27.01.2015 Views

การพัฒนาการผลิตข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า

การพัฒนาการผลิตข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า

การพัฒนาการผลิตข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การพัฒนาการผลิต<br />

ข้าวใหม่<br />

ให้เป็นข้าวเก่า<br />

52<br />

ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

<br />

อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับข้าวกับผู้บริโภค ทั้ง<br />

การบริโภคในครัวเรือน การบริการในโรงแรม หรือร้านอาหาร<br />

ต่างๆ คำตอบที่ได้คือ คุณภาพที่ดีคงที่ของข้าวเมื่อหุงสุกแล้ว ซึ่ง<br />

หมายถึงเมื่อหุงข้าวด้วยอัตราส่วนข้าวต่อน้ำเดิม ข้าวสวยที่ได้จะ<br />

นุ่มเหนียวเหมือนเดิมตลอดเวลา ไม่มีผู้ประกอบการรายใดรับได้<br />

หากข้าวสวยวันนี้นุ่มอร่อย วันรุ่งขึ้นแข็งร่วน อีกวันแฉะ รับประทาน<br />

ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนอัตราส่วนข้าวต่อน้ำตลอดเวลา เมื่อหุงไม่ได้<br />

คุณภาพตามต้องการก็ต้องทิ้ง สิ้นเปลืองต้นทุน อีกทั้งยังเสี่ยงต่อ<br />

คำร้องเรียนของลูกค้า การรักษาความนุ่มของข้าวสวยให้คงที่<br />

โดยใช้อัตราส่วนข้าวต่อน้ำที่เท่าเดิมตลอดเวลา ฟังดูเหมือนเป็น<br />

เรื่องธรรมดา แต่ความเป็นจริงแล้วทำได้ยากมาก เพราะต้อง<br />

เข้าใจว่าข้าวเป็นอาหารแห้ง เก็บไว้ได้นานเท่านาน คุณภาพก็<br />

ไม่เปลี่ยนแต่จริงๆ แล้ว<br />

ความนุ่มของข้าวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามอายุของข้าว<br />

ดังนั้นข้าวเก่าและข้าวใหม่ จึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน <br />

ข้าวทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาว มีฤดูกาลปลูกและเก็บเกี่ยวของมันเอง ขอยกตัวอย่างข้าวหอมมะลิแท้ๆ จากภาค<br />

อีสานซึ่งจัดเป็นข้าวนาปี คือปลูกและเก็บเกี่ยวครั้งเดียวต่อปีโดยจะเริ่มปักดำ หรือหว่านในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และ<br />

เริ่มเก็บเกี่ยวได้ในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วนำออกมาจำหน่ายในแต่ละปีเราจะเรียกว่าข้าวใหม่ จนกระทั่งข้าว<br />

จากฤดูกาลใหม่หรือปีถัดไปถูกเก็บเกี่ยวนำออกจำหน่าย ข้าวของฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาจะกลายเป็นข้าวเก่า ส่วนข้าวจากฤดูกาลเก็บ<br />

เกี่ยวใหม่ก็เป็นข้าวใหม่แทน


ในส่วนของข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวนาปี ปลูกและเก็บเกี่ยว<br />

ครั้งเดียวต่อปี ข้าวใหม่ของแต่ละฤดูกาลจะมีอายุ 12 เดือน หรือ 1 ปี<br />

พอดี ในการค้าเรามักระบุข้าวหอมมะลิแต่ละฤดูกาลเพาะปลูกด้วยปี<br />

พ.ศ. ที่เก็บเกี่ยวทับปีถัดไปที่ข้าวจะจำหน่ายอยู่ในตลาด จนกระทั่งข้าว<br />

ฤดูกาลใหม่จะออก เช่น ข้าวที่ถูกเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนถึง<br />

ธันวาคมปี 49 จะถูกเรียกว่าข้าวหอมมะลิใหม่ปี 49/50 เมื่อถึงเดือน<br />

พฤศจิกายนปี 50 ข้าวฤดูกาลใหม่ก็จะออก ข้าวหอมมะลิใหม่ปี 49/50<br />

จะถูกเรียกว่าข้าวหอมมะลิเก่าปี 49/50 ไปทันที โดยข้าวที่เก็บเกี่ยวใน<br />

ปลายปี 50 จะกลายเป็นข้าวหอมมะลิใหม่ปี 50/51 แทน เป็นต้น<br />

<br />

ข้าวเก่า – ข้าวใหม่ สังเกตอย่างไร<br />

คุณรู้ไหมว่า ข้าวที่กินอยู่ทุกวันเป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่ ทำไม<br />

