สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ
เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดย ศาสตราจารย์ สมชาติ จึงสิริอารักษ์
เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 โดย ศาสตราจารย์ สมชาติ จึงสิริอารักษ์
Transform your PDFs into Flipbooks and boost your revenue!
Leverage SEO-optimized Flipbooks, powerful backlinks, and multimedia content to professionally showcase your products and significantly increase your reach.
ข้อมูลทางบรรณานุกรม<br />
ชื่อหนังสือ <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong> :<br />
เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยาม ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษ<br />
ผู้เขียน<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์<br />
ปีที่พิมพ์ 2563<br />
เลขมาตรฐานสากล 978-616-7384-35-1<br />
ประจำาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์<br />
จัดพิมพ์<br />
รูปเล่ม<br />
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />
248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 (ซอย 17) ถ.พระรามที่ 9<br />
แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310<br />
บริษัท บานาน่า สตูดิโอ จำากัด<br />
408/16 ถนนพระรามที่ 5 แขวงถนนนครไชยศรี<br />
เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300<br />
ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เนื้อหา ©สมชาติ จึงสิริอารักษ์ 2563<br />
ลิขสิทธิ์รูปเล่ม ©สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2563<br />
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537<br />
การคัดลอกหรือเผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ต้องได้รับอนุญาต<br />
เป็นลายลักษณ์อักษรจากทางผู้เขียนและสมาคมสถาปนิกสยาม<br />
ในพระบรมราชูปถัมภ์เท่านั้น<br />
Cataloguing in Publication<br />
Title<br />
Modern Architecture for a Civilized Nation:<br />
A Comparative Study of the Searching Between Japan and Siam<br />
from the mid 19 th century to the mid 20 th century<br />
Author<br />
Somchart Chungsiriarak<br />
Year 2020<br />
ISBN (e-book) 978-616-7384-35-1<br />
Publisher<br />
Production<br />
The Association of Siamese Architects under Royal Patronage<br />
248/1 Soi Soonvijai 4 (Soi 17) Rama 9 Road,<br />
Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310<br />
Banana Studio Co.,tld<br />
408/16 Rama 5 Road, Thanon Nakhon Chai Si,<br />
Dusit, Bangkok 10300<br />
Copyrights Copyrights text © Somchart Chungsiriarak 2020<br />
Copyrights artwork ©ASA 2020<br />
All right reserved. No part of this publication may be<br />
reproduced or transmitted in any form or by any means,<br />
electronic or mechanical, including photocopy, recording or<br />
any other information storage and retrieval system, without<br />
prior permission in writing from the publisher
สารนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />
เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อพุทธศักราช 2559<br />
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รู้สึกสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ประกอบกับ<br />
เนื่องในวาระครบรอบ 84 ปี สมาคมสถาปนิกสยามฯ เมื่อพุทธศักราช 2561 ที่ผ่านมา สมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้<br />
จัดทำาโครงการ “The Ten Books on Architecture by ASA: หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม 10 เล่ม โดยสมาคม<br />
สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์” ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสอันเป็นมงคลดังกล่าว<br />
หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม 10 เล่มที่จัดทำาขึ้นในรูปเล่มขนาด 10 นิ้ว x 10 นิ้วและเผยแพร่<br />
ในรูปแบบ e-book นี้ เป็นการรวบรวมผลงานการศึกษาสถาปัตยกรรมในสาขาวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมไทย<br />
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ภูมิสถาปัตยกรรม และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ให้แก่ผู้ที่สนใจทั้งใน<br />
และนอกวงการสถาปัตยกรรมได้อ่านและค้นคว้าอย่างแพร่หลายโดยไม่คิดมูลค่า โดยมีผู้เขียนเป็นคณาจารย์ที่มีความรู้<br />
ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเหล่านั้นจากสถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมชั้นนำาของประเทศ ได้แก่<br />
1. ว่าด้วยภูมิสถาปัตยกรรม บทความคัดสรรในรอบ 3 ทศวรรษ โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำา<br />
2. สารัตถะการพัฒนาสถาปัตยกรรม และชุมชนเมือง เอกลักษณ์ วิชาชีพ การศึกษา การวิจัยออกแบบ และ<br />
สภาพแวดล้อม โดย ศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร<br />
3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร. วีระ อินพันทัง และคณะ<br />
4. <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong> เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยาม ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึง<br />
กลางศตวรรษที่ 20 โดย ศาสตราจารย์ สมชาติ จึงสิริอารักษ์<br />
5. งานสถาปัตยกรรมไทย ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />
โดย ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล<br />
6. หลักคิดด้านคุณค่าของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ยงธนิศร์ พิมลเสถียร<br />
7. อาษามหากาฬ: จากเริ่มต้นจนอวสาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว<br />
8. สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย โดยศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม ประเวศ ลิมปรังษี<br />
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีระพัฒน์ สำาราญ<br />
9. เปิดคลังเอกสาร อมร ศรีวงศ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พินัย สิริเกียรติกุล<br />
10. หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย บรรณาธิการโดย ดร. วิญญู อาจรักษา<br />
สมาคมสถาปนิกสยามฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมทั้ง 10 เล่มนี้ จะเป็น<br />
ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยทางวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรม ตลอดจนใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ หรือใช้<br />
เป็นข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ในการอ้างอิง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม และสร้างสรรค์ผลงานที่มีความหมาย<br />
และคุณค่าให้แก่สังคมต่อไป<br />
(ดร. อัชชพล ดุสิตนานนท์)<br />
นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำาปี 2561 - 2563
คำนำ<br />
คนไทยนิยมเปรียบความก้าวหน้าทางสังคม-เทคโนโลยีกับประเทศญี่ปุ่น ด้วยความสงสัยว่าเหตุใดจึงพัฒนาได้น้อยกว่าทั้งๆ ที่<br />
เปิดประเทศรับอารยธรรมตะวันตกมาพร้อมๆ กัน เงื่อนไขของบริบททั้งภายในและภายนอกประเทศก็ไม่ได้ต่างกันนัก แต่สมมติฐานนี้<br />
ใกล้ความจริงแค่ไหน มีน้อยคนที่จะทำางานศึกษาวิจัยเปรียบเทียบอย่างจริงจังแล้วนำามาเผยแพร่ไม่ว่าจะเป็นสาขาใดก็ตาม โดยเฉพาะ<br />
สาขาสถาปัตยกรรมนั้นกล่าวได้ว่าไม่มีเลย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเล่มแรกๆ ที่ทำาการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรม<br />
ยุคสมัยใหม่ราวกลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ของทั้งสองประเทศอย่างเป็นระบบเพื่อไขข้อข้องใจ<br />
ดังกล่าว เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงแรงจูงใจที่พาทั้งสองชาติไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ นั่นคือ สิ่งที่เรียกว่า ความศิวิไลซ์ ซึ่งเปรียบ<br />
เสมือนดาวประกายพรึกที่ทั้งสองชาติต้องการหามาประดับกาย แต่เมื่อเข้าใกล้ดาวประกายพรึกแล้วทั้งสองชาติกลับพบว่ามันไม่ได้<br />
มีขนาดที่เหมาะสมกับอุ้งมือของเขาเลย แล้วทั้งสองชาติจะทำาอย่างไร ความน่าสนใจของหนังสือนี้อยู่ที่การกล่าวถึงแนวคิดและวิธีการ<br />
ไปไขว่คว้าดวงดาว และการปรับแปลงดวงดาวที่ใฝ่ฝันให้เหมาะสมกับวิญญาณและกายภาพของตัวเอง การศึกษาแบบเปรียบเทียบ<br />
ทำาให้เห็นถึงแนวคิดและวิธีการสร้างสรรค์ที่เหมือนกันบ้างต่างกันบ้างได้ชัดเจนขึ้น มันจะทำาให้ผู้อ่านเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของเราเอง<br />
อย่างไม่เอนเอียง ซึ่งนำาไปสู่คำาตอบว่าทำาไมเราไปไม่ได้ไกลเท่าเขา ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรขอเชิญท่านผู้อ่านค้นหาเองด้วย<br />
การอ่านหนังสือนี้ให้หมดทั้งเล่ม<br />
<strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20 ปรับปรุง<br />
รูปเล่มและเนื้อหาบางตอนมาจากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของผู้เขียนที่ชื่อ การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ระหว่าง<br />
ญี่ปุ่นกับสยามตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 ถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1850-1945 /พ.ศ. 2390-2488) ที่เขียนเสร็จช่วงครึ่งหลัง<br />
ของ พ.ศ. 2560 ผู้เขียนขอขอบคุณคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่ให้ทุนการทำาวิจัยในครั้งนั้น และใน พ.ศ. 2563<br />
นี้ผู้เขียนขอขอบคุณสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ที่สนับสนุนให้จัดพิมพ์เป็นหนังสือที่สมบูรณ์ และเพื่อให้ครอบคลุม<br />
กัลยาณมิตรที่ช่วยเหลือเรื่องต่างๆ ในคราวจัดพิมพ์รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เมื่อสามปีก่อน จึงขอขอบคุณหอสมุดมหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ โชติมา จตุรวงค์ และพินัย สิริเกียรติกุล สำาหรับการช่วยหาหนังสือที่จำาเป็นต่อการวิจัย โดยเฉพาะ<br />
โชติมา ที่อุตส่าห์สำาเนาหนังสือสำาคัญจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลมาให้ สิริเดช วังกรานต์ สำาหรับการช่วยค้นหาเอกสารที่ผู้วิจัยต้องการ<br />
ได้อย่างรวดเร็ว ชิษณุพงศ์ รุจิโรจน์วรางกูร สำาหรับการตรวจทานคำาผิดและจัดระเบียบบรรณานุกรม ปองพล ยาศรี สำาหรับพลังความ<br />
ตั้งใจและความสามารถในการจัดรูปเล่มรายงานวิจัยที่มีภาพประกอบกว่า 500 ภาพฉบับนั้น ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล เกรียงไกร เกิดศิริ<br />
ชาตรี ประกิตนนทการ และชาญวิทย์ สุขพร สำาหรับการไถ่ถามความคืบหน้าด้วยไมตรีจิต รวมทั้งมิตรอีกหลายท่านที่ไม่ได้ระบุนาม<br />
ที่ช่วยให้กำาลังใจผู้เขียนด้วยความปรารถนาดีต่างๆ ท้ายสุดแต่ไม่สุดท้ายขอขอบคุณ ลีนวัตร ธีระพงษ์รามกุล วรัญญา แซ่ลิ่ม และคณะ<br />
ในการยกเครื่องปรับปรุงการจัดรูปเล่มใหม่ทั้งหมดสำาหรับการพิมพ์ครั้งนี้ ถ้าไม่มีความช่วยเหลือจากบุคคลที่กล่าวมาแล้ว หนังสือเล่มนี้<br />
คงจะยังค้างท่อหรือล่องลอยอยู่ในอวกาศสักที่ใดที่หนึ่ง ผู้เขียนขอแสดงความขอบคุณอย่างจริงใจอีกครั้งที่พวกเขามีส่วนในการนำ าความรู้<br />
มาเผยแพร่ไปสู่แวดวงที่กว้างขวาง สำาหรับความผิดพลาดทั้งหลายที่พึงมีในหนังสือนี้ผู้เขียนขอน้อมรับการวิพากษ์วิจารณ์ าติชมทั้งหลาย คำ<br />
ด้วยใจเปิดกว้างเพื่อการแก้ไขปรับปรุงในอนาคต<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์<br />
มีนาคม 2563
สารบัญ<br />
บทที่<br />
1<br />
บทนา 8<br />
บทที่<br />
2<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น 26<br />
• ยุคศตวรรษที่ 16-17 ถึงก่อนเปิดประเทศ<br />
ในกลางศตวรรษที่ 19 29<br />
• ช่วงญี่ปุ่นเปิดประเทศจนถึงช่วงโชกุนหมดอำานาจ<br />
(Bakumatsu) (1853-1867) 31<br />
• รัชสมัยเมจิ (Meiji Period) (1868-1912) 36<br />
• รัชสมัยเมจิตอนต้น (1868-1890) 36<br />
• รัชสมัยเมจิตอนปลาย (1890-1912) 48<br />
• รัชสมัยไทโช (Taisho Period) (1912-1926) 68<br />
• รัชสมัยโชวะ (Showa period) ตั้งแต่เริ่มรัชสมัย<br />
จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1926-1945) 101
บทที่ บทที่<br />
3<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม 168<br />
• ยุคก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จ<br />
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4<br />
(ก่อน 1851) 171<br />
• รัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4<br />
(1851-1868) 172<br />
• รัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5<br />
(1868-1910) 179<br />
• ช่วงครึ่งแรกของรัชกาลที่ 5<br />
(1868-ก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน<br />
ในทศวรรษ1890) 179<br />
• ช่วงครึ่งหลังรัชกาลที่ 5 (1890-1910) 188<br />
• รัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6<br />
(1910-1925) 210<br />
• รัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7<br />
(1925-1935) 229<br />
• รัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8<br />
(1925-1935) 254<br />
4<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรม<br />
ยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม 302<br />
• สถาปัตยกรรมแห่งความศิวิไลซ์<br />
(สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก) (1850-1910) 306<br />
• สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (1910-1940)<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงแรก (1910-1926)<br />
335<br />
336<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงที่ 2 (1926-1945) 343<br />
• สถาปัตยกรรมชาตินิยม (1890-1945) 364<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงแรก (1890-1910) 365<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่ 2 (1910-1926) 367<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่ 3 (1926-1945) 377<br />
• สถาปัตยกรรมแห่งสงครามและการสร้างชาติ<br />
(ทศวรรษ 1930-1940) 389<br />
บทที่<br />
5<br />
บทสรุป 410<br />
บรรณานุกรม 427<br />
ที่มาภาพ 432<br />
ประวัติผู้เขียน 441
บทคัดย่อ<br />
ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นและสยามถูกจักรวรรดินิยมตะวันตกบีบบังคับให้เปิดประเทศค้าขาย<br />
โดยสนธิสัญญาการค้าที่เอารัดเอาเปรียบด้วยแสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่า ราชอาณาจักรทั้งสอง<br />
เข้าใจดีว่าจะต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยและ “ศิวิไลซ์” เพื่อเอาตัวรอดจากการตกเป็นอาณานิคม<br />
หลังเปิดประเทศใน ค.ศ. 1853 แล้วญี่ปุ่นทำาสงครามปฏิวัติโค่นล้มระบอบโชกุน สถาปนาระบอบ<br />
คณาธิปไตยที่มีพระจักรพรรดิเป็นประมุข มีจุดมุ่งหมายที่จะนำาประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง<br />
รำ่ำรวย และก้าวหน้า การปฏิรูปอุตสาหกรรม การทหาร และการศึกษาในรัชสมัยเมจิ (1868 - 1912)<br />
ทำาให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนประเทศจากเกษตรกรรมที่ล้าหลังมาเป็นอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งอย่างรวดเร็ว<br />
การก่อตั้งสาขาวิชาวิศวกรรมอาคารในมหาวิทยาลัยโตเกียวตั้งแต่ ค.ศ. 1877 โดยมีอาจารย์ชาวอังกฤษ<br />
เป็นผู้สอนทำาให้ญี่ปุ่นสามารถผลิตสถาปนิกได้เองในหนึ่งทศวรรษ คนเหล่านี้มีความสามารถทั้งด้าน<br />
วิชาชีพและวิชาการ ปรากฏชัดในรูปผลงานสถาปัตยกรรมและหนังสือทฤษฎีสถาปัตยกรรมตั้งแต่<br />
ทศวรรษ 1890 ช่วงเวลาเดียวกันในสยามตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
(1868-1910) การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเพิ่งเริ่มขึ้นในทศวรรษ 1890 เป็นไปอย่างเชื่องช้าและ<br />
พึ่งพาความสามารถของผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่รัฐบาลจ้าง พวกเขาเป็นผู้ปฏิบัติงานสาขาต่างๆ<br />
รวมทั้งงานสถาปัตยกรรม ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มสถาปนิก-วิศวกรชาวอิตาเลียนกว่า 10 คน<br />
ประจำากระทรวงโยธาธิการ แม้ดูเหมือนว่าสยามจะสามารถสร้างอาคารแบบตะวันตกได้ แต่ก็มาจาก<br />
มันสมองของสถาปนิกต่างชาติโดยใช้แรงงานของช่างและกรรมกรพื้นเมือง การสร้างคุณภาพของ<br />
บุคลากร คือ ความแตกต่างสำาคัญของบริบททางสถาปัตยกรรมตอนปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษ<br />
ที่ 20 ของชาติทั้งสอง และมันจะส่งผลต่อเนื่องยาวนานอย่างมีนัยสำาคัญ<br />
เมื่อเริ่มรัชสมัยไทโช (1912-1926) ท่ามกลางบรรยากาศการปกครองระบอบกึ่งประชาธิปไตย<br />
วงการสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและต้องการหาอัตลักษณ์ของตนเองผ่าน<br />
รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และชาตินิยม สถาปนิกรุ่นใหม่หัวก้าวหน้าต้องการสถาปัตยกรรม<br />
ที่เป็นอิสระจากรูปแบบโบราณทั้งตะวันตกและพื้นเมือง แต่ยังคงต้องการให้สถาปัตยกรรมแบบใหม่<br />
เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นทางนามธรรม ขณะที่พวกชาตินิยมต้องการนำารูปแบบโบราณมาประยุกต์<br />
โดยใช้เทคโนโลยีและวัสดุสมัยใหม่ช่วยทำาให้เกิดรูปแบบตัวอาคารเป็นตะวันตกแต่หลังคาเป็นวัดญี่ปุ่น<br />
ที่มีชื่อเรียกว่า แบบไทคันโยชิกิหรือมงกุฎจักรพรรดิ แต่สถาปนิกชาตินิยมนักวิชาการอิโตะ ชูตะ<br />
เสนอทางเลือกใหม่เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการที่ไม่ต้องการเลียนแบบวัดญี่ปุ่นโบราณ<br />
แต่ให้รูปแบบสถาปัตยกรรมเปลี่ยนไปอย่างมีเหตุปัจจัยตามทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วินที่สุดท้ายแล้ว<br />
แบบที่ออกมาก็หนีไม่พ้นการผสมผสานอาคารโบราณของชาติต่างๆ ในเอเชียอยู่ดี ยุคเดียวกัน
ในสยามตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1910-1925) การออกแบบอาคาร<br />
สำาคัญยังคงพึ่งสถาปนิก-วิศวกรต่างชาติ การศึกษาสถาปัตยกรรมยังไม่เกิดขึ้น สถาปัตยกรรมสำาคัญ<br />
ของรัฐบาลจึงไม่ต่างจากงานในรัชกาลก่อน อาคารที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นอาคารสมัยใหม่นั้นกลับเป็น<br />
อาคารสาธารณูปโภคคอนกรีตที่สร้างโดยวิศวกร สิ่งที่น่าสนใจ คือ ลัทธิชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ที่สถาปนาโดยพระมหากษัตริย์เพื่อกำาราบพวกนิยมประชาธิปไตย ทำาให้เกิดสถาปัตยกรรมไทยสร้างด้วย<br />
คอนกรีตซึ่งเป็นงานออกแบบของสถาปนิกชาวตะวันตก เช่น หอสวดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง และ<br />
ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ยึดครองรูปแบบความเป็นไทยและเป็นแม่แบบให้สถาปนิก<br />
รุ่นหลังทำาตามสืบมา สรุปในช่วงทศวรรษ 1910-1920 ญี่ปุ่นได้เริ่มต้นสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
พร้อมกับการหาอัตลักษณ์แบบนามธรรมอย่างจริงจังแล้วขณะที่สยามยังไม่มีวี่แววจะเริ่มต้น แต่ก็มี<br />
สิ่งที่เหมือนกันประการหนึ่ง คือ กลุ่มสถาปนิกชาตินิยมเห็นว่าการใช้รูปแบบอาคารโบราณที่สร้างด้วย<br />
เทคนิคและวัสดุใหม่เป็นเรื่องที่ถูกต้อง และก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลและชนชั้นนำาเห็นพ้อง<br />
รัชสมัยโชวะ (1926-1945) ญี่ปุ่นกลายเป็นเป็นรัฐเผด็จการทหารเต็มตัว แต่สถาปนิกหัวก้าวหน้า<br />
ยังก้าวต่อไปไม่หยุดยั้งในแนวคิดสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ ภายใต้อิทธิพลของสำานักเบาเฮาส์<br />
(Bauhaus) และสถาปนิกเลอคอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) มีผลงานจำานวนไม่น้อยที่แสดงให้เห็น<br />
อัตลักษณ์ของตนเอง โดยการบูรณาการวัฒนธรรมญี่ปุ่นเข้ากับสถาปัตยกรรมกล่องสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยง<br />
แต่อิสรภาพของพวกสากลนิยมสมัยใหม่ค่อยๆ หมดลง เมื่อรัฐบาลทหารเข้าควบคุมระบบเศรษฐกิจ<br />
และประกาศส่งเสริมสถาปัตยกรรมชาตินิยม หรือแบบมงกุฎจักรพรรดิ (ไทคันโยชิกิ) ตั้งแต่ทศวรรษ<br />
1930 อาคารมงกุฎจักรพรรดิกลายเป็นต้นแบบของอาคารราชการสำาคัญ เมื่อถึงทศวรรษ 1940 ญี่ปุ่น<br />
กลายเป็นรัฐชาตินิยมและจักรวรรดินิยม สถาปนิกทุกคนรวมทั้งพวกสากลนิยมสมัยใหม่ต้องหันไป<br />
ผลิตงานแบบชาตินิยม ที่มีจุดประสงค์สดุดีการทำาสงครามขยายอาณาเขตและการเผยแพร่วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น ท่ามกลางการเอาตัวรอดในยามวิกฤตนี้ สถาปนิกอย่างซากากูระ จุนโซได้เสี่ยงออกแบบศาลา<br />
ญี่ปุ่นในงานนิทรรศการนานาชาติที่กรุงปารีส (1937) ในแบบสากลนิยมสมัยใหม่ และเมอิคาว่า คูนิโอ<br />
ออกแบบโครงการประกวดแบบศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย (1943) โดยกลบเกลื่อนผังแบบสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ด้วยอาคารที่มีหลังคาแบบปราสาทญี่ปุ่นโบราณ ในยุคเดียวกันนี้ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (1925-1935) ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล<br />
(1925-1946) ในสยาม อันเป็นช่วงเวลาที่การเมืองสยามมีความผันผวนเป็นอย่างยิ่ง โดยเริ่มต้นด้วย<br />
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วมีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย<br />
ในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะกลายเป็นระบอบเผด็จการทหารที่สมบูรณ์แบบในที่สุด แต่ระบอบการเมือง<br />
ไม่ได้มีผลโดยตรงกับงานสถาปัตยกรรมในช่วงแรก ช่วงต้นทศวรรษ 1930 บรรดาสถาปนิกรุ่นใหม่<br />
ชาวไทยที่สำาเร็จการศึกษาจากสถาบันอีโคลเดอโบซาร์(École des Beaux-Arts) ในฝรั่งเศสและโรงเรียน
สถาปัตยกรรมในอังกฤษ ได้นำารูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อาร์ตเด็คโค (Art Deco)<br />
สร้างด้วยคอนกรีตที่เรียบเกลี้ยงมาเผยแพร่จนได้รับความสนใจไปทั่ว แม้กระทั่งสถาปนิกที่ทำางาน<br />
สถาปัตยกรรมไทย เช่น พระพรหมพิจิตร ก็ยังออกแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ที่เรียบเกลี้ยง<br />
ควบคู่ไปกับสถาปัตยกรรมไทยที่เต็มไปด้วยลวดลายแต่สร้างด้วยคอนกรีต ช่วงทศวรรษ 1940<br />
สถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่และแบบไทยต่างมีความน่าสนใจเพราะสถาปนิกต้องทำางานสนองนโยบาย<br />
รัฐบาลชาตินิยมเผด็จการ ประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี มีส่วนร่วมสำาคัญในการสร้างสีสันให้กับ<br />
วงการสถาปัตยกรรม โดยการใส่ประติมากรรมเข้าเป็นองค์ประกอบทั้งลักษณะนูนสูงและลอยตัว<br />
ทำาให้อาคารหลายแห่งมีลักษณะศิลปะยุคฟาสซิสต์ (Fascist) ที ่สมบูรณ์แบบ เช่น ศาลากลางจังหวัด<br />
พระนครศรีอยุธยา (1934-1941) และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942) รวมทั้งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940)<br />
ที่ใช้แบบอาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์เพื่อร ำาลึกถึงการปฏิวัติประชาธิปไตย จึงเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความย้อนแย้ง<br />
ในตนเองในเรื่องแบบศิลปะและความหมายเป็นอย่างยิ่ง<br />
ในสถานการณ์ที่รัฐบาลลัทธิชาตินิยมเผด็จการปกครองประเทศทั ้งสองนี้ สิ่งที่เหมือนกัน<br />
ในวงการสถาปัตยกรรม คือ สถาปนิกต้องสร้างโครงการสดุดีรัฐบาลและนโยบายของพวกเขา สิ่งที่แตกต่าง<br />
คือ สถาปนิกชั้นนำาของญี่ปุ่นสร้างสรรค์งานจากทฤษฎีไปหารูปธรรม พวกเขาสั่งสมพื้นฐานแนวคิด ทฤษฎี<br />
และประสบการณ์การออกแบบที่มั่นคงยาวนานกว่ามาก ขณะที่สถาปนิกไทยยังเพิ่งเริ่มต้นวิชาชีพนี้<br />
จึงขาดทฤษฎีชี ้นำาที่ตกผลึกและต้องการเพียงรูปแบบที่เป็นที่นิยมเท่านั้น จากบริบทที่ใช้ปัญญา<br />
ทางสถาปัตยกรรมที่พัฒนามาตั้งแต่สมัยเมจิ ทำาให้สถาปนิกญี่ปุ่นเดินตามแนวทางสถาปัตยกรรม<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้น ขณะที่สถาปนิกสมัยใหม่ของไทยเลือกแบบอาร์ตเด็คโค<br />
ที่ผิวเผิน แม้กระทั่งสถาปนิกแนวชาตินิยมญี่ปุ่นก็ใช้วิชาการทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล<br />
นำาทาง ขณะที่สถาปนิกสถาปัตยกรรมไทยเน้นรูปแบบภายนอกเป็นหลักเหมือนเพื่อนสถาปนิก<br />
สมัยใหม่ของพวกเขา การออกแบบจึงแกว่งกลับไปมาระหว่างแบบไทยโบราณและแบบไทยสมัยใหม่<br />
จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เมื่อพ้นยุคเผด็จการทหารในทศวรรษ 1940 แล้ว ญี่ปุ่นจะหันกลับสู่แนวทาง<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ที่มีอัตลักษณ์ของตนเองอีกครั้งหนึ ่งโดยไม่หวนกลับไปหาแนวทางชาตินิยมอีก<br />
ขณะที่ไทยยังคงหาแนวทางของตนเองไม่พบ และต้องกลับไปพึ่งพารูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณ<br />
ทุกครั้งเมื่อมีการเรียกหาอัตลักษณ์ของตนเองซำ้ำแล้วซำ้ำเล่าตลอดมา
Abstract<br />
During the mid-19th century Japan and Siam were forced to open their countries for<br />
trade with western imperialists. Both countries understood that modernization and the ‘civilized’<br />
culture were needed in order to avoid to be colonized. After opening the country in 1853 the<br />
shogunate administration was ended by Boshin revolution. The new oligarchy government<br />
headed by emperor Meiji aimed at establishing a democratic Japan that was strong, rich and<br />
progress. Reform of industry, military and education in the Meiji period (1868-1912) changed<br />
an underdeveloped agricultural Japan into a strong industrial country rapidly. Founding of<br />
department of building engineering in the University of Tokyo in 1877 led by a young British<br />
professor enabled Japan to produce homegrown architects within one decade. Performance<br />
of these young architects was high. This was certified by their building projects and academic<br />
research from the 1890’s. At the same time in Siam was the reign of King Rama V (1868-1910).<br />
Siam’s governmental reform was started only in the 1890’s. The process was slow and<br />
depended on European experts employed by government. Most of development projects in<br />
infrastructure including architecture building were executed by these Europeans. It seemed<br />
that Siam was able to build western style buildings by themselves but in fact an Italian<br />
professional team was behind the scene. Participation of Siamese was limited only on works<br />
for craftsmen and labours. The making of high quality contemporary professionals was the<br />
main difference in architectural content between Japan and Siam in the period of the late<br />
19th century to the early 20th century. The consequence from this point of beginning was<br />
important and it marked a wider difference between the two countries later.<br />
The Taisho period (1912-1926) started with quasi-democratic government. Japanese<br />
architectural realm progressed rapidly at the same time architectural identity was seek through<br />
both modern style and nationalism style. A new generation of progressive young architects<br />
requested architecture freed from historic styles while relation to Japanese culture in abstract<br />
way was still required. On the other hand the nationalist architects wanted to revive traditional<br />
forms constructed by new technology and materials. It brought about a kind of building having<br />
modern body covering by historic temple roof known as Imperial crown style or Taikan<br />
Yoshiki. However another nationalist architect and scholar Ito Chuta proposed architecture
of “Theory of Evolution” which denied Japanese historic forms but insisted in an architectural<br />
form that evolved through the condition of its environment. But finally the outcome of Ito’s<br />
designs was still an eclectic mixture of various types of Asian architecture. This moment<br />
coincided with the reign of King Rama VI (1910-1925) of Siam. Foreign experts still played<br />
important role in government building designs while architectural education was yet to<br />
happen. Architectural characteristics hence were not much different from those classical and<br />
romantic buildings of the previous reign. What can be described as ‘modern buildings’ were<br />
those infrastructure buildings built of concrete and designed by engineers. Most interesting<br />
buildings were those produced by the king’s absolute monarchical nationalism ideology set<br />
for eliminating followers of democracy. It brought about concrete Thai architecture which was<br />
eclectic in appearance designed by foreign architects. These buildings occupied<br />
representative of ‘Thainess’ in architecture and became the prototype of nationalism<br />
architecture. In conclusion of the 1910’s-1920’s period young progressive Japanese architects<br />
started designing modern architecture that having its own identity whereas Siam showed no<br />
sign to change its previous western style architecture. However nationalist architects of both<br />
nations shared common believe that revival of historic forms with employed new technique<br />
and materials for their construction was the right way to create contemporary architecture.<br />
This idea was endorsed by government and among those elites.<br />
The Showa period (1926-1945) saw Japan became a full authoritarian state.<br />
Surprisingly, progressive architects still moved forward toward International Modern idea<br />
under influence of the Bauhaus school and architect Le Corbusier. There were a number<br />
of works revealed Japanese identity within the clean cube architecture by integrating<br />
Japanese culture in an abstract way. However freedom of the International Modern group<br />
gradually varnished when military government controlled the country’s economy as well as<br />
declared nationalism architecture i.e. the Imperial crown style or Taikan Yoshiki as national<br />
favorite style. From the 1930’s the Imperial crown style became the favorite model of<br />
government buildings. From the 1940’s Japan became imperialistic state and started the<br />
wide-ranging Asian-Pacific war. Every architect including the International Modern’s members
had to participate nationalism projects saluting military expansionism and Japanese cultural<br />
propaganda. In this critical and self-surviving time Sakakura Junzo took a risk in designing<br />
Japan pavilion of the Paris Exposition 1937 in Le Corbusier influenced characteristic. Maekawa<br />
Kunio designed a competition project of Japan-Thai Cultural Centre in 1943 by camouflaging<br />
his International Modern building’s plan with a historic castle roof. This moment coincided<br />
with the reign of King Rama VII (1925-1935) and King Rama VIII (1935-1946) of Siam<br />
(become Thailand in 1939) respectively. It was a very unstable political moment of Thailand.<br />
It started with monarchical regime which was overthrown by the democratic revolution in<br />
1932 before the new regime swang into a military authoritarian regime finally. However<br />
politics did not effect architectural creativity at the beginning. In the 1930’s a new generation<br />
of Siamese architects finished their studies from the Ecole des Baux-Arts in France and the<br />
school of architecture in Liverpool, England. They brought with them to Siam a kind of<br />
modern architecture called “Art Deco” in the form of a clean and smooth appearance’s<br />
concrete building. It was widespread by popularity. Even Thai traditional style architect such<br />
as Phra Prompijit also designed clean modern Thai architecture built by concrete along with<br />
traditional heavily ornamented Thai style. In the 1940’s Thailand was governed by a<br />
nationalism authoritarian regime. Architects both modern and traditional camps participated<br />
building programmes saluting government policies. Corrado Feroci a competent Italian<br />
sculptor contributed richness to architectural designs by adding his sculptures as a supportive<br />
component. They made some buildings become a perfect art of Fascism period for example<br />
the Headquarter of the City of Ayutthaya (1934-1941), Monument of Victory (1942) including<br />
Monument of Democracy (1940) which was designed in Art Deco and Fascism characteristic in<br />
order to commemorate the democracy revolution. Hence it was an architectural irony<br />
especially conflict between its attributed meaning and its art style.<br />
In the situation that authoritarian nationalism regime governed the two countries. In the<br />
realm of architecture the similarity was that architects had to create projects saluting the<br />
government and its policies. The difference was that leading architects in Japan created<br />
works from theoretical basis to find a built form. They had been collecting ideas, theories and<br />
design experience for a much longer time whereas Thai architects just started this profession.<br />
Hence the Thais lacked crystal clear theory to direct their designs and apparently they only
needed a popular built form to satisfy their clients. The Japanese architectural intellectual<br />
context developed from the Meiji period led them to follow the International Modern movement<br />
which offered the most progressive architectural explanation at the time. Whereas modern<br />
Thai architects chose the superficial Art Deco. Even Japanese nationalism architects employed<br />
theory in architectural history as a design guide while Thai traditional style architects focused<br />
only built forms like their modern architect comrades. Consequently their designs swang forth<br />
and back from Thai traditional style to Thai modern style. As a result it was not surprised that<br />
after the end of the authoritative nationalism in the 1940’s Japanese architects came back<br />
to the track of International Modern movement with its own identity again and never returned<br />
to the nationalism architecture. Whereas Thai architects could still find no direction and had<br />
to depend on the historic forms again and again every time when identity in architecture was<br />
requested.
นิยามศัพท์<br />
ยุคสมัยใหม่ หมายถึง ช่วงเวลาที ่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศสยามเปิดประเทศค้าขายกับ<br />
จักรวรรดินิยมตะวันตกตามสนธิสัญญาการค้า ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตอนกลางศตวรรษที ่ 19 ถึงสิ้นสุด<br />
สงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ราว ค.ศ. 1850-1945 หรือประมาณ พ.ศ. 2390-2488<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ (International Modern หรือ International Style) หมายถึงรูป<br />
แบบสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 20 ที่เริ่มต้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) ชื่อนี้น่าจะ<br />
เริ่มใช้โดย อัลเฟรด บารร์ (Alfred H. Barr) (1902-1981) ต่อมานักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
เอช อาร์ ฮิทชค็อก (H.R. Hitchcock) และฟิลิป จอห์นสัน (Philip Johnson) รับมาเผยแพร่ต่อด้วย<br />
การตีพิมพ์ในราว ค.ศ. 1932 โดยทั่วไปแล้วชื่อนี้ยอมรับกันว่า หมายถึง งานสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์<br />
โดย วอลเตอร์ โกรเปียส (Walter Gropius) และพรรคพวกในเยอรมนี มีรูปแบบที่ต้องการเป็นอิสระ<br />
จากงานสมัยโบราณทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นจึงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากบรรดาสถาปนิก<br />
หัวก้าวหน้าแถบยุโรปกลางตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (1918) และแพร่หลายไปทั่ว รูปลักษณ์ของ<br />
อาคารเหล่านี้ คือ ความอสมมาตร ทรงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงปราศจากลวดลายและมักทาสีขาว<br />
หลังคาแบน หน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมแคบยาวตลอดเหมือนแถบผ้า หรือไม่ก็เป็นผืนกระจกใหญ่หุ้มผนัง<br />
ตึกทั้งด้าน โครงสร้างเป็นเหล็กหรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่พื้นคอนกรีตถูกรับนำ้ำหนักโดยเสาโครงสร้าง<br />
และพื้นไร้คาน ทำาให้สามารถกั้นฝาได้อย่างอิสระเพราะผนังไม่ใช่ส่วนหนึ่งของโครงสร้างแบบ<br />
สถาปัตยกรรมโบราณแล้ว รูปแบบอ้างอิงของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ ได้แก่ อาคารสถาบัน<br />
เบาเฮาส์ที่เดสเซา (Bauhaus, Dessau) (1925-1926) ของโกรเปียส ซาลเวชั่น อาร์มมี่ โฮสเต็ล<br />
(Salvation Army Hostel) (1929) และศาลาสวิส (Pavillon Suisse) (1930-1932) ในปารีสของ<br />
เลอ คอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) และงานเคหะการของมีส์ ฟาน เดอ โฮ (Mies van der Rohe) ที่<br />
ไวส์เซนโฮฟซิดลุง (Weissenhofsiedlung) (1927) ในสตุตการ์ท (Stuttgart) เยอรมนี อุดมการณ์ใน<br />
การออกแบบของพวกเขาถูกขนานนามว่า “สุนทรียภาพแห่งเครื่องจักรกล” (Machine Aesthetic)<br />
และจัดอยู่ในจำาพวกฝ่ายซ้ายหัวก้าวหน้า มันถูกนำาไปใช้ออกแบบอย่างกว้างขวางในกลุ่มสถาปนิก<br />
ซ้ายจัดของสหภาพโซเวียตในทศวรรษ 1920 และแม้กระทั่งสถาปนิกขวาจัดฟาสซิสต์ (Fascist)<br />
อิตาเลียนบางคน เช่น กุยเซ็ปเป เทอรายี่ (Giuseppe Terragni) (1904-1943) อย่างไรก็ตาม<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่เป็นที่ยอมรับอย่างสากลจริงๆ หลัง ค.ศ. 1945 โดยเฉพาะในยุโรป<br />
ตะวันตก สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และทั่วโลก
การเขียนชื่อบุคคล<br />
ในหนังสือเล่มนี้มีชื่อบุคคลภาษาญี่ปุ่นอยู่จำานวนมาก การเขียนชื่อบุคคลที่เป็นภาษาญี่ปุ่น<br />
จะเขียนโดยขึ้นต้นด้วยชื่อสกุลแล้วตามด้วยชื่อตัว ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น ชื่อบุคคล<br />
ภาษาอื่นนอกจากนี้จะเขียนขึ้นต้นด้วยชื่อตัวตามด้วยชื่อสกุล<br />
การใช้ศักราช<br />
ศักราชที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ใช้คริสตศักราชทั้งสิ้น เพื่อสะดวกในการเปรียบเทียบ
1<br />
บทนำ<br />
18 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บทนำ<br />
19
20 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
ใน ค.ศ. 1945 เป็นเวลาที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ของชาติแถบ<br />
เอเชียตะวันออก เป็นช่วงเวลาแห่งการเกิด เติบโต และสิ้นสุดของ<br />
การพัฒนาวัฒนธรรมของยุค ที่เราขอเรียกว่า ยุคสมัยใหม่มันเริ่มต้น<br />
ด้วยการคุกคามของจักรวรรดินิยมยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่บังคับ<br />
ให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้เปิดประเทศเพื่อการค้าและวัฒนธรรม<br />
เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลก ญี่ปุ่นและสยามก็เหมือน<br />
ประเทศอื่นๆ ที่ถูกคุกคามโดยจักรวรรดินิยมแต่ 2 ประเทศนี้มี<br />
ลักษณะร่วมกันที่สำคัญคือสามารถเอาตัวรอดจากการเป็น<br />
อาณานิคมได้ และได้เริ่มต้นปรับปรุงประเทศขนานใหญ่ เพื่อให้<br />
เข้มแข็งสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่คาดเดาไม่ได้ มีการปฏิรูป<br />
การปกครองและเศรษฐกิจเพื่อวางรากฐานทางการศึกษาและพัฒนา<br />
สาธารณูปโภคขึ้นใหม่ ส่งผลให้มีการสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ขึ้น<br />
เพื่อรองรับกิจกรรมใหม่ๆ นี้มากมาย สถาปัตยกรรมเหล่านี้มี<br />
ทั้งแบบตะวันตกและแบบที่พยายามแสดงอัตลักษณ์ของชาติ<br />
โดยตอนแรกเป็นการอาศัยผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ และต่อมาคนพื้น<br />
เมืองก็รับมาดำเนินการเอง จนกลายมาเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ในที่สุดและสืบต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้<br />
เป็นเรื่องน่าสนใจมากที่ญี่ปุ่นและสยามต่างดำเนินการไปใน<br />
แนวเดียวกันนี้ทั้งคู่และด้วยพื้นฐานประเทศที่มีหลายสิ่งหลายอย่าง<br />
คล้ายคลึงกัน เช่น เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ปกครองด้วยระบอบ<br />
กษัตริย์และกลุ่มขุนนางชั้นสูง พัฒนาการของสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่อันเนื่องมาจากการปฏิรูปประเทศจึงคล้ายๆ กันในตอนแรก<br />
แต่ในที ่สุดก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ญี่ปุ่นพัฒนาไปในวิถีแห่ง<br />
ความเข้มแข็งและพึ่งตนเอง ขณะที่สยามพัฒนาไปในทางพึ่งพา<br />
ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและเชื่องช้า การสืบค้นดูวิถีการพัฒนา<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่เกือบหนึ่งศตวรรษผ่านอุดมคติแห่งยุคสมัย<br />
ของการสร้างชาติของทั้งสองประเทศจึงเป็นหัวใจของการศึกษานี้<br />
รวมทั้งคำถามพ่วงอื่นๆ ที่ไม่อาจละเลยได้ เช่น อะไรเป็นปัจจัย<br />
สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่นี้ และ<br />
เกิดความย้อนแย้งเช่นไรในการสร้างนวัตกรรมในประเทศที่อุดมไปด้วย<br />
อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมดั้งเดิมสะสมมานับพันปี ส่งผลให้เกิด<br />
ปฏิกริยาโต้กลับต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อย่างไร และ<br />
สังคมสามารถหาจุดสมดุลของความขัดแย้งอย่างไร การศึกษา<br />
เปรียบเทียบเป็นจุดเด่นของการศึกษานี้ เป็นกระบวนการที่ทำให้<br />
เราเห็นข้อดีข้อด้อยของสิ่งที่เปรียบเทียบกันชัดเจนขึ้นกว่าการศึกษา<br />
เพียงด้านเดียวหรือฝ่ายเดียว และยังช่วยให้เราไม่เข้าข้างตนเอง<br />
บทนำ<br />
21
ในการสรุปผลการศึกษา การศึกษาเปรียบเทียบใช้ช่วงเวลาเดียวกัน<br />
ของทั้งสองชาติเป็นตัวตั้ง พิจารณาอุดมคติของสังคม (หรือในการ<br />
ศึกษานี้เรียกว่าอุดมคติแห่งยุคสมัย) ในแต่ละประเทศว่าเหมือน<br />
หรือต่างกันอย่างไร ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม<br />
วัฒนธรรมที่นำไปสู่สถาปัตยกรรมอะไร พิจารณารูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมนั้นจากองค์ประกอบสำคัญ คือ ผังพื้น รูปทรง และ<br />
การก่อสร้าง เพื่อความเข้าใจทางสุนทรียภาพและการรองรับการ<br />
ใช้งานในระดับวัฒนธรรมและระดับอุดมการณ์<br />
แม้จะดูไม่ยากในเชิงทฤษฎีแต่ในทางปฏิบัติแล้วการนำข้อมูล<br />
ระยะเวลาหนึ่งศตวรรษของสองชาติมาเรียบเรียงและวิเคราะห์ให้<br />
ผู้อ่านเข้าใจนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนอย่างยิ่ง การสร้างโครงสร้างและ<br />
แบ่งภาคส่วนของหนังสือเล่มนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้อ่าน<br />
เข้าใจในเรื่องซับซ้อนและย้อนแย้งมากมายของสองชาติใน<br />
ระยะเวลาดังกล่าว เรื่องราวเหล่านี้จึงเรียบเรียงอยู่บนแกนของเวลา<br />
(ในที่นี้คือรัชกาล) ซึ่งสะท้อนเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เกิดคู่กัน คือ<br />
อุดมคติของยุคสมัย ซึ่งได้ผลิตสถาปัตยกรรมรับใช้มันออกมา<br />
หน้าที่ของผู้วิจัยคือโยงสองเรื่องนี้ให้สอดรับกันสนิท หนังสือเล่มนี้<br />
จึงถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ คือ อุดมคติแห่งยุคสมัยและ<br />
สถาปัตยกรรมแห่งยุคของฝ่ายญี่ปุ่น ตั้งแต่ช่วงเปิดประเทศกลาง<br />
ศตวรรษที่ 19 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสามารถแยก<br />
กล่าวเป็นรัชกาลได้4 ตอน คือ ก่อนรัชสมัยเมจิเมจิ ไทโช และโชวะ<br />
อีกส่วนหนึ่ง คือ เรื่องราวของสยามในเวลาเดียวกันที่สามารถ<br />
แบ่งได้เป็น 4 ตอนเช่นเดียวกันคือ สมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5<br />
รัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 แต่ละตอนของทั้งสองฝ่าย<br />
อยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันมาก มีบริบททางสังคมที่ใกล้เคียงกัน<br />
จนสามารถนำมาศึกษาเปรียบเทียบกันได้<br />
แน่นอนที่ว่าประเด็นการศึกษามีเนื้อหามากมายที่ผู้วิจัยต้อง<br />
ศึกษาจากวรรณกรรมสำคัญที่มีผู้ศึกษามาก่อน ซึ่งมีไม่มากและ<br />
กระจัดกระจาย ผู้วิจัยต้องประมวลเพื่อจัดระเบียบและวิเคราะห์<br />
หาคำตอบของคำถามงานวิจัยนี้ เนื่องจากเป็นหัวข้อการวิจัย<br />
ที่ยังไม่มีผู้ทำมาก่อน งานศึกษาที่ใกล้เคียงที่สุด คือ Modern<br />
(Western Style) Buildings in the Meiji Period (1862-1912) with<br />
Comparison to Contemporary Western Style Buildings in Siam 1<br />
อธิบายบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่ผลักดันให้เกิดสถาปัตยกรรม<br />
แบบตะวันตกขึ้นในรัชสมัยเมจิ เป็นงานศึกษาที่เน้นเรื่องรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมเพื่อเปรียบเทียบกับสถาปัตยกรรมประเภทเดียวกัน<br />
ของสยามสมัยรัชกาลที่5 นับเป็นงานบุกเบิกที่เนื้อหายังไม่ลึกของ<br />
ผู้วิจัยเองและนำมาซึ่งงานวิจัยฉบับใหม่นี้ สถาปัตยกรรมแบบ<br />
ตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4-พ.ศ. 2480 2 ว่าด้วยอุดมคติ<br />
แห่งยุคสมัยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที ่ 8 ที่ส่งผลให้เกิด<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก มีการวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
ในเชิงสัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรมแบบเจาะลึก ให้เห็นว่า<br />
แบบสถาปัตยกรรมได้ซ่อนเนื้อหาของอุดมคติและกิจกรรมไว้<br />
ตรงไหนบ้าง โดยใช้วิธีการจัดกลุ่มรูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อหา<br />
ต้นตอรากเหง้า (Genealogical Approach) ของตัวเองและกลุ่ม<br />
ที่เกี่ยวข้อง งานศึกษานี้จึงเป็นฐานข้อมูลและแนวคิดในการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมของฝ่ายสยามในงานวิจัยใหม่นี้<br />
งานศึกษาฝ่ายญี่ปุ่นว่าด้วยสถาปัตยกรรมและสังคมในช่วง<br />
กลางศตวรรษที่ 19 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 นั้น ในช่วงสอง<br />
ทศวรรษที่ผ่านมานี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่งานวิจัยหลักสำหรับ<br />
อ้างอิงทั่วไปยังคงเป็นงานศึกษาที่บรรยายพื้นฐานประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมที่เขียนตั้งแต่กลางทศวรรษ 1960 ถึงตอนปลาย<br />
ทศวรรษ 1980 เช่น The Course of Modern Japanese<br />
Architecture 3 , A History of Japanese Houses 4 และ The Making<br />
of a Modern Japanese Architecture 1868 to the Present 5<br />
เป็นต้น งานศึกษารุ่นครูเหล่านี ้บรรยายครอบคลุมสถาปัตยกรรม<br />
และสถาปนิกสมัยใหม่ที่สำคัญในรัชสมัยเมจิ ไทโช และโชวะได้<br />
เกือบหมด แต่เนื้อหาเน้นเรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นหลัก<br />
นอกจากนี้ยังมองข้ามความสำคัญของแนวคิดอนุรักษ์นิยม<br />
ชาตินิยม รวมทั้งผลงานสถาปัตยกรรมเหล่านี้ไป ความก้าวหน้าของ<br />
ประเด็นการศึกษาที่ขาดไปเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990<br />
22 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
มีวรรณกรรมที่กล่าวถึงสถาปนิกและสถาปัตยกรรมของฝ่ายอนุรักษ์<br />
นิยมและชาตินิยม เช่น อิโตะ ชูตะ ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างอัตลักษณ์<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น<br />
Victorian Japan in Taiwan: Transmission and Impact of<br />
the ‘Modern’ upon the Architecture of Japanese Authority,<br />
1853-1919 ุ6 , Modernism and Tradition in Japanese<br />
Architectural Ideology 7 และ Study on the Architecture and<br />
Philosophy of Chuta Ito 8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานศึกษาในเชิง<br />
ลึกว่าด้วยปรัชญาและการออกแบบอย่างบูรณาการระหว่าง<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่และสถาปัตยกรรมโบราณของญี่ปุ่นโดย<br />
สถาปนิกญี่ปุ่นและชาวต่างชาติในญี่ปุ่นตั้งแต่รัชสมัยเมจิ ไทโช<br />
และโชวะ เช่น International Architecture in Interwar Japan:<br />
Constructing Kokusai Kenshiku 9 และ Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist Architecture 10<br />
เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีงานศึกษาว่าด้วยความพยายามของ<br />
กลุ่มสถาปนิกอนุรักษ์นิยมชาตินิยม ที่พยายามสร้างอัตลักษณ์<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นไปอีกทางหนึ่งโดยยึดรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมโบราณเป็นสรณะ เช่น Buddhist Material Culture,<br />
“ Buddhism in Pre-War Japan” 11 , Japan’s Imperial Diet Building:<br />
Debate over Construction of a National Identity 12 , Architecture<br />
for Mass-Mobilization: The Chureito Memorial Construction<br />
Movement, 1939-1945 13 , The Tectonics of Japanese Style:<br />
Architect and Carpenter in the Late Meiji Period 14 และ<br />
Pan-Asianism and the Pure Japanese Thing: Japanese<br />
Identity and Architecture in the Late 1930s 15 สุดท้ายของกลุ่มนี้<br />
คือ งานศึกษาที่วิเคราะห์การใช้สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเป็น<br />
เครื่องมือสร้างวัฒนธรรมศิวิไลซ์ในสังคมของชนชั้นนำของญี่ปุ่น<br />
ตัวอย่างเช่น Josiah Conder’s Rokumeikan: Architecture and<br />
National Representation in Meiji Japan 16 เป็นต้น<br />
สำหรับงานศึกษาว่าด้วยประวัติศาสตร์สังคมมีเป็นจ ำนวนมาก<br />
และมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน แต่ที่กล่าวถึงประเด็นเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่<br />
Phibun Songkram and Thai Nationalism in the Fascist Era 17<br />
กล่าวถึงการสถาปนาระบอบเผด็จการทหารในยุคจอมพล ป.<br />
พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง ค.ศ. 1938-1944 อิทธิพล<br />
จากลัทธิชาตินิยมฟาสซิสต์สากลทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ดำเนินนโยบายเผด็จการในประเทศและมหาอาณาจักรไทย สำหรับ<br />
นโยบายต่างประเทศเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นเพื่อหวังการหนุน<br />
ช่วยทางกำลังทหารจากญี่ปุ่น ขณะที่ญี่ปุ่นก็ต้องการไทยเป็นฐานที่มั่น<br />
และทางผ่านไปสู่พม่า แต่เบื้องหลังของความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ<br />
คือ การดูหมิ่นดูแคลนและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน<br />
ผลจากการทบทวนวรรณกรรมงานศึกษาวิจัยเหล่านี้<br />
สาระสำคัญที่ผู้วิจัยพบ ได้แก่ อิทธิพลทางการเมือง วัฒนธรรม<br />
ของจักรวรรดินิยมภายนอกที่บีบบังคับให้ทั้งสองชาติเปิดประเทศ<br />
แม้จะไม่เต็มใจในเบื้องแรกแต่ต่อมาก็เข้าใจว่าวัฒนธรรมและ<br />
การเมืองแบบจักรวรรดินิยมเป็นเรื่องส ำคัญ เป็นความเจริญก้าวหน้า<br />
หรือศิวิไลซ์ ที่จะทำให้ประเทศเกษตรกรรมศักดินาโบราณก้าวไป<br />
ข้างหน้าได้ การเปลี่ยนแปลงตนเองโดยการศึกษาจากตะวันตก<br />
ทำให้เกิดการเลียนแบบทางวัฒนธรรมรวมทั้งสถาปัตยกรรมแบบ<br />
ตะวันตกอย่างขนานใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเพียงชั่วคนเดียว<br />
ชนชั้นนำและปัญญาชนทั้งสองชาติกลับตระหนักว่าการพัฒนา<br />
โดยวิธีเลียนแบบตะวันตกอย่างขาดดุลพินิจ ทำให้ชาติสูญเสีย<br />
จิตวิญญาณของตนเองไป จึงจำเป็นต้องรักษาอัตลักษณ์ของชนชาติ<br />
ไว้ขณะที่ยังคงพัฒนาทางวัตถุแบบตะวันตกต่อไป แนวคิดนี้ทำให้<br />
เกิดความพยายามสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีอัตลักษณ์เดิมของ<br />
ตนเองแต่มีความศิวิไลซ์แบบตะวันตกในเวลาเดียวกัน เป็นความ<br />
ย้อนแย้งที่ดูสับสนอย่างยิ่ง ทั้งสองชาติจะมีแนวทางในการสร้าง<br />
สมดุลแห่งความย้อนแย้งนี้อย่างไร บนเส้นทางแห่งการโหยหา<br />
<strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong> และผลผลิตที่ออกมาของทั้งสองชาติ<br />
นี้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร<br />
เพราะเหตุใด นี่คือคำถามที่คำตอบปรากฏอยู่แล้วในบทต่อๆ ไป<br />
ของหนังสือเล่มนี้<br />
บทนำ<br />
23
เชิงอรรถบทที่ 1<br />
1 Somchart Chungsiriarak, “Modern (Western<br />
Style) Buildings in the Meiji Period (1868-1912)<br />
with Comparison to Contemporary Western<br />
Style Buildings in Siam,” Journal of the Faculty<br />
of Architecture Silpakorn University 16 (1998-<br />
1999): 123-194.<br />
2 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่ 4-พ.ศ.2480 (กรุงเทพฯ:<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553).<br />
3 Muramatsu, Teijiro, “The Course of Modern<br />
Japanese Architecture,” The Japan Architect,<br />
109 (June 1965): 37-56.<br />
4 Onobayashi, Hiroki, “A History of Modern<br />
Japanese Houses,” The Japan Architect, 109<br />
(June 1965): 71-84.<br />
5 David B, Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present<br />
(Tokyo: Kodansha international, 1987).<br />
6 Chang, Hui Ju, “Victorian Japan in Taiwan:<br />
transmission and impact of the ‘modern’ upon<br />
the Architecture of Japanese authority, 1853-<br />
1919” (Ph.D. dissertation, University of<br />
Sheffield, 2014).<br />
7 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism<br />
and Tradition in Japanese Architectural<br />
Ideology, 1931-1955” (Doctoral Thesis,<br />
Columbia University, 1996).<br />
8 Shunsuke Kurakata, “Study on the architecture<br />
and philosophy of Chuta Ito” (Thesis, Waseda<br />
University, 2004).<br />
9 Ken Tadashi Oshima, International architecture<br />
in Interwar Japan (Seattle: University of<br />
Washington Press, 2009).<br />
10 Bruce E. Reynolds, Maekawa Kunio and the<br />
emergence of Japanese Modernist Architecture<br />
(Berkeley: University of Califonia Press, 2001).<br />
11 Richard M. Jaffe, “Buddhist Material Culture,<br />
“Indianism,” and the Construction of Pan-Asian<br />
Buddhism in Pre-War Japan,” Material Religion<br />
2, 3 (November 1, 2006): 266-293.<br />
12 Jonathan M. Reynolds, “Japan’s Imperial Diet<br />
Building: Debate over Construction of a<br />
National Identity,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996):<br />
38-47.<br />
13 Takenaka, Akiko, “Architecture for Mass-<br />
Mobilization: The Chureito Memorial<br />
Construction Movement, 1939-1945,” in The<br />
Culture of Japanese Fascism. ed. Alan<br />
Tansman (Durham: Duke University Press,<br />
2009).<br />
14 Cherie Wendelken, “The Tectonics of Japanese<br />
Style: Architect and Carpenter in the late<br />
Meiji Period,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996):<br />
28-37.<br />
15 Cherie Wendelken, “Pan-Asianism and the<br />
Pure Japanese Thing: Japanese Identity and<br />
Architecture in the Late 1930,” Positions 8, 3<br />
(Winter 2000): 819-828.<br />
16 Watanabe, Toshio, “Josiah Conder’s<br />
Rokumeikan: Architecture and National<br />
Representation in Meiji Japan,” Art Journal 55,<br />
3 (Fall 1996): 21-27.<br />
17 Bruce E. Reynolds, “Phibun Songkhram and<br />
Thai Nationalism in the Fascist Era,” European<br />
Journal of East Asian Studies 3, 1 (2004): 99-<br />
134.<br />
24 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บทนำ<br />
25
2<br />
สถาปัตยกรรม<br />
ยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
26 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
28 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ยุคศตวรรษที่ 16-17 ถึงก่อนเปิดประเทศ<br />
ในกลางศตวรรษที่ 19<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
ศาสนสถานนิกายเยซูอิทปลายศตวรรษที่ 16 ในญี่ปุ่น<br />
ศตวรรษที่16 เป็นระยะที่เรียกว่าช่วงสงครามระหว่างแคว้น<br />
(warring states) พวกเจ้าแคว้นต่างทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน<br />
เพื่อครอบครองความเป็นใหญ่ ขณะเดียวกันชาติยุโรปได้เดินเรือ<br />
เข้ามาติดต่อทำการค้ากับญี่ปุ่น โปรตุเกสเป็นยุโรปชาติแรกที่<br />
เข้ามาค้าขายใน ค.ศ. 1543 ต่อมามีพวกดัตช์ตามเข้ามาเผยแพร่<br />
ศาสนาคริสต์และขายอาวุธปืน ที่เป็นปัจจัยทำให้สงครามดำเนิน<br />
มาถึงจุดจบเร็วขึ้น ค.ศ. 1603 โตกุกาวา อิเอยาสุ (Tokukawa<br />
Ieyasu) เจ้าแคว้นมิกาวา (Mikawa) ทำสงครามรวมชาติสำเร็จตั้ง<br />
ตัวเป็นโชกุน (shogun) แห่งโตกุกาวา ปกครองญี่ปุ่นแต่เพียง<br />
ผู้เดียวทุกเจ้าแคว้นขึ้นกับโชกุน ส่วนพระจักรพรรดินั้นเป็นเพียง<br />
ประมุขเชิงสัญลักษณ์ของชาติไม่มีอำนาจบริหาร ซึ่งเป็นลักษณะ<br />
เฉพาะของญี่ปุ่นมาแต่ดั้งเดิม ศูนย์กลางการบริหารรัฐของโตกุกาวา<br />
อยู่ที่นครเอโด (Edo) หรือโตเกียวในปัจจุบัน และเป็นการเริ่มยุคที่<br />
เรียกกันว่ายุคเอโดภายใต้การปกครองของตระกูลนี้ต่อเนื่องมาอีก<br />
250 ปีอย่างมั่นคง สะสมความมั่งคั่งของทรัพยากร ผู้คน ความรู้<br />
ศิลปวิทยาการอย่างมากมาย<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
29
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในยุคศตวรรษที ่16-17<br />
ค.ศ.1639 รัฐบาลโตกุกาวาขับไล่ชาวต่างชาติออกไปจาก<br />
ญี่ปุ่นทั้งหมด เพราะไม่ชอบการเผยแพร่ศาสนาคริสต์1 และเกรงว่า<br />
ชาติยุโรปจะเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของญี่ปุ่น รัฐบาลโตกุกาวา<br />
ประกาศให้ญี่ปุ่นอยู่อย่างสันโดษนานถึง 220 ปีต่อมา อย่างไรก็ตาม<br />
โชกุนยังคงอนุญาตให้พวกดัตช์และจีนค้าขายกับญี่ปุ่นได้ที่เกาะ<br />
เดจิมา (Dejima) กลางท่าเรือนางาซากิ ในช่วงนี้เองที่พวกดัตช์<br />
นำตำราวิทยาการทหาร อาวุธ วิทยาศาสตร์ และแพทย์มาเผยแพร่<br />
ให้คนญี่ปุ่นได้ศึกษา การปิดประเทศของญี่ปุ่นโดยความจริงแล้วจึง<br />
ไม่ใช่การปิดตาย แต่ยังรับความรู้จากตะวันตกอยู่ตลอดเวลาและ<br />
เป็นต้นทุนที่ทาให้ญี่ปุ่นสามารถปรับตัวรับอารยธรรมตะวันตกได้<br />
อย่างรวดเร็วเมื่อต้องเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมในศตวรรษ<br />
ที่ 19<br />
จากหลักฐานภาพพิมพ์ในหนังสือที่เขียนโดยนักบวช<br />
นิกายเยซูอิท (Jesuit) 2 อาคารเหล่านี ้เป็นศาสนสถานจาพวก<br />
โบสถ์ วิหาร กุฏิ โรงสวดมนต์ของนักบวชนิกายเยซูอิท นิกาย<br />
โรมันคาทอลิก ในเมืองต่างๆ เช่น อาริมา (Arima) ฟูไน (Funai)<br />
เป็นต้น เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรม<br />
แบบโรมาเนสก์ (ศตวรรษที่ 10-12) ในชนบทยุโรปที่เรียบง่าย<br />
ปัจจุบันไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้ว<br />
30 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ช่วงญี่ปุ่นเปิดประเทศจนถึงช่วงโชกุนหมดอำนาจ<br />
(Bakumatsu) 3 1853-1867<br />
สังคม เศรษฐกิจและการเมือง<br />
ภูมิทัศน์ของเมืองนางาซากิหลังเปิดประเทศใน ค.ศ. 1854<br />
ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในความสงบและสันโดษโดยมีเจ้าแคว้นกว่า 300<br />
แคว้นอยู่ภายใต้การปกครองของโชกุนโตกุกาวาตั้งแต่ ค.ศ. 1603<br />
เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์เรียกยุคนี้ว่ายุคเอโด หรือยุคโตกุกาวา<br />
ซึ่งถือว่าเป็นยุคที ่สงบสุขและเจริญก้าวหน้าของญี่ปุ่นภายใต้การ<br />
จัดการบ้านเมืองแบบพึ่งพาตนเองที่มีศูนย์กลางปกครองที่นครเอโด<br />
หรือโตเกียวในปัจจุบัน ประมาณทศวรรษที่ 1840 มหาอำนาจ<br />
อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดาส่งเรือรบมาคุกคาม<br />
เมืองท่าของญี่ปุ่น เพื่อกดดันให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศค้าขายกับตน<br />
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาส่งกองเรือรบ 4 ลำของนายพลเรือเพอร์รี่<br />
(Matthew Calbraith Perry) ชื่อว่ากองเรือรบดำ มาที่<br />
เมืองโยโกฮามาและอ่าวเอโดใน ค.ศ. 1853 ข่มขู่ญี่ปุ่นโดยการยิง<br />
ปืนใหญ่แสดงพลังในงานชุมนุมพิธีศพของชาวคริสเตียนคนหนึ่ง<br />
ต่อมาใน ค.ศ. 1854 กองเรือของนายพลเรือเพอร์รี่แล่นกลับมา<br />
อีกครั้ง และบังคับให้ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและ<br />
สันติภาพชื่อสนธิสัญญาคานากาวา (Treaty of Kanagawa) ลงวันที่<br />
31 มีนาคม ค.ศ. 1854 บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่าชิโมดะ<br />
(Shimoda) นางาซากิ (Nagasaki) และฮาโกดาเตะ (Hakodate)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
31
ในเกาะฮอกไกโด (Hokkaido) เป็นเมืองท่าค้าขายให้สิทธิพิเศษ<br />
แก่สหรัฐอเมริกา เช่น การต้อนรับลูกเรืออเมริกันด้วยมิตรภาพที่ดี<br />
ให้กงสุลอเมริกาตั้งบ้านเรือนในชิโมดะได้เป็นต้น ต่อมาญี่ปุ่นต้องท ำ<br />
สนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับรัสเซีย อังกฤษ และฮอลันดาใน<br />
ค.ศ. 1855 กระนั้นก็ตามประเทศเหล่านี้ก็ยังไม่พึงพอใจใน ค.ศ. 1858<br />
สหรัฐอเมริกาบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมลงนามกับแฮรีส (Townsend<br />
Harris) ในสนธิสัญญามิตรภาพและการค้า (Treaty of Amity and<br />
Commerce) บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดเมืองท่าค้าขายเพิ่ม ยอมให้ชาว<br />
ตะวันตกตั้งรกรากในญี่ปุ่นได้ เก็บภาษีสินค้าได้เพียงร้อยละ 5 และ<br />
ยอมยกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้สหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนั้น<br />
มหาอำนาจอีก 4 ชาติคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา และรัสเซีย<br />
ก็บังคับให้ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาแบบเดียวกัน ชาวตะวันตกจึง<br />
เริ่มเข้ามาตั้งรกรากบนแผ่นดินญี่ปุ่นได้เป็นครั้งแรก ในแถบเมือง<br />
ท่าที่เปิดตามสนธิสัญญา เช่น นางาซากิ โกเบ โยโกฮามา และฮาโก<br />
ดาเตะ เป็นต้น นี่เป็นสิ ่งที่ชนชั้นนำญี่ปุ่นอีกกลุ่มหนึ่งรู้สึกเสีย<br />
ศักดิ์ศรีเป็นอย่างยิ่ง<br />
แม้ญี่ปุ่นจะยอมลงนามในสนธิสัญญาเปิดประเทศถึงสองครั้ง<br />
แต่ก็เป็นการยอมของรัฐบาลทางนิตินัยเท่านั้น ในความเป็นจริง<br />
แล้วญี่ปุ่นมีจิตสำนึกเคียดแค้นและดูหมิ่นเกลียดชังชาวตะวันตก<br />
อย่างมาก พระจักรพรรดิโคเมอิ4 (Emperor Komei) มีพระบรม<br />
ราชโองการให้ “ขับไล่พวกป่าเถื่อน” ซึ่งเจ้าแคว้นแห่งโจชู(Choshu)<br />
รับสนองพระบรมราชโองการทำการโจมตีเรือรบของสหรัฐอเมริกา<br />
ที่ลอยลำผ่านช่องแคบชิโมโนเซกิ (Shimonoseki strait) ในวันที่<br />
25 มิถุนายน ค.ศ. 1863 แต่ทำอันตรายเรือรบของสหรัฐอเมริกา<br />
ไม่ได้ นักรบพวกนี้ยังขยายการโจมตีไปยังเรือของฝรั ่งเศสและ<br />
ฮอลันดาด้วย ชาติตะวันตกพยายามเจรจาแต่ไม่มีผลสำเร็จ จึงตั้ง<br />
กองเรือรบผสมสัมพันธมิตรประกอบด้วยอังกฤษ ฮอลันดาและ<br />
ฝรั่งเศส นำโดยนายพลเรือเซอร์ออกัสตัส คูเปอร์ (Sir Augustus<br />
Kuper) เข้าโจมตีช่องแคบชิโมโนเซกิในวันที่17 สิงหาคม ค.ศ. 1864<br />
นักรบฝ่ายโจชูตอบโต้กลับจึงเกิดสงครามขึ้นในวันที่ 5-6 กันยายน<br />
ค.ศ. 1864 กองเรือสัมพันธมิตรระดมยิงจนนักรบโจชูยอมแพ้<br />
ในวันที่ 8 กันยายน รัฐบาลญี่ปุ่นต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม<br />
3 ล้านดอลลาร์อเมริกัน ญี่ปุ่นเริ่มยอมรับว่าสู้รบกับชาติตะวันตก<br />
ไม่ได้จริงๆ และหันกลับมาสู้รบกันเองเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐโดย<br />
มีเป้าหมายที่การโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโตกุกาวา<br />
สงครามปฏิวัติโบชิน (Boshin War) (1868-1869)<br />
หลังจากโชกุนยอมลงนามในสนธิสัญญาเปิดประเทศอย่าง<br />
ไร้ศักดิ์ศรีถึงสองครั้งและแพ้สงครามที่ช่องแคบชิโมโนเซกิอย่าง<br />
หมดรูป กลุ่มเจ้าแคว้นตระกูลซัตซูมาและโจชูเริ่มทำการต่อต้าน<br />
โชกุน เพราะเชื่อว่าโชกุนอ่อนแอเกินกว่าที่จะรักษาประเทศไว้ได้<br />
พวกเขารวบรวมกำลังต่อสู้โค่นล้มโชกุน มีเป้าหมายที่จะปฏิรูป<br />
ญี่ปุ่นให้ก้าวหน้าแบบตะวันตก โค่นล้มระบอบปกครองของโชกุน<br />
และคืนอำนาจการปกครองให้พระจักรพรรดิเพื่อให้มีการปกครอง<br />
ระบอบรัฐสภา แต่โชกุนไม่ยินยอมจึงเกิดสงครามปฏิวัติโบชินขึ้น<br />
ในวันที่3 มกราคม ค.ศ. 1868 สงครามดำเนินไปจนถึง ค.ศ. 1869<br />
พวกปฏิวัติได้รับชัยชนะเด็ดขาดในวันที่18 พฤษภาคม ค.ศ. 1869<br />
จึงอัญเชิญพระจักรพรรดิจากเกียวโตมาประทับที่เอโด และเปลี่ยน<br />
ชื่อเป็นโตเกียว ตั้งเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ พวกปฏิวัตินั้นได้ร่วม<br />
ลงสัตยาธิษฐานตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1868 ว่าต้องการให้<br />
ญี่ปุ่นเป็นประเทศทันสมัย เข้มแข็ง และประชาชนมีความเสมอ<br />
ภาคมากขึ้น และได้ประกาศใช้ธรรมนูญปกครองประเทศชั่วคราว<br />
ที่ให้กลุ่มคณาธิปไตยที่ประกอบด้วยตัวแทนพวกปฏิวัติมีอำนาจ<br />
ปกครองประเทศโดยมีพระจักรพรรดิเป็นประมุข<br />
32 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เตาหลอมแบบความร้อนสะท้อนกลับ(1853)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
33
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกช่วงญี่ปุ่นเปิดประเทศจนถึง<br />
ช่วงที่โชกุนหมดอานาจ (ทศวรรษ1850-1860)<br />
อาคารสำคัญในช่วงนี้เกี่ยวข้องกับการทหารและการผลิต<br />
โดยตรง เป็นเวลาที่ทุกฝ่ายที่กำลังช่วงชิงอำนาจรัฐด้วยการ<br />
ทำสงคราม ต้องการอาวุธและทำการผลิตสินค้าเพื่อขายสะสมทุน<br />
จึงมีการระดมสร้างโรงงานผลิตสินค้าและอาวุธเป็นการใหญ่<br />
อาคารโรงงาน ค่ายทหาร และอู่ต่อเรือ<br />
อาคารเหล่านี้สร้างโดยฝ่ายโชกุนและฝ่ายปฏิวัติมีจุดประสงค์<br />
ในการทหารเช่น เป็นค่ายทหารและอู่ต่อ เรือ หรือเป็นโรงงานผลิต<br />
สินค้า เช่น โรงทอผ้า เพื่อเป็นทั้งยุทธภัณฑ์และจำหน่ายสะสมทุน<br />
ทำสงคราม อาคารมีรูปทรงเรียบง่าย ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />
โครงสร้างระบบกรอบ (frame) เสาเป็นไม้ หลังคาโครงสร้างไม้<br />
แบบโครงทรัส (truss) ผนังที่ก่อระหว่างช่วงเสาไม้กลับใช้อิฐก่อ<br />
เรียงด้วยระเบียบเฟลมมิชบอนด์ (Flemish bond) แสดงถึง<br />
วิทยาการก่อสร้างแบบตะวันตกชัดเจน อาคารแบบนี้ที่ยังมี<br />
สภาพสมบูรณ์ให้ศึกษาได้เป็นตัวอย่างคือ โรงเลี้ยงไหมและปั่นด้าย<br />
โทมิโอกะ 5 (Tomioka silk mill) สร้างใน ค.ศ. 1872 ในรัชสมัยเมจิ<br />
โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแบบที่สร้างกันมาก่อนหน้านี ้แล้ว<br />
ตั้งแต่ช่วงปลายรัฐบาลโชกุน ส่วนอาคารที่สร้างในช่วงนี้จริงๆ ไม่มี<br />
เหลือให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว ดังเช่น 6 โรงหลอมเหล็กและอู่ต่อเรือ<br />
หมายเลข 1 (1861) ที่นางาซากิ สร้างโดยวิศวกรชาวดัตช์<br />
โรงหลอมเหล็กและอู่ต่อเรือหมายเลข 2 ที่โยโกสุกะ เป็นอาคาร<br />
โครงสร้างคอนกรีต กำแพงก่ออิฐ หลังคาโครงสร้างทรัส (1863-71)<br />
โดยวิศวกรฝรั่งเศส อาคารทั้งสองสร้างโดยรัฐบาลโชกุน ขณะเดียวกัน<br />
เจ้าแคว้นตระกูลชิมาสุซึ่งเป็นพวกพวกปฏิวัติก็สร้างโรงงานในเมือง<br />
คาโกชิมา เช่น โรงหลอมโลหะ (1852-57) โรงผลิตเครื่องจักร<br />
(1865) ก่อด้วยหินและหลังคาโครงสร้างทรัส โรงเก็บเครื่องกว้าน<br />
(1862) เป็นอาคารก่ออิฐหลังแรกและโรงปั่นด้าย (1867) เป็นต้น<br />
นอกจากนี้ยังมีอาคารสำคัญอื่นๆ เช่น เตาหลอมแบบความ<br />
ร้อนสะท้อนกลับ (Reverberatory furnace) (1853) ที่นิรายามา<br />
(Nirayama) ใช้สำหรับหล่อโลหะทำปืนใหญ่ ลักษณะเป็นปล่อง<br />
สี่เหลี่ยมผืนผ้าสูงสามชั้น แต่ละชั้นที่สูงขึ้นไปลดขนาดลงตามส่วน<br />
ก่อด้วยอิฐทนไฟและรัดรอบด้วยปลอกเหล็กเป็นตารางสี่เหลี่ยม<br />
มีกากบาทไขว้เป็นชั้นๆ นับเป็นเตาหลอมโลหะแบบตะวันตกที่เก่า<br />
ที่สุดที่สร้างโดยชาวญี่ปุ่น<br />
โรงปั่นด้ายโทมิโอกะ (1872)<br />
34 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บ้านโกลฟเวอร์(1863)<br />
ผังพื้นบ้านโกลฟเวอร์<br />
บ้านโกลฟเวอร์7 (Glover House) (1863) ในนางาซากิ<br />
เป็นบ้านพักของพ่อค้าชาวสก๊อตที่ชื่อ โทมัส เบลค โกลฟเวอร์<br />
(Thomas Blake Glover) ออกแบบโดยช่างสำรวจอังกฤษโทมัส<br />
เจมส์ วอเตอร์ส์ (Thomas James Water) สร้างเมื่อ ค.ศ. 1863<br />
ลักษณะอาคารเป็นแบบบังกะโลชั้นเดียว ผังรูปตัว L ที่ปลายเป็น<br />
มุขแปดเหลี่ยมผ่าครึ่ง มีระเบียงรอบและสร้างติดดิน ซึ่งแตกต่าง<br />
จากบ้านญี่ปุ่นทั่วไปที่ต้องยกพื้นสูงประมาณ 75 เซนติเมตร<br />
โครงสร้างเป็นไม้ทั้งหลัง ผนังไม้ตีซ้อนเกล็ด มีหน้าต่างกระจกแบบ<br />
ช่องสี่เหลี่ยมเปิดโดยการผลัก ไม่ใช่เลื่อนแบบพื้นเมือง หลังคามุง<br />
กระเบื้องกาบกล้วยมีกระเบื้องสันครอบรอยชนเป็นแนวแบบบ้าน<br />
ญี่ปุ่น อาคารหลังนี ้จึงมีลักษณะทั้งแบบที่มาจากอาณานิคม<br />
ในเอเชียผสมกับบ้านแบบญี่ปุ่นเอง สะท้อนการถ่ายเทความรู้<br />
ในการก่อสร้างจากภูมิภาคหนึ่งของอาณานิคมเช่นอินเดียหรือ<br />
สิงคโปร์ไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่งเช่นญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
35
รัชสมัยเมจิ (Meiji Period)<br />
1868-1912<br />
รัชสมัยเมจิตอนต้น(1868-1890)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
จักรพรรดิเมจิ (1852-1912)<br />
จักรพรรดิโคเมอิสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันในวันที่<br />
30 มกราคม ค.ศ. 1867 เจ้าชายมัทสุฮิโต (Mutsuhito) โอรส<br />
ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิต่อในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1867<br />
ขณะที่โชกุนคนสุดท้ายโตกุกาวา โยชิโนบุ(Togukawa Yoshinobu)<br />
ถูกกดดันอย่างหนักโดยกองกำลังฝ่ายปฏิวัติ จนกระทั่งต้อง<br />
ขอลาออกต่อจักรพรรดิในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 ในเดือน<br />
ธันวาคมพวกปฏิวัติยกทัพเข้ายึดเกียวโตสำเร็จ มีการประกาศให้<br />
อธิปไตยคืนสู่องค์จักรพรรดิในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1868 โชกุน<br />
สู้ต่อไปแบบถอยร่นไปอีกเกือบสองปีจนพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง<br />
ในปลาย ค.ศ. 1869 เมื่อสงครามปฏิวัติโบชินเริ่มขึ้นได้ไม่นาน<br />
พวกเจ้าแคว้นฝ่ายปฏิวัติได้จัดพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่<br />
12 กันยายน ค.ศ. 1868 ประกาศรัชสมัยเมจิอย่างเป็นทางการ และ<br />
เปลี่ยนชื่อเอโดเป็นโตเกียวในวันที่ 19 กันยายน ปีนั้นเอง<br />
หลังจากนั้นเจ้าแคว้นต่างๆ ที่เป็นกองกำลังสำคัญของฝ่ายปฏิวัติ<br />
อาทิ ซัตสุมา (Satsuma) โจชู (Choshu) โทสะ (Tosa) และไฮเซ็น<br />
(Hizen) เป็นต้น ได้ร่างสัตยาธิษฐาน 5 ประการ (Oath in Five<br />
Articles) 8 ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1868 เพื่อเป็นอุดมการณ์<br />
36 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
โรงเรียนการศึกษาแผนตะวันตก (1871)<br />
แห่งการปฏิวัติ และยึดถือเป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน<br />
และเป็นกรอบแห่งรัฐธรรมนูญในภายภาคหน้า มีใจความว่า<br />
1. จะต้องมีการจัดตั้งสภาเพื่อพิจารณาไตร่ตรองปัญหาบ้านเมือง<br />
และทุกปัญหาจะต้องถูกพิจารณาอย่างเปิดเผย<br />
2. ทุกชนชั้นไม่ว่าต่ำหรือสูงจะต้องร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อการ<br />
บริหารบ้านเมือง<br />
3. ประชาชนทั่วไปจะมีสิทธิเท่าเทียมกับข้าราชการทหารและ<br />
พลเรือนในการแสดงความคิดเห็น ดังนั้นจะไม่มีความ<br />
คับข้องใจใดๆ<br />
4. ประเพณีล้าหลังของอดีตจะต้องกำจัด และทุกอย่างจะดำเนิน<br />
การอยู่บนกฎหมายยุติธรรมแห่ง “ธรรมชาติ”<br />
5. จะต้องมีการแสวงหาความรู้จากทั่วโลกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง<br />
ให้กับรากฐานของกฎหมายจักรพรรดิ<br />
พวกปฏิวัติได้ร่วมลงนามในสัตยาธิษฐานในวันที่7 เมษายน<br />
ค.ศ. 1868 ความหมายเชิงรูปธรรมของอุดมการณ์นี้คือต้องการให้<br />
ญี่ปุ่นมีความทันสมัยและเข้มแข็งภายใต้การนำของกลุ่มปฏิวัติ<br />
ที่เป็นคณาธิปไตยโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุข แม้จะมีถ้อยคำบาง<br />
อย่างโน้มเอียงมาในทางประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงแล้ว<br />
ชนชั้นในสังคมญี่ปุ่นยังคงอยู่ แม้ว่าจะมีความต้องการให้มีการหา<br />
ความรู้ที่ทันสมัย แต่จริยธรรมโบราณของลัทธิขงจื๊อก็ยังคงอยู่อย่าง<br />
เหนียวแน่นซึ่งถือเป็น “กฎธรรมชาติ” ที่จะนำไปสู่รัฐธรรมนูญ<br />
ฉบับสมบูรณ์ในปลายรัชสมัยใน ค.ศ. 1889<br />
การปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก<br />
รัฐบาลจักรพรรดิเมจิต้องการสร้างชาติที่ร่ำรวย<br />
ด้วยอุตสาหกรรมและเข้มแข็งด้วยการทหารภายใต้คติพจน์ว่า<br />
“ชาติร่ำรวย การทหารเข้มแข็ง” (Fukoku Kyohei) “เสริมสร้าง<br />
การเกษตรและอุตสาหกรรม” (Shokusan Kogyo) เทคโนโลยีจาก<br />
ตะวันตกจึงเป็นสิ่งสำคัญ รัฐบาลตั้งกระทรวงอุตสาหกรรมขึ้น<br />
ใน ค.ศ. 1870 เพื่อดำเนินการสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมให้กับ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น เรือนเครื่องผูก 37
ธนาคารแห่งชาติหมายเลข 1 (1872) ผังพื้นธนาคารแห่งชาติหมายเลข 1<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคเมจิตอนต้น (1860-1870)<br />
อาคารแบบฝรั่งเทียม (Kiyofu)<br />
ประเทศโดยใช้วิธีนำเข้าความรู้ด้วยการจ้างผู้เชี่ยวชาญตะวันตก<br />
เข้ามานับพันคน เพื่อมาสร้างระบบสาธารณูปโภคสำคัญต่างๆ<br />
เช่น โรงงาน อู ่ต่อเรือ ทางรถไฟ ไปรษณีย์ โทรเลข การไฟฟ้า<br />
เป็นต้น เป็นการเริ่มต้นการพัฒนาอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่นในการผลิต<br />
ในด้านการศึกษาใช้วิธีปลูกถ่ายความรู้จากตะวันตกโดยการตั้ง<br />
โรงเรียนการศึกษาแผนตะวันตก (Kaisai school) ขึ้นใน ค.ศ. 1871<br />
เพื่อสอนวิชาวิศวกรรมสาขาต่างๆ เช่น เครื่องกล ไฟฟ้า อาคาร โยธา<br />
วิทยาศาสตร์ เหมืองแร่ และโลหะการ ในภาควิชาวิศวกรรมอาคาร<br />
มีการสอนวิชาสถาปัตยกรรมอยู่ด้วย ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อโรงเรียน<br />
เป็นมหาวิทยาลัยอุตสาหกรรม ใน ค.ศ. 1877 เปลี่ยนชื่อเป็น<br />
มหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดินิยมและรัฐบาลใหม่มีเข็มมุ่ง<br />
ในการนำประเทศสู่ความเจริญแบบตะวันตกแล้ว อาคารแบบตะวันตก<br />
เริ่มเป็นที่นิยมว่าเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย เจ้าของอาคาร<br />
เริ่มต้องการอาคารแบบตะวันตก โดยมีช่างญี่ปุ่นที่ไม่เคยมีความรู้<br />
เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมตะวันตกเลยเป็นผู้สร้าง โดยใช้ประสบการณ์<br />
ที่เคยทำงานให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างชาวตะวันตกในแถบเมืองท่า<br />
เป็นพื้นฐานในการสร้างอาคารแบบนี้ ลักษณะสำคัญของอาคาร<br />
แบบนี้คือใช้ผังพื้นแบบญี่ปุ่นพื้นเมืองกล่าวคือเป็นการเอาพื้นที่ห้อง<br />
ต่างๆ มาเรียงต่อเข้าด้วยกันโดยไม่มีทางเดินภายใน มีแต่ระเบียง<br />
รอบบ้าน แต่รูปลักษณะอาคารกลับเลียนแบบอาคารแบบคลาสสิค<br />
(classicism) เน้นความสมมาตรและเรียบง่ายแต่รายละเอียดของ<br />
องค์ประกอบอาคารยังเต็มไปด้วยลวดลายแบบญี่ปุ่นประยุกต์<br />
38 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รายละเอียดตกแต่งลวดลายโรงเรียน<br />
ประถมศึกษาไคชิ<br />
ระบบโครงสร้างและวัสดุก่อสร้างเป็นไม้ล้วนแบบญี่ปุ่น แต่ทาสีวาด<br />
เส้นตกแต่งให้ผนังไม้ดูเป็นผนังอิฐหรือหินก่อ บานหน้าต่างไม้ตี<br />
เส้นแบ่งเป็นช่องทาสีขาวให้ดูเหมือนบานลูกฟักกระจกแบบยุโรป<br />
มุขหน้าทำเป็นทางเข้าดัดแปลงหลังคาโค้งแบบญี่ปุ่นให้ดูเหมือน<br />
จั่วหน้าบันโค้งหลายตอนแบบสถาปัตยกรรมบาร็อค 9 เมื่อดูในภาพรวม<br />
แล้วจะเห็นว่าช่างญี่ปุ่นยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการวางผังพื้น<br />
การวางตำแหน่งห้อง การเรียงและการกระจายห้องต่างๆ ตามหน้าที่<br />
ใช้งานแบบตะวันตกเลย ส่วนหน้าตาอาคารก็ดูประดักประเดิดไม่ใช่<br />
ทั้งแบบญี่ปุ่นเดิมหรือแบบตะวันตกใหม่ คนทั่วไปจึงเรียกอาคาร<br />
แบบนี้ว่าอาคารแบบกิโยฟุ(Giyofu) หรือฝรั่งเทียม ตัวอย่างที่สำคัญ<br />
ได้แก่ โรงแรมสึกิจิ (Tsukiji Hotel) ในโตเกียว (1868) โดยช่างไม้<br />
ชิมิสุ คิสุเกะที่ 2 (Shimizu Kisuke II) น่าจะเป็นอาคารรุ่นแรกๆ<br />
ในลักษณะนี้ ธนาคารแห่งชาติหมายเลข 1 (First National Bank)<br />
โตเกียว (1872) และธนาคารมิตซุยกูมิ(Mitsui Gumi Bank) (1874)<br />
สร้างโดยช่างไม้ชิมิสุทั้งคู่ และโรงเรียนประถมศึกษาไคชิ (Kaishi)<br />
ที่มัทสุโมโต (Matsumoto) (1876) เป็นตัวอย่างในแบบนี้ที่ยังคง<br />
เหลือรอดถึงวันนี้<br />
โรงเรียนประถมศึกษาไคชิ (1871)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
39
โจไซอา คอนเดอร์ (1852-1920) ทัตสุโนะ คิงโกะ (1854-1919) คาตายามา โตกุมา (1854-1917) โซเน ทัตสุโซ (1853-1937)<br />
สถาปัตยกรรมแห่งการปลูกถ่ายความรู้ (1870-1890)<br />
โจไซอา คอนเดอร์ (Josiah Conder) (1852-1920) และ<br />
การริเริ่มการศึกษาสถาปัตยกรรมในมหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
ก่อนหน้าที่คอนเดอร์จะเดินทางมาที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในรัชสมัยเมจิตอนต้นเป็นเพียงผลงาน<br />
ของพวกช่างสำรวจ ที่ไม่ได้รับการศึกษาสถาปัตยกรรมโดยตรงเช่น<br />
โทมัส เจมส์ วอเตอร์ (Thomas James Waters) และซีเอ คาสเตล<br />
เดอ โบอินวิลล์ (C.A. Chastel de Boinville) เป็นต้น แต่รัฐบาล<br />
ต้องการให้การก่อสร้างมีมาตรฐานแบบตะวันตกจึงตั้งโรงเรียน<br />
วิศวกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมใน ค.ศ. 1873 รัฐบาล<br />
มีความเอาจริงเอาจังถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีอิโต ฮิโรบูมิ<br />
(Ito Hirobumi) เดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อหาบุคลากรที่เหมาะ<br />
สมมากำกับการศึกษาด้วยตนเอง อิโตได้เลือกวิศวกรหนุ่ม<br />
ชาวสก๊อตนาม เฮนรี่ ดายเออร์ (Henry Dyer) (1848-1918)<br />
มารับหน้าที่นี้ ดายเออร์ได้สร้างวิศวกรญี่ปุ่นที่มีความรู้วิชาการ<br />
40 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ควบคู่กับการปฏิบัติที่ประสบผลดีเป็นที่พอใจของรัฐบาล และยังแนะนำ<br />
ให้รัฐบาลสร้างบุคลากรด้านสถาปัตย์ด้วย รัฐบาลมีความเชื่อมั่น<br />
ในบุคลากรของอังกฤษในด้านการศึกษาและคราวนี้พวกเขาเลือก<br />
สถาปนิกหนุ่มชาวอังกฤษชื่อโจไซอา คอนเดอร์มารับหน้าที่ด้วย<br />
เหตุที่เขาเพิ่งชนะเลิศการประกวดแบบรางวัลโซน (Soane Medalist<br />
Competition First Prize) ค.ศ. 1876 10 ของราชสมาคมสถาปนิก<br />
บริติช ในโครงการคฤหาสน์ในชนบท คอนเดอร์สำเร็จการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมจากโรงเรียนศิลปะแห่งเซาท์เคนซิงตัน 11 (South<br />
Kensington School of Art) และที่มหาวิทยาลัยลอนดอน และ<br />
ฝึกงานกับสำนักงานสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของลอนดอนคือ<br />
ที โรเจอร์ สมิธ (T. Roger Smith) ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขาและ<br />
วิลเลียม เบอร์เจส (William Burges) ซึ่งคนหลังนี้มีอิทธิพลต่อเขา<br />
ในการใช้แนวทางการออกแบบผสมผสาน (Eclecticism) ที่นิยม<br />
ใช้แบบสถาปัตยกรรมโบราณหลายยุคสมัยมาประสมกัน คอนเดอร์<br />
เข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอาคาร<br />
(Kobu Daigakko) ใน ค.ศ. 1877 เขาตั้งใจสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม<br />
กับญี่ปุ่นขณะนั้น คือการศึกษาสถาปัตย์ที่ประกอบด้วย<br />
วิศวกรรมศาสตร์บวกศิลปะและประวัติศาสตร์เรื่องแรกนั้นดายเออร์<br />
ได้วางรากฐานไว้แล้ว แต่ประเด็นหลังนั้นคอนเดอร์เป็นผู้สร้างขึ้น<br />
รวมทั้งการศึกษาในห้องเรียนที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริงแบบ<br />
อังกฤษ อย่างไรก็ตามในภาพรวมนั้นการออกแบบและ<br />
วิชาประวัติศาสตร์ที่คอนเดอร์สอนนั้นเป็นเรื่องของโลกตะวันตก<br />
เช่น สถาปัตยกรรมคลาสสิกและโกธิค เป็นต้น ตำราหลัก ได้แก่<br />
A History of Architecture ของเจมส์เฟอร์กัสสัน (James Fergusson)<br />
และ A Handbook of Architectural Styles ของอัลเฟรด<br />
โรสเซนการ์เทน (Alfred Rosengarten) นักศึกษาญี่ปุ่นของเขาจึง<br />
เข้าใจในสถาปัตยกรรมยุโรปเป็นอย่างดี แต่กลับมีความฉงนใน<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นของตนเองเพราะตำราของเฟอร์กัสสันกล่าวว่า<br />
ศิลปะและสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นนั้น “มีเรื่องน่าสนใจเกินกว่า<br />
พรมแดนเกาะญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อย” 12 แต่การปลูกฝังให้สถาปนิก<br />
สนใจประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานที่ดีที่ลูกศิษย์ทั้งหลายของเขาได้ใช้<br />
ในการศึกษาสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์เพื่อเรียนรู้ตนเอง<br />
ลูกศิษย์รุ่นแรกของคอนเดอร์สามคนต่อมาได้เติบโตและ<br />
เป็นหลักของการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ของญี่ปุ่นคือ ทัตสุโนะ คิงโกะ (Tatsuno Kingo) (1854-1919)<br />
คาตายามา โตกุมา (Katayama Tokuma) (1854-1917) และโซเน<br />
ทัตสุโซ (Sone Tatsuzo) (1853-1937)<br />
ในขณะที่สอนหนังสือคอนเดอร์ก็รับจ้างทำงานให้รัฐบาล<br />
ญี่ปุ่นด้วยและมีผลงานที่ได้รับความสำเร็จหลายโครงการเช่น<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน (Ueno National Museum) (1881)<br />
คฤหาสน์โรกุไมคาน(Rokumeikan) โตเกียว (1883) ตึกเรียน<br />
คณะนิติศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว (1884)<br />
เป็นต้น คอนเดอร์เป็นอาจารย์ประจำอยู่จนหมดสัญญากับรัฐบาล<br />
ใน ค.ศ. 1885 หลังจากนั้นก็ทำงานเป็นสถาปนิกเต็มตัว หมดภาระ<br />
จากงานด้านการศึกษาที่จะตกไปเป็นภาระของลูกศิษย์หมายเลขหนึ่ง<br />
ของเขาทัตสุโนะ คิงโกะตั้งแต่ ค.ศ. 1884<br />
ผลงาน<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน (Ueno National Museum)<br />
(1881) เป็นอาคารโครงสร้างก่ออิฐอวดผิว สูงสองชั้น ผังรูปตัว E<br />
แบบคลาสสิก แต่ลักษณะอาคารเป็นแบบผสมระหว่างสถาปัตย-<br />
กรรมโกธิคผสมกับมุสลิมที่เรียกกันว่าแบบซาราเซนิก (saracenic)<br />
อย่างที่พบในประเทศแถบยุโรปใต้เช่น สเปน เป็นต้น จุดเด่นของ<br />
อาคารอยู่ที่ช่องเปิดคานวงโค้งชั้นล่างที่ขอบเป็นอิฐสีตัดกับสีพื ้น<br />
ของอิฐแดงทั่วไป ช่องเปิดหน้าต่างชั้นบนเป็นคานโค้งแหลม<br />
หลายตอน ที่มุขกลางอาคารมีหอคอยขนาบริมสองข้างประดับยอด<br />
ด้วยโดมแบบมุสลิมขนาดเล็ก เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยม<br />
ในประเทศอาณานิคมของอังกฤษ เพื่อแสดงความเป็นพื้นเมือง<br />
“ตะวันออก” โดยเฉพาะอินเดียเพราะใช้องค์ประกอบสถาปัตยกรรม<br />
หลายอย่างของอินเดียโบราณ จึงมีชื่อเรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบ<br />
ฟื้นฟูอินโดซาราเซนิก (Indo-saracenic revival architecture)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
41
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน (1881)<br />
ตึกเรียนคณะนิติศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
(1884) เป็นอาคารโครงสร้างก่ออิฐอวดผิว สูงสองชั้น ผังรูปตัว E<br />
แบบคลาสสิก แต่ลักษณะอาคารกลับเป็นแบบฟื้นฟูโกธิค (Gothic<br />
revival) ที่ลดทอนรายละเอียด แต่ยังคงสงวนจุดเด่นแบบโกธิคที่จั่ว<br />
หน้าบันมุขกลางที่ประดับด้วยหน้าต่างกลมแบบโรสวินโดว์<br />
(Rose window) และชุดหน้าต่างแบบโค้งแหลม รวมทั้งเสาอิงยอด<br />
แหลมผอมบางที่ประยุกต์มาจากเสาค้ำยันแบบโกธิคโบราณ<br />
ผังพื้นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน<br />
42 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
คฤหาสน์โรกุไมคาน (1883) ผังพื้นชั้นบนคฤหาสน์โรกุไมคาน<br />
ผังพื้นชั้นล่างคฤหาสน์โรกุไมคาน<br />
คฤหาสน์โรกุไมคาน (Rokumeikan) (1883) หรือคฤหาสน์<br />
กวางร่ำไห้ เป็นคฤหาสน์ขนาดใหญ่สำหรับรับรองแขกต่างประเทศ<br />
ของกระทรวงต่างประเทศโดยรัฐมนตรีอิโนอูเอะ คาโอรุ(Inoue Kaoru)<br />
มีพื้นที่รวมถึง17,000 ตารางฟุต เป็นอาคารก่ออิฐอวดผิวสูงสองชั้น<br />
ผังรูปตัว U 13 ชั้นล่างประกอบด้วยห้องจัดเลี้ยงใหญ่ชั้นบนเป็นห้อง<br />
สำหรับการสังสรรค์(salon) ระบบแสงสว่างใช้ตะเกียงแก๊สให้ความ<br />
สว่างได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะอาคารเป็นแบบเรอเนสซองส์<br />
ฝรั่งเศส (French Renaissance) จุดเด่นอยู่ที่หลังคามุขกลางด้าน<br />
หน้าที่เป็นโดมทรงสูงแบบสันตะเข้โค้งในเอกลักษณ์แบบฝรั่งเศส<br />
ผสมกับรายละเอียดแบบสถาปัตยกรรมซาราเซนิกที่คอนเดอร์ชอบ<br />
เห็นได้จากการใช้อิฐสลับสีเรียงเป็นสันของคานโค้งแบบมุสลิม<br />
รวมทั้งการทำระเบียงโล่งที่ปีกสองข้างของด้านหน้าอาคาร<br />
ซึ่งสะท้อนความใส่ใจในการระบายอากาศหน้าร้อนของญี่ปุ่น<br />
โรกุไมคานถูกสร้างให้เป็นตัวแทนความทันสมัยของสังคม-<br />
วัฒนธรรมญี่ปุ่นในยุคเมจิตอนต้น เป็นสถานที่ต้อนรับแขกเมือง<br />
ชาวตะวันตกและเป็นสถานที่ฝึกหัดกริยามารยาท วิถีชีวิตแบบ<br />
ตะวันตกให้กับชนชั้นสูงญี่ปุ่น 14 ในเวลาเดียวกัน เป็นการประกาศ<br />
การยอมรับในวัฒนธรรมตะวันตกอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ชาติ<br />
ตะวันตกยอมรับว่าญี่ปุ่นกับตะวันตกอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
43
เฮอร์มาน เอนเดอร์และวิลเฮล์ม บ๊อคมานน์ (Hermann<br />
Ende & Wilhelm Bockmann) ผู้วางรากฐานการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมมาตรฐานสากล<br />
เฮอร์มาน เอนเดอร์ (1829-1907) วิลเฮล์ม บ๊อคมานน์ (1832-1902)<br />
โรกุไมคานเป็นสถานที่หรูหราของชนชั้นสูงที่เป็นที่รู้จักทั่วญี่ปุ่น<br />
แต่ภายหลังที่อิโนอูเอะออกจากตำแหน่ง อาคารหลังนี้ก็ถูกละเลย<br />
จนเสื่อมโทรมและถูกรื้อทิ้งไปใน ค.ศ. 1935<br />
อาคารแบบตะวันตกของคอนเดอร์เน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอย<br />
และความคงทน แต่ยังห่างไกลในเรื่องสุนทรียภาพ แต่คอนเดอร์<br />
มีคุณสมบัติของความเป็นนักการศึกษาที่ยอดเยี่ยม สามารถ<br />
ถ่ายทอดวิชาความรู้ที่จำเป็นและเน้นการใช้งาน ปลูกฝังการรักใน<br />
ประวัติศาสตร์ให้บรรดาลูกศิษย์ที่จะเติบโตต่อไปเป็นหลักของ<br />
วงการสถาปนิกญี่ปุ่น คอนเดอร์มีความพยายามที่จะช่วยหา<br />
เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมแบบใหม่ให้กับญี่ปุ่น แต่มันอยู่ในกรอบ<br />
แคบๆ ของของลัทธิประสมประสาน (Ecleticism) และลัทธิโรแมนติก<br />
(Romanticism) ที่เพ้อฝันของศตวรรษที่19 ความสำเร็จในการหา<br />
เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นจะพัฒนาต่อไปอีก<br />
หลายสิบปี และจะพบความสำเร็จหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว<br />
เท่านั้น และด้วยฝีมือของคนญี่ปุ่นเอง<br />
เฮอร์มาน เอนเดอร์ (Herman Ende) (1829-1907) และ<br />
วิลเฮล์ม บ๊อคมานน์(Wilhelm Bockmann) (1832-1902) เป็นกลุ่ม<br />
สถาปนิกเยอรมันที่มีชื่อเสียงระดับสากลที่รัฐบาลญี่ปุ่นจ้างให้มา<br />
สร้างภาพลักษณ์ความศิวิไลซ์ให้ญี่ปุ่นผ่านสถาปัตยกรรม เหตุผล<br />
ในการเลือกสถาปนิกกลุ่มนี้ก็คือพวกเขาเพิ่งจะชนะที่ 2 ในการ<br />
ประกวดแบบรัฐสภาเยอรมันใน ค.ศ. 1882 และนี่คือประเภทของ<br />
อาคารที่ญี่ปุ่นกำลังอยากได้ การจ้างเอนเดอร์และบ๊อคมานน์จึง<br />
เน้นในเรื่องสถาปัตยกรรมคุณภาพระดับสากล ที่สถาปนิกท้องถิ่น<br />
ยังขาดประสบการณ์พอที่จะทำ ไม่ว่าจะเป็นคอนเดอร์หรือบรรดา<br />
ลูกศิษย์ของเขา ผลงานสำคัญของทั้งสอง ได้แก่ โครงการวางผัง<br />
ศูนย์ราชการกรุงโตเกียว (1886) โครงการรัฐสภาแห่งชาติ 2 แบบ<br />
(1886 และ 1887) กระทรวงยุติธรรม (1895) และศาลฎีกาแห่ง<br />
กรุงโตเกียว (1896) นอกจากงานออกแบบแล้วเอนเดอร์และ<br />
บ๊อคมานน์ยังมีอิทธิพลต่อสถาปนิกรุ่นหนุ่มของญี่ปุ่นด้วยโดยการนำ<br />
สถาปนิกหนุ่มกลุ่มหนึ ่งไปฝึกงานที่เยอรมันเพื่อเรียนรู้มาตรฐาน<br />
การออกแบบของเยอรมัน และได้ถูกนำมาเผยแพร่โดยหนึ่ง<br />
ในสถาปนิกฝึกงานกลุ่มนี้ชื่อโยรินากะ ซึเมกิ (Yorinaga Tsumaki)<br />
(1859-1916) ที่ต่อมาเป็นสถาปนิกที่ออกแบบอาคารให้กระทรวง<br />
การคลังอย่างมากมาย<br />
ผลงาน<br />
โครงการศูนย์ราชการกรุงโตเกียว (1886)จุดประสงค์ในการ<br />
จ้างเอนเดอร์และบ๊อคมานน์คือ รัฐบาลต้องการกรุงโตเกียวที่<br />
สวยงามทันสมัยทัดเทียมมหานครในยุโรป เช่น เบอร์ลิน เป็นต้น<br />
ผังเมืองที่เอนเดอร์และบ๊อคมานน์ออกแบบเป็นแกนถนนที่พุ่ง<br />
44 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เข้าหาใจกลางผังที่เป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัวคล้ายตัว Y ส่วนที่<br />
เป็นสามเหลี่ยมบรรจุวงเวียนขนาดใหญ่ ฐานของรูปสามเหลี ่ยม<br />
เป็นสถานีรถโตเกียว แกนเฉียงสองข้างของรูปตัว Y ด้านหนึ่งเป็น<br />
ที่ตั้งโรกุไมคาน อีกด้านหนึ่งเป็นกลุ่มอาคารราชการขนาดใหญ่ถนน<br />
แกนกลางออกแบบให้เป็นที่ตั้งของสนามใหญ่ขนาบสองข้างด้านหนึ่ง<br />
สำหรับการแสดงนิทรรศการ อีกด้านหนึ่งสำหรับการสวนสนาม<br />
จากนั้นปลายแกนถนนบิดไปทางซ้ายเข้าสู่รัฐสภา อย่างไรก็ตาม<br />
ผังนี้มิได้มีการสร้างจริง มีเพียงอาคารสถานีรถไฟและวงเวียนด้าน<br />
หน้าเท่านั้นที่สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1914 ในรัชสมัยต่อมา<br />
โครงการศูนย์ราชการกรุงโตเกียว (1886)<br />
โครงการรัฐสภาแห่งชาติ 1 (1886)<br />
โครงการรัฐสภาแห่งชาติ1 และ2 (1886 และ1887) การมี<br />
รัฐสภาแห่งชาตินอกจากจะเป็นหน้าตาของชาติที่ศิวิไลซ์แล้ว ยัง<br />
เป็นไปตามเจตจำนงของการปฏิวัติโบชินที่ต้องการระบอบ<br />
ประชาธิปไตย อาคารรัฐสภาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นทั้งทางการเมือง<br />
และเชิงสัญvลักษณ์ เอนเดอร์และบ๊อคมานน์ออกแบบรัฐสภาญี่ปุ่น<br />
ตามแบบรัฐสภาเยอรมัน ที่สำนักงานออกแบบของพวกเขาก็ร่วม<br />
งานประกวดแบบใน ค.ศ. 1872 นั้นด้วยแต่ได้เพียงที่ 2 คราวนี้<br />
ใน ค.ศ. 1886 เมื่อมีโอกาสมาออกแบบรัฐสภาให้ญี่ปุ่นพวกเขาก็ยังใช้<br />
ผังรูปตัว E แบบมาตรฐานงานรัฐสภาในยุโรป มุขกลางเป็นโถง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
45
ซ้าย ผังพื้นโครงการรัฐสภาแห่งชาติ 1 (1886)<br />
ขวา โครงการรัฐสภาแห่งชาติ 2 (1887)<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน กระทรวงยุติธรรม (1895)<br />
ล่างซ้าย ผังพื้นชั้นล่างกระทรวงยุติธรรม<br />
ล่างขวา ผังพื้นชั้นบนกระทรวงยุติธรรม<br />
ต้อนรับครอบด้วยหลังคาโดม มุขซ้าย-ขวาเป็นห้องประชุมสภาผู้<br />
แทนราษฎรและวุฒิสภาครอบหลังคาปั้นหยาแบบสองตอน<br />
ตัวอาคารประดับด้วยเสาลอยตัวแบบคลาสสิก และตามมุมอาคาร<br />
มีหอคอยหลังคายอดแหลมแบบเจดีย์จีน โดยภาพรวมแล้วจึง<br />
เป็นงานแบบบาร็อค (Baroque) ที่มีสำเนียงจีน ปรากฏว่ารัฐบาล<br />
ไม่พึงพอใจและต้องการให้รัฐสภามีความเป็นญี่ปุ่นมากขึ้น<br />
เอนเดอร์และบ๊อคมานน์จึงปรับหน้าตาอาคารใหม่ใน ค.ศ. 1887<br />
โดยการเปลี่ยนหลังคาโดมที่มุขกลางให้เป็นยอดหอคอยทรงแหลม<br />
แบบจีน หลังคาของห้องประชุมสภาทั้งสองก็แก้ไขให้เหมือน<br />
หลังคาของพระราชวังต้องห้ามของจีน พร้อมทั้งเอาเสาลอยตัว<br />
และลวดลายประดับแบบคลาสสิคออกไปหมดแล้วแทนที่ด้วย<br />
เสาอิงและหอคอยค้ำยันแบบโกธิคที ่ใส่หลังคายอดแหลมแบบจีน<br />
ทำให้อาคารยิ่งดูครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างตะวันตกและจีนมากขึ้นไปอีก<br />
แน่นอนว่ารัฐบาลย่อมไม่พอใจและตัดสินใจเลื่อนเวลาการสร้าง<br />
อาคารหลังสำคัญนี้ออกไปก่อน<br />
กระทรวงยุติธรรม (1895) เป็นอาคารราชการขนาดใหญ่<br />
สูงสองชั้น ออกแบบและสร้างตามมาตรฐานยุโรป เอนเดอร์และ<br />
บ๊อคมานน์ใช้ผังรูปตัว E ด้านหน้ามีสามมุขเชื่อมด้วยปีก มุขกลาง<br />
กับมุขริมสองข้างถูกคั่นด้วยสนามภายใน 2 สนาม ตัวมุขกลางมีผัง<br />
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใหญ่ตรงกลางเป็นโถงที่มีห้องต่างๆ เรียงรอบ<br />
ห้องอื่นๆ ถูกเรียงไปตามปีกอาคารที่มีระเบียงด้านหลังเป็นทางเดิน<br />
เชื่อม โครงสร้างอาคารมีฐานรากแผ่คอนกรีตเสริมเหล็กที่สามารถ<br />
ต้านทานแผ่นดินไหวได้ การใช้ผังรูปตัว E ทำให้ทุกมุมและช่วง<br />
กลางอาคารเป็นที่ตั้งของมุขที่เป็นป้อมขนาดใหญ่ที่ช่วยเสริมความ<br />
มั่นคง ผนังอาคารทั้งหมดก่ออิฐอวดผิวในแบบกำแพงรับน้ำหนัก<br />
อาคารหลังนี้เป็นอาคารจำนวนไม่กี่หลังในยุคนี้ที่รอดพ้นจากการ<br />
พังทลายเนื่องจากแผ่นดินไหวใหญ่คันโต (Kanto earthquake) ใน<br />
ค.ศ. 1926 การทิ้งระเบิดใส่ของเครื่องบินสัมพันธมิตรช่วงทศวรรษ<br />
1940 จึงเป็นมาตรฐานของความแข็งแรงและความสวยงามสำหรับ<br />
การก่อสร้างอาคารราชการขนาดใหญ่ในยุคต่อมา<br />
46 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เอนเดอร์และบ๊อคมานน์เป็นกลุ่มสถาปนิกที่นำมาตรฐานของการ<br />
ปฏิบัติวิชาชีพในระดับสากลมาเผยแพร่ในญี่ปุ่น ผลงานออกแบบ<br />
เช่นกระทรวงยุติธรรมเป็นตัวอย่างที่ดีของงานที่สง่างามและมั่นคง<br />
แข็งแรงตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการคุณสมบัติที่สำคัญทั ้งสอง<br />
ประการนี้จะเป็นรากฐานการทำงานของบรรดาสถาปนิกญี่ปุ่นสืบไป<br />
นอกจากนี้สถาปนิกกลุ่มนี้ยังเป็นเสมือนทูตสถาปัตยกรรมที่บุกเบิก<br />
ความสัมพันธ์ให้กับสถาปนิกญี่ปุ่นสู่สถาปนิกเยอรมัน โดยเฉพาะ<br />
การเรียนรู้วิทยาการจากวงการสถาปัตยกรรมเยอรมัน ที่จะเกิดขึ้น<br />
ในทศวรรษ 1930 เมื่อยุคของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
(International modern architecture) แพร่หลายไปทั่วโลก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
47
รัชสมัยเมจิตอนปลาย (1890-1912)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
เมื่อพิจารณาจากตัวเลขการค้าต่างประเทศ 15 ของญี่ปุ่นตั้งแต่<br />
ค.ศ. 1868-1898 จะเห็นว่าตัวเลขสินค้าเข้าและการส่งออก<br />
เพิ่มเป็น 2 เท่าทุก 10 ปี จาก 26.25 พันล้านเยนใน ค.ศ. 1868<br />
เป็น 443.25 พันล้านเยนใน ค.ศ. 1898 หรือเกือบ 17 เท่าในระยะ<br />
เวลา 30 ปี มูลค่าในการค้ามาจากความสามารถในการผลิต<br />
ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสิ่งทอเช่นฝ้ายที่เริ่มส่งออกได้ตั้งแต่<br />
ค.ศ. 1890 ผ้าไหมมีมูลค่าในการส่งออกมากที่สุดราว 30-40%<br />
ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดใน ค.ศ. 1890 ไม้ขีดไฟ เครื่องเคลือบ<br />
ดินเผา ร่ม ที่ดูเป็นอุตสาหกรรมของสิ่งผลิตเล็กๆ น้อยๆ แต่จำเป็น<br />
ในชีวิตประจำวันไปจนถึงการเริ่มต้นอุตสาหกรรมหนัก เช่น เหล็ก<br />
ใน ค.ศ. 1900 การต่อเรือที่เพิ่มอย่างชัดเจนหลังสงครามจีน-ญี่ปุ่น<br />
ใน ค.ศ. 1895 จนถึง ค.ศ. 1901 จำนวนเรือที่ต่อได้เองมีมากกว่า<br />
เรือนำเข้าจากต่างประเทศบริษัทมิตซูบิชิสามารถต่อเรือขนาด<br />
ระวาง 13,000 ตันได้ใน ค.ศ. 1908 และตั้งแต่ ค.ศ. 1911 เรือรบ<br />
ทั้งหมดก็ต่อในประเทศทั้งสิ้น โรงงานผลิตหัวรถจักรไอน้ำเริ่มใน<br />
ค.ศ. 1896 และผลิตได้เองใน ค.ศ. 1913 โรงงานผลิตรถยนต์<br />
เครื่องจักรไอน้ำได้ใน ค.ศ. 1904 จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นดำเนินนโยบาย<br />
ภายใต้คติพจน์ “ชาติร่ำรวย การทหารเข้มแข็ง” และ “เสริมสร้าง<br />
การเกษตรและอุตสาหกรรม” ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่ต้นรัชสมัย<br />
ได้อย่างเป็นรูปธรรม<br />
แต่ความก้าวหน้านี้กลับนำญี่ปุ่นไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่า<br />
คือความทะเยอทะยานอยากเป็นจักรวรรดินิยมแข่งกับชาติตะวันตก<br />
ด้วยแรงขับดันของลัทธิหลงชาติอย่างรุนแรง ที่มาจากลัทธิชินโต<br />
ที่เน้นความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันจักรพรรดิและความสูงส่งของเชื้อ<br />
ชาติญี่ปุ่นที่เป็นลูกพระอาทิตย์ ที่ต้องการเป็นจ้าวเอเชียและขับไล่<br />
ชาวตะวันตกที่ป่าเถื่อนที่ถือเป็นภารกิจศักดิ์สิทธิ์ อันนำญี่ปุ่นไปสู่<br />
สงครามปลายรัชสมัยเมจิ ซึ่งต่อเนื่องมาถึงครึ่งศตวรรษ<br />
สงครามจีน-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1894-1895)<br />
ความขัดแย้งระหว่างชาติทั้งสองที่ต้องการครอบครอง<br />
เกาหลีทำให้เกิดสงครามขึ้นใน ค.ศ. 1894 การรบเกิดขึ้นทั้งบนบกและ<br />
ในทะเล ซึ่งญี่ปุ่นสามารถเอาชนะกองทัพจีนได้ทั้งสองสมรภูมิ<br />
โดยเฉพาะยุทธนาวีที่แม้ว่าจีนจะมีกองเรือรบแบบตะวันตกที่ทันสมัย<br />
ถึง 65 ลำ แต่กลับไม่ชำนาญการรบจนพ่ายแพ้ญี่ปุ่นอย่างหมดรูป<br />
จีนต้องทำสนธิสัญญายอมรับในเอกราชของเกาหลียกเกาะไต้หวัน<br />
ให้ญี่ปุ่น ยอมให้ญี่ปุ่นมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และชดใช้<br />
ค่าเสียหายให้ญี่ปุ่นถึง 200 ล้านเหรียญเทลในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ<br />
สงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย (ค.ศ. 1904-1905)<br />
ความขัดแย้งในการเข้าไปมีอิทธิพลในแมนจูเรียและเกาหลี<br />
ทำให้สองชาติเผชิญหน้ากันและทำสงครามกันในที่สุด สมรภูมิรบ<br />
อยู่ในแหลมเลียวตุงของจีนและนครมุกเด็นในแมนจูเรียใต้ และ<br />
ทะเลรอบเกาหลี ญี่ปุ่นและทะเลเหลือง ญี่ปุ่นดำเนินยุทธการได้<br />
เหนือกว่าและทำลายเรือรบของรัสเซียได้เป็นจ ำนวนมาก ทำให้รัสเซีย<br />
ยอมสงบศึกและลงนามในสนธิสัญญาปอร์ตสมัธในเดือนกันยายน<br />
ค.ศ. 1905 ว่ายอมรับในอิทธิพลของญี่ปุ่นเหนือเกาหลี ยอมถอนทหาร<br />
จากแมนจูเรีย ยกเลิกสิทธิการเช่าพอร์ตอาเธอร์ (แหลมเลียวตุง)<br />
และยกดินแดนตอนใต้ของเกาะสะขะลินให้ญี่ปุ่น<br />
ชัยชนะในสงครามใหญ่ทั้งสองครั้งทำให้ญี่ปุ่นยิ่งลำพองใจ<br />
กับยุทธศาสตร์การเป็นจักรวรรดินิยมของตนมากขึ้น เชื่อมั่นว่า<br />
ตนเองสามารถครอบครองเอเชียและเอาชนะพวกตะวันตกได้<br />
นอกจากนี้สงครามยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าโดยเฉพาะค่าปฏิกรรม<br />
สงครามที่ได้จากจีน ญี่ปุ่นประกาศตนเองว่ามีสถานภาพเทียบเท่า<br />
จักรวรรดินิยมตะวันตกและเรียกร้องสิทธิของตนเทียบเท่าประเทศ<br />
เหล่านั้นเมื่อทำสนธิสัญญากับประเทศที่อ่อนแอกว่า<br />
48 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รัฐธรรมนูญและระบบรัฐสภาของญี่ปุ่น<br />
จุดมุ่งหมายของการมีรัฐธรรมนูญคือการสร้างระบอบการ<br />
ปกครองประเทศที่ทันสมัยแบบตะวันตก ซึ่งญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็น<br />
องค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง แต่รัฐธรรมนูญ<br />
ของญี่ปุ่นในยุคเมจิยังห่างไกลกับคำว่าประชาธิปไตยอย่างที่เข้าใจ<br />
ในปัจจุบันมาก เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพมีความสำคัญ<br />
น้อยกว่าความมั่นคงของจักรวรรดิ มันจึงเป็นรัฐธรรมนูญของกลุ่ม<br />
คณาธิปไตยผู้ครองอำนาจและจักรพรรดิที่ยอมให้ประชาชน<br />
มีส่วนร่วมอย่างจำกัดที่สุด กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญมีการ<br />
ศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1881 และเริ่มต้น<br />
ร่างใน ค.ศ. 1886 โดยได้รับอิทธิพลของรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิ<br />
เยอรมัน ภายใต้การแนะนำของรูดอล์ฟ ฟอน เกนสท์ (Rudolf<br />
von Gneist) และลอเรนซ์ ฟอน สไตน์ (Lorenz von Stein) มีการ<br />
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1889 แต่มีผล<br />
ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1890 17 เนื้อหาโดยสรุปของ<br />
รัฐธรรมนูญระบุว่าหัวใจของระบบรัฐสภาคือสภาผู้แทนราษฎร<br />
และสภาขุนนาง สภาขุนนางแต่งตั้งโดยจักรพรรดิ เป็นตำแหน่ง<br />
ถาวรและมีหน้าที่ออกกฎหมายและรับรองกฎหมาย ส่วนสภา<br />
ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง มีสิทธิออกร่างกฎหมาย แต่<br />
กฎหมายนั้นจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อสภาขุนนางรับรองแล้วเท่านั้น คณะ<br />
รัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของจักรพรรดิ มีหน้าที่บริหารประเทศ<br />
กำหนดนโยบาย แนวทางของรัฐและเป็นที่ปรึกษาของจักรพรรดิ<br />
ศาลแต่งตั้งโดยจักรพรรดิ มีหน้าที่ตัดสินคดีความ<br />
พิจารณาจากเนื้อหาแล้วดูเหมือนว่ารัฐธรรมนูญให้อำนาจ<br />
รวมศูนย์ที่จักรพรรดิ ส่วนประชาชนนั้นเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วม<br />
ในการปกครองประเทศเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้มีอ ำนาจตัวจริง<br />
เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่ในกลุ่มของรัฐบาลและองค์กรที่ให้คำปรึกษา<br />
แก่จักรพรรดิ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นประมุขที่ศักดิ์สิทธิ์และ<br />
ใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรีและกองทัพ ซึ่งคือกลุ่มที่มีอำนาจ<br />
อย่างแท้จริงเพราะขึ้นตรงกับจักรพรรดิเท่านั้น 18 และไม่มีใคร<br />
ควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาหรือคณะรัฐมนตรี ความอ่อนแอของ<br />
สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศตกอยู่ใน<br />
ระบอบเผด็จการทหารในยุคต่อมา อย่างไรก็ตามความดีประการหนึ่ง<br />
ของรัฐธรรมนูญนี้คือการให้ประกันสิทธิเสรีภาพพื้นฐานหลายประการ<br />
แก่ชาวญี่ปุ่น เช่น เสรีภาพในการเดินทาง (มาตรา 22) สิทธิที่จะไม่ถูก<br />
บุกรุกหรือค้นเคหสถาน (โดยไม่มีหมายศาล) (มาตรา 25) สิทธิในการ<br />
ติดต่อสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว (มาตรา 26) สิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว<br />
(มาตรา 27) เสรีภาพในการพูด การประชุม และการตั้งสมาคม<br />
(มาตรา 29) สิทธิมนุษยชนพื้นฐานเหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโต<br />
ทางปัญญางอกงามขึ้นในรัชกาลต่อมา<br />
การศึกษา<br />
เจตนารมณ์ในการปฏิวัติระบอบโชกุนระบุไว้อย่างชัดเจนใน<br />
ข้อ 5 ของสัตยาธิษฐานที่ลงวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1868 ว่า<br />
“แสวงหาความรู้วิทยาการที่ทันสมัยเพื่อสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่นให้<br />
เข้มแข็งและมั่นคง” เจตนารมณ์นี้ถูกแปลงเป็นรูปธรรมโดยการ<br />
จัดการระบบการศึกษาสมัยใหม่อย่างจริงจังตั้งแต่ ค.ศ. 1872<br />
โดยการตั้งกระทรวงศึกษาธิการเพื่อจัดการระบบการศึกษาใหม่<br />
ให้กระจายลงสู่มวลชน และเฟ้นนักเรียนที่มีผลการศึกษาดีเข้าสู่<br />
การศึกษาระดับอุดมศึกษา ใน ค.ศ. 1872 รัฐบาลผ่านกฎหมาย<br />
การศึกษาที่กำหนดให้มีการตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น 8 แห่งทั่วประเทศ<br />
แต่ละเขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีการจัดตั้งโรงเรียน<br />
มัธยมศึกษา 32 แห่ง แต่ละเขตการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา<br />
ให้จัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา 210 โรง 19 ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้<br />
จะมีการสร้างโรงเรียนประถมศึกษาถึง 53,760 แห่งทั่วประเทศ<br />
ภายในเวลา 2-3 ปีเท่านั้น และมีนักเรียนถึง 32,256,000 คน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
49
(โรงเรียนประถมศึกษาแต่ละโรงรับนักเรียน 600 คน) แต่ความจริง<br />
ปรากฏว่ารัฐบาลสร้างโรงเรียนไปได้เพียง 30,156 แห่งใน ค.ศ. 1883<br />
และมีนักเรียนกว่า 2 ล้านคน จำนวนนักเรียนที่เข้าถึงระบบการ<br />
ศึกษาภาคบังคับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงระดับร้อยละ 95 ใน ค.ศ. 1906<br />
แม้ว่าจะไม่ได้มากและรวดเร็วตามเป้าที่ตั้งไว้แต่แรก แต่ก็เป็น<br />
ตัวเลขความสำเร็จที่น่าทึ่งมากตราบจนทุกวันนี้<br />
เนื้อหาการศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษาเน้นวิชาการทาง<br />
วิทยาศาสตร์แบบตะวันตกควบคู่กับการเรียนจริยธรรมแบบขงจื๊อ<br />
ที่เน้นคุณธรรมความจงรักภักดีต่อประเทศชาติและจักรพรรดิ<br />
ส่วนในระดับอุดมศึกษานั้นรัฐบาลเน้นคัดนักศึกษาที่มีคุณภาพ<br />
สูงสุดไปศึกษาดูงานในต่างประเทศอย่างเต็มที่และเร่งด่วน<br />
เพื่อกลับมาพัฒนาสาขาวิชาความรู้ของตนเองอย่างเป็นมืออาชีพ<br />
เพื่อทดแทนบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่จ้างมาตั้งแต่ทศวรรษ<br />
ที่ 1870 ซึ่งจะค่อยๆ ทยอยถูกเลิกจ้างไปในทศวรรษที่ 1890<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในยุคเมจิตอนปลาย<br />
(ค.ศ. 1890-1912)<br />
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปทางการเมืองและ<br />
การศึกษา ทำให้สังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่นยุคเมจิตอนปลายเปลี่ยนไป<br />
อย่างมาก ระบบทุนนิยมขยายตัวในเมืองใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยชนชั้น<br />
กลางที่มีการศึกษาและรสนิยมแบบตะวันตก และชนชั้นแรงงานหัว<br />
อนุรักษ์นิยม การมีรัฐธรรมนูญทำให้ประชาชนตระหนักในสิทธิ<br />
เสรีภาพส่วนบุคคลแบบตะวันตกมากขึ้น ขณะที่บางกลุ่มยังเห็น<br />
ความสำคัญของค่านิยมและจริยธรรมแบบเก่า วงการศิลปะ-<br />
สถาปัตยกรรมได้รับผลกระทบจากค่านิยมที่แตกต่างทั้งสอง<br />
ผ่านการออกแบบของสถาปนิกรุ่นใหม่ที่เข้ามารับงานแทนที่<br />
สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตกในยุคทศวรรษ 1880-1890<br />
มีการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกอย่างแพร่หลายในเมืองใหญ่<br />
ที่มีรูปแบบหลากหลาย แบบที่มีจำนวนมากที่สุดคืออาคารรูปแบบ<br />
โบราณที่ผสมผสาน (Eclecticism) ลักษณะอาคารเป็นกำแพง<br />
ก่ออิฐอวดผิว หลังคาทรงสูง เหมือนอย่างที่คอนเดอร์และเอนเดอร์<br />
และบ๊อคมานน์ทำไว้ก่อนหน้านี้ แต่คราวนี ้สถาปนิกเป็นคนญี่ปุ่น<br />
เองที่เป็นลูกศิษย์ของคนพวกแรกที่หมดสัญญาจ้างกับรัฐบาล<br />
ซึ่งเป็นไปตามคติพจน์ “จิตวิญญาณญี่ปุ่น วิทยาการตะวันตก”<br />
ตัวอย่างเช่น ทัตสุโนะ คิงโกะ คายามา โตกุมา โซเน ทัสสุโซและ<br />
ซึเมกิ โยรินากะ (Tsumaki Yorinaka) เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ล้วน<br />
เป็นหลักในการผลิตสถาปัตยกรรมช่วงนี้ พวกเขารวมกัน 26 คน<br />
ร่วมกันจัดตั้งสมาคมผู้สร้างอาคาร (Zoka Gakkai) ซึ่งต่อมากลาย<br />
เป็นสถาบันสถาปนิกญี่ปุ่น (AIJ) เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนความรู้<br />
วิชาการและสังสรรค์ทางสังคม มีการออกวารสารวิชาการ<br />
สถาปัตยกรรมเป็นครั้งแรก (Journal of Architecture and Building<br />
Science) ใน ค.ศ. 1887 ส่วนในมหาวิทยาลัยโตเกียวมีการ<br />
จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอาคารขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1886<br />
อย่างไรก็ตามตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 รูปแบบสถาปัตยกรรมได้<br />
พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง สถาปนิกเริ ่มปฏิเสธอาคารรูปแบบโบราณ<br />
เพราะเกิดแนวความคิดใหม่ในการออกแบบที่มากับวัสดุก่อสร้างใหม่<br />
เช่น เหล็ก คอนกรีตเสริมเหล็ก และกระจก ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย<br />
ในการก่อสร้าง บันดาลให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่อย่าง<br />
อาร์ตนูโว (Art Nouveau) ของร้านตัดผมคามิโนโตะ (Kaminoto)<br />
(1903) โดยยูกาตะ ฮิดากะ (Yukata Hidaka) และอาคารแบบ<br />
โมเดิร์น (modern) ที่โครงสร้างเป็นเหล็กทั้งหมดของร้านหนังสือ<br />
มารูเซ็น (Maruzen)(1909) โดยโตชิคาตะ ซาโน(Toshikata Sano)<br />
ขณะเดียวกันแนวคิดอนุรักษ์นิยมในสถาปัตยกรรมก็เกิดสวนทางขึ้นมา<br />
โดยปรากฏรูปแบบอาคารแบบตะวันตกที ่ใช้ผังรูปตัว E แบบ<br />
คลาสสิค แต่ครอบด้วยหลังคาแบบวัดญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น<br />
อาคารศาลากลางจังหวัดนารา (Nara Prefectural Office) (1895)<br />
โดยนากาโน ยูไฮจิ(Nagano Uheiji) และ Japan Kangyo Bank (1899)<br />
โดยซึเมกิ โยรินากะเป็นต้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการแสวงหา<br />
เอกลักษณ์ของตนเองในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ของบรรดาเหล่า<br />
สถาปนิกนับตั้งแต่นั้นมา<br />
50 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกโดยสถาปนิกญี่ปุ่น<br />
ทัตสุโนะ คิงโกะ (ค.ศ. 1854-1919) เป็นศิษย์รุ่นแรกของ<br />
คอนเดอร์ เมื่อจบการศึกษาใน ค.ศ. 1879 ถูกรัฐบาลส่งไปศึกษา<br />
และฝึกงานต่อที่อังกฤษในสำนักงานของเบอร์เจสในลอนดอน<br />
เมื่อกลับมาญี่ปุ่นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรม<br />
อาคารใน ค.ศ. 1886 ที่ยกระดับขึ้นมาจากสาขาวิชาเดียวกัน<br />
ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวที่เขาสำเร็จการศึกษา ทัตสุโนะเป็นสถาปนิก<br />
ที่เชี่ยวชาญพร้อมๆ กับเป็นนักการศึกษาสถาปัตยกรรมคนสำคัญ<br />
ผลงานสถาปัตยกรรมของเขาส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบผสมผสานงาน<br />
โบราณ และนีโอคลาสสิค (Neo-classicism) รวมทั้งงานแบบ<br />
อาร์ตนูโวในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เช่น สนามกีฬาซูโม่แห่งชาติ<br />
กรุงโตเกียว (1911)<br />
ผลงาน<br />
ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (Bank of Japan) (1896) เป็นอาคาร<br />
แบบนีโอคลาสสิคที่น่าสนใจ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมสนาม<br />
ภายใน 3 สนาม อาคารทั่วไปสูง 3 ชั้นรูปตัว U และถูกแบ่งครึ่ง<br />
ตรงกลาง<br />
มีป้อมผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสครอบด้วยโดมตั้งตรงกลางอาคาร<br />
เด่นสง่า เพราะไม่ถูกบังโดยอาคารด้านหน้าที่ออกแบบให้สูงเพียง<br />
ชั้นเดียวเป็นเหมือนประตูรั้วที่เปิดมุมมองให้เห็นโดมกลางอาคาร<br />
ได้ สนามภายใน 3 สนามทำหน้าที่ระบายอากาศและให้แสงสว่าง<br />
แก่ห้องต่างๆ ภายในที่ถูกวางเรียงไปตามแกนอาคารอย่างเป็นระเบียบ<br />
ลักษณะอาคารเรียบง่ายแบบนีโอคลาสสิคที่มีจุดเด่นที่โดมแปดเหลี่ยม<br />
ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (1896)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
51
ตรงกลางตึกที่ถูกเน้นให้เด่นโดยอาคารทางเข้าที่สูงชั้นเดียวด้านหน้า<br />
เป็นการใช้เทคนิคทำอาคารด้านหน้าต่ำเพื่อเน้นอาคารสูงด้านหลัง<br />
แบบเดียวกับพระราชวังลักเซมบูร์ก (Palais du Luxembourge)<br />
(1615-1624) แห่งกรุงปารีส ขณะเดียวกันอาคารเตี้ยด้านหน้า<br />
ก็ทำหน้าที่รั้วและประตูกั้นอาคารหลักจากภายนอกเพื่อเหตุผลด้าน<br />
ความปลอดภัยคล้ายๆ การวางผังบ้านแบบจีนเช่นกัน โครงสร้าง<br />
เป็นแบบกำแพงอิฐรับน้ำหนัก กรุผิวด้วยแผ่นหินแกรนิต<br />
สนามมวยปล้ำซูโม่ (Sumo Arena) โตเกียว (1908) เป็น<br />
อาคารผังกลมสูงสามชั้น ใช้บันไดผังกลมและเหลี่ยม 7 แห่งเป็นจุด<br />
กระจายประชาชนเข้าออกอัฒจันทร์ผู้ชมที่เป็นรูปวงกลมล้อม<br />
สนามซูโม่ที่ตั้งอยู่ตรงกลาง ลักษณะอาคารเหมือนป้อมขนาดใหญ่<br />
หลังคาทรงโดม มีป้อมเล็กที่เป็นบันไดเรียงรายรอบอาคารหลักอยู่ถึง<br />
10 ป้อมที่คลุมด้วยหลังคาโดมแบบซาราเซนิก (Sarasenic)<br />
เหมือนที่คอนเดอร์ใช้ออกแบบพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน<br />
เมื่อ 27 ปีก่อน แต่อาคารหลังนี้ไม่ได้ดูหนักแบบเก่าเพราะสร้างด้วย<br />
โครงสร้างเหล็กเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหลังคาโครงหลังคาโดม<br />
เป็นโครงสร้างทรัสเหล็กที่พาดช่วงยาวถึง 30 เมตร แสดงให้เห็นถึง<br />
ความก้าวหน้าทางวิศวกรรมอย่างชัดเจน<br />
สนามมวยปล้ำซูโม่ (1908)<br />
ผังพื้นชั้นล่างธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น<br />
รูปตัดสนามมวยปล้ำซูโม่<br />
52 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การในการวัดระยะ”ของโมริยามา มัทสุโนสุเกะ (Moriyama Matsunosuke)<br />
20 ประการที่สองคือการที่เขาเชิญครูช่างไม้โบราณคิโกะ<br />
คิโยโยชิ(Kigo Kiyoyoshi) ที่รับผิดชอบการซ่อมวังหลวงหลายแห่ง<br />
มาสอนที่ภาควิชาตั้งแต่ ค.ศ. 1889<br />
นักการศึกษาสถาปัตยกรรม<br />
ผังพื้นสนามมวยปล้ำซูโม่<br />
สถานะของทัตสุโนะในฐานะผู้วางรากฐานการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า<br />
การเป็นสถาปนิกมือหนึ่งของเขา เมื่อรับหน้าที่เป็นหัวหน้าภาค<br />
วิชาวิศวกรรมอาคารแล้ว เนื้อหาการเรียนการสอนที่มีการปรับปรุง<br />
ให้ก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดคือ ประการแรกความรู้พื้นฐานทาง<br />
วิศวกรรมศาสตร์ในการป้องกันแผ่นดินไหวให้กับอาคาร ซึ่งสังเกต<br />
ได้จากหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาหลัง ค.ศ. 1884 จะมีเรื่อง<br />
เกี่ยวกับแบบลักษณะ (style) อย่างในสมัยคอนเดอร์น้อยลงมาก<br />
แต่หัวข้อจะเกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเช่นหัวข้อชื่อ<br />
“ข้อพิจารณาบางประการเกี่ยวกับแรงกระทำในหลังคาทรัสและวิธี<br />
สิ่งที่คิโกะสอนคือเนื้อหาว่าด้วยวิธีการก่อสร้างอาคารไม้แบบ<br />
ญี่ปุ่น รวมทั้งวิชาสัดส่วน รวมเรียกว่า คิวาริโฮ (Kiwariho) ซึ่งจะ<br />
เป็นประโยชน์มากสำหรับการสำรวจและบันทึกสถาปัตยกรรม<br />
โบราณสำหรับนักวิชาการประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม วิชาการ<br />
ของคิโกะนั้นจะเป็นแรงบันดาลใจอย่างแรงให้กับนักศึกษาหนุ่มผู้หนึ่ง<br />
ที่ต่อไปได้กลายเป็นนักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมคนสำคัญของ<br />
ญี่ปุ่น อิโตะ ชูตะ (Ito Chuta) (1867-1954) ซึ่งเข้าเรียนที่ภาควิชา<br />
ในปีเดียวกันนั้นเอง กล่าวกันว่าแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ทัตสุโนะ<br />
เห็นความสำคัญของการเรียนสถาปัตยกรรมโบราณ ทั้งๆ ที่ในสมัย<br />
ของเขานั้นความรู้เกี่ยวกับตะวันตกส ำคัญกว่ามาก มาจากประสบการณ์<br />
ขณะที่เขาทำงานอยู่ในสำนักงานของเบอร์เจสที่ลอนดอน เมื่อเบอร์เจส<br />
มีคำถามเขาว่าโบราณสถานของญี่ปุ่นนั้นคืออะไร แต่เขาไม่สามารถ<br />
หาคำตอบมาไขข้อข้องใจของเบอร์เจสได้<br />
คาตายามา โตกุมา (ค.ศ. 1853-1917) เป็นศิษย์รุ่นแรก<br />
ของคอนเดอร์เช่นเดียวกับทัตสุโนะ หลังจบการศึกษาแล้วเขาถูก<br />
ส่งไปฝึกงานต่อที่ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาในด้านการตกแต่งและ<br />
ออกแบบเครื่องเรือน จากประสบการณ์ที่ฝรั่งเศสทำให้เขาได้รับ<br />
อิทธิพลงานแบบผสมผสานที่เรียกกันว่าจักรวรรดิที่ 2 (Second<br />
Empire) มาเผยแพร่ในญี่ปุ่นผ่านงานที่เขาทำให้สำนักพระราชวัง<br />
เจ้าสังกัด ผลงานของเขาแสดงความแม่นยำในการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกโบราณ พร้อมๆ ไปกับความหรูหรา<br />
อลังการ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
53
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งนครเกียวโต (1895)<br />
54 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลงาน<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งนครเกียวโต (พิพิธภัณฑ์<br />
หลวงเกียวโตเดิม) (National Museum of Kyoto) (1895)<br />
ผังเป็นรูปตัว E สองตัวประกบกัน มีสนามภายในสองสนาม<br />
ด้านหลังเป็นอาคารรูปตัว U อีกหนึ่งหลัง จุดเด่นของอาคารคือ<br />
ผนังก่ออิฐอวดผิวทั้งหลัง ที่มีหลังคาโถงกลางและมุขประจำมุมทั้ง<br />
6 เป็นโดมทรงสันตะเข้โค้ง อันมาจากอิทธิพลของอาคารแบบ<br />
Second Empire ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ของฝรั่งเศส เช่น<br />
พระราชวังลูฟร์ (Louvre) แห่งกรุงปารีส ก่อนหน้านี้คาตะยามา<br />
เคยออกแบบพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาตินารา(National Museum<br />
of Nara) (1894) โดยใช้ผังแบบเดียวกันนี้แต่หลังคาเป็นทรงปั้นหยา<br />
ธรรมดาโดยเน้นมุขทางเข้าตรงกลางเป็นแบบคลาสสิค<br />
พระราชวังเฮียวไคคัน (Hyokeikan of Ueno Museum)<br />
(1901-1908) สร้างเพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีอภิเษกของ<br />
มกุฎราชกุมารไทโช มีผังเป็นรูปตัว T ในแบบคลาสสิค คือมี3 มุข<br />
เชื่อมด้วยปีกผังมุขกลางเป็นรูป 8 เหลี่ยม มุขปลายทั้งสองเป็น<br />
รูปสี่เหลี่ยมต่อกับวงกลมซึ่งเป็นที่ตั้งของบันได การออกแบบ<br />
ลักษณะนี้จะไม่พบในสถาปัตยกรรมตะวันตกแท้ๆ ลักษณะอาคาร<br />
เป็นแบบนีโอคลาสสิคที่เรียบง่ายและไม่ประดับประดาลวดลาย<br />
แต่มีเสาอิงแบบคลาสสิคประกอบเป็นช่วงๆ หลังคามีจุดเด่นที่โดม<br />
ครึ่งวงกลมที่มุขกลางและมุขปลายทั ้งสอง โครงสร้างอาคารเป็น<br />
แบบกำแพงอิฐรับน้ำหนักกรุผิวด้วยแผ่นหินแกรนิตสีขาว มุขหน้า<br />
แต่ละชั้นมีเสาลอยตัว 2 ต้นเป็นเสาประตู ทำด้วยหินอ่อน โดยภาพ<br />
รวมเห็นได้ชัดว่าได้อิทธิพลมาจากพระราชวังโฮเตลเดอซาล์ม<br />
(Hotel de Salm) (1784) แห่งกรุงปารีส โดยสถาปนิกปิแอร์ รุซโซ<br />
(Pierre Rousseau) ที่เรียบงายและสง่างามเป็นต้นแบบ<br />
พระราชวังเฮียวไคคัน (1901-1908)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
55
พระราชวังอะกาซากะ (1909)<br />
56 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผังพื้นชั้นล่างพระราชวังอะกาซากะ<br />
พระราชวังอะกาซากะ (Akasaka Palace) (1909) สร้าง<br />
ระหว่าง ค.ศ. 1899-1909 เพื่อเป็นวังสำหรับมกุฎราชกุมารไทโช<br />
เป็นพระราชวังที่มีขนาดพื้นที ่ใหญ่มากถึง 15,000 ตารางเมตร<br />
ตั้งอยู่บนพื้นที่ 117,000 ตารางเมตร โดยใช้เงินจากค่าปฏิกรรม<br />
สงครามที่ได้จากจีนในสงคราม ค.ศ. 1895 ผังเป็นรูปตัว E สองตัว<br />
ประกบกัน มีสนามภายในสองสนาม ห้องต่างๆ เรียงล้อมไปตาม<br />
สนามทั้งสองนี้ โดยมีโถงใหญ่ตั้งขวางสนามอยู่ตรงกลางเป็นที่ตั้ง<br />
บันไดใหญ่กลางพระราชวัง ภายนอกอาคารออกแบบให้ดูยิ่งใหญ่<br />
แบบสถาปัตยกรรมบาร็อคในศตวรรษที่17 แต่ลวดประดับกลับเพี้ยน<br />
ไปจากลายต้นแบบของยุโรปมากและเป็นผลงานของการคิดผสม<br />
ลวดลายของตัวเขาเองมากกว่า 22 การที่อาคารมีปีกเชื่อมมุขกลาง<br />
กับมุขริมทั้งสองเป็นรูปโค้ง ทำให้เห็นอิทธิพลของวังอย่างเบลนเฮ็ม<br />
(Blenhiem Palace) (1724) โดยเซอร์จอห์น แวนบรัว (Sir John<br />
Vanbrugh) ในอังกฤษ ขณะที่ภายในตกแต่งอย่างหรูหราอลังการ<br />
แบบพระราชวังแวร์ซาย (Versailles) (1678-1715) โดยจูลส์<br />
ฮาร์ดูอีน-มานสาร์ท (Jules Hardouin-Mansart) โครงสร้างอาคาร<br />
เป็นแบบกำแพงรับน้ำหนักที่ก่อด้วยหินและยึดด้วยคานเหล็ก 23<br />
แต่อาคารนี้กลับมีปัญหาในการใช้สอยอย่างมากด้วยขนาดที่ใหญ่<br />
โตจนไม่สะดวกในการประกอบกิจกรรม 24 เช่นระยะห่างมากเกินไป<br />
ระหว่างห้องรับประทานอาหารกับห้องเตรียมอาหารและห้องน้ำที่<br />
มีเพียงจุดเดียวในวัง ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวถูกมองข้ามไปเพราะญี่ปุ่น<br />
สร้างอาคารนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิ<br />
ใหม่ให้โลกรับรู้เป็นวัตถุประสงค์หลัก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
57
ซึเมกิ โยรินากะ (ค.ศ.1859-1916) ซึเมกินอกจากจะเคย<br />
เป็นศิษย์ของคอนเดอร์แล้ว ยังเป็นช่างเขียนแบบที่ไปฝึกงานกับ<br />
เอนเดอร์และบ็อคมานน์ที่เบอร์ลิน เมื่อกลับญี่ปุ่นแล้วเขาเป็น<br />
ผู้ควบคุมการก่อสร้างกระทรวงยุติธรรมและศาลฎีกากรุงโตเกียว<br />
ต่อมาเป็นสถาปนิกของกระทรวงการคลังและได้สร้างผลงาน<br />
คุณภาพจำนวนมาก ตอนปลายศตวรรษที่ 19 ซึเมกิเป็นสถาปนิก<br />
คนหนึ่งที่ริเริ่มงานแบบชาตินิยมที่ใช้ผังอาคารแบบตะวันตกครอบด้วย<br />
หลังคาทรงญี่ปุ่น<br />
ผลงาน<br />
หอการค้าแห่งกรุงโตเกียว (Tokyo Chamber of Commerce)<br />
(1899) เป็นอาคารแบบผังรูปตัว E ลักษณะเด่นของอาคารอยู่ที่<br />
ผนังก่ออิฐอวดผิวสีแดงที่คาดด้วยแถบอิฐสีขาว หลังคาทรงมาน<br />
สาร์ดแบบสันตะเข้ตรงยกสูง ประดับหอคอยที่มุมอาคารทั้งมุข<br />
กลางและมุขริมสองข้าง มุงกระเบื้องหินชนวนสีเข้มแบบสถาปัตยกรรม<br />
ภาคเหนือ เช่น ศาลาว่าการเมืองเบรเมน(Bremen) เป็นต้น<br />
บน ซึเมกิ โยรินากะ (1959-1916)<br />
ขวา หอการค้าแห่งกรุงโตเกียว (1899)<br />
58 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ธนาคารโยโกฮาม่า (1905)<br />
ธนาคารแห่งโยโกฮาม่า (Yokohama Specie Bank)<br />
ผังอาคารรูปสี่เหลี่ยม มุมขวาบนตัดเฉียงเพื่อเป็นทางเข้าจากสี่แยก<br />
ห้องต่างๆ จัดเรียงเป็นแถวตามเส้นรอบรูปของผัง 25 กลางอาคาร<br />
แบ่งเป็นห้องทำงานและโถงทางเข้ารองจากด้านหลัง ลักษณะ<br />
อาคารเป็นแบบคลาสสิคสูง 3 ชั้น เน้นผนังด้วยเสาอิงใหญ่สูง<br />
2 ชั้น จุดเด่นของอาคารอยู่ที่มุขหน้าริมถนนที่เป็นทางเข้าหลัก<br />
ออกแบบเป็นมุขแบบจั่ววิหารกรีกมีเสาแบบคลาสสิคสูง 2 ชั้นวาง<br />
บนฐานรองรับ เหนือจั่วเป็นโดมแปดเหลี่ยมขนาดใหญ่ โครงสร้าง<br />
จันทันเป็นทรัสเหล็ก ทรวดทรงคล้ายโดมใหญ่ของมหาวิหาร<br />
ซานตามาเรียเดลฟิโอเร (Santa Maria del Fiore) แห่งนคร<br />
ฟลอเรนซ์ (Florence) เป็นโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรงมากจนอยู่<br />
รอดมาถึงทุกวันนี้อย่างสมบูรณ์<br />
โซเน ทัตสุโซ (Sone Tatsuzo) (1853-1937) เป็นลูกศิษย์<br />
อีกคนหนึ่งของคอนเดอร์ร่วมรุ่นกับทัตสุโนะและคาตายามา<br />
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว เขาทำงานกับมิตซูบิชิ (Mitsubishi)<br />
ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ (Zaibatsu) รุ่นแรกที่จ้างสถาปนิกท้องถิ่น<br />
ปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับเพื่อนสองคนแรกที่รับราชการ เขาถูกส่งไป<br />
ฝึกงานในยุโรปที่ลอนดอน เมื่อกลับมาแล้วได้ทำงานให้กับบริษัทนี้<br />
เขาได้เป็นสถาปนิกผู้ช่วยและควบคุมงานก่อสร้างให้กับคอนเดอร์<br />
อาจารย์เก่าของเขาในงานที่ออกแบบให้กับมิตซูบิชิ เช่น สำนักงานใหญ่<br />
มิตซูบิชิหมายเลข 1 ที่มารูโนชิ (Marunouchi) เป็นอาคารก่ออิฐ<br />
อวดผิวสีแดงมีเสาอิงหินก่อสีขาวคั่นเป็นช่วงๆ คอนเดอร์ออกแบบ<br />
ให้อาคารต้านแผ่นดินไหวได้ จึงรอดพ้นจากการพังทลายคราว<br />
แผ่นดินไหวใหญ่ใน ค.ศ. 1923 มิตซูบิชิสร้างอาคารแบบนี้ถึง25 หลัง<br />
ทั่วทั้งย่าน และตั้งสำนักงานสถาปนิกของบริษัทเองและมีชื่อเสียง<br />
เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ 26<br />
สำนักงานใหญ่มิตซูบิชิหมายเลข 1 (1894)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
59
บน หอสมุดเก่ามหาวิทยาลัยเคโอ<br />
(Keio) (1912)<br />
ล่าง ร้านตัดผมคามิโนโตะ (1903)<br />
ผลงาน<br />
หอสมุดเก่ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio) (1912) ผลงานที่สร้าง<br />
ชื่อให้เขาในฐานะสถาปนิกเดี่ยวคือหอสมุดเก่าของมหาวิทยาลัยไคโอ<br />
ที่ออกแบบในลักษณะโกธิคประยุกต์27 เป็นอาคารสองชั้นก่ออิฐ<br />
อวดผิว ด้านหน้าประกอบด้วยสามมุขที่แตกต่างกันทั้งแบบและ<br />
ขนาด มุขกลางทางเข้ามีขนาดเล็ก มุขซ้ายมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย<br />
โค้งแหลมสามโค้งเรียงติดกันดูโปร่งโล่ง ตรงข้ามกับมุขขวาที่เป็น<br />
หอคอยแปดเหลี่ยมยอดแหลมสูง แม้ว่าภายนอกจะดูโบราณ<br />
แต่ความจริงเป็นอาคารสมัยใหม่พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริม<br />
ด้วยคานเหล็ก ติดตั้งระบบอุปกรณ์อาคารสมัยใหม่เช่น ระบบไฟฟ้า<br />
แก๊ส และระบบทำความร้อนด้วยไอน้ำ<br />
แม้ว่าฝีมือในการออกแบบตามลักษณะโบราณของเขา<br />
จะดูไม่ชัดเจนเท่าเพื่อนร่วมโรงเรียนทั้งสามที่กล่าวมา แต่ฝีมือ<br />
ในการก่อสร้างและออกแบบระบบอาคารของโซเนไม่ได้น้อยหน้า<br />
กว่าใครเลย<br />
60 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ผังพื้นสนามกีฬาซูโม่แห่งชาติ<br />
ล่าง สนามกีฬาซูโม่แห่งชาติ (1911)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมแบบใหม่ปลายยุคเมจิ<br />
การปฏิวัติอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเริ่มขึ้นตอนครึ่งหลังของ<br />
ศตวรรษที่ 19 เมื่อญี่ปุ่นสามารถขยายกำลังการผลิตอุตสาหกรรม<br />
ทอผ้าด้วยเครื่องจักรไอน้ำได้ และสามารถเป็นคู่แข่งของโรงงาน<br />
ชาติตะวันตกที่มีฐานกำลังผลิตในจีน ทุนนิยมของรัฐถูกสถาปนาขึ้น<br />
ผ่านบรรดาบริษัทยักษ์ที่รัฐบาลหนุนหลัง (Zaibatsu) เช่น มิตซูบิชิ<br />
มิตซุย และซูมิโตโม เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือเอกชนญี่ปุ่นในการ<br />
แข่งขันทางการค้ากับประเทศตะวันตก บริษัทเหล่านี้รวมทั้ง<br />
ภาครัฐบาลต่างจ้างสถาปนิกมากขึ้น 28 เพื่อพัฒนาโครงการกายภาพ<br />
ต่างๆ ตามขนาดสังคม-เศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วใน<br />
ทุกเมืองใหญ่ของญี่ปุ่น และขยายออกไปถึงอาณานิคมของญี่ปุ่น<br />
ในแผ่นดินใหญ่และเกาะไต้หวัน ขณะที่จำนวนสถาปนิกก็เพิ่มขึ้น<br />
ดูจากจำนวนสมาชิกสมาคมสถาปนิกเพียง 26 คนใน ค.ศ. 1886<br />
ที่เริ่มก่อตั้งสมาคม มาเป็น 2,543 คน 29 ในปีสุดท้ายของรัชสมัย<br />
(ค.ศ. 1912) สถาปนิกญี่ปุ่นเองสนใจในรูปแบบและแนวคิดทาง<br />
สถาปัตยกรรมใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผ่านสมาคม<br />
ผู้สร้างอาคาร (Zokagakkai) และวารสารของสมาคม เพื่อพัฒนา<br />
ฝีมือของตนเองและวงการสถาปนิกให้ก้าวหน้า<br />
รูปแบบใหม่ที่เริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20<br />
คืออาร์ตนูโว (Art Nouveau) ซึ่งปฏิเสธรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
โบราณใช้วัสดุใหม่ เช่น เหล็ก กระจก และคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
ละทิ้งลวดลายโบราณหันมาใช้ลวดลายธรรมชาติและงานศิลปะของ<br />
ตะวันออกโดยเฉพาะของญี่ปุ่นเอง ตัวอย่างงานแบบนี้ได้แก่<br />
ร้านตัดผมคามิโนโตะ (Kaminoto Barber Shop) (1903) ในโอซาก้า<br />
โดยยูตากะ ฮิดากะ (Yutaka Hidaka) จุดเด่นอยู่ที่การใช้รูปทรง<br />
เรขาคณิตที่ไม่มีลวดลาย และประตูทางเข้าที่เป็นวงกลม งานแบบนี้<br />
แพร่หลายมากแม้กระทั่งทัตสุโนะ คิงโกะก็ออกแบบสนามกีฬาซูโม่<br />
แห่งชาติ(National Sumo Arena) (1911) ในกรุงโตเกียวในลักษณะนี้<br />
โดยใช้โค้งวงกลมแบบหูตะกร้าขนาดใหญ่แบ่งเป็น 5 ส่วนด้วยเสาอิง<br />
4 ต้นทำเป็นประตูทางเข้า ควบคู่ไปกับหอคอยแปดเหลี่ยมครอบ<br />
ด้วยหลังคาโดมมุสลิมซาราเซนิก<br />
61
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยโครงสร้าง<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างเหล็กล้วน เป็นสาระมากกว่าเรื่อง<br />
รูปแบบที่ผิวเผิน การออกแบบอาคารที่ต้องป้องกันแผ่นดินไหว<br />
ได้เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่สถาปนิกกลุ่มหนึ่งยึดถือว่า เทคโนโลยี<br />
เป็นเรื่องสำคัญ ซาโน โตชิคาตะ (ริกิ) (Sano Toshikata (Riki))<br />
ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอาคารต่อจากทัตสุโนะ<br />
เขียนบทความว่าด้วยโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและกล่าวว่า<br />
สถาปนิกญี่ปุ่นไม่ว่าจะในทางหนึ่งทางใดต้องเป็นเทคนิเชี่ยน<br />
ที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ก่อนหน้านี้เขาออกแบบอาคาร<br />
ร้านหนังสือมารูเซ็น (1909) ในกรุงโตเกียวที่มีโครงสร้างเหล็กทั้งหลัง<br />
ในขณะที่ผนังอาคารยังคงกรุหน้าด้วยอิฐแบบเดิม<br />
โครงสร้างแบบผสมที่เป็นการเสริมความมั่นคงของผนังอิฐ<br />
แล้วเททับด้วยคอนกรีตนั้น มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1890 เช่นการสร้าง<br />
อาคารกระทรวงทหารเรือ (1895) ที่ออกแบบโดยคอนเดอร์<br />
แต่โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแท้ๆ เป็นวิทยาการที่นำเข้า<br />
ระหว่าง ค.ศ. 1892-1895 จากหลักการของมีแลน (Melan),<br />
คอยเน็ต (Coignet), และเฮนเนบิก (Hennebique) โครงสร้างที่<br />
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กในยุคแรกมักเป็นงานวิศวกรรม<br />
เช่น สะพานและโกดัง ตั้งแต่ทศวรรษ 1890 อาคารที่สร้างด้วย<br />
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างประณีตซับซ้อนรุ่นแรกได้แก่<br />
โรงละครหลวง (Imperial Theatre) (1911) ที่กรุงโตเกียว โดย<br />
สถาปนิกโยโกกาวา ทามิสุเกะ (Yokogawa Tamisuke) (1864-1945)<br />
บน ซาโน โตชิคาตะ (ริกิ) (1880-1956)<br />
ล่าง ร้านหนังสือมารูเซ็น (1909)<br />
62 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บนซ้าย ผังพื้นโรงละครหลวง<br />
บนขวา รูปตัดโรงละครหลวง<br />
ล่างขวา ผังพื้นและรูปตัดร้านหนังสือมารูเซ็น<br />
ล่างซ้าย โรงละครหลวง (1911)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
63
สถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
ความรักชาติและเผ่าพันธุ์ของญี่ปุ่นมีมานานตั้งแต่ก่อนสมัยเมจิ ศาลากลางจังหวัดนารา (Nara Prefectural Office) (1895)<br />
ศาสนาชินโตสอนว่าจักรพรรดิเป็นโอรสของพระอาทิตย์ ชาวญี่ปุ ่น ออกแบบโดยนากาโน ยูไฮจิ (Nagano Uheiji) มีผังรูปตัว E แบบ<br />
เป็นพวกสูงส่งกว่าเชื้อชาติอื่นเพราะเป็นลูกหลานสุริยเทพ 30 คลาสสิค ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน ผนังเดินเส้นแบ่งเป็นกรอบ 3<br />
ส่วนชาติตะวันตกนั้นเป็นพวกป่าเถื่อนความหลงชาติเป็นพลังสำคัญ ส่วน คือฐาน หน้าต่างและช่องลม แบบบ้านญี่ปุ่นโบราณ หลังคา<br />
ในการขับเคลื่อนให้ญี่ปุ่นสร้างความทันสมัยด้วยเทคโนโลยีของ ทรงจั่วหน้าบันกรุด้วยแผงไม้ระแนงตีช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ<br />
ตะวันตกซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งภายในตนเอง และมันก็สะท้อนออกมา มุงกระเบื้องแบบวัดโบราณ สถาปนิกกล่าวว่าเป็นการออกแบบ<br />
ในสถาปัตยกรรมตั้งแต่โครงการรัฐสภาแห่งชาติตอนต้นสมัยเมจิ ให้เข้ากับบริบทของสถาปัตยกรรมในเมืองนาราที่เต็มไปด้วยวัดโบราณ<br />
ดังที่กล่าวแล้ว ตั้งแต่ทศวรรษ 1890 ที่ญี่ปุ่นเข้มแข็งขึ้นมาก<br />
ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร แนวคิดชาตินิยม<br />
ก็หวนคืนมาอีกและปรากฏในแบบสถาปัตยกรรมลูกผสมที่ต่อไป<br />
จะเป็นต้นแบบให้กับสถาปัตยกรรมชาตินิยมเต็มตัวในยุคต่อไป<br />
ผังพื้นชั้นล่างศาลากลางจังหวัดนารา (1895) ผังพื้นชั้นบนศาลากลางจังหวัดนารา<br />
64 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ศาลากลางจังหวัดนารา (1895)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
65
ธนาคารแจแปนคังเกียว (1899) ธนาคารแจแปนคังเกียว (Japan Kangyo Bank) (1899)<br />
กรุงโตเกียว โดยซึเมกิ โยรินากะ (Tsumaki Yorinaka) มีผังเป็น<br />
รูปตัว U แบบคลาสสิค ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน ผนังเดินเส้นแบ่ง<br />
ผนังเป็น 3 ส่วนแบบญี่ปุ่นโบราณ หลังคาจั่วมีปีกนกหน้าบันกรุ<br />
แผงไม้ระแนงตีช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ มุงหลังคากระเบื้องแบบญี่ปุ่น<br />
โบราณ ในกรณีธนาคารนี้ไม่มีเหตุผลอื่นใดที่ต้องการอาคารแบบ<br />
ลูกผสมญี่ปุ่นนี้เลย นอกจากความต้องการของสถาปนิกเองที่แสดง<br />
ว่าลัทธิชาตินิยมทางสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นได้เกิดขึ้นแล้ว<br />
66 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สรุปคุณค่าของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัยเมจิ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัยเมจิคือสถาปัตยกรรม<br />
แบบตะวันตก เป็นสถาปัตยกรรมแห่งยุคของการเรียนรู้ความทันสมัย<br />
เชิงวัฒนธรรมที่เรียกว่าความศิวิไลซ์ของตะวันตก รัฐได้สร้างระบบ<br />
การเรียนรู้แบบตะวันตกขึ้นเพื่อสร้างสถาปนิกพื้นเมืองที่มีความรู้<br />
ในศาสตร์นี้เพื่อสืบต่อการสร้างอาคารแบบนี้จากผู้เชี่ยวชาญตะวันตก<br />
เพื่อการใช้งานในกิจกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาประเทศ และ<br />
ยังเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยและความมีอารยธรรมแบบใหม่<br />
นอกจากนี้สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยังเป็นตัวแทนของยุค<br />
ของการเรียนรู้ความทันสมัยในวิทยาการโดยการรับวัสดุและ<br />
การก่อสร้างแบบใหม่เช่น เหล็ก กระจก อิฐ และคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
มาแทนที่ไม้ทีถูกตีค่าว่าโบราณและล้าสมัย แต่ขณะเดียวกันมันก็<br />
ยังเป็นสถาปัตยกรรมที่ขาดเอกลักษณ์ เน้นรูปแบบผสมของ<br />
สถาปัตยกรรมตะวันตกโบราณ และพัฒนาไปในแนวทางที่เน้น<br />
ความใหญ่โตและลวดลายประดับที่รุงรังมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแสดง<br />
พัฒนาการของสังคมการเมืองญี่ปุ่นจากประเทศล้าหลังตอนกลาง<br />
ศตวรรษที่ 19 สู่จักรวรรดินิยมใหม่ตอนต้นศตวรรษที่ 20 อย่างไร<br />
ก็ตามอาคารเหล่านี้เป็นอาคารที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน<br />
มีการพัฒนาที่รวดเร็วไม่หยุดยั้ง แสดงความทะเยอทะยานมุ่งมั่น<br />
การเรียนรู้อย่างมีระบบ ขั้นตอน และแผนการที่ดี จึงนับว่าเป็น<br />
สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ ในฐานะพยานของ<br />
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งยิ่งใหญ่จากสังคมโบราณสู่สังคม<br />
อุตสาหกรรมในปลายศตวรรษที ่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ทั้งนี้<br />
ความสำเร็จนี้มาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความสำเร็จในการ<br />
ปฏิรูปการศึกษาจากแบบโบราณสู่แบบตะวันตก ตั้งแต่ระดับ<br />
ประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา และการปฏิรูประบบการผลิต<br />
จากหัตถกรรมโบราณสู่ระบบอุตสาหกรรม ซึ่งมาจากการวางแผน<br />
ปลูกถ่ายความรู้และการถ่ายโอนความรับผิดชอบที่แยบยล<br />
จากอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญตะวันตกสู่นักศึกษาและคนงานพื้นเมือง<br />
ทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงงานตลอดช่วงทศวรรษ 1870-1890<br />
นอกจากนี้การปฏิรูปทางการเมืองจากระบอบศักดินาที่ล้าหลังมาสู่<br />
ระบอบรัฐธรรมนูญกึ่งประชาธิปไตยในช่วงเวลาเดียวกันที่มีการยกเลิก<br />
ชนชั้นอย่างจริงจัง การให้เสรีภาพแก่ประชาชน รวมทั้งการดำเนิน<br />
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมแห่งชาติและการทำสงครามขยายดินแดน<br />
ตั้งแต่ทศวรรษที่1890 เพื่อลดต้นทุนค่าวัตถุดิบ ที่ดิน และแรงงาน<br />
ในการผลิตก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นความก้าวหน้าของญี่ปุ่น<br />
อย่างไรก็ตามรากเหง้าวัฒนธรรมญี่ปุ่นโบราณก็ยังคงอยู่<br />
โดยเฉพาะลัทธิชินโตที่ปลูกฝังให้ชาวญี่ปุ่นเป็นพวกหลงในชาติพันธุ์<br />
ของตนเอง เมื่อญี่ปุ่นเติบใหญ่แข็งแกร่งในช่วงทศวรรษ 1890<br />
หน่ออ่อนของชาตินิยมก็สะท้อนออกมาให้เห็นในสถาปัตยกรรม<br />
บางหลังที่ใช้ผังแบบตะวันตกแต่ครอบหลังคาญี่ปุ่น ซึ่งจะเป็นต้น<br />
แบบให้สถาปัตยกรรมแบบชาตินิยมสุดโต่งในยุคต่อไปยึดถือ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
67
รัชสมัยไทโช (Taisho Period) (1912-1926)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
มีผู้กล่าวว่ารัชสมัยไทโชคือยุคประชาธิปไตยและความทันสมัย<br />
ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการกล่าวเพียงด้านเดียว ในภาพทั้งหมดมันเป็น<br />
ยุคแห่งความขัดแย้งระหว่างค่านิยมแบบอนุรักษ์นิยมและค่านิยม<br />
ของวัฒนธรรมตะวันตกที่สร้างขึ้นในสมัยเมจิ การเบ่งบานของ<br />
วัฒนธรรมแบบใหม่ทำให้ยุคนี้เต็มไปด้วยความสับสนและขัดแย้ง<br />
แต่ขณะเดียวกันก็ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายรวมทั้ง<br />
สถาปัตยกรรม<br />
จักพรรดิไทโช (1879-1926)<br />
เศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นมรดกที่รัชสมัยเมจิทิ้งไว้ การลงทุน<br />
มากมายที่ขาดเงินสนับสนุนและหนี้สินต่างประเทศ การต่อสู้ทาง<br />
วัฒนธรรมระหว่างค่านิยมตะวันตกกับแนวคิดอนุรักษ์นิยม<br />
ในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยที่เรียกร้องกันมาในรัชกาล<br />
ก่อนกำลังมีปัญหาในทางปฏิบัติ รัฐบาลประชาธิปไตยที่บริหาร<br />
โดยนักการเมืองและพรรคการเมือง อ่อนแอไม่มั่นคงจากปัญหา<br />
การเมืองภายในประเทศ ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องประชาชนและ<br />
ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีไม่ได้<br />
มาจากสภา แต่มาจากขุนนางอาวุโสสมัยเมจิ(เก็นโร) เพียงผู้เดียว<br />
68 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซึ่งจะเป็นองคมนตรีด้วยเกือบทั้งหมด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นายก<br />
รัฐมนตรีต้องลาออกกลางคันเสมอ เพราะไม่มีอำนาจพอในการแก้<br />
ปัญหาบ้านเมือง<br />
โดยเฉลี่ยแล้วรัฐบาลมีอายุน้อยกว่า 1 ปี มีความก้าวหน้า<br />
ทางการเมืองอยู่บ้างที่รัฐบาลออกกฎหมายให้สิทธิ์ชายทุกคนที่อายุ<br />
ครบ 25 ปี มีสิทธิเลือกตั้งได้ใน ค.ศ. 1925 แต่ขณะเดียวกันก็ออก<br />
กฎหมายรักษาความมั่นคง ให้สิทธิรัฐบาลในการจับกุมผู้เป็นภัยต่อ<br />
ความมั่นคง อันได้แก่พวกนิยมตะวันตก พวกที่มีความคิดใหม่และ<br />
พวกที่นิยมคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้มีการปราบปรามพวกฝ่ายซ้าย<br />
รวมทั้งพวกฝ่ายขวาอย่างรุนแรงใน ค.ศ. 1928 ความพอใจใน<br />
วัฒนธรรมตะวันตกไม่ใช่มีเฉพาะการเมืองแต่แพร่หลายทุกวงการ<br />
ชาวญี่ปุ่นสนใจในการบริโภควัฒนธรรมบันเทิงเช่น ภาพยนตร์<br />
การเต้นรำ การแสดงบนเวที การรับประทานอาหารตะวันตกและ<br />
จีน ความนิยมในดนตรีแจ๊สและคลาสสิคจนถึงการแสดงคาร์บาร์เร่<br />
และการมีพาร์ทเนอร์ให้บริการ ความสนใจในกีฬาเบสบอล เทนนิส<br />
กอล์ฟ สกี จนกระทั่งความนิยมในวรรณกรรมตะวันตก การเติบโต<br />
ของเสรีนิยมมีรากฐานมาจากรัฐธรรมนูญที่ประกันสิทธิเสรีภาพ<br />
ในการพูดและเขียนแก่ประชาชน รวมทั้งการให้สิทธิการเลือกตั้ง<br />
อย่างกว้างขวาง ช่วงทศวรรษ 1920 จึงเป็นยุคทองของเสรีนิยม<br />
การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ไม่ได้มีแต่ผลดีแต่ทำให้เกิด<br />
ความไม่สมดุลในการตั้งถิ่นฐาน ประชาชนจากชนบทหลั่งไหลเข้า<br />
มาในเมืองเพื่อค่าจ้างที่แพงกว่า นำปัญหาสังคมยุ่งยากตามมาเช่น<br />
