07.03.2018 Views

gene and chrmosome

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ยีนและโครโมโซม<br />

(Gene <strong>and</strong> Chromosome)


การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม<br />

• วอลเตอร์ ซัตตัน(Walter Sutton) เสนอ ทฤษฎีโครโมโซม ในการถ่ายทอด<br />

ลักษณะทางพันธุกรรม (chromosome theory of inheritance)<br />

• โดยเสนอว่า สิ่งที่เรียกว่าแฟกเตอร์ (factor)<br />

• จากข้อเสนอของเมนเดลซึ่งต่อมาเรียกว่า ยีน (<strong>gene</strong>) นั้นน่าจะอยู่บน<br />

chromosome เพราะมีเหตุการณ์หลายอย่างที่ <strong>gene</strong> และ chromosome มี<br />

ความสอดคล้องกันกัน


ทฤษฎีโครโมโซม ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม<br />

(chromosome theory of inheritance)<br />

• ยีนมี 2 ชุด และโครโมโซมก็มี 2 ชุด<br />

• ยีนและโครโมโซมสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน<br />

• ขณะที่มีการแบ่งเซลล์แบบ ไมโอซิส (meiosis) โครโมโซมมีการเข้าคู่กัน และต่างแยก<br />

จากกันไปยังเซลล์ลูกทีเกิดขึ้นคนละเซลล์ ซึ่งลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นได้กับยีนโดยมี<br />

การแยกตัวของแอลลีลทั้งสองไปยังเซลล์สืบพันธุ์<br />

• การแยกตัวของโครโมโซมที่เป็นคู่กันไปยังขั้วเซลล์ ขณะที่มีการแบ่งเซลล์ แต่ละคู่นั้น<br />

ดำเนินไปอย่างอิสระเช่นเดียวกันกับการแยกตัวของแอลลีลไปยังเซลล์สืบพันธุ์


ทฤษฎีโครโมโซม ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม<br />

(chromosome theory of inheritance)<br />

• ขณะเกิดการสืบพันธุ ์ การรวมตัวกันของเซลล์ไข่และสเปิร์ม เกิดเป็นไซโกต<br />

เป็นไปอย่างสุ ่ม ทําให้ชุดโครโมโซมทีJเกิดจากเซลล์ไข่และสเปิร์มเป็นไปอย่างสุ ่ม<br />

ด้วย<br />

• ทุกเซลล์ทีJพัฒนามาจากไซโกตจะมีโครโมโซมครึJงหนึJง จากแม่และอีกครึJงหนึJง<br />

จากพ่อ ส่วนยีนครึJงหนึJงก็มาจากแม่และอีกครึJงหนึJงก็มาจากพ่อเช่นกันทําให้ลูก<br />

ทีJเกิดมาจึงมีลักษณะ แปรผันไปจากพ่อและแม่


การพบสารพันธุกรรม<br />

• เอฟ มิเชอร์ (F. Miescher) นักชีวเคมีชาวสวีเดนได้ศึกษา<br />

ส่วนประกอบในนิวเคลียสของเซลล์เม็ด เลือดขาวโดยนำมาย่อยเอาโปรตีนออกด้วย<br />

เอนไซม์เพปซิน<br />

• พบว่าเอนไซม์นี้ไม่สามารถย่อยสลายสารชนิดหนึ่งที่อยู่ภายในนิวเคลียสได้ เมื่อนำ<br />

สารนี้มาวิเคราะห์ทางเคมีก็พบว่า มีธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ<br />

จึงเรียกสารที่สกัดได้จากนิวเคลียสว่า นิวคลีอิน (nuclein) ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อ<br />

ใหม่ว่า กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) เนื่องจากพบว่าสารนี้มีสมบัติเป็นกรด


การพบสารพันธุกรรม<br />

• เมื่อมีการพัฒนาสีฟุคซิน (fuchsin) โดยอาร์ ฟอยล์แกน (R. Feulgen) ซึ่งสีย้อมนี้ย้อม<br />

ติด DNA ให้สีแดง และเมื่อนำไปย้อมเซลล์ พบว่า ติดที่นิวเคลียสและรวมตัวหนาแน่นที่<br />

