02.12.2014 Views

download_page.php?src=download059

download_page.php?src=download059

download_page.php?src=download059

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ภูมิแผ่นดิน<br />

รัตนโกสินทร์แผ่นดินภูมิ<br />

จำหลักปูมประวัติแคว้นแผ่นภูมิสยาม<br />

ภูมิไผทธำรงอยู่ยงยาม<br />

สง่างามความเป็นไทย ณ ธรณิน<br />

พระบุญญาบารมีที่ครองธรรม<br />

พระทรงนำภูมิปราชญ์ภูมิศาสตร์ศิลป์<br />

เฉลิมศุภวาระพระภูบดินทร์<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ประคินผคม<br />

2


สารจากผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ยึดถือหลักปรัชญาของ<br />

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นธงในการดำเนินงาน ซึ่งรวมถึงการรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา<br />

เพื่อประโยชน์ของชุมชน ประชาชน และสังคม โดยยึดหลักความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล<br />

และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุลต่อไป<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์เป็นหนึ่งในโครงการที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

ได้ดำเนินการตามแนวทางในการอนุรักษ์ผสานพัฒนา ด้วยความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมพลิกฟื้น<br />

อาคารประวัติศาสตร์บนถนนราชดำเนินกลางให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวกรุงเทพฯ โดยมุ่งให้เกิด<br />

ประโยชน์ด้านการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ถ่ายทอด<br />

เอกลักษณ์ประจำชาติให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยนำเสนอสาระความรู้<br />

เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ผ่านนิทรรศการและสื่อผสมเสมือนจริงที่มี<br />

ปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม (Interactive Self-Learning) ให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถเที่ยวชม<br />

กรุงเทพฯ ด้วยความเข้าใจ <br />

4


ในการนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา<br />

กษัตริย์ ได้จัดทำหนังสือ “นิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

อัญมณี แห่งมหานคร” ทั้งในรูปแบบหนังสือเล่ม<br />

และในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ขึ้น<br />

โดยมุ่งหวังที่จะจุดประกายความสนใจใน<br />

ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของ<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ที่สืบทอดต่อเนื่องมาอย่าง<br />

ยาวนาน ตลอดจนสร้างความบันดาลใจให้ประชาชน<br />

เข้ามาเยี่ยมชมนิทรรศการ เพื่อความเข้าใจในอดีต<br />

และความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมไทย<br />

อันดีงาม ซึ่งจะเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรม<br />

เพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต<br />

ได้อย่างสมดุลและมีภูมิคุ้มกัน<br />

<br />

(นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา)<br />

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

5


ตอนที่ ๑ ร่วมใจรังสรรค์ <br />

ผสานการอนุรักษ์และพัฒนา ๘<br />

<br />

ตอนที่ ๒ สืบสานศิลป์ <br />

มรดกแผ่นดินสยาม ๑๖<br />

<br />

ตอนที่ ๓ จรรโลงวัฒนธรรม <br />

ล้ำเลอค่า ๓๔๐<br />

<br />

ส่วนท้ายเล่ม บรรณานุกรม ๓๕๖<br />

คณะกรรมการ ๓๕๘<br />

ISBN ๓๖๐


๑<br />

ต อ น ที่<br />

ร่วมใจรังสรรค์<br />

ผสานการอนุรักษ์และพัฒนา<br />

คงคุณค่าสถาปัตยกรรม เสริมสร้างสรรค์สารพันประโยชน์<br />

ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบัน<br />

<br />

9


10<br />

ถนนราชดำเนินกลางสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ได้รับการรังสรรค์ให้เป็นสัญลักษณ์ความเจริญและความสง่างามของบ้านเมืองที่ยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน


ถนนราชดำเนินเป็นเอกลักษณ์แห่ง<br />

ความศิวิไลซ์ของกรุงเทพมหานครมาช้านาน นับแต่<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕<br />

มีพระราชดำริให้ก่อสร้างขึ้น เพื่อแสดงออกถึง<br />

ความพร้อมของกรุงเทพมหานครในการเป็นหนึ่ง<br />

ในมหานครเอกของโลกและแสดงให้เห็นว่าเมืองหลวง<br />

ของราชอาณาจักรสยามมีความเจริญทัดเทียมนานา<br />

อารยประเทศ ถนนราชดำเนินและบริเวณต่อเนื่อง<br />

จึงมีความสำคัญนับแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน<br />

กอปรกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ<br />

ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๙) ได้กำหนด<br />

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ<br />

และสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางสำคัญในการอนุรักษ์<br />

ฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมชุมชน ศิลปกรรมและ<br />

แหล่งท่องเที่ยวให้เกื้อหนุนต่อคุณภาพชีวิต และเป็น<br />

ฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน ดังนั้น เพื่อให้<br />

การบริหารยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้<br />

ในทางปฏิบัติ สำนักงานคณะกรรมการ<br />

พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ<br />

ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นสมควรให้มี<br />

การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ถนน<br />

ราชดำเนินและพื้นที่บริเวณต่อเนื่องขึ้น<br />

เพื่อเป็นแผนชี้นำทิศทางการพัฒนาทางด้าน<br />

กายภาพในพื้นที่ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร<br />

ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ<br />

โครงการแผนผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่<br />

ถนนราชดำเนินและพื้นที่บริเวณต่อเนื่อง<br />

ภายใต้โครงการเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นคืน<br />

การเจริญเติบโตอีกครั้งหนึ่ง<br />

11


12<br />

ผลจากโครงการแผนแม่บทดังกล่าวก่อให้เกิดการดำเนินงาน<br />

ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้วจำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วยโครงการ<br />

ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ (ส่วนต่อขยาย) <br />

เพื่อเปิดมุมมองโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม และเพิ่มความสง่างามให้แก่<br />

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณส่วนต่อขยาย ได้ส่งมอบสิทธิในการ<br />

ปรับปรุงพื้นที่ให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินการ โดยกรุงเทพมหานคร<br />

ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ส่วนอีกโครงการหนึ่ง คือ<br />

โครงการออกแบบก่อสร้างลานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ภูมิพลอดุลยเดช ณ บริเวณที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล


จวบจนปัจจุบัน ถนนราชดำเนินยังคงความสำคัญ <br />

เป็นเส้นทางหลักสู่ “กรุงรัตนโกสินทร์” จิตวิญญาณและมรดกอันล้ำค่า<br />

ทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้มอบให้แก่ลูกหลานไทย<br />

โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญบนถนนราชดำเนิน <br />

ซึ่งประกอบด้วย สวนและลานกิจกรรม อาคารนิทรรศการและศูนย์เรียนรู้ <br />

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการประกวดแบบ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการ<br />

ก่อสร้างได้ใน พ.ศ. ๒๕๕๕<br />

จากความตั้งใจที่จะสรรค์สร้างสิ่งที่ดีเพื่อสังคมและการร่วมแรงร่วมใจกัน<br />

อย่างเต็มที่ของทุกฝ่าย ผนวกกับความประสงค์ของสำนักงานทรัพย์สิน<br />

ส่วนพระมหากษัตริย์ที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่<br />

ถนนราชดำเนินให้สง่างามสมกับชื่อถนน จึงเป็นที่มาของการนำอาคารหมายเลข ๑<br />

ซึ่งอยู่ถัดจากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ที่ครบอายุสัญญาเช่าและได้รับคืน<br />

พื้นที่จากผู้เช่าเดิมแล้ว มาปรับปรุงเพื่อเป็นของขวัญในการพัฒนาพื้นที่<br />

ถนนราชดำเนิน อันเป็นจุดต่อยอดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม<br />

ด้วยเหตุที่ในอดีต การเข้าสู่<br />

ราชธานีในยุครัตนโกสินทร์จะต้อง<br />

ผ่านประตูเมืองบริเวณสะพานผ่านฟ้า<br />

ลีลาศ มายังลานพลับพลามหาเจษฎา<br />

บดินทร์ในปัจจุบัน เปรียบได้กับเป็น<br />

ประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งอาคาร<br />

แห่งนี้เป็นอาคารแรกที่อยู่ติดกับลาน<br />

พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ จุดนี้<br />

จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการนำอาคารแห่งนี้<br />

มาเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการ<br />

เพราะมีพื้นที่ที่เหมาะสมจะเป็นแหล่ง<br />

รวบรวมความรู้ อีกทั้งยังมีโลหะปราสาท<br />

วัดราชนัดดารามที่สวยงามเด่นเป็นสง่า<br />

เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศในยาม<br />

ที่แขกบ้านแขกเมืองมาเที่ยวชม<br />

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา<br />

กษัตริย์จึงบูรณะอาคารเดิมให้เป็น<br />

สถานที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ<br />

ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม<br />

ของยุครัตนโกสินทร์อันควรค่าที่คนไทย<br />

จะได้รับรู้และภาคภูมิใจภายใต้ชื่อ<br />

“นิทรรศน์รัตนโกสินทร์”<br />

<br />

<br />

13


14<br />

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ วันเสาร์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ.​ ๒๕๕๔ จัดขึ้นบริเวณโถงอเนกประสงค์ <br />

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เด็กๆ ต่างสนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย


สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

มุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้เยาวชนชื่นชอบและสนใจที่จะศึกษา<br />

ค้นคว้าและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ ศิลปะ และมรดก<br />

ทางวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึง<br />

ปัจจุบัน อีกทั้งเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่อีกแห่งหนึ่ง<br />

