11.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔ (๓๐ เมษายน ๒๕๕๕) MU Newsletter 2012, Vol.4


Informationงานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล> หนังสือ “๑๒๐ ปี มหิดลอดุลเดช” จัดทำขึ้นในโอกาส ๑๒๐ ปี แห่งการพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพื่อชาติบ้านเมืองจนเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการอุดมศึกษา การแพทย์การสาธารณสุข การพยาบาล เภสัชกรรม ทันตกรรม การประมง การสังคมสงเคราะห์ และกองทัพเรือ ฯลฯ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้จัดทำหนังสือ “๑๒๐ ปี มหิดลอดุลเดช” ขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์น้อมรำลึกถึงพระคุณูปการที่เป็นฐานรากอันมั่นคงและจะได้เป็นแรงบันดาลใจให้ชนรุ ่นหลังก่อเกิดพลังสร้างสรรค์ความดีงามสืบไปหนังสือ “๑๒๐ ปี มหิดลอดุลเดช” เทิดพระเกียรติ“พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขไทย”ภายในหนังสือรวบรวม เรื่องราวพระราชประวัติ ทรงบรรยายโดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ รวมถึงพระวินิจฉัยที่ยังเป็นข้อสงสัยว่า เหตุใดสมเด็จพระบรมราชชนกทรงตัดสินพระทัยมาศึกษาแพทย์พร้อมภาพประกอบที่หาดูได้ยาก พระนิพนธ์ ที่แม้ในปัจจุบัน ยังคงนำมาประยุกต์ได้อย่างดี เช่น Siriraj Hospital Plan 1925,Practical Sanitation: A Lecture Givenin Training for Public Health MedicalOfficers in 1924 นอกจากนี้ยังมีเอกสารจดหมายเหตุที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อาทิ ลายพระหัตถ์และภาพวาดจากสมุดจดคำบรรยายส่วนพระองค์ อีกทั้งปริญญา บัตรที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างอันดีแก่นักศึกษาทั้งหลาย รวมถึงพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งคือ ทรงเป็นผู้แทนไทยเจรจากับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ นับได้ว่าเป็นการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่านเพื่อสร้างรากฐานนานัปการโดยเฉพาะทางการแพทย์และสาธารณสุขบทความเฉลิมพระเกียรติ ในหนังสือได้รวบรวมจากผู้ใกล้ชิดหรืออีกนัยหนึ่งคือลูกศิษย์ของพระองค์ท่านได้แสดงถึงพระราชจริยวัตรอันงดงามยิ่ง ในช่วงท้ายของหนังสือจะปรากฏบทสืบสานพระราชปณิธาน ซึ่งเขียนโดยผู ้ที่มีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์และสาธารณสุขหนังสือ “๑๒๐ ปี มหิดลอดุลเดช” ได้รวบรวมคุณความดีของพระองค์ท่านมอบให้ผู้อ่านทุกท่าน“...เราได้รับมรดกคือผลสำเร็จที่พระองค์ท่านได้ทรงประกอบไว้ และเราได้รับความทรงจำอันประเสริฐในบุคคลซึ่งทรงลักษณะอันเป็นที่ดูดดื่มชุ่มใจแก่ทุกๆ คนที่ได้ทำการติดต่อกับพระองค์ท่าน การที่พระองค์ท่านทรงอุบัติมาในโลกนี้นั้นทำให้โลกนี้ดีขึ้นเป็นแน่แท้พระมหาบุรุษของเรานี้ได้ทรงอุบัติมาและเสด็จละโลกไปเสียแล้ว ขอจงเสวยพระเกษมสุขสำราญเทอญ...” ศ.นพ.เอ จี เอลลิสกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การอ่านและเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ต่อชนรุ ่นหลัง ผู ้สนใจสามารถซื้อหนังสือ ๑๒๐ ปี มหิดลอดุลเดช ราคา ๑,๒๐๐ บาท ได้ที่ งานวิชาการตึกผู้ป่วยนอกเก่า ชั้น ๑ รพ.ศิริราช โทร. ๐-๒๔๑๙-๗๖๘๐-๑ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ อาทิร้านนายอินทร์ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ศูนย์หนังสือธรรมศาสตร์ ร้านซีเอ็ด และร้านคิโนะคุนิยะ หรือติดตามรายละเอียดที่ www.si.mahidol.ac.th รายได้จากการจำหน่ายจะนำไปสมทบกองทุนพระราชมรดกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นทุนพัฒนาอาจารย์แพทย์ไปศึกษาและอบรมทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพื่อพัฒนาวิชาทางการแพทย์ให้กว้างขวางและทันสมัยมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •3


Harmony in Diversityพัชรี ศรีเพ็ญแก้ว ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์>บทข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของร่ายทำขวัญคลองมหาสวัสดิ์ที่ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และหน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ คณะศิลปศาสตร์ ร่วมกับกลุ่มภารกิจวิจัยชุมชนมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยส่วนงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดลจัดขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของงาน “สวัสดี...มหาสวัสดี” เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๕ และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวินอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางมาเป็นประธานในงาน ณ วัดสุวรรณาราม อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมงาน “สวัสดี...มหาสวัสดี” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสุขภาวะของคนในชุมชนและเสริมสร้างองค์ความรู้การดูแลตนเองเมื่อเกิดอุทกภัย รวมถึงเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมเสริมความรู้ โดยนำเสนอประวัติความเป็นมาของคลองสำคัญในพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล ได้แก่ คลองมหาสวัสดิ์ คลองทวีวัฒนา และคลองนราภิรมย์ รวมถึงภาพความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับคนในชุมชนในการฝ่าวิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมา และยังได้จัด “พิธีบายศรีสู่ขวัญคลองมหาสวัสดิ์” เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวชุมชนที่ประสบอุทกภัย และถือเป็นการรับขวัญพระแม่คงคา4 MU Newsletter 2012, Vol. 4การจัดพิธีนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อของคนไทยที่ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆ อันทำให้ “เสียขวัญ” ก็ต้องมีพิธี “รับขวัญ” หรือ “ทำขวัญ” เพื่อเรียกขวัญให้กลับมาอยู่ประจำตน ในการนี้ “แม่น้ำลำคลอง” ซึ่งถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่หล่อเลี้ยงสรรพสิ่งมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเกิดเหตุการณ์อันส่งผลกระทบร้ายแรง ดังเช่น เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมาย่อมเกิดการเสียขวัญ ชาวบ้านที่ใช้น้ำเองก็เกิดผลกระทบทางจิตใจและมองน้ำเป็นเสมือน “ศัตรู” ทั้งนี้ จึงได้จัดพิธีเพื่อให้ความรู้สึกของชาวบ้านที่มีต่อสายน้ำกลับมาดีดังเดิม และเป็นการเชิญพระขวัญของพระแม่คงคากลับมาอยู ่ประจำคลอง ดังที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัวผัน สุพรรณยศ ได้แหล่บททำขวัญไว้ว่า“สิ่งใดลูกพลั้งพลาด เพราะประมาทโลภโมหันไม่รู้เท่าไม่รู้ทัน ภัยมหันต์โหมทวีขวัญเอ๋ยโอ้ขวัญจ๋าโปรดเมตตานะโฉมศรีกตัญญูกตเวที เอื้อนวจีมาเว้าวอนลูกรักแท้รักแม่จริง โอ้ขวัญมิ่งมิตรสมรทุกข์ท้นจนสั่นคลอน แม่ถ่ายถอนช่วยบรรเทาน้ำล้นจนทลาย แสนเสียหายใช่โง่เขลาปีใหม่ให้บางเบา โปรดปัดเป่าทุกข์ทั้งปวง”การจัด “พิธีบายศรีสู ่ขวัญคลองมหาสวัสดิ์” ในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งความศรัทธา ความสำนึกรัก และหวงแหนทรัพยากรที่อยู่ใกล้ตัวของชาวชุมชน รวมทั้งเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านริมคลองทุกคนตราบจนปัจจุบันกิจกรรมนี้นับเป็นบทบาทสำคัญประการหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการใช้มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการกับความรู ้เชิงศิลปศาสตร์ ในการช่วยเสริมสร้างสุขภาวะควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน และจะนำมาซึ่งการร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างชาวชุมชนรอบมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป


“น้ำเอย... น้ำใจสายใยพิพิธภัณฑ์”Harmony in Diversityงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย> เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕ นางสุกุมล คุณปลื้มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “น้ำเอย น้ำใจ สายใยพิพิธภัณฑ์” ณ อาคารเรือนไทย (ระเบียบ คุณะเกษม) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาการจัดงานในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงวัฒนธรรมสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลางที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปีที่ผ่านมา รวมทั้งเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรทางศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่ให้มีพลังทางจิตใจในการต่อสู ้กับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปด้วยดีกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการแสดงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประสบอุทกภัยและเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งสิ้นกว่า ๓๐ แห่งในช่วงบ่ายมีการจัดเสวนาในหัวข้อ “เรียนรู้ สู้ หรือ หนี: พิพิธภัณฑ์ยามน้ำท่วม” โดยได้รับเกียรติจาก คุณเอนก นาวิกมูล คุณวิษณุ เอมปราณีต์ คุณกนก ขาวมาลา ชาวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นผู้ประสบปัญหาอุทกภัย ร่วมเสวนากับชาวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ดำเนินรายการโดย คุณปวีณมัย บ่ายคล้อยซึ่งการเสวนาได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือ การปรับตัว และการถอดบทเรียนที่ได้รับจากวิกฤตอุทกภัยในปีที่ผ่านมานอกจากนี้ ยังมีการแสดงพื้นบ้านและกิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกมากมาย อาทิ การแสดงเพลงฉ่อย การแสดงหนังใหญ่ การแสดงลำตัด การแสดงแบบผ้าไทยในชุดชาติพันธุ์ภาคกลาง และปิดท้ายด้วยการแสดงเพลงเรือ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมากมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •5


Research Excellenceสาธิดา ศรีชาติ> มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจเพื่อศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพชีวภาพ ด้านความหลากหลายของชนิด (speciesdiversity) ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity)ความหลากหลายของพันธุกรรม (genetic diversity) การแพร่กระจายของไม้ที่ให้น้ำมันหอมระเหย หอยบก หอยน้ำจืด และเห็ดสมุนไพร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) บริเวณพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี เป้าหมายของการศึกษาเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คงอยู ่อย่างยั่งยืนต่อไปซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ พร้อมกับคณะวิจัยอื่นๆ จากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีได้รวมนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมสำรวจความหลากหลายของเห็ดสมุนไพรไม้หอม หอยบก หอยน้ำจืด ที่มีอยู่ในพื้นที่ปกปักฯ ภายใต้ชื่อ “โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูล ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ การแพร่กระจายกับการประยุกต์ใช้เชิงเศรษฐกิจของไม้ที่ให้น้ำมันหอมระเหย หอยบก หอยน้ำจืด และเห็ดสมุนไพร บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี” โดย ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตรมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ และ รศ.ถาวร วินิจสานันท์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการย่อยมีส่วนร่วมรับผิดชอบในเรื่องเห็ดสมุนไพรและร่วมสำรวจกับคณะทีมวิจัยอีก ๘ หน่วยงาน เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้จากการสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพในเบื้องต้นของคณะนักวิจัยของวิทยาเขตในการเข้าสำรวจ พบสิ่งที่น่าสนใจ คือ เห็ดแครง(Schizophyllum commune Fr.) เป็นเห็ดขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายพัด (fan – shaped)ด้านฐานมีก้านขนาดสั้นๆ ยาว ๐.๑ – ๐.๕ ซม.หรือไม่มีก้านติดอยู่กับวัสดุที่ขึ้นด้านข้าง ดอกเห็ดมีขนาดความกว้างประมาณ ๑ - ๓ ซม. ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะดอกเหนียวและแข็งเมื่อแห้ง ด้านใต้ของดอกเห็ดมีครีบมีลักษณะแตกเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อนของดอกหยักคล้ายของเปลือกหอยแครง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เห็ดแครง” เท่าที่ทราบกันว่า เห็ดเป็นวัตถุดิบชั้นดี ในการประกอบอาหาร เห็ดทั่วไปสามารถนำมารับประทานได้และใช้เป็นสมุนไพร เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดหอมเห็ดเผาะ เห็ดฟาง เห็ดลม เห็ดหูหนู และเห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ชาวจีนและชาวญี่ปุ ่น นิยมนำ6 MU Newsletter 2012, Vol. 4เห็ดไปปรุงเป็นน้ำแกง น้ำชา ยาบำรุงร่างกายและยารักษาโรคต่างๆ ทางยุโรปนำไปปรุงเป็นซุป คนไทยนำมาผสมในแกงต่างๆ รวมถึงผัด ต้ม จิ้มน้ำพริก สรรพคุณของเห็ดช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยการต้านมะเร็งหลายๆ ชนิด แถมเห็ดบางชนิดรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ สามารถนำไปปรุงอาหารให้อร่อยได้หลายวิธี ทั้ง ต้ม ผัด แกง ยำ ย่าง หรือทอดแล้วแต่ว่าจะชอบรับประทานเมนูใด ส่วนเมนูยอดนิยมโดยใช้ส่วนประกอบเป็นเห็ดแครง คือแกงสมรม ซึ่งเป็นอาหารทางภาคใต้ เมนูถัดมาคือ แกงเขียวหวานเห็ดแครง ห่อหมกเห็ดแครงเห็ดแครงผัดไข่เห็ดแครงหมก หรือ งบเห็ดแครง (อาหารใต้)ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ หัวหน้าโครงการกล่าวว่า เห็ดแครงที่พบส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่การสำรวจพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากเห็ดแครงมีสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งในเห็ดแครงยังมีสาระสำคัญทางการแพทย์คือมีสาร schizophyllan ที่สามารถต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ Sarco-แกงสมรม(อาหารใต้)ma - ๑๘๐ ในประเทศญี่ปุ ่นใช้เห็ดแครงเป็นยาเนื่องจากในเห็ดแครงมีสารที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง และต่อต้านเชื้อไวรัส (นายณัฐวิทย์ แอ่นปัญญา) ซึ่งทีมวิจัยได้มีการทดลองนำตัวอย่างเห็ดแครง ที่เก็บตัวอย่างจากพื้นที่ที่เข้าสำรวจ และนำตัวอย่างเห็ดแครงมาทดลองผลิตเชื้อบริสุทธิ์และผลิตโดยการเปิดดอกเห็ดแครง เห็นได้ว่าเห็ดแครงที่ผลิตขึ้นนั้นมีขนาดดอกใหญ่กว่าเห็ดที่พบจากการเข้าสำรวจพื้นที่เนื่องจากได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากก้อนเชื้อของสูตรอาหาร ในอนาคตจะมีการทำคู่มือการผลิตเห็ด ส่วนผสมในการทำก้อนเชื้อเห็ดที่มีสูตรอาหารสมบูรณ์ การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ วิธีการเก็บรักษาเลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ เพื่อทำการต่อยอดไปเรื่อยๆ ซึ่งในอนาคตควรมีการดำเนินงานในการส่งเสริมเกี่ยวกับการผลิตเห็ดแครง เทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบแคปซูลและสุดท้าย คือ การต่อยอดการดำเนินงานโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ประโยชน์ต่างๆโดยเฉพาะความรู้เรื่องพืชสมุนไพร รวมถึงการแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน


มหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •7


Research Excellenceกัญญาภัค จัดวงษ์> เป็นที่ทราบกันดีว่า “ปัญหายาเสพติด” เป็นปัญหารุนแรงระดับชาติและระดับโลกที่ก่อตัวเรื้อรังมานาน ส่งผลเสียต่อสังคม เศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ทำให้ประเทศสูญเสียกำลังคน กำลังทรัพย์ไปเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลจำนวนผู้ติดยาเสพติดของสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุขที่รวบรวมจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่ผ่านการลงทะเบียนพบว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมพ.ศ.๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน มีจำนวนผู้ติดยาเสพติดจำนวน ๘๗,๑๒๓ คนซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่ติดยาเสพติดประเภทยาบ้าจำนวนถึง ๗๑,๒๑๕ คนจากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่ามีผู้ติดยาเสพติดประเภทยาบ้าเป็นจำนวนสูงสุด“ยาบ้า” จัดเป็นยาเสพติดในกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamines) เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ร่างกายตื่นตัว มีพละกำลังมากเป็นพิเศษ แต่ในทางตรงกันข้ามหากร่างกายได้รับสารเหล่านี้มากเกินไปก็จะทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว โหดร้าย มีอาการหวาดระแวง จิตหลอน นำมาซึ่งเหตุการณ์รุนแรงและอาชญากรรมต่างๆศ . ด ร . ป ิ ย ะ รั ต น ์โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศู น ย ์ วิ จั ย ป ร ะ ส า ทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลม.มหิดล เปิดเผยถึงรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี๒๕๕๔ จากสภาวิจัยแห่งชาติ เรื่อง “กลไกของแอมเฟตามีนในการทำลายเซลล์ประสาทก่อให้เกิดสมองเสื่อม” ว่า งานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาเภสัชวิทยาและพิษวิทยาคือ สามารถค้นพบได้ว่า สารเสพติดแอมเฟตามีน (Amphetamines) เป็นพิษต่อระบบประสาทโดปามีน (Dopamine) ซึ่งอาจทำให้มีการพัฒนาไปเป็นโรคสมองเสื่อม หรือโรคพาร์กินสันได้เมื่อมีอายุมากขึ้น เท่ากับว่า ผู้ที่เสพติดสารแอมเฟตามีนมีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมสูงกว่าคนปกติทั่วไป8 MU Newsletter 2012, Vol. 4กล่าวคือผู้ที่เสพสารเสพติดแอมเฟตามีน ในระยะแรกจะมีความรู ้สึกเคลิ้มสบาย รู ้สึกร่างกายพร้อมที่จะทำงาน เพราะเกิดการหลั่งสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจเป็นสารที่ทำให้เกิดความสุข แต่หากร่างกายหลั่งสารโดปามีนมากไป สารโดปามีนจะกลายเป็นสารอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์สมอง เช่นเดียวกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันก็มีสาเหตุเกิดจากเซลล์ประสาทโดปามีนถูกทำลายเช่นกัน โดยจากการทดลองฉีดสารแอมเฟตามีนในหนูทดลองพบว่า เซลล์ประสาทส่วนที่เรียกว่าโดปามีนนั้นถูกทำลาย จึงคาดการณ์ได้ว่า ผู้ที่เสพสารเสพติดแอมเฟตามีนมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมหรือโรคพาร์กินสันได้ในอนาคตจึงนับได้ว่างานวิจัยชิ้นนี้สามารถทำให้เราทราบถึงผลของสารแอมเฟตามีนที่มีต่อสมองเป็นประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มที่เสพติดอยู่หรือที่กำลังคิดจะลองเสพให้ตระหนักถึงผลเสียนี้ รวมถึงเยาวชนที่ใช้สารแอมเฟตามีนเพื่อการลดน้ำหนัก หรือแม้กระทั่งกลุ่มทางการแพทย์ที่ใช้สารแอมเฟตามีนในการรักษาโรคของเด็กที่เป็น Attention Deficit HyperactivityDisorder (ADHD) หรือโรคไฮเปอร์ ให้ระวังถึงผลเสียต่อสมองที่จะเกิดขึ้นได้นอกจากนี้ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ยังได้กล่าวถึงสาร ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine)ที่พบในยาประเภทลดน้ำมูกว่า ความจริงแล้วสารซูโดอีเฟดรีนนั้น ออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์ประสาทโดปามีนเช่นเดียวกับสารแอมเฟตามีนเพราะฉะนั้นถ้าหากรับประทานยาลดน้ำมูกที่มีสารซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นความเคยชิน ก็จะสามารถทำให้เกิดการเสพติด และเมื่อร่างกายมีการหลั่งสารโดปามีนมากเกินไป สารโดปามีนก็จะกลายเป็นสารอนุมูลอิสระที่ไปทำลายเซลล์สมอง ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมหรือพาร์กินสันได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่หากจะให้สารซูโดอีเฟดรีนออกฤทธิ์เทียมสารแอมเฟตามีนจะต้องใช้ความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ๔๐ เท่า จึงจะทำให้มีผลลัพธ์เท่ากันจากข้อมูลข้างต้นเท่ากับว่า สารซูโดอีเฟดรีนไม่ได้เป็นเพียงสารตั้งต้นที่นำไปผลิตเป็นยาเสพติดได้เท่านั้น แต่หากเป็นสารที่ทำให้เสพติดได้ด้วยตัวมันเองชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นผู ้ป่วยควรบริโภคยาด้วยความระมัดระวัง ใช้ยาอย่างรู ้เท่าทัน รับประทานยาเมื่อต้องการรักษาโรค และหากมีอาการที่ทุเลาลงหรือบรรเทาไปแล้วก็ควรจะหยุดการใช้ยานั้นๆ วิธีที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองอนึ่ง งานวิจัยเรื่อง “กลไกของแอมเฟตามีนในการทำลายเซลล์ประสาทก่อให้เกิดสมองเสื่อม” นี้ นอกจากจะศึกษาความเป็นพิษของสารแอมเฟตามีนที่มีต่อเซลล์ประสาททำให้สมองเสื่อมหรือโรคพาร์กินสันแล้ว ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้ทำการศึกษาการป้องกันการตายของเซลล์ประสาทโดปามีนพบว่า “เมลาโทนิน”มีคุณสมบัติการกำจัดสารอนุมูลอิสระ ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทโดปามีนอันเนื่องจากสารเสพติดแอมเฟตามีนได้ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านการสาธารณสุขและการแพทย์ต่อไป เกี่ยวกับเรื่องระบบประสาทและสมองอันเนื่องมาจากการเสพสารเสพติดที่เป็นอันตรายเช่นนี้(หมายเหตุ : หากท่านใดสนใจเรื่อง “เมลาโทนิน”สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ในมหิดลสาร ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕)


ศ.ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ มีผลงานวิจัยที่เด่นๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยทางประชากรศาสตร์และสังคมวิทยา เน้นเรื่องสุขภาพจิตของคนไทย และเรื่องสุขภาวะพฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันเอดส์ โดยผลงานวิจัยเด่นซึ่งได้รับการตีพิมพ์เรื่องล่าสุด เกี่ยวกับการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๓ หรือที่รู ้จักกันอย่างสั้นๆ ว่า โครงการฟ้ามิตรสองงานวิจัยดังกล่าวเริ่มต้นจากปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยที่ยังคงมีอัตราสูง และจากผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในปี ๒๕๕๓ (BaselineSurvey) ภายใต้โครงการฟ้ามิตรสอง ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย โดยกลุ ่มประชากรเป้าResearch Excellenceวรารัตน์ ชัยสุขงานสื่อสารองค์กร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม> เมื่อสภาวิจัยแห่งชาติประกาศผลรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ศ.ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นท่านหนึ่งที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา ซึ่งนำความภาคภูมิใจมายังสถาบันวิจัยประชากรและสังคม รวมทั้งประชาคมชาวมหิดลถ้วนหน้ากันหมายในการวิเคราะห์ครั้งนี้คือ กลุ ่มแรงงานข้ามชาติ พม่า กัมพูชาและลาวที่อยู่ในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น ๓,๔๐๕ คนผลการศึกษาพบว่า ความรู้อย่างครอบคลุมเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ยังมีอยู่ในระดับที่ไม่เป็นที่พอใจ พฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัยและการเข้าถึงถุงยางอนามัยกับคู่นอนชั่วคราวและกับคู่ครองยังมีปัญหาอยู่ระดับหนึ่ง การสำรวจครั้งนี้ยังได้กล่าวถึง การรับข่าวสารความรู้โรคเอดส์ การตรวจหาเชื้อเอชไอวีและเอดส์ด้วยความสมัครใจ ตลอดจนการวางแผนครอบครัวอีกด้วย ผลการศึกษานี้สามารถจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายภายใต้โครงการฟ้ามิตรสองซึ่งครอบคลุมทุกจังหวัดที่มีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •9