โครโมโซม จึงสรุปว่า DNA อยู่ที่โครโมโซม<br />

• จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า DNA เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ถ้า DNA เป็นสารพันธุกรรม<br />

DNA จะต้องควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ ดังนั้น โครโมโซม นอกจาก<br />

จะมีโปรตีนแล้วยังมี DNA


การพบสารพันธุกรรม<br />

กริฟฟิท ( F. Griffth ) ได้ทำการ<br />

สนับสนุนว่า DNAเป็นสารพันธุกรรม<br />

โดยทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อ ทำ<br />

การทดลองโดยฉีดแบคทีเรีย<br />

(Streptococcus pneumoniae) ที่<br />

ทำให้เกิดโรคปอดบวมเข้าไปในหนู


การพบสารพันธุกรรม<br />

• McCarty พบว่า DNA คือ<br />

สารพันธุกรรม เนื่องจากเมื่อ<br />

เติม DNase ลงไปแบคทีเรีย<br />

จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้


การพบสารพันธุกรรม<br />

• ยีน หรือสารพันธุกรรมซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตไปสู่รุ่นต่อๆ ไปนั้น<br />

อยู่บนสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่มีชื่อว่า DNA นั่นเอง<br />

• DNA มีส่วนที่ควบคุม ลักษณะทางพันธุกรรมและส่วนที่ไม่ได้ควบคุมลักษณะทาง<br />

พันธุกรรม DNA ส่วนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม เรียกว่า ยีน ดังนั้นหน่วย<br />

พันธุกรรมที่เมนเดลเรียกว่าแฟกเตอร์ ก็คือยีนซึ่งอยู่ที่โครโมโซมนั้นเอง


โครโมโซม (Chromosome)<br />

• รูปแบบของโครโมโซม


โครโมโซม (Chromosome)<br />

• เซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีโครโมโซม 2 ชุด (2n) เรียก ดิพลอยด์ (Diploid) โดย<br />

ได้มาจากพ่อ 1 ชุด และจากแม่อีก 1 ชุด<br />

• เซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ที่เกิดจาดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีโครโมโซม 1 ชุด (n)<br />

เรียก แฮพลอยด์ (Haploid)


ส่วนประกอบของโครโมโซม


ส่วนประกอบของโครโมโซม<br />

• ฮิสโตนเป็นโปรตีนที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดอะมิโนที่มีประจุบวก เช่น ไลซีน และ อาร์<br />

จีนีน ทำให้สมบัติในการเกาะจับกับสาย DNA ซึ่งมีประจุลบได้เป็นอย่างดี และทำให้เกิดสมดุล<br />

ของประจุของโครมาทินด้วย สาย DNA พันรอบกลุ่มโปรตีนฮิสโตนคล้ายเม็ดลูกปัด เรียก<br />

โครงสร้างนี้ว่า นิวคลีโอโซม (nucleosome )<br />

• ประกอบด้วย DNA :เปรตีน เท่ากับ 1 :2


องค์ประกอบทางเคมีของ DNA<br />

• โมเลกุลของกรดนิวคลีอิก ประกอบด้วยหน่วย<br />

ย่อยที่เรียกว่านิวคลีโอไทด์(nucleotide)<br />

• นิวคลีโอไทด์จะเรียงตัวต่อกันเป็นสายยาว<br />

เรียกว่า พอลินิวคลีโอไทด์ (polynucleotide)<br />

• โมเลกุล DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2<br />

สายเรียงตัวสลับทิศทางกันและมีส่วนของเบส<br />

เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน โมเลกุลบิดเป็น<br />

เกลียวคล้ายบันไดเวียน<br />

• ส่วนRNA เป็นพอลินิวคลีอิกเพียงสายเดียว


นิวคลีโอไทด์ (nucleotide)


โครงสร้างของ DNA<br />

วัตสัน และ คริกได้เสนอโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ไว้ดังนี้<br />

• พอลีนิวคลีโอไทด์ 2 สายเรียงสลับทิศกัน และ พันกันบิดเป็นเกลียวคู่ (Double helix)<br />

