช้หัวหน้าสกุล<br />

ในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า “เจ้าหมู่” เป็นผู้ควบคุมทหารในสกุลของตน จึงทำให้มีการฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ และการใช้อาวุธ<br />

แก่ทหารในสกุลของตน ทั้งในยามปกติและยามสงคราม ดังนั้น เมื่อเกิดศึกสงคราม ทหารทุกคนจะมีอาวุธคู่มือที่ตนได้ฝึกซ้อมไว้<br />

ช่ำชองดีแล้วพร้อมที่จะใช้งาน ส่วนเสบียงอาหารก็จะเตรียมไว้เฉพาะตนในขั้นต้น มีความสมบูรณ์ในตนเอง จึงพร้อมที่จะออกศึก<br />

สงครามได้ทันที<br />

ในสมัยราชอาณาจักรสุโขทัยนั้น ยังมิได้แยกเป็นฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ดังนั้น ในยามปกติบรรดาชายฉกรรจ์<br />

มีฐานะเป็นพลเรือนสามารถประกอบสัมมาชีพได้ตามอัธยาศัย แต่ในยามศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ดังกล่าวจะเปลี่ยนสภาพเป็น<br />

ทหารเข้าประจำกองทัพ สำหรับการเรียกเกณฑ์ชายฉกรรจ์ในยามศึกสงครามนั้น มีการแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ<br />

ระดับแรก ชายฉกรรจ์ในเขตหัวเมืองชั้นใน จะถูกเรียกเกณฑ์เข้าประจำการทุกคน<br />

ระดับที่สอง ชายฉกรรจ์ในเขตหัวเมืองชั้นกลางและชั้นนอก มีหน้าที่สกัดกั้นข้าศึกในทิศทางของตน หรืออาจได้รับ<br />

คำสั่งให้เข้าสมทบกับทัพหลวง ตามแต่พระมหากษัตริย์จะทรงพิจารณาตามที่ทรงเห็นสมควร<br />

การจัดกำลังกองทัพของราชอาณาจักรสุโขทัย ค้นพบได้จากตำรามังรายศาสตร์ ที ่ระบุถึงวิธีการแบ่งกองทหาร<br />

การป้องกันตัวเมือง และการได้บำเหน็จความชอบ กล่าวคือ<br />

“...นายตีนผู้ใดรบศึกในสนามรบ ได้หัวนายช้าง นายม้ามา ควรเลี้ยงดูให้เป็นใหญ่...<br />

...ผู้ใดรบชนะ ได้หัวข้าศึกมาให้รางวัลหัวละ ๓๐๐ เงิน ให้ไร่นา ที่ดินและเลี้ยงดูให้เป็นใหญ่<br />

หากนายตีนได้หัวนายม้า ควรเลื่อนขึ้นเป็น นายม้า นายตีนได้หัวนายช้าง ควรเลื่อนขึ้นเป็น<br />

นายช้าง ให้มีฉัตรกั้น ให้ภริยา เครื่องทอง ทั้งทอง ปลายแขน เสื้อผ้าอย่างดี....”<br />

จึงกล่าวได้ว่า การจัดแบ่งกองทหารของราชอาณาจักรสุโขทัย ได้กำหนดความสำคัญของเหล่าทหารจากสูงไปหาต่ำ<br />

กล่าวคือ<br />

ชั้นสูง ประกอบด้วย เหล่าพลช้าง เรียกว่า นายช้าง<br />

ชั้นกลาง ประกอบด้วย เหล่าพลม้า เรียกว่า นายม้า<br />

ชั้นต่ำ ประกอบด้วย เหล่าพลราบ เรียกว่า นายตีน<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

25


นอกจากนี้ ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีการสร้างเส้นทางเชื่อมราชธานีกับหัวเมืองชั้นกลาง เพื่อความ<br />

สะดวกและความรวดเร็วในการเคลื่อนทัพ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และมีร่องรอยมาถึงปัจจุบันที่เรียกว่า “ถนนพระร่วง”<br />

ที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงสุโขทัยไปยังเมืองศรีสัชนาลัย นอกจากนี้ ชาวสุโขทัยมีการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกคือ ตาม<br />

หัวเมืองใหญ่ต่าง ๆ ได้สร้างกำแพง หอรบ และขุดคูเมืองไว้ ป้องกันศัตรู จำนวนชั้นของกำแพงขึ้นกับความสำคัญของเมือง<br />

โดยส่วนใหญ่จะมีการสร้างคันดินคูน้ำเป็นกำแพงเมือง และมีคูเมืองล้อมรอบอยู่สามชั้นเรียกว่า “ตรีบูร” มีป้อมประจำประตู<br />

เมืองทั้งสี่ทิศ นอกจากนั้น มีการขุดทำที่เก็บน้ำไว้ใช้ทั ้งนอกเมืองและในเมือง ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และมีร่องรอยมาถึง<br />

ปัจจุบันที่เรียกว่า “สรีดภงส์”<br />

ภาพถ่ายทางอากาศแสดงให้เห็นตรีบูร<br />

ภาพสริดภงส์<br />

สำหรับศาสตราวุธและยุทโธปกรณ์นั้น การจัดหาอาวุธเป็นหน้าที่ของไพร่พลที่จะหาเอาไว้ใช้เอง เป็นอาวุธประจำกาย<br />

ทั้งสิ้น ได้แก่ ขวาน มีดเหน็บ มีดปลายตัด หอก ดาบคู่ ดาบดั้ง (ดาบสองมือ) แหลน หลาว โตมร หน้าไม้ ธนู ง้าว ของ้าว<br />

เป็นต้น การส่งกำลังบำรุงนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกองเสบียงของหลวง จึงสันนิษฐานได้ว่า ในระยะแรกของสงคราม ไพร่พล<br />

คงจะต้องเตรียมเสบียงไปเองหรืออาจหาจากท้องถิ่น ต่อเมื่อการรบได้ชัยชนะแล้ว จึงได้อาศัยเสบียงอาหารจากเมืองที่ยึดได้<br />

สำหรับการจัดพาหนะนั้น มีการใช้ช้างในการยุทธหัตถีใช้ม้าในการเคลื่อนที่เร็วและควบคุมการรบหรือการเดินทัพ และใช้บุกตะลุย<br />

เพื่อเข้ายึดพื้นที่และสถาปนาพื้นที่ด้วยทหารราบเดินเท้า<br />

26 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


กิจการทหารไทย<br />

สมัยราชอาณาจักรอยุธยา


กิจการทหารไทยสมัยราชอาณาจักรอยุธยา<br />

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑<br />

(สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง)<br />

หน้าพระราชวังโบราณ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา<br />

๑. การเมืองและการปกครอง<br />

ราชอาณาจักรอยุธยา ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.<br />

๑๘๙๓ โดยมีที ่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง<br />

ภายหลังการก่อตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย โดยมีองค์ผู้สถาปนาและ<br />

ปฐมกษัตริย์ คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง)<br />

มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ราชอาณาจักรอยุธยามีพื้นฐานทางด้าน<br />

กำลังทหารที่มั่นคง เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากแคว้นสุพรรณภูมิ<br />

รวม ๑๓ แคว้น โดยแคว้นสุพรรณภูมิตั้งอยู่ในเขตตะวันตกของลุ่ม<br />

แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน<br />

แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำน้อย) ทั้งยังได้รับมรดก<br />

ความเจริญทางด้านวัฒนธรรมจากแคว้นละโว้ จึงช่วยส่งเสริมให้<br />

ราชอาณาจักรอยุธยา มีพัฒนาการจนเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่<br />

ได้อย่างรวดเร็ว กอปรกับการที่อาณาจักรขอมกำลังเสื่อมอำนาจ<br />

จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ราชอาณาจักรอยุธยาสามารถแผ่ขยายอำนาจ<br />

ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งของ<br />

กรุงศรีอยุธยาที่มีแม่น้ ำ ๓ สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก<br />

และแม่น้ำลพบุรี จึงส่งผลดีต่อการใช้พื้นที่ทางการเกษตรกรรม<br />

ด้านการเพาะปลูกได้ผลดี และมีเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สามารถ<br />

ติดต่อค้าขายได้สะดวก ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร จึงส่งผลดี<br />

ต่อการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจและช่วยให้ราชอาณาจักร<br />

อยุธยาเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถแผ่ขยายอำนาจไปยัง<br />

ดินแดนใกล้เคียง โดยแผ่อำนาจไปยังดินแดนในแต่ละภูมิภาค ดังนี้<br />

28 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพวาดราชธานีกรุงศรีอยุธยา<br />

ทิศเหนือ แผ่อำนาจเข้าไปในดินแดนของราชอาณาจักรสุโขทัย (ผนวกสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

ราชอาณาจักรอยุธยา ได้ในปี พ.ศ.๒๐๐๖) และอาณาจักรล้านนา<br />

ทิศตะวันออก แผ่อำนาจเข้าไปในดินแดนเขมร<br />

ทิศตะวันตก แผ่อำนาจเข้าไปในอาณาจักรมอญ<br />

ทิศใต้ แผ่อำนาจเข้าไปในแคว้นนครศรีธรรมราชและหัวเมืองมลายู<br />

สำหรับการขยายอิทธิพลของราชอาณาจักรอยุธยาจะใช้วิธีการหลายวิธี ประกอบด้วย การทำสงคราม การสร้าง<br />

ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ การแทรกแซงทางการเมือง และการสร้างความสัมพันธ์ทางศาสนา อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักร<br />

อยุธยาได้ดำรงอยู่เป็นระยะเวลา ๔๑๗ ปี จึงได้ล่มสลายลง เนื่องจากการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ทั้งนี้<br />

การเสื่อมสลายของราชอาณาจักรอยุธยาเกิดจากเหตุปัจจัยภายในเป็นสำคัญคือ ปัญหาการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในหมู่<br />

ชนชั้นปกครองซึ่งเกิดขึ ้นอยู่บ่อยครั ้ง โดยเฉพาะภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติติดต่อกัน<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

29


หลายครั้ง จากชนชั้นปกครองที่แบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ<br />

ส่งผลให้สูญเสียกำลังทหารไปเป็นอันมาก เป็นเหตุให้<br />

ผู้คนเกิดความเบื ่อหน่ายและไม่อยากเป็นทหาร ซึ่งใน<br />

ตอนปลายสมัยราชอาณาจักรอยุธยา กิจการทหารได้<br />

เสื่อมลงเป็นอันมาก เนื่องจากวังหน้าต้องการสะสมกำลัง<br />

ทหารไว้เพื่อเพิ่มอำนาจของตนให้มากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด<br />

สงครามกลางเมืองระหว่างวังหลวงกับวังหน้า และระหว่าง<br />

เจ้านายที่ทรงกรมต่าง ๆ จึงมีการปะทะด้วยกำลังอาวุธ<br />

ทำให้สูญเสียกำลังพลเป็นอันมาก<br />

ภาพวาดกรุงศรีอยุธยา โดย ซิมง เดอ ลา ลูแบร์<br />

(Simon de La Loubère) ราชทูตฝรั่งเศส<br />

ภาพวาดการศึกสงครามในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา<br />

30 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒. กิจการทหาร<br />

กิจการทหารของไทยในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา<br />

ได้รับการปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพ<br />

บ้านเมืองและสังคม กอปรกับราชอาณาจักรอยุธยาได้รับอิทธิพล<br />

ของขอม จึงทำให้รูปแบบการปกครองและการทหารของกรุง<br />

ศรีอยุธยาจึงเป็นแบบผสมระหว่างสุโขทัยและขอม โดยอยุธยา<br />

ได้เลือกสรรเอาสิ่งดีของทั้งขอมและไทยมาผสมกัน ทั ้งในด้าน<br />

การปรับปรุงวิธีการควบคุมกำลังไพร่พลและยุทธวิธี ดังนี้<br />

ภาพวาดกองทัพหลวงในสมัยอยุธยา<br />

๒.๑ การควบคุมบังคับบัญชาทหาร<br />

กองทัพที่เป็นหลักในการทำสงครามคือ กองทัพหลวง แต่ในกรณีที่มีศึกใหญ่ อาจเรียกเกณฑ์กองทัพหัวเมืองเหนือ<br />

และหัวเมืองทางใต้เข้าร่วมการปฏิบัติการด้วย และอาจมีการตั้งตำแหน่ง วังหน้าและวังหลัง ซึ่งมีกรมพระราชวังบวรสถานมงคล<br />

และกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

ในยามศึกสงคราม มี “เจ้าหมู่มูลนาย” ทำหน้าที่ระดมพลภายใต้การควบคุมเข้าประจำกองทัพ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์<br />

เป็นจอมทัพ มีเจ้านายและขุนนางเป็นแม่ทัพนายกอง สามารถแบ่งออกเป็นยุคของราชอาณาจักรอยุธยา ได้ ๒ ยุค คือ<br />

๒.๑.๑ ยุคอยุธยาตอนต้น จากหลักฐานที่ปรากฏใน<br />

พระอัยการตำแหน่งนายทหารหัวเมือง สรุปว่า กิจการทหารกับกิจการ<br />

พลเรือนได้แยกจากกัน โดยในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครอง<br />

ราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๙๑ – ๒๐๓๑) กล่าวคือ<br />

๒.๑.๑.๑ ฝ่ายทหาร มี สมุหพระกลาโหม<br />

เป็นหัวหน้ารับผิดชอบกิจการฝ่ายทหารทั ้งปวง มีการกำหนดตำแหน่ง<br />

อำนาจหน้าที ่ และสายการบังคับบัญชาของฝ่ายทหาร ตั้งแต่ยามปกติ<br />

เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเรียกระดมพลเมื่อเกิดภาวะสงคราม<br />

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ<br />

กรมทหารช่างที่ ๓ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

31


๒.๑.๑.๒ ฝ่ายพลเรือน มี สมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบกิจการฝ่ายพลเรือน รวมทั้ง ยังมี<br />

เสนาบดีอีก ๔ คนเรียกว่า “จตุสดมภ์” รับผิดชอบใน ๔ ภารกิจ คือ เวียง วัง คลัง และนา จึงกล่าวได้ว่า มีการแยกกิจการทหาร<br />

กับกิจการพลเรือนออกจากกัน และยังมีส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพของกิจการทหารไทยในสมัยราชอาณาจักรอยุธยาให้สูงขึ้น<br />

ทั้งในด้านการจัดหน่วยเข้าเป็นกองทัพ และการควบคุมบังคับบัญชา ในส่วนของการเมืองภายในนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ<br />

ทรงสร้างความสมดุลในการใช้พระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์และในยามศึกสงคราม กำลังพลทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน<br />

จึงต้องเข้าประจำกองทัพร่วมกัน ยังไม่สามารถมอบหน้าที่ในการป้องกันรักษาพระราชอาณาเขตไว้กับฝ่ายทหารเพียงฝ่ายเดียว<br />

ปัจจัยที่จะชี้ขาดว่าจะสามารถรับชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ ในการรบนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนไพร่พลที่เข้าร่วมทำการรบ ทั้งนี้<br />

ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการรวบรวมไพร่พล<br />

ระบบการบริหารจัดการส่วนกลางของอยุธยา<br />

อัครมหาเสนาบดี<br />

สมุหกลาโหม<br />

รับผิดชอบกิจการฝ่ายทหาร<br />

สมุหนายก<br />

รับผิดชอบกิจการฝ่ายพลเรือน<br />

เสนาบดีจตุสดมภ์<br />

เสนาบดีกรมเวียง<br />

(ดูแลความสงบบ้านเมือง)<br />

เสนาบดีกรมวัง<br />

(ดูแลพระราชสำนัก)<br />

เสนาบดีกรมคลัง<br />

(ดูแลพระราชทรัพย์)<br />

เสนาบดีกรมนา<br />

(ดูแลไร่นาที่ดิน)<br />

แผนผังแสดงระบบการบริหารจัดการส่วนกลางของอยุธยา (จตุสดมภ์)<br />

32 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒.๑.๒ ยุคอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัย<br />

สมเด็จพระเพทราชา (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๒๓๑<br />

– ๒๒๔๖) ได้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของอัครมหา<br />

เสนาบดี ๒ คน คือ สมุหพระกลาโหมและสมุหนายก โดยให้<br />

ทั ้ง ๒ ตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชากิจการฝ่ายทหาร<br />

หรือกิจการฝ่ายพลเรือนในทุกหัวเมือง โดยแบ่งออกเป็นหัวเมือง<br />

๒ ฝ่าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจของอัครมหาเสนาบดี<br />

ทั้ง ๒ คน กล่าวคือ<br />

๒.๑.๒.๑ หัวเมืองฝ่ายเหนือ ให้อยู่<br />

ในการบังคับบัญชาของ สมุหนายก<br />

๒.๑.๒.๒ หัวเมืองฝ่ายใต้ ให้อยู่<br />

ในการบังคับบัญชาของ สมุหพระกลาโหม<br />

ภาพวาดการจัดกำลังรบในสมัยอยุธยา<br />

(จำแนกตามลำดับชั้นของทหาร)<br />

จากสมุดภาพจำลองมาจากวัดยมกรุงเก่า<br />

๒.๒ การทำทะเบียนไพร่พล ได้เริ่มครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ (ครองราชย์ระหว่างปีพ.ศ. ๒๐๓๒<br />

– ๒๐๗๒) โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมพระสุรัสวดี มีหน้าที่หลักคือ การจัดทำทะเบียนไพร่พล โดยส่งเจ้าหน้าที่<br />

ออกไปประจำหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อคอยดูแลและจัดทำทะเบียนไพร่พล ควบคุมการทำบัญชีพล การบรรจุและเรียกเกณฑ์กำลังพล<br />

เข้าประจำหน่วย และส่งสำเนาการบรรจุกำลังพลเหล่านั้นเข้ามายังส่วนกลางไว้ตั้งแต่ยามปกติ ในกรณีที่เกิดสงครามขึ้น ก็เร่งรัดให้<br />

กรมการเมืองเรียกพลเข้าประจำหน่วยรบทันที และถ้าหากได้กำลังพลเข้าประจำหน่วยไม่ครบ ก็ต้องส่งคนออกติดตาม ทั้งนี้<br />

เมื่อได้รับคำสั่งจากกรุงศรีอยุธยาว่า ให้หน่วยกำลังที่รวมไว้ปฏิบัติอย่างไร เจ้าเมืองต้องทำตามนั้น อาทิ ให้จัดการส่งกำลังพล<br />

ไปร่วมกับกองทัพหลวง ณ ที่ไหน และเมื่อใด<br />

ภาพวาดการจัดกำลังรบ<br />

ในสมัยอยุธยา<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

33


พระบรมราชานุสาวรีย์<br />

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช<br />

ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ครองราชย์ระหว่างปี<br />

พ.ศ.๒๑๓๓ – ๒๑๔๘) มีการเปลี่ยนแปลงการเตรียมพล เนื่องจากใน<br />

รัชสมัยของพระองค์ได้ทำสงครามเกือบตลอดเวลาแทบไม่มีว่างเว้น จึงทำให้<br />

สูญเสียชายฉกรรจ์ที่เกณฑ์เข้ามาเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งไม่อาจจะหาเข้ามา<br />

เป็นทหารได้ทัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงการจัดเตรียมพล<br />

ไปจากเดิมคือ ให้โอนการปกครองหัวเมืองชั้นนอก ที่เป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือและ<br />

เมืองพระยามหานครทั้งหมดมาขึ้นการควบคุมบังคับบัญชากับกรุงศรีอยุธยา<br />

โดยตรง เพื่อรวบรวมกำลังพลได้มากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังทรงแต่งตั้ง<br />

พระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปเป็นผู้สำเร็จราชการ นอกจากนี้<br />

ยังมีการขยายหัวเมืองชั้นในให้กว้างออกไป เพื่อจะเกณฑ์คนมาเป็นทหาร<br />

ในกองทัพหลวงให้มากขึ้น คือ โดยทิศเหนือขยายไปจนถึงเมืองนครสวรรค์<br />

ทิศตะวันออกขยายไปจนถึงปราจีนบุรี ทิศตะวันตกขยายไปจนถึงเมืองราชบุรี<br />

และทิศใต้ขยายไปจนถึงเมืองนครชัยศรี<br />

พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา<br />

34 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


สำหรับการขึ้นทะเบียนไพร่พลนั้น ชายไทยจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นทหารทุกคน โดยการเข้ารับราชการนั้น จะจำแนก<br />

เป็นไพร่สมและไพร่หลวง กล่าวคือ<br />

ไพร่สมหรือสมสัก หมายถึง ชายไทยเมื่ออายุครบ ๑๘ ปี ต้องมาขึ้นทะเบียนกับเจ้าหน้าที่กรมพระสุรัสวดี และ<br />

จะต้องได้รับการสักท้องมือว่า เป็นคนในสังกัดกรมใด เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วให้มูลนายฝึกหัดไปก่อนยังไม่ต้องรับราชการ<br />

ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่สม ที่อายุครบ ๒๑ ปี และให้ขึ้นทะเบียนพลเป็น “ไพร่หลวง” โดยเข้ามารายงานตัว<br />

ในราชธานี แล้วเข้ารับราชการตามกรมกองที่สังกัดไว้ ซึ่งเรียกกันในสมัย นั้นว่า “เข้าเวร” มีกำหนดปีละ ๖ เดือน เรียกว่า<br />

“เข้าเดือนออกเดือน” คือ เข้ารับราชการ ๑ เดือน ได้พัก ๑ เดือน แล้วจึงกลับเข้ารับราชการใหม่อีกสลับกันไป ทั้งนี้ ไพร่หลวง<br />

จะต้องเป็นทหารไปจนกว่าจะมีอายุครบ ๖๐ ปี หรือถ้ามีบุตรชายมาเข้าเป็นทหารถึง ๓ คนแล้ว จึงมีสิทธิ์พ้นราชการทหาร<br />

ได้ก่อนกำหนด<br />

นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ใช้วิธีเกณฑ์ให้หาสิ่งของที่ทางราชการต้องการใช้มาให้แก่ทางราชการทดแทน<br />

การเข้ารับราชการ เรียกว่า ส่วย หรือ ไพร่ส่วย สำหรับ ผู้ที่เป็นทาสต้องรับใช้ผู้เป็นนายอยู่ตลอดเวลาไม่เป็นไทแก่ตนเอง<br />

จึงไม่ต้องเป็นทหาร<br />

๒.๓ การแบ่งเหล่าทหาร กองทัพไทยในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา มีการแบ่งกำลังพลออกเป็น ๔ เหล่า ที่เรียกว่า<br />

“จตุรงคเสนา” ประกอบด้วย พลเท้า พลม้า พลช้าง และพลรถ โดยมีรายละเอียด ดังนี้<br />

ภาพวาดจตุรงคเสนาในสมัยอยุธยา (ภาพจากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ)<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

35


๒.๓.๑ พลเท้า คือ ทหารเดินเท้าหรือทหารราบ ถือเป็นเหล่ากำลังรบหลักในการจัดหน่วยและการรบของ<br />

กองทัพ โดยจะทำการปฏิบัติการรบแบบประชิดตัวข้าศึก ซึ่งจะคัดเลือกมาจากชายฉกรรจ์ที่มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่ทุพพลภาพ<br />

นับเป็นเหล่าที่มีจำนวนกำลังพลมากกว่าเหล่าอื่น เพราะมีหน้าที่ต้องปฏิบัติในการรบประชิดและเข้าตะลุมบอน อาวุธที่ใช้มักใช้<br />

ตามถนัดของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ เมื่อมีการเรียกระดมไพร่พล มักแบ่งทหารออกเป็นเหล่าตามอาวุธที่ถือ ซึ่งอาวุธเหล่านี้โดยมาก<br />

ผู้ที่ถูกเกณฑ์เข้ามาจะต้องนำอาวุธของตนเข้ามาเองทุกคน โดยทางบ้านเมืองมิได้เตรียมไว้ให้ เช่น ดาบ หอก ทวน โล่ เขน<br />

ดั้ง แหลน เป็นต้น<br />

๒.๓.๒ พลม้า คือ ทหารม้า มีหน้าที่สำคัญในการป้องกันรักษาปีกของทหารราบ ทำการรบโดยวิธีการตีโอบ<br />

ตีโฉบฉวยเพื่อรบกวนข้าศึก และทำหน้าที่รักษาด่าน ลาดตระเวนและหาข่าว อาวุธทหารม้าจะใช้กันตามถนัด อาทิ หอก ทวน<br />

ดาบ ปืน<br />

๒.๓.๓ พลช้าง คือ ทหารที่ใช้ช้างเป็นพาหนะ มีหน้าที่บุกแนวพลเดินเท้าและพลม้าของข้าศึกให้เกิดความ<br />

ระส่ำระสาย โดยในสมัยราชอาณาจักรอยุธยานั้น ช้างเป็นพาหนะสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับใช้ขับขี่ และบรรทุกสินค้าไปยังท้องถิ่น<br />

ทุรกันดารและห่างไกล ในยามศึกสงครามมักจะใช้ช้างบรรทุกเสบียงอาหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และสามารถฝึกฝนให้เข้า<br />

ทำการรบแบบประชิดบุกทำลายข้าศึก นอกจากนี้ ยังมีการนำปืนใหญ่เข้ามาประกบติดกับช้าง ดังปรากฏว่ามี “กรมช้างปืนใหญ่”<br />

ซึ่งเป็นกรมย่อยขึ้นกับ กรมคชบาล (กรมช้าง)<br />

๒.๓.๔ พลรถ ทำหน้าที่ในการเข้าพื้นที่การรบอย่างรวดเร็ว และการส่งกำลังบำรุง อาทิ ลำเลียงขนส่งเสบียง<br />

อาหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และการเคลื่อนย้ายกำลังพล ด้วยพาหนะเกวียน (ระแทะ) แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและยุทธวิธี<br />

ของไทยและคู่สงคราม ไม่อำนวยให้ใช้รถรบเข้าทำการยุทธ์ ดังนั้น พลรถจึงทำหน้าที่ส่วนใหญ่ไปในการส่งกำลังบำรุง<br />

๒.๔ ยุทธวิธีและการฝึกหัด ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ มีการจัดทำตำราพิชัยสงครามขึ้นเป็นครั้งแรก<br />

เมื่อปี พ.ศ.๒๐๔๑ เพื่อเป็นตำราการทำสงครามสำหรับแม่ทัพนายกอง ได้มีการแก้ไขหลายครั้ง ครั้งหลังสุดในสมัยรัชกาลที่๓<br />

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๘ เรียกว่า “พระพิชัยสงคราม” มีเนื้อความแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ เหตุแห่งสงคราม<br />

อุบายแห่งสงคราม ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี โดยเน้นความสำคัญในเรื่องการจัดทัพ การตั้งทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ<br />

การจัดกระบวนทัพ ขบวนรบ<br />

36 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ยุทธวิธีที่ไทยใช้ในสมัยอยุธยา ส่วนใหญ่นิยมใช้ราชธานีเป็น<br />

ที่มั่นสำคัญในการตั้งรับข้าศึก เนื่องจากชัยภูมิของอยุธยามีแม่น้ำล้อม<br />

รอบทั้ง ๔ ด้าน และบริเวณรอบนอกเป็นที่ลุ่ม ในปีหนึ่ง ๆ จะมีน้ำหลาก<br />

ลงมาท่วมประมาณ ๔ เดือน (ตั้งแต่เดือน ๑๐ ถึงเดือนอ้าย) เมื่อข้าศึก<br />

เข้าล้อมกรุงจนถึงหน้าน้ำหลาก ก็มักจะต้องยกทัพกลับเพราะน้ำจะท่วม<br />

ทำให้ข้าศึกไม่มีที่พักอาศัย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการตั้งค่าย และลำเลียง<br />

เสบียงอาหาร อย่างไรก็ตาม อยุธยาต้องเตรียมรับศึกด้วยการระดมคน<br />

ออกทำนาเพื่อสะสมเสบียง แล้วขนเข้ากรุงให้มากที่สุด มีการระดมคน<br />

เข้าประจำพระนคร และเลือกทหารที่ชำนาญป่าเป็นกองอาสาออกไป<br />

เกลี้ยกล่อมคนที่หลบหนีเข้าป่าให้กลับเข้ามาอยู่ในราชธานี นอกจากนี้<br />

มีการส่งกำลังพลหน่วยเล็ก ๆ ออกไปหยั่งกำลังข้าศึก หรือสืบข่าว<br />

การเคลื่อนไหวของกองทัพข้าศึก<br />

มีการจัดหน่วยทหารอาสาชาวต่างประเทศเริ่มมีเป็นครั้งแรก<br />

ในรัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๗๗<br />

- ๒๐๘๙) คือหน่วยทหารอาสาชาวโปรตุเกส โดยชาวโปรตุเกส<br />

ได้อาสาไปรบในสงครามระหว่างไทยกับพม่า ในปี พ.ศ.๒๐๘๑ และ<br />

มีการนำปืนไฟ (ปืนเล็กยาว) ซึ่งเป็นอาวุธใหม่และมีอำนาจการยิง<br />

ที่ร้ายแรงไปใช้ด้วย จึงทำให้ไทยจึงมีชัยชนะโดยง่าย จึงเป็นเหตุให้ไทย<br />

ขอให้ชาวโปรตุเกสช่วยซื้อปืนไฟมาใช้ในกองทัพและช่วยฝึกหัดการ<br />

ใช้ปืน รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วย “กองทหารแม่นปืน”<br />

ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงปรับปรุงการป้องกัน<br />

พระนครให้แข็งแกร่งกว่าเดิม โดยการขยายคูพระนครด้านทิศตะวันออก<br />

สร้างป้อมมหาชัย ขึ้นตรงที่แม่น้ำป่าสักมาบรรจบ สร้างป้อมเพชร และ<br />

ป้อมซัดกบ พร้อมกับสร้างวังจันทรเกษม ขึ้นเป็นที่ประทับของพระองค์<br />

เพื่อรักษาพื้นที่ด้านแม่น้ำป่าสักนั้นด้วย<br />

ภาพตำราพระพิชัยสงคราม<br />

ภาพวาดทหารอาสาชาวโปรตุเกส<br />

ในสงครามระหว่างไทยกับพม่า ในปี พ.ศ.๒๐๘๑<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

37


ภาพป้อมเพชรในปัจจุบัน<br />

นอกจากนี้ ยังทรงเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์เดิมจากที่<br />

ใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่มั่นตั้งรับอย่างเดียว เป็นการใช้กองกำลัง<br />

ออกไปยับยั้งข้าศึกตั้งแต่ชายอาณาเขตเข้ามา ในด้านยุทธวิธี<br />

ทรงเปลี่ยนจากการตั้งรับอยู่กับที่มาใช้วิธีรุก ด้วยการนำการใช้<br />

กำลังน้อยที่แข็งแกร่งเข้ากระทำการจู่โจมก่อนเพื่อทำลายขวัญ<br />

ข้าศึก มีการใช้กำลังน้อยตีแล้วถอย ล่อให้ข้าศึกถลำเข้าไป แล้ว<br />

ระดมกำลังเข้าตีทุกทิศทาง ตลอดจนใช้วิธีการรบแบบกองโจร<br />

โดยส่งหน่วยย่อยเคลื่อนที่เร็วเข้ารบตอนเขตหลังของข้าศึก<br />

ติดต่อกันไป รวมทั้ง ใช้หลักยุทธศาสตร์การเดินทัพทางเส้นนอก<br />

และเส้นใน กล่าวคือ<br />

การเดินทัพทางเส้นนอก ในปี พ.ศ.๒๑๓๖ เมื่อครั้งทรงนำทัพเข้าตีเมืองละแวก ราชธานีของกัมพูชา โดยใช้เส้นทาง<br />

เข้าตีหลายทิศทาง<br />

การเดินทัพทางเส้นใน ในระหว่างปี พ.ศ.๒๑๒๗ – ๒๑๒๙ ทรงใช้กำลังเข้าตีกองทัพพระยาพะสิม และกองทัพ<br />

พระเจ้าเชียงใหม่ทีละครั้งเพื่อไม่ให้มารวมกัน<br />

ต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๔๘ – ๒๑๕๓) มีการเปลี่ยนแปลงกิจการ<br />

ทหารที่สำคัญคือ ทรงรับชาวต่างประเทศที่ชำนาญในการทหารเข้ามาเป็นทหาร และตั้งขึ้นเป็นกรมทหารอาสาต่างชาติมากขึ้น<br />

อาทิ กรมทหารอาสาญี่ปุ่น กรมทหารอาสาจาม และกรมทหารแม่นปืน (ชาวโปรตุเกสเดิม) กรมทหารเหล่านี้ จัดขึ้นเป็นหน่วย<br />

ถาวร มีหน้าที่รักษาพระองค์และรักษาพระนคร<br />

ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง<br />

แสดงทหารอาสาต่างชาติในอยุธยา<br />

38 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


การฝึกทหารสมัยราชอาณาจักรอยุธยา ส่วนใหญ่มักเป็นการฝึกอย่างเร่งด่วนในระยะสั้น เมื่อมีการเรียกระดมพล<br />

เพื่อเตรียมทำสงคราม สำหรับการฝึกทหารตามแบบยุโรป เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช<br />

(ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) โดยนายทหารเรือชาวฝรั่งเศส ชื่อ ฟอร์แบง ซึ่งเดินทางเข้ามาเมืองไทย<br />

พร้อมกับ ราชทูตฝรั่งเศส เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ โดยการฝึกทหารแบบยุโรปในครั้งนั้น ใช้ชื่อว่า<br />

“กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง” เป็นการฝึกหัดเบื้องต้นในเรื่องระเบียบวินัย และการเข้าแถว การแปรแถว ไม่ได้เรียนรู้ถึงยุทธวิธี<br />

และยุทธศาสตร์แต่ประการใด<br />

๒.๕ การส่งกำลังบำรุง มีการจัดหา และเก็บรักษาอาวุธ<br />

ยุทโธปกรณ์ พาหนะ ตลอดจนเสบียงอาหารในยามปกติ สำหรับกองทหาร<br />

ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ แบ่งออกเป็น ๒ หน้าที่ คือ<br />

๒.๕.๑ เกียกกาย ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องเสบียงอาหาร<br />

๒.๕.๒ ยกกระบัตร ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอาวุธ<br />

ยุทโธปกรณ์ เดิมเรียกว่า “ยุกรบัตร”<br />

ทั้งนี้ เมื่อเกิดการศึกสงครามถึงขั้นประชิดตัว ทั้งฝ่าย “เกียกกาย”<br />

และ “ยกกระบัตร” ต้องเข้าร่วมรบด้วยคือ ปฏิบัติหน้าที่ทั้งฝ่ายพลรบ และ<br />

ผู้ช่วยพลรบร่วมกัน<br />

๒.๖ อาวุธ ส่วนใหญ่เป็นอาวุธที่ไพร่พลจัดหามาเอง อาจจำแนก<br />

ประเภทของอาวุธได้ ดังนี้<br />

๒.๖.๑ อาวุธถือไว้ประจำมือสำหรับฟันแทง อาทิ มีด ดาบ<br />

หอก ง้าว ของ้าว ทวน<br />

๒.๖.๒ อาวุธประเภทที่ใช้พุ่งซัดไป อาทิ แหลน หลาว หอก<br />

๒.๖.๓ อาวุธประเภทที่ใช้สำหรับยิง อาทิ ธนู หน้าไม้ ปืน<br />

๒.๖.๔ อาวุธประเภทที่ใช้ตี อาทิ พลอง ตะบอง<br />

๒.๖.๕ อาวุธประเภทที่ใช้ยิง คือ ปืนไฟที่ใช้ในกองทัพ<br />

ในยุคแรกนำเข้ามาโดยชาวโปรตุเกส ซึ่งภายหลังได้สมัครเป็นทหารอาสา<br />

ต่อมาไทยได้สร้างอาวุธปืนไฟขึ้นใช้เองในราชการทหาร<br />

พระบรมราชานุสาวรีย์<br />

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช<br />

ณ วงเวียนเทพสตรี อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

39


ภาพบรรดาอาวุธที่ใช้ในการศึกสงคราม<br />

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องป้องกันอาวุธ หรือเครื่องกำบังสำหรับปิดป้องกันอาวุธ นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ<br />

การรบ เพื่อป้องกันข้าศึกมิให้ฟันแทงได้ เครื่องป้องกันอาวุธที่ใช้กัน อาทิ ดั้ง โล่ เขน<br />

๒.๗ การรบทางน้ำ กำลังทางเรือถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกำลังทางบกมาโดยตลอด โดยในระยะแรก<br />

มีการใช้เรือยาวอย่างที่เรียกว่า “เรือแซ” สำหรับบรรทุกผู้คนและอาวุธยุทธภัณฑ์ในเวลายกทัพไปทางแม่น้ำลำคลอง เมื่อข้าศึก<br />

เข้ามาประชิดติดพระนคร จึงเริ่มใช้วิธีเอาปืนลงเรือเพื่อปฏิบัติการรบ ต่อมามีการดัดแปลงเรือแซโดยเสริมกราบทำแท่นที่ตั้ง<br />

ปืนใหญ่ไว้สำหรับใช้รบข้าศึก โดยส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติการรบในแม่น้ำลำคลอง ทั้งนี้ ได้มีการใช้เรือรบทางทะเลในการทำ<br />

สงครามด้วย อาทิ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๘ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เรือใบไป<br />

ตีเมืองมะละกา และเมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๖ ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพเรือไปตีเมือง<br />

บันทายมาศ รวมถึง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๑ รัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในเหตุการณ์ยุทธนาวี ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช<br />

