18.07.2023 Views

ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก-ทดลองอ่าน

  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สารบัญ<br />

คำานุำาสำานุักพิมูพ์<br />

vi<br />

คำานุำาผู้เข้ียนุ x<br />

บทนุำา<br />

ปฐ์มักาลขีองโบราณคด่และประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก<br />

และสังเขีปอารยธิ์รรมัสมััยสำาริดในประเที่ศกรีซ<br />

2<br />

ศิลปะกรีกโบราณ 1<br />

สมััยเรขีาคณิติ<br />

40<br />

ศิลปะกรีกโบราณ 2<br />

สมััยอาร์เขีก<br />

66<br />

ศิลปะกรีกโบราณ 3<br />

สมััยคลาสสิก<br />

96<br />

ศิลปะกรีกโบราณ 4<br />

สมััยเฮลเลนิสติิก<br />

128<br />

บทส่งท้าย<br />

ถนนทีุ่กสายมัุ่งส้่กรุงโรมั<br />

150<br />

ภาคผนุวก 158<br />

บรรณานุุกรมู 168<br />

ดัชนุี 175<br />

ที่มูาภาพ 178<br />

ประวัติิผู้เข้ียนุ 180


คำานำาสำานักพิมัพ์


้<br />

[…] รูปเคารพถูกสร้างสรรค์ขึ ้นด้วยงาช้างและทองคำา ตรงกลางหมวกเกราะ<br />

ของเทพีมีรูปสฟิงซ์ […] ขนาบข้างด้วยรูปกริฟฟิน […] รูปเคารพเทพีอธีนา<br />

อยู ่ในท่ายืนตรง ชุดทูนิคยาวกรอมเท้า มีรูปหัวเมดูซ่าทำาจากงาช้างประดับ<br />

หน้าอก เทพีถือรูปเทพีแห่งชัยชนะซึ่งสูงประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วน<br />

ในมืออีกข้างถือหอก มีโล่วางอยู่แทบเท้า และใกล้ ๆ กับหอกเป็นงูใหญ่<br />

ซึ่งคงจะเป็นเอริคธอนิอุส ที่ฐานแกะสลักฉากการกำาเนิดของแพนดอรา 1<br />

ข้อความข้างต้นของพอสซาเนียส (Pausanias, ประมาณ 110–180 ปีก่อนคริสตกาล)<br />

นักเดินทางและนักภูมิศาสตร์เชื้อสายกรีกที่มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยจักรวรรดิโรมัน บรรยาย<br />

รายละเอียดของรูปเคารพ Chryselephantine Statue of Athena Parthenos ที่ประดิษฐาน<br />

อยู่ภายในวิหารพาร์เธนอนแห่งเอเธนส์ว่า ผลงานของประติมากรกรีกชื่อดังของยุคคือ<br />

ฟีเดียส (Pheidias, 480–430 ปีก่อนคริสตกาล) ชิ้นนี้เป็นประติมากรรมตกแต่งด้วย<br />

งาช้างและทองคำาบนแกนกลางที่ทำาจากไม้ ข้อความดังกล่าวได้รับการอ้างถึงในบทที่ 3<br />

ศิลปะกรีกโบราณ สมัยคลาสสิก<br />

การอ้างถึงข้อความนี้มีนัยสำาคัญสองประการด้วยกัน ประการแรกคือ การชี้ให้<br />

เห็นว่าประติมากรรมกรีกนั้นไม่ได้เป็น “หินอ่อนสีขาว” ดังที่มักเข้าใจกันทั่วไป หาก<br />

ทว่ามีหลายสี (polychrome) โดยเกิดจากทั้งการทาสีและการประดับประดาด้วยวัสดุ<br />

ต่าง ๆ ถึงแม้ว่าขนบเช่นนี้จะได้รับการสืบทอดโดยศิลปะโรมัน แต่ก็ลบเลือนหายไป<br />

ในสมัยเรอเนสซองส์ที่การหวนกลับไปหางานคลาสสิกโบราณก่อให้เกิดมายาคติเรื่อง<br />

ความขาว (myth of whiteness) ความเข้าใจที ่คลาดเคลื ่อนดังกล่าวส่งผลต่อความรับรู<br />

ของเรา อันที่จริงแล้ว ภาพจำาเกี่ยวกับศิลปะกรีกของเราเป็นส่วนผสมที่เกิดจากสายตา<br />

ของเหล่าศิลปินและปัญญาชนแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 กับสภาพปัจจุบันของโบราณ<br />

วัตถุตามพิพิธภัณฑ์ (ที่มีการผลิตซำ้าภาพผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล) ที่สีสันหลุด<br />

ลอกหายไปตามกาลเวลา<br />

1<br />

Pausanias, Description of Ancient Greece (Book I and II), trans. W.H.S. Jones (London:<br />

William Heinemann, 1933), 123–125 ถอดความเป็นภาษาไทยโดยเอกสุดา สิงห์ลำาพอง<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก<br />

vii


ประการที่สองคือ ความสำาคัญของงานเขียนยุคโรมันต่อการทำาความเข้าใจประติ­<br />

มากรรมกรีก ในเมื่อศิลปวัตถุที่เห็นตรงหน้าไม่อาจบอกข้อเท็จจริงได้อย่างครบถ้วน<br />

หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ ไม่มีชิ้นงานดั้งเดิมหลงเหลืออยู่แล้ว การสืบค้นทางเอกสารก็<br />

จำาเป็นอย่างยิ่งต่อการเติมเต็มข้อสันนิษฐานและสร้างคำาอธิบาย ในกรณีของประติมา­<br />

กรรมกรีก ทั้งข้อเขียนและงานจำาลองสมัยโรมัน (Roman copy) คือกุญแจสำาคัญใน<br />

การทำาความเข้าใจว่าศิลปะกรีกโบราณนั้นเป็นอย่างไร กล่าวอีกอย่างได้ว่า การศึกษา<br />

<strong>ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก</strong>โบราณเป็นไปได้ด้วยการพึ่งพางาน “ชั้นรอง” จากพวกโรมัน<br />