ชุมชนแออัด ช่องว่างทางสังคม-เศรษฐกิจระหว่างคนรายได้สูงใน<br />
เมืองกับคนรายได้น้อยในภาคการเกษตร ชนชั้นกลางที่เกิดใหม่ก็<br />
มีปัญหาจากค่าครองชีพที่เพิ่มเป็น 2 เท่าใน 10 ปี สิ่งเหล่านี้กระตุ้น<br />
ให้เกิดลัทธิคลั่งชาติที่ชี้ให้เห็นความล้มเหลวของระบอบ<br />
ประชาธิปไตยและรัฐบาลเลือกตั้ง ประชาชนฝักใฝ่ลัทธิคลั ่งชาติ<br />
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อรวมกับลัทธิหลงเชื้อชาติบริสุทธิ์ที่ฝังรากลึก<br />
ในสังคมญี่ปุ่น จึงนำไปสู่การเลือกลัทธิทหารในทศวรรษ 1930<br />
ในทางเศรษฐกิจการเป็นฝ่ายผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1<br />
ทำให้ญี่ปุ่นได้ผลประโยชน์ทั ้งหลายของเยอรมันบนแผ่นดินจีน<br />
และได้สัมปทานจากจีนเพิ่มขึ้นอีกใน ค.ศ. 1915 จากข้อเรียกร้อง<br />
21 ประการ สงครามในยุโรปในช่วง ค.ศ. 1914-1918 ทำให้<br />
อุตสาหกรรมทุกอย่างของญี่ปุ่นรวมทั้งการผลิตอาวุธเติบโตขึ้น<br />
ระหว่าง ค.ศ. 1914-1919 ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GNP)<br />
โตขึ้น 3 เท่า 31 รายได้ประจำปีงบประมาณ 1918 เพิ่มจากปีก่อน<br />
ถึง 10 เท่า แต่กลับไปสู่สถานะเดิมเมื่อสงครามสงบและยุโรป<br />
กลับมาผลิตสินค้าได้อีก ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม<br />
อย่างเต็มตัวทั้งอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเบา และยึด<br />
เอเชียเป็นตลาดหลักโดยเฉพาะสิ่งทอ แต่เศรษฐกิจภายในประเทศ<br />
กลับกระจายรายได้ไม่ดีประชาชนรายได้สูงเท่านั้นที่มีคุณภาพชีวิต<br />
ที่ดี ขณะที่พวกกรรมกรและคนส่วนใหญ่อยู่กันอย่างแร้นแค้นและ<br />
ก่อจลาจลมากมายใน ค.ศ. 1921 ส่วนในชนบทการครองชีพก็ฝืด<br />
เคืองรายได้จากการขายข้าวลดลง เพราะข้าวจากอาณานิคมที่ถูก<br />
กว่าเข้ามาตีตลาด ที่ดินทำกินของชาวนาก็ล้วนเป็นที่เช่า ทำให้<br />
เกิดการรวมตัวต่อต้านนายทุน ปัญหาเศรษฐกิจทำให้พรรค<br />
สังคมนิยมที่เน้นนโยบายรัฐสวัสดิการเติบโตและเป็นที่นิยม<br />
ความทะเยอทะยานที่ต้องการสร้างรัฐชาติที่ทันสมัยและ<br />
เข้มแข็งในสมัยเมจิพัฒนาต่อไปเป็นความต้องการเป็นเจ้าแห่งชาติ<br />
ในทวีปเอเชียเพื่อคานอำนาจ แบ่งปันผลประโยชน์และ<br />
ให้มหาอำนาจตะวันตกยอมรับในความเป็นมหาอำนาจใหม่ของตน<br />
นโยบายต่อเอเชียตะวันออกของญี่ปุ่นคือการยึดครองเกาหลี<br />
มองโกเลีย และแมนจูเรีย และให้จีนเป็นรัฐในการดูแล เพราะภูมิภาค<br />
เอเชียตะวันออกเป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดสินค้าและแรงงานราคาถูก<br />
ของประเทศอุตสาหกรรมใหม่เช่นญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังต้องการใช้จีน<br />
เป็นเส้นทางขยายจักรวรรดิไปยังคาบสมุทรอินโดจีนและเอเชีย<br />
ตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงต้นรัชกาลไทโช ค.ศ. 1914-1915<br />
นายพลยามากาตะ อากิโมโต (Yamagata Akimoto) 32 แปรเปลี่ยน<br />
ตนเองจากพวกสายเหยี่ยวมาเป็นพวกนิยมสันติ ต้องการมีไมตรี<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
69
แผ่นดินไหวใหญ่คันโต (1923)<br />
กับจีนเพื่อร่วมกันต่อต้านอิทธิพลตะวันตก เขาเห็นว่าการใช้ความ<br />
รุนแรงกับจีน จะทำให้จีนหันไปหาความคุ้มครองจากอเมริกา<br />
ซึ่งเป็นคู่แข่งของญี่ปุ่น ขณะที่พวกทหารหัวรุนแรงเห็นว่า<br />
ควรเอาชนะจีน รวมทั้งรัสเซียอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งญี่ปุ่นเคยทำสำเร็จ<br />
มาแล้วในสมัยเมจิ แต่พวกนักการทูต นักการเมือง และนักธุรกิจ<br />
กลับเห็นด้วยกับฝ่ายสันติเพราะต้องการมีไมตรีอันดีกับต่างประเทศ<br />
เพื่อส่งเสริมการค้า แต่พวกชาตินิยมดำเนินการเชิงรุกโดยร่วมกับ<br />
สื่อมวลชนตั้งสมาคมโฆษณาแนวคิดชาตินิยมตั้งแต่ปลายยุคเมจิ<br />
สนับสนุนลัทธิคลั่งชาติ เช่น สมาคมโคกูริวไค (มังกรดำ) ใน ค.ศ. 1901<br />
นำโดยโทยามะ มิตสุรุ(Toyama Mitsuru) นิยมการใช้ความรุนแรง<br />
สุดโต่งเช่น การปลงพระชนม์ราชินีเกาหลีใน ค.ศ. 1895 เป็นต้น<br />
และได้รับความนิยมจากมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ นโยบายต่างประเทศ<br />
ในรัชสมัยไทโชจึงมีทั้งวิธีรุกรานและวิธีประนีประนอมสลับกันไป<br />
อย่างเช่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับ<br />
เยอรมนีใน ค.ศ. 1914 และโจมตีเมืองชิงเต่า เขตเช่าของเยอรมัน<br />
ในจีนและได้ชัยชนะ รวมทั้งบุกเข้าไปในอ่าวอาร์มูในไซบีเรียยึดครอง<br />
ดินแดนของรัสเซียอยู่ถึง ค.ศ. 1922 หลังจากยึดชิงเต่าแล้วญี่ปุ่น<br />
โดยรัฐบาลของโอกุมะ ชิเกโนบุ(Okuma Shigenobu) ยื่นข้อเรียกร้อง<br />
21 ประการ ให้รัฐบาลจีนยอมรับอิทธิพลของญี่ปุ่นเหนือแหลมชานตุง<br />
แทนที่เยอรมัน ยอมรับอิทธิพลของญี่ปุ่นเหนือแมนจูเรียและ<br />
มองโกเลีย ให้ญี่ปุ่นมีสิทธิร่วมในบริษัทเหมืองแร่ของจีน ให้ญี่ปุ่น<br />
มีสิทธิใช้ประโยชน์ในดินแดนอ่าว ฝั่งทะเลและหมู่เกาะของจีน<br />
ให้จีนจ้างที่ปรึกษาในการบริหารประเทศเป็นชาวญี่ปุ่น และให้ญี่ปุ่น<br />
ร่วมในกิจการตำรวจของจีน และจีนต้องปรึกษาญี่ปุ่นในการ<br />
อนุญาตให้ชาติอื่นลงทุนในมณฑลภาคใต้ของจีน รวมทั้งให้สิทธิ<br />
ญี่ปุ่นในการเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายญี่ปุ่นอย่างไรก็ตามข้อเรียกร้อง<br />
ตั้งแต่เรื่องจ้างที่ปรึกษาการบริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นไปไม่เป็น<br />
ที่ยอมรับจากมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกา จึงตกไปในที่สุด<br />
70 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ยุคไทโช (1912-1926)<br />
กลุ่มบุนริฮา (1920)<br />
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นรู้ตัวดีว่าถูกชาติตะวันตก<br />
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและอังกฤษต่อต้าน จึงพยายามผ่อนปรน<br />
นโยบายขยายดินแดนอย่างก้าวร้าว โดยยอมลงนามในสนธิสัญญา<br />
กำหนดกำลังทางเรือของ 4 ชาติมหาอำนาจใน ค.ศ. 1921 และ<br />
ยอมรับประกันเอกราชอธิปไตยของจีนในสนธิสัญญา 9 มหาอำนาจ<br />
ใน ค.ศ. 1922 และยอมถอนทหารออกจากเกาะสะขะลินใน ค.ศ.<br />
1925 ทำให้ภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นดีขึ ้น แต่ภายในประเทศพวก<br />
ชาตินิยมกลับเห็นว่ารัฐบาลอ่อนแอที่อ่อนข้อให้จีนและตะวันตก<br />
รวมทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่คันโตใน ค.ศ. 1923 ที่มีประชาชน<br />
เสียชีวิตและสูญหายถึง 180,000 คน ทำให้เกิดการฆ่าหมู่ชาว<br />
เกาหลีเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ลอบใส่ยาพิษลงในระบบประปา<br />
เพื่อฆ่าชาวญี่ปุ่น ทำให้ชาวเกาหลีถูกฆ่าตายไปจำนวนมาก ส่งผล<br />
ให้สหรัฐอเมริกาหาเหตุออกกฎหมายห้ามชาวตะวันออก<br />
รวมทั้งญี่ปุ่นเข้าประเทศ ค.ศ. 1924 พวกชาตินิยมญี่ปุ่นโกรธแค้น<br />
ที่การพยายามทำดีของญี่ปุ่นได้รับผลตอบแทนในทางตรงข้าม<br />
รัฐบาลประชาธิปไตย นักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นแพะรับ<br />
บาปถูกมองว่าอ่อนแอไร้ค่า ประชาชนหันเหไปนิยมทหารเพิ่มมาก<br />
ขึ้น นำมาซึ่งนโยบายรุกรานต่างประเทศอย่างสมบูรณ์แบบใน<br />
ทศวรรษ 1930<br />
สถาปัตยกรรมในยุคนี้คือภาพสะท้อนของสังคมสมัยไทโช<br />
ที่ชัดเจน มันเป็นการต่อสู้ของอุดมการณ์ 2 แนวทางที่แข่งขันกัน<br />
เป็นทางออกให้กับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นร่วมสมัย ได้แก่ แนวสมัย<br />
ใหม่ที ่นิยมตะวันตกและแนวชาตินิยมที่ต้องการอนุรักษ์ค่านิยม<br />
ดั้งเดิม ทั้ง 2 ฝ่ายต่างต่อสู้กันด้วยทฤษฎีและผลงานรูปธรรมที่ได้รับ<br />
การตอบรับจากสังคมอย่างสนใจเหมือนกันในตอนแรก แต่แตกต่าง<br />
กันในตอนหลังตามกระแสนิยมคลั่งชาติที่แก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ<br />
สถาปนิกกลุ่มสมัยใหม่ใช้ชื่อว่ากลุ่มกบฏ (Sezession Group)<br />
หรือบุนริฮา (Bunriha) ใน ค.ศ. 1920 อีกกลุ่มหนึ่งเกิดใน ค.ศ. 1923<br />
เรียกตนเองว่า ซูชา (Sousha) พวกเขาเน้นตรรกะนิยมและเหตุผล<br />
ตัวแทนของกลุ่มชาตินิยมคือสถาปนิกนักประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมคนสำคัญ อิโตะ ชูตะ (Ito Chuta) เขาต้องการ<br />
สถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่ไม่ตามตะวันตกและมี “วิวัฒนาการ”<br />
(Evolution) จากสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่เขาเชื่อว่าเชื่อมโยงกับ<br />
อารยธรรมกรีกโบราณ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษานานหลายปีใน<br />
ภาคสนาม จากเกาะญี่ปุ่นไปแผ่นดินใหญ่จีน อินเดีย และยุโรป<br />
เขานำเสนอเป็นบทความ ตำรา และการบรรยายในชั้นเรียน<br />
ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ทำให้เขากลายเป็นคนสำคัญในการผลักดัน<br />
สถาปัตยกรรมแนวชาตินิยมไปตลอดจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
กลุ่มบุนริฮาและแนวร่วม<br />
กลุ่มบุนริฮา (Bunriha หรือ Secessionist) บุนริฮา แปลว่า<br />
กบฏหรือแยกดินแดน เป็นชื่อของกลุ่มสถาปนิกรุ่นใหม่ที่ก่อตั้ง<br />
ขึ้นใน ค.ศ. 1920 มีอุดมการณ์ใหม่ทางสถาปัตยกรรมคือไม่<br />
ต้องการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน ที่อ้างอิงอยู่กับ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
71
โฮริกูชิ ซูเตมิ (1895-1984)<br />
สถาปัตยกรรมตะวันตกโบราณอีกต่อไป นั่นคือต้องการแตกหัก<br />
กับแนวทางออกแบบเดิมของสถาปนิกยุคเมจิ ขณะเดียวกันก็มี<br />
ความคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดของสถาปัตยกรรมคือศิลปะและความงาม<br />
ที่ผ่านการแสดงออก (Expression) ของปัจเจกบุคคล (Individual)<br />
เป็นความเห็นแย้งโดยตรงกับแนวคิดของซาโน โตชิคาตะที ่กล่าว<br />
ว่าความสำคัญของสถาปัตยกรรมอยู่ที่ความแข็งแรงของโครงสร้าง<br />
และประโยชน์ใช้งาน 33 ซึ่งเป็นความงดงามที่เหมาะสมกับประเทศ<br />
ญี่ปุ่นที่ยังไม่ร่ำรวยเหมือนชาติตะวันตก กลุ่มบุนริฮาประกอบด้วย<br />
สมาชิกคนสำคัญคือโฮริกูชิ ซูเตมิ (Horiguchi Sutemi) (1895-<br />
1984) ยามาดะ มาโมรุ (Yamada Mamoru) (1894-1966) อิชิโม<br />
โตะ คิกูชิ (Ishimoto Kikuchi) (1894-1963) ทากิซาวา มายูมิ<br />
(Takizawa Mayumi) (1896-1983) โมริตะ ไคอิชิ(Morita Kaiichi)<br />
(1895-1983) ยาดะ ชิเกรุ (Yada Shigeru) (1896-1958) ชื่อบุนริ<br />
ฮาในภาษาญี่ปุ่นมาจากชื่อของกลุ่มซีเซสชั่นนิสแห่งเวียนนาของ<br />
กลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าที่นำโดยออตโต วากเนอร์(Otto Wagner)<br />
และเจเอ็ม โอลบริช (J.M. Olbrich) ซึ่งทำงานสถาปัตยกรรมแนว<br />
ใหม่เรียกว่า อาร์ตนูโวในทศวรรษ 1890 ที่ต้องการแสดงผลงาน<br />
สถาปัตยกรรมที่ไม่ยึดติดแบบสถาปัตยกรรมโบราณ บุนริฮา<br />
เกิดหลังกลุ่มนี้ถึง 3 ทศวรรษ จึงได้อิทธิพลจากกลุ่มสถาปัตยกรรม<br />
แนวคิดอื่นๆ ที่ตามหลังมาด้วย เช่นพวกฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism)<br />
เดอสติล (De Stijl) และเอ๊กเพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) ด้วย<br />
กลุ่มทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในยุโรปและมีแนวคิดร่วมกันคือไม่ต้องการ<br />
สถาปัตยกรรมรูปแบบโบราณ บุนริฮาเองก็ประกาศอุดมการณ์ว่า<br />
“ลุกขึ้นมาเถิดเรา สร้างอาณาจักรสถาปัตย์ใหม่ ที่มีความ<br />
หมายแท้จริง เราจะแยกตัวจากอาณาจักรสถาปัตย์แห่งอดีต<br />
ลุกขึ้นมาเถิดเรา ปลุกผู้หลับใหลในอาณาจักรสถาปัตย์แห่ง<br />
อดีต ช่วยเขาให้รอดตายจากการจมดิ่ง<br />
เราลุกขึ้นอย่างปิติ อุทิศอุตสาหะเพื่ออุดมการณ์ปรากฏ<br />
เราจะรอด้วยหวัง<br />
จนกว่าจะล้มลง ตาย เราขอประกาศด้วยทำนองประสาน<br />
ของดนตรีต่อหน้าชาวโลกทั้งมวล...” 34<br />
72 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
แต่ขณะเดียวกันบุนริฮาก็ไม่ต้องการตัดขาดจาก<br />
สถาปัตยกรรมโบราณเสียทีเดียว โฮริกูชิเขียนว่าสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้โดยตัดขาดจากสถาปัตยกรรม<br />
แห่งอดีต “...เราได้ดูดซึมจารีตประเพณีเข้าไปในเลือดและ<br />
กล้ามเนื้อ และมันสุกงอมอยู่ในทุกเซลล์ในร่างกายของเรา...” 35<br />
มรดกสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีความหมายสำหรับเขาเหมือนอิโตะ<br />
แต่มันเป็นไปคนละแบบ เขาเป็นผู้ริเริ่มการประสานความเป็นญี่ปุ่น<br />
ลงในสถาปัตยกรรมอีกแบบหนึ่งนั่นคือสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ผลงาน<br />
นิทรรศการกลุ่มบุนริฮา ค.ศ.1921<br />
หอคอยอนุสรณ์ ในงานนิทรรศการแห่งสันติภาพ (1922)<br />
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่มบุนริฮาคือแนวความคิด<br />
ที่แสดงผ่านแบบร่างที่จัดให้ชมในนิทรรศการ 7 ครั้ง 36 ในโตเกียว<br />
และอีก 2 ครั้งในเกียวโตและโอซาก้า ระหว่าง ค.ศ. 1920-1928<br />
ผลงานใน ค.ศ. 1920 ยังไม่มีอะไรแปลกมาก งานของมาโมรุดู<br />
คล้ายมหาสถูปที่สาญจี ขณะที่งานของยาดะเป็นอาคารทรง<br />
สี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ งานของโฮริกูชิ<br />
และทากิซาว่าดูคล้ายงานอาร์ตนูโวยุคแรกๆ<br />
นิทรรศการปี ค.ศ. 1921 เห็นความก้าวหน้าในการออกแบบ<br />
มากขึ้น งานแสดงมีรูปทรงอิสระคล้ายพวกเปลือกหอยและปะการัง<br />
หรือประติมากรรมหล่อด้วยปูน โดยเฉพาะงานที่ชื่อโครงการบ้าน<br />
บนภูเขา (A Mountain House Project) ของทากิซาว่า มายูมิที่ดูเหมือน<br />
กระดองของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ ำ เห็นได้ชัดว่าได้อิทธิพลมาจากสถาปนิก<br />
แนวเอ๊กเพรสชั่น นิสม์ (Expressionism) ของเยอรมันที่ชื่อเอริก<br />
เมนเดลโซน (Erich Mendelsohn) ในผลงานชื่อไอสไตน์ทาวเวอร์<br />
(Einstein Tower) ในเมืองพอทสดัม (Potsdam) ราว ค.ศ. 1917<br />
หรือ 1920-1921<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
73
ผลงานของสถาปนิกหลายคนในกลุ่มมีลักษณะโดดเด่นล้ ำยุค<br />
เช่น หอคอยอนุสรณ์ (Memorial Tower) ในงานนิทรรศการ<br />
แห่งสันติภาพ (Peace Exhibition) ที่สวนอูเอโนในกรุงโตเกียว<br />
ใน ค.ศ. 1922 โดยโฮริกูชิ มีลักษณะเป็นหอคอยยอดเป็นแท่งสูง<br />
ลดหลั่นกันคล้ายนิ้วมือเหมือนงานHochzeitsturm ที่แมททิลเดนโฮ<br />
(Mathildenhohe) เมืองดาร์มชตัท (Darmstadt) ในเยอรมนี<br />
ค.ศ. 1907-1908 โดยเจเอ็ม โอลบริช<br />
อาคารสำนักงานกลางโทรเลขแห่งกรุงโตเกียว (Tokyo Central<br />
Telegraph Office) (1925) ออกแบบโดยยามาดา มาโมรุ (Yamada<br />
Mamoru) มีความแปลกล้ำสะดุดตา ผังเป็นรูปตัว L ที่มีรูปด้าน<br />
ไม่เหมือนกันเลยสักด้านหนึ่ง เพราะการเจาะช่องหน้าต่างที่ตั้งใจ<br />
ให้แตกต่างกัน มุขทิศเหนือของผนังด้านตะวันออกเป็นทางเข้า<br />
ทำเป็นประตูโค้งสูง 6 ชั้น ตรงกลางเจาะช่องเปิดกรุกระจก ผนังที่เหลือ<br />
อวดเสาโครงสร้างเรียงเป็นแถวมีหน้าต่างบานคู่เรียงเต็มช่วงเสา<br />
ผนังด้านทิศตะวันตกทำเหมือนด้านทิศตะวันออก ขณะที่ผนังด้าน<br />
ทิศเหนือออกแบบเป็นช่องผอมสูงคลุมด้วยหลังคาโค้งมนสูง<br />
จนเกือบเป็นโค้งยอดแหลมเรียงต่อเป็นแถว โดยภาพรวมแล้ว<br />
น่าจะได้อิทธิพลลัทธิเอ๊กเพรสชั่นนิสม์(Expressionism) โดยเฉพาะ<br />
จากโรงละครใหญ่แห่งเบอร์ลิน (Berlin Schauspielhaus) โดยฮานส์<br />
โพลซิก (Hans Poelzig) ค.ศ. 1919 และโรงละครแห่งซาลสบวก<br />
(Salzburg Festspielhaus) ค.ศ. 1920-1922 ของสถาปนิกคนเดียวกัน 37<br />
ขวา ผังพื้นอาคารสำนักงานกลาง<br />
โทรเลขแห่งกรุงโตเกียว<br />
ล่าง อาคารสำนักงานกลางโทรเลข<br />
แห่งกรุงโตเกียว (1922)<br />
74 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
อาคารสำนักงานหนังสือพิมพ์อาซาฮี (Asahi Newspaper<br />
Office ที่ซูกิยาบาชิ (Sukiyabashi) ในกรุงโตเกียว ค.ศ. 1927<br />
โดยอิชิโมโต คิกูจิ (Ishimoto Kikuji) เป็นอาคารคอนกรีตทรง<br />
สี่เหลี่ยมที่มีช่องหน้าต่างรูปครึ่งวงกลมเรียงกันหนาแน่นคล้ายรังผึ้ง<br />
เป็นการใช้ช่องเปิดและรูปทรงอาคารที่ได้อิทธิพลจากโรงงาน<br />
อุตสาหกรรมเคมี Milch and Company Chemical Plant 38<br />
ในเมืองลูบัน (Luban) ประเทศโปแลนด์ ค.ศ. 1912 ออกแบบโดย<br />
ฮานส์ โพลซิกเช่นกัน<br />
บน สำนักงานหนังสือพิมพ์อาซาฮี (1927)<br />
ขวา โรงงานอุตสาหกรรมเคมีลูบัน โปแลนด์ (1912)<br />
ผลงานที่แปลกอีกงานหนึ่งเป็นอาคารพักอาศัยที่ชื่อชิเอ็นโซ<br />
(Shienso) 39 ที่เมืองวาราบิ (Warabi) จังหวัดไซตะมะ (Saitama)<br />
ออกแบบโดยโฮริกูชิใน ค.ศ. 1926 บ้านหลังนี้มีลักษณะลูกผสม<br />
ตะวันออกและตะวันตก ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ลักษณะ<br />
ภายนอกอาคารโดดเด่นด้วยหลังคาทรงกระโจมแหลมสูงที่มุงด้วย<br />
หญ้าคลุมทับไปบนหลังคาคอนกรีตแบนที่เชื่อมต่อกันอย่างทื่อๆ<br />
ขณะที่ผนังของบ้านเป็นผนังเรียบแบบกล่องสี่เหลี่ยม ส่วนภายใน<br />
อาคารตกแต่งด้วยเครื่องเรือนแบบตะวันตก แต่เจาะช่องหน้าต่าง<br />
กลมแบบญี่ปุ่นในลักษณะประยุกต์ ส่วนฝ้าเพดานตีเป็นตาราง<br />
สี่เหลี่ยมกรุด้วยวัสดุที่ดูเหมือนเสื่อญี่ปุ่น ลักษณะรูปแบบของบ้าน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
75
น่าจะมาจากวิลล่า เบ็นเค็นฮอค (Villa Benkenhock) (The Arc) 40<br />
ค.ศ. 1916-1918 ของมาร์กิต ครอปฮอลเลอร์(Margit Kropholler)<br />
สถาปนิกชาวดัตช์ในกลุ่มอัมสเตอร์ดัมสคูลส์โคโลนี่ (Amsterdam<br />
School’s Colony) ในเบอร์เกน (Bergen) เนเธอร์แลนด์ ที่โฮริกูชิ<br />
เอารูปมาลงในหนังสือที่ตนเขียนชื่อ เคนชิกุ รอนกิ (Kenchiku<br />
rongi) ส่วนการออกแบบภายในน่าจะมาจากการสร้างสรรค์ของเขา<br />
เอง อาคารหลังนี้จึงสร้างลักษณะกำกวมระหว่างตะวันออกกับตะวัน<br />
ตก ที่สะท้อนให้เห็นว่าสถาปนิกยังมีความฝังอกฝังใจในงานแบบ<br />
ญี่ปุ่นโบราณไม่เสื่อมคลาย เช่นเดียวกับสถาปนิกสมัยใหม่อีกหลาย<br />
คนที่จะกล่าวต่อไป เช่น โยชิดะ เท็ตสุโร (Yoshida Tetsuro) เป็นต้น<br />
บน ผังพื้นบ้านบ้านชิเอ็นโซ<br />
ล่าง บ้านชิเอ็นโซ (1926)<br />
กลุ่มซูชา (The Sousha) (การสร้างสรรค์สังคมสากล) ตั้งขึ้น<br />
ใน ค.ศ. 1923 โดยกลุ่มช่างเขียนแบบและวิศวกรของกระทรวง<br />
คมนาคม มียามากูชิ บันโซ (Yamaguchi Bunzo) เป็นผู้นำที่เป็น<br />
สมาชิกของบุนริฮามาก่อน และเพื่อนอีก 4 คน ในช่วงที่กลุ่มนี้ก่อ<br />
ตั้งนั้นกระทรวงคมนาคมได้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานราชการ<br />
ที่ออกแบบอาคารทันสมัยมากที่สุด เพื่อสะท้อนความก้าวหน้าทัน<br />
สมัยทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่น กลุ่มซูชาเน้นแนวคิดแบบเหตุผลนิยม<br />
(Rationalism) หรือโกริชูเกอิ (Gorishugei) เพื่อสร้างสภาพ<br />
แวดล้อมการอยู่อาศัยและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 41 และต้อง<br />
เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ไม่ประนีประนอมในรูปแบบกับ<br />
76 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมโบราณ กลุ่มซูชาได้รับอิทธิพลจากลัทธิมาร์กซ์<br />
(Marxism) ที่แพร่กระจายในหมู่ปัญญาชนญี่ปุ่นในทศวรรษที่1920<br />
สภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เติบโตน้อยในช่วงนั้นทำให้ประชาชน<br />
เสื่อมศรัทธาในนักการเมืองที่ทุจริต รวมทั้งระบอบประชาธิปไตย<br />
ที่อ่อนแอและเอื้อประโยชน์ให้นายทุนและชนชั้นสูง พวกเขาหันไป<br />
หาความสำเร็จของพรรคบอลเชวิกในรัสเซีย หรือไม่ก็นิยมฝ่ายขวา<br />
จัดที่นำโดยทหารไปเลย บันโซกล่าวว่า “เนื้อหาของโครงการออกแบบ<br />
หนึ่งเป็นผลจากสถานะทางชนชั้นของศิลปินผู้นั้น ซึ่งถ้าไม่ใช่เพื่อ<br />
ชนชั้นกรรมาชีพก็เพื่อพวกนายทุน 42 ผลงานของกลุ่มโซชาเป็น<br />
โครงการสังคมสวัสดิการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชนชั้น<br />
กรรมาชีพเป็นหลักเช่น โครงการในอุดมคติที่เน้นการเคหะคุณภาพดี<br />
สำหรับกรรมกร โดยได้รับอิทธิพลจากโครงการเคหะ (Siedlung)<br />
ในเบอร์ลินในช่วงทศวรรษ 1920 ของกลุ่มสถาปนิกเยอรมัน เช่น<br />
โกรเปียส (Walter Gropius) และคณะ เป็นต้น<br />
ผลงาน<br />
บน บ้านวิลล่า เบ็นเค็นฮอค (1916-1918) เนเธอแลนด์<br />
ล่าง โครงการออกแบบการเคหะสำหรับกรรมกรทอผ้าสตรี (1930)<br />
โครงการออกแบบการเคหะสำหรับกรรมกรทอผ้าสตรี<br />
โดยยามากูชิ ตีพิมพ์ในวารสารโกกูไซเคนชิกุ(Kokusai Kenchiku)<br />
ฉบับที่6 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1930 แสดงรูปแบบอาคารทรงกล่อง<br />
สี่เหลี่ยมเรียบ ๆ ผนังเรียบเกลี้ยงสีขาว มีหน้าต่างกระจกเป็นแถบยาว<br />
ซึ่งภายในเป็นพื้นที่ห้องนอน สลับคนละช่วงกับผนังแบบกรุกระจก<br />
ล้วนทั้งผืนที่ภายในเป็นพื้นที่ห้องโถง เห็นได้ชัดว่าได้อิทธิพล<br />
มาจากเคหะเดสเซา-ทอร์เท็น (Siedlung Dessau-Torten) ในเยอรมัน<br />
ออกแบบโดยโกรเปียสใน ค.ศ. 1926 การเติบโตของฝ่ายซ้ายที่เป็นไป<br />
อย่างกว้างขวาง ทำให้รัฐบาลขวาจัดกดดันกิจกรรมทุกอย่างของ<br />
ฝ่ายซ้ายรวมทั้งกลุ่มโซชาด้วยยามากูชิต้องเดินทางออกนอกประเทศ<br />
ไปทำงานกับโกรเปียสที่เบาเฮาส์ (Bauhaus) ในเมืองเดสเซา<br />
(Dessau) ในเยอรมัน กิจกรรมของกลุ่มจึงจบสิ้นลงในทศวรรษ 1930<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
77
ผลงานสถาปัตยกรรมแนวสมัยใหม่ของสถาปนิกคนอื่น ๆ<br />
ซาโน โตชิคาตะ (ริกิ) (Sano Toshikata (Riki)) หัวหน้าภาค<br />
วิชาวิศวกรรมอาคารแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวคนต่อจากทัตสุโนะ<br />
คิงโกะ เขามีบทบาทสำคัญมาแล้วตั้งแต่ปลายยุคเมจิ ในการ<br />
สนับสนุนแนวคิดเชิงเหตุผลนิยม และเน้นการออกแบบโครงสร้าง<br />
ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าความสวยงาม ใน ค.ศ. 1911 เขาเขียนว่า<br />
“ในสถานะของชาติเราปัจจุบัน ถ้าเราตัดสินว่าจะสร้างความ<br />
ยุติธรรมสำหรับความต้องการที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นประโยชน์<br />
ต่อทุกคนในชาติ ดังนั้นแล้วสถาปนิกญี่ปุ่นควรสร้างงานของตน<br />
บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเป็นวิศวกร...ความรับผิดชอบ<br />
ที่สำคัญที่สุดของสถาปนิกญี่ปุ่นคือความเข้าใจปัญหาที่ว่า<br />
ต้องสร้างอาคารที่แข็งแรง มีประสิทธิผลมากที่สุด ในราคาที่รับได้<br />
อย่างไร...” 43 เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ใน ค.ศ. 1918 และ<br />
เป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบอาคารต่อต้านแผ่นดินไหว<br />
งานวิจัยของซาโนให้ความสำคัญต่อการใช้โครงสร้างเหล็กและ<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กในการต่อต้านแผ่นดินไหว ที่วัสดุและวิธีการ<br />
ก่อสร้างด้วยอิฐและกำแพงอิฐรับน้ำหนักในสมัยเมจิป้องกันไม่ได้<br />
บน ผังพื้นบ้านซาโน<br />
ซ้าย บ้านซาโน (1923)<br />
78 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลงานที่น่าสนใจของเขา ได้แก่ บ้านพักของเขาเอง (Sano<br />
Toshikata Residence) 44 (1923) ในโอซาก้า เป็นโครงสร้าง<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ผังรูปตัว T ส่วนหัวของรูปตัว T เป็น<br />
พื้นที่บริการของบ้าน ส่วนปลายรูปตัว T ชั้นล่างเป็นโถงและห้อง<br />
รับแขก ชั้นบนเป็นห้องนอน การแบ่งห้องในส่วนพักอาศัยทำอย่าง<br />
เรียบง่ายและตรงไปตรงมามาก โดยการลากเส้นแกนดิ่งและ<br />
แกนราบผ่านจุดกึ่งกลางห้องแบ่งพื้นที่เป็น 4 ห้องตามประสงค์<br />
รูปลักษณ์ภายนอกอาคารเป็นรูปทรงเรขาคณิตเรียบเกลี้ยง<br />
การเจาะช่องประตูหน้าต่างและการกำหนดความสูงเป็นไปตาม<br />
ประโยชน์ใช้งาน ทำให้บ้านหลังนี้มีลักษณะคล้ายกับบ้านของ<br />
อดอล์ฟ ลูส์ (Adolf Loos) ชื่อสไตเนอร์เฮาส์ (Steiner House)<br />
(1910) ในกรุงเวียนนาอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าเปรียบเทียบงานของ<br />
ซาโนกับบ้านไรนานซากา (Reinanzaka) (1924) ของแอนโตนิน<br />
เรย์มอนด์ (Antonin Raymond) ที่สร้างในเวลาไล่เลี่ยกันแล้ว<br />
จะเห็นว่าแม้ว่าสถาปนิกญี่ปุ่นจะเรียนรู้เทคนิคการก่อสร้างแบบ<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กได้ทัดเทียมตะวันตกแล้ว แต่ศิลปะการ<br />
ออกแบบอย่างตะวันตกยังอยู่ห่างไกลกัน<br />
แอนโตนิน เรย์มอนด์ (Antonin Raymond) (1888-1976)<br />
เป็นสถาปนิกอเมริกันเกิดในสาธารณรัฐเช็ค (Czech Republic)<br />
เดินทางมาญี่ปุ่นในฐานะผู้ช่วยของสถาปนิกแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์<br />
(Frank Lloyd Wright) ออกแบบโรงแรมอิมพีเรียลโตเกียว<br />
(Imperial Hotel Tokyo) ใน ค.ศ. 1920 หลังจากทำงานให้ไรท์ไม่นาน<br />
เขาก็ถูกไล่ออก เพราะความเห็นไม่ลงรอยกัน เขาเห็นว่าโรงแรมนี้<br />
เป็นอนุสาวรีย์ส่วนตัวของไรท์ ไม่มีสิ่งใดสอดคล้องกับบริบท<br />
ทางกายภาพและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเลย นอกจากสำนวนจาก<br />
ฝีปากของไรท์ที่ล่องลอยหาแก่นสารไม่ได้ หลังจากเป็นอิสระเขา<br />
อาศัยต่อในญี่ปุ่นหลายปีและได้ออกแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในญี่ปุ่นหลายงาน และนับเป็นสถาปนิกชาวตะวันตกรุ่นบุกเบิก<br />
อีกคนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกพื้นเมืองญี่ปุ่นในการนำสถาปัตย-<br />
กรรมแบบตะวันตกมาเผยแพร่ในญี่ปุ่นต่อจากคอนเดอร์ แต่คราวนี้<br />
เป็นสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่(International modern)<br />
แอนโตนิน เรย์มอนด์ (1888-1976)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
79
บ้านไรนานซากา (Reinanzaka House) ผลงานชิ้นแรก<br />
ของเขาในญี่ปุ่นนี้เป็นบ้านของเขาเองสร้าง ค.ศ. 1924 ที่ย่านอาซาบุ<br />
(Azabu) ในกรุงโตเกียว ผังอาคารเป็นรูปตัว U 45 ด้านหนึ่งเป็น<br />
ที่จอดรถ ตอนกลางเป็นครัว ด้านขวาเป็นห้องทำงานและพักผ่อน<br />
มีบันไดเวียนขึ้นชั้นบนที่เป็นห้องนอนและห้องท ำงาน ลักษณะอาคาร<br />
เป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบกำแพง<br />
รับน้ำหนัก 46 ผสมโครงสร้างแบบกรอบเสารับคาน เจาะช่องประตู<br />
หน้าต่างตามประโยชน์ใช้สอย เมื่อพิจารณาจากการจัดที่ว่าง รูปทรง<br />
และผังพื ้นแล้ว น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากทั้งโกรเปียสและคอร์บู<br />
(Le Corbusier) แต่หากพิจารณาลักษณะโครงสร้างแล้วยังติด<br />
วิธีการโบราณอยู่มากเพราะใช้ระบบก ำแพงรับน้ำหนัก (Wall bearing)<br />
ที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ใช่โครงสร้างแบบกรอบเสารับคาน<br />
(Frame) ล้วนๆ ของพวกสากลนิยมสมัยใหม่ในยุโรป อย่างไรก็ตาม<br />
ผลงานต่อๆ ไปของเขาจะส่งอิทธิพลมากให้สถาปนิกญี่ปุ่นในช่วง<br />
ปลายทศวรรษ 1920 ต่อ 1930<br />
บน ผังพื้นบ้านไรนานซากา<br />
ซ้าย บ้านไรนานซากา (1924)<br />
80 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
อูชิดะ โยชิคาสุ (Uchida Yoshikazu) (1885-1972) เป็นลูกศิษย์<br />
ของซาโนที่มหาวิทยาลัยโตเกียว และเป็นอาจารย์สอนวิชาโครงสร้าง<br />
ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งแต่ค.ศ. 1911 หลังจากแผ่นดินไหวใหญ่<br />
คันโตถล่มกรุงโตเกียวราบเป็นหน้ากลองแล้ว อูชิดะได้รับโอกาส<br />
ในการทำงานสำคัญคือ สร้างมหาวิทยาลัยโตเกียวที่พังพินาศไป<br />
ให้คืนกลับมาใหม่ทั้งวิทยาเขต งานสำคัญที่สุดคือหอประชุมยาสุดะ<br />
(Yasuda Auditorium) ของมหาวิทยาลัย สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1925<br />
มีผังเป็นรูปครึ่งวงกลมตั้งบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนผังโรงละคร<br />
(theatre) ของกรีกโบราณ พื้นที่ครึ่งวงกลมเป็นส่วนที่นั่งของ<br />
หอประชุม ผังอาคารสี ่เหลี่ยมด้านหลังเป็นเวทีและโถงทางเข้า<br />
อาคารหันด้านสี่เหลี่ยมออกด้านหน้า ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐที่มี<br />
หอคอยกลางสูงชะลูด แล้วค่อย ๆ ลดหลั่นลงเป็นชั้น ๆ ทั้งสองข้าง<br />
แม้ว่าจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมที่ดูเรียบง่ายแต่บรรยากาศเป็นงานแบบ<br />
โกธิคโบราณ 47 เพราะการเจาะช่องหน้าต่างที่สูงเรียวและประดับด้วย<br />
เสาอิงที่ผนังเป็นระยะๆ รวมทั้งซุ้มทางเข้าที่ท ำเป็นประตูยอดโค้งแหลม<br />
อีกด้วย จึงน่าจะเรียกอาคารแบบนี้ว่าอาร์ตเดคโค (Art Deco)<br />
มากกว่าอย่างอื่น นอกจากอาคารนี้แล้วอาคารที่เหลือทั้งวิทยาเขต<br />
ที่เขาออกแบบพร้อมกับผู้ช่วยคือ คิชิดะ ฮิเดโตะ (Kishida Hideto) 48<br />
ก็ออกแบบในลักษณะนี้ อย่างไรก็ตามในด้านโครงสร้าง อาคารหลังนี้<br />
กลับใช้วิธีการก่อสร้างที่ทันสมัยมาก เป็นโครงสร้างเสา-คาน<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาหอประชุมเป็นโครงสร้างเหล็กช่วงกว้าง 49<br />
อูชิดะ โยชิคาสุ (1885-1972)<br />
วิธีการออกแบบอาคารเช่นนี้ที่ใช้โครงสร้างและวัสดุแบบใหม่<br />
แต่หน้าตายังก้ ำกึ่งระหว่างงานสมัยใหม่ที่เรียบเกลี้ยงกับงานสมมาตร<br />
และท่วงท่าแบบโบราณนั้น ความจริงแล้วเป็นรูปงานที่แพร่หลายที่สุด<br />
ในหมู่สถาปนิกทั่วไป ไม่ใช่แบบสากลนิยมสมัยใหม่หรือแบบ<br />
โบราณจัดดังที่จะกล่าวต่อไป แต่ในที่สุดในช่วงทศวรรษ 1930<br />
ลัทธิชาตินิยมทหารกำลังแรงจัด งานแบบนี้ถูกดัดแปลงไปใส่<br />
หลังคาทรงวัดญี่ปุ่นโบราณ เพื่อสร้างอัตลักษณ์แบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า<br />
มงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิ (Teikan Yoshiki) ในที่สุด<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
81
บน หอประชุมยาสุดะ (1925)<br />
ล่าง ผังพื้นหอประชุมยาสุดะ<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน อิโตะ ชูตะ (1867-1954)<br />
ล่าง แผนภูมิสถาปัตยกรรมโลกในตำรา<br />
ของบานิสเตอร์ เฟลชเชอร์ (1901)<br />
ลูกศรชี้ตำแหน่งสถาปัตยกรรมจีนและญี่ปุ่น<br />
82 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
สถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ” ของอิโตะ ชูตะ<br />
อิโตะ ชูตะ (Ito Chuta) (1867-1954) เป็นสถาปนิกและ<br />
นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมคนสำคัญของญี่ปุ่นในศตวรรษที่20<br />
เขามีอิทธิพลต่อการสร้างแนวคิดและผลงานสถาปัตยกรรมแบบ<br />
ชาตินิยมญี่ปุ่นใหม่ตอนต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงสิ้นสุดสงคราม<br />
โลกครั้งที่ 2<br />
แรงผลักดันทางสังคม<br />
อิโตะเติบโตในรัชสมัยเมจิตอนที่ญี่ปุ่นเริ่มบทบาท<br />
จักรวรรดินิยมและใช้นโยบายแผ่ขยายดินแดนโดยการทหาร<br />
ญี่ปุ่นรบชนะจีนในสงครามค.ศ. 1894-1895 ทำให้ญี่ปุ่นได้เกาะไต้หวัน<br />
และคาบสมุทรเกาหลีจากจีน สิบปีต่อมาญี่ปุ่นรบชนะรัสเซียใน<br />
ค.ศ. 1904-1905 ทำให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนแหลมเลียวตุงและหมู่เกาะ<br />
สะขะลิน ผลของชัยชนะทำให้ดูเหมือนว่าโลกยอมรับในความเป็น<br />
มหาอำนาจของญี่ปุ่น แต่ในความเป็นจริงหลังสงครามโลกครั้งที่1<br />
ญี่ปุ่นรู้สึกไม่พอใจในการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศผู้ชนะ<br />
สงครามด้วยกันเอง ญี่ปุ่นรู้สึกว่าตนถูกปฏิบัติเหมือนประเทศที่<br />
ไม่ใช่มหาอำนาจเช่นตอนแรก<br />
แรงผลักดันทางวัฒนธรรมวิชาการ<br />
ในวงการวิชาการสถาปัตยกรรมปลายศตวรรษที่ 19 ตำรา<br />
ที่ใช้แพร่หลายในวงการศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นฐานคือ<br />
A History of Architecture in All Countries, from the Earliest<br />
Times to the Present Day (1874) และ History of Indian and<br />
Eastern Architecture...Forming the Third Volume of the New<br />
Edition of the ‘History of Architecture’ (1876) โดยเจมส์ เฟอร์กัสสัน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
83
่<br />
(James Furgusson) จากตำราเล่มหลังนี้เองที่เขียนว่า<br />
“...สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีความน่าสนใจน้อยมาก ถ้าพ้นไปจากเกาะ<br />
ญี่ปุ ่นแล้วศิลปะของญี่ปุ ่นนั้น ไม่มีตำแหน่งจะให้ ถ้าเปรียบเทียบ<br />
กับงานที่เราได้กล่าวมาแล้วทั้งหลาย ดังนั้นจึงไม่มีที่ที่จะให้กับ<br />
50<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นในเวทีประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันเขากลับ<br />
เขียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมอินเดียอย่างยืดยาวในตำราเล่มแรก<br />
(A History of Architecture(1874)) จนนำออกมาเรียบเรียงใหม่<br />
เป็นตำราเล่มที่ 2 (History of Indian and Eastern Architecture<br />
(1876)) ได้อีกเล่มหนึ่ง มีหลักฐานว่าอิโตะมีหนังสือเล่มนี้ฉบับตีพิมพ์<br />
ค.ศ. 1891 ซึ่งเขาเขียนลายมือคำว่า “ไม่” ในหลายแห่งของหนังสือ<br />
เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับเฟอร์กัสสัน 51 แนวความคิดในเชิง<br />
สูงส่งกว่าทางวัฒนธรรมยังมีให้เห็นอีกในตำรา A History of<br />
Architecture on the Comparative Method ฉบับ ค.ศ. 1901<br />
โดยบานิสเตอร์ เฟลชเชอร์ (Banister Fletcher) ที่เปรียบเทียบ<br />
สถาปัตยกรรมในโลกเป็นภาพต้นไม้ใหญ่ที่มีกิ่งก้านสาขาเป็น<br />
สถาปัตยกรรมของยุคสมัยและประเทศต่างๆ ตัวลำต้นใหญ่คือ<br />
สถาปัตยกรรมกรีก โรมันและโรมาเนสก์ ส่วนสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
ถูกวาดอยู่ในสาขาเล็กที่ห่างไกลใต้สถาปัตยกรรมจีน และจัดอยู่ใน<br />
จำพวกไม่ใช่รูปแบบทางประวัติศาสตร์ (non-historical styles)<br />
หรือไม่มีวิวัฒนาการนั่นเอง 52 นี่เป็นสิ่งที่อิโตะคิดว่าไม่ถูกต้อง<br />
เขาต้องการพิสูจน์ว่าสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นไม่เพียงแต่เป็นตัวแทน<br />
ของสถาปัตยกรรมเอเซียเท่านั้น ยังสามารถเชื่อมต่อกับต้นกำเนิด<br />
สถาปัตยกรรมของโลกตะวันตกอย่างกรีกได้อีกด้วย<br />
การที่อิโตะมีความต้องการเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
กับสถาปัตยกรรมตะวันตกนั้น นอกจากจิตสำนึกแบบชาตินิยมแล้ว<br />
ยังมาจากรากฐานการศึกษาของเขาที่แผนกวิศวกรรมอาคารของ<br />
มหาวิทยาลัยโตเกียวที่คอนเดอร์ได้วางรากฐานการศึกษา<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตกไว้อย่างดีตั้งแต่ต้น<br />
เขาถูกสอนว่าสถาปัตยกรรมเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ประโยชน์<br />
ใช้สอยและความงาม 53 รอบรู้ประวัติศาสตร์และวัสดุในข้อสอบของ<br />
คอนเดอร์จะมีคำถามเช่น ให้เปรียบเทียบสถาปัตยกรรมกรีกกับ<br />
โกธิค เป็นต้น ต่อมาในสมัยที่ทัตสุโนะ คิงโกะเป็นหัวหน้าสาขาวิชา<br />
ทัตสุโนะได้เชิญคิโกะ คิโยโยชิ (Kigo Kiyoyoshi) ช่างไม้หลวงที่<br />
ซ่อมแซมพระราชวังในนครเกียวโตมาสอนสถาปัตยกรรมโบราณ<br />
ให้กับนักศึกษาตั้งแต่ค.ศ. 1889 อาคารไม้สำคัญทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น<br />
ศาลเจ้า วัด วัง ต่างถูกนำมาสอนอย่างละเอียดลออทั้งเรื่องวัสดุ<br />
วิธีการก่อสร้างและรูปทรงแบบต่างๆ มีการนำนักศึกษาไปทำงาน<br />
รังวัดด้วยตนเอง อิโตะจึงมีพื้นฐาน ความรู้ทั้งประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมตะวันตกและญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้<br />
เขาสามารถศึกษาลึกลงไปอีกในภายหน้า เมื่อเขาต้องการหา<br />
คำตอบว่าสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นเชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมตะวันตก<br />
ได้อย่างไร<br />
แนวคิดและผลงาน<br />
อิโตะมีความสนใจในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นตั้งแต่เป็นนักศึกษา<br />
สถาปัตยกรรม จากเรื่องเล่าขานของอาจารย์ของเขาทัตสุโนะ คิงโกะ<br />
ว่าขณะที่ฝึกงานอยู่สำนักงานของเบอร์เจสที่ลอนดอน เบอร์เจส<br />
ถามเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่น 54 ซึ่งทัตสุโนะ<br />
ตอบไม่ได้ รวมทั้งการรับรู้ของเขาจากตำราสถาปัตยกรรมสากลว่า<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นแทบจะไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลย สิ่งเหล่านี้<br />
ทำให้อิโตะพยายามสร้างประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นขึ้นมา<br />
ก้าวแรกของการศึกษาของเขาคือการเชื่อมโยงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
กับสถาปัตยกรรมตะวันตกยุคคลาสสิคของกรีก บทความของเขาใน<br />
ค.ศ. 1893 ชื่อ Horyuji Kenchikuron กล่าวถึงวัดที่เชื่อว่าเก่าแก่<br />
ที่สุดที่ยังเหลือรอดอยู่ของญี่ปุ่นคือวัดโฮริวจิ ว่ามีการออกแบบที<br />
สัมพันธ์กับวิธีออกแบบวิหารกรีกโบราณ ทั้งเรื่องของการแบ่ง<br />
สัดส่วนขององค์ประกอบรูปด้าน และเสาอาคารที่มีลักษณะป่องกลาง<br />
แบบกรีก (entasis) 55 ต่อมาใน ค.ศ. 1895 เขาได้เขียนวิทยานิพนธ์<br />
เรื่องปรัชญาสถาปัตยกรรม (Kenchiku Tetsugaku) 56 เป็นการศึกษา<br />
ทฤษฎีประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ด้วยกระบวนการศึกษาแบบสากล<br />
84 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ร่วมสมัยที่เขียนโดยชาวญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก 57 อย่างไรก็ตามเรื่องนี้มี<br />
ผู้พูดมาก่อนอิโตะเสียอีก ได้แก่ อิชิอิ เคอิกิชิ (Ishii Keikichi) นัก<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมคนหนึ่ง และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ<br />
ชาตินิยมอีกคนหนึ่งชื่อโอกากูระ เทนชิน (Okakura Tenshin)<br />
ซึ่งเป็นผู้เล่าข้อสังเกตนี้ให้อิโตะฟัง แต่เป็นทฤษฎีของอิโตะที่ทำให้<br />
ผู้คนรู้กันแพร่หลายในที่สุด การศึกษาภาคสนามว่าด้วยสถาปัตย-<br />
กรรมโบราณของเอเชีย ทำให้อิโตะสรุปว่าสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมี<br />
ที่มาจากแผ่นดินใหญ่ที่รับพุทธศาสนาที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย<br />
และต้นแบบในอินเดียมีที่มาจากศิลปะกรีก สถาปัตยกรรมในญี่ปุ่น<br />
จึงเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการวิวัฒนาการเปลี่ยนรูปมาตลอด<br />
เขาเรียกกระบวนการนี้ว่าสถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ”<br />
(evolution) ตามความเชื่อแบบดาร์วิน (Darwin) ที่เขาคิดว่าควร<br />
ใช้เป็นหลักการสำหรับการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น<br />
คือเป็นสิ่งที ่พัฒนามาจากธรรมชาติของสถาปัตยกรรมโบราณ<br />
แต่ในความเป็นจริงแล้ว อิโตะในฐานะสถาปนิกก็ไปไม่ได้ไกลกว่า<br />
คนอื่นมากนัก เขาใช้แบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมยุคต่าง ๆ<br />
Horyuji Kenchikuron (1893)<br />
ในยุโรปเป็นหลักในช่วงต้นชีวิตการออกแบบ ต่อมาก็เปลี่ยนมาเป็น<br />
เน้นรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณเอาหลังคาญี่ปุ่นครอบลงบน<br />
ผังแบบตะวันตก ในช่วงหลังเขาใช้ลักษณะผสมของสถาปัตยกรรม<br />
เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ครอบลงบนผังแบบตะวันตกแทน<br />
ทำให้อาคารดูประหลาดมากกว่าเห็นอะไรที่เป็น “วิวัฒนาการ”<br />
อย่างที่เขากล่าวไว้<br />
การเชื่อมต่อตะวันออกกับตะวันตก<br />
เมื่ออิโตะเชื่อว่าสถาปัตยกรรมของวัดโฮริวจิมีอิทธิพลกรีก<br />
เขาจึงขวนขวายที่จะพิสูจน์สมมติฐานนี้โดยการเชื่อมโยงหลักฐาน<br />
ที่มีอยู่ทั้งหมดให้อธิบายทฤษฎีของเขาให้ได้ นี่เป็นจุดเริ่มต้น<br />
ที่ทำให้เขาออกเดินทางค้นหาหลักฐานใน ค.ศ. 1901 เขาเดินทาง<br />
ไปสำรวจสถาปัตยกรรมโบราณในสถานที่ต่างๆ ในประเทศจีน<br />
รวมทั้งพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่งศึกษาลักษณะการก่อสร้าง<br />
โครงสร้างหลังคาและระบบโครงสร้างเต้ารับชายคา (Dugong)<br />
ที่ซับซ้อน ที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัย<br />
ราชวงศ์ถัง (ทศวรรษที่ 8) การเดินทางครั้งที่ 2 ของอิโตะเริ่มใน<br />
ค.ศ. 1902 และใช้เวลาถึง 3 ปี เดินทางข้ามทวีปเอเชียเพื่อศึกษา<br />
โบราณสถานในประเทศจีน พม่า สยาม อินเดีย (โดยใช้เวลาเฉพาะ<br />
ที่อินเดียถึง 1 ปี) เดินทางต่อไปถึงอียิปต์ กรีซ และตุรกี ในคราวนี้<br />
อิโตะเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วยแผนที่การกำหนดตำแหน่งอาคาร<br />
ในแผนที่ การรังวัด การเขียนแบบอาคารและองค์ประกอบ<br />
ตลอดจนการบันทึกด้วยภาพถ่าย เมื่อกลับถึงญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1905<br />
เขาลงมือเรียบเรียงข้อมูล แบบลักษณะและรูปถ่ายเหล่านี้<br />
อย่างเป็นระบบ เพื่อจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์<br />
ปรากฏเป็นแผนภูมิแสดงการแผ่อิทธิพลศิลปะที่เริ่มจากเอเชีย<br />
ไมเนอร์ตะวันตกและเปอร์เซียโบราณสู่กรีก อิทธิพลจากกรีกแผ่มา<br />
ที่เอเชียไมเนอร์ตอนกลางโดยตรง และโดยอ้อมสู่อินเดีย อิทธิพล<br />
จากอินเดียผสมกับเอเชียไมเนอร์ แล้วแลกเปลี่ยนกับจีน อิทธิพล<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
85
บน แผนภูมิความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรม<br />
โลกตะวันตกและโลกตะวันออก<br />
ล่าง แผนภูมิวิวัฒนาการแห่งสถาปัตยกรรม<br />
(1909) ลูกศรชี้ตำแหน่งของญี่ปุ่น<br />
จากจีนแพร่ไปยังเกาหลี ริวกิว และญี่ปุ่นโดยตรง 58 โดยรูปธรรม<br />
อิโตะเชื่อว่าสถาปัตยกรรมวัดโฮริวจิมีต้นกำเนิดจากศิลปะกรีก<br />
ยุคเฮเลนนิสติก (Hellenistic) ที่ผสมกับศิลปะอินเดียยุคคันธารราช<br />
(Gandhara) 59 ศิลปะลูกผสมเหล่านี้ถูกใช้สร้างสรรค์งาน<br />
ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในศาสนาพุทธยุคเริ่มแรกใน<br />
อินเดียและส่งต่อไปที่จีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ ค.ศ. 150)<br />
ศิลปะในพุทธศาสนานี้พัฒนาต่อไปในจีนจนถึงขีดสุดในสมัย<br />
ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-1260) และแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นในศตวรรษที่8<br />
อย่างไรก็ตามนักวิชาการญี่ปุ่นร่วมสมัยกับอิโตะรวมทั้งตัวเขาเองด้วย<br />
เชื่อแบบหลงชาติว่าหลังจากนั้นอารยธรรมจีนก็เริ่มเสื่อมลง<br />
ในขณะที่ญี่ปุ่นกลับเจริญรุ่งเรืองขึ้นสืบเนื่องมาจนถึงศตวรรษที่20<br />
และนี่คือคุณสมบัติพิเศษของอารยธรรมญี่ปุ่นที่แตกต่างจากชาติ<br />
อื่นในเอเชียที่สามารถ “วิวัฒนาการ” และปรับปรุงคุณภาพเพื่อ<br />
หลีกเลี่ยงจากการครอบงำของวัฒนธรรมตะวันตก (Seiyo)<br />
ดังเห็นได้จากแผนภูมิการอธิบายความสัมพันธ์และวิวัฒนาการ<br />
86 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ของสถาปัตยกรรมโลกในบทความถอดจากการบรรยายของเขา<br />
ชื่อ “ทฤษฎีวิวัฒนาการแห่งสถาปัตยกรรม” ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1909<br />
ซึ่งแสดงแผนภูมิสถาปัตยกรรมโลกด้วยวงกลม 3 วง 60 ได้แก่วงของ<br />
สถาปัตยกรรมยุคโบราณ วงของสถาปัตยกรรมตะวันตก (Seiyo)<br />
และวงของสถาปัตยกรรมตะวันออก (Toyo) วงของสถาปัตยกรรม<br />
โบราณที่ประกอบด้วยสถาปัตยกรรมอียิปต์และแอสซีเรีย (Assyria)<br />
นั้นหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว ขณะที่วงของสถาปัตยกรรมตะวันตก<br />
มีการหมุน (สังเกตลูกศรชี้ที่หมุนเป็นวง) แสดงวิวัฒนาการจาก<br />
สถาปัตยกรรมกรีก โรมันมาเป็นสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ จนถึง<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ตามล ำดับ ส่วนวงของสถาปัตยกรรมตะวันออก<br />
(Toyo) ที่ประกอบด้วยวงกลมเล็กอีก 3 วง วงที่ 1 คือ จีน เกาหลี<br />
ญี่ปุ่น วงที่ 2 คืออินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวม<br />
สยามด้วย และวงที่ 3 คือพวกมุสลิม มีเพียงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
เท่านั้นที่สามารถพาตัวเองออกจากวงของวัฒนธรรมโบราณของ<br />
จีนได้61 โดยสังเกตจากแผนภูมิที่ตั้งใจเขียนเป็นเส้นประและแยกตัว<br />
ออกจากวงใหญ่ ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจึงเป็นศิลปะชาติ<br />
เดียวของโลกตะวันออก ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องแบบเดียวกับชาติ<br />
ตะวันตก และสามารถเชื่อมต่อกับต้นกำเนิดอารยธรรมตะวันตก<br />
คือกรีกได้ จึงเป็นสถาปัตยกรรมชนิดที่เป็นสถาปัตยกรรม<br />
ประวัติศาสตร์ (Historical styles) และสมควรแก่การเป็นตัวแทน<br />
และผู้นำแห่งสถาปัตยกรรมของโลกตะวันออกที่แท้จริง งานนิพนธ์<br />
ของอิโตะฉบับนี้จึงเป็นตำราใหม่ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
ของจักรวรรดิใหม่ขณะเดียวกันก็ลบปมคับข้องใจของผู้เขียนไปในตัว<br />
ญี่ปุ่นในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาแห่งเอเชีย: เมื่อทฤษฎี<br />
วิวัฒนาการเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ไพบูลย์เอเชียทางสถาปัตยกรรม<br />
ความต้องการเป็นเจ้าเอเชียของญี่ปุ่นตั้งแต่ปลายรัชสมัยเมจิ<br />
ได้แผ่ขยายมาถึงความเชื ่อในศาสนาพุทธ ปลายยุคเอโดถึงต้น<br />
รัชสมัยเมจิเป็นช่วงที่ศาสนาพุทธเสื่อมลงมาก นอกจากนี้<br />
ลัทธิชาตินิยมทำให้ชนชั้นนำบางกลุ่มมีความต้องการกำจัด<br />
ศาสนาพุทธออกไปเพื่อเชิดชูลัทธิชินโต ที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมของ<br />
ชนชาติเพียงศาสนาเดียว ชาวพุทธในญี่ปุ่นจึงท ำการปฏิรูปศาสนาพุทธ<br />
ครั้งใหญ่เพื่อความอยู่รอด มีการส่งพระภิกษุไปศึกษาแสวงหาความรู้<br />
ในยุโรปและอเมริกา อีกเส้นทางหนึ่งก็มายังประเทศต้นทาง<br />
ศาสนาพุทธในเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา ทิเบต เนปาล และสยาม<br />
การเชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มหลังเป็นเรื่องส ำคัญกว่าเพราะโยงกันด้วย<br />
พระไตรปิฎก ซึ่งมีร่วมกันตั้งแต่สมัยโบราณแม้ว่าจะต่างนิกายกันก็ตาม<br />
จึงกลายเป็นวงศ์ไพบูลย์แห่งเอเชียในด้านศาสนาพุทธ กิจกรรมการ<br />
สร้างวงศ์ไพบูลย์ของศาสนานี้ ทำให้ศาสนาพุทธกลับมาเจริญรุ่งเรือง<br />
อีก และกลายเป็นศาสนาหลักของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 20 ที่ตอบ<br />
สนองความต้องการเป็นใหญ่ทางการเมืองของญี่ปุ่นเหนือเอเชียไป<br />
ด้วย ดังนั้นกิจกรรมการเสาะหาต้นกำเนิดของรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
พุทธศาสนาที่อิโตะแสดงว่า เชื่อมโยงกับรูปแบบพุทธศาสนสถาน<br />
ในเอเชีย จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโครงข่ายวัฒนธรรม<br />
และสนับสนุนการแผ่ขยายอำนาจทางสังคมวัฒนธรรมของลัทธิ<br />
ชาตินิยมทหาร เพื่อร่วมสร้างวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาของ<br />
ญี่ปุ่นไปด้วย 62<br />
ที่จริงแล้วความสนใจในปรัชญาพุทธของอิโตะมาจาก<br />
เอิร์นสท์ เฟโนลโลซา (Ernst Fenollosa) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
และผู้ช่วยชาวญี่ปุ่นของเขา โอกากุระ คากุโซ (Okakura Kakuzo)<br />
หรือในนาม โอกากุระ เทนชิน (Okakura Tenshin) เฟโนลโลซา<br />
สนใจศาสนาพุทธจนเปลี่ยนมาเป็นพุทธศาสนิกในที่สุดเป็นผู้เสาะหา<br />
รวบรวมคัมภีร์โบราณของพุทธศาสนาในญี่ปุ่น เพื่อการอนุรักษ์<br />
มรดกวัฒนธรรมนี้สำหรับเผยแพร่ให้โลกตะวันตกรู้จักญี่ปุ่น<br />
ในแง่มุมนี้ โอกากุระได้สืบสานต่อภารกิจนี้ของเฟลโนลโลซา<br />
หนังสือสำคัญ 3 เล่มของเขาพูดถึงจิตวิญญาณญี่ปุ่นในแง่ปรัชญา<br />
และศิลปะ เป็นพื้นฐานหนึ่งที่ทำให้ชาวตะวันตกเข้าใจญี่ปุ่นมากขึ้น<br />
ได้แก่ The Ideas of the East (1903) The Awakening of Japan<br />
(1904) และ The Book of Tea (1906)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
87
ผลงาน<br />
แม้ว่าผลงานวิชาการทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
ของอิโตะจะมีข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่บทบาทความเป็นสถาปนิก<br />
ของเขาดูจะไม่ได้นำเสนอรูปแบบใหม่อะไร ผลงานของเขายัง<br />
ยึดติดกับรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณ นำมาผลิตซ้ำโดยวิธีการ<br />
ประสมประสานงานแบบหนึ่งของยุคหนึ่งกับงานอีกแบบของอีก<br />
ยุค หรือนำงานจากวัฒนธรรมของประเทศหนึ่งมาผสมกับงานจาก<br />
วัฒนธรรมของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งเขามีโอกาสในการเลือกแบบที่<br />
หลากหลายจากประสบการณ์เก็บข้อมูลภาคสนามที่ยาวนานกว้าง<br />
ไกล เขาต้องการผลงานที่เป็นสุนทรียแห่งวงศ์ไพบูลย์เอเชีย<br />
(Pan-Asia Aesthetic) ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับแนวสากล<br />
สมัยใหม่ของกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าในยุคทศวรรษ 1920-1930<br />
ขณะเดียวกันกลับเข้าได้ดีกับนโยบายชาตินิยมทหารนิยมและ<br />
จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นในเวลานั้น ที่กำลังเข้มแข็งรุกไปข้างหน้า<br />
ทุกขณะ ในความเป็นจริง อิโตะออกแบบงานได้ดีทั้งแบบตะวันตก<br />
และแบบตะวันออก แต่งานที่น่าสนใจในเชิงรูปแบบที่รับใช้แนวคิด<br />
ทางประวัติศาสตร์ของเขาว่าด้วยสถาปัตยกรรมแบบ<br />
“วิวัฒนาการ”และสถาปัตยกรรมพุทธแห่ง “วงศ์ไพบูลย์เอเชีย”<br />
(Pan-Asian Buddhist Architecture) 63 ซึ่งมีทั้งแบบญี่ปุ่น-จีน<br />
แบบอินเดีย-ยุโรป และแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น อนุสาวรีย์<br />
โกโกกุโตะ วัดคาสุอิไซ (Gokokuto, Kasuisai) (1911) เป็น<br />
อนุสาวรีย์วีรชนทหารในสงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย ค.ศ. 1904-1905<br />
ในแบบเจดีย์ “คันธารราช”, โครงการวิหารชากุโอเด็น วัดซานเนจิ<br />
(Shakuoden, Sanneji) (1910-1911) เป็นวิหารแบบไทยที่ไม่ได้สร้าง,<br />
ประตูศาลเจ้าชื่อเทนรินมอน (Tenryn Mon Gate) (1911-1914),<br />
สถูปโฮอันโตะ วัดนิเซ็นจิ (Hoanto, Nissenji) (1918) สถูปแบบ<br />
“คันธารราช” บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากสยาม, สถูปโชเกียวเด็น<br />
วัดฮอกเกียวจิ (Shogyoden, Hokekyoji) (1931) สถูปแบบเดียว<br />
กับที่คาสุอิไซ (Kasuisai), วัดซึกิจิห้องกานจิ (Tsukiji Honganji)<br />
(1934) วิหารแบบอินเดียบนผังแบบคลาสสิครูปตัว E นอกจากนี้<br />
ยังมีศาลเจ้าและอาคารที่สร้างในแบบญี่ปุ่นได้แก่ ศาลเจ้าเฮอัน<br />
(Heian Shrine) (1895) ที่นครเกียวโต ออกแบบโดยจินตนาการ<br />
ตามหลักฐานจีนโบราณ, ศาลเจ้าเมจิ (Meiji Shrine) (1920) กรุง<br />
โตเกียว, กิออนคารุ (Gion Karu) (1927), อนุสาวรีย์เหยื่อแผ่น<br />
ดินไหวคันโต (Kanto) ใน ค.ศ. 1923 ที่กรุงโตเกียว (Tokyo Memorial<br />
Hall)(1930) มีผังคล้ายวัดไทยที่ห่อหุ้มด้วยอาคารแบบญี่ปุ่น<br />
อนุสาวรีย์โกโกกุโตะ วัดคาสุอิไซ เมืองฟูคุโรอิ (Fukuroi)<br />
จังหวัดชิสุโอกะ (Shizuoka) เป็นสถูปบรรจุอัฐิวีรชนทหารญี่ปุ่นที่<br />
พลีชีพในสงครามกับรัสเซีย (Russo-Japanese War) ระหว่าง<br />
ค.ศ. 1904-1905 จำนวน 80,000 คน ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตก<br />
หลังวัดคาสุอิไซ 64 สร้างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1911<br />
เป็นการใช้รูปแบบเจดีย์ศาสนาพุทธแบบคันธารราชเป็นครั้งแรก ๆ<br />
ของอิโตะ 65 ชื่อเจดีย์แปลว่าสถูปแห่ง “ผู้ปกป้องชาติบ้านเมือง”<br />
อนุสาวรีย์โกโกกุโตะ (1911)<br />
88 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เป็นความต้องการของพุทธศาสนิกญี่ปุ่นที่ต้องการนำ<br />
สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนามาเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการ<br />
เป็นอนุสรณ์สถานทหาร แทนที่จะถูกผูกขาดโดยศาสนสถานของ<br />
ลัทธิชินโตที่อุปถัมภ์โดยรัฐ อิโตะต้องการใช้รูปแบบเจดีย์แบบ<br />
คันธารราชแทนที่จะเป็น ถะ (pagoda) แบบจีน เพราะอิโตะเห็น<br />
ว่าต้นทางของศาสนาพุทธในญี่ปุ่นมาจากอินเดียผ่านจีน ถะหรือ<br />
สถูปจีน ไม่ได้แสดงให้เห็นรากฐานดั้งเดิมของศาสนาพุทธในอินเดีย<br />
เนื่องจากศาสนาพุทธเผยแพร่ไปยังนานาชาติ มีการนำรูปแบบ<br />
สถูปอินเดียไปใช้อย่างกว้างขวาง สถูปอินเดียจึงเป็นสัญลักษณ์<br />
ข้ามชาติ ข้ามนิกาย (transnational and trans-sectarian) 66<br />
ไม่ใช่ของชาติใดโดยเฉพาะ ศิลปะในศาสนาพุทธแบบคันธารราช<br />
เป็นการผสมของศิลปะกรีก มาเซโดเนียนกับศิลปะในศาสนาพุทธ<br />
ของอินเดีย ดังนั้นการลอกแบบศิลปะอินเดียของญี่ปุ่นจึงเป็น<br />
การกลับไปสู่ต้นกำเนิด ทำให้สถาปัตยกรรมพุทธของญี่ปุ่นเชื่อม<br />
กับกรีกยุคคลาสสิคได้ ศิลปะญี่ปุ่นจึงเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะตะวันตก<br />
มีพัฒนาการและเป็นศิลปะประเภทประวัติศาสตร์<br />
องค์เจดีย์โกโกกุโตะมีผังเป็นรูปกลมตั้งอยู่บนฐานประทักษิณ<br />
จัตุรัส 2 ชั้น 67 เรือนธาตุทรงกระบอกตั้งบนฐานบัวลูกแก้ว ลายสลัก<br />
บนผนังเรือนธาตุเป็นตารางสี่เหลี่ยมคล้ายรั้วมหาสถูปที่สาญจี<br />
มีประตูสี่เหลี่ยมกลางเรือนธาตุที่ด้านบนเป็นซุ้มประตูทรงโค้งเกือกม้า<br />
ปลายแหลมแบบอินเดียประยุกต์ องค์ระฆังเป็นทรงไข่ครึ่งใบ<br />
ผิวมีลายเป็นแถบแบบเส้นแวงดูคล้ายหลังคาโดมมุงด้วยโลหะ<br />
มากกว่าสถูปทรงระฆัง บัลลังก์ทึบเจาะช่องให้แสงเข้าภายในเรือน<br />
ธาตุซึ่งออกแบบเป็นห้องคูหาได้ปลียอดใหญ่มีปล้องไฉนแบบสถูป<br />
จีน-ทิเบต ประดับฉัตรที่ยอดแบบงานจีน-ทิเบต โครงสร้างเป็น<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กผิวประดับด้วยหิน ตกแต่งน้อยมาก มองภาพ<br />
รวมแล้วดูเป็นเจดีย์จีน-ทิเบตมากกว่าคันธารราช และมีกลิ่นไอของ<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเจือปนอยู่<br />
โครงการวิหารชากุโอเดน (Shakuoden) ที่วัดซานเนจิ<br />
(Sanneji) (1910) 68 และประตูศาลเจ้าชื่อเทนรินมอน (Tenryn Mon)<br />
(1911-1914) 69 ในโยโกฮามา โครงการนี้เป็นผลจากความสัมพันธ์<br />
ทางศาสนาระหว่างสยามกับญี่ปุ่นรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระบาท<br />
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของสยาม เมื่อทรง<br />
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสารีริกธาตุบางส่วนที่<br />
รัฐบาลอินเดียของอังกฤษทูลเกล้าถวายในเดือนมกราคม ร.ศ. 117 70<br />
(พ.ศ. 2441/ค.ศ. 1898) ให้กับคณะสงฆ์ญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน<br />
ร.ศ. 119 71 (พ.ศ. 2443/ร.ศ. 1900) ฝ่ายญี่ปุ่นจึงวางแผนการสร้าง<br />
ศาสนสถานเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ รวมทั้งอาคารอื่น ๆ<br />
ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่นั้นมา ส่วนหนึ่งของโครงการที่น่าสนใจมาก<br />
คือวิหารศากยมุนี(Sakyamuni Hall) หรือชากุโอเดน (Shakuoden)<br />
ที่ริเริ่มโดยภิกษุชื่อชากุโกเซ็น (Shaku Kozen) ผู้ไปศึกษาศาสนา<br />
พุทธแบบเถรวาทที่ศรีลังกาใน ค.ศ. 1887-1893 72 วางแผนสร้าง<br />
วัดซานเนจิในโยโกฮามา ตั้งใจจะให้เป็นวัดแบบสยามโดยเฉพาะ<br />
โดยมีอิโตะเป็นสถาปนิกในปีเมจิที่ 43 (1910) เดือนเมษายน<br />
ผังอาคารคล้ายวิหารแบบสยามคือเป็นรูปสี ่เหลี่ยมผืนผ้า<br />
มีโถงกลางที่มีเสาร่วมในและมีเฉลียง2 ข้างและวางอาคารตามแนวดิ่ง<br />
ที่ต่างจากงานของสยามแท้ ๆ คือมีมุขทางเข้าขนาดเล็กยื่นออกมา<br />
ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสองคล้ายวัดทางภาคเหนือของสยาม<br />
รูปลักษณะอาคารจัดได้ว่าเลียนแบบงานสยามโดยเฉพาะ เครื่องบน<br />
หลังคามีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์แบบไทยที่เพี้ยนไป น่าจะเป็นเพราะ<br />
อิโตะไม่ได้ฝึกหัดการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยอย่างแท้จริง<br />
รูปทรงหลังคาเป็นแบบปั้นหยายกจั่วที่มีคอสองสูง ใต้คอสอง<br />
มีหลังคาปีกนกคลุมรอบอีกชั้นหนึ่ง ดูคล้ายหลังคาสถาปัตยกรรม<br />
จีนมากกว่าสยาม โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วย<br />
แผ่นหิน น่าเสียดายว่าโครงการนี้ไม่เคยสำเร็จเป็นจริง ถึงแม้ว่า<br />
การออกแบบศาสนสถานแบบเถรวาทครั้งนี้จะไม่ได้สร้างจริง<br />
แต่อิโตะยังคงนิยมบางอย่างในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสยามอยู่<br />
เราจะเห็นความพยายามใช้ช่อฟ้า (ในแบบของเขา) อีกในการออกแบบ<br />
ประตูศาลเจ้าชื่อเทนรินมอน(1911-1914) ที่ช่อฟ้าถูกประยุกต์ให้ขมวด<br />
เป็นรูปวงกลมมีหางคล้ายเลข ๑ 73 ในภาษาไทยอย่างน่าดู<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
89
บนขวา โครงการวิหารชากุโอเดน วัดซานเนจิ (1910)<br />
บนขวา ผังพื้นวิหารชากุโอเดน วัดซานเนจิ<br />
ล่างซ้าย ประตูศาลเจ้าเทนรินมอน (1911-1914)<br />
ล่างขวา รูปด้านประตูศาลเจ้าเทนรินมอน<br />
90 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถูปโฮอันโตะ วัดนิสเซนจิ (1918)<br />
สถูปโฮอันโตะ (Hoanto) (1918) วัดนิสเซนจิ (Nissenji)<br />
เมืองนาโงยา (Nagoya) เป็นสถูปแบบคันธารราชองค์ที่ 2 ที่อิโตะ<br />
ออกแบบสืบเนื่องมาจากโครงการสร้างพระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ<br />
ที่คณะภิกษุญี่ปุ่นได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 แห่งสยามในเดือนมิถุนายน<br />
ร.ศ. 119 (พ.ศ.2443) (ค.ศ.1900) ในการนี้ได้ทรงพระกรุณา<br />
โปรดเกล้าฯ ให้พระยาฤทธิรงค์รณเฉทเป็นผู้อันเชิญพระสารีริกธาตุ<br />
ไปถึงญี่ปุ่นตั้งแต่วันที ่ 11 กรกฎาคม ร.ศ. 119 74 (ค.ศ. 1900)<br />
ซึ่งมีพิธีต้อนรับพระสารีริกธาตุอย่างใหญ่โตและคับคั่งด้วย<br />
พุทธศาสนิกชนญี่ปุ่นมาต้อนรับทุก ๆ เมืองที่เป็นเส้นทางอัญเชิญ<br />
ตั้งแต่เมืองนางาซากิ โกเบ โอซาก้า เกียวโต และนาโงยา ซึ่งเป็น<br />
จุดหมายปลายทาง ซึ่งคณะสงฆ์นิกายฮิกาชิ ฮองกานจิ (Higashi<br />
Honganji) โดยหัวหน้าคณะสงฆ์ฮิโอกิ โมกูเซน (Hioki Mokusen)<br />
เป็นผู้เลือกสถานที่ก่อสร้างพระสถูปที่วัดนิสเซนจิซึ่งหมายความว่า<br />
วัดญี่ปุ่น-สยาม อันเป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่พระบาท<br />
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้คณะสงฆ์ญี่ปุ่น<br />
มาก่อนหน้านี้แล้ว อิโตะได้รับมอบหมายให้ออกแบบพระสถูป<br />
ซึ่งเขาเลือกสถูปแบบคันธารราชอีกครั้งหนึ่ง พระสถูปสร้างเสร็จ<br />
ใน ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) เป็นพระสถูปฐาน 8 เหลี่ยมตั้งอยู่บน<br />
ฐานประทักษิณ 4 เหลี่ยม 2 ชั้น ชั้นล่างเตี้ย ชั้นบนยกสูงกว่าชั้นล่าง<br />
2 เท่า องค์พระสถูปเป็นเจดีย์กลมที่มีองค์ระฆังทรงสูงรูปร่างคล้าย<br />
ระฆังคว่ำแบบเจดีย์อยุธยา มีบัวปากฐานตามด้วยชุดบัวฐาน 3 ชั้น<br />
ล้อฐาน 8 เหลี่ยมลดหลั่นลงมาที่ฐาน เหนือองค์ระฆังเป็นบัลลังก์<br />
เล็กๆ รับฐานของปลียอดเจดีย์ที่มีลักษณะเหมือนฝักข้าวโพด มี<br />
ขนาดเล็กและสั้นเมื่อเทียบกับองค์ระฆัง ปลียอดประดับเครื่อง<br />
ตกแต่งเป็นลายฉลุรูปครึ่งวงกลมแบบพัดคลี่ห้อยกระดิ่งใบเล็กๆ ไว้<br />
ที่ปลายชายทั้งสองข้าง ยอดปลีเป็นแท่งโลหะเรียวเล็กสีทอง<br />
โครงสร้างสถูปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับแผ่นหิน จากภาพ<br />
รวมแล้วมีลักษณะแบบบางกว่า สถูปแห่ง “ผู้ปกป้องชาติบ้านเมือง”<br />
ที่เป็นเจดีย์แบบจีน-ทิเบต เพราะรับเอาทรงที่คล้ายคลึงเจดีย์แบบ<br />
สยาม-อยุธยาไปเป็นต้นแบบ การที่อิโตะยอมรับสถาปัตยกรรม<br />
สยามอธิบายได้จากแผนภูมิสถาปัตยกรรมวิวัฒนาการของเขา<br />
เพราะสยามเป็นหนึ่งในสมาชิกของวงสถาปัตยกรรมอินเดีย ในเมื่อ<br />
เขายอมรับสถาปัตยกรรมคันธารราชจึงไม่มีปัญหาในการยอมรับ<br />
สถาปัตยกรรมสยามในฐานะที่เป็นสถาปัตยกรรมสาขาของอินเดีย<br />
เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นที่วิวัฒนาการจากอินเดียผ่าน<br />
สถาปัตยกรรมจีนนั่นเอง<br />
ประเทศญี่ปุ่นในยุคไทโชต้องการเอกลักษณ์เพื่อเทียบชั้น<br />
มหาอำนาจตะวันตก เป็นอุดมคติที่เกิดขึ้นจากความเข้มแข็งทาง<br />
การเมือง-การทหารที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลงานสถาปัตยกรรมของ<br />
อิโตะในสมัยไทโชจึงมุ่งที่จะสร้างเอกลักษณ์ของความเป็นตะวันออก<br />
(Toyo) ของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ผ่านทฤษฎีสถาปัตยกรรมแบบ<br />
“วิวัฒนาการ” ขึ้นเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นกับสถาปัตยกรรมกรีกที ่เป็นต้นกำเนิดของสถาปัตยกรรม<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
91
ตะวันตก ทั้งนี้เพียงเพื่อจะยืนยันว่าสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นมี<br />
รากฐานมาจากวัฒนธรรมที่ศิวิไลซ์เช่นเดียวกับยุโรปและอเมริกา<br />
แต่ในทางปฏิบัติแล้วอิโตะทำได้เพียงการหยิบยืมรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมทางศาสนาของอินเดีย จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />
(เช่น สยาม เป็นต้น) มาประยุกต์ใช้แบบผสมผสาน แล้วใช้ทฤษฎี<br />
ของเขาอธิบายว่ามันเป็นวิวัฒนาการไม่ใช่การลอกแบบของโบราณ<br />
ในฐานะที่ศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมอย่างลึกซึ้งอิโตะ<br />
มีความสามารถในการเลือกแบบสถาปัตยกรรมโบราณมากกว่า<br />
สถาปนิกทั่วไป เขาเป็นผู้ริเริ่มใช้สถูปทรงระฆังเป็นสถาปัตยกรรม<br />
สำหรับอนุสรณ์สถาน โดยมีแนวคิดว่าสถูปทรงระฆังในศิลปะ<br />
“คันธารราช” ของอินเดียเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นสากลของ<br />
เอเชียมากกว่าเจดีย์ไม้ทรงสี่เหลี่ยมเป็นชั้นๆ แบบญี่ปุ่นโบราณที่ดู<br />
ใกล้เคียงแบบของจีนมากกว่า อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าสถูปแต่ละ<br />
องค์ที่เขาออกแบบล้วนแต่มีลักษณะเฉพาะ ขึ้นกับความเป็นมาและ<br />
วัตถุประสงค์ในการสร้างที่แตกต่างกัน เช่น สถูปสำหรับวีรชนทหาร<br />
เขาเลือกแบบ “คันธารราช” ที่แสดงความเป็นสากล (แต่ความจริง<br />
ดูเป็นเจดีย์แบบจีน-ทิเบต) มากกว่า ขณะเดียวกันสถูปประดิษฐาน<br />
พระสารีริกธาตุจากสยาม อิโตะก็เลือกใช้สถูปสยาม-อยุธยา เป็นต้น<br />
ในยุคไทโชนี้อิโตะได้ความยอมรับในฐานะสถาปนิก นักทฤษฎีและ<br />
นักวิชาการประวัติศาสตร์ที่สำคัญที ่สุดคนหนึ่งของฝ่ายชาตินิยม<br />
ญี่ปุ่น เขาถูกเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินงานประกวดแบบ<br />
สถาปัตยกรรมสำคัญระดับชาติเกือบทุกงานที่ต้องการถามหา<br />
เอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นที่ทุกวงการต้องฟัง หลังยุคไทโชเขายัง<br />
ทำงานต่อเนื่องต่อไปทั้งงานวิชาการและการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />
ตามแนวคิดสถาปัตยกรรมตะวันออกที่ “วิวัฒนาการ” ในยุคโชวะที่<br />
กระแสลมของลัทธิชาตินิยมและทหารนิยมกำลังโหมรุนแรงขึ้น<br />
เรื่อยๆ<br />
92 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผังพื้นบริษัทประกันชีวิตนิสชินไลฟ์<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน ประติมากรรมนูนต่ำสถูปแบบคันธารราช<br />
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-3<br />
กลาง บริษัทประกันชีวิตนิสชินไลฟ์ (1917)<br />
ล่าง รูปด้านบริษัทประกันชีวิตนิสชินไลฟ์<br />
สถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิ (ไทคันโยชิกิ)<br />
(Teikan Yoshiki)<br />
ความจริงแล้วอาคารที่ต้องการแสดงรูปธรรมของอัตลักษณ์<br />
แห่งชาติญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ปลายยุคเมจิดังกล่าวมาแล้วอาคารเหล่านี้<br />
ใช้ผังแบบคลาสสิครูปตัว E เป็นพื้น ผนังอาคารนำลักษณะฝา<br />
อาคารญี่ปุ่นโบราณมาประยุกต์ใช้ ส่วนหลังคาแสดงลักษณะของ<br />
หลังคาอาคารญี่ปุ่นโบราณอย่างชัดเจน ตัวอย่างของอาคารแบบนี้<br />
ในยุคเมจิได้แก่ศาลากลางจังหวัดนารา (Nara Prefectural Office) 75<br />
(1895) โดยนากาโน ยูเฮอิจิ (Nagano Uheiji) ที่อ้างว่าออกแบบ<br />
ด้วยคำสั่งของทางการที่ต้องการให้อาคารสอดคล้องกับอาคาร<br />
ประวัติศาสตร์ที่มีอยู่อย่างมากมายในเมืองนั้น 76 และธนาคารคังเกียว<br />
(Kangyo Bank) (1899) โตเกียว โดยซึเมกิ โยรินากะ และทาเคดะ<br />
โกอิชิ (Takeda Goichi) มีผังเป็นรูปตัว H และใช้ลักษณะการ<br />
ออกแบบเหมือนกับอาคารแรก ชาตินิยมในสถาปัตยกรรมนอกจาก<br />
เป็นผลมาจากการทำสงครามชนะจีนใน ค.ศ. 1895 และสงคราม<br />
ชนะรัสเซียใน ค.ศ. 1905 แล้ว ในทางวิชาการสมาคมสถาปนิกญี่ปุ่น<br />
(Architectural Institute of Japan) (AIJ) ได้จัดการโต้วาที2 ครั้งใน<br />
ค.ศ. 1910 ในหัวข้อ “จะสร้างสรรค์ลักษณะแห่งชาติของ<br />
สถาปัตยกรรมสำหรับอนาคตได้อย่างไร” ทัตสุโนะ คิงโกะประธาน<br />
การโต้วาทีกล่าวสรุปว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่ารูปแบบของสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นจะพัฒนาไปในแนวสถาปัตยกรรมยุโรป ในลักษณะที่ตัวอาคาร<br />
ห่อหุ้มด้วยลวดลายตกแต่งตามศิลปะโบราณของเรา” 77 สถาปนิก<br />
ที่เดินตามแนวทางนี้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานทฤษฎี<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
93
ประวัติศาสตร์แบบอิโตะ ก็สามารถออกแบบสถาปัตยกรรมแบบนี้<br />
ได้ ประจวบกับแนวคิดชาตินิยมที่รุนแรงขึ้นดังกล่าวทำให้สถาปนิก<br />
ชาตินิยมผลิตงานแบบนี้ออกมามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น<br />
อาคารบริษัทประกันชีวิตนิสชินไลฟ์ (Nisshin Life Insurance<br />
Corporation) (1917) โตเกียว โดยสถาปนิกฮาชิโมโต ชินสุเกะ<br />
(Hashimoto Shunsuke) เป็นอาคารโครงสร้างไม้ 3 ชั้น ผนังไม้<br />
ทำสีเลียนอิฐก่อ 78 อาคารคลังสมบัติหรือโฮบุตสุเดน (Treasure<br />
House (Hobutsu den)) (1921) แห่งศาลเจ้าเมจิ (Meiji Shrine)<br />
โตเกียว สถาปนิกโอเอะ ชินตาโร (Ohe Shintaro) เป็นอาคารแบบ<br />
มงกุฎจักรพรรดิที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้ ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าชั้นเดียว<br />
ยกใต้ถุนสูง หลังคาจั่วจันทันโค้งแบบศาลเจ้าญี่ปุ่น โครงสร้าง<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังแต่ทำผนังเป็นลายเส้นเลียนแบบไม้ซุง<br />
เรียงตามนอนตามอย่างกระท่อมไม้ซุงพื้นถิ่นโบราณของญี่ปุ่น<br />
ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของมีค่าของศาลเจ้าเมจิ โรงละครคาบูกิซา<br />
(Kabukiza Theatre) (1925) โตเกียว โดยโอกาดะ ชินอิชิโร<br />
บน คลังสมบัติแห่งศาลเจ้าเมจิ (1921)<br />
ล่าง ผังพื้นคลังสมบัติแห่งศาลเจ้าเมจิ<br />
94 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(Okada Shin’ichiro) เป็นโรงละครคาบูกิขนาดใหญ่สูง 3 ชั้น จุด<br />
เด่นของอาคารเป็นหลังคาจั่วขนาดใหญ่มีปีกนกเรียงต่อกัน 3 จั่ว<br />
ทางด้านสกัด ผนังมีเสาอิงแบบญี่ปุ่นรับเต้าชายคาแบบหลังคา<br />
ญี่ปุ่นโบราณ แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงส่วนประดับ เพราะ<br />
โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขณะที่หลังคาโครงเหล็ก<br />
ทรัสช่วงกว้างคลุมเวทีและส่วนที่นั่งผู้ชมโดยไม่มีเสากลาง<br />
อาคารสมัยใหม่ที่มีหลังคาแบบโบราณนี้บางครั้งก็เรียกว่า<br />
“อาคารหลังคาญี่ปุ่น” (yane no aru) 79 ซึ่งใช้เรียกอาคารทั่ว ๆ ไป<br />
ชื่อแบบว่ามงกุฎจักรพรรดิ(Teikan Yoshiki) ซึ่งมีความหมายสูงส่ง<br />
ถึงของหลวงน่าจะหมายถึงลักษณะการออกแบบที่ใช้องค์ประกอบ<br />
ของพระราชวังมาประยุกต์เช่นที่คลังสมบัติ (โฮบุตสุเดน) ของศาลเจ้า<br />
เมจิเป็นครั้งแรก แต่สมัยนั้นก็ยังไม่ได้เรียกเช่นนี้ ชื่อแบบนี้<br />
นักวิชาการรุ่นหลังจากนั้นสร้างขึ้นมาหลังจากมีอาคารคลังสมบัติ<br />
ของศาลเจ้าเมจิแล้ว ตำราหลายเล่มชี้ว่าศาลาว่าการจังหวัดคานากาว่า<br />
(Kanagawa Prefectural Office) (1926-1928) ในรัชสมัยโชวะ<br />
เป็นอาคารหลังแรกที่ถูกเรียกด้วยชื่อแบบนี้80<br />
รัฐสภาชั่วคราวหลังที่ 1 (1890)<br />
การประกวดแบบรัฐสภาแห่งชาติ (ไดเอท) (Diet): ความลังเลใจ<br />
ในการประกาศรูปธรรมอัตลักษณ์แห่งชาติ (1918-1936)<br />
โครงการออกแบบรัฐสภาแห่งชาติเริ่มตั้งแต่ปลายรัชสมัยเมจิ<br />
ในทศวรรษ 1880 มันไม่ใช่เป็นเพียงอาคารที่ประชุม แต่เป็นสถานที่<br />
ที่เป็นสัญลักษณ์ของความศิวิไลซ์ของชาติ มีความสำคัญถึงกับ<br />
รัฐบาลต้องจ้างสถาปนิกเยอรมันระดับนานาชาติ เช่น เอนเดอร์<br />
และบ๊อคมานน์มาออกแบบ สถาปนิกเสนอแบบที่มีลักษณะ<br />
นีโอคลาสสิคแบบหนึ่งกับอีกแบบหนึ่งที่ผสมระหว่างคลาสสิค<br />
ที่คลุมด้วยหลังคาแบบญี่ปุ่นให้รัฐบาลเลือก แต่รัฐบาลก็ตัดสินใจ<br />
ไม่ได้ว่าตัวแทนรูปธรรมของ “อัตลักษณ์ชาติญี่ปุ่น” ควรเป็นแบบ<br />
ตะวันตก หรือญี่ปุ่น หรือผสมผสาน ซึ่งปัญหานี้เป็นรากฐานสำคัญ<br />
ในการค้นหาตัวตนใหม่ให้กับชาติญี่ปุ่นยุคใหม่ของศตวรรษที่ 20<br />
ที่ต้องทันสมัยและขณะเดียวกันไม่ละทิ้งจารีตประเพณี นอกจากนี้<br />
องค์กรสาธารณะก็มีการพูดถึงความเหมาะสมที่อนุญาตให้สถาปนิก<br />
ต่างชาติมาออกแบบอาคารสำคัญของชาติตนเอง ทำให้การก่อสร้าง<br />
ไม่เกิดขึ้นเสียที อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า<br />
โดยการสร้างอาคารรัฐสภาชั่วคราวขึ้นมาใช้รองรับการมีรัฐสภา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
95
บน ผังพื้นรัฐสภาชั่วคราวหลังที่1<br />
ล่าง รัฐสภาชั่วคราวหลังที่2 (1891)<br />
ตามรัฐธรรมนูญฉบับแรกใน ค.ศ. 1890 รัฐสภาชั่วคราวนี้สร้างด้วยไม้<br />
ที่ดูเหมือนโบสถ์ในชนบทยุโรป 2 หลังเรียงต่อกัน โชคร้ายที่<br />
มันอยู่ได้ไม่ถึงปีก็ถูกไฟไหม้ในปีต่อมา ทำให้มีการสร้างรัฐสภา<br />
ชั่วคราวหลังที่ 2 ที่มีรูปแบบเหมือนอาคารหลังแรกใน ค.ศ. 1891<br />
และอาคารก็ถูกไฟไหม้หมดไปอีกใน ค.ศ. 1925 ในระหว่างนั้น<br />
ใน ค.ศ. 1910 สถาบันสถาปนิกจัดการโต้วาทีเรื่องแบบที่เหมาะสม<br />
ของชาติในอนาคต ประเด็นใหญ่ก็คือการหารูปแบบที่เหมาะสม<br />
ให้กับรัฐสภา บ้างก็เสนอให้เป็นแบบตะวันตกบ้างก็ให้เป็นแบบประเพณี<br />
และบ้างก็ให้เป็นแบบผสม ในประเด็นของแบบจึงไม่มีการตกลง<br />
ที่เห็นร่วมกันคืออาคารนี้ควรจะเป็นสื่อของ “อุดมคติของญี่ปุ่น”<br />
นั่นทำให้เหลือทางออกเดียวคือการจัดประกวดแบบโดยกระทรวง<br />
การคลังเป็นเจ้าภาพใน ค.ศ. 1918 ในรัชสมัยไทโช มีผู้ส่งงาน<br />
เข้าประกวดถึง 118 โครงการ มีผู้เข้ารอบ 20 โครงการ คณะกรรมการ<br />
ตัดสินให้งานของฟูคุโซ วาตานาเบ (Fukuzo Watanabe) ได้รับ<br />
รางวัลที่1 งานของวาตานาเบเดินตามแนวของเอนเดอร์และบ๊อคมานน์<br />
คือผังเป็นแบบรูปตัว E แต่ใหญ่กว่า ประกอบด้วย 3 มุขและ<br />
96 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน แบบชนะเลิศประกวดรัฐสภา<br />
(1918)<br />
ล่าง รัฐสภาแบบมงกุฎจักรพรรดิ<br />
สังเคราะห์ (1918-1919)<br />
2 สนามภายใน มุขกลางเป็นห้องโถง มุขซ้ายและขวาเป็น<br />
ห้องประชุมสภาสูงและสภาผู้แทนราษฎร 81 ลักษณะอาคารเป็นแบบ<br />
นีโอคลาสสิค มุขกลางมีหลังคาจั่ววิหารกรีกมีเสาลอยตัวรับ 6 ต้น<br />
เช่นเดียวกับมุขซ้ายและขวาแต่ต่างกันที่มุขทั้งสองเป็นหลังคาตัด<br />
อาคารมีจุดเด่นที่กลางอาคารหลังมุขหน้าเป็นหอคอยสูงใหญ่<br />
คลุมด้วยโดม ดูคล้ายงานแบบบายเซนไทน์(Byzentine) แต่กลับ<br />
ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องสร้างจริงคณะกรรมการกลับเห็นว่างาน<br />
โบราณเกินไป จึงจัดการแปลงแบบให้เรียบง่ายโดยตัดลวดลาย<br />
คลาสสิคออกไปหมด ส่วนหอคอยแก้ไขโดยเอาโดมออกแล้ว<br />
ใส่หลังคาปิรามิดแบบขั้นบันไดลงไปแทน ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากแบบ<br />
ของโครงการที ่ได้รางวัลที่ 3 ของทาเกอุชิ ชินชิชิ (Takeuchi<br />
Shinshichi) 82 คณะกรรมการอธิบายว่านี่คือสถาปัตยกรรมแบบ<br />
สมัยใหม่ (modern) ทั้งนี้ก็เพื่อจะแสดงจุดยืนที่ชัดเจนของคณะ<br />
กรรมการที่สะท้อนเป็นรูปธรรมว่าแบบต้องไม่โบราณ เพราะคณะ<br />
กรรมการได้ปฏิเสธแบบโบราณอีกแบบหนึ่งที่สถาปนิกคิคูทาโร<br />
ชิโมดะ (Kikutaro Shimoda) ยื่นเสนอใน ค.ศ. 1918-1919<br />
อ้างว่าแบบรัฐสภาควรเชื่อมโยงกับความบริสุทธิ์ของสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นโบราณ ดังนั้นจึงเสนอแบบอาคารที่มีเรือนร่างเป็นแบบ<br />
คลาสสิค แม้กระทั่งมุขกลางยังมีหลังคาจั่ววิหารกรีกรับโดยเสา<br />
ลอยตัวแบบกรีกถึง 10 ต้น แต่บนหลังคากลับเอาปราสาทแบบญี่ปุ่น<br />
โบราณมาตั้งไว้ทั้ง 3 มุข เขาเรียกงานตัวเองว่าเป็นแบบมงกุฎ<br />
จักรพรรดิสังเคราะห์หรือไทคัน ไฮโกชิกิ (Teikan heigo shiki)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
97
บน รัฐสภาไดเอท (1920-1936)<br />
ล่าง House of the Temple (1911-1915) วอชิงตันดีซี<br />
98 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
(Imperial crown synthesis style) และนี่คือที ่มาภายหลังของ<br />
คำว่าทรงมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิดังที่กล่าวมาแล้ว<br />
ที่แปลกคืองานอนุรักษ์นิยมแบบนี้กลับถูกอิโตะ ชูตะนักวิชาการ<br />
ชาตินิยมวิจารณ์ว่าไร้คุณค่า ทำลายทั้งหลักการของคลาสสิค<br />
และญี่ปุ่นโบราณ แบบของคิคูทาโรจึงไม่ได้รับการเหลียวแลทั้งจาก<br />
ฝ่ายรัฐสภาและรัฐบาล<br />
สำหรับแบบรัฐสภาที่ถูกแปลงเพื่อสร้างจริงนั้น หลังคาแบบ<br />
พีระมิดขั้นบันไดก็ไม่ได้แสดงความทันสมัยอะไรเลย แบบหลังคา<br />
ชนิดนี้คล้ายกับอาคารสุสานแห่งฮาลิคาร์ฮาสซุส (Mausoleum at<br />
Halicarhassus) 83 (353-350 B.C.) ในสมัยกรีกโบราณ ซึ่งเป็นแบบ<br />
อย่างให้สถาปนิกต้นศตวรรษที่ 20 เลียนแบบไปสร้างไว้หลายที่<br />
เช่น House of the Temple (1911-1915) ในกรุงวอชิงตันดีซี<br />
สหรัฐอเมริกา โดยสถาปนิกจอห์น รัสเซลล์ โป๊ป (John Russell<br />
Pope) และศาลาว่าการเมืองลอสแองเจลลีส (Los Angeles City<br />
Hall) (1926-1928) โดยออสติน พาร์กินสันและมาร์ติน (Austin<br />
Parkinson & Martin) อาคารทั้งสองต่างเป็นอาคารร่วมสมัยที่<br />
สร้างก่อนรัฐสภาไดเอทเล็กน้อย ส่วนรัฐสภาไดเอทเองเริ่มสร้าง<br />
ใน ค.ศ. 1920 และสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1936 โดยเรียกกันว่าเป็น<br />
อาคารแบบสมัยใหม่ (modern) สาธารณชนไม่มีคำวิจารณ์แบบ<br />
อาคารนี้ว่าได้สะท้อนเอกลักษณ์แห่งชาติไว้ที่ใดบ้าง ทั้งๆ ที่ตลอด<br />
เวลาที่ผ่านมาเรื่องนี้เป็นประเด็นหลักของปรัชญาการออกแบบ<br />
แต่สาธารณชนกลับกล่าวถึงความสำเร็จของอาคารในเชิงวัตถุที่<br />
จับต้องได้ เช่น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในการ<br />
ก่อสร้าง การใช้วัสดุภายในประเทศหรือขนาดอันใหญ่โตมโหฬาร<br />
เป็นต้น 84<br />
รัฐสภาแห่งชาติเป็นการก่อสร้างที่ยาวนานและลงทุน<br />
มากมายทั้งเวลา ความคิด ทรัพยากร รูปแบบอาคารคัดเลือก<br />
กันมาตั้งแต่สมัยเมจิจนมาลงตัวในสมัยไทโช ซึ่งสับสนมาตลอดว่า<br />
จะเอาแบบตะวันตกหรือแบบญี่ปุ่นดี ในที่สุดก็ได้แบบตะวันตก<br />
ที่ดาษดื่นเป็นผลสรุป แต่แล้วกลับมาสร้างเสร็จในสมัยโชวะช่วง<br />
ทศวรรษที่ 1930 ที่พายุชาตินิยมและทหารนิยมโหมกระหน่ำ<br />
อาคารจึงไม่ได้รับการตอบรับเชิงบวกอะไรนักหนาเพราะมันไม่ได้<br />
ตอบสนองความต้องการของลัทธิชาตินิยมสุดขั้วในขณะนั้น<br />
ซ้ำร้ายยังสร้างความสับสนให้กับคนญี่ปุ่นเองว่า ความเข้าใจใน<br />
อัตลักษณ์ของชาติตนนั้น ความจริงมันแกว่งไปมาตลอดครึ่งศตวรรษ<br />
ที่ผ่านมา<br />
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัยไทโช<br />
ในภาพกว้างเราเห็นสถาปัตยกรรมที่สร้างจากเทคโนโลยีและ<br />
วัสดุที่ก้าวหน้าคืออาคารโครงสร้างเหล็กและคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานการศึกษาที่เข้มแข็งทั้งระดับพื้นฐานและ<br />
อุดมศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมของภาควิชา<br />
วิศวกรรมอาคาร ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
ผลงานของสถาปนิกในการออกแบบและวางผังอาคารโดยทั่วไป<br />
แล้วแม้ว่าจะยังไม่ทัดเทียมกับยุโรปและอเมริกาได้ แต่ก็นับว่าใกล้<br />
เคียงในทุกชนิดและประเภทอาคาร เรื่องเฉพาะที่น่าสนใจเป็นพิเศษ<br />
ในยุคนี้คือการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรม 2 แบบสำคัญคือ<br />
แบบชาตินิยมและแบบสมัยใหม่ของสถาปนิก 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นผล<br />
สะท้อนทางสังคม-การเมืองภายในญี่ปุ่นเอง ระบอบรัฐธรรมนูญ<br />
กึ่งประชาธิปไตยเปิดกว้างให้ปัญญาชนมีเสรีภาพพอสมควรที่จะนำ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มาให้ญี่ปุ่น เช่น กลุ่มบุนริฮาและกลุ่มโซชา<br />
เป็นต้น ขณะเดียวกันลัทธิชาตินิยมทหารนิยม และลัทธิขยายดินแดน<br />
ทำให้สถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการของ อิโตะ ชูตะ เป็นที่ยกย่อง<br />
และยังมีสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นประยุกต์ใส่หลังคาแบบวัดโบราณ<br />
ที่เรียกว่าแบบมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิเติบโตแพร่หลาย<br />
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการออกแบบของสถาปนิกทั้ง 2 กลุ่มล้วนใช้“ทฤษฎี”<br />
เป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนการออกแบบ กลุ่มบุนริฮาและกลุ่มโซชา<br />
ประกาศตัวเป็นพวกสากลนิยม พวกเขาต้องการสถาปัตยกรรม<br />
ที่ใช้หลักเหตุผลและประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น ละทิ้งสถาปัตยกรรม<br />
โบราณทุกชนิด นั่นคือคำตอบของสังคมญี่ปุ่นสมัยใหม่<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
99
ขณะเดียวกันฝ่ายชาตินิยมที่นำโดยอิโตะ ชูตะมีความพยายาม<br />
อย่างสูงสุดที่จะพัฒนาสถาปัตยกรรมโบราณไปสู่รูปแบบที่จะใช้ได้<br />
กับยุคปัจจุบันโดยผ่านกระบวนการ “วิวัฒนาการ” ซึ่งเป็นการออกแบบ<br />
ที่อาศัยการเรียนรู้พัฒนาการของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
เชื่อมโยงกับสถาปัตยกรรมของเอเชียและกรีก การศึกษาของอิโตะ<br />
ทำให้ญี่ปุ่นมีความรู้ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่เข้มแข็ง<br />
แม้ว่าอิโตะจะวิเคราะห์ประวัติศาสตร์อย่างเข้าข้างตนเอง<br />
และชาตินิยมจัดก็ตาม และในที่สุดผลงานที่อิโตะผลิตขึ้นมาก็<br />
หนีไม่พ้นวิธีการประสมประสานรูปแบบโบราณของชาติต่างๆ<br />
และยุคต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ได้ต่างจากอาคารชาตินิยมแบบมงกุฎ<br />
จักรพรรดิไปสักเท่าไร และอาคารแบบชาตินิยมทั้งสองพวกนี้<br />
ต่างเป็นฐานอ้างอิงให้กับอาคารชาตินิยมที่ยิ่งขาดการสร้างสรรค์<br />
ในรัชสมัยถัดไป<br />
งานรัฐสภาแห่งชาติ (ไดเอท) เป็นงานที่ตั้งแต่เริ่มต้นก็<br />
ต้องการให้เป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าและตัวแทน<br />
ความเป็นญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน แต่ด้วยความลังเลในการคัดเลือก<br />
แบบหลายครั้งในระยะเวลาที่เนิ่นนาน ทำให้ผลสุดท้ายอาคารนี้<br />
ไม่ได้แสดงความก้าวหน้าของยุคสมัยและไม่สามารถเป็นตัวแทน<br />
ความเป็นญี่ปุ่นได้จึงกลายเป็นคำถามว่าสุดท้ายแล้วรัฐสภาแห่งชาติ<br />
เป็นสัญลักษณ์ของความสับสนในอัตลักษณ์ของญี่ปุ่นต่างหาก<br />
หรือไม่ อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมต่างแบบต่างความคิดใน<br />
ยุคไทโชแสดงลักษณะร่วมของสถาปนิกญี่ปุ่นว่า พวกเขาแม้จะมี<br />
แนวคิดแตกต่างคนละขั้วแต่ต่างมีความพยายามอย่างหนัก<br />
ที่จะก้าวข้ามจากการเลียนแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคเมจิ<br />
มาสู่การค้นหาอัตลักษณ์ของตนเองในยุคไทโช โดยต่างมีทฤษฎี<br />
ชี้นำที่อยู่บนรากฐานของการศึกษาอย่างหนักหน่วงทาง<br />
ประวัติศาสตร์และทฤษฎีสถาปัตยกรรม แม้จะไม่เห็นผลสำเร็จ<br />
ทางรูปธรรมที่ชัดเจนนักในตอนนี้ แต่ผลดีจะบังเกิดขึ้นหลังญี่ปุ่น<br />
ผ่านพ้นยุคชาตินิยม-ทหารนิยมและจักรวรรดินิยมในช่วงทศวรรษ<br />
ที่ 1930-1940 หรือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วเท่านั้น<br />
100 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รัชสมัยโชวะ (Showa period)<br />
ตั้งแต่เริ่มรัชสมัยจนถึงสิ้นสุด<br />
สงครามโลกครั้งที่ 2<br />
(1926-1945)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
ช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 20 ปี ของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น<br />
ตอนนี้เป็นเหตุการณ์ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของชาตินี้<br />
ยิ่งกว่าสมัยเมจิเสียอีก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ระบอบประชาธิปไตย<br />
แก้ไขให้ทันใจมวลชนไม่ได้ นำไปสู่ลัทธิชาตินิยมคลั่งชาติและ<br />
ลัทธิทหารนิยม ที่เสนอทางออกที่รวบรัดรุนแรง การใช้อำนาจ<br />
เผด็จการและการทำสงครามกับต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาภายใน<br />
นำมาซึ่งความพึงพอใจของมวลชนที่ตกอยู่ในภาวะหลงทาง<br />
ในตอนแรก แต่กลับตามมาด้วยสงครามใหญ่และความพินาศ<br />
เสียหายของชาติและประชาชนในตอนจบ<br />
จักรพรรดิโชวะ (1901-1989)<br />
การที่รัฐบาลออกกฎหมายให้ชายทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง<br />
ใน ค.ศ. 1925 นั้น เปรียบเสมือนพรที่เจือด้วยค ำสาป เพราะกฎหมาย<br />
ความมั่นคงที่ออกควบคู่มาด้วยนั้นเป็นตัวทำลายเสรีภาพส่วนบุคคล<br />
ที่นำไปสู่ลัทธิชาตินิยมและทหารนิยม กระทรวงศึกษาธิการได้จัด<br />
พิมพ์หนังสือหลักการแห่งชาติ(Kokutai no Hongi) ในเดือนมีนาคม<br />
ค.ศ. 1937 หนังสือหนา 137 หน้านี้รวบรวมคำสั่งสอนฉบับทางการ<br />
เกี่ยวกับรัฐแห่งญี่ปุ่น (Kokutai) ทั้งนโยบายภายในประเทศ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
101
นโยบายต่างประเทศ วัฒนธรรมและอารยธรรม 85 ที่ชี้ให้เห็นว่า<br />
ทุกคนต้องสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อชาติ ที่ตนเป็นส่วนประกอบ<br />
หนึ่งอย่างแยกกันไม่ได้และชนชาติญี่ปุ่นนั้นแตกต่างและสูงส่งกว่า<br />
ทุกชนชาติในโลก 86 ขณะที่ปัจจัยภายนอกการประชุมที่วอชิงตันใน<br />
ค.ศ. 1921 อันเนื่องมาจากความก้าวร้าวของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย<br />
ได้กำหนดจำนวนกองเรือรบอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นไว้ที่<br />
อัตราส่วน 5 : 5 : 3 ทำให้พวกขวาจัดที่ไม่พอใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว<br />
ได้ปะทุยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายการอพยพ<br />
เข้าเมืองใน ค.ศ. 1924 ได้รวมเอาญี่ปุ่นเข้าไปด้วยเช่นเดียวกับ<br />
ชาติเอเชียอื่นๆ ทำให้มวลชนเคลื่อนไหวต่อต้าน และเสนอให้สร้าง<br />
กองทัพให้เข้มแข็งขึ้นไปอีก ช่วง ค.ศ. 1927-1932 เป็นช่วงเวลาแห่ง<br />
ความวิกฤตทั้งเศรษฐกิจและการเมือง เริ่มด้วยวิกฤตการณ์ธนาคาร<br />
ใน ค.ศ. 1927 ตามด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำใน ค.ศ. 1930-1932<br />
ซึ่งมาจากสาเหตุภายในที่สะสมร่วมด้วยสาเหตุภายนอก ราคา<br />
สินค้าตกต่ำการส่งออกลดลงถึง 50% การว่างงานลุกลามไปทั่วทั้ง<br />
ในเมืองและชนบท ความไม่สงบเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า นอกจากนี้<br />
สนธิสัญญากองกำลังนาวีแห่งลอนดอน (London Naval Treaty)<br />
ใน ค.ศ. 1930 ปรับปรุงอัตราส่วนจำนวนเรือรบของ 3 ชาติเป็น<br />
10 : 10 : 7 แม้จะได้อัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ญี่ปุ่นยังไม่พอใจและ<br />
เรียกร้องให้เป็น 5:4 ในเรื่องเรือขนาดใหญ่ แต่ผลการเจรจาไม่เป็น<br />
ที่พอใจของพวกขวาจัด นำมาซึ่งการลอบสังหารนายกรัฐมนตรี<br />
ฮามากูชิ โอซาชิ (Hamaguchi Osachi) ในเดือนพฤศจิกายน<br />
ค.ศ. 1930 ทำให้เขาเสียชีวิต ต่อมาใน ค.ศ. 1931 รัฐบาลพลเรือน<br />
ไม่สามารถควบคุมความวุ่นวายของฝูงชนได้เป็นเหตุให้พวกทหาร<br />
ได้ใจดำเนินการโดยอิสระจากรัฐบาล ถือโอกาสใช้กำลังเข้ายึดครอง<br />
แมนจูเรียใน ค.ศ. 1931 นั่นเอง โดยอ้างเหตุผลว่าทางรถไฟของ<br />
ญี่ปุ่นถูกวางระเบิด ทหารญี่ปุ่นยึดแมนจูเรียได้หมดและตั้งรัฐบาล<br />
หุ่นเชิดแมนจูกัว (Manchukuo) การรุกรานของญี่ปุ่นถูกต่อต้านใน<br />
ที่ประชุมสันนิบาตชาติ ซึ่งญี่ปุ่นไม่สามารถยอมรับได้ จึงถอนตัว<br />
จากสันนิบาตชาติใน ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นผลจากการลงมติของ<br />
รัฐสภาแห่งชาติที่ถูกครอบงำโดยเหล่านายพล การถอนตัวจาก<br />
สันนิบาตชาติทำให้ญี่ปุ่นโดดเดี่ยวไร้พันธมิตร ขณะที่ภายใน<br />
ประเทศมวลชนกำลังคลั่งไคล้ในลัทธิชาตินิยม ผู้นำท้องถิ่น เช่น<br />
นายอำเภอ ครู พระชินโตถูกเกณฑ์โดยกลุ่มรักชาติต่างๆ เพื่อไป<br />
ปลุกระดมมวลชนด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่ง (ultranationalism)<br />
จนกระทั่งคนเหล่านี้ก่อการจลาจลและสังหารบุคคล<br />
สำคัญทางการเมืองอย่างร้ายแรงถึง 2 ครั้งใน ค.ศ. 1932 โดยครั้งแรก<br />
เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ “กลุ่มสัตยาบันเลือด” (Ketsumeidan)<br />
(League of Blood) ปลุกระดมชาวนาให้สังหารนักการเมืองและ<br />
นักธุรกิจ ทำให้อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ต่อต้าน<br />
พฤติกรรมทหารในกรณีแมนจูเรียถูกสังหาร ในเดือนพฤษภาคม<br />
พวกทหารเรือหนุ่มบุกสังหารนายกรัฐมนตรีอินูกาอิ ซึโยชิ (Inukai<br />
Tsuyoshi) เพื่อหวังให้เกิดรัฐประหาร แต่ก็ไม่เกิดรัฐประหารและ<br />
พวกผู้ก่อการถูกปราบลงได้ แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารบก<br />
กลับแสดงความเห็นใจผู้ก่อการและมีการปล่อยตัวตามมา<br />
เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าการปกครองในระบอบพรรคการเมืองของ<br />
ญี่ปุ่นได้ล่มสลายลงแล้ว<br />
จาก ค.ศ. 1932-1936 ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยพวกนายพล<br />
โดยมีพวกนายพันคอยกระทำการรุนแรงทางการเมืองด้วยการ<br />
ลอบสังหารบุคคลสำคัญเป็นระยะๆ วิกฤตการณ์พัฒนามาถึง<br />
จุดสูงสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936 ทหารขวาจัด<br />
1,500 คน เดินขบวนไปตามถนนกลางกรุงโตเกียว เพื่อสังหาร<br />
บุคคลสำคัญในรัฐบาลเพื่อจัดตั้ง “การปฏิรูปโชวะ” แต่นายกรัฐมนตรี<br />
โอกาดะ ไคสุเกะ (Okada Keisuke) รอดไปได้การก่อกบฏถูกสั่งให้เลิก<br />
โดยจักรพรรดิ หลังจากนั้นทหารก็เข้ามาปกครองประเทศดำเนิน<br />
นโยบายเผด็จการภายในประเทศ และรุกรานทางทหารอย่างเปิดเผย<br />
สำหรับนโยบายต่างประเทศ ภายในรัฐเผด็จการอุดมการณ์<br />
“ร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” (Co-prosperity of the<br />
Great East Asia) เริ่มได้รับการบ่มเพาะ พวกชาตินิยมสุดโต่ง<br />
ประกาศว่าเอเชียจะอยู่รอดได้ก็ด้วยการเดินตามญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง<br />
เพราะญี่ปุ่นเป็นชาติเอเชียเพียงชาติเดียวที่สร้างอุตสาหกรรม<br />
102 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ญี่ปุ่นเป็นรัฐทหารตั้งแต่ทศวรรษ1930<br />
กองทัพญี่ปุ่นบุกเซี่ยงไฮ้ (1937)<br />
ได้ด้วยตนเอง เป็นคู่แข่งที่ยิ่งใหญ่ของจักรวรรดินิยมตะวันตก<br />
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำชาติเอเชีย<br />
สร้างกองกำลังที่เป็นเอกภาพในการต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก<br />
มันเป็นรากฐานความคิดพ่อปกครองลูกของลัทธิขงจื๊อ ร่วมกับ<br />
ลัทธิโคชิซึ (Koshitsu) ในศาสนาชินโต จุดมุ่งหมายใหญ่ของ<br />
วงศ์ไพบูลย์คือฮักโกอิชิน (hakkoichin) หรือการสร้างเอกภาพ 8<br />
มุมโลกภายใต้การปกครองของจักรพรรดิ แต่ในความเป็นจริงแล้ว<br />
กองทัพญี่ปุ่นที่รุกรานไปทั่วเอเชียได้ก่อกรรมท ำเข็ญ สร้างความทุกข์<br />
ยากแสนสาหัสให้ประชาชนพื้นเมืองทุกที่ที่พวกนี้ย่างเท้าเข้าไป<br />
สงครามครั้งสุดท้าย<br />
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2<br />
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองทัพญี่ปุ่นบุกปะทะกองทหารจีน<br />
ที่สะพานมาร์โคโปโลในกรุงปักกิ่ง การรุกรานนำไปสู่สงครามใหญ่<br />
ที่ได้รับอนุมัติจากจักรพรรดิ และเรียกว่า “สงครามศักดิ์สิทธิ์”<br />
สิ้นเดือนกรกฎาคมกองทัพญี่ปุ่นก็ยึดปักกิ่งได้และเคลื่อนทัพลงใต้<br />
ตามเส้นทางรถไฟ กองทัพจีนต้านทานกองกำลังที่เหนือกว่า<br />
ของญี่ปุ่นไม่ได้ มหานครเซี่ยงไฮ้แตกในเดือนตุลาคม นครนานกิง<br />
ถูกยึดตอนสิ้นปี กองทัพจีนเปลี่ยนยุทธวิธีสลายตัวเป็นกองทหาร<br />
จรยุทธ์ทำการรบเล็กๆ ก่อกวนกองทัพขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ขณะนี้<br />
เปรียบเสมือนจมอยู่ในปลักสงครามอันกว้างใหญ่ของแผ่นดินจีน<br />
ที่ไม่เห็นวันสิ้นสุด<br />
สงครามในแปซิฟิกและจุดจบของกองทัพญี่ปุ่น<br />
ญี่ปุ่นเริ่มเจรจาเป็นพันธมิตรกับเยอรมันตั้งแต่ ค.ศ. 1937 และ<br />
ลงนามเป็นแกนอักษะ 3 ประเทศคือ ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมัน<br />
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 จุดมุ่งหมายคือความต้องการขยาย<br />
ดินแดนให้กว้างไกลออกไปจนครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />
ทั้งหมด เพื่อทรัพยากรน้ำมันและแร่ธาตุอื่นๆ ความทะเยอทะยาน<br />
ที่ญี่ปุ่นเรียกฉาบหน้าอย่างสวยงามว่า “ร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่ง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
103
กองทัพอากาศญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือที่<br />
เพิร์ลฮาร์เบอร์ (1941)<br />
มหาเอเชียบูรพา” พฤติกรรมรุกรานของญี่ปุ่นในจีนทำให้<br />
สหรัฐอเมริกาประกาศไม่ขายน้ำมันให้ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 ทำให้<br />
ญี่ปุ่นใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงครามฉวยโอกาสโจมตีกองทัพเรือ<br />
สหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ หมู่เกาะฮาวาย ในวันที่ 7<br />
ธันวาคม ค.ศ. 1941 และรุกเข้ายึดฮ่องกงในวันรุ่งขึ้น 8 ธันวาคม<br />
ค.ศ. 1941 และในวันเดียวกันนั้นเองกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบุก<br />
เข้าสยามหลายจังหวัดตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย กองทหาร<br />
ท้องถิ่นและพลเรือนสยามรบต้านทานกองทัพญี่ปุ่นอยู่หลายวัน<br />
จนถึงวันที ่ 11 ธันวาคม รัฐบาลสยามจึงยอมยุติการต่อสู้และ<br />
เปลี่ยนนโยบายไปลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นทันทีในวันที่ 21<br />
ธันวาคม ค.ศ. 1941 ฤดูร้อน ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นสามารถยึดครอง<br />
พม่า สยาม อินเดียตะวันออกของฮอลันดา (อินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์<br />
มาเลเซีย และสิงคโปร์ นับเป็นจุดสูงสุดของญี่ปุ่นในการทำสงคราม<br />
แต่แล้วกระแสลมแห่งสงครามก็เริ่มตีกลับ ญี่ปุ่นรบแพ้สงครามทาง<br />
เรือและอากาศให้กับกองเรือสหรัฐอเมริกาที่หมู่เกาะมิดเวย์ และ<br />
เริ่มตกเป็นฝ่ายรับ สหรัฐอเมริกาใช้ยุทธวิธีรบแบบกระโดดข้ามไป<br />
มาจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะหนึ่งอย่างไม่รีบร้อน จนสามารถยึดหมู่<br />
เกาะฟิลิปปินส์คืนมาได้ใน ค.ศ. 1945 และเริ่มโจมตีหมู่เกาะญี่ปุ่น<br />
ด้วยระเบิดเพลิงเผาผลาญเมืองต่างๆ รวมทั้งโตเกียว สุดท้ายด้วย<br />
ระเบิดปรมาณู 2 ลูกของสหรัฐอเมริกาทำให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้<br />
อย่างไม่มีเงื่อนไขและพินาศย่อยยับในวันที่14 สิงหาคม ค.ศ. 1945<br />
104 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เศรษฐกิจสมัยโชวะ 87<br />
ยุคนี้เป็นยุคแห่งวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริงที่เกิดขึ้น<br />
หลายระลอก เริ่มด้วยวิกฤตการณ์ธนาคาร ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ<br />
และช่วงเศรษฐกิจสงครามตามลำดับ<br />
วิกฤตการณ์ธนาคาร ค.ศ. 1927 เป็นเรื่องสะสมมาจากธุรกิจ<br />
ญี่ปุ่นที่เติบโตอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีบริษัทห้าง<br />
ร้านเกิดขึ้นจำนวนมากแต่เป็นกิจกรรมเพื่อการเก็งกำไรมากกว่า<br />
การผลิตจริง ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ในทศวรรษ 1920<br />
เหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่คันโตใน ค.ศ. 1923 ทำให้เกิดเศรษฐกิจ<br />
ตกต่ำ ธุรกิจล้มละลายมากมาย ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นแทรกแซง<br />
โดยการออก “พันธบัตรแผ่นดินไหว” ลดราคา เพื่อช่วยพยุง<br />
ฐานะธนาคารทั้งหลาย แต่ความจริงมีอยู่ว่าระบบธนาคารของญี่ปุ่น<br />
ล้าหลังมาก จำนวนมีมากเกินไปแต่สินทรัพย์กลับมีน้อยเกินไป<br />
การปล่อยกู้ไม่สุจริตและไม่ระมัดระวัง เจ้าของธนาคารนำเงินฝาก<br />
ของประชาชนไปลงทุนในกิจการเก็งกำไรของตนเองโดยไม่มีสำนึก<br />
รับผิดชอบ และไม่มีการตรวจสอบโดยเฉพาะธนาคารต่างจังหวัด<br />
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1927 รัฐบาลเสนอซื้อคืนพันธบัตรที่บรรดา<br />
ธนาคารกู้ยืมไป ประชาชนเกิดตื่นตระหนกว่าธนาคารทั้งหลาย<br />
จะล้มละลาย จึงแห่กันไปถอนเงินจนเกิดจลาจล ธนาคารที่อาการหนัก<br />
ได้แก่ธนาคารแห่งไต้หวัน และธนาคารซูซูกิโชเทน (Suzuki Shoten)<br />
ซึ่งดำเนินธุรกิจเก็งกำไรเป็นหลักและเป็นหนี้ธนาคารแห่งชาติ<br />
ไต้หวันเป็นอันมาก รวมทั้งอีก 37 ธนาคารกำลังจะล้มลายรัฐบาล<br />
พยายามช่วยโดยคิดจะออกพระราชกฤษฎีกาฉุกเฉินให้ธนาคาร<br />
ชาติญี่ปุ่น ยืดเวลาให้เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อรักษาธนาคารเหล่านี้ไว้<br />
แต่ข้อเสนอของรัฐบาลถูกสภาองคมนตรีปฏิเสธ นายกรัฐมนตรี<br />
วากาซึกิ เรอิจิโร (Wakatsuki Reijiro) ถูกบังคับให้ลาออก ทานากะ<br />
กิอิชิ (Tanaka Giichi) ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีและสั่งให้ธนาคาร<br />
หยุดทำธุรกรรมเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อยุติความโกลาหลและ<br />
ทำได้สำเร็จ ผลของวิกฤตนี้ทำให้มีการออกกฎหมายธนาคารขึ้นใหม่<br />
เศรษฐกิจตกต่ำและภาวะอดอยากตอนต้นทศวรรษ 1930<br />
ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1928 กำหนดให้ธนาคารต้องตั้งเงินสำรอง<br />
ขั้นต่ำ ห้ามผู้บริหารประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจของธนาคาร<br />
มีการตรวจสอบธนาคารและสนับสนุนการควบรวมธนาคาร<br />
เพื่อความมั่นคง ทำให้จำนวนธนาคารลดลงจาก 2,039 แห่ง<br />
ในทศวรรษที่ 1920 เหลือเพียง 650 แห่งใน ค.ศ. 1932 88<br />
เศรษฐกิจตกต่ำ ค.ศ. 1930-1932 เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นประสบปัญหา<br />
เศรษฐกิจตกต่ำมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เกิดขึ้นในช่วง<br />
ค.ศ. 1930-1932 ซึ่งมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ปัจจัยภายใน<br />
รัฐบาลของพรรคมินไซ (Minsei Party) (ช่วงเดือนกรกฎาคม<br />
ค.ศ. 1929-เมษายน ค.ศ. 1931) นำโดยนายกรัฐมนตรีโอซาชิ<br />
ฮามากูชิ (Osachi Hamaguchi) ดำเนินนโยบายรัดเข็มขัด<br />
(deflation) เพื่อกำจัดธนาคารที่อ่อนแอ และเตรียมกลับไปอิงค่า<br />
เงินกับมาตรฐานทองคำแบบก่อนสงครามโลกครั้งที่1 โดยมีรัฐมนตรี<br />
คลังอิโนอูเอะ จุนโนสุเกะ (Inoue Junnosuke) เป็นผู้ดำเนินการ<br />
อย่างแข็งขัน ปัจจัยภายนอกคือการซ้ำเติมของเหตุการณ์พฤหัส<br />
มืดที่ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทล่มในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1929 ส่งผลให้<br />
เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและส่งผลลบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
105
อย่างรุนแรง และถึงขั้นอดอยากขาดอาหารใน ค.ศ. 1934<br />
ประชาชนโกรธแค้นรัฐบาลและพวกธุรกิจขนาดใหญ่ที่รัฐบาล<br />
สนับสนุนการควบรวมบริษัทเพื่อการผูกขาดการผลิตและ<br />
การกำหนดราคาสินค้า (cartelization) โดยการโฆษณาชวนเชื่อ<br />
(rationalization) แต่ระบบตลาดเสรีดูเหมือนจะทำให้ภาวะ<br />
เศรษฐกิจย่ำแย่ไปอีก แนวคิดใหม่ในการจำกัดการผลิตสินค้าต่างๆ<br />
จึงเกิดขึ้น ส่งผลให้สินค้าต่างๆ ขาดแคลน ประชาชนหันไปหาลัทธิ<br />
ทหารนิยมและพวกขวาจัด ขณะที่ประณามพรรคการเมืองและ<br />
นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ทศวรรษ 1930 จึงเห็นญี่ปุ่น<br />
ที่เบี่ยงเบนออกจากเศรษฐกิจเสรีนิยมไปสู่ระบบที่มีการควบคุม<br />
โดยรัฐมากขึ้น ซึ่งนอกจากความล้มเหลวของการบริหารแบบ<br />
รัดเข็มขัดแล้ว อิทธิพลของลัทธิมาร์กซ์และความสำเร็จของ<br />
สหภาพโซเวียตก็เป็นอิทธิพลสำคัญ ที่ทำให้ประชาชนคิดว่าระบบ<br />
การควบคุมการค้าและผูกขาดอุตสาหกรรมโดยรัฐ จะทำให้เศรษฐกิจ<br />
เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งการใช้กำลังทหารขยายดินแดนในแมนจูเรีย<br />
และมองโกเลีย เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผลประโยชน์ของญี่ปุ่น<br />
โครงสร้างฝ่ายการเมืองของญี่ปุ่นตั้งแต่ทศวรรษ 1900<br />
นั้นแบ่งนักการเมืองได้เป็น2 พวกคือ พรรคฝ่ายขวาที่เรียกตัวเองว่า<br />
ริกเคนไซยุไก (Rikken Seiyukai) มีนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการลงทุน<br />
โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและอุตสาหกรรมในชนบท<br />
ยอมรับการเสริมสร้างกำลังทหารและการขยายดินแดน มีฐานเสียง<br />
จากพวกเจ้าที่ดินและคนร่ำรวยในเขตเมือง พวกที่ 2 คือพรรค<br />
กลางขวาหรือริกเคนมินไซโตะ (Rikken Minseito) มีนโยบาย<br />
รัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและต้องการอิงค่าเงิน<br />
กับมาตรฐานทองคำ ต้องการการทูตแบบสันติและร่วมมือกับ<br />
นานาชาติ ฐานเสียงคือปัญญาชนและคนในเขตเมือง แต่การบริหาร<br />
ของรัฐบาลพรรคนี้โดยรัฐมนตรีคลังอิโนอูเอะใน ค.ศ. 1929-1931<br />
ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง พวกไซยุไกจึงขึ้นมาเป็นรัฐบาลแทน<br />
และปรับนโยบายการเงินเป็นแบบขยายงบประมาณ เลิกอิงค่าเงิน<br />
กับมาตรฐานทองคำ การบริหารของรัฐมนตรีคลังทากาฮาชิ<br />
โคเระกิโย (Takahashi Korekiyo) ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว<br />
ใน ค.ศ. 1932 และขยายตัวอย่างแข็งแรงใน ค.ศ. 1936 นับเป็น<br />
ประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกที่รอดตัวจากภาวะเศรษฐกิจ<br />
ตกต่ำของโลก แต่เรื่องนี้กลับจบลงอย่างน่าสลด กล่าวคือทากาฮาชิ<br />
เริ่มเปลี่ยนนโยบายใช้เงินมาเป็นจำกัดเงิน เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว<br />
ใน ค.ศ. 1934 เรื่องร้ายแรงคือเขาตัดค่าใช้จ่ายของกองทัพอันเป็น<br />
เหตุให้เขาถูกพวกทหารฆาตกรรมในวันที่26 กุมภาพันธ์ค.ศ. 1936<br />
จาก ค.ศ. 1931-1937 กลุ่มทหารขวาจัดเริ่มกระท ำก่อการร้าย<br />
บ่อนทำลายระบอบรัฐสภา โดยอ้างปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ<br />
โฆษณาการสร้างชาติภายใต้การนำของจักรพรรดิใช้ระบบเศรษฐกิจ<br />
ที่วางแผนจากส่วนกลาง ช่วยเหลือคนยากจนในชนบท เมื่อได้รับ<br />
การตอบรับจากมวลชนพวกทหารเริ่มการก่อการร้ายทั้งภายในและ<br />
ภายนอกประเทศครั้งแล้วครั้งเล่า เช่นใช้กองกำลังทหารยึดครอง<br />
แมนจูเรียและตั้งรัฐบาลหุ่นใน ค.ศ. 1931 โดยที่รัฐบาลกลางญี่ปุ่น<br />
ไม่สามารถจัดการอะไรได้ ลอบสังหารนายกรัฐมนตรีอินูกาอิ ซึโยชิ<br />
(Inukai Tsuyoshi) ซึ่งไม่พอใจการกระทำของทหารใน ค.ศ. 1932<br />
หลังจากนั้นพวกนายพลก็เข้าควบคุมรัฐบาลและกระทำสงครามกับ<br />
จีนอย่างเปิดเผยใน ค.ศ. 1937<br />
เศรษฐกิจสงคราม ค.ศ.1936-1945 เมื่อสงครามจีน-ญี่ปุ่น<br />
ระเบิดขึ้นใน ค.ศ. 1937 ระบบเศรษฐกิจการตลาดของญี่ปุ่น<br />
ก็ถูกเปลี่ยนเป็นการวางแผนจากส่วนกลางเพื่อการทำสงคราม<br />
รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเคลื่อนย้ายมวลชน บริษัท ห้างร้าน<br />
และทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการทำสงครามของรัฐ มาตรการแรก<br />
ของรัฐบาลทหารคือการตั้งคณะกรรมการวางแผนหรือคิกาคูอิน<br />
(Kikakuin) ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่<br />
ออกนโยบายรอบด้าน (comprehensive policy) สำหรับจัดการ<br />
เคลื่อนย้ายทรัพยากรแห่งชาติในภาวะสงคราม บรรดาข้าราชการ<br />
หัวกะทิทั่วประเทศถูกคัดเลือกมาปฏิบัติหน้าที่นี้ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ<br />
คณะกรรมการวางแผนแห่งชาติในประเทศสังคมนิยม ใน ค.ศ. 1938<br />
มีการเสนอแผนการจัดการเคลื่อนย้ายทรัพยากร (แผนเศรษฐกิจแรก)<br />
ขณะเดียวกันก็ออกกฎหมายการจัดการเคลื่อนย้ายแห่งชาติ<br />
106 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การทิ้งระเบิดปรมาณูที่นางาซากิ เมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945<br />
(National Mobilization Law) ค.ศ. 1938 ใน ค.ศ. 1940 นายกรัฐมนตรี<br />
เจ้าชายโคโนเอะ ฟูมิมาโร (Prince Konoe Fumimaro) เสนอระบอบ<br />
พรรคการเมืองเดี่ยวและยุบเลิกพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อการรุกราน<br />
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการเป็นพันธมิตรกับแกนอักษะ<br />
ค.ศ. 1943 รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายบริษัทห้างร้านภายใต้ความ<br />
ต้องการของกองทัพ (The Military Needs Company Act) (1943)<br />
บังคับบริษัทห้างร้านที่ถูกทางการขึ้นบัญชี ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม<br />
จัดการผลิตโดยรัฐบาล มีการโฆษณาชวนเชื่อให้บริษัทห้างร้าน<br />
ควบรวมและบังคับแรงงานโรงงานอย่างเข้มงวด จุดประสงค์เพื่อ<br />
การเพิ่มผลผลิตของทหารภายใต้ทรัพยากรและการส่งออกที่จำกัด<br />
นั่นคือการผลิตเครื่องบินและเรือรบ ทำให้เกิดการเพิ่มกำลังให้<br />
อุตสาหกรรมหนักแต่ละเลยการผลิตเพื ่อการบริโภคประจำวัน<br />
การผลิตเหล็กรูปพรรณเพื่อการก่อสร้างถูกยกเลิก เพื่อนำเหล็กไป<br />
ผลิตเครื่องบิน ปัญหาใหญ่ในการวางแผนคือ การสร้างผลผลิตให้<br />
มากที่สุดภายใต้อุปสรรคสำคัญ 2 ประการคือ เงินทุนสำรอง<br />
สำหรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และพลังงานและวัตถุดิบ<br />
ตลอดจนการเคลื่อนย้ายทรัพยากรเหล่านั้นจากพื้นที่ยึดครองมายัง<br />
โรงงานที่ญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1941 ญี่ปุ่นตัดสินใจบุก<br />
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อทรัพยากร ภายใต้คำโฆษณาอันสวย<br />
หรูว่า “ร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เริ่มด้วยอินโดจีน<br />
ฝรั่งเศส (เวียดนาม) ส่งผลให้สหรัฐอเมริกางดขายน้ำมันให้ และ<br />
แช่แข็งทรัพย์สมบัติของญี่ปุ่นนอกประเทศ ญี่ปุ่นกระโจนเข้าทาง<br />
เลือกสุดท้ายโดยการทำสงครามกับสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม<br />
ค.ศ. 1941 ฝ่ายญี่ปุ่นไม่มีแนวคิดชัดเจนใดๆ ในการทำสงครามกับ<br />
สหรัฐอเมริกานอกจากลัทธิชาตินิยมสุดโต่งและความเชื่อในชัยชนะ<br />
ของพรรคนาซีในยุโรป ซึ่งเป็นการทำสงครามแบบฆ่าตัวตาย<br />
ในที่สุดเมื่อสงครามผ่านไปได้เพียงหนึ่งปีญี่ปุ่นก็เริ่มถูกตีโต้กลับ<br />
ในขณะที่ขาดแคลนวัตถุดิบและพลังงาน เพราะเส้นทางขนส่ง<br />
ทางทะเลของญี่ปุ่นถูกกองทัพเรือและอากาศของสหรัฐอเมริกา<br />
ควบคุมได้หมด สุดท้ายหลังจากการถูกทิ้งระเบิดถล่มเกาะญี่ปุ่น<br />
อย่างย่อยยับ ญี่ปุ่นจึงต้องยอมแพ้อย่างสิ้นเชิงในเดือนสิงหาคม<br />
ค.ศ. 1945<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
107
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ตั้งแต่เริ่มรัชสมัยโชวะจนถึง<br />
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1926-1945)<br />
แม้ว่าประวัติศาสตร์สังคมจะชี้ว่าญี่ปุ่นช่วงนี้เป็นเวลาของ<br />
กระแสคลั่งชาติและนิยมทหาร แต่ในทางสถาปัตยกรรมยังมี<br />
บรรยากาศเปิดให้มีการแสดงออกที่แตกต่างอยู่ดี ในตอนเริ่ม<br />
รัชกาลการต่อสู้แข่งขันระหว่างสถาปัตยกรรม 2 แนวทางคือ พวก<br />
สากลนิยมและพวกชาตินิยมยังคงดำเนินสืบเนื่องมาจากสมัยไทโช<br />
แนวสากลนิยมสมัยใหม่มีปรากฏอยู่ในอาคารสาธารณะทั้งอาคาร<br />
ราชการและเอกชน มันมาในกรอบแนวคิดและรูปแบบของสำนัก<br />
เบาเฮาส์ (Bauhaus) ที่แฝงลัทธิสังคมนิยม ขณะเดียวกันอาคาร<br />
เหล่านี้กลับแฝงด้วยการจัดผังที่สะท้อนวิถีชีวิตญี่ปุ่นตามแบบ<br />
วัฒนธรรมโบราณอย่างแนบเนียน อาคารที่ออกแบบโดยพวก<br />
ชาตินิยมแสดงความเป็นชาติโดยใช้อาคารแบบตะวันตกมีคลุมด้วย<br />
หลังคาวัดหรือศาลเจ้าที่ต่อมาเรียกกันว่าทรงมงกุฎจักรพรรดิ<br />
หรือไทคันโยชิกิ มีแพร่หลายในหมู ่อาคารสถานที่ราชการที่เกี่ยวกับ<br />
การเมือง การปกครอง และทหาร เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />
ศาลาว่าการจังหวัดและกองบัญชาการทหารบก เป็นต้น และแล้ว<br />
ลัทธิชาตินิยมและทหารนิยมที่เบ่งบานขึ้นเรื่อยๆในหมู่มวลชนทำให้<br />
การแข่งขัน 2 แนวทางสิ้นสุดลงตอนกลางทศวรรษที่ 1930 เมื่อ<br />
ทางการกำหนดให้อาคารสำคัญต้องออกแบบในลักษณะสะท้อน<br />
“รสนิยมญี่ปุ่น” พร้อมๆ กับการกวาดล้างปัญญาชนฝ่ายซ้าย<br />
สถาปนิกที่นิยมงานแบบสากลนิยมสมัยใหม่ต้องหยุดทำงาน<br />
หรือเปลี่ยนแนวทางออกแบบไปตามกระแสลมชาตินิยม ทหารนิยม<br />
ที่โหมกระหน่ำพาความเบ่งบานมาสู่งานแบบชาตินิยมจนแพร่<br />
ไปทั่วทุกสารบบของการออกแบบและการประกวดแบบจนกระทั่ง<br />
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
สถาบันเบาเฮาส์ ประเทศเยอรมนี<br />
(1925-1926)<br />
108 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมและสถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่<br />
กลุ่มสมาคมสถาปัตยกรรมสากลแห่งญี่ปุ่นหรือนิฮอน<br />
อินตะนาโชนารุ เคนชิกุไค (Nihon Intanashonaru Kenchikukai)<br />
เป็นกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าอีกกลุ่มหนึ่งที่เชื่อในแนวความคิด<br />
สถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่และเผยแพร่ผลงานต่อจากกลุ่มบุนริฮา<br />
และชูซา ที่ประกาศเปิดตัวตั้งแต่สมัยไทโช ความเชื่อมั่นในแนวทาง<br />
สถาปัตยกรรมสากลในญี่ปุ่นยุคทศวรรษ 1920 เผยแพร่ผ่านวารสาร<br />
สถาปัตยกรรมชื่อสถาปัตยกรรมสากลหรือโกกุไซเคนชิกุ (Kokusai<br />
kenshiku) เสนอบทความและงานออกแบบของสถาปนิกญี่ปุ่นและ<br />
ต่างประเทศในแนวนี ้ พวกเขาเชื่อในแนวทางการออกแบบที่อยู่<br />
อาศัยที่อยู่บนรากฐานของหลักเหตุผล วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />
วิทยาลัยเทคนิคเกียวโต (1930)<br />
แบบที่โกรเปียสเสนอ แต่พวกเขายังยึดถือในคุณค่าแบบญี่ปุ่นเดิม<br />
โดยไม่เฉลียวใจว่ามันขัดแย้งโดยตรรกะกับแนวทางสากลนิยม<br />
ดังบทความของวารสารใน ค.ศ. 1934 ชื่อ “พื้นฐานของประโยชน์<br />
ใช้สอยแห่งสถาปัตยกรรมอดีตของญี่ปุ่นและแนวคิดแบบสมัยใหม่” 89<br />
ความเชื่อแบบนี ้คือรากฐานของกลุ่มสมาคมสถาปัตยกรรมสากล<br />
แห่งญี่ปุ่นหรือนิฮอนอินตะนาโชนารุเคนชิกุไค(Nihon Intanashonaru<br />
Kenshikukai) ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1927 ในการประชุม<br />
ที่เกียวโตนำโดยโมโตโน เซอิโกะ (Motono Seigo) อูเอโนะ อิซาบูโร<br />
(Ueno Isaburo) และสหายรวม 6 คน โมโตโนไปเยอรมันตั้งแต่<br />
ค.ศ. 1909 ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในเบอร์ลิน เขาได้อิทธิพลจาก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
109
ด๊อยเชอร์แว้กบุนด์(Deutscher Werkbund) เวียนเนอร์แว้กสเต็ตท์<br />
(Wiener Werkstatte) และโรงงานไฟฟ้าเออีจี(A.E.G.) โดยปีเตอร์<br />
เบอห์เรนส์ (Peter Behrens) ส่วนงานออกแบบของเขาที่วิทยาลัย<br />
เทคนิคเกียวโต (Kyoto College of Technology) ใน ค.ศ. 1930<br />
เป็นอาคารทรงกล่องก่ออิฐ 3 ชั้น หน้าต่างกระจกยาวเป็นแถบ<br />
ตลอดชั้นรับด้วยคานคอนกรีตทึบสลับกันไป 90 แสดงให้เห็นอิทธิพล<br />
ของพวกเบาเฮาส์ในทศวรรษ 1920 อย่างชัดเจน นอกจากนี้<br />
เขายังเป็นคนเขียนบทความวารสารสถาปัตยกรรมสากลใน ค.ศ. 1934<br />
ที่กล่าวข้างต้น ส่วนผู้นำกลุ่มอีกคนหนึ่งอูเอโนต่อมาเป็นสหายกับ<br />
โกรเปียสในเยอรมัน เพื่อรับการสนับสนุนการตั้งกลุ่มสถาปัตยกรรม<br />
สากลสมัยใหม่ขึ้นในญี่ปุ่น แต่ในความจริงแล้วแม้แต่ในยุโรปเอง<br />
คำว่า “สากลนิยม” ของสถาปัตยกรรมลัทธิสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ยังคงเป็นที่กังขาของคนจำนวนมาก เพราะมันมีนัยไปทางเอียง<br />
ซ้าย จึงกลายเป็นการสร้างความขัดแย้งกับกลุ่มชาตินิยมและพวก<br />
เอียงขวาโดยอัตโนมัติ เมื่อกระแสชาตินิยมระบาดรุนแรงในญี่ปุ่น<br />
ช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 สมาชิกในกลุ่มถึงกับตั้งคำถามกับ<br />
คำว่าอินตะนาโชนารุซึ่งแปลงมาจาก international ว่า อาจจะทำให้<br />
เผชิญหน้ากับฝ่ายขวา จึงควรใช้คำว่าโคกุไซ (kokusai) ที่เป็นภาษา<br />
ญี่ปุ่นแท้ซึ่งแปลว่าสากลเหมือนกันแทน เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง<br />
แต่ในที่สุดกลุ่มนี้ก็ยังคงชื่อเดิมไว้ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึง<br />
การแบ่งขั้วทางการเมืองของสังคมญี่ปุ่นอย่างกว้างขวางในช่วงนั้น<br />
กลุ่มสมาคมสถาปัตยกรรมสากลแห่งญี่ปุ่นประกาศ<br />
อุดมการณ์ในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ที่เหมาะสมกับ<br />
วิถีชีวิตแบบใหม่เพื่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติแต่ก็ไม่ทิ้ง<br />
วัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศญี่ปุ่นโดยการร่วมมือกับ<br />
มิตรสหายร่วมอุดมการณ์ในประเทศต่างๆ เพื่อการนี้ โดยไม่มีคำว่า<br />
“สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น” ในคำประกาศอุดมการณ์ แต่ก็ยังมีคำว่า<br />
“ประเทศญี่ปุ่น” 91 อยู่ดีส่วนหลักการออกแบบนั้นพวกเขาต้องการละทิ้ง<br />
รูปแบบโบราณต่างๆ และไม่ยึดติดกับแนวคิด “ลักษณะประจำชาติ”<br />
หรือโกกุมินซิ(kokuminsee) ในความหมายที่แคบๆ แต่จะวางรากฐาน<br />
อยู่บนความเป็นท้องถิ่นที่แท้จริงหรือชินไซนารุ “โรคาริไท”<br />
(shinseinaru “rokaritei”) 92 คำประกาศนี้แม้จะแสดงถึงจิตใจแบบ<br />
สากลนิยม แต่ก็ไม่ทิ้งความเป็นญี่ปุ่นในลักษณะที่เป็นนามธรรม<br />
มากกว่ารูปธรรมที่กลุ่มเห็นว่าเป็น“ความคิดแคบๆ” แสดงให้เห็นถึง<br />
อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมที่ล้อมกรอบสังคมญี่ปุ่นอยู่และ<br />
ความต้องการที่จะประนีประนอมของพวกหัวก้าวหน้าเหล่านี้<br />
ขณะที่โกรเปียสเองก็ประกาศยอมรับว่า “สถาปัตยกรรมประกอบ<br />
ด้วยความเป็นปัจเจกชน ความเป็นชาตินิยมและความเป็นมนุษยนิยม<br />
รวมกันเป็นสถาปัตยกรรมสากล” 93 สถาปัตยกรรมสากลจึงหลีกเลี่ยง<br />
ไม่พ้นที่จะสะท้อนลักษณะปัจเจกของสถาปนิกและบริบทของท้องถิ่น<br />
ที่สร้างมันขึ้นมา ดังนั้นสถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่(ในแบบญี่ปุ่น)<br />
จึงมีความเป็นญี่ปุ่นอยู่ที่การเสนอความเป็นท้องถิ่นที่แท้จอริง<br />
ไม่ใช่การลอกรูปแบบอาคารโบราณมาประยุกต์ใช้ ใน ค.ศ. 1929<br />
กลุ่มสมาคมสถาปัตยกรรมสากลแห่งญี่ปุ่นได้ออกวารสาร<br />
สถาปัตยกรรมญี ่ปุ่นสากลหรือนิฮอนอินตะนาโชนารุ (Nihon<br />
intanashoraru) ที่พิมพ์เผยแพร่ต่อเนื่องถึง 3 ปี ก่อนจะถูกสั่งปิด<br />
ใน ค.ศ. 1933 คุณูปการหลักของกลุ่มนี้จึงเป็นการเผยแพร่และ<br />
ลงหลักปักฐานแนวคิดและวิธีการออกแบบสถาปัตยกรรมสากล<br />
สมัยใหม่ให้กับญี่ปุ่น และการเสนอแนวคิดการทำสถาปัตยกรรมสากล<br />
ให้เป็นญี่ปุ่นโดยไม่ลอกของเก่า ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งในอนาคตหลัง<br />
สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง<br />
แอนโตนิน เรย์มอนด์ (Antonin Raymond) ผลงานของ<br />
เรย์มอนด์สร้างชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยไทโช ในยุคโชวะช่วงทศวรรษ<br />
ที่ 1930 ผลงานของเรย์มอนด์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของ<br />
เลอคอร์บูซิเอร์ (Le Corbusier) ขณะเดียวกันเขากลับจัดผังให้<br />
รับใช้ค่านิยมการอยู่อาศัยแบบญี่ปุ่นที่แตกต่างจากตะวันตกเรย์มอนด์<br />
เป็นผู้นำคนสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ในวงการสถาปนิกญี่ปุ่นยุคบุกเบิก<br />
110 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลงาน<br />
บ้านฮามาโอะ (Hamao House) (1927) โตเกียว บ้านหลังนี้<br />
สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1927 โครงสร้างเป็นไม้เป็นบ้านที่เรย์มอนด์<br />
กล่าวว่า “...เป็นการแก้ปัญหาที่พบความสำเร็จเป็นครั้งแรก<br />
ในการสร้างความกลมกลืนระหว่างวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่นและตะวันตก<br />
ในผลงานที่มีรูปลักษณ์เป็นที่ยอมรับได้...” 94 ผังบ้านเป็นรูปตัว L<br />
สองตัวหันหลังชนกัน 95 จุดเด่นอยู่ที่โถงกลางที่เป็นจุดตัดของห้อง<br />
แบบญี่ปุ่นที่ปูเสื่อขนาด 8 เสื่อของแกนตะวันตก และห้องแบบ<br />
ตะวันตกที่ใช้สำหรับรับแขกและรับประทานอาหารของแกนทิศใต้<br />
แทนที่จะใช้วิธีวางผังแบบแยกพื้นที่เป็น2 บ้านแล้วเชื่อมด้วยทางเดิน<br />
แบบเดิมๆ เรย์มอนด์ใช้ระบบพิกัดแบบญี่ปุ่นขนาด6.5 × 6.5 ฟุต<br />
ห้องละ 4 หน่วย (เท่ากับ 16 ตารางหน่วยเล็กหรือ 8 เสื่อ) เท่ากัน<br />
ทั้งห้องแบบญี่ปุ่น ห้องแบบตะวันตก และโถงกลางที่เป็นตัวเชื่อม<br />
ทั้ง 2 ส่วน การเลือกระบบพิกัดที่ลงตัวทั้ง3 ห้องสำคัญนี้เป็นพื้นฐาน<br />
ในการสร้างความรู้สึกที่ต่อเนื่องระหว่างพื้นที่ใช้งานต่างวัฒนธรรม<br />
ได้กลมกลืน กล่าวคือห้องญี่ปุ่นที่ปูเสื่อจะมีขนาดไม่ขัดแย้งกับห้อง<br />
ที่จัดวางโต๊ะ-เก้าอี้แบบตะวันตกจนทำให้อึดอัด นอกจากนี้ผนังกั้น<br />
ระหว่างพื้นที่ต่างวัฒนธรรม ยังใช้ประตูแบบบานเลื่อนทำด้วยไม้<br />
ผังพื้นบ้านฮามาโอะ (1927)<br />
บ้านฮามาโอะ (1927)<br />
ที่ไม่แต่งผิว ปล่อยตามธรรมชาติ แต่ด้านบนกลับกรุด้วยกระจก<br />
แบบตะวันตกเพื่อกระจายแสงสว่างแทนที่จะเป็นกระดาษแบบญี่ปุ่น<br />
ห้องโถงกลางเปิดสู่ห้องปูเสื่อเต็มช่วงกว้างของห้องซึ่งแตกต่างจาก<br />
บ้านญี่ปุ่นโบราณ ที่ทางเข้ามักจะเป็นทางเดินเล็กๆและเป็นที่ตั้งของ<br />
บันไดขึ้นชั้นบน ที่เสาบันไดเป็นเสากลมแทนเสาเหลี่ยมแบบโบราณ<br />
ผนังกั้นห้องชั้นบนภายในใช้บานเลื่อนแบบญี่ปุ่น ขณะที่หน้าต่าง<br />
ใช้บานเฟี้ยมติดกระจก เป็นการผสมผสานแบบเดียวกับที ่เขาใช้<br />
บานเลื่อนในห้องปูเสื่อชั้นล่าง ขณะที่ใช้บานเฟี้ยมสำหรับผนังกั้น<br />
ห้องแบบตะวันตก<br />
บ้านหลังนี้เป็นตัวอย่างรุ่นบุกเบิกของความพยายามสร้าง<br />
ความกลมกลืนของ 2 วัฒนธรรม ในรูปธรรมการออกแบบที่ยึดถือ<br />
หลักการทั้งแบบสมัยใหม่และแบบญี่ปุ่น ได้แก่ ผังเปิดโล่ง (open<br />
plan) การวางทิศทางตามวิถีของแสงอาทิตย์และกระแสลม การใช้<br />
วัสดุตามธรรมชาติไม่แต่งผิว ซึ่งต่อมาเป็นหลักการและวิธีการ<br />
ที่สถาปนิกรุ่นหลังตามแบบ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
111
สโมสรกอล์ฟแห่งโตเกียว (Tokyo Golf Club) (1932)<br />
อะกาซากะ (Akasaka) โตเกียว ผังอาคารเป็นรูปตัว T กลับหัว 96<br />
ชั้นล่างเป็นห้องล็อคเกอร์ ชั้นบนตรงกลางเป็นโถงใหญ่ ด้านขวา<br />
เป็นห้องอาหาร ด้านซ้ายเป็นบาร์และห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวของ<br />
สมาชิกสตรี ลักษณะอาคารเป็นกล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมยาว 2 ชั้น<br />
ช่องหน้าต่างชั้นบนเปิดเป็นแถบยาวเต็มช่วงเสาทุกช่วง ชั้นหลังคา<br />
เป็นดาดฟ้าหลังคาแบนเชื่อมกับชั้นล่างด้วยบันไดเวียนเห็นได้ชัดว่า<br />
เป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลจากเลอคอร์บูซิเอร์อย่างมาก สโมสรและ<br />
กิจกรรมตีกอล์ฟเป็นเรื่องทันสมัยมากในยุคทศวรรษที่ 1930<br />
แต่ก็มีอายุสั้นมาก เมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 กีฬาชนิดนี้<br />
ก็ถูกมองว่าเป็นกีฬาของคนเห็นแก่ตัวและถูกยุบเลิกไป 97 จนกระทั่ง<br />
หลังสงครามโลกเกือบ 17 ปี จึงมีอาคารประเภทนี้เกิดขึ้นใหม่<br />
ในโตเกียวอีก<br />
ผังพื้นสโมสรกอล์ฟแห่งโตเกียว<br />
สโมสรกอล์ฟแห่งโตเกียว (1932)<br />
112 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ขวา บ้านอะกาโบชิ คิสุเกะ (1932)<br />
ล่าง ผังพื้นบ้านอะกาโบชิ คิสุเกะ<br />
บ้านอะกาโบชิ คิสุเกะ (Akaboshi Kisuke House) (1932)<br />
โตเกียว ผังบ้านเป็นรูปตัว L 90 สูง 4 ชั้น มีบันไดอยู่ตรงกลาง<br />
ชั้นล่างด้านหนึ่งเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน อีกด้านหนึ่งเป็น<br />
ห้องนอนแม่บ้านและห้องซักล้างและหม้อต้มน้ำ ชั้น 2 เป็นครัว<br />
และห้องรับประทานอาหารที่มีดาดฟ้า ชั้น 3 เป็นห้องนอนของ<br />
ครอบครัว ชั้น 4 เป็นห้องญี่ปุ่น ลักษณะบ้านเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยม<br />
เรียบเกลี้ยง หน้าต่างชั้นที่ 2 และ 3 เจาะเป็นแถบยาวตลอดผนัง<br />
บ้านที่ทาสีขาว ผังบ้านได้อิทธิพลมาจาก Cook House (1926)<br />
และ Citrohan Maison (1922) ออกแบบโดยเลอคอร์บูซิเอร์ทั้งคู่<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
113
บน บ้านคาวาซากิ (1934)<br />
ล่าง ผังพื้นบ้านคาวาซากิ<br />
บ้านคาวาซากิ (Kawasaki House) (1934) และบ้านอะกาโบชิ<br />
เทตสุมา (Akaboshi Tetsuma) (1934) โตเกียว ทั้ง 2 หลัง<br />
เป็นบ้านแบบสากลนิยมสมัยใหม่ (International modern)<br />
ที่ใส่ประโยชน์ใช้สอยแบบญี่ปุ่นร่วมเข้าไปในบ้านสมัยใหม่ของ<br />
ตะวันตก เป็นลักษณะของการวางผังร่วมที่เรียกว่า วาโย-คองโกะ<br />
(wayo-kongo) 99 บ้านคาวาซากิออกแบบได้ดีมาก ผังชั้นล่างเป็น<br />
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่100 มีลานเปิดภายใน (court) สำหรับปลูกต้นไม้<br />
กลางบ้าน ทางเข้าเป็นเพียงโถงเล็กๆ แขกสามารถเลือกเดินไป<br />
ทางซ้ายซึ่งเป็นโถงเล็กๆ แบบบ้านญี่ปุ่นหรือเลี้ยวขวาไปพบโถง<br />
ใหญ่ที่มีบันไดรูปตัว U ห้องต่างๆ วางเรียงรอบลานเปิดภายใน<br />
ที่กลางบ้านแบบที่เลอคอร์บูซิเอร์ชอบทำ ที่น่าสนใจคืออีกส่วนหนึ่ง<br />
ของบ้านทางด้านตะวันตก (ขวา) เป็นส่วนที่เป็นบ้านแบบญี่ปุ่น<br />
โบราณ มีห้องปูเสื่อแบบญี่ปุ่น ทั้ง 2 ส่วนที่แตกต่างนี้ถูกคั่นด้วย<br />
สวนอย่างชาญฉลาด ชั้นบนของบ้านมีผังเป็นรูปตัว L เป็นห้องนอน<br />
ของครอบครัวที่มีระเบียงกว้างขวางทางทิศตะวันออก (ซ้าย)<br />
ลักษณะบ้านเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทรงกล่องสี่เหลี่ยมหน้าต่างชั้นบน<br />
เปิดช่องเต็มช่วงเสาแต่ไม่เป็นแผ่นยาวแบบงานที่กล่าวมาแล้ว<br />
อย่างไรก็ตามจากผังและรูปทรงเราสามารถเห็นอิทธิพลของบ้าน<br />
Pavillion des Amis (1928-1929) ที่ Ville-d’ Avaray ของ<br />
เลอคอร์บูซิเอร์ได้อย่างชัดเจน<br />
114 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน Pavillion des Amis (1928-1929)<br />
โดยเลอคอร์บูซิเอร์<br />
กลางและล่าง บ้านอะกาโบชิ เทตสุมา (1934)<br />
บ้านอะกาโบชิ เทตสุมา ที่คิชิโจจิ (Kichijoji) ในกรุงโตเกียว<br />
ก็เป็นบ้านที่มี 2 ลักษณะรวมอยู่ในหลังเดียวกัน ผังบ้านเป็น<br />
รูปตัว T 101 ทางเข้าอยู่ปลายทิศตะวันออกนำไปสู่ห้องพักผ่อน<br />
ห้องรับประทานอาหาร และห้องปูเสื่อแบบญี่ปุ่น ด้านตะวันตก<br />
ของบ้านหักมุมขึ้นเล็กน้อยประกอบด้วยห้องนอนภรรยาและลูกๆ<br />
เรียงเป็นแถว บันไดขึ้นชั้นบนตั้งอยู่กลางบ้านหลังบันไดเป็นส่วนหาง<br />
ของรูปตัว T เป็นที่ตั้งห้องครัวต่อด้วยห้องนอนคนรับใช้ บริเวณฝั่ง<br />
ทิศเหนือของตัวบ้านมีสวนหย่อมคั่นเป็นช่วงๆ 3 ส่วน ส่วนใหญ่<br />
สุดอยู่ทางทิศตะวันตกกั้นห้องครัวกับห้องอาบน้ำออกจากกัน<br />
สวนหย่อมที่ 2 อยู่กลางบ้านกั้นห้องครัวกับทางเข้าส่วนตัวของ<br />
ครอบครัวซึ่งต่อกับชุดห้องรับแขก สวนหย่อมที่ 3 อยู่ระหว่าง<br />
ทางเข้าบ้านกับชุดห้องรับแขก ทำหน้าที่บังสายตาแขกไม่ให้เห็น<br />
“กิจกรรมภายในบ้าน” ที่ห้องพักผ่อนและห้องรับประทานอาหาร<br />
ชั้นบนของบ้านปีกตะวันออกเป็นห้องนอนเจ้าของบ้าน มีห้องทำงาน<br />
และห้องปูเสื่อญี่ปุ่น ปีกตะวันตกเป็นห้องนอนลูกและห้องที่ตั้ง<br />
ศาลเจ้า ชั้น 3 เป็นดาดฟ้าและสระว่ายน้ำซึ่งออกแบบให้สามารถ<br />
ชมสวนข้างล่างได้โดยรอบในแบบของเลอคอร์บูซิเอร์ บ้านหลังนี้<br />
นอกจากจะออกแบบพื้นที่2 วัฒนธรรมร่วมกันได้อย่างแยบยลแล้ว<br />
ยังสามารถแบ่งแยกพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที ่ใช้ร่วม รวมทั้งพื้นที่<br />
เฉพาะเพศอย่างชัดเจน กล่าวคือชั้นล่างเป็นพื้นที่ของภรรยา<br />
และลูก ขณะที่พื ้นที่ชั้นบนเป็นพื้นที ่ของสามี102 ลักษณะของบ้าน<br />
เป็นทรงกล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยม ช่องหน้าต่างเจาะเป็นแถบยาว<br />
ตลอดชั้นแบบเลอคอร์บูซิเอร์อย่างชัดเจน<br />
ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่ของเรย์มอนด์<br />
มีคุณภาพสูงและมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อสถาปนิกญี่ปุ่น<br />
ร่วมสมัยที่นิยมสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในยุคทศวรรษที่1920-<br />
1930 เขามีศักยภาพในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมสากล<br />
สมัยใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกญี่ปุ่น<br />
หัวก้าวหน้าเรียกร้องต้องการ จึงนับได้ว่าเรย์มอนด์เป็นสถาปนิก<br />
ชาวตะวันตกที ่บุกเบิกนำสถาปัตยกรรมสากลมาสู่ญี่ปุ่นตอนต้น<br />
ศตวรรษที่ 20 เป็นรุ่นที่สอง ต่อจากคอนเดอร์และเอนเดอร์และ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
115
ขวา ผังพื้นชั้นล่างบ้านอะกาโบชิ เทตสุมา<br />
ล่าง ผังพื้นชั้นบนบ้านอะกาโบชิ เทตสุมา<br />
บ็อคมานน์ตอนปลายศตวรรษที่ 19 เรย์มอนด์เดินทางกลับ<br />
สหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1938 ขณะที่ญี่ปุ่นกำลัง<br />
ทำสงครามขยายดินแดนในประเทศจีนอย่างเต็มที่<br />
โยชิดะ เทตสุโร (Yoshida Tetsuro) (1894-1956) สถาปนิก<br />
กระทรวงคมนาคม สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
แม้ว่าจะไม่เคยศึกษาในต่างประเทศ แต่เขาใช้เวลา 1 ปี ระหว่าง<br />
ค.ศ. 1931-1932 ไปทัศนศึกษาในยุโรปและอเมริกาโดยทุนรัฐบาล<br />
ทำให้มีโอกาสพบกับสถาปนิกสมัยใหม่ (modernist) หลายคนในยุโรป<br />
เช่น กลุ่มสถาปนิก 3 คน คือ เวอร์เนอร์ โมเสอร์ (Werner Moser)<br />
รูดอล์ฟ สไตเกอร์ (Rudolf Steiger) และ แมกซ์ เอิร์นส์ท์ ฮาเฟลลี<br />
(Max Ernst Haefeli) นอกจากนี้เขายังพบซีกฟรีด กิดเดียน<br />
(Sigfried Giedion) กุนนาร์ แอสปลัน (Gunnar Asplund) และ<br />
แรกน่าร์อูสท์เบอร์ก (Ragnar Ostberg) 103 เป็นต้น ช่วยเปิดโลกทัศน์<br />
ของเขาให้กว้างขึ้น ผลงานในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 ต่อ 1930<br />
116 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน โยชิดะ เทตสุโร (1894-1956)<br />
ล่าง อาคารไปรษณีย์กลางโตเกียว (1927-1931)<br />
แสดงให้เห็นลักษณะเด่นของลัทธิประโยชน์ใช้สอยนิยม<br />
(Functionalism) และลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism) ที่มาจาก<br />
อิทธิพลของสำนักเบาเฮาส์ เป็นเรื่องแปลกที่ช่วงเวลาดังกล่าว<br />
ลัทธิชาตินิยม ทหารนิยมกำลังเจริญงอกงามแพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่น<br />
มีอิทธิพลถึงกับกำหนดความนิยมในทางสถาปัตยกรรมให้เป็น<br />
แบบนิยมญี่ปุ่นที่เรียกว่า ไทคันโยชิกิหรือแบบมงกุฎจักรพรรดิ<br />
แต่การออกแบบในลักษณะสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
(International modern) ก็ยังมีให้เห็น และเป็นที่นิยมกันด้วย<br />
อย่างน้อยก็ก่อนสงครามจีน-ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1937 เช่น อาคาร<br />
ไปรษณีย์ของกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการอาคารสัญลักษณ์ชาติ<br />
ญี่ปุ ่นที่ทันสมัย มันเป็นช่องทางออกของงานแบบสมัยใหม่ในสังคม<br />
ญี่ปุ่นที่ถูกครอบงำด้วยลัทธิชาตินิยม ทหารนิยมที่คับแคบเปิดช่อง<br />
เล็กๆ ไว้ให้พอดี และเทตสุโร โยชิดะสามารถสอดแทรกเข้าไป<br />
ในช่องว่างนี้ได้<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
117
บน อาคารไปรษณีย์โอซาก้า ฮิกาชิ (1931)<br />
ล่าง ผังพื้นอาคารไปรษณีย์กลางโตเกียว<br />
อาคารไปรษณีย์กลางโตเกียว 104 (1927-1931) เป็นงาน<br />
ชิ้นแรกๆ สร้างชื่อให้เขาโด่งดังไปทั่วประเทศ อาคารนี้ตั้งอยู่ตรงข้าม<br />
สถานีรถไฟโตเกียวพอดี แต่มีลักษณะตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง<br />
ทั้งๆ ที่มีอายุต่างกันเพียง 17 ปี ผังอาคาร 105 เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู<br />
ที่บรรจุตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสของพิกัดเสาเต็มไปหมด รูปด้านหน้า<br />
อาคารเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงแสดงโครงสร้างกรอบเกิดจาก<br />
การประสานของเสาและคานอย่างชัดเจน ผนังของอาคารคือ<br />
แผ่นกระจกที่กรุเต็มช่องโครงสร้างเสา-คานคอนกรีตนั่นเอง<br />
ภายในอาคารติดตั้งอุปกรณ์อาคารสมัยใหม่เช่น เครื่องระบายอากาศ<br />
เครื่องทำความร้อน ระบบป้องกันอัคคีภัย และเชื่อมต่อกับสถานี<br />
รถไฟด้วยระบบรถรางใต้ดิน ไม่มีการประดับประดาตกแต่งใดๆ<br />
ทั้งในและนอกอาคาร นอกจากนาฬิกาใหญ่หน้าอาคารที่ติดตั้งเต็ม<br />
พื้นที่ 1 ช่องตารางโครงสร้าง และเป็นอุปกรณ์ที ่มีหน้าที่ใช้สอย<br />
มากกว่าสร้างความสวยงาม<br />
นอกจากอาคารไปรษณีย์กลางโตเกียวแล้ว โยชิดะยังได้<br />
ออกแบบอาคารลักษณะเดียวกันของกระทรวงคมนาคมในแบบ<br />
สมัยใหม่อีกหลังหนึ่งแต่ขนาดเล็กกว่าคือ อาคารไปรษณีย์โอซาก้า<br />
ฮิกาชิ (Osaka Higashi) ใน ค.ศ. 1931<br />
118 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
หนังสือบ้านญี่ปุ่นดั้งเดิม (1935)<br />
บ้านญี่ปุ่นดั้งเดิม (Das japanische Wohnhaus) (1935)<br />
เป็นหนังสือเล่มแรกที่โยชิดะเขียนเผยแพร่เรื่องเกี่ยวกับบ้านญี่ปุ่น<br />
ดั้งเดิมให้ชาวโลกได้รับรู้ หนังสือพิมพ์เป็นภาษาเยอรมันในชื่อ<br />
Das japanische Wohnhaus โดยสำนักพิมพ์เอิร์นส์ท์ วาสมุธ<br />
(Ernst Wasmuth) ใน ค.ศ. 1935 ซึ่งเป็นช่วงที่ความสนใจใน<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นของบรรดาสถาปนิกสมัยใหม่ในยุโรปขึ้นถึง<br />
ระดับสูงสุด 106 ซึ่งโยชิดะเองรับรู้แล้วถึงความสนใจนี้ขณะที่เขา<br />
ไปดูงานในยุโรปในช่วง ค.ศ. 1931-1932 ในตอนนั้นฮูโก ฮาริ่ง<br />
(Hugo Haring) และลุดวิก ฮิลเบอร์ไซเมอร์(Ludwig Hilberseimer)<br />
สองสถาปนิกสมัยใหม่ชาวเยอรมันแนะนำให้เขาเขียนหนังสือ<br />
ในหัวข้อนี้ อันที่จริงหนังสือว่าด้วยสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นแม้ว่าจะ<br />
เคยพิมพ์เผยแพร่แล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1882 แต่ก็เขียนโดยคริสโตเฟอร์<br />
เดรสเสอร์ (Christopher Dresser) ชาวอังกฤษ ต่อมายังมีหนังสือ<br />
หัวข้อนี้พิมพ์อีก 2-3 เล่ม แต่ไม่มีเล่มไหนที่เขียนโดยชาวญี่ปุ่น<br />
เหมือนหนังสือเล่มนี้ ในหนังสือนี้โยชิดะเขียนอย่างละเอียดและ<br />
เป็นระบบมาก เนื้อหาแบ่งเป็น 9 บท ว่าด้วยบทนำ ประวัติศาสตร์<br />
การจัดผังและการจัดพื้นที่ภายในบ้าน ตัวอย่างแผนผังบ้าน<br />
อาคารไม้ การก่อสร้างและรายละเอียด การระบายอากาศ ระบบ<br />
การทำความร้อน การให้แสงสว่าง ระบบจ่ายน้ำและการระบายน้ำ<br />
สวน ปัญหาการวางผังเมืองและเคหะการ ปิดท้ายด้วยภาคผนวก<br />
ว่าด้วยมาตรฐานและฝีมือช่าง 107 เขาเน้นในเรื่องสำคัญของ<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นได้ครบถ้วน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างอาคาร<br />
กับธรรมชาติ ความยืดหยุ่น ความมีเหตุผล โครงสร้างที่งดงาม<br />
ระบบมาตรฐานและความบริสุทธิ์ (ความสะอาดเกินปกติ) เขาว่า<br />
สิ่งเหล่านี้คือ สุนทรียภาพแบบญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับความรู้สึกที่บรูโน<br />
เทาท์ (Bruno Taut) สถาปนิกสมัยใหม่ชาวเยอรมันเคยกล่าวไว้<br />
อย่างไรก็ตามโยชิดะย้ำว่าบ้านดั้งเดิมแบบญี่ปุ่นต้องปรับตัวให้<br />
เข้ากับชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งเห็นได้จากอิทธิพลของวิถีชีวิตแบบยุโรป<br />
ที่เข้มแข็งกว่าในบ้านร่วมสมัยของญี่ปุ่น เขายังได้นำเสนอบ้าน<br />
ญี่ปุ่นแบบร่วมสมัยกว่า 20 ภาพ ที่มาจากงานที่เขาออกแบบในช่วง<br />
ค.ศ. 1927-1928 ใจความสำคัญที่เขาต้องการถ่ายทอดคือคุณค่า<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
119
บน ผังพื้นบ้านโอกาดะ<br />
ล่าง บ้านโอกาดะ (1933)<br />
ของบ้านญี่ปุ่นซึ่งได้แก่ “การใช้เหตุผล” และ “ระบบมาตรฐาน”<br />
นั้นสามารถปรับใช้ได้กับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ กล่าวคือเขา<br />
พยายามเสนอการออกแบบที่ใช้เหตุผลแบบสมัยใหม่ โดยเอาบ้าน<br />
ญี่ปุ่นโบราณมาเป็นฐานอ้างอิง หนังสือเล่มนี้ของเขามีอิทธิพลต่อ<br />
สถาปนิกตะวันตกหลายคน เช่น บรูโน เทาท์ และอัลวา อัลโต<br />
(Alva Aalto) เป็นต้น เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สร้างวาทกรรม<br />
รากฐานที่ว่า สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีลักษณะทางปรัชญาร่วมกับ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่นิยมกล่าวอ้างต่อกันมาในยุคหลัง<br />
อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้กลับถูกบรูโน เทาท์วิจารณ์ว่า กล่าวถึง<br />
รายละเอียดการก่อสร้างมากเกินไป โดยตั้งคำถามประชดว่า<br />
“...จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าจะมีสถาปนิกเยอรมันสักคนสามารถสร้าง<br />
บ้านแบบญี่ปุ่นในเบอร์ลิน โดยใช้ขนาดและรายละเอียดตามแบบ<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น? แม้ว่าจะมีสักคนหนึ่งทำ หนังสือเล่มนี้ก็ขาด<br />
การบรรยายรายละเอียดสำคัญบางอย่าง เช่น โครงสร้างของเพดาน<br />
หรือวิธีการสร้างหลังคา...” 108 เขายังวิจารณ์การใส่ภาพประกอบที่<br />
หรูหราของวังคัทสุระ (Katsura) และคฤหาสถ์ของบรรดาขุนนาง<br />
เพื่อมาสนับสนุนเนื้อหาหลักที่ว่าด้วยบ้านสามัญชนให้ดูวิเศษวิโสขึ้น<br />
คำวิจารณ์นอกจากนี้คือการใส่ลักษณะอุดมคติ (idealisaion)<br />
ให้กับญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจากประสบการณ์จริงที่เขาเคยพบเห็น 109<br />
กลุ่มบุนริฮา สถาปนิกกลุ่มนี้ที่เป็นผู้นำในการหาแนวทาง<br />
สถาปัตยกรรมแบบใหม่ตั้งแต่ยุคไทโช ยังคงดำเนินการออกแบบ<br />
แนวใหม่ต่อไปอย่างเข้มข้นในยุคโชวะ โดยเฉพาะงานของ 3<br />
สถาปนิกแกนนำกลุ่มคือ โฮริกูชิ ซูเตมิ ยามาดะ มาโมรุ และ<br />
อิชิโมโต คิกูชิ ในช่วงทศวรรษที่1930 นี้เราจะเห็นแนวทางของเขา<br />
หันไปหาแบบสากลนิยมสมัยใหม่ที่แฝงด้วยปรัชญาและวิถีชีวิต<br />
ญี่ปุ่นที่น่าสนใจโดยเฉพาะของ 2 คนแรก<br />
โฮริกูชิ ซูเตมิ (Horiguchi Sutemi) (1895-1984) ผู้นำ<br />
คนสำคัญของกลุ่มบุนริฮามีผลงานเป็นที่ประจักษ์แล้วตั้งแต่สมัยไทโช<br />
ในสมัยโชวะเขาพยายามยกระดับการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งคือการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นลงไป<br />
120 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บ้านโอกาดะ (Okada House) (1933) บ้านหลังนี้สร้าง<br />
ใน ค.ศ. 1933 มีจุดประสงค์ในการแสดงความแตกต่างที่กลมกลืน<br />
ของสองวัฒนธรรม ญี่ปุ่นและตะวันตก เหมือนบ้านฮามาโอะของ<br />
เรย์มอนด์ แต่บ้านหลังนี้มีจุดเด่นที่แบ่งบ้านออกเป็น 2 ส่วน<br />
ที่แตกต่างทางกายภาพอย่างชัดเจน คือส่วนบ้านญี่ปุ่นและ<br />
ส่วนบ้านสมัยใหม่ ความจริงที่เป็นเช่นนี้เพราะเดิมเจ้าของบ้าน<br />
จ้างสถาปนิกคนหนึ่งมาสร้างบ้านแบบญี่ปุ่นก่อนจนเกือบจะ<br />
แล้วเสร็จ แต่เกิดความไม่ชอบใจจึงเรียกโฮริกูชิมาทำต่อให้เสร็จ<br />
พร้อมกับเพิ่มส่วนที่เป็นแบบตะวันตกเข้าไปด้วย ผังบ้านเป็นรูป<br />
สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ล้อมสนามตรงกลาง 110 ส่วนตะวันออกของบ้านเป็น<br />
แบบสมัยใหม่ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ส่วนตะวันตกของบ้าน<br />
เป็นแบบญี่ปุ่นผังคล้ายรูปตัว U ที่ต่อจากปลายสองด้านของบ้าน<br />
สมัยใหม่ บ้านทั้งสองส่วนมีลักษณะที่ตรงข้ามกัน บ้านแบบญี่ปุ่น<br />
มีหลังคาจั่วและปีกนกมุงกระเบื้อง โครงสร้างเป็นไม้ ต่อกับบ้าน<br />
สมัยใหม่ที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเกลี้ยงๆ หลังคาแบน<br />
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่เมื่อมองลึกลงไปในรายละเอียด<br />
แล้วจะเห็นว่าบ้านทั้งส่วนต่างสร้างด้วยรายละเอียดแบบลูกผสม<br />
บ้านแบบญี่ปุ่นแม้จะเป็นห้องแบบปูเสื่อญี่ปุ่น แต่ผนังกลับเป็น<br />
แบบที่สามารถปรับเปลี่ยนวัสดุกรุฝาได้ ทั้งฝากระดาษและ<br />
แผ่นกระจก เพื่อประโยชน์ใช้สอยในการดูทัศนียภาพ การระบาย<br />
อากาศ และการควบคุมอุณหภูมิแล้วแต่โอกาส ในส่วนบ้าน<br />
สมัยใหม่โฮริกูชิใส่แผงกันสาดคอนกรีตยื่นเป็นชายคากันแดด<br />
และฝน การเจาะช่องประตูหน้าต่างมาจากการพิจารณาสภาพ<br />
อากาศชื้นของญี่ปุ่นเป็นหลัก มีการใช้พื้นไม้วางบนเสาตอม่อไม้<br />
ที่วางบนฐานก้อนหินแบบโบราณ 111 เพื่อกันความชื้นใต้ดินไม่ให้<br />
ขึ้นมาทำลายโครงสร้างพื้นไม้ เอกลักษณ์สำคัญในการออกแบบ<br />
ประการหนึ่งคือการจัดสวนเพื่อสร้างความเชื่อมต่อระหว่างส่วน<br />
บ้านญี่ปุ่นกับบ้านสมัยใหม่ โดยใช้สระน้ำสะท้อนความร้อน<br />
(reflected pool) ที่กว้างเท่าระเบียงบ้านญี่ปุ ่นโบราณ สระนี้ยังเป็น<br />
ตัวสร้างความกลมกลืนของสวนญี่ปุ่นที่อยู่ต่ำกว่าสนามหญ้า<br />
ให้พื้นที่ทั้งสองที่เป็นตัวแทนของตะวันออกและตะวันตกสมดุลกัน<br />
กลางสระมีเสากลมรับชายคาต้นเล็กๆ ปักอยู่ในฐานก้อนหินที่วาง<br />
สงบในสระนั้น โฮริกูชิใช้บ้านหลังนี้เป็นตัวแบบในการอธิบาย<br />
ปรัชญาการสร้างบ้านแบบญี่ปุ่นสมัยใหม่ให้ชาวตะวันตกเข้าใจ<br />
ในหนังสือภาษาเยอรมันของเขาชื่อบ้านแบบญี่ปุ่นร่วมสมัยหรือ<br />
Ein Japanishes Wohnhaus des Gegenwart (1935) 112 ซึ่งมีภาค<br />
ภาษาญี่ปุ่นกำกับไว้ด้วย<br />
ด้วยสาระสองวัฒนธรรมที่ปรากฏคู่กันอยู่จึงทำให้บ้านหลังนี้<br />
เป็นไปตามเจตนาที่โฮริกูชิเขียนไว้ในบทความชื่อ “รสนิยมญี่ปุ่น<br />
ที่แสดงออกในสถาปัตยกรรมร่วมสมัย” ใน ค.ศ. 1932 ที่นิยาม<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ว่า “...(เป็น) สถาปัตยกรรมที่เชื่อมต่อกับ<br />
โลกสากลแต่เหมาะกับญี่ปุ่น...” 113<br />
สถานีตรวจอากาศโอชิมา (Oshima Weather Station)<br />
(1937-1938) โตเกียว ทศวรรษ 1930 โฮริกูชิได้รับมอบหมายให้<br />
ออกแบบชุดสถานีตรวจอากาศถึง 7 โครงการ ตั้งแต่เกาะคิวชู<br />
(Kyushu) ทางใต้สุดเรื่อยมาจนถึงเกาะโอชิมา (Oshima) ซึ่งอยู่<br />
ในเขตโตเกียว สถานีตรวจอากาศเป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศ<br />
เกาะที่อ่อนไหวต่อภูมิอากาศรุนแรง เช่น พายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหว<br />
ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ สถานีตรวจอากาศนี้ตั้งอยู่บนเกาะที่เกิดจาก<br />
ภูเขาไฟระเบิดชื่อ โอชิมา อยู่ในเขตปกครองของเทศบาลกรุงโตเกียว<br />
สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1937-1938 อาคารในโครงการมี2 กลุ่มคือ<br />
สถานีตรวจอากาศตั้งอยู่บนเนินเขาด้านบน และกลุ่มบ้านพักตั้งอยู่<br />
ด้านล่าง ตัวสถานีตรวจอากาศมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 114<br />
ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ปีกตะวันออกอยู่ในแนวระดับ<br />
ปีกตะวันตกบิดลงประมาณ 20 องศาไปทางทิศใต้ และมีระดับต่ำ<br />
กว่า 2 เมตร ซึ่งเป็นไปตามภูมิประเทศ อาคารปีกตะวันออกเป็น<br />
สถานีตรวจอากาศและพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีอุตุนิยมวิทยา<br />
(meteorological technology museum) มีหอคอยตรวจอากาศ<br />
ตั้งติดกันทางทิศใต้ผังช่วงล่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าช่วงบนเป็นวงกลม<br />
อาคารปีกตะวันตกเป็นอาคารสำนักงาน สถานีวิจัยและส่วนพักอาศัย<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
121
บน สถานีตรวจอากาศโอชิมา (1938)<br />
ล่าง ผังพื้นสถานีตรวจอากาศโอชิมา<br />
ลักษณะอาคารเป็นกล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมยาว 2 กล่อง ความสูง<br />
ต่างกันเล็กน้อย สถานีตรวจอากาศตั้งอยู่สูงกว่าหันหน้าไปทางใต้<br />
เพื่อรับแสงสว่าง ด้านซ้ายสุด (ทิศตะวันตก) เป็นที่ตั้งหอคอย<br />
ตรวจอากาศสูงชะลูด 24 เมตร (72 ฟุต) ส่วนล่าง 2 ใน 3 ของ<br />
หอคอยเป็นทรงสี่เหลี่ยม ส่วนบน 1 ใน 3 เป็นทรงกระบอกเหมือน<br />
ท่อขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจาก “ประโยชน์ใช้สอย” จึงเป็น<br />
สถาปัตยกรรมที่ “ไร้รูปแบบ” (style-less style) (Yoshigi naki<br />
yoshigi) 115 ตามคำบอกเล่าของสถาปนิก รูปทรงประหลาดของ<br />
หอคอยมาจากเครื่องมือที่ติดตั้งภายใน เช่น หน้าปัดแสงอาทิตย์<br />
(sun dial) ที่ห้ามถูกเงาใดๆ บังทั้งสิ้น และลูกตุ้ม (pendulum) สำหรับ<br />
วัดการสั่นของปฐพี เครื่องมือทุกชิ้นต้องเข้าถึงได้ในสภาพอากาศ<br />
เลวร้ายทุกกรณี เครื่องมือบางอย่างต้องการอาคารรูปสี่เหลี่ยม<br />
ขณะที่ลูกตุ้มต้องการอาคารรูปทรงกระบอก ซึ่งกรณีหลังเป็นรูปทรง<br />
ที่สถาปนิกเห็นว่าเหมาะสม เพราะสามารถรองรับเสาอากาศ<br />
รับคลื่นวิทยุที่ติดตั้งอยู่ยอดบนสุดได้อย่างเหมาะสม อาคารนี้จึง<br />
ออกแบบให้ทุกองค์ประกอบมีประโยชน์ใช้สอย ทั้งเรื่องใช้งาน<br />
122 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
โดยตรงและดูดี ในเชิงปรัชญานั้นโฮริกูชิต้องการให้อาคาร<br />
มีความกลมกลืนกับภูมิประเทศ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม<br />
ตามหลักการของพิธีชงชาในทัศนะของเขาที่สามารถปรับเปลี่ยนไป<br />
ตามจิตวิญญาณของยุคสมัย 116 ดังนั้นหอคอยที่ปักลงบนสถานี<br />
ตรวจอากาศอุปมาดั่งเสาต้นกลาง (tokobashira) ของห้องชงชา 117<br />
ที่มีเสากลางเหมือนสมอยึด ขณะเดียวกันการออกแบบอาคารส่วน<br />
ที่อยู่ต่ำกว่า โฮริกูชิเจาะช่องหน้าต่างโดยคำนึงถึงทิศทางของแสง<br />
ที่จะส่งผลต่อรูปอากาศภายในห้องและทัศนียภาพที่มองออกไป<br />
จากตำแหน่งต่างๆ ภายในห้อง เขาจึงใช้หน้าต่างรูปแถบยาวตลอด<br />
ด้านบนของอาคาร เพื่อให้แสงสว่างที่ตกลงมาที่พิพิธภัณฑ์ภายใน<br />
มีความนุ่มนวลขณะเดียวกันทัศนียภาพผ่านหน้าต่างออกไปจะเห็น<br />
ท้องฟ้าและภูมิประเทศของเกาะเสมือนรูปภาพในกรอบ มันจึง<br />
ทำหน้าที่คล้ายฉากโบราณที่เรียกว่า แรนมา (ranma) ในศาลาชงชา<br />
ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของแสงและอากาศภายในห้อง<br />
อย่างไรก็ตามในทางรูปธรรมรูปแบบของอาคารเป็นผลจากอิทธิพล<br />
ของสถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่118 โดยเฉพาะโครงการชื่อแบบร่าง<br />
สำหรับสถาปัตยกรรมโรงงาน (Sketch for factory architecture)<br />
(1919) ของเจเจพีอู๊ด (J.J.P. Oud) และโครงการโรงเรียนประถมศึกษา<br />
ฮิลเวอร์ซัม (Hilversum Elementary School) (1921) ในเนเธอร์แลนด์<br />
ของ ดร.บาวินซ์ค์(Dr. Bavinck) โดยวิลเล็ม มารินุส ดูด็อค (Willem<br />
Marinus Dudok) สถานีตรวจอากาศโอชิมาจึงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง<br />
ที่สถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ของญี่ปุ่น<br />
แฝงปรัชญาพื้นเมืองผ่านการออกแบบที่ดูไม่แตกต่างจากรูปธรรม<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของยุโรป<br />
บน โครงการโรงเรียนประถมศึกษาฮิลเวอร์ซัม (1921)<br />
ล่าง อิชิโมโต คิกูชิ (1894-1963)<br />
อิชิโมโต คิกูชิ (Ishimoto Kikuchi) (1894-1963) งานของเขา<br />
ในยุคโชวะที่โด่งดังคืออาคารห้างสรรพสินค้าชิโรกิยะ (Shirokiya<br />
Department Store) (1931) ที่โตเกียว สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1931<br />
เป็นอาคารคอนกรีตที่ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนน ลักษณะโดดเด่นด้วยการ<br />
กรุกระจกหน้าต่างเต็มช่วงเสาคาน และเน้นเป็นพิเศษที่หัวมุม<br />
อาคารที่โค้งไปตามแนวถนน โดย 3 ชั้นล่างกรุด้วยกระจกเป็น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
123
บน ห้างสรรพสินค้าชิโรกิยะ (1931)<br />
ล่าง ผังพื้นห้างสรรพสินค้าชิโรกิยะ<br />
แถวยาวเต็มช่องโครงสร้าง สลับกับ 2 ชั้นบนที่ผนังกระจกถูก<br />
ร่นเข้ามาให้เห็นแผ่นพื้นกันสาดยื่นออกมา แม้ว่าเขาจะเคยเรียน<br />
กับโกรเปียสในเยอรมนีใน ค.ศ. 1922 แต่ห้างสรรพสินค้านี้ก็ดู<br />
แตกต่างจากห้างที่เยอรมันที่สร้างในเวลาเดียวกันโดยเมนเดลโซน<br />
แต่กลับคล้ายห้างสรรพสินค้าบิเจนคอร์ฟ (De Bijenkorf) ที่เมือง<br />