เวียนขวาตามเข็มนาฬิกาคล้ายบันไดเวียน<br />

• เบส A ของสายหนึ่งตรงกับ T ของอีกสายหนึ่ง และ เบส C ของอีกสายหนึ่งตรงกับ G<br />

ของอีกสายหนึ่งเสมอ เบสที่เข้าคู่กันได้เราเรียกว่า เบสคู่ผสม (Complementary<br />

base pair) ซึ่งจะยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน


โครงสร้างของ DNA<br />

• โครงสร้างของเกลียวคู่จะมีระยะห่างกัน<br />

20 อังสตรอม (A o )<br />

• เกลียวแต่ละรอบห่างกัน 34 อังสตรอม<br />

(1 รอบมี10 คู่เบส)<br />

• แต่ละคู่เบสมีระยะห่างกัน 3.4 อังสตรอง


สมบัติของสารพันธุกรรม<br />

1. เพิ่มจำนวนตัวเองได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิม เพื่อให้สามารถถ่ายทอดลักษณะทาง<br />

พันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้<br />

2. สามารถให้เซลล์ควบคุมการสังเคราะห์สารต่างๆ เพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรม<br />

ให้ปรากฏ<br />

3. อาจเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดลักษณะทาง<br />

พันธุกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม และเป็นช่องทางให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ได้


การสังเคราะห์ DNA ( DNA replication )<br />

DNA เรพลิเคชั่น ( DNA replication ) ทำให้มีการเพิ่มโมเลกุลของ<br />

DNA จาก 1 โมเลกุลเป็น 2 โมเลกุล DNA แต่ละโมเลกุลมีพอลิ<br />

นิวคลีโอไทด์ สายเดิม 1 สาย และสายใหม่ 1 สาย จึงเรียกการ<br />

จำลองลักษณะว่า เป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semi conservative)


การควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของ DNA<br />

• ลำดับเบสเกี่ยวข้องกับการแสดงลักษณะทางพันธุกรรม<br />

• จากโครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกลบินที่ผิดปกติของคนที่เป็นโลหิตจางชนิดซิกเคิล<br />

เซลล์ (sickle cell anemia) ปรียบเทียบกับฮีโมโกลบินคนที่ปกติ


DNA กับการสังเคระห์โปรตีน<br />

• จาคอบ กับ โมนอด เสนอว่า RNA เป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่าง DNA กับไรโบโซม<br />

เนื่องจาก DNA อยู่ภายในนิวเคลียส แต่การสังเคราะห์โปรตีน เกิดขึ้นภายในไซ<br />

โทพลาสซึมโดยเฉพาะบริเวณ RER


RNA<br />

• RNA จะมีลักษณะเป็น Polynucleotide สายเดี่ยว (single str<strong>and</strong>)<br />

ประกอบด้วย monomer คือ Ribonucleic acid<br />

• Ribonucleic acid 1หน่วย ประกอบด้วย<br />

1. หมู่ฟอสเฟต<br />

2. น้ำตาลไรโบส (5c)<br />

3. ไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous base) 4 ชนิด<br />

ได้แก่ Adenine(A) Uracine (U) Cytosine(C) และ Guanine(G)


Nucleotide ของ RNA


การถอดรหัส DNA (Transcription )<br />

• การสังเคราะห์ RNA จาก DNA แม่แบบ สายใดสายหนึ่งจาก<br />

DNA เกลียวคู่ จะได้ mRNA( messenger RNA)เพื่อส่งต่อไป<br />

ยังไซโทพลาสซึม แล้ว DNA ทั้งสองสายจะจับคู่กันแล้วบิดเป็น<br />

เกลียวเหมือนเดิม


การสังเคราะห์ RNA จำเป็นต้องอาศัย DNA สายหนึ่งเป็นต้นแบบ ซึ่งมี<br />

ขั้นตอนดังนี้<br />

1. พอลินิวคลีโอไทด์สองสายของดีเอ็นเอคลายเกลียวแยกจากกันบริเวณที่จะมีการ<br />

สังเคราะห์ RNA<br />

2. นำนิวคลีโอไทด์ของ RNA เข้าจับกับเบสของ DNA แต่ใน RNA ไม่มีไทมีน(T) มียูราซิล<br />