ทั้งในเชิงเอกสารและเชิงวัตถุ<br />

ในแง่นี้ การอ้างถึงข้อความในบันทึกของพอสซาเนียสโดยเอกสุดา สิงห์ลำาพอง<br />

อาจารย์ประจำาภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

จึงสะท้อนระเบียบวิธีการทำางานอันเคร่งครัดของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ และเผยให้<br />

เห็นการเกาะเกี่ยวกันระหว่างศิลปะกรีกกับจักรวรรดิโรมันเข้าไว้ด้วยกัน ประวัติศาสตร์<br />

ศิลปะกรีก เป็นผลจากการค้นคว้าเพื ่อสร้างตำาราที่รวบรวมข้อมูลพื้นฐานและเสนอการ<br />

ทำาความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศิลปกรรมในอารยธรรมกรีกโบราณ โดย<br />

อาศัยมุมมองทางประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีเป็นหลัก ร่วมกับมิติทางสังคม<br />

วัฒนธรรม และปรัชญากรีกอันเป็นพื้นฐานของอารยธรรมตะวันตก ภาคผนวกของ<br />

หนังสือที่ว่าด้วยโลกปกรณัมและทวยเทพกรีกโบราณยังเป็นตัวช่วยเสริมความให้เห็น<br />

ภาพกระจ่างชัดยิ่งขึ้น<br />

สำานักพิมพ์ readtherunes มีความยินดีที่จะนำาเสนอ <strong>ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก</strong><br />

โดยเอกสุดา สิงห์ลำาพอง ด้วยเหตุที่เราเชื่อว่า การเรียนรู้โลกที่แตกต่างออกไปทั้งในเชิง<br />

พื้นที่และเชิงเวลานั้นช่วยก่อมุมมองเชิงเปรียบเทียบ กระตุ้นให้เราพิจารณาสรรพสิ่ง<br />

โดยรอบด้าน ในปริมณฑลของศิลปวัฒนธรรม เรามักกล่าวแก่กันว่า “หากบ้านเมืองดี<br />

มีเสรีภาพ ศิลปะจะเบ่งบาน” แต่มันเป็นเช่นนั้นเสมอไปหรือ? การมองในเชิงประวัติ­<br />

ศาสตร์ศิลปะบอกเราอีกอย่างหนึ่ง ยุคคลาสสิกอันเป็นยุคทองของศิลปะกรีกกลับเป็น<br />

ยุคที่เต็มไปด้วยสงคราม การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศการรบพุ่ง<br />

กันระหว่างนครรัฐต่าง ๆ ในทำานองเดียวกัน ภาพ Liberty Leading the People (1830)<br />

โดยศิลปินฝรั่งเศส เออแฌน เดอลาครัวซ์ (Eugène Delacroix, 1798–1863) ที ่ใคร ๆ ต่าง<br />

รู้จัก ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุที่ฝรั่งเศสมีเหตุการณ์ปฏิวัติเดือนกรกฎาคม (July Revolution)<br />

viii<br />

เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าวิกฤติการณ์เป็นเงื่อนไขจำ าเป็นของการสร้างสรรค์เสมอ ประเด็น<br />

ก็คือ ประวัติศาสตร์ศิลปะมาช่วยกะเทาะมายาคติด้วยการชี้ให้เห็นว่า ศิลปะชั้นยอด<br />

เกิดขึ้นได้ในภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าความสัมพันธ์ต่ออำานาจจะเป็นไปในทิศทางใด<br />

“doubt everything” ความสงสัยและการตั ้งคำาถามเป็นหัวใจสำาคัญของการแสวงหา<br />

ความรู้ เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและประตูสู่การทำาความรู้จักกับตัวเองและดินแดนอื่น เพราะ<br />

เราเชื่อว่า การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อสะท้อนย้อนคิดเกี่ยวกับตัวเองนั้นควรเป็น<br />

และเป็นไปได้<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก<br />

ix


คำานำาผู้้เขีียน


หนังสือเล่มนี้เกิดจากการเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการบรรยายในรายวิชาศิลปะกรีก<br />

สำาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีของภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีจุดประสงค์ในการนำาเสนอความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ<br />

วัฒนธรรมและศิลปกรรมในอารยธรรมกรีกโบราณ ตามที่ได้มีการศึกษามาตั้งแต่อดีต<br />

จนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ การมี<br />

ต้นกำาเนิดเป็นเอกสารประกอบการบรรยายของการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี<br />

ทำาให้ผู้เขียนคัดเลือกเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เรียงลำาดับเนื้อหาตามยุคสมัย และคัดเลือก<br />

ตัวอย่างงานศิลปกรรมที่มีข้อมูลแพร่หลายอยู่มากแล้วเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ผู้เขียน<br />

ไม่สามารถใช้คำาว่า “ครบถ้วนสมบูรณ์” ในการแนะนำาหนังสือเล่มนี้ได้ เพราะจาก<br />

ประสบการณ์การสอนและการค้นคว้าด้าน<strong>ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก</strong>มาเป็นเวลากว่า<br />

สิบปีนั้น <strong>ประวัติศาสตร์ศิลปะกรีก</strong>ยังมีสิ่งใหม่ ๆ ให้ค้นพบได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ<br />

ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นใหม่ หรือการนำาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของคริสต์<br />

ศตวรรษที่ 21 มาช่วยสร้างความกระจ่างแจ้ง สนับสนุนหรือหักล้างทฤษฎีดั้งเดิม<br />

เป็นต้น สำาหรับการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อนแล้ว ความ<br />

ไม่เป็นที่สิ้นสุดของศิลปะกรีก ดังที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาพูดคุยไว้ในบทนำาและบท<br />

ส่งท้าย จึงเป็นแง่มุมที่สำาคัญสำาหรับทั้งนักเรียน คนทำางานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ<br />

รวมไปถึงผู้สนใจทั่วไปที่จะได้เห็นว่า ศิลปะกรีกโบราณยังมีลมหายใจและสัมพันธ์กับ<br />