เสด็จพระราชดำเนินทางเรือเพื่อไล่จับกุมพระยาจีนจันตุ ขุนนางจีนของกัมพูชา<br />

40 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


กิจการทหารไทย<br />

สมัยราชอาณาจักรธนบุรี


กิจการทหารไทยสมัยราชอาณาจักรธนบุรี<br />

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ณ วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร<br />

๑. การเมืองและการปกครอง<br />

ภายหลังเหตุการณ์การล่มสลายของราชอาณาจักรอยุธยา<br />

ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ นั้น ยังไม่ได้เป็นการสูญเสียความเป็นชาติหรือ<br />

เอกราชทั ้งหมด ทั ้งนี้เป็นเพียงการสูญเสียอำนาจการปกครองที่มี<br />

กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางให้แก่พม่าเพียงระยะเวลาประมาณ ๗<br />

เดือน อีกทั้งกองทัพพม่าที่ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาก็ไม่ใช่ทัพกษัตริย์<br />

หากแต่เป็นทัพของแม่ทัพพม่าที่ได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้า<br />

มังระให้ยกทัพมาทำศึกกรุงศรีอยุธยา จำนวน ๒ คน คือ เนเมียวสีหบดี<br />

และมังมหานรธา ซึ่งผลจากการศึกสงครามครั้งนั ้นส่งผลให้เกิดการ<br />

สูญเสียอำนาจรัฐและอำนาจการปกครองของกรุงศรีอยุธยาที่มีต่อราช<br />

อาณาจักรอยุธยา และเป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองจาก<br />

พระมหากษัตริย์มาเป็นผู้นำมวลชนในพื้นที่ต่าง ๆ (ผู้นำชุมนุมหรือผู้นำก๊ก)<br />

เป็นอิสระต่อกัน และเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทั ้งนี้<br />

ในเวลาต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นผู้นำชุมนุมจันทบุรี<br />

ที่สามารถกรีฑาทัพเข้าตีและลบล้างอำนาจของพม่าที่มีอยู่เหนือกรุง<br />

ศรีอยุธยา รวมทั้งสร้างศูนย์อำนาจแห่งใหม่ขึ้นที่กรุงธนบุรีได้ส ำเร็จภายในระยะเวลาเพียง ๗ เดือน และเป็นการสร้างราชอาณาจักร<br />

ธนบุรีขึ้นใหม่ในประวัติศาสตร์ไทย<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นนักรบและนักการทหารที่มีความสามารถ กล้าหาญ จัดเจนในการสงคราม<br />

ทั้งด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธีซึ่งในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้ร่วมสงครามรักษาพระนคร และในห้วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยา<br />

ใกล้จะเสียแก่ข้าศึก จึงทรงตัดสินใจพาไพร่พลจำนวนประมาณ ๕๐๐ คน ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่าออกไปทางทิศตะวันออก<br />

ต่อมาได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเป็นที่ตั้งชุมนุมเพื่อเริ่มดำเนินการกอบกู้ราชอาณาจักรอยุธยา ด้วยการต่อเรือรบและเตรียม<br />

กำลังพล หลังจากนั้น จึงยกทัพเรือมาเข้าปากน้ำเมืองสมุทรปราการ (การใช้กำลังทางเรือเป็นการเคลื่อนทัพที่ใช้ความเร็ว<br />

42 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพวาดเหตุการณ์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยา<br />

(ภาพจากอนุสรณ์สถานแห่งชาติ)<br />

แทนการเดินทัพทางบกที่ใช้เวลานาน ซึ่งอาจทำให้ข้าศึกไหวตัวทันและเตรียมการป้องกันได้) เข้ายึดเมืองธนบุรีและจู่โจม<br />

ต่อไปยังค่ายโพธิ์สามต้นที่เป็นค่ายบัญชาการใหญ่ของพม่า จนมีชัยชนะเหนือพม่า สามารถขับไล่พม่าซึ่งตั้งกำลังรักษา<br />

กรุงศรีอยุธยาได้เป็นผลสำเร็จ และเป็นการกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ และในปลายปี พ.ศ.๒๓๑๐ ทรงรับการอัญเชิญขึ้นเป็น<br />

พระเจ้าแผ่นดิน พร้อมกับย้ายราชธานีมาตั้งที่กรุงธนบุรี เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีอาณาเขตกว้างใหญ่เกินกำลังที่จะรักษา<br />

และมีสภาพเสียหายอย่างมากเกินกว่าจะบูรณะให้เป็นราชธานี อีกทั้งมีทำเลที่ตั้ง มีป้อมปราการมั่นคงและใกล้ทะเล<br />

ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อระหว่างต่างประเทศกับหัวเมืองต่าง ๆ จึงสะดวกในการติดต่อค้าขายและซื้อหายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ<br />

ได้โดยตรง นอกจากนี้ ยังมีผืนดินยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม<br />

หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพยายามรวบรวมราชอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น สร้างความเป็น<br />

เอกภาพโดยทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ พร้อมทำสงครามเพื่อการป้องกันราชอาณาจักร ขยายอำนาจของราชธานีออกไป<br />

ทางหัวเมืองเหนือและประเทศราชทางด้านตะวันออก ตลอดจนการทำสงครามขับไล่พม่าที่มีการรบกันถึง ๑๐ ครั้ง พร้อมกับ<br />

ความพยายามที่จะพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างบ้านเมืองให้มั่นคง<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

43


ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังแสดงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ณ กรุงธนบุรี<br />

ภาพวาดกรุงธนบุรีจากหลักฐานม้วนแผนที่ความกว้าง ๓ ฟุต และยาว ๑๓ ฟุต ที่ได้จาก สหภาพเมียนมาร์<br />

ประกอบด้วย : ๑.เขตพระราชฐานชั้นใน (วังหลวง) ๒.บ้านพระยาจักรี ๓.วังลูกเจ้าเมืองบางกอก<br />

๔.ท่าขึ้นวัง ๕.ประตูถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ๖.ท่าข้าวเปลือก ๗.ป้อมปืน ๘.โรงช้างสำคัญ<br />

๙.บ้านหัวหน้าชาวจีน (พระยาราชเศรษฐี) ๑๐.วัดเฉลิมพระเกียรติ (มีป้อมค่ายทหาร)<br />

(ข้อมูลจาก ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์)<br />

44 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒. กิจการทหาร<br />

การทหารในสมัยราชอาณาจักรธนบุรี ยังคงมีรูปแบบการจัดหน่วยและการปฏิบัติการรบตามแบบแผนของ<br />

ราชอาณาจักรอยุธยา ประกอบด้วย<br />

๒.๑ การบรรจุกำลังพล ยึดถือแนวทางเดิม คือ ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องรับราชการเป็นทหาร พร้อมทั้งมีการจัดทำ<br />

ทะเบียนไพร่พล โดยให้ “เข้าเวร” รับราชการในกรมกองปีละ ๖ เดือน เช่นเดียวกับในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้สมเด็จ<br />

พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเอาพระทัยใส่ในการทำบัญชีพลให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกลี้ยกล่อมผู้คนที่<br />

หลบหนีเข้าป่าไปตั้งแต่ครั้งสงครามเสียกรุงให้กลับออกมารับราชการ และจัดการเกี่ยวกับกำลังพลเพื่อให้ทราบจำนวนที่แน่นอน<br />

และสะดวกแก่การควบคุมบังคับบัญชาในยามเกิดสงคราม<br />

๒.๒ การส่งกำลังบำรุง มีการซื้อข้าวใส่ยุ้งฉาง เพื่อแจกจ่ายแก่ไพร่พล ประชาชน ตลอดจนพระภิกษุสามเณร และ<br />

บำรุงทหารไม่ให้เดือดร้อนในเรื่องเสบียงอาหาร พร้อมจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์มาประจำกองทัพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาวุธปืน<br />

ที่รับจากชาวต่างประเทศที่ทูลเกล้าฯถวาย อาทิปืนคาบศิลา ปืนนกสับ และปืนใหญ่ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อปืนใหญ่<br />

ขึ้นใช้เองสำหรับป้องกันรักษาพระนครและใช้ในการศึกสงคราม นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเขตปฏิบัติ<br />

การของกองทัพเป็นเขตหน้าและเขตหลัง เพื่อประโยชน์ในการส่งกำลังบำรุงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารอย่างเป็น<br />

สัดส่วนอีกด้วย<br />

๒.๓ ด้านยุทธศาสตร์ทหาร มีการเปลี่ยนแปลงด้านยุทธศาสตร์ทหารจากเดิมในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา ที ่ใช้<br />

พระนครเป็นที่ตั้งรับศึก มาเป็นการยกกองทัพไปตั้งรับที่ชายแดน พร้อมกับย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ทั้งนี้เพราะป้อมเมือง<br />

บางกอกเป็นป้อมปราการที่ชาวฝรั่งเศสสร้างไว้ มีความแข็งแรงและสามารถจัดวางปืนใหญ่เพื่อใช้ในทางยุทธวิธี อีกทั้งชัยภูมิ<br />

ที่มีแม่น้ำซึ่งกว้างและลึกจะช่วยให้ต่อสู้ข้าศึกได้ดี โดยเฉพาะการทำการรบทางน้ำ<br />

๒.๔ ด้านยุทธวิธี เนื่องจากในสมัยราชอาณาจักรธนบุรี เป็นยุคสมัยที่มีการศึกสงครามค่อนข้างมากเกือบตลอด<br />

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีการเดินทัพและจัดทัพเพื่อต่อสู้ ตั้งรับ และเข้ายึดพื้นที่ โดยเฉพาะมีการทำศึกสงคราม<br />

กับพม่าถึง ๑๐ ครั้ง เพื่อป้องกันพระราชอาณาจักร อาทิ ศึกที่ค่ายบางกุ้ง ศึกครั้งวีรกรรมของพระยาพิชัยดาบหัก ศึกไทย<br />

ตีเมืองเชียงใหม่ ศึกที่บางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นกี้ จึงทำให้ประเทศต้องประสบปัญหาในเรื่องความขาดแคลนในเรื่องกำลังพลและ<br />

อาวุธยุทโธปกรณ์ จึงได้กำหนดยุทธวิธีสำหรับทำการรบไว้ ดังนี้<br />

๑) อาวุธยุทโธปกรณ์ จัดให้มีการใช้ปืนใหญ่รางเกวียนหรือปืนใหญ่ลากจูงเพื่อเข้าสู่พื้นที่ได้ง่ายพร้อมกับกำหนด<br />

มาตรการจัดปืนใหญ่ช่วยส่วนรวมขึ้น โดยจัดรวมปืนใหญ่เข้ามาไว้เป็นส่วนกลาง และให้ส่งไปช่วยยิงในการยุทธ์เป็นครั้งคราว<br />

ตามความจำเป็น<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

45


๒) กำลังพล มีการจัดแบ่งและส่งกำลังพลส่วนย่อย ๆ ออกปฏิบัติการด้วยความรวดเร็ว เด็ดขาด ตามความจำเป็น<br />

เพื่อเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ในลักษณะการเคลื่อนที่เร็ว และมีการเสริมกำลังของกองหนุนที่อยู่ใกล้ชิดบริเวณแนวหลังข้าศึก<br />

๓) รูปแบบการรบ มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ กล่าวคือ<br />

๓.๑ การใช้วิธีการจู่โจม ในลักษณะการโจมตีข้าศึกอย่างฉับพลันในขณะที่ไม่ทันระวังตัว ทำให้เอาชนะข้าศึกได้<br />

บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวไทยเลิกเกรงกลัวทหารพม่า<br />

๓.๒ การใช้กลยุทธ์ซุ่มโจมตีระหว่างทาง แล้วออกระดมออกตีจนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด<br />

๓.๓ การสืบข่าวข้าศึกอยู่อย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้ได้ทราบความเคลื่อนไหวของข้าศึกและสามารถวางแผน<br />

กลยุทธ์ที่เหมาะสม<br />

๓.๔ การล้อมค่ายของข้าศึกและตัดเส้นทางการลำเลียงเสบียงอาหาร ทำให้ข้าศึกยอมจำนนแต่โดยดี ซึ่งช่วยลด<br />

การสูญเสียกำลังพลในการบุกยึดค่ายของข้าศึก<br />

๓.๕ การเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ทางน้ำ ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็วขึ้น และสามารถ<br />

เล็ดลอดการตรวจการหรือการสื่อข่าวสารของข้าศึกได้<br />

46 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

แผนผังกรุงธนบุรี


ภาพวาดการศึกสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี<br />

ศึกค่ายโพธิ์สามต้น<br />

ศึกค่ายบางกุ้ง<br />

ศึกพิชัย ศึกอะแซหวุ่นกี้<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

47


48 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

แผนที่ประเทศไทยสมัยกรุงธนบุรี


กิจการทหารไทย<br />

สมัยราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์


กิจการทหารไทยสมัยราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์<br />

พระบรมสาทิสลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

๑. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ราชอาณาจักรไทยหรือราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แผ่ขยายออกไป<br />

อย่างมากมายทุกทิศทุกทางมากยิ่งกว่ารัชสมัยใด กล่าวคือ<br />

ทิศเหนือ ขยายไปจนถึงอาณาจักรล้านนาไทย รวมทั้ง<br />

หัวเมืองใหญ่ อาทิ เชียงตุง เชียงรุ้ง และหัวเมืองอื่น ๆ ในแคว้น<br />

สิบสองปันนา<br />

ทิศตะวันออก ขยายไปจนถึงหัวเมืองลาวและกัมพูชาทั้งหมด<br />

ทิศตะวันตก ขยายไปจนถึงหัวเมืองมะริด เมืองตะนาวศรี และ<br />

เมืองทวาย<br />

ทิศใต้ ขยายไปจนถึงดินแดนตลอดแหลมมลายู ประกอบ<br />

ด้วย เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน เมืองตรังกานู เมืองเประ และเมือง<br />

ปัตตานี<br />

ตลอดรัชกาลของพระองค์มีการทำสงครามกับพม่ารวม ๗ ครั้ง<br />

ซึ่งครั้งที่สำคัญคือ “สงครามเก้าทัพ” เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๘ ทัพพม่าที่<br />

ยกกำลังมาในครั้งนี้จัดเป็น ๙ ทัพ มีกำลังพลประมาณ ๑๔๔,๐๐๐ คน<br />

แยกย้ายกันเข้าตีไทย ๕ ทาง ซึ่งเป็นกำลังทางบก กล่าวคือ<br />

๑. ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จำนวน ๕ ทัพ<br />

๒. ยกเข้ามาตีหัวเมืองทางเหนือ จำนวน ๒ ทัพ<br />

๓. ยกเข้ามาตีหัวเมืองทางใต้ จำนวน ๒ ทัพ<br />

50 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


โดยมีการกำหนดนัดหมายให้ทุกกองทัพยกกำลังเข้าตีพร้อมกันในเดือนอ้ายของปีพ.ศ.๒๓๒๘ ซึ่งจากการพิจารณา<br />

ของฝ่ายไทยเห็นว่า กองทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์มีกำลังมาก และสามารถเข้าถึงกรุงเทพฯ ได้ใกล้ที่สุด<br />

จึงจัดกำลังเข้าทำการรบ เป็น ๔ ทัพ ดังนี้<br />

ทัพที่หนึ่ง ยกไปตั้งรับพม่าที่เมืองนครสวรรค์ เพื่อรับมือกับพม่าที่เดินทัพมาทางเหนือ<br />

ทัพที่สอง เป็นทัพใหญ่มีกำลังพลประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเป็น “แม่ทัพใหญ่”<br />

ยกทัพไปตั้งรับพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า เชิงเขาบรรทัด แขวงเมืองกาญจนบุรี เพื่อเตรียมรับมือกับพม่าที่เดินทัพมาทางด่านเจดีย์<br />

สามองค์<br />

ทัพที่สาม ยกไปตั้งรับพม่าที่เมืองราชบุรี เพื่อรับมือกับพม่าที่เดินทัพมาทางใต้<br />

ทัพที่สี่ เป็นกองหนุนทั่วไป ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ<br />

ซึ่งผลของสงครามที่ต้องต่อสู้กับข้าศึกที่มีก ำลังพลมากกว่าหลายเท่าตัว ปรากฏว่ากองทัพไทยได้รับชัยชนะอย่างงดงาม<br />

โดยการดำเนินกลยุทธ์ คือ การวางกำลัง สกัดการรุกของพม่าอย่างเหมาะสมทั้งในด้านการวางกำลัง ณ พื้นที่ที่สำคัญ ด้วยกำลัง<br />

ที ่พอเหมาะและจังหวะเวลาที่ถูกต้อง จนในที่สุด ฝ่ายพม่าต้องถอยทัพกลับไปตั้งแต่อยู่ที่ชายแดน ทั ้งนี้ เมื่อกองทัพหลวง<br />

ของพม่าต้องถอยกลับไป จึงทำให้กองทัพพม่าที่ยกมาทางเหนือและทางใต้เกิดความระส่ำระสาย จึงถูกกองทัพไทยกำราบ<br />

ได้อย่างราบคาบโดยง่ายดาย<br />

ภาพวาดสงครามเก้าทัพ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

51


ในเวลาต่อมา พม่าได้ยกกองทัพมาตีไทยอีกครั้งหนึ่งใน“สงครามท่าดินแดง” แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ไทยกลับไปเมื่อทำการรบ<br />

ได้เพียง ๓ วัน ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีสงครามขนาดใหญ่ระหว่างไทยกับพม่าอีกเลย<br />

ภาพวาดสงครามท่าดินแดง<br />

สำหรับกิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช คงดำเนินตามแบบอย่างในสมัยราช<br />

อาณาจักรอยุธยาเป็นส่วนใหญ่และมีการปรับปรุงในส่วนปลีกย่อย อาทิให้รับราชการทหารปีละ ๔ เดือน โดยหมุนเวียนเป็นวงรอบ<br />

๔ รอบ ๆ ละ ๑ เดือน รวมถึงมีการรวบรวมตำราพิชัยสงครามที่หลงเหลือจากการถูกท ำลายจากพม่าในเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา<br />

เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นแบบแผน และตราเป็นกฎหมายตราสามดวง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗<br />

ซึ่งในเวลาต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการนำระเบียบแบบแผนดังกล่าวมาใช้ในการแบ่งเหล่า<br />

และการจัดหน่วยทหาร การเตรียมกำลังพล การเกณฑ์ทหาร และกิจการด้านทหารอื่น ๆ คงดำเนินการตามแบบแผน<br />

๒. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<br />

กิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังคงมีรูปแบบการดำเนินการในลักษณะและตามแบบ<br />

อย่างเดิม โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์การจัดทัพไปทำการยับยั ้งข้าศึกตามเส้นทางเดินทัพที่สำคัญให้ตรึงอยู่บริเวณชายแดน<br />

ซึ่งบังเกิดผลดีมาแล้วในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๓ มีข่าวแจ้งว่า<br />

พม่าจะยกทัพมารุกรานทางด้านเมืองกาญจนบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกำลังกองทัพและยกไปทำการสกัดข้าศึก<br />

ใน ๓ พื้นที่คือ<br />

52 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


เมืองกาญจนบุรี เพื่อยับยั้งข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์<br />

เมืองเพชรบุรี เพื่อยับยั้งข้าศึกที่จะเข้ามาทางด่านสิงขร<br />

เมืองราชบุรี เพื่อรักษาเมืองราชบุรีไว้<br />

ซึ่งการปฏิบัติการทางทหารก็เป็นไปด้วยดี และเป็นการแสดงให้เห็น<br />

ถึงการดำเนินยุทธศาสตร์ที่เป็นแบบแผนเดิม ในขณะที่ภัยคุกคามบริเวณชายแดน<br />

เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่น่าเป็นห่วง กล่าวคือ ทางด้านทิศตะวันออก อานัม<br />

หรือญวนที่เคยมีสัมพันธไมตรีอันดีกับไทยในรัชกาลก่อน เริ่มขยายอาณาเขต<br />

เข้ามาในดินแดนกัมพูชา จนอาจกระทบกระเทือนถึงความมั ่นคงของไทย จึงได้<br />

มีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ประเภทปืนใหญ่และปืนเล็กจากต่างประเทศเข้ามาใช้<br />

ในราชการของกองทัพเป็นการเร่งด่วน<br />

ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<br />

อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยของพระองค์ไม่ปรากฏว่ามีการศึกสงครามมากนัก ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๓๕๓ จึงได้มีการ<br />

ลดหย่อนระยะเวลาของการเข้ารับราชการทหารลง โดยลดลงจากเดิมปีละ ๔ เดือน คงเหลือเพียงปีละ ๓ เดือน เพราะเป็นการ<br />

ดำเนินการในยามปกติเท่านั้น<br />

ทั้งนี้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า<br />

นภาลัย ได้มีการจัดตั้งกองทหารอย่างฝรั่งขึ้นหน่วยหนึ่ง<br />

ตามแบบของอังกฤษ (ใช้ทหารอินเดียซึ่งอังกฤษเป็นผู้ฝึก)<br />

เรียกกันว่า “ทหารซีป่าย” หรือ “ทหารซีปอย (Sepoy)”<br />

มีหน้าที่รักษาพระองค์และเขตพระราชฐาน และมีเครื่องแบบ<br />

ที่แตกต่างจากทหารไทยทั่วไป<br />

ภาพทหารซิป่าย (Sepoy)<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

53


นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการที่จังหวัดสมุทรปราการอีก อาทิ ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อม<br />

เพชรหึง ป้อมผีเสื้อสมุทร (สร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)<br />

ภาพป้อมแผลงไฟฟ้าในปัจจุบัน ภาพป้อมเพชรหึงในอดีต (ปัจจุบันถูกรื้อออกแล้ว)<br />

ภาพป้อมผีเสื้อสมุทรในปัจจุบัน<br />

54 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๓. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

กิจการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันราชอาณาจักรและการศึกสงคราม<br />

ที่สำคัญ รวม ๒ รายการ คือ<br />

การศึกสงครามกับลาว ด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์<br />

แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์<br />

เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยามซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดวีรสตรี<br />

ไทยคือ “ท้าวสุรนารี” และ “วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์”<br />

การศึกสงครามกับเวียดนาม ด้วยการส่งกองทัพไปทำศึกสงครามกับ<br />

ญวน ที่เรียกว่า อานาม-สยามยุทธ์ ใช้เวลานานถึง ๑๔ ปี (พ.ศ.๒๓๗๖ -<br />

๒๓๙๐) ซึ่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการทำให้ไทยกับญวนยุติการสู้รบ<br />

ระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมร โดยที่ไทยไม่เกิดความเสียเปรียบต่อญวน<br />

พระบรมสาทิสลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อนุสาวรีย์สถานทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

55


ภาพแสดงการทำสงครามกับญวน<br />

เนื่องจากภัยคุกคามทางทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางด้านตะวันออก การเกิดเหตุการณ์<br />

เจ้าอนุวงศ์ที่มีเจตนาจะยกทัพเข้ามาถึงพระนคร กอปรกับมีการติดต่อทางการทูตและการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติเป็นอันมาก<br />

ทั้งในเอเชียและยุโรปที่มีการดำเนินยุทธศาสตร์ “การทูตแบบเรือปืน (Gunship Diplomacy)” จึงก่อให้เกิดความไม่น่าไว้ที่มีต่อ<br />

ชาติตะวันตก ทำให้ประเทศไทยจะต้องมีการเตรียมกำลังกองทัพเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินจากเหตุการณ์ที่อาจขยายผลไปถึงขั้น<br />

การทำสงครามได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการพัฒนาระบบการป้องกันประเทศ ดังนี้<br />

๑. อาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นการจัดหาปืนใหญ่สำหรับใช้ในการรักษา<br />

พระนคร ซึ่งในขณะนั้นยังมีอยู่ในจ ำนวนน้อย กล่าวคือ มีเพียงปืนใหญ่ขนาด ๑๐ นิ้ว<br />

ที่สั่งเข้ามาเพียง ๒๐๐ กระบอก จึงได้จัดหาปืนใหญ่ขนาด ๘ นิ้ว และขนาด<br />

๑๒ นิ้ว มาใช้งานอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังได้จัดหาปืนขนาดเล็ก อาทิ<br />

ปืนสตรอง ปืนทองเหลือง ปืนหลังช้าง ปืนคาบศิลา และปืนไรเฟิลฉนวนทองแดง<br />

เข้ามาใช้ ในการรักษาพระนครอีกเป็นจำนวนมาก โดยจัดหาจากต่างประเทศ และ<br />

สร้างขึ้นใช้เอง อาทิ ปืนพระสุบินบรรดาล<br />

ภาพปืนพระสุบินบรรดาล<br />

56 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒. การปรับปรุงป้อมปราการ ทั้งนี้เนื่องจากกำแพงพระนครเดิมมีขนาดคับแคบ และคูพระนครด้านตะวันออก<br />

เป็นเพียงลำคลองขนาดเล็ก นอกจากนี้ภูเขาทองที่วัดสระเกศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างขึ้นนั้นเป็นที่สูงข่ม หากข้าศึกยึดได้และนำปืนใหญ่ไปตั้งบนภูเขาทองก็จะสามารถใช้ระดมยิงเข้ามาในพระนครได้ จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษม เป็นคูเมืองชั้นนอก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ ใช้เวลาขุด ๑๐ เดือน สิ้นค่าก่อสร้าง<br />

๓๙๑ ชั่ง (ประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท) พร้อมกับสร้างป้อมปราการเรียงรายเป็นระยะตามฝั่งคลองส่วนในพระนคร ตั้งแต่<br />

ปากคลองด้านเหนือไปถึงปากคลองด้านใต้ รวม ๕ ป้อม<br />

คือ ป้อมป้องปัจจามิตร ป้อมปิดปัจจานึก ป้อมผลาญศัตรู<br />

ป้อมปราบศัตรูพ่าย และป้อมทำลายปรปักษ์ พร้อมกับการ<br />

สร้างป้อมปราการอื่นอีก ๓ ป้อม คือ ป้อมฮึกเหี ้ยมหาญ<br />

ป้อมหักกำลังดัสกร และป้อมมหานคร<br />

คลองผดุงกรุงเกษมในอดีต<br />

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจในเรื่องที่มีเรือรบสัญชาติอังกฤษและสัญชาติฝรั่งเศส เข้ามาในบริเวณ<br />

ประเทศไทยที่มีจำนวนและมีความถี่ค่อนข้างมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อม<br />

ที่ปากน้ำขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า “ป้อมปราการ” (ปัจจุบันอยู่บริเวณตลาดปากน้ำ) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศ<br />

รังสรรค์(ต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว)ซึ่งทรงมีพระปรีชาชาญในเรื่องปืนใหญ่ทำการฝึกคนญวนเข้ารีตที่อพยพ<br />

เข้ามาในกรุงเทพ เป็นทหารปืนใหญ่ประจำป้อม และได้นำเครื่องแบบทหารซีป่ายมาใช้เป็นเครื่องแบบประจ ำหน่วยด้วย<br />

ภาพป้อมป้องปัจจามิตรในปัจจุบัน (บริเวณเขตคลองสาน)<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

57


พระบวรราชานุสาวรีย์<br />

สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

หน้าโรงละครแห่งชาติ<br />

๓. การกำหนดพื้นที่ระวังป้องกัน มีการกำหนดยุทธศาสตร์ ในกรณีที่เกิด<br />

ศึกสงครามลุกลามมาถึงพระนคร ให้ใช้ไม้แก่นหรือไม้ลำ เพื่อนำปักเป็นค่ายระเนียด<br />

บรรจบกันเป็นเขื่อน เพื่อจะได้ต่อสู้กับข้าศึกได้ถนัด และเป็นสิ่งกีดขวางการเคลื่อนที่<br />

ของข้าศึก<br />

๔. กองทหารอย่างยุโรป ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มี ร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) นายทหารอังกฤษ<br />

นอกราชการในอินเดีย เดินทางเข้ามาทางเมืองเมาะลำเลิง ขอเข้ารับราชการ จึงรับสั่งให้<br />

เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (ภายหลัง คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)<br />

ผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) รับไว้เป็นครูฝึก<br />

ทหาร และมีพระราชดำริที่จะจัด “กรมทหารอย่างยุโรป” ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงรับสั่ง<br />

ให้เจ้าพระยาพระคลัง ว่าที่สมุหพระกลาโหม (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์<br />

(ดิส บุนนาค) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เกณฑ์บุตรชาวรามัญ<br />

เมืองนครเขื่อนขันธ์ และปทุมธานี มาฝึกเป็นทหารซีป่าย ดังเช่นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศ<br />

รังสรรค์ฝึกทหารซีป่ายญวนไว้แล้ว โดยมอบให้จมื่นไวยวรนาถที่ได้เลื่อนเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้บังคับบัญชา เรียกว่า<br />

“ทหารอย่างยุโรป” ใช้เครื่องแบบทหารซีป่ายเช่นกัน มีทหารที่เข้าฝึก ๑,๐๐๐ คน ตั้งโรงทหารอยู่ที่บ้านพระยาศรีสุริยวงศ์<br />

ฝั่งธนบุรี และมีสนามฝึกอยู่ข้างวัดบุปผาราม นับเป็นกองทหารอย่างยุโรปที่เข้ามาแทนที่กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งที่เสื่อมโทรม<br />

ลงในสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

๔. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาททางด้าน<br />

ความมั่นคงในภูมิภาคด้วยการแสวงหาผลประโยชน์และจัดตั้งอาณานิคมทางดินแดนทางตะวันออก โดยกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ<br />

ทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทดินแดนในราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์มากยิ่งขึ้นด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองสิริราชสมบัติ จึงทรงคุ้นเคยกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษเป็น<br />

อย่างมาก ทั้งยังทรงเกี่ยวข้องกับเสนาบดีสกุลบุนนาค อาทิ พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ<br />

ขึ้นครองสิริราชสมบัติ ซึ่งเป็นข้าราชการผู้ที่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับอังกฤษ เมื่อเป็นเช่นนี้ ในรัชสมัยของพระองค์จึงเปิด<br />

58 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศ<br />

มากถึง ๑๐ ประเทศ โดยทรงนำนโยบาย “ผ่อนสั้น ผ่อนยาว” มาใช้ในการ<br />

สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์<br />

จึงเป็นการวางรากฐานให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการดำเนิน<br />

พระราชวิเทโศบายให้ประเทศไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์<br />

ได้ดำเนินพระราชกุศโลบายทางด้านการพัฒนาความมั่นคงกับต่างประเทศ ดังนี้<br />

๑. ส่งคณะทูตไทยไปเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระราชินีนาถ<br />

วิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร โดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชทูต เจ้าหมื่น<br />

สรรเพ็ชภักดี เป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์ เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวาย<br />

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จึงเป็นพระราชวิเทโศบายที่ริเริ่มขึ้นใหม่ในพระราช<br />

สำนัก<br />

พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ภาพวาดคณะทูตไทยถวายพระราชสาส์นสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

59


ภาพวาดคณะทูตไทยไปเจริญพระราชไมตรีกับอังกฤษ<br />

๒. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย คือ<br />

เซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ที่เข้ามาทำสนธิสัญญา<br />

กับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยา<br />

สยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” รับพระราชทานตำแหน่งกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน<br />

๓. ทรงริเริ่มปฏิรูประบบต่าง ๆ โดยพิจารณาเลือกสรรเอาแบบอย่างที่ดีของชาติ<br />

มหาอำนาจทางตะวันตก มาประยุกต์เข้ากับหลักการเดิมของไทย ซึ่งจะเห็นได้จากพระราช<br />

ดำรัสสำคัญบางตอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ กล่าวคือ<br />

“...ถ้าหากเราพบบ่อทองในประเทศของเราพอที่จะซื้อเรือรบจำนวนร้อย ๆ ลำ<br />

ก็ตาม เราก็คงไม่สามารถจะสู้กับพวกนี้ได้ เพราะเราจะต้องซื้อเรือรบ<br />

และอาวุธจากประเทศเหล่านี้ พวกนี้จะหยุดขายให้เราเมื่อไหร่ก็ได้<br />

อาวุธชนิดเดียวที่จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อเราในอนาคต<br />

คือวาจาและหัวใจของเราอันกอปรด้วยสติและปัญญา…”<br />

ภาพพระยาสยามานุกูลกิจ<br />

สยามมิตรมหายศ<br />

(เซอร์ จอห์น เบาริง)<br />

สำหรับการดำเนินการ เริ่มด้วยการจัดการฝึกศึกษา เพื่อพัฒนาในภารกิจหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านการทหาร<br />

มีการเสริมสร้างกำลังรบ และวางมาตรการการป้องกันประเทศ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป<br />

ในยุคล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตกในลักษณะการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจการทหารของไทยจากแบบแผนเดิม<br />

ที่มีแบบแผนมาจากราชอาณาจักรอยุธยา มาเป็นแบบแผนของชาติตะวันตก ซึ่งมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้<br />

60 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๓.๑ กรมทหารหน้า มีการจัดตั้งหน่วยขึ้นด้วยการพัฒนา “กองทหารฝึกหัดอย่างยุโรป” ให้เป็นมาตรฐานและมีขีด<br />

ความสามารถมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการที่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจ้างนายทหารนอกราชการชาวอังกฤษมาเป็นครูฝึกทหาร ๒ คน คือ<br />

ร้อยเอก อิมเปย์ (Impey) ซึ่งเข้ารับราชการเป็นครูฝึกทหารวังหลวง ได้ทำการฝึกทหารในกรมทหารอาสาลาวและเขมร<br />

ที่เข้ามาเป็นทหารเกณฑ์หัดแบบตะวันตกในวังหลวง ที่เรียกทหารหน่วยนี้ว่า “ทหารอย่างยุโรป หรือทหารเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง”<br />

โดยมีการจัดเป็น กองร้อย หมวด และหมู่ มีนายร้อย นายสิบ ควบคุมตามแบบทหารยุโรป จัดออกเป็น ๒ กอง คือ กองทหาร<br />

รักษาพระองค์ ปืนปลายหอกข้าหลวงเดิม และกองทหารหน้า<br />

ร้อยเอก น๊อกซ (Knox) หรือร้อยเอกโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ เข้ารับราชการเป็นครูฝึกทหารวังหน้าซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.<br />

๒๓๙๖ ร้อยเอก น็อกซ์ ได้เป็นผู้นำกองทหารหน้า ซึ่งจัดเป็นรูปกองกำลังพิเศษ เข้าช่วยกำลังส่วนใหญ่ตอนถอยออกจาก<br />

เชียงตุง ในคราวศึกเชียงตุง<br />

ต่อมา เมื่อนายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นาย ได้ลาออกจากราชการ ได้มีการจ้างนายทหารชาวฝรั่งเศสชื่อ ลามาช<br />

(Lamache) มาเป็นครูฝึกแทน และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น หลวงอุปเทศทวยหาญ แต่ประสบปัญหาเรื่อง<br />

การสื่อสาร เนื่องจากครูฝึกเดิมใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารและออกคำสั่งสำหรับใช้ในการฝึก โดยในขณะนั้นยังไม่มีการบัญญัติ<br />

ศัพท์ทางทหารที่เป็นภาษาไทย แต่เมื่อครูฝึกคนใหม่ใช้ภาษาฝรั่งเศสจึงทำให้ผู้รับการฝึกสับสนกับคำสั่งและวิธีการ จึงทำให้ไม่<br />

ประสบผลสำเร็จ ทำให้หลวงอุปเทศทวยหาญลาออก และมีการจัดหาครูฝึกทหารคนใหม่ เป็นครูฝึกชาวไทยที่เคยเป็นลูกศิษย์<br />

ครูอังกฤษ และได้นำคำสั่งภาษาอังกฤษกลับมาใช้ในการฝึกต่อไป<br />

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี<br />

การจัดหน่วยและจัดระบบของกองทหารฝึกหัดอย่างยุโรป จนพัฒนาเป็น ๔ กอง<br />

โดยพระราชทานใหม่เป็น กรมทหารหน้า ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑. กองทหารอย่างยุโรปเดิม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยา<br />

ศรีสุริยวงศ์ เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม<br />

จึงทำให้ต้องย้ายบ้านเดิมที่อยู่ฝั่งธนบุรี (และเคยจัดตั้งเป็นที่ฝึกทหารอย่างยุโรป)<br />

ข้ามฟากมาอยู่ฝั่งพระนคร ริมถนนเยาวราช และคลองโอ่งอ่าง พร้อมทั้งย้าย<br />

กองทหารอย่างยุโรปมาปลูกโรงและทำสนามฝึกด้วย<br />

ภาพทหารฝึกหัดอย่างยุโรป<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

61


ภาพพระยาศรีสุริยวงศ์<br />

(ช่วง บุนนาค)<br />

๒. กองทหารมหาดไทย ด้วยการจัดลูกหมู่เลขลาวกรุง ที่เกณฑ์มาจากหัวเมือง<br />

ฝ่ายเหนือมาเป็นทหารฝึกหัดยุทธวิธีแบบยุโรป<br />

๓. กองทหารกลาโหม ด้วยการจัดลูกหมู่เลขลาว เขมรและมอญ ที่เกณฑ์มาจาก<br />

หัวเมืองฝ่ายใต้ และขึ้นอยู่ในกรมพระกลาโหม มาเป็นทหารฝึกหัดยุทธวิธีแบบยุโรป<br />

๔. กองเกณฑ์หัด เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย<br />

กองทหารอย่างยุโรปทั้ง ๓ กอง มาตั้งอยู่ที ่สนามไชย ต่อมาได้ให้ขุนหมื่นสิบยก คือ<br />

ชักกำลังทหาร ๑ ใน ๑๐ จากกรมต่าง ๆ มาเป็นทหารอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “กองเกณฑ์หัด”<br />