ร็อตเตอร์ดัม (Rotterdam) ในเนเธอร์แลนด์ ที่ออกแบบโดยวิลเล็ม<br />
มารินุส ดูด็อค 119 (Willem Marinus Dudok) ใน ค.ศ. 1929-1930<br />
คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของอิชิโมโตคือการเป็นตัวเชื่อม<br />
ให้กับสถาปนิกรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นได้มีโอกาสไปศึกษาที่เยอรมนี<br />
ยามากูชิ บุนโซ (Yamaguchi Bunzo) ผู้ช่วยของอิชิโมโตซึ่งต่อมา<br />
จะเป็นสถาปนิกสำคัญอีกคนหนึ่งเป็นตัวอย่างสำคัญของกรณีนี้<br />
อย่างไรก็ดีห้างสรรพสินค้านี้สร้างความอื้อฉาวขึ้นครั้งใหญ่<br />
เมื่อเกิดไฟไหม้ในห้างขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1932 มี<br />
ผู้เสียชีวิตถึง 14 คนและบาดเจ็บ 67 คน มีผู้กล่าวว่าการเสียชีวิต<br />
มาจากการที่ผู้ประสบเหตุไม่ยอมกระโดดตึกลงมาที ่ตาข่ายรองรับ<br />
ข้างล่าง เพราะสตรีญี่ปุ่นใส่กิโมโนและไม่สวมกางเกงชั้นในจึงมีความ<br />
อับอายที่จะกระโดดจากชั้นบนลงมาและลังเลที่จะหนีจนต้อง<br />
เสียชีวิต โดยทั่วไปเชื่อว่าเหตุการณ์ไฟไหม้ห้างชิโรกิยะได้เปลี่ยน<br />
ให้เกิดการยอมรับการใส่กางเกงชั้นในในสังคมญี่ปุ่น 120 เป็นผลกระทบ<br />
จากการรับวัฒนธรรมใหม่ทางสถาปัตยกรรมที่ยากจะคาดคิด<br />
124 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ยามาดะ มาโมรุ (Yamada Mamoru) (1894-1966)<br />
ผู้นำอีกคนหนึ่งของกลุ่มบุนริฮาที่มีผลงานมีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยไทโช<br />
ในสมัยโชวะผลงานแบบเอ๊กเพรสชั่นนิสม์ (Expressionism)<br />
ที่เส้นสายโค้งมนเริ่มกลายเป็นทรงกล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมทาสีขาว<br />
ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ตัวอย่างเช่นสำนักงานโทรศัพท์โอกิกูโบ<br />
(Ogikubo Telephon Office) 121 (1933) โตเกียว แต่ผลงานสำคัญ<br />
ที่สุดของเขาในช่วงนี้ไม่ใช่อาคารโทรคมนาคมแต่เป็นโรงพยาบาล<br />
ซ้าย ห้างสรรพสินค้าบิเจนคอร์ฟ (1929-1930)<br />
ขวา ยามาดะ มาโมรุ (1894-1966)<br />
โรงพยาบาลไทชิน (Teishin Hospital) (1936) โตเกียว<br />
ในสมัยโชวะนี้ยามาดะก็เหมือนสถาปนิกผู้นำหลายคนที่พยายาม<br />
สร้างอัตลักษณ์ญี่ปุ่นผ่านสถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่ที่เคร่งครัด<br />
ในการออกแบบเพื่อการใช้งาน โรงพยาบาลไทชินมีพื้นที่ 13,500<br />
ตารางเมตร สร้างในกรุงโตเกียวใน ค.ศ. 1936 ความจริงยามาดะ<br />
สนใจการออกแบบโรงพยาบาลอยู่ก่อนแล้ว เขาไปสำรวจ<br />
โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกาและยุโรประหว่างช่วงทัศนศึกษา<br />
ใน ค.ศ. 1929 เป้าหมายคือการออกแบบอาคารที่เรียบง่ายและ<br />
ใช้งานได้ดี มีกายภาพที่ถูกต้องนั่นคือความสะอาด แสงสว่าง<br />
เต็มที่ การระบายอากาศได้ดีในห้องต่างๆ โรงพยาบาลประกอบ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
125
บน โรงพยาบาลไทชิน (1936)<br />
ขวา ผังพื้นโรงพยาบาลไทชิน<br />
ด้วยอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 3 หลัง 122 เรียงกันคล้ายรูปตัว Y<br />
อาคารที่เป็นฐานตัว Y เป็นอาคารกลางสำหรับการตรวจรักษา<br />
มี 5 ชั้น การรักษาแบ่งเป็น 2 แผนคือ แพทย์สมัยใหม่และ<br />
แผนโบราณ แยกเป็นชั้นๆ สลับกัน ในแต่ละชั้นจะมีทางเดินกลาง<br />
(corridor) ห้องต่างๆ วางเรียงไปตามสองข้างของทางเดินนี้<br />
ซึ่งเป็นตัวเชื่อม อาคารผู้ป่วยในแยกเป็น 2 หลัง สูง 4 ชั้น ตั้งอยู่<br />
ในส่วนที่เป็นแขนของตัว Y จำนวนเตียงทั้งสิ้น 321 เตียง เว้นที่<br />
ว่างระหว่างอาคารผู้ป่วยในเพื่อจัดสวน เพื่อให้มีแสงสว่างและ<br />
การระบายอากาศที่ดี โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
รูปทรงกล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมเห็นอิทธิพลของเบาเฮาส์<br />
ที่ชัดเจน การกำหนดความสูงของชั้น และขนาดประตู-หน้าต่าง<br />
กำกับด้วยระบบมาตรฐาน ทำให้ประหยัดค่าก่อสร้างได้มากเหมาะ<br />
สมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้การออกแบบ<br />
องค์ประกอบต่างๆ ของอาคารยังเต็มไปด้วย “เหตุผล”<br />
เกี่ยวกับประโยชน์ใช้งาน เช่น การมีระเบียงที่ห้องพักคนไข้เพื่อ<br />
ประโยชน์ในการรับแสงแดด การเห็นทัศนียภาพ และทำความ<br />
สะอาดง่าย หน้าต่างที่กั้นระเบียงออกแบบให้เลื่อนขึ้นจนเป็นช่อง<br />
ประตูที่สามารถเข็นเตียงคนไข้ออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ที่ระเบียงได้<br />
126 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การเดินติดต่อระหว่างชั้นเชื่อมด้วยทางลาด ทำให้พยาบาล<br />
สามารถเข็นเตียงคนไข้ไปที่จุดใดก็ได้ คนไข้ที่ช่วยตัวเองได้<br />
สามารถเข็นเก้าอี้เข็นเดินทางได้โดยไม่ต้องพึ่งลิฟต์ ยามาดะยังใช้<br />
ทางลาดในรูปสามเหลี่ยมมุมโค้งเป็นถนนทางเข้าด้านหน้าของ<br />
โรงพยาบาล นอกจากเรื่องประโยชน์ใช้สอยมันช่วยลดความ<br />
กระด้างของตึกสี่เหลี่ยมทั้งหลายของโรงพยาบาลนี้ ที่นึกไม่ถึง<br />
อีกประการหนึ่งคือการใช้กระเบื้องเคลือบสีขาวขนาด 5×5 ซม.<br />
กรุผิวอาคารทั้งภายในและภายนอก ยามาดะต้องการผลทั้งด้าน<br />
ประโยชน์ใช้สอยและสุนทรียภาพของวัสดุนี้ ด้านหนึ่งมันทำให้<br />
ผนังภายในสว่าง ขณะที่เมื่ออยู่บนผนังภายนอกมันเป็นตัวสะท้อน<br />
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสะท้อนแสงแวววับยามกระทบ<br />
แสงแดด นอกจากนี้ทุกซอกมุมของอาคารจะถูกกรุด้วยกระเบื้อง<br />
ผิวโค้งเพื่อให้ทำความสะอาดง่ายไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค<br />
และความสกปรก ความนุ่มนวลของผิวโค้งมนเล็กๆ นี้ยามาดะ<br />
กล่าวว่า “...มาจากคุณลักษณ์ของศิลปะญี่ปุ่นที่จะต้องไม่ถูกลืมว่า<br />
จิตวิญญาณญี่ปุ่นเติบโตขึ้นมาจากความอ่อนไหวต่อฤดูกาลทั้ง 4<br />
และความงามของธรรมชาติ...” 123 ทั้งหมดนี้ตรงกับบทความ<br />
ค.ศ. 1922 ที่เขาเขียนว่า “...ไม่ว่าสถาปนิกจะมีความสามารถ<br />
เพียงไร ถ้าไม่มีวิธีที่จะทำให้มันเป็นจริงได้ มันจะไม่ถูกสร้าง นี่เป็น<br />
เรื่องที่ว่าทำไมเราถึงมาร่วมกัน เพื่อสร้างพื้นฐานในการสร้าง<br />
สถาปัตยกรรมแบบใหม่นี้สถาปัตยกรรมแบบใหม่นี้จะมีความหมาย<br />
จริงๆ ในชีวิตประจำวันของมวลชน...” 124 ซึ่งสะท้อนแนวคิด<br />
สังคมนิยมของเขาในช่วงก่อตั้งกลุ่มบุนริฮา และไม่น่าแปลกใจ<br />
เมื่ออาคารนี้สร้างเสร็จ มันก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์<br />
ที่ทันสมัยของประเทศญี่ปุ่นทันทีโดยผ่านการสื่อสารของนักวิจารณ์<br />
และสื่อสารมวลชนทุกแขนงโดยเฉพาะจากภาพถ่าย<br />
กลุ่มสถาปนิกที่ศึกษาจากสถาบันเบาเฮาส์ ช่วงปลาย<br />
ทศวรรษที่1920 ต่อต้นทศวรรษที่1930 สถาปนิกหนุ่มญี่ปุ่นหลาย<br />
คนเลือกไปศึกษาต่อที่สถาบันเบาเฮาส์ที่เดสเซา (Bauhaus Dessau)<br />
ในเยอรมนีกับวอลเตอร์ โกรเปียส และกลับมาญี่ปุ่นเผยแพร่ผลงาน<br />
ในแนวนี้ตอนต้นทศวรรษที่ 1930 ก่อนที่จะถูกกดดันให้เลิกราไป<br />
ด้วยอิทธิพลของระบอบการปกครองชาตินิยม ทหารนิยม บรรดา<br />
งานเหล่านี้ที่น่าสนใจได้แก่<br />
บ้านมิกิชิ (Migishi House) 125 (ก่อน 1935) ที่ซากิโนมิยะ<br />
(Saginomiya) โตเกียว ออกแบบโดยอิวาโอะ ยามาวากิ (Iwao<br />
Yamawaki) (1898-1987) ซึ่งเรียนที่เบาเฮาส์ในช่วงค.ศ.1930-1932<br />
บ้านหลังนี้เป็นบ้านของศิลปินมีห้องปฏิบัติงาน (studio) ขนาดใหญ่<br />
ที่ออกแบบพื ้นที่รวมไปกับห้องนั่งเล่นและสูงโล่ง 2 ชั้น ซึ่งไม่ใช่<br />
เรื่องปกติในยุคนั้น ผนังกรุกระจกทั้งหมดจากพื้นจรดเพดาน รูปทรง<br />
และการตกแต่งทั้งภายนอกและภายในเรียบเกลี้ยงแบบเบาเฮาส์<br />
บ้านยามาดะ (Yamada House) 126 (1934) ที่คิตะกามากูระ<br />
(Kita Kamakura) จังหวัดคานากาว่า (Kanagawa) ออกแบบโดย<br />
ยามากูชิ บุนโซ (Yamaguchi Bunzo) (1902-1978) ใน ค.ศ. 1934<br />
เขาเป็นสมาชิกทั้งกลุ่มบุนริฮาและโซชา เรียนที่เบาเฮาส์ในช่วง<br />
ทศวรรษที่ 1930 เช่นเดียวกัน ผังบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว<br />
คล้ายตัว L คล้ายบ้านแบบสมัยใหม่ทั่วไป แต่ความจริงสถาปนิก<br />
จัดเรียงห้องต่าง ๆ ต่อกันเป็นแถวยาวจากด้านตะวันออกไปตะวันตก<br />
แบบเดียวกับบ้านโบราณของญี่ปุ่น แต่โดยลักษณะภายนอกที่เรียบ<br />
เป็นทรงกล่องคอนกรีตสีขาว ทำให้นึกถึงอิทธิพลของริชาร์ด นูตรา<br />
(Richard Nuetra) (1892-1970) สถาปนิกอเมริกันเชื้อสาย<br />
ออสเตรีย-ฮังการี ที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่1930<br />
และเคยเดินทางมาโตเกียวใน ค.ศ. 1930 ทั้งยามากูชิและเมอิคาวา<br />
คูนิโอ (Maekawa Kunio) ต่างก็มีโอกาสพบกับเขา แม้นูตราจะเป็น<br />
พวกสถาปนิกสมัยใหม่รุ่นบุกเบิกอีกสายหนึ่งที่เป็นศิษย์ของ<br />
อดอล์ฟ ลูส์ (Adolf Loos) (1870-1933) และทำงานกับเอริก<br />
เมนเดลโซน (Eric Mendelsohn) (1887-1953) ในเบอร์ลิน<br />
บ้านยามาดะเป็นอาคารแบบสากลนิยมสมัยใหม่รุ่นแรกของญี่ปุ่น<br />
อีกหลังหนึ่งที่มีลักษณะ 2 นัยระหว่างรูปแบบสากลนิยมแต่ผังแฝง<br />
ลักษณะบ้านโบราณของญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
127
บ้านมิกิชิ (ก่อน1935)<br />
ผังพื้นบ้านมิกิชิ<br />
128 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ขวา บ้านยามาดะ (1934)<br />
ล่าง ผังพื้นบ้านยามาดะ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
129
บ้านเสาสีขาว (White Pillar House) 127 (1937) ที่ฮาโกเน<br />
เซนโกกุ (Hakone-Sengoku) จังหวัดคานากาว่า (Kanagawa)<br />
ออกแบบโดยชิคาทาดะ คุราตะ (Chikatada Kurata) ใน ค.ศ. 1937<br />
เขาเรียนกับโกรเปียสที่เบาเฮาส์ใน ค.ศ. 1930-1931 อาคารนี้เป็น<br />
บ้านแบบวิลลา (villa) ในแบบสากลนิยมสมัยใหม่ที่โดดเด่น<br />
เพราะไม่สนใจในขนบการออกแบบบ้านแบบเดิมอๆ ที่หลีกเลี่ยง<br />
การสร้างอาคารบนที่เนิน แต่เขาทำตรงกันข้ามเพื่อให้บ้านได้รับ<br />
ทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเลสาบฮาโกเน สถาปนิกจงใจออกแบบ<br />
ห้องนอนให้เป็นมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมาจากตัวบ้าน ตั้งอยู่บนเสา<br />
ลอยตัวยกใต้ถุนโล่ง ดูลอยเด่นบนเนินเขาละม้ายกับบ้านโลเวลล์<br />
(Lovell House) (1927-1929) ที่ลอสแองเจลีส ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง<br />
ระดับโลกที่ออกแบบโดยนูตราเป็นอย่างยิ่ง<br />
บนซ้าย บ้านเสาสีขาว (1937)<br />
บนขวา บ้านโลเวลล์ (1927-1929) โดยริชาร์ด นูตรา<br />
ล่าง ผังพื้นบ้านเสาสีขาว<br />
130 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
นอกจากบ้านที่ยกตัวอย่างมา 3 หลังนี้แล้ว กลุ่มสถาปนิก<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ญี่ปุ่นที่เรียนจากเยอรมัน ยังออกแบบอาคาร<br />
สาธารณะที่มีลักษณะโดดเด่นในแบบลัทธินี้อีก เช่น โรงพยาบาล<br />
ทันตกรรมมหาวิทยาลัยนิฮอน (Nihon Dental College Hospital) 128<br />
(1934) ที่โตเกียว ออกแบบโดยยามากูชิ บุนโซอีกเช่นกัน<br />
เป็นอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยง ที่สะท้อนแนวคิดอาคาร<br />
เพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มที่แบบเดียวกับโรงพยาบาลไทชิน<br />
ของยามาดะ อาคารโรงไฟฟ้าคุโรเบะ (Kurobe Power Station) 129<br />
(1938) ที่จังหวัดโตยามา (Toyama) ออกแบบใน ค.ศ. 1938<br />
โดยยามากูชิเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะเป็นงานวิศวกรรมแท้ๆ แต่ก็ดู<br />
สวยงามแบบอาคารสากลนิยมสมัยใหม่<br />
บน โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยนิฮอน (1934)<br />
ล่างซ้าย โรงไฟฟ้าคุโรเบะ (1938)<br />
ล่างขวา บันโชซิดลุง (1933)<br />
อาคารชุดพักอาศัย (Apartment) และเคหะชุมชนเมือง<br />
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคทศวรรษ 1890 ทำให้โตเกียวมี<br />
พลเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 1.2 ล้านคนใน ค.ศ. 1890 เป็น 2<br />
ล้านคน ใน ค.ศ. 1905 และถึง 4.5 ล้านคนใน ค.ศ. 1923 ซึ่งเกิด<br />
เหตุการณ์แผ่นดินไหวคันโต (Kanto earthquake) ตั้งแต่ช่วง<br />
สงครามโลกครั้งที่ 1 การขาดแคลนที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองก็<br />
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรก รัฐบาลจึงจัดตั้งสหกรณ์ (mutual profit<br />
corporation) เพื่อจัดการเคหะผ่านสมาคมเคหะการหรือโดจุงไก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
131
บน ผังพื้นบันโชซิดลุง<br />
ล่างซ้าย หมู่บ้านไว้ส์เซนโฮฟซิดลุง สตุตการ์ท (1927)<br />
ล่างซ้าย ฮาราจูกุอะพาร์ตเมนต์ (1926)<br />
(Dojunkai) 130 ใน ค.ศ. 1924 โดยสร้างอาคารชุดพักอาศัยจำนวน<br />
16 อาคาร แบ่งเป็น 14 อาคารในโตเกียวและ 2 อาคาร<br />
ในโยโกฮาม่า ในทศวรรษ 1930 ก็เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าอาคาร<br />
ชุดพักอาศัยและเคหะชุมชนเมืองเป็นความจำเป็นของคนทั่วไป<br />
ไม่ใช่เรื ่องของการบรรเทาความยากลำบากของคนยากจน<br />
อาคารเคหะชุมชนเมืองเป็นหมู่บ้านนอกใจกลางเมือง มีตั้งแต่แบบ<br />
ที่สูง 2-3 ชั้น จนถึง 5-6 ชั้น สำหรับประชากร 6.36 ล้านคน<br />
ใน ค.ศ. 1935 131 จำนวนโครงการมีมากกว่าตอนที่เกิดแผ่นดินไหว<br />
เสียอีก โครงการเคหะชุมชนเมืองที่น่าสนใจ ได้แก่ บันโชซิดลุง<br />
(Bancho Siedlung) 132 ในโตเกียว เป็นหมู่บ้านเอกชนล้อมถนน<br />
แบบปลายวงเวียน (cue de sac) ตัวบ้านมีระเบียง มีทั้งแบบ 2<br />
ห้องนอนและ 3 ห้องนอน มีห้องนั่งเล่นรวมกับห้องรับประทาน<br />
อาหาร หันหน้าไปหาสวนเล็กๆ มีบันไดจากชั้นล่างไปห้องนอน<br />
ชั้นบน มีห้องแม่บ้านขนาดเล็กอยู่ด้วย รวมทั้งห้องครัว ออกแบบ<br />
โดยยามากูชิ บุนโซ ใน ค.ศ. 1933 น่าจะเลียนแบบหมู่บ้าน<br />
ไว้ส์เซนโฮฟซิดลุง (Weissenhofsiedlung) ในสตุตการ์ท<br />
(Stuttgart) ซึ่งออกแบบใน ค.ศ. 1927 โดยพวกด๊อยส์เชอร์<br />
แว๊ร์คบุนด์ (Deutscher Werkbund) ที่นำโดยวอลเตอร์ โกรเปียส<br />
ที่เป็นอาจารย์ของยามากูชิด้วย ลักษณะภายนอกเป็นบ้านกล่อง<br />
สี่เหลี่ยม มีหน้าต่างเป็นแถบยาว ผิวกรุโมเสกสีขาวเดินขอบ<br />
สีม่วงเข้ม ส่วนอาคารชุดพักอาศัยมีมาก่อนหน้านี้หลายปีรุ่นแรกๆ<br />
132 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ไดคันยามาอะพาร์ตเมนต์ (1927)<br />
ล่าง ผังพื้นไดคันยามาอะพาร์ตเมนต์<br />
ได้แก่ ฮาราจูกุอะพาร์ตเมนต์(Harajuku Apartment) อะพาร์ตเมนต์<br />
ที่อะโอยามา (Aoyama) โตเกียว สร้างใน ค.ศ. 1926 ทั้ง 2 โครงการ<br />
เป็นอาคารชุดสูง 4 ชั้น และไดคันยามา อะพาร์ตเมนต์(Daikanyama<br />
Apartment) 133 ที่ชิบูย่า ที่สร้างใน ค.ศ. 1927 ออกแบบโดยโดจุงไก<br />
โครงการนี้เป็นหมู่บ้านใหญ่ประกอบด้วยบ้านพักอาศัย 289 หน่วย<br />
ลักษณะเป็นบ้านแฝด 2 ชั้น สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อต้าน<br />
แผ่นดินไหว แต่ละหน่วยมีบ้าน 2 ขนาดคือ บ้านแบบ 3 ห้องนอน<br />
ขนาด 3 เสื่อ 4.5 เสื่อ และ 8 เสื่อตามลำดับแบบหนึ่ง และบ้านแบบ<br />
2 ห้องนอน ขนาด 4.5 เสื่อ และ 6 เสื่อตามลำดับอีกแบบหนึ่ง<br />
อาคารชุดพักอาศัยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือเอโดกาว่าอะพาร์ตเมนต์<br />
(Edogawa Apartment) 134 ที่เอโดกาว่าบาชิ (Edogawa bashi)<br />
โตเกียว สร้างใน ค.ศ. 1934 โดยโดจุงไก เป็นอะพาร์ตเมนต์<br />
ขนาดใหญ่สูง 6 ชั้น แบ่งเป็น 2 แถว แถวหน้าเป็นตึกสูง 4 ชั้น<br />
ผังรูปตัว I แถวหลังหลังเป็นตึกรูปตัว U สูง 6 ชั้น มีระบบทำความ<br />
ร้อนจากศูนย์กลาง สุขภัณฑ์ใช้โถชักโครก หนึ่งหน่วยพักปกติ<br />
ประกอบด้วย ห้องขนาดใหญ่ 1 ห้อง และขนาดเล็ก 2 ห้องมีโถง<br />
ทางเข้าสำหรับแต่ละหน่วย ห้องทั่วไปมีระเบียงและห้องแม่บ้าน<br />
แต่ห้องคนโสดจะไม่มีทั้งสองอย่างนี้และตั้งอยู่บนชั้น 5 และ<br />
6 ตึกทั้งสองต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีสนามตรงกลางที่ใช้เป็น<br />
สวนพักผ่อนของอะพาร์ตเมนต์ซึ่งเป็นทฤษฎีออกแบบของยุโรป<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
133
บนซ้ายและขวา เอโดกาว่าอะพาร์ตเมนต์<br />
(1934)<br />
ล่าง ผังบริเวณไดคันยามาอะพาร์ตเมนต์<br />
134 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
โรงเรียนแบบสากลนิยมสมัยใหม่ อาคารแบบสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ถูกนำไปใช้ออกแบบโรงเรียนด้วยและสถาปนิกก็ไม่ได้<br />
เรียนจากเยอรมัน แสดงถึงรูปแบบนี่เป็นที่ยอมรับในระดับที่กว้างขวาง<br />
มีอาคารโรงเรียนชั้นประถมศึกษาหลายหลังที่ถูกสร้างใหม่แทน<br />
โรงเรียนไม้ที่พังทลายในคราวแผ่นดินไหวใหญ่คันโตใน ค.ศ. 1926<br />
อาคารเหล่านี้ถูกสร้างในแบบสากลสมัยใหม่ที่เรียบเกลี้ยงโดย<br />
สถาปนิกของเทศบาลกรุงโตเกียว อาคารเรียนมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้ายาว ส่วนอาคารกีฬาในร่มเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าป้อมๆ<br />
มีสนามกีฬากลางแจ้ง และบางโรงเรียนมีสระว่ายน้ำด้วย ซึ่งสะท้อน<br />
ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อวิชาพลศึกษาของรัฐตั้งแต่ยุคนั้น<br />
ลักษณะอาคารเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อกัน<br />
แผ่นดินไหว โครงสร้างประกอบด้วยเสาเรียงเป็นแถวตัดกับแนวคาน<br />
เป็นช่องตารางสี่เหลี่ยมที่กรุด้วยแผ่นกระจกเต็มช่อง ส่วนหัวและ<br />
ท้ายอาคารอาจออกแบบเป็นโถงใหญ่สำหรับกิจกรรมเรียนรวมหรือ<br />
สันทนาการ และจะมีการเน้นเป็นพิเศษโดยการหุ้มผนังด้วย<br />
แผ่นกระจกทั้งหมดที่อาจสูง 2-3 ชั้นทีเดียว คล้ายกับงานของ<br />
บน ผังพื้นโรงเรียนประถมศึกษาที่ 5 เขตย็อตสุย่า<br />
ล่าง โรงเรียนประถมศึกษาที่ 5 เขตย็อตสุย่า (1934)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
135
พวกเบาเฮาส์ในญี่ปุ่นและเยอรมันเช่นกัน ตัวอย่างของอาคาร<br />
เหล่านี้ที่น่าสนใจที่สุดคือ โรงเรียนประถมศึกษาที่ 5 เขตย็อตสุย่า<br />
(Yotsuya) (1934) 135 นอกจากนี้ได้แก่โรงเรียนประถมศึกษาแห่ง<br />
ทากะนะวะได (Takanawadai) (1935) 136 และโรงเรียนประถมศึกษา<br />
15 ห้องเรียนแห่งนากาตะโช (Nagata-cho) (1937) 137 เป็นต้น<br />
แต่ศิลปะในการวางผังของ 2 โรงเรียนหลังยังดูเป็นรองโรงเรียนแรก<br />
อยู่มาก<br />
บน โรงเรียนประถมศึกษาแห่งทากะนะวะได (1935)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งทากะนะวะได<br />
136 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน โรงเรียนประถมศึกษา 15 ห้องเรียนแห่งนากาตะโช (1937)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงเรียนประถมศึกษา 15 ห้องเรียนแห่งนากาตะโช<br />
โดยภาพรวมแล้วในช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นช่วงเวลา<br />
สุดท้ายที่สถาปนิกหัวก้าวหน้าทุกกลุ่มของญี่ปุ่นยังมีโอกาสได้<br />
แสดงผลงานสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ที่เน้น “เหตุผล”<br />
และ “ประโยชน์ใช้สอย” ที่พ่วงด้วยการใส่อัตลักษณ์หรือจิตวิญญาณ<br />
แบบญี่ปุ่นในลักษณะต่างๆ ตามศักยภาพการสร้างสรรค์รูปแบบ<br />
และ “วาทกรรม” ของแต่ละปัจเจกสถาปนิก ซึ่งความจริงเป็นเรื่อง<br />
ตรรกะที่ขัดแย้งกันของ “สากลนิยม” และ “ท้องถิ่นนิยม” ที่ดูเหมือน<br />
ว่าสถาปนิกหัวก้าวหน้าญี่ปุ่นจะแสร้งเป็นไม่สนใจ ว่าพวกเขาเอง<br />
ก็ถูกครอบงำด้วยลัทธิชาตินิยมอยู่ไม่น้อย<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
137
ศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการนานาชาติที่กรุงปารีส 1937<br />
โครงการนี้เป็นเรื่องประหลาดที่สถาปัตยกรรมแบบที่กำลัง<br />
ต้องห้ามภายในประเทศกลับมาเป็นตัวแทนของประเทศในยุโรป<br />
ในช่วงที่ลัทธิชาตินิยมและสังคมนิยมกำลังเฟื่องฟูและต่อสู้กัน<br />
ทั้งแนวรบด้านการเมืองและวัฒนธรรม รัฐบาลฝรั่งเศสจัดงานแสดง<br />
นิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิคสมัยใหม่(Exposition<br />
Internationale des Art et Techniques dans la vie Moderne<br />
1937) ใน ค.ศ. 1937 ที่กรุงปารีส ท่ามกลางบรรยากาศความขัดแย้ง<br />
ของลัทธิการเมืองซ้ายจัดและขวาจัดในระดับสากล นั่นคือการ<br />
เผชิญหน้ากันของลัทธิสังคมชาตินิยมน ำโดยพรรคนาซีของอดอล์ฟ<br />
ฮิตเลอร์แห่งเยอรมนี และลัทธิคอมมิวนิสต์ที่นำโดยพรรค<br />
คอมมิวนิสต์ของโจเซฟ สตาลินแห่งสหภาพโซเวียต ภายใต้คำขวัญ<br />
ว่า “ศิลปะและเทคโนโลยีของชีวิตสมัยใหม่” ญี่ปุ่นเป็น 1 ใน 40<br />
ประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานนี้ ขณะที่ประเทศกำลังดำเนิน<br />
นโยบายจักรวรรดินิยมโดยการรุกรานเข้าไปในประเทศจีนใน<br />
ปีเดียวกันนั้นเอง กระทรวงพาณิชย์ หอการค้าญี่ปุ่นและสมาคม<br />
ส่งเสริมวัฒนธรรมนานาชาติและการค้าแห่งญี่ปุ่น ได้ร่วมกันจัดตั้ง<br />
“คณะกรรมการนิทรรศการแห่งกรุงปารีส” ขึ้นเพื่อรับผิดชอบ<br />
โครงการนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการยกระดับวัฒนธรรมญี่ปุ่นขึ้นสู่<br />
เวทีระดับโลก คณะกรรมการได้มอบให้ คิชิดะ ฮิเดโตะ (Kishida<br />
Hideto) (1899-1966) จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ผู้ออกแบบหอประชุม<br />
ของมหาวิทยาลัยนั้น (Yasuda Hall) เป็นหัวหน้าคณะออกแบบ<br />
พร้อมกับสถาปนิกอีก 5 คนคือ มาเอดะ เคนจิโร (Maeda Kenjiro)<br />
เมอิคาว่า คูนิโอ (Maekawa Kunio) อิชิอูระ เคน (Ichiura Ken)<br />
โยชิดะ เทตสุโร (Yoshida Tetsuro) และทานิกูชิ โยชิโร<br />
(Taniguchi Yoshiro) เป็นคณะกรรมการออกแบบ คณะกรรมการ<br />
ออกแบบได้เสนอแบบหลายแบบและลงเอยที่แบบของเมอิกาวาซึ่ง<br />
เป็นไปตามหลักการที่ตกลงกันไว้ระหว่างคณะกรรมการและผู้รับ<br />
138<br />
ผิดชอบ คือต้องเป็นงานที่มีลักษณะจิตวิญญาณญี่ปุ่นที่จับต้องได้<br />
และต้องก่อสร้างได้โดยใช้เทคนิค วัสดุ และแรงงานท้องถิ่นของ<br />
ฝรั่งเศส ซึ่งเมอิกาวาออกแบบเป็นกล่องคอนกรีตสี ่เหลี่ยมยาว<br />
ด้านหน้ากรุกระจกเต็มพื้นที่ มีหอไอเฟลเป็นฉากหลัง แบบนี้เอง<br />
ทำให้คณะกรรมการนิทรรศการแห่งกรุงปารีสลังเลที่จะยอมรับแบบ<br />
เพราะทำใจไม่ได้กับแบบที่ไม่เป็น“ญี่ปุ่น” เช่นนี้ในที่สุดคณะกรรมการ<br />
ออกแบบฯ จึงต้องส่งแบบใหม่ที่เป็นแบบ “ญี่ปุ่น” ไปให้ แต่ก็เกิด<br />
ปัญหาขึ้นระหว่างคณะกรรมการนิทรรศการแห่งกรุงปารีสกับ<br />
คณะกรรมการจัดงานของฝรั่งเศส ในเรื่องการควบคุมงานก่อสร้าง<br />
และขั้นตอนสร้างจริงที่ผู้ควบคุมงานต้องเข้าใจสภาพท้องถิ่นของ<br />
ฝรั่งเศสเป็นอย่างดีคณะกรรมการนิทรรศการฯ จึงมอบให้ซากากูระ<br />
จุนโซ (Sakakura Junzo) (1901-1969) สถาปนิกที่เคยทำงานกับ<br />
เลอคอร์บูซิเอร์ในปารีสถึง 7 ปี เป็นผู้รับผิดชอบ 139 ในการควบคุม<br />
แบบศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการ<br />
นานาชาติที่กรุงปารีส 1937<br />
โดยเมอิคาว่า<br />
138 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศกานานาชาติ<br />
ที่กรุงปารีส 1937 โดยซากากูระ<br />
ล่าง ผังพื้นศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการ<br />
นานาชาติที่กรุงปารีส 1937<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
139
ศาลาฟินแลนด์โดยอัลวา อัลโต<br />
งานก่อสร้าง ในขณะที่ในญี่ปุ่นเองปฏิกิริยาต่อการปฏิเสธงานแบบ<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ของเมอิกาวานำมาซึ่งการถกเถียงอย่างกว้าง<br />
ขวางในวงการสถาปนิกญี่ปุ่นว่า “แบบลักษณะของสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นคืออะไร” 140 ขณะเดียวกันปัญหาใหม่ของการก่อสร้างเกิดขึ้น<br />
อีกที่ปารีสเมื่อซากากูระและอิโน แดน (Ino Dan) ที่เป็นตัวแทน<br />
ฝ่ายญี่ปุ่นพบว่า สถานที่ก่อสร้างเป็นที่เนินเต็มไปด้วยต้นไม้ที่<br />
ฝ่ายฝรั่งเศสต้องการสงวนรักษาไว้ทั้งหมดแต่แบบที่เขียนไว้จากญี่ปุ่น<br />
กลับให้เป็นทางเข้าและไม่สอดคล้องกับทิวทัศน์ของหอไอเฟลที่ตั้ง<br />
อยู่ตรงข้ามกับพื้นที่ก่อสร้างที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ ำ สุดท้ายซากากูระ<br />
ต้องตัดสินใจออกแบบศาลาญี่ปุ่นใหม่ทั้งหมดเพื่อให้อาคารรับกับ<br />
ภูมิประเทศที่ลาดเอียงและเต็มไปด้วยต้นไม้นั้น เขาเลือกใช้ผังรูป<br />
สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ภายในเปิดโล่งต่อเนื่องกันได้หมดเพื่อเป็นโถง<br />
นิทรรศการ 141 รูปลักษณะภายนอกเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมตั้งบนฐาน<br />
ที่ลาดเอียงไปกับภูมิประเทศ กรุด้วยหินก้อนใหญ่แบบปราสาท<br />
ในญี่ปุ่น ผนังเป็นกระจกใส บางส่วนมีตะแกรงกันแดดเป็นตาราง<br />
รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ที่ดัดแปลงมาจากลายกำแพงโบราณของ<br />
ญี่ปุ่นที่เรียกว่านามาโกะกาเบะ (Namako Kabe) นอกจากนี้ทาง<br />
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีทางลาดใหญ่นำขึ้นไปบนระเบียงชั้น 2<br />
ศาลาสเปนโดยลุยส์ เสิร์ท<br />
ของอาคารที่เป็นร้านกาแฟ โดยทั่วไปแล้วศาลาหลังนี้ดูเป็นแบบ<br />
อาคารสากลนิยมสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลของเลอคอร์บูซิเอร์อย่าง<br />
ชัดเจน แต่ถ้าพินิจลงไปในรายละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่าสถาปนิก<br />
ได้รับแรงบันดาลใจหลายอย่างที่เป็นนามธรรมจากสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นโบราณดังที่กล่าวข้างต้น งานนี้จึงเป็นงานสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ที่มีกลิ่นไอญี่ปุ่นงานแรกที่ไปเผยแพร่ในทวีปยุโรป ซึ่งทำให้อาคาร<br />
นี้ได้รับความสนใจจากสถาปนิกตะวันตกอย่างมาก ถึงขนาดที่ได้<br />
รับรางวัลศาลาแสดงงานดีเด่น 1 ใน 3 หลังของศาลาชาติทั้งหลาย<br />
ที่มาจัดงาน อีกสองศาลาคือศาลาฟินแลนด์ที่ออกแบบโดยอัลวา<br />
อัลโต (Alva Aalto) และศาลาสเปนที่ออกแบบโดยลุยส์ เสิร์ท<br />
(Louis Sert) แต่ทว่าในญี่ปุ่นเองกลับไม่ยอมรับเป็นทางการว่าศาลา<br />
หลังนี้ออกแบบอย่างเป็นทางการโดยตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น<br />
เพียงเพราะว่ามันดูไม่เป็น “ญี่ปุ่น” อย่างที่ศาลาในอดีตเคยทำกันมา<br />
อย่างไรก็ตามศาลาหลังนี้เป็นการประกาศตัวตนของพวกสากล<br />
นิยมสมัยใหม่ในวงการสถาปนิกญี่ปุ่นรุ่นใหม่อย่างเต็มตัว<br />
แต่น่าเสียดายว่าหลังจากนี้เวทีแสดงของสถาปัตยกรรมชนิดนี้<br />
จะต้องถูกปิดลงชั่วคราวในประเทศญี่ปุ่น เพราะลัทธิชาตินิยม<br />
ทหารนิยมนำพารสนิยมสถาปัตยกรรมกลับไปหาอาคารทรงมงกุฎ<br />
140 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
จักรพรรดิอย่างไม่มีทางเลือก จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
ที่ลัทธิชาตินิยม ทหารนิยมพ่ายแพ้อย่างราบคาบแล้วเท่านั้น<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ที่พยายามใส่อัตลักษณ์ญี่ปุ่น<br />
แบบนี้ จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกอย่างแข็งแกร่ง<br />
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอวลด้วยลัทธิชาตินิยมและทหาร<br />
นิยมในญี่ปุ่นของช่วงหลังทศวรรษที่1920-1930 ไม่น่าเชื่อว่า<br />
สถาปัตยกรรมแบบสากลนิยมสมัยใหม่ที่เบี่ยงเบนออกมาจากลัทธิ<br />
ชาตินิยมสุดขั้วของทหาร จะยังคงเจริญเติบโตมาได้จากหน่ออ่อนที่<br />
งอกงามขึ้นในสมัยไทโช ในความเป็นจริงมันได้เผยแพร่ออกไป<br />
กว้างไกลและลึกซึ้งมากกว่าสมัยไทโช เราสามารถเห็นสถาปัตยกรรม<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ ในอาคารทุกชนิดตั้งแต่บ้านเรือน เคหะชุมชน<br />
เมืองและอพาร์ตเมนต์ห้างสรรพสินค้า สโมสรกีฬากอล์ฟ โรงพยาบาล<br />
โรงเรียน โรงไฟฟ้า สถานที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข สถานีพยากรณ์<br />
อากาศ แม้กระทั่งศาลาเผยแพร่วัฒนธรรมแห่งชาติในกรุงปารีส<br />
เป็นต้น ความแพร่หลายแสดงให้เห็นอุดมคติแบบใหม่ของยุคสมัย<br />
ใหม่ที่เกิดจากเศรษฐกิจทุนนิยมและความต้องการอิสระของชนชั้น<br />
กลางในเมืองที่มีการศึกษาที่ลัทธิเผด็จการก็คุมไว้ไม่ได้<br />
ในด้านคุณภาพ สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ได้รับ<br />
อิทธิพลโดยตรงจากสถาบันเบาเฮาส์ของเยอรมันที่นำโดยวอลเตอร์<br />
โกรเปียส ผ่านสถาปนิกญี่ปุ่นที่ไปทัศนศึกษา ฝึกงานและศึกษา<br />
ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 เป็นต้นมา เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าสถาปนิก<br />
ญี่ปุ่นฉลาดพอที่จะเลือกรับปรัชญาและแนวทางออกแบบที่ท้าทาย<br />
มากที่สุดของศตวรรษที่ 20 ขณะเดียวกันเราก็ต้องไม่ลืมคุณูปการ<br />
ของสถาปนิก “นำเข้า” อย่างแอนโตนิน เรย์มอนด์ที่เป็นแหล่งเผยแพร่<br />
ตัวอย่างการออกแบบที่ดีให้กับสถาปนิกญี่ปุ่นผ่านสถาปัตยกรรม<br />
ในหมู่ชนชั้นสูง<br />
เนื้อหาสำคัญของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ของยุคนี้<br />
นอกจากแนวคิดเหตุผลนิยมและประโยชน์ใช้สอยนิยมที่เป็น<br />
พื้นฐานนำไปสู่รูปแบบของกลุ่มสถาปนิกเบาเฮาส์แล้ว ก็คือความ<br />
พยายามจะสร้างรูปธรรมของวัฒนธรรมญี่ปุ่นหรือวาทกรรม<br />
“จิตวิญญาณญี่ปุ่น” ลงในรูปแบบสากลนิยมนี ้อย่างเอาจริงเอาจัง<br />
ดังที่ คิชิดะ ฮิเดโตะ กล่าวว่า “...เพียงแต่การประยุกต์โดยการ<br />
ปรับเปลี่ยนรูปทรงผิวเผินของสถาปัตยกรรมไม้ดั้งเดิมของเรา<br />
ไปเป็นการสร้างอาคารแบบเดิมด้วยโครงสร้างใหม่ที่เป็นเหล็กและ<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก ก็ให้ผลบ้างในด้านภาพลักษณ์ที่คล้ายๆ<br />
งานญี่ปุ่นเดิม แต่มันก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเกิดความ<br />
รู้สึกว่านี่เป็นของที่มาจากที่อื่น และบางครั้งก็สุ่มเสี่ยงที่เราจะสร้าง<br />
อาคารที่อยู่ผิดที่ผิดเวลา (anachronisms) ความพยายามที่จะแสดง<br />
ลักษณะแบบญี่ปุ่นผ่านการลอกแบบดื้อๆ ของอาคารโบราณที่เป็น<br />
ตัวแทนลักษณะประจำชาติ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ใครๆ ก็คิดได้<br />
แต่การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นบริสุทธิ์โดยใช้เหตุผล<br />
จริงๆ แล้ว เราจะต้องสร้างสถาปัตยกรรมที่มีคุณสมบัติในจิต<br />
วิญญาณและวัสดุ ที่สอดคล้องกับชีวิตสมัยใหม่ผ่านความเข้าใจ<br />
ที่ลึกซึ้งในตัวสถาปัตยกรรมนั้น ที่ได้สะท้อนวิถีชีวิตสมัยใหม่ของ<br />
พวกเราอย่างลุ่มลึก และเกิดจากการกลั่นกรองโดยการเฝ้าสังเกต<br />
สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวก่อรูปภูมิหลังของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
คำพูดเหล่านี้อาจดูเป็นนามธรรมเกินไป แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในญี่ปุ่นที่ผ่านการเติบโตขึ้นมาอย่างมากมาย<br />
กำลังมีบทบาทสำคัญต่อการกำเนิดสถาปัตยกรรมแบบใหม่ของญี่ปุ่น<br />
อันเป็นโชคชะตาที่เราจะได้บรรลุในอนาคตอย่างแน่นอน” 142<br />
ข้อเขียนนี้เป็นหนึ่งในตัวแทนความคิดของสถาปนิกสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ที่จะสร้างอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมที่เป็นทั้ง “สากลนิยม”<br />
และ “ท้องถิ่นนิยม” ในเวลาเดียวกัน แม้จะเป็นความต้องการที่ขัด<br />
กันเองโดยพื้นฐานทางตรรกะ แต่มันก็เป็นแรงบันดาลใจให้<br />
สถาปนิกแต่ละคนสร้างสรรค์งานขึ้นมาตามศักยภาพของตนเอง<br />
ความหลากหลายของปัจเจกภาพนี้เองคือความเป็นญี่ปุ่นที่พวกเขา<br />
โหยหา และได้รับมาอย่างที่พวกเขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
141
สถาปัตยกรรมและสถาปนิกชาตินิยม<br />
สถาปัตยกรรมทรงมงกุฎจักรพรรดิ (Teikan Yoshiki)<br />
แม้ว่าเราจะได้กล่าวถึงการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมสากล<br />
นิยมสมัยใหม่มาอย่างยืดยาว จนดูเหมือนว่าญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วย<br />
สถาปัตยกรรมประเภทนี้ แต่ในความเป็นจริงกลับตรงข้าม<br />
ลัทธิชาตินิยมและอนุรักษ์นิยมสุดโต่งที่สร้างตัวหยั่งรากลึก<br />
ในสังคมญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยเมจิ และเติบโตเบ่งบานขึ้นจากกิจกรรม<br />
ทางการเมืองที่มีการเติมเชื้อไฟของทหาร นำไปสู่การเป็นประเทศ<br />
ทำสงครามรุกรานประเทศเพื่อนบ้านในสมัยไทโช ชัยชนะในสงคราม<br />
รุกรานส่งผลให้ลัทธิชาตินิยม ทหารนิยมและอนุรักษ์นิยมกระจาย<br />
เข้าครอบงำแนวความคิดและการกระทำของประชาชนญี่ปุ่น<br />
ทั่วทุกวงการ ตั้งแต่สมัยโชวะจนถึงทศวรรษที่ 1930 มันก็เบ่งบาน<br />
เข้าสู ่วงการสถาปัตยกรรมอย่างเต็มตัว<br />
ดังได้กล่าวไปบ้างแล้วในตอนที่ว่าด้วยสถาปัตยกรรมสมัยไทโช<br />
อาคารทรงมงกุฎจักรพรรดิในทางรูปธรรมคืออาคารแบบตะวันตก<br />
ที่ครอบด้วยหลังคาญี่ปุ่น สาระที่สำคัญคือมันถูกเสนอว่าเป็น<br />
วิวัฒนาการที่ก้าวหน้าของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น และเป็นตัวแทน<br />
รูปธรรมวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมแห่งชาติของญี่ปุ่น ตั้งแต่การ<br />
ประกวดอาคารรัฐสภาแห่งชาติ (ไดเอท) ใน ค.ศ. 1918 แม้ว่าแบบ<br />
ที่ชนะประกวดจะไม่มีหลังคาญี่ปุ่น แต่ก็มีสถาปนิกหลายคนเห็นว่า<br />
ไม่เหมาะสมและส่งแบบที่แก้ไขให้มีหลังคาแบบญี่ปุ่นเสนอให้<br />
รัฐบาลพิจารณา แรงกดดันจากลัทธิชาตินิยมทำให้อาคารหลาย<br />
แห่งช่วงครึ่งหลังทศวรรษที่ 1920 ต่อทศวรรษที่ 1930 มีหลังคา<br />
แบบญี่ปุ่นไปโดยปริยาย ซึ่งเป็นที ่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นรสนิยม<br />
แบบญี่ปุ่น (Nihon shumi) ทางสถาปัตยกรรม ที่มีรูปธรรมที่เรียกว่า<br />
อาคารทรงมงกุฎจักรพรรดิ(Taikan Yoshiki) ตัวอย่างสำคัญได้แก่<br />
ศาลาว่าการจังหวัดคานากาว่า (Kanagawa Prefectural Office)<br />
(1928) สร้างจากแบบชนะประกวดของคาโร โอบิ (Karo Obi)<br />
ใน ค.ศ. 1926 อาคารหลังนี้เป็นที่มาของอาคารมงกุฎจักรพรรดิ<br />
ที่จะตามมาเป็นชุดในทศวรรษที่ 1930 ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้าล้อมสนามภายใน 2 สนาม มุขกลางยื่นและมีหอคอย<br />
กลางอาคาร ลักษณะอาคารเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยมแบบสมมาตร<br />
อวดผนังผิวอิฐก่อสูง 5 ชั้น ชั้นล่างกรุด้วยหินผิวหยาบที่อาจจะ<br />
เลียนแบบโรงแรมอิมพีเรียล (Imperial Hotel) (1923) โตเกียว<br />
ที่ออกแบบโดยแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frank Lloyd Wright)<br />
ใน ค.ศ. 1920-1923 แต่รูปแบบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จุดเด่น<br />
ของศาลาว่าการอยู่ที่หอคอยกลางทรงสี่เหลี่ยมที่ตอนบนย่อเล็กลง<br />
มีหลังคาทรงพีระมิดมุงกระเบื้องคล้ายเจดีย์จีน ขณะที่ตัวอาคาร<br />
ผนังของชั้น 5 ที่อยู่บนสุดก็ถูกถอยร่นเข้าไปจากแนวผนังอาคาร<br />
ปกติเล็กน้อย เพื่อเน้นชายหลังคามุงกระเบื้องที่ยื่นออกมา ดูตัด<br />
กับหลังคามุขหน้าชั้นล่างที่ใช้เทียบรถ (porte-cochere) ที่แบน<br />
ราบ เป็นเรื่องแปลกที่ที่ปรึกษาโครงการ คือ ซาโน โตชิคาตะ (ริกิ)<br />
(Sano Toshikata (Riki)) (1880-1956) ผู้เชี่ยวชาญ<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กและสนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบวิศวกรรมที่<br />
เน้นหลักการวิทยาศาสตร์ในปลายยุคเมจิ อาคารหลังนี้<br />
ได้รับเกียรติมาเยี่ยมเยือนจากรัฐมนตรีกระทรวงวังโดยพระราชดำริ<br />
ของจักรพรรดิใน ค.ศ. 1931 143 หลังจากอาคารนี้สร้างเสร็จใน<br />
ค.ศ. 1928 โครงการก่อสร้างศาลาว่าการจังหวัดอีกหลายแห่งเช่น<br />
ที่นาโกย่า (Nagoya) (1933) และไอชิ (Aichi) (1935) เป็นต้น<br />
ก็สร้างตามมาเป็นชุด<br />
กองบัญชาการทหารบก (Gunjin Kaikan) (1934) โตเกียว<br />
ในช่วงทศวรรษ 1930 การประกวดแบบอาคารราชการที่สำคัญ<br />
ระดับชาติ มักจะมีความต้องการที่คณะกรรมการจัดประกวดระบุไว้ว่า<br />
ต้องการอาคารที่มีแบบลักษณะที่ “ซึมซาบไปด้วยสาระสำคัญแห่งชาติ”<br />
(yoshi wa kokusui no kihin o sonae) 144 แต่ก็ไม่ได้ระบุเป็น<br />
รูปธรรมว่าลักษณะอย่างที่กล่าวนั้นเป็นเช่นไร โครงการประกวด<br />
แบบกองบัญชาการทหารบก โตเกียวใน ค.ศ. 1930 ก็อยู่ในข่ายนี้<br />
และก็เป็นที่รู้กันว่าจะต้องมีหลังคาแบบญี่ปุ่นโบราณ อาคารสร้าง<br />
เสร็จใน ค.ศ.1934 เพื่อใช้เป็นค่ายฝึกซ้อมและพักอาศัยของ<br />
142 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ศาลาว่าการจังหวัดคานากาว่า (1928)<br />
ล่าง ศาลาว่าการจังหวัดนาโกย่า (1933)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
143
กองบัญชาการทหารบก (1934)<br />
กองกำลังพลสำรอง และเป็นกองบัญชาการกฎอัยการศึกในช่วงที่<br />
ทหารชั้นผู้น้อยก่อการกบฏใน ค.ศ. 1936 ออกแบบโดยสถาปนิก<br />
โอโน ทาเคโอ (Ono Takeo) และคาวาโมโต เรียวอิชิ (Kawamoto<br />
Ryoichi) ลักษณะอาคารเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง 4 ชั้น กรุหน้าด้วยหิน<br />
เจาะช่องหน้าต่างแคบ ยาวเรียวเรียงเป็นแถวในแนวตั้ง แต่ที่มุม<br />
ตึกผนังจะกรุผิวด้วยอิฐ ชั้นที่ 3 เจาะช่องหน้าต่างวงกลม ชั้นที่ 4<br />
แนวผนังถอยร่นไปข้างหลังเล็กน้อยเพื่ออวดหลังคาปีกนกที่วิ่งรอบ<br />
อาคารและมีเต้ารับชายคายื่นออกมาแบบโบราณ จุดเด่นอาคารอยู่<br />
ที่บนชั้นดาดฟ้าที่ปรากฏอาคารทรงหลังคาจั่วพร้อมปีกนกแบบวัด<br />
ญี่ปุ่นโบราณ ตั้งอยู่ที ่มุมอาคารทั้ง 2 ข้าง ดูภาพรวมแล้วคล้าย<br />
พระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่งมากกว่าอาคารไม้โบราณของญี่ปุ่น<br />
เสียอีก 145<br />
โครงการประกวดพิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว (Tokyo Imperial<br />
Household Museum) (1931) อูเอโน (Ueno) โตเกียว โครงการ<br />
ประกวดพิพิธภัณฑ์หลวงนี้ก็มีกติการะบุว่าพิพิธภัณฑ์จะต้อง<br />
“มีรูปแบบตะวันออกที่เป็นรสนิยมแบบญี่ปุ่น ดังนั้นมันจึงจะรักษา<br />
ความกลมกลืนกับศิลปะวัตถุของพิพิธภัณฑ์ได้” 146 ผู้ชนะประกวด<br />
คือ วาตานาเบ จิน (Watanabe Jin) ใน ค.ศ. 1931 เขาออกแบบ<br />
พิพิธภัณฑ์นี ้ให้เป็นอาคารขนาดใหญ่ ผังรูปสี่เหลี ่ยมผืนผ้ายาว<br />
ล้อมรอบสนามภายใน 2 สนาม 147 เพื่อการถ่ายเทอากาศและ<br />
รับแสงสว่าง ลักษณะอาคารมีปลายสองข้างที่ออกแบบเป็นมุขลด<br />
ซึ่งเป็นของแปลกเพราะเป็นแบบของสถาปัตยกรรมเกาหลีหรือไทย<br />
มากกว่าญี่ปุ่น หลังคาเป็นทรงจั่วมุงกระเบื้องแบบวัดญี่ปุ่นโบราณ<br />
ทั้งหมดนี้ดูสะดุดตาด้วยขนาดอันใหญ่โตรงข้ามกับบรรยากาศภายใน<br />
ที่สงบเงียบและมีแสงไฟทึมๆ ส่องที่หอศิลป์ซึ่งอยู่ชั้นบน ขณะที่ชั้น<br />
ล่างไม่มีอะไรเด่น นอกจากประติมากรรมขนาดใหญ่ที่จัดแสดง<br />
ขนาดของห้องจัดแสดง (galleries) ก็ดูโตเกินไป ส่วนแสงสว่างจาก<br />
พระอาทิตย์ก็แรงจ้าจนเกินจำเป็น 148<br />
โดยภาพรวมแล้วอาคารทรงมงกุฎจักรพรรดิไม่มีอะไร<br />
แปลกใหม่กว่าในสมัยไทโช ลักษณะอาคารส่วนใหญ่เป็น<br />
ทรงสี่เหลี่ยมแบบอาร์ตเด็คโคบนผังแบบคลาสสิก โครงสร้างเป็น<br />
คอนกรีตขนาดใหญ่ ชั้นบนสุดดูเด่นคล้ายคอสองที่เป็นส่วนเชื่อม<br />
ระหว่างตัวอาคารกับหลังคามุงกระเบื้องทรงจั่วแบบโบราณขนาด<br />
ใหญ่ และด้วยวัสดุก่อสร้างที่เป็นอิฐและหินปะหน้าโครงสร้าง<br />
คอนกรีตขนาดมหึมาหลังคามุงกระเบื้องแล้ว อาคารเหล่านี้จึง<br />
กลับดูเหมือนว่าพัฒนามาจากสถาปัตยกรรมจีนมากกว่า<br />
สถาปัตยกรรมไม้ของญี่ปุ่นเองเสียอีก<br />
144 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน พิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว (1931)<br />
ขวา ผังพื้นพิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว<br />
สถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ”ของอิโตะ ชูตะ<br />
อิโตะ ชูตะยังทำงานสถาปัตยกรรมต่อไปนอกจากการเป็น<br />
ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวผู้มีแนวคิดทรงพลังและ<br />
อิทธิพลในแวดวงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ผลงานของเขาแม้จะจัด<br />
อยู่ในแนวชาตินิยมแต่ก็ไม่ตื้นเขินแบบทรงมงกุฎจักรพรรดิและ<br />
บางครั้งเขายังถือโอกาสวิจารณ์งานแบบนี้ในแง่ลบ เช่น วิจารณ์<br />
แบบเสนอแก้ไขแบบรัฐสภาแห่งชาติ (ไดเอ็ท) ของชิโมดะ<br />
คิคูทาโร ใน ค.ศ. 1918-1919 ว่า “...ละเมิดหลักการทาง<br />
โครงสร้างของทางคลาสสิคของยุโรปและแบบญี่ปุ่นโบราณเป็น<br />
งานที่น่าอับอายขายหน้าแห่งชาติ...” 149 สถาปัตยกรรมของ<br />
อิโตะค่อนข้างซับซ้อน เพราะแฝงไปด้วยที่มาจากสถาปัตยกรรม<br />
ในประวัติศาสตร์อันหลายหลากของเอเชียและยุโรป แต่ในที่สุด<br />
ก็ลงเอยด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม มารวม<br />
กันบนผังแบบคลาสสิคนั่นเอง วัดซึกิจิฮองกานจิ (Tsukiji<br />
Honganji) (1934) ในโตเกียวเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาที่สะท้อน<br />
รูปธรรมของบทสรุปของสถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ”<br />
ผลงาน<br />
อนุสรณ์สถานเหยื่อแผ่นดินไหวคันโตแห่งมหานครโตเกียว<br />
(Tokyoto Ireido) (Tokyo Memorial Hall) (1930) อนุสรณ์สถาน<br />
แห่งนี้สร้างเพื ่อการรำลึกถึงเหยื่อแผ่นดินไหวคันโต ซึ่งเป็น<br />
แผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมหานคร<br />
โตเกียวใน ค.ศ. 1923 ซึ่งมีประชาชนเสียชีวิตถึง 100,000 คน<br />
มีการบอกบุญเรี่ยไรความช่วยเหลือไปทั่วโลก แม้กระทั่งประเทศ<br />
สยามก็ยังส่งบริจาคเงินทองสิ่งของผ่านสภากาชาดสยามไปช่วยเหลือ<br />
ชาวญี่ปุ่นที่ตกทุกข์ได้ยากในครั้งนั้นนานติดต่อกันถึง 5 เดือน 150<br />
และรวบรวมเงินบริจาคได้ถึง 27,657.64 บาท 151 อิโตะได้รับ<br />
มอบหมายให้เป็นสถาปนิกออกแบบก่อสร้างใน ค.ศ. 1930 ลักษณะ<br />
ผังมีอาคาร 2 หลังเรียงกันในแนวดิ่ง ด้านหน้าเป็นอาคารสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้า โถงใหญ่อยู่ตรงกลางริม 2 ข้างเป็นระเบียง มีเสาร่วมในเรียง<br />
เป็นแถวแบ่งพื้นที่ ปลายสุดเป็นที่ตั้งแท่นบูชา อาคารด้านหลังเป็น<br />
เจดีย์ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูง 4 ชั้น เป็นที่บรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตจาก<br />
แผ่นดินไหว ซึ่งส่วนใหญ่ถูกไฟคลอกจนจำแนกแยกแยะเอกลักษณ์<br />
บุคคลไม่ได้จำนวน 58,000 คน แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
145
สิ้นสุดลง รัฐบาลได้นำอัฐิของผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดทาง<br />
อากาศกรุงโตเกียวของฝ่ายสัมพันธมิตรมาบรรจุร่วมด้วยรวมเป็น<br />
163,000 คน<br />
รูปลักษณะภายนอกอาคาร 152 ยังคงรูปแบบญี่ปุ่นโบราณอยู่<br />
ตัวโถงหน้าเป็นอาคารสร้างด้วยคอนกรีตไม่ใช่ไม้จึงดูก้ำกึ่งระหว่าง<br />
ญี่ปุ่นและจีน หลังคาทรงจั่วมีปีกนก 2 ชั้น ปีกนกชั้นล่างอยู่ใต้<br />
ช่องแสงที่เหมือนคอสองรับแสงสว่างเข้ามาในอาคาร ปลายอาคาร<br />
ทั้ง 2 ด้าน ทำมุขขวางยื่นใช้เป็นทางเข้ารอง ด้านหน้าอาคาร<br />
ทำมุขโถงเตี้ยหลังคาจั่วทรงโค้งคันธนูแบบญี่ปุ่นมีระดับต่ำกว่า<br />
หลังคาปีกนกชั้นล่างของโถงหน้าเล็กน้อย และสอดชายคามุข<br />
เข้าใต้หลังคาปีกนกของโถงหน้าซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ใช่แบบ<br />
อย่างญี่ปุ่นเดิมอย่างยิ่ง หอบรรจุอัฐิเป็นเจดีย์แบบญี่ปุ่นปนจีน<br />
เพราะสร้างด้วยคอนกรีตกรุผิวด้วยหิน สูง 4 ชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป<br />
ทุกชั้นมีหลังคาปีกนกคลุมรอบ ปลายหลังคาเชิดขึ้นแบบโบราณ<br />
เมื่อพิจารณาจากลักษณะการวางผังเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่า<br />
อาคารนี้ไม่ได้วางผังแบบวัดโบราณของญี่ปุ่น ที่นิยมวางแนวยาว<br />
ของอาคารรับทางเข้าไม่ใช่เอาด้านสกัดมาเป็นทางเข้าแบบนี้<br />
ซึ่งนักวิชาการบางท่านเห็นว่าอิโตะน่าจะได้รับอิทธิพลมาจาก<br />
ผังโบสถ์คริสเตียนของตะวันตก 153 เพราะเขาออกแบบอาคารแบบ<br />
ตะวันตกมาก่อนในยุคเมจิ แต่ถ้าหากพิจารณาจากอิทธิพล<br />
วัฒนธรรมตะวันออกบ้าง จะเห็นได้ว่าผังแบบนี้อาจเป็นแบบโบสถ์-<br />
วิหารสยามก็ได้ นอกจากนี้ลักษณะอาคารยังคล้ายกับโครงการ<br />
วิหารพระศากยมุนีแห่งวัดซานเนจิที่ไม่ได้สร้างใน ค.ศ. 1910 154<br />
แสดงว่าอิโตะน่าจะนำผังเก่าแบบสยามมาดัดแปลงให้ดูเป็นญี่ปุ่น<br />
แบบเปลือกๆ แต่โครงสร้างของผังนั้นอิโตะยอมรับแบบสยามโดยดุษฎี<br />
อนุสรณ์สถานเหยื่อแผ่นดินไหวคันโต<br />
แห่งมหานครโตเกียว (1930)<br />
146 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถูปโชเกียวเด็น (1931)<br />
สถูปโชเกียวเด็น (Shogyoden) วัดฮอกเกเกียวจิ (Hokekyoji)<br />
(1931) เมืองอิชิกาวา (Ichikawa) จังหวัดชิบะ (Chiba Prefecture)<br />
เป็นสถูปแบบคันธารราชองค์สุดท้ายของอิโตะที่สร้างเสร็จ<br />
ใน ค.ศ. 1931 ที่เมืองอิชิกาวา จังหวัดชิบะ เป็นสถูปสำหรับเก็บ<br />
ธรรมบทที่เขียนโดยพระนิชิเร็น โชนิน (Nichiren Shonin) ผู้ก่อตั้ง<br />
นิกายนิชิเร็นชู (Nichiren-shu) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 155 แม้ลักษณะ<br />
จะดูละม้ายกับสถูปผู้ปกป้องบ้านเมือง (Gokokuto) แต่ก็แตกต่าง<br />
กันมากในรายละเอียด สถูปโชเกียวเด็นเป็นสถูปทรงระฆัง<br />
ครึ่งทรงกลมตั้งบนเรือนธาตุทรงกระบอกที่สูงประมาณ 2 เท่าของ<br />
องค์ระฆัง สถูปตั้งอยู่บนฐานสูงที่อยู่บนฐานประทักษิณอีกชั้นหนึ่ง<br />
ประตูเข้าอยู่กลางเรือนธาตุมีกรอบล้อมเป็นเสากลมลอยตัว<br />
รับคานทับหลังแบบซุ้มประตูคลาสสิค เหนือทับหลังซุ้มมีช่องแสง<br />
ทรงโค้งประทุนรูปเกือกม้า ลักษณะเลียนแบบหลังคาวัดถ้ำอชันตา<br />
บนประตูจำหลักรูปธรรมจักร แสดงสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนสถาน<br />
ผนังเรือนธาตุมีเสาอิงสี่เหลี่ยมแบบกรีกผสมอินเดียประดับโดยรอบ<br />
ผิวผนังกรุแผ่นหินตัดสี่เหลี่ยม เหนือองค์ระฆังเป็นบัลลังก์และ<br />
ปลียอดทรงกรวยแหลมเล็กเมื่อเทียบกับองค์สถูป ซึ่งตรงข้ามกับ<br />
การออกแบบสถูปผู้ปกป้องบ้านเมือง ยอดปลีประดับด้วยฉัตรและ<br />
เครื่องประดับยอดแบบสถูปจีน-ทิเบต โดยภาพรวมความเด่นของ<br />
สถูปอยู่ที่เรือนธาตุ องค์ระฆังและฐานที่น่าจะกำกับด้วยสัดส่วน<br />
แบบคลาสสิค จึงดูเหมือนวิหารคลาสสิคแบบผังกลมครอบด้วย<br />
โดมมากกว่าสถูปแบบอินเดีย จีน ทิเบตและสยามที่เขาเคยทำมา<br />
ก่อนหน้านี้ นั่นย่อมหมายความว่ารูปทรงที่งดงามที่สุดของ<br />
พุทธศาสนสถานคือรูปทรงที่มาจากมรดกวัฒนธรรมคลาสสิค<br />
ที่อิโตะเชื่อว่าเป็นยุคทองของศิลปะ-สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
147
วัดซึกิจิฮองกวานจิ (Tsukiji Hongwanji) (1934) โตเกียว<br />
เป็นวัดในพุทธศาสนาลัทธิโจโดชินชูฮองกวานจิฮา (Shinshu<br />
Hongwanjiha) ที่มีวัดแม่คือนิชิฮองกวานจิ (Nishi Hongwanji)<br />
ในเกียวโต ลัทธิความเชื่อนี้เรียกกันสั้นๆ ว่าลัทธิชิน (Shin sect)<br />
มีลักษณะปฏิรูปหัวก้าวหน้า ปลุกเร้าให้ประชาชนรักชาติไม่หมกมุ่น<br />
อยู่กับการถือศีล บำเพ็ญตบะอย่างสันโดษ ทั้งนี้เพื่อแบ่งแย่ง<br />
ความศรัทธาของมวลชนกับลัทธิชินโตที่รัฐอุปถัมภ์อยู่ตั้งแต่สมัยเมจิ<br />
จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทางปฏิบัติลัทธิชินสนับสนุนการ<br />
แผ่ขยายอำนาจของทหารญี่ปุ่น มีสายสัมพันธ์กับทหารโดยตรง<br />
ในการทำพิธีศพทหารในช่วงสงครามแมนจูเรีย ลัทธินี้สนับสนุน<br />
สงครามขนาดมีแผ่นปลิวกล่าวว่า ชินรัน (Shinran) ผู้ก่อตั้งลัทธิชิน<br />
ไม่เคยห้าม “การทำสงครามที่ยุติธรรม” 156 และชาวพุทธต้องจับอาวุธ<br />
เมื่อถึงคราวจำเป็น ลัทธิชินยกย่องการตายของทหารในสงคราม<br />
ว่าเป็นนักบุญผู้สละชีพเพื่ออุดมการณ์ (martyrdom) ดังนั้นจึงมี<br />
นักวิชาการญี่ปุ่นบางคนเห็นว่าลัทธิชินสัมพันธ์กับลัทธิฟาสซิสต์<br />
(Fascism) 157 ในแง่อุดมการณ์แห่งความตาย การเชื่อฟังและ<br />
ระเบียบวินัย<br />
อิโตะได้รับมอบหมายให้ออกแบบวัดนี้ใน ค.ศ. 1931<br />
แทนวัดเก่าที่ถูกทำลายในคราวแผ่นดินไหวคันโต ค.ศ. 1923<br />
และสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1934 อาคารของวัดนี้สะท้อนแนวคิด<br />
สถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ” และ “สถาปัตยกรรมร่วม<br />
วงศ์ไพบูลย์เอเชีย” ของอิโตะในเวลาเดียวกัน อิโตะใช้ผังรูปตัว E<br />
แบบคลาสสิคในการวางผังวัด 158 อาคารแบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ<br />
มุขกลางและมุขซ้าย-ขวา เชื่อมกันด้วยทางเดินทั้งด้านหน้าและหลัง<br />
มีสนามภายในคั่นแต่ละส่วน มุขกลางมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นวิหาร<br />
ประดิษฐานพระพุทธรูปอมิตพุทธเจ้า (Amida Buddha) ด้านซ้าย<br />
ขวาประดิษฐานรูปของผู้ก่อตั้งลัทธิชิน และพระป้ายของจักรพรรดิ<br />
ญี่ปุ่น 159 แสดงความสำคัญของภิกษุและมนุษย์พิเศษที ่เทียบเท่า<br />
พระพุทธเจ้า มุขซ้ายเป็นโถงสำหรับการประชุม มุขขวาเป็นห้อง<br />
ประกอบพิธีสงฆ์ต่างๆ หน้าวัดเป็นลานขนาดใหญ่ส ำหรับการชุมนุม<br />
ของศาสนิกในงานพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับ<br />
วัดทั่วไปในโตเกียว<br />
148 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผังพื้นวัดซึกิจิฮองกวานจิ<br />
หน้าตรงข้าม<br />
วัดซึกิจิฮองกวานจิ (1934)<br />
ลักษณะอาคารเน้นที่มุขกลางที่เป็นวิหารพระอมิตพุทธเจ้า<br />
เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมตั้งบนฐานสูง หลังคาย่อลดหลั่น 3 ชั้นรับ<br />
จั่วหลังคาทรงโค้งประทุนรูปเกือกม้ายอดแหลม เลียนแบบวิหาร<br />
ถ้ำที่อชันตา (พุทธศตวรรษที่ 4-6) แต่หน้าบันกลับจำหลักเป็น<br />
ดอกไม้ 16 กลีบ แบบดอกเบญจมาศ สัญลักษณ์แห่งจักรพรรดิ<br />
ญี่ปุ่น หน้ามุขกลางลดระดับลงมามีมุขโถงสำหรับทางเข้ามีหน้าบัน<br />
เป็นโค้งประทุนแบบเดียวกันแต่ทำเว้าเข้าไปเป็นคูหาเหมือนวัดถ้ำ<br />
ยุคโบราณของอินเดีย มุขซ้าย-ขวาทั้งสองข้างเป็นอาคารหลังคา<br />
แบนแต่กลับตั้งพระสถูปทรงระฆังขนาดย่อมคล้ายสถาปัตยกรรม<br />
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผนังอาคารเจาะช่องหน้าต่างแบบคลาสสิค<br />
แต่ด้วยรายละเอียดแบบอินเดีย ที่แปลกมากคือเสาอิงประดับ<br />
ผนังเรียงเป็นแถวแบบคลาสสิคแต่มียอดหัวเสาเป็นรูปเต้าไม้โค้ง<br />
ทรงกากบาทแบบจีน-ญี่ปุ่นโบราณ โดยภาพรวมวัดนี้มีโครงสร้าง<br />
การออกแบบตามกรอบแบบคลาสสิค แต่หลังคาและองค์ประกอบ<br />
กลับกลายเป็นสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ ของอินเดีย เอเชียตะวันออก<br />
เฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น ที่มาจากจินตนาการแปลกๆ ของสถาปนิก<br />
จึงเป็นงานที่ให้ความรู้สึกผสมผสานมากกว่าจะมีเอกภาพอย่างที่<br />
อิโตะต้องการ<br />
การตกแต่งภายในเป็นแบบญี่ปุ่นประยุกต์ทั้งส่วนประดับ<br />
โครงสร้างหัวเสาที่เลียนแบบเครื่องไม้โบราณ และซุ้มประดิษฐาน<br />
พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขณะที่มีองค์ประกอบแบบ<br />
ตะวันตกแทรกอยู่ด้วย เช่น ออร์แกนสำหรับบรรเลงเพลงสวด<br />
และหน้าต่างกระจกสีในโครงสร้างที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กกรุ<br />
ผิวหน้าด้วยแผ่นหินตัด<br />
วัดซึกิจิฮองกวานจิจึงเป็นบทสรุปที่เป็นรูปธรรมของแนวคิด<br />
สถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ” ที่อิโตะตั้งขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยเมจิ<br />
โดยการมองสถาปัตยกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตที่จะต้องมีพัฒนาการของ<br />
รูปร่างสรีระไปเรื่อยๆ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพียงแต่ว่า<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
149
วัดซึกิจิฮองกวานจิมีวิวัฒนาการประหลาดที่ถอยหลังไปจากปัจจุบัน<br />
ไปสู่อดีตแทนที่จะก้าวไปสู่อนาคต ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์<br />
ประการที่ 2 ของอิโตะที่ต้องการให้สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
เป็นศูนย์กลางของเอเชียที่เรียกว่าร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งเอเชีย<br />
(Pan Asia) จึงรวบรวมเอารูปแบบต่างๆ ในประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมเอเชียมาคัดเลือกจัดสรรและประยุกต์ขึ้นใหม่ตาม<br />
จินตนาการของเขา เพื่อให้ญี่ปุ่นพ้นจากกรอบวัฒนธรรม<br />
สถาปัตยกรรมจีนไปสู่ความเป็นสากลของอดีตแทน<br />
สถาปัตยกรรมภายใต้ลัทธิชาตินิยม ทหารนิยม และจักรวรรดินิยม<br />
โครงการประกวดแบบอนุสาวรีย์วีรชนทหาร (The Chureito<br />
Competition) (1939) นโยบายจักรวรรดินิยมทหารที่ก้าวร้าวของ<br />
ญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 1930 ใน ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่น<br />
บุกยึดแมนจูเรียและตั้งรัฐบาลหุ่นแมนจูกัว พัฒนาแมนจูเรียเป็น<br />
ฐานที่มั่นในการรุกรานเต็มรูปแบบต่อไป ใน ค.ศ. 1937 กองทหาร<br />
ญี่ปุ่นบุกยึดกรุงปักกิ่งเพื่อดำเนินการยึดครองประเทศจีนทั้งหมด<br />
แต่การต่อต้านทุกรูปแบบของกองทัพจีนทำให้ญี่ปุ่นสูญเสียทหาร<br />
ไป 60,000 คนเมื่อถึง ค.ศ. 1939 สังคมญี่ปุ่นรู้สึกเศร้าสลดกับ<br />
การสูญเสียและถือว่าทหารเหล่านี้เป็น “วีรชน” ของชาติสมควรแก่<br />
การสดุดี จึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อการประกวดแบบ<br />
หออนุสรณ์เพื่อเชิดชูผู้วายชนม์ที่ซื่อสัตย์ (memorial towers to<br />
honor the loyal dead (Chureito)) เมื่อวันที่7 กรกฎาคม ค.ศ. 1939<br />
ย่างเข้าสู่ทศวรรษ 1930 และ 1940 สถาปนิกญี่ปุ่นต่าง แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที ่มีการประกวดแบบอนุสาวรีย์เช่นนี้ ความจริง<br />
ตกอยู่ในบรรยากาศของลัทธิชาตินิยม ทหารนิยม และนโยบาย มันเป็นครั้งที่ 3 การประกวดครั้งแรกจัดขึ้นใน ค.ศ. 1934 เพื่อเป็น<br />
จักรวรรดินิยมรุกรานเพื่อนบ้านของรัฐบาลญี่ปุ่นอยางต่อเนื่อง อนุสรณ์การบุกแมนจูเรียใน ค.ศ. 1931 ครั้งที่ 2 จัดใน ค.ศ. 1935<br />
สถาปนิกฝ่ายอนุรักษ์นิยมยินดีในการรับใช้แนวคิดและนโยบายเช่นนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ทหารที ่สละชีวิตในการสร้างทางรถไฟ<br />
ด้วยงานสถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิ และสถาปัตยกรรม ในแมนจูเรีย และนี่เป็นครั้งที่3 คณะกรรมการต้องการให้อนุสาวรีย์<br />
แบบวิวัฒนาการโดยอิโตะ ชูตะดังกล่าวแล้ว ขณะที่สถาปนิกกลุ่ม แบบนี้แพร่หลายตั้งแต่ระดับระหว่างชาติไปจนถึงระดับรากหญ้าใน<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ก็ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ ต้องทำงาน ประเทศญี่ปุ่น จึงกำหนดให้มีการออกแบบอนุสาวรีย์เป็น 3 ระดับ 160<br />
ภายใต้บรรยากาศเช่นนี้ ทั้งๆ ที่แนวคิดชาตินิยม ทหารนิยม และ คือ ระดับระหว่างประเทศเพื่อสร้างที่ประเทศจีน ระดับที่ 2 เพื่อ<br />
จักรวรรดินิยมอยู่ตรงข้ามกับลัทธิสากลนิยมสมัยใหม่ที่พวกเขายึดถือ สร้างในเมืองใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น (daitoshi) และระดับที่ 3 เป็น<br />
เราจะได้เห็นการปรับแนวคิดและรูปธรรมการออกแบบสากลนิยม อนุสาวรีย์ขนาดเล็กสำหรับสร้างในเมืองเล็กๆ ย่านชุมชนและ<br />
สมัยใหม่ให้สามารถรับใช้ลัทธิชาตินิยมทหารนิยม และจักรวรรดินิยม หมู่บ้าน (shison, cho) คณะกรรมการตัดสินมีทั้งสถาปนิกแนว<br />
ได้อย่างประหลาดผ่านกรณีศึกษา 3 โครงการคือ โครงการประกวด ชาตินิยมอย่าง อิโตะ ชูตะ ซาโน โตชิคาตะ และสถาปนิกรุ่นใหม่อย่าง<br />
แบบอนุสาวรีย์วีรชนทหาร (The Chureito Competition) (1939), คิชิดะ ฮิเดโตะ รวมทั้งบุคคลอาชีพอื่นๆ เช่น ทหารศิลปินและ<br />
โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวงศ์ไพบูลย์ นักวิชาการ เป็นเรื่องประหลาดที่งานประกวดแบบนี้แม้จะเป็นส่วนหนึ่ง<br />
แห่งมหาเอเชียบูรพา (Building Project to Commemorate the ของการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหาร แต่ในความเป็นจริง<br />
Founding of the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) รัฐบาลกลับให้ความช่วยเหลือน้อยมาก ทุนในการจัดงานและ<br />
(1942) และโครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรม เงินรางวัลมาจากภาคเอกชน เช่น พวกหนังสือพิมพ์ ด้วยเหตุนี้<br />
ญี่ปุ่น-ไทย (Nittai Bunka Kaikan) (Nippon-Thai Cultural House) กลุ่มสถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่จึงสามารถเข้าไปมีบทบาทได้<br />
(1943)<br />
พอสมควร โดยเฉพาะการตั้งคำถามว่าอนุสาวรีย์แบบนี ้ควรมี<br />
หน้าตาอย่างไร คิชิดะในฐานะสถาปนิกหัวก้าวหน้าได้ให้ความเห็นว่า<br />
150 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
แบบชนะประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหารระดับเมือง (1939)<br />
แบบชนะประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหารระดับชาติ (1939)<br />
แบบชนะประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหารระดับชุมชน (1939)<br />
“ในบรรดาอนุสรณ์สถานแห่งสงครามเท่าที่มีมา มีงานประเภทลอก<br />
ของเก่าจำนวนมาก นี่ควรจะหยุด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม<br />
หออนุสรณ์ไม่ใช่ทั้งศาลเจ้าชินโตหรือวัดพุทธศาสนา...ถ้าข้าพเจ้า<br />
จะเตือนเรื่องการออกแบบที่มาจากความเจ้าเล่ห์ข้าพเจ้าอาจพูดให้<br />
ไพเราะขึ้นว่า อย่าได้ทำให้ความเป็นสมัยใหม่(modernity) หายไป..” 161<br />
ขณะเดียวกันเขาก็เสนอรูปธรรมว่า “พีระมิดเป็นต้นแบบของ<br />
การออกแบบ (อนุสาวรีย์) (เพราะ) มันเป็นรูปทรงที่เรียบง่ายเป็น<br />
ระเบียบทั้ง 4 ด้าน และเพราะขนาดมหึมาทำให้มันสร้างความ<br />
ประทับใจที่ยิ่งใหญ่ที่พิเศษยิ่ง...” แต่จะด้วยความบังเอิญหรือจงใจ<br />
ก็แล้วแต่ ในที่สุดเขาก็ไม่ได้อยู่ร่วมตัดสิน คิชิดะตัดสินใจยื่น<br />
ใบลาออกจากการเป็นกรรมการ ผลการประกวดประกาศในวันที่<br />
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 มีผู้ชนะเลิศ 1 คนในแต่ละระดับซึ่งเป็น<br />
สถาปนิกที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก จากผู้ส่งงานเข้าประกวดถึง 1,700<br />
โครงการ งานชนะเลิศแต่ละระดับดูค่อนข้างจืดชืดไม่มีอะไรพิเศษ<br />
ไปกว่าอนุสาวรีย์ทหารสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สร้างในยุโรป<br />
ตัวอนุสาวรีย์เป็นแท่งโอเบลิสก์(obelisk) ประยุกต์เป็นแท่งคอนกรีต<br />
หรือหินรูปสี่เหลี่ยมสูงชะลูด ตั้งบนฐานอาคารที่เป็นทรงสี่เหลี่ยม<br />
เตี้ยๆ เรียงลดหลั่นเป็นชั้นๆ 162 ขนาดลดหลั่นลงไปตามระดับ<br />
โครงการ โครงการที่น่าจะกล่าวถึงกลับเป็นโครงการที่ไม่ได้รับรางวัล<br />
เช่นโครงการของเมอิคาว่า คูนิโอและซากากูระ จุนโซ ซึ่งต่างเป็น<br />
สานุศิษย์ของเลอคอร์บูซิเอร์ทั้งคู่ งานของเมอิคาว่าที่ส่งในระดับ<br />
ระหว่างประเทศเพื่อสร้างที่ประเทศจีน ใช้รูปทรงพีระมิดหัวตัด<br />
ตั้งบนฐานเตี้ยเป็นอาคารอนุสาวรีย์ อยู่บนพื้นที่ราบเชิงเขา<br />
ที่อ้างว้าง มีเจดีย์แบบจีนหรือญี่ปุ่นตั้งอยู่ห่างออกไปมากเพราะ<br />
มีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นเมื่อเทียบกับอนุสาวรีย์ ภายในอาคาร<br />
ประดิษฐานแท่งหินอนุสรณ์รูปสี่เหลี่ยมปลายสอบอยู่ตรงกลาง<br />
พีระมิดสูงหลายชั้นที่ผนังทุกด้านเอียงสอบไปบรรจบที่ช่องแสง<br />
ด้านบนเปิดให้แสงสาดลงมาที่ผนังทึบ ที่ตั้งอยู่บนเสาลอยตัวเรียง<br />
เป็นแถวรอบสี ่ด้าน ให้ความรู้สึกเบาที่ตัดกับผนังพีระมิดตันด้าน<br />
บนอย่างตรงข้าม 163 เป็นการนำเสนอการออกแบบพื้นที่ภายใน<br />
(space) แบบใหม่ให้กับอนุสาวรีย์ ที่ต่างกับแบบญี่ปุ่นเดิมๆ ที่เห็น<br />
ชินตาในวัดและศาลเจ้าอย่างแรง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
151
โครงการเดียวกันที่ออกแบบโดยซากากูระ ตัวอนุสาวรีย์<br />
มีผังเป็นรูปดาว 5 แฉกที่เหมือนดาวประดับอนุสาวรีย์เลียบนิคและ<br />
ลักเซ็มเบอร์ก (Liebknich and Luxemburg) ที่ออกแบบโดย<br />
มีส์ ฟานเดอโฮห์ (Mies van der Rohe) ใน ค.ศ. 1926 ผนังเอนสอบ<br />
ขึ้นไปบรรจบกันที่จุดยอดเหมือนหัวธนู แต่เขากลับเขียนรูป<br />
ทัศนียภาพอนุสาวรีย์เป็นรูปพีระมิดอย่างตั้งใจ อนุสาวรีย์ตั้งอยู่บน<br />
ลานสี่เหลี่ยมที่มีสะพานเชื่อมไปยังอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่รายล้อม<br />
ด้วยเสาลอยตัว เปิดผนังด้านยาวที่หันมาสู่อนุสาวรีย์ แต่กลับปิด<br />
ผนังด้านสกัดทั้งสอง ดูคล้ายวิหารพาเธนอน (Pathenon) ของกรีก<br />
ที่ไม่มีหลังคา ใช้สำหรับฉลองชัยชนะหรือประกอบพิธีกรรม 164<br />
งานของเขาจึงมีลักษณะตรงข้ามกับเมอิคาว่าที่ต้องการให้มีการ<br />
ประกอบพิธีกรรมกันภายนอกอนุสาวรีย์ ไม่ใช่ภายในอาคาร แต่สิ่ง<br />
ที่ทั้งคู ่มีเหมือนกันคือ การใช้รูปทรงจากสถาปัตยกรรมสากลนิยม<br />
สมัยใหม่<br />
บน เมอิคาว่า คูนิโอ (1905-1986)<br />
กลาง ทัศนียภาพภายในอนุสาวรีย์<br />
วีรชนทหาร<br />
ล่าง แบบประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหาร<br />
ของเมอิคาว่า (1939)<br />
152 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลของการประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหารใน ค.ศ. 1939<br />
ไม่เป็นที่ชื่นชมของพวกสากลนิยมสมัยใหม่ เพราะงานที่ชนะประกวด<br />
มีลักษณะดาษดื่นเกินไป แต่ขณะเดียวกันสื่อมวลชนมากมาย<br />
สนับสนุนโครงการนี้ เช่น หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน (Asahi<br />
Shimbun) และโตเกียวนิชิ นิชิชิมบุน (Tokyo Nishi Nichi Shimbun)<br />
เป็นต้น 165 เท่านี้ก็เพียงพอส ำหรับโครงการปลุกระดมมวลชนญี่ปุ่นให้<br />
คลั่งไคล้ลัทธิชาตินิยม ทหารนิยมและจักรวรรดินิยม 166 มีรายงาน<br />
อ้างว่ามีการสร้างอนุสาวรีย์แบบนี้ในประเทศจีนและสิงคโปร์<br />
ส่วนภายในประเทศญี่ปุ่นนั้นภายในค.ศ. 1942 มีการก่อสร้างเสร็จไป<br />
ถึง 124 แห่ง อีก 140 แห่ง กำลังก่อสร้างและอีกเกือบ 1,500 แห่ง<br />
วางแผนก่อสร้างแล้วแต่ไม่สามารถทำได้เพราะขาดทุนและเวลา 167<br />
ซึ่งทั้งหมดเป็นอนุสาวรีย์ระดับ 3 ที่จะสร้างในชุมชนและหมู่บ้าน<br />
ทั่วประเทศญี่ปุ่น<br />
บน ซากากูระ จุนโซ (1901-1969)<br />
ล่าง แบบประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหารของ<br />
ซากากูระ (1939<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
153
การประชุมประเทศสมาชิกร่วมวงศ์ไพบูลย์<br />
แห่งมหาเอเซียบูรพาที่โตเกียว ค.ศ. 1943<br />
โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้ง<br />
ร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา (Building Project to<br />
Commemorate the Founding of the Greater East Asia Co-<br />
Prosperity Sphere) (1942) วงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาคือ<br />
แนวคิดรวมชาติในทวีปเอเชียโดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำเพื่อขับไล่พวก<br />
จักรวรรดินิยมตะวันตกออกไป อันจะนำมาซึ่งความรุ่งเรืองของชาติ<br />
เอเชียร่วมกัน เกิดเอกภาพของมุมโลกทั้ง 8 ภายใต้การปกครอง<br />
ของจักรพรรดิญี่ปุ่นตามแนวคิดญี่ปุ่นโบราณที่เรียกว่า ฮากโกอิชิน<br />
(Hakkoichin) แนวคิดนี้ได้รับการบ่มเพาะตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930<br />
สืบเนื่องเรื่อยมา เป็นผลให้ญี่ปุ่นทำสงครามกับจีนใน ค.ศ. 1931<br />
และ 1937 จนถึงการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1941<br />
ทั่วประเทศญี ่ปุ่นอบอวลด้วยลัทธิคลั่งชาติและจักรวรรดินิยมเต็ม<br />
รูปแบบ แม้กระทั่งพวกสถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่ก็ต้องเปลี่ยน<br />
ธาตุแปรสีเอาตัวรอด โดยแสดงออกถึงการรักชาติ แม้กระทั่ง<br />
สถาปนิกหัวก้าวหน้าอย่างคิชิดะ ฮิเดโตะยังกล่าวว่า “...เราเคยมี<br />
ยุคแห่งเสรีนิยมที่สถาปนิกแต่ละคน คิดอะไรสร้างอะไรได้ตามใจ<br />
ซึ่งไม่ใช่เรื่องไม่ดีแต่ทุกวันนี้ญี่ปุ่นยุคนั้นหายไปแล้ว บัดนี้ถึงเวลา<br />
ที่สถาปัตยกรรมต้องแสดงตัวตนของอุดมการณ์ของเชื้อชาติและ<br />
อุดมการณ์ของประเทศชาติ...” 168 ในการประกวดแบบสถาปัตยกรรม<br />
ประจำ ค.ศ. 1942 ที่สถาบันสถาปนิกญี่ปุ่น (Kenchiku gakkai)<br />
(Institute of Japanese Architects) จัดขึ้นทุกปีจึงใช้ชื่อหัวข้อ<br />
ประกวดว่า “โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลอง<br />
การก่อตั้งร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” (The Competition<br />
for Building Project to Commemorate the Founding of the<br />
Greater East Asia Co-Prosperity Sphere” 169 โดยมีความต้องการ<br />
โครงการสถาปัตยกรรมที่สะท้อนวัตถุประสงค์ที่องอาจกล้าหาญของ<br />
การสร้างร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา (ผู้ส่งแบบประกวด<br />
ต้องไม่สับสนหัวข้อนี้กับคำว่าสถาปัตยกรรมแห่งการเฉลิมฉลอง<br />
(kinen) แบบเดิมๆ) ผู้ส่งแบบประกวดควรตัดสินใจเองในเรื่องของ<br />
ขนาดส่วนและเนื้อหาของโครงการ ซึ่งสมควรจะเน้นในเรื่อง<br />
วัฒนธรรมสถาปัตยกรรมแห่งมหาเอเชียบูรพาเป็นอย่างยิ่ง 170<br />
ส่วนที่ตั้งโครงการอาจจะเป็นที่สมรภูมิ เช่น สิงคโปร์ หรือฮ่องกง<br />
หรือมหานครใหญ่ของมหาเอเชียบูรพา เช่น โตเกียว เซี่ยงไฮ้<br />
มานิลา กรุงเทพมหานคร ย่างกุ้ง หรือจาร์การ์ต้าก็ได้171<br />
คณะกรรมการตัดสินการประกวดประกอบด้วยสถาปนิกสากลนิยม<br />
สมัยใหม่คนสำคัญ เช่น คิชิดะ, เมอิคาว่า, โฮริกูชิ, โยชิดะ และ<br />
ยามาดะ เป็นต้น กรรมการบางท่านได้รับเชิญให้ส่งแบบแสดงด้วย<br />
ในฐานะแบบอ้างอิง ที่น่าสนใจได้แก่โครงการของเมอิคาว่า<br />
ที่ชื่อ “นครหลวงแห่งทะเลทั้ง 7” (the Capital of the Seven Seas)<br />
โดยใช้บริเวณอ่าวโตเกียวเป็นที่ตั้งโครงการ เขาดัดแปลงโตเกียว<br />
เป็นเมืองที่มีผังเป็นตารางขนาดใหญ่ที่มุมตารางเป็นที่ตั้งตึกระฟ้า<br />
จำนวน 10 ตึก มีถนนผ่านประตูอิฐขนาดใหญ่ข้ามอ่าวโตเกียว<br />
โดยสะพานแขวน ไปยังเกาะเทียมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตัดมุมซึ่งเป็น<br />
ที่ตั้งของอนุสรณ์สถานขนาดมหึมา 172 เขากล่าวว่า “เมืองมีชีวิต<br />
เมืองเปลี่ยนได้จากวันนี้ไปงานของชาติคือสถาปัตยกรรมแห่งเมือง<br />
โตเกียวที่จะต้องกลายเป็นนครหลวงแห่งทะเลทั้ง 7” 173 โครงการ<br />
ของเมอิคาว่าที่จริงแล้วคือโครงการทำลายโตเกียวเก่าที่เต็มไปด้วย<br />
บ้านหลังเล็กหลังน้อยที่อยู่กันอย่างแออัดทิ้ง แล้วสร้างใหม่ให้เป็น<br />
เมืองตึกระฟ้าเหมาะสมกับความเป็นผู ้นำของโลก ความจริงมัน คือ<br />
เมืองใหม่แบบเรเดี้ยนซิตี้ (Radiant City) (1931) ของเลอคอร์บูซิเอร์<br />
นั่นเอง เป็นการเอาเปลือกของผังเมืองสากลนิยมสมัยใหม่มา<br />
สวมทับลงบนเมืองที่กำลังถูกครอบงำด้วยลัทธิชาตินิยม ทหารนิยม<br />
และจักรวรรดินิยมที่แนบเนียนที่สุด<br />
154 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน โครงการสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการ<br />
ก่อตั้งร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเซียบูรพาของ<br />
เมอิคาว่า (1942)<br />
ล่าง ทังเงะ เคนโซ (1913-2005)<br />
โครงการชนะเลิศการประกวดของทังเงะ เคนโซ (Tange<br />
Kenzo) (1913-2005) ทังเงะ เคนโซ สถาปนิกหนุ่มวัย 29 ปี<br />
เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดครั้งนี้ เขานำแบบอาคารโบราณที่เป็น<br />
ที่เคารพสูงสุดของญี่ปุ่นมาออกแบบใหม่ด้วยวัสดุสมัยใหม่และ<br />
จัดองค์ประกอบใหม่ จนชนะใจคณะกรรมการตัดสินส่วนใหญ่ได้<br />
ทังเงะเลือกที่ตั้งเชิงเขาฟูจิอันศักดิ์สิทธิ์ใช้ผังที่ตั้งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />
แบ่งเป็น 2 ส่วน ทิศใต้เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเลียนแบบ<br />
ระฆังโบราณยุคยาโยอิ (Yayoi) ซึ่งเขาจะใช้รูปทรงอย่างนี้อีก<br />
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอนุสาวรีย์สันติภาพที่ฮิโรชิมา<br />
(Hiroshima) แต่เคลือบด้วยวาทกรรมใหม่ที่ตรงข้ามกับยุคชาตินิยมนี้<br />
อย่างสิ้นเชิง 174 ผนังอาคารเป็นแนวเสารายลอยตัวเหมือนระเบียงวัด<br />
มีทางขึ้นตรงกลางนำไปสู่หลังคาที่เป็นเนินลาดลงไปที่สะพาน<br />
ข้ามถนน ที่จะนำไปสู่ที่ตั้งด้านทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งวิหารอนุสาวรีย์<br />
ตั้งประจันหน้า 175 วิหารอนุสาวรีย์เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
หลังคาจั่วรูปลักษณ์เรียบง่ายคล้ายวิหารอิเซ (Ise) อันศักดิ์สิทธิ์<br />
มีช่องเปิด 9 ช่องที่ตอนบนหลังคา 176 เป็นการแปลงรูปมาจาก<br />
เครื่องประดับหลังคาของวิหารโบราณมาเป็นช่องแสง ตัววิหาร<br />
มีรั้วล้อมรูปแบบเหมือนระเบียงวัดที่เต็มไปด้วยเสาราย ด้านข้าง<br />
ของวิหารอนุสาวรีย์ยังมีลานหรืออาคารอีกหลังหนึ่งผังเป็น<br />
รูปสี่เหลี่ยม และถูกล้อมด้วยรั้วที่เหมือนระเบียงวัดแบบเดียวกัน<br />
และเปิดเข้าหากัน แม้ตัววิหารอนุสาวรีย์จะดูเป็นแบบญี่ปุ่นโบราณ<br />
แต่อาคารที่เป็นองค์ประกอบอื่นทั้งหมดกลับดูเหมือนมาจากอิทธิพล<br />
สถาปัตยกรรมตะวันตก อย่างที่เมอิคาว่าตั้งข้อสังเกตว่า ผังของรั้ว<br />
รอบวิหารอนุสาวรีย์เหมือนลานปิเอซซ่า (piazza) ของมหาวิหาร<br />
เซนต์ปีเตอร์แห่งกรุงโรม 177 ทังเงะเองอธิบายในเอกสารประกอบ<br />
แบบประกวดว่า เขาเลือกจะไม่ใช้แบบของวัฒนธรรมตะวันตก<br />
พีระมิดของอียิปต์หรืองานของคริสเตียนที่พวกจักรวรรดินิยม<br />
ที่กดขี่สร้างให้เรายอมรับ โดยไม่มีอะไรสัมพันธ์กับธรรมชาติ<br />
และวัฒนธรรมญี่ปุ่น เขาเองขอเลือกรูปทรงที่มีประวัติศาสตร์ของ<br />
ญี่ปุ่นรองรับ เพื่อให้พืชพันธุ์ของการพัฒนาในอนาคตของญี่ปุ่น<br />
มีที ่มาที่ไปของตนเอง 178 เมอิคาว่าในฐานะกรรมการตัดสินได้<br />
กล่าวสรุปว่า “สถาปนิก (ผู้นี้) ได้เผชิญกับปัญหายุ ่งยากในการหา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
155
่<br />
บน แบบชนะเลิศโดยทังเงะ เคนโซ (1942)<br />
ล่าง ทัศนียภาพวิหารอนุสาวรีย์ในโครงการ<br />
ของทังเงะ (1942)<br />
“รูปทรงแห่งชาติในระดับสากล” และเราต้องยอมรับในการรับมือ<br />
(กับโจทย์) อย่างน่าทึ่งของเขา ด้วยการมองเพียงแวบเดียวเราจะเห็น<br />
“การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมแห่ง<br />
มหาเอเชียบูรพา” ซึ่งแม้จะเป็นหัวข้อรองของการประกวดแบบนี้<br />
แต่ก็สมควรได้รับการสรรเสริญอย่างสูงสุดจากเรา ในขณะเดียวกัน<br />
เราต้องยอมรับว่า ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมแบบศาลเจ้าเป็นวิธี<br />
การออกแบบ เขาได้จัดการอย่างเชี่ยวชาญในการหลีกเลี่ยงปัญหา<br />
แกนกลางที ่หลบเลี่ยงไม่ได้ (คือการออกแบบที่ขาดจินตนาการ)<br />
ซึ่งได้แพร่กระจายไปในการสร้างรูปแบบในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
ทุกวันนี้ เมื่อเราพูดในแง่ดีเราพูดได้ว่าเขาระมัดระวัง แต่ถ้าจะพูด<br />
ในแง่ลบเราบอกได้ว่าเขาเป็นพวกเจ้าเล่ห์ แต่ไม่ว่าเขาจะเป็น<br />
พวกไหนสถาปนิกผู้นี้พบทางออกของเขาเองอย่างชัดเจน” 179<br />
แม้แต่เมอิคาว่าก็ยอมรับในความสามารถของทังเงะ ซึ่งแม้จะใช้<br />
รูปทรงแบบอนุรักษ์นิยมแต่ลักษณะการวางผังและการใช้วัสดุ<br />
เป็นแบบใหม่โดยเฉพาะการวางผังทังเงะไม่ใช้แบบมงกุฎจักรพรรดิ<br />
ที่ขาดจินตนาการ หรือแบบสถาปัตยกรรมวิวัฒนาการที่เป็น<br />
ลายเซ็นของอิโตะไปแล้ว แต่เขาใช้ผังรูปสี่เหลี่ยมที่จัดแบบ<br />
นามธรรมของพวกสากลนิยมสมัยใหม่อย่างเช่น มีส์ ฟาน เดอ โฮห์<br />
เป็นต้น ส่วนรูปทรง สัดส่วนอาคารก็เห็นอิทธิพลของเลอคอร์บูซิเอร์<br />
มากกว่าลักษณะอาคารโบราณหลายยุคผสมกันแบบอิโตะ งานของ<br />
ทังงะจึงเป็นแบบสากลนิยมสมัยใหม่ที่อาศัยคราบของรูปทรง<br />
อนุรักษ์นิยมและรอวันที ่จะลอกคราบออกมาเท่านั้นเอง อย่างที<br />
เมอิคาว่ากล่าวเปรียบเปรยเอาไว้<br />
156 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-<br />
ไทย (Nittai Bunka Kaikan) (Nippon-Thai Cultural House) (1943)<br />
รัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นดูเหมือนจะมีแนวนโยบายเดียวกันในตอนต้น<br />
ทศวรรษที่ 1940 นั่นคือการทำสงครามภายใต้ข้ออ้างขับไล่<br />
จักรวรรดินิยมตะวันตก ในกรณีของไทยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูล<br />
สงครามทำสงครามกับฝรั่งเศสในกรณีพิพาทเรื่องการใช้แม่น้ำโขง<br />
เป็นเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน ในเดือนพฤศจิกายน<br />
ค.ศ. 1940 ญี่ปุ่นเสนอตัวเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยโดยเข้าข้างไทย<br />
ทำให้ไทยได้ดินแดนในลาวและเขมรคืนจากฝรั่งเศสบางส่วน<br />
เมื ่อมีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม<br />
ค.ศ. 1941 สัมพันธไมตรีน่าจะพัฒนาไปในทางดีหากญี่ปุ่นไม่ชิง<br />
เปิดเผยโฉมหน้าจักรวรรดินิยม โดยการยกกองทัพบุกประเทศไทย<br />
ทางทะเลฝั่งอ่าวไทยยกพลขึ้นบกตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ไปจนถึง<br />
ปัตตานี ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 กองทหารและประชาชน<br />
ในพื้นที่ได้ต่อสู้ต้านทานจนถึงวันที่ 11 ธันวาคม รัฐบาลไทยจึง<br />
ประกาศยุติการต่อสู้และลงนามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในวันที่ 21<br />
ธันวาคม ค.ศ. 1941 180 ด้วยเห็นว่าไม่มีทางที่จะต้านทานกองทัพ<br />
ญี่ปุ่นได้อย่างไรก็ตามเนื่องจากไทยมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์<br />
ที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะเป็น<br />
ทางผ่านให้กองทัพญี่ปุ่นบุกต่อไปยังพม่า และยังมีความสัมพันธ์<br />
ที่ดีกับญี่ปุ่นมาก่อน ญี่ปุ่นจึงพยายามสานสัมพันธไมตรีอันดี<br />
กับไทยต่อไป แม้ว่าโดยส่วนลึกแล้วทั้ง 2 ประเทศต่างไม่ได้ไว้วางใจ<br />
ต่อกันเลย เพื่อแก้ไขปัญหานี้ญี่ปุ่นจึงดำเนินการรุกทางวัฒนธรรม<br />
อย่างเป็นรูปธรรมอย่างน้อย 2 เรื่อง เรื่องแรกคือการประกาศใช้<br />
ความตกลงทางวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่นตอนปลาย<br />
ค.ศ. 1942 181 เพื่อส่งเสริมการสร้าง บำรุงรักษา และเพิ่มพูน<br />
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้ง 2 โดยมีกิจกรรม<br />
แลกเปลี่ยนทางวิชาการ ศิลปะ กีฬาและวัฒนธรรมกันอย่าง<br />
แพร่หลาย รวมทั้งจะพยายามจัดตั้ง “สถานวัธนธัม” ขึ้นในนครหลวง<br />
ของกันและกัน 182 นอกจากนี้เรื่องที่2 คือญี่ปุ่นยอมลงทุนซื้อใจไทย<br />
โดยยกดินแดนในภูมิภาคตอนเหนือของมาเลเซียและทาง<br />
ตะวันออกของพม่าที่ญี่ปุ่นยึดครองอยู่ให้ไทย 183 เพื่อหวังให้ไทย<br />
อยู่เป็นพันธมิตรในยามที่ตนกำลังพลาดพลั้งในสงคราม<br />
ในการดำเนินการสร้างสถานวัฒนธรรมในไทยนั้นญี่ปุ่น<br />
ส่งนักการทูตฝีมือดียานากิซาว่า ทาเกชิ (Yanagisawa Takeshi)<br />
เข้ามาเป็นทูตวัฒนธรรมและเป็นหัวหน้าศูนย์วัฒนธรรมใน<br />
ประเทศไทย แม้ว่าในความเป็นจริงเขาไม่เคยต้องการต ำแหน่งนี้เลย 184<br />
ในการเจรจากับไทยในการสร้างศูนย์วัฒนธรรมนี้ทั้ง2 ฝ่ายมีจุดประสงค์<br />
ที่ต่างกัน ฝ่ายไทยโดยหลวงวิจิตรวาทการต้องการให้โครงการนี้<br />
เป็นศูนย์วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ญี่ปุ่นที่ตั้งที่กรุงเทพฯ<br />
ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการให้ศูนย์นี้เป็นเพียงศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ<br />
เท่านั้น ไม่ต้องการให้ไทยขยายบทบาทเป็นศูนย์กลางของเอเชีย<br />
ตะวันออกเฉียงใต้185 ใจจริงของฝ่ายไทยนั้นระแวงการครอบงำทาง<br />
วัฒนธรรมของญี่ปุ่นอย่างที่สุด 186 จึงเป็นบทบาทของยานากิซาว่าที่<br />
จะต้องทำให้ฝ่ายไทยไว้ใจ อย่างที่เขาบันทึกไว้ว่า “...(ถ้า) ไม่เรียน<br />
รู้จากเขา แต่ต้องการเพียงส่งเสริมวัฒนธรรมของเราฝ่ายเดียว<br />
จะเป็นการสิ้นเปลืองความอุตสาหะและเงินอย่างสิ้นเชิง...” 187 และ<br />
“...การใช้กำลังผลักดันวัฒนธรรมของตนใส่อีกชาติหนึ่งโดยไม่สนใจ<br />
ความต้องการของเขา เป็นการรุกรานทางวัฒนธรรมและมันก็ตรง<br />
ข้ามกับความพยายามผูกสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอย่างสิ้นเชิง...” 188<br />
ความก้าวหน้าในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมดำเนินไปเรื่อยๆ วันที่<br />
3 มีนาคม ค.ศ. 1943 กระทรวงมหาเอเชียบูรพาประกาศจัด<br />
ตั้งศูนย์วัฒนธรรมในประเทศไทยในชื่อว่า ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น<br />
(Nippon Bunka Kaikan) (Japan Cultural Centre) จากนั้นไม่นาน<br />
ก็เปลี่ยนชื่อเป็นอาศรมวัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย (Nittai Bunka Kaikan)<br />
(Nippon-Thai Cultural House) เพื่อไม่ให้ชาวไทยเกิดความไม่พอใจ<br />
ในชื่อเรียกสถานที่นี้ปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1943 ยานากิซาว่า<br />
เชิญ คิชิดะ ฮิเดโตะ มาเป็นที่ปรึกษาทางสถาปัตยกรรมของ<br />
ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทยภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงมหา<br />
เอเชียบูรพา 189 มีการตั้งคณะกรรมการประกวดแบบ 14 คน ครึ่งหนึ่ง<br />
เป็นสถาปนิก ที่เหลือเป็นข้าราชการและศิลปินในส่วนที่เป็นสถาปนิก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
157
มีทั้งพวกอนุรักษ์นิยมอย่างอิโตะชูตะ และอูชิดะ โซโช (Uchida Shozo)<br />
รวมอยู่ด้วย สถานที่ตั้งโครงการอยู่ใกล้สวนลุมพินีในกรุงเทพฯ<br />
มีการเสนอแบบอ้างอิงเพื่อให้ใช้เป็นหลักในการออกแบบซึ่งแสดง<br />
องค์ประกอบของโครงการที่ประกอบด้วยอาคารโถงหลัก 3 หลัง<br />
คือ โถงกลางเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหาร มีส่วนอำนวยความสะดวก<br />
ต่าง ๆ เช่น โรงภาพยนตร์ และห้องประชุม 2 ห้อง จุห้องละ 1,000 คน<br />
และ 500 คนตามลำดับ รวมทั้งห้องรับแขกพิเศษ 190 หอศิลปะ<br />
มีห้องนิทรรศการ โรงละครจุ 500 ที่นั่ง ซึ่งมีที่นั่งพิเศษ (box) และ<br />
มีโรงละครกลางแจ้งที่มีเวทีหมุนเพื่อแสดงละครโนะ(Noh) โดยเฉพาะ<br />
ที่จุคนได้ 2,000 คน โถงอุตสาหกรรม สำหรับแสดงสินค้าและ<br />
ขั้นตอนการผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานในการโฆษณาวัฒนธรรม<br />
อุตสาหกรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอาคารสนับสนุน<br />
อาคารที่พักอาศัย โถงพุทธะสำหรับแสดงพุทธศิลป์ญี่ปุ่นมีเจดีย์5 ชั้น<br />
แบบญี่ปุ่นตั้งอยู่ มีโถงสำหรับผู้เยี่ยมชมเพื่อแนะนำสภาพอากาศ<br />
และประเพณีของพลเมืองญี่ปุ่น รวมทั้งมีสถานที่สำหรับชาวไทย<br />
ในการแสดงวัฒนธรรมของตนด้วย และโถงทหารเพื่อแสดงความ<br />
เข้มแข็งทางทหารของญี่ปุ่นและอาจใช้เพื่อการสืบราชการลับ<br />
มีโถงสังสรรค์สำหรับจัดพิธีชงชา จัดดอกไม้ และการเลี้ยงอาหาร<br />
ญี่ปุ่นด้วย ต้องมีสนามเทนนิสอย่างน้อย 2 สนาม บ้านพักผู้อ ำนวยการ<br />
และบ้านพักพนักงานทั้งโสด (ซึ่งมีการแยกเพศ) และที่มีครอบครัวแล้ว<br />
มีรายละเอียดแม้กระทั่งแนะนำวัสดุที่ใช้สร้างต้องเป็นไม้สักเป็น<br />
ส่วนใหญ่ และต้องยกพื้นสูงอย่างน้อย 2 เมตรเพื่อกันน้ำท่วม<br />
(อย่างที่เกิดล่าสุดใน ค.ศ. 1943 นั้นเอง) มีคำแนะนำให้มีช่องเปิด<br />
มากที่สุดเพื่อการถ่ายเทอากาศโดยใช้บานเกล็ดแทนที่จะใช้กระจก<br />
และไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ ยานากิซาว่าคำนวณค่าก่อสร้างไว้ถึง<br />
3 ล้านเยน 191 ประเด็นสำคัญที่สุดในการประกวดครั้งนี้คือแบบ<br />
สถาปัตยกรรม ซึ่งคณะกรรมการได้ชี้นำไว้แล้วในแบบอ้างอิง<br />
ที่กล่าวข้างต้น ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า ชินเด็นซูคุริ(Shinden<br />
Zukuri) ใช้สำหรับสร้างพระราชวังและคฤหาสน์ของขุนนางชั้นสูง<br />
ตัวแทนของชินเด็นซูคุริที่ดีที่สุดคือพระราชวังเดิมที่เกียวโต<br />
(Kyoto Gosho) โดยภาพรวมอาคารแบบนี้คือโถงขนาดใหญ่ที่มี<br />
ระเบียงล้อม นำไปสู่อาคารรองที่วางขนาบ 2 ข้างในแนวตั้งฉาก<br />
กับอาคารกลาง โครงสร้างอาคารเป็นไม้ หลังคาทรงปั้นหยายกจั่ว<br />
ในเอกสารประกอบการประกวดได้อธิบายย้ำในประเด็นการเผยแพร่<br />
วัฒนธรรมสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นไว้อีกว่า “...ในฐานะที่ศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่นนี้จะต้องสร้างในประเทศไทยตัวอาคารในโครงการนี้จึงอยู่ภายใต้<br />
สมมติฐานว่ามีหน้าที่สำคัญที่สุดในการโฆษณาวัฒนธรรมญี่ปุ่น<br />
รูปลักษณ์สถาปัตยกรรมของมันจะต้องอยู่บนพื ้นฐานของ<br />
สถาปัตยกรรมที่พิเศษ เรียบง่าย และสง่างามแบบจารีตประเพณี<br />
ของเรา อย่างไรก็ตามขอให้ละเว้นการลอกของโบราณอย่างเกินพอดี<br />
ท่านจะต้องเสนอแนวทางของท่านเอง (ในการออกแบบ) ซึ่งจะเป็น<br />
อะไรบางอย่างที ่สมควรกับความภาคภูมิใจของเราในฐานะวังแห่ง<br />
วัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งแรกที่จะสร้างนอกประเทศ...” 192 จะเห็นได้ว่า<br />
ในส่วนลึกคณะกรรมการตัดสินของญี่ปุ่นเองนั้นขัดแย้งในตนเอง<br />
ที่ว่า จะเอาแบบเก่าแต่ก็ต้องการ “การสร้างสรรค์” ในเวลาเดียวกัน<br />
ดังนั้นด้วยข้อจำกัดอันมากมายและการชี้นำที่ชัดเจนขนาดนี้<br />
ผู้ส่งแบบเข้าประกวดทั้งหลายจึงไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการ<br />
ทำตามแบบโบราณเป็นหลัก แล้วภาวนาว่าคณะกรรมการตัดสิน<br />
จะถูกใจงานใดเท่านั้น<br />
มีผู้ส่งงานเข้าประกวดมากกว่า 80 โครงการ เกือบทุกโครงการ<br />
ออกแบบลักษณะโบราณยืนพื้น แทบจะไม่มีงานในลักษณะสากลเลย<br />
คิชิดะ ฮิเดโตะในฐานะกรรมการตัดสินคนหนึ่งได้เสนอภาพรวมของ<br />
งานประกวดโดยแบ่งผลงานออกเป็น 5 กลุ่มตามลักษณะอาคาร<br />
คือ พวกศาลเจ้าชินโต พวกวัดพุทธ พวกปราสาท พวกคฤหาสน์<br />
และพวกวัง และวิจารณ์เน้นประเด็นความไม่เข้ากันระหว่างรูปทรง<br />
กับวัตถุประสงค์ของโครงการ คำวิจารณ์ของเขามีดังนี้ “...ศาลเจ้า<br />
ชินโตโดยเฉพาะรูปแบบชินไมซูคุริ (Shinmei Zukuri) ของศาลเจ้า<br />
อิเซ เน้นความเป็นอนุสาวรีย์มากเกินไป ความเรียบง่ายอย่าง<br />
บริสุทธิ์นั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับรสนิยมของคนไทย...” 193<br />
พวกเลียนแบบวัดพุทธนั้น คิชิดะวิจารณ์ว่า “...การที่ติดอยู่กับค้ ำยัน<br />
ชายคา (แบบจีนโบราณ) ที่ไม่เป็นระเบียบอย่างไม่อายนั้นเป็น<br />
สิ่งที่ไม่น่าอภัย ถ้าเราเพียงจินตนาการถึงเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุด<br />
ที่เป็นความภูมิใจของญี่ปุ่น หลงไปตั้งอยู่ในวัดมืดๆ มุงหลังคา<br />
158 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
กระเบื้องและมีค้ ำยันชายคาเกะกะ เราก็จะเข้าใจได้ว่าแบบวัดพุทธนั้น<br />
เอามาใช้ออกแบบไม่ได้...” 194 สำหรับพวกเลียนแบบปราสาทนั้น<br />
คิชิดะกล่าวว่า “...มันจะตลกในภูมิอากาศแบบไทย เพราะถ้าคุณ<br />
ใส่หน้าต่างใหญ่มันจะดูไม่เป็นปราสาท หรือถ้าคุณทำหน้าต่างเล็ก<br />
แบบดั้งเดิม มันจะดูและรู้สึกร้อนอย่างทรมาน...” 195 ส่วนพวก<br />
ที่เลือกเลียนแบบสถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัยหรือโชอิน (Shoin)<br />
หรือแบบสุกิยะ (Sukiya) ที่มีลักษณะเป็นอิสระกว่าโชอิน คิชิดะ<br />
วิจารณ์ว่า “...ขณะที่สุกิยะเป็นบ้านพักอาศัยมันจึงละเอียดอ่อนเกินไป<br />
ที่จะเป็นอาคารสาธารณะ...” 196 สุดท้ายคิชิดะสรุปว่าสถาปัตยกรรม<br />
ประเภทวังนั้นเหมาะสมที่สุด โดยเฉพาะแบบพระราชวังเดิมของ<br />
นครเกียวโต (ซึ่งเป็นแบบที่ทังเงะเลือกใช้) “...เพราะมันเป็นการ<br />
การออกแบบที่เรียบง่ายบริสุทธิ์ สง่างามสูงศักดิ์ และเป็นทางการ<br />
ที่แม้นมองเพียงแวบเดียวเราก็จะเห็นความเป็นญี่ปุ่นท่วมท้นออกมา...”<br />
“...สำหรับสถาปนิกที่ช่างคิดแล้วไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือต้นแบบ<br />
ที่ควรจะเกิดในจินตนาการก่อนแบบอื่นและสูงส่งกว่าแบบอื่น...” 197<br />
ไม่ว่าคิชิดะจะมีวาทกรรมอย่างไรสถาปนิกในวงการต่างทราบดีว่า<br />
การประกวดครั้งนี้คือ สนามประลองระหว่างยอดฝีมือ 2 คน<br />
เมอิคาว่า คูนิโอ และทังเงะ เคนโซ ซึ่งจะได้เสนอเป็นกรณีศึกษาดังนี้<br />
ผืนผ้าพื้นที่เปิดโล่งใช้เป็นหอประชุมหรือโรงภาพยนตร์ มีลานโล่ง<br />
ด้านข้างที่ล้อมด้วยระเบียง ทางเข้าของศูนย์วัฒนธรรมอยู่ที่หัวมุม<br />
ทิศตะวันตกของโถงกลางที่เป็นแกนเชื่อม ผังที่ไม่สมมาตรนี้ทำให้<br />
เกิดลักษณะสองนัยก้ำกึ่งระหว่างญี่ปุ่นเดิมกับสมัยใหม่ เราเห็นทั้ง<br />
อิทธิพลของงานโบราณอย่างผังของพระราชวังคัทซุระริกกิว<br />
(Katsura Rikyu) ในเกียวโต ร่วมกับการใช้ระเบียงล้อมบ้านแบบ<br />
ชินเด็นซูคุริ ขณะเดียวกันก็ละม้ายกับผังสถาบันเบาเฮาส์แห่งเดสเซา<br />
(Bauhaus Dessau) (1926) ที่ออกแบบโดยวอลเตอร์ โกรเปียส<br />
(Walter Gropius) รวมทั้งงานอื่นๆ ในแบบของมีส์ ฟาน เดอ โฮห์<br />
(Mies van der Rohe) ขณะเดียวกันลักษณะอาคารเป็นสิ่งที่แสดง<br />
ให้เห็นว่าเมอิคาว่าซึ่งเป็นพวกสากลนิยมสมัยใหม่ยอมแพ้ต่อ<br />
ลัทธิชาตินิยม อนุรักษ์นิยมคือ การหันกลับมาใช้รูปทรงหลังคาญี่ปุ่น<br />
โบราณ ที่มีหน้าจั่วเป็นตะแกรงระแนงไม้ตาเล็กๆ แบบปราสาท<br />
นิโจโจ (Nijojo) ในเกียวโต อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วการที่<br />
เมอิคาว่าเลือกผังแบบพระราชวังคัทซุระนั้น มันแสดงความหมาย<br />
ของการฝักใฝ่ลัทธิสากลนิยมสมัยใหม่อย่างมั่นคง เพราะเป็นที่รู้กัน<br />
ในหมู่สถาปนิกกลุ่มนี้ว่า พระราชวังแห่งนี้มีคุณสมบัติบางประการ<br />
ร่วมกับวาทกรรมสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่เช่น สัจจะวัสดุ<br />
โครงสร้างที่ซื่อสัตย์ และการไม่ตกแต่งประดับประดา เป็นต้น<br />
ซึ่งล้วนเป็นประดิษฐกรรมทางทฤษฎีของบรูโน เทาท์(Bruno Taut)<br />
(1880-1938) สถาปนิกเยอรมันเชื้อสายยิว ผู้นำลัทธิสากลนิยม<br />
สมัยใหม่อีกคนหนึ่งแต่งขึ้นในช่วงทศวรรษ1930 เพื่อญี่ปุ่นโดยเฉพาะ<br />
รางวัลชนะที่2 เมอิคาว่า คูนิโอ เมอิคาว่ากล่าวถึงความสัมพันธ์<br />
ระหว่างสถาปัตยกรรมญี ่ปุ่นโบราณกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ว่า<br />
“...มันชัดเจนว่าการสืบต่อจารีตประเพณีไม่ได้หมายความง่ายๆ<br />
ว่าไปตามความพอใจในรูปแบบที่ตายแล้วของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
ทุกวันนี้เราไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการหยาบๆ อย่างนั้น เช่น รางวัลชนะเลิศ ทังเงะ เคนโซ แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากเมอิคาว่า<br />
ตกแต่งชายคาศูนย์วัฒนธรรมใหม่ด้วยค้ำยันของสถาปัตยกรรม ทังเงะมีทัศนะต่อสถาปัตยกรรมและสังคมดังนี้ “...นโยบายทาง<br />
โบราณของญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่คิดว่าอะไรที่เป็นญี่ปุ่น วัฒนธรรมของเรานั้นแทรกซึมไปด้วยศีลธรรมที่ลึกซึ้งเสมอ<br />
ก็เพราะว่ามันมีค้ ำยันชายคาแบบโบราณ...นั่นคือความป่าเถื่อน...” 198 ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากนโยบายสามานย์ของพวกอังกฤษ-<br />
เขาสะท้อนจุดยืนในงานประกวดนี้ด้วยผังอาคารที่มีรูปคล้ายตัว L 199 อเมริกัน ที่เป็นพลังอมนุษย์และโฆษณาชวนเชื่อ...” 200 และ<br />
ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง หอศิลปะอยู่ด้านซ้าย (ทิศตะวันตก) “...แน่นอนเราจะต้องไม่สนใจวัฒนธรรมอังกฤษ-อเมริกัน และ<br />
หออุตสาหกรรมอยู่ด้านขวา (ทิศตะวันออก) หอกลางที่มีผังเป็น วัฒนธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในหมู่ชนเชื้อชาติแถบเอเชียตะวันออก<br />
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาวเหมือนระเบียง เป็นตัวเชื่อมหอทั้ง 2 เฉียงใต้ทั้งหลายด้วย ความประทับใจในนครวัดเป็นสัญลักษณ์ของ<br />
ที่อยู่คนละด้าน ทั้งหอศิลปะและหออุตสาหกรรมมีผังรูปสี่เหลี่ยม พวกมือสมัครเล่น...” 201 พลังชาตินิยมสุดโต่งของเขาถูกถ่ายทอด<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
159
บน แบบประกวดศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
โดยเมอิคาว่า (1943)<br />
ล่าง ผังพื้นศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
โดยเมอิคาว่า(1943)<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน ทัศนียภาพศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น-ไทยโดยทังเงะ เคนโซ (1943)<br />
ล่าง แบบประกวดชนะเลิศ<br />
ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
โดยทังเงะ เคนโซ (1943)<br />
ออกมาในงานออกแบบที่ไม่แตกต่างอะไรจากแบบอ้างอิงนัก<br />
ผังของทังเงะประกอบด้วยหอหลัก 3 หอเรียงต่อกันในแนวยาว<br />
มีหอกลางเป็นประธานและปลาย 2 ข้างเป็นหอศิลปะและ<br />
หออุตสาหกรรม หอกลางขยับขึ้นหน้าจากแนวเล็กน้อยเพื่อ<br />
ความเด่น ทั้งหอศิลปะและหออุตสาหกรรมเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้าที่ล้อมด้วยระเบียงแบบชินเด็นซูคุริ ที่เหมือนกับพระราชวังเดิม<br />
ที่นครเกียวโต ลักษณะภายนอกเป็นอาคารทรงจั่วที่ไม่มีหลังคา<br />
ปีกนก เหมือนเอารูปทรงของพระราชวังคัทซุระมาทั้งหมดทั้งผนัง<br />
และหลังคา ยกเว้นหลังคาจั่วปีกนกของคัทสุระกลายเป็นหลังคาจั่ว<br />
ธรรมดาที่มีไขรายื่นยาว เหมือนอาคารโบราณแบบวิหารอิเซ<br />
ซึ่งเรียกว่า แบบชินไมซูคุริ นอกจากนี้ในแบบทัศนียภาพทังเงะ<br />
ยังแสดงเจดีย์ไม้ 5 ชั้นแบบญี่ปุ่นมีระเบียงล้อมเป็นฉากหน้าของ<br />
ศูนย์วัฒนธรรมนี้อีกด้วย 202 เป็นการตอกย้ำความประสงค์ของ<br />
โครงการที่ต้องการเจดีย์ประดับหอพุทธศิลป์ญี่ปุ่น เพื่อจำลอง<br />
วัฒนธรรมอันสูงส่งสวยงามของญี่ปุ่นมาตั้งที ่กรุงเทพมหานคร<br />
เพื่อสร้างและธำรงไว้ซึ่งความเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นแห่งร่วม<br />
วงศ์ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาของชาติทั้ง 2<br />
หลังจากการประกวดแบบเสร็จสิ้นเพียง 1 ปีญี่ปุ่นก็เริ่มพ่ายแพ้<br />
ในทุกแนวรบของสงครามเอเชียแปซิฟิกและกลับสาละวนอยู่กับ<br />
การทำสงครามต้านทานการบุกของสหรัฐอเมริกา โครงการนี้ค่อยๆ<br />
เงียบหายไปทั้งจากเจ้าภาพญี่ปุ่นและเจ้าของสถานที่ฝ่ายไทย<br />
ที่เริ่มแสดงอาการแปรพักตร์มากขึ ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดโครงการนี้<br />
ก็ถูกพับไปเงียบๆ พร้อมกับความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945<br />
กระทั่งความฝันและความทรงจำในอุดมคติร่วมวงศ์ไพบูลย์แห่ง<br />
มหาเอเชียบูรพาก็ไม่มีใครอยากเหลือไว้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไทยหรือ<br />
ญี่ปุ่นเองก็ตามที<br />
160 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่สมัยโชวะ<br />
ตั้งแต่เริ่มรัชสมัยจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
(1926-1945)<br />
รัชสมัยโชวะเป็นยุคแห่งความคลั่งชาติและใฝ่สงครามของรัฐ<br />
และมวลชนญี่ปุ่น เราเห็นความตกต่ำของรัฐกึ่งประชาธิปไตย<br />
ที่อายุแสนสั้นในยุคไทโช มาเป็นรัฐเผด็จการทหารใฝ่สงครามอย่าง<br />
เต็มตัวในสมัยโชวะนี้ แต่คุณูปการสำคัญในยุคไทโชคือการเกิดขึ้น<br />
ของลัทธิเสรีนิยมปัจเจกชน ที่ทำให้เกิดนักคิดและแนวคิดอิสระ<br />
แบบเสรีนิยมขึ้นในหมู่ปัญญาชนทุกสาขารวมทั้งสถาปัตยกรรม<br />
ที่เติบโตขึ้นจนเข้มแข็งในยุคโชวะ ขณะเดียวกันลัทธิชาตินิยม<br />
ทหารนิยม และจักรวรรดินิยมซึ่งอยู่ในเนื้อในของญี่ปุ่น และเป็น<br />
หน่ออ่อนมาตั้งแต่ก่อนสมัยเมจิ ก็มาเติบโตในยุคไทโชจนสุกงอม<br />
ในยุคโชวะนี้เช่นเดียวกัน และก่อให้เกิดผู้คนอีกฝ่ายที่มีแนวคิด<br />
ชาตินิยมสุดโต่งผลิตศิลปวัฒนธรรมแบบของตนขึ้นมาเสนอ<br />
มวลชนเช่นกันรวมทั้งสถาปัตยกรรมด้วย สถาปัตยกรรมในยุคโชวะ<br />
จึงมีทั้งแบบชาตินิยม เช่น สถาปัตยกรรมมงกุฎจักรพรรดิและ<br />
สถาปัตยกรรมวิวัฒนาการ และแบบสากลนิยมสมัยใหม่ เป็นความ<br />
ขัดแย้งที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป แต่มีวัตถุประสงค์หนึ่งที่เหมือนกันคือ<br />
ต่างก็ค้นหาอัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
161
สถาปัตยกรรมชาตินิยมหรือทรงมงกุฎจักรพรรดิ (ไทคันโยชิกิ)<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมหรือทรงมงกุฎจักรพรรดิ (ไทคันโยชิกิ)<br />
นั้นไม่มีอะไรใหม่กว่าสิ ่งที่เคยเกิดขึ้นตอนปลายสมัยเมจิเลย<br />
คือมุ่งความสำคัญที่หลังคาทรงญี่ปุ่นโบราณ สถาปัตยกรรมแบบ<br />
“วิวัฒนาการ” ของอิโตะ ชูตะ มีแนวคิดในการออกแบบมาจาก<br />
ความรู ้ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่มากมายของเขา แต่ผล<br />
การออกแบบรูปธรรมก็เป็นเพียงการผสมรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
โบราณจากหลายประเทศและภูมิภาคเข้าด้วยกัน ตั้งแต่กรีก อินเดีย<br />
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิเบต จีน และญี่ปุ่น และดูเหมือน<br />
สถาปัตยกรรมของเขาจะถลำตัวเข้าไปรับใช้อุดมการณ์ร่วม<br />
วงศ์ไพบูลย์แห่งที่สนับสนุนการท ำสงคราม ดังนั้นรูปแบบผสมผสาน<br />
ของเขาจึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำของเอเชีย<br />
ไปในตัว<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
พัฒนาการของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่เป็นเรื่อง<br />
สมัยใหม่ของญี่ปุ่น ในยุคโชวะสถาปนิกกลุ่มหัวก้าวหน้านี้<br />
สร้างสถาปัตยกรรมแบบใหม่ผ่านการเรียนรู้ทั้งจากภายในและ<br />
ภายนอกประเทศ สถาปนิกญี่ปุ่นเดินทางไปเยอรมนีเพื่อศึกษากับ<br />
สถาปนิกแนวสากลนิยมสมัยใหม่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1910-1930<br />
พวกเขามีโอกาสศึกษากับกลุ่มด๊อยเชอร์แว้กบุนด์และกลุ่มเบาเฮาส์<br />
ส่วนงานในประเทศพวกเขาศึกษาผ่านงานของแอนโตนิน เรย์มอนด์<br />
สถาปนิกบุกเบิกกลุ่มนี้ ได้แก่ โมโตโน เซอิโกะ, โยชิดะ เทตสุโร,<br />
โฮริกูชิ ซูเตมิ, ยามาดะ มาโมรุ, อิชิโมโต คิกูชิ, เมอิคาว่า คูนิโอ<br />
และซากากูระ จุนโซ เป็นต้น พวกเขาพยายามสร้างอัตลักษณ์ญี่ปุ่น<br />
ผ่านสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันเอง<br />
โดยพื้นฐานแต่ก็ท้าทายความสามารถ เป็นเรื่องน่าทึ่งที่พวกเขาใช้<br />
ลักษณะนามธรรม เช่น ระบบพิกัดของวิธีก่อสร้างโบราณ วิธีวางผัง<br />
ห้องและการจัดสวนไปจนกระทั่งพิธีชงชามาเป็นพื้นฐานการสร้าง<br />
อัตลักษณ์ดังกล่าว ความเป็นญี่ปุ่นที่หลายหลากในปัจเจกภาพเป็น<br />
สิ่งที่พวกเขาได้มาโดยไม่รู้ตัว ไม่ใช่เอกภาพในรูปทรงแบบโบราณ<br />
และความเคลื่อนไหวในญี่ปุ่นนี้เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากสากล<br />
อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่1940 เมื่อญี่ปุ่นท ำสงครามรุกราน<br />
เพื่อนบ้านเพื่อสร้างจักรวรรดิ ทำให้เกิดโครงการสถาปัตยกรรม<br />
เพื่อการล้างสมองและโฆษณาชวนเชื่อลัทธิชาตินิยม ทหารนิยม<br />
และจักรวรรดินิยมของรัฐบาลทหาร ถึงตอนนี้แม้กระทั่งสถาปนิก<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ที่จัดอยู่ในแนวหน้าสุดของกลุ่มหัวก้าวหน้า<br />
ก็ถูกกระแสมวลชนดึงเข้าไปมีส่วนร่วมและเห็นดีเห็นงามกับ<br />
โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมรับใช้รัฐเผด็จการในการทำสงคราม<br />
ผลงานที่ได้จากการประกวดแบบแสดงความถดถอยไปสู่รูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมโบราณ อย่างไรก็ตามยังเหลือสถาปนิกบางคน เช่น<br />
เมอิคาว่าและซากากูระ ที่ยังพยายามแสดงออกอถึงหลักการสากล<br />
นิยมที่แฝงอยู่ในเปลือกอนุรักษ์นิยม<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ในสมัยโชวะเป็นยุคของ<br />
การเริ่มมีพื้นฐานที่มั่นคงทั้งด้านทฤษฎี เทคนิค และการหาอัตลักษณ์<br />
ของตนเองผ่านวาทกรรม “ความเป็นญี่ปุ่น” เป็นการเริ่มต้นหน้าใหม่<br />
ของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอย่างแท้จริง แม้ว่ามันจะเกิดขึ้น<br />
ท่ามกลางสถานการณ์ยากลำบากของยุคเผด็จการทหาร<br />
แต่วิกฤตนี้กลับสร้างโจทย์ให้สถาปนิกที่เชื่อมั่นในความเป็นสากล<br />
กลุ่มหนึ่ง สร้างสิ่งที่สะท้อนยุคสมัยของตนเองอย่างแท้จริง<br />
แม้ว่าจะมีช่วงเวลาหนึ่งตอนปลายสงครามโลกที่พวกเขาต้อง<br />
ประนีประนอมกับพวกชาตินิยม แต่มันก็เป็นเพียงการรอเพื่อ<br />
เปลี่ยนผ่านไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าที่อยู่วันข้างหน้า<br />
162 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เชิงอรรถบทที่ 2<br />
1 เพ็ญศรี กาญจโนมัย, ญี่ปุ่นสมัยใหม่ (กรุงเทพฯ:<br />
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538), 21.<br />
2 Meid Michiko, Der Einfuhrungsprozess des<br />
europaischen und nordamerikanischer<br />
Architektur in Japan seit 1542 (Koln: Kleikamp,<br />
1977). อ้างถึง Marco Antonio Ciappi, Compendio<br />
Della Heroiche Et Glorios Attioni Et Santa Vita<br />
di Papa Greg XIII (Roma: Stamperia de gli<br />
Accolti, 1596), 39-40.<br />
3 เพ็ญศรี กาญจโนมัย, ญี่ปุ่นสมัยใหม่, 80-93.<br />
4 จักรพรรดิโคเมอิ (22 กรกฎาคม 1831- 30<br />
มกราคม 1867) จักรพรรดิองค์ที่ 121 ของญี่ปุ่น<br />
พระราชบิดาของจักรพรรดิเมจิ<br />
5 Tomioka Silk Mill, accessed April 3, 2017,<br />
available from http://www.tomioka-silk.jp.e.wv.<br />
hp. transer.com/ tomioka-silk-mill/<br />
6 Muramatsu Teijiro, “The Course of Modern<br />
Japanese Architecture,” The Japan Architect<br />
109 (June 1965): 40.<br />
7 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present<br />
(Tokyo: Kodansha international, 1987), 18.<br />
8 W.W. Mclaren, Japanese Government<br />
Documents (Bethesada, Md: University<br />
Publication of America, 1979), 8.<br />
9 Framton Kenneth and Kudo Kunio, Japanese<br />
building Practice, From Ancient Times to the<br />
Meiji Period (New York: Van Nostrand Rienhold,<br />
1997), 134.<br />
10 Chang Hui Ju, “Victorian Japan in Taiwan:<br />
transmission and impact of the ‘modern’ upon<br />
the Architecture of Japanese authority, 1853-<br />
1919” (Ph.D. dissertation, University of Sheffield,<br />
2014), 189.<br />
11 Ibid., 183.<br />
12 James Fergusson, A History of Architecture in<br />
All Countries; History of Indian and Eastern<br />
architecture (London: John Murray, Albemarle<br />
Street, 1876), 710.<br />
13 Chang Hui Ju, “Victorian Japan in Taiwan:<br />
transmission and impact of the ‘modern’ upon<br />
the Architecture of Japanese authority, 1853-<br />
1919”, 211.<br />
14 Watanabe Toshio, “Josiah Conder’s Rokumeikan:<br />
Architecture and National Representation in<br />
Meiji Japan,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996): 21-22.<br />
15 Count Okuma, “The Industrial Revolution in<br />
Japan,” The North American Review 171, 528<br />
(November 1900): 677-691.<br />
16 Meiji Constitution, available from https://<br />
en.wikipedia.org/wiki/ Meiji_Constitution<br />
17 เพ็ญศรี กาญจโนมัย, ญี่ปุ่นสมัยใหม่, 146-147.<br />
18 Meiji Constitution, อ้างถึงมาตรา 11,12.<br />
19 ดับเบิลยู จี เบียสลีย์, ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่,<br />
แปลโดย ทองสุก เกตุรุ่งโรจน์ (กรุงเทพฯ: ศูนย์<br />
พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ, 2543), 215.<br />
20 Chang Hui Ju,“Victorian Japan in Taiwan:<br />
transmission and impact of the ‘modern’ upon<br />
the Architecture of Japanese authority, 1853-<br />
1919”, 236.<br />
21 Cherie Wandelken, “The Tectonics of Japanese<br />
Style: Architect and Carpenter in the late Meiji<br />
Period,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996): 31.<br />
22 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present,<br />
62.<br />
23 William H. Coaldrake, Architecture and<br />
Authority in Japan (London: Routledge, 1996),<br />
210.<br />
24 Akio Harada, Mainichi Shimbun (November<br />
23, 1962).<br />
25 Yokohama Specie Bank, available from https://<br />
en.wikipedia.org/wiki/Tsumaki_Yorinaka and<br />
http://chkanagawa-museum.jp<br />
26 Muramatsu Teijiro, “The Course of Modern<br />
Japanese Architecture,” 48.<br />
27 ดูรูปใน Sone Tatsuzo, available from https://<br />
en.wikipedia.org/wiki/Sone_Tatsuzo<br />
28 Muramatsu Teijiro, “The Course of<br />
Modern Japanese Architecture,” 48.<br />
29 The Architectural Institute of Japan, “History<br />
of Architectural Institute of Japan,” in 50 years<br />
History of AIJ (1936), available from http://<br />
www.aij.or.jp/da1/kaishimokuroku/pdf/gakai<br />
shi_01.pdf, 501.<br />
30 เพ็ญศรี กาญจโนมัย, ญี่ปุ่นสมัยใหม่, 228.<br />
31 Peter Duus, Modern Japan (Boston: Houghton<br />
Mifflin, 1998), 185-187.<br />
32 เพ็ญศรี กาญจโนมัย, ญี่ปุ่นสมัยใหม่, 200.<br />
33 Daiki Amanai, “The Founding of Bunriha<br />
Kenchiku Kai: “Art” and “Expression” in early<br />
Japanese Architectural Circle, 1888-1920,”<br />
Aesthetics 13 (2009): 237.<br />
34 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan (Seattle: University of<br />
Washington Press, 2009), 39-40.<br />
35 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture (Berkeley: University of California<br />
Press, 2001), 23.<br />
36 Hwangbo A.B., “Early works of Japanese<br />
Secessionist Architects,” Journal of the Korea<br />
Academia-Industrial cooperation Society 15,<br />
5 (2014): 3180.<br />
37 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 190.<br />
38 Ibid., 46.<br />
39 ดูผังที่ Ibid., 122, 123.<br />
40 Ibid., 118.<br />
41 Jonathan M. Reynolds, Maekawa<br />
Kunio and the Emergence of Japanese<br />
Modernist Architecture, 30.<br />
42 Ibid., 32.<br />
43 Ibid., 20-21.<br />
44 Suzuki Hiroyuki and Hatsuda Tohru,<br />
Zumen-de-Miru-Toshikenchiku-no-Taisho<br />
(Urban Architecture in Taisho, a Visual Anthology)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
163
่<br />
(Tokyo: Kashiwashobo, 1992), 210.<br />
45 Ibid., 228-231.<br />
46 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 104.<br />
47 Ibid., 100-101.<br />
48 Yoshikasu Uchida, available from https://<br />
en.wikipedia.org/wiki/Yoshikazu_Uchida<br />
49 Suzuki Hiroyuki and Hatsuda Tohru,<br />
Zumen-de-Miru-Toshikenchiku-no-Taisho<br />
(Urban Architecture in Taisho, a Visual Anthology),<br />
154-155.<br />
50 James Fergusson, A History of Architecture in<br />
All Countries; History of Indian and Eastern<br />
architecture, 710.<br />
51 Inoue Shoichi, “Interpretation of Ancient<br />
Japanese Architecture Focusing on Links with<br />
World History,” Japan Review 12 (2000): 133.<br />
52 Yen Liang-Ping, “A Discussion of Writings on<br />
Architectural History under Cultural Essentialism”<br />
(Atiner Conference Paper Series no.ARC 2013-<br />
0733), 10.<br />
53 เขายืนยันแนวคิดนี้ตั้งแต่การบรรยายในปีค.ศ.<br />
1893 และตีพิมพ์ในวารสารสถาปัตยกรรม<br />
(Kenchiku zasshi)ในปีเดียวกัน ดูAlice Y. Tseng,<br />
“In Defense of Kenchiku: Ito Chuta’s<br />
Theorization of Architecture as a Fine Art in<br />
the Meiji Period,” Review of Japanese Culture<br />
and Society 24 (2012): 163-164.<br />
54 Cherie Wandelken, “The Tectonics of Japanese<br />
Style: Architect and Carpenter in the late<br />
Meiji Period,” 31.<br />
55 Ibid., 32.<br />
56 Watanabe Toshio, “Japanese Imperial<br />
Architecture: From Thomas Roger to Ito<br />
Chuta,” in Challenging Past and Present: The<br />
Metamorphosis of Nineteenth Century<br />
Japanese Art, ed. Ellen Conant (University of<br />
Hawaii Press, 2006), 241.<br />
57 Ibid.<br />
58 Ito Chuta, Toyo kenchiku no kenkyu (Research<br />
on Oriental architecture) (Tokyo: Ryuginsha,<br />
1936), 5, quoted in Chang Hui Ju, “Victorian<br />
Japan in Taiwan: transmission and impact of<br />
the ‘modern’ upon the Architecture of Japanese<br />
authority, 1853-1919”, 246<br />
59 Inoue Shoichi, “Interpretation of Ancient<br />
Japanese Architecture Focusing on Links with<br />
World History,” 129-130.<br />
60 Kurakata Shunsuke, “Study on the architecture<br />
and philosophy of Chuta Ito” (Thesis, Waseda<br />
University, 2004), 74.(1936)<br />
61 Ito Chuta, “The Future of Architecture in Terms<br />
of the Evolution Theory of Architecture,” Journal<br />
of Architecture 265 (1908): 4-36, quoted in<br />
Chang Hui Ju, “Victorian Japan in Taiwan:<br />
transmission and impact of the ‘modern’ upon<br />
the Architecture of Japanese authority, 1853-<br />
1919”, 245.<br />
62 Richard M. Jaffe, “Buddhist Material Culture,<br />
“Indianism,” and the Construction of Pan-Asian<br />
Buddhism in Pre-War Japan,” Material Religion<br />
2, 3 (November 1, 2006): 268-269.<br />
63 Ibid., 266-293.<br />
64 ดูแผนภูมิที่ตั้ง Kasuisai, accessed March 15,<br />
2016, available from http://www.shizuo<br />
ka-guide.com/blog-trip/archives/2011/ 06/im<br />
ages/ 1358395998.jpg<br />
65 Richard M. Jaffe, “Buddhist Material Culture,<br />
“Indianism,” and the Construction of Pan-Asian<br />
Buddhism in Pre-War Japan,” 276.<br />
66 Ibid.<br />
67 Kurakata Shunsuke, “Study on the architecture<br />
and philosophy of Chuta Ito”, 132.<br />
68 Ibid., 128, 134.<br />
69 Ibid., 128, 135.<br />
70 “พระยาสุขุมนัยวินิจออกไปรับพระสารีริกธาตุที<br />
ประเทศอินเดีย” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 15 (16<br />
มกราคม รัตนโกสินทร์ศก 117): 447.<br />
71 “การมอบพระสารีริกธาตุแก่คณะทูตพรตญี่ปุ่น”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 17 (24 มิถุนายน<br />
รัตนโกสินทร์ศก 119): 125-126.<br />
72 Janaka Goonetilleke, Japanese Monks who<br />
came to Galle in the late. 1-2, accessed March<br />
15, 2016, available from http://www.bud<br />
dhistchannel.tv/index.php?id=43,7572,0,0,1,0<br />
73 Suzuki Hiroyuki and Hatsuda Tohru,<br />
Zumen-de-Miru-Toshikenchiku-no-Taisho<br />
(Urban Architecture in Taisho, a Visual Anthology),<br />
166.<br />
74 “ใบบอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 17 (18 พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก 119):<br />
458-465.<br />
75 Suzuki Hiroyuki and Hatsuda Tohru,<br />
Zumen-de-Miru-Toshikenchiku-no-Taisho<br />
(Urban Architecture in Taisho, a Visual Anthology),<br />
166.<br />
76 Finn Dallas, Meiji Revisited: The Sites of<br />
Victorian Japan (University of Michigan:<br />
Weatherhill, 1995), 56.<br />
77 Sato Yoshiaki, The Kanagawa Prefectural<br />
Government Hall and Low-ranking Official<br />
Architects in Taisho and Early Showa Era,<br />
Viewing from History of Architecture, accessed<br />
December 12, 2016, available from www.ka<br />
mome.lib.ynu.ac.jp/dspace/bis<br />
tream/10131/425/9/11734506-09.pdf<br />
78 Suzuki Hiroyuki and Hatsuda Tohru,<br />
Zumen-de-Miru-Toshikenchiku-no-Taisho<br />
(Urban Architecture in Taisho, a Visual Anthology),<br />
68-71.<br />
79 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present,<br />
107.<br />
80 Sato Yoshiaki, The Kanagawa Prefectural<br />
Government Hall and Low-ranking Official<br />
Architects in Taisho and Early Showa Era,<br />
Viewing from History of Architecture, accessed<br />
December 12, 2016, available from www.ka<br />
mome.lib.ynu.ac.jp/dspace/bis<br />
tream/10131/425/9/11734506-09.pdf<br />
81 Shimizu Yuichiro, Shaping the Diet: Competing<br />
Architectural Designs for Japan’s Diet Building,<br />
Social Science Research Network, accessed<br />
164 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
January 13,2014, available from http://papers.<br />
ssru.com/sol3/papers, 28-29.<br />
82 Jonathan M. Reynolds, “Japan’s Imperial Diet<br />
Building: Debate over Construction of a<br />
National Identity,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996):<br />
45.<br />
83 ดู Diet, available from https://en.wikipedia.org/<br />
wiki/Diet<br />
84 Jonathan M. Reynolds, “Japan’s Imperial Diet<br />
Building: Debate over Construction of a<br />
National Identity,” 46-47.<br />
85 Roy Andrew Miller, Japan’s Modern Myth (New<br />
York: Weatherhill, 1982), 72.<br />
86 W.G. Beasley, The History of Modern Japan<br />
(New York: Praeger, 1975), 255-256.<br />
87 The 1930s and War Economy, accessed March<br />
24, 2016, available from http://www.grips.ac.jp/<br />
teacher/oono/hp/lecture_J/ lec09.htm, 1-7.<br />
88 Shizume Masato, The Japanese Economy<br />
during the Interwar Period: Instability in<br />
the Financial System and the Impact of the<br />
World Depression, Bank of Japan Review,<br />
2009-E-2, May, 2009, accessed March 25,<br />
2016, available from http://www.boj.or.jp/en, 9.<br />
89 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 34.<br />
90 Kyoto College of Technology, accessed<br />
December 20, 2016, available from http://www.<br />
flickriver.com/photos/ bbianca/4412 and http://<br />
Japan-architect.jimdo.com/Japanese-archi<br />
tects/motono-seigo-/<br />
91 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 35.<br />
92 Ibid.<br />
93 Ibid., 37.<br />
94 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 81.<br />
95 Ibid., 82.<br />
96 Ibid., 212.<br />
97 Ibid., 219.<br />
98 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 137.<br />
99 Ibid., 136.<br />
100 Ibid., 139.<br />
101 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 134.<br />
102 Ibid., 135.<br />
103 Kim Hyon-Sob, “Tetsuro Yoshida (1894-1956)<br />
and architectural interchange between East<br />
and West,” History. Arq 12, 1 (2008): 51.<br />
104 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 112.<br />
105 Kim Hyon-Sob, “Tetsuro Yoshida(1894-1956)<br />
and architectural interchange between East<br />
and West,” 8.<br />
106 Ibid., 47, 48<br />
107 Ibid., 48<br />
108 Ibid.<br />
109 Ibid., 50.<br />
110 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 141.<br />
111 Ibid., 145.<br />
112 Ibid., 147.<br />
113 Horiguchi, “Gendai kenchiku ni arewareta nihon<br />
shumi ni tsuite,” Shiso (January 1932): 82-106,<br />
quoted in Oshima Ken Tadashi, International<br />
architecture in Interwar Japan, 144.<br />
114 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 220-221.<br />
115 Horiguchi, “shinjidai kenchiku no shinwa sono<br />
ta,” Kokusai kenchiku 15, 2 (1939): 64,<br />
quoted in Oshima Ken Tadashi, International<br />
architecture in Interwar Japan, 222.<br />
116 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 225.<br />
117 โฮริกูชิสนใจในเรื่องพิธีชงชาและสถาปัตยกรรม<br />
เกี่ยวเนื่องมาก จนเขียนบทความหัวข้อนี้หลาย<br />
เรื่องตีพิมพ์ตั้งแต่ค.ศ.1932<br />
118 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 223, 102.<br />
119 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 119.<br />
120 Shirokiya Department Store fire, accessed<br />
December 28, 2016, available from https://<br />
en.wikipedia.org/wiki/ Shirogiya_Department_<br />
Store_fire<br />
121 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present,<br />
116.<br />
122 Oshima Ken Tadashi, International<br />
architecture in Interwar Japan, 230.<br />
123 Yamada Mamoru, “Gendai teki kaiketsu no<br />
naka ni mo riso wo,” Kokusai kenshiku 21, 9<br />
(1954): 22, quoted in Oshima Ken Tadashi,<br />
International architecture in Interwar Japan, 232.<br />
124 Yamada, Mamoru, “Shinkenchiku to shakai,”<br />
Kenchiku zasshi 37 (May 1922): 39, quoted in<br />
Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan, 233.<br />
125 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present,<br />
159-160.<br />
126 Ibid., 161-162.<br />
127 Ibid., 162.<br />
128 Ibid., 163.<br />
129 Ibid.<br />
130 Dojunkai, accessed December 28, 2016,<br />
available from https://en.wikipedia.org/wiki/<br />
Dojunkai<br />
131 History of Tokyo, accessed December 28,<br />
2016, available from https://en.wikipedia.org/<br />
wiki/History_of_Tokyo<br />
132 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 149.<br />
133 Onobayashi Hiroki, “A History of Modern<br />
Japanese Houses,” The Japan Architect 109<br />
(June 1965): 83.<br />
134 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present,<br />
151.<br />
135 Ibid., 117.<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
165
136 Ibid., 118.<br />
137 Ibid., 119.<br />
138 Tadayoshi Fujiki, “Tokyo-Paris 1936-37,”<br />
Process Architecture 110 (May 1993): 34.<br />
139 Ibid., 35.<br />
140 น่าโดย Moriguchi Tari และ Fujishima Gaijiro<br />
อ้างใน Tadayoshi Fujiki, “Tokyo-Paris 1936-<br />
37,” 35.<br />
141 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 157.<br />
142 Kishida Hideto, “Modern Architecture in Japan,”<br />
in Architectural Japan Old and New (Tokyo:<br />
Japan times and Mail, 1936), 169.<br />
143 Sato Yoshiaki, The Kanagawa Prefectural<br />
Government Hall and Low-ranking Official<br />
Architects in Taisho and Early Showa Era,<br />
Viewing from History of Architecture, Iii.<br />
144 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 91.<br />
145 Ex-Soldiers Hall(Gunjin Kaikan), Kudan, Tokyo,<br />
c. 1935/Old Tokyo, accessed December 30,<br />
2016, available from http://www.oldtokyo.com/<br />
ex-soldiers-hall-kudan-tokyo-c-1935/, 1-2.<br />
146 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 92.<br />
147 Tokyo National Museum-Access Museum Map<br />
Honka, accessed December 30, 2016,<br />
available from http:// www.tnm.jp/modules/r_<br />
free_page/index.php?id=115<br />
148 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present, 110.<br />
149 Jonathan M. Reynolds, “Japan’s Imperial Diet<br />
Building: Debate over Construction of a<br />
National Identity,” 44.<br />
150 “แจ้งความสภากาชาดสยามเรื่องรับเงินช่วย<br />
บรรเทาทุกข์ชาวญี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40<br />
(14 ตุลาคม 2466): 2211 และเรื่องเดียวกันอีก 8<br />
ครั้ง มีประกาศสุดท้ายที่ เล่ม 40 (16 มีนาคม<br />
2466)(พ.ศ.2467 ตามปฏิทินปัจจุบัน): 4488.<br />
151 “งดรับเงินและแถลงรายการเงินช่วยการบรรเทา<br />
ทุกข์ชนชาติญี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 (20<br />
มกราคม 2466) (พ.ศ.2467 ตามปฏิทินปัจจุบัน):<br />
3749-3750.<br />
152 No.7: Earthquake Paintings, accessed June<br />
11, 2015, available from http://art-it.asia/u/<br />
admin_ed_contri8/qPb0 LpT4NRVitnuXy<br />
92B/?lang=en<br />
153 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 18.<br />
154 ดูผังและรูปด้านได้ที่Richard M. Jaffe, “Buddhist<br />
Material Culture, “Indianism,” and the<br />
Construction of Pan-Asian Buddhism in<br />
Pre-War Japan,” 275.<br />
155 Nichiren Shu News No. 169, December 1,<br />
2008, accessed June 11, 2015, available from<br />
http://nichiren-shu.org/newsletter, 5.<br />
156 Cherie Wendelken, “Pan-Asianism and the<br />
Pure Japanese Thing: Japanese Identity and<br />
Architecture in the Late 1930,” Positions 8, 3<br />
(Winter 2000): 823.<br />
157 Ibid., 823.<br />
158 ดูผังที่ フロアマップ, accessed May 11, 2016,<br />
available from http://tsukijihongwanji.jp/<br />
marugoto/about/floormap<br />
159 Cherie Wendelken, “Pan-Asianism and the<br />
Pure Japanese Thing: Japanese Identity and<br />
Architecture in the Late 1930,” 823.<br />
160 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955” (Doctoral Thesis, Columbia<br />
University, 1996), 150.<br />
161 Ibid., 156.<br />
162 ดูรูปใน Jacquet Benoit, Compromising<br />
Modernity: Japanese Monumentality during<br />
World War II, accessed January 11, 2017,<br />
available from https://www.academia.edu/170, 3.<br />
163 ดูรูปใน Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio<br />
and the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 125.<br />
164 ดูรูปใน Jacquet Benoit, Compromising<br />
Modernity: Japanese Monumentality during<br />
World War II, 4.<br />
165 Takenaka Akiko, “Architecture for Mass-<br />
Mobilization: The Chureito Memorial<br />
Construction Movement, 1939-1945,” in The<br />
Culture of Japanese Fascism, ed. Alan<br />
Tansman (Durham: Duke University Press,<br />
2009), 240.<br />
166 Ibid., 238-242.<br />
167 Ibid., 246.<br />
168 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955”, 185.<br />
169 Ibid., 189.<br />
170 Ibid., 192.<br />
171 Ibid.<br />
172 ดูรูปใน Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio<br />
and the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 128.<br />
173 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955”, 195.<br />
174 Cho Hyunjung, “Hiroshima Peace Memorial<br />
Park and the Making of Japanese Postwar<br />
Architecture,” Journal of Architectural<br />
Education 66, 1 (2012): 77, 81.<br />
175 ดูรูปใน Ibid., 74.<br />
176 ดูรูปใน Greater East Asia Co-Prosperity Sphere<br />
Memorial Hall, accessed January 13, 2017,<br />
available from https:// classconnection.s3.am<br />
azonaws.com/506/flashcards/35506/<br />
jpg/16136278892153...<br />
177 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955”, 203.<br />
178 Ibid., 206.<br />
179 Ibid., 208.<br />
180 “ประกาศใช้กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่าง<br />
ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 58 (21 ธันวาคม 2484): 1824-1828.<br />
166 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
181 “ประกาสไช้ความตกลงทางวัธนธัมระหว่างประเทส<br />
ไทยกับประเทสยี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59,<br />
ตอนที่ 81 (29 ธันวาคม 2485): 2619-2620.<br />
182 “ความตกลงทางวัธนธัมระหว่างประเทสไทยกับ<br />
ประเทสยี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอนที่<br />
81 (29 ธันวาคม 2485): 2629.<br />
183 “ประกาสไช้สนธิสัญญาระหว่างประเทสไทยกับ<br />
ประเทสยี่ปุ่นว่าด้วยอานาเขตของประเทสไทย<br />
ไนมาลัยและภูมิภาคฉาน” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม<br />
60, ตอนที่ 55 (18 ตุลาคม 2486): 1527-1531.<br />
184 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955”, 217.<br />
185 Ibid., 219.<br />
186 Ibid., 220.<br />
187 Ibid., 221.<br />
188 Ibid., 222.<br />
189 Ibid., 223.<br />
190 Bruce E. Reynolds, “Imperial Japan’s Cultural<br />
Programme in Thailand,” in Japanese Cultural<br />
Policies in Southeast Asia during World War II,<br />
ed. Grant K. Goodman (New York: St. Martin<br />
Press, 1991), 105.<br />
191 Bruce E. Reynolds, Japanese Cultural Policies<br />
in Southeast Asia during World War II, 105.<br />
192 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955”, 229.<br />
193 Ibid., 236.<br />
194 Ibid., 237.<br />
195 Ibid., 238.<br />
196 Ibid., 238-239.<br />
197 Ibid., 239.<br />
198 Ibid., 251.<br />
199 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 132.<br />
200 Jacqueline Eve Kestenbaum, “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955”, 257.<br />
201 Ibid.<br />
202 ดูรูปใน Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio<br />
and the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture, 130.<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
167
3<br />
สถาปัตยกรรม<br />
ยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
168 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
170 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ยุคก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 4 (ก่อน 1851)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
ประวัติศาสตร์ก่อนยุครัตนโกสินทร์คือ อยุธยา ราชอาณาจักร<br />
ที่ยิ่งใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่มีประวัติศาสตร์อย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษ<br />
ที่14-18 ชาวยุโรปเข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่อยุธยา<br />
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 นำโดยชาวโปรตุเกสและฮอลันดา ตามด้วย<br />
ฝรั่งเศส กรีก และญี่ปุ่นด้วย โดยไม่นับจีนซึ่งตั้งหลักแหล่งและสมรส<br />
กลมกลืนกับชาวไทยพื้นเมืองตั้งแต่สมัยโบราณ ความสัมพันธ์<br />
ทางการค้าและวัฒนธรรมกับชาวตะวันตกของอาณาจักรอยุธยา<br />
เจริญถึงขีดสุดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (1656-1688)<br />
พระองค์ทรงแต่งตั้งเสนาบดีคลังและมหาดไทยเป็นชาวกรีกชื่อ<br />
คอนสแตนติน ฟอลคอน ได้รับพระราชทานยศเป็น เจ้าพระยา<br />
วิชาเยนทร์ พระองค์ส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส<br />
ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พยายามเปลี่ยนพระทัยให้<br />
พระองค์หันมานับถือศาสนาคริสต์ใน ค.ศ. 1673 การที่พระองค์<br />
ไม่เปลี่ยนพระทัยรวมทั้งฝรั่งเศสเห็นว่าอยุธยาเอาเปรียบทางการค้า<br />
ทำให้ฝรั่งเศสยึดบางกอกไปจากอยุธยาตามสนธิสัญญาที่ลงนามกัน<br />
ใน ค.ศ. 1687 อันตรายทางการเมืองจากการดำเนินนโยบาย<br />
ต่างประเทศนี้ ทำให้พระเพทราชาเจ้ากรมช้างยึดอำนาจการ<br />
ปกครองใน ค.ศ. 1688 พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และ<br />
จัดการขับไล่ชาวตะวันตกออกไปจากอยุธยา อิทธิพลของตะวันตก<br />
จึงสิ้นสุดลงบนแผ่นดินสยามนานต่อเนื่องถึง 167 ปี แต่แล้ว<br />
อำนาจของตะวันตกก็แผ่กลับเข้ามาอีกในรูปแบจักรวรรดินิยม<br />
ในศตวรรษที่ 19 มหาอำนาจใหม่คราวนี้นำโดยอังกฤษที่ยึด<br />
สิงคโปร์เป็นอาณานิคมตั้งแต่ ค.ศ. 1819 ครอบครองคาบสมุทร<br />
มาลายาได้เกือบหมดใน ค.ศ. 1826 และบังคับให้สยามลงนาม<br />
ในสนธิสัญญาเบอร์นี่ (Burney Treaty) ในปีนั้นเอง สาระสำคัญ<br />
คือ สยามต้องยอมรับอิทธิพลเหนือคาบสมุทรมาลายาของอังกฤษ<br />
สยามโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ก็ทรง<br />
ยอมรับสัญญาโดยดุษฎี และทรงมีพระราชดำริว่า ภัยของตะวันตก<br />
ได้มาถึงแล้ว สิ่งที่ก้าวหน้าของตะวันตกนั้นขอให้ไทยเรียนรู้ไว้<br />
แต่อย่าได้หลงใหลเสียเลยทีเดียว 1 นับเป็นแนววิเทโศบายในการ<br />
ดำเนินการทูตกับมหาอำนาจตะวันตกที่สยามใช้ต่อมาอีกจนทุกวันนี้<br />
ที่จะไม่ปะทะกับตะวันตกเมื่อผลประโยชน์ขัดแย้ง แต่จะใช้การเจรจา<br />
ประนีประนอมเป็นหลัก พร้อมไปกับการเรียนรู้อารยธรรมของ<br />
ตะวันตกอย่างระแวดระวัง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
171
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 4 (1851-1868)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
แรงกดดันจากจักรวรรดินิยมอังกฤษยิ่งมีมากขึ ้นในรัชกาล<br />
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่ออังกฤษยึดฮ่องกงไว้<br />
หลังจากทำสงครามฝิ่นชนะจีนใน ค.ศ. 1841 ขณะเดียวกันก็ยึด<br />
พม่าตอนใต้ได้ใน ค.ศ. 1854 จึงไม่มีอะไรที่จะมาหยุดยั้งการรุกคืบ<br />
เข้าสยามเป็นเป้าต่อไป ใน ค.ศ. 1855 จอห์น เบาว์ริง (John Bowring)<br />
เข้ามาบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญา “การค้า” ฉบับใหม่<br />
มีสาระให้พระคลังหลวงเลิกผูกขาดการค้ากับตะวันตก ให้เก็บภาษี<br />
ได้ไม่เกินร้อยละ 3 และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่อังกฤษ<br />
สยามแม้จะไม่พอใจแต่ก็จำยอมในแสนยานุภาพของกองเรือรบ<br />
อังกฤษ และต้องทำสนธิสัญญาแบบนี้กับอีกหลายประเทศในยุโรป<br />
และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศสที่หิวกระหายที่<br />
จะตักตวงผลประโยชน์จากสยามไม่แพ้อังกฤษ โดยเฉพาะดินแดน<br />
ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขงทั้งหมดของสยามขณะนั้น แม้จะสิ้น<br />
ความภาคภูมิใจในฐานะประเทศเอกราชเต็มรูปแบบ แต่ผลดีของ<br />
สนธิสัญญาคือการทำให้สยามเปิดประเทศสู่ระบบการค้าของโลกที่<br />
ควบคุมโดยมหาอำนาจ สยามกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบการเกษตร<br />
และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ สินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดโลก<br />
เซอร์จอห์น เบาวริ่ง (John Bowring) (1792-1872)<br />
ฑูตอังกฤษผู้บีบให้สยามลงนามเปิดประเทศ<br />
172 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ความต้องการความศิวิไลซ์ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
Old Parliament House, Singapore<br />
ได้แก่ข้าว ไม้สัก ดีบุก น้ำตาล ยาง ขณะที่จักรวรรดินิยมน ำฝิ่นมาขาย<br />
แต่ต้องผ่านเจ้าภาษีของรัฐบาลสยามเท่านั้น การเปิดตลาดการค้า<br />
ทำให้ชนชั้นนำสยามร่ำรวยอย่างมหาศาล กรุงเทพฯ กลายเป็น<br />
เมืองท่าขนาดใหญ่ เต็มไปด้วยพ่อค้านานาชาติที่มากับเรือกลไฟ<br />
แล่นเข้ามาจนเต็มคุ้งน้ ำเจ้าพระยา จำนวนที่มากมายของพ่อค้าต่างชาติ<br />
และวัฒนธรรมที่พวกเขานำเข้ามาทำให้กรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลง<br />
อย่างขนานใหญ่ทางกายภาพ เมืองต้องถูกขยายออกไปทางตะวันออก<br />
มีการตัดถนนใหม่เพื่อให้ชาวตะวันตกมีโอกาสขี่ม้าเดินทางและ<br />
ออกกำลัง แทนที่จะพายเรือลำเล็กไปในลำคลองคดเคี้ยวที่ยังคง<br />
เป็นเส้นทางคมนาคมหลักของกรุงเทพฯ ริม 2 ข้างถนนโปรดเกล้าฯ<br />
ให้สร้างตึกแถวเรียงยาวไปตามถนน เพื่อการค้าและการพัฒนา<br />
อสังหาริมทรัพย์ริมเส้นทางบกยุคแรกแล้ว ยังทรงโปรดฯ ให้สร้าง<br />
พระราชวังใหม่ทั้งในพระบรมมหาราชวังและต่างจังหวัด ทั้งหมดนี้<br />
สร้างใน “แบบตะวันตก” ทั้งสิ้น เพราะทรงมีพระราชดำริว่าอาคาร<br />
แบบใหม่นี้เป็นศรีสง่าแสดงความก้าวหน้าของบ้านเมือง 2 เป็นการ<br />
เปิดศักราชใหม่ของการสร้างบ้านเมืองและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา<br />
การเปิดประเทศโดยสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้อารยธรรม<br />
ตะวันตกไหลบ่าเข้าสู่สยามอย่างรวดเร็ว พระมหากษัตริย์ไทยทรง<br />
ตระหนักดีในความก้าวหน้าของอารยธรรมใหม่นี้ และทรงมี<br />
พระราโชบายที่จะเรียนรู้อารยธรรมจากชาติตะวันตก โดยเฉพาะ<br />
ภาษาอังกฤษและวิชาดาราศาสตร์ ตั้งแต่ยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ<br />
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงจ้างครูชาว<br />
ต่างประเทศมาสอนภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรสและพระราชธิดา<br />
และส่งพระโอรสบางพระองค์ไปศึกษาต่อในสิงคโปร์อาณานิคมใหญ่<br />
ของอังกฤษในภูมิภาคนี้รวมทั้งส่งคณะขุนนางไปดูงานการปกครอง<br />
และการบริหารราชการแผ่นดินสมัยใหม่ในสิงคโปร์ด้วยในค.ศ. 1859<br />
ขุนนางหนุ่มในคณะผู้หนึ ่งชื่อ จมื่นไวยวรนารถ (ช่วง บุนนาค)<br />
จดจำเอาลักษณะอาคารแบบพาลลาเดียนคลาสสิค ที่พวกอังกฤษ<br />
สร้างในสิงคโปร์มาเผยแพร่ในกรุงเทพฯ โดยมีลักษณะเด่นที่หน้าจั่ว<br />
แบบวิหารกรีก ที่ชาวไทยเรียกว่ามุขประดับที่ด้านหน้าอาคาร<br />
ตึกแถวในสิงคโปร์สมัยรัชกาลที่4<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
173
ขวา พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์<br />
พระนครคีรี (1858)<br />
ล่าง ฝั่งพื้นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์<br />
และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรค์<br />
สร้างกันแพร่หลายทั้งในอาคารประเภทบ้านพักอาศัยของชนชั้นสูง<br />
รวมทั้งอาคารอีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ตึกแถว เป็นอาคารพาณิชย์<br />
เป็นชุดที่สร้างเรียงรายไปตามแนวถนนที่ตัดขึ้นใหม่ ในส่วน<br />
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็ทรงมีพระราชดำริ<br />
จะสร้างวังอย่างตะวันตก เพื่อให้สอดคล้องกับเครื่องราชบรรณาการ<br />
ที่ทูตตะวันตกน ำมาถวายเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี เพื่อมิให้ชาวตะวันตก<br />
ยิ้มเย้ยในความไม่รู้ความเหมาะสมของพระมหากษัตริย์สยาม<br />
ดังที่ได้ทรงมีพระราชดำริบันทึกไว้ในคราวสร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์<br />
ในพระบรมมหาราชวังใน ค.ศ. 1857 การสร้างพระราชวังแบบ<br />
ตะวันตกนี้เป็นเครื่องหมายแสดงความศิวิไลซ์อย่างเปิดเผยและ<br />
เป็นทางการของสยาม<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่สำคัญในสมัยพระบาท<br />
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ส ำคัญได้แก่พระอภิเนาว์<br />
นิเวศน์(1852-1857) ในพระบรมมหาราชวัง และพระนครคีรี(1858)<br />
จังหวัดเพชรบุรี การสร้างพระราชวังทั้ง 2 องค์นี้เป็นการเลียนแบบ<br />
สถาปัตยกรรมคลาสสิคด้วยความเข้าใจและฝีมือของช่างพื้นเมือง<br />
174 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ไทย-จีน ใช้เทคนิคการก่อสร้างอาคารก่ออิฐระบบกำแพงรับน้ำหนัก<br />
หลังคาโครงสร้างไม้มุงกระเบื้อง เป็นวิธีการก่อสร้างที่พบได้ทั่วไป<br />
ในการสร้างวัด พระราชวัง และคฤหาสน์ของเศรษฐีจีน แต่<br />
สถาปัตยกรรมแบบใหม่นี้เปลี่ยนโฉมหน้ามาเลียนแบบลักษณะเด่น<br />
ที่เห็นด้วยตา เช่น จั่วหน้าบันแบบวิหารกรีกของสถาปัตยกรรม<br />
คลาสสิคในสิงคโปร์ที่ออกแบบโดยสถาปนิกจอร์จดรัมโกลด์โคลแมน<br />
(George Drumgold Coleman) แต่การเลียนแบบนี้เป็นเรื่องผิวเผิน<br />
เมื่อพิจารณาลึกไปถึงผังอาคารจะเห็นได้ว่ายังคงสืบทอดการวางผัง<br />
ของโบสถ์และวิหารในศาสนาพุทธเป็นหลัก แต่เอามาปรับใช้เพื่อ<br />
เป็นอาคารพักอาศัยเช่นพระราชวัง โดยการกั้นห้องเพิ่ม เช่น<br />
มีท้องพระโรงอยู่ด้านหน้าและที่ประทับอยู่ด้านหลัง แต่การ<br />
ออกแบบเช่นนี้บางครั้งจะเห็นความไม่ลงตัวอย่างชัดเจน เช่น<br />
การมีทางเดินกลางที่โตเป็น 2 เท่าของห้องบรรทมอย่างที่พบใน<br />
พระที่นั่งสันถาคารสถานที่พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น 3<br />
ขณะเดียวกันลายละเอียดการตกแต่งเช่นลายของปูนปั้นประดับหัวเสา<br />
ก็ยังห่างไกลจากความเข้าใจในสถาปัตยกรรมคลาสสิคแท้ๆ เช่น<br />
หัวเสาไอออนิคประดับลูกโลกแบบพิสดารของพระที่นั่งราชธรรมสภา<br />
ที่พระนครคีรีเช่นกัน 4 การก่อสร้างและวัสดุเป็นระบบกำแพงอิฐ<br />
รับน้ำหนักแบบไทยโบราณ กล่าวคือ ไส้ในของกำแพงและเสาเป็น<br />
แกนเสาไม้ก่ออิฐหุ้มแล้วฉาบปูนขาวผสมทรายขัดผิวให้มันลื่นด้วย<br />
บน ผังพื้นพระที่นั่งสันถาคารสถาน<br />
ขวา พระที่นั่งสันถาคารสถาน (1858)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
175
กรมขุนราชสีหวิกรม (1816-1868)<br />
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี<br />
(1830-1913)<br />
ปูนขาวตำละเอียดที่เรียกว่า ปูนตำ หลังคาเป็นโครงสร้างไม้กรอบ<br />
สามเหลี่ยมมีดั้งกลาง พบว่ามีค้ำยันทแยง (cross bracing)<br />
แบบหลังคาทรัส (truss) ในหลังคาพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์<br />
พระนครคีรี5 ที่อาจจะนับได้ว่าเป็นวิธีก่อสร้างที่ไม่ใช่ของไทยเดิม<br />
เพียงกรณีเดียว หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วยทับแนวด้วยบัวปูนปั้น<br />
แบบหลังคาจีน ทรวดทรงของอาคารทั้งหลังไม่ปรากฏการใช้ระบบ<br />
สัดส่วนความกว้าง : ความยาว หรือความสูงเท่ากับ 1 : 1, 1 : 2,<br />
หรือ 1 : 3 ในระบบคลาสสิคใดๆ ทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันไปตาม<br />
ดุลพินิจอิสระของสถาปนิกทั้งสิ้น ผู้ที่มีชื่อปรากฏเป็นผู้ให้แบบหรือ<br />
สถาปนิก และนายงานหรือผู้ควบคุมการก่อสร้าง ล้วนเป็นคนไทย<br />
ได้แก่ กรมขุนราชสีหวิกรมและพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์<br />
(ท้วม บุนนาค) เป็นต้น กรมขุนราชสีหวิกรมไม่เคยมีประวัติไป<br />
ต่างประเทศ ความรู้ในการออกแบบแบบตะวันตกนี้จึงน่าจะเป็น<br />
การเรียนรู้ด้วยตนเอง พระองค์มีพระนามเป็นผู้ให้แบบพระราชวัง<br />
แบบตะวันตกหลายองค์ในสมัยรัชกาลที่4 เช่น พระอภิเนาว์นิเวศน์<br />
และพระนครคีรี เป็นต้น ส่วนพระเพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์ซึ่งต่อมาเป็น<br />
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีนั้นเคยอยู่ในคณะทูตที่เดินทาง<br />
ไปสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1857 ประสบการณ์นี้น่าจะเป็นที่มา<br />
ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ควบคุมการก่อสร้างอาคาร<br />
แบบตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 ต่อมาจนถึงรัชกาลที่5 อย่างไร<br />
ก็ตามจารีตประเพณีในการวางผังพระราชวังถูกรักษาไว้อย่างเข้มงวด<br />
กล่าวคืออาคารจะถูกวางเรียงเป็นแถวตอนเรียงลำดับความเป็น<br />
ส่วนพระองค์จากน้อยไปหามาก ซึ่งเริ่มด้วยอาคารท้องพระโรง<br />
จะอยู่หน้าสุด ตามด้วยอาคารที่ประทับส่วนพระองค์และอาคารที่<br />
ประทับของฝ่ายในตามลำดับ ผังแบบนี้ปรากฏที่พระราชวังเดิมธนบุรี<br />
และพระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง ที่มาจากแบบอย่าง<br />
พระราชวังสมัยอยุธยาทั้งสิ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังแบบตะวันตกแล้ว ทั้งพระอภิเนาว์<br />
พระมหามณเฑียรประกอบด้วยพระที่นั่งอมรินทร์ฯ<br />
พระที่นั่งไพศาลทักษิณและพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน (1783)<br />
176 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
นิเวศน์และพระนครคีรี ซึ่งต่างเป็นพระราชวังขนาดใหญ่ทั้งคู่<br />
ก็ยังคงรักษาแบบแผนนี ้ต่อไป 6 แสดงให้เห็นว่าขนบธรรมเนียม<br />
ประเพณีชั้นสูงในระดับพระมหากษัตริย์ของสยามยังไม่มีการเปลี่ยน<br />
อะไรเลย ภายใต้หน้ากากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ศิวิไลซ์นี้<br />
บนซ้าย พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ กรุงเทพฯ<br />
บนขวา ผังพื้นพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์<br />
ล่าง จวนเจ้าเมืองมะละกา(Stadhuys)<br />
พระราชวังแบบตะวันตกที่สร้างในพระราชวังบวรสถานมงคล<br />
(วังหน้า) มีความแตกต่างจากพระราชวังในพระบรมมหาราชวัง<br />
(วังหลวง) อย่างเห็นได้ชัด พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ซึ่งเป็นที่ประทับ<br />
ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะแบบจีนปน<br />
ฝรั่งแต่ผังอาคารเป็นแบบไทย กล่าวคือ องค์พระที่นั่งมีผังเป็น<br />
รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว มีระเบียงด้านหน้าแบบเรือนไทย ด้านหน้าสุด<br />
เป็นป้อมทหารโดยมีทางขึ้นพระที่นั่งแทรกอยู่ตรงกลาง เป็นลักษณะผัง<br />
ของที่พักอาศัยกึ่งค่ายทหารเหมือนอย่างจวนเจ้าเมืองมะละกา<br />
(Stadhuys) 7 เป็นต้น แต่การใช้ผังแบบเรือนไทยกลับทำให้การจัด<br />
ห้องต่างๆ ในพระที่นั่งมีความลงตัวกว่างานแบบวังหลวงที่เอาผังโบสถ์-<br />
วิหารเป็นฐาน แสดงความสามารถในการออกแบบประยุกต์ที่ดีกว่า<br />
อาคารแบบตะวันตกที ่สำคัญอีกแบบหนึ่งสำหรับสามัญชนคือ<br />
บ้านแบบบังกะโล (bungalow) ซึ่งมีที่มาจากเรือนพื้นถิ่นของ<br />
แคว้นเบงกอล (Bengal) ในอินเดีย แล้วถูกพวกอังกฤษนำไปประยุกต์<br />
สร้างเป็นเรือนพักอาศัยสำหรับเจ้าหน้าที่ของตนในดินแดน<br />
อาณานิคมทั่วโลกเพราะเป็นอาคารสร้างง่ายถ่ายเทอากาศได้ดี<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
177
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัยพระบาท<br />
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4<br />
อังกฤษสร้างบังกะโลในสิงคโปร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1830 โดยปรับ<br />
รูปแบบให้เป็นบ้าน 2 ชั้นมีระเบียงรอบ หลังคาทรงปั้นหยา<br />
ใส่มุขกลางหน้าบ้านหลังคาแบบจั่ววิหารกรีก คณะขุนนางไทย<br />
ที่ไปดูงานใน ค.ศ. 1859 เกิดถูกใจนำแนวคิดกลับมาสร้างในสยาม<br />
พบบ้านลักษณะเช่นนี้ที่ตึกหลวงรับราชทูตที่ท่าเตียนแต่มีลักษณะ<br />
พิเศษ คือ เอาบันไดขึ้นชั้นบนมาวางไว้นอกบ้านขนาบมุขหน้า<br />
ทั้ง 2 ข้าง เพราะชาวสยามยังถือคติว่าการมีบันไดที่ใต้ถุนบ้าน<br />
เป็นอัปมงคล ยังมีเรือนแบบบังกะโลอีกพวกหนึ่งที่ไม่มีมุขหน้า<br />
แต่มีระเบียงรอบบ้านเหมือนกัน เรือนพวกนี ้น่าจะนำมาเผยแพร่<br />
โดยมิชชันนารีอเมริกันตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4<br />
ตึกแถวเป็นอาคารอีกประเภทหนึ่งที่คณะขุนนางไทยที่ไป<br />
ดูงานใน ค.ศ. 1859 นำแนวคิดกลับมาสร้างในกรุงเทพฯ แต่น่าเสียดาย<br />
ที่ไม่มีตัวอย่างเหลืออยู่ให้ดูเป็นหลักฐาน แต่จากรูปถ่ายเก่าสมัย<br />
รัชกาลที่5 ปรากฏรูปแบบตึกแถวที่ถนนเจริญกรุงมีลักษณะต่างจาก<br />
ตึกแถวที่สร้างในยุคอื่นๆ กล่าวคือเป็นอาคารก่ออิฐ 2 ชั้น มีหน้าบัน<br />
เป็นจั่วตัดยอดแบบบ้านจีน แต่สร้างเป็นแถวยาวและซอยแบ่งเป็น<br />
ห้องเล็กๆ เรียงต่อกันไป จึงอาจเป็นตึกแถวดั้งเดิมสมัยรัชกาล<br />
ที่4 8 ที่ต่อมาได้เป็นต้นแบบในการสร้างตึกแถวของสยามในยุคหลัง<br />
แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้ดูเป็นตะวันตกมากขึ้น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในยุคแรกเริ่มสมัยรัชกาลที่4 คือ<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ในยุคแรกเริ ่มนี้อาจจะดูประหลาด<br />
ในสายตาของผู้ที่ศึกษาสถาปัตยกรรมตะวันตกมาอย่างดีเพราะมัน<br />
มีแผนผังโครงสร้างและวิธีการก่อสร้างแบบไทย แต่กลับห่อหุ้มด้วย<br />
ทรวดทรงและลวดลายการตกแต่งแบบตะวันตกที่ตีความจาก<br />
การรับรู้ของช่างไทย อย่างไรก็ตามคุณค่าของมันไม่ได้ด้อยลงไป<br />
เพราะการเลียนแบบที่ไม่เหมือนนี้ แต่มันกลับเป็นคุณค่าสำคัญ<br />
เพราะในฐานะที่เป็นรูปธรรมของแนวคิดที่ช่างไทยมีต่อความศิวิไลซ์<br />
และสถาปัตยกรรมตะวันตกยุคแรก โดยแสดงออกอย่างซื่อสัตย์<br />
ไม่เสแสร้งซึ่งจะหาไม่ได้อีกในสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
ยุคต่อมา<br />
178 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 5 (1868-1910)<br />
