03.07.2020 Views

ASA JOURNAL 06/59

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ต่างๆ ไปจนถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยใช้หลักในการเลือก<br />

ที่ไม่ได้ใช้ธรรมเนียมคนรู้จัก แต่พิจารณาเฉพาะผู้ที่มี<br />

ศักยภาพและทัศนคติเดียวกัน กล่าวคือจะต้อง “อยาก<br />

ทางานและอยากทางานให้ดี” จากจุดยืนร่วมกันนี้ การ<br />

ทางานจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เรียบร้อย เป็นไปตาม<br />

กรอบเวลาและกรอบความคาดหวังที่ตั้งใจไว้<br />

โจทย์ของโครงการนี้ถูกกาหนดอย่างชัดเจน คือต้องการ<br />

ใช้งบประมาณการก่อสร้างที่ไม่สูงมาก สามารถซ่อมแซม<br />

ทั้งอาคารและระบบต่างๆ ได้ด้วยความสามารถของท้องถิ่น<br />

เช่น การเลือกใช้วัสดุหรือระบบ hardware ใดๆ ส่วนใหญ่<br />

ต้องมี supplier ที่สามารถให้บริการหรือมีชิ้นส่วนอะไหล่<br />

ที่หาได้ในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่ต้องรอส่งของจากกรุงเทพฯ<br />

หรือสั่งจากต่างประเทศมากนัก และต้องการอาคารจัด-<br />

แสดงที่สามารถแสดงศิลปะได้ทั่วทุกพื้นที่ ผู้ชมสามารถ<br />

มองเห็นได้จากทั่วทุกบริเวณ เช่น หากมีการแสดง performance<br />

art ที่โถงกลางนิทรรศการ ผู้คนที่ร้านอาหาร<br />

จะต้องสังเกตเห็นได้ ทาให้เกิดความสนใจ สามารถเลือก<br />

ได้ว่าจะเดินเข้ามาเพื่อรับชมหรือทานอาหารต่อไป จาก<br />

โจทย์นี้สถาปนิกได้เข้าสารวจชิ้นงานศิลปะ collection ที่<br />

สะสมไว้ซึ่งมีมากมายหลากหลายแขนง รวมถึงยังมิได้ถูก<br />

เลือกว่าชิ้นใดจะนามาจัดแสดง จึงจาเป็นต้องทาความเข้าใจ<br />

ชิ้นงานโดยรวม การเก็บรักษางานพร้อมการจัดแสดงตาม<br />

มาตรฐานสากล ขนาดงานที่เล็กหรือใหญ่มีมากน้อยเพียง<br />

ใด นามาเป็นกรอบของการออกแบบคุณภาพ space แบ่ง<br />

ได้เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทแรกเป็นพื้นที่เปิดที่มี<br />

การควบคุมน้อยที่สุด จัดแสดงโดยใช้แสงสว่างจากธรรมชาติ<br />

ในอุณหภูมิจริง แต่ออกแบบระบบหมุนเวียนอากาศโดย<br />

พัดลม ซึ่งจัดแสดงศิลปะสะสมที่สามารถอยู่ในสภาพ-<br />

แวดล้อมปกติของอาคารได้ (existing environment)<br />

ประเภทที่สองคือ มีการควบคุมสิ่งแวดล้อมทั้งอุณหภูมิ<br />

ความชื้นและแสงสว่าง แต่ยังสามารถเลือกใช้แสงธรรมชาติ<br />

จากด้านนอกได้ ประเภทที่สามคือ พื้นที่ที่ควบคุมสิ่ง<br />

แวดล้อมอย่างเคร่งครัด รวมถึงความปลอดภัย จะเห็นได้<br />

ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ยอมให้ปัจจัยธรรมชาติภายนอกเป็นผู้นา<br />

มาซึ่งสิ่งแวดล้อมภายใน แต่ทั้งนี้สถาปัตยกรรมก็ยังถูก<br />

ออกแบบให้ทาหน้าที่ของการเป็นพิพิธภัณฑ์งานศิลปะ<br />

อย่างเต็มที่ ทั้งหน้าที่หุ้มห่อวัตถุอันสาคัญให้ปลอดภัย<br />

และจัดแสดงตัววัตถุนั้นอย่างเต็มศักยภาพ นาไปสู่ประสบ-<br />

การณ์การรับชมทั้ง space และศิลปะในเวลาเดียวกัน<br />

40 <strong>ASA</strong> THEME วารสารอาษา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!