ASA CREW VOL.14
You also want an ePaper? Increase the reach of your titles
YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.
่
ASA Media Director’s words
งานสถาปนิก ’62 ใช้ประเด็น “สถาปัตยกรรม
สีเขียว” มาเป็นแนวคิดหลักในการนําเสนองาน
ภายใต้ชื่อ “กรีน อยู่ ดี” หรือ “Living Green”
ASA CREW ฉบับนี้จึงคัดสรรเอาประเด็นดัง
กล่าวมาอยู่ในคอลัมน์หลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
ความเห็นของผู้เชี ่ยวชาญที ่มาร่วมพูดคุยกัน
ถึงสถานการณ์การออกแบบสถาปัตยกรรม
สีเขียวในปัจจุบัน ทั้งในระดับประเทศและระดับ
สากล บทความพิเศษพัฒนาการสถาปัตยกรรม
ยั่งยืนในประเทศไทย โครงการสถาปัตยกรรมที
น่าสนใจ รวมไปถึงการสรุปงาน สถาปนิก ’62
สําหรับท่ านที่พลาดไป เชิญพลิกอ่านกันได้เลย
ครับ
ผศ. ดร.กมล จิราพงษ์
บรรณาธิการบริหาร
As Architect ’19 Expo embraces Green Architecture with its theme,
‘Living Green’, ASA CREW brings you some very interesting observations
and updates on this rising architectural movement. Featured in this
issue are roundtable discussion between experts and academics about
the current local and global scenario of Green Architecture, a special
article on the development and tendency of sustainable architecture
in Thailand, reviews of outstanding green architectural projects as well
as ASA CREW’s special report on this year’s Architect ’19 Expo. Enjoy!
Asst. Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.
Managing Editor
Editor’s words
Living Green
กระแสและการตื่นตัวในเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวในบ้านเรานั้น
ได้รับความสนใจมาสักพักใหญ่แล้ว และก็ถูกพูดถึงและมีความเข้าใจมากขึ้น
ไม่เพียงเฉพาะแค่ในวงวิชาชีพและแวดวงการศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นที่รับรู้
และได้รับความสนใจในสังคมวงกว้าง ซึ่งในบางแง่มุมนั้น คำว่า สีเขียว หรือ
กรีน นี้ ก็กินความกว้าง มีเฉดสีที่หลากหลาย และในขณะเดียวกัน ก็อาจ
กล่าวได้ว่ามีความซ้ำและเชยอยู่ในที เพราะแนวคิดเรื่องกรีนนี้ถูกนำไปพูด
ถึงและนำไปใช้เป็นจุดขายอย่างแพร่หลายมากมาย แต่หากมองในบางแง่มุม
นั้น องค์ความรู้ หลักการ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดกรีนนี้
ก็ต้องถูกทบทวนและพัฒนาให้เหมาะสม สอดคล้องกับวิถีชิตและสถานการณ์
ของสังคมในยุคปัจจุบัน
ASA CREW ฉบับนี้ จึงได้นำเสนอเนื้อหาหลักภายใต้ธีม ‘Living Green’
ซึ่งเป็นหัวข้อหลักของงานสถาปนิก ’62 ที่จัดขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และถือเป็นการขยายความต่อเนื่องในเรื่องของ
ประเด็นดังกล่าว โดยได้คัดเลือกโครงการสถาปัตยกรรมสีเขียวที่สอดคล้องกับ
ธีมมานำเสนอเป็นไฮไลท์ ประกอบด้วย อาคารอทิตยาทร ของมหาวิทยาลัย
มหิดล, อาคารสำนักงานของบริษัท Inter Crop, โรงเรียนนานาชาติ Raintree
และ บ้านพักอาศัยของคุณขวัญใจ ซึ่งทั้งสี่โครงการนี้น่าจะช่วยสะท้อนให้เห็น
ถึงภาพรวมของการออกแบบสถาปัตยกรรมสีเขียวได้พอสังเขป นอกจากนี้ ยัง
มีคอลัมน์อื่นๆ ที่ให้มุมมองและเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมเรื่องกรีนในมิติต่างๆ
และเป็นที่ทราบกันดีว่า ในยุคนี้ สังคมโลกต้องเผชิญกับสภาวะปัญหาต่างๆ
โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิชาชีพสถาปนิกก็มีส่วนสำคัญมากวิชาชีพ
หนึ่งในการช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น การ
ออกแบบสถาปัตยกรรมในอนาคตอันใกล้นี้เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ซึ่งนอกจาก
ที่สถาปนิกจะต้องสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ น่าใช้
น่าชื่นชมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานและทรัพยากร
ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดอีกด้วย รวมไปถึงบางประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ก็
ขอเป็นกำลังใจให้สถาปนิกรุ่นใหม่ต่อความท้าทายที่ว่านี้ครับ
ด้วยความนับถือ
กฤษณะพล วัฒนวันยู
บรรณาธิการ
Interest in the green architecture movement in Thailand
has been strong for quite some time. It has been widely
discussed and debated in professional and educational
circles, and awareness of it has been growing steadily
among society as a whole too.
Green architecture encompasses a broad range of definitions
and shades. Its concepts are often overused, used
as a selling point for many projects, to the point that it
has sometimes fallen out of favour. But if we look at it
from another angle, the principles and technology that
make up green architecture should not be ignored. Instead,
we should rethink and renew them in accordance
with our current ways of life and predicament.
This edition of ASA CREW presents the theme ‘Living
Green’, which is inspired by the main topic of the Architect
’19 Expo that was organized by the Association
of Siamese Architects back in May. Giving us the opportunity
to explore this theme are profiles of four green
projects, including the Aditayathorn building at Mahidol
University, the Inter Crop Office, Raintree International
School and Kwanjai House. Together, these buildings give
a general picture of the green architecture and design
movement as it stands today. Also in this volume are
stories that offer fresh perspectives on other dimensions
of green architecture.
That society today faces various problems, particularly
in relation to the environment, is common knowledge.
One of the key challenges the architectural profession
will face in the near future is reducing mankind’s use
of energy and natural resources. Architects working
in this contemporary moment not only have to create
comfortable, pleasant and beautiful architecture, they
must also be cognizant of environmental issues, energy
conservation and resource usage, as well as the social
factors their buildings have an impact upon. With this
edition, I hope to encourage the new generation to address
these urgent challenges.
Regards,
Kisnaphol Wattanawanyoo
Editor
แก้ไขข้อมูลของ ASA CREW เล่ม 13: High Life ในหน้า 36 ให้ถูกต้องคือ - Manatspong Sanguanwuthirojana (Hypothesis)
– ทางทีมงานขออภัยในความผิดพลาดนี้อีกครั้ง
3
Update
50 ปี อาษาอนุรักษ์
(พ.ศ. 2511-2561) ตอนที่ 3
The 50th Anniversary of ASA
Conservation (1968-2018) Part 3
Text: ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส / Pongkwan S. Lassus
Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum
ยุคที่ 4: นักอนุรักษ์รุ่นใหม่ การปฏิรูปการทำงาน
อนุรักษ์ฯ
และการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมชุมชน (พ.ศ.
2545-ปัจจุบัน) ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่
ผู้เขียนได้เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วย
ตัวเองจึงสามารถบันทึกการทำงานได้อย่างละเอียด
กว่าในช่วงที่ผ่านมาและจะขอบันทึกเหตุการณ์
โดยเสมือนผู้เขียนเป็นบุคคลที่ 3 ที่จะกล่าวถึง
การปฏิบัติงานตามตำแหน่งโดยไม่เป็นลักษณะ
การเล่าเรื่องของตัวเอง
ในปี พ.ศ. 2545 คุณประภากร วทานยกุล เป็น
นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ มีการปฏิรูปการ
ทำงานโดยเปลี่ยนแปลงให้ประธานกรรมาธิการ
อนุรักษ์ฯ เข้ามารับตำแหน่งกรรมการบริหาร
สมาคมฯ ในตำแหน่งอุปนายก ได้เชิญ ดร.วีระพันธุ์
ชินวัตร มาเป็นอุปนายก เพื่อร่วมกันทำงานอย่าง
ใกล้ชิด ไม่เป็นเอกเทศเหมือนที่ผ่านมาในอดีต และ
ตำแหน่งประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ยังคงอยู่
ได้มีการปรับเปลี่ยนกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ใหม่ทั้ง
ชุดเป็นนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ในสมัยนั้น ซึ่งหลายท่าน
ทำงานต่อเนื่องมาหลายสมัย อาทิ คุณปองขวัญ สุข
วัฒนา ลาซูส ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว
คุณวสุ โปษยะนันท์ และมีการปฏิรูปการท ำงานของ
กรรมาธิการฯ โดยการขยายขอบข่ายการทำงาน
ให้มีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น งานใหญ่ที่สำคัญก็คือ
งานประเมินสภาพอาคารรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นใน
รอบ 20 ปี เพื่อการปรับปรุงเกณฑ์การให้รางวัล
ในอนาคต การทำงานครั ้งนี้ทำให้เกิดการสร้าง
สถาปนิกรุ่นใหม่ให้เข้ามาสัมผัสกับคุณค่าอาคาร
ที่เป็นมรดกสถาปัตยกรรมได้อย่างกว้างขวาง
เนื่องจากในรอบ 20 ปี ที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ
ได้มอบรางวัลให้กับอาคารกว่า 170 อาคารทั้ง
ประเทศ งานประเมินสถานภาพอาคารเหล่านี้ต้อง
พึ่งอาจารย์ สถาปนิก และนักศึกษาสถาปัตยกรรม
จำนวนมากเพื่อออกสำรวจ และจัดทำรายงาน
เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ ถือเป็นโครงการ
ที่สร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามารู้จักและสัมผัสกับ
มรดกสถาปัตยกรรมจนเห็นคุณค่า เกิดความรัก
และหวงแหนในมรดกสถาปัตยกรรมเหล่านี้
The Fourth Period: New generation conservationists:
Reforming conservation approaches
and conservation of local architectural heritage
In 2002, Prabhakorn Vadanyakul, the then
President of the Association of Siamese Architects,
initiated the reform of the association’s
operations by assigning the Chairman
of the Conservation Commission to join the
executive board as Vice President. With Dr.
Weeraphan Shinawatra as Vice President, the
work of the ASA Architectural Conservation
Committee was carried out more collaboratively.
And while the Chairman of the ASA
Architectural Conservation Committee still
remained a part of the organizational structure
of the association, the members of this committee
were replaced by a younger generation
of conservationists, such as Pongkwan Lassus,
Assistant Professor Sudjit Sananwai and Vasu
Poshyanandhana. Many of them had already
been working under the ASA Architectural
Conservation Committee during different ASA
president’s terms.
Coinciding with these changes was a broadening
of the committee’s scope, a development
which resulted in several new projects. One of
these was the evaluation of ASA Architectural
Conservation awarded buildings and revision
of the award criteria, which was done for
the first time in 20 years. The collaboration
attracted a large number of new generation
architects and architectural students to experience
and learn about the existing architectural
heritage. On the occasion of its 20th
anniversary, the Association of Siamese Architects
awarded over 170 buildings nationwide.
Since evaluation drew on the knowledge and
experience of a large number of professors,
practitioners and students in architecture to
carry out surveys and submit research reports,
the project ended up recruiting a younger
generation of architectural researchers who
were then able to have first-hand experience
of the country’s architectural heritage.
The project not only succeeded in its goal of
evaluating existing architectural heritage but
also raised awareness among a new generation
who came to appreciate the value of
architectural heritage.
A book, 174 Architectural Heritages in Thailand,
featuring photographs and brief histories
4
5
นอกจากนี้ยังมีการจัดทำหนังสือ 174 มรดก
สถาปัตยกรรมในประเทศไทย เพื่อรวบรวม
ภาพถ่ายสวยงามและประวัติอาคาร 174 อาคารที่
ได้รับรางวัลอนุรักษ์ฯ ดีเด่นปี พ.ศ. 2525-2545
เพื่อเป็นการเผยแพร่ต่อยอดการคัดเลือกรางวัลให้
ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น การจัดทำหนังสือ
เล่มนี้ภายใต้การดูแลของคุณปองขวัญ สุขวัฒนา
ลาซูส ในฐานะบรรณาธิการ ได้ส่งผลต่อยอดให้
เกิดการจัดเก็บข้อมูลอาคารรางวัลอนุรักษ์ฯ ดีเด่น
อย่างเป็นระบบในสมัยต่อๆมาจนถึงทุกวันนี้
หลังจากนั้นอีก 10 ปี จากการเก็บรวบรวมข้อมูล
อย่างเป็นระบบ หนังสือเล่มที่ 2 คือ 183 มรดก
สถาปัตยกรรมในประเทศไทย ก็ออกสู่สายตา
สาธารณชน เพื่อได้ชื่นชมผลงานอาคารรางวัล
อนุรักษ์ดีเด่น อีก 183 อาคารที่ได้รับรางวัล
อนุรักษ์ฯ ดีเด่นปี พ.ศ. 2546-2555
ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2551 คุณสิน พงษ์หาญยุทธ
ขึ้นเป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เชิญ
ให้คุณปองขวัญ มาเป็นอุปนายกและประธาน
กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ เพื่อบริหารงานด้านการ
อนุรักษ์ให้มีขอบข่ายงานที่กว้างขวางขึ้น ประกอบ
กับในปี พ.ศ. 2551 จะเป็นหมุดหมายสำคัญใน
วาระครบรอบ 40 ปี การทำงานของกรรมาธิการฯ
โดยทางสมาคมฯ สนับสนุนเรื่องงบประมาณอย่าง
เต็มที่ จึงได้มีการแต่งตั้งกรรมาธิการและให้ท่าน
เหล่านั้นได้ร่วมกันเสนอโครงการใหม่ๆ เพื่อเตรียม
เฉลิมฉลองวาระนี้ขึ้นมากมายหลายโครงการ
ส่วนใหญ่ยังดำเนินต่อเนื่อง และได้รับการต่อยอด
มาจนถึงทุกวันนี้ โครงการเหล่านั้นคือ
โครงการแผนที่วัฒนธรรมท้องถิ่นริมน้ำบางกอก
(บ้านบุ – กุฎีจีน)
โครงการนี้ริเริ่มโดย ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร ในปี
พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเห็น
คุณค่าร่วมกันในมรดกวัฒนธรรมริมน้ำซึ่งเป็น
รากเหง้าของชาวบางกอก การจัดทำแผนที่มรดก
วัฒนธรรมจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ทั้งคนในชุมชน นักวิชาการท้องถิ่น สถาบันการ
ศึกษานอกและในพื้นที่ กรมศิลปากร บ้าน วัด
โรงเรียน รวมถึงเยาวชนในพื้นที่ เป็นการกระตุ้น
of 174 buildings given ASA Architectural Conservation
awards between 1979 and 2002 was
also published. The book aimed to promote
both the buildings and selection process of
the awards to the general public. The making
of the book was supervised and directed by
the assigned editor, Pongkwan Lassus, and
this process resulted in a systematic method
which is still used today to collect data of
buildings that have won ASA Architectural
Conservation Awards.
Thanks to this systematic data collection, a
second book, 183 Architectural Heritages in
Thailand, was released a decade later. This
brought to public attention the 183 buildings
that had won ASA Architectural Conservation
Awards between 2003 and 2012.
Sinn Phonghanyudh assumed the office of
President of the Association of Siamese Architects
between 2006 and 2008, and invited
Pongkwan Lassus to be the Vice President and
Chairperson of the ASA Architectural Conservation
Committee, which aimed to expand its
scope to be more comprehensive. The year
2008 was an important milestone as it marks
the 40th anniversary of the commission. With
the association provided full financial support,
the members proposed ideas for projects that
would, under the supervision of Chairperson
Pongkwan Lassus, be carried out in celebration
of this special occasion. Most of these
projects are still operating today.
The following projects were initiated as part
of the ASA Architectural Conservation Committee’s
40th anniversary:
Cultural Mapping of Water-based Communities
in Bangkok (Baan Bu-Kudeejeen)
Initiated by Dr. Weeraphan Shinawatra in
2007, this project aimed to create a collective
awareness in the cultural values of
water-based communities that have been the
root of Bangkok and its people. This cultural
mapping succeeded thanks to the collaboration
of all the stakeholders, from people in
the local communities, academics, education
institutes inside and outside of the area to the
Department of Fine Arts, temples and schools,
including teachers and pupils. The project has
helped the locals to appreciate the value of
their home – one of the oldest communities
in Bangkok – and inspired them to value and
preserve their heritage. The cultural mapping
project received tremendous support from
ให้เกิดการรัก/หวงแหน ในมรดกของตน ซึ่งเป็นย่านเก่าที่เป็นจุดกำเนิดของ
กรุงเทพฯ และเนื่องจากพื้นที่ย่านกะดีจีนกำลังมีปัญหาที่ชุมชนถูกไล่รื ้อจาก
ทางวัดกัลยาณมิตร รวมถึงการที่ทางวัดกำลังรื้อทำลายโบราณสถานระดับ
ชาติ จึงได้รับการสนับสนุนจากชุมชนด้วยดีในการดำเนินโครงการ
โครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน (พ.ศ. 2551-2554)
ในปีต่อมา ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ได้เข้ามารับช่วงต่อเป็นหัวหน้าโครงการ
จัดทำโครงการฟื้นฟูย่านกะดีจีน โดยมีการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเข้มข้น
ร่วมกับนักศึกษาภาควิชาผังเมือง ชาวชุมชน และภาคเอกชน ภายใต้การ
ประสานงานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ภายใน 4 ปี เกิดโครงการและ
กิจกรรมเชิงอนุรักษ์ศิลปและวัฒนธรรมและฟื้นฟูย่านเก่ามากมาย ในพื้นที่
จนได้ขยายขอบเขตไปทำรวมเป็นย่านกะดีจีน-คลองสาน โครงการต่างๆ
เหล่านี้ อาทิ โครงการชาวย่านคิดนิสิตจัดให้ ประกอบด้วยโครงการย่อย
การปรับปรุงพื้นที่สาธารณะของ 6 ชุมชนในย่านกะดีจีน คือ ชุมชนกุฎีจีน
ชุมชนวัดกัลยาณ์ฯ ชุมชนวัดประยูรฯ ชุมชนกุฎีขาว ชุมชนวัดบุปผาราม
และชุมชนโรงคราม
จากความสำคัญของย่านกะดีจีนที่รวมเอาชุมชนชาวพุทธ
คริสต์ อิสลาม 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ ที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
มาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้รับความกรุณา
จากพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาส และอธิการบดี
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นองค์ประธานในการจัดประชุม
คณะทำงานจากทุกภาคส่วนที่วัดของท่าน จึงได้เกิดความร่วมมือ
ร่วมใจ จากทั้ง บ้าน วัด โรงเรียนและราชการ (บวรร) เป็นอย่างดียิ่ง และ
ได้มีการจัดงานประเพณีต่างๆ ของทุกศาสนา เป็นประจำมาเป็นเวลา 4 ปี
โดยได้มีการนำเอาแนวคิดที่จะนำศิลปะเข้ามานำโครงการให้เกิดการร่วมมือ
ร่วมใจของชาวชุมชน เกิดเป็นโครงการ “ศิลปในซอย” ที่ได้รับการตอบรับ
อย่างดีจากทั้งชาวชุมชน องค์กรร่วมจัดกว่า 70 องค์กร และประชาชนชาว
กรุงเทพมหานครที่ได้มาร่วมงาน
โครงการจัดทำทะเบียนอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ออนไลน์ (online)
จากแนวคิดเรื่อง Heritage at Risk ของ ICOMOS ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา)
สนั่นไหว ได้ริเริ่มโครงการประกวดจัดทำทะเบียนอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์
online ขึ้นในปี พ.ศ. 2550 เป็นการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารสมัยใหม่
ประกอบกับการมีส่วนร่วมของคนในสังคมมาช่วยจัดทำทะเบียนข้อมูลของ
อาคารหรือชุมชนที่มีคุณค่าแต่มีปัญหา มีความเสี ่ยงที่จะถูกรื้อทำลาย ขาด
การดูแลเอาใจใส่ หรือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมีการประกวดการจัด
ทำทะเบียนอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ online ขึ้น พร้อมด้วยกิจกรรมการ
อบรมวิธีเก็บข้อมูลตามหลักวิชาการและเผยแพร่ผ่าน website แบบ real time
ผลที่ได้จากโครงการนี้นอกจากจะช่วยให้การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม
และชุมชนขยายไปสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นแล้ว จากข้อมูลทะเบียนอาคารที่
people within the community, in part, due
to the ongoing eviction conflict between the
Kadeejeen neighborhood and Kalayanamit
Temple, which has a controversial plan to
demolish an important historical site located
within its property.
Revitalize Kadeejeen project 2008-2012 (Kadeejeen
neighborhood includes six communities,
one of them is Kudeejeen Community)
The following year, Pongkwan Lassus invited
Dr. Niramon Kulsrisombat to take lead of the
project and initiate the plan to revitalize the
Kadeejeen neighborhood. The collaboration
with the community was close and intense,
with students from the department of urban
planning, community members and the private
sector working together under the supervision
and coordination of the ASA. Within
the span of four years, the area saw a great
number of art and cultural preservation and
revitalization projects and activities. The initiative
was expanded to encompass the area
of Kadeejeen and expanded to Klongsarn with
projects such as the refurbishment of public
spaces in six different local communities
(Kudeejeen, Wat Kalaya, Wat Prayoon, Kudee
Khao, Buppharam and Rong Kram).
The significance of the Kadeejeen neighborhood
is its status as a melting pot where Buddhist
(Theravada and Mahayana), Catholic and
Muslim communities have all lived together
peacefully since the Ayutthaya period. The
association invited Phra Phrombundit, the
abbot of Prayurwongsawas Temple and the
President of Mahachulalongkorn University,
to sit as the Chairmen of the working committee
and requested his permission to use
the temple’s space for project meetings. The
sense and spirit of collaboration from the
people, temple and schools, as well as government
agencies, was positive. There were
events such as fairs and festivals hosted by
people living in the area for four consecutive
years. There was also an attempt to use art
to promote a collaborative community spirit,
which led to the birth of projects such as ‘Art
in Soi’. In addition to the positive feedback
from within the communities and general
public who visited, more than 70 organizations
participated in these projects.
The good news is that the project has grown
successfully. Dr. Niramon Kulsrisombat was
given the chance, after his successful work
as leader of the Kadeejeen project, to estab-
6
7
มีค่าแต่อยู่ในภาวะเสี่ยงเหล่านี้ยังได้ส่งผลต่อมาใน
หลายรูปแบบ มีทั้งกรณีที่ทำให้ผู้ครอบครองอาคาร
มองเห็นคุณค่าจนนำไปสู่การบูรณะปรับปรุง นำ
มาใช้สอยต่อไปได้อย่างเหมาะสม จนกลับมาได้
รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นในที่สุดและที่เป็น
ไปในทางตรงกันข้ามที่ผู้ครอบครองยังยืนยันจะ
เดินหน้ารื้อทำลายอาคารเก่าที่ทรงคุณค่าทิ้งไป
อย่างในกรณีของการรื้อมรดกสถาปัตยกรรมแบบ
โมเดิร์นเพื่อก่อสร้างศาลฎีกาหลังใหม่ แม้จะเหนี่ยว
รั้งไว้ไม่ได้แต่ก็ถือว่าสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้
ร่วมมีบทบาทในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลและ
ข้อโต้แย้งทางวิชาการไว้ แล้วทำให้เกิดการตื่นตัว
แก่สังคมในการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมยุค
โมเดิร์น เป็นที่น่าเสียดายว่าโครงการนี้ไม่ได้รับการ
ต่อยอดมาถึงปัจจุบันเนื่องจากขาดผู้ดำเนินการต่อ
และการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ
โครงการ ASA VERNADOC
ในการประสานงานกับเครือข่ายการอนุรักษ์ต่างๆ
เช่น ICOMOS Thailand ยังได้นำมาซึ่งการขยาย
ผลในหลายโครงการของสมาคมสถาปนิกสยามฯ
เช่น โครงการ ASA VERNADOC หรือค่ายสำรวจ
รังวัดมรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นด้วยวิธี VERNA-
DOC โดยการริเริ่มของ ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา)
สนั่นไหว ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมการ
วิชาการระหว่างประเทศของอิโคโมสทางด้าน
มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (ICOMOS-CIAV)
และเป็นผู้นำเทคนิควิธีการเก็บข้อมูลและนำเสนอ
มรดกพื้นถิ่นที่เรียกว่า Vernacular Architecture
Documentation จากความรู้ดั้งเดิมของสถาปนิก
ชาวฟินแลนด์ ผ่านทางอาจารย์ Markku Mattila
แห่งมหาวิทยาลัย Helsinki มาถ่ายทอดใน
หมู่สถาปนิก และนิสิตนักศึกษาไทยตั้งแต่ปลาย
ปี พ.ศ. 2550
และจัดแสดงในงานสถาปนิก ’51 ร่วมกับงานฉลอง
ครบรอบ 40 ปี อาษาอนุรักษ์ จนประสบความ
สำเร็จเป็นที่สนใจอย่างมากและได้จัดต่อเนื่องเป็น
ประจำทุกปี ตั้งแต่นั้นมา โครงการ ASA VER-
NADOC ได้ถูกนำไปปรับใช้อย่างกว้างขวางผ่าน
เครือข่ายของผู้เข้ารับการอบรม นับเป็นกิจกรรม
ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลขอสถาปัตยกรรม
lish the Urban Design Development Center
(UDDC) at Chulalongkorn Univeristy, and
he still continues to work with Kadeejeen-
Klongsan Union, which is now known as the
Kadeejeen-Klongsan Conservation Foundation.
One of the goals remains to preserve and
revitalize this historic neighborhood. Some of
the local people have established their own
local museum, known today as one of the
area’s cultural tourism destinations. In light
of this successful collaboration based on a
concrete action plan and pilot project, the
Bangkok Metropolitan has since suggested
the development of a master plan. In addition,
Prayuraongsawas Temple was awarded a UN-
ESCO Heritage Award Asia Pacific in 2014 for
the restoration of the Phra Borommathat Maha
Chedi and its role in community revitalization,
achieved through its active participation as a
part of civil society.
Competition for Online Registration / Architectural
Heritage Data Collection
Through the ICOMOS-endorsed Heritage at
Risk, Assistant Professor Sudjit Sananwai
began a competition for online registration/
data collecting of architectural heritage back
in 2007. Through the use of an online platform
and public participation, we were able to collect
data about at risk architectural heritage
and buildings that face problems, such as the
threat of being demolished, a lack of proper
conservation approaches and methods, or
damage caused by natural disasters. The
competition was held alongside a workshop
on how to collect data and real-time data
presentation through online platforms.
The project did not only promote architectural
heritage conservation among the younger
generation, it also yielded some interesting
data on architectural heritage that is at risk.
There were cases where the owners of listed
buildings became aware of the value of the
buildings they own. After being given proper
restoration and new usages, some of these
buildings ended up receiving ASA Architectural
Conservation awards. There were also less
successful results such as the demolition of
the Supreme Court building. Despite failing
to stop the destruction of this valuable piece
of modern Thai architecture, the Association
of Siamese Architects did provide scientific
information opposing its demolition. Such
attempts, along with online and offline campaigns,
raised awareness in society about the
value of modern Thai architectural heritage.
พื้นถิ่นของไทยด้วยระบบเดียวกันได้เป็นจำนวน
มาก และเป็นเครื่องมือสร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิด
การเห็นคุณค่ามรดกสถาปัตยกรรม ด้วยการ
เข้าไปใช้ชีวิตทำกิจกรรมเขียนแบบในพื้นที่แหล่ง
มรดกสถาปัตยกรรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้มี
โอกาสไปเห็นด้วยตา วัดและวาดด้วยมือ เกิด
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวชุมชนในพื้นที่ ภาพ
เขียนด้วยมือที่อาศัยความเพียรและเวลาได้เผย
ให้เห็นถึงคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมแก่
ผู้ครอบครองหรือผู้อยู่อาศัยที่เขาอาจไม่เคยได้รับรู้
ถึงคุณค่าเหล่านี้มาก่อน สถาบันการศึกษาด้าน
สถาปัตยกรรมหลายๆ สถาบันได้นำเอากิจกรรม
นี้ไปใช้ในหลักสูตรหรือกิจกรรมนอกสถานที่ของ
ตน จนคำว่า VERNADOC เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ไม่เฉพาะในเมืองไทยแต่ได้รับการต่อยอดไปเป็น
ค่ายระดับนานาชาติ ในทุกการประชุมใหญ่สามัญ
ประจำปีของ ICOMOS CIAV นอกจากนั้นยังได้
รับความสนใจจากหลายประเทศในภูมิภาคแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปทดลองจัดค่ายต่อ
โดยประสานงานผ่านทาง ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา)
สนั่นไหว และสมาคมสถาปนิกสยามฯ อาทิเช่น
อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และมาเลเซีย นับว่า
ได้มีส่วนช่วยผลักดันให้กิจกรรม VERNADOC
แพร่หลายไปได้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ และเป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้
คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดก
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้เป็นอย่างดี จนทำให้เธอ
ได้รับรางวัล CIAV Award 2013 ในที่ประชุม
ใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2556 ของ ICOMOS-
CIAV ณ ประเทศโปรตุเกส และรางวัลบุคคลดีเด่น
ด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม จากสมาคม
สถาปนิกสยามฯ ในปี พ.ศ. 2554 นอกจากนี้
ยังมีอาจารย์ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้นำการ
ออกค่าย VERNADOC ไปใช้เป็นกิจกรรมเพื่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาฟื้นฟูย่านเก่าหลายแห่ง นับ
เป็นเครื่องมือที่ดีในการสร้างความตระหนักรู้ร่วม
กันของมรดกสถาปัตยกรรมชุมชน จนเกิดการ
รัก/หวงแหน สงวนรักษาให้คงอยู่และต่อยอดไปใช้
ในเชิงการท่องเที่ยว และการเป็นแหล่งเรียนรู้ทาง
วัฒนธรรมของพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย
โครงการจัดทำฐานข้อมูลอนุรักษ์ฯ
For now, however, the project has had to
cease operation due to a lack of personnel
and budget.
ASA VERNADOC
The ASA Architectural Conservation Committee,
in collaboration with other conservation
institutes such as ICOMOS Thailand, have
brought about the birth and development of
many projects. ASA VERNADOC (vernacular
documentation is a methodology for vernacular
architecture study that emphasizes
the on-site collection of data to produce high
quality measured drawings) is a project initiated
by Assistant Professor Sudjit Sananwai,
Thailand’s representative in the ICOMOS-CIAV
(ICOMOS International Committee on Vernacular
Architecture). She adopted a vernacular
architecture documentation method that
originated in Finland and was introduced to
her by Professor Markku Mattila of Helsinki
University. The method was made known to
Thai architects and architecture students in
late 2007.
The first collection of vernacular documents
was put together in an exhibition which featured
in Architect Expo 2008 and celebrated
40 years of ASA Conservation. It received
overwhelming interest from viewers and has
been included in the Architect Expo’s program
ever since. ASA VERNADOC has been widely
adapted through an expanding network of
workshop participants, and created a growing
database on Thailand’s vernacular architecture
heritage using an organized method
and system. It is also a tool that inspires the
younger generation to appreciate the value
of architectural heritage. Through a personal
two-week experience that entails drawing
and documenting works of vernacular architecture
on site, they are able to see the
works with their own eyes and to measure
the proportions and document them using
their own hands. Through this activity, a valuable
exchange of knowledge and experience
between architects, architecture students
and locals has taken place. Thanks to the
architects’ dedication, these hand-drawn
documents bring about a greater realization
on the part of owners and locals about the
value of vernacular architecture.
Several architectural departments of universities
have adopted this activity as a part of their
curriculum and field trip activities while the
term VERNADOC is gradually becoming more
8
9
ในปี พ.ศ. 2551 คุณปองขวัญได้วางระบบการ
จัดเก็บข้อมูล ในรูปหนังสือ CD Rom และการนำ
ฐานข้อมูลเข้าบรรจุในเว็บไซต์ของสมาคมสถาปนิก
สยามฯ ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งประกอบด้วย
- ฐานข้อมูลรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2525-
2545 จำนวน 174 อาคาร
- ฐานข้อมูลบุคลากรด้านการอนุรักษ์
- ฐานข้อมูลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในสมัยต่อๆ มา มีการปรับ
เปลี่ยนระบบภายในและปรับการใช้งานของเว็บไซต์
ข้อมูลเหล่านี้จึงไม่ได้ปรากฏในหน้าเว็บไซต์ของ
สมาคมสถาปนิกสยามฯ มาจนถึงทุกวันนี้
โครงการนำร่องการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม
ยุคโมเดิร์น
ในปี พ.ศ. 2549 ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ได้นำ
เรื่องการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น
มาหารือกับกรรมาธิการอนุรักษ์ ฯ ให้รับเป็นธุระ
เนื่องจากในยุคที่อดีตกรมศิลป์ นิคม มูสิกะคามะ
ได้เคยออกจดหมายมาถึงสมาคมสถาปนิกสยามฯ
เพื่อขอความร่วมมือในการจัดทำเกณฑ์ในการขึ้น
ทะเบียนโบราณสถานมรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์น
เนื่องจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ มีองค์ความรู้
ทางด้านคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมประเภท
นี้ ทางกรรมาธิการฯ ได้มอบหมายให้ ผศ.ยงธนิศร์
พิมลเสถียร จัดทำบทความเรื่อง
“การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น”
ขึ้น หลังจากนั้นสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้ร่วม
กับ TCDC ในการจัดนิทรรศการ “อยากทันสมัย
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทย พ.ศ. 2518-2537”
ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เพื่อเผยแพร่ความสำคัญและ
คุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในประเทศ
ไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และได้มีการตั้งคณะทำงาน
เกี่ยวกับการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์น
ในสมัยต่อๆ มา
การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์
ในช่วงนี้มีการทำงานเป็นเครือข่ายกับหลายองค์กร
อย่างกว้างขวาง อาทิ มีการทำ MOU ร่วมกับ
recognized, not only in Thailand but internationally
thanks to the organization of international
VERNADOC camps, which are held
at ICOMOS CIAV’s annual general meeting.
Architecture communities across Southeast
Asia and the Asia-Pacific, in countries such as
Malaysia, Indonesia and Australia, have shown
keen interest in the method. Some have consulted
Assistant Professor Sudjit Sananwai
and her team to garner suggestions about
putting together VERNADOC camps in their
countries. Not only that, VERNADOC has motivated
the younger generation of architects,
students and locals to be more engaged in the
preservation of local architectural heritage.
Assistant Professor Sananwai’s contributions
earned her the CIAV Award 2013 at
ICOMOS-CIAV’s general meeting held in 2013
in Portugal, as well as a Distinguished Person
to receive ASA Architectural Conservation
award in 2011. Some university professors
have also adapted VERNADOC camp as an
activity for their research and revitalization
projects carried out in historic neighborhoods.
VERNADOC has proven to be an excellent tool
that creates greater awareness in the value
and importance of vernacular architecture
as it inspires architectural practitioners and
local communities to cherish and preserve
their heritage. In addition, the data itself
has become an archive for Thai vernacular
architecture heritage and found a role as
historical references that are often used to
help promote tourism destinations where
local cultures can be appreciated.
The making of Architectural Heritage database
In 2008, Pongkwan Lassus began developing
a database system in CD Rom and online
formats. The database, which was collated
on ASA’s official website in 2013, consisted of:
- ASA Architecture Conservation awarded
buildings from 1962 – 2002 (174 buildings)
- Practitioner in Architectural Conservation
- Valuable Architectural Heritage
Unfortunately, due to several changes and
technical adjustments on the ASA website in
later years, this database disappeared.
Pilot project for Modern Thai Architecture
Heritage Conservation
In 2006, Dr. Sumet Jumsai na Ayudhaya
brought forward the issue concerning the
conservation of modern Thai architecture.
10 11
สมาคมอิโคโมสไทย และไปทำงานร่วมกับ
กรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ
และวัฒนธรรม แห่งวุฒิสภา ในเรื่องการ “ร่าง
กฎบัตรประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์แหล่งมรดก
วัฒนธรรม” และ “การบริหารจัดการมรดก
วัฒนธรรมในศาสนสถาน” มีการทำงานร่วมกับ
SCONTE ในการคัดค้านโครงการ “รื้อ-สร้างใหม่
อาคารศาลฎีกา” มีการร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรม
แห่งกรุงเทพมหานครในการจัดนิทรรศการ “รวม
มิตรอนุรักษ์” โดยเปิด 9 ห้องนิทรรศการให้
เครือข่ายอนุรักษ์ได้มาแสดงผลงาน และในการจัด
งานสถาปนิกที่สืบต่อกันมาทุกปี ได้มีการปฏิรูป
การจัดส่วนงานนิทรรศการของงานอนุรักษ์ให้มี
พื้นที่กว้างขางขึ้น ซึ่งนอกจากจะแสดงงานโครงการ
ต่างๆ ของกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ของสมาคม-
สถาปนิกสยามฯ แล้ว ยังได้เชื้อเชิญให้เครือข่าย
อนุรักษ์อื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีพื้นที่แสดง
ผลงาน เพื่อผนึกกำลังให้งานอนุรักษ์ขยายผลเป็น
ที่แพร่หลายและรับรู้จากสาธารณชนในวงกว้าง
มากขึ้น (มีต่อฉบับหน้า)
The matter was discussed after the former
Director-General of the Department of Fine
Arts, Nikom Musikama, issued a letter to the
Association of Siamese Architects requesting
we collaborate to help develop criteria for
the registration of modern Thai architecture
in Thailand as historical sites. The commission
assigned Assistant Professor Yongthanit
Pimonsatien to publish an article titled
‘Conservation of Modern Thai Architecture’. In
2008 , the Association together with TCDC put
together the exhibition ‘Keeping Up: Modern
Thai Architecture 1967-1987’ to promote the
importance and values of modern Thai architecture
for the first time in Thailand. What
ensued was the establishment of a working
committee focusing specifically on the conservation
of modern Thai architecture. This
has continued to operate ever since.
Creation and Expansion of Conservation
Network
During this period the number of collaborations
was broadly expanded. They included an
MOU with ICOMOS Thailand, and collaborating
with the Senate Standing Committee on
Religion, Morality, Ethics, Arts and Culture on
the creation of a Thailand Charter on cultural
heritage management and the management of
cultural heritage in religious places. We also
worked together with SCONTE on a campaign
opposing the demolition and reconstruction
of the Supreme Court building.
At the Bangkok Art and Culture Center, the
ASA Conservation Network put together the
exhibition ‘Anurak REMIX’ (a conservation
mini-expo); nine exhibition rooms at the BACC
welcomed the presentations and projects of
the ASA Conservation Network. And at the annual
Architect Expo, the space provided to the
ASA Conservation Network, which showcases
projects by the ASA Architectural Conservation
Committee and partners both from the
government and private sector, has grown
larger every year. Taken together, all these
developments are helping to raise awareness
and appreciation for architectural conservation
among the general public.
(To be continued)
Review
งานสถาปนิก ’62: กรีน ได้ อีก
Architect '19
Green Means More
Text: วิญญู อาจรักษา / Winyu Ardrugsa
Translation: สุชานาฏ จารุไพบูลย์ / Suchanart Jarupaiboon
Photo: ASA
นับตั้งแต่ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม-
ราชูปถัมภ์ เริ่มจัดงานสถาปนิกพร้อมๆ กับ
การนำเสนอแนวคิดหลัก (theme) อย่างใด
อย่างหนึ่งสู่สังคมเมื่อปี พ.ศ. 2540 ยังไม่เคย
มีครั้งไหนที่ประเด็นทางด้าน “สถาปัตยกรรม
สีเขียว” หรือ “สถาปัตยกรรมยั่งยืน” ได้รับการ
ปักธงให้เป็นแนวคิดหลักขับเคลื่อนงานอย่างชัดเจน
มาก่อน งานสถาปนิกครั้งที่ 23 ซึ่งเพิ่งผ่านพ้น
ไปเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมภายใต้แนวคิด “กรีน
อยู่ ดี” หรือ “Living Green” จึงถือเป็นครั้ง
แรก โดยคณะผู้จัดงานได้หยิบยกเอาปัญหาทาง
สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และ
ข้อจำกัดทางทรัพยากรต่างๆ มาเป็นกรอบในการ
ตรวจสอบความเป็นไปของงานสถาปัตยกรรม
ความสัมพันธ์กับบริบทเมืองและสังคม พร้อมทั้ง
การแสดงผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีสรรค์สร้าง
สภาพแวดล้อมต่างๆ กล่าวได้ว่านี่เป็นความท้าทาย
อย่างยิ่งในการดึงเอาเนื้อหาซึ่งบ่อยครั้งถูกมอง
ว่าเป็นกลจักรเบื้องหลังงานสถาปัตยกรรม และ
โดยธรรมชาติแล้วมีรายละเอียดทางเทคนิคมาก
พอสมควร ออกมาวางไว้เบื้องหน้าซึ่งต้องพูดถึง
การออกแบบ การก่อสร้าง และการใช้ชีวิตไป
พร้อมๆ กัน
หากเปรียบกับงานสถาปนิกในช่วงปีหลังๆ จะพบ
ว่าส่วน ASA Zone ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของสมาคม
สถาปนิกสยามฯ ในปีนี้ มีรูปแบบและโทนสีที่เป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันมากกว่าปีก่อนๆ โดยคณะ
ผู้ออกแบบได้เลือกใช้ท่อกระดาษสีน้ำตาลเป็นวัสดุ
หลักในการกำหนดพื้นที่ และต่อเป็นโครงสร้างรับ
น้ำหนักในลักษณะต่างๆ โดยเป็นวัสดุรีไซเคิลจาก
เยื่อกระดาษที่สามารถนำไปขึ้นรูปได้ใหม่ภายหลัง
การใช้งาน นอกจากนี้ยังมีผ้ากระสอบและผ้าใบกัน
ฝุ่นซึ่งใช้กันตามสถานที่ก่อสร้างร่วมด้วยในหลายๆ
ส่วน สิ่งที่น่าสนใจในพื้นที่ราว 7,000 ตร.ม. ของ
สมาคมในปีนี้ คือการแบ่งพื้นที่ราว 1,000 ตร.ม.
ออกมาเป็นส่วน ASA Shop, ASA Friends และ
ASA Club บริเวณด้านนอกโถงจัดแสดงหลัก เพื่อ
รองรับทั้งสมาชิกสมาคมฯ และประชาชนทั่วไป
น่าเสียดายว่าความกลมกลืนในภาพรวมของพื้นที่
ASA Zone ไม่ได้นำมาซึ่งความหลากหลายของ
รูปแบบการทดลองที่อาจสะท้อนว่าสถาปัตยกรรม
Ever since the Association of Siamese Architects
under Royal Patronage (ASA) organized
its first Architect Expo as a themed exhibition
in 1994, never had “green architecture”
or “sustainable architecture” been a central
theme of these events. The 23rd Architect
Expo, recently held in May under the concept
“Living Green”, was the first to have included
this theme. In this event, organizers used
environmental problems, climate change, and
resource limitations to set a framework for
assessing the frontiers of architectural design
in the current urban and social contexts, and
showcased products and creative innovations
that sustain the environment. It is indeed a
great challenge – bringing what is often seen
as a mechanism behind architectural design
and technical complexity to the forefront,
which requires simultaneous discussions
about design, construction and living.
