09.04.2020 Views

ASA CREW VOL. 21

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

ASA CREW VOL. 21 ว่าด้วยสถาปัตยกรรมอันเป็นหลักฐานด้านวัฒนธรรมของชาติ เป็นที่บันทึกเรื่องราวมากมาย เช่น ความเชื่อ การใช้ชีวิต ความเจริญด้านเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยีของกลุ่มคน ในอดีตที่ถูกถ่ายทอดออกมาข้ามกาลเวลา

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

REFOCUS HERITAGE<br />

<strong>21</strong>


Photo: W Workspace


CONTENTS<br />

<strong>ASA</strong> MEDIA DIRECTOR’S WORD<br />

UPDATE<br />

4 Makkasan Heritage Documentation Suwicha Pitakkanchanakul<br />

10 ‘Resilience’ through Time Paphop Kerdsup<br />

Bangkok Design Week 2020<br />

INTERVIEW<br />

Talk with the<br />

master<br />

Assoc. Prof.<br />

Wiwat Temiyaphan<br />

18 A Talk with Master: Assoc. Prof.Vivat Temiyabandha Kisnaphol Wattanawanyo<br />

24 A Talk with Pongkwan S. Lassus: Refocus Heritage Kisnaphol Wattanawanyo<br />

SPECIAL INTERVIEW<br />

34 A Talk with the New <strong>ASA</strong> President: Chana Sampalung Pawarit Kongthong<br />

44 <strong>ASA</strong> Expo “Refocus Heritage”: Vasu Poshyanandana, Ph.D. Pawarit Kongthong<br />

PROJECT REVIEW<br />

52 Samsen STREET Hotel Peeranat Urairat<br />

62 True Digital Park Siam Square Soi 2 Sippawich Kambung<br />

72 Kitipanit Chirantanin Kitika, Ph.D.<br />

82 Sri the Shophouse Kitti Chaowana<br />

90 Reno Hotel Peeranat Urairat<br />

ROUND TABLE<br />

100 Between Preservation and Digitalization <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> Team<br />

<strong>ASA</strong> REGIONAL<br />

106 Esan: dotLIMITED Assoc. Prof.Nopadon Thungsakul, Ph.D.<br />

112 Lanna: Choui Fong Tea Cafe Phase 2 Jairak Junsin Thanompongsarn<br />

120 Taksin: Baan Klong Bon School Kitti Chaowana<br />

WHAT ARCHITECTS THINK<br />

126 Architecture Library, Chulalongkorn University Wasawat Rujirapoom<br />

USERS’ OPINION<br />

134 Architecture Library, Chulalongkorn University Wasawat Rujirapoom<br />

ONE DAY WITH AN ARCHITECT<br />

136 One Fine Day with Chatchavan Suwansawat Suwicha Pitakkanchanakul<br />

BOOK REVIEW<br />

142 RE–USA: 20 American Stories of Adaptive Reuse Chamnarn Tirapas, Ph.D.<br />

VISUAL ESSAY<br />

144 Point Clouds Asst. Prof. Chawee Busayarat, Ph.D.<br />

สถาปััตยกรรม คืือหลัักฐานด้้านวััฒนธรรมของชาติ<br />

เป็็นที่่บัันที่ึก เรือง ราวัมากมาย เช่น คืวัามเชือ การใช้ช่วัิต<br />

คืวัามเจริญ ด้้านเศรษฐกิจ แลัะด้้านเที่คืโนโลัย่ ของกลั่ม คืน<br />

ในอดีีตที่่ถูกถ่ายที่อด้ออกมาข้ามกาลัเวัลัา<br />

การใช้ช่วัิตที่่สะด้วักแลัะรวัด้เร็วัในปััจจ่บัั น ที่ําให้คืนเรา<br />

มองข้าม หรือหลังลืืมอดีีต ไปัอย่างง่ายด้าย ทั้้งที่่สิงเหล่่านัน<br />

ม่เสน่ห์ สามารถ ด้ึงดููด้คืนร่นใหม่แลัะคืนต่างชาติได้้เป็็น<br />

อย่างดีี<br />

อาษา คืรูเล่่มน่ ที่่มงานขอชักชวันที่่านมาร่วัมกันค้้นหา<br />

คืวัามหมายเก่าๆ แลัะเรืองราวัใหม่ๆ ในงานสถาปััตยกรรม<br />

ที่่ ่ไม่ม่วัันตาย<br />

ผศ. ด้ร.กมลั จิราพงษ์<br />

บัรรณาธิการบริิหาร<br />

Architecture is the cultural footprint of a nation<br />

It records the beliefs, lives, economies, and technologies<br />

of the past and carries these stories through time.<br />

The fast and convenient lifestyle of today sometimes<br />

makes us forget or ignore the past, but the past<br />

remains charming and attractive.<br />

In this issue, <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> invites the reader to<br />

rediscover the meaning of the old signs and stories<br />

hidden in the architecture of immortality.<br />

Asst. Prof. Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

Managing Editor<br />

Cover Photo: W Workspace<br />

1<br />

Refocus Heritage


EDITOR’S WORDS<br />

เพื่อให้เข้ากับธีมของงานสถาปนิก’63 <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> ฉบับนี้​<br />

พูดถึงการหันกลับมามองคุณค่าของสิ่งเก่าในบริบทใหม่​<br />

หรือ “Refocus Heritage” ภายในเล่มเราได้ชวน ดร.วสุ​<br />

โปษยะนันทน์ ประธานจัดงานในปีนี้มาพูดคุย เรื่องไฮไลท์<br />

ต่างๆ ของงานสถาปนิก’63 นี้ และมี project review หลาย​<br />

โครงการ ที่เป็นการนําอาคารเก่ามาปรับปรุงฟื้นฟูใหม่พร้อม​<br />

ด้วยบทสัมภาษณ์คุณปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส และ<br />

รศ.วิวัฒน์ เตมียพันธ์ นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์ของ​<br />

คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ คนใหม่ ปิดท้ายเล่ม<br />

ด้วยคอลัมน์ One Day with an Architect คุณชัชวาล​<br />

สุวรรณสวัสดิ์ สถาปนิกที่มองรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ<br />

ของการออกแบบของผู้คนที่ไม่ใช่นักออกแบบ ที่เหมือน​<br />

ไม่ได้มีความสําคัญสักเท่าไร ในมุมมองใหม่ ทําให้เราเห็น​<br />

เรื่องราว เงื่อนไข และความคิดสร้างสรรค์ที่ซ่อนอยู่​<br />

ในสิ่งที่แสนจะดูธรรมดา<br />

ผศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์<br />

บรรณาธิการ<br />

Relating to the annual theme of Architect’20 Expo,<br />

this issue of <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> has also adopted the topic<br />

of “Refocus Heritage” — a universe of shifts in<br />

perspective. In this issue, Vasu Poshyanandana, Ph.D.<br />

the chairperson of the 2020 Expo, appears for an<br />

interview on the event. We also publish reviews of<br />

highlighted up-and-coming projects including<br />

several renovated old buildings and sites around<br />

the city. Pongkwan Lassus, Assistant Professor<br />

Wiwat Temiyapan, and the new <strong>ASA</strong> President<br />

Chana Sumpalung also appear for interviews.<br />

The issue closes with the article “One Day with<br />

an Architect” featuring Chatchavan Suwansawat,<br />

an architect with a keen eye for detail beyond the<br />

world of architecture. Strap yourself in for a ride<br />

that will topple your perceptions of the everyday<br />

and open up a world of stories and creativity.<br />

Asst. Prof. Supitcha Tovivich, Ph.D.<br />

Editor-in-Chief<br />

Photo: W Workspace 3 Refocus Heritage


UPDATE<br />

Makkasan Heritage<br />

Documentation<br />

Text: สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล / Suwicha Pitakkanchanakul<br />

Translation: ภชภร ด่านวิรุฬหวณิช / Patchaphon Danvirunhavanit<br />

Photo: ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส / Pongkwan Sukwattana Lassus<br />

อาคารโรงซ่อมรถโดยสาร​<br />

2465 ได้รับรางวัลอนุรักษ์​<br />

ดีเด่น ปี 2549<br />

Factory 2465 maintenance<br />

shed, awarded conservation<br />

prize in 2006<br />

ที่ดินมักกะสัน 497 ไร่เป็นปอดใหญ่กลางเมือง<br />

ที่คนกรุงเทพฯ ได้รับประโยชน์ตลอดมา แต่<br />

นอกเหนือจากคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเมิน<br />

ค่าไม่ได้แล้ว ภายในนั้นยังมีโรงงานมักกะสัน<br />

ซึ่งเต็มไปด้วยมรดกทางอุตสาหกรรมและ<br />

สถาปัตยกรรมอันควรค่าแก่การอนุรักษ์ที่ผ่าน<br />

กาลเวลามาสู่ปีที่ 110 สมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ดําเนินการศึกษาและ<br />

สื่อสารให้ประชาชนเห็นความสําคัญของอาคาร<br />

เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง โดยได้เคยมอบรางวัล<br />

‘อนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภท<br />

อาคารสาธารณะ’ ให้แก่อาคารโรงซ่อมรถ<br />

โดยสารที่ทรงคุณค่าทั้งในแง่สถาปัตยกรรม<br />

ประวัติศาสตร์และการดูแลรักษา​<br />

“เรามองศักยภาพของพื้นที่แล้วคิดว่าที่นี่เป็น<br />

มรดกโลกได้ เพราะในต่างประเทศไม่มีพื้นที่​<br />

แบบนี้อีกแล้ว เนื่องจากการพัฒนาโรงงานรถไฟ<br />

ในประเทศอื่นๆ จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง​<br />

ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องมือเครื่องจักรอยู่<br />

ตลอด แต่ในโรงงานมักกะสัน เครื่องจักรเก่าแก่ ​<br />

ที่ไทยนําเข้ามาจากหลายประเทศอายุกว่า​<br />

ร้อยปียังใช้งานได้อยู่จนทุกวันนี้จึงมีความเป็น​<br />

พิพิธภัณฑ์มีชีวิต(Living Museum) ได้” อาจารย์​<br />

ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส อดีตประธาน<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

กล่าวถึงเหตุผลที่เริ่มต้นเดินหน้าทํา​Makkasan<br />

Heritage Documentation โครงการที่มีเป้าหมาย​<br />

ว่าจะเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ ภายในพื้นที่ของ<br />

โรงงานมักกะสันไว้อย่างละเอียดเพราะเห็นว่า​<br />

ไม่ว่าพื้นที่นี้จะถูกพัฒนาไปเป็นอะไรก็ตามใน<br />

อนาคต ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ควรได้ถูก<br />

บันทึกไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจ<br />

พัฒนาไปในเชิงใดประชาชนชาวไทยจึงจะได้<br />

ประโยชน์สูงสุดในทุกแง่มุม<br />

Covering an area of 497 Rai (almost 1 km2)<br />

in the heart of Bangkok, the district of<br />

Makkasan is considered to be the lung of<br />

the city. But besides the ecological aspect,<br />

the area is also home to the Makkasan<br />

factory that belongs to the Railway of<br />

Thailand. The factory is the site of several<br />

examples of priceless architectural<br />

and industrial heritage that will have<br />

been preserved for 110 years as of 2020.<br />

<strong>ASA</strong> has continuously led studies and<br />

media coverage on the site to raise<br />

public awareness, and it has previously<br />

awarded the Best Architecture Conservation<br />

Prize (public building category) to the<br />

factory for its historical and architectural<br />

significance as well as its conservation.<br />

“We see the potential of a world heritage<br />

site in the factory, as only few others<br />

like this exist in the world. Other train<br />

reparation factories in the world have<br />

been constantly developed and improved,<br />

but at the Makkasan Factory, most of<br />

the original equipment and tools that<br />

have been imported to Thailand over<br />

100 years ago still remain in use. It is<br />

a living museum,” noted Professor<br />

Pongkwan Sukwattana Lassus, former<br />

president of the conservation committee<br />

under <strong>ASA</strong>. Professor Pongkwan also<br />

commented on the genesis of the Makkasan<br />

Heritage Documentation project, as<br />

an initiative to record and document<br />

information and knowledge about the<br />

factory. Should the factory undergo<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 4 5<br />

Refocus Heritage


“เมื่อ 4 ปีที่แล้ว (พศ. 2559-2560) ตอนนั้นมีตําแหน่งเป็น​<br />

ที่ปรึกษากรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ได้เสนอให้สมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ ทําโครงการเก็บข้อมูลเบื้องต้นอาคารควรค่าแก่การ<br />

อนุรักษ์ในพื้นที่นี้ โดยมี อ.ปริญญา ชูแก้ว เป็นผู้รวบรวมข้อมูล​<br />

แต่เมื่อเราเข้าไปเห็นข้างใน ก็พบว่าไม่ได้มีเพียงแค่ตัวอาคาร<br />

เท่านั้น แต่ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่บอกเล่าเรื่องราวได้อย่าง<br />

ทรงคุณค่า แต่ละชิ้นมีความเป็น museum piece อย่างเต็ม<br />

ตัว แถมยังใช้งานได้ รวมไปถึงองค์ความรู้ในการซ่อมบํารุงที่<br />

ทําต่อเนื่องมา เมื่อก่อนโรงงานนี้สร้างรถไฟเองได้นอกจากนี้​<br />

ยังมีมรดกต้นไม้ใหญ่ซึ่งเป็นมรดกทางธรรมชาติอีกจ ํานวนมาก”​<br />

อาจารย์ปองขวัญกล่าว และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561​<br />

เราได้มีโอกาสเป็นประธานจัดงานสัมมนาวิชาการนานาชาติ<br />

ว่าด้วยมรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ​<br />

mASEANa จัดโดย Docomomo Japan, Japan Foundation​<br />

ร่วมจัดโดย Docomomo International, ICOMOS International​<br />

20th Century Heritage Scientific Committee และสมาคม​<br />

อิโคโมสไทยเป็นเจ้าภาพฝ่ายไทย ในวันสุดท้ายของงานได้มี<br />

การพานักวิชาการนานาชาติที่เข้าร่วมประชุมเข้าทัศนศึกษา<br />

ในโรงงานมักกะสันซึ่งถือเป็นมรดกสถาปัตยกรรมโมเดิร์น​<br />

ที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมใน<br />

ประเทศไทย และเป็นแห่งเเรกในเเถบเอเชียแปซิฟิก ในการ<br />

เข้าชมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการระดับโลกทําให้​<br />

เกิดมุมมองที่ว่า หากเรามีการพัฒนาพื้นที่ในเชิงอนุรักษ์ที่ดี<br />

มักกะสันมีศักยภาพไปสู่ความเป็นมรดกโลกได้ จึงเกิดเป็น<br />

แรงบันดาลใจให้ต้องมาเริ่มทําการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง​<br />

และเป็นระบบ โดยตั้งโครงการชื่อว่า Makkasan Heritage<br />

Documentation ขับเคลื่อนโดยกลุ่ม Urban Heritage<br />

Network ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางประสานงานให้เกิดการ<br />

จัดทําข้อมูลในทุกรูปแบบ และมีผลให้คนในโรงงานเริ่มเห็น<br />

คุณค่าความสําคัญของทุกสิ่งในโรงงานมักกะสัน<br />

การเริ่มเข้าไปทํางานเก็บข้อมูลสร้างกระเเสการเห็นคุณค่า<br />

และการมีส่วนร่วมในการรักหวงแหน และภาคภูมิใจกับมรดก​<br />

ในมักกะสัน ทางเครือข่ายร่วมกับกลุ่มบิ๊กทรีทําการสํารวจ<br />

ต้นไม้เบื้องต้นและมีการปักหมุดต้นไม้ใหญ่ในโรงงานมักกะสัน​<br />

ทําให้เกิดกระเเสความต้องการที่จะปกป้องต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่ ​<br />

วันที่ 26 มิถุนายน 2561 ในงานฉลองครบรอบ 109 ปี<br />

โรงงาน ทางผู้บริหารและสหภาพแรงงานรถไฟได้จัดพิธีบวช<br />

ต้นไม้ใหญ่ในมักกะสัน ทั้งนี้พวกเขาไม่ได้คัดค้านการพัฒนา<br />

พื้นที่ แต่การพัฒนาไม่ควรทําให้สิ่งที่มีคุณค่าหายไป<br />

a transformation in the future, this data will be a<br />

source of knowledge for the development of the<br />

factory.<br />

“Four years ago (2016-2017), when I was the advisor<br />

of the conservation committee, I had proposed for<br />

<strong>ASA</strong> to lead a project to document the details of<br />

the valuable buildings on the site.” Professor Parinya<br />

Chukeaw helped consolidate the documents for<br />

the project. “However, once we got on site, we found<br />

that not only the buildings, but the tools and<br />

equipment also had historical significance. Each<br />

item had the quality of a museum piece and was<br />

still in use. The knowledge and the know-how of<br />

train reparation that still existed was extensive<br />

to the point that whole trains could be built at the<br />

factory back in the old days. Additionally, ancient<br />

trees in the area were also outstanding natural<br />

heritage,” shared Professor Pongkwan. In October<br />

2018, Thailand hosted the mASEANa (Modern ASEAN<br />

Architecture) International Conference, which<br />

was sponsored by Docomomo Japan, the Japan<br />

Foundation, Docomomo International, ICOMOS<br />

International 20th Century Heritage Scientific<br />

Committee, and ICOMOS Thailand. On the last day<br />

of the conference, the project had led international<br />

academics on an excursion to the site of the factory.<br />

The discussion following the excursion concluded<br />

that the district of Makkasan had the potential to<br />

become a World Heritage Site, provided that systematic<br />

conservation and development was in place. The<br />

factory was considered a modern architectural<br />

heritage that was significant to the industrial revolution<br />

of Thailand and the first in the Asia-Pacific region.<br />

This launched the initiative to collect and document<br />

data on the factory—the “Makkasan Heritage<br />

Documentation” project. The project was run by<br />

the Urban Heritage Network, a group created to<br />

support and coordinate on all types of documentation.<br />

The initiative also helped the factory staff learn<br />

more about the historical values of their workplace.<br />

ภูมิทัศน์ที่แปลกตาและมีความ<br />

เป็นเอกลักษณ์ในโรงงาน<br />

มักกะสันที่รายล้อมด้วยต้นไม้<br />

ใหญ่<br />

The curious and unique<br />

landscape inside the<br />

Makkasan Factory, located<br />

among the trees<br />

เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 เครือข่าย Vernadoc นําโดย<br />

ผศ.สุดจิต สนั่นไหว นําทีมนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ม.รังสิต และสถาบันอาศรมศิลป์ เข้าเก็บข้อมูลมรดก<br />

สถาปัตยกรรมด้วยวิธี Vernadoc ของโรงงาน 5 หลัง​<br />

ในมักกะสัน และมีการจัดนิทรรศการให้คนในโรงงานเข้าชม<br />

เป็นที่สนใจและสร้างความภาคภูมิใจให้คนในโรงงานอย่างมาก<br />

นอกจากนี้การเห็นคุณค่าร่วมกันของคนในโรงงานและภาค<br />

ประชาสังคม ยังทําให้เกิดความร่วมมือที่เห็นเป็นรูปธรรมเช่น​<br />

โครงการซ่อมประตูไม้ อาคาร 2465 ที่สมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ เคยให้รางวัลไว้ และกรมศิลปากรได้มาสํารวจและ<br />

ระบุคุณค่าไว้เป็นอาคารที่มีคุณค่าเป็นโบราณสถาน แม้จะ<br />

ยังไม่ได้มาขึ้นทะเบียน แต่ได้ออกจดหมายมาถึงการรถไฟ<br />

แห่งประเทศไทยว่าจะดําเนินการอะไรต้องแจ้งไปทางกรมศิลป์ ​<br />

ก่อน ในการนี้เมื่อจะต้องมีการซ่อมประตูทางเครือข่ายมรดก​<br />

เมืองก็เป็นธุระจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านงานไม้เเบบโบราณ คือ<br />

อ.สันทัน เวียงสิมา ที่อาสาสมัครมาถอดแบบประตูโบราณนี้<br />

ให้ทางช่างไม้ของโรงงานทําการซ่อมให้ถูกวิธี โดยมีคุณวสุ<br />

โปษยะนันทน์ จากกรมศิลปากรมาให้คําปรึกษาในการดําเนิน​<br />

งานด้วย งานภาคปฏิบัติอีกงานหนึ่งคือการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ ​<br />

The documentation project increased public<br />

awareness towards conservation, participation,<br />

and ownership of the Makkasan heritage. BIGTrees<br />

Project joined the Urban Heritage Network in the<br />

study of the site and tree cataloging, driving an initiative<br />

to conserve ancient trees in the area. On 26 June<br />

2018, the authority of the Railway of Thailand held<br />

an event on the site to celebrate the 109th anniversary<br />

of the Makkasan Factory and to bless the ancient<br />

trees in the area. They were not opposed to development,<br />

but they stressed that the values and history<br />

should be actively preserved.<br />

In August 2018, the Vernadoc network, led by<br />

Assistant Professor Sudjit Sananwai with students<br />

from the Faculty of Architecture at Rangsit University<br />

and Arsom Silp Institute of the Arts, sought to<br />

collect and document the data of the architectural<br />

heritage using the Vernadoc methodology. All five<br />

factory houses in Makkasan had been covered, and<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 6 7<br />

Refocus Heritage


อย่างถูกวิธีโดยรุกขกรจากเครือข่ายบิ๊กทรีเนื่องมาจากการ​<br />

ที่เรามาทําการปักหมุดต้นไม้และคนในพื้นที่มีความต้องการ​<br />

รัดต้นไม้ แต่เกรงว่าจะทําไม่ถูกวิธี ทางเราจึงได้ประสานกับ<br />

คุณอนันตา อินทรอักษรแห่งกลุ่มบิ๊กทรีประสานเครือข่ายให้​<br />

รุกขกรมืออาชีพที่อยากเห็นต้นไม้ใหญ่ในมักกะสันได้รับการ<br />

ดูแลอย่างดี จึงได้เข้ามาเริ่มงานกันในช่วงเดือนมีนาคม2563<br />

และยังมีโครงการต่อเนื่องอีกมากในการช่วยกันดูแลแหล่ง<br />

มรดกวัฒนธรรมระดับโลกเเห่งนี้ ทางการรถไฟฯ เองก็เริ่ม​<br />

เห็นคุณค่าและกําลังจัดทําหนังสือ 110 ปี โรงงานมักกะสัน​<br />

ซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันฉลอง110 ปีโรงงาน ในเดือนมิถุนายนปีนี้<br />

สําหรับขั้นตอนการดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภายใน<br />

โรงงานมักกะสันครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าต่อจากที่เคยทําเป็น<br />

รายงานมรดกสถาปัตยกรรมไว้ มีเป้าหมายเพื่อเก็บข้อมูลใน​<br />

ทุกด้าน เพื่อจัดทําเป็น Open Data แม้จะยังไม่ได้มีงบประมาณ​<br />

สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ก็ค่อยๆ ​<br />

เดินหน้าไปได้ด้วยพลังของอาสาสมัครหลากหลายสาขาและ<br />

สถาบันการศึกษา เช่น ช่างภาพฟิล์มกระจกแบบโบราณ<br />

การเข้าไปสํารวจต้นไม้ใหญ่<br />

ทําให้คนในโรงงานมักกะสัน<br />

ตื่นตัวในการเห็นคุณค่าของ<br />

ต้นไม้ใหญ่ และจัดพิธีบวช<br />

ต้นไม้ใหญ่ในวันทําบุญครบ<br />

รอบ 109 ปี โรงงานมักกะสัน<br />

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562<br />

The cataloguing of larger<br />

trees in the area widely<br />

engaged the factory<br />

workers. The trees were<br />

blessed at the 109th<br />

Anniversary ceremony<br />

on 26 June 2019<br />

ช่างภาพฟิล์มขาวดําหรือดิจิทัลเข้ามาช่วยเก็บภาพภายใน<br />

โรงงาน การเก็บข้อมูล GIS ต้นไม้ใหญ่ร่วมกับภาควิชา​<br />

ภูมิศาสตร์คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ​<br />

ตั้งเป้าไว้ด้วยว่าจะมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักรต่างๆ<br />

อย่างละเอียด รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่มีองค์ความรู ้ที่<br />

เคยทํางานในนั้นเป็นต้นปัจจุบันเริ่มมีองค์กรภาคเอกชนเข้ามา​<br />

สนับสนุนเพิ่มเติมบ้างในเรื่องการจัดท ํา​3D scan ที่ในอนาคต​<br />

สามารถเปิดเป็น Museum Online หากผู้ที่สนใจอยากเข้าร่วม​<br />

เป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้ก็สามารถมาร่วมกับกลุ่ม Urban<br />

Heritage Network ได้เต็มที่ เพราะอาจารย์ปองขวัญตั้งใจ<br />

เก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนทุกด้านให้มากที่สุด เเละ<br />

สามารถต่อยอดการพัฒนาเชิงอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการพัฒนา<br />

อย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป “เราต้องมองเก่าให้ใหม่ ไม่ใช่​<br />

แค่สถาปัตยกรรม แต่รวมถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับคน ต้นไม้<br />

และอื่นๆ ถ้าต่อไปเราสามารถดึงคนที่สนใจได้หลากหลาย​<br />

ไม่ว่าจะเป็นนักพฤกษศาสตร์ นักสิ่งแวดล้อม นักพัฒนาที่<br />

เห็นคุณค่าของมรดกในพื้นที่นักพิพิธภัณฑ์ศิลปิน หรืออื่นๆ​<br />

งานก็จะไปต่อได้อีกเรื่อยๆ” อาจารย์ปองขวัญกล่าวทิ้งท้าย<br />

a small exhibition was held to engage both factory<br />

staff and visitors.<br />

The joint effort from the factory staff and the civil<br />

society sector also drove solid actions. The reparation<br />

of the wooden gate from the 2465 building was<br />

one example. The project had been awarded a<br />

prize by <strong>ASA</strong>. As the government Fine Arts Department<br />

had previously inspected and recorded the building<br />

in their database, the Railway of Thailand was<br />

now required to submit all of their maintenance or<br />

modification plans to the Department for official<br />

approval, even though the site had not yet been<br />

officially listed as a national heritage. As a result,<br />

the civil heritage section of the Department assisted<br />

by recruiting Professor Santhan Wiangsima, an<br />

expert on ancient woodwork, to join the reparation<br />

of the old gate. His draft allowed the factory<br />

carpenters to restore the gate successfully. Vasu<br />

Poshyanandana from the Department also joined<br />

as advisor and supervised the reparation himself.<br />

Other specialists were involved in the modification<br />

of the older trees around the area, using the method<br />

of arboriculture with the assistance of the BIGTrees<br />

network. As the re-arrangement of ancient trees<br />

was a complicated task, expert knowledge was<br />

required. The project team coordinated with<br />

Ananta Intra-aksorn from BIGTrees and recruited<br />

other expert arborists. The project kickstarted<br />

in March 2020, with several other initiatives in<br />

the pipeline to restore and maintain this cultural<br />

heritage. The Railway of Thailand also supported<br />

the effort by preparing an Anniversary Book to<br />

commemorate the 110 years of the factory, which<br />

should be published by the celebration in June 2020.<br />

The Makkasan Heritage Documentation project<br />

started from a report on the architectural heritage,<br />

with the goal of collecting comprehensive data on<br />

the Makkasan Factory and establishing an open<br />

data source for the public. Thus far, the project<br />

has not been officially sponsored by any organization<br />

and has depended solely on volunteer efforts from<br />

schools and institutions. Traditional window film<br />

artists and digital and monochrome photographers<br />

contributed as volunteers. GIS data collection of<br />

the trees was handled by the Department of Geology<br />

at the Faculty of Social Sciences of Srinakharinwirot<br />

University. Next, the project plans to collect<br />

comprehensive data of the tools and equipment in<br />

the factory, as well as interview the staff members<br />

for their know-how. Currently, the project receives<br />

assistance from private organizations. Some of<br />

the efforts include creating 3D scans that can be<br />

launched into an online museum in the future.<br />

Those who wish to volunteer their assistance can<br />

subscribe to the Urban Heritage Network. It was<br />

the intention of Professor Pongkwan to collect and<br />

document as much data as possible and to develop<br />

the project into a sustainable development and<br />

conservation effort. “We need to refocus on our<br />

heritage, not just on architecture, but also on the<br />

knowledge of the demographics and other related<br />

areas. If we manage to recruit different volunteers<br />

such as botanists, environmentalists, developers,<br />

curators, artists—everyone who appreciates our<br />

local heritage—our contribution will become<br />

substantial,” concluded Professor Pongkwan.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 8 9<br />

Refocus Heritage


UPDATE<br />

‘Resilience’ through Time<br />

Bangkok Design Week 2020<br />

Text: ปภพ เกิดทรัพย์ / Paphop Kerdsup<br />

Translation: ฐิติรัตน์ ม่วงศิริ / Thitirat Muangsiri<br />

Photo: สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) /<br />

Creative Economy Agency (Public Organization)<br />

ดูเหมือนว่าครั้งที่ 3 ของเทศกาลงานออกแบบ<br />

กรุงเทพฯ หรือ Bangkok Design Week 2020 ​<br />

ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่1-9 กุมภาพันธ์ 2563​<br />

ที่ผ่านมาจะได้รับเสียงตอบรับที่ค่อนข้างดีจาก<br />

หลายๆ ส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพาเรา<br />

ออกไปร่วมค้นแนวทางในการ “ปรับตัว” และ​<br />

ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ​<br />

ทั้งในปัจจุบันและอนาคตผ่านการใช้ความคิด<br />

สร้างสรรค์ตามธีมหลักของงาน ‘Resilience:​<br />

New Potential for Living ปรับตัว > อยู่รอด >​<br />

เติบโต’ รวมทั้งความพยายามสร้าง node ​<br />

ของย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ขึ้นนอกเหนือจาก<br />

เจริญกรุง ด้วยการกระจายพื้นที่การจัดกิจกรรม​<br />

ออกไปยังส่วนต่างๆ ของกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น<br />

ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ ที่มีแกนนําหลักเป็นกลุ่ม​<br />

Thinkering Pot ย่านทองหล่อ-เอกมัย โดย<br />

กลุ่มผู้ประกอบการในย่านที่ใช้ชื่อว่า เพื่อนบ้าน​<br />

สร้างสรรค์ทองเอก (ThongEk Creative<br />

Neighborhood) หรือในบริเวณสามย่าน ที่<br />

พื้นที่ทดลองแห่งใหม่ๆ พร้อมใจกันเปิดตึกแถว<br />

ให้เข้าไปร่วมงาน<br />

It seems that the third annual Bangkok<br />

Design Week, which was held from<br />

1st-9th February 2020, has received a<br />

lot of positive feedback, especially for<br />

how it has proposed new ways of adapting<br />

to current and future situations through<br />

creativity. This coincides with the theme<br />

of the event ‘Resilience: New Potential<br />

for Living, Adapt > Survive > Grow.’ The<br />

event also tries to establish new creative<br />

districts apart from Charoenkrung by<br />

extending the activity areas to various<br />

parts of Bangkok, including Ari-Pradipat,<br />

led by the group Tinkering Pot, Thonglor-<br />

Ekkamai, operated by a collaborative<br />

group of entrepreneurs in the area<br />

called ThongEk Creative Neighborhood, or<br />

Samyan where people have cooperatively<br />

opened their shophouses for the event.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 10 11<br />

Refocus Heritage


อย่างไรก็ตาม หากเราย้อนกลับมาที่ย่าน<br />

เจริญกรุงซึ่งเป็นจุดหมายหลักของงาน และ<br />

เป็นต้นแบบของการพัฒนา “ย่านสร้างสรรค์”<br />

โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์<br />

(องค์การมหาชน) จะพบว่านอกจากการเข้าไป<br />

ทํางานร่วมกับชุมชนของบรรดานักออกแบบ<br />

เพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นโครงการต่างๆ แล้ว​<br />

ในปีนี้ยังมีผู้จัดงานหลายกลุ่มทีเดียวที่เข้าไปใช้<br />

พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในที่นี้นับรวมทั้ง<br />

อาคารโบราณสถาน และอาคารที่มีเรื่องเล่าทาง<br />

ประวัติศาสตร์ของตัวเองเป็นพื้นที่ในการนําเสนอ​<br />

แนวความคิดและผลงาน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่<br />

การมองภาพความเป็นไปได้ในอนาคต การ​<br />

นําเสนอพัฒนาการของปัจจุบัน และการย้อน<br />

สํารวจตัวตนในอดีต โดยเราขอยก 3 กิจกรรม​<br />

ใน 3 พื้นที่มากล่าวถึงในกรณีนี้ว่า“การปรับตัว”​<br />

ภายในช่วงเวลาที่ต่างกันนั้นเป็นอย่างไร<br />

พื้นที่แรกที่เราอยากจะพูดถึงคือ“บ้านเหลียวแล”​<br />

ภายในย่านตลาดน้อย โดยหลังจากที่ในปีก่อน<br />

ได้มีการเปิดพื้นที่ให้คนเข้าไปร่วมชมกันเป็น<br />

ครั้งแรกด้วยนิทรรศการ “ของ” (belong) จน<br />

ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีแล้ว ในปีนี้พื้นที่<br />

ของบ้านจีนโบราณอายุกว่า 100 ปี ที่รู้จักกัน<br />

ในชื่อเดิมว่า บ้านนายฮวยจิ๋น เปิดประตูอีกครั้ง<br />

แล้วพาเราข้ามอนาคตไปยังกรุงเทพฯ ในปี<br />

ค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นทั้งปีที่องค์การสหประชาชาติ ​<br />

ประกาศว่าจํานวนประชากรของโลกจะพุ่งขึ้นไป<br />

แตะที่ 9.7 พันล้านคน และเป็นปีที่งานวิจัยใน<br />

วารสาร Nature Communications คาดการณ์<br />

ไว้ว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่จะจมอยู่<br />

ใต้นํ้ำ ผ่านนิทรรศการ Bangkok Sealandia<br />

โดย suMphat gallery ซึ่งผลงานออกแบบ​<br />

ทั้ง 8 ชิ้น โดยนักออกแบบรุ่นใหม่14 คน​<br />

ต่างนําเสนอแนวทางในการอยู่รอดของกรุงเทพฯ​<br />

ภายใต้ช่วงเวลาที่นํ้ำแข็งขั้วโลกละลายไปหมด<br />

ตั้งแต่การคิดกับการบริหารจัดการทรัพยากร<br />

และนํ้ำใหม่ การจัดการกับอาหาร ไปจนถึง​<br />

การนําเสนอโครงสร้างกึ่งชีวภาพที่วัสดุอย่างเม็ด​<br />

พลาสติกรีไซเคิลทํางานร่วมกับธรรมชาติเพื่อหา<br />

ทางลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์<br />

However, if we come back to the<br />

Charoenkrung area, which is the main<br />

location of the event and the original<br />

creative district developed by the Creative<br />

Economy Agency, we find that not only<br />

do the designers collaborate with<br />

communities to develop projects, but<br />

this year, several event organizers also<br />

used historically significant sites and<br />

buildings to present their ideas. These<br />

projects imagined future possibilities,<br />

presented current developments, and<br />

reflected on the past. Three activities<br />

from three different areas show what<br />

“adapting” could look like according to<br />

different periods of time.<br />

The first area is Baan RealRare in Taladnoi.<br />

Last year, this area was open for everyone<br />

to visit for the first time as part of an<br />

exhibition called “belong.” This year,<br />

the site of a more than 100-year-old<br />

Chinese house, which is also known by<br />

its original name ‘Baan Nai Huay Jin,’ is<br />

open again and brings us to the future<br />

to see Bangkok in 2050 AD, which is<br />

the year that the United Nations has<br />

announced the world’s population will<br />

reach 9.7 billion, and the year in which<br />

the Nature Communications journal<br />

predicted that Thailand will be an<br />

underwater area. Eight projects by<br />

fourteen designers revealed how Bangkok<br />

can survive when the ice caps at the North<br />

and the South poles have disappeared<br />

by considering new food, water, and<br />

resource management systems, and by<br />

reducing carbon emissions through the<br />

recycling of materials like plastic granules.<br />

These were shown in the Bangkok Sealandia<br />

exhibition at the suMphat gallery.<br />

นิทรรศการ Bangkok Sealandia​<br />

คิวเรตโดย suMphat gallery<br />

นําเสนอ 8 ผลงานออกแบบ<br />

เชิงคาดการณ์ (speculative<br />

design) จากนักออกแบบรุ่นใหม่ ​<br />

ชาวไทยที่มุ่งค้นหาแนวทาง<br />

การอยู่รอดของกรุงเทพฯ​<br />

เมื่อเมืองหลวงแห่งนี ้ต้องจมน้ํา<br />

เพราะวิกฤตการณ์ที่เกิดจาก<br />

การเปลี่ยนแปลงของสภาพ​<br />

ภูมิอากาศ (climate crisis)<br />

ในปี 2050<br />

Curated by suMphat gallery,<br />

Bangkok Sealandia’ presents<br />

eight speculative design<br />

projects by emerging Thai<br />

designers; proposing several<br />

solutions for the drowning<br />

Bangkok and its inhabitants<br />

to survive from climate<br />

crisis in the year 2050<br />

พื้นที่ถัดมาซึ่งเริ่มเปิดให้จัดกิจกรรมและได้รับ<br />

กระแสตอบรับที่ดีเช่นกันคือ“บ้านพักตํารวจนํ้ำ”​<br />

ภายในซอยเจริญกรุง 36 ซึ่งในปีนี้สถาน<br />

เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจําประเทศไทย<br />

(ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่จัดงาน)ได้เลือก<br />

นําผลงานบางส่วนจากโครงการ D17/20 Design​<br />

in Southeast Asia มาจัดแสดง โดยระหว่าง​<br />

ปี พ.ศ. 2560-2563 นักออกแบบชาวไทย<br />

อินโดนีเซีย และเวียดนาม 43 คน ตลอดจน<br />

ช่างฝีมือและผู้ผลิตในท้องถิ่น ได้ร่วมเวิร์คช็อป<br />

และทํางานกันในลักษณะ co-creation กับ​<br />

นักออกแบบชาวฝรั่งเศส จนเกิดเป็นผลงานกว่า​<br />

100 ชิ้น ที่แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของการ<br />

ต่อยอดทักษะฝีมือท้องถิ่นและนําเสนอรูปแบบ​<br />

การพัฒนาใหม่ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วย<br />

สะท้อนแนวการปรับตัวและอยู่รอดของงาน<br />

The next area, which has just opened<br />

for activities, is the Marine Police Lodging<br />

in Soi Charoenkrung 36. This year, the<br />

Embassy of France in Thailand selected<br />

work from the D17/20 Design in Southeast<br />

Asia project to display . From 2017-2020,<br />

forty-three Thai, Indonesian, and<br />

Vietnamese designers, along with local<br />

craftsmen and manufacturers, attended<br />

the workshop and worked in a co-creation<br />

model with French designers to produce<br />

over 100 works that show the importance<br />

of developing local skills and new<br />

production methods. This process reflects<br />

how craft can adapt and survive in the<br />

present and in the future. Since the old<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 12 13<br />

Refocus Heritage


โครงการ D17/20 Design in<br />

Southeast Asia นําเสนอผลงาน​<br />

ออกแบบกว่า 100 ชิ้น ซึ่งเกิด<br />

จากความร่วมมือกันระหว่าง<br />

นักออกแบบชาวฝรั่งเศส​<br />

และนักออกแบบชาวไทย<br />

อินโดนีเซีย เวียดนาม ตลอดจน​<br />

ช่างฝีมือท้องถิ่นจากแต่ละ<br />

ประเทศ<br />

‘D17/20 Design in<br />

Southeast Asia’ showcases<br />

more than 100 pieces of<br />

design objects resulted<br />

from the collaboration and<br />

co-creation between French<br />

designers and Thai,<br />

Indonesian, and Vietnamese<br />

designers as well as the<br />

local craftsmen from each<br />

country<br />

นิทรรศการภาพถ่าย “Hundred​<br />

Years Between” โดย<br />

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน<br />

จัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ<br />

115 ปี ความสัมพันธ์ทาง​<br />

การทูตระหว่างไทย-นอร์เวย์<br />

นิทรรศการนี้เป็นกิจกรรม<br />

สุดท้ายที่ถูกจัดขึ้นภายในอาคาร​<br />

ศุลกสถาน หรือโรงภาษีร้อย<br />

ชักสาม ก่อนที่อาคารจะปิดตัว<br />

ลงเพื่อบูรณะซ่อมแซมเป็น<br />

ระยะเวลาประมาณ 6 ปี<br />

‘Hundred Years Between,’<br />

a photo exhibition by<br />

Thanphuying Sirikitiya<br />

Jensen celebrating the<br />

115th anniversary of<br />

diplomatic relations between<br />

Thailand and Norway. This<br />

exhibition is the last activity<br />

hosted in the Old Customs<br />

House before the built<br />

structure will be closed<br />

for about six years as it<br />

undergoes extensive<br />

renovationslocal craftsmen<br />

from each country<br />

หัตถศิลป์ในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี<br />

ด้วยความที่โครงสร้างของบ้านพักตํารวจนํ้ำนั้น<br />

ไม่สามารถรองรับนํ้ำหนักได้มากเนื่องจาก<br />

อาคารเดิมมีอายุมาก ทําให้นิทรรศการนี้<br />

สามารถรองรับให้คนขึ้นไปเข้าชมได้เพียงรอบละ​<br />

ประมาณ 15 คนเท่านั้น จนทําให้มีคนต้อง​<br />

ต่อคิวรอกันเป็นจํานวนมาก อย่างไรก็ตาม<br />

เป็นข่าวดีที่หลังจากการจัดแสดงภายในงาน<br />

Bangkok Design Week 2020 แล้ว ผลงาน<br />

ชิ้นต่างๆ จะถูกนําไปพัฒนาต่อเป็นนิทรรศการ<br />

หมุนเวียนที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ<br />

(TCDC) ก่อนที่จะถูกนําไปจัดแสดงต่อที่เมือง<br />

ลิลล์ ประเทศฝรั่งเศส ในโอกาสที่เมืองลิลล์ได้<br />

รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งการออกแบบโลก<br />

(World Design Capital) ประจําปี 2020<br />

พื้นที่สุดท้ายซึ่งถือเป็นไฮไลท์หลักของงาน<br />

Bangkok Design Week ในปีนี้ คือนิทรรศการ​<br />

Hundred Years Between ภายในพื้นที่อาคาร<br />

ศุลกสถาน หรือโรงภาษีร้อยชักสาม (หรือที่<br />

รู้จักเป็นวงกว้างในอีกชื่อว่าสถานีดับเพลิงบางรัก)​<br />

ซึ่งเป็นอาคารรูปแบบ Palladianism อายุ 136 ปี​<br />

ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลี Joachim<br />

Grassi ในสมัยรัชกาลที่ 5 ความน่าสนใจของ<br />

นิทรรศการภาพถ่ายซึ่งจัดขึ้นในวาระครบรอบ<br />

115 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง<br />

ไทย-นอร์เวย์ พ.ศ. 2563 นี้ คือการที่ผู้เข้าชม<br />

จะได้เข้าไปมีส่วนร่วม “อ่าน” บทสนทนา<br />

ระหว่างท่านผู้หญิงฯ และรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้​<br />

เดินทางไปยังสถานที่เดียวกันในระยะเวลาที่<br />

ห่างกันกว่า 100 ปี ผ่านภาพภ่ายของภูมิทัศน์<br />

ที่สะท้อนความเหมือนและต่างของปัจจุบัน<br />

ผ่านภาพบางส่วนจากอัลบั้ม “‘รูปทรงถ่าย<br />

เดือนหนึ่งในนอร์เวย์รัตนโกสินทรศก ๑๒๖” และ​<br />

บางส่วนของเนื้อหาจากพระราชนิพนธ์“ไกลบ้าน”​<br />

ที่แสดงให้เห็นช่วงเวลาของอดีตที่ถูกบันทึกไว้<br />

และผ่านจดหมายจํานวน 4 ฉบับ ที่ท่านผู้หญิงฯ​<br />

เขียนถึงรัชกาลที่ 5 ซึ่งบอกเล่าความสัมพันธ์<br />

ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน และระหว่างมนุษย์กับ<br />

ธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจ<br />

structure of the Marine Police Lodging<br />

cannot support much weight, the exhibition<br />

could accommodate only about fifteen<br />

visitors per round, resulting in long<br />

queues. However, the good news is<br />

that after being displayed at Bangkok<br />

Design Week 2020, all the work will be<br />

developed into a traveling exhibition at<br />

Thailand Creative and Design Center<br />

(TCDC) before being displayed in Lille,<br />

France on the occasion of Lille being<br />

designated as a world design capital<br />

in 2020.<br />

The last area, which is the highlight of<br />

Bangkok Design Week 2020, is the<br />

exhibition called ‘Hundred Years Between,’<br />

located on the site of the old Customs<br />

House (also widely known as the Bang Rak<br />

Fire Station). The 136-year-old building<br />

was designed by Italian architect Joachim<br />

Grassi in the Palladian style during the<br />

reign of King Rama V. The interesting<br />

part of this photography exhibition,<br />

which celebrates 115 years of diplomatic<br />

relations between Thailand and Norway,<br />

is that visitors can participate in “reading”<br />

the conversations between Lady<br />

Sirikittiya and King Rama V, who traveled<br />

to the same destination a hundred<br />

years earlier. This is displayed through<br />

photographs of the scenery that reflect<br />

similarities and differences between<br />

the past and the present. Examples of<br />

this comparison include parts of the<br />

album “Royal Photograph, One Month<br />

in Norway, Rattanakosin Era 126,” parts<br />

of the royal writing “Klai-Ban” that<br />

portrays the recorded story of the past,<br />

and four letters that Lady Sirikittiya<br />

wrote to King Rama V, which describe<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 14 15<br />

Refocus Heritage


องค์ประกอบต่างๆ ที่ถูกจัดแสดง ซึ่งได้ใจทิพย์<br />

ใจดี มารับหน้าที่เป็นผู้กํากับศิลป์และออกแบบ<br />

นิทรรศการ และได้กนกพร นุชแสง จาก APLD​<br />

มารับหน้าที่ออกแบบแสงสว่าง ทํางานร่วมกับ<br />

ร่องรอยของกาลเวลาที่เกิดขึ้นภายในอาคาร​<br />

เป็นอย่างดี จนทําให้ตัวพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม<br />

เองก็สามารถสร้างบทสนทนาอีกชุดหนึ่งขึ้นมา<br />

ร่วมพูดคุยกับผู้ชมได้อีกด้วย และเพราะความ<br />

เก่าแก่ของโครงสร้างอาคารจนทําให้พื้นที่แห่งนี้<br />

จะเปิดให้เข้าชมเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะถูกปิด<br />

เพื่อทําการบูรณะเป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปลายเดือน​<br />

กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป ทําให้ Hundred<br />

Years Between นั้นสามารถรองรับผู้ชมได้เพียง​<br />

รอบละประมาณ 20 คนเท่านั้น<br />

แม้ว่าในปีนี้เราจะได้เห็นความหลากหลายของ<br />

มุมมองที่มากขึ้นจากการจัดงาน รวมทั้งเริ่ม​<br />

ได้เห็นรูปแบบของการนําเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง<br />

กับการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนา​<br />

ไปในทางที่ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการกระจาย​<br />

ตัวของพื้นที่กิจกรรมไปยังย่านต่างๆ ที่ในที่นี้<br />

อาจจะดูมากเกินไปกว่าระยะเวลาที่มีอยู่เพียง<br />

ประมาณ 1 สัปดาห์เศษของการจัดงาน ก็ทําให้​<br />

นํ้ำเสียงของ Bangkok Design Week 2020<br />

ในปีนี้แผ่วลงกว่าเดิม เมื่อเทียบกับปีก่อนที่<br />

ความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกระจายตัวอยู่เพียงใน<br />