Teaching&LearningExcellence งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล> “โครงการแข่งขันตอบปัญหาจุลชีววิทยา ปรสิตวิทยา และวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์นานาชาติโดยศิริราช ครั้งที่ ๑” ( 1st Annual Siriraj InternationalMedical Microbiology and Immunology Competition, SIMIC ) เป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิตแพทย์ทั่วโลกมีความตื่นตัวเรื่องโรคติดเชื้อตั้งแต่ขณะที่ยังศึกษาอยู ่ในระดับชั้นปรีคลินิก ในการหาความรู ้ และศึกษาต่อหรือวิจัยในสาขาจุลชีววิทยาและวิทยาภูมิคุ ้มกันอีกทั้งเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้แก่นิสิตแพทย์ แลกเปลี่ยนความคิด ความรู ้ และแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวิชาแพทยศาสตร์ในระดับนานาชาติ อันนำไปสู ่การร่วมมือทางวิชาการในอนาคต โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมอาคารศรีสวรินทิรา รพ.ศิริราช โดยจัดการแข่งขันประเภทเดี่ยวและประเภททีม ทีมละ ๔คน ซึ่งได้รับความสนใจจากนิสิตแพทย์ทั่วโลกร่วมแข่งขันทั้งสิ้น ๙ ประเทศ ได้แก่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทยเป็นที่น่ายินดีที่ในปีนี้ ประเภทเดี่ยว รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายณัฐวุฒิ สำราญทรัพย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รองอันดับ ๑ นายนภันต์ สุธารัตนพงศ์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และรองอันดับ ๒ นายอุน มิงเลียง ( Oon, Ming Liang) จาก National university of Singapore, Singaporeส่วนประเทศทีม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมนักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รองอันดับ๑ ทีมนักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรองอันดับ ๒ ทีมนักศึกษาแพทย์จาก Facultyof Medicine, AIMST <strong>University</strong> ประเทศมาเลเซีย ผลจากการแข่งขันในครั้งนี้ แสดงให้ถึงศักยภาพของนิสิตแพทย์และโรงเรียนแพทย์ของประเทศไทยว่า ทัดเทียมและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้10 MU Newsletter 2012, Vol. 4


Teaching&Learning Excellenceเขียน : อดิศร บุญญปุรานนท์ ตรวจ : ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์> เมื่อวันที่ ๒๐ – ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ตัวแทนนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนภาคตะวันตก เข้าร่วมประกวดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (The Fourteenth National Software Contest:NSC 2012) รอบสุดท้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน ที่รวบรวม ๑๙๙ ผลงานดีเด่นจากการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับนักเรียน(YSC)นักศึกษา(NSC)และอาจารย์จาก ๑๐๐ สถาบันทั่วประเทศ มาร่วมประกวดในรายการระดับชาติครั้งนี้นศ. ICT และ วิศวฯ มหิดล คว้าถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน NSC 2012จาก ๑๓๑ ผลงานในระดับ NSC ที่ผ่านคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้าย ๓ จาก ๗ ผลงานของนักศึกษาคณะ ICT สามารถคว้า ๓ รางวัลระดับประเทศอย่างภาคภูมิใจ ด้วยรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภทโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการในชื่อผลงาน “ระบบตอบสนองต่อกล้ามเนื้อด้วยเกมส์แอนิเมชัน และการกระตุ ้นกล้ามเนื้อด้วยสัญญาณไฟฟ้าเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคอัมพาต” โดยความร่วมมือระหว่าง น.ส.ชนนิกานต์ ง้วนประเสริฐ น.ส.ชุติมา ฉ.โรจน์ประเสริฐจากคณะ ICT และน.ส.ปิยะรัตน์ สุธรรมพิทักษ์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ซึ่งเข้ารับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม และรับสิทธิในการแข่งขันรายการเจ้าฟ้าไอทีรัตนราชสุดาสารสนเทศครั้งที่ ๗ ที่กำลังจะมาถึงนอกจากนั้น ๒ ผลงานนักศึกษา ICT สามารถคว้ารางวัลจากการประกวด NSC ประเภทMobile Applicationมาได้เช่นกัน จากผลงาน “ระบบรายงานเหตุฉุกเฉินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่”จากนายทรงภูมิ ราษฎร์ดุษดี นายฐิติณัฐ นภาวรรณ และน.ส.อชิรญา นาคสมพันธ์มี อ.วัสกา วิสุทธิเศษ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ขณะที่ผลงาน“การบันทึกการรับประทานอาหารบนสมาร์ทโฟน”ของนายวรทศ อังศุภาสกร นางสาวพัดชา ตีระดิเรก และนายธฤต เอกพินิจพิทยามีอาจารย์ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ก็สามารถคว้ารางวัลชมเชยในประเภทดังกล่าวมาได้เช่นกัน ซึ่งคาดได้ว่าทุกผลงานสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ จะพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในลำดับต่อไปมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •11


<strong>Mahidol</strong> HRกองทรัพยากรบุคล> สุขสันต์เกิดขึ้นได้ทุกวัน... แต่วันที่สามารถสื่อความสุขแบบพิเศษๆ มีไม่กี่วันครับ วันที่พิเศษนั้น คือวันเกิดของพวกเราทุกคนชาวมหิดล ที่ท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน มีนโยบายส่งความสุข ความรัก ความปรารถนาดีแก่บุคลากรทุกท่านผ่านการ์ดอวยพรวันเกิดหลายท่านที่เกิดในเดือนเมษายนนี้อาจได้รับการ์ดอวยพรวันเกิดจากท่านอธิการบดีแล้ว... ใช่แล้วครับ เพราะพวกเราทุกคนคือคนสำคัญที่ท่านอธิการบดีให้ความใส่ใจ พร้อมกันนี้ได้จัดกิจกรรมทำบุญเดือนเกิด ในวันศุกร์สุดท้ายของทุกเดือน โดยกองทรัพยากรบุคคลร่วมกับวิทยาลัยศาสนศึกษา เชิญท่านที่เกิดในแต่ละเดือน และบุคลากรทุกท่านร่วมทำบุญเดือนเกิด ณ ลานดอกกันภัย ชั้น ๑ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีกำหนดการดังนี้เวลา ๐๗.๒๕ น. - พระสงฆ์ ๙ รูปขึ้นสู่อาสน์สงฆ์๐๗.๓๐ น. - ศาสตราจารย์สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองอธิการบดี ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย- ประธานสงฆ์ให้ศีล / ฟังสัมโมทนียกถา และรับพร- ตักบาตรพระสงฆ์ ๙ รูป (ผู้ร่วมงานเตรียมอาหารคาว-หวาน มาเอง)๐๗.๔๕ น. - ศาสตราจารย์สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองอธิการบดี กล่าวอวยพร- เสร็จพิธีท่านใดที่มีความประสงค์จะทำบุญด้วยปัจจัย (เงิน) ให้นำมาบริจาคไว้ในตู้บริจาคแทนการนำไปใส่ลงในบาตรเพื่อรักษาพระวินัยสิกขา ข้อ “พระภิกษุเว้นจากการรับเงินและทอง” โดยไวยาวัจกรจะเป็นผู้ดำเนินการจัดถวายให้ในภายหลังกองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอร่วมส่งความสุขแด่ชาวมหิดลทุกท่าน แล้วพบกันในกิจกรรมทำบุญเดือนเกิด ในวันศุกร์สุดท้ายของทุกเดือน “สุขสันต์วันเกิด” ครับมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •13