กระแสความเคลื่อนไหวทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยอยู่เสมอ<br />

เอกสุดา สิงห์ลำาพอง<br />

กุมภาพันธ์ 2566<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก<br />

xi


ศิลปะกรีกโบราณ 3<br />

สมััยคลาสสิก


ในทางหนึ่ง สมัยคลาสสิกของกรีก (เริ่มต้นราวปลายศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล<br />

และสิ้นสุดลงหลังการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสตกาล)<br />

ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทอง (The Golden Age) ของอารยธรรมกรีกโบราณ จาก<br />

การบรรลุไปอีกขั้นหนึ่งของความงดงามและสมบูรณ์แบบในงานศิลปะ สถาปัตยกรรม<br />

ละครเวที และปรัชญา แต่อีกด้านหนึ่งนั้น สมัยคลาสสิกเป็นช่วงที่หลายนครรัฐของ<br />

กรีซเผชิญหน้ากับภาวะสงครามอย่างต่อเนื่อง กรณีของนครรัฐเอเธนส์ในช่วง 440–<br />

330 ปีก่อนคริสตกาล แทบจะมีสงครามเกิดขึ้นปีเว้นปี1 บันทึกทางประวัติศาสตร์ชิ้น<br />

สำาคัญที่ทรงอำานาจในฐานะของต้นกำาเนิดสาขาวิชาประวัติศาสตร์ หรือการเขียนทาง<br />

ประวัติศาสตร์ คือ Histories โดยเฮโรโดตัส (Herodotus, 484–425 ปีก่อนคริสตกาล)<br />

และ History of the Peloponnesian War ของธูซิดิดีส (Thucydides, 460–400 ปีก่อน<br />

คริสตกาล) ก็บอกเล่ารายละเอียดของสงครามกรีก-เปอร์เซีย และสงครามเพโลพอนนีส<br />

ตามลำาดับ<br />

บรรยากาศการสร้างงานศิลปกรรมที่เต็มไปด้วยอุดมคติและสุนทรียศาสตร์จึง<br />

ไม่ได้เป็นผลผลิตจากความสงบร่มเย็น แต่การเกิดขึ้นของสงครามหรือผลพวงของ<br />

สงครามถือเป็นจุดเปลี่ยนสำาคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ทางสังคมวัฒนธรรมในสมัย<br />

คลาสสิกอยู่หลายช่วงตอน เช่น ศึกแห่งเธอร์โมพิลี (Battle of Thermopylae, 480 ปี<br />

ก่อนคริสตกาล) ในสงครามกรีก-เปอร์เซีย ทัพเปอร์เซียบุกยึดครองและเผาทำาลาย<br />

นครรัฐเอเธนส์ รวมถึงอะโครโพลิสสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมือง เปิดทางให้อะโครโพลิส<br />

กลายเป็นพื้นที่ประกาศอำานาจและศักดาของกรีกในอีกเกือบ 40 ปีต่อมาภายหลังจาก<br />

ที่เปอร์เซียพ่ายแพ้และหยุดการรุกรานนครรัฐกรีกทั้งในแผ่นดินใหญ่และในเอเชียน้อย<br />

(จะกล่าวโดยละเอียดต่อไป) รวมถึงสงครามเพโลพอนนีสระหว่าง “จักรวรรดิเอเธนส์”<br />

ที่รุ่งเรืองแซงหน้านครรัฐอื่น ๆ หลังสงครามกรีก-เปอร์เซีย กับสันนิบาตเพโลพอนนี­<br />

เซียนที่นำาโดยนครรัฐสปาร์ตา ผลของสงครามซึ่งนครรัฐเอเธนส์เป็นฝ่ายปราชัยตาม<br />

1<br />

Yvon Garland, War in the Ancient World: A Social History, trans. Janet Lloyd (New York:<br />

Norton, 1975), 15 อ้างใน Jaime A. González-Ocaña, War, Peace, and Conflict Resolution<br />

in the Classical World, in War or Peaceful Transformation: Multidisciplinary and International<br />

Perspectives, editors Marek J. Celinski and Kathryn M. Gow, 29–53 (New York : Nova<br />

Science, 2020), 30.<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 97


รูปที่ 1 Raphael Sanzio, The School of Athens, 1509–1511. Fresco. 500 × 770 cm.<br />

The Stanze di Raffaello, the Apostolic Palace, Vatican City<br />

ทรรศนะของเจค็อบ เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt, ค.ศ. 1818–1897) นักประวัติ­<br />

ศาสตร์ศิลปะผู้บุกเบิกการศึกษาแนวประวัติศาสตร์วัฒนธรรม (cultural history) สรุป<br />

ได้ว่า การแพ้สงครามเป็นจุดจบของนครรัฐในฐานะแกนกลางทางการเมืองที่มีต่อสังคม<br />

กรีกโบราณ และความเชิดหน้าชูตาของอารยธรรมกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล<br />

คือ นครรัฐ, agon (แปลได้อย่างหลวม ๆ ว่า การแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ) และปัจเจก­<br />

นิยม เป็นแรงขับที่ทำาให้เกิดความพินาศด้วยตัวเอง 2<br />

2<br />

Tobias Joho, “The Internal Commotion of Greek Culture: Jacob Burckhardt on the<br />

Defeat of Athens in the Peloponnesian War,” Ktèma: civilisations de l’Orient, de la Grèce et<br />

de Rome antiques, 42 (2017), 145–146, doi: https://doi.org/10.3406/ktema.2017.1520.<br />

98 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


รูปที่ 2 Portrait bust of Perikles. Roman<br />

copy of a Greek original, 100–199 AD.<br />

Marble, H. 58.42 cm. British Museum,<br />

London (Museum Number: 1805,0703.91)<br />

สมัยคลาสสิกยังผลิตนักปรัชญาคนสำาคัญของกรีกโบราณที่ได้รับการยอมรับ<br />

นับถือว่าเป็นต้นเค้าของหลักปรัชญาตะวันตก ได้แก่ โสกราตีส (Socrates) เพลโต<br />

(Plato, ราว 428–348 ปีก่อนคริสตกาล) และอริสโตเติล (Aristotle, 384–322 ปีก่อน<br />