ย่านเจริญกรุงและตลาดน้อยนั้น ส่งเสียงได้เป็น<br />

อันหนึ่งอันเดียวกันกว่า การได้เห็นว่าจํานวน<br />

ของแนวความคิดและผลงานที่น่าติดตามเพิ่ม<br />

มากขึ้น ซึ่งแปรผันตรงกับจํานวนของผู้เข้าร่วม<br />

งานที่ให้ความสนใจในงานออกแบบมากขึ้นกว่า<br />

ในอดีตนั้นเป็นเรื่องดี เพราะนั่นได้สะท้อนให้<br />

เห็นว่าความพยายามของ TCDC ที่ต้องจะสร้าง<br />

ความเข้าใจใน “งานออกแบบ” ให้มากขึ้นกับ<br />

สาธารณชนตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้นเริ่ม<br />

สัมฤทธิผล ทว่าจํานวนที่มากขึ้นก็เป็นอีกความ<br />

ท้าทายใหม่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบเช่นกัน<br />

ว่าจะทําอย่างไรจึงจะสามารถจัดการและส่งออก​<br />

ข้อมูลที่มีนั้นให้ไปถึงผู้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

ในยุคที่ข้อมูลจํานวนมหาศาลไหลบ่าอยู่รอบตัว<br />

หน้าที่ของผู้ถือครองข้อมูลซึ่งในกรณีนี้คือTCDC​<br />

the relationships between past and<br />

present and human and nature in an<br />

interesting way.<br />

The elements displayed in the exhibition,<br />

which are organized by Jaitip Jaidee,<br />

the exhibition art director and designer,<br />

and Kanokporn Nuchsaeng, the director<br />

of APLD lighting design, are well-suited<br />

to the historical character of the building.<br />

This creates a kind of conversation<br />

between the architecture and the audience.<br />

Due to the age and condition of the<br />

building, ‘Hundred Years Between’ could<br />

only accommodate approximately<br />

twenty visitors per round, and immediately<br />

after the conclusion of Bangkok Design<br />

Week, it has been closed for renovation<br />

for six years.<br />

Although we can see more diverse<br />

perspectives from the event and more<br />

creative content and presentation<br />

formats , the distribution of activities<br />

across many areas over a week-long<br />

event can make Bangkok Design Week<br />

2020 seem a bit low-key. Last year,<br />

the creative output was concentrated<br />

within the area of Charoenkrung and<br />

Taladnoi, and it could communicate a<br />

more unified message, but seeing such<br />

a large increase in the number ideas,<br />

projects, and participants positively<br />

reflects the successful efforts of TCDC<br />

over the last ten years to make the public<br />

understand more about how design works.<br />

This increasing number has proven to be<br />

a challenge for participating institutions,<br />

especially in terms of how information<br />

is managed and conveyed to people<br />

effectively.<br />

แม้ว่าในปีนี้บรรยากาศภายใน<br />

ย่านตลาดน้อยจะดูคึกคักน้อย<br />

ลงกว่าปีก่อน เนื่องจากการ​<br />

กระจายตัวของพื้นที่จัดกิจกรรม​<br />

งานไปยังย่านต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ​<br />

แต่กิจกรรม LnWปs:nาuIwaJ​<br />

(เทพประทานเพลง) โดย<br />

Eyedropper Fill ที่เปลี่ยนพื้นที่​<br />

หน้าศาลเจ้าโรงเกือกประจํา<br />

ชุมชนตลาดน้อยให้กลายเป็น<br />

ลานคาราโอเกะนั้น สามารถ<br />

สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน​<br />

และผู้คนที่ผ่านไปมาได้อย่าง<br />

น่าสนใจเลยทีเดียว<br />

Despite the extension of<br />

this year’s venues to other<br />

parts of Bangkok which<br />

makes the vibe around<br />

Talad Noi neighborhood<br />

less vibrant than that of<br />

last year, how Eyedropper<br />

Fill’s ‘Thep Pra Than Pleng’<br />

transforms the courtyard<br />

in front of Rong Kueak<br />

Shrine into a place for<br />

karaoke has introduced a<br />

fun and intriguing way to<br />

create interaction between<br />

the locals and the<br />

passersby<br />

และสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์<br />

(องค์การมหาชน) จึงอาจจะไม่ใช่เพียงนําเสนอ<br />

หรือส่งต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่อีกต่อไปแต่ยังควร<br />

จะต้องหาวิธีการจัดการและคัดสรรเนื้อหานั้นๆ<br />

ให้อยู่ในรูปแบบและปริมาณที่เหมาะสมกับ<br />

ศักยภาพของแต่ละบุคคล เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะ<br />

สามารถปรับตัว อยู่รอด และเติบโต ได้อย่างที่<br />

ตั้งจุดหมายไว้<br />

In this era of abundant information,<br />

the responsibility of the information<br />

providers—in this case, TCDC and the<br />

Creative Economy Agency—is not only<br />

to present or distribute knowledge<br />

anymore, but also to manage and select<br />

appropriate formats and platforms so<br />

people can adapt, survive, and grow<br />

according to the event’s objectives.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 16 17<br />

Refocus Heritage


INTERVIEW<br />

A Talk with Master:<br />

Assoc. Prof. Vivat Temiyabandha<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> ได้รับเกียรติเข้าไปพูดคุยกับรองศาสตราจารย์วิวัฒน์เตมียพันธ์ หรือ อาจารย์จิ๋ว<br />

บรมครูท่านหนึ่งของวงวิชาการสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในบ้านเรา ว่าด้วยเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม<br />

และภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย<br />

Text: กฤษณะพล วัฒนวันยู / Kisnaphol Wattanawanyoo<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

_ด้วยประสบการณ์การสอนหนังสือและการทำวิจัย<br />

อยากให้อาจารย์ช่วยสะท้อนถึงวงการสถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่นในแง่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญา<br />

ของไทย<br />

เริ่มว่าชีวิตชาวบ้านเป็นชีวิตที่ไม่ซับซ้อนชาวนาเลี้ยงตัวเอง<br />

พึ่งพาตัวเองได้ สร้างสภาพแวดล้อมเป็นหมู่บ้าน ที่พัก<br />

อาศัยของเขาโดยอาศัยประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอด<br />

มาจากบรรพบุรุษ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็มีความรู้เอง ในสังคม<br />

ยุคนั้นพอเกิดมาแล้วก็ได้เรียนรู้ถึงการดํารงชีวิตเพื่อ​<br />

เอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อมและความรู้จากบรรพบุรุษ<br />

ที่ทิ้งไว้ให้ เพราะฉะนั้นเวลาเรารับความรู้หนึ่งมาจาก<br />

บรรพบุรุษเท่ากับเรารับมรดกมา แต่เราไม่รู้ว่าเป็นมรดก​<br />

เราพูดภาษาไทยได้ ทําอาหารไทย แต่ไม่มีสํานึกรับรู้<br />

เราไม่รู้คุณค่าแต่สามารถดํารงอยู่ได้ด้วยความรู้ที่ได้รับมา​<br />

จากบรรพบุรุษ ตั้งแต่ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อม ปรับตัว<br />

ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม<br />

สมัยก่อนที่เราดํารงชีวิตอยู่ได้นั้นเรายังไม่ได้รับการศึกษา​<br />

แบบสมัยใหม่ การศึกษาแบบสมัยใหม่เข้ามาก็ต่อเมื่อเรา<br />

ติดต่อตะวันตกซึ่งเข้มข้นขึ้นในสมัย ร.5 ที่ปรับเปลี่ยนสู่<br />

ความเป็นสากล ทําให้มีการส่งนักเรียนไปเรียนเมืองนอกกัน​<br />

พอไปเรียนเมืองนอก พื้นฐานความรู้แบบที่เราเคยซึมซับ<br />

ในชีวิตประจําวันเราก็ไม่นับว่าเป็นความรู้ ไปเจอของ<br />

แปลกใหม่อย่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก็คิดว่าเป็นความรู้​<br />

ที่มีความสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พอกลับมา<br />

เขาก็จึงปรับเปลี่ยนกระบวนการให้การรับความรู้เป็นการ<br />

รับจากตํารา แต่ความรู้ที่มีอยู่เดิมก่อนที่จะมีการศึกษานั้น​<br />

ก็ช่วยให้บรรพบุรุษดํารงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อม ไม่ใช่​<br />

รับความรู้มาจากบรรพุบุรุษของตนอย่างเดียวนะ แต่มีการ​<br />

ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดํารงชีวิตของตน คือ<br />

ความรู้ที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัวและหมู่บ้าน ตามพ่อ​<br />

ตามแม่ไป ผู้หญิงเรียนรู้เรื่องการทําครัว การทอผ้า​<br />

การจัดระเบียบของบ้านให้เรียบร้อย ผู้ชายต้องทํางานหนัก​<br />

ลงไร่ไถนา ฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็ไปช่วยกันเก็บเกี่ยว เวลา<br />

เก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ตามผู้ใหญ่ไปก็ทําให้เริ่มเห็นสิ่งใด​<br />

เป็นประโยชน์ ความรู้เหล่านี้ถือเป็นมรดกแต่ไม่ได้รับ<br />

การถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นความรู้ที่ฝังลึกและ<br />

ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สังคมดูแลตัวเองให้ได้พอมีประสบการณ์​<br />

ขึ้นมาเราก็สามารถพลิกผันได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้เดิมนี้​<br />

ก็จําเป็นต้องถูกปรับให้เข้ากับความรู้สมัยใหม่ เช่น​<br />

วิทยาศาสตร์ เพื่อเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม เพราะความรู้<br />

ของเราเป็นความรู้ทางเกษตรกรรม ความรู้เพื่อการดํารงชีพ​<br />

แต่ที่ผ่านมาเราไม่นับว่ามันเป็นความรู้ เช่น ชาวนา ซึ่ง<br />

เขาเลี้ยงเรานะ เขาเข้าโรงเรียนหรือเปล่า แต่ทําไมเขา​<br />

รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะไถนา ควรจะฝึกให้ควายไถนาอย่างไร<br />

จะพยากรณ์ฤดูกาลอย่างไรว่าเมื่อไหร่ฝนจะมา เข้าใจ​<br />

สิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัว หาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็น<br />

ประโยชน์มาช่วยในการดํารงชีพโดยตรง<br />

แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เปลี่ยนสถานะ<br />

ของสังคมจากระบบเกษตรกรรมสู่ระบบอุตสาหกรรม<br />

มันก็เป็นอาชีพแต่เป็นอาชีพจากภายนอกที่สังคมไทยรับ<br />

เอามา มันจึงเป็นคนละความรู้กัน ผู้ที่ไปเรียนเมืองนอก<br />

มา กลับมาเขาก็มาวางหลักสูตร ต้องเรียนเรขาคณิต<br />

พีชคณิต ตรีโกณ ต้องเรียนภาษา ถามว่าความรู้พวกนี้<br />

เรียนไปแล้วเราเอากลับมาดํารงชีวิตแบบชาวบ้านได้ไหม<br />

มันดํารงอยู่ไม่ได้ ฉะนั้นเราควรต้องรู้จักนําเอาความรู้<br />

แบบสมัยใหม่มาปรับเปลี่ยนการดํารงชีพ เพื่อเปลี่ยน<br />

สถานภาพของความรู้แบบบรรพบุรุษมาเป็นความรู้สากล<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 18 19<br />

Refocus Heritage


แต่เกษตรกรสมัยก่อน อย่างชาวสวนทุเรียน​<br />

เขาไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ทําไมเขาสามารถ<br />

พัฒนาพันธุ์ผลไม้ได้หลากหลาย ถ้าเราดู<br />

ประวัติของพระยาภาสกรวงศ์ ท่านบันทึกไว้<br />

เรื่องการทําสวนทํานาว่ากรุงเทพฯ-ฝั่งธน<br />

สามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวพันธุ์ทุเรียนได้หลาย<br />

สายพันธุ์ ปัจจุบันความรู้พวกนี้อยู่ในม.เกษตร<br />

แต่ชาวบ้านก็ยังรู้อย่างข้าวหอมมะลิที่กลายเป็น​<br />

พันธุ์ข้าวระดับโลก ถามว่าใครไปช่วยเขา​<br />

เขาได้ความรู้มาจากไหน ก็มรดกจากบรรพบุรุษ​<br />

ทั้งนั้น ต้องเข้าใจนะว่าความรู้เดิมเป็นความรู้<br />

ในระบบหนึ่ง เป็นความรู้เพื่อการดํารงชีพ<br />

รู้จักสภาพแวดล้อม พึ่งพาตนเอง แตกต่าง<br />

จากความรู้ทางชีววิทยา มันคนละระบบกัน​<br />

แต่ถ้าไม่ได้รับความรู้แบบสมัยใหม่หรือแบบ<br />

สากลเราก็อยู่แบบชาวเขา อยู่แบบประเทศที่<br />

ไม่ได้ติดต่อกับใครซึ่งไม่มีแล้ว เพราะตอนนี้<br />

โลกเป็นสากล ความรู้ต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนกัน​<br />

แต่การแลกเปลี่ยนนี้ถ้าเราไม่เฉลียวใจทัน​<br />

มันจะกลายเป็นการปฏิเสธความรู้เดิมและ<br />

ไม่ได้พัฒนาต่อไป<br />

_เราจะผสมผสานความรู้สมัยใหม่และ<br />

ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้อย่างไร<br />

ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์หรือสากลที่มีความ<br />

ซับซ้อน ละเอียดอ่อน ถ้าเข้าใจธรรมชาติและ​<br />

สามารถแปรทรัพยากรธรรมชาติที่ความรู้<br />

เดิมไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนได้เข้าสู่ระบบ<br />

อุตสาหกรรม มันจะกลายเป็นความรู้อีก<br />

ระดับหนึ่ง แต่มันก็ยาก และการปฏิวัติ<br />

อุตสาหกรรมตอนนี้ถึงยุคดิจิทัลแล้ว ตั้งรับกัน​<br />

ทันหรือเปล่า ตั้งรับคือใช้เป็นแล้วเปลี่ยนวิธีคิด​<br />

แล้วถามว่าเราใช้เป็นหรือเปล่า ทุกวันนี้ต้อง<br />

พกโทรศัพท์ มันมีประโยชน์ แต่ขณะเดียวกัน​<br />

มันก็ลวงโลก ฉะนั้นความรู้อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น​<br />

ใหม่ เราต้องรู้ทัน มีสติว่าอะไรเป็นประโยชน์​<br />

อะไรไม่เป็นประโยชน์ ประโยชน์คือทําให้เรา<br />

สามารถกลับไปหาความรู้ในอดีตที่ทําให้เรา<br />

ดํารงชีพอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น แต่<br />

ตอนนี้เราต้องพึ่งพาคนอื่นไปหมด ในยุค<br />

ดิจิทัลข้อมูลต่างๆ มันถาโถมมา ถามว่าเรา<br />

จะวางตัวอยู่ตรงไหน แล้วความรู้ที่เป็นมรดก<br />

ดั้งเดิมหายไปหมดเลย ยกตัวอย่างความรู้<br />

ทางการเกษตรที่เราสามารถพัฒนาพันธุ์พืชต่างๆ​<br />

ได้ก่อนที่ความรู้แบบสมัยใหม่จะเข้ามาลองคิดดู​<br />

ว่าถ้าเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมาในเมือง คนเมือง<br />

ตายกันหมดเพราะไม่รู้จะหากินอย่างไร<br />

ความรู้ทุกอย่างมีประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ถ้าเรา<br />

มีสติเราจะรู้ว่าความรู้เรามีอยู่เราต้องไม่ปฏิเสธ​<br />

มันเป็นมรดกของมนุษยชาติ ความรู้แบบ<br />

สมัยใหม่ก็มีประโยชน์สามารถยกระดับ​<br />

ปรับเปลี่ยนชีวิตคนเราไปอีกขั้นหนึ่ง แต่<br />

ความรู้เดิมกลับหายทั้งๆ ที่มันสามารถเลี้ยง<br />

เราได้ ฉะนั้นเมื่อเรารับมาเราต้องมีสติเท่าทัน​<br />

ยกตัวอย่างประเทศจีน เขาก็ทิ้งความรู้เดิม<br />

ไปรับความรู้แบบสมัยใหม่เหมือนกัน ถูก​<br />

จิตสํานึกแบบวิทยาศาสตร์ครอบงําอยู่พักหนึ่ง​<br />

แต่ปัจจุบันกลับมาสนใจการดํารงชีพแบบ<br />

ดั้งเดิม อนุรักษ์ป่าไม้ ชาวบ้านรู้จักหาพืชป่า​<br />

มีการรื้อฟื้นปรัชญาขงจื๊อ กลับไปหาความรู้<br />

ท้องถิ่นที่เป็นของตัวเองแท้ๆ ความรู้เดิมกับ<br />

ความรู้แบบสมัยใหม่จึงมาบรรจบกัน<br />

ที่ภูเก็ตมีลุงที่จักสานเป็นในอดีตผู้ชายก็จักสาน​<br />

ได้ เราจะเอาความรู้เรื่องการจักสานนี้กลับ<br />

มาได้อย่างไร มันจะเป็นประโยชน์ไหมกับ<br />

การพัฒนาชาวบ้านให้สามารถนําภูมิปัญญา<br />

มรดกมาอยู่กับโลกสากล และโลกสากล<br />

ยอมรับด้วย จะเชื่อมต่อตรงนี้ได้อย่างไร ​<br />

ยกตัวอย่างว่าสังคมปัจจุบันนี้เริ่มปฏิเสธ​<br />

ถุงพลาสติก ที่ทางเหนือก็มี packaging ​<br />

ที่เป็นกระดาษ มีไผ่ที่เอามาทําจักสานได้ ​<br />

อันนี้สามารถสร้างเศรษฐกิจในชุมชนได้ ​<br />

มันต้องการเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้<br />

เดิมกับแบบสมัยใหม่ที่จะช่วยให้พัฒนาเข้าสู่<br />

ชีวิตประจําวันให้เป็นประโยชน์<br />

ทีนี้ถ้าเรารู้แล้วว่าความรู้แบบสมัยใหม่มีประโยชน์ ​<br />

ก็ต้องรู้จักใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ เช่น<br />

ใช้สนับสนุนความรู้เดิมในส่วนที่ความรู้เดิม<br />

อาจจะไปไม่ถึง อย่างการกลับมาสู่เศรษฐกิจ<br />

แบบพอเพียง ทําไมกลับมาสู่เศรษฐกิจพอ<br />

เพียงล่ะ ทําไมไม่ก้าวหน้าสู่ระบบอุตสาหกรรม​<br />

ก้าวหน้าได้แต่เราต้องเท่าทันระบบอุตสาหกรรม​<br />

อะไรเป็นอุตสาหกรรมเราต้องเรียนรู้ แต่พอ<br />

เรียนรู้แล้วต้องทําให้ระบบอุตสาหกรรม​<br />

เอื้อประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่น ให้เขาสามารถ​<br />

นําระบบอุตสาหกรรมมาเอื้อประโยชน์ภูมิปัญญา​<br />

ท้องถิ่น ความรู้ทุกอย่างเป็นประสบการณ์​<br />

ในการที่มนุษย์เข้าใจธรรมชาติในแง่มุมหรือ<br />

เงื่อนไขหนึ่ง แต่ความรู้ไหนที่จะแปรทรัพยากร​<br />

ธรรมชาติให้ได้ประโยชน์มากที่สุด นี่คือ<br />

ระบบอุตสาหกรรมมันนําเรา<br />

_ถ้ามองใกล้ตัวเราทั้งในวงวิชาการและ<br />

วงวิชาชีพอาจารย์คิดว่าองค์ความรู้ทาง<br />

สถาปัตยกรรมอยู่ในขั้นวิกฤตไหม<br />

อย่าเพิ่งพูดถึงวิกฤต คอนโดฯ ขึ้นเต็มบ้าน<br />

เต็มเมือง ในชนบทชาวบ้านเปลี่ยนบ้านกัน<br />

หมดแล้ว มันไม่ใช่เรื่องของวิกฤต มันเป็น<br />

เรื่องของความเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่คน<br />

ที่มีสํานึกแล้วควรกลับมาดูงานสถาปัตยกรรม​<br />

พื้นถิ่นเพราะถือว่าเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์​<br />

อย่างไร ตอนนี้ช่างไม่มีแล้ว ช่างไม้หายไปหมด​<br />

จะรู้อะไรก็ไม่รู้อะไรจริง เมทัลชีท กระจก​<br />

มาแล้ว แต่เพราะเราไม่ได้ทํางานไม้ ถ้าเรา<br />

เข้าใจงานไม้จริงๆ ระหว่างรัฐกับประชาชน<br />

จะรู้ว่าการปลูกสร้างนั้นไม้มีส่วนสําคัญ แล้ว<br />

จะสามารถวางแผนได้ ปลูกป่าเศรษฐกิจได้<br />

ถึงกลับมาพูดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ไม่พึ่งพา​<br />

ข้างนอก เรื่องปราชญ์ชาวบ้านตอนนี้ยังไม่<br />

ชัดเจนแต่ก็มีการเริ่มหันกลับมา ความรู้ทาง<br />

วิทยาศาสตร์มีประโยชน์แต่ผลกระทบมันร้ายแรง​<br />

ตั้งรับไม่ทัน เปลี่ยนแปลงเร็ว เปลี่ยนแปลง<br />

เร็วเพราะอะไร เพราะตกอยู่ในมือนายทุน<br />

ต้องการให้เราเสพมากๆ อุตสาหกรรมเป็น<br />

ระบบที่ผลิตให้เราใช้ เราต้องพึ่งมัน อย่างใน<br />

ประเทศอินเดีย คนอินเดียแท้ๆ เขาเห็นว่าต้อง<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 20 <strong>21</strong><br />

Refocus Heritage


พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด และไม่ใช่ปฏิเสธความรู้ข้างนอก<br />

แต่ต้องมีการคัดสรร ตอนนี้เราไม่มีการคัดสรร ป่าเรา<br />

หมดแล้ว<br />

เอาเข้าจริงๆ ลองดูว่าตอนนี้อะไรที่ทําลายโลก อุตสาหกรรม​<br />

คนที่ใช้อุตสาหกรรมไม่มีจริยธรรม ไม่มีความเป็นธรรม<br />

ต่อคนอื่น ไม่มีความเท่าเทียม อย่าดิจิทัลเราติดมัน ​<br />

ทําอย่างไรล่ะ ไม่มีดิจิทัลอยู่ได้ไหม คนที่ใช้ดิจิทัลอยู่​<br />

ไม่ได้แล้ว สลับซับซ้อนนะ จะอยู่อย่างไร อยู่ให้ไม่ทําลาย​<br />

สภาพแวดล้อม เรื่องผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทําให้<br />

มนุษย์กลับมาสนใจเรื่องความยั่งยืนพึ่งตนเอง แต่พึ่งตนเอง​<br />

อย่างไร ไม่ใช่แบบเก่าแล้ว สมัยก่อนปลูกเรือนเครื่อง​<br />

ผูกวันเดียวเสร็จ สมัยนี้ก็เหมือนกันแต่เอาสังกะสีมาปะๆ​<br />

เมื่อก่อนมีการปลูกไผ่ใช้กันในหมู่บ้าน ก็อยู่กันมาไม่เห็น<br />

อดตาย สังคมพัฒนามาถึงตรงนี้มันต้องหาทางเลือกเพื่อ<br />

สงวนรักษาสภาพแวดล้อมให้ยังคงอยู่แล้วเกิดการหมุนเวียน​<br />

ใช้ไม่หมด<br />

เรารู้ไม่เท่าทันอะไรเพราะโลกเปลี่ยนแปลงเร็วนักวิทยาศาสตร์​<br />

กับนักเศรษฐศาสตร์เขาร่วมมือกันเอากระบวนการวิทยาศาสตร์​<br />

เข้ามาสู่เศรษฐกิจ ผูกขาดสินค้า เราต้องพึ่งพาเขาไปหมด​<br />

ยุคดิจิทัล อย่างที่ชูมาร์กเกอร์พูดไว้ เราต้องพึ่งพาตนเอง​<br />

แต่จะปฏิเสธอุตสาหกรรมอย่างไร อุตสาหกรรมผลิตของ<br />

ให้เราใช้ สร้างความต้องการใหม่ๆ เรื่อยๆ ยั่วยุให้เรา​<br />

ซื้อทั้งนั้น อุตสาหกรรมอยู่ได้เพราะมันเปลี่ยนโมเดล​<br />

ให้ดีกว่าเก่าเรื่อยๆ ให้ทิ้งของเก่า เวลาใช้แล้วชํารุด​<br />

เราต้องซื้อใหม่ แต่มันดีจริงๆ อย่างตู้เย็น ความรู้เดิม<br />

ใช้ได้หรือเปล่าล่ะ<br />

พูดลําบาก ผมไม่มีคําตอบ แต่ผมมีโอกาสได้รู้จักอดีต<br />

เรียนรู้อดีต ภูมิใจในอดีต เกิดมาแล้วเราควรเรียนรู้<br />

ประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็นของเราและสากล บทเรียน<br />

ประวัติศาสตร์สอนอะไรไว้บ้าง แล้วบทเรียนมีทั้งเลวร้าย<br />

มีทั้งนําไปสู่ความเจริญงอกงาม เวลาเกิดสงครามเห็นไหม​<br />

เอาเปรียบกันทั้งนั้น เอาเปรียบกันทางทรัพยากร แล้ว<br />

อุตสาหกรรมก็ทําลายธรรมชาติ ถลุงกัน เรารู้เราเห็น<br />

หมด แต่เราไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี อยู่ไปวันๆ ได้กิน ​<br />

ได้สนุก ได้ฟังเพลง แต่ยุคสมัยแต่ละยุคสร้างค่านิยม​<br />

ไม่เหมือนกัน แต่ละคนอยู่ในยุคสมัยไหนก็มีค่านิยมแบบนั้น​<br />

ไม่หันกลับมาเห็นคุณค่าอดีต ก็เลยอยู่ไปวันๆ<br />

_แล้วตอนนี้ ความคิดความอ่านของนักศึกษายุคใหม่<br />

เป็นอย่างไรบ้าง<br />

นักศึกษายุคใหม่ก็เรียนรู้การออกแบบนี่ล่ะ แต่การศึกษา<br />

ทุกวันนี้ถูกสากลครอบงําหมด ไม่ใช่ไม่ดี มันก็ดี นักศึกษา​<br />

เราออกแบบได้ทันโลกเลย แต่ไปออกแบบให้ชาวบ้านแล้ว​<br />

เขาอยู่ไม่ได้และเกินฐานะเขา จริงๆ แล้วการออกแบบ​<br />

มีหลายระดับ ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ตลาดแบบเก่า<br />

ซึ่งตอนนี้ตายแล้ว เพราะของใหม่ต้องดีกว่าของเดิม​<br />

แต่บางอย่างบรรยากาศเดิมหายไปก็อยากจะได้บรรยากาศ​<br />

เดิมกลับมาอีก เพราะอะไร เพราะแบบเดิมๆ เป็นอัตลักษณ์​<br />

ที่สากลให้ไม่ได้ แต่จะเอาอัตลักษณ์ตรงไหนล่ะ ฉะนั้น<br />

ประวัติศาสตร์ต้องรู้ แต่รู้แล้วนํามาเป็นประโยชน์ต่อ<br />

ปัจจุบัน<br />

ผมออกทริปกับนักศึกษาไปเมืองแพร่ ไปคุ้มเจ้าหลวง<br />

เมืองแพร่ที่เขาสร้างแบบโคโลเนียล ตอนที่นั่นสร้างเสร็จ<br />

เขาให้กวีตาบอดเขียนบทกวีพรรณนาประตูหน้าต่าง ใช้<br />

คําไพเราะมาก ทําไมคนรุ่นหลังไม่ได้เสพรสแบบนี้ แต่<br />

ความเป็นสากลมีเสน่ห์ มีความรวดเร็ว ปรุงให้เสร็จสรรพ​<br />

แต่มรดกของเราสามารถทําให้ดีได้ เช่น เครื่องจักสาน​<br />

ผ้า อาจจะกลับมาได้อีกแต่ไม่มีใครโปรโมต เราจะเอา​<br />

ผ้ากลับมาสู่ชีวิตปัจจุบันได้อย่างไร<br />

การศึกษาของเราเป็นอย่างไร ก็เป็นสากลนี่ล่ะ ฐานราก<br />

ก็เป็นสากลแล้ว ออกแบบก็เป็นสากล แต่สถาปนิกนั้น<br />

พอจะออกแบบให้ชาวบ้าน แก้ปัญหาสลัมได้หรือเปล่า<br />

เอาเข้าจริงๆ housing สําคัญมาก แต่ไม่ค่อยมีใครรับผิดชอบ​<br />

ทําแต่คอนโดฯ กันหมด คลองลาดพร้าวอยู่ดีๆ ก็ไล่​<br />

ชาวบ้านแล้วสร้างให้เขาใหม่ อย่าลืมว่าสลัมต้องอยู่ในเมือง​<br />

ไม่มีสลัมใครจะเป็นแรงงานให้กับเมือง<br />

_อาจารย์มีคำแนะนำอะไรจะฝากถึงสถาปนิก นักศึกษารุ่นใหม่ไหมครับ<br />

สถาปนิกไทยไม่ปฏิเสธว่าเป็นสากลไปแล้ว แต่ทําอย่างไรเอาความรู้สากลมาหาภูมิปัญญา<br />

ดั้งเดิมว่ามันอยู่ตรงไหนบ้าง แล้วพอเข้าไปถึงแล้วจะรักษาไว้ได้อย่างไร มี 2 อย่าง คือสืบเนื่อง​<br />

กับอนุรักษ์สิ่งที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้เรา ก็อย่าไปเปลี่ยนแปลง ชาวบ้านระดับล่างเราเข้าใจเขา<br />

หรือเปล่า ที่สําคัญคนระดับล่างที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะทําอย่างไรให้เขามีที่อยู่อาศัยที่ดี ที่เขามา<br />

รุกลํ้ำเพราะเขาอยู่ที่ชนบทไม่ได้ เมืองที่ดีเขาจะมีสํานึกว่าจะช่วยเหลือคนเหล่านี้อย่างไร มี<br />

การกระจายรายได้ แต่บ้านเรายังมีสลัมอยู่ เป็นเรื่องที่เราต้องรับผิดชอบ มันเป็นความเป็น<br />

ความตายของคน ที่สําคัญ เมืองขยายไปเรื่อยๆ ที่นาก็หมด แล้วชาวนาจะไปอยู่ไหน<br />

เสียดายที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้เห็นมรดกสําคัญของอดีตและไม่ซาบซึ้ง พอไม่ซาบซึ้งก็เลยไม่มี<br />

ความภูมิใจในชาติ อย่างเช่น ประเทศจีนที่ได้ยกตัวอย่างไปก่อนนี้ เขายังหันกลับมา พยายาม​<br />

เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน อนาคต ด้วยความรู้เท่าทัน จะเป็นอย่างไรไม่ทราบ ไม่มีคําตอบ แต่<br />

เขาเริ่มหยั่งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม ต้องเรียนรู้ซึมซับ ผมคิดว่าใครที่เรียนสถาปัตยกรรมไทย​<br />

จะไม่มีอาชีพถ้าไม่สามารถพลิกผันเข้าสู่สากล ต่างกับที่ถ้าเรียนสากลจะพลิกผันเข้าสู่ความ<br />

เป็นไทยได้ง่ายกว่า ผมคิดอย่างนี้ เราทําได้ แต่เราไม่เห็นคุณค่า<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 22 23<br />

Refocus Heritage


INTERVIEW<br />

INTERVIEW<br />

A Talk with<br />

Pongkwan S. Lassus:<br />

Refocus Heritage<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> มีโอกาสได้สนทนากับคุณปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส ว่าด้วยการอนุรักษ์​<br />

ศิลปสถาปัตยกรรม และพูดคุยถึงการทํางานที่ผ่านมาทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของสมาคม​<br />

สถาปนิกสยามฯ และองค์กรด้านการอนุรักษ์อื่นๆ ทําให้เห็นภาพรวมของพัฒนาการและ​<br />

แนวโน้มในอนาคตของงานอนุรักษ์ในบ้านเรา<br />

Text: กฤษณะพล วัฒนวันยู / Kisnaphol Wattanawanyoo<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

_ก่อนอื่น อยากให้ช่วยเล่าถึงพัฒนาการของงานอนุรักษ์ ช่วงที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ซึ่งมีการจัดทําโครงการคัดเลือกรางวัล​<br />

ในภาพรวมในช่วงที่ผ่านมา<br />

อนุรักษ์ดีเด่นเป็นหลัก คือมีการจัดทําโครงการประเมิน<br />

ตั้งแต่มีการก่อตั้งกรรมาธิการอนุรักษ์ ภายใต้สมาคมสถาปนิก​ สถานภาพรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นที่ได้จัดให้มีการคัดเลือกมา<br />

สยามฯ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 น่าจะแบ่งได้ตามลักษณะการ​ ครบ 20 ปี โครงการต้องใช้บุคลากรมากจึงเป็นโอกาส<br />

ทํางานแบบกว้างๆ เป็น 3 ยุค ในยุคแรกซึ่งเป็นยุคบุกเบิก สร้างคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจงานด้านอนุรักษ์มากขึ้น มีการ<br />

ก็ต้องเริ่มจากการให้ความรู้กับทั้งภาครัฐและเอกชนถึงความ​ ปรับเกณฑ์การคัดเลือกรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นและจัดทําหนังสือ​<br />

สําคัญอย่างยิ่งยวดของการอนุรักษ์ เป็นการทํางานเชิงรุก เพื่อรวบรวมผลงานอาคารที่ได้รับรางวัลมาตลอด 20 ปี​<br />

และองค์กรนี้เป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่ทําเรื่องการ โดยที่ตัวเราเป็นบรรณาธิการ ในปีต่อๆ มาจึงได้มีการจัด<br />

อนุรักษ์ทั้งทางศิลปกรรมซึ่งรวมถึงงานสถาปัตยกรรมรวมไป ระบบการเก็บข้อมูลอาคารรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นอย่างเป็น<br />

ถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ในยุคต่อมามีการทําโครงการคัดเลือก ระบบเพื่อนําไปใช้จัดนิทรรศการและทําหนังสือได้เลยเมื่อพร้อม​<br />

รางวัลอนุรักษ์ฯ ดีเด่น ก็จะเน้นไปในเรื่องการเชิดชูผู้ที่อนุรักษ์ ​ ต่อมาในปี พ.ศ. 2559-2551 ได้มีโอกาสรับตําแหน่งเป็น<br />

มรดกของตนเพื่อส่วนรวม และเป็นช่วงที่การอนุรักษ์เริ่ม ประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ก็เลยจัดทําโครงการต่อยอด​<br />

เป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีกระแสการอนุรักษ์ที่ดีในสังคม​ การเก็บองค์ความรู้ทางมรดกสถาปัตยกรรมโดยทํา​database​<br />

ในยุคหลังก็จะเริ่มมามุ่งเน้นในเรื่องการอนุรักษ์มรดก ของข้อมูลอาคารรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น อาคารควรค่าแก่​<br />

สถาปัตยกรรมชุมชน วิถีชีวิต มรดกพื้นถิ่น และมรดก การอนุรักษ์ และบุคลากรด้านการอนุรักษ์เก็บไว้ในเว็บไซต์​<br />

สถาปัตยกรรมระดับท้องถิ่นที่มีคุณค่าแต่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ​ ของสมาคมฯ ที่ทุกคนสามารถมาสืบค้นได้ แต่เสียดายที่​<br />

ทางกฎหมายและมีความเสี่ยงต่อการถูกไล่รื้อ โดยเฉพาะ ช่วงต่อมามีการปรับปรุงเว็บไซต์ของสมาคมฯจนข้อมูลเหล่านี้ ​<br />

ในเขตเมืองที่การพัฒนาโดยไม่คํานึงถึงมรดกเหล่านี้มาคุกคาม​ หายไป ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ใกล้ครบรอบ 40 ปี ของ<br />

จึงเกิดงานเชิงรุกขึ้นอีกในการทํางานร่วมกับคนในชุมชน กรรมาธิการอนุรักษ์ ซึ่งจะมาถึงในปี พ.ศ. 2551 จึงได้เกิด​<br />

เพื่อปกป้องมรดกและเริ่มต้องมีโครงการสร้างคนรุ่นใหม่ แนวคิดที่จะจัดทําโครงการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อฉลอง 40 ปี​<br />

ให้มีความตระหนักถึงคุณค่าของมรดก และทํางานร่วมกัน ขณะนั้นนายกสมาคมฯ คุณสิน พงษ์หาญยุทธ ให้การสนับสนุน​<br />

เป็นเครือข่ายกับภาคส่วนต่างๆ<br />

อย่างเต็มที่ จึงตั้งกรรมาธิการขึ้นมา 10 คน ใครอยากทํา<br />

อะไรเสนอมา และเราดีเฟนด์งบให้ อย่างหนึ่งคือ Vernadoc​<br />

_แล้วการทำงานในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา อ.ตุ๊ก (ผศ.สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว) ไปประชุม​<br />

เป็นอย่างไรบ้าง<br />

ICOMOS CIAV (คณะกรรมการวิชาการว่าด้วยสถาปัตย-​<br />

กรรมพื้นถิ่น) พอดี มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องค่าย<br />

ได้เริ่มเข้ามาทํางานในกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ สมาคมสถาปนิก​<br />

เขียนแบบมรดกสถาปัตยกรรมด้วยวิธี Vernadoc จาก<br />

สยามฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 สมัยที่ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร<br />

อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เห็นว่า​<br />

เป็นประธานกรรมาธิการฯ ตั้งแต่นั้นมาก็ทํางานมาตลอด<br />

น่าสนใจที่จะชักจูงคนรุ่นใหม่ให้เห็นคุณค่าของมรดก<br />

ในช่วงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงกรรมาธิการใหม่ทั้งชุด และ<br />

สถาปัตยกรรมผ่านการเข้าค่ายแบบนี้ จึงได้มาริเริ่มทํา<br />

คนกลุ่มนี้ก็ยังทํากันต่อๆ มาจนถึงทุกวันนี้ มีการปรับระบบ​<br />

โครงการและขยายผลต่อยอดมาจนถึงทุกวันนี้<br />

การทํางานของกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ เป็นเชิงรุกมากกว่า<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 24 25<br />

Refocus Heritage


มีโครงการหนึ่งทางพี่จอห์น (ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร) ได้เสนอ​<br />

ให้ทําโครงการแผนที่มรดกวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นริมนํ้ำ<br />

บางกอก โดยการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในการระบุมรดก​<br />

วัฒนธรรมของตน ซึ่งเลือกเอาชุมชนริมแม่นํ้ำเจ้าพระยา​<br />

ที่เก่าแก่ คือบ้านบุ และกุฎีจีน แต่ด้วยความที่บ้านบุยังไม่มี ​<br />

ความพร้อมมากนัก จึงต่อยอดงานไปไม่ได้ แต่ที่กุฎีจีนกําลัง​<br />

มี crisis จากกรณีที่ทางวัดกัลยาฯ กําลังมีโครงการไล่รื้อ<br />

ชุมชน จึงเป็นโอกาสให้กุฎีจีนถูกเลือกให้เป็นพื้นที่นําร่อง<br />

และทํางานกันอย่างต่อเนื่องมา โดยในช่วงปีที่ 2 เป็นจังหวะ​<br />

ที่อ.แดง (ผศ. ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ) กลับมาจากญี่ปุ่นพอดี ​<br />

โดยจบการศึกษามาทางการฟื้นฟูเมือง จึงชวนมาร่วมงาน<br />

อ.แดงก็ทําอยู่ 4-5 ปี สมาคมฯ ก็คิดว่าถึงเวลาที่ควรจะ<br />

ถอนออกจากพื้นที่เพื่อให้ทางชุมชนเริ่มจัดการตนเองได้แล้ว​<br />

การทํางานของอ.แดงได้ต่อยอดต่อไป ทํางานออกแบบชุมชน​<br />

และผังเมือง จนเป็นที่มาของ UDDC (Urban Design &​<br />

Development Center)<br />

อีกโครงการที่ดีมาก เป็นโครงการที่อ.ตุ๊กเสนอ คืออาคาร<br />

ควรค่าแก่การอนุรักษ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนซึ่งกําลังทยอยหายไป​<br />

จึงเสนอให้จัดประกวดการเก็บข้อมูล ซึ่งล้อกับการทําบัญชี​<br />

Heritage at Risk ของ ICOMOS สากล เพื่อให้เกิดการ<br />

เห็นคุณค่าว่าควรจะต้องเก็บเอาไว้ นอกจากนั้นยังเป็นการ<br />

สร้างคนรุ่นใหม่ให้สนใจงานอนุรักษ์ด้วย โดยให้สร้างทีมที่<br />

มีสถาปนิกที่มีความรู้ในด้านนี้หรืออาจารย์จับมือกับนักศึกษา​<br />

1 คน เพื่อเสนออาคารที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ทําข้อมูล​<br />

ให้ละเอียดเพื่อส่งประกวด ในตอนนั้นทําเป็นโครงการ<br />

ประกวดการจัดทําข้อมูลและมีรางวัลที่ 1-3 เป็นการพาไป<br />

ชมหมู่บ้านมรดกโลกที่ญี่ปุ่น หนึ่งในโครงการที่ส่งมาก็คือ<br />

อาคารศาลฎีกาซึ่งกําลังถูกทุบ เวลามีงานสถาปนิกซึ่งก็จะ<br />

มีการแสดงงานควรค่าแก่การอนุรักษ์ ก็มีเจ้าหน้าที่จากศาล​<br />

มาหาเราขอให้เอางานศาลฎีกาออกจากลิสต์รายชื่ออาคาร<br />

ควรค่าแก่การอนุรักษ์เพราะศาลกําลังจะทุบ นี่ก็เป็นการ<br />

บอกว่างานของเราทําให้เกิดการตื่นตัวที่จะปกป้องอาคาร<br />

หรือทําให้เจ้าของอาคารหรือประชาชนรู้ถึงคุณค่าของอาคาร​<br />

เหล่านี้ หลังจากนั้นเราต้องหาเครือข่ายทํางานเป็นทีมร่วมกับ​<br />

สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE)​<br />

สมาคมอิโคโมสไทยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ เพื่อช่วยกัน​<br />

ปกป้องอาคารศาลฎีกา แต่ก็ยังไม่สามารถทัดทานได้<br />

อย่างไรก็ตามเราจึงเห็นว่าการทํางานเป็นเครือข่ายนั้นสําคัญ​<br />

จึงได้มีการทํา​MOU กับสมาคมอิโคโมสไทยเพื่อแบ่งปัน<br />

ภารกิจ ทํางานร่วมกันมาอยู่ช่วงหนึ่ง<br />

ในช่วงที่เราทําเรื่องมรดกสถาปัตยกรรมชุมชนก็มีเรื่องการ<br />

ไล่รื้อชุมชนซอยหวั่งหลีเข้ามา เราก็พยายามช่วยเหลืออย่าง​<br />

เต็มที่แต่ด้วยช่องโหว่ของการปฏิบัติงานของกรมศิลปากร<br />

ในการอนุรักษ์มรดกที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนจากการตีความ<br />

กฎหมายโบราณสถานทําให้อาคารมรดกสถาปัตยกรรม​<br />

ยุคโมเดิร์นหลังแรกๆ ของไทยอายุกว่า 80 ปีต้องถูกรื้อไป<br />

อย่างน่าเสียดาย จากนั้นเราเลยมีการจัดอบรมสัมมนา<br />

เรื่องการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมชุมชนเพื่อให้ความรู้<br />

แก่บรรดาสถาปนิกที่ทํางานกับชุมชนโดยร่วมกับมูลนิธิ​<br />

สิ่งแวดล้อมไทย<br />

ช่วงต่อมามีการตั้งกรรมาธิการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม​<br />

ไทยประเพณีขึ้นโดยมีคุณวสุโปษยะนันทน์ เป็นประธานเพื่อ​<br />

ให้เกิดงานอนุรักษ์งานด้านไทยประเพณีอย่างเป็นรูปธรรม<br />

โดยเลือกเอาการอนุรักษ์หอไตรวัดเทพธิดารามเป็นโครงการ​<br />

แรก และได้รับรางวัล UNESCO Heritage Award Asia<br />

Pacific มาครอง และงานต่อมาคือการบูรณะหอไตร​<br />

วัดเทพธิดาราม<br />

ปี พ.ศ. 2561 เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีของกรรมาธิการ​<br />

อนุรักษ์ฯ เราเองก็อยากให้เกิดงานที่เป็นหมุดหมายสําคัญ​<br />

เกิดการปฏิรูปโครงสร้างการทํางานให้สอดคล้องกับยุคสมัย​<br />

ที่เปลี่ยนไปเพื่อรองรับการทํางานอีกกึ่งศตวรรษหน้า​<br />

ให้มีประสิทธิภาพตอบรับกับสถานการณ์และสอดคล้องกับ<br />

ความต้องการของสังคมปัจจุบัน ด้วยความที่เราเห็นมา​<br />

โดยตลอดว่าการทํางานด้านอนุรักษ์ของสมาคมฯ นั้น​<br />

ไม่แน่นอน ไม่ต่อเนื่อง เพราะขึ้นอยู่กับกรรมการบริหาร<br />

กรรมาธิการที่เปลี่ยนตัวบุคคลไปเรื่อยๆ ตลอดการทํางาน<br />

มาเกือบ 20 ปี เราเห็นแล้วว่าองค์กรของเราเป็นที่พึ่งของ<br />

ประชาชน นอกเหนือจากการจัดให้มีการพระราชทานรางวัล​<br />

อนุรักษ์ดีเด่นจากกรมสมเด็จพระเทพฯ อย่างต่อเนื่องกันมา​<br />

ทุกปีเป็นเวลากว่า 35 ปีแล้ว เราจึงคิดว่าองค์กรนี้ควรเป็น​<br />

ที่พึ่งของประชาชนในด้านการอนุรักษ์ได้อย่างถาวรและ<br />

จริงจัง แม้เราจะไม่ได้เป็นสมาคมอนุรักษ์ แต่เราเป็นองค์กร​<br />

แรกทํางานด้านนี้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีเครดิตดีต่อ<br />

หน่วยงานภาครัฐ ทั้งเป็นที่พึ่งของภาครัฐในเชิงวิชาการ<br />

สายวิชาชีพ ไปนั่งอยู่ในกรรมการชุดต่างๆ ที่มีความสําคัญ<br />

ต่อการพัฒนาประเทศทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เราจึง​<br />

คิดว่าควรมีโครงสร้างองค์กรใหม่ภายใต้การบริหารงานของ<br />

สมาคมฯ อย่างเช่นองค์กรที่มีอยู่แล้วคือสถาบันสถาปนิก<br />

สยาม ซึ่งเดิมก็ได้เคยคุยกับอดีตผู้อํานวยการ ดร.วีระ​<br />

สัจกุล ไว้เบื้องต้นถึงภารกิจแบบนี้นานแล้วก่อนที่ท่านจะ​<br />

ล่วงลับ หรืออาจเป็นโครงสร้างแบบอื่นที่สามารถมีพนักงาน​<br />

ประจําหรือกึ่งประจํามาดูแลรับผิดชอบงานทางด้านนี้<br />

โดยตรง จึงได้เสนอให้ตั้ง Urban Heritage Centre หรือ<br />

ศูนย์มรดกเมือง ซึ่งได้มีการทดลองตั้งขึ้นมาในปี2560-2561​<br />

เพื่อทําหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลมรดกสถาปัตยกรรมและ​<br />

งานอนุรักษ์ฯ และให้คําปรึกษาในการจัดทําโครงการอนุรักษ์​<br />

ต่างๆ การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน สถาปนิก และ<br />

องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังทําหน้าที่เป็น<br />

platform ใหม่ให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการมาทํางานอนุรักษ์ใน<br />

รูปแบบใหม่ๆ และสนับสนุนให้เกิดการทํางานร่วมกันเป็น<br />

เครือข่ายกับองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ และสถาบัน​<br />

การศึกษาเพราะองค์กรเรามีความเป็นกลางและเราสามารถ​<br />

เชื่อมต่อกับภาครัฐได้ แต่ภายหลังไม่ได้มีการดําเนินการต่อ​<br />

ถูกปิดตัวไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน<br />

_ถ้าจะต้องทำงานด้านการอนุรักษ์ องค์กรและหน่วยงาน<br />

ที่เกี่ยวข้องควรเตรียมความพร้อม หรือควรพัฒนาด้าน<br />

อะไรบ้าง<br />

เรื่องการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องที่ต้องมี​<br />

องค์ความรู้ ในประเทศที่เขาให้ความสําคัญกับการอนุรักษ์ฯ​<br />

สถาปนิกอนุรักษ์จะเป็นวิชาชีพแขนงพิเศษแยกออกมา​<br />

มีใบประกอบวิชาชีพเฉพาะหากต้องไปทํางานออกแบบ<br />

อนุรักษ์โบราณสถานหรือมรดกสถาปัตยกรรมที่ทางการ<br />

ขึ้นทะเบียนไว้ ตอนนั้นก็คิดแผนขึ้นมาถึงระดับที่ว่าสมาคมฯ​<br />

น่าจะมีการอบรมสถาปนิกอนุรักษ์ หรือสถาปนิกที่ต้องไป<br />

ออกแบบในพื้นที่อนุรักษ์เพื่อให้มีองค์ความรู้เช่น สถาปนิก​<br />

จะทํางานออกแบบ adaptive reuse ในอาคารที่มีคุณค่า<br />

แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เขาจะต้องรู้บ้างว่าคุณค่าของอาคารนั้น​<br />

คืออะไรเพื่อที่เขาจะไม่ไปทําลายคุณค่า น่าจะมีการจัด<br />

คอร์สสั้นๆ ที่ให้ความรู้และมอบประกาศนียบัตรว่าผ่าน<br />

การอบรม รวมไปถึงการจัดคอร์สอบรมบุคลากรขององค์กร​<br />

บริหารส่วนท้องถิ่นที่มีมรดกสถาปัตยกรรมให้บริหารตลอดจน​<br />

การเป็น one stop service ให้คําปรึกษาประชาชนหรือ<br />

องค์กรเหล่านั้นในการจัดทําโครงการออกแบบปรับปรุงหรือ​<br />

อนุรักษ์อาคาร การจัดทํารายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ​<br />

ให้มี database ให้ครบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง เปิด platform​<br />

ให้คนรุ่นใหม่หรือสมาชิกที่อยากทํางานในพื้นที่อนุรักษ์ย่าน<br />

เมืองเก่าให้ได้เข้ามาทําใต้ร่มของสมาคมฯ เป็นการสร้างคน​<br />

รุ่นใหม่ให้ได้ทํางานในพื้นที่จริงโดยเชิญสถาปนิกอนุรักษ์ที่<br />

ชํานาญการแล้วมาเป็นผู้อบรมหรือให้คําปรึกษา จะได้เกิด<br />

สายอาชีพใหม่ สร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดทําให้วงการอนุรักษ์ฯ​<br />

พัฒนาขึ้นเป็นวิชาชีพใหม่ที่มีบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพ ​<br />

ในขณะเดียวกันต้องมีการอบรมและการฝึกฝีมือช่างสาย<br />

อนุรักษ์ซึ่งกําลังขาดแคลนไปพร้อมๆ กัน<br />

นอกจากนี้ยังต้องสนับสนุนให้เกิดการวิจัยเรื่องวัสดุเก่าที่<br />

หายากและต้องใช้ในงานอนุรักษ์เพื่อรื้อฟื้นองค์ความรู้เอง<br />

วัสดุที่เหมาะสม กลับมาผลิตใหม่หรือให้เกิดการสร้าง<br />

นวัตกรรมใหม่ๆ ไปเลย ทั้งหมดนี้หากมีจุดเริ่มต้นที่สมาคมฯ​<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 26 27<br />

Refocus Heritage


เพราะความที่เราเป็นหน่วยงาน NGO แรกในประเทศไทย<br />

ที่ทําเรื่องนี้มากว่า 50 ปี เรารู้ปัญหาเราก็สามารถเป็น​<br />

ผู้ริเริ่มและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรอื่นๆ<br />

เพื่อพัฒนางานอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนายก<br />

สมาคมฯ และกรรมการบริหารของสมาคมฯ ก็จะต้องเห็น<br />

ภาพร่วมกันถึงบทบาทอันสําคัญอย่างยิ่งยวดของงานอนุรักษ์​<br />

ที่ทําภายใต้สมาคมฯ มาอย่างยาวนานว่ามีความสําคัญต่อ<br />

แวดวงอนุรักษ์ของประเทศไทยมากขนาดไหน แม้เราจะ<br />

ไม่ใช่สมาคมอนุรักษ์ แต่ในแง่วิชาชีพ แล้วภาครัฐและ​<br />

ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมต่างหวังพึ่งเราในกิจการนี้อย่างมาก​<br />

เพราะเราเป็นศูนย์รวมของผู้มีองค์ความรู้ทางด้านนี้ และ<br />

ทํางานด้านนี้ต่อเนื่องมาตลอดครึ่งศตวรรษและหากเรา<br />

ต้องการทําบทบาทนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นงานนี้คงต้อง<br />

ทําอย่างต่อเนื่องไม่ใช่ทําแบบงานอาสาสมัครที่เปลี่ยนคนทํา​<br />

ไปเรื่อยๆ และไม่มีความต่อเนื่องจึงถึงเวลาที่จะมีโครงสร้างใหม่<br />

มารองรับการทํางานในรูปแบบและบทบาทใหม่<br />

_ที่ผ่านมา สิ่งที่ยังขาดแคลน หรือปัญหาและอุปสรรค<br />

หลักของงานอนุรักษ์ คือเรื่องอะไร<br />

หลักๆ คือประเทศไทยไม่มี database ก็เลยคิดว่าควรมี<br />

แหล่งที่เป็น database เช่น การทําบัญชีมรดกสถาปัตยกรรม​<br />

ระดับท้องถิ่น หรือเราไม่ต้องทําเองก็ได้ ยกตัวอย่าง​<br />

กรมธนารักษ์มีอาคารอยู่ในความดูแลเยอะแยะ ถ้ากรม<br />

ศิลปากรไม่ขึ้นทะเบียนอาคารเป็นโบราณสถานหน่วยงาน<br />

ที่ใช้อาคารหรือผู้เช่าที่เอกชนสามารถรื้อได้ ถ้าในพื้นที่นั้น<br />

มีประชาชนเข้มแข็งคอยเป็นหูเป็นตาเขาก็จะลุกขึ้นมาปกป้อง​<br />

มรดกกันเป็นกรณีๆ เป็นงานเชิงรับ การทํางานอนุรักษ์​<br />

ของสมาคมฯ ก็มักจะเจอกรณีแบบนี้ที่เราไปเจอเองบ้าง<br />

หรือได้รับการร้องเรียนมาบ้าง เพราะคนทั่วไปเจอแบบนี้​<br />

ก็ไม่รู้จะทําอย่างไร ก็จะเห็นเราเป็นที่พึ่ง ในช่วงหลังเราจะ<br />

เห็นว่าเราเจอที่ปลายเหตุว่ากําลังจะรื้อแล้ว ได้งบประมาณ<br />

รื้อและสร้างใหม่มาแล้ว เราเข้าไปขวางก็กลายเป็นฝ่าย<br />

ตรงข้าม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย แต่จริงๆ เราไม่อยากเป็น​<br />

อย่างนั้น เราจึงควรทํางานเชิงรุก เราควรให้ความรู้ กันไว้<br />

ดีกว่าแก้ ควรเสนอให้มีการทําบัญชีมรดกสถาปัตยกรรม<br />

ถ้าสมาคมฯ เห็นด้วยก็ควรทําลิสต์รายชื่อเข้าไปให้กรม<br />

ธนารักษ์เลย ไอเดียนี้เราได้เคยนําไปเสนอในเวทีการ<br />

ประชุมต่างๆ ซึ่งกรรมาธิการอนุรักษ์มีบทบาทมาก เช่น​<br />

ในเวทีคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

และเมืองเก่า ซึ่งในชุดต่างๆ เหล่านี้ ก็มีตัวแทนจาก​<br />

กรมธนารักษ์ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

และองค์กรที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองเก่าเข้าประชุมด้วย<br />

เราก็คิดว่าเราไปให้ไอเดีย มีช่วงหนึ่งที่ทางกรมธนารักษ์​<br />

รับไอเดียไปแล้วบอกว่าจะดําเนินการเอง แต่ตอนหลังก็เห็น​<br />

เงียบไปอีกแล้ว อาจเป็นเพราะผู้สั่งการย้ายไปหรือเกษียณ<br />

ไป การทํางานจึงไม่ต่อเนื่องในหน่วยงานราชการ อันนี้ก็<br />

เป็นข้อด้อยของระบบราชการไทย ทําให้มีไอเดียว่าทาง<br />

สมาคมฯ น่าจะทําเอง แล้วไปผลักดันให้เขาเอาไปบังคับใช้<br />

ในหน่วยงานนั้นๆ เท่าที่เห็นก็จะมีสํานักงานทรัพย์สินส่วน​<br />

พระมหากษัตริย์ในยุคนั้นที่เริ่มทําบัญชีมรดกสถาปัตยกรรม​<br />

ของตนเอง และเห็นทําหนังสือออกมาหลายเล่ม อาจได้รับ<br />

แรงบันดาลใจจากหนังสือ 74 มรดกสถาปัตยกรรมใน<br />

ประเทศไทย กรรมาธิการอนุรักษ์ของสมาคมฯ ริเริ่ม​<br />

ทํามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ก็เป็นได้<br />

_นอกจากที่ขาดการจัดทำ database แล้ว มีปัญหาอื่นๆ<br />

ที่เกี่ยวกับการทำงานอนุรักษ์ในพื้นที่เมืองเก่าอีกบ้างไหม<br />

ที่เราเห็นคือภาครัฐไม่ทํางานบูรณาการร่วมกันทั้งในและ<br />

นอกองค์กร อย่างเช่น กรมศิลปากร หรือกรุงเทพมหานคร​<br />

(กทม.) ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหลายแหล่มักจะเกิดจากตรงนี้<br />

เช่น สํานักผังเมือง กทม. ต้องมาทํางานในพื้นที่เมืองเก่า<br />

ด้วย เข้าประชุมร่วมกับ สผ. ในการวางแผนแม่บทอนุรักษ์​<br />

และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีการวางผังของเขาไว้อย่าง<br />

หนึ่ง แต่หน่วยงานอื่นๆ ใน กทม. ด้วยกัน เช่น สํานักโยธา​<br />

สํานักการระบายนํ้ำ หรือการคมนาคม เขาก็มีโครงการ<br />

ของเขา การทําโครงการมันก็จะเกิดการซ้อนทับบนพื้นที่<br />

เดียวกันที่เป็นเมืองเก่า แต่สํานักผังเมืองก็ไม่ได้มีอํานาจ<br />

หน้าที่ไปห้ามไม่ให้สํานักอื่นไม่ทําตามแผนของเขาได้ แต่<br />

ในบางครั้งสมาคมวิชาชีพอย่างเราสามารถจะทําหน้าที่ใน<br />

การประสานให้เกิดการบูรณาการได้บ้าง แต่เราต้องทํางาน​<br />

แบบเชิงรุก เช่น มองเห็นว่าใครทําอะไรแล้วจะเกิดปัญหา<br />

เราสามารถทํางานแบบเชิงรุกที่จะไปเชื่อมกับเขาได้ก่อน<br />

สายเกินแก้ ทําหน้าที่เป็นนํ้ำไหลไปเชื่อมโยงหาหน่วยงาน<br />

นั้นหน่วยงานนี้ เป็นเรื่องที่เราน่าจะทําเพราะเราเป็น<br />

องค์กรวิชาชีพ มีองค์ความรู้เฉพาะด้านที่สามารถ​<br />

จะช่วยเขาได้<br />

การทํางานด้านหนึ่งที่มีอุปสรรคมากคือที่วัด เราพยายาม<br />

จะไปให้ความรู้ได้แต่บางครั้งเขาก็ไม่ฟัง ไม่ใช่เฉพาะเราที่<br />

เขาไม่ฟัง แม้แต่กรมศิลป์ผู้ถือกฎหมายเขายังไม่ฟังเลย เช่น​<br />

เหตุการณ์รื้อโบราณสถานที่เกิดขึ้นที่วัดกัลยาณมิตรพันธกิจ​<br />

หลักของเราคือการให้ความรู้เพื่อให้เขาเห็นคุณค่าร่วมกับ​<br />

เราตามหลักวิชาการ และบางทีเราต้องทํางานร่วมกับองค์กร​<br />

อื่น เช่น ICOMOS, UNESCO หรือองค์กรสากลนานาชาติ​<br />

อื่นๆ ในบางกรณีเรื่องวิชาการเฉพาะทางเราพูดเองไม่ได้<br />

หรือยังไม่มีนํ้ำหนักพอ เราก็ใช้วิธีเชิญคนอื่นมาพูดแทน​<br />

ให้เกิดผู้เล่นที่เหมาะสม ให้เกิดการเห็นคุณค่าร่วมกัน<br />

เรามีหน้าที่ให้ความรู้ แต่ถ้ารู้แล้วก็ยังทําผิด ก็เป็นเรื่องที่<br />

อยู่นอกเหนือจากอํานาจหน้าที่เราเพราะเราไม่ได้เป็นผู้มี<br />

อํานาจตามกฎหมาย แต่อย่างประชาชนในพื้นที่ที่เขาเห็น<br />

การทําลายมรดกหรือโบราณสถาน เขาจะเห็นเราเป็นที่พึ่ง<br />

เขาก็จะส่งเรื่องมาที่เรา คือเขาไม่รู้จะส่งเรื่องไปที่ไหน​<br />

แต่เขารู้ว่าเราทําเรื่องแบบนี้อยู่ แต่เราจะไม่มีอํานาจไป​<br />

บอกในพื้นที่ว่าห้ามทําโดยตรง คือถ้าเราเห็นว่าพื้นที่อยู่ใน<br />

ความดูแลของกรมศิลปากร เราก็จะส่งเรื่องให้กรม<br />

ศิลปากรให้เขาไปตรวจสอบพิจารณาว่าอาคารเข้าข่าย​<br />

ต้องเก็บหรือไม่ เราไม่ได้มีอํานาจอยู่ในมือ บทบาทของเรา<br />

เพียงแค่ทําให้คนรู้ว่าคุณค่าคืออะไร หรือถ้าเพื่อจะป้องกัน<br />

ไม่ให้เกิดการทําลาย เราก็ต้องแจ้งให้ผู้ดูแลรับผิดชอบตาม<br />

กฎหมายมาดูแล เราเป็นหูเป็นตาแทนแล้ว ให้เขามาพิจารณา​<br />

เองว่าเขาต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการ<br />

ทําลายมรดก แต่ประเด็นนี้ก็ยังมีช่องโหว่จากการตีความ<br />

กฎหมายที่ไม่ตรงกันของแต่ละคนที่ทํางานในหน่วยงาน<br />

เหล่านั้นโดยเฉพาะในกรณีการตีความของโบราณสถานที่<br />

ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน<br />

_ในเรื่องของการให้ความรู้ ในวงวิชาการ ในการรู้จักประเมิน<br />

คุณค่าอาคารเก่า แม้ว่าอาคารนั้นจะไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียน<br />

เพื่อให้รับรู้ว่าเป็นมรดกของชาติ ซึ่งบางครั้งก็สำเร็จ<br />

บางครั้งก็ไม่สำเร็จ คิดว่าต้องทำอย่างไรให้ดีขึ้นได้<br />

ความสําเร็จขึ้นอยู่กับว่าตั้งเป้าหมายไว้อย่างไรหากเป้าหมาย<br />

ของเราคือการไม่ให้โบราณสถานถูกรื้อ เราก็เรียกว่าเราทํา<br />

ไม่สําเร็จถ้าอาคารถูกรื้อ แต่ถ้าเป้าหมายของเราคือการให้<br />

ความรู้เชิงวิชาการ เพื่อที่จะทําให้เกิดการเห็นคุณค่าร่วมกัน​<br />

และเกิดการตัดสินใจไม่รื้อ ความสําเร็จสูงสุดก็ยังอยู่ที่การ<br />

ไม่ให้โบราณสถานถูกรื้อ แต่หากยังถูกรื้ออยู่ดี เราก็ยังมี<br />

ความสําเร็จอยู่ในระดับหนึ่งของการได้มีโอกาสให้ความรู้<br />

และมีคนบางกลุ่มได้รับความรู้นั้นและเกิดความตระหนัก<br />

ในคุณค่าแล้ว แต่ถ้าถามว่ามันจะดีขึ้นได้อย่างไร ก็ต้องให้<br />

ความรู้ไม่เฉพาะกับผู้ที่จะรื้อ แต่ต้องให้ความรู้กับประชาชน​<br />

ที่อยู่ในพื้นที่และมีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วย ​<br />

อย่างตามรัฐธรรมนูญมันจะมีกําหนดไว้เรื่องชุมชนท้องถิ่น<br />

มีหน้าที่ดูแลมรดกของตน เราต้องไปให้ความรู้และปลุกให้<br />

คนในท้องถิ่นในพื้นที่ลุกขึ้นมาใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ<br />

สิทธิในการดูแลมรดกของชุมชนตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ​<br />

เราเป็นเพียงคนนอกก็จริง แต่สิ่งที่เราทําได้คือไปบอกเขา<br />

ว่าถ้ามรดกของเขาหายไปแล้ว พวกเขาและประเทศชาติจะเสีย​<br />

ผลประโยชน์อย่างไร ทําอย่างไรให้เขาออกมาร้องเรียน​<br />

เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาเองและของส่วนรวม​<br />

ไม่ใช่เราฝ่ายเดียวที่จะเป็นผู้เรียกร้อง<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 28 29<br />

Refocus Heritage


ช่วงหลังมีกลุ่มที่ทําหน้าที่อย่างเรามากขึ้นในแต่ละพื้นที่<br />

ซึ่งก็แสดงว่างานของเราสําเร็จเพราะว่ามีกลุ่มคนที่เห็นคุณค่า​<br />

ของมรดกและโบราณสถานมากขึ้น น่าชื่นชมคนรุ่นใหม่ที่<br />

เริ่มเห็นคุณค่ามากขึ้นและอยากลุกขึ้นมาทําอะไรเพื่อปกป้อง​<br />

มรดกมากขึ้นทุกวัน แต่คนเหล่านี้เขาก็ไม่ได้อยากมานั่ง<br />

เป็นกรรมาธิการทํางานให้สมาคมฯ หรอก มันน่าเบื่อที่ต้อง​<br />

มาเข้าประชุม ต้องมาอยู่ใต้กฎระเบียบของสมาคมฯ เราเป็น​<br />

คนรุ่นกลางที่อยู่ระหว่างกระแสการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ<br />

การทํางานเพื่อสังคม คนรุ่นก่อนหน้านี้มาจนถึงรุ่นเรา​<br />

เขาทํางานให้เป็นประโยชน์กับสังคมผ่านสมาคมวิชาชีพ<br />

หรือมูลนิธิภายใต้กฎเกณฑ์ที่ปฏิบัติต่อๆ กันมาในลักษณะ<br />

อาสาสมัครที่ไม่มีผลตอบแทน เป็นคนที่มีอายุอานาม​<br />

พอสมควร มีความมั่นคงทางอาชีพการงานในระดับหนึ่ง​<br />

ที่สามารถมาอุทิศตนและเวลาเพื่อส่วนรวมได้ แต่ในปัจจุบัน​<br />

คนรุ่นใหม่เขาอยากทําทันที โดยสามารถเป็นงานที่เลี้ยงชีพ​<br />

ได้ด้วยก็จะดี ไม่ว่าจะเป็นงานแบบจ้างประจําหรือเป็น<br />

project base ที่มีความเป็นอิสระ ก็เลยยิ่งทําให้เห็นว่า<br />

จําเป็นต้องมีการปฏิรูปการทํางานอนุรักษ์ของสมาคมฯ<br />

เพื่อให้เกิด platform ใหม่ๆ ปรับโครงสร้างการทํางานใหม่<br />

ที่เอื้อให้คนรุ่นใหม่ไฟแรงได้เข้ามาช่วยงานสมาคมฯ โดยมี​<br />

ผลตอบแทนและเกิดงานที่ดีหลายๆ งานไปพร้อมๆ กัน​<br />

ในแบบของเขา สามารถใช้ platform นี้เขียนโครงการขอ<br />

งบประมาณจากภายนอกเองโดยไม่ต้องมาเปลืองงบประมาณ​<br />

ของสมาคมฯ ที่มักมีข้อจํากัดว่าต้องเท่าเดิมทุกปีแถมมีแต่<br />

จะได้น้อยลง อย่างที่ทําตรงกรรมาธิการอนุรักษ์มานี่ก็เกือบ​<br />

จะปีแล้ว งบไม่เคยได้เพิ่มขึ้นเลยมีแต่ลดลง หรือการขอ​<br />

สปอนเซอร์ได้เวลาจัดกิจกรรมภายใต้ร่มของสมาคมฯ หรือ​<br />

ทําเรื่องขอทุนเองโดยมีการคัดเลือกโครงการดีๆ มาทํา​ทั้งนี้​<br />

สมาคมฯ จะทําได้ก็ต้องมีหน่วยงานใหม่ภายใต้สมาคมฯ<br />

ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการมรดกสถาปัตยกรรม<br />

มาบริหารงาน นี่คือโมเดลของศูนย์มรดกเมืองที่ได้เคยเสนอ​<br />

และเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2560-2561 เพื่อการฉลองครบรอบ<br />

50 ปีของการทํางานของกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ภายใต้<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ถูกยุบไป​<br />

ไม่ได้ทําต่อให้เกิดขึ้นเป็นplatform ใหม่เป็นโครงสร้างใหม่ที่จะ​<br />

ทําให้เกิดความยั่งยืนในการทํางานอนุรักษ์ให้เป็นประโยชน์กับ​<br />

สังคมมากขึ้นร่วมกับสมาชิกสมาคมฯรุ่นใหม่ที่สนใจมาร่วมงาน​<br />

นอกจากนี้ยังต้องเป็นศูนย์แบบ one stop service ที่ให้<br />

คําปรึกษาในการทําโครงการอนุรักษ์แก่ประชาชนทั่วไป​<br />

แก่หน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น รวมไปถึง<br />

การจัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกสมาคมฯ ในการดําเนิน​<br />

โครงการในพื้นที่ที่เป็นมรดกหรือเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมด้วย ​<br />

ในประเทศไทยเรายังไม่มีวิชาชีพสายการอนุรักษ์ที่แบ่งออกมา​<br />

อย่างชัดเจน ซึ่งทําให้การอนุรักษ์ยังกระจุกตัวอยู่ที่กรมศิลปากร ​<br />

และผู้เชี่ยวชาญที่มีเป็นส่วนน้อย หากเราเริ่มมีการอบรม<br />

สาขาวิชาชีพนี้ขึ้นมาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยร่วมมือกับ<br />

กรมศิลปากรและสถาบันการศึกษา ก็จะเป็นประโยชน์ใน<br />

การเพิ่มบุคลากรและขยายงานด้านการอนุรักษ์ให้กว้าง<br />

ขวางมากขึ้น เป็นการยกระดับงานด้านการอนุรักษ์ให้เป็น<br />

ที่แพร่หลายและตอบรับกับความต้องการในเรื่องการพัฒนา​<br />

อย่างยั่งยืนซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของการพัฒนาเมืองทั่วโลก ​<br />

ภารกิจอีกอย่างที่ได้วางไว้สําหรับศูนย์นี้คือการเป็นศูนย์<br />

ข้อมูลมรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทยอีกด้วย เพราะ<br />

ไม่มีหน่วยงานภาครัฐใดทําเลย จะเห็นได้ว่าศูนย์มรดก<br />

เมืองเป็นโครงสร้างภายในสมาคมฯ ที่ต้องการบุคลากร<br />

ประจําเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนางานทางด้านการ<br />

อนุรักษ์ให้ก้าวไกลได้โดยอาจสอดแทรกอยู่ในโครงสร้างเดิม​<br />

ของสมาคมฯ ที่เคยตั้งไว้ เช่น สถาบันสถาปนิกสยาม หรือ​<br />

จะเป็นเพียงสายงานหนึ่งที่ต้องมีการเพิ่มบุคลากรที่ทํางาน​<br />

เฉพาะทางเพียง 2 คน โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมาย<br />

ในการสร้างศูนย์ใหม่ทางกายภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของอาคาร<br />

สถานที่ที่เป็นเรื่องรอง<br />

อีกเรื่องคือ การถอดองค์ความรู้ อย่างกรณีโครงการฟื้นฟู<br />

กุฎีจีน สิบปีให้หลังก็ต้องมีการถอดบทเรียนทําออกมาเป็น<br />

หนังสือ หรือ e-book หรือเราจะถอดบทเรียนของกลุ่มอื่น​<br />

ที่เขาทํางานอนุรักษ์ก็ได้เราก็น่าจะมีหน้าที่ที่จะเก็บองค์ความรู้ ​<br />

นี้ เพราะเดี๋ยวนี้เราอาจจะไม่ต้องทําเองแล้วเพราะมีคนอื่น<br />

ทํามากขึ้นแล้วในพื้นที่ต่างๆ เราอาจจะทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง<br />

เป็นที่เก็บรวบรวมและนําเสนอข้อมูลเหล่านี้ ทําหน้าที่เป็น<br />

platform รวบรวมข้อมูล นําเสนอและแปลเป็นภาษาอังกฤษ​<br />

มีเว็บไซต์ที่คนอยากเข้ามาดูเรื่องการอนุรักษ์ มีเว็บไซต์<br />

ของสมาคมฯ ที่เปิดมาแล้วมีข้อมูลรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นที่<br />

ครบถ้วน มีการเผยแพร่ผลงานของสมาคมฯ และเครือข่าย<br />

ที่เคยทํามา และในอนาคตเผยแพร่งานของสมาชิกสมาคมฯ<br />

ที่ไปมีส่วนร่วมทํางานอนุรักษ์ในพื้นที่ต่างๆ<br />

_คนรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านอนุรักษ์มีเครื่องมืออะไรใหม่ๆ<br />

ในการทำงานในยุคสมัยนี้<br />

สมัยนี้มีเครื่องมือใหม่เยอะมาก นอกเหนือจากเครื่องมือ​<br />

ทางเทคนิคเช่น 3D scan หรือรูปแบบของกิจกรรมหรือ​<br />

เวิร์คช็อปต่างๆ เช่น การเขียนแบบ measure work มรดก​<br />

สถาปัตยกรรมแบบ Vernadoc โครงการประกวดการ​<br />

เก็บข้อมูลอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ แล้วยังมีเครื่องมือ<br />

ที่ถือเป็นซอฟต์แวร์ก็คือ “คน” ที่เข้ามาเป็นจักรกลสําคัญ<br />

ในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ในชุมชน ย่านเก่าหรือเมืองเก่า​<br />

เราจะไม่มองเพียงตัวอาคารแล้ว แต่ละพื้นที่มันจะมี​<br />

องค์ประกอบต่างกัน เช่น อาจจะมี asset ต่างกัน ตัวละคร​<br />

ที่เข้ามามีบทบาทต่างกันซึ่งจะคิดอะไรต่างกันมากตาม<br />

ความสนใจหรือความถนัดเฉพาะทาง ยกตัวอย่าง น้องต้อง​<br />

ที่จ.แพร่ ที่มีบทบาทในโครงการอนุรักษ์สถานีรถไฟบ้านปิน​<br />

เขาเองก็เป็นคนแพร่ และเป็นนักเขียนด้วย เขาไม่ใช่สถาปนิก​<br />

เขาจึงอาศัยการค้นข้อมูลประวัติศาสตร์และทักษะการเขียน​<br />

แล้วนําเสนอในเชิงพลิกประวัติศาสตร์ของพื้นที่ให้กลายมา<br />

เป็นด้านบวกได้และในพื้นที่อื่นๆก็มีการใช้ทักษะแตกต่างไป​<br />

อย่างกลุ่มมาดีอีสานที่เปิด platform เป็น art space ที่<br />

จ.อุดรฯ หรือน้องเอ๋ ที่เริ่มอนุรักษ์อาคารเก่าแล้วเปิดเป็น<br />

art space ที่ จ.สงขลา คือแต่ละคนใช้ความสนใจส่วนตัว<br />

ใส่เข้าไป นี่คือข้อดีของคนรุ่นใหม่เพราะทําด้วย passion<br />

สรุปวันนี้ถ้าถอดบทเรียนที่เขาพูดกันในงานสัมมนาที่จัดโดย​<br />

สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE)<br />

เครื่องมือสําคัญของคนยุคใหม่คือ passion ซึ่งไม่มีกฎเกณฑ์ ​<br />

ตายตัวว่าต้องทํางานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมโดยตรง หรือ<br />

ต้องเป็นสถาปนิก หรือถ้าเป็นสถาปนิกแล้วก็อาจมีคนสาย<br />

อาชีพอื่นมาร่วมงานจึงสามารถขยายงานให้กว้างขึ้นได้<br />

_ธีมหลักของงานสถาปนิกปีนี้ คือโจทย์ของการมองเก่า<br />

ให้ใหม่ หรือมรดกสถาปัตยกรรมอนุรักษ์ในมุมใหม่ และ<br />

ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานงานด้านนี้มา เราจะสามารถ<br />

ช่วยกันพัฒนา ต่อยอดได้อย่างไรบ้าง<br />

มุมมองใหม่คือความเชื่อมโยงกับปัจจุบันโดยมี “คน” เป็น<br />

ตัวตั้ง การอนุรักษ์ไม่ได้สําคัญอยู่ที่แค่ตัวมรดกสถาปัตยกรรม​<br />

แต่มันคือการทําให้เกิดความเชื่อมโยงและเห็นคุณค่าร่วมกัน​<br />

ของสิ่งที่คนในอดีตได้สร้างไว้ คุณค่าที่คนในปัจจุบันสามารถ​<br />

นํามาใช้ประโยชน์และพร้อมที่จะส่งต่อไปยังอนาคต อย่าง<br />

เช่นตึกเก่า แต่ละคนมองก็ไม่เหมือนกันแล้ว แต่ก็อยู่ที่ว่า<br />

เราจะทําอะไรกับมันให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวมใน<br />

ปัจจุบัน และเพื่อส่งมอบคุณค่าของมันให้คนรุ่นต่อไปได้ใช้<br />

ประโยชน์ต่อไปได้ในยุคของเขา ให้สิ่งที่มีคุณค่าเดิมที่มันมี<br />

เรื่องราวของมันและตอบสนองกับกิจกรรมยุคปัจจุบันซึ่งก็<br />

ยังสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต ซึ่งแต่ละคนก็อาจ<br />

เห็นไม่ตรงกันแต่มันมีองค์ความรู้ทางวิชาการอยู่ทําอย่างไร​<br />

ให้คนได้รับทราบถึงองค์ความรู้นั้น คนในบางพื้นที่ยังไม่มี<br />

องค์ความรู้นั้นก็ควรต้องมีคนจากภายนอกที่มีองค์ความรู้<br />

ไปบอกเล่า ไปสื่อสารให้เกิดการเห็นคุณค่าร่วมกัน เมื่อมี<br />

องค์ความรู้เท่าเทียมหรือใกล้เคียงกันแล้วจึงจัดให้เกิดการ<br />

ตัดสินใจร่วมกันว่าคุณค่าอะไรที่ต้องคงอยู่และส่งต่อให้ลูกหลาน ​<br />

บางครั้งก็อาจจะไม่จําเป็นต้องเก็บสิ่งเดิมๆ ไว้ทั้งหมด​<br />

แต่ควรต้องมีการบันทึกหลักฐานไว้ทั้งหมด เพื่อให้พื้นที่นั้น<br />

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความสมบูรณ์ เพราะที่ผ่านมาก็อาจมี<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 30 31<br />

Refocus Heritage


หลายชั้นหลายเลเยอร์ มีการปรับเปลี่ยนไปแล้วในอดีต ​<br />

ก็ต้องมาหารือร่วมกันว่าอดีตชั้นไหนที่จะเก็บและส่งต่อ<br />

และประโยชน์ใช้สอยใหม่ที่ต้องเพิ่มเติมคืออะไร ส่วนใหม่<br />

ที่เพิ่มเติมต้องแสดงยุคสมัยว่าทําในสมัยปัจจุบัน ไม่ไป<br />

ลอกเลียนแบบทําให้คนรุ่นต่อไปเกิดความเข้าใจผิดในเรื่อง<br />

ยุคสมัยของประโยชน์ใช้สอยที่ต่อเติมขึ้น ทั้งนี้ ต้องได้รับ<br />

การออกแบบจากผู้มีความเข้าใจในเรื่องคุณค่าและความงาม​<br />

ไปพร้อมๆ กันเพื่อไม่ให้เกิดการไปทําลายหรือลดทอนคุณค่า​<br />

เดิม และสิ่งที่สร้างใหม่เพิ่มเข้าไปมีความงามพอเหมาะพอดี ​<br />

และมีคุณค่าในตัวเองในฐานะมรดกสถาปัตยกรรมร่วมสมัย​<br />

ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ยากแก่การสร้างความเข้าใจให้<br />

เกิดขึ้นแม้แต่ในหมู่สถาปนิกกันเอง<br />

การรีโนเวตอาคารที่เป็นมรดกสถาปัตยกรรมที่ยังไม่ได้รับ<br />

การขึ้นทะเบียนหรือระบุคุณค่าขึ้นบัญชีมรดกสถาปัตยกรรม​<br />

หลายหลังตกอยู่ในมือของผู้ไม่รู้โดยมากเป็นเจ้าของอาคาร​<br />

หรือผู้เช่าที่ให้ผู้รับเหมาทําตามที่ตนสั่งโดยปราศจากสถาปนิก​<br />

ผู้มีความเชี่ยวชาญหรือมีความเข้าใจในเรื่องคุณค่าไปเป็น​<br />

ที่ปรึกษาออกแบบ เรื่องนี้จึงยังถือเป็นปัญหาใหญ่มากใน<br />

วงการอนุรักษ์บ้านเรา เพื่อสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นใน<br />

เรื่องที่กล่าวมานี้ ทาง UNESCO ได้ตระหนักถึงปัญหานี้<br />

และได้เริ่มคิดค้นวิธีแก้ปัญหาในเชิงบวกคือการจัดให้มีการ<br />

มอบรางวัลแก่งานออกแบบใหม่ในบริบทเก่า โดยการคัดเลือก​<br />

รางวัล UNESCO Heritage Award Asia Pacific มีรางวัล​<br />

พิเศษรางวัลหนึ่ง คือ รางวัลงานออกแบบใหม่ในบริบทพื้นที่​<br />

อาคารอนุรักษ์ เป็นรางวัลที่ให้กับอาคารที่มีการออกแบบ<br />

ต่อเติมหรือสร้างใหม่ที่เข้ามาอยู่ในบริบทอาคารอนุรักษ์เดิม​<br />

แต่ระบุไว้เลยว่าต้องไม่ลอกเลียนแบบอาคารเก่า และต้อง<br />

แสดงให้เห็นเทคโนโลยีการก่อสร้างในสมัยปัจจุบัน ซึ่งในปี​<br />

พ.ศ. 2563 นี้ การคัดเลือกรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็จะมีการคัดเลือกรางวัล<br />

ประเภทนี้ด้วย<br />

ปัจจุบันการสร้างนวัตกรรมในย่านเก่าหรือเมืองเก่าเริ่มมี<br />

บทบาทในการพัฒนาเมืองในยุคนี้ แต่ว่าการสร้างนวัตกรรม​<br />

บางคนอาจจะคิดว่าต้องสร้างสิ่งใหม่ แต่ความจริงนวัตกรรม​<br />

คือสิ่งใหม่ แนวคิดใหม่ที่มาทําให้สิ่งเก่ายังคงคุณค่าหรือมี<br />

คุณค่ามากขึ้น และสามารถทําให้ชีวิตของคนในพื้นที่นั้นดีขึ้น​<br />

โจทย์มันกว้างมากและไม่มีคําตอบสุดท้ายและคําตอบเดียว​<br />

และ ณ เวลาที่เราตัดสินว่ามันเป็นอะไร มันก็พร้อมจะ<br />

เปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน สิ่งสําคัญที่จะเกิดนวัตกรรมไปใน<br />

ทางที่ดีในพื้นที่ที่เป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมคือการจัดทํา<br />

ชุดองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของพื้นที่ สถาปัตยกรรมและ<br />

มรดกวัฒนธรรมของพื้นที่นั้นๆ ให้เกิดความรับรู้ร่วมกัน<br />

และสามารถสร้างกลไกทางสังคมหรือทางกฎหมายให้เกิด<br />

การปกป้องคุณค่านั้นๆ ให้คงอยู่ได้ก่อนที่จะมีการเพิ่มสิ่งใหม่ๆ​<br />

เข้าไป<br />

การอนุรักษ์ที่ดีควรให้มีการคงสภาพเดิมให้มากที่สุด เพียง<br />

แต่ถ้ามีอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์มันมี<br />

หลายยุคสมัย มีหลักฐานซ้อนกันอยู่หลายชั้น อันนี้ก็ต้อง<br />

ใช้เวลาที่จะศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อจะบอกว่าจะให้ความ<br />

สําคัญกับชั้นหรือเลเยอร์ไหน จะเก็บอะไร จะเอาสมัยไหน<br />

ก็เหมือนกับตอนที่เฉลิมไทยถูกรื้อ ก็มีการมองว่ามันไปบัง<br />

วัดราชนัดดาซึ่งมีมาก่อน อันนี้เป็นแนวคิดที่มีมุมมองได้<br />

หลายหลาก บางคนก็อาจจะคิดว่าข้างหลังสําคัญกว่า แต่<br />

บางคนก็อาจจะเห็นว่าข้างหน้าก็เป็นประวัติศาสตร์หน้า<br />

หนึ่งที่ควรเก็บแล้วเปิดช่องให้มองไปข้างหลังได้ แต่มันขึ้น<br />

อยู่กับว่าใครเป็นคนที่มีอํานาจตัดสินใจในโครงการนั้นๆ<br />

_ฟังดูเหมือนว่าภาครัฐมักจะให้ความส ำคัญและสนใจ<br />

แต่มรดกที่เป็นทางการและของชนชั้นนำ แต่ถ้าเป็นมรดก<br />

ชาวบ้านก็จะไม่ได้ให้ความสำคัญ และมีแนวโน้มที่จะ<br />

ถูกรื้อทิ้งไป<br />

ภาครัฐยังมีธงในการขึ้นทะเบียนเฉพาะวัด วัง และอาคาร<br />

ราชการที่มีคุณค่าระดับชาติเป็นหลัก ตอนนี้กรณีที่มีข่าว<br />

ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาอาคารราชดําเนินก็แสดงถึง<br />

การไม่เข้าใจในเรื่องคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมยุค​<br />

โมเดิร์น แม้จะไม่รื้อทิ้ง แต่การไปปรับเปลี่ยนมันคือการลบ​<br />

ประวัติศาสตร์ออกไปหน้าหนึ่ง ก็อยู่ที่ว่าเขาจะลบไปทําไม<br />

มองอีกแง่หนึ่งการตัดสินใจปรับโฉมกลุ่มอาคารราชดําเนิน<br />

ครั้งนี้ก็จะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของอาคารชุดนี้<br />

ในอนาคตเลยทีเดียว ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงการที่ผู้มีอํานาจ<br />

ที่ดําเนินการภายใต้แนวคิดอะไร<br />

ส่วนมรดกที่เป็นของเอกชนแม้มีคุณค่ามากระดับชาติ รัฐก็<br />

ไม่ค่อยเข้ามาขึ้นทะเบียน เพราะในเมืองไทยมักมองกันว่า​<br />

การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเป็นการลิดรอนสิทธิ์ จึง<br />

ไม่อยากมาขึ้นทะเบียนอาคารของเอกชน และเอกชนเองก็<br />

ไม่อยากให้รัฐมาขึ้นทะเบียน เพราะจะทําอะไรก็ต้องรอ<br />

อนุญาต ถ้ายังมีมุมมองแบบนี้กันทั้ง 2 ฝ่ายก็เป็นความซวย​<br />

ของประชาชนในประเทศที่ไม่มีกลไกหรือเครื่องมือทาง<br />

กฎหมายในการปกป้องมรดกของส่วนรวมเลย สําหรับเรา<br />

มองว่าการไม่ขึ้นทะเบียนต่างหากที่มาลิดรอนสิทธิ์ของส่วน<br />

รวมในการปกป้องมรดกของชาติซึ่งคือมรดกของประชาชน<br />

ในเมื่อรัฐไทยยังไม่มีกลไกหรือมาตรการเชิงบวกที่สามารถ<br />

เอื้อในการสนับสนุนด้านงบประมาณในการอนุรักษ์มรดก<br />

ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนได้ เราก็ยังต้องเผชิญหน้ากับ<br />

ความสุ่มเสี่ยงในการสูญหายของมรดกสถาปัตยกรรมไป<br />

เรื่อยๆ โดยไม่มีใครสามารถทําอะไรได้เลย<br />

_อยากฝากอะไรให้กับสถาปนิกรุ่นใหม่ หรือผู้ใหญ่ที่มี<br />

ส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงอนุรักษ์บ้าง<br />

ควรต้องมีการให้ความรู้ในมุมของคุณค่าของมรดกทาง<br />

สถาปัตยกรรม สถาปนิกเรากันเองยังไม่เห็นคุณค่าของ<br />

มรดกสถาปัตยกรรมเลยบางที แล้วจะให้คนนอกสาย<br />

อาชีพมาเห็นคุณค่าก็คงยาก ประเทศไทยเราหน่วยงานที่<br />

ทําหน้าที่บ่งชี้ว่าอาคารไหนที่มีคุณค่าก็ยังทําได้ไม่ครบ เช่น<br />

กรมศิลปากรที่มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนก็ยังทําไม่ครบ มีข้อจํากัด​<br />

หลายประการ เช่น เรื่องของงบประมาณ หรือระยะเวลา​<br />

ในการทํางานสํารวจก่อนที่จะขึ้นทะเบียน การที่ต้องได้รับ<br />

การยินยอมจากเจ้าของอาคารก่อนการขึ้นทะเบียน หรือ<br />

การที่คนที่ทําหน้าที่ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรยังเป็นนัก<br />

โบราณคดีจึงยังไม่เห็นคุณค่าความงามของอาคารยุคโมเดิร์น​<br />

เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าอาคารที่ยังไม่ได้ขึ้น<br />

ทะเบียนเป็นอาคารที่ไม่มีคุณค่า มีอาคารยุคโมเดิร์นที่มี<br />

คุณค่าทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนบ้าง​<br />

แต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก เช่น อาคารเฉลิมกรุงที่รัชกาลที่ 7​<br />

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ในปัจจุบันอาคารโมเดิร์นอื่นๆ​<br />

ในหลายๆ ประเทศ ก็ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณค่าใน<br />

ฐานะมรดกสถาปัตยกรรม และมีกลุ่มอาคารยุคนี้ที่ได้เป็น<br />

มรดกโลกแล้วด้วย ในประเทศไทยพอกรมศิลปากรไม่ขึ้น<br />

ทะเบียนเป็นโบราณสถาน คนทั่วไปหรือแม้เจ้าหน้าที่ภาค<br />

รัฐที่ดูแลอาคารราชการ เช่น กรมธนารักษ์ ก็คิดว่ามันไม่มี​<br />

คุณค่า นี่ก็เป็นจุดที่เป็นปัญหาอยู่ทําอย่างไรที่จะระบุคุณค่า​<br />

นี้แล้วทําให้เป็นที่รับรู้ร่วมกัน<br />

สถาปนิกเองก็น่าจะต้องสังวรในเรื่องนี้ ว่าอาคารทั้งหลาย<br />

ที่เรารีโนเวต ปรับปรุงใหม่ หรือออกแบบ adaptive reuse<br />

ต่างๆ แม้ว่ายังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน แต่อาคารหายหลัง<br />

ก็มีคุณค่าเป็นมรดกสถาปัตยกรรม ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์​<br />

เพื่อบ่งบอกถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมใน<br />

ยุคสมัยหนึ่งซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สังคม<br />

เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และฝีมือช่างในยุคนั้นๆ ที่หากเรา<br />

ปรับปรุงอาคารโดยการรื้อทําลายหลักฐานหรือคุณค่านั้นๆ<br />

ไปเสีย ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายแทนชนรุ่นหลังที่จะไม่ได้<br />

เห็นผลงานที่มีคุณค่าเหล่านั้นอีกต่อไป แต่หากเกิดความ<br />

ไม่แน่ใจในเรื่องคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมก็ควรปรึกษา​<br />

ผู้ที่มีองค์ความรู้ทางด้านนี้ เพื่อที่จะทํางานให้ดีโดยไม่ได้<br />

ทําลายคุณค่าเหล่านั้นไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้<br />

ไม่ได้หมายความเฉพาะอาคารยุคโมเดิร์นเท่านั้นแต่รวมถึง<br />

มรดกสถาปัตยกรรมทุกยุคสมัยที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน​<br />

ในประเทศไทย<br />

สําหรับผู้ใหญ่ในแวดวงอนุรักษ์ที่มีโอกาสเข้าไปนั่งเป็นกรรมการ ​<br />

อยู่ในชุดต่างๆ ของภาครัฐ ก็อยากจะฝากให้ช่วยกันหา<br />

โอกาสผลักดันให้เกิดการจัดทําบัญชีมรดกสถาปัตยกรรม<br />

ระดับท้องถิ่นโดยเร็วก่อนที่มรดกจะหายหมดหรือถูกทําให้<br />

เสื่อมค่าเพราะความไม่รู้ทั้งในระดับท้องถิ่นและในหน่วยงาน​<br />

ราชการ ตลอดจนในวัดวาอาราม เพื่อให้เกิดการระบุคุณค่า​<br />

ความสําคัญในระดับท้องถิ่น และจัดให้มีนโยบายเชิงรุกเพื่อ​<br />

การปกป้องมรดก เช่น การออกเทศบัญญัติท้องถิ่น และ<br />

การสร้างมาตรการเชิงบวก เช่น การจัดตั้งกองทุนเพื่อการ<br />

อนุรักษ์ที่สามารถช่วยสนับสนุนด้านงบประมาณการดูแล<br />

อาคารอนุรักษ์ที่เป็นของเอกชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ<br />

อนุรักษ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะปัญหาใหญ่ที่เห็นใน<br />

ขณะนี้คือเรามีแต่มาตรการส่งเสริมวัฒนธรรมให้เกิดการ<br />

ต่อยอดเป็นสินค้าหรือการเพิ่มมูลค่า ให้เกิดการท่องเที่ยว<br />

ในแหล่งมรดกวัฒนธรรม แต่ยังไม่มีมาตรการหรือกฎเกณฑ์<br />

ใดๆ ที่จะปกป้องไม่ให้มรดกนั้นหายไป<br />

ปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส / Pongkwan S. Lassus<br />

ตำแหน่งในปัจจุบัน:<br />

- อุปนายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE)<br />

- กรรมการบริหารสมาคมอิโคโมสไทย<br />

- กรรมการพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมฯ<br />

ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมา:<br />

- อดีตหัวหน้าศูนย์มรดกเมือง สมาคมสถาปนิกสยามฯ พ.ศ. 2559<br />

- อดีตอุปนายกและประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ 2 สมัย พ.ศ. 2549-2451 และ พ.ศ. 2555-2557<br />

- อดีตกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

พ.ศ. 2545-2557<br />

- อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

พ.ศ. 2557-2559<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 32 33<br />

Refocus Heritage


SPECIAL INTERVIEW<br />

A Talk with the New <strong>ASA</strong><br />

President: Chana Sampalung<br />

Text: ปวริศ คงทอง / Pawarit Kongthong<br />

Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

เมื่อไม่นานมานี้สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ​<br />

ในสมัยหน้าเสร็จสิ้นไปเป็นที่เรียบร้อย โดยผู้ที่ได้รับเลือกจากการลงคะแนนของสมาชิกสมาคมฯ<br />

ก็คือ “พี่โอ๋” หรือคุณชนะ สัมพลัง รองกรรมการผู้จัดการบริษัทสถาปนิก49เฮาส์ดีไซน์ จํากัด<br />

(A49HD) ทีมงาน <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> จึงถือโอกาสนี้ พูดคุยกับคุณชนะสั้นๆ เกี่ยวกับแนวทางการ<br />

ดําเนินงานและเป้าหมายในการบริหารงานสมาคมฯ ของคุณชนะ<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 34 35<br />

_ความรู้สึกหลังได้รับเลือกตั้งเป็นอย่างไรบ้างครับ<br />

อย่างแรกเลยคือตกใจ ในตอนแรกเราก็คิดว่ามั่นใจเพราะเรา​<br />

ไปทางเด็กรุ่นใหม่ แต่พอดูแล้ว น้องๆ ไม่ค่อยสมัครเป็น​<br />

สมาชิกสมาคมฯ ไม่ค่อยมีวัยรุ่นที่เป็นฐานเสียงของผมเลย​<br />

คือคิดไว้ว่าอาจจะแพ้ พอมันกลับมาคะแนนนําก็เลยรู้สึก<br />

สงสัยเหมือนกันว่าใครกันที่เลือก ความรู้สึกมันเลยปนกัน<br />

แปลกๆ ครับ<br />

_พูดถึงการวางแผนระยะสั้น ระยะยาวในช่วงที่เป็นนายก<br />

ที่คิดว่าจะทำมีอะไรบ้างครับ<br />

บังเอิญว่า 4 ข้อหลักที่ผมตั้งใจทําแต่แรก มันน่าจะใช้เวลา​<br />

ไม่นานก็จบ แต่หลายข้อมันจะทําครั้งเดียวไม่ได้และครั้งแรก​<br />

มันอาจจะไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรเลย แล้วมันคงต้องส่งต่อ​<br />

ให้กับคนอื่นๆ ทําต่อ อย่างเช่น อันที่ผมคิดว่าเราอยากให้<br />

สถาปนิก หรือคนที่เรียนจบในสาขาสถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่​<br />

นักออกแบบ เขามีพื้นที่ หรือทําให้เขารู้สึกว่าหน้าที่ของเขา​<br />

ก็สําคัญ อันนี้มันทําครั้งเดียวไม่ได้ ทําโดยสมาคมฯ เพียง<br />

อย่างเดียวก็ไม่ได้ มันอาจจะต้องได้รับความร่วมมือจาก<br />

มหาวิทยาลัยด้วย คือถ้าคณะเองให้ความสําคัญกับมัน สมาคมฯ ​<br />

ก็ให้ความสําคัญ ทุกๆ คนในวิชาชีพเห็นความสําคัญของเขา​<br />

มันก็จะทําให้ความภูมิใจของคนที่อยู่ตรงนั้นมีมากขึ้น ​<br />

ซึ่งอันนี้ผมว่าไม่ใช่ปีสองปีแล้วจบ หรือว่าครั้งเดียวแล้วจบ<br />

อันนี้น่าจะเป็นระยะยาว แต่เชื่อว่าถ้าทําครั้งแรกแล้วมันได้<br />

รับผลตอบรับที่ดีเดี๋ยวนายกท่านอื่นๆ เขาก็ทําตาม<br />

_กิจกรรมต่างๆ ที่ทางสมาคมฯ เคยจัดมาจะมีการเปลี่ยนแปลง<br />

หรือพัฒนาอย่างไรบ้างครับ<br />

กิจกรรมเดิมๆ ที่เราทํากันมามันดีอยู่แล้ว ความหมายของ​<br />

การที่จะทําให้มันแพร่หลายมากขึ้นหรือทําให้ดีขึ้นนี้ ไม่ได้<br />

แปลว่าของเก่ามันแย่เพียงแค่ผมมีความรู้สึกว่าเราทําซํ้ำๆ กัน​<br />

In search of our new President, The Association<br />

of Siamese Architects (<strong>ASA</strong>) recently organized an<br />

election. With the result now finalized, the elected<br />

President with the most votes from our members<br />

is Chana Sampalang, one of the executives of A49<br />

Architects. <strong>ASA</strong> Crew had a brief conversation<br />

with the new President about his plans and goals<br />

for the association:<br />

_The moment you knew you were elected,<br />

how did it feel?<br />

The first feeling was shock. I really thought it<br />

would be someone from a younger generation,<br />

but we don’t have that many young members. I<br />

didn’t really think I was going to win. When I took<br />

the lead, I did wonder who voted for me. It was a<br />

mixture of feelings, actually.<br />

_What are the short-term and long-term plans<br />

you have for the association now that you’re<br />

taking office?<br />

The four goals I had in mind for the association<br />

won’t take that long to achieve, but many of<br />

them aren’t exactly the kinds of goals that can<br />

be achieved in one attempt. They may not even<br />

make any impact at first, and they may have to be<br />

handed over to other people who will be taking<br />

this job later. For example, I have an idea to create<br />

a platform for architects and people who have<br />

graduated in architecture-related fields but who<br />

do not necessarily have a design-oriented role, so<br />

Refocus Heritage


มานานแล้ว มันควรจะมีการพัฒนา ทีนี้พัฒนาการของมัน<br />

จะสนับสนุนตัวเราในด้านใดบ้าง เราพูดถึงเจเนอเรชัน​<br />

อย่างหนึ่งแล้ว เราอาจจะต้องพูดถึงเชิงวิชาการอย่างหนึ่ง​<br />

เราอาจจะต้องพูดถึงเมืองที่มันเปลี่ยนไปอาชีพที่มันเปลี่ยนไป​<br />

ความพร้อมของสถาปนิกก็เปลี่ยนไปด้วย โลกมันกว้างขึ้น​<br />

ทุกๆ อย่างมันควรจะต้องหันไปตอบตรงจุดนั้น ตอนนี้เรา​<br />

จะสร้างกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ มันควรจะต้องตอบบริบท<br />

ของวันนี้ แล้วก็ทําให้มันดีขึ้นไปอีก ถ้าเราพูดถึง <strong>ASA</strong>​<br />

ไม่ว่าจะเป็นงาน <strong>ASA</strong> Expo หรือรางวัลต่างๆ ที่สมาคมฯ​<br />

มอบให้ ผมคิดว่ามันควรมีโครงสร้างของมันว่าจุดประสงค์​<br />

ของมันคืออะไร ที่ผ่านมาจุดประสงค์ของมันไม่ค่อยจะชัดเจน​<br />

ว่าเราให้รางวัลเพื่ออะไร ให้เพื่อคัดเลือกงานที่ดีที่สุด หรือว่า​<br />

จริงๆ แล้วเราให้รางวัลเพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศ หรือ<br />

เราให้รางวัลเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือเป็นการกระตุ้นให้​<br />

คนผลิตงานดีๆ ออกมา<br />

_มีแนวทางอย่างไรที่จะให้คนทั่วไปเข้าใจในสมาคมฯ<br />

หรืออาชีพสถาปนิกมากขึ้นครับ<br />

อันนี้ยากและเป็นอะไรที่ต้องทําเป็นระยะยาวมาก คนก็ยัง<br />

ไม่เข้าใจ อย่าว่าแต่คนอื่นเลย แม่ผมก็ยังไม่เข้าใจ ตอนที่<br />

เขายังมีชีวิตอยู่เขาก็ไม่รู้ว่าเราทําอะไร มันเป็นอะไรที่ต้อง<br />

ค่อยๆ คิดแล้วทําแบบไม่จงใจทํา​ไม่ได้ hard sale ให้เขารู้​<br />

แต่คราวนี้มันคงต้องทําแล้วให้เขาเห็นถึงความสําคัญ​<br />

จริงๆ แล้วความสําคัญของพวกเรามันแสดงได้โดยวิธีใดบ้าง​<br />

ผมคิดว่าเราอาจจะต้องมาวิเคราะห์ อันนี้เป็นเหมือนเชิง<br />

การตลาดให้กับสมาชิกเลย คือถ้าคนรู้สึกว่าสําคัญ แสดง<br />

ว่าเราจะต้องสื่อสารออกไปว่าอาคารหลังนั้นมันส่งผลกระทบ​<br />

อะไรบ้างกับคน ซึ่งสุดท้ายเราอาจจะไม่ได้ชูแค่ว่า คนนี้ได้<br />

รางวัลเหรียญทองหรือเหรียญเงินเพียงอย่างเดียว แต่มัน<br />

อาจจะต้องไปในเชิงอื่นด้วย ถามว่าการรับรู้ของคนใน<br />

ประเทศไทยต่อสถาปนิกแย่ขนาดที่เรากลัวไหม ส่วนตัว<br />

ผมคิดว่าไม่ได้แย่ขนาดนั้น คนส่วนใหญ่ก็รู้ แต่คนที่เขาไม่ได้​<br />

เข้าถึงตรงนี้เขายังไม่รู้ แต่ก็จะพยายามช่วยให้ข้อมูลให้เขา<br />

ได้รับรู้ เราอาจจะต้องช่วยกัน อันนี้อาจจะไม่ใช่สมาคมฯ<br />

เป็นคนทําเพียงอย่างเดียว<br />

they feel like their jobs are also important. This<br />

isn’t the kind of initiative that can be pulled off in<br />

one attempt, and it isn’t something that can be<br />

achieved just by the association. It would require<br />

collaborations with universities, for example, and<br />

if the faculties acknowledge the importance of<br />

this matter, we can work together more effectively.<br />

Everyone in the field can acknowledge their<br />

roles and this recognition can really boost their<br />

pride. This takes more than one or two years to<br />

accomplish. It’s a long-term commitment, but I do<br />

believe that if we start now and the feedback is<br />

good, my successors as president will be able to<br />

continue the task.<br />

_Will there be any changes or developments<br />

with the activities that the association has been<br />

doing?<br />

The activities are doing great. Changing them<br />

or making them more widely recognized doesn’t<br />

mean the old things are bad, but I just have this<br />

feeling that we’ve been doing the same things for a<br />

while now and there should be some new developments.<br />

How these developments can support<br />

the association and in which aspects are the<br />

questions here. We talked earlier about the new<br />

generation of practitioners and maybe academics<br />

should be brought into the discussion as well.<br />

We may have to discuss how cities are changing,<br />

how people’s occupations are changing, and how<br />

architects’ preparedness is changing as well. The<br />

world is getting bigger, and everything should be<br />

contemplated to address these issues. Whatever<br />

activity we’re hosting, it needs to correspond<br />

with today’s context, and it needs to be improved.<br />

Whether we talk about the <strong>ASA</strong> Expo or the awards<br />

we’ve been granting, I think there should be a<br />

structure that outlines these goals. There hasn’t<br />

been a clear objective as to why we give out these<br />

awards. Are we trying to find the best projects,<br />

are the awards just an attempt to promote the<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 36 37<br />

Refocus Heritage


<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 38 39<br />

_สมาคมฯ จะสามารถสนับสนุนสถาปนิกตั้งแต่รุ่นเล็ก<br />

ถึงรุ่นใหญ่อย่างไรบ้างครับ<br />

มิติแรกผมว่าเป็นเรื่องของการที่เราตอบคําถามแรกที่เรา<br />

ได้พูดไปว่า การที่น้องๆ ไม่สนใจสมาคมฯ เลย เพราะว่ามัน​<br />

ไม่มีประโยชน์กับเขาหรือเปล่า เพราะถ้ามันมีประโยชน์<br />

เขาคงอยากเป็นสมาชิก คตินี้คือใจความสําคัญของการสร้าง​<br />

ประโยชน์ให้สมาชิกเลย เพราะผมเคยพูดไปตอนให้สัมภาษณ์​<br />

ครั้งหนึ่ง บอกว่าจริงๆ ถ้าสมาคมฯ มีแหล่งข้อมูลให้เขา​<br />

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัสดุ กฎหมาย หรือการให้คําปรึกษาต่อ<br />

สิ่งที่เขาคับข้องใจไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็แล้วแต่เขาก็จะวิ่งมาหา​<br />

สมาคมฯ ทันที แล้วสมาคมฯ จะเป็นผู้ให้คําปรึกษาที่ดีที่สุด​<br />

ซึ่งถ้าหากมีองค์กรเข้ามาช่วยตรงจุดนี้ มีคนให้ความรู้<br />

ไม่ใช่เป็นแค่การจัดอบรมแบบกว้างๆ รวมๆ แต่เป็นการช่วย​<br />

แก้ปัญหาเฉพาะบุคคล ผมเชื่อว่าสมาคมฯ จะมีคนมาต่อคิว​<br />

และมาขอความช่วยเหลือเลย ซึ่งถ้ามันเป็นแบบนั้นได้​<br />

คนก็จะอยากมา คือเราไม่จําเป็นต้องบังคับเขา แต่เป็นการ​<br />

ทําให้คนอยากเข้าหาสมาคมฯ เอง แล้วมันก็จะทําให้<br />

สมาชิกรู้สึกว่าสมาคมฯ กําลังตอบความต้องการเขา อย่าง<br />

ที่ผมบอกคือเรื่องบางเรื่องมันเป็นเรื่องปัญหาของแต่ละบุคคล​<br />

เป็นปัญหาที่สถาปนิกคนนี้เจออยู่คนเดียวเนื่องจากแต่ละ<br />

คนประสบการณ์ไม่เหมือนกัน หากสมาคมฯ นําความรู้ของ<br />

สมาชิกทุกๆ คนสื่อสารไปถึงคนอื่นๆ ได้ บางคนเขาทํางาน​<br />

ไทยประเพณี เขาไม่รู้ว่าวิธีการฉาบปูนในอาคารที่มันเป็น<br />

อาคารโบราณมันควรจะทําอย่างไร ถ้าถามผม ผมก็ไม่สามารถ<br />

ตอบได้แต่หากถามสมาคมฯ สมาคมฯ ก็อาจจะสามารถ<br />

ค้นหาคนที่รู้วิธีผสมปูนฉาบแบบไทยได้ ผมมองว่ามันเป็นเรื่องดี<br />

_ยกตัวอย่างองค์ความรู้ที่สมาคมฯ จะส่งต่อให้สมาชิก<br />

หน่อยครับ<br />

ด้านนี้จะเป็นด้านที่ผมโดนน้องๆ เพื่อนๆ ถามเสมอผมเลย​<br />

คิดว่าขนาดคนที่มาจากบริษัทที่มีชื่อเสียงเขายังถามเราเลย​<br />

เรื่องที่เขาถามก็น่าจะกลายเป็นประเด็นที่เราจะบอกต่อผู้อื่น​<br />

เหมือนเล่าให้เขาฟังต่อได้เรื่องหลักๆ จะมีเรื่องของ proposal​<br />

อันที่จริงสมาคมฯ ก็มี proposal ให้อ่านอยู่บนเว็บไซต์ แต่​<br />

ไม่มีคนอธิบายว่า proposal นั้นความสําคัญคืออะไรบ้าง​<br />

หรือ proposal นั้นไม่ทันสมัยแล้วค้างอยู่ในสมาคมฯ มานาน​<br />

สมมติว่าหากปีหน้าผมอาจจะเชิญบริษัทใหญ่ๆ มาแบ่งปัน​<br />

proposal มาแบ่งปันความรู้ที่มันเกิดจากความเจ็บปวดของ<br />

เขาในอดีต เพราะมันคือประวัติศาสตร์ของการเกิดเหตุและ​<br />

ทุกคนก็จะบันทึกลงไปใน proposal เพื่อป้องกันตนเอง​<br />

นี่คือหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจประเด็นที่2 ก็คือน้องๆ หลายคน​<br />

country, or are the awards intended to develop<br />

a standard or encourage people to create more<br />

great work? These are the questions that we<br />

should answer.<br />

_What are the approaches you think we can take<br />

to make the general public have a better understanding<br />

of the association and the architectural<br />

profession as a whole?<br />

It’s difficult, and it requires long-term action.<br />

People still don’t have a clear understanding of<br />

<strong>ASA</strong>—not only the general public, but also my own<br />

mother! Most people in the association don’t have<br />

a clue what we’re doing. It’s something that needs<br />

to be clarified gradually and naturally. The hard<br />

sale approach will never work. It needs to be done<br />

in a way that really shows the general public the<br />

significance of our role and the many possible<br />

ways that we can contribute. I think we may have<br />

to sit down, really analyze this situation, and think<br />

of it as a marketing strategy for our members. If<br />

the general public acknowledges our role as being<br />

important, it means that we have to communicate<br />

how a building can impact them. Eventually, this<br />

will probably involve something beyond promoting<br />

who gets which award. It will extend to other<br />

aspects. If you ask me if we should be concerned<br />

about the general public’s lack of recognition of<br />

our profession, I personally don’t think it is that<br />

bad. Most people are aware, but there are still people<br />

who’ve never been able to access our profession<br />

and our know-how, so they’re still not aware. We’ve<br />

been trying to provide them with useful information,<br />

but that takes a collective effort. It can’t just be<br />

the association doing all the work.<br />

_How can the association support architects<br />

who are practicing professionally, from both the<br />

younger and older generations?<br />

First, I think it’s about what I mentioned in my<br />

answer to the first question. Maybe the younger<br />

Refocus Heritage


ทํางานที่ต่างประเทศ สิ่งที่เราจะโดนกันก็คือจะเจอนักกฎหมาย​<br />

ต่างชาติให้เราเซ็น proposal ของเขา ถ้าคนที่ทํางานต่าง<br />

ประเทศทั้งหมดนํา​proposal ที่เคยถูกเซ็นเอามารวมกัน<br />

แล้วมาสัมมนากันสักครั้งหนึ่ง ผมว่าก็อาจจะน่าสนใจมาก<br />

กับการที่เคยไปเจออะไรกันมาบ้าง อะไรที่เราต่อรอง และ<br />

อะไรที่เราเข้าใจความหมายมันผิด แน่นอน proposal ที่<br />

ลูกค้าทํามักจะเข้าข้างลูกค้าเสมอ เราจะยอมเซ็นได้แค่ไหน​<br />

อาจจะต้องมีนักกฎหมายเข้ามาช่วย โลกตอนนี้มันไม่ได้<br />

อยู่ได้เฉพาะ proposal ภาษาไทยแล้ว ผมว่าสมาคมฯ ก็ควรจะ​<br />

มี proposal ภาษาอังกฤษเป็นของตัวเองเพื่อใช้ ใครอยากใช้​<br />

ก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน นี่คือประโยชน์โดยตรงกับ<br />

สมาชิกสมาคมฯ เรื่องที่ 2 ก็คือการระบุวัสดุที่ค่อนข้างที่<br />

จะล้าสมัย การระบุวัสดุในปัจจุบันจะเกี่ยวข้องกับ BIM<br />

ถ้าทุกคนไม่รู้ว่าโลกมันจะไปทางนี้มันก็จะเริ่มยากแล้ว<br />

เพราะในอนาคตผมค่อนข้างมั่นใจว่า Autocad จะถูกเลิกใช้<br />

แน่ๆ ในอีกไม่นาน เมื่อไหร่ก็ตามที่ BIM เข้ามามีบทบาท<br />

การระบุวัสดุกับระบบ BIM มันคือเรื่องเดียวกัน มันคือการ​<br />

เตรียมความพร้อมสําหรับ 5 ปีข้างหน้า การที่ชูประเด็นนี้<br />

ก็คล้ายกับเรื่องที่แล้ว ใครที่ไม่เคยเจอคงไม่อยากฟัง ก็​<br />

ช่างเขา แต่หากเขาไม่เข้ามาฟังวันนี้อีก 5 ปีเขาจะกลายเป็น​<br />

คนที่ถือขวานที่สร้างด้วยหิน เรื่องที่ผมพูดนี้มันคือพื้นฐาน<br />

ของสิ่งที่เราใช้ในทุกวันจะเป็นสองเรื่องที่สร้างความเจ็บปวด​<br />

ให้เรากับน้องๆ ได้มากที่สุด แต่เรื่องอื่นๆ เราก็ยังต้องทํา​<br />

เช่น เวลาเกิดปัญหาในการทํางาน โดนลูกค้าฟ้องขึ้นมา​<br />

เราทํางานช้า หรือเขามีการปรับ เราจะต่อรองกับเขาอย่างไร​<br />

หรือค่าออกแบบที่อ้างอิงได้คืออะไร หลายคนชอบถาม​<br />

ผมว่าทําไมไม่กําหนดไปเลยว่าค่าออกแบบ 10 เปอร์เซ็นต์<br />

เท่านั้น ผมตอบว่าไม่ได้ ถ้าเกิดทุกคนถูกควบคุมด้วยราคา<br />

เดียวกัน ทุกคนจ้างแต่บริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดแน่ๆ มันมี<br />

การแข่งขันกันในเชิงราคา เราต้องยอมรับ แต่ทําอย่างไร<br />

ให้การแข่งขันเชิงราคามันไม่ได้มีค่ามากนักถ้าทุกคนมีอาวุธ​<br />

พร้อมมือเหมือนๆ กัน มีมาตรฐานเดียวกัน คําว่ามาตรฐานนี้​<br />

จะทําให้น้องที่เพิ่งเปิดออฟฟิศใหม่ค่อยๆ โต แล้ววันหนึ่ง​<br />

ก็จะโตเท่ากับบริษัทใหญ่เอง ผมไม่เชื่อว่าจะมีบริษัทไหน​<br />

ที่เกิดขึ้นมาแล้วก็หยุดอยู่ตรงนั้น<br />

generation of architects doesn’t pay that much<br />

attention to the association because they don’t<br />

see the value of doing so. If the association is able<br />

to benefit them somehow, they would probably<br />

still want to become members. This is the essence<br />

of the association. How can we make ourselves<br />

beneficial for our members? I’ve said in a previous<br />

interview that if the association is able to serve<br />

as a source of information—about materials,<br />

about laws, or about providing consultations for<br />

those who have questions or problems—everyone<br />

will come to us. The association can be the best<br />

consultant if it is an organization that provides<br />

the most useful knowledge (not just occasional<br />

training about information that is too vague or<br />

generic) and gives solutions to specific problems<br />

at an individual level. If we can do that, people will<br />

be lining up asking for help. If we can become that<br />

type of organization, people will want to reach out<br />

to us, and it will create a perception where members<br />

will feel that the association is responding to their<br />

needs. Everyone has different experiences, so the<br />

association should able to facilitate the exchange<br />

of knowledge and experiences between members,<br />

allowing everyone to communicate. For example,<br />

there are architects who work on traditional Thai<br />

architecture projects, and they may not know<br />

how the concrete work of an ancient Thai building<br />

should be done. If you ask me, I wouldn’t be able to<br />

answer. But if you go to the association, collectively,<br />

they may be able to find information about that<br />

ancient technique, and that, I think, would be a<br />

great thing.<br />

_ตอนนี้มีทีมงานที่จะมาร่วมงานกันมากน้อยแค่ไหนครับ<br />

ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 40 คน อย่างที่บอกคือผมอยากให้<br />

ทุกคนมีส่วนร่วม ผมอยากทําให้ภาพของนายกในยุคผม​<br />

ไม่ได้มีความสําคัญคนเดียว แต่ทีมงานจะเป็นคนที่สําคัญ<br />

ทีมงานคือกลุ่มคนที่จะขับเคลื่อนทุกอย่าง นายกเหมือนเป็น​<br />

แค่กรรมการอยู่ตรงกลาง เป็นกุนซือควบคุมเกม แต่ตัว​<br />

ผู้เล่นต่างๆ ที่มีคือคนสําคัญ ทีนี้ความโชคดีของผมก็คือ​<br />

มีน้องๆ ช่วยเยอะ แต่ก็อยากจะให้ทุกคนมีส่วนร่วมคนละ<br />

นิดคนละหน่อยก็พอ เราก็เลยคิดว่าถ้าเกิดเรามีคนเยอะ<br />

เราก็ให้เขาทําแค่อย่างเดียว แล้วก็ทําให้มันดีโดยที่ไม่เหนื่อย​<br />

สมมติว่ากิจกรรมมันอาจจะมีเยอะมาก มีเป็นสิบกิจกรรม​<br />

เราอาจจะแบ่งแค่คนหนึ่งทําอย่างเดียวก็พอ แล้วก็ช่วยๆ​<br />

แบ่งเบากันไป เพราะทุกอย่างคือการสมัครใจ ไม่จําเป็นต้อง​<br />

มีคนที่วิ่งจัดการทุกงาน ทีนี้การที่จะจัดการคนในตอนท้าย<br />

มันอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 คน หรือ 100 คน อาจจะต้อง<br />

จัดการกันดีๆ ผมกําลังคิดว่า 1 ปีในวาระอาจจะแบ่งเป็น<br />

ทีมหนึ่ง อีกปีหนึ่งอาจจะแบ่งเป็นอีกทีมหนึ่ง ทุกคนก็รับ<br />

ช่วงต่อกันไปเพราะทุกคนก็ไม่ได้มีอีโก้มาก ทุกๆ คนก็มา<br />

ช่วยผมและช่วยสมาชิกหรือทํางานให้กับสังคม กิจกรรม​<br />

ที่เกิดขึ้นในอดีตมันก็มีกิจกรรมที่ต่อเนื่องระยะยาวอยู่แล้ว​<br />

เราก็ทําต่อไปโดยมีเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายว่าจะทําให้ดีขึ้น<br />

_Could you give us an example of the know-how<br />

that the association is able to offer its members?<br />

One question that my fellow architects, both<br />

younger and more established practitioners,<br />

consistently ask relates to proposals. The association<br />

actually has a sample proposal available on the<br />

website, but we don’t give a proper explanation<br />

about the real importance of proposals. In fact,<br />

the example on the website may actually be outdated<br />

because it has been there for so long. Next year,<br />

I’m thinking of inviting the bigger firms to share<br />

their proposals and the knowledge they have<br />

gained from their past mistakes or through trial<br />

and error. Because these are useful collective<br />

experiences, they should be documented in a<br />

standard proposal for everyone to follow as a<br />

reference. Another issue is that many young Thai<br />

architects are now working overseas, and the<br />

proposals they encounter are written according<br />

to foreign laws. If the people working overseas<br />

are able to collect the proposals they have come<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 40 41<br />

Refocus Heritage


_คำถามสุดท้าย มีอะไรจะฝากถึงสมาชิก หรือบุคคล<br />

ทั่วไปบ้างครับ<br />

ก็น่าจะฝากย้อนกลับไปถึงคําถามแรกเลย อย่างที่ผมบอก<br />

คือผมลงมาสมัครรับเลือกตั้ง ก็คาดว่าเราจะเป็นกระบอก<br />

เสียงให้กับคนรุ่นใหม่ได้ เป็นแกนนําให้กับน้องๆ ให้ได้​<br />

เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น แล้วเราก็พบว่าน้องๆ ส่วนใหญ่​<br />

ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมกับสมาคมฯ เลย แม้แต่การสมัครสมาชิก​<br />

แม้แต่เพื่อนผมเอง มันถึงยุคสมัยที่ทุกคนควรจะทําเพื่อ<br />

ส่วนรวมแล้ว ทีนี้เราจะทําอย่างไรให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม​<br />

ได้หมด มันอยู่ที่แต่ละบุคคล หลักแนวความคิดของผมก็<br />

คือถ้าเราอยากให้อะไรมันดี เราต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน บางที​<br />

การเริ่มที่ตัวของเราเองอาจจะไม่ต้องเดินมาที่สมาคมฯ ก็ได้​<br />

คือทําให้ตัวเองหรือองค์กรของตัวเองประสบความสําเร็จ​<br />

หรือทํางานแล้วพัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆ แค่นี้ก็ถือว่ายกระดับ​<br />

สมาคมฯ และวิชาชีพของเราแล้ว หรือช่วยกันประชาสัมพันธ์ ​<br />

ตัวของสถาปนิกให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้คนทั่วไปถ้าทุกๆ คนช่วยกัน​<br />

เริ่มจากจุดนี้ ทุกอย่างก็น่าจะดีขึ้นครับ<br />

across during their work, I think it would be<br />

interesting if everyone could share (perhaps in a<br />

seminar) what they’ve experienced, including the<br />

negotiations, the misunderstandings, etc. Certainly,<br />

the proposals created by clients favor the clients,<br />

but we need to clarify the conditions in which we<br />

would agree to sign those documents. We may<br />

need a legal team working with us. We live in a<br />

world where we have to deal with proposals that<br />

are not written in the Thai language, and I think the<br />

association should have its own English language<br />

proposal that would be available for registered<br />

members. These are the types of tools that can be<br />

developed to benefit members.<br />

Another issue is the rather outdated material<br />

specification. Specifications are geared towards<br />

BIM these days. If people still don’t realize that this<br />

is the way the world is going, then the transition is<br />

only going to get more difficult. In the future, I’m<br />

quite certain that people will stop using AutoCAD.<br />

With BIM occupying a bigger role in the profession,<br />

the specification of materials in BIM is inevitable.<br />

This is about preparing yourself for the next five<br />

years. It’s similar to the previous subject we talked<br />

about. It’s the kind of topic that people without<br />

any experience in the matter wouldn’t want to<br />

listen to, but they avoid the issue at their own risk.<br />

If they don’t want to be a part of this discussion,<br />

five years from now, they will be walking around<br />

like ancient men with stone axes. What I’m saying<br />

is that BIM will be used on a daily basis in the near<br />

future. This is what I think can cause the most<br />

pain for architectural practitioners from every<br />

generation. But there are still other issues that<br />

need to be resolved such as the occupational<br />

hazard of getting sued by your own clients. If you<br />

work behind schedule, you get fined. How do you<br />

negotiate your way out of getting sued? What is<br />

the standard fee that you can reference? Many<br />

people used to ask me why we don’t set a strict<br />

standard fee of 10%, and I told them we couldn’t<br />

do that. If everyone was controlled by the same<br />

standard fee, all the projects would go to the big<br />

firms. There has to be price competition, and<br />

that’s something we need to accept, but how can<br />

we reduce the aggressiveness of that competition<br />

by arming everyone with the same weapons and<br />

working under the same standard. The standard<br />

would help newer, smaller firms grow into bigger<br />

companies.<br />

_How have you been forming the team so far?<br />

We have about forty people at the moment. Like<br />

I said, I want everyone to take part. I want the<br />

association under my lead to be about more than<br />

just me. The team is the key, and they are the<br />

people that put ideas into motion. The president<br />

will act as the person supervising the game, but<br />

all the players are key. I’m lucky that I have a lot<br />

of people who want to help. I want everyone to<br />

help just a bit, here and there, so I thought that if<br />

we have many people involved, we could assign<br />

tasks so that they wouldn’t be too burdensome.<br />

For example, if we hold a lot of activities, say ten,<br />

we want to designate one person to only one job,<br />

and everyone else could offer help wherever they<br />

can. I don’t want one or two people running around<br />

taking care of everything. In the end, I may have to<br />

manage fifty or one hundred people, so that needs<br />

to be carefully executed. I’m thinking about working<br />

with one team for one year and another team for<br />

another year and everything can be carried out<br />

and continued. People who are helping me don’t<br />

have big egos. They all help our members, and we<br />

all work to contribute something to society. The<br />

activities we have done in the past are all long-term,<br />

so we’ll continue to do them with new goals and<br />

standards of making them even better.<br />

_Last question, any words you want to say to the<br />

members and the general public?<br />

I want to go back to the first question you asked<br />

me. Like I said, I applied for the presidency thinking<br />

that I can be a voice for the younger generation of<br />

architects and perhaps a leading figure to encourage<br />

them to be more participatory. I’ve come to realize<br />

that the younger architects haven’t really been<br />

involved with the association. They’re not members<br />

(even my friends aren’t members). It is time for<br />

everyone to step up and do their part for the<br />

community. So how can we encourage everyone<br />

to take part? My idea is that if you want something<br />

good to happen, start with yourself, and it doesn’t<br />

always have to be you reaching out to the association<br />

but make yourself and your organization successful<br />

by working hard and continuing to improve yourself.<br />

That alone is elevating the standard of our association<br />

and eventually the profession. You can<br />

promote your work and make it more recognized<br />

among the general public. If everyone helps from<br />

this simple starting point, developments and<br />

greater things will be waiting on the horizon.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 42 43<br />

Refocus Heritage


SPECIAL INTERVIEW<br />

<strong>ASA</strong> Expo “Refocus Heritage”:<br />

Vasu Poshyanandana, Ph.D.<br />

Text: ปวริศ คงทอง / Pawarit Kongthong<br />

Translation: สุกัญญา นิมิตวิไล / Sukanya Nimitvilai<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

ทีมงาน <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> ขอพาทุกท่านไปทําความรู้จักและเตรียมตัวสําหรับงานสถาปนิก’63​<br />

ที่จะมาในหัวข้อ “มองเก่าให้ใหม่: Refocus Heritage” โดยทีมงานได้ทําการพูดคุยสั้นๆ กับ​<br />

ดร.วสุ โปษยะนันทน์ ประธานจัดงานในปีนี้ เกี่ยวกับเนื้อหางานคร่าวๆ เพื่อให้ทุกท่าน​<br />

ได้เข้าใจแนวคิด และเตรียมตัวสําหรับงานที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่7-12 กรกฎาคมนี้<br />

_ทำไมถึงเป็น Refocus Heritage<br />

เริ่มต้นจากโจทย์ว่าสมาคมฯอยากเล่าเรื่องเกี่ยวกับ​<br />

Heritage ซึ่งเป็นหนึ่งในกระแสของการออกแบบ​<br />

ในปัจจุบัน หลายที่จะพูดถึงเรื่องของความยั่งยืน​<br />

การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่​<br />

ต่อเนื่องมา เราจะทําอย่างไรให้โลกของเรา<br />

ยั่งยืนแบบมีความหมาย ก็จะนึกถึงว่ามรดก<br />

ในโลกของเรา ในแต่ละที่ มันมีความหลากหลาย​<br />

ทางวัฒนธรรม และองค์ประกอบ ซึ่งสามารถ<br />

นํามันมาใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบได้​<br />

การนําของเก่าเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ใหม่​<br />

ให้เข้ากับบริบทปัจจุบัน ย่อมดีกว่าการไป​<br />

รื้อทําลาย และสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นี่คือ<br />

กระแสนิยมที่เป็นอยู่แต่หากถามว่าทําไมถึงต้อง​<br />

Refocus เราต้องนึกย้อนดูก่อนว่าเราคิดเห็น<br />

อย่างไรกับเรื่อง Heritage เมื่อครู่เราพูดถึง<br />

กระแสนิยมว่าที่อื่นเขาคิดถึงแนวทางการใช้<br />

ประโยชน์แล้ว แต่บ้านเราไม่ใช่ ถ้าเราพูดคําว่า​<br />

Heritage คนส่วนใหญ่จะนึกถึงโบราณสถาน ซึ่ง​<br />

พอพูดถึงโบราณสถาน เราจะรู้สึกถึงความหมาย​<br />

ทั้งในเชิงบวกและลบ ในส่วนของเชิงบวกคือ<br />

รับรู้ถึงคุณค่า แต่ก็เป็นคุณค่าที่เหมือนอยู่​<br />

บนหิ้ง อยู่ห่างไกล เป็นสิ่งที่ต้องเก็บไว้อย่างไร<br />

อย่างนั้น ในส่วนที่เป็นลบ ความเก่า ความ<br />

โบราณ ความรู้สึกที่ไม่สามารถมีส่วนร่วมได้​<br />

ซึ่งมันไม่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของคนรุ่นใหม่ ​<br />

พอเราเจออะไรที่เป็นมรดกที่อาจจะมีคําว่า<br />

โบราณสถานไปครอบมันไว้ เกิดความเกร็ง<br />

เข้าไปแตะต้องลําบาก ทําให้เราคิดว่าเป็นงาน<br />

ที่เป็นความรับผิดชอบของกรมศิลป์ ไม่ใช่​<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> would like to introduce<br />

Architect’20, an architect exhibition under<br />

the concept “Refocus Heritage.” Our crew<br />

has interviewed Vasu Poshyanadana,Ph.D.<br />

the chairperson of the Architect’20 Expo,<br />

to discuss the concept so we can better<br />

understand the exhibition to be held<br />

between 7-12 July.<br />

_Why is the concept “Refocus Heritage?”<br />

It started with the idea that the association<br />

wanted to tell a story about heritage. It<br />

is one of the design trends at the moment.<br />

Many places have been talking about<br />

sustainability and environmental<br />

awareness, and this is a related theme.<br />

How can we create a sustainable world<br />

with meaning? Then we think that world<br />

heritage reflects cultural diversity and<br />

that its elements can be used to inspire<br />

a design. Reusing old buildings in today’s<br />

context would be better than demolishing<br />

and rebuilding everything from scratch.<br />

This is a popular trend now. If you ask<br />

why we have to refocus, we need to<br />

contemplate on how we think about<br />

heritage. Earlier, we talked about popular<br />

trends and that other places have already<br />

thought about how best to use (or-reuse)<br />

our heritage, but that is not us. If we<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 44 45<br />

Refocus Heritage


งานของเรา ในทางกลับกันบางงานก็ถูกมองว่า รื้อมันเสีย​<br />

เมื่อเห็นอาคารเก่าคนเรารู้ว่ามันอาจจะมีคุณค่าแต่เรามักจะ​<br />

บอกว่าถ้ามันไม่ใช่โบราณสถาน กรมศิลป์ไม่ได้ขึ้นทะเบียน​<br />

ฉะนั้นเราสามารถทําอะไรกับอาคารก็ได้ นี่คือกรอบความคิด​<br />

ที่เป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในบ้านเรา<br />

แม้แต่ในวงการสถาปนิก สถาปนิกทุกคนก็มักจะมองว่า<br />

งานอนุรักษ์ งานออกแบบที่เกี่ยวกับอาคารเก่าเป็นเรื่องที่<br />

ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง ซึ่งทําให้สถาปนิกเกร็งกับการทํางาน​<br />

เก่า นี่คือข้อมูลทั้งหมดที่อธิบายว่าท ําไมถึงจะต้อง Refocus​<br />

เราอยากจะสื่อสารกับคนว่าจริงๆ แล้วเรื่อง Heritage​<br />

เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากๆ มันคือเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจําวัน​<br />

เราควรจะมองคําว่า Heritage หรือมรดกว่าเป็นสิ่งที่คนใน<br />

รุ่นก่อนส่งต่อมาให้เราเพราะมันมีคุณค่า และคุณค่าเหล่านั้น​<br />

เป็นหน้าที่ของเราที่จะส่งต่อไปสู่คนรุ ่นต่อไป แต่วิธีการที่จะ<br />

ส่งต่ออย่างไรนั้นเราจะต้องมาดูกัน ศาสตร์ของการออกแบบ<br />

จะช่วยได้ในเรื่องของการที่เราจะทําอย่างไรให้มรดกเหล่านั้น​<br />

มันมีคุณค่าที่จะได้ใช้ในอนาคตและเหมาะสมกับการใช้สอย<br />

ในปัจจุบัน มรดกเหล่านี้มีหลายระดับ เราควรจะต้องมีการ<br />

เลือก มีการหาวิธีการที่จะนํามาใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละ​<br />

รูปแบบต่อไป นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าสมาคมฯ ควรจะทําหน้าที่<br />

ในการเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเรื่องนี้<br />

_ความหมายของ Heritage ในที่นี้กว้างแค่ไหน<br />

อย่างที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ มุมของคนทั่วไปเราอาจจะ<br />

นึกถึงโบราณสถาน แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่อยากจะให้คนเห็นก็<br />

คือทุกอย่าง แม้แต่สิ่งที่เราเพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ก็ตามถ้าเรา​<br />

สร้างด้วยความตั้งใจให้มันเกิดคุณค่าแล้วมันเหมาะที่จะ​<br />

ส่งต่อไปให้คนในรุ่นต่อไป มันก็เข้ากับความหมายของคําว่า<br />

มรดกทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ได้กําหนดว่าต้องเป็นเฉพาะ​<br />

สิ่งก่อสร้างหรือลักษณะทางกายภาพเท่านั้น ความหมาย<br />

ของมรดกยังมีในส่วนที่จับต้องไม่ได้คือในเรื่องของคุณค่า<br />

ทางศิลปะ ความงาม คุณค่าของความหมายและความเชื่อ​<br />

เพราะฉะนั้นในการที่เราจะทําให้คุณค่าเหล่านั้นปรากฏ​<br />

เราคงไม่ได้นึกถึงลักษณะทางสถาปัตยกรรมหรือเฉพาะ​<br />

ศาสตร์ของวิชาชีพเราเท่านั้น มันคือการประสานงานร่วมมือ​<br />

กันของหลายๆ วิชาชีพ งานสถาปนิกในปีนี้จึงเรียกได้ว่า​<br />

เปิดกว้าง ไม่ได้เฉพาะสําหรับวิชาชีพสถาปนิกเพียงอย่างเดียว<br />

mention the word “heritage,” many people will<br />

think of ancient remnants, and when we talk about<br />

ancient remnants, they trigger both positive and<br />

negative feelings. On the positive side, we recognize<br />

their value, but they are far away and should<br />

be preserved as they are. On the negative side, the<br />

age and obsolescence of these remnants make<br />

people feel like they don’t belong, especially in a<br />

modern lifestyle. When we encounter a heritage<br />

object (like a building or artwork) associated with<br />

the words “historic site,” we may feel hesitant to<br />

modify it. It can make us feel that this belongs to<br />

the Fine Arts Department and not us. On the other<br />

hand, we may want to dismantle some sites. When<br />

we see an old building, people know it is valuable.<br />

However, we tend to say that if it is not recognized<br />

(or officially registered) as a historic site, then we<br />

should have the freedom to do anything with it.<br />

This is the mindset of most people in our country.<br />

Even in the architectural field, practitioners<br />

typically see heritage as conservation. Designers<br />

often find it hard to relate to anything associated<br />

with old buildings, and this makes them feel<br />

apprehensive when working with old construction.<br />

All of this explains why we must refocus. It is because<br />

we want to communicate with people and tell them<br />

that “heritage” is very close to us. It is in our daily<br />

lives. We should look at the word “heritage” as<br />

something passed on from the previous generation.<br />

Because it is valuable, it is our job to pass it on<br />

to the next generation. How we are going to pass<br />

it on should be a topic of discussion. Design can<br />

make heritage valuable and useful in the future as<br />

well as being suitable for current use. There are<br />

many levels of heritage. We should have a way to<br />

choose and utilize them for different purposes.<br />

I think the association’s role is to be the medium<br />

of communication.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 46


ทํางานกับอาคารเก่าจะหมดไป ซึ่งต่อไปผมคิดว่า​<br />

สถานการณ์ในบ้านเรา นับวันจะมีตัวอย่างหรือ​<br />

มีความจําเป็นที่จะต้องทํางานกับอาคารเก่า<br />

มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นที่มีการประกาศเขตพื้นที่<br />

เมืองเก่าใน 20 กว่าเมืองทั่วประเทศ ซึ่งใน<br />

อนาคตก็อาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ซึ่งจะต้อง​<br />

มีข้อกําหนด มีการห้ามก่อสร้างอาคาร​<br />

บางประเภท แต่ว่าในลักษณะของการนําเอา<br />

อาคารเก่ามาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสังคม​<br />

ในปัจจุบัน มันยังคงเป็นสิ่งที่ทําได้และนี่คือ<br />

โอกาสของเรา<br />

_How will it be different from the<br />

previous years?<br />

It is the first time that we are expanding<br />

heritage and conservation to include daily<br />

life. Every year, we see that conservation<br />

has been associated with old designs.<br />

But now, there is a trend to utilize heritage<br />

and culture in all aspects of our designs.<br />

We try to tell people that designing things<br />

associated with heritage does not mea<br />

we have to keep them as they are. In fact,<br />

_แล้วตัวงานจะต่างจากงานปีก่อนๆ อย่างไร<br />

มันเป็นครั้งแรกที่เราเอาเรื่องของมรดก หรือ<br />

การอนุรักษ์มาขยายความให้มันกว้างถึงใน<br />

ชีวิตประจําวัน เพราะว่าทุกๆ ปี เราจะเห็นว่า<br />

มันมีส่วนของงานอนุรักษ์เป็นส่วนหนึ่งของงาน​<br />

ที่ผ่านๆ มา พอมาถึงจุดนี้ มันคือแนวโน้มที่<br />

เราสามารถเอาประโยชน์ของเรื่องของมรดก<br />

และวัฒนธรรมมาใช้ในศาสตร์ของการออกแบบ​<br />

ของเราได้ทุกมิติ เราพยายามจะสื่อสารให้​<br />

คนเห็นว่างานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับมรดก​<br />

มันไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่จะต้องเก็บมันไว้ในสภาพ​<br />

ดั้งเดิม หากแต่เราสามารถใช้การออกแบบ<br />

เข้ามาช่วยให้มันยังสามารถต่อชีวิตออกไปได้<br />

อย่างเหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันหลายๆ​<br />

ประเทศมีงานออกแบบที่เป็นลักษณะนี้<br />

จํานวนมาก พอเราย้อนมาดูตัวอย่างในบ้านเรา​<br />

กลับพบว่ายังมีน้อยมาก เพราะฉะนั้นเราก็เลย<br />

คิดว่าถ้ามันมีการนําเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาในงาน<br />

สถาปนิก มันน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วย​<br />

จุดประกายให้แนวคิดนี้ แล้วความกลัวที่เราจะ​<br />

_What is the range of the word<br />

“heritage” here?<br />

Like I said earlier, people might normally<br />

think of historic sites. In fact, what I<br />

want people to see is everything, even<br />

the newly built architecture. If we build<br />

it to create value, and it is suitable to<br />

be passed on to the next generation,<br />

it will all be associated with the word<br />

“heritage.” Therefore, we do not specify<br />

that heritage must be a building or have<br />

physical attributes. Heritage also deals<br />

with intangible ideas, namely, artistic<br />

value, beauty, meaning, and belief. To<br />

reflect all those values, we should not<br />

only think about architecture or our<br />

own field, but also about other disciplines.<br />

As a result, the Architect Expo this year<br />

is rather open and not just for architects.<br />

_ในงานปีนี้มีอะไรที่น่าจับตามองเป็นพิเศษบ้าง<br />

เนื้อหาที่เราเอามาเน้นมันก็ตรงกับหัวข้อหลัก<br />

ที่เราต้องการนําเสนอว่า Refocus ฉะนั้นเรา<br />

ก็ต้องนําเสนอก่อนว่าสภาพแนวความคิดใน<br />

ปัจจุบันในสังคมของเรามันเป็นอย่างไร เราก็<br />

เลยหยิบยกเอา 10 ประเด็นร้อนจากที่เราพูด​<br />

ถึงกันในสื่อโซเชียลมีเดียที่เกี่ยวกับเรื่อง<br />

Heritage ว่าเราคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนั้นบ้าง<br />

