004 Seangdhamma April 2020 Fully
Transform your PDFs into Flipbooks and boost your revenue!
Leverage SEO-optimized Flipbooks, powerful backlinks, and multimedia content to professionally showcase your products and significantly increase your reach.
ทุกชีวิตมีปัญหา พระพุทธศาสนามีทางแก้
แสงธรรม
วารสารธรรมะรายเดือนที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา
Saeng Dhamma
ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๕๔๐ ประจำาเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓
Vol. 45 No.540 April 2020
ฉบับ
วันสงกรานต์
๒๕๖๓
้
ศีลธรรมกลับมาเถิด
¾Ø·¸·ÒÊÀÔ¡¢Ø
กลับมาเถิด ศีลธรรมกลับมาเถิด
ในโลกเกิด กลียุค อย่างฉุกเฉิน
หลงวัตถุ บ้าคลั ่ง เกินบังเอิญ
มัวเพลิดเพลิน สิ ่งกาลี มีกำลัง
กลับมาเถิด ศีลธรรมกลับมาเถิด
กำลังเกิด ภัยร้าย อันใหญ่หลวง
แก่สัตว์โลก ทั่วถิ่น จักรวาลปวง
น่าเป็นห่วง ความพินาศ ฉกาจเกิน
กลับมาเถิด ศีลธรรม กลับมาเถิด
ความเลวร้าย ลามเตลิด จวนหมดหวัง
รีบกลับมา ทันเวลา พาพลัง
มายับยั ้ง โลกไว้ ให้ทันกาลฯ
บทกลอนอันนี
เป็นอุดมการณ์ในการเผยแพร่ธรรมของหลวงพ่อชีวานันทะ
สื่อส่องทาง สว่างอำไพ
แสงธรรม
ทุกชีวิตมีปัญหา พระพุทธศาสนามีทางแก้
วารสารธรรมะรายเดือนที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกา
ปีที่ 45 ฉบับที่ 540 ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 Vol.45 No.540 April, 2020
OBJECTIVES
To promote Buddhist activities.
To foster Thai culture and tradition.
To inform the public of the temple’s activities.
To provide a public relations center for
Buddhists living in the United States.
เจ้าของ : วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.
ที่ปรึกษา : พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)
กองบรรณาธิการ : คณะสงฆ์วัดไทยฯ ดี.ซี.
SAENG DHAMMA Magazine
is published monthly by
Wat Thai Washington, D.C. Temple
At 13440 Layhill Rd., Silver Spring, MD 20906
Tel. (301) 871-8660, (301) 871-8661
E-mail: watthaidc2013@gmail.com
Facebook: www.facebook/watthai.dc
Homepage: www.watthaidc.org
Radio Network: www.watthai.iirt.net
2,500 Copies
วารสาร “แสงธรรม”
SAENG DHAMMA Magazine
Vol. 45 No. 540 April, 2020
Wat Thai Washington, D.C.
13440 Layhill Rd.,Silver Spring, MD 20906
Permit No.1388
Ruangrit Thaithae Executive Director & Editor
Srisuporn Kamnon, Assistant & Advertising Editor
สารบัญ
Contents
The Buddha’s Words ......................................... 1
สอนธรรม ด้วยคำกลอน โดย พระราชมงคลรังษี...... 2
Without and Within By Ajahn Jayasaro.............. 3
Texts from Major Religions Concerning
Aspects of the Religious Life
by Du Wayne Engelhart ........................................... 4
ปุจฉา - วิสัชนา โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ............. 9
สารธรรมจาก...พระไตรปิฎก .................................. 12
พุทธานุภาพ บทสวด “รัตนสูตร” ................................14
รายนามผู้บริจาคออมบุญประจำปีและเจ้าภาพภัตตาหารเช้า.....20
อนุโมทนาพิเศษ/Special Thanks............................ 21
แจ้งข่าว งดปฏิบัติธรรมประจำเดือนเมษายน-พฤษภาคม 22
เสียงธรรมจากวัดไทย...พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) 23
ประมวลภาพกิจกรรมทำบุญเดือนมีนาคม............ 30-31
เสียงธรรม...จากหลวงตาชี ..................................32-39
ภูฏาน ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า โดย ดร.พระมหาถนัด.. 40
สรุปข่าวเดือนมีนาคม โดย ทีมแสงธรรม.................44
March’s Donation By Ven.Sarawut...................45
อนุโมทนาผู้ทำบุญเทศน์มหาชาติ.............................62
Photos taken by
Ven. Khumtan, Ven. Srisuporn
Mr. Kevin & Mr. Pirojn
Ms. Pheerarat & Mr. Suchart
& Ms. Vorakamol
ถ้อยแถลง
ศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ สวัสดีมีชัยให้สุขศานต์
ให้ภิรมย์สมคิดจิตเบิกบาน ให้สราญรื่นเริงบันเทิงใจ
ให้ร่ำรวยด้วยความดีมีธรรมะ ให้คุณพระคุ้มครองให้ผ่องใส
ให้มีสุขไม่ทุกข์โศกไร้โรคภัย สวัสดีมีชัยในทุกกาล
เมื่อถึงเดือนเมษายนเราต่างก็รอคอยที ่จะได้ร่วมงานเทศกาลสำคัญ คือวันสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นการ
เฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน และวันนี้ยังเป็นวันครอบครัวด้วย นอกจากเราจะร่วม
กันเล่นน้ำสงกรานต์และรดน ้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีแล้ว เรายังถือเป็นโอกาสสำคัญที่
พุทธศาสนิกชนจะได้เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ รวม
ทั้งจัดหาปัจจัยต่าง ๆ มาช่วยเหลือทำนุบำรุงวัดเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต
เทศกาลสงกรานต์ปีนี้คงจะแตกต่างจากทุกๆ ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุว่ามีโรคระบาด ไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
ทางวัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. จึงจำเป็นต้องงดกิจกรรมเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความปลอดภัยของทุก ๆ
คน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ ไม่มีโอกาสได้เล่นน้ำหรือรดน้ำผู้ใหญ่ แต่เราก็สามารถ
ส่งน้ำใจไมตรี ความปรารถนาดีต่อกัน แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อญาติผู้ใหญ่ โดยการใช้โทรศัพท์ หรือส่งไลน์
หากัน งดการพบปะสังสรรค์ #Stay Home, Save Lives
ไวรัสที่ระบาดอยู่ทั่วโลกอาจสกัดกั้นไม่ให้เราทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ให้พบหน้ากัน แต่ก็ไม่มีเชื้อโรคใดๆ
ที่จะสามารถทำลายไมตรีจิตที่เรามีให้กัน ไม่อาจทำลายความสัมพันธ์ของเรา และที่สำคัญที่สุดไม่มีเชื้อโรคใด
สามารถทำลายความดีงามในตัวเรา ถ้าจิตใจของเรามีธรรมะ ถึงแม้ว่าช่วงเวลานี้ทุกท่านจะไม่สามารถเดินทาง
มาที่วัดแต่ก็สามารถปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้านได้ “มีธรรมะอยู่กับใจ ทำสิ่งใดล้วนเป็นคุณ”
สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านสุขกายสบายใจ ปลอดภัยจากโรคร้ายทั้งปวง และหวังว่าปีหน้าเราจะได้ร่วมกัน
จัดงานเทศกาลสงกรานต์อีกครั้ง
คณะผู้จัดทำ
แสงธรรม 1 Saeng Dhamma
The Buddha’s Words
พุทธพจน์
เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ
เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ
ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา
มารสฺเสตํ ปโมหนํ ฯ ๒๗๔ ฯ
มีทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น ที่จะนําไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งทัศนะ
พวกเธอจงเดินตามทางนี้เถิด ทางสายนี้พญามารมักเดินหลงเสมอ
This is the only way; None other is there for the purity of vision.
Do you enter upon this path, Which is the bewilderment of Mara.
พุทธวจนะในธรรมบท
แปลโดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
แสงธรรม 2 Saeng Dhamma
สอนธรรม ด้วยคำกลอน
พระราชมงคลรังษี(หลวงตาชี)
เก่ามีค่า - ใหม่มีคุณ
เก่าล่วงไป มีค่า น่าสรรเสริญ
ใหม่เจริญ มีคุณ เป็นทุนต่อ
เก่ามีค่า ใหม่มีคุณ หนุนกันพอ
ให้เกิดก่อ คุณธรรม นําวิญญาณ
ถ้าปีเก่า ผ่านมา นั่นมีค่า
ก็ถือว่า ไม่ขาดทุน บุญประสาน
ทําประโยชน์ ให้เกิดขึ้น ไปตามกาล
มันเป็นกาล เวลา ค่ามากมี
กาลเวลา ล่วงไป และล่วงไป
ไม่ล่วงไป เปล่าเปล่า เคล้าความดี
ทําประโยชน์ ต่างต่าง สร้างความดี
เก่าอย่างนี้ เก่ามีค่า น่าชมเชย
เก่ามีค่า อย่างนี้ ดีที่สุด
ซึ่งมนุษย์ ควรเอาอย่าง อย่าวางเฉย
อย่าประมาท อย่าพลาดท่า อย่าละเลย
อย่าเพิกเฉย ปล่อยผลงาน ให้ผ่านไป
ควรทําดี แข่งเวลา อย่าประมาท
ถือโอกาส อบรม ข่มจิตใจ
ทําประโยชน์ แข่งเวลา ที่ผ่านไป
เราจะได้ กุศล ผลอนันต์
ถ้าทุกคน ทําความดี ที่มีค่า
กาลเวลา ก็มีค่า น่าอัศจรรย์
ทําความดี ทั้งกลางคืน และกลางวัน
ผลอนันต์ ก็ตามมา น่าชื่นใจ ฯ
แสงธรรม 3 Saeng Dhamma
What is the key to a successful
long-term meditation practice?
WITHOUT and WITHIN
Questions and Answers on the Teachings of Theravãda Buddhism
By Ajahn Jayasaro
What is the key to a successful long-term
meditation practice?
The most important thing is not to stop. As
long as meditators keep putting effort into their
meditation, come what may, they are accumulating
the conditions for success. As soon as they stop they
are closing the door to peace and wisdom.
Constancy and regularity of practice are extremely
helpful. Although meditation is not a race, the
steady-paced tortoise mind will always have the
advantage over the hare. Short bursts of determined
meditation (usually in response to a life crisis)
followed by long periods of neglect will not produce
lasting results.
How important is it to have a teacher?
The ideal conditions for spiritual progress are
experienced by those living in a community led by
an enlightened teacher, but few people, including
monastics, are given such an opportunity. Receiving
instructions from a qualified teacher, taking them
away to put them into practice, and then meeting
with the teacher every now and again to relate
progress and to receive advice and encouragement,
is both a workable and beneficial approach. The
ability of the teacher to point out weak areas, blind
spots and the student’s tendency to get sidetracked
means that regular contact with him or her is truly
valuable. Occasional periods of retreat with the
teacher tend to be especially fruitful.
Another approach is to take advantage of the
multitude of teachings on meditation now available
through the various media. Reliable information
may be found in books and dvds and on the internet.
In Thailand many Dhamma programs are broadcast
on radio and television. This can be a great
opportunity, but at the same time can encourage
superficiality: some people end up sampling a
number of different techniques without making
the necessary commitment to any one in particular.
Progress in meditation requires taking one method
as a vehicle and applying it consistently over a long
period of time.
How useful is it to attend a meditation retreat?
A meditation retreat provides meditators
with the opportunity to apply themselves to
meditation practices for many hours a day under
the guidance of a qualified teacher, and to benefit
from the support of a group of like-minded people.
Having withdrawn from their usual surroundings,
responsibilities and problems, for a retreat of seven
or ten days meditators can build up a momentum of
practice that may allow for experiences of calm and
insight normally unattainable in their daily lives.
Retreats have a rejuvenating effect on longtime
meditators and give self-confidence to new
ones. Novice meditators can prove to themselves
that meditation is not just a matter of struggling with
sore knees and a restless mind, but that it does have
results, and that they are capable of experiencing
those results.
It is difficult for most people to establish a
regular meditation practice at home. Attending a
meditation retreat gives meditators a foundation
on which to build, and the faith in the value of
meditation that will help to sustain them through
periods of doubt and discouragement.
แสงธรรม 4 Saeng Dhamma
Texts from Major Religions
Concerning Aspects of the Religious Life
(Working Draft)
Compiled, with Notes, by Du Wayne Engelhart
Not Harming Anyone
Theravāda Buddhism, Aṅguttara Nikāya
“ ‘Again, a wheel-turning monarch, a righteous
king who rules by the Dhamma, relying just on the
Dhamma, honoring, respecting, and venerating
the Dhamma, taking the Dhamma as his standard,
banner, and authority, provides righteous protection,
shelter, and guard for his khattiya vassals, his army,
brahmins and householders, the people of town
and countryside, ascetics and brahmins, and the
animals and birds. Having provided such righteous
protection, shelter, and guard for all these beings,
that wheel-turning monarch, a righteous king
who rules by the Dhamma, turns the wheel solely
through the Dhamma, a wheel that cannot be turned
back by any hostile human being.’ ” 1
Note. The Pāli Canon describes the ideal
king as both the “wheel-turning monarch” and the
“righteous king.” The wheel-turning monarch”
(rājā cakkavatī), the universal monarch, is a
righteous king of a special sort. This universal
monarch may be defined as “. . . an ideal king who
conquers the lands of the four directions by his
righteousness.” 2 He rules only in accordance with
the Dhamma, the teaching of the Buddha, not by
any application of force. The prime example from
history is considered to be the Mauryan emperor
Asoka (reigning from about 268 to about 232 B.C.),
who converted to Buddhism and became a great
patron of the religion.
The Canon also defines the ideal king more
1 Aṅguttara Nikāya 3.14, Bhikkhu Bodhi translation, p. 209. Compare
Dīgha Nikāya 26.5-7, Walshe translation, pp. 396-98.
2 Aṅguttara Nikāya, Bhikkhu Bodhi translation, footnote 156, p.
1613
generally as the “righteous king.” Although the
wheel-turning monarch is called a righteous king
(who rules by the Dhamma), the term “righteous
king” as such seems to have a broader meaning. 3
The righteous king is described variously in
the scriptures. For instance, he exhibits the
dasarājadhamma, the ten qualities (duties,
virtues): generosity (dāna), morality (sīla), selfsacrifice
(pariccāga), honesty (ājjava), gentleness
(maddava), self-control (tapa), nonanger (akkodha),
nonviolence (avihiṃsā), forbearance (khanti),
and uprightness (avirodhana). 4 Furthermore, the
righteous king resorts to generosity (dāna) rather
than to punishment to control the unlawful elements
of society. In a passage, in the Dīgha Nikāya, the
Buddha tells the brahmin Kūṭadanta the story of a
rich king who was advised by his chaplain about
how to deal with robbers in the country. The
3 See Michael Zimmerman, “Only a Fool Becomes a King: Buddhist
Stances on Punishment,” p. 224,
https://www.buddhismuskunde.uni-hamburg.de/pdf/5-personen/
zimmermann/only-a-fool-becomes-a-king.pdf, accessed February
20, 2019: “The ideal ruler portrayed in [Pāli] sources is that of the
dharmarāja(n), a ‘righteous king,’ equipped with the best moral and
intellectual qualities, ruling in accordance with the Buddhist dharma.
The same would of course also apply to the cakravartin, the universal
ruler [(wheel-turning monarch)]. However, when speaking about the
dharmarāja(n), the emphasis is less on far-reaching territorial ambitions,
i.e., the idea that a cakravartin would have to conquer the
whole world. The concept of the dharmarāja(n) seems to be also
applicable to less pretentious, local rulers, . . . .”
4 For a detailed consideration, see Phra Brahmagunabhorn (P. A.
Payutto), A Constitution for Living: Buddhist Principles for a Fruitful
and Harmonious Life, translated by Bruce Evans (Nonthaburi,
Thailand: Nitidham Publishing, 1997), pp. 28-29. Venerable Payutto
also considers the “four rāja-saṅgaha-vattu (principles by which a
king supports his people)”—as well as the “five duties of a supreme
ruler, called the cakkavatti-vatta [wheel-turning monarch]” (pp. 30-
31).
chaplain advised the king to show generosity rather
than to inflict punishment when robbers threaten
the kingdom: “ ‘ “To those in the kingdom who
are engaged in cultivating crops and raising cattle,
let your Majesty distribute grain and fodder; to
those in trade, give capital; to those in government
service assign proper living wages. Then those
people, being intent on their own occupations, will
not harm the kingdom.” ’ ” 5 This story teaches
how generosity rather than force can promote
peace in society; generosity is more effective than
punishment in keeping order. This is a specific
instance in which the force of the Dhamma proves
more powerful than violence. (The righteous king
is like the wheel-turning monarch who rules only
by the Dhamma, here, specifically, by generosity
rather than by punishment.)
The rulerships of the wheel-turning monarch
and the righteous king, as just described, however,
would amount to ideals very difficult to achieve.
Regarding the righteous king’s exercise of generosity,
for instance, surely there would be instances within
society when it would be necessary to resort to
punishment to control wrongdoers. 6 Regarding
the wheel-turning monarch’s conquering and ruling
in accordance with the Dhamma and not by the
application of any force, surely such conduct would
prove disastrous in the face of a wicked enemy hellbent
on attacking the monarchy. 7 Hence Bhikkhu
5 See Dīgha Nikāya 5.11, Walshe translation, pp. 135-36. In this passage
the king is referred to as “a king called Mahāvijita” and is addressed
by the chaplain as “Your Majesty”; the king is not called a
“righteous king” explicitly. However, since the chaplain is actually
the Bodhisatta, the Buddha in a previous life (Dīgha Nikāya 5.21),
we can assume that the chaplain is instructing the king about acting
righteously for the benefit of his kingdom. Also, compare the similar
advice regarding generosity given by the “royal sage” to the wouldbe
wheel-turning monarch in Dīgha Nikāya 26.5, Walshe translation,
p. 397: “ ‘Let no crime prevail in your kingdom, and to those who are
in need, give property.’ ” (The royal sage was the previous wheelturning
monarch who had become an ascetic toward the end of his
life; the would-be wheel-turning monarch was his son, the crown
prince.)
6 Hence in the “Mūgapakkha Jātaka” (538), for instance, Temīya, the
Bodhisatta, seeks to avoid becoming king because he knows he will
suffer bad kamma for his requisite acts of violence such as punishing
robbers. This Jātaka is discussed in Zimmermann, “Only a Fool Becomes
a King,” pp. 218-19.
7 Even Asoka did not conquer almost the entire Indian subcontinent
by his righteousness: He initially established his monarchy by force,
and then had a change of heart regarding the use of violence.
แสงธรรม 5 Saeng Dhamma
Bodhi, for example, says, “While some texts [in
the Canon] admit that righteous rulers do arise (the
‘wheel-turning monarchs’), the general consensus
is that the exercise of rulership usually involves the
use of violence and thus is hard to reconcile with
perfect observance of the [five] precepts [notably
the first, not to harm living beings].” 8
In reality, in the relations between kingdoms,
righteous rulers, as described (and righteous rulers
who were wheel-turning monarchs), have not
arisen with any frequency because of the greed
(desire for possessions, desire for conquest), anger
(xenophobia, hatred of the enemy), and delusion
(intolerance of others’ religious beliefs, and
ideologies) of human beings. Within the kingdoms
these same defilements have caused, for example,
robberies, killings, and hate crimes. It would seem
that being a king would have to involve the use of
violence for the sake of the security and well-being
of the kingdom, human depravity being what it is.
Would it not make sense, therefore, to
recapitulate the meaning of righteous king as the
king who, acting with good judgment and with
restraint, resorts to violence against evildoers
when necessary for the sake of the kingdom and its
population? 9 In this case the exercise of generosity
8 See Bhikkhu Bodhi’s translation of the Saṃyutta Nikāya, footnote
299, p. 418. Bhikkhu Bodhi cites Steven Collins, Nirvana and other
Buddhist Felicities: Utopias of the Pali Imaginaire (Cambridge:
Cambridge University Press, 1998), pp. 419-36, 448-70, for insight
into this matter
9 Compare Premasiri, “A ‘Righteous War’ in Buddhism?” pp. 82-83:
“The Buddhist canonical standpoint . . . shows clearly that the psychology
of war is antithetical to the psychology of Buddhist liberation
[the achievement of Enlightenment]. Liberation is ensured only
by the elimination of greed, hatred and delusion. Greed, hatred and
delusion and other ramifications of these basic roots of unwholesome
behavior produce war, whatever form it takes. This would imply that
if every Buddhist pursued the Buddhist goal of liberation there
should be no wars in Buddhist communities. But can we reasonably
expect this to happen? The Pāli canon itself bears evidence that even
the Buddha did not expect it to happen. It would be totally unrealistic
to entertain such an expectation . . . / The Mahānidāna Sutta describes,
in terms of the Buddhist doctrine of dependent origination,
how people are driven to conflicts as a result of seeking to secure
their cherished possessions. People are strongly attached to their
material possessions, their cultural traditions, their belief systems,
their values, etc. If they perceive a threat to any of these things to
which they are attached the natural tendency is to be drawn into conflict.
This is why Buddhism considers conflict as an unavoidable evil
in society. Even the cakkavatti [wheel-turning] ruler who rules ac-
would be tempered by the judicious use of force. 10
Such an interpretation of the righteous king would
accord with the notion, developed above, that the life
of the lay person, in this case the king specifically,
with duties and responsibilites peculiar to his office,
is not the same as the life of the ascetic, the arahantto-be.
In order for the king to carry out his duties
and fulfill his responsibilities, it might be necessary
for him to use force.
Furthermore, the world-turning monarch, by
extension the righteous king in general, is described
as providing “righteous protection, shelter, and
guard” to, notably, his army, householders, and
ascetics and Brahmins (See Aṅguttara Nikāya 3.14
above). To provide this protection the king might at
times, then, have to resort to violence. The righteous
king protects an army, which he does possess.
Nowhere in the scriptures does the Buddha say that
a righteous king should disband his army. So the
righteous king might use his army if it were needed
to control lawbreakers within the kingdom or to
defend against hostile attacks from without. The
army would not be just for show. The righteous
king also protects householders. They would need
his protection, for they would not be expected to
submit to the violence of evildoers, as ascetics
might. (They would not be expected to exhibit
perfect forbearance [khanti] toward the wicked, for
instance.) Given the practicalities of the lives of
laypersons (they have children to raise, for example)
and the levels of holiness they have achieved (they
cording to the principles of justice does not disband his armies. For,
he too had secular duties to perform as the guardian of his citizens.
This shows that Buddhism does not envisage a society in which the
necessity for engaging in war never exists. Perhaps the implication
is that even a righteous cakkavatti, who will not engage in wars of
imperialist aggression, would need to fight in self-defense.”
10 Consider Dīgha Nikāya 26.12, Walshe translation, p. 399. Here
the King gives property to a man who stole because the latter had no
means of livelihood. The King does the same to a second thief
brought to him. Soon other persons steal because they think they will
receive property from the King. He realizes he cannot keep giving
property to thieves because he is just encouraging theft. So when a
third thief is brought to him, the King has him bound, paraded
through the streets, and beheaded. But this action does not bring
peace. Soon people in the kingdom, having fashioned swords for
themselves, steal from anybody, beheading their victims. These misdeeds
lead to the decline in the life span of the population. The lesson
here might be that, on the one hand, generosity alone cannot stop
thievery and, on the other hand, excessive punishment leads to inauspicious
results.
แสงธรรม 6 Saeng Dhamma
are attached to the affairs of the household), if
threated, they would look for protection from the
king, who might have to use force to provide it.
Then, too, the righteous king protects Brahmins
and ascetics. Granted, the ascetic as arahant-to-be
might not need to be protected by the king to the
extent he can show perfect forbearance in the face of
violence. However, not all ascetics are at this point
in their spiritual development. Particular ascetics
might need more time to attain the purification of
mind needed for liberation. Furthermore, the very
institution of the Saṅgha would need to be protected
by the king in order to ensure its continued existence
as a vital element of society. Likewise, the king
would protect the members of other religions, for
instance, the Brahmins, who, as such, might well
not be at the point at which they are ready for
the teaching about Enlightenment (Compare the
sutta Majjhima Nikāya 97, regarding the Brahmin
Dhānañjāni).
There is Commentarial support for the
interpretation of the righteous king as resorting
to violence against evildoers if such is necessary.
In the following from the Aṅguttara Nikāya, the
Buddha contrasts the unrighteous king and the
righteous king in terms of the bad or good influence
they have upon society:
“. . . [W]hen kings are unrighteous, the royal
vassals become unrighteous. When the royal vassals
are unrighteous, brahmins and householders become
unrighteous. When brahmins and householders are
unrighteous, the people of towns and countryside
are unrighteous.
When the people of towns and countryside are
unrighteous, the sun and moon proceed off course
. . ., the constellations and the stars proceed off
course . . ., day and night proceed off course . . . the
seasons and years proceed off course . . ., the winds
blow off course and at random, the deities become
upset . . ., sufficient rain does not fall . . ., the crops
ripen irregularly. When people eat crops that ripen
irregularly, they become short-lived, ugly, weak,
and sickly.