คริสตกาล) ต่างมีชีวิตและดำาเนินการสอนแนวคิดทางปรัชญาโสกราตีส (Socratic<br />

School) ตัวอย่างของการเชิดชูสำานักปรัชญาของเอเธนส์เหนือสำานักอื่น เห็นได้จาก<br />

The School of Athens (รูปที่ 1) จิตรกรรมฝาผนังตกแต่งห้องส่วนพระองค์ของพระ<br />

สันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 (Pope Julius II, ดำารงตำาแหน่งระหว่าง ค.ศ. 1503–1513) ณ<br />

วาติกัน (ปัจจุบันคือห้อง Stanze di Raffaello หรือ Raphael’s Room) โดยศิลปินเรอ­<br />

เนสซองส์ ราฟาเอล (Raphael, ค.ศ. 1483–1520) ที่มีเพลโตและอริสโตเติลยืนเป็น<br />

จุดรวมสายตาที่กึ่งกลางภาพ แวดล้อมด้วยนักคิดและผู้รู้จากช่วงเวลาต่าง ๆ และจาก<br />

หลากหลายนครรัฐของกรีซโบราณที่มาเป็นองค์ประกอบเสริมให้กับปรัชญาสายเอเธนส์<br />

ที่ศูนย์กลางของภาพ<br />

หมุดหมายแห่งความเป็นยุคทองของสังคมกรีกสมัยคลาสสิกมีนครรัฐเอเธนส์เป็น<br />

ศูนย์กลางภายใต้กลไกการดำาเนินงานของเพอริคลีส (รูปที่ 2) บุตรแห่งซานทิปปัส<br />

(Perikles, Son of Xanthippus: 495–429 ปีก่อนคริสตกาล) ผู้ซึ่งดำารงตำาแหน่งแม่ทัพ<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 99


รูปที่ 3 แผนผังอะโครโพลิสแห่งเอเธนส์และสถาปัตยกรรม<br />

(หมายเลข 2–6 สร้างในสมัยของเพอริคลีส)<br />

1. Panathenaic Way 2. Parthenon 3. Propylaia 4. Temple of Athena Nike<br />

5. Statue of Athena Promachos 6. Erectheion 7, Pandroseion 8. Altar of Athena<br />

9. Sanctuary of Zeus Polieus 10. Sanctuary of Artemis Brauroneion 11. Chalkotheke<br />

12. Arrhephroeion 13. Sanctuary of Pandion 14. Odeon of Perikles<br />

15. Sanctuary of Dionysus Eleuthereus 16. Theatre of Dionysus<br />

(strategos) และนักการเมืองของเอเธนส์ ระหว่าง 461–429 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่าง<br />

การดำารงตำาแหน่งนักปกครอง เพอริคลีสว่าจ้างสถาปนิกและประติมากรมาสร้างสถา­<br />

ปัตยกรรมและประติมากรรมสำาหรับนครรัฐในหลายโครงการ โดยโครงการที่โดดเด่น<br />

ที่สุดคือ กลุ่มสถาปัตยกรรมบนอะโครโพลิส บันทึกของพลูตาร์ก (Plutarch, ค.ศ.<br />

46–122) นักเดินทางและนักเขียนในสมัยโรมัน ระบุว่าสถาปัตยกรรมบนอะโครโพลิส<br />

ที่อยู่ในโครงการก่อสร้างครั้งใหญ่ของเพอริคลีส ได้แก่ วิหารพาร์เธนอน (The Parthenon)<br />

ซุ้มประตูทางเข้า (The Propylaia) และหอแสดงดนตรีแห่งเอเธนส์ (The Odeon<br />

of Athens) นอกจากนี้ในสมัยของเพอริคลีสยังได้สร้างกำาแพงยาวด้านทิศใต้ที่เชื่อม<br />

ระหว่างเอเธนส์กับท่าเรือที่เมืองพีเรียส (Piraeus) หอจัดพิธีรับเข้าหรือหอบวช (Hall<br />

100 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


of Initiation) และสถานบูชาเทพีดิมีเตอร์ (The Great Demeter Sanctuary) ในเมือง<br />

เอลูซิส (Eleusis) อย่างไรก็ตาม งานสร้างสรรค์บนอะโครโพลิสของนครรัฐเอเธนส์<br />

(รูปที่ 3) ทั้งงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรม ถือเป็นตัวอย่างงานศิลปกรรมที่<br />

ยอมรับกันว่าเป็นตัวแทนของยุคสมัยได้อย่างชัดเจนที่สุด 3<br />

อะโครโพลิสแห่งเอเธนุส์: พื้นุที่ศักดิ์สิทธิ์และเกียรติิยศแห่งนุครรัฐ<br />

อะโครโพลิสของนครรัฐเอเธนส์มีพื้นฐานการเป็นป้อมปราการของวัฒนธรรม<br />

ไมซินี ซึ่งยังคงหลงเหลือ cyclopean wall อันเป็นเอกลักษณ์การก่อสร้างของไมซีนีอยู่<br />

จนถึงสมัยคลาสสิก สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ที่มีอายุสมัยก่อนหน้าสมัยของเพอริคลีสถูก<br />

เผาทำาลายในสงครามกับเปอร์เซียในระหว่างศึกแห่งเธอร์โมพิลีและศึกแห่งอาร์เตมิเซียม<br />

(Battle of Artemisium) ระหว่าง 480–479 ปีก่อนคริสตกาล การที่เพอริคลีสมีคำาสั่ง<br />

ให้สร้างงานสถาปัตยกรรมเป็นจำานวนมากบนอะโครโพลิสและในพื้นที่อื่น ๆ กล่าวได้ว่า<br />

มีจุดประสงค์ในการเฉลิมฉลองและรำาลึกถึงชัยชนะของกรีกเหนือทัพเปอร์เซียของ<br />

เซิร์กซีสที่ 1 แห่งราชวงศ์อาเคมินีด (Xerxes I, ครองราชย์ระหว่าง 486–465 ปีก่อน<br />