ในมุมมองต่าง มีทั้งมุมมองในแง่ลบและบวก<br />

มุมมองหรือข้อมูลที่เราอาจจะเข้าใจผิด หรือว่า​<br />

เป็นบางอย่างที่มันมีเหตุผลในอีกด้านหนึ่ง​<br />

ซึ่งเราควรที่จะต้องรับฟัง โครงการที่ประสบ<br />

ความสําเร็จจากการที่เขานําเอามรดกมาใช้ใน<br />

การออกแบบ หรือว่ามีการศึกษาคุณค่าของ<br />

มรดกนี้เราสามารถมองในแง่มุมไหนได้บ้าง<br />

สองประเด็นนี้จะนําไปสู่การที่เราจะถามคําถาม​<br />

กับคนที่เข้าชมว่า ความหมายของ “มรดก”​<br />

ของคุณคืออะไร เราจึงทําเป็นสื่อภาพยนตร์​<br />

ที่จะจุดประกายว่าในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับ<br />

มรดกหลังจากที่ได้เห็นทั้งสภาพปัจจุบัน ทั้ง<br />

ตัวอย่างที่ไม่ดีแล้ว อยากให้คุณตั้งคําถามกับ<br />

ตัวเองว่าสําหรับคุณ มรดกคืออะไร และคุณ<br />

จะทําอะไรกับมัน ซึ่งนี่น่าจะเป็นหัวใจของตัว<br />

นิทรรศการหลักครับ แต่ว่าเราก็จะมีนิทรรศการ​<br />

อื่นๆ ที่มาเสริม เพื่อให้คนเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า​<br />

การออกแบบที่เกี่ยวข้องกับมรดกเป็นอย่างไร<br />

อีกประเด็นหนึ่งก็คือการRefocus การให้รางวัล<br />

อาคารอนุรักษ์ของสมาคมฯ ทุกๆ ปี ซึ่งเราจะ<br />

มีการประกาศ​<br />

we could use our designs to extend their<br />

lives while maintaining their current uses.<br />

Today, many countries have this kind<br />

of design, but our country’s view is still<br />

limited. We think if this is introduced to<br />

architectural design, it would spark this<br />

kind of idea, and the fear of working<br />

with old buildings will disappear. In the<br />

future, I think our country will have more<br />

instances of heritage-related projects<br />

and a greater need to work with old<br />

buildings. For example, there have been<br />

announcements of more than twenty<br />

old town conservation areas all over the<br />

country, and there are more to come in<br />

the future. There will be regulations and<br />

restrictions on some types of construction,<br />

but repurposing old buildings to facilitate<br />

modern society is still allowed, and this<br />

is our opportunity.<br />

_Is there anything in particular that we<br />

should keep our eyes on?<br />

We are emphasizing the key concept<br />

of heritage. First, we will introduce the<br />

overall ideas and show what today’s<br />

society is like. We chose ten relevant<br />

issues about heritage that are being<br />

discussed on social media to see what<br />

we think about them and to engage<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 48 49<br />

Refocus Heritage


แล้วให้ผู้ที่สนใจสมัครมาเสนอรางวัลอนุรักษ์ โดยที่เราแบ่ง<br />

ประเภทตามลักษณะของอาคาร และทุกๆ ครั้งอาคารที่เรา<br />

ได้มาจะเป็นการให้รางวัลในระดับเดียวกัน คือได้ชื่อว่าเป็น<br />

อาคารอนุรักษ์ดีเด่น การให้รางวัลของเราในบางครั้งมีการ<br />

ให้รางวัล โดยที่แท้จริงแล้วยังไม่ได้เกิดการอนุรักษ์จริงๆ<br />

ยังไม่ได้มีการออกแบบหรือใดๆ ก็ตาม เราให้รางวัลกับ<br />

อาคารที่มีคุณค่าแต่สังคมมองไม่เห็น และกําลังจะถูกรื้อทิ้ง​<br />

เราจึงให้รางวัลนั้นเพื่อหยุดการรื้อถอน ซึ่งมันไม่สอดคล้อง<br />

กับการที่เราต้องการจะสนับสนุนการออกแบบเพื่อรักษา<br />

คุณค่าของอาคาร เพราะฉะนั้นแม้แต่อาคารที่กําลังจะ​<br />

โดนรื้อก็สามารถได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นได้หมด นี่คือสิ่งที่​<br />

ผ่านมา มาครั้งนี้เนื่องจากเราได้เห็นการให้รางวัลอาคาร<br />

ต่างๆ และเราได้รับแนวคิดมาจาก UNESCO ซึ่งมีการให้<br />

รางวัล Asia Pacific Award สําหรับอาคารที่เน้นในเรื่อง<br />

ของการออกแบบที่ดีจริงๆ จึงมีการแบ่งระดับของรางวัล<br />

ออกเป็นระดับต่างๆ เช่น หากออกแบบได้ดีก็ให้รางวัล<br />

ระดับหนึ่ง ออกแบบได้ดีมากก็ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง หรือ​<br />

ว่าการออกแบบได้ดีเหนือความคาดหมายก็เป็นอีกระดับ<br />

หนึ่ง ปีนี้จะเป็นปีแรกที่เราจะมีการจัดระดับของรางวัล<br />

และรางวัลที่ได้นั้นเราไม่ได้ให้กับเจ้าของของอาคารเท่านั้น<br />

แต่เราจะให้กับผู้ที่ออกแบบด้วย มันจึงเป็นการสร้างขวัญ<br />

และกําลังใจให้กับผู้ออกแบบซึ่งอยู่เบื้องหลังการอนุรักษ์ใน<br />

ครั้งนั้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการนําศาสตร์ของการ<br />

ออกแบบมาใช้ในการออกแบบอาคารที่มีคุณค่าต่อไปด้วย<br />

นอกจากนั้นเรายังสร้างประเภทของรางวัลในอีกรูปแบบ<br />

หนึ่ง คืองานออกแบบใหม่ในบริบททางด้านมรดก ซึ่งแต่<br />

เดิมสมาคมฯ เราไม่ได้ให้รางวัลนี้ แต่ UNESCO Award<br />

มีรางวัลประเภทนี้อยู่แล้วเราจึงนําลักษณะของการให้รางวัล<br />

แบบนี้มาเพิ่มในการให้รางวัลของสมาคมฯ ด้วย ซึ่งเป็น​<br />

การขยายขอบเขตจากการออกแบบที่จะจํากัดเฉพาะตัว<br />

อาคารเอง ไปสู่งานออกแบบต่อเติมหรืออาคารใหม่ที่อยู ่ใน<br />

พื้นที่ใกล้เคียงกับอาคารอนุรักษ์ว่าสามารถจะทําอย่างไรให้<br />

งานออกแบบนั้นช่วยส่งเสริมคุณค่าของอาคารเหล่านั้นด้วย<br />

multiple perspectives. There may be negative and<br />

positive views as well as some misunderstandings,<br />

and there may be other sides to the story that we<br />

should hear. We should also see how we can learn<br />

from successful projects that integrate heritage<br />

into their designs or see how we could see their<br />

value from different vantage points. These views<br />

will lead us to ask visitors how they define “heritage.”<br />

That’s why we created a film that encourages<br />

them to reconsider ideas associated with heritage<br />

through current situations and examples. We want<br />

them to question how they define heritage and<br />

what they would do with it. This should be the<br />

key of the main exhibition. However, we also have<br />

other exhibitions to help people acquire a better<br />

understanding of how designs are infused with<br />

heritage.<br />

Another point is about refocusing. We give out<br />

awards for conservation every year. We would<br />

make an announcement, have interested people<br />

apply for the award, and categorize the entries by<br />

type. Sometimes, we give out awards before the<br />

actual conservation process or even before having<br />

any design. We may give an award to buildings with<br />

value that are overlooked by the public or are on<br />

the brink of demolition. We may give out awards to<br />

stop a demolition process. Even building that are<br />

about to be torn down can receive conservation<br />

awards. That is what has been done. We have seen<br />

how others give awards to buildings, and we have<br />

also adopted ideas from UNESCO for granting the<br />

Asia Pacific Award for well-designed buildings, so<br />

we categorize our awards into different levels. For<br />

example, a well-designed project will get an award<br />

for one level, but an extremely well-designed<br />

project will achieve another level. A design that<br />

exceeds expectations will receive a different level.<br />

This year will be the first to categorize the awards.<br />

We will give awards not only to building owners but<br />

also designers, so this will encourage the designers<br />

_ผู้จัดงานมีความคาดหวังจากตัวสถาปนิกหรือจากคน<br />

ภายนอกที่เข้ามาดูงานอย่างไร<br />

มันก็คงตรงกับชื่องานเลยครับ เราคาดหวังว่าเขาจะได้มา<br />

พบกับมุมมองใหม่ แล้วก็คิดว่าจะสามารถเปลี่ยนความคิด<br />

ที่มีจากเดิมที่คิดว่ามรดกเป็นเรื่องที่ไกลตัว พอเขารับรู้ได้<br />

ว่ามันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวการที่เขาจะนํามรดกมาใช้ให้เป็น<br />

ประโยชน์มันย่อมเกิดขึ้นได้ แล้วมันเป็นเรื่องของทุกคน<br />

ไม่ใช่เฉพาะสถาปนิกเท่านั้น ในส่วนของสถาปนิกก็ได้เปิด<br />

มุมมองว่าในการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับมรดกนั้นเป็นเรื่อง<br />

ง่ายที่เราสามารถทําได้ มันไม่ต่างอะไรกับเรื่องแนวความคิด​<br />

green มันไม่ต่างอะไรกับการที่เราจะออกแบบอะไรแล้วเรา<br />

ศึกษาสภาพแวดล้อมก่อนว่าในพื้นที่ของคุณมีต้นไม้กี่ต้น<br />

มีทิศทางแดดลมอย่างไร จริงๆ แล้วสิ่งนี้ก็เหมือนกัน​<br />

ในงานออกแบบของคุณมันมีข้อมูล มันมีคุณค่าที่มันเกี่ยวข้อง​<br />

กับคนในอดีตอยู่ในพื้นที่ของคุณ คุณก็สามารถนํามาใช้ให้<br />

เป็นประโยชน์ได้ และเป็นเรื่องที่อยู่ในทุกระดับของการ<br />

ออกแบบมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่การเรียนปี 1 ของคุณจนมา<br />

ถึงปัจจุบัน<br />

behind these conservation designs, and it will encourage<br />

people to design buildings that have value. Moreover,<br />

we will also create another type of award for new design<br />

related to heritage. Originally, the association did not give<br />

an award like this, but UNESCO already has this category,<br />

so we will grant this award as well. This is meant to<br />

expand our understanding of heritage as being limited<br />

to buildings and to encourage the design of extensions<br />

or new buildings near conservation sites. We would like<br />

to see how new designs would foster the value of those<br />

buildings.<br />

_What does the organizer expect from architects and<br />

visitors?<br />

It is in the name of this event. We expect people to gain<br />

new perspectives and change their old views that heritage<br />

is something far away from them. Once they realize it is<br />

close to them, they will utilize heritage and make it<br />

useful. It is for everyone, not just architects. It is not so<br />

different from designing according to green principles<br />

or from studying the surrounding area to see how many<br />

trees you have, or from learning the wind direction. This<br />

is actually the same. In design, there is information and<br />

value related to people who used to live in an area. You<br />

can make use of it, and it can be found in all levels of<br />

design from the past to the present.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 50 51<br />

Refocus Heritage


REVIEW<br />

Samsen STREET Hotel<br />

Text: พีรณัฐ อุไรรัตน์ / Peeranat Urairat<br />

Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum<br />

Photo: W Workspace


เมื่อเราลองจินตนาการภาพในความทรงจําหรือภาพจาก<br />

ประสบการณ์ของแต่ละคนไปพร้อมกัน นึกถึงบรรยากาศ<br />

ภาพของผนังที่ถูกฉาบด้วยแสงไฟสีส้มแดง คละคลุ้งไป<br />

ด้วยควันบุหรี่ แก้วเหล้า และการแลกเปลี่ยนบทสนทนา<br />

บนความเหงาของคนแปลกหน้า ความเป็นสถานที่ ตรอก​<br />

มุม ซอย ที่ตัวละครปรากฏตัวอย่างซ่อนเร้น และเปิดเผย​<br />

ในขณะเดียวกัน ลําดับการเล่าเรื่องที่ไม่ใช่ระบบเส้นตรง​<br />

(non-linear narrative) ซึ่งเปรียบได้กับระบบการเข้าถึง<br />

และทางสัญจรซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสถานที่แอบซ่อน​<br />

เหล่านี้ ดั่งฉากในอารมณ์ทํานองเดียวกับภาพยนตร์ใน<br />

ช่วงปี 1990s ของผู้กํากับหนังชาวจีน นามว่า หว่องกาไว​<br />

(Wong Kar-wai)<br />

Looking back into our collective memories or life<br />

experiences, we can imagine a scene of walls<br />

bathed with a reddish-orange incandescent light,<br />

cigarette smoke filling the air as glasses of ice-cold<br />

alcoholic drinks keep conversations between<br />

lonely strangers flowing; a sense of place visible<br />

to both the eyes and the mind, with small alleyways,<br />

dark corners, and side streets containing enigmatic<br />

characters who appear and disappear from view.<br />

The system of circulation and the idea of accessing<br />

hidden places are reminiscent of Wong Kar-wai’s<br />

movies from the 1990s.<br />

หากใครได้มีโอกาสผ่านไปแถวย่านสามเสนซอย 6​<br />

คุณจะต้องสะดุดตากับอาคารที่ยืนอยู่ตรงหน้าอย่างแน่นอน​<br />

อาคารผิวคอนกรีตที่มีโครงสร้างเหล็กสีเขียว ราวกับว่า<br />

เป็นส่วนต่อเติมมาเกาะกับส่วนนอกของอาคารหลัก ให้<br />

ความรู้สึกถึงความถาวรและความชั่วคราวไปพร้อมๆ กัน​<br />

ถ้าใครคุ้นเคยกับย่านนี้เป็นอย่างดีจะทราบว่าอาคารนี้​<br />

ในอดีตแสดงบทบาทเป็น sex motel หรือโรงแรมม่านรูด​<br />

ที่เคยเปิดบริการมากว่า 30 ปี ในปัจจุบันบทบาทดังกล่าว​<br />

ถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงโดย CHAT LAB / CHAT<br />

Architects ที่เข้ามาสร้างแนวทางใหม่ให้กับ Samsen​<br />

STREET Hotel โดยมีการต่อยอดทางความคิดมาจาก<br />

งานวิจัยที่ชื่อ “BANGKOK BASTARDS” ซึ่งเป็นผลลัพธ์<br />

มาจากการสํารวจ เก็บข้อมูล และรวบรวมผลจากการ<br />

วิเคราะห์มากกว่า 5 ปี ในประเด็นที่เกี่ยวกับเนื้อหา​<br />

ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงออกและสะท้อนถึงวิถีชีวิตและ<br />

ความเป็นอยู่แบบไทยในมิติทางสังคมของความไม่เป็น<br />

ทางการ ความพเนจร ความชั่วคราว ความง่ายที่แยบยล<br />

ความซื่อที่ชํ่ำชอง ขณะเดียวกันก็ซ่อนความขําขันไว้ให้<br />

ฉุกคิด เช่น รถเข็นของขายริมถนน เพิงพักชั่วคราวริมทาง​<br />

ที่พักคนงานก่อสร้าง การใช้ประโยชน์จากส่วนยื่นของ<br />

โครงสร้างชั่วคราวนั่งร้านตอบสนองกิจกรรมการอยู่ ​<br />

การดื่ม-กินร่วมกัน และในหน้าที่ขององค์ประกอบทาง<br />

สถาปัตยกรรมทางกายภาพ เช่น การบังแดด และการ<br />

กันฝน เป็นต้น หรือทางด้านความหมายที่แสดงออกมา<br />

ทางกายภาพ เช่น การแทรกซึมและการปรากฏกาย​<br />

ผ่านลักษณะของอาคารประเภทโรงแรมม่านรูด (The<br />

curtain sex motel typology) ซึ่งเป็นประเภทอาคารที่<br />

มักไม่ถูกกล่าวถึง หรือเป็นประเด็นที่ไม่ถูกนํามาคิดต่อยอด​<br />

อาจเพราะท่าทีของประเภทอาคารที่อยู่ในสังคมแบบ<br />

“underground” โดยมีลักษณะเฉพาะหลายอย่างที่น่าสนใจ​<br />

ในเนื้อหาทางสถาปัตยกรรม เช่น ลําดับการเข้าถึง (spatial​<br />

sequence) ที่คน 2 คนโดยสารรถยนต์ที่ติดฟิล์มป้องกัน​<br />

การมองเห็น เข้ามายังพื้นที่โล่งตรงกลางแล้วแยกเข้าไป<br />

ยังช่องจอดรถของตัวเอง และมีการปิดกั้นการมองเห็น<br />

จากคนภายนอก ด้วยแนวเส้นม่านสีแดง (หรือฟ้าและเขียว)​<br />

โดยอัตโนมัติ และเชื่อมต่อไปยังห้องพักอย่างแนบเนียน<br />

Anyone who has had the chance to pass by the<br />

Samsen Soi 6 neighborhood would likely have been<br />

struck by a building with exposed concrete surfaces<br />

and a green steel structure. Looking more like an<br />

addition than a proper building, the structure gives<br />

a simultaneous sense of permanence and temporality.<br />

Those who are familiar with the area would know<br />

what the establishment was once known for—having<br />

operated for over thirty years as a sex motel, the<br />

building has now been given a new role. Thanks to<br />

CHAT LAB / CHAT Architects, the Samsen STREET<br />

Hotel originated from the studio’s research project<br />

“BANGKOK BASTARDS.” Over the course of five<br />

years, the research explores, collects, and analyzes<br />

data related to the architectural characteristics and<br />

developments that reflect the makeshift aspects<br />

of Thai society and its way of life—the wandering<br />

ephemerality, the witty simplicity, and the gimmicky<br />

honesty that are sometimes amusing and always<br />

thoughtful that can be found in the inventiveness<br />

of street kiosks, shelters, construction worker camps,<br />

and scaffolding structures that accommodate<br />

temporary habitation. The research also looks into<br />

the practical roles of these architectural components<br />

such as rain and sun protection as well as alternative<br />

interpretations of the curtain sex motel typology—<br />

the type of building whose existence is often left<br />

unmentioned or overlooked and is never discussed<br />

or developed.<br />

These buildings typically have an ‘underground’<br />

connotation, and the architecture has several<br />

interesting characteristics. The spatial sequence,<br />

which often involves two people (usually in cars<br />

with tinted windows to prevent their identities from<br />

being revealed) driving into the open ground at<br />

the middle of the site, later leads into a unit with<br />

its own individual parking space. Everything takes<br />

place with a row of red (or blue or green) curtains<br />

pulled closed (usually automatically) to prevent visual<br />

access from outsiders as hotel guests are led directly<br />

from their cars to their motel rooms.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 54 55<br />

Refocus Heritage


โครงการ Samsen STREET Hotel​<br />

ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่รับรู้ได้อย่างง่าย<br />

ได้แก่ โครงสร้างเดิมของอาคารที่เป็นผิว<br />

คอนกรีตเปลือยถูกฉาบใหม่ และโครงสร้าง<br />

เหล็กคล้ายนั่งร้านเป็นโครงดูเบาตาสีเขียว<br />

โทนพาสเทล (a powder-coated in mint<br />

green) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากห้องแถว<br />

ยุค Late-Modern บริเวณโดยรอบย่านนั้น<br />

เมื่อกล่าวถึงองค์ประกอบของส่วนที่เป็น<br />

โครงสร้างเหล็กสีเขียวที่แสดงตัวคล้ายนั่งร้าน​<br />

(scaffolding) ได้รับการแบ่งรูปแบบและ<br />

หน้าที่ออกเป็น 3 ส่วนที่แตกต่างกัน โดย<br />

เริ่มจาก “ซอย” (alley) จุดเริ่มต้นของส่วนนี้​<br />

เริ่มจากความต้องการของเจ้าของโครงการ​<br />

ที่ต้องการเพิ่มจํานวนผู้เข้าพักในแต่ละห้อง<br />

ให้สามารถรับได้ 2-3 คน จากพื้นที่ห้องเดิม<br />

ของ sex motel ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ทําให้<br />

ต้องมีการต่อเติมพื้นที่ยื่นออกไปเป็นระยะ<br />

1.50x2.00 เมตร สัดส่วนเป็นเหมือนพื้นที่<br />

เตียงเสริมทําหน้าที่ในการเพิ่มพื้นที่<br />

The Samsen STREET Hotel consists of<br />

two discernible parts. The first is the<br />

original structure with newly coated<br />

exposed concrete surfaces, and the<br />

other is the mint green colored powdercoated<br />

steel scaffold-like structure,<br />

inspired by the local shophouses built<br />

during the late modern era. The mint<br />

green steel structure is divided into<br />

three parts, each with a different role<br />

and formal typology. The ‘alley’ is based<br />

on the project owner’s desire to increase<br />

the size of the original rooms; therefore,<br />

the new room type is expanded to<br />

1.50 x2.00 meters. This additional space<br />

accommodates an extra bed in each<br />

room and helps to shield visibility from<br />

the street. It also produces vertical alleys<br />

that create multi-purpose balconies and<br />

provide external access for maintenance<br />

57<br />

Refocus Heritage


กันมุมมองจากฝั่งถนน และที่สําคัญเป็นการ<br />

สร้าง “ซอยแนวตั้ง” เป็นช่องทางในการสร้าง​<br />

multi-purpose balcony สําหรับงานเซอร์วิซ​<br />

งานระบบแอร์ ท่อประปา และไฟฟ้า ให้สะดวก​<br />

ในการซ่อมแซมจากภายนอกอาคารโดยตรง​<br />

นอกจากนี้ในโอกาสพิเศษ มุมช่องทางเดิน<br />

เหล่านี้ ยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็น “เวทีทางตั้ง”​<br />

ให้นักดนตรีเปิดหมวกขับกล่อมบรรเลงเพลง<br />

ให้ชุมชนฟังได้อีกด้วย<br />

ส่วนต่อมาเป็นองค์ประกอบที่เรียกว่า“ระเบียง”​<br />

(sidewalk terrace) เป็นการใช้ประโยชน์<br />

จากระยะถอยร่นของอาคารโดยรอบ 6 เมตร​<br />

สร้างเป็นพื้นที่เชื่อมต่อและสร้างปฏิสัมพันธ์<br />

ให้กับชุมชน ระหว่างแขกที่เข้ามาพักกับผู้คน<br />

ในย่าน ผ่านกิจกรรม ดื่ม กิน พูดคุย ซึ่งพื้นที่​<br />

แห่งนี้เป็นเหมือน “mobile street furniture”​<br />

ที่ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อของถนน<br />

และทางเท้า ในเทศกาลพิเศษยังมีการปิดถนน​<br />

จัดงานอีกด้วย โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง​<br />

เจ้าของโรงแรมกับผู้ประกอบการขายอาหาร<br />

ริมทางในละแวกนั้น สร้างบรรยากาศของ<br />

วัฒนธรรม street food และมอบรสชาติที่​<br />

แท้จริงให้เป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมที่สําคัญ<br />

ของทางโรงแรมเช่นกัน ซึ่ง street food นั้น<br />

นับเป็นจุดเริ่มต้นทางธุรกิจในอดีตของ<br />

เจ้าของโรงแรมด้วย<br />

of services such as air conditioning, water,<br />

and electricity. On special occasions, these<br />

balconies can be adapted into vertical<br />

stages for live music performances intended<br />

to lift the spirits of hotel guests.<br />

The next part is referred to as the<br />

‘sidewalk terrace.’ It makes use of the<br />

six-meter setback around the building<br />

and serves as a linkage that facilitates<br />

interactions between the hotel’s guests<br />

and the local neighborhood through<br />

different activities like drinking, eating,<br />

and talking. The space acts as a mobile<br />

street furniture designed to be an<br />

interface connecting the main street<br />

and the hotel’s entrance. On different<br />

occasions, the hotel, the area’s local<br />

vendors, and the community work<br />

together to organize special events that<br />

attempt to create a local street food<br />

culture and offer an authentic taste of<br />

Thai food, which also plays a part in the<br />

hotel’s functional program. Street food<br />

holds a special meaning to the hotel’s<br />

owner as this is how he had formerly<br />

made a living.<br />

The last part of the program is the<br />

outdoor theater. Once an open area for<br />

cars to drive inside and proceed to the<br />

motel rooms, this space is transformed<br />

into an outdoor theater inspired by a<br />

Thai rural tradition of traveling outdoor<br />

movie screenings. The space aims to<br />

encourage interaction between the<br />

hotel’s guests who are able to watch<br />

the screening while lounging in the<br />

outdoor pool located at the center of<br />

the site or while sitting on the balconies<br />

of their own rooms where their legs can<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 58


องค์ประกอบสุดท้ายเรียกว่า “หนังกลางแปลง” (outdoor​<br />

theater) พื้นที่บริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นพื้นที่โล่งเพื่อวนรถ​<br />

เข้ามากลางอาคาร (drive-in) โดยผู้ออกแบบได้เปลี่ยน<br />

เป็นพื้นที่สําหรับชมภาพยนตร์ภายนอกอาคาร ซึ่งได้รับ<br />

แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมการดูหนังกลางแปลง<br />

แบบไทย (Thai rural traditions of pop-up movie)<br />

เพื่อสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้เข้ามาพักใน​<br />

รูปแบบใหม่ เช่น ผู้ชมหนังกลางแปลงสามารถนอนเล่น<br />

แช่ตัวในสระว่ายนํ้ำกลางโถงกลางแจ้งของอาคาร และดูหนัง​<br />

กลางแปลงไปด้วยเหมือนเป็น water-filled lounge​<br />

และแนวความคิดในการสร้างระเบียงแบบใหม่ ที่ให้สามารถ​<br />

นั่งห้อยขาดูหนังกลางแปลงจากระเบียงของห้องพักแต่ละ<br />

ห้องไปด้วยได้ โดยแนวระเบียงที่ถูกออกแบบตามผังพื้น<br />

ของอาคาร ยังถูกวางให้อยู่ในตําแหน่งที่ไม่ใช่แค่ดูหนังได้<br />

เท่านั้น แต่ยังสามารถมองเห็นผู้ชมฝั่งตรงข้ามได้อีกด้วย<br />

นอกจากนี้เพื่อความตื่นเต้นเป็นประสบการณ์ที่ขาดไม่ได้<br />

ทางโรงแรมมักจะแนะนําให้แขกผู้เข้ามาพักลองสั่งเครื่องดื่ม​<br />

และป๊อปคอร์นขึ้นมากินประกอบการดูหนังกลางแปลง<br />

ซึ่งเดลิเวอรีผ่านการชักรอกขึ้น-ลงในแนวตั้ง<br />

โครงการ Samsen STREET Hotel ถูกออกแบบ​<br />

ให้เป็นพื้นที่ใช้งานตามหน้าที่ของการเป็นอาคารที่พักอาศัย​<br />

รวมประเภทโรงแรมได้อย่างน่าสนใจ บวกกับเรื่องราว​<br />

จุดเริ่มต้นของโครงการ ข้อจํากัด และปัญหาต่างๆ ได้<br />

ผสมรวมกับแนวทางในการออกแบบที่เป็นผลจากการวิจัย​<br />

ได้เปลี่ยนแปลงการรับรู้บุคลิกภาพของอาคารจาก introvert​<br />

เป็นแบบ extrovert ตอบสนองกับชุมชนและบริบทโดยรอบ​<br />

อย่างชัดเจน สร้างให้เกิดผลลัพธ์ในภาพใหญ่ที่กว้างขึ้น​<br />

จากมิติทางกายภาพเป็นภาพกว้างในมิติของจิตวิทยาทาง<br />

สังคมที่ดีต่อไป<br />

casually dangle during a movie. The balconies are<br />

designed to follow the layout of the floor plan and<br />

are located at points where guests can see each<br />

other watching the same movie from their own<br />

balconies. The activity offers a novel experience,<br />

and the hotel often recommends that guests order<br />

drinks and popcorn, which are delivered via a<br />

hand-operated pulley system.<br />

As a hotel accommodating temporary stays,<br />

the Samsen STREET Hotel is designed to have<br />

an interesting functional program of its own.<br />

This program, when combined with the story of<br />

how the project was originated and the limitations<br />

and problems revealed through extensive research,<br />

has completely changed the personality of the<br />

building from an introverted to an extroverted<br />

establishment that is more open and engaging<br />

with the surrounding community. The final outcome<br />

generates a positive impact, from the physical<br />

presence of the built structure to wider social<br />

and psychological benefits.<br />

Project Name : Samsen STREET Hotel<br />

Owner: L. S. Hotel s & Resorts Group<br />

Location: 66 Soi Samsen 6, Ban Phan Thom,<br />

Phra Nakhon, Bangkok<br />

Year of Completion: 2019<br />

Area: 2,560 sq.m.<br />

Architect: CHAT Architects<br />

Interior: CHAT Architects<br />

Landscape: CHAT Architects<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 60 61<br />

Refocus Heritage


REVIEW<br />

True Digital Park<br />

Siam Square Soi 2<br />

Text: สิปปวิชญ์ กําบัง / Sippawich Kambung<br />

Translation: ชนนิกานต์ โชติรัตนกุล / Chonnikarn Chotirattanakul<br />

Photo: วิสันต์ ตั้งธัญญา / Wison Tungthunya


เมื่อพิจารณาการมีอยู่ของสถาปัตยกรรมในยุคของการ<br />

ปฏิวัติดิจิทัลซึ่งกลายเป็นปัจจัยหลักของการเปลี่ยนแปลง<br />

ที่รวดเร็วและรุนแรงของยุคสมัย จะว่าไปแล้ว ดิจิทัล​<br />

นับเป็นเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่า ไร้ตัวตน แต่สั่นคลอนมนุษย์​<br />

และสังคมได้อย่างรุนแรงมากกว่านวัตกรรมเชิงกายภาพ<br />

ที่จับต้องได้ในทุกยุคที่ผ่านมา หากใช้สถาปัตยกรรม​<br />

เป็นแกนในการพิจารณา โครงการ True Digital Park<br />

Siam Square Soi 2 ก็นับว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย<br />

เนื่องจากผู้ออกแบบมีโจทย์ที่กล่าวถึงการสื่อสาร การ<br />

เชื่อมโยงสถาปัตยกรรมกับผู้คนและเมือง ด้วยความ<br />

ต้องการของบริษัท True ที่จะปรับปรุงพื้นที่ 3 จุดบริเวณ​<br />

สยามสแควร์ คือ สยามสแควร์ซอย 2 สยามสแควร์<br />

ซอย 3 และพื้นที่ใน Digital Gateway เป็นร้านกาแฟ<br />

และร้านค้าสําหรับให้บริการลูกค้า คุณภากร มหพันธ์<br />

สถาปนิกผู้ออกแบบจากบริษัท M Space ได้นําเสนอ<br />

Digital technology is one of the key elements that<br />

greatly changes and transforms our lives. It is an<br />

invisible force that impacts much of our physical<br />

space. The three outlets of True Digital Park Siam<br />

Square Soi 2 are interesting cases of architecture<br />

influenced by the digital era. They are designed to<br />

connect people, architecture, and the city together.<br />

True currently has three outlets in Siam Square<br />

at Soi 2, Soi 3, and Digital Gateway. These three<br />

locations have served as cafes and shops for many<br />

years, and the time came for them to be renovated.<br />

M Space’s Pakorn Mahaphant is the architect<br />

tasked with this renovation project. He proposed<br />

a complete transformation of all three outlets at<br />

once. The key concept is to create a network<br />

แนวทางในการปรับปรุงพร้อมกันทั้ง 3 พื้นที่ โดยเน้น<br />

การเชื่อมต่อกันทางแนวราบในระบบเน็ตเวิร์ค ที่เชื่อมต่อ​<br />

กับพื้นที่โดยรอบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา​<br />

ของการเติบโตของธุรกิจในย่านสยามสแควร์ โดยมีคาเฟ่<br />

เป็นจุดแวะพักเพื่อเชื่อมต่อกับกิจกรรมในอาคาร โดยมี<br />

รายละเอียดคือ<br />

1.) True สยามสแควร์ซอย 2 เชื่อมต่อกับถนนพญาไท 1​<br />

และศูนย์การค้า Discovery ซึ่งต่อเนื่องไปยังสยามพารากอน​<br />

และมาบุญครอง ให้เป็นพื้นที่สําหรับคาเฟ่ co-working<br />

space และ exhibition ขนาดเล็กที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยี​<br />

และศิลปวัฒนธรรม ตามแนวการเชื่อมของทางเดินลอยฟ้า​<br />

ที่จะขยายระยะตลอดแนวความยาวถนนพระราม 1 จาก​<br />

สี่แยกปทุมวันต่อไปยังสี่แยกเพลินจิต ความท้าทายในการ<br />

ออกแบบมาจากการเป็นอาคารที่มีประวัติการต่อเติมมา<br />

หลายยุคสมัยตั้งแต่การเริ่มก่อสร้างศูนย์การค้าสยามสแควร์ ​<br />

จนถึงปัจจุบัน โดยขาดการวางแผนอย่างมีระบบ 2.) True​<br />

สยามสแควร์ซอย 3 อยู่ในบริเวณใจกลางถนนด้านใน<br />

ของย่านสยามสแควร์ เชื่อมต่อกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​<br />

ปรับให้เป็นคาเฟ่ และ robotic lab สําหรับเป็นพื้นที่<br />

ทํางานขนาดเล็กร่วมกันกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ<br />

เพื่อให้เป็นพื้นที่ทางการศึกษาและวิจัยที่เน้นหนักไปทาง<br />

ด้าน sustainability 3.) True Digital Gateway ตั้งอยู่บน​<br />

ถนนพระราม 1 ปรับเป็นคาเฟ่ แกลเลอรี และเป็นพื้นที่สื่อ​<br />

ของ True ในการเปิดตัวโครงการ และ Broadcast<br />

รายการต่างๆ<br />

ในการออกแบบอาคาร ผู้ออกแบบให้ความสําคัญกับทั้ง<br />

เงื่อนไขของการก่อสร้าง ความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม​<br />

ความสอดคล้องกับวัฒนธรรม และการใช้สอยอาคาร​<br />

แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของผู้ออกแบบคือการหาตัวแทน​<br />

ของการสื่อสารที่เชื่อมโยงกับรูปแบบพื้นฐาน ผู้ออกแบบ<br />

จึงนําการสื่อสารด้วย “รหัสมอร์ส” มาใช้ เนื่องจากเป็น​<br />

การสื่อสารด้วยรหัส ปิด-เปิด มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ​<br />

โดยรหัสมอร์สได้ถูกพัฒนากลายมาเป็นสัญญาณโทรศัพท์​<br />

ในระบบดิจิทัลในปัจจุบัน แนวคิดของ façade คือการ<br />

ทําให้อาคารหายไปกลายเป็นที่ว่าง และมีรหัสมอร์สเป็น<br />

สัญญาณที่เป็นตัวแทนของระบบอะนาล็อกในอดีตลอยออก​<br />

มาแทน คล้ายกลุ่มหมอกของข้อมูลในอากาศ (cloud)<br />

นอกจากนี้ในการออกแบบ façade นั้น เน้นความเชื่อมโยง​<br />

กับรูปแบบเดิมซึ่งเป็น façade กระจก 2 ชั้น โดยมี<br />

linking the three locations while reflecting the<br />

changing nature of Siam Square. Each outlet houses<br />

its own cafe designed to complement the special<br />

activities offered inside.<br />

True at Siam Square Soi 2, near Rama I Road, is<br />

connected to Siam Discovery which links to Siam<br />

Paragon and MBK Centre. This outlet serves as a<br />

cafe, a co-working space, and a mini exhibition hall<br />

where art and technology coincide. The challenge<br />

for this location is the decades of unsystematic<br />

expansion and renovation done to the building<br />

from the day Siam Square was founded. True at<br />

Siam Square Soi 3 sits at the heart of this outdoor<br />

shopping district and just a few minutes away from<br />

Chulalongkorn University. This location i redesigned<br />

as a cafe and a robotic lab in partnership with the<br />

university’s Faculty of Engineering. This is a learning<br />

and research hub with an emphasis on sustainability.<br />

True Digital Gateway, also near Rama I Road, is a<br />

cafe-cum-gallery with space for product launches<br />

and other live broadcast programs.<br />

Environmental sustainability, cultural context, and<br />

space utilization all play a part in how the new space<br />

is designed. To represent the concept of connectivity,<br />

Morse code is used as a key design and decorative<br />

element. Morse code has been a basic communication<br />

method used in Thailand since the reign of King<br />

Rama V, and it has also formed the foundation of<br />

today’s digital telecommunication. Generally, a<br />

building facade is made with the purpose of making<br />

a building disappear underneath a blank canvas. In<br />

the case of the True Digital Park Siam Square Soi 2<br />

the canvas is printed with line after line of Morse<br />

code that represents an analog communication<br />

system floating in the ‘cloud.’ The new façade is also<br />

designed to be suitable with the original structure<br />

of the building using a double-layered glass façade<br />

which helps reduce energy consumption as it<br />

protects the interior from outside heat and keeps<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 64 65<br />

Refocus Heritage


แนวทางดังนี้ 1.) ปรับให้รูปแบบของกระจกทั้ง 2 ชั้น<br />

สามารถประหยัดพลังงานได้ โดยกันความร้อนจากภายนอก​<br />

และรักษาความเย็นภายใน 2.) รูปแบบของ façade​<br />

มีความเชื่อมโยงกับรูปแบบธุรกิจของเจ้าของโครงการ<br />

3.) รูปแบบ façade เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่​<br />

4.) รูปแบบ façade เชื่อมโยงกับงานออกแบบภายในอาคาร<br />

ผู้ออกแบบเลือกกระจกที่มีค่าสะท้อนที่ใช้ได้ในประเทศไทย​<br />

(ไม่เกิน 60%) เพื่อสะท้อนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบน<br />

ทางเท้า รถไฟฟ้า อาคารข้างเคียง รวมถึงแสงไฟในตอน<br />

เช้าถึงเย็น และท้องฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ โดยใช้กระจก​<br />

crystal clear ที่มีความใสเป็นพิเศษ มีค่าสะท้อนความร้อน​<br />

และสะท้อนภาพของสิ่งแวดล้อมโดยรอบได้ดี การออกแบบ​<br />

façade ทําให้คนภายนอกไม่สามารถมองเห็นพื้นที่ภายใน​<br />

ได้ในช่วงกลางวัน เนื่องจากจะเห็นเป็นภาพสะท้อน ในขณะ​<br />

ที่ช่วงเย็นจะค่อยๆ มองเห็นพื้นที่และกิจกรรมด้านใน<br />

ผสมกับแสงไฟยามคํ่ำคืนในย่านสยามสแควร์ซ้อนเป็น<br />

ภาพเดียวกัน<br />

inside temperatures low. The new facade represents<br />

True’s core business and reflects the history of the<br />

area. The facade also works well with the interior<br />

design of the shop.<br />

M Space uses 60% reflective glass panels that<br />

repel heat and mirror the life of the city—the<br />

street, the sky train, the surrounding buildings,<br />

the sky, and the lights at night. People from the<br />

outside cannot see through the facade during the<br />

day, but at night, the brightly lit interior is clearly<br />

visible from the outside and blends well with the<br />

surrounding lights in the Siam Square area.<br />

If we consider architecture as an element that<br />

creates cities and societies, there are four interesting<br />

points worth exploring in the case of True Digital Park<br />

Siam Square Soi 2. First, the physical connection;<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 66 67<br />

Refocus Heritage


ประเด็นต่อมา การเชื่อมโยงวิถีชีวิตสมัยใหม่ของกรุงเทพฯ​<br />

แม้ว่าแต่ละ node ของโครงการจะมีกิจกรรมเฉพาะตัว ไม่ว่า​<br />

จะเป็นร้านกาแฟ co-working area และ robotic laboratory​<br />

แต่ความเข้มข้น (dense) ของกิจกรรมและการใช้งาน<br />

เฉพาะนั้นถูกทําให้มีลําดับ แม้จะมีส่วนที่ใช้งานเฉพาะกลุ่ม​<br />

เช่น lab แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้น สามารถสังเกตเห็นได้<br />

อย่างชัดเจนจากผนังกระจกใส เป็นไปได้ว่าการเชื่อมโยง<br />

แบบโปร่งใสและโปรแกรมการใช้งานเหล่านี้ได้เดินข้ามความ​<br />

เป็นกระแส (trend) สู่การเป็นวัฒนธรรมใหม่ไปแล้ว​<br />

ประเด็นที่ 3 การเปิดเผยการซ้อนทับของยุคสมัยผ่าน<br />

การเปิดเผยองค์ประกอบอาคารในการทํางานออกแบบใน<br />

โครงการปรับปรุงอาคารเก่านั้น สิ่งสําคัญมากประการหนึ่ง​<br />

คือการสืบเสาะหาโครงสร้างจริงของอาคาร และทําการ<br />

พิจารณาความแข็งแรงขององค์อาคารเพื่อประกอบการ<br />

พิจารณาในการออกแบบ การที่ผู้ออกแบบใช้กลวิธีในการ<br />

รื้อองค์ประกอบของโครงสร้างออก นอกจากจะตอบปัญหา<br />

เรื่องความปลอดภัยแก่ผู้ใช้อาคารแล้ว ยังได้เผยให้เห็น<br />

ร่องรอยของกาลเวลาที่อาคารหลังนี้เดินทางข้ามผ่านและ<br />

การใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไปตามโจทย์ของแต่ละช่วงนอกจากนี้​<br />

density of activities have been carefully systematized.<br />

Even with very specialized activities such as the<br />

robotic lab, there is a level of transparency within<br />

the space. Passersby can see the lab in action<br />

through the clear glass surrounding the shop. This<br />

transparent connectivity is not a trend that may<br />

come and go but truly an established part of our<br />

culture.<br />

Third is the evidence of different eras that can be<br />

explored through closely examining the building<br />

itself. Every renovation project requires designers<br />

to examine the building and look for the original<br />

structure. This is to assess the building’s stability<br />

so that any renovation or expansion can be done<br />

safely. M Space stripped off all of the extensions<br />

to the structure to safely build its own expansion<br />

and showcase the history and various faces of the<br />

building throughout the years. The renovation also<br />

strengthens the building’s capacity to minimize<br />

เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาเรื่องการมีอยู่ของสถาปัตยกรรม​<br />

ผ่านความสัมพันธ์ของเชื่อมโยงในฐานะเป็นองค์ประกอบ<br />

ของเมืองและสังคมนั้น อาจแยกพิจารณาได้ 4 ประเด็น<br />

ดังนี้ ประเด็นแรก การเชื่อมโยงในระดับกายภาพของเมือง​<br />

ด้วยลักษณะของการออกแบบประกอบด้วยสถาปัตยกรรม​<br />

ที่กระจายตัวออกเป็น 3 จุดนี้ สถาปัตยกรรมแต่ละแห่ง<br />

กลายเป็น node ที่แทรกตัวเป็นส่วนหนึ่งของเมืองย่อมๆ​<br />

ในพื้นที่สยามสแควร์มีการใช้ภาษาในการออกแบบที่เชื้อเชิญ​<br />

ผู้คนให้เข้ามาใช้เส้นทาง เชื่อมจุดเล็กๆ บนผังพื้นที่ให้<br />

กระชับเข้าหากัน ในขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้มีการ<br />

แทรกตัวของโปรแกรมและกิจกรรมอื่นๆ ได้ตลอดเส้นทาง​<br />

ซึ่งแน่นอนว่า สยามสแควร์นั้นเต็มไปด้วยกิจกรรมลําลอง<br />

หลากหลายรูปแบบ เมื่อตัวโครงการมีลักษณะที่ไม่มีกรอบ​<br />

ชัดเจน ทําให้ผู้คน กิจกรรม และเมือง ไหลเวียนถ่ายเท<br />

ผ่านตัวโครงการทั้งในระดับของการมองเห็นและการแทรกตัว​<br />

ของกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่ เป็นการผสานโครงการให้<br />

กลายเป็นส่วนหนึ่งของจิตภาพของเมือง ซึ่งอุดมไปด้วย​<br />

ความเชื่อมโยง (connect) ถึงกันได้<br />

all three shops are spread out around the Siam<br />

Square area creating ‘nodes’ of architecture that<br />

become part of the neighborhood. The design<br />

language used in this renovation project aims to<br />

invite people to come in and connect the dots<br />

between the branches. At the same time, the<br />

three branches are also connected through<br />

special programs and activities. Siam Square, as<br />

a melting pot of popular cultures and subcultures,<br />

allows the three outlets to embrace different<br />

groups of people and their activities. True Digital<br />

Park Siam Square Soi 2 truly become part of the<br />

city’s identity where connectivity is abundant.<br />

Next is the issue of connecting with lifestyles in<br />

Bangkok. Although each outlet has its own unique<br />

features and activities such as a co-working<br />

space, a robotic lab, or a cafe, the intensity and<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 68 69<br />

Refocus Heritage


รวมถึงการออกแบบโครงสร้างใหม่เพื่อควบคุมการสั่นไหว​<br />

ของอาคารหลังจากที่มีการใช้งานรถไฟฟ้าซึ่งทําให้เกิดการ​<br />

ไหวเวลารถไฟฟ้าวิ่งผ่าน โดยการทําให้สิ่งซึ่งเคยถูกปกปิด​<br />

ในอดีต เปิดเผยตัวตนออกมาอย่างโจ่งแจ้งเช่นนี้ ช่วยทําให้​<br />

ผู้สังเกตมองเห็นการซ้อนทับกัน (superimposed)​<br />

ทั้งในระดับของโครงสร้างเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรม และ​<br />

นามธรรมในแนวคิดการออกแบบ ช่วงเวลาของอาคาร<br />

แต่ละสมัยจึงถูกทําให้เชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อ โครงกระดูก​<br />

ของอาคารที่ถูกปกปิด จึงถูกปลุกให้ตื่นจากความด้อยค่า<br />

(nihilism) อวดตัวตนสู่สายตาของผู้สังเกต<br />

ประเด็นที่ 4 รหัส กับการเชื่อมโยงพื้นที่และเทคโนโลยี<br />

จากจุดเริ่มต้นของรหัสมอร์ส สู่ระบบโทรเลข สัญญาณ<br />

โทรศัพท์อะนาล็อก จนถึงดิจิทัล จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของ​<br />

เทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลถูกพัฒนาอยู ่บนพื้นฐาน<br />

เดียวกันคือการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถูกใช้​<br />

ในการเชื่อมโยงผู้คนและสังคมเข้าด้วยกัน ผู้ออกแบบ​<br />

ใช้เทคนิคการออกแบบ façade ที่อาคารบนสยามสแควร์​<br />

ซอย 2 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้เรื่องการสื่อสาร จาก<br />

การส่งรหัสสัญญาณบางอย่างจากสถาปัตยกรรมไปยัง<br />

ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมา จากสถาปัตยกรรมกายภาพสู่<br />

การกลายเป็นสถาปัตยกรรมเมฆ (cloud architecture)<br />

ที่เหมือนกับการล่องลอยไร้ขอบเขตที่ชัดเจน ประเด็นนี้<br />

นับเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง กล่าวคือ หากเราเชื่อว่า<br />

สถาปัตยกรรมนั้นกําเนิดมาจากความคิด ซึ่งเป็นนามธรรม​<br />

และถูก สร้าง-ทํา​ให้เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ โครงการนี้​<br />

