27.10.2014 Views

นายศุภสิทธิ์อินทร์แสง - มหาวิทยาลัยรังสิต

นายศุภสิทธิ์อินทร์แสง - มหาวิทยาลัยรังสิต

นายศุภสิทธิ์อินทร์แสง - มหาวิทยาลัยรังสิต

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ditor’s talk<br />

E[สิรินภา เจริญแก้ว]<br />

ต้อนรับเปิดเทอมใหม่... (ด้วยหัวใจไม่ว้าวุ่น)<br />

“ไก่ย่างถูกเผา ไก่ย่างถูกเผา มันจะถูกไม้เสียบ...”<br />

00000สารรังสิตฉบับเดือนนี้ขอเปิดเนื้อหาด้วย เสียงร้อง<br />

เพลง เสียงบูม และเสียงกลอง ที่หลายคนคุ้นหูทุกครั้งเมื่อเริ่ม<br />

เข้าสู่ฤดูกาลเปิดภาคเรียนใหม่ เป็นภาพที่นักศึกษากำลังร้องไป<br />

เต้นไป ฟังแล้วกระตุ้นต่อมความมันส์ได้ไม่น้อยเลย เพราะสิ่ง<br />

เหล่านี้คือการที่บรรดารุ่นพี่บรรจงสร้างให้แก่รุ่นน้อง ซึ่งถือเป็น<br />

กิจกรรมเรียกน้ำย่อย สมาชิกใหม่ในครอบครัวฟ้า-บานเย็น<br />

“กิจกรรมรับน้อง” คือ การส่งเสริมความรักและสามัคคี ปลูก<br />

ฝังความรักสถาบันให้กับนักศึกษาที่เข้ามาสู่รั้วรังสิตแห่งนี้<br />

00000พี่ทีมงานวารสารฉบับนี้ขอฝาก “สารรังสิต” ซึ่งเป็น<br />

วารสารรายเดือนที่บอกเล่าเรื่องราวความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่<br />

เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยให้น้องๆ ได้หยิบหามาอ่านกันด้วยจ้า จะ<br />

ได้ไม่ตกเทรนด์และพลาดข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจใน<br />

มหาวิทยาลัยของเรา ท้ายนี้ พี่ๆ ทีมงานสารรังสิตขอกล่าว<br />

ต้อนรับนักศึกษาใหม่แบบเบาๆ อีกครั้งว่า <br />

00000ยินดีต้อนรับเฟรชชี่ทุกคนสู่รั้วมหาวิทยารังสิตค่ะ…<br />

6 ทีมเชียร์ลีดดิ้ง ม.รังสิต <br />

เยือนประเทศสิงคโปร์<br />

10-11 Hitchhiker<br />

บุคลากรดีเด่นดูงานที่ปักกิ่ง<br />

13 ต้อนรับน้องใหม่<br />

พี่อยากบอก น้องอยากพูด<br />

15 ม.รังสิต เปิดคลินิก <br />

“รังสิต ฟ้าใส” <br />

18 ธีรนพ หวังศิลปคุณ<br />

ศิลปินที่ทำให้งานกราฟิก<br />

จากประเทศไทยมีตัวตนบนเวทีโลก<br />

ditorial<br />

Estaff<br />

Check <br />

them<br />

out!<br />

<br />

ประธานที่ปรึกษา : ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์<br />

กรรมการที่ปรึกษาสำนักงานประชาสัมพันธ์ : ชนกมณฐ์ รักษาเกียรติ์,<br />

ดนุ ภู่มาลี, เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต, วาจวิมล เดชเกตุ, พรหมพงษ์ แก้วดวงเด่น,<br />

กัมปณาท เตชะคงคา, ณวัฒน์ อินทอง, มัติกร บุญคง, รพีวรรณ กลยนี,<br />

ชญาน์ทิพย์ โลจนะโกสินทร์, ดร.วุธพงศ์ ลาภเจริญ, มนตรี อินทโชติ, สุระศักดิ์<br />

อุตสาห์<br />

บรรณาธิการบริหาร : สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ<br />

บรรณาธิการ : สิรินภา เจริญแก้ว<br />

กองบรรณาธิการ : สมพล วชิรวัฒนา, อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์,<br />

จิราภรณ์ ตุลาผล, นิจวรรณ นาวารัตน์<br />

รีไรเตอร์ : รพีวรรณ กลยนี<br />

ช่างภาพ : อรรถยา สุนทรายน, บัญหาร กาศนอก, พิษณุ พุ่มเกษม<br />

เลขากองบรรณาธิการ : ภัสณี บำรุงถิ่น<br />

คอมพิวเตอร์กราฟิก : อรรถยา สุนทรายน, เกวภร สังขมาศ<br />

ที่ทำการสารรังสิต : สำนักงานประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 <br />

อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต <br />

ซอยพหลโยธิน 87 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 <br />

โทรศัพท์ 0-2791-5555 โทรสาร 0-2791-5577 หรือ <br />

e-mail : info@rsu.ac.th<br />

“ดิฉันรวยมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ได้รวยที่อื่นนะคะแต่รวยที่ใจ คนเราถ้ามี<br />

พอแล้ว ทุกอย่างมันก็จะเต็มและก็ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว... ”<br />

<br />

ถ้อยคำที่ได้ยินแล้วรู้สึกประทับใจในผู้หญิงคนหนึ่งที่มุ่งมั่นในอุดมการณ์ของตนเอง ทำ<br />

อะไรหลายอย่างเพื่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยไม่แบ่งแยกชั้น วรรณะ สีผิว ฯลฯ นั่นคือ<br />

ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผู้ซึ่งได้รับฉายาในวงการสาธารณสุขว่า “เภสัชกรยิปซี” หญิงไทยเพียง<br />

หนึ่งเดียวที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โดยคิดค้นยาต้าน<br />

เอดส์จนทำให้คนจนทั่วโลกมีโอกาสเข้าถึงยา<br />

ศ.ดร.กฤษณา เป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพี่น้องสองคน คุณพ่อเป็นหมอและ<br />

คุณแม่เป็นพยาบาล ซึ่งเป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งคู่ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ตนเอง<br />

ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขเช่นกัน <br />

<br />

เรื่องราวของ ศ.ดร.กฤษณา ได้ถูกนำไปสร้างเป็น<br />

ภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติ เรื่อง อะไรต์ทูลีฟ-เอดส์<br />

เมดิเคชันฟอร์มิลเลียนส์ (A Right to Live-Aids<br />

Medication for Millions) จนได้รับรางวัลจากเทศกาลหนัง<br />

เมืองคานส์ 3 รางวัล ในปี พ.ศ. 2549 รวมถึงการสร้าง<br />

ภาพยนตร์บรอดเวย์ชื่อ ค๊อกเทล (Cocktail) ในปี พ.ศ.<br />

2550 นอกจากนี้ อาจารย์ยังได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก<br />

(Global Scientist Award) จากมูลนิธิเลตเต็น ประเทศ<br />

นอร์เวย์ ประจำปี พ.ศ. 2547 รางวัลบุคคลแห่งปีของเอเชีย<br />

ประจำปี พ.ศ. 2551 และรางวัลแมกไซไซสาขาบริการ<br />

สาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบัน ศ.ดร.กฤษณา<br />

ดำรงตำแหน่งคณบดีเกียรติคุณของคณะการแพทย์แผน<br />

ตะวันออก และคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต<br />

<br />

ชอบสายศิลป์มากกว่าสายวิทย์<br />

ศ.ดร.กฤษณา เล่าว่า “ดิฉันเกิดที่เกาะสมุย เป็นคนจังหวัดสุราษฎร์ธานี คุณตา<br />

เป็นปลัดอำเภอเกาะสมุยคนแรก เป็นหมอแผนโบราณ วัยเรียนเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียน<br />

ราชินี อยู่ท่ามกลางเพื่อนๆ มีความสนุกสนานเฮฮาไปเรื่อยๆ การมาอยู่ประจำทำให้เรามี<br />

วินัยและเข้ากับคนได้ดี หลังจากนั้น ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้เลือกมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เลย เลือกเชียงใหม่<br />

เกือบทุกอันดับและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แต่จริงๆ แล้วถ้าเลือกได้อยากเป็น<br />

Conductor หรือวาทยกร เพราะชอบเล่นดนตรี ชอบสายศิลป์มากกว่าสายวิทย์ แต่เมื่อเรา<br />

ต้องเรียนทางวิทยาศาสตร์เพราะว่าพ่อกับแม่มาทางนี้ตลอดก็ไม่ได้รู้สึกเสียใจ เพราะเราคิด<br />

ว่าในชีวิตหนึ่งถ้าเราได้ทำประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์หรือสายศิลป์มันก็<br />

เป็นประโยชน์ทั้งนั้นและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติด้วย”


Scoop<br />

[อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์] สกู๊ป<br />

0<br />

จากแอฟริกาถึงรังสิต<br />

แรงบันดาลใจไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง<br />

ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ <br />

เภสัชกรยิปซี ผู้คิดค้นยาต้านเอดส์ ทำให้คนจนทั่วโลกมีโอกาสเข้าถึงยา<br />

หลังจากจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา คณะเภสัชศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท<br />

สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก<br />

สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักรอังกฤษ หลัง<br />

จากจบการศึกษาแล้ว ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะ<br />

เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่ง<br />

หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ทำงานใน<br />

องค์การเภสัชกรรมและเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถ<br />

ผลิตยาสามัญชื่อ “ยาเอดส์” ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา<br />

และดำรงตำแหน่งสุดท้ายในองค์การเภสัชกรรมคือ ผู้อำนวยการ<br />

สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม<br />

“ดิฉันเริ่มทำงานที่องค์การเภสัชกรรมในปี พ.ศ. 2526 จน<br />

กระทั่งได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การ<br />

เภสัชกรรม เวลาทำงานไม่เคยคิดถึงตำแหน่งและเงินเดือน ซึ่ง<br />

ตำแหน่งสุดท้ายที่ออกมาคือ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา<br />

เงินเดือนนั้นไม่ได้มีความหมายอะไรทั้งสิ้น ที่ผ่านมาใบปริญญาก็ไม่เคย<br />

มีความหมายอะไรเลย ไม่เคยไปรับปริญญาตรี โท เอก ส่งทาง<br />

ไปรษณีย์มาตลอด ไม่ได้ดูคนที่ตำแหน่ง ไม่ได้ดูคนที่การศึกษาและ<br />

ไม่ได้ดูคนที่ฐานะ แต่ดูที่ตัวเขาเองถ้าเขามีผลงานให้เห็นก็จะชื่นชม<br />

เช่นกัน มาอยู่ที่องค์การเภสัชกรรมโดยไม่ได้คิดถึงตำแหน่งหรือ<br />

อะไรทั้งสิ้น แต่ในที่สุดก็ได้เป็นผู้อำนวยการสถาบัน นั่นก็เป็นหัวโขน<br />

ที่สวม พอเราออกไปแล้วก็แล้วกันมันก็ไม่มีอะไร แต่สิ่งที่เราจะฝาก<br />

ไว้ให้คนนั้นมันมีความหมายมากกว่า” ศ.ดร.กฤษณา กล่าว<br />

<br />

บรรยากาศการทำงานในทวีปแอฟริกา


0<br />

แรงบันดาลใจไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง<br />

หลังจากลาออกจากองค์การเภสัชกรรม ศ.ดร.กฤษณา ได้เริ่มต้นการ<br />

ทำงานในประเทศคองโกเป็นประเทศแรก และประสบความสำเร็จในการผลิต<br />

ยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ชื่อ “Afri-Vir” โดยมีส่วนผสมเหมือนยาที่ผลิตในประเทศ<br />