ช่วงครึ่งแรกของรัชกาลที่ 5 (1868-ก่อนการปฏิรูป<br />
การปกครองแผ่นดินในทศวรรษที่ 1890)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระนามก่อน<br />
ขึ้นครองราชสมบัติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ<br />
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ทรงได้รับการศึกษาอย่างรอบด้านและทันสมัยตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์<br />
ทรงรอบรู้ศิลปศาสตร์ทั้งไทยและตะวันตกจากการศึกษาจาก<br />
พระอาจารย์ชาวไทยและต่างประเทศ ทรงมีพระปรีชาสามารถ<br />
ในภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ทรงเข้าพระทัยในอารยธรรมตะวันตก<br />
และนิยมความเป็นสากล ในขณะที่ไม่ทรงละเลยสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมไทย<br />
ที่ดีงาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต<br />
อย่างกะทันหัน ด้วยประชวรโรคไข้มาลาเรียที่ทรงติดมาจากการเสด็จฯ<br />
ไปพิสูจน์การพยากรณ์เหตุการณ์สุริยุปราคา ที่หว้ากอ จังหวัด<br />
ประจวบคีรีขันธ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1868 พระองค์ต้องเสด็จขึ้น<br />
ครองราชย์ต่อมาอย่างไม่ได้เตรียมพระองค์เมื่อมีพระชันษาเพียง<br />
15 ปี การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่ในความดูแลของผู้สำเร็จ<br />
ราชการคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)<br />
ขุนนางผู้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางโดยมีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ<br />
ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังสถานมงคลเป็นผู้คุมอำนาจ<br />
การจัดตั้งกระทรวงในส่วนกลางและระบบเทศภิบาลในภูมิภาค เป็นแกนหลักของ<br />
การปฎิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน (ทศวรรษ1890)<br />
อีกพระองค์หนึ่ง องค์พระมหากษัตริย์เองนั้นไม่มีอ ำนาจอะไรจริงจัง<br />
ทรงมีบทบาทเป็นเพียงฝ่ายค้านและฝ่ายนิติบัญญัติในการประชุม<br />
คณะรัฐบาล ที่มีขุนนางและวังหน้าซึ่งเปรียบเสมือนอุปราชเป็นใหญ่<br />
ตราบจนกระทั่งผู้มีอำนาจทั้ง 2 สิ้นอายุขัยใน ค.ศ. 1882 และ 1885<br />
ตามลำดับ พระองค์จึงทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่ ก่อนช่วง<br />
เวลานี้ทรงใช้เวลาในการศึกษาเพื่อเตรียมรับภารกิจการเป็น<br />
พระมหากษัตริย์ ที่สำคัญคือการเสด็จประพาสเมืองอาณานิคมของ<br />
อังกฤษและฮอลันดา เพื่อเรียนรู้การบริหารบ้านเมืองแบบใหม่<br />
โดยเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน ค.ศ. 1871 เพื่อประกาศตัวตน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
179
ความเป็นชาติเอกราชของสยามต่อเจ้าผู้ครองอาณานิคมทั้ง 2<br />
ต่อมาใน ค.ศ. 1873 ทรงเสด็จประพาสอินเดียและพม่า ที่อินเดีย<br />
ทรงได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุและพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์<br />
จากพุทธคยาสู่สยาม ซึ่งเป็นการเริ่มต้นประเพณีการอันเชิญ<br />
พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดียมาสยามอีกหลายครั้งต่อมา<br />
การเห็นความเจริญก้าวหน้าในอาณานิคมเหล่านี้ทำให้<br />
ตั้งพระทัยในการเสด็จประพาสยุโรปเพื่อทอดพระเนตรความเจริญ<br />
ของประเทศเจ้าอาณานิคมด้วยพระองค์เอง ซึ่งน่าเสียดายว่ากว่าจะ<br />
เสด็จไปได้ก็เป็นช่วงปลายรัชสมัยเสียแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อเสด็จ<br />
พระราชดำเนินกลับจากประพาสในช่วงต้นรัชกาลนี้แล้ว ทรงดำเนิน<br />
กิจกรรมสำคัญ 2 เรื่องในการยกเลิกการกดขี่ศักดิ์ศรีมนุษย์<br />
เรื่องแรกคือการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ ยกเลิก<br />
การหมอบคลานเข้าเฝ้าใน ค.ศ. 1873 โดยมีพระราชดำริว่า<br />
“...แลธรรมเนียมที่หมอบคลานกราบไหว้ในประเทศสยามนี้<br />
เห็นว่าเป็นการกดขี่แก่กันแข็งแรงนัก ผู้น้อยที่ต้องหมอบคลานนั้น<br />
ได้ความเหน็จเหนื่อยลำบาก เพราะจะให้ยศแก่ท่านผู้ใหญ่<br />
ก็การทำยศที่ให้คนหมอบคลานกราบไหว้นี้ไม่ทรงเห็นว่า<br />
มีประโยชน์แก่บ้านเมือง แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย...” 9 เรื่องที่ 2 คือ<br />
การโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการเลิกทาสอย่างเป็น<br />
ขั้นเป็นตอนใน ค.ศ. 1874 โดยมีพระราชดำริว่า “...ซึ่งเป็น<br />
การเลิกธรรมเนียมโบราณที่อยุติธรรม ธรรมเนียมเดิมซึ่งเป็น<br />
ของชั่ว ประกอบแต่การกดขี่กันและกัน คนมีเงินข่มเหงคนจน<br />
คนวาสนามากข่มเหงคนวาสนาน้อยตามอย่างจารีตโบราณเดิม...” 10<br />
นอกจากนี้ยังทรงปรับปรุงระบบเก็บภาษีใหม่ใน ค.ศ. 1873 โดย<br />
การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็น<br />
สำนักงานกลางเก็บรายได้ภาษีอากรเพียงแห่งเดียว ซึ่งทำให้บรรดา<br />
เจ้านายและขุนนางชั้นสูงเสียผลประโยชน์ โดยเฉพาะกรม<br />
พระราชวังบวรสถานมงคลซึ ่งมีส่วนในรายได้ภาษีถึง 1 ใน 3<br />
เกิดความขัดแย้งบาดหมางจนถึงขั้นเกือบจะรบกัน กรมพระราชวัง<br />
บวรวิไชยชาญหนีไปหลบในสถานทูตอังกฤษคุมเชิงกับวังหลวง<br />
แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสมเด็จ<br />
เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ไกล่เกลี่ย จนเหตุการณ์นี้<br />
ที่ภายหลังเรียกกันว่า “วิกฤตการณ์วังหน้า” ยุติลงได้ในเดือน<br />
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1875<br />
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์<br />
ที่เข้าพระทัยในความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่และความล้าหลัง<br />
ในการปกครองและประเพณีวัฒนธรรมหลายประการของสยาม<br />
ทรงมีความรู้สมัยใหม่จากการศึกษากับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ<br />
ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และจากการที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความ<br />
เปลี่ยนแปลงในเมืองอาณานิคมด้วยพระองค์เอง ดังนั้นเมื่อมีโอกาส<br />
ก็ทรงริเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ล้าหลังของสยาม ท่ามกลางการคัดค้าน<br />
ของขุนนางและเจ้านายจำนวนมากที่จะสูญเสียผลประโยชน์<br />
ประกอบกับการที่ไม่ได้ทรงมีพระราชอำนาจทั้งปวงในการปกครอง<br />
บ้านเมืองในช่วงครึ่งแรกของรัชกาล การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสยาม<br />
จึงมีน้อยและเชื่องช้าอย่างน่าเสียดายใน 20 ปีแรกของรัชกาล<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในช่วงครึ่งแรกรัชกาลที่ 5<br />
(1868-ทศวรรษ 1890)<br />
ความนิยมอารยธรรมตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระ<br />
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจากการศึกษาวิชาการและขนบธรรมเนียม<br />
แบบตะวันตกจากพระอาจารย์ชาวตะวันตกตั้งแต่ทรงพระเยาว์<br />
ทรงรักความยุติธรรมและรังเกียจการกดขี่ข่มเหงของผู้มีอำนาจต่อ<br />
ผู้น้อย ที่มาจากธรรมเนียมไทยโบราณดังปรากฏในพระราชดำริ<br />
เรื่องยกเลิกการหมอบคลานและพระราชบัญญัติเกษียณอายุ<br />
ลูกทาสดังกล่าวมาแล้ว ขณะเดียวกันก็ทรงเห็นความเจริญ<br />
ก้าวหน้าของประเทศข้างเคียงสยามในการปกครองของมหาอำนาจ<br />
ทรงมีความเลื่อมใสที่จะพัฒนาสยามให้ก้าวตามให้ทัน ในบรรดา<br />
นวัตกรรมที่เป็นเครื่องหมายของความเจริญแบบตะวันตกนั้น<br />
180 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
้<br />
บทบาทของสถาปนิกผู้รับเหมาต่างประเทศ<br />
โจอาคิม กราสซี (1837-1904)<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ทรงนิยมอย่างยิ่ง<br />
เห็นได้จากอาคารที่ทรงสร้างตลอดรัชกาลนี้เป็นอาคารแบบตะวันตก<br />
เสียเกือบจะทั้งหมด อาคารเหล่านี้สร้างโดยสถาปนิกผู้รับเหมาชาว<br />
ยุโรป ที่จำลองอาคารแบบคลาสสิคและโรแมนติกแบบที่สร้าง<br />
ในสมัยศตวรรษที่ 19 ของยุโรปมาสร้างในสยาม มันเป็นอาคาร<br />
ที่มีคุณภาพแตกต่างกับอาคารแบบตะวันตกสมัยรัชกาลที่ 4<br />
ในแง่ความถูกต้องของลักษณะรูปแบบอาคารและการวางผัง<br />
ซึ่งเป็นแบบตะวันตกอย่างแท้จริง ไม่ใช่การดัดแปลงผังวัดไทย<br />
โบราณหุ้มเปลือกฝรั่งอย่างที่ทำในสมัยรัชกาลก่อน<br />
ผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าที่<br />
เปิดกว้าง เชื้อเชิญชาวต่างประเทศทุกชาติเข้ามาประกอบธุรกิจ<br />
ค้าขาย สถาปนิกและผู้รับเหมาก็เป็นส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนี<br />
ด้วย เพราะกรุงเทพฯกำลังเติบโตและมีโครงการก่อสร้างมากมาย<br />
ตอนช่วงต้นรัชกาลที่5 สถาปนิกคนสำคัญ ได้แก่ โจอาคิม กราสซี<br />
(Joachim Grassi), จอห์น คลูนิส (John Clunis) และสเตฟาโน<br />
คาร์ดู (Stefano Cardu) เป็นต้น กราสซี เกิดที่คาโปดิสเตรีย<br />
(Capodistria) ในประเทศสโลเวเนีย (Slovenia) ปัจจุบัน ไม่ทราบ<br />
แน่ชัดว่าเขาถือสัญชาติใดในขณะนั้น คลูนิสเป็นชาวอังกฤษ<br />
ส่วนคาร์ดูก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าถือสัญชาติใด ถ้าจะนับจำนวนงานเป็น<br />
หลักแล้วต้องถือว่ากราสซีทำงานมากชิ้นที่สุด แต่ถ้าจะดูความ<br />
หรูหราแล้วต้องเป็นคลูนิส เพราะเป็นผู้ออกแบบพระที่นั่งจักรีมหา<br />
ปราสาท สถาปนิกทั้ง 3 ไม่ได้มาเริ่มต้นทำงานในสยาม แต่มา<br />
แสวงหาโอกาสหลังจากมีประสบการณ์จากประเทศเพื่อนบ้าน<br />
เอเชียมาพอสมควร กราสซีมาจากเซี่ยงไฮ้ในจีน ส่วนคลูนิสมาจาก<br />
สิงคโปร์ ทั้ง 3 นำความรู้และประสบการณ์จากดินแดนอาณานิคม<br />
รอบข้างสยามมาถ่ายทอดให้สยามได้สัมผัสรูปธรรมของความมี<br />
“ศิวิไลซ์” ผ่านสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคและโรแมนติก สนอง<br />
พระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์สยาม พวกเขามีลักษณะการ<br />
ทำงานทั้งที่แข่งขันกัน และถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เพราะทุกคนเป็นทั้ง<br />
สถาปนิกและผู้รับเหมาในขณะเดียวกัน ในการก่อสร้างครั้งหนึ่ง<br />
พวกเขาเริ่มด้วยการออกแบบแข่งขันกัน แต่แล้วก็กลับมาเป็นการ<br />
แข่งขันประมูลให้ได้ราคาก่อสร้างที่ต่ำที่สุดเพื่อให้ถูกเลือก และใน<br />
ที่สุดแล้วพวกเขาก็อาจจะประมูลเอาแบบผู้อื่นไปสร้าง เพราะ<br />
สามารถสร้างได้ในราคาที่ต่ำกว่าแบบของตนเอง ด้วยบทบาท<br />
หน้าที่ที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัวเช่นนี้ ทำให้การดำเนินงานก่อสร้างไม่<br />
ตรงไปตรงมา และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร<br />
งานก่อสร้างของรัฐบาลสยามที่ต้องการควบคุมทุกอย่างให้อยู่ใน<br />
กำกับ โดยการตั้งกรมโยธาธิการขึ้นมาใน ค.ศ. 1889 นำมาซึ่งการจบ<br />
บทบาทสถาปนิกและผู้รับเหมาผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปรุ่นแรกในที่สุด<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
181
ผลงาน<br />
บน ผังพื้นหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและบริวาร (1875)<br />
ล่าง หอคองคอเดีย (1871)<br />
ตอนเริ่มแรกรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารแบบตะวันตกตามแบบเดิม<br />
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่สร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์และพระนครคีรี<br />
ได้แก่ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ (1868-1873) และพระที่นั ่ง<br />
สมมติเทวราชอุปบัติ(1871-1873) ซึ่งสร้างโดยสถาปนิกไทย ดังนั้น<br />
ลักษณะแบบตะวันตกผสมไทยก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ จนเมื่อเสด็จ<br />
ประพาสชวาและสิงคโปร์ใน ค.ศ. 1871 ซึ่งเป็นครั้งแรกในการเสด็จ<br />
ประพาสต่างประเทศ อาคารแบบตะวันตกแบบใหม่จึงเกิดขึ้น<br />
อาคารรุ่นใหม่นี้ออกแบบโดยสถาปนิก-ผู้รับเหมาชาวต่างประเทศจริงๆ<br />
เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เพื่อให้ได้สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่ถูกต้อง<br />
ใกล้เคียงของจริงในยุโรปมากขึ้น ตามพระราชนิยมอารยธรรมสากล<br />
ขององค์พระมหากษัตริย์ อาคารสำคัญในช่วงแรกนี้ ได้แก่<br />
หอคองคอเดียหรือศาลาสหทัยสมาคม (1871) ออกแบบโดยกราสซี<br />
ในแบบคลาสสิค ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีเสาระเบียงลอยตัวรับคานโค้ง<br />
ต่อเนื่องล้อมรอบ 4 ด้าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่<br />
หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตามอย่างสโมสรทหารในเมืองปัตตาเวีย<br />
182 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (1875)<br />
ของเกาะชวา แม้ว่ากราสซีจะสร้างได้ไม่ใกล้เคียงกับของจริงเท่าไร<br />
แต่ก็ต้องยอมรับว่าหอคองคอเดียเป็นอาคารที่มีลักษณะแบบ<br />
คลาสสิคที่ใกล้เคียงกว่างานแบบรัชกาลที่ 4 มาก<br />
ขณะเดียวกันก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จอห์น คลูนิสออกแบบ<br />
พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร (1870) ในแบบคลาสสิคที่ตกแต่ง<br />
ภายในอย่างหรูหรา ผังพระที่นั่งใหม่นี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว<br />
จัดห้องเรียงไปตามแนวหน้ากระดานซึ่งแปลกจากประเพณีดั้งเดิมใน<br />
การวางผังพระมหามณเฑียรที่ประทับอย่างเห็นได้ชัด แต่ในทาง<br />
ตรงกันข้ามพระที่นั่งวโรภาษพิมานที่พระราชวังบางปะอินในจังหวัด<br />
พระนครศรีอยุธยา สร้างใน ค.ศ. 1872 โดยกราสซี แม้ว่าจะมี<br />
รูปลักษณ์ภายนอกโน้มเอียงไปทางคลาสสิคแบบฝรั่งเศสแต่ยังคง<br />
รักษาผังพระมหามณเฑียรแบบโบราณ โดยการจัดห้องในลักษณะ<br />
ต่อกันเป็นแถวตอน 11 อีก สะท้อนให้เห็นถึงราชประเพณีในการเข้าเฝ้า<br />
พระมหากษัตริย์ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งหมด<br />
ทีเดียว คลูนิสได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบพระที่นั่ง<br />
จักรีมหาปราสาทใน ค.ศ. 1875 เป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในช่วง<br />
ครึ่งแรกของรัชกาล และมีรูปลักษณ์ที่ขัดกันอย่างรุนแรงระหว่าง<br />
รูปทรงอาคารแบบคลาสสิคแต่ครอบด้วยหลังคามหาปราสาทยอด<br />
แหลมแบบไทย จนได้รับสมญาว่า “ฝรั่งสวมชฎา” รูปทรงประหลาดนี้<br />
เกิดจากรสนิยมก้าวหน้าแบบตะวันตกขององค์ยุวกษัตริย์ที่แย้งกับ<br />
แนวคิดอนุรักษ์นิยมที่ต้องการรักษาจารีตประเพณีการก่อสร้าง<br />
พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังของผู้สำเร็จราชการ ผลที่ได้<br />
คือ รูปแบบที่มาจากการประนีประนอมที่น่าทึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น<br />
เมื่อพิจารณารูปผังอาคารแล้ว เรายังเห็นร่องรอยการประนีประนอม<br />
ของการวางผังแบบจารีตประเพณีและตะวันตกอีกด้วย พระที่นั่ง<br />
จักรีมหาปราสาทมีผังเป็นรูปตัว T ที่มีส่วนหน้าเป็นรูปตัว E<br />
ส่วนที่เป็นแกนดิ่งของตัว T คือท้องพระโรง ที่วางตรงกลางตาม<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
183
แนวดิ่งตามโบราณราชประเพณี ขณะที่บรรดาห้องที่เรียงอยู่<br />
ด้านหน้านั้นเรียงตามแนวหน้ากระดาน เป็นห้องสำหรับประกอบราชกิจ<br />
แบบสมัยใหม่ เช่น ห้องทรงงาน ห้องรับแขก และโถงรับรองแขก<br />
เป็นต้น เป็นที่สำหรับพบปะสังสรรค์ สนทนาตามวัฒนธรรมสากล<br />
ที่มีการรับรองแขกด้วยโต๊ะและเก้าอี้นั่ง ไม่ใช่ท้องพระโรงใน<br />
พระมหามณเฑียรโบราณที่ขุนนางข้าราชการเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์<br />
ด้วยการหมอบอยู่กับพื้น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทจึงเป็นเสมือน<br />
สถานที่แสดงความศิวิไลซ์ของพระราชสำนักสู่สากล<br />
วังบูรพาภิรมย์ ออกแบบโดยกราสซีใน ค.ศ. 1873 เป็นที่ประทับ<br />
ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ส่วนในทาง<br />
สังคมวังนี้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานหรูหราสำหรับบุคคลระดับ<br />
สูงสุดทั้งไทยและเทศคือพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์<br />
ใกล้ชิดหรือไม่ก็บรรดาราชทูต จึงเป็นสถานที่อวดแขกบ้านแขกเมือง<br />
ที่สำคัญที่สุดภายนอกพระบรมมหาราชวัง ลักษณะอาคารเป็นแบบ<br />
พาลลาเดียน (Palladianism) หรือเรอเนสซองส์แบบอิตาเลียน<br />
(Italian Renaissance) ชนิดหนึ่ง จุดเด่นอยู่ที่มุขหน้าที่มีหน้าบัน<br />
แบบวิหารกรีก ผังอาคารเป็นรูปตัว U มีโถงกลางขนาดใหญ่ทั้งชั้นล่าง<br />
และชั้นบน เพื่อต้อนรับแขกเกียรติยศทั้งหลายจ ำนวนมากในคราวเดียว<br />
มุขชั้นบนเป็นระเบียงที่สามารถมองลงไปดูกิจกรรมต่างๆนอกอาคาร<br />
ที่จะแสดงกันในวาระสำคัญพร้อมกับการจัดเลี้ยงบนสนามหญ้าหน้าวัง<br />
รวมถึงมีการเต้นรำและการจัดกระบวนแห่ของทหารม้า นำด้วย<br />
ขบวนแตรวงอย่างเอิกเกริก นับเป็นสถานที่สำหรับการเรียนรู้และ<br />
อวดความศิวิไลซ์ชั้นแนวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งของสยาม<br />
โรงทหารหน้า (กระทรวงกลาโหม) ออกแบบและสร้างโดย<br />
กราสซีระหว่าง ค.ศ. 1882-1884 เป็นอาคารบัญชาการและค่ายทหาร<br />
ของหน่วยกำลังทหารหลักรักษาพระนครที่เรียกว่า เหล่าทหารหน้า<br />
เป็นค่ายทหารที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ที่สามารถ<br />
รองรับทหารได้ถึง 1 กองพล โดยไม่ต้องให้ทหารไปหาที่พักเอาเอง<br />
ตามวัด ทำให้ยากลำบากในการระดมพล ความพิเศษของอาคาร<br />
บน ผังพื้นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
ล่าง ผังพื้นพระมหามณเฑียร<br />
184 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน วังบูรพาภิรมย์ (1873)<br />
ล่าง กรมทหารหน้า (1882-1884)<br />
คือการเรียงพื้นที่ใช้งานขึ้นทางดิ่งสูงถึง3 ชั้น ซึ่งไม่มีค่ายทหารใด<br />
เคยทำมาก่อน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยอาคาร<br />
แคบยาว 4 หลังต่อกันล้อมสนามใหญ่ภายใน ผังอาคารชั้นล่าง<br />
โถงกลางเป็นที่ฝึกฟันดาบ ตึกแถวด้านทิศเหนือติดหลักเมือง<br />
แถวนอกเป็นคอกม้า แถวในเป็นที่พักทหาร โรงพยาบาลทหารและ<br />
คลังเก็บยุทธภัณฑ์ ตึกแถวทิศใต้ตอนหน้าเป็นคลังยุทธภัณฑ์<br />
ตอนหลังเป็นโรงอาบน้ำซักเสื้อผ้า โรงงานทหารช่าง บ่อหัดว่ายน้ำ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
185
ที่ตั้งเครื่องสูบน้ำ หอนาฬิกา ตึกแถวทิศตะวันออกเป็นฉางเก็บข้าว<br />
และโรงครัว ผังชั้นที่ 2 มุขกลางเป็นห้องประชุม ตึกแถวทิศเหนือ<br />
เป็นที่อบรมทหารและที่พัก ตึกแถวทิศใต้เป็นที่อบรมทหารและคลัง<br />
ยุทธภัณฑ์ ผังชั้นที่ 3 มุขกลางเก็บสรรพาวุธ ตึกแถวทิศเหนือเป็น<br />
ที่พักทหารเช่นเดียวกับตึกแถวทิศใต้และทิศตะวันออก ตอนท้าย<br />
ของตึกแถวทิศใต้เป็นที่ตั้งถังเก็บน้ ำใส สนามภายในเป็นที่ฝึกซ้อมทหาร<br />
ลักษณะอาคารเป็นแบบพาลลาเดียนคลาสสิค (Palladianism)<br />
ชนิดผังสี่เหลี่ยมล้อมสนามภายในแบบพาลาโซเธียเน(Pallazo Thiene)<br />
แห่งเมืองวิเจนซา (Vicenza) จุดเด่นอยู่ที่มุขกลางหลังคาจั่ววิหารกรีก<br />
เสาชั้นบนเป็นชุดคานโค้ง 5 ช่วง ชั้นล่างเป็นเสากลมลอยตัวระเบียบ<br />
ดอริก (Doric) 6 ต้นตั้งบนฐานสูง ผนังอาคารด้านอื่นเรียบง่าย<br />
มีซุ้มปูนปั้นเหนือหน้าต่างเลียนแบบโครงสร้างคลาสสิคที่เรียบง่าย<br />
โครงสร้างอาคารเป็นแบบกำแพงรับน้ำหนัก พื้นชั ้นบนเป็นไม้<br />
หลังคาโครงสร้างไม้มุงกระเบื้องกาบกล้วยปั้นปูนทับแนวแบบจีน<br />
พื้นชั้นล่างสร้างติดดินแบบเก่าฐานรากไม่ปรากฏหลักฐานวิธีสร้าง<br />
แม้ว่าจะเป็นอาคารที่สร้างอย่างเรียบๆ ง่ายๆ แต่ด้วยขนาดและ<br />
สัดส่วนที่ใหญ่โตพอเหมาะพอดีจึงทำให้อาคารนี้ดูมีสง่าราศี<br />
นอกจากนี้การวางผังที่สามารถรวบรวมเอาความต้องการหลายหลาก<br />
ทั้งปวงของค่ายทหารมาไว้ในตึกเดียวก็ท ำให้อาคารนี้สนองการใช้งาน<br />
ได้โดดเด่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน<br />
ผังพื้นโรงทหารหน้า<br />
186 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ศาลสถิตยุติธรรมยุคแรก (1882)<br />
ศาลสถิตยุติธรรม อาจจะออกแบบโดยคลูนิสและสร้างโดย<br />
กราสซีใน ค.ศ. 1882 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
เสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์อาคารด้วยพระองค์เอง แสดงถึง<br />
ความสำคัญของระบบศาลและกฎหมายสากลที่สยามยอมรับว่า<br />
เป็นความศิวิไลซ์ที่จะขาดเสียมิได้ แต่อาคารหลังนี้กลับเป็นความ<br />
ล้มเหลวในการก่อสร้างที่ตรงข้ามกับโรงทหารหน้าที ่กล่าวไปแล้ว<br />
อาคารสร้างในแบบคลาสิคบนผังรูปตัว E จุดเด่นอยู่ที่หอคอยกลาง<br />
อาคารที่เป็นหอนาฬิกาก่ออิฐ ประดับยอดบุษบกสัมฤทธิ์แบบไทย<br />
ที่หล่อจากเมืองเวนิส ในอิตาลี12 รวมความสูงทั้งสิ้นถึง 50 เมตร<br />
ขณะที่หลังคาส่วนอื่นเป็นหลังคาคอนกรีตแบนที่เรียกว่าหลังคาตัด<br />
เมื่อสร้างเสร็จแล้วอาคารหลังนี้กลายเป็นเป้าสายตาที่โดดเด่นที่สุด<br />
แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ อยู่ถึง 10 ปี ก็ถึงกาลอวสานเมื่อฐานหอคอย<br />
ก่ออิฐร้าวลึกจนถึงขั้นจะถล่มลงมา แสดงให้เห็นถึงการขาดความ<br />
ใส่ใจในปัญหาดินที่อ่อนของกรุงเทพฯ ที่ไม่เหมาะกับการสร้าง<br />
หอคอยสูงที่มีน้ำหนักมากเช่นนี้ ขณะที่หลังคาคอนกรีตก็รั่วเสียจน<br />
ใช้งานไม่ได้ จนรัฐบาลต้องสั่งให้รื้อหอคอยลงพร้อมกับทำหลังคาใหม่<br />
เป็นทรงปั้นหยามุงกระเบื้องแทน ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ<br />
ร้อนชื้น มีฝนชุกแบบสยาม ความเสียหายครั้งนี้แสดงความผิดพลาด<br />
ครั้งสำคัญของสถาปนิกผู้รับเหมาอิสระชาวยุโรปและเป็นสาเหตุสำคัญ<br />
ของการเปิดศักราชใหม่ของการก่อสร้างอาคารในภาคราชการ<br />
ซึ่งจะมีการตั้งกระทรวงโยธาธิการมาเป็นผู้รับผิดชอบและมีสถาปนิก-<br />
วิศวกรยุโรปที่เป็นข้าราชการเป็นผู้ปฏิบัติงานในทศวรรษที่ 1890<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
187
ช่วงครึ่งหลังรัชกาลที่ 5 (1890-1910)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890-1910<br />
ช่วงเวลาครึ่งหลังของรัชกาลที่5 ถือเป็นเวลาแห่งวิกฤติของ<br />
บ้านเมือง แต่พระมหากษัตริย์สามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับ<br />
ประเทศชาติได้บนวิกฤตการณ์เหล่านั้น วิกฤตการณ์สำคัญเริ่มจาก<br />
เหตุการณ์ภายในประเทศก่อน ใน ค.ศ. 1885 (ร.ศ.103) บรรดากลุ่ม<br />
เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่นำโดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่น<br />
นเรศร์วรฤทธิ์ เข้าชื่อกันถวายหนังสือกราบบังคมทูลเสนอให้<br />
ปรับปรุงการปกครองประเทศโดยมีรัฐธรรมนูญ และใช้ระบบบริหาร<br />
ราชการแผ่นดินโดยคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ต้องมีการเลือกตั้งหรือ<br />
มีรัฐสภา แต่ควรให้สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคแก่ราษฎร<br />
ขณะที่พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นประมุขของประเทศ เรียกระบอบ<br />
การปกครองนี้ว่า “คอนสติตูชาแนลโมนากี” 13 โดยให้เหตุผลว่า<br />
จะเป็นระบอบที่ทำให้ประเทศชาติเจริญพัฒนาได้อย่างญี่ปุ่น<br />
โดยไม่ต้องอาศัยการดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเอาใจ<br />
มหาอำนาจทุกฝ่ายเพื่อให้ต่างชาติเมตตา แต่พระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ และมี<br />
พระราชาธิบายว่าการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยของพระองค์<br />
ที่ผ่านมานั ้น อำนาจอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและ<br />
กรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่ทรงเป็นอุปราช ส่วนพระองค์นั้น<br />
ในฐานะที ่ยังทรงพระเยาว์กลับต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านและ<br />
นิติบัญญัติในรัฐบาล ขณะนี้เมื่อทั้ง 2 ท่านสิ้นไปแล้ว พระองค์ต้อง<br />
แบกภาระทั้งหมดเอง ทั้งงานบริหารและงานนิติบัญญัติ ทำให้มี<br />
พระราชภารกิจมากเกินไป ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือต้องปฏิรูป<br />
รัฐบาลหรือ “คอเวอนเมนต์รีฟอม” 14 แบ่งเบาพระราชภารกิจในการ<br />
บริหารประเทศออกไปให้กับเสนาบดีหลายๆ คน เหตุผลนี้นำมา<br />
ซึ่งการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยแบ่งการบริหารออกเป็น<br />
กรมใหญ่รับผิดชอบหน้าที่เฉพาะเรื่องไม่ซ้ำกันตั้งแต่ ค.ศ. 1888<br />
พอถึง ค.ศ. 1892 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะทั้งหมด<br />
เป็นกระทรวงรวมทั้งสิ้น 12 กระทรวง ในส่วนภูมิภาคโปรดเกล้าฯ<br />
ให้รวมเมืองต่างๆ ในภูมิภาคเดียวกันเข้าด้วยกันเป็นมณฑลเรียกว่า<br />
ระบบมณฑลเทศาภิบาล ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวม<br />
อำนาจการปกครองทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้การบริหารของ<br />
พระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ทำให้สยามมั่นคงจาก<br />
ภายในขึ้นเป็นอันมาก แต่ในขณะเดียวกันนั้นเองวิกฤตการณ์จาก<br />
ภายนอกก็เกิดขึ้น จากการเรียกร้องดินแดนที่เป็นหัวเมือง<br />
ประเทศราชของสยามให้ไปอยู่ภายใต้การปกครองของมหาอำนาจ<br />
ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส เริ่มตั้งแต่การเสียดินแดนลาวให้กับฝรั่งเศส<br />
ใน ค.ศ. 1867 สมัยรัชกาลที่4 และการบีบบังคับนี้ได้ดำเนินสืบเนื่อง<br />
มาตลอดสมัยรัชกาลที่5 ถึงกระนั้นสยามก็ไม่ได้เสียเอกราชไปเพราะ<br />
อังกฤษและฝรั่งเศสทำสนธิสัญญารับรองเอกราชอธิปไตยของสยาม<br />
ใน ค.ศ. 1896 วิกฤตการณ์การแย่งดินแดนสยามนั้นได้พุ่งถึงจุดสูงสุด<br />
ใน ค.ศ. 1893 (ร.ศ. 112) เมื่อฝรั่งเศสต้องการดินแดนลาวของสยาม<br />
ไปปกครอง แต่สยามเมินเฉย ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบเข้ากรุงเทพฯ<br />
และสามารถยิงฝ่าแนวป้องกันของหมู่เรือสยามและป้อมปืนที่<br />
สมุทรปราการ เข้ามาลอยลำได้ถึงหน้าสถานทูตฝรั่งเศสที่บางรัก<br />
พร้อมหันปากกระบอกปืนไปที่พระบรมมหาราชวัง สยามจึงต้องยอม<br />
ยุติการสู้รบยอมรับความต้องการของฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้ทำให้<br />
สยามตระหนักว่าการป้องกันประเทศที่สำคัญสำหรับประเทศเล็กนั้น<br />
ต้องดำเนินการทางการทูตเป็นหลักพร้อมกับการพัฒนาประเทศ<br />
ในด้านต่างๆ ให้เข้มแข็งตามโครงสร้างการบริหารใหม่ที่ตั้งขึ้นมา<br />
การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตามโครงสร้างการบริหารใหม่<br />
ทำให้เกิดโครงการก่อสร้างขึ้นมากมาย โดยเฉพาะงานสาธารณูปโภค<br />
เช่น การสร้างทางรถไฟ การขุดคลอง การตัดถนนในพระนคร และ<br />
การสร้างอาคารสถานที่ราชการ เช่น กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ<br />
โรงเรียน ศาล และศาลากลางจังหวัด นอกจากนี้ยังรวมถึง<br />
พระราชวังและวังต่างๆ อีกมากมาย งานเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณ<br />
188 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
มหาศาล และเป็นเพราะรายได้จากพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะข้าว<br />
ที่เพิ่มขึ้นทุกปีทั้งปริมาณและราคาต่อหน่วย<br />
15 ทำให้สยามมีเงินมากพอ<br />
ที่จะนำมาใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เหล่านี้รวมทั้ง<br />
วังเจ้านายทั้งหลายได้<br />
บทบาทของสถาปนิกต่างประเทศรุ่นใหม่ในการสร้างสรรค์<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในช่วงครึ่งหลังรัชกาลที่ 5<br />
การประมูลงานและการก่อสร้างอาคารแบบเดิมตอนต้นรัชกาล<br />
ที่มีลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อนของสถาปนิกที่เป็นผู้รับเหมาได้ใน<br />
เวลาเดียวกัน รวมทั้งการสร้างอาคารสำคัญอย่างศาลสถิตยุติธรรม<br />
จนพังเสียหายขนาดที่ต้องซ่อมใหม่ทั้งหลัง เป็นสาเหตุสำคัญหนึ่ง<br />
ที่นำมาสู่การตั้งกระทรวงโยธาธิการขึ้นใน ค.ศ. 1888 ที่รัฐบาลสยาม<br />
ต้องการสถาปนิก วิศวกรผู้เชี่ยวชาญที่ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน<br />
และสามารถสนองความต้องการของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่มา<br />
ปฏิบัติงานแทน สถาปนิก วิศวกรรุ่นใหม่นี้มีคุณสมบัติแตกต่างจาก<br />
สถาปนิก-ผู้รับเหมารุ่นก่อนคือ พวกเขาเป็นคนรุ่นใหม่อายุน้อย<br />
ที่ผ่านการศึกษาในระบบมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจิตรศิลป์ชั้นสูง<br />
ที่มีชื่อเสียงของยุโรป หลายคนมาสยามเพื่อเริ ่มต้นชีวิตสถาปนิก<br />
วิศวกร คนเหล่านี้จึงเปี่ยมล้นด้วยพลังงานที่จะทำงานให้สยามเพื่อ<br />
ฝากฝีมือตนเองไว้ในดินแดนไกลโพ้นจากบ้านเกิด<br />
สถาปนิก วิศวกรคนสำคัญของกรมโยธาธิการ (ต่อมายกฐานะ<br />
เป็นกระทรวง) ในยุคเริ่มต้นนี้ ได้แก่ นายคาร์โล อัลเลอกรี<br />
(Carlo Allergri) ชาวอิตาเลียน สำเร็จการศึกษาโรงเรียนเทคนิค<br />
แห่งมิลานและมหาวิทยาลัยปาเวีย (University of Pavia) เป็นหัวหน้า<br />
วิศวกรเริ่มรับราชการตั้งแต่ค.ศ. 1890 เป็นผู้รับผิดชอบการคำนวณ<br />
โครงสร้างและการจัดการก่อสร้างเกือบทั้งหมดของกรมโยธาธิการ<br />
จนได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลสยามเป็นอย่างมาก นายมาริโอ<br />
ตามานโย (Mario Tamagno) ชาวอิตาเลียน สำเร็จการศึกษาจาก<br />
สถาบันศิลปะอัลเบอร์ตินา (Accademia Albertina) แห่งเมืองตูริน<br />
คาร์โล อัลเลอกรี (1862-1938) มาริโอ ตามานโย (1877-1941) คาร์ล ดือห์ริ่ง (1879-1941)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
189
Palazzina Scott,Turin 1902 โดย Fenoglio<br />
ตัวอย่างสถาปัตยกรรม Stile Liberty<br />
(Turin) เข้ามารับราชการเป็นสถาปนิกตั้งแต่ค.ศ. 1900 และลงนาม<br />
ในสัญญาจ้างนาน 25 ปี กับรัฐบาลสยาม เป็นหัวหน้าสถาปนิกของ<br />
กรมโยธาธิการที่ออกแบบอาคารสำคัญตอนปลายสมัยรัชกาล<br />
ที่ 5 ถึงตลอดสมัยรัชกาลที่ 6 เกือบทั้งหมด นายคาร์ล ดือห์ริ่ง<br />
(Karl DÖhring) ชาวเยอรมัน สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยี<br />
หลวงแห่งเบอร์ลิน ชาร์ลอทเทนเบอร์ก (Koniglich Technische<br />
Hochschule Berlin-Charlottenburg) เริ่มรับราชการที่กรมรถไฟ<br />
หลวงตั้งแต่ ค.ศ. 1906 ออกแบบอาคารสำคัญและพระราชวังไว้<br />
หลายหลัง รวมทั้งเขียนตำราสถาปัตยกรรมสยาม 2 เล่ม ว่าด้วย<br />
พระเจดีย์และพระอุโบสถ และได้เสนอต่อมหาวิทยาลัยในเยอรมัน<br />
จนได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งนั้น นับได้ว่าเป็น<br />
นักวิชาการต่างชาติคนแรกที่ศึกษาและเขียนหนังสือเรื่อง<br />
สถาปัตยกรรมไทยอย่างเป็นระบบแบบสมัยใหม่<br />
สถาปนิก-วิศวกรเหล่านี้ได้ช่วยกันเนรมิตสถาปัตยกรรมแบบ<br />
ตะวันตกทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ให้กับกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่<br />
ในสยาม พระราชวังและวังหลายแห่งที่สร้างในกรุงเทพฯโดยใช้ลักษณะ<br />
ผสมผสาน (Eclecticism) ของสถาปัตยกรรมคลาสสิค และโรแมนติก<br />
หลายยุคหลายสมัย รวมทั้งแบบที่น่าสนใจที่สุดคือสถาปัตยกรรม<br />
แบบอาร์ตนูโว (Art Nouveau) ที่แพร่หลายอยู่ในยุโรปตอนช่วงเปลี่ยน<br />
ศตวรรษทั้งในแบบของอิตาเลียนที่เรียกว่า สติลลิเบอร์ตี้ (Stile<br />
Liberty) หรือสติลฟลอริอาเล (Stile Floreale) และในแบบของเยอรมัน<br />
ที่เรียกว่า จุงเกนสติล(Jugendstil) มาสร้างไว้ในสยามอย่างน่าดู<br />
จนเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในต้นศตวรรษ<br />
ที่20 ของสยาม นอกจากนี้พวกเขายังได้ริเริ่มการก่อสร้างอาคารด้วย<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กและเหล็ก รวมทั้งเทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า<br />
เช่น ระบบฐานรากแผ่คอนกรีตวางบนเสาเข็ม ที่ช่วยเพิ่มความมั่นคง<br />
แข็งแรงให้กับโครงสร้างพระราชวังขนาดมหึมาที่ตั้งบนดินที่ชุ่ม<br />
ด้วยน้ำของกรุงเทพฯ อีกด้วย งานของพวกเขาที่กรมโยธาธิการเป็น<br />
การวางรากฐานระบบการออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคาและ<br />
ควบคุมการก่อสร้างที่มีมาตรฐานให้กับสยามเป็นครั้งแรกซึ่งได้สืบเนื่อง<br />
และพัฒนาต่อมาจนทุกวันนี้สำหรับวงการสถาปนิก วิศวกรในระบบ<br />
ราชการไทย<br />
190 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลงาน<br />
มาริโอ ตามานโยและคณะสถาปนิก วิศวกรแห่งกรมโยธาธิการ<br />
น่าจะกล่าวได้โดยไม่ผิดว่ามาริโอตามานโยเป็นผู้ออกแบบอาคาร<br />
ที่มีคุณภาพจำนวนมากที่สุดในช่วงเวลาครึ่งหลังของรัชกาลที่ 5<br />
ผลงานส่วนใหญ่ของเขาเป็นพระราชวังและวังของเจ้านายสยาม<br />
เขาเป็นผู้ริเริ่มนำสถาปัตยกรรมแบบอาร์ตนูโว (หรือที่เรียกว่าสติล<br />
ลิเบอร์ตี้ของอิตาลีหรือสติลฟลอริอาเลของตูริน)มาเผยแพร่ในสยาม<br />
ตัวอย่างเดียวที่จะกล่าว ณ ที่นี้คือพระที่นั่งอัมพรสถานที่สร้าง<br />
ใน ค.ศ. 1901-1905 เป็นการปฏิวัติสถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัย<br />
แบบเดิมๆ เขาวางผังอาคารแบบอสมมาตรในลักษณะผังรูปตัว H<br />
ซึ่งสามารถแบ่งพื้นที่ตามผังได้เป็น 4 ส่วน คือ บน-ล่างของ<br />
เส้นแกนนอนของผัง และซ้าย-ขวาของเส้นแกนดิ่ง แต่ละส่วนประกอบ<br />
ด้วยห้องขนาดใหญ่ 1 ห้อง ขนาดเล็ก 2 ห้อง และพื้นที่ส่วนบริการ<br />
บน ผังพื้นพระที่นั่งอัมพรสถาน<br />
ล่าง พระที่นั่งอัมพรสถาน (1901-1905)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
191
1 ห้อง จากกรอบการออกแบบนี้เขาสามารถปรับให้มีห้องรับแขก-<br />
พักผ่อน-ทรงงาน-เสวย ขนาดใหญ่ได้ 1 ห้อง ห้องบรรทม 2 ห้อง<br />
ห้องน้ำหรือห้องบันได 1 ห้อง ตามอัธยาศัยหรือเหตุผลความจำเป็น<br />
อย่างง่ายดาย อาคารแบบนี้จึงสามารถรองรับการอยู่อาศัยได้หลาย<br />
ครอบครัวในอาคารเดียวกัน คล้ายเรือนชุดพักอาศัยในปัจจุบัน<br />
นอกจากนี้เขาใช้วิธีออกแบบพื้นที่สองชั้นเสมอคือ พื้นที่ใช้งานอยู่<br />
ภายในล้อมรอบด้วยระเบียงภายนอก ซึ่งเหมาะสมกับภูมิอากาศ<br />
ร้อนชื้นที่ต้องการการถ่ายเทอากาศที ่ดีเสมอ เราจะพบวิธีวางผัง<br />
เช่นนี้อีกที่บ้านสุริยานุวัตร (1906-1908) สืบเนื่องไปจนถึงวังและ<br />
คฤหาสน์ในสมัยรัชกาลที่ 6 รูปแบบอาร์ตนูโวของพระที่นั่งอัมพร<br />
สถานเป็นส่วนผสมของคฤหาสน์ชนบทแบบวิลล่า (villa) ในยุโรป<br />
และมุขโค้งแบบหลายวงของศาสนสถานยุคกลาง และเติมแต้มสีสัน<br />
ด้วยลวดลายเขียนสีพรรณพฤกษาที่สดใส คาดเป็นแถบยาวรอบ<br />
ด้านบนผนัง ทำให้พระที่นั่งองค์นี้ดูอ่อนโยนแต่แฝงด้วยความมั่นคง<br />
จากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ทันสมัย<br />
บน บ้านสุริยานุวัตร (1906-1908)<br />
ล่าง ผังพื้นบ้านสุริยานุวัตร<br />
งานออกแบบวังบางขุนพรหม (1903-1905) ของสมเด็จ<br />
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ฯ มาในอีกแนวหนึ่ง มันกลับไปหาแบบ<br />
สถาปัตยกรรมบาร็อคของอิตาลีตอนเหนือโดยเฉพาะพาลาสโซคาริยาโน<br />
(Palazzo Carignano) 16 แห่งตูริน ทั้งนี้เพื่อตอบสนององค์เจ้าของวังที่<br />
192 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน วังบางขุนพรหม (1903-1905)<br />
ล่าง ผังพื้นวังบางขุนพรหม<br />
ทรงนิยมงานแบบบาร็อคในเยอรมัน (ซึ่งรับอิทธิพลดั้งเดิมมาจากอิตาลี)<br />
เพราะเคยประทับศึกษาวิชาทหารอยู่หลายปี ในงานนี้นอกจากการ<br />
ตกแต่งภายในที่วิจิตรแบบบาร็อคกลายๆ แล้ว ตามานโยพยายาม<br />
เน้นความสนใจไปที่บันไดใหญ่กลางอาคารในแบบบาร็อคที่หรูหรา<br />
ที่น่าจะทำตามบันไดของพระที่นั่งบรมพิมาน (1897-1903)<br />
ที่ออกแบบโดยสถาปนิกอีกคนหนึ่งที่ชื่อคาร์ล ซันเดรคซกี (Carl<br />
Sandreckzki) ผลงานต่างกรรมต่างวาระของตามานโยทำให้<br />
ดูเหมือนว่าสถาปนิกหนุ่มผู้นี้มีความสามารถเลอเลิศพอที่จะท ำงาน<br />
ที่ยิ่งใหญ่กว่านี้เพื่อสนองพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์<br />
สยามได้ เขาจึงได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลสยามให้ออกแบบ<br />
พระที่นั่งอนันตสมาคมท้องพระโรงแห่งพระราชวังดุสิต ซึ่งจะเป็น<br />
พระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในสยาม ตามานโยได้เสนอสถาปัตยกรรม<br />
เรอเนสซองส์แบบอิตาเลียนซึ่งเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระที่นั่ง<br />
องค์นี้จึงเริ่มสร้างใน ค.ศ. 1908 แต่ต้องใช้เวลาสร้างต่อไปอีก 8 ปี<br />
ข้ามไปถึงรัชกาลที่ 6 จึงสำเร็จ เพราะขนาดที่ใหญ่โตและความยุ่ง<br />
ยากในการออกแบบและสร้างฐานรากแบบทุ่นกลวงวางบนเข็ม<br />
คอนกรีตยาว 8-10 เมตร ตีเป็นตารางปูพรมถึง 501 ต้น เพื่อให้<br />
น้ำหนักมหาศาลของอาคารสามารถแผ่กระจายไปบนดินเลนของ<br />
พระราชวังดุสิตได้โดยไม่จมลงไป ความสามารถของตามานโยและ<br />
คณะทำให้เขาได้รับการต่อสัญญาจ้างไปจนถึงสิ้นสมัยรัชกาลที่ 6<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
193
คาร์ล ดือห์ริ่ง สถาปนิกแห่งกรมรถไฟหลวง<br />
การรถไฟเป็นสาธารณูปโภคสำคัญทางคมนาคมและ<br />
ยุทธศาสตร์ รัฐบาลสยามจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเร่งสร้างโครงข่าย<br />
ทางรถไปทั่วราชอาณาจักรที่กว้างใหญ่ แต่ไม่มีเส้นทางคมนาคม<br />
ที่ทันสมัยทางบกเลยทั่วประเทศ กรมรถไฟหลวงที่ประกอบด้วย<br />
คณะวิศวกรเยอรมันจึงถูกจ้างมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์<br />
คาร์ล ดือห์ริ่ง สถาปนิกชาวโคโลน (Cologne) เป็นหนึ่งในทีม<br />
วิศวกรดังกล่าวที่เข้ามารับราชการใน ค.ศ. 1906 เขาเป็นดาวเด่น<br />
อีกคนหนึ่งของวงการสถาปนิกสยาม แม้ว่างานที่ทำสำเร็จจะมี<br />
ไม่มากเหมือนตามานโย ส่วนหนึ่งก็เพราะเขาไม่ได้มีคณะท ำงานที่<br />
แข็งแกร่งแบบทีมอิตาเลียน และขอบเขตการทำงานที่จำกัดกว่า<br />
ของกรมรถไฟหลวง รวมทั้งเนื้อแท้ความเป็นนักวิชาการของเขา<br />
ที่ใช้เวลาไปกับการศึกษาสถาปัตยกรรมไทยอย่างลุ่มหลง อาคาร<br />
ที่สร้างเสร็จของเขาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีเพียงหลังเดียวคือ<br />
สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ใน ค.ศ. 1909 ที่ใช้ไวยกรณ์แบบจุงเก้นสติล<br />
(Jungendstil) ที่รุนแรงชัดเจน จากรูปด้านหน้าที่ใช้โค้งรูปหูตะกร้า<br />
2 ชั้น เสียบทะลุถึงกันด้วยเสาเหลี่ยมลอยตัว 4 ต้นบนผนังก่ออิฐ<br />
อวดผิว 17 เป็นอาคารที่น่าจะไปเปิดตัวอยู่ในยุโรปแทนที่จะเป็น<br />
อุตรดิตถ์ในสยามที่ห่างไกล ในโครงการก่อสร้างพระราชวังราม<br />
ราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรีใน ค.ศ. 1910 ซึ่งเป็น<br />
บน สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ (1909)<br />
ซ้าย ผังพื้นสถานีรถไฟอุตรดิตถ์<br />
194 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน พระราชวังรามราชนิเวศน์<br />
(1910-1918)<br />
ซ้าย ผังพื้นพระราชวังรามราชนิเวศน์<br />
ปีสุดท้ายของรัชกาล เขาออกแบบพระราชวังโดยใช้ผังแบบ<br />
ดอกจิก 3 วงที่มุขทิศตะวันออก ที่แสดงเอกลักษณ์ของโบสถ์<br />
สมัยโรมาเนสก์แห่งแคว้นไรน์(Rhenish Romanesque three foils<br />
plan) มาประยุกต์เข้ากับรูปด้านแบบจุงเก้นสติล (Jungendstil)<br />
ที่โดดเด่นด้วยโค้งหูตะกร้าและมีหอคอยแบบยอดปราสาทขอม<br />
ประยุกต์ประดับ 18 แบบเดียวกับที่เขาเคยทำมาแล้วในโครงการ<br />
ออกแบบสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ที่หัวลำโพง 19 ใน ค.ศ. 1906 เพราะ<br />
ความประหลาดเกินกว่าที่ชาวสยามจะเข้าใจ งานที่หัวลำโพง<br />
ของเขาจึงไม่ได้สร้าง ต้องหลีกทางให้แบบของตามานโยได้สร้างแทน<br />
ส่วนแบบพระราชวังรามราชนิเวศน์ถูกแก้ไขรูปด้านจนไม่เหลือ<br />
เค้าเดิมแบบจุงเก้นสติล (Jungendstil) และมาเสร็จเอาใน ค.ศ. 1918<br />
ในสมัยรัชกาลที่6 ท่ามกลางปัญหางบประมาณที่ขัดสนตลอดเวลา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
195
ความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมของดือห์ริ่งมีผู้กล่าวถึงน้อยมาก<br />
และน้อยไปกว่านั้นคือผลงานศึกษาสถาปัตยกรรมสยาม 2 เล่ม<br />
ของเขาว่าด้วยพระเจดีย์และพระอุโบสถ ซึ่งทำให้เขาได้รับ<br />
ปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีหลวงแซกโซนี่แห่งเดรสเด็น 20<br />
(Koniglich Sachsische Technischer Hochschule zu Dresden)<br />
ใน ค.ศ. 1912 และจากมหาวิทยาลัยเอียลังเก้น 21 (Universitat<br />
Erlangen) ใน ค.ศ. 1914 ตามลำดับ เป็นงานศึกษาสถาปัตยกรรม<br />
สยามโดยยึดหลักการเปรียบเทียบผัง องค์ประกอบ และลวดลาย<br />
ประดับอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก แม้ข้อจำกัดคือจำนวน<br />
กรณีศึกษาที่น้อยและมีเฉพาะที่ตั้งในกรุงเทพฯ และเพชรบุรี<br />
เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มากพอที่จะชี้ให้เห็นจุดเด่นในการวางผัง<br />
พระอุโบสถที่สำคัญของสยาม และรูปแบบสำคัญของเจดีย์<br />
ภาคกลางของสยามได้ดีทีเดียว แต่เนื่องจากตำราเขียนเป็นภาษา<br />
เยอรมัน จึงมีผู้ได้รับประโยชน์จากงานศึกษาของเขาน้อยมาก<br />
โดยเฉพาะบรรดาชาวไทยในสยามที่เขาใช้เวลาช่วงหนึ่งใน<br />
ชีวิตทำงานสถาปัตยกรรมแบบใหม่ พร้อมกับวิจัยภาคสนาม<br />
สถาปัตยกรรมโบราณไปพร้อมๆ กัน<br />
อาคารสาธารณะอื่นๆ ช่วงครึ่งหลังรัชกาล<br />
อาจกล่าวได้ว่าสยามเพิ่งจะมีอาคารสาธารณะจริงๆ ที่ไม่ใช่<br />
วัดสำหรับ “บริการ” ประชาชนทั่วไป ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เอง<br />
อาคารสาธารณะส่วนใหญ่คือสถานที่ราชการที่มีกิจกรรมใกล้เคียง<br />
กับการกำกับดูแลมากกว่าบริการ อาคารที่สร้างอย่างใหญ่โต ได้แก่<br />
กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่ตั้งขึ้นตามโครงสร้างการปฏิรูปการ<br />
ปกครองแผ่นดิน ส่วนใหญ่สร้างตามระเบียบมาตรฐานอาคารคลาสสิค<br />
คือมีผังสมมาตรรูปตัว E, U หรือสี่เหลี่ยมล้อมสนามภายใน รูปด้าน<br />
เน้นมุขหน้าที่มีหน้าบันแบบจั่ววิหารกรีกรับด้วยเสาลอยตัวหรือเสาอิง<br />
ตามระเบียบสถาปัตยกรรมกรีก-โรมัน อย่างไรก็ตามอาคารเหล่านี้<br />
ไม่ได้สร้างอย่างประณีตเท่ากับวังหรือคฤหาสน์ของชนชั้นสูง<br />
เน้นการใช้งานและให้ดูมีสง่าราศีแบบอาคารตะวันตกพอสมควรแก่<br />
การเป็นตัวแทนอำนาจรัฐบาลจากกรุงเทพฯ อาคารเหล่านี้ ได้แก่<br />
กระทรวงมหาดไทย (1896 -1915) ศาลาลูกขุนใหม่ (1897) ซึ่งเป็น<br />
ที่ตั้งของสำนักงาน 3 กระทรวงคือ กระทรวงกลาโหม กระทรวง<br />
มหาดไทย และกระทรวงวัง เป็นอาคารที่มีผังและรูปทรงแบบ<br />
ตะวันตกแต่ครอบหลังคาจั่วประดับช่อฟ้าใบระกาแบบไทย มีเหตุผล<br />
เพื่อรำลึกถึงอาคารดั้งเดิมที่ตั้ง ณ ที่นั้นมาก่อน 22 แต่กลับกลายเป็น<br />
หน่ออ่อนของรูปธรรมลัทธิชาตินิยมทางสถาปัตยกรรมในยุคต่อมา<br />
สถานที่ราชการสำคัญนอกจากนี้ ได้แก่ ศุลกสถาน (ประมาณ<br />
ค.ศ. 1887) เป็นอาคารแบบพาลลาเดียนสูง 3 ชั้น มุขกลางสูง<br />
4 ชั้น นอกจากเป็นสถานที่เก็บภาษีเรือต่างประเทศที่เข้ามาค้าขาย<br />
ในกรุงเทพฯ แล้ว ยังเป็นสโมสรเต้นรำของชนชั้นสูงที่มีชื่อเสียง<br />
ของกรุงเทพฯ โรงกษาปณ์สิทธิการ เป็นอาคารแบบพาลลาเดียน<br />
ผังสี่เหลี่ยมล้อมสนามตรงกลาง หลังคาของส่วนปีกอาคารเป็น<br />
โครงสร้างทรัสทำด้วยเหล็ก เป็นต้น<br />
196 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บนซ้าย ศุลกสถาน (1887)<br />
บนขวา ผังพื้นศุลกสถาน<br />
ล่างซ้าย โรงกษาปณ์สิทธิการ (ทศววรษ1890)<br />
ล่างขวา ผังพื้นโรงกษาปณ์สิทธิการ<br />
ผังพื้นรวมโรงกษาปณ์สิทธิการ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
197
โรงเรียนเป็นอาคารสาธารณะอีกประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาก<br />
โดยเฉพาะโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า<br />
ระดับหนึ่งของระบบโรงเรียนสมัยใหม่ที่พระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ริเริ่มขึ้นในพระบรม<br />
มหาราชวังตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1880 หลังจากนั้นมีการก่อสร้าง<br />
โรงเรียนมัธยมสำคัญหลายแห่งในพระนคร แต่ละแห่งล้วนจำลอง<br />
แบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเพื่อสะท้อนสัญลักษณ์แห่งการศึกษา<br />
แบบตะวันตก เช่น โรงเรียนนายทหารสราญรมย์ (1892)<br />
สร้างอย่างใหญ่โตสวยงามในแบบแมนเนอร์ริส (Mannerism),<br />
โรงเรียนมัธยมเทพศิรินทร์ (1895-1902) สร้างในแบบฟื้นฟูโกธิค<br />
(Gothic Revival), โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร (1905)<br />
สร้างในแบบพาลลาเดียน (Palladianism), โรงเรียนนายร้อยมัธยม<br />
(1909) สร้างในแบบพาลลาเดียน และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย<br />
(1910) อาคารเรียนยาวเกือบ 200 เมตรที่สร้างในแบบคลาสสิคนี้<br />
เป็นโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสยามยุคนั้น สะท้อน<br />
ความนิยมอย่างสูงในหมู่ประชาชนต่อโรงเรียนนี้ที่เป็นปฐมบทการ<br />
บน โรงเรียนนายทหารสราญรมย์ (1892)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงเรียนนายทหารสราญรมย์ (1909)<br />
ศึกษาแผนใหม่ในสยามนี้23 ที่ย้ายออกมาจากที่ตั้งเดิมในพระบรม<br />
มหาราชวังเพราะสถานที่คับแคบเกินกว่าจะรองรับจำนวนนักเรียน<br />
ที่เพิ่มมากขึ้นได้<br />
198 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ผังพื้นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย<br />
ล่าง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (1910)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
199
อาคารในต่างจังหวัดสร้างขึ้นเพื่อรองรับโครงสร้างระบบราชการ<br />
รวมศูนย์ที่กรุงเทพฯ ของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรม<br />
อาคารเหล่านี้จำลองลักษณะมาจากกระทรวงที่กรุงเทพฯ ผังอาคาร<br />
เป็นรูปตัว E ผนังด้านหน้าสร้างในแบบคลาสสิคมีจุดเด่นที่หน้าบัน<br />
มุขกลางแบบจั่ววิหารกรีก เพื่อซ่อนอาคารก่ออิฐหลังคาปั้นหยา<br />
ที่เรียบง่ายไว้ข้างหลัง และทุกจังหวัดจะสร้างแบบคล้ายๆ กันเพื่อ<br />
ประหยัดงบประมาณ แต่ก็ต่างกันที่ขนาดซึ่งสะท้อนความสำคัญ<br />
ทางเศรษฐกิจ-การเมืองของแต่ละเมืองที่ไม่เท่ากัน อาคารเหล่านี้<br />
เริ่มสร้างตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1900 ตัวอย่างสำคัญได้แก่ศาลาว่าการ<br />
มณฑลปราจีนบุรี (ตั ้งที่เมืองฉะเชิงเทรา) (1906) ศาลากลาง<br />
เมืองอ่างทอง (1907) ศาลมณฑลราชบุรี(1905-1907) ศาลมณฑล<br />
พระนครศรีอยุธยา (1909) ย่อส่วนไปจากศาลสถิตยุติธรรม<br />
ที่กรุงเทพฯ และศาลเมืองสิงห์บุรี(1908-1910) มีผนังด้านหน้าแบบ<br />
แมนเนอร์ริสที่งดงาม เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของความยุติธรรม<br />
ที่ศิวิไลซ์และบดบังเนื้อแท้ของอาคารแบบบังกะโลก่ออิฐไว้ข้างหลัง<br />
ภายใต้ความสง่างามนี้เป้าหมายสำคัญของรูปแบบอาคารเหล่านี้<br />
ล้วนแล้วแต่เป็นตัวแทนของอำนาจ และความศักดิ์สิทธิ์เที่ยงธรรม<br />
ของระบอบการปกครองที่กรุงเทพฯ ทั้งสิ้น<br />
แบบมาตรฐานศาลากลางจังหวัด<br />
200 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ศาลากลางจังหวัดแบบใหม่รุ่นแรก<br />
(ศาลากลางเมืองอ่างทอง) (1907)<br />
ล่างซ้าย ผังพื้นศาลเมืองสิงห์บุรี<br />
ล่างขวา ศาลเมืองสิงห์บุรี<br />
(1908-1910)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
201
สถาปัตยกรรมแนวอนุรักษ์นิยม<br />
สถาปัตยกรรมแห่งความทรงจำ<br />
ลัทธิชาตินิยมยังไม่แพร่หลายในสยามในสมัยรัชกาลที่ 5<br />
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีสถาปัตยกรรมเชิงชาตินิยมเกิดขึ้น<br />
มีอาคาร 5 หลังสำคัญที่แสดงให้เห็นหน่ออ่อนของลัทธิชาตินิยม<br />
ทางสถาปัตยกรรมที่จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังสมัยรัชกาลที่ 6<br />
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (1875) ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว<br />
ตั้งแต่ต้นว่า เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัวในตอนแรกที่ต้องการพระที่นั่งองค์ใหม่แบบเรอแนสซองส์<br />
ฝรั่งเศสแต่ก็สำเร็จลงในแบบผสม ที่ตัวอาคารเป็นแบบคลาสสิค<br />
แต่หลังคาเป็นยอดปราสาทแบบไทย เป็นการประนีประนอมระหว่าง<br />
พระมหากษัตริย์ที่มีพระราชรสนิยมในสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
และผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่ต้องการรักษาจารีตประเพณีการ<br />
ก่อสร้างอาคารสำคัญแบบไทยไว้บ้าง ในกรณีนี้กล่าวได้ว่ารูปแบบ<br />
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไม่ได้ถูกขับดันด้วยลัทธิชาตินิยมแต่ด้วย<br />
แนวคิดอนุรักษ์นิยม<br />
202 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
วัดอัษฎางค์นิมิตร พระจุฑาธุชราชสถาน เกาะสีชัง (1889-<br />
1892) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดที่จะ<br />
ประพาสเกาะสีชังอยู่เนืองๆ เพื่อเป็นสถานที่แปรพระราชฐานและ<br />
ที่ประทับรักษาอาการประชวรของเจ้านายใกล้ชิดหลายพระองค์<br />
ในการนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับรวม<br />
ทั้งวัดประจำวังขนาดเล็กด้วยคือวัดอัษฎางค์นิมิตร ซึ่งมีลักษณะ<br />
แปลกเพราะเป็นการออกแบบทั้งอุโบสถและเจดีย์ให้รวมอยู่ด้วยกัน<br />
ผังอาคารเป็นวงกลมซ้อน 2 วงมีมุขหน้ารูปสี่เหลี่ยมเหมือนโบสถ์<br />
แบบผังกลม (rotunda) ในสถาปัตยกรรมคลาสสิคแต่ตัวอาคารประกอบ<br />
ด้วยฐานทรงกระบอกทำหน้าที่เป็นโบสถ์ ด้านบนมีเจดีย์ทรง<br />
ระฆังภายในโปร่งประดิษฐานอยู่ซึ่งสร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีต<br />
เสริมเหล็ก จึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบลูกผสมที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง<br />
ที่ไม่ได้สร้างด้วยแนวคิดชาตินิยมแต่เป็นพระราชนิยมแบบโรแมนติก<br />
เหมือนภาพรวมของแนวคิดการออกแบบพระราชวังแห่งนี้ทั้งหมด<br />
บน วัดอัษฎางค์นิมิตร (1889-1892)<br />
ซ้าย ผังพื้นวัดอัษฎางค์นิมิตร<br />
หน้าตรงข้าม<br />
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (1875)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
203
บน ตึกถาวรวัตถุ (1896)<br />
ล่าง ผังพื้นและรูปด้านตึกถาวรวัตถุ<br />
ตึกถาวรวัตถุ (1896) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า<br />
อยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จ<br />
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร<br />
เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณาทาน ก่อนเชิญไปประดิษฐาน<br />
ณ พระเมรุมาศขนาดน้อย ณ ท้องสนามหลวงเพื่อพระราชทานเพลิง<br />
การนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นอาคารถาวรเพื่อจะ<br />
พระราชทานให้เป็นอาคารเรียนพระไตรปิฎกชั้นสูงของวัดมหาธาตุ<br />
หลังเสร็จพระราชพิธี เรียกว่าสังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ตามที่ทรง<br />
มีพระราชดำริไว้ก่อนแล้ว สถาปนิกคือสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />
นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวางผังอาคารเป็นแบบ 3 มุขใหญ่ คือ กลาง<br />
และหัว-ท้าย บวกกับ 2 มุขเล็กคั่นระหว่างมุขกลางและริมเชื่อม<br />
ด้วยระเบียง ที่เป็นห้องแถวยาวมีทางเดินข้างหน้า โดยภาพรวมแล้ว<br />
เหมือนผังโคปุระและระเบียงของปราสาทขอมที่ประยุกต์เป็น<br />
ผังอาคารสมัยใหม่ โดยแยกระเบียงเป็นส่วนห้องทำงานและทางเดิน<br />
ไม่ใช่ทางเดินโล่งๆ มีผนังด้านหนึ่งทึบแบบขอมโบราณ ลักษณะอาคาร<br />
เหมือนโคปุระต่อกับระเบียงในแบบประยุกต์แต่ประตูกลางของทุกมุข<br />
ใส่ประตูโค้งยอดแหลมแบบโกธิค จึงเป็นอาคารศิลปะลูกผสมขอม<br />
โกธิค และไทย โดยตอนแรกจะให้มียอดปรางค์ที่มุขกลางด้วย<br />
แต่ในที่สุดไม่ได้สร้างเพราะขาดงบประมาณ นับเป็นอาคารแบบ<br />
อนุรักษ์นิยมที่น่าดูหลังหนึ่ง<br />
204 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ศาลาลูกขุนใหม่ (1897)<br />
ล่าง ผังพื้นศาลาลูกขุนใหม่<br />
ศาลาลูกขุนใหม่ (1897) เป็นที่ทำงานของกระทรวง<br />
มหาดไทย กลาโหมและกระทรวงวัง ผังเป็นรูปตัว E ชนกัน 2 ตัว<br />
ลักษณะอาคารเป็นแบบฟื้นฟูโกธิค แต่หลังคาของมุขทั้ง 3 กลับเป็น<br />
จั่วซ้อนชั้นประดับช่อฟ้าใบระกาแบบไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง<br />
ราชานุภาพทรงกล่าวว่าเพื่อเป็นการรำลึกถึงอาคารเดิมที่รื้อทิ้งไป<br />
หลังคาแบบโบราณของศาลาลูกขุนจึงเป็นเรื่องของความทรงจำ<br />
ไม่ใช่เรื่องชาตินิยมอีกเช่นกัน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
205
พระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (1908) วัดนี้เป็น<br />
วัดโบราณเดิมชื่อวัดสมอราย ได้รับการบูรณะมาหลายครั้งในสมัย<br />
รัชกาลที่ 1 3 และ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระอุโบสถทรุดโทรมหนัก<br />
ต้องบูรณะใหม่หมด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />
นริศรานุวัดติวงศ์ เป็นสถาปนิกและคาร์โล อัลเลอกรีแห่งกรม<br />
โยธาธิการเป็นวิศวกรใน ค.ศ. 1908 แนวคิดในการบูรณะครั้งนี้<br />
คือ การสร้างพระอุโบสถโฉมหน้าใหม่ให้คล้ายคลึงกับแบบขอม<br />
เพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ชุมชนรอบวัด ที่อพยพมาจาก<br />
เขมรตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา<br />
นุวัดติวงศ์ทรงออกแบบบูรณะโบสถ์ให้มีเค้าโครงแบบปราสาท<br />
บันทายสรีของขอมโบราณที่มีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ได้ทรงออกแบบ<br />
หน้าบันโบสถ์แบบใหม่โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ตรงกลางเป็นซุ้มทรงสูง<br />
วางในแนวตั้ง ขนาบซ้าย-ขวาด้วยซุ้มทรงต่ำในแนวนอนที่ตัวซุ้ม<br />
เผยตัวออกมาเพียง 3 ใน 4 เหมือนอีก 1 ใน 4 ซ่อนอยู่หลัง<br />
ซุ้มกลาง ทำให้ดูน่าสนเท่ห์และมีพลังแบบพลวัตรไม่หยุดนิ่ง<br />
แบบงานออกแบบเดิมๆ ของไทย ปัญหาอีกประการหนึ่งของโบสถ์<br />
คือดินรับฐานรากอ่อน วิศวกรจึงออกแบบฐานรากคอนกรีตเสริม 25<br />
รับโบสถ์ที่มีหลังคาใหม่เป็นคอนกรีต ขณะเดียวกันกำแพงอิฐของ<br />
โบสถ์เดิมก็ไม่สามารถรับน้ำหนักหลังคาคอนกรีตใหม่ได้ วิศวกร<br />
จึงออกแบบหลังคาปีกนกคอนกรีตต่อกับหัวเสารายอยู่ชิดแนว<br />
กำแพง ทำหน้าที่เป็นค้ำยันกำแพงช่วยรับน้ำหนักหลังคาลงเสา<br />
ไปสู่ฐานราก การออกแบบที่ประสานกันระหว่างสถาปนิกกับวิศวกร<br />
ทำให้โบสถ์วัดราชาธิวาสงดงามมีเอกลักษณ์ จากหน้าบันเรียง<br />
3 ซุ้มที่ซ้อนเหลื่อมไม่เหมือนใคร และแข็งแกร่งด้วยโครงสร้าง<br />
ค้ำยันลอย (flying buttress) แบบโกธิคประยุกต์ ในรูปของหลังคา<br />
ปีกนกที่วางบนเสารายชิดผนัง นับเป็นงานแนวอนุรักษ์นิยม<br />
ที่สร้างสรรค์ที่สุดปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ<br />
ลัทธิชาตินิยมเช่นกัน<br />
พระอุโบสถ<br />
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (1908)<br />
206 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รูปตัดของพระอุโบสถวัดราชาธิวาสฯ หลังคาปีกนกเป็นโครงสร้างยันกำแพง<br />
ผังพื้นพระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
207
กรณีศึกษาทั้ง 5 แสดงถึงความพยายามของสยามในการ<br />
สร้างสรรค์อัตลักษณ์ไทยในยุคอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบ<br />
ตะวันตกเฟื่องฟูซึ่งบางงานอย่างเช่น การบูรณะอุโบสถวัดราชาธิวาส<br />
เป็นงานเชิงสร้างสรรค์มาก งานเหล่านี้จะเป็นต้นแบบสร้าง<br />
แรงบันดาลใจให้งานในรัชกาลต่อไปภายใต้ลัทธิชาตินิยม ซึ่งเป็น<br />
ฐานความคิดที่ต่างกันกับงานยุคแรกนี้<br />
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัยพระบาท<br />
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่5 เป็นการจำลอง<br />
ภาพบ้านเมืองในยุโรปผ่านสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งเป็น<br />
รูปธรรมของความ “ศิวิไลซ์” ของอารยธรรมตะวันตกมาไว้ที่สยาม<br />
ผ่านโครงสร้างการบริหารประเทศแบบใหม่ ที่พระมหากษัตริย์เป็น<br />
ผู้ลงมือเปลี่ยนแปลง หลังจากระบบการปกครองของสยามหยุดนิ่ง<br />
มากกว่า 400 ปีตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่ง<br />
กรุงศรีอยุธยา เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สยามจำต้องทำเพราะกระแส<br />
กดดันทั้งจากกลุ่มปัญญาชนชนชั้นนำภายในและมหาอำนาจ<br />
ภายนอก เพื่อพัฒนาให้ประเทศอยู่รอดมีเอกราชอย่างที่หวงแหน<br />
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารนำความก้าวหน้าทางวัตถุ<br />
ของตะวันตกเข้ามาด้วย ในขณะที่ชนชั้นนำของสยามชื ่นชม<br />
ในความเปลี่ยนแปลงนี้เราก็เห็นค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ขัดกันของ<br />
ฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้สะท้อนออกมาในรูปแบบ<br />
ที่น่าทึ่งและแปลกประหลาดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
อย่างไรก็ตามการวางผังพระราชวังในลักษณะวางห้องเรียงต่อกัน<br />
ตามแนวดิ่งแบบโบราณราชประเพณีก็ยังปรากฏอยู่บ้างตอน<br />
ครึ่งแรกของรัชกาล ก่อนที่จะค่อยๆ เลือนหายไปในตอนช่วง<br />
ครึ่งหลังที่การวางผังพระราชวังเน้นความสะดวกสบายในการอยู่<br />
อาศัยแบบใหม่เป็นหลัก พร้อมๆ กับการนำเข้าของสถาปัตยกรรม<br />
รูปแบบใหม่ เช่น อาร์ตนูโว วัสดุและเทคโนโลยีในการก่อสร้างใหม่<br />
เช่น ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และกระจก<br />
ที่มาแทนที่วัสดุก่อสร้างเก่าที่แข็งแรงน้อยกว่าและล้าสมัย เช่น<br />
ไม้ อิฐ และปูนขาวที่ใช้กับโครงสร้างโบราณแบบกำแพงรับน้ำหนัก<br />
วัฒนธรรมทางวัตถุเหล่านี้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้ง<br />
วงการก่อสร้างและแวดวงชนชั้นสูง เพราะในภาพรวมแล้วชนชั้น<br />
นำในสยามเห็นว่า อารยธรรมตะวันตกเป็นสิ่งที่เหนือกว่าโดยพื้น<br />
ฐานที่วัฒนธรรมเก่าต้องหลีกทางให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง<br />
ความก้าวหน้าทางวัตถุซึ่งสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่ง แต่ใต้<br />
ฉากหน้าของความก้าวหน้านี้คือความจริงที่ว่าความก้าวหน้านี้เป็น<br />
ผลงานจากมันสมองของผู้เชี่ยวชาญต่างชาติที่รัฐบาลสยามจ้างมา<br />
เท่านั้นเอง ยกเว้นงานโครงการพิเศษเพียง 1 หรือ 2 โครงการ<br />
ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างวัดของพระมหากษัตริย์ที่สถาปนิกชั้น<br />
เจ้านายของไทยจะไปมีส่วนร่วมด้วย นอกจากนั้นแล้วชาวสยาม<br />
มีส่วนร่วมเพียงเป็นผู้ใช้แรงงานในกำกับของผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ<br />
และยังอยู่ห่างไกลจากพื้นฐานทุกๆ ด้านที่จะสามารถสร้างสรรค์<br />
ความก้าวหน้าทางวัตถุได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพื้นฐาน<br />
ของมวลชน ความชำนาญทางเทคนิคชั ้นสูง ระบบอุตสาหกรรม<br />
และเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่เป็นฐานแท้จริงของผลิตผลความ<br />
ก้าวหน้าทางวัตถุที่ “ศิวิไลซ์” เหล่านี้ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา<br />
นั้นดับเบิ้ลยู จี จอห์นสัน (W. G. Johnson) ที่ปรึกษาเสนาบดี<br />
กระทรวงธรรมการรายงานใน ค.ศ. 1908 ว่า หากเรายอมรับได้<br />
ในความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลสถิติที่มีอยู่ และมีสมมติฐานว่า<br />
ในบรรดาวัดทั่วประเทศ 18 จังหวัดจำนวน 13,000 วัด ที่มีสามเณร<br />
และเด็กชายจำนวน 150,000 คน อาศัยอยู่นั้นได้รับการศึกษา<br />
ระดับใดระดับหนึ่งแล้ว ก็ยังจะมีเด็กชายในวัยเรียนอีกกว่า 200,000<br />
คน ทั่วประเทศที่ไม่ได้รับการศึกษาในระดับใดๆเลย 26 สถาปัตยกรรม<br />
แบบใหม่จึงเปรียบเสมือนภาพลวงที่ไม่ยั่งยืน ถ้าประเทศยัง<br />
ไม่สามารถสร้างองค์ประกอบทางเศรษฐกิจ สังคมพื้นฐาน<br />
ที่แข็งแกร่งได้ ในความเป็นจริงก็คือสยามยังต้องใช้เวลาอีกหลาย<br />
ทศวรรษกว่าจะไปถึงเส้นพรมแดนแห่งความสำเร็จนั้น<br />
208 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ถึงกระนั้นก็ตามในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ถูกสร้างอย่างแพร่หลายตามกระแสนิยมอารยะธรรมตะวันตก<br />
วัฒนธรรมไทยก็ยังคงอยู่อย่างฝังรากและได้สะท้อนออกมา<br />
ในการสร้างสถาปัตย-กรรมอนุรักษ์นิยมที่ผสมรูปแบบตะวันตก<br />
และไทยเข้าด้วยกัน เช่น พระที ่นั่งจักรีมหาปราสาทและศาลา<br />
ลูกขุนใหม่ แต่ก็มีบางงานอย่างอุโบสถวัดราชาธิวาสที่เป็น<br />
การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทยด้วยวัสดุใหม่ สถาปัตยกรรมไทย<br />
ในยุครัชกาลที่5 เหล่านี้จะเป็นต้นแบบของการสร้างสถาปัตยกรรม<br />
ไทยแนวลัทธิชาตินิยมในยุคต่อมา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
209
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 6 (1910-1925)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (1880-1925) ทรงสนพระทัยในศิลปะ<br />
โบราณคดีไทยอย่างยิ่ง<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จขึ้นครอง<br />
ราชสมบัติในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่สถานการณ์เศรษฐกิจและ<br />
การเมืองโลกกำลังผันผวนหนัก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั่วโลก<br />
กำลังสั่นคลอน และในหลายประเทศถูกโค่นล้มด้วยกำลังทหารและ<br />
มวลชนทั้งฝ่ายนิยมซ้ายและนิยมขวา เช่น การปฏิวัติของกลุ่มทหาร<br />
ยังเติร์กในตุรกีใน ค.ศ. 1908 การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศจีน<br />
ใน ค.ศ. 1911 การปฏิวัติของทหารในเยอรมนีและการปฏิวัติโดย<br />
มวลชนนำโดยพรรคบอลเชวิกในรัสเซียใน ค.ศ. 1918 และการปฏิวัติ<br />
ของพวกฟาสซิสต์ อิตาลีใน ค.ศ. 1925 กล่าวได้ว่าตลอดรัชกาล<br />
ของพระองค์เต็มไปด้วยการปฏิวัติรอบโลก ขณะเดียวกันญี่ปุ่น<br />
ที่เพิ่งเปิดประเทศพร้อมๆ กับสยามในทศวรรษ 1850 ได้กลายเป็น<br />
มหาอำนาจใหม่ของภูมิภาคและบีบบังคับให้สยามทำสนธิสัญญา<br />
ไม่เสมอภาคเช่นเดียวกับจักรวรรดินิยมตะวันตกใน ค.ศ. 1905<br />
ทั้งกรณีของจีนและญี่ปุ่นที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นประชาธิปไตย ถูกกลุ่มทหารหนุ่มของ<br />
ไทยกลุ่มหนึ่งยกขึ้นเป็นข้ออ้างในการเปลี่ยนแปลงร่วมกับเหตุการณ์<br />
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจเนื่องจากโรคระบาดและความแห้งแล้ง<br />
210 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ ค.ศ. 1903-1910 รวมกับเรื่อง<br />
ไม่พอใจส่วนตัวของกลุ่มทหารบกกลุ่มหนึ่งที่มีต่อพระราชจริยาวัตร<br />
บางประการของพระมหากษัตริย์ ทั้งหมดนี้ทำให้ทหารกลุ่มนี้<br />
ที่นำโดยร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ เตรียมการปฏิวัติใน ค.ศ. 1911<br />
(ร.ศ. 130) แต่ยังไม่ทันลงมือก็ถูกจับกุมเสียก่อนในวันที่1 มีนาคม<br />
ค.ศ. 1911 รวมทั้งคณะทหารบกอีก 85 คน<br />
แม้สยามยังคงรักษาระบอบเดิมไว้ได้ แต่พระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า สยามต้องการอุดมการณ์<br />
แห่งชาติที่จะค้ำจุนบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์ไว้ จึงทรงประกาศ<br />
พระราชอุดมการณ์ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” 27 เรียกร้องให้<br />
ประชาชนสยามรักและเคารพในชาติหรือเผ่าพันธุ์ของตนเอง<br />
ศาสนาพุทธ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นธงชัย อย่าได้หลงใหลไปใน<br />
อุดมการณ์แบบตะวันตกไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม<br />
เพราะประชาธิปไตยเป็นลัทธิการเมืองของพวกนายทุนมีทรัพย์<br />
ที่อาจจะเป็นใหญ่ทางการเมืองได้ด้วยการซื้อเสียงประชาชน<br />
ส่วนลัทธิสังคมนิยมนั้นมีแต่จะท ำลายศาสนาทุกศาสนา ทำให้คนไทย<br />
ล้างผลาญซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงขอให้ชาวสยามจงรักภักดีต่อ<br />
พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและความสามัคคีมาแต่<br />
โบราณอันเป็น “นิติธรรม”ของชนชาติไทยที่มี “ศิวิไลซ์” มาอย่างช้านาน<br />
ซึ่งความจริงแล้วพระราชอุดมการณ์นี้ก็คือ อิทธิพลของลัทธิ<br />
ชาตินิยมที่แพร่หลายไปทั่วยุโรปในเวลานั้นรวมทั้งประเทศอังกฤษ<br />
ที่พระองค์เคยประทับศึกษาอยู่หลายปีด้วยคำขวัญว่า “เพื่อพระเจ้า<br />
กษัตริย์และประเทศชาติ” (For God, King and country) กองทัพอังกฤษ<br />
ก็พร้อมที่จะเข้าสู่สงคราม 28 เมื่อพระองค์ปรับเปลี่ยนคำขวัญเป็น<br />
พระราชอุดมการณ์ชาติศาสนา พระมหากษัตริย์แล้ว ก็ทรงพยายาม<br />
พิสูจน์ให้เห็นจริงว่าพระราชอุดมการณ์นี้เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วเนิ่นนาน<br />
ในแผ่นดินไทย ทรงเริ่มต้นพิสูจน์ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไป<br />
สำรวจเมืองเก่าสุโขทัยใน ค.ศ. 1907 ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศ<br />
เป็นสยามมกุฎราชกุมาร โดยใช้ข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามค ำแหง<br />
เป็นเครื่องนำทางในการสำรวจโบราณสถาน ในอาณาจักรไทย ธงไตรรงค์ สัญลักษณ์ห่งอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (1917)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
211
โบราณที่ยิ่งใหญ่นี้ ซึ่งต่อมาภายหลังได้ทรงพระราชนิพนธ์และ<br />
ตีพิมพ์เป็นหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงที่กล่าวย้ำถึงการเป็นชาติ<br />
ที่มีอารยธรรมเก่าแก่ของคนไทยไม่แพ้ชาติตะวันตก ผ่านภาพ<br />
โบราณสถานต่างๆ 29<br />
ด้วยทรงมีพระราชดำริว่ากษัตริย์นักรบย่อมน ำประเทศชาติได้<br />
จึงทรงพระราชนิพนธ์พงศาวดารอิงประวัติศาสตร์ยกย่องพระปรีชา<br />
สามารถของบูรพกษัตริย์ไทยที่รบชนะข้าศึกและรักษาประเทศชาติไว้ได้<br />
เช่น บทละครพระราชนิพนธ์พระร่วงใน ค.ศ. 1912 นอกจากนี้<br />
ยังทรงดำเนินการด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีอย่างแข็งขัน<br />
โดยเสด็จพระราชดำเนินไปสืบค้น “เจดีย์พระนเรศวร” ที่เป็นอนุสรณ์<br />
แห่งการยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวร ที่ตำบลหนองสาหร่าย<br />
แขวงเมืองสุพรรณบุรีใน ค.ศ. 1913 แต่ด้วยขาดแคลนงบประมาณ<br />
จึงไม่ได้ปฏิสังขรณ์ซากเจดีย์นั้นขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1914 ทรงพระ<br />
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขนานนามเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งที่วัดสวนหลวง<br />
สบสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า “เจดีย์ศรีสุริโยทัย”เพื่อปลุกใจ<br />
ให้ชาวสยามนิยมในความกล้าหาญกตัญญูของสมเด็จพระสุริโยทัย<br />
ที่ยอมถวายชีวิตรักษา “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” 30 ทั้งหมดนี้ล้วนมา<br />
จากพื้นฐานพระราชอุดมการณ์ที่จะขอเรียกว่า “ชาตินิยม<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ของพระองค์ทั้งสิ้น แนวพระราชอุดมการณ์นี้<br />
ยังส่งผลให้เกิดสถาปัตยกรรมไทยชาตินิยมขึ้น อันเป็นสถาปัตย-<br />
กรรมที ่เป็นเอกลักษณ์ของรัชกาลนี้ แต่ในขณะเดียวกันพระบาท<br />
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงปฏิเสธสถาปัตยกรรม<br />
แบบตะวันตก และกล่าวได้ว่าอาคารราชการสำคัญและอาคารพัก<br />
อาศัยของชนชั้นสูงส่วนใหญ่ก็ยังสร้างเป็นแบบตะวันตกทั้งสิ้น<br />
ไม่ได้ต่างไปจากรัชกาลก่อน และสำเร็จด้วยฝีมือของคณะสถาปนิก-<br />
วิศวกรชาวอิตาเลียนคนสำคัญคนเดิมที่รับราชการสืบเนื่องมาจาก<br />
รัชกาลก่อน นำโดยหัวหน้าสถาปนิกมาริโอ ตามานโยนั่นเอง<br />
สถาปัตยกรรมแบบชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ในสมัยรัชกาลที่ 6<br />
สถาปัตยกรรมแบบชาตินิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 สร้างสรรค์<br />
มาจากแนวพระราชดำริที่ทรงมีพระราชด ำรัสในวันเปิดโรงเรียนเพาะช่าง<br />
เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1913 (ค.ศ. 1914 ปฏิทินปัจจุบัน) ว่า<br />
“...ชาติไทยเราได้เคยถึงซึ่งความเจริญมานานแล้ว ดังปรากฏด้วย<br />
ระเบียบแบบแผนแลตำนานของเรา แต่บางสมัยในพงษาวดารของ<br />
เราได้มีข้าศึกศัตรูเข้ามาย่ำยีทำลายถาวรวัตถุต่างๆ ของเรา<br />
แลทำความทรุดโทรมให้เป็นอันมาก ครั้นต่อมาเมื่อเราต้องดำเนิร<br />
ตามสมัยใหม่วิชาช่างของเรา เราก็ชวนละลืมเสียหมด ไปหลงเพลิน<br />
แต่จะเอาของคนอื่นเขาถ่ายเดียว ผลในที่สุดก็คือ กรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้<br />
เต็มไปด้วยสถานที่อันเป็นเครื่องรำคาญตาต่างๆ แท้จริงวิชาช่าง<br />
เป็นวิชาพื้นเมือง จะคอยแต่เอาอย่างของคนอื่นถ่ายเดียวไม่ได้<br />
เพราะงามของเขาไม่เหมาะแก่ตาเรา และฐานะของเขากับของ<br />
เราต่างกัน ที่ถูกนั้นควรเราจะแก้ไขพื้นวิชาของเราเองให้ดีขึ้นตาม<br />
ความรู้และวัตถุอันเกิดขึ้นใหม่ตามสมัย ในข้อนี้สมเด็จพระบรม<br />
ชนกนารถได้ทรงพระปรารภอยู่มาก และเพื่อจะทรงบำรุงวิชาช่าง<br />
ของไทยเราที่มีมาแล้วแต่โบราณให้ถาวรอยู่สืบไป จึงได้ทรงสร้าง<br />
วัดเบญจมบพิตรขึ้นให้ปรากฏเป็นแบบอย่างไว้ เราเห็นชอบด้วย<br />
ตามกระแสพระราชดำริห์นั้น และได้เคยปรารภกับเจ้าพระยาพระเสด็จ<br />
และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยการศึกษา ที่จะให้วิชาช่างไทยของเรา<br />
ตั้งขึ้นใหม่จากพื้นเดิมของเราแล้ว แลขยายให้แตกกิ่งก้านสาขา<br />
งอกงามยิ ่งขึ้น เปรียบเหมือนเอาพรรณพืชของเราเองมาปลูกลง<br />
ในแผ่นดินของเรา แล้วบำรุงให้เติบโตงอกงาม ดีกว่าที่จะไปเอา<br />
พรรณไม้ต่างประเทศมาปลูกลงในพื้นแผ่นดินของเราอันไม่เหมาะกัน<br />
....สมควรที่เราทั้งหลายจะใช้วิชาความรู้ที่เราได้มาจากต่างประเทศ<br />
เพาะปลูกและบำรุงต้นไม้ของเรา คือศิลปวิชาช่างไทยให้เจริญต่อไป<br />
โดยควรแก่สมัย...” 31 กล่าวโดยสรุปคือทรงมีพระราชนิยมในศิลปะ<br />
แบบไทยแต่ทันสมัยโดยใช้ความรู้จากต่างประเทศมาช่วย<br />
สร้างสรรค์ นั่นคือถ้าเป็นสถาปัตยกรรมก็ต้องเป็นแบบไทยโบราณ<br />
แต่สร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ของตะวันตก ในทางปฏิบัตินี่คือ<br />
212 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
วาทกรรมหลักที่นำไปสู่สถาปัตยกรรมตะวันตกครอบหลังคาไทย<br />
ซึ่งไม่ใช่ของใหม่เราได้เห็นตัวอย่างมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5<br />
ตั้งแต่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (1875) และศาลาลูกขุนใหม่(1897)<br />
เป็นต้น แต่อาคารเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อความเชื่อแบบชาตินิยม<br />
แต่เพื่อรักษาโบราณราชประเพณีในกรณีพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
และเพื่อสืบทอดความทรงจำในกรณีของศาลาลูกขุนใหม่32<br />
อาคารแบบนี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อรองรับอุดมการณ์ชาตินิยมมาก่อน<br />
แต่เป็นตัวแบบให้ลัทธิชาตินิยมทางสถาปัตยกรรมนำมันไปใช้<br />
ประโยชน์ในสมัยต่อมา เช่น สมัยรัชกาลที่ 6 นี้เองที่สถาปนิก<br />
นำพระราชอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มาสวมทับ<br />
รูปแบบตะวันตกครอบหลังคาไทย เกิดเป็นสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นอย่างสมบูรณ์<br />
ผลงาน<br />
พระที่นั่งพิมานปฐม ในพระราชวังสนามจันทร์จังหวัดนครปฐม<br />
สร้างใน ค.ศ. 1910 เป็นตัวอย่างแรกของสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
ที่น่าสนใจ เพราะองค์พระที่นั่งสร้างแบบบังกะโลคอนกรีตที่ไม่มี<br />
ลักษณะทรงไทยอะไรเลย แต่ปรากฏว่ามุขหน้าพระที่นั่งซึ่งเป็นที่ตั้ง<br />
ของห้องพระที่เรียกว่า “ห้องพระเจ้า” หันหน้าประจันเป็นแนวเส้น<br />
ตรงกับองค์พระปฐมเจดีย์ เกิดเป็นแกนสายตาที่สะท้อนพระราช<br />
อุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่ครบถ้วน โดยเฉพาะ<br />
ยามที่ประทับทอดพระเนตรจากมุขหน้าไปยังพระปฐมเจดีย์<br />
เราจะได้ตัวแทนกายภาพของชาติไทย ศาสนาพุทธ และพระมหากษัตริย์<br />
ไทยในเวลาเดียวกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
สมัยรัชกาลที่ 6 นั้น เริ่มต้นที่พระที ่นั่งนี้ในแบบที่เป็นนามธรรม<br />
ก่อนสถาปัตยกรรมชาตินิยมที่มี “แบบไทย” เสียด้วยซ้ำ ในบริเวณ<br />
นี้ยังมีพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ สร้าง ค.ศ. 1912 และพระที่นั่ง<br />
วัชรีรมยา สร้าง ค.ศ. 1917 สร้างติดต่อกันเป็นชุดในแบบไทย<br />
โบราณ โดยพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เป็นท้องพระโรงหน้า<br />
ซึ่งใช้แสดงโขนและละครในบางโอกาสและพระที่นั่งวัชรีรมยาเป็น แกนชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่พระราชวังสนามจันทร์ (1910)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
213
โถงหลังเวที (back stage) ที่ชั้นล่าง ส่วนชั้นบนเป็นที่ประทับ<br />
เป็นการสร้างพระราชวังแบบหมู่พระมหามณเฑียรในพระบรม<br />
มหาราชวังแบบย่อส่วน ซึ่งไม่มีการสร้างอีกเลยหลังสมัยรัชกาลที่1<br />
บน หอสวดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (1915-1917)<br />
ล่าง ผังพื้นหอสวด<br />
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นผลงานสถาปัตยกรรมตาม<br />
พระราชอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่สมบูรณ์ที่สุด<br />
ออกแบบและสร้างระหว่าง ค.ศ. 1915-1917 โดยสถาปนิกไทย<br />
พระสมิทธิเลขา (ปลั่ง วิภาตะศิลปิน) ร่วมกับสถาปนิกอังกฤษ<br />
เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) โดยมีพระราชดำริให้สร้างเป็น<br />
แบบไทยเพื่อให้ปรากฏศิลปะของไทยไว้เป็นตัวอย่างสืบไป<br />
อาคารประธานของโรงเรียนคือหอสวดที่น่าจะเป็นอาคารแรก<br />
ที่ออกแบบผสมระหว่างแบบไทยกับตะวันตกในลักษณะกลมกลืน<br />
ไม่ใช่แยกส่วนแบบรัชกาลก่อน ผังเป็นรูปกากบาทแบบแกนไม่เท่ากัน<br />
(Roman Cross) ที่แบ่งพื้นที่เป็นโถงกลางมีเฉลียง 2 ข้างแบบโบสถ์ไทย<br />
แต่มีโถงจุดตัด กระหนาบด้วยมุขข้าง 2 มุขและมุขหลังแบบจตุรมุข<br />
รูปทรงเป็นอาคารไทยคอนกรีต 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง<br />
ภาพรวมจึงคล้ายศาลาการเปรียญขนาดใหญ่แต่ในรายละเอียดของ<br />
214 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1917)<br />
ล่าง ผังพื้นตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
ลวดลายและช่องเปิด เป็นการประยุกต์ระหว่างงานโกธิคโค้งยอดแหลม<br />
กับซุ้มเรือนแก้วของไทย หลังทรงจั่วแบบไทยประดับช่อฟ้าใบระกา<br />
และมีมุขประเจิด หน้าบันทุกด้านประดับลวดลายจำหลักสัตว์ใน<br />
เทพนิยายที่เกี่ยวพันกับพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ขณะที่บรรยากาศ<br />
ภายในอาคารเป็นส่วนผสมของโบสถ์ไทยและโบสถ์ยุโรปยุคกลาง<br />
ที่มีระเบียงชั้นลอย (gallery) รอบอาคาร และจุดเด่นที่ฉากกั้นหน้า<br />
โถงจุดตัดที่มีช่องเปิดรูปทรงเหมือนซุ้มเรือนแก้วผสมโค้งยอดแหลม<br />
แบบโกธิค รอบหอสวดทั้ง 4 ทิศล้อมรอบด้วยอาคารเรือนนอนเรียก<br />
“คณะ” จำนวน 4 คณะ ออกแบบเฉพาะตัวในลักษณะไทยยุคต่างๆ<br />
ผสมตะวันตก สถานที่แห่งนี้เป็นโรงเรียนที่ฝึกฝนกิจกรรมจงรักภักดี<br />
ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้วยการสวดมนต์และ<br />
ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนนอนทุกคืน รวมถึงการจัดให้<br />
นักเรียนเข้าเฝ้าถวายงานพระมหากษัตริย์อย่างใกล้ชิดพระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร<br />
กิจกรรมของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งกิจกรรมและรูปแบบของ<br />
อาคารทำให้สามารถเรียกโรงเรียนนี้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่ง<br />
ชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สมบูรณ์แบบ<br />
ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะยกฐานะโรงเรียน<br />
สำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือนที่ตั้งขึ้นในรัชกาลก่อนให้เป็น<br />
สถาบันอุดมศึกษา ทรงพระราชทานที่ตั้งใหม่ให้โรงเรียนที่สระประทุม<br />
และได้รวมโรงเรียนชั้นสูงต่างๆ ที่มีอยู่ในสยามเข้าด้วยกันและ<br />
เริ่มการก่อสร้างอาคารเรียน ในตอนแรกสภากรรมการโรงเรียน<br />
ต้องการให้อาคารโรงเรียนมีสง่าสมศักดิ์ศรีและควรเป็นแบบไทย<br />
จึงมอบให้สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ 2 คนคือ คาร์ล ดือห์ริ่ง<br />
และเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ไปออกแบบแข่งขันกัน โดยกำหนดให้ไปศึกษา<br />
แนวทางออกแบบจากโบราณสถานในเมืองสุโขทัยและสวรรคโลก<br />
แบบที่สถาปนิกทั้ง 2 เสนอมีความงดงามแบบไทยโบราณที่วางบน<br />
ผังแบบคลาสสิค งานของฮีลีย์มีจุดเด่นที่หอระฆังปูนยอดบุษบก<br />
แบบเดียวกับหอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นมุขทางเข้า<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
215
ประติมากรรมประดับหน้าบัน<br />
ตึกบัญชาการ ปั้นโดย Rodolfo Noli<br />
หน้าตรงข้าม<br />
อนุสาวรีย์ทหารอาสา (1919)<br />
ของหอประชุมที่มีปีก 2 ข้างเป็นตึกเรียนข้างละ 1 หลัง ส่วนแบบ<br />
ที่เชื่อกันว่าเป็นของดือห์ริ่งเป็นอาคารแบบผังรูปตัว E มี 3 มุข<br />
ที่ทุกมุขมีหลังคาทรงไทยประดับด้วยยอดปรางค์ดูสง่างามน่าเกรงขาม<br />
แต่ในที่สุดสภากรรมการโรงเรียนเลือกแบบของฮีลีย์เพราะเหมาะสม<br />
กับงบประมาณ อย่างไรก็ตามเมื่อถึงขั้นสร้างจริงแล้วสภากรรมการ<br />
ได้นำเอาอาคารเพียงเสี้ยวหนึ่ง ที่เป็นปีกตึกเรียน 1 หลังของแบบ<br />
สมบูรณ์มาสร้างตามงบประมาณที่มีอยู่ อาคารสร้างใน ค.ศ. 1916<br />
ผังเป็นรูปตัว E แบบคลาสสิคมี3 มุข พื้นที่ชั้นนอกทำเป็นระเบียง<br />
ล้อมรอบ พื้นที่ชั้นในเป็นห้องเรียน รูปทรงอาคารเป็นแบบไทยที่<br />
สร้างด้วยคอนกรีตมี 3 มุขเชื่อมด้วยปีก ส่วนมุขเป็นเสาเหลี่ยม<br />
ลอยตัวเปิดโล่งไม่มีผนัง ส่วนปีกมีช่องเปิดกว้างเป็นรูปซุ้ม<br />
เรือนแก้ว หลังคามุขเป็นทรงจั่วลด 2 ชั้น มุขลดทำเป็นมุขประเจิด<br />
ที่ใหญ่มากประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์คอนกรีต หน้าบันประดับ<br />
ประติมากรรมนูนสูงคอนกรีตรูปครุฑยุดนาค ตามแบบศิลปะสุโขทัย<br />
แต่มีกายวิภาคเหมือนจริงแบบศิลปะคลาสสิค โดยประติมากร<br />
อิตาเลียน โรดอลโฟ โนลี(Rodolfo Noli) บรรยากาศภายในอาคาร<br />
ค่อนข้างเรียบง่าย มีการตกแต่งตามซุ้มประตู หน้าต่าง ในแบบ<br />
ศิลปะสุโขทัยปนเขมรที่หล่อด้วยคอนกรีต นับเป็นอาคารแบบไทย<br />
ที่สร้างด้วยคอนกรีตล้วนหลังแรก ที่จะเป็นแบบอย่างให้อาคารแบบ<br />
เดียวกันรุ่นหลังที่จะเกิดตามมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาประดิษฐานโรงเรียนนี้เป็น<br />
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่26 มีนาคม ค.ศ. 1916 (ค.ศ. 1917<br />
ของปฏิทินปัจจุบัน)<br />
อนุสาวรีย์ฝังอัฐิทหารซึ่งตายในราชการสงคราม (อนุสาวรีย์<br />
ทหารอาสา) เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเป็นอนุสรณ์เชิดชูเกียรติ<br />
ทหารไทยที่เสียชีวิตจากการไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร<br />
ในสมรภูมิทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์<br />
เท่าจำนวนซึ่งเคยทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมชนกนารถ<br />
216 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
แก่ตาโลกว่าในเมืองเรา ในชาติไทยเรา ยังไม่สูญสิ้นธรรมะ<br />
ซึ่งได้บำรุงชาติเราขึ้นให้เปนชาติ เปนปึกแผ่นตลอดมา กล่าวคือ<br />
ความจงรักภักดีต่อผู้ปกครองความจงรักภักดีต่อชาติและความมั่นคง<br />
ในศาสนะธรรมที่เรานับถือ...” 34 จึงนับเป็นสถาปัตยกรรมแห่ง<br />
พระราชอุดมการณ์ชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ที่แท้จริงอีกแห่งหนึ่ง<br />
และเป็นอนุสาวรีย์ของทหารที่สละชีพในสงครามที่มีการบันทึกไว้<br />
เป็นแห่งที่2 ต่อจากอนุสาวรีย์ปราบฮ่อที่สร้างขึ้นที่เมืองหนองคาย<br />
ใน ค.ศ. 1886 ซึ่งสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกและมีจารึกไว้<br />
ที่อนุสาวรีย์ว่าเป็นอนุสรณ์แด่ทหารที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์<br />
และราชกิจ 35 ผิดกับสงครามครั้งนี้ที่ทำเพื่อชาติ ศาสนา<br />
พระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก<br />
ในวันตรงกับวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้ก่อสร้าง<br />
อนุสาวรีย์นี้33 โดยมีกระทรวงกลาโหมเป็นผู้สร้างใน ค.ศ. 1919<br />
ตั้งอยู่ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของสนามหลวง ลักษณะเป็นเจดีย์<br />
สุโขทัยแบบพระเจดีย์มณฑปที่วัดพระเจดีย์เจ็ดแถว ศรีสัชนาลัย<br />
เมืองสุโขทัยที่สร้างราวพุทธศักราช 1900 แม้ว่าจะเป็นอนุสาวรีย์<br />
ที่งดงามด้วยรูปทรงและมีขนาดส่วนที่สมถะสมกับฐานะบรรยากาศ<br />
แต่การออกแบบนี้ก็ไม่มีอะไรพิเศษนอกจากการลอกแบบของ<br />
โบราณมาเท่านั้นเอง<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช<br />
ดำเนินไปที่อนุสาวรีย์ ทรงวางพวงมาลาเหนือที่บรรจุอัฐิด้วย<br />
พระองค์เองในวันพุธที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1919 ก่อนหน้านี้ใน<br />
วันที่ 21 กันยายน ได้ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่<br />
กองทหารที่ไปร่วมรบในสงครามนี้ว่า ทรงปลื ้มปีติในการไป<br />
ทำสงครามของทหารไทยเพราะ “...เจ้าตั้งใจที่จะแสดงให้ปรากฏ<br />
อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
หรือสถาปัตยกรรมเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของพระบาท<br />
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นความจริงมีจำนวนน้อยมาก<br />
เมื่อเทียบกับจำนวนอาคารที่สร้างในรัชกาลนี้แต่ที่สำคัญคือมันเป็น<br />
สถาปัตยกรรมที่มีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดแบบตายตัวที่เป็น<br />
ตัวแทนของความรักชาติ ว่าต้องเป็นอาคารที่มีหลังคาไทยหรือ<br />
รูปทรงเจดีย์ไทย ที่จะส่งต่อไปในยุคถัดไปและสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้<br />
โดยที่มีข้อเท็จจริงที่คนไทยทั่วไปทราบน้อยที่สุดว่า สถาปัตยกรรม<br />
เหล่านี้ในตอนแรกเริ่มล้วนสร้างสรรค์โดยมีสถาปนิกและศิลปินชาว<br />
ตะวันตกเป็นตัวจักรสำคัญ<br />
สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็ก และสถาปัตยกรรม<br />
โครงสร้างเหล็กในสมัยรัชกาลที่ 6<br />
อาคารสถานที่สำคัญส่วนใหญ่ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6<br />
ยังคงเป็นแบบตะวันตกเหมือนสมัยรัชกาลที่5 คือยึดแบบคลาสสิค<br />
โรแมนติก อาร์ตนูโว และแบบผสมผสาน (Eclecticism) เป็นพื้น<br />
เพราะออกแบบโดยกลุ่มสถาปนิกอิตาเลียนกลุ่มเดิมเป็นส่วนใหญ่<br />
อย่างไรก็ตามมีความแตกต่างสำคัญประการหนึ่งคือ อาคารสมัยนี้<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
217
บน โรงผลิตปูนซิเมนต์แห่งแรกของสยามที่บางซื่อ (1913)<br />
ล่างซ้าย บ้านนรสิงห์ (1923-1926)<br />
ล่างขวา ผังพื้นบ้านนรสิงห์<br />
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างแพร่หลาย ไม่ใช้โครงสร้าง<br />
กำแพงอิฐรับน้ำหนักล้วนๆ แบบเดิม เนื่องจากสยามได้สร้างโรงงาน<br />
ผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แห่งแรกส ำเร็จใน ค.ศ. 1913 ปูนซีเมนต์<br />
ปอร์ตแลนด์ค่อยๆ กลายมาเป็นวัสดุก่อสร้างหลักของบรรดา<br />
ผู้รับเหมาในการสร้างอาคารคอนกรีต ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานกว่า<br />
อิฐและไม้ รวมทั้งสามารถกันไฟได้ซึ่งอาคารโครงสร้างไม้หรือครึ่ง<br />
ปูนครึ่งไม้แบบเดิมทำไม่ได้ คอนกรีตจึงเป็นวัสดุที ่เหมาะสมกับ<br />
การก่อสร้างอาคารทุกประเภทตั้งแต่พระราชวังคฤหาสถ์ของชนชั้นสูง<br />
ไปจนถึงอาคารสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนทั่วไป อาคารประเภท<br />
ปราสาทราชวังที่สร้างอย่างใหญ่โตและงดงามที่สุดคือบ้านนรสิงห์<br />
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระราชทาน<br />
เจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) สำเร็จราชการมหาดเล็ก<br />
ออกแบบโดย มาริโอ ตามานโย ใน ค.ศ. 1923-1926 มีผังอาคาร<br />
ที่พัฒนามาจากพระที่นั่งอัมพรสถาน แต่ห่อหุ้มด้วยเปลือกนอก<br />
ของสถาปัตยกรรมโกธิคแบบเวนิส (Venetian Gothic) เช่นเดียว<br />
กับบ้านบรรทมสินธุ์ที่มาในแนวเดียวกันแต่ขนาดย่อมกว่า<br />
พระราชวังที่สร้างในกรุงเทพฯ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือพระราชวัง<br />
พญาไท สร้างขึ้นใหม่หมดจากพระราชวังเดิมสมัยรัชกาลที่ 5<br />
ใน ค.ศ. 1919 พระที่นั่งพิมานจักรีเป็นพระที่นั่งประธาน มีผังคล้าย<br />
218 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
หมู่เรือนไทย แต่หุ้มด้วยเปลือกของวิลล่าชนบทในยุโรป พระราชวัง<br />
ต่างจังหวัดที่สร้างแบบตะวันตกคือพระนิเวศน์มฤคทายวัน<br />
ออกแบบและสร้างใน ค.ศ. 1923-1925 โดยมาริโอ ตามานโยและ<br />
เออร์โคเล มันเฟรดี้ (Ercole Manfredi) มีผังเหมือนกลุ่มอาคาร<br />
ของวัดไทย แต่ลักษณะภายนอกเป็นบังกะโลประยุกต์ยกใต้ถุนสูง<br />
วังที่น่าสนใจอีก 2 แห่ง คือ วังวรดิศ ที่สร้างใน ค.ศ. 1912 และ<br />
ตำหนักสมเด็จฯ วังบางขุนพรหม สร้าง ค.ศ. 1913 ออกแบบโดย<br />
คาร์ล ดือห์ริ่งทั้งคู่ในแบบจุงเก้นสติลหรืออาร์ตนูโวเยอรมัน รูปแบบของ<br />
พระราชวัง วังและคฤหาสน์เหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นของใหม่ในปลาย<br />
สมัยรัชกาลที่ 5 แต่พอถึงทศวรรษ 1920 ในสมัยรัชกาลที่ 6<br />
รูปแบบเหล่านี้ไม่ใช่งานสมัยใหม่อะไรอย่างที่เรียกในสยามว่ามอ<br />
เดินสไตล์36 แล้ว ในทางตรงข้ามมันกำลังเสื่อมความนิยม และหลีกทาง<br />
ให้สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ (International Modern)<br />
ที่เป็นคลื่นลูกใหม่ตัวจริงถาโถมเข้ามาแทนที ่ในวงการ<br />
สถาปัตยกรรมโลก ไม่น่าแปลกใจที่สยามไม่มีสถาปัตยกรรมแบบนี้<br />
เพราะสยามไม่ได้มองสถาปัตยกรรมตะวันตกในเชิงพัฒนาการทาง<br />
สังคมวัฒนธรรม แต่เข้าใจแต่ต้นว่าสถาปัตยกรรมตะวันตกเป็น<br />
แบบชนิดหนึ่งที่แสดงความก้าวหน้า โดยไม่ได้พิจารณาว่า<br />
“ความก้าวหน้า” มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามกระแส<br />
เศรษฐกิจ-สังคม อย่างไรก็ตามสยามช่วงรัชกาลที่ 6 มีอาคารเชิง<br />
วิศวกรรมสำหรับงานสาธารณูปโภค เช่น สถานีรถไฟ โรงงาน<br />
โรงพยาบาล โรงเรียน และตึกแถว ที่กำลังเติบโตจากการวางรากฐาน<br />
ตั้งแต่รัชกาลก่อน เพื่อรองรับเมืองที่มีประชากรชั้นกลางและล่าง<br />
เพิ่มขึ้นและต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาคารเหล่านี้ออกแบบ<br />
โดยใช้หลักเหตุผล เน้นประโยชน์ใช้สอย ความประหยัด มีรูปแบบ<br />
เรียบง่ายใช้วัสดุและโครงสร้างแบบใหม่คือคอนกรีตเสริมเหล็กและ<br />
โครงสร้างเหล็ก อาคารพวกนี้จึงมีลักษณะพื้นฐานร่วมกับอาคาร<br />
สากลนิยมสมัยใหม่โดยปริยาย อาคารอีกประเภทหนึ่งพัฒนามา<br />
จากเรือนพื้นถิ่นบังกะโลไม้ที่เรียบง่าย อาคารพวกนี ้ถูกสร้างใหม่<br />
ด้วยคอนกรีตเพื่อความคงทนและประหยัด เช่น อาคารโรงเรียน<br />
และหอพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น อาคารที่สร้างจากวัสดุ<br />
ศาลาอิตาลีในงานมหกรรมแสดงสินค้าที่นครปารีส ปีค.ศ.1900 โดย Carlo Ceppi<br />
สมัยใหม่และดูเรียบง่ายในสยามสมัยรัชกาลที่ 6 จึงไม่ได้เกิดจาก<br />
ทฤษฎีสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่แต่พัฒนาจากการใช้วัสดุใหม่<br />
ของวิศวกรและสถาปนิกรุ่นก่อนสมัยใหม่ และควรจะถูกบันทึกไว้<br />
ในฐานะที่เป็นสถาปัตยกรรมช่วงเปลี่ยนผ่านจากสถาปัตยกรรมแบบ<br />
ตะวันตกเดิม และจะพัฒนาต่อไปอีกเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
อีกแบบหนึ่งในยุคถัดมา<br />
อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กและอาคารโครงสร้างเหล็กที่จะ<br />
กล่าวต่อไปนี้คือตัวอย่างของอาคารแบบใหม่สมัยรัชกาลที่6 ที่เป็น<br />
โฉมหน้าใหม่ที่แท้จริงของสยามยุคใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการ<br />
ใช้ประโยชน์ของมวลชน เป็นอาคาร “สาธารณะ” ที่แท้จริงไม่ใช่<br />
“อาคารรัฐบาล” แบบเดิมที่เป็นสำนักงานของข้าราชการในกระทรวง<br />
ทบวง กรม ทำหน้าที่ควบคุมกำกับประชาชนตามคำสั่งรัฐบาล<br />
มากกว่าบำบัดทุกข์บำรุงสุขอย่างที่ควรจะเป็น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
219
ผลงาน<br />
โรงกรองน้ำประปาสามเสน เป็นโรงกรองน้ำประปามาตรฐาน<br />
สากลหลังแรกของสยาม สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1914 เป็นสถานที่ตั้ง<br />
ถังกรองน้ำเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.20 เมตร จำนวน 12 ถัง โครงสร้าง<br />
เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเป็นทรัสเหล็กใช้ลวดเหล็ก<br />
ดึงจันทันแทนขื่อที่พาดช่วงกว้างถึง 17 เมตร แม้ว่าจะเป็นอาคาร<br />
ทางวิศวกรรมแต่ผู้ออกแบบยังพยายามรักษามาตรฐานเดิมๆ<br />
ของการออกแบบอาคารไว้ เช่น ทำผนังหนาเหมือนระบบกำแพง<br />
รับน้ำหนัก ทั้งๆ ที่โครงสร้างเป็นระบบกรอบ (frame) และหัวเสา<br />
ยังหล่อเป็นแบบดอริก (Doric) เป็นต้น<br />
บน โรงกรองน้ำประปา สามเสน<br />
หลังแรก (1914)<br />
ล่าง ผังบริเวณโรงกรองน้ำประปา<br />
220 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บนซ้าย ตึกผ่าตัด (1923-1926)<br />
บนขวา ตึกวชิรุณทิศ (1923-1926)<br />
ล่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์<br />
(1912-1914)<br />
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาด<br />
สยามที่สร้างอย่างมีมาตรฐานสากลเป็นครั้งแรก ออกแบบและ<br />
วางผังโดย มาริโอ ตามานโย และเอ ริกาซซิ (A. Rigazzi) ระหว่าง<br />
ค.ศ. 1912-1914 ผังบริเวณเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาคารวางไป<br />
ตามแนวแกนของถนนที่ตัดกัน อาคารทุกหลังวางผังโดยคิดถึง<br />
ประโยชน์ใช้สอยและการระบายอากาศที่ดี ตึกอำนวยการตั้งอยู่<br />
ตรงกลางผังบริเวณเป็นอาคาร 3 ชั้น บนดิน 2 ชั้นและใต้ดิน<br />
1 ชั้น ผังรูปตัว E ใช้สำหรับการรักษา การเรียนแพทย์ และ<br />
สำนักงานในเวลาเดียวกัน ลักษณะอาคารเรียบเกลี้ยงแบบอาคาร<br />
คอนกรีตแต่ยังคงรูปแบบคลาสสิคไว้ที่มุขกลางที่มีจั่วแบบวิหาร<br />
กรีกเล็กๆ ประดับอยู่ แตกต่างมากกับอาคารผ่าตัดที่ต่อไปด้านหลัง<br />
ที่ออกแบบเป็นอาคารแฝดทรงลูกบาศก์เกลี้ยงๆมีหน้าต่างกระจกใหญ่<br />
กว้างเต็มช่วงเสาและสูงถึง 2 ชั้นเพื่อรับแสงจากทิศเหนือ หลังคา<br />
เป็นทรงพีระมิดที่แบนมาก หอพักผู้ป่วยมีทั้งแบบชั้นเดียวและ2 ชั้น<br />
ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวมีระเบียงรอบ ลักษณะอาคารเหมือน<br />
บังกะโลคอนกรีตที่มีชายคายื่นยาวมากและมีเสาระเบียงลอยตัวรับ<br />
เป็นแถว ระยะห่างของช่องประตู-หน้าต่างสัมพันธ์กับตำแหน่งการ<br />
วางเตียงคนไข้ภายในและมีช่องระบายอากาศเหนือหน้าต่างถึง 2 ชั้น<br />
หลังคาเป็นทรงปั้นหยาที่ต่ ำมากจนเหมือนหลังคาแบน แบบโรงพยาบาล<br />
ของตามานโยใช้ได้ดีกับภูมิอากาศเมืองไทย จึงไม่น่าแปลกใจเลย<br />
ว่าพระสาโรชรัตนนิมมานก์จะนำไปปรับใช้เพื่อออกแบบ<br />
โรงพยาบาลศิริราชยุคปฏิรูปในอีก 2 ทศวรรษต่อมา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
221
บน สถานีรถไฟกรุงเทพฯ<br />
หัวลำโพง (1912-1916)<br />
ซ้าย ผังพื้นสถานี รถไฟกรุงเทพฯ<br />
หัวลำโพง<br />
หน้าตรงข้าม<br />
โครงสร้างหลังคาเหล็ก<br />
สถานีรถไฟกรุงเทพฯ<br />
222 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
โถงชานชาลาสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หัวลำโพง สถานีรถไฟ หลังคารูปโค้งนี้เพื่อรับแสงสว่างอย่างเต็มที่ และยังเปิดช่องกลาง<br />
กรุงเทพฯ ประกอบด้วยอาคาร 2 ส่วน ส่วนแรกคือโถงชานชาลาสำหรับ หลังคาตลอดแนวเพื่อให้แสงส่องลงมาได้โดยตรง จึงเป็นอาคารที่<br />
จอดรถไฟ ส่วนที่ 2 คือโถงระเบียงด้านหน้า อาคารแต่ละส่วน มีความเรียบเกลี้ยงสนองประโยชน์ใช้สอยแบบอาคารวิศวกรรม<br />
สร้างไม่พร้อมกัน โถงชานชาลาสร้างก่อนตามด้วยโถงระเบียงด้านหน้า อย่างชัดเจน ซึ่งตัดกับอาคารโถงระเบียงหน้าที่ออกแบบและ<br />
โถงชานชาลาเป็นที่จอดขบวนรถไฟของสถานีหลักของกรุงเทพฯ ก่อสร้างระหว่าง ค.ศ. 1912-1916 โดย มาริโอ ตามานโยที่เป็น<br />
ออกแบบและก่อสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1912 โดยวิศวกรเยอรมันเกอร์เบอร์ อาคารแบบคลาสสิคอย่างแรง แต่ตามานโยก็มีความเข้าใจใน<br />
(Gerber) ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคลุมด้วยโครงสร้างทรัสเหล็กรูปโค้ง สุนทรียภาพแบบวิศวกรรมของโถงชานชาลานี้ดีพอที่จะเปิดภาพของ<br />
เกือบครึ่งวงกลมที่พาดช่วงยาวถึง 50 เมตร นับเป็นอาคารที่พาด หลังคาโค้งประทุนนี้ออกสู่สายตาผู้ชมอย่างไม่ปิดบัง เป็นการแสดง<br />
ช่วงยาวที่สุดในสยามยุคนั้น อาคารรูปทรงโค้งประทุนนี้ปิดด้านสกัด ความสามารถในการรวมรูปแบบที่แตกต่างให้อยู่คู่กันอย่าง<br />
ทั้ง 2 ด้วยหน้าต่างกระจกบานเล็กต่อกันจนเต็มขอบโครงสร้าง กลมกลืนและมีเอกภาพ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
223
โรงซ่อมรถโดยสาร มักกะสัน เป็นอาคารซ่อมตู้รถโดยสาร<br />
น่าจะออกแบบโดยวิศวกรชาวต่างประเทศประจำกรมรถไฟใน<br />
ค.ศ. 1922 ผังอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน<br />
ช่วงกลางและริม 2 ข้าง พื้นที่ช่วงกลางเป็นที่ซ่อมรถ ริม 2 ข้าง<br />
เป็นพื้นที่บริการ โครงสร้างเป็นแบบกรอบคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
รับโครงสร้างหลังคาทรัสเหล็กรูป 3 เหลี่ยม ผนังอาคารทั้ง 4 ด้าน<br />
เป็นกำแพงก่ออิฐรับน้ำหนักอวดผิวอิฐ ผนังด้านหน้าชั้นล่างเป็น<br />
คานโค้งใหญ่ก่ออิฐต่อเนื่อง 5 ช่วง ที่ 3 ช่วงกลางซ้อนด้วยชั้นบน<br />
ที่เป็นคานโค้งเล็กก่ออิฐต่อเนื่อง6 ช่วง การใช้อิฐอวดผิวเป็นผนังและ<br />
โครงสร้างกลายเป็นสัญลักษณ์ของอาคารกรมรถไฟ โดยคาร์ล ดือห์ริ่ง<br />
ได้ริเริ่มขึ้นที่สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1909 แต่เป็น<br />
โครงสร้างกำแพงอิฐรับน้ำหนักไม่เสริมคอนกรีต<br />
บน โรงซ่อมรถโดยสาร มักกะสัน(1922)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงซ่อมรถโดยสาร มักกะสัน<br />
224 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ตึกประถมหนึ่ง โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ (1913)<br />
ล่าง ผังพื้นตึกประถมหนึ่ง โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์<br />
ตึกประถมหนึ่งโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ สร้างใน<br />
ค.ศ. 1913 โดย คาร์โล อัลเลอกรี วิศวกรชาวอิตาเลียน เพื่อรองรับ<br />
การขยายตัวของจำนวนนักเรียนหญิงในระบบการศึกษาของสยาม<br />
ในส่วนที่จัดการโดยคริสตจักรที่ริเริ่มมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3<br />
ทั้งโรงเรียนของเด็กชายและหญิง ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />
แบ่ง 3 ส่วนตามยาว ระเบียงอยู่ส่วนหน้าและหลัง ห้องเรียนอยู่<br />
ส่วนกลาง ลักษณะอาคารเป็นตึก 3 ชั้นยาวตลอด มีชายคายื่นยาว<br />
รองรับด้วยเสาระเบียงลอยตัวเรียงเป็นแถวหลังคาทรงปั้นหยาดูเรียบ<br />
เกลี้ยงไม่มีการตกแต่งใดๆ โครงสร้างหลัก ได้แก่ เสา คาน และ<br />
พื้นระเบียงเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยภาพรวมเหมือนหอผู้ป่วย<br />
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่เป็นบังกะโลคอนกรีตซึ่งสร้างในเวลา<br />
ใกล้เคียงกัน แต่แบบของโรงเรียนนี้น่าจะพัฒนามาจากอาคาร<br />
ห้องเรียนแบบเรือนแถวไม้ในยุคแรกของโรงเรียนในเครือคริสตจักร<br />
เหล่านี้ เช่น ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นต้น และเป็นตัวอย่างของ<br />
อาคารคอนกรีตแบบเรียบเกลี้ยงที่พัฒนามาจากอาคารเรือนพื้นถิ่น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
225
โบสถ์น้อยเซนต์โยเซฟคอนแวนต์สร้างโดยคณะนักบวชสตรี<br />
แห่งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ต (the Sister of St. Paul de<br />
Chartres) ใน ค.ศ. 1920 ผู้ออกแบบคือ เอ ริกาซซิ (A. Rigazzi)<br />
เป็นโบสถ์คอนกรีตผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียบง่ายโดยจัดพื้นที่<br />
ระเบียงล้อมรอบชั้นนอก พื้นที่ชั้นในเป็นพื้นที่ใช้งาน อาคารแบ่ง<br />
เป็น 3 ชั้น ชั้นล่างห้องนวกะ ชั้น 2 ทะลุต่อถึงชั้น 3 เป็นที่ตั้ง<br />
โบสถ์ ด้านหลังเป็นห้องสังฆภัณฑ์ หัวและท้ายตึกเป็นที่ตั้งบันได<br />
ลักษณะอาคารเป็นตึกคอนกรีตสี่เหลี่ยมเห็นแนวเสาระเบียงเรียง<br />
เป็นแถว หลังคาทรงปั้นหยามีชายคายื่น ดูเรียบง่ายเหมือนตึก<br />
ประถมหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ที่น่าสังเกตคือตึกนี้<br />
สร้างเสร็จหลังโบสถ์ซางตาครู้สที่กุฎีจีนเพียง 4 ปี แต่ใช้แบบ<br />
สถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันกว่า 500 ปี กล่าวคือโบสถ์ซางตาครู้<br />
สยังสร้างตามแบบซานตามาเรียเดลฟิโอเร (Santa Maria del<br />
Fiore) สมัยศตวรรษที่ 15 ขณะที่โบสถ์น้อยใช้แบบสมัยใหม่<br />
แต่ทั้งสองอาคารสามารถรองรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา<br />
คริสต์ได้ไม่ต่างกัน และอาจประหยัดงบประมาณมากกว่า ในขณะ<br />
ที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานได้มากกว่าเสียด้วยซ้ำ<br />
บน โบสถ์น้อยเซนต์โยเซฟคอนแวนต์<br />
(1920)<br />
ล่าง ผังพื้นโบสถ์น้อย<br />
เซนต์โยเซฟคอนแวนต์<br />
226 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซ้าย ห้างตั้งโต๊ะกัง (1921)<br />
ขวา ผังพื้นห้างตั้งโต๊ะกัง<br />
ห้างทองตั้งโต๊ะกัง เยาวราช เป็นอาคารพาณิชย์คอนกรีต<br />
เสริมเหล็กทั้งหลัง สูง 6 ชั้น สร้างเมื่อ ค.ศ. 1921 ผังรูปสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้าแคบยาวเหมือนตึกแถวห้องเดี่ยว จึงน่าจะออกแบบสร้างโดย<br />
ผู้รับเหมามากกว่าสถาปนิกที่มาจากสถาบันการศึกษา มุมด้านหัว<br />
ถนนตัดเฉียงเป็นทางเข้าใหญ่ ภายในเปิดโล่งไม่กั้นห้องและ<br />
ไม่มีเสากลาง ชั้นล่างเป็นร้านขายทองขณะที่ชั้นบนเป็นโรงงาน<br />
ทำทองรูปพรรณ และชั้นบนสุดเป็นที่พักอาศัย โครงสร้างเสา คาน<br />
พื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดเสาฝังในผนังแม้โครงสร้างจะเปลี่ยน<br />
ไปแล้วผนังอาคารยังคงก่อค่อนข้างหนา และประดับลวดลาย<br />
คลาสสิคแบบโครงสร้างกำแพงรับน้ำหนักโบราณ เช่น เสาอิงแบบ<br />
ไอโอนิค (Ionic) การเดินเส้นปูนฉาบผนังเป็นก้อนสี่เหลี่ยมใหญ่<br />
เลียนแบบหินก่อ ประดับลายพวงอุบะมีพู่ห้อยเป็นต้น แต่ลักษณะลาย<br />
เป็นงานเรขาคณิตแบบอาร์ตเด็คโค (Art Deco) มากกว่าคลาสสิค<br />
แบบเก่า ห้างทองตั้งโต๊ะกังเป็นตัวแทนของอาคารพาณิชย์สมัยใหม่<br />
ของเอกชน ที่สร้างอาคารเน้นความประหยัดและการใช้งาน<br />
สารพัดประโยชน์ ซึ่งอาคารคอนกรีตทำได้ดี เป็นคุณสมบัติที่<br />
ปรากฏอยู่ในอาคารพาณิชย์ตั้งแต่ตึกแถวชั้นดีไปจนถึงตึกสูงรุ่นแรก<br />
ของสยามอย่างเช่นอาคารหลังนี้ นอกจากนี้มันยังเป็นสัญลักษณ์<br />
ของความเติบโตของกลุ่มช่างรับเหมาเอกชนที่จะทำงานออกแบบ<br />
ก่อสร้างให้พวกกลุ่มทุนใหม่ ขนานไปกับสถาปนิก-วิศวกรจาก<br />
สถาบันที่ทำงานให้รัฐและชนชั้นสูงอย่างน่าสนใจ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
227
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัย<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6<br />
วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่คนกลุ่มใหม่ในสังคมคือชนชั้นกลาง<br />
ที่มีการศึกษาอันมีทหารเป็นตัวแทนต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />
ไปสู่ระบอบรัฐสภา ทำให้เสถียรภาพของราชบัลลังก์คลอนแคลน<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องปกป้องระบอบ<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไว้ด้วยการสร้างพระราชอุดมการณ์<br />
“ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ให้คนไทยยึดถือไม่เบี่ยงเบนออก<br />
ไปหาระบอบการปกครองอื่นๆ เช่น ประชาธิปไตย สังคมนิยม และ<br />
ฟาสซิสต์ที่กำลังระบาดหนักไปทั่วโลกในช่วงต้นศตวรรษที่20 พระ<br />
ราชอุดมการณ์นี้เน้นการรักชาติของชนเชื้อชาติไทยและ<br />
จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าเป็น<br />
“นิติธรรม” ของชาวไทย ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภท<br />
โคลง กลอน บทละครและบทความปลุกใจให้คนไทยรักชาติและ<br />
พระเจ้าแผ่นดิน และต่อต้านคนจีนว่าเป็นคนต่างชาติที่เห็นแก่ตัว<br />
ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ให้คนไทยสนใจ<br />
ประวัติศาสตร์และโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่เจริญรุ่งเรืองของสยาม<br />
ในพระราชดำรัสตอบเปิดโรงเรียนโรงเรียนเพาะช่างใน ค.ศ. 1914<br />
ทรงมีพระราชกระแสที่ชัดเจนว่าศิลปวิชาช่างที่เหมาะสมกับคนไทยที่สุด<br />
คือศิลปวิชาช่างแบบไทยที่ใช้ความรู้ที่ก้าวหน้าของตะวันตกเกื้อหนุน<br />
ซึ่งคือรากฐานความคิดของการสร้างงานศิลปะ สถาปัตยกรรมแนว<br />
ชาตินิยมที่ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่ดำเนินสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้<br />
ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารแบบชาตินิยม<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์นี้ไว้ที่สำคัญคือ หอสวดและคณะเรียนที่<br />
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง และตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
ซึ่งมีผังแบบคลาสสิคแต่ใช้รูปแบบไทยโบราณประยุกต์และ<br />
สร้างด้วยคอนกรีต ซึ่งความจริงก็ไม่แปลกกว่าพระอุโบสถวัดราชาธิ<br />
วาสและอาคารศาลาลูกขุนใหม่ในพระบรมมหาราชวังที่สร้างใน<br />
สมัยรัชกาลที่ 5 ที่สร้างตามแนวคิด “ประเพณี”และ “ความทรงจำ”<br />
ไม่ใช่ แนวคิด “ชาตินิยม” เช่นยุคนี้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะ<br />
ต่อจากนี้ไปวาทกรรมของการสร้างอาคารแบบไทยโบราณหรือไทย<br />
ประยุกต์ก็ตามทีก็คือทำเพื่อ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”<br />
ดังเช่นเป็นคาถาบทหนึ่ง<br />
อย่างไรก็ตามอาคารแบบชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีจำนวนน้อยมาก<br />
เมื่อเทียบกับอาคารส่วนใหญ่ที่รัฐบาลสร้างในรัชกาลนี้ การที่สยาม<br />
ผลิตปูนซีเมนต์ได้ในค.ศ. 1913 ส่งผลให้มีการก่อสร้างอาคารโครงสร้าง<br />
คอนกรีตอย่างมากมายและกว้างขวาง เพื่อตอบสนองพลเมืองที่<br />
เพิ่มมากขึ้นและเมืองที่ขยายตัว เราเห็นอาคารสาธารณูปโภคชั้นดี<br />
ที่ริเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดขึ้นในรัชกาลนี้มากมายเช่น สถานีรถไฟ<br />
กรุงเทพฯ หัวลำโพง โรงกรองน้ำประปา สามเสน โรงพยาบาล<br />
จุฬาลงกรณ์ ปทุมวัน เป็นต้น อาคารเหล่านี้ไม่ได้มีอะไรสวยงาม<br />
เป็นพิเศษแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเห็นความสามารถในการก่อสร้างที่สูงขึ้น<br />
ของช่างและคนงานไทย และอาคารสาธารณะเหล่านี้ทำให้คนไทยมี<br />
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในขณะเดียวกันก็มีการสร้างคฤหาสน์ของชนชั้นสูง<br />
ที่หรูหราด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทาน<br />
ข้าราชการใกล้ชิดในพระองค์ เช่น บ้านนรสิงห์และบ้านบรรทมสินธุ์<br />
ในแบบโกธิคแห่งเมืองเวนิส (Venetian Gothic) ออกแบบโดยมาริโอ<br />
ตามานโย ผังอาคารเป็นแบบพื้นที่สองชั้น พื้นที่ใช้งานอยู่ภายใน<br />
ล้อมรอบด้วยระเบียงภายนอกที่เขาพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปลายสมัย<br />
รัชกาลที่5 แต่ด้วยรูปแบบย้อนยุคเช่นนี้ในทศวรรษที่ 1920 คฤหาสน์<br />
แบบนี้เป็นตัวอย่างของอาคารที่ล้าสมัยในแนวคิดและการออกแบบ<br />
ด้วยการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ในเยอรมัน<br />
ที่แม้กระทั่งสถาปนิกรุ่นใหม่ในเอเชียอย่างญี่ปุ่นก็สนใจเดินทางไปศึกษา<br />
แต่ดูเหมือนในสยามความสนใจยังจำกัดอยู่ในเรื่องชาตินิยม<br />
สถาปัตยกรรมทรงไทย วรรณกรรมโรแมนติกและโครงสร้างคอนกรีต<br />
ของบรรดาวิศวกรเท่านั้น<br />
228 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 7 (1925-1935)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
เสถียรภาพของสังคมสยามเข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง<br />
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้น<br />
ครองราชสมบัติในปลาย ค.ศ. 1925 เนื่องจากภาวะงบประมาณ<br />
ของประเทศขาดดุล ซึ่งเป็นปัญหาสะสมมาจากรัชกาลก่อน<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงใช้งบ<br />
ประมาณของประเทศไปในด้านการทหารและกรณียกิจส่วนพระองค์<br />
เป็นจำนวนมาก รวมทั้งค่าใช้จ่ายในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ<br />
ขณะที่รายได้จากภาษีอบายมุขลดลงจากพระราโชบายยกเลิกหวย<br />
ก.ข. บ่อนการพนัน และจำกัดการสูบฝิ่น ส่งผลให้งบประมาณขาดดุล<br />
ใน ค.ศ. 1923 ถึง 10 ล้านบาท และใน ค.ศ. 1925 เหลือเงินคงคลัง<br />
เพียง 3 ล้านบาท เทียบกับรายจ่ายรัฐบาลในปีนั้นที่สูงถึง<br />
101.7 ล้านบาท นโยบายการเงินการคลังของรัชกาลที่7 ทั้งรัชกาล<br />
จึงเป็นยุคแห่งการตัดลดค่าใช้จ่าย โดยระยะแรกใน ค.ศ. 1925-1929<br />
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดค่าใช้จ่ายของพระคลังข้างที่จากปีละ9 ล้านบาท<br />
เป็น 6 ล้านบาท เงินรายจ่ายส่วนพระองค์ลดลงจากเดิม 10.8 ล้านบาท<br />
เป็น 6.8 ล้านบาท มีการยุบตำแหน่งในกระทรวง ทบวง กรมที่<br />
ไม่จำเป็นเป็นจำนวนมาก สถานการณ์ทำท่าจะดีขึ้นใน ค.ศ. 1926<br />
เมื่องบประมาณรายจ่ายของประเทศยังเกินดุลอยู่เพียง 211,812<br />
บาท แต่แล้วก็กลับเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ<br />
1930 สยามได้รับผลกระทบอย่างแรง การค้าระหว่างประเทศฝืด<br />
เคือง รายได้จากการขายข้าวของประเทศที่มีมูลค่า 70% ของ<br />
การส่งออกลดลงถึง 25% การคลังของประเทศเกิดภาวะวิกฤต<br />
รุนแรงกว่าเดิม รัฐบาลจึงใช้นโยบายตัดทอนรายจ่ายระยะที่ 2<br />
ตั้งแต่ ค.ศ. 1930-1932 อย่างรุนแรง เริ่มด้วยการลดเงินเดือน<br />
ข้าราชการทุกระดับ ระงับโครงการก่อสร้างทั้งหมดยกเว้นที่ยังสร้าง<br />
ค้างอยู่ ไปจนถึงปลดข้าราชการออก โดยเฉพาะกระทรวงกลาโหมที่<br />
มีข้าราชการอยู่ถึง 40% ของทั้งหมด ถูกตัดงบประมาณใน ค.ศ. 1932<br />
จาก 12 ล้านบาท เหลือ 8 ล้านบาท 37 ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดช<br />
เสนาบดีกระทรวงกลาโหมถึงกับยื่นใบลาออก การตัดลดงบประมาณ<br />
ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแต่กลับแย่ลง เพราะประชาชนไม่มี<br />
เงินจะใช้จ่าย ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่ว และเป็นสาเหตุ<br />
สำคัญที่ทำให้คณะบุคคลที่ประกอบด้วยทหารและพลเรือนที่เรียก<br />
ตนเองว่า “คณะราษฎร” ใช้กำลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์<br />
ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนแปลง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
229
การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 24 มิถุนายน<br />
ค.ศ. 1932 ภายหลังรัฐบาลที่คณะราษฎรตั้งขึ้นได้แถลงนโยบาย<br />
ต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของคณะราษฎรว่า<br />
มีอุดมการณ์อยู่ที่หลัก 6 ประการ ได้แก่ หลักเอกราช หลักความ<br />
สงบภายใน หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ และ<br />
หลักการศึกษา 38 และจะแปรหลัก 6 ประการนี้เป็นนโยบายต่างๆ<br />
ในการบริหารบ้านเมืองผ่านกระทรวงต่างๆ แต่เมื่อคณะราษฎรได้<br />
อำนาจในการบริหารบ้านเมืองแล้วก็ยังรีรอไม่จัดให้มีการเลือก<br />
ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง ซ้ำร้ายในเดือนมีนาคม<br />
ค.ศ. 1933 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหนึ่งในผู้นำคณะราษฎรได้เสนอ<br />
นโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในการบริหารเศรษฐกิจประเทศ<br />
ได้สร้างความไม่พอพระราชหฤทัยแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก 39 ทำให้พวกนิยมระบอบเก่าในรัฐบาลรวม<br />
ตัวกันปฏิวัติเงียบโดยการปิดสภางดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา<br />
รวบอำนาจเข้าสู่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีที่นิยม<br />
ระบอบเก่า และกำจัดรัฐมนตรีฝ่ายหลวงประดิษฐ์มนูธรรมออกไป<br />
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1933 คณะราษฎรที่นำโดยพระยาพหลพล<br />
พยุหเสนาจึงใช้กำลังทหารทำการปฏิวัติซ้ำอีกในเดือนมิถุนายน<br />
ค.ศ. 1933 บังคับให้นายกรัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งพระยา<br />
พหลพลพายุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ฟางเส้นสุดท้ายของ<br />
การออมชอมระหว่างพวกนิยมระบอบเก่าและระบอบใหม่จึงขาดลง<br />
พระองค์เจ้าบวรเดชอดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมสมัย<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นหัวหน้า นำทหารจากภาคตะวันออก<br />
เฉียงเหนือและภาคกลางเคลื่อนกำลังเข้ายึดสนามบินดอนเมือง<br />
ปะทะกับกองกำลังคณะราษฎรนำโดยหลวงพิบูลสงครามไปตาม<br />
ทางรถไฟ ตั้งแต่บางซื่อจนถอยร่นไปถึงนครราชสีมา และแตกทัพ<br />
ไปหมดในวันที่26 ตุลาคม ค.ศ. 1933 หลังจากนั้นพวกคณะราษฎร<br />
ทำการกวาดล้างพวกนิยมระบอบเก่าอย่างกว้างขวาง แม้แต่องค์<br />
พระมหากษัตริย์ก็ถูกระแวงสงสัย 40 จึงเสด็จพระราชดำเนินไป<br />
ประเทศอังกฤษในวันที่12 มกราคม ค.ศ. 1934 ต่อมาทรงประกาศ<br />
สละราชสมบัติวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1935 และเสด็จสวรรคตที่<br />
ประเทศอังกฤษนั่นเองในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941<br />
230 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมือง สยามยังคง<br />
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายด้านโดยเฉพาะการศึกษาใน<br />
ระดับอุดมศึกษา เมื่อมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ได้ช่วยเหลือบุคลากรและ<br />
การเงินแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาการศึกษาคณะ<br />
แพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จนเป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีมาตรฐาน<br />
ระดับสากล และนิสิตแพทย์ศึกษาจบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต<br />
ได้เป็นครั้งแรกของสยามใน ค.ศ. 1930 และเป็นอานิสงส์โดยตรง<br />
แก่การเติบโตของคณะวิทยาศาสตร์ด้วย เพราะวิทยาศาสตร์เป็น<br />
การศึกษาขั้นพื้นฐานของนิสิตแพทย์ แต่โดยภาพรวมแล้ว<br />
มหาวิทยาลัยในสยามยังนับว่าอยู่ในสภาพเพิ่งเริ่มต้น มีจำนวนนิสิต<br />
รวมกันเพียง 1,746 คน ใน ค.ศ. 1933 ขณะเดียวกันหลวงประดิษฐ์<br />
มนูธรรมหนึ่งในผู้นำคณะราษฎรได้ตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์<br />
และการเมืองขึ้นใน ค.ศ. 1934 โดยเปิดเป็นตลาดวิชาขั้นอุดมศึกษา<br />
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองใน<br />
ระบอบประชาธิปไตย<br />
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
(1893-1941) พระราชทานรัฐธรรมนูญ<br />
ให้แก่ปวงชนชาวไทย (1932)<br />
หน้าตรงข้าม คณะราษฎร ผู้เปลี่ยนแปลง<br />
การปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตย<br />
ในทางสังคมนั้นด้วยความก้าวหน้าทางคมนาคมและการสื่อสาร<br />
ทำให้สยามติดต่อรับรู้ความเจริญจากต่างประเทศมากขึ้นทั้งภาคพื้น<br />
เอเชีย ยุโรป และอเมริกา ประกอบกับประชากรชนชั้นกลางที่<br />
เติบโตมากขึ้น ประชากรทั้งประเทศเพิ่มจากประมาณ 15.7 ล้านคน 41<br />
ตอนต้นรัชกาลที่ 6 (ค.ศ. 1910) มาเป็นประมาณ 23.4 ล้านคน 42<br />
ในตอนต้นรัชกาลที่ 7 (ค.ศ. 1925) ทำให้เกิดอุปสงค์ในการบริโภค<br />
วัฒนธรรมมวลชนแบบตะวันตกมากขึ้น ซึ่งสะท้อนออกมาในการ<br />
เดินทางท่องเที่ยวไปต่างจังหวัดโดยทางรถไฟ เรือ และรถยนต์<br />
ส่วนกิจกรรมในเมือง ได้แก่ สโมสรเต้นรำ ฟังดนตรีแบบตะวันตก<br />
การรับประทานอาหารนอกบ้าน การชมภาพยนตร์ ล้วนเป็น<br />
กิจกรรมบันเทิงบันเทิงใหม่ที่ประชาชนสนใจอย่างแพร่หลาย<br />
การฟังละครวิทยุ และติดตามข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ เป็นต้น<br />
กิจกรรมใหม่ๆ เหล่านี้เรียกร้องให้เกิดสถาปัตยกรรมใหม่ เช่น<br />
โรงภาพยนตร์ สโมสรบันเทิงยามราตรี ในย่านการค้าที่ผู้คนชุมนุม<br />
หนาแน่น เช่น ย่านเยาวราช เจริญกรุง และราชวงศ์ เป็นต้น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
231
อาคารใหม่ๆ เหล่านี้ไม่ได้สร้างผูกขาดเพื่อคนชั้นสูงอีกต่อไปแต่เป็น<br />
การสนองความต้องการของประชาชนทั่วไปในโลกทุนนิยมแห่ง<br />
ศตวรรษที่20 ที่สยามได้กระโดดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งอย่างเลี่ยงไม่ได้<br />
บทบาทสถาปนิกไทยในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม<br />
แม้ว่าสยามจะมีมหาวิทยาลัยตั้งแต่ค.ศ. 1917 แต่การศึกษา<br />
สาขาสถาปัตยกรรมยังไม่ได้เริ่มต้นในระดับนี้ สยามจึงต้องส่งนักเรียน<br />
ไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมในยุโรป นักเรียนไทยรุ่นแรกได้แก่<br />
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ทรงศึกษาที่สถาบันศิลปะอีโคล<br />
เดอโบซาร์(Ecole de Beaux-Arts) ในประเทศฝรั่งเศสในทศวรรษ 1910<br />
กลับมารับราชการที่กรมศิลปากร กระทรวงวังใน ค.ศ. 1916<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University<br />
of Liverpool) ในประเทศอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1915-1920<br />
กลับมารับราชการที่กองสถาปนิก กระทรวงศึกษาธิการใน ค.ศ. 1920<br />
สถาปนิกไทยจึงเริ่มต้นบทบาทวิชาชีพตั้งแต่กลางรัชสมัยรัชกาลที่ 6<br />
เป็นต้นมา และค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอีกในสมัยรัชกาลที่7 สถาปนิก<br />
รุ่นแรกอย่างหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรและ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับการศึกษาแบบคาบเกี่ยวสมัยโบราณ<br />
และสมัยใหม่ซึ่งเป็นแนวโน้มทั่วไปของโรงเรียนสถาปัตยกรรมใน<br />
ยุโรปช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 กล่าวคือ<br />
วิชาออกแบบยังอ้างอิงรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณ เช่น คลาสสิค<br />
กรีก-โรมัน โกธิค และโรแมนติก เป็นต้น ขณะที่วิชาโครงสร้างและ<br />
วัสดุ จะศึกษาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น โครงสร้างเหล็กและ<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก รวมทั้งวิชาผังเมือง เป็นต้น ผลงานออกแบบ<br />
ยุคแรกจึงเป็นอาคารรูปแบบโบราณที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
ตัวอย่างเช่น พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ (ค.ศ. 1915)<br />
ในพระราชวังสนามจันทร์ โดยหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร<br />
อาคารมนุษยนาควิทยาทาน (ค.ศ. 1924) วัดบวรนิเวศวิหาร<br />
โดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์เป็นต้น ตอนต้นรัชกาลที่7 สถาปนิกไทย<br />
รุ่นที่ 2 สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษและฝรั่งเศสกลับมารับราชการ<br />
ที่กรมศิลปากรและกรมโยธาธิการอีกหลายคน เช่น หม่อมเจ้าสมัย<br />
เฉลิม กฤดากร นายนารถ โพธิประสาท นายหมิว (จิตรเสน อภัยวงศ์)<br />
หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ และหม่อม<br />
เจ้าประสมสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ เป็นต้น เหตุผลสำคัญที่สถาปนิกไทย<br />
รุ่นใหม่มีโอกาสได้ทำงาน มาจากการที่สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญชาว<br />
ยุโรปต่างหมดสัญญาจ้างจากรัฐบาลไทยไปเกือบหมดตอนสิ้น<br />
รัชสมัยรัชกาลที่ 6 ภาระงานทั้งหลายจึงถ่ายเทมาที่สถาปนิกไทย<br />
ในบรรดาสถาปนิกไทยนั้นพระสาโรชรัตนนิมมานก์(สุภัง สุขยางค์)<br />
มีผลงานปรากฏมากที่สุด เช่น ตึกมนุษยนาควิทยาทาน (ค.ศ. 1924)<br />
กลุ่มอาคารที่โรงพยาบาลศิริราช (ค.ศ. 1924-1939) งานของ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะมีพัฒนาการของ<br />
รูปแบบอย่างชัดเจน ในช่วงทศวรรษ 1920 พระสาโรชรัตนนิมมานก์<br />
นิยมแบบโบราณทั้งคลาสสิค โรแมนติก แม้กระทั่งแบบไทย<br />
เช่น ตึกนิภานภดล วัดเทพศิรินทราวาส ปลายทศวรรษ 1930<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์เริ่มหันเหไปนิยมแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ในแบบที่เรียกว่าคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยง (Stripped classicism)<br />
ที่มาจากอิทธิพลของสถาปนิกอิตาเลียนนิยมลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)<br />
มาร์เซลโล ปิอาเซนตินี (Marcello Piacentini) การหันเหแนวทาง<br />
ออกแบบของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ไม่ใช่เรื่องการเปลี่ยนทฤษฎี<br />
ออกแบบแต่เป็นเรื่องการเปลี่ยนรูปแบบ ซึ่งมาจากประสบการณ์ใหม่<br />
ที่พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้พบเห็นสถาปัตยกรรมสากลสมัยใหม่<br />
มากมายทั่วโลก ในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะ<br />
และเทคนิคสมัยใหม่ (Exposition Internationale des Art et<br />
Techniques dans la vie Moderne 1937) ที่กรุงปารีสใน ค.ศ. 1937<br />
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกไทยที่ศึกษาจาก<br />
ยุโรปที่อาวุโสที่สุด ช่วงแรกทรงถวายงานออกแบบสนองพระราช<br />
ประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก<br />
เช่น พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ (ค.ศ. 1915) พระตำหนักมาลี<br />
ราชรัตบัลลังค์43 (ค.ศ. 1917) ที่พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม<br />
ต่อมาทรงถวายงานสนองพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จ<br />
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น พระตำหนักเปี่ยมสุข (ค.ศ. 1928) และ<br />
ตำหนักอื่นๆ ในวังไกลกังวล ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังทรง<br />
232 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร<br />
(1889-1935)<br />
พระสาโรชัตนนิมมานก์<br />
(1895-1950)<br />
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร<br />
(1895-1967)<br />
นายหมิว (จิตรเสน) อภัยวงศ์<br />
(1900-1963)<br />
ออกแบบพระตำหนักสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง<br />
สงขลานครินทร์(ค.ศ. 1926) และตำหนักอื่นๆ ในวังสระปทุม เป็นต้น<br />
งานที่ทรงออกแบบนี้อยู่ในแนวฟื้นฟูเรือนพื้นถิ่น (Domestic<br />
Revival) ตามแนวทางของซี เอฟ วอยซี(C. F. Voysey) สถาปนิก<br />
ชาวอังกฤษช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังทรงพิถีพิถัน<br />
กับรายละเอียดและการก่อสร้างมาก ผลงานจึงมีคุณภาพสูงมาก<br />
อย่างที่ทรงนิพนธ์ว่าสถาปัตยกรรมย่อมแตกต่างจากอาคาร เพราะ<br />
มันมีสุนทรียภาพและจินตนาการซึ่งใกล้เคียงกับแนวคิดของศิลปิน<br />
อังกฤษช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จอห์น รัสกิน (John Ruskin)<br />
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ทรงออกแบบโรงภาพยนต์ศาลา<br />
เฉลิมกรุงและสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1933 ในลักษณะสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่แบบอาร์ตเด็คโค เป็นอาคารที่สะท้อนปรัชญาของ<br />
สุนทรียภาพใหม่นั่นคือความงามแบบนามธรรม ไร้การเลียนแบบ<br />
อาคารโบราณ ไร้ลวดลายตกแต่ง งดงามด้วยโครงสร้างที่เปิดเผย<br />
และสมบูรณ์ด้วยประโยชน์ใช้สอยแบบเครื่องจักร ศาลาเฉลิมกรุง<br />
จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของสยาม<br />
และเป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันกันออกแบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่นี้<br />
ให้เกิดตามมา นายหมิว (จิตรเสน) อภัยวงศ์ ออกแบบตึก<br />
บัญชาการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองระหว่าง<br />
ค.ศ. 1934-1936 โดยการนำอาคารเก่ามาดัดแปลงต่อเติม<br />
การใส่หลังคากรวยยอดแหลมแบบอาคารยุคกลางลงบนหลังคาจั่ว<br />
ของเขา ทำให้อาคารลูกผสมคอนกรีตของเขาดูก้ำกึ่งระหว่างความ<br />
ทันสมัยกับความโบราณ แต่ผลงานในรัชกาลต่อไปของเขาจะโดดเด่น<br />
ในแบบสมัยใหม่มากกว่าสถาปนิกคนอื่น ใน ค.ศ. 1934 สถาปนิก<br />
รุ่นใหม่เหล่านี้จำนวน 6 คน นำโดยนายนารถ โพธิประสาทได้<br />
จัดตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น เพื่อส่งเสริม<br />
วิชาชีพสถาปนิกซึ่งบัดนี้คนไทยทำได้แล้วให้เจริญก้าวหน้าเป็น<br />
ที่รู้จักของคนทั่วไป และแผ้วถางหนทางสร้างอาชีพนี้ให้เป็น<br />
วิชาชีพที่ต้อง “กลั่นกรอง” โดยการศึกษาจากสถาบันให้แตกต่าง<br />
จากวิถีทางดั้งเดิมของสังคมที่ใช้บริการพวกนักออกแบบก่อสร้าง<br />
จากประสบการณ์โดยเฉพาะผู้รับเหมา คณะกรรมการบริหาร<br />
สมาคมชุดก่อตั้งนี้มีพระสาโรชรัตนนิมมานก์เป็นนายกสมาคม และ<br />
นายนารถ โพธิประสาทเป็นเลขาธิการ มีการออกวารสารของ<br />
สมาคมชื่อ “อาษา” แต่ในความเป็นจริงการดำเนินงานไม่มีความ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
233
สม่ำเสมอ เพราะสมาชิกแต่ละคนมีภารกิจประจำต้องปฏิบัติสนอง<br />
นโยบายของรัฐบาลอย่างมากมาย โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ 1940<br />
ที่เกิดสงครามอินโดจีนต่อด้วยสงครามมหาเอเชียบูรพาจนไม่มีเวลา<br />
ทำงานให้สมาคม ส่งผลให้สมาคมต้องหยุดกิจกรรมไปใน ค.ศ. 1941<br />
สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (1863-1947)<br />
สถาปนิกแนวอนุรักษ์นิยมที่ทำงานสถาปัตยกรรมไทยที่เรา<br />
เห็นผลงานมาบ้างแล้วจากสถาปัตยกรรมชาตินิยมสมัยรัชกาลที่6<br />
ก็ยังคงทำงานต่อไป พวกเขาไม่ใช่นักเรียนนอกแบบพวกแรก<br />
แต่เรียนรู้จากการการทำงานร่วมกับสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญต่าง<br />
ประเทศตั้งแต่รัชกาลก่อน ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้บัดนี้พวกเขา<br />
หันมาออกแบบสถาปัตยกรรมไทยที่สร้างด้วยคอนกรีต สถาปนิก<br />
คนสำคัญของกลุ่มนี้คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />
ที่ดูเหมือนจะได้รับความเคารพจากสถาปนิกทุกกลุ่มในฐานะ “ครู”<br />
ที่ทรงปฏิบัติงานออกแบบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงออกแบบ<br />
อุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์(ค.ศ. 1930) ในแบบคอนกรีตที่เรียบง่ายและ<br />
จะเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมไทยคอนกรีตต่อไป พระปฐมบรม<br />
ราชานุสรณ์ (ค.ศ. 1932) ร่วมกับประติมากรอิตาเลียนคอร์ราโด<br />
เฟโรชี(Corrado Feroci) ในแบบไทยอาร์ตเด็คโค พระพรหมพิจิตร<br />
เป็นผู้ช่วยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ใน<br />
การเขียนแบบก่อสร้างเกือบทุกโครงการ งานออกแบบของท่านเอง<br />
คือหอระฆังวัดยานนาวา (ค.ศ. 1934) ในแบบไทยคอนกรีตที่เรียบเกลี้ยง<br />
และท้าทายขนบอย่างน่าสนใจ หลวงวิศาลศิลปกรรมเป็นสถาปนิกไทย<br />
รุ่นใหม่ที่เคยเป็นผู้ช่วยสถาปนิกเอ็ดเวิร์ดฮีลีย์มาก่อน มีผลงานตีคู่มา<br />
กับพระพรหมพิจิตร เขาออกแบบตึกคณะวิทยาศาสตร์ (1928)<br />
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในแบบไทยคอนกรีต และหอนาฬิกา<br />
(ค.ศ. 1929) โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในแบบไทยอาร์ตนูโวที่น่าดู<br />
สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศยังคงมีอยู่ในสยาม2-3 คน<br />
พวกเขายังเป็นกลุ่มคนที่ผลิตงานคุณภาพให้สยามต่อไป ตัวอย่าง<br />
เช่น ชาร์ลส์ เบกูลัง (Charles Beguelin) วางผังโรงพยาบาลกลาง<br />
(ค.ศ. 1928) ในแบบสากลนิยมสมัยใหม่อย่างชัดเจนและน่าสนใจ<br />
234 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ปราศจากลวดลายใดๆ ซ้ำยังดูเด่นด้วยหอคอย 7 ชั้นที่เป็นส่วน<br />
หนึ่งของตึกแถวชุดนี้<br />
ทั้งหมดนี้แสดงถึงอิทธิพลของอุดมคติยุคสมัยใหม่ที่เน้น<br />
ประหยัด ประโยชน์ และประชาชน ได้กระจายเข้าทั่วทุกวงการ<br />
ก่อสร้างและแทรกซึมไปถึงระดับรากหญ้าของสังคมสยาม<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่สมัยรัชกาลที่ 7<br />
พระพรหมพิจิตร (1890-1965)<br />
ขณะที่เอ ริกาซซิ (A. Rigazzi)ยังคงออกแบบโรงแรมราชธานี<br />
(ค.ศ. 1926) ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หัวลำโพงในแบบคลาสิคที่<br />
สร้างด้วยคอนกรีตที่ประณีตแต่ล้าสมัยเสียแล้ว<br />
อาคารสาธารณูปโภคที่ออกแบบโดยวิศวกร โดยยึดถือเกณฑ์<br />
ประโยชน์ใช้งานและความมั่นคงแข็งแรงเป็นหลักยังเป็นงานที่ต้อง<br />
ติดตามเสมอ เช่น โรงกรองน้ำสามเสนหลังที่ 2 (ค.ศ. 1930)<br />
ที่ใช้โครงสร้างคอนกรีตช่วงกว้างที่น่าสนใจ ที่ทำการพัสดุ<br />
กรมรถไฟหลวง (ค.ศ. 1928) ใช้โครงพื้นไร้คานรับด้วยเสาหัวบาน<br />
(flat slab) ที่หาดูได้ยากยิ่ง โรงงานซ่อมรถจักรโรงงานมักกะสัน<br />
(ค.ศ. 1928) ใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้อย่างน่าดู<br />
นักออกแบบกลุ่มสุดท้ายไม่ใช่สถาปนิกหรือวิศวกรแต่เป็น<br />
ช่างก่อสร้าง-ผู้รับเหมาที่มีความชำนาญจากประสบการณ์โดย<br />
เฉพาะการสร้างตึกแถว ตึกแถวนายเลิศ ริมถนนเจริญกรุง บางรัก<br />
(ทศวรรษ 1930) เป็นตัวอย่างตึกแถวคอนกรีตสมัยใหม่ที่เกลี้ยงเกลา<br />
สภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองและความไม่สงบทางการเมือง<br />
ทำให้มีการก่อสร้างอาคารน้อย และส่วนใหญ่สร้างเพื่อความจ ำเป็นจึง<br />
เป็นอาคารประเภทสาธารณูปโภคที่สร้างด้วยคอนกรีตและเหล็ก<br />
โดยยึดหลักประหยัดและประโยชน์ใช้สอยที่ชัดเจนแบบอาคาร<br />
วิศวกรรมทั่วไป นอกจากนี้การมีสถาปนิกรุ่นใหม่จบการศึกษา<br />
จากยุโรปเข้ามาหลายคนทำให้มีการนำสถาปัตยกรรมแบบใหม่จริงๆ<br />
เข้ามาเผยแพร่ กล่าวคือเป็นอาคารที่ตั้งใจออกแบบให้สวยงามแบบ<br />
เกลี้ยงๆ และสร้างด้วยคอนกรีต เราจึงเรียกมันว่าสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ (modern architecture) ที่ใกล้เคียงกับงานประเภท<br />
อาร์ตเด็คโค แต่ไม่ใช่สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ (International<br />
modern) ซึ่งมีปรัชญาแนวคิดของตนเองที่เน้นสุนทรียภาพแบบ<br />
เครื่องจักรกล ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม มวลชนและความเป็น<br />
“สากลนิยม” รวมทั้งไวยกรณ์ของรูปแบบเฉพาะของตนเอง เช่น<br />
สถาปัตยกรรมของของกลุ่มเบาเฮาส์ของเยอรมัน หรือ<br />
สถาปัตยกรรมภายใต้หลักการออกแบบ 5 ประการของเลอร์คอร์บู<br />
ซิเอร์ที่ประกาศไว้ในนิตยสารเลสปิริต นูโว (L’Espirit Nouveau)<br />
ตั้งแต่ ค.ศ. 1921 สถาปัตกรรมสมัยใหม่ของสยามในสมัยรัชกาลที่7<br />
จึงมีจุดประสงค์ในการออกแบบที่ใกล้เคียงกับงานสากลนิยมสมัยใหม่<br />
แต่ต่างกันในรูปแบบและที่มา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
235
ผลงาน<br />
โรงงานซ่อมรถจักร โรงงานมักกะสัน ออกแบบโดยวิศวกร<br />
ยนตร์ บุณยมานพ และก่อสร้างใน ค.ศ. 1928 รูปแบบคล้ายคลึง<br />
กับโรงซ่อมรถโดยสารหลังเก่าที่สร้างใน ค.ศ. 1922 ลักษณะผังรูป<br />
สี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงกลางกว้าง 20 เมตร<br />
เป็นพื้นที่โรงซ่อม ช่วงริม 2 ข้างเป็นทางเข้า รางจอดรถของ<br />
โรงซ่อมนี้จึงวางทางขวางต่างจากโรงซ่อมแรกที่วางทางยาว<br />
ผลก็คือสามารถจอดรถซ่อมได้มากขึ้นกว่าเดิม ลักษณะอาคารเป็น<br />
ผนังก่ออิฐอวดผิวตัดกับกรอบเสา-คานโครงสร้างคอนกรีต<br />
เสริมเหล็ก หลังคาทรงจั่วเป็นโครงทรัสเหล็ก ยกหลังคาเล็กระบาย<br />
อากาศตลอดแนวสันหลังคา ลักษณะผนังอิฐก่ออวดผิวตัดกับ<br />
โครงสร้างคอนกรีตกลายเป็นลักษณะเด่นของอาคารของกรมรถไฟ<br />
ไปแล้ว<br />
บน โรงงานซ่อมรถจักร โรงงาน<br />
มักกะสัน (1928)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงงานซ่อมรถจักร<br />
โรงงานมักกะสัน<br />
236 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บนซ้าย ที่ทำการพัสดุ<br />
กรมรถไฟหลวง (1928-1931)<br />
บนขวา โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
แบบ Flat Slab ของที่ทำการพัสดุ<br />
กรมรถไฟ<br />
ล่าง ผังพื้นที่ทำการพัสดุ กรมรถไฟ<br />
เชิงสะพานกษัตริย์<br />
ที่ทำการพัสดุ กรมรถไฟหลวง เป็นอาคารเก็บวัสดุและ<br />
เครื่องมือของกรมรถไฟหลวงเชิงสะพานกษัตริย์ศึก ออกแบบโดย<br />
วิศวกร หลวงสุขวัฒน์สุนทร ระหว่าง ค.ศ. 1928-1931 เป็นตึก<br />
3 ชั้นผังรูปตัว U ใช้พิกัดเสาเป็นตารางขนาด 5.60 x 5.60 เมตร<br />
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเสาหัวบานรับพื้นคอนกรีตหนา<br />
ไม่มีคาน (flat slab) เพื่อรับน้ำหนักบรรทุกมากๆ โดยเฉพาะ<br />
ในส่วนปีกอาคารที่ใช้เก็บของ ผสมกับระบบโครงสร้างระบบ<br />
เสาคานปกติสำหรับอาคารสำนักงานด้านหน้า รูปด้านอาคารเรียบง่าย<br />
ส่วนที่เป็นขารูปตัว U ทั้งสองข้างก่ออิฐอวดผิวเต็มช่องโครงสร้าง<br />
ขณะที่อาคารด้านหน้าเปิดช่วงหน้าเป็นระเบียงโล่งอวดเสาระเบียง<br />
เรียงเป็นแถว สะท้อนประโยชน์ใช้สอยอย่างตรงไปตรงมา และ<br />
เห็นการเลือกใช้โครงสร้างแบบไม่ปกติที่น่าสนใจมาก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
237
โรงกรองน้ำสามเสนหลังที่ 2 สร้างใน ค.ศ. 1930 หลังจาก<br />
โรงกรองน้ำโรงแรก 16 ปี และมาในรูปแบบใหม่-คอนกรีตล้วน<br />
ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว สำหรับตั้งถังกรอง 2 แถวๆ<br />
ละ 8 ถัง รวม 16 ถัง โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดโครงเกร็ง<br />
(rigid frame) ลักษณะช่วงกลางเป็นคานโค้งขนาดใหญ่รับหลังคาจั่ว<br />
ที่ด้านบน ริม 2 ข้างลดระดับลงต่อออกไปเป็นหลังคาลาดเพื่อ<br />
ให้แสงเข้า น่าจะเป็นต้นแบบสำหรับการออกแบบอาคารประเภท<br />
อัฒจรรย์ชมกีฬาเพราะมีลักษณะแบบเดียวกัน<br />
ซ้าย โรงกรองน้ำสามเสนหลังที่ 2 (1930)<br />
ขวา ผังพื้นโรงกรองน้ำสามเสน<br />
238 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซ้าย โครงสร้างคานโค้งคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
ของโรงกรองน้ำ<br />
ขวา ศาลาอำนวยการคณะแพทยศาสตร์<br />
ศิริราชพยาบาล(1925)<br />
โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลนี้ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์<br />
แห่งแรกของสยามที่สถาปนาขึ้นตั้งแต่ค.ศ. 1888 ในสมัยรัชกาลที่5<br />
ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแพทย์ตามมาตรฐานสากล<br />
จากความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ตั้งแต่ ค.ศ. 1922<br />
มีการให้ทุนสร้างอาคาร และส่งอาจารย์แพทย์และนักวิทยาศาสตร์<br />
มาช่วยสอนทั้งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่คณะแพทย์ศาสตร์<br />
โรงพยาบาลศิริราชนับสิบคน ที่โรงพยาบาลศิริราชมีการวางผัง<br />
โรงพยาบาลใหม่ และสร้างตึกเรียนและตึกรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่า<br />
16 หลัง 44 อาคารส่วนใหญ่สร้างระหว่าง ค.ศ. 1925-1935 โดย<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์แห่งกรมศิลปากรเป็นสถาปนิกและผู้วาง<br />
ผังโรงพยาบาล ลักษณะผังโรงพยาบาลเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้าที่เกิดจากการตัดกันของถนนอาคารถูกวางไปตามแนวแกนถนน<br />
ด้านยาวตั้งฉากกับแกนทิศเหนือ-ใต้เพื่อเน้นการระบายอากาศและ<br />
หลบแสงแดดที่จะส่องตรงมายังห้องพักคนไข้โดยภาพรวมแล้วเป็น<br />
ผังที่ไม่มีอะไรใหม่กว่าผังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ตามานโย<br />
ออกแบบไว้ก่อนหน้านี้20 ปี อาคารทั้งหมดออกแบบอย่างเรียบง่าย<br />
ใช้ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวมี 3 มุขแบบรูปตัว E และ 2 มุข<br />
แบบรูปตัว U สมมาตรแบบคลาสสิค อาคารสำหรับการรักษา<br />
พยาบาลจะวางพื้นที่ใช้งานตรงกลางมีระเบียงหน้า-หลังเพื่อการ<br />
ระบายอากาศ ถ้าเป็นอาคารปฏิบัติการทางการแพทย์ การจัดห้อง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
239
ผังบริเวณโรงพยาบาลศิริราช<br />
(1925-1935)<br />
จะเน้นลำดับและกระบวนการของการรักษาอย่างละเอียดลออ หากเป็น<br />
หอพักผู้ป่วยพื้นที่สำหรับตั้งเตียงจะเรียงไปตามความยาวอาคาร<br />
มีระเบียงขนาบหน้า-หลัง หัวและท้ายอาคารเป็นพื้นที่บริการ<br />
รูปลักษณ์ภายนอกเหมือนเรือนแถวหลังคาปั้นหยา อวดเสาระเบียง<br />
เรียงเป็นแถวเหมือนบังกะโลแถวคอนกรีตแบบโรงเรียนปลายสมัย<br />
รัชกาลที่6 ศาลาอำนวยการคณะแพทย์ศาสตร์ สร้างใน ค.ศ. 1925<br />
เป็นอาคารศูนย์กลางโรงพยาบาลที่ออกแบบอย่างประณีตกว่า<br />
อาคารอื่น ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเน้นมุขกลางที่ใช้ไวยกรณ์แบบประตู<br />
ชัยประยุกต์ บันไดใหญ่ถูกวางไว้ด้านหน้าแบบขวางทางเข้าเหมือน<br />
ที่สถานเสาวภา รูปด้านอาคารเป็นแบบคลาสสิคที่ตกแต่งด้วย<br />
เสาอิงระเบียบดอริค หลังคามีผนังบังชายคาให้ดูเหมือนหลังคาตัด<br />
ซ่อนหลังคาไม้มุงกระเบื้องไว้ด้านหลัง<br />
อาคารที่ศิริราชแสดงจุดประสงค์ที่เน้นความประหยัดและ<br />
ประโยชน์ใช้งานสูงสุดเป็นลำดับแรก 45 ซึ่งเป็นแนวคิดร่วมกันของ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทุกรูปแบบ แต่แล้วข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ<br />
กลับทำให้สถาปนิกหันไปใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมาเป็นฐาน<br />
ในการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ซึ่งเป็นความย้อนแย้งสำคัญ<br />
อีกประเด็นหนึ่งของพัฒนาการสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของสยาม<br />
240 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน โรงพยาบาลกลาง (1934)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงพยาบาลกลาง<br />
โรงพยาบาลกลาง เป็นโรงพยาบาลในเขตชุมชนเมืองขนาดเล็ก<br />
ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ค.ศ. 1898 ในสมัยรัชกาลที่5 ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา<br />
จนกระทั่งได้รับงบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ทั้งหมดใน<br />
ค.ศ. 1928 ออกแบบโดย ชาร์ล เบกูลัง (Charles Beguelin)<br />
แห่งกองวิศวกรรม กระทรวงสาธารณสุข อาคารที่ออกแบบใหม่<br />
มีความน่าสนใจทั้งแง่วางผังและลักษณะอาคารที่บ่งชี้ถึงแนวทาง<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ (International modern) อาคารสร้างเสร็จ<br />
ใน ค.ศ. 1934 เนื่องจากที่ดินมีขนาดจำกัด แนวคิดในการวางผัง<br />
จึงเป็นแบบสร้างอาคารหลังใหญ่เต็มพื้นที่ ซึ่งแตกต่างจากศิริราช<br />
ที่สร้างอาคารหลังเดี่ยวหลายหลังตั้งห่างกันและเชื่อมด้วยทางเดิน<br />
แต่ที่โรงพยาบาลกลางอาคารหลังใหญ่ประกอบด้วยตึก 4 ตึกเรียงกัน<br />
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมสนามภายใน ด้านหน้ามีตึกอำนวยการ<br />
อยู่ตรงกลาง (ทิศเหนือ) ตึกซ้าย (ทิศตะวันออก) เป็นส่วนผู้ป่วยนอก<br />
ต่อด้วยห้องฉุกเฉิน ตึกขวา (ทิศตะวันตก) ตอนต้น (ทิศเหนือ)<br />
เป็นห้องผู้ป่วยหนักและห้องชันสูตร ตอนกลางเป็นหอผู้ป่วยใน<br />
ตอนปลาย (ทิศใต้) เป็นครัว ตึกทิศใต้เป็นหอผู้ป่วยใน ทางเข้าหลัก<br />
ของโรงพยาบาลอยู่ด้านถนนหลวงระหว่างตึกอำนวยการกับตึกซ้าย<br />
รถสามารถวิ่งเข้ามาวนรอบสนามโรงพยาบาลแล้ววนออกทาง<br />
ช่องระหว่างตึกอำนวยการกับตึกขวา ทางเข้าส่วนบริการมาจาก<br />
ถนนซอยข้างตึกขวาที่ท ำพื้นที่ส ำหรับเข้าออกได้สะดวก สามารถเข้าถึง<br />
ส่วนครัวและส่วนซักล้างได้โดยตรง ผังชั้น 2 และ 3 ตึกกลางเป็น<br />
ที่พักแพทย์ ส่วนอีก 3 ตึกเป็นหอผู้ป่วยใน ตึกทั้งหมดเชื่อมต่อด้วย<br />
ระเบียงทางเดินที่วนรอบทุกตึกที่ล้อมสนามตรงกลางซึ่งเปรียบเสมือน<br />
ปอดและแหล่งให้แสงสว่างของโรงพยาบาลไว้ ลักษณะอาคารเป็น<br />
ทรงกล่องคอนกรีตที่มีกันสาดยื่นออกมาให้ร่มเงาหน้าต่างรอบตึก<br />
หลังคาเป็นคอนกรีตแบน ปราศจากการตกแต่ง แม้จะเป็นอาคาร<br />
ที่ไม่เน้นความสวยงามแต่เห็นได้ชัดว่ามุ่งประโยชน์ใช้สอย<br />
ความประหยัด และความตรงไปตรงมาของโครงสร้าง ซึ่งสะท้อน<br />
ออกมาในผังแบบตึกเดี่ยวที่รองรับประโยชน์ใช้สอยหลากหลาย<br />
อันเป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสากลนิยมสมัยใหม่ที่ยังไม่เคย<br />
ปรากฏในสยามแม้ว่ารูปลักษณะภายนอกยังดูทื่อๆ เหมือนอาคาร<br />
เชิงวิศวกรรมทั่วไปก็ตาม<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
241
บน ตึกแถวนายเลิศ บางรัก<br />
(ต้นทศวรรษ1930)<br />
ล่าง ผังพื้นตึกแถวนายเลิศถนน บางรัก<br />
ตึกแถว อาคารเพื่อการพาณิชย์และพักอาศัยที่สร้างต่อเนื่อง<br />
กันตามแนวถนนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 มีการพัฒนาตลอดตามเวลา<br />
ที่เปลี่ยนไป มาในสมัยรัชกาลที่7 ตึกแถวยังมีบทบาทสำคัญสำหรับ<br />
สถานที่ค้าขายระดับกลางและเล็กอย่างเด่นชัด และพัฒนารูปแบบ<br />
และโครงสร้างไปเป็นอาคารคอนกรีตล้วนกันไฟ รูปลักษณะมีทั้ง<br />
เรียบเกลี้ยงและประดับลวดลาย<br />
ตึกแถวนายเลิศตรงข้ามไปรษณีย์กลางบางรัก สร้างโดย<br />
นายเลิศ เศรษฐบุตร หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ ประมาณต้น<br />
ทศวรรษ 1930 ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างห้องละ 3.50 เมตร และ<br />
ลึกถึง 17.75 เมตร ยาวต่อกันถึง 45 ห้องสำหรับให้เช่าเพื่อ<br />
การพาณิชย์ ที่แปลกคือที่ห้อง 34 และ 35 สร้างเป็นหอคอยสูงถึง<br />
7 ชั้น รูปลักษณะเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงไม่มีลวดลาย<br />
ประดับเลย ผนังชั้นล่างเปิดโล่งเพื่อติดตั้งประตูทางเข้า ชั้น 2 ผนัง<br />
แบ่งป็น 4 ส่วนเท่ากันเต็มช่วงโครงสร้าง 2 ช่องล่างเป็นหน้าต่าง<br />
2 ช่องบนเป็นช่องแสงติดกระจก ชั้น 3 ผนังแบ่งเป็น 4 ส่วน<br />
ตามแนวนอน ส่วนล่างสุดเป็นผนังก่ออิฐอวดผิว 2 ส่วนบนเป็น<br />
หน้าต่างบานคู่แฝด ส่วนบนสุดเป็นช่องแสงติดกระจก มีกันสาด<br />
คอนกรีตยาวตลอดที่ชั้น 1 และชั้น 3 ส่วนชั้น 2 กันสาดเว้นช่อง<br />
ซ้าย-ขวาเป็นจังหวะ โครงสร้างทั้งหมดรวมทั้งพื้นและหลังคาเป็น<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก และไม่ประดับลวดลายเลย จึงเป็นอาคารที่<br />
แปลกกว่าอาคารร่วมสมัยแบบเดียวกันที่ยังคงรักษาลวดลายอยู่<br />
242 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ไม่มากก็น้อย ตัวอย่างเช่น ตึกแถวริมสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />
ยาว 40 ห้องที่สร้างใน ค.ศ. 1930-1933 เป็นตึกแถวคอนกรีต<br />
ที่ยังรักษาผังรวมแบบคลาสสิครูปตัว E มุขกลางสูง 2 ชั้น มีหน้าบัน<br />
แบบจั่วกรีก มุขหัว-ท้ายสูง 3 ชั้นประดับเครื่องถ้วยปูนปั้นแบบ<br />
กรีกที่ยอดเสาของพนักขอบหลังคา ตึกแถวโค้งหน้าเทวสถาน<br />
ถนนบำรุงเมือง ยาว 14 ห้องสร้างใน ค.ศ. 1932-1933 ผังตึกโค้ง<br />
ไปตามถนน ลักษณะเป็นตึกคอนกรีต 3 ชั้นในแบบเรียบๆ<br />
แต่องค์ประกอบของระเบียงและพนักขอบหลังคาที่ประดับลูกกรง<br />
ปูนแบบกรีกทำให้ยังเห็นอิทธิพลของงานแบบคลาสสิคผสม<br />
อาร์ตเด็คโคอย่างชัดเจน<br />
บน ตึกแถวริมสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />
(1930-1933)<br />
ล่าง ผังพื้นตึกแถวริมสะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
243
บน ตึกแถวโค้งหน้าเทวสถาน<br />
ถนนบำรุงเมือง (1932-1933)<br />
ล่าง ผังพื้นตึกตึกแถวโค้งหน้าเทวสถาน<br />
244 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงภาพยนตร์ที่พระบาทสมเด็จ<br />
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทาน<br />
เป็นของขวัญให้กับประชาชนชาวสยามเนื่องในวาระครบรอบ 150 ปี<br />
กรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นการก่อสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1930 แล้วเสร็จ<br />
ใน ค.ศ. 1933 ออกแบบโดยหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร สถาปนิก<br />
ไทยที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากสถาบันอีโคล เดอ โบซาร์(Ecole de<br />
Beaux-Arts) แห่งกรุงปารีส ความสำคัญของศาลาเฉลิมกรุงคือ<br />
เป็นอาคารแบบสมัยใหม่ (modern) ในแนวอาร์ตเด็คโคที่สมบูรณ์<br />
ทั้งรูปแบบและความงามหลังแรกๆ ของสยาม ผังอาคารเป็นรูป<br />