ของกรุงเทพมหานคร ที่นักท่องเที่ยวจะได้รับข้อมูล ความรู้<br />

และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณเกาะ<br />

รัตนโกสินทร์ก่อนที่จะไปเที่ยวชมยังสถานที่จริง และเหนือ<br />

สิ่งอื่นใด ชุมชนชาวราชดำเนินโดยเฉพาะเยาวชนในชุมชน<br />

น่าที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดทั้งความรู้ที่ได้จากการจัดแสดง<br />

นิทรรศการและห้องสมุดซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่คู่กับ<br />

ชุมชนไปตราบนานเท่านาน<br />

อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนไปถึงต้นสายปลายเหตุ<br />

ของการก่อกำเนิดอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเกิดจาก<br />

ความมุ่งหวังในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นคืนการเจริญ<br />

เติบโตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ<br />

ฉบับที่ ๙ นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะตอบโจทย์ของความมุ่งหวัง<br />

ดังกล่าว แต่สิ่งที่ควรจะเป็นก็คือ เศรษฐกิจ สังคม<br />

และศิลปวัฒนธรรม ที่น่าจะต้องเจริญงอกงาม<br />

ไปพร้อมๆ กันอย่างสมดุลบนความยั่งยืน <br />

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานทรัพย์สิน<br />

ส่วนพระมหากษัตริย์จึงมุ่งหวัง<br />

ที่จะให้อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ทำหน้าที่ในการสร้างความสมดุล<br />

ทางศิลปวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับ<br />

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ<br />

และสังคมโดยรวม<br />

<br />

15


๒<br />

ต อ น ที่<br />

สืบสานศิลป์<br />

มรดกแผ่นดินสยาม<br />

เยี่ยมยลนวัตกรรมเลิศล้ำวิจิตร<br />

เพื่อพินิจเกียรติยศมรดกสยาม


กรุงรัตนโกสินทร์<br />

เกียรติยศ <br />

ประดับแผ่นดินสยาม<br />

<br />

ตลอดระยะเวลากว่า ๒ ศตวรรษใต้ร่ม<br />

พระมหาเศวตฉัตรของพระมหากษัตริย์<br />

แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งทรงอุตสาหะ<br />

บำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ <br />

ด้วยพระราชปณิธานมุ่งหวังตั้งพระราชหฤทัย บันดาลให้<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางพระราชอาณาจักรสยาม <br />

มีความงดงามรุ่งเรือง สมเป็นราชธานีที่มีศรีสง่าทัดเทียม<br />

มหานครในบรรดาอารยประเทศทั้งหลาย กอปรกับ<br />

พระบรมโพธิสมภารที่ปกแผ่ ไพศาลไปทั่ว<br />

ขอบขัณฑสีมา ได้บังเกิดความผาสุกทุกถิ่นฐาน<br />

ราษฎรประกอบกิจการงานที่สุจริตได้อย่างอิสระ<br />

มีกำลังพัฒนาบ้านเมืองให้เฟื่องฟูในทุกด้าน<br />

วิทยาการอันล้ำค่า ได้รับการรจนารังสรรค์เป็น <br />

<br />

“มรดกศิลป์” <br />

ปรากฏเป็นเกียรติยศ<br />

ประดับแผ่นดินสยาม


๑<br />

รัตนโกสินทร์<br />

เรืองโรจน์<br />

20


กรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีแห่งขอบขัณฑสีมาพระราชอาณาจักรสยาม<br />

ยืนหยัดอย่างมั่นคง ดำรงฐานะศูนย์กลางของประเทศที่เปี่ยมด้วยอารยะ<br />

บริบูรณ์ด้วยสรรพวิทยาการ เนื่องด้วยพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์<br />

แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งทรงพระราชอุตสาหะทำนุบำรุงบ้านเมือง<br />

ให้เฟื่องฟู ค้ำชูพระบวรพุทธศาสนา สืบทอดขนบประเพณีที่มีมาแต่เมื่อครั้ง<br />

กรุงศรีอยุธยา ราษฎรจึงบังเกิดความผาสุกสืบมา เป็นเวลายาวนานกว่า<br />

๒๐๐ ปี<br />

21


22<br />

ตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ได้รับ<br />

การสถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อพุทธศักราช<br />

๒๓๒๕ นั้น นับเป็นเวลายาวนานกว่า ๒๐๐ ปี<br />

ที่กรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางแห่งพระราช<br />

อาณาจักรสยาม เป็นราชธานีที่งดงามมั่นคง<br />

ดำรงเอกลักษณ์ทางศิลปะและสถาปัตยกรรม<br />

อันวิจิตร มั่งคั่งด้วยสรรพพิพิธวิทยานานา<br />

ประการ


ด้วยพระบรมโพธิสมภารและ<br />

พระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระมหา<br />

กษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งล้วน<br />

ทรงมุ่งหวังตั้งพระราชหฤทัยที่จะปกครอง<br />

บ้านเมืองและราษฎรให้รุ่งเรืองและผาสุก<br />

ด้วยหลักทศพิธราชธรรมและคำสอนแห่ง<br />

พระบวรพุทธศาสนา<br />

ราษฎรทั้งหลายจึงได้อาศัยอยู่บน<br />

แผ่นดินทอง ที่เรืองรองและร่มเย็นสืบมา <br />

เป็นเวลากว่า ๒ ศตวรรษ<br />

23


แ ผ น ผั ง ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์<br />

ทางออกสู่ห้องที่ ๒<br />

จัดแสดงด้วยระบบไฮโดรลิก<br />

ยกพื้นห้องให้เลื่อนขึ้นจากชั้นที่ ๒<br />

ไปสู่ชั้นที่ ๓ พร้อมฉายวีดิทัศน์<br />

แสดงประวัติการสถาปนา<br />

กรุงรัตนโกสินทร์และหุ่นจำลอง<br />

วัดพระศรีสรรเพชญ์<br />

และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

24


หุ่นจำลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

หุ่นจำลองวัดพระศรีสรรเพชญ์<br />

วีดิทัศน์ย้อนรอยประวัติ<br />

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

25


ปลายสมัยอยุธยา<br />

เมื่อกล่าวถึงการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ จะต้องมองย้อนไปถึง<br />

กรุงศรีอยุธยา เนื่องจากราชธานีของชาวสยามนามกรุงศรีอยุธยานั้น ยิ่งใหญ่<br />

เรืองรองด้วยภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมที่สั่งสมมายาวนาน<br />

ถึง ๔๑๗ ปี จึงเป็นต้นแบบที่สำคัญให้การสร้างราชธานีใหม่ ได้สืบสานความเจริญ<br />

รุ่งเรืองในแทบทุกด้าน<br />

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ <br />

ณ เมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร อันเป็นเมืองปราการหน้าด่านสำคัญใกล้ปากแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยามาแต่เดิมนั้น ก็ได้สืบทอดรูปแบบสังคมและวัฒนธรรมอันดีงาม<br />

ของกรุงศรีอยุธยามาอย่างต่อเนื่องตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้จะเป็นระยะ<br />

เวลาอันสั้นเพียง ๑๕ ปี<br />

26


รุ่งอรุณแห่งกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ <br />

ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ภาพแห่งความเจริญรุ่งเรือง<br />

ของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ได้สะท้อนให้ปรากฏแจ่มชัด<br />

ยิ่งขึ้นอีกครั้ง<br />

เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรเป็นที่ตั้ง พระองค์<br />

ได้มีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ดังความที่ว่า...<br />

ตั้งใจจะอุปถัมภก<br />

ยอยกพระพุทธศาสนา<br />

จะป้องกันขอบขัณฑสีมา<br />

รักษาประชาชนแลมนตรี<br />

พระองค์ทรงมุ่งหมายจะสถาปนาราชธานีใหม่<br />

ให้เจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครองและการค้า<br />

อันสำคัญ ยิ่งใหญ่ทัดเทียมกรุงศรีอยุธยาในอดีตให้จงได้<br />

<br />

27


๐<br />

๒<br />

๓<br />

๑<br />

ลั<br />

๔<br />

๖ ๘<br />

๕<br />

๗<br />

28<br />

สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

ด้วยทรงพระปรีชาในตำราพิชัยสงคราม จึงทรงเล็งเห็นว่า<br />

พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม<br />

เนื่องจากมีลักษณะเป็นหัวแหลม โอบล้อมด้วยลำน้ำถึง ๓ ด้าน<br />

อีกทั้งนอกคูเมืองด้านตะวันออกยังเป็นทะเลตม ซึ่งหากขุดคลอง<br />

เพิ่มขึ้นจะช่วยป้องกันพระนครได้เป็นอย่างดี จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก<br />

ของแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ปีขาล จัตวาศก<br />

จุลศักราช ๑๑๔๔ เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๕๔ นาที ตรงกับ<br />

วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้ประกอบพระราชพิธีประดิษฐานเสาหลักเมืองสำหรับ<br />

พระนครเป็นปฐมฤกษ์<br />

จากนั้นทรงให้เริ่มขุดคูคลอง ขุดรากก่อกำแพง<br />

พระนคร สร้างป้อมปราการ สร้างวัดพระศรีรัตน<br />

ศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง การวางตำแหน่งที่ตั้ง<br />

ของวังต่างๆ จัดเรียงรายให้มีชัยภูมิแบบ “นาคนาม” <br />

ต้องตามตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

พร้อมกันนั้น ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและทรงรื้อฟื้น<br />

วรรณกรรมอันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์สำคัญของชาติ<br />

เป็นการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข และบำรุงขวัญให้แก่ราษฎร<br />

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระวิริยอุตสาหะ<br />

แห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

แผ่นดินสยามก็ได้กลับฟื้นคืนความเป็นปึกแผ่นและ<br />

สงบสุขร่มเย็นสมดังความหมายแห่งนามราชธานีที่ได้<br />

พระราชทานคือ...


