11.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

NewsSpecial Scoopสาธิดา ศรีชาติ> พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ ถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายท่านยังไม่คุ้นเคยกับที่แห่งนี้มากนัก แต่เชื่อได้ว่าถ้าคุณได้มาเยือนเรือนศิลปิน จะทำให้คุณหลงรักสถานที่นี้ ถึงแม้ว่าตัวพิพิธภัณฑ์ยังไม่แล้วเสร็จก็ตาม ทางวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ได้เปิดตัวเรือนศิลปินให้เป็นที่รู้จักก่อนตัวพิพิธภัณฑ์ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และในส่วนของพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ห้องพักศิลปินเรือนศิลปิน และพฤกษาดุริยางค์ เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ และเป็นสถานที่รวบรวมประวัติศาสตร์ของชาติด้านดนตรี เป็นเรื่องราวในอดีตที่จะสร้างภูมิปัญญาให้กับคนปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางดนตรี เพื่อรวบรวมเครื่องดนตรี บทบาทของดนตรีที่เกี่ยวข้องกับสังคม รวบรวมเสียงของเครื่องดนตรี ทั้งดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน และดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ เรือนศิลปินเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น มีความคลาสสิคและทันสมัยเป็นสถานที่รวบรวมร้านค้าจำหน่าย ซ่อมแซมเครื่องดนตรีชั้นนำ เช่น หนังสือ โน้ตเพลง ซีดีแผ่นเสียง นอกจากนี้ในชั้นที่ ๒ ของเรือนศิลปิน เป็นอาคารไม้สองชั้น ชั้นบนประกอบด้วยห้องนอนคู่ จำนวน ๔ ห้อง และห้องนอนชุด ๑๕ คน จำนวน ๔ ห้อง เป็นที่พักชั่วคราวของผู้มาเยือน อาทิเช่น ศิลปินดนตรีรุ่นใหม่ทุกแขนง โดยหลักการ คือ นำคนเก่งมาอยู่ที่ศาลายาเพื่อเปิดโอกาสให้สร้างผลงาน คนเก่งเหล่านี้ก็จะเป็นที่รู ้จักกันทั่วโลก ทำให้โลกรู ้จักศาลายา18 MU Newsletter 2012, Vol. 4Irene’s Cafe’รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ หรือ มิวสิคมิวเซียม มีลักษณะเป็นแบบ LivingMuseum คือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมทางดนตรีของชุมชน เผ่าพันธุ์ วงดนตรี ในฤดูกาลต่างๆ ของ southeast asia เช่น ในฤดูกาลนี้เราจะแนะนำดนตรีลาว ก็เชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนดนตรีลาว เชิญนักดนตรีลาวมาสาธิตเกี่ยวกับดนตรีลาว นอกจากนี้เราทำเป็นวิชาการหน่วยกิตละ ๓ หน่วยกิต โดยให้นักเรียนดนตรีทั่วโลก มาเรียน ๑๐ วัน หน่วยกิตละ ๕๐๐ ยูโร๑๐๐ คน เราได้ ๑๕๐,๐๐๐ ยูโร คิดเป็นเงินไทย๗ - ๘ ล้านบาท เราจ่ายเงินให้กับผู้เชี่ยวชาญประมาณ ๒ ล้านบาท เพื่อให้มิวสิคมิวเซียมมีสีสันและมี ชีวิตชีวา เช่นวันนี้มีการแสดงดนตรีของชนเผ่าม้ง วันต่อไปมีการแสดงดนตรีของชวา บาหลี ดนตรีพื้นบ้านของเขมร หรือดนตรีพม่า สร้างความตื่นเต้นได้ตลอด ผู ้ฟังมีความสุขกลับบ้าน ประเด็น คือทำสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมดนตรีให้เป็นความรู้ โดยให้Siam Melodyมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ทางวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ยังมีโครงการดีๆ ที่เกิดขึ้น นั่นคือ โครงการปลูกดอกไม้ในหัวใจ ซึ่งสืบเนื่องกับพิพิธภัณฑ์อุษาคเนย์ คือ ต้องการผู้สนับสนุนทางด้านการดนตรี เริ่มจากเด็กนักเรียน ๕ อำเภอ คือ พุทธมณฑล ทวีวัฒนานครชัยศรี สามพราน บางเลน เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อทางด้านการศึกษาให้กับชุมชน ให้เยาวชนรู้จักของดี รู้จักการอบรมที่ดี ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะได้เป็นผู้ฟังที่ดี เป็นเครื่องหมายบอกความเจริญของสังคม “ดนตรีเป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างนั้นสังคมเป็นอย่างไร ดนตรีเป็นอย่างนั้น” ดนตรีเป็นอาภรณ์ของผู้เจริญ เมื่อดนตรีทำให้จิตใจสะอาด ดนตรีจึงเป็นเครื่องห่อหุ้มจิตใจคนให้เป็นผู้เจริญขึ้นด้วยพิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ โทร. ๐-๒๘๐๐-๒๕๒๕ ต่อ๑๗๘, ๑๙๖

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!