หรือ “ทหารเกณฑ์หัด” โดยให้มีการหัดแบบยุโรปด้วยเช่นกัน<br />

ทั้งนี้ กรมทหารหน้า ได้รับการฝึกทหารแบบใหม่ (แบบยุโรป) มีอาวุธปืน<br />

ทันสมัยครบครัน มีกำลังพลมากกว่ากองทหารอื่น ๆ ดังนั้น กรมทหารหน้าจึงมีลักษณะ<br />

เป็นกรมทหารประจำการ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวง<br />

มหิศวรินทรนเรศร์ เป็นผู้บังคับบัญชา พระองค์แรก และกรมทหารหน้านี้รับผิดชอบ<br />

ในภารกิจ กล่าวคือ<br />

ภาพที่ตั้งหน่วย กรมทหารหน้า<br />

(ทหารอย่างยุโรป) ที่สนามไชย<br />

ภาพทหารเกณฑ์หัด<br />

62 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ยามสงคราม เป็นหน่วยกำลังรบหลักที่ต้องเดินทางเข้าพื้นที่การรบเพื่อไปปฏิบัติการก่อนหน่วยอื่นเสมอ<br />

ยามปกติ เป็นหน่วยกำลังที่ทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายตามหัวเมืองต่าง ๆ ตลอดจนเข้าขบวนตามเสด็จพระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกครั้ง<br />

๓.๒ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เริ่มมีการจัดตั้งหน่วยในปี พ.ศ.๒๔๐๔ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้รวบรวมบุตรในราชตระกูลและบุตรข้าราชการที่ยังเยาว์วัยมาทดลองฝึกหัดเป็นทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่เช่นเดียวกับ<br />

กรมทหารหน้า ซึ่งในชั้นแรกนั้นมี ๑๒ คน และให้ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร ตลอดจนตั้งแถวรับเสด็จฯ<br />

ณ ที่นั้นทุกเวลาเช้า มหาดเล็กเหล่านี้เอง ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา” คือจุดเริ่มต้นของกิจการทหารมหาดเล็ก<br />

รักษาพระองค์ของประเทศไทย<br />

๓.๓ ทหารเรือ กิจการทหารเรือเริ่มมีความชัดเจน ตั้งแต่<br />

ปี พ.ศ.๒๓๙๔ ด้วยการจัดหน่วยทหารเรือ ออกเป็น ๒ หน่วย<br />

ที่เป็นอิสระจากกัน กล่าวคือ<br />

๓.๓.๑ ทหารเรือวังหน้า ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของ<br />

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหน่วยขึ้นสังกัดคือ เรือ<br />

กรมเรือกลไฟ กรมอาสาจาม และกองทะเล<br />

ภาพทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์<br />

๓.๓.๒ ทหารมะรีน (Marine) ขึ้นอยู่ในบังคับ<br />

บัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)<br />

สมุหพระกลาโหม มีหน่วยในสังกัดคือ กรมอรสุมพล ประกอบด้วย<br />

กรมเรือกลไฟ กรมอาสาจาม และกรมอาสามอญ<br />

ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะเวลาดังกล่าวมีเรือของชาติตะวันตก<br />

เข้ามาติดต่อค้าขายภายในราชอาณาจักรไทยมากขึ้นเป็นลำดับ โดย<br />

เรือเดินทะเลเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้น และมีการเปลี่ยนจากยุคเรือ<br />

ใบมาเป็นยุคเรือกลไฟเป็นครั้งแรก อีกทั้ง เรือที่สร้างขึ้นในระยะแรก<br />

มีลักษณะเป็นเรือกลไฟจักรข้าง ต่อมา จึงได้เปลี่ยนเป็นเรือกลไฟจักร<br />

ท้าย ลำเรือต่อด้วยไม้ เครื่องจักรไอน้ำสั่งซื้อจากต่างประเทศ สำหรับ<br />

ภาพทหารเรือ (ทหารมะรีน) ในอดีต<br />

เรือเหล็กมีเฉพาะที่สั่งต่อจากต่างประเทศ ซึ่งเรือกลไฟลำแรกที่ต่อ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

63


ในประเทศไทยคือ “เรือสยามอรสุมพล” ที่ทำการต่อขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๓๙๘ และต่อมา ในปี พ.ศ.๒๔๐๖ พระเจ้านโปเลียน ที่๓<br />

แห่งฝรั่งเศส ได้ถวายเรือกลไฟแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “เรืออรรคเรศรัตนาสน์”<br />

ในระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยนิยมต่อเรือเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรก ที่เป็นเจ้าของเรือกำปั่นที่ทำด้วยเหล็กทั้งลำ คือ เรือมงคลราชปักษี ซึ่งเป็นเรือสัญชาติอเมริกัน<br />

ที่ทรงซื้อมาดัดแปลงเพื่อให้เป็นเรือรบและเรือพระที่นั่ง<br />

ภาพเรือสยามอรสุมพล<br />

ภาพเรืออรรคเรศรัตนาสน์<br />

ภาพเรือมงคลราชปักษ์<br />

นอกจากนี้ปรากฏว่า มีอู่เรือที่สามารถซ่อมสร้างเรือกลไฟ<br />

ของทางการได้ รวม ๓ อู่ กล่าวคือ<br />

๑) อู่เรือใต้วัดระฆัง ซึ่งเป็นอู่เรือหลวง ต่อมาได้ใช้งาน<br />

อู่เรือแห่งนี้จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๒) อู่เรือวังหน้า สร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการซ่อม<br />

สร้างเรือรบและเรือพระที่นั่งของวังหน้า ตั้งอยู่บริเวณโรงทหารเรือ<br />

วังหน้า (ปัจจุบันคือที่ตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)<br />

๓) อู่เรือบ้านสมเด็จ อยู่ในความอำนวยการของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดอนงคาราม<br />

นอกจากนี้ ยังมีอู่เรือของชาวต่างประเทศ รวม ๒ อู่ คือ อู่บริษัทแมคลีน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๘ และอู่บริษัท<br />

บางกอกด๊อก สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๘<br />

64 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๕. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือว่าเป็นยุคการ<br />

เปลี่ยนแปลงของกิจการทหารไทยให้มีความทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดย<br />

สามารถแบ่งกิจการทหารไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออก<br />

เป็น ๕ ยุค กล่าวคือ<br />

๕.๑ ยุคก่อนกรมยุทธนาธิการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาในวันที่๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ ในขณะที่<br />

ยังทรงพระเยาว์ กล่าวคือ ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๕ ชันษา จึงได้มีการแต่งตั้งให้<br />

เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม (ในขณะนั้น) เป็นผู้สำเร็จราชการ<br />

แผ่นดินแทนพระองค์ จนกว่า พระองค์จะทรงมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษา<br />

พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในขณะที่ยังทรงดำรงพระราชสถานะเป็นยุวกษัตริย์อยู่นั้น ผู้สำเร็จราชการ คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงได้จัดการ<br />

ศึกษาถวายแด่พระองค์สืบต่อจากที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงจัดวางไว้ รวมทั้งจัดวางแนวทางให้เสด็จพระราชดำเนินเยือน<br />

ต่างประเทศ ในประเทศใกล้เคียงที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษและฮอลันดา อาทิ สิงคโปร์ ชวา พม่า และอินเดีย ซึ่งการจัดแนวทาง<br />

การศึกษาในห้วงดังกล่าว ทำให้พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับการเปลี่ยนแปลง<br />

ในประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับการพัฒนาจากประเทศตะวันตก จึงเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ทรงมีพระราชดำริปฏิรูปประเทศ<br />

ในห้วงเวลาต่อมา<br />

โดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๔๑๕ ภายหลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวีย (กรุงจาการ์ต้า<br />

ประเทศอินโดนีเซีย ในอดีต) ได้ทรงนำรูปแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปปฏิบัติอยู่ในเมืองทั้งสองมาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสม<br />

กับสยามในเวลานั้น กล่าวคือ<br />

๑. ทหารบก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหน่วยทหารต่าง ๆ และให้ตั้งเป็นหน่วยทหารอยู่ในสังกัดของ<br />

ทหารบก รวม ๗ กรม ประกอบด้วย กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง<br />

กรมทหารหน้า กรมทหารปืนใหญ่ กรมทหารช้าง และกรมทหารฝีพาย<br />

๒. ทหารเรือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนหน่วยทหารเดิม และให้ตั้งเป็นหน่วยทหารอยู่ในสังกัดของ<br />

ทหารเรือ รวม ๒ กรม ประกอบด้วย กรมทหารเรือพระที่นั่งเวสาตรี (ทหารช่างแสงเดิม) และกรมอรสุมพล (ทหารมะรีนเดิม)<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

65


เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ<br />

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑<br />

ทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก<br />

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๑๖<br />

ทั้งนี้หน่วยทหารทั้ง ๙ หน่วยในสังกัดทหารบก<br />

และทหารเรือ ทรงใช้นายทหารต่างประเทศเป็นผู้ฝึก<br />

โดยมีเจ้านายและข้าราชการซึ่งเป็นผู้ที่ทรงไว้วางพระราช<br />

หฤทัยเป็นผู้บังคับบัญชา และขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งปรับปรุงอาวุธยุทธภัณฑ์<br />

ให้เหมาะสมกับกาลสมัยตามกำลังของประเทศ และวาง<br />

ระเบียบการแต่งกายทหารให้รัดกุมมากขึ้น<br />

ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา<br />

และทรงประกอบพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๖<br />

พฤศจิกายน ๒๔๑๖ ทำให้ทรงมีพระราชอำนาจ<br />

โดยสมบูรณ์ไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จึงทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนากิจการทหารให้มีความทันสมัยทัดเทียมนานา<br />

อารยประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ.๒๔๒๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบปกครองทหารในกรมทหารหน้าให้เหมาะสม<br />

มากยิ่งขึ้น พร้อมทั ้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างที่ทำการของทหารขึ้นใหม่บริเวณนอกรั้วพระบรมมหาราชวัง<br />

และอยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวังเพื่อป้องกันเหตุร้ายได้ทันท่วงที โดยทรงพระราชทานพื้นที่หมู่วังเจ้านายถนนหลักเมือง<br />

บางส่วนและฉางข้าวหลวงสำหรับพระนครเป็นพื้นที่สำหรับสร้างที่ทำการของกรมทหารหน้า โดยมีค่าก่อสร้างอาคารรวม<br />

เป็นเงิน ๗,๐๐๐ ชั่ง หรือ ๕๖๐,๐๐๐ บาท และค่าตกแต่งอีก ๑๒๕ ชั่ง หรือ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นมูลค่า<br />

ก่อสร้างและดำเนินการทั้งสิ้น ๕๗๐,๐๐๐ บาท สำหรับการก่อสร้างที่ทำการของกรมทหารหน้าแห่งใหม่ เริ่มดำเนินการ<br />

ก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๔๒๕ และก่อสร้างเสร็จใน ปี พ.ศ.๒๔๒๗ และในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดที่ทำการทหารหน้าแห่งใหม่และพระราชทานนามว่า<br />

โรงทหารหน้า (ศาลาว่าการกลาโหม ในปัจจุบัน)<br />

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกองทัพหัวเมืองโดยอาศัยกรอบและแนวทางเดิม โดยแบ่งออกเป็น<br />

๓ กองทัพ กล่าวคือ<br />

๑) กองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ภายใต้การบังคับบัญชาของ สมุหนายก<br />

๒) กองทัพหัวเมืองฝ่ายใต้ ภายใต้การบังคับบัญชาของ สมุหพระกลาโหม<br />

๓) กองทัพหัวเมืองชายทะเล ภายใต้การบังคับบัญชาของ เจ้าพระยาพระคลัง<br />

66 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๕.๒ ยุคหลังกรมยุทธนาธิการ<br />

วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

ประกาศพระบรมราชโองการประกาศจัดการทหาร โดยทรง<br />

สถาปนากรมยุทธนาธิการขึ้น และใช้ที่ตั้งหน่วยบริเวณ<br />

โรงทหารหน้า (ปัจจุบันคือศาลาว่าการกลาโหม) จึงนับเป็น<br />

จุดเริ่มต้นของการดำเนินกิจการทหารสมัยใหม่ให้มีความ<br />

ภาพอาคารโรงทหารหน้า ในยุคแรก<br />

เป็นสากลทัดเทียมนานาอารยประเทศ และรองรับการเผชิญ<br />

ภัยคุกคามจากประเทศมหาอำนาจในยุคล่าอาณานิคม ทั้งนี้เนื่องจากการจัดหน่วยทหารในลักษณะที่เป็นอิสระต่อกัน ส่งผลให้<br />

การปกครองบังคับบัญชาไม่อยู่ในแบบแผนเดียวกัน กล่าวคือ ต่างหน่วยต่างจัด มิได้มีการปรึกษาหารือระหว่างกัน ในบางโอกาส<br />

จึงเกิดการก้าวก่ายงานซึ่งกันและกัน และมีการใช้งบประมาณเพื่อการจัดหายุทโธปกรณ์กับการฝึกหัดกำลังพลในลักษณะที่ไม่มี<br />

แบบแผนแน่นอน จึงไม่สามารถกำหนดงบประมาณที่แน่นอนได้จนนำมาสู่ความสิ้นเปลืองของงบประมาณ จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง ผู้บังคับบัญชาการทั่วไปสำหรับกรมทหาร เรียกว่า คอมมานเดออินชิฟ (Commander In Chief) และ<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้เพื่อให้ถูกต้อง<br />

ตามโบราณราชประเพณี โดยกำกับดูแลทหารบก และทหารเรือ ให้เกิดความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยมีการบัญญัติ<br />

ไว้ในประกาศจัดการทหาร<br />

๕.๒.๑ ให้รวมทหารบกและทหารเรือ ตั้งขึ้นเป็นกรมทหาร ใช้ชื่อว่า กรมยุทธนาธิการ โดยแยกการปกครอง<br />

บังคับบัญชากรมทหารออกจาก กรมพระกลาโหม (คงให้ กรมพระกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้เท่านั้น)<br />

๕.๒.๒ ตั้งเจ้าพนักงานใหญ่ผู้จัดการในกรมสำหรับช่วยผู้บัญชาการทั่วไป อีก ๔ ตำแหน่ง คือ<br />

๕.๒.๒.๑ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารบกหรือเอตซุแตนต์เยเนอราล (Assistant General)<br />

๕.๒.๒.๒ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการใช้จ่าย หรือเปมาสเตอเยเนอราล (Paymaster General)<br />

๕.๒.๒.๓ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ หรือครอดเตอมาสเตอเยเนอราล (Quartermaster<br />

General)<br />

๕.๒.๒.๔ เจ้าพนักงานใหญ่ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือหรือสิเกรตาริตูธีเนวี(Secretary to The Navy)<br />

๕.๒.๓ กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาการทั่วไป และเจ้าพนักงานใหญ่ ทั้ง ๔ ตำแหน่ง<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

67


เมื่อเป็นเช่นนี้การจัดส่วนราชการของกรมยุทธนาธิการในช่วงแรกจึงประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ กรมการใช้จ่าย<br />

และกรมยุทธภัณฑ์ ทั้งนี้ ยังได้กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้<br />

(๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราช<br />

อิสริยยศในตำแหน่ง จอมทัพ<br />

(๒) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร<br />

ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทั่วไป แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์<br />

คือ มีพระชันษาเพียง ๙ พรรษา (ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน<br />

๒๔๒๑) จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จ<br />

พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธ์<br />

วงศ์วรเดช (พระยศในขณะนั้น) ทรงเป็นผู้รักษาการแทน<br />

ผู้บัญชาการทั่วไปในกรมทหาร จนกว่าพระองค์จะว่าการได้ด้วย<br />

พระองค์เอง ซึ่งในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น<br />

พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จ<br />

พระบรมโอรสาธิราช<br />

เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ<br />

สยามมกุฎราชกุมาร<br />

พระฉายาลักษณ์นายพลเอก<br />

สมเด็จพระเจ้าน้องยา<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์<br />

กรมพระภาณุพันธ์วงศ์วร<br />

ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ<br />

(๓) พลตรี กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เป็น ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก<br />

(๔) นายพลเรือโท พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เป็น ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ<br />

(๕) นายพลตรี เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัตติวงศ์ เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย<br />

(๖) นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็น เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์<br />

(๗) นายพลตรี กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็น ผู้บัญชาการรักษาพระราชวัง<br />

๕.๓ ยุคกระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine)<br />

เนื่องจากการจัดหน่วยที่มีลักษณะเป็นกรมมีจุดอ่อนในการปฏิบัติราชการทหาร กล่าวคือ ต่างกรมต่างเป็นอิสระ<br />

ไม่ขึ้นตรงต่อกัน จึงทำให้การบริหารราชการประสบปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงจัด<br />

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยตราพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ ด้วยการยกฐานะ<br />

กรมยุทธนาธิการขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ (Ministry of War and Marine) เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๓ พร้อมทั้ง<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งตำแหน่งตามพระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๓๓ ดังนี้<br />

68 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


นายพลตรี กรมหมื่น<br />

ดำรงราชานุภาพ<br />

นายพลเรือโท พระองค์เจ้า<br />

สายสนิทวงศ์<br />

นายพลตรี<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ<br />

กรมขุนนริศรา<br />

นุวัดติวงศ์<br />

นายพันเอก พระยา<br />

สุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง - ชูโต)<br />

นายพลตรี กรมหมื่น<br />

ประจักษ์ศิลปาคม<br />

ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็น เสนาบดี<br />

ว่าการยุทธนาธิการ (ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า มินิสเตอร์ออฟวาแอนต์มริน หรือ Minister of War and Marine)<br />

ให้ นายพันเอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า<br />

ชิพสตาฟออฟดิอามี หรือ Chief Staff of the Army)<br />

ให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือ (ที่เรียกตามภาษา<br />

อังกฤษว่า ชิพสตาฟออฟดิเนวี หรือ Chief Staff of the Navy)<br />

ทั้งนี้ มีการแบ่งส่วนราชการกระทรวงยุทธนาธิการ ออกเป็น ๒ ฝ่าย กล่าวคือ<br />

(๑) ฝ่ายพลเรือน ทำหน้าที่ด้านธุรการ การบริหาร และการส่งกำลังบำรุง โดยมี เสนาบดี<br />

กระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

(๒) ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นส่วนกำลังรบ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ กรมทหารบก และ<br />

กรมทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพ และทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับสนองพระบรมราชโองการ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

69


พระฉายาลักษณ์<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

ภาพนายพันเอก<br />

พระยาสุรศักดิ์มนตรี<br />

(เจิม แสง - ชูโต)<br />

พระฉายาลักษณ์พระวรวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์<br />

กรมหมื่นปราบปรปักษ์<br />

ภาพสำเนาราชกิจจานุเบกษา<br />

ฉบับวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๓<br />

ทั้งนี้ การจัดหน่วยของกรมทหารบก แบ่งออกเป็น ๖ หน่วย ประกอบด้วย กรมนายเวนใหญ่ทหารบก กรมปลัด<br />

ทหารบกใหญ่ กรมยกรบัตรทหารบกใหญ่ โรงเรียนสอนวิชาทหาร โรงพยาบาลทหารบก และกรมคุกทหารบก<br />

สำหรับ การจัดหน่วยของกรมทหารเรือ แบ่งออกเป็น ๑๐ หน่วย ประกอบด้วย กรมปลัดทหารเรือใหญ่ (กองกลาง)<br />

กองบัญชีเงิน กรมคลังพัสดุทหารเรือ กองเร่งชำระ กรมคุกทหารเรือ กรมอู่ กรมช่างกล โรงพยาบาลทหารเรือ ทหารมะรีน<br />

หรือทหารนาวิกโยธิน เรือรบหลวงและเรือพระที่นั่งประจำการ<br />

ภาพผู้บังคับบัญชากระทรวงยุทธนาธิการ<br />

บันทึกภาพเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๓ บริเวณด้านในโรงเรียนหน้าด้านทิศตะวันตก<br />

70 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตราพระราชบัญญัติ<br />

แก้ไขธรรมเนียมกำหนดอายุไพร่ ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ เพื่อประโยชน์แก่<br />

อาณาประชาราษฎร์ และเพื่อประโยชน์แก่ราชการแผ่นดิน โดยกำหนด<br />

ไว้สาระสำคัญ ดังนี้<br />

๑. ชายไทยที่อายุย่าง ๑๘ ปี ให้ไปลงบัญชีชื่อไว้ในกรมทหาร<br />

๒. เมื่ออายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องไปประจำการฝึกหัดวิชา<br />

ทหาร จนอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์<br />

๓. เมื่ออายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ ให้มาเข้าเวรรับราชการ<br />

ปีละ ๓ เดือน จนอายุครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์ จึงปลดพ้นราชการ


๔. ทหารที่มีบุตรเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป ให้บิดาปลดจากราชการในเวลานั้น เว้นยามศึกสงคราม<br />

บุตรจะต้องเป็นทหารตามหมู่บิดาตน<br />

ในปีเดียวกันนี้ คือ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๓๑ ได้มีการตราพระราชบัญญัติเบี้ยหวัดและเบี้ยรางวัลแก่ทหาร<br />

โดยกำหนดให้เบี้ยเลี้ยงเฉพาะทหารที่ไปราชการรักษาชายแดนในหัวเมืองลาวและเขมร อันเป็นท้องถิ่นกันดาร และในวันที่ ๑๒<br />

สิงหาคม ๒๔๓๑ ได้มีการตราพระราชบัญญัติรวม ๒ ฉบับ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยศักดินาทหารและพระราชบัญญัติ<br />

ว่าด้วยลำดับยศนายทหารบก เพื่อเป็นการวางระเบียบในกิจการทหารให้เป็นที่เรียบร้อยสมบูรณ์มากขึ้นตามลำดับ<br />

๕.๔ ยุคการปฏิรูประบบราชการครั้งแรก<br />

ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

จัดตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ตามภารกิจเพื่อให้เกิดการรวม<br />

ศูนย์งาน โดยแบ่งออกเป็น ๑๒ กระทรวง ประกอบด้วย<br />

๑. กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชา<br />

หัวเมืองฝ่ายเหนือรวมทั้งประเทศราชทางเหนือ<br />

๒. กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชา<br />

หัวเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายตะวันตก ตะวันออก และเมืองมลายู<br />

ประเทศราช ทั้งกรมทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง<br />

๓. กระทรวงการต่างประเทศ จัดการ<br />

เรื่องเกี่ยวกับการต่างประเทศ<br />

๔. กระทรวงนครบาล (กระทรวงเมือง)<br />

จัดการเรื่องความปลอดภัยในพระนคร การโปลิศ และการ<br />

บัญชีคน<br />

๕. กระทรวงวัง จัดการเกี่ยวกับเรื่อง<br />

ในราชสำนักและพระราชพิธีต่าง ๆ<br />

๖. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ บังคับ<br />

บัญชาการเก็บภาษีอากรและการเงินของแผ่นดิน<br />

ทหารอย่างยุโรป ทหารหน้า ทหารสมัย<br />

กรมยุทธนาธิการ<br />

ทหารยุคกระทรวงกลาโหม<br />

ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

71


๗. กระทรวงเกษตรพานิชยการ จัดการเรื่องเพาะปลูก การป่าไม้ การค้า<br />

บ่อแร่ และโฉนดที่ดิน<br />

๘. กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องเกี่ยวกับศาล การบังคับศาลที่จะชำระความ<br />

รวมกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน<br />

๙. กระทรวงยุทธนาธิการ จัดการเกี่ยวกับทหารบกและทหารเรือแบบยุโรป<br />

๑๐. กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องศาสนา การศึกษา การพยาบาล<br />

และพิพิธภัณฑ์<br />

พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระฉายาลักษณ์และภาพเสนาบดีสภา<br />

ทหารเรือ (ทหารมะริน)<br />

ภาพทหารตั้งแต่ยุคก่อตั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

๑๑. กระทรวงโยธาธิการ จัดการเกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้าง<br />

ทำถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป ทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข หรือ<br />

รถไฟ ซึ่งจะมีสืบไปในภายหน้า<br />

๑๒. กระทรวงมุรธาธิการ ดูแลรักษาพระราชลัญจกร หนังสือ<br />

ราชการเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์<br />

เหตุการณ์ต่อมาในวันเดียวกันนั้น คือ วันที่๑ เมษายน ๒๔๓๕<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ในเรื ่องที่สำคัญของการจัดส่วนราชการทางทหาร โดยมีการตราพระราช<br />

บัญญัติขึ้นใช้บังคับฉบับหนึ ่งชื่อว่า พระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ<br />

รัตนโกสินทรศก ๑๑๑ ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

ก) ให้แยกการบังคับบัญชาการทหารเรือ กรมช้าง กรมแสง จาก กระทรวงยุทธนาธิการ ไปขึ้นกับ กระทรวงกลาโหม<br />

ข) สำหรับกระทรวงยุทธนาธิการ ให้ลดฐานะเป็น กรมยุทธนาธิการ ซึ่งเป็นส่วนราชการที่มีลักษณะพิเศษไม่ต้องสังกัด<br />

ขึ้นกระทรวงใด กับมีหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาทหารบก<br />

ค) พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็น ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ (อัตราใหม่) กับให้มีตำแหน่งในที่ประชุมเสนาบดีด้วย<br />

ง) ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติฉบับนี ้ได้มีการกำหนดตั้งกรมขึ้นเป็นส่วนราชการขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ<br />

รวม ๕ กรม กล่าวคือ<br />

72 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


กรมปลัดทหารบกใหญ่<br />

กรมนายเวนใหญ่ทหารบก<br />

กรมยกกระบัตรบัตรทหารบกใหญ่<br />

กรมยุทธภัณฑ์<br />

กรมคลังเงิน<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ การจัดส่วนราชการกรมยุทธนาธิการ (ภายหลังแปลงสภาพจากกระทรวงยุทธนาธิการ) จึงประกอบ<br />

ด้วย กรมปลัดทหารบกใหญ่ กรมนายเวนใหญ่ทหารบก กรมยกกระบัตรทหารบกใหญ่ กรมยุทธภัณฑ์ กรมคลังเงิน และส่วน<br />

ราชการขึ้นตรงอื่นตามที่มีการจัดตั้งในกรมทหารบกเดิม กล่าวคือโรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายสิบ กองทหารหน้า กองทหารม้า<br />

กองทหารปืนใหญ่ กองทหารมหาดเล็ก กองทหารรักษาพระองค์ กองทหารล้อมวัง และกองทหารฝีพาย ทำให้ส่วนราชการ<br />

ขึ้นตรงกรมยุทธนาธิการ รวมทั้งสิ้นเป็น ๑๔ หน่วย<br />

และในวันที่ ๓ กันยายน ๒๔๓๕ ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการตราพระราชบัญญัติกรมยุทธนาธิการ รัตนโกสินทร์<br />

ศก ๑๑๑ ขึ้นอีกฉบับปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเดิมที่ตราขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ โดยมีสาระสำคัญ คือ<br />

ก) ปรับเปลี่ยนชื่อกรมคลังเงิน เป็นชื่อ กรมคลัง<br />

ข) ปรับเปลี่ยนชื่อของกรมยกกระบัตรทหารบกใหญ่ เป็นชื่อ กรมยกรบัตทหาร พร้อมทั้งปรับภารกิจของกรมนี้ขึ้นใหม่<br />

ค) ปรับเปลี่ยนภารกิจของกรมยุทธภัณฑ์<br />

๕.๕ ยุคควบรวมเป็นกระทรวงกลาโหม<br />

การปฏิบัติราชการทางทหาร โดยมีกระทรวงกลาโหมกำกับดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ ประเทศราช ทหารเรือ<br />

กรมช้างและกรมแสง และกรมยุทธนาธิการ ที่กำกับดูแลบังคับบัญชาทหารบก ประเทศไทยในห้วงเวลาดังกล่าวยังประสบปัญหา<br />

ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในเรื่องที่ประเทศตะวันตกมุ่งที่จะเข้าครอบครองอินโดจีน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการระดมกำลังพลไว้ใช้ใน<br />

กรณีฉุกเฉินอย่างเป็นเอกภาพสามารถสั่งการได้ด้วยส่วนราชการเดียว ทั้งนี้เพราะการเกณฑ์พลในขณะนั้นได้มีการแบ่งอำนาจ<br />

การเกณฑ์ออกเป็นอำนาจของ ๒ กระทรวง คือ<br />

กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชา และเกณฑ์พลในส่วนหัวเมืองภาคใต้และประเทศราช<br />

กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชา และเกณฑ์พลในส่วนหัวเมืองภาคเหนือ<br />

การบริหารกิจการทหารในสมัยนั้นจึงประสบปัญหาและเกิดลักลั่นกันในการใช้กำลังฝ่ายทหารและกำลังฝ่ายพลเรือน<br />

เพราะหากพิจารณาแล้วเสมือนมีกองทัพ ๒ กองทัพในภารกิจเดียวกัน คือ กองทัพฝ่ายเหนือและกองทัพฝ่ายใต้ เมื่อเป็นเช่นนี้<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

73


พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่และข้าราชการระดับสูงทางทหารในสมัยนั้น จึงได้จัดทำหนังสือกราบบังคมทูล เพื่อขอให้ทรงพระกรุณา<br />

พิจารณาเรื่องดังกล่าว ดังนั้นในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตราประกาศขึ้น ๑ ฉบับ เรียกว่า ประกาศจัดปันน่าที่กระทรวงกะลาโหมมหาดไทย รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ เพื่อแบ่ง<br />

การบริหารราชการของกระทรวงกลาโหม (ซึ่งเดิมเคยบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้และประเทศราช) กับกระทรวงมหาดไทย<br />

(ซึ่งเดิมเคยบังคับบัญชาหัวเมืองภาคเหนือ) ให้เกิดความชัดเจนในการบริหารราชการอย่างเป็นสัดเป็นส่วนไม่ก้าวก่ายอำนาจ<br />

หน้าที่ระหว่างฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหาร หรือเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีสาระสำคัญ กล่าวคือ<br />

ก) แยกข้าราชการพลเรือน คือ การบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ไปขึ้นอยู่กับมหาดไทย และจัดระเบียบการบริหาร<br />

ราชการพลเรือนแบบใหม่<br />

ข) ให้โอนกรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม เพื่อความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยรวมการบังคับ<br />

บัญชาทางการทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบด้านการป้องกันประเทศ ด้วยกำลังทหารทั้งทางบก<br />

และทางเรือ ทั้งหน่วยทหารที่มีที่ตั้งหน่วยอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค<br />

ภาพตรากระทรวงกลาโหม<br />

(คชสีห์)<br />

ภาพตรากระทรวงมหาดไทย<br />

(ราชสีห์)<br />

พระฉายาลักษณ์นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

พระฉายาลักษณ์นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย<br />

ภายหลังจากที่มีการจัดแบ่งหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย เมื่อปีพ.ศ.๒๔๓๗ จึงทำให้กระทรวง<br />

กลาโหมมีความชัดเจนในการปฏิบัติราชการทางทหารอย่างเป็นเอกภาพ และหลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนางานทางการทหาร<br />

อย่างต่อเนื่องตลอดรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพัฒนาการ ดังนี้<br />

74 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๑) ปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้มีการโอน กรมพระสุรัสวดี จากกระทรวงนครบาล (กระทรวงเมือง) มาขึ้นการปกครองบังคับ<br />

บัญชากับกระทรวงกลาโหม เพื่อความสะดวกและเป็นเอกภาพในการเรียกคนเข้ารับราชการทหารและเข้าประจำการ โดยเป็น<br />

ไปตามพระบรมราโชบายที่จะรวบรวมกิจการระดมสรรพกำลัง คือ สรรพาวุธและกำลังทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม<br />

๒) วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง กรมเสนาธิการทหารบกขึ้น พร้อมทั้งโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก<br />

พระองค์แรกในกองทัพไทย<br />

๓) ปี พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้มีการจัดตั้งกองทหารไปประจำตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อความสะดวก<br />

ในการวางกำลังไว้ตามพื้นที่ยุทธศาสตร์และเปลี่ยนนามหน่วยทหารให้เป็นลำดับโดยทั่วกัน อาทิ<br />

กรมทหารล้อมวัง เป็น กรมทหารบกราบที่ ๑<br />

กรมทหารรักษาพระองค์ เป็น กรมทหารบกราบที่ ๒<br />

กรมทหารฝีพาย เป็น กรมทหารบกราบที่ ๓<br />

กรมทหารหน้า เป็น กรมทหารบกราบที่ ๔<br />

พระฉายาลักษณ์นายพลเอก<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช<br />

กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช<br />

นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

เสนาบดีว่าการยุทธนาธิการ<br />

ทรงฉายภาพกับกำลังพลในกระทรวงยุทธนาธิการ<br />

๔) ปี พ.ศ.๒๔๔๔ ได้มีการตรากฎข้อบังคับขึ้นหนึ่งฉบับ สำหรับ<br />

เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ชื่อว่า ข้อบังคับสำหรับใช้ไปพลาง<br />

ร.ศ.๑๒๐ ซึ่งเป็นการปรับระบบหน่วยงานฝ่ายอำนวยการในกระทรวงกลาโหม<br />

ให้ชัดเจนและเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและไม่ก้าวก่ายซึ ่งกัน<br />

และกัน และในปีเดียวกันนี้ได้มีการปรับปรุง ๗ หน่วยงาน เพื่อให้เกิดความ<br />

เหมาะสมและลดปัญหาในการปฏิบัติราชการ โดยทำการปรับปรุงหน่วยงานของ<br />

กรมยุทธนาธิการ รวม ๗ หน่วยงาน คือ กรมยกรบัตทหารบก (กรมยกกระบัตร<br />

ในเวลาต่อมา) กรมเสนาธิการทหารบก กรมสารวัตรปืนใหญ่ กรมการแพทย์<br />

ทหารบก กรมบัญชาการทหารบกมณฑลกรุงเทพ กรมบัญชาการทหารบก<br />

มณฑลนครราชสีมา และกรมบัญชาการทหารบกมณฑลราชบุรี<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

75


๕) ปี พ.ศ.๒๔๔๔ ได้มีการดำเนินงานที่สำคัญเกี่ยวกับกิจการทหาร รวม ๒ ประการ คือ<br />

๕.๑) การทดลองบังคับใช้แนวทางการเกณฑ์ทหารออกจากการเกณฑ์กำลังคนเพื่อราชการพลเรือนอย่างเด็ดขาด<br />

ตามแนวทางของ ข้อบังคับลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๒ โดยทดลองใช้ในมณฑลนครราชสีมาเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.๒๔๔๖<br />

ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นการประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ เมื่อวันที่<br />

๒๙ สิงหาคม ๒๔๔๘ โดยเปลี่ยนจากทหารสมัครมาเป็นการเกณฑ์ทหารโดยกำหนดให้ไพร่ที่มีอายุ ๑๘ – ๒๐ ปี (ต่อมา<br />

ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ มีการแก้ไขเพิ่มอายุเป็น ๒๐ ปี) ต้องเข้ารับการคัดเลือกเข้าเป็นทหารทุกคนในแต่ละปี ซึ่งคนที่ได้รับ<br />

การคัดเลือกต้องเข้ารับราชการเป็นทหารในกองประจำการมีกำหนด ๒ ปี หลังจากเป็นทหารรับใช้ชาติครบกำหนด ๒ ปีแล้ว<br />

ไพร่ก็เป็นอิสระสามารถประกอบอาชีพได้ตามใจชอบ ไม่ต้องมีพันธะในการเข้าเวรรับใช้มูลนายดังแต่ก่อน ซึ่งสอดคล้องกับการ<br />

ประกาศเลิกทาส เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๔๘ และปรับปรุงการเรียกเก็บเงินค่าราชการจากชายฉกรรจ์ที่ไม่ได้เป็นทหาร คือ<br />

เงินรัชชูปการ ปีละ ๖ บาท ทั้งนี้พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีอากรมาก ซึ่งจะมีสิทธิที่จะขอผ่อนผันการเกณฑ์<br />

ทหารแก่คนในห้างร้าน หรือครอบครัวได้ชั่วคราวเป็นปี ๆ ไป<br />

๕.๒) การพิจารณาเพิ่มกำลังพลประมาณร้อยละ ๓๐ ในหน่วยทหารสังกัดกรมยุทธนาธิการ รวม ๑๖ หน่วย<br />

คือ กรมปลัดทัพบก กรมเสนาธิการทหารบก กรมราชองครักษ์ จเรทัพบก กองโรงเรียนทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารบก กรม<br />

ยกรบัตทหารบก กรมแพทย์ทหารบก กองสารวัตร ปืนใหญ่ กรมบัญชาการทหารบกมณฑลกรุงเทพ กรมบัญชาการทหารบก<br />

มณฑลราชบุรี กรมบัญชาการทหารบกมณฑลนครราชสีมา กรมบัญชาการทหารบกมณฑลนครสวรรค์ กรมบัญชาการทหาร<br />

บกมณฑลพิษณุโลก กรมบัญชาการทหารบกมณฑลพายัพตะวันออก และกรมบัญชาการทหารบกมณฑลพายัพตะวันตก<br />

๖) ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดกรมยุทธนาธิการครั้งใหญ่ โดยนายพลเอก กรมหมื่นนครไชยศรี<br />

สุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดกำลังรบใหม่ และจัดตั้ง พร้อม<br />