กรุงเทพมหานคร<br />

เป็นพระนครอันกว้างใหญ่<br />

อมรรัตนโกสินทร์<br />

ดุจเทพนคร <br />

อันเป็นที่สถิตแห่งพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร<br />

พระแก้วมรกต<br />

มหินทรายุธยา<br />

เป็นมหานครที่ไม่มีผู้ใดจะรบชนะได้<br />

มหาดิลกภพ<br />

มีความงดงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง<br />

นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์<br />

เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๙ ประการ<br />

อันน่ารื่นรมย์<br />

อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน<br />

ประกอบทั้งหมู่พระมหามณเฑียร<br />

และพระมหาปราสาท<br />

เป็นพระราชนิเวศน์เวียงวังอันโอฬาร<br />

อมรพิมานอวตารสถิต<br />

เปรียบดังวิมานของสมมติเทพผู้เสด็จอวตารลงมา<br />

สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์<br />

โดยท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์<br />

โปรดให้พระวิษณุกรรมเนรมิตไว้<br />

<br />

พิชัยสงคราม<br />

วังริมป้อมจักรเพ็ชร<br />

วังริมป้อมพระสุเมรุ บ้านเสนาบดี<br />

วังหน้า พระบรมมหาราชวัง<br />

วังหลัง<br />

แม่น้ำ<br />

พระนิเวศน์เดิม<br />

ของสมเด็จพระพี่นางฯ<br />

พระราชวังเดิม<br />

พระนิเวศน์เดิม<br />

ตำแหน่งที่ตั้งของวังต่างๆ<br />

ที่จัดเรียงรายให้มีชัยภูมิแบบ “นาคนาม” ตามตำราพิชัยสงคราม<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่มีแผนผังและ<br />

การวางตำแหน่งสถานที่สำคัญต่างๆ นับตั้งแต่<br />

เมื่อแรกสร้างให้สอดคล้องกับการตั้งค่าย ตามที่ปรากฏ<br />

ในตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นเอกสารเก่าแก่ที่ได้รับ<br />

การสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยนำรูปแบบ<br />

นาคนาม ซึ่งเป็นการตั้งค่ายหรือทัพใกล้กับลำคลอง<br />

หรือแม่น้ำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม<br />

หรือภูมิศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ <br />

มีค่ายหลวง ซึ่งเปรียบได้กับวังหลวงหรือ<br />

พระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์กลาง วังหน้าหรือ<br />

พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นค่ายด้านหน้า <br />

ส่วนวังหลังหรือพระราชวังบวรสถานพิมุขเป็นค่าย<br />

ด้านหลัง นอกจากนี้ยังมีวังเจ้านายซึ่งล้วนแต่เป็น<br />

พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ตั้งเรียงรายไปตามริมแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกอีกด้วย<br />

29


๒<br />

เกียรติยศ<br />

แผ่นดินสยาม<br />

30


พระบรมมหาราชวัง เพชรน้ำเอกแห่งสถาปัตยกรรมที่เปี่ยมด้วยความงดงาม<br />

และล้ำค่า ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าช่าง<br />

ผู้ชำนาญร่วมกันรังสรรค์ไว้เป็นมรดกศิลป์อันสง่างาม เป็นเกียรติยศสำหรับสยาม<br />

ประเทศที่ยืนหยัดและร่มเย็นเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี ใต้ร่มพระบารมีแห่งพระมหา<br />

จักรีบรมราชวงศ์<br />

พระบรมมหาราชวังเป็นคลังความรู้ที่รวบรวมศิลปะและสรรพวิทยา<br />

อันประณีตวิจิตร โดยเฉพาะที่ได้รับการเนรมิตจากฝีมือสาวชาววัง ซึ่งได้รับการเล่าขาน<br />

จนถึงปัจจุบันกาล ว่าเป็นสุดยอดผลงานหัตถศิลป์ของแผ่นดินสยาม<br />

31


ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึง<br />

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ธรรมเนียมการสร้าง <br />

พระบรมมหาราชวังยังได้รับการสืบทอด<br />

ต่อมา ด้วยองค์ประกอบทางศิลปะและ<br />

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นศรีสง่า<br />

สมฐานะราชธานี ศูนย์กลางแห่งขอบขัณฑสีมา<br />

เป็นเครื่องประดับพระอิสริยศักดิ์แห่ง<br />

พระมหากษัตริย์และเป็นเกียรติยศประดับ<br />

พระราชอาณาจักรสยาม<br />

นับเนื่องจากครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ จวบจนปัจจุบันสมัย <br />

รวมระยะเวลาได้กว่า ๒๐๐ ปี พระบรมมหาราชวัง<br />

อันเป็นอาณาบริเวณที่สำคัญ มีการก่อสร้าง<br />

เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้วยรูปแบบศิลปกรรม<br />

อันประณีตล้ำค่า เกิดเป็นศูนย์รวมวิทยาการ<br />

หลายแขนง เป็นแหล่งรวมสุดยอดศิลปะและ<br />

สถาปัตยกรรมที่งดงามโดยสุดยอดช่างฝีมือ<br />

ของแผ่นดินที่ร่วมแรงและร่วมใจรังสรรค์<br />

ด้วยศรัทธาและจงรักภักดีในพระมหากษัตริยา<br />

ธิราชเจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์<br />

<br />

33


แ ผ น ผั ง ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม<br />

สถาปัตยกรรมชั้นสูง<br />

<br />

จุดเริ่มต้น<br />

<br />

ความเป็นมาของ<br />

พระบรมมหาราชวัง<br />

34


อาคารสถานในเขต<br />

พระบรมมหาราชวัง <br />

งานฝีมือช่างหลวง<br />

<br />

<br />

ทางออก<br />

<br />

<br />

ชีวิตในเขตพระราชฐานชั้นใน<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

35


๑<br />

พระมหากษัตริย์ไทย หนึ่งในใจปวงประชา<br />

ความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์<br />

กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม<br />

คติความเชื่อเกี่ยวกับสมมติเทวราชจากกรุงศรีอยุธยาได้สืบทอดมา<br />

จวบจนสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวไทยต่างยกย่องพระมหากษัตริย์เป็นดั่ง<br />

พระนารายณ์อวตารตามคติของศาสนาพราหมณ์ผสมผสานกับความเชื่อ<br />

ในพระพุทธศาสนาที่พระมหากษัตริย์ต้องมีทศพิธราชธรรมในการปกครอง<br />

บ้านเมือง ซึ่งสะท้อนความเป็นหน่อพุทธางกูรหรือผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า<br />

ในภายภาคหน้า<br />

หลักฐานของคติความเชื่อนี้แฝงอยู่ในรูปลักษณ์ของสิ่งปลูกสร้าง <br />

พระราชพิธี ตลอดจนจารีตประเพณี เพื่อแสดงความยกย่องเชิดชูพระมหา<br />

กษัตริย์อย่างสมพระเกียรติ ถือเป็นแบบแผนดีงามและเป็นอารยธรรมที่ส่งต่อ<br />

จากสมัยหนึ่งสู่สมัยหนึ่งอย่างไม่ขาดหาย<br />

36


ด้วยศีลและธรรมที่ทรงปฏิบัตินั้นได้ประจักษ์แก่สายตาและการรับรู้<br />

ของประชาชน ว่าเป็นศีลที่รักษาได้ และเป็นธรรมที่ปฏิบัติได้จริง ความเป็น<br />

สมมติเทพของพระมหากษัตริย์จึงมิใช่ความเชื่อที่ลึกลับอยู่เหนือเหตุผล<br />

อีกต่อไป แต่เป็นการยกย่องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เข้าใจ<br />

และพิสูจน์ได้ ดังที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บันทึกไว้ว่า<br />

<br />

“...ทำให้เกิดมีอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นใหม่ในปัจจุบัน<br />

ซึ่งแตกต่างไปจากที่มีมาแต่ก่อน<br />

อุดมการณ์นี้ได้แก่ ความรักอันใกล้ชิด ความภักดี<br />

และความมั่นใจในความบริสุทธิ์แห่งพระราชหฤทัย<br />

และพระมหากรุณาธิคุณอันหาประมาณมิได้<br />

ในสังคมไทยยุคปัจจุบันนี้...”<br />

<br />

แผนที่กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๓<br />

แสดงจุดที่ตั้งสถานที่สำคัญต่างๆ<br />

รวมทั้งพระบรมมหาราชวัง<br />

ซึ่งเป็นศูนย์กลางของราชธานี<br />

37


ความวิจิตรงดงามของพระบรมมหาราชวัง <br />

คือพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์แห่งพระมหากษัตริย์ไทย<br />

ในฐานะสมมติเทพตามธรรมเนียมแบบแผนที่สืบทอด<br />

มาแต่โบราณ และเป็นเกียรติยศแห่งแผ่นดินไทยที่แสดงถึง<br />

ความมั่งคั่งของราชธานีมายาวนานหลายชั่วอายุคน<br />

กาลเวลาที่ผ่านมากว่า ๒๐๐ ปี เปลี่ยนแปลง<br />

พระบรมมหาราชวังไปตามอารยธรรมของแต่ละยุคสมัย<br />

จากสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี ศิลปะสมัย<br />

กรุงศรีอยุธยาตอนปลายเมื่อครั้งแรกสร้าง แปรเปลี่ยนเป็น<br />

สถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีนในสมัยรัชกาลที่ ๒ และ<br />