Compared to Architect Expos held in recent
years, we can see that ASA Zone, ASA’s major
zone this year, was more congruous in terms
of form and color tone. The designer team
selected brown paper tubes as the main
material for area demarcation and connected
them into weight-carrying structures in various
ways. These tubes recycled from paper
pulp can be formed into something new after
use. In addition, sackcloth and anti-dust
canvas commonly seen in construction sites
were used in several areas. What’s interesting
about this area of some 7,000 square
meters is the fact that an area of some 1,000
square meters was set aside for ASA Shop,
ASA Friends, and ASA Club outside the main
exhibition hall, welcoming ASA members
and the general public alike. Unfortunately,
the overall congruity of the ASA Zone did
not bring with it a diversity of experiments
that may reflect green architecture’s many
possibilities. In addition, the presentation of
several exhibition areas such as Innovation
Green Materials, Smart Cities, ASA Friends
or Ancient Wisdom from Three Regions was
rather academic, and because of this they did
not attract many viewers, and visitor participation
was low. However, the ASA Members
zone was as fascinating as ever. Several studios
selected their best works and presented
ideas relevant to the theme, focusing on the
relationship between the environment and
various aspects of architecture, such as restrictions
on building coverage ratio, use of
local materials under new approaches, use
of old buildings in ways that are more eco-
12
13
สีเขียวมีความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างไรบ้าง นอกจากนี้
พื้นที ่นิทรรศการหลายส่วน เช่น Innovation
Green Materials, Smart Cities, ASA Friends
หรือ ภูมิปัญญา 3 ภูมิภาคสู่ปัจจุบัน ได้รับการนำ
เสนอที่ค่อนข้างเป็นวิชาการจึงมีแรงดึงดูดความ
สนใจและการมีส่วนร่วมของผู้เข้าชมได้ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม พื้นที่จัดแสดงงานสถาปัตยกรรม
ส่วน ASA Members ยังคงเป็นพื้นที่ซึ่งมีเนื้อหา
ที่น่าสนใจเช่นเคย โดยหลายสำนักงานได้คัดเลือก
ผลงานและนำเสนอแนวคิดซึ่งเกี่ยวข้องกับธีมงาน
ที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมและ
สถาปัตยกรรมในแง่มุมต่างๆ เช่น การจำกัดพื้นที่
อาคารคลุมดิน การใช้วัสดุพื้นถิ่นในแนวทางใหม่
การปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารเก่าให้เชื่อมต่อ
กับสภาพแวดล้อมมากขึ้น และอื่นๆ อีกหลาย
ประเด็น ในพื้นที่ส่วนนี้ Yimsamer Studio ได้
ถ่ายทอดผลงานของสำนักงานต่างๆ ในห้องฉาย
ภาพขนาดใหญ่ในลักษณะ Interactive Infographic
Installation ที่สร้างประสบการณ์มากกว่า
การมองดูแบบและหุ่นจำลองด้านนอก (เช่นเดียว
กับพื้นที่ของ Green Building Showcase 360°)
ซึ่งตรงข้ามกับการจัดแสดงผลงานสถาปัตยกรรม
ที่ได้รับรางวัลสำคัญอย่าง ASA Emerging Architecture
Awards 2019 ที่เป็นนิทรรศการ
แบบเรียบง่ายแต่ไม่สามารถทำให้ผลงานรางวัล
ดีเด่น Raintree International School โดย
GreenDwell และผลงานรางวัลสมควรเผยแพร่
อย่าง บ้านบรรจบ โดย ณัฏฐวุฒิ พิริยประกอบ,
Ahsa Farmstay โดย Creative Crews, โครงการ
สวนศิลป์อาจารย์ป๋วย โดย สถาปนิกชุมชนและ
สิ่งแวดล้อมอาศรมศิลป์ และโครงการ Visavapat
Headquarter โดย ลูกเล่นสถาปนิก มีพลังที่จะ
แสดงตัวเป็นกรณีศึกษาที่สอดคล้องกับธีมการจัด
งานได้ ทั้งๆ ที่แต่ละโครงการล้วนถูกพัฒนาขึ้นมา
ผ่านแนวคิดที่น่าสนใจ เช่น การวางอาคารร่วมกับ
สภาพแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ ่งของการเรียนรู้ของ
เด็ก การสร้างรูปทรงที่ท ำงานร่วมกับการไหลของน้ำ
การใช้วัสดุเก่าในพื้นที่และการท ำงานร่วมกับชุมชน
การฟื้นฟูพื้นที่ปิดล้อมในเมืองเป็นพื้นที่สาธารณะ
และการสร้างสัดส่วนสมดุลระหว่างพื้นที่ใช้งาน
และพื้นที่สีเขียว
conscious, and others. In this zone, Yimsamer
Studio displayed its works in a large theater as
an interactive infographic installation, creating
an experience that offered more than just
exterior inspection of models (similar to Green
Building Showcase 360°). This contrasted
with the exhibition of architectural designs
that won ASA Emerging Architecture Awards
2019, which was a simple exhibition. However,
it failed to highlight the award-winning
Raintree International School by GreenDwell
and other award winners such as Baan Banjob
by Natthawut Piriyaprakob, Ahsa Farmstay
by Creative Crews, Puey Ungphakorn Artistic
Park by Arsom Silp Institute of the Arts, and
Visavapat Headquarters by Looklen Architects.
The exhibition failed to show their potential
as case studies relevant to the event’s theme,
even though the concept behind each of these
projects was fascinating, such as designing a
building with the environment in mind and
using it as part of a children’s learning center,
creating a structure that works in tandem with
water flowing, using old materials and working
with the community, reviving an enclosed area
in the city and turning it into public space,
and creating a balance between area for use
and green space.
The seriousness of this zone for professional
architects stood in contrast from the more
fun interpretation of “green design” in the
ASA Student Exhibition area, held by students
from over 30 institutions. Most of their works
interacted better with the audience than in
other parts of the Expo. What’s worth noting
is that the works that won awards still equate
greenness with green space. Green Delivery,
from the Architectural Education and Design,
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang,
won the first prize. The first runner
up was Trash to Tree from Silpakorn University,
highlighting management of increasing waste
by redesigning parcel boxes and plastic bottles
into seed and plant containers that can be
taken home. Meanwhile, Urban Nature of Chiang
Mai, won Popular Vote, with Rajamangala
University of Technology Lanna reminding us
of urban expansion at the expense of forest
areas, via the use of a forest model that allows
visitors to pin more plants on it. A work that
sees greenness in a different light, Breathable
City by Thammasat University, won a
ภูมิปัญญา 3 ภาคสู่ปัจจุบัน
ASA Emerging Architecture
Award 2019
14 15
ASA Workshop & Student
Activites
ASA Workshop & Student
Activites
ความจริงจังบนพื้นที่ของสถาปนิกอาชีพข้างต้นนี้
แตกต่างจากความสนุกสนานในการตีความคำว่า
“green design” ในพื้นที่ ASA Student Exhibition
ของนักศึกษากว่า 30 สถาบัน ซึ่งผลงานส่วนมาก
สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ดีกว่าพื้นที่ในส่วนอื่นๆ
สิ่งที่น่าสังเกตคือผลงานที่ได้รับรางวัลยังเลือก
มองความเขียวเป็นพื้นที่สีเขียว โดย Green Delivery
รางวัลชนะเลิศ จากสาขาวิชาครุศาสตร์
สถาปัตยกรรมและการออกแบบ สถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
และ Trash to Tree รางวัลรองชนะเลิศ จาก
มหาวิทยาลัยศิลปากร กังวลกับการเพิ่มขึ ้นของ
ขยะเหลือใช้โดยนำกล่องบรรจุภัณฑ์ทางไปรษณีย์
ขวดพลาสติกกลับมาออกแบบแทรกเมล็ดพันธุ์
และต้นไม้จริงๆ ที่เอากลับบ้านได้ ซึ่งนี่รวมถึง
Urban Nature of Chiang Mai รางวัล Popular
Vote โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ซึ่งกระตุ้นเตือนปัญหาการขยายตัวของเมืองและ
การลดลงของผืนป่าผ่านหุ่นจำลองที่ให้คนปักต้นไม้
เพิ ่มได้ ผลงานที่มองความเขียวต่างออกไปในที่นี้
เป็นผลงานรางวัลชมเชย Breathable City ของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนำเสนอเรื่องการ
ถ่ายเทอากาศ ผ่านโต๊ะหน้าจอ interactive ที่
ผู้ชมสามารถขยับชิ้นส่วนต่างๆ ไปมาเพื่อดูการไหล
ของกระแสลม ตั้งแต่ระดับการจัดเครื่องเรือนจนถึง
การวางกลุ่มอาคาร
สำหรับ ASA Student Workshop ในปีนี้ นักศึกษา
ต่างสถาบันกว่า 70 คน ได้ลงศึกษาพื้นที่แขวง
ตลาดน้อย โดยผลงานชนะเลิศ Throwback
นำเสนอการเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนผ่าน
สถาปัตยกรรมใหม่ที่มีรากอยู่บนพื้นที่เก่า ส่วน
ผลงาน จนตรอก ซึ่งได้รางวัล Popular Vote เลือก
พัฒนาพื้นที่ซอกตึกระดับเหนือดินเป็นทั้งอาคาร
และสวนขนาดเล็ก ความสนใจในพื้นที่เมืองของ
workshop ยังเป็นโจทย์ของ ASA Seminar ด้วย
โดยใช้แนวคิด “ดิน น้ำ ลม ไฟ” ที่ทำให้การพูดคุย
นั้นครอบคลุมประเด็นสวนสาธารณะสำหรับ
ทุกคน ความสัมพันธ์ บ้าน+เมือง+น้ ำ สถาปัตยกรรม
หายใจได้ และงานออกแบบแสงสว่างที่เปลี่ยนการ
รับรู้ในเมืองไป อย่างไรก็ตาม การเสวนาที่เข้มข้น
ที่สุดในงานสถาปนิกปีนี้คือการจัดเวทีสาธารณะ
“ทางเลียบเจ้าพระยา: สร้างสรรค์หรือทำลาย” โดย
ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที ่สมาคมสถาปนิกสยามฯ
เป็นแกนกลางเชิญทั้งฝ่ายผู้ศึกษาออกแบบ ฝ่าย
ที่ตั้งคำถามกับโครงการ ฝ่ายผู้ทรงคุณวุฒิ และ
ประชาชนทั่วไป มาร่วมกันถกประเด็นและมีการ
ประเมินโดยองค์กรวิชาชีพ ภาคการศึกษา และ
ภาคประชาสังคมต่างๆ เพื่อส่งข้อสรุปจากเวทีไป
ยังภาครัฐ ซึ่งหลายฝ่ายที่เข้าร่วมมีความกังวล
และต้องการให้ภาครัฐชะลอและปรับกระบวนการ
ทำงานให้เปิดกว้าง เพื่อเดินไปสู่คำตอบจากทุกภาค
ส่วนโดยไม่เป็นไปตามโจทย์ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า
a consolation prize. It presents air flow via an
interactive screen, allowing viewers to shift
various pieces around to see wind directions,
from furniture arrangement to designing of
building clusters.
For this year’s ASA Student Workshop, more
than 70 students from various schools went
on a field study in Talad Noi District. First prize
winner, Throwback, recounted history of the
community through new architecture with
history of an old area. Meanwhile, Cornered,
which won Popular Vote, chose to develop the
space between buildings over the ground into
a building and a small garden. The Workshop’s
interest in urban space was also a topic of
discussion in the ASA Seminar, under the
concept “earth, water, wind, fire.” Among the
things discussed were an idea of a public park
for all; the relationship between houses, cities,
and water; breathable architecture; and
lighting design that changes urban perception.
However, the most intense discussion
in this year’s Architect Expo occurred during
a public debate on “Chao Phraya Boardwalk:
Creative or Destructive?” It was an important
activity spearheaded by ASA, which invited the
people who conducted a feasibility study for
this project as well as those who questioned
the merits of the project, experts and the
public to discuss various issues. The debate
was also observed by professional associations,
academics, and civil society who will
then submit conclusions made at this forum
to the government. Several of the participants
expressed concern and wanted the
government to delay the project and enable
increased participation, so all sectors can
collectively find a solution without starting
at a pre-determined point.
16 17
Assawin Choochottavorn
ASA FORUM Review
เมื่อข้ามจากงานสัมมนามายังส่วน ASA Forum
ซึ่งในปีนี้มีจำนวนสถาปนิกไทยและต่างชาติขึ้นเวที
กันอย่างละครึ่ง การบรรยายทั้งหมดดูจะนำเสนอ
แง่มุมที่หลากหลายต่อความยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
โดย คำรน สุทธิ จาก Eco Architect ให้ความ
สำคัญกับความเรียบง่ายแบบพื้นถิ่นที ่ตอบกับภูมิ-
อากาศของบ้านเรา รวมถึงการค้นหาแรงบันดาล
ใจจากวิถีชีวิตในพื้นที่ซึ่งเห็นได้ชัดในผลงาน Sleep
Station หรือ Cocoa Valley Resort Phase 2 ใน
ประเด็นเดียวกันนี้ อัศวิน ชูโชติถาวร ซึ่งเป็น Associate
จาก Foster + Partners ชี้ว่าการศึกษาลง
ไปในองค์ประกอบพื้นถิ่นร่วมกับการใช้เทคโนโลยี
นั้นจะนำมาซึ่งคำตอบที ่มีคุณภาพ โดยโครงการ
ต่างๆ ใน Masdar City เป็นตัวอย่างที่เกิดจากการ
ศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอย่างหอลม Barjeel
เวิ้งหน้าต่าง Mashrabiya รวมถึงสวนและตรอก
Moving forward to the ASA Forum: participants
in this year’s forum were half Thai and
half foreign architects. All lectures presented
different and interesting perspectives on
sustainability. Khamron Suthi from Eco Architect
focused on local simplicity based on
Thailand’s climate and finding inspiration from
local ways of life, clearly reflected in Sleep
Station and Cocoa Valley Resort Phase 2. On
this very issue, Assawin Choochotetavorn,
Associate from Foster + Partners, pointed out
that a study into local elements in conjunction
with the use of technology will yield great
results. Various projects in Masdar City were
examples from the study of local architectural
styles such as Barjeel Wind Tower, Mashrabiya
window screens, as well as gardens and alleys
in Middle Eastern cities. Conducting research
in tandem with designing from the beginning
of a project was what Nico Kienzl, Atelier Ten’s
Director, emphasized as extremely important.
While it leads to invisible architecture, it also
https://youtu.be/VT1Z9Nf7fiM
Kai-Uwe Bergmann
https://youtu.be/_gz_zmKYZKk
Assawin
Choochottavorn
Foster + Partners
Kai-Uwe Bergmann
Bjarke Ingels Group
(BIG)
Khamron Sutthi
Eco Architect
Sanne van der Burgh
Apichart Srirojanapinyo
& Chanasit Cholasuek
Nico Kienzl
Atelier Ten
https://youtu.be/ehSg-0t8aWk
https://youtu.be/D5fco9aoIJA
Khamron Sutthi
Nico Kienzl
Sanne van der Burgh
MVRDV
https://youtu.be/RRzQPncKIqY
https://youtu.be/45CJWW6F3Z4
Apichart
Srirojanapinyo &
Chanasit Cholasuek
Stu/D/O Architects
18 19
ซอยของเมืองในตะวันออกกลาง การค้นคว้าคู่ไป
กับการออกแบบตั้งแต่เริ่มโครงการนั้นเป็นสิ่งที่
Nico Kienzl ผู้อำนวยการของ Atelier Ten ย้ำ
ว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แม้จะก่อให้เกิด invisible
architecture หรือสถาปัตยกรรมที่มองไม่เห็นแต่
ก็แฝงนำให้เกิดความเฉพาะตัวและประสิทธิภาพ
โดยมีตัวอย่างเป็นการจำลองสถานการณ์ที่ละเอียด
ซึ่งทำให้โครงการโดมกระจก Jewel หน้าสนามบิน
Changi สามารถสร้างสภาวะสบายและเหมาะสม
ให้กับผู้ใช้และสวนด้านในได้ อย่างไรก็ตาม
การทดลองบนข้อจำกัดที่ดูเป็นไปไม่ได้กลับนำ
สถาปัตยกรรมสีเขียวแบบเดิมๆ ไปสู่ความเป็นไป
ได้ใหม่ๆ โดย Sanne ven der Burgh จาก MVRDV
นำเสนอโครงการ Markthal ซึ่งเป็นหนึ่งตัวอย่าง
ที่มองความยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงลักษณะ typology
ใหม่ ส่วนผสมกิจกรรม และการจัดการ
พลังงาน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นแนวทางที่คล้ายคลึง
กับ Bjarke Ingels Group (BIG) โดย Kai-Uwe
Bergmann ยกเอาโครงการ Copenhill ที่สถาปนิก
เป็นผู้นำในการออกแบบโรงกำจัดขยะและผลิต
พลังงานให้กลายเป็นเนินเขาสำหรับการเล่นสกี
ไปพร้อมๆ กัน ในความเข้มข้นของเนื้อหาทั้งหมด
นี้ ชนาสิต ชลศึกษ์ และอภิชาต ศรีโรจนภิญโญ
ช่วยนำเอาแนวคิดต่างๆ กลับมายังบริบทของไทย
โดยผลงานต่างๆ ของ Stu/D/O เช่น Kurve 7 หรือ
Inter Crop Office ได้สะท้อนว่าการใส่ใจใน
ส่วนผสมระหว่างการออกแบบทดลองและการ
คำนึงถึงสภาพแวดล้อมและเมืองจะก่อให้เกิดงาน
สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจและมีคุณค่าได้
creates uniqueness and effectiveness. For
example, a detailed simulation made it possible
to create Jewel at Singapore’s Changi
Airport, bringing comfort and suitability for
use to users and the gardens inside. However,
an experiment within limitations that
appear impossible can create new frontiers
for green architecture. Sanne ven der Burgh
from MVRDV presented Markthal, one of
the projects that sees sustainability via a
new connection typology, a combination of
activities, and energy management, which in
fact is quite similar to the approach taken
by Bjarke Ingels Group (BIG), with Kai-Uwe
Bergmann citing Copenhill, a project led by
architects that designed a waste treatment
and energy-generating plant that can also
serve as a ski slope. For all the intensity of
the content discussed here, Chanasit Chonlasuek
and Apichart Srirojanapinjo applied
these concepts in the Thai contexts. Various
works by Stu/D/O, such as Kurve 7 or Inter
Crop Office, reflects the attention paid to the
combination between experimental design
and environmental and urban concerns, and
how they can lead to interesting and meaningful
architectural styles.
ASA International Design
Compettition 2019
Student Exhibition
ASA International Design Competition
มุมมองต่อความยั่งยืนในมิติต่างๆ ได้ถูกผลักไปจน
สุดทางในการประกวดแบบ ASA International
Design Competition ซึ่งผลงานรางวัลที่หนึ่ง The
Eternity Sustainability โดย ธัญญเดช พรพงษ์
ได้นำเสนอสถานที่จัดการศพในวิธีต่างๆ ที่จะยัง
ประโยชน์ให้กับสภาพแวดล้อมต่อไป ส่วนผลงาน
รองชนะเลิศ Re-Freeze the Arctic โดย Faris
RajakKotahatuhaha จากอินโดนีเซีย เจาะไปที่
ปัญหาการละลายของภูเขาน้ำแข็งที่ขั้วโลก โดย
เสนอนาวาสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ที่สามารถ
สร้างก้อนน้ำแข็งและเป็นพื้นที่การวิจัยและสถาน
ที่ท่องเที่ยวไปในตัว ส่วน the Hidden Life of
Perspectives towards sustainability in all
dimensions were pushed to the edge in ASA
International Design Competition. First prize
winner, The Eternity Sustainability by Yan
Phornphong, proposes facilities for managing
dead bodies that will have environmental
benefits. The first runner up, Re-Freeze the
Arctic by Faris RajakKotahatuhaha, from Indonesia,
highlighted ice melting at the poles
and proposed large-scale naval architecture
that can produce ice and serve as a center for
research and tourism at the same time. The
second runner up, Hidden Life of Architecture
by Taitawip Thirapongphaiboon, was a work of
surrealism imagining the world where architecture
is a species that can grow, become
20 21
Green Building Showcase
ASA Friend
Architecture ซึ่งได้รางวัลที่สาม โดย ไททวีป ตีระ-
พงศ์ไพบูลย์ เป็นผลงานเหนือจริงที่จินตนาการ
ถึงโลกซึ่งสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์หนึ่งที่
จะเติบโตเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศและปรับ
เปลี่ยนตัวเองได้ นอกจากนี ้ยังมีผลงานชมเชย
Mobius Ring in a Vertical City จากประเทศ
จีน ซึ่งพูดถึงการเชื่อมต่อชุมชนในเมืองทั้งในมิติ
จิตวิญญาณและระบบนิเวศด้วยโครงสร้างวงแหวน
ลอยตัว ส่วนผลงาน PUPA และ Pole Forest
จากไทยมีแนวคิดเอาตึกร้างมาพัฒนาเป็นฟาร์ม
แมลงและแนวคิดเก็บเสาไฟฟ้าหรือเสางานระบบ
ต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ภายหลังการนำระบบลง
ใต้ดินมาพัฒนาเป็นแนวเส้นพื้นที่สีเขียวให้กับสัตว์
ขนาดเล็กต่างๆ ในเมือง ภายใต้หัวข้อ Uncanny
Sustainability ผลงานทั้งหมดนี้เชื้อเชิญให้เรา
ลองขยับความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนออกจากการ
วางให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางไปสู่การคำนึงถึงองค์
ประกอบอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ซึ่งเรา
อาจเป็นผู้ทำให้แปลกแยกออกไปทั้งๆ ที่ยังมีความ
สัมพันธ์กับการใช้ชีวิตของเราไม่ทางตรงก็ทางอ้อม
มาโดยตลอด
งานสถาปนิกในปีนี้เปรียบเสมือนการเปิดตัวครั้ง
ใหม่ของตำราเล่มสำคัญที่มีองค์ความรู้ “การกรีน”
อัดแน่นอยู่ภายใน ทว่าการดึงเอาประเด็นต่างๆ
จากหนังสือเล่มนี้มาคลี่ออกบนพื้นที่จัดงานนั้นดูไม่
สัมพันธ์กับปริมาณที่ว่างนัก การออกแบบพื้นที่และ
การสื่อสารเรื่องราวที่น่าสนใจบางส่วนไม่เอื้อให้เกิด
ปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมหรือผู้ฟังเท่าที่ควร อย่างไรก็ดี
หากพิจารณากันที่การริเริ่มและเนื้อหาของ
กิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่แล้ว งาน
สถาปนิกในปีนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ช่วยย้ำว่า
การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมผ่านการคำนึงถึง
ความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
นั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และ
ลดผลกระทบจากพลวัตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ได้ ที ่สำคัญการขยายขอบเขตความเข้าใจของเรา
ต่อความยั่งยืนใน “สถาปัตยกรรมสีเขียว” ก็ดูจะ
เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้เรา “อยู่ดี” ได้จริงๆ
part of the ecological system, and adapt. Additionally,
Mobius Ring in a Vertical City, from
China, which received a consolation prize,
addressed the connection of urban communities
spiritually as well as ecologically by a suspended
ring structure. Meanwhile, PUPA and
Pole Forest, from Thailand, presented ideas
under the topic Uncanny Sustainability, such
as developing abandoned buildings into insect
farms, as well as collecting electricity or other
structural poles remaining after the electricity
system was moved underground, using them
to demarcate green space for small animals
living in the city. All these works invited us
to expand our view of sustainability, shifting
from a human-centered view towards taking
other elements surrounding us into account,
which we may have unknowingly alienated,
even though they continue to affect our life
directly or indirectly.
This year’s Architect Expo was like a new
launch of a major textbook containing knowledge
on “living green” on every one of its
pages. However, the elements drawn from it
to be explored further in the exhibition area
did not seem to correspond with the available
space. The design of areas and communication
of some interesting concepts were unable
to generate enough interaction with viewers
or listeners. However, in terms of initiatives
and activity content, both in and outside
the exhibition area, the Expo served as an
important reminder that architecture that
takes into consideration new relationships
with the environment is crucial for improving
quality of life and minimizing impacts from
the dynamics of changes. Just as important,
the expansion of our view on sustainability in
“green architecture” seems to be the only way
that will truly lead us towards “green living.”
22 23
่
"245 KGS CARBON MONOXIDE."
Traditional cremation releases carbon monoxide
to the atmosphere.
"CITY-EDGE"
18xx
"28 GALLONS OF FUEL."
Traditional cremation requires a lot of fuel
per event.
"DEATH IS THE FINAL STAGE OF OUR LIFE...
IT IS THE LAST SUSTAINABILITY THAT WE CAN CONTRIBUTE."
The new eco-crematorium is a project which standing somewhere between the research possibility and the surreal vision.
Leading us to question on the sensitive topics; “the modern funeral” and “the modern graveyard” in which how they have harshly affected the environment for a long time.
Not only, questions along with the modern funeral procedures, and body disposal processes.
But will also try to change the perception of living people to their beloved dead persons. Both of memorialization and appreciate the poetics of death.
The new eco-crematorium integrated into the typical "empty" or "unbuilt space" of each city.
Creating the new type of public space and serving as the eco-crematorium itself underground in parallel.
This prototype eco-crematorium is the place for reutilizing our dead body back to nature in different eco-methods.
"800,000 GALLONS."
The chemical formaldehyde leakstoxically
to the earth annual in the usa.
"FLOWERS."
Traditional condolence flowers produced, treated
with chemicals.
unbuilT
sPaCe
"Animal farm"
unbuilT
sPaCe
"Public space"
unbuilT
sPaCe
"Memorial"
"COFFINS."
16,000 km2 of forest used for wooden caskets and
coffins.
"TRANSPORTATION."
The typical graveyard is far away from the community.
it also consumes the energy for logistic.
"IT IS TImE TO TALK ABOUT DEATH."
Nearly 2 people die each second or 150,000 people die each day.
Burial is the commonly chosen method which has negative impacts on the environment. Chemical formaldehyde leaks out toxically to the earth as well as a ton of wooden coffins wasted. Cremation is not the better choice either. The process
consumes a lot of fuel and releases carbon monoxide to the atmosphere.
“This new eco-crematorium” uses the alkaline hydrolysis for body disposal. Reutilizing every single part of the dead body contributes back to nature and the surrounding context.
"CITY-DOWNTOWN"
20xx
"SITE."
Most of the modern cities have a crematorium or a graveyard in the middle of an urban area. The graveyard was built at the city-edge long time ago,
then, It was swallowed up by the urban area once the city expanded.
This piece of land has been creating a dark and gloomy spot in the city.
It is a problem of urban planning for a long time which is a contradiction with a rapidly growing of urban area.
What if we change the perception of a graveyard and repropose inside the town instead?
unbuilT
sPaCe
"Urban farm"
unbuilT
sPaCe
"Energy resource"
"EMBALMING FLUID."
4.3 million gallons of embalming fluid containing the
carcinogen formaldehyde.
"HEADSTONES + LANDS."
Traditional memorization headstones are not friendly to the
environment itself, plus, engraving, installing, digging process
as well as the lands for the graveyard.
TYPICAL
GRAVEYARD
(OUTSIDE OF THE CITY)
unbuilT
sPaCe
"Aquatic farm"
unbuilT
sPaCe
"Educational"
unbuilT
sPaCe
"Aquatic farm"
"FIGURE-GROUND."
A typical crematorium or a graveyard out of the town is not working effectively for logistics and service for a local community.
The new eco-crematorium proposed at the "empty" or "unbuilt spaces" inside the city instead. It is the place for the reutilizing dead body in different
eco-burial methodologies to create specific activities and benefits to the local in each context (see page 2).
GF
-1 F
PUBLIC CIRCULATION
SERVICE / STAFF CIRCULATION
"MEMORIALIZATION
AREA"
"ENERGY TRANSFORMATION
BURIAL."
"JUNGLE BURIAL."
"SEA BURIAL."
"EDUCATIONAL
BURIAL."
"URBAN-FARM BURIAL."
"SKY BURIAL."
"THE PLACE WHERE LIVING + DEATH PEOPLE / ANIMALS + NATURE ARE TOGETHER."
underground (-1). At the ground level, the smooth contour will be weaving up in multiple directions with grid walkway system.
"I MISS YOU,...DAD" "ECO-RIP" BERLIN
I am here under the tree...
under the shade of you...
"THE NEW WAY OF MEMORIALIZATION."
Not only about changing the cremation process by itself.
But this crematorium also promotes eco-friendly condolence to the death with the new way of memorialization.
Our next generation of society will remember their beloved with surrounding nature…
FUNERAL SERVICE HALL
Using the ink from the
burial process to write
down the condolence
message
GF
-1
CAIRO
LIVING CLOSE BY YOUR BELOVED AGAIN!
(PARK)
ALKALINE HYDROLYSIS
OPERATION HALL
NEW YORK
HONG KONG
"FLEXIBILITY AND EXPANDABILITY."
Modular grid system allows the eco-crematorium to adapt
and expand wherever in all big cities globally.
From the most high-rate death city in the world, Cairo to the
densest cities; New York, Berlin or Hong Kong.
FLYING FREELY LIKE BIRDS!
"THE CONTINUITY OF OUR LIFE IN THE NEW FORMS."
Our life journey will be not ended once we died.
We will support all creatures and integrate back again as one with nature !
SWIMMING WITH THE FISH!
(SEA BURIAL)
"SKY BURIAL."
changing the ashes to feed the birds like the tradition in Tibet.
"JUNGLE BURIAL."
planting the jungle in the city by the ashes for the animals.
"URBAN FARM BURIAL."
planting bio vegetables by the ashes.
Creating urban food self-supporting.
square grid system
"DIFFERENT WAYS OF BURIAL."
preserved area like Australia. Or the urban-farm for lack of food city or areas in Africa.
BE THE SHADE OF TREES FOR LIVING PEOPLE AND
ANIMALS!
(JUNGLE BURIAL)
"SEA BURIAL."
"ENERGY TRANSFORMATION BURIAL."
generating the electricity for the nearby community from
the heating along the alkaline hydrolysis process.
"EDUCATIONAL BURIAL."
donating all/part of the body for education purpose.
Update
Uncanny
Sustainability
First Prize
THE ETERNITY SUSTAINABILITY
Yan Phornphong, Germany
ASA International Design
Competition 2019
กิจกรรมประกวดแบบโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ ASA International
Design Competition ในปีนี ้ ทุ่มเทให้กับความคิดใหม่ๆ
ในการพัฒนาอย่างยั ่งยืน การคิดที ่โดดเด่น เกินคาดเดา และการ
เปลี่ยนแปลงจนทําให้ได้รับนิยามศัพท์ว่า ‘น่าอัศจรรย์’
The ASA International Design Competition this
year is dedicated to fresh ideas in sustainability
– approaches so radical, unanticipated,
and transformative they earn the epithet
‘uncanny’.
ENT
ENT
“Uncanny Sustainability” ควรเปิดเส้นทางไปสู่ขั ้นตอนต่อไปใน
สถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: สภาพแวดล้อมที ่สร้างขึ้น
โดยไม่มองมนุษย์เป็นศูนย์กลางอีกต่อไป แต่มุ่งมั ่นในการเป็นอยู่ที่ดี
ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด สถาปัตยกรรมที ่ยั่งยืนมีความก้าวหน้าอย่าง
มากในการลดการใช้พลังงานและทรัพยากรอื ่นๆ แต่ความท้าทายที
ยิ่งใหญ่ยังคงอยู่และต้องการวิธีการตอบสนองที่ชัดเจน
ทางออกที่น่าอัศจรรย์ควรคิดถึงแนวทางดังต่อไปนี้
- สามารถสร้างจินตภาพให้สังคม และจุดประกายความตื ่นตัวใน
การคิดแนวทางใหม่ให้บ้านและเมือง
- ช่วยสร้างและปรับเปลี ่ยนกระบวนทัศน์จากความคิดที ่มนุษย์เป็น
ศูนย์กลาง สู่แนวคิดที ่สรรพสิ ่งบนโลกเป็นศูนย์กลาง เพื ่อสร้าง
สภาพแวดล้อมที ่มนุษย์อยู่อย่างสมดุลอย่างแท้จริงกับทุกสรรพ-สิ ่ง
ในธรรมชาติ
- นําไปสู่การหาแนวคิดที ่ยิ่งใหญ่ ที ่จะช่วยเร่งการเปลี ่ยนแปลง
ทางออกที่สังคมนําไปใช้ได้ แก้ปัญหาอย่างครอบคลุมเป็นองค์รวม
และนําไปใช้ในบริบทอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง
ดังนั้นความท้าทายคือการนําเสนอแนวคิดที ่สร้างความอัศจรรย์ใจ
และเหมือนเหตุการณ์ที ่ชวนฉงนอย่างน่าทึ ่ง ท้าทายความคิดเดิมของ
เราและขยายมุมมองของเราสู่มิติใหม่
คณะกรรมการจะให้รางวัลแก่ผลงานที่นําเสนอทางแก้ไขหรือแนว
ทางใหม่ๆ ไม่ว่าจะด้วยความท้าทายกับสิ ่งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ศักยภาพ
ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ หรือความสามารถในการสร้าง
แรงบันดาลใจให้สังคม
‘Uncanny sustainability’ should open a route
to the logical next steps in eco-friendly architecture
: a built environment that is no
longer human-centric but dedicated to the
well-being of all living beings. Sustainable
architecture has taken great strides in minimizing
the consumption of energy and other
resources, but great challenges remain and
they demand bold responses.
‘Uncanny’ solutions are :
- vital to capture the public imagination, igniting
passion for reconceiving homes and cities.
- essential to shift the paradigm from humanto
world-centric thinking for the environment
where man is in true harmony with the rest
of nature.
- critical to find big ideas that accelerate
change – accessible, holistic solutions with
broad applications.
The challenge is therefore to present ideas
that surprise and – like any ‘uncanny’ event
– challenge our assumptions and widen our
views of what is possible. The judges will reward
entries that provide this shock of fresh
possibilities, whether by their challenge to
conventions, their transformative potential,
or their capacity to inspire.
THE ETERNITY SUSTAINABILITY
A new type of eco-crematorium to reutilize our dead body back to nature
The new eco-crematorium is a project which standing somewhere between
the research possibility and the surreal vision. Leading us to question on the
sensitive topics; “the modern funeral” and “the modern graveyard” in which
how they have harshly affected the environment for a long time.
Not only, questions along with the modern funeral procedures, and body
disposal processes.
1/2
But will also try to change the perception of living people to their beloved
dead persons. Both of memorialization and appreciate the poetics of death.
unbuilT
sPaCe
"Garden"
ENT
10 m
SERVICE (BOH)
2/2
MEMORIALIZATION
PASSAGE
MEMORIALIZATION
HALL
MEMORIALIZATION
HALL
SEA BURIAL
(SWEET WATER)
This prototype eco-crematorium is the place for reutilizing our dead body
back to nature in different eco-methods.
Our life journey will be not ended once we died. This eco-crematorium will
carry-on our life and soul into the new chapter in different actions. We will
support all creatures and integrate back again as one with nature.
“DEATH IS THE FINAL STAGE OF OUR LIFE... IT IS THE LAST SUSTAINABILITY
THAT WE CAN CONTRIBUTE”.
1
2
3
4
A
ENTRANCE
HALL
B C D
ENTRANCE
HALL
URBAN FARM
BURIAL
SEA BURIAL
(SEA WATER)
ENERGY
TRANSORMATION
GENERATOR
HALL
ALKALINE
HYDROLYSIS
HALL
JUNGLE
BURIAL
STAFF
AREA
EDUCATIONAL
BURIAL
STAFF
AREA
The new eco-crematorium integrated into the typical "empty" or "unbuilt
space" of each city. Creating the new type of public space and serving as
the eco-crematorium itself underground in parallel.
24 25
“REFORESTATION IN TROPICAL REGIONS HAS THE
SAME ROLE AS FREEZING THE POLAR ICE CAPS”
BACKGROUND CONTEXT
In fact the change in sea ice is seen as one of the key global climate variables
confirming model estimates of global scale warming of our planet
through the Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) process.
Extensive investigations at the leading edge of Antarctic System Science
have recently uncovered a number of surprises, many somewhat counterintuitive,
each having significant consequences in the Arctic and through
teleconnections to the rest of our planet.
In fact the change in sea ice is seen as one of the key global climate variables
confirming model estimates of global scale warming of our planet
through the Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) process.
Extensive investigations at the leading edge of Arctic System Science have
recently uncovered a number of surprises, many somewhat counterintuitive,
each having significant consequences in the Arctic and through teleconnections
to the rest of our planet.
Basic need was brougth our concerns about the important Trees in Tropical
Sites. The question stands on what if it will be happened in the cold area
without tree. The need would be emerged the area’s context, how it would
be arctic without ice? Re-iceberg-isation as a term to explain our understanding
in paradox term of re-forestration of green to be iceberg recovery
system.
GLOBAL CATHASTROPHIC
The potential effects of Arctic regime shift ( or tipping points- when a natural
system, such as the ice cap, undergoes a dramatic change) on the rest
of the world are substantial, yet poorly understood. Human Driven climate
change greatly increases the risk of Arctic regime shifts, so reducing global
greenhouse gas emissions is crucial to reducing the risk. Shifts in Snow
distribution that warm the ocean which alters the climate patterns as far as
Asia. It could be affect the moonsoon.
RECOVERY ARCTIC
Iceberg needs a year to be established and three years to be released as
water again. In order to alter ice to be frozen immedietely, air turbins move
actively to maintain the prospective ice in ideal temperature. Prior the water
to be placed, reverse osmotic layers would be filter the water from salt
to keep the purity of water in cut short the time efficiency of ice-making.
NEW ICE BABY
The decline trend of extent ice each year based on NASA’s picture presents
the immediate call to recover Arctic. Restore substraction area with addition
by filterosmotic
- freeze the ice water. As if a submarine, balast tank relieve and get
in water to sink by the time ‘the new baby ice born’ ready to be realesed and
sticked on the other babies.
SAN FRANCISCO
PORTLAND
T L E
B A N G K O K
KUWAIT CITY
M U M B A I S E A T
CALCUTTA
HO CHI MINH CITY
J A K A R T A
SINGAPORE
KUALA LUMPUR NEW
WAHINGTON D.C
NEW YORK CITY
B O S T O N
M I A M I
ORLEANS
HONGKONG CHARLESTON
SHANGHAI H O U S T O N
B E I J I N G H A V A N A
T O K Y O
S D Y N E Y L O N D O N
A D E L A I D E BARCELONA
P E R T H L I S B O N
O D E S S A D A K K A R
I S T A N B U L A C C R A
ST. PETERSBURG PARAMARIBO
STOCKHOLM RIO DE JANEIRO
COPENHAGEN BUENOS AIRES
AMSTERDAM L I M A
V E N I C E SAN DIEGO
B R U S S E L S T R I P O L I
J E D D A H
GLOBAL SUSTAINABILITY
Based ideas was brought our concerns about the important Trees in
Tropical Sites. The question stands on what if it will be happened in the
cold area without tree. The need would be emerged the area’s context,
how it would be Antarctic without ice? Re-iceberg-isation as a
term to explain our understanding in paradox term of re-forestration of
green to be iceberg recovery system.
Uncanny idea for global impact.
IDEAS
Based on research, ice nowadays contains salt more and triggers to melt
the ice. From that fact, the frezeer sets with osmotic layers inside the hexagonal
ice cast to divide the pure water and salt water. Additionally, air
moving tunnel surrounds the cast to press the cold temperature to freeze.
While the water is accomadated, its cover on the top is closing to accelerate
the water to be freeze. An ice berg will be released by Upnormal freezer
each month with hexagonal shape in order to be puzzling with the further
hexagonal ice. Six lines as if six hands to engage one ice berg to other icebergs.
Considering a small tubular type to be produced with 25 meters ice
and 5 meters thickness. The 2027 m3 of volume would contribute Arctic to
reveal balance number that has been melted. Since the Upnormal Freezer
is movable and adjustable prototype, future massive development would
be high possibility as accountable ‘save earth agent’ in extending ice.
ELABORATION
The main function as Ice Berg-maker could be develop comprehensively as
Underwater Sightseeing, Research, Living Quarter and Antarctic Eco-Tourism.
DROP & RELEASE
Adapt submarine system as movable model engages to be flexible in all
situation of weather. Bulb shape for bottom part to be dynamic with specific
gravity of water. In normal activity, the Freezer stays floating in Arctic
Sea. Sinking to underwater to store up prospective ice to be shaped in.
While floating with the water inside the hexagonal cast, Reverse osmotic
process is on-going to divide fresh water and salt water. The salt water
with compressed amount will be turning out to filter area and throwing
away through bottom valve to the sea – some of salt water will be flowing
to crystallization salt development area. Upon completing desalinate process,
top lid closes to enclosure the cold temperature. Within a month, new
ice baby releases by sinking. By the time, repeating the storing water after
going up to the surface, the Upnormal Freezer pushes the new baby ice to
stick on other existing ice. Hexagonal shape has been considered as further
production in extending ice area.
PROBLEM
IDEA
Second Prize
RE-FREEZE THE ARCTIC
Faris RajakKotahatuhaha, Indonesia
Third Prize
THE HIDDEN LIFE OF ARCHITECTURE
Taitawip Thirapongphaiboon, Thailand
RE-FREEZE THE ARCTIC
Re-iceberg-isation Hexagonal Tubular Ice Arctic
+ + = >
BACKGROUND CONTEXT
In fact the change in sea ice is seen as one of the key global climate variables confirming
model estimates of global scale warming of our planet through the Intergovernmental Panel
on Climate Change (IPCC) process. Extensive investigations at the leading edge of Antarctic
System Science have recently uncovered a number of surprises, many somewhat counterintuitive,
each having significant consequences in the Arctic and through teleconnections to
the rest of our planet. In fact the change in sea ice is seen as one of the key global climate
variables confirming model estimates of global scale warming of our planet through the
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) process. Extensive investigations at the
leading edge of Arctic System Science have recently uncovered a number of surprises, many
somewhat counterintuitive, each having significant consequences in the Arctic and through
teleconnections to the rest of our planet.
Basic need was brougth our concerns about the important Trees in Tropical Sites. The question
stands on what if it will be happened in the cold area without tree. The need would
be emerged the area’s context, how it would be arctic without ice? Re-iceberg-isation as a
term to explain our understanding in paradox term of re-forestration of green to be iceberg
recovery system.
VS
GLOBAL CATHASTROPHIC
The potential effects of Arctic regime shift ( or tipping points- when a natural system, such
as the ice cap, undergoes a dramatic change) on the rest of the world are substantial, yet
poorly understood. Human Driven climate change greatly increases the risk of Arctic regime
shifts, so reducing global greenhouse gas emissions is crucial to reducing the risk. Shifts in
Snow distribution that warm the ocean which alters the climate patterns as far as Asia. It
could be affect the moonsoon.
RECOVERY ARCTIC
Iceberg needs a year to be established and three years to be released as water again. In order
to alter ice to be frozen immedietely, air turbins move actively to maintain the prospective
ice in ideal temperature. Prior the water to be placed, reverse osmotic layers would be filter
the water from salt to keep the purity of water in cut short the time efficiency of ice-making.
NEW ICE BABY
The decline trend of extent ice each year based on NASA’s picture presents the immediate
call to recover Arctic. Restore substraction area with addition by filter-osmotic - freeze the
ice water. As if a submarine, balast tank relieve and get in water to sink by the time ‘the new
baby ice born’ ready to be realesed and sticked on the other babies.
GLOBAL SUSTAINABILITY
Based ideas was brought our concerns about the important Trees in Tropical Sites. The question
stands on what if it will be happened in the cold area without tree. The need would be
emerged the area’s context, how it would be Antarctic without ice? Re-iceberg-isation as a
term to explain our understanding in paradox term of re-forestration of green to be iceberg
recovery system. Uncanny idea for global impact.
IDEAS
Based on research, ice nowadays contains salt more and triggers to melt the ice. From that
fact, the frezeer sets with osmotic layers inside the hexagonal ice cast to divide the pure
water and salt water. Additionally, air moving tunnel surrounds the cast to press the cold
temperature to freeze. While the water is accomadated, its cover on the top is closing to
accelerate the water to be freeze. An ice berg will be released by Upnormal freezer each
month with hexagonal shape in order to be puzzling with the further hexagonal ice. Six lines
as if six hands to engage one ice berg to other icebergs. Considering a small tubular type
to be produced with 25 meters ice and 5 meters thickness. The 2027 m3 of volume would
contribute Arctic to reveal balance number that has been melted. Since the Upnormal Freezer
is movable and adjustable prototype, future massive development would be high possibility
as accountable ‘save earth agent’ in extending ice.
ELABORATION
The main function as Ice Berg-maker could be develop comprehensively as Underwater
Sightseeing, Research, Living Quarter and Antarctic Eco-Tourism.
DROP & RELEASE
Adapt submarine system as movable model engages to be flexible in all situation of weather.
Bulb shape for bottom part to be dynamic with specific gravity of water. In normal activity,
the Freezer stays floating in Arctic Sea. Sinking to underwater to store up prospective ice
to be shaped in. While floating with the water inside the hexagonal cast, Reverse osmotic
process is on-going to divide fresh water and salt water. The salt water with compressed
amount will be turning out to filter area and throwing away through bottom valve to the
sea – some of salt water will be flowing to crystallization salt development area. Upon
completing desalinate process, top lid closes to enclosure the cold temperature. Within a
month, new ice baby releases by sinking. By the time, repeating the storing water after going
up to the surface, the Upnormal Freezer pushes the new baby ice to stick on other existing
ice. Hexagonal shape has been considered as further production in extending ice area.
HOPE AGAINST HOPE
In a recent decade, global society agrees to bring the world to be a better
place. The momentous decision came as an auspicious beginning. It came as
a joy of the promising world for not only human but also other living creatures
and nature. Still, until now, the way in which the world propose to create
sustainable development has not yet truly sustain others. It is the way in
which we are considering human beings as the center of everything. Nature
is still dismally crippled and “Sustainability for all" is merely political rhetoric.
LIVING ORGANISM
26 27
We know that sustainability in architecture nowadays is to reduce waste,
produce more clean energy, and so on, which seems impressive, yet mainly
for the human. What if, however, an architecture can sustain not only itself
but also other lives? What if, an architecture can grow, reproduce and
metabolize by itself. What if, we are perceive an architecture not only as a
building but also as a living organism?