สี่เหลี่ยมผืนผ้าตัดมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งอยู่บนหัวมุมถนน<br />
เพื่อเป็นทางเข้า ตัวอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนโถงหน้าและ<br />
ส่วนโรงภาพยนตร์ที่ประกอบด้วยที่นั่งผู้ชม(auditorium) และส่วนเวที<br />
และหลังเวที (stage and back stage) การจัดผังในส่วนนี้คำนึงถึง<br />
คุณภาพเสียงจึงสามารถใช้แสดงละครเวทีได้ด้วย ผังอาคารยังคำนึง<br />
ถึงการถ่ายเทผู้ชมออกจากโรงภาพยนตร์ได้อย่างสะดวก โดยการ<br />
ออกแบบทางเดินด้านข้างที่สามารถเดินวนได้รอบโรงภาพยนตร์<br />
อาคารนี้จึงมีพื้นที่ 2 ชั้นแบบเปลือกนอกหุ้มเนื้อในที่น่าสนใจ<br />
บน โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง (1930-1933)<br />
ล่าง ผังพื้นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
245
นอกจากนี้การออกแบบทางเดินเข้าโรงภาพยนตร์จากแนวเส้นทแยง<br />
ที่ทางเข้าด้านหน้าแล้วเบี่ยงเป็นเส้นตรงตอนเข้าโรงภาพยนตร์<br />
โดยใช้บันไดข้างเป็นตัวบังคับก็ท ำได้อย่างน่าชม ลักษณะอาคารเป็น<br />
ทรงสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงสูง 3 ชั้นที่บริเวณโรงภาพยนตร์และ 4 ชั้น<br />
ที่โถงทางเข้าซึ่งเป็นไปตามประโยชน์ใช้สอย ผนังอาคารมีจุดเด่น<br />
อยู่ที่ช่องทางเข้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แบ่งเป็น 3 ช่องสี่เหลี่ยมรูปยาว<br />
ช่องกลางกว้างเป็น 2 เท่าของช่องริมแบบไวยกรณ์ประตูชัย<br />
(triumphal arch) แสดงให้เห็นอิทธิพลคลาสสิคที่ยังคงอยู่ ขณะที่<br />
ช่องประตูหน้าต่างที่เหลือจัดจังหวะตามประโยชน์ใช้สอยแบบ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ด้านหน้าอาคารมีการตกแต่งอาคารโดย<br />
ใช้โลหะฉลุลายไทยเป็นรูปกลมประดับเหนือประตูทางเข้าทั้ง 3 ช่อง<br />
เป็นลายประยุกต์เรขาคณิตรูปหัวลิง ยักษ์ และฤาษีเลียนแบบลาย<br />
ฉลุหนังใหญ่โบราณ ขณะที่ภายในโรงภาพยนตร์กลับประดับประดา<br />
ด้วยลายแถบยาวสลับสีตลอดแนวเพดานแบบศิลปะอาร์ตเด็คโค<br />
แสดงความขัดแย้งมากกว่ากลมกลืนของยุคสมัยระหว่างการรักษา<br />
ศิลปะพื้นเมืองกับการนำเสนอศิลปะตะวันตกที่ก้าวหน้า อาคารทั้ง<br />
หลังก่อสร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กใช้ระบบอุปกรณ์อาคาร<br />
ที่ทันสมัย เช่น ระบบฉายภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ระบบทำความ<br />
เย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำ (chilled water system) จึงเป็น<br />
โรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุค<br />
ทศวรรษ 1930 ประเด็นเกี่ยวกับการออกแบบที่น่าสนใจคือ<br />
สถาปนิกมีพื้นฐานการศึกษาสถาปัตยกรรมในแบบอีโคลเดอโบซาร์<br />
ที่อนุรักษ์นิยมแต่ก็สามารถออกแบบอาคารศิลปะอาร์ตเด็คโค<br />
ที่ก้าวหน้าได้ โดยไม่ต้องผ่านสถาบันการศึกษาแบบหัวก้าวหน้า<br />
แต่ขณะเดียวกันการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่แฝง<br />
ปรัชญาพื้นเมืองดั้งเดิมอย่างกลมกลืน ดูจะเป็นปัญหาสำคัญของ<br />
สถาปนิกสมัยใหม่ของสยามตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป<br />
ตึกบัญชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<br />
และการเมือง (1934-1936)<br />
246 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผังพื้นตึกบัญชาการมหาวิทยาลัย<br />
ธรรมศาสตร์และการเมือง<br />
ตึกบัญชาการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง<br />
นายปรีดี พนมยงค์ แกนนำคนสำคัญของคณะราษฎรเป็นผู้ก่อตั้ง<br />
มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นใน ค.ศ. 1934<br />
เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปในระดับอุดมศึกษาในวิชาการเมือง<br />
การปกครอง กฎหมาย และเศรษฐกิจในระบอบประชาธิปไตย<br />
ตึกบัญชาการสร้างระหว่าง ค.ศ. 1934-1936 ไม่ใช่ตึกสร้างใหม่<br />
แต่เป็นการปรับปรุงตึกเก่าสูง 2 ชั้นของกองพันทหารราบที่ 11<br />
รักษาพระองค์ จำนวน 4 หลังที่สร้างเรียงเป็นแถว ผังเดิมมีลักษณะ<br />
เป็นเรือนโถงที่เรียงห้องตามยาวมีระเบียงด้านหน้าเหมือนกันทุกหลัง<br />
สถาปนิกนายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ออกแบบต่อตึกเดิมทั้งหมด<br />
เข้าด้วยกันโดยใช้หลังคาเชื่อมช่องว่างระหว่างตึก ส่วนช่องกลาง<br />
ระหว่างตึกหลังที่ 2 และ 3 เสริมเป็นมุข 3 ชั้นแล้วใส่หลังคากรวย<br />
8 เหลี่ยมยอดแหลมเข้าไปเรียกว่า “โดม” เน้นให้เป็นทางเข้าหลัก<br />
เนื่องจากอาคารเดิมเป็นค่ายทหารที่ไม่ได้ตกแต่งอะไรอยู่แล้ว<br />
อาคารใหม่ที่บูรณะแล้วจึงดูเรียบง่ายเหมือนอาคารสมัยใหม่<br />
แต่การใส่หลังคากรวย 8 เหลี่ยมยอดแหลมซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐาน<br />
ของโบสถ์ในชนบทที่พบทั่วไปในยุโรป กลับทำให้อาคารนี้ดูกำกวม<br />
ระหว่างการเป็นอาคารสมัยใหม่กับอาคารโบราณ และยังน่าสงสัย<br />
ว่ามีที่มาจากเรือนพื้นถิ่นยุโรปหรือเรือนพื้นถิ่นเอเชียกันแน่<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
247
่<br />
สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่สมัยรัชกาลที่ 7<br />
แม้ว่าแนวคิดชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะสร่างซาไป<br />
หลังสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6<br />
แต่ความต้องการเรียกร้องสถาปัตยกรรมแบบไทยยังคงมีอยู่จาก<br />
เหตุผลทางจารีตประเพณีหนึ่ง และอีกประการหนึ่งมาจากพระราช<br />
อุดมการณ์ชาตินิยมที่รัชกาลที่ 6 ได้ทรงบ่มเพาะไว้ แต่ในยุคสมัย<br />
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสู่ทุนนิยมโลกนำรสนิยมแบบสากล<br />
เข้ามาในสยาม รวมทั้งอิทธิพลของสถาปนิกไทยรุ่นใหม่ที่นำ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มาเผยแพร่ อีกทั้งสถานการณ์ภาวะ<br />
เศรษฐกิจฝืดเคืองที่เรียกร้องความประหยัดอย่างที่สุด เป็นผลให้<br />
สถาปัตยกรรมในรัชกาลนี้มีลักษณะเรียบง่ายอย่างประหลาด<br />
การประดับประดาหายไปเกือบหมด ขณะเดียวกันวัสดุแบบใหม่<br />
คือคอนกรีตเสริมเหล็กเข้ามามีบทบาทกำหนดรูปลักษณ์ให้<br />
สถาปัตยกรรมไทยดูเปลี ่ยนไป แต่บางงานก็เป็นความกล้าในการ<br />
ท้าทายวิธีการออกแบบตามขนบ สถาปนิกที่ออกแบบงานในแนว<br />
ไทยประยุกต์นี้เป็นผู้ที่ทำงานจากประสบการณ์ไม่ผ่านการศึกษา<br />
ในสถาบันชั้นสูงด้านสถาปัตยกรรมทั้งในสยามและต่างประเทศ<br />
บุคคลที่สำคัญที่สุดคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />
ซึ่งทรงมีผลงานออกแบบต่อเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปลายสมัย<br />
รัชกาลที่5 พระพรหมพิจิตรซึ่งเคยทำงานเป็นช่างเขียนที่กรมโยธา<br />
ธิการร่วมกับสถาปนิกอิตาเลียนและเป็นผู้ทำงานลอกแบบถวาย<br />
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และหลวงวิศาล<br />
ศิลปกรรม ช่างเขียนแบบกระทรวงศึกษาธิการ ที่เคยทำงานร่วมกับ<br />
นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกประจำกระทรวงศึกษาธิการ<br />
ผลงานที่สถาปนิกเหล่านี้สร้างในช่วงรัชกาลสุดท้ายแห่งสมัย<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มีอยู่หลายงานที่แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที<br />
บีบรัดจนงานออกแบบเป็นไปอย่างเรียบง่าย ขณะเดียวกันมันก็เป็น<br />
ผลงานสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ไปพร้อมกัน<br />
ผลงาน<br />
พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ออกแบบโดย<br />
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใน ค.ศ. 1930<br />
เป็นพระอุโบสถที่มีลักษณะเรียบง่าย สร้างด้วยคอนกรีตที่มีลวดลาย<br />
ประดับน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระอุโบสถวัดราชาธิวาสที ่ทรง<br />
ออกแบบเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเสาร่วม<br />
ในเรียงเป็นแถวนำไปสู่พระพุทธรูปหินสลักสมัยทวารวดีที่<br />
ประดิษฐานในซุ้มโค้งยอดแหลมที่ออกแบบเป็นห้องลึกเข้าไป<br />
อาจจะจงใจให้ดูเหมือนมณฑปของวัดโบราณที่พื้นที่ประดิษฐาน<br />
พระพุทธรูปจะถูกกันไว้เฉพาะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่างจากวัดไทย<br />
ยุคหลังทั่วๆ ไปที่พระพุทธรูปประดิษฐานในตำแหน่งที่ไม่มีอะไร<br />
ล้อมรอบเลย ลักษณะภายนอกด้านหน้าพระอุโบสถหลังนี้แม้จะมี<br />
ปั้นลมประดับจั่ว แต่ก็ทรงออกแบบลวดลายเป็นเพียงเค้าโครงของ<br />
ใบเทศเรียบๆ เพื่อความสะดวกในการหล่อด้วยคอนกรีต ลายประดับ<br />
หน้าบันเป็นธรรมจักรและกวางหมอบในลักษณะประติมากรรมนูนต่ ำ<br />
ที่มาจากการหล่อคอนกรีตเช่นเดียวกับใบเสมาที่ประดิษฐาน<br />
รับหน้าบันนั้น ผนังด้านอื่นมีเพียงเสาอิงเรียบๆ เป็นส่วนประดับ<br />
ความเรียบง่ายของพระอุโบสถนี้สถาปนิกบันทึกไว้เองว่ามาจากการ<br />
ที่ต้องประหยัดงบประมาณเป็นหลัก ไม่ได้เอ่ยอ้างถึงทฤษฎีการ<br />
ออกแบบใดๆ ทั้งสิ้น แต่ลักษณะการออกแบบเช่นนี้จะเป็นต้นแบบ<br />
ของวัดแบบ “เรียบง่าย” หรือสมัยใหม่สำหรับสถาปนิกรุ่นต่อๆ มา<br />
248 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผังพื้นพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์<br />
พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ (1930)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
249
ปฐมบรมราชานุสรณ์ (1932)<br />
ปฐมบรมราชานุสรณ์ที่สะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อเป็น<br />
พระบรมราชานุสรณ์ในพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จ<br />
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในคราวครบรอบอายุ150 ปีกรุงเทพฯ<br />
เมื่อ ค.ศ. 1932 องค์ประกอบสำคัญของพระบรมราชานุสรณ์นี้คือ<br />
พระบรมรูปขยาย 3 เท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />
ปั้นโดย นายคอร์ราโด เฟโรชี ประติมากรชาวอิตาเลียน และส่วนที่เป็น<br />
ฉากหลังที่ออกแบบโดย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />
ทรงออกแบบให้เป็นกำแพง 3 ช่วง ช่วงกลางสูง ริม 2 ข้างลดระดับ<br />
เล็กน้อย กำแพงช่วงกลางสร้างถอยลึกเข้าไปเล็กน้อย เน้นกรอบด้วย<br />
เสา 8 เหลี่ยมลอยตัว 2 ต้น รับคานทับหลังที่ประดับลวดลายพวงอุบะ<br />
มีพู่ห้อยแบบกรีก จึงดูเหมือนกรอบรูปที่รับพระบรมรูปที่อยู่ด้านหน้า<br />
ส่วนบนของกำแพงช่วงกลางนี้ยังทำซุ้มหลังคาทรงจั่วขนาดเล็ก<br />
ประดับพระราชลัญจกรของรัชกาลที่ 1 ลวดลายประดับผนังเป็น<br />
ลายแถบคาดแนวนอน แถบหนึ่งกว้างแถบหนึ่งแคบสลับกัน<br />
เวทีที่ประดิษฐานพระบรมรูปทำผนังฐานด้านหน้าเป็นประติมากรรม<br />
คล้ายเสาเพนียด จึงสอดรับกับส่วนกลางผนังที่มีตราช้างเผือก<br />
อยู่ในวงกลม ลักษณะโดยรวมของปฐมบรมราชานุสรณ์จึงเป็นโครง<br />
รูปแบบคลาสสิค ที่มีรายละเอียดตกแต่งแบบไทยร่วมกับลาย<br />
อาร์ตเด็คโค จึงเป็นสถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ที ่ดูสมัยใหม่และ<br />
โดดเด่นที่สุดของยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์และก็เป็นแห่งสุดท้ายด้วย<br />
250 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตึกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึ้น<br />
เพื่อเป็นอาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และ<br />
นิสิตเตรียมแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตามโครงการความช่วยเหลือ<br />
จากมูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์ ออกแบบโดยหลวงวิศาลศิลปกรรม<br />
ใน ค.ศ. 1927-1928 ผังอาคารเป็นรูปตัว U แต่ด้านหลังมีมุขกลาง<br />
ต่อออกมา ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น มี 2 มุขที่ริม 2 ข้าง<br />
เชื่อมด้วยอาคารกลางแบบคลาสสิค ผนังเรียบไม่มีการตกแต่ง<br />
แต่หลังคามุขทั้ง 2 กลับเป็นทรงจั่วมุงกระเบื้องแบบไทย มีปีกนกและ<br />
กันสาด 2 ชั้น แต่ไม่ประดับช่อฟ้าใบระกา จึงดูเหมือนกุฏิปูนสมัย<br />
รัชกาลที่3 เพื่อให้สอดคล้องกับตึกบัญชาการที่สร้างก่อนหน้านี้ 10 ปี<br />
ที่เป็นแบบไทย และหลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นผู้ช่วยสถาปนิกใน<br />
การเขียนแบบ แต่การกลับมาใช้ไวยกรณ์ผังตะวันตกครอบหลังคา<br />
ไทยที่ขาดเครื่องประดับในคราวนี้ เสร็จออกมาในลักษณะที่ไม่มี<br />
อะไรน่าสนใจไม่ว่าจะดูด้วยสายตาแบบสถาปัตยกรรมไทยหรือแบบ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ก็ดี<br />
บน ตึกคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (1927-1928)<br />
ล่างซ้าย หอนาฬิกา โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (1929)<br />
ล่างขวา แบบหอนาฬิกา โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย<br />
หอนาฬิกา โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย สร้างใน ค.ศ. 1929<br />
โดยหลวงวิศาลศิลปกรรม เป็นสถาปนิก ความจริงหากกล่าวว่าการ<br />
ออกแบบหอนาฬิกาแห่งนี้เป็นการแหวกแนวปฏิบัติก็คงไม่ถูกต้อง<br />
เพราะหอนาฬิกาไม่เคยมีอยู่ในสถาปัตยกรรมโบราณของสยาม<br />
ก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 หอนาฬิกาโรงเรียนวชิราวุธฯ จึงเป็นการ<br />
สร้างสรรค์ที่น่าสนใจของท่าน หอนาฬิกาคอนกรีตนี้สูง 2 ชั้น<br />
ผังทั้ง 2 ชั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีเสาใหญ่ประจ ำมุม 4 ต้น ลักษณะ<br />
อาคารเหมือนโต๊ะบูชา 2 ตัวตั้งซ้อนกัน ชั้นล่างมีขนาดใหญ่กว่า<br />
รับชั้นบนที่ย่อเล็กลง จุดเด่นอยู่ที่หลังคาจตุรมุขของหอนาฬิกาที่<br />
เป็นหน้าบันวงกลมปลายยอดแหลม ตรงกลางติดตั้งนาฬิกาขนาดใหญ่<br />
เต็มพื้นที่หน้าบันที่ล้อมด้วยปั้นลมใบระกาลายใบเทศคอนกรีตหล่อ<br />
ล้อมเป็นวงไปบรรจบที่ปลายยอดที่เป็นลาย ซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม<br />
ประดับตราพระราชลัญจกรวชิราวุธขนาดเล็ก ดูภาพรวมคล้าย<br />
ประตูวัดถ้ำอชันตาในอินเดียมาก ขณะเดียวกันก็เห็นถึงอิทธิพล<br />
ของศิลปะอาร์ตนูโวที่เคยเฟื่องฟูตอนปลายสมัยรัชกาลที่5 เช่นกัน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
251
แต่ทรวดทรงทั้งหมดแสดงออกมาในกรอบของรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมไทยคอนกรีตที่พยายามคงความละเอียดแบบงาน<br />
ปั้นปูนโบราณไว้มากที่สุด โดยไม่สนใจถึงการเปลี่ยนของวัสดุจาก<br />
ปูนปั้นโบราณไปเป็นคอนกรีต<br />
หอระฆังวัดยานนาวา ออกแบบโดยพระพรหมพิจิตร และ<br />
สร้างใน ค.ศ. 1934 ในรูปแบบที่ตรงข้ามกับหอระฆังไทยโบราณ<br />
อย่างสิ้นเชิง หอระฆังคอนกรีตสูง 2 ชั้น ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส<br />
ประกอบด้วยเสามุมขนาดใหญ่มาก 4 ต้น ที่มีขนาดโตเกือบเท่า<br />
ระยะห่างระหว่างเสาและค่อยๆ สอบขึ้นไปชั้น 2 ที่เสาเปลี่ยนเป็น<br />
ย่อมุมทำให้ดูเล็กลง ทุกด้านมีกรอบระเบียงพร้อมลูกกรงวางอยู่บน<br />
หัวเต้าแบบคานยื่น (cantilever) หลังคาเป็นซุ้มบันแถลงแบบจตุรมุข<br />
รูปทรงคล้ายโค้งหูตะกร้า วางบนชายคาคอนกรีตยื่น มีคันทวย<br />
รูปสามเหลี่ยมเป็นตัวเทินชายคาและซุ้ม ยอดหลังคาเป็นเจดีย์<br />
ทรงระฆัง 8 เหลี่ยมอ้วนล่ำประดับปลียอดสั้นๆ การประดับประดา<br />
มีน้อยมากเป็นลายกระจังคอนกรีตเล็กๆ เรียงตามขอบชายคา และ<br />
ลายใบเทศที่ขอบซุ้มบันแถลง รูปทรงหอระฆังดูเรียบง่ายและหยาบใน<br />
รายละเอียด ขณะที่มวลอาคารหนักและทึบ เป็นการออกแบบที่ตั้งใจ<br />
ท้าทายขนบโบราณอย่างน่าทึ่ง จนเรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรม<br />
ไทยสมัยใหม่ได้โดยไม่ลังเล<br />
หอระฆังวัดยานนาวา (1934)<br />
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัย<br />
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7<br />
รัชสมัยของรัชกาลที่ 7 เป็นยุคแห่งวิกฤตและโอกาส<br />
สภาพสังคมการเมืองที่ไร้เสถียรภาพ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
แก้ปัญหาการบริหารบ้านเมืองไม่ได้ผล ปัญญาชนและชนชั้นกลาง<br />
ในกรุงเทพฯ ต้องการระบอบประชาธิปไตย ขณะที่วิกฤตการณ์<br />
เศรษฐกิจมาซ้ำเติมให้ทุกอย่างย่ำแย่จนนำไปสู่การปฏิวัติของ<br />
กลุ่มคณะราษฎร แต่วิกฤตของบ้านเมืองก็สร้างโอกาสให้เกิด<br />
252 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
นวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมด้วย การใช้คอนกรีตสร้างอาคารแพร่หลาย<br />
อย่างกว้างขวางเพราะอย่างน้อยมันสามารถลดงบประมาณในการ<br />
ก่อสร้างได้ อาคารคอนกรีตที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้จึงมีทั้งอาคาร<br />
วิศวกรรมที่ออกแบบโดยวิศวกร ตึกแถวที่ออกแบบโดยช่างก่อสร้าง<br />
และสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ออกแบบโดยสถาปนิกรุ่นใหม่ชาวไทย<br />
ที่ศึกษาจากสถาบันสถาปัตยกรรมในยุโรป งานของคนทั้ง 3 กลุ่ม<br />
มีรูปแบบต่างกันแต่มีจุดประสงค์บางอย่างเหมือนกันคือมุ่งความ<br />
ประหยัดและประโยชน์ใช้สอย รูปทรงอาคารจึงเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยม<br />
ที่ไร้ลวดลายและสร้างด้วยคอนกรีต แต่งานของพวกสถาปนิกย่อม<br />
ดูโดดเด่นด้วยรูปทรงมากกว่ากลุ่มนักออกแบบอื่น อาคารที่สำคัญ<br />
ได้แก่ศาลาเฉลิมกรุงโดยหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากร งดงามด้วยการ<br />
ออกแบบผัง รูปทรงและโครงสร้างสมัยใหม่แบบอาร์ตเด็คโค<br />
มาตรฐานสากล โรงพยาบาลกลางที่ออกแบบชาร์ล เบกูลัง แสดงให้<br />
เห็นถึงการวางผังประโยชน์ใช้สอยที่ซับซ้อนลงในอาคารใหญ่หลังเดียว<br />
กล่าวได้ว่าเป็นตัวอย่างการวางผังแบบสถาปัตยกรรมสากลนิยม<br />
สมัยใหม่(International modern) รุ่นแรกของสยาม แม้ว่าการออกแบบ<br />
หน้าตาอาคารจะดูตรงไปตรงมาเกินไปก็ตาม โรงพยาบาลศิริราช<br />
ที่ออกแบบโดยพระสาโรชรัตนนิมมานก์ยังเห็นอิทธิพลผังแบบ<br />
สมมาตรอยู่มาก รวมทั้งรูปแบบอาคารที่มีทั้งแบบอิทธิพลคลาสสิค<br />
และอิทธิพลเรือนพื้นถิ่นในโครงสร้างใหม่ที่เป็นคอนกรีตแต่ในภาพรวม<br />
แล้วนับว่าเป็นอาคารที่ใช้งานได้ดีแม้ว่าจะดูไม่ทันสมัยนักอาคารที่<br />
กล่าวมานี้เป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของสยามยุค<br />
ทศวรรษ 1930 ที่เห็นชัดว่าสถาปนิกสยามยังไม่มีภาพรวมที่ชัดเจน<br />
ของแนวทางออกแบบ เพราะไม่ใช้ทฤษฎีเป็นตัวน ำทางการออกแบบ<br />
แต่ใช้รูปลักษณะ เทคนิค และงบประมาณเป็นตัวสร้างแบบ<br />
เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยของ<br />
กลุ่มสถาปนิกอนุรักษ์นิยมที่ไม่ได้ศึกษาสถาปัตยกรรมผ่านสถาบัน<br />
การศึกษา พวกเขาทำงานด้วยประสบการณ์ล้วนๆ และเรียนรู้บ้าง<br />
ผ่านการทำงานร่วมกับสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่<br />
รัฐบาลสยามจ้างในกรมกองต่างๆ ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปและวัสดุใหม่<br />
เช่นคอนกรีตก็ส่งผลต่อการทำงานของพวกเขาอย่างน่าทึ ่ง<br />
เราได้เห็นพระอุโบสถคอนกรีตที่เรียบเกลี้ยงเพื่อประหยัดงบประมาณ<br />
ที่ออกแบบโดย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />
ขณะเดียวกันก็ทรงออกแบบสถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ปฐมบรมราชา<br />
นุสรณ์ที่สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกร่วมกับคอร์ราโด เฟโรชี<br />
ในรูปแบบผสมระหว่างคลาสสิค ไทยประยุกต์และอาร์ตเด็คโคได้<br />
อย่างกลมกลืน สง่างาม และเรียบง่าย ต่างกับพระพรหมพิจิตร<br />
ซึ่งเป็นศิษย์และผู้ช่วยของพระองค์ที่ออกแบบหอระฆังวัดยานนาวา<br />
ที่แสดงออกถึงพละกำลังของรูปทรงคอนกรีตอย่างไม่เคยมีใคร<br />
ทำมาก่อนในงานพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมไทย ขณะที่หลวงวิศาล<br />
ศิลปกรรมบุคคลร่วมสมัยกับพระพรหมพิจิตรออกแบบหอนาฬิกา<br />
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในแบบสถาปัตยกรรมไทยคอนกรีตที่<br />
อ่อนช้อยเก็บรายละเอียดแบบวัสดุปูนปั ้นโบราณ แต่ก็เห็นอิทธิพล<br />
แบบอาร์ตนูโวอยู่เช่นกัน<br />
งานของสถาปนิกไทยทั้งหลายต่างแสดงออกถึงปฏิกิริยาที่<br />
มีต่อคอนกรีตในรูปแบบต่างๆ กัน ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ<br />
ที่นำมาซึ่งรูปทรงที่เรียบง่ายที่แสดงความสามารถระดับหนึ่ง<br />
ของพวกเขา แต่มีสิ่งหนึ่งที่พวกเขายังไม่มีนั่นคือการใช้ทฤษฎี<br />
สถาปัตยกรรมเป็นเครื่องนำทาง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
253
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล<br />
รัชกาลที่ 8 (1935-1946)<br />
สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง<br />
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ<br />
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1935 รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอันเชิญ<br />
เสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 1<br />
ในการสืบพระราชสันตติวงศ์ขึ้นครองราชย์ต่อไป ในขณะที่ทรงมี<br />
พระชันษาเพียง 8 ปี และประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์<br />
จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในการปฏิบัติพระราช<br />
กรณียกิจต่าง ๆ และทรงไม่ได้นิวัติพระนครเลยจนกระทั่งเดือน<br />
พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ซึ่งทรงประทับอยู่ในสยามเพียง 2 เดือน<br />
ก็เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาเป็น<br />
เวลา 7 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตร<br />
พระนครอีกครั้งหนึ่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลก<br />
ครั้งที่ 2 สงบลง แต่แล้วพระเจ้าอยู่หัวกลับเสด็จสวรรคตอย่าง<br />
กะทันหันและโศกสลด ด้วยต้องพระแสงปืนในวันที่ 9 มิถุนายน<br />
ค.ศ. 1946 นำมาซึ่งความโศกเศร้าสุดจะพรรณาของประชาชนไทย<br />
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (1925-1946)<br />
254 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
จอมพลป. พิบูลสงคราม (1897-1964)<br />
ในช่วงรัชกาลที่8 ที่ยาวนาน 12 ปีนั้น องค์พระมหากษัตริย์<br />
ประทับอยู่ในประเทศเพียง 2 ครั้งรวมเวลาเพียงปีเศษนี้ประเทศสยาม<br />
ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาล<br />
คณะราษฎรที่มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่<br />
วันที่16 ธันวาคม ค.ศ. 1938 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
มีเป้าหมายในการสร้างประเทศไทยที่เจริญรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่<br />
โดยการปลูกฝัง “รัฐนิยม” ให้คนไทยรักชาติ ทางสังคม เศรษฐกิจ<br />
วัฒนธรรม การเมือง และการทหาร รัฐบาลของเขามีนโยบายขยาย<br />
อาณาเขตไปสู่ดินแดนที่มีคนเชื้อชาติไทยอาศัยอยู่หรือเคยเป็น<br />
ประเทศราชของสยามมาก่อน เพื่อให้ประเทศไทยกลับมาเป็น<br />
มหาอาณาจักรไทย รัฐบาลของเขาจึงนำประชาชนไปสู่ลัทธิชาตินิยม<br />
เชื้อชาติไทย และนำประทศเข้าสู่สงครามร่วมกับฝ่ายอักษะที่นำ<br />
โดยจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นที่ต้องการเป็นเจ้าภูมิภาคเอเชีย จนประเทศไทย<br />
เกือบจะต้องหายนะจากการทำลายด้วยสงครามทางอากาศของ<br />
ฝ่ายสัมพันธมิตร แต่โชคชะตายังเข้าข้างประเทศไทยอยู่ที่มี<br />
กลุ่มต่อต้านรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นดำเนินการทั้งในและนอกประเทศ<br />
ที่เรียกตัวเองว่า “เสรีไทย” ได้ช่วยกันกอบกู้สถานะของประเทศ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
255
ให้พ้นจากพันธะสงครามร่วมกับฝ่ายอักษะที่จอมพลป. พิบูลสงคราม<br />
ได้ประกาศไว้ ประเทศไทยจึงรอดพ้นจากการถูกยึดครองของกอง<br />
กำลังสัมพันธมิตรเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1945<br />
ลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามกำจัดศัตรูทางการเมืองได้หมด<br />
สิ้นแล้ว กล่าวคือกบฏบวรเดชในฐานะศัตรูภายนอก ใน ค.ศ. 1933<br />
และกบฏพระยาทรงสุรเดชในฐานะศัตรูภายใน ใน ค.ศ. 1939<br />
อำนาจการบริหารประเทศก็ตกอยู่ในมือของเขาแต่ผู้เดียว จอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามมีความเชื่อว่าประเทศจะรุ่งเรืองได้ก็ต่อเมื่อ<br />
เกิดเอกภาพระหว่างพลเมืองและชาติ สิ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมคือ<br />
วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแบบชาตินิยมที่เชื่อฟังผู้นำ 46 นั่นคือนายก<br />
รัฐมนตรีตามรัฐนิยมที่รัฐบาลประกาศขึ้น 12 ฉบับ ระหว่าง ค.ศ.<br />
1939-1942 ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่เขาสร้างขึ้นเพื่อแทนที่พระราช<br />
อุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของพระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รัฐนิยมเริ่มด้วยการเปลี่ยน<br />
ชื่อเรียกประเทศและประชาชนจากสยามเป็นไทย การเคารพ<br />
สัญลักษณ์แห่งชาติ เช่น ธงชาติและเพลงชาติ การนิยมไทยด้วย<br />
การซื้อและขายสินค้าไทย รวมถึงการมีรูปแบบการแต่งกายและ<br />
มีกิจวัตรประจำวันที่ถูกที่ควร การเริ่มต้นของการสร้างลัทธิ<br />
ชาตินิยมของจอมพล ป. พิบูลสงครามเกิดจากเรื่องสำคัญที่ไม่ค่อย<br />
มีผู้ใดพูดถึงมากนัก เริ่มจากการที่สยามสามารถแก้ไขสนธิสัญญา<br />
สิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่เสียไปตั้งแต่ผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริง<br />
ใน ค.ศ. 1856 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้อย่างสมบูรณ์จากคู่สัญญา<br />
ทุกประเทศ สยามพยายามขอแก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้มาตลอด<br />
แต่ประเทศมหาอำนาจคู่สัญญาต้องการให้สยามจัดทำกฎหมาย<br />
สำคัญให้ครบถ้วนก่อน ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวล<br />
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ และ<br />
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ตั้งโดย<br />
รัฐบาลคณะราษฎรสามารถยกร่างกฎหมายทั้งหมดสำเร็จและ<br />
ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาใน ค.ศ. 1935 และดำเนินการเจรจาต่อ<br />
เพื่อให้ยกเลิกสัญญาในทันทีไม่ต้องรอการคงสิทธิพิเศษตาม<br />
สนธิสัญญาเดิมอีก 5 ปีตามเนื้อหาเดิม ซึ่งสยามสามารถเจรจาได้<br />
สำเร็จใน ค.ศ. 1937 47 นำมาซึ่งการตราพระราชบัญญัติว่าด้วย<br />
การขัดกันของกฎหมายในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1938 ยกเลิก<br />
สิทธิพิเศษของคนต่างชาติที่ไม่ต้องขึ้นศาลสยามออกเสียให้หมด<br />
ตามมาด้วยสยามมีอิสรภาพในการกำหนดอัตราภาษีอากรได้เอง 48<br />
ค.ศ. 1938 จึงเป็นปีแห่งเอกราชทางการศาลของสยาม นำมาซึ่ง<br />
ความปรีดาปราโมทย์อย่างยิ่งของรัฐบาลคณะราษฎรเพราะ<br />
สามารถทำในสิ่งที่รัฐบาลระบอบเก่าแก้ไม่ได้มายาวนาน เป็นจุด<br />
เริ่มต้นของโครงการชาตินิยมของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ด้วยความคิดจะสร้าง “อนุสาวรีย์สนธิสัญญา” หรือ “อนุสาวรีย์ไทย” 49<br />
เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่การมีเอกราชครั้งนี้ และเป็นการเติมเชื้อไฟ<br />
สำคัญในการสร้างลัทธิชาตินิยมด้วยนโยบาย“รัฐนิยม” ตามมาเป็นชุด<br />
ตั้งแต่ ค.ศ. 1939-1942 ดังกล่าว<br />
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศแนวคิดชาตินิยมเชื้อชาติ<br />
ไทยของเขาอย่างเป็นทางการในสุนทรพจน์แก่ประชาชนทาง<br />
วิทยุกระจายเสียงในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1939 เขาเริ่มด้วยการ<br />
ตำหนิระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าล้าหลัง 50 ขาดประสิทธิภาพ<br />
และเป็นเอกาธิปไตยซึ่งตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาล<br />
มาจากประชาชน มีประสิทธิภาพสูงและสากลนิยม เขาโอ้อวดต่อไป<br />
ถึงความสามารถในการบริหารประเทศของระบอบประชาธิปไตย<br />
ที่สามารถเพิ่มงบประมาณให้ประเทศได้มากกว่าระบอบเก่าถึงกว่า50%<br />
ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปีที่บริหารประเทศ คิดเป็นเงินได้ถึงกว่า<br />
46.52 ล้านบาท 51 นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้แก้สนธิสัญญาไม่เป็น<br />
ธรรมกับคู่สัญญามหาอำนาจต่าง ๆ ได้สำเร็จ นับเป็นยุคใหม่ของ<br />
ประเทศที่มีเอกราชทางการศาลและมีระบอบการเมืองที่มั่นคง<br />
เขาจึงขอเรียกร้องให้ชาวไทยเปลี่ยนแปลงตนเองทั้งความคิดและ<br />
การกระทำให้เข้ากับระบอบใหม่นี้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง<br />
แต่แล้วเขากลับหักมุมด้วยการกล่าวถึงการควบคุมเศรษฐกิจไทย<br />
256 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ของคนจีน 52 “การที่ชาติไทยถูกชาติจีนรุกไล่แตกมาจากศูนย์กลาง<br />
ของประเทศจีน” 53 และการกลืนชาติไทยของคนจีนโดยการ<br />
“ถูกเลือดของชนชาติอื่นเข้ามาผสม จนทำให้เลือดไทยจางลงไป<br />
ทุกขณะ” 54 และสดุดีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 6 ว่าทรงตระหนักในเรื่องนี้ดีและเตือนคนไทยให้รักชาติ<br />
ด้วยพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ 55 เช่น “เมืองไทยจงตื่นเถิด” และ “โคลง<br />
สยามานุสสติ” เป็นต้น ดังนี้จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงเป็น<br />
ผู้สืบสานลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
สู่ยุคประชาธิปไตย แต่ปรับปรุงให้เป็นการรักชาติตามแบบของ<br />
เขาที่เรียกว่าอุดมการณ์ “รัฐนิยม” ที่เขาจะประกาศต่อไป สุดท้าย<br />
เขาขอให้ชาวไทยช่วยกันสนับสนุนกองกำลังทหารให้เข้มแข็ง<br />
พร้อมรบเพื่อให้ชาติปลอดภัย 56<br />
การปลูกฝังลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยของจอมพล ป. พิบูล<br />
สงครามนับว่าได้ผลและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เรียกร้องดินแดน<br />
ในเขมรและลาวคืนจากฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1940<br />
ขณะที่ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ ำต่อเยอรมนีในสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่2<br />
ที่ยุโรป จอมพล ป. พิบูลสงครามได้กล่าวปราศรัยทางวิทยุว่า<br />
ประชาชนในแคว้นลาวและเขมรนั้นที่แท้จริงเป็นคนไทย 57 พวกเขา<br />
ถูกกดขี่ข่มเหงได้รับความทุกข์ยากไม่น้อยจากฝรั่งเศส และดินแดน<br />
ดังกล่าวนั้นเดิมเป็นของไทยที่ถูกฝรั่งเศสใช้กำลังยึดไปอย่าง<br />
อยุติธรรม ไทยจึงต้องการปรับปรุงเส้นเขตแดนกับฝรั่งเศสใหม่58<br />
ข้อเรียกร้องของไทยถูกฝรั่งเศสปฏิเสธ ขณะที่ได้รับการขานรับจาก<br />
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่แสดงออกด้วยการเดินขบวน<br />
สนับสนุน เหตุการณ์นำไปสู่การปะทะกันด้วยกำลังทหารทั้ง 2 ฝ่าย<br />
ตลอดแนวตะเข็บชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ ตั้งแต่ลาวจรดเขมร<br />
กองทัพบกไทยสามารถรุกเข้าอินโดจีนได้ในเดือนมกราคมค.ศ. 1941<br />
ยึดดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงในเขตลาวได้ 2 จังหวัด และ<br />
ยึดเมืองพระตะบองและเสียมราฐในเขตเขมรได้60 ขณะที่กองทัพ<br />
เรือไทยกลับพ่ายแพ้ที่เกาะช้าง รัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งขณะนั้นได้ส่ง<br />
กองทัพบุกยึดเวียดนามแล้ว เสนอตัวเป็นผู้ไกล่เกลี่ยจนคู่กรณี<br />
ตกลงสงบศึกกันได้ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ไทยได้<br />
ดินแดนที่ยึดครองไว้แต่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับฝรั่งเศสและ<br />
ต้องสร้างเขตปลอดทหารในฝั่งไทยด้วย ความปีติยินดีของไทย<br />
ยังไม่ทันจางหายกองทัพญี่ปุ่นก็เคลื่อนเข้าอินโดจีนตอนใต้ใน<br />
เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ไทยประกาศตัวเป็นกลาง 61 และเตือนว่า<br />
จะปกป้องดินแดนหากถูกรุกราน และแล้วญี่ปุ่นก็เปิดเผยโฉมหน้า<br />
จักรวรรดินิยมของตนอย่างไม่ปิดบัง โดยยกพลขึ้นบกบุกดินแดน<br />
ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์จนถึงปัตตานีในวัน<br />
ที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลังจากการโจมตีฐานทัพเรือของ<br />
สหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์เพียงไม่กี่ชั่วโมงและประกาศสงคราม<br />
มหาเอเชียบูรพา โดยอ้างว่าเพื่อขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปโจมตีพม่า<br />
และมาลายู หลังการต่อสู้อย่างกล้าหาญของทหารและพลเรือนใน<br />
พื้นที่ทุกแห่งที่ถูกบุกรุก รัฐบาลไทยก็สั่งหยุดยิงและหลังจากนั้นอีก<br />
13 วัน ไทยก็ลงนามในกติกาสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นในวันที่<br />
21 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เพื่อเป็นพันธมิตรทางทหารร่วมกับญี่ปุ่น<br />
ตามด้วยการประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาในวันที่<br />
25 มกราคม ค.ศ. 1942 62 ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />
เนื่องจากฝ่ายไทยเห็นว่าไม่มีทางต้านทานญี่ปุ่นได้และญี่ปุ่นกำลัง<br />
รุกรบได้ชัยชนะไปทั่วสมรภูมิเอเชียแปซิฟิก จึงเห็นเป็นโอกาสที่<br />
จะร่วมกับญี่ปุ่นสร้าง “ความไพบูลย์ในวงเขตต์” 63 นี้ ซึ่งต่อมาจะเป็น<br />
ที่มาของศัพท์ที่เรียกกันว่า “ร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา”<br />
ซึ่งตรงกับคำแปลภาษาของชื่อที่ริเริ่มใช้โดยฝ่ายญี่ปุ่นว่า “the<br />
Greater East Asia Co-Prosperity Sphere” ที่ใช้สำหรับอำพราง<br />
สงครามชิงความเป็นเจ้าแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของพวกเขา<br />
ความฮึกเหิมในการเป็นพันธมิตรสงครามกับญี่ปุ่นทำให้จอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามดำเนินการใหญ่ขึ้นไปอีก โดยการส่งกองกำลังบุกเข้า<br />
รัฐฉานในภาคตะวันออกของพม่าในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าไป<br />
ในพม่า การดำเนินสงครามครั้งนี้เป็นไปตามคติความเชื่อการฟื้นฟู<br />
มหาอาณาจักรไทยที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีคนเผ่าไทยอาศัยอยู่<br />
ในการนี้กองทัพไทยปะทะกับกองทัพของรัฐบาลจีนและกองทัพ<br />
อังกฤษ และสามารถครอบครองพื้นที่ได้สำเร็จในเดือนมกราคม<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
257
ค.ศ. 1942 ฝ่ายญี่ปุ่นนั้นต้องการผูกใจไทยไว้เป็นพันธมิตรต่อไป<br />
จึงสนองความต้องการสร้างมหาอาณาจักรไทยโดยการมอบดินแดน<br />
ในรัฐฉาน รวมทั้งมณฑลทางเหนือของมาลายูคือ กลันตัน ตรังกานู<br />
ปะลิศ และไทรบุรีที่สยามเคยยกให้อังกฤษสมัยรัชกาลที่ 5 ใน<br />
สนธิสัญญาระหว่างไทยกับญี่ปุ่นว่าด้วยอาณาเขตของไทยในมาลัย<br />
และภูมิภาคฉานเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1943 64<br />
หลังจากการเป็นพันธมิตรทางทหารกับไทยแล้วญี่ปุ่นเดินหน้า<br />
ต่อไปด้วยการรุกทางวัฒนธรรม มีการลงนามใน “ความตกลงทาง<br />
วัธนธัมระหว่างประเทสไทยกับประเทสยี่ปุ่น” ในเดือนตุลาคม<br />
ค.ศ. 1942 65 มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมความเข้าใจทางวัฒนธรรม<br />
ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเพื่อการ“จรรโลงวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออก”<br />
ซึ่งความจริงก็คือการลบล้างการครอบงำทางวัฒนธรรมของยุโรป<br />
และสหรัฐอเมริกาออกไป แล้วทดแทนด้วยวัฒนธรรมของญี่ปุ่น<br />
ในสัญญามีรายละเอียดในการแลกเปลี ่ยนผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษา<br />
นักประพันธ์ ศิลปิน นักการศาสนา นักแสดง นักดนตรี และนักกีฬา<br />
รวมทั้งกิจกรรมจัดแสดงทางวิทยาศาสตร์และวิจิตรศิลป์<br />
อุตสาหกรรมศิลป์ของทั้ง 2 ฝ่าย และที่สำคัญคือจะมีการจัดตั้ง<br />
“สถานวัธนธัม” ขึ้นในนครหลวงของทั้ง 2 ฝ่าย 66 ซึ่งจะเป็นที่มา<br />
ของโครงการสร้างศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทยขึ้นแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะ<br />
ตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 1943 ฝ่ายอักษะเริ่มอ่อนแอลงและเปลี่ยนจาก<br />
ฝ่ายรุกมาเป็นฝ่ายรับในทุกสมรภูมิ เริ่มด้วยสมรภูมิอิตาลีมุสโสนิลี<br />
ผู้นำพรรคฟาสซิสต์ถูกทหารจับกุมหมดอำนาจลงและอิตาลีต้อง<br />
ยอมแพ้ในเดือนกันยายน ส่วนกองทัพญี่ปุ่นที่ขยายแนวรบไปทั่ว<br />
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เริ่มหมดแรงรุกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม<br />
ค.ศ. 1942 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นแพ้ที่หมู่เกาะมิดเวย์ ในกรุงเทพฯ<br />
ตั้งแต่ปลายปีนั้นเองก็เริ่มถูกโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน<br />
รบของสหรัฐอเมริกา ทำความเสียหายอย่างหนักให้กับอาคารบ้าน<br />
เรือนและชีวิตประชาชน ยิ่งไปกว่านั้นญี่ปุ่นลงทุนท ำสงครามจนหมดตัว<br />
และต้องใช้วิธีขอกู้จากไทยตั้งแต่ ค.ศ. 1941-1945 เป็นเงินถึง<br />
1,530 ล้านบาท มากกว่าเงินงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีของไทย<br />
เสียอีก และใช้คืนไทยโดยวิธีพิมพ์ธนบัตรไทยเสียเอง ทำให้เกิด<br />
ภาวะเงินเฟ้อราคาสินค้าสูงขึ้นและขาดแคลน ขณะที่ค่าเงินตกต่ำ<br />
ทำให้ไทยอยู่ในสภาวะ “ข้าวยาก หมากแพง” ความเดือดร้อนทั้งหลาย<br />
ที่เกิดจากการดำเนินนโยบายบายที่ทะเยอทะยาน ชาตินิยมจัด<br />
และทำสงครามขยายอาณาเขตของไทย ทำให้รัฐบาลจอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามเริ่มนโยบายตีจากญี่ปุ่น โดยเริ่มด้วยแผนสร้าง<br />
เมืองหลวงใหม่ที่เพชรบูรณ์เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนย้ายออกจาก<br />
เมืองหลวงไปตั้งในเขตป่าเขาเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น โดยหลอกญี่ปุ่นว่า<br />
เป็นการรักษาศูนย์บัญชาการทหารร่วมระหว่างไทยกับญี่ปุ่นไว้<br />
ในกรณีที่กรุงเทพฯ ถูกโจมตีจนเสียหายหนัก 67 ความเสื่อมความนิยม<br />
ในญี่ปุ่นยังปรากฏในจดหมายลับของหลวงวิจิตรวาทการรัฐมนตรี<br />
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่มีถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
เปิดเผยทัศนะของเขาที่มีต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นและการแลกเปลี่ยน<br />
วัฒนธรรมต่อกันในเชิงดูหมิ่นดูแคลนทั้งสิ้นเช่น สินค้าญี่ปุ่นที่คนไทย<br />
ชอบนั้นเป็นสินค้าเลียนแบบจากตะวันตกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น<br />
เพลง ภาพยนตร์ หรือละครก็ตาม ส่วนวัฒนธรรมญี่ปุ่นแท้ๆ เช่น<br />
ละครโน๊ะ คาบูกิ หรือพิธีเลี้ยงน้ำชาล้วนเป็นสิ่งที่คนไทยจะเห็นเป็น<br />
ของตลกขบขันทั้งนั้น ยิ่งเผยแพร่ไปเท่าไรก็ยิ่งจะเป็นเรื่องตลกมากขึ้น<br />
และคนไทยนั้นยิ่งรู้จักญี่ปุ่นมากขึ้นเพียงไรก็ยิ่งเกลียดญี่ปุ่นมากขึ้น<br />
เพียงนั้น 68 ส่วนการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในญี่ปุ่นก็แสดงไปอย่างผิด ๆ 69<br />
ไม่ว่าจะเป็นการเขียนลายไทยประกอบรูปภาพ การอธิบายประวัติ<br />
สถานที่ในประเทศไทยและการอธิบายรูปละครฟ้อนรำ เป็นต้น<br />
นโยบายตีสองหน้าของรัฐบาลไทยร่วมกับการจัดตั้งฝ่ายต่อต้าน<br />
ญี่ปุ่นขึ้นภายในและภายนอกประเทศของกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเอง<br />
ว่า “เสรีไทย” ที่ประกอบด้วยบุคคลภายในรัฐบาลและฝ่ายที่ต่อต้าน<br />
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งผลให้ไทยเพิกเฉยต่อการช่วยเหลือ<br />
ญี่ปุ่นและปล่อยให้ญี่ปุ่นทำสงครามต่อไปอย่างโดดเดี่ยวจนหมด<br />
แรงพ่ายแพ้ไปเอง ส่วนรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น<br />
โครงการเมืองหลวงใหม่เพชรบูรณ์ที่คร่าชีวิตคนงานไป 4,040 คน<br />
และป่วย 14,316 คน ในช่วง 6 เดือนของ ค.ศ. 1944 ในที่สุดก็<br />
258 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร มีผลให้จอมพล ป. พิบูลสงครามต้องลาออก<br />
จากการเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1944<br />
หมดอำนาจทางการเมืองไปก่อนที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้อย่างราบคาบ<br />
ต่อสัมพันธมิตรในอีก 1 ปีต่อมา ส่วนประเทศไทยเอาตัวรอดได้<br />
จากการเป็นประเทศผู้ร่วมก่อสงครามได้ด้วยการเจรจาของรัฐบาล<br />
พลเรือน และข้ออ้างที่ว่าการประกาศสงครามของจอมพล ป. พิบูล<br />
สงครามเป็นโมฆะ เพราะเป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของ<br />
ประชาชนชาวไทย 70 และฝ่าฝืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ<br />
แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า<br />
เพื่อเอาตัวรอดของไทยได้อีกครั้งหนึ่ง<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่สมัยรัชกาลที่ 8<br />
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีลงวันที่24 มิถุนายน ค.ศ. 1939<br />
กำหนดให้เรียกชื่อประเทศนี้ว่า “ประเทศไทย” 71 เพื่อให้ถูกต้องตาม<br />
เชื้อชาติและความนิยมของประชาชนชาวไทย เป็นสัญญาณของ<br />
การเริ่มต้นแผนนำประเทศสู่ยุคใหม่ตามหลัก 6 ประการของคณะ<br />
ราษฎร ที่ประกาศไว้เมื่อ 7 ปีก่อนที่ได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการ<br />
ปกครองแผ่นดิน หลังจากกำจัดเสี้ยนหนามทางการเมืองจนสงบ<br />
ราบคาบ จอมพล ป. พิบูลสงครามครองอำนาจการบริหารประเทศ<br />
ไว้ทั้งหมดแต่ผู้เดียว การดำเนินการให้ประเทศมีความเจริญ<br />
ก้าวหน้าเป็นอารยะและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันจะนำไปสู่<br />
ความมีวัฒนธรรมสูงส่งของพลเมืองก็ได้เริ่มขึ้น ในเรื่องเกี่ยวกับ<br />
การก่อสร้างนั้น รัฐบาลได้สร้างอาคารสาธารณะประเภทต่าง ๆ<br />
ขึ้นมาเป็นจำนวนมากทั้งที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่อาคาร<br />
เพื่อการศึกษา อาคารพาณิชย์ อาคารไปรษณีย์ ไปจนถึงศาล และ<br />
ศาลาว่าการจังหวัด สถาปนิกที่ออกแบบมีทั้งสถาปนิกรุ่นก่อน<br />
เปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น พระสาโรชรัตนนิมมานก์แห่งกรม<br />
ศิลปากร และสถาปนิกรุ่นใหม่ เช่น นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์<br />
และม.ล.ปุ่ม มาลากุล ที่ศึกษามาจากอีโคลเดอโบซาร์แห่งฝรั่งเศส<br />
รวมทั้งนายอี มันเฟรดี้ (E. Manfredi) สถาปนิกที่รับราชการที่กรม<br />
ศิลปากรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ในช่วงเริ่มต้นประชาธิปไตยนี้<br />
พวกเขาได้เสนอแนวทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แบบคลาสสิค<br />
ที่เรียบเกลี้ยง (stripped classicism) ที่มาจากอิทธิพลของพวก<br />
สถาปนิกฟาสซิสต์อิตาเลียนร่วมสมัย รวมทั้งแนวอาร์ตเด็คโค<br />
ที่แพร่หลายทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา ลักษณะเด่นในการออกแบบ<br />
ของพวกเขาคือการนำประติมากรรมทั้งประเภทลอยตัวและนูนสูง<br />
มาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาคาร ซึ่งส่วนมากเป็นฝีมือของ<br />
ประติมากรอิตาเลียน คอร์ราโด เฟโรชีที่ต่อมาได้เปลี่ยนสัญชาติและ<br />
ชื่อมาเป็นไทยว่า ศิลป์พีระศรีใน ค.ศ. 1944 และบรรดาศิษย์ของเขา<br />
ที่โรงเรียนศิลปากรที่ต่อมาจะกลายเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรใน<br />
ค.ศ. 1943 ที่เขาเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาประติมากรรมและ<br />
จิตรกรรม ผลงานลักษณะนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของลัทธิสังคม<br />
ชาตินิยมหรือฟาสซิสต์ร่วมสมัยของอิตาลี พวกเขาทำงานโดยมี<br />
แนวคิดที่ไม่ใช่แบบสากลนิยมสมัยใหม่ (International modern)<br />
แต่รองรับด้วยแนวทางประวัติศาสตร์ชาตินิยมเชื้อชาติไทย ของ<br />
รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและหลวงวิจิตรวาทการ ยกเว้น<br />
งานของอี มันเฟรดี้ที่ดูแตกต่างจากคนอื่นที่เราจะเห็นร่องรอยการ<br />
ออกแบบในแนวสากลนิยมสมัยใหม่ของพวกเบาเฮาส์อยู่บ้าง แต่<br />
ก็เป็นการออกแบบที่ไม่มีอรรถาธิบายที่มาของรูปแบบที่ชัดเจน<br />
ประการใด<br />
ผลงาน<br />
ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
ออกแบบโดยวิศวกรพระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) อาจารย์<br />
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1935 เป็นอาคาร 2 ชั้น<br />
ผังรูปตัว H ส่วนกลางเป็นโถงทางเข้าใหญ่ที่มีบันไดอยู่ด้านในสุด<br />
มุขริม 2 ข้างเป็นห้องเรียนใหญ่เชื่อมด้วยอาคารกลางที่แบ่งเป็น<br />
ห้องเรียนเล็กหลายห้อง มีระเบียงทางเดินอยู่ด้านหน้าซึ่งเป็น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
259
แบบทัศนียภาพคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1935)<br />
ผังพื้นชั้นล่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
วิธีออกแบบแนวคลาสสิคโบราณ ที่แปลกคือโครงสร้างอาคารเป็น<br />
แบบผนังก่ออิฐรับน้ำหนักอวดผิวอิฐ ขณะที่โครงสร้างพื้นและ<br />
หลังคาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นอาคารที่สร้างตามหลักเหตุผลและ<br />
ประโยชน์ใช้สอยล้วนปราศจากการตกต่ง ถึงกระนั้นที่ผนังโถงกลาง<br />
ยังประดับภาพประติมากรรมนูนต่ำหล่อคอนกรีต 4 ภาพ<br />
ปั้นโดย “โรงเรียนศิลปากร” แสดงภาพการทำงานของเครื่องจักรกล<br />
ประเภทต่าง ๆ ที่เป็นสาขาการศึกษาของคณะวิชานี้โดยมีฉากหลัง<br />
เป็นท้องทุ่งและวัดของชนบทไทย แสดงความหวังในอนาคตที่<br />
เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของสังคมไทยตามแนวคิดของจอมพล<br />
ป. พิบูลสงคราม อาคารหลังนี้จึงมีลักษณะของอาคารสมัยใหม่แบบ<br />
โรงงานอุตสาหกรรมในยุโรปทั่วไป ขณะที่ภาพนูนต่ำที่โถงกลาง<br />
แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอาร์ตเด็คโคผสมฟาสซิสต์ร่วมสมัยของอิตาลี<br />
260 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซ้าย ตึกหนึ่งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา<br />
(1935-1936)<br />
ล่าง ฝังพื้นชั้นล่างตึกหนึ่ง<br />
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา<br />
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับหลักสูตร<br />
การศึกษาใหม่ของรัฐบาลที่เรียกว่า “หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา”<br />
เพื่อใช้เวลา 2 ปีเตรียมนักเรียนที่จบชั้นมัธยม 6 ปี ให้พร้อมสำหรับ<br />
การเรียนมหาวิทยาลัย ตามแนวคิดของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล<br />
โรงเรียนในยุคแรกประกอบด้วยอาคาร 3 หลังเรียงต่อกันเป็นแถวจาก<br />
ทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกในแนวตั้งฉากกับถนนพญาไทด้านหนึ่ง<br />
และถนนอังรีดูนังต์อีกด้านหนึ่งเรียกชื่อว่าตึกหนึ่ง ตึกสอง และตึกสาม<br />
ตึกหนึ่ง ตั้งติดกับถนนพญาไท สร้างระหว่าง ค.ศ. 1935-1936<br />
เป็นอาคาร 2 ชั้น ผังรูปตัว H มีมุขที่หัวท้ายเชื่อมด้วยอาคารกลาง<br />
ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องเรียนเล็กเรียงเป็นแถว มุขหัวท้ายเป็น<br />
ห้องเรียนใหญ่มีอัฒจรรย์ฟังบรรยายและห้องพักครู ทางเข้าอยู่ที ่<br />
ริมมุข 2 ข้างแบบสมมาตร ลักษณะอาคารเป็นทรงกล่องคอนกรีต<br />
เรียบเกลี้ยง มีระเบียงด้านหน้ายาวตลอดแบบโรงเรียนทั่วไปแต่เสา<br />
ระเบียงมีขนาดเล็กกว่าอาคารยุคก่อนมาก หลังคามีขอบบังให้ดู<br />
เป็นหลังคาตัดแต่ความจริงมุงกระเบื้องไม่ใช่หลังคาคอนกรีตจริง<br />
โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแต่พื้นเป็นไม้ พื้นชั้นล่าง<br />
ยกสูงจากดิน 0.50 เมตร เพื่อกันน้ำท่วม ผนังด้านหน้าติดถนน<br />
พญาไทเจาะช่องหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมทรงแคบยาวในแนวดิ่งเป็น<br />
ชุด 3 บาน บานกลางกว้างเป็น v 2 เท่าของบานริมจึงคงไวยกรณ์<br />
แบบหน้าต่างพาลลาเดียนแบบคลาสสิคอยู่ แม้ว่าทรวดทรงอาคาร<br />
และช่องเปิดจะดูเป็นแบบอาร์ตเด็คโคแต่ลักษณะระเบียงเปิดยาว<br />
ดูคล้ายงานของสากลนิยมสมัยใหม่ (International modern)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
261
ตึกสอง สร้างใน ค.ศ. 1938-1939 ในแบบ ผังเป็นรูปตัว T<br />
กลับหัว แกนนอนประกอบด้วยห้องเรียนเรียงกัน 12 ห้องเหมือนกัน<br />
ทั้ง 2 ชั้น ด้านหน้าตรงกลางเป็นมุขทางเข้าที่มีห้องเรียนขนาบ<br />
2 ข้าง ด้านหลังเป็นห้องโถงประชุมใหญ่สูง 2 ชั้น จุดเด่นของ<br />
อาคารอยู่ที่ผนังของมุขทางเข้าในแบบอาร์ตเด็คโค ที่ทำเป็นผนัง<br />
3 ส่วน ตรงกลางสูงริม 2 ข้างลดระดับเล็กน้อย ผนังชั้นบนตรงกลาง<br />
เจาะช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมแคบยาวแนวดิ่ง 3 ช่อง ชั้นล่างเป็นประตู<br />
ทางเข้า ผนังริม 2 ข้างเจาะช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมแคบยาวแนวดิ่ง<br />
3 ช่องสูงตลอด 2 ชั้น ขณะที่อาคารแกนนอนเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยม<br />
เรียบเกลี้ยง ด้านหน้ามีระเบียงยาวตลอดมีเสาระเบียงเรียงเป็นแถว<br />
ผนังด้านหลังเจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมแบ่ง 2 ส่วน ส่วนบนเป็น<br />
ช่องแสงกว้าง 1 ใน 3 ของส่วนล่าง โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
แต่พื้นเป็นไม้แบบเดียวกับตึกหนึ่ง ลักษณะผังตัว T และรูปด้านหน้า<br />
แบบ 3 ส่วนกลางสูงริมลดนี้จะปรากฏในอาคารราชการสำคัญ<br />
อีกหลายแห่งในช่วงเวลานี้ดังจะได้กล่าวต่อไป<br />
บน ตึกสอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา<br />
กลาง ผังพื้นตึกสอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา<br />
ล่าง รูปด้านหน้าตึกสอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา<br />
262 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ตึกสาม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (1935-1939)<br />
ล่าง ผังพื้นตึกสาม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา<br />
72<br />
ตึกสาม ออกแบบและสร้าง ค.ศ. 1940-1941 โดย อีมันเฟรดี้<br />
ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวมีห้องเรียนวางเรียงกันชั้นละ 13 ห้อง<br />
จำนวน 2 ชั้น ปลายตึกทิศตะวันตกเป็นห้องบรรยายใหญ่<br />
ส่วนปลายทิศตะวันออกเป็นบันได ลักษณะอาคารเป็นทรงกล่อง<br />
คอนกรีตเรียบเกลี้ยงเหมือน 2 ตึกแรก แต่ที่แปลกไปคือระเบียง<br />
ด้านหน้าชั้นล่างมีเสาระเบียงเรียงเป็นแถวยาว ขณะที่ชั้นบนเสา<br />
ระเบียงไปหยุดอยู่ที่ระดับพนักที่สูงแค่เอว จึงทำให้ระเบียงชั้นบน<br />
เป็นระเบียงโล่งปลอดเสา เหมือนแนวคิดหน้าต่างลักษณะแถบยาว<br />
(band window) ที่ไร้เสาแบ่งช่วง เพราะผนังแยกจากโครงสร้าง<br />
แบบสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ของสำนักเบาเฮาส์และ<br />
เลอคอร์บูซิเอร์ ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่มีมาก่อนในประเทศไทย<br />
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นโรงเรียนระบบใหม่ของรัฐบาล<br />
คณะราษฎร และยังเป็นโรงเรียนสหศึกษาโรงเรียนแรกของ<br />
ประเทศไทย นับว่าเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยใหม่ในการศึกษาระดับ<br />
มัธยมปลายของรัฐบาลประชาธิปไตย แม้ในความเป็นจริงการ<br />
ก่อสร้างโรงเรียนนี้มีอุปสรรคมากมายในเรื่องที่ดินและเงินทุนรวมทั้ง<br />
ภาวะสงคราม แต่โรงเรียนก็สามารถสร้างเสร็จจนได้ในรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยง<br />
อาร์ตเด็คโค และสากลนิยมสมัยใหม่<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
263
บน สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ (1938)<br />
ล่าง รูปด้านหน้าสนามศุภชลาศัย<br />
สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ ออกแบบโดย<br />
สถาปนิกจิตรเสน อภัยวงศ์และพระสาโรชรัตนนิมมานก์73 คอร์ราโด<br />
เฟโรชีเป็นประติมากร สร้างเสร็จ ค.ศ. 1938 การสร้างสนามกีฬา<br />
เป็นอีกนโยบายสำคัญที่คณะราษฎรได้ประกาศไว้ในหลัก 6 ประการ<br />
ว่าด้วยหลักการศึกษา ที่ว่าจะจัดให้การพลศึกษาแพร่หลายใน<br />
โรงเรียนทั่วไปตลอดจนประชาชน และให้ผลแห่งการพลศึกษานี้ได้<br />
เป็นประโยชน์ทั้งทางกายและใจ 74 ทั้งนี้ก็เพื่อการสร้างชาติซึ่ง<br />
ขึ้นอยู่กับประชาชนทุกคนที่มีร่างกายแข็งแรง มีวัฒนธรรมดี<br />
สามารถประกอบอาชีพให้รุ่มรวย ชาติไทยก็จะดีตามไปด้วย 75<br />
กรีฑาสถานแห่งชาติใช้จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาทุกระดับและ<br />
เป็นที่ตั้งของกรมพลศึกษา ซึ่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลคณะราษฎรตั้งแต่<br />
วันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1933 สถานที่นี้ประกอบด้วยสนามหญ้า<br />
สำหรับแข่งขันกีฬาพร้อมด้วยลู่วิ่งล้อมรอบสนามที่มีลักษณะคล้าย<br />
ตัวอักษร D ในตอนเริ่มแรกมีอัฒจรรย์สำหรับผู้ชมเพียง 2 ด้าน<br />
คือ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ สร้างเป็นขั้นบันไดคอนกรีตหันหน้า<br />
สู่สนาม อัฒจรรย์ด้านทิศเหนือติดถนนพระราม 1 เป็นทางเข้าด้าน<br />
หน้าของสนามกีฬานี้ออกแบบผนังรับอัฒจรรย์เป็นกำแพงสูงแบบ<br />
3 มุข มุขกลางเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่แบ่งเป็น 3 ส่วน มีเสาอิง<br />
ประดับ 4 ต้น ต้นริม 2 ข้าง เป็นเสาขนาดใหญ่บนยอดมี<br />
ประติมากรรมนูนสูงรูปพระพลบดี76 เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่แสดงถึง<br />
ปัญญาอันแหลมคมในการเอาชนะอุปสรรคขจัดปัญหาทรงช้าง<br />
เอราวัณประดับ หากเปรียบเทียบรูปแบบกับประติมากรรม<br />
264 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซ้าย ประติมากรรมพระพลบดี (1938)<br />
ขวา ประติมากรรม Men of Hackney<br />
(1938)<br />
“Men of Hackney” ของอนุสรณ์สถานสงครามโลกหน้าโบสถ์<br />
เซนต์จอห์นแห่งแฮคนีย์ในกรุงลอนดอน 77 (War Memorial, St. Johnat-<br />
Hackney Chuurchyard, London) โดยประติมากรเฮอร์มอน คาวธรา<br />
(Hermon Cawthra) ค.ศ. 1921 ที่คล้ายกันแต่ขนาดเล็กกว่ามาก<br />
รูปทรงของพระพลบดีจะถูกคุมด้วยเส้นเหลี่ยมแบบอาร์ตเด็คโค<br />
มากกว่า มุขริมสุดทั้ง 2 ข้างของกำแพงทำเป็นรูปป้อม ทั้ง 3 มุข<br />
เชื่อมด้วยแนวกำแพงที่ประดับเสาอิงเซาะร่องขนาดใหญ่แบบคลาสสิค<br />
เรียงต่อเป็นแถว พื้นที่ระหว่างเสาอิงเป็นช่องหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้าเรียงทางตั้งสูงขึ้นไปตามแนวเสา ลักษณะสถาปัตยกรรมโดย<br />
รวมเป็นแบบคลาสสิคที่เรียบง่ายผสมอาร์ตเด็คโคที่นิยมกันใน<br />
อิตาลีและเยอรมนีขณะนั้น และในอังกฤษก่อนหน้านั้น 2 ทศวรรษ<br />
นับเป็นอาคารรุ่นแรก ๆ ที่ใช้ประติมากรรมขนาดใหญ่มาเป็น<br />
ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม และสะท้อนอิทธิพลของประติมากร<br />
คอร์ราโด เฟโรชีและศิษย์แห่งโรงเรียนศิลปากรภายใต้การบังคับบัญชา<br />
ของหลวงวิจิตรวาทการอธิบดีกรมศิลปากร ที่มีต่อการออกแบบ<br />
ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมที่สำคัญของรัฐบาลในยุคนั้น<br />
ศาลแขวงสงขลา ออกแบบโดย จิตรเสน อภัยวงศ์78 และ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์79 ใน ค.ศ. 1936 สร้างระหว่าง ค.ศ. 1937-<br />
1941 เป็นอาคาร 2 ชั้น ผังรูปตัว T ประกอบด้วยมุขกลางและ<br />
ปีก 2 ข้าง โถงกลางใหญ่เป็นห้องพิจารณาคดีมีทางเดินรอบปีก 2 ข้าง<br />
เป็นห้องทำงานของผู้พิพากษาและเสมียนศาล ลักษณะผังแบบเดียว<br />
กับศาลเชียงใหม่ที่พระสาโรชรัตนนิมมานก์ออกแบบตั้งแต่ ค.ศ. 1935<br />
กล่าวคือเอาห้องพิจารณาคดีไว้ตรงกลางและล้อมรอบด้วยห้องธุรการ<br />
เป็นวิธีการออกแบบที่สามารถย้อนกลับไปได้ถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 5<br />
เช่น ศาลเมืองสิงห์บุรีที่สร้าง ค.ศ. 1908-1910 แต่ในศาลแขวง<br />
สงขลานี้สถาปนิกดัดแปลงผังเก่าแล้วใส่รูปด้านแบบใหม่เข้าไป<br />
จุดเด่นอยู่ที่มุขกลางที่มีผนังแบบ 3 ส่วน ตรงกลางสูง ริม 2 ข้าง<br />
ลดระดับลงมาเล็กน้อย ผนังส่วนกลางนี้ยังคงลักษณะไวยกรณ์แบบ<br />
ประตูชัย (triumphal arch) อย่างชัดเจน กล่าวคือมีรูปทรงเกือบเป็น<br />
สี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางโปร่งเจาะช่องหน้าต่าง<br />
ส่วนริม 2 ข้างทึบมีเสาอิงเป็นตัวเน้นจังหวะ ส่วนที่เป็นปีก 2 ข้าง<br />
เจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมเรียบ ๆ ให้ภาพรวมอาคารเป็นกล่อง<br />
สี่เหลี่ยมแบบคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยงผสมกับอาร์ตเด็คโค<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
265
โดยพิจารณาศิลปะแบบแรกจากผังที่สมมาตร และองค์ประกอบ<br />
คลาสสิคที่ตัดลวดลายออก ส่วนลวดลายเรขาคณิตที่ปรากฏบางอย่าง<br />
แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะแบบหลัง ลักษณะการออกแบบรูปด้าน<br />
อาคารแบบผนังมุขกลาง 3 ส่วนกลางสูงริมลดระดับนี้นอกจากมาจาก<br />
ต่างประเทศที่มีมากมายแล้ว เรายังเห็นได้จากการเริ่มต้น<br />
ที่ฉากหลังพระปฐมบรมราชานุสรณ์สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />
โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ค.ศ. 1932<br />
ต่อมาที่ตึก 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ค.ศ. 1938 และที่สนาม<br />
ศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ โดยจิตรเสน อภัยวงศ์ ค.ศ. 1938<br />
ซึ่งความจริงสองตึกหลังน่าจะได้อิทธิพลจากศาลแขวงสงขลานี้<br />
ที่ออกแบบก่อนใน ค.ศ. 1936 แต่ลงมือสร้างช้ากว่าหรือไม่ก็เป็น<br />
ความนิยมร่วมยุคที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในสถาปนิกหลายคน<br />
ที่น่าสนใจก็คือการออกแบบลักษณะนี้จะถูกพัฒนาและปรากฏอีก<br />
ในรูปแบบสมบูรณ์มีประติมากรรมประกอบที่ศาลากลางจังหวัด<br />
พระนครศรีอยุธยา หรือในแบบผนังเกลี้ยง ๆ ของอาคารหอประชุม<br />
และโรงเรียนของราชการหลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด<br />
เช่น ที่จังหวัดลพบุรี เป็นต้น<br />
บน ศาลแขวงสงขลา (1936-1941)<br />
ล่าง ผังพื้นศาลแขวงสงขลา<br />
266 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ที่ทำการไปรษณีย์กลาง<br />
บางรัก (1938-1940)<br />
ล่างซ้าย ประติมากรรมครุฑ<br />
ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก<br />
(1938-1940)<br />
ล่างขวา ผังพื้น ที่ทำการไปรษณีย์กลาง<br />
บางรัก<br />
ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก สถาปนิกจิตรเสน อภัยวงศ์<br />
และพระสาโรชรัตนนิมมานก์80 ออกแบบระหว่าง ค.ศ. 1934-1940<br />
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ผังรูปตัว E ประกอบด้วย<br />
มุขกลางใหญ่และมุขริมเล็ก 2 ข้างที่ดูคล้ายป้อมทั้งหมด ทั้ง 3 มุข<br />
เชื่อมด้วยอาคารยาวที่อวดโครงสร้างเสาลอยตัวเรียงเป็นแถว<br />
จุดเด่นของอาคารคือมุขกลางที่คล้ายป้อมขนาดใหญ่แบบประตูชัย<br />
ประยุกต์ มีเสาและทับหลังล้อมเป็นกรอบตัดกับพื้นที่ช่องประตู<br />
หน้าต่างที่โปร่งเบา โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนทางตั้งด้วยเสา 2 ต้น และ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
267
บน ศาลาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1939-1941)<br />
ล่าง ผังพื้น ศาลาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />
2 ส่วนทางนอนด้วยคานทับหลังใหญ่ ครึ่งบนทำเป็นช่องแสงและ<br />
ครึ่งล่างเป็นประตูทางเข้าใหญ่ มุมบนสุดของมุขกลางทั้ง 2 ข้าง<br />
ประดับประติมากรรมคอนกรีตหล่อรูปครุฑในร่างมนุษย์กำยำใหญ่<br />
ฝีมือประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี การเน้นผิวผนังอาคารให้ดูหนัก<br />
แน่นโดยการตีเส้นปูนฉาบเป็นช่องสี่เหลี่ยมใหญ่เหมือนกรุด้วยหินตัด<br />
ความสมมาตรและเรียบเกลี้ยง การใช้มุขแบบประตูชัยประยุกต์<br />
แสดงลักษณะสถาปัตยกรรมคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยงในขณะที่เส้นสาย<br />
ของประติมากรรมรูปครุฑในแบบเรขาคณิตที่เข้มแข็งและขึงขังนั้น<br />
แสดงศิลปะอาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์ร่วมสมัยของอิตาลี ลักษณะ<br />
การออกแบบมุขกลางรูปป้อมที่เป็นกรอบทึบตัดกับพื้นที่ช่อง<br />
หน้าต่างโปร่ง และแบ่งพื้นที่หน้าต่างเป็น 3 ส่วนทางตั้งด้วยเสา<br />
2 ต้นนี้ เราจะพบอีกในงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ที่โรงแรม<br />
รัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลางและที่ตึกคณะเภสัชศาสตร์<br />
หลังเดิม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสร้างในช่วงนี้เช่นเดียวกัน<br />
ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกแบบโดย<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์81 และประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี ใน<br />
ค.ศ. 1939 สร้างเสร็จ ค.ศ. 1941 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
2 ชั้น ผังรูปตัว T วางแนวนอน ด้านหน้าเป็นโถงใหญ่ที่ต่อไปด้าน<br />
หลังที่เป็นส่วนหางของรูปตัว T จุดเด่นของอาคารอยู่ที่ผนัง<br />
ด้านหน้าในแบบผนัง 3 ส่วน ส่วนกลางกว้าง 5 ส่วนและสูงที่สุด<br />
ส่วนริมถัดมา 2 ข้าง กว้าง 1 ส่วน และลดความสูงลง 1 ระดับ<br />
ส่วนริมนอกสุด 2 ข้าง กว้าง 2 ส่วน และลดความสูงลงมาอีก 1 ระดับ<br />
เน้นผนังส่วนกลางโดยทำเสาลอยตัวขนาดใหญ่ประดับ 6 ต้น<br />
ปลายเสาประดับประติมากรรมนูนสูงคอนกรีตหล่อพระรูปครึ่ง<br />
พระองค์ของบูรพกษัตริย์และพระราชินีที่องอาจกล้าหาญสมัย<br />
อยุธยาและธนบุรีรวม 6 พระองค์ ในรูปแบบศิลปะฟาสซิสต์ที่เน้น<br />
รูปทรงที่บึกบึนและเส้นสายที่แข็งกร้าว เห็นเด่นสง่ามาแต่ไกล<br />
268 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซ้าย ประติมากรรมประดับศาลาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1939-1941)<br />
ขวา พลลาสโซ เดลลา เอสโปซิโอนิ โรม (1937-1938)<br />
เพราะอาคารตั้งอยู่ปลายถนนที่ตัดเป็นแนวดิ่งจากนอกเมืองตรงมา<br />
ที่อาคารนี้ เป็นความตั้งใจที่จะเชิดชูวีรกษัตริย์โบราณที่ท ำสงคราม<br />
ขยายอาณาเขตและรักษาเอกราช สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับชาติไทย<br />
ตามกระแสชาตินิยมที่โหมกระหน่ำ โดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนการ<br />
ทำสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อขยายดินแดนไปยังลาวและเขมร เป็น<br />
ยุคของมหาอาณาจักรไทยโดยใช้กำลังทหารของจอมพล ป. พิบูล<br />
สงครามที่ต้องการการสนับสนุนของมวลชน 82 ผ่านวรรณกรรม<br />
ชาตินิยมอิงพงศาวดารของหลวงวิจิตรวาทการ ที่ถูกทำให้เป็นตัว<br />
ตนขึ้นมาผ่านประติมากรรมของคอร์ราโด เฟโรชีและสถาปัตยกรรม<br />
ของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ งานนี้อาจนับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรม<br />
ที่ได้อิทธิพลแบบฟาสซิสต์ร่วมสมัยของอิตาลีที่ชัดเจนที่สุดของไทย<br />
โดยเฉพาะจากงานมอสตรา ออกุสเทีย เดลลา โรมานนิตา (Mostra<br />
Augustea della Romanita) ที่พาลาสโซ เดลลา เอสโปสิซิโอนิ<br />
(Palazzo della Esposizioni) แห่งกรุงโรมใน ค.ศ. 1937-<br />
1938 โดยสถาปนิกอัลเฟรโด สคาลเปลลี (Alfredo Scalpelli) 83<br />
ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 2,000 ปีแห่งการประสูติของ<br />
จักรพรรดิออกัสตุส (Augustus) โดยมีนักโบราณคดีกุยลิโอ ควิลิโน<br />
จิกลิโอลิ (Giulio Quirino Giglioli) เป็นผู้จัดแสดงโบราณวัตถุสมัย<br />
โรมันมากมาย พร้อมทั้งดัดแปลงอาคารพาลาสโซ เดลลา เอสโป<br />
สิซิโอนี ให้เปลี่ยนโฉมด้านหน้ารองรับเทศกาลนี้โดยฝีมือสถาปนิก<br />
สคาลเปลลี โดยใช้รูปแบบประตูชัยโบราณประยุกต์ร่วมกับการ<br />
ประดับประติมากรรมที่ยอดเสาอิง เพื่อให้ผู้ชมซึมซับในความยิ่งใหญ่<br />
ของจักรววรรดิโรมันในอดีตว่าคือปัจจุบันของจักรวรรดิอิตาลี<br />
ภายใต้การนำของมุสโสลินีและอุดมการณ์สังคมชาตินิยมหลง<br />
เชื้อชาติหรือลัทธิฟาสซิสต์ของอิตาลี<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
269
ทัศนียภาพอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง (1937-1948)<br />
อาคารชุดพาณิชย์และพักอาศัยถนนราชดำเนินกลาง (1937)<br />
อาคารริมถนนราชดำเนินกลาง เป็นโครงการก่อสร้างของ<br />
รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งเพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในเรื่อง<br />
สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อาคารชุดนี้ตั้งอยู่ริม 2 ฟากของ<br />
ถนนราชดำเนินกลาง เริ่มตั้งแต่ปลายสะพานผ่านฟ้าลีลาศไปจรด<br />
ปลายสะพานผ่านพิภพลีลา รวมความยาว 1.20 กิโลเมตร<br />
มีทั้งหมด 15 หลังเรียงต่อเนื่องกัน อาคารที่อยู่คู่ตรงข้ามถนนจะมี<br />
ลักษณะเหมือนกันเป็นคู่แฝด แต่อาคารที่อยู่หัวมุมถนนจะ<br />
มีลักษณะต่างกัน แต่อาคารทั้งชุดก็ยังดูกลมกลืนกัน สถาปนิกคือ<br />
จิตรเสน อภัยวงศ์และหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อาคารเริ่มสร้างตั้งแต่<br />
ค.ศ. 1937 จนเสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1948 อย่างไรก็ตามใน ค.ศ. 1940<br />
ที่มีการเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบนวงเวียนกลางถนน<br />
ราชดำเนินกลางนั้น อาคารส่วนใหญ่ก็สร้างเสร็จแล้ว จุดประสงค์<br />
ของการใช้สอยอาคารคือเป็นอาคารพาณิชย์สำหรับชั้นล่างและ<br />
ชั้นที่ 2 ส่วนชั้นที่ 3 เป็นห้องพักอาศัยแบบอาคารชุด ซึ่งเป็น<br />
เรื่องแปลกและไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำที่พักอาศัยในที่สูงเพื่อ<br />
ประหยัดพื้นที่ส ำหรับกรุงเทพฯ ที่มีพลเมืองเพียง 6.85 แสนคนเท่านั้น<br />
ถ้าเทียบกับโตเกียวที่มีพลเมืองถึง 7.35 ล้านคนในเวลาเดียวกัน<br />
การทำอาคารชุดพักอาศัยริมถนนราชดำเนินกลางจึงเป็นเรื่องของ<br />
สัญลักษณ์ของการมีวัฒนธรรมอารยะของประเทศไทย ที่มีอาคาร<br />
ทันสมัยแสดงความเจริญตามแนวคิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
แต่ถ้าพิจารณาประวัติศาสตร์การพัฒนาอาคารพาณิชย์ริมถนนของไทย<br />
จะพบความจริงว่าอาคารริมถนนราชดำเนินกลางไม่ต่างอะไรจาก<br />
ตึกแถวริมถนนเจริญกรุงสมัยรัชกาลที่ 4 ที่สร้างก่อนหน้านี้ 80 ปี<br />
เพราะตึกทั้งคู่ต่างถูกสร้างเพื่อการค้าที่ชั้นล่างและการอยู่อาศัยที่<br />
ชั้นบนในรูปแบบงดงามของตะวันตกที่เป็นศรีสง่าแก่พระนคร<br />
อาคารแบบมาตรฐานในชุดนี้เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น<br />
ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประกอบด้วย 3 มุข มุขกลางยื่นเป็นเก็จ<br />
ออกมาเล็กน้อยเพื่อเน้นทางเข้า มุขริม 2 ข้างปลายมนโค้งเชื่อมต่อ<br />
ทั้ง 3 มุขด้วยอาคารสี่เหลี่ยมยาว การแบ่งพื้นที่ภายในจัดเป็นห้อง<br />
สี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงต่อเป็นแถว 11 ห้อง รวมห้องหัวท้ายข้างละห้อง<br />
เป็นทั้งหมด 13 ห้อง มีทางเดินเชื่อมอยู่ด้านหลังส่งไปที่บันไดที่มี<br />
270 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผังพื้นอาคารชุดพาณิชย์และพักอาศัยถนนราชดำเนินกลาง<br />
รูปด้านหน้าอาคารชุดพาณิชย์และพักอาศัยถนนราชดำเนินกลาง<br />
อยู่เป็นระยะเพื่อการขึ้นลงทางดิ่ง ในปล่องรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสถัดจาก<br />
ทางเดินไปด้านหลัง จากลักษณะภายนอกเรายังเห็นภาพอาคาร<br />
แบบ 3 มุขคือ มุขกลางขนาบด้วยมุขริม 2 ข้าง มุขกลางเป็น<br />
รูปกรอบสี่เหลี่ยมแบ่ง 3 ส่วนแบบประตูชัยประยุกต์ที่ผนังตรงกลาง<br />
ร่นเข้าไปแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยเสาครีบ 3 ต้น ขณะที่ริม 2 ข้าง<br />
ผนังยื่นออกเหมือนป้อมขนาบ มุขปลายเป็นป้อมโค้ง ผนังเชื่อมมุข<br />
ทั้ง 3 เป็นผนังเรียบไม่มีเสาอิงฉาบปูนสลัดให้ดูหยาบและหนักด้วย<br />
การตีเส้นปูนฉาบเป็นกรอบสี่เหลี่ยมใหญ่เลียนแบบหินก่อ<br />
ช่องหน้าต่างด้านหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามนอนและไม่เต็มช่วง<br />
โครงสร้าง จึงยังดูเป็นอาคารทึบมากกว่าโปร่งในแบบอาคารรุ่นเก่า<br />
ขณะที่ผนังโค้งของมุขริมแบ่งเป็น 6 ส่วนด้วยเสาครีบ 7 ต้น ช่อง<br />
หน้าต่างสี่เหลี่ยมเต็มช่วงเสา เน้นเพิ่มด้วยกระบังคอนกรีตยื่นเป็น<br />
แนวทุกชั้น โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามีพนักบังหลัง<br />
คาจริงที่เป็นจั่วเพื่อให้ดูเป็นอาคารหลังคาตัดแบบที่สร้างในยุโรป<br />
โดยภาพรวมแล้วอาคารชุดนี้ยังคงภาพสมมาตรและไวยกรณ์<br />
แบบคลาสสิคที่มุขหน้าแต่ด้วยภาพที่เรียบเหมือนกล่องและมุขริมที่โค้ง<br />
เราจึงเห็นรูปแบบผสมระหว่างคลาสสิคที่เรียบเกลี ้ยงและ<br />
แบบอาร์ตเด็คโค นอกจากอาคารชุดมาตรฐานนี้แล้วยังมีอาคารใน<br />
กลุ่มที่น่าสนใจอีก 2 อาคารที่จะกล่าวต่อไป<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
271
อาคารไทยนิยมผ่านฟ้า (1937-1940)<br />
อาคารไทยนิยมผ่านฟ้า ตั้งอยู่บนหัวมุมถนนราชด ำเนินกลาง<br />
ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อแรกสร้างเป็นที่ตั้งของห้าง<br />
สรรพสินค้าชื่อ “ห้างนิยมไทย” ที่ใหญ่โตหรูหรา มีชื่อต้องตาม<br />
รัฐนิยมฉบับที่5 84 ให้ชาวไทยใช้ของไทยซื้อของไทย แต่ชั้นบนของ<br />
อาคารเป็นห้องชุดพักอาศัย ผังอาคารเป็นรูปตัว V ตัดมุมแล้ว<br />
มนปลายเนื่องจากตั้งที่ทางแยกหัวมุมถนน 2 สายพอดี ทางเข้า<br />
อาคารอยู่ที่ด้านตัดมุมนี้ภายในเป็นโถงใหญ่ที่ตั้งบันไดเวียนรูปโค้ง<br />
เป็นวงกลมที่ดูสง่าด้วยขนาดและความโล่งโถงที่สูงขึ้นไปจนถึงช่องแสง<br />
ของหลังคายอดบนสุดที่ชั้นที่6 ส่วนที่เป็นที่พักอาศัยคือส่วนปีกทั้ง<br />
2 ข้างของผังรูปตัว V ห้องพักมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงกันเป็นแถวมี<br />
ระเบียงทางเดินด้านหน้าไปสู่บันไดรองปลายตึกที่ใช้เฉพาะของส่วนนี้<br />
272 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
รูปด้านอาคารไทยนิยม ผ่านฟ้า<br />
แยกจากบันไดใหญ่ของห้างที่ลูกค้าทั่วไปใช้ ลักษณะภายนอกเป็น<br />
อาคารคอนกรีตทรงกล่องสี่เหลี่ยมส่วนปีกสูง 5 ชั้น ยอดกลางสูง<br />
6 ชั้น จุดเด่นอยู่ที่ป้อมสี่เหลี่ยมตัดมุมของมุขทางเข้าด้านหน้าที่<br />
เจาะช่องหน้าต่างเป็นชุดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนขึ้นไปทางตั้งสูง6 ชั้น<br />
บนยอดหลังคามีช่องแสงทรงกระบอกทำด้วยโลหะ มีเกล็ดระบาย<br />
อากาศพันรอบเป็นชั้น ๆ เหมือนปล่องโรงงานอุตสาหกรรม<br />
ส่วนปีกอาคารแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยเสาครีบ 3 ต้น เจาะหน้าต่าง<br />
ผังพื้นอาคารไทยนิยม ผ่านฟ้า<br />
เต็มช่วงเสาในไวยกรณ์เดียวกับปีกตึกไปรษณีย์กลางบางรัก<br />
ตัดกับช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมของปล่องบันไดรองที่ขนาบปีกตึกที่มี<br />
ลักษณะเล็กทึบ ผิวอาคารฉาบปูนสลัดตีเส้นเป็นช่องสี่เหลี่ยมใหญ่<br />
เลียนแบบหินก่อ โดยภาพรวมแล้วเป็นอาคารที่แตกต่างจากอาคาร<br />
มาตรฐานของอาคารริมถนนราชดำเนินกลางโดยเฉพาะมุขทางเข้า<br />
ด้านหน้าแบบอาร์ตเด็คโคที่ดูสะดุดตาและมีความเฉพาะตัวของมันเอง<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
273
ซ้าย โรงแรมรัตนโกสินทร์ (1942-1943)<br />
ขวา ผังพื้นโรงแรมรัตนโกสินทร์<br />
โรงแรมรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ปลายถนนราชดำเนินกลางตรง<br />
ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา ออกแบบโดยนายจิตรเสน อภัยวงศ์<br />
ก่อสร้างระหว่าง ค.ศ. 1942-1943 เป็นอาคารริมถนน<br />
ราชดำเนินกลางหลังสุดท้ายที่สร้างเสร็จในช่วงสงครามโลกครั้งที่2<br />
เป็นอาคารคอนกรีต 4 ชั้นผังรูปตัว L มีมุขกลางเยื้องไปทางขวา<br />
เป็นทางเข้าของอาคารที่ตั้งใจทำให้เด่น เพื่อรับกับหัวโค้งของถนน<br />
ต่อจากทางเข้าเป็นโถงกลางที่มีบันไดใหญ่รูปโค้งตั้งที่ปลายโถง<br />
จากมุขกลางต่อไปเป็นปีกอาคาร 2 ข้างที่ยาวไม่เท่ากัน ปีกซ้ายที่<br />
ยาวกว่าชั้นล่างเป็นไนท์คลับ ส่วนปีกขวาเป็นห้องจัดเลี้ยง ชั้นบน<br />
อีก 3 ชั้นเป็นห้องพัก 45 ห้องที่ตกแต่งไว้อย่างวิจิตรให้เป็นโรงแรม<br />
ระดับดีเลิศ ลักษณะภายนอกเป็นอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมจุดเด่น<br />
คือ มุขกลางที่เหมือนป้อมใช้ไวยกรณ์ประตูชัยประยุกต์ ที่มีเสา<br />
และทับหลังขนาดใหญ่ล้อมเป็นกรอบทึบตัดกับพื้นที่โปร่งตรงกลาง<br />
ที่เป็นช่องหน้าต่างสูง 3 ชั้นแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยเสาครีบ 2 ต้น<br />
ในลักษณะเดียวกับมุขหน้าของที่ทำการไปรษณีย์กลางบางรักและ<br />
ตึกคณะเภสัชศาสตร์เดิมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผนังของปีก 2 ข้าง<br />
เป็นห้องพักมีระเบียงยื่น ออกแบบให้เป็นจังหวะสลับกันระหว่าง<br />
ระเบียงเรียบและระเบียงที่คั่นด้วยเสาครีบ 3 แถว ผิวผนังก่ออิฐฉาบ<br />
ปูนสลัดเน้นผิวหยาบและหนัก โดยการตีเส้นปูนฉาบเป็นช่อง<br />
สี่เหลี่ยมใหญ่เหมือนกรุด้วนหินตัด โดยภาพรวมแล้วเป็นอาคารที่<br />
มีจุดเด่นที่มุขหน้าทางเข้า ในขณะที่ส่วนปีกหน้าต่างแบบสี่เหลี่ยม<br />
ทางนอนดูยังไม่กลมเกลียวกับชุดเสาครีบ 3 ต้นทางตั้งเท่าไรนัก<br />
เป็นการใช้ไวยกรณ์ที่ผ่อนคลายแบบอาร์ตเด็คโคมาผสมร่วมกับ<br />
ไวยกรณ์คลาสสิคเรียบเกลี้ยงที่เคร่งขรึมแบบอาคารไปรษณีย์กลาง<br />
บางรัก แต่ผลที่ออกมาไม่ดีเท่าตึกไทยนิยมที่อยู่อีกปลายหนึ่งของถนน<br />
กระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรม สร้างขึ้นในโอกาสที่<br />
ประเทศสยามได้รับเอกราชในทางศาลคืนมาโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1938<br />
ประกอบกับอาคารเก่าชำรุดทรุดโทรมและสถานที่ท ำการของศาลเล็ก<br />
และคับแคบไม่พอแก่ความต้องการ 85 เมื่อศาลส่งโครงการไปให้<br />
274 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ศาลอาญากรุงเทพฯ (1941)<br />
ล่าง สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคเรียบเกลี้ยงของ<br />
มหาวิทยาลัยแห่งโรม (1932-1935) โดย ปิอาเซนตินี<br />
รัฐบาลอนุมัตินั้นจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ให้ค ำสั่งมาว่าแนวอาคาร<br />
ศาลใหม่นี้ต้องให้ได้แนวกับกระทรวงกลาโหม 86 แต่ในทางปฏิบัติมิอาจ<br />
กระทำเช่นนั้นได้เพราะแนวอาคารใหม่จะพุ่งตัดเข้ามาในถนน<br />
ราชดำเนินใน จึงตีความให้อาคารใหม่เว้นระยะห่างจากแนวถนนเท่าๆ<br />
กับที่กระทรวงกลาโหมทำ สถาปนิกคือพระสาโรชรัตนนิมมานก์87<br />
แห่งกรมศิลปากร ออกแบบใน ค.ศ. 1939-1940 และลงมือก่อสร้าง<br />
ใน ค.ศ. 1940-1941 โดยให้ตึกมีผังเป็นรูปตัวU 88 ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือ<br />
ใกล้อนุสาวรีย์พระนางธรณีเป็นที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรม<br />
ด้านประธานเป็นส่วนบริหารและธุรการยาว50 เมตร ปีกด้านถนนราชินี<br />
เป็นพื้นที่ของงานคดียาว 60 เมตร ปีกด้านถนนราชดำเนินในเป็น<br />
ที่ทำการชั่วคราวของศาลฎีกายาว 60 เมตรเช่นกัน ลักษณะของ<br />
อาคารในช่วงแรกนี้เป็นทรงสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงผนังด้านปีกเจาะ<br />
ช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางตั้งจัดระยะห่างช่องเว้นช่อง<br />
ด้านประธาน (หลังอนุสาวรีย์พระแม่ธรณี) ตรงกลางทำเป็นประตู<br />
ทางเข้าใหญ่ยกระดับสูงจากพื้นดินมีบันไดหน้าขนาดใหญ่ทอดลงมา<br />
ตัวประตูประดับเสารายหน้าตัดสี่เหลี่ยมลอยตัวสูงชะลูด 6 ต้น<br />
7 ช่วงเสา ตัดกับผนังริม 2 ข้างที่เป็นช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ<br />
เหมือนหน้าต่างผนังด้านปีกทั้ง 2 เน้นผิวผนังโดยการฉาบปูนล้าง<br />
ตีเส้น 89 เป็นช่องสี่เหลี่ยมใหญ่เลียนแบบการก่อด้วยหินตัด<br />
ใน ค.ศ. 1941 ได้ทำการก่อสร้างตอนที่ 2 สำหรับที่ทำการศาล<br />
อุทธรณ์และศาลอาญาที่บริเวณถนนราชินีต่อจากตึกแรก ออกแบบ<br />
โดย พระสาโรชน์รัตนนิมมานก์ ตึกส่วนนี้ยาว 157 เมตร แบ่งเป็น<br />
3 ส่วน คือ มุขกลางและปีก 2 ข้างที่ต่อจากตึกแรกเป็นแนวเดียวกัน<br />
ปีกทั้ง 2 ข้าง เป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างในแบบสี่เหลี่ยมเรียบ ๆ<br />
เหมือนตึกแรก แต่ที่มุขกลางทำเป็นตึก 4 ชั้น มีทางเดินเข้าตรง<br />
กลางขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนชั้นที่ 2 จึงมีบันไดขึ้นจากชั้นล่าง 2 ข้าง<br />
ไปสู่ประตูใหญ่ที่ประกอบด้วยแนวเสากลมลอยตัวสูงชะลูดจ ำนวน 8 ต้น<br />
9 ช่วงเสา ผิวผนังฉาบปูนตีเส้นเป็นช่องสี่เหลี่ยมใหญ่เลียนแบบ<br />
หินก่อ เมื่ออาคารสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1943 เราจึงเห็นตึกชุดนี้<br />
ที่ประกอบด้วยกระทรวงยุติธรรมทางด้านทิศเหนือและตึกศาลอุทธรณ์<br />
และศาลอาญาทางด้านถนนราชินี มีลักษณะแบบเดียวกับ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
275
แบบร่างศาลฎีกา (1941)<br />
สถาปัตยกรรมคลาสสิคเรียบเกลี้ยงของสถาปนิกมาร์เซลโล<br />
ปิอาเซนตินี(Marcello Piacentini) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ตัวอย่าง<br />
เช่น มหาวิทยาลัยแห่งโรม (Citta Universitaria, Rome) ค.ศ.<br />
1932-1935 โดยเฉพาะเรื ่องการใช้ไวยกรณ์แบบคลาสสิค<br />
เรียบเกลี้ยง ที่ปรากฏผ่านรูปทรง ขนาด สัดส่วน การใช้เสาลอยตัว<br />
แบบวิหารกรีก-โรมันเพื่อเน้นทางเข้าและการเจาะช่องหน้าต่าง<br />
แบบช่องเว้นช่อง เป็นต้น ความจริงพระสาโรชรัตนนิมมานก์เคยเห็น<br />
ผลงานของปิอาเซนตินีที่ได้สมญาว่าหัวหน้าสถาปนิกฟาสซิสต์<br />
แห่งอิตาลีมาแล้วตั้งแต่เขาไปคุมงานก่อสร้างศาลาไทยที่กรุงปารีส<br />
ใน ค.ศ. 1937 และได้กลับมาเขียนวิพากษ์วิจารณ์ลงในวารสาร<br />
ศิลปากรอย่างไม่ได้ชื่นชมอะไรนัก แต่กระแสชาตินิยมและลัทธิทหาร<br />
ของไทยและสากลในช่วง ค.ศ. 1939-1944 ท่วมท้นไปทั่ว ส่งผลให้<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์หันเหเข้ามาสู่แนวทางนี้อย่างชัดเจนตั้งแต่<br />
ค.ศ. 1937 ที่เขาได้ร่วมทำงานกับประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี<br />
ออกแบบที่ทำการรัฐบาลหลายแห่งที่กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม<br />
โครงการกระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรมนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์<br />
ยังเหลือการก่อสร้างช่วงสุดท้ายคือการต่อปีกตึกประธานมายัง<br />
รัฐสภาไดเอท (1920-1936)<br />
แนวถนนราชดำเนินใน เพื่อสร้างที่ทำการของศาลฎีกา 90 และ<br />
พระสาโรชน์รัตนนิมมานก์ได้ร่างแบบไว้แล้ว เราจะเห็นตอนกลาง<br />
ของตึกศาลฎีกาใหม่นี้มีมุขโถงด้านหน้าเน้นด้วยเสาลอยตัว<br />
กลางตึกเป็นหอสูงครอบหลังคาโดม น่าจะได้ความคิดมาจากศาลสถิต<br />
ยุติธรรมเดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่หอคอยสูงถึง 50 เมตร แต่ต้อง<br />
ถูกรื้อลงเพราะกำแพงแตกร้าวเป็นอันตรายต่อโครงสร้างหลังจาก<br />
สร้างเสร็จไม่นาน การรื้อฟื้นให้มีหอสูงรับหลังคาโดมจึงไม่ใช่เรื่องแปลก<br />
แต่ที่น่าสนใจคือแบบหอคอยรับโดมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์<br />
นั้น มีช่องหน้าต่างใหญ่ยื่นออกมาจากผนังหอคอยแบ่งเป็นช่อง ๆ<br />
ด้วยเสาลอยตัว 4 ต้น เหมือนหอคอยรัฐสภาไดเอท (Diet) ของญี่ปุ่น<br />
ไม่ผิดเพี้ยน ต่างกันตรงที่หลังคาโดมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์<br />
เป็นโดมโค้งแต่หลังคารัฐสภาไดเอทเป็นพีระมิดขั้นบันได<br />
จึงอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงประมาณ ค.ศ. 1941 นั้นสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่จากตะวันตกไม่ได้ผูกขาดเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ<br />
ให้กับสถาปนิกไทยเพียงแหล่งเดียวอีกต่อไปแล้ว สถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่จากญี่ปุ่นก็เริ่มมีบทบาทนั้นด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับการ<br />
ดำเนินการทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่<br />
276 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
จะครอบงำไปทั่วเอเชียตะวันออกตามนโยบาย “ร่วมวงไพบูลย์แห่ง<br />
มหาเอเชียบูรพา” ของพวกเขา อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการ<br />
สร้างกระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรมที่เหลือนั้น รัฐบาลได้ระงับ<br />
ไว้ในปีงบประมาณประจำปี ค.ศ. 1942 เพราะต้องการย้ายเมืองหลวง<br />
ไปที่จังหวัดเพชรบูรณ์91 โครงการจึงไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์อย่าง<br />
น่าเสียดาย<br />
สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่สมัยรัชกาลที่ 8<br />
หลวงวิจิตรวาทการ (1898-1962)<br />
แม้ในช่วงทศวรรษ 1930-1940 จะมีการระดมสร้างอาคาร<br />
แบบสมัยใหม่ทรงกล่องสี่เหลี่ยมคอนกรีตอย่างมากมายที่เรียกกัน<br />
ในยุคนั้นว่า อาคารแบบทันสมัยบ้างแบบสมัยใหม่บ้าง แต่นั่นก็ไม่ได้<br />
หมายความว่ารัฐบาลคณะราษฎรปฏิเสธงานสถาปัตยกรรมไทย<br />
ในทางกลับกันหลวงวิจิตรวาทการในสมัยที่เป็นอธิบดีกรมศิลปากร<br />
เคยกล่าวไว้เองว่า งานประณีตศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแม้จะ<br />
เป็นแบบใหม่ก็ต้องพยายามให้มีลักษณะของชาติไทยผสมอยู่เสมอ<br />
เพื่อสร้างให้เกิดความรักชาติในหมู่พลเมือง<br />
92 อย่างที่พม่าและญี่ปุ่นท ำ<br />
สำเร็จมาแล้ว สถาปัตยกรรมลักษณะนี้ได้แก่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
และตึกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบางหลัง ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการ<br />
เห็นว่าเป็นงานที่ประสบความสำเร็จเหมือนกันและควรที่จะต้อง<br />
ค้นคว้าต่อไปให้ดีขึ้น โดยสืบค้นแบบแผนสถาปัตยกรรมโบราณ<br />
ที่เหมาะสมมาปรับปรุงใช้ใหม่ให้เหมาะกับความต้องการปัจจุบัน 93<br />
รวมถึงการซ่อมแซมแหล่งโบราณสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว<br />
ซึ่งโดยสาระแล้วไม่ได้มีอะไรใหม่กว่าพระราชดำริของพระบาท<br />
สมเด็จพระมงกุฏเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่ทรงมีมาก่อน 20 ปี<br />
แต่หลวงวิจิตรวาทการไปไกลกว่านั้นถึงขั้นเสนอให้ฟื้นฟูศิลปกรรม<br />
ของชาติประเภทที่สามารถนำมาขายให้ประชาชนทั้งในและ<br />
ต่างประเทศมาซื้อไปใช้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สถาปัตยกรรม<br />
แบบไทยจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกในยุคของคณะราษฎรที่จอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามเป็นใหญ่ เขาได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภา<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
277
ผู้แทนราษฎรไว้ว่า “...รัฐบาลจะรักษาและส่งเสริมศิลปกรรมไทย<br />
เพื่อเชิดชูเกียรติและรักษาวัฒนธรรมของชาติ จะใช้ศิลปกรรมเป็น<br />
อุปกรณ์การอบรมประชาชนทั้งในทางความรู้และคุณภาพทางใจ...” 94<br />
นอกจากนี้ยังกล่าวว่า “...ในทางศาสนาจะปรับปรุงพระราชบัญญัติ<br />
ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ให้สมกาลสมัย และจะอุปถัมภ์การศาสนา<br />
ตามความประสงค์แห่งรัฐธรรมนูญ...” 95 ในทางปฏิบัติผู้ที่จะสนอง<br />
นโยบายรัฐบาลได้คือบรรดาสถาปนิกที่ทำงานสถาปัตยกรรมไทย<br />
คอนกรีตมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 คนสำคัญ ได้แก่ พระพรหม<br />
พิจิตรแห่งกรมศิลปากรที่ได้มาร่วมมือกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์<br />
สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งทั้งสอง<br />
จะได้ร่วมมือกันสร้างสถาปัตยกรรมแบบไทยสมัยใหม่ขึ้น ในยุค<br />
ชาตินิยมเชื้อชาติไทยภายใต้การชี้นำของท่านผู้นำในที่เริ่มตั ้งแต่<br />
ค.ศ. 1938<br />
ผลงาน<br />
ศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติ กรุงปารีส 1937<br />
ศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะ<br />
และเทคนิคสมัยใหม่แห่งกรุงปารีส ค.ศ. 1937 (Exposition<br />
Internationale des Art et Techniques dans la via Moderne<br />
Paris 1937) หลังจากออกแบบหอระฆังวัดยานนาวาในแบบไทย<br />
สมัยใหม่ใน ค.ศ. 1934 แล้ว พระพรหมพิจิตรได้รับมอบหมายจาก<br />
กรมศิลปากรให้ออกแบบศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการ<br />
นานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิคสมัยใหม่ที่กรุงปารีสในค.ศ. 1937<br />
ในงานนี้พระพรหมพิจิตรปรับรูปแบบกลับไปใช้แบบ “ราชการ”<br />
นั่นคือแบบโบราณแท้ ๆ โดยจำลองพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์<br />
ที่พระราชวังบางปะอินมาเป็นต้นแบบ แล้วออกแบบใหม่เป็นอาคาร<br />
ไม้ทรงจตุรมุขยอดปราสาท ตั้งอยู่บนฐานยกสูงที่ภายในเป็นห้อง<br />
จัดแสดงงานศิลปะไทยโบราณ ออกแบบโดยหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม<br />
กฤดากร 96 ตัวศาลาสร้างเสร็จในลักษณะที่เป็นชิ้นส่วนที่ถอดประกอบ<br />
ได้จากกรุงเทพฯ แล้วส่งลงเรือไปประกอบขึ้นใหม่ที่กรุงปารีส<br />
278 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
(1939)<br />
วิธีการออกแบบศาลาสยามในลักษณะที่ใช้สถาปัตยกรรมโบราณ<br />
เป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมไทยนั้น สยามได้ทำมาแล้วโดยตลอดตั้งแต่<br />
สมัยรัชกาลที่ 4 ในงานนิทรรศการโลกครั้งที่ 4 (World Expo 4)<br />
ที่กรุงปารีสใน ค.ศ. 1867 97 และไม่เคยเปลี่ยนแนวเลยในการใช้<br />
สถาปัตยกรรมไทยโบราณเป็นตัวแทนให้คนต่างชาติรู้จักศิลปะ<br />
ของสยาม โดยไม่เฉลียวใจเลยว่า 70 ปีที่ผ่านไปนั้น ขณะนี้โลก<br />
ได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่แล้วจริงๆ ประเทศที่ต้องการแสดงตนว่า<br />
รู้กาลสมัยของโลกอย่างเช่นญี่ปุ่นก็ยังเปลี่ยนโฉมศาลาของตนเป็น<br />
แบบสมัยใหม่<br />
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระพรหมพิจิตรร่วม<br />
กับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ออกแบบหอประชุมมหาวิทยาลัยแห่งแรก<br />
ของประเทศไทยใน ค.ศ. 1939 ด้วยวิธีออกแบบที่อาจดูแปลก<br />
สำหรับคนยุคปัจจุบัน กล่าวคือ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ในฐานะ<br />
สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญสถาปัตยกรรมสากลรับหน้าที่วางผัง<br />
ซึ่งต้องการความรู้ด้านระบบเสียงและการเลือกใช้โครงสร้างสำหรับ<br />
อาคารที่ต้องการการพาดช่วงที่กว้างแบบนี้ ส่วนพระพรหมพิจิตร<br />
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทย เป็นผู้ออกแบบรูปทรง<br />
และหลังคาให้เป็นแบบไทยที่สวยงามกลมกลืนกับผังสมัยใหม่ได้<br />
แม้จะแยกกันรับผิดชอบหน้าที่คนละอย่าง แต่ทั้งสองก็สามารถ<br />
บูรณาการการออกแบบให้งานนี้สำเร็จอย่างกลมเกลียวได้ผังอาคาร<br />
เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหอประชุมอยู่ตรงกลางด้านหน้า<br />
และด้านหลังเป็นมุขโถงสำหรับทางเข้าออก รูปทรงของอาคาร<br />
มีลักษณะไทยผสมสมัยใหม่ ผนังของส่วนหอประชุมเป็นแบบสมัย<br />
ใหม่ที่เรียบเกลี้ยงไร้สิ่งประดับใด ๆ ตรงข้ามกับส่วนที่เป็นมุขหน้า<br />
และหลังซึ่งเป็นโถงสำหรับทางเข้าออก ทำเป็นมุขโถงประดับเสา<br />
นางเรียงเป็นแถวแบบงานไทยโบราณ จุดเด่นของอาคารอยู่ที่หลังคา<br />
ที่เป็นจั่วลดชั้น 3 ระดับของมุขหน้าประดับปั้นลมคอนกรีตหนาหนัก<br />
หลังคาถูกออกแบบให้ค่อย ๆ ลดขนาดจากส่วนคลุมหอประชุม<br />
ที่กว้างที่สุด ไล่ให้แคบเล็กลงที่มุขโถงและเล็กที่สุดที่มุขหน้า<br />
ซึ่งมีมุขประเจิดซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ ่งที่กลายเป็นจุดเด่นที ่สุด<br />
โดยมีลักษณะเป็นซุ้มบันแถลงแบบสุโขทัยและเขมร ภายใน<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
279
280 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน (1941)<br />
ล่าง ผังบริเวณวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน<br />
หน้าตรงข้าม<br />
แบบหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
ประดับตราพระเกี้ยวคอนกรีตหล่อนูนสูงอันเป็นสัญลักษณ์ของ<br />
มหาวิทยาลัย โดยภาพรวมแล้วเป็นงานแสดงถึงอิทธิพลงานบูรณะ<br />
พระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหารของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรม<br />
พระยานริศรานุวัดติวงศ์ซึ่งเป็นพระอาจารย์ แต่ที่หอประชุม<br />
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอาคารประโยชน์ใช้สอยสมัยใหม่<br />
ที่ต้องการอัตลักษณ์โบราณในเวลาเดียวกันความสามารถของสถาปนิก<br />
ทั้ง 2 ทำให้ความขัดแย้งของรูปทรงเก่ากับประโยชน์ใช้สอยใหม่<br />
ประสานกลมเกลียวไปด้วยกันได้ อาคารหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างการ<br />
ออกแบบที่กลมกลืนความขัดแย้งของการออกแบบแนวสมัยใหม่<br />
และแนวอนุรักษ์นิยมในอาคารหลังเดียวกันได้ดี<br />
เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน วัดนี้มีชื่อเดิมว่าวัด<br />
ประชาธิปไตยซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />
ค.ศ. 1932 ของคณะราษฎร พระพรหมพิจิตรได้รับมอบหมายให้<br />
ออกแบบวัดนี ้ตามประสงค์ของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ใน ค.ศ. 1941 เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระศรีมหาธาตุเนื่องจากรัฐบาล<br />
ได้รับมอบพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดียมาประดิษฐาน<br />
ลงในพระเจดีย์ พร้อมทั้งนำกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาปลูกลงในบริเวณวัด<br />
ความสำคัญทางสถาปัตยกรรมของวัดนี้อยู่ที่พระเจดีย์ทรงระฆัง<br />
องค์ใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้าวัด ซึ่งเป็นเจดีย์คอนกรีตที่เรียบเกลี้ยง<br />
ไร้ลวดลาย แม้กระทั่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทั้งหมดของเจดีย์<br />
ก็ถูกลดทอนและแปลงเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่เกลี้ยงเกลา<br />
โดยเฉพาะส่วนของบัลลังก์และบัวกลุ่มถูกออกแบบคล้ายรูปทรง<br />
บาตรพระคว่ำซ้อนกันขึ้นไปรับปลียอดที่เป็นแท่งคอนกรีตเรียว<br />
แหลม ภายในองค์ระฆังเป็นโถงทรงโดมขนาดใหญ่ ตรงกลาง<br />
ประดิษฐานพระเจดีย์เล็กย่อส่วนที่จำลองจากพระเจดีย์องค์ใหญ่<br />
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผนังเจดีย์ทำเป็นช่องกรุบรรจุอัฐิบรรดา<br />
สมาชิกผู้นำคณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ. 1932<br />
การนำเอาเจดีย์ใหญ่มาไว้หน้าวัดเป็นการประกาศอุดมการณ์อย่างหนึ่ง<br />
ที่ศาสนาพุทธกับลัทธิประชาธิปไตยมีร่วมกันนั่นคือความเสมอภาค<br />
และการปฏิเสธชนชั้น และการใช้ศิลปะแบบสมัยใหม่ที่ปฏิเสธ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
281
การตกแต่งเป็นการปฏิเสธลัทธิพราหมณ์ฮินดูที ่เป็นรากฐาน<br />
ของลัทธิสมมติเทวราช เมื่อพิจารณาในแง่นี้เจดีย์แบบไทยสมัยใหม่<br />
องค์นี้จึงเป็นพุทธสถานที่เป็นสัญลักษณ์และอนุสรณ์ของการ<br />
เปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญของไทย<br />
อนุสาวรีย์เพื่อการสร้างชาติใหม่ในทศวรรษ<br />
1930-1940 : ชาตินิยมเชื้อชาติไทย ประชาธิปไตย และ<br />
มหาอาณาจักรไทย<br />
โถงภายในเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน<br />
ถ้าจะกล่าวว่าตั้งแต่คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการ<br />
ปกครองใน ค.ศ. 1932 เรื่อยมาจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
ใน ค.ศ. 1945 นั้น ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคแห่งการทำสงคราม<br />
แย่งชิงอำนาจควบคู่กับการสร้างชาติใหม่ตามอุดมการณ์และ<br />
ความทะเยอทะยานของบรรดาชนชั้นนำ ก็คงไม่ผิดไปจากข้อเท็จ<br />
จริงนัก และร่องรอยของประวัติศาสตร์เหล่านี้ได้ถูกจารึกไว้ด้วย<br />
บรรดาอนุสาวรีย์ที่พวกเขาสร้างขึ้นให้ประชาชนจดจำ สงคราม<br />
สร้างชาติเริ่มด้วยกรณีกบฏบวรเดชใน ค.ศ. 1933 เพื่อรักษาระบอบ<br />
ประชาธิปไตยซึ่งเกิดการรบปะทะและมีผู้เสียชีวิตทั้ง2 ฝ่ายไม่ใช่น้อย<br />
ทำให้รัฐบาลสร้างอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญขึ้นใน ค.ศ. 1936 จากนั้น<br />
เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นด ำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปลาย<br />
ค.ศ. 1938 เขาก็เริ่มกำจัดเสี้ยนหนามศัตรูทางการเมืองโดยการ<br />
ตั้งศาลพิเศษพิพากษาลงโทษอย่างขุดรากถอนโคน ทั้งนี้เพื่อกรุยทาง<br />
ไปสู่แนวทางสร้างชาติไทยใหม่ที่มีวัฒนธรรมและเป็นอารยประเทศ<br />
ตามอุดมคติของเขาร่วมกับหลวงวิจิตรวาทการรัฐมนตรีคู่คิด<br />
ใน ค.ศ. 1938 นั้นเองสยามเป็นอิสระจากข้อผูกมัดทางกฎหมาย<br />
ที่สืบทอดมาจากสมัยจักรวรรดินิยมได้สิ้นสุดลง ด้วยความสามารถ<br />
ในการเจรจาต่อรองและการร่างกฎหมายตามข้อกำหนดจนครบ<br />
ถ้วนสมบูรณ์ ทั้งหมดนี้เป็นผลงานของรัฐบาลคณะราษฎรซึ่ง<br />
จอมพล ป. พิบูลสงครามพอใจอย่างยิ่ง และน่าจะเป็นการลั่นไก<br />
ความคิดในการสร้างมหาอาณาจักรไทยตามความเชื่อของจอมพล<br />
282 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ป. พิบูลสงครามและหลวงวิจิตรวาทการ ในการนี้หลวงวิจิตรวาท<br />
การได้นำเสนอโครงการสร้างอนุสสาวรีย์สนธิสัญญาของชาติ98<br />
ซึ่งต่อมาเรียกว่า “อนุสสาวรีย์ไทย” 99 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองแต่<br />
ในที่สุดก็ล้มเลิกโครงการไปเพราะปัญหางบประมาณ แต่จอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามกลับเดินหน้าสร้างรัฐไทยชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ต่อไปอย่างเข้มข้นด้วยการปลุกระดมประชาชนให้เปลี่ยนค่านิยม<br />
ในการดำเนินวิถีชีวิตด้วยนโยบายรัฐนิยม 12 ฉบับของเขา ร่วมกับ<br />
บทละครและบทเพลงรักชาติของหลวงวิจิตรวาทการ สิ่งเหล่านี้<br />
นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “การปรับปรุงเส้นเขตต์แดน” อันเกิดจาก<br />
“ความอยุตติธรรมที่ฝรั่งเศสในสมัยก่อนได้กระทำไว้ต่อไทย”<br />
นั่นคือการทำสงครามขยายดินแดนเข้าไปในแคว้นลาวและเขมร<br />
ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น<br />
จากประชาชนไทยใน ค.ศ. 1941 ท่ามกลางบรรยาการของลัทธิชาตินิยม<br />
เชื้อชาติไทยเป็นใหญ่ใน ค.ศ. 1940 จอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ได้ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลง<br />
การปกครองเพื่อความเสมอภาค เสรีภาพ และภราดรภาพของ<br />
ประชาชนชาวไทยใน ค.ศ. 1932 ซึ่งในขณะนี้มันถูกกลบไปแล้วด้วย<br />
ลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย และความต้องการเป็นมหาอาณาจักรไทย<br />
แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามกลับไม่สามารถได้ชัยชนะอย่าง<br />
เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทำให้ญี่ปุ่นถือโอกาสเข้ามาเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ย<br />
สงบศึก แต่แล้วก็เผยโฉมหน้าจักรวรรดินิยมใหม่ตัวจริงโดยการบุก<br />
เข้าประเทศไทยตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในปลาย ค.ศ.1941<br />
นั่นเอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกับ<br />
ญี่ปุ ่นและ ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร<br />
ใน ค.ศ. 1942 และเข้าร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพากับญี่ปุ่น<br />
ชัยชนะของกองทัพญี่ปุ่นทั่วเอเชียแปซิฟิกทำให้จอมพล ป. พิบูล<br />
สงครามฮึกเหิมถึงขั้นส่งกองทหารเข้ารัฐฉานของพม่าปะทะกับ<br />
กองทัพจีนและยึดพื้นที่ไว้ได้ ญี่ปุ่นรีบสมนาคุณไทยด้วยการยกดินแดน<br />
มณฑลทางเหนือของมาลายูและรัฐฉานให้ใน ค.ศ. 1943 เพื่อแลก<br />
กับความเป็นพันธมิตรเพียงชาติเดียวในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />
ถึงตอนนี้จอมพล ป. พิบูลสงครามก็มีความภาคภูมิใจใน<br />
ความสำเร็จมากเพียงพอที่จะเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในค.ศ. 1942<br />
เพื่อฉลองชัยชนะแห่งความทะเยอทะยานของเขาตามชื่ออนุสาวรีย์<br />
บ่งบอก แต่โชคชะตากลับพลิกผันไปหมดเมื่อญี่ปุ่นหมดแรงรุกและ<br />
เริ่มแพ้ในทุกสมรภูมิในปีเดียวกันนั่นเอง ส่วนไทยก็เริ่มนโยบาย<br />
เพิกเฉยและตีสองหน้ากับญี่ปุ่นและรอวันพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นที่<br />
ใกล้เข้ามาทุกขณะ จอมพล ป. พิบูลสงครามตัดช่องน้อยลาออก<br />
จากนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1944 ก่อนหน้ามหามิตรญี่ปุ่นของเขาจะ<br />
ยอมแพ้ต่อสัมพันธมิตรอย่างราบคาบใน ค.ศ. 1945 อนุสาวรีย์<br />
ที่สร้างขึ้นในช่วงเวลานี้จึงเป็นความทรงจำทั้งในเรื่องสร้างและ<br />
ปกป้องประชาธิปไตยที่เป็นอุดมคติของคณะราษฎร และการสร้าง<br />
ลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยรวมทั้งความคิดทะเยอทะยานอยากเป็น<br />
มหาอาณาจักรไทยของจอมพล ป. พิบูลสงครามด้วยกำลังทหาร<br />
ที่เกือบพาประเทศชาติไปสู่ความล่มจมหายนะจากภัยสงคราม<br />
ในทางสถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึง<br />
อิทธิพลของศิลปะอาร์ตเด็คโคและศิลปะยุคลัทธิฟาสซิสต์ของอิตาลี<br />
ที่แฝงมาในรูปแบบของประติมากรรมรูปบุคคลโดยเฉพาะทหาร<br />
ในท่วงทำนองที ่มาจากรากเหง้าของศิลปะคลาสสิค (กรีก-โรมัน)<br />
ซึ่งเป็นรูปแบบสากลที่นิยมแพร่หลายทั่วโลกขณะเดียวกันก็แสดงถึง<br />
รูปแบบไทยสมัยใหม่ที่องค์ประกอบศิลปะ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ<br />
ถูกแปลงโฉมให้เรียบง่ายจนเกือบจะละทิ้งแบบดั้งเดิมไปหมด<br />
มันจึงเป็นสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าน่าสนใจในแง่การแสดงถึง<br />
อิทธิพลสากลของลัทธิชาตินิยมหลงเชื้อชาติที่มีต่อวงการศิลปะ<br />
สถาปัตยกรรมของไทยอย่างรุนแรงในช่วงเวลานั้น<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
283
ซ้าย อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936)<br />
ขวา ประติมากรรมชาวนาไทยประดับ<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936)<br />
ผลงาน<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ อนุสาวรีย์นี้สร้างเพื่อ<br />
เชิดชูเกียรติและรำลึกถึงคุณงามความดีของตำรวจ ทหารฝ่าย<br />
คณะราษฎรที่เสียชีวิตในการรบปะทะกับกองกำลังฝ่ายกบฏที่<br />
เรียกตนเองว่าคณะกู้บ้านกู้เมือง นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดชใน<br />
ค.ศ. 1933 ออกแบบโดย หลวงนฤมิตรเลขการ 100 อาจารย์โรงเรียน<br />
นายร้อยทหารบก และกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแล้ว<br />
เสร็จใน ค.ศ. 1936 ชื่ออนุสาวรีย์ครั้งแรกสร้างคือ “อนุสาวรีย์ 17<br />
ทหารและตำรวจ” 101 ตามจำนวนผู้เสียชีวิตของกองกำลังฝ่าย<br />
รัฐบาล ต่อมามีชื่อเรียกอีกหลายชื่อจนได้ชื่ออย่างเป็นทางการ<br />
ในปัจจุบันว่า “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” อนุสาวรีย์นี้มีขนาด<br />
ค่อนข้างเล็ก สร้างในลักษณะศิลปะผสมระหว่างอาร์ตเด็คโค<br />
และไทยสมัยใหม่โครงสร้างคอนกรีต อนุสาวรีย์ตั้งอยู่บนอัฒจรรย์<br />
5 ชั้น มีรูปร่างคล้ายปลียอดเจดีย์วางบนบัวกลุ่มตั้งอยู่บนฐาน<br />
สี่เหลี่ยม ชุดปลียอดและบัวกลุ่มเป็นทรง 8 เหลี่ยมปลายแหลม<br />
แบบงาเนียมที่หุ้มด้วยกลีบบัวทุกด้านหรืออาจดูเป็นรูปหัว<br />
ลูกปืนหุ้มด้วยกลีบบัวก็ได้เช่นกัน ยอดปลีประดับประติมากรรม<br />
พานแว่นฟ้า 2 ชั้น รับสมุดไทยอันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ<br />
นั่นเอง ผนังด้านหน้าของฐานอาคารมีประตูจารึกรายนามทหาร<br />
และตำรวจฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตในการปราบกบฏทั้ง 17 นาย<br />
ผนังด้านอื่น ๆ อีก 3 ด้านประดับประติมากรรมในลักษณะ<br />
ต่างๆ กัน เช่นด้านตะวันออกจารึกโคลงพระราชนิพนธ์สยามานุสติ<br />
ของรัชกาลที่ 6 ผนังด้านทิศใต้เป็นประติมากรรมนูนต่ำ<br />
รูปครอบครัวชาวนาไทย 3 คนพ่อแม่ลูก ผนังด้านทิศเหนือประดับ<br />
ประติมากรรมธรรมจักร โดยสัญลักษณ์เหล่านี้สื่อว่าประชาชน<br />
284 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ทหารตำรวจ สถาบันพระมหากษัตริย์ และศาสนาต่างอยู่ภายใต้<br />
รัฐธรรมนูญ ที่น่าสังเกตคือการใช้สัญลักษณ์ใหม่เช่นชาวนาไทย<br />
หรือสามัญชนเป็นตัวแทนของชาติ และโคลงสยามานุสติซึ่งแทน<br />
องค์พระมหากษัตริย์ก็เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของประเทศที่<br />
ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่ จอมพล ป. พิบูลสงครามกล่าวไว้ว่า<br />
“...เพื่อนุวรรตน์ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จึ่งทรงปฏิบัติ<br />
พระองค์ในทางอันเป็นพระคุณแก่ชาติ ทรงเว้นการปฏิบัติพระองค์<br />
ในทางอันเป็นพระเดช และทรงเว้นจากพระราชจริยาวัตรใด ๆ<br />
อันจะเป็นทางนำมาซึ่งความล่มจมของประเทศ...” 102 แต่ขณะ<br />
เดียวกันจอมพล ป. พิบูลสงครามก็มีความนิยมชมชอบเป็นพิเศษ<br />
ในโคลงสยามานุสติในแง่ความหมายเชิงชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ดังที่เขาระบุไว้ในเรื่องเกี่ยวกับการรักชาติของคนไทยและภัยของ<br />
คนจีนในการกลืนชาติไทย 103 ในแง่นี้จารึกนี้ก็เป็นการสืบทอด<br />
ลัทธิชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นเดียวกัน ประติมากรรม<br />
ประดับฐานของอนุสาวรีย์แห่งนี้จึงมีความหมายสองนัยซ้อนกันอยู่<br />
กล่าวคือทั้งเป็นปฏิปักษ์กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และ<br />
ทั้งสืบทอดแนวคิดชาตินิยมเชื้อชาติไทยของระบอบนั้น การใช้<br />
ประติมากรรมรูปทรงสมุดไทยประดิษฐานบานบนพานแว่นฟ้า<br />
2 ชั้น เป็นสัญลักษณ์แทนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย<br />
ซึ่งคณะราษฎรได้ริเริ่มมาแล้วพักหนึ่ง แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่<br />
สร้างสัญลักษณ์นี้แบบสิ่งก่อสร้างถาวร นับเป็นเอกลักษณ์สำคัญ<br />
ในแนวคิดของคณะราษฎรที ่แทนค่าระบอบประชาธิปไตยด้วย<br />
เอกสารรัฐธรรมนูญที่เป็นรูปวัตถุ ทั้งที่สาระของระบอบ<br />
ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของความคิดว่าด้วยเสรีภาพ เสมอภาค<br />
และภราดรภาพมากกว่าสมุดเล่มหนึ่งที่ไม่สามารถระบุสาระ<br />
ที่แน่นอนได้ การใช้สัญลักษณ์สมุดไทยบนพานแว่นฟ้านี้ผู้<br />
ออกแบบน่าจะได้แรงบันดาลใจจากภาพการพระราชทาน<br />
รัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1932 แล้วยึดถือต่อกัน<br />
เรื่อยมา นอกจากนี้ภาพแบบนี้ก็เหมือนกับการวางหนังสือ<br />
พระสูตรบนพานซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยเห็นได้ทั่วไปตามวัด<br />
จึงเป็นสัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่ายสำหรับคนไทยว่ารัฐธรรมนูญเป็น<br />
พระสูตร พระคัมภีร์สำคัญศักดิ์สิทธิ์เล่มใหม่อันพึงเคารพสักการะ<br />
โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจสาระอะไรเลยในหนังสือนั้น ดังเช่น<br />
พุทธศาสนิกชนไทยฟังการสวดมนต์ของพระสงฆ์ด้วยภาษาบาลี<br />
โดยไม่เข้าใจสาระอะไรเลยฉันนั้น<br />
โครงการอนุสาวรีย์ไทย เป็นโครงการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อ<br />
เป็นที่ระลึกและเฉลิมฉลองในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นอิสระหลุด<br />
พ้นจากข้อผูกมัดที่ไม่เป็นธรรมทางกฎหมาย ที่สยามทำไว้กับ<br />
จักรวรรดินิยมประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 รัฐบาลคณะ<br />
ราษฎรสามารถเจรจาแก้ไขสัญญาและร่างกฎหมายที่จำเป็น<br />
ตามข้อผูกมัดจนสำเร็จ ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาล<br />
อย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1938 ในการนี้รัฐบาลจัดให้มีการประกวด<br />
แบบโดยให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบ 104 พิจารณาตัดสินแล้ว<br />
ส่งแบบให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งมีมติในวันที่ 5 มิถุนายน<br />
ค.ศ. 1939 ว่าให้เรียกอนุสาวรีย์นี้ว่า “อนุสสาวรีย์ไทย” และควรให้<br />
เป็นรูปกระโจมไฟ 105 ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับแก้ไขแบบให้ดู<br />
ยิ่งใหญ่สมกับโอกาสที่พิเศษนี้เป็นรูปทรง “โลหะปราสาท” 106<br />
แต่ด้วยปัญหาทางงบประมาณทำให้โครงการนี้ถูกระงับไป<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
285
อนุสาวรีย์ไทยแบบ “กระโจมไฟ” เป็นการออกแบบ<br />
โครงการแรกโดยพระพรหมพิจิตรใน ค.ศ. 1939 ตามมติคณะ<br />
รัฐมนตรีให้เป็นรูป “กระโจมไฟ” ซึ่งความจริงเป็นประภาคาร<br />
ทรงไทย ลักษณะอาคารเป็นเสาสี่เหลี่ยมผังกากบาทสูงชะลูดบน<br />
เรือนธาตุสี่เหลี่ยมมีมุขทิศสี่ด้านที่ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้<br />
สิบสอง 3 ชั้นลดหลั่น ยอดสุดประดับซุ ้มไฟสี่เหลี่ยมหลังคาจตุรมุข<br />
มีเปลวไฟคอนกรีตประดับยอด พระพรหมพิจิตรร่างแบบเสนอถึง<br />
3 แบบในลักษณะเดียวกันแต่ต่างกันที่รายละเอียดปลีกย่อย<br />
ด้วยตั้งใจที่จะให้ตั้งไว้ที่ชายทะเลอำเภอปากน้ำ จังหวัด<br />
สมุทรปราการ 107 เพื่อที่จะให้เรือนานาชาติที่แล่นผ่านเห็นได้หมด<br />
และอาจมีนัยในการรำลึกถึงเหตุการปะทะกันทางเรือระหว่าง<br />
สยามกับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1894 (ร.ศ. 112) ด้วยก็ได้ แต่แล้ว<br />
อนุสาวรีย์ตามแบบนี้ก็ถูกค้านตกไปโดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพ<br />
เรือว่า สถานที่ตั้งประภาคารไม่เหมาะสมและไม่มีประโยชน์ต่อ<br />
การเดินเรือ เพราะมีประภาคารเก่าอยู่แล้วถึง 5 แห่ง ถ้าขืนสร้างจริง<br />
ก็อาจถูกนักเดินเรือต่างชาติที่เห็นติเตียนเย้ยหยันว่าคนไทยไม่มี<br />
หลักวิชาในการเดินเรือ 108 ด้วยเหตุนี้หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดี<br />
กรมศิลปากรจึงเปลี่ยนแบบใหม่เป็น “โลหะปราสาท”<br />
บน อนุสาวรีย์ไทยแบบกระโจมไฟ (1939)<br />
ล่าง อนุสาวรีย์ไทยแบบโลหะปราสาท (1939)<br />
286 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
อนุสาวรีย์ไทยแบบ “โลหะปราสาท” เป็นอนุสาวรีย์ไทยแบบที่2<br />
ที่พระพรหมพิจิตรร่างขึ้นตามแนวคิดของหลวงวิจิตรวาทการ 109<br />
อธิบดีกรมศิลปากรใน ค.ศ. 1939 เพื่อสร้างที่อำเภอปากน้ำ จังหวัด<br />
สมุทรปราการเช่นเดิม ลักษณะเป็นเจดีย์เหลี่ยมยอดปรางค์ตั้งบน<br />
ฐานหลายชั้นและล้อมด้วยระเบียงอีก ซึ่งคราวนี้หลวงวิจิตรวาท<br />
การต้องการสร้างให้ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและต้องการประโยชน์<br />
เชิงสัญลักษณ์ชาตินิยมเชื้อชาติไทยและเชิงเศรษฐกิจ 110<br />
ผังอนุสาวรีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีซุ้มทิศ 4 ด้าน ตั้งบนฐาน 8 เหลี่ยม<br />
3 ชั้น ประดับด้วยซุ้มทิศผังสี่เหลี่ยมทั้ง 4 มุม อาคารทั้งหมดรองรับ<br />
ด้วยฐานประทักษิณใหญ่และล้อมด้วยพระระเบียงอีกชั้นหนึ่ง<br />
ลักษณะอาคารเป็นเจดีย์แบบเรือนธาตุสี่เหลี่ยมมีซุ้มทิศ 4 ด้าน<br />
ประดับยอดปรางค์ทรงสูงแหลมคล้ายหัวกระสุนปืน ตั้งอยู่บนฐาน<br />
อาคารรูป 8 เหลี่ยมลดหลั่น 3 ชั้น มีซุ้มทิศสูง 2 ชั้น รูปทรงคล้ายตัว<br />
อนุสาวรีย์ย่อขนาดประดับ 4 มุม อาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐาน<br />
ประทักษิณสี่เหลี่ยมและล้อมด้วยพระระเบียงอีกชั้นหนึ่งโดยภาพรวม<br />
แล้วดูเหมือนศาสนสถานโบราณที่มีรูปแบบผสมระหว่างเขมร<br />
สุโขทัย และอยุธยาที่สร้างอย่างใหญ่โตด้วยขนาดความกว้างของ<br />
ระเบียงยาวด้านละ 80 เมตร และตัวอนุสาวรีย์ที่สูงถึง 100 เมตร 111<br />
นอกจากนี้หลวงวิจิตรวาทการยังวางแผนให้อาคารมีประโยชน์<br />
ใช้สอยที่คุ้มค่ากล่าวคือ ให้พระระเบียงเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงพืชผล<br />
และทรัพยากรของไทย ชั้นฐานประทักษิณใช้เป็นห้องโถงสำหรับ<br />
รับประทานอาหารและเต้นรำ ฐาน 8 เหลี่ยมชั้นแรกและชั้นที่ 2<br />
ทำเป็นโรงแรม และชั้นที่ 3 ทำเป็นห้องประชุม และเสนอให้เก็บ<br />
ค่าเข้าชมผู้เข้ามาในอาคาร 112 สิ่งที่หลวงวิจิตรวาทการกังวลใจมี<br />
ประการเดียวคือการเอาอาคารที่ดูคล้ายศาสนสถานนี้ท ำเป็นโรงแรม<br />
ซึ่งเขาก็เตรียมคำอธิบายไว้แล้ว 113 แต่สุดท้ายแล้วโครงการนี้ก็ล้ม<br />
ไปอีกด้วยราคาค่าก่อสร้างมากมายสำหรับขนาดมหึมาของมัน<br />
ที่น่าแปลกใจก็คือหลวงวิจิตรวาทการเจ้าของโครงการเป็นผู้ตัดสิน<br />
ใจล้มโครงการเสียเอง 114 โดยให้เหตุผลเพิ่มเติมว่ารัฐบาลได้สร้าง<br />
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วัดพระศรีมหาธาตุ และอนุสาวรีย์<br />
ในแง่การออกแบบ “อนุสสาวรีย์ไทย” ไม่มีอะไรใหม่หรือ<br />
ำมาแล้วไม่ว่าจะเป็นหอระฆัง<br />
วัดยานนาวา หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่ง<br />
เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขนก็ตาม นอกจากขนาดอันใหญ่โต<br />
ตามความทะเยอทะยานที่ถูกผลักดันด้วยลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ของเจ้าของโครงการเท่านั้นเอง<br />
ผังพื้นอนุสาวรีย์ไทยแบบโลหะปราสาท<br />
น่าสนใจกว่างานที่พระพรหมพิจิตรเคยท<br />
ชัยสมรภูมิก็น่าจะเพียงพอแล้ว 115<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
287
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของ<br />
คณะราษฎรในการรำลึกถึงการปฏิวัติ ค.ศ. 1932 สร้างขึ้นเพื่อเป็น<br />
เครื่องหมายแห่งระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน “...ได้รับสิทธิ<br />
เสรีภาพ สมภาพในส่วนตนและมีสิทธิมีเสียงในการปกครองบ้าน<br />
เมืองของไทยร่วมกับรัฐบาลและอย่างฉันท์ญาติพี่น้องกันด้วย...” 116<br />
สถาปัตยกรรมออกแบบโดย หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล<br />
ประติมากรรมออกแบบโดย คอร์ราโด เฟโรชี ก่อสร้างแล้วเสร็จทำ<br />
พิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />
สร้างในลักษณะศิลปะผสมระหว่างอาร์ตเด็คโค ฟาสซิสต์และ<br />
ไทยประยุกต์ โครงสร้างคอนกรีตเรียบง่ายตั้งอยู่กลางจุดตัดระหว่าง<br />
ถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ จุดเด่นของอนุสาวรีย์คือ<br />
ประติมากรรมรูปสมุดไทยวางบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้นอันเป็น<br />
สัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่บนยอดของป้อมทรงกระบอก<br />
หลังโค้งผนังหุ้มด้วยกาบ 6 แถบ แสดงถึงอิทธิพลของการออกแบบ<br />
เจดีย์ไทยโบราณที่องค์ระฆังหุ้มด้วยกลีบบัว ป้อมรับรัฐธรรมนูญ<br />
ล้อมรอบด้วยปีก 4 อัน หันเข้าหาป้อมในแนวทแยง ตัวปีกตั้งอยู่<br />
288 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ประติมากรรมประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1939)<br />
ล่าง ประติมากรรมประดับสะพานปอนเตดูกาดากอสตา โรม<br />
(1938-1939)<br />
หน้าตรงข้าม<br />
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940)<br />
บนฐานสี่เหลี่ยมประดับประติมากรรมนูนสูงแบบคลาสสิคที่ฐาน<br />
จำนวน 8 แผ่น แต่มีเพียง 4 แบบเท่านั้น บอกเล่าเรื่องราวของ<br />
การปฏิวัติประชาธิปไตยในสยาม ด้านสกัดของฐานปีก<br />
มีประติมากรรมรูปครุฑคายนาคพ่นน้ ำลงมาที่บ่อรับน้ ำ เป็นการจำลอง<br />
รูปแบบมกรคายนาคในประติมากรรมโบราณของพุทธศาสนา<br />
ที่มีหน้าที่เฝ้าพระอุโบสถ ล้อกับอนุสาวรีย์ทหารในยุโรปที่มักมีสัตว์<br />
ปกป้องเช่นสิงโต ดังตัวอย่างเช่น อนุสาวรีย์นิวพอร์ท (Nieuport<br />
Memorial) (ค.ศ. 1928) ในเบลเยี่ยม เป็นต้น กล่าวได้ว่ารูปแบบ<br />
ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้แนวทางมาจากอนุสาวรีย์พิทักษ์<br />
รัฐธรรมนูญ ทั้งในเรื่องขององค์ประกอบและประติมากรรม<br />
เพียงแต่ทำให้โอฬารตระการตามากขึ้นเท่านั้น โดยภาพรวมตัว<br />
อนุสาวรีย์ขาดความเด่นสง่าเพราะการใช้ป้อมรับรัฐธรรมนูญดูผิดเรื่อง<br />
และอยู่ผิดที่ ขณะที่ประติมากรรมรัฐธรรมนูญและพานแว่นฟ้าก็มี<br />
ขนาดเล็กเกินไป เมื่อเทียบกับปีกที่ล้อมทั้ง4 ด้าน ที่ความจริงดูก้ ำกึ่ง<br />
ระหว่างปีกนกกับคมมีดของดาบปลายปืนที่น่ากลัวมากกว่าประทับใจ<br />
ประติมากรรมประดับฐานรับปีกที่ออกแบบโดย คอร์ราโด เฟโรชี<br />
ก็มีขนาดเล็กเกินไปที่จะได้รับความสนใจจากผู้ชมที่อยู่บนทางเท้า<br />
เพราะตัวอนุสาวรีย์ตั้งอยู่บนวงเวียนกลางถนนที่มีขนาดกว้างมาก<br />
แต่อย่างไรก็ดีมันก็ยังเป็นงานศิลปะที่น่าชมที่สุดของอนุสาวรีย์แห่งนี้<br />
ประติมากรรม 4 แบบนี้ประกอบด้วยแผ่นแรกที่ว่าด้วยเรื่องราวการ<br />
วางแผนปฏิวัติของคณะผู้ก่อตั้ง “คณะราษฎร” แผ่นที่2 ว่าด้วยการ<br />
ปฏิวัติของทหารในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1932 แผ่นที่ 3<br />
ว่าด้วย “พลัง” ของชาวสยามในทุกสาขาอาชีพและอายุ ทั้งกรรมกร<br />
ชาวนา ผู้หญิง เด็ก และทหาร แผ่นที่ 4 ว่าด้วยหลัก 6 ประการ<br />
ของคณะราษฎรในรูปความยุติธรรม ความเสมอภาค การศึกษา<br />
เศรษฐกิจ และพุทธศาสนา มีหลักฐานว่าในตอนแรกนั้นคอร์ราโด<br />
เฟโรชี ได้ออกแบบประติมากรรมประดับฐานปีกไว้อย่างน้อย<br />
7 ด้านแต่มีอยู่ 3 ด้านที่ไม่ได้สร้างจริง 117 หนึ่งในประติมากรรมนั้น<br />
คือรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน<br />
รัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1932 ไม่ผ่านการคัดเลือก<br />
ให้สร้างจริงซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
289
พระมหากษัตริย์ในเวลาต่อมาดังที่กล่าวแล้ว ประติมากรรมที่ผ่าน<br />
การคัดเลือกทั้ง 4 แผ่น ถูกขยายและหล่อด้วยคอนกรีตเป็นคู่<br />
เพื่อติดตั้งให้ครบทั้ง 8 ด้านของฐานปีกล้อมรัฐธรรมนูญ ลักษณะ<br />
ประติมากรรมเป็นแบบคลาสสิคในรูปกลุ่มคนก ำลังแสดงท่าทางต่าง ๆ<br />
ที่มีความตามที่กล่าว ลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมนูนสูง<br />
ศิลปะฟาสซิสต์ ประดับฐานสะพานปอนเตดูกา ดาออสต้า (Ponte<br />
Duca d’Aosta) 118 ที่นำไปสู่สระว่ายน้ำโฟโรอิตาลิโก (Foro Italico)<br />
สถานที่เล่นกีฬาขนาดใหญ่ที่เลียนแบบสระน้ำสมัยโรมันใน<br />
ยุคทศวรรษ 1930 ซึ่งเป็นแผนหนึ่งในการสร้างชาตินักกีฬาของ<br />
มุสโสลินีผู้นำจอมเผด็จการลัทธิฟาสซิสต์ของอิตาลีที่ต้องการสร้าง<br />
อาณาจักรโรมที่ 3 ที่ประกอบด้วยพลเมืองที่แข็งแรงและห้าวหาญ<br />
ในการสู้รบ ออกแบบโดย วิโก คอนซอร์ติ(Vico Consorti) 119 (1902-<br />
1979) ใน ค.ศ. 1938-1939 เป็นภาพเหตุการณ์สู้รบในสงครามโลก<br />
ครั้งที่ 1 ของกองทัพที่ 3 ของอิตาลีต่อต้านผู้รุกรานที่แนวแม่น้ำ<br />
ไอซอนโซ (Isonzo) ตากลิอาเมนโต (Tagliamento) ซิเล (Sile)<br />
และอาดิเก (Adige) ที่นำโดยเจ้าชายเอมานูเอเล ฟิลิเบอร์โต ดยุคที่2<br />
แห่งอาออสต้า (Emanuelle Filiberto the 2nd Duke of Aosta) 120<br />
ใน ค.ศ. 1926 เป็นนายทหารที่ได้รับการยกย่องในความกล้าหาญ<br />
และได้รับการแต่งตั้งเป็นจอมพลโดย มุสโสลินี โดยเฉพาะรูปทหาร<br />
ในประติมากรรมแผ่นที่ 2 ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ปั้นโดย<br />
คอร์ราโด เฟโรชีเอง แต่สุดท้ายแล้วอนุสาวรีย์นี้ยังไม่มีพลัง<br />
พอเพียงในการสร้างความประทับใจ เพราะขนาดส่วนและองค์ประกอบ<br />
ที่ขาดเอกภาพและตรงไปตรงมามากเกินไป สาเหตุหลักน่าจะมาจาก<br />
แนวคิดในการออกแบบพานและรัฐธรรมนูญที่ได้กล่าวไปแล้วใน<br />
เรื่องอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ อีกประการหนึ่งก็คือบรรดา<br />
ตัวเลขทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับหลัก 6 ประการของคณะราษฎรและ<br />
วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1932 ที่ถูกนำมาเป็นรหัสกำหนดขนาด<br />
ความสูงต่ำกว้างยาวขององค์ประกอบสถาปัตยกรรม 121<br />
อย่างงมงาย จนสถาปนิกและประติมากรไม่สามารถกำหนดขนาด<br />
ที่จะสร้างความงามที่แท้จริงได้ ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลของการนับถือ<br />
เลขมงคลของคนไทยที่สืบต่อกันมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย<br />
ที่ปรากฏในคัมภีร์โบราณ เช่น ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น ที่ทุก<br />
องคาพยพของจักรวาลเต็มไปด้วยจ ำนวนตัวเลขต่าง ๆ ที่กลายเป็นหลัก<br />
ในการกำหนดขนาดและจำนวนองค์ของประกอบทางศิลปะ<br />
สถาปัตยกรรมของพุทธศาสนสถานของไทย เมื่อพิจารณาในแง่นี้<br />
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นตัวอย่างที่ดีของความเชื่อโบราณของไทย<br />
ที่ฝังอยู่ในเปลือกนอกของศิลปะฟาสซิสต์-อาร์ตเด็คโคร่วมสมัยที่<br />
ถูกนำทางด้วยความเชื่อทางการเมืองสมัยใหม่ในลัทธิ<br />
ประชาธิปไตยที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นจริงตั้งแต่วันปฏิวัติจนถึงวันที่เปิด<br />
อนุสาวรีย์<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว นโยบายชาตินิยมของรัฐบาล<br />
ได้พัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง ไปสู่ขั้น “การขอปรับปรุงเส้นเขตแดน” 122<br />
กับฝรั่งเศส จอมพล ป. พิบูลสงครามมีความคิดเจ็บแค้นอยู่เสมอ<br />
ว่าไทยได้รับความอยุติธรรมและ “เสียดินแดน” 123 บางส่วนของ<br />
ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และมาเลเซียในปัจจุบันให้กับฝรั่งเศส<br />
และอังกฤษ ซึ่งต้องหาโอกาสทวงคืนมาให้ได้ ตามกระแสชาตินิยม<br />
ขับไล่จักรวรรดินิยมตะวันตกและสร้างพันธมิตร “ร่วมวงไพบูลย์<br />
แห่งมหาเอเชียบูรพา” ที่นำโดยญี่ปุ่นที่สามารถรบชนะมหาอำนาจ<br />
รัสเซียได้ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นแบบอย่าง จอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามเริ่มปลุกเร้าลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยอย่างเป็น<br />
ระบบตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการดำเนิน<br />
ชีวิตประจำวันของคนไทยจากเรียบง่ายตามใจตนเองไปสู่ความ<br />
มีระเบียบวินัย ให้คนไทยเรียกตนเองว่าคนไทยเหมือนกันหมด<br />
ทุกวัฒนธรรมและภูมิภาคทั่วประเทศแม้กระทั่งจะอาศัยอยู่ในดินแดน<br />
124<br />
ประเทศลาวหรือเขมรก็ตามที นอกจากนี้ยังสร้างละครปลุกใจรักชาติ<br />
ที่เน้นวีรกรรมสู้รบของไทยในการปกป้องบ้านเมืองจากการรุกราน<br />
ของพม่าในอดีต และการปราบปรามประเทศราชที่แข็งข้อที ่แต่ง<br />
โดยหลวงวิจิตรวาทการตั้งแต่ ค.ศ. 1936 และได้รับการต้อนรับ<br />
อย่างอบอุ่นจากมวลชน เปรียบเสมือนการทำงานจิตวิทยามวลชนใน<br />
ยุคปัจจุบันเมื่อการยอมรับของมวลชนสุกงอมจอมพลป. พิบูลสงคราม<br />
จึงเริ่มขยับไปสู่ขั้นพร้อมทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อการ<br />
เรียกร้องดินแดน 125 โดยเห็นว่าฝรั่งเศสได้เพลี่ยงพล้ำแพ้สงคราม<br />
290 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942)<br />
ล่าง แบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
291
ซ้าย คอร์ราโด เฟโรชี (1892-1962)<br />
ขวา ประติกรรมประดับอนุสาวรีย์<br />
ชัสมรภูมิ (1942)<br />
กับเยอรมันในทวีปยุโรปในวันที่22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ประชาชน<br />
ในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยถึงกับเดินขบวนสนับสนุนการเรียกร้อง<br />
ดินแดนอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศสและอาสาสมัครเป็นทหารไปรบ 126<br />
สถานการณ์นำไปสู่การที่กองทหารทั้ง 2 ฝ่ายปะทะกันด้วยอาวุธ<br />
ในปลาย ค.ศ. 1940 ทั้งทางบก เรือ และอากาศ กองทัพไทย<br />
สามารถบุกเข้าไปในดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสได้แต่ไม่สามารถ<br />
เอาชนะเด็ดขาดได้ ญี่ปุ่นซึ่งเข้ายึดครองดินแดนบางส่วนของ<br />
เวียดนามแล้วยื่นมือเข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจาหยุดยิงใน<br />
เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 และเจรจาตกลงกันสำเร็จในเดือน<br />
พฤษภาคมปีเดียวกัน โดยไทยได้ดินแดนบางส่วนในลาวและ<br />
กัมพูชาแต่ต้องเสียเงินชดเชยให้ฝรั่งเศสถึง6 ล้านเปียสต์แต่ก็เพียงพอ<br />
ที่จะทำให้ไทยสรุปว่าตนเองได้รับชัยชนะเหนือจักรวรรดินิยมเก่า<br />
อย่างฝรั่งเศสที่อยู่ในสภาพจนมุมในสมรภูมิที่บ้านตนเองในยุโรป<br />
ชัยชนะนี้แลกมาด้วยชีวิตทหารตำรวจและพลเรือน 171 นาย<br />
ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงครามต้องการจะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเชิดชู<br />
เกียรติยศให้ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ ค.ศ. 1941 มีหม่อมหลวงปุ่ม<br />
มาลากุลเป็นสถาปนิก คอร์ราโด เฟโรชีและคณะศิษย์โรงเรียน<br />
ศิลปากรเป็นประติมากร อนุสาวรีย์สร้างเสร็จทำพิธีเปิดในวันที่ 24<br />
มิถุนายน ค.ศ. 1942 127 ซึ่งเป็นวันชาติและจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
มาเป็นประธานด้วยตนเอง<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างในลักษณะศิลปะผสมระหว่าง<br />
อาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์ แนวคิดชาตินิยมเชื้อชาติไทยที่ต้องการ<br />
ขยายดินแดนด้วยกำลังทหารที่ผู้นำสูงสุดมีอำนาจเด็ดขาดและ<br />
สนับสนุนโดยมวลชนคือตัวชี้วัด ไม่ว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
จะกล่าวอย่างไพเราะเพียงไรก็ตามว่าเขาท ำสงครามเพื่อความยุติธรรม<br />
ในความเป็นจริงอนุสาวรีย์นี้อยู่ภายใต้อิทธิพลลัทธิสังคมชาตินิยม<br />
หรือฟาสซิสต์ที่เด่นชัดที่สุด จุดเด่นของอนุสาวรีย์คือแท่งโอเบลิสก์<br />
(obelisk) ประยุกต์ตั้งบนฐานอาคารรูป 5 เหลี่ยมลดหลั่น 2 ชั้นที่<br />
วางบนอัฒจรรย์รูปกลม หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุลสถาปนิกได้<br />
292 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เนรมิตแท่งโอเบลิสก์ตันซึ่งเป็นรูปทรงอนุสาวรีย์โบราณตั้งแต่<br />
ยุคอียิปต์ขึ้นมาใหม่ โดยนำรูปทรงของดาบปลายปืน 5 เล่มมาวาง<br />
เรียงทางตั้งเอาสันชนกันและหันด้านคมดาบออกด้านนอก<br />
ซึ่งจะเห็นเป็นรูปดาว 5 แฉกเมื่อเขียนรูปตัดขวาง แต่หากมองหน้า<br />
ตรงแล้วกลับเหมือนใบดาบเรียงกันเป็นรูปกลีบมะเฟือง 5 แฉก<br />
ส่วนที่เป็น “ใบดาบ” สูง 31 เมตร 128 ปักอยู่บน “ด้ามดาบ” ฐาน 5<br />
เหลี่ยมตัน สูง 8.77 เมตร 129 รวมความสูงของส่วนที่เป็นใบดาบ<br />
และด้ามสูง 39.77 เมตร 130 ตั้งอยู่บนฐานอาคารรูป 5 เหลี่ยมตัด<br />
มุมโค้ง 2 ชั้น ลดหลั่นสูง 6.50 เมตร 131 ซึ่งเป็นอาคารกรุเก็บอัฐิ<br />
ตัวอนุสาวรีย์ทั้งหมดตั้งอยู่บนอัฒจรรย์รูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง<br />
50.50 เมตร 132 สูง 3 เมตร 133 จากระดับถนน มีบันไดขึ้นเป็น<br />
ชั้น ๆ จำนวน 4 ชั้น รวมความสูงอนุสาวรีย์ทั้งสิ้น 50 เมตร 134<br />
จุดเด่นสำคัญของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิคือประติมากรรมลอยตัว 5<br />
รูปตั้งที่ด้านหน้าของผนัง “ด้ามดาบ” ขนาดสูง 4.60 เมตร 135<br />
ตั้งบนฐานสูง 1.77 เมตร และสูงจากระดับถนน 12 เมตร 136 ปั้นโดย<br />
คอร์ราโด เฟโรชีและคณะศิษย์โรงเรียนศิลปากร เป็นรูปทหารบก<br />
เรือ อากาศ ตำรวจ และพลเรือน ท่าทางการเคลื่อนไหวในท่าสู้รบ<br />
ของรูปประติมากรรมยังคงเห็นอิทธิพลจากประติมากรรมนูนสูง<br />
ประดับฐานสะพานปอนเตดูกา ดาออสต้า ของวิโก คอนซอร์ติอยู่<br />
เช่นเดิม เป็นองค์ประกอบที่เพิ่มความสง่างามให้กับอนุสาวรีย์อย่างมาก<br />
และไม่เคยมีมาก่อน มากกว่าประติมากรรมนูนสูงรอบอนุสาวรีย์<br />
ประชาธิปไตย ลักษณะอนุสาวรีย์แท่งโอเบลิสก์ที่ล้อมรอบด้วย<br />
ประติมากรรมนั้น เราสามารถเห็นได้มากในประเทศอังกฤษ<br />
ในช่วงทศวรรษ 1920 ในฐานะอนุสาวรีย์แห่งสงครามโลกครั้งที่ 1<br />
เช่น อนุสาวรีย์อาล์นวิกวอร์เม็มโมเรียล (Alnwick War Memorial) 137<br />
(1922) ที่เมืองอาล์นวิก ลักษณะเป็นเสาดอริกตั้งบนฐาน<br />
สามเหลี่ยมยืนล้อมด้วยทหาร 3 นาย เหล่าบก เรือ และอากาศ<br />
ด้วยท่าทางสงบอาลัย โดยประติมากรโรเจอร์ เฮดลีย์ (Roger<br />
ซ้าย อนุสาวรีย์สงคราม<br />
ที่สถานีรถไฟยูสตัน (1921)<br />
ขวา อนุสาวรีย์อาล์นวิกวอร์เม็มโมเรียล<br />
(1922)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
293
อนุสาวรีย์สงครามที่พอร์ทซันไลท์ (1921)<br />
Hedley) อนุสาวรีย์ที่สถานีรถไฟยูสตัน (Euston Station War<br />
Memorial) 138 (1921) ที่กรุงลอนดอน ลักษณะเป็นเสาโอเบลิสก์<br />
สี่เหลี่ยมแต่ละมุมมีประติมากรรมทหารในท่าโรยปืนมุมละ 1 นาย<br />
ได้แก่ ทหารเรือ ทหารราบ ทหารอากาศ และทหารปืนใหญ่<br />
สถาปนิกคือ ริจินาล วีซิน โอเวน (Reginald Wysin Owen) และ<br />
ประติมากรคือคณะของอาร์ แอล โบลตัน และบุตร (Messrs R. L.<br />
Boulton & Sons) อนุสาวรีย์ที่ประติมากรรมมีลักษณะเคลื่อนไหว<br />
มากกว่าเรียกว่าแบบนิวสคัลป์เจอร์ (New Sculpture) เช่น<br />
อนุสาวรีย์สงครามที่พอร์ทซันไลท์(Port Sunlight War Memorial) 139<br />
(1921) โดยประติมากรกอสคอมบ์ จอห์น (Goscombe John) และ<br />
อนุสาวรีย์บู๊ทเทิลวอร์เม็มโมเรียล (Bootle War Memorial) 140<br />
(1922) ที ่เมอร์ซี่ไซด์ (Mercyside) โดยประติมากรเฮอร์มอน<br />
คาวธรา (Hermon Cawthra) และเฮอร์เบิร์ต เอิร์นสท์ บัลเมอร์<br />
(Herbert Ernest Bulmer) เมื่อเปรียบเทียบกับอนุสาวรีย์ร่วมสมัยใน<br />
อังกฤษแล้วความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือประติมากรรมของคอร์ราโด<br />
เฟโรชีมีลักษณะสู้รบและโครงเส้นเป็นเหลี่ยมในแบบประติมากรรม<br />
ลัทธิฟาสซิสต์ร่วมสมัยทศวรรษที่ 1930-1940 ของอิตาลี<br />
มากกว่าสงบอาลัยและเส้นสายเหมือนจริงในแบบอังกฤษดูได้<br />
294 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ในตัวอย่างเปรียบเทียบที่ 1 (อาล์นวิก) และ 2 (ยูสตัน) ที่ลักษณะ<br />
องค์ประกอบอนุสาวรีย์คล้ายของไทยแต่ท่าทางของประติมากรรม<br />
นั้นตรงกันข้าม ส่วนตัวอย่างเปรียบเทียบที่3 (พอร์ทซันไลท์) และ<br />
4 (เมอร์ซี่ไซด์) นั้นเส้นสายของประติมากรรมเป็นเหลี่ยมน้อยกว่า<br />
เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิออกแบบ<br />
ได้ดีในแง่ของรูปทรงและองค์ประกอบ สัดส่วนและแนวคิดที่ชัดเจน<br />
ในการสื่อสารมากกว่าอนุสาวรีย์เพื่อประชาธิปไตยอีก 2 แห่ง<br />
เหตุผลประการแรกเพราะผู้ออกแบบเป็นอิสระจากการผูกมัดด้วย<br />
ตัวเลขรหัสทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มาของอนุสาวรีย์<br />
ตัวเลขที่สำคัญของอนุสาวรีย์นี้มีเพียงเลข 5 ที่มาจากแนวคิดที่ว่า<br />
สงครามนี้ได้ชัยชนะเพราะบุคคล 5 เหล่าคือ ทหารบก เรือ อากาศ<br />
ตำรวจ และพลเรือน และสถาปนิกและประติมากรมีความสามารถ<br />
พอที่จะแปลงตัวเลขนี้มาเป็นอนุสาวรีย์ที่รำลึกถึงการพลีชีพ<br />
ในสงคราม ประการที่2 คือการเป็นอิสระจากศิลปะสถาปัตยกรรม<br />
ไทยโบราณอย่างสิ้นเชิง ทำให้รูปแบบอนุสาวรีย์ชัดเจนไม่ครึ่ง ๆ<br />
กลาง ๆ ระหว่างสมัยใหม่กับไทยโบราณ ประการที่ 3 คือการใช้<br />
ประติมากรรมเข้ามาประกอบสถาปัตยกรรมอย่างมีพลัง 141 เป็นตัว<br />
ส่งเสริมอนุสาวรีย์ทั้งรูปแบบและความหมายได้อย่างชัดเจน<br />
แต่เนื่องด้วยมูลเหตุแห่งการสร้างสถานที่แห่งนี้จึงเป็นอนุสาวรีย์<br />
แห่งลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยและลัทธิการใช้กำลังทหารเพื่อสร้าง<br />
มหาอาณาจักรไทยในช่วงทศวรรษที่1940 สอดคล้องกับพันธมิตร<br />
ญี่ปุ่นที่ต้องการเป็นเจ้าภูมิภาคเอเชีย สมบูรณ์ทั้งรูปแบบและ<br />
แนวคิดซึ่งผู้สร้างขณะนั้นเชื่อว่านี่คืออนุสาวรีย์แห่งชัยชนะและ<br />
ความยุติธรรมทางประวัติศาสตร์ที่ไทยควรได้รับจากจักรวรรดินิยม<br />
ฝรั่งเศสที่กำลังล่มสลาย แต่แล้วในที่สุดเพียง 3 ปีหลังจากเปิด<br />
อนุสาวรีย์ ไทยและพันธมิตรญี่ปุ่นก็พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงในสงคราม<br />
เอเชียแปซิฟิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกลายเป็นสถานที่ที่มีชื่อตรงข้าม<br />
กับความจริง เป็นที่รำลึกถึงความหลงชาติและความทะเยอทะยาน<br />
ที่ไม่เคยประสบความสำเร็จของรัฐบาลยุคนั้น<br />
อนุสาวรีย์บู๊ทเทิลวอร์ เม็มโมเรียล (1922)<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
295
สรุปคุณค่าสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในรัชสมัยพระบาท<br />
สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8<br />
ในช่วงเวลา 2 ทศวรรษตั้งแต่ ค.ศ. 1925-1945 หรือช่วง<br />
รัชสมัยของรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 8 นั้น กล่าวได้ว่าเป็น<br />
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและค่านิยมของประเทศไทยครั้งที่ 2<br />
หลังจากการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5<br />
แต่ครั้งนี ้นับว่ารุนแรงกว่าเพราะมีการใช้กำลังเพื่อการชิงอำนาจ<br />
และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง การต่อสู้เริ่มจากอุดมการณ์<br />
ในการสถาปนาและพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย แต่แล้วเมื่อกลุ่ม<br />
ผู้นำใหม่สามารถเอาชนะระบอบเก่าได้ กลับมาหมุนวนอยู่ในกรอบเดิม<br />
ของแนวคิดชาตินิยมเชื้อชาติไทยและการสร้างมหาอาณาจักรไทย<br />
ที่มีรากความคิดมาจากระบอบเดิม แนวคิดดังกล่าวทำให้ผู้นำไทย<br />
หันเหไปสู่ลัทธิเผด็จการทหารและผูกพันธมิตรกับชาติฟาสซิสต์ที่<br />
ต้องการเป็นเจ้าภูมิภาคเอเชียเช่นจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นภายในประเทศ<br />
จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้นำเผด็จการแต่เพียงผู้เดียว<br />
เขาสร้างนโยบาย “รัฐนิยม” ให้คนไทยปฏิบัติตามเพื่อสร้างค่านิยมใหม่<br />
ในการหลงลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย ไม่นิยมต่างชาติเขาเรียกร้อง<br />
ให้เชื่อฟังท่านผู้นำร่วมกันสร้างชาติ เพื่อให้ประเทศไทยเจริญ<br />
รุ่งเรืองเป็นอารยประเทศ<br />
สถาปัตยกรรมที่สร้างในยุคนี้ได้สะท้อนแนวคิดของกลุ่มผู้น ำ<br />
ระบอบใหม่โดยเฉพาะจอมพล ป. พิบูลสงครามอย่างน่าสนใจ<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญแม้จะมีเป้าหมายเหมือนชื่อแต่ก็<br />
สืบทอดแนวคิดชาตินิยมเชื้อชาติไทยจากระบอบเก่ามาด้วย<br />
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแม้สร้างเพื่อเชิดชูการสถาปนาระบอบ<br />
ประชาธิปไตยแต่ก็แฝงด้วยศิลปะฟาสซิสต์ในบรรยากาศที่รัฐบาล<br />
ปลุกมวลชนให้หลงในลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยและการสร้าง<br />
มหาอาณาจักรไทย และที่สำคัญคืออนุสาวรีย์ทั้ง2 แทนค่ารัฐธรรมนูญ<br />
เป็นเพียงสมุดไทยเล่มหนึ่งบนพาน มันจึงไม่มีพลังพอที่จะสื่อ<br />
แนวคิดแห่งเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพที่เป็นความหมาย<br />
ที่แท้จริงได้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1938 ที่จอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นเป็น<br />
นายกรัฐมนตรีลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยเบ่งบานเติบโตรัฐบาลสร้าง<br />
อาคารที่แสดงความยิ่งใหญ่ในอดีตและอนาคตของประเทศไทย<br />
เช่น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แสดงความวีระ<br />
อาจหาญของกษัตริย์ในอดีตผ่านประติมากรรมหน้าอาคาร<br />
อาคารริมถนนราชดำเนินกลางทั้ง 2 ฝั่งยาวตลอดแนว 1.2 กิโลเมตร<br />
แสดงความยิ่งใหญ่ทันสมัยของบ้านเมืองผ่านเศรษฐกิจสมัยใหม่<br />
สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติเป็นตัวแทนของประเทศที่<br />
ประชาชนมีคุณภาพ เป็นนักกีฬาที่มีพลานามัยสมบูรณ์อันเป็น<br />
ประเด็นสำคัญหนึ่งของลัทธิฟาสซิสต์ที่ประชาชนของรัฐจะต้องแข็ง<br />
แรงและองอาจกล้าหาญในการรบ ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก<br />
แสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารของประเทศ<br />
กระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรมริมถนนราชดำเนินในแสดง<br />
ความเป็นชาติที่มีเอกราชทางการศาลอย่างสมบูรณ์อาคารทั้งหมดนี้<br />
สร้างโดยสถาปนิกรุ่นใหม่ชาวไทยที่สำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรม<br />
จากยุโรป บางคนเคยทำงานขนาดเล็กมาบ้างในรัชกาลก่อนและ<br />
ได้รับความไว้วางใจให้ทำงานใหญ่ในยุคประชาธิปไตยนี้โดยเฉพาะ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์แห่งกรมศิลปากรที่มีงานใหญ่มากที่สุด<br />
และได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบฟาสซิสต์ของมาร์เซลโล<br />
ปิอาเซนตินี สถาปนิกชาวอิตาเลียน รวมทั้งการร่วมงานของ<br />
ประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี ชาวอิตาเลียนที่สร้างงานประติมากรรม<br />
ประดับด้านหน้าอาคารให้ดูโดดเด่นแบบฟาสซิสต์หลายงาน<br />
ส่วนงานอิทธิพลศิลปะฟาสซิสต์ที่โดดเด่นที่สุดที่คอร์ราโด เฟโรชี<br />
ทำก็คือประติมากรรมรูปทหาร ตำรวจ และพลเรือน รอบอนุสาวรีย์<br />
ชัยสมรภูมิ ที่เขาร่วมกับสถาปนิกหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล<br />
ออกแบบเพื่อฉลองชัยชนะในการขยายดินแดนที่ไม่เคยเป็นจริง<br />
ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในขณะเดียวกันสถาปนิกที่ทำงาน<br />
สถาปัตยกรรมไทยก็สร้างผลงานในแบบไทยสมัยใหม่ไม่น้อยหน้า<br />
สถาปนิกสากลและบางงานก็ยังเป็นการร่วมมือกันออกแบบด้วย<br />
เช่น หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่พระพรหมพิจิตร<br />
ออกแบบร่วมกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้อย่างน่าชม แต่งานที่<br />
296 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สร้างความสนเท่ห์ให้กับผู้ชมมากที่สุดคือ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ<br />
บางเขน ที่พระพรหมพิจิตรแปลงองค์ประกอบของเจดีย์เป็นรูปทรง<br />
เรขาคณิตทั้งหมดและตัดการประดับตกแต่งออกหมด จนต้อง<br />
ยอมรับว่าเจดีย์นี้เป็นเจดีย์แบบไทยสมัยใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน<br />
แต่ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนสู่ความทันสมัยนั้นเมื่อ<br />
ประเทศไทยต้องส่งตัวแทนสถาปัตยกรรมไปอวดตัวตนในเวที<br />
นานาชาติที่กรุงปารีสใน ค.ศ. 1937 แล้ว พระพรหมพิจิตรกลับ<br />
ไม่กล้าทำอะไรมากไปกว่าการลอกแบบโบราณของพระที่นั่งไอสวร<br />
รย์ทิพยอาสน์ไปตั้งเป็นศาลาสยาม ขณะที่สถาปนิกญี่ปุ่นกล้าพอที่<br />
จะสร้างศาลาประจำชาติในแบบสากลนิยมสมัยใหม่อิทธิพลเลอ<br />
คอร์บูซิเอร์ โดยไม่เกรงใจรัฐบาลชาตินิยมฟาสซิสต์ที่โตเกียวเลย<br />
ในแง่สถาปัตยกรรมเรากล่าวได้ว่าผลงานในสมัยรัชกาลที่8<br />
ไม่มีอะไรใหม่หรือโดดเด่นเป็นพิเศษ กล่าวไม่ได้ว่ามีผลงานที่มา<br />
จากการสังเคราะห์ทฤษฎีลึกซึ้งอะไรของตนเองแต่ยังเป็นการหยิบยืม<br />
แบบศิลปะมาจากยุโรปหรือไม่ก็แบบโบราณของไทยเองเรื่องที่น่ายินดี<br />
ก็คือเป็นครั้งแรกที่บรรดาสถาปนิกไทยมีความสามารถท ำงานโครงการ<br />
ขนาดใหญ่ได้ด้วยตนเอง และพวกเขาก็เลือกใช้แนวทางศิลปะ<br />
อาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์ที่มาจากรากฐานงานเชิงประวัติศาสตร์<br />
อนุรักษ์นิยมในการออกแบบ ซึ่งก็เป็นไปตามบรรยากาศทางการ<br />
เมืองของประเทศและพื้นฐานการศึกษาของพวกเขา ผลงานของ<br />
สถาปนิกและประติมากรในช่วงเวลานี้คือการแปลความรัฐไทย<br />
ในอุดมคติที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นอารยะของบรรดาผู้นำรัฐบาลให้<br />
เป็นรูปธรรม แม้ว่าจะเป็นการเดินตามแนวทางที่ทะเยอทะยาน<br />
หลงเชื้อชาติและใช้กำลังตัดสินความขัดแย้ง แต่มันก็เป็นหลักฐาน<br />
หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถึงจะไม่มีอะไรสวยงามนักแต่ก็ต้องจดจ ำ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
297
เชิงอรรถบทที่ 3<br />
1 เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดาร<br />
กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 (พระนคร:<br />
องค์การค้าคุรุสภา, 2504), 188.<br />
2 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารง<br />
ราชานุภาพ, ประชุมพงศาวดารเล่ม 14<br />
(ประชุมพงศาวดารภาค 22-25) (พระนคร:<br />
องค์การค้าคุรุสภา, 2507), 261-262.<br />
3 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่ 4- พ.ศ.2480 (กรุงเทพฯ:<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), 53.<br />
4 เรื่องเดียวกัน, 39.<br />
5 เรื่องเดียวกัน, 33.<br />
6 เรื่องเดียวกัน, 33.<br />
7 เรื่องเดียวกัน, 57.<br />
8 เรื่องเดียวกัน, 40.<br />
9 หนังสือราชกิจจานุเบกษา ประกาศเปลี่ยน<br />
ธรรมเนียมใหม่ วันอาทิตย เดือน12 แรม12ค่า<br />
ปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235 ใน ประกาศการ<br />
ยกเลิกหมอบคลาน, เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม<br />
2560, เข้าถึงได้จากhttp://prachatai.com/jour<br />
nal/2012/10/43275<br />
10 กรมศิลปากร, “ประกาศเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย,”<br />
ใน การเลิกทาสในรัชกาลที่ 5 (พระนคร: บารุง<br />
นุกูลกิจ, 2499), 59.<br />
11 พิริยา พิทยาวัฒนชัย, “สถาปัตยกรรมของโยอาคิม<br />
กราซีในสยาม” (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา<br />
บัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554),<br />
115.<br />
12 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่ 4- พ.ศ.2480, 185.<br />
13 เจ้านายและข้าราชการ กราบบังคมทูลความเห็น<br />
จัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 และ<br />
พระราชดารัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการ<br />
ปกครองแผ่นดิน (นครหลวง: พิฆเณศ, 2515),30.<br />
14 เรื่องเดียวกัน, 73.<br />
15 ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคริส เบเคอร์, เศรษฐกิจ<br />
การเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (กรุงเทพฯ: ตรัสวิน,<br />
2539), 28.<br />
16 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่ 4- พ.ศ.2480, 142.<br />
17 เรื่องเดียวกัน, 221.<br />
18 เรื่องเดียวกัน, 136, 137.<br />
19 เรื่องเดียวกัน, 220.<br />
20 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, รายงานการวิจัย<br />
สถาปัตยกรรมของคาร์ล ดือห์ริ่ง (นครปฐม:<br />
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540), 41.<br />
21 เรื่องเดียวกัน, 41.<br />
22 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารง<br />
ราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี (กรุงเทพฯ: ดอก<br />
หญ้า, 2543), 441-495.<br />
23 W.G.Johnson, Arnold Wright and Oliver T.<br />
Breakspear, Twentieth Century Impressions of<br />
Siam (London: Lloyd’s Greater Britain<br />
Publishing Company Ltd, 1908), 230.<br />
24 “ประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์<br />
สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 13, ตอนที่25 (20 กันยายน 1896): 265-268.<br />
25 “ปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาส,” 23 เมษายน<br />
รัตนโกสินทร์ศก 123-22 พฤศจิกายน<br />
รัตนโกสินทร์ศก 124, เอกสารกระทรวงมหาดไทย,<br />
ม.ร.5 (ร.)/37, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
26 W.G.Johnson, Arnold Wright and Oliver T.<br />
Breakspear, Twentieth Century Impressions of<br />
Siam, 233.<br />
27 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่ 4- พ.ศ.2480, 270-271.<br />
28 Michael Howard, “For God, King and Country,”<br />
The National Interest 97 (Sept/Oct 2008): 54.<br />
29 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เที่ยว<br />
เมืองพระร่วง (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราช<br />
วิทยาลัย, 2519), ง-จ.<br />
30 เป็นจารึกบนผนังศาลที่เรียกว่า อนุสาวรีย์ข้าง<br />
องค์เจดีย์ ดู ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ และวิไลรัตน์<br />
ยังรอด, คู่มือการเรียนรู้กรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ:<br />
มิวเซียมเพรส, 2546), 72.<br />
31 “พระราชดารัสตอบในการเปิดโรงเรียนเพาะช่าง”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 30 (25 มกราคม 2456):<br />
2499-2500.<br />
32 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง<br />
ราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี, 441-495.<br />
33 “พระราชทานเงินเข้าในการสร้างอนุสาวรีย์ที่ฝังอัฐิ<br />
ทหารซึ่งตายในราชการสงคราม” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 36 (14 กันยายน 2462): 1684.<br />