“. . . [W]hen kings are righteous, the royal
vassals become righteous. When the royal vassals
are righteous, brahmins and householders become
righteous. When brahmins and householders are
righteous, the people of the towns and countryside
are righteous. When the people of the towns
and countryside are righteous, the sun and moon
proceed on course. . ., the constellations and the
stars proceed on course . . ., day and night proceed
on course. . . the seasons and years proceed on
course . . . . [T]he winds proceed on course and
dependably. When the winds proceed on course
and dependably, the deities do not become upset . .
., sufficient rain falls. . ., the crops ripen in season.
When people eat crops that ripen in season, they
become long-lived, beautiful, strong and healthy.” 11
What is noteworthy regarding this passage
is the interpretation of “unrighteous king” that
the Commentary gives. The Manorathapūraṇī
(Aṅguttara Nikāya-aṭṭhakathā) says regarding
the meaning of “unrighteous [adhammikā]
kings”, “Without performing the tenfold oblation
prescribed by the ancient kings, and without
assigning punishment in proportion to the crime,
they perform excessive oblations and assign
excessive punishments.” 12 Literally (Compare
“a-dhammikā”), unrighteous kings act not in
accordance with the Dhamma—and righteous kings
act in accordance with the Dhamma. What this
means, however, for one thing, is that unrighteous
kings punish excessively—and righteous kings
punish in a way that corresponds to the severity of
the crime. But the latter do punish, and in so doing
they are acting in accordance with the Dhamma—
though they are not acting in strict adherence to the
first precept against not harming. 13
In protecting laypeople by force, then, the
righteous king, together with his soldiers, in terms
11 Aṅguttara Nikāya 4.70, Bhikkhu Bodhi translation, pp. 458-59.
The Buddha’s words regarding the weather might seem hyperbolic.
Nevertheless, isn’t it true that the lack of a “righteous” policy regarding
preservation of the environment (failures on the rulers’ part that
will filter down to all elements of society) can eventually lead to extremes
in the weather, for example, more severe hurricanes, flooding,
forest fires, and extreme temperatures?
12 See Bhikkhu Bodhi’s translation of the Aṅguttara Nikāya, footnote
763, page 1693 (The italics are mine).
13 This statement from the Commentary does not seem to fit the
norm of other Theravāda Buddhist texts regarding the righteous king.
(Bhikkhu Bodhi, too, says in his footnote that the “tenfold oblation”
[dasabhāgabali] is mentioned here only). Is the statement influenced
by the tradition of brahminic law?
แสงธรรม 7 Saeng Dhamma
of traditional Theravāda Buddhism, would be
involved in wrong livelihood, their actions being
bad kamma bringing unwholesome results. 14
These actions, though, would also in another sense
be a noble, praiseworthy sacrifice for the welfare of
the kingdom. In fact, the actions of the righteous
king would be “dark-and-bright [demeritorious and
meritorious] kamma with dark-and-bright result.” 15
On the one hand, showing compassion toward lay
persons by affording them protection, the righteous
king would be performing a meritorious action;
on the other hand, resorting to violence and so not
following the first precept regarding not harming,
he would be performing a demeritorious action.
What has been said regarding the judicious,
restrained use of force by the righteous king and his
soldiers can be applied more generally to laypersons
as such. For instance, a member of the police force
might have to use violence to protect citizens from
a harmful lawbreaker (The very term police force
indicates as much). The police officer would have
a duty and a responsibility to use force if needed.
(A similar situation would exist for security guards,
prison officials, and the like.) Any lay person,
furthermore, threatened by harm might, in fact,
have to use force to protect himself or herself—and
other persons as well. Employees might have to use
force in the case of workplace violence. Travelers
at an airport might have to use force in an instance
of terrorism. Pedestrians in vehicle-ramming
attacks might have to resort to violence against
the driver of the vehicle. Members of a school
or church or temple community threatened by an
active shooter might have to use force against the
assailant. In such instances the use of force would
be morally justifiable for the laypersons though it
runs against the precept of not harming. Granted,
these are extreme cases, but that is as it should be if
laypersons are to generally follow the first precept. 16
14 Compare Ajahn Jayasaro, Within and Without: Questions and Answers
on the Teachings of Theravāda Buddhism (Bangkok: Buddhadasa
Indapanno Archives, 2013), pp. 206-07.
15 See Aṅguttara Nikāya 4.232, Bhikkhu Bodhi translation, p. 601.
16 Nevertheless, consider the prevalence of sexual attacks against
women, situations in which the victim would be justified in using
force against her attacker. Laypersons, furthermore, might have to
resort to violence to protect themselves in instances of domestic vio-
In the main, laypersons in their daily lives would
not have to resort to violence because threatening
situations calling for such violence would not arise.
In all these cases where violence might be called
for, though, the actions of laypersons would be
“dark kamma” but “bright kamma” as well.
To collapse the difference between the
religious practice of laypersons and the religious
practice of ascetics, arahants-to-be, as regards
the use of violence, then, would be to resort to
moral absolutism and to give up the possibility
of moral reflection (moral reasoning). Consider
what Bhikkhu Bodhi says concerning the strict
adherence to the first precept that Thanissaro
Bhikkhu proposes:
But I don’t think that he [Thanissaro Bikkhu]
is on secure ground in supposing that precepts laid
down as general rules under clear-cut conditions are
fully applicable to situations where competing moral
obligations are at work. Such an attitude could well
lead to a heartless and inflexible dogmatism that
puts the letter of the rules above their spirit. In my
view it would be more sensible to see the rules as
applicable when there are no compelling contrary
moral obligations. Everyday life, however, often
confronts us with moral dilemmas that upset the
self-assurance of moral absolutism . . .
It seems to me, therefore, that when we’re
confronted with situations of moral complexity, we
should try to navigate our way through by using our
own powers of reflection guided by the intent of
the precepts, which is the minimizing of harm and
suffering for both oneself and others. 17
lence, forcible confinement, home intrusion, and random physical
assault. Consider, too, that even vaccinations, surgeries, and withholding
of life support, common enough events for laypersons, are,
strictly speaking, kinds of violence, though surely justifiable ones.
17 Bhikkhu Bodhi, “Reply to Ven. Thanissaro by Bhikkhu Bodhi,”
https://web.archive.org/web/20150526023444/http://www.
inquiringmind.com/Articles/BhikkhuLetters.html, accessed March
14, 2020. Thanissaro Bhikkhu had written a letter to the editor of
Inquiring Mind following the publication of Bhikkhu Bodhi’s “War
and Peace: A Buddhist Perspective.” Bhikkhu Bodhi’s original
article and the exchange of letters between the two scholars are well
worth studying.
In his article Bhikkhu Bodhi develops new terminology for what
has been called above the religious practice of ascetics, arahants-tobe,
versus that of laypersons. He says, “To resolve the dissonance
between the moral idealism of the texts [of the Pāli Canon] and the
แสงธรรม 8 Saeng Dhamma
Bhikkhu Bodhi is writing in the context of
the morality of citizens’ breaking the first precept
(not harming) to defend themselves against the
aggression of Hitler in the 1940s. The point is
that adhering to this precept would always be the
ideal, but the complexities of the human situation
might at times militate against such adherence, as
they did in the case of Hitler. Bhikku Bodhi also
uses the example of telling a lie, which would
violate the fourth precept. Would a German family
in Nazi Germany hiding Jews tell the truth to SS
agents when questioned about whether anyone was
being hidden in their house? Would they not tell a
lie and say no one was hidden there? Would that
not be the morally upright thing to do in this case
despite what the precept says about not lying? If
that situation seems too remote, consider one that
is closer to home for many persons today: telling a
“white lie” to a loved one with Alzheimer’s disease
to avoid causing him or her mental suffering. For
example, if an elderly demented mother constantly
asks her relatives about the well-being of her son
who has died many years before, do they repeatedly
tell her, “He is dead”? Would they not rather “fib”
and tell her that he is all right to avoid causing the
old woman repeated feelings of grief? 18
So the lesson overall would be that moral
choice for laypeople often involves deciding not
between something good (telling the truth) and
something bad (telling a lie) but rather between one
good (telling the truth) and another good (showing
compassion to someone in need). Moral choice,
that is, involves a balancing of goods, which goes
hand in hand with living by the spirit of the law
rather than by the letter of the law. Because of
the complexities of human life, moral reflection is
required.
Wat Thai Washington, D.C.
March 21, 2020
pragmatic demands of everyday life [the life of laypersons], I would
posit two frameworks for shaping moral decisions. I will call one the
liberative framework, the other the pragmatic karmic framework.”
18 Compare Martin J. Schreiber with Cathy Breitenbucher, My Two
Elaines: Learning, Coping and Surviving as an Alzheimer’s Caregiver
(Bothell, WA: Book Publishers Network, 2017), “Therapeutic Fibbing,”
pp. 83-89.
แสงธรรม 9 Saeng Dhamma
ปุจฉา-วิสัชนา
https://qaphrapaisal.wordpress.com/
ถาม : ตัวชี้วัดความก้าวหน้าในการภาวนาคือ
อะไรบ้าง
ตอบ : สำหรับผู้ฝึกใหม่ ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดฉันทะกับ
การปฏิบัติถือว่าดี เพราะถ้าเรามีความพอใจกับการ
ปฏิบัติ จะทำให้เราปฏิบัติมากขึ้น แต่ไม่ต้องคอยดูว่าจะ
ก้าวหน้าขึ้นหรือไม่ การขัดกิเลสแค่สองสามวันเราดูไม่รู้
หรอก เหมือนเข็มชั่วโมง เราดูเหมือนมันไม่ขยับ แต่จริงๆ
แล้วมันไม่นิ่ง หรือเหมือนเลี้ยงลูก ดูทุกวันไม่เห็นว่าลูกโต
ความเปลี่ยนแปลงจิตใจจากการปฏิบัติก็เหมือนกัน ไม่ได้
เห็นชัดในระยะเวลาสั้นๆ
ถาม : เวลาเกิดอารมณ์โกรธ พยายามดับความโกรธ
โดยดูอารมณ์โกรธ แต่ยิ่งดูก็ยิ่งฟุ้งซ่านกระสับกระส่าย
จนบางครั้งไม่สามารถดับได้ บางครั้งใช้เดินออกมาจาก
สถานการณ์ไปทำอย่างอื่น ทำอย่างไรให้สามารถดับ
ความโกรธได้เร็วๆ คะ
ตอบ : ส่วนใหญ่ดูความโกรธไม่เป็น ก็เลยโดนความ
โกรธมันดูดเข้าไปใหม่ๆ อย่าเพิ่งไปสนใจความโกรธ
เปลี่ยนความรับรู้มาอยู่ที่ลมหายใจ เช่น หายใจเข้าลึกๆ
หายใจออกยาวๆ หรือมาสแกนร่างกายว่า ขณะที่โกรธ
เป็นอย่างไร หัวใจเต้นเร็วไหม หายใจเร็ว สั่น ตึง ไปหมด
ทั้งตัว หน้านิ่วคิ้วขมวด จะทำให้เรามีสติมากขึ้น จน มั่นใจ
ว่า สติแข็งแรงว่องไว ก็มาดู แบบชำเลือง ดูความร้อนที่
เกิดขึ้นกับใจ ความโกรธเกิดจากความหลง เมื่อเราเอาสติ
มารู้ตัว ความหลงก็ดับ ความโกรธก็ดับ
ถ้าจะดูความโกรธตามหลักของหลวงพ่อเทียน หลวง
พ่อคำเขียน คือ รู้ซื่อๆ คือ ไม่ตามและไม่ต้าน คนส่วน
ใหญ่เวลาโกรธ รู้แล้วจะกดข่มเพราะไม่ชอบ ความรู้สึกไม่
ชอบ ก็จะยิ่งทำให้ความโกรธเพิ่มมากขึ้น ทุกอารมณ์ถ้า
เราไปกดข่ม จะเป็นการต่ออายุให้อารมณ์นั้นเพิ่มขึ้น มี
คำพูดว่า “สิ่งใดที่เธอผลักไสจะคงอยู่ สิ่งใดที่เธอ
ตระหนักรู้จะหายไป” สติที่เจือด้วย ความอยาก อยากให้
ความรู้สึกโกรธดับ เปรียบเหมือนกับการสาดน้ำที่เจือ
ด้วยน้ำมันเข้ากองไฟ มันก็ไม่ดับ
ถาม : ที่พระอาจารย์บอกว่ารู้ซื่อๆ เป็นอันเดียวกับ
อุเบกขาไหมครับ
ตอบ : ใกล้เคียงกัน อุเบกขาความหมายกว้างขวางมาก
แต่ในกรณีนี้คือวางใจเป็นกลางเฉยๆ อุเบกขามีปัญญา
เป็นพื้นฐาน แต่รู้ซื่อๆ เป็นการรู้ด้วยกำลังสติล้วนๆ
ถาม : ถ้าเรามีกิเลส อยากมีอยากได้อยากเป็น เรา
ควรจะละมัน หรือรู้เฉยๆ คะ
ตอบ : ทำได้หลายวิธี รู้เฉยๆ ก็ได้ หรือการเห็นโทษ
ของมัน เช่น เราอยากได้มือถือใหม่รถคันใหม่ แต่เราก็มา
พิจารณาว่า มันสะดวกก็จริงแต่มันก็เป็นภาระนะ ทำให้
เราเห็นข้อเสียของมัน ก็จะทำให้ความอยากลดลง
ถาม : ถ้าเราติดเป็นความอยากในรสสัมผัส ติดมา
นานแล้ว เราดูบ่อยๆ มันก็ยังไม่ลดลง
ตอบ : กำลังสติไม่พอ กำลังปัญญาก็ไม่พอ เพราะว่า
เราไม่เห็นโทษของมัน ถ้าเรายังติดมันอยู่ แสดงว่าเราเห็น
แต่ข้อดีคือรสอร่อยของมัน แต่เราไม่เห็นข้อเสีย จริงๆ ข้อ
เสียคือถ้าเราเสพมันบ่อยๆ เราจะเกิดความเบื่อ
ถาม : คิดไม่ดีให้รู้ว่าคิดไม่ดี หรือว่าเราต้องคิดแต่สิ่งที่
ดีคะ
ตอบ : คนเราไม่สามารถคิดดีได้ตลอดเวลา เพราะคน
เรามีทั้งสองด้านอยู่ในตัว มีทั้งความใฝ่ดีและความเห็นแก่
ตัว นักปฏิบัติธรรมเมื่อยิ่งปฏิบัติ ก็จะเห็นด้านไม่ดีของตัว
มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะฉะนั้นต้องยอมรับว่า
มีด้านไม่ดีของเรา ให้เราแค่รู้เฉยๆ อย่าไปคิดควบคุมให้มี
แต่ความคิดดี ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ การเจริญสติไม่ใช่มุ่ง
ควบคุมความคิด แต่เพื่อรักษาใจไม่ให้ความคิดมาควบคุมเรา
หลวงพ่อชาบอกว่าการปฏิบัติไม่ใช่ให้กิเลสหนีเรา และก็
ไม่ใช่ให้เราหนีกิเลส แต่ให้รู้จักอยู่กับกิเลสอย่างมีสติ
ถาม : เวลาปฏิบัติ บางครั้งมีความรู้สึกว่าเราโศกเศร้า
เบื่อหน่าย เราควรปฏิบัติอย่างไรคะ
ตอบ : ความโศกความเศร้าเมื่อเกิดขึ้นมา มันก็ครอง
ใจเราไม่นานถ้าเรามีสติรู้ทัน ใจเราก็สามารถจะเบิกบาน
แต่ถึงแม้ไม่เบิกบาน มีความเบื่อ ความเซ็ง เราก็ไม่เป็น
ทุกข์ ถ้าเรารู้จักรู้ซื่อๆ เราก็จะอยู่กับความเบื่อได้ ไม่ใช่
ปฏิบัติธรรมแล้วจิตจะผ่องใสตลอดเวลา เพราะเราไม่ใช่
พระอรหันต์ บางครั้งมันก็มีความเบื่อความเซ็ง แต่สติ
ทำให้เราอยู่กับความเบื่อความเซ็งได้โดยไม่ทุกข์
ถาม : ถ้าจิตฟุ้งซ่าน ควรฝึกสติก่อนหรือสมาธิก่อนดีคะ
ตอบ : ฝึกสติก่อน เพราะจริงๆ สมาธิก็ต้องอาศัยสติ
สติเป็นเครื่องกำกับจิตให้อยู่กับอารมณ์ จิตถ้าอยู่กับ
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนานๆ มันก็เกิดสมาธิ สมาธิมีแต่
ไม่มีสติ มันก็เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นสมาธิที่ไม่ยั่งยืนและ
อาจเป็นมิจฉาสมาธิด้วย แต่ถ้ามีสติ โอกาสที่จะมีสมาธิมี
ได้มาก
แสงธรรม 10 Saeng Dhamma
ถาม : มีพี่คนหนึ่งฝึกนั่งสมาธิมาตั้งแต่เด็กๆ ประเด็น
คือเค้าคิดว่าการนั่งสมาธิต้องเข้าฌานได้และมีนิมิต ไม่
เช่นนั้นถือว่าไม่ก้าวหน้า เมื่อสองปีที่แล้วมีคนบอกเขาว่า
ที่เขาปฏิบัติอยู่ไม่ถูกทาง ให้มีสติรู้กับปัจจุบัน เขาก็
พยายามทำอย่างนั้นโดยที่ไม่เข้าฌาน แต่รู้สึกว่าที่ทำมา
ไม่ได้อะไร เพราะไม่เห็นนิมิต ไม่เห็นอะไรเลย ก็เลยคิดจะ
กลับไปนั่งเข้าฌานแบบเดิมดีไหมครับ
ตอบ : การปฏิบัติถึงที่สุด คือให้มีปัญญารู้ความจริง
ของกายและใจ เพราะจะช่วยทำให้กิเลสลดลง ความ
ทุกข์ลดลง และทำให้เกิดความสงบเย็นที่ยั่งยืนที่แท้จริง
นิมิตที่แท้จริงไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา ไม่ได้ทำให้ความทุกข์
ลดลง แต่ทำให้เกิดความตื่นเต้น มีชีวิตชีวา หวือหวา สิ่งที่
จะวัดความก้าวหน้าคือสงบเย็นและมีความเมตตากรุณา
มากขึ้นไหม ขึ้นชื่อว่าความยึดติด ไม่ว่ายึดติดอะไร ทุกข์
ทั้งนั้น ยึดติดในนิมิต ยึดติดในความสงบก็ทุกข์ และทำให้
เนิ่นช้า
ถาม : ชาวพุทธควรจะยึดแต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
แล้ว เรื่องสมาธิเรื่องญาณไม่เอาได้ไหม
ตอบ : ญาณมีประโยชน์คือปัญญาชนิดหนึ่ง สมาธิก็มี
ประโยชน์ สัมมาสมาธิเป็นหนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ เป็นสิ่งที่
เกื้อหนุนกัน ต้องอย่ามองแต่ยอด มันต้องมีฐานถึงจะเกิด
ยอดได้
ถาม : สำหรับคนที่ไม่รู้จักศาสนาพุทธเลย ก็ควรให้
เขารู้เรื่องพวกนี้ด้วยใช่ไหมครับ
ตอบ : ใช่
ถาม : กราบขอขมาครูบาอาจารย์บางท่านที่กล่าวว่า
ท่านได้ขึ้นไปสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า เราเกิดความ
ลังเลสงสัยว่า จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไรครับ
ตอบ : อาตมาก็ไม่ทราบนะ อาจจะเป็นไปได้ก็ได้
เพราะเรื่องพวกนี้มันนอกเหนือการรับรู้โดยสามัญ เราก็
ไม่รู้ว่ามันเป็นนิมิตหรือเปล่า ก็ไม่อยากไปวิพากษ์วิจารณ์
แต่ก็คิดว่าเป็นไปได้ สิ่งที่ท่านพูดไปอาจเป็นสภาวะบาง
อย่าง ซึ่งยากที่จะกล่าวเป็นค ำพูด แต่พอกล่าวเป็นค ำพูดแล้ว
มันก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการสนทนา
กันเองจริง เหมือนนรกสวรรค์ อาจไม่ใช่เป็นสถานที่แต่
เป็นสภาวะ แต่การที่จะพูดให้คนเข้าใจ บางทีก็ต้องพูดให้
ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่ายๆ แต่ว่ามันก็อาจทำให้เกิดความ
เข้าใจผิดได้ แต่ไม่ใช่ว่ามันไม่มี แต่มันอาจจะไม่มีอย่างที่
เราเข้าใจ
ถาม : ผิดศีลวันพระกับวันธรรมดา บาปต่างกันไหม
คะ และทำบุญวันพระกับทำบุญวันธรรมดา ได้บุญต่าง
กันไหมคะ
ตอบ : เท่ากันเหมือนกันไม่ว่าวันไหน วันพระเป็น
วันพระสมมุติ เมื่อมีจิตเป็นอกุศล ทำผิดศีลย่อมเกิดโทษ
อันนี้เป็นกฎธรรมชาติ
ถาม : ถ้าซื้อหุ้นเป็นหุ้นบริษัท… ที่ฆ่าไก่ฆ่าหมู อยาก
ถามว่าด้วยหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ถือเป็นบาปไหม จะต้อง
วางจิตอย่างไรให้รู้สึกว่าบาปน้อยลงคะ
ตอบ : บาปไม่บาปอยู่ที่เจตนา ถ้าไม่ได้คิดที่จะส่งเสริม
การฆ่าไก่ให้มากขึ้น หรือการตัดรอนชีวิต มันก็ไม่บาป
ถาม : เพิ่งเลิกกับแฟนที่คบกันมานานมาก ควรจะ
วางใจอย่างไรให้เสียใจน้อยลงครับ
ตอบ : เมื่อคิดไตร่ตรองรอบคอบแล้ว คิดว่าคงอยู่
ด้วยกันได้ยากเพราะยังไม่ใช่คนที่ใช่ มันก็สมควรวาง
ระยะ แทนที่จะเป็นคนรักก็เป็นเพื่อน ก็ไม่ใช่เรื่องเสีย
หายผิดบาป แต่แน่นอนก็ต้องมีความเสียใจเพราะมีความ
ผูกพัน แต่ก็ต้องมองว่าถ้าอยู่กันไปใกล้ชิดกว่านี้ ก็อาจจะ
ส่งผลเสียตามมา ในเมื่อตัดสินใจแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบต่อ
การตัดสินใจและก็ต้องตัดใจ รวมทั้งยอมรับผลกระทบที่
ตามมาก็คือความเสียใจ ความอาลัย แต่ของพวกนี้ก็ของ
ชั่วคราว ให้มองว่านี่เป็นธรรมดาโลก เมื่อมีพบก็มีพราก
เมื่อมีเจอก็มีจาก ให้ถือว่ามันเป็นสิ่งที่สอนสัจธรรมให้กับเรา
ถ้ารักที่จะมีชีวิตอยู่บนโลกนี ้อย่างมีความสุขก็ต้องรู้
เท่าทันความไม่เที่ยง และถ้าคิดจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กับใคร ก็ต้องพร้อมจะยอมรับว่าสักวันหนึ่งมันต้องกลาย
เปลี่ยน นี่เป็นธรรมดาโลก ก็ให้มองว่าให้หาประโยชน์
จากเหตุการณ์นี้ว่ามันสอนสัจธรรมอะไรให้กับเราบ้าง
นอกเหนือจากการที่มีสติรู้จักวางความเศร้าความเสียใจที่
เกิดขึ้น เพราะเมื่อตัดสินใจใคร่ครวญแล้วก็ต้องพร้อมที่
จะยอมรับผลที่เกิดขึ้น
แสงธรรม 11 Saeng Dhamma
ถาม : เป็นคู่แต่งงานที่ศีลไม่เสมอกัน ตัวสามีเป็นคน
ที่อารมณ์เกรี้ยวกราดมาก ส่วนตัวเองก็ทนภาวะตรงนี้ไม่
ไหว แต่ว่าจะทำให้เลิกกันก็คงไม่เลิก ตัวเองก็พยายาม
ศึกษาธรรมะปฏิบัติธรรม เรียนรู้ว่าให้รู้อารมณ์โกรธฝึก
มาตลอด แต่ว่าสิ่งที่มากระทบทุกวันๆ ทำให้รับตรงนี้ไม่
ไหว และไม่รู้ว่าต้องคงสภาวะจิตอย่างไร
ตอบ : ต้องชัดเจนว่าการเลือกที่จะอยู่กับเขาอย่าง
ยั่งยืน เขามีคุณธรรมข้อไหนที่จะทำให้เรามีความสุขที่จะ
อยู่กับเขา คนเราไม่มีใครที่สมบูรณ์ เขาอาจจะมีนิสัยเจ้า
อารมณ์ แต่ถ้าเขาเป็นคนที่รักครอบครัว เป็นคนที่ซื่อสัตย์
สุจริต เป็นคนที่จริงใจต่อคนรัก ก็มีเหตุผลที่สมควรจะอยู่
ด้วยกัน ถ้าเราเห็นเขาในมุมนี้ก็ทำให้เราทนอยู่กับเขาได้
แม้เค้าจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ แต่ถ้าเห็นว่าเขาเป็นคนเจ้า
โทสะแล้วเขายังมีอีกหลายอย่าง ที่มันไม่เอื้อต่อการมีชีวิต
คู่ ก็ไม่เห็นว่าเราจะต้องอยู่กับเขาไปจนตาย ก็มีหลายคู่ที่
ลงท้ายด้วยการทำร้ายถึงชีวิต ถ้าเราจะทนอยู่กับเขา เรา
ก็ต้องรักษาใจของเราให้ได้คือไม่ทุกข์ร้อนไปตามเขา ถ้า
เราสามารถมีความสงบเย็นได้ ก็จะสามารถช่วยทำให้เขา
สงบเย็นได้ด้วย
การเข้าใจเขาอาจช่วยทำให้ไม่เพียงแต่ทนเขาได้ แต่
สามารถจะช่วยเขา คนที่เจ้าอารมณ์ บางทีเขาก็มีภูมิหลัง
วัยเด็กที่ไม่สมบูรณ์ มีความทุกข์ แต่ถ้าเราเข้าใจเขาและ
พยายามที่จะช่วยให้เขาคลี่คลายจากปม มันก็อาจทำให้
เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปได้ คนเราเปลี่ยนแปลงได้
แต่ต้องเริ่มต้นจากความรักและความเข้าใจ
แสงธรรม 12 Saeng Dhamma
สารธรรม จาก...พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๘๑๙ - ๘๔๖ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิก าย สคาถวรรค ยักขสังยุตต์
ปุนัพพสุสูตร : ยักษิณีดื่มด่ำในรสพระธรรม
ปิยังกรสูตร
##
ยักษิณีฟังพระอนุรุทธะสวดธรรม
(819-821) ใกล้รุ่งวันหนึ่งที่วัดเชตวัน พระอนุรุทธะ
ลุกขึ้นสวดบทธรรม ยักษิณีตนหนึ่งมีบุตรน้อยชื่อปิยังกระ
ได้ฟังเสียงสวดของพระเถระก็พูดปรามบุตรว่า อย่าส่ง
เสียงดังนะลูก ภิกษุกำลังสวดอยู่ ถ้าเราเข้าใจความหมาย
แล้วปฏิบัติตาม ก็จะเป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่ฆ่าสัตว์
ตัดชีวิต ไม่พูดเท็จ ฝึกตนให้เป็นผู้มีศีลนั่นแหละจะได้ไม่
อยู่เป็นปีศาจต่อไป
(อรรถกถากล่าวเพิ่มเติมว่า การสวดบทธรรมของ
พระอนุรุทธะเป็นการสวดสรภัญญะอันไพเราะ ท่านสวด
อยู่ในวิหารชื่อโกสัมพกุฎี ซึ่งอยู่ที่ท้ายวัดเชตวัน ขณะที่
ยักษิณีอุ้มบุตรน้อยเดินหาอาหาร (จำพวกสิ่งสกปรกเน่า
เหม็น) ไปถึงบริเวณนั้น นางยืนตะลึงฟังเสียงสวดเหมือน
ถูกสะกด ส่วนบุตรน้อยก็เอาแต่ร้องกวนเพราะความหิว)
ปุนัพพสุสูตร
##
ยักษิณีดื่มด่ำในรสพระธรรม
(822-825) วันหนึ่งที่วัดเชตวัน ขณะที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ ยักษิณีซึ่งมีบุตรน้อย
2 ตน ตนหนึ่งชื่อปุนัพพสุ อีกตนหนึ่งชื่ออุตตรา พูดปราม
บุตรทั้งสองให้นิ่ง อย่าส่งเสียงจนกว่านางจะฟังพระธรรม
เทศนาของพระพุทธองค์จบลง อย่าให้ได้พลาดโอกาสไป
เสีย นางบอกกับบุตรน้อยว่า ลูกและผัวเป็นที่รักในโลก
แต่ความปรารถนาในธรรมเป็นที่รักยิ่งกว่า เพราะลูกและ
ผัวปลดเปลื้องทุกข์ให้ไม่ได้เหมือนการได้ฟังธรรม...