รัชกาลที่ ๓ โดยได้รับอิทธิพลจากการติดต่อค้าขาย<br />

กับประเทศจีน<br />

ความเป็นมาของพระบรมมหาราชวัง<br />

จัดแสดงด้วยเทคนิค<br />

ฉายภาพวีดิทัศน์บนผนัง<br />

และหุ่นจำลองพระบรมมหาราชวัง<br />

ที่สมบูรณ์และใหญ่ที่สุด<br />

ในประเทศไทย<br />

38


๑<br />

การปรับปรุงประเทศให้ทัดเทียมกับนานา<br />

อารยประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ ทำให้<br />

มีการนำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับ<br />

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีมาแต่เดิมของพระบรม<br />

มหาราชวัง ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ<br />

พระราชฐานชั้นนอก เป็นที่ตั้งของที่ทำการ<br />

หน่วยงานราชการและวัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งเป็น<br />

วัดประจำพระบรมมหาราชวัง<br />

พระราชฐานชั้นกลาง หัวใจของพระบรมมหาราชวัง<br />

เคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการของพระมหา<br />

กษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ หลังจากนั้น<br />

กลายเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ และรับรอง<br />

พระราชอาคันตุกะมาตราบจนทุกวันนี้<br />

พระราชฐานชั้นใน ในอดีตเป็นที่ประทับของ<br />

พระมเหสีเทวี พระราชธิดา และข้าราชการที่เป็นหญิงล้วน<br />

ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอยไปเพื่อการอนุรักษ์<br />

ศิลปวัฒนธรรมไทย และเพื่อการศึกษาหลายโครงการ<br />

เวลากว่า ๒ ศตวรรษที่ผ่านมา พระบรมมหาราชวัง<br />

คือบทบันทึกแห่งประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ที่คงความสง่างาม ทรงคุณค่า สมเป็นมรดกของชาติ<br />

และเกียรติยศของแผ่นดินไทย<br />

39


๒<br />

เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปกรรมพระที่นั่งทรงปราสาท<br />

ภายในพระบรมมหาราชวัง<br />

จัดแสดงด้วยระบบจอสัมผัสหรือเทคนิคทัชสกรีน<br />

สถาปัตยกรรมชั้นสูง <br />

เพื่อเกียรติยศแห่งแผ่นดิน<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นการจำลองความรุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยาในอดีต<br />

การสร้างปราสาทและพระราชมณเฑียรที่ประทับจึงวิจิตรบรรจงดังเทวสถาน<br />

ตามคติความเชื่อที่มีมาแต่เดิม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ แสดงถึงพระอิสริยยศ<br />

พระอิสริยศักดิ์ของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องแสดงถึงอารยธรรมและ<br />

เกียรติยศแห่งบ้านเมือง<br />

จากกรุงศรีอยุธยาสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ธรรมเนียมการสร้างพระที่นั่ง<br />

ทรงปราสาทเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ยังคงสืบทอดมา ปรากฏเป็น<br />

พระที่นั่งอันงามสง่า สูงส่งด้วยศิลปะซึ่งสะท้อนถึงการยกย่องพระมหากษัตริย์<br />

ในฐานะสมมติเทวราชผู้เปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม<br />

40


รัชกาลที่ ๑ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท <br />

สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถือเป็นสถาปัตยกรรมไทย<br />

ที่สมบูรณ์แบบ เครื่องยอด เป็นจตุรมุขทรงมณฑปซ้อน ๗ ชั้น<br />

ประดับด้วยครุฑยุดนาครับไขรายอดปราสาท หน้าบัน<br />

ประดับด้วยรูปนารายณ์ทรงครุฑลงรักปิดทองประดับกระจก<br />

ซุ้มพระบัญชร เป็นมณฑปทรงจอมแหซึ่งเป็นรูปแบบซุ้มที่<br />

ใช้กับพระที่นั่งทรงปราสาทเท่านั้น บานพระทวารและ<br />

พระบัญชร มีภาพเขียนลายเทวดาเป็นทวารบาลคอยปกปัก<br />

รักษาพระมหากษัตริย์<br />

<br />

<br />

รัชกาลที่ ๒ พระที่นั่งมหิศรปราสาท <br />

เป็นพระที่นั่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องจากในสมัย<br />

รัชกาลที่ ๒ ไม่มีการสร้างพระที่นั่งทรงปราสาท เครื่องยอด<br />

เป็นปราสาท ๕ ชั้น มีครุฑยุดนาครับไขราแทนคันทวย<br />

ทั้ง ๔ มุม หน้าบัน เป็นรูปครุฑยุดนาคพระราชสัญลักษณ์<br />

ของรัชกาลที่ ๒ ซุ้มพระบัญชร เป็นซุ้มยอดทรงมงกุฎ<br />

บานพระทวาร เขียนลายรดน้ำ<br />

<br />

รัชกาลที่ ๓ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ปราสาท <br />

ตั้งอยู่บนกำแพงพระบรมมหาราชวัง เป็นพระที่นั่ง<br />

ซึ่งมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตร<br />

การฝึกช้างและกิจกรรมต่างๆ ที่มีนอกพระราชวัง ต่อมา<br />

รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการยกยอด<br />

ปราสาทขึ้น ในรัชกาลปัจจุบัน เป็นที่เสด็จออกให้ประชาชน<br />

เข้าเฝ้าฯ ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องยอด <br />

เป็นทรงมณฑป ๕ ชั้น มีคันทวยรับไขราของยอดปราสาท<br />

หน้าบัน เป็นลายกนกเครือเถาใบเทศ บานพระทวาร <br />

สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการบูรณะบานพระทวารเป็นบานไม้<br />

แบบบานเฟี้ยม<br />

41


รัชกาลที่ ๔ พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท <br />

เป็นพระที่นั่งโถง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อ<br />

เฉลิมพระเกียรติยศและเป็นสถานที่สำหรับประทับ<br />

พระราชยานคานหาม เครื่องยอด เป็นปราสาท ๕ ชั้น <br />

มีหงส์จำหลักรับไขรายอดปราสาท หน้าบัน รูปสมเด็จ<br />

พระอมรินทราธิราชประทับยืน และมีรูปเทพนมขนาบข้าง<br />

<br />

รัชกาลที่ ๕ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท <br />

สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นท้องพระโรง มีลักษณะเด่นที่รูปแบบ<br />

ทรงไทยผสมตะวันตก มีมุข ๓ มุข เหนือมุขทั้งสาม<br />

ยกยอดปราสาท ๗ ชั้น มีคันทวยรับไขรายอดปราสาท<br />

หน้าบันมุขกลาง เป็นรูปตราจักรีภายใต้พระมหามงกุฎ<br />

รองรับด้วยตราอาร์มแผ่นดิน หน้าบันมุขตะวันตกและ<br />

มุขตะวันออก เป็นตราจุลมงกุฎบนพานแว่นฟ้า รองรับด้วย<br />

ช้างสามเศียร ด้านข้างเป็นราชสีห์และคชสีห์ หน้าบันมุขเด็จ<br />

เป็นตราจักรีตามนามพระที่นั่ง ซุ้มพระบัญชร ประดับด้วย<br />

ตราจุลมงกุฎเหนือตราอาร์มแผ่นดิน<br />

<br />

42


๒<br />

รัชกาลที่ ๕ พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท <br />

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เครื่องยอด เป็นพระที่นั่งทรงปราสาท ๕ ยอด<br />

ทรงมณฑป อันเป็นลักษณะเด่นของพระที่นั่งองค์นี้ <br />

นับเป็นเครื่องยอดที่มีรูปแบบและลักษณะรูปทรง<br />

งดงามที่สุด ประดับด้วยครุฑยุดนาครับไขรายอดปราสาท<br />

ยอดกลาง หมายถึง เขาพระสุเมรุ ยอดเล็ก ๔ ยอด <br />

หมายถึง ทวีปทั้ง ๔ ตามคติไตรภูมิ หน้าบัน รูปนารายณ์<br />

ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายกนกเทพนม ซุ้มพระบัญชร<br />

เป็นซุ้มบันแถลง บานพระบัญชร เป็นบานไม้ ด้านนอก<br />

เป็นลายลงยาประดับกระจกบนพื้นสีทอง ปัจจุบัน<br />

มีบานกระจกด้านนอกเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันบานด้านใน<br />

<br />

รัชกาลที่ ๙ พระที่นั่งเทวารัณยสถาน <br />

เป็นพระที่นั่งโถง สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน ตั้งอยู่บน<br />

ชาลา (เฉลียง) พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารองค์ใหม่<br />

เครื่องยอด ยกยอดปราสาท ๕ ชั้น มีครุฑรับไขรา<br />

ยอดปราสาท หน้าบัน เป็นรูปมงกุฎอุณาโลม<br />

<br />

<br />

<br />

43


เครื่องยอด...ยอดสูงเสียดฟ้า<br />

สูงค่าพระอิสริยยศ<br />

ส่วนของหลังคาที่เรียกว่า เครื่องยอด เป็นการจำลอง<br />

จักรวาลหรือไตรภูมิ ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของคติความเชื่อ<br />

ในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ มีรูปทรงแหลมสูง<br />

ถัดลงมาจากเครื่องยอดเป็นไขรารับยอดปราสาท มักประดับ<br />

ด้วยรูปครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์ เช่น พระที่นั่ง<br />

ดุสิตมหาปราสาท<br />

44


๒<br />

พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร <br />

หมายถึง พระมหากษัตริย์<br />

ทรงแผ่พระบารมีไป ๘ ทิศ<br />

และทิศธรณีอีก ๑ ทิศ<br />

<br />

เหม ส่วนปลายสุด<br />

มีลักษณะเรียวแหลม <br />

มีฐานซึ่งเทพหรือเทวดาอยู่บนสุด<br />

<br />

บัลลังก์ เป็นสัญลักษณ์<br />

แทนองค์พระบรมศาสดา<br />

<br />

รูปจำลองของพระสถูป <br />

ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ<br />

ของพระพุทธเจ้า<br />

<br />

ไขรายอดปราสาท ประดับครุฑ<br />

ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์<br />

<br />

หลังคาซ้อนหลายชั้น แทนเขาพระสุเมรุ<br />

หมายถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ ตามคติไตรภูมิ<br />

<br />

45 ๖๓


ซุ้มพระทวาร ซุ้มพระบัญชร<br />

ปกป้องคุ้มภัย<br />

รักษาไว้พระมหามณเฑียร<br />

ซุ้มพระทวาร (ซุ้มประตู) และซุ้มพระบัญชร<br />

(ซุ้มหน้าต่าง) คือซุ้มของทวยเทพที่คอยปกปักรักษา<br />

พระที่นั่ง พระมหาปราสาท เช่น พระที่นั่งดุสิต<br />

มหาปราสาทเป็นซุ้มทรงมณฑป ส่วนพระที่นั่งองค์อื่น<br />

อาจเป็นซุ้มบันแถลง เช่น พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท<br />

หรือไม่ได้มีรูปแบบไทย เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />

ซึ่งมีซุ้มแบบตะวันตก เป็นต้น<br />

<br />

ซุ้มทรงอย่างเทศที่พระบัญชร<br />

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย<br />

มไหสูรยพิมาน<br />

46


๒<br />

บานพระทวาร <br />

บานพระบัญชร<br />

ทวารบาลคุ้มครอง <br />

คือ เหล่าเทวดา<br />

บานพระทวารและบานพระบัญชร มักเป็น<br />

ภาพเทวดาหรือทวารบาลคอยรักษาประตู เพื่อ<br />

บ่งบอกความสำคัญของสถานที่ มักประดับตกแต่ง<br />

อย่างประณีตวิจิตร เช่น เขียนลาย แกะสลัก<br />

ประดับมุก หรือประดับกระจก<br />

<br />

รูปเทพธิดายืนบนแท่น<br />

ที่ด้านหลังบานพระบัญชร<br />

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน<br />

47


๖๖ 48<br />

ตำนานครุฑกับนาคจัดแสดงด้วย<br />

เทคนิคอะนิเมชั่นพร้อมบทบรรยาย<br />

ภาษาไทยและอังกฤษบนจอภาพ<br />

ภายในกรอบสีทอง


ตำนานครุฑกับนาค<br />

๒<br />

หน้าบัน...สัญลักษณ์<br />

แห่งพระมหากษัตริย์<br />

หน้าบันหรือบริเวณสามเหลี่ยมหน้าจั่วของหลังคา<br />

ที่ปรากฏในพระที่นั่งองค์สำคัญในแต่ละรัชกาล มักประดับ<br />

ด้วยสัญลักษณ์ที่สื่อถึงพระมหากษัตริย์ เช่น รูปพระนารายณ์<br />

ทรงครุฑที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แสดงให้เห็นว่าเป็น<br />

ที่ประทับของพระนารายณ์ อันหมายถึงพระมหากษัตริย์<br />

บางครั้งเป็นภาพสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น รูปเทวดา<br />

ประจำทิศประทับบนพระแท่น ได้แก่ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก<br />

ท้าววิรูปักษ์ ท้าวเวสสุวัณ ที่พระมหามณเฑียร และรูปพระอินทร์<br />

ที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท หรือตราแผ่นดินที่พระที่นั่ง<br />

จักรีมหาปราสาท เป็นต้น<br />

ภาพครุฑยุดนาคอันเป็นองค์ประกอบสำคัญ<br />

ในศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับ<br />

พระมหากษัตริย์เสมอนั้น มีที่มาจากตำนานเล่าขาน<br />

กันว่า...<br />

กาลครั้งหนึ่ง...มีฤๅษี นามพระกัศยปมุนี มีภรรยา<br />

สองคน คือนางวินตาและนางกัทรู ทั้งสองเป็นพี่น้องกัน<br />

นางกัทรูให้กำเนิดลูกเป็นนาค นางวินตาให้กำเนิดลูก<br />

เป็นครุฑ<br />

วันหนึ่งทั้งคู่ท้าพนันกันทายสีของม้าที่ชักรถ<br />

พระอาทิตย์ โดยตกลงกันว่าผู้แพ้ต้องยอมเป็นทาส<br />

อีกฝ่ายหนึ่งห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าเป็นม้าสีขาว <br />

นางกัทรูทายว่าเป็นม้าสีดำ ซึ่งความจริงม้าตัวนั้นเป็นสีขาว<br />

แต่นางกัทรูใช้อุบายให้บรรดาลูกนาคหนึ่งพันตัวของตน<br />

พากันพ่นพิษใส่ตัวม้าให้เป็นสีดำ นางวินตาจึงต้องตกเป็นทาส<br />

ในแดนบาดาลถึงห้าร้อยปี<br />

ต่อมาครุฑก็คิดเจรจาปลดปล่อยมารดาให้เป็นอิสระ<br />

ฝ่ายนาคขอแลกด้วยน้ำอมฤตที่พระอินทร์เป็นผู้รักษาไว้<br />

แต่ระหว่างที่ครุฑจะไปเอาน้ำอมฤต ได้ถูกเทวดารวมทั้ง<br />

พระอินทร์ขัดขวาง แต่สู้ครุฑไม่ได้ แม้แต่พระนารายณ์<br />

มาปราบก็ไม่แพ้หรือชนะกัน สุดท้ายจึงเจรจาหย่าศึก <br />

โดยครุฑถวายปฏิญญาว่าจะเป็นพาหนะพระนารายณ์ <br />

ส่วนพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่<br />

ในตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ และยอมให้ครุฑนำน้ำอมฤต<br />

ไปไถ่ตัวแม่ แล้วให้เทวดาเป็นผู้นำน้ำอมฤตกลับคืน<br />

มารดาครุฑเป็นอิสระแล้ว แต่ฝ่ายนาคกลับไม่ได้<br />

ดื่มกินน้ำอมฤตดังตั้งใจ จึงเกิดอาฆาตแค้นและเป็นศัตรูกัน<br />

นับแต่นั้น และเป็นที่มาของภาพครุฑยุดนาคที่ปรากฏ<br />

ในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ผู้เป็นดั่ง<br />

พระนารายณ์อวตาร<br />

49


๓<br />

หมู่พระที่นั่งในเขตพระราชฐานชั้นกลาง<br />

คือ สถานประทับแห่งพระมหากษัตริย์<br />

<br />

พระราชฐานชั้นกลางมีบริเวณอยู่ในส่วนกลางของพระบรมมหาราชวัง<br />

เป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียรอันเคยเป็นที่ประทับ<br />

ของพระมหากษัตริย์ ถือเป็นหัวใจของพระบรมมหาราชวัง และเป็นศูนย์กลาง<br />

การบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ปัจจุบัน<br />

เป็นมณฑลสถานประกอบพระราชพิธีสำคัญของประเทศ<br />

<br />

50<br />

จัดแสดงเรื่องหมู่พระที่นั่ง<br />

ในเขตพระราชฐาน<br />

ชั้นกลางด้วยการฉาย<br />

วีดิทัศน์บนผนัง<br />

จัดแสดงประวัติ<br />

หมู่พระที่นั่งในเขต<br />

พระราชฐานชั้นกลาง<br />

ด้วยระบบจอสัมผัส


หมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท<br />

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามคติสมมติเทวราช<br />

ที่สืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ถือเป็นสถาปัตยกรรมไทย<br />

ชิ้นเอก เป็นแม่แบบสถาปัตยกรรมทรงปราสาทที่สมบูรณ์แบบ<br />

ของไทย สร้างขึ้นด้วยฝีมือที่ประณีตวิจิตรงดงามทุกส่วน<br />

และเป็นสัญลักษณ์อันแสดงถึงเกียรติยศของแผ่นดิน<br />

ในอดีต ที่มุขเด็จของพระที่นั่งองค์นี้ เคยใช้เป็นที่<br />

เสด็จออกให้เจ้าประเทศราชเข้าเฝ้าฯ และในโอกาสเฉลิมฉลอง<br />

กรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ยังได้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระสยาม<br />

เทวาธิราชให้ประชาชนมาสักการะ<br />

ภายในพระที่นั่งยังใช้เป็นมณฑลสถานประกอบ<br />

พระราชพิธีสำคัญต่างๆ ของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธี<br />