ขนานนามกองพล รวม ๑๐ กองพล โดยวางกำลังตามพื้นที่สำคัญ นับว่าเป็นการจัดหน่วยงานทางทหารที่สามารถรองรับการ<br />

ป้องกันราชอาณาจักรอย่างจริงจังและผ่านการพิจารณาปัญหาอย่างรอบคอบทุกด้าน ส่งผลให้กรมยุทธนาธิการมีส่วนราชการ<br />

ขึ้นตรง ๒๒ หน่วย คือ กรมเสนาธิการทหารบก กรมปลัดทัพบก กรมจเรทัพบก กรมยกรบัตทัพบก กรมคลังเงินทหารบก ศาล<br />

กรมยุทธนาธิการ กรมพระธรรมนูญทหารบก กรมแพทย์ทหารบก กรมเกียกกายทัพบก กรมช่างแสง กรมราชองครักษ์ แผนก<br />

สารวัตรใหญ่ทหารบก กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ มณฑลกรุงเทพฯ กองพลที่ ๒ มณฑลนครไชยศรี กองพลที่ ๓ มณฑล<br />

กรุงเก่า กองพลที่ ๔ มณฑลราชบุรี กองพลที่ ๕ มณฑลนครราชสีมา กองพลที่ ๖ มณฑลนครสวรรค์ กองพลที่ ๗ มณฑล<br />

พิษณุโลก กองพลที่ ๘ มณฑลพายัพ กองพลที่ ๙ มณฑลปราจีนบุรี และกองพลที่ ๑๐ มณฑลอีสานอุดร<br />

76 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๖. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๖.๑ การแบ่งแยกภารกิจทหารบกและทหารเรือ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จ<br />

การศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิร์ทซ์( Royal Military Academy Sandhurst)<br />

ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นนายทหารสังกัดในกรมทหารราบ<br />

เบาเดอรัม รักษาพระองค์ (Durham Light Infantry Regiment) และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่<br />

ที่ประเทศอังกฤษ นับว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบก<br />

จากต่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ปรับปรุงกิจการทหารให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีป<br />

ยุโรป โดยให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ทั้งนี้ เนื่องจากที่ประชุมเสนาบดี<br />

ต่างตระหนักดีว่าการป้องกันประเทศ เป็นภารกิจสำคัญอย่างยิ่งที่ทหารบกและทหารเรือ<br />

จะต้องมีเอกภาพในการสั่งการบังคับบัญชา กอปรกับแนวทางการบริหารหน่วยงานและ<br />

การปฏิบัติราชการของทหารบกและทหารเรือมีความแตกต่างกันจึงควรแยกออกจากกัน<br />

โดยให้มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ตั้งแต่การเรียกเกณฑ์คน การฝึกศึกษา และการใช้<br />

ยุทโธปกรณ์ กล่าวคือ ควรแยกเป็นกระทรวงทหารบก และกระทรวงทหารเรือ<br />

นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องร่วมกันคิดอ่าน จัดการเพื่อความ<br />

เป็นปึกแผ่นมั่นคงของพระราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อเป็นการกำกับดูแลให้ทั้งสองกระทรวง<br />

สามารถปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จึงเห็นสมควรจัดตั้ง “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร”<br />

ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทหารบก และทหารเรือ ให้ดำเนินไปได้โดยสอดคล้อง<br />

ร่วมกันอย่างพร้อมเพรียง<br />

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีการออก ประกาศตั้งกระทรวงทหารบก ทหารเรือ<br />

รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้<br />

๖.๑.๑ เปลี่ยนชื่อ กรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่<br />

ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก โดยมี นายพลเอก กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช<br />

ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชา<br />

ทหารบกทั่วไป<br />

พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

77


๖.๑.๒ ยกฐานะกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารเรือ<br />

โดยมี นายพลเรือโท สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ดำรงตำแหน่งเสนาบดี<br />

กระทรวงการทหารเรือ บังคับบัญชาทหารเรือทั่วไป<br />

๖.๑.๓ จัดตั้ง สภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวง<br />

การทหารเรือ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นประธานสภาป้องกันพระราชอาณาจักร<br />

และสมาชิกสภา ประกอบด้วย เสนาบดีกระทรวงกลาโหม เสนาบดีกระทรวงการทหารเรือ จอมพลทหารบก จอมพลทหารเรือ<br />

ทั้งที่ประจำการและมิได้ประจำการ โดยมี เสนาธิการทหารบก เป็น เลขานุการประจำสภา<br />

พระบรมฉายาลักษณ์นายพลเอก<br />

พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช<br />

กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

พระบรมฉายาลักษณ์นายพลเรือโท<br />

สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตร<br />

กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต<br />

เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ<br />

๖.๒ การปรับปรุงกิจการทหารบก<br />

ในปี พ.ศ.๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงกิจการทหารบก<br />

โดยให้จัดรวมกองพล เป็นกองทัพ และ ๑ กองพลอิสระ ดังนี้<br />

๖.๒.๑ กองทัพที่ ๑ ตั้งกรมบัญชาการ<br />

ที่กรุงเทพฯ มีหน่วยขึ้นตรงรวม ๓ กองพล ประกอบด้วย<br />

กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ มณฑลกรุงเทพฯ กองพลที่ ๒<br />

มณฑลกรุงเทพฯ (เดิมคือมณฑลนครไชยศรี) และกองพล<br />

ที่ ๓ มณฑลกรุงเก่า<br />

๖.๒.๒ กองทัพที่ ๒ ตั้งกรมบัญชาการ<br />

ที่พิษณุโลก มีหน่วยขึ้นตรงรวม ๓ กองพล ประกอบด้วย<br />

กองพลที่ ๖ มณฑลนครสวรรค์ กองพลที่ ๗ มณฑล<br />

พิษณุโลก และกองพลที่ ๘ มณฑลพายัพ<br />

๖.๒.๓ กองทัพที่ ๓ ตั้งกรมบัญชาการที่กรุงเทพฯ มีหน่วยขึ้นตรงรวม ๓ กองพล ประกอบด้วย กองพล<br />

ที่ ๕ มณฑลนครราชสีมา กองพลที่ ๙ มณฑลปราจีนบุรี และกองพลที่ ๑๐ มณฑลอีสานและอุดร<br />

๖.๒.๔ กองพลที่ ๔ เป็นกองพลอิสระขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงต่อกระทรวงกลาโหม ตั้งกรมบัญชาการ<br />

ที่มณฑลราชบุรี<br />

78 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๖.๒.๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกแผนกช้าง ขึ้นเป็น กรมพระคชบาล ขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรงต่อ<br />

กระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรงของกรมพระคชบาล คือ กองช้างโขลง กองการเพนียด และกรมการคล้องช้าง<br />

๖.๒.๖ ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมแสงสรรพาวุธ ขึ้นการบังคับบัญชาโดยตรง<br />

ต่อกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรงของกรมแสงสรรพาวุธ คือ กรมแสง และกรมคลังแสง<br />

๖.๓ การพัฒนาหน่วยงานทหารบก<br />

๖.๓.๑ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติแบ่งทหารเป็นเหล่า ชนิดและ<br />

จำพวก เพื่อให้เกิดความถูกต้องและไม่สับสนในการปฏิบัติงาน<br />

๖.๓.๒ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามหน่วยทหาร และตั้ง<br />

ตำแหน่งผู้บังคับหน่วยทหารบก ดังนี้<br />

๖.๓.๒.๑ เปลี่ยนนามหน่วย โดยให้เปลี่ยน กล่าวคือ<br />

๑) กองทัพที่... เปลี่ยนเป็น กองทัพน้อยทหารบกที่...<br />

๒) กองพลที่... เปลี่ยนเป็น กองพลทหารบกที่...<br />

๓) คำว่า กรมทหาร หรือกองทหาร ให้เติมคำว่า บก ต่อท้าย<br />

๖.๓.๒.๒ ตั้งตำแหน่ง โดยให้ตั้งตำแหน่งผู้บังคับหน่วยระดับกองทัพและกองพล กล่าวคือ<br />

๑) ผู้บังคับหน่วยระดับกองทัพ ให้ใช้ว่า แม่ทัพกองทัพน้อยทหารบกที่...<br />

๒) ผู้บังคับหน่วยระดับกองพล ให้ใช้ว่า ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่...<br />

๖.๓.๒.๓ นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพกองทัพน้อยและผู้บัญชาการกองพล<br />

ทหารบก ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการมณฑลทหารบกควบด้วย ทั้งหมด ๑๐ ตำแหน่ง ดังนี้<br />

๑) แม่ทัพกองทัพน้อยทหารบกที่ ๑ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกกรุงเทพฯ<br />

๒) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกนครไชยศรี<br />

๓) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๓ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกกรุงเก่า<br />

๔) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกราชบุรี<br />

๕) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๕ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกนครราชสีมา<br />

๖) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๖ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกนครสวรรค์<br />

๗) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๗ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกพิษณุโลก<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

79


๘) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๘ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกพายัพ<br />

๙) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๙ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกปราจีนบุรี<br />

๑๐) ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๑๐ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกฝ่ายตะวันออก<br />

๖.๓.๓ เมื่อวันที่๒๗ มีนาคม ๒๔๕๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกแผนกการบิน (ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชา<br />

ของจเรทหารช่างและเป็นหน่วยขึ้นตรงกรมเสนาธิการทหารบก) ขึ้นเป็น กองบินทหารบก ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารบก<br />

โดยตรง<br />

๖.๓.๔ เมื่อวันที่๑๓ กันยายน ๒๔๖๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนกิจการและเจ้าหน้าที่กรมพระ<br />

คชบาล ไปรวมกับกรมจเรสัตว์พาหนะ และกรมทหารม้า<br />

๖.๓.๕ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๖๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมอากาศยาน (โดยยกฐานะ<br />

จากกรมอากาศยานทหารบก) และกองบินใหญ่ (โดยยกฐานะจากกองบินใหญ่ทหารบก) ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารบก<br />

ซึ่งนับเป็นความเจริญก้าวหน้าและเป็นรากฐานของกองทัพอากาศในปัจจุบัน<br />

๖.๓.๖ วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมพลาธิการทหารบก ขึ้นการ<br />

บังคับบัญชาต่อกระทรวงกลาโหม โดยการยุบรวมกรมเกียกกายทหารบกและกรมยกรบัตรทหารบก<br />

๖.๔ การพัฒนาหน่วยงานทหารเรือ<br />

ภายหลังจากได้มี ประกาศตั้งกระทรวงทหารบก ทหารเรือ ร.ศ.๑๒๙ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๓ โดยให้<br />

ยกฐานะกรมทหารเรือขึ้นเป็นกระทรวงทหารเรือ มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารเรือแล้ว การจัดระเบียบราชการ<br />

ของกระทรวงทหารเรือก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพียงแต่มีการเลื่อนฐานะของหน่วยขึ้นตรงขึ้นเป็นกรม ปรับเปลี่ยน<br />

นามหน่วย และมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นตามความจำเป็นของการขยายงาน กล่าวคือ<br />

๖.๔.๑ ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมเสนาธิการทหารเรือ<br />

๖.๔.๒ ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมจเรทหารเรือ<br />

๖.๔.๓ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมอุทกศาสตร์ และตั้งสภาบัญชาการกลาง<br />

กระทรวงทหารเรือเพื่อเป็นที่ประชุมปรึกษาราชการ<br />

๖.๔.๔ ในปี พ.ศ.๒๔๖๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งฐานทัพเรือสัตหีบ<br />

80 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑<br />

รวมพลและบันทึกภาพ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๑<br />

ณ บริเวณสนามหญ้า ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ภาพแถวทหารทหารอาสาร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑<br />

สวนสนามฉลองชัยชนะผ่านประตูชัย ประเทศฝรั่งเศส<br />

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ประดับธงชัยเฉลิมพล<br />

ให้เป็นเกียรติแก่กองทหารอาสา ณ พระที่นั่งชุมสาย ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

ภาพธงชัยเฉลิมพล พระราชทานในสงครามโลกครั้งที่ ๑<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

81


พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๗. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดเหตุการณ์<br />

สำคัญของประเทศ ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คือ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลง<br />

การปกครอง จึงสามารถแบ่งกิจการทหารไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ออกเป็น ๒ ยุค กล่าวคือ<br />

๗.๑ ยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

เนื่องจากในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นห้วงเวลา<br />

ภายหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่๑ (พุทธศักราช ๒๔๕๗ – ๒๔๖๑) ในขณะนั้น<br />

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาตัดทอนรายจ่าย<br />

ของประเทศให้น้อยลงให้สมดุลกับรายได้ ทำให้ต้องมีการปรับปรุงการจัดระเบียบ<br />

ราชการใหม่<br />

วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงทหารเรือ กับกระทรวงทหารบก เข้าเป็น<br />

กระทรวงเดียวกัน ภายใต้นาม กระทรวงกลาโหม โดยแต่งตั้งให้ นายพลเรือเอก<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร<br />

เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เดิม เป็น เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

๗.๒ ยุคภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

๗.๒.๑ ประกาศจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๗๕<br />

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้จัดทำ<br />

กฎหมายทางทหารขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย<br />

คือ ประกาศจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรก<br />

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่มีการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และประกาศ<br />

พระฉายาลักษณ์ นายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร<br />

เสนาบดีกระทรวงกลาโหม<br />

82 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ใช้กฎหมายดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๕ โดยมีสาระสำคัญ คือ แบ่งส่วนราชการกระทรวง<br />

กลาโหม ออกเป็น ๓ ส่วนราชการ ประกอบด้วย กองบังคับการกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และกรมทหารเรือ (พร้อมกับ<br />

ให้ลดฐานะกรมต่าง ๆ ของกองทัพเรือเดิมมาเป็นกองทั้งหมด เว้นแต่กรมเสนาธิการทหารเรือเท่านั้น)<br />

ภาพเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระราชทานรัฐธรรมนูญ<br />

๗.๒.๒ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกัน<br />

ราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๗๖ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่<br />

๕ ธันวาคม ๒๔๗๖ มีสาระสำคัญ กล่าวคือ มีการแบ่งส่วน<br />

ราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมออกเป็น ๔ ส่วนราชการ ประกอบด้วย<br />

สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี (รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทาง<br />

การเมือง) สำนักงานปลัดกระทรวง (รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการ<br />

ประจำทั่วไปของกระทรวง) กองทัพบก และกองทัพเรือ<br />

ภาพพิธีเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์<br />

(สะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)<br />

วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕<br />

(ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปี)<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

83


๘. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<br />

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวอานันทมหิดล เป็นห้วงเวลา<br />

ของความวุ่นวายทางการเมือง ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ กอปรกับได้เกิด<br />

สงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๔ – ๒๔๘๘) ทำให้ประเทศไทยต้องถูกดึง<br />

เข้าไปร่วมกับสงครามโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ยังเกิดสงครามอินโดจีน<br />

(พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๔๘๔) จึงทำให้กิจการทหารที่รับผิดชอบในเรื่องความมั่นคง<br />

เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยมีสาระสำคัญ กล่าวคือ<br />

๘.๑ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช<br />

๒๔๗๗ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๗๗ มีบทบัญญัติสรุป<br />

คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมทัพสยาม โดยให้<br />

กระทรวงกลาโหมมีสถานะเป็นกระทรวงป้องกันราชอาณาจักร และให้รัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบดำเนินการ<br />

ภาพกิจการกรมอากาศยาน<br />

พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล<br />

๘.๒ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช<br />

๒๔๗๗ กฎหมายฉบับนี้ได้มีการแก้ไขปรับปรุง อีก ๖ ครั้ง โดยมีสาระสำคัญ<br />

ดังนี้<br />

๘.๒.๑ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม<br />

พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๑) เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๔๗๘<br />

โดยมีการเปลี่ยนชื ่อเป็น “จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม” มีการแบ่งส่วน<br />

ราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมออกเป็น ๕ ส่วนราชการ คือ สำนักงานเลขานุการ<br />

รัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กองทัพบก กองทัพเรือ และกรมทหารอากาศ<br />

(มีเจ้ากรมทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการ)<br />

ภาพถ่ายทางอากาศอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

84 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๘.๒.๒ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๔๗๙ (ฉบับที่ ๒) เริ่มใช้<br />

บังคับเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๘๐ โดยมีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม จากคำว่า กรมทหารอากาศ<br />

เป็น กองทัพอากาศ และกำหนดให้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการ<br />

๘.๒.๓ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๔๘๑ (ฉบับที่ ๓) เริ่มใช้<br />

บังคับเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๘๑ มีการเพิ่มส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม คือ กรมเสนาธิการทหาร และกำหนดให้<br />

เสนาธิการทหาร เป็นผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการ และต่อมาได้เข้าทำสงครามกรณีพิพาทอินโดจีน ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๓ –<br />

๒๔๘๔ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส<br />

ภาพวีรกรรมการรบของทหารไทยในสงครามอินโดจีน พุทธศักราช ๒๔๘๔<br />

๘.๒.๔ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช<br />

๒๔๘๖ (ฉบับที่ ๔) เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๘๖ โดยมีการเพิ่มส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม คือ<br />

กรมสารวัตรทหาร และกำหนดให้ สารวัตรใหญ่ทหาร เป็นผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการ ทั้งยังกำหนดเพิ่มเติมอีกว่า ในเวลา<br />

สงครามเมื่อได้มีประกาศตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดขึ้นแล้ว ให้กรมนี้ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับ<br />

นี้ได้ถูกตราขึ้นในห้วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๘๔ – ๒๔๘๘) จึงถือได้ว่า เป็นห้วงเวลาที่เกิดสถานการณ์<br />

คับขัน จึงต้องให้ฝ่ายทหารเข้ามามีบทบาท เพราะจะต้องมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ<br />

๘.๒.๕ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๔๘๖ เริ่มใช้<br />

บังคับเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๘๖ มีการเพิ่มส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม คือ กรมเตรียมการทหาร และกำหนดให้<br />

เจ้ากรมเตรียมการทหาร เป็นผู้บังคับบัญชาดำเนินกิจการ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ถูกตราขึ้นในห้วงเวลาของสงครามโลก<br />

ครั้งที่สอง และมีการตราพระราชบัญญัติยุวชนแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๔๘๖ ขึ้น โดยกำหนดให้จัดตั้ง “องค์กรยุวชนทหาร<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

85


ภาพภารกิจทหารไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา<br />

แห่งชาติ” มีฐานะเป็นทบวงการเมืองอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี(จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ในตำแหน่ง “ผู้บัญชาการ<br />

ยุวชนแห่งชาติ” พร้อมทั้งกำหนดโครงสร้างทางการปกครอง บทบาทหน้าที่ และอำนวยการฝึกยุวชนทหารให้เป็นรูปธรรมมาก<br />

ยิ่งขึ้น โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองผู้บัญชาการฝ่ายยุวชนทหาร และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ<br />

เป็นรองผู้บัญชาการฝ่ายลูกเสือ เพื่อเป็นกำลังสำรองสำหรับช่วยการรบ และยังมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องดำรงการระดม<br />

สรรพกำลังไว้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของกำลังพล ยุทโธปกรณ์ แรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวก และอื่น ๆ ที่มีประโยชน์<br />

ต่อการดำเนินงานด้านความมั่นคงในยามที่ประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกติ<br />

๘.๒.๖ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวง<br />

กลาโหม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๔๘๙ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่<br />

๓๐ เมษายน ๒๔๘๙ โดยยกเลิกส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวง<br />

กลาโหม คือ กรมเตรียมการทหาร เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง<br />

สิ้นสุดลง<br />

ภาพยุวชนทหาร<br />

86 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

ภาพยุวนารี


๙. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

ก) กิจการทหาร<br />

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นห้วง<br />

เวลาของเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารราชการแผ่นดินที่เกิดขึ้นในยุคสงคราม<br />

เย็น (Cold War) ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้ประเทศไทย<br />

ต้องได้รับผลกระทบจากสถานการณ์สงครามเย็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และได้<br />

เกิดเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองและความมั่นคงของโลก ของภูมิภาค และ<br />

ภายในประเทศเป็นอันมาก จึงทำให้กิจการทหารต้องเข้ามามีบทบาทและความ<br />

รับผิดชอบในเรื่องความมั่นคงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งโดยมีสาระสำคัญ<br />

กล่าวคือ<br />

๙.๑ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักรพุทธศักราช<br />

๒๔๙๑ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้มีการแก้ไขปรับปรุง อีก ๕ ครั้ง โดยมีสาระ<br />

สำคัญ ดังนี้<br />

๙.๑.๑ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร<br />

พุทธศักราช ๒๔๙๑ (ฉบับที่๑) เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่๔ กุมภาพันธ์๒๔๙๑<br />

รวม ๒๖ มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ มีการเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

จากคำว่า จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม มาเป็น จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พร้อมกับกำหนดอำนาจและหน้าที่<br />

ของกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับการใช้กำลังทหารเพื่อการป้องกันราชอาณาจักรและแบ่งส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม<br />

ออกเป็น ๗ ส่วนราชการ ดังนี้ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมเสนาธิการกลาโหม กรมการรักษา<br />

ดินแดน กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ทั้งนี้ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีฐานะเป็นนิติบุคคล รวมถึง<br />

มีการจัดตั้ง สภากลาโหม เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาหารือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง<br />

กระทรวงกลาโหม เสนาธิการเหล่าทัพ ร่วมเป็นสมาชิกแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน ๕ นาย จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และมี<br />

คณะเสนาธิการผสม เพื่อพิจารณาเรื่องที่เลขาธิการสภากลาโหมได้รับไว้ก่อนนำเสนอ เข้าปรึกษาหารือในที่ประชุมสภากลาโหม<br />

และมี สภากองทัพ เป็นที่ปรึกษาหารือของผู้บัญชาการแต่ละเหล่าทัพ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

87


ภาพการประชุมสภากลาโหมในอดีต<br />

๙.๑.๓ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราช<br />

อาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๖ เริ่มใช้บังคับเมื ่อ<br />

วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๙๖ มีการเพิ่มส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวง<br />

กลาโหม คือ กรมจเรทหาร มีหน้าที่ตรวจการปฏิบัติราชการของทหาร ซึ่ง<br />

อยู่ในสังกัดส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมในเรื่องที่เกี่ยวกับ<br />

กิจการทหารทั่วไปและกำหนดให้ จเรทหารทั่วไป เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

รับผิดชอบ ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการทหารทั่วไป และเป็นสมาชิกสภากลาโหม<br />

ภาพอาคารศาลาว่าการกลาโหม (ทิศตะวันออก) ในอดีต<br />

๙.๑.๒ พระราชบัญญัติจัด<br />

ระเบียบป้องกันราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒)<br />

พุทธศักราช ๒๔๙๕ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๖<br />

สิงหาคม ๒๔๙๕ โดยมีสาระสำคัญ คือ ยกเลิก<br />

ส่วนราชการขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม คือ กรมการ<br />

รักษาดินแดน เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก<br />

ภาพกรมการรักษาดินแดนในอดีต<br />

๙.๑.๔ พระราชบัญญัติจัด<br />

ระเบียบป้องกันราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๔)<br />

พุทธศักราช ๒๔๙๙ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่<br />

๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ มีการปรับปรุงเพิ่มเติม<br />

ในส่วนของ อำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหม<br />

ในการป้องกันราชอาณาจักรโดยใช้กำลังทหาร<br />

การแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองผู้บัญชาการ<br />

ทหารสูงสุดและแม่ทัพ ในกรณีที่จะมีการรบหรือ<br />

สถานะสงคราม หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก ตาม<br />

ความจำเป็น การตั้งคณะผู้บัญชาการผสม แทน<br />

88 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


คณะเสนาธิการผสม โดยมีสมาชิก คือ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ เสนาธิการกลาโหม และเสนาธิการเหล่าทัพ เพื่อเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับ<br />

ราชการทางทหารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นอกจากนี้ หากกรณีที่สภากลาโหมงดการประชุมให้รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม ปรึกษาหารือได้จากคณะผู้บัญชาการผสม<br />

๙.๑.๕ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๐๐ เริ่มใช้บังคับ<br />

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๐๐ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสรุปได้ว่า พระมหากษัตริย์อาจทรงแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด<br />

รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดและแม่ทัพได้ตามความจำเป็น<br />

ภาพอาคารกองบัญชาการทหารสูงสุดในอดีต<br />

ภาพห้องปฏิบัติราชการและประชุมที่สำคัญ<br />

ของคณะที่ปรึกษาทางทหาร<br />

ภาพห้องปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในอดีต<br />

ภาพห้องรับรองแรกในราชการทหาร<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

89


ภาพอาคารศาลาว่าการกลาโหม<br />

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙<br />

๙.๒ พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร<br />

พุทธศักราช ๒๕๐๐<br />

เป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราช<br />

บัญญัติฉบับใหม่ใช้ชื่อว่า พระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราช<br />

อาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๐ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่๑๓ ธันวาคม<br />

๒๕๐๐ สรุปสาระสำคัญ กล่าวคือ มีการกำหนดภารกิจไว้ใน ๒<br />

สถานการณ์ คือ ในเวลาปกติ และในเวลาไม่ปกติ โดยมีส่วนราชการ<br />

ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมรวม ๖ ส่วนราชการ คือ สำนักงานเลขานุการ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง กรมเสนาธิการกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ<br />

และกองทัพอากาศ ทั้งนี้กำหนดให้ กรมเสนาธิการกลาโหม กองทัพบก<br />

กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มีฐานะเป็นนิติบุคคล<br />

๙.๓ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๐๓<br />

กฎหมายฉบับนี้ได้มีการแก้ไขปรับปรุงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รวม ๗ ครั้ง (รวม<br />

การแก้ไขโดยคณะปฏิวัติอีก ๑ ครั้ง) ดังนี้<br />

๙.๓.๑ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๐๓ (ฉบับที่๑) เริ่มใช้บังคับ<br />

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๓ โดยมีสาระสำคัญ กล่าวคือ เปลี่ยนชื่อเป็นจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม มีการจัด<br />

ส่วนราชการประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีสำนักงานปลัดกระทรวง และกองบัญชาการทหารสูงสุด (ซึ่งประกอบด้วย<br />

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา) โดยให้กองบัญชาการทหาร<br />

สูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เป็นนิติบุคคล<br />

๙.๓.๒ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๐๗ เริ่มใช้<br />

บังคับเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๐๗ โดยเพิ่มสมาชิกสภากลาโหมอีก ๑ ตำแหน่ง คือ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด<br />

๙.๓.๓ ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๕๗ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๑๕ โดยมีการกำหนด<br />

อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การให้อนุมัติหรือการปฏิบัติราชการประจำของผู้บังคับบัญชาทหารในชั้นรองลงมา<br />

๙.๓.๔ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๑๙ เริ่มใช้<br />

บังคับเมื่อวันที ่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๑๙ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่อง อำนาจหน้าที่กระทรวงกลาโหม และการ<br />

90 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการฯ โดยให้ปลัดกระทรวงกลาโหม มีอำนาจในการสั่งการ อนุญาต การให้อนุมัติและการปฏิบัติ<br />

ราชการประจำแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้<br />

๙.๓.๕ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๒๘ เริ่มใช้<br />

บังคับเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๒๘ โดยมีสาระสำคัญของการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม คือ การมอบอำนาจของรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสภากลาโหม โดยเพิ่มเติมสำนักงานปลัดกระทรวง ให้เป็นนิติบุคคล<br />

๙.๓.๖ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่๕) พุทธศักราช ๒๕๓๖ เริ่มใช้บังคับ<br />

เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ โดยมีสาระสำคัญ คือ การแก้ไขปรับปรุงอำนาจและหน้าที่ในการใช้กำลังทหารเพื่อการปราบ<br />

ปรามการจลาจลให้เป็นไปตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การกำหนดเพิ่มส่วนราชการ<br />

ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม อีก ๑ หน่วย คือ กรมราชองครักษ์ และให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล พร้อมกับเพิ่มสมาชิกสภากลาโหม<br />

คือ สมุหราชองครักษ์ และรองสมุหราชองครักษ์<br />

๙.๓.๗ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่๖) พุทธศักราช ๒๕๔๓ เริ่มใช้บังคับ<br />

เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๓ รวม ๘ มาตรา โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ เพิ่มอำนาจและหน้าที่กระทรวงกลาโหม<br />

ในเรื่องการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและ<br />

รักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรและรักษาประโยชน์ของชาติ รวมทั้งเพิ่มสมาชิกสภากลาโหมอีก ๓ ตำแหน่ง คือ จเรทหาร<br />

ทั่วไป ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ผู้บัญชาการกองบัญชาการยุทธทางอากาศ และยังมีการจำกัดจำนวนรองสมุหราชองครักษ์<br />

ให้มีเพียงอัตราจอมพล จอมพลเรือ หรือจอมพลอากาศ เท่านั้น<br />

๙.๔ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๕๑<br />

เป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิมและบัญญัติขึ้นใหม่ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ทั้งนี้<br />

ในภาพรวม เป็นการเพิ่มเติมบทบัญญัติพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช ๒๕๐๓ ให้มีความ<br />

สมบูรณ์ สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันและจัดหมวดหมู่ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจน มีการจัดประเภทข้าราชการ<br />

กระทรวงกลาโหมเป็น ๒ ประเภท คือ ข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม<br />

๙.๕ พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๖ เริ่มใช้บังคับ<br />

เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ โดยมีการเพิ่มส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม อีก ๑ หน่วย คือ หน่วยบัญชาการ<br />

ถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

91


92 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”


พระบรมฉายาลักษณ์ทรงเจริญพระไมตรีกับประมุขมิตรประเทศ<br />

ข) พระราชกรณียกิจ<br />

ตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่ทรงครองสิริราชสมบัติ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงบำเพ็ญพระราช<br />

กรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในทุกพระราชกรณียกิจ<br />

ดังที่ทรงพระราชทานไว้ในปฐมบรมราชโองการ ว่า<br />

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนักถึงพระอิสริยยศจอมทัพไทย ที่ทรงเป็นมิ่งขวัญของมวล<br />

เหล่าทหาร และความมั่นคงของประเทศชาติ ในอันที่จะสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พสกนิกรของพระองค์และเหล่าทหารหาญ<br />

ทั้งปวง ซึ่งพระราชกรณียกิจที่สำคัญประกอบด้วย<br />

๑) การเจริญพระราชไมตรีกับมิตรประเทศ ด้วยการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ และทรงเชิญประมุขของมิตรประเทศมาเยือน<br />

ประเทศไทย ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ร่วมพระราชกรณียกิจสำคัญหลายครั้ง<br />

๒) พระราชกรณียกิจด้านการทหาร ในพระราชสถานะจอมทัพไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปทรงเยี่ยมหน่วยทหารตามฐานปฏิบัติการในพื้นที่ทุรกันดาร และเสด็จฯ ทรงเยี่ยมทหารที่บาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่พร้อมทั้ง<br />

พระราชทานถุงยังชีพและพระราชทานพระบรมราโชวาทให้เป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลที่ปฏิบัติราชการในพื้นที่เพื่อความมั่นคง<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

93


พระบรมฉายาลักษณ์การปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร<br />

ให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยไม่ทรงย่อท้อต่อความเหนื่อยล้าพระวรกายและความยากลำบาก ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ<br />

เช่นเดียวกับกำลังพลในพื้นที่ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ยังความปลาบปลื้มปีติให้แก่ประชาชน<br />

และกำลังพลเป็นอย่างยิ่ง<br />

บ่อยครั้งจะทรงฉลองพระองค์ในเครื่องแบบทหาร ไม่ว่าจะเป็นพระราชกรณียกิจในเมือง ในชนบท หรือตามป่าเขา<br />

พร้อมทั้งพระราชทานแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาที่ช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นควบคู่กับการปฏิบัติการทางยุทธวิธี<br />

ช่วยให้สถานการณ์การก่อการร้ายลดลง และเบาบางลงในที่สุด ซึ่งนำมาสู่ความภาคภูมิใจในความเป็นทหารของทหารหาญ<br />

ทุกคน และในขณะเดียวกันยังเป็นการหยั่งรากฐานของความมั่นคงให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ของประเทศ ตลอดจนเป็นการพัฒนา<br />

ประเทศให้มุ่งไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างมีเสถียรภาพ<br />

94 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีตรึงหมุดและพระราชทานธงชัยเฉลิมพล<br />

๓) การเสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีสำคัญทางทหาร<br />

๓.๑ พระราชพิธีตรึงหมุดและพระราชทานธงไชยเฉลิมพล<br />

การที่หน่วยทหารได้รับพระราชทาน “ธงไชยเฉลิมพล” ย่อมหมายถึง การได้รับพระราชทานความไว้วางพระราชหฤทัย<br />

จึงถือเป็นเกียรติยศและเป็นหน้าที่ที่ทหารจะต้องรักษาธงไชยเฉลิมพลไว้ด้วยความเคารพรักและเทิดทูน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

ในยามสงคราม ธงไชยเฉลิมพล คือเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงการปฏิบัติภารกิจที่ส ำคัญของประเทศชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

ความองอาจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของหน่วยทหารในการต่อสู้เพื่อกระทำชัยชนะเหนือข้าศึก และย่อมหมายถึงเกียรติยศ ความ<br />

ภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อแผ่นดินและสนองพระเดชพระคุณองค์จอมทัพไทยซึ่งทหารทั้งปวงต้องพิทักษ์รักษาธงไชยเฉลิมพล<br />

ที่ได้รับพระราชทานสำหรับหน่วยของตนไว้ยิ่งกว่าชีวิต และเพื่อเป็นการแสดงความเคารพ ความจงรักภักดี และความซื่อสัตย์<br />

ของตนที่มีต่อแผ่นดินและสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

95


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธึตรึงหมุดธงไชยเฉลิมพล<br />

สำหรับพระราชทานหน่วยทหาร ภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงบรรจุพระกรัณฑ์เส้นพระเจ้าในยอดคันธง<br />

ทรงหมุนเกลียวปิดซุ้มยอดธงจากนั้น ทรงฆ้อนย้ำตรึงหมุดติดผ้าคันธง ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิม จนเสร็จพิธีหลังจากนั้น<br />

จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งชุมสาย สนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม และพระราชทานธงไชยเฉลิมพลแก่หน่วยทหาร<br />

เพื่อให้หน่วยทหารถือเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความไว้วางพระราชหฤทัยในความซื่อสัตย์สุจริต<br />

และความกล้าหาญ เป็นเกียรติยศ รวมทั้งเป็นมิ่งขวัญแก่หน่วยทหารในเวลาออกศึกปราบปรามอริศัตรู ทั้งนี้ ธงไชยเฉลิมพล<br />

มีความหมายสำคัญ ๓ ประการ กล่าวคือ<br />

ธง หมายถึง ชาติ<br />

พระยอดธงที่บรรจุในปุ่มโลหะยอดธง หมายถึง ศาสนา<br />

เส้นพระเจ้า หมายถึง พระมหากษัตริย์<br />

๓.๒ การเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานวุฒิบัตร ปริญญาบัตร และพระราชทานกระบี่<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานกระบี่และพระราชทานปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ<br />

ณ พระที่นั่งชุมสาย บริเวณสนามหญ้าภายในศาลาว่าการกลาโหม ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๙<br />

ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี ณ หอประชุมใหญ่สวนอัมพร<br />

๓.๓ การเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตร วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตร วุฒิบัตร<br />

ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ส ำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยเสนาธิการ<br />

ทหาร วิทยาลัยการทัพบก วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารเรือ และโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการทหารสูงสุด ในศาลาว่าการกลาโหม ระหว่างปี<br />

พุทธศักราช ๒๔๙๙ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ ก่อนเปลี่ยนไปประกอบพิธี ณ ห้องประชุมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

ถนนวิภาวดีรังสิต และห้องประชุมใหญ่สวนอัมพร ตามลำดับ<br />

96 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร<br />

แก่นายทหารผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานปริญญาบัตร<br />

วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร และเข็มวิทยฐานะแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้สำเร็จการศึกษา จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร<br />

วิทยาลัยเสนาธิการทหาร วิทยาลัยการทัพบก วิทยาลัยการทัพเรือ วิทยาลัยการทัพอากาศ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก<br />

โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

97


๓.๔ การถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์<br />

พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๙๖ และเริ่ม<br />

จัดพิธีนี้อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๔ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล<br />

อดุลยเดช จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๘<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของ<br />

ทหารรักษาพระองค์ เป็นประจำทุกปี จนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๑ ณ ลานพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ โดยเปลี่ยนมาจัดในสถานที่ต่าง ๆ อาทิ พระที่นั่ง<br />

อมรินทรวินิจฉัยฯ และสนามหน้าศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง (พ.ศ.๒๕๕๓) พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (พ.ศ.<br />

๒๕๕๔) พระที่นั่งอนันตสมาคม (พ.ศ.๒๕๕๔) ศาลาราชประชาสมาคม วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

(พ.ศ.๒๕๕๖) และหลังจากนั้นจนถึงปี พ.ศ.๒๕๕๘ พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์<br />

ได้กระทำขึ้น ณ ท้องสนามหลวง<br />

98 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินในพิธีสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ<br />

๓.๕ การแสดงแสนยานุภาพ<br />

พิธีสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย เป็นพิธีที่กองทัพไทยและทหารหาญทุกคนพร้อมใจกันจัดเพื่อถวาย<br />

พระเกียรติและแสดงออกซึ่งพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีทรงครอง<br />

สิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี (พระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ.๒๕๑๔) และพระราชพิธีทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี (พระราชพิธี<br />