MU Societyฐิติรัตน์ เดชพรหม


Special Scoopสุพรรณรัช ภูริวัฒนกุล> เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ฯพณฯองคมนตรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย เป็นประธานเปิดการประชุมนานาชาติประจำปีของภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก (Thai Asia Pacific Associationfor International Education, APAIE 2012)ครั้งที่ ๗ ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว ภายใต้หัวข้อ “ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยต่อสังคม เพื่อประโยชน์ต่อมนุษยชาติ”โดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔ – ๖ เมษายน ๒๕๕๕ณ ห้องราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดลศ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การที่มหาวิทยาลัยมหิดลรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษานานาชาติในการร่วมมือกันรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคม” โดยได้รับเกียรติจาก ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ อันเป็นองค์กรตัวอย่างที่มีผลงานพัฒนาสังคมชาวเขาจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เป็นองค์ปาฐกเรื่อง“Putting <strong>University</strong> Social Responsibilityinto Action” เป็นองค์ปาฐกนำ สำหรับในปีนี้มีผู ้เข้าร่วมการประชุมกว่า ๑,๐๐๐ คน จาก ๔๔ประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก และมีสถาบันการศึกษาร่วมจัดนิทรรศการ ๑๑๐ คูหา นอกจากนี้ในการประชุมจะมีการบรรยายและการนำเสนองานวิจัยจำนวน ๑๒๐ เรื่อง จากวิทยากรผู ้ทรงคุณวุฒิ อาทิ Mr.Gwang-Jo Kim ผู ้อำนวยการยูเนสโกประเทศไทย, ศ.ดร.ปิยะวัฒน์ บุญหลง ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานานาชาติจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกการประชุมนานาชาติประจำปีของภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก (Thai Asia Pacific Associationfor International Education) ได้มีการกำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปีถัดไปมหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •17


NewsSpecial Scoopสาธิดา ศรีชาติ> พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายท่านยังไม่คุ้นเคยกับที่แห่งนี้มากนัก แต่เชื่อได้ว่าถ้าคุณได้มาเยือนเรือนศิลปิน จะทำให้คุณหลงรักสถานที่นี้ ถึงแม้ว่าตัวพิพิธภัณฑ์ยังไม่แล้วเสร็จก็ตาม ทางวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ได้เปิดตัวเรือนศิลปินให้เป็นที่รู้จักก่อนตัวพิพิธภัณฑ์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และในส่วนของพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ห้องพักศิลปินเรือนศิลปิน และพฤกษาดุริยางค์ เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ และเป็นสถานที่รวบรวมประวัติศาสตร์ของชาติด้านดนตรี เป็นเรื่องราวในอดีตที่จะสร้างภูมิปัญญาให้กับคนปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางดนตรี เพื่อรวบรวมเครื่องดนตรี บทบาทของดนตรีที่เกี่ยวข้องกับสังคม รวบรวมเสียงของเครื่องดนตรี ทั้งดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน และดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ เรือนศิลปินเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น มีความคลาสสิคและทันสมัยเป็นสถานที่รวบรวมร้านค้าจำหน่าย ซ่อมแซมเครื่องดนตรีชั้นนำ เช่น หนังสือ โน้ตเพลง ซีดีแผ่นเสียง นอกจากนี้ในชั้นที่ ๒ ของเรือนศิลปิน เป็นอาคารไม้สองชั้น ชั้นบนประกอบด้วยห้องนอนคู่ จำนวน ๔ ห้อง และห้องนอนชุด ๑๕ คน จำนวน ๔ ห้อง เป็นที่พักชั่วคราวของผู้มาเยือน อาทิเช่น ศิลปินดนตรีรุ่นใหม่ทุกแขนง โดยหลักการ คือ นำคนเก่งมาอยู่ที่ศาลายาเพื่อเปิดโอกาสให้สร้างผลงาน คนเก่งเหล่านี้ก็จะเป็นที่รู ้จักกันทั่วโลก ทำให้โลกรู ้จักศาลายา18 MU Newsletter 2012, Vol. 4Irene’s Cafe’รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ หรือ มิวสิคมิวเซียม มีลักษณะเป็นแบบ LivingMuseum คือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมทางดนตรีของชุมชน เผ่าพันธุ์ วงดนตรี ในฤดูกาลต่างๆ ของ southeast asia เช่น ในฤดูกาลนี้เราจะแนะนำดนตรีลาว ก็เชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนดนตรีลาว เชิญนักดนตรีลาวมาสาธิตเกี่ยวกับดนตรีลาว นอกจากนี้เราทำเป็นวิชาการหน่วยกิตละ ๓ หน่วยกิต โดยให้นักเรียนดนตรีทั่วโลก มาเรียน ๑๐ วัน หน่วยกิตละ ๕๐๐ ยูโร๑๐๐ คน เราได้ ๑๕๐,๐๐๐ ยูโร คิดเป็นเงินไทย๗ - ๘ ล้านบาท เราจ่ายเงินให้กับผู้เชี่ยวชาญประมาณ ๒ ล้านบาท เพื่อให้มิวสิคมิวเซียมมีสีสันและมี ชีวิตชีวา เช่นวันนี้มีการแสดงดนตรีของชนเผ่าม้ง วันต่อไปมีการแสดงดนตรีของชวา บาหลี ดนตรีพื้นบ้านของเขมร หรือดนตรีพม่า สร้างความตื่นเต้นได้ตลอด ผู ้ฟังมีความสุขกลับบ้าน ประเด็น คือทำสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมดนตรีให้เป็นความรู้ โดยให้Siam Melodyมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ยังมีโครงการดีๆ ที่เกิดขึ้น นั่นคือ โครงการปลูกดอกไม้ในหัวใจ ซึ่งสืบเนื่องกับพิพิธภัณฑ์อุษาคเนย์ คือ ต้องการผู้สนับสนุนทางด้านการดนตรี เริ่มจากเด็กนักเรียน ๕ อำเภอ คือ พุทธมณฑล ทวีวัฒนานครชัยศรี สามพราน บางเลน เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อทางด้านการศึกษาให้กับชุมชน ให้เยาวชนรู้จักของดี รู้จักการอบรมที่ดี ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะได้เป็นผู้ฟังที่ดี เป็นเครื่องหมายบอกความเจริญของสังคม “ดนตรีเป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างนั้นสังคมเป็นอย่างไร ดนตรีเป็นอย่างนั้น” ดนตรีเป็นอาภรณ์ของผู้เจริญ เมื่อดนตรีทำให้จิตใจสะอาด ดนตรีจึงเป็นเครื่องห่อหุ้มจิตใจคนให้เป็นผู้เจริญขึ้นด้วยพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทร. ๐-๒๘๐๐-๒๕๒๕ ต่อ๑๗๘, ๑๙๖


เปิดรับเสนอชื่อรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี ๒๕๕๕มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญทุกท่านเสนอชื่อบุคคล คณะบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี ๒๕๕๕ ผู้สนใจสามารถกรอกแบบฟอร์มทาง www.princemahidolaward.org ได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม๒๕๕๕ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. ๐-๒๔๑๘-๒๕๖๘, ๐-๒๔๑๘-๐๙๑๗, ๐-๒๔๑๘-๐๒๒๐,๐-๒๔๑๘-๘๖๑๕ โทรสาร ๐-๒๔๑๒-๙๗๑๗Special Scoopสุพรรณรัช ภูริวัฒนกุล> เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเปิดตัว “สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาการท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม” (CreativeAcademy for Cultural and Heritage Tourism) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการท่องเที่ยวไทย” โดยมี ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู ้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๓ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงแนวคิดในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ด้านการท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องนำเอาความคิด ประเพณี วัฒนธรรมความเป็นไทย มาต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานของประเทศไทยเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก แต่จะทำอย่างไรให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด และจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในพื้นที่ โดยจะต้องไม่ทำให้เราสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้างความตระหนักให้กับคนในชุมชนและทำให้รู ้คุณค่าของทรัพยากรที่มีเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การทำงานร่วมกับคนในท้องถิ่นหรือผู้นำชุมชนจะทำให้แหล่งท่องเที่ยวเหล่านั้นมีคุณภาพดียิ่งขึ้น และต้องมองไปข้างหน้าและมองออกนอกกรอบเพราะเมื่อเราเริ่มเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคและการเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวจะมีมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเหล่านี้ด้วยการสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทยจากนั้น เป็นการสัมมนา เรื่อง “ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ – สรรสร้างชีวิต”โดย คุณพลอย จริยะเวช คุณภัทรา สหวัฒน์ และคุณเจษฎาภรณ์ ผลดีเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้มากขึ้น“สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาการท่องเที่ยวสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม” จัดตั้งขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วิจัยแนวโน้มและถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมด้วยการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา บ่มเพาะวิสาหกิจสำหรับผู้ประกอบการให้คำปรึกษาแก่ผู ้ประกอบการแบบครบวงจร อีกทั้งยังพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมให้กับชุมชนมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •19