คริสตกาล) และยังเป็นการประกาศอำานาจ ความมั่งคั่งของเอเธนส์เช่นกัน การก้าว<br />

ขึ้นมาเป็นผู้นำาด้านศิลปวัฒนธรรมของเอเธนส์เป็นผลประโยชน์โดยตรงที่ได้รับจากการ<br />

ย้ายคลังสมบัติของสันนิบาตดีเลียนจากเกาะดีลอสมาไว้เอเธนส์ ทรัพย์สินที่เอเธนส์<br />

เรียกร้องให้เหล่านครรัฐที่เป็นสมาชิกของสันนิบาตนั้น ส่วนหนึ่งนำามาเป็นงบประมาณ<br />

ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่ของเพอริคลีส<br />

การตั้งตัวขึ้นเป็นผู้นำ าสันนิบาตดีเลียนของเอเธนส์ทำาให้โครงสร้างของกลุ่มสันนิบาต<br />

เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นการผนึกกำาลังรวมกันเพื่อป้องกันการรุกรานจากเปอร์เซีย เมื่อ<br />

ทัพเปอร์เซียพ่ายแพ้ยกทัพกลับไปแล้ว การมีอยู่ของสันนิบาตดีเลียน จึงไม่เป็นไป<br />

ตามจุดมุ่งหมายเดิม แต่กลับกลายเป็นการเสริมฐานอำานาจและความมั่งคั่งให้เอเธนส์<br />

(จากการย้ายคลังสมบัติมาไว้ที่นครรัฐในปี 454 ก่อนคริสตกาล) มีการเรียกร้องให้<br />

3<br />

Ian Jenkins, Greek Architecture and Its Sculpture in the British Museum (London: The British<br />

Museum Press, 2006), 71–74; T. Leslie Shear, Trophies of Victory: Public Building in<br />

Periklean Athens (Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 2016), 1–3.<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 101


ส่งทรัพย์สินมาตามแต่ที่เอเธนส์เป็นผู้กำาหนด ความสัมพันธ์ระหว่างนครรัฐภายใน<br />

สันนิบาตดีเลียนต่อเอเธนส์เปลี่ยนจากพันธมิตรมาเป็นกึ่งเมืองขึ้นหรือรัฐบรรณาการ<br />

นครรัฐเอเธนส์จึงกลายเป็นจักรวรรดิในทางปฏิบัติ และโครงการสถาปัตยกรรมบน<br />

อะโครโพลิสของเพอริคลีสจึงมีสถานะในการเป็นสัญลักษณ์ให้กับอำานาจแบบจักรวรรดิ<br />

ของเอเธนส์ไปโดยปริยาย<br />

สิ่งก่อสร้างสำาคัญ:<br />

1) วิหารพาร์เธนอน (Parthenon Temple/the Temple of Athena Parthenos)<br />

อาคารที่สร้างขึ้นตามคำาสั่งของเพอริคลีสในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ใช้เวลา<br />

ในการก่อสร้างระหว่าง 447–438 ปีก่อนคริสตกาล โดยสร้างทับบนฐานวิหารหลังเดิม<br />

ซึ่งตั้งใจสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะของกรีกในศึกแห่งมาราธอน (Battle of Marathon,<br />

490 ปีก่อนคริสตกาล) แต่ถูกเผาทำาลายโดยทัพเปอร์เซียใน 480 ปีก่อนคริสต กาล<br />

ก่อนที่วิหารจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ วิหารที่สร้างใหม่นี้ออกแบบโดยสถาปนิกอิกทินอส<br />

(Iktinos) และคัลลิคราตีส (Kallikrates) เป็นวิหารดอริก (Doric Temple) คือการใช้<br />

หัวเสาแบบดอริกลอยตัวเป็นโครงสร้างรับนำ้าหนักภายนอกโดยรอบ (peripteral plan)<br />

แถวเสาด้านหน้าวิหารมีจำานวนแปดต้น จึงเรียกวิหารแบบนี้ว่า Octastyle ตามจำานวน<br />

เสา ส่วนด้านข้างเป็นแถวเสาเรียง 17 ต้น (นับซำ้ากับแถวหน้าที่มุมอาคาร) ฐานวิหาร<br />

(stylobate) มีขนาด 69.5 × 30.8 เมตร ความสูงทั้งหมด 24 เมตร วัตถุดิบการก่อสร้าง<br />

เป็นหินอ่อนสีขาวจากภูเขาเพนเทลิคอน (Mount Pentelikon) อยู่ห่างจากเอเธนส์ราว<br />

16 กม.) 4 (รูปที่ 4–6)<br />

เทคนิคการก่อสร้างวิหารพาร์เธนอนก็เช่นเดียวกับวิหารดอริกอีกหลายหลังทั้ง<br />

ในกรีซและอาณานิคมในอิตาลีตอนใต้ เช่น เมืองโพไซโดเนีย (Poseidonia ต่อมารู้จัก<br />

กันในชื่อ ปาเอสตุม; Paestum ตามชื่อที่ตั้งในสมัยโรมันโบราณ) และบนเกาะซิซิลี<br />

เป็นต้น ที่มีคุณสมบัติของการลวงตา (optical illusion) ด้วยการก่อต้นเสาแต่ละต้น<br />

ให้มีความโค้งเพียงเล็กน้อย ซึ่งแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในการมองเป็นภาพรวม<br />

4<br />

Jenkins, Greek Architecture, 76-80.<br />

102 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


รูปที่ 4 ลายเส้นผังพื้น(ซ้าย) และด้านหน้าอาคาร (façade) (ขวา) ของวิหารพาร์เธนอน<br />

จากระยะไกล เรียกเทคนิคการก่อสร้างที่ลวงตานี้ว่า entasis (ความหมายตรงตัวใน<br />

ภาษากรีกโบราณ εντεινειν แปลว่า ดึง ยืด หรือความตึง การโค้ง) เสาที่มี entasis<br />

จะมีลักษณะป่องตรงกลางเล็กน้อย เทคนิควิธีการเดียวกันนี ้ถูกนำามาใช้ที ่ฐานวิหาร<br />