กาญจนาภิเษก พ.ศ.๒๕๓๙) และพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี (พ.ศ.๒๕๔๙)<br />

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินในพิธีทรงตรวจพลสวนสนาม และ<br />

ทอดพระเนตร การแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย รวม ๒ ครั้ง คือ<br />

๓.๕.๑ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพลสวนสนามและทอดพระเนตรการแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย<br />

เนื่องในพระราชพิธีรัชดาภิเษก ณ ถนนราชดำเนินกลาง ช่วงบริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

๓.๕.๒ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจพลสวนสนามและทอดพระเนตร การแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย<br />

เนื่องในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก บริเวณถนนราชดำเนิน จากท้องสนามหลวงถึงพระลานพระราชวังดุสิต<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

99


พระฉายาลักษณ์<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ<br />

บดินทรเทพยวรางกูร<br />

๑๐. รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร<br />

ก) กิจการทหาร<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมี<br />

พระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบ<br />

ราชการกระทรวงกลาโหม โดยตราเป็นพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการ<br />

กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๖๐ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่<br />

๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์<br />

พุทธศักราช ๒๕๖๐ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ตลอดจน<br />

ตราพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการ<br />

ในพระองค์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม<br />

๒๕๖๐ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้โอนหน่วยบัญชาการถวาย<br />

ความปลอดภัยรักษาพระองค์ และกรมราชองครักษ์ ไปเป็นหน่วยขึ้นตรงของ<br />

ส่วนราชการในพระองค์<br />

ข) พระราชกรณียกิจ<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร<br />

ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเป็นอย่างมากตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์โดยทรง<br />

ตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ไปทรงเยี่ยมหน่วยทหารในพื้นที่ต่าง ๆ อยู่เป็นนิจ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาวิชาการทหาร<br />

ณ ประเทศออสเตรเลีย กล่าวคือ<br />

๑. เดือนสิงหาคม ๒๕๑๓ ทรงเข้าศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์<br />

๒. ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารชั้นสูงที่ วิทยาลัยการทหารดันทรูน (Duntroon Royal<br />

Military Academy) กรุงแคนเบอร์รา ทั้งนี้ หลักสูตรของวิทยาลัยการทหารดันทรูน ได้มีการแบ่งการศึกษาออกเป็น ๒ ภาค คือ<br />

๒.๑) ภาควิชาการทหาร รับผิดชอบและดำเนินการโดยกองทัพบกออสเตรเลีย โดยนักศึกษาที่สำเร็จ<br />

หลักสูตรนี้จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรชั้นยศร้อยโท ในหลักสูตรนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ<br />

บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีผลการศึกษาที่ดีมาก จึงทรงได้รับการถวายพระเกียรติให้ทรงเป็นนักเรียนระดับผู้บังคับบัญชา<br />

100 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒.๒) ภาควิชาการศึกษาสามัญระดับปริญญาตรี รับผิดชอบและดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์<br />

แบ่งออกเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์อักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้นักเรียนนายร้อยดันทรูน ที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับ<br />

คุณวุฒิปริญญาตรีตามสาขาที่เลือกศึกษาในหลักสูตรนี้ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์และทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อปี<br />

พ.ศ.๒๕๑๙ ด้วยผลการศึกษาดีมาก<br />

หลังจากที่ทรงเข้ารับราชการในกองทัพบกของประเทศไทยแล้ว ได้ทรงศึกษาในหลักสูตรสำคัญของประเทศไทย<br />

และต่างประเทศ กล่าวคือ<br />

• ระหว่างปีพ.ศ.๒๕๒๐ ถึง ๒๕๒๑ ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรหลักประจำชุดที่๕๖<br />

• ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ ยังทรง<br />

มีพระวิริยะอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ด้านการทหารอยู่ตลอดเวลา โดยทรงศึกษาหลักสูตรทางการทหาร<br />

ในต่างประเทศ ประกอบด้วย หลักสูตรปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง<br />

หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ (ที่ประเทศออสเตรเลีย) และหลักสูตรการบินต่าง ๆ อาทิ<br />

หลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ UH-1H-1N หลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัวแบบ Siai-Marchetti<br />

SF 260 MT หลักสูตรการบินเปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ATW และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง AVW (พ.ศ.<br />

๒๕๒๖) (ที่ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา) จำนวนชั่วโมงบินมากกว่า ๒,๐๐๐ ชั่วโมง<br />

• สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบก<br />

กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๘ และทรงรับราชการทหารมาตลอด โดยทรงดำรงตำแหน่ง ประกอบด้วย<br />

๑) รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๖<br />

ตุลาคม ๒๕๒๑<br />

๒) ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๘<br />

พฤศจิกายน ๒๕๒๓<br />

๓) ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗<br />

๔) ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๓๑<br />

๕) ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่<br />

๙ มกราคม ๒๕๓๕<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

101


ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ<br />

ขณะทรงศึกษาวิชาทหาร<br />

ขณะทรงฝึกและทำการบินเครื่องบิน บข.๑๘ F5<br />

102 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


นอกจากนี้เมื่อวันที่๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในขณะยังดำรงพระยศ ร้อยเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<br />

สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมตำรวจ ทหารและราษฎรในพื้นที่ ณ ฐานปฏิบัติการบ้านหมากแข้ง อำเภอ<br />

ด่านซ้าย จังหวัดเลย พระองค์ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่เสี่ยงภัยทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ<br />

ประเทศ ในการนี้ ได้ทรงพระราชทานแนวคิดในการปฏิบัติงานทั้งในหน้าที่ฝ่ายอำนวยการและผู้บังคับบัญชา ซึ่งทรงแสดงออก<br />

ถึงความเป็นผู้นำที่นำมาซึ่งขวัญกำลังใจแก่กำลังพลในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งยังความปลาบปลื้มปีติยินดีแก่กำลังพลที่เฝ้า<br />

รับเสด็จพระราชดำเนินเป็นอย่างยิ่ง<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

103


ศัสตราวุธในยุคก่อนกรมยุทธนาธิการ<br />

การพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตยและความสงบสุขของประเทศได้นั้น องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินการ<br />

ให้สัมฤทธิ์ผลได้ กล่าวคือ<br />

๑. ต้องมีกำลังทหารที่เข้มแข็ง กล้าหาญ เสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจและกำลังความสามารถในการปฏิบัติการรบ<br />

๒. ต้องมีแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถ รอบรู้ในศาสตร์การรบ ยุทธวิธี ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและกลศึกต่าง ๆ<br />

เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อกองทัพ<br />

๓. ต้องมีอาวุธยุทโธปกรณ์และศัสตราวุธ ที่มีประสิทธิภาพและหลากหลายในการปฏิบัติการรบ<br />

๔. ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการเตรียมการและการต่อสู้<br />

กับข้าศึก อาทิ ระบบการข่าวกรอง ระบบการฝึก ระบบการระดมสรรพกำลัง ระบบการส่งกำลังบำรุง<br />

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่จะกล่าวถึงนี้คือ สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการต่อสู้และป้องกันตนเองเมื่อต้องเข้าทำการรบกับข้าศึก<br />

หรือศัตรู นอกจากนี้ ยังเป็นการใช้เพื่อสร้างผลทางจิตวิทยา เพื่อทำให้ข้าศึกหรือศัตรูต่างชาติรู้สึกครั่นคร้ามยำเกรงจนไม่กล้า<br />

เข้ามารุกราน ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อที่เรียกว่า ศัตราวุธ หรือศาสตราวุธ หรืออาวุธ ที่มีความความหมายและความสำคัญ ดังนี้<br />

อาวุธ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการทำร้าย ทำลาย ป้องกัน ต่อสู้ หรือฆ่า อาทิ ก้อนหิน ไม้คมแฝก มีด ปืน ระเบิด<br />

อย่างไรก็ตาม อาจขยายความไปถึงอาวุธทั้งที่มีคม อาวุธที่ไม่มีคม และสติปัญญาหรือสิ่งอื่นที่สามารถใช้ทำลายล้างผู้อื่นได้ด้วย<br />

ศัสตราวุธ หมายถึง ของมีคม เครื่องฟันแทง และอาวุธต่าง ๆ ที่ใช้ในการล่า ประหาร ทำร้ายร่างกาย ป้องกัน หรือ<br />

ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม อาทิ มีด ดาบ หอก ง้าว ธนู โดยนัยของ คำว่า ศัสตราวุธ จึงมีความหมายที่ชัดเจนว่าเป็นอาวุธที่ใช้<br />

ในการรบ เป็นอาวุธที่ร้ายแรง มีอำนาจการทำลายล้างสูง รวมทั้งปืนผาหน้าไม้ที่เป็นเครื่องทำลายล้างศัตรูได้ นอกจากนี้ ยังมี<br />

ผู้รู้หลายท่านนิยมใช้คำว่า ศาสตราวุธ อีกด้วย<br />

104 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพศัตราวุธโบราณ<br />

อาวุธรุ่นแรก ๆ ของบรรพบุรุษมนุษย์<br />

นักวิชาการที่ศึกษาพฤติกรรมของชิมแปนซีได้พบว่า ในบางครั้งที่จวนตัว ชิมแปนซีพยายามใช้ก้อนหินหรือท่อนไม้<br />

ขว้างหรือเหวี่ยงไปยังศัตรู เพื่อป้องกันตนเอง จึงเสนอความเห็นว่า บรรพบุรุษรุ่นแรก ๆ ของมนุษย์ เมื่อกว่า ๑ ล้านปีมาแล้ว<br />

ซึ่งยังไม่ได้พัฒนาลักษณะกายภาพเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์นั้น อาจใช้วัตถุธรรมชาติที่สามารถหยิบฉวยได้รอบตัวเป็นอาวุธ<br />

แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เมื่อถูกคุกคามหรือต้องการทำร้ายหรือล่าสัตว์อื่น เช่น ใช้กิ่งไม้เป็นกระบองและแหลน ใช้ก้อนหินขว้าง<br />

ศัตรูหรือสัตว์ที่ต้องการไล่และล่า<br />

อาวุธที่มนุษย์รุ่นแรก ๆ ประดิษฐ์ขึ้นมาที่เก่าสุด คือ หอกไม้ (wooden spear) มีปลายแหลมลักษณะคล้ายแหลน<br />

ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาพุ่งแหลนสมัยปัจจุบัน จำนวน ๓ ชิ้น และไม้ช่วยพุ่งหอก (throwing stick) ๑ ชิ้น ของสมัยหินเก่า<br />

อายุประมาณ ๓ แสนปีมาแล้ว พบที่เหมืองลิกไนท์ใน Schöningen county, Helmstedt district, Lower Saxony state,<br />

ประเทศเยอรมนี ระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๔๑ เรียกกันว่า “Schöningen Spears” นักโบราณคดีมีความเห็นว่า อาวุธ<br />

ไม้ที่เก่าที่สุดชุดนี้ ใช้สำหรับล่าสัตว์มาเป็นอาหาร ทั้งนี้เพราะในชั้นทับถมทางโบราณคดีชั้นเดียวกับที่พบหอกไม้ดังกล่าวได้พบ<br />

กระดูกสัตว์ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ชิ้น และแยกได้ว่าเป็นกระดูกของม้าป่าไม่น้อยกว่า ๒๐ ตัว โดยกระดูกม้าป่าจำนวนมาก<br />

มีรอยถูกเครื่องมือหินมีคมสับหรือเฉือนกระดูกเชิงกรานของม้าป่าชิ้นหนึ่งยังมีหอกไม้ติดอยู่ด้วย กระดูกของสัตว์ชนิดอื่น ได้แก่<br />

กวางแดง (red dear) และควายไบซันสายพันธุ์ยุโรป (european bison)<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

105


เมื่อประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล ได้พัฒนาวิธีการทำเครื่องมือสะเก็ดหินปลายแหลม ที่ทำด้วย<br />

วิธีการกะเทาะหินอย่างประณีต เรียกว่า เทคนิคแบบเลอวัลลัว (Levallois technique) และได้ใช้สะเก็ดหินปลายแหลม<br />

ชนิดนี้ติดที่ปลายด้ามไม้ทำเป็นอาวุธสำหรับแทงหรือพุ่งเพื่อล่าสัตว์<br />

ในช่วงประมาณ ๖๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้ปรากฏหัวลูกศรปลายแหลมทำจากกระดูก แสดงถึงการเริ่มใช้ธนูเป็นอาวุธ<br />

พบที่แหล่งโบราณคดี Sibudu Cave ประเทศ South Africa อย่างไรก็ตาม คันธนูที่เก่าที่สุดนั้น พบที่ประเทศเดนมาร์ก มีอายุ<br />

ประมาณ ๑๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนหน้าไม้นั้นเป็นอาวุธที่อาจเริ่มปรากฏเมื่อประมาณ ๒,๔๐๐ - ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว<br />

หลังจากประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว การทำเครื่องมือสะเก็ดหินปลายแหลมและสะเก็ดหินมีคม สำหรับทำอาวุธ<br />

และเครื่องมือใช้สอย มีพัฒนาการมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังเห็นได้จากเครื่องมือสะเก็ดหินปลายแหลมของวัฒนธรรมโซลูเทรียน<br />

(Solutrean) ในทวีปยุโรป อายุประมาณ ๑๗,๐๐๐ - ๒๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และสมัยหลังจากนั้น ซึ่งทำด้วยความประณีตมาก<br />

อาวุธของคนมีรูปแบบและประเภทหลากหลายมากยิ่งขึ้น เมื่อมีพัฒนาการของสังคมแบบซับซ้อนระดับแว่นแคว้นและ<br />

รัฐยุคโบราณ รวมทั้งมีพัฒนาการของเทคโนโลยีการโลหกรรมด้านการทำโลหะสำริดเกิดขึ้นด้วย เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ -<br />

๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว อาวุธที่มนุษย์สร้างขึ้นมากมายหลายชนิดตั้งแต่ช่วงเวลานี้ เป็นรากฐานที่ได้รับการพัฒนามีประสิทธิภาพ<br />

มากขึ้นต่อ ๆ กันมาโดยตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน<br />

๑ ๒ ๓<br />

๑ ตัวอย่าง สะเก็ดหินปลายแหลมแบบเลอวัลลัว<br />

๒ ประติมากรรมขนาดเล็ก รูปชนเผ่าไซเธียนส์กำลังใช้ธนู พบในประเทศยูเครน อายุกว่า ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว<br />

๓ ประติมากรรมขนาดเล็ก รูปทหารกำลังใช้หน้าไม้ ประดับบนฝาภาชนะทรงกลองมโหระทึกที่ใช้บรรจุของมีค่า<br />

พบที่แหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมเมือง ในมณฑลหยุนหนาน ประเทศจีน อายุกว่า ๒,๓๐๐ - ๒,๔๐๐ ปีมาแล้ว<br />

106 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๔<br />

๕<br />

๔ ตัวอย่าง สะเก็ดหินปลายแหลม ของวัฒนธรรมโซลูเทรียน<br />

๕ มีดสั้น ใบมีดทำจากหินเหล็กไฟ (Flint) ด้ามทำจากกระดูกสัตว์ พบที่แหล่งโบราณคดีซาดาลฮุยุค ประเทศตุรกี<br />

อายุประมาณ ๘,๒๐๐ – ๗,๔๐๐ ปี<br />

ทั้งนี้ ศัสตราวุธของชนชาติไทยที่ใช้ในการทำศึกสงครามนั้น มีมาตั้งแต่ยุคของการรวมตัวของกลุ่มคนขึ้นเป็นสังคม<br />

เป็นดินแดน เป็นแคว้น เป็นอาณาจักร และเป็นราชอาณาจักร โดยสามารถแบ่งยุคของศัตราวุธตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคการก่อตั้ง<br />

กรมยุทธนาธิการ ซึ่งเป็นระบบศัตราวุธของกิจการทหารสมัยใหม่ของประเทศไทย ดังนี้<br />

๑. อาวุธของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย<br />

รองศาสตราจารย์สุรพล นาถะพินธุนักโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ของไทยให้ค ำอธิบายว่า เครื่องใช้ที่จัดได้อย่างชัดเจน<br />

ซึ่งเป็นทั้งอาวุธสำหรับล่าสัตว์และป้องกันตัวของคนสมัยโบราที่พบในประเทศไทยนั้นกลุ่มที่เก่าที่สุดเป็นของยุคก่อนประวัติศาสตร์<br />

อายุประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย พบที่แหล่งโบราณคดีจำนวนมากในภาคกลางและภาคตะวันออก<br />

เฉียงเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือปลายแหลมสำหรับต่อกับด้ามไม้ ใช้เป็น หอก หรือแหลน และลูกธนู อาวุธ<br />

ปลายแหลมรุ่นแรก ๆ มักทำด้วยกระดูกสัตว์และเขาสัตว์ ต่อมาเมื่อเกิดพัฒนาการด้าน โลหกรรมจึงนิยมทำด้วยสำริดและเหล็ก<br />

๘<br />

๖<br />

๗<br />

๖ เครื่องมือปลายแหลมทำจากกระดูกสัตว์ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ ๓,๗๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว<br />

๗ เครื่องมือปลายแหลมยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากกระดูกสัตว์ พบที่แหล่งโบราณคดีโคกพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี อายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว<br />

๘ อาวุธปลายแหลมทำจากเขากวาง พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

107


๙ ใบหอก ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำด้วยสำริด พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี<br />

อายุไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ – ๓,๖๐๐ ปีที่แล้วมา<br />

๑๐ ใบหอก ยุก่อนประวัติศาสตร์ ทำด้วยสำริด พบที่แหล่งโบราณคดีอ่างเก็บน้ำนิลกำแหง ในศูนย์การบินทหารบก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี<br />

อายุไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีที่แล้วมา<br />

๑๑ ใบหอก ทำด้วยเหล็ก พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว<br />

๑๒ แม่พิมพ์ทำด้วยดินเผา สำหรับหล่อ หัวลูกศรสำริด ครั้งละ ๓ ชิ้นพร้อมกัน พบที่แหล่งโบราณคดีเนินคลองบำรุง อำเภอท่าหลวง<br />

จังหวัดลพบุรี อาจมีอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว<br />

๙ ๑๐<br />

๑๑ ๑๒<br />

๑๓ ภาพเขียนสีบนผนังเพิงผาที่บริเวณสำนักสงฆ์เขาจันทร์งาม บ้านเลิศสวัสดิ์<br />

อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีภาพคนกำลังยิงธนู หรืออาจเป็นคันกระสุน<br />

สำหรับยิงด้วยลูกกระสุนกลม และมีสุนัขอยู่ใกล้ๆ อาจเป็นภาพเล่าเรื่อง<br />

นายพรานที่ออกล่าสัตว์ โดยมีสุนัขไปด้วย<br />

๑๓<br />

108 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๒. ศัสตราวุธในยุคราชอาณาจักรสุโขทัย<br />

ศัตราวุธที่ใช้ในยุคราชอาณาจักรสุโขทัย ได้มีการค้นพบจากจารึกวัดศรีชุม เล่าวีรกรรมของเจ้าศรีศรัทธาราชจุฬามณี<br />

โอรสพระยากำแหงพระราม หลานพ่อขุนผาเมือง ว่า มีอาวุธที่ใช้สำหรับต่อสู้บนหลังช้าง หลังม้า ซึ่งการใช้อาวุธนานาชนิด<br />

ประเภทอาวุธประจำกายที่ใช้ต่อสู้ในระยะสั้นหรือระยะประชิด และอาวุธที่เป็นเครื่องยิงประเภท ธนู หน้าไม้ และปืนปากจอบ<br />

สำหรับ เรื่องของ “ปืนปากจอบ” นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านปืนโบราณ ที่เป็นผู้ให้คำอธิบาย คือ นายศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ผู้สนใจใฝ่รู้<br />

เรื่องปืนใหญ่สืบต่อจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ สันนิษฐานไว้ว่า<br />

“...ปืนปากจอบ น่าจะเป็นปืนไฟแบบหนึ่งที่มีเพลาซ้ายและขวายื่นออกมาจากลำกล้องมีเหล็ก รูปตัว Y โดยที่ขาด้านบน<br />

ทั้ง ๒ ข้าง คล้องเพลาซ้ายและขวาไว้ ทำให้ปืนตั้งยิงได้ค่อนข้างมั่นคง ส่วนคำว่า ปากจอบ น่าจะหมายถึงลักษณะปากลำกล้อง<br />

ที่ตัดตรงลงมาคล้ายจอบ หรืออาจจะเป็นปืนไฟแบบที่ไม่มีเพลามัดติดไว้กับหลักเพื่อให้มีความมั่นคงขณะยิ่งก็เป็นได้ แต่เป็นที่น่า<br />

สนใจเพราะคำ ว่า “ปืน” อาจจะหมายถึง “ธนู” ได้เช่นกันจากเหตุผลที่ว่า เสียงของธนูขณะยิงเสียงดัง ปรื๋น น่าจะเป็นเหตุให้<br />

ผู้คนสมัยนั้นพากันเรียกธนู เป็น ปืน สังเกตได้จากรูปหล่อพระนารายณ์ทรงธนู ด้านหน้าพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถาน<br />

แห่งชาติ พระนคร แต่ก็เรียกว่า พระนารายณ์ทรงปืน ถึงแม้ยังไม่มีหลักฐานการใช้ปืนไฟครั้งกรุงสุโขทัยที่แน่ชัด เมื่อพิจารณา<br />

คำว่า ปากจอบ ก็ยังไม่พบว่า ธนูปากจอบ มีลักษณะเช่นใดจึงอาจสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นคำเรียกปืนไฟที่ปากกระบอกตัดลง<br />

คล้ายรูปจอบ และเนื่องจากมี ปืนมกร ที่เชื่อกันว่ามีอายุสมัยปลายกรุงสุโขทัยถึงต้นกรุงศรีอยุธยาปากลำกล้องตัดลงคล้ายจอบ<br />

เช่นกัน ศาสตราจารย์ นายแพทย์สำราญ วังศพ่าห์ ได้ศึกษาปืนกระบอกนี้ไว้ว่า มีปากกระบอกกว้าง ๑.๓ นิ้ว ลำกล้องยาว<br />

๒๓ นิ้ว ตัวปืนเป็นรูปทรงกระบอก ท้ายปืนหล่อเป็นรูปคล้ายเจดีย์สามารถใส่ไม้คัดปืนได้”<br />

ลักษณะของช้างศึกและบรรดาอาวุธครั้งกรุงสุโขทัยยังมีเค้ารอยให้เห็นได้บ้างเช่น ประติมากรรมรูปช้างรายรอบฐาน<br />

พระเจดีย์ช้างล้อม ช้างรอบ และเครื่องสังคโลกรูปช้างศึกพร้อมจตุลังคบาท และภาพชาดกสลักลายเส้นบนศิลาในอุโมงค์วัดศรีชุม<br />

มีภาพอาวุธหลายชนิด เช่น<br />

ภาพที่ ๒๓ เรื่อง กัณฑินชาดก พระโพธิสัตว์เป็นเทพดาในป่า มีรูปนายพรานโก่งธนู ยิงเนื้อคู่หนึ่ง ธนู ในภาพน่าจะ<br />

มีรูปและลักษณะการใช้ยิงที่ใกล้เคียงกับ ธนูที่ใช้อยู่จริงในสมัยนั้น<br />

ภาพที่ ๖๓ เรื่อง มหาสีลวชาดก พระโพธิสัตว์เป็นพระมหาสีลวชาดกในพาราณสี มีภาพบุรุษ นั่งมือถือ พระขรรค์<br />

ภาพที่ ๗๗ เรื่อง สังขธัมมชาดก พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนเป่าสังข์ มีรูปบุรุษยืน มือขวา ถือจักร มือซ้ายถือ<br />

ดาบไทย<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

109


๑๔<br />

๑๔ ปืนปากจอบ มีหลักไว้ปักปืนเวลายิง ปากกระบอกตัดตรงลงมา<br />

๑๕<br />

คล้ายรูปจอบ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร<br />

๑๕ ปืนมกร มีอายุในสมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน<br />

๑๖ ๑๗<br />

๑๖ ปากมกร อมบริเวณเพลาปืน และบริเวณรูขบวนเป็นเกล็ดของตัวมาร ลายด้านข้างของเกล็ดมกรผูกเป็นกระจังรักร้อยและขอสร้อย<br />

๑๗ รูปหน้ากาลหรือเกียรติมุขปากลำกล้องของปืนมกร<br />

110 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัย สลักลายเส้นบนศิลามีภาพธนู ดาบไทย ปรากฏอยู่<br />

แม้จะไม่สามารถยืนยันอย่างชัดเจนได้ว่า มีการใช้ปืนไฟในสมัยสุโขทัยหรือไม่ นาย ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ได้ให้ความรู ้เรื่อง<br />

กำเนิดของปืนไฟไว้ว่า หลังจากจีนคิดค้นสูตรของดินดำได้เป็นผลสำเร็จ ชาวจีนสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑ - ๑๔๕๐)<br />

ได้บรรจุดินดำในประทัดและดอกไม้ไฟเพื่อจุดในเทศกาลรื่นเริงต่าง ๆ อีกราว ๕๐ ปีต่อมา ตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง (พ.ศ.๑๕๐๓ -<br />

๑๘๒๒) ดินดำได้ถูกนำมาใช้ในการรบเป็นครั้งแรกในรูปของธนูเพลิงที่ใช้แรงระเบิดของดินดำ เป็นตัวขับเข้าหาเป้าหมาย<br />

ต่อมาราวปี พ.ศ.๑๖๗๓ ชาวจีนก็ประดิษฐ์อาวุธที่มีรูปร่างคล้ายปืนทำจากกระบอกไม้ไผ่ จนถึงราว พ.ศ.๑๘๐๒ ปืน<br />

แบบแรกที่มีลูกเหล็กและดินดำขับกระสุน (Houch lang) ก็ประดิษฐ์เป็นผลสำเร็จ<br />

ทั้งนี้ ทางฝั่งยุโรปมีบันทึกว่า นายโรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) คิดสูตรดินดำได้เมื่อ พ.ศ.๑๗๘๕ และอีกราว<br />

๑๐๐ ปีต่อมา บาทหลวงชาวเยอรมันนามว่า เบอร์นาร์ด สวอซ (Bernard Swatz) ก็คิดสูตรของดินดำสำเร็จ ส่วนปืนไฟแบบแรก<br />

ของยุโรปที่มีรูปทรงขวดและลูกกระสุนเป็นลูกศรนั้น ประดิษฐ์ขึ้นก็ราว พ.ศ.๑๘๖๘ ดูเหมือนว่าชาวตะวันออกอย่างพวกเรา<br />

เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จาก ดินดำเพื่อการรื่นเริงและการทำ สงครามก่อนชาวตะวันตกหลายทศวรรษ แต่กลับเป็นชาวตะวันตก<br />

ที ่สามารถใช้ประโยชน์จากดินดำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนนำไปสู่การสร้างปืนใหญ่น้อยที่มีอานุภาพสูงมาจนถึงปัจจุบัน<br />

อนึ่งมีบันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับการใช้ปืนไฟในสงครามระหว่างสยามกัมโพชกับพวกมัชปาหิต เมื่อราวปี พ.ศ.๑๘๕๗<br />

ในครั้งนั้นพวกชวาเก็บปืนใหญ่ของสยามกัมโพชได้๒ กระบอก ชื่อ Guntar Geni และ Jagur เป็นหลักฐานที่ยกเป็นข้อสังเกตไว้<br />

แต่ปืนไฟอีกกระบอกหนึ่งที่เชื่อกันว่า เก่าที่สุดในประเทศไทย ปากลำกล้องเป็นรูปเหราบรรจุลูกกระสุนด้านท้ายลำกล้องมีรังเพลิง<br />

สำรองบรรจุดินดำและล่ามสายชนวนไว้ เมื่อจะยิงจึงบรรจุลูกกระสุนบริเวณรังเพลิง วางรังเพลิงสำรองดันปลายที่บรรจุดินดำ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

111


๑๘<br />

๑๙<br />

๒๐<br />

๒๑<br />

๒๒<br />

๑๘ ปืนไฟแบบแรกของยุโรปรูปขวด<br />

๑๙ ปืนเหราปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

๒๐ รังเพลิงแบบของปืนเหรา ปืนใหญ่บรรจุท้ายอย่างเก่า<br />

๒๑ รังเพลิงสำรองไว้วางในรังเพลิงของปืน<br />

๒๒ แสดงขั้นตอนการยิงบรรจุท้ายอย่างเก่า ใส่ดินดำในรังเพลิงสำรองต่อขบวน บรรจุลูกกระสุนในลำกล้องวางหมอน<br />

แล้ววางรังเพลิงสำรองลงในรังเพลิงปืน ขัดไม้ จุดขนวนรังเพลิงสำรอง ยิงกระสุนไปยังเป้าหมาย<br />

112 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


เข้าในลำกล้อง ขัดรังเพลิงสำรองไว้กับตัวปืนโดยใช้ไม้เสียบขวางไว้ แล้วจึงจุดชนวนที่รังเพลิงสำรอง ดินดำที่อยู่ในรังเพลิง<br />

สำรองระเบิดขับกระสุนออกไป รังเพลิงสำรองที่ใช้แล้วจะถูกยกขึ้นและเปลี่ยนรังเพลิงอันใหม่แทน ทำให้มีอัตราการยิงที่รวดเร็ว<br />

แต่มีอานุภาพในการทำลายและความแม่นยำน้อย ปืนลำกล้องรูปเหรานี้ ผู้รู้ด้านศิลปะว่าลวดลายเก่าถึงสมัยอยุธยายุคต้น<br />

ที่น่าศึกษาคือ เป็นปืนไฟที่อาจจะมีใช้อยู่ก่อนที่ชาวยุโรปตะวันตกชาติแรก คือ ชาวโปรตุเกสจะเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา<br />

หรือไม่<br />

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาจากบันทึกประวัติศาสตร์ภาพจำหลักในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย<br />

จึงนำมาประมวลและได้ข้อสรุปว่า ศัตราวุธในยุคราชอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่จะเป็นอาวุธประจำกายของแต่ละบุคคลทั้งสิ้น<br />

อาทิ ทวน หอก ดาบ แหลน หลาว เกาทัณฑ์ หน้าไม้ ของ้าว ง้าว ตะบอง ขวาน โดยอาวุธดังกล่าวนี้ทุกคนจะมีอยู่ประจำตัว<br />

ตามความถนัดของแต่ละคนและมีการฝึกใช้อาวุธนั้น ๆ อย่างช่ำชองดีแล้ว ตั้งแต่ในยามปกติ เป็นอาวุธคู่มือ เมื่อเกิดศึกสงคราม<br />

ก็จะใช้อาวุธคู่มือนี้เข้าทำการรบ<br />

๓. ศัสตราวุธในยุคราชอาณาจักรอยุธยา<br />

ราชอาณาจักรอยุธยา ถือเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในพุทธศตวรรษที่๑๙ โดยมี กรุงเทพ<br />

ทวารวดีศรีอยุธยาหรือกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีที่มีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืนต่อมานานถึง ๔๑๗ ปี ซึ่งจากข้อมูลทาง<br />

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า มีการกำเนิดและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดการปกครอง การควบคุมดูแลประชาชน การทำมาหากิน<br />

ประกอบอาชีพของราษฎร การค้าขายกับคู่ค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีการติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้น<br />

ใกล้ไกล มีการช่วงชิงความเป็นรัฏฐาธิปัตย์จนนำไปสู่ความขัดแย้งในประเทศ ตลอดจนการทำศึกสงครามกับข้าศึกจากภายนอก<br />

ประเทศ ซึ่งเหตุการณ์และเรื่องราวเหล่านี้ย่อมมีความเกี่ยวเนื่องกับศัสตราวุธที่ชาวอยุธยาต้องสรรสร้างฝึกปรือให้ใช้อย่าง<br />

แคล่วคล่องยามที่ต้องใช้ และยังมีความรู้เชิงวัฒนธรรมที่ศัสตราวุธเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีต่าง ๆ โดยที่การศึกษาระบบ<br />

ศัสตราวุธและเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องในยุคราชอาณาจักรอยุธยา มีดังนี้<br />

๓.๑ ที่ตั้งกรุงในทางยุทธศาสตร์<br />

พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) อดีตสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้ทำคำอธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา<br />

อธิบายภูมิสถานเมื่อแรกสถาปนากรุงว่า ที่ตั้งนั้นเป็นแผ่นดินแหลมของแม่น้ำลพบุรี ด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันตกจดแม่น้ำ<br />

ด้านตะวันออกเป็นคูเมืองที่ขุดแยกจากแม่น้ำลพบุรีที่ตำบลหัวรอไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางกระจะเรียกว่า คูขื่อหน้า เดิม<br />

คงจะแคบ สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้ขุดขยายให้กว้างเพราะมีประสบการณ์ที่กองทัพหงสาวดีถมคูข้ามเข้าตีกรุงได้<br />

ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราช<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

113


ทั้งนี้ พลโท ดำเนิน เลขะกุล อาจารย์ประวัติศาสตร์ทหาร ได้กรุณาเขียนไว้ในเรื่อง การทหารสมัยอยุธยา พิจารณา<br />

ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยาในด้านยุทธศาสตร์ว่า การที่ตั้งอยู่ในจุดรวมของแม่น้ ำต่าง ๆ ที่ไหลลงมาจากเหนือ ทำให้สะดวกที่จะส่งกำลังรบ<br />

และเสบียงอาหารโดยทางเรือขึ้นไปป้องกันดินแดนในภาคเหนือได้สะดวกรวดเร็ว และยังอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ใกล้ปากน้ำ<br />

มาก จนกระทั่งถูกข้าศึกต่างชาติที่ยกมาทางเรือขนาดใหญ่เข้าจู่โจมโดยไม่ทันรู้ตัว ไม่ห่างเกินไปจนไม่อาจใช้เรือลำเลียงทหาร<br />

ไปป้องกันดินแดนบนแหลมมลายูได้ นอกจากนี้การที่เป็นที่ลุ่มมีแม่น้ำหลายสายมารวมกัน ในปีหนึ่ง ๆ จะมีน้ำหลากลงมาท่วม<br />

บริเวณนี้ถึง ๔ เดือน ตั้งแต่เดือน ๑๐ ถึงเดือนอ้าย ระหว่างนี้รอบกรุงศรีอยุธยาจะถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างขวาง ลำบาก<br />

แก่การเดินทางไปมาของผู้คนและสัตว์พาหนะ ทุกบ้านช่องจะต้องมีเรือไว้ใช้เป็นประจำ ลักษณะเช่นนี้ย่อมบังคับให้ฝ่ายข้าศึก<br />

มีโอกาสมาล้อมกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ ๘ เดือนเท่านั้น เมื่อล้อมอยู่ถึงหน้าน้ำหลาก ต้องยกทัพกลับไป<br />

ในส่วนของ กำแพงเมือง นั้น นอกจากบอกขอบเขตพระนครแล้ว ยังเป็นเครื่องป้องกันความปลอดภัยชั้นในสุด<br />

ของบ้านเมืองที่ต้องดูแลความปลอดภัยด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างสุดกำลัง ซึ่งพระยาโบราณฯ ได้ศึกษาตรวจสอบแล้วอธิบายว่า<br />

กำแพงพระนครเมื่อแรกสร้างกรุงเป็นเชิงเทิน โดยขุดดินทางริมน้ำกับข้างในขึ้นถม ส่วนกำแพงอิฐมาก่อภายหลัง เพราะพบ<br />

รากกำแพงอิฐบนเชิงเทินดินที่สูงกว่าระดับดินธรรมดา<br />

๓.๒ การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับชาติตะวันตก<br />

๓.๒.๑ ระบบศัตราวุธ<br />

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐฯ ได้บันทึกไว้ว่า ในปี พ.ศ.๒๐๖๑ สมเด็จพระรามาธิบดี<br />

ที่ ๒ ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม และได้มีการตั้ง “กรมพระสุรัสวดี” ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ<br />

การจัดเตรียมกำลังพล โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา รับผิดชอบหัวเมือง<br />

ฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้<br />

ต่อจากนั้น Duarte Fernandes ชาวโปรตุเกส ซึ่งเป็นผู้แทนจากอุปราชโปรตุเกส ที่เดินทางเข้ามาด้วยการโดยสาร<br />

เรือสำเภาจีน ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และต่อมาได้มีการทำสัญญาทางพระราชไมตรีต่อกัน ตามสัญญานี้ มีข้อหนึ่ง<br />

ที่กรุงศรีอยุธยาให้โปรตุเกสจัดหาปืนและกระสุนมาขายให้ราชส ำนักสยาม ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี<br />

ที่ ๒ นี้ นอกจากนำสินค้ายุทธปัจจัยอย่างใหม่ คือ ปืน กระสุนปืน เข้ามาแล้ว กรุงศรีอยุธยายังได้รับเข้าเป็นทหารรับจ้าง<br />

ประจำกองทัพ เพื่อถ่ายทอดวิชาการใช้อาวุธแก่กำลังพลของไทยตั้งเป็นกรมฝรั่งแม่นปืน ตามความชำนาญ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านปืนใหญ่ได้ทำการศึกษาและค้นพบว่าปืนกระบอกหนึ่งที่หน้าพิพิธภัณฑ์ทหารเรือ สมุทรปราการ เป็นปืนหล่อจากเหล็ก<br />

ตัวปืนยาว ๑๑๒.๖ นิ้ว ลำกล้องยาว ๙๖.๒ นิ้ว ใช้ลูกกระสุนขนาด ๔.๘ นิ้ว ลำกล้องด้านในเรียบ บรรจุลูกกระสุน<br />