อาจกําลังพาเราย้อนกลับกระบวนการ ทิ้งคําถามในใจ​<br />

ให้เราถึงประเด็นของการมีอยู่ของคํา​และความหมายของ​<br />

“สถาปัตยกรรม” ในวัฒนธรรมร่วมสมัยปัจจุบัน<br />

tremors that can occur when the sky train passes<br />

by the shop. By revealing what used to be hidden,<br />

we can now see the physical spaces and conceptual<br />

ideas superimposed on the building over time.<br />

Fourth is the idea of code and the connection<br />

between space and technology. Morse code gave<br />

birth to telegraphs and evolved into the traditional<br />

landline telephone system and the digital telephony<br />

system we are using for mobile phones today. For<br />

centuries, better communication has been the key<br />

objective that has propelled inventors and scientists<br />

forward in their endeavors to create innovative<br />

technology. M Space uses the facade of the True at<br />

Siam Square Soi 2 to signal for better communication.<br />

It is a message for people of the city hidden within<br />

the architecture. With this, the physical space has<br />

transformed into a ‘cloud architecture’ that exists<br />

across all dimensions. If architecture is created<br />

from abstract thoughts and made into tangible<br />

objects, it is an issue worth further discussing<br />

on how this renovation project has reverse-engineered<br />

the process and sparked the conversation<br />

about the existence and meaning of architecture<br />

in the contemporary culture.<br />

Project Name: True Digital Park Siam Soi 2<br />

Owner: True Corporation Public Company Limited<br />

Location: 232/5 and 234, Siam Square Soi 2,<br />

Pathumwan Subdistrict, Pathumwan<br />

District, Bangkok<br />

Year of Completion: 2018<br />

Area: 1,120 sq.m<br />

Architect: Mspace Co., Ltd.<br />

Interior: Mspace Co., Ltd.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 70 71<br />

Refocus Heritage


REVIEW<br />

Kitipanit<br />

Text and Photo: อ. ดร จิรันธนิน กิติกา / Chirantanin Kitika, Ph.D.<br />

Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum


กิติพานิช อาคารเรือนไม้ 2 ชั้นที่ตั้งอยู่บน​<br />

ถนนท่าแพ อาคารที่เป็นภาพทรงจําของคน​<br />

เชียงใหม่ที่สัญจรผ่านถนนเส้นนี้มานานกว่า​<br />

ทศวรรษ อาคารหลังนี้ถูกสร้างมาตั้งแต่​<br />

พ.ศ. 2431 ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าของ​<br />

อาคารซึ่งเป็นทายาทของกิจการกิติพานิช​<br />

รุ่นที่ 5 คุณเต๋า รุ่งโรจน์ อิงคุทานนท์ ที่ได้​<br />

ส่งต่อการเล่าเรื่องเมืองเชียงใหม่ ด้วยการ​<br />

กลับคืนชีวิตให้อาคารเก่าหลังนี้ นํามาเปิด<br />

กิจการเป็นร้านอาหารพื้นถิ่นร่วมสมัย มีการ​<br />

นําสิ่งของเครื่องใช้จริงที่พบในอาคารหลังนี้​<br />

ที่เก็บไว้กว่า 132 ปีมาจัดวาง โดยโครงการนี้​<br />

มีหุ้นส่วนสําคัญคือ คุณเฟรด เมเยอร์ ผู้ที่<br />

ช่วยจัดการความทรงจําของอาคาร เรียบเรียง<br />

เรื่องเล่าผ่านองค์ประกอบและของใช้ในอาคาร​<br />

ที่ถูกนํามาจัดแสดงในบริเวณพื้นที่รับประทาน<br />

อาหาร ทําให้อาคารนี้เป็นเสมือนมิวเซียม​<br />

ที่เก็บแสดงเรื่องเล่าของเมือง รวมไปถึงการ<br />

เป็นร้านอาหารที่เป็นเหมือนเรือนต้อนรับแขก<br />

บ้านแขกเมือง ที่มาสร้างประสบการณ์ทั้งทาง<br />

อาหารและประวัติศาสตร์ของเมืองด้วย​<br />

Kitipanit - a two-story wooden building<br />

on the Tha-pae Road - holds firmly in<br />

the memories of its Chiang Mai residents<br />

who have commuted through this local<br />

neighborhood for the past several decades.<br />

Built in 1888, this old building now belongs<br />

to its fifth-generation owner. We talked<br />

with Rungroj Ingkutanon (or ‘Tao’) the<br />

current successor of Kitipanit about<br />

him handing-over this fragment of<br />

Chiang Mai’s history.<br />

Kitipanit has recently been revived into<br />

a contemporary local restaurant, one<br />

housing a mesmerizing exhibition of<br />

objects that had been accumulating<br />

in its timber structure for the past 132<br />

years. The project has Fred Mayor as<br />

an important partner. It was Fred who<br />

took-over the responsibility of unifying<br />

the building’s memories and history into<br />

อาคารกิติพานิช ในฐานะ​<br />

ร้านอาหารพื้นถิ่นร่วมสมัย​<br />

ในฐานะทายาทรุ่นที่5 คุณเต๋า​<br />

รุ่งโรจน์ อิงคุทานนท์<br />

Kitipanit Building now<br />

operated as a restaurant<br />

serving contemporary<br />

local cuisine with its 5th<br />

generation successor<br />

Rungroj Ingkutanon or<br />

‘Tao’.<br />

ของใช้เก่าที่คุณเต๋าพบใน​<br />

อาคารกิติพานิชและนํามา<br />

เป็นเรื่องเล่าในร้านอาหาร<br />

Some of the collected<br />

objects found in Kitipanit<br />

Building have been used to<br />

tell its stories inside the<br />

restaurant’s space.<br />

มองเก่า ให้เห็นคุณค่า<br />

ความงามของรูปด้านหน้าอาคารและองค์ประกอบ​<br />

อาคารที่ปรากฏ เป็นสิ่งที ่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า<br />

อาคารกิติพานิชเป็นมรดกที่ตระกูลกิติบุตร​<br />

ได้สั่งสมและสร้างไว้ ในฐานะสถาปนิก ผู้เขียน​<br />

เชื่อมั่นว่าคุณค่าของอาคารหลังนี้เป็นมรดก​<br />

ที่ไม่สามารถประเมินค่าทั้งทางเศรษฐกิจและ<br />

จิตใจได้ คุณเต๋าได้กล่าวถึงความประทับใจ<br />

นอกจากความงามทางรูปลักษณ์ของอาคาร<br />

หลังนี้แล้วนั้น คุณค่าและความงามจาก<br />

ประสบการณ์ร่วมของผู้ที่เคยอยู่ในอาคาร<br />

อย่าง คุณยายนิสา คุณารักษ์ คุณยายของ<br />

คุณเต๋า ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ได้ส่งต่อเรื่อง<br />

เล่าของความหลังต่างๆ ที่ได้ผูกพันกับอาคาร<br />

หลังนี้ เมื่อครั้งที่ได้เรียนจบการศึกษาที่<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กลับมาเปิด<br />

กิจการกับสามีในนาม คลินิกดารา จนกระทั่ง<br />

พ.ศ. 2509 ได้ยุติกิจการลง และเปิดพื้นที่<br />

หน้าอาคารให้เช่าเป็นร้านหนังสือ ซินกีง้วน<br />

ซึ่งทําให้อาคารหลังนี้ถูกปิดการใช้งาน พื้นที่<br />

ภายในอาคารจึงเป็นที่เก็บของเก่ามากมายที่<br />

สั่งสมเวลามานานกว่า 54 ปี จนถึง พ.ศ. 2562​<br />

เป็นปีที่คุณเต๋าได้กลับมาเปิดอาคาร ค้นพบ<br />

ของใช้ของสะสมที่บันทึกความทรงจําของ<br />

อาคารหลังนี้มากมาย ซึ่งในปัจจุบันคุณเต๋าก็<br />

ยังไม่สามารถเปิดกล่องและถุงของเก่าได้ครบ<br />

a cogent narrative. This narrative unfolds<br />

across the building’s architectural and<br />

decorative elements, as well as the<br />

myriad objects that are displayed around<br />

the restaurant’s functional program. It is<br />

this curatorial approach that transforms<br />

the building into a museum that tells<br />

the story of the city. It is effectively the<br />

‘living room’ of Chiang Mai, a space that<br />

welcomes visitors with a delectable<br />

experience of local cuisine, alongside<br />

the city’s own amazing history.<br />

Appreciating the Old<br />

It is an undeniable fact that Kitipanit ’s<br />

architectural composition and beautiful<br />

features have made this building a<br />

well-preserved and cherished legacy.<br />

As an architect, I believe that this building<br />

is a treasure with immeasurable economic<br />

and spiritual value. Apart from its beauty,<br />

Ingkutanon is able to recall the many<br />

memories he has of the building from<br />

stories passed on by his grandmother<br />

and third-generation owner, Nisa Kunarak.<br />

Her real connection with the building<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 74 75<br />

Refocus Heritage


วิถีของอาคารใหม่ - เรื่องเล่าในอาคาร<br />

คุณเต๋าพบข้อมูลว่า อาคารหลังนี้นั้นถูกสร้าง<br />

มาตั้งแต่พ.ศ. 2431 (ก่อนสงครามโลกครั้งที่2)​<br />

สไตล์ของอาคารจึงมีความร่วมสมัยทั้งการ<br />

เป็นอาคารเรือนไม้ที่สร้างโดยสล่าไม้ชาวพม่า<br />

และไทยใหญ่ ที่สะท้อนมาจากทรงหลังคา​<br />

จั่วซ้อนชั้น และมีจั่วรองเล่นระดับ รวมไปถึง<br />

อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่<br />

ปรากฏผ่านการประดับตกแต่งแผ่นไม้ที่มี<br />

ลวดลายฉลุทั้งในคิ้วหลังคาและบัวผนัง คุณเต๋า​<br />

ได้รับข้อเสนอแนะจากอาจารย์จุลทัศน์​<br />

กิติบุตร ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม<br />

ร่วมสมัย และในฐานะญาติทางฝั่งคุณยาย<br />

ของคุณเต๋า ได้กล่าวถึงอาคารหลังนี้ว่า ความ<br />

ทรงจําของอาคารนั้นปรากฏผ่านผนังเก่า​<br />

ร่องรอยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวอาคาร สิ่งเหล่านี้​<br />

คือคุณค่าของอาคารเก่าที่ทําขึ้นไม่ได้ มันเป็น<br />

ชีวิตและความทรงจําของอาคารที่ควรบันทึกไว้​<br />

ซึ่งทําให้คุณเต๋าเก็บร่องรอยของสีอาคาร ผนัง<br />

อาคาร แนวโครงคร่าวไม้เก่า ที่สะท้อนความเก่า​<br />

ของอาคาร โดยไม่ได้ทําให้อาคารดูเนี้ยบ​<br />

และคลีนเหมือนอย่างอาคารใหม่อย่างสิ้นเชิง<br />

โครงสร้างของอาคารนี้ เป็นโครงสร้างปูน<br />

ผสมไม้ โดยที่มีโครงสร้างหลักเป็นกําแพง​<br />

รับนํ้ำหนักประกอบกับโครงสร้างเสาคานไม้สัก<br />

ภายในตัวอาคาร ครั้งเมื่อคุณเต๋าเปิดอาคาร<br />

เพื่อการปรับปรุง ผมว่ามีเสาไม้ 3 ต้นที่ถูก<br />

ปลวกกินจนหมดสภาพความแข็งแรง จึงต้อง<br />

พยุงอาคารแล้วนําเสาไม้ใหม่มาแทน ยิ่งไป<br />

กว่านั้นแนวคานไม้ที่รับนํ้ำหนักพื้นชั้น 2​<br />

บางส่วนบุพังและบวมนํ้ำจากความชื้นเพราะ<br />

หลังคาอาคารได้รั่วมาก่อน ทําให้เกิดการเสริม​<br />

คานเหล็กเพื่อพยุงพื้นที่ชั ้น 2 ด้วยความงาม<br />

ของการวางไม้แต่งท้องคานที่เป็นงานสล่าพม่า​<br />

แต่เดิม ทําให้การปรับปรุงอาคารหลังนี้เป็น​<br />

ไปตามความงามขององค์ประกอบของโครงสร้าง​<br />

เดิมที ่ปรากฏ<br />

started after she graduated from<br />

Chulalongkorn University and returned<br />

to Chiang Mai with her husband. Together<br />

they opened their local business at<br />

Kitipanit called the ‘Dara Clinic’. The<br />

business ceased operating in 1966 and<br />

the couple rented-out the space at the<br />

front of the building to the Sin Gee Nguan<br />

Bookshop (while the rest of the building<br />

remained closed). Quietly accumulating<br />

inside was a collection of antiques and<br />

memorabilia spanning a 54-year period to<br />

date. In 2019, Ingkutanon reopened the<br />

building to find a huge amount of<br />

collectibles that would soon be used to<br />

document the history of the building.<br />

The number of collected objects is so<br />

great that even to this day, Ingkutanon<br />

has not yet been able to look through<br />

them all.<br />

A Building and Its Stories<br />

Ingkutanon found out that the building<br />

was constructed in 1888 (prior to the<br />

First World War). This might help explain<br />

the contemporary flair of the building’s<br />

architecture. The wooden structure<br />

was built by Burmese and Thai Yai salas<br />

(skilled builders). Its details show a<br />

layered gable roof and a secondary<br />

gable that adds dimensional levels to<br />

the overall aesthetics of the building.<br />

The influence of Western architecture<br />

can be seen in the carved ornamental<br />

wooden-panels of the roof’s skirting<br />

and cornices. Ingkutanon has been given<br />

some valuable advice from Chulathat<br />

Kitibutr, the National Artist in Contemporary<br />

Architecture (who just so happens to be<br />

a relative of his grandmother!). Kitibutr<br />

talks about the building and the way<br />

มุมรับประทานอาหารที่​<br />

เล่าเรื่อง “ดาราเมซอง”<br />

A corner inside the<br />

restaurant tells the story<br />

of ‘Dara Maison’.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 76 77<br />

Refocus Heritage


องค์ประกอบของอาคารหลังนี้สะท้อนสุนทรียะ​<br />

ในแต่ละยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นโครงคร่าวและ<br />

ผนังตีเกล็ดไม้ในชั้น2 ของอาคาร รายละเอียด​<br />

ของงานตกแต่งไม้ระหว่างท้องคาน ผนังปูน<br />

ของอาคารที่มีร่องรอยจากการทาสีอาคารกว่า​<br />

3 ครั้ง ตั้งแต่ดั้งเดิมตัวที ่อาคารเป็นสีขาวใน<br />

การเป็นห้างสรรพสินค้า จากนั้นถูกปรับปรุง<br />

และทาตัวอาคารในครั้งเป็นร้านเสริมสวย​<br />

ด้วยสีครีม และสีอาคารชมพูอ่อนในครั้งที่<br />

เป็นกิจการคลินิก เราจะพบการหลุดร่อนของ<br />

สีบนผนังอาคารภายใน ที่บอกเล่าความทรง<br />

จําได้ดี ในปัจจุบันอาคารภายนอกด้านหน้า<br />

บางส่วนถูกทาด้วยสีเหลืองขมิ้นในฐานะ​<br />

การเป็นร้านอาหารร่วมสมัย<br />

its history is visible on the old walls<br />

through traces found on surfaces and<br />

structures. These valuable qualities are<br />

inimitable and exist as a part of the<br />

building’s own life and temporal evolution.<br />

According to Kitibutr, all these elements<br />

need to be documented. Ingkutanon<br />

took this advice to heart by preserving<br />

all traces of old paint, old walls, wooden<br />

structures and other time-worn details.<br />

The refurbishment is therefore not an<br />

attempt to revamp and make the entire<br />

building look clean and new again. On<br />

the contrary, the building’s structure<br />

มุมรับประทานอาหารที่เอา<br />

ป้ายร้านหนังสือมาตกแต่ง<br />

The Kitipanit Family<br />

emblem, hung at the<br />

second floor foyer.<br />

การจัดวางที่นั่งรับประทานอาหารและเฟอร์นิเจอร์ ​<br />

สอดคล้องกับเรื่องราวของอาคารหลังนี้ คุณเต๋า​<br />

ยกเครดิตให้กับคุณเฟรด หุ้นส่วนโครงการ​<br />

ผู้มีแนวคิดในการหยิบเอาของใช้ในอาคารมา<br />

เล่าเรื่องอาทิ การเอาป้ายร้านมาทําเป็นเคาน์เตอร์ ​<br />

การยกตู้ไม้เก่ามาแขวนลอยเพื่อจัดแสดง​<br />

แก้วนํ้ำและแจกันเก่าที ่พบในร้าน อีกทั้งยัง<br />

เอาแผงไม้สักเก่าที ่เป็นบานกั ้นห้องมาทําเป็น<br />

โต๊ะรับประทานอาหาร ทําให้เกิดการฟื้นชีวิต<br />

ของอาคารจากการนําของเก่ามาเล่าใหม่<br />

แต่ละพื้นที่ของกิติพานิช แบ่งการเล่าเรื่องราว​<br />

ตามยุคสมัยของอาคารดังนี้ ในยุคแรก อาคาร​<br />

มีชื่อว่า “ย่งไท้เฮง” เป็นห้างสรรพสินค้าที่มี<br />

ของนําเข้ามาจากต่างเมืองและต่างประเทศ​<br />

ต่อมาปรับเป็นชื่อไทยว่า กิติพานิช ซึ่งได้รับ<br />

ความนิยมเป็นอย่างมาก ป้ายร้านเดิมได้ถูก<br />

นําไปจัดแสดงที่โถงชั้น 2 และภาพถ่ายร้าน​<br />

อุปกรณ์ของใช้ รวมไปถึงบัญชีร้าน ได้ถูกนํา<br />

มาจัดแสดงบนตู้และผนังอาคารที่ฝั่งใต้ยุคที่ 2​<br />

อาคารได้เปลี่ยนกิจกรรมไปเป็นสถานเสริม<br />

ความงามชื่อ “ดาราเมซอง” (Dara Maison)​<br />

ซึ่งพบว่ามีการใช้เครื่องมือเสริมสวยไฟฟ้า<br />

เป็นที ่แรกของเมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้ทาง<br />

ร้านยังได้บันทึกรายชื่อนามสกุล จังหวัด​<br />

และอาชีพของผู้ที่ใช้บริการไว้ในสมุดบัญชีอีกด้วย ​<br />

โดยสถานเสริมความงามนี้ให้บริการทั้งสุภาพ<br />

บุรุษและสุภาพสตรี แบ่งพื ้นที่ด้านซ้ายของ<br />

อาคารเป็นฝั่งบุรุษและฝั่งขวาเป็นฝั่งสตรี ซึ่ง<br />

สันนิษฐานว่าปิดกิจการด้วยสถานการณ์ทาง<br />

เศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลกครั้ง<br />

ที่ 2 ซึ่งเรื่องราวในส่วนร้านเสริมสวยนี้ถูกจัด<br />

ตกแต่งในบริเวณหัวมุมทางเข้าด้านขวาของร้าน​<br />

ที่เป็นชุดโต๊ะรับประทานอาหารที่เอาเตียงนอน​<br />

ไม้เก่ามาทําเป็นชุดเก้าอี้รับแขก ยุคที่ 3​<br />

เป็นยุคที่อาคารกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง​<br />

ในนาม “คลินิกดารา” ดําเนินกิจการคุณยาย<br />

นิสา คุณารักษ์และสามี ยุคที่4 มีการเปิดพื้นที่ ​<br />

หน้าร้านให้เช่าเป็นร้านหนังสือ “ซินกีง้วน”​<br />

คุณเฟรดเอาป้ายร้านหนังสือนี้จัดวางในส่วน<br />

มุมซ้ายฝั่งในสุดของร้าน การมีบานหน้าต่าง<br />

โครงไม้ในบริเวณนี้ ทําให้เกิดบรรยากาศหน้า<br />

is purposely exposed to reveal a<br />

historical mix of wood and concrete<br />

with weight-bearing walls and teak<br />

beam-structures.<br />

During its careful renovation, Kitipanit<br />

revealed three wooden columns completely<br />

destroyed by termites. This resulted<br />

in three new wooden columns needing<br />

to be brought in. Moreover, a wooden<br />

beam supporting the second floor had<br />

also swollen due to humidity caused<br />

by a leaky roof. Additional steel beams<br />

were added to help bear this weight,<br />

while the original wood joists (built by<br />

Burmese builders) were used as a<br />

guideline to help preserve - wherever<br />

possible - the decorative originality of<br />

the building’s architectural characteristics.<br />

The architectural elements of the building<br />

reflect a variety of aesthetics popular<br />

throughout different time-periods. These<br />

span from ‘wooden’ louver-cladded walls<br />

(found on the second floor) all the way<br />

to the decorative detailing within the<br />

wood joists and concrete walls. It is here<br />

where the painterly-traces of three<br />

generations of conversions exist<br />

simultaneously. Since its early days,<br />

the Kitipanit building has undergone<br />

several transformations. It first opened<br />

as a beautiful ‘white’ department store.<br />

Following its first renovation, the original<br />

white department store turned into a<br />

cream-coloured hair salon. Later, the<br />

building was turned light-pink when it<br />

began operating as the ‘Dara-Clinic’.<br />

Still visible are the peeling surfaces of<br />

paint on interior walls that help recount<br />

stories of the past. At the moment, the<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 78 79<br />

Refocus Heritage


ร้านหนังสือเก่า รายละเอียดของเรื่องราวต่างๆ​<br />

ที่คุณเต๋าค้นพบนั้น ต่างถูกจัดแสดงด้วย<br />

แนวคิดของคุณเฟรด ที่ใช้ประสบการณ์​<br />

การแต่งร้านเก่า มาใช้จัดวางของใช้ของอาคาร​<br />

อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการแขวน​<br />

กระเป๋าเดินทาง การอัดกรอบแผนที่ โปสเตอร์​<br />

และรูปถ่ายครอบครัว รวมถึงการแขวนห้อย<br />

อย่างเป็นศิลปะ<br />

จุดแข็งในการปรับปรุงอาคารกิติพานิชนี้​<br />

เป็นการคิดร่วมระหว่างคุณค่าของอาคาร​<br />

ทั้งในเชิงความงามทางสถาปัตยกรรม และ<br />

การนําความทรงจําของชีวิตในอาคารมาเล่าเรื่อง​<br />

อีกทั้งรูปแบบของกิจการเป็นร้านอาหารพื้นถิ่น​<br />

ร่วมสมัยที่ทําให้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นของ​<br />

ผู้ที่ได้เข้ามาใช้บริการรับประทานนี้ เต็มอิ่ม​<br />

ทั้งรสชาติของอาคาร สุนทรียะของอาคาร​<br />

และได้รับรู้เรื่องราวของชีวิตและเมืองเชียงใหม่ ​<br />

ไปพร้อมๆ กัน บทสนทนาในช่วงสุดท้ายที่​<br />

ผู้เขียนได้คุยกับคุณเต๋าเกี่ยวกับคุณค่าของ<br />

อาคารเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาคาร<br />

พาณิชย์ร่วมสมัยในเมืองเชียงใหม่ ตลอดถนน​<br />

ท่าแพ ช้างม่อย และเจริญเมืองนั้น คุณเต๋า<br />

กล่าวว่า อาคารเหล่านี้มีคุณค่า จําเป็นที่จะต้อง​<br />

ถูกรักษาและส่งต่อสู่รุ่นต่อไป<br />

building’s front elevation is painted a<br />

turmeric yellow, appropriate for its current<br />

role as a contemporary restaurant.<br />

Within the building, the spaces have<br />

been divided and re-programed<br />

chronologically following Kitipanit ’s<br />

own history. In the early days, the building<br />

operated as a department store and<br />

was known as ‘Yong Tai Heng’. It sold<br />

products from other parts of the country<br />

and some imported from overseas. Later,<br />

its name was changed to the more<br />

Thai-sounding moniker of ‘Kitipanit ,’<br />

and the establishment soon became<br />

highly renowned among locals. The<br />

building’s original signage is displayed at<br />

the second floor foyer, while photographs<br />

of the building, old equipment and<br />

some books used during its department<br />

store days are exhibited in cabinets<br />

at the south wall. In its next era, the<br />

building operated as a hair salon named<br />

‘Dara Maison’ and was known as the<br />

first-ever salon in Chiang Mai to use<br />

electrical beauty equipment. Found<br />

amongst the collected items from this<br />

era were books detailing clients’ names,<br />

their home provinces and occupations.<br />

The hair salon provided services for<br />

both male and female clientele with<br />

the left-wing of the building preserved<br />

for gentlemen and the right-wing for<br />

ladies. It is assumed that the hair salon<br />

closed down due to post Second World<br />

War economic and social strife. The<br />

hair salon’s period of history is exhibited<br />

at the right corner of the restaurant’s<br />

entrance where a set of dining chairs<br />

converted from an old bed are located.<br />

In its third era, Kitipanit operated as the<br />

‘Dara Clinic’ run by Nisa Kunarak and her<br />

อาคารกิติพานิชท่ามกลาง<br />

การเปลี่ยนแปลงของอาคาร<br />

บนถนนท่าแพ<br />

The Kitipanit Building<br />

amidst the changes of its<br />

surrounding neighborhood<br />

on the Tha Pae Road.<br />

husband. Next, its fourth generation<br />

saw the front space of the building rented-out to<br />

the Sin Gee Nguan Bookshop. Fred Mayor displays<br />

the sign of the bookshop at the far left-end of the<br />

building, where wooden window-frames accentuate<br />

the mood of an old bookshop. The entirety of the<br />

building’s past – a past rediscovered by its fifth<br />

generation successor – can be experienced through<br />

Mayor’s curatorial concept and shop decoration.<br />

Here, old objects are creatively and masterfully<br />

put together into a charming and beautiful display<br />

where old suitcases, maps, posters, and framed<br />

family-portraits merge into a wonderful, artistic<br />

spectacle.<br />

The strength of this latest renovation lies in a<br />

collaborative approach that spotlights the building’s<br />

architectural beauty and historical value accumulated<br />

over the years. The restaurant offers a unique<br />

experience brought about by the intersection of<br />

authentic food, the presence of spectacular<br />

architecture and old stories of how Chiang Mai<br />

once was. As our conversation was coming to an<br />

end, we discussed the value of old buildings,<br />

particularly the old shophouses in the Tha Pae,<br />

Chang Moi and Charoenmueng district of the city.<br />

Here, we were in profound agreement about the<br />

immeasurable value and need for these built structures<br />

to be properly preserved and inherited.<br />

Project Name: Kitipanit<br />

Owner: Kittibutr Family<br />

Architect Advisor : Chulathat Kittibutr<br />

Location: Chiangmai<br />

Year of Completion: 2019<br />

Area: 300 sq.m. (Ground Floor and Second Floor)<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 80 81<br />

Refocus Heritage


REVIEW<br />

Sri the Shophouse<br />

Text: กิตติ เชาวนะ / Kitti Chaowana<br />

Translation: ธีรพร เจริญศักดิ์ / Tiraporn Jaroensak<br />

Photo: ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง / Songpan Janthong


ท่ามกลางย่านการค้าในเมืองเก่าภูเก็ตที่<br />

พลุกพล่านด้วยผู้คนที่หลงเสน่ห์การท่องเที่ยว​<br />

ชุมชนเมืองที่มีความโดดเด่นของสถาปัตยกรรม​<br />

ชิโน-ยูโรเปียน เมื่อเดินเลี้ยวเข้าซอยสุ่นอุทิศ​<br />

ซอยเล็กๆ บนถนนเยาวราช กลับค่อยๆ​<br />

รู้สึกสงบเงียบมากขึ้น ตึกแถวหลายหลังยังคง​<br />

สภาพเดิมๆ จนมาสะดุดตาที่ตึกแถวห้องหนึ่ง​<br />

ที่มีการปรับตกแต่งด้วยสีโทนขาวครีมอย่าง<br />

เรียบง่าย เหมือนเฟรมภาพสีขาวที่แสดง<br />

เรื่องราวของผู้คนอย่างมีชีวิตชีวา แรงบันดาลใจ​<br />

ในการปรับปรุงอาคารตึกแถวเก่า 2 ชั้น​<br />

ซึ่งมี “ฉิมแจ้” หรือ “ซิมแจ้” (ที่โล่งพร้อม<br />

บ่อนํ้ำกลางบ้าน เพื่อให้แสงส่อง และระบาย​<br />

อากาศทั่วบ้านได้ดี) คือความต้องการสร้าง<br />

พื้นที่พบปะ (community space) เพื่อ​<br />

ตอบสนองวิถีชีวิตแบบใหม่ ในย่านเมืองเก่า​<br />

ที่มีความน่าสนใจ สอดคล้องและส่งเสริม<br />

บริบทพื้นที่เมือง มีการใช้พื้นที่หลัก คือ<br />

ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก<br />

ของที่ระลึกสําหรับผู้หญิง และพื้นที่แสดงงาน​<br />

In the commercial area of the Phuket<br />

old town, site of a bustling urban<br />

community and a unique Chino-<br />

European architecture, the noise<br />

slowly subsides after turning a corner<br />

on to Soi Soon Utis, a tiny alley on<br />

Yaowarat Road. Many historical<br />

buildings still exist in their same old<br />

state, but we were surprised by a<br />

single commercial building painted<br />

in a simple creamy white tone. It was<br />

like a white picture frame depicting<br />

spirited life stories. The inspiration<br />

for the renovation of this two-story<br />

old building with “Chim Jae” or “Sim<br />

Jae” (a space with a pond in the<br />

middle of the house to reflect light<br />

and allow ventilation) was the need<br />

for a community space to satisfy a<br />

modern lifestyle. To promote urban<br />

ร้าน Sri the Shophouse ที่ดู<br />

เรียบง่ายท่ามกลางตึกแถวเก่า<br />

ในซอย<br />

Sri the Shophouse stands<br />

simply in the midst of old<br />

commercial buildings<br />

ศิลปะ (gallery) โดยมุ่งเน้นเรื่องการเป็น<br />

มิตรกับสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนธุรกิจใน<br />

พื้นที่ เช่น ร้านกาแฟที่ใช้แก้ว หลอดกระดาษ​<br />

ร้านขายของฝากที่เน้นของ handmade​<br />

รวมทั้งมีการผลิตโดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่​<br />

เป็นหลัก หรือการเปิดพื้นที่เพื่อให้ศิลปิน​<br />

ในภูเก็ตได้มีโอกาสสื่อสารและต่อยอด​<br />

เรื่องราวต่างๆ ผ่านงานศิลปะที่จัดแสดง​<br />

ในแกลเลอรี​<br />

แนวทางในการออกแบบของ Eco Architect​<br />

สถาปนิกเน้นความเหมาะสมกับบริบทพื้นที่<br />

และบริบททางสังคม โดยพยายามเก็บสิ่งที่<br />

ดีไว้ และเน้นให้มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากขึ้น​<br />

โดยใช้ “สี” ในการ “สื่อสาร” และ “ผูกเชื่อม​<br />

เรื่องราว” สื่อความหมายพื้นที ่ต่างๆ ในร้าน<br />

เช่น พื้นที่ร้านกาแฟเลือกใช้สีขาว ครีม<br />

นํ้ำตาลอ่อน ต่อเนื ่องกับแกลเลอรี ชั้นบน<br />

โซนร้านขายของที่ระลึกสําหรับผู้หญิงใช้<br />

สีชมพู โซนร้านอาหารด้านหลังใช้สีเขียว-เทา<br />

แบบป่าฝนเขตร้อน เฉดสีหลักในแต่ละ​<br />

โซนนี้ยังไปปรากฏในโลโก้ ของร้านที่อยู่ด้าน​<br />

หน้าอาคาร ที่สื่อสารผ่านการตีความการแทน​<br />

ค่าแสงเงาของธรรมชาติแบบนามธรรมของ<br />

activity in this lively old town, the area is<br />

mainly used for a coffee shop, a restaurant,<br />

a souvenir shop for women, and an art<br />

gallery. The focus is on being environmentally<br />

friendly and supporting the<br />

businesses. Examples of this include<br />

a coffee shop that uses glass cups and<br />

paper straws and a souvenir shop that<br />

sells handmade products using locally<br />

sourced materials. The town is also a<br />

space for artists in Phuket to communicate<br />

and promote their stories through art<br />

exhibitions in the gallery.<br />

In the design, the architects focus on<br />

the relationship between two contexts—<br />

the building and the community. They<br />

try to keep all the valuable elements<br />

while making the project more appealing<br />

by using color to communicate and<br />

connect the artists’ stories to different<br />

areas by using white, cream, and light<br />

brown for the coffee shop connecting<br />

to the upstairs gallery, using pink for<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 84 85<br />

Refocus Heritage


่<br />

สวนในคอร์ตกลางบ้าน (ฉิมแจ้)​<br />

เป็นพื้นที่โล่งเปลี่ยนผ่าน<br />

ระหว่างร้านกาแฟ และร้าน<br />

ขายของฝากของที่ระลึก<br />

สําหรับผู้หญิง<br />

The garden in the inner<br />

court (Chim Jae) is an<br />

open-space transitioning<br />

from the coffee shop to<br />

the souvenir shop for<br />

women<br />

พื้นที่ส่วนต่างๆ ในร้าน เมื่อรวมกับเรื่องราว​<br />

ของตึกและการใช้สีในการสื่อสาร จึงได้ข้อ<br />

สรุปในการตั้งชื่อร้านว่า Sri the Shophouse<br />

นอกจากเรื่องสีซึ ่งถูกใช้เป็นตัวนําเรื่อง​<br />

ผู้ออกแบบยังใช้ “แสง” ธรรมชาติช่วยสร้าง<br />

เรื่องราวและส่งเสริมบรรยากาศได้อย่าง​<br />

น่าสนใจ สังเกตได้จากพื้นที่แต่ละส่วน​<br />

ที่มีทั้งการแบ่ง และการเชื่อมพื้นที่ใช้งาน​<br />

ส่วนต่างๆ สร้างประสบการณ์ค่อยๆ เปลี่ยน​<br />

(blend) เฉดสี และเชื่อมโยงพื้นที่ส่วนต่างๆ​<br />

กับท้องฟ้า ผ่านคอร์ตที่เปิดโล่งให้แสง​<br />

ได้วาดเงาบนพื้นผิวต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา<br />

ได้อย่างแนบเนียน และใช้รายละเอียดใน<br />

การออกแบบที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรม<br />

ในบริบทพื้นที่เกาะเขตร้อนภาคใต้ เช่น<br />

การใช้การระบายอากาศแบบ stack<br />

ventilation และการใช้ cross ventilation<br />

เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่บางส่วนได้​<br />

โดยไม่ต้องใช้ระบบปรับอากาศ ​<br />

คอร์ตกลางบ้าน หรือ “ฉิมแจ้” ซึ่งเป็นพื้นที่​<br />

ทางเดิน-ทางเชื่อม-ทางผ่าน ระหว่างพื้นที<br />

ส่วนต่างๆ ถูกขบคิดและออกแบบอย่าง<br />

ละเอียดหลายมิติ ทั้งเรื่องการใช้ประโยชน์<br />

พื้นที่ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ที ่ว่าง​<br />

ของอาคาร การระบายอากาศ การใช้แสง<br />

ธรรมชาติ และการสื่อความหมาย โดยคอร์ต​<br />

ด้านหน้าที่เชื่อมระหว่างร้านกาแฟและ​<br />

ร้านขายของที่ระลึก ซึ่งมีบ่อนํ้ำเดิมที่ยังใช้<br />

ประโยชน์ในโครงการ ถูกออกแบบเป็นสวนหิน​<br />

แบบกึ่งแห้งสะอาดตาเข้ากับสีขาว ครีม<br />

ชมพู ในขณะที่คอร์ตกลางถัดจากร้านขาย<br />

ของที่ระลึกออกแบบเป็นสวนประดับแบบ<br />

ป่าฝนเขตร้อนเพื่อสร้างความต่อเนื่องกับ<br />

พื้นที่สีเทาของร้านอาหารด้านหลัง คอร์ต<br />

ทั้งสองนี้จะมีทางเดินด้านบนที่เชื่อมโยง<br />

พื้นที่ช่วยกันแดดกันฝนส่วนหนึ่ง และมีพื้นที่​<br />

ด้านข้างเปิดโล่งอีกส่วนหนึ่ง ทําให้มีแสงแดด​<br />

ธรรมชาติส่องลงมาสร้างแสงเงาบนพื้นและ<br />

ผนังในเวลาต่างๆ อย่างน่าสนใจ ส่วนด้าน<br />

the souvenir shop for women, and using<br />

green-gray in the restaurant zone in the<br />

back to resemble a tropical rainforest.<br />

The color schemes in each zone also<br />

appear on the logos of the shops in front<br />

of the building, connecting the building<br />

to the community. Once this connection<br />

was formed, the shop was eventually<br />

named ‘Sri the Shophouse.’<br />

Apart from using colors as the main leads,<br />

the designer also uses natural light to<br />

build the story and create an interesting<br />

atmosphere. This can be seen from<br />

the division and connection of usable<br />

spaces by gently building experiences<br />

through color blending and by connecting<br />

different areas with the sky through the<br />

open court to subtly let light cast shadows<br />

onto different surfaces at different times.<br />

The design details also fit the climate of<br />

a tropical island in the southern region<br />

of Thailand. For example, stack ventilation<br />

and cross ventilation limit the need for<br />

air conditioning.<br />

The middle court or “Chim Jae” is a space<br />

for walking and connecting between<br />

different areas. It has been carefully<br />

designed according to function, space<br />

planning, ventilation, natural light, and<br />

communication. The front court connects<br />

the coffee shop and the souvenir shop<br />

where the original pond is still used as<br />

a clean, semi-dry stone garden that<br />

harmonizes with the white, cream, and<br />

pink colors. The middle court next to<br />

the souvenir shop (and inspired by the<br />

tropical rainforest) links the area to the<br />

gray restaurant zone in the back. Both<br />

courts have walkways that join shaded<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 86 87<br />

Refocus Heritage


Sri the Shophouse เป็นอีกตัวอย่างของการเปิดพื ้นที่ว่างด้วยการเติมสีสันอย่าง<br />

เรียบง่ายให้กับเมืองภูเก็ต บนพื ้นฐานความสนใจด้านมรดกทางวัฒนธรรม เรื ่องราว<br />

ของเมือง สถาปัตยกรรม สีสัน และผู ้คน เป็นอีกพื ้นที่ที่ได้ทำหน้าที่จุดประกายความคิด<br />

ในการสร้างพื ้นที่ร่วมสมัยให้เมืองและผู ้คนได้ร่วมเติมแต่งสีสัน สร้างเรื ่องราวใหม่ๆ ใน<br />

บริบทที่รุ่มรวยด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ เป็นอีกสีที่เติมแต้ม<br />

ให้ซอยเล็กๆ มีชีวิตชีวา ชาวบ้านมีรายได้มากขึ ้น เพิ่มมูลค่าในพื ้นที่ ผ่านการมองเห็น<br />

มรดกทางวัฒนธรรมที่มีด้วยความเข้าใจ<br />

หลังของอาคารสร้างพื้นที่นั่งกินอาหารใน<br />

สวนเชื ่อมโยงพื้นที ่นั่งกินอาหารชั้น 2 ด้วย<br />

บันไดวนอย่างง่าย ลักษณะคล้ายประติมากรรม<br />

การออกแบบตกแต่งภายในพื้นที่ส่วนต่างๆ​<br />

คํานึงถึงความสอดคล้องกับบริบทเมือง​<br />

และสถาปัตยกรรมเก่า มีการปรับลดทอน​<br />

รายละเอียดประตูหน้าต่างจากอาคารเก่า​<br />

ในพื้นที่ให้ดูเรียบง่ายขึ้น ลดองค์ประกอบ<br />

ให้น้อยลงเพื่อส่งเสริมให้ที่ว่างและสวน​<br />

มีความโดดเด่นมากขึ้น ไม่น้อยไปกว่า<br />

สถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายใน ​<br />

เมื่อมองในภาพรวมจึงเห็นความลื่นไหล​<br />

ต่อเนื่องของพื้นที่ทุกส่วนได้อย่างกลมกล่อม​<br />

ลงตัว<br />

Project : Sri the Shophouse<br />

Owner: Byul Kim, Daisuke Natsumi<br />

Location: Tambon Talat Nuea,<br />

Amphoe Mueang, Phuket<br />

Year of Completion: 2019<br />

Area: 300 sq.m.<br />

Architect: Eco Architect Co., Ltd.<br />

Interior: Eco Architect Co., Ltd.<br />

Landscape: Eco Architect Co., Ltd.<br />

Lighting Designer: Eco Architect Co., Ltd.<br />

areas with open areas to the side. This<br />

allows natural light to cast visually<br />

appealing shadow patterns on the floor<br />

and walls at different times. In the back,<br />

there is a dining area in the garden<br />

connected by a simple sculptural spiral<br />

staircase.<br />

The interior design considers the<br />

coherence between the urban context<br />

and the old architecture. The doors<br />

and windows have been simplified to<br />

highlight the garden, so it is not overshadowed<br />

by the architecture and the<br />

interior. The overall picture reflects a<br />

harmonious flow between all areas.<br />

Sri the Shophouse is another example<br />

of open space creation by filling simple<br />

colors into Phuket. It is based on an<br />

interest in cultural heritage, urban stories,<br />

architecture, colors, and people. It is<br />

another area that can spark ideas to<br />

create community space for the city<br />

and for people to add colors and create<br />

new stories in a casual context in the<br />

midst of cultural diversity. It is another<br />

color that brings life to this tiny alley<br />

and generates more income for the<br />

local people. It adds value to the area<br />

through an appreciation of cultural<br />

heritage filled with understanding.<br />

โซนร้านอาหารด้านหลัง<br />

(Restaurant) ใช้สีเขียว-เทา<br />

แบบป่าฝนเขตร้อน<br />

The restaurant zone in the<br />

back uses a green-gray<br />

color like the tropical<br />

rainforest<br />

แกลเลอรีแสดงงาน<br />

ศิลปะ-ภาพถ่าย เน้นสีสัน<br />

เรียบง่าย เสริมด้วยแสง<br />

ธรรมชาติ และแสงไฟ<br />

The gallery displays art<br />

works and photographs<br />

utilizing plain color with<br />

implemented natural and<br />

artificial lights<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 88 89<br />

Refocus Heritage


REVIEW<br />

Reno Hotel<br />

Text: พีรณัฐ อุไรรัตน / Peeranat Urairat<br />

Translation: ชนนิกานต์ โชติรัตนกุล / Chonnikarn Chotirattanakul<br />

Photo: นันทิยา บุษบงค์ / Nantiya Busabong


เมื่อกล่าวถึงคําว่า “ก่อนและหลัง” โดยทั่วไปเราจะมองถึง​<br />

การเปลี่ยนแปลงและผลลัพธ์ในปัจจุบันของสิ่งที่เราสังเกต​<br />

เป็นหลัก อาจจะเป็นการเปรียบเทียบหรือเป็นการสร้าง<br />

กระบวนการเรียนรู้ในทางใดทางหนึ่งเป็นต้น หากเรามอง​<br />

ไปรอบๆ ตัว เราจะมองเห็นตึกรามบ้านช่องอาคารที่รายล้อม​<br />

หรืออาจจะรับรู้ในขณะระหว่างการเดินทาง เราจะเห็น<br />

การเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายภาพและวิถีชีวิตที่เคลื่อนที่​<br />

ไปตามเงื่อนไขที่สําคัญมากที่สุดคือ “เวลา” ในขอบเขต<br />

ของงานสถาปัตยกรรม เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเงื่อนไข<br />

หลักทางเวลาเปลี่ยน สิ่งที่ตามมาคือ ความต้องการใน<br />

การใช้พื้นที่ย่อมเปลี่ยนไป ท่าทาง อาการ หรือบุคลิกภาพ​<br />

ของอาคารที่ต้องเปลี่ยนไปตามเหตุผลของสมัยนิยม หรือ​<br />

การสร้างการรับรู้ที่แตกต่างออกไป หรือการตอบสนอง<br />

ต่อปัจจัยทางการตลาดที่เปลี่ยนไป เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็น<br />

เพียงงานเก็บสี งานเก็บรายละเอียด หรือการต่อเติมพื้นที่<br />

และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบางส่วน ไม่ว่าจะเรียกว่า<br />

touch up หรือ renovation สิ่งที่สําคัญเป็นอย่างมาก<br />

คือ การทําความเข้าใจที่มาที่ไป และเห็นคุณค่าของคําว่า<br />

“ก่อน หลัง และระหว่างนั้น” อย่างเป็นลําดับขั้นตอน<br />

Reno Hotel ตั้งอยู่ในซอยเกษมสันต์ 1 ใจกลางเมือง​<br />

บนถนนพระราม 1 ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ​<br />

อยู่ในย่านที่เป็นศูนย์รวมกลุ่มวัยรุ่นนักศึกษา คนทํางาน​<br />

รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในอดีตโรงแรมแห่งนี้<br />

รองรับการพักผ่อน การสังสรรค์ การร้องเพลง และการ<br />

จัดกิจกรรมสําราญใจในกลุ่มมิตรรักเสียงเพลง โดยเฉพาะ​<br />

กลุ่มเพื่อนใกล้วัยเกษียณ โดยในช่วงยุค 1960s โรงแรม<br />

ถูกใช้รองรับแขกชาวต่างชาติจํานวนมาก Reno Hotel<br />

ในปัจจุบันได้รับการออกแบบปรับปรุงโดย PHTAA living ​<br />

design โดยก่อนที่โรงแรมแห่งนี้จะถูกปรับปรุงและสร้าง<br />

เสร็จ ผู้ออกแบบได้นําวัสดุบางส่วนที่จะนํามาใช้เป็น façade​<br />

ของอาคารในอนาคต มาเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ<br />

ชั่วคราวในงาน Bangkok Design Week 2019 ซึ่งจัดขึ้น​<br />

เพื่อตีความและพัฒนาแนวความคิดเรื่อง upcycling​<br />

ซึ่งเป็นการมองเห็นวัสดุชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของอาคารเดิม ​<br />

(ในที่นี้คือ บล็อกช่องลม) โดยทางผู้ออกแบบได้ custom​<br />

made ขึ้นมา เพื่อสร้างความน่าจดจํา​จากกระบวนการ<br />

ในการแกะรอยของเก่าสู่รูปแบบใหม่อย่างละเมียดละไม​<br />

เป็นการนําสัดส่วนของ element เก่าที่เกิดขึ้นมาทํางาน<br />

ร่วมกับเส้นสายแบบใหม่<br />

When the idea of “Before and After” is discussed,<br />

we often focus on the end result of the transformation.<br />

Architecture is something we see transforming<br />

all the time. As time changes, people’s needs and<br />

tastes shift. What we need from a space or building<br />

also shifts. Physical appearance, function, and<br />

utilization of a building are direct results of the<br />

passage of time. Architecture also responds to<br />

the trends, perceptions, or demands of markets.<br />

Whether it is a “spruce up” or an all-out “renovation,”<br />

it is important to understand the origin of the<br />

architecture and pay attention to every step of<br />

the way from ‘before’ to ‘after.’<br />

Situated just off Rama I Road, the Reno Hotel has<br />

been a resident of Soi Kasemsan 1 for many decades.<br />

Close to the National Stadium BTS Station, the<br />

neighborhood is a hub for young people, office<br />

workers, and tourists. In the past, the hotel was<br />

a destination for old-school music lovers who<br />

came here to socialize and sing with like-minded<br />

people. In the 1960s, the Reno Hotel also welcomed<br />

many foreigners visiting Bangkok. PHTAA Living<br />

Design is the architecture and interiors firm tasked<br />

with the hotel’s renovation. They were inspired by<br />

the hotel’s original ventilation blocks, which were<br />

popular during the 1960s when the hotel was built.<br />

For the hotel’s façade, the firm paid homage to the<br />

original blocks with their own unique interpretation,<br />

giving them iconic new shapes.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 92 93<br />

Refocus Heritage


เมื่อกล่าวถึงงาน installation ซึ่งจัดขึ้นภายในพื้นที่จอดรถ​<br />

ในส่วนที่ไม่ได้ถูกใช้งานของโรงแรมที่ถูกรื้อถอนแล้ว​<br />

ทางผู้ออกแบบได้จัด installation นี้ค้างไว้ครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็น​<br />