ปุนัพพสุพูดกับแม่ว่า ตัวเองก็จะไม่ส่งเสียง อุตตรา
น้องสาวก็จะอยู่นิ่งๆ ให้แม่ได้ฟังธรรมอย่างเดียว การได้
ฟังธรรมจะนำความสุขมาให้ เพราะไม่รู้ธรรมจึงลำบาก
ระหกระเหิน พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ให้แสงสว่างแก่
เทวดาและมนุษย์ผู้โง่งม...
ยักษิณีผู้มารดาแสนจะดีใจที่บุตรน้อยเป็นคนฉลาด
และมีใจชื่นชมพระธรรมาของพระพุทธเจ้า นางหวังว่า
ปุนัพพสุจะมีความสุข เพราะต่างก็แจ้งในอริยสัจ พลางก็
พูดกล่อมเกลาอุตตราลูกน้อยอีกคนหนึ่งด้วย
(อรรถกถากล่าวว่า ด้วยอานุภาพแห่งการเงี่ยโสตฟัง
พระธรรมเทศนาครั้งนี้ ครอบครัวยักษิณีได้ต้นไม้ใกล้พระ
คันธกุฎีเป็นที่อยู่ มีโอกาสได้ฟังธรรมทุกเช้าเย็น)
ปฐมสุกกาสูตร
(832-833) พระสูตรนี้กล่าวถึงยักษ์ตนหนึ่ง (ขณะที่
พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่วัดเวฬุวัน) เห็นภิกษุณีชื่อสุกกา
แสดงธรรมอยู่ท่ามกลางชุมนุมชนหมู่ใหญ่ นางเกิดความ
เลื่อมใสยิ่ง เที่ยวกล่าวคาถาแสดงความชื่นชมตัวท่านไป
ทุกถนนทุกตรอกซอกซอย คำกล่าวของยักษ์มีใจความว่า
พวกชาวกรุงราชคฤห์มัวทำอะไรกันอยู่ ไม่เข้าไปฟังธรรม
ของท่านภิกษุณีสุกกา ทำตัวเป็นคนดื่มน้ำผึ้งหอมแล้วก็
นอน คำสอนของท่านภิกษุณีนั้น ไม่มีใครจะโต้แย้งได้
ไม่มีการเสกสรรปั้นแต่ง เปี่ยมด้วยอรรถรส คนมีปัญญา
ดื่มด่ำแล้วเหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝนปานฉะนั้น
อาฬวกสูตร
##
ปัญหาธรรมของอาฬวกยักษ์
(838-846) ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปประทับ
ณ ที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เมืองอาฬวี (อรรถกถากล่าวว่า
อาฬวีเป็นทั้งชื่อเมืองและชื่อหัวเมือง (ชนบท) ที่อยู่ของ
อาฬวกยักษ์ มีลักษณะเป็นเทวสถานศักดิ์สิทธิ์ อยู่ห่าง
จากตัวเมืองราว 1 คาวุต ไกลจากกรุงสาวัตถี 30 โยชน์
เรื่องเล่าเกี่ยวกับอาฬวกยักษ์ในอรรถกถามีความพิสดาร
เชิงตำนาน ในที่นี้จะกล่าวตามพระบาลีเท่านั้น)
ขณะประทับอยู่ที่นั่น อาฬวกยักษ์เข้าไปทูลพระพุทธ
องค์แบบออกคำสั่งให้เสด็จเข้าเสด็จออกจากที่ประทับ
ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำตามถึง 3 ครั้ง 3 หน แต่พอ
ครั้งที่ 4 ทรงปฏิเสธคำสั่งของยักษ์ ยักษ์จะทำอะไรก็ตาม
ใจ เมื่อเห็นดังนั้น ยักษ์ก็ขอทูลถามปัญหา ถ้าทรงตอบไม่
ได้ ก็จะป่วนจิตของพระองค์ หรือไม่ก็จะฉีกพระหทัยหรือ
ไม่ก็จะจับพระบาทของพระองค์เหวี่ยงข้ามแม่น้ำคงคาไป
ฟากโน้น
พระพุทธองค์รับสั่งว่า ไม่มีใครในโลกไหนๆ จะทำกับ
พระองค์อย่างนั้นได้หรอก แต่เอาเถิด ยินดีให้ยักษ์ถาม
ปัญหาได้
ต่อไปนี้คือข้อปัญหาและพระดำรัสตอบ
ยักษ์ : อะไรคือทรัพย์อันประเสริฐของคนในโลกนี้?
อะไรที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้? อะไรคือรสอัน
ล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย? นักปราชญ์กล่าวถึงชีวิตของผู้
เป็นอยู่อย่างไรว่าประเสริฐสุด?
พระพุทธองค์ : ศรัทธาคือทรัพย์อันประเสริฐของ
คนในโลกนี้ ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้
ความสัตย์คือรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์
กล่าวว่า ชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐสุด
ยักษ์ : คนจะข้ามโอฆะได้อย่างไร? จะข้ามอรรณพ
ได้อย่างไร? จะล่วงทุกข์ได้ด้วยวิธีใด? จะบริสุทธิ์ได้อย่างไร?
พระพุทธองค์ : คนจะข้ามโอฆะได้ก็ด้วยศรัทธา
จะข้ามอรรณพได้ก็ด้วยความไม่ประมาท จะล่วงทุกข์ได้ก็
ด้วยความเพียร (วิริยะ) จะบริสุทธิ์ (หมดจดจากกิเลส) ได้
ก็ด้วยปัญญา
(อรรถกถากล่าวว่า โอฆะในที่นี้หมายถึง ทิฐิ
(ทิฏโฐฆะ) ผู้ที่จะละทิฐิ-ความเห็นผิดได้ คือโสดาบัน
แสงธรรม 13 Saeng Dhamma
อรรณพ หมายถึงภพ (ภโวฆะ) ผู้ที่จะละภพได้คือสกทา
คามี วิริยะเป็นความเพียรต่อเนื่องเพื่อละกาม (กาโมฆะ)
ผู้ที่จะละกามได้คืออนาคามี สุดท้ายคืออวิชชา ผู้ที่จะละ
อวิชชาได้คือพระอรหันต์ ละได้ด้วยปัญญา)
ยักษ์ : ปัญญาจะได้มาอย่างไร? ทำอย่างไรจึงจะหา
ทรัพย์ได้? คนจะมีชื่อเสียงได้อย่างไร? ท ำอย่างไรจึงจะผูก
มิตรไว้ได้? ตายไปสู่โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก?
พระพุทธองค์ : ผู้เชื่อในธรรมของพระอรหันต์ ฟัง
ด้วยดีเพื่อบรรลุนิพพาน ย่อมได้ปัญญา จะหาทรัพย์ได้
ต้องเป็นคนไม่ประมาท เฉลียวฉลาด ทำให้เหมาะสม
(ปฏิรูปการี) ไม่ทอดธุระ (และ) ขยัน คนจะได้ชื่อเสียง
เกียรติคุณก็ด้วยความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ คนอยู่
ครองเรือนต้องประกอบด้วยธรรม 4 ประการคือ 1. สัจจะ
(ความสัตย์, ความจริงใจ) 2. ธรรม (ในที่นี้หมายถึงปัญญา)
3. ธิติ (ความขยันหมั่นเพียร) 4. จาคะ (การแบ่งปัน, ความเสีย
สละ) แล้วจะไม่เศร้าโศกเมื่อตายไป ขอให้ถามสมณพราหมณ์
เหล่าอื่นดูเถิดว่า มีธรรมอื่นใดในโลกที่ยิ่งไปกว่าสัจจะ (ซึ่งจะ
ทำให้ได้ชื่อเสียงเกียรติคุณ) ทมะ (ซึ่งเป็นเหตุที่จะให้ได้ปัญญา)
จาคะ (ซึ่งจะทำให้ผูกมิตรไว้ได้) และขันติ (ซึ่งจะเป็นเหตุให้ได้
โลกิยทรัพย์และโลกุตรทรัพย์)
(โปรดสังเกตว่า ธรรม 4 ประการสำหรับฆราวาสใน
พระดำรัสนี้ กล่าวไว้ 2 ชุด ชุดหนึ่งคือสัจจะ ธรรม ธิติ จา
คะ อีกชุดหนึ่งคือ สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ แสดงว่าใช้แทน
กันได้ และมีความหมายที่เชื่อมโยงกันได้)
อาฬวกยักษ์เมื่อได้ฟังพระวาจาดังนี้ ก็กราบทูลว่า
ทำไมตนจะต้องไปถามสมณพราหมณ์อื่นในเวลานี้ วันนี้
ตนแจ่มแจ้งในประโยชน์ภายภาคหน้าแล้ว พระพุทธองค์
เสด็จมายังเมืองอาฬวีก็เพื่อประโยชน์แก่ตนโดยแท้ เพิ่ง
ได้รู้ชัดวันนี้เองว่า ให้ทานแก่ใครจึงจะมีผลมาก ต่อไปนี้
ไปไหนๆ ตนก็จะน้อมนมัสการต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ดีแล้ว
แสงธรรม 14 Saeng Dhamma
เมื่อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) เป็นโรคระบาดที่กลืนกิน
ชีวิตของมนุษย์หลายหมื่นคนทั่วโลก เป็นมหันตภัยร้ายที่เข้า
มาคุกคามการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่สงบสุข ให้กลับกลาย
เป็นหวาดระแวง วุ่นวายเดือดร้อน โกลาหลกันไปทั่วทุกมุม
โลก แม้เทคโนโลยีล้ำยุค แต่ไวรัสก็ล้ำหน้า ยังไม่มียาหรือ
วัคซีนตัวใดปราบลงได้ การป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ
การเก็บตัวอยู่กับบ้าน (Quarantine) การเว้นระยะห่าง
ระหว่างบุคคล (Social distancing) การใส่หน้ากากอนามัย
(Wear a facemask) และการล้างมือบ่อยๆ (Clean your
hands often) ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ ในขณะเดียวกันชาว
พุทธ ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เมื่อเกิดภัยพิบัติจากโรคร้าย
เช่นนี้ จึงน้อมรำลึกเอาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มาเป็น
เครื่องต้านทาน ปัดเป่าโรคภัย มุ่งหวังสร้างขวัญ รวบรวม
พลังใจ ปลุกสติให้กล้าในการเผชิญหน้ากับไวรัสที่ไร้ตัวตน
ด้วยการสวดพระพุทธมนต์ หรือพระปริตร นั่นเอง
พระพุทธมนต์กับพระปริตร เป็นพระพุทธพจน์ คือคำสั่ง
สอนของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน นำมาท่องบ่นสาธยายใน
รูปแบบบริกรรมภาวนาให้เกิดเป็นสมาธิ เรียกว่า “พระพุทธ
มนต์” ภาวนาจนจิตเกิดสมาธิเป็นหนึ่ง จิตเป็นสมาธิย่อมมี
อานุภาพต่างๆ ชาวพุทธจึงนิยมเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อ
ต้านทานสิ่งไม่ดีทั้งหลาย “พระพุทธมนต์” จึงเรียกว่า “พระ
ปริตร” อีกทางหนึ่ง “ปริตร” แปลว่า ต้านทาน, ป้องกัน
คุ้มครอง, รักษา อย่างที่พระสงฆ์สวด “รัตนสูตร” เพราะ
“รัตนสูตร” เป็นพระสูตรที่ “พระพุทธองค์” ทรงมอบให้
พระอานนท์ใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดจากทุพภิกขภัย
อมนุษย์ภัย และโรคภัย แก่ชาวกรุงไวสาลี เมื่อครั้งพุทธกาล
ที่ประเทศไทย “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณฯ สมเด็จ
พระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” ทรงนำหมู่สงฆ์
เจริญพระปริตร แผ่เมตตาจิตพร้อมกันทั่วประเทศ ด้วยหวัง
จักช่วยขจัดปัดเป่าโรคาพาธที่เกิดกับมวลมนุษยชาติและคน
ไทยให้จางหายคลายไป บทสวดพุทธมนต์หรือพระปริตรนั้น
จะมีอานุภาพยิ่งใหญ่เพียงใด ขอเชิญทุกท่านมาร่วมไขข้อ
กังขาด้วยบทสนทนาธรรมระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระ
นาคเสนเถระ ดังต่อไปนี้
มิลินทปัญหา (ตอนที่ ๒๖) ปัญหาที่ ๔ มัจจุปาสมุตติ
ปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงภาษิตความข้อนี้ไว้ว่า
“น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ,
น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส.
น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส.
ยตฺถฏฺฐิโต มุจฺเจยฺย มจฺจุปาสา”
(ขุ.ธ. ๒๕/๔๑)
พระเจ้ามิลินท์ ได้ตรัสถามปัญหากับพระนาคเสนว่า
บุคคล (ผู้เกิดมาแล้ว) หนีเข้าไปกลางหาวก็ไม่พ้นจากความ
ตาย, หนีเข้าไปกลางมหาสมุทรก็ไม่พ้นจากความตาย, หนี
เข้าไปยังซอกเขาก็ไม่พ้นจากความตาย, เข้าดำรงอยู่ใน
ภูมิประเทศใดแล้วพ้นจากความตายได้ ภูมิประเทศนั้นหามี
ไม่ ดังนี้แล้ว ก็ยังทรงแสดงพระปริตรทั้งหลายไว้อีก อันได้แก่
รัตนสูตร เมตตาสูตร ขันธปริตร โมรปริตร ธขัคคปริตร
อาฏานาฏิยปริตร อังคุลิมาลปริตร พระคุณเจ้านาคเสน ถ้า
หากว่าบุคคล แม้ไปในอากาศแล้ว แม้ไปกลางมหาสมุทรแล้ว
แม้ไปในปราสาท กุฏิ ที่เร้น ถ้ำ เงื้อมเขา โพรง ซอกเขา ที่
ระหว่างภูเขาแล้ว ก็ยังพ้นจากความตายมิได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น
การเจริญพระปริตร ก็เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่า
จะมีอันพ้นจากความตายด้วยการเจริญพระปริตรได้จริง ถ้า
อย่างนั้น คำที่ตรัสไว้ว่า บุคคลหนีเข้าไปกลางหาวก็ไม่พ้น
จากความตาย ฯลฯ เขาดำรงอยู่ในภูมิประเทศใดแล้วพ้นจาก
ความตายได้ ภูมิประเทศนั้นหามีไม่ ดังนี้ ก็ต้องเป็นคำพูดที่
ไม่ถูกต้อง ปัญหานี้มี ๒ เงื่อน เป็นปมเสียยิ่งกว่าปม ตกถึงแก่
ท่านแล้ว ขอท่านจงคลี่คลายปัญหานั้นเถิด
พระนาคเสน ทูลวิสัชนาว่า ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาค
ทรงภาษิตข้อความที่ว่า บุคคลหนีเข้าไปกลางหาว ฯลฯ พ้น
จากความตายได้ ภูมิประเทศนั้นหามีไม่ ดังนี้ไว้จริง และพระ
ผู้มีพระภาคก็ตรัสพระปริตรทั้งหลายไว้จริง แต่ว่าข้อนั้นตรัส
ไว้สำหรับบุคคลผู้ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์ ปราศจาก
กัมมาวรณ์เท่านั้น ส่วนคนสิ้นอายุขัยแล้ว จะสวดพระปริตร
เพื่อต่ออายุ ย่อมไร้ผล
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนว่า ต้นไม้ที่ตายแล้ว แห้ง
ผุแล้ว ไม่มียางแล้ว ชีวิตดับแล้ว ปราศจากอายุสังขารแล้ว
เมื่อบุคคลตักน้ำมารดถึงพันหม้อ ก็ไม่ทำให้เขียวสด หรือผลิ
ใบแตกหน่อขึ้นมาได้อีกฉันใด สำหรับคนที่สิ้นอายุขัยแล้ว จะ
พยายามเพื่อดำรงชีวิตอยู่ด้วยยาหรือพระปริตรก็ไม่ได้ฉันนั้น
ขอถวายพระพร พระปริตรจะรักษาจะคุ้มครองก็เฉพาะผู้ที่
ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์ ปราศจากกัมมาวรณ์
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระปริตรไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่
คนเหล่านั้น
ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนเมื่อข้าวแก่หง่อมแล้ว ต้น
ข้าวกล้าก็ตายไป ชาวนาพึงกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าไป ส่วนข้าว
กล้าที่ยังอ่อนอยู่ มีวัยสมบูรณ์ ย่อมงอกงามเติบโตได้ด้วยการ
เพิ่มน้ำให้ ฉันใด สำหรับผู้ที่สิ้นอายุแล้ว ก็เป็นอันต้องยกเว้น
ต้องบอกปัดการใช้ยา หรือการเจริญพระปริตร ส่วนว่า คน
เหล่าใดที่ยังมีอายุเหลืออยู่ ยังมีวัยสมบูรณ์อยู่ พระผู้มีพระภาค
แสงธรรม 15 Saeng Dhamma
ตรัสพระปริตรและยาไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่คนเหล่านั้น คน
เหล่านั้นย่อมมีชีวิตยืนยาวได้ด้วยการสวดพระปริตรและการ
ใช้ยา ฉันนั้นเหมือนกัน
พระเจ้ามิลินท์ ตรัสว่า พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าหากว่า
ผู้มีอายุสิ้นแล้ว จะต้องตาย ผู้มีอายุเหลืออยู่ จึงจะยังเป็นอยู่
ได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น พระปริตรและยาก็เป็นของไร้ประโยชน์
พระนาคเสน ทูลวิสัชนาว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร
พระองค์เคยทรงทอดพระเนตรเห็นคนป่วย ซึ่งรักษาด้วยยา
ก็หายจากโรคบ้างหรือไม่
พระเจ้ามิลินท์ : ใช่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเห็นมาแล้ว
หลายร้อยคน
พระนาคเสน : ถ้าอย่างนั้น ที่พระองค์ตรัสว่า พระปริตร
และยาเป็นของไร้ประโยชน์ ดังนี้ ก็ย่อมเป็นค ำตรัสที่ไม่ถูกต้อง
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้านาคเสน การชโลมยา ก็
ปรากฏว่าเป็นความพยายามของหมอ เพราะความพยายาม
ของหมอเหล่านั้น โรคจึงหายได้
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร บุคคลทั้งหลายเมื่อสวด
พระปริตรได้ยินเสียงอยู่ ลิ้นก็แห้งไป หัวใจเพลีย คอระบม
ความเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งปวงของบุคคลเหล่านั้น ก็สงบไปเพราะ
การสวดพระปริตรนั้น เสนียดจัญไรทั้งปวง ก็ปราศไปสิ้น
ขอถวายพระพร พระองค์เคยทรงทอดพระเนตรเห็นมา
บ้างหรือไม่ว่า บางคนที่ถูกงูกัด พอใช้บทมนต์ ก็สามารถ
ทำพิษให้ตกไป ทำพิษให้ซึมออกมาได้ สำรอกพิษออกมาได้
ทั้งทางเบื้องบนและทางเบื้องล่าง ?
พระเจ้ามิลินท์ : ข้าพเจ้าเคยเห็น พระคุณเจ้า ทุกวันนี้
ในโลกนี้ก็ยังใช้วิธีรักษาเช่นนั้นกันอยู่
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ที่พระองค์
ตรัสว่า พระปริตรและยาเป็นของไร้ประโยชน์ ดังนี้ ก็ต้อง
เป็นคำตรัสที่ไม่ถูกต้อง ขอถวายพระพร งูต้องการจะกัด ก็ไม่
อาจจะกัดบุรุษผู้เจริญพระปริตรได้ ยอมอ้าปากไม่ขึ้น พวก
โจรก็ไม่อาจเงื้อไม้ค้อนขึ้นทำร้ายได้ พวกโจรก็จะพากันทิ้งไม้
ค้อนเสีย แล้วทำความรักให้เกิดขึ้นแทน แม้ช้างดุ พอมาถึง
ตัวเข้าเท่านั้นก็เชื่องไป แม้กองไฟใหญ่กำลังลุกโชนอยู่
ลามมาถึงตัวเข้าก็พลันดับไป แม้ยาพิษแรงกล้าที่กลืนกินเข้าไป
ก็หายไปเหมือนเจอยาแก้พิษ หรือกลับเป็นอาหารแผ่ซ่านไป
นักฆ่าคนผู้ต้องการจะกำจัด พอถึงตัวเข้าเท่านั้น ก็ยอมตน
เป็นทาสไป แม้เดินเหยียบบ่วง มันก็หาคล้องเอาไม่
ขอถวายพระพร พระองค์เคยทรงสดับมาบ้างหรือไม่ว่า
นกยูงสวดพระปริตรทุกวัน นายพรานไม่อาจใช้บ่วงดักได้
ตลอด ๗๐๐ ปี ในวันที่ไม่ได้เจริญพระปริตรวันเดียวเท่านั้น
นายพรานจึงใช้บ่วงดักได้
พระเจ้ามิลินท์ : โยมเคยได้ฟัง พระคุณเจ้า กิตติศัพท์
เรื่องนั้นแพร่ขจรขจายไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก
พระนาคเสน : ถ้าอย่างนั้น ที่พระองค์ตรัสว่า การสวด
พระปริตร การใช้ยา เป็นของหาประโยชน์ไม่ได้ ดังนี้ ก็เป็น
คำตรัสที่ไม่ถูกต้อง
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้านาคเสน พระปริตรรักษาได้
ทุกคนเลยหรือ ?