ฉัตรมงคล และถือเป็นธรรมเนียมในการประดิษฐาน<br />

พระบรมศพพระมหากษัตริย์ พระอัครมเหสี และพระศพ<br />

พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท<br />

ตลอดมา<br />

บริเวณใกล้เคียงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท<br />

ยังปรากฏพระที่นั่งองค์อื่นๆ เช่น พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์<br />

ปราสาท และพระที่นั่งราชกรัณยสภา เป็นต้น<br />

หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท<br />

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นสถาปัตยกรรม<br />

ที่ผสมผสานหลังคาเครื่องยอดปราสาทแบบไทยเข้ากับ<br />

อาคารแบบตะวันตกได้อย่างลงตัว จึงเป็นสัญลักษณ์แห่ง<br />

ยุคสมัยที่ไทยเริ่มพัฒนาศิลปวิทยาการ มุ่งสู่ความทัดเทียม<br />

ชาติตะวันตก<br />

ส่วนสำคัญที่สุดของพระที่นั่ง คือ ท้องพระโรงกลาง<br />

ใช้ต้อนรับพระราชอาคันตุกะและเสด็จออกให้คณะ<br />

ทูตานุทูตต่างประเทศถวายพระราชสาส์นและสาส์นตราตั้ง<br />

หรือเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสต่างๆ<br />

ในรัชกาลปัจจุบัน พระที่นั่งด้านหลังของพระที่นั่ง<br />

จักรีมหาปราสาทได้ถูกรื้อลงเนื่องจากทรุดโทรมเกินจะ<br />

บูรณะ และมีการสร้างพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ <br />

พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และพระที่นั่งบรมราช<br />

สถิตยมโหฬารองค์ใหม่ เพื่อจัดพระราชพิธีและงานเลี้ยง<br />

รับรองระดับประเทศอย่างเป็นทางการ และยังมีพระที่นั่ง<br />

เทวารัณยสถานตามแบบโบราณราชประเพณี เพื่อเป็น<br />

พระที่นั่งโถงทรงปราสาทประจำรัชกาล<br />

<br />

51


พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์<br />

ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระที่นั่ง<br />

บุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน<br />

ภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย<br />

มไหสูรยพิมาน<br />

พระที่นั่งราชฤดี ตั้งอยู่บริเวณชาลา<br />

ด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้สร้างขึ้นใหม่แทนองค์เดิม<br />

ซึ่งสร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ <br />

เพื่อใช้เป็นที่สรงมูรธาภิเษก<br />

หมู่พระมหามณเฑียร<br />

หมู่พระมหามณเฑียรเคยเป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ ประกอบด้วยพระที่นั่งสำคัญ ๓ องค์<br />

ด้วยกัน ได้แก่<br />

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เคยเป็นสถานที่บรรทมของพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นมณฑลสถานประกอบพระราชพิธี<br />

เฉลิมพระราชมณเฑียรซึ่งเปรียบได้กับพิธีขึ้นบ้านใหม่เมื่อพระมหากษัตริย์<br />

เสด็จขึ้นครองราชย์ มาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน <br />

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เคยเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ บางครั้งเป็นที่<br />

เสวยพระกระยาหาร ที่สำคัญเป็นมณฑลสถานประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

หรือการเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการของพระมหากษัตริย์ ภายในพระที่นั่ง<br />

มีพระวิมานประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช<br />

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน เคยเป็นท้องพระโรงสำหรับ<br />

เสด็จออกขุนนางหรือเสด็จออกรับทูตานุทูตในบางโอกาส ถือเป็นธรรมเนียม<br />

ที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จออกมหาสมาคมเป็นครั้งแรกในรัชกาล ณ พระที่นั่ง<br />

แห่งนี้ นอกจากนี้ ยังเป็นมณฑลสถานประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธี<br />

เฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ เป็นต้น<br />

หมู่พระมหามณเฑียรได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และปลูกสร้างพระที่นั่ง<br />

และหอต่างๆ เพิ่มเติมสืบต่อมาตามการเปลี่ยนผ่านของแต่ละสมัย นอกจาก<br />

ศิลปะไทยแล้ว ยังมีอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทยอยู่ทั่วไป<br />

ในหมู่พระมหามณเฑียรนี้อีกด้วย<br />

52


๓<br />

หมู่พระที่นั่งในสวนศิวาลัย<br />

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ เขตพระราชฐานชั้นกลางฝ่ายตะวันออกเคยเป็น<br />

พื้นที่ของโรงแสงต้นและสวนอันกว้างใหญ่ เรียกกันว่าสวนขวา ซึ่งในสมัย<br />

รัชกาลที่ ๒ ปรับปรุงให้เป็นสวนแบบจีนอันสวยงาม เคยเป็นที่ตั้งของพระอภิเนาว์<br />

นิเวศน์ พระราชมณเฑียรที่ประทับแบบสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกของ<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของพระพุทธ<br />

นิเวศน์ สถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล<br />

พื้นที่ที่เคยเป็นโรงแสงต้น รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้สร้างพระที่นั่งบรมพิมาน โดยทรงตั้งพระราชหฤทัยจะให้เป็นที่ประทับของ<br />

มกุฎราชกุมาร ซึ่งต่อมาคือรัชกาลที่ ๖ แต่มิได้เสด็จฯ มาประทับ ในปัจจุบันใช้เป็น<br />

ที่รับรองพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

พระที่นั่งและอาคารต่างๆ ซึ่งสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เหลืออยู่<br />

ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่เคยเป็นสระมาก่อนมีการทรุดตัว พื้นที่ส่วนใหญ่<br />

จึงปรับปรุงเป็นพื้นที่สวนที่เรียกว่า สวนศิวาลัย ในปัจจุบัน<br />

<br />

<br />

พระที่นั่งบรมพิมานตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ<br />

ของบริเวณสวนศิวาลัย<br />

53


จัดแสดงขั้นตอนการทำลวดลาย<br />

และองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม<br />

แบบต่างๆ โดยใช้กระจกเงา<br />

สะท้อนภาพต่อเนื่องเสมือนจริง<br />

๔<br />

ศิลปกรรม<br />

เลิศล้ำวิจิตร <br />

เนรมิตดั่งพระวิมาน<br />

พระบรมมหาราชวัง คือเอกลักษณ์และสมบัติอันล้ำค่าของชาติ <br />

เป็นศูนย์รวมแห่งศาสตร์ ทั้งการศึกษาและการพัฒนางานศิลปกรรมอันเป็นรากเหง้า<br />

ของไทยทุกแขนงที่สรรค์สร้างขึ้นโดยช่างฝีมือชั้นครู ซึ่งพระมหากษัตริย์<br />

ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ทรงฟื้นฟูและทำนุบำรุงให้สถาพรสืบมา<br />

เพื่อเป็นเครื่องแสดงเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของชาวไทย<br />

54


งานประดับมุก <br />

เป็นงานประณีตศิลป์<br />

ที่อาศัยความประณีตบรรจง<br />

มากที่สุดแขนงหนึ่ง งานมุกของ<br />

ไทย ใช้วิธีการตัดเปลือกหอยมุก<br />

เป็นลวดลาย เรียงลงบนพื้นผิว<br />

ที่ต้องการ จากนั้นจึงถมด้วยรัก<br />

และขัดให้เรียบ ในงานสถาปัตย<br />

กรรมใช้การประดับมุกกับศาสน<br />

สถานเท่านั้น<br />

งานประดับมุกมีความ<br />

คงทนอย่างยิ่ง เช่น บานประตู<br />

หอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรี<br />

รัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นฝีมือช่าง<br />

อยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ยังคง<br />

งดงาม แม้ผ่านกาลเวลานานนับ<br />

ร้อยปี นอกจากนี้ การประดับมุก<br />

ยังใช้ในการตกแต่งศิลปวัตถุ<br />

เครื่องเรือน เครื่องใช้สำหรับ<br />

ชนชั้นสูงอีกด้วย<br />

<br />

ประดับกระเบื้อง <br />

การประดับกระเบื้อง<br />

เป็นการตกแต่งสถาปัตยกรรม<br />

ตามอย่างศิลปะจีน ใช้ควบคู่กับ<br />

งานปูนปั้น การค้าขายกับจีน<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาล<br />

ที่ ๔ ส่งผลให้กรุงรัตนโกสินทร์<br />

รั บ อิ ท ธิ พ ล จ า ก ศิ ล ป ะ จี น<br />

มาประยุกต์ใช้ร่วมกับรูปแบบ<br />

ดั้งเดิม ปรากฏเป็นความงาม<br />

ที่ลงตัวด้วยวัสดุและโทนสีใหม่<br />

ที่งดงามแปลกตา<br />

กระเบื้องที่นำมาประดับ<br />

สั่งมาจากจีน มีทั้งกระเบื้องสี<br />

สำเร็จรูปหรือถ้วยชามที่ช่างนำ<br />

มาติดลงทั้งชิ้นหรือตัดเป็นชิ้น<br />

เล็กๆ เพื่อติดเป็นลวดลายต่างๆ<br />

และกระเบื้องที่สั่งทำจากเมืองจีน<br />

ด้วยการส่งลายเขียนไปเป็นแบบ<br />

ห รื อ ปั้ น ขึ้ น เ พื่ อ ใ ช้ ป ร ะ ดั บ<br />

งานสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะ<br />

55


ลายรดน้ำ <br />

เป็นการตกแต่งพื้นผิว<br />

วัสดุให้เป็นลวดลายสีทอง<br />

ในงานสถาปัตยกรรมและเครื่องใช้<br />

ต่างๆ ใช้วิธีการลงรักเป็นพื้นภาพ<br />

สีดำหรือสีแดง ส่วนที่เป็นลวดลาย<br />

ติดด้วยทองคำเปลว ในขั้นตอน<br />

สุดท้าย ช่างต้องทำการรดน้ำลงบน<br />

ชิ้นงาน เพื่อล้างแผ่นทองคำเปลว<br />

ให้เห็นเป็นลวดลาย จึงเรียกว่า<br />

ลายรดน้ำ<br />

ในอดีตลายรดน้ำจะใช้กับ<br />

งานเพื่อศาสนาและพระมหา<br />

กษัตริย์เท่านั้น จวบจนรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงให้เสรีภาพแก่<br />