ของวิหารพาร์เธนอนให้มีความโค้งเล็กน้อยที่บริเวณกึ่งกลางตามความยาวของฐาน<br />

เช่นเดียวกัน 5 พื้นที่ภายในของวิหารมีการแบ่งสัดส่วนตามหน้าที่การใช้งานที่สำาคัญ<br />

เช่น naos เป็นห้องประดิษฐานรูปเคารพเทพีอธีนา พาร์เธนอส (Statue of Athena<br />

Parthenos) หรือเทพีอธีนาพรหมจารี (Athena the Virgin) ในห้องนี้มีการใช้แถวเสา<br />

5<br />

Frank Salmon, “C.R. Cockerell and the Discovery of Entasis in the Columns of the<br />

Parthenon,” in The Persistence of the Classical: Essays on Architecture Presented to David Watkin<br />

(London: Philip Wilson Publisher, 2008), 106–123; Gorham P. Stevens,” Concerning the<br />

Impressiveness of the Parthenon,” American Journal of Archaeology 66, 3 (July, 1962), 337–<br />

338; และ Jennifer Neils, ed., The Parthenon: From Antiquity to the Present (Cambridge:<br />

Cambridge University Press, 2005), 118–122. อ่านการวิเคราะห์ entasis เพิ่มเติมใน Peter<br />

Thomson et. all, “The origins of entasis: illusion, aesthetics or engineering?,” Spatial Vision<br />

20, 6 (2007): 531–543; Jari Pakkanen, “Entasis in Fourth-Century BC Doric Buildings in the<br />

Peloponnese and at Delphi,” The Annual of the British School at Athens 92 (1997), 323–344.<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 103


รูปที่ 5 ภาพลายเส้นแสดงรายละเอียดของการแบ่งพื้นที่ผังพื้นของวิหารพาร์เธนอน<br />

รูปที่ 6 โมเดลจำาลองวิหารพาร์เธนอน จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์บริติช ลอนดอน<br />

104 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


ดอริกซ้อนสองชั้น (double tier doric) รองรับนำ้าหนักอีกชั้นหนึ่ง ห้องด้านหลังโถง<br />

ประดิษฐานรูปเคารพ (naos) เรียกว่า ádyton แปลแบบตรงตัวว่า ห้ามเข้า ทำาหน้าที่<br />

เป็นห้องคลังหรือห้องบรรจุเครื่องสักการะบูชาเทพเจ้า<br />

ประติมากรรมโดยฟีเดียสที่วิหารพาร์เธนอน<br />

ชื่อเสียงของวิหารพาร์เธนอนไม่ได้อยู่แค่ที่ตัวงานสถาปัตยกรรม แต่ชุดประติมา­<br />

กรรมประดับอาคาร และรูปเคารพที่ประดิษฐานภายในวิหารช่วยเสริมสร้างและทำาให้<br />

ความหมายของวิหารที่เป็นตัวแทนของชัยชนะและเกียรติยศ ความยิ่งใหญ่ของเอเธนส์<br />

ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ งานประติมากรรมทั้งหมด ได้แก่ รูปเคารพประธาน คือ Chryselephantine<br />

Statue of Athena Parthenos และประติมากรรมนูนสูงประดับสถาปัตยกรรม<br />

เป็นผลงานของประติมากรชื่อดังของยุคคือ ฟีเดียส (Pheidias, 480–430 ปีก่อน<br />

คริสตกาล)<br />

Chryselephantine คือรูปเคารพที่ตกแต่งด้วยงาช้างและทองคำาบนแกนกลางที่<br />

ทำาจากไม้ นอกเหนือจากรูปเคารพเทพีอธีนา พาร์เธนอส ที่ใช้เทคนิคดังกล่าวแล้ว<br />

ฟีเดียสยังรับผิดชอบสร้างรูปเคารพ chryselephantine อีกหนึ ่งองค์คือ รูปเคารพของซูส<br />

ประทับนั่ง (ขนาดความสูงราว 12–13 เมตร) ที ่วิหารเทพซูสแห่งโอลิมเปีย (Temple of<br />

the Olympian Zeus, ราว 435 ปีก่อนคริสตกาล) 6 สำาหรับรูปเคารพเทพีอธีนาที่วิหาร<br />

พาร์เธนอน น่าจะเริ่มสร้างตั้งแต่ปีแรกของการก่อสร้างวิหารคือในปี 447 ก่อนคริสต­<br />

กาล และคาดว่าเสร็จสมบูรณ์พร้อมทำาพิธีกรรมบวงสรวงถวายในเทศกาลมหาแพน­<br />

อธีเนีย (Greater Pananthenaic Festival) 7 ปี 438 ก่อนคริสตกาล Chryselephantine<br />

Statue of Athena Parthenos อยู่ในท่าประทับยืน ขนาดความสูงราว 13–14 เมตร<br />

(รวมฐาน) เนื่องจากรูปเคารพของดั้งเดิมไม่หลงเหลืออยู่แล้ว รายละเอียดของรูป<br />

เคารพจึงต้องอาศัยบันทึกของพอสซาเนียสและงานจำาลองสมัยโรมันในการสร้างความ<br />

เข้าใจ (รูปที่ 7) โดยพอสซาเนียสบรรยายถึงรูปเคารพไว้ดังนี้<br />

6<br />

ประติมากรรมขนาดยักษ์ฝีมือของฟีเดียสทั้งสององค์ถูกทำาลายและหายสาบสูญไปตั้งแต่ช่วง Antiquity<br />

เหลือเพียงแต่คำาบรรยายในเอกสารชั้นหลังและงานจำาลองที่คาดว่าทำาขึ้นตามต้นแบบอย่างที่ระบุไว้ในเอกสาร<br />

7<br />

ดูรายละเอียดในหัวข้อ The Panathenaic & Greater Panathenaic Festivals<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 105