(U) แทน<br />

3. การสังเคราะห์ RNA เริ่มจากปลาย 3’ไปยังปลาย 5’ของ DNA โมเลกุลของ RNA จึง<br />

เริ่มจากปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′<br />

4. นิวคลีโอไทด์ของ RNA เชื่อมต่อกันโดยอาศัย เอนไซม์ ชื่อ อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (<br />

RNA polymerase)<br />

ขั้นตอนการสังเคราะห์ RNA โดยมี DNA เป็นแม่พิมพ์นี้ เรียกว่า ทรานสคริปชั่น<br />

(transcription)


การถอดรหัส (transcription)


ชนิดของ RNA<br />

RNA แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ<br />

1. MESSENGER RNA (mRNA) หรือ RNA นำคำสั่ง<br />

2. TRANSFER RNA (tRNA) หรือ RNA ถ่ายทอด<br />

3. RIBOSOMAL RNA (rRNA)


1. MESSENGER RNA (mRNA) หรือ RNA นำคำสั่ง<br />

เป็น RNA ที่ได้จากกระบวนการถอดรหัส ( transcription ) ของสายใดสาย<br />

หนึ่งของ DNA ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นรหัสพันธุกรรมที่ใช้ในการสังเคราะห์<br />

โปรตีน


2. TRANSFER RNA (tRNA) หรือ RNA ถ่ายทอด<br />

เป็น RNAที่มีรหัส Anti-codon<br />

ทำหน้าที่ในการนำกรดอะมิโนที่สอดคล้องกับรหัสการสร้างโปรตีนไปยัง<br />

ไรโบโซม ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีน ในไซโทพลาซึม


3. RIBOSOMAL RNA (rRNA)<br />

แต่ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซมโดย RNAรวมกับโปรตีนกลายเป็น<br />

หน่วยของไรโบโซม แบ่งออกเป็น small subunit กับ large subunit


รหัสพันธุกรรม (Genetic )<br />

• 1 <strong>gene</strong> หรือ 1 รหัสพันธุกรรม หรือ 1 codon (จะประกอบไปด้วย 3<br />

nucleotides)<br />

• เนื่องจากจำนวนชนิดของนิวคลีโอไทด์มี 4 ชนิด ดังนั้นจำนวนรหัสทั้งหมด<br />

จึงเท่ากับ 4 " =64 รหัส<br />

• โดย 1 รหัส (codon, <strong>gene</strong>) จะสามารถ ได้เพียง 1 amino acid เท่านั้น<br />