THE HIDDEN LIFE OF ARCHITECTURE
We know that architecture, in general, is artificial and inactive. When we
live in a building it seems to be static and just a structure of something.
But, imagine of the marvelous world that architecture could talk with each
other through their embedded roots and signals. Imagine that buildings
could have a friendship, have communities and protect both their own tribes
and others-- animals, human, and trees. Imagine an architecture that can
pass knowledge through there genes and evolve them through the genetic
algorithm that can adapt itself and its community within any context. In a
sense, the architecture is not having only a concrete structure but, among
them, also the hidden life There will be the day when both architecture and
living creatures could formulate a biological community of interacting organisms
and their physical environment. This will be the day when the human
race will be able to live with the new meaning of “Sustainability Ecosystem”
With the rapid growth of global populations, it is predicted that by the year 2050, the planet will be packed
with 2.2 billion more people in addition to our 7.6 billion. This will result in the global food shortage to feed
billions more mouths as well as a challenge for our current paradigm of cultivating our current food sources.
Our current food system relies greatly on the global livestock industry, which has already been taking up to 70%
of global agricultural lands. Apart from gobbling large amounts of Earth’s lands and water, raising livestock,
such as cows, pollutes substantial amounts of waste detrimental to the environment. Greenhouse gases are
apparently being emitted more from raising livestock than cars, trains and planes combined.
While many solutions are being speculated to combat the challenge of efficiently producing more food with less
waste, a new food source seems to promise an optimistic future to the billions of hungry mouths. Insects.
emission than insect
PROTEIN
FAT
FIBER
MINERALS
MORE
MINERALS
+VITAMINS
emission than cattle
Insects are nutritious and high in fat, fibers, minerals, proteins in the amounts that is comparable to livestock.
While it takes 200 m 2 of land and 11,000 liter of water to produce 1 lb of beef, it only takes 15 m 2 of space and
0.5 liter of water to produce 1lb of cricket with roughly the same amounts of nutrients and even less waste
produced. Insects can also be cultivated on organic waste which make them a more sustainable choice of food
source.
Sathorn Unique Tower (Ghost Tower) is an unfinished skyscraper that was left abandoned during the 1997 Asian financial
crisis. It is Bangkok’s most prominent derelict building with a prime location. Its intriguing and haunting appearance
attracts numbers of curious urban explorers as well as the passer-bys.
While insect consumption has long been embraced by many cultures mostly in South America, Africa and Asia,
eating insects is mostly seen as an exotic culinary experience for tourists and not much consumed by the mass
market.
Thailand is one of the countries with long history and culture of eating insects and is listed as one of the
countries with most recorded species of edible insects.
Recorded number of edible insect species by
country.
(From 1-5 to 300 by color intensity lightest to
darkest)
source: Center of Geo Infomation, Wageningen
University.
Data Collected in 2012.
Bangkok is the capital city of Thailand and the most populous in the whole country with populations of approximately
14 million people. Bangkok’s beauty lies in the chaotic and unpredictability of its bustling urban and food cultures.
The metropolis skyline and architecture is intrigued by juxtaposition of newly-cladded buildings with traditional
houses, and sleek skyscrapers with those concrete blocks left abandoned and decayed.
The project proposes a site of
an existing derelict of 185m
height located in a prime
location where city CBD, old
districts and Bangkok’s central
pier is interconnected.
The eerie interior of the building
are now currently occupied
by elements improvised by
nature.
Like a larva in the transformative stage into a pupa, the decaying skyscraper is wraped by the modular insect farms.
This outer cocoon shells of insect farms reinforce, augment and manipulate whatever natural ecosystem inside the
derelict tower into a more sustained ecosystem suitable for different insect species as well as tropical plantations.
With the tower transformation, the abandoned skyscraper is reactivated as an urban future food farms as well as a
vertical natural oasis. With its prime location, the project would have a positive urban impact of activating the current
vacant waterfront into a more festive, cultural field hosting markets with fresh products of the future food source. Insects.
Honorable Mention Awards
MOBIUS RING IN A VERTICAL CITY
Xiu Li, Pianpian Yu and Yuan Jing, China
Honorable Mention Awards
PUPA
Supakrit Wongviboonsin, Panitnan Patanayindee and Eakapob Huangthanapan,
Thailand
PUPA
INTRODUCTION
GLOBAL ENTOMOPHAGY
CULTIVATING THROUGH
PRODUCTIVE
METAMORPHOSIS
CONCEPT
1960 2050 The project proposes to tackle the global issue of food production through
architectural intervention. This architectural intervention is programmed as
modular insect farm/factory that could be stacked and scaled into a skyscraper.
Inspired by the natural metamorphoses process of an insect, the project acts like
SITE
an architectural parasite attaching to an existing structure of an abandoned (or
not) building. Like a cocoon enveloping a larvae, this architectural metamorphosis
could reactivate an abandoned and decaying building back to life. The farmed
insects would as well foster and sustain an augmented ecosystem within a building.
Edible
40%
Space Needed
200m 2
Water Needed
11,000L
Edible
80%
Space Needed
15m 2
Water Needed
0.5L
x100more
greenhouse
x100Less
greenhouse
CBD
OLD TOWN
RIVER
REACTIVATING GHOST TOWER
Urban fringe is a special area with harsh environment and emerging problems
formed in the process of rapid urbanization. It is the space carrier for the
transition, integration and conflict between urban and rural social systems.
Not only is there no living space for animals, but the residents also live in a
low-quality sandwiched life. Based on the concept of integration and circularity
of mobius ring, the design constructs a sustainable system in the site
by using three parts of the original building, energy block and Mobius Ring
Road , expanding and connecting the space in different vertical dimensions.
Architecture and energy blocks are divided into four layers: the first layer is
the ecological layer, which weakens the dominance of human beings over
land, provides habitat for animals, and is used in ecological agriculture; the
second layer is the economic layer, which provides trade fairs for residents
and forms a good ecological and economic cycle chain with one layer of
connectivity; the third layer is the living layer, which increases the opportunities
for interaction between neighbors and promotes coexistence of human
beings and other life. The fourth level is the spiritual level, expanding communication
and interaction, and recovering the spiritual world that residents
lack. Mobius rings connect dispersed energy blocks and buildings to form
an infinite reciprocating ecological ring. Changing the unsustainable status
of the community with a simple ring to welcome an incredible new life.
The rapid growth of global populations, from 7.6 to 9.8 billion in thirty years,
calls for emergent attentions of global food shortage and challenges our
current paradigm of cultivating food sources. Our current food system relies
greatly on the global livestock industry, which consumes 70% of the global
agricultural lands and pollutes substantial wastes hazardous to the environment.
Among many solutions being speculated to combat the challenge, a
new food source seems to promise an optimistic future to the billions of
hungry mouths. Insects.
Thailand is one of the countries with a long history and culture of eating
insects and is listed as one of the countries with the most recorded species
of edible insects. With Bangkok being the capital of bustling urban and food
culture, the project proposes to tackle the global issue of food production
through architectural intervention within the site in Bangkok.
The project proposes a site of an existing abandoned 185m tall building
located in a prime location where city CBD, old districts and Bangkok’s
central pier is interconnected. This architectural intervention is programmed
as modular insect farm/factory that could be stacked and scaled into a
skyscraper. Inspired by the natural metamorphosis process of an insect, the
project acts like an architectural parasite attaching to an existing structure
of a derelict building. Like a cocoon enveloping a larva, this architectural
metamorphosis could reactivate an abandoned and decayed building back
to life. The farmed insects would as well foster and sustain an augmented
ecosystem within a building.
The project does not only promise a solution to the global food issue through
architectural intervention. This intervention also innovatively transforms an
urban derelict into an urban oasis, activating urban prime spot, creating
public realms and feeding back the city food from its own waste.
28 29
Honorable Mention Awards
POLE FOREST
Witchan Wanchit, Thailand
JUDGES
Nico
Kienzl
Nico is a founding director of Atelier Ten’s New York City office and member of Atelier Ten’s US
and international leadership group. He consults on a wide variety of large scale residential,
commercial and institutional buildings, as well as on masterplan and renovation work in the
United States, Europe, South America and Asia.
Atelier Ten
Nico specializes in the application of advanced building analysis including facade optimization,
daylight and shading analysis, and in the optimization of building systems.
Sanne Van
Der Burgh
MVRDV
Sanne van der Burgh is Senior Associate at MVRDV, one of the most innovative architectural
practices in the world based in the Netherlands. Sanne leads multiple design teams and
projects in various scales and countries. She is also responsible for keeping the office in the
frontline of technological innovation through implementation of parametric methodologies
and has a passion for sustainable workflows. Sanne has a versatile background, her work
ranges from small scale product design up to large scale regional masterplans.
Assawin
Choochottavorn
Foster + Partners
Assawin Choochottavorn is Associate at Foster + Partners with experience in design management
and world-class design projects from London and the Middle East. He has experience
in projects of various size and scale, with particular knowledge of luxury developments. At
Foster + Partners, he has worked on various projects including a schematic design of the
Aldar Central Market project, which his involvement spanned from the façade design to the
coordination of hotel and retail, the design and detailing of various projects in the UAE such
as Sheikh Zayed Museum, Masdar University and Residential Towers, Reem Island as well as
the Global Financial Centre, Bund project where he helped develop the facade design from
conception to construction.
Singh
Intrachooto
Dr. Singh Intrachooto is Associate Professor of Building Innovation at Kasetsart University
Architecture. He is the founding director of the Creative Center for Eco-design and the
design principal of Osisu, a design company known for products from ‘upcycled’ materials.
He represents Thailand’s National Innovation Agency (NIA) as its Design Innovation Ambassador
and heads the country’s technical committees for creating upcycled labeling schemes.
Kasetsart University
Architecture,
Research & RISC
"Nature" is changing all the time according to human access, animals are in
nature changing all the time too. Some animals are eventually reduced and
extinct, because of the environment did not unsuitable for them. Sometimes
many problems happened from these animals because of they just want
to living their lives.
"Bangkok" a metropolis that growing all the time to support many people
who come in to seize their opportunities and living their lives, but in many
corners there are many small creatures still struggling to survive too.
Even today, people began to focus on increasing green spaces, but the
limitations of this city are the density of the buildings, houses and transport
systems that almost have not enough space to create a large green space
for this city. And what area should we create that?
“Utility pole” is a column or post used to support overhead power lines
and various other public utilities. There are many rumors in Bangkok, but
soon it will disappear because it will be buried underground. And it will be
withdrawn. If we don't withdraw it? Can we use it instead of the tree trunk?
This design uses materials that cannot be degraded, such as plastic, to be
re-compacted to become a modular model for easy repeatability. By bringing
the cover onto the unused power line so that it becomes a shelter for those
animals and becoming a small forest that is linked together
If the architecture is to create an environment in which people can live and
use. Creating the Pole Forest is like creating an environment too. That is
conducive to the living of all living things, while creating a green spaces for
the city which may be the starting point for other creatures to live with us.
Rita
Soh
RDC Architects
/ ARCASIA
Apichart
Srirojanpinyo
Stu/D/O
Through her work with RDC Architects and her contribution to many industry boards, Rita
Soh is playing an instrumental role in positioning Singapore as an architecture capital in Asia.
Rita is well placed to be giving advice. The businesswoman has had an illustrious career
spanning more than three decades in the architecture and design space. She joined the
Singapore-based architecture firm RDC in 1989 after attaining her professional registration
and has worked her way up the ranks over the years to become a member of the advisory
board in the managing director capacity
Born in Bangkok and educated in both Thailand and the United States, Mr. Apichart received
his Master degree in Architecture and Urbanism from MIT (Massachusetts Institute of Technology)
and his Bachelor of Architecture from Chulalongkorn University. Between his two
degrees, he worked at Architects 49 Limited for 4 years where his works received multiple
awards including ASA Gold Medal Architecture of the year for the project ‘Royal Archives,
Repository, and Information Center’ at Nakhon Pathom. In 2010, he founded Stu/D/O Architects
in Bangkok with Chanasit Cholasuek. Stu/D/O Architects’ completed projects are
internationally recognized and awarded. ‘Naiipa Art Complex’ has been recently selected for
the 2017 Honorable Mention from The Arcasia Awards for Architecture
30
31
Update
รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ 2562
ASA Emerging Architecture
Award 2019
รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ดีเด่น
(Gold Medal Award)
Raintree International
School, Bangkok
by GreenDwell
โครงการนี้มีความโดดเด่นทางด้านการวางผังอาคารร่วมกับ
ธรรมชาติ โดยผังอาคารถูกออกแบบให้วางหลบต้นไม้เก่าที่มีอยู่
ในพื้นที่เดิม และมี court ตรงกลางเชื่องระหว่าง 2 อาคาร ทำให้
ลมธรรมชาติพัดผ่านตัวโครงการได้ นอกจากนี้ สถาปนิกพยายาม
นำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ในพื้นที่ภายในอาคารให้มากที่สุด และ
การออกแบบพื้นที่กึ่งภายนอกอาคาร ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการ
ใช้งานที่อยู่ภายในและธรรมชาติที่อยู่ภายนอกอาคาร
32
33
รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ ที่สมควรแก่การเผยแพร่
(Silver Medal Award)
Bunjob House : House of Flow, Surat Thani
by Nutthawut Piriyaprakob
โครงการพยายามให้ผู้อาศัยมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ และมีการ
เลือกใช้วัสดุที่หาได้จากพื้นที่ สถาปนิกมีนวัตกรรมการออกแบบ
ระบบประสานเรื่องแสงสว่าง ลมธรรมชาติ และการรองรับ
น้ำฝนที่นำกลับมาใช้ใหม่ร่วมกับงานสถาปัตยกรรมได้อย่างน่า
สนใจ
รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ ที่สมควรแก่การเผยแพร่
(Silver Medal Award)
AHSA Farmstay, Chiang Rai
by Creative Crews
โครงการ AHSA Farmstay ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงเอกลักษณ์
ของความเป็นอาคารพื้นถิ่นทางภาคเหนือ การใช้การระบาย
อากาศโดยวิธีธรรมชาติและระบบการป้องกัน 2 ชั้น ที่สามารถ
ป้องกันความเย็นในช่วงฤดูหนาว อาคารใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็น
ธรรมชาติ เช่น ไม้ที่รื้อถอนจากบ้านเก่าเพื่อลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม และการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการก่อสร้าง
อาคาร และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความยั่งยืนระหว่างคนในชุมชน
และนักท่องเที่ยว
34
35
รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ ที่สมควรแก่การเผยแพร่
(Silver Medal Award)
Puey Ungphakorn Artistic Park, Pathum Thani
by Arsomsilp Community and Environmental
Architect
โครงการนี้ถูกออกแบบโดยการปรับพื้นที่อาคารเก่าที่มีอยู่เดิมให้
กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับชุมชน การออกแบบมีกระบวนการ
ระดมความคิดเห็นจากคนในชุมชน อาคารถูกออกแบบโดยการ
ใช้ระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติร่วมกับการใช้แสงธรรมชาติ มี
การใช้วัสดุไม้จากโรงงานเก่าในพื้นที่นำกลับมาใช้ใหม่
รางวัลสถาปัตยกรรมรุ่นใหม่ ที่สมควรแก่การเผยแพร่
(Silver Medal Award)
Visavapat Headquarter, Chiang Rai
by นัทพันธ์ ธีระจรุงเกียรติ, นงลักษณ์ บุญแสง,
กิตติชัย เชียวชอุ่ม, ธนกร สมสุข และ บริษัท ลูกเล่น
สถาปนิก จํากัด
อาคารมีการออกแบบโดยผสานพื้นที่ใช้งานภายในร่วมกับ
ธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจ มีการออกแบบแผงบังแดดได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โครงการยอมเสียพื้นที่ขายเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้
กับโครงการ สถาปนิกมีการจำลองผล (Simulation) เพื่อพิสูจน์
สมมติฐานในการออกแบบ
36 37
Update
รางวัลอาคารเขียว
Green Building
Awards
ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2561 มีอาคารสร้างใหม่ที่ได้ผ่านการตรวจ
ประเมินอาคารเขียว ตามมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความยั่งยืน
ทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TREES (Thai’s Rating
of Energy and Environmental Sustainability) จัดโดยสถาบัน
อาคารเขียวไทย และมีอาคารที่ได้รับรางวัลในระดับ Gold และ
Platinum ดังตัวอย่างอาคารชุดนี้
Active Design
Passive Design
สํานักงานการไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค จ.อุบลราชธานี
(2018) ระดับ Gold
EEC Academy (2015)
ระดับ Gold
ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์
(ประเทศไทย) จํากัด (2017)
ระดับ Platinum
โชว์รูมและศูนย์บริการโตโยต้า
แก่นนคร (2015)
ระดับ Platinum
7-Eleven สาขาธาราแสควร์
(2014) ระดับ Platinum
อาคาร 60 พรรษา
ราชสุดาสมภพ (2014)
ระดับ Platinum
38
39
Review
โอเอซิสในกล่องกระจก
Oasis in the
Glass Box
Text: สิปปวิชญ์ กำบัง / Sippawich Kambung
Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum
Photo: Courtesy of architect
อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นอาคารทางการศึกษา ออกแบบโดยคุณชาตรี ลดา-
ลลิตสกุล บริษัท ต้นศิลป์ สตูดิโอ จํากัด ซึ่งได้เคยฝาก
ผลงานออกแบบไว้ในมหาวิทยาลัยมหิดลหลายโครงการ
ก่อนหน้านี้ อาคาร MUIC ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี
พ.ศ. 2560 เป็นอาคารสูง 6 ชั ้น มีส่วนจอดรถใต้ดินอีก 3
ชั้น ในงานออกแบบชิ้นนี้ คุณชาตรีเองได้แสดงให้เห็นถึง
การผสานแนวคิดทางด้าน tropical architecture กับ
ปรัชญาทางการศึกษา ผ่านแนวความคิดในการออกแบบ
ที่คุณชาตรีเรียกว่า “oasis”
เมื่อเราเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ทางด้านรั้วมหาวิทยาลัยบนถนนพุธมณฑล เราจะ
สามารถสังเกตเห็นอาคารสมัยใหม่รูปทรงกล่อง
เรียบง่าย ตั้งอยู่บนพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัย
ที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือผิวผนังกระจกขนาดใหญ่
ราวกับไม่อาทรต่อแสงแดด เราจึงติดต่อขอ
สัมภาษณ์สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารเพื่อขอโอกาส
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นต่างๆ ในการออกแบบ
อาคารหลังนี้
Arriving at the Salaya Campus of Mahidol University
and looking along the fenced perimeter
that separates the property from Putthamonthol
Road, one notices a modern-looking,
box-shaped building located on the expansive
green grounds of the academy. Impossible to
miss is the large glass structure that seems
to show no fear of the unforgiving sun. We
made a few contacts and landed ourselves
an interview with the architect of the project,
42
43
อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย
มหิดล (MUIC) เป็นอาคารทางการศึกษา ออกแบบ
โดยคุณชาตรี ลดาลลิตสกุล บริษัท ต้นศิลป์
สตูดิโอ จำกัด ซึ่งได้เคยฝากผลงานออกแบบไว้
ในมหาวิทยาลัยมหิดลหลายโครงการก่อนหน้านี้
อาคาร MUIC ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ.
2560 เป็นอาคารสูง 6 ชั้น มีส่วนจอดรถใต้ดินอีก
3 ชั้น ในงานออกแบบชิ้นนี้ คุณชาตรีเองได้แสดงให้
เห็นถึงการผสานแนวคิดทางด้าน tropical architecture
กับปรัชญาทางการศึกษา ผ่านแนวความคิด
ในการออกแบบที่คุณชาตรีเรียกว่า “oasis”
สถาปนิกผู้ออกแบบเล่าให้ฟังถึงความใส่ใจเรื่องการ
ออกแบบสถาปัตยกรรมเมืองร้อน นิยามของคำว่า
oasis ถูกตีความและแสดงออกผ่านภาษาทาง
สถาปัตยกรรมด้วยการสร้างคอร์ท (courtyard)
กลางอาคาร ซึ่งใช้สำหรับปลูกต้นไม้ใหญ่ เช่น
ยางนา ซึ่งมีลักษณะลำต้นที่สูงชะลูด เมื่อลำต้น
เสียดยอดพ้นตัวอาคารขึ ้นไปก็จะไปแผ่กิ่งใบ
ด้านบน กลายเป็นร่มเงาไม้ขนาดใหญ่ให้กับตัว
อาคาร ซึ่งตัวพื้นที่คอร์ทกลางนี้เองยังทำหน้าที่
เป็น “พื้นที่ระหว่าง” (in-between space) ซึ่ง
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศเมืองร้อน ใน
ส่วนนี้สถาปนิกได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การอยู่
ระหว่าง คือเป็นความระหว่างของภายในกับ
ภายนอก เป็นพื้นที่ที่ปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรม
เมืองร้อน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สำคัญของมนุษย์ที่
ดำรงชีวิตในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย
เป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายนอกอาคารกับ
ภายใน มีส่วนในการกรองความร้อนและความชื้น
ไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคารโดยตรง และเป็นพื้นที่ใช้
this with a view to discussing the conception
of this striking work of architecture.
The Aditayathorn Building of Mahidol University
International College (MUIC) is an
educational building designed by Chatri Ladalalitsakul
of Tonsilp Studio, who was behind
the design of several other buildings at the
university. The structure, completed in 2017, is
six-stories high and has three levels of underground
parking. For this project, Ladalalitsakul
strived to combine the aesthetics of tropical
architecture with the university’s educational
philosophy through a design concept that he
refers to as ‘oasis’.
In this project the word ‘oasis’ is interpreted
and expressed through an architectural language
that considers the courtyard a central
part of its grammar. The courtyard here accommodates
towering evergreens – their tall
trunks and luscious leaves provide welcome
shade to the building’s functional spaces –
and serves as the in-between space between
inside and outside. Common in tropical architecture,
such spaces resonate with the
climatic conditions and lifestyles of people
in tropical countries such as Thailand. They
play an important role in filtering the heat and
humidity from directly entering the building.
For this project, the courtyard also creates a
space where informal interactions take place,
encouraging extracurricular learning experiences.
The architect calls it a ‘gray space’, on
account of its role as both an in-between
โถงทางเข้าหลักของอาคาร
แสดงให้เห็นพื้นที่เชื่อมต่อ
ระหว่างภายนอกกับภายใน
Main entrance hall acts
as a transition space
between inside and outside.
โถงส่วนกลางภายในอาคาร
ออกแบบด้วยแนวคิดโอเอซิส
มีการให้แสงสว่างธรรมชาติ
ภายในพื้นที่
The inner courtyard expresses
the idea of oasis
which let the natural
light comes through interior
space.
“พื้นที่ระหว่าง” (in-between space) ซึ ่งเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะของประเทศเมืองร้อน ในส่วนนี ้สถาปนิกได้อธิบาย
เพิ่มเติมว่า การอยู่ระหว่าง คือเป็นความระหว่างของ
ภายในกับภายนอก เป็นพื ้นที่ที่ปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรม
เมืองร้อน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สําคัญของมนุษย์ที่ดํารงชีวิตใน
เขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทย เป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง
ภายนอกอาคารกับภายใน
44
45
โครงสร้างอาคารคอนกรีต ทำ
หน้าที่เป็นองค์ประกอบอาคาร
ที่ใช้ในการกรองแสง
Concrete structure applied
into shading devices.
มีการออกแบบผังบริเวณเพื ่อสร้างสภาพภูมิอากาศจุลภาค
(micro climate) ของพื ้นที่ก่อสร้างอาคาร เก็บหน้าดินเดิม
ของพื้นที่และต้นไม้ใหญ่เดิมไว้ มีการปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ ่มให้ได้
1 ต้น ต่อพื ้นที่เปิดโล่ง 100 ตารางเมตร ส่วนของพื ้นที่ดาด
แข็ง (hard scape) ก็มีการให้ร่วมเงาเพื ่อลดการสะท้อน
ความร้อนเข้าสู่อาคาร และการหมุนเวียนนํ ้ำใช้ในโครงการ
46 47
งานที่เรานิยมใช้สอยอยู่เป็นประจำตั ้งแต่อดีต
แนวคิดนี้เองยังสอดคล้องกับการสร้างพื้นที่
ปฏิสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ เพื่อช่วยส่งเสริม
ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกห้องเรียนของ
ผู้ใช้อาคาร ซึ ่งสถาปนิกนิยามพื้นที ่ลักษณะนี้ว่า
“พื้นที่สีเทา“ (gray space)
เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ใช้สอยของอาคาร MUIC นี้
เราจะพบว่าพื ้นที่ส่วนคอร์ทกลางของอาคารได้ทำ
หน้าที่ของการเป็น in-between space สำหรับ
การเป็นจุดเชื่อมต่อของพื้นที่ภายในกับธรรมชาติ
ภายนอก และเป็น gray space สำหรับส่งเสริม
ให้เกิดกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ใช้งาน
อาคารได้อย่างลงตัว
ส่วนสำคัญอีกเรื่องหนึ่งเบื้องหลังรูปทรงของ
อาคารที่ต้องกล่าวถึงคือ การให้ความสำคัญกับ
การออกแบบอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงานในอาคาร
ซึ่ง รศ.ธนิต จินดาวณิค อาจารย์ประจำคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาร่วมเป็นทีมงานออกแบบ
อาคารหลังนี ้ โดยมีการคำนึงถึงประเด็นการ
อนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานในอาคาร
อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
กระบวนการออกแบบ สำหรับประเด็นต่างๆ ที่
ทีมงานให้ความสำคัญเริ่มตั้งแต่งานวางผังบริเวณ
และภูมิสถาปัตยกรรม มีการออกแบบผังบริเวณ
เพื่อสร้างสภาพภูมิอากาศจุลภาค (micro climate)
ของพื้นที่ก่อสร้างอาคาร เก็บหน้าดินเดิมของพื้นที่
และต้นไม้ใหญ่เดิมไว้ มีการปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่มให้
ได้ 1 ต้น ต่อพื้นที่เปิดโล่ง 100 ตารางเมตร ส่วน
ของพื้นที่ดาดแข็ง (hard scape) ก็มีการให้ร่มเงา
เพื่อลดการสะท้อนความร้อนเข้าสู่อาคาร และการ
หมุนเวียนน้ำใช้ในโครงการ
space and an area that enhances interactions
and activities among the building’s users.
A focus on energy-saving has a direct impact
on its physical appearance. One of the experts
working on the design team of the project,
Associate Professor Thanit Chindavanig of
Faculty of Architecture, Chulalongkorn University,
stresses that the design does not
only include energy-saving efficiencies but
rather prioritized them in the early stages of
the development of the site plan and landscape
architecture. The site plan is designed
to have its own micro climate. The original
soil and existing evergreens were preserved
and a large new tree was planted on every
100-square-meters of open space. The landscape
is thoughtfully shaded to minimize the
heat being reflected into the building while a
wastewater treatment system ensures maximum
water-use efficiency.
The glass shell – the key architectural composition
that directly impacts the building’s
energy usage – is made of highly-efficient,
heat-protection glass. This was installed carefully
to prevent air from leaking through the
door and window frames (leaks affect the use
of air conditioning, which consumes a large
amount of electricity). This design resulted
in a positive energy saving with an OTTV rate
of 21 w/m2 (energy saving laws dictate that
OTTV must not exceed 50 w/m2) and a RTTV
rate lower than 6 w/m2 (the RTTV rate must
not exceed 15 w/m2 according to the Energy
Conservation Act).
่
บริเวณโถงทางเข้าชั้น 5
Fifth floor's entrance
hall
เปลือกอาคารกระจก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผล
โดยตรงกับปริมาณการใช้พลังงานในอาคารนั้น มี
การใช้กระจกกันความร้อนประสิทธิภาพสูง และ
มีการใส่ใจรอยต่อไม่ให้เกิดการรั่วซึมของอากาศที่
บานกรอบหน้าต่างและประตู ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อ
การใช้เครื่องปรับอากาศอันเป็นปัจจัยหลักของการ
ใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร ผลจากการออกแบบ
นั้นสามารถคำนวณค่าการใช้พลังงานโดยรวมของ
อาคารที่ได้ผลดีอย่างยิ่ง โดยมีค่าการถ่ายเทความ
ร้อนรวมผนังภายนอก (OTTV) ที่ 21 w/m2
(ตามกฎหมายการอนุรักษ์พลังงานกำหนดไว้ < 50
w/m2) และมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมหลังคา
As for brightness, the glass walls and courtyard
of the design bring natural light in to the
different functional spaces throughout the
day. Nevertheless, the heat associated with
natural lighting is also carefully controlled to
not affect the level of thermal comfort. By
dividing areas into different zones, each no
larger than 200 square meters, exposure to
sun direction is something the design carefully
considers.
The courtyard helps create natural ventilation,
serving as a void that enables the stack-effect
ทางเชื่อมและระเบียงบริเวณ
ชั้น 4 ของอาคาร เป็นพื้นที
ส่วนกลางสำหรับรองรับ
กิจกรรมต่างๆ
Connected walkway and
terrace on the fourth
floor
จุดที่น่าสนใจมากอีกจุดหนึ่งคือ พื้นที่บริเวณชั้น 6 ของ
อาคาร บริเวณนี้มีพื้นที่ใช้งานเป็นห้องย่อย รูปทรงอิสระ
ซึ่งมีกรอบภายนอกเป็นผนังกระจก ในส่วนนี ้ไม่มีการปรับ
อากาศ แต่มีการทําช่องเปิดขนาดเล็ก เพื ่อให้อากาศไหล
เวียนได้ เป็นการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติเช่นกัน
ส่วนผนังกระจกนั้นทําหน้าที่ในการบังฝนเข้าสู่ตัวอาคาร
เท่านั้น
โถงทางเดินบริเวณชั้น 3
The walkway hall on the
third floor.
48
49
โถงทางเข้าอาคาร ใช้ตัว
อาคารชั้นบนเพื่อช่วยในการ
บังแสงแดดให้กับพื้นที่ภายใน
The use of upper volume
as daylight protection
for the main entrance
hall.
ภาพสามมิติแสดงโถงโอเอซิส
กลางอาคาร และพื้นที่ใช้งาน
ชั้น 6
3D illustration shows
the oasis at the courtyard
and other area on
the sixth floor.
ผังบริเวณอาคารอาทิตยทร
MUIC lay out
50
L A Y O U T
51 NORTH
SCALE
0 10 50 100
6.00 4.50 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 4.50 5.00 6.00
13
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00
6
15 2 14
GROUND FLOOR PLAN
6.00 4.50 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 4.50 5.00 6.00
6.00 4.50 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 4.50 5.00 6.00
11 10 12
16 5 17
4
7 3
8
GROUND FLOOR PLAN
1
6.00 6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00 6.00
3rd 6th 3rd FLOOR PLAN
PLAN
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00 6.00
14 20 15 16 17 18
21
19
19 13 33 21 22 23 24 4 4 2220
10
18
11 17 12
2425 26
23
16
25 28
27
15 14
27 26
12 913
28 29
11
5 29
10
30
9
31
5
3032
8 8
2 1 1
6
34 33 31
6
7 7
33 34 32
2nd 5th 5th FLOOR PLAN
PLAN
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00 6.00
9
6.00 6.00 4.50 4.50 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 4.50 4.50 5.00 5.00 6.00 6.00
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00
GROUND FLOOR PLAN
1 = PORCH
2 = ENTRANCE HALL
3 = MULTIPURPOSE COURT
4 = POND OVERFLOW
5 = CANTEEN
6 = RESTAURANT 1
7 = RESTAURANT 2
8 = RESTAURANT 3
9 = RESTAURANT 4
10 = WASH & GARBAGE
11 = WASH & GARBAGE
12 = SECURITY & GUARD
13 = GUARD
14 = PASSENGER LOBBY
15 = PASSENGER LOBBY
5th FLOOR PLAN
2nd 2nd FLOOR PLAN PLAN
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00
1 = 1 PASSENGER = PASSENGER LOBBY LOBBY 16 = 16 GENERAL = RESOURCE CLASS ROOM & STUDY 2 ROOM
2 = 2 PASSENGER = PASSENGER LOBBY LOBBY 17 = 17 GENERAL = FAA CLASS STAFF ROOM OFFICE1
3 = 3 SERVICE = 13 SERVICE LOBBY LOBBY
11 14 18 = 18 GENERAL = 153D CLASS ANIMATION
10
ROOM LAB 9 12
4 = 4 FIREMAN = FIREMAN LOBBY LOBBY 3 19 = 19 GENERAL = PRINT CLASS RESOURCE 4ROOM 8LAB
5 5 = CONTROL ROOM
16 20 =
520 STORAGE = 3D 1PRINT 17/ LASER CUTTER
6
16 17
= 6 GENERAL = DARK CLASS ROOM ROOM 7 21 = 21 TERRACE = 3D SCAN
7 = 7 GENERAL = PHOTO CLASS LAB ROOM 6 22 = 22 LARGE = SCREENING CLASS ROOM 1318
8 = 8 GENERAL = PHOTO CLASS SHOOT 6 ROOM 5 23 = 23 LIBRARY = CONTROL ROOM9
12 13
19
9 = 9 STORAGE = CONTROL 2 ROOM 24 = 524 LARGE = AUDIO CLASS RECORDING ROOM 14 SUITES
10 10 = GENERAL = ANIMATION
11 CLASS LAB ROOM (STOP 13 MOTION) 25 = 25 TERRACE = PROFESSIONAL 20
11 11 = GENERAL = ANIMATION CLASS LAB ROOM (2D) 12 4
12 = GENERAL
10
26 = CENTRAL AUDIO ADMINRECORDING LAB
12 = SERVER CLASS ROOM ROOM 4 27 = 26 LARGE = CONTROL MEETING 1ROOM21
13 13 = GENERAL = BREAKOUT
8CLASS 9ROOM
3
7
28 = 327 LARGE = FOLEY MEETING LAB2
22
8 23
14 14 = GENERAL = STORAGE CLASS ROOM 11
15 = GENERAL 7CLASS ROOM
2 29 = 28 DEAN = LARGE COMPUTER LAB
15 = MATERIALS & EQUIPMENT 10
1 24
6.00 4.50 6.00 8.00 4.50 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 4.50 8.00 5.00 4.50 6.00 5.00 6.00
16 = SERVICE LOBBY
1420
15 16 17 18
17 21
= FIREMAN LOBBY 19
19 13 3 21 22 23 24
4
20 22
10 18 11 12 17
25 24 26 23
28
27
16
25
15 14
27 26
9
12 13
28 29
11
5 29
10
30
9
5 3130
32
8 2 1
8
6
34
31
33
7
33 32
6
7
34
0 10 25
50
SCALE
3rd 6th FLOOR FLOOR PLAN PLAN
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00
22 15
12 13
14
1623
17 24
21 33 4 4 25
17 20
18
19
= EXECUTIVE MULTIPURPOSE
11 10
18 19 20 21
16 15
22
5
26
13 14
12 11
9 9 10
23
8 8
2 5 28 1 1 24 27
7 7 6
2726 28 25
6 15 2 14
6
29
1
4th 4th FLOOR PLAN PLAN SCALE SCALE
GROUND FLOOR PLAN
1 = 1 PASSENGER = PASSENGER LOBBY LOBBY
2 = 2 PASSENGER = PASSENGER 15LOBBY
3 = 3 SERVICE = SERVICE LOBBY LOBBY
4 = 4 FIREMAN = FIREMAN LOBBY LOBBY
5 = 5 TERRACE = WAITING HALL
6 = 6 STUDENT = SMALL HALL 11 STUDIO 10
7 = 7 NURSE = GREEN ROOM ROOM
8 = 8 SOUND = COSTUME LAB SHOP
9 = 9 MEETING = LARGE 2 STUDIO
10 10 = LARGE = PROP CLASS SHOP ROOM 2
11 11 = COMPUTER = SEWING LAB ROOM 4
12 12 = COMPUTER = ACTING LAB LAB3
13 13 = FREE = STORAGE LAB 2 9 1
14 14 = FREE = PAINTING LAB 1 STUDIO
15 15 = COMPUTER = DESIGN 8LAB STUDIO 2 1
16 16 = COMPUTER = DESIGN
7LAB STUDIO 1 2
17 17 = LARGE = DESIGN CLASS STUDIO ROOM
6
31
6.00 4.50 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 4.50 5.00 6.00
6th FLOOR PLAN SCALE SCALE
GROUND 4th FLOOR PLAN PLAN
52
25
0 010 10 25 25 50 50
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00
2nd 5th FLOOR FLOOR PLAN PLAN
12 13
14
3 4
6th FLOOR PLAN
18 = 18 MEETING = DESIGN 1 STUDIO 4
19 = 19 OFFICE = DRAWING STUDIO
16 20 = 20 SERVER = 17 STORAGE ROOM 2
21 = 21 STUDENT = STUDENT GALLERY STUDIO / EXHIBITION 1
22 = 22 LECTURE = STUDENT STUDIO 2
23 = 23 MEETING = STUDENT 3 STUDIO 18 193
20
24 = 24 LARGE = STUDENT CLASS ROOM STUDIO 3 4 21
25 = 25 LARGE = DESIGN CLASS ROOM REVIEW
227
1
26 = 26 LARGE = DESIGN CLASS ROOM REVIEW 8 2
27 = 27 LARGE = STORAGE CLASS ROOM 3 4
28 = 28 LARGE = STORAGE CLASS ROOM 4 5
29 = 29 LARGE = STORAGE CLASS ROOM 5 9
30 = 30 LARGE = FOYER CLASS ROOM 23 10
31 = 31 LARGE = EDITING CLASS ROOM SUITES6
32 = 32 MEETING = MASTERING 28 4 ROOM 24
33 = 33 LARGE = COMPUTER CLASS ROOM LAB 112 (EDITING)
34 = 34 LARGE = COMPUTER
2726 25
CLASS ROOM LAB 121 (EDITING)
0 010 10 25 25 50 50
2 5
1
6.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 8.00 6.00
5th 2nd FLOOR PLAN
1 = PASSENGER LOBBY
18 = DESIGN MEETING STUDIO 1 4
แปลนอาคารอาทิตยทร
2 = PASSENGER LOBBY
19 = DRAWING OFFICE STUDIO
3 = SERVICE LOBBY
MUIC floor plans20
= STORAGE
SERVER ROOM
2
4 = FIREMAN
FIREMAN
LOBBY
LOBBY 21 = STUDENT
STUDENT GALLERY
STUDIO 1
/ EXHIBITION
5 = WAITING HALL
TERRACE
22 = STUDENT STUDIO 2
LECTURE
6 = SMALL STUDIO
STUDENT HALL
23 = STUDENT STUDIO 3
MEETING 3
7 = GREEN ROOM
NURSE ROOM
24 = STUDENT STUDIO 4
LARGE CLASS ROOM 3
8 = COSTUME SHOP
25 = DESIGN REVIEW 1
SOUND LAB 25 LARGE CLASS ROOM 7
9 = LARGE STUDIO
26 = DESIGN REVIEW 2
MEETING 2
26 LARGE CLASS ROOM 8
10 = PROP SHOP 27 = STORAGE 3
10 LARGE CLASS ROOM 2 27 LARGE CLASS ROOM 4
11 = SEWING ROOM 28 = STORAGE 4
12 11 = ACTING COMPUTER LAB LAB 4
29 28 = STORAGE LARGE CLASS 5 ROOM 5
13 12 = STORAGE COMPUTER 1 LAB 3
30 29 = FOYER LARGE CLASS ROOM 9
14 13 = PAINTING FREE LAB STUDIO 2 31 30 = EDITING LARGE CLASS SUITESROOM 10
15 14 = DESIGN FREE LAB STUDIO 1 1 32 31 = MASTERING LARGE CLASS ROOM ROOM 6
16 15 = DESIGN COMPUTER STUDIO LAB 2
33 32 = COMPUTER MEETING 4 LAB 2 (EDITING)
17 16 = DESIGN COMPUTER STUDIO LAB 31
34 33 = COMPUTER LARGE CLASS LAB ROOM 1 (EDITING) 11
17 = LARGE CLASS ROOM 1 34 = LARGE CLASS ROOM 12
0 10 25
50
SCALE
0 10 25
50
4th FLOOR PLAN
GROUND FLOOR PLAN
1 = PASSENGER LOBBY
21 = PASSENGER PORCH LOBBY
32 = SERVICE ENTRANCE LOBBY HALL
43 = FIREMAN MULTIPURPOSE LOBBYCOURT
5 =
4 TERRACE POND OVERFLOW
6 =
5 CLASS
CANTEEN
ROOM 15 & 16
7 =
6 CLASS
RESTAURANT
ROOM
1
14
8 = TERRACE
7 RESTAURANT 2
9 = STORAGE 1
8 RESTAURANT 3
10 = CASED-BASED LEARNING 2
9 RESTAURANT 4
11 = CASED-BASED LEARNING 1
10 WASH & GARBAGE
12 = FACULTY LOUNGE 1
11 WASH & GARBAGE
13 = SPECIAL INSTRUCTOR 1
14 12 = BBA SECURITY STAFF & OFFICE GUARD
15 13 = THM GUARDSTAFF OFFICE
14 = PASSENGER LOBBY
15 = PASSENGER LOBBY
5th FLOOR PLAN
SCALE
SCALE
SCALE
6th FLOOR PLAN
1 = PASSENGER LOBBY
2 = PASSENGER LOBBY
3 = SERVICE LOBBY
4 = FIREMAN LOBBY
5 = CONTROL ROOM
6 = DARK ROOM
7 = PHOTO LAB
8 = PHOTO SHOOT
9 = CONTROL ROOM
10 = ANIMATION LAB (STOP MOTION)
11 = ANIMATION LAB (2D)
12 = SERVER ROOM
13 = BREAKOUT ROOM
14 = STORAGE
15 = MATERIALS & EQUIPMENT
SCALE
(RTTV) ต่ำกว่า 6 w/m2 (ตามกฎหมายการ
อนุรักษ์พลังงานกำหนดไว้ < 15 w/m2)
สำหรับแสงสว่างนั้น มีการคำนึงถึงการนำแสง
ธรรมชาติเข้ามาใช้ในอาคารผ่านทางผนังกระจก
และจากการเปิดพื้นที่คอร์ทกลางอาคาร ซึ่งทำให้
มีแสงสว่างที่ได้มาตรฐานสำหรับการใช้งานในพื้นที่
ต่างๆ ตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ตาม มีการคำนึงถึง
ความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารด้วย ว่าจะไม่ทำให้
เกิดความร้อนเกินกว่าภาวะน่าสบายในการใช้งาน
ด้วยการแบ่งพื้นที่เป็นโซนอุณหภาพ แต่ละโซน
ไม่เกิน 200 ตารางเมตร และคำนึงถึงทิศที่รับ
ความร้อนของแต่ละโซนด้วย
พื้นที่คอร์ทกลางยังมีส่วนช่วยให้เกิดการระบาย
อากาศในอาคารแบบธรรมชาติ โดยทำหน้าที่เป็น
ปล่องระบายความร้อนอาคารสู่ภายนอก (wind
stack effect) จุดที่น่าสนใจมากอีกจุดหนึ่งคือ
พื้นที่บริเวณชั้น 6 ของอาคาร บริเวณนี้มีพื้นที่
ใช้งานเป็นห้องย่อย รูปทรงอิสระ ซึ่งมีกรอบ
ภายนอกเป็นผนังกระจก ในส่วนนี้ไม่มีการปรับ
อากาศ แต่มีการทำช่องเปิดขนาดเล็ก เพื่อให้
อากาศไหลเวียนได้ เป็นการระบายอากาศโดยวิธี
ธรรมชาติเช่นกันส่วนผนังกระจกนั้นทำหน้าที่ใน
การบังฝนเข้าสู่ตัวอาคารเท่านั้น
16 = SPECIAL INSTRUCTOR 2
17 16 = FACULTY SERVICE LOBBY LOUNGE 2
18 17
= WORKSHOP-BASED FIREMAN LOBBY LEARNING 1
19 = WORKSHOP-BASED LEARNING 2
20 = BUSINESS SIMULATION
21 = STOCK TRADING DEMO
22 = STORAGE 2
23 = TERRACE
24 = CLASS ROOM 17
25 = CLASS ROOM 18 & 19
นอกจากนี้ยังมีการคำนึงถึงผลกระทบระหว่างการ
ก่อสร้างอาคารด้วย ว่าจะไม่ทำให้เกิดมลภาวะแก่
พื้นที่โดยรอบ ด้วยการวางมาตรการและวางแผนใน
การก่อสร้างให้มีความปลอดภัยและปลอดมลพิษ
อาคารหลังนี้จึงนับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีหลังหนึ่ง
ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยใน
ประเทศไทย ด้วยการสร้างแนวความคิดในการ
ออกแบบอาคารที่แสดงถึงความเข้าใจในภูมิปัญญา
ของความเป็นประเทศร้อนชื้น ผสานกับปรัชญาเชิง
สังคมในการสร้างพื้นที่สำหรับการศึกษา และการ
ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความเหมาะสม
เพื่อแก้โจทย์ในการออกแบบและก่อสร้าง
0 10 25
50
0 10 25
50
16 = RESOURCE & STUDY ROOM
17 = FAA STAFF OFFICE
18 = 3D ANIMATION LAB
19 = PRINT RESOURCE LAB
20 = 3D PRINT / LASER CUTTER
21 = 3D SCAN
22 = SCREENING
23 = CONTROL ROOM
24 = AUDIO RECORDING SUITES
25 = PROFESSIONAL
AUDIO RECORDING LAB
26 = CONTROL ROOM
27 = FOLEY LAB
28 = LARGE COMPUTER LAB
0 10 25
50
53
ventilation. Another interesting part of the
design is on the sixth floor, where the space
is divided into several small, freeform rooms
partitioned by glass walls. While this area
has no air conditioning system, a series of
small openings here accentuate airflow and
natural ventilation while glass walls protect
the interior from rain.