รูปที่ 7 “Varvakeion Athena” a Roman<br />

marble replica of Pheidias’ Athena<br />

Parthenos, 3 rd century AD. Pentelic<br />

Marble, H. 105 cm. National<br />

Archaeological Museum, Athens<br />

(Inventory Number: 129)<br />

[...]The statue is created with ivory and gold. On the middle of her<br />

helmet is likeness of the Sphinx [...] and on either side of the helmet<br />

are griffins in relief. [...] The statue of Athena is upright, with a tunic<br />

reaching to the feet, and on her breast the head of Medusa is worked<br />

in ivory. She holds a statue of Victory that is approx. four cubits high,<br />

and in the other hand a spear; at her feet lies a shield and near the<br />

spear is a serpent. This serpent would be Erichthonius. On the pedestal<br />

is the birth of Pandora in relief. 8<br />

[…] รูปเคารพถูกสร้างสรรค์ขึ ้นด้วยงาช้างและทองคำา ตรงกลางหมวกเกราะ<br />

ของเทพีมีรูปสฟิงซ์ […] ขนาบข้างด้วยรูปกริฟฟิน […] รูปเคารพเทพีอธีนา<br />

อยู ่ในท่ายืนตรง ชุดทูนิคยาวกรอมเท้า มีรูปหัวเมดูซ่าทำาจากงาช้างประดับ<br />

8<br />

Pausanias, Description of Ancient Greece (Book I and II), trans. W.H.S. Jones (London:<br />

William Heinemann, 1933), 123–125.<br />

106 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


หน้าอก เทพีถือรูปเทพีแห่งชัยชนะซึ่งสูงประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วน<br />

ในมืออีกข้างถือหอก มีโล่วางอยู่แทบเท้า และใกล้ๆ กับหอกเป็นงูใหญ่ ซึ่ง<br />

คงจะเป็นเอริคธอนิอุส ที่ฐานแกะสลักฉากการกำาเนิดของแพนดอรา 9<br />

ฟีเดียสและทีมงานเริ่มต้นสลักประติมากรรมนูนสูงประดับวิหารตั้งแต่ 438 ปี<br />

ก่อนคริสตกาล โดยสลักเป็นเรื ่องเล่าในปกรณัมและพิธีกรรมที ่เกี ่ยวข้องกับเทพีอธีนา<br />

ตกแต่งที่บริเวณหน้าบัน (pediment) คานเมโทปี (metope) และหน้ากระดานฟรีซ<br />

(frieze) งานทั้งหมดแล้วเสร็จในปี 432 ก่อนคริสตกาล (รูปที่ 8–9) หัวข้อของงาน<br />

ประติมากรรมออกแบบให้เน้นความสำาคัญไปที่เทพีอธีนา เห็นได้จากประติมากรรม<br />

ตกแต่งบริเวณหน้าบันสองฝั่ง ได้แก่ ตอนกำาเนิดเทพีอธีนา (Birth of Athena) บน<br />

หน้าบันทิศตะวันออก (รูปที่ 10) และภาพเล่าเรื ่องเหตุการณ์การแข่งขันระหว่างอธีนา<br />

และโพไซดอน บนหน้าบันทิศตะวันตก (รูปที่ 11) ซึ่งเป็นปกรณัมท้องถิ่นของเอเธนส์<br />

ว่าด้วยเรื่องการเลือกเทพผู้ปกปักรักษานครรัฐ (patron deity) ตามตำานานที่ระบุใน<br />

Bibliotheca โดยอพอลโลโดรุสเทียม (Pseudo-Apollodorus) 10 ซึ ่งเป็นบันทึกในชั้นหลัง<br />

(ราวคริสต์ศตวรรษที่ 1) กล่าวว่าเทพีอธีนาและเทพโพไซดอนได้แข่งขันกันเพื ่อแย่งชิง<br />

เกียรติยศของการเป็นเทพเจ้าประจำาเมืองเอเธนส์ ในเรื่องเล่าที่ได้รับความนิยมสูงสุด<br />

นั้นระบุว่า เทพและเทพีทั้งสองต่างเสกของขวัญเพื่อโน้มน้าวใจชาวเอเธนส์ โดยจัด<br />

การแข่งขันกันบนอะโครโพลิสของนครรัฐ โพไซดอนใช้ตรีศูลกระทุ้งพื้นจนเกิดรอยแยก<br />

ขึ้นมา และจากรอยแยกนั้น (ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่ต่อมาวิหารเอเร็คไธออน (The Erectheion)<br />

ถูกสร้างขึ้น) ได้มีม้าพุ่งทะยานออกมาเป็นของขวัญให้ชาวเมือง ม้าซึ่งมีพละ<br />

กำาลังอันแข็งแรงและปราดเปรียว จะนำาชัยชนะในศึกสงครามมาให้กับนครรัฐเอเธนส์<br />

อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วกลับกลายเป็นเทพีอธีนาที่ชาวเมืองยกย่องให้เป็นเทพารักษ์<br />

9<br />

ถอดความเป็นภาษาไทยโดยผู้เขียน<br />

10<br />

การแทรกคำาว่า pseudo ที่มีความหมายว่า ไม่แท้ ปลอม หรือเทียม นำาหน้าชื่อนักเขียน เป็นกฎเกณฑ์<br />

ที่มาจากการตีความแต่ดั้งเดิมว่าเป็นผลงานของนักเขียนคนนั้น ๆ เช่นในกรณีนี้เคยเชื่อว่าเป็นงานของ<br />

อพอลโลโดรุสแห่งเอเธนส์ (Apollodorus of Athens, ราว 180–120 ปีก่อนคริสตกาล) ภายหลังการ<br />

ตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าเป็นของนักเขียนคนอื่น แต่ใม่สามารถสืบค้นหาชื่อที่แท้จริงได้ จึงต้องนำาคำาว่า<br />

Pseudo- มานำาหน้า<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 107


รูปที่ 8 แผนผังแสดงตำาแหน่งและหัวข้องานประติมากรรมตกแต่งวิหารพาร์เธนอน<br />

ที่มา: (After A. Stewart) Richard G. Tansey and Fred S. Kleiner,<br />

Gardner’s Art Through the Ages. 10 th ed. Fort Worth: Harcourt Brace College<br />