ไทย ซึ่งผลิตขึ้นได้ครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้<br />

เดินทางไปช่วยเหลืองานทางเภสัชกรรม ณ ประเทศแทนซาเนีย โดยสามารถ<br />

วิจัยและผลิตยา “Thai-Tanzunate” ในประเทศแทนซาเนียได้สำเร็จ ซึ่งเป็น<br />

ยารักษาโรคมาลาเรีย ที่เป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกา และเดินทางช่วยเหลือ<br />

ประเทศอื่นๆ ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย แทนซาเนีย และไลบีเรีย <br />

สำหรับยาที่มีชื่อเสียงทำให้อาจารย์เป็นที่รู้จักในวงกว้างคือ จีพีโอ-เวีย<br />

(GPO-VIR) ซึ่งสามารถทำให้ยา 3 เม็ด รวมอยู่ในเม็ดเดียว จากที่ผู้ป่วย<br />

โรคเอดส์ต้องทาน วันละ 6 เม็ด เหลือเพียง 2 เม็ด เท่านั้น ทำให้รัฐบาลไทย<br />

สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์จาก 1,000 คน เพิ่มเป็น 10,000 คน ค่ายา<br />

จากคนละ 20,000 บาท เหลือเพียง 1,200 บาท <br />

กว่าที่อาจารย์จะช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากขนาดนี้ อาจารย์ได้ฝ่าฟันกับ<br />

อุปสรรคนานัปการ ระหว่างที่ทำงานในแอฟริกาอาจารย์ประสบปัญหา<br />

มากมาย ถูกจี้ปล้นในระหว่างการเดินทางและถูกยิงระเบิดที่บ้านพัก แต่ระเบิด<br />

นั้นพลาดเป้า การทำงานตามตารางงานซึ่งไม่มีความแน่นอน ในวันหนึ่งๆ<br />

อาจารย์อาจพักแรม ณ ประเทศหนึ่ง และทำงานในอีกประเทศหนึ่ง รวมถึง<br />

การไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองในสมัยนั้น<br />

“ช่วงที่ทำงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนาฯ ได้วิจัยยาต่างๆ มามากมาย<br />

ประมาณ 100 รายการ และวิจัยยาจากผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรอีก 64 รายการ<br />

แต่ตัวที่ทำให้ดังและฮือฮามากที่สุดคือ ยาต้านเอดส์ ตอนเริ่มวิจัยคือในปี พ.ศ.<br />

2535 ตอนนั้นผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทยได้รับยาแค่ 600 คนเท่านั้น คือเฉพาะ<br />

คนรวยที่ได้รับยาเพราะว่าค่ายาค่อนข้างสูง 20,000-30,000 บาท/ คน/ เดือน<br />

เรามองว่าผู้หญิงและเด็กเป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่อาจจะติดมาจากสามี<br />

เด็กอาจจะติดมาจากแม่ซึ่งเขาไม่รู้เรื่องอะไรเลย แล้วนักการเมืองบางคนสมัย<br />

นั้นทำไมถึงใจแคบมากมายคิดว่าผู้ป่วยเอดส์ทุกคนเป็นคนเลว เพราะฉะนั้น<br />

การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในสังคมได้เริ่มตั้งแต่จุดนั้น ต้องขอบคุณพวกเขาถ้า<br />

ไม่มีเขาก็ไม่มีวันนี้และผู้ป่วยเอดส์ก็คงจะไม่ได้รับยา<br />

ประเทศในแอฟริกายากจนมาก สมมุติว่าโรงพยาบาลหนึ่งมีเตียง 150<br />

เตียง แต่มีคนไข้ที่มาแอดมิต 450 คน นั่นหมายถึง ใน 1 เตียง มีคนไข้ 3 คน<br />

นอนบนเตียงเดียวกัน 2 คน นอนกลับหัวกลับหางกัน และนอนใต้เตียงอีก 1<br />

คน เวลาอยู่ที่แอฟริกา ร่อนเร่ไปเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีหลักแหล่ง บางทีมีคนช่วย<br />

เหลือเรื่องค่าใช้จ่ายการเดินทาง บางทีก็ออกเอง เพราะประเทศเขายากจนไม่<br />

มีสตางค์ให้หรอก ยามว่างจากแอฟริกาจะมาอยู่ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้<br />

นอกเหนือจากการทำงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต” เจ้าของฉายาเภสัชกรยิปซี<br />

ผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จจากการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ถ่ายทอดเรื่องราว<br />

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบัน ศ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ จะนั่งเก้าอี้<br />

คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต แต่อีกมุมหนึ่งที่ได้ทำงานด้าน<br />

มนุษยธรรมมาโดยตลอด และอาจารย์ก็ยังมุ่งมั่นที่จะสานต่องานเหล่านั้นต่อไป <br />

“โดยส่วนตัวทำงานในทวีปแอฟริกา แต่ด้วยความศรัทธาในตัวท่าน<br />

อธิการบดี จึงมาช่วยงานที่มหาวิทยาลัยรังสิต และที่สำคัญอยากจะช่วย<br />

เยาวชนไทย สำหรับการบริหารงานที่คณะเภสัชศาสตร์ ที่นี่มีคณาจารย์ที่มี<br />

ความรู้ความสามารถ เพียงแต่เรามาวางนโยบาย ไม่ได้มองว่าตนเองเป็น<br />

คณบดีแต่เป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำชี้แนวทางเท่านั้น เราไม่ควรยึดติดกับอะไร<br />

การมาทำงานที่นี่ไม่ขอรับเงินเดือน เนื่องจากอยากพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าทุกอย่าง<br />

เป็นไปได้เสมอ แล้วเราจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเรามองนอกตัวเราเอง<br />

ก่อน ควรมีจิตสาธารณะ ทุกกิจการต้องมีผลกำไรไม่อย่างนั้น<br />

จะอยู่ได้อย่างไร แต่เราควรมองว่ามิสชันเขาคืออะไร เขาสร้าง<br />

คนใช่ไหม เขาสอนให้คนเป็นคนใช่ไหม ให้คนปฏิบัติหน้าที่<br />

สามารถทำงานต่างๆ ในอนาคตได้ ส่วนรางวัลทั้งหลายที่ได้<br />

รับมาไม่เคยคาดหวังอะไรสักอย่างเดียว แต่ได้รับเพราะว่าสิ่งที่<br />

เราทำไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ทำเพื่อล่ารางวัล แต่ทุกอย่างมันมาของ<br />

มันเอง พอมาร่วมกันแล้วมันมีพลังสูง” ศ.ดร.กฤษณา กล่าว<br />

ทิ้งท้าย


นายศุภสิทธิ์ อินทร์แสง<br />

Buffet<br />

[จิราภรณ์ ตุลาผล] บุฟเฟ่ต์<br />

0<br />

นายศุภสิทธิ์ อินทร์แสง (ปักษ์) นักศึกษาชั้นปีที่ 2<br />

สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีชีวภาพ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต จบการศึกษาจากโรงเรียนวังไกล-<br />

กังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยเกรดเฉลี่ย 3.00<br />

นอกจากนี้ ปักษ์ยังสอบชิงทุนวังไกลกังวล และได้<br />

คะแนนเป็นอันดับที่หนึ่งในการสอบคัดเลือกของ<br />

โรงเรียนอีกด้วย <br />

“เหตุผลที่เลือกเรียนคณะเทคโนโลยีชีวภาพ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิตนั้น ผมอยากนำความรู้ที่ได้จากการ<br />

เรียนมาต่อยอดทั้งในเรื่องการถนอมอาหาร แปรรูป<br />

อาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์มาก ที่สุด และ<br />

เมื่อได้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรังสิต ผมจึงไม่ละทิ้ง<br />

โอกาสและประสบการณ์ดีๆ ที่จะได้รับในช่วงชีวิต<br />

มหาวิทยาลัย จึงเข้าร่วมกับทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น<br />

กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรม<br />

พะยอมเกม กิจกรรม Open House และกิจกรรมร่วม<br />

ทำบุญกับชมรมพุทธ ซึ่งในการทำกิจกรรม จะสอนให้<br />

เรารู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมใหม่ๆ มีเพื่อนมาก<br />

ขึ้น ที่สำคัญกิจกรรมสอนให้เรารู้จักคิด และมีสติเมื่อ<br />

เกิดปัญหา”<br />

ในอนาคตปักษ์มีความฝันอยากเป็นนักวิจัย<br />

ทางด้านอาหาร และขอฝากถึงน้องๆ ที่สนใจเรียน<br />

ทางด้านนี้ว่า หากเรามีความตั้งใจ และพร้อมที่จะ<br />

เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ รู้จักสังเกต และรักการ<br />

ทดลอง จากการทดลองจะทำให้เราทราบคำตอบ<br />

และถ้าหากเราต้องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใดๆ นั้น<br />

เราก็จะสามารถทำตามขั้นตอน และรู้จักวิธีการเก็บ<br />

รักษาอาหารได้อย่างถูกต้อง และสำหรับน้องๆ คน<br />

ไหนที่มีความฝันเหมือนพี่ปักษ์ สามารถที่จะเริ่มต้น<br />

และหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมตัวในการสอบ และ<br />

ทำความฝันให้เป็นจริงอย่างที่ตั้งใจไว้<br />

<br />

นายศุภสิทธิ์ อินทร์แสง (ปักษ์) <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร <br />

คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

Buffet<br />

[จิราภรณ์ ตุลาผล]<br />

บุฟเฟ่ต์<br />

นางสาวเฉิน อี๋หรู (Yi-Ju Chen)<br />

นางสาวเฉิน อี๋หรู (Yi-Ju Chen) (หนูนก)<br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาธุรกิจระหว่าง<br />

ประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

สอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่<br />

6 จาก General Education Development<br />

(GED) ของประเทศสหรัฐอเมริกา <br />

“นก เลือกเรียนสาขาวิชาธุรกิจระหว่าง<br />

ประเทศ เพราะจะได้นำความรู้ไปช่วยธุรกิจที่<br />

บ้านได้ และตัดสินใจเลือกเรียนวิทยาลัย<br />

นานาชาติ เพราะต้องการฝึกภาษาอังกฤษ ซึ่ง<br />

เป็นไปตามที่ต้องการ เนื่องจากวิทยาลัยนานาชาติมี<br />

นักศึกษาแลกเปลี่ยนกว่า 20 เชื้อชาติ ไม่เพียงจะ<br />

ได้ใช้ภาษาแล้ว ยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมของชาว<br />

ต่างชาติด้วย จึงนับเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก<br />

พวกเราได้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมายร่วมกัน<br />

สำหรับนกนั้นมักจะได้รับหน้าที่ให้เป็นพิธีกรใน<br />

งานต่างๆ รวมถึงเป็นประธานสโมสรนักศึกษา<br />

ของวิทยาลัยนานาชาติ ทุกกิจกรรมที่ได้ทำนั้น<br />

ทำให้นกได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้<br />

นางสาวเฉิน อี๋หรู (Yi-Ju Chen) (หนูนก) <br />

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ <br />

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

เรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรม เชื้อชาติ<br />

ศาสนา นอกจากนี้ เมื่อเราทำสิ่งใดผิดพลาด ได้<br />

แก้ไขและเรียนรู้ว่าควรทำอย่างไร แม้ว่านกจะทำ<br />

กิจกรรมมากมายแต่ยังให้ความสำคัญกับการ<br />

เรียนหนังสือเป็นอันดับแรกๆ และสามารถรักษา<br />

เกรดเฉลี่ยให้ที่บ้านภูมิใจด้วยเกรดเฉลี่ย 3.84<br />

สำหรับอนาคตนั้น นกอยากเป็นอาจารย์สอน<br />

หนังสือ อยากสอนวิชาเกี่ยวกับภาษาหรือตัวเลข<br />

เพราะเป็นวิชาที่ถนัด ที่สำคัญการเป็นอาจารย์จะ<br />

ได้เป็นการช่วยปลูกฝังให้นักเรียนของเราให้พวก<br />

เขาเห็นความจำเป็นของการใช้ภาษา และสอนให้<br />

พวกเขาเป็นบุคลากรที่ดีของประเทศชาติต่อไป”<br />

วิทยาลัยนานาชาตินั้น ไม่ได้เรียนเกี่ยวกับ<br />

การท่องจำไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่เป็นการ<br />

เรียนเพื่อนำความรู้ไปใช้ได้จริง ซึ่งกิจกรรมต่างๆ<br />

ที่ทางคณะและมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นการเสริม<br />