20 MU Newsletter 2012, Vol. 4


ดอกจัน>> คำไทยใกล้ตัวที่บรรดาผู้เขียน-ผู้อ่านหนังสือมักจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เป็นชื่อของเครื่องหมายอย่างหนึ่ง เรียกว่า เครื่องหมายดอกจัน สารรูปเป็นดังนี้ *คำว่า จัน (ไม่มีอักษรใดๆ พ่วงท้าย) ท่านให้หมายถึงไม้ชนิดหนึ่ง ผลของไม้ชนิดนี้ก็ประหลาดเหลือ คือต้นหนึ่งออกเป็น ๒ แบบแบบหนึ่งนั้นมีผลเท่ากำปั้นย่อ รูปทรงกลมโดยรอบ ส่วนอีกแบบเป็นทรงมนแป้น คือกลมแต่แบน ทั้งสองแบบนี้ เมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอมแรง คนแต่ก่อนนิยมนำมาดม บางคนใส่ไว้ในเชี่ยนหมาก บางคนถือดมไม่วางมือ โดยเฉพาะเมื่อยามพักผ่อน เช่นไปดูหนังดูละคร มือหนึ่งวางขวางอก อีกมือที่ถือลูกจันก็เอาศอกยันฐานมือที่วางขวาง ทำให้ลูกจันอยู่ในระดับใกล้จมูกและสูดดมได้เป็นเวลานานๆ ส่วนตาก็จับจ้องมองดูหนังดูละคร สบายใจเนื้อในลูกจันนั้นกินได้ แต่ต้องให้สุกค่อนไปทางงอม เพราะมิเช่นนั้นจะมีรสฝาดเจืออยู่มากถ้าเด็กที่ใจร้อน รอให้งอมไม่ไหว ก็นวดๆ คลึงๆผลลูกจันให้น่วม แล้วใช้เล็บจิกฉีกเปลือกแทะกินเนื้อใน แต่ถ้าจะกินให้ละเมียดกว่านี้ ต้องทำ“น้ำกะทิลูกจัน”การทำน้ำกะทิลูกจัน โดยใช้มีดกรีดผลลูกจันงอมออกเป็น ๕ - ๖ แฉก ใช้ช้อนขูดเอาแต่เนื้อและต้องระวังไม่ขูดเอาเนื้อใกล้เปลือกออกมามาก เพราะส่วนนี้จะมีความฝาดเป็นทุน ต่อจากนั้นนำเนื้อลูกจันไปยีกับน้ำกะทิสด เติมเกลือสักหยิมมือ เติมน้ำตาลมะพร้าวที่ทำละลายด้วยน้ำอุ่น เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำกะทิลูกจัน ที่มีทั้งกลิ่นหอมของลูกจัน เค็มเกลือ มันกะทิ และหวานน้ำตาลมะพร้าว นำไปราดบนข้าวเหนียวมูนเปลือกลูกจันหลังจากขูดเอาเนื้อไปแล้ว มักจะนำไปแผ่ติดฝาเรือน เป็นรูปดาวห้าแฉกบ้างหกแฉกบ้างต า ม ร อ ยมี ด ที่ ก รี ดเ มื่ อ แ ร กกลายเป็นของประดับที่เป็นดอกเป็นSpecial Articleวีระพงศ์ มีสถาน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย


Special Articleรศ.ดร.สมชื่น ฮอนซา จูเนียร์ คณะศิลปศาสตร์> ในช่วงเวลานี้ทุกคนกำลังตื่นตัวกับการเปิดประตูสู่อาเซียน ความเป็นสากลเริ่มคืบคลานเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดลก็ไม่แตกต่างจากหน่วยงานอื่น ในแง่ของความพยายามสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย หรือ โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรในทุกระดับ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดระดับของมหาวิทยาลัยในเวทีโลก การเข้าสู่สังคมนานาชาติก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีด้านเศรษฐกิจนั้นชัดเจน แต่ก็มีการแข่งขันสูง ซึ่งช่วยให้เห็นข้อเสียหรือข้อด้อยของการศึกษาของไทย นักวิชาการหลายท่านเห็นพ้องกันว่านักศึกษาไทยในเวทีอาเซียนยังเสียเปรียบนักศึกษาต่างชาติอยู่ในทักษะด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และการใช้ภาษา ซึ่งนักศึกษาไทยปัจจุบันมีปัญหาแม้แต่การเขียนด้วยภาษาไทยสำหรับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่จะใช้มากที่สุดในเวทีอาเซียนนั้นนักศึกษาไทยก็ยังเป็นรองประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (ESL) ซึ่งหมายถึงนักศึกษาในประเทศนั้นมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้คนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน นักศึกษาจึงมีโอกาสพูดภาษาอังกฤษได้ตลอดเวลา สำหรับนักศึกษาไทยที่จะจบการศึกษาออกไปสู่สนามแข่งขันของประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.๒๐๑๕จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในส่วนที่ด้อยกว่านักศึกษาประเทศอื่นๆ อย่างน้อยก็ต้องสามารถรักษางานในประเทศของเราไว้ให้ได้หลายครั้งที่คนไทยก็มีความสามารถที่จะอบรม “ลูกศิษย์” พวกเราเองให้มีความสามารถที่จะไปแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้ แต่“กระแส” สังคมพาเราเตลิดไปจนมองข้ามคนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะบัณฑิตที่อาจจะไม่มีโอกาส “Go inter” เช่นคนที่โชคดีอีกกลุ่มหนึ่งแม้การแข่งขันจะรุนแรงและก่อให้เกิดอาเซียนฟีเวอร์ แต่ในฐานะคนในวงการศึกษาก็อยากจะชี้ให้เห็นคนอีกกลุ ่มหนึ่งที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน หากจะ “Go inter” ก็อย่าลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเน้น “the middle path”จะได้ไม่เป็น “ASEAN Fever” จนถึงขั้นละทิ้งนักวิชาการในอนาคตของไทยในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอนนักศึกษาปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวข้อ “ResearchTrend in Language Teaching” ในวิชาSeminar in English Language LearningResearch เมื่อสอนจบนักศึกษากล่าวขอบคุณด้วยกลอนบทนี้ขอขอบคุณวิทยากรในวันนี้ ผู้ซึ่งมีความรู้มหาศาลขอขอบคุณที่ผลักดัน สรรค์สร้างงาน เพื่อสืบสานวิธีการของครูไทยขอบพระคุณที่ท่านเสียสละ อุตสาหะ ชี้แจง แถลงไขพวกเราขอสัญญาต่อครูไทย จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานวิจัยที่ใครก็ว่ายาก แต่นับจากวันนี้ ดีนักหนาข้อมูลที่ได้ คำชี้แนะ จะนำพา ให้ผองเรา นั้นหนาเป็น “ครูดี”เปิดบ้านกนกอร ไชยรัตน์> ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจเข้าร่วมงานเปิดบ้าน “ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อรามาธิบดี”ในวันที่ ๒ – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ ชั้น ๒ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบกับกิจกรรมต่างๆ ดังนี้- ห้องสมุด การใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ (RFID:Radio Frequency Identification)- หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดีท่านจะได้พบกับ OPD จำลอง สมัยแรกฯ22 MU Newsletter 2012, Vol. 4- โครงการภาพยนตร์และสารคดีเพื่อการศึกษา (Cinemeducation) การชมภาพยนตร์และสารคดี โดยเลือกดูได้ทั้งแบบ Theatre และแบบ Video on demand- ห้องปฏิบัติการทักษะทางคลินิก (Clinical Skill Lab) นำเสนออุปกรณ์การฝึกทักษะทางคลินิกที่ครบครันและทันสมัย พร้อมห้อง One-Way Mirror- และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๒-๒๐๑-๐๕๑๖