ประชาชนมากขึ้น จึงมีการใช้<br />

ลายรดน้ำกันทั่วไป<br />

<br />

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง <br />

ภาพจิตรกรรมในงาน<br />

สถาปัตยกรรมไทยมักเขียนบน<br />

ฝาผนังภายในอาคารหรือเขียน<br />

ลงบนบานประตูหน้าต่าง ใช้สีฝุ่น<br />

จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ดิน หิน<br />

บดเป็นผงผสมกับกาวที่ทำจาก<br />

หนังสัตว์ อาจปิดทองคำเปลว<br />

ในบางส่วนของภาพที่ต้องการ<br />

เน้นความสำคัญ เช่น ตัวละครเอก<br />

และปราสาทราชวัง เป็นต้น<br />

ภาพจิตรกรรมในสมัย<br />

โบราณล้วนแสดงเรื่องราวทาง<br />

พระพุทธศาสนา ใช้เส้นสายที่<br />

อ่อนช้อย ได้สัดส่วนตามอุดมคติ<br />

มากกว่าความสมจริง จนถึงสมัย<br />

รัชกาลที่ ๔ จึงเริ่มมีจิตรกรรม<br />

ฝาผนังที่เขียนบันทึกเหตุการณ์<br />

รวมทั้งยังนำหลักการเขียน<br />

ทัศนียภาพและแสงเงาแบบ<br />

ตะวันตกมาประยุกต์ใช้กับ<br />

จิตรกรรมไทยให้มีความสมจริง<br />

มากขึ้น<br />

56


๔<br />

งานประดับกระจก <br />

เป็นงานประณีตศิลป์ที่ใช้<br />

ประดับสถาปัตยกรรมให้ดู<br />

ระยิบระยับดั่งอัญมณีหลากสีสัน<br />

ทั้งยังเป็นความชาญฉลาด<br />

ในการปิดรักษาพื้นผิวของวัสดุ<br />

ให้คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ<br />

โดยการติดกระจกลงบนพื้นผิว<br />

ที่ต้องการด้วย รักสมุก (น้ำรัก<br />

ผสมเถ้าถ่านของใบตองแห้งหรือ<br />

หญ้าคาบดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน)<br />

อาจประดับร่วมกับงานไม้แกะสลัก<br />

หรือปูนปั้นปิดทอง ซึ่งเรียกว่า<br />

การปิดทองร่องกระจก<br />

<br />

<br />

การประดับกระจก<br />

ลายลงยา <br />

การประดับกระจก ลาย<br />

ลงยา หรือ ลายยา เป็นรูปแบบ<br />

ของการประดับกระจกอย่างหนึ่ง<br />

โดยจำหลักไม้เป็นลวดลาย และ<br />

ฝังกระจกสีต่างๆ ลงในเนื้อไม้ที่<br />

จำหลักไว้นั้น พื้นหน้าปิดทองทึบ<br />

การประดับกระจกลายลงยานี้<br />

มีความคงทน เพราะต้องฝังกระจก<br />

ลงในเนื้อไม้ จึงไม่หลุดล่อนง่าย<br />

การประดับกระจกชนิดนี้เริ่มมีมา<br />

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้แก่<br />

ฐานพระที่นั่งสนามจันทร์ที่ตั้งอยู่<br />

ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่ง<br />

อมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน<br />

ต่อมาเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาล<br />

ที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ โดยใช้<br />

ประดับพระที่นั่งอีกหลายองค์<br />

<br />

<br />

57


๕<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ผู้คนมักเรียกว่า วัดพระแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ<br />

มหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย<br />

58


๑๐<br />

๓<br />

๙<br />

๖<br />

๒๐<br />

๑๘<br />

๒๗<br />

๑๕<br />

๑๑<br />

๑๖<br />

๑๓<br />

๔ ๒๘<br />

๑๗<br />

๑๒<br />

๑๔<br />

๒<br />

๘<br />

๑๙<br />

๕<br />

๗ ๒๓ ๒๒<br />

๒๑<br />

๑<br />

๒๔๒๖๒๕<br />

อาคารต่างๆ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

๑. พระอุโบสถ ๑๖. บุษบกองค์ตะวันออก<br />

๒. ซุ้มเสมา เฉียงใต้ <br />

๓. หอพระมณเฑียรธรรม ๑๗. บุษบกองค์ตะวันตกเฉียงใต้ <br />

๔. พระมณฑป ๑๘. บุษบกองค์ตะวันออก<br />

๕. พระเจดีย์ทอง ๒ องค์ <br />

๖. หอพระนาก <br />

๗. ศาลาราย <br />

๘. พระระเบียง<br />

๙. พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด<br />

๑๐. พระอัษฎามหาเจดีย์ <br />

๑๑. ปราสาทพระเทพบิดร<br />

๑๒. พระศรีรัตนเจดีย์<br />

๑๓. ฐานไพที<br />

๑๔. พระเจดีย์ทรงเครื่อง <br />

๑๕. บุษบกองค์ตะวันตก<br />

เฉียงเหนือ <br />

เฉียงเหนือ <br />

๑๙. พนมหมาก <br />

๒๐. รูปหล่อสัตว์หิมพานต์ <br />

๒๑. หอระฆัง <br />

๒๒. พระมณฑปยอดปรางค์ <br />

๒๓. หอพระคันธารราษฎร์<br />

๒๔. หอพระราชกรมานุสร <br />

๒๕. หอพระราชพงศานุสร <br />

๒๖. พระโพธิธาตุพิมาน <br />

๒๗. นครวัดจำลอง <br />

๒๘. กำแพงแก้ว<br />

แผนผังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

จัดแสดงด้วยเทคนิคอินเตอร์<br />

แอคทีฟบอร์ด คือเมื่อกดที่ปุ่ม<br />

บนจุดต่างๆ จะปรากฏภาพ<br />

สถานที่บนจอฉายภาพ<br />

อาคารส่วนใหญ่ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ อาทิ พระอุโบสถ ภายใน<br />

ประดิษฐานพระแก้วมรกต ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธี<br />

ต่างๆ พระระเบียง มีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง<br />

รามเกียรติ์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่ยาวที่สุด<br />

ในโลก พระมณฑป ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทอง<br />

ที่สังคายนาในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระเจดีย์ทอง ที่สร้างขึ้น<br />

เพื่อแสดงพระกตัญญุตา ทรงอุทิศถวายแด่สมเด็จ<br />

พระบรมราชชนกและพระราชชนนี<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการสร้าง พระเศวตกุฎาคาร<br />

วิหารยอด ซึ่งมีเอกลักษณ์อันงดงามคือหลังคาทรงมงกุฎ<br />

ประดับด้วยเครื่องกระเบื้อง<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการสร้างอาคารเพิ่มเติม<br />

อีกหลายหลัง เช่น ปราสาทพระเทพบิดร ซึ่งปัจจุบัน<br />

ประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ ถึง<br />

รัชกาลที่ ๘ พระศรีรัตนเจดีย์ ประดิษฐานพระบรม<br />

สารีริกธาตุ โดยยกฐานเสมอพระมณฑปและปราสาท<br />

พระเทพบิดร และมียอดสูงเท่ากันทั้ง ๓ องค์<br />

59


60<br />


พระแก้วมรกต <br />

พระพุทธรูป<br />

คู่บ้านคู่เมือง<br />

หลังการสถาปนาพระบรม<br />

มหาราชวังแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เร่งการ<br />

ก่อสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้าน<br />

คู่เมือง คือ พระพุทธมหามณีรัตน<br />

ปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เพื่อเป็น<br />

ขวัญกำลังใจแก่ราษฎร<br />

<br />

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร<br />

หรือพระแก้วมรกต จัดแสดงบนบุษบก<br />

ประดิษฐานพระแก้วมรกตซึ่งจำลอง<br />

จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

ประกอบการฉายวีดิทัศน์ถ่ายทอดตำนาน<br />

พระแก้วมรกตในรูปแบบอะนิเมชั่น<br />

ไตรภูมิ<br />

ผ นั ง ด้ า น ห ลั ง<br />

บุ ษ บ ก ป ร ะ ดิ ษ ฐ า น<br />

พระแก้วมรกต จำลอง<br />

ภาพเขาสัตบริภัณฑ์ <br />

โดยทำเป็นภาพนูนต่ำ<br />

ตามคติไตรภูมิ ซึ่งเป็น<br />

คติความเชื่อที่นับเนื่อง<br />

ในทางพระพุทธศาสนา ปรากฏมาตั้งแต่สมัยโบราณ<br />

เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำเนิดของโลก สวรรค์ นรก และ<br />