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร ย่อมรักษาได้เป็นเพียง
บางคน บางคนก็ไม่อาจรักษาได้
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าอย่างนั้น พระ
ปริตรก็ไม่ชื่อว่าเป็นของจำปรารถนาสำหรับทุกคน
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร อาหารย่อมรักษาชีวิต
ของคนได้ทุกคนหรือไม่ ?
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้า อาหารย่อมรักษาได้เป็น
บางคน บางคนก็ไม่อาจรักษาได้
พระนาคเสน : เพราะเหตุใดเล่า ?
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้า เพราะเหตุว่า บางคนพอกิน
อาหารนั้นมากเกินไปแล้วก็ตาย เพราะโรคลงท้อง
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น
อาหารก็ไม่ชื่อว่ารักษาชีวิตของคนทุกคนได้
พระเจ้ามิลินท์ : พระคุณเจ้านาคเสน อาหารย่อมคร่า
ชีวิตได้เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. เพราะบริโภคมากเกินไป
๒. เพราะไฟธาตุย่อยอ่อนกำลังไป พระคุณเจ้านาคเสน อาหาร
แม้ปกติให้อายุ แต่เพราะมีวิธีการไม่ดี ย่อมคร่าเอาชีวิตได้
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉัน
แสงธรรม 16 Saeng Dhamma
นั้น พระปริตรคุ้มครองรักษาได้ก็แต่บางคน ไม่อาจคุ้มครอง
รักษาบางคนได้ ขอถวายพระพร พระปริตรไม่อาจคุ้มครอง
รักษาบุคคลได้เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เพราะกัมมาวรณ์ เครื่องขวางกั้นคือกรรม
๒. เพราะกิเลสาวรณ์ เครื่องขวางกั้นคือกิเลส
๓. เพราะความไม่เชื่อถือ
ขอถวายพระพร พระปริตรที่มีปกติตามรักษาสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเลิกละการรักษา ก็เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งในเหตุ
๓ อย่างที่บุคคลนั้นได้ก่อไว้ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือน
ว่า มารดาย่อมเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่อยู่ในท้อง ให้คลอดออกมา
ด้วยวิธีการที่เกื้อกูล ให้คลอดออกมาแล้วก็ชำระสิ่งไม่สะอาด
แปดเปื้อนน้ำมูกน้ำลาย แล้วลูบไล้ของหอมดี ๆ ประเสริฐ
ยอดเยี่ยมให้ ในสมัยต่อมา บุตรคนนั้นเมื่อไปด่าว่า หรือ
ทำร้าย หรือประหารบุตรของคนอื่น คนเหล่านั้นก็โกรธ ช่วย
กันจับตัวเขาไว้ นำเข้าไปหาผู้เป็นนาย ถ้าหากบุตรของหญิงคน
นั้นเป็นผู้มีความผิดจริง ผู้คนทั้งหลายผู้ฉุดคร่าตัวเขามาแสดง
แก่เจ้านาย ย่อมใช้ท่อนไม้ ไม้ค้อน เข่า กำปั้น ทำร้ายทุบตี
ขอถวายพระพร มหาบพิตร มารดาของเขาจะต้องได้รับการ
ฉุดคร่า การจับตัว การนำเข้าไปหาผู้เป็นนายด้วยหรือไม่?
พระเจ้ามิลินท์ : ไม่หรอก พระคุณเจ้า
พระนาคเสน : เพราะเหตุไรหรือ มหาบพิตร
พระเจ้ามิลินท์ : เพราะเป็นความผิดเฉพาะของตน (ไม่ใช่
ของมารดา)
พระนาคเสน : ขอถวายพระพร อุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉัน
นั้น พระปริตรโดยปกติคุ้มครองรักษาสัตว์ทั้งหลาย ย่อม
ทำความงดเว้นคือไม่คุ้มครองรักษา ก็เพราะเป็นความผิด
เฉพาะของบุคคลนั้นเอง (ไม่ใช่ความผิดของพระปริตร)
พระเจ้ามิลินท์ : ดีจริง พระคุณเจ้านาคเสน ท่านวินิจฉัย
ปัญหาได้ดีแล้ว เงื่อนปมเป็นอันท่านทำให้คลี่คลายได้แล้ว
ทำที่มืดให้สว่างได้แล้ว เปลื้องข่ายคือทิฐิได้แล้ว ท่านเป็นผู้ถึง
ความยอดเยี่ยมในคณะผู้ประเสริฐทั้งหลายแล
แสงธรรม 17 Saeng Dhamma
ขอเชิญร่วมจองเป็นเจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม
งานท าบุญธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคล ๙๕ ปี
พระราชมงคลรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท, หลวงตาชี)
ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม - ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓
ประธานอุปถัมภ์การจัดงาน
โดย สมาคมศิษย์เก่า มจร. กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. สมาคมไทยอีสาน กรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.
และคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาชี
เจ้าภาพถวายกัณฑ์เทศน์ วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น.
โดย คุณครุฑ - คุณสอางค์ สมบัติใหม่ และ นายแพทย์อรุณ - ดร.สุมนา สวนศิลป์พงศ์
รายนามเจ้าภาพถวายพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ รูปละ $๕๐๐
วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น.
๑. นายแพทย์บุญยง - คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา ๑๑. คุณพยุง - คุณจินตนา งามสอาด
๒. คุณครุฑ - คุณสอางค์ สมบัติใหม่ และครอบครัว ๑๒. คุณภาสินี Coxsey
๓. คุณปรีชา สุขสมอรรถ พร้อมครอบครัว ๑๓. คุณกฤช - คุณพรรณี เกษมพันธัย และครอบครัว
๔. ร้าน Thai Pepper สาขา ๑,๒,๓ (คุณวิรัตน์ สุขสมอรรถ) ๑๔. คุณสุชาติ สุขส าราญ
๕. คุณละมัย ชลานันต์ (เจ๊เนี๊ยะ นครสวรรค์) ๑๕. คุณอนงค์ สวนศิลป์พงศ์
๖. คุณปราณี เทพทาราคุณ ๑๖. คุณพรพรรณ - คุณสิทธิศักดิ์ ปรางข า
๗. คุณนิศากร พรายแสงเพชร ๑๗. คุณไตร - คุณเบญจา พรมแข้
๘. คุณศิริพร - Mr.Edward - Williams Gresser ๑๘. ................................................................
๙. ค าพอง ฟาร์ม จากยโสธร (คุณพนมรัตน์ มุขกัง) ๑๙. ................................................................
๑๐. คุณเพ็ญศิริ เครือประดิษฐ์ ๒๐. ................................................................
รายนามเจ้าภาพถวายพระสงฆ์รับทักษิณามาร่วมงาน ๒๐๐ รูปๆ ละ $๒๐๐
วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น.
๑. คุณมาลีนี วังศเมธีกูร (คุณเต้น) ๘. ............................................................ ๑๕. .......................................................................
๒. คุณบุญล้อม - คุณสุวลี บุตรรักษ์ ๙. คุณมาลี - คุณธนา บาลี ๑๖. .......................................................................
๓. คุณบุญลือ และครอบครัว ๑๐. ......................................................... ๑๗-๖๘. ..............................................................
๔. คุณอารีย์ - คุณโจแอนนา ศรีบูรธรรม ๑๑. ......................................................... ๖๙. คุณประยูร - Richard Hugg
๕. คุณปราณี - คุณณรงค์ชัย รุ่งเศรษฐี ๑๒. ......................................................... ๗๐-๘๗. ..............................................................
๖. คุณสรายุทธ ฤทธิ์ถาวร และครอบครัว ๑๓. ......................................................... ๘๘. Kiat Neo – Robin Ukrit
๗. คุณผ่องศรี เพ็นน์ ๑๔. ......................................................... ๘๙-๒๐๐. ...........................................................
ติดต่อร่วมเป็นเจ้าภาพได้ที่...คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. โทร.๓๐๑-๘๗๑-๘๖๖๐
แสงธรรม 18 Saeng Dhamma
แสงธรรม 19 Saeng Dhamma
๑๕ มี.ค.๖๓ ดร.สนธยา (ไก่) - คุณยุทธชาติ (กบ) พิชัยกุล พร้อมครอบครัว ญาติและเพื่อนๆ ทำบุญอุทิศให้คุณพ่อสมควร พิชัยกุล
แสงธรรม 20 Saeng Dhamma
รายนามผู้บริจาคออมบุญ ประจำปี ๒๕๖๓
คุณย่าฉวีวรรณ ปานานนท์ 150.00
คุณวันชัย - คุณนิพรรณ พริ้งประยูร 120.00
คุณชัยรัตน์-คุณจารุพันธ์-คุณชัชวาล ทรัพย์เกษม 100.00
Srintip and Peter Kowl 60.00
คณะอุบาสิการ่วมท ำบุญถวายสังฆทานอุทิศบุญกุศลให้บุพการี
คุณหมอวิกรม กรรณสกุล ทำบุญถวายภัตตาหารเพล
อุทิศบุญกุศลหนุนนำให้คุณแม่มีคว ามสุขในสัมปรายภพยิ่งๆ ขึ้นไป
รายนามเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้าประจำ
วันจันทร์ ที่ ๑ ของเดือน ร้าน THAI HOUSE RESTAURANT
วันจันทร์ ที่ ๒ ของเดือน คุณอุไร นามบุญมี และคณะ
วันจันทร์ ที่ ๓ ของเดือน คุณจิรา นาวินทรานนท์,คุณประวงศ์เปรมะวัต, คุณยุพิน สงวนทรัพย์,คุณติ๋ม-คุณบุญหลง-คุณนาริน-คุณเอมอร
วันจันทร์ ที่ ๔,๕ ของเดือน คุณจิรา นาวินทรานนท์, คุณวณี ฤทธิ์ถาวร, คุณวัชรี, คุณติ๋ม-คุณบุญหลง-คุณนาริน-คุณเอมอร
วันอังคารที่ ๑ ของเดือน คุณฉัวชิน พัวตระกูล / คุณเกศิณี ศรีบุญเรือง / คุณแชร์ / คุณจิตรา จันทร์แดง
วันอังคารที่ ๒ ของเดือน คุณแขก-คุณกระต่าย-คุณกระแต-คุณตี๋-คุณน้อย และคณะ
วันอังคารที่ ๓ ของเดือน คุณกุลชลี อนันต์สุขศรี - คุณแม่บะเกีย แซ่แต้ -คุณประพจน์-คุณศิริพร คุณวงศ์
วันอังคารที่ ๔ ของเดือน คุณอำพัน(ติ๋ม) เอี่ยมบำรุง / คุณจิตรา จันทร์แดง / ครอบครัวเอี่ยมเหล็ก / คุณแนนซี่ และคณะ
วันพุธ
คุณพยุง-คุณจินตนา งามสอาด, คุณวนิดา, คุณวรชัย-คุณครูแต็ก คุณอัน-คุณขวัญ ร้าน Thai Market พร้อมคณะ
วันพฤหัสบดี คุณยุพิน เลาหะพันธ์ ร้าน BANGKOK GARDEN, คุณวนิดา, คุณเหมียว, คุณบรรจง, คุณดวงพร
วันศุกร์
คุณป้านิด มาแตง ป้าน้อย Ruan Thai Rest. / คุณบรรจง-คุณวนิดา-คุณแอนนิต้า-คุณเล็ก-คุณครูเพชร
วันเสาร์ คุณมาลินี(เต้น) คุณลิลลี่, คุณธิติวัฒน์, คุณเชอรี่, คุณสุกานดา-คุณต้อย-คุณย้งค์-คุณหงษ์
คุณเกลี้ยง ชูเต - คุณสมบูรณ์ จรรยาทรัพย์กิจ - คุณปรียา องค์พัฒนาวุฒิคุณ - คุณอารีย์ - คุณคะแนน
วันอาทิตย์ คุณนก, คุณกุหลาบ, คุณชูนินทร์-Duwayne Engelhart, ครอบครัววิริยะ, ครอบครัวตั้งตรงวานิช
ครอบครัวสิทธิอ่วม, คุณนุกูล คุณบรรจง, คุณวาสนา น้อยวัน, คุณกษิมา, คุณหน่อย
หมายเหตุ: ขออนุโมทนาพิเศษแด่ คุณจิรา, คุณวนิดา, คุณเล็ก, คุณแต๋ว ป้านิด ป้าน้อย, คุณอุไร, คุณแสงทอง
คุณพนมรัตน์ มุขกัง-คุณหมุย และท่านอื่นๆ ที่มาทำอาหารถวายพระภิกษุสงฆ์ ในวันที่เจ้าภาพหลักมาถวายไม่ได้
แสงธรรม 21 Saeng Dhamma
SPECIAL THANKS
คณะสงฆ์และคณะกรรมการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ขออนุโมทนาบุญแด่สาธุชนทุกๆ ท่าน ที่มีจิตศรัทธาถวาย
ภัตตาหารเช้า-เพล บริจาคสิ่งของ เสียสละแรงกาย แรงใจ กำลังสติปัญญา และความสามารถเท่าที่โอกาสจะอำนวยมา
ช่วยเหลือกิจกรรมของวัดด้วยดีเสมอมา ทำให้วัดของเรามีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้ามาโดยลำดับ โดยเฉพาะท่านที่
มีส่วนร่วมในงานวันสำคัญต่างๆ ของทางวัด จึงขอประกาศอนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้
สามัคคีร่วมแรงแห่งศรัทธา สร้างวัดวาด้วยทุนบุญกุศล ชี้บอกวัดเจริญมากับชุมชน ด้วยแรงคนวัดได้พึ่งซึ้งน้ ำใจ
ขออนุโมทนาสาธุกับคณะจิตอาสา ลูกศิษย์วัดไทยฯ ดี.ซี. ร่วมแรงแข็งขันช่วยกิจกรรมต่างๆ ของวัดด้วยใจอิ่มบุญ
เจ้าภาพน้ำดื่มถังใหญ่ - ค่าไฟ ถวายประจำทุกเดือน
คุณแม่สงวน เกิดมี คุณจารุณี พิทโยทัย คุณชัยยุทธ-คุณยุพา สมเขาใหญ่
คุณทัฬห์ อัตวุฒิ คุณบุณณ์ภัสสร คุณศรสวรรค์ พงศ์วรินทร์ คุณแม่บัวไหล สมประสิทธิ์
น.พ. อรุณ คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์ คุณทองพูน คุณสุนันทา เฮนเซ้น
คุณบุญเลิง วิสีปัตย์ คุณยายรำไพ ราชพงษ์ คุณชูศรี กอร์ คุณจิตร์ ไวยะวงษ์
แสงธรรม 22 Saeng Dhamma
ขอเชิญทุกท่านร่วมนมัสการหลวงพ่อพุทธมงคลวิมลดีซี และหลวงพ่อด ำ
หลวงพ่อดำ (ประดิษฐานที่อาคารหลังใหม่)
You all are cordially invited to Wat Thai, D.C., Temple
to pay respect to or simply view the Black Buddha
on display in the New Building.
งดกิจกรรมปฏิบัติธรรมประจ ำเดือนเมษายน-พฤษภาคม
๑.
วิปัสสนา ฝึกจิต เพื่อความเบิกบาน...สดชื่น...ตื่น...รู้...สู่ความสมดุลแห่งชีวิต
สอนโดย.. พระมหาสุรตาล สิทฺธิผโล และคณะ
ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 -10.30 น. (วันใดวัดมีกิจกรรมทำบุญ เปลี่ยนเป็นวันเสาร์)
๒. ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม ทุกวันอาทิตย์ เริ่มเวลา ๗.๐๐ น.
๓. ธรรมสากัจฉา-สารธรรมจากพระไตรปิฎก ทุกวันเสาร์ เวลา 19.30 น.
๔. Meditation & Dharma Workshop at Wat Thai, D.C.
Ven. Dr. Thanat Inthisan, Arry Berrigan & Matt Reagan
Saturday / 9:00 a.m. - 12:00 p.m.
January 4, February 1, March 7, April 4, May 2, June 20, July 11,
August 1, September 5, October 3, November 7, December 19,
แสงธรรม 23 Saeng Dhamma
เสียงธรรม...จากวัดไทย
พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)
ชะยัง เวรัง ปะสะวะติ ทุกขัง เสติ ปะราชิโต
อุปะสันโต สุขัง เสติ หิตะวา ชะยะปะราชะยัง.
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ บุคคล
ละความชนะและความแพ้เสียแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
ได้ทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอาศัย
หมู่บ้านกาสิกคาม ทำการรบกับพระเจ้าอชาตศัตรู
ผู้อยู่ในฐานะเป็นพระเจ้าหลานเพราะเป็นพระโอรส
ของพระกนิษฐะภคินีของพระองค์เอง ในการรบ
กันนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงปราชัยพ่ายแพ้
พระเจ้าอชาตศัตรูถึง ๓ ครั้ง เป็นเหตุให้พระเจ้า
ปเสนทิโกศลทรงดำริว่า “เรารบเอาชนะเด็กปูน
หลาน ซึ่งปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมไม่ได้ เราจะ
มีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์อะไรกัน” เมื่อทรง
ดำริเช่นนั้น แล้วก็ทรงตัดขาดจากพระกระยาหาร
ทุกอย่าง เสด็จบรรทมอยู่บนพระแท่น ไม่ตรัสอะไร
ครั้งนั้น กระแสข่าวเรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศลลือ
กระฉ่อนไปทั่วพระนคร
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระศาสดาว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่าพระเจ้าปเสนทิ
โกศล ทรงอาศัยหมู่บ้านกาสิกคาม รบกับพระเจ้า
อชาตศัตรู ผู้เป็นพระเจ้าหลาน ทรงปราชัยแล้ว
ถึง ๓ ครั้ง” บัดนี้พระองค์ผู้ทรงปราชัยเสด็จกลับ
มาแล้ว ทรงตัดขาดจากพระกระยาหาร บรรทม
บนพระแท่น ด้วยทรงดำริว่า “เราไม่สามารถชนะ
เด็กอมมือ ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมได้ เราจะมีชีวิต
อยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์อะไร”
พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นแล้วตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้ชนะย่อมก่อเวร ฝ่ายผู้แพ้
ย่อมอยู่เป็นทุกข์เหมือนกัน” แล้วทรงย้ำว่า ผู้ชนะ
ย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้สงบระงับละ
ความชนะและความแพ้ได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
คำว่า “ชนะ” ได้แก่ทำให้เขาแพ้ ส่วนคำว่า
“แพ้” ได้แก่สู้ไม่ได้ทนไม่ได้ ตรงกันข้ามกับการ
ชนะ มนุษย์เรามีสัญชาตญาณชอบการชนะ ไม่
ชอบแพ้ เริ่มต้นแต่เกิดมายังไม่ประสีประสาอะไร
ต่อโลก เด็กก็ชอบเอาชนะแล้ว นี่คือสัญชาตญาณ
ของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน
ภาษาไหน ไม่มีใครชอบคำว่า “แพ้”
เราจะสังเกตเห็นเด็กๆทุกคนชอบเอาชนะ
ผู้ใหญ่ด้วยการร้องไห้ เช่นเด็กต้องการอะไรก็ร้อง
ห่มร้องไห้จะเอาให้ได้ ถ้าไม่ได้ก็ร้องไห้กลิ้งเกลือก
ไปมาทำกิริยาอาการปานประหนึ่งจะขาดใจ พ่อ-
แม่ พี่เลี้ยง ผู้ใหญ่ทนไม่ไหว ก็ต้องยอม แต่พอได้
ของที่ต้องใจเด็กก็หยุดร้องไห้ แล้วหัวเราะทั้งน้ำตา
ดีใจชอบใจที่เอาชนะได้ บางครั้งเด็กวิ่งไปชนอะไร
เข้า ทำท่าร้องไห้ แต่พอใครเอาอะไรไปตีที่ตรงเด็ก
ชนเข้า ทำทีเหมือนโกรธแทน เด็กแสนดีใจ กลับ
หัวเราะ เพราะเอาชนะได้ และมีอะไรอีกมากมาย
ที่เด็กทั้งหลายชอบเอาชนะผู้ใหญ่ด้วยการร้องไห้
ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในเหตุผล ตามใจเด็กทุกคนจน
เกินพอดี ก็อาจจะทำให้เด็กได้ใจ แล้วเสียนิสัย
กลายเป็นเด็กอ่อนแอในบั้นปลาย ดังนั้น เด็กจะ
เอาอะไร ผู้ใหญ่ควรพิจารณาให้ดี อย่าผลีผลาม
ตามใจเด็กจนเคยตัว จะเป็นการเพาะเชื้อที่ไม่ดีลง
ไปในนิสัยเด็ก พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ต้องระวังกันใน
เรื่องเช่นนี้ให้จงหนัก จักเป็นตัวอย่างที่ดีของบุตร
หลานในกาลต่อไป
พูดถึงการชนะ ทุกคนก็ต้องการชนะด้วยกัน
ทั้งนั้น ไม่ว่าจะทำอะไร การทำศึกสงคราม การ
ต่อสู้ การแข่งขัน การพนัน การเล่นกีฬาทุกประเภท
แสงธรรม 24 Saeng Dhamma
ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกทีม ที่ลงสนามแข่งขัน เข้าสู่
สมรภูมิ สนามรบ สนามต่อสู้ ต่างก็หวังชัยชนะ
ด้วยกันทุกฝ่าย ไม่มีฝ่ายไหนอยากจะแพ้ เพราะ
ว่าการชนะแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถ ได้รับ
เกียรติยศชื่อเสียงรางวัล สังคมก็ยกย่องสรรเสริญ
นำความภาคภูมิใจมาสู่ตนเอง ตระกูลญาติพี่น้อง
พวกพ้องบริวาร ตลอดถึงประเทศชาติ ตรงกันข้าม
กับการแพ้ เพราะการแพ้แสดงถึงความอ่อนแอ
ไม่มีความสามารถ ขาดฝีมือเสียชื่อเสียงเกียรติยศ
ลดราคาตนเอง และการแพ้นำความเสียใจความ
เศร้าใจมาให้สมกับคำว่า “ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์”
การแพ้และการชนะ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นการ
แพ้และการชนะตามทัศนะของชาวโลกที่นิยมกัน
อยู่ในวงการสังคมทั่วๆ ไป การชนะตามแบบ
ของชาวโลกนี้ เป็นการชนะที่เป็นไปในลักษณะ
แห่งการก่อเวรก่อภัย ตามนัยที่พระพุทธองค์ตรัส
ว่า “ผู้ชนะย่อมก่อเวร” หมายความว่าผู้ชนะคน
อื่น กลับได้รับการก่อเวร คือผู้แพ้ย่อมผูกอาฆาต
พยาบาทจองเวรกับผู้ชนะ ผู้ชนะแบบชาวโลกนี้
แทนที่จะปลอดเวรปลอดภัยในที่ทุกสถานและกาล
ทุกเมื่อ กลับถูกผู้แพ้คอยจองเวร เพื่อหาโอกาส