The impact of the construction on the environment
was carefully monitored to ensure
that the surrounding area was not affected.
The protocols and planning were also cautiously
developed to maximize the safety and
pollution control measures. An exemplary
work of contemporary architecture, the building
displays a conceptualization and execution
that does not only reflect a deep understanding
of the inherited architectural wisdom of
tropical countries, but also thoughtfully incorporates
the social philosophy of the learning
space. Its creative application of technology,
meanwhile, resulted in successful solutions
that optimized both the design and construction
process.
Project name: Aditayathorn Building (MUIC)
Owner: Mahidol University
Location: Salaya, Nakhon Pathom
Area: 67,901 sq.m.
Year of completion: 2017
Architect: Tonsilp Studio
Review
สถาปัตยกรรมผสาน
ธรรมชาติกับเมือง
Green (Urban) Catalyst
Text: พีรณัฏฐ์ อุไรรัตน์ / Peeranat Urairat
Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum
Photo: Courtesy of architect
54
เมื่อเราพูดถึงการออกแบบสถาปัตยกรรม มักมีจุดเริ ่มต้น
ได้หลากหลายแนวทางและความน่าจะเป็นเช่นกัน ถ้าเรา
ตั้งสมการว่า คน + ต้นไม้ + ที่ทํางาน + เมือง จะเกิดอะไร
ขึ้น และสามารถเกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบไหน ด้วย
วิธีการอย่างไรบ้าง
โดยหลักทางคณิตศาสตร์ ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับตัวแปร
อันหลากหลายที่เข้ามาสัมพันธ์กันในรูปแบบต่างๆ
ของสมการ ทั้งเรียบง่ายและซับซ้อน สิ่งที่เรา
ได้เรียนรู้มากกว่าผลลัพธ์ทางการคำนวณ คือ
ความสัมพันธ์ของตัวเลขและการสร้างระบบวิธี
การได้มาซึ่งคำตอบ เมื่อเราพูดถึงการออกแบบ
สถาปัตยกรรม มักมีจุดเริ่มต้นได้หลากหลาย
แนวทางและความน่าจะเป็นเช่นกัน ถ้าเราตั้ง
สมการว่า คน + ต้นไม้ + ที่ทำงาน + เมือง จะ
เกิดอะไรขึ้น และสามารถเกิดความสัมพันธ์ใน
รูปแบบไหน ด้วยวิธีการอย่างไรบ้าง
หากใครมีโอกาสสัญจรบนทางพิเศษศรีรัชเป็น
ประจำ โดยผ่านบริเวณย่านประดิพัทธ์ ด้วยมุมมอง
ที่สังเกตเห็นชัดเจนจากระดับบนทางพิเศษ จะเห็น
อาคารรูปร่างเป็นชั้นๆ มีพื้นที่ปลูกพืชพรรณไม้ ไล่
ระดับเรียงลงมา และมีส่วนยื่นของอาคารออกไป
ในทิศทางต่างๆ กัน เราอาจจะมองและสามารถ
จินตนาการได้ว่ารูปร่าง-รูปทรงภายนอกของอาคาร
คล้ายกับพื้นที่ทำการเกษตรบริเวณที่ลาดเชิงเขา
หรือนาขั้นบันได (rice terrace) ซึ่งเป็นลักษณะภูมิ-
ทัศน์วัฒนธรรมที่ทำกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็น
พื้นที่เกษตรกรรมที่เพาะปลูกด้วยความเชื่อและ
วัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีความสัมพันธ์กับวัฏจักร
และฤดูกาลของการปลูก ซึ่งกลไกเหล่านี้แสดงถึง
ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
อาคาร 7 ชั้น ที่มีรูปทรงซ้อนกันไปมาเป็นลักษณะ
ทางกายภาพของอาคาร Inter Crop Office ได้รับการ
ออกแบบโดย Stu/D/O Architects โดยการเริ่มต้น
สร้างโปรแกรมทางสถาปัตยกรรมเกิดจากการตั้ง
คำถามและสมการที่เรียบง่ายอย่างสร้างสรรค์ เช่น
การสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ส่งผล
กระทบต่อบริบทรอบข้างให้น้อยที ่สุดได้อย่างไร
55
In mathematics, figuring out an answer relies
on the many variations that are expressed
and related in both simple and complicated
equations. Nevertheless, what we have learnt
is that beyond every mathematical result
are relationships of numbers, systems and
methodologies that have been formulated and
developed to help us find the right answers.
When discussing architectural design, we all
know beginning can be diverse and probabilities
can be countless. So if people + tree
+ workplace + city were to be the equation,
what will the results be? What possible types
of relationships and methods can be created
out of this equation?
The commuters of Srirat Expressway who
drive passed Pradipath district of Bangkok
would probably notice a building with trees
lusciously growing on its terraced floors
purposefully descending and extruding in
different directions. Such physical features
can easily lead one to imagine the landscape
of a rice terrace, one of the most ancient
agricultural methods in human civilization.
This type of agricultural land is conceived
from and exists out of traditional beliefs and
cultures that are closely related to agricultural
cycles and changing seasons. These mechanisms
are the manifestation of human’s true
understanding in the sustainable coexistence
between themselves and nature.
The seven-story building with overlapped
masses describes the physical features of
Inter Crop Office’s building. Designed by Stu/
D/O Architects, the building’s architectural
program is developed from creatively simple
ทางเข้าหลักของอาคาร
Main entrance of the
building
เนื่องจากอาคารที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนาขั้น
บันไดหลังนี ้ แทรกตัวอยู่ในย่านชุมชนพักอาศัย 1-2
ชั้น ซึ่งเป็นพื้นที ่ที่รายล้อมไปด้วยบ้าน ทางผู้ออกแบบ
ได้ทําการลดทอนสัดส่วนความเป็นอาคารที ่ดูเป็นตึก
ทึบตัน เพื่อให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม บริบท
ของย่านพักอาศัยโดยรอบให้มากที่สุด นอกจากนี ้ยัง
เป็นการสร้างพื้นที่เชื่อมต่อธรรมชาติให้แก่ผู้ใช้อาคาร
ด้วย
การหลีกเลี่ยงให้อาคารเป็นตึกที่กรุรอบด้าน
ด้วยกระจกที่สะท้อนแสงจ้าไปรบกวน บ้าน
ที่อยู่อาศัยโดยรอบ เป็นต้น หรือการสร้าง
ภาษาในการออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างไร
ให้สามารถสื่อสารถึงอัตลักษณ์ (identity)
ปรัชญาการทำงานขององค์กร character ของ
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการสร้างสิ่ง
แวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับ
ธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้อย่างไรบ้าง
เนื่องจากอาคารที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนาขั้น
บันไดหลังนี้ แทรกตัวอยู่ในย่านชุมชนพักอาศัย
1-2 ชั้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยบ้าน ทาง
ผู้ออกแบบได้ทำการลดทอนสัดส่วนความเป็น
อาคารที่ดูเป็นตึกทึบตัน เพื่อให้ดูกลมกลืนกับ
สภาพแวดล้อม บริบทของย่านพักอาศัยโดยรอบให้
มากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพื้นที่เชื่อมต่อ
ธรรมชาติให้แก่ผู้ใช้อาคารด้วย รูปทรงของอาคาร
ที่ยื่นออกไปในทิศทางต่างๆ กัน ช่วยสร้างร่มเงา
ให้แก่พื้นที่ใช้สอยทั้งภายในและภายนอก และ
มุมมองจากด้านบนอาคาร สามารถมองเห็นพื้นที่
สีเขียวที่ซ้อนเหลื่อมกันในแต่ละชั้น แสดงถึงความ
เชื่อมต่อของพื้นที่สวนในแต่ละชั้นด้วย รวมถึงการ
ออกแบบรายละเอียดของระบบห่อหุ้มอาคาร (façade)
โดยใช้แนวระแนงไม้แนวตั้งที่ถูกออกแบบ
ให้ตอบสนองหน้าที่ในระดับที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะ
เป็นการทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ปรับแต่ง และการ
ป้องกันแสงแดดได้แตกต่างกันในแต่ละองศาของ
ฤดูกาล โดยเพิ่มการลงรายละเอียดของการกำหนด
equations and questions: How to create architecture
with the least possible impact on the
surrounding context? How to avoid creating
a mirror-cladded building that would reflect
sunbeams to the neighboring residences?
How to develop an architectural language that
can communicate the organization’s identity
and philosophy, all the way to the characters
of its agricultural products? How to facilitate
a close and sustainable relationship between
a work environment and nature?
Since this rice terrace-inspired structure situates
in a residential neighborhood surrounded
mostly with 1-2 story high residential buildings,
the architect simplifies the dense mass
and proportion of the building in order for it to
be more physically fitting with the surrounding
environment and context. The design is realized
to facilitate a connection that brings the
building’s users closer to nature. The extruding
and descending masses provide shaded
areas for both exterior and interior functional
spaces. The top view of the building reveals
the superimposed green spaces and the way
the garden areas on each floor are connected.
The details of the façade are made up of a
series of vertical wooden laths designed to
serve different roles and functionalities, such
as a filter that helps adjust and minimize the
presence of sunlight whose direction is varied
by the change of seasons. The details and the
depth of the wooden laths are included in the
56 57
การให้ความสําคัญของ user experience ถูกถ่ายทอด
ไปส่วนต่างๆ ของอาคารอย่างแนบเนียน เช่น การ
ออกแบบการสัญจรทางตั ้ง โดยตั ้งคําถามกับการใช้งาน
ประสบการณ์ที่แตกต่างที่เกิดขึ้นจากมุมมองในแต่ละ
ระดับความสูง
การวิเคราะห์เรื่องการแผ่รังสี
ของแสงอาทิตย์
Solar Radiation Analysis
ความลึกของหน้าไม้ระแนง ซึ่งนอกจากการตอบ
สนองเรื่องแสงและความร้อน ยังส่งผลต่อการมอง
เห็นจากภายในออกสู่ภายนอก (visual connection)
ของผู้ใช้สอยอาคารอีกด้วย การออกแบบ
จัดวางพื้นที่รองรับงานระบบ (service core) เช่น
ห้องงานระบบ ห้องเก็บของ บันไดหนีไฟ และห้องน้ ำ
ไว้บริเวณทิศตะวันตก เพื่อเป็นการป้องกันความ
ร้อนเข้าสู่อาคาร การสร้างความต่อเนื่องกันของ
layer ต่างๆ ของอาคาร พื้นที่ภายใน แนวกระจก
ระแนงไม้ และธรรมชาติภายนอก ถูกเรียงร้อย
ลำดับกันอย่างละเมียดละไม ทั้งยังสามารถตีความ
ได้ในมิติที่แตกต่างในมุมมองของการสร้างสรรค์
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture)
ที่สามารถนำจิตวิญญาณของความเป็นงาน
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular Architecture)
ในอดีต ให้กลับมาสู่มิติของการใช้พื้นที่รองรับ
กิจกรรมและอยู่อาศัยในบัจจุบันได้อย่างลงตัว
การให้ความสำคัญของ user experience ถูก
ถ่ายทอดไปส่วนต่างๆ ของอาคารอย่างแนบเนียน
เช่น การออกแบบการสัญจรทางตั้ง โดยตั้งคำถาม
กับการใช้งาน ประสบการณ์ที่แตกต่างที่เกิดขึ้น
จากมุมมองในแต่ละระดับความสูง
การที่บันไดทำหน้าที่เชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ไม่ว่าจะ
เป็นระหว่างพื้นที่ภายใน หรือภายในสู่พื้นที่สวน
ภายนอก ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้สอยอาคารใช้
บันไดให้มากขึ้น การออกแบบอาคารร่วมกับการ
ออกแบบพื้นที่ภายนอก landscape ช่วยสร้าง
บรรยากาศที ่เป็นธรรมชาติพื้นที่สีเขียวโอบล้อม
อยู่ในทุกๆ ชั้น ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องมุมมอง
การมองเห็นเป็นจุดพักสายตาและเป็นพื้นที่คลาย
อิริยาบทจากการความเหนื่อยล้า จากการทำงาน
design for such attributes do not only affect
the light and heat filtration, but also the visual
connection of the building’s users. The service
areas, such as the storage area, fire escape
and restrooms, are located towards the west
wing with a solid façade, preventing the heat
of the afternoon sun from coming into the
building. The building’s different layers from
the interior spaces, glass walls and partitions,
to the wooden laths, as well as the presence
of nature, are interwoven into a delicate
spatial flow. The design can be interpreted
as Modern Architecture that does not only
incorporate but also embraces the spirit of
vernacular architecture of the past, reintroducing
it to the dimension of contemporary
modern-day users’ activities and behaviors.
The emphasis on user experience seamlessly
transpires to different sections of the building.
For instance, the design of the vertical
circulation is derived from the architect’s
question about the functionality of stairs,
including people’s different experiences and
perceptions towards height and level. The
staircases, which link the building’s interior
spaces together and to the balconies, are
designed to naturally encourage users to
use the stairs more. The corresponding and
complementing design of the building and the
outdoor landscape enable each of the floors
to be embraced by the element of nature.
Apart from the visual connection, these green
spaces are where users are able to rest their
eyes and relax their body from extended working
hours. The rooftop garden on the fifth floor
is the building’s largest green space designed
กระบวนการออกแบบทาง
สถาปัตยกรรม
Architectural Design
Process
58
59
มุมมองจากสวนชั้น 5
View from Roof Garden
on the fifth Floor
มุมมองจากการซ้อนกันของ
หลังคา สะท้อนแนวคิดเรื่อง
นาขั้นบันได
Stacking Roof layers that
reflected the idea of
Rice Terrace
การสร้างพื้นที่ปลูกต้นไม้โดยรอบยังช่วยลดความ
ร้อนให้กับอาคารโดยตรง และทําให้ภาพนาขั ้นบันได
ของอาคารสมบูรณ์ขึ้นด้วยการเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่
ดูเป็นเส้นคล้ายต้นข้าว ซึ ่งช่วยให้เกิดมิติของความ
พลิ้วไหวเมื่อลมพัด สร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลลดทอน
เส้นสายที่แข็ง ให้เกิดความสมดุลกันมากขึ้น
ความสัมพันธ์ของอาคารกับ
สวนภายนอก
The Relationship between
Building and Outdoor
Green Space.
60 61
โดยเฉพาะพื้นที่ roof garden ชั้นที่ 5 ซึ่งเป็นพื้นที่
สีเขียวขนาดใหญ่ที่สุดในอาคาร ถูกออกแบบให้เป็น
ได้ทั้งพื้นที่รองรับกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น
กิจกรรมสังสรรค์ประจำปีหรือบางเวลาสามารถ
เปลี่ยนเป็นพื้นที่ทดลองผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
ย่อมๆ ได้ การสร้างพื้นที่ปลูกต้นไม้โดยรอบยัง
ช่วยลดความร้อนให้กับอาคารโดยตรง และทำให้
ภาพนาขั้นบันไดของอาคารสมบูรณ์ขึ้นด้วยการ
เลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่ดูเป็นเส้นคล้ายต้นข้าว ซึ่ง
ช่วยให้เกิดมิติของความพลิ้วไหวเมื่อลมพัด สร้าง
บรรยากาศที่นุ่มนวลลดทอนเส้นสายที่แข็ง ให้เกิด
ความสมดุลกันมากขึ้น
to accommodate different activities such as
the company’s annual gathering. It is also used
as a space where small experiments on the
company’s agricultural products are carried
out. Having areas for trees to grow directly
contribute to the lowered temperature of the
functional spaces. The rice terrace-inspired
landscape is made more complete with the
use of plants whose physical attributes are
similar to those of rice paddies. The delicate
leaves flow when touched by the wind, collectively
softening the stiff lines of the architectural
form, bringing greater balance to the
overall structure.
แผนผังแสดงการออกแบบ
รายละเอียดแผงกันแดด
The Diagrams : Facade
Details
พื้นที่ส่วนต้อนรับ
Reception area
ภาพตัดอาคาร
Main Section
โครงการนี้ทำให้รับรู้ถึงการค้นหาแนวทางและ
รายละเอียดจากการออกแบบสถาปัตยกรรมที่
เต็มเปี่ยมไปด้วยมุ่งมั่นและตั้งใจ ผ่านการระดม
ความคิด วิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ อย่างละเอียด
ถี่ถ้วนมากที่สุด ผลลัพธ์จะส่งผลโดยตรงถึง
ประสบการณ์ผู้ใช้สอยอาคาร ผ่านในรูปแบบของ
การเพิ่มคุณภาพในการทำงาน คุณภาพในการใช้
ชีวิต ทั้งยังเป็นโอกาสดีที่ทำให้คนได้ใกล้ชิดและใช้
เวลาเรียนรู้และผ่อนคลายกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
เปรียบเสมือนการหยอดสารชนิดหนึ่งลงไปในพื้นที่
สถาปัตยกรรมสามารถสร้างการปฏิสัมพันธ์ของ
คนอยู่ร่วมกับพื้นที่สีเขียว และในอนาคต สาร
ที่ว่านี้อาจเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการขยายตัวของ
สถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ส่งผลต่อเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
Project Name: Inter Crop Office Building
Owner: Inter Crop Co.,Ltd.
Location: Bangkok, Thailand
Site Area: 2,450 sqm.
Built Area: 3,500 sqm.
Year of Completion: 2018
Architect: Stu/D/O Architects
The project is the manifestation of a dedicated
and determined search for the right
approach and details of architectural design,
which resulted from intensive brainstorming,
and elaborate and detailed analyses of
factors and variations. Created is the work
of architecture whose functionality and
aesthetics collectively shape positive user
experience and optimize the quality of both
the workplace and people’s lives. The building’s
architectural program enables people to
be a little bit closer to nature, realizing the
importance of its presence as a result. It was
as if some sort of substance was dropped into
an architectural space and it somehow helped
nurture the interaction and coexistence between
human and the natural elements of
green space. Hopefully, we will get to see this
substance work its magic and help grow the
kind of architecture that is able to sustainably
coexist with nature, endlessly and beautifully
expanding its presence and impact on cities
and urban spaces.
62 63
Review
เรียนรู้ เข้าใจ เพื่อการอยู่ร่วม
กับธรรมชาติอย่างยั ่งยืน
Learning Green : Raintree
International School
Text: Warut Duangkaewkart / วรุตร์ ดวงแก้วกาศ
Translation: นิศาชล บุญช่วยคุ้ม / NisachonBoonchuaykum
Photo: Courtesy of architect
ในยุคที่การออกแบบเพื่อความยั่งยืนถูกพูดถึงมาก
ขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทยนัก เพราะ
มีหลายบริษัทที่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ และยึดถือเป็น
แนวทางการทำงานที่สำคัญ GreenDwell เป็นหนึ่ง
ในกลุ่มสถาปนิกที่แนวทางการออกแบบยืนอยู่บน
พื้นฐานของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นผ่านงาน
สถาปัตยกรรม เช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ถูกตั้งขึ้น
เพื่อแสดงจุดยืน และแนวทางที่ รักศักดิ์ สุคนธะ-
ตามร์ และ ศิริทิพย์ หาญทวีวงศา ผู้ก่อตั้งบริษัท
GreenDwell เชื่อว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ
งานออกแบบ
ด้วยมุมมองต่องานสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนที่ไม่ใช่
เพียงเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน หรือการอยู่กับ
ธรรมชาติเท่านั้น สถาปัตยกรรมที่ดีควรทำหน้าที่
ตอบโจทย์ของผู้ใช้งาน และสร้างให้เกิดคุณภาพ
ชีวิตที่ดีในระยะยาว โดยเริ่มตั้งแต่พื้นที่ใช้สอย
ภายในบ้าน การออกแบบให้บ้านอยู่สบาย อยู่แล้ว
มีความสุข ออฟฟิศที่คนทำงานสามารถนั่งทำงาน
To say sustainable design is now more popular
in Thailand would be an understatement –
many architects already consider it central to
their work. One such example is GreenDwell,
a name that reflects the role its founders,
Raksak Sukontatarm and Siritip Harntaweewongsa,
believe design should play.
In their eyes, sustainable architecture isn’t
about only energy saving or living with nature
– it should aspire to solve the user’s
problems and create a better quality of life
for the long haul. It all starts with creating a
functional space in the house, or a design that
64 65
ได้เป็นระยะเวลานาน โดยไม่บั่นทอนสุขภาพ
ร่างกายลงไป อยู่ในพื้นที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ รวม
ไปถึงโครงการที่จะกล่าวถึงอย่างโรงเรียนอนุบาล
ที่เป็นเสมือนสถานที่บ่มเพาะเด็กเล็ก ในช่วงเวลาที่
การเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่จะเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิต
จะถูกปลูกฝังผ่านช่วงเวลานี้ ผ่านระบบการเรียนรู้
และรับรู้จากครูที่เป็นเสมือนตัวอย่าง รวมถึง
สถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่
เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้เหล่านั้น
มุมมองจากทางเข้าที่ตัวอาคาร
Main entrance of the
building
Raintree International School คือโรงเรียน
อนุบาลทางเลือก ที่เน้นการเรียนรู้รูปแบบ Child
Centric มุ่งเน้นการเรียนรู้ที่มีตัวนักเรียนเป็น
ศูนย์กลาง ส่งเสริมการเรียนรู้ที่มากกว่าแค่ภายใน
ห้องเรียน เป็นโจทย์ที่ทาง GreenDwell ได้รับมา
พัฒนาแนวความคิดต่อ โดยเริ่มจากการศึกษาพื้นที่
และบริบทโดยรอบ ทั้งทิศทาง แดด ลม ฝน รวมถึง
ตำแหน่งต้นไม้เดิมที่อยู่ภายในพื้นที่ ที่ถูกรักษาไว้
และกลายมาเป็นส่วนสำคัญในงานออกแบบ
โครงการนี้ ซึ่งก่อนที่จะเริ่มกระบวนการออกแบบ
นั้น สถาปนิกได้ทำการศึกษา และทำความเข้าใจ
ในหลักสูตรทั้งหมดที่ทางโรงเรียนได้วางแผนไว้
ทำความเข้าใจในกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใน
พื้นที่ เพื่อให้เกิดการออกแบบที่เหมาะสมกับการ
ใช้งานมากที่สุด เป็นการคำนึงถึงการออกแบบที่
พื้นที่ชั้นสองที่ตัวอาคารโค้ง
สอดรับกับต้นไม้เดิมในพื้นที่
Space of the second
floor curves along an
existing tree
results in a comfortable home, or a well-lit
office that allows workers to work happily
for long periods without negatively impacting
their health. Sustainable design can even
be applied to those places that nurture the
development of small children, such as kindergartens.
Early childhood is an important
time when children gain knowledge that will
be the foundation for their lives. Architecture
within this context can provide the proper
environment for learning.
ลานกิจกรรมภายนอก
ห้องเรียนที่เชื่อมกับคอร์ท
ต้นไม้โดยรอบ
Activity ground that
connects with green
courtyard
Raintree International School is an alternative
kindergarten that focuses on a childcentric
learning, a system which puts children
themselves at the center and aims to provide
learning not just inside the classroom.
GreenDwell developed this idea by studying
the area and its surrounding context. The
66 67
Raintree International School คือโรงเรียนอนุบาล
ทางเลือก ที่เน้นการเรียนรู้รูปแบบ Child Centric มุ่ง
เน้นการเรียนรู้ที่มีตัวนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริม
การเรียนรู้ที่มากกว่าแค่ภายในห้องเรียน เป็นโจทย์ที่ทาง
GreenDwell ได้รับมาพัฒนาแนวความคิดต่อ โดยเริ ่ม
จากการศึกษาพื้นที่ และบริบทโดยรอบ ทั ้งทิศทาง แดด
ลม ฝน รวมถึงตําแหน่งต้นไม้เดิมที ่อยู่ภายในพื้นที่ ที่
ถูกรักษาไว้ และกลายมาเป็นส่วนสําคัญในงานออกแบบ
โครงการนี้
ช่องเปิดขนาดใหญ่ช่วยทำให้
พื้นที่ทั้งสองชั้นเชื่อมโยงถึงกัน
Void connecting spaces
together
ยั่งยืนในเบื้องต้น เพราะพื้นที่บางพื้นที่นั้น สามารถ
ออกแบบเพื่อที่จะใช้งานร่วมกันได้ หากเกิดความ
เข้าใจในรูปแบบการใช้งาน ทำให้สามารถกระชับ
พื้นที่ที่จะเกิดขึ้นให้มีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เป็นปัจจัย
ที่จะส่งผลถึงงบประมาณ และการก่อสร้าง หรือ
ความสิ้นเปลืองที่จะเพิ่มขึ้นตามมาโดยไม่จำเป็นได้
จากการศึกษาบริบทของพื้นที่ ตัวอาคารถูกจัดวาง
อย่างอิสระ ไหลไปตามที่ว่าง ตามแนวของต้นไม้
เดิมจนเกิดเป็นรูปทรงเส้นโค้ง และก่อให้เกิดคอร์ท
เปิดโล่ง 2 คอร์ท ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรม
เรียนรู้กลางแจ้งสำหรับนักเรียน เป็นเสมือนลาน
อเนกประสงค์ธรรมชาติ ที่ช่วยให้เด็กได้ใกล้ชิดกับ
ต้นไม้ แสงแดด และลม ซึ่งจะช่วยปลูกฝังให้เข้าใจ
เรื่องความสำคัญของธรรมชาติ ที่สถาปนิกเองมอง
ว่านี่ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการอยู่อาศัยแบบ
ยั่งยืนเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ คอร์ททั้ง 2 คอร์ท
ยังถูกเชื่อมโยงด้วยลานใต้อาคารที่เป็นพื้นที่แบบ
semi-outdoor รองรับกิจกรรมที่ต้องการพื้นที่นอก
ห้องเรียน ซึ่งโถงนี้เป็นตัวเชื่อมพื้นที่ชั้นล่างทั้งหมด
ทำให้กิจกรรมในแต่ละพื้นที่ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วย
กัน และช่วยดูแลความปลอดภัยต่างๆ สำหรับ
โรงเรียนอนุบาลได้ดีขึ้น สำหรับพื้นที่ห้องเรียน
ต่างๆ ถูกจัดเรียงตามผังของอาคารโดยสถาปนิก
ออกแบบให้ทุกห้องมีแสงธรรมชาติส่องสว่าง เพื่อ
ลดการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน โดยเฉพาะบริเวณ
ชั้นสองที่ช่องแสงถูกออกแบบให้อยู่เหนือระดับ
กำแพง เพื่อนำแสงเข้ามาใช้ในพื้นที่ห้องเรียนแต่ละ
directions of sunlight, wind, rain and trees on
the site became important elements in the
design. Before starting the design process, the
architects carefully studied the curriculum
and learning activities offered by the school
in order to reach the best design for those
functions. This work process reveals their
fundamental interest in sustainable design.
After all, it is only by understanding how a
certain space will be used that designers are
able to design a space compatible with all
the different activities.
The building is placed freely in the space along
the row of existing to form a curve line and
two open courtyards. These courtyards are
used for outdoor activities and also serve as
a natural multipurpose deck where students
can enjoy the trees, sunlight and wind. The
architects believe that cultivating an understanding
of the importance of nature is an
important part of sustainable architecture. A
semi-outdoor deck which can also be used
for activities connects the two open courtyards
and ground floor area. Classrooms are
arranged so as to maximize natural lighting
and minimize electricity usage; windows in
these classrooms, especially those on the
second floor, have windows over wall-height
to let in as much sunlight as possible and
make the space look open and comfortable.
68 69
ความสูงของฝ้าและช่องแสง
ด้านบนช่วยทำให้พื้นที่ภายใน
ห้องเรียนรับแสงธรรมชาติ
ได้เต็มที่
The high ceiling and
window allow natural
light into interior space
จากมุมมองนี ้ การออกแบบที ่คํานึงถึงผู้ใช้เป็นสําคัญ
ถือว่าเป็นการออกแบบเพื ่อความยั ่งยืนที ่ดีที่สุดทางหนึ ่ง
เพราะเมื่ออาคารถูกใช้งานแล้วสามารถตอบโจทย์ได้ครบ
ถ้วน อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตให้ดี
มากขึ้น ช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดีผ่านประสบการณ์ที่ได้รับ
จากงานสถาปัตยกรรม สิ่งเหล่านี้ย่อมย้อนกลับไปก่อให้
เกิดสังคมที่ดีต่อไปในอนาคต
ผนังกระจกช่วยทำให้พื้นที่
ภายในรู้สึกโปร่ง และเชื่อมโยง
กับพื้นที่ภายนอกมากขึ้น
Interior spaces are more
open up and connect to
the outside by glass wall
ห้องให้มากที่สุด พื้นที่โดยรวมจึงดูโปร่ง และสบาย
ตาอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้ที่ผู้ออกแบบเชื่อว่าเป็นองค์
ประกอบของความยั่งยืนที่สำคัญ ซึ่งสถาปนิกและ
สถาปัตยกรรมมีส่วนร่วมสร้างได้
จากมุมมองนี้ การออกแบบที่คำนึงถึงผู้ใช้เป็น
สำคัญถือว่าเป็นการออกแบบเพื่อความยั่งยืนที่ดีที่
สุดทางหนึ่ง เพราะเมื่ออาคารถูกใช้งานแล้ว
The designers believe these are all important
facets of sustainability which architects and
architecture can participate in creating.
From GreenDwell’s perspective, a design
that is considerate of the end user is one
of the most sustainable designs possible.
In their view buildings that serve all their
requirements, support better life quality and
70 71
แผนผังการคำนวนทิศทางของ
ลมและอุณภูมิภายในพื้นที่
Diagrams show the ventilation
and temperature
calculated onto site
สามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วน อีกทั้งยังช่วยเสริม
สร้างให้เกิดคุณภาพชีวิตให้ดีมากขึ้น ช่วยปลูก
ฝังทัศนคติที่ดีผ่านประสบการณ์ที่ได้รับจากงาน
สถาปัตยกรรม สิ่งเหล่านี้ย่อมย้อนกลับไปก่อให้
เกิดสังคมที่ดีต่อไปในอนาคต ถือเป็นแนวความคิด
ที่สำคัญสำหรับประเภทอาคารที่ผู้ใช้งานต้องใช้
เวลานานในการใช้สอย เช่น บ้าน โรงเรียน หรือ
อาคารสำนักงาน พื ้นที่เหล่านี้สามารถก่อให้เกิด
การปลูกฝังที่ดี เช่นเดียวกับ Raintree International
School ที่หากเด็กนักเรียนเรียนรู้ว่าการอยู่
กับธรรมชาติเป็นอย่างไร รวมถึงการอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นและการเข้าใจบริบทโดยรอบเป็นอย่างไร น่า
จะถือว่าเป็นการสร้างรากฐานให้กับสังคมเพื่อ
พัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างดีทีเดียว
cultivate good attitudes through experience
of the architecture will help create a better
society in the future – an important concept
for buildings such as houses, schools or office
buildings. A kindergarten where students learn
how to live with nature and to understand
their surroundings, and where the foundations
for a society that follows the tenets of sustainable
development are being successfully
laid, Raintree International School is a prime
example of this idea in action.
ผังอาคารชั้นหนึ่ง ผังอาคารชั้นสอง
Ground floor plan
Second floor plan
Project Name: Raintree International School
Owner: Raintree Thailand
Location: Nang Linchi Road, Sathon, Bangkok
Area: 1,500 sq.m.
Year of completion: 2017
Architect: GreenDwell
Interior designer: Studiomake, Curious Gang
72 73
Review
บ้านข้าวต้มมัด
ที่หายใจร่วมกับธรรมชาติ
A Breathing House
Alongside with Nature
Text: กิตติ เชาวนะ / Kitti Chaowana
Translation: นิศาชล บุญช่วยคุ้ม / Nisachon Boonchuaykum
Photo: Courtesy of architect
ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยที่กำลังย่างเข้าสู่
สังคมผู้สูงอายุ มีการตั้งคำถามและพยายามเสนอ
คำตอบกันอย่างกว้างขวางและหลากหลายว่าเราจะ
ออกแบบ สร้างสรรค์ สภาพแวดล้อม บ้าน ชุมชน
และสังคมเพื่อตอบโจทย์นี้ได้อย่างไรบ้าง เมื่อทราบ
ว่ามีโครงการบ้านของคุณน้าฝาแฝดที่อยากมีบ้าน
วัยเกษียณหลังหนึ่งของ Eco Architect ซึ่งเน้น
การออกแบบที่เข้ากับบริบทและสภาพแวดล้อมจึง
เป็นสิ ่งที่ชวนให้คิดว่าผู้ออกแบบจะเสนอแนวทาง
ที่ท้าทายนี้เช่นไร โดยเมื่อได้พูดคุยกับคุณคำรณ
สุทธิ สถาปนิกผู้ออกแบบและผู้บริหารของ Eco
Architect จึงได้ทราบแนวคิดหลักที ่เป็นเกณฑ์ใน
การออกแบบและพัฒนาแบบของสำนักงานที่มุ่ง
เน้น “ต้องอยู่สบายโดยพึ่งพาธรรมชาติก่อนจะ
พึ่งพาเทคโนโลยี” มุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างบ้านบน
ฐานคิด “บ้านที่หายใจร่วมกับธรรมชาติ” ส่วน
จะหายใจแบบไหน อย่างไร มีหลายคำตอบหลาก
74 75
As Thailand approaches aged society status,
a lot of ideas about how to best create environments,
houses, communities and societies
that meet these newfound circumstances are
circulating. In light of this, it is interesting to
study the solution the designers of Eco Architect
Company came up with when they were
commissioned to create a house for a pair of
retired female twins. After talking with Khamron
Sutthi, the architect and the executive of
Eco Architect, we learned that the main aim
was to make a comfortable living space that
relies more on nature than on technology,
to build a house that coexists with nature
but does it in a range of ways that depend
่
อาคารรูปทรงเรียบง่าย เน้น
ระแนงเพื่อป้องกันแสงแดด
เข้าสู่อาคาร และมีถังเก็บน้ำ
ในชั้นใต้ดินเพื่อเก็บน้ำฝนไว้
ใช้ในอาคาร
Fins can prevent sunlight
entering the building.
Water tank in basement
is used to store
the rainwater.
ทางลาดรอบอาคารต่อเนื่องกับ
สวนภายนอกที่เอื้อต่อกิจกรรม
โปรดในการดูแลต้นไม้
The ramp, around building
continuing with the
garden, facilitates for
the gardening.
หลายตามปัจจัยที่ต่างกันออกไปแต่ละบริบท โดย
หลักการ 4 อย่างนี้คือ 1) eco proficiency เรา
ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ต้องศึกษา ทดลอง และ
พัฒนาอยู่ตลอดเวลา 2) vernacular architecture
ต้องตอบสนองบริบท ความเชื่อ ศาสนา และ
ทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง 3) human centric ต้องตอบ
โจทย์ตัวตนของผู้อยู่อาศัย 4) harmony ต้องมี
ความสอดคล้องกลมกลืน
บ้านเดี่ยวหลังขนาดพอเหมาะวางตัวบนเนินเขา
ถัดจากแนวระดับน้ำทะเลไม่มากนัก บนเกาะ
สิเหร่ พื้นที่นอกเมืองภูเก็ต หลังไม่เล็กไม่ใหญ่
เกินไป หลังคาจั่ว พร้อมหลังคาปีกนกลดชั้นยื่น
ยาวออกมาทั้ง 2 ด้าน รูปแบบอาคารโดยรวม
เรียบง่ายไม่ซับซ้อน มีพืชพันธุ์มากมายรายล้อม
รอบๆ บริเวณรอบบ้าน มีทางลาดรอบอาคารต่อเนื่อง
กับสวน ผู้เขียนได้พบคุณน้าวัยเกษียณสองท่าน
กำลังดูแลตกแต่งต้นไม้อย่างกระฉับกระเฉง มี
รอยยิ้มอิ่มสุข ต้อนรับด้วยเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
บริเวณโถงใต้ชายคาหน้าบ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่หลัก
นอกบ้านทั้งเพื่อการพักผ่อน รับแขก และพื้นที่
พักระหว่างตกแต่งดูแลสวน การสนทนาระหว่าง
สถาปนิกและคุณน้าขวัญใจ-คุณน้าไพจิตร ดูเหมือน
เป็นการพบปะเยี่ยมเยียนของคนในครอบครัว
และญาติสนิทมากกว่าจะเป็นการพบลูกค้าของ
สถาปนิก และเราเองก็รู้สึกถึงความอบอุ่นในการ
ต้อนรับของญาติผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน เป็นสิ่งหนึ่ง
ที่ยืนยันได้ว่าเจ้าของบ้านมีความสุขในการใช้ชีวิต
ในบ้านหลังนี้มากทีเดียว ทำให้เรายิ่งสนใจในราย
ละเอียดการออกแบบที่สามารถสร้างความสุขแก่
ผู้อยู่อาศัยได้ขนาดนี้
เราได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบ ที่สถาปนิก
เห็นคุณน้าฝาแฝดทั้งสองท่าน เหมือนข้าวต้มมัดที่
on each context. To build such a house, the
designers worked with four principles: 1) designers
should be experts in the ecological
aspects of their work and consistently study,
experiment and strive to improve; 2) the
design should take its cue from vernacular
architecture and respond to beliefs, religions
and other culturally relevant matters; 3) the
design should be human centric and serve
the owner’s lifestyles; 4) the design should
be harmonious.
Today, a single house that satisfies all of these
principles stands on the hill above sea on Sire
Island, in a suburb of Phuket. Its gabled roof
is supported by cantilevered pinion roofs on
both sides. The simple house is surrounded
with many kinds of trees and walkways that
connect to the garden. During the writer’s visit,
the owners, two retired ladies, were pruning
plants. They welcomed us with happy smiles
and spoke in the front foyer which serves as
the main area for relaxing, welcoming guests
and resting when in the garden. The warm
meeting between the architect and the owners,
Mrs Kwanjai and Mrs Paijit, felt more like
a family visit than a client visit. And seeing
how happy the owners are living in this house
only made us more interested in the details
of the design.
For the architect, these two elderly ladies
are as close as khao tom mud, a Thai dessert
of sticky rice and banana that are always
bound together. They do activities together all
the time, even though one of them prefers
housework and the other prefers to work
outside. As a result, the architect felt that
76 77
การออกแบบและพัฒนาแบบของสํานักงานที่มุ่ง
เน้น “ต้องอยู่สบายโดยพึ ่งพาธรรมชาติก่อนจะพึ ่งพา
เทคโนโลยี” มุ่งมั ่นตั้งใจที ่จะสร้างบ้านบนฐานคิด “บ้านที
หายใจร่วมกับธรรมชาติ” ส่วนจะหายใจแบบไหน อย่างไร
มีหลายคําตอบหลากหลายตามปัจจัยที ่ต่างกันออกไป
แต่ละบริบท
เราได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบ ที่สถาปนิกเห็นคุณน้า
ฝาแฝดทั้งสองท่าน เหมือนข้าวต้มมัดที ่ไปไหนมาไหน
ด้วยกันเสมอ แม้มีความชอบความถนัดบางอย่างที ่ต่าง
กันบ้าง คือคนหนึ่งชอบเป็นแม่บ้าน อีกคนชอบทํางาน
บ้านของ “คุณน้าข้าวต้มมัด” จึงไม่ควรจะแยกหลัง
สถาปนิกสร้าง mass ของห้อง 2 ส่วน เชื ่อมด้วยโถง
และบันได และลาน เหมือนบ้านไทย
โถงบันไดหลักโล่งช่วยระบาย
อากาศในอาคาร
The stair hall can support
the air ventilation.
ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ แม้มีความชอบความ
ถนัดบางอย่างที่ต่างกันบ้าง คือคนหนึ่งชอบเป็นแม่
บ้าน อีกคนชอบทำงาน บ้านของ “คุณน้าข้าวต้ม
มัด” จึงไม่ควรจะแยกหลัง สถาปนิกสร้าง mass
ของห้อง 2 ส่วน เชื่อมด้วยโถงและบันได และลาน
เหมือนบ้านไทย ทดลองออกแบบเป็นสี่เหลี่ยมกับ
สามเหลี่ยม และมีเส้นรัดรอบ ที่ทำหน้าที่เป็นแผง
กันแดดเข้าสู่อาคารด้วย ในช่วงแรกของการพัฒนา
แบบ สถาปนิกเสนอเป็นบ้านชั้นเดียว แต่เจ้าของ
อยากอยู่ชั้นสอง (ก่อน) เพราะรู้สึกปลอดภัยกว่า
และสามารถเห็นวิวได้ชัดเจน สถาปนิกจึงพัฒนา
แบบทำห้องนอนชั้นล่างไว้เผื่อสำหรับเป็นห้องนอน
ในอนาคตซึ่งทั้งสองจะย้ายลงมาอยู่ด้วยกัน ไม่
อยากอยู่ห่างกัน มีการเตรียมพื้นที่สำหรับพยาบาล
เพื่อดูแล ทางลาด และเตรียมห้องน้ำที่เหมาะสม
สำหรับผู้สูงอายุไว้ การออกแบบชั้นล่างให้ทุกส่วน
เป็นทางราบ ไม่มีระดับ
เมื่อได้ดูรายละเอียดการออกแบบส่วนต่างๆ ร่วม
กับการพูดคุยกับผู้ออกแบบและเจ้าของบ้านพบว่า
บ้านที่ดูเรียบง่ายหลังนี้กลับเต็มไปด้วยรายละเอียด
การร่วมคิดกันมากมาย ทั ้งความเข้าใจเรื่อง
ทรัพยากรและสภาพแวดล้อม
มีการยื่นหลังคาออกไปค่อนข้างยาวถึง 4-5 เมตร
จากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ว่าภูเก็ตมีลมฝน
หนักมาก และพัฒนาการทางความคิดด้านงาน
ออกแบบว่าถ้าอยู่ในร่ม (shading) เมื่อลมวิ่งผ่าน
จะเสียพลังงาน ความร้อน เป็นหลักการ earth
cooling ที่เปลี่ยนลมอุ่นให้กลายเป็นลมเย็น มี
การศึกษาและทดลอง (model study) พัฒนา
their houses shouldn’t be separated, so he
connected them via a hall, staircase and deck
in accordance with traditional Thai house
planning. The design deploys rectangular and
triangular forms with a ban which is shading
fin. Initially, the architect suggested a one
story house but the owners requested two
stories, because they feel safer staying on
the second floor and it offers a better view.
A guest bedroom was therefore included on
the lower floor for future use.
Also included is a room for nursing, as well
as ramps and a proper bathroom suitable
for elderly people. The ground floor is flat
without any steps.
After talking with the architect and owners
and examining the design thoroughly, it became
clear that this simple house is full of
carefully considered details that reveal a deep
understanding about natural resources and
the environment. The roof has 4-5-meter-long
eaves because of the heavy rains in Phuket.
The architect used cooling theory, which dictates
that wind that flows through a shaded
area loses heat energy, to cool warm winds.
The architect also made a model study to
develop a 45-degree linear shading fin that
blocks sunlight, wind and rain on the east and
west sides of the house. On the north side,
air gaps over the ceiling reduce heat. Cross
ventilation and single-loaded planning are
also used for ventilation. Bathrooms on the
east side of the property have raised windows
78 79
่
อีกประเด็นสําคัญที ่เราได้เรียนรู้คือ ความเข้าใจและใส่ใจที
ผู้ออกแบบมีต่อเจ้าของบ้าน ที่เชื่อว่าบ้านที่มีชีวิต อาจเป็น
บ้านที่รกหน่อย ตามวิถีชีวิตและบุคลิกของเจ้าของบ้าน จึง
ได้เว้นพื้นที่รอบบ้านไว้เพื่อทําสวน งานอดิเรก เป็นพื้นที่ใช้
ชีวิตของคุณน้า เว้นที ่ว่างภายในไว้ เพื่อให้เจ้าของมาเติมเต็ม
ประสบการณ์และความทรงจําที่ดี รวมทั้งมีการปรับแบบหน้า
งานร่วมกัน “บ้านมันจะไม่เหมือน drawing ที ่เราวาดเพราะ
มันต้องพัฒนาจนสร้างเสร็จ พอไปเจอปัญหามันก็ต้องแก้
ปัญหาให้ได้ เป็นบ้านที่ถูกพัฒนาด้วยปัญหา”
ห้องนอนตกแต่งเรียบง่าย
อบอุ่น ตามลักษณะของ
เจ้าของบ้าน
The simply and warmly
bedroom is consistent
with the characteristics
of owner.