34 “พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่กองทหารซึ่ง<br />
กลับจากงานพระราชสงคราม” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 36 (28 กันยายน 2462): 1784.<br />
35 อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ, เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์<br />
2560, เข้าถึงได้จาก http://kanchanapisek.or.th/<br />
kp8/nki/nki103.html<br />
36 “กระแสพระราชโองการเขียนบรรจุศิลาพระฤกษ์”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 (28 สิงหาคม<br />
รัตนโกสินทร์ศก 129): 1108.<br />
37 เบนจามิน เอ. บัทสัน, อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ในสยาม, แปลโดย กาญจนี ละอองศรี และคณะ<br />
(กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,<br />
2543), 275.<br />
38 “คำแถลงนโยบายของรัฐบาล” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 49 (8 มกราคม 2475)(พ.ศ.2476 ตามปฏิทิน<br />
ปัจจุบัน): 3428-3434.<br />
39 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475-<br />
2500 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย<br />
ธรรมศาสตร์, 2544), 141.<br />
40 เรื่องเดียวกัน, 161.<br />
41 Jan Lahmeyer, Thailand, historical<br />
demographical data of the whole country,<br />
accessed May 30, 2016, available from http://<br />
www.populstat.info/Asia/thailanc.htm, 1.<br />
42 Ibid.<br />
43 “ประกาศพระราชทานนามพระที่นั่งแลพระตำหนัก<br />
ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม” ราชกิจ<br />
จานุเบกษา เล่ม 34 (10 กุมภาพันธ์ 2460): 597.<br />
44 สรรใจ แสงวิเชียร, ศิริราชร้อยปี: ประวัติและ<br />
298 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
วิวัฒนาการ (กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช<br />
พยาบาล, 2531), 137.<br />
45 พระสาโรชน์รัตนนิมมานก์, “การสร้างอาคารที่<br />
ศิริราชพยาบาล” ใน อนุสรณ์ 84 ปี ศิริราช<br />
(กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2519), 498.<br />
46 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475-<br />
2500, 187.<br />
47 วรา ไวยหงส์, “เอกราชทางการศาล” ใน ที่ระลึก<br />
นิทรรศการทางการศาล สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์<br />
สองร้อยปี (กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม, 2525), 103.<br />
48 เรื่องเดียวกัน.<br />
49 “เรื่องอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา,” 8 มิถุนายน 2482,<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ หนังสือจาก<br />
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีถึงรัฐมนตรีว่าการ<br />
กระทรวงกลาโหม, ศธ 0701.41.1/26, หอ<br />
จดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
50 “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี กล่าวทางวิทยุ<br />
กระจายเสียงแด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล<br />
ในอภิลักขิตสมัยแห่งงานเฉลิมฉลองวันชาติและ<br />
สนธิสัญญา 24 มิถุนายน 2482” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 56 (24 มิถุนายน 2482): 816.<br />
51 เรื่องเดียวกัน, 819.<br />
52 เรื่องเดียวกัน, 825-827.<br />
53 เรื่องเดียวกัน, 829.<br />
54 เรื่องเดียวกัน.<br />
55 เรื่องเดียวกัน, 829-830.<br />
56 เรื่องเดียวกัน, 833-836.<br />
57 “คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีกล่าวแก่มวลชน<br />
ชาวไทยโดยทางวิทยุกระจายเสียง วันที่20 ตุลาคม<br />
2483” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 (29 ตุลาคม<br />
2483): 2628-2629.<br />
58 เรื่องเดียวกัน, 2624.<br />
59 เรื่องเดียวกัน, 2623.<br />
60 Bruce E. Reynolds, “Phibun Songkhram and<br />
Thai Nationalism in the Fascist Era. European,”<br />
Journal of East Asian Studies 3, 1 (2004): 126.<br />
61 “พิธีสารระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นว่า<br />
ด้วยหลักประกันและความเข้าใจกันทางการเมือง”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 (5 กรกฎาคม 2484):<br />
891-893.<br />
62 “ประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอนที่ 5 (25 มกราคม<br />
2485): 244-246.<br />
63 “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับ<br />
ประเทศญี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 (21<br />
ธันวาคม 2484): 1826.<br />
64 “ประกาสไช้สนธิสัญญาระหว่างประเทสไทยกับประ<br />
เทสยี่ปุ่นว่าด้วยอานาเขตของประเทสไทยไนมาลัย<br />
และภูมิภาคฉาน” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60, ตอน<br />
ที่ 55 (18 ตุลาคม 2486): ik1529-1531.<br />
65 “ความตกลงทางวัธนธัมระหว่างประเทสไทยกับ<br />
ประเทสยี่ปุ่น” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอนที่<br />
81 (29 ธันวาคม 2485): 2621-2631.<br />
66 เรื่องเดียวกัน, 2629.<br />
67 ดู บันทึกของนายพลนากามูระ อะกิโตะ ผู้<br />
บัญชาการทหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ใน ชาญวิทย์<br />
เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475-2500, 382.<br />
68 “เรื่องบันทึกที่ 25/2486 จากรัถมนตรีว่าการกะซ<br />
วงการต่างประเทสถึงนายกรัถมนตรี,” 3 พฤษภาคม<br />
2486, เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ, กต<br />
1.1.5/11, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 3.<br />
69 “เรื่องบันทึกที่ 51/2486 จากรัถมนตรีว่าการกะซ<br />
วงการต่างประเทสถึงนายกรัถมนตรี,” 26 กันยายน<br />
2486, เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ, กต<br />
1.1.5/11, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 1-4.<br />
70 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475-<br />
2500, 407.<br />
71 “ประกาศสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อ<br />
ประเทศ, ประชาชน และสัญชาติ” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 56 (24 มิถุนายน 2482): 810.<br />
72 หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “รายงานการ<br />
เปิดตึกต่างๆ,” 24 มิถุนายน 2484, เอกสาร<br />
จ18.5/1/5, 23-24.<br />
73 พระสารศาสตร์ศิริลักษณ์, “ประวัติพระสาโรชรัตน<br />
นิมมานก์” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (พระนคร: โรงพิมพ์ชัย<br />
ศิริ, 2493), 10.<br />
74 “คำแถลงนโยบายของรัฐบาล คณะที่นายพันเอก<br />
พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 23<br />
ธันวาคม 2480” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 54 (3<br />
มกราคม 2480): 2336.<br />
75 “สุนทรพจน์นายกรัฐมนตรีกล่าวทางวิทยุกระจาย<br />
เสียงแด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวลในอภิลักขิตสมัย<br />
แห่งงานเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน 2483”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 (24 มิถุนายน 2483): 856.<br />
76 “ประกาศสานักนายกรัฐมนตรี เรื่องกาหนดภาพ<br />
เครื่องหมายราชการ” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128,<br />
ตอนพิเศษ 47ง (24 เมษายน 2554): 34.<br />
77 War Memorial: Men of Hackney(WMR-2274),<br />
accessed April 3, 2017, available from http://<br />
www.iwm.org.uk/ memorials/item/memori<br />
al/2274<br />
78 ประวัติศาลแขวงสงขลา, เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม<br />
2550, เข้าถึงได้จาก http://www.judiciary.go.th/<br />
sklmc/index1.htm<br />
79 พระสารศาสตร์ศิริลักษณ์, อนุสรณ์งาน<br />
พระราชทานเพลิงศพพระสาโรชรัตนนิมมานก์, 10.<br />
80 เรื่องเดียวกัน.<br />
81 เรื่องเดียวกัน.<br />
82 “คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีกล่าวแก่มวลชน<br />
ชาวไทยโดยทางวิทยุกระจายเสียง วันที่20 ตุลาคม<br />
2483” ราชกิจจานุเบกษา. 2622.<br />
83 Terry Kirk, The Architecture of Modern Italy,<br />
Volume I: The Challenge of Tradition, 1750-<br />
1900 (New York: Princeton Architectural Press,<br />
2005), 118, 119.<br />
84 “ประกาศสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับ<br />
ที่ 5 เรื่องให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภค<br />
บริโภคที ่มีกาเนิดหรือทาขึ้นในประเทศไทย”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 (6 พฤศจิกายน 2482):<br />
2359-2360.<br />
85 วิชา มหาคุณ, บรรณาธิการ, “บันทึกเรื่องการสร้าง<br />
ศาลฎีกา” ใน ที่ระลึกนิทรรศการทางการศาล<br />
สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี, 21.<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
299
86 เรื่องเดียวกัน, 22.<br />
87 เรื่องเดียวกัน, 24.<br />
88 เรื่องเดียวกัน, 25.<br />
89 พินัย สิริเกียรติกุล, “ณ ที่นี้ไม่มี ‘ความเสื่อม’ :<br />
ถนนราชดาเนิน พ.ศ. 2484-2488,” หน้าจั่ว ว่าด้วย<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรม<br />
ไทย 6 (กันยายน 2552-สิงหาคม 2553): 31.<br />
90 วิชา มหาคุณ, บรรณาธิการ, “บันทึกเรื่องการสร้าง<br />
ศาลฎีกา” ใน ที่ระลึกนิทรรศการทางการศาล<br />
สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี, 27, 28.<br />
91 เรื่องเดียวกัน, 30.<br />
92 “เรื่องโครงการกรมศิลปากร,” 2476, เอกสาร<br />
กระทรวงศึกษาธิการ, ศธ 0701.9.1/4, หอ<br />
จดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
93 เรื่องเดียวกัน.<br />
94 “คำแถลงนโยบายของรัฐบาล 26 ธันวาคม 2481”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 (2 มกราคม 2481):<br />
3322.<br />
95 เรื่องเดียวกัน.<br />
96 หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร, งานสถาปัตยกรรม<br />
ของหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (พระนคร: โรง<br />
พิมพ์พระจันทร์, 2510), ไม่มีเลขหน้า.<br />
97 ศาลาไทยกรุงปารีส 2480, เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน<br />
2560, เข้าถึงได้จาก www.cokethai.com/forum<br />
98 “เรื่องประกาศประกวดแบบอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา<br />
ของชาติ,” 20 เมษายน 2482, เอกสารกระทรวง<br />
ศึกษาธิการ, ศธ 0701.41.1/26, หอจดหมายเหตุ<br />
แห่งชาติ.<br />
99 “เรื่องอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา,” 8 มิถุนายน 2482,<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ, ศธ 0701.41.1/26,<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
100 วิชัย ภู่โยธิน, “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ใน<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ วัดพระศรีมหาธาตุ<br />
วรมหาวิหาร สถาบันราชภัฎพระนคร (กรุงเทพฯ:<br />
สถาบันราชภัฎพระนคร, 2539), 30.<br />
101 เรื่องเดียวกัน, 29.<br />
102 “คากล่าวตอบของ พณฯนายกรัฐมนตรีในการเปิด<br />
อนุสสาวรีย์ประชาธิปไตย ณ วันชาติ 2483” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 57 (25 มิถุนายน 2483): 878.<br />
103 “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี กล่าวทางวิทยุ<br />
กระจายเสียงแด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล ใน<br />
อภิลักขิตสมัยแห่งงานฉลองวันชาติและสนธิ<br />
สัญญา 24 มิถุนายน 2482” ราชกิจจานุเบกษา, 830.<br />
104 “เรื่องอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา,” 8 มิถุนายน 2482,<br />
ไม่มีเลขหน้า.<br />
105 เรื่องเดียวกัน.<br />
106 “เรื่องการสร้างอนุสสาวรีย์ไทย,” 23 เมษายน<br />
2484, เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ, ศธ<br />
0701.42/10, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 1.<br />
107 “เรื่องประกาศประกวดแบบอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา<br />
ของชาติ,” 20 เมษายน 2482, เอกสารกระทรวง<br />
ศึกษาธิการ, ศธ 0701.41.1/26, หอจดหมายเหตุ<br />
แห่งชาติ, 34, 35.<br />
108 “เรื่องอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา,” 6 กรกฎาคม 2482,<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ, ศธ 0701.41.1/26,<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 19, 20.<br />
109 “เรื่องแผนผังอนุสสาวรีย์ไทย,” 18 กุมภาพันธ์<br />
2482, เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ, ศธ<br />
0701.41.1/26, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, 11, 12.<br />
110 เรื่องเดียวกัน.<br />
111 เรื่องเดียวกัน.<br />
112 “เรื่องแผนผังอนุสสาวรีย์ไทย,” 18 กุมภาพันธ์<br />
2482, 11, 12.<br />
113 เรื่องเดียวกัน.<br />
114 “เรื่องการสร้างอนุสสาวรีย์ไทย,” 23 เมษายน<br />
2484.<br />
115 เรื่องเดียวกัน.<br />
116 “สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีกล่าวทางวิทยุ<br />
กระจายเสียงแด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล<br />
ในอภิลักขิตสมัยแห่งงานวันฉลองวันชาติ 24<br />
มิถุนายน 2483” ราชกิจจานุเบกษา, 852.<br />
117 มหาวิทยาลัยศิลปากร, นิทรรศการเชิดชูเกียรติ<br />
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2535), ไม่มีเลขหน้า.<br />
118 Manuel Cohen, Relief, Ponte Duca d’Aosta,<br />
Rome, Italy, accessed September 29, 2016,<br />
available from http://manuelcohen.photoshel<br />
ter.com/image<br />
119 Ibid.<br />
120 Clementi, Ponte Ducca d’aosta, accessed<br />
March 30, 2017, available from http://www.<br />
trekearth.com/gallery/ Europe/Italy/Lazio/<br />
Rome/Roma/photo82533.htm<br />
121 “รายงานการสร้างอนุสสาวรีย์ประชาธิปไตย” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 57 (24 มิถุนายน 2483): 874.<br />
122 “คาปราศรัยของนายกรัฐมนตรีกล่าวแก่มวลชน<br />
ชาวไทยโดยทางวิทยุกระจายเสียง วันที่20 ตุลาคม<br />
2483” ราชกิจจานุเบกษา, 2617.<br />
123 เรื่องเดียวกัน, 2619.<br />
124 “คาปราศรัยของนายกรัฐมนตรีกล่าวแก่มวลชน<br />
ชาวไทยโดยทางวิทยุกระจายเสียง วันที่20 ตุลาคม<br />
2483” ราชกิจจานุเบกษา, 2628.<br />
125 เรื่องเดียวกัน, 2620-2626.<br />
126 เรื่องเดียวกัน, 2622.<br />
127 “คำปราสัยของ พนะ นายกรัถมนตรีแด่มวลชนชาว<br />
ไทยเนื่องไนอภิลักขิตสมัยงานฉลองวันชาติ 24<br />
มิถุนายน 2485” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอน<br />
ที่ 46 (7 กรกดาคม 2485): 1718.<br />
128 วัดจากแบบพิมพ์เขียวดั้งเดิมของคณะกรรมการ<br />
พิจารณาการสร้างอนุสสาวรีย์ชัยสมรภูมิ.<br />
ไม่ปรากฏวันที่. ไม่มีเลขหน้า.<br />
129 เรื่องเดียวกัน.<br />
130 เรื่องเดียวกัน.<br />
131 เรื่องเดียวกัน.<br />
132 เรื่องเดียวกัน.<br />
133 เรื่องเดียวกัน.<br />
134 เรื่องเดียวกัน.<br />
135 เรื่องเดียวกัน.<br />
136 เรื่องเดียวกัน.<br />
137 Alnwick War Memorial, accessed March 31,<br />
2017, available from http://www.roll-of-honour.<br />
com/ Northumberland/ Alnwick.html<br />
138 Euston Station War Memorial, accessed March<br />
31, 2017, available from http://www. roll-ofhonour.com/London<br />
/EustonStation.html<br />
139 War Memorial, Port Sunlight, by Sir William<br />
Goscombe John, accessed March 31, 2017,<br />
available from http://www.victorianweb.org/<br />
sculpture/john/14.html<br />
140 Bootle War Memorial, Liverpool, accessed<br />
300 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
March 31, 2017, available from http://1914-<br />
1918.invisionzone.com/ forums/index.php?/<br />
topic/210408-bootle-war-memorial<br />
141 แม้ว่านักวิชาการบางคนในยุค1960 หลังจาก<br />
อนุสาวรีย์นี้สร้างเสร็จมาแล้ว2ทศวรรษ มีความ<br />
เห็นทางศิลปะต่ออนุสาวรีย์นี้ในเชิงลบอย่างยิ่ง<br />
ก็ตาม<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ในสยาม<br />
301
4<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการ<br />
ของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่<br />
ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
302 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
304 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลการศึกษาจากบทที่1 และบทที่2 ชี้ว่าตั้งแต่ถูกบังคับให้เปิดประเทศ<br />
โดยจักรวรรดินิยมตะวันตกเมื่อกลางศตวรรษที่19 ทั้งญี่ปุ่นและสยามมีจักรพรรดิ<br />
หรือพระมหากษัตริย์ที่มีช่วงรัชกาลใกล้เคียงกัน ในแต่ละรัชกาลก็มีอุดมคติ<br />
และเค้าโครงการบริหารประเทศที่คล้ายคลึงกันในหลายๆ ด้าน ส่งผลให้ผลิตผล<br />
ของสังคม-วัฒนธรรมบางอย่าง เช่น ศิลปะ-สถาปัตยกรรมมีความใกล้เคียง<br />
กันจนสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นการวิเคราะห์<br />
สถาปัตยกรรมในบทนี้จะลำดับตามช่วงเวลาของรัชสมัยที่เกือบจะตรงกัน<br />
กล่าวเน้นอุดมคติแห่งยุคสมัยของสังคมที่มีผลให้เกิดสถาปัตยกรรมที ่สะท้อน<br />
อุดมคตินั้นซึ่งมีทั้งแบบตะวันตกที่เป็นของใหม่และแบบชาตินิยมที่เป็น<br />
การประยุกต์ระหว่างแบบใหม่กับแบบพื้นเมือง เราจะศึกษาความสำคัญทาง<br />
กายภาพ ความหมาย และสัญลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแห่งอุดมคติของ<br />
ยุคสมัยเหล่านี ้ พิจารณาความสัมพันธ์ของมันกับบริบททางสังคม และ<br />
เปรียบเทียบความเหมือนและแตกต่างของสถาปัตยกรรมแห่งอุดมคติของ<br />
ทั้ง 2 ประเทศ ตามลำดับของกาลเวลาซึ่งสามารถลำดับเป็นพัฒนาการทาง<br />
สถาปัตยกรรมได้ 4 แบบที่ทั้ง 2 ประเทศมีลักษณะร่วมกันกว้างๆ ได้แก่<br />
สถาปัตยกรรมแห่งความศิวิไลซ์(สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก) สถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่สถาปัตยกรรมชาตินิยม และสถาปัตยกรรมแห่งสงครามและการสร้างชาติ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
305
สถาปัตยกรรมแห่งความศิวิไลซ์ (สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก)<br />
(1850-1910)<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกของญี่ปุ่นและสยามเป็นผลมาจาก<br />
การถูกบังคับให้เปิดประเทศผ่านสนธิสัญญามิตรภาพและการค้า<br />
ของจักรวรรดินิยมทั้ง 2 ประเทศไม่ได้ยินดีด้วยสมัครใจตั้งแต่แรก<br />
แต่มาจากการจำยอมเพราะเห็นผลลัพธ์ในการต่อต้านได้ชัดเจน<br />
สยามมีเพื่อนบ้านทั้งหลายเป็นตัวอย่าง ส่วนญี่ปุ่นได้เคยลองรบกับ<br />
สหรัฐอเมริกาด้วยตนเองและพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ทั้ง 2 ประเทศ<br />
จึงรู้ดีว่าตะวันตกนั้นก้าวหน้ากว่ามาก โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นวิทยาการ<br />
ของตะวันตกที่เป็นตัวการเนรมิตความก้าวหน้าทันสมัยในรูป<br />
เครื่องจักร และการที่จะได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการนี้ก็จำเป็นต้อง<br />
เข้าถึงระบบการเรียนรู้ วิถีชีวิต วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง<br />
ของตะวันตกด้วย ซึ่งทั้ง 2 ประเทศเรียกรวมๆ กันว่าความ “ศิวิไลซ์”<br />
แต่ทั้งนี้ความเข้าใจในระบบของ “ศิวิไลซ์” นั้นญี่ปุ่นเข้าใจดีกว่า<br />
สยามตั้งแต่ต้น ขณะที่สยามต้องการเพียงเปลือกนอกที่ดูดี ญี่ปุ่น<br />
มุ่งไปที่สาระของ “ศิวิไลซ์” นั่นคือ การศึกษาและระบบการเมือง<br />
ซึ่งส่งผลให้การสร้างสถาปัตยกรรมออกมารับใช้จุดประสงค์<br />
แตกต่างกัน แม้ว่าตอนแรกจะดูคล้ายๆ กัน<br />
โรงปั่นด้ายโทมิโอกะ (1872)<br />
306 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระนครคีรี<br />
จังหวัดเพชรบุรี (1858)<br />
หน่ออ่อนของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก (1850-1868)<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในญี่ปุ่นยุคนี้อยู่ช่วงปลายโชกุน<br />
(บากุมัตสุหรือบากูฟุ) เน้นการสร้างอาคารอุตสาหกรรมและ<br />
การทหารแบบใหม่ เพราะประเทศยังอยู่ในช่วงสู้รบกันภายใน<br />
เพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครอง และเนื่องจากเป็นอาคารที่ไม่เคย<br />
มีมาก่อนผู้ออกแบบจึงเป็นวิศวกรตะวันตก โดยมีช่างก่อสร้างและ<br />
กรรมกรเป็นคนพื้นเมือง ตัวอย่างอาคารที่สำคัญ ได้แก่โรงเลี้ยงไหม<br />
และโรงปั่นด้ายโทมิโอกะ (1872) เป็นงานยุคเมจิตอนต้นที่มีแบบ<br />
เหมือนกับงานยุคปลายโชกุนที่สร้างก่อนหน้านี้ 5-10 ปี ที่สูญหาย<br />
ไปหมดแล้ว เตาหลอมแบบความร้อนสะท้อนกลับ (1853) ที่นิรายามา<br />
และบ้านพักของพ่อค้าต่างประเทศชื่อบ้านโกลฟเวอร์ (1863)<br />
ที่นางาซากิ เป็นต้น<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามยุคนี้ คือ ช่วงสมัย<br />
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นการสร้าง<br />
อาคารเลียนแบบตะวันตก โดยอาศัยความรู้ความเข้าใจของ<br />
ช่างขุนนางสยามที่ไปจำรูปแบบอาคารแบบใหม่มาจากสิงคโปร์<br />
ซึ่งเป็นศูนย์กลางอาณานิคมอังกฤษที่ใกล้สยามมากที่สุดนำมาแปลง<br />
ให้เหมาะกับความรู้ความสามารถของช่างก่อสร้างและแรงงานไทย<br />
ตัวอย่างสำคัญ ได้แก่ พระนครคีรี(1858) จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
307
โรงเรียนประถมศึกษาไคชิ (1876)<br />
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
จุดประสงค์ของการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคแรก<br />
เพื่อสร้างภาพความศิวิไลซ์ของชนชั้นนำ อาคารในสยามเน้น<br />
การเลียนแบบที่เป็นการผสมระหว่างรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ที่<br />
มีลักษณะเฉพาะตัว ผังอาคารของพระนครคีรีเป็นแบบที่ลอกวัง<br />
และวัดโบราณมาใช้ รูปทรงอาคารมาจากการออกแบบดัดแปลง<br />
ให้ดูเหมือนแบบตะวันตกโดยเฉพาะทรงหลังคามุขหน้าแบบจั่ว<br />
วิหารกรีกที่จำมาจากอาคารในสิงคโปร์ ลวดลายต่างๆ ก็ออกแบบ<br />
ให้ดูเป็นตะวันตก แต่การออกแบบเหล่านี้เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด<br />
แล้วก็ทราบทันทีว่าไม่มีอะไรที่เป็นแบบตะวันตกที่แท้จริงเลย<br />
วัสดุและการก่อสร้างยังใช้วัสดุและวิธีการแบบโบราณ ดูเหมือนว่า<br />
มีเพียงการใช้โครงหลังคาแบบทรัส (king post truss) ในพระที่นั่ง<br />
องค์ประธานเพียงองค์เดียวในพระนครคีรีเท่านั้นที่นับได้ว่าเป็นวิธี<br />
การก่อสร้างแบบใหม่<br />
ขณะเดียวกันที่ญี่ปุ่นอาคารหัตถอุตสาหกรรมอย่างเช่น<br />
โรงเลี้ยงไหมและโรงปั่นด้ายโทมิโอกะรวมทั้งเตาหลอมแบบความร้อน<br />
สะท้อนกลับที่นิรายามานั้น แม้จะดูไม่มีความสวยงามแต่กลับเป็น<br />
ประโยชน์ต่อการก่อสร้างอาคารในญี่ปุ่นในยุคต่อไปอย่างยิ่ง<br />
โรงงานที่โทมิโอกะทำให้ญี่ปุ่นได้เรียนรู้วิธีการก่อสร้างอาคารแบบใหม่<br />
หลายประการ เช่น การวางผังโรงงานอย่างเป็นระบบ การสร้าง<br />
อาคารช่วงกว้างด้วยโครงหลังคาทรัสวางบนกำแพงก่ออิฐที่มี<br />
การเรียงอิฐแบบเฟลมมิชบอนด์ (Flemish bond) และอิงลิชบอนด์<br />
(English bond) ของตะวันตก หุ้มไปบนโครงสร้างไม้ขนาดใหญ่<br />
เตาหลอมที่นิรายามาเน้นความแข็งแรงเพื่อประโยชน์ใช้งาน<br />
ในอุตสาหกรรมหนัก เช่น การหล่อปืนใหญ่ที่ต้องใช้เตาที่สร้างด้วย<br />
อิฐอย่างแข็งแรงและเสริมความมั่นคงโดยรัดด้วยแถบเหล็ก<br />
การก่อสร้างอาคารอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นการยกระดับการเรียนรู้<br />
308 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ของช่างก่อสร้างญี่ปุ่น ไม่ใช่จุดประสงค์การสร้างสิ่งที่ดูสวยงาม<br />
อย่างผิวเผิน แต่เป็นการทำงานที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา<br />
ศักยภาพตนเองที่ชัดเจนว่าจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้น<br />
ขณะที่สยามยังเดินไปอย่างช้าๆ ในฐานะประเทศเกษตรกรรม<br />
ที่ไม่แน่ใจว่าอนาคตของตนคืออะไรแน่ แต่ขอสร้างสัญลักษณ์ทาง<br />
วัฒนธรรมเช่นพระราชวังแบบยุโรป ให้ชาติตะวันตกยอมรับ<br />
ว่าตนเองไม่ได้ป่าเถื่อน<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคแรก<br />
(ปลายทศวรรษ 1860-1870)<br />
ช่วงนี้เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนผ่านจาก<br />
สถาปัตยกรรมเลียนแบบมาเป็นสถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพ<br />
โดยผู้เชี่ยวชาญตะวันตก ที่ญี่ปุ่นรัฐบาลเริ่มเห็นจุดอ่อนของ<br />
งานเลียนแบบของช่างพื้นเมืองและยอมรับคุณภาพที่ดีกว่าของ<br />
อาคารแบบตะวันตกโดยสถาปนิกต่างประเทศ ส่วนที่สยามนั้น<br />
สถาปัตยกรรมเลียนแบบหมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อพระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เปิดโอกาส<br />
ให้สถาปนิกชาวตะวันตกได้มีโอกาสทำงานให้รัฐบาลสยาม<br />
หอประชุมโรงเรียนการช่างอุตสาหกรรม (ต่อมาคือมหาวิทยาลัยโตเกียว) (1877)<br />
สถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นช่วงนี้เริ ่มในราวต้นสมัยเมจิ<br />
(ค.ศ. 1868) เมื่อการทำสงครามปฏิวัติสิ้นสุดลงและประเทศ<br />
กลับเข้าสู่ภาวะปกติ การก่อสร้างกลับมาเฟื่องฟูอีกเพื่อการฟื้นฟู<br />
ประเทศ คราวนี้ญี่ปุ่นยอมรับในความเหนือกว่าของอารยธรรม<br />
ตะวันตกและสะท้อนออกมาในรูปแบบอาคารที่เรียกว่า “กิโยฟุ”<br />
ซึ่งแปลว่า ฝรั่งเทียม เป็นอาคารไม้ที่ตกแต่งให้ดูเหมือนสร้าง<br />
ด้วยอิฐและหินโดยการทาสี ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง ประตู หน้าต่าง<br />
และส่วนประดับต่างๆ ขณะที่การวางผังอาคารยังเป็นแบบเอาห้อง<br />
มาเรียงต่อกันแบบญี่ปุ่นโบราณโดยยังไม่รู้จักการออกแบบทางเชื่อม<br />
เราจะพบอาคารเหล่านี้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ธนาคาร<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
309
และโรงเรียน อาคารเหล่านี้สร้างโดยช่างไม้ญี่ปุ่นที่สร้างวัดสร้าง<br />
ศาลเจ้ามาก่อนทั้งสิ้น โรงเรียนประถมศึกษาไคชิ(1876) ที่มัทสุโมโต<br />
เป็นตัวอย่างอาคารประเภทนี้ที่มีชื่อเสียงที่สุดที่ยังเหลือรอดถึง<br />
ทุกวันนี้ แต่แล้วสถานการณ์ก็พลิกผันเมื่อรัฐบาลของรัชกาลใหม่<br />
เปิดโอกาสให้สถาปนิกชาวตะวันตกออกแบบอาคารเพื่อการพัฒนา<br />
ประเทศ เช่น โทมัส เจมส์ วอเตอร์ (Thomas James Waters)<br />
ออกแบบโรงกษาปณ์โอซาก้า (1868-1871) พร้อมทั้งเรือนรับรอง<br />
เซ็มปูกัน (Sempukan) ค่ายทหารทาเกบาชิ (Takebashi Barracks)<br />
(1870-1874) ที่โตเกียว และตึกแถวที่กินซ่า (1872) ซึ่งเป็นตึกแถว<br />
สร้างด้วยอิฐแห่งแรกของญี่ปุ่น 1 นอกจากนี้ยังมีชาสเทล เดอ บอนวิลล์<br />
(Chastel de Boinville) ออกแบบหอประชุมของโรงเรียนการช่าง<br />
อุตสาหกรรม (1877) 2 ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นมหาวิทยาลัยโตเกียว<br />
อาคารพวกนี้ต่างจากอาคารเพื่อความศิวิไลซ์ในช่วงทศวรรษ<br />
ที่ 1850-1860 ตรงที่มันเป็นอาคารไม่ใช่โรงงานและต้องการ<br />
สุนทรียภาพอยู่บ้างนอกจากการใช้งานแล้ว และหลังจากทศวรรษ<br />
1870 แล้วอาคารแบบตะวันตกของรัฐบาลก็เป็นภาระของสถาปนิก<br />
ผู้เชี่ยวชาญตะวันตกเท่านั้น<br />
หอคองคอเดีย (1871)<br />
310 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ศาลสถิตยุติธรรม (1882)<br />
สถาปัตยกรรมช่วงนี้ในสยามเริ่มราวต้นสมัยรัชกาลที่ 5<br />
ใน ค.ศ. 1868 เช่นกัน ความจริงช่างก่อสร้างชาวสยามคุ้นเคยกับ<br />
การสร้างสถาปัตยกรรมเลียนแบบตะวันตกมาแล้วตั้งแต่ทศวรรษ<br />
1850 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เช่น การสร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์<br />
(1852-1857) ในพระบรมมหาราชวัง และพระนครคีรี (1858) ที่<br />
จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น และเมื่อเริ่มรัชกาลใหม่แล้วก็ยังคงสร้าง<br />
พระราชวังในลักษณะเลียนแบบตะวันตกต่อไป เช่น พระที่นั่ง<br />
มูลสถานบรมอาสน์ (1868-1873) และพระที ่นั ่งสมมติเทวราช<br />
อุปบัติ (1871-1873) ในพระบรมมหาราชวัง รวมทั้งอาคารนอก<br />
พระบรมมหาราชวัง เช่น ศาลต่างประเทศหน้าวัดพระเชตุพนวิมล<br />
มังคลาราม เป็นต้น แต่แล้วการเสด็จประพาสชวาและสิงคโปร์<br />
ใน ค.ศ. 1871 ซึ่งเป็นการเสด็จประพาสต่างประเทศครั้งแรกของ<br />
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทำให้ทรงเปลี่ยน<br />
พระทัยจ้างสถาปนิกชาวตะวันตกจริงๆ เข้ามาออกแบบก่อสร้าง<br />
สถาปัตยกรรมชนิดใหม่นี้ เริ่มด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />
ให้จอห์น คลูนิส ออกแบบพระที่นั่งบรมราชสถิตย์มโหฬารใน<br />
ค.ศ. 1870 ตามด้วยศาลาสหทัยสมาคมใน ค.ศ. 1871 และพระที่นั่ง<br />
วโรภาษพิมานในพระราชวังบางปะอินใน ค.ศ. 1872 ทั้ง 2 องค์นี้<br />
โดยโจอาคิม กราสซี และใน ค.ศ. 1875 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />
ให้จอห์น คลูนิส ออกแบบพระที่นั่งกลางพระบรมมหาราชวังที่มี<br />
ขนาดใหญ่ที่สุด คือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สถาปนิกชาว<br />
ตะวันตกเหล่านี้ได้สร้างสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นไวยกรณ์<br />
แบบคลาสสิคที่ถูกต้องของยุโรปจริงๆ แม้จะไม่ได้เลอเลิศอะไรเลย<br />
ในมาตรฐานสากล แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที ่ทำให้ชนชั้นนำสยามเห็น<br />
ความแตกต่างของคุณภาพและรูปลักษณ์การก่อสร้างระหว่าง<br />
สถาปนิกชาวตะวันตกและช่างก่อสร้างพื้นเมืองสยาม และนำมา<br />
ซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจในช่างชาวตะวันตก แต่มันกลับกลายเป็น<br />
ปัญหาใหม่ขึ้นเพราะการเลือกสถาปนิกและผู้รับเหมาของรัฐบาล<br />
ยังไม่มีกฎเกณฑ์ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัวของทั้ง<br />
2 ฝ่าย ถ้าโครงการใดเป็นที่สนใจของสถาปนิกซึ่งมักจะเป็นผู้รับเหมา<br />
ด้วยแบบก่อสร้างอาจมีมากกว่า 1 แบบและมาจากสถาปนิกหลายคน<br />
แข่งกัน ในเวลาประมูลงานสถาปนิกอาจเลือกแบบของคนอื่นมา<br />
สร้างก็ได้ถ้าหากเห็นว่ามันจะทำกำไรได้มากกว่าแบบของเขาเอง<br />
ผลงานในยุคต่อมาจึงมีคุณภาพต่ำลง เช่น ข่าวการถล่มของ<br />
โรงทหารม้าที่กำลังสร้างอยู่ใน ค.ศ. 1883 3 หรือพระที่นั่งวโรภาษ<br />
พิมานในพระราชวังบางปะอินที่สร้างใน ค.ศ. 1876 ที่สูง 2 ชั้น<br />
แต่ตั้งอยู่บนพื้นดินอ่อนชิดสระน้ำ ต้องถูกรื ้อลงทำใหม่หมดให้<br />
เหลือเพียงชั้นเดียวใน ค.ศ. 1885 อาคารทั้ง 2 หลังนี้สร้างโดย<br />
กราสซี ทั้งสิ้น นอกจากนี้อาคารแบบตะวันตกทั้งหลายที่สร้างใน<br />
พระบรมมหาราชวังนั้นก็สร้างแบบแออัดขาดการระบายอากาศ 4<br />
โดยเฉพาะในฤดูร้อน จนเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />
ทรงประชวร และต้องเสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อได้ทรงสำราญ<br />
พระราชอิริยาบถและมีพื้นที่ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาท<br />
อย่างไรก็ตามเรื่องร้ายแรงที่สุดในการก่อสร้างอาคารที่ล้มเหลว<br />
ของสถาปนิกผู้รับเหมาชาวตะวันตกคือการก่อสร้างศาลสถิต<br />
ยุติธรรมโดย โจอาคิม กราสซี ใน ค.ศ. 1882 อาคารนี้สร้างอย่าง<br />
งดงามในแบบคลาสสิค มีการใช้หลังคาตัด (หลังคาแบน) และมี<br />
หอคอยสูงกลางอาคารซึ่งสูงถึง 50 เมตร (164 ฟุต) เป็นจุดที่สูง<br />
ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ในยุคนั้น แต่ความแปลกใหม่ทั้ง 2<br />
กลับนำความล้มเหลวมาสู่อาคารหลังจากอาคารสร้างเสร็จไม่ถึง<br />
10 ปี กล่าวคือหลังคาตัดที่เป็นคอนกรีตร้าวจนใช้งานไม่ได้ และ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
311
ซ้าย รายละเอียดงานปูนปั้นแบบตะวันตกโดยช่าง<br />
พื้นเมืองที่พระนครคีรี (1858)<br />
ขวา ลวดลายเลียนแบบตะวันตกโดยช่างแกะไม้ญี่ปุ่น<br />
โรงเรียนประถมศึกษาไคชิ (1871)<br />
หอคอยสูงก็แตกร้าวจนใช้การไม่ได้จนต้องถูกทุบทิ้งไปในค.ศ. 1892<br />
มีการซ่อมแซมศาลครั้งใหญ่เปลี่ยนหลังคาเป็นทรงปั้นหยามุง<br />
กระเบื้องที่เบากว่าและกันฝนได้ดีและไม่มีหอคอยสูงที่ดูเด่น<br />
แต่ไร้เสถียรภาพอีกต่อไป นี่เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นข้อด้อยของ<br />
สถาปนิก ผู้รับเหมาชาวตะวันตกที่อ่อนด้อยทางวิศวกรรมธรณี<br />
ไม่เข้าใจโครงสร้างที่เหมาะสมกับสภาพดินอ่อนของกรุงเทพมหานคร<br />
ไม่ตระหนักในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ฝนชุกของสยามว่าไม่เหมาะ<br />
กับอาคารแบบคลาสสิคที่สร้างติดดินและไม่มีชายคา หรือใช้หลังคา<br />
คอนกรีตแบนที่แตกร้าวเพราะทนความร้อนสลับความเปียกชื้น<br />
จากการไม่สามารถระบายน้ำฝนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้เป็น<br />
เหตุผลสำคัญที่การก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครอง<br />
ของสยามในทศวรรษ 1890<br />
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ในตอนแรกทั้ง 2 ชาติยังมี<br />
แนวคิดเหมือนกันในการสร้างสถาปัตยกรรมเลียนแบบอย่างซื่อๆ<br />
แต่เราก็เห็นความแตกต่างของแบบรูปธรรมที่เป็นไปตามความถนัด<br />
ของจารีตการก่อสร้างและการใช้วัสดุขณะที่สยามใช้ผนังอิฐฉาบปูน<br />
หลังคาโครงไม้มุงกระเบื้องอย่างคล่องแคล่วนั้น ญี่ปุ่นกลับใช้<br />
โครงสร้างไม้ล้วนทั้งหลังและหลังคามุงกระเบื้อง ส่วนที่เหมือนกัน<br />
อีกประการหนึ่งโดยไม่ได้นัดหมาย คือ ลวดลายประดับบางอย่าง<br />
เช่น ลวดลายเมฆประดับหน้าบันอาคาร ไม่ว่าจะสร้างด้วยปูนในสยาม<br />
อย่างที่พระนครคีรีหรือแกะด้วยไม้ในญี่ปุ่นที่โรงเรียนประถมศึกษา<br />
ไคชิ ก็มีลักษณะของเส้นรอบรูปและการม้วนของเมฆที่คล้ายกัน<br />
ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ลายแบบตะวันตกแต่เป็นลายที่เป็นอิทธิพล<br />
312 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตกทอดมาจากศิลปะจีนยุคโบราณ แต่งานแบบนี้โดยช่างท้องถิ่น<br />
ก็หมดไปในทศวรรษแรกของรัชสมัยใหม่ทั้งที่ญี่ปุ่นและสยาม และ<br />
เปิดโอกาสให้สถาปนิกชาวตะวันตกมาแทนที่ เพราะความต้องการ<br />
ในอาคารที่มีประโยชน์ใช้งานที่ดีกว่าและรูปลักษณ์ที่ถูกต้องกว่า<br />
อย่างไรก็ตามปัญหาที่ทั้ง 2 ประเทศประสบเหมือนกัน คือ คุณภาพ<br />
ของสถาปนิกชาวตะวันตกรุ่นแรกตอนปลายทศวรรษที่ 1860-<br />
1870 ไม่ว่าจะเป็นโทมัส เจมส์ วอเตอร์ ชาสเทล เดอ บอนวิลล์<br />
ในญี่ปุ ่น หรือ โจอาคิม กราสซี ในสยามนั้นไม่ใช่สถาปนิกชั้นเยี่ยม<br />
แต่เป็นสถาปนิกประเภทมากประสบการณ์ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่<br />
สามารถทำงานที่ยิ่งใหญ่คุณภาพสูงสนองรัฐบาลญี่ปุ่นที่กำลัง<br />
ทะเยอทะยานได้ ขณะที่สยามมีประสบการณ์ที่แย่ไปกว่านั้น กล่าว<br />
คือ สถาปนิก ผู้รับเหมาทำงานหลายโครงการคุณภาพต่ำและทำให้<br />
รัฐเสียหาย นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่รัฐบาลทั้ง 2 ชาติต้องปฏิรูประบบ<br />
การก่อสร้างอาคารใหม่ ถึงกระนั้นก็ดีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในช่วงเปลี่ยนผ่านก็ยังคงคุณค่าสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในฐานะ<br />
สถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่แบบโบราณแต่ก็ยังไม่ใช่แบบใหม่ที่สมบูรณ์<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคปฏิรูป<br />
(ปลายทศวรรษที่ 1870-1910)<br />
ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1870-1890 ทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและ<br />
สยามเริ่มเข้าใจในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกอย่าง<br />
เป็นระบบขึ้น พวกเขามองเห็นปัญหาของการจ้างสถาปนิก ผู้รับเหมา<br />
ชาวตะวันตกที่มีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งทำให้ได้อาคารที่สนอง<br />
ประโยชนใช้สอยไม่เต็มที่ขาดความงดงาม และความมั่นคงแข็งแรง<br />
พวกเขาจึงจ้างสถาปนิกรุ่นใหม่ที่มีพื้นฐานการศึกษาดีมาปฏิบัติงาน<br />
ในระบบราชการที่มีการจัดการแบบสมัยใหม่ สามารถตอบสนอง<br />
วัตถุประสงค์ของรัฐบาลได้เต็มที่ ผลงานของสถาปนิกยุคปฏิรูปนี้<br />
เป็นสิ่งที่สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้การก่อสร้างแบบใหม่แก่ทั้ง 2<br />
ประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นมันเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่<br />
ให้กับสถาปัตยกรรมของประเทศเลยทีเดียว แต่ในอีกด้านหนึ่ง<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกได้สร้างคำถามว่าด้วยอัตลักษณ์ทาง<br />
สถาปัตยกรรมให้กับทั้ง 2 ชาติด้วย<br />
ญี่ปุ่นกับการปฏิรูปเพื่อการพึ่งตนเอง (1877-1912)<br />
ความรุ่งเรืองของสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในญี่ปุ่นนั้น<br />
เป็นผลโดยตรงของยุทธศาสตร์ชาติในรัชสมัยเมจิที่ว่า “ชาติร่ำรวย<br />
การทหารเข้มแข็ง” และ “เสริมสร้างการเกษตรและอุตสาหกรรม”<br />
โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นเครื่องจักรสำคัญในการผลิตบุคลากร<br />
ตั้งแต่ ค.ศ. 1877 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้เปิดศักราชสถาปัตยกรรม<br />
แบบตะวันตกอย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยการปลูกถ่ายความรู้จาก<br />
ชาติตะวันตกอย่างเป็นระบบผ่านการจ้างโจไซอา คอนเดอร์<br />
สถาปนิกหนุ่มชาวอังกฤษมาเป็นอาจารย์สอนวิชาสถาปัตยกรรมที่<br />
มหาวิทยาลัยโตเกียวเป็นครั้งแรก เพื่อสอนให้นักศึกษาชาวญี่ปุ่น<br />
ให้เข้าใจในวิชาชีพสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เพื่อนำไปประกอบ<br />
วิชาชีพได้โครงการนี้จะเห็นความสำเร็จในอีก 1 ทศวรรษถัดไป และ<br />
เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของญี่ปุ่นในการสร้างสถาปัตยกรรมยุคใหม่<br />
สาระที่คอนเดอร์สอนมุ่งการปฏิบัติจริงที่สอดคล้องกับความต้องการ<br />
โรงเรียนการศึกษาแผนตะวันตก ต่อมาคือ มหาวิทยาลัยโตเกียว (1871)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
313
ของชาติกำลังพัฒนาอย่างเร่งรีบของญี่ปุ ่น สถาปัตยกรรมของเขา<br />
จึงมุ่งที่ประโยชน์ใช้งาน วิศวกรรม และยังรวมวิชาประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าใจที่มาของสถาปัตยกรรม<br />
ลูกศิษย์รุ่นแรกๆ ของคอนเดอร์ 4 คนที่จบการศึกษาตอนปลาย<br />
ทศวรรษ 1870 ได้แก่ ทัตสุโนะ คิงโกะ คาตายามา โตกุมา ซึเมกิ<br />
โยรินากะ และโซเน ทัตสุโซ ต่อมาได้เป็นเสาหลักของวงการศึกษา<br />
และวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงหลังของ<br />
ทศวรรษที่ 1880 เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นเลิกจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ<br />
และภารกิจทั้งหลายถูกส่งต่อไปที่สถาปนิกญี่ปุ่นรุ่นแรกเหล่านี้<br />
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผลงานของศิษย์เหล่านี้จะเดินตามแนวทางของ<br />
คอนเดอร์ต่อไปคือเน้นประโยชน์ใช้งาน ความแข็งแรง และใช้รูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมตะวันตกโบราณแบบผสมผสานเป็นหลัก โดยลูกศิษย์<br />
แต่ละคนนำหลักการไปประยุกต์ให้เข้ากับรูปแบบที ่ตนถนัด เช่น<br />
ทัตสุโนะ คิงโกะออกแบบได้หลายรูปแบบตั้งแต่แบบฟื้นฟูโกธิค<br />
จนถึงนีโอคลาสสิค คาตายามา โตกุมา เน้นแบบคลาสสิคฝรั่งเศส<br />
และฟื ้นฟูบาร็อค ซึเมกิ โยรินากะ เน้นแบบนีโอคลาสสิค และโซเน<br />
ทัตสุโซ เน้นแบบวิคตอเรียน สิ่งที่น่าสนใจคือสถาปนิกรุ่นบุกเบิกนี้<br />
มีพัฒนาการในการออกแบบที่รวดเร็วมาก ภายในระยะเวลา 2<br />
ทศวรรษพวกเขาทุกคนต่างมีผลงานเป็นอาคารสาธารณะขนาดใหญ่<br />
ที่มีคุณภาพสูงใกล้เคียงยุโรป ยกตัวอย่างเช่น ทัตสุโนะ คิงโกะ<br />
ออกแบบ ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (1896) เป็นแบบนีโอคลาสสิค<br />
ที่สนองประโยชน์ใช้สอยที่ซับซ้อนได้อย่างสง่างาม สนามมวยปล้ำ<br />
ซูโม่ (1908) หลังคาเป็นโครงสร้างเหล็กที่มีช่วงกว้างถึง 30 เมตร<br />
คาตายามา โตกุมาออกแบบพระราชวังเฮียวไคคัน (1901-1908)<br />
ที่สวนอูเอโนด้วยรูปทรงนีโอคลาสสิคที่สง่างาม ตามด้วยพระราชวัง<br />
อะกาซากะ (1909) ขนาดมหึมาในรูปแบบฟื้นฟูบาร็อคที่ประกาศตน<br />
เป็นจักรวรรดินิยมแห่งเอเชียของญี่ปุ่น และท้าทายสัญลักษณ์วัง<br />
ขนาดมหึมาสมัยศตวรรษที่17-18 ของจักรวรรดินิยมยุโรปทั้งหลาย<br />
ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (1896)<br />
314 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน พระราชวังอะกาซากะ (1909)<br />
ล่าง ธนาคารแห่งโยโกฮาม่า (1905)<br />
ซึเมกิโยรินากะแสดงความสามารถโดยการควบคุมการก่อสร้าง<br />
ศาลฎีกา กรุงโตเกียวที่อาจารย์ของเขาเอนเดอร์และบ๊อคมานน์<br />
ออกแบบสำเร็จใน ค.ศ. 1896 นอกจากนี้เขายังออกแบบหอการค้า<br />
แห่งกรุงโตเกียว (1899) ที่เป็นแบบผสมผสาน (Eclecticism)<br />
แบบเยอรมันภาคเหนือ 5 ที่อวดผิวอิฐก่อแถบแดงสลับขาวคลุมหลังคา<br />
ทรงสูงมุงกระเบื้องหินชนวน และธนาคารแห่งโยโกฮาม่า (1905)<br />
ในรูปแบบนีโอคลาสสิคที่มีหลังคาโดมโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่<br />
ประดับที่มุขกลาง โซเน ทัตสุโซ เป็นสถาปนิกของบริษัทมิซูบิชิและ<br />
ได้ร่วมกับอาจารย์เก่าของเขาคอนเดอร์ออกแบบอาคารสำนักงานใหญ่<br />
ในแบบผสมผสาน (Eclecticism) ผนังก่ออิฐอวดผิวคลุมด้วย<br />
หลังคาจั่วทรงสูงมุงกระเบื้องหินชนวนสีดำในแบบอังกฤษที่<br />
เรียกกันว่า แบบวิคตอเรียน อาคารหลังนี้มีความแข็งแรงที่สามารถ<br />
ต้านทานแผ่นดินไหวใหญ่ใน ค.ศ. 1923 ได้ ทั้งเขาและคอนเดอร์<br />
ได้รับการยกย่องจากสาธารณชนในศักยภาพสูงของการออกแบบ<br />
ครั้งนี้<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
315
ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 อิทธิพลของ<br />
สถาปัตยกรรมอาร์ตนูโวแผ่เข้ามาในญี่ปุ่น เป็นสถาปัตยกรรรมที่<br />
ใช้รูปทรงเรขาคณิต ตกแต่งลวดลายน้อยเลียนแบบลักษณะ<br />
ธรรมชาติและเรือนพื้นถิ่น ไม่นิยมอาคารแบบโบราณ สถาปนิก<br />
ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลในเรื่องรูปแบบโดยไม่สนใจในแนวความคิดนัก<br />
มีอาคารแบบนี้เกิดขึ้นในโอซาก้า เช่น ร้านตัดผมคามิโนโตะ<br />
(Kaminoto Barber Shop) (1903) โดยฮิดากะ ยูตากะ (Hidaka<br />
Yutaka) 6 แม้กระทั่งสนามกีฬาซูโม่แห่งชาติ (National Sumo Arena)<br />
(1911) ที่ออกแบบโดยทัตสุโนะ คิงโกะ ก็ได้อิทธิพลของอาร์ตนูโว<br />
นอกจากนี้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เจริญก้าวหน้าก็ตามมาติดๆ<br />
การก่อสร้างอาคารด้วยโครงสร้างเหล็กหรือคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
เพื่อป้องกันแผ่นดินไหวเริ่มเกิดขึ้น เช่น ร้านหนังสือมารูเซ็น<br />
(Maruzen Bookstore) (1909) สร้างด้วยโครงสร้างเหล็กทั้งหลัง<br />
โดย ซาโน โตชิคาตะ และโรงละครหลวง (Imperial Theatre) (1911)<br />
ที่กรุงโตเกียวโดย โยโกกาวา ทามิสุเกะ (Yokogawa Tamisuke)<br />
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ที่มีประโยชน์ใช้สอย<br />
ซับซ้อนเทียบเท่าโรงละครในยุโรป<br />
ร้านตัดผมคามิโนโตะ (1903)<br />
สถาปนิกและสถาปัตยกรรมที ่ยกตัวอย่างมาทั ้งหมดนี้<br />
คือ ตัวแทนแห่งความสำเร็จในการสร้างวิชาการและวิชาชีพ<br />
สถาปัตยกรรมให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชนญี่ปุ่น ประชาชน<br />
เชื่อว่าอาคารที่สร้างและออกแบบโดยชาวญี ่ปุ่นเหล่านี้ทั ้งสวยงาม<br />
แข็งแรง และมีประโยชน์ใช้สอยดีกว่าสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ยุคแรกช่วงปลายทศวรรษที่ 1860-1870 ที่สร้างโดยสถาปนิก<br />
ชาวตะวันตกเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจึงเป็นยุคสมัย<br />
แห่งการยืนอยู่บนขาตนเองของญี่ปุ่น อาคารแบบตะวันตกต่างๆ<br />
ที่เป็นเครื่องหมายของความเจริญศิวิไลซ์ที่ชาวญี่ปุ ่นใฝ่ฝันก็ตกมา<br />
อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของชาวญี่ปุ่นเองทั้งกระบวนการ<br />
เป็นไปตามอุดมคติ “จิตวิญญาณญี่ปุ่น วิทยาการตะวันตก”<br />
(Wakon-Yosai) ที่รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งไว้ตั้งแต่ต้นรัชสมัยเมจิก็ปรากฏ<br />
เป็นจริงขึ้นมา<br />
316 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ความงอกงามของวงการวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
การเกิดและเติบโตของภาควิชาสถาปัตยกรรม สมาคมวิชาชีพ<br />
สถาปัตยกรรม และการเกิดวารสารวิชาการสถาปัตยกรรม<br />
ความสำเร็จในยุคปฏิรูปจนญี่ปุ่นสามารถยืนอยู่บนขาของ<br />
ตนเองได้ในกระบวนการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่กล่าว<br />
มาข้างต้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นการดำเนินการตามแผนที่วางไว้<br />
อย่างมีลำดับขั้นตอนและมีความอุตสาหะในการดำเนินการตามแผน<br />
อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จุดเริ่มต้นของทั้งหมด คือ การตั้งสาขา<br />
วิชาสถาปัตยกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยโตเกียวใน ค.ศ. 1877 โดยการ<br />
เชิญโจไซอา คอนเดอร์ มาสอนวิชาการแบบใหม่นี้ ด้วยคุณูปการ<br />
ในการสร้างคนอย่างมีปัญญาของคอนเดอร์ที่ต่อเนื่องเพียงไม่ถึง<br />
1 ทศวรรษ เมื่อถึงทศวรรษ 1890 ศิษย์ชาวญี่ปุ่นของคอนเดอร์<br />
ก็เจริญงอกงามพอที่จะรับภารกิจการสอนต่อไปได้ด้วยตัวเอง<br />
ทางด้านการปฏิบัติวิชาชีพทั้งทัตสุโนะ คาตายามา ซึเมกิ และ<br />
โซเน ก็สามารถออกแบบก่อสร้างอาคารจนเป็นที่ไว้วางใจของสังคม<br />
ทั้ง 2 ประการนี้เป็นตัวชี้วัดการลงหลักปักฐานอย่างมั่นใจได้ของ<br />
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น<br />
ร้านหนังสือมารูเซ็น (1909)<br />
ตั้งแต่ช่วงใกล้ ค.ศ. 1900 เป็นต้นไปเกิดนักวิชาการ<br />
สถาปัตยกรรมที่เสนอทฤษฎีใหม่ๆ ของตนเองต่อสังคมอย่างน่าทึ่ง<br />
ทั้งแนวชาตินิยมและแนวก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น อิโตะ ชูตะที่<br />
ไม่พอใจตำราสถาปัตยกรรมของ เจมส์ เฟอร์กัสสัน (1876)<br />
ที่กล่าวว่า สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีคุณค่าน้อยและปราศจาก<br />
พัฒนาการ เขาแย้งกลับว่า สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นนอกจากจะมี<br />
พัฒนาการแล้วยังสามารถเห็นความเชื่อมต่อกับสถาปัตยกรรมกรีก<br />
ที่เป็นต้นกำเนิดของสถาปัตยกรรมตะวันตกได้อีกด้วย ดังปรากฏ<br />
ให้เห็นในเสารูปทรงป่องกลางที่วัดโฮริวจิแห่งเมืองนาราในบทความ<br />
ค.ศ. 1893 และการเขียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล<br />
ในทัศนะของตนเองใน ค.ศ. 1895 เขาลงทุนเดินทางจากญี่ปุ่นผ่าน<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
317
อิโตะ ชูตะ (1867-1954)<br />
ซาโน โตชิคาตะ (ริกิ) (1880-1956)<br />
ประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียไปจนถึงอียิปต์ กรีซ<br />
และตุรกีเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของเขา และนำเสนอทฤษฎีใหม่ของเขา<br />
ชื่อ “ทฤษฎีวิวัฒนาการแห่งสถาปัตยกรรม” ในประเด็นความสัมพันธ์<br />
ระหว่างสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นและโลกตะวันตกว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียว<br />
กันใน ค.ศ. 1909 ทฤษฎีของเขาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมญี่ปุ่น เช่น สถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการ<br />
ของตัวเขาเองและสถาปนิกชาตินิยมอื่นๆ ในการออกแบบอาคาร<br />
ทรงมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิ ที่เป็นการผสมผสานกัน<br />
ระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันตกที่คลุมด้วยหลังคาแบบญี่ปุ่นโบราณ<br />
สำหรับแนวเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านั้นซาโน โตชิคาตะ หัวหน้าภาควิชา<br />
สถาปัตยกรรมต่อจากทัตสุโนะ คิงโกะเสนอข้อสังเกตจากการศึกษา<br />
แผ่นดินไหวในนครซานฟรานซิสโกใน ค.ศ. 1906 ในบทความ<br />
ของเขาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Japanese Architecture<br />
(ปัจจุบันคือวารสาร Journal of Architecture and Building<br />
Science) 7 ว่า เขาพบความทนทานของอาคารโครงสร้างเหล็ก<br />
ในการต่อต้านแผ่นดินไหว รวมทั้งอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วย<br />
ขณะที่อาคารโครงสร้างกำแพงก่ออิฐล้วนนั้นความเสียหายเกิดจาก<br />
คุณภาพอิฐและฝีมือการก่อสร้าง ต่อมาเขากล่าวอีกว่าสถาปนิก<br />
ควรมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การก่อสร้าง และเป็นวิศวกร<br />
การก่อตั้งสมาคมสถาปนิกเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1886 8 ในชื่อ<br />
สถาบันการก่อสร้างบ้านพักอาศัย (The House Building Institute)<br />
โดยมีสถาปนิกร่วมก่อตั้ง 26 คน มีโจไซอา คอนเดอร์ เป็นประธาน<br />
กิตติมศักดิ์ โดยมีจุดประสงค์ในการส่งเสริมความสามารถและ<br />
คุณภาพของเหล่าสถาปนิก จำนวนสมาชิกได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ<br />
เมื่อถึงปีสุดท้ายของรัชสมัยเมจิใน ค.ศ. 1912 นั้น มีสมาชิกถึง<br />
2,543 คน และเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งญี่ปุ่น<br />
(The Architectural Institute of Japan) ตั้งแต่ ค.ศ. 1897 กิจกรรม<br />
สำคัญของสมาคมที่เป็นการเริ่มต้นแห่งความงอกงามของวิชาการ<br />
คือ การตีพิมพ์วารสารวิชาการชื่อ วารสารสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
(Journal of Japanese Architecture) ฉบับแรกออกเมื่อเดือน<br />
มกราคม ค.ศ. 1887 วารสารนี้เป็นเวทีของการเผยแพร่ผลงานและ<br />
318 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
คาร์โล อัลเลอกรี (1862-1938)<br />
แนวคิดต่างๆ ของสมาชิก รวมทั้งความเคลื่อนไหวของวงการ<br />
สถาปัตยกรรมในยุโรปและสหรัฐอเมริกา บทความที่ตีพิมพ์มี<br />
หลากหลาย 9 สามารถแบ่งหัวข้อเรื่องเป็นสาขาวิชาการต่างๆ เช่น<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น เอเชีย ตะวันตก ปรัชญา<br />
สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม แสง เสียง อากาศ<br />
การออกแบบอาคารประเภทต่างๆ อัคคีภัย ธรณีวิทยา แผ่นดินไหว<br />
โครงสร้างอาคารวัสดุต่างๆ ไม้ หิน คอนกรีตเสริมเหล็ก และการ<br />
ออกแบบผังเมือง เป็นต้น เมื่อนับถึง ค.ศ. 1936 ที่สถาบันสถาปนิกฯ<br />
ฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้ง วารสารฉบับนี้ได้ตีพิมพ์แบบ<br />
รายเดือนมาอย่างต่อเนื่องถึง 49 ปี นับได้607 ฉบับ และมีบทความ<br />
ตีพิมพ์ประมาณ 10,000 บทความ 10 กล่าวได้ว่าวารสาร<br />
สถาปัตยกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญ 1 ใน 3 ที่ทำให้วงการ<br />
สถาปนิกญี่ปุ่นเจริญงอกงามอย่างรวดเร็วและมั่นคงนั่นคือ โรงเรียน<br />
สมาคม และวารสารนั่นเอง<br />
สยามกับการปฏิรูปเพื่อการพึ่งพา (1890-1910)<br />
มาริโอ ตามานโย (1877-1941)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
มูลเหตุแห่งการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินของสยาม<br />
ในทศวรรษ 1890 คือการจัดระเบียบการบริหารบ้านเมืองให้ทันสมัย<br />
และเพื ่อหลีกเลี่ยงการปกครองแบบมีรัฐธรรมนูญหรือคอนสติตู<br />
ชาแนลโมนากี (Constitutional Monachy) ที่บรรดาเจ้านายและ<br />
ขุนนางถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ใน ค.ศ. 1885 การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นการพบกัน<br />
ครึ่งทาง คือ คงให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้นำมีสิทธิขาดในการบริหาร<br />
ประเทศ แต่ปรับปรุงกลไกให้ทันสมัยโดยใช้ระบบกระทรวง ทบวง<br />
กรม ในส่วนกลางและระบบมณฑลเทศาภิบาลในส่วนภูมิภาค<br />
งานก่อสร้างอาคารทั้งหลายก็ตกอยู่ในข่ายที่ต้องถูกปฏิรูป ด้วยเหตุ<br />
ที่สถาปนิกผู้รับเหมามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานและวิธีการจัดสร้าง<br />
อาคารไม่มีกติกาที่ถูกต้องชัดเจน กระทรวงโยธาธิการจึงเกิดขึ้น<br />
ใน ค.ศ. 1890 เพื่อสร้างมาตรฐานการก่อสร้างใหม่แบบยุโรป<br />
มีการจ้างสถาปนิก วิศวกรจากยุโรปมาเป็นคณะเพื่อดำเนินการนี้<br />
319
โดยเฉพาะ สถาปนิก วิศวกรชุดใหม่นี้นอกจากจะเป็นคนวัยหนุ่ม<br />
แล้วยังมีการศึกษาแบบใหม่ กล่าวคือสำเร็จจากสถาบันการศึกษา<br />
ขั้นอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี หรือวิทยาลัย<br />
ศิลปะชั้นสูงของอิตาลีหรือเยอรมัน เป็นต้น มีการทำงานเป็น<br />
คณะประสานกันระหว่างวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการคำนวณ<br />
ความแม่นยำและความแข็งแรง ตลอดจนการจัดการและควบคุม<br />
การก่อสร้างกับสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบที่สวยงาม<br />
และการใช้งานที ่ดี นับเป็นวิธีการบริหารงานก่อสร้างที่ทันสมัย<br />
เช่นเดียวกับยุโรปและสหรัฐอเมริกาในยุคนั้นทีเดียว โดยมี คาร์โล<br />
อัลเลอกรี วิศวกรหนุ่มจากเมืองมิลานที่สำเร็จวิชาวิศวกรรมจาก<br />
โรงเรียนเทคนิคแห่งมิลานและมหาวิทยาลัยปาเวีย (University of<br />
Pavia) เป็นหัวหน้าคณะออกแบบที่เรียกว่า เวรแบบอย่างของ<br />
กระทรวงโยธาธิการ มีสถาปนิกหนุ่มชาวตูริน มาริโอ ตามานโย<br />
ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันศิลปะอัลเบอร์ตินาเป็นหัวหน้า<br />
สถาปนิก พร้อมกับสถาปนิก วิศวกรต่างประเทศอื่นๆ ในเวรแบบอย่าง<br />
อีกร่วม 10 คนเป็นคณะทำงาน การเปลี่ยนระบบบริหารและ<br />
ผู้ปฏิบัติงานทำให้ผลงานมีมาตรฐานขึ้น มีอาคารแบบตะวันตก<br />
หลากหลายรูปแบบเกิดขึ้นมากมายหลังทศวรรษ 1890 ซึ่งส่วนใหญ่<br />
สถาปนิกได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญในยุโรป<br />
แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดอาคารเหล่านี้จึงถูกจับย่อส่วนให้สมดุล<br />
กับงบประมาณ ดังนั้นเราจึงเห็นสถาปัตยกรรมที่มีภาพลักษณ์<br />
ภายนอกดูคล้ายสถาปัตยกรรมในยุโรป แต่เมื่อพิจารณาจากภายใน<br />
และการก่อสร้างแล้วก็จะเห็นว่ามันยังมีมาตรฐานห่างไกลจาก<br />
ต้นแบบอยู่มาก อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นวังของเจ้านายชั้นสูง<br />
และอาคารทางราชการสำคัญบางแห่ง เช่น กระทรวงมหาดไทย<br />
(1896-1914) ศาลาลูกขุนใหม่(1897) พระที่นั่งบรมพิมาน (1897-<br />
1903) พระราชวังสราญรมย์(1898) โรงกระสาปณ์สิทธิการ (1902)<br />
ตำหนักจิตรลดา (1903-1906) วังปารุสกวัน (1903-1906)<br />
320 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (1901-1905)<br />
ล่าง ภาพเก่า สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (1909)<br />
หน้าตรงข้าม วังบางขุนพรหม (1903-1905)<br />
วังบางขุนพรหม (1903-1906) พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต<br />
(1906) บ้านสุริยานุวัตร (1906-1908) และสถานีรถไฟอุตรดิตถ์<br />
(1908-1909) เป็นต้น อาคารเหล่านี้อุดมไปด้วยรูปลักษณ์ของ<br />
สถาปัตยกรรมที่มีในยุโรปทั้งแบบมาตรฐานโบราณ เช่น แบบ<br />
อิตาเลียนคลาสสิคหรือเรียกกันว่า แบบพาลลาเดียน เช่น กระทรวง<br />
มหาดไทย 11 และแบบใหม่ล่าสุดที่เรียกกันว่า มอเดิร์นสไตล์<br />
(Modern Style) หรืออาร์ตนูโว (Art Nouveau) ที่แพร่หลายทั่วยุโรป<br />
ช่วงปลายศตวรรษที่19 ต่อต้นศตวรรษที่20 ในชื่อเรียกต่างๆ แล้วแต่<br />
ประเทศที่ตั้ง เช่น สติลฟลอรีอาเล (Stile Floreale) หรือสติลลิเบอร์ตี้<br />
(Stile Liberty) ในอิตาลี เช่น พระที่นั่งอัมพรสถาน 12 หรือจุงเก้นสติล<br />
(Jugendstil) ในเยอรมัน เช่น สถานีรถไฟอุตรดิตถ์13 สยามในช่วงนี้<br />
จึงเปรียบเสมือนสนามประลองความสามารถการออกแบบของ<br />
สถาปนิกหนุ่มยุโรป อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าจะเป็นสาระที่ยั่งยืนกว่า<br />
นั้นเช่นเทคนิคการก่อสร้างอาคารก็มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น มีการใช้<br />
ระบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งใช้ในการก่อสร้างที่ความมั่นคง<br />
แข็งแรงเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น ฐานรากพระที่นั่งอนันตสมาคม<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
321
ที่เป็นทุ่นคอนกรีตวางบนเข็ม 14 หรือการใช้โครงสร้างเหล็กสร้าง<br />
หลังคาพาดช่วงกว้าง ตัวอย่างเช่น โรงกระสาปณ์สิทธิการ 15 เป็นต้น<br />
การก่อสร้างที่ก้าวหน้าเป็นอานิสงส์โดยตรงจากงานก่อสร้าง<br />
สาธารณูปโภคที่สำคัญเช่นทางรถไฟที่ขยายตัวอย่างมากตอนครึ่ง<br />
หลังของรัชกาลนี้<br />
ความไม่งอกงามในการศึกษาสถาปัตยกรรมของสยาม<br />
คาร์ล ดือห์ริ่ง (1879-1941)<br />
การศึกษาวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสยามมีหลักฐานปรากฏ<br />
เป็นเอกสารหลักสูตรวิชาช่างแบบอย่างก่อสร้าง (อาคิเต๊ก) ของ<br />
โรงเรียนเพาะช่างใน ค.ศ. 1913 16 เป็นครั้งแรก แต่ปราศจากข้อมูล<br />
ของการดำเนินการสอนและผลสำเร็จของการผลิตนักศึกษาใดๆ<br />
ก่อนที่การศึกษาสาขานี้จะเริ่มต้นเอาจริงเอาจังในอีก 20 ปีต่อมา<br />
ดังนั้นในช่วงเวลาที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้ในทศวรรษ 1890-1910 นั้น<br />
การศึกษาสถาปัตยกรรมในสยามเกิดขึ้นในวงจำกัดมาก มีการศึกษา<br />
อย่างเป็นระบบเรื่องสถาปัตยกรรมไทยโดย คาร์ล ดือห์ริ่ง สถาปนิก<br />
เยอรมันสังกัดกรมรถไฟหลวง คือ เรื่องพระเจดีย์ในสยาม (Das<br />
Phrachedi in Siam) ใน ค.ศ. 1912 และเรื่องโบสถ์ของวัดในสยาม<br />
(Der Bot (Haupttempel) Inden Siamesischen Tempelanlagen)<br />
ใน ค.ศ. 1914 วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทั้ง 2 เล่มนี้เป็นการเปิด<br />
ศักราชใหม่ของการศึกษาสถาปัตยกรรมไทย เขาเสนอการศึกษา<br />
ศาสนสถานทั้ง 2 อย่างเป็นระบบ และมีระเบียบวิธีการศึกษาที่ดี<br />
ตามมาตรฐานเยอรมัน โดยเน้นที่การจัดกลุ่มอาคารตามลักษณะ<br />
การออกแบบ และด้วยสมมติฐานที่เขามีว่าสถาปัตยกรรมไทย<br />
ประเภทโบสถ์นั้น มีลักษณะการออกแบบผังที่คล้ายคลึงกับวิหาร<br />
กรีกโบราณ 17 การวิเคราะห์จึงเน้นการหาสัดส่วนความกว้างต่อ<br />
ความยาวของผังพื้นโบสถ์และของโบสถ์ต่อขนาดที่ตั้ง นอกจากนี้<br />
ยังหาสัดส่วนของความกว้างต่อความสูงของอาคาร เป็นต้น<br />
เป็นการวิเคราะห์ในเชิงสุนทรียภาพแบบคลาสสิคที่มุ่งเรื่องแบบ<br />
เป็นหลัก เขาไม่ได้มองว่าสถาปัตยกรรมสยามมีพัฒนาเกี่ยวเนื่อง<br />
กับสถาปัตยกรรมในโลกตะวันตกจริงหรือไม่ แต่ต้องการแสดงว่า<br />
322 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ขวา การศึกษาฐานเจดีย์แบบต่างๆ<br />
ในพระเจดีย์ในสยาม (1912)<br />
ล่าง การศึกษาสัดส่วนผังวัดสระเกศ<br />
ราชวรมหาวิหารในพระเจดีย์ใน<br />
สยาม (1912)<br />
สถาปัตยกรรมสยามหลายแห่งก็มีคุณค่าเพราะมีสัดส่วนใกล้เคียง<br />
กับสถาปัตยกรรมกรีก สิ่งที่แปลกก็คือ เขากังวลกับการก่อสร้าง<br />
อาคารร่วมสมัยในสยามที ่กำลังละทิ้งรูปแบบศิลปะเดิมไปหาแบบ<br />
ตะวันตกที่ดาษดื่น และเสนอให้มีการปรับปรุงจุดอ่อนของ<br />
สถาปัตยกรรมสยามในแง่ของการใช้วัสดุที่แข็งแรงกว่าเดิม และ<br />
เรียกร้องงานช่างก่อสร้างที่ประณีตขึ้น และนี่จะเป็นเหตุผลหลัก<br />
ที่ทำให้สถาปัตยกรรมแบบโบราณของสยามยังสามารถเติบโต<br />
แบบผลิตซ้ำต่อไปได้ ความคิดแบบนี้ของดือห์ริ่งเป็นวาทกรรม<br />
สำคัญที่ชนชั้นนำสยามจะรับมาสืบทอดและขยายความต่อไปเรื่อยๆ<br />
อย่างไรก็ดีการศึกษาของเขาก็ยังเป็นเพียงการเริ่มต้น เพราะระยะ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
323
เวลาอาศัยในสยามที่ไม่นานนัก และขอบเขตการศึกษาที่ยังแคบ<br />
เพราะความลำบากในการคมนาคมของศตวรรษที่แล้ว รวมทั้ง<br />
การเขียนเป็นภาษาเยอรมันเพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยเยอรมัน<br />
งานของเขาจึงมีการเผยแพร่ในวงจำกัดที่สุด ชาวสยามทั่วไปที่มี<br />
พื้นฐานอ่อนแอทางการศึกษาอยู่แล้วจึงไม่มีโอกาสรับรู้สิ่งที่<br />
ชาวเยอรมันผู้นี้เขียนถึงมรดกวัฒนธรรมของตนเองเลย<br />
ในยุคปฏิรูปที่ฉายภาพให้เห็นว่าสยามสามารถสร้าง<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกได้เองนั้นเป็นภาพลวงตาอย่างยิ่ง<br />
ความจริง คือ รัฐบาลสามารถสั่งให้สถาปนิก วิศวกรทำตามความ<br />
ต้องการของตนได้ครบถ้วนขึ้นและด้วยมาตรฐานที่ดีขึ้นเท่านั้น<br />
บนเงื่อนไขที่ตราบใดสยามยังมีเงินที่จะจ้างผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้อยู่<br />
ต่อไป สิ่งนี้รัฐบาลก็รู้ดีและยึดถือเป็นนโยบายด้วยดังจะเห็นจาก<br />
ข้อมูลจำนวนสถาปนิก (อาคิเต๊ก) วิศวกร (อินยิเนีย) ประจำเวร<br />
แบบอย่างของกระทรวงโยธาธิการที่มีเพียง 5 คนใน ค.ศ. 1892 18<br />
เพิ่มเป็น 12 คนใน ค.ศ. 1907 19 โดยไม่มีคนไทยสักคนเดียวและ<br />
มีหัวหน้าสถาปนิกอย่างมาริโอ ตามานโยที่มีสัญญาจ้างยาวนานถึง<br />
25 ปี รัฐบาลสยามมองเห็นความสำคัญของการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ<br />
ต่างชาติ ขณะเดียวกันก็ชักช้าอย่างยิ่งในการสร้างทรัพยากรบุคคล<br />
ของตนเอง<br />
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีคุณภาพดีที่สุดในช่วงทศวรรษ<br />
ที่1890-1910 ของทั้ง 2 ชาติไม่ต่างกันมากนัก มันมาจากแนวคิด<br />
ที่เหมือนกันคือการหยิบยืมรูปลักษณ์แบบตะวันตกแบบคลาสสิค<br />
โรแมนติกและอาร์ตนูโว เพื่อให้ชาติตะวันตกยอมรับในความมี<br />
ศิวิไลซ์ สถาปนิก วิศวกรของสยามมีความสามารถและมีความรู้<br />
ในการออกแบบดีกว่ารุ่นก่อนเพราะเป็นนักวิชาชีพรุ่นใหม่ที่ศึกษา<br />
จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของยุโรป ขณะที่สถาปนิก วิศวกรของ<br />
ญี่ปุ่นแม้จะเป็นคนพื้นเมืองแต่ก็ได้รับการศึกษามาอย่างดีประเด็น<br />
เรื่องรูปแบบอาคารต่างใช้แนวผสมผสานเหมือนกัน แต่ก็เน้น<br />
คนละแบบ สยามเน้นงานแบบอิตาเลียนคลาสสิคหรือพาลลาเดียน<br />
ขณะที่ญี่ปุ่นเน้นงานนีโอคลาสสิคแบบอังกฤษและเยอรมันเป็นหลัก<br />
การใช้วัสดุและโครงสร้างไม่ต่างกันมาก ระบบกำแพงอิฐรับน้ำหนัก<br />
ผสมคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นวิธีการก่อสร้างหลัก แต่อาคารสำคัญ<br />
จะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กและโครงสร้างเหล็กทั้ง 2 ประเทศ<br />
สิ่งแตกต่างกันคือจำนวนอาคารและความหลากหลายประเภทของ<br />
อาคาร อาคารในสยามจำนวนมากเป็นวังและคฤหาสน์ของชนชั้นสูง<br />
ขณะที่ญี ่ปุ่นมีจำนวนอาคารที่สร้างมากกว่าแน่นอนเพราะจำนวน<br />
ประชากรที่มากกว่าและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เกิดขึ้นแล้ว<br />
อย่างสมบูรณ์ในทศวรรษ 1890 นอกจากนี้อาคารสาธารณะในญี่ปุ่น<br />
มีมากกว่าสยามอย่างเห็นได้ชัดเพราะจำนวนชนชั้นกลางที่มี<br />
มากกว่า อาคารบางชนิดที่รับใช้ความบันเทิงของชนชั้นกลางในเมือง<br />
เช่น โรงละครแห่งชาติ หรือสนามกีฬาซูโม่แห่งชาติ ซึ่งสร้างตาม<br />
มาตรฐานตะวันตกชั้นดี เป็นตัวอย่างที่ญี่ปุ่นมีแต่สยามยังต้อง<br />
รอไปอีกหลายทศวรรษ<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน วังบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร (1903-1905)<br />
ล่าง กระทรวงยุติธรรม โตเกียว (1895)<br />
324 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
325
สิ่งที่แตกต่างกันมากอย่างสำคัญไม่ใช่เรื่องคุณภาพหรือ<br />
รูปลักษณ์อาคาร แต่เป็นเรื่องบุคลากรในการสร้างอาคาร ญี่ปุ่น<br />
สามารถสร้างอาคารแบบใหม่ด้วยตนเองอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้น<br />
จนจบ บุคลากรในการก่อสร้างทุกหน้าที่ตั้งแต่สถาปนิก วิศวกร<br />
ช่างก่อสร้าง ช่างฝีมือ ผู้รับเหมาตลอดจนถึงกรรมกรล้วนเป็น<br />
ชาวญี่ปุ่นเองทั้งสิ้น ขณะที่บุคลากรในสยามนั้นกลุ่มที่อยู่ยอด<br />
พีระมิดที่เป็นมันสมองอันได้แก่สถาปนิกและวิศวกรนั ้น ล้วนเป็น<br />
ชาวต่างประเทศทั้งสิ้น ชาวสยามมีส่วนร่วมที่กลุ่มกลางและล่าง<br />
คือ ช่างก่อสร้าง ผู้รับเหมา และกรรมกร ซึ่งหากจะพูดถึงที่สุดแล้ว<br />
ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นชาวสยามหรือชาวจีน จากการเปรียบเทียบข้อมูล<br />
กล่าวได้ว่าในยุคปฏิรูปตอนปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษ<br />
ที่ 20 ญี่ปุ่นสามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ขณะที่สยามยังอยู่ในภาวะ<br />
พึ่งพามันสมองจากต่างแดน เรื่องนี้สะท้อนความสำเร็จในการ<br />
วางแผนและการดำเนินงานตามแผนของญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นรัชสมัยเมจิ<br />
การก่อสร้างสถาปัตยกรรมเป็นเพียงส่วนเล็กส่วนหนึ่งของแผนใหญ่<br />
ในการนำประเทศไปสู่ความเจริญทุกด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคม และ<br />
การทหาร ขณะที่สยามไม่ได้มีเป้าหมายและแผนอย่างเป็นระบบ<br />
และไม่ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วแบบญี่ปุ่น นี่อาจไม่ใช่ปัญหา<br />
เชิงเทคนิคอย่างเดียวแต่เป็นปัญหาเชิงสังคมวัฒนธรรมด้วย เพราะ<br />
ญี่ปุ่นมีความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อเลี้ยงพลเมืองที่มีมากกว่า<br />
สยามหลายเท่าตัว ตัวเลขจากการคำนวณโดยสถิติใน ค.ศ. 1900<br />
ญี่ปุ่นมีประชากรประมาณ 44 ล้านคน ขณะที ่สยามมีเพียง<br />
6.3 ล้านคน 20 และโตเกียวมีประชากร 1.5 ล้านคน ขณะที่<br />
กรุงเทพมหานครมีประชากร 6 แสนคนเท่านั้น สยามสามารถใช้<br />
เศรษฐกิจพึ่งตนเองจากเกษตรกรรมได้และมุ่งที่จะเป็นประเทศ<br />
เกษตรกรรมต่อไป ดูจากการสร้างระบบคลองชลประทานขนาด<br />
ใหญ่ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ใน ค.ศ. 1890-1897 เพื่อเปิดพื้นที่<br />
เพาะปลูกข้าวขนาดใหญ่21 ซึ่งดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญการ<br />
ชลประทานชาวดัตช์ แต่ญี่ปุ่นไม่สามารถพึ่งเกษตรกรรมเลี้ยงดู<br />
พลเมืองแบบสยามได้ความพยายามเอาตัวรอดนำมาซึ่งแรงผลักดัน<br />
ให้มีนโยบายพัฒนาแบบเห่อเหิมทะเยอทะยานที่สยามไม่มี<br />
ความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาได้อย่างรวดเร็วเป็น<br />
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง จากการศึกษาขั้นพื้นฐานตอนต้น<br />
รัชสมัยเมจิไปสู่การศึกษาขั้นอุดมศึกษาตอนปลายรัชกาลที่ญี่ปุ่น<br />
สามารถเขียนตำราเรียนขั้นอุดมศึกษาตามแนวคิดของตนเองได้<br />
ยกตัวอย่างในสาขาสถาปัตยกรรมที่มีนักวิชาการอย่าง อิโตะ ชูตะ<br />
ที่เขียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากลตีความตามแบบฉบับของ<br />
เขาเอง และซาโน โตชิคาตะที่เขียนตำราว่าด้วยโครงสร้างอาคาร<br />
ที่ป้องกันแผ่นดินไหวที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สถานการณ์<br />
ทางการศึกษาช่างต่างกับสยามที่ยังเต็มไปด้วยเด็กที่อ่านเขียน<br />
ไม่ได้และการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยก็ยังไม่ได้เริ่ม การที่สยาม<br />
สร้างบุคลากรชั้นมันสมองได้อย่างเชื่องช้าและเอาหน้าที่การใช้มัน<br />
สมองไปฝากไว้กับผู้เชี่ยวชาญต่างชาตินั้น จะทำให้การพัฒนาของ<br />
ทั้ง 2 ประเทศห่างไกลกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคต่อไปเราจะเห็นญี่ปุ่น<br />
ที่เริ่มมองกลับมาหาตนเองเพื่อสร้างนวัตกรรมสถาปัตยกรรมที่<br />
แสดงอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของตนเอง ซึ่งมีทั้งพวกที่แสดงออก<br />
ผ่านการฝังแน่นในรูปธรรมโบราณและพวกที่หัวก้าวหน้าพยายาม<br />
หานามธรรมของภูมิปัญญาเดิมมาใช้กับรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
สากลนิยมสมัยใหม่<br />
326 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลทางวัฒนธรรมบางประการที่เกิดจากสถาปัตยกรรม<br />
แบบตะวันตก<br />
เมื่อมีสถานที่ที่เป็นเครื่องหมายของความศิวิไลซ์แล้ว<br />
สิ่งสำคัญที่ตามมา คือ การใช้สถานที่นั้นประกอบกิจกรรมที่ศิวิไลซ์<br />
ซึ่งจะต้องฝึกหัดกันที่นั้น และหลังจากคนพื้นเมืองรู้จักวัฒนธรรม<br />
ศิวิไลซ์แล้วพวกเขากลับเริ ่มรู้สึกว่า ความเจริญที่เขาโหยหานั้น<br />
มันไม่ได้แสดงอัตลักษณ์ที่แท้จริงของพวกเขาที่สั่งสมมาใน<br />
วัฒนธรรมพื้นเมืองหลายร้อยปี ปัญหาใหม่จึงเกิดขึ้นนั่นคือ<br />
การพยายามหาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่แสดงทั้งความเจริญ<br />
ก้าวหน้าแบบตะวันตกและวัฒนธรรมดั้งเดิมอันน่าภาคภูมิใจของ<br />
ตนเอง นี่คือเนื้อหา 2 ประเด็นที่เราจะกล่าวต่อไป<br />
สถานที่เรียนรู้วัฒนธรรมศิวิไลซ์<br />
สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกไม่ใช่เป็นเพียงสัญลักษณ์ของ<br />
ความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรม แต่ยังเป็นสถานที่สำหรับ<br />
ฝึกกริยา มารยาท การแต่งกาย ธรรมเนียมปฏิบัติในชีวิตประจำวัน<br />
ต่างๆ แบบวัฒนธรรมชั้นสูงของตะวันตกให้คนพื้นเมืองเข้าใจและ<br />
ทำตาม การฝึกวิถีชีวิตแบบนี้จึงไม่มีที่ไหนเหมาะสมเท่ากับสถานที่<br />
ที่มีรูปแบบตะวันตก ในญี่ปุ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ<br />
อิโนอูเอะ คาโอรุว่าจ้างให้สถาปนิกโจไซอา คอนเดอร์ออกแบบ<br />
ก่อสร้างคฤหาสน์โรกุไมคานที่แปลว่า กวางร่ำไห้ ใน ค.ศ. 1883<br />
ในรูปแบบเรอแนสซองส์ฝรั่งเศส เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกต่าง<br />
ประเทศของรัฐบาล สถานที่หรูหรานี้เต็มไปด้วยชนชั้นสูงทั้งญี่ปุ่น<br />
และต่างประเทศมาชุมนุมพบปะกันในเครื่องแต่งกายหรูหรา มีการ<br />
สังสรรค์สันทนาการและรับประทานอาหารแบบตะวันตกในลักษณะ<br />
งานบอลท่ามกลางบรรยากาศยามราตรีที่สว่างไสวด้วยตะเกียงแก๊ส<br />
การเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับอิโนอูเอะ<br />
ที่เคยศึกษาในอังกฤษและเข้าใจแนวคิดความเสมอภาคระหว่าง<br />
คฤหาสน์โรกุไมคาน (1883)<br />
รัฐชาติแบบตะวันตกดี มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทั้ง 2 รัฐชาติ<br />
มีอารยธรรมเท่ากันเท่านั้น อย่างเช่นอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา<br />
หรืออสเตรเลียแต่ไม่ใช่กับอินเดีย อย่างที่ปรากฏในหนังสือ<br />
“อัตถประโยชน์นิยม, ว่าด้วยเสรีภาพ การพิจารณาความเป็นตัวแทน<br />
ของรัฐบาล” (Utilitarianism, on Liberty, Considerations on<br />
Representative Government) (1861) ของจอห์น สจ๊วต มิลล์<br />
(John Stuart Mill) ปัญญาชนจักรวรรดินิยมสมัยศตวรรษที่ 19<br />
ชาวอังกฤษที ่อิโนอูเอะเรียนมา ความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้<br />
วัฒนธรรมตะวันตกจึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำก่อนที่จะดำเนินการ<br />
ขั้นอื่นต่อไป<br />
ขณะที่สถานที่เรียนรู้ความศิวิไลซ์ของญี่ปุ่นอยู่ในรูปแบบ<br />
อาคารเรอแนสซองส์ฝรั่งเศส สยามก็สร้างอาคารชนิดเดียวกัน<br />
ในรูปแบบเรอแนสซองส์อิตาเลียนหรือแบบพาลาเดียนนั่นคือ<br />
วังบูรพาภิรมย์ (1873-1879) ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระราชอนุชาองค์เล็กของพระบาท<br />
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ออกแบบโดย โจอาคิม กราสซี<br />
วังบูรพาเป็นสถานที่งดงามสำหรับจัดกิจกรรมหรูหราของชนชั้นสูง<br />
สยามตั้งแต่สร้างเสร็จ แขกผู้มีเกียรติของวังมีตั้งแต่พระบาทสมเด็จ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
327
บน ภาพพิมพ์แกะไม้แสดงบรรยากาศการ<br />
แสดงคอนเสิร์ทในงานราตรีสโมสร (1889)<br />
ล่าง วังบูรพาภิรมย์ (1873)<br />
พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในพระราช<br />
วโรกาสเสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรกใน ค.ศ. 1898 23<br />
งานราตรีสโมสรเพื่อต้อนรับการเสด็จเยี่ยมกรุงเทพฯ 24 หรือเนื่องใน<br />
โอกาสสำเร็จการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอชั้นเจ้าฟ้า 25<br />
ตลอดจนงานราตรีสโมสรเฉลิมพระเกียรติยศสมด็จพระบรม<br />
โอรสาธิราช 26 ในงานเหล่านี้นอกจากจะมีการตกแต่งสถานที่อย่าง<br />
งดงามด้วยผ้าแพรสีต่างๆ ประดับโคมไฟฟ้า โคมญี่ปุ่นอย่าง<br />
ประณีตบรรจงดูสว่างไสว มีวงมโหรีพิณพาทย์บรรเลงประกอบ<br />
การเต้นรำ ในส่วนสนามหญ้ารอบตำหนักตั ้งโต๊ะสำหรับจัดเลี้ยง<br />
อาหาร เครื่องดื่ม หมาก บุหรี่ น้ำชากาแฟอย่างบริบูรณ์ บางครั้ง<br />
ยังมีการจุดพลุต่างๆ ทั้งพลุมืดและพลุสีชมพูและน้ำเงิน อันเป็น<br />
สีประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง<br />
เจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมทั้งการจัดกระบวนแห่ทหารขี่ม้า<br />
นำด้วยขบวนแตรวงถึง 6 ขบวนท่ามกลางบรรดาแขกรับเชิญที่เป็น<br />
ชนชั้นสูงและเหล่าราชทูตประเทศต่างๆ<br />
328 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การมีพิธีการทางสังคมในการพบปะสังสรรค์ของคนกลุ่ม<br />
ใหญ่รวมทั้งการเต้นรำ กิจกรรมที่เต็มไปด้วยยศศักดิ์เหล่านี้ทำให้<br />
การวางผังอาคารต้องลำดับอย่างมีระบบ และทำให้คฤหาสน์<br />
โรกุไมคานและวังบูรพาภิรมย์ มีผังคล้ายกันอย่างประหลาด<br />
กล่าวคือ มีผังเป็นรูปตัว U ห้องกลางชั้นบนด้านนอกเป็นโถงรวม<br />
พลใหญ่สำหรับชุมนุมเพื่อให้บรรดาแขกได้เข้าเฝ้าหรือแนะนำ<br />
ตัวต่อประธานในงาน ซึ่งห้องโถงใหญ่นี้จะจัดเป็นที่เต้นรำด้วย<br />
หลังจากจบงานพิธีการ ถัดไปเป็นห้องโถงรองสำหรับพระบรม<br />
วงศานุวงศ์หรือแขกใกล้ชิดเฝ้า ส่วนชั้นล่างเป็นที่ตั้งห้องเสวยใหญ่<br />
หรือห้องรับประทานอาหารสำหรับประธานและแขกใกล้ชิด และ<br />
ห้องรับประทานอาหารรองที่ตั้งอยู่ติดกันหรือใกล้ชิดสำหรับ<br />
แขกอื่นๆ 27 อาคารทั้ง 2 หลังต่างแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญ<br />
ของเหล่าชนชั้นสูงพื้นเมืองต่อการเรียนรู้รูปแบบการใช้ชีวิตแบบ<br />
“ศิวิไลซ์” ของตะวันตก แต่เป้าหมายของการเรียนรู้วิถีชีวิตเช่นนี้<br />
เป็นเพียงเพื่อให้เข้าสังคมชั้นสูงกับชาวตะวันตกได้ หรือเพื่อก้าว<br />
ข้ามไปสู่สิ่งที่เป็นแก่นสารกว่านั้น เราจะเห็นได้ในภายหลังซึ่งแสดง<br />
ให้เห็นถึงความแตกต่างของความนึกคิดของชาติทั้ง 2 อย่างชัดเจน<br />
การเริ่มต้นของปัญหาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโนและรัฐสภาแห่งชาติ<br />
ตั้งแต่ค.ศ. 1877 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นได้เปิดศักราชสถาปัตยกรรม<br />
ยุคสมัยใหม่อย่างแท้จริงและยั่งยืน โดยการปลูกถ่ายความรู้จาก<br />
ตะวันตกอย่างเป็นระบบผ่านการสอนวิชาสถาปัตยกรรมในโรงเรียน<br />
วิศวกรรมของมหาวิทยาลัยอุตสาหกรรม ที่มีสถาปนิกหนุ่ม<br />
ชาวอังกฤษ โจไซอา คอนเดอร์ เป็นผู้ดำเนินการเพื่อสอนนักศึกษา<br />
ชาวญี่ปุ่นให้เข้าใจวิชาชีพสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก เพื่อนำไป<br />
ใช้ประกอบอาชีพได้ โครงการนี้เริ่มเห็นความสำเร็จโดยใช้เวลา<br />
เพียง 1 ทศวรรษและเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ ในช่วงที่คอนเดอร์<br />
เป็นอาจารย์สอนนั้นเขายังรับงานของรัฐบาลมาทำด้วย เช่น<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน (1881) ตึกเรียนคณะนิติศาสตร์<br />
และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว (1884) อาคารทั้ง 2<br />
มีผังแบบรูปตัว E เน้นประโยชน์ใช้งาน ผนังก่ออิฐอวดผิวตกแต่งน้อย<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน มีจุดเด่นอยู่ที่หลังคาประดับโดม<br />
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโน (1881)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
329
ทรงหัวหอมแบบซาราเซนิกควบคู่กับหน้าต่างแบบยุคกลางผสม<br />
มุสลิม ส่วนตึกเรียนคณะนิติศาสตร์และอักษรศาสตร์ใช้รูปทรงแบบ<br />
ฟื้นฟูโกธิคที่ตัดรายละเอียดออก คฤหาสน์โรกุไมคาน (1883)<br />
สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ฝึกฝนวัฒนธรรมชนชั้นสูงแบบตะวันตก<br />
ให้ชนชั้นนำชาวญี่ปุ่น ผังเป็นรูปตัว U จุดเด่นอยู่ที่โดมมุขหน้า<br />
ทรงสันตะเข้โค้งแบบเรอแนสซองส์ฝรั่งเศส อาคารของคอนเดอร์<br />
แม้จะเรียบง่ายแต่ลักษณะไม่เหมือนกันแฝงความหมายที่ต่างกัน<br />
แต่ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญแบบตะวันตกกล่าวคือ<br />
ชนชาติที่มีอารยธรรมจะต้องมีพิพิธภัณฑ์แสดงความเจริญ<br />
มาอย่างยาวนาน ต้องมีมหาวิทยาลัยในการสั่งสอนความรู้ชั้นสูง<br />
และต้องมีสถานสันทนาการสำหรับงานบันเทิงอย่างมีวัฒนธรรม<br />
อาคารทั้ง 3 ต่างรับใช้จุดประสงค์ของการสร้างภาพศิวิไลซ์<br />
แบบโกธิคของสมัยกลางเป็นสัญลักษณ์ของความคงแก่เรียน<br />
จึงเหมาะกับอาคารเรียน อาคารแบบเรอแนสซองส์ฝรั่งเศสเป็น<br />
สัญลักษณ์ของความหรูหราฟุ้งเฟ้อจึงเหมาะสำหรับคฤหาสน์<br />
รับรองแขกเมือง แต่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอูเอโนที่ประดับ<br />
โดมลักษณะโกธิคผสมมุสลิมที่เรียกว่าซาราเซนิกนั้น คอนเดอร์<br />
ตั้งใจให้มันเป็นสัญลักษณ์ของ “ความเป็นตะวันออก” คอนเดอร์<br />
คิดเสมอว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อาคาร<br />
แบบตะวันตกที่สร้างในญี่ปุ่นนั้นควรแสดงลักษณะความเป็น<br />
ตะวันออกของคนพื้นเมือง แต่ว่าอาคารแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ที่สร้างด้วย<br />
โครงสร้างไม้ก็อ่อนแอเกินไปสำหรับอาคารสมัยใหม่ เขาจึงเลือก<br />
ออกแบบโดมชนิดนี้เป็นตัวแทนให้คนญี่ปุ่น 28 ซึ่งน่าจะมีที่มาจาก<br />
โธมัส โรเจอร์ สมิธ (Thomas Roger Smith) อาจารย์ของเขาที่<br />
ลอนดอนที่กล่าวว่า สถาปนิกอังกฤษควรสร้างอาคารแบบตะวันตก<br />
ที่อาณานิคมอินเดียโดยมีองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมพื้นเมือง<br />
ประกอบบ้าง 29 แนวความคิดเรื่องอัตลักษณ์ญี่ปุ่นในสถาปัตยกรรม<br />
แบบตะวันตกจึงมีที่มาตั้งแต่ญี่ปุ่นจ้างคอนเดอร์มาสอนวิชา<br />
สถาปัตยกรรม เขาได้ถ่ายทอดแนวคิดอัตลักษณ์สถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นให้กับลูกศิษย์และถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น<br />
แต่ความมีอารยธรรมไม่ใช่เพียงการมีพิพิธภัณฑ์<br />
มหาวิทยาลัย หรือคฤหาสน์ใหญ่โตสำหรับฝึกวิถีชีวิตที่หรูหราของ<br />
ตะวันตก ญี่ปุ่นรู้ดีว่านั่นเป็นเพียงเปลือกนอก สิ่งที่ชาติตะวันตก<br />
ยอมรับว่าเป็นความเจริญนั้นมาจากรากฐานภายในนั่นคือ การมี<br />
ประเทศที ่เข้มแข็ง ปกครองด้วยระบอบรัฐสภา และมีระบบ<br />
กฎหมายที่มีประชาชนเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจผ่านผู้แทนราษฎร<br />
ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด สิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบ<br />
ที่รัฐสมัยใหม่ในอุดมคติต้องมีและรับรู้ได้ผ่านสถาปัตยกรรมที่เป็น<br />
กายภาพของอุดมคติเหล่านั้น จุดมุ่งหมายในการปฏิวัติโบชินซึ่ง<br />
เป็นที่มาของรัชสมัยเมจิ คือการปกครองในระบอบประชาธิปไตย<br />
ซึ่งฝ่ายก้าวหน้าในญี่ปุ่นเชื่อว่าจะทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง<br />
เจริญก้าวหน้า และประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ดังที่<br />
เห็นตัวอย่างจากประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังนั้นโครงการ<br />
สร้างรัฐสภาแห่งชาติเพื่อแสดงอุดมการณ์ประชาธิปไตยของ<br />
นักปฏิวัติโบชิน ซึ่งต่อมากลับกลายเป็นกลุ่มขุนศึกคณาธิปไตย<br />
ได้มีการเตรียมการมาตั้งแต่ทศวรรษ 1880 หลังจากพวกเขาไม่ถูกใจ<br />
ในแบบที่คอนเดอร์เสนอมาเพราะเนื้อที่ภายในดูเล็กแบบญี่ปุ่น<br />
ไม่ยิ่งใหญ่มโหฬารแบบตะวันตก รัฐบาลจึงเชิญคณะสถาปนิก<br />
เยอรมันเอนเดอร์และบ๊อคมานน์ที่เพิ่งชนะที่ 2 ในการประกวด<br />
แบบรัฐสภาเยอรมันใน ค.ศ. 1882 มาออกแบบ แบบที่เอนเดอร์<br />
และบ๊อคมานน์เสนอได้สร้างปัญหาสัญลักษณ์แห่งความศิวิไลซ์ขึ้น<br />
ในหมู่ชนชั้นนำและปัญญาชนญี่ปุ่น เพราะความศิวิไลซ์แบบใหม่<br />
ที่ญี่ปุ่นถวิลหานั้นเป็นรากเหง้าจากวัฒนธรรมตะวันตก 30 รูปแบบ<br />
จากวัฒนธรรมตะวันตกจะสะท้อนจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นได้<br />
อย่างไร<br />
330 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน โครงการรัฐสภาแห่งชาติ 1 (1886)<br />
ล่าง โครงการรัฐสภาแห่งชาติ 2 (1887)<br />
เอนเดอร์และบ๊อคมานน์เสนอแบบร่างรัฐสภาแห่งชาติ2 แบบ<br />
ใน ค.ศ. 1886 และ 1887 ให้รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาตามลำดับ<br />
รัฐสภาแบบแรกเป็นแบบตะวันตกแฝงลักษณะตะวันออกอยู่บ้าง<br />
ผังเป็นรูปตัว E ที่มีโถงกลางและมุขซ้าย-ขวาซึ่งเป็นที่ตั้งห้อง<br />
ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จุดเด่นของอาคารอยู่ที่<br />
หลังคาโดมของมุขกลาง หลังคามุขริม 2 ข้างที่เป็นห้องประชุม<br />
ของสภาทั้ง 2 เป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องลอนแบบจีน<br />
ผนังอาคารประดับเสาลอยตัวแบบคลาสสิค มุมมุขทั้ง 3 มีป้อม<br />
แบบคลาสสิคที่ประดับหลังคายอดแหลมแบบเจดีย์จีน แบบร่างที่ 2<br />
ถูกดัดแปลงให้เป็นแบบจีนมากขึ้น โดยเปลี่ยนหลังคามุขกลางจาก<br />
โดมกลมมาเป็นหลังคายอดแหลมสูงแบบเจดีย์จีน ส่วนหลังคาของ<br />
ห้องประชุมสภาทั้ง 2 เปลี่ยนจากทรงปั้นหยามาเป็นหลังคาจั่ว<br />
มีปีกนกแบบพระราชวังต้องห้ามของจีน ผนังอาคารเปลี่ยน<br />
องค์ประกอบเสาแบบคลาสสิคมาเป็นเสาอิงและป้อมค้ำยันแบบ<br />
โกธิคที่ประดับหลังคายอดแหลมแบบจีนแทน งานของเอนเดอร์<br />
และบ๊อคมานน์แสดงถึงความพยายามของสถาปนิกที่ต้องการ<br />
สะท้อนอัตลักษณ์ญี่ปุ่นตามแบบโบราณมากกว่าพิพิธภัณฑ์สถาน<br />
แห่งชาติอูเอโนของคอนเดอร์แม้ว่าจะไม่มีเอกสารใดๆ แสดงความ<br />
ไม่เห็นด้วยกับแบบร่างแรกที่เป็นแบบตะวันตก หรือแบบร่างที่ 2<br />
ที่เป็นแบบตะวันออกโบราณมากเกินไป แต่ทั ้ง 2 แบบก็ไม่ได้<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
331
รัฐสภาชั่วคราวหลังที่1 (1890)<br />
นำมาสร้างจริงในที่สุด ปัญหาที่มีการบันทึกกลับเป็นเรื่องสามัญ<br />
เช่น งบประมาณก่อสร้างที่สูงมาก เรื่องสถานที่ก่อสร้างที่เป็นดิน<br />
อ่อน และมีการพูดถึงการปล่อยให้ต่างชาติรับงานออกแบบขนาด<br />
ใหญ่ของญี่ปุ่นซึ่งจะทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ แต่ในความ<br />
เป็นจริงช่วงปลายทศวรรษ 1880 นั้น วงการศึกษาและวงการเมือง<br />
เริ่มมีทัศนคติของตนเองและเป็นชาตินิยม สาเหตุนี้น่าจะเป็นเรื่อง<br />
สำคัญที่ทำให้งานแบบแรกของเอนเดอร์และบ๊อคมานน์ที่เป็นตะวัน<br />
ตกไม่ถูกยอมรับ ในขณะที่ญี่ปุ่นเองก็กำลังค้นหาตนเองและยังไม่<br />
สามารถหาคำตอบว่า สัญลักษณ์ของชาติญี่ปุ่นที่ศิวิไลซ์แบบ<br />
ตะวันตกที่ตนเองวิ่งไล่ตามนั้นควรมีรูปธรรมเป็นอย่างไร ซึ่งไม่น่า<br />
จะเป็นแบบญี่ปุ่นโบราณจึงทำให้แบบร่างที่ 2 ของเอนเดอร์และ<br />
บ๊อคมานน์ไม่ได้รับพิจารณาเช่นกัน อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น<br />
ฉบับแรกประกาศใช้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1889 และ<br />
การประชุมรัฐสภาจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1890 จึงมี<br />
การสร้างรัฐสภาชั่วคราวขึ้นอย่างรีบเร่งโดยใช้ผังของเอนเดอร์และ<br />
บ๊อคมานน์เป็นหลัก แต่สร้างด้วยไม้ในลักษณะอาคารทรงปั้นหยา<br />
ยกจั่ว 2 หลัง ใช้เป็นที่ประชุมของสภาทั้ง 2 ตั้งอยู่ริมคนละข้าง<br />
ของอาคารรูปสี่เหลี่ยมยาว โชคไม่ดีที่อาคารถูกไฟไหม้ไปในปีถัดไป<br />
(ค.ศ. 1891) แต่ก็มีการสร้างอาคารแบบเดิมขึ้นมาใหม่อีกในปี<br />
นั้นเอง (ค.ศ. 1891) อาคารรัฐสภาชั่วคราวหลังที ่ 2 ถูกไฟไหม้<br />
อีกใน ค.ศ. 1925 และอาคารไม้ชั่วคราวแบบเดิมก็ถูกสร้างขึ้นอีก<br />
เป็นหลังที่ 3 ในปลายปีนั้น และคราวนี้ได้ใช้งานไปนานถึง<br />
ค.ศ. 1936 กว่าที่รัฐสภาถาวรจะสร้างเสร็จชนิดที่ไม่มีอะไร<br />
น่าภาคภูมิใจสมกับการค้นหาและรอคอย เพราะสถาปนิกญี่ปุ่น<br />
ยังตอบคำถามพื้นฐานว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นตัวแทนความศิวิไลซ์<br />
ในอารยธรรมตะวันตกนั้นในรูปธรรมของบริบทญี่ปุ่นนั้นมันมี<br />
อยู่จริงหรือไม่และควรสร้างสรรค์ออกมาเป็นกายภาพอย่างไร<br />
332 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (1875)<br />
ในสยามช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันมีการสร้างพระที่นั่ง<br />
จักรีมหาปราสาทขึ้นใน ค.ศ. 1875-1882 พระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ จอห์น คลูนิส<br />
ชาวอังกฤษเป็นสถาปนิก โดยมีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชวัง<br />
ที่มีท้องพระโรงขนาดใหญ่สำหรับประชุมข้าราชการในระบอบ<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแบบตะวันตก<br />
คลูนิสจึงออกแบบพระที่นั่งแบบคลาสสิคผังรูปตัว T ที่มีส่วนหน้า<br />
เป็นรูปตัว E ส่วนที่เป็นแกนดิ่งของตัว T คือ ท้องพระโรงตาม<br />
โบราณราชประเพณี ขณะที่บรรดาห้องที่เรียงอยู่ด้านหน้านั้น<br />
เรียงตามแนวหน้ากระดาน เป็นห้องสำหรับประกอบราชกิจแบบ<br />
สมัยใหม่ เช่น ห้องทรงงาน ห้องรับแขก และโถงรับรองแขก<br />
เป็นต้น เป็นที่สำหรับพบปะสังสรรค์ตามวัฒนธรรมสากล ที่มีการ<br />
รับรองแขกด้วยโต๊ะและเก้าอี้นั่ง ไม่ใช่ท้องพระโรงในพระมหา<br />
มณเฑียรโบราณที่ขุนนางข้าราชการเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ด้วย<br />
การหมอบอยู่กับพื้น เหตุนี้พระที่นั่งองค์นี้จึงเป็นแบบตะวันตก<br />
ทั้งหมดทั้งอาคารและหลังคาที่จะเป็นทรงโดมแบบสันตะเข้โค้ง<br />
3 โดมที่มุขกลางและหัวท้าย แต่ขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่นั้น<br />
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ผู้สำเร็จราชการ มีความเห็น<br />
ว่าไม่ควรที่จะสร้างอาคารแบบตะวันตกแท้ๆ ที่ใจกลางพระบรม<br />
มหาราชวัง และต้องการที่จะอนุรักษ์ไวยกรณ์สถาปัตยกรรมไทย<br />
สำหรับพระที่นั่งองค์สำคัญนั่นคือหลังคายอดปราสาท ซึ่งเป็น<br />
สัญลักษณ์ของอาคารสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น จึงกราบ<br />
บังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าพระองค์ยัง<br />
มิได้ทรงสร้างพระมหาปราสาทตามโบราณราชประเพณีที่พระมหา<br />
กษัตริย์ในราชวงศ์องค์ก่อนๆ ได้ทรงสร้างแล้วทั้งสิ้น จึงขอพระบรม<br />
ราชานุญาตให้พระที่นั่งองค์นี้เป็นยอดปราสาท ซึ่งพระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชทานอนุญาตให้มีการแก้ไข<br />
แบบจากทรงโดมสันตะเข้โค้งแบบฝรั่งเศสเป็นทรงปราสาท ทุกวันนี้<br />
เราจึงเห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมีตัวอาคารแบบคลาสสิคแท้ๆ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
333
แต่หลังคาเป็นยอดแหลมแบบปราสาทไทยแท้ๆ อยู่รวมในหลัง<br />
เดียวกันอย่างแตกต่างแต่ประสานร่วมกันได้<br />
อาคารทั้ง 2 ต่างต้องการแสดงสัญลักษณ์อารยธรรมตะวันตก<br />
ขณะเดียวกันก็ต้องการรักษาเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่<br />
สั่งสมมาอย่างยาวนาน รัฐสภาญี่ปุ่นต้องการสัญลักษณ์ระบอบการ<br />
ปกครองใหม่ของชนชาติศิวิไลซ์ที่มีอัตลักษณ์ของชาติตนเอง<br />
แต่มันเป็นอาคารและกิจกรรมที่ไม่มีมาก่อนในประวัติศาสตร์<br />
รัฐบาลจึงต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญเยอรมันมาออกแบบซึ่งพวกเขาก็ได้<br />
มอบแบบรัฐสภาแบบตะวันตกและแบบตะวันออกให้เลือก แต่ญี่ปุ่น<br />
กลับไม่ต้องการทั้งคู่เพราะแบบตะวันตกขาดอัตลักษณ์ญี่ปุ่น<br />
ขณะที ่แบบตะวันออกก็เป็นอัตลักษณ์ที่ญี่ปุ่นเพิ่งจะปฏิวัติมันมา<br />
ในที่สุดญี่ปุ่นก็ยังหาคำตอบเรื่องนี้ไม่ได้อย่างน้อยก็ในช่วงระยะ<br />
เวลานี้ แต่ในระยะยาวแล้วปัญหาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม<br />
จะเป็นคุณแก่ญี่ปุ่น เพราะมันกลายเป็นปัญหาหลักของสถาปนิก<br />
ญี่ปุ่นในภายภาคหน้าในการหาความเป็นตะวันตกที่มีอัตลักษณ์<br />
ของตนเอง จนพวกเขาสามารถค้นพบคำตอบได้โดยการปลดปล่อย<br />
ตนเองออกจากกรงขังของรูปธรรมในอดีต แล้วหันไปสำรวจ<br />
วัฒนธรรมนามธรรมมาเป็นฐานในการสร้างสรรค์ผ่านระบบการ<br />
ศึกษาและการปฏิบัติวิชาชีพอย่างจริงจัง และประสบความสำเร็จ<br />
ในที่สุดด้วยภูมิปัญญาและความอุตสาหะของพวกเขาเอง<br />
พระที ่นั่งจักรีมหาปราสาทไม่ได้ต้องแสดงสัญลักษณ์ของ<br />
ระบอบการปกครองใหม่เท่ากับญี่ปุ่น แต่ก็ต้องการสัญลักษณ์ของ<br />
ชาติศิวิไลซ์ที่มีรสนิยมแบบตะวันตกที่ก้าวหน้า แต่พลังอนุรักษ์นิยม<br />
ของบริบทภายในประเทศกลับเหนี่ยวรั้งรูปแบบใหม่ให้กลับมาหา<br />
ของโบราณจนได้พบความสมดุลที่น่าสนใจเช่นกัน แต่ในระยะยาว<br />
เรื่องนี้กลับไม่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสามารถของตนเอง<br />
ของสยาม เพราะเห็นว่าลักษณะลูกผสมคือคำตอบที่ถูกต้องแล้ว<br />
สำหรับการพัฒนา ทำให้สยามตกอยู่ในกับดักของความคิด<br />
สำเร็จรูปเมื่อต้องการหาอัตลักษณ์ของตนเองให้กับสิ่งใหม่ๆ<br />
ที่ไม่เคยมีมาก่อนในสังคมสยาม การพึ่งพารูปแบบโบราณและ<br />
แนวคิดเก่าๆ กลายเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาอยู่เสมอ ความคิดสร้างสรรค์<br />
ในสังคมสยามจึงเกิดได้ช้าและยากมาก<br />
334 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (1910-1940)<br />
สถาปัตยกรรมยุคนี้แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกตรงกับรัชสมัย<br />
ไทโชในญี่ปุ่นซึ่งเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1912 จนถึง ค.ศ. 1926 ส่วนใน<br />
สยามตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่6 ซึ่งเริ่มรัชกาลใน ค.ศ. 1910 จนถึง ค.ศ. 1925 ช่วงที่2<br />
ตรงกับรัชสมัยโชวะในญี่ปุ่น ที่จะกล่าวในการศึกษานี้เริ่มต้นเมื่อ<br />
ค.ศ. 1926 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 ใน ค.ศ. 1945 ส่วนใน<br />
สยามตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่ 7 ซึ่งเริ่มต้นรัชกาลใน ค.ศ. 1925 ไปสิ้นสุดรัชกาล<br />
ใน ค.ศ. 1935 และต่อไปจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร<br />
มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ที่เริ่มรัชกาลใน ค.ศ. 1935 ไปจน<br />
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ. 1945<br />
ในช่วงสั้นๆ 30 ปีนี้เราเห็นการแปลงรูป (transformation)<br />
ทางสถาปัตยกรรมจากแบบตะวันตกโบราณไปสู่สถาปัตยกรรมของ<br />
ยุคสมัยใหม่ โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่นการสะสมทางวิชาการและ<br />
ประสบการณ์การปฏิบัติวิชาชีพมาถึงจุดเปลี่ยนทางคุณภาพ<br />
สถาปนิกชั้นนำเริ่มทิ้งการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ดาษดื่นและ<br />
นำเสนอรูปแบบใหม่ที่เป็นสากลร่วมด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่เป็น<br />
นามธรรม มีการนำเสนอสถาปัตยกรรมและพิธีกรรมโบราณของ<br />
ญี่ปุ่นเผยแพร่สู่นานาชาติและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก<br />
อย่างไรก็ตามปัจจัยการเมืองภายในประเทศเองที่นำโดยลัทธิ<br />
ชาตินิยมสุดโต่งและลัทธิจักรวรรดินิยมเอเชียกลับสกัดกั้นการ<br />
เติบโตของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่และดึงมันกลับไปสู่<br />
กรอบของรูปแบบอนุรักษ์นิยมโบราณอีก แต่ช่วงเวลาแห่ง<br />
ความยากลำบากนี้ก็ผ่านไปหลังจากญี่ปุ่นที่ถูกครอบงำโดยสอง<br />
ลัทธิแห่งความก้าวร้าวนี้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
ในสยามก่อนทศวรรษ 1930 ไม่มีสาระอะไรมากนักเกี่ยวกับ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ อาคารสำคัญที่สร้างขึ้นเป็นการผลิตซ้ำ<br />
ของสถาปัตยกรรมคลาสสิคและโรแมนติกที่สร้างด้วยคอนกรีต<br />
รวมทั้งสถาปัตยกรรมอาร์ตนูโวที่เข้าสู่ขั้นฟุ้งเฟ้อตามแบบศาลา<br />
แสดงสินค้านานาชาติในยุโรปตอนต้นศตวรรษที่ 20 35 อาคาร<br />
แบบใหม่ที่น่าสนใจกลับเป็นอาคารสาธารณูปโภคคอนกรีตที่<br />
ออกแบบโดยวิศวกร รวมทั้งสถาปัตยกรรมชาตินิยมที่สร้างด้วย<br />
คอนกรีตที่มาจากอิทธิพลของลัทธิชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ที่เราจะแยกกล่าวจากหัวข้อนี้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มีบทบาทมาก<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
335
ในสยามตั้งแต่ทศวรรษที่1930 ในรูปของสถาปัตยกรรมอาร์ตเด็คโค<br />
ที่นำเข้าโดยสถาปนิกรุ่นใหม่ชาวไทยที่สำเร็จการศึกษาจากยุโรป<br />
กลางทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นไปรัฐบาลประชาธิปไตยที่มีผู้นำเป็น<br />
พวกนิยมทหารและลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยได้สร้างอาคาร<br />
แบบอาร์ตเด็คโคอิทธิพลฟาสซิสต์ขึ้นมา เพื่อเป็นสัญลักษณ์<br />
ความสำเร็จของการปกครองระบอบใหม่ แต่อาคารแบบนี้ก็เป็น<br />
สัญลักษณ์ของความล้มเหลวที่รัฐบาลนำประเทศไปเป็นพันธมิตร<br />
กับญี่ปุ่นผู้รุกรานที่พ่ายแพ้ มันจึงกลายเป็นอาคารที่ถูกทำให้ลืม<br />
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไทยก็แพ้สงครามด้วย<br />
นิทรรศการกลุ่มบุนริฮา ค.ศ. 1921<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงแรก (1910-1926)<br />
ยุคเริ่มต้นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
รัชสมัยไทโช (1912-1926) คือยุคสมัยใหม่แห่งสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นอย่างแท้จริง มันมาพร้อมกับความเป็นประเทศอุตสาหกรรม<br />
ทุนนิยมเต็มตัว ประเทศจักรวรรดินิยม และประชาธิปไตยภายใต้<br />
กำกับของกลุ่มคณาธิปไตยและทหาร ในทางสังคมมีการขยายตัว<br />
อย่างรวดเร็วของประชากรในเมืองใหญ่ซึ่งเป็นผลจากการอพยพ<br />
จากชนบท การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางที่ต้องการสิทธิเสรีภาพ<br />
และประชาธิปไตย การมีการศึกษาที่ดีทำให้ชนชั้นกลางมีโลกทัศน์<br />
ที่กว้างขึ้น ประชาชนต้องการเป็นอิสระจากขนบธรรมเนียมประเพณี<br />
โบราณเพื่อวิถีชีวิตและคุณค่าแบบตะวันตก เราจึงไม่ต้องแปลกใจ<br />
ในคำขวัญของกลุ่มสถาปนิกบุนริฮาที่ประกาศตนอย่างโจ่งแจ้งว่า<br />
เป็นกบฏกับประเพณีเก่าว่า “...ลุกขึ้นมาเถิดเราสร้างอาณาจักร<br />
สถาปัตย์ใหม่ที่มีความหมายแท้จริง เราจะแยกตัวจากอาณาจักร<br />
สถาปัตย์แห่งอดีต...เราลุกขึ้นอย่างปิติ อุทิศอุตสาหะเพื่อ<br />
อุดมการณ์ปรากฏ เราจะรอด้วยหวัง จนกว่าจะล้มลง ตาย...”<br />
แต่สุดท้ายพวกเขาก็หนีไม่พ้นอุดมการณ์ชาตินิยมอยู่ดี โฮริกูชิ<br />
เขียนว่า “...เราได้ดูดซึมจารีตประเพณีเข้าไปในเลือดและกล้ามเนื้อ<br />
และมันสุกงอมอยู่ในทุกอณูในร่างกายของเรา...”มองในแง่นี้พวกเขา<br />
กำลังจะสร้างสถาปัตยกรรมชาตินิยมอีกแบบหนึ่งที่ใช้รูปแบบสมัยใหม่<br />
และทิ้งสถาปัตยกรรมแบบโบราณไป เพราะมันเป็นเพียงเปลือก<br />
ของยุคสมัย ไม่ใช่แก่นที่ไม่มีตัวตนและไม่มีการคงอยู่ตลอดไป<br />
เขาเพียงแต่หารูปแบบที่เหมาะกับยุคสมัยมาห่อหุ้มมันไว้ ผลงาน<br />
ของบุนริฮาในยุคแรกเป็นการเลียนแบบกระแสสถาปัตยกรรม<br />
ก้าวหน้าช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 หลายกลุ่ม<br />
เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะพวกซีเซสชั่นนิสแห่งเวียนนาและกลุ่ม<br />
เอ๊กเพรสชั่นนิสม์ของเยอรมัน งานอย่างอาคารสำนักงานกลาง<br />
โทรเลขแห่งกรุงโตเกียว (1925) โดยยามาดะ มาโมรุ และอาคาร<br />
สำนักงานหนังสือพิมพ์อาซาฮีที่กรุงโตเกียว (1927) โดยอิชิโมโต<br />
คิกูจิ มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมากแม้ว่าเราจะเห็นอิทธิพลของ<br />
336 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ขวา สำนักงานกลางโทรเลขแห่งกรุงโตเกียว (1922)<br />
ล่าง สำนักงานหนังสือพิมพ์อาซาฮี (1927)<br />
พวกเอ๊กเพรสชั่นนิสม์ของเยอรมันอย่างฮานส์ โพลซิกที่ออกแบบ<br />
ไว้ก่อน 15 ปีก็ตาม บ้านพักอาศัยที่ชื่อ ชิเอ็นโซ ที่เมืองวาราบิ<br />
จังหวัดไซตะมะ (1926) ของโฮริกูชิ เอากระท่อมทรงสูงมุงใบไม้<br />
แบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของดัตช์มาชนกับอาคารทรงกล่อง<br />
หลังคาแบน เจาะผนังเป็นช่องกลมแบบญี่ปุ่นแสดงให้เห็นอิทธิพล<br />
ของสถาปนิกกลุ่มอัมสเตอร์ดัมสคูลส์โคโลนี่ตอนปลายทศวรรษ<br />
ที่ 1910 ผสมงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นญี่ปุ่น ผลงานทั้งหมดแสดง<br />
ความสามารถในการวางผังรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบอสมมาตรที่<br />
สามารถรองรับประโยชน์ใช้สอยที่ยืดหยุ่น การใช้โครงสร้าง<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กกำหนดพื ้นที่ภายในและห่อหุ้มด้วยเปลือก<br />
ภายนอกที่เป็นวัสดุเรียบเกลี้ยงสะท้อนกิจกรรมภายในอย่างตรงไป<br />
ตรงมา ซึ่งทั้งหมดเป็นพื้นฐานความสามารถที่ต้องมีในการ<br />
ออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของศตวรรษที่20 ที่สถาปนิกกลุ่มนี้<br />
มีอย่างชัดเจน ความสามารถเหล่านี้ส่วนหนึ่งย่อมมาจากการสั่งสม<br />
ภายในวงการศึกษาสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นเองตั้งแต่ทศวรรษ<br />
ที่ 1870 ที่เริ่มตั้งสาขาวิชาสถาปัตยกรรมในคณะวิศวกรรมศาสตร์<br />
มหาวิทยาลัยโตเกียว การศึกษาแบบวิศวกรที่ใช้พื้นฐานของเหตุผล<br />
ความแม่นยำ และความประหยัดเรียบง่ายแบบที่สถาปนิกสมัยใหม่<br />
เรียกร้องจึงมีอยู่แล้ว ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสถาปัตยกรรมแบบ<br />
คลาสสิคสู่แบบสมัยใหม่เราจึงไม่สามารถแยกผลงานการออกแบบ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
337
บนซ้าย บ้านชิเอ็นโซ (1926)<br />
บนขวา บ้านซาโน (1923)<br />
ล่าง บ้านไรนานซากา (1924)<br />
อาคารของวิศวกรและสถาปนิกให้เห็นแตกต่างชัดเจน ดังจะเห็นได้<br />
จากผลงานบ้านพักซาโน (Sano Residence) (1923) ที่โอซาก้า<br />
ออกแบบโดย ซาโน โตชิคาตะ ที่เป็นหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรม<br />
(วิศวกรรมอาคาร) ของมหาวิทยาลัยโตเกียว บ้านของเขามีผังเป็น<br />
รูปตัว T ลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่ตรงไปตรงมาเรียบเกลี้ยงที่สุด<br />
และใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจนยากที่จะบอกว่างานนี้<br />
ออกแบบโดยวิศวกรหรือสถาปนิก นอกจากอิทธิพลการศึกษาจาก<br />
ภายในและอิทธิพลรูปแบบและแนวคิดจากภายนอกแล้ว ยังมี<br />
อิทธิพลสำคัญอีกสายหนึ่งที่มาจากสถาปนิกนำเข้าจากต่างประเทศ<br />
ได้แก่ อันโตนิน เรย์มอนด์ ชาวอเมริกัน-เช็ค ที่ออกแบบบ้าน<br />
ไรนานซากา (1924) ที่กรุงโตเกียว ในลักษณะรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม<br />
เรียบเกลี้ยงแบบของโกรเปียสผสมคอร์บู แม้ว่าจะมีรูปแบบ<br />
สมัยใหม่แต่โครงสร้างยังเป็นแบบกำแพงรับน้ำหนักแบบโบราณ<br />
อยู่ดี อันโตนิน เรย์มอนด์จะเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกคนสำคัญ<br />
ในการถ่ายทอดความสามารถในการออกแบบสถาปัตยกรรมสากล<br />
นิยมสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 20 ให้กับวงการสถาปนิกญี่ปุ่น<br />
จนกระทั่ง ค.ศ. 1938<br />
338 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ตึกผ่าตัด (1912-1914)<br />
ล่าง ตึกวชิรุณหิศ(1912-1914)<br />
สถาปัตยกรรมคอนกรีตเสริมเหล็กในสยาม<br />
แม้ว่าสยามจะมีการสร้างอาคารสำคัญมากมายในรัชกาล<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1910-1925) ไม่น้อย<br />
กว่ารัชกาลก่อน แต่ทั้งหมดเป็นอาคารผสมผสานรูปแบบโบราณ<br />
(Eclecticism) ที่สร้างด้วยโครงสร้างระบบกำแพงอิฐรับน้ำหนัก<br />
ผสมคอนกรีตเสริมเหล็ก เราสามารถกล่าวได้ว่าไม่มีสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ที่ออกแบบภายใต้พื้นฐานทฤษฎีสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ในสมัยรัชกาลที่6 นี้ การที่สยามเชื่องช้าในการจัดการศึกษาระดับ<br />
ประถมศึกษาจนถึงขั้นอุดมศึกษา ทำให้ความก้าวหน้าใหม่ๆ ของ<br />
โลกที่ถาโถมมาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ผ่านเลยประเทศนี้ไป<br />
ขณะเดียวกันกลุ่มคนที่รับผิดชอบงานออกแบบสถาปัตยกรรมให้<br />
รัฐบาลยังเป็นคนชุดเดิมจากสมัยรัชกาลที่5 เป็นส่วนใหญ่สถาปนิก<br />
รุ่นใหม่ในรัชกาลก่อนเช่นมาริโอ ตามานโยกลายเป็นคนรุ่นเก่าไปแล้ว<br />
งานชิ้นสำคัญของเขาในยุคนี้ เช่น บ้านนรสิงห์ (1923-1926)<br />
ใช้ผังที่พัฒนามาจากพระที่นั่งอัมพรสถานในสมัยรัชกาลที่5 แต่หุ้ม<br />
ด้วยสถาปัตยกรรมโกธิคแบบเวนิส ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำศาลาอิตาลี<br />
ในงานมหกรรมแสดงสินค้าแห่งปารีสใน ค.ศ. 1900 ความสนใจ<br />
ของเขาหยุดอยู่ที่สถาปัตยกรรมอาร์ตนูโวและสติลฟลอริอาเล<br />
งานแบบสากลนิยมสมัยใหม่ (International modern) ไม่เคยมี<br />
หลักฐานว่าเขาเอ่ยอ้างถึง แม้ว่าเขาจะออกแบบอาคารคอนกรีต<br />
เกลี้ยงๆ บางหลังให้รัฐบาล แต่งานหลักของเขาและคณะสถาปนิก<br />
อิตาเลียนยังมุ่งอยู่กับการผลิตซ้ ำสถาปัตยกรรมผสมผสานคลาสสิค<br />
และโรแมนติกให้รัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าสยามจะไม่มี<br />
อะไรเปลี่ยนเลย การก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น<br />
งานสร้างทางรถไฟ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบชลประทาน<br />
รวมทั้งการสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาคารเหล่านี้ต่างสร้าง<br />
ด้วยวัสดุสมัยใหม่ที่เรียกว่า คอนกรีต ซึ่งเป็นผลผลิตจากการสร้าง<br />
โรงงานผลิตปูนซีเมนต์พอร์ทแลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม<br />
ใน ค.ศ. 1913 อาคารคอนกรีตออกแบบโดยวิศวกรและผู้รับเหมา<br />
เป็นส่วนใหญ่ เพราะมันเป็นอาคารที่สนองประโยชน์ใช้สอย<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
339
เรียบง่าย แข็งแรง ตรงไปตรงมา และราคาประหยัด ความพ้องกัน<br />
ในแนวคิดระหว่างอาคารคอนกรีตกับอาคารสมัยใหม่นั้น ทำให้เรา<br />
สามารถนำมันมาเปรียบเทียบกับอาคารแบบใหม่ในญี่ปุ่นได้ใน<br />
ระดับหนึ่ง อาคารคอนกรีตที่สำคัญในสยาม ได้แก่ โรงพยาบาล<br />
จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (1912-1914) ออกแบบโดยมาริโอ<br />
ตามานโย ตึกที่น่าสนใจคือ ตึกผ่าตัด (1914) เป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยม<br />
แฝด 2 หลังติดกัน หลังคาแบนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
นอกจากนี้ยังออกแบบให้ผนังด้านหนึ ่งติดกระจกบานใหญ่เกือบ<br />
เต็มผนังเพื่อรับแสงในการผ่าตัด ตึกหอผู้ป่วยชั้นเดียวเป็นบังกะโล<br />
คอนกรีตหลังคาแบน ชายคายื่นยาวมากรับด้วยเสาคอนกรีตขนาด<br />
เล็กเรียงเป็นแถว โรงกรองน้ำประปา สามเสน (1914) เป็นอาคาร<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาโครงเหล็กทรัสรับหลังคาจั่ว โถงชาน<br />
ชาลาสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หัวลำโพง (1916) ไม่ใช่อาคารคอนกรีต<br />
แต่เป็นอาคารโครงสร้างเหล็กผนังด้านสกัดเป็นกระจกชิ้นเล็ก<br />
ต่อกันเป็นผืนใหญ่ หลังคาเป็นทรัสเหล็กรูปโค้งประทุนเกือบจะ<br />
บน โรงกรองน้ำประปา<br />
สามเสนหลังแรก (1914)<br />
ล่าง โครงสร้างหลังคาเหล็ก<br />
สถานีรถไฟกรุงเทพฯ<br />
340 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ครึ่งวงกลมคลุมช่วงกว้าง 50 เมตร โรงซ่อมรถโดยสาร มักกะสัน<br />
(1922) โครงสร้างผสมระหว่างอิฐก่อเสริมคานวงโค้งคอนกรีต<br />
เสริมเหล็ก หลังคาโครงทรัสเหล็กรับหลังคาจั่ว อาคารโรงเรียนและ<br />
โบสถ์คริสต์บางแห่งก็สร้างด้วยคอนกรีตตัวอย่างเช่น ตึกประถม<br />
หนึ่งโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ (1913) สร้างเป็นตึกแถว<br />
คอนกรีต 3 ชั้นมีเสาระเบียงเรียงเป็นแถวเหมือนโรงเรียนห้องแถวไม้<br />
ในยุคก่อน โบสถ์น้อยเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ (1920) เป็นอาคาร<br />
คอนกรีต 3 ชั้นเรียบง่าย ที่วางผังตัวโบสถ์ ห้องเรียน และห้อง<br />
สังฆภัณฑ์ได้อย่างลงตัวในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตึกแถวเป็นอาคาร<br />
มวลชนอีกแบบหนึ่งที่สร้างด้วยคอนกรีต เพราะสามารถกันไฟไหม้<br />
ได้ตัวอย่างสำคัญ ได้แก่ ห้างทองตั้งโต๊ะกัง สำเพ็ง (1921)<br />
เป็นอาคารสูงถึง 6 ชั้น แต่ยังใช้ลวดลายแบบคลาสสิคประดับ<br />
อาคารทุกชั้น<br />
บน ตึกประถมหนึ่ง โรงเรียนเซนต์โยเซฟ<br />
คอนแวนต์ (1913)<br />
ล่าง โรงซ่อมรถโดยสาร มักกะสัน (1922)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
341
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
การเข้าสู่ยุคเริ่มต้น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเป็น<br />
รูปธรรมของความแตกต่างเชิงคุณภาพระหว่างญี่ปุ่นกับสยามอย่าง<br />
ชัดเจน หลังจากที่ต้องเปิดประเทศรับอารยธรรมตะวันตกพร้อมๆกัน<br />
เมื่อ 60 ปีก่อนหน้านี้ การลงทุนจัดการประเทศอย่างเป็นระบบของ<br />
ญี่ปุ่นเมื่อ 60 ปีก่อนได้เห็นผลความความแตกต่างชัดเจนจาก<br />
สยามในช่วงทศวรรษ 1920 เมื่อญี่ปุ่นสามารถรองรับการเรียนรู้<br />
จากตะวันตกได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะยังไม่ทัดเทียมก็ตาม ขณะที่<br />
สยามยังคงไม่แตกต่างมากนักจาก 60 ปีก่อนหน้านี้เมื่อมองในแง่<br />
การพึ่งพาความรู้ การสร้างนวัตกรรมยังต้องอาศัยบุคลากร<br />
ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ บุคลากรภายในยังเติบโตอย่างเชื่องช้าและ<br />
ไม่รับรู้กับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ของศตวรรษที่ 20<br />
ในแง่มุมของสถาปัตยกรรมเราได้เห็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ในญี ่ปุ่นที ่มีรูปแบบการวางผังที ่ซับซ้อน สะท้อนประโยชน์ใช้สอย<br />
ของโลกทุนนิยมญี่ปุ่นที่กำลังเติบใหญ่ การสร้างสรรค์รูปทรงอาคาร<br />
ที่ค่อนข้างแปลกประหลาดทั้งในงานอาคารส ำนักงานกลางโทรเลขแห่ง<br />
กรุงโตเกียวและอาคารสำนักงานหนังสือพิมพ์อาซาฮี แสดงให้เห็น<br />
การก้าวติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มที่ก้าวหน้าที่สุดทาง<br />
สถาปัตยกรรมในเยอรมัน นอกจากนี้กระท่อมชิเอ็นโซที่เมืองวาราบิ<br />
ยังแสดงถึงความพยายามที่จะผสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น<br />
เข้าไปในรูปทรงแบบสมัยใหม่ และวิธีคิดที่จะสร้างอัตลักษณ์ญี่ปุ่น<br />
เชิงนามธรรมเข้าไปในรูปธรรมแบบสมัยใหม่นี้จะเป็นรากฐาน<br />
ความคิดของการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น<br />
สืบต่อไปจนถึงทุกวันนี้ ส่วนพัฒนาการของสถาปัตยกรรม<br />
ในสยามนั้นเป็นผลผลิตทางเทคนิคจากการใช้วัสดุใหม่คือ<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก ร่วมกับความต้องการประหยัดค่าก่อสร้าง<br />
และการเน้นหลักประโยชน์ใช้สอย ซึ่งทั้ง 3 ประการไม่ใช่ทฤษฎี<br />
การออกแบบใดๆ แต่เป็นหลักการของวิศวกรและผู้รับเหมาใน<br />
การสร้างอาคารสาธารณูปโภคของรัฐบาล เช่น โรงซ่อมรถจักร<br />
หรือโรงกรองน้ำประปา การสร้างอาคารวิศวกรรมเหล่านี้ทำให้<br />
สยามมีอาคารในรูปแบบคล้ายคลึงอาคารสมัยใหม่ของญี่ปุ่นได้<br />
แต่ในเชิงปรัชญาอาคารเหล่านี้ของทั้ง 2 ประเทศก็ยังแตกต่างกัน<br />
อย่างสิ้นเชิงกล่าวคือ สถาปัตยกรรมคอนกรีตในสยามไม่มีแนวคิด<br />
ทฤษฎี และประวัติศาสตร์รองรับแบบที่ญี่ปุ่นมี และที่สำคัญที่สุด<br />
อาคารสมัยใหม่ในสยามเป็นนวัตกรรมของคนต่างชาติขณะที่<br />
ญี่ปุ่นคิดและสร้างด้วยตนเอง เรื่องนี้ยังสะท้อนบริบทกายภาพของ<br />
ทั้ง 2 ประเทศในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี ญี่ปุ่นกำลังยกระดับ<br />
โตเกียวไปเป็นเมืองทุนนิยมใหญ่ระดับโลกที่สับสนวุ่นวาย ขณะที่<br />
กรุงเทพมหานครยังคงสถานภาพเมืองใหญ่ระดับภูมิภาคที่<br />
ประชากรแออัดในบริเวณใจกลางเมืองเท่านั้น แต่รอบนอกยัง<br />
แวดล้อมด้วยเรือกสวนไร่นาต่อไป<br />
342 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน บ้านโอกาดะ (1933)<br />
ล่าง บ้านฮามาโอะ (1927)<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงที่ 2 (1926-1945)<br />
ยุคแห่งความงอกงามและเหี่ยวเฉาของสถาปัตยกรรมสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ในญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้เกิด เติบโต และเป็นที่รู้จักกันทั่ว<br />
ในทศวรรษ 1910-1920 หรือรัชสมัยไทโช เพราะสังคมญี่ปุ่นพัฒนา<br />
เป็นประชาธิปไตยในระดับหนึ่งและเปิดโอกาสให้พวกปัญญาชนทั้ง<br />
ฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายหัวก้าวหน้าได้แสดงความคิดเห็นและผลงาน<br />
ของเขาบ้างท่ามกลางความไม่พอใจของพวกขวาจัดและทหาร<br />
พอมาถึงทศวรรษ 1930-1940 ลัทธิชาตินิยมสุดโต่งและ<br />
จักรวรรดินิยมทำสงครามขยายดินแดนก็ครอบงำแนวคิดของคน<br />
ญี่ปุ่นทั้งหมด ในทางสถาปัตยกรรมแนวทางออกแบบชาตินิยม<br />
แบบมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิยึดครองกระแสหลักของ<br />
การออกแบบสถาปัตยกรรมได้อย่างกว้างขวาง แต่สถาปัตยกรรม<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ยังมีพื้นที่สร้างสรรค์เล็กๆ ในแวดวงของการ<br />
ออกแบบบ้านพักอาศัยของคนชั้นสูงหัวสมัยใหม่เรือนชุดพักอาศัย<br />
ของชนชั้นกลางและอาคารสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาล<br />
โรงเรียน สถานีไปรษณีย์-โทรเลข และสถานีอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น<br />
ตราบใดที่สถาปนิกกลุ่มนี้ไม่ทำกิจกรรมเชิงต่อต้านรัฐและจำกัด<br />
ตัวเองอยู่ในแวดวงสถาปัตยกรรม รัฐบาลก็ยังไม่ปิดกั้นงานวิชาชีพ<br />
ของพวกเขา นี่เองทำให้แนวคิดสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
(International modern) ภายใต้อิทธิพลของสำนักเบาเฮาส์ของ<br />
เยอรมันที่นำโดย วอลเตอร์ โกรเปียส และสถาปนิก เลอคอร์บูซิเอร์<br />
ชาวสวิสที่ทำงานในกรุงปารีสเติบโตได้ในญี่ปุ่น แม้ว่าลัทธิสากลนิยม<br />
สมัยใหม่เน้นความเป็นสากลของสถาปัตยกรรม แต่ในญี่ปุ่นมันมี<br />
ลัทธิชาตินิยมแทรกอยู่ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมตั้งแต่ปลายรัชสมัยเมจิผ่านการศึกษาวิชา<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมชาตินิยมของอิโตะ ชูตะ และกลายเป็น<br />
ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น<br />
ซึ่งแม้แต่เจ้าลัทธิสากลนิยมสมัยใหม่เองอย่างวอลเตอร์ โกรเปียส<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
343
แห่งสำนักเบาเฮาส์เองก็ยอมรับว่ามีความเป็นปัจเจกชนนิยมได้<br />
ในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่36 สิ่งที่น่าสนใจ<br />
คือผู้นำสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ในญี่ปุ่นคนสำคัญ<br />
ในช่วงเริ่มต้นจนถึงพัฒนาเติบใหญ่ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920-1930<br />
เป็นสถาปนิกต่างชาติชาวเช็ค-อเมริกันชื่อ แอนโตนิน เรย์มอนด์<br />
เขานำนามธรรมของวิถีชีวิตญี่ปุ่นไปบูรณาการกับแนวคิดสากล<br />
นิยมสมัยใหม่อย่างได้ผลดี เช่น บ้านฮามาโอะ (1927) ที่ใช้ระบบ<br />
พิกัดขนาด 6.5 ฟุต x 6.5 ฟุต รองรับระบบห้องปูเสื่อแบบญี่ปุ่นได้<br />
ทำให้ความรู้สึกของขนาดบ้านต่อเนื่องไปทั้งหลังไม่ว่าจะจัดบ้าน<br />
ในแบบตะวันตกหรือแบบญี่ปุ่นบ้านคาวาซากิ(1934) ใช้สวนนอกบ้าน<br />
และลานเปิดภายในบ้าน (court) แบ่งพื้นที่บ้านอย่างชาญฉลาด<br />
บ้านอะกาโบชิเทตสุมา (1934) มีผังที่รองรับได้ทั้งวิถีชีวิตแบบตะวันตก<br />
และแบบญี่ปุ่น รวมทั้งการใช้สวนหย่อมเล็กๆ ในการสร้างความ<br />
เป็นส่วนตัวให้กับห้องต่างๆ ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวต่างกัน<br />
บ้านพักอาศัยที่สถาปนิกญี่ปุ่นออกแบบเองก็น่าสนใจไม่แพ้กัน<br />
บ้านโอกาดะ (1933) ออกแบบโดย โฮริกูชิซูเตมิทำบ้านแบบโบราณ<br />
และแบบสมัยใหม่มาต่อกันโดยแยกด้วยลานเปิดภายในบ้าน<br />
นอกจากนี้เขายังเปลี่ยนระเบียงบ้านให้เป็นสระน้ ำเพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อ<br />
สวนญี่ปุ่นที่อยู่ระดับต่ำกว่ากับสนามหญ้าแบบตะวันตกที่อยู่<br />
ระดับสูงกว่าให้ต่อเนื่องกลมเกลียวกัน บ้านมิกิชิ (ก่อน1935) โดย<br />
อิวาโอะ ยามาวากิ แสดงลักษณะผังเปิดโล่งไม่กั้นห้อง (open plan)<br />
บน บ้านมิกิชิ (ก่อน1935)<br />
ล่าง บ้านเสาสีขาว (1937)<br />
344 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บันโชซิดลุง (1933)<br />
และแยกโครงสร้างออกจากผนัง (free plan) แบบสากลนิยมสมัยใหม่<br />
อย่างชัดเจนซึ่งไม่ใช่การออกแบบปกติในสมัยนั้น บ้านเสาสีขาว<br />
(White Pillar House) (1937) โดย ชิคาทาดะ คุราตะ สร้างบนเสา<br />
ยกสูง (Pilotis) แบบเลอคอร์บูซิเอร์ ทั้ง 2 คนหลังนี้ไปเรียนที่<br />
สถาบันเบาเฮาส์โดยตรงกับโกรเปียส<br />
อาคารชุดพักอาศัยเป็นสถาปัตยกรรมยุคใหม่ที่มวลชน<br />
สัมผัสได้จริงในโตเกียวที่มีพลเมือง 6-7 ล้านคน เป็นงานออกแบบ<br />
ในทางสูงเพื่อประหยัดพื้นที่โดยสถาปนิก ใช้ขนาดเสื่อญี่ปุ่นโบราณ<br />
เป็นตัวกำหนดขนาดห้องพักสมัยใหม่ เรือนชุดมักรวมอยู่ใน<br />
โครงการหมู่บ้านที่มีอาคารหลายแบบตั้งแต่เรือนแฝดจนถึงอาคาร<br />
สูงหลายชั้นตามแบบของเยอรมัน ตัวอย่างเช่น ไดคันยามา<br />
อะพาร์ตเมนต์ (1927) บันโชซิดลุง (1933) ออกแบบโดย ยามากูชิ<br />
บุนโซ เลียนแบบไวท์เซนฮอพซิดลุงในสตุ๊ตการ์ท (1927)<br />
เอโดกาว่าอะพาร์ตเมนต์ (1934) โดยสหกรณ์เคหะการหรือโดจุงไก<br />
เป็นอะพาร์ตเมนต์สูง 4 และ 6 ชั้น แบ่งเขตที่อยู่ตามขนาดครอบครัว<br />
มีระบบอุปกรณ์อาคารทันสมัยเช่น ระบบทำความร้อนจากส่วนกลาง<br />
และสุขภัณฑ์แบบชักโครก เป็นต้น มีสวนพักผ่อนอยู่ภายในตามทฤษฎี<br />
ออกแบบของยุโรป<br />
ขวา อาคารในผังบริเวณเอโดกาว่าอะพาร์ตเมนต์<br />
อาคารสาธารณะอื่นๆ ในช่วงแรก เช่น อาคารไปรษณีย์กลาง<br />
กรุงโตเกียว (1927-1931) ออกแบบโดย โยชิดะ เทตสุโร อาคาร<br />
ยังดูเหมือนเต็มไปด้วยเสาอิงเรียงเป็นแถว หลัง ค.ศ. 1930 ที่<br />
โยชิดะไปทัศนศึกษาที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกาแล้ว อาคารของเขา<br />
เริ่มมีผิวนอกเรียบเสมอเสา เช่น อาคารไปรษณีย์กลางแห่งโอซาก้า<br />
ฮิกาชิ (1931) ห้างสรรพสินค้าชิโรกิยะ กรุงโตเกียว (1931) โดย<br />
อิชิโมโต คิกูชิ ผนังอาคารกรุกระจกหลายระนาบ มีทั้งเรียบเสมอ<br />
โครงสร้างและถอยลึกเข้าไปให้เห็นแผ่นพื้นกันสาดยื่นออกมา<br />
เป็นจังหวะ ในลักษณะของพวกเอ๊กเพรสชั่นนิสม์ของโพลซิกและ<br />
เมนเดลโซนซึ่งเป็นแนวหนึ่งของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ที่เฟื่องฟูในทศวรรษที่1920 โรงเรียนประถมศึกษาในช่วงทศวรรษ<br />
ที่ 1930 ออกแบบโดยการคำนึงถึงความสัมพันธ์ของตัวอาคารกับ<br />
สภาพแวดล้อมได้ดี อาคารโรงเรียนจะรวมถึงสนามกีฬากลางแจ้ง<br />
สระว่ายน้ำกลางแจ้ง สนามกีฬาในร่ม สนามเด็กเล่นสำหรับ<br />
เด็กเล็กที่แยกต่างหาก เป็นต้น ส่วนตัวอาคารออกแบบเป็นทรงกล่อง<br />
สี่เหลี่ยมหุ้มด้วยกระจกแบบสถาบันเบาเฮาส์ในเยอรมัน ตัวอย่าง<br />
เช่น โรงเรียนประถมศึกษาที่ 5 เขตย็อตสุย่า (1934) โรงเรียน<br />
ประถมศึกษาแห่งทากะนะวะได (1935) และโรงเรียนประถมศึกษา<br />
15 ห้องเรียนแห่งนากาตะโช (1937) เป็นต้น สโมสรกอล์ฟแห่ง<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
345
บน อาคารไปรษณีย์กลางโตเกียว<br />
(1927-1931)<br />
ล่าง ห้างสรรพสินค้าชิโรกิยะ (1931)<br />
โตเกียว (1932) โดย แอนโตนิน เรย์มอนด์ เป็นที่สังสรรค์ของ<br />
ชนชั้นสูงในทศวรรษที่ 1930 เช่นเดียวกับคฤหาสน์โรกุไมคาน<br />
ในทศวรรษที่1880 แต่กิจกรรมสังสรรค์ของคนยุคนี้คือการเล่นกอล์ฟ<br />
การออกกำลังกายกลางแจ้งและให้สุขภาพสมบูรณ์ทั้งชายหญิง<br />
และการรับประทานอาหารในอาคารทรงกล่องคอนกรีตสีขาวแบบ<br />
เลอคอร์บูซิเอร์ เมนเดลโซน และโกรเปียส 37 โรงพยาบาลไทชิน<br />
กรุงโตเกียว (1936) ของยามาดะ มาโมรุ ออกแบบโดยเน้น<br />
ประโยชน์ใช้สอยในการขนย้ายคนไข้ การระบายถ่ายเทอากาศ<br />
ความสะอาด และถูกสุขลักษณะโดยใช้อาคารทรงกล่องแบบเบาเฮาส์<br />
ที่มีทางลาดสำหรับการเคลื่อนย้ายคนไข้ทั้งจากด้านหน้าโรงพยาบาล<br />
และภายในตึกหอผู้ป่วยใน ผนังอาคารกรุด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว<br />
ขนาดเล็กและมีผิวโค้งเว้าที่มุมและรอยต่อเพื่อไม่ให้สะสมสิ่ง<br />
สกปรกและเชื้อโรค 38 นอกจากนี้มันยังสามารถสะท้อนคุณภาพ<br />
แสงแดดจากการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของฤดูกาล ซึ่งสถาปนิก<br />
346 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน โรงเรียนประถมศึกษาที่ 5 เขตย็อตสุย่า (1934)<br />
ล่าง สโมสรกอล์ฟแห่งโตเกียว (1932)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
347
เห็นว่าเป็นจิตวิญญาณญี่ปุ่นที่อ่อนไหวต่อฤดูกาลทั้ง4 และความงาม<br />
ของธรรมชาติ39 สถานีตรวจอากาศโอชิมา (1937-38) โดยโฮริกูชิ<br />
ซูเตมิ เป็นอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมพร้อมหอคอยซึ่งเป็นรูปแบบ<br />
ที่มาจากประโยชน์ใช้สอยโดยตรงร่วมกับแรงบันดาลใจจากศาลา<br />
ชงชาและพิธีชงชา เป็นปรัชญาที่เน้นวัตถุกับจิตที่ตรงข้ามกันอย่าง<br />
สิ้นเชิง แต่ในรูปธรรมออกแบบมันกลับเป็นเรื่องที่อยู่ร่วมกันได้<br />
โดยการออกแบบตึกคอนกรีตที่ตั้งอยู่อย่างกลมกลืนกับภูมิประเทศ<br />
ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการนานาชาติ<br />
ที่กรุงปารีส 1937 โดยซากากูระ จุนโซ เป็นอาคารแสดงนิทรรศการ<br />
ทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สะท้อนประโยชน์ใช้สอย ผังเป็นแบบเปิดโล่ง<br />
ไม่กั้นห้อง (open plan) เชื่อมพื้นที่ต่างระดับด้วยทางลาดตามแบบ<br />
เลอคอร์บูซิเอร์ แต่ผนังกลับกรุด้วยวัสดุลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด<br />
แบบปราสาทญี่ปุ่นโบราณ เป็นอาคารที่สร้างความสนเท่ห์ให้กับ<br />
ชาวยุโรปในความสามารถของสถาปนิกญี่ปุ่นที่ออกแบบและ<br />
สร้างสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ได้ดีจนต้องมอบรางวัล<br />
ศาลาแสดงงานดีเด่น 1 ใน 3 ของศาลาทั้งหมด แต่ทางการญี่ปุ่น<br />
กลับไม่ยอมรับว่าอาคารนี้เป็นตัวแทนทางการของประเทศ เพราะ<br />
มันไม่แสดง “ความเป็นญี่ปุ่น”<br />
บน โรงพยาบาลไทชิน (1936)<br />
ล่าง สถานีตรวจอากาศโอชิมา (1938)<br />
348 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการนานาชาติที่<br />
กรุงปารีส 1937 โดยซากากูระ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นในทศวรรษที่ 1930-1940<br />
ได้พัฒนามาถึงขั้นการสร้างรูปธรรมที่มีคุณภาพและการสร้าง<br />
อัตลักษณ์เชิงนามธรรมที่ตอบสนองคุณค่าดั้งเดิมและวิถีชีวิตยุคใหม่<br />
ของชาวญี่ปุ่นให้หลอมรวมอยู่ในอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมแห่ง<br />
แนวทางสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ ดังที่เราได้เห็นจาก<br />
กรณีศึกษาอาคารประเภทต่างๆ ตั้งแต่บ้านพักอาศัยชั้นชนต่างๆ<br />
ไปจนถึงอาคารสาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และสโมสร<br />
กอล์ฟของชนชั้นสูง แต่ในความเป็นจริงชนชั้นปกครองที่กำลัง<br />
ฝักใฝ่ลัทธิชาตินิยมและการทำสงครามขยายดินแดนนั้น มิได้มี<br />
ความชื่นชมแนวความคิดสถาปัตยกรรมที่ปฏิเสธลัทธิชาตินิยม<br />
ญี่ปุ่นแม้แต่น้อย ดังนั้นเมื่อทหารขึ้นมากุมอำนาจเบ็ดเสร็จและ<br />
นำประเทศเข้าสู่สงครามขยายดินแดนอย่างเต็มรูปแบบในทศวรรษ<br />
ที่ 1940 แล้ว สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ก็กลายเป็นของ<br />
ต้องห้ามและต้องเหี่ยวเฉาอย่างฉับพลัน สถาปนิกทุกคนต้องหันไป<br />
รับใช้ชาติโดยการออกแบบสถาปัตยกรรมแนวชาตินิยมสุดโต่งที่<br />
ล้าหลัง แต่มันเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นก่อนที่ระบอบทหารและ<br />
ลัทธิชาตินิยมสุดโต่งของญี่ปุ่นจะถูกกำจัดอย่างราบคาบพร้อมกับ<br />
การพ่ายแพ้สงครามอย่างย่อยยับ หลังจากนั้นแนวทางสถาปัตยกรรม<br />
สากลนิยมสมัยใหม่กลับฟื้นคืนมาท่ามกลางซากปรักหักพังในฐานะ<br />
จิตวิญญาณของการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น<br />
ยุคใหม่ที่ไม่มีวันตาย และไม่เคยหวนคืนไปหาแนวทางผลิตซ้ำงาน<br />
โบราณในแบบชาตินิยมอีกตั้งแต่ปลายทศวรรษที่1940 เป็นต้นมา<br />
จนถึงปัจจุบัน<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
349
สถาปัตยกรรมอาร์ตเด็คโคในสยามสมัยรัชกาลที่ 7 (1925-1935)<br />
แนวคิดประชาธิปไตยของชนชั้นกลางที่มีการศึกษาและ<br />
ระบบเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในสมัยราชาธิปไตยทำให้สยามเกิดการ<br />
ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ค.ศ. 1932 แต่การเปลี่ยนแปลง<br />
การปกครองไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการเกิดสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติในสมัยราชาธิปไตยแล้ว<br />
มันมาพร้อมกับกระแสทุนนิยมโลก วิถีชีวิตชนชั้นกลางแบบใหม่<br />
และสถาปนิกกลุ่มใหม่ในทศวรรษที่ 1930 สถาปนิกรุ่นใหม่ในยุค<br />
ทศวรรษที่1930 เป็นคนไทยที่ศึกษาสถาปัตยกรรมมาจากอังกฤษและ<br />
ฝรั่งเศส ผู้นำคนสำคัญคือ พระสาโรชรัตนนิมมานก์และหม่อมเจ้า<br />
สมัยเฉลิม กฤดากร แม้จะศึกษากันคนละประเทศแต่ทั้ง 2 เรียน<br />
ตามแนวโบซาร์แบบใหม่ที่ศึกษาสถาปัตยกรรมโบราณรูปแบบ<br />
ผสมผสาน วิชาวิศวกรรมโครงสร้างแบบใหม่ และการวางผังเมือง<br />
ขณะที่โลกสถาปัตยกรรมภายนอกห้องเรียนเป็นสมัยใหม่แบบ<br />
อาร์ตเด็คโคจึงไม่น่าแปลกใจที่พวกเขาซึมซับความประทับใจนี้ไว้<br />
เมื่อได้โอกาสแสดงฝีมือเมื่อกลับมายังสยามปลายสมัยราชาธิปไตย<br />
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ออกแบบโรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมกรุง<br />
(1932-1933) ในแบบสมัยใหม่ อาคารนี้มีผังแบบ 2 ชั้น ตัวโรง<br />
ภาพยนตร์อยู่ชั้นในและมีทางเดินหุ้มอยู่ชั้นนอกมีโฉมหน้าเป็นทรง<br />
กล่องที่เรียบเกลี้ยงทางเข้าเป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่แบ่งเป็น 3 ส่วน<br />
แบบประตูชัยศิลปะคลาสสิค แต่ลดทอนให้เรียบเกลี ้ยงเป็นเพียง<br />
โครงรูปเรขาคณิตแบบอาร์ตเด็คโค การตกแต่งอาคารด้วยแผ่นเหล็ก<br />
ฉลุลายเหมือนรูปโขนละครบนแผ่นหนังใหญ่ เป็นความพยายาม<br />
สร้างอัตลักษณ์ไทยของสถาปนิก อาคารสาธารณะอื่นๆ เช่น โรงซ่อม<br />
รถจักร โรงงานมักกะสัน (1928) ที่ทำการพัสดุกรมรถไฟหลวง<br />
(1928-1931) โรงกรองน้ำสามเสนหลังที่2 (1930) ล้วนแต่ออกแบบ<br />
โดยวิศวกรเพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ<br />
เครื่องจักรมากกว่ามนุษย์ โดยที่ทำการพัสดุกรมรถไฟหลวงเป็น<br />
อาคารที่น่าสนใจที่สุดมีการวางผังตึกล้อมสนาม เพื่อให้รถไฟ<br />
สามารถเข้าถึงอาคารได้ โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก<br />
ศาลาเฉลิมกรุง (1930-1933)<br />
แบบเสาหัวบานรับพื้นคอนกรีตหนาไม่มีคาน (flat slab) ผนังก่ออิฐ<br />
อวดผิวแสดงให้เห็นหลักการออกแบบด้วยเหตุผลเพื่อประโยชน์<br />
ใช้งานล้วนๆ อาคารโรงพยาบาลที่สำคัญคือ ศิริราชและโรงพยาบาล<br />
กลาง โรงพยาบาลศิริราช (1925-1935) ออกแบบเป็นหลังๆ เชื่อม<br />
ด้วยทางเดิน ไม่มีอะไรใหม่กว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ มาริโอ<br />
ตามานโย ออกแบบไว้ก่อนหน้านี้ 15-20 ปี โรงพยาบาลกลาง<br />
(1928-1934) เป็นงานที่น่าสนใจออกแบบโดย ชาร์ล เบกูลัง แห่ง<br />
กรมโยธาธิการ ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 หลัง ล้อมสนาม<br />
ตรงกลาง มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยของคนไข้ใน คนไข้นอก แพทย์<br />
พยาบาล และส่วนบริการไว้อย่างลงตัวจนกล่าวได้ว่าเป็นผังอาคาร<br />
แบบสากลนิยมสมัยใหม่ได้ แต่เรื่องตรงข้าม คือ หน้าตาอาคาร<br />
เป็นผนังเกลี้ยงๆ เจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมเป็นแถวๆ อย่างทื่อๆ<br />
จนน่าจะกล่าวว่าเป็นงานของวิศวกรมากกว่าสถาปนิก<br />
350 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ซ้ายบน ศาลาอำนวยการคณะแพทยศาสตร์<br />
ศิริราชพยาบาล (1925)<br />
ซ้ายล่าง โรงพยาบาลกลาง (1934)<br />
ขวาบน โครงสร้างคานโค้งคอนกรีต<br />
เสริมเหล็กของโรงกรองน้ำ สามเสนหลังที่ 2 (1930)<br />
ขวาล่าง โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Flat Slab<br />
ของที่ทำการพัสดุ กรมรถไฟหลวง (1928-1931)<br />
หน้าตรงข้าม ศาลาเฉลิมกรุง (1930-1933)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
351
เมื่อพวกคณะราษฎรทำการปฏิวัติสำเร็จใน ค.ศ. 1932<br />
พวกเขามีนโยบายสร้างชาติใหม่แบบลัทธิชาตินิยมตั้งแต่ต้น<br />
นั่นคือ การพัฒนาคน โดยใช้การศึกษา พลศึกษา ศิลปะ และ<br />
การทหารที่เขาเรียกว่าเป็นการสร้างวัฒนธรรมเพื่อความเข้มแข็ง<br />
และศิวิไลซ์ของชาติไทย เป็นจุดประสงค์เดียวกับรัฐบาล<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยรัชกาลที่ 5 ที่เคยทำมาแล้วเมื่อ<br />
45 ปีก่อนแต่พวกเขาเห็นว่าไม่สำเร็จ คณะราษฎรเร่งรัดพัฒนา<br />
ประเทศในรูปวัตถุเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตนเอง มีการ<br />
สร้างอาคารใหม่ๆ เพื่อการนี้จำนวนไม่น้อยที่สำคัญ ได้แก่<br />
ตึกบัญชาการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (1934)<br />
โดยสถาปนิก จิตรเสน อภัยวงศ์ ที่เอาตึกเก่าของทหารที่เรียงกัน<br />
4 ตึกมาต่อกันเป็นตึกเดียวแล้วใส่มุขกลางมีหลังคาทรงกรวย<br />
8 เหลี่ยมยอดแหลมแบบโบสถ์ยุคกลางประยุกต์ประดับดูก้ำกึ่ง<br />
ระหว่างความทันสมัยกับความโบราณ<br />
ตึกบัญชาการมหาวิทยาลัย<br />
วิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง<br />
(1934-1936)<br />
352 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมอาร์ตเด็คโคและอาร์ตเด็คโคแบบฟาสซิสต์<br />
สมัยรัชกาลที่ 8 (1935-1945)<br />
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติ<br />
ใน ค.ศ. 1935 แล้ว อำนาจการบริหารประเทศตกอยู่ในกำมือ<br />
ของคณะราษฎรอย่างเป็นเอกภาพและมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />
ในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่<br />
ค.ศ. 1938-1944 เขาและพรรคพวกได้ดำเนินการบริหารประเทศ<br />
ภายใต้ลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย ปลูกฝัง “รัฐนิยม” ให้คนไทย<br />
รักชาติทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง และการทหาร<br />
นำประเทศไทยเข้าสู่สงครามร่วมกับฝ่ายอักษะที่นำโดย<br />
จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นเพื่อหวังให้ประเทศไทยเป็นมหาอาณาจักร<br />
ไทยที่มีญี่ปุ่นเป็นเจ้าเอเชียตะวันออก โลกทัศน์ของจอมพล ป.<br />
พิบูลสงครามและเสนาธิการทางวัฒนธรรมของเขาหลวงวิจิตร<br />
วาทการนั้นเห็นว่า การจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เข้มแข็ง<br />
นั้นต้องเริ่มที่ประชาชนก่อน ต้องให้ประชาชนมีแนวคิดและ<br />
วิถีชีวิตรักชาติที่ถูกต้องตามการชี้นำของผู้นำและต้องส่งเสริม<br />
ให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งไม่ต่างอะไรจากแนวทางของ<br />
พรรคฟาสซิสต์ของจอมเผด็จการมุสโสลินีของอิตาลีในตอนนั้น<br />
การดำเนินการสร้างชาติไทยใหม่นี้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ<br />
พอสมควรผ่านกรมที่ตั้งขึ้นใหม่ 2 กรมใน ค.ศ. 1933 คือ<br />
กรมศิลปากรและกรมพลศึกษา กรมพลศึกษามีหน้าที่สร้างคนไทย<br />
รุ่นใหม่ที่สุขภาพแข็งแรง ส่วนกรมศิลปากรมีหน้าที่สร้างวัฒนธรรม<br />
ผ่านศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งแบบโบราณและสมัยใหม่ ศิลปะสำคัญ<br />
แขนงหนึ่งที่จอมพล ป. พิบูลสงครามชื่นชอบเป็นพิเศษคือ<br />
ประติมากรรมที่ผลิตโดยประติมากรชาวอิตาเลียน คอร์ราโด เฟโรชี<br />
ที่ทำงานให้กับรัฐบาลสยามมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
มาในยุคคณะราษฎรนี้เฟโรชีและลูกศิษย์ของเขาที่มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากรได้ผลิตงานขึ้นมากมายเพื่อรับใช้รัฐบาล ทั้งที่เป็น<br />
อนุสาวรีย์และเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมร่วมกับบรรดา<br />
สถาปนิกแนวหน้าฝ่ายรัฐบาล เช่น พระสาโรชรัตนนิมมานก์<br />
นายจิตรเสน อภัยวงศ์ และหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เป็นต้น<br />
สร้างอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ มากมายทั้งในกรุงเทพฯ และ<br />
ต่างจังหวัดตั้งแต่อาคารการศึกษาและพลศึกษากระทรวง ทบวง กรม<br />
และอาคารพาณิชย์ของรัฐ เพื่อเป็นพยานแห่งความสำเร็จในการ<br />
บริหารประเทศตามหลักการของคณะราษฎรภายใต้การนำของ<br />
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ความนิยมในแนวคิดทางการเมืองและ<br />
การมีสะพานเชื่อมโดยสถาปนิกและประติมากรทำให้อาคารในช่วง<br />
ค.ศ. 1938-1945 มีอิทธิพลของศิลปะอาร์ตเด็คโคแบบฟาสซิสต์<br />
อย่างชัดเจนในหลายอาคาร<br />
ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1935)<br />
ออกแบบโดยวิศวกร พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) สร้างตาม<br />
ประโยชน์ใช้สอยในผังแบบสมมาตรรูปตัว E โครงสร้างกำแพงอิฐ<br />
รับน้ำหนักผสมคอนกรีตเสริมเหล็ก จุดเด่นของตึกอยู่ที่การอวด<br />
ผิวอิฐและความเรียบเกลี้ยงปราศจากตกแต่งเหมือนอาคารโรงงาน<br />
ในยุโรป<br />
แบบทัศนียภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์<br />
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1935)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
353
ตึกเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (1935-1941)<br />
ตึกหนึ่ง (1935-1936) ผังเป็นรูปตัว H มี 2 มุขหัวท้าย<br />
เชื่อมด้วยอาคารกลางที่เป็นห้องเรียน ทางเข้าตึกอยู่ที่ริม 2 ข้าง<br />
ไม่ใช่ตรงกลาง ระเบียงเปิดเป็นช่องยาวเหมือนหน้าต่างแถบยาว<br />
(band window) ของเลอคอร์บูซิเอร์ที่มีเสาระเบียงเล็กๆ กั้น<br />
เป็นช่วงๆ ดูเหมือนงานแบบสากลนิยมสมัยใหม่ปนอาร์ตเด็คโค<br />
ตึกสอง (1938-1939) ผังเป็นรูปตัว T กลับหัวแกนนอนด้านหน้า<br />
เป็นห้องเรียน แกนตั้งด้านหลังเป็นหอประชุม จุดเด่นของอาคาร<br />
อยู่ที่ผนังมุขหน้าแบบอาร์ตเด็คโคที่เป็นผนัง 3 ส่วนตรงกลางสูง<br />
ริม 2 ข้างลดระดับ ซึ่งเป็นไวยกรณ์การออกแบบอาคารประเภท<br />
หอประชุมที่แพร่หลาย ตึกสาม (1940-1941) โดยสถาปนิก<br />
อี มันเฟรดี้ ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชั้นล่างจัดห้องเรียนวางเรียงไป<br />
ตามแนวยาวมีระเบียงอยู่ด้านหน้ารับด้วยเสาระเบียง แต่ที่ชั้นบน<br />
กลับไม่มีเสาระเบียงเป็นช่องเปิดโล่งๆ แบบหน้าต่างแถบยาว<br />
(band window) ของงานแบบสากลนิยมสมัยใหม่จริงๆ<br />
บน ตึกสาม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (1940-1941)<br />
ล่าง ศาลแขวงสงขลา (1936-1941)<br />
354 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก (1934-1940)<br />
ศาลแขวงสงขลา (1937-1941) โดย จิตรเสน อภัยวงศ์และ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ เป็นอาคารผังรูปตัว T ประเภทหอประชุม<br />
ที่เริ่มต้นการออกแบบที่เน้นผนังมุขกลางด้านหน้าแบบแบ่ง 3 ส่วน<br />
ตรงกลางสูง ริม 2 ข้างลดระดับแบบประตูชัยคลาสสิค มีปีก 2 ข้าง<br />
ที่เจาะช่องหน้าต่างเรียบๆ เป็นต้นแบบของกรีฑาสถานแห่งชาติ<br />
และศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวได้ว่าอาคารหลังนี้<br />
เป็นหน่ออ่อนของสถาปัตยกรรมอาร์ตเด็คโคในแบบฟาสซิสต์<br />
ที่จะเกิดต่อไป<br />
ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก (1934-1940) โดย จิตรเสน<br />
อภัยวงศ์ และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ผังเป็นรูปตัว E มุขกลาง<br />
เหมือนป้อมขนาดใหญ่ที่ล้อมกรอบด้วยเสา 2 ข้างและทับหลัง<br />
พื้นที่ตรงกลางแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยเสาลอยตัว 2 ต้นติดกระจก<br />
ทั้งหมด มุมบนสุดด้านซ้ายและขวาของป้อมประดับประติมากรรม<br />
ครุฑคอนกรีตในร่างกำยำในทรงเรขาคณิตที่แข็งกร้าวแสดงศิลปะ<br />
อาร์ตเด็คโคในแบบฟาสซิสต์ ฝีมือประติมากร คอร์ราโด เฟโรชี<br />
ลักษณะมุขกลางแบบประตูชัยที่ช่วงกลางโปร่งตัดกับเสาทึบที่<br />
ขนาบ 2 ข้างเป็นต้นแบบของมุขหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์<br />
ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และตึกคณะเภสัชศาสตร์ (เดิม)<br />
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นการเริ่มต้นนำประติมากรรม<br />
มาเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
355
สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ (1938-1941) โดย<br />
จิตรเสน อภัยวงศ์ ความจริงความต้องการสร้างสนามกีฬาเพื่อ<br />
ฝึกซ้อมนักกีฬาเพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศภาค<br />
ตะวันออกไกล เป็นนโยบายของรัฐบาลคณะราษฎรตั้งแต่ค.ศ. 1933 40<br />
แต่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้างและการก่อสร้างแล้วเสร็จใน<br />
ค.ศ. 1941 ที่น่าสังเกตคือทัศนะต่อการกีฬาก็ดูเหมือนจะเปลี่ยน<br />
จากการอบรมบ่มเพาะเยาวชนให้มีน้ำใจเป็นนักกีฬาในตอนแรก<br />
มาสวมทับด้วยรัฐนิยมฉบับที่11 ที่ระบุให้คนไทยเล่นกีฬากลางแจ้ง<br />
อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง และใช้เวลาในวันหยุดให้เป็นประโยชน์<br />
ต่อร่างกายและจิตใจ เช่น การเล่นกีฬา เป็นต้น 41 เป็นการสร้าง<br />
พลเมืองดีมีวัฒนธรรมและสุขภาพแข็งแรงมั่นคงเป็นกำลังสำคัญ<br />
ในการสร้างชาติที่รุ่งเรืองตามแนวคิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
จุดเด่นของอาคารคือผนังด้านทิศเหนือที่เป็นทางเข้า ทำเป็น<br />
แบบ 3 มุข มุขกลางเป็นผนังใหญ่แบ่ง 3 ส่วน มีเสาอิงประดับ 4 ต้น<br />
ต้นริม 2 ข้าง ประดับประติมากรรมคอนกรีตหล่อพระพลบดี<br />
ทรงช้างเอราวัณที่ยอดเสาในลักษณะกายวิภาคกำยำในทรง<br />
เรขาคณิตที่แข็งกร้าวแสดงศิลปะอาร์ตเด็คโคในแบบฟาสซิสต์<br />
ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1939-1941)<br />
สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ (1938)<br />
ฝีมือประติมากร คอร์ราโด เฟโรชี ขณะที่ตัวสถาปัตยกรรมเป็น<br />
แบบคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยงผสมอาร์ตเด็คโค<br />
ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1939-1941) โดย<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบชาตินิยมที่<br />
โดดเด่น ผังอาคารรูปตัว T จุดเด่นอยู่ที่ผนังด้านหน้าที่แบ่ง 3 ส่วน<br />
ตรงกลางสูง ริม 2 ข้างลดระดับ เน้นผนังส่วนกลางด้วยเสาลอยตัว<br />
ขนาดใหญ่ 6 ต้นยอดเสาประดับประติมากรรมคอนกรีตหล่อรูป<br />
วีรกษัตริย์และพระราชินีในพงศาวดารไทยในรูปทรงบึกบึนและ<br />
เส้นสายที่แข็งกร้าวฝีมือ คอร์ราโด เฟโรชี เป็นอีกหนึ่งอาคารที่<br />
สร้างในยุคลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยกำลังฮึกเหิมไปสู่การขยาย<br />
อาณาเขตมหาอาณาจักรไทยตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูล<br />
สงครามและหลวงวิจิตรวาทการ การออกแบบที่จังหวัดพระนคร<br />
ศรีอยุธยาจึงต้องมีรูปธรรมที่กระตุ้นให้ชาวไทยฮึกเหิมใน<br />
ประวัติศาสตร์แห่งการทำสงครามของบรรดาวีรบูรพกษัตริย์<br />
ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับอาคารลัทธิฟาสซิสต์ร่วมสมัยในอิตาลี<br />
โดยเฉพาะพาลาสโซ เดลลา เอสโปสิซิโอเน ที่กรุงโรมใน ค.ศ. 1937-<br />
1938 โดยสถาปนิก อัลเฟรโด สคาลเปลลี แต่น่าเสียดายที่ลักษณะ<br />
การวางผังไม่มีสิ่งใดสะท้อนความเป็นสมัยใหม่เลย<br />
356 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน อาคารไทยนิยมผ่านฟ้า (ราว1937-1940)<br />
ล่าง อาคารริมถนนราชดำเนินกลาง (1937-1948)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
อาคารริมถนนราชดำเนินกลาง (1937-1948) โดย จิตรเสน<br />
อภัยวงศ์และหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เป็นสัญลักษณ์ของความ<br />
ทันสมัยในยุครัฐบาลคณะราษฎร ลักษณะเหมือนแถวทหารกอง<br />
เกียรติยศยืนเรียงราย 2 ข้างถนนสดุดีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />
ความจริงการสร้างอาคารเป็นแถวริมถนนก็คือการสร้างตึกแถว<br />
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 เมื่อ 6-7 ทศวรรษที่แล้ว แต่รูปแบบเรียงแถว<br />
เพื่อเชิดชูอนุสาวรีย์เป็นแนวคิดใหม่ อย่างไรก็ตามในภาพรวมของ<br />
ตัวอาคารเหล่านี้ยังคงลักษณะโบราณไว้มาก เช่น ผังอาคารแบบ<br />
สมมาตรรูปตัว E ที่มีมุขกลางเค้าโครงรูปประตูชัยในแบบของ<br />
ศิลปะอาร์ตเด็คโคผสมคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยง อาคารหลังเดียวที่ดู<br />
น่าสนใจคืออาคารไทยนิยมที่หัวมุมถนนเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ<br />
ที่มีผังรูปตัว V ที่ทางเข้ามุขกลางทำโถงบันไดรูปโค้งที่เจาะทะลุโล่ง<br />
ขึ้นไป 6 ชั้นถึงยอดหลังคา ทำให้ที่ว่างรอบโถงดูเปิดโล่งและอิสระ<br />
แบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่มากกว่าตึกอื่นในชุดเดียวกัน<br />
357
ศาลอาญากรุงเทพฯ (1941)<br />
กระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรม (1940-1943) โดย<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ สร้างเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสที่ประเทศ<br />
สยามได้รับเอกราชทางศาลอย่างสมบูรณ์จากการผูกมัดของ<br />
สนธิสัญญาจักรวรรดินิยมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 โครงการนี้<br />
ประกอบด้วยอาคาร 3 ส่วน ส่วนแรกคืออาคารกระทรวงยุติธรรม<br />
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือใกล้ศาลพระนางธรณี มีผังเป็นรูปตัว U สร้าง<br />
ใน ค.ศ. 1940-1941 ส่วนที่2 คืออาคารศาลอาญาและศาลอุทธรณ์<br />
ตั้งอยู่ด้านถนนราชินีริมคลองหลอด ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว<br />
สร้างเสร็จ ค.ศ. 1943 ส่วนที่ 3 คือศาลฎีกาตั้งอยู่ด้านถนน<br />
ราชดำเนินใน มีแผนจะสร้างใน ค.ศ. 1942 แต่ถูกระงับเพราะรัฐบาล<br />
อ้างว่าจะย้ายเมืองหลวง อาคารกระทรวงยุติธรรมและอาคาร<br />
ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ถูกออกแบบในรูปกล่องสี่เหลี่ยมที่<br />
เรียบเกลี้ยง เจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแถวระยะห่างช่อง<br />
เว้นช่องเท่ากันหมด นอกจากรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียบๆ ที่ใหญ่โต<br />
แล้วจุดเด่นยังอยู่ที่ทางเข้าของอาคารทั้ง 2 ประตูทางเข้าของ<br />
กระทรวงยุติธรรมตั้งอยู่บนฐานสูงหลังศาลพระนางธรณี เน้นด้วย<br />
เสาลอยตัวขนาดใหญ่สูงชะลูดจำนวน 6 ต้น อาคารศาลอาญาและ<br />
ศาลอุทธรณ์ประตูเข้าตั้งอยู่บนชั้น 2 ด้านถนนราชินี เน้นด้วย<br />
เสาลอยตัวจำนวน 8 ต้น ดูเหมือนจำลองเสาวิหารกรีก-โรมัน<br />
มาตั้งประดับหน้าตึกที่มีผนังเรียบเกลี้ยงและทึบตันสะท้อนอิทธิพล<br />
ของสถาปนิกแนวฟาสซิสต์ร่วมสมัยดังเช่นที่ปรากฏที่มหาวิทยาลัย<br />
แห่งโรม (1932-1935) ของมาร์เซลโล ปิอาเซนตินี อย่างชัดเจน<br />
358 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
ในช่วงทศวรรษที่ 1930-1940 นี้ทั้งญี่ปุ่นและสยามต่าง<br />
เผชิญกับกระแสลัทธิการเมืองชาตินิยมสุดโต่งที่นำโดยทหาร<br />
และแนวคิดใช้กำลังเพื่อการขยายดินแดนเหมือนกัน แต่บรรยากาศ<br />
ทางสังคมนี้กระทบต่อวงการสถาปัตยกรรมไม่เหมือนกันนัก ที่ญี่ปุ่น<br />
ลัทธิชาตินิยมส่งเสริมให้สถาปัตยกรรมชาตินิยมที่เรียกว่ามงกุฎ<br />
จักรพรรดิ(ไทคันโยชิกิ) เป็นแบบประจำชาติและพยายามกดบทบาท<br />
สถาปนิกลัทธิสากลนิยมสมัยใหม่ซึ่งเป็นสถาปนิกปัญญาชนกลุ่ม<br />
ผู้นำให้หมดไป แต่พวกนี้กลับไม่ยอมแพ้ง่ายๆ พวกเขามีความกล้า<br />
ที่จะท้าทายค่านิยมกระแสหลักทางสถาปัตยกรรมโดยการสร้าง<br />
ศาลาญี่ปุ่นในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิค<br />
สมัยใหม่แห่งกรุงปารีส ค.ศ. 1937 ในแบบสากลนิยมสมัยใหม่<br />
เป็นการประกาศจุดยืนของกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าต่อชาวโลกว่าจะ<br />
สนับสนุนแนวสากลนิยมที่ท้าทายกระแสโต้กลับของฝ่ายชาตินิยม<br />
