11.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ดอกจัน>> คำไทยใกล้ตัวที่บรรดาผู้เขียน-ผู้อ่านหนังสือมักจะพบเห็นอยู่บ่อยๆ เป็นชื่อของเครื่องหมายอย่างหนึ่ง เรียกว่า เครื่องหมายดอกจัน สารรูปเป็นดังนี้ *คำว่า จัน (ไม่มีอักษรใดๆ พ่วงท้าย) ท่านให้หมายถึงไม้ชนิดหนึ่ง ผลของไม้ชนิดนี้ก็ประหลาดเหลือ คือต้นหนึ่งออกเป็น ๒ แบบแบบหนึ่งนั้นมีผลเท่ากำปั้นย่อ รูปทรงกลมโดยรอบ ส่วนอีกแบบเป็นทรงมนแป้น คือกลมแต่แบน ทั้งสองแบบนี้ เมื่อสุกแล้วจะมีกลิ่นหอมแรง คนแต่ก่อนนิยมนำมาดม บางคนใส่ไว้ในเชี่ยนหมาก บางคนถือดมไม่วางมือ โดยเฉพาะเมื่อยามพักผ่อน เช่นไปดูหนังดูละคร มือหนึ่งวางขวางอก อีกมือที่ถือลูกจันก็เอาศอกยันฐานมือที่วางขวาง ทำให้ลูกจันอยู่ในระดับใกล้จมูกและสูดดมได้เป็นเวลานานๆ ส่วนตาก็จับจ้องมองดูหนังดูละคร สบายใจเนื้อในลูกจันนั้นกินได้ แต่ต้องให้สุกค่อนไปทางงอม เพราะมิเช่นนั้นจะมีรสฝาดเจืออยู่มากถ้าเด็กที่ใจร้อน รอให้งอมไม่ไหว ก็นวดๆ คลึงๆผลลูกจันให้น่วม แล้วใช้เล็บจิกฉีกเปลือกแทะกินเนื้อใน แต่ถ้าจะกินให้ละเมียดกว่านี้ ต้องทำ“น้ำกะทิลูกจัน”การทำน้ำกะทิลูกจัน โดยใช้มีดกรีดผลลูกจันงอมออกเป็น ๕ - ๖ แฉก ใช้ช้อนขูดเอาแต่เนื้อและต้องระวังไม่ขูดเอาเนื้อใกล้เปลือกออกมามาก เพราะส่วนนี้จะมีความฝาดเป็นทุน ต่อจากนั้นนำเนื้อลูกจันไปยีกับน้ำกะทิสด เติมเกลือสักหยิมมือ เติมน้ำตาลมะพร้าวที่ทำละลายด้วยน้ำอุ่น เพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำกะทิลูกจัน ที่มีทั้งกลิ่นหอมของลูกจัน เค็มเกลือ มันกะทิ และหวานน้ำตาลมะพร้าว นำไปราดบนข้าวเหนียวมูนเปลือกลูกจันหลังจากขูดเอาเนื้อไปแล้ว มักจะนำไปแผ่ติดฝาเรือน เป็นรูปดาวห้าแฉกบ้างหกแฉกบ้างต า ม ร อ ยมี ด ที่ ก รี ดเ มื่ อ แ ร กกลายเป็นของประดับที่เป็นดอกเป็นSpecial Articleวีระพงศ์ มีสถาน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!