แผงกันแดด ลม ฝน แนวนอน 45 องศา ด้าน
ทิศตะวันออกและตะวันตก แนวตั้งด้านทิศเหนือ
การจัดทำช่องอากาศ (air gap) เหนือฝ้าเพดาน
เพื่อลดความร้อน และมีช่องให้อากาศไหลได้ตรง
กัน (cross ventilation) การวางผังห้องเป็น singleloaded
เพื่อการระบายอากาศที่ดี การเอาห้องน้ำ
มาบังแดดด้านทิศตะวันออก เพื่อให้แดดฆ่าเชื้อ
และเปิดช่องเปิดสูง เพื่อระบายอากาศ โดยไม่มี
การรบกวนทางสายตา รวมทั้งมีการจัดเตรียมถัง
เก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บน้ำฝนตก 8 เดือน ใช้
ในฤดูแล้งที่ขาดน้ำ
อีกประเด็นสำคัญที่เราได้เรียนรู้คือ ความเข้าใจ
และใส่ใจที่ผู้ออกแบบมีต่อเจ้าของบ้าน ที่เชื่อว่า
บ้านที่มีชีวิต อาจเป็นบ้านที่รกหน่อย ตามวิถีชีวิต
และบุคลิกของเจ้าของบ้าน จึงได้เว้นพื้นที่รอบบ้าน
ไว้เพื่อทำสวน งานอดิเรก เป็นพื้นที่ใช้ชีวิตของ
คุณน้า เว้นที่ว่างภายในไว้ เพื่อให้เจ้าของมาเติม
เต็มประสบการณ์และความทรงจำที่ดี รวมทั้งมีการ
ปรับแบบหน้างานร่วมกัน “บ้านมันจะไม่เหมือน
drawing ที่เราวาดเพราะมันต้องพัฒนาจนสร้าง
เสร็จ พอไปเจอปัญหามันก็ต้องแก้ปัญหาให้ได้ เป็น
บ้านที่ถูกพัฒนาด้วยปัญหา” สิ่งที่ผู้เขียนได้เห็นมี
มากกว่ารายละเอียดการออกแบบที่ดี ที่เหมาะสม
กับผู้อยู่อาศัยและบริบท หากแต่ยังมีสายสัมพันธ์
ที่ร้อยรัดมัดเชื่อม ผู้ออกแบบกับผู้อยู่อาศัย และ
สถาปัตยกรรมกับสภาพแวดล้อม
that offer ventilation without compromising
privacy. A large water tank, for use during
droughts, was added so that rain can be saved
during the eight month-long wet season.
Another important component of this house
is the understanding and caring attitude of
the architect. He believed a lively house might
be a bit untidy according to owners’ lifestyle,
so he provided some area around the house
where the owners can enjoy gardening and
their hobbies. He also left ample interior
space free for the owners to fill with their
experiences and memories.
There was some design adaptation during the
construction period. “The house is not exactly
like the drawings we originally made because
we developed it right through until completion.
When we saw a problem, we solved it.
This is a house that was developed through
its problems.” Overall this is a design that
clearly serves both the owner’s needs and the
context. It also shows the strong bond that
exists between the designer and the owners,
the architecture and the environment.
ห้องใต้หลังคา ซึ่งเป็นพื้นที่
เก็บของ เป็นช่องอากาศ (Airgap)
และช่วยระบายอากาศ
ทั้งอาคาร
(Cross ventilation) The
garret, the storage area,
act as air-gap supporting
the cross ventilation
Project Name: Baan Khun Kwanjai
Owner: Khun Kwanjai boonpegtrakhul
Location: Koh Sirae, Ratsada, Muang, Phuket
Area: 750 sq.m
Year of completion: 2016
Architect: Eco Architect Co.,Ltd.
Interior designer: Eco Architect Co.,Ltd.
Landscape architect: Eco Architect Co.,Ltd.
80 81
Roundtable Talk
กรีน อยู่ ดี
Green Living
Text: สุพิชชา โตวิวิชญ์ / Supitcha Tovivich
Translation : ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum
Photo: เรืองศักดิ์ บุณยยาตรา / Ruangsak Boonyayatra
เรื่อง green architecture และ green living ไม่ใช่
เรื่องใหม่อะไร และคําว่า green หรือ สีเขียว นี้ก็ได้รับ
ความสนใจจากทุกภาคส่วน รวมถึงมีการนําไปใช้กันใน
หลายวงการอย่างมากมาย ASA CREW ฉบับนี้จึงได้
ชวนบุคคลในแวดวงวิชาการและวิชาชีพมาล้อมวงพูด
คุยถึงเรื่อง green และพัฒนาการที่เปลี่ยนไปจากจุด
เริ่มต้น รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการออกแบบที่
สัมพันธ์กับแนวคิด green living ในปัจจุบัน
นำสนทนาโดย
ผศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์
อาจารย์ประจำหลักสูตร
ระดับป.โท-เอก สาขา
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
รศ. ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม-
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา-
วิทยาลัย
ดร.อัจฉราวรรณ จุฑารัตน์
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรม-
ศาสตร์และการออกแบบ มจธ.
/ ประธานจัดงานสถาปนิก ’62
สถานการณ์ของการออกแบบเพื่อ green living
ในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งในระดับประเทศ
และระดับสากล
อรรจน์: demand กับ supply ยังไม่ค่อย match
กัน บางครั้งเราคิดว่าชาวบ้านอยากได้แบบนี้ เรา
ก็ใส่เทคโนโลยีใส่อะไรให้เต็ม เพราะคิดว่าเป็น
คำตอบ แต่จริงๆ ชาวบ้านต้องการแค่ open space
หรือพื้นที่สีเขียว และอากาศบริสุทธิ์ จึงเริ่มมี
กระแสจากต่างประเทศเข้ามาเยอะในเรื่องของ
green living ชาวบ้านก็งงว่าอะไร green อะไร
ไม่ green ดูจากทีวีเขาบอกว่า green แบบนี้
แต่บางคน afford ไม่ไหว รัฐบาลบอกว่าต้องใช้
พลังงานทดแทนหรือรถยนต์ไฟฟ้า ชาวบ้านบอก
ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นช่วงของการ
ออกแบบที่มีความสับสนอยู่
แสดงว่าคำว่า green ก็มีหลาย green ตั้งแต่
เข้มมากไปจนถึงเข้มน้อย
อัจฉราวรรณ: ปีที่แล้วกับปีนี้อาจารย์ได้เข้าไปมี
ส่วนร่วมกับ ARCASIA หรือสมาพันธ์สถาปนิก
แห่งเอเชีย และเห็นแนวโน้มของกระแส green ใน
แถบเอเชียว่าเป็นอย่างไรบ้าง หลายประเทศตอนนี้
หันกลับมาดูว่าแต่ละคนตัวตนเป็นอย่างไร ความ
แข็งแรงของในแต่ละพื้นถิ่นกลับมา เหมือนกับ
back to the basic แล้วก็เอาความเป็นตัวคน วัสดุ
พื้นถิ่นที่มี หรือสไตล์ที่มีต่อยอดไปกับเทคโนโลยี
หลายประเทศ approach ทางนี้ มันก็เลยดูเป็น
ของเขา กลับมาในฝั่งของเราบ้าง อย่างที่อาจารย์
อรรจน์บอก เหมือนสับสนนิดหน่อยว่าจะไปทาง
ไหน ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นความท้าทาย หลายคน
ยังมองว่าอาคารที่ green แพงและเชย ทั้งที่จริงๆ
แล้วมันก็มีชั้นเชิงในการออกแบบ คงต้องมี platform
ในการคุยกันว่าเราน่าจะไปทางไหน ขาดอะไร
แล้วจะให้ส่วนไหนช่วยตรงไหนบ้าง ใครมีบทบาท
และอะไรคือความท้าทาย
อรรจน์: พออาจารย์พูดอย่างนี้ ผมนึกภาพออก
เลย ผมเคยไปประชุม ARCASIA จะมีตัวแทน
ประเทศแถบเอเชียใต้ อย่างเนปาล อินเดีย และ
ศรีลังกา คำว่า green ของเขาจะพิเศษแบบของ
เขาไปเลย ส่วนประเทศไทยเราจะอยู่ตรงกลาง
ระหว่างญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ แล้วก็มองสองฟาก
นี้คนละเรื่องกันเลย
มันคือโลกที่เป็น passive design กับ active
design อย่างนั้นหรือเปล่าคะ คือเป็นเทคโนโลยี
อยู่กับวิถีธรรมชาติ
อัจฉราวรรณ: ใช่ค่ะ
อรรจน์: เรารู้สึกว่าเราอยู่ตรงกลาง เราว่าเราเจริญ
ไปทางสิงคโปร์หรือมาเลเซีย แต่ขณะเดียวกันก็มี
ความเป็นพื้นถิ่นอยู่เหมือนกัน จริงๆ คำว่า green
living มีความท้าทายในหลายมิติอยู่เหมือนกัน
มักจะมีคนบอกว่า green แล้วมันจะแพง ฉันยัง
ยากจนอยู่เลย ฉันจะ green ได้อย่างไร ตอนนี้
ความท้าทายในประเทศไทยเป็นอย่างไรบ้าง
82
83
ความท้าทายคือเมืองเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ราคา
ที่ดินขึ ้น แต่เรื ่องกฎหมาย กฎระเบียบ EIA ตามไม่ค่อย
ทัน ทําให้โครงการต่างๆ ไม่รู้จะไปต่ออย่างไรดี เพราะ
ไม่สามารถออกแบบทางเลือกให้ชาวบ้านได้ ทุกอย่าง
ถูกบังคับด้วยราคาที ่ดิน จริงๆ เราอยากให้คนอยู่
อาศัยมีทางเลือกที่จะ “live” แบบ “green” ได้ วันนี้
แทบจะไม่มีทางเลือกเลย
อรรจน์: ความท้าทายคือเมืองเจริญเติบโตรวดเร็ว
มาก ราคาที่ดินขึ้น แต่เรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ
EIA ตามไม่ค่อยทัน ทำให้โครงการต่างๆ ไม่รู้จะไป
ต่ออย่างไรดี เพราะไม่สามารถออกแบบทางเลือก
ให้ชาวบ้านได้ ทุกอย่างถูกบังคับด้วยราคาที่ดิน
จริงๆ เราอยากให้คนอยู่อาศัยมีทางเลือกที่จะ
“live” แบบ “green” ได้ วันนี้แทบจะไม่มีทางเลือก
เลย green living มีทางเลือกแค่ว่าจะขี่จักรยาน
ไปทำงานดีไหม ไม่มีทางเลือกว่าจะอยู่บ้านเปิด
หน้าต่างระบายลม ซึ่งอยู่ไม่ได้หรอกทั้งฝุ่นและ
ความร้อน คนอยากจะปลูกผักกินเองก็ไม่รู้จะ
ปลูกตรงไหน อยากใช้ชีวิตแบบที่มัน green ก็ไม่มี
ทางเลือกให้เขา เลยกลายเป็นข้อจำกัด เป็นความ
ท้าทายของสถาปนิกว่าเราจะสามารถออกแบบ
ทางเลือกให้ผู้อยู่อาศัยได้หรือไม่ ในสิ่งที่ทำให้เขา
เลือกได้ว่าจะใช้ชีวิตแบบ green หรือไม่ ผมเคย
ออกแบบบ้านให้กับคนรวย ซึ่งเลือกที่จะทำบ้าน
ไม่ปรับอากาศเขามีทางเลือกที่จะปิดแอร์แล้วเปิด
หน้าต่างระบายลม แต่ชาวบ้านอยู่คอนโดฯ 20
ตารางเมตร ไม่มีทางเลือกเลย green living มัน
ท้าทายที่เราจะสามารถออกแบบทางเลือกให้คน
ได้อย่างไรบ้าง
อัจฉราวรรณ: นอกจากทางเลือกแล้ว แน่นอนก็
เป็นความท้าทายที่สถาปนิกจะต้องใช้องค์ความรู้
ในการบูรณาการให้ได้ โดยดูการใช้ชีวิตตั ้งแต่ตื่น
นอน ไปทำงาน กินข้าว จนกระทั่งกลับบ้าน แล้วก็
ดีไซน์ให้เชื่อมโยงกันทั้งวงจร ก็จะได้เข้าใจถึงมนุษย์
การใช้งาน แต่อันนี้ก็จะได้ดูเรื่องของทางเลือก ส่วน
ตัวมองว่าความท้าทาย หนึ่ง การใช้องค์ความรู้
บูรณาการในการออกแบบให้ได้ สอง เรื่องของ
innovation หรือความสร้างสรรค์ในการสร้าง
นวัตกรรม ถ้าเราไม่มีความคิดสร้างสรรค์ การจะ
สร้างทางเลือกก็ยากพอสมควร เช่น เราอยากได้
วัสดุที่มีคุณสมบัติดี แต่ราคาย่อมเยา ดูเป็นพื้นถิ่น
แต่พื้นถิ ่นก็อาจจะไม่คงทนหรือติดไฟได้ แต่จะ
นำเข้ามาก็แพงอีก ก็ต้องใช้ความสร้างสรรค์ในการ
สร้างนวัตกรรมมาช่วย อันนี้คือความท้าทายที่จะ
ต้องมีการร่วมมือกันในหลายองค์กร เช่น สถาบัน
การศึกษาสถาปนิก และ industry สาม เรื่องโลก
ร้อน แน่นอนเราอาจจะต้องออกแบบให้ retention
หรือ adaptive คือเราอาจจะออกแบบเหมือนเดิม
แต่ปรับนิดหนึ่งว่า ตามการเปลี่ยนแปลงของโลก
มันจะทำให้ direction ของ design เป็นไปเพื่อ
retention หรือรับมือ disasters หรืออย่างนี้ได้
อย่างไร ซึ่งก็ต้องให้ตอบโจทย์ สมมติบ้านเรามี
เรื่องน้ำท่วม ก็ต้องดีไซน์ว่าจะทำอย่างไรให้รับมือ
ตรงนี้ได้
ฟังดูแล้วเหมือนบทบาทสถาปนิกจะทำงาน
คนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานทั้งกับสถาบันการ
ศึกษา ภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงผังเมือง ภูมิ-
สถาปัตยกรรม เหล่านี้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่
อะไรบ้างที่จะทำให้ green living สามารถทำได้
จริงในชีวิตประจำวัน
อรรจน์: บางทีเราอาจจะต้อง back to the basic
ภูมิสถาปนิกจะออกแบบอย่างไรให้มีพื้นที่ซึม
น้ำ ไม่ใช่เป็นพลาซ่า หมดแล้วอากาศร้อน พอ
ข้างนอกร้อน คนข้างในก็ต้องเปิดแอร์ อยู่ไม่ได้ พอ
มาถึงสถาปนิกขึ้นต้องเข้าใจว่าประเทศไทยแดดแรง
ต้องออกแบบให้มีการกันแดดและการระบายลม
84
85
สิ่งเหล่านี้เรามีคำว่า integrated design หรือ
การออกแบบบูรณาการ ความท้าทายคือเราจะทำ
อย่างไรให้ทีมงานทำงานกันภายใต้แนวคิด green
living ได้ตั้งแต่โครงการเริ่มต้น ไม่ใช่มาเพิ่มกัน
ทีหลังเหมือนทุกวันนี้
อัจฉราวรรณ: อยากจะเสริมตรงนี้ว่า บทบาทของ
สถาปนิกแข็งแรงมาก มีบทบาทที่สำคัญมากใน
การเป็นผู้นำ อันนี้เป็นศิลปะของสถาปนิกที่จะต้อง
convince และรวบรวมทีมให้มาเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน หรือบางครั้งอีกสิ่งหนึ่งที่ท้าทายคือ
เรื่องทางเทคนิคที่สถาปนิกอาจยังไม่ค่อยชำนาญ
หรือเรื่องการดูแลรักษา และ operate ถ้าได้เรียนรู้
และเสริมกันและกันให้มีความแข็ง จะมีความ
มั่นใจในการที่จะเป็นผู้นำหรือการทำงานร่วมกัน
ให้บรรลุได้
อรรจน์: ปัจจุบันหลายโปรเจ็กต์ในช่วงของ conceptual
design สถาปนิกทำตัวเหมือนเป็น project
manager นะ คือ คิดวิธี collaboration ขึ้นมา ไม่ใช่
ศิลปินเดี่ยว อันนี้คือบทบาทสถาปนิกสมัยใหม่ที่ท ำ
หน้าที่ตรงนี้มากขึ้น
ตอนแรกเหมือนสถาปนิกจะมีความรู้สึกว่าพอ
เราจะต้องออกแบบเพื่อ green งานจะสวยไหม
ต้องนั่งมาคำนวณ OTTV, RTTV กระจกต้องเป็น
สีเขียวอะไรอย่างนี้ ตอนนี้ยังคุยกันเรื่องพวกนี้
อยู่ไหมคะ จะปรับทัศนคติตรงนี้ของสถาปนิก
ได้อย่างไรบ้าง
อรรจน์: ถ้าเป็นสถาปนิกที่มีความรู้เรื่อง engineer
จะรู้ว่ามีทางออกเยอะมาก ถ้าเราศึกษาตรงนี้
เยอะๆ ก็จะรู้ทางออกเยอะ สถาปนิกต้องมีความรู้
กว้างและมีความรู้ลึกด้วยในระดับหนึ่ง ถ้าหาก
กว้างแล้วลึกไม่พอ ก็ไปหาผู้เชี่ยวชาญได้
อัจฉราวรรณ: จริงๆ การเข้าถึงข้อมูล หรือการ
สร้างแพลตฟอร์มในการแชร์ข้อมูลก็สำคัญ มอง
ว่าอย่างงานสถาปนิก ’62 ที่สมาคมฯ จัดไปก็ตอบ
โจทย์ตรงนี้ เพราะมีการแลกเปลี่ยนในเวทีของ
สัมมนา หรือ Green Building Showcase ก็ตาม
ไม่ว่าคนรุ่นใหม่รุ่นเก่า หรือเจ้าของโครงการหรือ
บุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ว่ามันมีทางออกหรือ
มีเทคนิคอย่างไรบ้าง
86 87
Green
Living
Moderator
Assistant Professor
Supitcha Tovivich, Ph.D, is
a faculty member of the MA
and PhD in Vernacular Architecture
Program at Silpakorn
University.
What is the current situation regarding Design
for Green Living, both in Thailand and
regionally?
Assoc. Prof. Atch: The demand and supply
don’t quite match. Sometimes we follow what
we think people want. We add all kinds of
technology, thinking that this might be a solution.
However, people themselves are simply
looking for an open space, a green space
with fresh air. There has also been a vigorous
import of international trends about Green
Living. Here, the general public tend to get
confused about what’s Green and what isn’t.
They see television programs where people
say this or that is Green, but at the end of the
day, they can barely afford to be Green. The
government too is out there telling people to
use alternative energy and electrical cars, and
people are saying that’s impossible to follow.
It’s still a very confusing time for Green Living.
So there are different shades of Green, is what
you’re saying?
Dr. Acharawan: Last year, I took part in ARCA-
CIA (Architects Regional Asia) and witnessed
the tendency of the Green movement in Asia.
Several countries are currently re-examining
their identities and really bringing back the
strengths of locality. It’s like they are going
back to basics, using their local identities,
indigenous materials and styles alongside
modern technology. Many countries are taking
this approach so it is being interpreted
as something that’s really their own. With
Thailand, as Assoc. Prof. Sreshthaputra expressed,
we’re a bit confused about which
direction we’re actually heading towards. It’s
a challenge in a way. Many people still have
this perception that a Green building has to
be expensive and physically unattractive when
the reality is, many elements of design can
be incorporated into it. There should be a
platform for people to discuss the direction
we’re taking, what we lack and what can be
done to fulfill what’s missing, including new
roles and challenges.
Dr. Sreshthaputra: Now that you mention
it, I recall attending an ARCASIA conference
with Asian countries such as India, Nepal
and Sri Lanka, each with their own particular
definition of ‘Green’. Thailand is somewhere
between Japan, South Korea and Singapore.
Would you say there’s a world of passive and
active design where technology and nature
coexist?
Assoc. Prof. Atch: I think Thailand is somewhere
in the middle of it. We’re saying that
we’re growing in somewhat the same trajectory
as Singapore and Malaysia, but there are
certain vernacular elements we’re embracing.
There remains several challenging aspects to
the term ‘Green Living’. People tend to think
of Green as something that is going to cost
them a lot of money. It’s an ‘‘I’m poor, how
can I adopt Green!’’ sort of mindset.
Assoc. Prof. Atch: The challenge is that the
city is expanding at such a fast pace. Land
prices continue to skyrocket. Yet when it
comes to laws or EIA regulations, we simply
can’t keep up. This delays progression, as it
is not possible to provide alternative Green
design solutions for people as everything is
forced by land price. We really want to create
an option for people to adopt ‘Green living’ but
currently choices are limited. What we have
is whether we can ride a bike into work, but
we can’t really choose to live in a naturallyventilated
house with fully-openable windows
because of dust and heat. People who want
to grow their own vegetables don’t have the
space to make that happen either. They want
to go Green but they aren’t given much of
a choice. These issues offer challenges for
architects as we attempt to design alternatives
for city-dwellers, ultimately allowing
them to live Green. I used to design houses
for rich people. They would request options
for living-spaces that were ‘not’ constantly
air-conditioned, spaces where they had the
choice to switch-off air-conditioning and open
windows for fresh air. Yet people living in a 20
square-meters condominium don’t have that
choice. This is challenging us to design more
living alternatives for a majority of people who
don’t have that luxury.
Dr. Acharawan: Apart from such options, it’s
surely a challenge for architects to utilize and
integrate a body of knowledge taken from the
observation of peoples’ daily routines – from
the moment they wake up, head-off to work,
eat a meal and finally return home. Green
design should be executed in a way where
Acharawan Chutarat, Ph.D,
President of the ASA Architect’19
Organizing Committee,
and also teaches at
School of Architecture and
Design, KMUTT.
Associate Professor Atch
Sreshthaputra, Ph.D, Faculty
of Architecture, Chulalongkorn
University
their entire cycle connects. That’s how we
are able to understand users and the entirety
of their functions. From there, you can
look at a myriad of possibilities for creating
greater options. Personally, I think that the
challenges are; one, the successful integration
of a precise body of knowledge into the
design response; and two, increased innovation.
If we are unable to instigate creativity
and innovation simultaneously, it’s going to
be difficult to create new alternatives. For
instance, we want a quality material with
a vernacular aesthetic, one that is durable,
resistant to fire and comes at a reasonable
price. With expensive imported materials out
of the question, we need to be creative and
innovative. Therein lies the challenge, and it
requires collaboration and contributions from
different sectors and organizations be they
educational institutes, practicing architects or
industry. A third challenge is climate change
and how it in-turn impacts on the direction of
design. Certainly, there are things like adaptability
to think about when it comes to design.
In cases such as disasters, design needs to
answer specific conditions, for example, how
can design be incorporated to help us bettercope
with seasonal flooding.
It sounds like the kind of thing that cannot be
achieved by architects alone. It sounds like
something relying on collaboration between
educational institutes, the government and
private sector, and one including aspects of
urban-planning and landscape architecture.
How do you think their roles contribute to
making ‘Green Living’ a practical and everyday
lifestyle for everyone?
Assoc. Prof. Atch: Perhaps we do have to go
back to basics. Landscape architects have
to learn to design a landscape and use the
ground’s inherent ability to absorb water
instead of turning the entire program into
a paved plaza. Once the temperature rises,
external areas become excessively hot, forcing
people to go inside and turn on air-conditioning.
Architects need to understand Thailand’s
local climate then design sun-protection
and ventilation systems accordingly. We call
this ‘Integrated Design’. The challenge is how
architects can facilitate collaboration and
get everyone to work together under a Green
living concept at the earliest stage of a project,
not later.
Dr. Acharawan: I want to add here that architects
play a very strong and important
role in leading the movement. We have to
both mobilize and convince a team to work
together towards this particular goal. Another
challenging element is the technical and
operational aspects in which architects may
not be entirely proficient. In such cases, we
learn to work in ways that complement each
other’s know-how and strengths, allowing
architects the confidence to lead collaboration
and reach Green objectives.
Assoc. Prof. Atch: For some projects, during
the conceptual design process, an architect
must serve as project manager. They have
to put-in-motion collaborative methods and
creative approaches. They’re not solo-artists.
This has become the role and duty of many a
modern-day architect.
Architects are usually concerned with how
a building will ‘look-like’ when it has to be
Green and there are elements of Green design
like the calculation of OTTV, RTTV and the
use of glass and the like. Are these issues
still being discussed and how can we change
this preconceived notion?
Assoc. Prof. Atch: An architect with engineering
knowledge would know that there are a
vast number of solutions available. If they
were to study the issue more profoundly,
they’d be aware of many possibilities and
options. An architect needs to acquire both
a broad and deep knowledge, one that is sufficient
to work with experts on, things that
they themselves may not be totally knowledgeable
about.
Dr. Acharawan: Facilitating access to information
and creating a platform where
information and knowledge can be shared
is of paramount importance. Indeed, Architect’19
event provides that because there
are exchanges happening through seminars,
forums or even Green Building showcases. So
whether you’re young or old, an owner or a
user, you’re welcome to come and learn about
these solutions, alternatives and techniques.
88
89
Feature
พัฒนาการสถาปัตยกรรม
ยั ่งยืนในประเทศไทย
Text: ภัทรนันท์ ทักขนนท์ / Pattaranan Takkanon
ภาพที่ 1 พัฒนาการของ
สถาปัตยกรรมยั่งยืนของ
ประเทศไทยนับตั้งแต่ยุคโมเดิร์น
Timeline
ไทย นานาชาติ
1930-1960
-สถาปัตยกรรม
ยุคโมเดิร์น
ทศวรรษ
1930-1960
พ.ศ. 2491-2500
(1948-1957)
สถาปัตยกรรม แนว
เน้นปัจจัยแวดล้อม
ยุคหลังสงครามมหา
เอเซียบูรพา ภายหลัง
การมีสถาปนิกสำเร็จ
หลักสูตรสถาปัตยกรรม
1973
-วิกฤตน้ำมันโลก
1972
-การประชุม
สหประชาชาติ
เรื่องสิ่งแวดล้อม
ของมนุษย์ 1985
ทศวรรษ
1970
พ.ศ. 2501-2515
(1958-1972)
ยุคทองยุคแรกของ
สถาปัตยกรรมใน
ไทย สถาปัตยกรรม
แนวเน้นปัจจัย
แวดล้อม เน้นสภาวะ
แวดล้อมสัมพันธ์และ
ภูมิภาคนิยม
1989
-"The End of Future"
หนังสือเล่ม
แรกเรื่อง Global
Warming
1987
-Brundtland Report
"Our Common Future"
เริ่มใช้คำว่า
Sustainable Development
เป็นครั้งแรก
-ค้นพบรูโหว่โอโซน
ขั้วโลกใต้
ทศวรรษ
1980
1997
-พิธีสารเกียวโต
1993
-ก่อตั้ง USGBC
1992
-"Agenda 21" 2000
-ประกาศใช้ LEED
1990
-เกณฑ์ BREEAM
ทศวรรษ
1990
พ.ศ. 2535
(1992)
พ.ร.บ.
พลังงาน
พ.ศ. 2540
(1997)
วิกฤต
เศรษฐกิจไทย
2002
-Earth Summit เพื่อ
Sustainble Development
ทศวรรษ
2000
พ.ศ. 2550 (2007)
พ.ร.บ. พลังงาน
(ปรับปรุง) และ
TEEAM
พ.ศ. 2552 (2009)
จัดตั้งสถาบันอาคาร
เขียวไทย
2015
-Paris Agreement
ทศวรรษ
2010
พ.ศ. 2553 (2010)
ประกาศใช้เกณฑ์
TREES-NC
สถาปัตยกรรมในประเทศไทยมีพัฒนาการมา
โดยตลอดภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพ
แวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับอิทธิพลจาก
ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ จากการ
ศึกษาพบว่าสถาปนิกไทยมีความคิดเห็นที่หลาก
หลายต่อปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม
[1] โดยมองว่ารูปแบบสถาปัตยกรรมถูกกำหนด
หรือเปลี่ยนแปลงตามปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ 1)
ยุคสมัยและกระแสโลก 2) การตลาดตามความ
ต้องการของลูกค้า 3) เทคโนโลยีและวัสดุ และ 4)
ทัศนะของผู้ออกแบบ นอกจากนี้ในปัจจุบัน ด้วย
เทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วฉับไวยิ่งกว่ายุคใดๆ
ยิ่งทำให้การส่งผ่านข้อมูลและถ่ายทอดรูปแบบ
ทางสถาปัตยกรรมข้ามพรมแดนเกิดขึ้นได้อย่าง
รวดเร็วมากขึ้น ท่ามกลางรูปแบบสถาปัตยกรรม
ที่หลากหลาย สถาปัตยกรรมยั่งยืนเป็นแนวทาง
หนึ่งในการออกแบบที่มีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน
เนื่องจากอาคารเป็นส่วนที่ถือเป็นผู้บริโภคพลังงาน
หลักของโลก โดยใช้พลังงานกว่าร้อยละ 40 ของ
ทั้งหมด [2] และใช้ทรัพยากรอื่นๆ อย่างมหาศาล
ส่งผลต่อการเกิดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มความ
รุนแรงของสภาวะโลกร้อน จนนำมาสู่การเรียกร้อง
ให้ออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงการรักษา
สมดุลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม
เศรษฐกิจ และสังคม เกิดเป็นแนวคิดของ
สถาปัตยกรรมเขียว (Green Architecture) หรือ
สถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable Architecture)
จึงน่าสนใจศึกษาว่าสถาปัตยกรรมดังกล่าวมี
พัฒนาการมาอย่างไร
พ.ศ. 2516-2525 (1973-1982)
ยุคเศรษฐกิจซบเซา สถาปัตยกรรม
แนวเน้นปัจจัยแวดล้อม เน้นความ
โปร่งเบา และเพิ่มเติมธรรมชาติ-
แวดล้อมสัมพันธ์
พ.ศ. 2535 (1992)
เริ่มยุคการออกแบบ
อาคารอนุรักษ์พลังงาน
90 91
พ.ศ. 2553 (2010)
เริ่มยุคการออกแบบ
อาคารเขียว
อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกณฑ์และแนวความคิดใน
การออกแบบสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นให้
เห็นพัฒนาการการออกแบบสถาปัตยกรรมตั้งแต่
ยุคโมเดิร์นและโพสต์โมเดิร์น โดยอ้างอิงผลงาน
และแนวคิดของสถาปนิกต่างชาติ การศึกษา
เกี่ยวกับพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยั่งยืน
โดยเฉพาะในประเทศไทยยังมีจำกัด [3] และยัง
ภาพที่ 2 อาคารอำนวยการโรง
พยาบาลราชวิถี โดยสถาปนิก
กรมโยธาเทศบาล (สนิท ฉิม-
โฉม) สร้างเสร็จ พ.ศ. 2493
ภาพที่ 3 อาคารศรีเฟื่องฟุ้ง
(คาเธ่ย์ทรัสต์) โดยสำนักงาน
สถาปนิก อินทาเรน พ.ศ.
2517
ไม่มีการกล่าวถึงอาคารเขียวที่มีความเคลื่อนไหว
ชัดเจนขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ข้อมูลที่
เป็นปัจจุบันของประเทศไทย ผู้เขียนจึงใคร่ขอเรียบ
เรียงแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความ
ยั่งยืนและสภาพแวดล้อมจากการศึกษาทบทวน
วรรณกรรมของผู้เขียนเอง โดยสรุปปัจจัยที่มีผล
ต่อพัฒนาการสถาปัตยกรรมดังกล่าวในแต่ละช่วง
เวลาเป็น timeline ดังภาพที่ 1 และเสนอการแบ่ง
ยุคพัฒนาการสถาปัตยกรรมยั่งยืนในประเทศไทย
เป็นดังนี้
1. สถาปัตยกรรมจากภูมิปัญญา
2.สถาปัตยกรรมภายหลังการมีหลักสูตร
สถาปัตยกรรม
3. สถาปัตยกรรมที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม
4. สถาปัตยกรรมยั่งยืนที่ประเมินสมรรถนะอาคาร
แบบองค์รวม
5. สถาปัตยกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี
1. ยุคสถาปัตยกรรมจากภูมิปัญญา
เป็นช่วงก่อนยุคโมเดิร์น (คริสต์ทศวรรษ 1930-
1960) ที่ใช้เป็นจุดตั้งต้น timeline ดังภาพที่ 1
โดยสถาปัตยกรรมของไทยในช่วงเวลานี้เติบโต
จากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตอบสนองต่อสภาพ
แวดล้อม มีสัจจะของโครงสร้างและวัสดุ มีความ
เป็นธรรมชาติ และมีลักษณะความงามเฉพาะของ
แต่ละท้องถิ่น
2. ยุคสถาปัตยกรรมภายหลังการมีหลักสูตร
สถาปัตยกรรม
การศึกษาสถาปัตยกรรมมีผลมากต่อทัศนะของ
ผู้ออกแบบซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดรูปแบบ
ของสถาปัตยกรรม โดยการเรียนการสอน
อย่างเป็นทางการของไทยเริ่มจากการที่กลุ่ม
สถาปนิกรุ่นบุกเบิกซึ่งสำเร็จการศึกษาจาก
ต่างประเทศได้กลับมาปฏิบัติวิชาชีพและเปิด
สอนวิชาสถาปัตยกรรม จนมีการก่อตั้งคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2482 แนวการสอน
สถาปัตยกรรมในระยะเริ่มแรกเป็นแนวสากลที่เน้น
การออกแบบอย่างคลาสสิคตามแนวของสถาบัน
โบซาร์ (Ecole des Beaux-Arts) แห่งฝรั ่งเศส
ต่อมาจึงมีการปรับเป็นแนวโมเดิร์น (Modern
Architecture) ซึ่งช่วงเวลาการสอนของไทยตรงกับ
ช่วงที่สถาปัตยกรรมโมเดิร์นนี้กำลังรุ่งเรืองเต็มที่
ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา หากเมื่อพิจารณาใน
เชิงพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยั่งยืน จะพบว่า
ภายหลังจากที่มีสถาปนิกสำเร็จจากหลักสูตร
ของไทยแล้ว จึงเริ่มมีบทบาทในการออกแบบ
สถาปัตยกรรมซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามมหาเอเซีย
บูรพา คือช่วงที่ต้องประหยัด สถาปัตยกรรมใน
ช่วง พ.ศ. 2491-2500 นี้ สถาปนิกได้คำนึงถึง
สภาพภูมิอากาศท้องถิ่นในการออกแบบมากขึ้น
แทนที่จะอิงรูป แบบสถาปัตยกรรมตะวันตกอย่าง
ช่วงก่อนสงคราม [4] หลังคามักเป็นทรงจั่ว ชายคา
ยื่นจากผนังรอบอาคาร ช่องเปิดขนาดใหญ่ขึ้น เป็น
ลักษณะสถาปัตยกรรมเพื่อการกันแดดกันฝนและ
การระบายอากาศ ตัวอย่างอาคาร อาทิ อาคาร
อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี (ภาพที่ 2)
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2501-2515 เป็นช่วงที่มีการ
พัฒนาการศึกษาตามแผนการพัฒนาสังคมและมี
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงมีการออกแบบและ
ก่อสร้างอาคารเป็นจำนวนมาก ถือเป็นยุคทอง
ยุคแรกของสถาปัตยกรรมในประเทศไทย โดย
สถาปัตยกรรมแนวเน้นปัจจัยแวดล้อมในช่วงนี้
แบ่งออกเป็นแนวสภาวะแวดล้อมสัมพันธ์ ที่มีการ
ใช้แผงบังแดด (ภาพที่ 3) การใช้บล็อกหรือแผง
โปร่ง การยื่นชายคามาก และแนวภูมิภาคนิยม ที่
มักใช้หลังคาเอียงลาด
ช่วงพ.ศ. 2516-2525 เป็นช่วงที่ประเทศไทย
ประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง
สถาปัตยกรรมแนวเน้นปัจจัยแวดล้อมมีลักษณะ
โปร่งเบาขึ้น แนวสภาวะแวดล้อมสัมพันธ์ ไม่นิยม
ใช้ครีบหรือแผงกันแดดอย่างแน่นหนาเช่นช่วง
ก่อนนี้ แต่ใช้แผงกันแดดทางนอนในรูปแบบต่างๆ
แบบเรียบๆ (ภาพที่ 4) ส่วนแนวภูมิภาคนิยม
เน้นการออกแบบทรงหลังคาที่มีลักษณะปกคลุม
และนอกจากนี้ยังมีแนวทางย่อยที่ 3 เพิ่มเติม
คือ แนวธรรมชาติ-แวดล้อมสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนว
ที่สถาปัตยกรรมสอดคล้องกลมกลืนกับที่ตั้ง ไม่
ทำลายสภาพแวดล้อม
92 93
ภาพที่ 4 อาคารสำนักงานใหญ่
ธนาคารแห่งประเทศไทย โดย
สถาปนิก บริษัท ดีไซน์ 103
จำกัด และบริษัท เอฟ.ซี.เดอเว-
เกอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
เริ่มโครงการ พ.ศ. 2513 เสร็จ
พ.ศ. 2526
ภาพที่ 5 Sun-path Diagram
ที่ใช้ในการหามุมแดดในการ
เรียนการสอนสถาปัตยกรรม
ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม
ต่อมาวิกฤติเศรษฐกิจปี
พ.ศ. 2540 ทำให้วิชาชีพ
สถาปัตยกรรมได้รับผลกระทบ
อย่างมาก ลูกค้าหันมาให้
ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายระยะ
ยาว การบำรุงรักษาอาคาร
อาคารต้องประหยัดพลังงาน
มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความ
เคลื่อนไหวทางสังคม เช่น การ
ประกวดแบบบ้านประหยัด
พลังงาน การพัฒนาเกณฑ์
ประเมินอาคาร TEEAM โดย
ความดูแลของกรมพัฒนา
พลังงานทดแทนและอนุรักษ์
พลังงาน (พ.พ.) อย่างไรก็ตาม
การออกแบบอาคารของไทยใน
ยุคนี้ยังคงเน้นที่การประหยัด
พลังงานเป็นหลักมากกว่า
สิ่งแวดล้อม
3. สถาปัตยกรรมที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม
ภายหลังจากวิกฤตการณ์น้ำมันโลก ในปี พ.ศ.
2516 นานาชาติมีความเคลื่อนไหวเพื่อการ
ประหยัดพลังงานโดยต่อเนื ่อง จนกระทั่งในปี
พ.ศ. 2530 สมัชชาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและ
การพัฒนา ที่องค์การสหประชาชาติจัดตั้งขึ้น ได้
พิมพ์เอกสารชื่อ “Our Common Future” ออกเผย
แพร่ โดยเรียกร้องให้ชาวโลกเปลี่ยนแปลงวิถีการ
ดำเนินชีวิตที่ฟุ่มเฟือยและวิถีทางการพัฒนาเสีย
ใหม่ เพื่อให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและข้อจำกัด
ของธรรมชาติ เกิดการให้นิยาม “การพัฒนาที่
ยั่งยืน” เป็นครั้งแรก และมีอิทธิพลต่อการออกแบบ
งานสถาปัตยกรรมต่อมา ในช่วงเวลานี้สหราช
อาณาจักรได้สร้างเกณฑ์การประเมินอาคารด้าน
ความยั่งยืน (BREEAM) ออกมาเป็นครั้งแรกเมื่อปี
ค.ศ. 1990 และต่อมาในปี ค.ศ. 1992 การประชุม
Earth Summit ที่นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศ
บราซิล ก็ได้มีแผนปฏิบัติการ “Agenda 21” ออก
มาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปีเดียวกันนี้ ตรง
กับพ.ศ. 2535 ของไทย กระทรวงพลังงานได้
ประกาศพ.ร.บ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตาม
มาตรการกำกับดูแลของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) [5] เกิดความ
เปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาสถาปัตยกรรมและ
วิชาชีพเพื่อสามารถคำนวณพลังงานสำหรับอาคาร
ควบคุม 9 ประเภท สังเกตได้ว่าในช่วงเวลานับจาก
พ.ร.บ.นี้มีผลงานวิชาการ งานวิจัยเกิดขึ้นมากมาย
มีอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่จบการศึกษาด้าน
ภูมิอากาศและสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศ
และกลับมาสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่มี
ความเฉพาะทางด้านการออกแบบตอบสนองต่อ
สภาพแวดล้อม เช่น สาขาเทคโนโลยีอาคารของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสถาปัตยกรรม
เขตร้อนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสาขานวัตกรรม
อาคารของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ งาน
ที่ปรากฏส่วนใหญ่ในยุคนี้เน้นเรื่องการบังแดด
เปลือกอาคารเพื่อการป้องกันความร้อน และการ
ออกแบบเพื่อแสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงาน
ในอาคาร
4. สถาปัตยกรรมยั่งยืนที่ประเมินสมรรถนะ
อาคารแบบองค์รวม
หลังจากที่สหราชอาณาจักรมีเกณฑ์ BREEAM
(Building Research Establishment Environmental
Assessment Method) เพื่อประเมินความ
ยั่งยืนของอาคาร ในปี ค.ศ. 1990 สหรัฐอเมริกา
ก็ได้ประกาศเกณฑ์ LEED (Leadership in Energy
and Environmental Design) ในปี ค.ศ. 2000 ทั้ง
สองเกณฑ์ต่างก็เป็นแนวทางในการประเมินอาคาร
ที่คำนึงถึงองค์รวมทั้งด้านความยั่งยืนของบริบทที่
ตั้งโครงการ การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์
น้ำ การเลือกวัสดุอาคาร การจัดการขยะ คุณภาพ
สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร ผลกระทบต่อสภาพ
แวดล้อม รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ เป็นต้น สำหรับ
ประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรม-
ราชูปถัมภ์ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รวมตัวกันจัดตั้งสถาบัน-
อาคารเขียวไทย (Thai Green Building Institute,
TGBI) ขึ้นในปี ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) และจัด
ทำเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและ
สิ่งแวดล้อมไทย (Thai’s Rating of Energy and
Environmental Sustainability หรือ TREES) ใน
ปีถัดมา ด้วยตระหนักถึงการส่งเสริมให้อาคารของ
ไทยมีคุณภาพดีขึ้น สร้างความยั่งยืนทางพลังงาน
และสิ่งแวดล้อม โดยควรเป็นเกณฑ์การประเมินที่
คำนึงถึงบริบทของประเทศเราเอง เกณฑ์ดังกล่าว
ที่มักเรียกสั้นๆ ว่า “เกณฑ์อาคารเขียว” ได้ช่วย
กระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆ ขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริม
ความยั่งยืนในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการออกแบบ
เชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design) ที่ได้รับความ
สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ [6] ดังมีผู้ประกอบการมุ่งมั่น
พัฒนานวัตกรรมวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมเพื่อใช้กับอาคารเขียวมากขึ้น
5. สถาปัตยกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี
เมื่อพิจารณาพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยั่งยืน
จากปัจจัยแวดล้อมทั้งของไทยและต่างประเทศ จะ
พบว่าความเปลี่ยนแปลงในช่วงแรกเป็นไปอย่าง
ช้าๆ ในช่วง 5 ปีแรกหลังประกาศใช้เกณฑ์อาคาร
94 95
ภาพที่ 6 อาคาร 60 พรรษาราชสุดาสมภพ ผ่านการรับรองตามเกณฑ์ TREES-NC ในระดับ
PLATINUM
เขียว มักมีโครงการที่เข้ารับการประเมินน้อย
และหลังจากนั้นจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับประเทศที่เป็นผู้นำในการจัดทำเกณฑ์
เช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ต่างก็ได้
พัฒนาเกณฑ์ใหม่เพื่อประเมินโครงการให้มีความ
เหมาะสมเฉพาะเจาะจงกับลักษณะโครงการมาก
ขึ้น สำหรับประเทศไทย สถาบันอาคารเขียวไทย
ได้เล็งเห็นว่าทิศทางสากลในการพัฒนาสถาปัตย-
กรรมยั่งยืนในอนาคตจะให้ความสำคัญแก่สุขภาพ
คุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)
ของผู้ใช้อาคารมากขึ้น เช่น การออกแบบเพื่อ
ทุกคน การคำนึงถึงสังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นเป้าหมาย
ที่สถาปัตยกรรมของไทยควรจะได้รับการพัฒนา
ต่อไป เพื่อความยั่งยืนอย่างสมดุลทั้งด้านสภาพ
แวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ดังที่ตั้งหวังไว้
5 th Edition
C
M
ภาพที่ 7 อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของ Daikin ผ่านการรับรองตามเกณฑ์ TREES-
NC ในระดับ PLATINUM
อ้างอิง
[1] ผุสดี ทิพทัส, ชัยบูรณ์ ศิริธนะวัฒน์, และ วิมลรัตน์ อิสระ
ธรรมนูญ, สถาปัตยกรรมหลัง พ.ศ. 2540: วิกฤตการณ์และ
ทางเลือกของสถาปนิกไทย. 2553, กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิก
สยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
[2] World Business Council for Sustainable Development,
Energy Efficiency in Buildings: Business Realities and Opportunities.
