11.09.2017 Views

eBook_EGA_ANNUALREPORT_Thai

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

รายงานประจำปี 2558<br />

สารจากประธานกรรมการ<br />

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์<br />

Digital Economy หรือ เศรษฐกิจดิจิทัล ดูเหมือนเป็นคำใหม่ที่<br />

แวดวงธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่างก็พูดถึงเป็นอย่างมาก<br />

เพราะไม่เพียงแต่เป็นนโยบายที่นำมาชูเศรษฐกิจของรัฐบาลเท่านั้น<br />

แต่สำหรับประชาชนทั่วไป สิ่งที่รัฐบาลคิดมาเป็นนโยบายใหม่นี้<br />

ถือว่าจะช่วยตอบคำถามสิ่งที่ประชาชนต้องการได้ดีขึ้น เพราะจะ<br />

มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลอันทันยุคสมัยไปใช้พัฒนาวิธีการผลิต<br />

สินค้าและบริการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งช่องทางการขาย<br />

การตลาด ช่องทางการรับบริการหลากหลาย และพฤติกรรม<br />

ของผู้คนที ่บริโภคสินค้าและบริการก็เปลี่ยนไปมากอย่างไม่เคยมี<br />

มาก่อน วิธีการจัดการปัญหาต่างๆ ของภาครัฐก็เปลี่ยนไป โดยหัน<br />

มาเผยแพร่ข่าวสารและติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ผ่าน Social<br />

Media มากขึ้น นี่คือสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป<br />

เป็นอย่างมาก ทำให้ภาครัฐต้องมีกลไกสำหรับขับเคลื่อนนโยบาย<br />

เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดยต้องผลักดันให้ GDP<br />

ของประเทศเติบโตมากขึ้นจากเศรษฐกิจดิจิทัล โดยส่งเสริมให้มี<br />

กระบวนการผลิตสินค้าและบริการ และการดำเนินธุรกิจการค้า<br />

ไปเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้น ปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่<br />

(Start-up) ถือมีว่ามีบทบาทเป็นอย่างมาก เพราะมีความคิด<br />

สร้างสรรค์ในการสร้างผลงานและพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เข้าถึงได้<br />

ง่าย สะดวก รวดเร็ว<br />

สำหรับการบริการภาครัฐ (Public Service) ก็ต้องมีการปรับตัวไป<br />

เป็น Digital Service มากขึ้นด้วย และที่สำคัญคือการบริหาร<br />

ภาครัฐ ระเบียบ กฏหมายต่างๆ ขั้นตอนการทำงานหรือ<br />

การบริการภาครัฐก็ต้องรองรับ Digital Economy ด้วย ซึ่งการมี<br />

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาต<br />

ของทางราชการ พ.ศ. 2558 ก็เป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ<br />

มีความตื่นตัวในการให้บริการประชาชนมากขึ้น เนื่องจากได้ระบุ<br />

กรอบเวลาการดำเนินการและประชาชนสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียน<br />

ได้ด้วย ส่วนการปรับปรุงงานบริการ (Service) ของภาครัฐทั้งหลายก็<br />

ต้องกำหนดเป้าหมายขึ้นภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital<br />

Government) เพื่อให้หน่วยงานไปยกระดับบริการแต่ละประเภท<br />

ต่อไป โดยแต่ละหน่วยงานก็ต้องมีการออกแบบกระบวนการให้<br />

บริการใหม่และต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน<br />

การบริการ และบุคลากรผู้ให้บริการก็ต้องมีทักษะความรู้ด้าน<br />

ดิจิทัล ทั้งหมดนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการยกเครื่องการบริการ<br />

ภาครัฐ<br />

“สำหรับประชาชน ถือเป็นเป้าหมาย<br />

สูงสุดที่หน่วยงานภาครัฐจะต้อง<br />

ทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นความต้องการ<br />

ให้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดใด มุมใด<br />

ของประเทศไทย บริการภาครัฐที่<br />

เป็น Digital Service ในยุคใหม่นี้ก็จะ<br />

ท ำลายข้อจำกัดต่ างๆ เช่น การเดินทาง<br />

ช่องทางการเข้าถึงบริการ เวลาในการ<br />

ให้บริการ และต้นทุนการให้บริการ”<br />

สำหรับประชาชน ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดที่หน่วยงานภาครัฐจะต้อง<br />

ทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นความต้องการให้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดใด<br />

มุมใดของประเทศไทย บริการภาครัฐที่เป็น Digital Service ใน<br />

ยุคใหม่นี้ก็จะทำลายข้อจำกัดต่างๆ เช่น การเดินทาง ช่องทาง<br />

การเข้าถึงบริการ เวลาในการให้บริการ และต้นทุนการให้บริการ<br />

แต่ทุกอย่างที่กล่าวมานี้เป็นโจทย์ที่มีความซับซ้อน การแก้ไขปัญหา<br />

ในบางครั้งต้องมองภาพหลายมิติและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน<br />

เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในงานบริการประเภทเดียวกัน (Domain)<br />

อาจต้องมาจากหลายหน่วยงาน แต่ต้องมีจุดร่วมในการแก้ไข<br />

ปัญหาเหมือนกัน<br />

สุดท้าย ผมขอกล่าวถึงบทบาทของ <strong>EGA</strong> ที่เดิมมีภารกิจด้าน<br />

การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ICT ของภาครัฐ แต่เมื่อมี<br />

นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หน่วยงานก็มีบทบาท<br />

โดดเด่นมากขึ้นในการสร้างความเชื่อมโยงกับภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อน<br />

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) โดยทำให้ภาครัฐ<br />

มีการบูรณาการและทำให้หน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินงานแบบ<br />

Smart Operation ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในภาคส่วนใดก็ตาม<br />

ไม่ว่าเราจะใช้เครื่องมือดิจิทัลที่ทันสมัยอย่างไร เราต่างก็มีหน้าที่<br />

สร้างบริการที่ดีให้แก่ประชาชนทั้งสิ้น<br />

7

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!