ทักษะและส่งเสริมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ซึ่งกันและ<br />

กัน ในอนาคตเราสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากการ<br />

ทำกิจกรรมนั้นปูทางให้เราสามารถร่วมงานกับ<br />

ผู้อื่นและปรับตัวได้ง่ายขึ้น


0<br />

News<br />

ข่าว<br />

ทีมเชียร์ลีดดิ้ง ม.รังสิต<br />

เยือนประเทศสิงคโปร์<br />

ทีมเชียร์ลีดดิ้งมหาวิทยาลัยรังสิต และบุคลากรจากศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้ง<br />

นานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งสังกัดอยู่ในสมาคมเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทย ได้รับ<br />

เชิญจากสหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศสิงคโปร์ (Federation of Cheerleading<br />

Singapore, FCS) เข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน และเป็นแขกพิเศษเพื่อร่วม<br />

เชียร์และแสดงความสามารถในการแข่งขัน 2nd Singapore National Cheerleading<br />

Championships 2011 ณ ประเทศสิงคโปร์<br />

ประเทศสิงคโปร์ขึ้นชื่อได้ว่ามีศักยภาพในด้านทรัพยากรมนุษย์ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มี<br />

การให้ความรู้เรื่องเชียร์ลีดดิ้งแก่นักกีฬาอย่างถูกต้อง โดยสหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ<br />

(International Federation of Cheerleading, IFC) และมีการฝึกซ้อมอย่างเป็นระบบ<br />

บวกกับความมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบของนักกีฬา จึงไม่น่าแปลกใจที่ทีมเชียร์<br />

ลีดดิ้งประเทศสิงคโปร์จะพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดดทุกๆ ปี ซึ่งในการพัฒนากีฬาของ<br />

ประเทศสิงคโปร์ Singapore Sports Council จะเน้นให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมกับ<br />

กิจกรรมกีฬาตั้งแต่เล่นกีฬา ชมกีฬา และเชียร์กีฬา ในคอนเซปต์ที่ว่า Play-Watch-<br />

Cheer <br />

ทั้งนี้ การเดินทางของทีมเชียร์ลีดดิ้งมหาวิทยาลัยรังสิตครั้งนี้ แม้ว่าจะไปไม่เต็มทีม<br />

มีนักกีฬาเพียง 11 คน จากปกติ 16-18 คน แต่สร้างความประทับใจให้แก่นักกีฬาและผู้ชม<br />

ชาวสิงคโปร์ได้อย่างมาก ทั้งยังได้ผูกมิตรกับเพื่อนใหม่ชาวต่างชาติด้วยภาษาของเชียร์<br />

ลีดดิ้ง (Cheerleading Language) ได้แสดงให้เห็นถึงการแบ่งปันมากกว่าการแข่งขัน สิ่ง<br />

สำคัญที่สุดคือ ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิตและประเทศไทยเป็นอย่างมาก<br />

เชื่อว่าในตอนนี้นักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งและคนสิงคโปร์คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า RSU แล้วเหมือน<br />

กับทีมเชียร์ลีดดิ้งรุ่นพี่ๆ ที่เคยสร้างชื่อไว้ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐ<br />

เยอรมนี มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอีกหลายประเทศ <br />

สำหรับการแข่งขัน 2nd Singapore National Cheerleading Championships<br />

2011 เป็นการจัดการแข่งขันระดับประเทศสิงคโปร์ ที่สหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศ<br />

สิงคโปร์ (Federation of Cheerleading Singapore, FCS) ได้รับการสนับสนุนจากการ<br />

จัดการแข่งขันจาก Singapore Sports Council โดยจัดขึ้นปีละครั้งเท่านั้น มีทีมเชียร์<br />

ลีดดิ้งในประเทศสิงคโปร์ไม่ว่าจะเป็นทีมโรงเรียนมัธยมศึกษา ทีมมหาวิทยาลัย หรือทีม<br />

สโมสรเข้าร่วมแข่งขันเพื่อชิงความเป็นหนึ่งในการแข่งขันรายการนี้ โดยหลังการแข่งขันทีม<br />

เชียร์ลีดดิ้งมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงความรู้ทาง<br />

ด้านเชียร์ลีดดิ้งกับนักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งของประเทศสิงคโปร์ เพื่อการพัฒนากีฬาเชียร์ลีดดิ้ง<br />

ต่อไปในอนาคต


News<br />

ภาพข่าว<br />

0<br />

พิธีบำเพ็ญกุศลและพระราชทานเพลิงศพอาจารย์<br />

ใหญ่<br />

คณาจารย์และนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยแพทยศาสตร์และ<br />

วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดงานบำเพ็ญกุศลและ<br />

พระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2553 เพื่อ<br />

เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณที่ได้อุทิศร่างกาย<br />

เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับนักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้อันเป็นประโยชน์<br />

ต่อไป โดยมี นายดำรงค์ อินทรมีทรัพย์ ที่ปรึกษาอธิการบดีฝ่ายการต่าง-<br />

ประเทศและการบริหาร เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร<br />

คณาจารย์ นักศึกษา และครอบครัวของอาจารย์ใหญ่ ร่วมนำพาดวง<br />

วิญญาณของอาจารย์ใหญ่ไปสู่สุคติภพ ณ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ วัด<br />

พระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน<br />

การแสดงกาลาคอนเสิร์ต Yes Academy 2011<br />

วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สถาน<br />

เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จัดโครงการอบรม<br />

ดนตรีและการแสดง YES Academy Thailand 2011 ซึ่งหลังเสร็จสิ้น<br />

การอบรมได้จัดให้มีกาลาคอนเสิร์ต เพื่อแสดงศักยภาพของนักเรียน<br />

ที่เข้ารับการอบรม อาทิ ดนตรีแจ๊ส (Jazz) บรอดเวย์ มิวสิคัล<br />

เธียเตอร์ (Broadway Musical Theatre) การเต้นฮิปฮอป (Hip Hop<br />

Dance) วงดุริยางค์เครื่องสาย (String Orchestra) เปียโนและวง<br />

แชมเบอร์ (Piano & Chamber Music) ณ โรงละครเซ็นเตอร์พ้อยท์<br />

เพลย์เฮ้าส์ ชั้น 7 ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิร์ล


0<br />

News<br />

ภาพข่าว<br />

คณะศึกษาศาสตร์ศึกษาดูงานที่ประเทศสิงคโปร์<br />

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการ<br />

สอน (M.Ed. Curriculum and Instruction) คณะศึกษาศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต เดินทางไปศึกษาดูงานการจัดการการเรียนรู้ของสถาน<br />

ศึกษาและของสถาบันที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพรวม 4 แห่ง ณ ประเทศ<br />

สิงคโปร์ ทั้งนี้ ได้เยี่ยมชมและศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนของ 4<br />

สถาบันที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Sembawang Primary School, Northlight<br />

School, SEAMEO Reginal Language Centre (RELC) และ National<br />

Institute of Education (NIE) โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ประสบความ<br />

สำเร็จอย่างดีเยี่ยม เพราะเจ้าภาพทั้ง 4 แห่ง ได้จัดการบรรยายที่มี<br />

คุณภาพและน่าสนใจเป็นที่ประทับใจแก่คณะฯ ที่ไปเยี่ยมชมและศึกษา<br />

ดูงาน <br />

ม.รังสิต ร่วมกับ เคเบิลทีวี เปิดเวทีเฟ้นหาศักยภาพคนรุ่นใหม่<br />

จัดโครงการอบรม “ผู้ประกาศข่าวสายพันธุ์ใหม่”<br />

เอ็ม.เอส.เอส เคเบิลทีวี ร่วมกับ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด<br />

(มหาชน) โดยการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยรังสิต จัดโครงการอบรม “ผู้ประกาศข่าว<br />

สายพันธุ์ใหม่” เพื่อถ่ายทอดความรู้พื้นฐาน วิธีการจับประเด็นข่าว การเขียนข่าว การสรุป<br />

ข่าว และการออกเสียงที่ถูกวิธี เพื่อสร้างผู้ประกาศข่าว และนักข่าวภาคสนาม ให้มีความ<br />

สามารถรอบด้าน ทั้งเป็นผู้ประกาศข่าวหน้าจอที่สามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการ<br />

รายงานข่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ อาคาร Digital Multimedia Complex (อาคาร<br />

15) มหาวิทยาลัยรังสิต


News<br />

ข่าว<br />

0<br />

สนง.การตลาด ม.รังสิต <br />

จัดกิจกรรมออกบูทในมหกรรม<br />

การศึกษา “Sea Future Expo<br />

2011 และ UEXPO 2011”<br />

สำนักงานการตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต จัดกิจกรรมออกบูทในงานมหกรรม<br />

การศึกษา “Sea Future Expo 2011” เมื่อวันที่5-6 เมษายน 2554 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์<br />

ชั้น 5 ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน และงาน UEXPO 2011 ณ Grand Hall<br />

ไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 8-10 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา<br />

ทั้งนี้ ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การเสวนาแนะแนวทางการศึกษาต่อ<br />

โดยนักศึกษาทุนความสามารถพิเศษ (ด้านศิลปิน) มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

การแนะแนวอาชีพยอดฮิต และการให้คำปรึกษาเพื่อหาทางออกในการตัดสินใจโค้ง<br />

สุดท้ายก่อนการเลือกคณะของน้องๆ มัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังต้องการข้อมูล<br />

ประกอบการตัดสินใจโดยได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ เจ้าหน้าที่ประจำคณะ และ<br />

ตัวแทนทูตข่าวสารมหาวิทยาลัยรังสิต 2011 มาให้คำแนะนำ และตอบข้อซักถามของ<br />

น้องๆ และผู้ปกครอง


10<br />

Hitchhiker<br />

สะพายเป้ เข็มทิศ ลายแทง<br />

[จารย์อิท คณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ]<br />

email : ittiphun@hotmail.com<br />

ถ่ายภาพหมู่ (ตอนนี้ยังขาดอาจารย์เบบี๋ที่ยังหลงกันอยู่)<br />

สวัสดีครับทุกท่าน ฉบับนี้ผมในฐานะ<br />

ที่ปรึกษาของ RSU Horizon Travel ได้มีโอกาสรับใช้<br />

และร่วมเดินทางไปบันทึกเรื่องราวการเดินทางของ<br />

กลุ่มบุคลากรดีเด่น ประจำปี 2553 ที่ท่าน<br />

อธิการบดีได้มอบรางวัลให้เดินทางไปทัศนศึกษา<br />

และท่องเที่ยว ณ กรุงปักกิ่ง เป็นเวลา 5 วัน<br />

ตลอดระยะเวลาที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน สิ่งที่ผมเห็น<br />