2008.
[3] จักรสิน น้อยไร่ภูมิ, เขียวขบถ: หลากวิถีสถาปัตยกรรมสีเขียว.
2557, กรุงเทพฯ: คอมม่อนบุ๊คส์.
[4] วิมลสิทธิ์ หรยางกูร, พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของ
งานสถาปัตยกรรม: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. 2536, กรุงเทพฯ:
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.
[5] ธนิต จินดาวณิค, สถาปัตยกรรมและเทคโนโลยี. 2540,
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] ณัชวิชญ์ ติกุล, การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจในงาน
สถาปัตยกรรม. 2553, กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ที่มาภาพ
ภาพที่ 2 http://www.rajavithi.go.th/rj/?page_id=427
ภาพที่ 4 http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/30829
ภาพที่ 6 http://www.cdtc.ac.th/cdtc/index.php/site/contentgeneral/1
ภาพที่ 7 http://www.daikinthai.com/corporate-information/
green-building
96
Y
CM
MY
CY
CMY
K
ASA Regional: Lanna
ล้านนา
สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งภูมิภาค:
สาริน นิลสนธิ
Emerging Architect
of the North:
Sarin Nilsonthi
Text: อรุณ ภูริทัต / Aroon Puritat
Translation: นิศาชล บุญช่วยคุ้ม / Nisachon Boonchuaykum
Photo: Courtesy of architect
ช่วง พ.ศ. 2523-2533 เป็นช่วงเวลาที่กระแส
สถาปัตยกรรมล้านนาร่วมสมัยรุ่งเรืองเป็นอย่าง
มากที่เชียงใหม่ ไปพร้อมๆ กับกระแสค้นหา
“ความเป็นไทย” ในด้านต่างๆ ที่ถูกปลุกขึ้นมาต่อสู้
กระแสโลกาภิวัตน์ ด้วยความเป็นเมืองศูนย์กลาง
ด้านการท่องเที่ยว ทำให้งานออกแบบบ้านพัก
และโรงแรมในช่วงเวลานั้นนำเอารูปแบบและองค์
ประกอบสถาปัตยกรรมจากอาคารโบราณสถาน
เรือนพื้นถิ่นและงานสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล
มาปรับใช้กันอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงการออก
เทศบัญญัติและกฎหมายควบคุมอาคารฉบับต่างๆ
ที่กำหนดให้รูปแบบสถาปัตยกรรมในเขตเมืองเก่า
ต้องมีลักษณะทางสถาปัตยกรรม แบบล้านนา ยิ่ง
ทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมในแนวทางนี้แพร่หลาย
มากยิ่งขึ้นไปอีก
ในขณะที ่อีกฟากหนึ่ง รูปแบบงานสถาปัตยกรรม
สมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและมีความ
เป็นพหุนิยมในเชียงใหม่ ก็ค่อยๆ เติบโตมากขึ้น
ตามลำดับ ไปพร้อมๆ กับจำนวนสถาปนิกรุ่นใหม่
ที่ถูกผลิตออกมาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ สาริน
นิลสนธิ (สถาปนิก/ผู้ก่อตั้งบริษัท D KWA DE-
SIGN STUDIO) เป็นหนึ่งในสถาปนิกรุ่นใหม่ซึ่ง
จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ล้านนา โดยเริ่มต้นวิชาชีพสถาปนิกในช่วงต้น
พ.ศ. 2543 และเมื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ผ่าน
Between 1980 and 1990, contemporary Lanna
architecture flourished in Chiang Mai. So, too,
did many branches of Thai tradition enlisted
to fight the effects of globalization. A city
with a thriving tourism industry, Chiang Mai
at that time was full of dwellings and hotels
boasting design motifs, patterns and elements
inspired by historic or vernacular buildings
and colonial-style architecture. Local decrees
and building control laws, which dictated that
buildings in the old town area should be in a
Lanna-style, also made this type of architecture
more prevalent.
On the other hand, however, a new generation
of architects who graduated from different
educational institutions have given rise to a
diversity of modern architectural styles and
creations. Sarin Nilsonthi is one of these young
architects. A graduate from Rajamangala
University of Technology Lanna, he began his
career in early 2000. After gaining over ten
years’ experience, he then decided to start his
own architecture firm, D KWA DESIGN STUDIO,
in 2012. Today, Sarin’s works usually combine
geometric forms and vernacular architectural
elements. Gable roofs have been used in many
of his projects, including his own dwelling, Ban
Dee Kwa in 2012, which has a concrete roof;
AMP 95 House from 2015, which uses metal
sheeting instead of ceramic roof tiles; and his
98 99
PSA House (2016)
Chiang Mai
การทำงานจริงมากว่า 10 ปี จึงได้ตัดสินใจก่อตั้ง
สำนักงานสถาปนิก D KWA DESIGN STUDIO ใน
พ.ศ. 2555 งานออกแบบสถาปัตยกรรมของสาริน
นั้นผนวกเอารูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ เข้ากับ
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น จะ
เห็นได้จากการนำเอารูปทรงหลังคาจั่วมาใช้ใน
อาคารบ้านพักอาศัยหลายหลังที่เขาออกแบบ ไม่
ว่าจะเป็น “บ้านดีกว่า” บ้านพักอาศัยหลังแรกของ
ตัวเองใน พ.ศ. 2555 ที่เป็นหลังคาคอนกรีต หรือ
บ้าน AMP 95 ของเพื่อนวิศวกร ใน พ.ศ. 2558 ซึ่ง
เลือกใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างหลังคาเหล็ก แทนการ
ใช้วัสดุโบราณอย่างกระเบื้องดินเผาหรือไม้ ผลงาน
ล่าสุดอย่างบ้าน PSA ซึ่งเป็นบ้านหลังที่สองของ
สาริน ได้เริ่มคลี่คลายงานออกแบบ ไปสู่รูปทรง
เรขาคณิตมากขึ้น แต่ยังคงมีการจัดที่ว่างของชาน
และนำเอาพื้นที่สีเขียวเข้ามาสอดแทรกระหว่าง
พื้นที่อาคาร ไปพร้อมๆ กับการใช้องค์ประกอบ
อย่างผนังไม้ที่จัดวางคล้ายกับผนังของเรือนพื้นถิ่น
second house and latest project, PSA House.
The geometric forms of his building designs
are usually complimented by green areas as
well as wooden walls sporting vernacular
patterns. Nowadays, there are more freelance
architects and small architect companies in
Chiang Mai and that has led to more diversity
in architectural design. D KWA DESIGN STU-
DIO is just one of a group of new generation
architects working tenaciously and consistently.
It is not easy for a small firm to do this
100
101
PSA House (2016)
Chiang Mai
DKWA House (2012)
Chiang Mai
ปัจจุบันในเชียงใหม่ มีสถาปนิกอิสระและสำนัก
สถาปนิกขนาดเล็กเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง
ก็ทำให้งานออกแบบสถาปัตยกรรมในเชียงใหม่มี
ความหลากหลายมากขึ้น สำนักงานสถาปนิกอย่าง
D KWA DESIGN STUDIO นับเป็นหนึ่งในกลุ่ม
สถาปนิกรุ่นใหม่ที่ค่อยๆ พัฒนางานออกแบบของ
ตัวเองมาอย่างต่อเนื่อง แต่การที่สตูดิโอออกแบบ
ขนาดเล็กจะสามารถยืนหยัดทำงานอย่างต่อเนื ่อง
ได้มากว่า 10 ปีขึ้นไปนั้น มีจำนวนไม่มากนัก การ
ล้มหายตายจากไปของสำนักงานสถาปนิกเล็กๆ
เหล่านี้ก็เกิดขึ้นตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับการเกิด
ขึ้นมาของสถาปนิกรุ่นใหม่ที่ถูกผลิตเข้ามาทดแทน
เป็นวงจรหมุนเวียนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่ปัญหา
ที่ยังแก้ไขไม่ได้ก็คือจะทำอย่างไรให้สำนักงาน
ออกแบบขนาดเล็กเหล่านี้ มีโอกาสเติบโตได้อย่าง
ยั่งยืนและมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่
เกิดการ disruption อย่างหนักหน่วงของเทคโนโลยี
ในแวดวงวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรมและใน
แวดวงการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม อีกทั้งปัญหา
ใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมที่จังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ
ยังต้องเผชิญไปอีกหลายปีอย่างเรื่องฝุ่น pm 2.5
จะส่งผลกระทบโดยตรงต่องานออกแบบงาน
สถาปัตยกรรมและเมืองอย่างแน่นอน ซึ่งภูมิปัญญา
แบบงานสถาปัตยกรรมในอดีตที่มีลักษณะเปิดโล่ง
ให้อากาศไหลเวียน คงไม่สามารถตอบสนองต่อ
ปัญหาเรื่องฝุ่นขนาดเล็กนี้ได้อีกต่อไป ยังไม่นับ
รวมไปถึงเรื่องภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวที่รอ
เวลาประทุตัวขึ้นมาอย่างเงียบๆ อีกด้วย
for over 10 years, as they have done. These
companies tend to disappear just as rapidly
as new ones appear. The problem at the heart
of this continuous cycle is how to build opportunities
for these small companies to grow
sustainably and stably, especially at a time of
technological disruption for both architects
and educational institutions.
102
AMP 95 House (2015)
Chiang Mai
103
ASA Regional: Taksin
ทักษิณ
เมื่อสถาปนิกมาสร้างบ้านขาย
When Architects Enter the
Housing Estate Business
Text: กิตติ เชาวนะ / Kitti Chaowana
Translation: นิศาชล บุญช่วยคุ้ม / Nisachon Boonchuaykum
Photo: ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง / Songpan Janthong
“เมื่อสถาปนิกมาสร้างบ้านขาย” คำโปรยเชิงตั้ง
คำถามเป็นไวรัลที่ถูกโพสต์และแชร์ในเฟซบุ๊ก สื่อ
โซเชียลอื่นๆ แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั้งใน
หมู่คนทั่วไป คนที่ชอบแบบบ้านสวยๆ เหมือนใน
นิตยสาร หรือในหมู่สถาปนิก นักออกแบบ นิสิต
นักศึกษา ที่ดูจะสนใจประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาเพื่อ
แลกเปลี่ยน พูดคุย และตั้งคำถามต่อ
“การใช้สถาปนิกมาออกแบบบ้านซักหลังหนึ่งนั้น
ดูอาจจะเป็นเรื่องใหญ่ มีต้นทุนที่สูงและมีการ
จัดการที่ยุ่งยากวุ่นวาย เราจึงพบว่าส่วนใหญ่มีแต่
บ้านเศรษฐีเท่านั้นที่จะจ้างสถาปนิกออกแบบ คน
ทั่วไปมักจะนิยมซื้อบ้านจัดสรรมากกว่า เพราะ
สะดวก สำเร็จรูปและสามารถกำหนดงบประมาณ
ได้แน่นอน ในขณะที่บ้านจัดสรรทั่วไปมักจะมี
รูปแบบตายตัว เพราะต้องเน้นจับตลาดใหญ่ แทบ
ไม่มีการพัฒนารูปแบบ จนกลายเป็นขาดความคิด
สร้างสรรค์ในการอยู่อาศัยไปเลย”
บทสนทนาที่ วิพิชญ์ ดุลยพัชร์ (Vipich Dulyapach)
ผู้บริหารโครงการและสถาปนิก ผู้อยู่เบื้องหลัง
ปรากฏการณ์นี ้ได้เกริ่นนำก่อนที่จะพูดคุยราย
ละเอียดมุมมองหลากหลายและท้าทายความคิด
หลังจากที่ได้เข้าชมพื้นที่โครงการ “คอมมูนนิพัทธ์
สงเคราะห์ (Commune Nipatsongkhro)” โครงการ
อสังหาริมทรัพย์จำนวน 6 ยูนิต ในโซนพื้นที่พัก
อาศัยย่านนิพัทธ์สงเคราะห์ใกล้ตัวเมืองหาดใหญ่
มีลักษณะเด่นสะดุดตา ด้วยความเรียบง่าย
แต่มีรายละเอียดที่ชวนค้นหา จากการจัดวางพื้นที่
อาคารที่มีการลดทอน mass อาคารสี่เหลี่ยมเรียบ
ง่ายสลับกันแต่ละยูนิตทั้งในผังและการใช้บันได
Recently a post with the tag line “When architects
enter the housing estate business”
went viral on Facebook and other social media.
It quickly became a hot topic of debate
and discussion among architects, designers,
students and anyone who enjoys the beautiful
houses we see in magazines.
“To have an architect design a house seems
to be a serious matter – expensive and complicated.
We assume that only rich people can
afford houses designed by architects, whereas
the average person buys houses from housing
estate projects because of their limited
budgets and the cheaper prices. But a housing
estate usually has a fixed design because it is
a mass product. It lacks design development
and creativity,” says Vipich Dulyapach, the
project director and architect behind Commune
Nipatsongkhro, a six-unit real estate
project in a residential zone in Nipatsongkhro
district near Hat Yai.
The overall look of this project is outstanding:
simple yet full of fascinating details. The mass
of the building was cut off alternately in each
unit. Staircases are used as connecting points
between leveled interior spaces. There are
small gardens in the front of the buildings,
rear terraces and artificial grass roof decks.
In an attempt to create a new typology that
sits between single house and townhouse,
the architect has tried to create the feel of
living in a single standalone house within
a built-up city context. Their prior projects
include Commune Nualkaew, which consists
of 14 townhouse units, and Commune Nualkaew
Twinhouse, a large twin house with an
open courtyard.
104 105
ระเบียงนั่งเล่นหลังบ้านใน
บรรยากาศสบายๆ ที่เกิดจาก
การวิเคราะห์พฤติกรรมและ
ความต้องการของลูกค้า
The cozy back terrace
caused by the analyzing
of behavior and desire of
customer.
บันไดกลางอาคารเชื่อมโยง
ห้องต่างระดับสามารถสร้าง
ความต่อเนื่องของพื้นที่ใน
อาคารได้ดี
The central stair connecting
the split level
can generate the continuity
of building space.
เป็นจุดเชื่อมพื้นที่ภายในต่างระดับ มีการจัดสวน
เล็กๆ ด้านหน้าอาคาร พื้นที่ระเบียงนั่งเล่นหลังบ้าน
และการจัดพื้นที่กิจกรรมปูหญ้าเทียมบนดาดฟ้า
ซึ่งผู้ออกแบบพยายามสร้างการอยู่อาศัยแบบบ้าน
เดี่ยวในบริบทเมือง นับเป็น typology ใหม่ ระหว่าง
บ้านเดี่ยวและห้องแถว เป็นตัวอย่างการแสวงหา
คำตอบที่เหมาะสมจากการแก้ปัญหาและ
สร้างสรรค์ใหม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการ
พัฒนาโครงการ “คอมมูนนวลแก้ว (Commune
Nualkaew)” ทาวน์เฮ้าส์ต่างระดับ 14 ยูนิต ที่มี
การแบ่ง space ต่างระดับเพิ่มความสะดวกในการ
ใช้งาน และโครงการ “Commune Nualkaew Twinhouse”
บ้านแฝดขนาดใหญ่พร้อมคอร์ทกลางบ้าน
เมื่อได้พูดคุยจุดเริ่มความคิดในการเพิ่มบทบาท
ตัวเองมาพัฒนาโครงการ พบว่าเกิดจากการตั้ง
คำถามมากมาย เช่น สถาปนิกมีความรู้เรื่องทิศทาง
แดด-ลม-ฝน-พื้นที่ แต่การตัดสินใจส่วนใหญ่มักอยู่
กับเจ้าของและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จุดยืน
ของสถาปนิกในวิชาชีพคืออะไร เราเห็นการพัฒนา
เมืองที่กระจายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ (urban sprawl)
เพราะคนส่วนใหญ่อยากอยู่บ้านเดี่ยว จึงเริ่มฉุกคิด
ว่าในเมื่อสถาปนิกมีความรู้และความเข้าใจใน
การพัฒนาเมือง ทำไมเราไม่สร้างการใช้ชีวิตที่ดี
สร้างคุณค่าและมูลค่าที่เหมาะสมในเมือง เชื่อว่า
สถาปนิกมีศักยภาพแต่บริบทไทยทำให้ขาดโอกาส
ในการแสดงฝีมือ งานนี้จึงถือเป็นการสร้างโอกาส
ให้ตัวเองเพื่อทำสิ่งนั้น
“ผู้ประกอบการคิดจากเล็กไปหาใหญ่ ทำหลัง
ที่ขายได้ และวางเต็มผังเพื่อเพิ่มยอดขาย ใน
ขณะที่สถาปนิกจะคิดทั้งผังก่อนว่าควรทำอะไร
ตรงไหนในภาพรวม แล้วค่อยย่อยมุมคิดใน
รายละเอียด...สถาปนิกเหมือนคนรับจ้างเล่น
ไพ่ ลูกค้าคิดว่าคุณเล่นเก่งเลยฝากเล่น....ทำไม
ไม่เล่นเองล่ะ?...ถ้าอยากให้มีอะไรเกิดขึ้นก็ต้อง
ทำเอง”
การได้พัฒนาโครงการแบบนี้ไม่เพียงแต่ได้ตอบ
คำถามที่สถาปนิกสงสัยใคร่รู้ แต่เป็นการขับเคลื่อน
วงจรชีวิตและการพัฒนางานสถาปัตยกรรม การ
ออกแบบ ที่ผู้บริหารโครงการและสถาปนิกสามารถ
ประมวลข้อมูลความต้องการของลูกค้าเพื่อหาพื้นที่
Before becoming a project developer Vipich
had a lot of questions he wanted answered. He
wondered why final decisions are usually
made by project owners and developers when
architects are the ones who know best when it
comes to the site and the elements. He wondered
also about the professional standpoint
of architects today. Urban sprawl continues
unabated because most people want to live
in detached houses. This state of affairs made
him consider why more architects, who understand
and have deep knowledge about city
development, don’t build living spaces in the
city more. He believes architects have the
potential to do this but that the Thai social
context denies them the opportunity to show
their full ability. This project, he decided,
would be his chance to work his idea out.
“Entrepreneurs start small. They build some
houses to sell and then expand to fill the
layout to increase sales. But architects design
the entire layout to plan where to build what
and then work on the details....Architects are
like employed poker players. Clients think you
are good at poker so they want you to play for
them. Why don’t you play for yourselves?...If
you want something to happen, you have to
make it happen.”
This kind of development doesn’t only answer
the questions architects ask themselves, but
also drives forward the evolution and improvement
of architectural design. The project
executives and architects involved analyze the
requirements of clients to find the right land
to develop. They then develop the design in
collaboration with the construction management
and sales team. And when the building
is finished, they can examine the results and
immediately react to improve the next project.
This project is a brave act of rebellion, the result
of creative ideas which involve more than
just architectural work. It can serve to help
architects gain information and knowledge
in real estate
development and make leaps forward in terms
of improving their ideas. It shows us what
can be achieved with housing estates when
you consider the dwelling’s value, not just its
106
107
พัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม ได้ออกแบบและ
พัฒนารายละเอียดไปพร้อมกับการบริหารงาน
ก่อสร้างและการขาย รวมถึงเมื่อมีการใช้อาคารจริง
ก็สามารถนำผลสะท้อนย้อนกลับมาเรียนรู้พัฒนา
โครงการถัดไปได้ทันที เป็นอีกหนึ่งความกล้าฉีก
ขนบ ผลที่ได้จากความคิดสร้างสรรค์ที่มากกว่า
คุณภาพของงานสถาปัตยกรรม คือได้ข้อมูลความรู้
และการสร้างพัฒนาการงานอสังหาริมทรัพย์ รวม
ถึงพัฒนาการทางความคิดอย่างก้าวกระโดด ทำให้
เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากบ้านจัดสรร ที่
เน้นราคากำกับในท้องตลาดทั่วไป เป็นงานที่
มุ่งเน้นคุณค่าของการอยู่อาศัยเป็นสำคัญ (dwelling
value) ซึ่งอาจไม่ใช่แนวทางในการพัฒนา
โครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เป็นตัวอย่างที่
น่าสนใจในการหาจุดสมดุลใหม่ระหว่าง การตัดผ้า
โหล - การสั่งตัดเฉพาะตัว การพัฒนาโครงการที่
เอาราคาเป็นตัวตั้ง – การใช้คุณค่าของการออกแบบ
เป็นสิ่งนำ และที่สำคัญ ได้สร้างพื้นที่สนทนา ลด
ช่องว่างของการสื่อสาร ระหว่างผู้คนทั่วไปกับ
สถาปนิกผู้ออกแบบ หาคำตอบที่เหมาะสม
ของการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมพื้นฐาน ซึ่งก็คือ
“บ้านที่ผู้อยู่อาศัยมีความสุข” นั่นเอง
price. This might not be a normal real estate
project, but it is a very interesting example
of one that strikes a new balance between
mass production and made-to-order. This
project can help open up a new space for
communicating and narrow the gap between
laymen and architects as they strive to fulfil
the central aim of architecture – buildings
that make their inhabitants happy.
ห้องพักผ่อน ทานอาหาร ชั้นล่าง
ต่อเนื่องกับระเบียงนั่งเล่นหลัง
บ้าน
The downstairs common
room continues to the
back terrace.
การตกแต่งอาคารที่เรียบง่าย
แต่โดดเด่น สอดคล้องกับรูป
แบบวิถีชีวิตในปัจจุบัน
Distinguished building
with minimal concept
design corresponds with
lifestyle nowadays.
ห้องนอนชั้นบนติดกับโถง
บันไดมองทะลุกระจกต่อเนื่อง
ไปถึงดาดฟ้าอาคาร
108
The roof deck can be
seen from the upstairs
bedroom.
109
ASA Regional: Esan
อีสาน
เล่าเรื่องจากเมืองเล็ก...
สถาปนิกทำอะไร?
Tales from small towns…
what do architects do?
Text: เพชรลัดดา เพชรภักดี / Pechladda Pechpakdee
Translation: สุชานาฏ จารุไพบูลย์ / Suchanart Jarupaiboon
Photo: Courtesy of architect
อาชีพสถาปนิกในบ้านเมืองที่พัฒนาแล้วนั้นมีความ
สำคัญ นอกเหนือจากการออกแบบแก่ลูกค้าที่เป็น
ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชนแล้ว สถาปนิกยังมี
บทบาทในการให้ความเห็นในการพัฒนากายภาพ
ของเมือง รูปแบบสถาปัตยกรรม ให้แก่ภาครัฐอีก
ด้วย เช่น ในประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลสิงคโปร์ได้
เลือกใช้บริการของ โมเช่ ซาฟดี (Moshe Safdie)
ที่มีบริษัทหลักอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย
เป็นผู้ออกแบบโครงการมารีน่า เบย์ แซนด์ และ
โครงการ Jewel ที่สนามบินชางงี ซึ่งมีรูปแบบที่
โดดเด่นเป็นหน้าตา ความภาคภูมิใจของเมือง
ในประเทศไทย สถาปนิกมีบทบาทและความ
สำคัญในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครและ
เมืองหลัก เมืองท่องเที่ยวในภูมิภาคอย่าง ภูเก็ต
เชียงใหม่ พัทยา ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าแล้ว
สถาปนิกที่ทำงานในจังหวัดเล็กๆ มีจำนวนเท่าไร
เขาเหล่านั้น ทำอย่างไรที่จะยืนหยัดพิสูจน์ตนเอง
ในวิชาชีพในพื้นที่ ที่ไม่น่าจะมีคนเข้าใจถึงบทบาท
สถาปนิกมากนัก?
ผู้เขียน (ปัจจุบันสอนที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
และอยู่ในแวดวงวิชาการของพื้นที่ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ) ได้สัมผัสประสบการณ์การทำงาน
จากลูกศิษย์และเพื่อน พี่น้อง ในภูมิภาค พบว่า
หากเปรียบเทียบในระยะยี่สิบปีที่ผ่านมา การ
ประกอบอาชีพสถาปนิกในต่างจังหวัดยังมีจำนวน
น้อย แต่ในระยะหลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดย
สถาปนิกส่วนใหญ่ที่จบการศึกษาในต่างจังหวัด
หากไม่เข้ากรุงเทพฯ หรือไปเมืองหลักในภูมิภาค
หรือไม่ก็เข้ารับราชการแล้วทำงานในจังหวัดขนาด
เล็ก อาทิ หน่วยงานเทศบาล องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง ใน
ระยะหลังผู้เขียนเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นจากรูปแบบ
สถาปัตยกรรมจากภาคธุรกิจเอกชนในต่างจังหวัด
ในเมืองต่างๆ อวดโฉมอย่างสวยงาม มีเอกลักษณ์
และมีการออกแบบพื้นที ่ที่ลงตัว คุ้มค่า ต่างจาก
อาคารทั่วไปในอดีต
บทความนี้เรียบเรียงจากศิษย์เก่าท่านหนึ่ง ที่ได้มา
เล่า แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานในภาค
อีสานให้รุ่นน้องที่คณะฟัง คุณวัชระ วรวิวัฒนวงศ์
In developed societies, the role of architects
is vital. In addition to designing structures for
individual clients and businesses, architects
are involved in urban planning and architectural
design for the public sector. For instance,
the Singaporean government selected Moshe
Safdie, whose architectural practice is based
in the United States, to design the Marina
Bay Sands complex and Jewel Changi Airport,
Singapore’s most iconic structures and pride.
In Thailand, the role and importance of architects
is largely confined to major cities
such as Bangkok and tourist locations like
Phuket, Chiang Mai and Pattaya. Have you ever
wondered how many architects there are in
smaller towns? What do they have to do to
prove the value of their profession in these
towns, where the role of architects is likely
to be underappreciated?
Based on the work experience shared with
me by my students and colleagues (currently
I’m a lecturer at Mahasarakham University) I
have found that over the past 20 years, the
number of architects working in small towns
was quite low. However, the number has
increased recently. Most architects graduating
from small-town schools either move
to Bangkok or regional centers or enter civil
service in the town, such as municipalities,
provincial administration organizations and
the Department of Public Works and Town &
Country Planning. In recent years, I’ve seen
signs of improvements, with more creative
and brilliant architectural styles of businesses
in various towns, many of which show clever
design of utility space, completely different
from most older buildings.
The following story was told by an alumni
who shared his experience working in the
Northeast of Thailand. Mr. Watchara Worawiwattanawong
(Boy) - an architect in his early
30s from Kalasin province who graduated from
the Faculty of Architecture, Urban Designs and
Creative Art, Mahasarakham University. After
graduation, he was determined to work in his
hometown. However, without any experience
to begin with, he decided to start his career as
an architect in a major construction material
company based in Roi Et which has several
110
111
(หรือ บอย) สถาปนิกหนุ่มในวัยสามสิบต้นๆ มี
ภูมิลำเนาอยู่จังหวัดกาฬสินธุ์ จบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง
นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลังจบ
การศึกษา บอยมุ่งมั่นจะประกอบอาชีพสถาปนิก
ในบ้านเกิด แต่ด้วยที่ยังไม่มีประสบการณ์ บอย
จึงเลือกทำงานเป็นสถาปนิกในบริษัทขายวัสดุ
ก่อสร้างเจ้าใหญ่ที่มีฐานธุรกิจอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด
แล้วขยายสาขาไปทั่วประเทศ ต่อมาจึงเข้าทำงาน
บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูก
สร้างให้ชาวต่างชาติในพัทยา เขาทำงานในตำแหน่ง
สถาปนิกสักระยะหนึ่งเพื่อสั่งสมประสบการณ์
โดยเรียนรู้จากงานทุกอย่างในบริษัท ตั้งแต่เข้าใจ
คุณสมบัติวัสดุ งานออกแบบ ติดต่อลูกค้า ถอด
ราคา ขออนุญาตก่อสร้าง เมื่อถึงเวลาที่บอยรู้สึก
อิ่มตัวและเรียนรู้เข้าใจงานแล้ว เขาอยากกลับบ้าน
เพื่อสร้างครอบครัวและดูแลคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้ง
กิจการค้าขายของบ้านที่ภูมิลำเนา การกลับมาเปิด
บริษัทรับออกแบบอย่างเดียวในจังหวัดเล็กๆ อย่าง
จังหวัดกาฬสินธุ์ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะ
นั่นหมายถึงบอยต้องรับความเสี่ยงในการบริหาร
จัดการเองทั้งหมด หลายคนสงสัยว่าการกลับบ้าน
ของเขาเพื่อทำตามฝันนั้นจะรอดหรือไม่ เนื่องจาก
เส้นทางสถาปนิกในจังหวัดเล็กๆ นั้น ส่วนใหญ่มัก
รับราชการเป็นงานประจำ และรับออกแบบอาคาร
เป็นงานรองจะดูมั่นคงกว่า แต่จากประสบการณ์
การติดต่อกับลูกค้า บอยเห็นโอกาสว่าทุกคนมี
ความฝันอยากมีบ้านที่ดี เพียงแต่รอโอกาสและ
ความพร้อม
บอยกลับกาฬสินธุ์ด้วยความมุ่งมั่นว่าจะทำบริษัท
รับออกแบบเพื่อสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ดีให้
คนรู้จัก แต่สิ่งที่ท้าทายเขาอย่างมาก คือใครจะเป็น
ลูกค้า? ลูกค้าอยู่ที่ไหน? เขาเริ่มกิจการด้วยความ
หวังระคนสงสัย บอยเริ่มจากการเปิดบ้าน ปรับปรุง
ให้มีความเป็นออฟฟิศและติดป้าย ‘รับออกแบบ
อาคารโดยสถาปนิก’ ชื่อ ‘โฮมเมดดีไซน์’ ลูกค้า
รายแรกคือเพื่อนของแม่บอยที่ทำธุรกิจค้าขายใน
จังหวัด หลังจากผลงานเสร็จสิ้นบอยก็มีงานเข้า
มาเรื่อยๆ จากปากต่อปาก ทั้งรับออกแบบและ
ควบคุมงาน สักพักหนึ่งลูกค้าอยากให้บอยรับเหมา
ก่อสร้างแบบ turnkey ด้วย เขาได้ศึกษางานสักพัก
และปรึกษากับทางบ้านประกอบกับประสบการณ์
branches across the country. Subsequently, he
moved to a real estate company selling land
with buildings to foreigners living in Pattaya.
He worked as an architect to gain experience
there, learning from all operations – from
construction material quality, designing, engagement
with customers, price quotation, to
obtaining construction permits. When he felt
he had learned all aspects of its operations,
he decided to come home to take care of his
parents and their business in his hometown.
So he returned to the province and opened a
small design company. In a town like Kalasin,
the chance of success for a company engaged
solely in architectural design isn’t very
high. That means Boy had to take up all the
challenges, managing everything on his own.
Many doubted if his bid to fulfil his dreams at
his hometown would ever be successful, as
architects based in small towns often work
full-time in government agencies and may
engage in architectural design as a side job.
However, from his experience dealing directly
with customers, he learned that: everyone
dreams to have a home and will get one as
soon as they are financially secured and have
an opportunity to acquire one.
He returned to Kalasin determined to start a
company that would deliver great buildings to
his acquaintances. But the main challenge is,
who would be his clients, and where would he
find them? He started his business with a mixture
of hope and doubt. He remodeled part of
his home to a home office and hang up a sign
that says, “Home Design Service by Architect,”
naming his company “Homemade Design.” His
first client was a friend of his mother who
has retail business in the town. After the first
job was completed, he received many more
from word-of-mouth. He created designs
himself as well as supervised construction.
After a while, there was a growing demand
for turnkey construction. After studying the
possibilities and consulting with his family,
and with his experience having previously
worked for the major construction material
company, he decided to take on construction
contracts. Boy eventually felt he was headed
toward the right direction. His responsibilities
started from designing to price quotation and
purchase of materials. He is able to propose
a price that home owners find acceptable
บ้านเดี่ยว 2 ชั้น 4 ห้องนอน
จ.กาฬสินธุ์ (ปีที่สร้างเสร็จ:
พ.ศ. 2562)
Two-story House with
four bedrooms (2019)
Kalasin
บ้านเดี่ยว 1 ชั้น 4 ห้องนอน
จ.กาฬสินธุ์ (ปีที่สร้างเสร็จ:
พ.ศ. 2560)
One-story House with
four bedrooms (2017)
Kalasin
112 113
ที่มีในฐานะเคยเป็นสถาปนิกร้านขายวัสดุก่อสร้าง
เจ้าใหญ่ของประเทศ เขาจึงตัดสินใจรับงานรับเหมา
ด้วย ผลปรากฏว่า บอยรู้สึกว่ามาถูกทาง เขาเห็น
งานตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ถอดราคา ซื้อวัสดุ
เขาสามารถทำราคาที่เจ้าของบ้านพอใจและตัวเขา
เองก็มีกำไร แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้น คือเขาเข้าไป
นั่งในใจลูกค้า ในการรับหน้าที่สร้างบ้าน สร้าง
อาคารให้ตรงตามความฝัน โดยลูกค้าไม่ต้องกังวล
กับขั้นตอนการก่อสร้างจริง สำหรับลูกค้าทั่วไปแล้ว
ขั้นตอนนี้ที่เป็นภาระยิ่งใหญ่มากทั้งการติดต่อกับ
ผู้รับเหมา การควบคุมราคา และมาตรฐานของงาน
บอยมาถูกทางจริงๆ เขาหยิบโอกาสจากช่องว่าง
ที่ลูกค้าช่วยชี้ทาง และพัฒนาต่อจนทำให้งานของ
บอยมีเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ค่อนข้าง
มีกำลังซื้อและเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมที่
รังสรรค์โดยสถาปนิก เช่นชาวต่างประเทศที่มี
ภรรยาเป็นคนไทย นักธุรกิจในท้องถิ่น แม่ค้า
พ่อค้า ข้าราชการ เป็นต้น ในช่วงหลังกิจการของ
บอยดีขึ้นเป็นลำดับจึงรับสถาปนิกผู้ช่วย
บอยย้ำว่า เข้าใจท้องถิ่น เข้าใจลูกค้า และพัฒนา
ตัวเองเสมอ เป็นเรื่องสำคัญ ลูกค้าเข้ามาอยู่เรื่อย
and earn a profit. What’s more, he takes a
client’s needs into consideration when building
them a home of their dreams. His clients
don’t need to worry about construction at
all. For ordinary customers, this is a burdensome
step, what with them having to contact
a contractor and control the cost and quality
of construction. He really did make the right
call. He seized opportunities given to him by
his clients and expanded his services from
there. As a result, he keeps receiving contracts
from customers with purchase power who appreciate
architectural value, such as foreigners
married to Thais, local businesspeople,
merchants, and government employees. As
his business continued to grow, he hired an
architect’s assistant.
Boy emphasized how important it is to understand
one’s locality and customer base
and never stop improving oneself. Customers
keep rolling in, impressed with his personality,
works created, and the services at Homemade
โครงการบ้านไม้ 3 ห้องนอน
จ.กาฬสินธุ์ (ปีที่ออกแบบ:
พ.ศ. 2561)
Timber House with three
bedrooms (2018) Kalasin
โครงการอาคารสหกรณ์ออม
ทรัพย์ สถานประกอบการ
กาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ (ปีที่
ออกแบบ: พ.ศ. 2561)
Kalasin Saving Cooperative
Office (2018) Kalasin
โครงการออกแบบปรับปรุง
บ้านเก่า 2 ชั้น จ.กาฬสินธุ์
(ปีที่ออกแบบ: พ.ศ. 2561)
Renovation of Two-story
House (2018) Kalasin
โครงการร้านกาแฟ จ.กาฬสินธุ์
(ปีที่ออกแบบ: พ.ศ. 2561))
Coffee shop design
(2018) Kalasin
เนื่องจากประทับใจในอัธยาศัย ผลงาน และบริการ
ของโฮมเมดดีไซน์ เขายังคงแสวงหาโอกาสจาก
ช่องทางในท้องถิ่น โดยออกแบบก่อสร้างบ้านหลัง
ที่สองแบบสำเร็จรูป ที ่สร้างจากเหล็กแล้วยกไป
ประกอบติดตั้งในพื้นที่อย่างรวดเร็ว สำหรับลูกค้า
ที่ต้องการมีบ้านหลังที่สองที่หัวไร่ปลายนา ซึ่งโดย
มากเป็นผู้มีกำลังซื้อและมักต้องการบ้านอีกหลังไว้
ทำการเกษตร เพื่อพักผ่อนในต่างจังหวัด บอยยัง
เห็นช่องทางที่ท้าทายอีก เขาอยากเข้าไปสร้างสรรค์
ผลงานอาคารดีๆ แก่ชาวบ้านทั่วไปที่มีฝัน อยาก
สร้างบ้าน แต่มีปัจจัยที ่จำกัดทำให้มีทางเลือก
ไม่มากนัก รูปแบบบ้านที่เห็นจึงเหมือนๆ กัน ทั้ง
สุนทรียภาพและภาวะความน่าสบาย (comfort
zone) ของอาคาร และหลายอาคารขาดเอกลักษณ์
ของความเป็นพื้นถิ่นและการออกแบบที่เหมาะสม
กับพื้นที่เขตร้อน
สำหรับบอย ความจำกัดเหล่านี้ไม่ได้หมายถึงการ
กำจัดความฝันของการมีบ้าน ถ้าอาคารทั้งหลาย
ทั้งในเมืองและในชนบทได้รับการออกแบบที่ดี น่า
จะช่วยให้ทั้งผู้อยู่อาศัย ใช้สอยอาคารมีความสุข
และสภาพแวดล้อมทั้งเมืองและชนบทโดยรวม
น่าจะมีสุนทรียภาพและความเป็นชุมชนที่น่าอยู่
อาศัยเช่นกัน เขามีแบบบ้านที่ออกแบบไว้พร้อม
ถอดแบบก่อสร้าง วัสดุ ประเมินราคาไว้เรียบร้อย
อยู่จำนวนหนึ่ง และหวังว่าแบบที่เขาและผู้ช่วยได้
ออกแบบไว้รอ จะมีเจ้าของบ้านเห็นคุณค่าบ้าน
อาคารที่ออกแบบตามหลักวิชาการสถาปัตยกรรม
นำไปสร้างตามฝัน
บอยเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ ปัจจุบัน
เราจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นจากหลายๆ อาคาร
ในต่างจังหวัดที่รังสรรค์โดยสถาปนิกในพื้นที่ เขา
เหล่านั้นยืนหยัดท้าทายในการสื่อแสดงถึงบทบาท
ของสถาปนิกเช่นเดียวกับสถาปนิกในเมืองใหญ่
หลายคนอาจมีฝันต้องการทำงานในเมืองใหญ่
ในบริษัทที่ตนใฝ่ฝันเพื่อสร้างประสบการณ์และ
โอกาส สำหรับบอยแล้ว เขามีความฝันในการกลับ
มาทำงานที่ตัวเองรักและประกาศความเชื่อมั่นใน
วิชาชีพ ณ ภูมิลำเนาบ้านเกิด และบอยก็ได้พิสูจน์
ให้เห็นว่า เส้นทางที่เขาเลือกก็เป็นหนึ่งในเส้นทาง
ที่ใช่ และอาคารที่ออกแบบก็เป็นไปตามหลักการ
ทางสถาปัตยกรรมที่ได้ร่ำเรียนมา
Design. He continues to seek opportunities
available in his town by designing prefab
metal houses that are easily assembled for
customers looking to have a second house in
a corner of their farm. Most of these clients
are comfortably off and want a second home
to do farming or as a holiday home in a different
town. He also sees more challenging
opportunities ahead. He wants to create
good buildings for anyone who dreams to
have a home but whose choices are limited
due to lack of financial means. As a result,
most houses available often are very similar
in terms of aesthetics and comfort. Many
of them are devoid of local identity and the
design is not suitable for tropical climate.
For him, these constraints do not necessarily
rid people of their dreams to have a home. If
all buildings, in cities and towns alike, are well
designed, residents will be able to live in and
make use of them happily. The city or town’s
landscape will be much more pleasant and
the community much more livable. He has a
number of house designs that can be readily
translated into real homes, complete with the
estimated price of materials. He hopes that
these designs by him and his assistant will
one day become real homes for people who
appreciate them for being designed according
to the science of architecture.
Boy’s story is one of the success. These days
we see improvements in many buildings in
small towns designed by local architects.
These people are determined to prove the
importance of the role of architects, in the
same way as architects in major cities do.
Some may dream of working in big cities, in a
company of their dreams, to gain experience
and opportunities. For Boy, he dreams to do
what he loves and remains committed to
his profession in his hometown. And he has
proved that the path he has chosen is the
right one, that the buildings he has designed
are done so in accordance with the principles
of architectural design.