114 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ทางปากลำกล้อง สัญลักษณ์ที่บอกให้รู้ว่าเป็นปืนของโปรตุเกส คือ รูปนูนตราอาร์มมีโล่ซ้อนกัน ๒ โล่ ในโล่ขนาดเล็กมีโล่สีฟ้า<br />

๕ โล่ (five quinas หรือ small blue shield) เรียงกันคล้ายรูปไม้กางเขน ภายในโล่สีฟ้า ยังมีสัญลักษณ์ five white<br />

bezants หรือ the five wounds of Christ แสดงถึงความเจ็บปวด ความเสียสละของพระเยซู ทั้ง ๕ ได้แก่ การถูกตอกมือซ้าย<br />

ขวา ขาซ้ายขวาติดตรึงกับไม้กางเขน และหอกที่ทิ่มแทงไปยังร่างของพระองค์ ตราอาร์มนี้กษัตริย์อัลฟองโซทรงสร้างเพื่อแสดง<br />

ความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณแห่งพระเยซูที่ประทานพรให้มีชัยชนะต่อกองทัพแขกมัวร์ ๕ แคว้น ในการรบที่ Ourique เมื่อ<br />

ราวปี พ.ศ.๑๖๒๘ ส่วนรูปโล่ขนาดใหญ่มีปราสาท ๗ หลัง หมายถึงป้อม ๗ แห่งที่กษัตริย์อัลฟองโซที่ ๓ ยึดได้จากชัยชนะ<br />

เหนือแขกมัวร์ ที่เหนือตราอาร์มมีรูปมงกุฎประดับอยู่นอกจากนี้รูปลักษณะปืนและหูจับยกปืนยังเป็นลักษณะเฉพาะที่บอกได้ว่า<br />

เป็นปืนใหญ่หล่อจากบริษัทหล่อปืนที่มีชื่อเสียงของโปรตุเกส คือ The Boccaro GunFounders มีสำนักงานในอินเดียและจีน<br />

๒๓<br />

๒๔<br />

๒๓ ปืนใหญ่เหล็กสมัยอยุธยาของโปรตุเกสมีอายุราว ๔๐๐ ปี ชุดใต้แนวป้อมเก่าที่ปากน้ำพบเพียงกระบอกเดียวในประเทศไทย<br />

ปัจจุบันตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ<br />

๒๔ หูจับยกปืนลักษณะเฉพาะของปืนที่หล่อมาจากโรงหล่อ The Boccaro Gun Founders ที่มีสำนักงานอยู่ที่เมือง Gun<br />

ประเทศอินเดีย และประเทศจีน<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

115


๒๕<br />

๒๖<br />

๒๕ ตราอาร์มของประเทศโปรตุเกสพบในปืนใหญ่โปรตุเกสที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ<br />

๒๖ ตราอาร์มของประเทศโปรตุเกส ตราอาร์มมีโล่ซ้อนกัน ๒ โล่ ในโล่ขนาดเล็กมีโล่สีฟ้า ๕ โล่ (Five quinas) หรือ small blue shield<br />

เรียงกันคล้ายรูปไม้กางเขน โล่สีฟ้ามีสัญลักษณ์แสดงถึงความเจ็บปวดและความเสียสละของพระเยซูทั้ง ๕ ได้แก่ การถูกตอกมือซ้ายขวา<br />

ขาซ้ายขวาติดตรึงกับไม้กางเขนและหอกที่ทิ่มแทงไปยังร่างของพระองค์ ตราอาร์มนี้กษัตริย์อัลฟองโซ ทรงสร้างเพื่อแสดงความซาบซึ้ง<br />

ในพระกรุณาธิคุณแห่งพระเยซูที่ประทานพรให้มีชัยชนะต่อกองทัพแขกมัวร์ ๕ แคว้น ราวปี พ.ศ.๓๖๒๘ รูปโล่ขนาดใหญ่ที่มีปราสาท ๗ แห่ง<br />

ที่กษัตริย์อัลฟองโซที่ ๓ ยึดได้จากชัยชนะเหนือแขกมัวร์ ที่เหนือตราอาร์มมีรูปมงกุฎประดับอยู่<br />

ในเวลาต่อมามี ปืนใหญ่สำริดของฮอลันดา ที่มีคุณภาพสูงกว่าเข้ามาแทน จึงไม่ได้สั่งอาวุธของโปรตุเกสเข้ามา<br />

เพิ่มเติม นอกจากนี้ ปืนของโปรตุเกสเป็นปืนเหล็ก หากขาดการบำรุงรักษาก็อาจเกิดสนิมเหล็ก และผุกร่อนชำรุดไปตามกาลเวลา<br />

จึงอาจมีการนำปืนเหล็กไปหลอมใช้ประโยชน์อย่างอื่น ชาวโปรตุเกสและปืนของโปรตุเกสจึงเป็นที่มาของการทำตำราพิชัย<br />

สงคราม การตั้งทำบัญชีพล รวมทั้งการได้รับผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อาวุธปืนอย่างใหม่ที่สั่งเข้ามาไว้ให้ฝึกฝนถ่ายทอดวิทยาการ<br />

การใช้ การหล่อปืน จนถึงการรับเข้าเป็นทหารเข้าร่วมรบไปในกองทัพกับพม่า เป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่มีชาวตะวันตกเข้ามา<br />

เป็นส่วนหนึ่ง อีกทั้งยังได้รับบำเหน็จความชอบพระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือน ตั้งวัด ในคริสต์ศาสนาสำหรับปฏิบัติศาสนกิจได้<br />

116 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


หลังจากนั้น ปรากฏว่ามีชาติตะวันตกชาติอื่น ๆ ที่เป็นคู่ค้าคู่แข่งทางการเมือง การค้าในยุโรปทยอยตามเข้ามาอย่าง<br />

ต่อเนื่อง อาทิ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งต่างก็ชิงความได้เปรียบซึ่งกันและกันเกือบ ๒๐๐ ปี จนสิ้นแผ่นดินสมเด็จ<br />

พระนารายณ์มหาราช นับเป็นช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงที่กรุงศรีอยุธยาหรือสยาม ได้ก้าวเข้าสู่สังคมนานาชาติ ทั้งทางการค้า<br />

และวัฒนธรรม กรุงศรีอยุธยาได้ดำเนินวิเทโศบายประสานประโยชน์ท่ามกลางการแข่งขันของประเทศเหล่านี้จนอยู่รอดปลอดภัย<br />

มาได้โดยไม่ถูกยึดครองดังเช่นประเทศอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย ทางราชสำนัก<br />

จึงได้กำหนดมาตรการควบคุมศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ ที่เข้ามาในราชธานี โดยกำหนดว่าบรรดาพ่อค้าที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่าย<br />

โดยเฉพาะอาวุธปืนและวัสดุที่ใช้ประกอบทำกระสุนทั้งหลายจะต้องซื้อขายกับพระคลังสินค้าเท่านั้น<br />

๓.๒.๒ การสร้างป้อมปราการ<br />

เนื่องจากป้อมปราการเป็นสถานที่สำหรับใช้ในการสกัดกั้นการป้องกันการจู่โจมและรุกรานของข้าศึก และ<br />

เป็นที่ตั้งปืนใหญ่สำหรับการต่อสู้ข้าศึก ซึ่งจากการศึกษา ทราบว่า<br />

๓.๒.๒.๑ พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้สำรวจขุดตรวจป้อมกำแพงเมืองอยุธยาในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบว่า ในขณะนั้นมีจำนวน ๑๖ ป้อม (แต่สันนิษฐานว่า ควรจะมีมากกว่านั้น) ท่าน<br />

ตั้งข้อสังเกตว่า ป้อมที่สร้างอยู่ตรงแม่น้ำหรือทางร่วมเป็นป้อมใหญ่ก่ออย่างแข็งแรง อาทิ ป้อมเพชร เป็นป้อมใหญ่สำหรับ<br />

ป้องกันข้าศึกที่จะมาทางน้ำตรงมุมพระนครด้านใต้ ซึ่งการก่อสร้างก่อยื่นออกไปจากแนวกำแพงหนา ๓ วาเศษ กลางป้อม<br />

เป็นพื้นดินว่าง มีบันไดอิฐขึ้นเชิงเทินในป้อม ตามเหลี่ยมป้อมที่พื้นดินมีประตูคูหาก่อเป็นรูปโค้ง กว้าง ๔ ศอก สูง ๕ ศอก<br />

มีรอยติดบานใช้เปิดปิดเข้าออกได้ หลังคูหามีช่องกลวงตลอดขึ้นไปถึงเชิงเทิน เมื่อมีข้าศึกมาติดพระนครคงจะลากปืนใหญ่<br />

ออกตั้งยิงป้องกันตามช่องคูหา แต่ถ้าเมื่อเห็นจะเสียท่วงทีก็คงลากถอยปืนใหญ่ไปในป้อม เอาไม้แก่นปักลงในช่องว่างเป็นระเนียด<br />

ปิดช่องคูหากันหน้าบานประตูส่วนบนป้อมก็คงจะตั้งปืนใหญ่ได้ด้วยมีที่กว้าง<br />

๓.๒.๒.๒ คำให้การขุนหลวงหาวัด พรรณนาลักษณะป้อมเพชรนี้ไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า<br />

“... เป็นป้อมปืนใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงมั่นคงแข็งแรง สูง ๓ วา ๒ ศอก สูงกว่ากำแพงเมือง ๒ ศอก มีชาลาล้อมป้อมกว้าง<br />

๓ วา มีกำแพงแก้วล้อมรอบชานป้อม มีปืนแทรกตามช่อง ๘ กระบอก ชั้นล่างปืนใหญ่รางเกวียนบรรจุช่อง ๑๖ กระบอก...”<br />

๓.๒.๒.๓ บันทึกการพิจารณาของ นายศิริรัจน์วังศพ่าห์และนายปริญญา สัญญะเดช ผู้เชี่ยวชาญ<br />

อาวุธโบราณได้สำรวจแล้วให้ความเห็นว่า ป้อมปืน (ป้อมเพชร) แห่งนี้พบคูหาวางปืนใหญ่มีรูปโค้ง ภายในคูหาด้านซ้ายขวามีร่อง<br />

สี่เหลี่ยมทอดยาวทำหน้าที่คล้ายกับรางเป็นที่ส ำหรับผูกเชือกยึดด้านซ้ายและขวาของปืนใหญ่รางเกวียนเพื่อรับแรงสะท้อนถอยหลัง<br />

ที่เกิดขึ้นขณะยิงปืนใหญ่ เหนือคูหามีช่องไว้ระบายความร้อนและควันที่เกิดจากการยิงปืนใหญ่ นับเป็นป้อมที่ทันสมัยมาก<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

117


๓.๒.๒.๔ บันทึกการพิจารณาของ นายประทีป เพ็งตะโก นักโบราณคดีกรมศิลปากร ให้ความเห็นว่า<br />

ป้อมที่มีศักยภาพแข็งแรงจนได้ชื่อว่า ป้อมเพชร นี้ ซึ่งทำการขุดแต่งบูรณะป้อมเพชรได้ศึกษาหลักฐานจากภาพวาดกรุงศรีอยุธยา<br />

ของชาวฮอลันดา พบว่า ป้อมนี้เคยเป็นรูปกลมมน แบบป้อมที่โปรตุเกสนิยมสร้าง ภายหลังมีภาพแผนที่ที่เขียนโดยชาวฝรั่งเศส<br />

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ป้อมเพชรเป็นป้อมรูปหกเหลี่ยม เป็นข้อมูลที่ตรงกับหลักฐานในการขุดแต่งที่พบว่ามีการ<br />

สร้างทับซ้อนกันอยู่ ๒ สมัย ครั้งแรก เป็นป้อมรูปกลมมน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเมื่อคราวขยายกำแพงเมืองไปถึงริมแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา เมื่อราวปีพ.ศ.๒๑๒๓ ส่วนการสร้างขยายป้อมจากรูปกลมมน เป็น รูปหกเหลี่ยม<br />

น่าจะเป็นผลงานการออกแบบของวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช<br />

๒๗<br />

๒๘<br />

๒๗ ป้อมเพชร ป้อมปืนใหญ่รักษากรุงศรีอยุธยา ทางมุมพระนครด้านใต้<br />

๒๘ คูหาปืนใหญ่ของป้อมเพชร สำหรับวางปืนใหญ่รางเกวียน<br />

นอกจากนี้ ยังมีป้อมใหญ่ที่ตั้งอยู่ในทางร่วมของลำน้ำ ตั้งตรงมุมพระนครเช่นเดียวกับป้อมเพชรอีก คือ ป้อมมหาไชย<br />

อยู่ตรงมุมพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณตลาดหัวรอไม่เห็นร่องรอยของป้อมแล้ว อีกป้อมหนึ่งคือ ป้อมซัดกบ<br />

หรือท้ายกบ อยู่มุมพระนคร ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตรงบริเวณหัวแหลม ไม่พบร่องรอยของซากป้อมเช่นกัน ทั้ง ๓ ป้อม<br />

เป็นป้อมปืนตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญเช่นเดียวกัน แต่จะมีรูปร่างเดียวกับ ป้อมเพชร ที่เหลืออยู่หรือไม่ ไม่สามารถยืนยันได้<br />

ป้อมเหล่านี้ล้วนเป็นป้อมที่มีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ อาทิ ปืนใหญ่ประจำป้อมมหาไชย น่าจะเป็นปืนที่มีขนาดใหญ่<br />

118 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภายในคูหาปืนใหญ่ของป้อมเพชร ทางด้านซ้ายและขวามีร่องสำหรับร้อยเชือกยึดรับแรงสะท้อนถอยหลัง<br />

ภาพวาดสีน้ำมันทิวทัศน์เมืองอยุธยา (ludia)<br />

จิตรกรชาวฮอลันดา ชื่อ Johanncs<br />

Virgboors เป็นผู้วาด เมื่อ ค.ศ.๑๖๖๕<br />

เห็นป้อมเพชรเดิมยังเป็นรูปกลมมน<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

119


มีกำลังแรงพอที ่จะยิงป้องกันข้าศึกที่เข้ามาทางแม่น้ำลพบุรีทางด้านนี้ อีกทั้งเมื่อครั้งเกิดกบฏธรรมเถียรในรัชกาลสมเด็จ<br />

พระเพทราชา (ซึ่งกรมพระราชวังบวร ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าเสือ) ได้โปรดให้เอา ปืนใหญ่ป้อมแห่งนี้ ยิงปราบกบฏ<br />

ทั้ง ๘ กระบอก ส่วน ป้อมซัดกบ หรือท้ายกบ ได้ทำหน้าที่เมื่อคราวมีศึกประชิดกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.๒๓๐๙ พระยา<br />

ศรีสุริยพาห เจ้าหน้าที่รักษาป้อมซัดกบนำปืนชื่อ มหากาฬมฤตยู ประจุดินปืน อัดเป็นสองเท่าเพื่อที่จะยิงให้ถึงค่ายพม่า<br />

ที่วัดภูเขาทอง แม้ยิงได้เพียงนัดเดียวปืนก็แตกร้าว แต่ก็ยังจมเรือรบพม่าได้ถึง ๒ ลำ<br />

เมื่อพิจารณาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังและลายรดน้ำของตู้พระไตรปิฎกหลายภาพ ได้ปรากฏภาพที่เกี่ยวกับการสู้รบ<br />

ภาพบ้านเมืองมีกำแพงป้อมปราการ ช่างเขียนจะเขียนภาพชนต่างชาติ คือ ฝรั่งบ้าง แขกบ้าง อยู่ประจำป้อมพร้อมด้วยอาวุธ<br />

ปืนใหญ่ และปืนเล็กยาวน้อย ยิงต่อสู้ป้องกันเสมอ โดยมีการแบ่งระดับกำลังพล เป็นดังนี้<br />

ส่วนไพร่พล คนพื้นถิ่นที่เข้าเป็นผู้ช่วยนั้น มีอาวุธประจำกาย คือ ดาบ หอก ธรรมดา<br />

ส่วนขุนนาง (แม่ทัพนายกอง) นุ่งผ้าตามยศสวมลอมพอก หรือหมวกแบบต่าง ๆ ถือดาบ เหน็บกฤช ก็มี ซึ่งภาพเขียน<br />

เหล่านี้ได้สะท้อนสภาพสังคมที่จิตรกรได้เห็นได้รับรู้มาถ่ายทอดไว้ต่อเนื่องกันมา แม้ช่างในสมัยหลังจะไม่เคยเห็นด้วยตาตนเอง<br />

แล้วก็ตามเป็นความทรงจำและจินตนาการที่เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังมาศึกษาตีความทำความเข้าใจได้<br />

ภาพจิตรกรรม มีพลประจำป้อมเป็นชาวตะวันตกที่เรียกว่า ฝรั่งแม่นปืน และอาวุธที่ใช้ทั้งปืนเล็ก (คาบชุด หรือคาบศิลา) และปืนใหญ่<br />

120 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพจิตรกรรม มีพลประจำป้อมเป็นชาวตะวันตกที่เรียกว่า ฝรั่งแม่นปืน และอาวุธที่ใช้ทั้งปืนเล็ก (คาบชุด หรือคาบศิลา) และปืนใหญ่<br />

ภาพจิตรกรรม มีพลประจำป้อมเป็นชาวต่างชาติทั้งชาวตะวันตก<br />

และแขกอาวุธที่ใช้มีทั้งปืนเล็ก (คาบชุด หรือคาบศิลา) และปืนใหญ่ ผังป้อมของฝรั่งเศสที่เมืองบางกอก<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

121


๓.๒.๓ ระบบอาวุธปืนในประวัติศาสตร์ยุคราชอาณาจักรอยุธยา<br />

๑) บันทึกการพิจารณาของ นายศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุธโบราณได้สำรวจแล้วให้ความเห็นเกี่ยว<br />

กับปืนใหญ่ไว้ว่า<br />

“...จำนวนปืนใหญ่น้อยที่มีไว้ป้องกันกรุงศรีอยุธยาคงจะมีเป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากจำนวนปืนที่ใช้ในการ<br />

รบแต่ละครั้ง เช่น การรบป้องกันพระนคร เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘ มีปืนใหญ่ใช้ในกองทัพ ราว ๔,๐๐๐ กระบอก ในพ.ศ.๒๓๑๐<br />

ในคลังมีปืนใหญ่น้อย ๓,๐๐๐ กระบอก กระสุน ๕๐,๐๐๐ นัด ปืนเหล่านี้บางส่วนถูกทำลาย ถูกฝังดิน ถูกนำกลับไปเป็น<br />

สัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งผู้ชนะและซ่อนจากข้าศึกโดยฝังดินหรือเข็นทิ้งลงน ้ำไม่ให้ตกไปเป็นของข้าศึกได้ ดังมีรายงาน<br />

การงมได้ปืนใหญ่ในแม่น้ำรอบกรุงศรีอยุธยาอยู่บ่อยครั้ง…”<br />

๒) คำให้การชาวกรุงเก่า ได้กล่าวถึงปืนใหญ่ที่มีชื่อใช้ในงานราชการครั้งกรุงศรีอยุธยา ตามลักษณะปืนของ<br />

ชาติตะวันตกที่นำเข้ามาในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา กล่าวคือ<br />

๒.๑ ปืนใหญ่ชื่อ มหาเริก (มหาฤกษ์) มหาชัย เป็นปืนใหญ่ยิงเอาฤกษ์ เอาชัยยามเคลื่อนทัพ เช่นคราว<br />

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๒๐๕ มีเจ้าพระยาโกษาธิบดี (โกษาปาน) เป็นแม่ทัพ<br />

ใหญ่ พระองค์เสด็จยกกองทัพหลวงตามไป ซึ่งคำให้การชาวกรุงเก่าพรรณนาไว้ว่า “...ครั้นได้มหาพิไชยฤกษ์แล้วขุนโหรก็ลั่น<br />

ฆ้องชัยประดาตี ดังโครมครื้น ยิงปืนมหาฤกษ์ มหาไชยสองนัด แล้วพลไกรก็โห่ร้องก้องกึกไปทั้งแม่น้ำ...”<br />

๒.๒ ปืนใหญ่ชื่อ มหากาล (มหากาฬ) หรือมหากาฬมฤตยูราช หรือพระกาลมฤตยูราช เป็นปืนใหญ่<br />

ที่มีความยาวถึง ๓๐ ฟุต ยิงลูกกระสุนน้ำหนัก ๑๐๐ ปอนด์ ปืนใหญ่กระบอกนี้มีประวัติกล่าวอยู่ในพระราชพงศาวดาร คราว<br />

สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถสู้ศึกพระเจ้าหงสาวดีล้อมกรุงในปีพ.ศ.๒๑๒๙ ได้โปรดให้เอาปืนพระกาลมฤตยูราช<br />

ใส่สำเภาขึ้นไปยิงค่ายข้าศึกที่ขนอนปากคู ข้าศึกต้องเลิกทัพไปตั้งที่ป่าโมกใหญ่ และการศึกอีกครั้งหนึ่งได้นำไปใช้ที่ป้อมซัดกบ<br />

เมื่อคราวศึกประชิดกรุงในปี พ.ศ.๒๓๐๙ ปืนแตกร้าวเสียไปเพราะกรำศึกมามาก<br />

๒.๓ ปืนใหญ่ชื่อ พินาศหงสา เมื่อพิจารณาแล้วน่าจะเป็นกระบอกเดียวกับปืนใหญ่ชื่อปราบหงสา ปืนใหญ่<br />

กระบอกนี้มีประวัติทั้งในพงศาวดารและเรื่องที่เล่ากันมา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอ้างไว้ใน “ไทยรบพม่า” ว่า เป็น<br />

อุทาหรณ์ของความเสื่อมทรามในครั้งนั้น เพราะเมื่อเอาปืนนี้ขึ้นตั้งบนป้อมมหาชัยจะยิงพม่า แต่แรกเจ้าหน้าที่ไม่กล้ายัดดินดำให้<br />

เต็มขนาด กลัวแก้วหูแตกด้วยเสียงปืน ลดดินดำแล้วยังมีคนขอให้ลดลงอีก จนที่สุดยิงไปกระสุนไปตกไม่ถึงคูเมือง เป็นได้ถึงอย่างนี้<br />

ก็ตรงกับความในพระราชพงศาวดารเมื่อพม่าล้อมกรุงว่า พม่ายกมาตั้งค่าย วัดศรีโพธิ์ว่า “... ฝ่ายข้างในกรุงให้ใช้ปืนปราบหงสา<br />

ออกไปตั้งริมท่าทราย กระสุนแรกประจุดินน้อยต่ำไปถูกตลิ่ง ครั้นประจุดินมากขึ้นโด่งข้ามวัดศรีโพธิ์ไป...” ทั้งนี้ นายศิริรัจน์ฯ<br />

122 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ได้วิเคราะห์การยิงปืนใหญ่ปราบหงสาจากบันทึกฝั่งพม่าที่บอกว่า มีน้ำสีดำไหลออกมาจากลำกล้องขณะยิงเหมือนทางฝั่งพม่า<br />

บอกเป็นนัยว่าฝ่ายไทยดูเหมือนไม่ดูแลเอาใจใส่ต่ออาวุธปืนแม้แต่น้อย<br />

๒.๔ ปืนใหญ่ชื่อ มานพินาศ คงเป็นปืนที่มีความสำคัญมากกระบอกหนึ่งในสมัยอยุธยา มีข้อควรสังเกตว่า<br />

ปืนที่เหลือเพียงส่วนปากล ำกล้องที่เชื่อว่าคือ ปืนมานพินาศ มีลวดลายคล้ายกับปืนใหญ่มารประไลย ที่สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

๒.๕ ปืนใหญ่ชื่อ นารายณ์สังหาร เป็นปืนใหญ่สมัยราชอาณาจักรอยุธยาที่มีชื่อเสียงเช่นเดียวกับปืนใหญ่<br />

ที ่หล่อขึ้นใหม่ในสมัยราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ซึ่งปืนกระบอกนี้ มีประวัติสำคัญในเหตุการณ์หลังจากสมเด็จพระสุริโยทัย<br />

สิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้โปรดให้คิดเอาปืนใหญ่ยิงค่ายข้าศึก ดังความในพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า<br />

“... จึ่งให้เชิญ ปืนนารายณ์สังหาร ลงสำเภาฉ้อขึ้นไปทางบ้านป้อม แต่งทัพปกป้องกันสองฝั่งมากขึ้นไป<br />

ถึงขนอนปากคู...ชาวพระนครยิงปืนนารายณ์สังหารไป กระสุนตกลงในค่ายใกล้พลับพลา สมเด็จพระเจ้าหงสาวดี... หลังจากทัพ<br />

พระเจ้าหงสาวดีถอยที่ตั้งค่ายหลวงออกไป ก็โปรดให้เอาปืนนารายณ์สังหารลงใส่สำเภาไม้รักแม่นางไอขึ้นไปยิงค่ายสมเด็จ<br />

พระเจ้าหงสาวดี... ปืนถีบท้ายสำเภาจมลงกระสุนปืนขึ้นไปถูกกิ่งพระมหาโพธิ์ ๓ กำเศษ ขาดตกลงใกล้ช้างพระที่นั่งสมเด็จ<br />

พระเจ้าหงสาวดีประมาณ ๓ วา ขณะนั้นชาวป้อมมหาชัยก็ยิงปืนใหญ่ระดมมาต้องพลหงสาวดีตายมาก จะปล้นเอาพระนคร<br />

ก็ไม่ได้...”<br />

นี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ ปืนนารายณ์สังหาร รับใช้บ้านเมืองครั้งสำคัญคราวหนึ่ง<br />

๒.๖ ปืนใหญ่ชื่อ ปืนพิรุณ หรือพระพิรุณ เป็นปืนใหญ่ที่มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยราชอาณาจักร<br />

อยุธยาที่น่าตื่นเต้นอยู่มาก คือ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้ใช้ทดสอบสติปัญญาเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์เพื่อให้<br />

ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยได้ประจักษ์และยอมรับขุนนางฝรั่งผู้นี้ โดยให้แข่งขันหาวิธีชั่งน้ำหนักปืนพระพิรุณว่ามีน้ำหนักเท่าใด<br />

เหตุการณ์ชั่ง ปืนพระพิรุณครั้งนั้น น่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนต่อมา เพราะในสมัยรัชกาลที่๕ เมื่อโปรดให้<br />

ประกวดการเขียนภาพพระราชพงศาวดารพร้อมแต่งโคลงประกอบเพื่อประดับพระเมรุท้องสนามหลวงให้ประชาชนชม เหตุการณ์นี้<br />

ได้รับคัดเลือกให้เขียนไว้พร้อมโคลงพรรณนาประกอบภาพ ของขุนโอวาทวรกิจ (แก่น) ดังนี้<br />

จึ่งตรัสให้ท่านเจ้า พระยา ชั่งเฮย<br />

ฝรั่งรับลากปืนมา ถ่วงท้อง<br />

เรือเพียบเท่าใดตรา ทึกลาก ขึ้นแฮ<br />

ชั่งศิลาลงต้อง เทียบน้ำแนวเดิมฯ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

123


ก็แจ้งโดยเล่ห์ล้ำ แหลมหลัก<br />

ปืนพระพิรุณหนัก เท่านั้น<br />

กราบทูลพระจอมจักร-<br />

พรรดิทราบ บาทเฮย<br />

ข้าราชการคิดขยั้น ขยาดคร้ามเชิงเฉลียว ฯ<br />

นอกจากนี้ ปืนพระพิรุณ ยังมีความปรากฏในเหตุการณ์หลังเสียกรุงในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ว่า “...เนเมียวแม่ทัพใหญ่<br />

กับแม่ทัพนายกองให้ขนปืนใหญ่น้อยในพระนครไปด้วย พระราชพงศาวดารว่า ได้ปืนใหญ่น้อยพันสองร้อยเศษ ปืนนกสับหลายหมื่น<br />

เอาลงบรรทุกเรือ เมื่อไปถึงตลาดแก้ว...เห็นว่า ปืนพระพิรุณนั้นใหญ่นักเหลือกำลังที่จะเอาไปเมืองอังวะ จึงให้เข็นชักขึ้นจากเรือ<br />

เอาขึ้นที ่วัดเขมา ให้เอาดินดำประจุเต็มกระบอกจุดเพลิงระเบิดเสีย...” แต่มีบางทัศนะของนักประวัติศาสตร์ได้ให้ความเห็นว่า<br />

ฝ่ายไทยได้เอาลงจมไว้ในสระแก้ว พระราชวังกรุงเก่า มีผู้ไปขุดค้นกันเมื ่อในรัชกาลที่ ๔ เรื่องจริงจะเป็นอย่างไรไม่แน่ชัด<br />

แต่หลักฐานที่บาทหลวงเดอชัวซี แห่งฝรั่งเศส ได้เคยเห็นกับตาตัวเองว่า ปืนพระพิรุณมีขนาดใหญ่ ปากลำกล้องมีความกว้างถึง<br />

๑๔ นิ้ว ลูกกระสุนมีน้ำหนักราว ๓๐๐ ปอนด์เศษ ปืนพระพิรุณ ได้จบสิ้นภารกิจไปพร้อมกับกรุงศรีอยุธยา<br />

ปืนใหญ่ยุโรปสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

จากการศึกษาตรวจค้น พบว่า ปืนยุโรปที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยาและที่มีอายุตรงกับสมัยอยุธยา พบมากที่หัวเมือง<br />

ทางภาคใต้ เช่น ที่นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ภูเก็ต ฯลฯ ปืนใหญ่ประจำตามหัวเมืองต่างๆ มีบางส่วนที่ส่งตรงจากพระนคร<br />

หรือทางกรมการเมืองอาจจะสั่งซื้อจากพ่อค้าฝรั่งที่ทำการค้าขายอยู่บริเวณนั้น การจัดส่งปืนใหญ่ก็คงกระทำได้ไม่ยากเพราะมี<br />

สถานีการค้าของพวกเขาอยู่ใกล้เคียง เช่น สถานีทางการค้าของชาวฮอลันดาที่ริมคลองตาสัก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้<br />

พบปืนฮอลันดาสมัยอยุธยาเป็นจำนวนมากที่จังหวัดนั้น<br />

๑) ปืนใหญ่ฮอลันดา ฮอลันดาเป็นชาวตะวันตกชาติที่สองต่อจากโปรตุเกสที่เข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาและพำนัก<br />

อยู่นานจนเสียกรุงแล้วจึงกลับออกไป ดังมีบันทึกของหัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาที่เก็บสาระเรื่องราวของสังคมอยุธยาจนถึง<br />

กับเขียนพงศาวดารได้ที่เรียกว่า พงศาวดารฉบับวันวลิต ซึ่งบางช่วงบางตอนกล่าวเรื่องชาวฮอลันดาเป็นชาติหนึ่งที่จัดหาอาวุธ<br />

ให้กับอยุธยาผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ปืนใหญ่ฮอลันดาที่สำรวจพบมีทั้งหล่อด้วยสำริดและเหล็ก มีความ<br />

สวยงามมาก ลักษณะโดยทั่วไป ปากกระบอกเป็นรูปดอกทิวลิป หูจับยกปืนเป็นรูปปลาโลมา (ปืนเหล็กไม่มีหูจับ) รูชนวนอยู่ใน<br />

กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน บนลำกล้องมีตราของบริษัท คือ V O C เหนือตราบริษัทมีตัวอักษรบอกเมือง<br />

ที่หล่อปืน R A H M Z E และยังมีชื่อช่างผู้หล่อปืน ปีที่หล่อปืนจารึกอยู่ด้วย<br />

124 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


่<br />

๒) ปืนใหญ่อังกฤษ ชาวอังกฤษเข้ามาเปิดสถานีการค้าแห่งแรกที่ปัตตานีในปี พ.ศ.๒๑๕๕ มีบันทึกว่ากัปตัน<br />

โทมัส เอสซิงตัน เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าเจมส์ที่ ๑ ได้รับพระบรมราชานุญาต<br />

ให้เปิดสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา ปืนใหญ่ของอังกฤษตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยามีจำนวนไม่มาก แต่มีตราสัญลักษณ์ที่ศึกษา<br />

ได้ชัดเจน อาทิ ปืนใหญ่แบบ Rose and Crown Pattern มีจารึกรูปนูนรูปดอกกุหลาบภายใต้มงกุฎ ซึ่งเป็นตราพระราชลัญจกร<br />

ของสมเด็จพระราชินีแอน (Queen Ann : ครองราชสมบัติระหว่าง พ.ศ.๒๒๐๓ – ๒๒๕๗) ปัจจุบันพบที่มหาวิทยาลัย<br />

ธรรมศาสตร์, ศาลากลางจังหวัดตรัง, หน้าสโมสรค่ายกาวิละ เชียงใหม่, หน้าพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ (ตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่า บางกระบอกอาจนำเข้าสมัยธนบุรี หรือสมัยต้นรัตนโกสินทร์)<br />

๓) ปืนใหญ่สเปน บทความเรื่อง กรุงศรีอยุธยากับความสัมพันธ์สามเส้า ตามเอกสารหลักฐานสเปน The Philippine<br />

Islands, 1493 - 1893 ให้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับสเปน ซึ่งได้ปกครองฟิลิปปินส์มีลักษณะที่<br />

ไม่ราบรื่น และข้อมูลจากการสำรวจดินแดนของกรุงศรีอยุธยาก็เพื่อแสวงหาทรัพยากร ซึ่งหวังจะเข้าพิชิตและเผยแผ่คริสต์ศาสนา<br />

นิกายคาทอลิก แต่ความสัมพันธ์ครั้งนี้ก็ประสบปัญหาโดยมีกรุงกัมพูชาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะกรุงกัมพูชาก็มุ่งหวังให้สเปน<br />

คุ้มครองตนจากกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นความสัมพันธ์สามเส้าที่มีปัญหาอยู่มาก ซึ่งมีเหตุการณ์ที่ท้าทายพระราชอำนาจสมเด็จ<br />

พระนเรศวรคราวหนึ่ง เมื่อนายฟรานซิสโก เด เตโย เด กูซมัน (Francisco de Tello de Guzman) ผู้ว่าราชการฟิลิปปินส์<br />

แต่งตั้ง ฆวน เตโย (Joan Tello) เป็นราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา เดินทางถึงอยุธยาก่อนวันที<br />

๕ พฤษภาคม ค.ศ.๑๕๙๘ ราชทูตผู้นี้ที่จริงเป็นพ่อค้ามีธุรกิจที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อเดินทางมาก็มุ่งจะดำเนินการค้าและธุรกิจ<br />

ของตน จึงระมัดระวังประหยัดถ้วนถี่ในการถวายเครื่องราชบรรณาการ ที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งคือ การที่เขาเป็นพ่อค้ามากกว่า<br />

นักการทูต ทั้ง ๆ ที่ทราบว่า สมเด็จพระนเรศวรทรงพอพระราชหฤทัยปืนใหญ่ประจำเรือ เขากลับนำถ่วงน้ำไว้ คงเหลือเพียงปืน<br />

๑ กระบอก และปืนคาบศิลาอีกเล็กน้อยผ่านเข้ามาถึงพระนคร เมื่อดำเนินธุรกิจแล้วเห็นว่ามีผลกำไรน้อยและดูเหมือนสมเด็จ<br />

พระนเรศวรไม่โปรดเท่าใดนัก จึงลอบเดินทางกลับโดยไม่เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาตามธรรมเนียมทางการทูต ทั้งยังลักลอบ<br />

นำบุคคลต้องโทษออกนอกพระราชอาณาจักร ทางการไทยจึงสั่งให้กองเรือไล่ติดตาม ได้ยิงต่อสู้กันด้วยปืนใหญ่และปืนคาบศิลา<br />

ภายหลังกองเรือทูตของสเปนได้กู้ปืนใหญ่ที่แอบซุ่มซ่อนไว้กลับไปได้ นับเป็นเรื่องราวของปืนใหญ่ประจำเรือที่ได้นำถ่วงน้ำ<br />

ซ่อนไว้แล้วกู้กลับขึ้นได้อย่างพิสดาร ทั้งนี้ นายศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ได้ศึกษาพบปืนสเปนที่มีอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ๒ กระบอก<br />

ตั้งแสดง ณ ห้องอาวุธไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร มีชื่อจารึกไว้ว่า พลายเพ็ชร และเกล็ดนาค หล่อในปี พ.ศ.๒๑๕๓<br />

ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม มีข้อควรสังเกตว่า เมื่อนายเทาน์เซนด์ แฮรีส (Townsend Harris) ทูตอเมริกา<br />

เดินทางเข้ามาในปี พ.ศ.๒๓๙๙ เขาบันทึกไว้ว่า ได้เห็นปืนสเปน หล่อขึ้นราว ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว อยู่บนหลังช้างในกระบวน<br />

รับทูต ก็น่าจะเป็นปืนสเปนสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ตกทอดมา<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

125


๒๙<br />

๓๐<br />

๓๑<br />

๒๙ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของสเปนมีชื่อ พลายเพ็ชร มีอายุ ๔๐๒ ปี<br />

ปัจจุบันตั้งแสดง ณ พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

๓๐ ปืนใหญ่สมัยอยุธยาของเดนมาร์ก มีอายุราว ๓๑๖ ปี<br />

ปัจจุบันตั้งประดับภายในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ จังหวัดนครศรีธรรมราช<br />

๓๑ จารึกแสดงว่า ปืนใหญ่กระบอกนี้เป็นของบริษัทอินเดียตะวันออกของเดนมาร์ก<br />

หล่อในปี ๑๖๙๖ ตรงกับ พ.ศ.๒๒๓๙<br />

๔) ปืนเดนมาร์ก การได้พบปืนใหญ่เดนมาร์กที่สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยา แม้มีจำนวนไม่มาก แต่ก็เป็นสิ่งที่น่า<br />