เวลาช่องทางจังหวะเอาชนะกลับคืนให้ได้โดยวิธีใด
วิธีหนึ่ง เข้าหลักไม่ชนะด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล
ไม่ชนะด้วยมนต์ก็ต้องเอาด้วยคาถา เราจะสังเกต
เห็นว่าการชนะตามทัศนะของชาวโลกทั่วๆ ไปนี้
ส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในลักษณะผลัดกันแพ้ผลัด
กันชนะ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ผู้ชนะ
ย่อมก่อเวร” คือต้องต่อสู้แข่งขันกันไม่มีวันสิ้นสุด
แบบคนมีเวรกับคนมีเวร
แก่กันฉะนั้น
แสงธรรม 25 Saeng Dhamma
กระทำความย่อยยับให้
“ผู้ชนะย่อมก่อเวร”นี้ พระพุทธองค์ทรงยกเอา
กรณีของพระเจ้าอชาตศัตรูรบชนะพระเจ้าปเสนทิ
โกศลเป็นตัวอย่าง ในระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศล
กับพระเจ้าอชาตศัตรูต้องก่อเวรแก่กันและกัน คือ
ข้างฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ย่อมปฏิบัติการ
จองเวรต่อพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อหาโอกาสเวลา
ช่องทางในการรบกันต่อไปด้วยหวังชัยชนะมาเป็น
ของฝ่ายตน เรื่องทำนองนี้มีตัวอย่างให้เห็นอยู่
ทั่วไปในสังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย นอกจากกรณี
การรบกัน กระทำสงครามกันแล้ว ก็ยังมีกรณีการ
ทำลายล้างผลาญกัน ในระหว่างบุคคลต่อบุคคล
ระหว่างกลุ่มต่อกลุ่ม แก๊งต่อแก๊ง ระหว่างพวกต่อ
พวก และระหว่างลัทธิ-นิกายอีกมากมาย ฆ่าล้าง
โคตร ฆ่าล้างครัว ฆ่าล้างลัทธิ-นิกาย ตายกันเป็น
ผักเป็นปลา สาเหตุก็มาจากผู้ชนะย่อมก่อเวรนั้น
เอง นี่แหละการชนะแบบชาวโลกนี้ จึงเป็นการ
ชนะที่ไม่แน่นอน ชนะแล้วอาจกลับแพ้ก็ได้ ไม่มี
อะไรเป็นหลักประกัน แถมผลักดันให้เกิดการจอง
เวรกันอีก ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึง
ทรงเตือนว่า “ผู้ชนะย่อมก่อเวร”
ส่วนผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ แน่นอน
ผู้แพ้ทุกรายไม่ว่าจะแพ้ในกรณีใดๆ
ย่อมทำให้ผู้แพ้เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น
ตัวอย่างนี้ พระพุทธองค์ทรงยกเอากรณี
ของพระเจ้าปเสนทิโกศลรบกับพระเจ้า
อชาตศัตรู พระเจ้าปเสนทิโกศลปราชัย
พ่ายแพ้ย่อยยับ กลับทำให้พระเจ้า
ปเสนทิโกศลอยู่เป็นทุกข์ ขนาดตัดขาด
จากพระกระยาหาร บรรทมอยู่บนพระแท่น แบบ
หมดอาลัยใยดีในชีวิต คิดว่าตายเสียดีกว่าที่จะมี
ชีวิตอยู่ต่อไปเพราะไม่มีประโยชน์อะไร อะไรๆ ก็
ไม่ทุกข์เท่ากับมาแพ้เด็กอมมือชั้นหลาน เป็นการ
เสียศักดิ์ศรีของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งแคว้นโกศล
มาเสียกลเด็กอมมือ ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ข้อนี้
แหละ ทำให้จอมคนแห่งแคว้นโกศลเป็นทุกข์หนัก
แทบจักสิ้นพระชนม์บนพระแท่นทีเดียว นี่แหละ
พิษสงของการแพ้ มันทำให้คนแพ้อยู่เป็นทุกข์เช่นนี้
“ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์” แน่นอนผู้แพ้ย่อมอยู่
เป็นทุกข์ เพราะว่าการแพ้ แสดงถึงความอ่อนแอ
ไม่มีความสามารถเป็นคนขาดฝีมือ เสียชื่อเสียง
เกียรติยศลดราคาตนเอง การแพ้นำแต่ความเสียใจ
ความเศร้าใจมาให้ ไม่ว่าการแพ้อะไร ทำให้คนแพ้
เป็นทุกข์ทั้งนั้น แพ้การรบ แพ้การพนัน แพ้ความ
แพ้คดี เหล่านี้เป็นต้น ล้วนแต่นำความเสียใจ
ความเศร้าใจ ความทุกข์ใจมาให้คนแพ้ทั้งนั้น บาง
รายมากรายก็หนีกันหัวซุกหัวซุน พลัดบ้านเกิด
เมืองมารดร อพยพหลบหนีพลัดพี่พลัดน้อง พลัด
ผัวพลัดเมีย พลัดพ่อพลัดแม่ พลัดลูกพลัดหลาน
เพราะการแพ้ทำให้อับอาย บางรายถึงกับฆ่าตัว
ตายให้รู้แล้วรู้รอดไป เพราะอยู่ไปก็ไร้ค่าปราศจาก
ความหมาย ตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ให้ศัตรูมัน
เหยียดหยาม เรื่องทำนองนี้มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยเฉพาะในวงการเมืองที่
แย่งชิงอำนาจกันเป็นใหญ่ พวกที่แพ้ก็แย่ไปตามๆ
กัน ถูกยิงเป้า ถูกเข้าตะรางนอนครางเป็นทุกข์กัน
ปางตาย ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ผู้แพ้
ย่อมอยู่เป็นทุกข์”
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มันเป็นเรื่องการแพ้แบบ
ชาวโลกทั่วๆ ไป คือการแพ้คู่ต่อสู้ อันเป็นศัตรู
หรือคู่ต่อสู้ภายนอก แต่ถึงกระนั้น มันก็ทำให้คน
แพ้เป็นทุกข์ปางตาย ทุกข์เกือบตาย ทุกข์แทบ
ตาย หรือตายไปเลยก็มี ต่อไปนี้จะขอพูดถึงการ
แพ้แบบทางธรรมหรือการแพ้ภายใน อันได้แก่
การปราชัยพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหาอารมณ์ฝ่ายต่ำ
ภายในจิตใจของตนเอง ตามทัศนะทางพุทธศาสนา
เห็นว่าการแพ้ภายนอกหรือการแพ้แบบชาวโลก
นั้น มันไม่สำคัญอะไร การแพ้ภายในหรือการแพ้
ต่อกิเลสตัณหาภายในจิตใจนั้น มันมีความสำคัญ
มากกว่า เพราะการแพ้ต่อกิเลสตัณหา มันนำพา
ให้คนทำความชั่วนานาสารพัด จัดเป็นความทุกข์
ที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่มีวันสิ้น
สุด มนุษย์ที่แพ้ต่อกิเลสประเภทต่างๆ เช่น ความ
แสงธรรม 26 Saeng Dhamma
โลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น ย่อมทน
ทุกข์ทรมานยิ่งกว่าการแพ้คู่ต่อสู้ภายนอกมากนัก
จักประมาณมิได้
ตัวอย่างที่พ่ายแพ้ต่อความโลภ ก็เป็นเหตุให้
ทำความชั่วเพราะความอยาก ได้มากเท่าไรก็ไม่พอ
คอรัปชั่น คดโกง ทุจริต ปล้นสะดม ฆ่าเจ้าเอา
ของ ตีชิงวิ่งราว ทำทุกอย่างในทางที่ผิดกฎหมาย
และศีลธรรม พอถูกเจ้าหน้าที่จับได้ไล่ทัน ก็ไปนอน
ทุกข์กันอยู่ในคุกในตะราง ปราศจากอิสระเสรีทุก
สิ่งทุกอย่าง ต่างจากความเป็นอยู่ในบ้านในเรือน
ของตน ต้องทนทุกข์ทรมาน การจะอยู่ จะกิน จะ
หลับ จะนอน จะทำอะไร ก็ไม่มีอิสระ นี่ละผู้แพ้
ต่อความโลภ ความอยาก มันลากให้คนแพ้เข้าไป
ใช้กรรมอยู่ในที่คุมขัง อันเป็นดังเมืองนรกอเวจี จำ
กันไว้ให้ดี อย่าให้ผีคือความโลภ มันครอบงำจิตใจ
ต่อไปอย่าลุอำนาจแก่ความโลภ ความอยาก ถ้า
หากต้องการความเป็นอยู่แบบมีความสุขและความ
ปลอดภัย ก็ให้เอาชนะความโลภด้วยการให้ทาน
เป็นการประหารความเห็นแก่ตัวให้หมดไป
บุคคลผู้พ่ายแพ้ต่อความโกรธ ยิ่งมีโทษ มีทุกข์
เหลือที่จะพรรณนา พระบรมศาสดาตรัสว่า
โกโธ สัตถะมะลัง โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
ความโกรธ หมายถึงความเดือดดาล งุ่นง่าน
หงุดหงิด ชนิดกระสับกระส่าย เลือดขึ้นหน้า ตา
เขียว ตัวสั่น กำหมัดกัดฟัน กล้ามเนื้อทุกส่วนเกร็ง
ระบบการหายใจและชีพจรทำงานเร็วผิดปกติ นี่
คือลักษณะของความโกรธ พอโกรธหนักๆ เข้าอด
กลั้นไม่ไหว ก็แสดงออกมาทางกาย มีทำร้าย ชก
ต่อย ตีรันฟันแทง ประหัตประหาร ล้างผลาญ
กันด้วยอาวุธ ในที่สุดก็ต้องได้รับผลกรรมที่ตน
ทำไว้ด้วยความโกรธ ต้องโทษอยู่ในที่คุมขัง ถูก
พันธนาการเครื่องจองจำ โซ่ตรวนทนทุกข์ทรมาน
ปานประหนึ่งตกนรกทั้งเป็น บุคคลผู้พ่ายแพ้ต่อ
ความโกรธ ย่อมได้รับทุกข์โทษต่างๆ นานา กิน
ไม่ได้ นอนไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์เผาไหม้
จิตใจตลอดเวลา แม้ว่าจะมีอำนาจวาสนายศถา
บรรดาศักดิ์ เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี มีปราสาทอัน
โอ่อ่าราคาหลายสิบล้าน แต่เพราะการตกเป็นทาส
ของความโกรธ จึงได้รับทุกข์โทษทรมานเห็นปาน
นั้น นี่แหละคือผลของการปราชัยพ่ายแพ้ต่อความ
โกรธ ยกมาพอให้เห็นเป็นตัวอย่าง
การพ่ายแพ้ต่อกิเลสประเภทอื่นๆ ก็ทำให้ผู้
แพ้อยู่เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน การที่มนุษย์เราพา
กันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร นับภพนับ
ชาติไม่ถ้วนเช่นนี้ ก็เพราะมนุษย์เป็นผู้แพ้ต่อกิเลส
ประเภทอวิชชาตัณหานั้นเอง เมื่อปราชัยพ่ายแพ้
ต่ออวิชชาตัณหา ก็ตกเป็นเชลยให้อวิชชาตัณหา
นำพาให้เป็นทุกข์ในวัฏสงสารอีกต่อไป ตราบใดที่
มนุษย์ยังเอาชนะอวิชชาตัณหาไม่ได้ ตราบนั้นก็ยัง
จะต้องเป็นทุกข์ในฐานะผู้แพ้ต่อไป
ประเด็นต่อไป จะขอพูดถึงการชนะตามทัศนะ
ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเรียกว่า “พุทธวิธี” การชนะ
ตามทัศนะของ “พุทธวิธี” นี้ ไม่เป็นเหตุให้ก่อเวร
ก่อภัย ตามนัยพระดำรัสที่ว่า“ผู้ชนะย่อมก่อเวร”
แต่เป็นการชนะที่ไม่มีเวรไม่มีภัย นำไปสู่ความสงบ
แสงธรรม 27 Saeng Dhamma
สุข การชนะตามทัศนะพุทธวิธีนี้ พระพุทธองค์ทรง
สอนให้ชนะตนเอง
อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย
ชนะตนนั่นแหละเป็นการดี
การชนะตนเองนั้นก็ได้แก่การชนะความชั่ว
กิเลสตัณหาอารมณ์ฝ่ายต่ำ ที่ครอบงำจิตใจตนเอง
ให้หมดไป บรรดากิเลสตัณหาทั้งหลาย เช่น
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทิฐิมานะ อิจฉา
ริษยา ความนินทาว่าร้าย กิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลาย
ทั้งปวงต้องชนะมันไปทีละน้อยๆ อย่าปล่อยให้มัน
เผาไหม้จิตใจ ข้าศึกที่ร้ายที่สุดที่เราควรเอาชนะ
เป็นอันดับแรกก็คือความชั่วกิเลสตัณหาภายใน
จิตใจนั้นเอง ตราบใดที่เรายังเอาชนะความชั่วกิเลส
ตัณหาภายในจิตใจไม่ได้ เราก็ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้
แพ้ตลอดกาล ผู้ชนะความชั่วกิเลสตัณหาภายใน
จิตใจของตนเองได้ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะชั้นยอดเยี่ยม
หรือเป็นยอดของนักรบ
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์คนหนึ่ง เป็นคน
ยากจนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งกับภรรยา มี
ผ้าห่มอยู่เพียงผืนเดียวผลัดกันห่ม ภรรยาห่มไป
ฟังธรรมในเวลากลางวัน พราหมณ์ห่มไปฟังธรรม
ในเวลากลางคืน คืนวันหนึ่งพราหมณ์ฟังธรรม
เทศนาของพระศาสดา เกิดศรัทธาความเชื่อและ
ปสาทะความเลื่อมใส ตั้งใจจะเปลื้องผ้าห่มผืนนั้น
ออกบูชาธรรม แต่ว่าความตระหนี่ก็เข้าครอบงำจิต
ไม่อาจจะถวายได้ ฝ่ายโลภะจิตกับศรัทธาจิตต่อสู้
กัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะตั้งแต่ยามต้นจนถึงยาม
ที่สุด พอถึงยามที่สุด จิตฝ่ายศรัทธามีกำลังแก่กล้า
สามารถเอาชนะจิตฝ่ายโลภะความตระหนี่เห็นแก่
ตัวเปลื้องผ้าห่มออกบูชาธรรมได้ แล้วเปล่งอุทาน
ด้วยเสียงอันดังว่า “ชิตัง เม ชิตัง เม เราชนะ
แล้ว เราชนะแล้ว”
เวลานั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จประทับ
ทรงธรรมอยู่ในที่นั้นด้วย พระองค์ทรงทราบว่า
พราหมณ์ชนะความตระหนี่ของตนได้ แล้วถวาย
ผ้าห่มบูชาธรรม ทรงเลื่อมใสในพราหมณ์คนนั้น
จึงทรงพระราชทานโภคทรัพย์เป็นจำนวนมาก
แก่พราหมณ์นั้น ภิกษุทั้งหลายได้ประชุมกัน
สรรเสริญจูเฬกสาฎกพราหมณ์ พระศาสดาจึงตรัส
ว่า “ถ้าพราหมณ์ได้บูชาแต่ยามต้นๆ ผลในการ
ได้โภคทรัพย์จะมากกว่านั้น” นี่คือตัวอย่างเรื่อง
หนึ่ง ซึ่งบุคคลชนะความโลภ ความตระหนี่ ความ
เห็นแก่ ตัวภายในจิตใจตนเอง การชนะแบบนี้มีแต่
ความดี ไม่มีเวรไม่มีภัยแต่ประการใด
การชนะตามทัศนะของพระพุทธเจ้า พระพุทธ
องค์ทรงสอนใช้ชนะด้วยวิธีดังนี้คือ
อักโกเธนะ ชิเน โกธัง อะสาธุง สาธุนา ชิเน
ชิเน กะทะริยัง ทาเนนะ สัจเจนาลิกะวาทินัง.
จงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ จงชนะ
ความชั่วด้วยความดี จงชนะความตระหนี่ด้วย
การให้ จงชนะความเหลวไหลด้วยความจริง
การชนะตามทัศนะของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียก
ว่าการชนะตาม “พุทธวิธี” นี้ ในสายตาของชาว
บ้านทั่วๆ ไปแล้ว เห็นว่ามันเป็นไปไม่ได้ เพราะ
ว่าการที่คนอื่นเขาโกรธเรา ด่าเรา ดูถูกเหยียด
หยามเราเราจะนิ่งเฉยอยู่โดยที่ไม่โต้ตอบอะไรนั้น
แสงธรรม 28 Saeng Dhamma
มันเป็นการเสียเปรียบ เสื่อมศักดิ์ศรีเป็นคนอ่อนแอ
เรียกว่าเป็นผู้แพ้ นี้คือความรู้สึกของชาวบ้านทั่วไป
ชาวบ้านถือหลักว่า เขาโกรธเรา เราต้องโกรธตอบ
เขาด่ามา เราต้องด่าไป เขาแยกเขี้ยว เราต้องแยก
ฟัน ฟัดกันจนกว่าจะหมดลมไปข้างหนึ่ง ชาวบ้าน
ถือกันว่าการที่เราโต้ตอบเขานั้น คือการได้เปรียบ
มีศักดิ์ศรี บางคนถือว่าถ้าได้ด่าใครให้เจ็บแสบ
เข้าไปถึงทรวงแล้ว มันรู้สึกโล่งอกสบายใจ เป็นงั้น
ไป... นี่คือวิธีของชาวบ้าน
ส่วนพุทธวิธีหรือวิธีทางธรรมนั้น การที่เราไม่
โกรธตอบ ไม่ด่าตอบ และไม่อะไรๆ ตอบ ปล่อย
ให้เขาเล่นบทยักษ์บทมารอยู่คนเดียวนั่นแหละ
เดี๋ยวก็เมื่อยขากรรไกรลมจับพับฐานไปเอง การ
ที่เราไม่โกรธตอบนั่นแหละ ถือว่าเป็นการชนะ
คือชนะความโกรธในใจของตนเอง ไม่ปล่อยให้
ความโกรธแสดงฤทธิ์ออกมา ระงับยับยั้ง อดกลั้น
ความโกรธไว้ได้ การที่เราจะดับความโกรธของอีก
ฝ่ายหนึ่งได้ เราจะต้องเป็นคนไม่มีความโกรธ คือ
ดับความโกรธ ชนะความโกรธของตนเองเสียก่อน
ถ้าโกรธต่อโกรธแล้วจะดับความโกรธได้อย่างไร
เหมือนเราจะดับไฟ แต่ใช้น้ำมันเทราดลงไปบนกอง
ไฟ ไฟมันก็ยังลุกลามไปใหญ่ อาจไหม้เผาบ้านเมือง
ก็ได้ คนฉลาดเขาจึงดับไฟด้วยการใช้น้ำเย็น นี่คือ
การชนะตามแบบ “พุทธวิธี” เป็นการชนะที่ไม่ก่อ
เวรก่อภัยให้แก่ตนเองและบุคคลอื่นโปรดจดจำนำ
เอาการชนะตามแบบ “พุทธวิธี” ไปใช้กันเถิด จะ
เกิดผลคือความสงบสุขทุกประการพระพุทธองค์
ทรงแนะว่า
จงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
จงชนะความชั่ว ด้วยความดี
จงชนะความตระหนี่ ด้วยการให้
จงชนะความเหลวไหล ด้วยความจริง
ถ้าเราจะชนะความโกรธของคนอื่น ก็ต้อง
ชนะความโกรธ ภายในจิตใจของเราให้ได้เสีย
ก่อน เมื่อเราไม่มีความโกรธแล้ว ก็ใช้ความไม่โกรธ
ของเรานั่นแหละ ไปดับความโกรธของคนอื่น เช่น
พระพุทธเจ้าดับความโกรธของพราหมณ์คนหนึ่งซึ่ง
โกรธพระองค์เป็นฟืนเป็นไฟ แต่พระองค์ไม่โกรธ
ตอบ เพราะพระองค์ไม่มีความโกรธ ในที่สุดความ
โกรธของพราหมณ์ไม่ได้เชื้อ ก็อ่อนกำลังลงแล้วดับ
ไปเอง
การชนะความชั่ว ก็ต้องใช้ความดีเป็นเครื่องมือ
คือเราจะต้องชนะความชั่ว ความไม่ดีในจิตใจของ
เราให้ได้เสียก่อน เมื่อความดีของเรามีกำลังแก่กล้า
ก็สามารถดับความชั่วทั้งหลายที่เกิดขึ้นทางกาย
แสงธรรม 29 Saeng Dhamma
วาจา และทางใจ ให้หายไปเป็นอัตโนมัติ ถ้าจะ
กำจัดความตระหนี่ขี้เหนียว การดูกขัดมัน ก็ต้อง
ชนะกันด้วยการให้ คือทำใจของเราให้ปราศจาก
ความตระหนี่เห็นแก่ตัว แล้วความชั่วประเภทขี้
ตระหนี่ มันก็จะหนีไปเอง โดยไม่ต้องสงสัย ถ้า
จะชนะความเหลวไหล
ก็ต้องฝึกใจของเราให้
มีความซื่อสัตย์แล้วก็
สามารถกำจัดความ
เหลาะแหละเหลวไหลให้
หายไปได้อย่างปาฏิหาริย์
การชนะความชั่ว
กิเลสตัณหาอารมณ์ฝ่าย
ต่ำ อันฝังแน่นอยู่ภายใน
จิตใจนั่นแหละ ได้ชื่อว่า
เป็นผู้อยู่เหนือความชนะและความแพ้ ตามแบบ
ของชาวโลก เพราะว่าถ้าชนะความชั่วกิเลสตัณหา
อารมณ์ฝ่ายต่ำได้แล้ว จิตใจก็เป็นอิสระ มีแต่ความ
สงบ ความสะอาด ความสว่าง เป็นบุคคลผู้สงบ
ระงับ ดับความชนะและความแพ้ตามความนิยม
ของชาวโลกเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุขในที่ทุกสถาน
และในการทุกเมื่อแล
เขาจะโกรธ ช่างเขา เราไม่โกรธ
เขาก่อโทษ เราสร้างคุณ บุญนักหนา
เขาใจแคบ เราใจกว้าง สร้างศรัทธา
เขามุสา เราพูดจริง อิงตำรา
แสงธรรม 30 Saeng Dhamma
๗ มี.ค.๖๓ กลุ่มพลังบุญและเพื่อนๆ นิมนต์พระสงฆ์ ๓ รูป ทำบุญวันเกิดคุณนิศากร พลายแสงเพชร (แมว) ที่บ้าน
๗ มี.ค.๖๓ นพ.สุวัฒน์ ศิลปสุวรรณ ทำบุญครบรอบ ๕๐ วัน อุทิศส่วนกุศลให้คุณแม่เย็น แซ่ภู่
แสงธรรม 31 Saeng Dhamma
๘ มี.ค.๖๓ สมาคมไทยอีสาน กรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. จัดพิธีแสดงมุทิตาจิตนายแพทย์อรุณ - คุณสุมนา สวนศิลป์พงศ์ ในโอกาสที่ได้รับ
พระราชทานเสาเสมาธรรมจักร และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและได้รับรางวัลต่างๆ
๙ มี.ค.๖๓ คุณวรกมล เหล่าเรืองรอง (น้องเจน) ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คุณแม่ประภาพร จรรยาทรัพย์กิจ ซึ่งเสียชีวิตที่เมืองไทย
แสงธรรม 32 Saeng Dhamma
เสียงธรรม... จากหลวงตาชี
ครูสี - หลวงตาสอน
ศีล
สีลัง เสตุ มะเหสักโข สีลัง คันโธ อะนุตตะโร
สีลัง วิเลปะนัง เสฏฐัง เยนะ วาติ ทิโส ทิสัง.
ศีลเป็นสะพานอันสำคัญ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มี
กลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด
เพราะว่าศีลขจรไปได้ทั่วทุกสารทิศ
ครูสีท่องจำธรรมสุภาษิตบทนี้ ได้อย่าง
คล่องแคล่วแม่นยำและขึ้นใจ แต่ไม่เข้าใจความ
หมายที่แท้จริงของธรรมภาษิตบทนี้ ต่อมาวันหนึ่ง
ครูสีจึงถือโอกาสไปกราบหลวงตาที่วัด แล้วกราบ
เรียนถามเนื้อความของธรรมภาษิตบทนี้กับท่านว่า
ครูสี: หลวงตาครับ! ผมเองมีความสนใจในเรื่อง
ศีลตามที่หลางตาได้กรุณาอธิบายความหมายในแง่
มุมต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องของศีลมามากพอสมควร
ส่วนไหนที่หลวงตาได้อธิบายมาแล้วผมก็เข้าใจดี แต่
ส่วนไหนที่หลวงตายังไม่ได้อธิบายเหตุผล ผมก็จน
ปัญญาหูตามืดสนิท คิดอะไรไม่ออกในส่วนนั้น ดัง
เช่นข้อความตามธรรมภาษิตข้างต้นที่ว่า “ศีลเป็น
สะพานอันสำคัญ, ศีลเป็นกลิ่นไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า,
ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ เพราะศีลขจรไป
ได้ทั่วทุกสารทิศ” ดังนี้ หมายความว่าอย่างไร ขอ
นิมนต์หลวงตากรุณาโปรดผมด้วยครับ หลวงตา
หลวงตา: ครูสี! หลวงตาอุตส่าห์อธิบายเรื่อง
ศีลมาแล้วเกือบทุกแง่ทุกมุม พร้อมทั ้งอรรถะและ
พยัญชนะ ทั้งเทศนาโวหาร พรรณนาโวหาร และ
สาธกโวหาร เพื่อต้องการให้ครูสี มีความรู้ความ
เข้าใจในเรื่องศีล ครูสียังไม่เข้าใจอีกหรือ หรือว่า
แกล้งทำเป็นสงสัย เพื่อหลอกให้หลวงตาฝ่าเข้าไป
ติดกับของครูสี แล้วขยี้หลวงตาให้เสียเชิงครู รู้แล้ว
ทำเป็นไม่รู้ เพื่อลองดูว่าจะมีปัญญาจริงไหม ใช่หรือ
เปล่าครูสี...?