ในภาวะที่เศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน คุณภาพและความปลอดภัย เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังต่อระบบบริการสุขภาพสถานพยาบาลต้องมีการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นสถาบันทางการแพทย์แห่งหนึ่งที่สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนองปณิธานของ ม.มหิดล ที่ว่า“เป็นภูมิปัญญาของแผ่นดิน”และเพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็น ๑ ใน ๑๐๐ ของมหาวิทยาลัยดีเด่นโลกการได้มาซึ่งมาตรฐานการรับรองคุณภาพ (HA) นับว่าเป็นสิ่งใหม่และยากยิ่งสำหรับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ที่นับว่าเป็นสถาบันทางการแพทย์น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดลเพราะเพิ่งเปิดให้บริการมาเพียง ๕ ปีเท่านั้น ทั้งนี้ผู ้บริหารและบุคลากรทุกคนต้องทำงานกันอย่างหนักโดยการทำงานเป็นทีมตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นการเตรียมการก่อนที่จะมีการตรวจรับรองเป็นสิ่งที่ทำกันอย่างจริงจังมากมีการจัดตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้นมามากมายService Excellenceศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ม.มหิดลงานสื่อสารองค์กร ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก> เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล และ ศ.นพ.วินิต พัวประดิษฐ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ร่วมกันตัดริบบิ้นเปิดศูนย์ทันตกรรมเฉพาะทาง DENTAL SPECIALISTCENTER โดยมี ศ.นพ.อร่าม โรจนสกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์, รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี, รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายบริการ, ทพ.ธิติ อิ่มเอิบสิน หัวหน้างานทันตกรรม, ทพ.พิทักษ์ ไชยรศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ม.มหิดล เข้ารับประทานประกาศนียบัตรจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เนื่องในโอกาสที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ม.มหิดล ได้ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์กรมหาชน)เพื่อแสดงว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ปี ซึ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย การสร้างเสริมสุขภาพ และการบริหารองค์กรเมื่อศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกได้ผ่านมาตรฐานการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA)ผู้มาใช้บริการได้รับประโยชน์ที่ดีขึ้น เช่น ได้รับบริการสุขภาพที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ, ความเสี่ยงในการรักษาลดลงคุณภาพการดูแลรักษาที่ดีขึ้น, มีทีมสหวิชาชีพให้การดูแลรักษาและให้คำแนะนำผู้ป่วยร่วมกันแบบองค์รวม, อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์สะอาดปราศจากเชื้อและได้มาตรฐาน, มีการตรวจสอบและเฝ้าระวังกระบวนการทำงานอยู่เสมอ“บริการด้วยใจ ความปลอดภัยเป็นหนึ่ง ก้าวถึงโรงพยาบาลคุณภาพ” คือสิ่งที่ผู้บริหารและบุคลากรของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกม.มหิดล ทุกคนปฏิบัติตามตลอดมาถึงแม้ว่าณ ปัจจุบันเราสามารถผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลแล้วเรายังคงพัฒนาระบบต่างๆรวมถึงการให้บริการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยยึดถือและปฏิบัติตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก คือ“พึงปฏิบัติต่อผู ้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง”ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่มนุษยชาติตลอดไปงานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


มุมกฎหมายอวยชัย อิสระวิริยะสกุล นิติกร กองกฎหมาย สำนักงานอธิการบดี> ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า รถยนต์ที่จอดอยู่ใต้ต้นไม้ริมถนนหากกิ่งไม้หล่นลงทับรถ หรือต้นไม้ทั้งต้นนั้นล้มลงมาทับจนรถยนต์ที่จอดอยู่ได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือจำนวนมาก เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวสามารถเรียกค่าเสียหายจากใครได้บ้างจะว่าไปแล้วใช่ว่าเรื่องทำนองนี้จะไม่เคยเกิดขึ้น บทความนี้จึงขอนำเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นที่หน่วยราชการแห่งหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง อย่างน้อยที่สุดก็พอเป็นอุทาหรณ์ได้สำหรับเจ้าของรถยนต์ที่พอจะมีประเด็นโต้แย้งกับหน่วยราชการนั้นๆ ได้ ไม่ใช่จะยอมเสียอย่างเดียว : เรื่องมีว่าเมื่อประมาณปลายเดือนเมษายนปีที่แล้วนายแดง (ขอใช้นามสมมุติ) ขับรถยนต์ส่วนตัวไปติดต่อราชการที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งแต่ไม่มีที่จอดรถ นายแดงจึงขับรถยนต์ไปจอดอยู ่ริมทางเท้าใต้ต้นไม้หน้าสำนักงานของหน่วยงานนั้นแล้วขึ้นไปติดต่อราชการ ใช้เวลาเพียงประมาณครึ่งชั่วโมง นายแดงสังเกตเห็นคนที่มาติดต่อราชการแตกตื่นวิ่งไปดูอะไรบ้างอย่างที่หน้าสำนักงาน โดยที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะมีเรื่องร้ายเกิดขึ้นกับตัวเอง นายแดงจึงวิ่งตามไปด้วย ภาพที่ปรากฏต่อหน้า นายแดงเห็นแล้วแทบเป็นลม ต้นไม้ต้นที่นำรถยนต์ไปจอดเพื่ออาศัยร่มเงาทั้งต้นล้มลงมาทับรถยนต์ทั้งคันเต็มๆ ได้รับความเสียอย่างมาก ในช่วงเวลานั้น นายแดงทำอะไรได้ไม่มากไปกว่าเข้าไปพบหัวหน้าหน่วยงานเพื่อแจ้งกรณีที่รถยนต์ของตนถูกต้นไม้ที่หน่วยงานดูแลล้มทับ แต่คำตอบที่ได้รับฟังจากหัวหน้าหน่วยงานกับจะทำให้ นายแดงเป็นลมครั้งที่สอง ต้นไม้ต้นดังกล่าวหน่วยงานดูแลอย่างดี บำรุงรักษาอยู่สม่ำเสมอ การที่ต้นไม้ล้มทับรถยนต์ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของหน่วยงาน เป็นเหตุสุดวิสัยและเป็นความบกพร่องของนายแดงเองที่ไม่ดูให้ดีว่าต้นไม้มีความแข็งแรงหรือไม่ ก่อนที่จะจอดรถยนต์ใต้ต้นไม้ หน่วยงานจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายเมื่อรถยนต์ถูกต้นไม้ล้มทับได้รับความเสียหายจากคำตอบของหัวหน้าหน่วยงานทำให้นายแดงทราบได้ทันทีว่างานนี้ต้องเหนื่อยแน่ๆ จึงหยิบมือถือมาถ่ายภาพรถยนต์ที่ถูกต้นไม้ล้มทับไว้และในขณะเดียวกันก็แจ้งบริษัทประกันภัยมาตรวจสอบและเก็บหลักฐานด้วย ทั้งที่นายแดงเองก็ยังไม่แน่ใจว่าบริษัทที่รับประกันภัยจะชดใช้ความเสียหายให้หรือไม่ เนื่องจากยังไม่ชัดเจนเรื่องรายละเอียดที่ระบุตามกรมธรรม์ว่ารวมถึงความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติหรือไม่ แต่ประเด็นที่น่าคิดคือการที่ต้นไม้ล้มทับรถยนต์เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่เรื่องนี้นายแดงได้ใช้ความพยายามตรวจสอบข้อเท็จจริงจนได้ความว่า ในช่วงเกิดเหตุประมาณปลายเดือนเมษายนของทุกปีมักเกิดพายุฤดูร้อน มีลมพัดและมีฝนตกหนักทุกพื้นที่และก่อนวันเกิดเหตุบริเวณหน่วยงานดังกล่าวมีฝนตกหนักติดต่อกันสองวัน ประกอบข้อเท็จประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๓๔ บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดี หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอก็ดี ผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน....วรรคสอง ...บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย...ถ่ายภาพรถยนต์ที่ถูกต้นไม้ล้มทับไว้และในขณะเดียวกันก็แจ้งบริษัทประกันภัยมาตรวจสอบและเก็บหลักฐานด้วย...จริงว่าต้นไม้ต้นดังกล่าวเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่หน่วยงานขุดล้อมมาปลูกได้เพียงไม่ถึงปี ต้นไม้ไม่มีรากแก้วเพื่อหยั่งยึดติดกับดินและง่ายต่อการโค่นล้มจำเป็นที่จะต้องมีไม้ค้ำยัน แต่ในวันเกิดเหตุมีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าไม่มีการค้ำยันต้นไม้ การที่มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน หน่วยงานน่าจะคาดได้ว่าอาจมีโอกาสที่ต้นไม้จะโค่นล้มลงได้ กรณีจึงเป็นภัยพิบัติที่สามารถป้องกันได้หากได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรและไม่ใช่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากภัยธรรมชาติตามที่หัวหน้าหน่วยงานกล่าวอ้าง หน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของต้นไม้จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายแดงซึ่งเรื่องทำนองนี้ศาลเคยมีคำพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วหลายกรณีกรณีนี้จึงพอเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการได้เป็นอย่างดีว่านอกจากจะให้บริการอย่างเต็มใจและมีคุณภาพแล้ว ยังจะต้องเอาใจใส่และรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มาติดต่อราชการ และเมื่อมีความบกพร่องในหน้าที่จนเป็นเหตุให้ผู ้หนึ่งผู ้ใดได้รับความเสียหาย หน่วยงานราชการจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียแก่ผู ้ได้รับความเสียหายต่อไปด้วย24 MU Newsletter 2012, Vol. 4