ศึกษาเช่นเดียวกับปืนใหญ่ของชาติอื่น ๆ เพราะบริษัท เดนิช อีสต์อินเดีย ตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๑๕๙ ตามคำแนะนำของฮอลันดา<br />

ได้มีความสัมพันธ์กับผู้สำเร็จราชการเมืองตะนาวศรีซึ่งขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา ออกญาไชยาธิบดีแห่งเมืองตะนาวศรี ได้มีศุภอักษร<br />

อนุญาตให้กัปตัน ครัปเป ชาวเดนมาร์ก ตั้งสถานีการค้าอยู่ทางภาคใต้ของอินเดียเข้ามาค้าขาย ณ กรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยาได้<br />

พ่อค้าเดนมาร์กเป็นชาติหนึ่งที่จัดหาปืนใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาโดยได้ช้างซึ่งเป็นสินค้าจากอยุธยากลับไป ปืนใหญ่เดนมาร์ก<br />

126 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ได้พบอยู่ที่ค่ายวชิราวุธ จังหวัดนครศรีธรรมราช, ที่สถานีตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต<br />

มีจารึกนูนรูปมงกุฎเหนืออักษร C และเลข 5 เกี่ยวกัน และตัวอักษร OSTINDSCHE COMPAGNIE และ 1696 ซึ่งเป็นตรา<br />

ของบริษัทและปีที่สร้างปืน (ปี พ.ศ.๒๒๓๙) ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา<br />

๕) ปืนฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส เริ่มขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช<br />

ด้วยบทบาทของคณะมิชชันนารี เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาคาทอลิก ซึ่งเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ศุภอักษรของ<br />

พระสันตปาปาเคลมองต์ที่๙ และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายเพื่อขอบพระทัยที่ทรงอุปการะมิชชันนารีให้ได้รับความร่มเย็น<br />

หลังจากนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสก็เข้ามาตั้งห้างค้าขายในกรุงศรีอยุธยาและยังได้รับพระราชานุญาตให้ไปค้าขายดีบุก<br />

ที่เมืองถลาง รวมทั้งทรงยกเมืองสงขลาให้บริษัทสร้างป้อมปราการได้ การติดต่อระหว่างกันมีเรื่องราวให้ศึกษามาก จากการ<br />

ส่งคณะราชทูตไปมาเพื่อเจริญทางพระราชไมตรี แต่ภายหลังได้มีข้อสงสัยในกลุ่มขุนนางไทยในเรื่องการโน้มน้าวให้สมเด็จ<br />

พระนารายณ์มหาราช ทรงเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนา และยังมีความหวาดระแวงเรื่องการเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองการทหาร<br />

ซึ่งเชื่อกันว่ามีเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์อยู่เบื้องหลัง มุ่งหาผลประโยชน์ทางการค้าและการเมืองไปพร้อมกัน สุดท้ายฝรั่งเศสก็หมด<br />

บทบาทไปคงเหลือแต่เพียงหลักฐานบันทึกไว้มากมาย ทั้งของมิชชันนารี คณะทูต พ่อค้า และทหาร การที่สมเด็จพระนารายณ์<br />

มหาราชทรงสนพระราชหฤทัยวิทยาการตะวันตก อาทิ โปรดให้วิศวกรสร้างป้อมปราการในเมืองต่าง ๆ และสร้างหอดูดาว<br />

เพื่อทรงศึกษาดาราศาสตร์ ในส่วนของอาวุธยุทธภัณฑ์ ได้มีข้อตกลงในสัญญาทางการค้าที่อนุญาตให้นำของต้องห้าม เช่น<br />

อาวุธปืน ดินปืน ฯลฯ แต่ต้องขายให้แก่ทางการ เชื่อกันว่าคงมีปืนฝรั่งเศสเข้ามาด้วย อย่างไรก็ตาม กลับมีเหตุการณ์ที่ทำให้<br />

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย เพราะคณะราชทูตได้สั่งห้ามไม่ให้แพร่งพรายเกี่ยวกับปืนใหญ่แบบใหม่<br />

และลูกแตกที่ทันสมัยที่นำเข้ามาด้วยในเวลานั้น ความจริงเรื่องฝรั่งเศสมีปืนใหญ่และกระสุนลูกแตกนี้ เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์<br />

หรือฟอลคอน เป็นผู้รู้ก่อนและขอดู แต่ถูกราชทูตปฏิเสธ ถึงแม้เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์จะอ้างว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงสน<br />

พระราชหฤทัยที่จะทอดพระเนตร เซเบเรต์ก็อ้างเหตุผลบ่ายเบี่ยงต่าง ๆ นานาว่า การบรรทุกอาวุธใหม่มายังลพบุรีมีความยาก<br />

ลำบากมาก เซเบเรต์ดูเหมือนจะเข้าใจท่าทีของฝ่ายไทย ที่ต้องการจะได้อาวุธใหม่ไว้ เขาจึงกล่าวต่อไปว่า ปืนและลูกแตกยังต้อง<br />

อยู่ในความดูแลของทหารฝรั่งเศสตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แต่ในที่สุด นายพล เดฟาช์จ ได้มอบปืนใหญ่<br />

๑ กระบอก และกระสุนลูกแตก จำนวน ๓ ลูก แก่ไทยเพื่อสาธิตการยิงที่ละโว้ อย่างไรก็ดี เมื่อออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน)<br />

เป็นราชทูตไปฝรั่งเศส และได้นำปืนใหญ่สยาม จำนวน ๒ กระบอก ปัจจุบันยังตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทหาร Invalides ประเทศ<br />

ฝรั่งเศส พร้อมกันนี้ได้มีโอกาสดูป้อมเมืองต่าง ๆ หลายเมือง รวมทั้งป้อมแซงต์ฟรังซัวส์ที่เมืองแอร์ซึ่งเป็นป้อมสำคัญที่แปลกกว่า<br />

ป้อมอื่น ๆ ชมการยิงปืนใหญ่โรงหล่อปืนใหญ่โรงเรียนการทหาร ฯลฯ ได้ทำรายงานกลับมาทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนารายณ์<br />

มหาราชให้ทรงทราบอย่างละเอียด<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

127


๖) ปืนใหญ่อื่น ๆ นอกจากความรู้เรื่องปืนใหญ่กระบอกสำคัญ ๆ<br />

ที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ใช้ประจ ำป้อมบ้าง ใช้รักษาบ้านเมืองบ้างแล้ว การเรียกชื่อปืนใหญ่<br />

ตามชนิดและขนาด เป็นความรู้ที่ควรบอกเล่าไว้ด้วย เพราะหากต้องอ่านเอกสารโบราณ<br />

หรือพระราชพงศาวดาร จะได้เห็นภาพและเข้าใจได้ อาทิ<br />

๖.๑ ปืนใหญ่บะเหรียมหรือบะเรียม เป็นปืนใหญ่ทหารราบ<br />

ท้ายปืนมน ปากกระบอกเรียวและแคบ<br />

๖.๒ ปืนจ่ารงค์ เป็นปืนใหญ่ทหารราบใช้ลาก ซึ่งจากหนังสือ<br />

อักขราภิธาน- ศรับท์ ของหมอบรัดเล บรรยายว่า มีลำกล้อง ๒ กำเศษ ยาว ๒ ศอก<br />

ลูกเท่าลูกส้ม ไม่มีไกมีแต่รูชนวน<br />

ภาพแสดงสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้ง ปืนใหญ่ ๒ กระบอก ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช<br />

โปรดให้นำไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เมื่อพุทธศักราช ๒๒๒๙<br />

๓๒ ๓๓<br />

๓๔<br />

๓๕<br />

๓๒ ปืนใหญ่แบบที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถวายพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔<br />

ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ทหาร Invalides ประเทศฝรั่งเศส<br />

๓๓ ปืนใหญ่แบบที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔<br />

ภายหลังกลุ่มปฏิวัติฝรั่งเศสได้นำไปใช้ยิงประตูคุกบาสติล พุทธศักราช ๒๓๓๒<br />

ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ทหาร Invalides ประเทศฝรั่งเศส<br />

๓๔ ปืนใหญ่ของฝรั่งเศสสมัยอยุธยา ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ<br />

นครศรีธรรมราช<br />

๓๕ ตรา Fleur de lis หรือ Flower of the lily ตราพระราชลัญจกร<br />

ของพระมหากษัตริย์ประเทศฝรั่งเศส<br />

128 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๖.๓ ปืนมณฑก เป็นปืนใหญ่ทหารราบใช้ลาก<br />

๖.๔ ปืนนกสับ เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ขนาดเล็ก มีขาหยั่ง ๒ ขา คล้ายขานกยาง บางแห่งจึงเรียก<br />

ปืนขานกยาง จัดอยู่ในประเภทปืนเล็ก<br />

๖.๕ ปืนจินดา เป็นปืนใหญ่ทหารราบ ภายหลังใช้ยิงในพิธีตรุษ<br />

๖.๖ ปืนหามแล่น เป็นปืนใหญ่ขนาดเบา ใช้รบบนภูเขา<br />

๖.๗ ปืนตะแบงแก้ว เป็นปืนใหญ่ของกรมพระตำรวจ ใช้ยิงตระแบง ไปข้างหน้า<br />

๖.๘ ปืนหลังช้าง โดย นายศิริรัจน์ วังศพ่าห์ อธิบายไว้ว่า ช้างปืนใหญ่แต่ละตัว (เชือก) สวมเกราะตลอด<br />

มีปืนใหญ่หันปลายออกข้างขวา ๑ กระบอก ซ้าย ๑ กระบอก กรุงศรีอยุธยาสั่งปืนใหญ่หลังช้างจากฮอลันดา ลูกปืนที่ใช้ยิง<br />

มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ ฝ่ามือ นอกจากนี้ยังมีปืนขอช้าง ปลายลำกล้องมีขอคล้ายขอที่ควาญช้างใช้<br />

๗) ปืนเล็ก มีทั้งที่ทำขึ้นใช้เองและสั่งซื้อเข้ามาใช้ในราชการ ดังนี้<br />

๗.๑ ปืนคาบชุดหรือปืนนกคุ่ม (The matchlock) เป็นปืนขั้นพื้นฐาน มีน้ำหนักเบา มีไกปืนติดตั้ง<br />

อิงอยู่กับกระเดื่องนกปืน แทนไกปืนแบบยก ไกปืนเล็ก ๆ ตั้งภายในโกร่งไกปืน (Trigger guard) ช่วยป้องกันการปล่อยประจุ<br />

ที่ผิดพลาด หมอบรัดเลย์ อธิบายไว้ในหนังสืออภิธาน-ศรับท์ว่า ปืนนี้มีนกสับลงกับหน้าเพลิงเอาชุดจุดไฟใส่ไว้ในปากนกลั่นลง<br />

เป็นคำอธิบายที่สั้นกระชับชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย<br />

๗.๒ ปืนคาบศิลา (Flint Arms) ปืนที่ใช้กลไกง่าย ๆ ทำให้เกิดประกายไฟด้วยการตีหินเหล็กไฟ<br />

ให้โดนแผ่นประกายไฟในทางเดียว เครื่องลั่นไกของปืนชนิดนี้ คือ หินเหล็กไฟ อยู่ในปากประกับ ตรงปลายของแขนแกนเรียกว่า<br />

นกปืน แผ่นประกายไฟอยู่บนแขนแกน อีกข้างหนึ่งตรงข้ามกับนกปืน จานอยู่ต่ำลงไปตรงกันกับแผ่นประกายไฟ เมื่อลั่นไกปืน<br />

แหนบคันผลักนกปืน อันใหญ่จะเหวี่ยงนกปืนไปเป็นช่วงโค้งสั้น ๆ เพื่อให้หินเหล็กไฟไปตีบนแผ่นประกายไฟ ทำให้เกิดประกายไฟ<br />

ลงไปในจานปืน คาบศิลา ชนิดแรกมาจากภาษาดัทช์ อธิบายการปฏิบัติงานของนกปืน คือคำ Snaphaan หมายถึง snapping<br />

cock คือ นกปืนที่คาบ (หิน) หนังสืออภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ อธิบายอย่างง่ายว่า มีนกสับกับหน้าเพลิงแต่เอาศิลาใส่ไว้<br />

ที่ปากนกลั่นลง<br />

นอกจาก ปืนคาบชุด ปืนคาบศิลา ที่มีใช้กันมาตลอดสมัยอยุธยา และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีชื่อปืนเล็กอื่น ๆ เช่น<br />

ปืนนกโพรง ปืนทองปราย หรือบรันเดอร์บัส มีปากกว้างเป็นปากลำโพง หรือประดิษฐ์เป็นรูปมังกร ปากเหมือนปืนใหญ่อย่างฝรั่ง<br />

ทั้งนี้ เรื่องราวของปืนใหญ่สำคัญ และปืนชนิดต่าง ๆ ที่บันทึกอยู่ในเอกสาร ที่ยังเหลือปรากฏของจริงอยู่ต่อมา คือ ปืนใหญ่<br />

อีกชุดหนึ่งที่ไปปรากฏอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานเมืองมัทราส ประเทศอินเดีย พิพิธภัณฑ์ได้รับจากคลังแสงที่ป้อมเซนต์จอร์จ<br />

เมื่อครั้งอังกฤษขนไปจากเมืองมัณฑเล ในปี พ.ศ.๒๔๒๘<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

129


๓๖<br />

๓๗<br />

๓๘<br />

๓๖ ปืนบะเรียมอังกฤษ แบบบลูมฟิลด์ ด้านท้ายปืนมีห่วงไว้สอดเชือกเพื่อยึดกับหลักเพื่อรับแรงสะท้อนเมื่อยิง<br />

ปัจจุบันตั้งแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ จังหวัดสมุทรปราการ<br />

๓๗ บะเรียมฝรั่งเศส งมได้ที่ปากน้ำแหลมสิงห์ ปัจจุบันตั้งแสดง ณ ตึกแดง แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี<br />

๓๘ จารึกนูนรูปนกอินทรีคาบงู เป็นตราสัญลักษณ์ของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ค (Napoteon Bonaparte)<br />

๓๙ ๔๐<br />

๓๙ ปืนบะเรียมสหรัฐอเมริกา แบบดาร์สเกลน ปัจจุบันตั้งประดับบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ<br />

๔๐ จ่ารงศ์ เป็นคำโบราณที่ใช้เรียกปืนใหญ่เหล็กหล่อขึ้นในประเทศ ดินดำที่ใช้มีขนาดเพียง ๑ ชั่ง<br />

ปืนจ่ารงศ์รักษาพระศาสนากระบอกสั้น ปัจจุบันตั้งแสดงที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช<br />

130 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๔๑ ๔๒<br />

๔๓<br />

๔๑ ปืนหามแล่น เป็นปืนใหญ่สนามขนาดเล็ก ตั้งบนขา ๓ ขา ขาคู่หน้าตั้งเหมือนท่ายืนของนกกระยาง จึงเป็นที่มาของชื่อ ปืนขานกกระยาง<br />

๔๒ ปืนหามแล่นแต่ละกระบอกมีพลประจำ ๓ คน<br />

๔๓ เวลาเคลื่อนย้ายปืนหามแล่น พลปืน ๒ คนสอดไม้หรือเหล็กได้ห่วงที่ยึดอยู่ที่เพลาของตัวปืน และยกด้านปลายไม้หรือเหล็กด้านซ้าย<br />

และขวา พลยิง ๑ คน อยู่ด้านหลังยกขาหยั่งด้านหลังการกระทำเช่นนี้น่าจะเป็นที่มาของชื่อปืนหามแล่มก็เป็นได้<br />

๔๔<br />

๔๕<br />

๔๔ ช้างปืนใหญ่ จิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า ในโบสถ์วัดบวรสถานสุทธาวาส<br />

๔๕ ปืนขอ มีขอยื่นออกมาบริเวณปากลำกล้องคล้ายกับปฏักที่ควาญช้างถือ สามารถใช้ต่อสู้และบังคับช้างได้ในเวลาเดียวกัน<br />

ปรากฏหลักฐานว่ามีใช้งานมาตั้งแต่ครั้งกรุ่งศรีอยุธยา ในสมัยรัตนโกสินทร์พระแสงขอปืนกระบอกนี้เป็นเครื่องประกอบพระอิสริยยศ<br />

ในพระราชพิธีตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี ขึ้นเป็นสมเด็จฯ กรมพระเจ้าจักร์พรรดิพงศ์ พุทธศักราช ๒๔๑๘<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

131


๔๖<br />

๔๗<br />

๔๖ ระบบจุดระเบิดแบบดาบชุด ของพระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง สร้างใหม่สมัย รัชกาลที่ ๓<br />

๔๗ ระบบจุดระเบิดแบบดาบศิลา<br />

๓.๒.๔ อาวุธฟันแทง ใช้ต่อสู้ในระยะประชิดตัว ขั้นตะลุมบอน หรือประจัญบาน เป็นอาวุธประจำตัวคู่กาย<br />

ใช้ตามความถนัดมือของแต่ละคน กล่าวคือ<br />

๓.๒.๔.๑ ดาบ อาวุธสำหรับฟันและแทงก็ได้ ทำด้วยเหล็กกล้าตีขึ้นเป็นรูปดาบ ประกอบด้วย<br />

กระบังดาบ เป็นเครื่องป้องกันมือของผู้ถือมิให้ดาบฝ่ายตรงข้ามฟันถึงนิ้วมือได้ ส่วนบนกระบังดาบทำด้วยหนังหรือด้ายถัก ด้ามดาบ<br />

สวมติดกับกั่นดาบให้จับดาบฟันแทงได้ถนัดแม่นยำ ฝักดาบ เป็นปลอกสำหรับเก็บดาบด้านนอกทำด้วยโลหะ หนัง หรือไม้ ด้านใน<br />

มีหนังหรือไม้อ่อนรองป้องกันเสียง รับการเสียดสีระหว่างฝักกับตัวดาบ การใช้ดาบมีทั้งดาบสองมือ คู่กับเขนเรียก ดาบเขน<br />

คู่กับดั้งเรียก ดาบดั้ง ใช้กับโล่เรียก ดาบโล่ และดาบที่ไม่วิจิตรมากนักเป็นของส่วนตัวหรือเอกชนเรียก ดาบเชลย หรือเป็นดาบ<br />

ที่แปลกกว่าดาบอื่น ๆ และยังมีดาบสกุลช่างพื้นเมืองที่มีรูปลักษณะเฉพาะถิ่น อาทิ ดาบไทยภาคกลาง ดาบสกุลช่างล้านนา<br />

สกุลช่างล้านช้าง สกุลช่างเมืองนครศรีธรรมราช<br />

๓.๒.๔.๒ กระบี่ ใช้ฟันแทง คล้ายดาบ ตัวกระบี่ทำด้วยเหล็กตีรูปตรงปลายแหลม น้ำหนัก<br />

ไม่มากเหมาะสำหรับถือมือเดียว มีความแคล่วคล่องว่องไว ส่วนประกอบคือ ตัวกระบี่ ด้าม โกร่งและฝัก<br />

๓.๒.๔.๓ กั้นหยั่นหรือกระบี่จีน เป็นดาบจีน ลักษณะเหมือนดาบไทย แต่เล็กและเบากว่า<br />

มีคมสองข้าง<br />

๓.๒.๔.๔ กระบี่จากยุโรป ที่สั่งเข้ามาใช้ในราชการสยาม<br />

๓.๒.๔.๕ กระบี่แบบอินเดีย ซึ่งปรากฏใช้ในราชการสยามในสมัยโบราณเช่นกันในกลุ่มขุนนาง<br />

สายอินเดียและเปอร์เซีย<br />

132 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๔๘<br />

๔๙<br />

๔๘ ลักษณะดาบไทยภาคกลาง ด้ามดาบสร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างอันประณีต โดยใช้วัสดุโลหะมีค่าซึ่งแสดงถึงศักดิ์ของผู้ใช้<br />

๔๙ ดาบศิลปะสกุลช่างล้านนา ด้ามหุ้มเงินดุนลาย ฝักดาบทำขึ้นด้วยวิธีการเขียนลายเช่นเดียวกันแบบ “เครื่องเขิน”<br />

๕๐ ๕๑<br />

๕๐ ดาบศิลปะสกุลช่างล้านช้าง<br />

๕๑ ดาบศิลปะสกุลช่าง “เมืองนครศรีธรรมราช” ด้ามถมทอง<br />

๕๒ ๕๓<br />

๕๒ กระบี่จากยุโรป ที่สั่งเข้ามาใช้ในราชการสยาม<br />

๕๓ กระบี่แบบอินเดียซึ่งปรากฏใช้ในราชการสยามในสมัยโบราณเช่นกันในกลุ่มขุนนางสายอินเดียและเปอร์เซีย<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

133


๕๔<br />

๕๕<br />

๕๖<br />

๕๗<br />

๕๘<br />

๕๔ - ๕๖ กระบี่ “ฝรั่ง” สั่งทำขึ้นเป็นพิเศษในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔<br />

รัชกาลที่ ๕ เพื่อใช้ในราชการที่โกร่งกระบี่ประดับรูปตราแผ่นดินสยาม<br />

และช้างอันถือเป็นสัญลักษณ์แห่งราชอาณาจักรสยามเช่นกัน<br />

๕๗ กั้นหยั่น แบบพิเศษ หรือกั้นหยั่นแบบแฝด คือ มีสองเล่มในฝักเดียวกัน<br />

ในการต่อสู้สามารถใช้ได้เช่นเดียวกับดาบสองมือของไทย<br />

๕๘ กั้นหยั่นแฝดเมื่อเก็บเข้าฝัก<br />

๕๙ ๖๐<br />

๕๙ ใบหอกไทยทรง “ใบข้าว”<br />

๖๐ ภาพเต็มของหอก ซึ่งเป็นหอกที่มีลักษณะพิเศษคือ ด้ามหอกท ำขึ้นด้วยเหล็กทั้งชิ้น มีความแข็งแรงมาก หอกชนิดนี้ใช้ได้ทั้งในรูปแบบ<br />

ถือต่อสู้และซัดพุ่ง<br />

134 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๓.๒.๔.๖ หอก เป็นอาวุธสำหรับพลราบ ใช้เฉพาะแทงอย่างเดียว มีทั้งแบบ มีกระบังและไม่มีกระบัง ตัวหอก<br />

ทำด้วยเหล็กกล้า มีเหลี่ยมสี่เหลี่ยม คันหอกรูปกระบอกทำด้วยเหล็กกล้า หรือไม้ หรือหวาย หอกที่ดีต้องมีน้ำหนัก ความยาว<br />

พอเหมาะแก่การใช้ อาทิ ปลายแหลมต้องอยู่ให้ตรงกับแนวแกนทางยาว หอกมีหลายชนิด เช่น หอกซัด หอกใบข้าว หอกใบพาย<br />

๖๑ ลักษณะง้าวอย่างไทย<br />

๖๒ ลักษณะง้าวอย่างไทย<br />

๖๓ ลักษณะง้าวจีน ที่คอด้ามง้าว<br />

หล่อเป็นรูปมังกรคาบใบง้าว<br />

๖๑<br />

๖๒<br />

๖๓<br />

๓.๒.๔.๗ ทวน เป็นอาวุธยาวสำหรับพลม้าเป็นส่วนใหญ่ คล้ายกับหอก ไม่มีกระบัง และมีพู่ผูกเป็นพวง<br />

ที่คอใช้ได้ทั้งบนหลังม้า หลังช้างและพื้นราบ ทวนทั่วไปมักมีความยาวกว่าหอก คอทวนมีลูกแก้ว ปลายทวนมีเหล็กหุ้ม<br />

เป็นหัวเม็ด ใบทวนแหลมมีคมสองด้าน<br />

๓.๒.๔.๘ ง้าวและของ้าว เป็นอาวุธประเภทเดียวกัน ต่างแต่ของ้าวมีขอสำหรับช้างติดรวมอยู่ด้วย<br />

ใช้สำหรับรบบนหลังช้าง<br />

๓.๒.๔.๙ โตมรหรือหอกใบโพธิ์ เป็นอาวุธใช้พุ่ง โตมรทำด้วยเหล็กรูปใบโพธิ์ มีคมแหลมมีฝักรูปใบโพธิ์<br />

เช่นเดียวกันสวมอยู่<br />

๓.๒.๔.๑๐ แหลนและหลาว แหลนเป็นเหล็กแหลมยาวเรียว คอมักเป็นสี่เหลี่ยม ด้ามเหมือนอย่างหอก<br />

ใช้พุ่งและแทง ส่วนหลาวเป็นไม้รวกเสี้ยมปลายเป็นปากฉลามใช้พุ่งมีด ใช้ฟันเช่นเดียวกับดาบและกระบี่แต่สั้นกว่า ตามปกติ<br />

สวมอยู่ในฝักทำด้วยหนังหรือไม้<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

135


๓.๒.๕ อาวุธตี ได้แก่<br />

๓.๒.๕.๑ พลอง ทำด้วยไม้เหนียวไม่หักง่าย บางอันทำด้วยโลหะยาว ไม่มีหัว มีท้ายเท่ากันตลอด<br />

วิธีจับพลอง จับตรงส่วนกลางด้วยมือทั้งสองข้าง ใช้ปลายข้างไหนตีก็ได้แล้วแต่ถนัด<br />

๓.๒.๕.๒ ไม้สั้น เป็นท่อนไม้ไทรรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านในทำโค้งเป็นร่องเพื่อติดแนบกับปลายแขน<br />

ได้สนิท ด้านนอกโค้งเล็กน้อย ตอนปลายฝังไม้กลมเล็กแข็งแรงรูปเสาดั้ง ๑ คู่ เจาะรูร้อยเชือกขนาดนิ้วก้อยทำเป็นห่วงสำหรับ<br />

สอดมือ เพื่อปลอกรัดแขนใต้ศอกใช้มือจับและกำไม้ อันที่หนึ่ง อันที่สองมีไว้ป้องกันนิ้วมือ ไม้สั้นใช้สวมกับแขนท่อนปลายทั้ง<br />

สองต่อสู้กับพลอง<br />

๖๔ ๖๕ ๖๖<br />

๖๔ การประดับอาวุธภายในอาคาร<br />

จากซ้าย ดาบเชลย หอกขวาน<br />

ง้าว หอกขวาน ดาบเชลย<br />

๖๕ ง้าวสำหรับพลเดินเท้า<br />

๖๖ ซ้ายขวาคือ ปังกั๊ก ตรงกลางคือ<br />

สามง่ามแบบไทย<br />

๖๗<br />

๖๘<br />

๖๙<br />

๖๗ อาวุธยาวประเภท สามง่ามทรงอย่างไทยหรือตรีด้ามยาว<br />

๖๘ ทวนทองใช้ในขบวนพระราชพิธีเพื่อประกอบพระราชอิสริยยศ<br />

๖๙ หอกขวานเครื่องศัสตราวุธประกอบขบวนพระราชพิธีในสมัยโบราณ<br />

136 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๓.๒.๖ อาวุธยิง ได้แก่<br />

๓.๒.๖.๑ หน้าไม้ คล้ายธนูแต่มีบั้นท้ายและโกร่งไกคล้ายปืนใช้ยิงระยะไกล ได้แม่นยำกว่าธนู<br />

คันหน้าไม้มักทำด้วยก้านต้นลานแก่จัด มีความยืดหยุ่นดี ลูกหน้าไม้มีลักษณะอย่างเดียวกับลูกศรแต่ทำด้วยไม้ไผ่ ปลายมัก<br />

อาบยาพิษคือ ยางน่อง หางลูกหน้าไม้ทำด้วยใบลานแก่ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด หรือขนมเปียกปูน หน้าไม้แบบจีน<br />

เรียก เกาทัณฑ์<br />

๓.๒.๖.๒ ธนู คันธนูทำด้วยไม้ไผ่แก่ สายธนูมักทำด้วยเชือกป่าน หรือเอ็นสัตว์ ลูกศรมักทำด้วย<br />

ไม้ไผ่เสี้ยมปลายหุ้มโลหะ ส่วนหางมักทำด้วยขนนกหรือขนไก่ ท้ายลูกศรมักตรงกับข้อไม้ไผ่บากเป็นร่องสำหรับพาดสายธนู<br />

ซึ่งมีจำนวนสำรองสำหรับใช้ มีซองหรือกระบอกใส่<br />

๓.๒.๗ นอกจากอาวุธยิงประเภทต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงแล้ว ยังมีอาวุธสมัยอยุธยาอีกชนิดหนึ่ง คือ กริช<br />

ซึ่งมักใช้ประดับเป็นเกียรติยศเจ้านาย ขุนนาง มากกว่าใช้จริง ดังที่เห็นได้จากภาพจิตรกรรมเสมอ เช่น ภาพลายเส้นราชทูต<br />

ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ราชสำนักฝรั่งเศส พระยาวิสุทธสุนทร (โกศาปาน) และคณะทูตแต่งกายสวยงามเหน็บกริช<br />

กันโดยถ้วนหน้า แต่ก็พบหลักฐานการใช้เป็นอาวุธประจำใกล้ตัวหยิบจับใช้ได้ทันท่วงที นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่อง<br />

พระแสงกริช ไว้องค์หนึ่ง มีความสำคัญในการช่วยกอบกู้ชาติบ้านเมือง คือ พระแสงกริชประจำพระองค์สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช ทรงใช้ในคราวทำลายประตูเมืองจันทบูร ดังความในพระราชพงศาวดาร กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ บันทึกไว้ดังนี้<br />

“...ณ วัน ๑ ฯ ๗ ค่ำจุลศักราช ๑๑๒๙ ปีกุร นพศก (พ.ศ.๒๓๑๐) เพลา ๓ ยาม เป็นยามเสาร์ปลอดห่วง<br />

ตรัสให้ยกทัพบ่ายหน้าเข้าทิศอิสาน แล้วจัดทหารไทยจีนลอบเข้าไปประจำด้านอยู่ทุกด้าน เพลาจะเข้าให้สัญญาณ์กันร้องขึ้น<br />

จงทุกด้านว่าด้านนี้เข้าได้แล้ว โห่ร้องขึ้นพร้อม ๆ กัน จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งพังคิรีกุญชรฉัททันต์ เข้าทะลายประตูใหญ่ เหล่า<br />

ทหารซึ่งรักษาประตูและป้อมเชิงเทินนั้นก็ยิงปืนใหญ่น้อยดุจห่าฝน แลจะได้ถูกต้องโยธาผู้ใดผู้หนึ่งหามิได้ กระสุนปืนลอดท้องช้าง<br />

พระที่นั่งไป ควาญช้างจึงเกี่ยวไว้ให้ช้างพังคิรีกุญชรถอยออกมา พระเจ้าอยู่หัวทรงพระโกรธเงื้อพระแสงจะลงพระราชอาชญา<br />

นายควาญช้างขอพระราชทานโทษได้ จึงทรงพระแสงกฤชแทงพังคิรีกุญชรขับเข้าทะลายประตูพังลง...”<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

137


๗๐<br />

๗๑<br />

๗๒<br />

๗๓<br />

คณะทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส<br />

๗๐ ออกพระวิสุทธสุนทร (โกศาปาน) ราชทูต<br />

๗๑ ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูต<br />

๗๒ ออกขุนศรีศาลวาจา ตรีทูต<br />

๗๓ คณะทูตเหน็บกริชเป็นเครื่องยศทุกคน<br />

138 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๓. ศัสตราวุธในยุคราชอาณาจักรธนบุรี<br />

ช่วงเวลา ๑๕ ปี แห่งรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

เป็นช่วงแห่งความยากลำบาก ที ่ต้องทรงกอบกู้พลิกฟื้นบ้านเมือง<br />

ด้วยพระปรีชาสามารถของนักรบอย่างสุดกำลัง พระราชพงศาวดาร<br />

กรุงธนบุรี บันทึกเหตุการณ์ที่ทรงรวบรวมกำลังไพร่พลไทย จีน<br />

ศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ และยึดหัวเมืองชายทะเลตะวันออกเป็นฐาน<br />

กำลังเตรียมพร้อมกลับมากู้กรุงศรีอยุธยา ได้ทรงตั้งพระนครใหม่<br />

ที่กรุงธนบุรี เป็นเมืองป้อมขนาดพอเหมาะแก่กำลังที่จะรักษาได้<br />

และยังต้องทรงรวบรวมบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยที่ตั้งตัวเป็นอิสระ<br />

เมื่อเสียกรุงพร้อมกับทำศึกให้ข้าศึกเข็ดขยาด ปลุกน้ำใจทหาร<br />

ให้กำลังใจราษฎร ให้กลับมาช่วยกันสร้างบ้านรักษาเมืองร่วมกัน<br />

อีกทั้งยังต้องทรงดูแลทุกข์สุขจัดหาเสบียง ให้เพียงพอในยามก่อร่าง<br />

สร้างตัวอีกด้วย<br />

พระราชกรณียกิจอันหนักยิ่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราชทรงทำได้สำเร็จลุล่วง ทุกประการ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์<br />

ยุทธวิธี และน้ำพระราชหฤทัยแห่งความเป็นนักรบ ดังนี้<br />

การรวบรวมจัดหาศัสตราวุธยุทธภัณฑ์ ทรงเริ่มต้นจาก<br />

กำลังพลและศัสตราวุธประจำกายตามหน้าที่ ตั้งแต่ออกจากกรุง<br />

ผ่านไปบ้านเมืองใด ตีได้ชัยชนะได้ไพร่พล และอาวุธมากขึ้น ดังมีความ<br />

ในพระราชพงศาวดารว่า มีปืนใหญ่น้อย ทรงใช้ตลอดเส้นทาง เช่น<br />

ทรงใช้พระแสงปืนต้นรางแดง ที่บ้านนาเกลือ พระราชทานปืนคาบศิลา<br />

๗๔<br />

๗๕<br />

๗๔ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ที่ทุ่งนาเชย จังหวัดจันทบุรี ตอนทรงรวบรวมกำลังพล<br />

ศัสตราวุธ ยุทธภัณฑ์ เพื่อกอบกู้ชาติ<br />

๗๕ พระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ทรงเข้าโจมตีมีชัยชนะแล้ว<br />

สถาปนานุกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

139


แก่ผู้รั้งเมืองระยองเป็นบำเหน็จความชอบ เมื่อทรงตีได้เมืองจันทบุรีแล้วทรงได้สรรพาวุธเพิ่มขึ้นจำนวนมาก อาทิ ปืนจ่ารงค์<br />

มณฑก นกสับ และคาบศิลา จะเห็นได้ว่า อาวุธปืนในระยะแรกที่ทรงรวบรวมได้เป็นของที่มีอยู่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หลังจาก<br />

ทรงตั้งกรุงธนบุรีแล้ว ได้มีผู้มาอ่อนน้อมนำปืนต่าง ๆ เข้ามาถวาย อาทิ ในปี พ.ศ.๒๓๑๔ แขกเมืองตรังกานู แขกเมืองยักกตรา<br />

นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวายถึง ๒ พันกว่ากระบอก และเมื่อทรงตีได้เมืองต่าง ๆ เช่น คราวตีเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ.๒๓๑๗<br />

นั้นได้ปืนใหญ่ปืนน้อยกว่า ๒ พันกระบอกอีกเช่นกัน ในครั้งนี้ได้พระราชทานอาวุธที่ยึดมาได้พร้อมเสื้อผ้า เป็นบำเหน็จความชอบ<br />

แก่ท้าวพระยาให้ปกครองเมืองต่าง ๆ เช่น พระยาจ่าบ้านได้เป็นพระยาวิเชียรปราการ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงปืนยาว<br />

ปืนสั้นหอก เสื้อผ้า พระยากาวิละได้ครองนครลำปาง โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงปืนยาว พระแสงหอก พระยาลำพูน<br />

ได้เป็นพระยาอัยวงศ์ ครองนครหริภุญชัย โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแสงปืนยาว ปืนสั้น หอก เสื้อผ้า ฯลฯ และพระราชทาน<br />

พระแสงปืนคาบศิลา ๑๐๐ กระบอก ไว้สำหรับเมืองระแหงใช้ป้องกันข้าศึกด้วย เสร็จศึกบางกุ้ง พ.ศ.๒๓๑๗ ทรงได้ปืน<br />

หอก จากฝ่ายข้าศึกเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก โดยพิจารณาจากในหมายรับสั่งโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้านครศรีธรรมราช จ.ศ.๑๑๓๘<br />

(พ.ศ. ๒๓๑๙) เครื่องยศพระราชทานมีพระแสงกระบี่พระแสงดาบญี่ปุ่น พระแสงหอกปลอกทอง พระแสงปืนยาว พระแสงปืนสั้น<br />

ท้ายหอยโข่งอยู่ด้วย<br />

อย่างไรก็ดี ด้วยพระวิจารณญาณของนักการทหารผู้ผ่านศึกใหญ่น้อย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็มิได้ทรง<br />

หวังพึ่งแต่เพียงศัสตราวุธจากผู้อื่น ซึ่งไม่มีความแน่นอนทั้งปริมาณและคุณภาพ มีหลักฐานว่าได้โปรดให้จัดหา และหล่อปืน<br />

ขึ้นใช้หลายชนิดดังมีชื่อปืนปรากฏในยุทธภูมิต่าง ๆ เช่น ในศึกบางกุ้ง ปี พ.ศ.๒๓๑๗ มีรับสั่งให้เตรียมปืนมหาเศวตรัตน์<br />

