11.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

Teaching&Learning Excellenceเขียน : อดิศร บุญญปุรานนท์ ตรวจ : ผศ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์> เมื่อวันที่ ๒๐ – ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ตัวแทนนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนภาคตะวันตก เข้าร่วมประกวดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (The Fourteenth National Software Contest:NSC 2012) รอบสุดท้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน ที่รวบรวม ๑๙๙ ผลงานดีเด่นจากการแข่งขันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับนักเรียน(YSC)นักศึกษา(NSC)และอาจารย์จาก ๑๐๐ สถาบันทั่วประเทศ มาร่วมประกวดในรายการระดับชาติครั้งนี้นศ. ICT และ วิศวฯ มหิดล คว้าถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน NSC 2012จาก ๑๓๑ ผลงานในระดับ NSC ที่ผ่านคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้าย ๓ จาก ๗ ผลงานของนักศึกษาคณะ ICT สามารถคว้า ๓ รางวัลระดับประเทศอย่างภาคภูมิใจ ด้วยรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภทโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการในชื่อผลงาน “ระบบตอบสนองต่อกล้ามเนื้อด้วยเกมส์แอนิเมชัน และการกระตุ ้นกล้ามเนื้อด้วยสัญญาณไฟฟ้าเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคอัมพาต” โดยความร่วมมือระหว่าง น.ส.ชนนิกานต์ ง้วนประเสริฐ น.ส.ชุติมา ฉ.โรจน์ประเสริฐจากคณะ ICT และน.ส.ปิยะรัตน์ สุธรรมพิทักษ์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล ซึ่งเข้ารับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม และรับสิทธิในการแข่งขันรายการเจ้าฟ้าไอทีรัตนราชสุดาสารสนเทศครั้งที่ ๗ ที่กำลังจะมาถึงนอกจากนั้น ๒ ผลงานนักศึกษา ICT สามารถคว้ารางวัลจากการประกวด NSC ประเภทMobile Applicationมาได้เช่นกัน จากผลงาน “ระบบรายงานเหตุฉุกเฉินบนโทรศัพท์เคลื่อนที่”จากนายทรงภูมิ ราษฎร์ดุษดี นายฐิติณัฐ นภาวรรณ และน.ส.อชิรญา นาคสมพันธ์มี อ.วัสกา วิสุทธิเศษ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ขณะที่ผลงาน“การบันทึกการรับประทานอาหารบนสมาร์ทโฟน”ของนายวรทศ อังศุภาสกร นางสาวพัดชา ตีระดิเรก และนายธฤต เอกพินิจพิทยามีอาจารย์ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ก็สามารถคว้ารางวัลชมเชยในประเภทดังกล่าวมาได้เช่นกัน ซึ่งคาดได้ว่าทุกผลงานสร้างสรรค์ที่เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ จะพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในลำดับต่อไปมหิดลสาร ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ •11

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!