และประทับใจมากคือ บรรยากาศของความมี<br />

มิตรไมตรีต่อกัน ไม่ว่าแต่ละท่านจะมีตำแหน่ง<br />

หน้าที่การงานที่รับผิดชอบสูงมากแค่ไหน หรือท่าน<br />

จะเป็นแค่พนักงานคนสวนหรือช่าง ที่ต้องใช้แรง<br />

กายในการทำงาน แต่ทุกท่านล้วนเป็นเฟืองจักรที่<br />

ต้องหมุนไปพร้อมๆ กัน จึงจะเป็นพลังขับเคลื่อน<br />

มหาวิทยาลัยของเราไปสู่ความเป็นเลิศในทุกๆ<br />

ด้าน <br />

ภาพนี้เพื่อแฟนๆ ผมแอบถ่ายการแสดงกายกรรมปักกิ่ง <br />

เกือบโดนอาตี๋เข้ามาตบ<br />

ประมาณ 4 ทุ่มของคืนวันที่ 7 มีนาคม<br />

2554 พวกเราพร้อมกัน ณ ท่าอากาศยาน<br />

สุวรรณภูมิ เคาน์เตอร์สายการบินแอร์ไชน่า หลัง<br />

จากเช็กกระเป๋าขึ้นเครื่องเรียบร้อยแล้ว ก็ทยอยเข้า<br />

ด้านในเดินดูสินค้าปลอดภาษีเล่น จนได้เวลา<br />

ประมาณตี 1 ของวันที่ 8 มีนาคม ออกเดินทาง<br />

และมาถึงสนามบินปักกิ่งตอน 7 โมงเช้า มีไกด์<br />

สาวชาวจีนชื่อนิ่ม ให้การต้อนรับ พอโผล่ออกมา<br />

นอกสนามบินเจออากาศหนาวมาก ทั้งสาวน้อยและ<br />

สาวมากต่างวิ่งขึ้นรถบัส ไกด์สาวแนะนำตัวบนรถ<br />

ใครสนใจมั่ง กำไลข้อมือทำจากหินหลากสี 10 หยวน 40 กว่าบาทจ้า <br />

<br />

ภาษาไทยของเธอดีมาก แต่เวลาเธอพูดเธอจะพูด<br />

ไปขำไป ทั้งๆ เป็นเรื่องที่ไม่ขำ แต่ก็เป็นเสน่ห์ของ<br />

เธอไปอีกแบบ เธอพาพวกเราไปทานอาหารเช้า<br />

เป็นโจ๊ก ผัดผัก และปาท่องโก๋ที่ออกแนวจืดๆ<br />

สายหน่อยหนูนิ่มพามาชมพระราชวังต้องห้ามกู้กง<br />

(Forbidden City) สร้างขึ้นในปี 1406 ในสมัย<br />

จักรพรรดิหยงเล่อ มีตำหนักใหญ่เล็กรวมถึง<br />

<br />

ร๊ากกันจะไม่ทิ้งกัน... แฮ่ แฮ่ ว่าแล้วพวกเราก็<br />

เดินชมพระราชวังต่อ อีกสักพักใหญ่ ดร.หนุ่ม<br />

โผล่มาเข้ากลุ่ม ทั่นนิ่งมาก ไม่พูดอะไร ได้แต่<br />

ยิ้มๆ จนอาจารย์วรรณ แห่ง สนง.รับสมัคร ถาม<br />

ด้วยความห่วงใย “อาจารย์หายไปไหนมา” “อ๋อ!<br />

ผมเข้าห้องน้ำนานไปหน่อย ออกมาไม่เห็นใคร<br />

เลยเดินไปเรื่อยๆ” ดีมากเลย น่าจะให้ทั่นเดิน<br />

บุคลากรดีเด่นดูงานที่ปักกิ่ง<br />

ชาวรังสิตไม่เคยกินมันเผามั้ง?<br />

9,999 ห้อง ซึ่งเป็นที่ประทับและออกว่าราชการ<br />

ของจักรพรรดิ 24 พระองค์ ในราชวงศ์หมิงและ<br />

ราชวงศ์ชิง ที่นี่นักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวจีน<br />

เยอะมาก ระหว่างเดินตามไกด์สาวปรากฏว่ามี<br />

อาจารย์ ผศ.ดร.หนุ่ม ขอไปเข้าห้องน้ำแล้วหลง<br />

หายไปเลย พวกเราแยกกันตามหา หาเท่าไรก็ไม่<br />

เจอ ทุกคนเสียเวลารอทั่นนานมาก แต่พวกเราก็<br />

ห่วงกัน จนเวลานานมากแล้วพวกเราจึงตัดสินใจ<br />

ทิ้งทั่น??? กะว่าทั่นเป็นถึงดอกเตอร์น่าจะไปรอ<br />

ที่ทางออกหรือดิ้นรนไปโรงแรมได้... พวกเรา<br />

สนามกีฬาโอลิมปิก สนามกีฬารังนก<br />

<br />

กระเหรี่ยงรังสิตเดินตามธงชาติไทย<br />

เรื่อยๆ กลับกรุงเทพฯ เลย 555 พวกเราเดิน<br />

กระหน่ำเป็นชั่วโมงจนมาทะลุที่ใจกลางของ<br />

กรุงปักกิ่ง จัตุรัสเทียนอันเหมิน เป็นสถานที่<br />

จัดพิธีฉลองในโอกาสวันสำคัญต่างๆ จนได้<br />

เวลาอาหารเที่ยง เข้าภัตตาคารอาหารจีน ทุก<br />

คนทานด้วยความเอร็ดอร่อยหิวโซเพราะเดิน<br />

ฝ่าความหนาวกันมาตั้งแต่เช้า ช่วงบ่ายมาชม<br />

สนามกีฬาโอลิมปิกที่ออกแบบก่อสร้างเหมือน<br />

รังนก ทุกท่านตื่นตาตื่นใจกันมาก ถ่ายรูปกัน<br />

กระจาย ที่นี่มีคนจีนแอบขายของที่ระลึก ถ้า<br />

พวกเราบนรถไฟฟ้าที่สนามบินปักกิ่ง<br />

<br />

อาหารกลางวัน ที่ทุกมื้อจะมีเบียร์จีนมาวางไว้ให้ 2 ขวด <br />

หนุ่มน้อย หนุ่มมากฟาดเกลี้ยง


เจ้าแม่กวนอิมพันตาพันมือ<br />

ตำรวจเห็นเป็นโดนจับ อาจารย์วรรณและ<br />

อาจารย์ผการัตน์ แห่ง สนง.ทะเบียน ก็<br />

อุตส่าห์แอบซื้อมาจนได้ ผมเลยแกล้งแซว<br />

“จารย์คับ ผมว่ามันน่าจะแพงกว่าซื้อที่ตลาด<br />

น๊า” “อือ! ทราบค่ะ แต่ที่ซื้อก็เพราะซื้อเอา<br />

บรรยากาศคร๊า” เสียงจารย์ผการัตน์ เธอตอบ<br />

ผมแบบยิ้มมุมปาก... จบข่าวคับทั่น ตก<br />

เย็นมาชมกายกรรมปักกิ่ง ของประเทศจีนที่<br />

มีชื่อเสียงโด่งดัง หลังจากนั้นมาทานอาหารค่ำ<br />

และเข้าพักโรงแรมระดับ 5 ดาว โรงแรม<br />

Comfort Suite ผมได้พักคนเดียว เข้าห้องไป<br />

อึ้งเลย แจ่มแหล่มมากกก แบ่งเป็นส่วนๆ ทั้ง<br />

ครัว รับแขก ห้องนอน ห้องน้ำ โต๊ะทำงาน<br />

จะอารายกันนักหนา... ราตรีสวัสดิ์ปักกิ่ง<br />

มุมกว้างภายในพระราชวังต้องห้ามกู้กง (Forbidden City)<br />

อาม่ากับอาหมวย<br />

งานนี้ตามคำสั่งท่านอธิการฯ ที่ต้องให้<br />

ชาวรังสิตได้ลิ้มลองเป็ดปักกิ่งต้นตำรับ...<br />

จัดปัยคับทั่น <br />

วันพุธที่ 9 มีนาคม หลังอาหารเช้า เรา<br />

เดินทางสู่เมืองเทียนสิน ห่างจากปักกิ่ง 120<br />

กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่<br />

สำคัญของภาคเหนือ ชมถนนวัฒนธรรมเมือง<br />

เทียนสิน สัมผัสกลิ่นไอวัฒนธรรมของจีนโบราณที่<br />

ยังคงความสวยงามน่าชมถึงปัจจุบัน พวกเราใช้<br />

เวลาเดินชมสักพักได้เวลาไกด์สาวนับจำนวนคนว่า<br />

มาครบรึป่าว ทุกคนเป็นห่วง ดร.หนุ่ม ที่วันนี้เท้า<br />

มาเจ็บอีก ว่าจะหลงไปไหนอีกจนต้องให้หนูเดือน<br />

แห่งวิทยาลัยดนตรี คอยประกบอาจารย์เบบี๋ (ตั้ง<br />

ฉายาให้ทั่น) ช่วงบ่ายนำชมวัดเจ้าแม่กวนอิม มี<br />

พื้นที่ 8,400 ตารางเมตร ชมเจ้าแม่กวนอิมพันตา<br />

พันมือ สูง 8.6 เมตร ของล้ำค่าชิ้นที่หนึ่งของวัดนี้<br />

นมัสการสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล<br />

ภายในวัดมีต้นกุยซู่ มีอายุกว่า 600 ปี ถือเป็นของ<br />

ล้ำค่าสิ่งที่สองของวัดนี้ และสิ่งล้ำค่าชิ้นที่สามคือ<br />

ระฆังโบราณสมัยราชวงศ์ซ่ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2<br />

เมตร ทำด้วยทองแดงน้ำหนัก 5 ตัน จากนั้นเดิน<br />

ทางกลับกรุงปักกิ่ง โดยนั่งรถไฟด่วนสายแรกของ<br />

จีน ระยะทาง 114 กิโลเมตร ใช้ความเร็วขณะวิ่ง<br />

ให้บริการ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความเร็ว<br />

สูงสุดคือ 394 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเพียง 20<br />

นาทีเท่านั้นถึงกรุงปักกิ่ง อาหารค่ำวันนี้พิเศษมาก<br />

ผมจำวันงานปีใหม่ได้ที่ท่านอธิการฯ กล่าวแซวนิดๆ<br />

ว่าจะให้บุคลากรดีเด่นไปทานเป็ดปักกิ่งของแท้<br />

ค่ำนี้พวกเราเลยจัดห้ายตามคำสั่งท่านอธิการฯ<br />

แบบจัดเต็มๆ ขอบพระคุณครับท่านฯ โต๊ะผมมี<br />

น้องๆ เจ้าหน้าที่นั่งด้วยกัน “จารย์คับ! เค้ากินยัง<br />

งัยคับเนี๊ยะเป็ดปักกิ่ง” “อ๋อ! เอาเป็ดเข้าปาก<br />

เคี้ยวๆ แล้วบ้วนทิ้ง” ผมตอบแบบหน้าตาย “จิง<br />

เหรอ” เพ่แกดันเชื่อ เสียงหัวเราะฮากระจายกันทั้ง<br />

โต๊ะจนสำลักเป็ดตามๆ กัน (กรุณาอ่านต่อตอนจบ<br />

ฉบับหน้า)<br />

ข่าวฝากประชาสัมพันธ์ เทอม 1/2554<br />

พบกับเลือกเสรีวิชาผลิตสื่อเพื่อการท่องเที่ยว TRM<br />

335 ออกทริปที่เกาะมันใน เกาะมันกลาง<br />

จ.ระยอง สำหรับนักศึกษาต่างคณะที่สนใจเลือก<br />

เป็นวิชาเลือกเสรี กรุณาไปให้เซ็นเพิ่มตอนเปิด<br />

เทอมได้ที่ ชั้น 11 อาคาร 11 ครับ <br />

11<br />

โปรแกรมการแข่งขันของทีม เจ ดับบลิว รังสิต เอฟซี ตลอดเดือนมิถุนายน 2554<br />

News<br />

ข่าว<br />

สโมสรฟุตบอล เจ ดับบลิว รังสิต เอฟซี เปิดรับสมัครแฟนคลับ เพื่อร่วมส่งแรงใจและเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสโมสรในการแข่งขัน<br />

ฟุตบอลดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2011 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสโมสรเจ ดับบลิว รังสิต เอฟซี บ้าน<br />

ประหยัดพลังงานหลังที่ 1 โทร. 0-2997-2200 ต่อ 3335<br />

วันที่ โปรแกรม เวลา สนาม<br />

4 มิ.ย. 54 แคชทูเดย์ จันทบุรี & เจ ดับบลิว รังสิต เอฟซี 16.00 น. มรภ.รำไพพรรณี<br />

12 มิ.ย. 54 เจ ดับบลิว รังสิต เอฟซี & บุรีรัมย์ เอฟซี 18.00 น. ธูปะเตมีย์<br />

อัปเดตความเคลื่อนไหวของ “จ้าวเวหา” ได้ที่ http://www.facebook.com/jwrangsit


12<br />

Recommended<br />

เมนูบันเทิง<br />

ลัดดาแลนด์<br />

โดย รศ.ดร.กฤษดา เกิดดี<br />

“ลัดดาแลนด์” อาจเป็นชื่อที่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึง<br />

ความเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ รวมทั้งยังไม่ได้บ่งบอก<br />

เกี่ยวกับเรื่องราวที่นำเสนอ แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับกลายเป็น<br />

ชื่อที่มีลักษณะดึงดูดและเร้าความสนใจ จนทำให้คิดไปได้<br />

ว่า หากมีชื่อธรรมดาๆ แต่สื่อความหมายในแง่บรรยากาศ<br />

แนวภาพยนตร์และเรื่องราวอย่าง “หมู่บ้านผีสิง” ก็อาจจะ<br />

กลายเป็นชื่อเชยๆ ที่แทบไม่มีอะไรน่าสนใจ<br />

นอกเหนือจากชื่อเรื่องแล้ว จุดเด่นอีกอย่างของ<br />

“ลัดดาแลนด์” ก็คือการนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับครอบครัว<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการมีชีวิตตามแบบของชนชั้น<br />

กลางในเมือง (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการครอบครองบ้านและ<br />

รถยนต์) และแบบแผนของชีวิตดังกล่าว ถูกผีคุกคามจน<br />

เกิดสภาวะสั่นคลอน ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นที่แทบไม่ปรากฏ<br />

ในภาพยนตร์สยองขวัญของไทย <br />

ส่วนในด้านการทำให้ตื่นเต้นน่าหวาดกลัว ต้องยอม<br />

รับว่านี่คืองานที่น่าจะทำให้คนดูหวาดกลัวที่สุดเรื่องหนึ่ง<br />

ต้องแสดงความชื่นชมการทำงานของคณะผู้สร้างโดยเฉพาะ<br />

ผู้กำกับฯ ซึ่งทำหน้าที่โดดเด่นทั้งในส่วนของการคุมจังหวะ<br />

และการใช้เทคนิค <br />

The Genius Of China <br />

โดย อักษรลักษณ์<br />

ประชากรโลกทั้งหลายไม่เว้นแม้แต่ชาวจีนใน<br />

ปัจจุบัน มักจะเข้าใจว่าความรู้ด้านต่างๆ สิ่งประดิษฐ์<br />

เจ๋งๆ ที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้มีต้นกำเนิดมาจากชาวยุโรป<br />

โดยหารู้ไม่ว่าแท้จริงแล้วชาวจีนรู้จักและใช้สิ่งประดิษฐ์<br />

เหล่านั้นมาก่อน... ตั้งนาน ไม่ว่าจะเป็นแท่นพิมพ์กูเทน<br />

เบิร์ก ที่เราๆ เข้าใจกันว่าตาโยฮัน กูเทนเบิร์ก คิดค้น<br />

ระบบการพิมพ์แบบใช้ตัวเรียงพิมพ์ ทำให้เกิดการพิมพ์<br />

สมัยใหม่ขึ้นในโลก แต่จริงๆ แล้วชาวจีนคิดค้นขึ้นมา<br />

ก่อนเป็นพันปี ก่อนที่ชาติตะวันตกจะรู้จัก ยังมีภูมิปัญญา<br />

ของชาวจีนอีกมากมายที่ทำให้ชนรุ่นหลังมีชีวิตที่สะดวก<br />

สบายขึ้น ทั้งการตรวจจับแผ่นดินไหว ร่มชูชีพ ระหัด<br />

วิดน้ำ จรวด กระดาษ เข็มทิศ ฯลฯ <br />

Battlefield 3<br />

โดย ผศ.ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด<br />

Battlefield 3 เกมที่จะมาพิชิต Call of Duty สำหรับผู้ที่คลั่งไคล้เกมสงคราม<br />

พอได้ยินแบรนด์สองชื่อนี้ต้องร้องอ๋อกันทันทีทันใด เนื่องจากเป็นเกมแฟรนไชส์ชื่อดัง<br />

คับโลก ผูกขาดกินนิ่มกันทั้ง 2 เกม แต่มาในปีนี้ Battlefield 3 ได้สร้างปรากฏการณ์อัน<br />

น่าตื่นเต้นให้แก่บรรดาแฟนๆ นักรบทั้งหลายด้วยการใส่เทคนิค การแสดงผลภาพแบบ<br />

แยกกันไม่ออกว่าอันไหน Movie อันไหน Gameplay ด้วยขุมพลังของเอนจิ้น Frostbite<br />

2 จากทีม DICE ทำให้สิ่งต่างๆ ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เป็นความจริงขึ้นมาในโลกของเกม<br />

ตึกถล่มด้วยแรงกระสุน RPG การสั่งงานเป็นทีม สัญญาณมือ เสียงปืน ระเบิด ควันไฟ<br />

รถหุ้มเกราะ กลิ่นอายสงคราม ถ้าเพื่อนชาวรังสิตพร้อมก็ตะลุยไปกับสงครามครั้งนี้ได้<br />

เลย สวัสดีครับ<br />

ปกป้องลูกหลานจากภัยร้ายบน Facebook<br />

โดย อ.ไววิทย์ จันทร์วิเมลือง<br />

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า เด็กสมัยใหม่<br />

เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว (เพียงผิวเผิน) แต่ผู้ปกครอง<br />

เองกลับไม่ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่หรืออาจจะทัน<br />

แต่ไม่อยากจะเรียนรู้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ช่องว่างระหว่าง<br />

วัย การพูดคุยกับบุตรหลานของท่านจะกลายเป็น<br />

คนละภาษา โดยเฉพาะยุคนี้ Facebook น่าจะเป็น<br />

เทคโนโลยีหนึ่งที่เข้าถึงทุกกลุ่มบุคคล ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทุกเพศทุกวัยทั่วโลก แน่นอนเมื่อ<br />

มีประโยชน์มากก็ย่อมคู่กับโทษภัยที่จะตามมาเหมือนขาวคู่กับดำ เช่น การหลอกลวง<br />

การติดตามทำร้ายฯ ที่พบเห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ดังนั้น หากผู้ใหญ่ยังมองว่า<br />

เทคโนโลยีคือ เรื่องเล่นสนุกหรือมองว่ายากเกินกว่าจะเข้าใจอาจต้องทบทวนใหม่ เพื่อ<br />

การปกป้องภัยอันตรายจากภัยร้ายที่ใกล้ตัวเราโดยที่เราไม่รู้ตัว <br />

ซอฟต์แวร์นี้คือ ZoneAlarm SocialGuard โปรแกรมจะแจ้งเตือนผู้ปกครองถึง<br />

สัญญาณอันตรายจากข้อความ รูปภาพ วีดิโอที่ลูกหลานของเราพูดคุย หรือ Share<br />

กันผ่านทาง Facebook ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ความรุนแรง การรุกราน<br />

ทางเพศ หรือแม้แต่การฆ่าตัวตาย โดยที่ลูกหลานของเรายังคงใช้งาน Facebook ได้<br />

ตามปกติเป็นส่วนตัวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และไม่รู้ว่าเรากำลังจ้องมองดูอยู่ การ<br />

ทำงานของโปรแกรมนั้นใช้อัลกอริธึมรูปแบบเฉพาะ ตรวจสอบข้อความหรือข้อมูลที่น่า<br />

สงสัย และส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ปกครองโดยอัตโนมัติ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม<br />

ได้ที่ http://www.zonealarm.com/security/en-us/home.htm สำหรับราคาเริ่มต้น<br />

จะมีทั้งแบบรายเดือนและรายปี หากให้แนะนำคงต้องลองในแบบรายเดือนกันก่อน<br />

ราคา 2 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 กว่าบาทเท่านั้น ด้วยความห่วงใยครับ<br />

The Genius Of China: ต้นกำเนิด 100 สิ่งแรก<br />

ของโลก หนังสือเล่มใหญ่ที่ได้รับรางวัลระดับชาติใน<br />

อเมริกาถึง 5 รางวัล ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ<br />

ยูเนสโกจนมีการแปลไปแล้วกว่า 44 ภาษาทั่วโลก และ<br />

กระทรวงศึกษาธิการจีนให้การรับรองใช้ร่วมกับแบบเรียน<br />

เล่มนี้ แบ่งหมวดหมู่ออกเป็นภาคต่างๆ เช่น ภาคเกษตร<br />

ดาราศาสตร์และวิชาการทำแผนที่ วิศวกรรม คณิตศาสตร์<br />

วิทยาศาสตร์กายภาพ ฯลฯ เพื่อให้ง่ายในการอ่านและใช้<br />

ค้นคว้าในครั้งต่อไป <br />

อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวจีนคิดค้นสิ่งประดิษฐ์<br />

แต่น่าทึ่งที่สิ่งประดิษฐ์โดยฝีมือชาวจีนลบล้างความเชื่อที่<br />

มีต่อชาวตะวันตกอย่างสิ้นเชิง!!!


notebook<br />

Search<br />

13<br />

ภัทรานิษฐ์ บุญมี<br />

News Feed<br />

Messages<br />

Event<br />

Friends<br />

News Feed<br />

Share: Status Photo Link Video<br />

31<br />

ต้อนรับน้องใหม่ พี่อยากบอก น้องอยากพูด<br />

เมื่อก้าวเข้าสู่ปีการศึกษาใหม่ นอกจากจะยุ่งวุ่นวายกับการลงทะเบียน จัดตารางเรียนแล้ว ยังมีอีกหนึ่ง<br />

กิจกรรมในช่วงนี้ที่เชื่อว่าเหล่านักศึกษาต่างตั้งตารอคอยคือ ประเพณีรับน้องนั่นเอง บรรดาเฟรชชี่ทั้งหลายคงรู้สึกตื่นเต้น<br />

และอยากรู้ว่าตัวเองจะต้องเจอกับอะไรบ้าง สารรังสิตฉบับนี้จึงมีคำกล่าวต้อนรับจากรุ่นพี่และความรู้สึกของน้องๆ<br />