114
115
Studio Visit
Hypothesis
Text: ยินดี พุฒศิรยากร / Yindee Phuttasirayakorn
Photo: เรืองศักดิ์ บุณยยาตรา / Ruangsak Boonyayatra
http://www.hypothesis.co.th
ปีที่ก่อตั้ง: พ.ศ. 2552
ผู้ก่อตั้ง: เจษฎา เตลัมพุสุทธิ์ และ
มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา
จํานวนพนักงาน: 15 คน
เจษฎา เตลัมพุสุทธิ์ และ
มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา
Co-Founder และ
Design Director
“ดูเหมือนเราไม่ได้ดีไซน์อะไร แต่เรื ่องเหล่านี ้ก็ผ่านการ
ดีไซน์มาแล้วจากประสบการณ์และการทํางานร่วมกับคน
เก่งๆ เหมือนเราดีไซน์ figure ของคนให้ดีก่อน เรื่องดีไซน์
เสื้อผ้าเรื่องเครื ่องประดับ เขาก็จะเลือกของเขาเองว่าจะ
เซอร์ จะเนี้ยบ จะหรูแค่ไหนแล้วแต่คน Hypothesis ถูก
ดีไซน์ตามความจริง ทําให้ออฟฟิศที ่เราอยู่นี่มันจริง เรา
ไม่ได้สร้างดีไซน์ให้ออฟฟิศเราสวยมากๆ มีกระจก
ติดไฟ ผนังเรียบกริบ วันนึงมันก็เปลี่ยนไปไม่สวยไม่
เนี้ยบ เราก็ดีไซน์ตามที ่มันเป็นแบบนี้ตามความจริงที่มัน
เป็นอยู่ ผ่านไปอีก 10 ปี มันคือสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตาม
ความจริง และมันก็ปรับเปลี่ยนได้ตลอดไม่จําเป็นต้องเป็น
รูปแบบเดิมที ่เราออกแบบไว้ จะเปลี่ยนตู้เปลี่ยนโต๊ะก็ทําได้”
Hypothesis คือดีไซน์สตูดิโอที่เริ่มต้นจากความ
คิดย้อนแย้งและการตั้งสมมติฐานใหม่ในงาน
ออกแบบ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 คุณเจษฎา
เตลัมพุสุทธิ์ (กอล์ฟ) และ คุณมนัสพงษ์ สงวน-
วุฒิโรจนา (บิว) Co-Founder และ Design
Director มาร่วมพูดคุยถึงสมมติฐานใหม่ๆ ที่
กำลังทำการทดลองอยู่ และพาเยี่ยมชมสตูดิโอ
Hypothesis ที่ตั้งอยู่ในโกดังเก็บอะไหล่รถยนต์
เก่าชื่อ Factoria ของโครงการ Warehouse
26 ที่มีทั ้งร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ อาร์ทสตูดิโอ
Fabrication
ความเป็นมาของ Hypothesis
Hypothesis เริ่มต้นจากความต้องการสร้างสรรค์
งานออกแบบบนสมมติฐานใหม่ๆ ที่มีความแตกต่าง
จากการทำงานในสตูดิโอสถาปนิกแบบเดิมที่ทำอยู่
ทำงานที่ตัวเองได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์
ย้อนแย้งอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการเรียนรู้การ
ทดลองใหม่ๆ ได้ผลสรุปเป็นความรู้ใหม่มากขึ้น
จากสตูดิโอเล็กๆ เติบโตมาเป็นสตูดิโอขนาดกลาง
มีพนักงาน 15 คนในปัจจุบัน ความต้องการหาพื้นที่
สำหรับทำสตูดิโอแห่งใหม่และแชร์พื้นที่ร่วมกัน
กับเพื่อนๆ เพื่อทำสิ่งที่ตัวเองรัก ก็มาลงตัวที่อาคาร
โกดังเก่า ในซอยสุขุมวิท 26 ปัจจุบันเป็นโครงการ
Warehouse 26 สตูดิโอของ Hypothesis ตั้ง
อยู่ในพื้นที่ ชั้นบนภายในอาคารโกดังเก่าที่ถูก
ออกแบบใหม่ใช้ชื่อว่า Factoria หมายถึง ความ
น่าจะเป็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Hypothesis ที่นี่
เป็นอีกจุดเริ่มต้นของสมมุติฐานใหม่ เป็นโปรแกรม
ใหม่ที่ Hypothesis กำลังทดลองและพิสูจน์
ข้อสมมติฐานของตนเอง เป็นการก้าวข้ามออกมา
จากความเป็นสตูดิโอสถาปนิกหรือสตูดิโออินทีเรีย
ดีไซน์แบบเดิมๆ ไม่ได้เรียกตัวเองเป็น design studio
แต่เรียกตัวเองเป็น design agency ทำสิ่งที่มาก
กว่ารูปแบบที่สตูดิโอดีไซน์ต่างๆ ทำกัน จึงเกิด
เป็น Factoria ขึ้นมา เป็นที่ที่มีการรวมตัวกันของ
เพื่อนที่มีความฝันแตกต่างกัน บางคนอยากทำร้าน
อาหาร อยากทำคาเฟ่ อยากทำแกลเลอรี่ และมา
รวมตัวอยู่ด้วยกัน จึงเป็นที่มาของการเรียกสถานที่
116
117
แห่งนี้ว่า dream sharing space และยังพร้อมที่
จะเปิดพื้นที่ให้คนอื่นๆ เข้ามาแชร์ความฝันร่วมกัน
อยากทำอะไรก็มีพื้นที่ที่พร้อมจะทำให้ความฝันนั้น
เป็นจริง บางวันพื้นที่ภายใน Factoria ก็กลายเป็น
ปาร์ตี้ เป็นสถานที่จัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
เป็นที่จัดงานให้กับองค์กรต่างๆ และเป็นพื้นที่ที่
พร้อมจะเป็นอะไรก็ได้สำหรับทุกคน เป็นบทบาท
ใหม่ที่ท้าทายดีไซเนอร์เมื่อกำลังข้ามขีดจำกัดที่
คุ้นเคยอยู่กับการทำแต่งานดีไซน์ที่ตัวเองถนัด
การออกแบบ Factoria และห้องทำงานของ
Hypothesis
อาคารโกดังเก็บอะไหล่รถยนต์เก่าเป็นคำตอบของ
การสร้าง Factoria โปรแกรมใหม่ที่ Hypothesis
สร้างขึ้นด้วยความเหมาะสมสอดคล้องกับความ
ต้องการใช้พื้นที่ที่หลากหลาย เป็นโปรแกรมย่อยๆ
ที่ถูกสร้างรวมอยู่ด้วยกัน มีลานจอดรถขนาดใหญ่
พื้นที่ของอาคารเก่าแห่งนี้ที่มีความโล่งกว้าง
สามารถออกแบบการใช้พื้นที่ให้เป็นไปตาม
โปรแกรมใหม่ที่ตั้งใจไว้ ประกอบกับความชำนาญ
ในการออกแบบพื้นที่ในลักษณะที่เป็นโกดังเก่ามา
หลายโปรเจ็กต์ จึงเป็นคำตอบของการเลือกสถานที่
แห่งนี้สร้างสตูดิโอ Hypothesis ขึ้นมา พร้อมกับ
พื้นที่ร้านอาหารที่ชื่อว่า Flavour Factor มีคาเฟ่ที่
ชื่อว่า Factoria Drinkbar มีห้องประชุมให้เช่าแชร์
ใช้พื้นที่ และมี Fabrication Lab ที่มีเครื่อง CNC
Router, Fiber Laser, CO2 Laser, 3D Printer
ไว้รองรับความต้องการที่แตกต่างกัน Hypothesis
เรียกทั้งหมดนี้ให้จำง่ายๆ ว่า “แชร์ เช่า ใช้” โดย
พื้นที่ทั้งหมดถูกจัดวางไว้ชั้นล่างของโถงอาคาร
เป็นพื้นที่เปิดสาธารณะรูปตัว U โดยพื้นที่ว่างตรง
กลางเป็นพื้นที่นั่งสำหรับร้านอาหารและคาเฟ่ และ
สามารถปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม
ได้ทุกรูปแบบ ด้วยการออกแบบโต๊ะและชั้นวาง
ขนาดใหญ่ติดล้อไว้เพื่อให้ง่ายต่อเคลื่อนย้ายปรับ
เปลี่ยนให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ในรูปแบบต่างๆ
ส่วนพื้นที่ของสตูดิโอ Hypothesis ตั้งอยู่ชั้นบน
เป็นกึ่งพื้นที่สาธารณะ สำหรับดีไซเนอร์ทำงาน
และรองรับลูกค้า แต่ในขณะเดียวกัน ดีไซเนอร์ก็
สามารถลงมาทำงานในพื้นที่อื่นๆ ภายใน Factoria
ได้
โครงสร้างภายในของอาคารเก่ายังคงโครงสร้างเดิม
ไว้เช่นเดียวกับรายละเอียดร่องรอยความเก่าจาก
การใช้งาน มีเพียงการออกแบบพื้นที่ใช้งานในส่วน
ต่างๆ ที่กั้นพื้นที่ขึ้นมาในขนาดที่ต่างกัน ด้านหน้า
จากประตูชัตเตอร์แบบเดิมก็เปิดโล่งเป็นกระจก
ขนาดใหญ่ให้แสงสว่างส่องเข้าได้เต็มที่ เพิ่มความ
โปร่งโล่งให้พื้นที่ภายในทั้งหมด ช่องระบายอากาศ
ด้านบนปรับเปลี่ยนเป็นช่องแสงที่ช่วยสร้างมิติ
ของแสงให้กับพื้นที่อาคารภายในในแต่ละช่วง
เวลา เมื่อเดินขึ้นชั้นบนซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานของ
ดีไซเนอร์ก็ยังคงแนวคิดในการโชว์โครงสร้างและ
ร่องรอยเดิมๆ ดูเหมือนแทบจะไม่มีการดีไซน์
ตกแต่งอะไรเพิ่มเติมเข้าไปเลย มีการแบ่งห้องให้
ผู้เช่ารายอื่นเปิดออฟฟิศ แต่ภายในที่นั่งทำงานของ
Hypothesis เป็นพื้นที่โล่งๆ จัดวางชั้นวางของและ
โต๊ะทำงาน โต๊ะทำงานของดีไซเนอร์ก็เป็นโต๊ะพับ
แบบเรียบง่ายจากที่เคยใช้มาตั้งแต่ทำสตูดิโอ ใน
ยุคแรก เพราะสะดวกและง่ายในการเคลื่อนย้าย
ปรับเปลี่ยนผังการนั่ง ตู้และชั้นวางของใช้แบบ
สำเร็จรูปแบบคิวบิกที่สามารถเอามาต่อเพิ่มเข้าไป
ได้ หรือปรับเปลี่ยนการจัดวางได้ สีภายในเป็น
สีดำแบบเดียวกันทั้งหมด เพื่อความสะดวกในการ
ต่อเติมและควบคุมแสงจากการทำงานบนหน้าจอ
คอมพิวเตอร์ ไม่ให้เกิดการสะท้อนแสงกับภายนอก
ช่องแสงด้านบนที่เป็นช่องระบายอากาศเดิมของ
โกดัง ถูกติดฟิล์มปิดเพื่อป้องกันแสงที่ส่องเข้ามา
รบกวนการทำงาน แต่เปิดพื้นที่จั่วด้านหลังเป็น
ช่องกระจกเพื่อรับแสงสว่างและสัมผัสสีเขียวของ
ต้นไม้ภายนอก
ระบบไฟฟ้าเป็นกึ่งโมบายล์ใช้การโยงสายไฟและ
ปลั๊กไฟลงมาจากโครงสร้างคานด้านบน ง่ายต่อ
การเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งาน และสะดวกกว่า
การใช้งานที่ติดตั้งไว้ที่พื้นหรือผนัง ทำให้พื้นที่
การใช้งานภายในปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ระบบ
แอร์ได้รับการออกแบบจากวิศวกรด้านระบบปรับ
อากาศโดยตรง มีการคำนวณพื้นที่การใช้งานและ
ความสูงให้เหมาะสมต่อการใช้งานที่จะทำให้ความ
เย็นทั่วถึงและประหยัดพลังงาน โดยทำการเคลือบ
โฟมเป็นฉนวนกันความร้อนบนหลังคาทั้งหลังของ
อาคารเพื่อไม่ให้ ความร้อนเข้ามาสะสมภายใน
ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำฝ้า จึงยังคงโชว์โครงสร้าง
เดิมและกระเบื ้องหลังคาแบบเดิมไว้ได้โดยที่
ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์มาก
118
“เราไม่ได้ใช้สไตล์ในการทํางาน แต่เราใช้สมมติฐาน ซึ่ง
มันจะสร้างกรอบการทํางานให้เรา ยกตัวอย่าง เราจะ
ยิงกระต่ายสีดํา ฉะนั้นเราจะไม่ยิงกระต่ายสีขาว มีกรอบ
วิธีคิดทําให้เราตรงไปที ่ประเด็น ได้หาคําตอบใหม่ๆ สนุก
กับการทํางานดีไซน์ เราอยากจะบอกว่าเราไม่ใช่ออฟฟิศ
ที่ทําสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว ทําอินทีเรีย
ดีไซน์อย่างเดียว หรือทํา research อย่างเดียว Hypothesis
เป็น multidisciplinary design เราไม่ได้
บอกว่าทีมเราเก่งฉกาจ แต่เราทํางานร่วมกับคนเก่งๆ ที่
หลากหลาย และเราได้ความรู้จากคนเก่งๆ เหล่านั ้น”
119
แม้ว่าโซนทำงานของดีไซเนอร์อยู่ชั้นบนใกล้กับ
โครงหลังคาเดิมก็ไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนจาก
หลังคาที่เป็นกระเบื้องลอนคู่แบบเก่า ทำให้ภายใน
อาคารไม่สะสมความร้อนและไม่ต้องเปิดแอร์ทุกตัว
พร้อมกัน ใช้การเปิดสลับ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
และประหยัดพลังงาน
การแบ่งพื้นที่ภายในสตูดิโอ
พื้นที่ทำงานของดีไซเนอร์ถูกแบ่งอย่างเรียบง่าย
โดยการจัดเป็นกรุ๊ปของดีไซเนอร์ ที่ประกอบด้วย
สถาปนิก อินทีเรียดีไซเนอร์ ฝ่ายเทคนิค และ
ไดเร็คเตอร์ฝ่ายต่างๆ ทั้งหมดนั่งรวมอยู่ในพื้นที่
เดียวกัน มีพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นโต๊ะประชุม และ
พื้นที่มุมพักผ่อน โดยไม่ได้กั้นห้องแบ่งพื้นที่แต่ละ
ฝ่าย แต่มีการออกแบบม่านผ้าสีขาวไว้ใช้กั้นพื้นที่
เพื่อความเป็นส่วนตัว และใช้ควบคุมพื้นที่สำหรับ
เปิดเครื่องปรับอากาศในกรณีที่มีดีไซเนอร์ทำงาน
อยู่น้อยคน ก็ใช้ม่านกั้นพื้นที่ทำงานและเปิดแอร์
เฉพาะตัวที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ ไม่ต้องเปิดแอร์ทั้งหมด
ให้สิ้นเปลือง อีกทั้งม่านผ้าสีขาวนี้ได้ถูกออกแบบ
มาให้เปิดได้ขึงตึงเพื่อเป็นฟังก์ชั่นสำหรับการฉาย
โปรเจ็กเตอร์สำหรับพรีเซนต์งานในห้องประชุม
ที่สามารถใช้ม่านหลายด้านสำหรับเป็นฉากฉาย
โปรเจ็กเตอร์พร้อมกันหลายๆ ตัวได้ด้วย ระบบ
ม่าน ระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง จะถูกจัดวางตาม
โครงสร้างคานด้านบน ที่เป็นตัวแบ่งพื้นที่การใช้
งานโดยอัตโนมัติ การจัดวางโต๊ะทำงานก็เป็นไป
ตามระบบโครงสร้างอาคาร Hypothesis ยังมอง
ไปในอนาคตว่าพื้นการใช้งานนี้อาจจะเหลือเพียง
พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น
วันหนึ่งทีมงานอาจจะนั่งทำงานกันอยู่ที่ไหนก็ได้
ไม่จำเป็นต้องมานั่งทำงานในสตูดิโอ อีกต่อไป
เพียงแต่มีพื้นที่นัดเจอกันบ้าง หรืออาจจะทำงาน
ผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมดก็เป็นได้
แนวความคิด และสมมติฐานของ Hypothesis
Hypothesis เป็นสตูดิโอที่ทำงานดีไซน์ทั้งด้าน
สถาปัตยกรรม งานอินทีเรียดีไซน์ branding design
รวมไปถึงงาน research โดยเฉพาะเพื่อการ
ดีไซน์ต่างๆ จึงเป็นเหตุผลที่ Hypothesis ทำงาน
เป็นมากกว่าการเป็นดีไซเนอร์ด้านใดด้านหนึ่ง
เท่านั้น สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากการเป็นนักตั้งคำถาม
และสมมติฐานใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดการทดลองและได้
ความรู้ใหม่ๆ ไม่สิ้นสุด การไม่ปิดกั้นตัวเองทำให้
เปิดรับการทำงานร่วมกับทุกฝ่าย บางโปรเจ็กต์อาจ
จะรับทำงานเป็นสถาปนิก บางงานอาจทำอินทีเรีย
ดีไซน์ บางงานทำ research ให้ลูกค้าเพื่อทำ
โปรเจ็กต์ต่างๆ หรืออาจทำทั้งหมดเอง มีเพียงงาน
ในส่วนของงานระบบ, landscape, lighting design
และด้านวิศวกรรมที่ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
จากที่อื่นๆ Hypothesis ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ
ความงามในตัวงานออกแบบมากไปกว่าคุณค่าที่
เป็นมูลค่า หรือความสุขที่จะคืนกลับมาจากการ
ออกแบบสิ่งเหล่านั้น เพราะเชื่อว่างานออกแบบ
ที่ดีไม่ใช่แค่สวยแต่ต้องสร้างคุณค่าหรือมูลค่าเงิน
หรือมูลค่าความสุข กลับมาได้ด้วย ไม่ใช่แค่เป็น
งานออกแบบที่สวยแต่ไม่สามารถใช้งานแบบเดิม
อยู่ได้ ต้องเปลี่ยนการใช้งานไปเพราะไม่สามารถ
ทำเงินได้หรืออยู่แล้วไม่มีความสุข Hypothesis
จึงให้ความสำคัญกับการทำ research เพื่อหา
คำตอบให้กับโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นว่าควรเป็น
อะไร แบบไหน รูปแบบงานของ Hypothesis จึง
ไม่มีรูปแบบให้จดจำเฉพาะ ไม่จำกัดตัวเองว่าเป็น
งานออกแบบสไตล์ไหนแบบใด แต่ทุกงานจะเกิด
จากการสร้างสมมติฐานและหาคำตอบให้แต่ละ
โปรแกรมแต่ละกระบวนการ จากมิติของเวลา มิติ
ของการใช้งาน มิติของพฤติกรรมคนที่ใช้งาน จน
ท้ายที่สุดจึงนำฟอร์มเข้าไปใส่ให้เป็นรูปลักษณ์ของ
โปรเจ็กต์เหล่านั้น Hypothesis เชื่อว่าการทำงาน
ให้สวยเป็นแค่เปลือกที่ดีไซเนอร์ทำได้อยู่แล้ว แต่
สิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญที่สุดคือการออกแบบนั้น
สร้างคุณค่าและความสุขได้หรือไม่
กระบวนการทำงาน
งานออกแบบทุกโปรเจ็กต์ของ Hypothesis เริ่ม
ต้นจากการทำงาน research ก่อนเสมอ ซึ่งถือ
เป็นหัวใจหลักในการทำงาน ซึ่งกระบวนการของ
งานดีไซน์ทั้งหมดจะต้องออกมาจากคำตอบที่ได้
จากการทำ research ซึ่งจะส่งผลให้งานออกแบบ
โปรเจ็กต์เหล่านั้นมีโอกาสที่จะใช้งานได้เต็ม
ประสิทธิภาพ และมีมูลค่ามากพอที่จะคืนผลกำไร
กลับมาให้กับเจ้าของโปรเจ็กต์ ซึ่งเกิดจากการ
ทำงานในขั้นตอนการ research อย่างเข้มข้น โดย Hypothesis เรียกขั้นตอน
นี้ว่า “เฟสศูนย์” เป็นกระบวนการที่เกิดก่อนทุกขั้นตอนในการทำงานดีไซน์
อย่างเช่นโครงการ ล้ง 1919 เป็นโครงการที่ Hypothesis เริ่มกระบวนการ
ทำงานตั้งแต่การตั้งคำถามและหาคำตอบว่าสถานที่แห่งนี้ควรจะเป็นอะไร ทั้ง
ในแง่ของความเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ และการจะสร้างเพื่อพัฒนาเป็น
โปรแกรมใหม่ๆ ขึ้นมา จนนำไปสู่การออกแบบต่างๆ ออกมานำเสนอให้กับ
เจ้าของโครงการถึงความเป็นไปได้ ข้อดีข้อด้อย จุดอ่อนจุดแข็งในแต่ละรูปแบบ
เพื่อสรุปเป็นรูปแบบที่จะนำไปใช้ในการออกแบบในที่สุด ในส่วนของ
กระบวนการงานดีไซน์นั้น Hypothesis เป็นทั้งสตูดิโอสถาปนิกและสตูดิโอ
อินทีเรียดีไซน์ ทำให้กระบวนการทำงานประสานควบคู่กันไปเสมอในแต่ละ
โปรเจ็กต์ ต่างฝ่ายต่างเป็นที่ปรึกษาให้กันและกัน เพื่อให้งานออกแบบนั้น
มีความลงตัวมากที่สุดทั้งด้านสถาปัตยกรรมและงานตกแต่งภายใน หรือ
ทำงานเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้
แล้วยังรวมไปถึงการทำ branding หรือการสร้างภาพลักษณ์ ให้กับโปรเจ็กต์
หรือองค์กรต่างๆ รวมไปถึงการคิดชื่อ โลโก้ ทำกราฟิกดีไซน์ให้กับโครงการ
เหล่านั้นด้วย เรียกได้ว่าครบทุกกระบวนการทำงาน ซึ่งงานด้าน branding
ก็เกิดจากการทำ research บนพื้นฐานความเข้าใจเรื่องการตลาดและ
ประสบการณ์การทำงานด้านโฆษณาของคุณบิว รวมทั้งความสามารถใน
120
“เราทํางานจันทร์ถึงศุกร์ เรา
ไม่ทํางานเสาร์-อาทิตย์ เราคุย
กันไว้เลยว่าเสาร์-อาทิตย์เรา
จะไม่ทํางาน เราผ่านจุดที่เคย
ทํางานหนักทุกวันจนเราป่วยจน
ต้องตั้งคําถามว่าเราจะทําแบบนี้
ทําไม มันไม่เอื้อต่อสุขภาพชีวิต
เราเลย เราเลยตั้งใจกันว่าเราจะ
ทํางานให้เต็มที่จันทร์ถึงศุกร์ จะ
ลุยไซต์ จะทําอะไรดีไซน์อะไรก็
เต็มที ่ เสาร์-อาทิตย์เราจะหยุด
เพื ่อพักผ่อนตัวเอง ให้น้องๆ ไป
ใช้ชีวิต เสาร์-อาทิตย์คุณใช้ชีวิต
ให้เต็มที ่เลยนะ คุณจะไปดูดีไซน์
คุณจะไปอยู่กับครอบครัว หรือ
อะไรก็แล้วแต่ ถ้าคุณใช้ชีวิตอีก
มุมหนึ่งคุณจะเห็นมิติของการจะ
ทํางานว่าทําเพื ่ออะไร”
“ผมดูภาพรวมในส่วนของงานสถาปัตย์ทั้งหมด ดูแลน้องๆ ในทีม เวลาน้องๆ ส่งงาน
ผมจะปรึกษาหารือกับพี่บิวว่ามี feed back อะไรกลับมา ผมจะเป็นตัวกลางประสาน
กับน้องๆ อีกที บรรยากาศในการทำงานที่นี่สบายๆ ครับ เป็นออฟฟิศที่ค่อนข้างชิลล์
สถาปนิกกับอินทีเรียดีไซน์เรานั่งทำงานด้วยกันเลย เราสามารถคุยกัน หารือกัน แลก
เปลี่ยนความคิดสอบถามความเห็นกัน บางทีเราให้ทางอินทีเรียมาดูงานฝ่ายสถาปนิก
ว่ามีคำถามอะไร มาช่วยแนะนำอะไรได้บ้าง ฝ่ายสถาปนิกเองก็เข้าไปช่วยดูงานฝ่าย
อินทีเรียเหมือนกัน มันเป็นการแลกเปลี่ยนสาขาความรู้กัน ในมุมมองสถาปนิกมอง
อินทีเรียเป็นอย่างไร ในมุมมองอินทีเรีย มองงานสถาปนิกแล้วอยากเพิ่มมิติตรง
ไหน มันเป็นการทำงานที่ทำให้มีมิติที่หลากหลายขึ้น เราระดมสมองร่วมกันตั้งแต่เริ่ม
โปรเจ็กต์ เราพยายามผสานทุกองค์ประกอบเข้าหากันเพื่อให้งานไม่มีปัญหาว่าสถาปนิก
ทำมาแล้วอินทีเรียทำงานต่อไม่ได้ อินทีเรียอยากเจาะตรงนี้แล้วสถาปนิกบอกเจาะไม่ได้
มันไม่ได้ออกแบบมาให้เจาะ อะไรแบบนี้ เราเลยทำกระบวนการนี้ตั้งแต่ต้นเลยเพื่อให้
งานมันราบรื่นขึ้น”
121
เชิงการบริหารธุรกิจและออกแบบตกแต่ง รวมถึง
พร็อพต่างๆ ของคุณกอล์ฟ ทำให้เป็นจุดแข็งของ
Hypothesis มีมุมมองในมิติที่หลากหลายมากกว่า
งานออกแบบอย่างเดียว
เครื่องมือของ Hypothesis
เฟสศูนย์ หรือ research เป็นเครื่องมือสำคัญของ
การทำงานให้ประสบความสำเร็จของ Hypothesis
จากความเป็นนักตั้งคำถาม นักค้นคว้าทดลอง
เรียนรู้ศาสตร์ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ตัวเอง
เรียนรู้ทดลองสิ่งใหม่ๆ จึงกลายเป็นจุดแข็งที่ทำให้
งานดีไซน์ต่างๆ ตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้ชัดเจน
และมากกว่าความต้องการสร้างอาคารสวยๆ ขึ้น
มา แต่ผลจากการ research นั้นทำให้เกิดการ
สร้าง branding นำไปสู่การออกแบบที่ตอบโจทย์
การใช้งานอย่างแท้จริง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีชีวิต
สร้างมูลค่า สร้างความสุขได้ นอกจากนี้ Hypothesis
เป็นนักลงทุนเองด้วย โดยเริ่มจากการลงทุน
ทำ Factoria และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจ
ทั้งที่ออกแบบเองและที่ต่างๆ ไว้เป็นการเก็งกำไร
ความเป็น multi business design กำลังเป็นนิยาม
ใหม่ของ Hypothesis
พลสิทธิ์ แซ่เฮ้ง
Associate /
Senior Architect
ภัทริกา ท่าห้อง
Senior Interior Designer
“Senior Project Manager จะดูแลในส่วนภาพ
รวมของโปรดักชั่นทั้งหมดเลยและโปรดักชั่นใน
ส่วนของหน้างานด้วย การทำงานก็จะมีในส่วน
ของ development ด้วย การพัฒนาแบบก็จะ
ทำงานร่วมกันกับน้องๆ อินทีเรียดีไซเนอร์และ
สถาปนิก บรรยากาศการทำงานโดยรวมๆ อบอุ่น
ดีครับ เป็นพี่เป็นน้อง คุยกันในส่วนของการ
ทำงานเพื่อให้งานออกมาตามเป้าหมาย ในส่วน
ของผมเองจะดูในส่วนของแผนงานเป็นส่วนใหญ่
ในส่วนของออฟฟิศชอบความเป็นโกดังที่เป็นของ
เก่าของเดิมอยู่แล้ว ชอบสเปซที่นี่มาก”
สมเกียรติ นาคฤกษ์
Project Coordinator
“Senior Interior Designer จะใช้ประสบการณ์
ดูแลน้องๆ ว่าขั้นตอนนี้เราควรทำอะไรไป
พรีเซนต์ จากขั้นตอนนี้ต้องทำอะไรต่อไป เพื่อ
ให้งานมัน flow มากขึ้น ด้วยความที่เราเป็น
บริษัทขนาดกลางมีพนักงานเกือบ 15 คน ก็ได้
ทำงานร่วมกับทุกคนเลย ในงานโปรเจ็กต์ที่เราได้
ทำทั้งงานอินทีเรียและงานสถาปัตยกรรมรวมถึง
พี่ๆ ฝ่ายเทคนิคด้วยค่ะ ส่วนบรรยากาศในการ
ทำงานที่นี่ รู้สึกโชคดีที่ได้มาทำงานที่นี่เพราะ
ความที่เป็นโฮมออฟฟิศมาก่อนก็รู้สึกถึงความ
เป็นครอบครัวเป็นบ้านเป็นพี่เป็นน้อง ทำให้เรา
แฮปปี้กับการทำงาน”
มานพ พวงบุรี
Associate /
Senior Design Developed
“ทำงานที่ Hypothesis มาสองปีกว่าแล้ว ดูแล
ในส่วนของการประสานงานทั้งหมด ตั้งแต่ได้รับ
งานโปรเจ็กต์ใหม่มา เราก็จะติดต่อประสานกับ
ลูกค้าในส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในขั้นตอนงาน
ดีไซน์มีคอมเมนต์อะไรเราก็มีหน้าที่ประสานกับ
ลูกค้าและบริษัทต่างๆ ให้เข้าใจตรงกัน ไปจนถึง
ขั้นตอนก่อสร้างที่เรายังต้องเป็น customer
service ที่ยังดูแลลูกค้า ติดต่อประสานงานหน้า
งานทั้งหมดให้งานจบเรียบร้อย เป็นงานที่ต้อง
สัมพันธ์กับทุกคนตั้งแต่ต้นจนจบเลย บรรยากาศ
ในออฟฟิศเราก็เป็นกันเองกับทุกคนในออฟฟิศ
เพราะเป็นความร่วมมือกัน ตั้งแต่ต้นจนจบ ใน
เรื่องการประสานงานกับลูกค้าเราก็เหมือนเป็น
ตัวแทนของบริษัทไปในตัว เราต้องทำให้ลูกค้า
มั่นใจ และเราก็ต้องเป็นตัวแทนของพี่กอล์ฟ
พี่บิวได้ในบางโอกาส ทำงานที่นี่มีความสุขในการ
ทำงานทุกๆ วันค่ะ”
ผลงานของ Hypothesis
ผลงานของ Hypothsis ในปัจจุบันเป็นงาน
ด้านการออกแบบตกแต่งภายในมีสัดส่วน
เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ของงานทั้งหมด งาน
ด้านสถาปัตยกรรมมีสัดส่วนประมาณ 40
เปอร์เซ็นต์ และอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นงาน
ด้าน research อย่างเดียวโดยเฉพาะ เหตุผล
ที่งานด้านอินทีเรียดีไซน์มีสัดส่วนมากกว่า
เนื่องจากปริมาณของงานที่เกิดจาก การ
สร้างโปรเจ็กต์ใหม่และปรับปรุงโปรเจ็กต์เดิม
ใหม่มีจำนวนมาก และมีรอบระยะเวลาของ
การทำงานสั้น ได้ผลตอบแทนเร็ว ต่างจาก
งานด้านสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นงานที่ใช้ระยะ
เวลาในการออกแบบนานเป็นงานที่ต้องใช้
เงินในการก่อสร้างสูง การตัดสินใจของลูกค้า
ทำได้ยากกว่า จึงมีสัดส่วนงานที่น้อยลงมา
รูปแบบงานของ Hypothesis ส่วนใหญ่เป็น
งานโรงแรมที่มีปริมาณเยอะที่สุด ทั้งงาน
สถาปัตยกรรมและงานออกแบบภายใน รวม
ร้านอาหาร โครงการต่างๆ ส่วนงานบ้านมี
สัดส่วนที่น้อย และ Hypothesis ออกตัว
ว่าไม่ได้รับออกแบบบ้านให้ทุกคน แต่เลือก
เฉพาะคนที่สนิทกันมาก หรือต้องมีเคมีบาง
อย่างตรงกัน มีโจทย์ที่ท้าทายถึงจะทำให้
เรียกได้ว่า ได้งานพรีเมี่ยมจริงๆ หากใครได้
Hypothesis ออกแบบให้ โดยที่ไม่ได้เลือกว่า
ขนาดจะเล็กหรือใหญ่ กำไรมากหรือน้อย ขอ
แค่ให้สนใจอยากทำ ก็ทำให้เต็มที่ ผลงานที่
โดดเด่นของ Hypothesis ได้แก่ Vinotto ผลงาน
122
ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Hypothesis ที่ถูกดีไซน์เป็นสนิมภายใต้คอนเซ็ปต์ทำตึก
ให้น่าเกลียด เก่าตั้งแต่วันแรกที่สร้างทุกวันนี้ก็ยังอยู่เก่าเหมือนเดิม ออฟฟิศ
รามคำแหง 30 ที่ออกแบบให้เข้ากับเสาไฟฟ้าและหม้อแปลงขนาดใหญ่ที่ตั้ง
อยู่ด้านหน้าอาคาร พื้นผิวอาคารจะเหมือนเสาไฟฟ้า ระบบจะออกมาโชว์
ข้างนอกให้เหมือนกับสายไฟฟ้าข้างนอก IR-ON Hotel งานตกแต่งจากเศษ
เหล็ก Vivarium ผลงานที่เกิดจากการตั้งสมมติฐานงานจากการเอาขยะมา
ทำงาน ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดระดับนานาชาติมาทั้งคู่ นอกจากนี้ยัง
มีผลงานแนว luxury อย่าง Tee-Off House และ Navamin Residence ซึ่ง
แต่ละผลงานมีความโดดเด่นเฉพาะตัว และแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง จาก
กระบวนการทำงาน การตั้งคำถามและหาคำตอบเพื่อตอบโจทย์ให้กับแต่ละ
ผลงานออกมาได้อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ไทม์ไลน์ในการทำงานแต่ละโปรเจ็กต์ของ Hypothesis
โดยแต่ละกระบวนการทำงานมีสัดส่วนเวลาประมาณ 1-4 เดือน ในแต่ละ
ขั้นตอน ตั้งแต่ research หรือ เฟสศูนย์ ขั้นตอนการออกแบบจะต้องนำเสนอ
กับลูกค้าทุกสัปดาห์ รวมระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ไปจนถึงการพัฒนา
แบบเพื่อการก่อสร้างจริง ระหว่างกระบวนการก่อสร้างฝ่ายเทคนิคจะเป็นคน
บอกว่า ช่วงไหนควรเข้าไปตรวจไซต์งาน เพื่อให้งานไม่ผิดพลาดไปจากแบบ
โดยแต่ละโปรเจ็กต์มีระยะเวลาในการทำงานไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดและ
กระบวนการทำงานที่ต้องสัมพันธ์กับลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ งานที่เร็ว
ที่สุดที่เคยออกแบบคือ 3 อาทิตย์ เป็นงานออกแบบร้านค้าในห้างสรรพสินค้า
123
ทีมงาน
ปัจจุบัน Hypothesis มีทีมงานรวมกัน 15 คน โดย
แบ่งเป็น สถาปนิก 4 คน อินทีเรียดีไซเนอร์ 7 คน
ฝ่ายเทคนิค และ Coordinator 2 คน ฝ่ายธุรการ
และบริหาร 2 คนสัดส่วนของสถาปนิกและอินทีเรีย
ดีไซเนอร์จะปรับเปลี่ยนไปตามปริมาณงานใน
แต่ละช่วง ฝ่ายเทคนิคคือสถาปนิกและดีไซเนอร์
ที่มีความเข้าใจเรื่องงานดีไซน์และโครงสร้างงาน
ออกแบบก่อสร้าง บอกได้ว่าอะไรสร้างได้จริง
อย่างไร ต้องปรับแก้อะไรเพื่อให้เกิดการสร้างได้
จริง โดยจะทำงานกับทั้งสถาปนิกและอินทีเรียดี
ไซเนอร์ เป็นนักพัฒนาแบบและทำ specification
book ให้แต่ละโปรเจ็กต์ ทีมงานแต่ละฝ่ายทั้ง
ด้านสถาปัตยกรรม อินทีเรีย และ research จะ
มีไดเร็คเตอร์ ดูแล มีซีเนียร์แต่ละฝ่ายดูแลทีมที่
เป็นจูเนียร์อีกที งานออกแบบจากจูเนียร์จะผ่าน
การตรวจจากซีเนียร์ก่อนนำไปประชุมร่วมกับ
ไดเร็คเตอร์เพื่อสรุปและปรับแก้ ซึ่งจะทำให้งาน
เป็นระบบและรวดเร็วขึ้น ทีมงานของ Hypothesis
ทำงานร่วมกันทั้งหมด ทั้งในโปรเจ็กต์ที่เป็นงาน
ด้านสถาปัตยกรรมและออกแบบตกแต่งภายใน
โดยต่างก็เป็นที่ปรึกษาให้กันและกันเพื่อให้งาน
ดีไซน์โปรเจ็กต์ต่างๆ ออกมามีความสมบูรณ์ทั้ง
ฟังก์ชั่นของสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์ตกแต่ง
ภายใน ไม่มีปัญหาในการใช้งานที่ไม่สมดุลกัน ที่
อาจจะนำไปสู่การต้องปรับเปลี่ยนโยกย้ายฟังก์ชัน
การใช้งานทำให้รูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมเสียไป
การคัดเลือกทีมงาน
ทัศนคติที่ดีและความหลงใหลในวิชาชีพ เป็นตัว
เลือกอันดับแรกในการคัดสรรทีมงานของ Hypothesis
ในขณะที่ความสามารถนั้น Hypothesis
เชื่อว่าทีมงานสามารถทำให้เกิดการพัฒนาไป
ด้วยกันได้ แต่ทัศนคติที่ไม่ดีอาจจะทำให้ทีมไม่
สามารถทำงานให้สำเร็จลงได้ ความหลงใหลที่
จะเป็นดีไซเนอร์นั้นก็จะส่งผลให้เกิดความมุ่งมั่น
กระตือรือร้นที่จะทำงาน สร้างสรรค์ผลงานที่ดี
ออกมาตลอดเวลา ส่วนการวางตำแหน่งที่นั่งของ
ทีมงานนั้นใช้หลักทางโหราศาสตร์ตามธาตุของ
ฮวงจุ้ย แต่ละคน ว่าใครเหมาะสมที่จะนั่งตรง
ไหน นั่งกับใคร นั่งด้วยกันแล้วทำให้งานราบรื่น
ไม่กระทบกระทั่งกัน ส่งผลให้งานติดขัด ซึ่งเรื่องนี้
Hypothesis ก็ยืนยันเหตุผลด้วยการตั้งสมมติฐาน
และทดลองมาตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีใน
การทำงาน โดยมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ดูจาก
อุปนิสัยของแต่ละคนควบคู่กันไป ซึ่งพิสูจน์แล้วก็
มีความสอดคล้องกัน
เวลาในการทำงาน
Hypothesis เริ่มต้นเวลาทำงาน 10 โมงเช้า เลิก
งาน 1 ทุ่ม แต่ส่วนใหญ่เวลาเลิกงานของดีไซเนอร์
ก็มักจะเลยเวลาไปเสมอ แต่กติกาที่ชัดเจนในการ
ทำงานคือทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ให้เต็มที่และไม่มี
การทำงานวันเสาร์-อาทิตย์โดยเด็ดขาด เพราะ
ถือว่าเป็นเวลาที่จะได้พักผ่อนและใช้ชีวิตทำสิ่งอื่นๆ
ต่อให้มีงานด่วนแค่ไหนก็ไม่มีการเรียกทีมงานมา
ทำงานวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันจันทร์จะเป็นวันที่
ประชุมร่วมกัน เพื่อวางแผนการทำงาน วันอังคาร
ถึงศุกร์จะเรียกว่าเป็น design weekly เป็นระบบ
ที่วางแผนไว้ในแต่ละฝ่ายแต่ละโปรเจ็กต์ตรวจ
สอบตารางการทำงานว่าต้อง ทำอะไรบ้าง อยู่ใน
ขั้นตอนไหน ใครรับผิดชอบ มีรายงานอะไรบ้าง
เป็นระบบที่ออกแบบให้งานสามารถขับเคลื่อนไป
อย่างมีระบบและสามารถเข้าไปทำงานทดแทนกัน
ได้ตลอดเวลา
เป้าหมายและสมมติฐานใหม่ๆ ที่อยากทำ
เป้าหมายในการทำงานคือความสุข ที่จะยังได้
ทำงานต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ยึดติดกับความ
เป็น Hypothesis ไม่ได้คาดหวังจะต้องทำงาน
ด้านสถาปัตยกรรมหรืองานออกแบบตกแต่ง
ภายในไปตลอด ไม่ได้อยากทำงานเพียงเพื่อได้
เงินมากๆ แต่อยากได้ทำและทดลองอะไรใหม่ๆ
อยากมีโอกาสได้ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้องๆ
องค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จะได้ต่อยอดความรู้
จากที่สั่งสมไว้ตลอดเวลาของการทำงานที ่ผ่าน
มา อยากใช้ความรู้ที่เกิดจากการตั้งสมมติฐาน
ทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกิดเป็นทฤษฎีใหม่ๆ ให้
เกิดการนำไปใช้ต่อ งานเขียนคู่มือเป็นองค์ความรู้
ให้กับองค์กรต่างๆ จึงเป็นอีกหนึ่งความสุขและ
ความภาคภูมิใจที่ได้ทำ นำไปสู่ความคิดที่อยาก
ทำ Academy หรือ สถาบันด้านการออกแบบขั้น
สูง เป็นสมมติฐานใหม่ที่ Hypothesis อยากทำ
อยากสร้างให้เกิดการเชื่อมโยงกันระหว่างนักศึกษาที่เพิ่งเรียนจบกับดีไซเนอร์
มืออาชีพ ที่จะได้มีโอกาสทำงานร่วมกันในรูปแบบ Academy โดยมีโปรเจ็กต์
จากลูกค้ามาให้ทำงานจริง โดยมีดีไซเนอร์มืออาชีพเก่งๆ มาเป็นโค้ชให้ ไม่ใช่
แค่การฝึกงาน การฝึกงานอาจจะช่วยให้ได้รู้ได้เห็นกระบวนการทำงานต่างๆ
ได้รู้จักตัวเอง แต่ยังไม่ได้ลงมือทำแบบจริงจัง แต่ใน Academy จะได้เห็น
และลงมือทำในทุกกระบวนการทำงานอย่างแท้จริง ลูกค้าก็จะได้มีแบบงาน
ดีไซน์มากมายจากนักศึกษาที่อยู่ใน Academy ให้เลือกเป็นการประกวดแบบ
โดยที่มั่นใจได้ว่าจากแบบที่ออกมาจะได้งานคุณภาพดีเพราะมีโค้ชที่เป็น
มืออาชีพดูแล คนที่ชนะในการประกวดแบบอาจจะได้เรียนฟรี หรือได้ทุน
การศึกษา คนอื่นๆ ก็จะมาเป็นทีมที่ช่วยกันทำงานโปรเจ็กต์นั้นจนสำเร็จ
เป็นการลดช่องว่างระหว่างการเป็นนักศึกษาจบใหม่กับความเป็นดีไซเนอร์
มืออาชีพลง
ซึ่งส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านโอกาสที่นักศึกษาจบใหม่จะได้ไปทำงานใน
สตูดิโอใหญ่ๆ เพราะไม่มีประสบการณ์ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่อยากทำให้เกิดขึ้น
ได้จริง หรือใครที่อยากเห็นไอเดียนี้เกิดขึ้นจริงจะนำไปทำก็ได้
ฝากถึงน้องๆ ที่อยากทำสตูดิโอ
Hypothesis ฝากข้อคิดถึงน้องๆ ที่อยากทำสตูดิโอของตัวเอง ว่าการเปิด
สตูดิโอต้องมีความรู้ทั้งเรื่องดีไซน์และการบริหารธุรกิจด้วย ต้องรู้จักบริหาร
เงิน รู้จักต้นทุน กำไร และการลงทุน ถ้าไม่มีความรู้ด้านนี้ก็ควรหาเพื่อนหรือ
ผู้ร่วมลงทุนที่เข้าใจเรื่องเหล่านี้มาร่วมงานด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้การ
เข้าถึงงานดีไซน์มันทำได้ง่าย การสร้างสตูดิโอไม่จำเป็นต้องลงทุนมาก ไม่ต้อง
อยู่ในทำเลดีๆ แพงๆ ตกแต่งหรูหราสวยงาม
เพราะสิ่งเหล่านั้นคือต้นทุนที ่มีมูลค่าสูงอาจเป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่าเกิน
ไป หากไม่ต้องจ่ายต้นทุนเหล่านั้นก็จะมีเงินเหลือมากขึ้น อาจนำไปสร้าง
ประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า และหากตั้งสตูดิโอขึ้นมาแล้วไม่อยากให้ทำงาน
ที่คิดแต่ผลกำไรขาดทุน ซึ่งอาจจะไม่สร้างความยั่งยืนในวิชาชีพเท่ากับการ
ทำงานที่มีคุณภาพดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยจิตวิญญาณของคนทำงานบริการ
มืออาชีพ เพราะสิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นตัวอย่างให้กับรุ่นน้องต่อๆ ไป
124
Hypothesis
Organization
Diagram
Architect
พลสิทธิ์ แซ่เฮ้ง
Senior Architect
ฐิติพร ตรีเทพวิไล
Junior Architect
สุวรรณ สัจจพันธคีรี
Junior Architect
มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา
Design Director
/ Architect
125
พลสิทธิ์ แซ่เฮ้ง
Associate /
Senior Architect
Interior
Designer
ภัทริกา ท่าห้อง
Senior Interior Designer
เจษฎา เตลัมพุสุทธิ์
Managing Director
ชัญญา กิตติกัลป์ ชนสรณ์ ยอดเยี่ยมยุทธ์
Junior Interior Designer Junior Interior Designer
ศกานต์ หอมสุคนธ์ พิมพิกา พงสาภิวัฒน์
Junior Interior Designer Junior Interior Designer
จิรายุ ประภาศรีวรกุล
Junior Interior Designer
Design
Developed
มานพ พวงบุรี
Senior Design Developed
เจษฎา เตลัมพุสุทธิ์
Design Director
มานพ พวงบุรี
Associate /
Senior Design
Developed
Coordinator
สมเกียรติ นาคฤกษ์
Project Coordinator
Manager/
Account
ทัศพร เตลัมพุสุทธิ์
Executive Manager
ณิชชารีย์ พงษ์อมรรัตน์
Administrator
International Architect
การส่งต่อทางความคิด
ผ่านชีวิตสถาปนิก:
อาราตะ อิโซซากิ
Kitakyushu Municipal Museum
of Art (1974) การ
แปลความวิหารแนว cathedral
ด้วยเทคนิควิธีแบบเอ็กซ์เพรส-
ชันนิสต์ในสถาปัตยกรรม
อาราตะ อิโซซากิ
สถาปนิก
จากนักวาดตัวน้อยในกลุ่มศิลปินรุ่นเยาว์ที่
ไม่รู้จักสถาปัตยกรรมศาสตร์และอยากเรียน
ดาราศาสตร์ แต่ด้วยยุคสมัยที่ประเทศต้องการ
บุคลากรสายวิศวกรรม ทำให้หนุ่มน้อยคนนั้น
สอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์และเลือกเรียนภาค
วิชาสถาปัตยกรรมในที่สุด การเรียนช่วงแรกไม่
ตรงใจนัก เขาจึงอ่านหนังสือด้วยตัวเองและนั่น
ทำให้ ถ้อยคำของ เลอ คอร์บูซิเยร์ ที่ว่า “The
Acropolis made me a rebel” กลายเป็นประโยค
ที่จุดประกายความคิด ข้อถกเถียงท้าทายในการ
ออกแบบสถาปัตยกรรม ของสถาปนิกชาวญี่ปุ่น
นามว่า อาราตะ อิโซซากิ (Arata Isozaki) ผู้ที่ได้
รับรางวัล Pritzker Architecture Prize ปีนี้
ในช่วงแรกของวัยเรียน เขาจดจ่อกับแนวคิดปฏิวัติ
ของ เลอ คอร์บูซิเยร์ และ ออสการ์ นิวไมเออร์
และเมื่อได้พบกับอาจารย์เคนโซ ทังเกะ ผู้ที่
ยืนหยัดกล่าวถึงทฤษฎีออกแบบและผังเมือง
ท่ามกลางกระแสนิยมเชิงเทคโนโลยี เขาจึงตัดสินใจ
เลือกเรียนในห้องวิจัยของอาจารย์ทังเกะ จนถึง
ระดับบัณทิตวิทยาลัย และได้ทำงานในออฟฟิศของ
อาจารย์ทังเกะ ในเวลาต่อมา และใน laboratory
นั้นเอง เขาก็ได้พบวิธีปฏิวัติต่อชิคาโกสไตล์ในแบบ
ที่อ่อนโยนของ แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์
Text: สิริพร ด่านสกุล/ Siriporn Dansakun
Photo: Courtesy of Arata Isozaki & Associates,
Koji Umeoka, Tadafumi Masuda,
Ryusuke Kamano, Motoyoshi Sano, Yoshihiro Fukai
จากการศึกษาแนวคิดปฏิวัตินิยมของสถาปนิก
4 แบบ อิโซซากิคิดว่าช่วงวัยยี่สิบกว่าๆ คือวัยที่
สถาปนิกควรมีประเด็นบ่มเพาะความคิดเพราะ
มันจะมีผลต่อชีวิตการทำงาน และเมื่อเข้าสู่วัย
ทำงาน เขาตระหนักเสมอว่าจะพาตัวเองออกจาก
กรอบเดิมๆ และเมื่อแยกออกมาตั้งบริษัทเอง เขา
ก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะค้นหาสิ่งใหม่ สร้างสิ่งที่ตนเองคาด
126 127
ไม่ถึง จะสร้างสิ่งที่ตนไม่เคยคิดว่างามมาก่อน และ
จะต้องไม่ถูกฉุดรั้งไว้ด้วยมาตรวัดความงามในอดีต
ในวัยหนุ่ม อิโซซากิใช้ชีวิตในตอนกลางวันในฐานะ
สถาปนิก และในตอนกลางคืน ก็รวมกลุ่มกับเพื่อน
ศิลปินนักเคลื่อนไหว ผลงานชิ้นแรกที่สร้างในนาม
ของเขาคือ Shinjuku White House เป็นบ้านเพื่อน
ที่ใช้เคลื่อนไหวเชิงศิลปะดาดาอิซึ่ม (Dadaism
movement) ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่เขาได้รับมอบ
หมายให้เขียนแปลน/ผังเมืองของกรุงโตเกียว เป็น
เมืองแห่งความใฝ่ฝันแห่งศตวรรษ 1960 และนั่น
คือจุดกำเนิดทฤษฎี “City in the Air” ที่จงใจสร้าง
โครงสร้างยักษ์ลอยฟ้าและตัดขาดกับเส้นทางของ
เมืองรอบๆ มันเป็นสถาปัตยกรรมที่ต่อต้านทฤษฎี
ผังเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนภาวะเมืองที่
ย้อนแย้งทางความสัมพันธ์ในสังคมขณะนั้น
เมื่อตั้งบริษัทของตนเอง เขาก็ทำในสิ่งใหม่ๆ ที่ย้อน
แย้งกับมาสเตอร์ทุกคนที่เขาเคยศึกษามา รวมไป
ถึงแนวทางของอาจารย์ทังเกะ ที่เขาอยู่ด้วยร่วม
10 ปี เขาเชื่อว่า ความจริงมีหลากหลาย แต่การ
จะถกเถียงสิ่งใดได้เราต้องเข้าถึงสิ่งนั้นก่อน ภายใต้
แววตาที่อ่อนโยนและวิธีพูดที่สุขุมนั้น เขาวาง
ตำแหน่งและหน้าที่ของตนเองในฐานะสถาปนิก
นักขับเคลื่อนสังคม ด้วยงานออกแบบที่มีการศึกษา
ประเด็นใหม่ๆ แต่ก็ส่งสารในเชิงการถกเถียงไป
พร้อมๆ กัน
อิโซซากิมีอิทธิพลในการเผยแพร่ความคิดในเชิง
ทฤษฎีผ่านหนังสือต่างๆ ของเขา และทุกวันนี้ยังคง
มีสถาปนิก และนักปรัชญาจากทั่วโลกข้ามน้ำข้าม
ทะเลไปพบเขาและคุยเรื่องของ ma หรือ ห้วงแห่ง
ที่ว่าง อย่างสม่ำเสมอ หนังสือเล่มแรกที่เขาภูมิใจ
คือหนังสือเรื่อง สู่ห้วงแห่งที่ว่าง และหนังสือที่ได้
รับการยอมรับในต่างประเทศคือ ความเป็นญี่ปุ่น
ในหนังสือของอิโซซากิ มีการอ้างอิงประวัติศาสตร์
ทฤษฎี ความเกี่ยวข้องของบุคคลเบื้องหลังตำนาน
แห่งสถาปัตยกรรม พร้อมแทรกแนวคิดที่สวน
กระแส เขาตีความทฤษฎีด้วยวิทยาศาสตร์การ
รับรู้ผ่านตัวละครในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
วิเคราะห์วิจารณ์ด้วยสำนวนจิกกัดและเผ็ดร้อน
ในขณะเดียวกัน ก็คบหากับกลุ่มศิลปินที่มีการ
เคลื่อนไหวเชิงปฏิวัติอย่างสม่ำเสมอ โดยหนึ่งใน
นักเขียนที่เขายอมรับว่ามีความเข้าใจในมิติของ
มนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง คือ จุนอิจิโร่ ทานิซากิ ผู้เขียน
หนังสือ เยิรเงาสลัว
นอกจากนั้นเขายังนำเสนอแนวคิดด้วยการจัด
นิทรรศการนิยามคำว่า ma ในกรุงปารีสอีกด้วย
และเมื่อคราวเป็นตัวแทนจัดนิทรรศการในงาน
เอ็กซ์โป เขาก็ได้เชิญ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
ไปร่วมจัดแสดง ในฐานะนักออกแบบไทยที่มีสาส์น
ทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ
“สถาปัตยกรรมคือปรากฏการณ์” อิโซซากิกล่าว
เขาเชื่อว่าเมื่อเขาสร้างความจริงชุดใหม่มา
ทลายกรอบเก่า มันจะเกิดกรอบใหม่ และเขา
ต้องการทลายกรอบเหล่านั้นต่อไปเรื่อยๆ ทำให้
สถาปัตยกรรมทุกชิ้นมีความเปลี ่ยนแปลงไปตาม
กรอบความคิดใหม่ ที่เขาพยายามทำให้หลุดพ้น
จากกรอบคิดเก่า และแน่นอนว่า ยังคงแทรก
อารมณ์จิกกัดในการออกแบบเชิงตั้งคำถามให้
สังคมได้ถกเถียงกันอยู่เสมอ สถาปัตยกรรม
ของเขาจึงเป็นเหมือนปรากฏการณ์ที่ก่อตัวขึ้นใน
จังหวะนั้นๆ และขณะเดียวกันก็สื่อสาร/ส่ง
ข้อความอันรุนแรงออกสู่สังคม ดั่งงานศิลปะ
ของกลุ่มศิลปินที่รายล้อมตัวเขามาตั้งแต่เด็ก
จนโตนั่นเอง
อิโซซากิเติบโตผ่านการล่มสลายของเมืองในช่วง
สงครามโลก ศึกษาสถาปัตยกรรมผ่านจินตภาพใน
หนังสือ เรียนรู้วิธีการส่งสารและยืนหยัดในความ
คิดผ่านการทำงานของสถาปนิกและนักเคลื่อนไหว
ทางศิลปะรอบๆ ตัว และเขาเองก็เป็นผู้ส่งสารแห่ง
แนวคิด สู่ผู้คนและวงการตลอดระยะเวลาแห่งการ
ทำงานในโลกสถาปัตยกรรม
และสำหรับการค้นหาอัตลักษณ์ของที่ว่าง ไม่ว่า
จะความเป็นญี่ปุ่น หรือความเป็นไทย เพื่อจะหา
ทางออกของสถาปัตยกรรมแต่ละประเทศนั้น อิโซ-
ซากิได้ให้ความเห็นไว้ว่า “มันอยู่ที่วิธีจัดการ การ
ปะทะของวัฒนธรรมเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอด
เวลาในทุกยุคสมัย เราไม่สามารถเอาตัวอย่าง
ประเทศไหนไปใช้กับประเทศไหนได้ เพราะวิธี
การไขไปสู่คำตอบมันเกิดจากปรากฏการณ์หลายๆ
แกนในสังคม ที่ก่อรูปสถาปัตยกรรมในยุคเปลี่ยน
ผ่านนั้นๆ”
128 129
Shinjuku White House
(1957) งานออกแบบชิ้น
แรกของ อิโซซากิ ที่กลาย
มาเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวทาง
ประวัติศาสตร์ของศิลปะดาดา-
อิซึ่มในญี่ปุ่น ปัจจุบันเปิดเป็น
ร้านกาแฟ สามารถเข้าไป
เยี่ยมชมได้
Shizuoka GRANSHIP
(1999) เรือยักษ์แห่งวัฒน-
ธรรมเป็นสัญญะแห่งการ
เริ่มต้นใหม่ในการฟื้นฟูเมือง
ชิสุโอกะ
What Architect Think?