• กรดอะมิโนที่ใช้สังเคราะห์โปรตีนมีทั้งหมดประมาณ 20 ชนิด ดังนั้นกรดอะ<br />

มิโน 1 ตัว อาจจะได้รหัสพันธุกรรมมากกว่า 1 รหัส โดยรหัสพันธุกรรมหรือ<br />

codon นี้จะอยู่บนสาย mRNA


รหัสพันธุกรรม


การแปลรหัส (Translation)<br />

• คือ การทำงานร่วมกันของ rRNA<br />

และ tRNA ในการแปลรหัส<br />

พันธุกรรมของ mRNA โดยรหัส<br />

พันธุกรรม(codon) ที่อยู่บน mRNA<br />

ที่เริ่มต้นแปลคือ AUG เสมอจะได้<br />

กรดอะมิโนตัวแรกคือ Methionine


การแปลรหัส (Translation) มี 3 ขั้นตอนโดยสังเขป คือ<br />

1. ขั้นเริ่มต้น (initiation) 2. ขั้นต่อสาย (elongation) 3.<br />

ขั้นหยุด (termination)<br />

1. ไรโบโซมหน่วยย่อยเล็กมาจับที่ mRNA จากนั้น tRNA ที่<br />

นำกรดอะมิโนตัวแรกเข้ามาจับ แล้วไรโบโซมหน่วยย่อย<br />

ใหญ่จึงมาจับ mRNA เป็นลำดับต่อไป<br />

2. ไรโบโซมเคลื่อนที่ไปตามสาย mRNA จากปลาย 5' ไป 3'<br />

และมีการต่อสายโพลีเปปไตด์ให้ยาวขึ้นเรื่อยๆ จาก<br />

ปลายอะมิโนไปสู่ปลายคาร์บอกซิล<br />

3. เป็นขั้นตอนการหยุดสร้างสายโพลีเปปไทด์ซึ่งเกิดขึ้น<br />

เมื่อไรโบโซมเคลื่อนที่มาถึงรหัสหยุด และจะไม่มี tRNA<br />

นำกรดอะมิโนมาต่อสายโพลีเปปไทด์อีก ในขั้นนี้มีการ<br />

ปลดปล่อยสายโพลีเปปไทด์ mRNA และไรโบโซมออก<br />

จากกัน


การสังเคราะห์โปรตีน (Protein synthesis)<br />

• แบ่งออกเป็น , ขั/นตอน คือ<br />

โดยการสังเคราะห์โปรตีนในสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต จะมีกระบวนการถอดรหัสภายในนิวเคลียส mRNA จะออกจาก<br />

นิวเคลียส แล้วจึงมีการแปลรหัสในไซโทพลาสซึม


การสังเคราะห์โปรตีน (Protein synthesis)<br />

• ส่วนในสิ่งมีชีวิตพวกโพคาริโอต กระบวนการถอดรหัสและกระบวนการแปลรหัส<br />

สามารถเกิดได้ต่อเนื่องกันโดยที่ mRNAที่สังเคราะห์มาจาก DNA จะถูกนำไปแปล<br />

รหัสทันทีทั้ง ๆ ที่กระบวนการถอดรหัสยังไม่สิ้นสุดเพื่อให้สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้<br />

จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น<br />

• mRNAจึงอาจมีไรโบโซมหลายๆ อันที่ทำหน้าที่แปลรหัสพร้อมๆกัน เรียก mRNA<br />

สายนี้ว่า Polysome หรือ Polyribosome


การกลายพันธุ์ ( Mutation )<br />

• คือการเปลี่ยนแปลงที่ <strong>gene</strong> หรือ DNA และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับ<br />

chromosome ซึ่งอาจมีผลทำให้ลักษณะหรือฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลง<br />

ไป และสามารถถ่ายทอดต่อไปยังยังรุ่นลูกได้<br />

• อาจจะส่งผลดีหรือแย่ลงก็ได้<br />

• สิ่งที่ก่อการกลายเราเรียกว่า มิวทาเจน (mutagen)<br />

• สารเคมี รังสีต่างๆ<br />

• สารก่อมะเร็ง หรือที่เรียกว่า Carcinogen จัดเป็น mutagen


การกลายพันธุ์ระดับยีน หรือยีนมิวเทชัน<br />

(<strong>gene</strong> mutation หรือ point mutation)<br />

• มิวเทชันของยีนจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเบส (A, T, C, G) ในยีน โดยอาจ<br />

เปลี่ยนที่ชนิดของเบส โครงสร้าง หรือลําดับของเบส มีผลทําให้รหัสพันธุกรรม<br />

เปลี่ยนไปจากเดิม ชนิดของกรดอะมิโนจะเปลี่ยนไป สมบัติของโปรตีนที่สังเคราะห์ ขึ้น<br />

จึงแตกต่างไปจากเดิม<br />

• การกลายพันธุ์ระดับยีนแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ<br />

• 1.1 การแทนที่คู่เบส (Base –pair Substitution)<br />

• 1.2 การเพิ่มขึ้นของนิวคลีโอไทด์ (Insertion) หรือการขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์<br />

(Deletion)


การกลายพันธุ์ระดับยีน หรือยีนมิวเทชัน<br />

(<strong>gene</strong> mutation)<br />

• 1.1 การแทนที่คู่เบส (base-pair substritution) การเกิดมิวเทชันในลักษณะเช่นนี้<br />

อาจมีผลต่อการแสดงของลักษณะ ทางพันธุกรรม หรือไม่ก็ได้ เนื่องจากโคดอน หลาย<br />

ชนิดเป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิดเดียวกันได้ เรียกมิวเทชั่นเฉพาะที่ (point<br />

mutation)