ข้าวชนิดเดียวกันบางครั้งหุงแล้วแข็ง บางครั้งนิ่ม กินกับอาหารนี้<br />

อร่อย กินกับอาหารนั้นไม่อร่อย ถ้าไม่สังเกตให้ดีลักษณะของ<br />

ข้าวเก่าและข้าวใหม่จะคล้ายคลึงกันมากแล้วจะรู้ได้อย่างไร ลอง<br />

มาดูกัน<br />

ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

53<br />

ส่วนข้าวขาวหรือข้าวชนิดอื่นๆ เราจะไม่เรียกปีตามหลัง จะ<br />

เรียกเพียงข้าวขาวเก่าหรือข้าวขาวใหม่ ตามด้วยจำนวนเดือนนับแต่วัน<br />

ที่เก็บเกี่ยว เช่น ข้าวขาวเก่า 8 เดือน คือข้าวที่เก็บเกี่ยวมาแล้วเป็นเวลา<br />

8 เดือน เป็นต้น เนื่องจากข้าวขาวหรือข้าวชนิดอื่นๆ มักเป็นข้าวนาปรัง<br />

เก็บเกี่ยว 3 - 4 ครั้งต่อปี เมื่อแรกเก็บเกี่ยวจะเรียกว่าข้าวใหม่ 1 เดือน<br />

2 เดือน หรือ 3 เดือนตามอายุข้าว เมื่อข้าวฤดูกาลใหม่ออก เราก็จะ<br />

เรียกข้าวจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ผ่านมา เป็นข้าวเก่าตามด้วยเดือนตั้ง<br />

แต่เก็บเกี่ยวทันที จะเป็น 4 เดือน 5 เดือน หรือมากกว่านั้นตามแต่อายุ<br />

ข้าว ส่วนข้าวจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวล่าสุดก็จะกลายเป็นข้าวใหม่แทน<br />

หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ


54<br />

ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

ข้าวเก่า คือข้าวที่เก็บไว้นานค้างปีหรือเก็บเกี่ยวมากกว่า<br />

4 – 6 เดือน แล้วจึงค่อยนำมาขัดสี เมล็ดข้าวจะมีสีขาวขุ่น มีรอย<br />

แตกหักบ้างเล็กน้อย เมื่อนำไปซาวกับน้ำ น้ำจะขาวขุ่น มีรอย<br />

แตกหักจะขึ้นหม้อดี เมล็ดข้าวไม่เกาะติดกัน เพราะมียางข้าวน้อย<br />

และจะแข็งกว่าข้าวใหม่<br />

ข้าวเก่าหุงรับประทานอาหารไทยอร่อยมาก เพราะอาหาร<br />

ไทยส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทแกง เมื่อรับประทานคู่กับข้าวเก่าที่<br />

แข็ง ข้าวจะไม่เละเคี้ยวมัน และเหมาะมาทำข้าวผัดหรือข้าวแซ่<br />

เพราะเมล็ดข้าวร่วน<br />

ข้าวใหม่ คือข้าวที่พึ่งเก็บเกี่ยวมาไม่นานแล้วนำมาขัดสี<br />

เมล็ดข้าวจึงมีสีขาวใส จมูกข้าวยังติดกับเมล็ดข้าวอยู่บ้าง เวลานำ<br />

ไปซาว น้ำซาวข้าวจะค่อนข้างใส หุงไม่ค่อยขึ้นหม้อ เมล็ดข้าว<br />

เกาะติดกันเป็นก้อนและค่อนข้างแฉะ เพราะมียางข้าวมาก แต่มี<br />

กลิ่นหอมกว่าข้าวเก่า นิยมนำมาทำเป็นข้าวต้มหรือโจ๊ก<br />

จ า ก พ ฤ ติ ก ร ร ม ผู้ บ ริ โ ภ ค ส่ ว น ใ ห ญ่ ที่ นิ ย ม ซื้ อ ห า แ ล ะ<br />

รับประทานข้าวเก่ามากกว่าข้าวใหม่ เพราะด้วยคุณสมบัติที่ดีของ<br />

ข้าวเก่าหลายประการ ทำให้คลัสเตอร์แปรรูปข้าว จ. พิษณุโลก<br />

ดำเนิน<strong>การพัฒนาการผลิตข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า</strong>โดยเชิญ อาจารย์<br />

ผดุงศักดิ์ วานิชชัง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก<br />

วิทยาเขตบางพระ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสีข้าว และมี<br />

การพัฒนาเครื่องจักรด้านการสีข้าว รวมถึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับ<br />

เครื่องจักรในการผลิตข้าวใหม่เป็นข้าวเก่ามากมาย นอกจากนั้นยัง<br />

เป็นผู้ที่ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาการผลิตข้าวใหม่เป็นข้าวเก่าในปีที่<br />