ครูสี: พิโธ่ หลวงตา! ผมจะกล้าทำบาปทำกรรม
เช่นนั้นได้อย่างไร ถึงแม้ผมจะเป็นคนอ่อนปัญญา
แต่ทว่าผมก็ยังมีมโนธรรมสำนึกในบาปบุญคุณโทษ
ครับผมหลวงตา ผมไม่กล้าเอาศักดิ์ศรีของอดีตครู
มาลบหลู่พระคุณของหลวงตาเช่นนั้นหรอกครับ ผม
ไม่รู้ไม่เข้าใจจริงๆ ครับหลวงตา กรุณาเถิดว่า ศีล
เป็นสะพานอันสำคัญได้อย่างไร
หลวงตา: เอาละ! เป็นอันว่าครูสีไม่รู้ไม่เข้าใจ
ในความหมายของธรรมภาษิตบทนี้จริงๆ ตามที่
กล่าวมา หลวงตาก็จะอธิบายให้หายข้อข้องใจต่อไป
ตั้งใจฟังให้ดีเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการฟัง การฟัง
ต้องตั้งใจจึงจะได้ความรู้ความเข้าใจ ถ้าไม่ตั้งใจ ฟัง
ไปก็ไม่ได้อะไร คือมันเข้าหูซ้ายออกหูขวา ปัญญา
ไม่เกิด ต้องฟังด้วยดีจึงจะมีปัญญา เวลาฟังเทศน์
ฟังธรรมหรือฟังอะไรก็ตาม ต้องตั้งใจฟัง ไม่ใช่ตั้งหู
หูไม่ต้องตั้ง มันตั้งของมันอยู่แล้ว ต้องตั้งใจให้เป็น
ภาชนะทองรองรับปัญญาความรู้ความเข้าใจ ครูสี
ไม่เข้าใจข้อที่ว่า “ศีลเป็นสะพานอันสำคัญใช่ไหม
ละ...”
ครูสี: ครับผม หลวงตา! ผมไม่เข้าใจในเรื่องนี้
คือในเรื่องศีลเป็นสะพาน ศีลก็ต้องเป็นศีล ศีลจะ
เป็นสะพานได้อย่างไร หลวงตาครับ
หลวงตา: ไม่น่าเลย ครูสี! ครูสีไม่น่าจะเป็น
คนประเภท “เถรตรง” เช่นนี้เลย แล้วครูสีเข้าใจ
คำว่า “ศีล” ได้ดีไหมละ?
ครูสี: แน่นอนครับ หลวงตา! ผมเข้าใจในเรื่อง
ของศีลได้ดี ตามที่หลวงตาได้อธิบายให้ผมฟังมาแล้ว
แสงธรรม 33 Saeng Dhamma
คือ ศีลนั้น ได้แก่การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
พฤติกรรมทางกาย ไม่เป็นโทษแก่ใครๆ พฤติกรรม
ทางวาจาไม่เป็นภัยแก่ผู้อื่น หมายความว่า ไม่
ทำความชั่วทางกาย และไม่พูดชั่วทางวาจา เรียก
ว่าเป็นคนมีศีลเช่นนี้ ใช่ไหมละครับ หลวงตา
หลวงตา: ถูกแล้ว ครูสี! ครูสีเข้าใจความหมาย
ของศีลถูกต้องแล้ว ทีนี้ครูสีเข้าใจคำว่า “สะพาน”
ไหมละ สะพานหมายถึงอะไร มีประโยชน์อย่างไร
ไหนลองบอกมาให้หลวงตาฟังหน่อยซิ...
ค รู สี :
สะพานหรือ
ครับ หลวงตา
หวานหมู...
ผมรู้มาก่อน
เกิดเสียอีก
สะพานก็ได้
แก่สิ่งที่ทำ
ขึ้นมาสำหรับ
ข้ามแม่น้ำ
ลำคลอง ข้าม
ห้วย ข้ามเหว หรือบางทีก็ทำยื่นออกไปในแม่น้ำ
หรือทะเล สำหรับขึ้นลง โดยปริยายหรือโดยอ้อม
ก็ใช้เรียกที่ต่อเชื่อมถึงกัน เช่น สะพานเรือ สะพาน
ไฟฟ้า เป็นต้น ผลประโยชน์ของสะพานมีมากมาย
เหลือที่จะพรรณนา นี่คือความหมายของคำว่า
“สะพาน” ตามพจนานุกรมไทยครับหลวงตา.
หลวงตา: ครูสีนี้ ก็เป็นนักค้นคว้าคนหนึ่ง
เหมือนกัน ดีแล้วไม่เสียทีที่เป็นครูกับเขาคนหนึ่ง
พึงรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นครูไว้ให้ดี ที่นี้เมื่อ
ครูสีเข้าใจในเรื่องของศีล และเรื่องของสะพานได้
ดีแล้ว ก็ง่ายที่จะเข้าใจความหมายของคำว่า “ศีล
เป็นสะพาน” ได้อย่างไร
สะพาน ได้แก่สิ่งที่อำนวยความสะดวกให้แก่คน
เราในการเดินทางสัญจรไปมาเพื่อธุรกิจต่างๆ ทำให้
การเดินทางสะดวกสบายคล่องตัว และรวดเร็วต่อ
การประกอบกิจการต่างๆ ทั้งในทางส่วนตัวและใน
ทางส่วนรวม การข้ามแม่น้ำลำคลอง ห้วยหนอง
คลองบึง หุบเหวอันลึกชัน ถ้าไม่มีสะพานก็เป็นการ
ลำบากยากต่อการสัญจรไปมา ทำให้การเดินทาง
ชักช้าเสียเวลาในการทำธุรกิจทั้งในทางส่วนตัวและ
ส่วนรวม เมื่อมีสะพานก็เป็นการอำนวยประโยชน์
อันยิ่งใหญ่ไพศาลแก่บรรดามนุษย์ทั้งหลายในโลก
ทำให้การคมนาคมสะดวกสบาย ง่ายต่อการติดต่อ
กันของสังคมมนุษย์ในทุกๆด้าน ดังนั ้น สะพาน
จึงเป็นสิ่งสำคัญในอันที่จะอำนวยช่วยให้เกิดความ
สำเร็จในการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
ของคนเราประการหนึ่ง
นอกจากสะพาน จะใช้ในการข้ามแม่น้ำ ลำคลอง
ข้ามห้วยข้ามเหวเป็นต้นแล้ว สะพานก็ยังใช้เรียกสิ่ง
ที่เชื่อมต่อถึงกันในระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นอีกด้วย
เพื่อช่วยให้สิ่งนั้นๆ อำนวยประโยชน์และความ
สะดวกแก่คนเรา เช่น สะพานเชื่อมต่อกันระหว่าง
ท่าน้ำกับลำเรือ เพื่อให้คนเดินไปขึ้นเรือลงเรือได้
สะดวกสบาย หรือสะพานไฟฟ้า ก็ทำให้กระแสไฟ
วิ่งไปตามสายใช้ประโยชน์ได้นานาประการ นี่แหละ
ครูสี คือประโยชน์ของสะพาน มันมีมากมายหลาย
แสงธรรม 34 Saeng Dhamma
ประการเหลือที่จะพรรณนา พูดถึงสะพานอำนวย
ประโยชน์แก่คนเรามาพอสมควรแล้ว ครูสีพอจะ
เข้าใจได้หรือยังว่า ศีลเป็นสะพานได้อย่างไร...
ครูสี: ยังครับ-ยังครับ หลวงตา ผมว่ามันไม่
เห็นจะเกี่ยวกันเลย ศีลจะเป็นสะพานได้อย่างไร
ไหนหลวงตาลองยกตัวอย่างมาให้ผมฟังหน่อยซิ
บางทีหูตาของผมอาจจะสว่างขึ้นบ้างครับหลวงตา
หลวงตา: แหม! ครูสีนี่ ก็เป็นบุคคลประเภท
“ทันธาภิญญา” คือ ผู้รู้ได้ช้า จริงๆนะ หลวงตา
อุตส่าห์อธิบายขยายความหมายให้ฟังถึงขนาดนี้
แล้ว ยังจะขอให้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมอีก น่าจะคิด
เปรียบเทียบด้วยตัวเองได้บ้าง เอาละ! เพื่อให้เกิด
ประโยชน์แก่ครูสีผู้ฟัง หลวงตาก็จะขอยกเอาคำ
พังเพยของโบราณที่ท่านกล่าวไว้มาให้ครูสีฟังว่า
“ศีลเป็นสะพาน ทานเป็นราว ก้าวไม่พลาด นัก
ปราชญ์ท่านนิยมสรรเสริญ” คำพังเพยหรือสำนวน
ไทยในทำนองนี ้ ท่านชี้ให้เห็นว่า ศีลเป็นสะพาน
สำหรับให้คนเราก้าวไปสู่ความเจริญและความสำเร็จ
ในชีวิต ชีวิตจะประสบกับความสำเร็จและความ
ปลอดภัย ต้องอาศัยศีลเป็นสะพาน หรือเป็นฐาน
รองรับอันสำคัญ คนเราจะดำเนินชีวิตให้เป็นไป
ด้วยความราบรื่น ปราศจากอุปสรรคเครื่องกีดขวาง
นานาประการทั้งทางโลกและทางธรรม ต้องเป็นคน
มีศีลอันบริสุทธิ์ คือ มีพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา
เรียบร้อย ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองและบุคคลอื่น
เมื่อเป็นคนมีศีล ก็ศีลนั่นแหละจะเป็นสะพานให้
คนมีศีลก้าวไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต อย่าง
สะดวกสบายง่ายเหมือนกับการข้ามแม่น ้ำลำคลอง
แม้จะกว้างแสนกว้าง ที่นายช่างได้สร้างสะพานอย่าง
ทันสมัยไว้ให้ผู้คนและยวดยานผ่านไปมาได้อย่าง
สะดวกสบาย ฉะนั้น
ครูสีเคยเห็นสะพานไหมละ สะพานเล็กสะพาน
ใหญ่ที่สร้างไว้ข้ามแม่น้ำ ห้วย หนอง คลองบึง
บางทีก็สร้างยื่นออกไปในทะเล บางแห่ง บาง
ประเทศก็สร้างกันขนาดใหญ่โตมโหฬาร กว้าง-ยาว
เป็นไมล์ก็มี เมื่อมีสะพานการคมนาคมก็คล่องตัว
ทำให้สังคมมนุษย์ติดต่อกันด้วยธุรกิจต่างๆ ทั ้งใน
ส่วนตัวและในทางส่วนรวมรวดเร็วเหมือนกับว่าเล่น
เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ คนมีศีลก็เหมือนกัน ไม่ว่า
เขาจะทำอะไร ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสะดวก
สบาย คล้ายกับการเดินทางข้ามแม่น้ำลำคลองห้วย
เหว ก็ไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีสะพานเป็นเครื่อง
แสงธรรม 35 Saeng Dhamma
อำนวยความสะดวกฉะนั้น
คนมีศีลไม่ว่าจะอยู่ในฐานะและภาวะอย่างไร ก็
เป็นคนดีมีความสำเร็จในชีวิตได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น
ชาวไร่ชาวนา
เป็นนักเรียน
นักศึกษา เป็น
ข้าราชการ
ทหาร ตำรวจ
เป็นครู เป็น
อาจารย์ เป็น
พ่อบ้าน แม่
เรือน เป็น
สามี-ภรรยา
เป็นบุตรธิดา
เป็นพระ เป็น
เณร เป็นเถร
เป็นชี เป็น
นักธุรกิจการค้า เป็นหัวหน้าหมู่หัวหน้าคณะ เป็น
นักปกครองนักบริหาร เป็นนักการบ้านการเมือง
เป็นต้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นได้ดีทั้งนั้น
เพราะว่าคนมีศีล เป็นบุคคลประเภททำ
ความดีเป็นปกติ ทำความดีสม่ำเสมอ ทำความ
ดีไม่ขาดสาย ทำความดีแบบต่อเนื่อง ไม่ปล่อย
ให้การงานในหน้าที่คั่งค้างทับถมกัน ขยันทำความ
ดีเป็นนิสัย มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อ
อุปสรรคถือหลักว่า “ทำดีต้องมีมาร ทำงานต้อง
มีอุปสรรค” แล้วก็มีจิตใจเยือกเย็น ไม่เป็นคน
ผลุนผลันไปตามกิเลสชักจูง มุ่งความสำเร็จของการ
ทำความดีเป็นที่ตั้ง
ดังนั้น ศีลจึงเป็นสะพานอันสำคัญ ในอันทำให้
การเดินทางสะดวกสบาย ปราศจากอุปสรรคนานา
ประการ การดำเนินชีวิตก็ไม่ผิดอะไรกับการเดินทาง
ธรรมดาเรียกว่า “ทางแห่งชีวิต” ทางแห่งชีวิตกล่าว
โดยสรุปแล้วมี ๒ เส้น คือทางชั่วกับทางดี ทางชั่ว
ตรงกับคำว่า “ทุคติ” ทางดีตรงกับคำว่า “สุคติ”
คำว่า “คติ” แปลว่าเครื่องไป หรือทางไป ไปสู่ทาง
ดีเรียกว่า “สุคติ” ไปสู่ความชั่วเรียกว่า “ทุคติ”
สุคติและทุคตินั่นแหละ เป็นทางเดินแห่งชีวิต
คนโง่เขลาเบาปัญญาเป็นคนไม่มีศีล ก็เดินไปตาม
เส้นทางแห่ง “ทุคติ” คือทางชั่ว ถ้าเป็นทาง
ธรรมดาก็คือมรรคาที่เต็มไปด้วยขวากหนาม แม่น้ำ
ลำคลอง ห้วยหนอง คลองบึง ลำธาร ระหาน
แสงธรรม 36 Saeng Dhamma
เหว โคลนตม ซึ่งไม่มีสะพานเป็นเครื่องอำนวย
ความสะดวก ทำให้การเดินทางเต็มไปด้วยอุสรร
คต่างๆ นานา ไม่สามารถนำนาวาชีวิตไปสู่ฝั่งแห่ง
ความปลอดภัยได้ ส่วนบุคคลผู้มีปัญญาประกอบ
กับเป็นผู้มีศีล ก็เดินไปตามเส้นทางแห่ง “สุคติ”
คือทางดี ก็มีแต่ความสะดวกสบาย บ่ายหน้าไปสู่
ความเจริญและความปลอดภัยในชีวิต ไม่ผิดอะไร
กับการเดินทางธรรมดาที่มีสะพานสำหรับข้ามแม่น้ำ
ลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง เลนตม เป็นต้น ก็
ทำให้คนและยวดยาน
พาหนะต่างๆ เดินทาง
ไปสู่จุดหมายปลายทาง
ได้ด้วยความสะดวก
สบาย คล้ายกับการ
เนรมิต เพราะฉะนั้น
บัณฑิตมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น จึงกล่าวว่า
“ศีลเป็นสะพานอัน
สำคัญ” ดังนี้ นี่แหละ
ครูสี ฟังแล้วมีความ
รู้สึกอย่างไร เข้าใจหรือ
ไม่เข้าใจ เห็นด้วยหรือ
ไม่เห็นด้วย...
ครูสี: เข้าใจ..เข้าใจ...เห็นด้วย...เห็นด้วยครับ
หลวงตา แหม! หูแจ้ง ตาสว่างเหมือนเดินตามทาง
ที่มีเสาไฟฟ้า เปิดสว่างจ้าตลอดเวลาอย่างนั่นแหละ
ครับ หลวงตา คราวนี้ผมดีใจยิ่งกว่าได้แก้วได้แหวน
อะไรทั้งหมดเลยในโอกาสต่อไป ผมจะต้องพยายาม
ประพฤติตนเป็นคนมีศีลให้จงได้ ที่ผ่านมาถือว่าเป็น
คนประมาท เพราะขาดผู้นำทางให้แสงสว่างในทาง
จิตใจ ต่อไปนี้ผมเห็นที่จะต้องชำระศีลของตนให้
บริสุทธิ์ เพื่อให้เป็นสะพานก้าวไปสู่ความสุขความ
เจริญและความปลอดภัยในชีวิต เอาละครับหลวง
ตา เรื่องศีลเป็นสะพานอันสำคัญเป็นอันผ่านไป ผม
เข้าใจดีแล้ว แต่ก็ต้องขอความเมตตานิมนต์หลวงตา
อธิบายความหมายธรรมภาษิตข้อต่อไปที่ว่า “ศีล
เป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า” นั้น หมายความว่า
อย่างไรครับ หลวงตา....
หลวงตา: เอาอีกแล้วครูสี! ครูสีไม่รู้จักคำว่า
“กลิ่น” หรือไง ถ้าครูสีรู้จักกลิ่นก็น่าจะเข้าใจเรื่อง
ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่าได้ ไม่เห็นจะน่า
สงสัยอะไรกันเลย
ครูสี: สงสัยชิครับหลวงตา เพราะตั้งแต่ผม
เกิดมาไม่เคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับกลิ่นของศีลเลย
เคยได้ยินได้ฟังแต่ในเรื่องกลิ่นของสิ่งอื่น เช่น กลิ่น
ดอกไม้ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสบู่ กลิ่นยา กลิ่นสุรา
ยาเมา กลิ่นข้าว กลิ่นอาหาร และกลิ่นอะไรอีก
มากมาย กลิ่นทั้งหลายเหล่านี้ผมรู้จักดี แต่พอได้ฟัง
คำว่า “ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า” ทำให้
ผมจนปัญญาไม่รู้หมายความว่าอย่างไร ช่วยส่องไฟ
ให้ผมหน่อยเถิดหลวงตา นึกว่าช่วยคนเขลาเอาบุญ
ก็แล้วกัน
หลวงตา: เอาละ! ครูสี หลวงตาจะช่วยครูสีให้
มีความเข้าใจในเรื่องนี้ กลิ่นนั้นโดยทั่วๆ ไป หมาย
ถึงสิ่งที่จะพึงรู้สึกได้โดยจมูก เช่น กลิ่นเหม็น กลิ่น
หอม เป็นต้น อีกนัยหนึ่ง กลิ่นนั้น หมายถึงชื่อ
แสงธรรม 37 Saeng Dhamma
เสียงบารมี เกียรติภูมิก็ได้ คำว่า “ศีล เป็นกลิ่น
ที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า” นั้นท่านหมายเอากลิ่น คือ
“เกียรติยศชื่อเสียง” นั่นเอง ไม่ได้หมายเอากลิ่น
ธรรมดาของบรรดาสิ่งต่างๆ ตามตัวอย่างที่คนเรา
เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่หมายเอาเกียรติยศ ชื่อ
เสียง คุณงามความดีต่างหาก บรรดากลิ่นของคน
ชาติต่างๆ เช่น กลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นกะ
ลำพัก กลิ่นดอกอุบล กลิ่นดอกมะลิเครือ เป็นต้น
ตลอดถึงกลิ่นทั้งหลายเหล่าอื่นนอกจากนี้ ส่งกลิ่น
ไปได้มีขอบเขตจำกัดและหอมไปได้ ก็เฉพาะตาม
ลมเท่านั้น ย่อมหอมไปทวนลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นของ
สัตบุรุษคือคนดีและกลิ่นของศีล ย่อมหอมไปได้ทั้ง
ตามลมและทวนลม และหอมไปโดยไม่มีขอบเขต
จำกัด คือหอมไปได้ทั่วทุกทิศทุกสารทิศ แม้ชีวิต
ของคนมีศีลจะสิ้นไปแล้วนานแสนนาน แต่ชื่อเสียง
เกียรติคุณก็ยังหอมกรุ่นอยู่ ไม่รู้จักหาย มีเรื่องเล่า
ประกอบว่า
พระบรมศาสดา ทรงปรารภปัญหาของพระ
อานนท์เถระ วันหนึ่งพระเถระได้หลีกเร้นอยู่ในที่อัน
สงบ แล้วได้รำพึงว่า บรรดากลิ่นทั้งหลายที่เกิดจาก
ราก เกิดจากแก่น เกิดจากดอก ไปได้แต่ตามลม
อย่างเดียว ไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นอะไรหนอ จึงจะ
ไปตามลมก็ได้ ไปทวนลมก็ได้ เมื่อรำพึงเช่นนั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระศาสดาพระองค์จึง ตรัสว่า
นะ ปุปผะคันโธ ปะฏิวาตะเมติ
นะ จันทะนัง ตะคะระมัลลิกา วา
สะตัญจะ คันโธ ปะฏิวาตะเมติ
สัพพา ทิสา สัปปุริโส ปะวายะติ.
่
กลิ่นดอกไม้ย่อมไปทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์
หรือกฤษณา และกะลำพัก ก็ไปทวนลมไม่ได้ ส่วน
กลิ่นของสัตบุรุษทั้งหลายย่อมไปทวนลมได้ เพราะ
สัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทั่วทุกสารทิศ
จันทะนัง ตะคะรัง วาปิ อุปปะลัง อะถะ วัสสิกี
เอเตสัง คันธะชาตานัง สีละคันโธ อะนุตตะโร.
กลิ่นคือศีล เป็นเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาติทั้ง
หลายเหล่านี้ คือกลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่น
ดอกอุบล และกลิ่นดอกมะลิเครือ
นี่แหละครูสี ที่ท่านกล่าวว่า “ศีลเป็นกลิ ่นที
ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า” นั้น ท่านหมายเอากลิ่นคือศีล
ของสัตบุรุษคือคนดีทั้งหลาย จะเป็นหญิงก็ตามเป็น
ชายก็ตาม เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระ
อริยสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก สมาทานมั่นคงดำรงอยู่
แสงธรรม 38 Saeng Dhamma
ในศีลห้า ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม อยู่ใน
บ้านในเรือน สมณะพระสงฆ์ในทิศทั ้งหลายตลอด
เทวดา อินทร์พรหม บนสวรรค์ชั้นฟ้า ก็พากันกล่าว
สรรเสริญ ชื่อเสียงเกียรติคุณของหญิงชายทั้งหลาย
เหล่านั้นโดยทั่วหน้า
กัน อันเข้าหลัก
ว่า “มนุษย์ก็รัก
เทวดาก็ชม อินทร์
พรหมก็สรรเสริญ”
เจริญด้วยลาภ ยศ
สรรเสริญ สุข ทุก
ประการ... ครูสีฟัง
เรื่องประกอบเช่นนี้
แล้ว หายข้อข้องใจ
หมดความเคลือบ
แคลงสงสัยแล้วหรือ
ยัง หรือยังมีอะไร
สงสัยต่อไปอีก...
ครูสี: หมดความเคลือบแคลงสงสัย หายข้อ
ข้องใจในประเด็นนี้แล้วครับ หลวงตา...แต่ก็อย่าง
ว่า ผมเป็นคนประเภท “ทันธาภิญญา” คือ ผู้รู้ได้
ช้า ไม่ใช่ประเภท “ขิปปาภิญญา” ผู้รู้ได้เร็ว ดัง
นั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยหลวงตา ช่วยเมตตาอธิบาย
ความหมายธรรมภาษิตประเด็นที่ว่า “ศีลเป็น
เครื่องลูบไล้อันประเสริฐสุด” ศีลเป็นเครื่องลูบไล้ได้
อย่างไร เพราะศีลเป็นเพียงชื่อเป็นนามธรรม แล้ว
จะนำมาลูบไล้เหมือนเครื่องย้อมเครื่องทาได้อย่างไร
โปรดแถลงไขให้ผมเข้าใจด้วยครับหลวงตา
หลวงตา: ธรรมดาเครื่องลูบไล้ที่นิยมใช้กันอยู่
ในหมู่ชาวโลกทั้งหลาย เช่น จำพวกแป้งหอมชนิด
ต่างๆ เครื่องย้อมเครื่องทา เครื่องผัดหน้าทาตา
เหล่านี้เป็นต้น บรรดาผู้คนที่ใช้เครื่องลูบไล้เหล่านี้
ก็เพื่อให้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งนิ่มนวล สดใส เป็นที่
ต้องตาเจริญใจของผู้ได้ทัศนา นำมาซึ่งความปลื้มใจ
ตามวิสัยของชาวโลก จุดประสงค์ของการใช้เครื่อง
ลูบไล้นานาชนิดที ่ผลิตมาจากคันธชาตินั้น พูดกัน
แบบชาวบ้านทั่วไปก็เพื่อต้องการความสวยงามมีผิว
พรรณผ่องใสตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้นเอง
แต่ทว่าบรรดาเครื่องลูบไล้ตามนัยที่กล่าวมานั้น
แม้มันจะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสนิ่มนวลชวน
ให้ทัศนา ต้องตาเจริญใจได้ขนาดไหนก็ตาม แต่
ก็เป็นเครื่องลูบไล้ที่ไม่คงทนถาวร เป็นอาภรณ์ที่
ทำให้ผิวพรรณสวยงามได้ชั่วครู่ชั่วยาม และตามยุค
ตามสมัยเท่านั้นเอง และผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส
ที่เกิดจากเครื่องลูบไล้เช่นนั้น ว่ากันตามความเป็น
จริงแล้ว ความเปล่งปลั่งสดใสนั้น มันก็เป็นเครื่อง
ลูบไล้ ไม่ใช่เป็นเพราะอาศัยเครื่องลูบไล้ ไม่ใช่เป็น
ผิวพรรณของคน ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส เพราะ
แสงธรรม 39 Saeng Dhamma
อาศัยเครื่องลูบไล้ เอาเครื่อง
ลูบไล้ออกเมื่อไร ความเปล่งปลั่ง
สดใสก็หายไปทันตา ดังนั้น
เครื่องลูบไล้ที่ประเสริฐสุด ซึ่ง
มนุษย์เราควรจะแสวงหามาลูบไล้
นวดทากายวาจาให้สง่างามจึง
ได้แก่ “ศีล” ศีลเป็นเครื่องลูบไล้
อันประเสริฐ เลิศว่าเครื่องลูบไล้
ทั้งหลายทั้งปวง
เพราะฉะนั้น มนุษย์ทั้งหลายชาย-หญิงทุกถ้วน
หน้าจึงควรพากันแสวงหาเครื่องลูบไล้ เครื่องทาอัน
มีค่าคือ “ศีล”ศีลเป็นเครื่องลูบไล้ย้อมทา กายวาจา
ให้สง่าเรียบร้อย คนมีศีลหน้าตาผิวพรรณก็สง่างาม
ผ่องใสยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา พระศาสดาตรัสว่า
สีลัง อาภะระณัง เสฏฐัง
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
สีลัง โลเก อะนุตตะรัง
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
นี่แหละครูสี ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ
เลิศว่าเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย ดังที่บรรยายมาแล้วนี้
ครูสีมีอะไรสงสัยอีกไหม...