รูปที่ 9 ภายลายเส้นแสดง<br />

ตำาแหน่งการตกแต่งภาพสลัก<br />

ที่วิหารพาร์เธนอน<br />

ที่มา: British Museum<br />

108 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


รูปที่ 10 Pheidias, The Three Goddesses (Hestia, Dione and Aphrodite) from The Birth of<br />

Athena scene, the East Pediment, 438–432 BC. Pentelic Marble, H. approx. 123 cm.<br />

L. 233 cm. British Museum, London (Museum Number: 1816,0610.97)<br />

จากการที่เทพีเสกต้นมะกอกให้ชาวเอเธนส์ได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำ้ามัน<br />

ที่สกัดได้จากผลมะกอกถือว่าเป็นสิ่งสำาคัญและมีค่าอย่างยิ่งสำาหรับชาวกรีกโบราณ<br />

มะกอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข (ตรงข้ามกับม้าศึกของโพไซดอน) และ<br />

ความสมบูรณ์พูนสุข 11<br />

นอกเหนือจากที่ชุดประติมากรรมประดับวิหารพาร์เธนอนเป็นเครื่องมือแสดง<br />

อำานาจอย่างจักรวรรดิของนครรัฐเอเธนส์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลแล้ว<br />

ยังสะท้อนความตั้งใจของผู้สร้างในการนำาปกรณัมท้องถิ่นของเอเธนส์มาเล่าล้อไปกับ<br />

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสิ้นสุดไปไม่นาน เช่น ฉาก Centauromachia อันว่า<br />

11<br />

อ้างใน András Patay-Horváth, “The Contest between Athena and Poseidon: Myth, History<br />

and Art,” HISTORIKA Studi di storia greca e romana 5, 2015, 353–354, accessed 20 February<br />

2017, http://www.ojs.unito.it/index.php/historika/article/view/1924, doi: http://dx.doi.org/<br />

10.13135/2039–4985/1924<br />

ประวััติิศาสติร์ศิลปะกรีก 109


้<br />

รูปที่ 11 Jacques Carrey, A drawing of West pediment of the Parthenon, 1674.<br />

Pencil on Paper<br />

ด้วยการต่อสู้ระหว่างเซนทอร์ (Centaur) กับชาวลาพิธส์ (Lapiths) ในงานแต่งของพีริธุส<br />

(Peirithous) ประติมากรรมนูนสูงประดับคานเมโทปี (รูปที่ 12) ที่จงใจเทียบเคียงกับ<br />

สงครามกรีก-เปอร์เซีย ทั้งยังแฝงจริยธรรมด้านความเป็นระเบียบแบบแผน (Order)<br />

และความยุติธรรม (Justice) ที ่สามารถมีชัยชนะเหนืออธรรมที ่แทนด้วยความอลหม่าน<br />

วุ่นวาย (Chaos) และการทะนงตน (Hubris) หรืออาจกล่าวได้อีกว่าวิหารพาร์เธนอนนี<br />

เป็นตัวแทนของอัตลักษณ์ของชาวเอเธนส์ เพื่อมุ่งเน้นการเทิดทูนอุดมคตินิยมแห่งยุค<br />

สมัย คือการหลอมรวมและแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเอเธนส์และ<br />

เทพีประจำาเมืองที่ได้รับการเคารพบูชาสูงสุด ผ่านทั้งตัวสถาปัตยกรรม ประติมากรรม<br />

และพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นเพื่อบูชาเทพีอธีนา ประการหลังนี้เป็นบทบาทหน้าที่สำาคัญ<br />

ของวิหารพาร์เธนอนในเทศกาลแพนอธีเนีย (Panathenaia) และมหาแพนอธีเนีย (Greater<br />

Panathenaia) ที ่จัดขึ ้นอย่างยิ ่งใหญ่เพื ่อเป็นการบวงสรวงสักการะเทพีอธีนา ดังที ่สะท้อน<br />

ในภาพสลักประดับหน้ากระดานฟรีซของวิหารพาร์เธนอน (รูปที่ 13)<br />

110 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง


ประวััติิผู้้เขีียน<br />

เอกสุดา สิงห์ลำาพอง เป็นอาจารย์ประจำาภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร จบการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ<br />

จากมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2559) มีภาระงานด้านการสอนใน<br />

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เป็นรายวิชาที่เกี่ยวกับศิลปะตะวันตก อาทิ ศิลปะกรีก<br />

โบราณ ศิลปะโรมันโบราณ ศิลปะสมัยกลางในทวีปยุโรป ประติมานวิทยาในศิลปะ<br />

ตะวันตก และกระแสนิยมตะวันตกในศิลปกรรมไทย รวมถึงหลักสูตรศิลปศาสตรมหา­<br />

บัณฑิต ในรายวิชาศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยในประเทศไทย หัวข้อวิจัยครอบคลุม<br />

ประเด็นการสำารวจและวิเคราะห์กระบวนการทำาให้กลายเป็นตะวันตกและวาทกรรม<br />

ภาวะสมัยใหม่ โดยเฉพาะในด้านเพศภาวะ ความนิยมในด้านแฟชั่น การสะสมและ<br />

ความเชี่ยวชาญในงานศิลปะ ที่ผูกพันกับภาวะอาณานิคมและหลังอาณานิคมในวัฒน­<br />

ธรรมทางสายตาของสังคมไทยช่วงต้นสมัยใหม่ โดยมีผลงานวิจัยล่าสุด คือ เครื่องเครา<br />

ตะวันตก: อัตลักษณ์นำาสมัยของชนชั้นนำาไทยช่วงต้นสมัยใหม่ (กองทุนวิจัยและสร้าง<br />

สรรค์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำาปีงบประมาณ พ.ศ. 2559) และ<br />

บทความ “แนวคิด “หญิงมาดใหม่” ในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ มองจากตะวันตกสู่<br />

สยามสมัยใหม่” (ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 43 ฉบับที่ 10 เดือนสิงหาคม 2565)<br />

180 เอกสุดา สิงห์์ลำาพอง

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!