การกลายพันธุ์ระดับยีน หรือยีนมิวเทชัน<br />

(<strong>gene</strong> mutation)<br />

• 1.2 การเพิ่มขึ้นของนิวคลีโอไทด์ (Insertion) หรือการขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์<br />

(Deletion) การเกิดมิวเทชันนี้เป็นการ ที่มีการเพิ่มขึ้นหรือการขาดหายไปของโค<br />

ดอน 1-2 นิวคลีโอไทด์ จะมีผลทำให้ลำดับ กรดอะมิโนตั้งแต่ตำแหน่ง ที่มีการ<br />

เพิ่มขึ้นหรือลดลงของโคดอน เปลี่ยนไปทั้งหมด เรียกการเกิดมิวเทชันเช่นนี้ว่า เฟรม<br />

ชิฟท์ มิวเทชัน (frameshift mutation)


การกลายพันธุ์ระดับโครโมโซม หรือโครโมโซมอลมิวเทชัน<br />

( Chromosomal mutation)<br />

• การเปลี(ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซม อาจจะเกิดจากการหักของโครโมโซม


• หรือเกิดจากการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง (เพิ่มขึ้น หรือ ลดลงทั้งแท่ง)<br />

• เกิดขึ้นเนื่องจากการแบบเซลล์ไมโอซิส โครโมโซมคู่เหมือนไม่แยกออกจากกันในระหว่างการ<br />

แบ่งนิวเครียส เรียกว่า นอนดิสจังชั่น (non-disjunction)


ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม<br />

• ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติ<br />

ดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ<br />

1. ความผิดปกติของออโทโซม (โครโมโซมร่างกาย)<br />

2. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ


ความผิดปกติของออโทโซม<br />

ความผิดปกติของออโทโซม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ร่างกาย มีความ<br />

ผิดปกติ 2 ชนิด คือ<br />

1. ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม<br />

2. ความผิดปกติที่รูปร่างของออโทโซม


1. ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม<br />

1. ความผิดปกติที่จำนวนออโทโซม เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่<br />

เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม<br />

เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง<br />

เพศหญิงจึงมีโครโมโซม 45+XX<br />

เพศชายจึงมีโครโมโซมแบบ 45+XY


1)กลุ่มอาการดาวน์ ( Down syndrome)<br />

• เกิดจากจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่งเป็น 47 โครโมโซม มีลักษณะที่ผิดปกติ<br />

คือ รูปร่างเตี้ย ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ลิ้นโตคับปาก คอสั้นกว้าง นิ้วมือนิ้วเท้าสั้น ลายนิ้วมือ<br />

ผิดปกติ ปัญญาอ่อน


2) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome)<br />

• เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมโดยคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏจะ<br />

มีลักษณะหัวเล็ก หน้าผากแบน คางเว้า หูผิดปกติ ตาเล็ก นิ้วมือบิดงอ และกำเข้าหากัน<br />

แน่น หัวใจพิการ ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีลักษณะปัญญาอ่อนร่วมอยู่ด้วย ผู้<br />

ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะเสียชีวิตก่อนอายุ 1 ขวบ ดังรูป


3) กลุ่มอาการพาเทา (Patau's syndrome)<br />

เกิดจากความผิดปกติของออโทโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏ<br />

จะพบว่ามีอาการปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ หูหนวก นิ้วเกิน ตาอาจพิการ<br />

หรือตาบอด ส่วนใหญ่อายุสั้นมาก ดังรูป


2. ความผิดปกติที่รูปร่างของออโทโซม<br />

• เป็นความผิดที่ออโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน เช่น โครโมโซมคู่ที่ 5<br />

หายไป 1 โครโมโซม แต่จำนวนโครโมโซมเท่ากับคนปกติ คือ 46 แท่ง ตัวอย่าง<br />

ความผิดปกติที่รูปร่างของออโทโซมขาดหายไปบางส่วน มีดังนี้


กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome)<br />

• เกิดจากแขนโครโมโซมคู่ที่ 5 หายไป 1 โครโมโซม ลักษณะที่พบ คือ มีศีรษะเล็กกว่าปกติ หน้ากลม ใบหูต่ำกว่าปกติ ตาห่าง มีอาการ<br />