ครูสี: ไม่มีอะไรสงสัยอีกแล้วครับ หลวงตา
ความสงสัยทั้งหลายหายไปเหมือนปลิดทิ้ง สมจริง
ดังที่หลวงตาได้อธิบายมาแล้วทุกประการ ผมไม่น่า
จะโง่เช่นนี้เลย เชยยิ่งกว่าตาเชยเป็นไหนๆ ต่อไปผม
จะเป็นคนทันสมัย คือมีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลตลอด
เวลา ให้สมกับว่าได้เกิดมาเป็นมนุษย์กับเขาคนหนึ่ง
ขอรับหลวงตา...สาธุ...
แสงธรรม 40 Saeng Dhamma
ภูฏาน : ย้ำเมืองหลวงของภูฏาน
บรรยายและถ่ายภาพโดย... พระวิเทศรัตนาภรณ์ (ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี)
t_inthisan@hotmail.com
#ย้ำเมืองหลวงของภูฏาน
#
การเดินทางของคณะจาริกบุญสู่ดินแดน
หิมาลัยยังไม่ถึงจุดหมาย หลังจากที่รถวิ่งผ่านประตู
เมืองทิมพูเข้าสู่ใจกลางตัวเมืองจึงมองเห็นตึกสูงหลาย
ชั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมและตึกที่พัก
อาศัยของคนยุคใหม่ ตามสี่แยกและวงเวียนก็จะมีรูป
เคารพในทางพระพุทธศาสนามหายานตามแบบของ
ภูฏาน(นิกายลามะทิเบต) เช่นจะมีรูปปั้นสัตว์ 3 ชนิด
ขี่หลังกัน มีช้าง มีลิง และนกกระทา ซึ่งถือว่าชาว
ทิเบต หรือ ชาวภูฏานให้ความสำคัญในนิทานชาดก
เรื่องนี้มาก เพราะว่าจะเห็นภาพเขียนตามฝาผนังวัด
สำคัญๆ และสถานที่จุดเด่นในเมืองให้คนรู้คติความ
เชื่อนี้มาในนิทานชาดกเรื่อง “ติตติรชาดก” คือการ
นับอาวุโส ขอนำเรื่องชาดกนี้มาแทรกไว้เพื่อเป็นเกร็ด
ความรู้สำหรับผู้อ่านเมื่อไปเห็นภาพนี้ตามสถานที่
ต่างๆ ตามคติมหายานจะได้หายสงสัย เรื่องมีอยู่ว่า
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีสัตว์ 3 สหายคือ
นกกระทา ลิง และช้าง อาศัยต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่
ในป่าหิมพานต์ สัตว์ทั้งสามอยู่อย่างไม่เคารพ ไม่
ยำเกรง ไม่เสมอภาคกัน ต่อมาสัตว์ทั้งสามตัวตกลงจะ
ทำความเคารพกันตามความอาวุโส จึงคิดหาวิธีรู้ว่า
ใครจะเกิดก่อนกัน
อยู่มาวันหนึ่ง สัตว์ทั้ง 3 ขณะอยู่ที่ต้นไทรได้
ถามกันและกันว่า “ท่านรู้จักต้นไทรนี้เมื่อไหร่?”
ช้างพูดว่า “สมัยที่เราเป็นลูกช้าง ต้นไทรนี้อยู่
ระดับขาอ่อนของเรา เราเห็นมันตั้งแต่เป็นพุ่มไม้”
ลิงพูดว่า “เราเป็นลูกลิงนั่งอยู่พื้นดิน ก็เคี้ยว
กินหน่อของต้นไทรอ่อนนี้ เราเห็นมันตั้งแต่เป็นต้น
เล็ก ๆ อยู่”
ส่วนนกกระทาพูดว่า “สหายทั้งสองเอ๋ย เมื่อ
ก่อนต้นไทรใหญ่อยู่ที่โน้น เราไปกินผลของมันแล้วมา
ถ่ายอุจจาระลงในที่นี้ จึงทำให้มีต้นไทรต้นนี้ขึ้น”
จึงทำให้สัตว์ทั้งสามทราบลำดับอาวุโสของกัน
และกัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ลิงและช้าง จึงอยู่ในโอวาท
ของนกกระทา ทำความเคารพยำเกรงกันและกัน
พระพุทธองค์ เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้ว จึง
ได้ตรัสพระคาถาว่า
“นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม นอบน้อมถ่อมตน
ต่อผู้ใหญ่ นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญ
ในปัจจุบันนี้ และมีสุคติภพในเบื้องหน้า” (เป็นผู้
น้อยควรให้ความเคารพยำเกรงผู้ที่อาวุโสกว่า)
รถมินิบัสของพวกเราวิ่งผ่านวงเวียนรูปปั้น
สัตว์ทั้ง 3 ชนิดนั้นแล้ว มองดูอาคารสถานที่ราชการ
ยังคงสไตล์ภูฏานคือมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ
ภูฏานและสีสันสวยงาม ลวดลายมีเอกลักษณ์เฉพาะ
ตัว ทั้งหลังคา และประตู หน้าต่างมีลวดลายเขียนสี
ภาพต่างๆ หรือไม่ก็แกะสลักรายละเอียดสวยงามจน
ต้องยกกล้องถ่ายรูปขึ้นบันทึกไว้แทนความทรงจำ
รถเลี้ยวเข้าถนนคับแคบแทบจะหลีกกันไม่พ้น
มาภูฏานเข้าใจแล้วว่าทำไมจึงไม่ใช้รถบัสขนาดใหญ่
ดังเช่นมาตรฐานมี 45 ที่นั่งเหมือนในประเทศไทย
หรือ ประเทศอื่นๆ ที่ไปมา เพราะสภาพภูมิประเทศไม่
อำนวย ทั้งถนนคับแคบ ทางคดเคี้ยวไต่ภูเขาสูงกว่า
ระดับน้ำทะเลหลายพันเมตร ในที่สุดรถบัสคันเล็กแต่
คล่องแคล่วก็เลี้ยวเข้าจอดที่หน้าโรงแรมแพนเดน
(ระดับ 4 ดาว) ซึ่งเป็นตึกไม่สูงใหญ่นักเพราะว่าพื้นที่
จำกัดในการก่อสร้างความสูงประมาณ 5 ชั้นรวม
ดาดฟ้า
แสงธรรม 41 Saeng Dhamma
เมื่อคณะเดินเข้าไปในอาคาร พนักงานโรงแรม
ได้นำผ้าฆาฏะสีขาวมาคล้องคอต้อนรับทุกคนตาม
ธรรมเนียม ไกด์ท้องถิ่นไปที่คาวน์เตอร์เช็คอิน รับ
กุญแจมาแจกห้องพัก ซึ่งใครพักคู่กับใครได้จัดการไว้
เรียบร้อยแล้ว แต่โรงแรมแห่งนี้ถึงจะมีความสูงถึง 5
ชั้นแต่ไม่มีลิฟท์ แต่ละคู่ถ้าได้ชั้นบนสุดก็ต้องเดินขึ้น
บันไดไปห้องพักของตัวเอง ได้ยินเสียงบ่นบ้างตาม
ปกติ แต่ก็เลือกห้องชั้นล่างสุดให้ท่านอาวุโส ส่วนผู้ที่
พละกำลังดีก็ให้พักห้องบนสุด
เมื่อได้ห้องพักกันเรียบร้อยแล้วสำหรับ
ญาติโยมก็นัดพบกันที่ห้องอาหารของโรงแรม ซึ่งมีเมนู
อาหารแบบภูฏานของแท้ให้ได้ลองลิ้มชิมรสกันอย่าง
ถึงใจ บางท่านที่ไม่ถนัดอาหารต่างชาติก็ได้นำน้ำพริก
หรืออาหารแห้งที่เตรียมไป จัดการกับข้าวสวยร้อนๆ
มีซุป มีสลัดผักสดบ้าง และอาหารพื้นเมืองเท่าที่รับ
ประทานได้
หลังจากพักผ่อนพอสมควรที่โรงแรมที่พักแล้ว
เวลาประมาณบ่ายสองโมงได้นัดเจอกันที่ลอบบี้ เพื่อ
จะได้นำคณะออกเที่ยวชมสถานที่สำคัญในเมืองทิมพู
จุดแรก คือ Memorial Chorten อนุสรณ์สถาน
Chorten, Thimpu Memorial Chorten ยังเป็นที่
รู้จักในนาม ‘Thimphu Chorten’ เป็น Chorten ใน
Thimphu ที่ตั้งอยู่ที่ Doeboom Lam ทางด้านทิศใต้
ตอนกลางของเมืองใกล้กับวงเวียนหลัก และโรง
พยาบาลทหาร อนุสรณ์สถานแห่งนี้ไม่เหมือนอนุสรณ์
สถานของประเทศอื่นๆ ซึ่งจะมีรูปปั้นหรือปฏิมากรรม
แปลกๆ แต่ของทิมพูนี่เป็นพระเจดีย์ หรือเป็นสถูป
ใหญ่กลางเมืองดีๆ นี่เอง ซึ่งถ้าจะเทียบกับบ้านเราก็
เหมือนศาลหลักเมือง แต่เจดีย์นี้ก็เป็นศูนย์รวมใจของ
ชาวเมืองอย่างดี เพราะว่าไม่ใช่แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยือน ชาวภูฏานในเมืองทิมพู
เองก็มาเดินสวดมนต์นับลูกประค ำ มือถือวงล้อพระธรรม
เล็กๆ เดินหมุมไป สวดมนต์ไป ที่กำแพงอีกด้านหนึ่งก็
จะมีกงล้อพระธรรมขนาดใหญ่ตั้งเรียงรายให้คนที่
เข้าไปได้หมุนด้วยมือและอธิษฐานจิตตามคติความ
เชื่อของชาวภูฏาน
คณะของพวกเราเมื่อเดินเข้าไปถึงลานพระ
เจดีย์แล้วได้ทำประทักษิณเดินเวียนขวาสวดอิติปิโสฯ
ตามแบบฉบับของชาวพุทธเถรวาท เมื่อไปนมัสการ
สถานที่สำคัญก็จะสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
สามรอบ แล้วได้บันทึกภาพหมู่ไว้เป็นที่ระลึก และถ่าย
เดี่ยวถ่ายคู่ตามอัธยาศัย
พระเจดีย์ หรือ อนุสรณ์สถานนี้ได้ถูกสร้างขึ้น
ในปี พ.ศ. 2517 เพื่อเป็นเกียรติแก่ราชาองค์ที่สาม
ของภูฏาน Jigme Dorji Wangchuck (2471-2515)
สถานที่สำคัญที่โดดเด่นในเมืองนี้มียอดแหลมและ
ระฆังทองคำแขวนไว้โดยรอบ เวลามีลมพัดมาได้ยิน
เสียงกังวานน่าศรัทธา ในปี 2551 ได้รับการปรับปรุง
แสงธรรม 42 Saeng Dhamma
ใหม่อย่างกว้างขวางคือขยายฐานที่เดินรอบ และทำ
สวนดอกไม้ สนามหญ้าที่สวยงาม สิ่งนี้เป็นที่รู้จักกัน
ในชื่อ “ศาสนสถานที่โดดเด่นที่สุดของภูฏาน” ได้รับ
การทำพิธีเปิดโดยท่านDudjom Rimpoche Memorial
Chorten นี้แตกต่างจากคอร์เทนอื่นเนื่องจากไม่ได้
เป็นที่เก็บพระศพของกษัตริย์ผู้ล่วงลับ ภายในองค์
สถูปเจดีย์นี้จะมีเฉพาะรูปถ่ายของราชาในชุดพิธี
ประดับห้องโถงที่ชั้นล่าง พระราชาเมื่อยังทรงพระชนม์
อยู่อยากจะสร้าง “เป็นตัวแทนทางความคิด เป็นคติ
ความเชื่อถวายพระพุทธเจ้า” Memorial Chorten
แห่งนี้ได้รับการออกแบบตามสไตล์ของทิเบตหรือที่
เรียกว่า Jangchup Chorten ซึ่งมีลวดลายในการ
ออกแบบของเจดีย์แบบคลาสสิคโดยมีเสาเสี้ยมเป็น
รูปเสี้ยวของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ คุณลักษณะที่
แตกต่างจากที่นี่คือส่วนที่โค้งออกด้านนอกเพื่อให้รูป
ร่างของยอดแหลมแทนที่จะเป็นรูปโดม ภาพที่แสดง
ให้เห็นมีขนาดใหญ่กว่าภาพชีวิตของ tantric เทวดามี
๓๖ ตนประดับโดยรอบด้วยท่าทางต่างๆ
คณะของเราออกจากอนุสรณ์สถานที่ใจกลาง
เมืองแล้ว จุดหมายสำคัญของวันนี้ คือ นมัสการ
พระพุทธรูปสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดของภูฏาน สร้างอยู่
ในทำเลฮวงจุ้ยดีที่สุดของภูฏาน เป็นการเสริมสิริ
มงคลแก่ทุกท่าน รู้จักกันในนาม Big Buddha ถือเป็น
สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลกยุคใหม่ เมื่อขึ้นไปบน
ลานหน้าองค์พระใหญ่จะได้ถ่ายภาพพาโนรามาวิว
ของเมืองทิมพูได้ชัดเจน
เมื่อรถมินิบัสวิ่งลัดเลาะไปตามไหล่ภูเขาที่สูง
ชันขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งองค์พระใหญ่นี้จะมองเห็นโดดเด่น
แต่ไกล เพราะอยู่บนภูเขาสูงที่สุดและหันพระพักตร์
ไปทางตัวเมืองเหมือนกับเป็นการปกปักรักษา
คุ้มครองชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขตามคติความเชื่อ
ของชาวพุทธ
พระพุทธรูปใหญ่องค์นี้มีชื่อเป็นทางการ คือ
พระพุทธรูป Dordenma Buddha เป็นรูปหล่อด้วย
ทองสัมฤทธิ์ประทับนั่งบนแท่นสูงใหญ่ที่เรียกว่า ‘Vajra
Throne’ เป็นรูปปั้นพระศากยมุนีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่
เคยเห็นมาในต่างประเทศ (ยกเว้นประเทศไทย) ภาย
ใต้ฐานองค์พระใหญ่จะประดับด้วยพระพุทธรูปมี
ขนาดเล็กกว่าหนึ่งแสนองค์ ซึ่งแต่ละองค์นั้นก็จำลอง
แบบเหมือนพระพุทธรูป Dordenma นั้นซึ่งทำจาก
ทองแดงและชุบทองด้วยทองคำ
พระพุทธรูป Dordenma เป็นหนึ่งในพระพุทธ
รูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยความสูง 51.5 เมตร (169
แสงธรรม 43 Saeng Dhamma
ฟุต) รูปปั้นเพียงอย่างเดียวนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยค่าใช้
จ่าย 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Aerosun Corporation
แห่งเมืองหนานจิงประเทศจีนในขณะที่ต้นทุน
ทั้งหมดของโครงการ Buddha Dordenma นั้นสูง
กว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ การตกแต่งภายในจะ
รองรับพระพุทธรูปทององค์เล็กจำนวน 100,000 มี
ความสูง 8 นิ้ว และมีจำนวน 25,000 องค์ความสูง
12 นิ้ว พระพุทธรูปตามลำดับ การก่อสร้างได้เสร็จ
สมบูรณ์ในเดือนตุลาคม 2553 นอกเหนือจากการ
ฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีของราชาธิปไตยภูฏานแล้ว
ยังเป็นการเติมเต็มคำพยากรณ์สองประการ ใน
ศตวรรษที่ 20 โยคีโซนัมแซงโปชื่อดังโยคีพยากรณ์ว่า
รูปปั้นขนาดใหญ่ของ Padmasambhava พระพุทธเจ้า
หรือ phurba จะถูกสร้างขึ้นในภูมิภาคนี้ “เพื่อมอบ
พรสันติภาพและความสุขบนโลกใบนี้”
คณะของพวกเราได้รับอนุญาตให้เข้าไปใต้ฐาน
องค์พระใหญ่เพื่อทำวัตรสวดมนต์เย็น และนั่งสมาธิ
(ปกติจะไม่อนุญาต) เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้วได้เดิน
ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกในช่วงเวลาเย็นๆ แดดร่มลมตก(ลม
หนาวเริ่มพัดมา)จนต้องรีบไปขึ้นรถเพื่อเดินทางกลับ
โรงแรมที่พัก ให้ญาติโยมรับประทานอาหารเย็น และ
พักผ่อนตามอัธยาศัย พรุ่งนี้จะได้เยี่ยมชมสถานที่ที่น่า
สนใจคือทิมพูซ้อง หรือที่ทำงานของรัฐบาลภูฏาน
รวมทั้งจะได้ไปชมพระราชวังของกษัตริย์จิกมี้ วังชุก
นัมเกล ด้วย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
สรุปข่าว
แสงธรรม 44 Saeng Dhamma
มีนาคม
โดย... ทีมแสงธรรม
กิจกรรมต่าง ๆ ภายในวัดไทยฯ ดี.ซี. ในการป้องกันและ
ควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ตั้งแต่
เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม คือ งานทำบุญเทศน์
มหาชาติ, งานทำบุญสงกรานต์, งานทำบุญวันวิสาขบูชา,
โรงเรียนวัดไทยฯ ดี.ซี. ภาคประจำการ ๑ ปี, โรงเรียนวัด
ไทยฯ ดี.ซี. ภาคฤดูร้อน ประจำปี ๒๕๖๓, กิจกรรมทำบุญ
ตักบาตรเช้าวันอาทิตย์ และการปฏิบัติธรรมภายในวัด, งด
รับอาคันตุกะทั้งพระภิกษุและฆราวาสพักในวัด
และต่อมาวันที่ ๒๔ มีนาคม สถานการณ์ได้เพิ่ม
##
ป้องกัน Covid-19 วัดไทยฯ ดี.ซี. งดจัดกิจกรรม ๓ เดือนความรุนแรงมากขึ้น มีคนติดเชื้อทุกรัฐในสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ คณะกรรมการ จึงเป็นเหตุให้วัดไทยฯ ดี.ซี. ประกาศปิดวัดชั่วคราว
อำนวยการและคณะกรรมการทั่วไป วัดไทยฯ ดี.ซี. ได้นัด ยกเว้นบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงเข้าวัดได้
ประชุมเฉพาะกิจ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด หากมีการเปลี่ยนแปลงประการใด จะแจ้งให้
ของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทราบต่อไป ขอให้ทุกท่านปลอดภัยจากไวรัส สุขภาพแข็ง
รวมถึงรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเชื้อไวรัสโคโรนา แรง ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทุกเมื่อเทอญ
เป็นโรคระบาดที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิต และสามารถ
ติดต่อจากคนสู่คนได้อย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ว่าการรัฐ
รัฐแมรี่แลนด์ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้
ประชาชนได้ตระหนักรู้และปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน
ตัวเองตามที่รัฐบาลแนะนำ เพราะนับวันจะมีคนติดเชื้อ
ไวรัสเพิ่มมากขึ้นและมีหลายคนที่เสียชีวิต ดังนั้น เพื่อ
เป็นการอนุวัติตามทางราชการ คณะกรรมการอำนวย
การวัดไทยฯ ดี.ซี. จึงมีมติให้งดหรือยกเลิกการจัด
แสงธรรม 45 Saeng Dhamma
รายนามผู้บริจาคประจำเดือนมีนาคม
รายนามผู้บริจาคทำบุญทั่วไป
D. & S. Silpasuvan, MD, PA 5,000.00
Dhamma Talks 4,825.00
Donation Box 2,512.00
Pindapata 1,120.00
David Chanthavong 330.00
Sanit Mookkung 325.00
Palangboon Group 258.00
Suradej and Tuenchai Jitchuen 200.00
Wat Buddhamettaparami 193.00
Donors-Anonymous 180.00
Prajitra Matchapato 170.00
Hansa Paloprakarn (Ryan) 150.00
Prakai Allen 100.00
Vatanit Charoenpitaks 100.00
Chanya Nilanont 100.00
Arthur Phorntavewat 100.00
Pravong Pramawat 100.00
Prawong Premwatr 100.00
Narttaya and Richard Tinker 100.00
Phuangthong and Vichai Malikul 70.00
Niti Crupiti, Attorney 50.00
Chatravee Phuvachaihirunyupran 50.00
Somsak Tanawattanacharoen and
Patcharin Tanawattancharoen 50.00
Ruk Mae Inc. 40.00
Ann and Joe Keochinda 40.00
Laddawan and Ivey Murphy 40.00
Kunjitra Panasethaned 40.00
Chaiyut and Yupha Somkhaoyai 40.00
Keriang Chauteh 35.00
Amporn Outhwaite 34.00
Maj Carlton Clark 30.00
Hansa Paloprakarn (Ryan) 30.00
Virath Teowratanakul 30.00
Tassane and David Iadonisi 25.00
Nisakorn Praisaengpetch 25.00
Annop Tantisunthorn 25.00
Pranee Teptarakun 25.00
Pranee Teptarakun 25.00
Surachanee and Mark Murray 20.00
John and Pong Levenson 15.00
Sureeaha and Robert Zeigler 9.00
รายนามผู้บริจาคทำบุญเทศน์มหาชาติ
Aroon and Sumana Suansilppongse 1,000.00
Wikrom Karnsakul 500.00
Palangboon Group 456.00
Wat Thai D.C.’s Member 761.00
Manakul Family 200.00
Chairat and Sukanda Jetabut 200.00
Nuthong Sutava 109.00
Kanya Johnson 100.00
Chunjira Nummesri 100.00
Sermsak Sukjirawat 100.00
Bussaba and Peter Tantisuntorn 100.00
Pathana Thananart 100.00
Robin Ukrit 100.00
Noi and Doug Zerfas 100.00
Phuangthong and Vichai Malikul 80.00
Chamnian Rollefson 60.00
Supasri and Kittisanti Keochinda 50.00
Thachapa Ronnarong 50.00
Nipaporn and Ben Stombler 50.00
Amporn Outhwaite 40.00
Sangar Brown 40.00
Kruavana Egajothy 30.00
Prapaporn Boonsri 20.00
Suteera Nagavajara 20.00
Baungorn and Kittipong Ngamsnga 20.00
Hansa Paloprakarn (Ryan) 20.00
Donors-Anonymous 10.00
Wat Thai D.C.’s Member 4.00
แสงธรรม 46 Saeng Dhamma
ผู้บริจาคทำบุญทอดกฐินสามัคคี ๒๕๖๓
คุณนิธิพงษ์พิทักษ์วงศ์-คุณพัณณิตา จิตต์สะอาด และครอบครัว
เจ้าของร้านอาหาร Thai House Restaurant 5,000.00
ผู้บริจาคทำบุญวันสงกรานต์ 12 เม.ย.
Kosa and Sunipa Kaotira 50.00
รายนามผู้บริจาคบ ำรุงโรงเรียนวัดไทยฯ ดี.ซี.