ปืนจ่ารงค์ ปืนหน้าเรือ ปืนขวากเหล็ก คราวโปรดให้ยกทัพไปตีเมืองเหนือ ปี พ.ศ.๒๓๑๘ โปรดให้ไปนำปืนพระราชปักษี<br />

ปืนฉัตรชัย ที่เมืองนนทบุรี และปืนใหญ่รางเกวียน ไปในกองทัพ และยังมีหลักฐานการหล่อปืนพระพิรุณ ณ สวนมังคุด ซึ่งมีชื่อ<br />

เหมือนกับปืนพระพิรุณในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนปืนมหาเศวตรัตน์ มีคำอธิบายอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีว่า ทรงพระ<br />

ราชดำริให้ทำปืนมหาเศวตรัตน์ ในปีมะเมีย ปี พ.ศ.๒๓๑๗ ได้เสด็จฯ ออกทอดพระเนตรปั้นหุ่นปืนบนป้อม มีรับสั่งให้แก้ไขส่วน<br />

ต่าง ๆ จากปืนครู ให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดป้อม สันนิษฐานว่ามีจำนวนหลายร้อยกระบอกเป็นทั้งปืนใหญ่ประจำป้อม และ<br />

ปืนใหญ่สนาม ต่อมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ บัญชีกรมกลาโหมรายงานว่า ได้ย่อยทองปืนมหาเศวตรัตน์ไปบุหลังคามณฑป<br />

พระพุทธบาท ๒๙๐ กระบอก ทำการสำหรับวัดพระแก้ว คือ หล่อเสาเม็ด ๒๒ กระบอก หล่อเสมา ๖๑ กระบอก หล่อเม็ด<br />

ราวเทียน ๓ กระบอก หล่อระฆังใหญ่ ๑๔ กระบอก ฐานพระนาก ๖ กระบอก บุหลังคาพระมณฑป ๘๐ กระบอก ทำเครื่องช้าง<br />

๔ กระบอก และหล่อครกสากบานประตูรอบพระราชวัง ๖ กระบอก รวมทั้งสิ้น ๓๘๖ กระบอก<br />

140 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๗๖<br />

๗๗<br />

๗๖ ภาพทหารกำลังยิงปืนครก ปรากฏอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือพระแก้ววังหน้า<br />

๗๗ ปืนครก หรือปืนมหาเศวตรัตน์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในกองบัญชาการทหารเรือ พระราชวังเดิม<br />

สำหรับปืนขวากเหล็กที่เพิ่งปรากฏ ศิริรัจน์ วังศพ่าห์ ศึกษาพบว่า ขวากเหล็กมีลักษณะเป็นเหล็กหลายชิ้น ที่มีคม<br />

เชื่อมติดกันไว้คล้ายหอยเม่น สันนิษฐานว่าใช้ทำร้ายข้าศึก ช้าง ม้า คล้ายกับกระสุนลูกแตก ซึ่งมีอานุภาพทำลายได้ในวงกว้าง<br />

ปืนใหญ่ขวากเหล็ก อาจเป็นปืนใช้ในการยิงลูกขวากเหล็ก แต่ยังไม่พบปืนชนิดนี้ พบเพียงลูกขวากเหล็กเท่านั้น<br />

ถึงแม้จะมีศัสตราวุธที่มีอานุภาพจำนวนมากมายเพียงใดก็ตามย่อมไม่สำคัญเท่ากับความสามารถนำมาใช้ได้ตามหลัก<br />

ยุทธวิธี และจิตใจที่หาญกล้าของผู้ใช้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นอกจากทรงเชี่ยวชาญในการวางแผนการรบ การเลือกใช้<br />

สรรพอาวุธตามตำราพิชัยสงครามแล้ว พระคุณลักษณะที่ส ำคัญยิ่ง คือ การตัดสินพระทัยเฉียบขาดมั่นคงและแม่นย ำ ดังพระราชดำรัส<br />

พระราชทานกำลังใจแก่แม่ทัพนายกองคราวรบที่ปากพิง ในปี พ.ศ.๒๓๑๙ เมื่อฝ่ายข้าศึกตั้งค่ายประชิดถึง ๔ ค่ายว่า<br />

“... มันทำลวงอย่ากลัวมัน ตั้งรับอย่าตั้งตรงเข้าไป ให้ตั้งรายเรียงออกไป ถ้ามันตั้งตามไป ให้ตั้งรายแผ่กันออกไปจงมาก<br />

ให้คนรักษาค่ายละ ๕๐ คน แล้วอย่าคิดกลัวแตกกลัวเสีย มันจะตีค่ายไหน ให้มันตีเข้า อันทหารแล้วองอาจอย่ากลัวตาย ตั้งใจ<br />

อาษาพระรัตนตรัย แลพระมหากษัตริย์ เดชะผลกตัญญูนั้นจะช่วยอภิบาลรักษา ก็จะหาอันตรายมิได้ ถ้าใครย่อหย่อนให้ประหาร<br />

ชีวิตเสีย สงครามจึงจะแก่กล้าขึ้นได้ชัยชำนะ ...”<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

141


๔. ศัสตราวุธในยุคราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ก่อนก่อตั้งกรมยุทธนาธิการ<br />

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาแต่เพียงฝั่งเดียวแทนอยู่ทั้ง ๒ ฟากฝั่งเหมือนอย่าง<br />

ในสมัยกรุงธนบุรี พระนครแห่งใหม่จึงมีชัยภูมิที่เหมาะสมขึ้นกว่าเดิม นับเป็นความคิดที่ถูกต้องของผู้มีประสบการณ์ในการ<br />

ป้องกันดูแลบ้านเมืองมาแต่ครั ้งกรุงเก่า โดยพระนครแห่งใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือก<br />

ชัยภูมิอย่างเหมาะสมไว้ในเบื้องต้นแล้วนี้ ยังโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองที่เจริญมั่นคงและมั่งคั่งโดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นต้น<br />

แบบตามอุดมการณ์ของผู้เคยเป็นชาวกรุงเก่ามาแต่ก่อน ดังนั้นในช่วงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ยุทธศาสตร์การป้องกันพระนคร<br />

จึงมีทั้งการรื้อฟื้น เสาะหาตำรับตำราที่กระจัดพลัดพรายมารวบรวมชำระขึ้นใหม่ ทั้งตำราพิชัยสงคราม กฎหมายเก่า พระไตรปิฎก<br />

วรรณกรรม ถ่ายทอดทั้งจากจีน เปอร์เซีย อินเดีย มอญ ชวา ฯลฯ เป็นประโยชน์แก่การรู้เขารู้เราอย่างรอบด้าน นอกเหนือไปจาก<br />

เพื่อบำรุงสติปัญญาจิตใจ และศีลธรรมจรรยาของพลเมือง ซึ่งต้องทำไปพร้อมกับการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย ให้ราษฎร<br />

ได้ประกอบอาชีพตามความชำนิชำนาญของแต่ละกลุ่ม แต่ละชนชาติที่เข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นชาวกรุงเทพฯ ในส่วนการจัดหาศัสตราวุธ<br />

แบบต่าง ๆ สำหรับไว้ป้องกันบ้านเมือง ยังคงที่เป็นแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ<br />

๔.๑ ขอความร่วมมือพ่อค้าวานิชที่เข้ามาค้าขาย ให้จัดหาอาวุธเข้ามาจำหน่ายแก่ทางราชการ (เพราะเป็นของ<br />

ต้องห้าม) พ่อค้าคนสำคัญที่เป็นที่รู้จักและยอมรับมาแต่สมัยธนบุรี คือ ฟรานซิส ไลท์ หรือกัปตันเหล็ก ที่เกาะหมาก (ปีนัง)<br />

ได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบเป็นพระยาราชกปิตัน ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<br />

เรียกพระกปิตัน พบว่ายังมีบทบาทสำคัญ เช่น ใบบอกพระยานคร จ.ศ.๑๑๗๑ (พ.ศ.๒๓๕๒) แจ้งเรื่อง การที่พระกปิตัน<br />

จัดหาอาวุธให้โดยให้เชื่อไว้ก่อน โดยมีเงื่อนไขให้จัดซื้อสินค้าที่ต้องการไปให้เป็นการทดแทนบัญชีอาวุธที่พระกปิตันให้เชื่อ บ้างก็<br />

ไม่คิดราคา อาทิ ปืนมะเรียมทอง ปืนมะเรียมเหล็ก ปืนจินดาทอง ปืนเหล็กทอง ปืนหลักทอง ปืนทองปรายทอง ปืนทองปราย<br />

เหล็ก มีดปลายปืน กระสุนดินเผามีดินใน กระสุนดอกศร ที่ไม่คิดราคา คือ กระสุนกลางหลายขนาด เหล็กขาปืน เหล็กท้ายปืน<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังมีการบันทึกเรื่อง กัปตันแฮน อีกผู้หนึ่งที่รู้ว่าไทยก ำลังต้องการปืน<br />

จึงได้หาปืนคาบศิลาเข้ามาถวายถึง ๕๐๐ กระบอก ได้รับพระราชทานของตอบแทนคุ้มราคาปืน อาทิ ยกภาษีจังกอบ และยัง<br />

โปรดตั้งให้เป็น หลวงภักดีราช ด้วยยังมีเรื่องศัสตราวุธที่อนุญาตให้จัดหาไว้ใช้ในราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช เพราะเป็น<br />

หัวเมืองสำคัญในภาคใต้มีหน้าที่ดูแลหัวเมืองตามที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งมีทำเลที่ตั้งสามารถจัดหาอาวุธยุทธภัณฑ์ได้สะดวก<br />

สมุหพระกลาโหม ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลสั่งการให้ดูแลเอาใจใส่ให้มากเพราะเป็นยุทธภัณฑ์ของทางราชการ ศัสตราวุธที่รวบรวม<br />

ได้จากการทำศึกได้ชัยชนะ เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในทุกชาติทุกภาษา<br />

142 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพปืนทองปราย<br />

๔.๒ การได้ศัตราวุธจากการศึกและราชบรรณาการ<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล<br />

ได้ปืนใหญ่ ศัสตราวุธต่าง ๆ จากเมืองตานี นำมาน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช โปรดให้แก้ไขปืนใหญ่ตกแต่ง<br />

ลวดลายท้ายสังข์ขัดสีใหม่จารึกนามไว้บอกประวัติที่มาว่า พระยาตานี แล้วทำโรงไว้ที่หน้าศาลาลูกขุน นอกจากนี้ ยังมีศัสตราวุธ<br />

ได้จากการเครื่องบรรณาการ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีบ้านเมืองใหญ่น้อยเข้ามาอ่อนน้อมบ้าง มาเจริญสัมพันธไมตรีบ้าง<br />

แต่ละชาติได้นำศัสตราวุธเข้ามาถวายจำนวนมาก อาทิ ในปี พ.ศ.๒๓๔๑ เจ้าอนัมก๊กจัดต้นไม้เงินทอง สิ่งของมีค่ามาถวาย<br />

พร้อมกับปืนทองเหลือง ๔ กระบอก ปืนกระสุนเหล็ก ๑๖ กระบอก ในปีต่อมามีศุภอักษรถวายปืนบาเหรี่ยม เข้ามาอีก ๑๐<br />

กระบอก<br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปราชการทัพเมืองเวียงจันทน์<br />

ในปีพ.ศ.๒๓๗๐ ได้ปืนใหญ่เมืองเวียงจันทน์แต่ทรงเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายเทียนพรรษา บรรทุกช้างลงมาก็ไม่ได้ชักลากก็ไม่สะดวก<br />

เพราะเป็นฤดูฝนจึงขอพระราชทานย่อยเอาทองลงมาเพื่อนำมาหล่อถวายใหม่ที่กรุงเทพฯ วิธีการย่อยปืนเช่นนี้ทำให้รู้เหตุผลว่า<br />

เพราะเหตุใดปืนเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เคยใช้กันจึงเหลืออยู่ไม่มากนัก<br />

๔.๓ ศัตราวุธที่สร้างขึ้นใหม่<br />

สำหรับศัสตราวุธที่สร้างขึ้นใหม่เป็นสิ่งแสดงเกียรติยศสำหรับบ้านเมือง เมื่อสถาปนาพระนครจึงยังคงรักษาธรรมเนียม<br />

ให้สร้างปืนใหญ่ขึ้นใหม่ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อแสดงถึงพลานุภาพในการรักษาเมือง<br />

ให้เป็นที่ปรากฏ อาทิ เมื่อได้ปืนใหญ่ พญาตานี มาสู่พระนคร ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ ได้โปรดให้หล่อปืนอีกกระบอกหนึ่งคู่กัน<br />

มีความในพระราชพงศาวดารว่า โปรดให้เกณฑ์ทองเหลือง ทองแดง จากข้าราชการตามเบี้ยหวัด กล่าวคือ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

143


๗๘ ๗๙<br />

๗๘ - ๗๙ ภาพเขียนโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอนใต้ปืนใหญ่จากเมืองตานี ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

๘๐<br />

๘๐ ปืนพญาตานี สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงได้มาคราวศึกหัวเมืองภาคใต้พุทธศักราช ๒๓๒๙<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ขัดแต่งท้ายสังข์ขัดสีเสียใหม่ พระราชทานชื่อว่า พญาตานี<br />

พงศาวดารเขียน พระยาตานี<br />

144 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


“...ตั้งกองรับทองส่งทองที่โรงละครใหญ่ ที่หล่อปืนนั้น หล่อที่หน้าโรงละครข้างทิศตะวันตก ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี<br />

เมื่อสุมพิมพ์เวลาบ่ายนั้น โปรดให้จัดพวกโขนข้าหลวงเดิม กับพวกละครสมทบเข้าบ้าง ให้เล่นโขนละครกลางแปลงตั้งแต่เวลา<br />

บ่ายจนค่ำ เสด็จทอดพระเนตรอยู่จนโขนละครเลิก รุ่งขึ้นเวลาเช้าจึงหล่อปืน ครั้งนั้น หล่อทีเดียวก็ได้บริสุทธิ์ พระราชทานชื่อ<br />

นารายณ์สังหาร คู่กับพระยาตานี แล้วโปรดให้หล่อขึ้นอีก ๖ บอก ชื่อ มารปะไลย ๑ ไหวอรนพ ๑ พิรุณแสนห่า ๑ พลิกพสุธา<br />

หงาย ๑ พระอิศวรปราบจักรวาฬ ๑ พระกาฬผลาญโลก ๑ ทำโรงขึ้นไว้เป็นคู่ๆ กันข้างถนนประตูวิเศษไชยศรี...”<br />

๘๑<br />

๘๑ ปืนนารายณ์สังหาร ท้ายรูปสังข์<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

โปรดเกล้าฯ ให้หล่อคู่กับปืนพญาตานี<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่<br />

หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘๒<br />

๘๒ ปืนมารประไลย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

โปรดเกล้าฯ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙<br />

ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘๓ ๘๔<br />

๘๓ ลวดลายประดับบนปืนมารประไลย<br />

๘๔ ครอบรูขนวนของปืนมารประไลย หล่อเป็นรูป<br />

หนุมาน คล้ายกับที่พบในพระแสงปืนต้น<br />

ข้ามแม่น้ำสะโตง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

145


๘๕ ๘๖ ๘๗<br />

๘๕ ปืนไหวอรณพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙<br />

ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘๖ ปากกระบอกปืน ไหวอรณพ มีลวดลายประดับคล้ายกับที่พบในปืนใหญ่ฝรั่งเศสที่มีชื่อ Le corisic<br />

๘๗ ปากกระบอกปืนใหญ่ฝรั่งเศสที่มีชื่อ Le corisic หล่อขึ้นราวปี พ.ศ.๒๒๓๓<br />

๘๙ ๙๐<br />

๘๘<br />

๘๘ ปืนพลิกพสุธาหงาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙<br />

ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๘๙ รูขนวนรูปขวดของปืนพลิกพสุธาหงาย คล้ายกับที่พบในปืนใหญ่สมัยอยุธยาของฝรั่งเศส<br />

๙๐ รูขนวนรูปขวดในปืนใหญ่สมัยอยุธยาของฝรั่งเศส<br />

146 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


๙๒<br />

๙๑ ๙๓ ๙๔<br />

๙๑ ปืนพิรุณแสนห่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙<br />

ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๙๒ ปืนพระอิศวรปราบจักรวาล พงศาวดารเขียนพระอิศวรปราบจักรวาฬ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ<br />

หล่อขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๒๙ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

๙๓ รูปคล้ายหน้าคนหรือสิงโต ในปืนใหญ่ พระอิศวรปราบจักรวาล<br />

๙๔ รูปคล้ายหน้าคนหรือสิงโต ในปืนใหญ่ พระเพลิงแผ้วราตรี ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายกับปืน พระอิศวรปราบจักรวาล<br />

การหล่อปืนใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นอีกจำนวนมาก สอดคล้องกับ<br />

พระบรมราโชบายในการป้องกันพระนครที่ทรงระแวดระวัง และคาดการณ์ว่าอาจมีราชการศึกด้านชายทะเล ดังที่พระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเอาพระราชหฤทัยใส่<br />

มาตั้งแต่แรกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

147


พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

กระทรวงกลาโหม ถือได้ว่าเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่ตั้งอยู่บริเวณกรุงเทพชั้นในกลางเกาะรัตนโกสินทร์อยู่ตรงข้ามกับ<br />

พระบรมมหาราชวังด้านวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว โดยสิ่งที่เป็นจุดเด่นของกระทรวงกลาโหมซึ่งประชาชนชาวไทย<br />

ต่างรู้จักกันดี เป็นจุดสนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็คือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่<br />

โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม ที่คลาคล่ำไปด้วยปืนใหญ่โบราณจำนวนหลายสิบกระบอกตั้งเรียงรายอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม<br />

ซึ่งประชาชนชาวไทยจำนวนไม่น้อยต่างให้ความสนใจในเรื่องปืนใหญ่โบราณดังกล่าว<br />

เอกราชคงคู่ฟ้า เมืองไทย มั่นเอย<br />

มี สีหนาทปืนไฟ ต่อสู้<br />

จารึกเกียรติเกริกไกร คงมั่น เคียงด้าว<br />

ขานเพื่อชนไทยรู้ ก่อเกื้อศรัทธาฯ<br />

ปืนใหญ่ หรือชื่อที่เรียกในสมัยโบราณว่า สีหนาทปืนไฟ เป็นอาวุธสงครามที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงในระยะไกล<br />

มีไว้ประจำการในกองทัพมาตั้งแต่โบราณ ปืนใหญ่ที่ใช้ทั่วไปจะมี ๒ ประเภท กล่าวคือ<br />

๑) ปืนใหญ่ประจำป้อม<br />

๒) ปืนใหญ่สนาม ที่เรียกว่าปืนใหญ่รางเกวียนหรือปืนใหญ่ลากจูง<br />

ตามหลักฐานที่ปรากฏ ประเทศไทยมีการใช้ปืนใหญ่มาตั้งแต่ปลายสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปืนใหญ่ที่นำมาใช้ในกองทัพ มีทั้งปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นใช้เองและมีทั้งที่สั่งซื้อมาจาก<br />

ต่างประเทศ ซึ่งจากการตรวจสอบบันทึกเอกสารทางประวัติศาสตร์ ทราบว่าประเทศไทยเริ่มหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เองครั้งแรก<br />

ในยุคราชอาณาจักรอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้โดยหล่อขึ้นที่<br />

โรงหล่อปืนใหญ่ในหมู่บ้านฮอลันดา กล่าวกันว่า ปืนใหญ่ที่หล่อด้วยทองเหลืองของกรุงศรีอยุธยานั้น มีคุณภาพดีทัดเทียมกับ<br />

ปืนใหญ่ที่หล่อขึ้นในยุโรป ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งปืนใหญ่ที่หล่อที่กรุงศรีอยุธยาไปเป็นเครื่องบรรณาการเพื่อเจริญ<br />

สัมพันธไมตรีแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส จำนวน ๒ กระบอก ในเวลาต่อมา ปืนใหญ่คู่นี้เคยใช้ยิงประตูคุกบาสติลย์<br />

ในเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อวันที่๑๔ กรกฎาคม ๒๓๓๒ ปัจจุบัน ปืนใหญ่คู่นี้ยังตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ทหารบก Invalides<br />

ในประเทศฝรั่งเศส<br />

148 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ภาพวาดราชทูตไทยถวายเครื่อง<br />

ราชบรรณาการแด่พระเจ้าหลุยส์<br />

ที่ ๑๔ (บริเวณมุมล่างด้านขวา<br />

เป็นปืนใหญ่ ๒ กระบอก)<br />

การจัดทำพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลา<br />

ว่าการกลาโหม เริ่มต้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยทรงมี<br />

พระราชดำริที่จะนำปืนใหญ่โบราณ ซึ่งมีเกียรติประวัติร่วมท ำสงคราม<br />

ในกองทัพไทยมาจัดแสดงให้สาธารณชนได้ชมตามแบบอย่างชาติ<br />

มหาอำนาจการทหารตะวันตก โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำ<br />

ปืนใหญ่โบราณที่เก็บรักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า<br />

มาจัดวางบริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม สันนิษฐานว่า<br />

การจัดวางปืนใหญ่นี้เป็นไปตามพระราชนิยมครั้งที่ทรงศึกษา<br />

วิชาทหาร ณ โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์สต์ (Sandhurst Military Academy) ประเทศอังกฤษ ที่มีการจัดวางปืนใหญ่บริเวณ<br />

ด้านหน้าอาคาร College Chapel ของสถาบันทหารแห่งนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า<br />

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งดำรงตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก ให้ทรงดำเนินการจัดวางปืนใหญ่<br />

และจัดภูมิทัศน์ จึงเป็นการจัดวางปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมและเป็นการจัดทำพิพิธภัณฑ์การทหารกลางแจ้งเป็น<br />

ครั้งแรก ในเวลาต่อมา ได้มีการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของการจัดพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

รวมทั้งสิ้น ๖ ครั้ง จนครั้งสุดท้ายเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ โดยจัดเป็นลักษณะที่เรียกว่า อุตราวรรต ด้วยการจัดวางแบบ<br />

เวียนซ้ายจากถนนหลักเมืองไปทางถนนกัลยาณไมตรี ตามลำดับปีที่สร้าง<br />

ในปัจจุบัน หมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมได้มีการจัดวางในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง รวมจำนวน<br />

๔๐ กระบอก โดยมีชื่อภาษาไทยรวม ๓๗ กระบอก มีชื่อภาษาอังกฤษ ๑ กระบอก คือ SMICVEL 1625 และไม่มีชื่ออีก ๒<br />

กระบอก เพียงแต่ระบุเฉพาะปีที่สร้างและหมายเลขปืน คือ P.1009 1860 และ P.1010 1860 ซึ่งสามารถแบ่งประเภทปืนใหญ่<br />

ออกเป็น ๕ ประเภท ดังนี้<br />

ประเภทที่ ๑ : ปืนใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น<br />

จำนวน ๗ กระบอก ประกอบด้วย นารายน์สังหาร มารประไลย ไหวอรนพ พระพิรุณแสนห่า พลิกพสุธาหงาย พระอิศวรปราบ<br />

จักรวาลและพระกาลผลาญโลกย<br />

ประเภทที่ ๒ : ปืนใหญ่ที่สร้างในต่างประเทศ จำนวน ๙ กระบอก ประกอบด้วย อัคนิรุท มังกรใจกล้า เหราใจร้าย<br />

มักกะสันแหกค่าย นิลนนแทงแขน ไวยราพฟาดรถ SMICVEL1625 P.1009 1860 และ P.1010 1860<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

149


ภาพผังการจัดวางพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณในปัจจุบัน<br />

ประเภทที่ ๓ : ปืนใหญ่ที่ได้จากการไปราชการสงครามและนำกลับมา จำนวน ๓ กระบอก ประกอบด้วย พญาตานี<br />

ปราบอังวะ และชะนะหงษา<br />

ประเภทที่ ๔ : ปืนใหญ่ที่สร้างในประเทศไทย โดยหลวงบรรจงรจนา หรือมองสิเออร์เจ เบรังเยร์ ชาวฝรั่งเศส<br />

เป็นผู้ควบคุมการผลิต จำนวน ๑๐ กระบอก ประกอบด้วย ปีศาจเชือดฉีกกิน ธรณีไหว ไฟมหากาล พรหมมาศปราบมาร<br />

มารกระบิล ศิลป์นารายน์ ลมประลัยกัลป คนธรรพแผลงฤทธิ์ มหาจักรกรด และปล้องตันหักคอเสือ<br />

ประเภทที่ ๕ : ปืนใหญ่อื่น ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างหรือการได้มาจำนวน ๑๑ กระบอก ประกอบด้วย ถอนพระสุเมรุ<br />

ไตรภพพ่าย จีนสาวไส้ ไทยใหญ่เล่นหน้า ขอมดำดิน ฝรั่งร้ายปืนแม่น แมนแทงทวน ยวนง่าง้าว เสือร้ายเผ่นทยาน สายอสุนี<br />

แผ้วราตรี และมุงิดทะลวงฟัน<br />

อย่างไรก็ตาม ปืนใหญ่โบราณทั้ง ๔๐ กระบอก มีรูปร่างและลักษณะที่เหมือนกันจำนวนมาก หากแต่แตกต่างกันที่<br />

ชื่อเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะขอนำเสนอปืนใหญ่โบราณที่มีคุณลักษณะพิเศษ รวม ๖ กระบอก กล่าวคือ<br />

กระบอกที่ ๑ ปืนใหญ่กระบอกที่มีอายุมากที่สุด ชื่อว่า อัคนิรุท เป็นปืนที่หล่อด้วย<br />

ทองสัมฤทธิ์ มีหูจับยกคู่หนึ่ง มีรูปปีกและดาว ๑ ดวง มีรูปเครื่องหมายชาติสเปน (สร้างที่<br />

ประเทศสเปน) และมีการจารึกปีที่สร้างไว้คือ ปี ค.ศ.๑๖๒๔ (ปี พ.ศ.๒๑๖๗) ซึ่งตรงกับ<br />

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา<br />

150 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

ภาพปืนใหญ่อัคนิรุท


ภาพปืนใหญ่มารประไลย<br />

กระบอกที่ ๒ ปืนใหญ่กระบอกที่สวยงามมากที่สุด ชื่อว่า<br />

มารประไลย เป็นปืนใหญ่ที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์มีห่วงสำหรับยก ๔ ห่วง (เรียกว่า<br />

หูระวิง) ตอนท้ายลำกล้องมีรูปคนมีลวดลายและรูปคนมีปีก เพลามีรูปดอกไม้<br />

รูชนวนมีฝาปิดเปิดเป็นรูปหนุมาน ท้ายลำกล้องทำเป็นรูปสังข์ มีลวดลาย<br />

กระจัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นโดยหล่อขึ้นที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษ<br />

ไชยศรี ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๓๐ โดยมีปืนที่เป็นคู่กับปืนมารประไลย<br />

คือ ปืนไหวอรรณพ ที่มีศิลปะลักษณะปืนใหญ่แบบของฝรั่งเศส<br />

กระบอกที่ ๓ ปืนใหญ่กระบอกที่มีความยาวมากที่สุด ชื่อว่าพญา<br />

ตานี เป็นปืนใหญ่ที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีห่วงใหญ่สำหรับจับยก ๔ ห่วง<br />

ตอนท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาวยื่นออกไปทำเป็นรูปสังข์ ที่เพลามีรูป<br />

สิงโตจีนถือลูกแก้วสลักงดงาม ตัวปืนเกลี้ยงไม่มีลวดลายประดับ มีความยาว<br />

๖.๘๒ เมตร มีประวัติการสร้างว่านายช่างชาวจีนฮกเกี้ยน แซ่หลิม ชื่อเคียม<br />

(ซึ่งชาวมลายูเรียกกันว่า หลิมโต๊ะเคียม) เป็นผู้สร้าง ณ ตำบลบ้านกะเสะ (กรือ<br />

เซะ) ในเมืองปัตตานีต่อมา ในสมัยสงคราม ๙ ทัพ สมเด็จพระราชวังบวรมหา<br />

ภาพปืนใหญ่พญาตานี<br />

สุรสิงหนาท ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพเสด็จยกทัพไปรบพม่าข้าศึก<br />

ซึ่งยกมาตีหัวเมืองภาคใต้ของไทย ครั้งทรงชนะข้าศึกแล้ว ได้ทรงปราบปรามหัวเมืองภาคใต้จนมีชัยชนะ แล้วได้ปืนกระบอกนี้มา<br />

จากเมืองปัตตานี เมื่อปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ หรือปี พ.ศ.๒๓๒๙ และนำมาทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๓๒๙<br />

กระบอกที่ ๔ ปืนใหญ่กระบอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ชื่อว่า นารายณ์สังหาร เป็นปืนใหญ่ที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์<br />

มีวงแหวนขนาดใหญ่สำหรับจับยก ๔ วง ท้ายลำกล้องมีเครื่องประกอบยาว ทำเป็นรูปสังข์ ตัวปืนเกลี้ยงไม่มีลวดลาย<br />

ประดับ มีขนาดปากลำกล้อง ๒๙ เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกปืน ๖๓ เซนติเมตร และมีขนาด<br />

ความยาวของปืน ๔.๕๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น<br />

โดยหล่อ ที่หน้าโรงละครใหญ่ ริมถนนประตูวิเศษไชยศรี ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๓๐ เพื่อให้เป็นปืนคู่กับปืนใหญ่พญาตานี<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

151


กระบอกที่๕ ปืนใหญ่รางเกวียน คือ ปืนใหญ่พร้อมเคลื่อนที่ไปในสถานที่ต่างๆ จนถึงบริเวณหน้าแนวรบ โดยมีลักษณะ<br />

ของฐานปืนที่เห็นได้ชัด กล่าวคือ มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ข้าง ข้างละหนึ่งล้อ เพื่อใช้สำหรับเคลื่อนที่ โดยปกติเมื่อหันเข้าหาแนวรบ<br />

ที่ประจันหน้ากับข้าศึกก็มักจะหันปากกระบอกเพื่อยิงใส่ข้าศึก แต่เมื่อจะเคลื่อนย้ายในเส้นทางไกลก็จะเคลื่อนที่โดยให้<br />

ท้ายกระบอกปืนเคลื่อนที่ไป โดยใช้แรงงานสัตว์ประเภทช้าง ม้า วัว ควายหรือลา ลากจูงไปในลักษณะการเทียมเกวียน<br />

จึงเรียกว่า ปืนใหญ่รางเกวียน ซึ่งเกวียนที่ใช้ลากจูงมักจะเรียกกันว่าเกวียนรางปืน ปัจจุบัน ปืนใหญ่รางเกวียนที่จัดแสดงอยู่ที่<br />

พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหมมีจำนวน ๘ กระบอก ประกอบด้วย ฝรั่งร้ายปืนแม่น มอญแทงทวน<br />

ยวนง่าง้าว จีนสาวไส้ ไทยใหญ่เล่นหน้า ขอมดำดิน มุงิดทะลวงฟัน และมักสันแหกค่าย<br />

ภาพปืนใหญ่รางเกวียน<br />

กระบอกที่ ๖ ปืนใหญ่ลูกปราย คือ ปืนใหญ่ที่มีปากกระบอก<br />

ค่อนข้างกว้าง เพื่อบรรจุกระสุนปืนชนิดลูกปราย ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกกระสุน<br />

ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ดังนั ้น เมื ่อยิงไปแล้วลูกปืนขนาดเล็กก็จะ<br />

กระจายออกไป สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ข้าศึกเป็นจำนวนมาก<br />

ในลักษณะเช่นเดียวกับกระสุนปืนลูกซอง ปัจจุบันปืนใหญ่ลูกปรายที่จัดแสดง<br />

อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม<br />

มีจำนวน ๓ กระบอก ประกอบด้วย พระพิรุณแสนห่า พลิกพสุธาหงาย และ<br />

ถอนพระสุเมรุ<br />

ทั้งนี้ ปืนใหญ่โบราณทั้ง ๔๐ กระบอก ได้เคยร่วมประกอบวีรกรรมการต่อสู้ปกป้องรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ<br />

เคียงคู่กับบรรพบุรุษไทยมาแล้วทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการจารึกนามของสีหนาทปืนไฟแต่ละกระบอกในแต่ละสมรภูมิเพื่อให้เป็น<br />

เกียรติประวัติของการรบในอดีตก็ตาม แต่ความสิ่งปรากฏให้เห็น ณ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งหมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการ<br />

กลาโหมนี้ คือบทพิสูจน์ให้คนในสังคมได้สัมผัสกับความจริงทางประวัติศาสตร์ในมิติที่สามารถจับต้องได้มากกว่าสัมผัสจาก<br />

การบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า ปืนใหญ่โบราณทั้ง ๔๐ กระบอก ที่ปรากฏต่อสายตาของ<br />

พี่น้องประชาชนทุกคน คือ การบันทึกวีรกรรมและความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ความเป็นเอกราชและความเหนื่อยยากของ<br />

บรรพบุรุษไทยที่ร่วมกันสร้าง ร่วมกันรักษา และร่วมกันระคับประคองจนผืนแผ่นดินรูปขวานของไทยคงอยู่ได้อย่างมีความวัฒนา<br />

ถาวร เป็นความรู้สึกของการเป็นเจ้าของร่วมกันของพี่น้องประชาชนชาวไทย และจะสืบทอดไปสู่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป อย่างมี<br />

เสถียรภาพ และยั่งยืนตราบกัลปาวสาน<br />

152 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


ปัจฉิมบท<br />

กิจการทหารไทย ถือได้ว่าเป็นกลไกหลักของประเทศชาติ และเป็นเสมือนจักรแก้วและขุนพลแก้วคู่พระบารมีขององค์<br />

พระจักรพรรดิราชเจ้าทุกพระองค์ ซึ่งพระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ในยุคสมัยต่าง ๆ จะทรงดำเนิน<br />

เพื่อประโยชน์ของกองทัพและทหารหาญ เพื่อให้กองทัพไทยเป็นพระแสงดาบคู่พระราชหฤทัยในการดำเนินกิจการเพื่อรักษา<br />

เอกราช อธิปไตย และความมั่นคง ตลอดจนยังความสุข ความเจริญให้แก่ประเทศชาติและประชาชน<br />

<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย<br />

153


ดังที่ได้ประจักษ์ชัดในเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ “<strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย”<br />

ที่มีการบันทึกเรื่องราวของวิวัฒนาการของทหารไทยด้วยการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อประเทศชาติอันเป็นการสนองพระเดช<br />

พระคุณสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นหลักชัย ในการนำทัพหรือดำเนินพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช<br />

อธิปไตย และความสงบสุขภายในราชอาณาจักรมาโดยตลอด ซึ่งกระทรวงกลาโหมและทหารไทยทุกคนพร้อมที่จะถวายชีวิต<br />

เป็นราชพลีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อองค์กษัตริยาธิราชเจ้าและสถาบันพระมหากษัตริย์<br />

ตลอดไป<br />

พระบารมีอันไพศาลที ่แผ่ไปทั่วทศทิศแห่งองค์กษัตริยาธิราชเจ้า เป็นเสมือนร่มฉัตรแก้วอำไพ ปกเกล้าปกกระหม่อม<br />

เหล่าทหารไทยมาตั้งแต่ราชอาณาจักรสุโขทัย สืบเนื่องมาจนถึงราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์จนปัจจุบัน ได้ยังความซาบซึ้ง<br />

และร่มเย็นเป็นสุขแก่บรรดาเหล่าทหารหาญทั้งปวง และจะได้อัฐเชิญไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมเพื่อเป็นสรรพสิริมงคลแก่<br />

กองทัพไทยและเหล่าทหารหาญ ตลอดชั่วจิรัฐิติกาลเทอญ<br />

154 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


เอกสารอ้างอิง<br />

กรมยุทธการทหารบก. เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทหาร กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๔<br />

กองทัพบก. บทเรียนจากการรบของกองทัพบก เล่มที่ ๑, ๒. กรุงเทพฯ:ฝ่ายยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก<br />

๒๕๓๘.<br />

กองบัญชาการทหารสูงสุด. ประวัติกองทัพไทยในรอบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์<br />

กรมแผนที่ทหาร, ๒๕๒๕.<br />

กาญจนี ละอองศรี. “แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดไทย” ในเอกสารการสอน ชุดวิชา ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ :<br />

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๔. การศึกษาวิจัย,<br />

จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. ประวัติศาสตร์ไทย ๑ สมัยแรกเริ่มจนถึงสมัยธนบุรี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย<br />

รามคำแหง, ๒๕๒๐.<br />

แจ่มจันทร์ วงศ์วิเศษ. “การปรับปรุงกองทัพบกของไทยตามแบบตะวันตก” วิทยานิพนธ์ ปริญญา<br />

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๘.<br />

ชาญวิทย์เกษตรศิริและสุชาติสวัสดิ์ศรี. ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์.กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น,<br />

ถวิล อยู่เย็น, พลตรี. “หลักฐานในการทำประวัติศาสตร์ทหาร.” ใน เอกสารประกอบ หลักสูตรนายทหาร<br />

ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร, ม.ป.ป. (อัดสำเนา).<br />

ประเสริฐ พันธุนิล, พลตรี. “การทหารในอดีตและหน้าที่นายทหารประวัติศาสตร์ไทย,” ใน เอกสารประกอบ<br />

หลักสูตรนายทหารประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร, ม.ป.ป. (อัดสำเนา).<br />

156 <strong>เทิดองค์กษัตริยาธิราชเจ้า</strong> พระบารมีปกเกล้าฯ เหล่าทหารไทย


สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐<br />

http://opsd.mod.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!