ในประเทศอย่างไม่เกรงใจ ขณะเดียวกันพวกสถาปนิกสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ที่ทำงานอยู่ในประเทศพยายามหันเหไปทำงานในส่วนที่<br />
ไม่เกี่ยวข้องกับอาคารการเมืองการปกครอง เช่น อาคารพักอาศัย<br />
และอาคารสาธารณูปโภคอื่นๆ มันเป็นช่วงเวลาที่พวกเขาพยายาม<br />
พัฒนาคุณภาพการออกแบบโดยการสร้างสถาปัตยกรรมสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ที่รับใช้วิถีวัฒนธรรมญี่ปุ่นในลักษณะนามธรรม โดยมี<br />
เปลือกนอกของสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ห่อหุ้มอยู่<br />
วิธีคิดและการออกแบบเช่นนี้ได้กลายมาเป็นรากฐานการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
เมื่อฝ่ายลัทธิชาตินิยมสุดโต่งและการครองอำนาจของทหาร<br />
สาบสูญไปเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามใน ค.ศ. 1945<br />
ล่าง สถาบันเบาเฮาส์ (1925-1926)<br />
ขวา โรงพยาบาลไทชิน (1937)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
359
ขณะที่สยามก่อนการปฏิวัติ ค.ศ.1932 นั้น รัฐบาล<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้ขัดขวางการออกแบบอาคารสมัยใหม่<br />
แต่กลับมีการส่งเสริมให้มีอาคารแบบใหม่ที่มีคุณภาพอย่างยิ่ง<br />
เช่น โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ที่สร้างเพื่อเป็นของขวัญแก่<br />
ชาวไทยเนื่องในโอกาสกรุงเทพฯ อายุครบ 150 ปี และเมื่อเกิดการ<br />
ปฏิวัติแล้วลัทธิชาตินิยมสุดโต่งและแนวทางนิยมทหารที่แทรกตัว<br />
อยู่ในกลุ่มผู้ก่อการที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร ก็ยิ่งสนับสนุนการ<br />
สร้างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เช่นกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความ<br />
เจริญก้าวหน้า ทันสมัย และมีวัฒนธรรมของชาติไทย มีการสร้าง<br />
อาคารสมัยใหม่อย่างกว้างขวางด้วยกำลังของสถาปนิกชาวไทย<br />
รุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมจากอังกฤษและฝรั่งเศส<br />
เริ่มกลับเข้ามารับราชการตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อต้นสมัย<br />
รัชกาลที่ 7 หลายคน เช่น พระสาโรชรัตนนิมมานก์ หม่อมเจ้า<br />
สมัยเฉลิม กฤดากร นายจิตรเสน อภัยวงศ์ และหม่อมหลวงปุ่ม<br />
มาลากุล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ<br />
ที่รัฐบาลจ้าง เช่น นายชาร์ล เบกูลัง แห่งกรมโยธาธิการ นาย<br />
อี มันเฟรดี้ แห่งกรมศิลปากร และนายคอร์ราโด เฟโรชี ประติมากร<br />
แห่งกรมศิลปากร เป็นต้น<br />
แม้สถาปนิกทั้ง 2 ชาติจะมีโอกาสออกแบบสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่เหมือนกัน แต่สิ่งแตกต่างกันคือแนวคิดและทางเลือก<br />
ในการออกแบบ สถาปนิกญี่ปุ่นเลือกทิศทางในการทำงานแบบ<br />
สากลนิยมสมัยใหม่(International modern) ที่นำโดยกลุ่มสถาปนิก<br />
สำนักเบาเฮาส์ของเยอรมัน และเลอคอร์บูซิเอร์ สถาปนิกชาวสวิส<br />
ที่ทำงานในปารีส การเลือกแนวทางนี้มาจากพื้นฐานการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตกอย่างมั่นคงตั้งแต่รัชสมัยเมจิ<br />
ต่อรัชสมัยไทโชและโชวะตามลำดับ การศึกษาของญี่ปุ่นได้สร้าง<br />
กลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้า เช่น บุนริฮาและอื่นๆ ที่มีวิธีคิดและ<br />
ติดตามแนวทางที่ก้าวหน้าที่สุดของตะวันตกมากกว่าแนวทาง<br />
ชาตินิยมดังที่ได้กล่าวมาแล้วโดยลำดับ และสถาปนิกกลุ่มนี้<br />
สามารถยึดครองความเป็นผู้นำทั้งในแวดวงวิชาการและวิชาชีพ<br />
สถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นได้อย่างมั่นคง ในสยามนั้นวัฒนธรรมการ<br />
ออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ใช้ระบบนำเข้าโดยผู้เชี่ยวชาญ<br />
ต่างประเทศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และ 6 เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่7<br />
ในทศวรรษที่ 1930 ก็ยังใช้ระบบนำเข้าสถาปัตยกรรมเหมือนเดิม<br />
แต่คราวนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญชาวไทยที่สำเร็จมาจากต่างประเทศ<br />
ประเทศไทยไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ของตนเองได้จากภายใน เพราะความอ่อนแอทางการศึกษาตั้งแต่<br />
พื้นฐาน จึงไม่สามารถสร้างบุคลากรชั้นมันสมองในระดับยอดได้<br />
นอกจากนี้สถาปนิกไทยที่เป็นผู้นำเข้าวัฒนธรรมการออกแบบ<br />
รุ่นแรกนี้ก็ยังมีพื้นฐานการศึกษามาจากสถาบันออกแบบแนว<br />
อนุรักษ์นิยมกระแสหลักนั่นคือ อีโคลเดอโบซาร์ และลิเวอร์พูล<br />
จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะเลือกออกแบบงานแนวอนุรักษ์นิยมของ<br />
สถาปัตยกรรมคลาสสิคและโรแมนติกเป็นหลัก และประยุกต์ตาม<br />
กระแสนิยมให้เข้ากับศิลปะอาร์ตเด็คโคและคลาสสิคแบบเรียบเกลี้ยง<br />
ในภายหลัง สถาปนิกไทยหันหลังให้กับสถาปัตยกรรมสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1910 เพราะมันเป็นงานที่ต่อต้าน<br />
กระแสอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นกระแสหลัก และยังท้าทายอำนาจรัฐทั้ง<br />
หลายรวมทั้งไทยที่ถูกครอบงำด้วยลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ในทศวรรษ 1930-1940 อีกด้วย สถาปนิกไทยขานรับสถาปัตยกรรม<br />
แนวชาตินิยมสุดโต่งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวตามแนวนโยบายของ<br />
รัฐบาล ดังเห็นได้จากงานของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ร่วมกับ<br />
ประติมากร คอร์ราโด เฟโรชี ที่ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ต<br />
เด็คโคร่วมกับประติมากรรมแบบอาร์ตเด็คโคแนวฟาสซิสต์อย่างที่<br />
นิยมในอิตาลีร่วมสมัย เช่น ที่ทำการไปรษณีย์กลาง บางรัก สนาม<br />
ศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ และศาลากลางจังหวัดพระนคร<br />
ศรีอยุธยา เป็นต้น รวมทั้งกระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรมที่เป็น<br />
ตึกคอนกรีตสี่เหลี่ยมแบบคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยงในแบบของ<br />
มาร์เซโล ปิอาเซนตินีสถาปนิกแนวฟาสซิสต์ของอิตาลี<br />
360 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
่<br />
บน พาลาสโซ เดลลา เอสโปซิโอนิ โรม (1937-1938)<br />
ล่าง ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1939-1941)<br />
กล่าวโดยสรุปแล้วสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษ<br />
ที่ 1930-1940 ที่สังคมทั้ง 2 ประเทศอบอวลด้วยลัทธิชาตินิยม<br />
สุดโต่งยังมีพื้นที่สำหรับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ สถาปนิกหัว<br />
ก้าวหน้าญี่ปุ่นเดินตามแนวสากลนิยมสมัยใหม่ที่พวกเขาสร้างสรรค์<br />
ให้มันเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นทางนามธรรม ส่วนสถาปนิกไทย<br />
เลือกสถาปัตยกรรมอาร์ตเด็คโคแนวฟาสซิสต์และแบบคลาสสิค<br />
ที่เรียบเกลี้ยงที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทยอย่างแยบยลได้<br />
เหมือนญี่ปุ่น ความแตกต่างเกิดจากพื้นฐานการศึกษาสถาปัตยกรรม<br />
ที่เข้มแข็งต่อเนื่องของญี่ปุ่นทำให้เกิดกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าที่<br />
ต้องการแนวทางสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้าที่สุด และไม่หวั่นไหวกับ<br />
กระแสสังคมชาตินิยมสุดโต่งในประเทศที่ต่อต้านแนวทางสากลนิยม<br />
ขณะที่สยามนั้นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เป็นเพียงการน ำเข้าครั้งใหม่<br />
โดยสถาปนิกไทยที่ศึกษาจากยุโรปในแนวอนุรักษ์นิยม บวกกับ<br />
การชี้นำทางสังคมของรัฐบาลชาตินิยมที่ต้องการขยายดินแดน<br />
กระแสสังคมชาตินิยมสุดโต่งทั้งภายในและภายนอกประเทศมี<br />
ส่วนให้สถาปนิกและประติมากรไทยสร้างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ที่รับใช้ลัทธิชาตินิยม<br />
ในด้านคุณภาพกล่าวได้ว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น<br />
มีพัฒนาการการออกแบบไปไกลกว่าของไทยมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่อง<br />
ประหลาดเพราะญี่ปุ่นสามารถพึ่งตัวเองในการออกแบบมาตั้งแต่<br />
ทศวรรษที่ 1890 ในรัชสมัยเมจิ ขณะที่สยามเพิ่งจะมีสถาปนิก<br />
ชาวไทยในช่วงทศวรรษ 1930 ถ้าเปรียบเป็นคน สถาปนิกญี่ปุ่น<br />
อยู่ในวัยเจริญด้วยวุฒิภาวะเต็มที่ในขณะที่สถาปนิกไทยยังเป็น<br />
เด็กน้อยอยู่ ข้อเท็จจริงนี้สะท้อนอยู่ในภาพรวมของการออกแบบ<br />
ในบรรดาสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นนั้นผังพื้นเป็น<br />
แบบอสมมาตร การจัดห้องเป็นไปตามหลักประโยชน์ใช้สอยที<br />
รองรับกิจกรรมที่หลายหลาก มีการใช้เทคนิคการออกแบบที่เรียกว่า<br />
ผังเปิดโล่ง ผนังและเสาเป็นอิสระต่อกัน มีการใช้องค์ประกอบ<br />
สถาปัตยกรรมโบราณมาประยุกต์ใช้อย่างนามธรรม เช่น ขนาดบ้าน<br />
ที่มีพิกัดใหม่ที่มาจากขนาดของเสื่อปูห้องแบบดั้งเดิม การใช้ลาน<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
361
เปิดภายในเป็นตัวเชื่อมพื้นที่บ้าน การใช้สวนหย่อมเป็นตัวแบ่ง<br />
พื้นที่ภายในและภายนอกบ้าน เป็นต้น ขณะที่การออกแบบผังพื้น<br />
ของสถาปนิกไทยยังยึดถือผังรูปตัว E H U แบบคลาสสิคทำให้<br />
การจัดห้องยังต้องอาศัยการเรียงแถวที่ไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้รูปที่ว่าง<br />
ภายในมีความแข็งกระด้างไปด้วย โดยไม่ต้องพูดถึงการนำ<br />
สถาปัตยกรรมโบราณมาออกแบบในเชิงปรัชญาสาระที่สถาปนิกไทย<br />
ยังไม่ได้เริ่มต้นอะไรไปมากกว่าการลอกรูปทรงเหมือนเมื่อ 50 ปี<br />
ที่แล้ว การออกแบบรูปทรงอาคารภายนอกนั้นสถาปัตยกรรมสากล<br />
นิยมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นมีความลื่นไหล(plasticity) มากกว่า เนื่องจาก<br />
การวางผังแบบอสมมาตรและยืดหยุ่น ขณะที่งานของไทยดูแข็ง<br />
กระด้าง (rigid) และโบราณ (archaic) เช่น การใช้ไวยกรณ์แบบ<br />
3 มุข จุดเด่นอยู่ที่มุขกลางเค้าโครงแบบประตูชัยคลาสสิค<br />
ที่ประยุกต์ให้ดูเรียบง่ายแต่แข็งกระด้างจึงพยายามใช้ประติมากรรมช่วย<br />
เพิ่มความน่าชม แต่กลับทำให้อาคารดูเหมือนฉากละครขนาดใหญ่แทน<br />
เรื่องน่าสนใจที่ยังไม่มีผู้กล่าวถึงคือการออกแบบศาลฎีการิมถนน<br />
ราชดำเนินในที่ถูกระงับของพระสาโรชรัตนนิมมานก์นั้น ลักษณะ<br />
การออกแบบหอคอยรับโดมนั้นเป็นการเลียนแบบสภาไดเอทของ<br />
ญี่ปุ่นที่เพิ่งสร้างเสร็จไปก่อนนั้น 5 ปี ข้อเท็จจริงนี้ทำให้มองได้ว่า<br />
สถาปนิกไทยเริ่มยอมรับความก้าวหน้ากว่าในการออกแบบของ<br />
สถาปนิกญี่ปุ่นแล้วตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1940<br />
ผลต่อเนื่องสำคัญอีกประการหนึ่งของแนวทางการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ต่างกันของทั้ง 2 ชาตินี้คือ แนวทาง<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ในระยะยาวได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า<br />
เป็นแนวทางสถาปัตยกรรมสากลของโลกในศตวรรษที่ 20 จริงๆ<br />
การเลือกเดินตามแนวทางสากลนิยมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นจึงเป็น<br />
การเลือกที่ถูกต้อง นอกจากนี้มันยังกระตุ้นวงการสถาปนิกญี่ปุ่น<br />
ให้หาอัตลักษณ์ตนเอง มีความพยายามบูรณาการวิถีวัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่นเชิงปรัชญาให้รูปทรงแบบสากลนิยมนี้มีจิตวิญญาณของญี่ปุ่น<br />
ซึ่งได้กลายเป็นแนวคิดพื้นฐานของการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ของญี่ปุ่นมาจนทุกวันนี้ขณะที่สถาปัตยกรรมอาร์ตเด็คโค<br />
และคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยงของไทยเป็นการวนเวียนอยู่กับเปลือกนอก<br />
ของแบบโบราณที่ผูกพันอยู่กับลัทธิฟาสซิสต์ ดังนั้นเมื่อฝ่ายอักษะ<br />
แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว สถาปัตยกรรมแบบนี้ก็พลอยสิ้นลม<br />
ไปด้วย สถาปนิกไทยต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการหาทางออกจาก<br />
อนุสรณ์แห่งความพ่ายแพ้นี้ ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ฟื้นแนวทางสากล<br />
นิยมสมัยใหม่ขึ้นมาอีกและพัฒนาต่อไปอย่างรวดเร็วท่ามกลาง<br />
ซากปรักหักพังของสงครามแห่งความทะเยอทะยานของลัทธิ<br />
ชาตินิยมสุดโต่งที่ตนได้สร้างขึ้น<br />
362 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมชาตินิยม (1890-1945)<br />
เมื่อผ่านช่วงแห่งการไล่ตามความศิวิไลซ์ของอารยธรรม<br />
ตะวันตกมาเกือบ 50 ปี ตั้งแต่ทศวรรษ 1890 ชนชั้นนำทั้งในญี่ปุ่น<br />
และสยามดูเหมือนจะไม่ได้พอใจกับวัฒนธรรมศิวิไลซ์อย่าง<br />
หลงใหลอีกต่อไป พวกเขาเห็นว่าวัฒนธรรมศิวิไลซ์ไม่สามารถ<br />
แสดงอัตลักษณ์ดั้งเดิมของตนเองที่มีมาช้านานไม่แพ้พวกตะวันตก<br />
งานแบบตะวันตกมีกายภาพที่ไม่เหมาะสมกับภูมิอากาศและ<br />
การก่อสร้างในเอเชีย รวมทั้งรองรับวิถีวัฒนธรรมโบราณหลายอย่าง<br />
ที่ตนยังยึดถือไม่ได้ ซ้ำร้ายยังถูกพวกตะวันตกมองว่าเป็นงาน<br />
ชั้นสอง พวกเขาจึงพยายามเสนอทางออกโดยการสร้างสรรค์<br />
สถาปัตยกรรมแบบใหม่ ที่เป็นการผสมกลมกลืนของโลกตะวันตก<br />
และโลกตะวันออก ด้วยวิธีคิดและการสร้างสรรค์ที่ทั้ง 2 ชาติต่าง<br />
เป็นตัวของตัวเอง การศึกษานี้จะแยกกล่าวสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
ในญี่ปุ่นและสยามเป็น 3 ช่วงตามรัชสมัยที่ใกล้เคียงกันคือ ช่วงแรก<br />
ตอนปลายรัชสมัยเมจิและรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ระหว่าง ค.ศ. 1890-1910 ช่วงที่ 2 ใน<br />
รัชสมัยไทโชและรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
รัชกาลที่6 ระหว่าง ค.ศ. 1910-1926 และช่วงที่3 ในรัชสมัยโชวะ<br />
และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7<br />
ต่อรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาล<br />
ที่ 8 ระหว่าง ค.ศ. 1926-1945<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
363
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงแรก (1890-1910)<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมคือแรงปฏิกิริยาต่อต้านความนิยม<br />
อารยธรรมตะวันตกของชาติที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง<br />
อย่างญี่ปุ่น สถาปัตยกรรมชาตินิยมเป็นการสร้างสมดุลอย่างหนึ่ง<br />
ตราบใดที่มันไม่ได้อยู่บนแนวคิดที่สุดโต่งซึ่งจะนำปัญหาขัดแย้ง<br />
รุนแรงตามมา ในญี่ปุ่นซึ่งความเชื่อในความหลงเชื้อชาติตามลัทธิ<br />
ชินโตมีมาแต่โบราณ ความต้องการสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม<br />
โบราณพร้อมๆ กับสัญลักษณ์ความทันสมัยในอาคารเดียวกัน ทำให้<br />
โครงการสร้างรัฐสภาแห่งชาติต้องเลื่อนไปใน ค.ศ. 1887 ทศวรรษ<br />
1890 เมื่อญี่ปุ่นเริ่มเติบใหญ่เข้มแข็งทางการเมือง การทหาร<br />
และเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรมแบบชาตินิยมจึงเกิดขึ้นมา เช่น ศาลา<br />
กลางจังหวัดนารา (1895) โดยนากาโน ยูไฮจิ และธนาคาร<br />
แจแปนคังเกียว (1899) โดยซึเมกิ โยรินากะ ลักษณะโดยรวม<br />
ของอาคารพวกนี้คือใช้ผังแบบคลาสสิค ตัวอาคารแบบญี่ปุ่น<br />
ประยุกต์และครอบด้วยหลังคาญี่ปุ่นโบราณเป็นวิธีการที ่เรียนรู้<br />
จากโครงการรัฐสภาแห่งชาติแบบที่ 2 ที่ไม่ได้สร้างของเอนเดอร์<br />
และบ๊อคมานน์ ซึ่งมีต้นรากความคิดมาจากศิลปะ สถาปัตยกรรม<br />
แบบชีวาซูรี่ (chinoiserie) ของราชสำนักยุโรปในศตวรรษที่ 18<br />
ที่หลงใหลในศิลปสถาปัตยกรรมจีน อาคารเหล่านี้เป็นหน่ออ่อน<br />
และแรงบันดาลใจของสถาปัตยกรรมชาตินิยมในญี่ปุ่นในเวลาต่อมา<br />
ที่เรียกว่า ทรงมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิ<br />
บน ศาลากลางจังหวัดนารา (1895)<br />
ขวา โครงการรัฐสภาแห่งชาติ2 (1887)<br />
364 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมอนุรักษ์นิยมในสยาม<br />
ธนาคารแจแปนคังเกียว (1899)<br />
ในสยามแม้ว่าความรุนแรงของการหลงเชื้อชาติจะไม่เท่าญี่ปุ่น<br />
แต่ชนชั้นนำที่ยึดถือแนวทางจารีตนิยมยังมีอยู่มากและทรงพลัง<br />
สถาปัตยกรรมแนวนี้ในสยามจึงน่าจะเรียกว่าสถาปัตยกรรมแนว<br />
อนุรักษ์นิยมมากกว่า การขัดกันของคุณค่าใหม่ที่ต้องการพระราชวัง<br />
แบบเรอแนสซองส์ฝรั่งเศสหลังคาโดมของพระมหากษัตริย์กับ<br />
ผู้สำเร็จราชการที่ต้องการรักษาจารีตประเพณีที่ต้องการสัญลักษณ์<br />
แบบไทยโบราณในพระราชวังใหม่ ทำให้พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
(1875) สำเร็จออกมาในแบบผสมผสานคือมีตัวอาคารแบบ<br />
คลาสสิคที่ครอบด้วยยอดปราสาทแบบไทย ในช่วงทศวรรษที่1890-<br />
1910 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา<br />
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารแบบไทยผสมตะวันตกไว้อีกหลายแห่ง<br />
เช่น วัดอัษฎางค์นิมิต (1892) ตึกถาวรวัตถุ(1896) ศาลาลูกขุนใหม่<br />
(1897) และพระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (1908) เป็นต้น<br />
อาคารเหล่านี้ล้วนแต่มีลักษณะผสมผังเป็นแบบตะวันตก ครอบ<br />
หลังคาไทย ยกเว้นตึกถาวรวัตถุและพระอุโบสถวัดราชาธิวาสฯ<br />
มีลักษณะแบบเขมรผสมไทย โดยเฉพาะพระอุโบสถวัดราชาธิวาสฯ<br />
เป็นการออกแบบที่ประสานกันระหว่างผังแบบไทย อาคารแบบ<br />
เขมรประยุกต์ และโครงสร้างค้ำยันลอยแบบโกธิคประยุกต์<br />
สถาปนิกคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกับ<br />
วิศวกรกรมโยธาธิการชาวอิตาลี คาร์โล อัลเลอกรี นับเป็นงาน<br />
อนุรักษ์นิยมที ่สร้างสรรค์ที่สุดตอนปลายรัชสมัยนี้ อาคารเหล่านี้<br />
ก็คือหน่ออ่อนและแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรม<br />
ชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่จะเกิดขึ้นในเวลาต่อมา<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
365
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
ปัจจัยการเกิดสถาปัตยกรรมชาตินิยมในช่วงแรกของทั้ง<br />
2 ชาติไม่ต่างกัน มันเป็นปฏิกิริยาเพื่อสร้างความสมดุลระหว่าง<br />
คุณค่าที่นิยมอารยธรรมศิวิไลซ์ของตะวันตกและความต้องการ<br />
รักษาคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น ในญี่ปุ่นยุคแรกรูปธรรมของ<br />
การออกแบบอาคารเช่นนี้ยังไม่เคยมีมาก่อน ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ<br />
จึงเสนอลักษณะผสมผสานระหว่างผังแบบตะวันตกครอบด้วย<br />
หลังคาแบบพื้นเมือง ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ว่าที่มาของรูปแบบ<br />
ชาตินิยมก็เป็นผลผลิตของคนต่างชาติเช่นกัน ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นมี<br />
สถาปนิกเองแล้วสถาปนิกญี่ปุ่นก็ลงมือออกแบบอาคารชาตินิยม<br />
เองในทศวรรษ 1890 สำหรับสยามนั้นเราควรเรียกอาคารแบบนี้<br />
ว่าอาคารแนวอนุรักษ์นิยม เพราะแนวทางที่ชนชั้นนำยึดถือนั้นเป็น<br />
แนวจารีตประเพณีมากกว่าชาตินิยม สิ่งที่แปลกสำหรับสยามก็คือ<br />
การออกแบบอาคารลักษณะผสมผสานเช่นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />
(1875) เป็นการร่วมมือกันระหว่างสถาปนิกต่างชาติกับชนชั้นนำ<br />
ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมประนีประนอมของสยามอย่างชัดเจน ส่วน<br />
พระอุโบสถวัดราชาธิวาสฯ (1908) ก็ไม่ใช่การออกแบบธรรมดา<br />
ชนิดเอาผังฝรั่งใส่หลังคาไทย แต่เป็นการประสานระหว่างความ<br />
เข้าใจในแบบไทยและเขมรโดยมีโครงสร้างแบบตะวันตกตรึงรัดไว้<br />
นับเป็นงานแนวอนุรักษ์นิยมสร้างสรรค์ที่หาได้ยากยิ่ง กล่าวได้ว่า<br />
งานลักษณะอนุรักษ์นิยมในเวลานั้นงานระดับคุณภาพดีที่สุดของ<br />
สยามไม่มีอะไรน้อยหน้ากว่างานของญี่ปุ่น ต่างกันเพียงว่าเมื่อมอง<br />
ในระยะยาวต่อไปแล้วสยามไม่สามารถพัฒนาหลุดจากกรอบ<br />
แนวคิดและรูปแบบเช่นนี้ได้ ขณะที่ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาแนวคิดใน<br />
เชิงนามธรรมได้ดีกว่าจนหลุดจากกรอบเดิมๆไปสู่รูปแบบใหม่ๆ ได้<br />
ขวา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท (1875)<br />
ซ้าย พระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (1908)<br />
366 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่ 2 (1910-1926)<br />
หน่ออ่อนที่เติบใหญ่เข้มแข็งของสถาปัตยกรรมชาตินิยมญี่ปุ่น<br />
แผนภูมิวิวัฒนาการแห่งสถาปัตยกรรม (1909) โดยอิโตะ<br />
รัชสมัยไทโชเป็นยุคที่ซับซ้อน ญี่ปุ่นเป็นทั้งประชาธิปไตย<br />
และเผด็จการทหารในเวลาเดียวกัน ขณะที่สร้างสันติภาพกับ<br />
สยามญี่ปุ่นก็กำลังทำสงครามขยายอาณาเขตเข้าไปในจีน จึงไม่ใช่<br />
เรื่องแปลกที่บรรยากาศทางศิลปวัฒนธรรมก็มีแนวความเชื่อ<br />
ตรงข้ามกันเกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
เคียงคู่มากับสถาปัตยกรรมชาตินิยม และต่างเป็นแนวทางที่กำลัง<br />
เติบใหญ่แข็งแรงหลังจากผ่านระยะเป็นหน่ออ่อนมาแล้วในทศวรรษ<br />
ที่ 1890 ของรัชกาลก่อน ในญี่ปุ่นสถาปัตยกรรมชาตินิยมแบ่งเป็น<br />
2 แบบ แบบวิวัฒนาการและแบบมงกุฎจักรพรรดิ สถาปัตยกรรม<br />
แบบวิวัฒนาการนำโดย อิโตะ ชูตะ สถาปนิกและอาจารย์แห่ง<br />
มหาวิทยาลัยโตเกียว เขาต้องการสถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่ไม่ตาม<br />
ตะวันตกและมีวิวัฒนาการจากสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นโบราณที่เชื่อมโยง<br />
กับอารยธรรมกรีกโบราณ เขาเริ่มตีพิมพ์บทความที่เสนอว่าวัดโฮริวจิ<br />
มีการออกแบบที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ ค.ศ. 1893<br />
ใน ค.ศ. 1895 เขาเสนอวิทยานิพนธ์ที่กล่าวถึง “วิวัฒนาการ” ของ<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นซึ่งมีที่มาจากแผ่นดินใหญ่ที่รับพุทธศาสนา<br />
และแบบมาจากอินเดีย ซึ่งมีต้นแบบมาจากศิลปะกรีก นี่คือ<br />
วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นดั่งเช่นทฤษฎีของดาร์วิน<br />
เขาเชื่อว่านี่คือหลักการของการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัย<br />
ของญี่ปุ่นควรจะต้องพัฒนามาจากธรรมชาติของสถาปัตยกรรม<br />
โบราณ ระหว่าง ค.ศ. 1901-1905 เขาเดินทางเก็บข้อมูลภาคสนาม<br />
ไปทั่วเอเชียจนถึงกรีกเพื่อเสาะหาต้นกำเนิดรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
พุทธศาสนาที่เชื่อมโยงกับรูปแบบพุทธศาสนสถานในเอเชียจากนั้น<br />
เขาได้เสนอ “ทฤษฎีวิวัฒนาการแห่งสถาปัตยกรรม” ใน ค.ศ. 1909<br />
ว่า ศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเป็นเพียงหนึ่งเดียวของโลกตะวันออก<br />
ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องเช่นเดียวกับชาติตะวันตก ไม่น่าแปลกใจ<br />
ที่ทฤษฎีของเขาได้รับการตอบรับทั้งจากรัฐบาลและองค์กรศาสนา<br />
พุทธในญี่ปุ่น เพราะต่างกำลังสร้าง “วงไพบูลย์แห่งเอเชียบูรพา”<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
367
ในทางสังคมและศาสนาพุทธการสร้างทฤษฎีและรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมวิวัฒนาการของเขาเป็นการสนับสนุนทางวัฒนธรรม<br />
ของพวกลัทธิชาตินิยมสุดโต่งที่สำคัญ ผลงานสำคัญของอิโตะ<br />
ได้แก่ อนุสาวรีย์โกโกกุโตะ (1911) วัดคาสุอิไซ เมืองฟูคุโรอิ<br />
จังหวัดชิสุโอกะ เป็นสถูปบรรจุอัฐิวีรชนทหารญี่ปุ่นที่พลีชีพ<br />
ในสงครามกับรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1904-1905 ชื่อเจดีย์แปลว่า<br />
สถูปแห่ง “ผู้ปกป้องชาติบ้านเมือง” เขาเลือกใช้สถูปเจดีย์ศาสนา<br />
พุทธแบบคันธารราช แทนเจดีย์ถะแบบจีนของลัทธิชินโต เพราะ<br />
อิโตะเห็นว่าสถูปอินเดียมีลักษณะความเป็นสากลของเอเชีย<br />
มากกว่าเจดีย์แบบถะของจีน นอกจากนี้แบบคันธารราชยังมีที่มา<br />
จากศิลปะกรีก ดังนั้นการใช้รูปแบบเจดีย์แบบถะของจีนที่ญี่ปุ่นเดิม<br />
นิยมนั้นแสดงถึงความเป็นจีนมากกว่าความเป็นสากล ซึ่งสถูปแบบ<br />
คันธารราชสื่อความหมายได้ดีกว่า โครงการวิหารชากุโอเดน (1910)<br />
วัดซานเนจิ คือโครงการสร้างวิหารศากยมุนีเพื่อบรรจุพระบรม<br />
สารีริกธาตุที่คณะสงฆ์ญี่ปุ่นได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จ<br />
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน ค.ศ. 1900 อิโตะออกแบบผังวิหาร<br />
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีโถงกลางและเฉลียง2 ข้าง วางตัวตามแนวดิ่ง<br />
แบบวิหารสยาม รูปลักษณ์ภายนอกหลังคาเป็นแบบจีนปนไทย<br />
แต่ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ที่พยายามเลียนแบบวัดไทย<br />
สถูปโฮอันโตะ (1918) วัดนิสเซนจิ เมืองนาโงย่า เป็นสถูปบรรจุ<br />
พระบรมสารีริกธาตุจากสยามใน ค.ศ. 1900 เช่นกัน อิโตะออกแบบ<br />
องค์สถูปเป็นเจดีย์กลมทรงระฆังคล้ายเจดีย์อยุธยา เขาเลือกสถูป<br />
แบบนี้เพราะใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสยามประการหนึ่ง อีกประการ<br />
หนึ่งเขาเห็นว่าสถูปแบบสยามนี้เป็นสถูปคันธารราชแบบหนึ่งเพราะ<br />
สถาปัตยกรรมสยามเป็นสาขาหนึ่งของสถาปัตยกรรมอินเดีย<br />
368 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
จะเห็นได้ว่าอิโตะออกแบบโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐานในการอธิบาย<br />
ที่มาของแบบซึ่งเขาเรียกมันว่าเป็น “วิวัฒนาการ” สถาปัตยกรรม<br />
แต่ละแห่งของเขาจึงมีลักษณะเฉพาะของตนเอง สถูปโกโกกุโตะ<br />
สำหรับวีรชนทหารนั้นเขาต้องการเน้นความเป็นสากลจึงเลือกแบบ<br />
สถูปคันธารราชซึ่งมีที่มาจากอินเดีย-กรีก โครงการวิหารชากุโอเดน<br />
วัดซานเนจิ สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากสยามจึง<br />
ออกแบบเลียนแบบวิหารไทย สถูปโฮอันโตะ วัดนิสเซนจิ สำหรับ<br />
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากสยามเช่นกัน จึงเลือกแบบสถูป<br />
ทรงระฆังคล้ายเจดีย์อยุธยาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสยาม ซึ่งอิโตะ<br />
เห็นว่าเป็นสถูปแบบคันธารราชแบบหนึ่งเพราะสถาปัตยกรรม<br />
สยามเป็นสาขาหนึ่งของสถาปัตยกรรมอินเดีย อย่างไรก็ตามหาก<br />
พิจารณาในแง่รูปแบบศิลปะแล้วจะเห็นได้ว่างานของอิโตะไม่มีอะไร<br />
น่าทึ่ง สถูปของเขาคือการประยุกต์รูปแบบสถูปของจีน อินเดีย<br />
และสยามให้เข้ากับผังคลาสสิค ส่วนวิหารของเขาเป็นการประยุกต์<br />
วิหารไทยและจีนเข้าด้วยกัน และก่อสร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีต<br />
เสริมเหล็ก ที่สุดแล้วสถาปัตยกรรมของอิโตะไม่ใช่การลอกแบบ<br />
โบราณอย่างตรงไปตรงมาแบบเดิม แต่เป็นการตีความที่ใช้ทฤษฎี<br />
นำบนฐานความรู้ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่แน่นแฟ้น แม้ว่า<br />
จะไม่สามารถหนีพ้นกรอบของรูปแบบโบราณและลัทธิชาตินิยม<br />
ก็ตาม<br />
สถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิ(ไทคันโยชิกิ) คืออาคาร<br />
แบบผังตะวันตกครอบด้วยหลังคาแบบวัดญี่ปุ่นโบราณ ซึ่งมีมา<br />
ตั้งแต่ยุคปลายเมจิที่ได้กล่าวไปแล้ว มาในรัชสมัยไทโชอาคารแบบนี้<br />
ได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นไปอีก ด้านหนึ่งมาจากความ<br />
ต้องการหาอัตลักษณ์ของเหล่าสถาปนิกญี่ปุ่นดังเห็นได้จากการ<br />
จัดการโต้วาทีในหัวข้อลักษณะแห่งชาติของสถาปัตยกรรมสำหรับ<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บนขวา ประติมากรรมนูนต่ำสถูปแบบคันธารราช ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1-3<br />
ล่างขวา อนุสาวรีย์โกโกกุโตะ (1911)<br />
ล่างซ้าย สถูปโฮอันโตะ วัดนิสเซนจิ (1918)<br />
อนาคตโดยสมาคมสถาปนิกญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1910 ถึง 2 ครั้ง<br />
อีกด้านหนึ่งมาจากความรู้สึกหยิ่งผยองในเชื้อชาติในสังคมญี่ปุ่น<br />
เองหลังจากการได้ชัยชนะในสงครามใหญ่ถึง 2 ครั้งใน ค.ศ. 1895<br />
กับจีนและ ค.ศ. 1905 กับรัสเซีย และโดยรูปลักษณ์แล้วอาคารมงกุฎ<br />
จักรพรรดิมีความเด่นที่หลังคาแบบญี่ปุ่นโบราณเป็นสัญลักษณ์ของ<br />
ชาติที่เข้าใจง่ายของคนทั่วไป ทำให้สถาปนิกแนวชาตินิยมผลิตงาน<br />
แบบนี้ออกมามากขึ้น เช่น อาคารบริษัทประกันชีวิตนิสชินไลฟ์<br />
(1917) อาคารคลังสมบัติหรือโอบุตสุเดน (1921) โรงละครคาบูกิซา<br />
(1925) เป็นต้น ในบรรดาอาคารที่กล่าวมานี้อาคารคลังสมบัติ<br />
หรือโอบุตสุเดนแห่งศาลเจ้าเมจิ กรุงโตเกียว โดยสถาปนิก โอเอะ<br />
ชินตาโร ออกแบบได้ประณีตที่สุด ผังอาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า<br />
ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง หลังคาจั่วจันทันโค้งแบบศาลเจ้าญี่ปุ่น<br />
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังแต่ทำผนังเป็นลายเส้น<br />
เลียนแบบไม้ซุงเรียงตามนอนเหมือนเรือนพื้นถิ่นโบราณของญี่ปุ่น<br />
มีการใช้องค์ประกอบของพระราชวังโบราณมาประยุกต์ใช้ทำให้<br />
ดูสูงส่งและจะเป็นที่มาของชื่อเรียกอาคารแบบนี้ว่ามงกุฎจักรพรรดิ<br />
ในเวลาต่อมา แต่ในทางออกแบบสาระสำคัญของโอบุตสุเดนคือ<br />
การผลิตซ้ำอาคารโบราณอย่างประณีต แต่สร้างด้วยวัสดุใหม่คือ<br />
คอนกรีตทั้งหลัง อย่างไรก็ตามการออกแบบอาคารมงกุฎจักรพรรดิ<br />
ที่ใหญ่ที่สุดคือโครงการประกวดแบบรัฐสภาแห่งชาติ(ไดเอท) ของ<br />
คิคูทาโร ชิโมดะ ใน ค.ศ. 1919 เขาเสนออาคารแบบคลาสสิคผัง<br />
รูปตัว E ขนาดใหญ่ มุขหน้าเป็นจั่ววิหารกรีกแต่บนหลังคากลับเอา<br />
ปราสาทญี่ปุ่นโบราณไปตั้งไว้ทั้ง 3 มุข โดยกล่าวว่ารัฐสภาควรมี<br />
รูปแบบเชื่อมโยงกับความบริสุทธิ์ของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นโบราณ<br />
ซึ่งเป็นภาพสะท้อนความไม่พอใจของสถาปนิกแนวชาตินิยมที่มีต่อ<br />
คำตัดสินการประกวดแบบรัฐสภาแห่งชาติก่อนหน้านี้ที่ตัดสินให้<br />
แบบนีโอคลาสสิคผสมบายเซนไทน์ของฟูคุโซ วาตานาเบเป็น<br />
แบบชนะเลิศ กรณีนี้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตเข้มแข็งและแพร่<br />
กระจายของลัทธิชาตินิยมสุดโต่งในรัชสมัยไทโช ซึ่งแม้แต่วงการ<br />
สถาปัตยกรรมก็เป็นสนามประลองกำลังของฝ่ายชาตินิยมและฝ่าย<br />
นิยมตะวันตก<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
369
บน รัฐสภาแบบมงกุฎจักรพรรดิสังเคราะห์(1918-1919)<br />
โดยคิคูทาโร ชิโมดะ<br />
ล่าง คลังสมบัติแห่งศาลเจ้าเมจิ (1921)<br />
370 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม<br />
ลัทธิชาตินิยมในสยามเริ่มเข้มข้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 (1910-1925) ความไม่มั่นคง<br />
ในราชบัลลังก์จากผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบ<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมใน<br />
การเตรียมกบฏของทหารใน ค.ศ. 1911 แต่ถูกปราบได้เสียก่อน<br />
ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริ<br />
ที่จะปลูกฝังให้คนไทยรักชาติและพระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง<br />
ทรงประกาศอุดมการณ์แห่งชาติว่าด้วย “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”<br />
ซึ่งมีสาระให้จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุดในฐานะหลักชัย<br />
และผู้นำของบ้านเมือง การเคารพสักการะปฏิบัติตามคำสอนใน<br />
ศาสนาพุทธ ทั้ง 2 ประการนี ้เป็นจิตวิญญาณของ “ชาติ” ซึ่งมี<br />
รูปธรรมเป็นคนไทยและแผ่นดินไทย ลัทธิชาตินิยมสมัยรัชกาล<br />
ที่ 6 จึงเน้นว่าคนเชื้อชาติไทยเป็นคนใน และตั้งข้อรังเกียจคนจีน<br />
ว่าเป็นพวกต่างด้าวเอาเปรียบคนไทย ลัทธิชาตินิยมส่งผลมาถึง<br />
ศิลปวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี<br />
พระราชดำริที่จะฟื้นฟูทำนุบำรุง และสืบสานต่อศิลปวัฒนธรรมไทย<br />
โบราณทั้งหลาย รวมทั้งสถาปัตยกรรมไทยที่ทรงมีพระราชดำริว่า<br />
เสื่อมโทรมไปเพราะการสร้างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเพื่อความ<br />
“ศิวิไลซ์” อย่างมากมายในรัชกาลก่อน ขณะที่ได้ทรงยกตัวอย่าง<br />
วัดเบญจมบพิตรที่สร้างในรัชกาลก่อนว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่<br />
งดงาม และมีพระราชประสงค์ที่สานต่อการสร้างสถาปัตยกรรมเช่นนี้<br />
แต่ความจริงการสร้างวัดเบญจมบพิตรในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น<br />
ไม่เกี่ยวกับเรื่องชาตินิยมแต่เป็นจารีตประเพณีในการสร้างวัดคู่กับวัง<br />
ในกรณีนี้วัดเบญจมบพิตรถูกสร้างขึ้นเป็นวัดประจำวังใหม่คือ<br />
พระราชวังสวนดุสิต ต่างกับแนวคิดชาตินิยมในสมัยรัชกาลที่ 6<br />
ซึ่งทรงเรียนรู้จากยุโรปตอนปลายศตวรรษที่ 19 ที่ลัทธินี้เริ่มแพร่<br />
กระจายในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ แม้กระทั่งพระราช<br />
อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ก็มาจากคติGod King and Country<br />
ของกองทัพบกอังกฤษที่ไปรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้<br />
ธงไตรรงค์ (1917) สัญลักษณ์แห่ง อุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์<br />
ทัศนะรังเกียจคนจีนก็ไม่มีในรัชกาลก่อน พระมหากษัตริย์พระองค์<br />
ก่อนกลับมีพระราชดำริในการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่ดีของ<br />
ทั้งอารยธรรมตะวันตกและของสยามเอง การสร้างสถาปัตยกรรมไทย<br />
ชาตินิยมในรัชกาลนี้จึงเป็นของใหม่เพื่อการสร้างอัตลักษณ์ใหม่<br />
ของสยามที่ต้องการแสดงตัวตนที่แตกต่างจากตะวันตกแต่ยังคง<br />
ความศิวิไลซ์ไว้ ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องหมายของความเคารพ<br />
เทิดทูนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์เป็น<br />
ศูนย์กลางของชาติ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
371
หอสวดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (1915-1917)<br />
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง เป็นโรงเรียนประจำสำหรับเด็กชาย<br />
ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />
ให้สร้างใน ค.ศ. 1915 ตามอย่างโรงเรียนประจำของอังกฤษเพื่อ<br />
ฝึกหัดมหาดเล็ก ลักษณะอาคารเป็นแบบไทยประยุกต์โครงสร้าง<br />
คอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วยหอสวด (หอประชุม) รายล้อม<br />
ด้วยคณะ (เรือนนอน) 4 คณะ หอสวดออกแบบโดยสถาปนิก<br />
ชาวอังกฤษ เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ร่วมกับสถาปนิกไทยพระสมิทธิเลขา<br />
(ปลั่ง วิภาตะศิลปิน) ผังรูปกากบาทแบบแกนไม่เท่ากันแบ่งพื้นที่เป็น<br />
โถงกลางและเฉลียง 2 ข้างที่มีระเบียงชั้นลอยรอบ บรรยากาศ<br />
ภายในเหมือนโบสถ์ไทยผสมโบสถ์ยุโรปยุคกลาง ลักษณะภายนอก<br />
เหมือนวิหารและศาลาการเปรียญไทยเพราะยกใต้ถุนสูง หลังคาจั่ว<br />
แบบไทยทรงจตุรมุขประดับช่อฟ้าใบระกาเต็มที่ ตัวอาคารมี<br />
ลักษณะผสมไทยปนยุโรป ทางเข้าด้านหน้าเป็นป้อมแบบยุคกลาง<br />
ที่มีซุ้มประตูคล้ายซุ้มเรือนแก้วผสมซุ้มโค้งยอดแหลมแบบโกธิค<br />
ลักษณะช่องเปิดแบบนี้จะเห็นทั่วทั้งผนังภายนอกอาคารและที่แผง<br />
กั้นใหญ่ภายในอาคารตอนกลาง อาคารเรือนนอนหรือคณะทั้ง 4<br />
ออกแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนกันล้วนแต่เป็นรูปแบบผสมไทยหลาย<br />
ยุคปนตะวันตก ด้วยกิจกรรมที่ฝึกฝนการจงรักภักดีต่อพระมหา<br />
กษัตริย์ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน จึงกล่าวได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรม<br />
ตัวแทนลัทธิชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สมบูรณ์<br />
372 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จ<br />
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะ<br />
โรงเรียนข้าราชการพลเรือนให้เป็นมหาวิทยาลัย สภากรรมการ<br />
โรงเรียนมอบให้สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ 2 คณะ คือ คาร์ล<br />
ดือห์ริงและเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ไปศึกษาและกำหนดแนวทางออกแบบ<br />
จากโบราณสถานในสุโขทัยและสวรรคโลกแล้วเขียนแบบมาเสนอ<br />
กรรมการ ซึ่งกรรมการเลือกแบบของฮีลีย์มาก่อสร้างบางส่วนให้<br />
เหมาะกับงบประมาณใน ค.ศ. 1916 อาคารที่ก่อสร้างมีผังรูปตัว<br />
E มี 3 มุข และเชื่อมด้วยปีก ห้องวางเรียงตรงกลางตามแกนผัง<br />
มีระเบียงล้อมรอบ ลักษณะภายนอกผนังอวดเสาระเบียงเรียง<br />
เป็นแถว ที่มุขเป็นเสาเหลี่ยมลอยตัว ที่ปีกเป็นเสาอิงมีช่องเปิด<br />
เป็นซุ้มแบบโค้งยอดแหลมแบบยุโรปผสมซุ้มเรือนแก้วของไทย<br />
หลังคาจั่วประดับช่อฟ้าใบระกาคอนกรีตหน้าบันประดับประติมากรรม<br />
คอนกรีตหล่อรูปครุฑยุดนาคฝีมือประติมากรอิตาเลียน โรดอลโฟ<br />
โนลี เป็นอาคารไทยชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกหลังหนึ่ง<br />
ที่แสดงความย้อนแย้งในตัวเอง ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกประติมากร<br />
ต่างชาติ<br />
บน ประติมากรรมประดับหน้าบัน<br />
ตึกบัญชาการ ปั้นโดย Rodolfo Noli<br />
(1917)<br />
ล่าง ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์<br />
มหาวิทยาลัย (1917)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
373
ซ้าย แกนชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (1910)<br />
ขวา อนุสาวรีย์ทหารอาสา (1919)<br />
พระที่นั่งพิมานปฐม ในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัด<br />
นครปฐม สร้างใน ค.ศ. 1910 องค์พระที่นั่งสร้างเป็นแบบบังกะโล<br />
คอนกรีตที่หันมุขหน้าอันป็นที่ตั้งห้องพระที่เรียกว่า “ห้องพระเจ้า”<br />
ประจันเป็นแนวเส้นตรงกับพระปฐมเจดีย์เกิดเป็นเส้นแกนสายตา<br />
ที่สะท้อนพระราชอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ที่สมบูรณ์<br />
จึงเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมชาตินิยมที่น่าสนใจอย่างยิ่งเพราะ<br />
ได้สะท้อนความหมายของพระราชอุดมการณ์ออกมาในลักษณะ<br />
นามธรรมไม่ใช่รูปแบบกายภาพอย่างงานอื่นๆ<br />
อนุสาวรีย์ฝังอัฐิทหารซึ่งเสียชีวิตในราชการสงคราม<br />
(อนุสาวรีย์ทหารอาสา) เป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เชิดชู<br />
เกียรติแก่ทหารไทยที่เสียชีวิตในการรบในสงครามโลกครั้งที่ 1<br />
ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร กระทรวงกลาโหมเป็นผู้สร้างใน ค.ศ. 1919<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน<br />
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนสร้าง แบบอนุสาวรีย์ลอกแบบ<br />
มาจากเจดีย์สุโขทัยแบบพระเจดีย์มณฑปที่วัดพระเจดีย์เจ็ดแถว<br />
ศรีสัชชนาลัย ดังนั ้นแม้จะดูสวยงามแต่ก็เป็นเพียงงานผลิตซ้ำ<br />
เท่านั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน<br />
พระบรมราโชวาทแก่กองทหารที่ไปร่วมรบครั้งนี้ว่าทรงปลื้มปิติ<br />
ในการไปทำสงครามของทหารไทย ซึ่งเป็นการแสดงธรรมะของ<br />
ความเป็นชาติ นั่นคือความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และ<br />
พระมหากษัตริย์ จึงเป็นสถาปัตยกรรมแห่งลัทธิชาตินิยม<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างชัดเจนอีกแห่งหนึ่ง<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นความจริง<br />
สร้างน้อยมากเมื่อเทียบกับอาคารแบบตะวันตกทั่วไปที่สร้างใน<br />
สมัยรัชกาลที่ 6 และถ้าพิจารณาในแง่การออกแบบแล้วก็เป็น<br />
การผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณชนิดหนึ่งที่หากเปรียบเทียบกับ<br />
สถาปัตยกรรมแนวอนุรักษ์สร้างสรรค์เช่นพระอุโบสถวัดราชาธิวาส<br />
ราชวรวิหารตอนปลายรัชกาลก่อนแล้ว กลับมีคุณภาพในการ<br />
สร้างสรรค์น้อยกว่าเสียอีก ดังนั้นความสำคัญที่แท้จริงของอาคาร<br />
เหล่านี้คืออิทธิพลในการเป็นต้นแบบและแนวคิดที่มีต่อการสร้าง<br />
อาคารแบบชาตินิยมในยุคต่อมาและสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ทั้งๆ<br />
ที่เบื้องหลังการสร้างนั้นสถาปนิกและศิลปินต่างชาติมีส่วนใน<br />
การทำงานเป็นอย่างมาก<br />
374 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
ปัจจัยการสร้างสถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่2 ของทั้ง 2 ชาติ<br />
มาจากเรื่องเดียวกันคืออิทธิพลจากลัทธิชาตินิยมสากลที่แผ่เข้าไป<br />
ในประเทศ สำหรับญี่ปุ่นนั้นหน่ออ่อนของลัทธิชาตินิยมปลาย<br />
รัชสมัยเมจิได้เติบโตอย่างแข็งกล้าในยุคไทโชนี้และสะท้อนออกมา<br />
ในรูปแบบสถาปัตยกรรมมากมาย จุดมุ่งหมายของลัทธิชาตินิยม<br />
ญี่ปุ่นในยุคนี้ด้านหนึ่งยังต้องการหาอัตลักษณ์ของตนเองต่อไป<br />
แต่อีกด้านหนึ่งพวกเขากำลังหารูปแบบสากลของสถาปัตยกรรม<br />
เอเชียที่มีญี่ปุ่นเป็นผู้น ำ สถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ” ของอิโตะ<br />
ชูตะ คือเสาหลักของงานประเภทนี้ เขาสร้างสถาปัตยกรรมบน<br />
พื้นฐานทฤษฎีประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ที่ผ่านงานสำรวจ<br />
ภาคสนามอย่างกว้างขวางและยาวนานแล้วนำมาตีความใหม่เพื่อหา<br />
รูปแบบที่เหมาะสม สถูปแบบคันธารราชจึงเหมาะสมที่จะเป็น<br />
เครื่องแสดงความเป็นสากลของเอเซีย เพราะมันเชื่อมโยงอินเดีย<br />
กับกรีกและเชื่อมโยงญี่ปุ่นกับอินเดีย ดังนั้นสถูปแบบอินเดีย<br />
ในญี่ปุ่นจึงเป็นงานสากลของเอเชียได้และเขาได้ใช้มันเป็นตัวแทน<br />
ความเป็นสากลให้กับสถูปโกโกกุโตะ แต่เมื่อเป็นอาคารที่ต้อง<br />
เกี่ยวข้องกับสยามแล้วเขาก็เลือกแบบสากลที่เข้ากับสยามได้<br />
เช่น สถูปโฮอันโตะแห่งวัดนิสเซนจิที่ป็นสถูปคันธารราชแบบอยุธยา<br />
ขณะเดียวกันเขาก็ทำงานสากลระดับภูมิภาคด้วย เช่น โครงการ<br />
วิหารชากุโอเดน แห่งวัดซานเนจิ ที่ใช้รูปแบบวิหารสยามผสมจีน<br />
เพราะสาระของการสร้างที่เกี่ยวข้องกับสยาม อาคารแนวชาตินิยม<br />
ที่เข้าใจง่ายกว่างานเชิงสัญลักษณ์ของอิโตะคืองานมงกุฎจักรพรรดิ<br />
ที่ใช้รูปแบบผังคลาสสิคครอบด้วยหลังคาญี่ปุ่นและมีมาแล้วตั้งแต่<br />
ปลายรัชสมัยเมจิ มาในสมัยไทโชได้เป็นอาคารที่แพร่หลายมากขึ้น<br />
และอาคารบางหลังมีการออกแบบอย่างประณีตพิถีพิถันเช่น<br />
อาคารคลังสมบัติหรือโอบุตสุเดนแห่งศาลเจ้าเมจิ กรุงโตเกียว<br />
เป็นการผลิตซ้ำศาลเจ้าโบราณที่สร้างด้วยคอนกรีต จนได้การยกย่อง<br />
เรียกชื่อแบบอาคารว่ามงกุฎจักรพรรดิจากมหาชน<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มาจาก<br />
พระราชอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ต้องการสร้างจินตนาการ<br />
มหาอาณาจักรสยามที่ยิ่งใหญ่ในอดีต จุดประสงค์ของการสร้าง<br />
สถาปัตยกรรมจึงเป็นการเลือกผลิตซ้ำศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ในอดีต<br />
เช่น หอสวดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์<br />
มหาวิทยาลัย และที่ชัดเจนที่สุดคือ อนุสาวรีย์ที่ฝังอัฐิทหารซึ่งตาย<br />
ในราชการสงคราม (อนุสาวรีย์ทหารอาสา) อาคารเหล่านี้เทียบได้<br />
กับอาคารแบบมงกุฎจักรพรรดิในญี่ปุ่นที่ดูเข้าใจง่ายและสร้างได้เร็ว<br />
ส่วนที่พระที่นั่งพิมานปฐมในพระราชวังสนามจันทร์ แกนสายตาที่<br />
เชื่อมระหว่างพระปฐมเจดีย์และ “ห้องพระเจ้า” ของมุขหน้า<br />
พระที่นั่งนี้ซึ ่งให้ความหมายของพระราชอุดมการณ์ชาติ ศาสน์<br />
กษัตริย์อย่างสมบูรณ์ ต้องนับว่าเป็นการออกแบบเชิงสัญลักษณ์<br />
ในระดับเดียวกับงานของอิโตะ เพียงแต่ว่ามันเป็นงานภูมิทัศน์<br />
มากกว่างานสถาปัตยกรรม<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่ 2 ของทั้ง 2 ชาติมีทั้งงาน<br />
ระดับผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณและงานระดับเชิงสัญลักษณ์<br />
ในงานระดับแรกนั้นผลงานในระดับที่ดีที่สุดของทั้ง 2 ชาติไม่ได้<br />
ต่างกันนัก เพียงแต่ญี่ปุ่นคิดและสร้างด้วยตนเอง แต่สยามยังต้อง<br />
ให้สถาปนิกตะวันตกช่วยคิดและควบคุมการสร้าง สิ่งที่แตกต่างกัน<br />
ชัดเจนคืองานระดับสัญลักษณ์ที่ต้องใช้ทฤษฎีเป็นฐานในการ<br />
ตีความรูปแบบเก่าก่อน เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ที่หลุดจาก<br />
กรอบเดิมได้นั้นญี่ปุ่นมีทฤษฎี “วิวัฒนาการ” ของอิโตะ ชูตะและ<br />
สถาปัตยกรรมจำนวนหนึ่งของเขาแล้ว แต่สยามยังไม่มีอะไร<br />
ในแบบนี้เลย ถ้าเราจะกล่าวว่านี่คือความก้าวหน้ากว่าของญี่ปุ่น<br />
มันก็เป็นผลจากการวางรากฐานการศึกษาที่มั่นคงในรัชสมัยเมจิ<br />
และได้เติบโตจนเห็นดอกผลในสมัยไทโชนี้<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
375
บน วัดซึกิจิฮองกวานจิ (1934)<br />
ล่าง อนุสรณ์สถานเหยื่อแผ่นดินไหวคัน<br />
โตแห่งมหานครโตเกียว (1930)<br />
376 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่ 3 (1926-1945)<br />
ความเข้มแข็งแห่งวาระสุดท้ายของสถาปัตยกรรมชาตินิยมญี่ปุ่น<br />
ยุคโชวะเป็นยุคแห่งชาตินิยมสุดโต่ง หลงเชื้อชาติ และ<br />
ใฝ่สงครามในสังคมญี่ปุ่นขณะที่ลัทธิประชาธิปไตยตกต่ ำ ทหารญี่ปุ่น<br />
และพวกขวาจัดปลุกระดมประชาชนที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ<br />
ให้ลุกขึ้นโค่นล้มระบอบรัฐสภา พวกทหารชาตินิยมสุดโต่งทำการ<br />
ฆาตกรรมผู้นำรัฐบาลจนการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนอยู่ไม่ได้<br />
ต้องให้ทหารขึ ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาลแทน ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เริ่ม<br />
นโยบายรุกรานชาติในเอเชียอย่างโจ่งแจ้งในทศวรรษ 1930 ซึ่งได้<br />
ลุกลามมาเป็นสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามแปซิฟิก<br />
อย่างเต็มรูปแบบใน ค.ศ. 1941 การปกครองประเทศอยู่ภายใต้<br />
กฎหมายแห่งการทำสงครามและการสนับสนุนของมวลชนที่ถูก<br />
ครอบงำด้วยลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง วงการสถาปัตยกรรมก็ตกอยู่<br />
ภายใต้ภาวะการณ์นี้ ยุคนี้จึงเป็นยุคเฟื่องฟูของสถาปัตยกรรม<br />
ลัทธิชาตินิยมมากที่สุดกว่ายุคใดๆ และจะเป็นยุคสุดท้ายด้วย<br />
ในขณะเดียวกัน สถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการของอิโตะ ชูตะ<br />
สถูปโชเกียวเด็น (1931)<br />
ช่วงที่ 2 อิโตะยังทำงานต่อไปในแนววิวัฒนาการที่ไม่ต้องการลอก<br />
กายภาพของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นโบราณ แต่พยายามสร้างสรรค์<br />
ด้วยวิธีมองกว้างออกไปหาสถาปัตยกรรมเอเชียแบบอื่นๆ ขณะ<br />
เดียวกันก็วิจารณ์สถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิว่า “ละเมิด<br />
ตรรกะทางโครงสร้างทั้งคลาสสิคของยุโรปและแบบญี่ปุ่นโบราณ<br />
และเป็นงานที่น่าอับอายแห่งชาติ” ผลงานของอิโตะที่สำคัญ<br />
ในยุคโชวะ ได้แก่ อนุสรณ์สถานเหยื่อแผ่นดินไหวคันโตแห่ง<br />
มหานครโตเกียว (1930) สร้างเป็นอนุสรณ์เหยื่อแผ่นดินไหว<br />
ครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 1923 สิ่งที่น่าสนใจคือการวางผังอาคารหลังนี้<br />
ลักษณะผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีโถงกลางและเฉลียง 2 ข้างแบ่งด้วย<br />
เสาร่วมใน ใช้ด้านสกัดเป็นด้านหน้าทอดตัวตามแนวดิ่งไปด้านหลัง<br />
ซึ่งเป็นที่ตั้งเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ทำให้มีลักษณะของผังแบบวัดไทย<br />
ผสมโบสถ์แบบตะวันตก แม้ว่าลักษณะเปลือกนอกอาคารอิโตะ<br />
ยังคงใช้รูปทรงของวัดและเจดีย์แบบญี่ปุ่นก็ตาม สถูปโชเกียวเด็น<br />
แห่งวัดฮอกเกเกียวจิ (1931) เมืองอิชิกาวา เป็นสถูปแบบคันธาร<br />
ราชองค์สุดท้ายของอิโตะ สำหรับเก็บธรรมบทที่เขียนโดยพระผู้<br />
ก่อตั้งนิกายนิชิเร็นชูในศตวรรษที่ 13 แม้จะมีรูปทรงคล้ายสถูป<br />
ผู้ปกป้องบ้านเมือง โกโกกุโตะ (1911) เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่สถูป<br />
องค์นี้มีองค์ประกอบที่มีอิทธิพลศิลปะคลาสสิคมากขึ้นไปอีก<br />
รูปทรงสถูปเป็นทรงระฆังครึ่งวงกลมตั้งบนเรือนธาตุทรงกระบอก<br />
ที่สูงประมาณ 2 เท่าขององค์ระฆัง ประตูเข้ากลางเรือนธาตุมี<br />
กรอบล้อมเป็นเสากลมลอยตัวรับคานทับหลังแบบประตูคลาสสิค<br />
เหนือทับหลังมีช่องแสงทรงโค้งประทุนรูปเกือกม้าเลียนแบบ<br />
หลังคาวัดถ้ำอชันตา ผนังเรือนธาตุมีเสาอิงสี่เหลี่ยมแบบกรีกผสม<br />
อินเดียประดับโดยรอบ ปลียอดทรงกรวยและบัลลังก์แบบศรีลังกา<br />
ผสมเนปาลมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสถูปโกโกกุโตะ โดยภาพรวม<br />
แล้วจุดเด่นคือเรือนธาตุและองค์ระฆังที่เป็นงานคลาสสิคผสม<br />
อินเดีย ซึ่งอิโตะเชื่อว่าคือมรดกวัฒนธรรมที่งดงามที่สุดของ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
377
บน ศาลาว่าการจังหวัดคานากาว่า (1928)<br />
ล่าง ศาลาว่าการจังหวัดนาโกย่า (1933)<br />
งานพุทธแบบญี่ปุ่นที่มีสายสัมพันธ์กับทหาร ปลุกเร้าลัทธิชาตินิยม<br />
สุดโต่ง ไม่ห้ามการทำสงครามที่ยุติธรรมและยกย่องทหารที่ตาย<br />
ในสงครามเป็นนักบุญ การออกแบบวัดนี้น่าจะเป็นบทสรุปของ<br />
สถาปัตยกรรมวิวัฒนาการของอิโตะที่นำสถาปัตยกรรมยุโรป<br />
และเอเชียหลายชาติมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างน่าสนเท่ห์<br />
ผังอาคารเป็นแบบคลาสสิครูปตัว E รูปทรงอาคารเป็นแบบ<br />
สี่เหลี่ยมมี 3 มุข มุขกลางหลังคาเป็นโค้งประทุนรูปเกือกม้า<br />
ยอดแหลมเลียนแบบวิหารถ้ำอชันตา หน้าบันหล่อรูปดอก<br />
เบญจมาศ 16 กลีบสัญลักษณ์จักรพรรดิญี่ปุ่น มุขซ้ายขวาเป็นมุข<br />
หลังคาแบนตั้งพระสถูปแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผนังอาคาร<br />
เจาะช่องหน้าต่างแบบคลาสสิคแต่ด้วยรายละเอียดแบบอินเดีย<br />
เสาอิงประดับผนังเรียงเป็นแถวแบบคลาสสิคแต่หัวเสาเป็นเต้าไม้โค้ง<br />
ทรงกากบาทแบบจีน-ญี่ปุ่นโบราณ วัดซึกิจิฮองกวานจิเป็นบทสรุป<br />
รูปธรรมแนวคิดสำคัญของอิโตะ 2 ประการ ประการแรก คือ ญี่ปุ่น<br />
คือเจ้าเอเชีย สัญลักษณ์คือหน้าบันมุขกลางประดับรูปเบญจมาศ<br />
16 กลีบสัญลักษณ์แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นภายในซุ้มโค้งเกือกม้าแบบ<br />
วัดถ้ำอชันตารายล้อมด้วยสถูปของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />
ประการที่ 2 คือ อารยธรรมญี่ปุ่นสืบสายมาจากเผ่าอารยันคือกรีก<br />
ผ่านอินเดีย จีน และมาถึงญี่ปุ่นในที่สุด ทั้งหมดนี้คือสายการ<br />
วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม<br />
และกาลเวลา และตอบสนองอุดมการณ์วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชีย<br />
บูรพาของญี่ปุ่น แต่น่าเสียดายว่าการแปลทฤษฎีวิวัฒนาการของ<br />
อิโตะมาสู่การออกแบบนั้นไม่ได้ก้าวจากอดีตไปสู่อนาคต แต่ก้าว<br />
จากอดีตไปสู่อดีตที่เก่ากว่า<br />
สถาปัตยกรรมมงกุฎจักรพรรดิช่วงที่ 2 อาคารผังรูปตัว E<br />
ที่คลุมด้วยหลังคาแบบวัดญี่ปุ่นโบราณก้าวมาถึงจุดนิยมสูงสุด<br />
ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 จนถึงสิ ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2<br />
เพราะสังคมลงความเห็นว่านี่คืออาคารที่เป็นตัวแทนความเป็นญี่ปุ่น<br />
ทางสถาปัตยกรรมอย่างแท้จริง อาคารแบบนี้เริ่มด้วยศาลาว่าการ<br />
จังหวัดคานากาว่า (1928) เป็นอาคารผังแบบคลาสสิครูปสี่เหลี่ยม<br />
ผืนผ้าล้อมสนามภายใน 2 สนาม มุขกลางยื่นและมีหอคอยกลาง<br />
378 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน พิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว (1931)<br />
ล่าง กองบัญชาการทหารบก (1934)<br />
อาคาร ลักษณะอาคารเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตร<br />
ผนังอวดผิวอิฐก่อสูง 5 ชั้น จุดเด่นอยู่ที่หอคอยสูงมุงหลังคา<br />
กระเบื้องทรงปิรามิดคล้ายเจดีย์จีน หลังคาอาคารเป็นทรงปั้นหยา<br />
ยกจั่วมุงกระเบื้อง เป็นผลงานชนะเลิศการประกวดของสถาปนิก<br />
คาโร โอบิ ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคสถาปัตยกรรม 42<br />
เป็นอาคารที่ได้รับเกียรติมาเยือนโดยรัฐมนตรีกระทรวงวังโดย<br />
พระราชดำริของจักรพรรดิใน ค.ศ. 1931 จึงไม่แปลกที่หลังจากนั้น<br />
รัฐบาลจะมีนโยบายว่า “ต้องการแบบลักษณะที่ซึมซาบไปด้วย<br />
สาระสำคัญแห่งชาติ” ที่ไม่ได้ระบุรูปธรรม ดังนั้นอาคารหลังนี้จึง<br />
เป็นต้นแบบให้กับอาคารที่ว่าการจังหวัดอีกหลายแห่งตลอด<br />
ทศวรรษที่ 1930 เช่น นาโกย่า (1933) และไอชิ (1935) เป็นต้น<br />
รวมทั้งอาคารระดับชาติอีก 2 โครงการคือ พิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว<br />
อูเอโน (1931) โดยวาตานาเบ จิน ที่ออกแบบภายใต้เงื่อนไขว่า<br />
“มีรูปแบบตะวันออกที่เป็นรสนิยมแบบญี่ปุ่น ดังนั้นมันจึงจะรักษา<br />
ความกลมกลืนกับศิลปะวัตถุของพิพิธภัณฑ์ได้” แต่รูปธรรมก็คือ<br />
มีผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวล้อมรอบสนามภายใน 2 สนาม ลักษณะ<br />
อาคารทรงสี่เหลี่ยมที่มีหลังคาแบบวัดญี่ปุ่นโบราณ อีกโครงการ<br />
หนึ่ง คือ กองบัญชาการทหารบก (1934) เป็นแบบชนะประกวด<br />
โดยโอโน ทาเคโอและคาวาโมโต เรียวอิชิ เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม<br />
ที่พยายามเจาะช่องหน้าต่างหลายแบบเหมือนอาคารสมัยใหม่<br />
เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมผืนผ้า หน้าต่างยาวเรียวเรียงเป็นแถว<br />
ในแนวตั้ง เป็นต้น แต่ที่ชั้นดาดฟ้ากลับเป็นที่ตั้งของอาคารทรง<br />
หลังคาจั่วมีปีกนกแบบวัดญี่ปุ่นโบราณที่มุมอาคาร2 ข้าง ที่ดูเหมือน<br />
พระราชวังหลวงในกรุงปักกิ่งมากกว่าวิหารญี่ปุ่นที่สร้างด้วยไม้<br />
อาคารมงกุฎจักรพรรดิในยุครุ่งเรืองที่สุดของทศวรรษที่<br />
1930 ยังไม่มีแนวคิดและรูปแบบอะไรใหม่เลยจากที่เอนเดอร์และ<br />
บ๊อคมานน์เสนอแบบร่างรัฐสภาแบบที่2 ที่เป็นผังคลาสสิคหุ้มด้วย<br />
ผนังอาคารแบบลูกผสมและครอบหลังคาจีนให้กับรัฐบาลญี่ปุ่น<br />
ใน ค.ศ. 1887 เวลาเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านไปไม่ได้ให้คำตอบ<br />
อะไรใหม่แก่สถาปนิกญี่ปุ่น นอกจากว่าการหมกมุ่นกับรูปทรงจาก<br />
อดีตนั้นไม่ได้ให้อะไรนอกจากอดีตที่แย่กว่าเก่าเท่านั้น<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
379
สถาปัตยกรรมไทยทวิลักษณ์ในสยาม: สมัยใหม่คู่แบบโบราณ<br />
สยามตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ซึ่งเป็นปีแรกในรัชกาลพระบาท<br />
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เป็นช่วง<br />
แห่งความยุ่งยากทางเศรษฐกิจที่นำไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลง<br />
การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น<br />
ประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1932 ก่อนการปฏิวัติพระราชอุดมการณ์<br />
ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ของรัชกาลที่ 6 เริ่มซาเพราะปัญหาเศรษฐกิจ<br />
ที่ประชาชนสนใจมากกว่า สถาปัตยกรรมแบบไทยในช่วงนี้จึงไม่ได้<br />
ถูกผลักดันด้วยลัทธิชาตินิยม แต่ด้วยลัทธิทุนนิยมและวัฒนธรรม<br />
ความทันสมัยมากกว่า ลัทธิชาตินิยมถูกใช้ปลุกระดมมวลชนอีกครั้ง<br />
หลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1932 รัฐบาลประกาศแนวทางที่ “จะรักษา<br />
และส่งเสริมศิลปกรรมของไทยเพื่อให้เป็นที่เชิดชูเกียรติและ<br />
380 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
วัฒนธรรมของชาติ จะใช้ศิลปกรรมไทยเป็นอุปกรณ์ในการอบรม<br />
ประชาชน ทั้งในทางความรู้และคุณภาพทางใจ จะใช้ศิลปกรรมให้<br />
เป็นอุปกรณ์การเศรษฐกิจแห่งชาติ” 43 ผู้นำแนวคิดนี ้ที ่สำคัญคือ<br />
หลวงวิจิตรวาทการหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ที่ผลักดันให้ตั้งกรม<br />
ศิลปากรขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1934 เพื่อใช้หน่วยงานนี้เป็นแนวรบ<br />
ทางวัฒนธรรมของรัฐบาลคณะราษฎร ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ<br />
เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี<br />
ใน ค.ศ. 1939 และเริ่มนโยบายชาตินิยมเชื้อชาติไทย ในช่วง<br />
ระหว่าง ค.ศ. 1939-1942 เขาได้ประกาศ “รัฐนิยม” 12 ฉบับ ระบุ<br />
รูปธรรมของชาติที่ต้องเคารพ หน้าที่ที่คนไทยต้องปฏิบัติเพื่อชาติ<br />
วัฒนธรรมอันดีงามที่พึงปฏิบัติดังนี้เป็นต้นเพื่อสร้างยุคสมัยใหม่<br />
ของประเทศไทยที่เจริญก้าวหน้าและศิวิไลซ์ อย่างไรตามแนวทาง<br />
ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้นไม่มีอะไรที่ไม่ใช่การดัดแปลง<br />
พระราชอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ของรัชกาลที่ 6 เลย<br />
เพียงแต่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับเวลาที่เปลี่ยนไปเท่านั้นแต่ในทาง<br />
สถาปัตยกรรมมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ สถาปัตยกรรมแนว<br />
อนุรักษ์นิยมสร้างสรรค์ตั้งแต่ก่อนทศวรรษ 1910 ของสมเด็จฯ<br />
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้พัฒนามาเป็นสถาปัตยกรรม<br />
ไทยสมัยใหม่ที่น่าทึ่งโดยพระพรหมพิจิตร ศิษย์ที่ใกล้ชิดของ<br />
พระองค์ในทศวรรษ 1930 ต่อต้นทศวรรษ 1940 ที่กระแสชาตินิยม<br />
เชื้อชาติไทยกำลังครอบงำสังคมไทย<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม (1930)<br />
ล่าง ปฐมบรมราชานุสรณ์ (1932)<br />
สถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1925 เริ่มมีพัฒนาการ<br />
ใหม่ๆ เกิดขึ้น ด้านหนึ่งเพราะสังคมสยามเปลี่ยนเป็นทุนนิยม<br />
รับวัฒนธรรมสมัยใหม่มากขึ้น อีกด้านหนึ่งเศรษฐกิจตกต่ำจาก<br />
ผลกระทบของระบบเศรษฐกิจโลกทำให้การลงทุนก่อสร้างเป็นไป<br />
อย่างประหยัดรัดกุม รวมทั้งการเผยแพร่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ที่เรียบง่ายไร้ลวดลายของสถาปนิกไทยกลุ่มใหม่ที่สำเร็จการศึกษา<br />
จากยุโรป เราจึงเห็นโบสถ์วัดพระปฐมเจดีย์ (1930) ออกแบบ<br />
โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีลักษณะเป็น<br />
โบสถ์คอนกรีตสี่เหลี่ยมเรียบง่าย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป<br />
ประธานในคูหาแยกต่างหากที่น่าจะมาจากแนวคิดพุทธเถรวาท<br />
โบราณ ลวดลายประดับเกือบจะไม่มีและเป็นเพียงทรงเรขาคณิต<br />
หล่อด้วยคอนกรีตแทนการปั้นด้วยมือ ความจริงสมเด็จฯ เจ้าฟ้า<br />
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเคยออกแบบพระอุโบสถวัด<br />
ราชาธิวาสราชวรวิหารร่วมกับวิศวกรอิตาเลียนเป็นแบบคอนกรีต<br />
ที่สร้างสรรค์มาแล้ว การออกแบบให้เรียบขึ้นไปอีกจึงไม่ใช่เรื่อง<br />
ยากสำหรับพระองค์ ใน ค.ศ. 1932 ทรงออกแบบฉากหลังพระปฐม<br />
บรมราชานุสรณ์ที่สะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ลักษณะเป็นกำแพง<br />
3 ตอนช่วงกลางสูงริม 2 ข้างลดชั้น กำแพงตอนกลางทำเป็นซุ้ม<br />
เว้าลึกเข้าไป เน้นซุ้มด้วยกรอบโครงสร้างวางบนเสา ด้านบนกำแพง<br />
ทำหลังคามีซุ้มจั่วขนาดเล็กตรงกลาง ผิวส่วนโครงสร้างประดับ<br />
ลวดลายหล่อคอนกรีตแบบคลาสสิคปนไทย ผิวผนังทั่วไปเป็น<br />
ลายแถบ เป็นสถาปัตยกรรมคอนกรีตที่มีลักษณะไทย ผสม<br />
คลาสสิคและอาร์ตเด็คโค และเป็นงานสำคัญชิ้นสุดท้ายในสมัย<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กล่าวได้ว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />
นริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นสถาปนิกไทยที ่ริเริ่มสถาปัตยกรรมไทย<br />
แนวอนุรักษ์นิยมเชิงสร้างสรรค์มาตั้งแต่ก่อนทศวรรษที่ 1910<br />
สืบเนื่องมาถึงทศวรรษ 1930 ทรงเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน<br />
ประสบการณ์ทรงงานร่วมกับสถาปนิก วิศวกรอิตาเลียนและได้<br />
ทรงถ่ายทอดความรู้ให้กับพระพรหมพิจิตรศิษย์ผู้ถวายงานใกล้ชิด<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
381
หลวงวิศาลศิลปกรรม เคยร่วมงานกับสถาปนิกอังกฤษ<br />
เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ในการเขียนแบบตึกโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (1915-<br />
1917) ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1917) ได้ออกแบบ<br />
ตึกคณะวิทยาศาสตร์ใน ค.ศ. 1926-1927 ในแบบกึ่งสร้างสรรค์<br />
ผังอาคารรูปตัว U สูง 2 ชั้นทรงสี่เหลี่ยมมีมุขที่ริม2 ข้าง หลังคามุข<br />
ทั้ง 2 เป็นทรงจั่วมุงกระเบื้องเหมือนหลังคาทรงปั้นหยาของอาคาร<br />
กลางที่เชื่อมมุขไม่มีการประดับเครื่องหลังคาใดๆ ทั้งสิ้นตรงข้าม<br />
กับตึกบัญชาการอย่างสิ้นเชิงที่สร้างเหมือนโบสถ์หรูหรา ส่วนอาคาร<br />
หลังนี ้ดูเหมือนกุฏิปูนเรียบๆ ที่ขยายส่วนแบบสมัยรัชกาลที่ 3<br />
หอนาฬิกาโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (1929) เป็นงานกึ่งสร้างสรรค์<br />
ที่น่าสนใจ ผังรูปสี่เหลี่ยมมีเสา 4 ต้น สูง 2 ชั้นลดหลั่น จุดเด่นคือ<br />
หลังคาจตุรมุขที่มีหน้าบันวงกลมปลายยอดแหลมติดตั้งนาฬิกา<br />
เต็มหน้าบัน มีปั้นลมใบระกาลายใบเทศคอนกรีตหล่อล้อมรอบ<br />
ทรงคล้ายประตูวัดถ้ำอชันตาและหน้าต่างศิลปะแบบอาร์ตนูโว<br />
ในเวลาเดียวกัน การใช้ลายคอนกรีตหล่อที่พยายามคงความ<br />
ละเอียดลออแบบงานปูนปั้นโบราณเป็นความย้อนแย้งของการใช้<br />
วัสดุใหม่ในแบบงานช่างโบราณของงานนี้<br />
พระพรหมพิจิตร เป็นนักเรียนช่างเขียนกรมโยธาธิการ<br />
ใน ค.ศ. 1904 ต่อมาได้รับการบรรจุเป็นช่างเขียนของกรมโยธาธิการ<br />
ใน ค.ศ. 1907 44 ในสมัยที่กองอินยิเนียและแบบอย่างมีวิศวกร<br />
สถาปนิกชาวอิตาเลียนถึง 11 คน และช่างเขียนแบบญี่ปุ่น 1 คน<br />
จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะมีพื้นฐานการเขียนแบบที่ดีอย่างตะวันตก<br />
จากผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น ต่อมาเขาได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของสมเด็จฯ<br />
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตรสร้างความ<br />
ประหลาดใจให้ผู้คนด้วยการออกแบบหอระฆังวัดยานนาวา (1934)<br />
ต้อนรับยุคประชาธิปไตยที่ยังไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานชิ้นนี้<br />
หอนาฬิกา โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย<br />
(1929)<br />
หน้าตรงข้าม<br />
บน หอระฆังวัดยานนาวา (1934)<br />
ล่าง ตึกคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์<br />
มหาวิทยาลัย (1927-1928)<br />
382 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ของเขา หอระฆังคอนกรีตสูง 2 ชั้น ที่มีเสามุม 4 ต้นขนาดใหญ่<br />
ถึง 1 ใน 3 ของความกว้างผนัง หลังคาเป็นซุ้มบันแถลงแบบจตุรมุข<br />
ประดับยอดเจดีย์ทรงระฆัง 8 เหลี่ยมอ้วนเตี้ย การประดับประดา<br />
มีน้อยและเรียบง่ายจนดูได้ว่าหยาบอย่างตั้งใจ เป็นการออกแบบ<br />
ที่ท้าทายขนบโบราณอย่างน่าทึ่งจนเรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทย<br />
สมัยใหม่ได้โดยไม่ลังเล ใน ค.ศ. 1937 พระพรหมพิจิตรได้รับ<br />
มอบหมายจากกรมศิลปากรให้ออกแบบศาลาสยามในงานแสดง<br />
นิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิคสมัยใหม่แห่ง<br />
กรุงปารีส ค.ศ. 1937 ในงานนี้เขาหันกลับไปลอกแบบพระที่นั่ง<br />
ไอศวรรย์ทิพยอาสน์ที่พระราชวังบางปะอินที่เป็นศาลาไม้โถง<br />
ทรงจตุรมุขยอดปราสาทมาเป็นศาลาสยาม ตามแนวการแสดง<br />
อัตลักษณ์ของราชการสยามตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ว่าเขาจะ<br />
เต็มใจทำงานในลักษณะโบราณแบบนี้มากน้อยเพียงไรแต่มันก็ชี้<br />
ให้เห็นลักษณะการทำงานแบบทวิลักษณ์ของเขาซึ่งจะปรากฏให้<br />
เห็นอีก หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1939) พระพรหมพิจิตร<br />
ร่วมกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ออกแบบหอประชุมของ<br />
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ด้วยวิธีที่อาจดูแปลกสำหรับยุคนี้<br />
กล่าวคือ พระสาโรชรัตนนิมมานก์ในฐานะสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ<br />
ในการวางผังอาคารพิเศษที่ต้องการระบบเสียงที่ดีและโครงสร้าง<br />
หลังคาแบบพาดช่วงกว้างรับหน้าที่วางผังทั้งหมด ส่วนพระพรหม<br />
พิจิตรผู้เชี่ยวชาญสถาปัตยกรรมไทยมีหน้าที่ออกแบบหลังคา<br />
รูปทรงและองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยให้กลมกลืนสอดรับกับ<br />
ผังสมัยใหม่ รูปทรงของหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมี<br />
ลักษณะผสมกัน ผนังของหอประชุมเป็นแบบสมัยใหม่เรียบเกลี้ยง<br />
ไร้สิ่งประดับใดๆ ตรงข้ามกับมุขหน้าและหลังซึ่งเป็นโถงทางเข้า<br />
ออกกลับประดับด้วยเสาวางเรียงเป็นแถวแบบไทย จุดเด่นที่สุดคือ<br />
หลังคาทรงจั่วลดชั้นอิทธิพลศิลปะเขมรที่มีการไล่ขนาดจากใหญ่<br />
ไปหาเล็ก สะท้อนอิทธิพลงานบูรณะพระอุโบสถวัดราชาธิวาส<br />
ราชวรวิหารของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ซึ่ง<br />
เป็นงานสถาปัตยกรรมไทยอนุรักษ์นิยมเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างด้วย<br />
คอนกรีตรุ่นแรกเมื่อ 3 ทศวรรษก่อน แต่ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
383
มหาวิทยาลัยนี้เป็นอาคารประโยชน์ใช้สอยสมัยใหม่ที่ต้องการ<br />
อัตลักษณ์โบราณในเวลาเดียวกัน แม้ว่าความขัดแย้งของรูปทรง<br />
เก่ากับประโยชน์ใช้สอยใหม่ประสานกลมเกลียวไปด้วยกันได้แต่<br />
ไม่น่าจะเป็นงานสร้างสรรค์อะไรใหม่จริง เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ<br />
วรวิหาร บางเขน (1941) พระพรหมพิจิตรออกแบบวัดนี้ใหม่<br />
ทั้งวัดในชื่อเดิมว่าวัดประชาธิปไตย ตามความประสงค์ของรัฐบาล<br />
จอมพล ป. พิบูลสงครามที่ต้องการให้วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งการ<br />
เปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ. 1932 ของคณะราษฎร แต่ได้เปลี่ยน<br />
ชื่อเป็นวัดพระศรีมหาธาตุเมื่อรัฐบาลไทยได้รับมอบพระบรม<br />
สารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิ์จากประเทศอินเดียมา<br />
ประดิษฐานลงในพระเจดีย์และปลูกลงในบริเวณวัด สถาปัตยกรรม<br />
สำคัญของวัดคือพระเจดีย์องค์ใหญ่หน้าวัดซึ่งเป็นเจดีย์คอนกรีต<br />
เรียบเกลี้ยงไร้ลวดลาย แม้กระทั่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรม<br />
ทั้งหมดก็ถูกลดทอนและแปลงรูปเป็นรูปทรงเรขาคณิต ภายในองค์<br />
ระฆังเป็นโถงทรงโดมขนาดใหญ่ ประดิษฐานพระเจดีย์เล็กย่อส่วน<br />
จากพระเจดีย์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผนังเจดีย์ทำช่อง<br />
กรุบรรจุอัฐิบรรดาสมาชิกระดับแกนนำของคณะราษฎร การนำ<br />
บน ศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการ<br />
นานาชาติ กรุงปารีส 1937<br />
ล่าง หอประชุมจุฬาลงกรณ์<br />
มหาวิทยาลัย(1939)<br />
384 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร<br />
บางเขน (1941)<br />
เจดีย์ใหญ่มาไว้หน้าวัดเป็นการประกาศอุดมการณ์ความเสมอภาค<br />
และไร้ชนชั้นของลัทธิประชาธิปไตยที่มีร่วมกับศาสนาพุทธ การใช้<br />
ศิลปะแบบสมัยใหม่ที่ไร้การตกแต่งเป็นการปฏิเสธลัทธิพราหมณ์<br />
ฮินดูที่เป็นรากฐานของลัทธิสมมติเทวราชเมื่อพิจารณาในแนวคิดนี้<br />
พระเจดีย์องค์นี้จึงเป็นสัญลักษณ์และอนุสรณ์ของการเปลี่ยนแปลง<br />
ทางการเมืองครั้งสำคัญของไทย พิจารณาในการออกแบบพระเจดีย์<br />
นี้นับเป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่อีกแห่งหนึ่งต่อจากหอระฆัง<br />
วัดยานนาวาที่ออกแบบรูปทรงท้าทายขนบโบราณได้อย่างน่าทึ่ง<br />
อย่างไรก็ตามเมื่อมองภาพรวมทั้งหมดของวัดพระศรีมหาธาตุ<br />
บางเขน เราจะเห็นความขัดแย้งของรูปแบบสถาปัตยกรรมในวัดนี้<br />
อย่างรุนแรงระหว่างพระเจดีย์แบบไทยสมัยใหม่องค์นี้กับพระอุโบสถ<br />
ที่พระพรหมพิจิตรจำลองแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรที่เป็น<br />
การผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณ โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />
นริศรานุวัดติวงศ์ แสดงการทำงานแบบทวิลักษณ์ของพระพรหม<br />
พิจิตรอีกครั้งหนึ่งเหมือนการออกแบบที่ขัดแย้งที่เราเห็นจาก<br />
หอระฆังวัดยานนาวากับศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการ<br />
นานาชาติแห่งกรุงปารีสที่กล่าวมาแล้ว และถ้าหากจะดูผลงานของ<br />
พระพรหมพิจิตรทั้งหมดจะเห็นว่าพระพรหมพิจิตรทำงานทั้งแบบ<br />
โบราณและแบบสมัยใหม่ควบคู่กันไปตามเหตุผลความจำเป็น<br />
มากกว่าอิงกับทฤษฎีออกแบบใดๆ<br />
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
ลัทธิชาตินิยมยังเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของการสร้าง<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่3 ยุคโชวะในทศวรรษที่1930-1940<br />
นั้นคือจุดสูงสุดของลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง สถาปนิกชาตินิยม<br />
ยังทำหน้าที่สำคัญต่อไปด้านหนึ่งคือหาอัตลักษณ์ของตนเอง<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
385
อีกด้านหนึ่งหารูปแบบสากลสำหรับเอเซียที่สร้างสรรค์โดยญี่ปุ่น<br />
สำหรับประเด็นแรกช่วงนี้พวกเขามั่นใจแล้วว่าสถาปัตยกรรม<br />
มงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิคือคำตอบของอัตลักษณ์ทาง<br />
สถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น งานแบบนี้ที่เริ่มในรัชกาลก่อนมาถึง<br />
รัชกาลนี้มันกลายเป็นต้นแบบของอาคารราชการสำคัญไปแล้ว<br />
โดยเฉพาะศาลาว่าการจังหวัดทั้งหลาย เช่น คานากาว่า นาโกย่า<br />
และไอชิ เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐมนตรีกระทรวงวังมาเยี่ยมชม<br />
ถึงที่อย่างชื่นชมจึงเป็นตราประทับรับรองความเป็นสถาปัตยกรรม<br />
แห่งชาติของอาคารนี้ที่อาคารสำคัญระดับชาติอื่นๆ ต้องเดินตาม<br />
รอยนั่นคือการมีหลังคาแบบญี่ปุ่นโบราณครอบลงบนอาคารทรง<br />
สี่เหลี่ยมแบบตะวันตก ซึ่งทางการเชื่อว่า “ซึมซาบไปด้วยสาระ<br />
สำคัญแห่งชาติ” ดังได้ปรากฏเป็นรูปธรรมในการสร้างพิพิธภัณฑ์<br />
หลวงโตเกียว อูเอโน (1931) และกองบัญชาการทหารบกโตเกียว<br />
(1934) ประเด็นสำคัญของอาคารแบบนี้ในช่วงเวลานี้ไม่ใช่คุณค่า<br />
ทางสถาปัตยกรรมที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่มันก่อก ำเนิดขึ้น<br />
ในสมัยเมจิ แต่เป็นอิทธิพลที่มีต่อวัฒนธรรมการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมในช่วงระบอบเผด็จการทหารครอบครองญี่ปุ่นใน<br />
ช่วงทศวรรษ 1930-1940 ที่มันสามารถหมุนกงล้อการออกแบบ<br />
ให้ย้อนกลับไปหารูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณเพื่อมารับใช้<br />
อุดมการณ์เชื้อชาตินิยมและการเป็นจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่น<br />
ส่วนสถาปัตยกรรมชาตินิยมเชิงสัญลักษณ์ตามทฤษฎีวิวัฒนาการ<br />
ของอิโตะ ชูตะก็พัฒนามาถึงจุดสูงสุดในช่วงนี้เช่นกันอนุสรณ์สถาน<br />
เหยื่อแผ่นดินไหวคันโตแห่งมหานครโตเกียว (1930) เป็นการสร้าง<br />
เปลือกแบบญี่ปุ่นที่หุ้มไปบนผังและพื้นที่ว่างแบบสถาปัตยกรรมไทย<br />
ผสมยุโรปยุคกลาง สถูปโชเกียวเด็นแห่งวัดฮอกเกเกียวจิ (1931)<br />
เมืองอิชิกาวา เป็นสถูปแบบคันธารราชแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิค<br />
ผสมอินเดียที่ประณีต สะท้อนความเชื่อของอิโตะว่ามรดก<br />
สถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดของงานพุทธศิลป์คืองานแบบอินเดีย<br />
ที่มีรากของคลาสสิค วัดซึกิจิฮองกวานจิ โตเกียว (1934) เป็น<br />
บทสรุปของสถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการของอิโตะ เขาได้สร้าง<br />
สถาปัตยกรรมสากลสำหรับเอเชียที่สร้างสรรค์และนำโดยญี่ปุ่น<br />
โดยรูปธรรมอิโตะได้รวบรวมเอาสถาปัตยกรรมโบราณทั้งหลาย<br />
ในโลกไม่ว่าจะเป็นกรีก-โรมันของโลกตะวันตก หรืออินเดีย จีน<br />
ทิเบต ศรีลังกาแม้กระทั่งไทยจากโลกตะวันออกมารวมเข้ากันไว้ใน<br />
ผังแบบคลาสสิค ห้อมล้อมหน้าบันมุขกลางที่ประดับดอกเบญจมาศ<br />
16 กลีบสัญลักษณ์แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าจะเป็นงานที่ดูน่าทึ่ง<br />
ทีเดียวแต่ว่าในที่สุดทฤษฎีวิวัฒนาการของเขาไม่ได้ก้าวจากอดีต<br />
เพื่อไปหาอนาคต แต่ก้าวจากอดีตไปสู่อดีตที่เก่ายิ่งกว่า<br />
ลัทธิชาตินิยมไม่ใช่พลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างสถาปัตย-<br />
กรรมไทยในสยามช่วงทศวรรษ 1930-1940 ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง<br />
รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่น ำเข้าโดยกลุ่มสถาปนิกไทยรุ่นใหม่<br />
จากยุโรปและการใช้วัสดุคอนกรีตอย่างแพร่หลายในการก่อสร้าง<br />
ทำให้สถาปนิกพื้นเมืองไทยกลุ่มหนึ่งนำโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้า<br />
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และพระพรหมพิจิตรผู้เป็นศิษย์<br />
สามารถใช้พลังสร้างสรรค์แบบปัจเจกสร้างสถาปัตยกรรมไทย<br />
แบบใหม่ขึ้นมาได้ สถาปนิกกลุ่มนี้ไม่ได้ผ่านการศึกษาจากสถาบัน<br />
การศึกษา แต่ฝึกฝนด้วยตนเองและได้รับอิทธิพลผ่านการ<br />
ทำงานจากกลุ่มสถาปนิก วิศวกรต่างชาติที่รัฐบาลสยามจ้างในสมัย<br />
รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ผลงานของพวกเขาจึงเป็นอิสระ<br />
และแตกต่างจากงานสถาปัตยกรรมกระแสหลักร่วมสมัยจากต่าง<br />
ประเทศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงริเริ่ม<br />
ออกแบบอาคารคอนกรีตที่เรียบเกลี้ยงที่วัดพระปฐมเจดีย์ (1930)<br />
ต่อจากนั้นทรงออกแบบฉากหลังปฐมบรมราชานุสรณ์ที่สะพานพุทธ<br />
ยอดฟ้าจุฬาโลก (1932) ประกอบพระบรมรูปพระบาทสมเด็จ<br />
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฝีมือประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี ฉากนี้<br />
เป็นกำแพงตกแต่งแบบคลาสสิคที่มีรายละเอียดเป็นแบบไทย<br />
และอาร์ตเด็คโคที่สวยงาม แต่เป็นรองในเชิงสร้างสรรค์เมื่อเทียบ<br />
กับวัดพระปฐมเจดีย์และเป็นงานสำคัญชิ้นสุดท้ายในระบอบ<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ หลวงวิศาลศิลปกรรมออกแบบตึกคณะ<br />
วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในแบบไทยที่เรียบง่าย<br />
เหมือนกุฏิปูนสมัยรัชกาลที่ 3 ขนาดใหญ่ รวมทั้งหอนาฬิกา<br />
386 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (1929) ในแบบวัดอชันตาผสมอาร์ตนูโว<br />
ประดับลวดลายคอนกรีตหล่อที่มีปลายเรียวเล็กเหมือนงานไม้สลัก<br />
เป็นการใช้วัสดุใหม่ที่ไม่ตรงกับศักยภาพงานของหลวงวิศาล<br />
ศิลปกรรมจึงจัดอยู่ในประเภทกึ่งสร้างสรรค์กึ่งผลิตซ้ำ พระพรหม<br />
พิจิตรออกแบบหอระฆังวัดยานนาวา (1934) เป็นคอนกรีตทั้งหลัง<br />
เรียบง่ายและทรงพลังจนเรียกได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่<br />
เมื่อเริ่มรัชสมัยรัชกาลที ่ 8 ใน ค.ศ.1935 รัฐบาลคณะราษฎร<br />
เริ่มนโยบายชาตินิยมและพัฒนาเป็นชาตินิยมเชื้อชาติไทยภายใต้<br />
การบริหารอันเด็ดขาดของจอมพล ป. พิบูลสงครามระหว่าง<br />
ค.ศ.1939-1944 รัฐบาลริเริ่มโครงการสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
รูปแบบไทยขึ้นหลายโครงการแต่ไม่เคยได้สร้างเลย งานที่สร้างเสร็จ<br />
แม้จะมีรูปแบบไทยแต่กลับไม่ใช่งานที่มีแนวคิดชาตินิยมเกื้อหนุน<br />
ศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิค<br />
สมัยใหม่แห่งกรุงปารีส (1937) เป็นงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย<br />
เชิงอนุรักษ์ พระพรหมพิจิตรออกแบบร่วมกับหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม<br />
กฤดากร คราวนี้เขากลับไปจำลองแบบพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์<br />
มาสร้างใหม่เท่านั้น ตามแนวศาลาไทยของราชสำนักสยามตั้งแต่<br />
สมัยรัชกาลที่ 4 โดยไม่สนใจคำว่าสมัยใหม่ของนิทรรศการระดับ<br />
โลกนี้เลย หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1939) พระพรหม<br />
พิจิตรร่วมกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ออกแบบอาคารลูกผสม<br />
ระหว่างไทย เขมร และสมัยใหม่รวมเข้าด้วยกันอย่างพอไปกันได้<br />
เห็นได้ชัดถึงอิทธิพลงานออกแบบบูรณะวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร<br />
ในสมัยรัชกาลที่5 ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />
แต่งานโครงการนี้ไม่น่าจะเป็นงานสร้างสรรค์อะไรใหม่จริงพระพรหม<br />
พิจิตรได้ออกแบบสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่อีกที่เจดีย์วัดพระ<br />
ศรีมหาธาตุ บางเขน (1941) ในรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายไม่มี<br />
ลวดลายเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร<br />
ใน ค.ศ.1932 เป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงความตั้งใจในการท้าทาย<br />
ขนบเดิมอีกครั้งหนึ่ง<br />
เรายังคงสามารถแยกสถาปัตยกรรมชาตินิยมช่วงที่ 3 ของ<br />
ทั้งญี่ปุ่นและสยามได้เป็น 2 ระดับคือ งานผลิตซ้ำสถาปัตยกรรม<br />
โบราณและงานสถาปัตยกรรมสร้างสรรค์หรือระดับเชิงสัญลักษณ์<br />
อาคารแบบมงกุฎจักรพรรดิในญี่ปุ่นเช่น ศาลากลางจังหวัดคานากาว่า<br />
(1928) พิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว อูเอโน (1931) กองบัญชาการ<br />
ทหารบก (1934) รวมทั้งอนุสรณ์เหยื่อแผ่นดินไหวคันโตแห่ง<br />
มหานครโตเกียว (1930) โดยอิโตะ ชูตะก็ตามจัดอยู่ในกลุ่มงาน<br />
ผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณ สำหรับสยามงานกลุ่มนี้ ได้แก่<br />
ตึกคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(1926-1927)<br />
หอนาฬิกา โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย (1929) ปฐมบรมราชานุสรณ์<br />
ที่สะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (1932) ศาลาสยามในงาน<br />
แสดงนิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิคสมัยใหม่แห่ง<br />
กรุงปารีส ค.ศ. 1937 และหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
(1939) เป็นต้น ส่วนงานระดับสร้างสรรค์หรืองานเชิงสัญลักษณ์<br />
นั้นในญี่ปุ่น ได้แก่ สถูปโชเกียวเด็น แห่งวัดฮอกเกเกียวจิ (1931)<br />
เมืองอิชิกาวา และวัดซึกิจิฮองกวานจิ โตเกียว (1934) ทั้งคู่เป็น<br />
สถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการของอิโตะ ชูตะ ส่วนในสยามงาน<br />
กลุ ่มนี้ ได้แก่ พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ (1930) จังหวัดนครปฐม<br />
หอระฆังวัดยานนาวา (1934) และเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน<br />
(1941) เป็นต้น การแยกแยะนี้แสดงให้เห็นว่าในช่วงทศวรรษ<br />
ที่ 1930-1940 นี้สถาปัตยกรรมแบบอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นมาก<br />
ในสยามเนื่องจากการแพร่หลายของลัทธิชาตินิยมสากลที่ได้รับการ<br />
ขานรับและพัฒนาแบบปัจเจกจากกลุ่มสถาปนิกพื้นเมืองที่นำโดย<br />
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระพรหมพิจิตร<br />
และหลวงวิศาลศิลปกรรม รวมทั ้งการที่มีสถาปนิกรุ่นใหม่ของ<br />
สยามที่ศึกษาจากยุโรปกลับเข้ามาในประเทศพร้อมกันหลายคน<br />
คนพวกนี้ได้นำพลังการสร้างสรรค์แบบใหม่มาเผยแพร่ให้กับ<br />
สถาปนิกพื้นเมืองจนสามารถร่วมกันสร้างสถาปัตยกรรมอนุรักษ์<br />
นิยมแบบใหม่ที่มีลักษณะผสมระหว่างตะวันตกและไทยได้มากขึ้น<br />
อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจว่าสถาปนิกพื้นเมืองไทยมีลักษณะการ<br />
ออกแบบทวิลักษณ์ คือ การออกแบบ 2 แนวทางในเวลาเดียวกัน<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
387
ทั้งแบบไทยโบราณและแบบไทยสมัยใหม่ควบคู่กันไปดังเช่น<br />
พระพระพรหมพิจิตรออกแบบเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน<br />
เป็นไทยสมัยใหม่ ขณะเดียวกันก็ออกแบบพระอุโบสถที่อยู่ติดกัน<br />
เป็นแบบไทยโบราณ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะสถาปนิกไทยไม่ใช้ทฤษฎี<br />
เป็นฐานในการออกแบบแต่ใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ การใช้<br />
รูปแบบจึงสามารถแปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลาแล้วแต่สถานการณ์<br />
แต่ประเด็นสำคัญที่เป็นความก้าวหน้าในการออกแบบของสถาปนิก<br />
แนวอนุรักษ์นิยมเหล่านี ้ คือ ความสามารถในการก้าวข้ามกรอบ<br />
การออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแบบผลิตซ้ำ ซึ่งริเริ่มมาตั้งแต่<br />
สมัยรัชกาลที ่ 5 และลงรากลึกในสมัยรัชกาลที่ 6 มาเป็น<br />
สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ได้ด้วยตัวเอง เช่น งานพระอุโบสถ<br />
วัดพระปฐมเจดีย์ (1930) หอระฆังวัดยานนาวา (1934) และเจดีย์<br />
วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน (1941) เป็นต้น เป็นการตีความ<br />
สถาปัตยกรรมไทยใหม่แบบปัจเจกที่ไม่ต้องพึ่งพาการชี้นำโดยตรง<br />
จากสถาปนิกต่างชาติ การออกแบบสถาปัตยกรรมโบราณโดยใช้<br />
ไวยกรณ์ออกแบบของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อย่างนี้มีพบน้อย<br />
ในเอเชียตะวันออก แม้กระทั่งในญี่ปุ่นก็จะเห็นเฉพาะในงานแบบ<br />
ชาตินิยมช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของทังเงะ เคนโซเท่านั้น<br />
สำหรับญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1930-1940 นั้นปัญหากลับตรงข้าม<br />
กับสยาม พลังสร้างสรรค์ของสถาปนิกชาตินิยมมาถึงจุดอิ่มตัว<br />
ลัทธิชาตินิยมสุดโต่งในสังคมเองได้ตีกรอบรูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
ชาตินิยมไว้อย่างคับแคบที่แบบมงกุฎจักรพรรดิที่ล้าหลังเป็นผลให้<br />
สถาปัตยกรรมชาตินิยมของญี่ปุ่นพัฒนาต่อไม่ได้ ขณะเดียวกัน<br />
สถาปนิกชาตินิยมปัญญาชนอย่างอิโตะ ชูตะก็เดินมาถึงทางตัน<br />
ในการสร้างสรรค์ การออกแบบที่เอารูปแบบอาคารโบราณที่<br />
หลายหลากมาผสมรวมอยู่ในตึกเดียวที่วัดซึกิจิฮองกวานจิ(1934)<br />
หรือไม่ก็สถูปคันธารราชแบบคลาสสิคผสมอินเดียที่เคร่งขรึมของ<br />
สถูปโชเกียวเด็นแห่งวัดฮอกเกกียวจิ (1931) ดูเหมือนจะเป็น<br />
คำตอบสุดท้ายที่มีทางออกให้เลือก 2 ทางของทฤษฎีสถาปัตยกรรม<br />
แบบวิวัฒนาการของเขาที่เดินทางมากว่า 40 ปี<br />
ถึงกระนั้นก็ดีหากพิจารณาในแง่มุมของคุณภาพสถาปัตย-<br />
กรรม สถาปัตยกรรมชาตินิยมของญี่ปุ่นก็ยังมีคุณภาพเหนือกว่า<br />
สยาม อาคารไม่ว่าในระดับผลิตซ้ำแบบมงกุฎจักรพรรดิหรือ<br />
ในระดับสร้างสรรค์เชิงสัญลักษณ์แบบสถาปัตยกรรมวิวัฒนาการ<br />
ของอิโตะ ชูตะต่างได้รับการออกแบบและก่อสร้างอย่างพิถีพิถัน<br />
อันเป็นผลจากการสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานอย่างมี<br />
มาตรฐานอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่รัชสมัยเมจิ ขณะที่สยามนั้น<br />
นอกจากอาคารที่สำคัญที่สุดเพียง 1 หรือ 2 แห่งเช่นปฐมบรม<br />
ราชานุสรณ์ที่สะพานพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว อาคารส่วนใหญ่<br />
ถูกสร้างอย่างประหยัดทั้งราคาและคุณภาพอันเนื่องมาจากภาวะ<br />
เศรษฐกิจที่ฝืดเคืองตกต่ำนั่นเอง<br />
388 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมแห่งสงครามและการสร้างชาติ<br />
(ทศวรรษ 1930-1940)<br />
เนื้อหาตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งในตอนที่ว่าด้วยสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ช่วงที่ 2 (1926-1945) แต่เนื่องจากเนื้อหามีสาระว่าด้วย<br />
สถาปัตยกรรมที ่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมือง สงคราม<br />
และการสร้างชาติโดยเฉพาะ รวมทั้งลักษณะสถาปัตยกรรมก็แตกต่าง<br />
เป็นพิเศษกับงานอื่นในยุคเดียวกันจึงนำออกมาแยกเสนอโดย<br />
เฉพาะ โครงการที่จะกล่าวถึงในญี่ปุ่น ได้แก่ โครงการประกวดแบบ<br />
อนุสาวรีย์วีรชนทหาร(1939), โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรม<br />
เฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเซียบูรพา (1942)<br />
และโครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
(1943) ส่วนโครงการในประเทศไทยจะกล่าวถึง อนุสาวรีย์พิทักษ์<br />
รัฐธรรมนูญ (1936) โครงการอนุสาวรีย์ไทย (1939) อนุสาวรีย์<br />
ประชาธิปไตย (1940) และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942)<br />
ญี่ปุ่น<br />
เป้าหมายสำคัญในการสร้างชาติญี่ปุ่นตั้งแต่รัชสมัยเมจิ คือ<br />
การสร้างความเป็นใหญ่ด้วยกำลังทหารภายใต้คติพจน์“ชาติร่ำรวย<br />
การทหารเข้มแข็ง” หรือฟูโกกุเคียวไฮนั้นเป็นวัฒนธรรมโบราณ<br />
ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 ในรัชสมัยเมจินั ้นญี่ปุ่นเริ่มทำ<br />
สงครามขยายดินแดนตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เรื่อยมาตลอด<br />
ครึ่งแรกของศตวรรษที่20 ญี่ปุ่นพบว่าการทำสงครามขยายดินแดน<br />
เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สิ่งที่ต้องแลกกับความทะเยอทะยาน ได้แก่<br />
ชีวิตทหารมากมายที่สังคมลงความเห็นว่าตายอย่างมีเกียรติ<br />
เพื่อองค์จักรพรรดิการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงทหารผู้วายชนม์<br />
เพื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นอันยิ่งใหญ่จึงเกิดขึ้น และขยายเป็นโครงการ<br />
เฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา เมื่อความ<br />
ทะเยอทะยานแผ่ขยายไปเป็นความต้องการเป็นเจ้าภูมิภาคเอเชีย<br />
ตะวันออก และเสริมด้วยการแผ่ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมภายใต้<br />
โครงการนำร่องที่มีชื่อสวยหรูว่าโครงการศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
ที่ไม่บรรลุผลเพราะการแพ้พ่ายสงครามเสียก่อน การออกแบบ<br />
โครงการทั้งหมดที่กล่าวมาผู้ชนะประกวดต่างออกแบบแนวอนุรักษ์<br />
นิยม ดังนั้นเมื่อพิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมแล้ว<br />
โครงการเหล่านี้เป็นการถดถอยของแนวคิดก้าวหน้าแบบสากล<br />
นิยมสมัยใหม่ (International modern) ให้กับลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง<br />
ของสังคมญี่ปุ่นในยุคทศวรรษ 1930-1940 อย่างเป็นรูปธรรม<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
389
บน แบบชนะประกวดอนุสาวรีย์วีรชน<br />
ทหารระดับชาติ (1939)<br />
ล่าง แบบประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหาร<br />
ของเมอิคาว่า (1939)<br />
มันเป็นช่วงเวลาที่แนวคิดก้าวหน้าถูกบังคับให้ชะงักและเบี่ยงเบน<br />
ไปสู่ลัทธิชาตินิยมที่สถาปนิกกลุ่มสากลนิยมสมัยใหม่ปฏิเสธไม่ได้<br />
แม้กระทั่งผู้นำที่มั่นคงในแนวทางที่สุดคนหนึ่งอย่างเมอิคาว่า<br />
คูนิโอ ก็ยังต้องหลบและเบี่ยงแนวการแสดงออกในการออกแบบ<br />
เพื่อเอาตัวรอด ขณะที่ผู้ที่ชื่นชมหรือเกาะกระแสชาตินิยมได้อย่าง<br />
มั่นคงอย่างสถาปนิกหนุ่มทังเงะ เคนโซ จะได้รับความสำเร็จยกย่อง<br />
ชมเชยอย่างท่วมท้น<br />
โครงการประกวดแบบอนุสาวรีย์วีรชนทหาร (1939)<br />
เป็นโครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมเพื่อจุดประสงค์ใน<br />
การสนับสนุนการเมืองลัทธิชาตินิยมและลัทธิทหารโครงการแรกๆ<br />
ที่สถาปนิกกลุ ่มสากลนิยมสมัยใหม่เข้าไปมีส่วนร่วมเต็มที่ในฐานะ<br />
กรรมการผู้ตัดสินและผู้จัด การที่มีผู้ส่งงานเข้าร่วมประกวดอย่าง<br />
มากแสดงให้เห็นความเห็นชอบของประชาชนต่อลัทธิจักรวรรดิ<br />
นิยมและลัทธิทหารของสังคม เป็นเครื่องชี้วัดความเป็นรัฐสังคม<br />
ชาตินิยมเผด็จการทหารหรือฟาสซิสต์(Fascism) ของญี่ปุ่นอย่าง<br />
ชัดเจน เราจะไม่กล่าวมากนักถึงผลงานที่ชนะประกวด ซึ่งเป็นการ<br />
ดัดแปลงแท่งเสาโอเบลิสก์ตั้งบนอาคารฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชั้น<br />
390 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน ทัศนียภาพภายในอนุสาวรีย์วีรชนทหาร<br />
ล่าง แบบประกวดอนุสาวรีย์วีรชนทหารของ<br />
ซากากูระ (1939)<br />
ลดหลั่นอย่างที่ทำในยุโรป แต่จะกล่าวถึงความกล้าหาญของ<br />
สถาปนิกอย่างเมอิคาว่าและซากากูระที่เสนอผลงานแบบสากลนิยม<br />
สมัยใหม่เข้าประกวดในบรรยากาศรัฐจักรวรรดินิยมเผด็จการทหาร<br />
ญี่ปุ่นในขณะนั้น โครงการของเมอิคาว่าใหม่ทั้งรูปแบบ การจัดที่<br />
ว่างภายใน และผังพื้น เขาเสนอปิรามิดหัวตัดที่ภายในเป็นโถงโล่ง<br />
หุ้มด้วยผนังเอียงสอบและทึบตัน แต่เปิดให้แสงเข้าจากส่วนยอด<br />
สาดลงมาที่ผนังที่ตั้งอยู่บนเสาลอยตัวเรียงเป็นแถวรับรอบฐาน<br />
อาคาร เป็นการนำเสนอสถาปัตยกรรมที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับ<br />
สถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ดั้งเดิมของญี่ปุ่นประเภทวัดและศาลเจ้า<br />
ส่วนโครงการของซากากูระแม้จะดูคล้ายกับเมอิคาว่าตรงที่ใช้ปิรามิด<br />
เป็นตัวอนุสาวรีย์แต่แนวคิดในการใช้พื้นที่กลับแตกต่างตรงกันข้าม<br />
ซากากูระออกแบบให้มีวิหารที่มีเสารายแบบวิหารกรีกเป็นที่<br />
ประกอบพิธีอยู่ภายนอก ตัวปิรามิดจึงเป็นเพียงประติมากรรมไม่ใช่<br />
สถานที ่ประกอบพิธีแบบของเมอิคาว่า เห็นได้ว่าสถาปนิกทั้ง 2<br />
แม้ว่าจะได้อิทธิพลออกแบบมาจากเลอคอร์บูซิเอร์มาเต็มเปี่ยม<br />
แต่แนวคิดในการแสดงออกต่างกันคนละทาง และการที่ทั้ง 2 คน<br />
ยังสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเสรีในช่วงปลายทศวรรษ<br />
ที่ 1930 ขณะที่จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นกำลังฮึกเหิมทางทหารในจีน<br />
ถือได้ว่าเป็นช่วงสุดท้ายที่แนวคิดแบบสากลนิยมสมัยใหม่ทาง<br />
สถาปัตยกรรมจะได้รับการยอมรับในเวทีสาธารณะในประเทศนี้<br />
โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวง<br />
ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา (1942)<br />
เป็นโครงการเปิดเผยโฉมหน้าความเป็นจักรวรรดินิยมทหาร<br />
ของญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว หลังการถล่มฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ของ<br />
สหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม ค.ศ.1941 และตามมาด้วยการ<br />
ประกาศตั้งร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นแนวคิด<br />
รวมชาติในทวีปเอเชียโดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำเพื่อขับไล่พวกจักรวรรดิ<br />
นิยมตะวันตก ซึ่งความจริงก็คือการฟอกขาวการรุกรานอันทารุณ<br />
โหดร้ายของญี่ปุ่นทั่วเอเชียแปซิฟิกให้ดูชอบธรรม ซึ่งแย้งกับ<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
391
บน แบบชนะเลิศโดยทังเงะ เคนโซ (1942)<br />
กลาง โครงการสถาปัตยกรรมฯ ของเมอิคาว่า (1942)<br />
ล่าง ทัศนียภาพวิหารอนุสาวรีย์ในโครงการของทังเงะ (1942)<br />
พฤติกรรมการกระทำทารุณกรรมของทหารญี่ปุ่นต่อพลเรือน<br />
ท้องถิ่นทั่วพื ้นที่สู้รบในทศวรรษ 1940 สมาคมสถาปนิกญี ่ปุ่น<br />
ที่ประกอบด้วยสมาชิกชั้นนำที่ต่างเป็นพวกสากลนิยมสมัยใหม่<br />
มาก่อนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นคิชิดะ ทังเงะ เมอิคาว่า และซากากูระ<br />
เป็นต้น ต่างต้องตอบสนองนโยบายรัฐบาลเผด็จการทหาร โดยการ<br />
จัดประกวดโครงการสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วม<br />
วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาใน ค.ศ. 1942 ถึงตอนนี้บรรดา<br />
สถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่ต้องเริ่มเปลี่ยนธาตุแปรสีไปตาม<br />
กระแสสังคม คิชิดะ ฮิเดโตะถึงกับเขียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
นาซีเยอรมัน 45 โฮริกูชิ ซูเตมิ เขียนให้สถาปนิกใช้วัสดุใหม่โครง<br />
สร้างใหม่และวิธีการแสดงแบบใหม่ เพื่อแสดงความเคารพใน<br />
จิตวิญญาณแห่งฮักโกะ อิชิอุ (Hakko ichiu) หรือโลกทั้งโลก<br />
ภายใต้หลังคาผืนเดียว นั่นคือหลังคาของจักรวรรดิญี่ปุ่น 46<br />
จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าโครงการประกวดนี้จะต้องมีรูปแบบที่สะท้อน<br />
ถึงจิตวิญญาณชาตินิยมสุดขั้วแบบญี่ปุ่นแน่นอน ฉะนั้นผลงาน<br />
ของทังเงะที่นำรูปทรงสถาปัตยกรรมโบราณชิ้นเอกของญี่ปุ่น<br />
มาประยุกต์ใช้ เช่น ผังวิหารรูปสี่เหลี่ยมคางหมูแบบระฆังสมัย<br />
ยาโยอิที่ตั้งประจันกับวิหารอิเซอันศักดิ์สิทธิ์ ในรูปแบบใหม่<br />
ที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาบด้วยอาคารมีเสาระเบียงล้อม<br />
เหมือนบรรยากาศของลานปิเอซซ่าของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์<br />
แห่งกรุงโรมจึงได้รับรางวัลที่ 1 แม้โดยภาพรวมของโครงการจะมี<br />
392 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บน แบบประกวดชนะเลิศ<br />
ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
โดยทังเงะ เคนโซ (1943)<br />
ขวา ทัศนียภาพศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น-ไทยโดยทังเงะ เคนโซ (1943)<br />
กลิ่นอายของงานลูกผสมอยู่อย่างมาก แต่ที่น่าแปลกคืองานของ<br />
เมอิคาว่าที่แปลงโตเกียวให้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิญี่ปุ่น<br />
ในรูปแบบสากลนิยมสมัยใหม่โดยเนรมิตโตเกียวที่ถูกคลุมด้วย<br />
ชุดตารางสี่เหลี่ยม ที่มุมสี่เหลี่ยมแต่ละรูปเป็นที่ตั้งของตึกระฟ้า<br />
รวมทั้งหมด 10 ตึก เป็นการแปลงแนวคิดแบบสากลนิยมสมัยใหม่<br />
โดยเฉพาะเรเดี้ยนซิตี้(1931) ของเลอคอร์บูซิเอร์ มาสวมทับรับใช้<br />
โครงการจักรวรรดินิยมทหารของญี่ปุ่นได้อย่างแนบเนียน ผลงาน<br />
ของสถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่ที่เอามารับใช้งานชาตินิยมทหาร<br />
ของเมอิคาว่าและซากากูระในช่วงทศวรรษ 1940 นี้ โดยรูปแบบ<br />
แล้วมันคืองานสากลนิยมสมัยใหม่ที่อธิบายด้วยวาทกรรมชาตินิยม<br />
จึงเป็นงานที่แสดงความขัดแย้งระหว่างตัวแบบกับคำอธิบายอย่าง<br />
น่าขบขันในยุคแห่งการเอาตัวรอดให้คล้อยตามกระแสคลั่งชาติ<br />
ของสังคมญี่ปุ่นเท่านั้นเอง<br />
โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
(1943)<br />
ดูเหมือนไทยซึ่งเปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามตั้งแต่วันที่<br />
24 มิถุนายน ค.ศ.1939 47 จะเป็นพันธมิตรเดียวของญี่ปุ่น<br />
ในสงครามเอเชียแปซิฟิกในช่วงทศวรรษที่ 1940 แม้ว่าไทยเองก็<br />
ถูกญี่ปุ่นใช้กำลังบุกเข้ายึดครองเช่นกันใน ค.ศ. 1941 แต่ก่อน<br />
หน้านี้ญี่ปุ่นเสแสร้งเป็นพันธมิตรที่เข้าข้างไทยในการเจรจา<br />
ยุติสงครามพรมแดนกับฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการรักษามิตรภาพ<br />
ให้ไทยอภัยการรุกรานครั้งนี้ ญี่ปุ่นจึงพยายามทุกทางในการ<br />
เอาอกเอาใจรัฐบาลไทย ทั้งการยกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านที่ญี่ปุ่น<br />
ยึดครองให้ไทยและสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นทางวัฒนธรรม<br />
โดยริเริ่มโครงการศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย ขณะที่ไทยเองใช้<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
393
นโยบายตี 2 หน้า เป็นมิตรต่อหน้าญี่ปุ่นแต่ลับหลังพยายาม<br />
ตีตัวออกห่าง และไม่เคยต้องการหรือมองว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็น<br />
สิ่งที่มีคุณค่าน่าศึกษาหรือยกย่องแต่ประการใด โครงการนี้จึง<br />
เสมือนการตบมือข้างเดียวของญี่ปุ่น กระทรวงมหาเอเชียบูรพา<br />
ประกาศจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทยใน ค.ศ. 1943 เชิญ<br />
คิชิดะ ฮิเดโตะ มาเป็นที่ปรึกษาทางสถาปัตยกรรม และตั้งคณะ<br />
กรรมการขึ้นมาเพื่อการประกวดแบบโครงการดังกล่าว โดยกำหนด<br />
ที่ตั้งใกล้สวนลุมพินีในกรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์หลักในการโฆษณา<br />
ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม ศิลปะ อุตสาหกรรม และการทหาร<br />
ของญี่ปุ่นเพื่อให้ฝ่ายไทยซาบซึ้งและภักดี คณะกรรมการประกวด<br />
ได้กำหนดต้นแบบให้เป็นสถาปัตยกรรมลักษณะพระราชวัง<br />
และคฤหาสน์ของขุนนางญี่ปุ่นชั้นสูง เพื่อแสดงบทบาทสถาปนิก<br />
ที่ตอบสนองนโยบายของรัฐจักรวรรดินิยมอย่างเต็มที่ อาคาร<br />
หลักในโครงการประกอบด้วยโถงกลาง หอศิลปวัฒนธรรม<br />
โถงอุตสาหกรรม และแสดงนิทรรศการ โถงพุทธศิลป์และ<br />
การทหาร ด้วยโจทย์กำหนดให้สถาปัตยกรรมเป็นแบบญี่ปุ่นโบราณ<br />
ทำให้งานเกือบทั้งหมดที่ส่งประกวดทำออกมาในแบบคล้ายๆ กัน<br />
คือแยกอาคารสำคัญออกมาเป็นหลังๆ แล้วเชื่อมด้วยระเบียง<br />
ทางเดิน รูปลักษณ์ภายนอกหยิบยืมอาคารโบราณ เช่น วัด วัง<br />
ปราสาท คฤหาสน์ และศาลเจ้ามาใช้ แม้กระทั่ง ทังเงะ เคนโซ<br />
ที่ชนะรางวัลที่1 ก็ออกแบบเช่นนี้ งานของเขาเหมือนเอาวังคัทซุระ<br />
ในนครเกียวโตมาประยุกต์รวมกับวิหารอิเซ เป็นการผลิตซ้ำ<br />
ที่แสดงความถดถอยของสถาปนิก ในทางตรงข้ามเมอิคาว่าซึ่ง<br />
ได้รับรางวัลที่ 2 เป็นผู้รักษาหน้าของสถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ของญี่ปุ่นไว้ได้บ้าง เขาเป็นคนเดียวที่ออกแบบแผนผังโดยการรวม<br />
อาคารทั้งหลายเข้าด้วยกัน ในผังตึกอสมมาตรคล้ายรูปตัว L<br />
ที่ได้อิทธิพลจากอาคารของสถาบันเบาเฮาส์ในเยอรมัน ที่น่าสนใจ<br />
คือ อาจกล่าวได้ว่าผังของเขามีรากเหง้าของวัฒนธรรมโบราณ<br />
394 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ทางนามธรรม เพราะมันดัดแปลงมาจากพระราชวังคัทซุระที่มี<br />
ผังพื้นอสมมาตร แต่เขากลับยอมแพ้ต่อกระแสชาตินิยมสุดโต่ง<br />
เมื่อเขาออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของอาคารนี้ เขาหันกลับมา<br />
ใช้รูปทรงหลังคาญี่ปุ่นโบราณแบบปราสาทนิโจโจที่เกียวโตมา<br />
ประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตามกล่าวได้ว่าโครงการของเขาเป็นพวก<br />
ส่วนน้อยนิดที่ไม่เหมือนงานผลิตซ้ำมากนัก และดูเหมือนเขาเป็น<br />
คนหนึ่งที่ไม่เคยทิ้งอุดมการณ์แบบสากลนิยมสมัยใหม่ไปอย่าง<br />
สิ้นเชิงในยุคเผด็จการทหารครองเมือง<br />
สถาปัตกรรมของกรณีศึกษาทั้ง 3 โครงการแสดงพัฒนาการ<br />
ในแบบถดถอยของสถาปัตกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ให้กับ<br />
สถาปัตยกรรมแนวชาตินิยมที่ต้องการผลิตซ้ำงานแบบโบราณใน<br />
ยุคที่สังคมญี่ป่นถูกครอบง ำด้วยเผด็จการทหารและชาตินิยมสุดโต่ง<br />
ความน่าสนใจคือการปรับตัวของบรรดาสถาปนิกสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ชั้นแนวหน้า ทังเงะ เคนโซ ใช้ไวยกรณ์ของสากลสมัยใหม่<br />
มาแปลงโฉมสถาปัตยกรรมโบราณให้ดูทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวก<br />
ที่เคร่งแนวทางอย่างเมอิคาว่ารับไม่ได้และกล่าวว่าเป็นวิธีการ<br />
ที่เจ้าเล่ห์ เพราะโดยพื้นฐานแล้วมันเป็นแนวทางที่ขัดแย้งกัน<br />
สากลนิยมสร้างขึ้นเพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์และชาตินิยม<br />
ขณะเดียวกัน งานอนุรักษ์นิยมเป็นงานชาตินิยมที่ปฏิเสธแบบ<br />
สากล แต่แล้วด้วยแรงกดดันของลัทธิชาตินิยมสุดโต่งสุดท้ายแล้ว<br />
เมอิคาว่าก็ต้องทำงานในลักษณะนี้ ความกดดันในช่วงเวลาที่<br />
วิกฤตนี้ได้ทำให้สถาปนิกญี่ปุ่นได้เห็นลู่ทางในการออกแบบใหม่ๆ<br />
มากขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาในการค้นพบอัตลักษณ์<br />
ของตนเองในการออกแบบต่อไปในยุคหลังสงครามที่สถานการณ์<br />
ทางการเมืองและสังคมเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม<br />
ผังงพื้นศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทยโดย<br />
เมอิคาว่า (1943)<br />
หน้าตรงข้าม<br />
แบบประกวดศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
โดยเมอิคาว่า (1943)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
395
สยาม<br />
การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามใน ค.ศ. 1932<br />
นั้นมิได้ราบเรียบสวยงามเหมือนโรยด้วยกลีบกุหลาบดั่งที่คาดกัน<br />
ไว้ในปีแรก เพียงขึ้นปีที่ 2 รัฐบาลคณะราษฎรกับฝ่ายอำนาจเก่าก็<br />
ขัดแย้งกันจนถึงจุดแตกหัก เนื่องจากทัศนะต่อนโยบายเศรษฐกิจ<br />
แบบสังคมนิยมของคณะราษฎรไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายอำนาจเก่า<br />
นำไปสู่การยึดอำนาจเงียบของฝ่ายอำนาจเก่าใน ค.ศ. 1933 เป็นเหตุ<br />
ให้คณะราษฎรใช้กำลังเข้าทำรัฐประหารซ ้ำ นำไปสู่การปะทะกัน<br />
ทางทหารอย่างรุนแรงของ 2 ฝ่ายในเดือนตุลาคมปีนั้น และลงเอย<br />
ด้วยชัยชนะของฝ่ายคณะราษฎรตามมาด้วยการกวาดล้างฝ่าย<br />
อำนาจเก่าอย่างรุนแรงให้สิ้นซาก พร้อมกันนี ้ได้มีการสร้าง<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936) เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะและ<br />
ไว้อาลัยแก่ทหารฝ่ายคณะราษฎรที่เสียชีวิตหลังจากปราบเสี้ยนหนาม<br />
ทางการเมืองแล้วคณะราษฎรก็หันมาแย่งชิงอำนาจกันเอง ในที่สุด<br />
อำนาจทั้งปวงก็ตกอยู่กับจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ขึ้นดำรง<br />
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1938 ในปีนั้นเองสยามสามารถ<br />
แก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากคู่สัญญาทุกประเทศ<br />
กล่าวได้ว่าสยามเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ทางการศาล ในการนี้<br />
รัฐบาลจัดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ไทยขึ้นปีถัดไป<br />
เพื่อการเฉลิมฉลอง ใน ค.ศ. 1939 จอมพล ป. พิบูลสงครามได้<br />
เริ่มศักราชยุคเผด็จการของเขาด้วยการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก<br />
สยามเป็นไทย ออกคำสั่งรัฐนิยม 12 ฉบับ เพื่อกำกับวิถีชีวิต<br />
พลเมืองให้มีความคิดแบบชาตินิยมเชื้อชาติไทย เชื่อฟังผู้นำและ<br />
นิยมทหาร ในช่วงเวลานี้เองที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสร้างเสร็จ<br />
ใน ค.ศ. 1940 เพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญและรำลึกถึงการปฏิวัติ<br />
ประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1932 ในบรรยากาศของประเทศไทยที่<br />
อบอวลด้วยลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทยและควบคุมโดยเผด็จการ<br />
ทหาร นโยบายต่อไปของจอมพล ป. พิบูลสงครามคือการทำ<br />
สงครามขยายดินแดนไปอินโดจีนฝรั่งเศส โดยมีเหตุผลว่าเป็นการ<br />
ทวงคืนดินแดนของสยามที่ถูกจักรวรรดินิยมแย่งไป ซึ่งนำไปสู่การ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936)<br />
396 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ทำสงครามกับฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1941 สงครามยุติโดยญี่ปุ่นเสนอ<br />
ตนเองเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ไทยได้ดินแดนเพิ่มขึ้นโดยแลกกับชีวิต<br />
ทหารและพลเรือนนับร้อย รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้น<br />
ใน ค.ศ. 1942 เพื่อรำลึกและยกย่องวีรชนของชาติเหล่านี้หลังจากนี้<br />
จอมพล ป. พิบูลสงครามนำประเทศไทยไปสู่ความขัดแย้งทางทหาร<br />
มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยแรงผลักดันจากลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ที่ต้องการสร้างมหาอาณาจักรไทย รัฐบาลประกาศตนเป็นพันธมิตรกับ<br />
ญี่ปุ่นที่ยึดครองประเทศไทยและประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร<br />
ใน ค.ศ. 1942 กองกำลังของไทยยังไม่ทันได้รบกับใครญี่ปุ ่นก็เริ่ม<br />
พ่ายแพ้ในสงครามแปซิฟิก รัฐบาลไทยใช้ยุทธวิธีเพิกเฉยและ<br />
ตีสองหน้ากับญี่ปุ่น ถ่วงเวลาจนญี่ปุ่นพ่ายแพ้ราบคาบใน ค.ศ. 1945<br />
ส่วนจอมพล ป. พิบูลสงครามชิงลาออกก่อนใน ค.ศ. 1944 ทิ้งให้<br />
อนุสาวรีย์แห่งสงครามและการสร้างชาติในทศวรรษที่1930-1940<br />
เป็นความทรงจำแห่งประวัติศาสตร์ของชาติที่วิกฤต ย้อนแย้ง และ<br />
ผันผวนที่สุดยุคหนึ่ง<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936)<br />
สร้างเพื่อเชิดชูเกียรติและรำลึกถึงคุณงามความดีของตำรวจ<br />
ทหารฝ่ายคณะราษฎรที่เสียชีวิตในการรบปะทะกับกองกำลังกบฏ<br />
ที่นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดชใน ค.ศ. 1933 ออกแบบโดย<br />
หลวงนฤมิตรเลขการ อาจารย์โรงเรียนนายร้อยทหารบก และกรม<br />
ศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เป็นอนุสาวรีย์ที่มีขนาดเล็ก<br />
สร้างในลักษณะศิลปะผสมระหว่างอาร์ตเด็คโคและไทยสมัยใหม่<br />
โครงสร้างคอนกรีต อนุสาวรีย์ตั้งบนอัฒจันทร์ 5 ชั้น รูปร่างคล้าย<br />
ปลียอดเจดีย์วางบนบัวกลุ่มตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ชุดปลียอดและ<br />
บัวกลุ่มเป็นทรง 8 เหลี่ยมปลายแหลมแบบงาเนียมที่หุ้มด้วย<br />
กลีบบัวทุกด้าน จึงอาจดูเป็นรูปหัวลูกปืนที่หุ้มกลีบบัวก็ได้ยอดปลี<br />
ประดับประติมากรรมพานแว่นฟ้า 2 ชั้นรองรับสมุดไทยอันเป็น<br />
สัญลักษณ์รัฐธรรมนูญนั่นเอง ผนังอาคารด้านหน้าจารึกรายนาม<br />
วีรชน 17 นาย อีก 3 ด้านประดับประติมากรรมลักษณะต่างๆ กัน<br />
เช่น โคลงสยามานุสสติ ชาวนาไทย 3 พ่อแม่ลูก และธรรมจักร<br />
โดยสัญลักษณ์เหล่านี้สื่อว่าประชาชน ทหารตำรวจ สถาบัน<br />
พระมหากษัตริย์ และศาสนาต่างอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่น่าสังเกต<br />
คือการใช้สัญลักษณ์ใหม่เช่นชาวนาเป็นตัวแทนของชาติเป็นแนวคิด<br />
ที่ก้าวหน้า แต่การใช้โคลงสยามานุสสติมาแทนองค์พระมหา<br />
กษัตริย์เป็นการสืบทอดแนวคิดชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ที่ล้าหลัง การใช้ประติมากรรมสมุดไทยประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า<br />
2 ชั้นเป็นครั้งแรกที่สร้างสัญลักษณ์ลงในอาคารถาวรอย่าง<br />
อนุสาวรีย์ สะท้อนความคิดของคณะราษฎรที่แทนความหมาย<br />
ระบอบประชาธิปไตยด้วยรูปธรรมสมุดไทย ไม่ใช่นามธรรมที่สำคัญ<br />
กว่าเช่นเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ แรงบันดาลใจการใช้<br />
สัญลักษณ์สมุดไทยน่าจะมาจากภาพการพระราชทานรัฐธรรมนูญ<br />
ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1932 ที่น่าจดจำ นอกจากนี้ภาพ<br />
สมุดไทยยังเข้าใจง่ายสำหรับคนไทยที่เห็นหนังสือพระสูตรวางบน<br />
พานตามวัดทั่วไป รัฐธรรมนูญจึงเปรียบเสมือนพระสูตรศักดิ์สิทธิ์<br />
เล่มใหม่ที่พึงเคารพบูชาโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจสาระอันใด ดังเช่น<br />
พุทธศาสนิกชนไทยฟังการสวดมนต์ของพระสงฆ์ด้วยภาษาบาลี<br />
โดยไม่เข้าใจสาระอะไรเลยฉันนั้น<br />
โครงการอนุสาวรีย์ไทย(1939)<br />
เป็นโครงการอนุสาวรีย์ที่จะสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกและ<br />
เฉลิมฉลองในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นอิสระหลุดพ้นจากข้อผูกมัด<br />
ที่ไม่เป็นธรรมทางกฎหมายที่สยามทำไว้กับจักรวรรดินิยมประเทศ<br />
ต่างๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อรัฐบาลไทยสามารถเจรจาแก้ไข<br />
สัญญาและร่างกฎหมายที่จำเป็นตามข้อผูกมัดสำเร็จ ทำให้<br />
ประเทศไทยได้รับเอกราชทางการศาลอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1938<br />
รัฐบาลมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้จัดประกวดแบบแล้วส่งให้คณะ<br />
รัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งมีมติในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ว่าให้<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
397
บน อนุสาวรีย์ไทยแบบกระโจมไฟ (1939)<br />
ล่าง อนุสาวรีย์ไทยแบบโลหะปราสาท<br />
เรียกชื่อว่า “อนุสสาวรีย์ไทย” และควรเป็นรูปกระโจมไฟ ต่อมา<br />
กรมศิลปากรได้ปรับปรุงแบบให้ดูยิ่งใหญ่สมกับโอกาสพิเศษนี้ให้<br />
เป็นรูปทรง “โลหะปราสาท” แต่ด้วยปัญหางบประมาณทำให้<br />
โครงการนี้ถูกระงับไป<br />
อนุสาวรีย์ไทยแบบ “กระโจมไฟ” เป็นการออกแบบโครงการ<br />
แรกโดยพระพรหมพิจิตรใน ค.ศ. 1939 ลักษณะเป็นประภาคาร<br />
หอสูงทรงไทยผังกากบาทสี่เหลี่ยมบนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมมีมุขทิศ<br />
4 ด้าน ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม 3 ชั้นลดหลั่น ยอดสุดประดับ<br />
ซุ้มไฟสี่เหลี่ยมหลังคาจตุรมุขมีเปลวไฟคอนกรีตประดับยอด ตั้งใจ<br />
ว่าจะตั้งไว้ที่ชายทะเลอำเภอปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่<br />
จะให้เรือนานาชาติที่แล่นผ่านมาเห็นได้หมด และอาจมีนัยใน<br />
การรำลึกถึงเหตุปะทะกันทางเรือระหว่างสยามกับฝรั่งเศสใน<br />
ค.ศ. 1894 (ร.ศ. 112) ด้วยก็ได้ แต่แล้วอนุสาวรีย์ตามแบบนี้ก็<br />
ถูกค้านตกไปโดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือว่า สถานที่ตั้งไม่<br />
เหมาะสมและไม่มีประโยชน์ต่อการเดินเรือ กรมศิลปากรจึง<br />
ปรับปรุงแบบใหม่เป็น “โลหะปราสาท”<br />
อนุสาวรีย์ไทยแบบ “โลหะปราสาท”เป็นอนุสาวรีย์ไทยแบบ<br />
ที่ 2 ที่พระพรหมพิจิตรร่างขึ้นตามแนวคิดของหลวงวิจิตรวาทการ<br />
อธิบดีกรมศิลปากรเพื่อให้ยิ่งใหญ่กว่าแบบแรก ผังอาคารเป็นรูป<br />
สี่เหลี่ยมมีซุ้มทิศ 4 ด้านตั้งบนฐาน 8 เหลี่ยม 3 ชั้น ประดับด้วย<br />
ซุ้มทิศผังสี่เหลี่ยมทั้ง4 มุม อาคารทั้งหมดรองรับด้วยฐานประทักษิณ<br />
ใหญ่และล้อมด้วยพระระเบียงอีกชั้นหนึ่ง ลักษณะอาคารเป็นเจดีย์<br />
แบบเรือนธาตุสี่เหลี่ยมมีซุ้มทิศ 4 ด้าน ยอดเป็นปรางค์ทรงสูง<br />
แหลมคล้ายหัวกระสุนปืน ตั้งบนฐานอาคารรูป 8 เหลี่ยมลดหลั่น<br />
3 ชั้น มีซุ้มทิศสูง 2 ชั้นรูปทรงคล้ายตัวอนุสาวรีย์ที่ย่อส่วนประดับ<br />
4 มุม อาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานประทักษิณสี่เหลี่ยมและล้อม<br />
ด้วยพระระเบียงอีกชั้นหนึ่ง โดยภาพรวมแล้วดูเหมือนศาสนสถาน<br />
โบราณที่มีรูปแบบผสมระหว่างเขมร สุโขทัย และอยุธยา แต่สร้าง<br />
อย่างใหญ่โตด้วยขนาดความกว้างของระเบียงยาวด้านละ 80 เมตร<br />
398 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940)<br />
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940)<br />
และตัวอนุสาวรีย์ที่สูงถึง 100 เมตร หลวงวิจิตรวาทการวางแผน<br />
ให้พระระเบียงเป็นพิพิธภัณฑ์การแสดงพืชผล ชั้นฐานประทักษิณ<br />
ใช้เป็นห้องโถงสำหรับรับประทานอาหารและเต้นรำ ฐาน 8 เหลี่ยม<br />
ชั้นแรกและชั้นที่ 2 เป็นโรงแรม ชั้นที่ 3 เป็นห้องประชุม สิ่งเดียว<br />
ที่หลวงวิจิตรวาทการห่วงคือการเอาสถานที่ที่คล้ายศาสนสถานทำ<br />
โรงแรมแต่เขาก็เตรียมคำอธิบายไว้แล้ว แต่ในที่สุดโครงการนี้<br />
ก็ล้มไปอีกเพราะค่าก่อสร้างที่มหาศาล โครงการอนุสาวรีย์ไทยที่มี<br />
แต่ขนาดที่มหึมานี้มีความน่าสนใจน้อยมากหากเทียบกับโครงการ<br />
เล็กๆ ของพระพรหมพิจิตร เช่น หอระฆังวัดยานนาวา (1934)<br />
หรือเจดีย์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบางเขน (1941) ที่แสดงออกใน<br />
เชิงสร้างสรรค์และท้าทายขนบการออกแบบโบราณ ขณะที่งาน<br />
อนุสาวรีย์ไทยเป็นการดัดแปลงและผสมผสานแบบโบราณที่ได้<br />
ผลลัพธ์ออกมาแย่กว่าของโบราณจริงๆ<br />
เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดของคณะราษฎรในการรำลึก<br />
ถึงการปฏิวัติค.ศ.1932 และเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์<br />
ประชาธิปไตย ออกแบบโดยสถาปนิกหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล<br />
ร่วมกับประติมากรคอร์ราโด เฟโรชี สร้างในลักษณะศิลปะผสม<br />
ระหว่างอาร์ตเด็คโค ฟาสซิสต์ และไทยประยุกต์ จุดเด่นของ<br />
อนุสาวรีย์คือประติมากรรมรูปสมุดไทยวางบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น<br />
อันเป็นสัญลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ ตั้งบนยอดของป้อมทรงกระบอก<br />
หลังโค้งผนังหุ้มด้วยกาบ 6 แถบ แสดงถึงอิทธิพลเจดีย์ไทยโบราณ<br />
ที่องค์ระฆังหุ้มด้วยกลีบบัว ป้อมรับรัฐธรรมนูญล้อมรอบด้วยปีก<br />
4 อันหันเข้าหาป้อมในแนวทแยง ตัวปีกตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมประดับ<br />
ประติมากรรมนูนสูงแบบคลาสสิคที่บอกเล่าเรื่องราวการปฏิวัติ<br />
ประชาธิปไตยในสยาม กล่าวได้ว่ารูปแบบของอนุสาวรีย์<br />
ประชาธิปไตยได้แนวทางมาจากอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญทั้งใน<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
399
บน ประติมากรรมประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940)<br />
ล่าง ประติมากรรมประดับสะพานปอนเตดูกา<br />
ดาออสต้า โรม (1938-1939)<br />
เรื่ององค์ประกอบและประติมากรรม เพียงแต่ทำให้โอฬารตระการ<br />
ตามากขึ้น แต่โดยภาพรวมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขาดความเด่นสง่า<br />
การเลือกรูปทรงป้อมทรงกระบอกที่ควรจะอยู่ในสนามรบมารับพาน<br />
แว่นฟ้าและรัฐธรรมนูญที่เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุเคารพในศาสนา<br />
พุทธดูผิดเรื่องและอยู่ผิดที่ ขณะที่ประติมากรรมรัฐธรรมนูญและ<br />
พานแว่นฟ้าก็มีขนาดเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับปีกที่ล้อม 4 ด้าน<br />
ที่ดูเหมือนคมมีดมากกว่าปีกนก อีกทั ้งประติมากรรมฝีมือเฟโรชี<br />
ที่ประดับฐานปีกก็มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะสร้างความโดดเด่น<br />
แต่มันก็ยังเป็นงานศิลปะที่น่าชมที่สุดของอนุสาวรีย์นี้ และมีข้อ<br />
สังเกต 2 ประการที่ควรจะกล่าวถึง ประการแรกคือประติมากรรม<br />
รูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน<br />
รัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1932 ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้<br />
สร้างจริง เป็นการสะท้อนทัศนะของคณะราษฎรที่มีต่อพระมหา<br />
กษัตริย์ในช่วงก่อนและหลังกบฏบวรเดชใน ค.ศ. 1933 ประการ<br />
ที่ 2 คือประติมากรรมของเฟโรชีรูปกลุ่มทหารเคลื่อนกำลังใน<br />
อริยบทต่างๆ เช่น ยิงปืนกลบนขาตั้ง โรมรันด้วยดาบปลายปืนนั้น<br />
ลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมนูนสูงศิลปะฟาสซิสต์ที่<br />
ประดับฐานสะพานปอนเตดูกา ดาออสต้าในกรุงโรม (1938-1939)<br />
ฝีมือประติมากรวิโก คอนซอร์ติ (1902-1979) เป็นอย่างยิ่ง<br />
เมื่อประกอบกับเส้นทแยงในกรอบเรขาคณิตที่ขึงขังของตัวปีก<br />
อนุสาวรีย์ทั้ง 4 แล้ว จึงกล่าวได้ว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็น<br />
งานที่มีอิทธิพลของศิลปะฟาสซิสต์เป็นอย่างยิ่ง แต่สุดท้ายแล้ว<br />
อนุสาวรีย์นี้ยังไม่มีพลังเพียงพอในการสร้างความประทับใจเพราะ<br />
ขนาดส่วนและรูปทรงของอนุสาวรีย์ที่อ่อนแอ ปีกรัฐธรรมนูญ<br />
ที่เป็นองค์ประกอบแย่งชิงความเด่นไปจากตัวประธาน สาเหตุหลัก<br />
มาจากแนวคิดในการสร้างสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยสำหรับ<br />
อนุสาวรีย์ดังที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ<br />
อีกประการหนึ่งคือ บรรดาตัวเลขทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์<br />
และเหตุการณ์ในวันปฏิวัติของคณะราษฎรที่ถูกนำมาเป็นรหัส<br />
กำกับการกำหนดขนาดความสูงต่ำกว้างยาวของอนุสาวรีย์และ<br />
องค์ประกอบ จนสถาปนิกและประติมากรขาดอิสระในการ<br />
สร้างสรรค์งาน เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของความเชื่อไสยศาสตร์<br />
400 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ในศาสนาพุทธของไทยที่ฝังรากลึกมาช้านาน เมื่อพิจารณาในแง่นี้<br />
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็เป็นเพียงเปลือกของศิลปะอาร์ตเด็คโค<br />
ฟาสซิสต์ที่หุ้มแกนความเชื่อไสยศาสตร์ที่พยายามจะเป็นตัวแทน<br />
ของลัทธิประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่วันปฏิวัติ<br />
จนถึงวันเปิดอนุสาวรีย์<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942)<br />
แบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942)<br />
ค.ศ. 1938 เป็นปีประจวบเหมาะที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพร้อมกับประเทศไทยได้รับ<br />
เอกราชทางการศาลหลุดพ้นจากข้อผูกมัดที่เอาเปรียบทั้งปวงจาก<br />
จักรวรรดินิยมที่มาจากสนธิสัญญาที่เอาเปรียบตั้งแต่สมัยรัชกาล<br />
ที่ 4 ใน ค.ศ. 1939 จอมพล ป. พิบูลสงครามเริ่มนโยบายชาตินิยม<br />
เชื้อชาติไทยและมหาอาณาจักรไทยอย่างเป็นระบบ ด้วยการ<br />
ประกาศนโยบายรัฐนิยมเปลี่ยนแปลงทัศนคติและวิถีชีวิตคนไทย<br />
ให้เป็นพวกชาตินิยมสุดโต่งแบ่งแยกเชื้อชาติ เชื่อฟังผู้นำ และ<br />
นิยมทหาร ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ความทะเยอทะยานอีกระดับหนึ่ง คือ<br />
การทวงคืนดินแดนในอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศสที่กำลังพ่ายแพ้<br />
กองทัพเยอรมันในยุโรป เหตุการณ์ลุกลามไปสู่การปะทะทางทหาร<br />
ตอนปลายปี ค.ศ.1940 แม้กองทัพบกไทยจะสามารถยึดดินแดน<br />
บางส่วนในลาวและเขมรได้แต่กองทัพเรือกลับไม่สามารถเอาชนะ<br />
ทางทะเลได้ กองกำลังทั้ง 2 ฝ่ายต่างไม่สามารถรบได้ชัยชนะ<br />
เด็ดขาดเปิดโอกาสให้ญี่ปุ่นเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ยยุติสงคราม<br />
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 โดยฝ่ายไทยต้องจ่ายค่าเสียหาย<br />
ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับดินแดนที่ยึดได้ แต่ก็เพียงพอที่ทำให้ไทย<br />
สรุปว่าตนเองชนะสงครามที่แลกกับชีวิตทหารตำรวจและพลเรือน<br />
171 นาย ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงครามต้องการสร้างอนุสาวรีย์<br />
ให้เพื่อเชิดชูเกียรติยศ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ค.ศ. 1941 โดยหม่อม<br />
หลวงปุ่ม มาลากุล เป็นสถาปนิก คอร์ราโด เฟโรชี และคณะศิษย์<br />
โรงเรียนศิลปากร เป็นประติมากร อนุสาวรีย์สร้างเสร็จและมีพิธี<br />
เปิดในวันชาติ 24 มิถุนายน ค.ศ.1942<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
401
ซ้าย ประติมากรรมประดับอนุสาวรีย์<br />
ชัยสมรภูมิ (1942)<br />
ขวา อนุสาวรีย์อาล์นวิกวอร์เม็มโมเรียล<br />
(1922)<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างในลักษณะศิลปะผสมระหว่าง<br />
อาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์ แนวคิดชาตินิยมเชื้อชาติไทยที่ต้องการ<br />
ขยายดินแดนมหาอาณาจักรไทยด้วยกำลังทหารที่ผู้นำสูงสุด<br />
มีอำนาจเด็ดขาดและสนับสนุนโดยมวลชน ไม่ว่าจอมพล ป.<br />
พิบูลสงครามจะกล่าวอย่างไพเราะว่าเขาทำสงครามเพื่อความ<br />
ยุติธรรม ในความเป็นจริงอนุสาวรีย์นี้อยู่ภายใต้อิทธิพลลัทธิ<br />
สังคมชาตินิยมหรือฟาสซิสต์ที่เด่นชัดที่สุด จุดเด่นของอนุสาวรีย์<br />
คือ แท่งโอเบลิสก์ประยุกต์ตั้งบนฐานอาคารรูป 5 เหลี่ยมลดหลั่น<br />
2 ชั้นที่วางบนอัฒจรรย์รูปกลม แท่งโอเบลิสก์ประยุกต์จากรูปทรง<br />
ของดาบปลายปืน 5 เล่มวางตั้งเอาสันชนกันหันคมดาบออกให้เรียง<br />
เป็นรูปดาว 5 แฉกในภาพตัดขวาง แต่เมื่อมองหน้าตรงแล้วจะ<br />
เหมือนใบดาบเรียงกันเป็นกลีบมะเฟือง 5 แฉกสูงชะลูด ส่วนที่เป็น<br />
ใบดาบสูง 31 เมตรปักอยู่ในด้ามดาบฐาน 5 เหลี่ยม สูง 8.77 เมตร<br />
รวมความสูงของใบดาบและด้าม 39.77 เมตร ตั้งบนฐานอาคาร<br />
5 เหลี่ยมตัดมุมโค้ง 2 ชั้นลดหลั่นสูง 6.50 เมตร ซึ่งเป็นอาคาร<br />
กรุเก็บอัฐิ ตัวอนุสาวรีย์ทั้งหมดตั้งอยู่บนอัฒจรรย์รูปวงกลมเส้น<br />
ผ่าศูนย์กลาง 50.50 เมตร สูง 3 เมตร จากระดับถนน รวมความ<br />
สูงอนุสาวรีย์ทั้งสิ้น 50 เมตร แต่จุดเด่นของอนุสาวรีย์กลับเป็น<br />
ประติมากรรมลอยตัว 5 รูปที่ตั้งรอบผนังด้ามดาบขนาดสูง 4.60<br />
เมตร ตั้งบนฐานสูง 1.77 เมตร และสูงจากระดับถนน 12 เมตร<br />
ฝีมือปั้นของคอร์ราโด เฟโรชีและคณะศิษย์โรงเรียนศิลปากร<br />
เป็นรูปทหารบก เรือ อากาศ ตำรวจ และพลเรือน ท่าทางการ<br />
เคลื่อนไหวในท่าสู้รบของประติมากรรมยังคงเห็นอิทธิพลจาก<br />
ประติมากรรมนูนสูงประดับสะพานปอนเตดูกา ดาออสต้า ของ วิโก<br />
402 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
คอนซอร์ติอยู ่เช่นเดิม เป็นองค์ประกอบที่เพิ่มความสง่างามให้กับ<br />
อนุสาวรีย์อย่างมากและไม่เคยมีมาก่อนมากกว่าประติมากรรมนูนสูง<br />
รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าเปรียบเทียบกับ<br />
กลุ่มประติมากรรมประดับอนุสาวรีย์ของอังกฤษที่สร้างก่อน 2<br />
ทศวรรษจะพบว่า ประติมากรรมของเฟโรชีมีลักษณะสู้รบและ<br />
โครงเส้นเป็นเหลี่ยมมากกว่าแบบเหมือนจริงและท่าทางสงบนิ่ง<br />
ของอังกฤษ แม้ลักษณะองค์ประกอบแบบประติมากรรมล้อมแท่ง<br />
โอเบลิสก์จะพบได้มากในอนุสาวรีย์ของอังกฤษก็ตาม<br />
เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิออกแบบ<br />
ได้ดีในแง่รูปทรง องค์ประกอบ สัดส่วน และแนวคิดที่ชัดเจนใน<br />
การสื่อสารมากกว่าอนุสาวรีย์เพื่อประชาธิปไตย2 แห่งที่กล่าวมาแล้ว<br />
เหตุผลประการแรกคือ ผู้ออกแบบมีความเป็นอิสระจากตัวเลขรหัส<br />
ที่เกี่ยวกับที่มาของอนุสาวรีย์ที่มากมายตัวเลขสำคัญของอนุสาวรีย์<br />
นี้มีเพียงเลข 5 เท่านั้น ประการที่2 คือผู้ออกแบบมีความเป็นอิสระ<br />
จากรูปทรงไทยโบราณอย่างสิ้นเชิง ทำให้อนุสาวรีย์มีรูปแบบที่<br />
ชัดเจนไม่ครึ่งๆ กลางๆ ระหว่างสมัยใหม่กับไทยโบราณ ประการ<br />
ที่3 คือการใช้ประติมากรรมเข้ามาประกอบสถาปัตยกรรมอย่างมีพลัง<br />
เป็นตัวส่งเสริมอนุสาวรีย์ทั้งรูปแบบและความหมายอย่างชัดเจน<br />
การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรม<br />
สถาปัตยกรรมแห่งสงครามและการสร้างชาติในทศวรรษ<br />
ที่ 1930-1940 เป็นบทสรุปของพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของ<br />
ญี่ปุ่นและสยามตั้งแต่เริ่มเปิดประเทศตอนกลางศตวรรษที่ 19<br />
มันคือรูปธรรมของอุดมการณ์ที่ต้องการสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรือง<br />
เท่าเทียมกับตะวันตก วัฒนธรรมและอุดมคติดั้งเดิมของญี่ปุ่น<br />
ที่มองว่าเชื้อชาติของตนเหนือกว่าเชื้อชาติอื่นนำมาซึ่งลัทธิ<br />
ชาตินิยมสุดโต่งและนำประเทศเข้าสู่สงครามรุกรานเพื่อนบ้านเพื่อ<br />
เป็นเจ้าจักรวรรดิเอเชียตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษ<br />
ที่ 20 สิ่งที่ต้องแลกกับความทะเยอทะยานคือการสังเวยชีวิต<br />
ทหารมากมายที่สังคมเห็นว่าตายอย่างมีเกียรติเพื่อจักรพรรดิ<br />
โครงการประกวดแบบอนุสาวรีย์วีรชนทหาร (1939) จึงเกิดขึ้น<br />
อุดมคติของชนชาติทำให้การทำสงครามในช่วงแรกได้รับชัยชนะ<br />
อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทำให้ญี่ปุ่นคิดการใหญ่ที่จะทำให้<br />
จินตนาการความเป็นเจ้าเอเชียเป็นจริง ส่งผลให้มีโครงการประกวด<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นตัวแทนลัทธิฟาสซิสต์ทาง<br />
สถาปัตยกรรมที่ชัดเจนที่สุด มันสะท้อนลัทธิชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
และสดุดีการทำสงครามขยายอาณาเขตเพื่อแนวคิดมหาอาณาจักร<br />
ไทยของรัฐบาลเผด็จการทหารที่สนับสนุนโดยมวลชน สอดคล้อง<br />
กับความต้องการเป็นเจ้าเอเชียของญี่ปุ่นพันธมิตรของไทย แต่แล้ว<br />
เพียง 3 ปีหลังการเปิดอนุสาวรีย์ ญี่ปุ่นและไทยก็พ่ายแพ้อย่าง<br />
สิ้นเชิงในสงครามเอเชียแปซิฟิก อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกลายเป็น<br />
อนุสรณ์แห่งความหลงชาติและทะเยอทะยานเกินตัวในช่วงเวลา<br />
หนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย<br />
ทัศนียภาพภายในอนุสาวรีย์วีรชนทหาร (1939)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
403
บน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940)<br />
ล่าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942)<br />
แบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวงไพบูลย์แห่ง<br />
มหาเอเชียบูรพา (1942) และเมื่อได้ยึดครองดินแดนเพื่อนบ้าน<br />
ด้วยพละกำลังทางทหารแล้วญี่ปุ่นก็หันมาแผ่ขยายอิทธิพลทาง<br />
วัฒนธรรมเพื่อให้ผู้ถูกยึดครองยอมรับในการเหนือกว่าทาง<br />
อารยธรรมของตน โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมศูนย์<br />
วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย (1943) เป็นตัวอย่างสำคัญของนโยบายนี้<br />
การสร้างชาติให้รุ่งเรืองของสยามไม่ได้รวดเร็วและรุนแรง<br />
เท่าญี่ปุ่น หากเป็นไปอย่างเชื่องช้าด้วยบริบททางสังคม เศรษฐกิจ<br />
และการเมืองที่ต่างกัน รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถ<br />
แก้ปัญหาประเทศชาติได้ทันใจคนรุ่นใหม่ที่มีพลังของสยาม<br />
ชนชั้นกลางที่ประกอบด้วยทหาร ข้าราชการพลเรือน และผู้มีการ<br />
ศึกษาที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร ได้ร่วมกันปฏิวัติเปลี่ยนแปลง<br />
การปกครองใน ค.ศ. 1932 มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ<br />
ในตอนแรก แต่ความขัดแย้งในผลประโยชน์และอุดมการณ์กับ<br />
ฝ่ายที่นิยมระบอบเก่ายังคงอยู่และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยสันติ<br />
นำไปสู่การต่อสู้กันด้วยอาวุธใน ค.ศ. 1933 ซึ่งคณะราษฎรสามารถ<br />
กำจัดฝ่ายตรงข้ามได้อย่างราบคาบ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนี้<br />
นำมาซึ่งสถาปัตยกรรมอนุสาวรีย์ 2 แห่งคือ อนุสาวรีย์พิทักษ์<br />
รัฐธรรมนูญ (1936) และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (1940) จอมพล ป.<br />
พิบูลสงครามขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1938 ในปี<br />
นั้นเองสยามสามารถแก้ไขสนธิสัญญสิทธิสภาพนอกอาณาเขต<br />
ที่เป็นมรดกสมัยจักรวรรดินิยมได้สำเร็จและมีเอกราชทางการศาล<br />
อย่างสมบูรณ์จึงเป็นที ่มาของโครงการอนุสาวรีย์ไทย (1939)<br />
แต่แทนที่เหตุการณ์นี้จะเป็นโอกาสการสร้างชาติในทางดี จอมพล<br />
ป. พิบูลสงครามกลับเริ่มศักราชเผด็จการชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ของเขาที่บางส่วนมาจากแรงบันดาลใจของนโยบายเชื้อชาติไทย<br />
ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ใน ค.ศ. 1939 เขาเปลี่ยนชื่อประเทศ<br />
จากสยามเป็นไทย และประกาศรัฐนิยม 12 ฉบับเพื่อกำกับวิถีชีวิต<br />
พลเมืองให้มีแนวคิดแบบเชื้อชาตินิยม เชื่อฟังผู้นำและนิยมทหาร<br />
เพื่อปูทางไปสู่นโยบายทำสงครามขยายดินแดนไปอินโดจีนฝรั่งเศส<br />
“เพื่อความยุติธรรม” ซึ่งนำไปสู่สงครามกับฝรั่งเศสที่ไทยแม้จะได้<br />
404 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ดินแดนเพิ่มขึ้นแต่ไม่สามารถเอาชนะเด็ดขาดได้ และต้องแลกกับ<br />
ชีวิตทหารตำรวจและพลเรือน 171 นาย ที่รัฐบาลได้สร้างอนุสาวรีย์<br />
ชัยสมรภูมิ (1942) เพื่อเชิดชูเกียรติยศและรำลึกถึงเหตุการณ์<br />
จะเห็นได้ว่าในช่วงทศวรรษ 1930-1940 นี้ลัทธิชาตินิยม<br />
สุดโต่งและจักรวรรดินิยมเป็นกระแสหลักของนโยบายสร้างชาติ<br />
ของทั้งญี่ปุ่นและไทย แม้ว่าฝ่ายไทยนั้นในตอนแรกแนวคิด<br />
ประชาธิปไตยเป็นพลังหลักของการสร้างชาติใหม่ แต่ในที่สุดก็ถูก<br />
กระแสชาตินิยมสุดโต่งกลืนหายไปและเกิดพันธมิตรชาตินิยม-<br />
จักรวรรดินิยมญี่ปุ่น-ไทยขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการทำสงครามเพื่อ<br />
ความเป็นเจ้าเอเชียของญี่ปุ่นและมหาอาณาจักรไทย โครงการ<br />
อนุสาวรีย์สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วถูกสร้างขึ ้นเพื่อ<br />
รับใช้นโยบายแห่งความทะเยอทะยานนี้ จนกระทั ่งถึง ค.ศ.1945<br />
ที่พันธมิตรทั้งคู่พ่ายแพ้สงครามอย่างราบคาบ ทิ้งให้ผลงานเหล่านี้<br />
เป็นหลักฐานแห่งช่วงประวัติศาสตร์ที่ล้มเหลวของทั้ง 2 ประเทศ<br />
บน แบบชนะเลิศสถาปัตยกรรมเฉลิม<br />
ฉลองการก่อตั้งร่วมวงไพบูลย์แห่งมหา<br />
เอเชียบูรพาโดยทังเงะ เคนโซ (1942)<br />
กลาง ทัศนียภาพวิหารอนุสาวรีย์ใน<br />
โครงการของทังเงะ (1942)<br />
ล่าง ทัศนียภาพศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น-ไทยโดยทังเงะ เคนโซ(1943)<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
405
ซ้าย ผังพื้นอนุสาวรีย์ไทย<br />
แบบโลหะปราสาท<br />
ขวา อนุสาวรีย์ไทย<br />
แบบโลหะปราสาท (1939)<br />
การพิจารณาการออกแบบสถาปัตยกรรมแห่งสงคราม<br />
และการสร้างชาติจะเริ่มจากลักษณะผังพื้นที่มี 2 แบบคือ แบบ<br />
อนุสาวรีย์และแบบสถาปัตยกรรม แบบอนุสาวรีย์เป็นอาคารที่ผังพื้น<br />
ปิดไม่มีพื้นที่ภายใน เช่น อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936)<br />
อนุสาวรีย์ไทยแบบกระโจมไฟ (1939) อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />
(1940) และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(1941) ทั้งหมดเป็นงานของไทย<br />
แบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารที่ผังพื้นเปิดมีพื้นที่ภายใน ได้แก่<br />
โครงการประกวดแบบอนุสาวรีย์วีรชนทหาร (1939) โครงการ<br />
ประกวดแบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวงไพบูลย์<br />
แห่งมหาเอเชียบูรพา (1942) โครงการประกวดแบบศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น-ไทย (1943) และโครงการอนุสาวรีย์ไทยแบบโลหะปราสาท<br />
(1939) สามโครงการแรกเป็นของญี่ปุ่นและโครงการสุดท้ายเป็น<br />
ของไทย จะเห็นได้ว่าในระดับสถาปนิกชั้นนำนั้นฝ่ายญี่ปุ่นวางแผน<br />
สร้างอนุสาวรีย์เพื่อการใช้งานหรือชื่นชมได้ทั้งภายในและภายนอก<br />
อาคาร ส่วนไทยยังมองอนุสาวรีย์ในแบบเก่าเหมือนปูชนียวัตถุ<br />
สำหรับการดูจากภายนอกอย่างเดียวเป็นหลัก ในด้านรูปแบบ<br />
อาคารนั้นอนุสาวรีย์ของญี่ปุ่นที่ออกแบบโดยสถาปนิกแนวหน้า<br />
อย่างเมอิคาว่าและซากากูระเสนอแบบสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ที่มีความหมายต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ในโครงการประกวดแบบ<br />
อนุสาวรีย์วีรชนทหาร ที่มีเนื้อหาเชิดชูนโยบายจักรวรรดินิยม<br />
ฟาสซิสต์ของรัฐบาล จึงเป็นการออกแบบย้อนแย้งที่ท้าทายรัฐบาล<br />
เผด็จการทหารอย่างตั้งใจและไม่เกรงใจ เราจะเปรียบเทียบโครงการ<br />
นี้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยของไทยที่มีรูปแบบอาร์ตเด็คโค<br />
ผสมฟาสซิสต์ที่สื่อความหมายย้อนแย้งกับลัทธิประชาธิปไตยโดย<br />
ที่ผู้ออกแบบอาจจะไม่ได้ตั้งใจเลยก็ได้ ดังนั้นจึงมีคำถามสำคัญว่า<br />
สถาปนิก ประติมากร และนักการเมืองไทยในยุคนั้นเข้าใจความ<br />
สัมพันธ์ระหว่างความหมายของแบบศิลปะและอุดมการณ์ทาง<br />
การเมืองเพียงไร แต่ถ้าจะพิจารณาอนุสาวรีย์ที่สะท้อนอุดมการณ์<br />
ได้ชัดเจน ก็ควรจะเป็นอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิของไทย ลักษณะแท่ง<br />
โอเบลิสก์ประยุกต์จากใบดาบปลายปืนรวมกัน 5 แฉกล้อมด้วย<br />
ประติมากรรมลอยตัว 5 รูปบึกบึนโครงเส้นเหลี่ยมที่มีลักษณะ<br />
สู ้รบนั้น เป็นสถาปัตยกรรมแบบฟาสซิสต์สากลที่สมบูรณ์แบบ<br />
และสะท้อนจุดประสงค์การสร้างอนุสาวรีย์ที่เป็นผลของสงคราม<br />
สร้างมหาอาณาจักรไทยได้อย่างชัดเจน โครงการแบบเดียวกันของ<br />
ญี่ปุ่นที ่สะท้อนความเป็นจักรวรรดินิยมทหารที่ชัดเจนที่สุด คือ<br />
โครงการประกวดแบบสถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวง<br />
ไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาที่ออกแบบโดยทังเงะ เคนโซ ในงาน<br />
นี้เขานำรูปทรงสถาปัตยกรรมโบราณของญี่ปุ่นทั้งหลายไม่ว่าจะ<br />
เป็นระฆังสมัยยาโยอิ วิหารอิเซ และระเบียงวัดมาปรุงแต่งใหม่<br />
ด้วยไวยกรณ์ของพวกสากลนิยมสมัยใหม่จนดูเป็นสถาปัตยกรรม<br />
ญี่ปุ่นสมัยใหม่ที่มีเนื ้อหาฟาสซิสต์ แต่ในโครงการประกวดแบบ<br />
สถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย ทังเงะกลับออกแบบโดย<br />
406 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ขวา แบบประกวดศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น-ไทยโดยเมอิคาว่า (1943)<br />
ล่าง ผังพื้นศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
โดยเมอิคาว่า (1943)<br />
การนำผังและอาคารพระราชวังเดิมที่นครเกียวโตมาปรับให้<br />
สามารถรองรับประโยชน์ใช้สอยใหม่ของโครงการ ในทางทฤษฎี<br />
ออกแบบมันจึงเป็นการผลิตซ้ำและถอยหลังเข้าคลองมากกว่า<br />
โครงการสถาปัตยกรรมร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาเสียอีก<br />
สิ่งที่น่าสนใจคือเราสามารถเปรียบเทียบโครงการศูนย์วัฒนธรรม<br />
ญี่ปุ่น-ไทยของทังเงะกับโครงการอนุสาวรีย์ไทยแบบโลหะปราสาท<br />
ของพระพรหมพิจิตรได้ในบางประเด็น เช่น การนำเอาแผนผังของ<br />
สถาปัตยกรรมโบราณมาใช้เกือบทั้งหมดรวมทั้งลักษณะรูปแบบ<br />
ของอาคาร ขณะเดียวกันก็ใส่ประโยชน์ใช้สอยของโครงการใหม่<br />
ลงในผังและรูปแบบอาคารโบราณทั้งหมดโดยไม่สนใจความ<br />
สัมพันธ์ของยุคสมัยและการก่อเกิดของรูปแบบอาคารเลย ฉะนั้น<br />
เราสามารถกล่าวได้ว่าโครงการอนุสาวรีย์ไทยแบบโลหะปราสาท<br />
ของพระพรหมพิจิตร (1939) กับโครงการสถาปัตยกรรมศูนย์<br />
วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย (1943) นั้นเป็นโครงการสถาปัตยกรรม<br />
อนุสาวรีย์ชาตินิยมประเภทที่ล้าหลังที่สุดเหมือนกัน เพราะล้าหลัง<br />
แม้กระทั่งงานของตัวเองที่เคยทำมาก่อน ส่วนรูปแบบอนุสาวรีย์<br />
ชาตินิยมที่ก้าวหน้าที่สุดของสถาปัตยกรรมแห่งการสร้างชาติใน<br />
ยุคนี้คงจะเป็นโครงการสถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย<br />
ของเมอิคาว่า ที่เขายังใช้ผังแบบสากลนิยมสมัยใหม่ที่ได้<br />
แรงบันดาลใจจากพระราชวังคัทซุระมาเป็นฐานในการออกแบบ<br />
แม้ว่ารูปทรงอาคารจะใช้สถาปัตยกรรมโบราณมาห่อหุ้มเพื่อเอา<br />
ตัวรอดในยุคเผด็จการก็ตาม วิธีการออกแบบผังนี้แสดงถึงการยืน<br />
หยัดใช้ภูมิปัญญาของสถาปนิกอุดมคติบางคนแม้ในช่วงเวลาวิกฤต<br />
ซึ่งต่อไปจะเป็นประโยชน์ในการสร้างอัตลักษณ์สถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ของญี่ปุ่น วิธีการออกแบบเช่นนี้สถาปนิกไทยยังไปไม่ถึง<br />
จึงไม่มีตัวอย่างเปรียบเทียบ แต่ก็เป็นสัญญาณบอกถึงระยะห่างของ<br />
ภูมิความรู้ระหว่างญี่ปุ่นกับไทย และเป็นเวลาอีกยาวนานที่ฝ่ายไทย<br />
จะไล่ตามทัน<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
407
เชิงอรรถบทที่ 4<br />
1 Framton Kenneth and Kudo Kunio, Japanese<br />
building Practice, From Ancient Times to the<br />
Meiji Period (New York: Van Nostrand Rienhold,<br />
1997), 86, 87.<br />
2 Ibid., 90.<br />
3 “จดหมายเหตุสยามไสมย ล.3 ผ.3,” วันพุฒ เดือน<br />
10 ขึ้น 4 ค่า ปีมะแม เบญจศก 1245, 19.<br />
4 “แจ้งความเรื่องสวนดุสิต” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม<br />
15, ตอนที่5 (7 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 117): 543.<br />
5 David B. Stewart, The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present<br />
(Tokyo: Kodansha international, 1987), 44.<br />
6 Yutaka Hidaka, accessed April 21, 2017,<br />
available from www.nikken.co.jp/ja/ar<br />
chives/60002.html<br />
7 Shunsuke Otani, “The Dawn of Structural<br />
Earthquake Engineering in Japan” (the 14th<br />
World Conference on Earthquake Engineering,<br />
October 12-17, 2008, Beijing, China), 5, 8.<br />
8 About AIJ-Architectural Institute of Japan(AIJ),<br />
accessed April 24, 2017, available from http://<br />
www.aij.or.jp./eng/ about/about.html<br />
9 General lists of Journal of Architecture and<br />
Building Science Part 1 to 49, (1936), accessed<br />
April 24, 2017, available from http://www.aij.<br />
or.jp/da1/kaishimokuroku/mokuroku.html<br />
10 Ibid. วารสารนี้ยังพิมพ์เผยแพร่จนทุกวันนี้ในชื่อ<br />
ใหม่ว่า วารสารสถาปัตยกรรมและวิทยาการอาคาร<br />
(Journal of Architecture and Building Science)<br />
11 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวัน<br />
ตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4- พ.ศ.2480 (กรุงเทพฯ:<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), 173.<br />
12 เรื่องเดียวกัน, 124- 126.<br />
13 เรื่องเดียวกัน, 221-222.<br />
14 เรื่องเดียวกัน, 132.<br />
15 เรื่องเดียวกัน, 196.<br />
16 ชาตรี ประกิตนนทการ, “สถาปนิก ความรู้ โรงเรียน<br />
สถาปัตยกรรม,” หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย 13 (มกราคม<br />
2559-ธันวาคม 2559): 88.<br />
17 คาร์ล เดอริงก์, “สถาปัตยกรรมสยาม,” แปลโดย<br />
อาภา โอตระกูล ใน เยอรมันมองไทย, เคลาส เวงค์<br />
และ เคลาส โรสเซ็นแบร์ก ผู้รวบรวม (พระนคร:<br />
เคล็ดไท, 2520), 88.<br />
18 “ตาแหน่งข้าราชการกระทรวงโยธาธิการ” ราชกิจ<br />
จานุเบกษา เล่ม 9, ตอนที่ 32 (6 พฤศจิกายน<br />
1892): 266.<br />
19 “ตาแหน่งข้าราชการในกระทรวงโยธาธิการ” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 24, ตอนที่ 25 (22 กันยายน<br />
รัตนโกสินทร์ศก 126): 613.<br />
20 Jan Lahmeyer, Historical demographical data<br />
of the whole country, accessed May 30, 2016,<br />
available from http://www.populstat.info/<br />
21 “เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองรังสิตประยุรศักดิ์<br />
แลเสด็จพระราชวังบางปอิน” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 13, ตอนที่ 35 (29 พฤศจิกายน 1896): 431.<br />
22 Watanabe Toshio, “Josiah Conder’s Rokumei<br />
kan: Architecture and National Representation<br />
in Meiji Japan,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996):<br />
24, 25.<br />
23 “เสด็จพระราชดำเนินวังบุรพาภิรมย์ ในการซึ่งที่<br />
ปฤกษาของผู้สาเร็จราชการแผ่นดินมีการสมโภช<br />
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 14, แผ่นที่ 43 (23 มกราคม<br />
รัตนโกสินทร์ศก 116): 736-739.<br />
24 “งานราตรีสโมสรที่วังบุรพาภิรมย์” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 16, ตอนที่ 21 (20 สิงหาคม 1899):<br />
264.<br />
25 “ราตรีสโมสรเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระเจ้าลูก<br />
ยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิตที่วังบุรพา<br />
ภิรมย์” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18, ตอนที่ 47 (23<br />
กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 120): 895-896.<br />
26 “การราตรีสโมสรเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จ<br />
พระบรมโอรสาธิราช ที่วังบุรพาภิรมย์” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 19, ตอนที่ 49 (22 กุมภาพันธ์<br />
รัตนโกสินทร์ศก 121): 941-942.<br />
27 “การราตรีสโมสรเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จ<br />
พระบรมโอรสาธิราช ที่วังบุรพาภิรมย์” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา, 941-942.<br />
28 Watanabe Toshio, “Josiah Conder’s Rokumei<br />
kan: Architecture and National Representation<br />
in Meiji Japan,” 26.<br />
29 Ibid., 25.<br />
30 Shimizu Yuichiro, Shaping the Diet: Competing<br />
Architectural Designs for Japan’s Diet Building,<br />
accessed January 13, 2015, available from<br />
http://papers.ssru.com/sol3/papaers, 15.<br />
31 Jonathan M. Reynolds, “Japan’s Imperial Diet<br />
Building: Debate over Construction of a<br />
National Identity,” Art Journal 55, 3 (Fall 1996):<br />
40.<br />
32 Shimizu Yuichiro, Shaping the Diet: Competing<br />
Architectural Designs for Japan’s Diet Building,<br />
Social Science Research Network, accessed<br />
January 13, 2014, available from http://papers.<br />
ssru.com/sol3/papers, 16.<br />
33 Ibid., 21.<br />
34 Ibid.<br />
35 สมชาติ จึงสิริอารักษ์, สถาปัตยกรรมแบบตะวัน<br />
ตกในสยามสมัยรัชกาลที่ 4- พ.ศ.2480, 341.<br />
36 Jonathan M. Reynolds, Maekawa Kunio and<br />
the Emergence of Japanese Modernist<br />
Architecture (Berkeley: University of California<br />
Press, 2001), 37.<br />
37 Oshima Ken Tadashi, International architecture<br />
in Interwar Japan (Seattle: University of Wash<br />
ington Press, 2009), 215.<br />
38 Ibid., 231-232.<br />
39 Ibid.<br />
40 “Memorandum by Prince Bidya on the<br />
Organization of Athletics,” March 22nd 1933,<br />
เอกสารสานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, (2)<br />
สร0201.29/3, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
41 “รายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ<br />
408 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เนื่องในพิธีเริ่มงานกรีฑาประจาปีของกระทรวง<br />
ศึกษาธิการ พุทธศักราช 2484,” 1 ธันวาคม 2484,<br />
เอกสารสานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, (2)<br />
สร0201.29/2, หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
42 Sato Yoshiaki, The Kanagawa Prefectural<br />
Government Hall and Low-ranking Official<br />
Architects in Taisho and Early Showa Era,<br />
Viewing from History of Architecture, accessed<br />
December 12, 2016, available from www.ka<br />