เพื่อสุขภาพอาหารจานเดียว.. กินอย่างไรให้สุขภาพดีรศ.ดร.นพวรรณ เปียซื่อ หัวหน้าสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล>> คอลัมน์เพื่อสุขภาพฉบับนี้ ขอให้มาร่วมสำรวจอาหารการกินที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่สำคัญของการดำรงชีวิตกันหน่อยซิว่า การรับประทานอาหารจานเดียว ซึ่งเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่รับประทานอยู่ทุกวี่วัน ทำอย่างไรให้อาหารจานเดียวมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับตนเองก่อนอื่นเลย อาหารจานเดียว ควรประกอบไปด้วยสารอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนในหนึ่งจาน โดยมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๕๐ ไขมันร้อยละ ๓๐ และโปรตีนร้อยละ ๒๐สำหรับพลังงานที่ได้รับจากอาหารแต่ละประเภทนั้นก็มีความแตกต่างกัน โดยอาหารประเภทไขมันให้พลังงานมากที่สุด เมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน ในปริมาณที่เท่ากัน ดังนี้คาร์โบไฮเดรต ๑ กรัม ให้พลังงาน ๔ แคลอรี่โปรตีน ๑ กรัม ให้พลังงาน ๔ แคลอรี่ไขมัน ๑ กรัม ให้พลังงาน ๙ แคลอรี่การบริโภคอาหารชนิดเดียวกัน อาจให้พลังงานต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้าว่า เน้นส่วนประกอบใด มีวิธีปรุงอย่างไร และยังขึ้นอยู่กับตัวท่านเองด้วย การเติมเครื่องปรุงรสยิ่งมากก็จะทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หากเลือกรับประทานอาหารจานเดียวอย่างเหมาะสม นอกจากจะให้คุณค่าทางโภชนาการแล้วยังช่วยประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และสะดวกในการบริโภคอีกด้วยจึงมีคำแนะนำในการบริโภคอาหารจานเดียวแบบง่ายๆ มาฝากกัน๑) ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลายเข้าไว้ หากมีอาหารประเภทปลา เช่น ปลาทู ปลาดุก ปลาสวาย ซึ่งมีโอเมก้า-3 ช่วยปกป้องสมอง ได้ด้วยก็จะยิ่งดี๒) ควรทานผักและผลไม้สดเป็นประจำ๓) หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสับกระดูกหมู หนังหมู เป็นต้น๔) อาหารที่ใส่กะทิ หรือปรุงโดยวิธีการผัดหรือทอด ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัดเพราะมีปริมาณไขมันสูงมาก โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ชุบแป้งทอด ปาท่องโก๋ โดนัท๕) ส่วนของหวานจัด อาหารประเภทแป้งหากรับประทานมากเกินไป จะมีผลทำให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง๖) อาหารมื้อเช้า เป็นอาหารอีกมื้อหนึ่งที่สำคัญ นอกจากจะช่วยทำให้ร่างกายไม่หิวมากในช่วงบ่ายแล้ว ยังควบคุมปริมาณอาหารในมื้อเย็นให้น้อยลงได้๗) อาหารมื้อเย็น ควรทานให้ห่างจากเวลานอนไม่ต่ำกว่า ๓ ชั่วโมง เช่น หากเข้านอนเวลาสามทุ่ม ควรทานอาหารเย็นให้เรียบร้อยไม่เกินหกโมงเย็น เนื่องจากขณะหลับ ร่างกายกำลังพักผ่อน ก็จะไม่เกิดการย่อยอาหาร ทำให้เกิดการสะสมไขมันในช่องท้องมีมากขึ้น๘) เลือกประเภทของอาหารที่ให้พลังงานเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เช่นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ โดยทั่วไปจะให้พลังงานสูงกว่าเส้นเล็ก เส้นหมี่หรือวุ้นเส้น ส่วนก๋วยเตี๋ยวแห้งให้พลังงานสูงกว่าก๋วยเตี๋ยวน้ำ และอาหารประเภทเนื้อหมูและเนื้อวัวให้พลังงานสูงกว่าเนื้อไก่และเนื้อปลา๙) การทานอาหารมังสวิรัติหรืออาหารเจควรเลือกที่มีปริมาณแป้งและไขมันแต่พอควร๑๐) ข้อสำคัญ ควรชิมอาหารก่อนปรุงรสทุกครั้ง และพยายามไม่ติดอาหารรสจัดเกินไป๑๑) ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าลืมว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจะทำให้ได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น และเครื่องดื่มบางชนิด เช่น กาแฟ ให้พลังงานเทียบเท่ากับอาหารหนึ่งจานเลยทีเดียวหากตัวคุณเองสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ดังนี้แล้ว เชื่อเหลือเกินว่าสุขภาพดีจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับตัวคุณ แล้วอย่าลืมแนะนำวิธีการเลือกบริโภคอาหารจานเดียวให้กับคนรอบข้างที่คุณรักด้วยล่ะมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •25


Softnewsงานประชาสัมพันธ์


ปฏิทินข่าว..๓ – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕การประชุมวิชาการ การเข้าสู่ระบบคุณภาพISO/IEC 17025: 2005 ครั้งที่ ๑เรื่อง การตีความข้อกำหนดและแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องสำหรับห้องปฏิบัติการด้านยาและสมุนไพรณ ห้องประชุม ๒๐๖ ชั้น ๒ อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดลสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ คณะเภสัชฯโทร. ๐-๒๖๔๔-๘๖๗๗-๙ ต่อ ๑๔๑๔,๔๔๐๐๑๕ – ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕การประชุมวิชาการด้านการขึ้นทะเบียนตำรับยาครั้งที่ ๒ เรื่อง ข้อมูลทะเบียนยา กรณีศึกษาเพื่อความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยณ ห้องประชุม ๒๐๖ อาคารราชรัตน์คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดลสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชฯโทร. ๐-๒๖๔๔-๘๖๙๕, ๐-๒๖๔๔-๘๖๗๗-๙๑ ต่อ ๕๔๐๒๑๖ – ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Neurodynamicconcept in MusculoskeletalPhysical Therapy”ณ คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดลสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่คุณศรีแพร หนูแก้วโทร. ๐-๒๔๔๑-๕๔๕๐ ต่อ ๒๐๒๒๐๑๖ – ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Diagnosticscreening for Physical Therapy:When to treat? When to refer?”ณ คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดลสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่คุณศรีแพร หนูแก้วโทร. ๐-๒๔๔๑-๕๔๕๐ ต่อ ๒๐๒๒๐Activities Agendaวราภรณ์ น่วมอ่อน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!