11.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

Research Excellenceสาธิดา ศรีชาติ> มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจเพื่อศึกษาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพชีวภาพ ด้านความหลากหลายของชนิด (speciesdiversity) ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity)ความหลากหลายของพันธุกรรม (genetic diversity) การแพร่กระจายของไม้ที่ให้น้ำมันหอมระเหย หอยบก หอยน้ำจืด และเห็ดสมุนไพร ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการ อพ.สธ.) บริเวณพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี เป้าหมายของการศึกษาเพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คงอยู ่อย่างยั่งยืนต่อไปซึ่งทางมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าร่วมสนองพระราชดำริฯ พร้อมกับคณะวิจัยอื่นๆ จากคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีได้รวมนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมสำรวจความหลากหลายของเห็ดสมุนไพรไม้หอม หอยบก หอยน้ำจืด ที่มีอยู่ในพื้นที่ปกปักฯ ภายใต้ชื่อ “โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูล ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ การแพร่กระจายกับการประยุกต์ใช้เชิงเศรษฐกิจของไม้ที่ให้น้ำมันหอมระเหย หอยบก หอยน้ำจืด และเห็ดสมุนไพร บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี” โดย ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์การเกษตรมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นหัวหน้าโครงการ และ รศ.ถาวร วินิจสานันท์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการย่อยมีส่วนร่วมรับผิดชอบในเรื่องเห็ดสมุนไพรและร่วมสำรวจกับคณะทีมวิจัยอีก ๘ หน่วยงาน เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้จากการสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพในเบื้องต้นของคณะนักวิจัยของวิทยาเขตในการเข้าสำรวจ พบสิ่งที่น่าสนใจ คือ เห็ดแครง(Schizophyllum commune Fr.) เป็นเห็ดขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายพัด (fan – shaped)ด้านฐานมีก้านขนาดสั้นๆ ยาว ๐.๑ – ๐.๕ ซม.หรือไม่มีก้านติดอยู่กับวัสดุที่ขึ้นด้านข้าง ดอกเห็ดมีขนาดความกว้างประมาณ ๑ - ๓ ซม. ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะดอกเหนียวและแข็งเมื่อแห้ง ด้านใต้ของดอกเห็ดมีครีบมีลักษณะแตกเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อนของดอกหยักคล้ายของเปลือกหอยแครง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เห็ดแครง” เท่าที่ทราบกันว่า เห็ดเป็นวัตถุดิบชั้นดี ในการประกอบอาหาร เห็ดทั่วไปสามารถนำมารับประทานได้และใช้เป็นสมุนไพร เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดหอมเห็ดเผาะ เห็ดฟาง เห็ดลม เห็ดหูหนู และเห็ดหลินจือ เป็นเห็ดที่ชาวจีนและชาวญี่ปุ ่น นิยมนำ6 MU Newsletter 2012, Vol. 4เห็ดไปปรุงเป็นน้ำแกง น้ำชา ยาบำรุงร่างกายและยารักษาโรคต่างๆ ทางยุโรปนำไปปรุงเป็นซุป คนไทยนำมาผสมในแกงต่างๆ รวมถึงผัด ต้ม จิ้มน้ำพริก สรรพคุณของเห็ดช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยการต้านมะเร็งหลายๆ ชนิด แถมเห็ดบางชนิดรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ สามารถนำไปปรุงอาหารให้อร่อยได้หลายวิธี ทั้ง ต้ม ผัด แกง ยำ ย่าง หรือทอดแล้วแต่ว่าจะชอบรับประทานเมนูใด ส่วนเมนูยอดนิยมโดยใช้ส่วนประกอบเป็นเห็ดแครง คือแกงสมรม ซึ่งเป็นอาหารทางภาคใต้ เมนูถัดมาคือ แกงเขียวหวานเห็ดแครง ห่อหมกเห็ดแครงเห็ดแครงผัดไข่เห็ดแครงหมก หรือ งบเห็ดแครง (อาหารใต้)ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ หัวหน้าโครงการกล่าวว่า เห็ดแครงที่พบส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่การสำรวจพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากเห็ดแครงมีสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งในเห็ดแครงยังมีสาระสำคัญทางการแพทย์คือมีสาร schizophyllan ที่สามารถต้านและยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ Sarco-แกงสมรม(อาหารใต้)ma - ๑๘๐ ในประเทศญี่ปุ ่นใช้เห็ดแครงเป็นยาเนื่องจากในเห็ดแครงมีสารที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็ง และต่อต้านเชื้อไวรัส (นายณัฐวิทย์ แอ่นปัญญา) ซึ่งทีมวิจัยได้มีการทดลองนำตัวอย่างเห็ดแครง ที่เก็บตัวอย่างจากพื้นที่ที่เข้าสำรวจ และนำตัวอย่างเห็ดแครงมาทดลองผลิตเชื้อบริสุทธิ์และผลิตโดยการเปิดดอกเห็ดแครง เห็นได้ว่าเห็ดแครงที่ผลิตขึ้นนั้นมีขนาดดอกใหญ่กว่าเห็ดที่พบจากการเข้าสำรวจพื้นที่เนื่องจากได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากก้อนเชื้อของสูตรอาหาร ในอนาคตจะมีการทำคู่มือการผลิตเห็ด ส่วนผสมในการทำก้อนเชื้อเห็ดที่มีสูตรอาหารสมบูรณ์ การผลิตเชื้อบริสุทธิ์ วิธีการเก็บรักษาเลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ เพื่อทำการต่อยอดไปเรื่อยๆ ซึ่งในอนาคตควรมีการดำเนินงานในการส่งเสริมเกี่ยวกับการผลิตเห็ดแครง เทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบแคปซูลและสุดท้าย คือ การต่อยอดการดำเนินงานโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ประโยชน์ต่างๆโดยเฉพาะความรู้เรื่องพืชสมุนไพร รวมถึงการแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!