mome.lib. ynu.ac.jp/dspace/bis<br />
tream/10131/425/9/11734506-09.pdf, iv.<br />
43 “แถลงนโยบายของรัฐบาล คณะที่นายพันเอก<br />
พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 23<br />
ธันวาคม 2480” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 54 (3<br />
มกราคม 2480): 2336-2337.<br />
44 พระพรหมพิจิตร, พรหมพิจิตร์อนุสรณ์ (พระนคร:<br />
โรงพิมพ์พระจันทร์, 2508), ไม่มีเลขหน้า.<br />
45 Jacquet Benoit, Compromising Modernity:<br />
Japanese Monumentality during World War II,<br />
accessed January 11, 2017, available from<br />
https://www.academia.edu/170, 5.<br />
46 Ibid.<br />
47 “ประกาศสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อ<br />
ประเทศ, ประชาชน และสัญชาติ” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 56 (24 มิถุนายน 2482): 810.<br />
เปรียบเทียบพัฒนาการของสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยาม<br />
409
5<br />
บทสรุป<br />
410 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
412 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นและสยามคือ<br />
ภาพสะท้อนอุดมคติแห่งยุคสมัยของชาติทั้ง2 ในการสร้างความเจริญ<br />
รุ่งเรืองและอัตลักษณ์ของตนเองในช่วงเวลาใหม่ของประวัติศาสตร์<br />
โลกที่ครอบงำโดยวัฒนธรรมตะวันตก ตั้งแต่ทั้ง 2 ประเทศถูกบีบ<br />
บังคับให้เปิดประเทศในกลางศตวรรษที่ 19 เจตจำนงที่จะเป็น<br />
เอกราชและหลุดพ้นจากสถานะประเทศชั้น 2 ทำให้ทั้ง 2 ประเทศ<br />
ดำเนินการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องตามบริบททาง<br />
สังคมวัฒนธรรมของแต่ละประเทศจะอำนวยให้ สถาปัตยกรรมเป็น<br />
หลักฐานและอนุสาวรีย์ของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทาง<br />
ประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศนี้ ซึ่งจะสรุปตามลำดับเวลาดังนี้<br />
ในช่วงแรกสุดของการศึกษาคือยุคหน่ออ่อนของ<br />
สถาปัตยกรรมตะวันตก (1850-1868) นั้น พระบาทสมเด็จ<br />
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความอ่อนไหวที่รวดเร็วต่ออิทธิพล<br />
ของจักรวรรดินิยม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พวกช่างหลวง<br />
รีบสร้างพระราชวังแบบตะวันตกขึ้นมาอย่างรวดเร็วตามความรู้<br />
ความสามารถของตัวเอง เพื่อสร้างภาพความศิวิไลซ์ทาง<br />
วัฒนธรรมให้มหาอำนาจตะวันตกได้รับรู้ว่าสยามไม่ได้ป่าเถื่อน<br />
แต่สถาปัตยกรรมเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งก่อสร้างที่มีความงามอย่างผิวเผิน<br />
ที่ห่อหุ้มภูมิปัญญาการก่อสร้างแบบโบราณของสยามทั้งสิ้น<br />
มันเป็นเพียงเครื่องมือทางการทูตที่ชาญฉลาดอย่างหนึ่งของ<br />
สยามเท่านั้น เวลาเดียวกันนั้นเป็นเวลาแห่งศึกสงครามช่วงชิงอ ำนาจ<br />
ภายในของญี่ปุ่นระหว่างโชกุนกับฝ่ายฟื้นฟูอำนาจจักรพรรดิ<br />
อาคารที่เขาสร้างจึงมุ่งที่อาคารอุตสาหกรรมและการทหารแบบใหม่<br />
ที่มีวิศวกรตะวันตกเป็นผู้ออกแบบ อาคารเหล่านี้ไม่ได้ดูสวยงาม<br />
เหมือนพระราชวังในสยามแต่มันเป็นความรู้ในการก่อสร้างแบบใหม่<br />
ทั้งการวางผัง การออกแบบโครงสร้าง และการใช้วัสดุแบบใหม่ที่<br />
จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาศักยภาพให้ญี่ปุ่นเป็นชาติอุตสาหกรรม<br />
และนักรบในเวลาต่อมา<br />
ช่วงที่ 2 คือช่วงสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคแรก (ปลาย<br />
ทศวรรษ 1860-1870) หรือยุคเปลี่ยนผ่าน ซึ่งตรงกับรัชสมัยเมจิ<br />
ในญี่ปุ่นและรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม<br />
ตอนต้นของรัชกาลทั้ง 2 ประเทศนี้การสร้างสถาปัตยกรรมตะวันตก<br />
ยังเป็นการเลียนแบบอย่างซื ่อๆ ของช่างพื้นเมืองที่จะหมดหน้าที่<br />
ไปอย่างรวดเร็ว และหน้าที่นี้ตกมาเป็นของสถาปนิกชาวตะวันตก<br />
บทสรุป<br />
413
แท้ๆ เพราะความต้องการอาคารที่มีประโยชน์ใช้งานและความถูกต้อง<br />
ของรูปลักษณ์แต่ปัญหาที่ทั้ง2 ชาติประสบก็คือสถาปนิกชาวตะวันตก<br />
รุ่นแรกนั้นเป็นสถาปนิกประเภทมากประสบการณ์แต่ไม่มากคุณภาพ<br />
สถาปนิกไม่สามารถสนองความต้องการของโครงการที่<br />
ทะเยอทะยานของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ ในกรณีของสยามสถาปนิกเป็น<br />
ผู้รับเหมาไปด้วยในขณะเดียวกันและผลิตงานคุณภาพต่ ำ นี่เป็นสาเหตุ<br />
สำคัญที่นำไปสู่การปฏิรูปการก่อสร้างทั้ง 2 ประเทศ<br />
ช่วงที่3 คือช่วงสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกยุคปฏิรูป (ปลาย<br />
ทศวรรษ1870-1910) ซึ่งต่อเนื่องจากช่วงที่ 2 ไปจนสิ้นรัชสมัย<br />
ของรัชกาลทั้ง 2 มันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของ<br />
ประเทศทั้ง 2 การปฏิรูปทางสถาปัตยกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ<br />
การปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่มีการวางแผนปฏิรูปประเทศ<br />
อย่างเป็นระบบทุกองคาพยพ การเมืองการปกครอง การศึกษา<br />
เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการทหาร เป็นต้น ความสำเร็จในการ<br />
พัฒนาการศึกษาอย่างรวดเร็วในทุกระดับเป็นปัจจัยพื้นฐานของ<br />
ความสำเร็จในการปฏิรูปประเทศของญี่ปุ่น สำหรับการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมในทศวรรษ 1870 ญี่ปุ่นเริ่มด้วยการเชิญโจไซอา<br />
คอนเดอร์ สถาปนิกหนุ่มชาวอังกฤษมาเป็นอาจารย์สอนวิชา<br />
สถาปัตยกรรมให้นักศึกษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยโตเกียวที่เพิ่งก่อตั้ง<br />
ปลายทศวรรษ 1880 ทัตสุโนะ คิงโกะ ลูกศิษย์ชาวญี่ปุ่นรุ่นแรก<br />
ของคอนเดอร์ก็สามารถรับช่วงการสอนเองได้หมด ในเวลาไล่เรี่ย<br />
กันรัฐบาลจ้างกลุ่มสถาปนิกเยอรมันเอนเดอร์และบ๊อคมานน์<br />
ที่มีความสามารถมาออกแบบโครงการอาคารกระทรวง ทบวง กรม<br />
และผังเมืองขนาดใหญ่ที่โตเกียว คนเหล่านี้ได้ถ่ายทอดความรู้เชิง<br />
วิชาชีพให้กับผู้ช่วยชาวญี่ปุ่นของเขาอย่างมากมาย ทำให้ในช่วง<br />
ทศวรรษ 1890 วงการสถาปนิกญี่ปุ่นก็สามารถตั้งหลักได้อย่าง<br />
มั่นคงทั้งวิชาการและวิชาชีพ ด้วยกลยุทธการบริหารที่ชาญฉลาด<br />
ของรัฐบาลในการวางแผนการปลูกถ่ายความรู้จากชาติตะวันตก<br />
มาสู่คนพื้นเมืองอย่างเป็นระบบนี้เอง<br />
ขณะที่สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกกำลังเติบโตเบ่งบานนั้น<br />
ปฏิกิริยาจากวัฒนธรรมหลงเชื้อชาติก็สร้างสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
ขึ้นในช่วงทศวรรษ 1890 นั่นเอง อาคารเหล่านี้ที่ใช้ผังแบบคลาสสิค<br />
แต่หุ้มห่อด้วยลักษณะผนังแบบญี่ปุ่นและคลุมด้วยหลังคาแบบ<br />
วัดโบราณซึ่งเป็นจุดที่เด่นที่สุด ที่มาของอาคารแบบนี้ก็คือแบบร่าง<br />
รัฐสภาแบบที ่ 2 ที่เอนเดอร์และบ๊อคมานน์สร้างสรรค์ขึ้นจาก<br />
สถาปัตยกรรมแบบชีวาซูรี่หรือจีนนิยมของยุโรปในศตวรรษที่ 18<br />
แต่อาคารแบบชาตินิยมยังไม่แพร่หลายจนกระทั่งยุคไทโชเมื่อ<br />
ลัทธิชาตินิยมเบ่งบาน<br />
เมื่อญี่ปุ่นพัฒนาไปสู่การพึ่งตัวเองได้แล้วนั้น การปฏิรูปการ<br />
ปกครองแผ่นดินของสยามตอนปลายทศวรรษ 1880 เป็นการปฏิรูป<br />
เพื่อการพึ่งพาผู้อื่น บุคลากรที่เป็นเครื่องจักรสำคัญในการวางแผน<br />
และกำกับการทำงานจริงล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางต่างชาติทั้งสิ้น<br />
ซึ่งรวมทั้งงานออกแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นหน้าที่หลักของ<br />
กรมโยธาธิการที่ตั้งขึ้นใหม่ด้วยเช่นกัน ก็ตกอยู่ในการกำกับของ<br />
คณะวิศวกรและสถาปนิกชาวอิตาเลียน นอกจากนั้นสยามยัง<br />
เชื่องช้ามากในการพัฒนาด้านการศึกษาทั้งระดับพื้นฐานและระดับ<br />
อุดมศึกษา ดังนั้นจึงไม่มีการปลูกถ่ายความรู้แบบญี่ปุ่นเกิดขึ้น<br />
ในสยาม สยามยังอยู่ในภาวะพึ่งพามันสมองจากต่างแดน แต่ถ้าหาก<br />
ดูผิวเผินเพียงแต่ตัวสิ่งก่อสร้างเราก็อาจกล่าวได้ว่าสยามมีอาคารดีๆ<br />
มากมายแบบที่ญี่ปุ่นมีทั้งแบบคลาสสิค โรแมนติก และอาร์ตนูโว<br />
โดยเฉพาะพระราชวังต่างๆ อาคารพักอาศัยของชนชั้นสูงและ<br />
อาคารที่ทำการของกระทรวงต่างๆ ของรัฐบาล แต่ขณะเดียวกัน<br />
อาคารสาธารณูปโภคและอาคารสาธารณะสำหรับชนชั้นกลา<br />
งที่เอกชนสร้างนั้นญี่ปุ่นมีมากกว่าอย่างเห็นได้ชัดเพราะการเติบโต<br />
ทางเศรษฐกิจที่ก้าวสู่สังคมทุนนิยมอย่างเต็มตัว ขณะที่สยามยังคง<br />
เป็นสังคมเกษตรกรรมและมุ่งที่จะเป็นประเทศเกษตรกรรม<br />
ที่สามารถเลี้ยงดูประชากรที่ยังเบาบางอยู่ของตนต่อไป ดังนั้น<br />
ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่19 เป็นต้นไปการพัฒนาทางสถาปัตยกรรม<br />
ของทั้ง 2 ประเทศจะห่างไกลออกไปเรื่อยๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป<br />
414 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
การสร้างอาคารด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณในสยาม<br />
ช่วงนี้มาจากแนวคิดอนุรักษ์นิยมมากกว่าชาตินิยมแบบญี่ปุ่นและ<br />
มีตัวอย่างให้เห็นตั้งแต่การสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใน<br />
ค.ศ. 1875 แต่ความขัดแย้งเรื่องแบบตะวันตกของใหม่กับแบบไทย<br />
ของเดิมนั้นก็ตกลงประนีประนอมกันได้สำเร็จด้วยอาคารแบบ<br />
คลาสสิคที่มีปราสาท 3 ยอด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า<br />
อยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารรูปแบบผสม<br />
ระหว่างตะวันตกและไทยขึ้นอีกหลายแห่งในช่วงทศวรรษ1890-1900<br />
ส่วนใหญ่เป็นอาคารในพระพุทธศาสนา ที่สำคัญคือการบูรณะ<br />
พระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหารของสมเด็จฯ เจ้าฟ้า<br />
กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ร่วมกับวิศวกรคาร์โล อัลเลอกรีที่<br />
เป็นการออกแบบประสานกันระหว่างผังแบบไทย อาคารแบบเขมร<br />
ประยุกต์ และโครงสร้างค้ำยันลอยแบบโกธิคประยุกต์ นับเป็นงาน<br />
แบบอนุรักษ์นิยมที่สร้างสรรค์ที่สุดและกล่าวได้ว่าเป็นงานแบบ<br />
อนุรักษ์นิยมที่ทำได้น่าสนใจกว่างานชาตินิยมร่วมสมัยของญี่ปุ่น<br />
เสียอีก พระอุโบสถนี้จะเป็นแรงบันดาลใจต่อการออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ในช่วงทศวรรษ 1930-1940<br />
ช่วงที่ 4 คือช่วงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงแรก (ประมาณ<br />
ค.ศ. 1910-1926) ซึ่งตรงกับรัชสมัยไทโชในญี่ปุ่นและรัชกาล<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม รัชสมัยไทโช<br />
(1912-1926) คือยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น มันมาพร้อมกับความเป็น<br />
ประเทศอุตสาหกรรมทุนนิยมทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยภายใต้<br />
กำกับของกลุ่มคณาธิปไตยและทหารทางสังคมการเมือง และ<br />
ดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยวิถีจักรวรรดินิยมทหาร บริบทสังคม<br />
ทุนนิยมกึ่งประชาธิปไตยและเผด็จการทหารนี้นำสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่เข้ามาแพร่หลายในญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นยังเปิดรับวัฒนธรรม<br />
ตะวันตกอย่างเต็มที่แม้ว่าพวกชนชั้นนำจะไม่ชอบนักก็ตาม<br />
ระบบการศึกษาที่ตามติดวิทยาการของตะวันตกมาตั้งแต่สมัยเมจิ<br />
และสถาปนิกรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มเดินทางไปศึกษาสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ในเยอรมันตั้งแต่ทศวรรษแรกของศตวรรษ 20 ได้นำ<br />
แนวคิดแบบสากลนิยมสมัยใหม่เข้ามา สิ่งเหล่านี้ได้ตกผลึกเกิด<br />
กลุ ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้า เช่น กลุ่มบุนริฮา นำโดย โฮริกูชิ ซูเตมิ<br />
ใน ค.ศ. 1920 ที่ประกาศตนเป็นกบฏกับการออกแบบโดยใช้<br />
รูปแบบโบราณแต่ก็ไม่ต้องการตัดขาดจากสถาปัตยกรรมในอดีต<br />
เสียทีเดียว พวกเขาเสนอรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเรียบเกลี้ยง<br />
เหมือนประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลจากพวกเอ๊กเพรสชั่นนิสม์<br />
ของเยอรมัน เช่น อาคารสำนักงานกลางโทรเลขแห่งกรุงโตเกียว<br />
(1925) อาคารสำนักงานหนังสือพิมพ์อาซาฮีที่กรุงโตเกียว (1927)<br />
เป็นต้น บ้านพักอาศัยชื่อชิเอนโซที่เมืองวาราบิ (1926) ที่โฮริกูชิ<br />
ออกแบบเองแสดงความพยายามใส่อัตลักษณ์ญี่ปุ่นลงในบ้าน<br />
แบบพื้นถิ่นดัทช์ผสมสมัยใหม่ นอกจากนี้ยังมีพวกใช้หลักเหตุผล<br />
แบบวิศวกร เช่น ซาโน โตชิคาตะ ออกแบบบ้านพักซาโน (1923)<br />
ที่โอซาก้า ในลักษณะกล่องลูกบาศก์คอนกรีตที่เรียบเกลี้ยงแบบงาน<br />
วิศวกรรม ส่วนผู้ที่มีส่วนสำคัญที่สุดในการนำแนวทางออกแบบ<br />
สากลนิยมสมัยใหม่ของวอลเตอร์ โกรเปียสและเลอคอร์บูซิเอร์<br />
มาเผยแพร่ในญี่ปุ่นกลับเป็นสถาปนิกชาวอเมริกัน-เช็ค อันโตนิน<br />
เรย์มอนด์ ที่ออกแบบบ้านไรนานซากา (1924) ที่กรุงโตเกียวในรูป<br />
ลักษณ์แบบโกรเปียสผสมคอร์บู ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงแห่งการ<br />
บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และแนวคิดที่จะสร้างอัตลักษณ์<br />
ญี่ปุ่นลงในนวัตกรรมจากต่างแดนนี้ ซึ่งจะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง<br />
ในทศวรรษ 1930-1940 ที่เป็นช่วงแห่งการสร้างอัตลักษณ์ญี่ปุ่น<br />
ในสถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
การสร้างสรรค์ในแนวตรงข้ามกับพวกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
คือ สถาปัตยกรรมชาตินิยม ในรัชสมัยไทโชได้รับการสนับสนุนจาก<br />
พวกชาตินิยม จักรวรรดินิยม และอนุรักษ์นิยมที่มีไม่น้อยกว่า<br />
พวกนิยมประชาธิปไตย ผู้นำในการออกแบบและวิชาการคือ อิโตะ<br />
ชูตะที่เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการแห่งสถาปัตยกรรมตั้งแต่ ค.ศ. 1909<br />
ในปลายรัชสมัยเมจิ สาระสำคัญของทฤษฎีคือสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น<br />
มีรากเหง้ามาจากสถาปัตยกรรมกรีกและวิวัฒนาการผ่านอินเดีย<br />
และจีน ทำให้สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นเป็นเพียงสถาปัตยกรรมเดียวของ<br />
บทสรุป<br />
415
เอเชียที่มีพัฒนาการต่อเนื่องแบบเดียวกับชาติตะวันตกสมควรเป็น<br />
ตัวแทนและผู้นำแห่งสถาปัตยกรรมของโลกตะวันออกที่แท้จริง<br />
ไม่น่าแปลกใจที่ทฤษฎีของเขาได้รับการตอบรับจากทั้งรัฐบาลและ<br />
ฝ่ายศาสนาที่กำลังสร้างร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา หรือ<br />
นโยบายเจ้าเอเชียตะวันออกของญี่ปุ่นนั่นเอง ในทางปฏิบัติอิโตะ<br />
นิยมเจดีย์อินเดียแบบคันธารราชเพราะเป็นแบบศิลปะที่พัฒนามา<br />
จากกรีก แต่เจดีย์คันธารราชของอิโตะ เช่น อนุสาวรีย์โกโกกุโตะ<br />
(1911) หรืออนุสาวรีย์วีรชนทหารผู้ปกป้องบ้านเมือง ที่วัดคาสุอิไซ<br />
เมืองฟุคุโรอินั้นแม้จะดูเป็นเจดีย์จีน-ทิเบตมากกว่าอินเดีย แต่มัน<br />
ก็สามารถอธิบายรากฐานที่ศิวิไลซ์ของแบบได้ทางทฤษฎีและอิโตะ<br />
ก็ไม่นิยมงานผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณอย่างที่สถาปนิกอื่นทำ<br />
นอกจากนี้อิโตะยังเลือกสถูปแบบสยามสำหรับสถูปโฮอันโตะ<br />
(1918) วัดนิสเซนจิ เมืองนาโงย่าสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ<br />
ที่ได้รับจากสยามใน ค.ศ. 1900 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถาปัตยกรรม<br />
ของเขาก็หนีไม่พ้นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณ<br />
ทั้งหลาย แต่เนื่องจากอิโตะศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
อย่างลึกซึ้งเขาจึงสามารถเลือกแบบได้มากและแนบเนียนกว่า<br />
สถาปนิกทั่วไป ซึ่งตรงข้ามกับสถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิ<br />
หรือไทคันโยชิกิที่มีผังแบบตะวันตกและใส่หลังคาญี่ปุ่นและ<br />
เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่มวลชนว่าเป็นแบบประจำชาติตั้งแต่<br />
ปลายสมัยเมจิ มาในยุคไทโชนี้มันได้รับการออกแบบอย่างประณีต<br />
ยิ่งขึ้นไปอีก เช่น อาคารคลังสมบัติหรือโฮบุตสุเดน (1921) แห่ง<br />
ศาลเจ้าเมจิ กรุงโตเกียว เป็นการผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณ<br />
แต่สร้างด้วยคอนกรีต โครงการประกวดแบบรัฐสภาแห่งชาติ(ไดเอท)<br />
ใน ค.ศ.1918 ที่สถาบันสถาปนิกจัดโต้วาทีเพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องรูปแบบ<br />
ที่เหมาะสม ซึ่งสรุปได้เพียงว่าควรจะเป็นสื่อของ “อุดมคติของญี่ปุ่น”<br />
แต่ผลการตัดสินปรากฏว่าแบบที่ชนะทั้ง 3 แบบล้วนเป็นแบบ<br />
คลาสสิคชนิดผสมผสานทั้งสิ้น ซึ่งไม่เป็นที่พอใจของทั้งกรรมการ<br />
ตัดสินและสาธารณชน จึงมีผู้ส่งแบบคลาสสิคที ่หลังคาเป็น<br />
ที่ตั้งปราสาทญี่ปุ่นโบราณมาให้กรรมการตัดสินพิจารณาซึ่งก็ไม่ได้<br />
รับความเห็นชอบเช่นกัน สุดท้ายคณะกรรมการตัดสินใจดัดแปลง<br />
แบบเพื่อการสร้างจริงเองโดยตัดลวดลายตกแต่งของแบบชนะเลิศ<br />
ออกหมด เปลี่ยนหลังคาโดมเป็นหลังคาปิรามิดขั้นบันไดแทน<br />
ทั้งนี้เพื่อแสดงว่าอาคารเป็นแบบสมัยใหม่ซึ่งแปลว่าสังคมญี่ปุ่นเอง<br />
ยังลังเลในการเลือกแสดงอัตลักษณ์ของตนเองผ่านสถาปัตยกรรม<br />
รูปแบบไหนดี ดังนั้นวาทกรรม “ความเป็นญี่ปุ่น” และ “ความเป็น<br />
สมัยใหม่” ในสังคมญี่ปุ่นสมัยไทโชนั้นจึงมีหลายมิติแม้ในพวก<br />
สถาปนิกด้วยกันเอง มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชื่อ และ<br />
การศึกษาที่ไม่ตายตัว<br />
สำหรับสยามในทางทฤษฎีนั้นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ยังไม่เกิดขึ้นในสยามสมัยรัชกาลที่6 แม้ว่าเราจะสร้างอาคารใหม่ๆ<br />
จำนวนไม่น้อยแต่ความจริงมันเป็นงานผลิตซ้ำในสมัยรัชกาลที่ 5<br />
คฤหาสน์อย่างบ้านนรสิงห์ (1923-1926) พัฒนามาจากพระที่นั่ง<br />
อัมพรสถาน (1906) ที่เป็นงานอาร์ตนูโวแต่แต่งหน้าใหม่ด้วย<br />
สถาปัตยกรรมโกธิคแบบเวนิส อาคารที่มีพัฒนากลับเป็นอาคาร<br />
สาธารณูปโภค เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย<br />
(1912-1914) ที่อาคารหลายหลังสร้างด้วยคอนกรีตรูปทรงเรียบเกลี้ยง<br />
เช่น ตึกผ่าตัด (1914) หอผู้ป่วยชั้นเดียวแบบบังกะโลคอนกรีต<br />
หลังคาแบน (1914) โรงกรองน้ำประปาสามเสน (1914) เป็นอาคาร<br />
คอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาโครงทรัสเหล็ก โถงชานชาลาสถานี<br />
รถไฟกรุงเทพฯ หัวลำโพง (1916) เป็นอาคารโครงสร้างเหล็ก หลังคา<br />
ทรัสเหล็กโค้งประทุนรูปเกือบครึ่งวงกลมคลุมช่วงกว้าง 50 เมตร<br />
โรงซ่อมรถโดยสาร มักกะสัน (1922) โครงสร้างผสมอิฐก่อเสริม<br />
คานวงโค้งคอนกรีต ตึกประถมหนึ่งโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์<br />
(1913) สร้างเป็นตึกแถวคอนกรีต 3 ชั้นมีเสาระเบียงคอนกรีต<br />
เรียงเป็นแถวเหมือนโรงเรียนห้องแถวไม้ในยุคก่อน โบสถ์น้อย<br />
เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ (1920) เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้นเรียบง่าย<br />
ที่วางผังตัวโบสถ์ ห้องเรียนและห้องสังฆภัณฑ์ได้อย่างลงตัวใน<br />
กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียบง่าย ห้างทองตั้งโต๊ะกัง สำเพ็ง (1921)<br />
เป็นตึกแถวคอนกรีตสูง 6 ชั้น อาคารพวกนี้สร้างโดยไม่มีทฤษฎี<br />
ออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่รองรับ แต่เป็นผลจากการใช้วัสดุ<br />
416 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ใหม่คือคอนกรีตที่มาจากปูนซีเมนต์พอร์ทแลนด์ที่สยามผลิตจ ำหน่าย<br />
ได้ใน ค.ศ. 1913 อาคารคอนกรีตออกแบบโดยวิศวกรและผู้รับ<br />
เหมาด้วยหลักการสนองประโยชน์ใช้สอย เรียบง่าย แข็งแรง<br />
ตรงไปตรงมา และราคาประหยัด เมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรม<br />
สมัยใหม่ร่วมสมัยในญี่ปุ่นจะเห็นได้ว่าอาคารคอนกรีตในสยาม<br />
ไม่มีแนวคิด ทฤษฎี และประวัติศาสตร์รองรับแบบที่ญี่ปุ่นมี และ<br />
ที่สำคัญที่สุดคืออาคารคอนกรีตชั้นดีในสยามเป็นนวัตกรรมของ<br />
คนต่างชาติขณะที่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นคิดและสร้างเอง<br />
โดยสถาปนิกญี่ปุ่น นี่คือผลของการวางแผนและพัฒนาประเทศ<br />
ที่แตกต่างกันตั้งแต่ทศวรรษ 1870 เป็นต้นมา โดยเฉพาะเรื่อง<br />
การปฏิรูปการศึกษาและการปลูกถ่ายความรู้ดังได้กล่าวมาแล้ว<br />
แม้ว่าการพัฒนาในแนวสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จะแตกต่าง<br />
กันมาก แต่พัฒนาการด้านสถาปัตยกรรมชาตินิยมของสยาม<br />
กลับมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ความไม่มั่นคงในราชบัลลังก์จากพวก<br />
เตรียมก่อการกบฏใน ค.ศ. 1911 ที่ถูกจับกุมได้ทั้งหมดทำให้<br />
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศอุดมการณ์<br />
แห่งชาติว่าด้วย “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เพื่อให้ชาวไทยยึดมั่นใน<br />
องค์พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเคารพ<br />
สักการะและปฏิบัติตามคำสอนในศาสนาพุทธ และการรักชาติ<br />
ซึ่งหมายถึงแผ่นดินและประชาชนเชื้อชาติไทยที่ปฏิบัติตามเงื่อนไข<br />
2 ประการแรก ในการนี้ทำให้ทรงมีพระราชดำริในการฟื้นฟู ทำนุ<br />
บำรุง และสืบสานต่อศิลปะวัฒนธรรมไทยโบราณทั้งหลายรวมถึง<br />
สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งทรงยกย่องโบราณสถานของเมืองเก่า<br />
สุโขทัยว่าเป็นหลักฐานแสดงความมีอารยธรรมเก่าแก่ของชาติ<br />
และการสร้างวัดเบญจมบพิตรในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่าเป็นตัวอย่าง<br />
การสร้างสรรค์ที่ถูกต้อง คือการใช้แบบไทยโบราณแต่สร้างด้วย<br />
วัสดุและเทคนิคสมัยใหม่ ของตะวันตก ดังนั้นจุดประสงค์ในการ<br />
สร้างสถาปัตยกรรมชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในรัชกาลนี้คือ<br />
การผลิตซ้ำศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ในอดีตด้วยวัสดุและโครงสร้างใหม่<br />
ที่เป็นคอนกรีต อาคารที่สำคัญ ได้แก่หอสวดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง<br />
(1915) ออกแบบโดยพระสมิทธเลขา (ปลั่ง วิภาตะศิลปิน) ร่วมกับ<br />
เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ สถาปนิกชาวอังกฤษ ผังเป็นรูปกากบาทแบบแกน<br />
ไม่เท่ากัน ลักษณะภายนอกเหมือนวิหารและศาลาการเปรียญ<br />
หลังคาจั่วจตุรมุขประดับช่อฟ้าใบระกา ขณะที่ลวดลายต่างๆ<br />
เป็นการผสมระหว่างซุ้มเรือนแก้วกับซุ้มโค้งยอดแหลมแบบโกธิค<br />
ตึกบัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1916) สร้างโดยการ<br />
ประกวดแบบระหว่างคาร์ล ดือห์ริ่งและเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ โดยให้ทั้ง<br />
2 ไปดูแบบอย่างโบราณสถานที่เมืองเก่าสุโขทัยมาใช้เป็นแนว<br />
สภากรรมการโรงเรียนเลือกแบบของฮีลีย์เพราะราคาเหมาะกับ<br />
งบประมาณ ผังอาคารเป็นแบบคลาสสิครูปตัว E ลักษณะอาคาร<br />
เป็นแบบ 3 มุขเชื่อมด้วยปีกหลังคาแบบไทย ประดับช่อฟ้าใบระกา<br />
คอนกรีตและประติมากรรมคอนกรีตหล่อประดับหน้าบันฝีมือ<br />
ประติมากรอิตาเลียนโรดอลโฟ โนลี ที่ดัดแปลงมาจากงาน<br />
แบบไทยอิทธิพลเขมร สมัยสุโขทัย สถาปัตยกรรมเหล่านี้ความจริง<br />
มีจำนวนน้อยแต่มีอิทธิพลต่อมวลชนมากและต่อเนื่องยาวนาน<br />
ในแง่เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติที่เข้าใจง่าย เปรียบได้กับงาน<br />
แบบมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิในญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ดี<br />
สยามยังไม่มีสถาปัตยกรรมชาตินิยมเชิงสัญลักษณ์ที่ใช้<br />
ทฤษฎีประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมรองรับเช่นสถาปัตยกรรม<br />
วิวัฒนาการของอิโตะ ชูตะ ทั้งนี้เป็นผลของความก้าวหน้าทาง<br />
การศึกษาที่ญี่ปุ่นมีเหนือสยามโดยตรงอย่างปฏิเสธไม่ได้<br />
ช่วงที่ 5 คือช่วงสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ช่วงที่ 2 (1926-<br />
1945) ตรงกับปีแรกของรัชสมัยโชวะของญี่ปุ่นจนถึงสิ้นสุด<br />
สงครามโลกครั้งที่ 2 และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />
เจ้าอยู่หัว (1925-1935) ต่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร<br />
มหาอานันทมหิดล (1935-1946) ของไทย ยุคทศวรรษ 1930-<br />
1940 เป็นยุคแห่งเผด็จการทหารและการทำสงครามจักรวรรดินิยม<br />
ของญี่ปุ่น แต่สถาปนิกเสรีนิยมและหัวก้าวหน้าร่วมกันพัฒนา<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นไปในแนวสถาปัตยกรรมสากล<br />
นิยมสมัยใหม่ของกลุ่มเบาเฮาส์และเลอคอร์บูซิเอร์ ท่ามกลาง<br />
บทสรุป<br />
417
ความไม่พอใจของพวกชาตินิยมขวาจัดและทหาร แต่พวกเขา<br />
กลับมีพื้นที่สร้างสรรค์เล็กๆ ในแวดวงของการออกแบบบ้านพัก<br />
อาศัยของคนชั้นสูงหัวสมัยใหม่ เรือนชุดพักอาศัยของชนชั้นกลาง<br />
และอาคารสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน สถานี<br />
ไปรษณีย์ โทรเลข และสถานีอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น ตราบใด<br />
ที่สถาปนิกกลุ่มนี้ไม่ทำกิจกรรมเชิงต่อต้านรัฐและจำกัดตัวเอง<br />
ในแวดวงสถาปัตยกรรม รัฐบาลก็ยังไม่ปิดกั้นงานวิชาชีพของพวกเขา<br />
ในเวลา 2 ทศวรรษนี้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นได้พัฒนา<br />
มาถึงขั้นการสร้างคุณภาพรูปธรรมและการสร้างอัตลักษณ์<br />
เชิงนามธรรมที่ตอบสนองคุณค่าดั้งเดิมและวิถีชีวิตยุคใหม่ของ<br />
ชาวญี่ปุ่นให้หลอมรวมอยู่ในอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมแห่งแนวทาง<br />
สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่ พวกเขามีกลวิธีในการออกแบบ<br />
โดยการนำนามธรรมของวัฒนธรรมญี่ปุ่นไปบูรณาการกับ<br />
การออกแบบรูปธรรมของสากลนิยมสมัยใหม่อย่างได้ผลดี เช่น<br />
แอนโตนิน เรย์มอนด์ ออกแบบบ้านฮามาโอะ (1927) โดยการใช้<br />
ระบบพิกัดที ่สามารถรองรับห้องที่ปูเสื่อแบบญี ่ปุ่นและห้องแบบ<br />
สมัยใหม่ได้เหมือนกัน โฮริกูชิ ซูเตมิ ออกแบบบ้านโอกาดะ (1933)<br />
ที่มี2 ส่วน ส่วนแบบโบราณและส่วนสมัยใหม่โดยใช้ลานเปิดภายใน<br />
บ้านเป็นตัวแยกพื้นที่ ยามาดะ มาโมรุ ออกแบบโรงพยาบาล<br />
ไทชิน กรุงโตเกียว (1936) โดยเลือกกรุผนังอาคารด้วยกระเบื้อง<br />
เคลือบสีขาวขนาดเล็ก นอกจากจุดประสงค์เชิงประโยชน์ใช้สอย<br />
แล้ววัสดุนี้สามารถสะท้อนคุณภาพของแสงแดดที่แสดงการ<br />
เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของฤดูกาลทั้ง 4 อันเป็นจิตวิญญาณญี่ปุ่น<br />
ที่อ่อนไหวต่อความงามของธรรมชาติ โฮริกูชิ ซูเตมิ ออกแบบ<br />
สถานีตรวจอากาศโอชิมา (1937-1938) โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก<br />
พิธีชงชาและศาลาชงชาซึ่งเป็นปรัชญาทางจิตใจ มาออกแบบอาคาร<br />
ทรงกล่องสี่เหลี่ยมพร้อมหอคอยที่มีรูปแบบมาจากประโยชน์<br />
ใช้สอยซึ่งมาจากพื้นฐานปรัชญาการออกแบบที่เน้นวัตถุ เขาสร้าง<br />
ความสมดุลของปรัชญาขั้วตรงข้ามนี้ด้วยการออกแบบอาคาร<br />
คอนกรีตที่ตั้งอยู่อย่างกลมกลืนกับภูมิประเทศ ธรรมชาติ และ<br />
สิ่งแวดล้อม ซากากูระ จุนโซ ออกแบบศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการ<br />
นานาชาติที่กรุงปารีส 1937 เป็นอาคารกล่องสี่เหลี่ยมผังเปิดโล่ง<br />
แบบเลอคอร์บูซิเอร์ที่ผนังกลับกรุด้วยวัสดุลายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด<br />
แบบปราสาทญี่ปุ่นโบราณ เป็นต้น<br />
ในอีกด้านหนึ่งของการสร้างสรรค์บรรยากาศสังคมการเมือง<br />
ชาตินิยมสุดโต่งในยุคนี้สถาปัตยกรรมชาตินิยมเป็นสิ่งที่รัฐต้องการ<br />
ที่สุดในฐานะสถาปัตยกรรมแห่งชาติ ซึ่งมวลชนได้รับรู้มาตั้งแต่<br />
ปลายสมัยเมจิแล้วว่าคืออาคารแบบมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิ<br />
ในยุคโชวะนี้ได้รับการยกระดับเป็นต้นแบบอาคารราชการระดับส ำคัญ<br />
โดยเฉพาะศาลาว่าการจังหวัดทั้งหลาย เช่น คานากาว่า (1928)<br />
ต่อด้วยนาโกย่า และไอชิ เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อรัฐมนตรีกระทรวง<br />
วังมาเยี่ยมชมถึงที่อย่างชื่นชม จึงเป็นตราประทับรับรองความเป็น<br />
สถาปัตยกรรมแห่งชาติที่มีหลังคาญี่ปุ่นโบราณครอบลงบนอาคาร<br />
ทรงสี่เหลี่ยมแบบตะวันตกที่อาคารอื่นๆ ควรเอาเยี่ยงอย่าง เพราะ<br />
เป็นแบบที่ “ซึมซาบไปด้วยสาระสำคัญแห่งชาติ” ที่เราได้เห็นต่อมา<br />
ในพิพิธภัณฑ์หลวงโตเกียว อูเอโน (1931) และกองบัญชาการ<br />
ทหารบก โตเกียว (1934) เป็นต้น ความสำคัญของอาคารแบบนี้<br />
ไม่ใช่เรื่องรูปแบบซึ่งหยุดนิ่งมาตั้งแต่สมัยเมจิ แต่เป็นอิทธิพลที่มี<br />
ต่อวัฒนธรรมการออกแบบสถาปัตยกรรมในช่วงเผด็จการทหาร<br />
ครอบครองญี ่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1930-1940 ที่มันสามารถฝืน<br />
กงล้อประวัติศาสตร์การออกแบบให้หมุนกลับไปหารูปแบบโบราณ<br />
เพื่อรับใช้อุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่งและจักรวรรดินิยมทหารของ<br />
ญี่ปุ่น ส่วนงานประเภทนี้อีกพวกหนึ่งคือสถาปัตยกรรมชาตินิยม<br />
เชิงสัญลักษณ์ของอิโตะ ชูตะ ที่เขาใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการแห่ง<br />
สถาปัตยกรรมเป็นฐานในการออกแบบก็ยังดำเนินต่อไปเพื่อสร้าง<br />
สถาปัตยกรรมสากลแห่งเอเชีย แต่ดูเหมือนว่าเขากำลังมาถึงทางตัน<br />
ในการสร้างสรรค์ในช่วงเวลานี้เช่นกัน ขณะที่เขาวิจารณ์<br />
สถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิโครงการหนึ่งว่า<br />
“ละเมิดตรรกะทางโครงสร้างทั้งคลาสสิคของยุโรปและแบบ<br />
ญี่ปุ่นโบราณ และเป็นงานที ่น่าอับอายแห่งชาติ” ผลงานอนุสรณ์<br />
เหยื่อแผ่นดินไหวคันโตแห่งมหานครโตเกียว (1930) ก็เป็นการ<br />
418 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ผลิตซ้ำสถาปัตยกรรมโบราณอีกแบบหนึ่งแต่มีการปรับผัง<br />
ให้คล้ายคลึงกับผังศาสนสถานของไทยผสมกับโบสถ์ยุคกลางของ<br />
ยูโรป สถูปโชเกียวเด็นแห่งวัดฮอกเกเกียวจิ (1931) เมืองอิชิกาวา<br />
เป็นสถูปคันธารราชองค์สุดท้ายของอิโตะมีจุดเด่นอยู่ที่เรือนธาตุ<br />
องค์ระฆัง และฐานที่กำกับด้วยสัดส่วนแบบคลาสสิค จึงดูเหมือน<br />
วิหารคลาสสิคผังกลมครอบด้วยโดมประดับปลียอดมากกว่าสถูป<br />
อินเดีย สะท้อนความเชื่อของอิโตะว่ามรดกสถาปัตยกรรมที่งดงาม<br />
ที่สุดของงานพุทธศิลป์คืองานแบบอินเดียที่มีรากคลาสสิค<br />
วัดซึกิจิฮองกวานจิ โตเกียว (1934) เป็นบทสรุปของสถาปัตยกรรม<br />
แบบวิวัฒนาการของอิโตะ เขาได้สร้างสถาปัตยกรรมสากล<br />
สำหรับเอเชียที่สร้างสรรค์โดยญี่ปุ่น โดยรูปธรรมอิโตะรวบรวม<br />
สถาปัตยกรรมโบราณทั้งหลายทั้งกรีก-โรมันของโลกตะวันตก หรือ<br />
อินเดีย จีน ทิเบต ศรีลังกา และไทยของโลกตะวันออก<br />
มารวมกันเข้าไว้ในผังแบบคลาสสิค ห้อมล้อมหน้าบันมุขกลางประดับ<br />
ดอกเบญจมาศ 16 กลีบสัญลักษณ์แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าจะเป็น<br />
งานที่ดูน่าทึ่งทีเดียวแต่ว่าในที่สุดทฤษฎีวิวัฒนาการของเขาไม่ได้<br />
สร้างอะไรที่ใหม่เลย<br />
ช่วง ค.ศ. 1940-1945 ที่สงครามเอเชียแปซิฟิกขึ้นถึงขีดสุด<br />
ญี่ปุ่นแปลงรูปประเทศเป็นเผด็การทหารเต็มตัวและใช้นโยบาย<br />
เศรษฐกิจรวมศูนย์เพื่อสงคราม สถาปัตยกรรมสากลนิยมสมัยใหม่<br />
ถูกจำกัดด้วยสถาปัตยกรรมชาตินิยมสุดโต่งที่เน้นการรื้อฟื้น<br />
รูปแบบโบราณ สถาปนิกสากลนิยมสมัยใหม่จำนวนมากซึ่งเป็น<br />
สถาปนิกระดับแนวหน้าต้องเปลี่ยนสีแปรธาตุไปทำงานรับใช้<br />
นโยบายชาตินิยม ทหารนิยม และจักรวรรดินิยมเพื่อความอยู่รอด<br />
ผลงานสำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ โครงการประกวดแบบอนุสาวรีย์<br />
วีรชนทหาร (1939) ผลงานของเมอิคาว่า คูนิโอ และซากากูระ จุนโซ<br />
ต่างใช้องค์ประกอบแบบสากลนิยมสมัยใหม่ในการเชิดชูสงคราม<br />
จักรวรรดินิยมฟาสซิสต์ของรัฐบาล เป็นการออกแบบที่แสดงความ<br />
ย้อนแย้งและท้าทายรัฐบาลทหารไปในตัว โครงการประกวดแบบ<br />
สถาปัตยกรรมเฉลิมฉลองการก่อตั้งร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชีย<br />
บูรพา (1942) ทังเงะ เคนโซได้รับรางวัลชนะเลิศโดยการนำรูปทรง<br />
สถาปัตยกรรมโบราณของญี่ปุ่นทั้งวิหารอิเซและระฆังโบราณ<br />
ยุคยาโยอิมาออกแบบใหม่ด้วยวัสดุใหม่และจัดเป็นองค์ประกอบใหม่<br />
ในผังที่มีลักษณะผสมระหว่างญี่ปุ่นกับตะวันตก แต่ในภาพรวมต้อง<br />
ยอมรับว่ามันใกล้เคียงกับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่มากกว่า<br />
งานผลิตซ้ำแบบมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิโครงการประกวด<br />
แบบสถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย(1943) ทังเงะ เคนโซ<br />
ชนะเลิศการประกวดแบบนี้อีกด้วยการยกเอาพระราชวังโบราณ<br />
ที่นครเกียวโตพร้อมทั้งผังมาบรรจุพื้นที่ใช้สอยหลายหลากตาม<br />
ความต้องการของโครงการ งานนี้จึงเป็นการถดถอยไปไกลกว่า<br />
การผลิตซ้ำแบบมงกุฎจักรพรรดิเสียอีก งานที่น่าสนใจกว่ากลับ<br />
เป็นงานของเมอิคาว่า คูนิโอซึ่งชนะที่2 ที่เอาผังพระราชวังคัทซุระ<br />
มาออกแบบใหม่ด้วยผังสากลนิยมสมัยใหม่ แต่ลวงตาผู้ชมด้วย<br />
การห่อหุ้มมันด้วยอาคารโบราณที่มีหน้าจั่วแบบปราสาทนิโจโจ<br />
ในนครเกียวโต มันแสดงว่าในเวลาแห่งวิกฤตเช่นนี้สถาปนิกสากล<br />
นิยมสมัยใหม่แนวหน้าสุดอย่างเขาก็ต้องหลบให้กระแสชาตินิยม<br />
สุดโต่ง แต่ก็ไม่ใช่การหมอบราบคาบแก้วเสียเลยทีเดียว<br />
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(1925-1935)<br />
เป็นช่วงแห่งเศรษฐกิจตกต่ำในสยาม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ที่สร้างส่วนใหญ่เป็นอาคารสาธารณูปโภคที่สร้างเพราะความจ ำเป็น<br />
ในการใช้งานและออกแบบโดยวิศวกร เช่น ที่ทำการพัสดุ<br />
กรมรถไฟหลวง (1928) ใช้โครงสร้างคอนกรีตแบบพื้นไร้คานที่<br />
น่าสนใจ โรงกรองน้ำสามเสนหลังที่ 2 (1930) ใช้โครงสร้าง<br />
คอนกรีตแบบคานโค้งพาดช่วงกว้างทำได้อย่างน่าดู นอกจากนี้มี<br />
โรงพยาบาลกลาง (1928) ออกแบบโดยชาร์ล เบกูลัง มีการวางผัง<br />
ที่รวมพื้นที่ใช้สอยมากมายมาอยู่ในตึกเดียวในแบบสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อย่างไรก็ดีบรรยากาศของ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในสยามเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้วตั้งแต่<br />
ช่วงทศวรรษที่1910-1920 เมื่อมีสถาปนิกรุ่นใหม่ชาวไทยที่ศึกษา<br />
ในฝรั่งเศสและอังกฤษกลับเข้ามาในประเทศและรับหน้าที่แทน<br />
บทสรุป<br />
419
สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญอิตาเลียนที่หมดสัญญากับรัฐบาลสยาม<br />
พวกเขานำแนวทางออกแบบของอีโคลเดอโบซาร์และอาร์ตเด็คโค<br />
ที่ร่ำเรียนมาเผยแพร่ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรออกแบบ<br />
ตำหนักสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์<br />
(1926) พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน (1928) ในแนว<br />
ฟื้นฟูเรือนพื้นถิ่น พระสาโรชรัตนนิมมานก์ออกแบบตึกมนุษยนาค<br />
วิทยาทาน (1924) ในแบบฟื้นฟูโกธิค และกลุ่มอาคารที่โรงพยาบาล<br />
ศิริราช (1924-1936) ในแบบคลาสสิคเรียบเกลี้ยงและบังกะโล<br />
คอนกรีต แต่บรรยากาศของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เริ่มคึกคักจริงๆ<br />
ในทศวรรษที่ 1930 เมื่อมีการสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง<br />
(1933) ที่ออกแบบโดยหม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากร โดยพระบาท<br />
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง<br />
ตั้งแต่ ค.ศ. 1930 ในลักษณะอาคารอาร์ตเด็คโคคอนกรีตรูปทรง<br />
สี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงที่วางผังและติดตั้งอุปกรณ์อาคารอย่างทันสมัย<br />
ชั้นแนวหน้าของเอเชีย แต่ในทางการเมืองปัญหาเศรษฐกิจที่<br />
รัฐบาลแก้ไม่ตกทำให้กลุ่มคณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลง<br />
การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยสำเร็จใน ค.ศ. 1932 อาคาร<br />
สำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองคือตึกบัญชาการ<br />
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (1934-1936) ออกแบบ<br />
โดยจิตรเสน อภัยวงศ์ มีลักษณะแบบโบสถ์ชนบทในยุโรป<br />
ที่สร้างอย่างเรียบง่ายจึงดูกำกวมระหว่างความโบราณและทันสมัย<br />
ในสมัยรัชกาลที่ 7 การปลูกฝังแนวความคิดชาตินิยม<br />
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เบาบางลง สถาปัตยกรรมที่ใช้แบบไทย<br />
จึงน่าจะเรียกว่าสถาปัตยกรรมอนุรักษ์นิยมมากกว่า การเคลื่อนไหว<br />
ของสถาปัตยกรรมแนวนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย อิทธิพลของ<br />
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่เรียบง่าย วัสดุสมัยใหม่เช่นคอนกรีตและ<br />
ความต้องการประหยัดราคาก่อสร้างทำให้เกิดสถาปัตยกรรมไทย<br />
แบบใหม่ขึ้นจากการสร้างสรรค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />
นริศรานุวัดติวงศ์และลูกศิษย์ พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์(1930)<br />
จังหวัดนครปฐม ออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา<br />
นุวัดติวงศ์เป็นโบสถ์คอนกรีตเรียบง่ายที่ตัดลวดลายตกแต่งออก<br />
เกือบหมด ลายประดับสำคัญเป็นประติมากรรมนูนต่ำคอนกรีตหล่อ<br />
รูปธรรมจักรและกวางหมอบ นับเป็นการสร้างสรรค์ที่ไม่ตามขนบ<br />
เหมือนกันแต่ด้วยวิธีการที่ต่างกันเมื่อเทียบกับพระอุโบสถวัด<br />
ราชาธิวาสราชวรวิหารซึ่งมีลวดลายอุดมสมบูรณ์ที่ทรงออกแบบ<br />
เมื่อ 2 ทศวรรษก่อน ปฐมบรมราชานุสรณ์ที่สะพานพุทธยอดฟ้า<br />
จุฬาโลก (1932) ออกแบบโดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา<br />
นุวัดติวงศ์ เป็นฉากหลังรับพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ<br />
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีลักษณะเรียบง่ายแบบไทยผสม<br />
คลาสสิคและอาร์ตเด็คโคและเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญของ<br />
รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ชิ้นสุดท้าย หอระฆังวัดยานนาวา<br />
(1934) ออกแบบโดยพระพรหมพิจิตรศิษย์ใกล้ชิดของสมเด็จฯ<br />
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นหอระฆังคอนกรีต<br />
เสริมเหล็กสูง 2 ชั้นที่รูปทรงเรียบง่าย ขนาดส่วนใหญ่ดูหนักและ<br />
เกือบจะไร้การประดับประดา เป็นการออกแบบให้ดูหยาบอย่างตั้งใจ<br />
ที่จะท้าทายขนบโบราณอย่างน่าทึ่งจนเรียกได้ว่าสถาปัตยกรรมไทย<br />
สมัยใหม่ได้อย่างไม่ลังเล<br />
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล<br />
(1935-1946) ประเทศไทยเข้าสู่ยุคเผด็การทหารนำโดยจอมพล<br />
ป. พิบูลสงคราม รัฐบาลใหม่ต้องการนำประเทศไปสู่ความรุ่งเรือง<br />
โดยการสร้างประชาชนไทยที่มีวัฒนธรรมใหม่เน้นความขยันขันแข็ง<br />
ทำงาน เชื่อฟังผู้นำรัฐบาล รักชาติตามแนวชาตินิยมเชื้อชาติไทย<br />
ที่ทะเยอทะยานในการสร้างมหาอาณาจักรไทย ในการนี้รัฐบาล<br />
ถึงกับประกาศทำสงครามกับอินโดจีนฝรั่งเศสเพื่อขยายดินแดน<br />
ร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นเพื่อร่วมวงไพบูลย์แห่ง<br />
มหาเอเชียบูรพาหรือโครงการเป็นเจ้าเอเชียตะวันออกโดยใช้กำลัง<br />
ทหารรุกรานของญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร<br />
นโยบายชาตินิยมเชื้อชาติไทยและมหาอาณาจักรไทยยังส่งผลให้<br />
รัฐบาลผลิตงานศิลปะวัฒนธรรมเพื่อรับใช้นโยบายนี้ซึ่งรวมถึง<br />
สถาปัตยกรรมด้วย<br />
420 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สถาปัตกรรมสมัยใหม่ยุคนี้นำเข้ารูปแบบคลาสสิคเรียบเกลี้ยงและ<br />
อาร์ตเด็คโค-ฟาสซิสต์ประดับประติมากรรมขนาดใหญ่รูปร่างกำยำ<br />
แข็งกร้าวด้วยทรงเส้นแบบเรขาคณิต ซึ่งได้อิทธิพลจากสถาปนิก<br />
และศิลปินอิตาเลียนร่วมสมัยผ่านสถาปนิกไทย เช่น พระสาโรช<br />
รัตนนิมมานก์ จิตรเสน อภัยวงศ์ และคอร์ราโด เฟโรชีประติมากร<br />
ชาวอิตาเลียนแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นงานแบบที่สำคัญ<br />
ในยุคนี้ ตัวอย่างงานที่สำคัญในแบบนี้ ได้แก่ ที่ทำการไปรษณีย์<br />
กลาง บางรัก (1934-1940) โดยจิตรเสน อภัยวงศ์และพระสาโรช<br />
รัตนนิมมานก์ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ (1938)<br />
โดยจิตรเสน อภัยวงศ์และพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ศาลากลาง<br />
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1939-1941) โดยพระสาโรชรัตนนิมมาน<br />
ก์ มีจำนวนประติมากรรมมากที่สุดถึง 6 รูป เป็นความจงใจจะเชิดชู<br />
วีรกษัตริย์โบราณที่ทำสงครามขยายอาณาเขตและรักษาเอกราช<br />
สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับชาติตามกระแสชาตินิยมที่โหมกระหน่ำ<br />
กระทรวงยุติธรรมและศาลยุติธรรม (1939-1943) โดยพระสาโรช<br />
รัตนนิมมานก์ สร้างในโอกาสที่ประเทศสยามได้รับเอกราชทางการ<br />
ศาลคืนมาโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1938 เป็นอาคารทรงกล่องคอนกรีต<br />
สี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยงปราศจากการตกแต่งใดๆ ในแบบคลาสสิคที่<br />
เรียบง่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากมาร์เซลโล ปิอาเซนตินี สถาปนิก<br />
ผู้นำแนวฟาสซิสต์ของอิตาลี<br />
สถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ที่เป็นอนุสาวรีย์ที่สำคัญ ได้แก่<br />
อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (1936) สร้างเพื่อเชิดชูเกียรติและ<br />
รำลึกถึงตำรวจ ทหารฝ่ายคณะราษฎรที่เสียชีวิตจากการรบปะทะ<br />
กับกองกำลังฝ่ายกบฏบวรเดช แม้ว่าจะสร้างในแบบศิลปะใหม่<br />
อาร์ตเด็คโคผสมไทยและสร้างด้วยวัสดุใหม่คือคอนกรีต แต่แนวคิด<br />
ในการสร้างอนุสาวรีย์ยังเหมือนการสร้างสถูปเจดีย์โบราณ<br />
อนุสาวรีย์เป็นเพียงประติมากรรมบรรจุอัฐิไม่ใช่สถาปัตยกรรม<br />
สำหรับการใช้พื้นที่ภายในนอกจากนี้การนำประติมากรรมพานแว่นฟ้า<br />
2 ชั้นรองรับสมุดไทยเทินไว้บนยอดอนุสาวรีย์นับเป็นครั้งแรก<br />
ที่สร้างสัญลักษณ์นี้ลงในสิ่งก่อสร้างถาวร อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />
(1940) โดยหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุลเป็นสถาปนิก คอร์ราโด เฟโรชี<br />
เป็นประติมากร เป็นอนุสาวรีย์ที่มีพื้นฐานความคิดและการออกแบบ<br />
ที่พัฒนามาจากอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จึงมีความขัดแย้ง<br />
ในตัวเองหลายประการตั้งแต่แรก ประการแรกคือการใช้สมุดไทย<br />
วางบนพานเป็นสัญลักษณ์แทนเสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ<br />
ของความเป็นประชาธิปไตยซึ่งไม่น่าจะแทนกันได้ประการที่2 คือ<br />
การใช้ศิลปะแบบอาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์มาเป็นสื่อแสดงความ<br />
เป็นประชาธิปไตยที่เป็นแนวคิดต่อต้านฟาสซิสต์ ประการที่ 3 คือ<br />
เป็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่สร้างเสร็จในช่วงเวลาที่สังคมไทย<br />
อบอวลไปด้วยลัทธิเผด็จการทหาร ชาตินิยมเชื้อชาติไทย และ<br />
การทำสงครามขยายดินแดน และด้วยข้อจำกัดของการใช้ตัวเลข<br />
ทั้งหลายที ่เกี่ยวข้องอุดมการณ์ของคณะราษฎรและวันปฏิวัติมา<br />
กำหนดความสูงต่ำกว้างยาวของอนุสาวรีย์อย่างงมงาย ทำให้สถาปนิก<br />
และประติมากรไม่สามารถสร้างอนุสาวรีย์ที่งดงามและทรงพลังได้เลย<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (1942) โดยหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุลเป็น<br />
สถาปนิก และคอร์ราโด เฟโรชีเป็นประติมากร สร้างเพื่อเชิดชูวีรกรรม<br />
กองกำลัง 5 เหล่าที่พลีชีพในสงครามอินโดจีนตามนโยบายขยาย<br />
ดินแดนสร้างมหาอาณาจักรไทยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม<br />
ในแบบศิลปะอาร์ตเด็คโคและฟาสซิสต์ในรูปใบดาบเรียงกันเป็น<br />
กลีบมะเฟือง 5 แฉก ล้อมด้วยประติมากรรมลอยตัว 5 รูปในท่าทาง<br />
เคลื่อนไหวสู้รบ เป็นอิทธิพลจากประติมากรรมนูนสูงประดับสะพาน<br />
ปอนเตดูกา ดาออสต้า ของวิโก คอนซอร์ติ ประติมากรร่วมสมัย<br />
ชาวอิตาเลียนเหมือนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยภาพรวมแล้ว<br />
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิออกแบบได้ดีทั้งรูปทรง องค์ประกอบ สัดส่วน<br />
และแนวคิดมากกว่าอนุสาวรีย์ที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 เพราะผู้ออกแบบ<br />
เป็นอิสระจากตัวเลขรหัสที่ยุ่งเหยิง การใช้สัญลักษณ์ที่ตรงกับ<br />
จุดมุ่งหมายคือประติมากรรมทหาร-ต ำรวจแทนสงคราม และการเป็น<br />
อิสระจากรูปทรงไทยโบราณอย่างสิ้นเชิง ทำให้อนุสาวรีย์มีรูปแบบ<br />
ที่ชัดเจนไม่ครึ่งๆ กลางๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจึงเป็นตัวแทน<br />
แนวคิดฟาสซิสต์ทางสถาปัตยกรรมที่ชัดเจนที่สุด มันสะท้อนลัทธิ<br />
ชาตินิยมเชื้อชาติไทยและสดุดีการทำสงครามขยายอาณาเขตของ<br />
แนวคิดมหาอาณาจักรไทยของรัฐบาลเผด็จการทหารที่สนับสนุน<br />
โดยมวลชน และสอดคล้องกับความต้องการเป็นเจ้าเอเชียของ<br />
บทสรุป<br />
421
ศาลาสยามในงานแสดงนิทรรศการ<br />
นานาชาติ กรุงปารีส 1937<br />
โดยพระพรหมพิจิตรและ<br />
ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากร<br />
422 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตรของไทย แต่ความพ่ายแพ้ในสงครามของญี่ปุ่น<br />
และไทยทำให้มันเป็นอนุสาวรีย์แห่งความทะเยอทะยานที่ไม่ค่อยมี<br />
ใครอยากกล่าวถึงประวัติความเป็นมา<br />
สถาปัตยกรรมแบบอนุรักษ์นิยมและชาตินิยมในสมัยรัชกาลที่ 8<br />
สถาปัตยกรรมทั้ง 2 แบบต่างใช้แบบไทยโบราณเป็นหลักในการ<br />
ออกแบบ แต่ด้วยจุดประสงค์ต่างกัน สถาปัตยกรรมอนุรักษ์นิยมเป็น<br />
งานเชิงวัฒนธรรมเพียงต้องการสืบสานรูปแบบโบราณต่อไปเป็นหลัก<br />
แต่สถาปัตยกรรมชาตินิยมเป็นงานการเมืองมีจุดประสงค์เพื่อเชิดชู<br />
อัตลักษณ์ของชาติและสร้างความรักชาติในหมู่ประชาชน สังคมไทย<br />
ท่ามกลางบรรยากาศกึ่งประชาธิปไตยหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1932<br />
แล้วแกว่งไปหาการปกครองระบอบเผด็จการทหารชาตินิยมเชื้อ<br />
ชาติไทยเมื่อจอมพล ป. พิบูลสครามเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง<br />
ค.ศ. 1938-1944 นั้น รัฐบาลได้สร้างสถาปัตยกรรมขึ้นมาทั้ง 2 แบบ<br />
แต่มีจำนวนน้อยเพราะต้องการผู้ออกแบบที่มีความรู้พื้นฐาน<br />
สถาปัตยกรรมไทยและเข้าใจการวางผังและการก่อสร้างแบบ<br />
ตะวันตกในขณะเดียวกัน ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ ศาลาสยามในงาน<br />
แสดงนิทรรศการนานาชาติว่าด้วยศิลปะและเทคนิคสมัยใหม่<br />
แห่งกรุงปารีส ค.ศ. 1937 โดยพระพรหมพิจิตรและหม่อมเจ้า<br />
สมัยเฉลิม กฤดากร เป็นงานผลิตซ้ำพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์<br />
ที่พระราชวังบางปะอิน ที่น่าสนใจคือในงานเดียวกันนั้นซากากูระ<br />
จุนโซได้ออกแบบศาลาญี่ปุ่นในแบบสากลนิยมสมัยใหม่เพื่อ<br />
ประกาศจุดยืนของกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้าในลักษณะท้าทาย<br />
ปฏิกิริยาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในประเทศอย่างไม่เกรงใจ หอประชุม<br />
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1939) โดยพระพรหมพิจิตรร่วมกับ<br />
พระสาโรชรัตนนิมมานก์ สิ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือความสามารถ<br />
ในการผสมผสานการวางผังและออกแบบลักษณะอาคารระหว่าง<br />
ไทย เขมร และสมัยใหม่เข้าด้วยกันได้ และเห็นได้ชัดถึงอิทธิพล<br />
งานออกแบบบูรณะพระอุโบสถวัดราชาธิวาสราชวรวิหารของสมเด็จฯ<br />
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงไม่น่าจะเป็นงานสร้างสรรค์<br />
อะไรใหม่จริงและเทียบได้กับงานมงกุฎจักรพรรดิหรือไทคันโยชิกิ<br />
ของญี่ปุ่น โครงการอนุสาวรีย์ไทยแบบ “โลหะปราสาท” (1939)<br />
โดยพระพรหมพิจิตร เพื่อเป็นที่ระลึกและเฉลิมฉลองในโอกาส<br />
ที่ประเทศไทยเป็นเอกราชทางการศาลอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1938<br />
น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมชาตินิยมทั้งความคิดและรูปแบบ ลักษณะ<br />
อาคารเป็นแบบเจดีย์เหลี่ยมยอดปรางค์ล้อมด้วยระเบียงตาม<br />
แผนผังแบบปราสาทเขมรโบราณผสมอยุธยา ที่หลวงวิจิตรวาทการมี<br />
แผนสร้างอย่างใหญ่โตเพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์การแสดงพืชผล<br />
โรงแรมและศูนย์สำหรับการจัดเลี้ยง ประชุม และเต้นรำ ทุกกิจกรรม<br />
จะถูกจัดลงไปในผังและอาคารศาสนสถานแบบโบราณที่ย้อนยุคไป<br />
หลายร้อยปี โครงการนี้เปรียบเทียบได้กับโครงการประกวดแบบ<br />
สถาปัตยกรรมศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น-ไทย (1943) โดยทังเงะ เคนโซ<br />
ที่เขายกเอาผังและพระราชวังเก่าในนครเกียวโตมาปรับให้สามารถ<br />
รองรับกิจกรรมใหม่ของโครงการโดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์<br />
ระหว่างยุคสมัย วิถีวัฒนธรรม และการก่อเกิดของรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมเลย ต้องการเพียงแต่รื้อฟื้นอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่<br />
ในอดีตมาเพื่อรับใช้จุดประสงค์สร้างความรักชาติอย่างหลงใหล<br />
ในหมู่พลเมืองเท่านั้น อาคารผลิตซ้ำลักษณะนี้จึงเป็นอาคารที่<br />
ล้าหลังที่สุดทั้งความคิดและรูปแบบเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน<br />
(1941) โดยพระพรหมพิจิตร สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการ<br />
เปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามเป็นระบอบประชาธิปไตย<br />
ใน ค.ศ. 1932 ความสำคัญอยู่ที่เจดีย์ประธานหน้าวัดที่สร้างด้วย<br />
คอนกรีตเรียบเกลี้ยง ไร้ลวดลาย องค์ประกอบสถาปัตยกรรม<br />
ทั้งหมดถูกลดทอนและแปลงเป็นรูปทรงเรขาคณิตหมด นอกจากนี้<br />
ยังเป็นเจดีย์ที่มีพื้นที่ภายใน (space) เป็นโถงทรงโดมขนาดใหญ่<br />
เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ผนังเจดีย์เป็นช่องกรุบรรจุอัฐิ<br />
บรรดาผู้นำคณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การนำเจดีย์<br />
มาเป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยเป็นเรื่องหลักแหลมเพราะศาสนาพุทธ<br />
และลัทธิประชาธิปไตยมีหลักการร่วมกันอย่างหนึ่งคือการปฏิเสธ<br />
ชนชั้นและความเสมอภาค ส่วนลักษณะเจดีย์ที่เรียบเกลี้ยงนั้น<br />
เป็นการออกแบบที่ย้อนกลับไปหาหอระฆังวัดยานนาวา (1934)<br />
ที่พระพรหมพิจิตรออกแบบท้าทายขนบโบราณอย่างน่าทึ่งจนเรียก<br />
ได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่เชิงสัญลักษณ์ได้อีกงานหนึ่ง<br />
และสามารถเปรียบเทียบคุณภาพกับสถาปัตยกรรมแบบวิวัฒนาการ<br />
บทสรุป<br />
423
ศาลาญี่ปุ่นในงานนิทรรศการนานาชาติ<br />
กรุงปารีส 1937 โดยซากากูระ<br />
ของอิโตะ ชูตะได้ อย่างไรก็ตามเราจะเห็นว่าสถาปนิกไทยทำงาน<br />
แบบทวิลักษณ์คือทำงานแบบไทยสมัยใหม่และไทยโบราณในเวลา<br />
เดียวกันอย่างที่พบในงานของพระพรหมพิจิตร สิ่งนี้แสดงว่า<br />
สถาปนิกไทยไม่ได้ทำงานตามทฤษฎีแบบญี่ปุ่นแต่ทำตาม<br />
ประสบการณ์และความรู้สึก<br />
ผลงานของกลุ่มสถาปนิกที่ท ำงานสถาปัตยกรรมไทยที่นำโดย<br />
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายสมัย<br />
รัชกาลที่5 จนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 (ทศวรรษ 1900-1940)<br />
424 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
เป็นเรื่องน่าสนใจ มันแสดงถึงปฏิกิริยาของสถาปนิกไทยที่ไม่ผ่าน<br />
การศึกษาในระบบของสถาบันวิชาชีพของโลกตะวันตกที่มีต่อวัสดุและ<br />
โครงสร้างใหม่เช่นคอนกรีต และแนวทางศิลปะสถาปัตยกรรมใหม่ๆ<br />
เช่น อาร์ตเด็คโคและสมัยใหม่ภายใต้ข้อจำกัดของความเป็นอนุรักษ์<br />
นิยมในรูปแบบและงบประมาณ พวกเขาได้พัฒนาศักยภาพตนเอง<br />
ในลักษณะปัจเจกและไร้การชี้นำโดยสถาปนิกผู ้เชี่ยวชาญตะวันตก<br />
ผลงานที่เราเห็นจึงเป็นการแสดงออกที่ไม่เสแสร้งแต่ไร้ทฤษฎี<br />
ที่มั่นคงเป็นเครื่องนำทาง เป็นงานที่อาจจะเบ่งบานในระยะสั้นแต่<br />
ในระยะยาวแล้วยากที่จะเติบโตงอกงาม<br />
โดยภาพรวมสถาปัตยกรรมในช่วงทศวรรษ 1930-1940 เป็น<br />
บทสรุปของการแสดงอัตลักษณ์อุดมการณ์แห่งชาติของทั้งญี่ปุ่น<br />
และไทย ผ่านแนวคิดและวิธีการ 2 แนวทางที่ตรงข้าม คือ<br />
สถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่และแบบชาตินิยม ในญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมทั้ง 2 แบบต่างพัฒนามาถึงขั้นการแสดงอัตลักษณ์<br />
ในแบบนามธรรมที ่มีทฤษฎีรองรับ สถาปนิกหัวก้าวหน้าซึ่งเป็น<br />
กลุ่มผู้นำทางสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นยึดมั่นในแนวทางสากลนิยม<br />
สมัยใหม่ที ่พยายามสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบสากลที่สะท้อน<br />
คุณค่านามธรรมของวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่น ผ่านอาคารระดับ<br />
พื้นฐานเช่น บ้านพักอาศัยไปจนถึงอาคารสาธารณูปโภค เช่น<br />
โรงเรียน แม้ว่าในช่วงทศวรรษ 1940 พวกเขาจะถูกบังคับโดยกระแส<br />
สังคมให้หันเหไปทำงานแบบชาตินิยมแต่พวกเขาบางคนก็ยัง<br />
พยายามเสนอรูปธรรมที่แฝงแนวคิดสากลนิยมสมัยใหม่ให้ปรากฏ<br />
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นสถาปนิกรุ่นใหม่ชาวไทยที่สำเร็จการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมแนวอีโคลเดอโบซาร์จากยุโรป เพิ่งจะมีโอกาสได้แสดง<br />
ฝีมือออกแบบในประเทศไทย พวกเขาเลือกแบบอาร์ตเด็คโค<br />
อาร์ตเด็คโคผสมฟาสซิสต์และคลาสสิคที่เรียบเกลี้ยง ซึ่งเป็นแบบ<br />
ที่ได้อิทธิพลจากศิลปะสถาปัตยกรรมอิทธิพลฟาสซิสต์ร่วมสมัยของ<br />
อิตาลีมาใช้เพื่อสนองความต้องการสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความ<br />
ทันสมัยและชาตินิยมของประเทศตามนโยบายของผู้นำที่เชิดชูลัทธิ<br />
ชาตินิยมเชื้อชาติไทยและการสร้างมหาอาณาจักรไทย ด้วยความ<br />
อ่อนประสบการณ์ และงบประมาณที่ฝืดเคืองในเวลาสงครามทำให้<br />
ผลงานไม่มีอะไรโดดเด่น นอกจากประติมากรรมประกอบอาคารของ<br />
คอร์ราโด เฟโรชี ประติมากรชาวอิตาเลียนที่ขับเน้นอิทธิพลศิลปะ<br />
ฟาสซิสต์ร่วมสมัยให้เด่นชัด ส่วนเรื่องอัตลักษณ์ของชาติใน<br />
เชิงนามธรรมผ่านสถาปัตยกรรมสากลแบบญี่ปุ่นนั้นยังอยู่อีกห่างไกล<br />
ทางฝ่ายสถาปัตยกรรมชาตินิยมในช่วงเวลานี้ที่ญี่ปุ่น<br />
สถาปัตยกรรมแบบมงกุฎจักรพรรดิที่เป็นอาคารแบบตะวันตกครอบ<br />
หลังคาวัดญี่ปุ่นโบราณได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นงาน<br />
ที่แสดงอัตลักษณ์ของชาติที่ควรสร้างตาม ขณะที่สถาปัตยกรรม<br />
แบบวิวัฒนาการของชูตะ อิโตะที่ใช้รูปแบบโบราณที่ต้องตีความที่<br />
ลึกซึ้งกว่านั้นก็มาถึงจุดที่อิ่มตัวพัฒนาไปได้เพียงการรวบรวมรูปแบบ<br />
สถาปัตยกรรมเอเชียต่างๆ มารวมกัน ในขณะที่สถาปนิกอนุรักษ์<br />
นิยมของไทยดูจะสร้างสรรค์งานได้น่าสนใจเหมือนกันเช่น ผลงาน<br />
สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ของพระพรหมพิจิตรเช่นหอระฆังที่<br />
วัดยานนาวาและพระเจดีย์ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ที่ตั้งใจ<br />
ออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแบบเรียบเกลี้ยงเป็นทรงเรขาคณิต<br />
ท้าทายขนบการออกแบบโบราณ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานของ<br />
สถาปนิกอนุรักษ์นิยมไทยมีธรรมชาติเป็นแบบทวิลักษณ์คือทำงาน<br />
ทั้งแบบโบราณและแบบสมัยใหม่ควบคู่กันไป จึงพูดได้ยากถึงจุดยืน<br />
ที่แท้จริงของผู้ออกแบบ<br />
เมื่อเปรียบเทียบงานของทั้ง 2 ประเทศแล้วจะเห็นได้ว่า<br />
สถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นนั้นพัฒนาไปไกลกว่ามากทั้งแนวคิดและ<br />
คุณภาพ งานสากลนิยมสมัยใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มต้นมาตั้งแต่<br />
ทศวรรษ 1920 สถาปนิกเหล่านี้ใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษในการเรียน<br />
รู้ทฤษฎีและการปฏิบัติทั้งในและนอกประเทศ การศึกษาค้นคว้า<br />
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นทั้งประเภทงานหลวงและงานพื้นถิ่นตั้งแต่<br />
ปลายยุคเมจิ ทำให้พวกเขาเข้าใจสถาปัตยกรรมของตนเองลึกซึ้ง<br />
ขึ้นในเชิงปรัชญาจนสามารถน ำมาสร้างเป็นรูปธรรมใหม่ที่เป็นสากลได้<br />
นอกจากนี้การที่ญี่ปุ่นพัฒนาประเทศเป็นชาติอุตสาหกรรมนั้นก็ช่วย<br />
ให้งานก่อสร้างอาคารมีคุณภาพสูงตามขึ้นไปด้วยเมื่อเปรียบเทียบกัน<br />
ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังไม่มี รูปแบบสถาปัตยกรรม<br />
425
สมัยใหม่ของไทยในช่วง 1930-1940 เป็นการนำเข้าของสถาปนิกไทย<br />
รุ่นใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มมีประสบการณ์การทำงาน ส่วนเรื่องการหา<br />
อัตลักษณ์นั้นไทยยังไม่เข้าใจอะไรมากกว่าการผลิตซ้ ำอย่างที่รัฐไทย<br />
จะทำทุกครั้งในการผลิตซ้ำ “ศาลาไทย” เพื่อส่งไปแสดงในงาน<br />
แสดงนิทรรศการสากลตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เพราะการศึกษา<br />
สถาปัตยกรรมไทยอย่างลึกซึ้งยังไม่ได้เริ่มจึงไม่ต้องถามหาเรื่อง<br />
การวิเคราะห์และสร้างสรรค์ ส่วนในด้านสถาปัตยกรรมชาตินิยมก็<br />
เช่นเดียวกัน ญี่ปุ่นศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและเริ่มมีทฤษฎี<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมชาตินิยมของตนเองตั้งแต่ปลาย<br />
รัชสมัยเมจิและพัฒนาการออกแบบเรื่อยมาทั้งในแบบผลิตซ้ำ<br />
เช่นแบบมงกุฎจักรพรรดิและแบบเชิงสัญลักษณ์ตามทฤษฎี<br />
สถาปัตยกรรมแบบ “วิวัฒนาการ” ของอิโตะ ชูตะ สถาปัตยกรรม<br />
ชาตินิยมของญี่ปุ่นจึงเป็นงานออกแบบที่มีฐานทฤษฎีสนับสนุน<br />
อย่างมั่นคง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไทยแล้วต้องกล่าวว่า<br />
งานสถาปัตยกรรมแนวอนุรักษ์นิยมของไทยก็ทำได้ดีทีเดียว<br />
ทั้งที่ไม่มีทฤษฎีเป็นหลักเป็นฐาน สถาปนิกไทยแนวอนุรักษ์นิยม<br />
กลุ่มหนึ่งสามารถแหวกกรอบจารีตของการออกแบบมาได้เป็นขั้นๆ<br />
ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่5 งานแบบชาตินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์<br />
ในสมัยรัชกาลที่6 แม้จะไม่ได้ส่งเสริมการสร้างสรรค์อะไร แต่ก็ไม่ได้<br />
ขัดขวางให้งานแบบไทยสมัยใหม่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930-1940<br />
ดังกล่าวแล้ว ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนา<br />
ตนเองแบบปัจเจกของสถาปนิกไทยแนวอนุรักษ์นิยมกลุ่มนี้ที่อาศัย<br />
การเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5<br />
และการสร้างสรรค์ที่มาจากความรู้สึกและประสบการณ์แต่จุดอ่อน<br />
ของการไม่มีทฤษฎีนำทางของสถาปนิกไทยแนวอนุรักษ์นิยมคือ<br />
การทำงานแบบทวิลักษณ์ได้แก่ทำงานแบบไทยสมัยใหม่และไทย<br />
โบราณในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้สถาปนิกไทยแนวอนุรักษ์<br />
นิยมไม่มีความมั่นคงในแนวทางสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดยาก<br />
และสามารถหลุดจากเส้นทางสร้างสรรค์กลับไปสู่แนวทางผลิตซ้ำ<br />
ได้เสมอ<br />
426 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
บรรณานุกรม<br />
“กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศ<br />
ญี่ปุ่น.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 (21 ธันวาคม<br />
2484): 1824-1826.<br />
“กระแสพระราชโองการเขียนบรรจุศิลาพระฤกษ์.”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 (28 สิงหาคม<br />
รัตนโกสินทร์ศก 129): 1106-1109.<br />
“การมอบพระสารีริกธาตุแก่คณะทูตพรตญี่ปุ่น.” ราชกิจ<br />
จานุเบกษา เล่ม 17 (24 มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก<br />
119): 125-126.<br />
“การราตรีสโมสรเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระบรม<br />
โอรสาธิราช ที่วังบุรพาภิรมย์.” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 19, ตอนที่ 49 (22 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์<br />
ศก 121): 941-942.<br />
“ความตกลงทางวัธนธัมระหว่างประเทสไทยกับประเทส<br />
ยี่ปุ่น.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอนที่ 81 (29<br />
ธันวาคม 2485): 2621-2631.<br />
“คำกล่าวตอบของ พณฯนายกรัฐมนตรีในการเปิดอนุส<br />
สาวรีย์ประชาธิปไตย ณ วันชาติ 2483.”<br />
ราชกิจจนุเบกษา เล่ม 57 (25 มิถุนายน 2483):<br />
876-881.<br />
“คำแถลงนโยบายของรัฐบาล 26 ธันวาคม 2481.” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 55 (2 มกราคม 2481): 3318-3326.<br />
“คำแถลงนโยบายของรัฐบาล คณะที่นายพันเอก พระยา<br />
พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี23 ธันวาคม<br />
2480.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 54 (3 มกราคม<br />
2480): 2327-2337.<br />
“คำแถลงนโยบายของรัฐบาล.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม<br />
49 (8 มกราคม 2475): 3425-3442.<br />
“คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีกล่าวแก่มวลชนชาวไทย<br />
โดยทางวิทยุกระจายเสียง วันที่ 20 ตุลาคม 2483.”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 (29 ตุลาคม 2483):<br />
2617-2635.<br />
“คำปราสัยของ พนะ นายกรัถมนตรีแด่มวลชนชาวไทย<br />
เนื่องไนอภิลักขิตสมัยงานฉลองวันชาติ 24<br />
มิถุนายน 2485.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอน<br />
ที่ 46 (7 กรกดาคม 2485): 1715-1732.<br />
“งดรับเงินและแถลงรายการเงินช่วยการบรรเทาทุกข์<br />
ชนชาติญี่ปุ่น.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 (20<br />
มกราคม 2466): 3749-3750.<br />
“งานราตรีสโมสรที่วังบุรพาภิรมย์.” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 16, ตอนที่ 21 (20 สิงหาคม 1899): 264-270.<br />
“จดหมายเหตุสยามไสมย ล.3 ผ.3.” วันพุฒ เดือน 10<br />
ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก 1245.<br />
“แจ้งความเรื่องสวนดุสิต.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 15,<br />
ตอนที่ 5 (7 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 117): 543.<br />
“แจ้งความสภากาชาดสยามเรื่องรับเงินช่วยบรรเทา<br />
ทุกข์ชาวญี่ปุ่น.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 (14<br />
ตุลาคม 2466): 2211-2214 และเรื่องเดียวกันอีก<br />
8 ครั้ง มีประกาศสุดท้ายที่ เล่ม 40 (16 มีนาคม<br />
2466): 4488-4491.<br />
“ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงโยธาธิการ.” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 9, ตอนที่ 32 (6 พฤศจิกายน 1892):<br />
266-271.<br />
“ตำแหน่งข้าราชการในกระทรวงโยธาธิการ.” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 24, ตอนที่ 25 (22 กันยายน<br />
รัตนโกสินทร์ศก 126): 612-617.<br />
“แถลงนโยบายของรัฐบาล คณะที่นายพันเอกพระยา<br />
พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี23 ธันวาคม<br />
2480.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 54 (3 มกราคม<br />
2480): 2327-2337.<br />
“ใบบอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท.” ราชกิจจานุเบกษา<br />
เล่ม 17 (18 พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก 119):<br />
458-465.<br />
“ปฏิสังขรณ์วัดราชาธิวาส.” 23 เมษายน รัตนโกสินทร์<br />
ศก 123 – 22 พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก 124.<br />
เอกสารกระทรวงมหาดไทย. ม.ร.5 (ร.)/37. หอ<br />
จดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“ประกาศใช้กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศไทย<br />
กับประเทศญี่ปุ่น.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 (21<br />
ธันวาคม 2484): 1824-1828.<br />
“ประกาศพระราชทานนามพระที่นั่งแลพระตำหนักที่<br />
พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม.” ราชกิจ<br />
จานุเบกษา เล่ม 34 (10 กุมภาพันธ์2460): 596-597.<br />
“ประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์<br />
ราชวิทยาลัย.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13, ตอนที่<br />
25 (20 กันยายน 1896): 265-268.<br />
“ประกาศสงครามต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา.”<br />
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอนที่ 5 (25 มกราคม<br />
2485): 244-246.<br />
“ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดภาพ<br />
เครื่องหมายราชการ.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128,<br />
ตอนพิเศษ 47ง (24 เมษายน 2554): 33-35.<br />
“ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 5<br />
เรื่องให้ชาวไทยพยายามใช้เครื่องอุปโภคบริโภคที่<br />
มีกำเนิดหรือทำขึ้นในประเทศไทย.” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 56 (6 พฤศจิกายน 2482): 2359-2360.<br />
“ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อ<br />
ประเทศ, ประชาชน และสัญชาติ.” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 56 (24 มิถุนายน 2482): 810.<br />
“ประกาสไช้ความตกลงทางวัธนธัมระหว่างประเทสไทย<br />
กับประเทสยี่ปุ่น.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59, ตอน<br />
ที่ 81 (29 ธันวาคม 2485): 2619-2631.<br />
“ประกาสไช้สนธิสัญญาระหว่างประเทสไทยกับประเทส<br />
ยี่ปุ่นว่าด้วยอานาเขตของประเทสไทยไนมาลัยและ<br />
ภูมิภาคฉาน.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60, ตอนที่<br />
55 (18 ตุลาคม 2486): 1527-1531.<br />
“พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่กองทหารซึ่งกลับ<br />
จากงานพระราชสงคราม.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม<br />
36 (28 กันยายน 2462): 1784-1786.<br />
“พระยาสุขุมนัยวินิจออกไปรับพระสารีริกธาตุที่ประเทศ<br />
อินเดีย.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 15 (16 มกราคม<br />
รัตนโกสินทร์ศก 117): 447-448.<br />
“พระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงเรียนเพาะช่าง.” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 30 (25 มกราคม 2456): 2498-<br />
2500.<br />
“พระราชทานเงินเข้าในการสร้างอนุสาวรีย์ที่ฝังอัฐิทหาร<br />
ซึ่งตายในราชการสงคราม.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม<br />
36 (14 กันยายน 2462): 1684-1685.<br />
“พิธีสารระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นว่าด้วย<br />
หลักประกันและความเข้าใจกันทางการเมือง.” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 58 (5 กรกฎาคม 2484): 889-893.<br />
“ราตรีสโมสรเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระเจ้าลูกยา<br />
เธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิตที่วังบุรพา<br />
ภิรมย์.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18, ตอนที่ 47 (23<br />
กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 120): 895-896.<br />
“รายงานการสร้างอนุสสาวรีย์ประชาธิปไตย.” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 57 (24 มิถุนายน 2483): 870-876.<br />
บรรณานุกรม<br />
427
“รายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเนื่อง<br />
ในพิธีเริ่มงานกรีฑาประจำปีของกระทรวง<br />
ศึกษาธิการ พุทธศักราช 2484.” 1 ธันวาคม 2484.<br />
เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2)<br />
สร0201.29/2. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื่องการสร้างอนุสสาวรีย์ไทย.” 23 เมษายน 2484.<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ. ศธ 0701.42/10. หอ<br />
จดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื่องโครงการกรมศิลปากร.” 2476. เอกสารกระทรวง<br />
ศึกษาธิการ. ศธ 0701.9.1/4. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื่องบันทึกที่ 25/2486 จากรัถมนตรีว่าการกะซวงการ<br />
ต่างประเทสถึงนายกรัถมนตรี.” 3 พฤษภาคม 2486.<br />
เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ. กต 1.1.5/11.<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื่องบันทึกที่ 51/2486 จากรัถมนตรีว่าการกะซวงการ<br />
ต่างประเทสถึงนายกรัถมนตรี.” 26 กันยายน 2486.<br />
เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ. กต 1.1.5/11.<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื่องประกาศประกวดแบบอนุสสาวรีย์สนธิสัญญาของ<br />
ชาติ.” 20 เมษายน 2482. เอกสารกระทรวง<br />
ศึกษาธิการ. ศธ 0701.41.1/26. หอจดหมายเหตุ<br />
แห่งชาติ.<br />
“เรื่องแผนผังอนุสสาวรีย์ไทย.” 18 กุมภาพันธ์ 2482.<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ. ศธ 0701.41.1/26.<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื่องอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา.” 8 มิถุนายน 2482.<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ หนังสือจากเลขาธิการ<br />
คณะรัฐมนตรีถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม.<br />
ศธ 0701.41.1/26. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“เรื ่องอนุสสาวรีย์สนธิสัญญา.” 6 กรกฎาคม 2482.<br />
เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ. ศธ 0701.41.1/26.<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
“สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรี กล่าวทางวิทยุกระจาย<br />
เสียงแด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล ในอภิลักขิตสมัย<br />
แห่งงานเฉลิมฉลองวันชาติและสนธิสัญญา 24<br />
มิถุนายน 2482.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 (24<br />
มิถุนายน 2482): 811-839.<br />
“สุนทรพจน์นายกรัฐมนตรีกล่าวทางวิทยุกระจายเสียง<br />
แด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวลในอภิลักขิตสมัยแห่ง<br />
งานเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน 2483.” ราช<br />
กิจจานุเบกษา เล่ม 57 (24 มิถุนายน 2483): 851-870.<br />
“เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองรังสิตประยุรศักดิ์แล<br />
เสด็จพระราชวังบางปอิน.” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13,<br />
ตอนที่ 35 (29 พฤศจิกายน 1896): 430-433.<br />
“เสด็จพระราชดำเนินวังบุรพาภิรมย์ ในการซึ่งที่ปฤกษา<br />
ของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินมีการสมโภชพระบาท<br />
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์.” ราชกิจจา<br />
นุเบกษา เล่ม 14, แผ่นที่ 43 (23 มกราคม<br />
รัตนโกสินทร์ศก 116): 736-739.<br />
“Memorandum by Prince Bidya on the Organization<br />
of Athletics.” March 22nd 1933. เอกสารสำนัก<br />
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2) สร0201.29/3. หอ<br />
จดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ กรมพระยา.<br />
เธอ. นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2543.<br />
. ประชุมพงศาวดารเล่ม 14 (ประชุม<br />
พงศาวดารภาค 22-25). พระนคร: องค์การค้าคุรุ<br />
สภา, 2507.<br />
กรมศิลปากร. “ประกาศเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย.” ใน<br />
การเลิกทาสในรัชกาลที่5. พระนคร: บำรุงนุกูลกิจ,<br />
2499.<br />
เดอริงก์, คาร์ล. “สถาปัตยกรรมสยาม.” แปลโดย อำภา<br />
โอตระกูล ใน เยอรมันมองไทย. เวงค์, เคลาส และ<br />
เซ็นแบร์ก, เคลาส โรส ผู้รวบรวม. พระนคร: เคล็ด<br />
ไท, 2520.<br />
เจ้านายและข้าราชการ กราบบังคมทูลความเห็นจัดการ<br />
เปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 และพระราช<br />
ดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />
ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครอง<br />
แผ่นดิน. นครหลวงฯ: พิฆเณศ, 2515.<br />
ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่ม<br />
สถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิก พ.ศ.2459- พ.ศ.2508.”<br />
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475-2500.<br />
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2544.<br />
ชาตรี ประกิตนนทการ. “สถาปนิก ความรู้ โรงเรียน<br />
สถาปัตยกรรม.” หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์<br />
สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย 13 (มกราคม<br />
2559-ธันวาคม 2559): 76-113.<br />
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุง<br />
รัตนโกสินทร์รัชกาลที่3 เล่ม 2. พระนคร: องค์การ<br />
ค้าคุรุสภา, 2504.<br />
ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ และวิไลรัตน์ ยังรอด. คู่มือการ<br />
เรียนรู้กรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส,<br />
2546.<br />
บัทสัน,เบนจามิน เอ. อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใน<br />
สยาม. แปลโดย กาญจนี ละอองศรี และคณะ.<br />
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2543.<br />
เบียสลีย์, ดับเบิลยู จี. ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่.<br />
แปลโดย ทองสุก เกตุรุ่งโรจน์. กรุงเทพฯ: ศูนย์<br />
พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ, 2543.<br />
แบบพิมพ์เขียวดั้งเดิมของคณะกรรมการพิจารณาการ<br />
สร้างอนุสสาวรีย์ชัยสมรภูมิ. ไม่ปรากฏวันที่. ไม่มี<br />
เลขหน้า.<br />
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และเบเคอร์, คริส. เศรษฐกิจ<br />
การเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ.กรุงเทพฯ: ตรัสวิน, 2539.<br />
พระพรหมพิจิตร. พรหมพิจิตร์อนุสรณ์. พระนคร: โรง<br />
พิมพ์พระจันทร์, 2508.<br />
พระสารศาสตร์ศิริลักษณ์. ประวัติพระสาโรชรัตน<br />
นิมมานก์. พระนคร: โรงพิมพ์ชัยศิริ, 2493. (พิมพ์<br />
ในอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระสาโรชรัตน<br />
นิมมานก์).<br />
พระสาโรชน์รัตนนิมมานก์. การสร้างอาคารที่ศิริราช<br />
พยาบาล. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2519.<br />
(พิมพ์ในอนุสรณ์ 84 ปี ศิริราช).<br />
พินัย สิริเกียรติกุล. “ณ ที่นี้ไม่มี ‘ความเสื่อม’ : ถนน<br />
ราชดำเนิน พ.ศ. 2484-2488.” หน้าจั่ว ว่าด้วย<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย<br />
6 (กันยายน 2552-สิงหาคม 2553): 8-51.<br />
พิริยา พิทยาวัฒนชัย. “สถาปัตยกรรมของโยอาคิม กรา<br />
ซีในสยาม.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต<br />
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิต<br />
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.<br />
เพ็ญศรี กาญจโนมัย. ญี่ปุ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์<br />
หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.<br />
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. เที่ยวเมือง<br />
พระร่วง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราช<br />
วิทยาลัย, 2519.<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร. นิทรรศการเชิดชูเกียรติ<br />
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2535.<br />
428 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
วิชา มหาคุณ, บรรณาธิการ. ที่ระลึกนิทรรศการทางการ<br />
ศาล สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยปี. กรุงเทพฯ:<br />
กระทรวงยุติธรรม, 2525.<br />
สถาบันราชภัฎพระนคร. อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ<br />
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร สถาบันราชภัฎ<br />
พระนคร. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎพระนคร, 2539.<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. รายงานการวิจัยสถาปัตยกรรม<br />
ของคาร์ล ดือห์ริ่ง. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร, 2540.<br />
. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4- พ.ศ.2480. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร, 2553.<br />
. “จิตวิญญาณแบบไทยสมัยใหม่: ผล<br />
งานสถาปัตยกรรมแบบ Modernism ของพระพรหม<br />
พิจิตร.” ใน สถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ.<br />
สมใจ นิ่มเล็ก และคนอื่นๆ. กรุงเทพฯ: คณะ<br />
สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
สรรใจ แสงวิเชียร. ศิริราชร้อยปี: ประวัติและวิวัฒนาการ.<br />
กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, 2531.<br />
สมัยเฉลิม กฤดากร, หม่อมเจ้า. งานสถาปัตยกรรมของ<br />
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร. พระนคร: โรงพิมพ์<br />
พระจันทร์, 2510.<br />
หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “รายงานการเปิด<br />
ตึกต่างๆ.” 24 มิถุนายน 2484. เอกสาร จ18.5/1/5.<br />
23-24.<br />
Harada, Akio. Mainichi Shimbun (November 23,<br />
1962).<br />
Tseng, Alice Y. “In Defense of Kenchiku: Ito Chuta’s<br />
Theorization of Architecture as a Fine Art in the<br />
Meiji Period.” Review of Japanese Culture and<br />
Society 24 (2012): 155-167.<br />
Beasley, W.G.. The History of Modern Japan.<br />
New York: Praeger, 1975.<br />
Chang, Hui Ju. “Victorian Japan in Taiwan:<br />
transmission and impact of the ‘modern’ upon<br />
the Architecture of Japanese authority, 1853-<br />
1919.” Ph.D. dissertation, University of Sheffield,<br />
2014.<br />
Cho, Hyun Jung. “Hiroshima Peace Memorial Park<br />
and the Making of Japanese Postwar Architec<br />
ture.” Journal of Architectural Education 66, 1<br />
(2012): 72-83.<br />
Somchart Chungsiriarak. “Modern (Western Style)<br />
Buildings in the Meiji Period (1868-1912) with<br />
Comparison to Contemporary Western Style<br />
Buildings in Siam.” Journal of the Faculty of<br />
Architecture Silpakorn University 16 (1998-<br />
1999): 123-194.<br />
Ciappi, Marco Antonio. Compendio Della Heroiche<br />
Et Glorios Attioni Et Santa Vita di Papa Greg<br />
XIII. Roma: Stamperia de gli Accolti, 1596.<br />
Coaldrake, William H. Architecture and Authority<br />
in Japan. London: Routledge, 1996.<br />
Count Okuma. “The Industrial Revolution in Japan.”<br />
The North American Review 171, 528<br />
(November 1900): 677- 691.<br />
Daiki, Amanai. “The Founding of Bunriha Kenchiku<br />
Kai: “Art” and “Expression” in early Japanese<br />
Architectural Circle, 1888-1920.” Aesthetics 13<br />
(2009): 235-248.<br />
Finn, Dallas. Meiji Revisited: The Sites of Victorian<br />
Japan. University of Michigan: Weatherhill, 1995.<br />
Dohring, Karl. “Das Phrachedi in Siam.” Dissertation,<br />
Konigl. Sachs. Technischen Hochshule zu<br />
Dresden. Berlin: Behrend & Co., 1912.<br />
Dohring, Karl. “Der Bot (Haupttempel) inden<br />
siamesischen Tempelanlagen.” Dissertation,<br />
Friedrich Alexanders Universitat Erlangen.<br />
Berlin: Buchdruckerei G. Ascher, 1914.<br />
Duus, Peter. Modern Japan. Boston: Houghton<br />
Mifflin, 1998.<br />
Fergusson, James. A History of Architecture. n.p.,<br />
1876.<br />
. History of Indian and Eastern<br />
Architecture. n.p., 1876.<br />
Frampton, Kenneth and Kudo Kunio. Japanese<br />
Building Practice, From Ancient Times to the<br />
Meiji Period. New York: Van Nostrand Reinhold,<br />
1997.<br />
Howard, Michael. “For God, King and Country.” The<br />
National Interest 97 (Sept/Oct 2008): 54-60.<br />
Hwangbo, A.B. “Early works of Japanese<br />
Secessionist Architects.” Journal of the Korea<br />
Academia-Industrial cooperation Society 15, 5<br />
(2014): 3176-3182.<br />
Inoue, Shoichi. “Interpretation of Ancient Japanese<br />
Architecture Focusing on Links with World<br />
History.” Japan Review 12 (2000): 129-143.<br />
Jaffe, Richard M. “Buddhist Material Culture,<br />
“Indianism,” and the Construction of Pan-Asian<br />
Buddhism in Pre-War Japan.” Material Religion<br />
2, 3 (November 1, 2006): 266-293.<br />
Johnson, W.G., Wright Arnold and Breakspear,<br />
Oliver T. Twentieth Century Impressions of<br />
Siam. London: Lloyd’s Greater Britain<br />
Publishing Company Ltd, 1908.<br />
Kestenbaum, Jacqueline Eve. “Modernism and<br />
Tradition in Japanese Architectural Ideology,<br />
1931-1955.” Doctoral Thesis, Columbia<br />
University, 1996.<br />
Kim, Hyon-Sob. “Tetsuro Yoshida (1894-1956) and<br />
architectural interchange between East and<br />
West.” History. Arq 12, 1 (2008): 43-58.<br />
Kirk, Terry. The Architecture of Modern Italy, Volume<br />
I: The Challenge of Tradition, 1750-1900. New<br />
York: Princeton Architectural Press, 2005.<br />
Kishida, Hideto. “Modern Architecture in Japan.” in<br />
บรรณานุกรม<br />
429
Architectural Japan Old and New. Tokyo: Japan<br />
times and Mail, 1936.<br />
Kurakata, Shunsuke. “Study on the architecture<br />
and philosophy of Chuta Ito.” Thesis, Waseda<br />
University, 2004.<br />
Mclaren, W.W. Japanese Government Documents.<br />
Bethesada, Md: University Publication of<br />
America, 1979.<br />
Meid, Michiko. Der Einfuhrungsprozess des<br />
europaischen und nordamerikanischer<br />
Architektur in Japan seit 1542. Koln: Kleikamp,<br />
1977.<br />
Miller, Roy Andrew. Japan’s Modern Myth. New<br />
York: Weatherhill, 1982.<br />
Muramatsu, Teijiro. “The Course of Modern<br />
Japanese Architecture.” The Japan Architect<br />
109 (June 1965): 37-56.<br />
Onobayashi, Hiroki. “A History of Modern Japanese<br />
Houses.” The Japan Architect 109 (June 1965):<br />
71-84.<br />
Oshima, Ken Tadashi. International architecture in<br />
Interwar Japan. Seattle: University of<br />
Washington Press, 2009.<br />
Reynolds, Bruce E. “Imperial Japan’s Cultural<br />
Programme in Thailand.” in Japanese Cultural<br />
Policies in Southeast Asia during World War<br />
II. ed. Grant K. Goodman. New York: St. Martin<br />
Press, 1991.<br />
. “Phibun Songkhram and Thai<br />
Nationalism in the Fascist Era.” European<br />
Journal of East Asian Studies 3, 1 (2004): 99-<br />
134. 134.<br />
Reynolds, Jonathan M. “Japan’s Imperial Diet<br />
Building: Debate over Construction of a<br />
National Identity.” Art Journal 55, 3 (Fall 1996):<br />
38-47.<br />
. Maekawa Kunio and the emergence<br />
of Japanese Modernist Architecture. Berkeley:<br />
University of Califonia Press, 2001.<br />
Shunsuke, Otani. “The Dawn of Structural Earth<br />
quake Engineering in Japan.” the 14th World<br />
Conference on Earthquake Engineering,<br />
October 12-17, 2008, Beijing, China.<br />
Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha international, 1987.<br />
Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda, Tohru. Zumen-de-Mi<br />
ru-Toshikenchiku-no-Taisho (Urban Architecture<br />
in Taisho, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1992.<br />
. Zumen-de-Miru-Toshikenchi<br />
ku-no-Meiji (Urban Architecture in Meiji, a<br />
Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
Tadayoshi, Fujiki. “Tokyo-Paris 1936-37,” Process<br />
Architecture 110 (May 1993): 31-38.<br />
Takenaka, Akiko. “Architecture for Mass-Mobili<br />
zation: The Chureito Memorial Construction<br />
Movement, 1939-1945.” in The Culture of<br />
Japanese Fascism. ed. Alan Tansman. Durham:<br />
Duke University Press, 2009.<br />
The Architectural Institute of Japan, “History of<br />
Architectural Institute of Japan,” in 50 years<br />
History of AIJ. 1936. available from http://www.<br />
aij.or.jp/da1/kaishimokuroku/pdf/gakaishi_01.pdf<br />
Watanabe, Toshio. “Japanese Imperial Architecture:<br />
From Thomas Roger to Ito Chuta.” in<br />
Challenging Past and Present: The Metamor<br />
phosis of Nineteenth Century Japanese Art. ed.<br />
Ellen Conant. University of Hawaii Press, 2006.<br />
. “Josiah Conder’s Rokumeikan:<br />
Architecture and National Representation in<br />
Meiji Japan.” Art Journal 55, 3 (Fall 1996): 21-27.<br />
Wendelken, Cherie. “The Tectonics of Japanese<br />
Style: Architect and Carpenter in the late Meiji<br />
Period.” Art Journal 55, 3 (Fall 1996): 28-37.<br />
. “Pan-Asianism and the Pure<br />
Japanese Thing: Japanese Identity and<br />
Architecture in the Late 1930.” Positions 8, 3<br />
(Winter 2000): 819-828.<br />
Yen, Liang-Ping. “A Discussion of Writings on<br />
Architectural History under Cultural Essentialism.”<br />
Atiner Conference Paper Series no.ARC 2013-<br />
0733.<br />
สื่ออิเล็กทรอนิคส์<br />
ประกาศการยกเลิกหมอบคลาน. เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม<br />
2560. เข้าถึงได้จาก http://prachatai.com/jour<br />
nal/2012/10/43275<br />
ประวัติศาลแขวงสงขลา. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2550.<br />
เข้าถึงได้จาก http://www.judiciary.go.th/sklmc/<br />
index1.htm<br />
ศาลาไทยกรุงปารีส 2480. เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2560.<br />
เข้าถึงได้จาก www.cokethai.com/forum<br />
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ. เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2560.<br />
เข้าถึงได้จาก http://kanchanapisek.or.th/kp8/nki/<br />
nki103.html<br />
AIJ-Architectural Institute of Japan(AIJ). accessed<br />
April 24, 2017. available from http://www.aij.<br />
or.jp./eng/ about/about.html<br />
Alnwick War Memorial. accessed March 31, 2017.<br />
available from http://www.roll-of-honour.com/<br />
Northumberland/ Alnwick.html<br />
Benoit, Jacquet. Compromising Modernity:<br />
Japanese Monumentality during World War II.<br />
accessed January 11, 2017. available from<br />
https://www.academia.edu/170<br />
Bootle War Memorial, Liverpool. accessed March<br />
31, 2017. available from http://1914-1918.<br />
invisionzone.com/forums/ index.php?/top<br />
ic/210408-bootle-war-memorial<br />
Clementi. Ponte Ducca d’aosta. accessed March<br />
30, 2017. available from http://www.trekearth.<br />
com/gallery/ Europe/Italy/ Lazio/Rome/Roma/<br />
photo82533.htm<br />
Cohen, Manuel. Relief, Ponte Duca d’Aosta, Rome,<br />
Italy. accessed September 29, 2016. available<br />
from http:// manuelcohen.photoshelter.com/image<br />
430 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
Compromising Modernity: Japanese Monumentality<br />
during World War II. accessed January 11, 2017.<br />
available from https://www.academia.edu/170<br />
Diet. available from https://en.wikipedia.org/wiki/Diet<br />
Dojunkai. accessed December 28, 2016. available<br />
from https://en.wikipedia.org/wiki/Dojunkai<br />
Euston Station War Memorial. accessed March<br />
31, 2017. available from http://www. roll-ofhonour.com/<br />
London/ EustonStation.html<br />
Ex-Soldiers Hall (Gunjin Kaikan), Kudan, Tokyo, c.<br />
1935/Old Tokyo. accessed December 30, 2016.<br />
available from http://www.oldtokyo.com/exsoldiers-hall-kudan-tokyo-c-1935/<br />
General lists of Journal of Architecture and Building<br />
Science Part 1 to 49, (1936). accessed April<br />
24, 2017. available from http://www.aij.or.jp/<br />
da1/kaishimokuroku/mokuroku.html<br />
Greater East Asia Co-Prosperity Sphere Memorial<br />
Hall. accessed January 13, 2017. available from<br />
https://classconnection.s3.amazonaws.<br />
com/506/flashcards/35506/jpg/161362<br />
78892153...<br />
History of Tokyo. accessed December 28, 2016.<br />
available from https://en.wikipedia.org/wiki/<br />
History_of_Tokyo<br />
Janaka Goonetilleke. Japanese Monks who came<br />
to Galle in the late. 1-2. accessed March 15,<br />
2016. available from http://www.buddhistchan<br />
nel.tv/index.php?id=43,7572,0,0,1,0<br />
Kasuisai. accessed March 15, 2016. available from<br />
http://www.shizuoka-guide.com/blog-trip/ar<br />
chives/2011/06/ images/1358395998.jpg<br />
Kyoto College of Technology. accessed December<br />
20, 2016. available from http://www.flickriver.<br />
com/photos/ bbianca/4412 and http://Japan-ar<br />
chitect.jimdo.com/Japanese-architects/moto<br />
no-seigo-/<br />
Lahmeyer, Jan. Historical demographical data of<br />
the whole country. accessed May 30, 2016.<br />
available from http:// www.populstat.info/<br />
. Thailand, historical demographical<br />
data of the whole country. accessed May 30,<br />
2016. available from http://www.populstat.info/<br />
Asia/thailanc.htm<br />
Meiji Constitution. available from https://en.wikipe<br />
dia.org/wiki/ Meiji_Constitution<br />
Nichiren Shu News No. 169, December 1, 2008.<br />
accessed June 11, 2015. available from http://<br />
nichiren-shu.org/ newsletter<br />
No.7: Earthquake Paintings. accessed June 11,<br />
2015. available from http://art-it.asia/u/ ad<br />
min_ed_contri8/qPb0LpT4N RVitnuXy<br />
92B/?lang=en<br />
Sato Yoshiaki. The Kanagawa Prefectural Govern<br />
ment Hall and Low-ranking Official Architects<br />
in Taisho and Early Showa Era, Viewing from<br />
History of Architecture. accessed December<br />
12, 2016. available from http:// www.kamome.<br />
lib. ynu.ac.jp/dspace/bistream/10131/425<br />
/9/11734506-09.pdf<br />
Shimizu Yuichiro. Shaping the Diet: Competing<br />
Architectural Designs for Japan’s Diet Building,<br />
Social Science Research Network. accessed<br />
January 13, 2014. available from http://papers.<br />
ssru.com/sol3/ papers<br />
Shirokiya Department Store fire. accessed Decem<br />
ber 28, 2016. available from https://en.wikipedia.<br />
org/wiki/ Shirogiya_ Department_Store_fire<br />
Shizume Masato. The Japanese Economy during<br />
the Interwar Period: Instability in the Financial<br />
System and the Impact of the World Depression,<br />
Bank of Japan Review, 2009-E-2, May, 2009.<br />
accessed March 25, 2016. available from http://<br />
www.boj.or.jp/en<br />
Sone Tatsuzo. available from https://en.wikipedia.<br />
org/wiki/Sone_Tatsuzo<br />
The 1930s and War Economy. accessed March 24,<br />
2016. available from http://www.grips.ac.jp/<br />
teacher/oono/hp/ lecture_J/lec09.htm<br />
Tokyo National Museum- Access Museum Map<br />
Honka. accessed December 30, 2016.<br />
available from http:// www.tnm.jp/modules/<br />
r_free_page/index.php?id=115<br />
Tomioka Silk Mill. accessed April 3, 2017. available<br />
from http://www.tomioka-silk.jp.e.wv.hp.transer.<br />
com/tomioka-silk-mill/<br />
War Memorial, Port Sunlight, by Sir William Gos<br />
combe John. accessed March 31, 2017.<br />
available from http:// www.victorianweb.org/<br />
sculpture/john/14.html<br />
War Memorial: Men of Hackney (WMR-2274).<br />
accessed April 3, 2017. available from http://<br />
www.iwm.org.uk/memorials/ item/memori<br />
al/2274<br />
Yokohama Specie Bank. available from http://<br />
chkanagawa-museum.jp<br />
Yoshikasu Uchida. available from https://en.wikipe<br />
dia.org/wiki/Yoshikazu_Uchida<br />
Yutaka Hidaka. accessed April 21, 2017. available<br />
from www.nikken.co.jp/ja/archives/60002.html<br />
フロアマップ. accessed May 11, 2016. available from<br />
http://tsukijihongwanji.jp/marugoto/about/<br />
floormap<br />
บรรณานุกรม<br />
431
ที่มาภาพประกอบ<br />
หน้า 20<br />
หน้า 28<br />
หน้า 29<br />
หน้า 31<br />
อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen-de<br />
-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban Architecture in Meiji,<br />
a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen-de<br />
-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban Architecture in Meiji,<br />
a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
Ciappi, Marco Antonio. Compendio Della Heroiche Et<br />
Gloriose Attioni Et Santa Vita di Papa Greg XIII. Roma:<br />
Stamperia de gli Accolti, 1596.<br />
Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 33 WIKIPEDIA. Reverberatory furnace. Accessed July 10,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/<br />
Reverberatory_furnace<br />
หน้า 34, 306 WIKIPEDIA. Tomioka Silk Mill. Accessed July 10, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Tomioka<br />
_Silk_Mill<br />
หน้า 35 บน: WIKIPEDIA. Glover Garden. Accessed July 10, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Glover_Garden<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 36 WIKIPEDIA. Emperor Meiji. Accessed October 4, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Emperor_Meiji<br />
หน้า 37, 313 Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 38 ซ้าย: Dai-ichi Kokuritsu Ginko. Accessed August 30, 2019.<br />
Available from https://commons.wikimedia.org/wiki/File:<br />
Dai-ichi_Kokuritsu_Ginko.JPG<br />
ขวา: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban<br />
Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 39, 308, 312<br />
บน: Frampton, Kenneth and Kudo, Kunio. Japanese<br />
Building Practice From Ancient Times to the Meiji Period.<br />
New York: Van Nostrand Reinhold, 1997.<br />
ล่าง: Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 40 WIKIPEDIA. Josiah Conder (architect). Accessed July 10,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Josiah_<br />
Conder_(architect)<br />
WIKIPEDIA. Tatsuno Kingo. Accessed July 10, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Tatsuno_Kingo<br />
WIKIPEDIA. Katayama Tōkuma. Accessed July 10, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Katay<br />
ama_T%C5%8Dkuma<br />
WIKIPEDIA. Sone Tatsuzō. Accessed July 10, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Sone_<br />
Tatsuz%C5%8D<br />
หน้า 42, 329 บน: WIKIPEDIA COMMONS. Conder Ueno Museum.<br />
Accessed July 10, 2019. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/File:Conder-Ueno-Museum-1882.jpg<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 43, 327 บนซ้าย: WIKIPEDIA. Rokumeikan. Accessed July 10,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/<br />
Rokumeikan<br />
บนขวา-ล่างซ้าย: อ้างอิงจาก Chang, Hui Ju. “Victorian<br />
Japan in Taiwan: transmission and impact of the ‘modern’<br />
upon the Architecture of Japanese authority, 1853-1919.”<br />
Dissertation, University of Sheffield, 2014.<br />
หน้า 44 ซ้าย: HERMANN ENDE. Accessed July 10, 2019.<br />
Available from http://www.orden-pourlemerite.de/<br />
mitglieder/hermann-ende<br />
ขวา: WIKIPEDIA. Wilhelm Böckmann. Accessed July 10,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/<br />
Wilhelm_B%C3%B6ckmann<br />
หน้า 45, 331 บน Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 46, 331, 364<br />
บนซ้าย: อ้างอิงจาก Frampton, Kenneth and Kudo, Kunio.<br />
Japanese Building Practice From Ancient Times to the<br />
432 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
Meiji Period. New York: Van Nostrand Reinhold, 1997.<br />
บนขวา: Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 47, 325 บน: Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban<br />
Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 51, 314 Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 52 ซ้าย: อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
บนขวา-ล่างขวา: Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban<br />
Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 53 อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban<br />
Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 55<br />
Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 56, 315 WIKIPEDIA. Akasaka Palace. Accessed October 4, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Akasaka_<br />
Palace<br />
หน้า 57<br />
หน้า 58<br />
อ้างอิงจาก Chungsiriarak, Somchart. “Modern (Western<br />
Style) Buildings in the Meiji Period (1868-1912) with<br />
comparison to Contemporary Western Style Buildings in<br />
Siam.” Journal of the Faculty of Architecture Silpakorn<br />
University. 16, (1998-1999).<br />
บนซ้าย: WIKIPEDIA. Tsumaki Yorinaka. Accessed<br />
October 4, 2019. Available from https://ja.wikipedia.org/<br />
wiki/ 妻 木 頼 黄<br />
ล่างขวา: ภาพลายเส้นอ้างอิงจาก Stewart, David B. The<br />
Making of a Modern Japanese Architecture 1868 to the<br />
Present. Tokyo: Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 59, 315 บน-ล่าง Finn Dallas. Meiji Revisited, The Sites of Victorian<br />
Japan. New York: Weatherhill, 1995.<br />
หน้า 60, 316 บน WIKIPEDIA COMMONS. Old Keio University Library.<br />
Accessed January 28, 2020. Available from https://<br />
commons.wikimedia.org/wiki/Category:Old_Keio_<br />
University_Library<br />
ล่าง: ภาพลายเส้นอ้างอิงจาก Chungsiriarak, Somchart.<br />
“Modern (Western Style) Buildings in the Meiji Period<br />
(1868-1912) with comparison to Contemporary Western<br />
Style Buildings in Siam.” Journal of the Faculty of<br />
Architecture Silpakorn University. 16, (1998-1999).<br />
หน้า 61<br />
บน-ล่าง: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban<br />
Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 62, 317, 318<br />
บน: WIKIPEDIA. Yoshikazu Uchida. Accessed July 11,<br />
2019. Available from https://ja.wikipedia.org/wiki/%E4%<br />
BD%90%E9%87%8E%E5%88%A9%E5%99%A8<br />
ล่าง: WIKIPEDIA. MARUZEN-YUSHODO. Accessed<br />
October 10, 2019. Available from https://ja.wikipedia.org/<br />
wiki/%E4%B8%B8%E5%96%84%E9%9B%84%E6%9D%<br />
BE%E5%A0%82<br />
หน้า 63<br />
หน้า 64<br />
บนซ้าย-บนขวา-ล่างขวา: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and<br />
Hatsuda Tohru. Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji<br />
(Urban Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
ล่างซ้าย: WIKIPEDIA. Imperial Theatre. Accessed July 11,<br />
2019. Available from https://ja.wikipedia.org/wiki/%E5%B8<br />
%9D%E5%9B%BD%E5%8A%87%E5%A0%B4<br />
อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen-de<br />
-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban Architecture in Meiji,<br />
a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 65, 364 ภาพลายเส้นอ้างอิง Finn Dallas. Meiji Revisited, The Sites<br />
of Victorian Japan. New York: Weatherhill, 1995.<br />
หน้า 66, 365 Finn Dallas. Meiji Revisited, The Sites of Victorian Japan.<br />
New York: Weatherhill, 1995.<br />
หน้า 68 WIKIPEDIA. Emperor Taishō. Accessed July 11, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Emperor_Taish<br />
%C5%8D<br />
ที่มาภาพประกอบ<br />
433
หน้า 70<br />
หน้า 71-72<br />
WIKIPEDIA. 1923 Great Kantō earthquake. Accessed July<br />
11, 2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/1923<br />
_Great_Kant%C5%8D_earthquake<br />
Oshima, Ken Tadashi. International Architecture in interwar<br />
Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle: Washington<br />
University Press, 2009.<br />
หน้า 73, 336 บน: Hwangbo, A.B. “Early Works of Japanese Secessionist<br />
Architects.” Journal of the Korean Academia-Industrial<br />
Cooperation Society. 15, 5 (2014).<br />
ล่าง: Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 74, 337 ซ้าย: Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
ขวา: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-Mirru-Toshikenchiku-no-Taisho(Urban<br />
Architecture in Taisho, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1992.<br />
หน้า 75, 337 ซ้าย: WIKIPEDIA COMMONS. Ishimoto-Asahi-building-1.<br />
Accessed July 23, 2019. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/File:Ishimoto-Asahi-building-1.jpg<br />
ขวา: Oshima, Ken Tadashi. International Architecture in<br />
interwar Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle:<br />
Washington University Press, 2009.<br />
หน้า 76, 338 บน อ้างอิงจาก Oshima, Ken Tadashi. International<br />
Architecture in interwar Japan. Constructing Kokusai<br />
Kenchiku. Seattle: Washington University Press, 2009.<br />
ล่าง: ภาพวาดลายเส้นอ้างอิงจาก Reynolds, Jonathan M.<br />
Maekawa Kunio and the Emergence of Japanese<br />
Modernist Architecture. Berkeley: University of California<br />
Press, 2001.<br />
หน้า 77 บน-ล่าง: ภาพวาดลายเส้นอ้างอิงจาก Reynolds, Jonathan M.<br />
Maekawa Kunio and the Emergence of Japanese<br />
Modernist Architecture. Berkeley: University of California<br />
Press, 2001.<br />
หน้า 78, 338 อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen-de<br />
-Mirru-Toshikenchiku-no-Taisho (Urban Architecture in<br />
Taisho, a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1992.<br />
หน้า 79<br />
Oshima, Ken Tadashi. International Architecture in interwar<br />
Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle: Washington<br />
University Press, 2009.<br />
หน้า 80, 338 อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 81 WIKIPEDIA. Yoshikazu Uchida. Accessed July 11, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Yoshikazu_Uchida<br />
หน้า 82<br />
บน Yasuda Auditorium - Tokyo University 2. Accessed<br />
July 7, 2019. Available from https://commons.wikimedia.<br />
org/wiki/File:Yasuda_Auditorium_-_Tokyo_University_2.jpg<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-Mirru-Toshikenchiku-no-Taisho (Urban<br />
Architecture in Taisho, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1992.<br />
หน้า 83, 318 บน: WIKIPEDIA. Itō Chūta. Accessed July 11, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/It%C5%8D_Ch<br />
%C5%ABta<br />
ล่าง: Fletcher, Banister Sir. A History of Architecture on the<br />
Comparative Method for Students, Craftmen and Amateur.<br />
London: Batsford,1901.<br />
หน้า 85<br />
Ito, Chuta. “A Treatise on Horyuji Temple.” Journal of<br />
Architecture and Building Science. 7, 83 (1893).<br />
หน้า 86, 367 บน: Ito, Chuta. Toyo Kenchiku no Kenkyu (Research on<br />
Oriental Architecture) 1st edn. Tokyo: Ryuginsha, 1936.<br />
ล่าง: Ito, Chuta. “The Future of Our Architecture in Terms<br />
of the Evolution Theory of Architecture.” Journal of<br />
Architecture. 265, (1908).<br />
หน้า 88, 368 Jaffe, Richard M. “Buddhist Material Culture, ‘Inianism’<br />
and the Construction of Pan-Asian Buddhism in Prewar<br />
Japan.” Material Religion. 2, 3 (November 1, 2006)<br />
หน้า 90, 305 บนซ้าย: อ้างอิงจาก Jaffe, Richard M. “Seeking Sakyamuni:<br />
Travel and the Reconstruction of Japanese Buddhism.”<br />
The Journal of Japanese Studies. 30, 1 (2004).<br />
บนขวา-ล่างซ้าย: อ้างอิงจาก Kurata Shunsuke. “Study on<br />
the Architecture and Philosophy of Chuta Ito.” Thesis,<br />
Waseda University, 2004.<br />
ล่างขวา: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru.<br />
Zumen-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban<br />
Architecture in Meiji, a Visual Anthology). Tokyo:<br />
Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 91, 368 Nagoya : Nittaiji Temple. Accessed July 11, 2019. Available<br />
from http://Stayingglobal.blogspot.com/2014/03/nagoya-nit<br />
434 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
taiji-temple.html<br />
หน้า 92, 368 บน: WIKIPEDIA. Indo-Greek art. Accessed July 11, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Indo-Greek_art<br />
กลาง-ล่าง: Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen-de<br />
-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban Architecture in Meiji,<br />
a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 93<br />
อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen-de<br />
-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban Architecture in Meiji,<br />
a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 94, 370 บน: WIKIPEDIA COMMONS. Meiji Shrine Treasure<br />
Museum. Accessed July 11, 2019. Available from https://<br />
commons.wikimedia.org/wiki/File:Meiji_Shrine_Treasure_<br />
Museum_-_DSC05023.JPG<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Suzuki, Hiroyuki and Hatsuda Tohru. Zumen<br />
-de-miru-Toshikenchiku-no-Meiji (Urban Architecture in<br />
Meiji, a Visual Anthology). Tokyo: Kashiwashobo, 1990.<br />
หน้า 95, 332 WIKIPEDIA. National Diet Building. Accessed July 11, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/National_Diet_<br />
Building<br />
หน้า 96<br />
บน: อ้างอิงจาก Shimizu, Yuichiro. “Shaping the Diet:<br />
Competing Architectural Design for Japan’s Diet Building.”<br />
Social Science Research Network. http://papers.ssru.com/<br />
sol3/papers.2014<br />
ล่าง: WIKIPEDIA. National Diet Building. Accessed July 11,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/National<br />
_Diet_Building<br />
หน้า 97, 370 WIKIPEDIA. National Diet Building. Accessed July 11, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/National_Diet_<br />
Building<br />
หน้า 98 บน: WIKIPEDIA. National Diet Building. Accessed July 11,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/National<br />
_Diet_Building<br />
ล่าง: WIKIPEDIA. House of the Temple. Accessed July 11,<br />
2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/House_of<br />
_the_Temple<br />
หน้า 101<br />
WIKIPEDIA. Hirohito. Accessed July 12, 2019. Available<br />
from https://en.wikipedia.org/wiki/Hirohito<br />
หน้า 103 ซ้าย WIKIPEDIA. Hirohito. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Hirohito<br />
ขวา: WIKIPEDIA. Shanghai International Settlement.<br />
Accessed July 12, 2019. Available from https://en.wikipe<br />
dia.org/wiki/Shanghai_International_Settlement<br />
หน้า 104,107 WIKIPEDIA. Pacific War. Accessed July 12, 2019. Available<br />
from https://en.wikipedia.org/wiki/Pacific_War<br />
หน้า 105 Kinkaseki POW Camp. Accessed October 4, 2019.<br />
Available from https://historigals.wordpress.com/2015/05/<br />
10/kinkaseki-pow-camp/<br />
หน้า 108, 359 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยามสมัย<br />
รัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ<br />
ลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 109<br />
WIKIPEDIA. Kyoto Institute of Technology. Accessed July<br />
12, 2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Kyoto<br />
_Institute_of_Technology<br />
หน้า 111, 343 อ้างอิงจาก Oshima, Ken Tadashi. International Architecture<br />
in interwar Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle:<br />
Washington University Press, 2009.<br />
หน้า 112<br />
บน: อ้างอิงจาก Oshima, Ken Tadashi. International<br />
Architecture in interwar Japan. Constructing Kokusai<br />
Kenchiku. Seattle: Washington University Press, 2009.<br />
ล่าง: WIKIPEDIA. Antonin Raymond. Accessed July 23,<br />
2019. Available from https://es.wikipedia.org/wiki/Antonin_<br />
Raymond<br />
หน้า 113-115 Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 116<br />
อ้างอิงจาก Oshima, Ken Tadashi. International Architecture<br />
in interwar Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle:<br />
Washington University Press, 2009.<br />
หน้า 117, 346 บน: Kim, Hyon-sob. “Tetsuro Yoshida(1894-1956) and<br />
architectural interchange between East and West.” History<br />
Arq. 12, 1(2008).<br />
ล่าง: WIKIPEDIA COMMONS. Tokyo-Chuo Post Office.<br />
Accessed July 23, 2019. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/Category:Tokyo-Chuo_Post_Office<br />
หน้า 118<br />
หน้า 119<br />
บน: WIKIPEDIA COMMONS. Yoshida-Post-Osaka.<br />
Accessed July 23, 2019. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/File:Yoshida-Post-Osaka.jpg<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Kim, Hyon-sob. “Tetsuro Yoshida(1894-<br />
1956) and architectural interchange between East and West.”<br />
History Arq. 12, 1(2008).<br />
https://www.archimaera.de/2007/1/1198/Traeume-08.html/<br />
fullscreen 2019.10.07<br />
ที่มาภาพประกอบ<br />
435
หน้า 120, 343 บน: WIKIPEDIA COMMONS. HORIGUCHI-Okada-house.<br />
Accessed July 23, 2019. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/File:HORIGUCHI-Okada-house.jpg<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 122, 348 Oshima, Ken Tadashi. International Architecture in interwar<br />
Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle: Washington<br />
University Press, 2009.<br />
หน้า 123<br />
บน: WIKIPEDIA COMMONS. Exterieur Dr.H.Bavinckschool<br />
– Hilversum. Accessed January 27, 2019. Available from<br />
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Exterieur_Dr.H.<br />
Bavinckschool_-_Hilversum_-_20113295_-_RCE.jpg<br />
ล่าง: WIKIPEDIA COMMONS. Ishimoto Kikuji with his<br />
family. Accessed July 12, 2019. Available from https://<br />
commons.wikimedia.org/wiki/File:Ishimoto_Kikuji_with_his<br />
_family.JPG<br />
หน้า 124, 346 บน: Oldimages. Accessed July 12, 2019. Available from<br />
http://flickriver.com/photos/49501684@N02/tags/department/<br />
ล่าง: Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 125 ซ้าย: WIKIPEDIA. De Bijenkorf. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/De_Bijenkorf<br />
ขวา: Mamoru Yamada. Accessed July 12, 2019. Available<br />
from https://www.urbipedia.org/hoja/Mamoru_Yamada<br />
หน้า 126, 348, 359<br />
Oshima, Ken Tadashi. International Architecture in interwar<br />
Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle: Washington<br />
University Press, 2009.<br />
หน้า 128, 344 Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 129<br />
บน: WIKIPEDIA COMMONS. YAMAGUCHI-Yamada-house.<br />
Accessed July 12, 2019. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/File:YAMAGUCHI-Yamada-house.jpg<br />
ล่าง: Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
International, 1987.<br />
หน้า 130-137, 344, 345, 347<br />
อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 138 Reynolds, Jonathan M. Maekawa Kunio and the Emergence<br />
of Japanese Modernist Architecture. Berkeley: University<br />
of California Press, 2001.<br />
หน้า 139, 349, 424<br />
Stewart, David B. The Making of a Modern Japanese<br />
Architecture 1868 to the Present. Tokyo: Kodansha<br />
หน้า 140<br />
International, 1987.<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร,<br />
2553.<br />
หน้า 143, 378 บน: WIKIPEDIA. Yokohama Three Towers. Accessed<br />
October 7, 2019. Available from https://en.wikipedia.org/<br />
wiki/Yokohama_Three_Towers<br />
ล่าง: WIKIPEDIA. Nagoya City Hall. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Nagoya_City_Hall<br />
หน้า 144, 379 Oldtokyo. Ex-Soldiers Hall. Accessed October 7, 2019.<br />
Available from http://www.oldtokyo.com/ex-soldiers-hallkudan-tokyo-c-1935/<br />
หน้า 145, 379 ซ้าย: Oshima, Ken Tadashi. International Architecture in<br />
interwar Japan. Constructing Kokusai Kenchiku. Seattle:<br />
Washington University Press, 2009.<br />
ขวา: อ้างอิงจาก TOKYO NATIONAL MUSEUM. Accessed<br />
July 12, 2019. Available from http://www.tnm.jp/modules/r_<br />
free_page/index.php?id=115<br />
หน้า 146, 376 WIKIPEDIA. Great Kanto Earthquake memorial hall.<br />
Accessed October 7, 2019. Available from https://ja.<br />
wikipedia.org/wiki/%E6%9D%B1%E4%BA%AC%E9%83%<br />
BD%E6%85%B0%E9%9C%8A%E5%A0%82<br />
หน้า 147-148, 376, 377<br />
Kim, Hyon-sob. “Tetsuro Yoshida (1894-1956) and<br />
architectural interchange between East and West.” History<br />
Arq. 12, 1(2008).<br />
หน้า 149, 378 อ้างอิงจาก Tsukiji Hongwanji. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from https://tsukijihongwanji.jp/info/floormap/<br />
หน้า 151, 390 Jacquet, Benoit. Compromising Modernity: Japanese<br />
Monumentality during World War II. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from https://www.academia.edu/1708089/<br />
Compromising_Modernity_Japanese_Monumentality_during<br />
_World_War_II<br />
436 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
หน้า 152, 390, 391, 403<br />
บน Kunio Maekawa & Le Corbusier. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from http://archipelvzw.be/en/gallery/13/kunio-ma<br />
ekawa-le-corbusier<br />
กลาง-ล่าง: Jacquet, Benoit. Compromising Modernity:<br />
Japanese Monumentality during World War II. Accessed<br />
July 12, 2019. Available from https://www.academia.edu/<br />
1708089/Compromising_Modernity_Japanese_Monumen<br />
tality_during_World_War_II<br />
หน้า 153 บน: Exhibitions, events and things to do in Paris this week.<br />
Accessed July 12, 2019. Available from http://www.urban<br />
mishmash.com/paris/art-culture/exhibitions/junso-sakaku<br />
ra-architecture/<br />
ล่าง: Jacquet, Benoit. Compromising Modernity: Japanese<br />
Monumentality during World War II. Accessed July 12, 2019.<br />
Available from https://www.academia.edu/1708089/<br />
Compromising_Modernity_Japanese_Monumentality_<br />
หน้า 154<br />
during_World_War_II<br />
WIKIPEDIA. Greater East Asia Co-Prosperity Sphere.<br />
Accessed July 15, 2019. Available from https://en.wikipedia.<br />
org/wiki/Greater_East_Asia_Co-Prosperity_Sphere<br />
หน้า 155, 392 บน: Reynolds, Jonathan M. Maekawa Kunio and the<br />
Emergence of Japanese Modernist Architecture. Berkeley:<br />
University of California Press, 2001.<br />
ล่าง: Gallery Ma. Accessed July 15, 2019. Available from<br />
https://jp.toto.com/gallerma/ex150123/profile_e.htm<br />
หน้า 156,160, 392, 394, 395, 405, 407<br />
Reynolds, Jonathan M. Maekawa Kunio and the Emergence<br />
of Japanese Modernist Architecture. Berkeley: University<br />
of California Press, 2001.<br />
หน้า 161, 393 บน: Reynolds, Jonathan M. Maekawa Kunio and the<br />
Emergence of Japanese Modernist Architecture. Berkeley:<br />
University of California Press, 2001.<br />
ล่าง: อ้างอิงจาก Stewart, David B. The Making of a Modern<br />
Japanese Architecture 1868 to the Present. Tokyo:<br />
Kodansha International, 1987.<br />
หน้า 170<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 172 WIKIPEDIA. John Bowring. Accessed July 15, 2019.<br />
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/John_Bowring<br />
หน้า 173 Edwards, N. The Singapore House and Residential Life<br />
1819-1939. Singapore: Oxford University Press, 1991.<br />
หน้า 174-181, 307<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 182, 310 บน: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
ล่าง: Wright, A., Breakspear, O.T., Twentieth Century<br />
Impressions of Siam, Bangkok: White Lotus, 1994.<br />
หน้า 183,202, 333, 366<br />
Wright, A., Breakspear, O.T., Twentieth Century Impressions<br />
of Siam, Bangkok: White Lotus, 1994.<br />
หน้า 184-190, 311, 328<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 191, 321 บน: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ.<br />
ล่าง: ส.พลายน้อย, พระราชวัง วังเจ้านาย, กรุงเทพฯ:<br />
หน้า 192<br />
เมืองโบราณ, 2539<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 193, 320, 325<br />
บน: Lazara, L., Piazzadi, P. Italians at the Court of Siam.<br />
Bangkok: ITALASIA TRADING (THAILAND), 1996.<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่ 4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 194-198, 321<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 199 กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปกร<br />
หน้า 200-201 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 203<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
ที่มาภาพประกอบ<br />
437
หน้า 204 บน: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
ล่าง: สมคิด จิระทัศนกุล. โครงการวิจัย งานออกแบบ<br />
สถาปัตยกรรมไทยฝีพระหัตถ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />
นริศรานุวัดติวงศ์ “ภาคต้น”. (ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก<br />
มูลนิธิสยามกัมมาจลของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด โดย<br />
กองทุน “ถวัล-ไทยพาณิชย์”), 2553.<br />
หน้า 205 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 206, 366 มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. สมุดภาพ<br />
สถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร, 2525.<br />
หน้า 207 อ้างอิงจาก อัครพันธุ์ พันธุ์สัมฤทธิ์. “การศึกษาสถาปัตยกรรม<br />
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร (วัดสมอราย)” วิทยานิพนธ์<br />
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.<br />
หน้า 210-211, 371<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 213, 374 มหาวิทยาลัยศิลปากร. พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์และ<br />
หน้า 214<br />
พระราชวังสนามจันทร์ . กรุงเทพฯ: ม.ป.ท., 2539.<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 215, 373 บน: Chulalongkorn University. Accessed October 4, 2019.<br />
Available from http://www.cu100.chula.ac.th/wp-content/<br />
uploads/2017/03/cu100-story-009-01.jpg<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 216, 373 Lazara, L., Piazzadi, P. Italians at the Court of Siam.<br />
Bangkok: ITALASIA TRADING (THAILAND), 1996.<br />
หน้า 217, 374 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
หน้า 218 บน: ส.พลายน้อย. 100 รอยอดีต. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์, 2539.<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 219 Bygone Collection / Alamy Stock Photo<br />
หน้า 220, 340 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 221, 339 สภากาชาดไทย, 100 ปี สภากาชาดไทย : 2436-2536. กรุงเทพฯ: \<br />
จิรเมธาโฆษณาและการพิมพ์. 2536.<br />
หน้า 222 การรถไฟแห่งประเทศไทย<br />
หน้า 223, 340 มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. สมุดภาพ<br />
สถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร, 2525.<br />
หน้า 224, 341 บน: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 225-226, 341<br />
บน: โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 230-233 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 234<br />
หน้า 235<br />
หน้า 236<br />
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. ประวัติและ<br />
ผลงานสำคัญของพระพรหมพิจิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร, 2533<br />
บน: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 237, 351 บน: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
ล่าง: การรถไฟแห่งประเทศไทย<br />
หน้า 238 ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 239, 351 ขวา: สรรใจ แสงวิเชียร. ศิริราชร้อยปี: ประวัติและวิวัฒนาการ.<br />
กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย<br />
มหิดล, 2531.<br />
หน้า 240 หน่วยสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โรงพยาบาลศิริราช<br />
หน้า 241, 351 บน: สรรใจ แสงวิเชียร. ศิริราชร้อยปี: ประวัติและวิวัฒนาการ.<br />
กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย<br />
มหิดล, 2531.<br />
ล่าง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
หน้า 242-243 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
438 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 244 บน: วีระพล สิงห์น้อย<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 245, 350 บน: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 246-247 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 249, 380 ล่าง: สิทธิศักดิ์ น้ำคำ<br />
หน้า 251, 383 WIKIPEDIA. ตึกขาว จุฬาฯ. เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2562.<br />
เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0<br />
%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:%E0%B8%95%E0<br />
%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%<br />
B8%A7_%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%<br />
B8%B2%E0%B8%AF.jpg<br />
หน้า 252, 383 มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. ประวัติและ<br />
ผลงานสำคัญของพระพรหมพิจิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร, 2533.<br />
หน้า 254 WIKIPEDIA. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล<br />
พระอัฐมรามาธิบดินทร. เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2562. เข้าถึงได้<br />
จาก https://en.wikipedia.org/wiki/File:Ananda_Mahidol_por<br />
trait_photograph.jpg<br />
หน้า 255 สุเจน กรรพฤธิ์. “ป. พิบูลสงคราม”. สารคดี30, 352 (มิถุนายน<br />
2557).<br />
หน้า 260, 353 บน: วิชา เศรษฐบุตร. รำลึกถึงท่านอาจารย์ . กรุงเทพฯ:<br />
คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530.<br />
(ในอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์<br />
พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)).<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 261 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 262 หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />
หน้า 263, 354 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม<br />
สมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />
แอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 264, 356 ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่มสถาปนิกไทย<br />
รุ่นบุกเบิก พ.ศ.2459-พ.ศ. 2508.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร<br />
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 265 มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและ<br />
ภาพพิมพ์. สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ:<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.<br />
หน้า 266, 354, 398, 406<br />
ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่มสถาปนิกไทย<br />
รุ่นบุกเบิก พ.ศ. 2459-พ.ศ. 2508.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร<br />
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 267, 355, 406<br />
บน: วีระพล สิงห์น้อย<br />
ล่างซ้าย: อภินัยน์ ทรรศโนภาส<br />
ล่างขวา: ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่ม<br />
สถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิก พ.ศ. 2459-พ.ศ. 2508.” วิทยานิพนธ์<br />
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 268, 356 ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่มสถาปนิกไทย<br />
รุ่นบุกเบิก พ.ศ.2459-พ.ศ.2508.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร<br />
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 269 ซ้าย: มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและ<br />
ภาพพิมพ์. สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ:<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.<br />
ขวา: Kirk, Terry. The Architecture of Modern Italy. Volumn I:<br />
The Challenge of Tradition, 1750-1900. New York: Princeton<br />
Architectural Press, 2005.<br />
หน้า 271 ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่มสถาปนิกไทย<br />
รุ่นบุกเบิก พ.ศ. 2459-พ.ศ. 2508.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร<br />
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 272, 357 รูปเก่าเล่าเรื่องเมืองบางกอก. เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2562<br />
เข้าถึงได้จาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=<br />
5929.30<br />
หน้า 273 ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่มสถาปนิกไทย<br />
รุ่นบุกเบิก พ.ศ. 2459-พ.ศ. 2508.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร<br />
มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย<br />
ที่มาภาพประกอบ<br />
439
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 274 ซ้าย: กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ 2484-2539. กรุงเทพฯ:<br />
กรมศิลปากร, 2539.<br />
ขวา: ใจรัก จันทร์สิน. “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของกลุ่ม<br />
สถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิก พ.ศ.2459- พ.ศ.2508.” วิทยานิพนธ์<br />
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม<br />
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549.<br />
หน้า 275, 358 บน: กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ 2484-2539. กรุงเทพฯ:<br />
กรมศิลปากร, 2539.<br />
ล่าง: สมชาติ จึงสิริอารักษ์. สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />
ในสยามสมัยรัชกาลที่4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อมรินทร์<br />
พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2553.<br />
หน้า 276 ซ้าย: พินัย สิริเกียรติกุล. “ณ ที่นี้ไม่มี ‘ความเสื่อม’ :<br />
ถนนราชดำเนิน พ.ศ. 2484-2488.” หน้าจั่ว ว่าด้วย<br />
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย6 (กันยายน<br />
2552- สิงหาคม 2553).<br />
ขวาบน: WIKIPEDIA. National Diet Building. Accessed July<br />
11, 2019. Available from https://en.wikipedia.org/wiki/<br />
National_Diet_Building<br />
หน้า 277 “มันสมอง” พล.ต. หลวงวิจิตรวาทการ. เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม<br />
2562. เข้าถึงได้จาก http://palungjit.org/threads/<br />
หน้า 279-282, 384<br />
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สูจิบัตร<br />
นิทรรศการสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ . กรุงเทพฯ:<br />
หน้า 284<br />
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.<br />
ขวา: สถาบันราชภัฏพระนคร. อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ<br />
วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร สถาบันราชภัฏพระนคร. กรุงเทพฯ:<br />
สถาบันราชภัฏพระนคร, 2539.<br />
หน้า 286-287 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />
หน้า 291, 401, 404<br />
ซ้าย: คณะกรรมการพิจารณาสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ<br />
ขวา: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.<br />
73 ปีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์<br />
ทหารผ่านศึก, 2558.<br />
หน้า 292, 402 ซ้าย: มหาวิทยาลัยศิลปากร. นิทรรศการเชิดชูเกียรติ<br />
ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร,<br />
2535.<br />
ขวา: มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและ<br />
ภาพพิมพ์. สมุดภาพประติมากรรมกรุงรัตนโกสินทร์ . กรุงเทพฯ:<br />
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.<br />
หน้า 293, 402 WIKIPEDIA COMMONS. LNWR War Memorial, Euston<br />
station. Accessed October 4, 2019. Available from https://<br />
commons.wikimedia.org/wiki/Category:LNWR_War_<br />
Memorial,_Euston_station<br />
หน้า 294 WIKIPEDIA COMMONS. Port Sunlight war memorial.<br />
Accessed April 10, 2020. Available from https://commons.<br />
wikimedia.org/wiki/File:Port_Sunlight_war_memorial_2.jpg<br />
หน้า 295 WIKIPEDIA COMMONS. Bootle War Memorial. Accessed<br />
April 10, 2020. Available from https://commons.wikimedia.<br />
org/wiki/File:Bootle_War_Memorial.jpg<br />
หน้า 323 Dohring, Karl. “Das Phrachedi in Siam.” Dissertation,<br />
Konigl. Sachs. Technischen Hochshule zu Dresden. Berlin:<br />
Behrend & Co., 1912.<br />
หน้า 372, 382 อันเยลา ศรีสมวงศ์วัฒนา<br />
แบบสถาปัตยกรรม โดย<br />
• นายธนภัทร ธนะโสธร<br />
• นายกันต์ตนัย ตันติสวัสดิ์<br />
• นายกันตภณ มิคาทนานนท์<br />
• นางสาวกฤติกา รอดเจริญ<br />
• นายณัฐกร สมบัติธรรม<br />
• นายพรพิพัฒน์ ศึกหาญ<br />
• นางสาวภาชินี วงศ์ชัย<br />
• นางสาวมัณฑนา ชื่นชมภู<br />
• นายรัชพล เข็มทอง<br />
• นายวงศธร อาวรณ์<br />
• นางสาวสุทัตตา ทัศมาลา<br />
• นายอชิร ก่อแก้ว<br />
• นายเอกธาดา ชาวป่า<br />
440 <strong>สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ</strong>: เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยามช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงกลางศตวรรษที่ 20
ประวัติผู้เขียน<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์<br />
สมชาติ จึงสิริอารักษ์ เกิด พ.ศ. 2500 ที่กรุงเทพมหานคร สาเร็จการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย<br />
และปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2523 สอบชิงทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาที่ประเทศสหราช<br />
อาณาจักร สาเร็จปริญญาโทการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัย YORK เมื่อ พ.ศ. 2526 และได้รับประกาศนียบัตร<br />
การอนุรักษ์โบราณสถานไม้จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งนอร์เวย์ (TRONDHEIM) เมื่อ พ.ศ. 2531<br />
รับราชการเป็นสถาปนิกกรมศิลปากร พ.ศ. 2525-2535 โอนมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากรตั้งแต่ พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน เคยเป็นนักวิจัยรับเชิญ (Visiting Researcher) ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งอาเคน<br />
(RWTH-AACHEN) พ.ศ. 2536 และที่มหาวิทยาลัยโตเกียว พ.ศ. 2538 และเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรมตั้งแต่<br />
พ.ศ. 2544-2547<br />
มีผลงานการบูรณะโบราณสถานที่ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />
ดังนี้ พระนครคีรี (พ.ศ.2526-2532) พระราชวังรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) (พ.ศ. 2529-2530) วังท่าพระ มหาวิทยาลัย<br />
ศิลปากร (พ.ศ.2529-ปัจจุบัน) หอพิสัยศัลลักษณ์ พระราชวังจันทรเกษม (พ.ศ. 2534) ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (พ.ศ. 2535)<br />
นอกจากนี้ยังมีงานบูรณะและออกแบบสถาปัตยกรรมสาคัญ เช่น บูรณะตาหนักสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (ตาหนักวาสุกรี)<br />
(พ.ศ. 2536-2537) ออกแบบหอสมุดสมเด็จ ว.ผ.ต. (สมเด็จพระพนรัตน์ (เผื่อน)) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (พ.ศ. 2545)<br />
หอดารงราชานุภาพ วังวรดิศ (พ.ศ. 2532) โรงกระทิง-ศาลาไทย ณ สวนสัตว์นครเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(พ.ศ. 2540)<br />
มีบทความวิชาการ งานวิจัยและหนังสือในสาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเช่น ปูนหมัก-<br />
ปูนตา (พ.ศ. 2530) การบูรณะสถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระหว่าง พ.ศ. 2522-2535<br />
(พ.ศ. 2535) แนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานในศตวรรษที่19 ของอังกฤษ (พ.ศ. 2537) ความเป็นมาของวิธีบูรณะโบราณ<br />
สถานแบบอนาสติโลซีสในปะเทศกรีซ (พ.ศ. 2539) วัดกุฎีดาวหลังการบูรณะใน พ.ศ. 2544 : ปัญหาจินตภาพและความถูกต้อง<br />
ทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม (พ.ศ. 2544) สองศตวรรษการอนุรักษ์โบราณสถาน : จากอารมณ์และศรัทธาสู่ความเป็นมรดกร<br />
่วมของมนุษยชาติ(พ.ศ.2548) สถาปัตยกรรมของคาร์ล ดือห์ริ่ง (The Works of Karl Siegfried Döhring, Architect) (หนังสือ)<br />
(พ.ศ. 2540) ความล้มเหลวของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (หนังสือ) (พ.ศ.2544) Modern (Western Style) Buildings in the Meiji<br />
Period (1868-1912) with Comparison to Contemporary Western Style Buildings in Siam (พ.ศ. 2542) สถานีรถไฟกรุงเทพ<br />
หัวลาโพงที่ไม่ได้สร้าง : หน่ออ่อนของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในสยาม (พ.ศ. 2542) สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ : สถาปัตยกรรมสมัยใหม่<br />
ยุคแรกของสยาม (พ.ศ. 2543) จิตวิญญาณแบบไทยสมัยใหม่ : ผลงานสถาปัตยกรรมแบบ Modernism ของพระพรหมพิจิตร<br />
(พ.ศ. 2544) สถาปนิกรุ่นแรกๆ ของคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร : ความสาเร็จของวันวาน ฤาคาตอบของวันพรุ่ง<br />
(พ.ศ.2548) สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาลที่4- พ.ศ. 2480 (พ.ศ. 2553) (หนังสือ) ประวัติ แนวคิด ทฤษฎี<br />
และการปฏิบัติการในการอนุรักษ์โบราณสถาน (พ.ศ. 2558) (หนังสือ) การเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมยุคสมัยใหม่ระหว่างญี่ปุ่น<br />
กับสยาม ตั้งแต่กลางศตวรรษที่19ถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่2 (ค.ศ. 1850- 1945/พ.ศ. 2390- 2488) (พ.ศ. 2560) (หนังสือ)<br />
Conservation of Bangkok City Pillar and Tabkwan, Thailand (พ.ศ. 2563)ฯลฯ<br />
ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีจากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 รางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทบุคคลจากสมาคม<br />
สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2561<br />
ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจาภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />
ประวัติผู้เขียน<br />
441