Ming and Rungruedee Phlerdphlao 100.00
ขออนุโมทนาบุญกุศล
นพ.สุวัฒน์-พญ.ดวงเดือน ศิลปสุวรรณ
ทำบุญถวายปัจจัย $ 5,000
เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แด่
คุณแม่เย็น แซ่ภู่
ขอคุณแม่สถิตสรวงสวรรค์นิรันดร
พญ. พิมลวรรณ ลิ้มปวงทิพย์ ทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแด่หลานสาว ขอให้ดวงวิญญาณสู่สุคตินิจนิรันดร์
แสงธรรม 47 Saeng Dhamma
แสงธรรม 48 Saeng Dhamma
แสงธรรม 49 Saeng Dhamma
Helping Hands
Household Staffing Agency
ข่าวดี สำหรับคนไทย ที่ต้องการทำงาน
1. เลี้ยงเด็ก (Nannies)
2. ทำความสะอาดบ้าน (Housekeepers)
3. แม่(พ่อ) ครัว ในบ้าน (Personal Chefs/Cooks)
มีงานแบบ Live-in, Live-out, Full-time, Part-time
# คุณสมบัติที่ต้องมี
1. ต้องมีใบเขียว (Green Card)
2. อายุต่ำกว่า 60 ปี
3. มีประสบการณ์
สนใจกรุณาติดต่อ คุณแอ๊ด (วิไลวรรณ)
เบอร์โทรศัพท์ (703) 508-6983
อีเมล์ wsoundara@hotmail.com
by Helping Hands
แสงธรรม 50 Saeng Dhamma
University Valero Auto Service
Specializing in Foreign & Domestic with All Electrical Service
Diagnostic by Scanner
and General Repair
รับซ่อมรถทุกประเภท
ตรวจเช็คด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ราคามิตรภาพ
3700 University Blvd. W. Kensington, MD 20853
Tel. 301-946-0604 - 05 Golf
459 AUTOMOTIVE INC
# 100 N STONESTREEL AVE., ROCKVILLE, MD 20850
Tel. 240-907-2995
# 4904 BUCHANAN ST. HYATTSVILLE, MD 20781
Tel. 240-770-3077
REPAIR - AMERICAN - FOREIGN - BRAKES - OIL CHANGE - A/C
- TUNE-UPS - FLEET MAINT
- COMPUTER DIAGNOSTIC
แสงธรรม 51 Saeng Dhamma
Boonyong P. Thada MD
6821 Reisterstown Rd,
Baltimore, MD 21215
รับบริการตรวจโรคทั่วไป
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
Tel. 410-358-6450
พ.ญ. เพชรไพลิน อัมราลิขิต
แพทยศาสตร์ ศิริราช
อายุรศาสตร์ รามาธิบดี
Internal Medicine: PG Hospital Center
. Family Immediate Care.
เปิดให้บริการแล้วที่ Herndon, VA ใกล้สนามบิน Dulles
Primary Care + Urgent Care
Walk-in Clinic ไม่ต้องนัดเวลา
รักษาโรคทั่วไป ทุกวัย ทุกเพศ
ตรวจสุขภาพประจ าปี ตรวจภายในสตรี school/sport physical
ปวดหัว ปวดข้อ เป็นไข้ ไอ เจ็บคอ ตาแดง ติดเชื้อ ท้องเสีย ท้องผูก
ไมเกรน ไทรอยด์ ความดัน เบาหวาน ผ่าฝี เย็บแผล ภูมิแพ้และอื่นๆ
. 420 Elden St. Herndon, VA 20170 .
ในเวิ้ง K-Mart อยู่ใกล้ๆกับ MOM’s Organic
Tel: 571-353-1899
www.familyimmediatecare.com
แสงธรรม 52 Saeng Dhamma
แสงธรรม 53 Saeng Dhamma
สำนักงานทนายความ ครุปิติ
Crupiti
Law office
NITI CRUPITI, ATTORNEY
AMY CRUPITI, ATTORNEY
อย่าลืมสอบถามกฎหมายอิมมิเกรชั่นใหม่สุด
NEW IMMIGRATION LAW
DON’T MISS OUT CALL FOR DETAILS
Tel: (301) 949-1622
email: niticrupiti@crupitilaw.com
- immigration (กฎหมายอิมมิเกรชั่น) - Car Accident (อุบัติเหตุรถยนต์)
- Worker’s Compensation (อุบัติเหตุในระหว่างทำงาน)
- Family Law (กฎหมายครอบครัว, คดีหย่าร้าง)
- Criminal/DUI (คดีอาญา) - Bankruptcy (ปัญหาล้มละลาย, ปัญหาหนี้สิน)
- Commercial/Business Transaction (กฎหมายธุรกิจ, เปิดบริษัท หรือขาย
กิจการบริษัท) - Will & Estate Planning (พินัยกรรม)
600 Jefferson Plaza Suite 308 Rockville, Maryland 20852
(Westfield Wheaton North Building)
แสงธรรม 54 Saeng Dhamma
ส่งของกลับเมืองไทยเรียกใช้
ลานนา
1(800) 22-LANNA
(225-2662)
เปิดบริการ 9:00-5:30 จันทร์-ศุกร์
LannaShippingNY.com
รับส่งของไปเมืองไทยและทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น
ของใช้ส่วนตัว หรือรถยนต์ ถึงจุดหมายปลายทาง
ปลอดภัย และตรงต่อเวลา จัดทำเอกสารที่ถูกต้อง
ส่งถึงบ้านทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และบริการ
ด้วยความเชื่อถือจากลูกค้า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980
มี Storage Room ให้เช่าเป็นรายเดือน
DC
687 Lofstrand Lane Unit F
Rockville, MD 20850
Fax (301) 417-4193 / Tel. (301) 417-4180
www.LannaDC.com /
Email: info@lannadc.com
สปป. ลาว
ลานนาเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้
ไฟฟ้า ระบบ 220v-50Hz ที่มีคุณภาพ
ราคาย่อมเยาของยี่ห้อชั้นนำในอเมริกา
เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า
เครื่องล้างจาน เตาแก๊ส ทีวี วิดีโอ
สเตอริโอ โฮมเธียเตอร์ ฯลฯ
LANNA SHIPPING CORP.
WWW.LANNAUSA.COM
69-40 GARFIELD AVE. WOODSIDE, NY 11377
Tel. (718) 507-1400 / Fax (718) 899-6099
แสงธรรม 55 Saeng Dhamma
บริษัท สินนาวา ชิปปิ้ ง จ ากัด บริการรับส่งของกลับเมือง ไทย-ลาว
ส่งให้ถึงหน้าบ้านทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย และ สปป.ลาวทุกจังหวัด
บริการส่งเป็ นกล่อง, พาเลท, หรือส่งเป็ นตู ้คอนเทนเนอร์
ระยะเวลาการจัดส่งที่แน่นอน, ในราคาประหยัดและสินค้ามีความปลอดภัย
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่...
Tel…703-494-3794, 757-818-3887, 202-446-7069
และตัวแทนบริษัทฯ ในแต่ละรัฐใกล้บ้านท่าน
(ขอขอบคุณลูกค้าผู ้ที่ใช้บริการและ ผู ้ที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมาทุกท่าน)
EASTLAND
FOOD CORPORATION
Serving the Best from the Orient
8305 Stayton Drive,
Jessup, MD 20794
Tel. 1-800-645-0769,
Fax. 410-381-2079
www.eastlandfood.com
แสงธรรม 56 Saeng Dhamma
LAW OFFICE OF MORRIS TOPF
3 Bethesda Metro CenterSuite 530,
Bethesda, MD 20814
Tel. 301-654-6285 Fax. 301-656-6794
Legal Assistant
บูรณ์ Tel : 301-785-0807
กฎหมายครอบครัวและคดีหย่าร้าง SEPARATION
AGREEMENT, CUSTODY, CHILD SUPPORT, WILLS
อุบัติเหตุรถยนต์, DWI/DUI (DRUNK DRIVER),
TRAFFIC VIOLATIONS, MVA HEARINGS
ก่อตั้งธุรกิจ BUSINESS, CORPORATE LAW, BUY &
SELL AGREEMENTS, CONTRACTS และคดีอาญา
พิเศษ!!! รับปรึกษาปัญหาเกี่ยว
กับกฎหมายต่างๆ
รับซ่อมบ้าน ห้องน้ำ ประตู หน้าต่าง
หลังคา ไฟฟ้า ประปา Deck และต่อเติมบ้าน
ราคากันเอง รับประกันคุณภาพ
สำหรับท่านที่ต้องการทัศนศึกษาในสถานที่ต่างๆ มีรถบริการ
ให้เช่าพร้อมคนขับรถและนำเที่ยว
สนใจติดต่อ... คุณสุรเดช พานเงิน (สงค์)
Tel : (301) 942-0055,
(301) 442-8523
Benjawan’s
Tel. 410-708-1955
Flowering Plants, Hanging
Baskets Annual, Perenials,
Herbs, Cut Flowers,
Vegetables & Produce
Every Weekend At: Wat Thai Washington DC.
13440 Layhill Rd, Silver Spring, MD 20906
Complete, Remodeling, Decks, Kitchens,
Basement, Bathrooms, Siding, Roofing,
Garages, Deck
$$$ Free Estimates $$$
Home : 301-949-2593.
Cell : 202-528-1674
UTOPIA REALTY
Wanchai Panasethaned
Principal Broker in MD, NC & VA
B.A. & M.A. in Economics - US
Office: 42725 Toulouse Ter
Ashburn, VA 20147
Email: wanchaiptc@yahoo.com
Tel: 703-342-6607
Selling Your 1 % Listing Home? Broker Sell for 3.4%
Selling your home?
Total Commission
Pay $195 admin. Sell fee to for be 1 refunded % at closing.
including Selling Homes the seller’s in Kensington-Rockville, agent & buyer’s MD since agent 1983 fee.
Jumpee’s Draperies
Prefessional Custom Made Draperies Designer
Valances Swage and Balloon Shade
รับเย็บ ติดตั้งผ้าม่านตามบ้านและที่ทำงานต่างๆ
ราคายุติธรรม ติดต่อได้ที่...
Jumpee Stafford 9804 Piscaytaway Road,
Clinton, MD 20735
Tel. 301-856-1444 (Office)
“ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน”
รับบริการซ่อม ตรวจเช็ค
Airconditioning, Heating, ไฟฟ้า,
ประปา และ Thai TV
สนใจติดต่อ..คุณถนัด สิทธิอ่วม
Home. 301-942-0346. Cell. 301-675-9387
Ruang Khao Thai Cuisine
ต้นตำรับอาหารไทย ที่รสชาติไม่เคยเปลี่ยน
สุดยอดของความอร่อย...ต้องรวงข้าว
บริหารงานโดย... คุณจิ๋ม - คุณแป้น
Tel. 301-589-5341
939 Bonifant St. Silver Spring, MD 20910
Ruan Thai Restaurant
อาหารไทยรสเยี่ยม ที่คุณสามารถพิสูจน์ มีอาหารตามสั่ง
มากมาย อร่อยแบบไทยๆ ราคาแบบไทยๆ รับจัดอาหารตาม
งานต่างๆ ในราคาพิเศษ เป็นกันเอง
เปิดบริการ
จันทร์ - เสาร์
แสงธรรม 57 Saeng Dhamma
11:30 am - 10:00 pm
วันอาทิตย์ และวันหยุด 4:00 pm - 10.00 pm
บริหารโดย ป้านิด มาแตง
ไทยช่วยไทย.. ให้เรือนไทย..ช่วยบริการคุณ
11407 Amhrest Ave. Wheaton, MD 20902
Tel. 301-942-0075
หากคุณมีปัญหาเหล่านี้...
izennet.net ช่วยคุณได้
1. Website จะช่วยหาลูกค้าเพิ่มได้อย่างไร 2. ยังไม่มี Website เหมือนร้านอื่น
3. มี Website แล้ว แต่ไม่รู้จะดูแลอย่างไร 4. Website ไม่สวยงาม ไม่ทันสมัย
5. ไม่มีใครดูและปรับปรุง Website ให้ 6. ต้องการมี Website แต่ราคาแพง
7. คนที่ทำ Website ให้ไม่สนใจ ไม่ดูแล ไม่บริการ 8. ไม่มีใครให้คำปรึกษาในการทำ
Website และ Computer
เราช่วยคุณได้... โทรหาเราสิคะ
ไม่คิดราคาเป็นชั่วโมง ไม่แพงอย่างที่คิด
ติดต่อ: Sam : 757-332-0883
Jee Jeey : 703-433-9552
www.izennet.net, Email: sam@izennet.com,
Samanya@izennet.com
ข่าวดี...ข่าวด่วน !
งานเล็ก - ใหญ่ ไม่สำคัญ
ปรึกษาฟรี ! ประสบการณ์กว่า 20 ปี
Carpets, Hardwood Floors, Tile, Vinyl, Installations
and Repairs ปรึกษาได้ไม่แพงอย่างที่คิด!
Ofc : Tel: 703-913-5590
Cell. 703-402-5212, Fax. 703-913-5590
ไก่ อภัยวงศ์ / Kai Apaiwong
S & S Construction
Samorn Namsawat
13006 Pacific Ave. Rockville, MD 20853
Roofing, Siding, Drywall plastering, Door,
Carpeentry, Finished, Basement, Deck,
Blumbing, Painting (Inside & Outside) Jajor
Remodeling Additions.
Home : 301-933-1208, Cell : 301-518-2714
E-mail : ss_remodeling@hotmail.com
IIRT NETWORK
Your Service Provider
P.O.BOX. 1487
Ellicott City, MD 21041-1487
แวะเข้าไปชมที่ http://Advancein.com
http://www.iirt.com
E-mail: sales@advancein.com
TOKU SUSHI RESTAURANT
โดย คุณเอก
1301 U St NW,
Washington, DC 20009
Tel. (202) 462-1333
แสงธรรม 58 Saeng Dhamma
เปิดบริการแล้ว / Tik Hair Stylist
ติ๊ก แฮร์ สไตล์
รับตัดผม ชาย - หญิง เกล้าผม ทำสี
ทำไฮไลท์ ยืดผมถาวร
Call Now : 240-678-3935
E-mail:
tik_pen@hotmail.com
Salon Plaza Congressional Plaza
North 1527 Rockville Pike, Rockville, MD 20850
Bangkok Garden Restaurant
Traditional Thai Food Restaurant
อาหารไทย รสชาติแบบไทยๆ
ที่กำลังรอให้คุณพิสูจน์ด้วยตนเอง
Bangkok Garden was voted “The Best Asian Food”
in 2002 by The Readers of Columbia Magazine
โดย คุณยุพิน อ๊อด เล็ก เลาหพันธ์ุ
4906 St. Elmo Ave. Bethesda, MD 20814
Tel. 301-951-0670-1
A TECH Heating and
Air Conditioning,Inc.
License In MD,VA,DC
รับบริการติดตั้ง ตรวจเช็คและซ่อม เครื่อง
ทำความร้อน เครื่องทำความเย็น ไฟฟ้า ประปา
สนใจติดต่อ
703-300-4590, 703-300-4591
ราคากันเอง รับประกันคุณภาพ
ตัวแทนจำหน่าย
และติดตั้งเครื่องรับทีวีไทย
ASIAN SATELLITE
ครบชุดราคา $250 - $350
ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่
O คุณมิมี่ (301) 417-9630
O คุณนิตยา (301) 683-5882
TruAge products and business
opportunities introducing you to a
chance to win free a dream vacations
will be given away by drawing on the
first Wednesday of every month each
drawing could potentially produce up
to 4 winners, totaling $7,200
Free register go to:
https://www.truage.com/37353
Sawan Kongpat, Cell: 443-992-1492,
email: Sawan37353@gmail.com
Please visit my website@ https://www.morinda.com/37353
แสงธรรม 59 Saeng Dhamma
DANNY’S AUTO BODY AND REPAIR CENTER
“Your satisfaction is our guarantee”
รับซ่อมงาน Insurance ทุกชนิด
ALL Foreign and Dometic General
Mechanical Repairs
4068 S.Four Mile Run Dr. “Bay F”
Arlington, VA 22206
Tel. 703-379-7002
Fax. 703-379-7018
Our customers are our testimony
NEW FAR EAST RICE NOODLE
1232 Mount Olivet Rd, N.E.
Washington, D.C. 20002
Tel. 202-546-8033 / Fax. 202-546-8335
Nava Thai Restaurant
“ก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด เผ็ดถึงใจ”
11301 Fern St. Wheaton, MD 20902
Tel. 240-430-0495
NEW IDEA?
FREE
PATENT
SEARCH
New Idea or Invention?
CALL DAN O’CONNOR PATENTS
(301) 933-2404
แสงธรรม 60 Saeng Dhamma
รับให้คำปรึกษา แนะนำ
และรับบริการนวดตัว
นวดหน้า อโรมา ขัดผิว Waxing
แต่งหน้าเจ้าสาว และงานพิธีต่าง ๆ
ติดต่อโดย
ปณิชา สาครพานิช “อุ๋ม”
Certified Master Esthetician License
Certified Wax Technician License
3 Pooks Hill Rd,
# 302 Bethesda, MD 20814
Cell: 240-271-9279
THAI HOUSE
RESTAURANT
“อาหารไทยรสเด็ด”
รอคุณอยู่ที่นี่!
รับสมัครพ่อครัว-แม่ครัว, พนง.เสริฟ,
Delivery รายได้ดี! สนใจติดต่อ.. 301-906-1493
8369 Snouffer School Road,
Gaithersburg, MD 20879
บริหารงานโดย...
คุณแจ็ค - คุณเอ้
แสงธรรม 61 Saeng Dhamma
CTI commercial Transport
International (U.S.A.) Inc.
Smit Intarapuvasak สมิทธิ์ อินทรภูวศักดิ์
Vice President
ส่งของกลับเมืองไทย ติดต่อ คุณ PAT
39 Stringham Avenue Valley Stream, NY 11580, U.S.A.
Phone: 718-917-7779
ext. 118 / Fax: 516-837-3580
Email: smit@cticargo.com / http://www.cticargo.com
นายแพทย์ชิงชัย วณิชย์วรนันต์
ตรวจ-รักษาโรคทั่วไป ผู้ใหญ่ เด็ก ๑๓ ขวบขึ้นไป
สาขา Silver Spring เปิดแล้ว ถนน Randolph
บ้านสีเหลือง ใกล้ Korean Korner
3901 Randolph Road (ตัดกับ Atherton)
Silver Spring, Maryland 20906
Open : Wednesday & Thursday
8.00 AM - 6.00 PM
Phone (301) 949-4994
(703) 387-0999
แสงธรรม 62 Saeng Dhamma
ประกาศอนุโมทนาเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์มหาชาติ
ประจ าปี 2563 วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์
กัณฑ์ที่ ชื่อกัณฑ์ / คาถา รายชื่อคณะท่านเจ้าภาพ / ประธานกัณฑ์เทศน์ หมายเหตุ
1 ทศพร 19 คาถา คุณวิชัย-คุณพวงทอง มะลิกุล, คุณฐิติมา อินทนิล-Mr.Martin Perring และคณะ
2 หิมพานต์ 134 คาถา กลุ่มพลังบุญ
3 ทานกัณฑ์ 209 คาถา ครอบครัวมานะกุล, คุณสุกานดา บุพพานนท์, คุณพยุง-คุณจินตนา งามสอาด, คุณมาลี บาลี
คุณนพรัตน์, คุณเสริมศักดิ์-คุณสาคร-พันธ์ทิพย์ จินดาลัทธ, คุณวิรุณ-นารีรัตน์ เอี่ยมฉิม,
คุณเสรี, คุณทัฬห์ อัตวุฒิ-คุณบุณณ์ภัสสร-คุณศรสวรรค์ พงศ์วรินทร์ และคณะ
4 วนปเวศน์ 57 คาถา คณะผู้ปฏิบัติธรรมวันอาทิตย์วัดไทยฯ ดี.ซี.
5 ชูชก 79 คาถา คุณพนมรัตน์ (คุณตู่) มุขกัง และครอบครัว, คุณนกน้อย-Doug Zerfas, คุณจันทิมา-ธนากร-ปัญญ
หันหาบุญ, Jose Cadona Gonzales, คุณกัญญา Johnson, คุณป้าเหมียว, คุณป้าเฉลียว
คุณบุษบา-Peter ตันติสุนทร, คุณเพ็ญศิริ เครือประดิษฐ์(ป้าน้อย), คุณอี๊ด-คุณยุทธ สมเขาใหญ่
6 จุลพน 35 คาถา กลุ่มพยาบาล Baltimore, คุณเสริมศักดิ์ สุขจิราวัฒน์-คุณนาดา ลัคนหทัย และครอบครัว
7 มหาพน 80 คาถา กลุ่มสตรีผู้รักธรรม, คุณจงกิจ-นันทนา-ด.ญ.พิมพ์มาลา มาศิริ และคณะ
Little Spice Thai Cuisine
8 กุมาร 101 คาถา Bangkok Garden Restaurant (คุณอ๊อด) และคณะ
9 มัทรี 90 คาถา สมาคมไหหล า, คุณเนาวรัตน์-Edward Branagan, คุณสุรัสวดี-วุฒิ เอี่ยม, คุณปราณี-พจน์
วีรจิตเทวิน, คุณแม่ศรีนวล โพธิ์ศรี และคณะ, นายแพทย์วิกรม กรรณสกุล
10 สักกบรรพ 43 คาถา คุณวิราวรรณ โบสลี่ และครอบครัว, คุณพ่อบุญชัย-คุณแม่อุไรวรรณ-คุณอัจฉรา พงศ์พีรพัฒน์
พร้อมครอบครัว กลุ่มเพื่อนบุญ,คุณชุณหดา คอร์บิ้น,คุณสุธีรา-น้องสีสัน นาควัชระ และครอบครัว
11 มหาราช 69 คาถา คุณประยูร ฮักก์ และเพื่อนๆ
12 ฉกษัตริย์ 36 คาถา คุณสุพัตราภรณ์ Allen และคณะ, คุณสุภาพ ดูบัวร์ –Dennis Stutzel
13 นครกัณฑ์ 48 คาถา คุณเนติเนตร รัตนเนตร และคณะ
กัณฑ์คาถาพัน คณะครู-ผู้ปกครอง-นักเรียนโรงเรียนวัดไทยฯ ดี.ซี., Kiat Neo-Robin Ukrit
กัณฑ์รวม 13 กัณฑ์ คุณแม่ซู่เฮียง รุสิตานนท์ และลูกหลาน, คุณชัยรัตน์-คุณสุกานดา เจตบุตร และครอบครัว
กัณฑ์หลอน สมาคมไทยอีสาน ดี.ซี., สมาคมศิษย์เก่า มจร. ดี.ซี., คณะพี่น้องลาวชาวพุทธ รัฐแมรี่แลนด์ USA
แม้ทางวัดยกเลิกการจัดงานเทศน์มหาชาติประจ าปี 2563
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (Covid-19)
แต่สาธุชนผู้จองเป็นเจ้าภาพได้ร่วมท าบุญสนับสนุนอุปถัมภ์ถวายปัจจัย
แด่...วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. จ านวนเงินทั้งสิ้น $ 4,953.00 US
ขอพรชัยมงคล 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ
จงบังเกิดมีแด่ท่านและครอบครัว ตลอดกาลเป็นนิจนิรันดร์เทอญ.
All are cordially invited to participate
in the meditation programs and Buddhist activities at
Wat Thai Washington, D.C.
Objectives
1. To promote Buddhist activities.
2. To foster Thai culture and traditions.
3. To inform the public of the monastery’s activities.
4. To maintain and promote brotherhood/sisterhood.
5. To provide a public relations center for Buddhists living in the
United States.
6. To promote spiritual development and positive thinking.
7. To help acquire and inner peace.
8. Wat Thai Washington, D.C. temple is non-political.
Activity
Day
Time
1. Chanting
2. Dhamma Talk and Meditation (in Thai)
3. Meditation and Dhamma Discussion
(in Thai)
4. Meditation Workshop
(in English)
5. Thai Language Classes-Adults
6. Yoga – Meditation
7. Thai Music Classes
8. Thai Dance Classes
9. Thai Language Classes-Children
Daily Morning and
Evening
Every Saturday
Every Sunday
Every 2nd, 4th Saturday of the month
Every Monday and Wednesday
Every Wednesday
Every Saturday and Sunday
Every Saturday
Every Saturday and Sunday
6:00 – 6:45 A.M.
6:00 – 6:45 P.M.
2:30 – 4:30 P.M.
7:00 – 9:00 A.M.
9:00 – 11:00 A.M.
7:30 – 9:00 P.M.
7:30 – 9:00 P.M.
9:30 – 4:00 P.M.
1:30 – 4:30 P.M.
9:30 – 4:00 P.M.
All activities are held at the upper or lower level of the main temple. For further information
Please contact Wat Thai Washington, D.C. 13440 Layhill Rd., Silver Spring, MD 20906
Facebook: www.facebook/watthai.dc; www.facebook/Wat Thai, D.C. School
Homepage: www.watthaidc.org
Radio Network: www.watthai.iirt.net E-mail: watthaidc2013@gmail.com
Tel. (301)871-8660, (301)871-8661
WAT THAI WASHINGTON, D.C.
13440 Layhill Rd
Silver Spring MD 20906-3201
Change Service Requested
NON PROFIT ORG.
US POSTAGE
PAID
SUBURBAN, MD
PERMIT NO.1388
Attention: Subscriber if you are moving, please forward your new address to Wat Thai Washington,D.C. 13440 Layhill Rd. Silver Spring, MD 20906 -3201
ประกาศ
เพื่อปฏิบัติตามประกาศของรัฐแมรี่แลนด์ในมาตรการป้องกัน
และควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า(COVID-19)และ
ปฏิบัติตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการวัดไทยกรุงวอชิงตัน,
ดี.ซี. ดังนั้นทางวัดจึงขอยกเลิกการจัดงานประเพณีวันสรงกานต์
ในอาทิตย์วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๓ และพิธีทำาบุญวันวิสาขบูชา
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓
Notice of Cancellation
Because of COVID-19, there will be no Songkran
Festival (April 12th) or Visakha Puja Day celebration
(May 10) this year.