การจัดแสดงใน 3 วันแรก และต่อมาใน 4 วันที่เหลือ<br />

ทางผู้ออกแบบได้เชิญมัณฑนากร และศิลปินหลากหลาย​<br />

แขนงแนวทาง มาทําการแต่งแต้ม เติมต่อจากที่ผู้ออกแบบ​<br />

วางไว้ในเวลา 1 วัน จากการเต็มส่วนที่เหลือไว้ ทําให้เกิด​<br />

ผลลัพธ์ที่เข้มข้นและหลากหลายจากการตีความถึงประเด็น​<br />

“Modern Love” ซึ่งได้ถูกจัดแสดงต่ออีก 3 วัน<br />

หากเราสังเกตพื้นที่ common area และบริเวณพื้นที่<br />

ต้อนรับ จะพบกับเสากลมเพียงต้นเดียวที่ถูกเลือก และ<br />

อนุญาตให้เปิดเผยตัวอย่างสง่า โดยคงไว้ซึ่งเรื่องราวและ<br />

ร่องรอยของอดีต ก่อนหน้านี้เสาต้นนี้ในอดีตได้ถูกพอก<br />

ปกปิดไว้ นอกจากนี้ทางผู้ออกแบบได้สังเกตเห็นแนวทาง<br />

การออกแบบโดยการนําแสงธรรมชาติเข้ามาแก้ปัญหา<br />

ความทึบตันบริเวณพื้นที่โถงชานพักบันได ส่วนพื้นที่​<br />

เก็บของเดิมได้ปรับเปลี่ยนบางส่วนเป็นพื้นที่อ่านหนังสือ<br />

ขนาดย่อมที่มีชีวิตชีวาอย่างน่าสนใจ ทั้งยังมีการมองถึง<br />

ผนังที่มีการแบ่งกั้นระบบของพื้นที่ใช้งานแต่ละส่วน<br />

ในอดีตและแนวทางในปัจจุบัน เช่น ลดพื้นที่ระเบียง<br />

ภายนอก เพิ่มพื้นที ่ภายในห้องแต่ละยูนิต โดยใช้​<br />

แนวประตูกระจกเส้นเฉียงในมิติของผังพื้นเป็นตัวสร้าง<br />

การรับรู้ในการแบ่งกั้นภายนอก-ภายใน เป็นการลด​<br />

ความร้อนอีกทั้งยังช่วยลดทอนมุมมองภายนอกที่มอง<br />

เข้ามาในห้องพัก และเป็นการเพิ่มมูลค่าและคุณค่า​<br />

ให้กับพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานอีกด้วย<br />

The up-cycled material was displayed in an<br />

exhibition at Bangkok Design Week 2019, which<br />

took place in the parking lot of the original Reno<br />

Hotel. The first three days was a solo exhibition by<br />

PHTAA where they displayed an installation made<br />

from the up-cycled ventilation blocks. For the rest<br />

of the exhibition, PHTAA invited interior designers<br />

and artists to take over the space and communicate<br />

their vision of ‘Modern Love’ in the form of an art<br />

installation.<br />

One column in the hotel’s lobby and common area<br />

was left bare as a testament to the layers of history<br />

in the building. The designer also made use of<br />

natural light to freshen up the lobby and staircase,<br />

while an old storage room was turned into a cozy<br />

reading area. PHTAA re-examined the needs of<br />

modern-day travelers and redesigned the space<br />

in the Reno Hotel accordingly. Balcony sizes were<br />

reduced, making the guest rooms bigger than the<br />

original rooms from the 1960s. The sliding door<br />

opening onto the balcony was placed diagonal to<br />

the original door frame. This helps with ventilation<br />

and creates more privacy for the guests while<br />

providing extra space in the room.<br />

STANDARD GUESTROOM FAMILY EXTRA<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 94 95<br />

Refocus Heritage


ผู้ออกแบบตั้งใจสร้างความเข้มข้นของประสบการณ์ใน<br />

การใช้งานแต่ละพื้นที่ไม่ใช่แค่ภายในห้องพัก หากแต่ใน<br />

รายละเอียดของทางเดินภายในแต่ละชั้น มีการสร้างการ<br />

รับรู้ที่ว่างที่แฝงความหมาย คือ เก่า-ใหม่ ผ่านสีขาว-สีดํา​<br />

ผ่านความมืด-ความสว่าง และความเรียบง่ายอย่างมีมิติ<br />

โดยในส่วนพื้นที่สีขาวที่ซึ่งบรรจุบรรยากาศความทรงจํา<br />

ในอดีตยังคงแสดงออกผ่านวัสดุและอุปกรณ์เดิมอย่าง<br />

ครบถ้วน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ที่ถูกออกแบบสร้างสรรค์<br />

ได้ถูกค้นพบ โดยกระบวนการสํารวจของผู้ออกแบบ​<br />

ในระหว่างการเข้าไปในพื้นที่โรงแรม ว่าองค์ประกอบใด<br />

สามารถเป็นอะไร อย่างไรได้บ้าง ซึ่งทางผู้ออกแบบมองว่า​<br />

เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งในการทํางานปรับปรุงอาคาร และ​<br />

การที่ผู้ออกแบบได้มองถึงการใช้พื้นที่เดิมที่มีอยู่ให้มี<br />

คุณภาพมากขึ้น นอกเหนือจากมุมมองในการแก้ปัญหา<br />

แล้ว ทางผู้ออกแบบยังมองถึงการตอบสนองประสบการณ์​<br />

ความเป็นอยู่ การใช้สอยพื้นที่ ทําให้เกิดแนวทางในการ<br />

เกลี่ยและไล่เลียงความแตกต่างของภาพเก่ากับภาพใหม่<br />

ได้อย่างละเอียดและประนีประนอม<br />

น่าคิดกันต่อไปว่าหากจุดเริ่มต้นของการทํางานออกแบบ<br />

ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบภายใน หรือสถาปัตยกรรม​<br />

จะเกิดการตั้งคําถามและการหาคําตอบอย่างเรียบง่าย<br />

และเหมาะสมต่อสิ่งที่ปรากฏต่อหน้าและข้างหลัง ทั้งสิ่งที่​<br />

มองเห็นและมองไม่เห็น สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน<br />

ยิ่งเราย่อและขยาย หรือปรับโฟกัสไปมาให้ละเอียด<br />

ชัดเจนขึ้น หรือเบลอๆ ไปบ้างอย่างยืดหยุ่นและตอบสนอง​<br />

กับคุณค่าที่ยังคงอยู่ เราอาจจะนึกถึงบทสนทนาระหว่าง<br />

ผู้ออกแบบกับวัสดุสักชิ้นหนึ่งถึงหน้าที่ในอดีตที่ผ่านมา<br />

กับความน่าจะเป็นในปัจจุบันที่เป็นอยู่และจะส่งคุณค่า<br />

เหล่านี้ในมุมมองที่แตกต่างไปยังอนาคตวันข้างหน้า<br />

PHTAA paid just as much attention to the common<br />

areas. The ‘new’ and the ‘old’ were depicted through<br />

the use of contrasting colors-black and white-and<br />

the creation of light and dark spaces. Simple but<br />

deep, the bright white space is filled with memories<br />

from an earlier time such as old fittings and furniture<br />

salvaged by the designer before demolition. The<br />

firm explored the old hotel thoroughly and saved<br />

some original items to carry the past into the future.<br />

This is part of the appeal of renovation projects.<br />

While solving problems experienced in the old<br />

building, PHTAA also made careful compromises<br />

for both the past and the future to exist harmoniously.<br />

Something to consider about design, whether it’s<br />

interior design or architecture, is the question of<br />

simplicity. The task here was to apply this idea in<br />

relation to what is on the inside and the outside,<br />

to the visible and the invisible, and to the past and<br />

the present. Whatever is reduced or amplified,<br />

placed in or out of focus, should be adaptable and<br />

in accordance with its original value. One might<br />

think of a conversation between the designer and<br />

the object of his/her work, the possibility of the<br />

present, and its transcendence into the future.<br />

97<br />

Refocus Heritage


Project Name: Reno hotel<br />

Owner: Soravid Leenutaphong<br />

Location: Kasemsan 1, Bangkok<br />

Year of Completion: 2020<br />

Area: 2,500 sq.m.<br />

Architect: PHTAA living design<br />

Interior: PHTAA living design<br />

Landscape: M A G L A Landscape/ Architecture & Interior Design<br />

Lighting Designer: PHTAA living design<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 98 99<br />

Refocus Heritage


ROUNDTABLE TALK<br />

Between Preservation<br />

and Digitalization<br />

Text: <strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> Team<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

ซ้าย ผศ. ดร.ชาวี บุษยรัตน์<br />

ขวา มติ เสมา<br />

จากกระแสการรีโนเวตอาคารเก่าสู่พื้นที่การใช้งานแบบใหม่ ​<br />

อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สู่การตั้งคําถามว่า<br />

อะไรควรเก็บรักษาไว้ให้เป็นความจริงแท้ดั้งเดิม อะไรควร<br />

ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป <strong>ASA</strong><br />

<strong>CREW</strong> จึงชวน คุณมติ เสมา Manager & Senior Architect​<br />

ตัวแทนจากบานาน่า สตูดิโอ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านงานออกแบบ​<br />

ทางสถาปัตยกรรม การอนุรักษ์ และการจัดทําแหล่งความรู้​<br />

ผ่านทางหนังสือ และงานค้นคว้าเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม​<br />

และ ผศ. ดร.ชาวี บุษยรัตน์ อาจารย์ประจําคณะสถาปัตย-​<br />

กรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​<br />

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลโบราณสถาน<br />

แบบดิจิทัล (digital preservation) เกี่ยวกับมุมมองการ<br />

อนุรักษ์ในโลกสมัยใหม่ที่ต้องแข่งกับเวลาที่กําลังหมุนไป<br />

ทุกวินาที​<br />

_สถานการณ์การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

ในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง<br />

มติ: มรดกทางสถาปัตยกรรทั้งหลายในบ้านเรา แบ่งได้<br />

2 ประเภทใหญ่ๆ คือแบบที่ใช้งานอยู่ กับแบบที่ไม่ได้ใช้งาน​<br />

แล้ว แบบที่ใช้งานอยู่จะมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนา​<br />

มากขึ้น โดยถ้าอาคารเก่านั้นเป็นของเอกชน คนทั่วไป มักจะ​<br />

มีความทรุดโทรม เพราะไม่มีข้อมูลที่จะใช้การอนุรักษ์​<br />

ชาวี: ผมจบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มา ไม่ได้ทํางานอนุรักษ์<br />

โดยตรง แต่มีหน้าที่treat ข้อมูลจากคนที่ศึกษาโบราณสถาน​<br />

อาคารอนุรักษ์เหล่านี้ไว้ หลักๆ จัดการข้อมูลโบราณสถาน​<br />

ด้วยคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เทคโนโลยี<br />

3D Scanner ภาพถ่ายจากโดรน ทําให้ภาพถ่าย 2 มิติ<br />

กลายเป็น ภาพถ่าย 3 มิติ เชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลอื่นๆ ที่<br />

เป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเขียน ภาพวาดเก่าด้วย เป้าหมาย<br />

ในการทํางานของผมมี 2 อย่าง อย่างแรกคือการเก็บเป็น<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 100 101<br />

Refocus Heritage


ไฟล์ดิจิทัล (digitization) อย่างที่ 2 คือนําการมาเผยแพร่​<br />

ให้ผู ้ที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในรูปแบบที่เขานําไปใช้ต่อได้<br />

ซึ่งสิ่งที่ผมทํา​ยังเป็นแนวทางที่ค่อนข้างใหม่ คนที่ทําอยู่​<br />

ก็มีน้อยมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ในต่างประเทศมีรออยู่แล้ว<br />

แต่การที่จะนําเข้ามาคนยังไม่รู้จักว่าเกิดประโยชน์ยังไง<br />

คนมีเงินพร้อมจะซื้อ แต่ยังไม่มีความรู้ ส่วนคนที่มีความรู้<br />

ยังไม่มีเงิน (หัวเราะ) คงต้องรอเวลาที่เหมาะสมต่อไปอีก<br />

สักพัก แต่ถ้าถามว่าสถานการณ์ของโบราณสถานในบ้าน<br />

เรามันเลวร้ายมากไหม ก็ไม่ได้แย่มากครับ กรมศิลปากร​<br />

มีระบบการดูแลจัดการอยู่<br />

_เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้างในการอนุรักษ์<br />

มรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

มติ: ที่สําคัญมากๆ คือเทคโนโลยีพวกนี้ช่วยย่นระยะเวลา<br />

ในการเก็บข้อมูลได้มากเลย จากที่ต้องพานักเรียนไป​<br />

วัดพื้นที่ เก็บข้อมูล 2 สัปดาห์ เขียนแบบอีก 1 เดือน​<br />

แต่ปัจจุบันเอา 3D Scanner ไปสแกนตัวอาคาร ได้​<br />

Point Cloud มา อัปโหลดเข้าโปรแกรมเขียนแบบต่อใน​<br />

AutoCAD ได้เลย​<br />

ชาวี: หรือเป็นหลักวันก็สแกนเสร็จแล้วนะครับ ทํา​Post-​<br />

Production อีกสัปดาห์หนึ่ง แล้วมันยิ่งเร็วขึ้น พัฒนาขึ้น<br />

ตลอดด้วย แต่ก่อนผมต้องนําแต่ละรูปมาวางแล้วจิ้มว่า​<br />

รูปแรกจุดนี้ รูปที่ 2 จุดนี้ คือจุดเดียวกัน นั่งทําทีละรูป​<br />

แต่ตอนนี้มี Photogrammetry เราโยนภาพเข้าไป โปรแกรม​<br />

ก็จัดการให้หมดเลย ผมขอยกตัวอย่าง “บ้านห้าง ร.5”​<br />

ที่จังหวัดกําแพงเพชร เป็นเรือนไม้ทั้งหลัง ซึ่งรัชกาลที่ 5​<br />

เคยเสด็จมาที่นี่ เจ้าของเป็นคุณป้าคนหนึ่งที่ได้รับมรดก<br />

ตกทอดมา แต่เขาไม่ได้อยากเก็บบ้านเอาไว้ ยกให้กรม<br />

ศิลปากรก็ไม่ได้ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีนโยบาย จะซ่อมเอง​<br />

ก็ไม่มีเงิน ไม่รู้จะเอาไปทําอะไรต่อ ก็เลยต้องปล่อยให้​<br />

ทรุดโทรมไปเรื่อยๆ เราเห็นว่าถ้าหากบ้านที่โย้เอียงขนาดนี้​<br />

แล้วไปนั่งวัดกัน ก็ไม่รู้เมื่อไหร่จะเสร็จ แต่พอเราเอา 3D​<br />

Scanner ไปสแกนก็จบได้ในวันเดียว<br />

มติ: นอกจากนี้ยังช่วยสันนิษฐานโบราณสถานเก่าแก่​<br />

ที่เหลือเพียงแค่ฐานได้ สแกนขนาด ใส่ข้อมูลเข้าไป ขึ้นเป็น​<br />

3 มิติ แล้วให้นักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์มาต่อยอด​<br />

ได้อย่างรวดเร็ว<br />

ชาวี: นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจสอบการพังทลายได้ด้วย​<br />

ปีนี้สแกนครั้งหนึ่ง ปีหน้าสแกนซํ้ำ เพื่อตรวจสอบว่ามีการ<br />

พังทลายไปมากแค่ไหน วิกฤตแล้วหรือยัง ต้องเสริมความ<br />

แข็งแรงไหม หรือเมื่อมีการค้นพบโบราณสถานแห่งใหม่​<br />

แต่ยังไม่มีงบประมาณมาจัดการ ก็เปิดหน้าดินขึ้นมา สแกน​<br />

ข้อมูลเก็บไว้ แล้วกลบกลับไปเหมือนเดิม เพื่อป้องกันความ​<br />

เสียหายระหว่างรอเวลาปรับปรุง<br />

_เทรนด์เกี่ยวกับการรีโนเวตอาคารเก่ากลับมาใช้ใหม่<br />

หรือกระแสความนิยมของเก่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา<br />

จะส่งผลต่อการอนุรักษ์ไหม<br />

มติ: วิธีการแบบ Adaptive Reuse ใช้กันในต่างประเทศ<br />

มานาน 20-30 ปีแล้ว ตึกในยุโรปที่มีมาเป็นร้อยปี ก็นํามา​<br />

ปรับใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยวสมัยใหม่ที่เป็นไปในแนว​<br />

การถ่ายรูป เช็กอินผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น ก็ยิ่งทําให้คน​<br />

หันกลับมามองว่าเราจะทําอะไรกับสิ่งที่มีอยู่ได้บ้าง แต่<br />

องค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ก็ยังมีอยู่น้อยมาก ช่างฝีมือ<br />

ก็ต้องชํานาญกว่าปกติ ปูนก็มีไม่กี่แบบ ไม่กี่สี การจัดการ<br />

ความชื้น การผุกร่อน ความรู้เรื่องงานไม้ในบ้านเราน้อย<br />

ลงไปเรื่อยๆ เพราะเราใช้ไม้น้อยลงมาก ช่างฟันช่อฟ้า​<br />

ที่ทําจากไม้ ทั้งประเทศน่าจะมีอยู่ไม่ถึง 5 คน จะซ่อมวัด<br />

ทีต้องรอหลายปี เจ้าอาวาสไม่อยากรอแล้ว เปลี่ยนใหม่<br />

หมดเลยดีกว่า อะไรที่เขาซ่อมไม่ไหวก็จะหายไป เป็นอีก​<br />

ข้อจํากัดที่ต้องปล่อยให้มันพังไป<br />

_เราสามารถพูดได้เต็มปากเลยไหมว่าความท้าทาย<br />

ในการฟื้นฟูมรดกทางสถาปัตยกรรมคือ “เวลา”<br />

ชาวี: มันไม่ทันจริงๆ นะครับ เทคโนโลยีเข้ามาช่วยย่น<br />

ระยะเวลาการเก็บข้อมูลก็จริง แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องลงมือ<br />

ทําเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย<br />

มติ: ผู้รับเหมาทั้งประเทศไทย มีไม่เกิน 10 เจ้าที่ทํางาน<br />

บูรณะได้ เพราะมันเป็นงานละเอียด ใช้เวลามาก ที่ทราบ<br />

มาผู้รับเหมาเหล่านี้เขาโตมาจากการเป็นช่าง เรียนรู้จาก<br />

กรมศิลปากรนั่นแหละ เติบโตขึ้นก็ออกมาตั้งบริษัทเอง<br />

เท่าที่ผมเข้าใจงานที่เป็นงานปูนเรียนรู้กันมาจากช่างจีนที่<br />

พัฒนาความรู้ด้านการก่อสร้างมาก่อนเรา ช่างปูนจากปีนัง<br />

และภูเก็ต พัฒนาความรู้ ปรับวัสดุมาเรื่อยๆ สืบต่อกันมา<br />

เป็นทอดๆ ว่าปูนหมัก ปูนตําต้องใช้เวลากี่วัน แต่ไม่มี​<br />

การเรียนการสอนจริงจัง<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 102


_ความท้าทายด้านอื่นๆ ในการฟื้นฟูมรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

มีอะไรอีกบ้าง<br />

ชาวี: เรื่องภัยธรรมชาติเป็นประเด็นหลักเลย ไฟไหม้​<br />

แผ่นดินไหว นอกเหนือจากพวกนี้ก็มีกรณีอื่นๆอย่างสงคราม​<br />

ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ ความคะนองของคน​<br />

เราอาจจะคิดว่าเราอยู่ในยุคใหม่ ผู้คนตระหนักถึงคุณค่า<br />

ของสถาปัตยกรรมพวกนี้แล้ว แต่ของพวกนี้มันเกิดขึ้นได้<br />

ตลอดเวลา ทุกวัน<br />

มติ: เรื่องไฟไหม้นี่สําคัญนะ สายไฟในตึกแถวเก่าอันตราย​<br />

มาก ผมมองว่าความเสื่อมของอาคารเกิดขึ้นทุกวัน จากลม​<br />

ฝน ความชื้น สมัยก่อนที่ยังไม่มี 3D Scanner เปิดหน้าดิน<br />

ออกมาแล้วฝนตก อิฐต่างๆ ก็เสื่อมไปอย่างรวดเร็ว ​<br />

ยิ่งบ้านเราอยู่ในเขตร้อนชื้นแป๊บเดียวก็ตะไคร่ขึ้น ในยุโรป<br />

หรือเขตทะเลทรายอยู่ได้เป็น 100 ปี 1,000 ปี<br />

_กระบวนการดูแล การฟื้นฟูมรดกทางสถาปัตยกรรมที่ดี<br />

ต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง<br />

มติ: ข้อมูลที่ถูกต้องสําคัญมาก ข้อมูลที่ชัดเจนจะนําไปสู่<br />

เงื่อนไขต่างๆ ว่าทําอะไรได้แค่ไหน ทําเมื่อไหร่ อย่างไร<br />

แล้วจากนั้นก็ต้องมาประเมินความต้องการในการใช้งาน<br />

กันต่อไป ต้องดูให้รอบด้าน เพื่อวางแผนให้เหมาะสม<br />

กับเงื่อนไขต่างๆ ของอาคาร โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์<br />

เอกชน โรงเรียน แต่ละอย่างต้องการการจัดการต่างกัน<br />

โดยสิ้นเชิง แต่นี่เป็นแค่ยอดของภูเขานํ้ำแข็งนะ หลังจาก<br />

ตัดสินใจว่าจะปรับปรุงอาคารพวกนี้แล้ว ก็จะมีเรื่องอีก<br />

เยอะแยะมากมายตามมาเต็มไปหมด (หัวเราะ)<br />

ชาวี: ข้อมูลสําคัญแน่นอน เมื่อได้ข้อมูลแล้วเราจัดการ<br />

ข้อมูลนั้นยังไง จะ raise awareness ให้คนเห็นคุณค่า​<br />

มันอย่างไร นโยบายรัฐเป็นอย่างไร ภาครัฐเป็นอย่างไร<br />

แล้วต้องดูเรื่องทัศนคติและรสนิยมของคนที่ใช้งานด้วย<br />

ผมมองว่าเด็กรุ่นใหม่ที่พัฒนาอาคารเป็น instagram​<br />

worthy มันก็มีส่วนช่วยมากอยู่นะครับ เดินถ่ายรูป​<br />

ข้างหลังเป็นโบราณสถานสวยๆ มันเป็นเทรนด์ใหม่​<br />

ที่เข้ามาอย่างน้อยดีกว่าไม่ถูกเหลียวแลเลย หรือ​<br />

การได้เห็นว่ามีการต่อยอดเป็นธุรกิจที่หาเงินได้จริงๆ<br />

ก็สร้างแรงบันดาลใจต่อไปเหมือนกัน<br />

_สถาปนิกที่ต้องมาท ำงานเกี่ยวกับมรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

จำเป็นต้องมีทักษะหรือทัศนคติแบบใดเป็นพิเศษหรือไม่<br />

ชาวี: ผมว่าทักษะเรียนรู้กันได้ แต่ทัศนคติสําคัญมาก​<br />

คุณชอบมันไหม อินหรือเปล่า คิดว่ามันมีคุณค่าจริงๆ<br />

หรือเปล่า​<br />

มติ: สถาปนิกจะเป็นตัวกลางที่มองเห็นภาพรวม รู้ว่า​<br />

ควรต้องใช้อะไร ขมวดรวมคนมาช่วยกันได้ อย่างที่อ.ชาวี​<br />

บอกว่าทัศนคติในการมองอาคารเก่า ความเข้าใจของ​<br />

เขาเป็นอย่างไร ต้องมาประสานงานทั้งหมด ถ้าทัศนคติดี​<br />

ก็มีความเป็นไปได้หลายแบบ<br />

_ในต่างประเทศมีกระบวนการดูแลมรดกทางสถาปัตยกรรม<br />

อย่างไรบ้าง<br />

ชาวี: ผมเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส ในแต่ละเมืองจะมีกฎหมาย​<br />

การอนุรักษ์ที่แตกต่างกันไป คุณทําบ้านใหม่หมดเลยก็ได้นะ​<br />

แต่ถ้าทําเหมือนเก่า เจ้าของบ้านหรือกิจการที่เก็บรักษา<br />

มรดกทางวัฒนธรรมเอาไว้จะได้รับการลดหย่อนภาษี<br />

และมีหน่วยงานที่ดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ สิ่งที่แตกต่างจาก<br />

ในประเทศไทยคือเขาเริ่มมีการอนุรักษ์อาคารสมัยใหม่<br />

อาคารยุคโมเดิร์นกันแล้ว<br />

มติ: นโยบายของประเทศทางยุโรปจะมีความชัดเจนใน<br />

เรื่องการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ผู้คนเขาเห็นความ<br />

สําคัญตั้งแต่ผู้กําหนดนโยบายระดับบนสุด ส่งต่อมายัง<br />

องค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีกฎหมายเทศบัญญัติแบบเฉพาะตัว<br />

เพราะแต่ละพื้นที่ให้ความสําคัญแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน​<br />

มีข้อพิจารณาคุณค่าของเขาเอง มีบรรทัดฐานชัดเจนว่าอะไร<br />

มีคุณค่า การวางกรอบปฏิบัติของบ้านเราอาจจะเบลอๆ​<br />

หน่อย พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ​<br />

ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติก็ยังไม่ชัด ขึ้นอยู่กับ<br />

การพิจารณาของเจ้าหน้าที่<br />

_มรดกทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับการดูแลอย่างดี<br />

ในประเทศไทย มีคุณสมบัติอย่างไร<br />

มติ: งานที่ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ส่วน<br />

ใหญ่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า มีขั้นตอนการอนุรักษ์อย่าง<br />

มีองค์ความรู้ ผมเองอยากให้คนทั่วไปได้เห็นการอนุรักษ์<br />

อย่างถูกวิธี แม้วัสดุต่างๆ ที่ซ่อมแซมจะเปลี่ยนไปแล้ว​<br />

แต่เรื่องราวที่รายล้อมสถานที่เหล่านั้นไว้ทําให้มีเสน่ห์​<br />

มีชีวิตชีวา สื่อความหมายให้คนรุ่นต่อไปมาใช้งานได้ต่อไป<br />

ชาวี: ผมเห็นด้วยว่าเรื่องเล่าเป็น intangible heritage<br />

อย่างหนึ่งที่มาพร้อมกับอาคาร ไม่อยากให้แค่เก็บไว้ในเล่ม<br />

วิจัย รู้กันอยู่แค่ไม่กี่คน ถ้าเราหยิบมันมาใช้ก็อาจจะเป็น<br />

จุดดึงดูดให้เห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมเหล่านี้ได้มากขึ้น<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 104 105<br />

Refocus Heritage


<strong>ASA</strong> REGIONAL: ESAN<br />

dotLIMITED<br />

Text: รศ. ดร.นพดล ตั้งสกุล / Assoc. Prof.Nopadon Thungsakul, Ph.D.<br />

Translation: สิรยา ชุมนุมพร / Siraya Chumnumporn<br />

Photo: เฉลิมวัฒน์ วงษ์ชมภู / Sofography by Chalermwat Wongchompoo


สูงสุด สินค้าอุปโภคและบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจําวัน<br />

ภายในร้านต้องตอบโจทย์ทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ​<br />

กับการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จึงไม่น่าแปลกใจ ที่จุดเริ่มต้น<br />

ในการสร้างงานสถาปัตยกรรมสําหรับ dotLIMITED นั้นทาง<br />

ทีมงานจึงได้ให้ความสําคัญกับการปรับเปลี่ยนการใช้งาน<br />

อาคารเก่าตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยมีแนวคิดในการลดการ<br />

ใช้ทรัพยากรเพื่อการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ รวมทั้งเป็น​<br />

การนําอาคารเก่าที่มีจํานวน “จํากัด” แล้วในปัจจุบัน มาใช้​<br />

ประโยชน์เพื่อเป็นการใช้งานอย่างคุ้มค่า และยังตอบสนอง​<br />

ต่อการสร้างความทรงจําและความคุ้นเคยของคนภายในพื้นที่ ​<br />

อาคารตึกไม้หัวมุมถนนหลังนี้ สร้างขึ้นราวปี 2490 และ​<br />

ด้วยทําเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้ทั้งตลาด โรงเรียน สถานีตํารวจ<br />

ย่านตึกแถว และบ้านพักอาศัย ทําให้ตึกไม้ 2 ชั้นหลังนี้<br />

เคยผ่านการใช้งานกิจกรรมการค้าในอดีต อย่างร้านหนังสือ​<br />

ร้านเสื้อผ้าสําหรับเล่นกีฬา รวมถึงร้านเกม คนเมืองขอนแก่น​<br />

มีเรื่องเล่าถึงความทรงจําในอดีตเกี่ยวกับความผูกพันกับ<br />

อาคารหลังนี้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป<br />

of limited resources. Selected lifestyle consumption<br />

products are required to help save the environment<br />

as well as improve health and wellness. It is therefore<br />

not a surprise that dotLIMITED pioneered their<br />

first architectural project by devoting a great<br />

deal of attention to renovating and modifying old<br />

buildings in order to reduce material use from new<br />

building construction. These ideas also revive older<br />

derelict buildings, renew their value, and restore<br />

the nostalgic memories of the local people.<br />

This wooden building on the corner of the street<br />

was built in 1947. Located close to a fresh market,<br />

a school, a police station, a commercial building,<br />

and a residential neighborhood, this two-story<br />

building has hosted a variety of businesses in its<br />

glory days including a bookstore, a sportswear<br />

shop, and a game arcade. It has formed a bond<br />

ไม่มีอะไรที่เล็กเกินไปถ้าเทียบกับความตั้งใจที่ยิ่งใหญ่ใน<br />

การสร้างจิตสํานึกให้กับการดูแลสภาพแวดล้อมที่กําลัง<br />

เผชิญอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการเป็นอยู่ของผู้คนในอนาคต<br />

อันเนื่องจากการมีอยู่อย่างจํากัดของทรัพยากรโลกและ<br />

บางอย่างไม่สามารถผลิตขึ้นมาทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ ใน<br />

ขณะที่ความต้องการของคนยังเพิ่มขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด การ<br />

คิดใหม่ทําใหม่จากจุดเล็กๆ ในชุมชนเพื่อการสร้างจิตสํานึก​<br />

ในการดูแลสิ่งแวดล้อมจึงเริ่มขึ้น dotLIMITED เกิดจาก​<br />

การรวมตัวของกลุ่มคนที่มีแนวคิดในการปลุกจิตสํานึกผ่าน<br />

การบริโภคในชีวิตประจําวันแบบรักษ์โลก เน้นการลดการใช้<br />

(reduce) จัดการกับสิ่งเหลือใช้ทั้งหลายโดยเฉพาะ<br />

บรรจุภัณฑ์ของใช้ในชีวิตประจําวัน ที่กลายเป็นขยะมหาศาล<br />

ที่สร้างภาระให้กับสิ่งแวดล้อมในภาพใหญ่ dotLIMITED<br />

เป็นร้าน zero waste แห่งแรกในภาคอีสาน ที่เป็นทางเลือก​<br />

ในการบริโภคแบบที่ใช้ทรัพยากรที่จํากัดให้เกิดประโยชน์​<br />

Nothing is too small if it comes from a determination<br />

to raise awareness in order to save the environment<br />

which is currently at risk of worsening the welfare<br />

of future generations due to the limits of natural<br />

resources and the inability replace them. As human<br />

demand endlessly increases, innovations from<br />

small communities raise ecological awareness.<br />

dotLIMITED was founded by a group of like-minded<br />

people who want to raise social awareness of<br />

our daily lifestyle of consumption. They focus on<br />

reducing consumption and waste management,<br />

especially packaging, which eventually ends up in<br />

landfills. dotLIMITED has become the first zerowaste<br />

shop in the northeast region of Thailand.<br />

It provides a variety of options to optimize the use<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 108 109<br />

Refocus Heritage


ทีมสถาปนิกได้ออกแบบปรับเปลี่ยนการใช้งานอาคาร<br />

โดยให้ความสําคัญต่อคุณค่าตัวอาคาร ในฐานะที่เป็น<br />

มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นลําดับแรกสุด<br />

โดยจํากัดการเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อการใช้งาน และ<br />

ให้คงสภาพวัสดุดั้งเดิมให้มากที่สุด องค์ประกอบทาง<br />

สถาปัตยกรรมอย่างผนังเบาที่เคยมีการต่อเติมเพื่อรองรับ​<br />

กิจกรรมการค้าในอดีต ได้มีการย้ายออกจากตัวอาคาร<br />

เนื่องจากต้องการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าดั้งเดิมของตัวอาคาร<br />

แม้กระทั่งการซ่อมแซมบางส่วนของโครงสร้างผนัง พื้น<br />

และหลังคา ก็เลือกที่จะทดแทนเฉพาะชิ้นส่วนที่มีการชํารุด​<br />

เสียหาย และอาจจะเป็นอันตรายต่อการใช้งานเท่านั้น<br />

แนวคิดในการคงคุณค่าเดิมของอาคารยังรวมไปถึงรายละเอียด​<br />

อย่างเช่นการคงไว้ซึ่งร่องรอยของอดีต จากการเก็บสี<br />

ดั้งเดิมของอาคารซึ่งมีการทาทับกันหลายชั้น หลักฐาน<br />

เหล่านี้สะท้อนถึงการเดินทางของอาคารในช่วงเวลา​<br />

ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี<br />

with the people of Khon Kaen, who have created<br />

valuable memories here. The architecture team<br />

designed and modified the building by prioritizing<br />

and pinpointing the value of the building as an<br />

example of local heritage. They limited the extent<br />

of changes and preserved the original condition as<br />

much as possible. Some architectural components<br />

like drywall, which had been renovated to serve<br />

a commercial use in the past, were removed to<br />

return the building’s original value. Even when<br />

updating the wall, floor, and roof structure, they<br />

chose to replace only the decayed and/or dangerous<br />

spots. The concepts of maintaining the building’s<br />

original value and of preserving traces of the past<br />

also extended to details like restoring the former<br />

color of the building before the effects of weathering<br />

had left their mark over time. Such gestures clearly<br />

represent the building’s journey through time.<br />

ทีม dotLIMITED มีความตั้งใจในการที่จะให้อาคารไม้​<br />

2 ชั้นหัวมุมถนนหลังนี้ กลายเป็นพื้นที่ทางสังคมของ<br />

เครือข่ายคนและท้องถิ่นที่มีความสนใจแนวคิดอย่างเดียวกัน​<br />

ในอนาคตอันใกล้ ได้วางแผนที่จะสร้างเครือข่ายกลุ่มคน<br />

ที่สนใจประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและห่วงใยโลกใบนี้ อาทิ<br />

ชมรมคนรีไซเคิล เกษตรกรผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตร<br />

กลุ่มนักออกแบบ ผู้ปกครองนักเรียน และเยาวชน โดย<br />

มีการจัดกิจกรรมสร้างสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ การทํา​<br />

เวิร์คช็อปผ้า upcycle พิมพ์ลายสีธรรมชาติ และแม่พิมพ์​<br />

จากผักผลไม้ การทําถุงผ้าด้วยการนําผ้าที่เหลือจาก​<br />

อุตสาหกรรมสิ่งทอมาใช้ประโยชน์ เพื่อลดการใช้ทรัพยากร​<br />

ใหม่ๆ พร้อมกับการลดขยะที่จะเกิดขึ้น หรือการนําเศษ<br />

วัสดุและสีจากธรรมชาติมาใช้ในการประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์<br />

ต่างๆ เพื่อปลุกจิตสํานึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของเยาวชนใน<br />

ช่วงกิจกรรมวันเด็กที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีแนวคิดใน<br />

การที่เชื่อมโยงเครือข่ายในการสนับสนุนท้องถิ่นจากความ​<br />

พยายามที่จะเสาะหาของธรรมชาติภายในพื้นที่ภาคอีสาน<br />

อาทิ แมคคาเดเมียจากจังหวัดเลย มาจัดจําหน่ายในร้าน​<br />

และขยายการบริการในการตอบสนองความสะดวกสบาย<br />

ของผู้ใช้จากการจัดส่งสินค้า เพื่อสอดรับกับ lazy economy​<br />

ที่ให้ความสําคัญกับการจัดส่งที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เคยมี​<br />

วลีที่น่าสนใจกล่าวไว้ว่า “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว”​<br />

ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์จากสิ่งเล็กๆที่สามารถส่งผลกระทบ​<br />

ในสภาพแวดล้อมที่ยิ่งใหญ่และมีความสําคัญยิ่งกว่า ดังนั้น​<br />

การเริ่มต้นความตั้งใจจากจุดเล็กๆ จากอาคารเก่าหัวมุม<br />

ถนนแห่งหนึ่งในเมืองขอนแก่น จึงไม่ใหญ่เกินความตั้งใจ<br />

ในการที่จะเริ่มต้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งสําคัญกับ<br />

คนทุกคน และทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน<br />

อย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้<br />

The dotLIMITED team was determined to transform<br />

this two-story wooden building into a social space<br />

for groups of people, both locals and visitors,<br />

to engage and interact. They were also looking<br />

forward to pioneering a community of environmentalists<br />

and people who truly care for our planet<br />

like recyclers, farmers, designers, parents, and<br />

students. On the recent National Children’s Day,<br />

to instill a love of nature among younger children,<br />

they organized an event to raise ecological awareness<br />

with various workshops related to color printing<br />

on upcycled fabric, carving blocks from fruits and<br />

vegetables, and repurposing leftover cloth from<br />

the fabric industry into bags to reduce plastic<br />

waste. Furthermore, the team also sought to connect<br />

and support locals by attempting to source natural<br />

products within the northeastern region such as<br />

macadamia from the Leoi Province. They also created<br />

shop displays and extended delivery services to<br />

accommodate customers in relation to the ‘Lazy<br />

Economy’ business model which revolves around<br />

eco-delivery.<br />

We have all heard of the “butterfly effect” which<br />

signifies the connection of all things big or small<br />

where tiny changes can affect the larger or more<br />

distant parts of a system. A small beginning, like<br />

the spark of determination for a shabby old Khon<br />

Kaen wooden building, can ignite a bigger bonfire<br />

where everyone gathers around and steps up to<br />

truly take responsibility and care for our environment.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 110 111<br />

Refocus Heritage


<strong>ASA</strong> REGIONAL: LANNA<br />

Choui Fong Tea Cafe<br />

Phase 2<br />

Text: ใจรัก จันทร์สิน ถนอมพงศ์สานต์ / Jairak Junsin Thanompongsarn<br />

Translation: สุกัญญา นิมิตวิไล / Sukanya Nimitvilai<br />

Photo: DOF Depth of Field


งานออกแบบของคุณจีรเวช หงสกุล และทีมงาน IDIN<br />

Architects มักสร้างความรู้สึกเชื้อเชิญและเรียบเท่ได้​<br />

ในคราวเดียวกัน อันเป็นคุณสมบัติที่ดีของสถาปนิกและ​<br />

การทําธุรกิจของผู้ประกอบการ เป็นที่ทราบกันอย่างดีว่า<br />

Choui Fong Tea Cafe ที่จังหวัดเชียงรายนั้นประสบความ​<br />

สําเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยการดําเนินธุรกิจที่สร้างสรรค์<br />

และแตกต่าง ที่สําคัญคืองานออกแบบสถาปัตยกรรมที่<br />

เชื้อเชิญอยากให้ผู้คนแวะเวียนไป จนกลายเป็นแลนด์มาร์ก​<br />

ของจังหวัดที่ใครต่อใครพูดถึง เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ​<br />

แต่คือความตั้งใจในการออกแบบของสถาปนิก<br />

Choui Fong Tea Cafe ในเฟสแรกถือกําเนิดเมื่อปี2558 มี<br />

ลูกค้าเดินทางเข้ามาใช้บริการมากมายตลอดระยะเวลาที่<br />

ผ่านมา ล่าสุด Choui Fong Tea Cafe เฟส 2 ก็ได้ถือ<br />

กําเนิดขึ้นแล้วเพื่อเป็นส่วนต่อขยายในการรองรับลูกค้า​<br />

ที่มีจํานวนมากในแต่ละวัน การออกแบบ Choui Fong Tea​<br />

Cafe เฟส 2 เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การวางผังตัวอาคารที่ตั้งอยู่<br />

บนพื้นที่ของไร่ชาฉุยฟงซึ่งถัดมาจากChoui Fong Tea Cafe​<br />

ในเฟสแรกค่อนมาทางโรงงาน อันมีลักษณะพื้นที่เป็นเนิน<br />

เขาสูงขึ้นมา ตัวอาคารเป็นอาคารชั้นเดียวตั้งอยู่เหนือผิวดิน​<br />

มีการเปิดมุมมองกว้างบริเวณที่นั่งในคาเฟ่เพื่อสอดรับกับ<br />

ทิวทัศน์อันสวยงามของไร่ชา และมีการเล่นระดับกับ<br />

slope ของตัวเนินเขาเพื่อเปิดมุมมองลดหลั่นไล่ลงไปที่ไร่ชา<br />

The designs by Jeravej Hongsakul and IDIN Architects<br />

often feel welcoming and chic at the same time.<br />

These are good qualities for architects as well as<br />

business operators. Choui Fong Tea Cafe in Chiang<br />

Rai is recognized for being successful because of<br />

its creative and unique operation. More importantly,<br />

its inviting architectural design has led to it becoming<br />

the talk-of-the-town landmark. This is not a mere<br />

coincidence, but rather the architects’ design<br />

intention.<br />

Choui Fong Tea Cafe phase one began operation in<br />

2015, and many customers have visited the shop<br />

since then. Recently, Choui Fong Tea Cafe phase<br />

two has begun its operation as an extended unit<br />

to service a greater number of customers every<br />

day. The design for Choui Fong Tea Cafe phase two<br />

started with a building on a hill in the Choui Fong<br />

plantation next to the phase one building near the<br />

factory. The building is a one-storey structure with<br />

a panoramic view of the picturesque plantation.<br />

The design uses multiple floor levels to mimic the<br />

site contours, providing magnificent views down<br />

ช่องเปิดกว้างที่ปลายทางนี้นํามาซึ่งภาพทิวทัศน์อัน<br />

สวยงาม อากาศบริสุทธิ์ และแสงแดดจากพระอาทิตย์<br />

เป็นการดึงธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารอย่างเต็มที่<br />

ในขณะเดียวกันตามขอบแนวของช่องเปิดอันกว้างขวางนี้<br />

สถาปนิกได้วางแนวทางลาดไว้สําหรับการเข้าถึงซึ่งรองรับ<br />

การใช้งานของทุกคน รวมถึงรถเข็นผู้สูงอายุ และผู้พิการ<br />

ตามหลักการออกแบบของ universal design ให้สามารถ​<br />

เข้าถึงได้หลายช่องทางตลอดแนว เนื่องจากลูกค้าที่มา<br />

เที่ยวที่ไร่ชาฉุยฟงส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น<br />

และครอบครัว ทั้งยังเป็นการเว้นระยะเพื่อรองรับฝนที่<br />

สาดเข้ามาในฤดูฝน ซึ่งรายละเอียดตรงนี้น่าสนใจมาก<br />

เพราะผู้ออกแบบไม่ได้ปิดกั้นสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติ<br />

แต่ทําให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ว่าฝนจะตก<br />

หรือแดดจะออก ซึ่งทําให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอัน<br />

เดียวกันกับธรรมชาติเป็นอย่างมาก<br />

to the plantation, and a wide opening draws fresh<br />

air and sunlight into the building.<br />

Along the edge of this expansive open space, the<br />

architects follow universal design principles by<br />

providing a convenient sloping access path for all<br />

plantation visitors including the elderly or those<br />

with wheelchairs or other handicaps. The building<br />

also prevents splashing water in the rainy season<br />

through details that allow people to live with more<br />

harmoniously with nature rather than blocking it off.<br />

The circulation sequence starts in darkness at the<br />

entry before slowly brightening up to a blazing light<br />

at the innermost end. The design also gradually<br />

opens up the perspective from its cave-like entrance<br />

to show more views along the slope until it reaches<br />

the widest view at the end. These gestures<br />

thoughtfully use the architecture to create a<br />

heightened sense of one’s surroundings.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 114 115<br />

Refocus Heritage


ในส่วนของ sequence ของแสงและ circulation นั้น<br />

เริ่มจากเมื่อเดินเข้ามาที่ทางเข้าของอาคาร ก็จะเริ่มต้นที่<br />

ความมืดทึบก่อน แล้วค่อยๆ สว่าง จนถึงสว่างจ้าที่ปลาย<br />

ทางด้านในสุด รวมทั้งการเปิดมุมมองที่เริ่มจากการปิดกั้น​<br />

เสมือนเดินเข้าปากถํ้ำ ทําให้ค่อยๆ เห็นภาพมากขึ้นตาม<br />

แนว slope ของอาคารที่ลดหลั่นจนเปิดเห็นภาพกว้าง<br />

สูงสุดที่ปลายทาง เป็นการค่อยๆ สร้างอารมณ์ความรู้สึก<br />

นึกคิดของมนุษย์กับสถาปัตยกรรมอย่างชัดเจน<br />

นอกจากการจับแสงใส่ในอาคารจากทางช่องเปิดอันกว้าง<br />

ขวางนี้แล้ว เนื่องจากก้อนอาคารมีขนาดค่อนข้างใหญ่ พื้นที่​<br />

ภายในบริเวณตรงกลางอาคารค่อนข้างมืด จึงมีการจับแสง​<br />

ธรรมชาติจากด้านบนอาคารสาดส่องลงมาสู่พื้นที่ภายใน<br />

อาคาร อันเป็นพื้นที่ส่วนร้านขายของ พื้นที่ส่วนรับประทาน​<br />

อาหาร และคอร์ตยาร์ด ด้วยช่องเปิด skylight ที่มีการกรุ​<br />

กระจกใสเพื่อให้แสงส่องเข้ามาแต่ไม่รับนํ้ำฝน skylight นี้​<br />

ถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่น่าสนใจ ด้วยรูปทรงสูงสอบที่ถูกยก​<br />

ขึ้นไป รูปทรงมีเหลี่ยมมุมหักไปมา เล่นล้อคล้ายภูเขาที่<br />

รายล้อมในพื้นที่ โดยยอดของภูเขานี้เป็น skylight ซึ่งฝ้า<br />

เพดานรูปร่างเหลี่ยมมุมที่หักไปมาและรูปทรงสูงสอบก่อน​<br />

ที่จะขึ้นไปถึงตัวกระจกนั้น ล้วนแล้วแต่มีเหตุผลของการ<br />

ออกแบบ ช่องเปิดกระจกขนาดเล็กช่วยลดปริมาณการ​<br />

ใช้กระจกและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ทรงสูงสอบและ<br />

รูปร่างที่หักไปมานั้นสถาปนิกตั้งใจออกแบบให้คล้ายภูเขา<br />

อันเป็นบริบทรอบพื้นที่ ทั้งยังช่วยในการหักเหทิศทาง<br />

ของแสงไม่ให้แสงส่องตรงลงมาจนร้อนระอุ แต่กระจาย<br />

ให้เกิดความส่องสว่างที่นุ่มนวลกับสเปซภายใน ทั้งยังเพิ่ม​<br />

ปริมาตรของที่ว่างและพื้นที่สําหรับการเจริญเติบโตของ<br />

ต้นไม้ในคอร์ตยาร์ดอีกด้วย<br />

The considerable size of the building contributes<br />

to a lack of natural light, but this is alleviated with<br />

a series of clear glass skylights that illuminate the<br />

interior and protect the area from rain. The space,<br />

which contains a shop, a dining area, and a courtyard,<br />

features a ceiling with distorted cone-like shapes<br />

and corners designed to resemble the mountains<br />

found in the nearby landscape. The distorted roof<br />

forms use small glass openings to reduce construction<br />

costs, and they reduce heat gain by reflecting<br />

direct sunlight and softly illuminating the interior<br />

areas. They also define space for plants to grow in<br />

the courtyard.<br />

The floor plan consists of a 250-seat cafe, a souvenir<br />

shop, an exhibition area to display the history of<br />

the Choui Fong plantation, and an area for tea-making<br />

demonstrations. The project uses mainly authentic<br />

natural materials, namely, real mountain stone for<br />

the entrance wall and fine pinewood for the floors<br />

and ceilings in addition to the more common steel<br />

and glass. All of these are chosen based on how<br />

they induce moods and feelings through texture<br />

and tactility.<br />

ในส่วนของผังอาคารมีพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ประกอบไปด้วย​<br />