ล้ง 1919
และการอนุรักษ์เพื่อ
ให้คงไว้ซึ ่งคุณค่า
ทางสถาปัตยกรรม
Text: วีรภา ดำสนิท / Weerapa Dumsanit
Photo: Courtesy of PIA
ถอดรหัสการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย - จีน
ของท่าเรือกลไฟที่มีอายุเกือบ 200 ปี กับการ
บูรณะอย่างเข้มข้น
ฮวย จุ่ง ล้ง คือชื่อของท่าเรือกลไฟริมแม่น้ำ
เจ้าพระยาในอดีต หนึ่งในความสำคัญทาง
ประวัติศาสตร์ที่ยังคงอยู่เดิมเป็นของพระยาพิศาล
ศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) ชาวจีนที่เกิดบนแผ่นดิน
ไทย สมัยก่อนชาวจีนที่โล้สำเภาจากแดนมังกรจะ
มาขึ้นฝั่งและเหยียบแผ่นดินสยามครั้งแรกที่ฮวย
จุ่ง ล้ง ที่นี่จึงนับเป็นศูนย์รวมการค้าของชุมชนชาว
จีนโพ้นทะเลที่คึกคัก
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2462
(ค.ศ. 1919) “นายตัน ลิบ บ๊วย” ทายาทตระกูล
หวั่งหลี ได้เข้ามารับช่วงเป็นเจ้าของต่อจาก
ตระกูลพิศาลบุตร ประกอบกับเมื่อมีท่าเรือแห่ง
ประเทศไทย (ท่าเรือคลองเตย) ทำให้ท่าเรือกลไฟ
แห่งนี้ค่อยๆ ลดความสำคัญลง ตระกูลหวั ่งหลี
จึงใช้สถานที่แห่งนี้เป็นโกดังเก็บสินค้าของตระกูล
และเป็นบ้านพักอาศัยของหลงจู๊และคนงานนับ
ร้อยมายาวนาน
ตลอด 30 ปีที่คุณเปี๊ยะ - รุจิราภรณ์ หวั่งหลี ผู้
ก่อตั้ง บริษัท PIA Interior สะใภ้ทายาทตระกูล
หวั ่งหลีรุ่นที่ 4 เดินทางมาไหว้บรรพบุรุษ เธอ
มองเห็นอาคารผ่านร้อนผ่านฝนและเสื่อมโทรม
ตามกาลเวลา รู้สึกเหมือนว่าที่นี่เป็น ‘เพื่อนเก่า
ที่มากด้วยเรื่องราวแต่กำลังจะถูกลืม’ จึงเกิดเป็น
แรงบันดาลใจที่จะอนุรักษ์และบูรณะพื้นที่สำคัญ
ทางประวัติศาสตร์ของตระกูล เพื่อรักษาไว้ให้คน
รุ่นหลัง
รุจิราภรณ์ หวั่งหลี
ผู้ก่อตั้ง
บริษัท PIA Interior
“ล้งคืออาคารโบราณที่ต้องบูรณะ โดยใช้ตรรกะความ
เรียบง่าย แต่ให้ความสําคัญต่องานสถาปัตยกรรมเดิม
ให้คงไว้ และยังต้องคํานึงถึงความแข็งแรงของทั ้ง
โครงสร้างและตัวอาคาร”
130
131
สถาปัตยกรรมแบบจีน ซาน เหอ หยวน
ล้งนับว่าเป็นอาคารแห่งเดียวในกรุงเทพฯ ที่ยังหลง
เหลือรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบซาน เหอ หยวน
นั่นคือ ลักษณะอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกัน 3 ด้าน
เป็นผังรูปตัว U พื้นที่ว่างตรงกลางระหว่างอาคาร
ทั้ง 3 หลังเป็นลานอเนกประสงค์ตามความเชื่อที่
ว่าให้ฟ้าดินเชื่อมถึงกัน ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน
โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้สัก ตั้งแต่ฐานราก,
พื้น, ระเบียง รวมถึงโครงหลังคา ส่วนหลังคา
มุงกระเบื้องเคลือบ อาคารหลักที่ขนานกับ
แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว
(เทพเจ้าผู้หญิงที่เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีน
โพ้นทะเล)
“ล้งคืออาคารโบราณ ที่ต้องบูรณะ โดยใช้
ตรรกะความเรียบง่าย แต่ให้ความสำคัญต่องาน
สถาปัตยกรรมเดิมให้คงไว้ และยังต้องคำนึงถึง
ความแข็งแรงของทั้งโครงสร้างและตัวอาคาร
“แม้สิ่งแรกที่เข้ามาในความคิดคือ การทำ Boutique
Hotel เนื่องด้วยอาคารด้านข้างทั้ง 2 ด้านมี
ลักษณะเป็นห้องแถวโบราณ 4x8 เมตรที่เรียงราย
ทั้งชั้นบนและล่าง แต่ด้วยที่ตั้งของล้งอยู่ใกล้แม่น้ำ
ทำให้มีความชื้นสูง หากจะปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรม
ที่มีงานระบบต่างๆ มากมายคงจะยุ่งยากและไม่
เหมาะสม แนวคิดนี้จึงถูกตัดไป ประกอบกับพื้นที่
6 ไร่พระยาพิศาลศุภผลได้สร้างไว้เต็มพื้นที่ ดังนั้น
งานระบบต่างๆ จะต้องนำมาไว้ที่คอร์ทยาร์ดตรง
กลางทั้งหมด ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นโครงสร้างที่ไม่มี
เสารองรับ แต่เป็นการใช้ผนังทั้ง 4 ด้าน รับน้ ำหนัก
(Wall Bearing) โครงสร้างส่วนเหนือพื้นดิน เช่น
ผนังทั่วไป หรือหลังคา โดยผนังนี้ตั ้งอยู่ในน้ำที่มี
ฐานไม้สานอยู่ข้างล่าง หรือภาษาช่างโบราณเรียก
ว่า ซุงขัด (Floating Foundation)
การอนุรักษ์ส่วนอาคาร
“โจทย์คือคงความเป็นอาคารเดิมไว้ให้มาก แต่
เนื่องจากเป็นอาคารเก่าแก่ที่ผ่านกาลเวลา จากการ
อยู่อาศัยของผู้คนหลายชั่วอายุ ผ่านการซ่อมแซม
ปรับเปลี่ยน จนเราไม่สามารถรู้ได้ว่าใต้พื้นผนังเป็น
อย่างไร ดังนั้นสิ่งแรกที่ทำ คือการทำความสะอาด
เพื่อให้เห็นสภาพของเดิม และของจริงเป็นอย่างไร
หลังจากทำความสะอาด เราจึงได้เห็นรูปภาพ
โบราณที่วงกบประตูหน้าต่าง ซึ่งวาดโดยช่างฝีมือ
ชาวจีน ดิฉันจึงเชิญอดีตช่างใหญ่ของกรมศิลปากร
มาช่วยซ่อมแซมบูรณะ ซึ่งการบูรณะเป็นไปด้วย
ความระมัดระวัง และเพื่อให้กลับมาใกล้เคียงกับ
ของเดิมมากที่สุดโดยการใช้สีน้ำ ส่วนผนังที่มีร่อน
กระเทาะ เราเพียงแต่ซ่อมแซมเพื่อไม่ให้เกิดความ
เสียหายไปมากกว่าเดิม ด้วยการซ่อมขอบปูน หรือ
ที่ภาษาช่างเรียกว่า “การเย็บตะเข็บ” ซึ่งปูนที่น ำมา
ใช้นั้นเป็นปูนโบราณ หรือปูนน้ำอ้อย (ปูนหมัก)
มีคุณสมบัติทำให้อากาศถ่ายเท ความชื้นระเหย
ออกมาได้ (Breathable) ซึ่งดิฉันคิดว่าในเมื่อแก้ไข
เรื่องความชื้นในตัวอาคารไม่ได้ ก็ต้องให้ความชื้น
ระเหยออกมาเอง ในส่วนอื่นๆ ที่วัสดุเป็นไม้ เช่น
ราวระเบียง โครงหลังคา ทั้งหมดเรายังคงใช้ของ
เดิม เพียงแต่ขัดสีให้เห็นความสวยงามของเนื้อไม้
นอกจากนี้ หากมีสิ่งใดชำรุด เราก็ซ่อมแซมให้คง
ไว้ซึ่งของเดิมมากที่สุด
“เราโชคดีที่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ออกแบบ
ทุกฝ่าย ในการแก้โจทย์งานระบบต่างๆ ให้เป็น
ไปด้วยดีคู่ขนานไปกับการจัดสรรพื้นที่ให้สวยงาม
เพื่อรองรับผู้มาเยือน
“สำหรับดิฉัน ‘ล้ง’ คือพื้นที่ที่แฝงไปด้วย
ประวัติศาสตร์และจิตวิญญาณที่ควรค่าแก่การ
อนุรักษ์ไว้สำหรับคนรุ่นหลัง เพื่อมาเรียนรู้ มอง
เห็นและซึมซับซึ่งรากเหง้าของบรรพบุรุษ มาค้นหา
แรงบันดาลใจ รวมถึงมาพักผ่อนในบรรยากาศ
ริมน้ำกับสถานที่ที่ผ่านกาลเวลามาหลายร้อยปี ที่
แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลหวั่งหลี และอาจจะ
เป็นเพื้นที่หนึ่งของคนไทยเชื้อสายจีนที่บรรพบุรุษ
เคยมาเทียบท่า ณ ท่าเรือกลไฟแห่งนี้ก็เป็นได้
‘ล้ง’ จึงมีเสน่ห์ที่เต็มไปด้วย ‘คุณค่าแห่งกาลเวลา’”
132
133
่
Users’ opinion
Lhong 1919
เดินทางมาเที่ยว เดินทางมาไหว้ศาลเจ้าหม่าโจ้ว เดินทาง
มาซึมซับอดีต เดินทางมาเพราะเสน่ห์ของอาคารโบราณ
หลากเหตุผลของการเดินทางมายังล้ง 1919 นี่คือหนึ่ง
มุมมองที่ผู้มาถึงรู้สึกได้จริง
Text and Photo: วีรภา ดำสนิท / Weerapa Dumsanit
“เดินทางไปล้ง เพราะพาคุณแม่เชื้อสายจีนไปไหว้ศาลเจ้าหม่าโจ้ว ครั้งแรกที่
เห็นนึกถึงบรรยากาศที ่สิงคโปร์ ที ่ศาลเจ้าและร้านอาหาร ผับ บาร์ หรือคอมมู-
นิตี ้ต่างๆ อยู่ร่วมกันได้ ซึ ่งภาพแบบนี้หาได้ยากในประเทศไทยส่วนใหญ่ศาลเจ้า
มักจะแยกอยู่ห่างไกล แต่ล้ง 1919 ทําให้เราเห็นว่าศาลเจ้าสามารถถูกนําเป็น
ส่วนหนึ่งของพื้นที่ศิลปะได้ รู้สึกว่าที่นี่ยังคงโครงสร้างเดิมไว้เยอะ ไม่ปรับ
แต่งใดๆ ชอบที่ได้เห็นอดีตผ่านเพดาน วงกบ และอาคารห้องแถวแบบจีนที
หาชมได้ยาก แอบคิดในใจว่า ที่นี่น่าจะเป็นโรงแรมนะ แต่เข้าใจว่ามีข้อจํากัด
ด้านการก่อสร้างจึงออกแบบมาเป็นสถานที ่ท่องเที ่ยวเชิงวัฒนธรรมแทน แต่
แอบเสียดายว่ายังเปิดใช้พื้นได้ไม่คุ้ม เพราะช่วงที่ไปแรกๆ พื้นที่ชั้น 2 บาง
ส่วนยังถูกปิดไว้ เข้าใจว่าเป็นเรื ่องการก่อสร้างและบูรณะ และร้านค้าบางร้าน
ในช่วงแรกๆ มีความยูนีคไปนิด เราอาจยังเข้าไม่ถึง มาแล้วยังไม่มีจุดนั ่งพัก
นานๆ ที ่จะใช้เวลาผ่อนคลายริมนํ ้ำ คงจะดีถ้าเจ้าของพื ้นที่เพิ่มสเปซสําหรับให้
นักท่องเที ่ยวแวะมาใช้เวลานานๆ ได้มาที ่นี่ถ่ายรูปสวยได้เห็นอดีตหลายๆ มุม”
มนภัค ศิริทาวรจันทร์
Tax Consultant
“เดินทางมาเที ่ยว ล้ง 1919 เพื ่อท่องเที ่ยว รูปแบบอาคารมีลักษณะเฉพาะ
ตัว มาที ่นี่ทําให้ได้เห็นอดีตที ่หาชมได้ยากสถาปัตยกรรมจีนมีความเก่าแก่
สะท้อนถึงการใช้ชีวิตของการค้าขายของคนจีนในยุคนั ้น มาเที่ยวแล้วเห็น
ภาพเลยว่า ในอดีต ชาวจีนไม่ได้เข้ามาแค่ทําการค้าแล้วก็กลับไป และเขามา
พร้อมวัฒนธรรมและการใช้ชีวิต สังเกตผนังโดยรอบของอาคาร บริเวณ
กรอบหน้าต่าง ยังพบเห็นงานจิตรกรรมฝาผนังที ่มีความสวยงาม ถ้ามอง
ในแง่งานอนุรักษ์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดกันมา
ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นกัน สิ ่งหนึ่งที่ชอบคือ การพยายามรักษาสิ ่งเหล่านี ้ไว้ใน
รูปแบบเดิมให้ได้มากที่สุด การไม่พยายามบิดเบือนไปจากของเดิม แต่เป็น
การซ่อมแซม บํารุงรักษาให้กลับมาฟื ้ นขึ้นมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง อาทิ มุมศาล
เจ้าโบราณ อาคารห้องแถวโบราณ ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง ได้เห็นความ
ตั้งใจของผู้สร้างที ่จะพยายามรวมความใหม่ทั ้งการจัดร้านค้า ให้ผสานกับ
ความเก่าได้อย่างลงตัวกลมกลืน”
อังศดา โสภณานนท์
นักจัดกิจกรรมภาพยนตร์และนิทรรศการ
134
“ปกติผมจะมองหาสถานที ่พาลูกไปท่องเที ่ยวเรียนรู้นอกบ้านอยู่
เป็นประจํา พอรู้ว่าล้ง 1919 เปิด ก็อยากพาลูกไป เพราะเห็นว่าเป็น
สถาปัตยกรรมจีนที ่หาชมได้ยาก อยากให้ลูกได้สัมผัสบรรยากาศ
แปลกใหม่ ได้ย้อนประวัติศาสตร์ผ่านอาคารห้องแถวเก่าแก่แบบจีน
ได้เห็นการใช้ชีวิตของคนจีนในอดีต แล้วยังได้ไปไหว้ขอพรศาลเจ้า
หม่าโจ้วด้วย ส่วนตัวผมชอบบริเวณชั ้น 2 ของอาคาร ซึ่งมองเห็น
โครงสร้างเดิมได้อย่างชัดเจน แต่ละห้องเปิดเป็นโซนแสดงข้าวของ
เครื่องใช้โบราณ ความโดดเด่นของที ่นี่คือภาพวาดบนฝาผนัง ซึ ่งมีอายุ
กว่าร้อยปี ภาพวาดบนขอบหน้าต่างที ่บูรณะเสร็จแล้วก็จะมีกระจกกั ้น
เพื่อรักษาสภาพ ดูแล้วขลังดี ถือเป็นสถานที ่อีกแห่งที ่น่าพาครอบครัว
มาพักผ่อน พาเด็กๆ มาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ถ้าทางโครงการ
สามารถจัดอีเวนต์ที ่น่าสนใจ มีคอนเซ็ปต์ดีๆ เช่น งานแฮนด์เมด
สไตล์จีน ก็น่าจะช่วยดึงดูดให้คนแวะมาเยี่ยมชมได้มากขึ้น”
สานุพันธ์ ชุมสาย ณ อยุธยา
บรรณาธิการบริหาร
135
One day with an architect
สัปปายะ สงบ ยั ่งยืน
Text : วีรภา ดำสนิท / Weerapa Dumsanit
Photo : จุลพร นันทพานิช / Julaporn Nuntapanich
อาจารย์จุลพร นันทพานิช
Julaporn Nuntapanich
สถาปนิก ป่าเหนือสตูดิโอ และ
อาจารย์พิเศษคณะ สถาปัตย-
กรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่
อาจารย์จุลพร นันทพานิช แห่ง “ป่าเหนือสตูดิโอ”
อาจารย์พิเศษประจำคณะวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกเล่ากับ ASA CREW
ถึงกิจกรรมวันหยุดที่ชาว “ป่าเหนือสตูดิโอ” มัก
ใช้เวลาร่วมกันต่อเนื่องมาแล้วกว่า 3 ปี นั่นคือ
การทำสาธารณประโยชน์ โดยใช้วิชาชีพสถาปนิก
เข้าไปบูรณะวัดหลายๆ แห่ง โดยยึดหลักการ
น้อมนำธรรมชาติและวัฒนธรรมเข้ามาเป็นส่วน
หนึ่งอยู่เสมอ
“วันว่างของผมไปไหน…ผมไปวัด”
ผมตั้งใจว่าจะใช้อาชีพสถาปนิกช่วยทำ
สาธารณประโยชน์ โดยเปิดโอกาสให้น้องๆ ที่ร่วม
งานกันเข้ามามีส่วนร่วม ปีนี้ผมและน้องๆ กำลังช่วย
ออกแบบปรับปรุงแลนด์สเคปให้ทางวัดป่าพุทธาราม
(ถ้ำสติ) จังหวัดราชบุรี หลังจากมีโอกาสไปกราบ
พระอาจารย์สุรินทร์ รตนโชโต ฟังท่านเทศน์ธรรม
ท่านจึงได้หารือเรื่องแบบ ซึ่งโปรเจ็กต์นี้ วิศวกร
ออกแบบวัดแล้ว ผมจึงอาสาเสนอตัวช่วยงานนี้ใน
การจัดลำดับการก่อสร้าง
136
137
หนึ่งในความตั้งใจที่ผมตั้งไว้ทุกปี นั่นคือการช่วย
บูรณะวัด อย่างการปรับปรุงพระอุโบสถที่วัด
ศรีดอนไชย จังหวัดเชียงใหม่ บูรณะอุโบสถทรง
โบราณ โดยมีญาติโยมศรัทธาบริจาคเงินก้อนมา
เราใช้ความรู้ความสามารถทางสถาปัตยกรรมแก้
แบบให้เป็นทรงล้านนา ใช้ความชำนาญของเรา
นั่นคืองานออกแบบที ่เน้นเรื่องท้องถิ่นแต่ยังคง
ร่วมสมัย ให้ความสำคัญกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม
น้อมนำธรรมชาติออกแบบเป็นภูมิทัศน์ท้องถิ่นที่
ไม่ต้องใช้การดูแลรักษามาก เพราะทุกอย่างให้
ธรรมชาติเป็นผู้นำ
“ผมรู้สึกว่าอาชีพของพวกเราเป็นประโยชน์กับ
สาธารณะมากและที่สาธารณะบางแห่งก็ไม่ได้มี
งบประมาณจัดจ้างมากนัก ดังนั้นเป็นสิ่งควรค่า
แก่กาลเวลา ไปช่วยกิจการงานที่เป็นประโยชน์กับ
ส่วนรวม สิ่งที่ได้รับคือความสุข ความอิ่มใจ การ
ออกแบบของเรายึดหลักสัปปายะ คือออกแบบให้
สบาย ได้เจริญสติ เกิดความสงบยั่งยืนในใจ
มาในยุคที่น้ำไหลไฟสว่าง เกิดมาในคอนโดฯ มี
ทุกอย่างพร้อม น้องๆ ก็บอกได้ แต่หากได้เผชิญ
และเกิดในที่ที่ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ต้องอยู่ในภูเขา
ตัวคนเดียว นั่นล่ะเขาถึงจะเข้าใจ…พุทธศาสนา
เป็นสิ่งร่วมสมัยตลอดเวลา ลองไปศึกษาให้ดีก่อน
“สำหรับผมศาสนาให้ความสงบร่มเย็น ให้แนวทาง
ในการคิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือความยั่งยืน
พอมีหลักคิดแบบนี ้ก็ทำให้การงานออกแบบของ
ผมก็ดี ผมใช้หลักคิดปรัชญาจากความสงบนี้
ทำให้ลูกค้าได้รับอานิสงส์จากการออกแบบที่ดี
‘ถ้าไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเกรี้ยวกราด คุณจะ
สร้างสรรค์งานที่ดี’”
“ผมเป็นสถาปนิกที่ออกแบบบ้านแล้วมา
ออกแบบวัด ผมคิดว่าทำบ้านก็ต้องทำ ถ้า
เป็นงานออกแบบเราต้องชี้แจงลูกค้า แต่การ
ออกแบบวัดคือนำเสนอต่อครูบาอาจารย์ เรา
จะออกแบบสภาพแวดล้อมในวัดให้ยึดหลัก
สัปปายะได้อย่างไร ให้เป็นที่ที่สบาย รื่นรมย์ เจริญ
ทางธรรมแก่ผู้มาเยือน
“ผมขอฝากข้อคิดให้น้องๆ สถาปนิก ช่วยๆ กัน
เพราะวัดต้องการสถาปนิกมาก มีวัดหลายๆ วัดที่
ยังต้องการการออกแบบ การจัดการ การก่อสร้าง
ให้เหมาะสม ซึ่งอาชีพสถาปนิกของเราจำเป็นมาก
ที่จะสามารถช่วยสังคมในแวดวงศาสนา เราควรใช้
ความชำนาญของเราให้เป็นประโยชน์ เห็นน้องๆ รุ่น
ใหม่ หรือรุ่นลูกศิษย์หลายๆ คน มักจะบอกตัวเอง
ว่าเป็นคน “ไม่มีศาสนา” ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย
บางทีเขายังไม่ทันรู้ว่าศาสนาคือมรดกทางปัญญา
และปรัชญาของศาสนาที่แท้จริงคืออะไร ผมว่ามัน
เร็วไปที่เขาด่วนตัดสินและนิยามตนเองไปเช่นนั้น
บางครั้งเป็นเรื่องน่าสงสารพวกเขาเหล่านั้นด้วยซ้ำ
ที่ยังไม่ทันศึกษาอะไรให้ถ่องแท้แต่ด่วนตัดสินสรุป
ก่อนจะบอกว่าตัวเองไม่มีศาสนา ตราบใดเราเกิด
138
139
Film / Documentary
Louis Kahn’s Tiger City
(2018)
Text: สุปรียา หวังวัชรพล / Supreeya Wungpatcharapo
Photo: Tiger City Press Kit (https://filmfreeway.com/LouisKahnsTigerCity)
ผู้กำกับ: Sundaram Tagore
ระยะเวลาฉาย: 113 นาที
ภาพยนตร์สารคดี My Architect – A Sons
Journey ที่เคยออกฉายเมื่อปี 2003 ได้ถ่ายทอด
มุมมองของลูกชาย Nathaniel Kahn ที่พยายาม
ทำความเข้าใจความคิดของพ่อของตัวเองในฐานะ
สถาปนิกชื่อก้องโลก Louis I. Kahn ผ่านการ
เดินทางเยี่ยมชมผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม
ของสถาปนิกใหญ่ผู้ล่วงลับ ในขณะที่ภาพยนตร์
สารคดี Louis Kahn’s Tiger City เรื่องนี้
เป็นการถ่ายทอดอีกภาพของความสำเร็จของ
ผลงานสถาปัตยกรรมจากสถาปนิกชาวตะวันตก
ในสายตาของนักประวัติศาสตร์ศิลปะเชื้อสาย
ตะวันออกอย่าง Sundaram Tagore ผู้กำกับ
ภาพยนตร์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในหลายประเทศทางตะวัน-
ตก ตั้งแต่เขาย้ายออกจากประเทศอินเดียเมื่อช่วง
ยังเป็นวัยรุ่น ทำให้ตัวเขาจึงค่อนข้างสนใจในการ
เรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมที่ต่างสังคมกัน รวมถึงเรื่อง
ราวระหว่างความเป็นตะวันออก-ตะวันตก และ
Tagore เคยฝากฝีมือของมาแล้วในงานกำกับ
ภาพยนตร์สารคดีผลงานชิ้นแรกเรื่อง Poetics of
Color: Natvar Bhavsar, A Painter’s Journey
เมื่อปี ค.ศ. 2010 นำเสนอเรื่องราวการใช้ชีวิตของ
ศิลปินชาวอินเดียในประเทศสหรัฐอเมริกา จนได้
รับรางวัลจากหลายเทศกาลทั้ง The Accolade,
The Indie Fest และรางวัลชมเชยจากนักวิจารณ์
แห่งชาติของสิงคโปร์ ประเภทภาพยนตร์สารคดี
ศิลปะใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปีและรางวัลผู้กำกับ
หน้าใหม่ยอดเยี่ยม ในปี ค.ศ. 2012
ที่มาของแรงบันดาลใจในการกำกับภาพยนตร์
สารคดีเรื่องที่สองของ Tagore นี้เขาเล่าว่าเกิดขึ้น
เมื่อครั้งที่ตัวเองได้รับทุนการศึกษาในปี ค.ศ.
1985 และมีโอกาสเดินทางไปยังบังกลาเทศเพื่อ
ศึกษาอาคารที่ออกแบบโดย Louis I. Kahn รวม
ถึง Sher-e-Bangla Nagor หรือที่รู้จักกันในชื่อ
Tiger (of Bengal) City หรืออาคารรัฐสภาที่
เป็นหัวใจของประเทศประชาธิปไตยที่เพิ่งจัดตั้ง
ขึ้นใหม่และสะท้อนทั้งสถาปัตยกรรมอนาคตและ
โบราณในเวลาเดียวกัน จากความยาวกว่า 113
นาที เราจะเห็นถึงสถาปัตยกรรมของ Louis I.
Kahn ที่พยายามสื่อถึงวิสัยทัศน์ทางศิลปะและจิต
วิญญาณของชาวบังกลาเทศ ขนานไปกับเรื่องราว
ชีวิตของขบวนการกอบกู้เอกราชของประเทศ และ
สถาปัตยกรรมที่เปรียบเสมือนตัวแทนของการก่อ
กำเนิดอุดมการณ์ประชาธิปไตยในบังคลาเทศ สำหรับ Tagore แล้วผลงาน
ชิ้นนี้คือภาพยนตร์ศิลปะเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม ซึ่งเขามองว่า แม้ Louis I.
Kahn อาจใช้อิฐและปูนแทนสีและผ้าใบ แต่ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม
ของเขาได้สร้างสรรงานศิลปะชิ้นเอก ทั้งในเชิงปรัชญาและในแง่ของการ
ออกแบบและการปฏิบัติ
ในระหว่างการดำเนินการสร้างภาพยนตร์สารคดี Tagore ได้เดินทางไปทั่ว
โลกกว่า 14 ประเทศเพื่อค้นหาข้อมูลและพยายามทำความเข้าใจว่าสถาปนิก
ชาวอเมริกันที่เกิดในเอสโตเนียอย่าง Louis I. Kahn ได้สร้างอาคารที่ทัน
สมัยและซับซ้อนขนาดนี้ในประเทศที่ร่ำรวยทางวัฒนธรรมแต่ยากจนทาง
เศรษฐกิจอย่างบังคลาเทศนี้ได้อย่างไร รวมถึงบทสนทนากับผู้คนที่เกี่ยวข้องใน
ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในบังกลาเทศ นักประวัติศาสตร์ สถาปนิก
โดยหนึ่งในนั้นคือสถาปนิกรางวัล Pritzker
นับว่า Tiger City เป็นภาพยนตร์สารคดีอีกเรื่องหนึ่งที่ตามรอยสถาปัตยกรรม
ของ Louis I. Kahn และเหมือนจะช่วยตอกย้ำความเป็นตำนานทั้งผลงาน
ออกแบบสถาปัตยกรรมของเขาและตัวตนของสถาปนิกเอง ที่ยังสามารถมี
เรื่องราวให้บอกเล่า ตีความ และถ่ายทอดใหม่ได้เสมอ
จากความยาวกว่า 113 นาที เราจะเห็น
ถึงสถาปัตยกรรมของ Louis I. Kahn
ที่พยายามสื่อถึงวิสัยทัศน์ทางศิลปะและ
จิตวิญญาณของชาวบังกลาเทศ ขนานไปกับ
เรื ่องราวชีวิตของขบวนการกอบกู้เอกราช
ของประเทศ
140
141
Visual Essay
Text/ Photo: อัครา นักทำนา / Akkara Naktamna
“จากการที่ถ่ายภาพแนว Street Photography ทำให้ชอบสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัว บ่อยครั้งที่พบเจอ
กับสิ่งแวดล้อมอันแปลกประหลาด พิลึกพิลั่น ดังเช่นเหล่าต้นไม้ต่างๆ ที่ดูดซับมลพิษในเมืองใหญ่เข้าไปเกินขนาด จนดูคล้ายพืช
กลายพันธุ์ประหลาดขนาดยักษ์ที่คืบคลานกลืนกินทุกๆ สิ่งรอบตัวมัน และรอวันเอาคืนกับพวกมนุษย์ที่ชอบทำลายธรรมชาติ หรือ
แม้แต่สิ่งต่างๆ ที่เราพบเจอทั่วไปในชีวิตประจำวัน หลายคนคิดว่ามันเป็นเพียงสิ่งของไร้ชีวิตและมักจะมองข้ามมันไป แต่หากลอง
สังเกตดูให้ดีจะพบว่าพวกมันสื่อสารกันและส่งสัญญาณลึกลับบางอย่างที่ไม่อาจเข้าใจได้ ราวกับฉากอันน่าสะพรึงกลัวในภาพยนตร์
วิทยาศาสตร์แนวทำลายล้างที่มักจะจบลงด้วยโศกนาฏกรรมเสมอ”
142
143
14
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถนนพระรามที่ 9 แขวงบางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage
248/1 Soi Soonvijai 4, Rama IX Rd., Bangkapi,
Huaykwang, Bangkok, 10310 Thailand
Tel: 0-2319-6555 Fax: 0-2319-6555 press 120 or 0-2319-6419
www.asa.co.th / Facebook : asacrew / Email: asacrewmag@gmail.com
บรรณาธิการบริหาร
Managing Editor
ผศ. ดร.กมล จิราพงษ์
Asst. Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.
บรรณาธิการ
Editor
กฤษณะพล วัฒนวันยู
Kisnaphol Wattanawanyoo
บรรณาธิการด้านเนื้อหาสถาปัตยกรรม
Architectural Feature Editor
ผศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์
Asst. Prof.Supitcha Tovivich, Ph.D.
บรรณาธิการภาษาอังกฤษ
English Editors
Max Crosbie-Jones
Alvaro Conti
David Fiske
Art Director
วิชิต หอยิ่งสวัสดิ์
Wiciht Horyingsawad
Graphic Design
กนกพร ลออวิไล
Kanokporn Laorvilai
หัวหน้าฝ่ายศิลป์สื่อดิจิทัล
Digital Media Design Director
วีรพล เจียมวิสุทธิ์
Werapon Chiemvisudhi
หัวหน้ากองบรรณาธิการ
Head of Editorial team
รติรัตน์ นิมิตรบรรณสาร
Ratirat Nimitrabannasarn
กองบรรณาธิการ
Editorial Staff
ยินดี พุฒศิรยากร
Yindee Phuttasirayakorn
วีรภา ดำสนิท
Weerapa Dumsanit
Proofreader
ชญานี ขุนกัน
Chayanee Khunkan
ช่างภาพ
Photographer
เรืองศักดิ์ บุณยยาตรา
Ruangsak Boonyayatra
นักเขียนรับเชิญ
Contributors
ปองขวัญ ลาซูส
Pongkwan Lassus
วิญญู อาจรักษา
Winyu Ardrugsa
สิปปวิชญ์ กำบัง
Sippawich Kambung
พีรณัฏฐ์ อุไรรัตน์
Peeranat Urairat
กิตติ เชาวนะ
Kitti Chaowana
ภัทรนันท์ ทักขนนท์
Pattaranan Takkanon
อรุณ ภูริทัต
Aroon Puritat
เพชรลัดดา เพชรภักดี
Pechladda Pechpakdee
สิริพร ด่านสกุล
Siriporn Dansakun
สุปรียา หวังพัชรพล
Supreeya Wungpatcharapon
อัครา นักทำนา
Akkara Naktamna
นักแปล
Translator
นิศาชล บุญช่วยคุ้ม
Nisachon Boonchuaykum
ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม
Tanakanya Changchaitum
สุชานาฏ จารุไพบูลย์
Suchanart Jarupaiboon
การตลาด
Marketing
พิมพ์วิมล วงศ์สมุทร
Pimwimol Wongsamut
พิมพ์โดย
Printed by
เค.ซี.เพรส
K.C.PRESS
รายนาม
คณะกรรมการบริหาร
สมาคมสถาปนิกสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประจำปี 2561-2563
ASA Executive Committee
2018-2020
นายกสมาคม
President
นายอัชชพล ดุสิตนานนท์
Ajaphol Dusitnanond
อุปนายก
Vice President
นายเมธี รัศมีวิจิตรไพศาล
Metee Rasameevijitpisal
อุปนายก
Vice President
ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์
Asst.Prof.Thana Chirapiwat, Ph.D.
อุปนายก
Vice President
ดร.พินัย สิริเกียรติกุล
Pinai Sirikiatikul, Ph.D.
อุปนายก
Vice President
นายทรงพจน์ สายสืบ
Songpot Saiseub
เลขาธิการ
Secretary General
นายปรีชา นวประภากุล
เลขาธิการ
Preecha Navaprapakul
นายทะเบียน
Honorary Registrar
พ.ต.อ.สักรินทร์ เขียวเซ็น
Pol.Col.Sakarin Khiewsen
เหรัญญิก
Honorary Treasurer
นางภิรวดี ชูประวัติ
Pirawadee Chooprawat
ปฏิคม
Social Event Director
นายสมชาย เปรมประภาพงษ์
Somchai Premprapapong
ประชาสัมพันธ์
Public Relations Director
ผศ. ดร.กมล จิราพงษ์
Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.
กรรมการกลาง
Executive Committee
นายเทียนทอง กีระนันทน์
Thienthong Kiranandana
กรรมการกลาง
Executive Committee
ดร.รัฐพงศ์ อังกสิทธิ์
Rattapong Angkasith, Ph.D.
กรรมการกลาง
Executive Committee
นายชายแดน เสถียร
Chaidan Satian
กรรมการกลาง
Executive Committee
นายรุ่งโรจน์ อ่วมแก้ว
Rungroth Aumkaew
ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา
Chairman of Northern Region (Lanna)
นายอิศรา อารีรอบ
Issara Areerob
ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน
Chairman of Northeastern Region (Esan)
นายธนาคม วิมลวัตรเวที
Tanakom Wimolvatvetee
ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ
Chairman of Southern Region (Taksin)
นายนิพนธ์ หัสดีวิจิตร
Nipon Hatsadeevijit
กองบรรณาธิการสื่อดิจิทัล
Digital Media Staff
พิมพ์ชนก ดำสนิท
Pimchanok Dumsanit