มาฝากกันค่ะ<br />

ทัศพร รักไทย (บุ้งกี๋) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ<br />

ยินดีต้อนรับน้องๆ สู่รั้วมหาวิทยาลัยรังสิตนะคะ ขอให้น้องเฟรชชี่ตั้งใจเรียน มีความสามัคคี<br />

พี่เป็นกำลังใจให้ค่ะ<br />

ตริตาภรณ์ อิ่มประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ <br />

รู้สึกดีใจที่ได้ศึกษาต่อในคณะที่ชอบ วันที่มาสมัครพี่ๆ ให้การต้อนรับดีมาก เป็นกันเอง<br />

สำหรับกิจกรรมรับน้องอยากให้พี่ๆ รับน้องโดยไม่ใช้ความรุนแรง ให้ความอบอุ่นแก่น้องๆ ขอฝากเนื้อ<br />

ฝากตัวด้วยนะคะ<br />

ทัศวัฒ ยิ้มวัน (บอม) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชามัลติมีเดีย คณะนิเทศศาสตร์<br />

ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่ได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยรังสิต ขอให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน<br />

และเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่รุ่นพี่ตั้งใจจัดทำให้แก่น้องๆ ถ้าน้องๆ ไม่เข้าใจในเรื่องเรียนสามารถ<br />

ปรึกษารุ่นพี่ได้เลย<br />

กนกพร วงศ์จันทรา (เอิง) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ <br />

คณะนิเทศศาสตร์ <br />

ม.รังสิต ยินดีต้อนรับน้องๆ เฟรชชี่ที่น่ารักทุกคนนะคะ ขอให้น้องๆ เฟรชชี่มีความสุขกับการ<br />

ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รุ่นพี่ที่ ม.รังสิต น่ารักทุกคน พร้อมที่จะให้คำปรึกษาน้องๆ<br />

สุดท้ายนี้ขอให้น้องๆ ตั้งใจเรียน สนุกกับการเรียนในคณะที่ตัวเองเลือก โชคดีทุกๆ คนจ้า<br />

กฤติพณ ศักดิ์สุภา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิชวลเอฟเฟค คณะดิจิทัลอาร์ต <br />

ภูมิใจที่ได้เข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ อบอุ่นดีครับ สำหรับกิจกรรมรับน้องนั้นหวังว่าจะ<br />

ไม่มีแอลกอฮอล์และเป็นกันเองนะครับ<br />

อมลวรรณ มงคลเกษมสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะบัญชี <br />

รู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยรังสิต ที่นี่มีสาขาวิชาที่หลากหลาย บรรยากาศ<br />

ดี รุ่นพี่น่ารัก ชอบทุกๆ อย่างที่ได้เจอ กิจกรรมรับน้องคงเป็นกิจกรรมที่ทำให้ประทับใจ และได้รับคำ<br />

แนะนำที่ดีจากรุ่นพี่และเพื่อนๆ ค่ะ<br />

ธิดารัตน์ ถาวงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคนิคการแพทย์<br />

ในฐานะรุ่นพี่ขอแสดงความยินดีและต้อนรับน้องๆ เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยรังสิต หวังว่าน้องๆ<br />

จะได้รับความสุข ความอบอุ่นจากการรับน้อง พร้อมกับการเก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์ ให้เต็มที่<br />

สำหรับน้องที่มีข้อสงสัยรุ่นพี่ยินดีที่จะให้คำปรึกษาน้องได้ทุกเรื่อง ขอให้น้องทุกคนโชคดีค่ะ


14<br />

นายณัฐพงศ์กาญจนเลขา <br />

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการออกแบบ<br />

คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

“สำหรับผม<br />

การออกแบบคือ<br />

การหาความสมดุล<br />

ร่วมกันระหว่าง<br />

มนุษย์และธรรมชาติ<br />

อย่างไร้ขีดจำกัด”<br />

Showcase<br />

[สมพล วชิรวัฒนา] ของดีมีอยู่<br />

นักศึกษาปริญญาโท ม.รังสิต <br />

คว้ารางวัลชนะเลิศ <br />

The Best Design <br />

แรงบันดาลใจ... อาจมองหาได้จากสิ่งรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใกล้ตัวจนบางทีเรามอง<br />

ข้ามไปจนถึงสิ่งที่อยู่ไกลโพ้นจนต้องใช้จินตนาการวาดขึ้นมา ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลทุก<br />

สรรพสิ่งนั้นล้วนแต่มีแรงบันดาลใจที่ก่อกำเนิดความคิดสร้างสรรค์ จุดประกายไอเดียให้โลดแล่น<br />

จนกลายมาเป็นผลงานคุณภาพได้ ดังเช่น ผลงานเก้าอี้ Inner Tube Chair ที่ทำให้ นายณัฐพงศ์<br />

กาญจนเลขา นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการออกแบบ คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ The Best Design ในการประกวด 100 Designs 2010 To<br />

Save the World (INNOVATION) <br />

นายณัฐพงศ์ กล่าวว่า ผลงาน Inner Tube Chair เกิดขึ้นจากการที่ได้มีโอกาสนั่งมองวิธี<br />

การผลิตโซฟาในโรงงานโซฟาแห่งหนึ่ง ซึ่งในขั้นตอนการใส่สปริงในที่นั่งจะมียางในมอเตอร์ไซค์ที่<br />

ตัดเป็นวงๆ และเส้นเล็กๆ เพื่อขึงติดกับสปริงบางส่วน ซึ่งคิดดูแล้วว่าคุณสมบัติของยางนั้นมี<br />

ความยืดหยุ่นในตัวอยู่แล้ว ไม่น่าจำเป็นที่ต้องใช้ผ้า หนังหุ้ม ฟองน้ำ หรือสปริง มาเป็นส่วน<br />

ประกอบก็ได้ อีกทั้งราคาถูก หรือหาได้ตามร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปด้วย ส่วนคอนเซปต์ของ<br />

งานเกิดจากการใช้กรณีศึกษาของโรงงานเฟอร์นิเจอร์เป็นพื้นฐาน และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม<br />

ภาพรวมภายในโรงงาน ผนวกกับประยุกต์ขั้นตอนการผลิตและฝีมือช่างภายในโรงงานนั้นๆ เพื่อ<br />

การผลิตที่นั่งในรูปแบบใหม่ที่มีราคาถูก และเป็นการสะท้อนบริบทจากสถานที่แห่งนั้น ให้<br />

เป็นการเปิดเผยคุณสมบัติและคุณค่าอย่างตรงไปตรงมาจากสิ่งที่คนทั่วไปมองข้าม เป็นการสร้าง<br />

โอกาสของวัสดุที่ไร้ค่าให้กลับมามีคุณค่าขึ้นมาใหม่ ซึ่งถ้าหากให้นิยามคำว่าการออกแบบ<br />

สำหรับผมการออกแบบคือ การหาความสมดุลร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติอย่างไร้ขีด<br />

จำกัด<br />

สำหรับจุดเด่นของ Inner Tube Chair คือ ตอบรับกระแสการอนุรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม<br />

และเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ในราคาต้นทุนต่ำ มีความยืดหยุ่นที่มีอายุการใช้งาน<br />

ที่มากกว่าโซฟาทั่วไป สามารถตั้งในที่โล่งได้ ทนทานต่อสารเคมี ทำความสะอาดง่าย และการ<br />

สานยางดูคล้ายกับพื้นผิวของเครื่องจักรสานของไทย จนทำให้สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ The<br />

Best Design จากการประกวด 100 Designs 2010 To Save the World ในที่สุด


15<br />

News<br />

ข่าว<br />

ม.รังสิต เปิดคลินิก<br />

“รังสิต ฟ้าใส”<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดคลินิก “รังสิต ฟ้าใส” ภายใต้<br />

โครงการมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ถึง<br />

พิษภัยของบุหรี่ สนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรเลิกบุหรี่<br />

พร้อมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเป็นเขตปลอดบุหรี่ ตามโครงการ<br />

พัฒนามหาวิทยาลัยรังสิตสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริม<br />

สุขภาพ (RSU Healthy Campus) โดยมี นายแพทย์ศุภชัย<br />

คุณารัตนพฤกษ์ คณบดีบริหารกลุ่มวิทยาลัยแพทยศาสตร์<br />

และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับ<br />

เกียรติจาก ดร.พงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจ รองอธิการบดีฝ่าย<br />

กิจการนักศึกษา ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ คณบดีคณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.พิศิษฐ์ นามจันทรา อาจารย์ประจำ<br />

คณะเทคนิคการแพทย์ และอาจารย์วัชรินทร์ วุฒิรณฤทธิ์<br />

อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

ร่วมพิธีเปิด ณ ห้อง 8n-101 อาคารคุณหญิงพัฒนา (อาคาร 8)<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ คณบดีบริหารกลุ่ม<br />

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย<br />

รังสิต กล่าวถึงการเปิดคลินิก “รังสิต ฟ้าใส” ว่า ตามที่<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ประกาศให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย<br />

สร้างเสริมสุขภาพ (RSU Healthy Campus) ซึ่งจะมี<br />

การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา<br />

บุคลากร และคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เรื่องการ<br />

ส่งเสริมการเลิกบุหรี่ การเลิกสุรา การเลิกใช้ความรุนแรง การมีเพศสัมพันธ์<br />

อย่างปลอดภัย การมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ สำหรับคลินิก “รังสิต<br />

ฟ้าใส” จัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้มหาวิทยาลัยรังสิตเป็นเขตปลอดบุหรี่ ช่วยเหลือ<br />

ผู้ที่ติดบุหรี่ให้สามารถเลิกบุหรี่ได้ โดยการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการที่<br />

ตั้งใจจะเลิกบุหรี่ การประเมินความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ การให้คำปรึกษา<br />

และคำแนะนำต่างๆ เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ กระบวนการรักษาทางด้าน<br />

จิตใจ และการนำแพทย์แผนไทยเข้ามาเสริม สำหรับในรายที่ต้องใช้ยา ขึ้น<br />

อยู่กับว่าติดบุหรี่มากน้อยเพียงใด มีปัญหาด้านสุขภาพหรือไม่ จะได้รับ<br />

ความช่วยเหลือในด้านของยาเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัยและไม่เป็น<br />

(ซ้าย) นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์<br />

คณบดีบริหารกลุ่มวิทยาลัยแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์<br />

สุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

(ขวา) ผศ.ดร.นฤพนธ์ไชยยศ <br />

คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต<br />

อันตรายต่อผู้ใช้ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ<br />

สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีแพทย์และพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด<br />

นับเป็นนิมิตหมายอันดี สำหรับผู้ที่ต้องการจะเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง เนื่องจาก<br />

เรามีการรักษาที่มีคุณภาพ มียาที่มีประสิทธิภาพสูง มีกระบวนการ<br />

สนับสนุนต่างๆ ที่จะทำให้ท่านเลิกบุหรี่ได้<br />

ผศ.ดร.นฤพนธ์ ไชยยศ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต และผู้เข้าร่วมโครงการคลินิก “รังสิต ฟ้าใส” กล่าวว่า<br />

โดยปกติมีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ<br />

ทุกปี โดยผลที่ออกมาสุขภาพยังแข็งแรงสมบูรณ์ดี สำหรับเหตุผลที่ตัดสิน<br />

ใจเข้าร่วมโครงการคลินิก “รังสิต ฟ้าใส” เป็นเพราะในฐานะที่เป็นตัวแทน<br />

ของเยาวชนรุ่นใหม่และเป็นต้นแบบให้แก่ผู้อื่น คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ถ้า<br />

สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ โดยปกติการสูบบุหรี่ถือเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรที่คุ้น<br />

เคยอยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาหลังจากเข้าร่วมโครงการได้สักพักหนึ่งมีความรู้สึก<br />

ไม่อยากสูบบุหรี่ แต่สิ่งที่รู้สึกได้โดยตรงคือ เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าแล้วรู้สึก<br />

สดใสขึ้นและมีพลังเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม <br />

อยากฝากถึงผู้ที่กำลังคิดจะเลิกสูบบุหรี่ว่า “การที่เราบอกว่าเราทำ<br />

เพื่อคนนั้นหรือทำเพื่อคนนี้ ผมคิดว่าทุกคนมองที่ตัวเองเป็นหลักอยู่แล้ว ผม<br />

คิดว่าไม่ต้องไปคิดว่าทำเพื่อใครหรอก ให้คิดว่าเราทำเพื่อตัวเราเองเป็นสิ่งที่<br />

ดีที่สุด เพราะว่าทุกวันนี้โลกของเรามีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษอยู่แล้ว เรา<br />

ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ถ้าหากเราดูแลตัวเองให้ดี จะทำให้ตัวเรา<br />

ทุกคนเป็นความหวังของคนรอบข้าง” คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

กล่าวเสริม<br />

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด<br />

เพิ่มเติมได้ที่ คลินิก “รังสิต ฟ้าใส” สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต โทร. 0-2997-2200-30 ต่อ 3918


16<br />

News<br />

ข่าว<br />

นศ. ม.รังสิต คว้ารางวัลชนะเลิศ<br />

โต้วาทีงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย<br />

นักศึกษาสาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นำโดย<br />

นายพงษ์เพชร ไพโรจน์ นายพิชัย ต่ายหลี นายเฟาดี้ เรืองปราชญ์ และนาย<br />

พิชาญ ต่ายหลี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะศิลปศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต ภายใต้ชื่อทีม “ศิษย์เก่า อ.ศ.อ.” คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน<br />

โต้วาทีผู้นำเยาวชนจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมเงินรางวัล 10,000<br />

บาท ในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ 1432 (พ.ศ. 2554) ณ ศูนย์บริหาร<br />

กิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร <br />

นายพงษ์เพชร ไพโรจน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะ<br />

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะตัวแทนทีม “ศิษย์เก่า อ.ศ.อ.” กล่าวว่า ตนและ<br />

เพื่อนๆ ได้รับการชักชวนจากอาจารย์ที่สาขาให้เข้าร่วมการแข่งขันโต้วาที ผู้นำเยาวชน<br />

ซึ่งผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องประชันฝีปากและไหวพริบกันถึง 4 รอบ ซึ่งในรอบชิง<br />

ชนะเลิศผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งขันในญัตติที่ว่า “แต่งงานไปทำไม เป็นโสดกันดีกว่า” <br />

“พวกเรารู้สึกดีใจและต้องขอขอบคุณอาจารย์อดิศักดิ์ นุชมี อาจารย์ประจำภาค<br />

วิชาอิสลามศึกษา และอาจารย์ศนิวาร วุฒฑกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะ<br />

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ท่านได้กรุณาแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ<br />

แนวทางในการเป็นฝ่ายค้าน และแบ่งให้เราหาข้อมูล<br />

เพื่อทำความเข้าใจสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ ซึ่ง<br />

หลังจากที่ได้รับญัตติในรอบชิงชนะเลิศแล้วเราได้<br />

เตรียมตัวสำหรับการแข่งขัน โดยอาจารย์ได้สอน<br />

เทคนิคการพูดและการใช้ภาษาไทยให้ฉะฉาน และ<br />

แนะนำให้พวกเราแยกกันหาข้อมูล และในบางครั้ง<br />

นัดรวมตัวกันเพื่อฝึกซ้อม สำหรับอุปสรรคในขณะที่<br />

แข่งขันมักจะเป็นเรื่องของการขาดข้อมูลในสิ่งที่ฝ่าย<br />

เสนอพูดมา จึงต้องคิดแก้เกมให้ทันเพื่อที่จะโต้ตอบ<br />

กลับไปพร้อมเหตุผล การแข่งขันครั้งนี้เป็นครั้งแรก<br />

ของพวกเรา พวกเราจึงตั้งใจทำเต็มที่ เพื่อที่จะเก็บ<br />

เกี่ยวประสบการณ์ ทำตามในสิ่งที่อยากทำและสิ่งที่<br />

ชอบ” ตัวแทนทีม “ศิษย์เก่า อ.ศ.อ.” กล่าวเสริม<br />

4 <br />

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.facebook.com<br />

2. ล็อกอินด้วยบัญชี Facebook ของคุณ<br />

3. ค้นหาคำว่า Rangsit University <br />

แล้วเลือก Rangsit University,Thailand <br />

จากรายการที่แสดง<br />

4. กดปุ่ม Like ที่ปรากฏด้านข้าง<br />

ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้


Health tip<br />

[อ.ภก.สิกขวัฒน์ นักร้อง]<br />

เกร็ดสุขภาพ<br />

นอนเปิดไฟ <br />

ระวัง! สุขภาพ<br />

17<br />

คนเราทุกคนต้องได้รับการพักผ่อนนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายกลับมาสดชื่นและพร้อม<br />

สำหรับวันรุ่งขึ้นอีกครั้ง ในการนอนหลับของแต่ละคนนั้น บางคนต้องปิดไฟนอน บางคน<br />

ต้องเปิดไฟนอนทั้งคืน บางคนต้องนอนเงียบๆ แต่ที่น่าอิจฉาสุดๆ คือ คนที่สามารถหลับได้<br />

ทุกสภาวะไม่ว่าจะเป็นอย่างไร สำหรับคนที่ชอบเปิดไฟนอน ผมขอแนะนำว่าปิดไฟนอน<br />

เถอะครับ เพราะการเปิดไฟแล้วนอนนั้นมีผลต่อสุขภาพมากพอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุ<br />

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเรตินาที่ในลูกตานั้นมีความไวต่อแสง ซึ่งเมื่อเปิดไฟนอนหลับตาไปแล้ว<br />

เรตินายังสามารถส่งสัญญาณไปสู่สมองทำให้ไม่มีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ดังนั้น<br />

ถึงหลับก็หลับไม่สนิท จะสังเกตพบว่า เมื่อตื่นขึ้นมาจึงไม่รู้สึกสดชื่น หรือกระปรี้กระเปร่า<br />

อย่างที่ควรจะเป็น อารมณ์ไม่แจ่มใส ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ในระหว่างวันประสิทธิภาพการ<br />

จัดการความจำของสมองไม่ดี เนื่องจากการนอนที่ด้อยคุณภาพและจากผลการศึกษาของ<br />

นักวิจัยในต่างประเทศพบว่า การหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินมีผลต่อสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ<br />

ความดันโลหิต สภาวะสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงอุณหภูมิของร่างกาย และได้<br />

มีการศึกษาถึงการปล่อยให้เด็กนอนหลับโดยเปิดไฟทิ้งไว้ จะส่งผลต่อพัฒนาการของตา โดย<br />

เสี่ยงต่อการมีสายตาสั้นมากกว่าเด็กที่ปิดไฟนอน<br />

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วหวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะนอนอย่างมีคุณภาพจะได้สมองเสื่อมช้าลง<br />

หน้าตาสดใสไร้ริ้วรอย หล่อสวย และฉลาดกันทุกคน <br />

<br />

Verbal language<br />

[อ.วรวรรณ เฟื่องขจรศักดิ์ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ ] คุยเฟื่องเรื่องภาษา<br />

ระยะหลังมานี้ ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็น<br />

สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม รวมทั้งอุทกภัยทางภาคใต้ของเราด้วยเช่นกัน<br />

แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไประยะหนึ่งแล้วแต่ความเสียหายและผลกระทบที่ตามมาต่างๆ<br />

ยังคงมีอยู่ คุยเฟื่องเรื่องภาษาฉบับนี้ จึงขอแนะนำคำศัพท์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ<br />

เหตุการณ์ ที่เรามักจะเคยเห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือได้ยินตามข่าวโทรทัศน์ <br />

“น้ำท่วม” เรียกว่า “Kozui” (โคซุย)<br />

“ดินถล่ม” เรียกว่า “jisuberi” (จิ สุเบะริ)<br />

“แผ่นดินไหว” เรียกว่า “Jishin” (จิชิน) <br />

“แผ่นดินไหวรุนแรง” (มากกว่า 7 ริกเตอร์) เรียกว่า “oo jishin” (โอ จิชิน) หรือ<br />

“Dai jishin” (ได จิชิน) <br />

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า “Kyodai jishin” (เคียวได จิชิน) ซึ่ง “Kyodai” แปลว่า<br />

ใหญ่โต มโหฬาร <br />

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เรียกว่า “Genshiryoku hatsudensho” (เก็นชิเรียว<br />

คุ ฮะสึเด็งโชะ)<br />

นอกจากนี้ บางคนอาจเคยเห็นคำที่ให้กำลังใจชาวญี่ปุ่นตามเสื้อยืด โปสเตอร์<br />

สติ๊กเกอร์ ฯลฯ ว่า “がんばれ 日 本 ” <br />

“Gambare Nihon” (กัมบาเระ นิฮอน) มาจากคำกริยา “Gambaru” (กัมบารุ)<br />

แปลว่า “พยายาม” <br />

“Nihon” (นิฮอน) หมายถึง “ประเทศญี่ปุ่น” ดังนั้น การที่พูดว่า “Gambare<br />

Nihon” (กัมบาเระ นิฮอน) จึงหมายความว่า ขอให้ประเทศญี่ปุ่นสู้ต่อไป เข้มแข็งเข้าไว้<br />

คำว่า “Gambare” (กัมบาเระ) ในความหมายเดียวกันนี้ยังใช้ตอนที่เชียร์กีฬาหรือใน<br />

การให้กำลังใจอีกด้วย <br />

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต<br />

เรียนรู้คำศัพท์<br />

ภาษาญี่ปุ่น<br />

จากข่าวเหตุการณ์<br />

ภัยพิบัติ


18<br />

Good old day<br />

[สิรินภา เจริญแก้ว]<br />

บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน<br />

ธีรนพ หวังศิลปคุณ <br />

ศิลปินที่ทำให้งานกราฟิก<br />

จากประเทศไทยมีตัวตน<br />

บนเวทีโลก<br />

นายธีรนพ หวังศิลปคุณ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 3 สาขา<br />

วิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

มหาวิทยาลัยรังสิต กราฟิกดีไซเนอร์ชาวไทยชื่อดังระดับ<br />

โลก ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการกราฟิกดีไซน์ เริ่มต้นการ<br />

