12.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนมิถุนายน 2555

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนมิถุนายน 2555

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนมิถุนายน 2555

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

้้มุมกฎหมายบุญชู แจ้งเจริญกิจ นิติกร กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี> บทความที่นำมาเสนอในมุมกฎหมายฉบับนี้ เป็นเรื่องเบาๆ อีกเรื่องหนึ่ง แต่มีความสำคัญกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะแล้วอาจมีการดำเนินการถึงขั้นให้ออกจากราชการหรือออกจากงานกันทีเดียว (ดูทีจะไม่ใช่เรื่องเบาๆ เสียแล้ว)หลายคนคงพอทราบว่า บุคคลที่จะเข้ามาทำงานในส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐจะต้องผ่านการคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดและจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ ตามความรู้ความสามารถ และอย่างน้อยบุคคลนั้นจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการ ลูกจ้างหรือพนักงานมหาวิทยาลัย แล้วแต่กรณี ซึ่งจะขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งมิได้เลย เช่น มีสัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และต้องห้าม เกี่ยวกับการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นต้นบทความฉบับนี้จะขอหยิบเอาเฉพาะกรณีคุณสมบัติที่เป็นลักษณะต้องห้าม กรณีเป็นบุคคลล้มละลาย มาเล่าสู่กันฟัง โดยที่เห็นว่ามีกรณีที่เกิดขึ้นกับข้าราชการจนเป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวต้องออกจากราชการไปแล้วก็มี และมีคำถามเข้ามาที่กองกฎหมายอยู่บ่อยครั้งก า ร ที่ บุ ค ค ล ใ ดบุคคลหนึ่งต้องเป็นบุคคลล้มละลายนั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายๆ โดยเฉพาะการเป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องเป็นไปโดยคำพิพากษาของศาลเท่านั้น และแน่นอนย่อมต้องมีกระบวนการในการพิจารณาและเอกสารจำนวนมากเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดี มีการสืบพยานหลักฐานต่างๆ รวมทั้งให้โอกาสลูกหนี้อย่างที่สุดแล้ว แต่ถ้าบุคคลนั้นยังมีหนี้เป็นจำนวนมากและไม่สามารถไกล่แล้วต้องออกจากราชการหรือไม่ผู ้บังคับบัญชาของข้าราชการครูรายนั้น มิได้ดำเนินการใดๆ เพื่อให้มีคำสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการเพราะเหตุขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการ จนกระทั่งข้าราชการครูรายนั้นได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายว่าด้วยล้มละลายกำหนด จนศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายเกลี่ยกับเจ้าหนี้ได้ และถือว่าเป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว บุคคลนั้นก็จะตกอยู ่ในเงื่อนไขข้อหนึ่งของการที่จะถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายได้อย่างไรก็ตาม จะไม่ขอกล่าวถึงการดำเนินการในคดีล้มละลาย แต่ขอรวบรัดเข้าเรื่องว่า หากผูที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลายเป็นข้าราชการลูกจ้าง หรือพนักงานมหาวิทยาลัย ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัดจะต้องดำเนินการอย่างไรมีข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง ปรากฏว่าข้าราชการครูถูกศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย โดยหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว มีการอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาเห็นด้วยกับศาลชั้นต้นให้ข้าราชการครูผู้นั้น เป็นบุคคลล้มละลาย แต่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูรายนั้น มิได้ดำเนินการใดๆ เพื่อให้มีคำสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการเพราะเหตุขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการ จนกระทั่งข้าราชการครูรายนั้นได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายว่าด้วยล้มละลายกำหนด จนศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า ข้าราชการครูรายนี้ยังคงรับราชการต่อไปได้หรือไม่ ขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการหรือไม่ และหากจะต้องมีคำสั่งให้ออกจากราชการเพราะเหตุขาดคุณสมบัติ ควรสั่งได้ตั้งแต่เมื่อใดปัญหานี้มีการหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ให้ความเห็นเป็นแนวทางปฏิบัติว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ข้าราชการครูรายนั้นเป็นบุคคลล้มละลายและต่อมาเมื่อมีการอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาเห็นด้วยกับศาลชั้นต้น แสดงว่า การเป็นบุคคลล้มละลายเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูรายนั้นออกจากราชการครูได้ตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการครูกรณีขาดคุณสมบัติ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน แล้วจึงสั่ง นอกจากนี้ สำหรับกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้บังคับบัญชาไม่ได้สั่งให้ข้าราชการครูออกจากราชการขณะเป็นบุคคลล้มละลายและต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย เช่นนี้ถือได้ว่า ข้าราชการครูได้พ้นสภาพการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงไม่เป็นผูขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการครู ผู ้มีอำนาจสั่งบรรจุไม่อาจสั่งให้ข้าราชการครูรายนั้นออกจากราชการเพราะเหตุการขาดคุณสมบัติได้จากเรื่องที่กล่าวมานี้ อาจมีคำถามในใจของผู ้อ่านเกิดขึ้นมากมาย “ถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องรายงาน จะไม่ดีหรือ”.... “ปกปิดไว้จะได้ไม่ต้องถูกให้ออกจากราชการ” เรื่องนี้ก็แล้วแต่ซึ่งแต่ละคนจะคิดหรือหาวิธีกัน เรื่องที่นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นเพียงอุทาหรณ์ตามแนวการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่หากเกิดเหตุการณ์เช่นว่านี้และจะกระทำตามที่คิดก็ต้องไปดูด้วยว่าการไม่ดำเนินการ การปกปิดการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ หากมีการร้องเรียนขึ้นมา อาจถูกดำเนินการทางวินัยหรืออาญาในแต่ละกรณีต่อบุคคลนั้นด้วย MU24 MU Newsletter 2012, Vol. 6

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!