ผ่านมา ร่วมเป็นวิทยากรที่ปรึกษาให้กับสมาชิกโรงสี มีโรงสีเจริญพาณิชย์<br />

เป็นโรงสีนำร่อง โดยจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี<br />

การทำข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า กลไกที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำข้าว<br />

ให้เก่า จนถึงเทคโนโลยีในการผลิตข้าวใหม่ให้มีความเก่า สรุปได้<br />

ดังนี้<br />

เทคโนโลยีการเร่งข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า<br />

ความสำคัญของโครงการ<br />

ข้าวเก่าเป็นที่ต้องการของตลาด และผู้บริโภค เนื่องจาก<br />

หุงขึ้นหม้อ ไม่แฉะ ให้คุณภาพในการหุงที่ดี การทำข้าวเก่าโดย<br />

ธรรมชาติต้องเก็บไว้ตั้งแต่ 3-4 เดือนเป็นต้นไป ทำให้สูญเสีย<br />

โอกาสและสิ้นเปลืองพื้นที่ <br />

ข้าวใหม่สามารถเร่งให้เป็นข้าวเก่าได้โดยใช้กระบวนการ<br />

กระตุ้น (อาจใช้ความร้อนแห้ง / ความร้อนชื้น) กลุ่มคลัสเตอร์<br />

แปรรูปข้าว จ.พิษณุโลก ได้ทำการพัฒนากระบวนการเร่งข้าวใหม่<br />

ให้เป็นข้าวเก่า โดยใช้ความร้อนชื้น และทำการปรับปรุงชุดผลิต<br />

ข้าวนึ่งมาใช้ในการให้ความร้อนชื้น เพื่อเร่งข้าวที่เก็บเกี่ยวใหม่ ให้<br />

มีคุณสมบัติไม่แตกต่างกับข้าวเก่าที่เก็บไว้ประมาณ 4 เดือน โดย<br />

กระบวนการเร่งใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน<br />

ข้าวเก็บเกี่ยวใหม่ (ความชื้นมากกว่า 20%)<br />

<br />

<br />

ให้ความร้อนด้วยไอน้ำจนอุณหภูมิมากกว่า 70°C <br />

ความชื้นมากกว่า 30%<br />

<br />

<br />

พักบ่มไว้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง<br />

<br />

<br />

ลดความชื้นลงก่อนนำไปสี<br />

แผนผังแสดงวิธีการเร่งข้าวให้มีความเก่าโดยใช้ความร้อนชื้น


ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

55<br />

ภาพแสดงการปรับใช้ชุดผลิตข้าวนึ่ง สำหรับการเร่งข้าวใหม่ให้เป็นข้าวเก่า ณ โรงสีเจริญพาณิชย์ จังหวัดพิษณุโลก <br />

กลไกที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำข้าวให้เก่า<br />

1. คุณสมบัติของข้าวที่เปลี่ยนไประหว่างการเก็บรักษา คุณสมบัติ<br />

ทางด้านการหุงต้มและคุณภาพการรับประทาน (Eating quality) ของ<br />

ข้าวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องระหว่างการเก็บรักษา เนื่องจาก<br />

ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางเคมีกายภาพ<br />

ของลิปิด (Lipid) โปรตีนและองค์ประกอบอื่นซึ่งมีผลมาจากเอนไซม์<br />

และออกซิเจนทำให้คุณสมบัติด้านการดูดซึมน้ำ การพองตัว การละลาย<br />

และความหนืดมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ข้าวสุกซึ่งหุงจากข้าวเก่ามี<br />

ลักษณะร่วนแข็ง ไม่เกาะติดกัน มีของแข็งที่ละลายในน้ำที่หุงน้อย<br />

อุ้มน้ำมาก ขยายปริมาตรมากซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งโดย<br />

ทั่วไปการที่ข้าวจะมีคุณสมบัติดังกล่าวได้จะต้องทำการเก็บไว้เป็นเวลา<br />

4-6 เดือน จึงเป็นการสิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้าวเปลือกส่งผลให้<br />

ต้นทุนการผลิตสูง จึงมีการวิจัยอย่างกว้างขวางเพื่อเร่งอายุการเก็บ<br />

รักษาข้าวหรือเปลี่ยนคุณสมบัติของข้าวจากข้าวใหม่เป็นข้าวเก่า<br />

เพื่อให้สามารถผลิตข้าวใหม่เป็นข้าวเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็น<br />

ต้องเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บรักษารวมถึง<br />

ผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่มีต่อคุณภาพของข้าวเก่า


56<br />

ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

2. กลไกที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บรักษาข้าว ระหว่างการเก็บ<br />