ทำงานตำแหน่ง Junior Graphic Design ในเมืองไทย<br />

ก่อนบินข้ามฟากไปต่อยอดความรู้ที่สหรัฐอเมริกา พิสูจน์<br />

ความสามารถของตนแข่งขันกับนักออกแบบชาวต่างชาติ<br />

โดยส่ง Portfolio สมัครงานเกือบ 100 บริษัทในสหรัฐฯ<br />

กระทั่งได้ร่วมงานกับบริษัท Segura Inc. ที่เมืองชิคาโก<br />

สั่งสมประสบการณ์การทำงานเรื่อยมา 8 ปี ในตำแหน่ง<br />

Senior Graphic Design ก่อนตัดสินใจเปิดบริษัทของ<br />

ตัวเอง TNOP DESIGN <br />

“เมื่อเราไปอยู่ต่างประเทศเราจะตัวเล็กมาก แต่<br />

อย่าคิดว่าเราเป็นคนไทยแล้วจะทำอะไรสู้คนอื่นไม่ได้<br />

(ภาษาอังกฤษไม่เก่ง หน้าตาไม่เหมือนเค้า ฯลฯ) แต่ผม<br />

ภูมิใจมากที่มีผมสีดำ เพราะทำให้เราเกิดความแตกต่าง<br />

เราต้องนำจุดด้อยมาสร้างเป็นจุดเด่นให้ได้ การสร้าง<br />

Identity นั้นสำคัญมาก เพราะจะทำให้คนจดจำเราได้<br />

ในเมื่อเราตัวเล็กเราก็ยิ่งต้องทำให้คนรู้จักเราให้มากที่สุด<br />

ทำให้คนเห็นผลงานของเราแล้วรู้ว่านี่คืองานของ “ธีรนพ”<br />

เราทำงานศิลปะ แต่เราต้องทำตัวเหมือนนักวิทยาศาสตร์<br />

คือ คอยตั้งคำถามอยู่ตลอด “Live like a Scientist and<br />

Work as an Artist” การที่อยากจะเป็นเหมือนคนอื่น<br />

ทั้งๆ ที่ภูมิหลังไม่ได้เป็นอย่างนั้น เท่ากับเป็นการฝืน<br />

ตัวเองเพราะไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา ดังนั้น งาน<br />

ออกแบบของเราจะนำเอกลักษณ์ความเป็นไทยใส่เข้าไป<br />

เช่น การเล่นสีสันฉูดฉาด หรือลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์<br />

ฯลฯ เพื่อสร้างความโดดเด่นและแตกต่างในงานของเรา<br />

และเหนือสิ่งอื่นใดเราจะไม่หยุดอยู่กับที่ เราต้องเรียนรู้<br />

ตลอดเวลา เราจะไม่แข่งขันกับคนอื่น แต่เราจะแข่งขัน<br />

กับตัวเอง” นายธีรนพ กล่าว<br />

เขาตั้งใจให้ TNOP DESIGN เป็นบริษัทที่ทำงาน<br />

ออกแบบกึ่งศิลปะและให้ความสำคัญกับกระบวนการ<br />

ทางความคิดและการผลิต โดยต้องการให้ TNOP<br />

DESIGN เป็นบริษัทขนาดเล็กที่สามารถควบคุมงานทุก<br />

ขั้นตอนได้ด้วยตนเอง เพราะจะสามารถควบคุมคุณภาพ<br />

รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าให้มากที่สุด<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

“Live like a Scientist and<br />

Work as an Artist”<br />

เราทำงานศิลปะ แต่เราต้อง<br />

ทำตัวเหมือนนักวิทยาศาสตร์คือ <br />

คอยตั้งคำถามอยู่ตลอด<br />

สำหรับงานออกแบบของเขาที่ออกสู่สายตา<br />

สาธารณชนมากที่สุดน่าจะเป็นโลโก้ของ Corbis, Stock<br />

Photo บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา งานออกแบบหนังสือ<br />

เพื่อพิจารณา (Bid Book) ให้เมืองอาบูดาบี ประเทศ<br />

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ International<br />

Renewal Energy Agency (IREA) ส่วนงานที่คนไทยได้<br />

เห็นผ่านทาง TRUE Hi-speed Internet เว็บไซต์สำหรับ<br />

วัดความเร็วของอินเทอร์เน็ต คือ ตัวโลโก้ที่ทำให้แก่<br />

บริษัท Ookla ในชิคาโก ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดระบบการวัด<br />

ความเร็วของ Broadband Internet ที่มีลูกค้าอยู่ทั่วโลก<br />

โดยประเทศไทยทำให้แก่บริษัท TRUE เป็นต้น


On campus<br />

[กนกกร ชูแก้ว] ล้อมรั้วกิจกรรม<br />

ระดมความคิดผู้นำ... <br />

พลังขับเคลื่อนสู่จุดเปลี่ยน<br />

กิจกรรมนักศึกษา<br />

เชียร์... เต้นให้มันส์<br />

19<br />

เร่งมือเสนองาน<br />

ในช่วงปิดเทอมได้มีกิจกรรมเวทีแสดง<br />

ความคิดและระดมความคิดของผู้นำนักศึกษา<br />

หลายโครงการทั้งภายในและภายนอก<br />

มหาวิทยาลัย จากผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงพลัง<br />

ความคิดสร้างสรรค์ของผู้นำที่จะนำไปสู่การ<br />

พัฒนากิจกรรมนักศึกษาในอนาคต จากเวที<br />

สรุปและทิศทางกิจกรรมนักศึกษาขององค์กร<br />

นักศึกษา ม.รังสิต เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่<br />

ผ่านมา กลุ่มผู้นำได้นำเสนอแนวทางต่างๆ<br />

อาทิ จัดกิจกรรมรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะกิจกรรม<br />

รับน้องที่มีรูปแบบซ้ำซาก ถ้าพี่รักน้องจริง<br />

ทำไมทำกับเราแบบนี้ ให้คลุกโคลนและฉีดน้ำ<br />

ควรรับน้องเพื่อสังคมหรือแบ่งปันความสุขเพื่อ<br />

สังคม สร้างเอกลักษณ์ความเป็นรังสิต สร้าง<br />

กิจกรรมที่ดีมีประโยชน์มากขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้<br />

นักศึกษาทำกิจกรรมสัมพันธ์กับชุมชนให้<br />

แน่นแฟ้น เช่น ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รณรงค์<br />

การทิ้งขยะให้ถูกสุขลักษณะ การใช้จักรยาน<br />

จัดระเบียบการจราจรและร้านค้า ฯลฯ<br />

สำหรับเวทีใหญ่ 84 สถาบัน ในโครงการ<br />

สัมมนาผู้นำกิจกรรมประชุมเชียร์และรับน้อง<br />

ใหม่ 2554 เรื่อง “บนเส้นทางเสริมสร้างความ<br />

เป็นพลเมืองของนักศึกษาใหม่ในสถาบัน” ได้ส่ง<br />

ผู้แทนจาก ม.รังสิต เข้าร่วม โดย นายสันติราช<br />

แถวโชติ เลขานุการคณะกรรมการนักศึกษา<br />

คณะศิลปศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ว่า ประทับใจ<br />

เพื่อนๆ ทุกคนและได้ข้อคิดกิจกรรมรับน้องของ<br />

สถาบันต่างๆ มาพัฒนารูปแบบรับน้องของ<br />

คณะ รวมถึงคำปฏิญญาร่วมสถาบันอุดมศึกษา<br />

เขตภาคกลาง “ร่วมรับน้องใหม่ ในฐานะรุ่นพี่ที่ดี<br />

รู้รักสามัคคี สร้างสรรค์พลเมืองดีของสถาบัน”<br />

ทั้งนี้ เน้นปลูกฝังน้องใหม่ให้รักและภาคภูมิใจ<br />

ความเป็น “รังสิต”<br />

นายชาญชัย ธีระโรจน์สกุล เลขานุการ<br />

คณะกรรมการนักศึกษา วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์<br />

กล่าวว่า ได้ประโยชน์จากกิจกรรมครั้งนี้มาก<br />

ได้เห็นกระบวนการ แนวคิดและผลลัพธ์ของการ<br />

จัดกิจกรรมรับน้องที่เหมาะสม จุดสำคัญคือ<br />

เราจัดรับน้องเพื่ออะไร ซึ่งต้องตอบโจทย์นี้ว่าจะ<br />

คิดทำกิจกรรมอย่างไร กรณีนี้จะทำให้การรับ<br />

น้องเปลี่ยนไป ส่วนกิจกรรม Walk Rally “ฐาน<br />

สามัคคี” ซึ่งมีถังน้ำให้ยก ได้ข้อคิดว่า ต้อง<br />

วางแผนหรือจัดการให้ดี กระจายงานให้เป็น จะ<br />

ผู้แทน มรส. อรรถพร, ชาญชัย, ฐกฤต, สันติราช<br />

ทำให้งานราบรื่น และไม่เหนื่อยมาก ทั้งนี้เห็น<br />

ว่าควรให้น้องใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจปรัชญา<br />

ของมหาวิทยาลัยเพื่อปลูกฝังความภาคภูมิใจใน<br />

สถาบัน<br />

นายฐกฤต ครุธพุ่ม หัวหน้าฝ่ายวินัย<br />

กิจกรรมรับน้อง คณะศิลปะและการออกแบบ<br />

กล่าวว่า จะนำประโยชน์ที่ได้รับมาปรับกิจกรรม<br />

รับน้องของคณะให้น้องใหม่รักตัวเอง รู้จักการ<br />

ดำเนินชีวิต รวมถึงปลูกฝังความรักและสามัคคี<br />

โดยเริ่มที่รุ่นพี่หรือตัวเราเองก่อน เมื่ออยากให้<br />

น้องรักกันตัวรุ่นพี่ต้องเริ่มก่อน รวมถึงการรัก<br />

มหาวิทยาลัยนั้นตัวรุ่นพี่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี<br />

ขอให้ทุกคนทำสิ่งที่ดีที่สุดหรือรับผิดชอบในเขต<br />

รัศมีตัวเอง 2 เมตร<br />

นายอรรถพร ลาวเนือง ประธานคณะ<br />

กรรมการนักศึกษา วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์<br />

กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนความคิด<br />

กิจกรรมรับน้องของแต่ละสถาบัน ซึ่งสามารถ<br />

นำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมรับน้องของคณะ<br />

โดยจะเน้นความสามัคคีระหว่างพี่และน้อง รวม<br />

ถึงน้องใหม่ด้วยกัน และปลูกฝังความรักใน<br />

สถาบันมากขึ้น <br />

อีกเวทีใหญ่ของการรวมกลุ่ม STAFF รับ<br />

น้องในโครงการ “สรรค์สร้างกิจกรรมรับน้อง<br />

จากพี่สู่น้องใหม่รังสิต” ซึ่งสำนักงานกิจการ<br />

นักศึกษาและสโมสรนักศึกษาเห็นความสำคัญของ<br />

บทบาทการมีส่วนร่วมจึงให้นักศึกษารุ่นพี่ระดม<br />

ความคิดนำเสนอรูปแบบกิจกรรมรับน้อง ซึ่งได้<br />

ข้อคิดที่จะนำไปปรับปรุง อาทิ จัดฐาน Walk<br />

Rally แต่ละตึกให้น้องได้สารประโยชน์ ไม่ให้<br />

ฉีดน้ำหรือคลุกโคลน การประกวดดาว-เดือน<br />

ไม่เน้นความสวยอย่างเดียว ดูความสามารถ<br />

อื่นๆ มีความรู้เกี่ยวกับคณะของตนและต้อง<br />

กำหนดบทบาทดาว-เดือน ให้ชัดเจนหลังได้รับ<br />

รางวัลแล้ว ด้านกีฬาและประกวดกองเชียร์จะ<br />

จัดแข่งเป็นรายการทัวร์นาเมนต์ (Tournament)<br />

ส่วนกิจกรรมสุขภาพจะรณรงค์งดสูบบุหรี่ในวัน<br />

เกิดของตนเองและในวันสำคัญๆ รูปแบบเปิด<br />

โลกกิจกรรมให้รุ่นพี่พาน้องใหม่สมัครเป็น<br />

สมาชิกชมรม จัดบูตชมรมรับสมัครสมาชิก<br />

บริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัย... แนวคิดดีๆ จาก<br />

ผู้นำนักศึกษาเหล่านี้นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่<br />

จะนำไปสู่การพัฒนากิจกรรมนักศึกษาในเชิง<br />

สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงด้วยใจ<br />

ของนักกิจกรรม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!