ปัญญาอ่อน ลักษณะที่เด่นชัดในกลุ่มอาการนี้คือ มีเสียงร้องแหลมเล็กคล้ายเสียงแมวร้อง จึงเรียกกลุ่มอาการนี้อีกอย่างหนึ่งว่า Catcry-syndrome<br />

ดังรูป


3.ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ<br />

• ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ส่วนใหญ่เกิดจากจำนวนโครโมโซมเพศ คือ<br />

โครโมโซม X หรือ โครโมโซม Y ขาดหายหรือเกินมาจากปกติ และยังถ่ายทอดลักษณะ<br />

ทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานอีกด้วย ความผิดปกติเช่นนี้ แบ่งได้ 2 แบบ คือ<br />

1. ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X<br />

2. ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y


ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X<br />

ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X มี 2 กรณี คือ<br />

1. โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม ทำให้เหลือโครโมโซม X เพียงแท่งเดียว และเหลือโครโมโซมใน<br />

เซลล์ร่างกาย 45 แท่ง พบได้ในเพศหญิงเป็นแบบ 44+XO เรียกผู้ป่วยลักษณะนี้ว่า กลุ่มอาการเทอร์เนอร์<br />

(Turner's syndrome) ลักษณะของผู้ป่วย คือ ตัวเตี้ย คอมีพังผืดกางเป็นปีก หน้าอกกว้าง หัวนมเล็กและอยู่<br />

ห่างกัน แขนคอก รังไข่ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมันมีอายุยืนยาวเท่าๆ กับคนปกติทั่วๆ ไป ดังรูป


2. โครโมโซม X เกินมาจากปกติ พบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย มีดังนี้<br />

2.1 ในเพศหญิง โครโมโซมเพศ เป็น XXX หรือ XXXX จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47<br />

โครโมโซม หรือ 48 โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงเป็นแบบ 44+XXX หรือ 44+XXXX เรียกผู้ป่วยที่<br />

เป็นแบบนี้ว่า ซูเปอร์ฟีเมล (Super female) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศหญิงทั่วไปดูปกติ สติปัญญาต่ำ<br />

กว่าระดับปกติ ลูกที่เกิดมาจากแม่ที่มีโครโมโซมแบบนี้อาจมีความผิดปกติเช่นเดียวกับแม่


กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter's syndrome)<br />

• 2.2 ในเพศชาย โครโมโซมเพศเป็น XXY หรือ XXXY จึงทำให้มีโครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 หรือ 48<br />

โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงเป็นแบบ 44+XXY หรือ 44+XXXY เรียกว่า กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์<br />

(Klinefelter's syndrome) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศชายมีลักษณะคล้ายเพศหญิง สะโพกพาย หน้าอกโต จะ<br />

สูงมากกว่าชายปกติ ลูกอัณฑะเล็ก ไม่มีอสุจิ จึงทำให้เป็นหมัน ดังรูป


ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y<br />

• ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y โดยมีโครโมโซม Y เกินมาจากปกติ โครโมโซมเพศ จึงเป็นแบบ<br />

XYY จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 โครโมโซมเป็นแบบ 44+XYY เรียกผู้ป่วยที่เป็นแบบ<br />

นี้ว่า ซูเปอร์เมน (Super men) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศชายจะมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าปกติ มีอารมณ์<br />

ร้าย โมโหง่าย บางรายมีจิตใจปกติ และไม่เป็นหมัน ดังรูป


polyploid<br />

• คือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด ส่วนใหญ่เกิดจาก nondisjunction<br />

ในการบางแบบไมโอซิส<br />

• ในพืชจะทำให้พืชมีขนาดใหญ่กว่าพวก diploid<br />

• ในสัตว์พบว่า มักจะอายุสั้น พิการทางร่างกาย และสมองมีกจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่<br />

ในครรภ์มารดา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!