11.07.2015 Views

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

สารมหาวิทยาลัยมหิดลย้อนหลังเดือนเมษายน 2555 - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

Special Articleรศ.ดร.สมชื่น ฮอนซา จูเนียร์ คณะศิลปศาสตร์> ในช่วงเวลานี้ทุกคนกำลังตื่นตัวกับการเปิดประตูสู่อาเซียน ความเป็นสากลเริ่มคืบคลานเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดลก็ไม่แตกต่างจากหน่วยงานอื่น ในแง่ของความพยายามสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย หรือ โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรในทุกระดับ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดระดับของมหาวิทยาลัยในเวทีโลก การเข้าสู่สังคมนานาชาติก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีด้านเศรษฐกิจนั้นชัดเจน แต่ก็มีการแข่งขันสูง ซึ่งช่วยให้เห็นข้อเสียหรือข้อด้อยของการศึกษาของไทย นักวิชาการหลายท่านเห็นพ้องกันว่านักศึกษาไทยในเวทีอาเซียนยังเสียเปรียบนักศึกษาต่างชาติอยู่ในทักษะด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และการใช้ภาษา ซึ่งนักศึกษาไทยปัจจุบันมีปัญหาแม้แต่การเขียนด้วยภาษาไทยสำหรับภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่จะใช้มากที่สุดในเวทีอาเซียนนั้นนักศึกษาไทยก็ยังเป็นรองประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (ESL) ซึ่งหมายถึงนักศึกษาในประเทศนั้นมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้คนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน นักศึกษาจึงมีโอกาสพูดภาษาอังกฤษได้ตลอดเวลา สำหรับนักศึกษาไทยที่จะจบการศึกษาออกไปสู่สนามแข่งขันของประชาคมอาเซียนในปี ค.ศ.๒๐๑๕จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในส่วนที่ด้อยกว่านักศึกษาประเทศอื่นๆ อย่างน้อยก็ต้องสามารถรักษางานในประเทศของเราไว้ให้ได้หลายครั้งที่คนไทยก็มีความสามารถที่จะอบรม “ลูกศิษย์” พวกเราเองให้มีความสามารถที่จะไปแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้ แต่“กระแส” สังคมพาเราเตลิดไปจนมองข้ามคนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะบัณฑิตที่อาจจะไม่มีโอกาส “Go inter” เช่นคนที่โชคดีอีกกลุ่มหนึ่งแม้การแข่งขันจะรุนแรงและก่อให้เกิดอาเซียนฟีเวอร์ แต่ในฐานะคนในวงการศึกษาก็อยากจะชี้ให้เห็นคนอีกกลุ ่มหนึ่งที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน หากจะ “Go inter” ก็อย่าลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเน้น “the middle path”จะได้ไม่เป็น “ASEAN Fever” จนถึงขั้นละทิ้งนักวิชาการในอนาคตของไทยในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรสอนนักศึกษาปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวข้อ “ResearchTrend in Language Teaching” ในวิชาSeminar in English Language LearningResearch เมื่อสอนจบนักศึกษากล่าวขอบคุณด้วยกลอนบทนี้ขอขอบคุณวิทยากรในวันนี้ ผู้ซึ่งมีความรู้มหาศาลขอขอบคุณที่ผลักดัน สรรค์สร้างงาน เพื่อสืบสานวิธีการของครูไทยขอบพระคุณที่ท่านเสียสละ อุตสาหะ ชี้แจง แถลงไขพวกเราขอสัญญาต่อครูไทย จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานวิจัยที่ใครก็ว่ายาก แต่นับจากวันนี้ ดีนักหนาข้อมูลที่ได้ คำชี้แนะ จะนำพา ให้ผองเรา นั้นหนาเป็น “ครูดี”เปิดบ้านกนกอร ไชยรัตน์> ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจเข้าร่วมงานเปิดบ้าน “ทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อรามาธิบดี”ในวันที่ ๒ – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ ชั้น ๒ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบกับกิจกรรมต่างๆ ดังนี้- ห้องสมุด การใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ (RFID:Radio Frequency Identification)- หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดีท่านจะได้พบกับ OPD จำลอง สมัยแรกฯ22 MU Newsletter 2012, Vol. 4- โครงการภาพยนตร์และสารคดีเพื่อการศึกษา (Cinemeducation) การชมภาพยนตร์และสารคดี โดยเลือกดูได้ทั้งแบบ Theatre และแบบ Video on demand- ห้องปฏิบัติการทักษะทางคลินิก (Clinical Skill Lab) นำเสนออุปกรณ์การฝึกทักษะทางคลินิกที่ครบครันและทันสมัย พร้อมห้อง One-Way Mirror- และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๒-๒๐๑-๐๕๑๖

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!