รักษาข้าวมีการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับลิปิดและโปรตีนดังนี้<br />

ลิปิดเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นกรดไขมันอิสระและเกิดสารประกอบ<br />

เชิงซ้อนกับอะไมโลส และสารประกอบคาร์บอนิลและไฮโดรเปอร์<br />

ออกไซด์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของโปรตีน การ Condensation<br />

และ Accumulation ของสารประกอบคาร์บอนิล การเกิด<br />

ออกซิเดชันของโปรตีนเป็นการเกิดพันธะไดซัลไฟด์จากหมู่<br />

ซัลไฮดริลทำให้แรงในการยึดเกาะกันระหว่างโมเลกุลของโปรตีน<br />

กับสตาร์ชเพิ่มขึ้น ยับยั้งการพองตัวของสตาร์ชและมีผลต่อลักษณะ<br />

เนื้อสัมผัสของข้าวสุก นอกจากนี้ระหว่างการเก็บรักษายังเกิดปฏิกิริยา<br />

ระหว่างเฟอรูเลทเอสเทอร์ (Ferulate ester) ของเฮมิเซลลูโลสทำให้<br />

เกิดพันธะข้าม มีผลให้ความแข็งแรงของผนังเซลล์ในเมล็ดข้าวเพิ่ม<br />

ขึ้น ระหว่างการเก็บรักษาเกิดกระบวนการที่มีการเชื่อมโยงกัน<br />

ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เคมีและชีววิทยา ซึ่ง<br />

ผนังเซลล์มีการปลดปล่อยกรดฟินอลิกอิสระและสารนี้ทำหน้าที่เป็น<br />

สารต้านการออกซิเดชัน (Antioxidant) ซึ่งเกิดการรวมตัวกับ<br />

กรดไขมันอิสระและเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับอะไมโลส ระหว่าง<br />

การเก็บรักษา <br />

3. การดำเนินการของโรงสีสมาชิกกลุ่มคลัสเตอร์ข้าวพิษณุโลก<br />

ในการดำเนินการพัฒนาข้าวใหม่เป็นข้าวเก่าของกลุ่มสมาชิกใน<br />

ช่วงแรก ใช้วิธีการให้ความร้อนข้าวโดยมีกระบวนการผลิต 2 รูปแบบ<br />

คือการผลิตข้าวเก่าโดยการให้ความร้อนแห้ง และการให้ความร้อน<br />

ชื้น โดยในแต่ละแบบมีรูปแบบการผลิตแตกต่างกัน <br />

เทคโนโลยีการตรวจสอบข้าวเก่าด้วยน้ำยา<br />

ตรวจสอบอย่างง่าย<br />

ข้าวเก่าเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค เนื่องจากหุง<br />

ขึ้นหม้อ ไม่แฉะ ให้คุณภาพในการหุงที่ดี การตรวจสอบข้าวเก่า<br />

สำหรับโรงสีโดยทั่วๆ ไปมักจะใช้วิธีการนำมาหุง แล้วทำการชิมโดยผู้<br />

เชี่ยวชาญ ซึ่งใช้เวลานาน และจำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญใน<br />

การวิเคราะห์ กลุ่มคลัสเตอร์อุตสาหกรรมข้าวพิษณุโลก ได้ทำการ<br />

พัฒนาน้ำยาสำหรับตรวจสอบข้าวเก่าอย่างง่าย โดยสามารถนำไป<br />

ใช้ในการทดสอบข้าวเก่าได้ โดยอาศัยหลักการการเปลี่ยนสีของ<br />

น้ำยา โดยวิธีการตรวจสอบทำได้สะดวก โดยการนำข้าวประมาณ<br />

10 กรัม ใส่ในหลอดแก้ว จากนั้นเติมน้ำยาลงไปให้ท่วม ทิ้งไว้<br />

ประมาณ 1 นาที สังเกตสีของน้ำยา ซึ่งหากเป็นข้าวใหม่ น้ำยาจะ<br />

เป็นสีออกน้ำเงิน-เขียว และถ้าเป็นข้าวเก่าน้ำยาจะเปลี่ยนไปเป็น<br />

เหลือง-ส้ม<br />

ภาพแสดงลักษณะของน้ำยาที่เปลี่ยนสีไปตามความเก่าของข้าว<br />

ที่ทำการตรวจสอบ


Cluster <br />

Info<br />

คลัสเตอร์<br />

แปรรูปข้าว<br />

จังหวัดพิษณุโลก<br />

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 2<br />

โทร. 0-5528-2957-9<br />

โทรสาร 0-5528-3021<br />

Cluster <br />

Activities <br />

ความรู้ที่ไม่ลับ นำสู่การเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม<br />

57

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!