คาเฟ่ที่สามารถรองรับลูกค้าได้ถึง 250 ที่ พื้นที่ของร้านค้า​<br />

จําหน่ายของที่ระลึก พื้นที่ของส่วนจัดแสดงนิทรรศการ<br />

เล่าประวัติของไร่ชาฉุยฟง และสาธิตวิธีการชงชา เป็นต้น<br />

ส่วนการใช้วัสดุในโครงการ เน้นการแสดงออกถึงสัจจะ<br />

วัสดุต่างๆ เช่น ก้อนหินภูเขาจริงที่นํามาก่อเป็นกําแพง<br />

ตรงหน้าทางเข้า ไม้สนผิวสวยที่ใช้ทําพื้นและกรุฝ้าเพดาน​<br />

รวมถึงงานเหล็ก และกระจก เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้ล้วน<br />

คํานึงถึงผิวสัมผัส อารมณ์ความรู้สึกอันเกิดขึ้นจากเนื้อแท้<br />

ของวัสดุนั้นอย่างแท้จริงและสมบูรณ์<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 116 117<br />

Refocus Heritage


<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 118


<strong>ASA</strong> REGIONAL: TAKSIN<br />

Baan Klong Bon School<br />

Text: กิตติ เชาวนะ / Kitti Chaowana<br />

Translation: ธนว์กัญญา แจ้งใจธรรม / Tanakanya Changchaitum<br />

Photo: ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง / Songpan Janthong


ท่ามกลางแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมบริเวณอ่าวพังงา<br />

ระหว่างพื้นที่จังหวัดกระบี่พังงา และภูเก็ต “เกาะยาวใหญ่”​<br />

เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสําคัญของการท่องเที่ยวพักผ่อน​<br />

ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ<br />

จากธุรกิจการท่องเที่ยวที่เพิ่มมูลค่าทวีคูณอย่างรวดเร็ว<br />

ในเกาะนี้มีโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชนบ้านคลองบอน​<br />

ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กบนเกาะที่ค่อนข้างเข้าถึงลําบาก<br />

แต่พบว่ามีเด็กที่มีความโดดเด่นด้านศิลปะค่อนข้างมาก<br />

และมีกิจกรรมทางศิลปะทั้งในพื้นที่โรงเรียน และภายนอก​<br />

สมํ่ำเสมอ อีกทั้งในชุมชนโดยรอบก็มีงานหัตถกรรมชาว<br />

บ้านที่มีคุณค่าและหลากหลาย แต่ยังมีช่องว่างบางอย่าง<br />

เช่น การขาดโอกาสในการนําเสนอ หรือขาดพื้นที่กิจกรรม​<br />

จากข้อจํากัดของโรงเรียนขนาดเล็ก<br />

Amidst the popular Thai tourist destinations of<br />

Pang-nga Bay; and hidden somewhere between<br />

the provinces of Krabi, Pang-nga and Phuket is<br />

‘Yao-Yai Island’. This island has become one of<br />

the top landing-places for both Thai and international<br />

travelers due to its fast-growing economic<br />

development, driven by thriving local tourism.<br />

On the island stands a small school in the Baan<br />

Klong Bon Community. Being on an island in the<br />

Andaman Sea, the school is itself rather difficult<br />

to commute to. Nevertheless, it is nurturing students<br />

with outstanding artistic talents. This is being<br />

มูลนิธิเดอะบิ้ลด์ (The Build Foundation) ร่วมกับทีม​<br />

ผู้ออกแบบจาก Vin Varavarn Architects (VVA) รวมถึง​<br />

ภาคธุรกิจในพื้นที่ และภาคส่วนต่างๆ จึงได้ร่วมกันหารือ<br />

และเห็นพ้องต้องกันที่จะสนับสนุนการสร้างสรรค์ “พื้นที่<br />

ห้องเรียน+ศิลปะ” โดยสามารถให้นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรม​<br />

ที่เหมาะสมได้ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถพัฒนาต่อยอด​<br />

เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของหมู่บ้านและ<br />

ชุมชนต่อไป บนฐานคิดที่เชื่อว่าความคิดดีๆ จะดึงดูดให้<br />

คนที่ตั้งใจดีมาร่วมแรงกันได้<br />

made possible via consistent art-related activities,<br />

held inside and outside school grounds, and helped<br />

by the surrounding local community that is home<br />

to valuable local craftsmanship. Within the school<br />

however, there remained certain gaps that needed<br />

to be bridged. One such gap existed from the lack<br />

of platforms upon which these skills and abilities<br />

could thrive and be made visible. The school’s<br />

limited functional space was impeding valuable<br />

activities that could help develop a fuller range<br />

of potential and opportunities for all.<br />

ในกระบวนการทํางานออกแบบ โดยทั่วไปนักออกแบบ<br />

มักพยายามสร้างงานสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ สวยงาม<br />

และโดดเด่นน่าสนใจมากที่สุด แต่งานนี้มีสิ่งที่ท้าทาย<br />

มากกว่านั้น อีกทั้งยังมีปัญหาและข้อจํากัดของโครงการ<br />

ทั้งเรื่องงบประมาณ ระยะเวลาในการดําเนินการที่จํากัด<br />

รวมทั้งการขนส่งวัสดุก่อสร้างเพื่อสร้างบนเกาะ ซึ่งล้วน<br />

เป็นโจทย์ที่ท้าทายมาก แต่ผู้ออกแบบและทีมงานได้<br />

ศึกษาทําความเข้าบริบทพื้นที่และผู้คน ทั้งเด็กนักเรียน<br />

ครู โรงเรียน และหมู่บ้าน ชุมชนโดยรอบ เพื่อร่วมสร้าง<br />

โจทย์ที่เหมาะสมร่วมกัน<br />

In knowledge of this, the Build Foundation, together<br />

with Vin Varavarn Architects, local business operators<br />

and other involved sectors came together and<br />

agreed to provide support for the creation of the<br />

school’s ‘Classroom+Art Space’. This new space<br />

immediately welcomed island visitors and invited<br />

them to take part in some of the students’ own<br />

activities. Inspired by the idea that ‘’good thoughts<br />

and intentions bring good people together’’, the<br />

project now acts as a starting-point for future<br />

พื้นที่ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องศิลปะ ถูกจัดเรียงตัวอย่าง<br />

เรียบง่ายเพื่อตอบโจทย์และข้อจํากัด ผู้ออกแบบได้<br />

“ปรับ-ลด-เลื่อน พื้นที่ใช้งาน เพิ่มที่ว่าง” เพื่อสร้าง<br />

“ความเชื่อมโยง-สัมพันธ์” ระหว่างพื้นที่ส่วนต่างๆ ใน<br />

อาคาร 2 ชั้น และความต่อเนื่องกับพื้นที่ภายนอกสร้างสรรค์​<br />

เป็นอาคารเรียนที่ดูเรียบง่ายแต่มีรายละเอียดของโครงสร้าง​<br />

วัสดุ และการใช้พื้นที่ที่ยืดหยุ่นได้อย่างน่าสนใจ สถาปนิก​<br />

เลือกที่จะสร้างบทสนทนาระหว่างอาคารใหม่หลังนี้กับ<br />

สนามฟุตบอลด้านหน้าอาคาร ด้วยโถงบันไดหลักกลาง<br />

อาคารที่เชื่อมโยงการใช้งานด้วยพื้นที่นั่งต่างระดับ คล้าย<br />

developments, ones that might accommodate<br />

creative activities initiated and run by the local<br />

community.<br />

The initial project-objectives challenged the design<br />

team to do more than just create a beautiful, complete<br />

and visually-striking work. They had to carefully<br />

consider, navigate and resolve many problems and<br />

limitations from budget to timeframe, from transportation<br />

of construction materials to skilled-labour.<br />

The design team and collaborators overcame<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 122 123<br />

Refocus Heritage


ที่นั่งขั้นบันไดรอบสนามฟุตบอลด้านหน้าอาคาร ซึ่งทํา<br />

หน้าที่เป็นโครงสร้างกําแพงกันดินในพื้นที่ลาดเอียงอีก<br />

ด้วย โดยสร้างเป็นพื้นที่อเนกประสงค์รองรับการเรียนรู้<br />

และศิลปะประเภทอื่นนอกเหนือไปจากภาพวาด เช่น<br />

ผ่านการฉายภาพยนตร์ บนผนังอาคาร หรือการแสดงอื่นๆ<br />

งานออกแบบในภาพรวมเป็นการสร้าง “ที่ว่างที่เหมาะสม”​<br />

เหมือนเฟรมและผืนผ้าใบ รองรับการสร้างสรรค์ผ่าน<br />

กิจกรรมการเรียนรู้และศิลปะที่หลากหลายตามอัตลักษณ์​<br />

ชุมชนท้องถิ่น การสร้างหรือการเว้น “พื้นที่ว่าง” เพื่อให้<br />

เด็ก นักเรียน ครู โรงเรียน ชุมชน สังคมช่วยกัน<br />

สร้างสรรค์ เติมเต็ม ต่อยอด สร้างการเติบโต และ<br />

งอกงาม ได้อย่างหลากหลาย ให้ทุกคนได้ใช้งานอย่าง​<br />

มีความสุขและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป<br />

นอกจากที่โครงการนี้จะเป็นภาพสะท้อนของความทุ่มเท<br />

ร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนเพื่อสร้างภาพฝันให้เป็น<br />

รูปธรรมอย่างชัดเจน เป็นผลสําเร็จที่น่าชื่นชม ได้สร้าง<br />

“ที่บ่มเพาะ” ต่อยอด พัฒนาความรู้ ความคิด ทัศนคติที่ดี​<br />

ทั้งในนักเรียนและชุมชนรอบข้างแล้ว ในการดําเนินการ<br />

ของโครงการยังได้สร้างทัศนคติที่ดีในการทํางานวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรมกับทีมงานออกแบบ ได้สร้างสมดุลในตัวเอง​<br />

ในการทํางานเพื่อสังคมร่วมกับการทํางานวิชาชีพส่งผลให้​<br />

มุมมองต่อการออกแบบเปลี่ยนไป มองสิ่งรอบตัวในมุมบวก​<br />

มากขึ้น สร้างความสุขที่ได้ร่วมทําและสร้างแรงบันดาลใจ​<br />

ในการสร้างงานดีๆ ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมต่อไป<br />

each challenge by studying and understanding the<br />

project’s context; from the physical conditions of<br />

the site, to all parties involved such as students,<br />

teachers, local villages and surrounding communities.<br />

All this was undertaken to achieve the most suitable<br />

and effective result.<br />

The spaces of the classroom, the library and the<br />

art room are put together in a simple spatial program<br />

that fulfills project requirements and overcomes<br />

existing limitations. The design team ‘adjustedlessened-rearranged’<br />

functional spaces. They<br />

managed to free more space to facilitate a ‘connection<br />

and linkage’ between the different programs of<br />

this two-story building. These connections were<br />

creatively extended to exterior spaces. What resulted<br />

was a minimal-looking school building containing<br />

interesting structural details, usage of materials<br />

and spatial flexibility. In his design, the architect<br />

initiated a conversation between the new structure<br />

and the existing football field found at the front of<br />

the building. He did this through the presence of a<br />

main stairway, one linking the functional programs to<br />

tiers of spectator seats. This corresponded perfectly<br />

with the horizontal rows of concrete steps surrounding<br />

the football field that also functioned as seating.<br />

Ultimately, the project goes beyond the combined<br />

effort to successfully turn a dream into a reality.<br />

It also gives birth to a place that encourages,<br />

develops and cultivates - not just knowledge - but<br />

positive ideas and views from members of the<br />

local communities. The project has also inspired<br />

the design team to expand on what they can offer<br />

as architectural professionals. They are learning<br />

to strike a balance between their formal career,<br />

and their ability to contribute something worthwhile<br />

to society. The experience has reshaped<br />

their views on design and outlook on the world.<br />

They look at things with more positive eyes, while<br />

the happiness of having been a part of this project<br />

continues to inspire them to create even better<br />

and greater architectural works.<br />

Varut Varavarn of Vin Varavarn Architects concluded<br />

“We didn’t expect for it to be perfect, but instead<br />

just like any other project we’ve done at our firm.<br />

However, seeing everyone come together, to help<br />

and contribute, well that’s the best thing.”<br />

“เราไม่ได้คาดหวังว่ามันจะต้องสมบูรณ์<br />

เหมือนงานทั่วไปในสำนักงานสถาปนิก แต่<br />

การที่เห็นทุกคนมาช่วยกันทำงานร่วมกัน<br />

มันดีที่สุดแล้ว” หม่อมหลวงวรุตม์ วรวรรณ<br />

สถาปนิกผู ้ออกแบบจาก VinVaravarn<br />

Architects กล่าวทิ้งท้าย<br />

The stairway structure - which doubles as a barrier<br />

to prevent landslides on the inclined site – has been<br />

designed as a multi-functional space that can<br />

accommodate more diverse learning and art activities<br />

i.e. outdoor film-screening and theatrical performances.<br />

The design aims to create a space that acts as an<br />

empty frame or canvas to host different, locallyderived<br />

learning and art activities. This ‘space’<br />

has intentionally been left as a blank canvas for all<br />

children, students, teachers, as well as for local<br />

community and society. Here they are free to create,<br />

fulfil, nurture and prosper with great freedom and<br />

diversity. It is a space for everyone to enjoy and<br />

make the best of.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 124 125<br />

Refocus Heritage


WHAT ARCHITECTS THINK<br />

Architecture Library,<br />

Chulalongkorn University<br />

Text: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ / Wasawat Rujirapoom<br />

Photo: W Workspace


ห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสือ<br />

ในโลกปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตแทบจะเข้ามา​<br />

เป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่งที่เราทําอยู่ใน​<br />

ชีวิตประจําวันแล้ว ข้อมูลทุกๆ เรื่องมีพร้อม​<br />

ทันเหตุการณ์และแพร่หลายอยู่บนเครือข่าย​<br />

หนังสือถูกลดบทบาทความสําคัญลงอย่าง<br />

รวดเร็ว ร้านหนังสือต่างเริ่มปิดตัวลง​<br />

แม้กระทั่งห้องสมุดเองก็เกือบจะไร้ผู้คน​<br />

เหตุที่กล่าวมานี้เป็นจุดเริ่มต้นของความคิด​<br />

และแรงบันดาลใจในการออกแบบของ​<br />

Department of Architecture นําโดย<br />

คุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคํา​และ​<br />

คุณชัยภัฏ มีระเสน เพื่อเปลี่ยนโฉม​<br />

ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์​<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นห้องสมุด<br />

แนวใหม่ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นที่เก็บหนังสือ<br />

เท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับพฤติกรรม​<br />

ที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ด้วย<br />

ห้องสมุดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้แต่ทุกวันนี้ ​<br />

การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากหลายทาง ไม่ได้<br />

มาจากเพียงแต่หนังสือเท่านั้น โครงการนี้​<br />

จึงเน้นที่จะสร้างพื้นที่การเรียนรู้รูปแบบใหม่ ​<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม​<br />

กับการเรียนด้านสถาปัตยกรรมด้วย การ​<br />

ใช้งานด้านอื่นๆ ถูกเพิ่มเข้ามาในโครงการ​<br />

เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น<br />

อย่างเช่น พื้นที่ทํางานร่วมกัน พื้นที่จัด<br />

นิทรรศการ พื้นที่ตรวจแบบ พื้นที่สําหรับ<br />

การฟังบรรยาย นอกจากนี้ยังมีแหล่งของ​<br />

องค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างสื่อดิจิทัล ภาพยนตร์​<br />

และการจัดแสดงผลงานใหม่ๆ อีกด้วย<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 128 129<br />

Refocus Heritage


x<br />

x<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 130 131<br />

Refocus Heritage


ในส่วนชั้นบนสุดมีพื้นที่นั่งอ่านหนังสือ​<br />

ที่จัดในรูปแบบพิกเซลเรียงขึ้นไปเป็น​<br />

ขั้นบันได โดยที่นิสิตนักศึกษาสามารถ<br />

ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้อย่างหลากหลาย​<br />

และยังสามารถจัดเป็นที่นั่งฟังบรรยาย<br />

หรือชมภาพยนตร์ได้อีกด้วย ฝ้าเพดาน<br />

ด้านบนจัดแสดงผังเมืองของกรุงเทพฯ​<br />

ที่เน้นให้เห็นโครงการพระราชกรณียกิจ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาล<br />

ที่ 9) จํานวน 9 โครงการ ที่ทรงช่วยแก้<br />

3 ปัญหาหลักของเมือง คือการจราจร<br />

อุทกภัย และมลพิษทางนํ้ำ<br />

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล<br />

ชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการ<br />

ออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library)<br />

จากงาน Best of Year Awards 2019<br />

ซึ่งจัดโดย Interior Design Magazine<br />

นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

ออกแบบเพื่อการออกแบบ<br />

ห้องสมุดนี้ต่างจากห้องสมุดทั่วไปที่​<br />

มักมีแต่ชั้นหนังสือและที่นั่งเป็นองค์ประกอบ<br />

หลัก หากแต่ออกแบบให้ผู้ใช้งานสามารถ<br />

ออกแบบพื้นที่และการใช้สอย ปรับเปลี่ยน​<br />

ไปตามความต้องการได้อีกด้วย พื้นที่ชั้น 1​<br />

เป็นพื้นที่สําหรับทํางานร่วมกันถูกห้อมล้อม​<br />

ด้วยโครงเหล็กรูปแบบตารางกริดที่ปล่อย​<br />

ว่างไว้ ให้นิสิตได้เติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ ​<br />

เพื่อจัดงานต่างๆ ด้วยการใช้ประโยชน์<br />

จากโครงเหล็กอย่างการแขวน ยึด โยง<br />

ผูก หรือใส่สิ่งต่างๆ ลงไปในที่ว่าง เกิด<br />

เป็นพื้นที่ที่จะสร้างประสบการณ์และ<br />

แรงบันดาลใจของนิสิตนักศึกษาด้านการ<br />

ออกแบบ โครงเหล็กนี้ยังสามารถใช้​<br />

แม่เหล็กในการติดผลงานเพื่อนําเสนอ ​<br />

ปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ตรวจแบบ พร้อม​<br />

จอดิจิทัลแสดงผลได้อีกทางเลือกหนึ่ง<br />

ความรู้ในตำรายังสำคัญ<br />

แม้ว่าการหาข้อมูลบนออนไลน์นั้นง่าย<br />

แต่หนังสือยังคงเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ​<br />

ใช้อ้างอิงได้และหารายละเอียดเชิงลึกได้<br />

มากกว่า พื้นที่ชั้น 2 จึงถูกออกแบบให้<br />

ล้อมรอบด้วยชั้นวางหนังสือและนิตยสาร<br />

และเรียกร้องการมีตัวตนด้วยการหัน<br />

หน้าปกออกเหมือนจัดแสดงอยู่ในร้าน<br />

หนังสือ ช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้ผ่าน<br />

ไปมาให้สงสัยใคร่รู้ที่จะหยิบเปิดอ่าน ต่าง<br />

จากปกติที่จะเห็นเพียงสันหนังสือเท่านั้น<br />

และได้จัดเตรียมพื้นที่งดใช้เสียงที่แยกตัว<br />

ออกมาจากส่วนอื่น สําหรับอ่านหนังสือ<br />

โดยโต๊ะและที่นั่งถูกจัดวางใหม่เป็นเขาวงกต​<br />

เพื่อลดการถูกรบกวนจากพื้นที่ทางเดิน<br />

โดยรอบ<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 132 133<br />

Refocus Heritage


USERS’ OPINION<br />

Architecture Library,<br />

Chulalongkorn University<br />

Text: วสวัตติ์ รุจิระภูมิ / Wasawat Rujirapoom<br />

Photo: W Workspace<br />

พื ้นที่ co-working มีข้อดีคือใครจะ<br />

สามารถเข้ามาใช้งานก็ได้ ไม่ว่าจะนั่ง<br />

ทำงาน ตัดโมเดล หรือแม้กระทั่งเดิน<br />

ผ่าน โดยที่ไม่ต้องผ่านบรรณารักษ์<br />

ก่อนเหมือนห้องสมุดเดิม และยังเป็น<br />

ส่วนที่พูดคุยใช้เสียงในเวลาทำงาน<br />

ร่วมกันได้ ส่วนห้องสมุด บางครั้งคน<br />

อาจจะไม่ได้เข้ามาค้นหาหนังสือ ก็ยัง<br />

สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ มีปลั๊ก<br />

ไฟรองรับ ไม่ต้องไปหาพื ้นที่ทำงาน<br />

ข้างนอก ในส่วนชั้นบนสุดสามารถ<br />

ใช้เป็นห้องประชุมที่ดูใช้งานง่าย<br />

ไม่เป็นทางการ<br />

เมื ่อก่อนอาจจะไม่ได้เข้ามา หากไม่อ่าน<br />

หนังสือ ตอนนี้เข้ามาใช้งานได้ แม้ไม่<br />

ได้มาเพื ่ออ่านหนังสือ<br />

นรีรัตน์ ไกรทอง<br />

นักศึกษาปริญญาโท และผู้ช่วยสอน<br />

เป็นห้องสมุดที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย<br />

การใช้งานไม่ได้จ ำกัดเพียงแค่ต้องมา<br />

ค้นหาหนังสือเท่านั<br />

การออกแบบพื้นที่<br />

ช่วยดึงดูดให้เด็กได้ใช้พื้นที่ทุกส่วนของ<br />

ห้องสมุดได้อย่างเต็มที่สถาปนิกคิด<br />

รายละเอียดทุกๆ ส่วน อย่างผนังโครง<br />

เหล็กที่ออกแบบเป็นปลายเปิดที่สามารถ<br />

ไปทำอะไรก็ได้ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้<br />

และประสบการณ์ใหม่ๆ ได้อยู่ตลอด<br />

ภูรี อำพันสุข<br />

สถาปนิก สำนักบริหารระบบกายภาพ<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ห้องสมุดใหม่เอื้อประโยชน์แก่การท ำงาน<br />

ของเด็กสถาปัตย์มาก แยกส่วนทำงาน<br />

ออกมาชัดเจน อีกทั้งยังมีโต๊ะ ปลั๊กไฟ<br />

และแสงสว่าง จากแต่ก่อนที่ใช้พื้นที่<br />

โถงทางเดินข้างล่างอาคารนั ่งทำงาน<br />

ไม่ได้ติดแอร์ เพราะห้องสมุดเดิมนั ้น<br />

มีโต๊ะและที่นั่งไม่มาก พื้นที่ทำงานและ<br />

อ่านหนังสือทับซ้อนกัน ต้องแย่งกันใช้<br />

ปัจจุบันแยกสัดส่วนกันชัดเจน ไม่<br />

รบกวนกัน ทำให้ได้เข้ามาใช้บ่อยมากขึ้น<br />

ณัฐฐวัตร ปิติโกมล<br />

นิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ชั้นปีที่ 4<br />

ห้องสมุดเดิมเวลาหกโมงเย็นก็ปิด<br />

ทำการแล้ว ไม่ว่าจะพื้นที่ค้นหาหนังสือ<br />

หรือนั่งทำงาน ตอนนี้แบ่งพื้นที่การใช้<br />

ทั้ง 2 ส่วนแยกออกจากกัน ในส่วน<br />

ห้องสมุดที่มีบรรณารักษ์ชั้นบนปิดหก<br />

โมงเย็นตามเวลาเดิม แต่พื้นที่ทำงาน<br />

สามารถใช้ได้ถึงสี่ทุ่ม เอื้อต่อการใช้งาน<br />

และพฤติกรรมของนิสิตมากขั ้น มี<br />

ปลั๊กไฟหลายจุด จากที่แต่ก่อนมีไม่<br />

เพียงพอ ต้องใช้ปลั๊กพ่วงยาวๆ ต่อกัน<br />

ทำให้สามารถนั่งทำงานได้ทุกชั้น<br />

ชอบพื ้นที่ชั้นบนที่มีที่นั่งทำงานเป็น<br />

โต๊ะญี่ปุ่นมีแสงธรรมชาติส่องเข้ามา<br />

อยู่ในห้อง auditorium ที่น้องๆ ปี 2<br />

ได้ใช้ตรวจแบบรวม<br />

นรมน ปัญจปิยะกุล<br />

นิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 134 135<br />

Refocus Heritage


ONE DAY WITH AN ARCHITECT<br />

One Fine Day with<br />

Chatchavan Suwansawat<br />

สถาปนิกนักเดินเมือง<br />

ผ่านภาพสเกตช์สถาปัตยกรรมทุกวัน<br />

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลายคนน่าจะ​<br />

เคยผ่านตา คอลัมน์ชื่อว่า “อาคิเต็ก-เจอ”​<br />

ในสื่อออนไลน์อย่าง The Cloud กันมาบ้าง​<br />

สถาปนิกนักเล่าเรื่องอย่าง ชัช-ชัชวาล​<br />

สุวรรณสวัสดิ์ สถาปนิกรุ่นใหม่เจ้าของ​<br />

Everyday Architect & Design Studio​<br />

ทําให้คําว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง​<br />

(urban vernacular) กลายเป็นคําที่คุ้นหู<br />

คนนอกวงการมากขึ้น ผ่านเรื่องราวของ​<br />

‘คอย’ เวิร์คกิ้งสเปซของวินมอเตอร์ไซค์​<br />

ไปจนถึงเบื้องหลังการออกแบบตี่จู้เอี๊ยะ<br />

และศาลพระภูมิ หลังจากประกาศพัก​<br />

คอลัมน์ไปไม่นาน เขาได้ทดลองทําโปรเจกต์​<br />

everyday sketch ขึ้น เพื่อค้นหาวิธีการ<br />

ใหม่ๆ ในการสังเกตงานออกแบบง่ายๆ​<br />

แต่ไม่ธรรมดาซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตของ​<br />

คนเมือง เราจึงขอชวนเขาเดินไปคุยไป<br />

ด้วยกัน เพื่อหาคําตอบว่าอะไรทําให้​<br />

การเดินกลายเป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบ<br />

ภาษาทางสถาปัตยกรรมที่เขาหลงใหล​<br />

จนถอนตัวไม่ขึ้นวันแล้ววันเล่า<br />

เดินเล่นเป็นประจำ<br />

การสํารวจเมือง เป็นความชอบส่วนตัว<br />

ของชัชวาลมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่เรียนอยู่<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร “ในตอนแรกเราเลือกการปั่น<br />

จักรยาน แต่ด้วยถนนหนทางในกรุงเทพฯ<br />

ค่อนข้างไม่เหมาะกับจักรยานสักเท่าไหร่​<br />

ก็เลยเปลี่ยนมาเดินแทน ส่วนหนึ่งอาจเป็น​<br />

เพราะเราไม่ได้ขับรถยนต์ เวลาเดินทาง<br />

ต่อรถ ต่อเรือ ก็จะเลือกเดินจนติดเป็น<br />

นิสัย ว่างๆ ก็จะเดินดูนั่นดูนี่อยู่ตลอด​<br />

ตอนนั้นเราเข้าใจว่าเรื่องพวกนี้ไม่น่าจะ<br />

มาเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของเรา แต่ก็เก็บ<br />

ความรู้สึกชอบตรงนั้นไว้ ไม่รู้จะเอาไป​<br />

ทําอะไรได้บ้าง”<br />

จนกระทั่งได้มาเป็นคอลัมนิสต์​<br />

ในเว็บไซต์ The Cloud ทําให้ชัชวาลได้<br />

มีโอกาสถ่ายทอดเรื่องราวสถาปัตยกรรม<br />

ใกล้ตัวเหล่านี้ออกไปสู่สายตาคนมากมาย<br />

ยิ่งเดินไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็นกิจวัตร<br />

ประจําชีวิตไปโดยไม่รู้ตัว ทําให้เมื่อยุติ<br />

การเขียนบทความลง ก็ดูเหมือนทักษะ<br />

การสังเกตจะค่อยๆ หายไปด้วยอย่างเห็น<br />

ได้ชัด เขาจึงคิดหาวิธีฟื้นฟูดวงตาแบบเดิม​<br />

ให้กลับมาอีกครั้ง<br />

Text: สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล / Suwicha Pitakkanchanakul<br />

Photo: ชนิภา เต็มพร้อม / Chanipa Temprom<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 136 137<br />

Refocus Heritage


ดำเนินเรื่อง ดำเนินเล่า<br />

ในที่สุดก็มาลงเอยที่ทักษะเบื้องต้นของ<br />

การเป็นสถาปนิกอย่างการสเกตช์ภาพ<br />

“จากที่เขียนเป็นบทความ เราจึงเปลี่ยน<br />

มานําเสนอสิ่งที่ตัวเองสนใจด้วยภาพวาด<br />

แทน เล่าย้อนว่ากว่าจะเป็นชิ้นนี้ได้มีวิธีคิด​<br />

อย่างไร อธิบายทีละส่วน ด้วยภาพตัด<br />

ภาพขยาย รายละเอียดวัสดุ เหมือนเขียน<br />

แบบสถาปัตยกรรมเลย เราเรียกชื่อ​<br />

สิ่งเหล่านี้ว่า “สถาปัตยกรรมที่เห็นทุกวัน​<br />

(everyday architecture)” จึงตั้งเป็น​<br />

ชาลเลนจ์ขึ้นมาว่า ในเมื่อเห็นทุกวันก็ต้อง<br />

วาดทุกวันด้วย” ชัชวาลอธิบายเพิ่มเติมว่า​<br />

เขาใช้วิธีการถ่ายภาพอย่างง่ายๆ ด้วย<br />

สมาร์ทโฟน ส่งภาพเข้าไปยัง iPad​<br />

แล้วสเกตช์รายละเอียดต่างๆ ออกมา​<br />

ใช้สีเน้นให้เห็นจุดเฉพาะที่ต้องการเน้น<br />

ใช้เวลาวันละไม่เกินครึ่งชั่วโมงหลังตื่นนอน​<br />

ก่อนจะโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของตัวเอง<br />

วันละ 1 ภาพทุกเช้า<br />

หลังจากที่โพสต์ everyday sketch​<br />

ออกไปพร้อมกันทีเดียว 100 รูปเมื่อต้นปี​<br />

ที่ผ่านมา และมีคนแชร์ไปไม่ตํ่ำกว่า<br />

2,600 ครั้ง ทั้งสถาปนิกด้วยกันและ<br />

คนนอกวงการที่สนใจเรื่องราวของความคิด​<br />

สร้างสรรค์ใกล้ตัว นอกจากนี้ยังมีผู้ติดตาม​<br />

มาจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอีกไม่น้อย​<br />

ทั้งลาว เวียดนาม พม่า เพราะต่างมีบริบท​<br />

การอยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกัน<br />

“หลายคนเคยเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ยัง​<br />

ไม่เคยเห็นการเล่ามันออกมาด้วยวิธีการ<br />

แบบนี้ ช่วงหลังเราจึงปรับให้เข้าใจง่ายขึ้น​<br />

อยู่กึ่งกลางระหว่างแบบสถาปัตยกรรม<br />

กับการเล่าเรื่องด้วยภาพ ผสมกับความ<br />

เป็นกราฟิกมากขึ้นด้วย”<br />

ดวงตาแบบใหม่มองไกลกว่าเดิม<br />

การวาดภาพซํ้ำๆ ทําให้ชัชวาลมองเห็น<br />

แพตเทิร์นของภาษาการออกแบบของ<br />

คนธรรมดาที่พยายามจะแก้ปัญหาเล็กๆ<br />

น้อยๆ ในชีวิตประจําวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็น<br />

ชุดภาษาที่ไม่ได้มีการสอนกันอย่างจริงจัง<br />

ในมหาวิทยาลัย<br />

“เมื่อวาดมาถึงภาพที่ 80-90 ก็เริ่มเห็น<br />

ความซํ้ำกันบางอย่างที่ทําให้แยกประเภท<br />

ได้ชัดเจนขึ้น ว่าถ้าจะแก้ปัญหาประมาณนี้​<br />

ใช้วิธีไหนได้บ้าง ตอนต้นปีเราไปเที่ยว<br />

เกาะสีชัง ได้เห็นข้อจํากัดที่ทําให้เกิดการ<br />

ออกแบบเฉพาะตัว เพราะบนเกาะไม่มี<br />

แหล่งนํ้ำจืด ทุกบ้านจึงต้องเก็บนํ้ำฝนไว้<br />

ในบ่อใต้บ้าน เขาใช้สายยางต่อจากรางนํ้ำ<br />

ลงมา ซึ่งเราเอาวิธีคิดนี้มาใช้ในกรุงเทพฯ​<br />

ได้นะ แม้ปัญหาจะต่างกัน ยกตัวอย่าง<br />

เช่น พื้นที่บ้านในกรุงเทพฯ แคบจนใช้<br />

รางนํ้ำสังกะสีแบบปกติไม่ได้ อาจจะลอง<br />

เปลี่ยนเป็นสายยางไหม แล้วเก็บรายละเอียด​<br />

ให้เนี้ยบขึ้น อะไรทํานองนี้ ทําให้คิดว่า​<br />

ถ้าได้ไปเดินดูในต่างประเทศ ก็น่าจะได้<br />

ไอเดียใหม่ๆ กลับมาใช้ที่เมืองไทยได้<br />

เหมือนกัน”<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 138 139<br />

Refocus Heritage


แม้จะยังไม่เคยมีโอกาสได้ลองออกแบบสถาปัตยกรรมจริงจากวิธีคิดที่เขาสังเกตการณ์<br />

มาหลายปี แต่ชัชวาลมีสมมติฐานว่าถ้าได้ลองหยิบวิธีคิดแบบนี้มาใช้ นอกจากจะช่วย<br />

ตอบโจทย์การออกแบบที่กลมกลืนไปกับบริบทพื้นที่แล้ว ยังน่าจะทําให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึก<br />

คุ้นตาคุ้นใจมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่เราทุกคนต่างก็ได้พบเห็นอยู่ทุกวันเมื่อก้าวเท้า<br />

ออกจากบ้าน<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 140


BOOK REVIEW<br />

RE–USA: 20 American Stories<br />

of Adaptive Reuse<br />

แต่งโดย Matteo Robiglio<br />

พิมพ์โดย Jovis Verlag GmbH, Berlin.<br />

จำนวน 239 หน้า<br />

ปีที่พิมพ์ 2017<br />

หลายคนคงเคยเห็นอาคารหรือสถาปัตยกรรม​<br />

เก่าแก่มากมายในเมืองใหญ่แล้วนึกสงสัย<br />

ในความเป็นมาของอาคารและรู้สึกเสียดาย​<br />

เพราะนอกจากจะเสียดายในเชิงมูลค่าแล้ว​<br />

คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของอาคารที่บันทึก​<br />

เรื่องราว เหตุการณ์ ยุคสมัยของสถานที่<br />

นั้น ก็มักถูกทิ้งให้ลืมเลือนไปด้วยเช่นกัน​<br />

จึงเกิดคําถามว่าเราจะสามารถนําอาคาร<br />

เก่าเหล่านี้ให้ฟื้นกลับมามีชีวิตใหม่เพื่อ<br />

ประโยชน์กับชุมชนและเมืองได้หรือไม่​<br />

และจะทําได้อย่างไร Matteo Robiglio<br />

อาจมีคําตอบให้กับคุณ เขาได้รับทุนจาก​<br />

Urban and Regional Studies Fellowship​<br />

ในการเดินทางสํารวจ รวมรวบงานปรับปรุง​<br />

อาคารเก่า และเขียนหนังสือชื่อ Re-Use:<br />

20 American Stories of Adaptive<br />

Reuse: A Toolkit for Post-Industrial<br />

Cities หนังสือเล่มนี้มีความตั้งใจที่จะแสดง​<br />

ตัวอย่างและกระบวนการนําอาคารเก่า<br />

ในยุคอุตสาหกรรมของอเมริกามาปรับใช้<br />

ใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเมืองและส่งเสริม<br />

วิถีชีวิตใหม่ๆ ของคนเมือง<br />

โครงสร้างของหนังสือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน​<br />

ส่วนแรกเป็นตัวอย่างโครงการต่างๆ ใน<br />

ประเทศสหรัฐอเมริกา จาก 6 เมืองใหญ่​<br />

คือ Philadelphia, Washington, D.C.,​<br />

Pittsburgh, Chicago, Detroit และ<br />

New York แต่ละโครงการมีการเล่าประวัติ​<br />

ของอาคาร ย่าน ความเป็นมาของโครงการ​<br />

และกระบวนการพัฒนาจนประสบความสําเร็จ​<br />

ส่วนที่ 2 เป็นการนําเสนอ toolkit ที่ถอด<br />

ความรู้มาจากตัวอย่างโครงการในส่วนแรก​<br />

ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสําคัญของหนังสือเล่มนี้​<br />

เลยก็ว่าได้ เพราะผู้เขียนได้สรุปและเรียง​<br />

ลําดับกระบวนการพัฒนาโครงอย่างเป็น​<br />

ขั้นตอน อธิบายรายละเอียด จุดสําคัญ​<br />

และเรื่องที่ควรระมัดระวังให้กับคนที่สนใจ​<br />

อยากจะนําไปใช้ในโครงการอื่นๆ นอกไป​<br />

จากนี้ยังมีการแทรกการอ้างอิงเป็นตัวเลข​<br />

เพื่อให้เราสามารถกลับไปดูตัวอย่างโครงการ<br />

ที่เกิดกระบวนการเหล่านี้ และส่วนสุดท้าย​<br />

เป็นการให้คํานิยามของคําว่า adaptive​<br />

reuse โดยได้อธิบายประวัติศาสตร์การ​<br />

เริ่มต้นของแนวคิด adaptive reuse ใน​<br />

อเมริกา และอุปสรรคที่เกิดในกระบวนการ​<br />

ปรับใช้อาคาร เพื่อให้เราศึกษาวิจัยเพิ่มเติม​<br />

ต่อไป<br />

เบื้องหลังโครงการที่ประสบความสําเร็จ​<br />

เหล่านี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าสถาปัตยกรรม​<br />

ไม่ได้เกิดจาก top-down เสมอไป<br />

สถาปัตยกรรมที่ดี และมีความหมาย​<br />

ต่อเมืองไม่จําเป็นต้องเกิดจาก “starchitect”​<br />

เท่านั้น หากแต่เกิดจากการร่วมมือกัน<br />

ของทุกฝ่ายในการนําประโยชน์สาธารณะ<br />

เป็นที่ตั้ง และสร้างกระบวนการพัฒนา<br />

ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ต่อพื้นที่และ​<br />

ชุมชนนั้นๆ เพื่อสร้างความหมายใหม่ให้<br />

กับอาคารเก่าที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มี<br />

ความหมายต่อชุมชนเดิมในอดีต ไม่ว่า<br />

จะเป็นแหล่งงาน แหล่งค้าขายหรือระบบ<br />

ขนส่งของพื้นที่ในอดีตให้กับมามีบทบาท<br />

ใหม่กับเมืองและผู้คนอีกครั้ง<br />

Text: ดร.ชํานาญ ติรภาส / Chamnarn Tirapas, Ph.D.<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 142 143<br />

Refocus Heritage


VISUAL ESSAY<br />

Point Clouds<br />

Image: ผศ. ดร.ชาวี บุษยรัตน์ / Asst. Prof.Chawee Busayarat, Ph.D.<br />

วัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย<br />

วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 144 145<br />

Refocus Heritage


วัดนันตาราม จังหวัดพะเยา<br />

นครชุม และเรือนไทยไม้ ในตําบลนครชุม จังหวัดกําแพงเพชร<br />

<strong>ASA</strong> <strong>CREW</strong> <strong>21</strong> 146 147<br />

Refocus Heritage


บัรรณาธิการบริิหาร<br />

Managing Editor<br />

ผศ. ด้ร.กมลั จิราพงษ์<br />

Asst. Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

บัรรณาธิการ<br />

Editor<br />

ผศ. ด้ร.ส่พิชชา โตวิิวิิชญ์<br />

Asst. Prof.Supitcha Tovivich, Ph.D.<br />

บัรรณาธิการด้้านเนือหาสถาปััตยกรรม<br />

Architectural Feature Editor<br />

กฤษณะพลั วััฒนวัันยู<br />

Kisnaphol Wattanawanyoo<br />

บัรรณาธิการภาษาอังกฤษ<br />

English Editors<br />

Max Crosbie-Jones<br />

Thomas Lozada<br />

Alvaro Conti<br />

Art Director<br />

วิิชิต หอยิงสวััสด้ิ<br />

Wichit Horyingsawad<br />

Graphic Designer<br />

กฤติกา ปัระสิทธิ์์ศิริวังศ์<br />

Grittiga Prasitsiriwongse<br />

วณิิชชา สระที่องออย<br />

Vanicha Srathongoil<br />

กองบัรรณาธิการ<br />

Editorial Staff<br />

ปัวัริศ คืงที่อง<br />

Pawarit Kongthong<br />

ปัระสานงานกองบัรรณาธิการ<br />

Editorial Coordinator<br />

ปัระที่่มที่ิพย์ แสงจันที่ร์<br />

Prathumthip Saengchan<br />

นักแปัลั<br />

Translator<br />

ธนว์์กัญญา แจ้งใจธรรม<br />

Tanakanya Changchaitum<br />

ฐิติรัตน์ ม่วังศิริ<br />

Thitirat Muangsiri<br />

ภชภร ด่่านวิิร่ฬหวณิิช<br />

Patchaphon Danvirunhavanit<br />

ส่กัญญา นิมิตวิิไลั<br />

Sukanya Nimitvilai<br />

นักเข่ยนรับัเชิญ<br />

Contributors<br />

ปัภพ เกิด้ที่รัพย์<br />

Paphop Kerdsup<br />

พ่รณัฐ อ่ไรรัตน์<br />

Peeranat Urairat<br />

สิปัปัวัิชญ์ กำำบััง<br />

Sippawich Kambung<br />

อ. ด้ร.จิรันธนิน กิติกา<br />

Chirantanin Kitika, Ph.D.<br />

กิตติ เชาวันะ<br />

Kitti Chaowana<br />

รศ. ด้ร.นพด้ลั ตังสกุุล<br />

Assoc. Prof.Noppadon Tungsakul, Ph.D.<br />

ใจรัก จันที่ร์สิน ถนอมพงศ์สานต์<br />

Jairak Junsin Thanompongsarn<br />

วัสวััตติ ร่จิระภูมิ<br />

Wasawat Rujirapoom<br />

ด้ร.ชำำนาญ ติรภาคื<br />

Chamnarn Tirapas, Ph.D.<br />

ผศ. ด้ร.ชาวีี บุุษยรัตน์<br />

Asst. Prof.Chawee Busayarat, Ph.D.<br />

พิสูจน์อักษร<br />

Proofreader<br />

ชาคริิยา ม่ณ่รัตน์<br />

Chacriya Muneerat<br />

Digital Media Team<br />

SATARANA<br />

หัวัหน้าฝ่่ายสือดิิจิที่ัลั<br />

Digital Media Director<br />

ส่วัิชา พิที่ักษ์กาญจนกุุล<br />

Suwicha Pitakkanchanakul<br />

ปัระสานงาน<br />

Coordinator<br />

เตชิต จิโรภาสโกศลั<br />

Techit Jiropaskosol<br />

การตลัาด้<br />

Marketing<br />

พิมพ์วิิมลั วังศ์สม่ที่ร<br />

Pimwimol Wongsamut<br />

พิมพ์โด้ย<br />

Printed by<br />

ภาพพิมพ์<br />

Parbpim Printing<br />

รายนาม คืณะกรรมการบริิหาร<br />

สมาคืมสถาปนิิกสยาม<br />

ในพระบัรมราชูปถััมภ์<br />

ปัระจำำปีี 2561-2563<br />

<strong>ASA</strong> Executive Committee<br />

2018-2020<br />

นายกสมาคืม<br />

President<br />

นายอัชชพลั ด้่สิตนานนที่์<br />

Ajaphol Dusitnanond<br />

อุุปนายก<br />

Vice President<br />

นายเมธ่ รัศม่วัิจิตรไพศาลั<br />

Metee Rasameevijitpisal<br />

อุุปนายก<br />

Vice President<br />

ผศ. ด้ร.ธนะ จ่ระพิวััฒน์<br />

Asst. Prof.Thana Chirapiwat, Ph.D.<br />

อุุปนายก<br />

Vice President<br />

ด้ร.วสุุ โปัษยะนันที่น์<br />

Vasu Poshyanandana, Ph.D.<br />

อุุปนายก<br />

Vice President<br />

ด้ร.พินัย สิริเก่ยรติกุุล<br />

Pinai Sirikiatikul, Ph.D.<br />

อุุปนายก<br />

Vice President<br />

นายที่รงพจน์ สายสืบั<br />

Songpot Saiseub<br />

เลัขาธิการ<br />

Secretary General<br />

นายปรีีชา นวัปัระภากุุล<br />

Preecha Navaprapakul<br />

นายที่ะเบีียน<br />

Honorary Registrar<br />

พ.ต.อ. สักรินที่ร์ เข่ยวัเซ็็น<br />

Pol.Col.Sakarin Khiewsen<br />

เหรัญญิก<br />

Honorary Treasurer<br />

นางภิรวัด้่ ชูปัระวััติ<br />

Pirawadee Chuprawat<br />

ปัฏิิคืม<br />

Social Event Director<br />

นายสมชาย เปัรมปัระภาพงษ์<br />

Somchai Premprapapong<br />

ปัระชาสัมพันธ์<br />

Public Relations Director<br />

ผศ. ด้ร.กมลั จิราพงษ์<br />

Asst. Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

กรรมการกลัาง<br />

Executive Committee<br />

นายเที่่ยนที่อง ก่ระนันที่น์<br />

Thienthong Kiranandana<br />

กรรมการกลัาง<br />

Executive Committee<br />

ด้ร.รัฐพงศ์ อังกสิทธิ์์<br />

Rattapong Angkasith, Ph.D.<br />

กรรมการกลัาง<br />

Executive Committee<br />

นายชายแด้น เสถ่ยร<br />

Chaidan Satian<br />

กรรมการกลัาง<br />

Executive Committee<br />

นายร่งโรจน์ อ่วัมแก้วั<br />

Rungroth Aumkaew<br />

ปัระธานกรรมาธิการสถาปนิิกล้้านนา<br />

Chairman of Northern Region (Lanna)<br />

นายอิศรา อาร่รอบั<br />

Issara Areerob<br />

ปัระธานกรรมาธิการสถาปนิิกอ่สาน<br />

Chairman of Northeastern Region<br />

(Esan)<br />

นายธนาคืม วิิมลัวััตรเวัที่่<br />

Tanakom Wimolvatvetee<br />

ปัระธานกรรมาธิการสถาปนิิกที่ักษิณ<br />

Chairman of Southern Region (Taksin)<br />

นายนิพนธ์ หัสดีีวิิจิตร<br />

Nipon Hatsadeevijit<br />

สมาคมสถึาปนิกสยาม ในพื้ระบรมราชููปถััมภ์์<br />

248/1 ซูอยศูนย์วิิจัย 4 ถนนพระรามที่่ 9 แขวังบัางกะปิิ<br />

เขตห้วัยขวัาง กร่งเที่พฯ 10310<br />

The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage<br />

248/1 Soi Soonvijai 4, Rama IX Rd., Bangkapi,<br />

Huaykwang, Bangkok, 10310 Thailand<br />

Tel: 0-2319-6555 Fax: 0-2319-6555 press 120 or 0-2319-6419<br />

www.asa.or.th / Facebook : asacrew / Email: asacrewmag@gmail.com<br />

<strong>21</strong>


REFOCUS HERITAGE<br />

Vol. <strong>21</strong>/2020<br />

www.asacrew.asa.or.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!