ภูมิสถานต่างๆ ของจักรวาล ซึ่งล้วนแต่มีผลต่อ<br />

โลกทัศน์ของคนไทยและยังส่งอิทธิพลไปถึงรูปแบบ<br />

ทางศิลปะและสถาปัตยกรรมของไทยโดยเฉพาะใน<br />

พระบรมมหาราชวัง ตลอดจนวัดวาอารามต่างๆ <br />

เช่นเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งปรากฏเรื่องราวในไตรภูมิ<br />

61


๕<br />

ตำนานพระแก้วมรกต <br />

มีตำนานกล่าวถึงการสร้างพระพุทธมหามณี<br />

รัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต เล่าสืบต่อกันมาว่า<br />

เทวดาสร้างพระแก้วมรกตถวายพระอรหันต์ นามพระนาคเสน<br />

แห่งเมืองปาฏลีบุตร (ปาตลีบุตร)<br />

๑ พระนาคเสนได้อธิษฐานอาราธนาพระบรม<br />

สารีริกธาตุให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ แห่ง<br />

คือในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้งสอง และ<br />

พระชานุทั้งสอง<br />

๒ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เล่ากันสืบมาว่า <br />

ณ เมืองเชียงราย พระแก้วมรกตได้ถูกทาปูนและลงรัก<br />

ปิดทอง ก่อนนำไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์วัดป่าญะ <br />

ซึ่งปัจจุบันคือวัดพระแก้วเมืองงาม<br />

๓ ล่วงมาถึง พ.ศ. ๑๙๗๗ เกิดฟ้าผ่าที่พระเจดีย์ <br />

เผยให้เห็นพระพุทธรูปปิดทองซ่อนอยู่ ชาวบ้านที่ไปพบ<br />

จึงอัญเชิญไปประดิษฐานในวิหารของวัดแห่งหนึ่ง<br />

๔ กาลเวลาผ่านไป ปูนที่หุ้มองค์พระแก้วมรกต<br />

ได้กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว <br />

๕ ชาวบ้านจึงช่วยกันแกะปูนออกทั้งองค์แล้วพบว่า<br />

เป็นพระพุทธรูปแก้วสีเขียว ชาวบ้านจึงพากันมา<br />

กราบไหว้<br />

๖ ความรู้ถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่จึงให้อัญเชิญมา<br />

เชียงใหม่<br />

๗ แต่ช้างที่ใช้อัญเชิญองค์พระได้หันเหไปทางลำปาง<br />

ถึงสามครั้ง จึงยอมให้อัญเชิญองค์พระไปประดิษฐานที่<br />

ลำปางถึง ๓๒ ปี จากนั้น พระแก้วมรกตได้ไปประดิษฐาน<br />

ยังเมืองต่างๆ รวมเป็นเวลากว่า ๓๑๐ ปี<br />

๘ กระทั่งใน พ.ศ. ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จ<br />

เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายัง<br />

กรุงธนบุรี<br />

๑<br />

๙ สมัยธนบุรี พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่<br />

โรงพระแก้ว ซึ่งเป็นโรงที่สร้างขึ้นใหม่ภายในบริเวณ<br />

พระราชวังเดิม<br />

<br />

๕<br />

๔<br />

๒<br />

62


๘<br />

๙<br />

๓<br />

๑๐<br />

๗<br />

๖<br />

๑๐ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต<br />

มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช<br />

๒๓๒๗<br />

ตำนานพระแก้วมรกต จัดแสดงด้วย<br />

เทคนิคการฉายภาพเคลื่อนไหว<br />

ในรูปแบบอะนิเมชั่นบนผนัง<br />

เบื้องหลังบุษบกประดิษฐาน<br />

พระแก้วมรกตจำลอง<br />

63


64<br />


เครื่องทรงพระแก้วมรกต<br />

มรดกงานประณีตศิลป์<br />

หลังการสถาปนาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช <br />

มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายพระพุทธมหามณีรัตน<br />

ปฏิมากรหรือพระแก้วมรกตเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อน<br />

และฤดูฝน <br />

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาว<br />

เครื่องทรงพระแก้วมรกตจึงมี ๓ สำรับนับแต่นั้นมา<br />

พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์จะทรง<br />

ประกอบพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต<br />

เป็นประจำทุกปี หากทรงติดพระราชภารกิจอื่นใด <br />

ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายอันเป็นพระบรมวงศ์<br />

เสด็จฯ แทนพระองค์<br />

การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ถือกำหนด<br />

เวลาดังนี้<br />

เครื่องทรงฤดูร้อน กำหนดเปลี่ยนเครื่องทรง<br />

ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ หรือราวเดือนมีนาคม<br />

เครื่องทรงฤดูฝน กำหนดเปลี่ยนเครื่องทรง<br />

วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือราวเดือนกรกฎาคม<br />

เครื่องทรงฤดูหนาว กำหนดเปลี่ยนเครื่องทรง<br />

วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ หรือราวเดือนพฤศจิกายน<br />

การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต ถือเป็น<br />

พระราชพิธีที่ปฏิบัติสืบมาเป็นประจำทุกปี<br />

เครื่องทรงพระแก้วมรกตจัดแสดงด้วยเทคนิค<br />

Electric-Glass โดยใช้กระแสไฟฟ้าควบคุมกระจกใส<br />

ให้กลายเป็นฝ้าในพริบตา ตามเวลาที่สัมพันธ์กับเครื่องกล<br />

ที่จัดซ่อนอยู่ภายในบุษบกจำลอง<br />

65


เขตพระราชฐานชั้นใน มีอะไรอยู่ในนั้น<br />

๖<br />

พระราชฐานชั้นใน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง เป็นพื้นที่<br />

เชื่อมต่อด้านหลังหมู่พระมหามณเฑียรและพระมหาปราสาท<br />

ในอดีตพระราชฐานชั้นในเป็นที่ประทับของพระมเหสีเทวี พระราชธิดา<br />

ของพระมหากษัตริย์ เจ้าจอม และข้าราชการซึ่งล้วนเป็นหญิง จึงเปรียบเป็น<br />

เมืองเล็กๆ ที่มีพลเมืองหญิงล้วนอยู่ร่วมกันได้ด้วยมีกฎระเบียบทั้งในการเข้า-ออก<br />

และการใช้ชีวิตในพระราชฐานชั้นใน โดยกำหนดเป็นแบบแผนอย่างเคร่งครัด <br />

มีเจ้านายชั้นสูงทรงเป็นผู้บังคับบัญชา และมีข้าราชการหญิงทำหน้าที่ดูแล<br />

ควบคุมต่อกันมาอย่างเป็นระบบ มีระเบียบที่ถือปฏิบัติอันเป็นต้นแบบของจารีต<br />

ประเพณีที่ดีงาม<br />

พระราชฐานชั้นในถือเป็นแหล่งอบรมกุลสตรีไทยที่เจ้านายและ<br />

ข้าราชการชั้นสูงนิยมส่งธิดามาเล่าเรียน เขียน อ่าน และอบรมความรู้ให้มี<br />

คุณสมบัติเป็นกุลสตรีที่เพียบพร้อมด้วยกิริยา มารยาท และความสามารถ<br />

ในการครองเรือน<br />

66


ขนบประเพณีเคร่งครัด ปฏิบัติกันมาแต่อดีต<br />

ในเขตพระราชฐานชั้นในจะมีระเบียบแบบแผนที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมานาน<br />

แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลาและตามพระราชนิยม ระเบียบ<br />

แบบแผนและประเพณีนี้ คนทั่วไปเรียกกันว่า ประเพณีวัง ซึ่งมีข้อห้ามข้อปฏิบัติ<br />

ต่างๆ ดังเช่น<br />

<br />

เขตนี้ผู้ชายห้ามเข้า<br />

ห้ามบุคคลภายนอกโดยเฉพาะบุรุษเข้าเขตพระราชฐานชั้นในเด็ดขาด<br />

ยกเว้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสที่ยังมิได้ทรงประกอบ<br />

พระราชพิธีโสกันต์ เด็กชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๐ ปี และแพทย์ชายที่ต้องเข้าไป<br />

รักษาผู้ป่วยซึ่งต้องมีพนักงานฝ่ายในคอยติดตามอย่างเคร่งครัด ปัจจุบัน<br />

ประเพณีดังกล่าวได้ผ่อนคลายไปมากแล้ว แต่ในหลักการยังห้ามมิให้บุรุษเพศ<br />

เข้าในเขตนี้อยู่ ถ้ามีความจำเป็นต้องขออนุญาตอย่างเป็นทางการ<br />

<br />

หน้าต่างจำลอง จัดแสดงวีดิทัศน์ฉายภาพ<br />

อาคารสถานที่ต่างๆ ในเขตพระราชฐาน<br />

ชั้นใน<br />

67


กระโถนปากแตร<br />

เครื่องใช้สำหรับชนชั้นสูง<br />

จำลองด้วยเรซิ่น<br />

โขลน ผู้พิทักษ์รักษาการณ์ฝ่ายใน<br />

โขลนเปรียบได้กับตำรวจหญิง มีหน้าที่รักษาการณ์ตามประตูเข้า-ออก<br />

หรือตามสี่แยกของถนนในวัง เพื่อดูแลความเรียบร้อย โดยมีสมเด็จพระราชินี<br />

หรือพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายในทรงดูแลบังคับบัญชาต่างพระเนตรพระกรรณ<br />

จะออกจะเข้า เฝ้าอย่างระวัง<br />

ประตูวังฝ่ายในทุกจุดมีโขลนเฝ้ารักษาการณ์ เมื่อค่ำลงต้องปิดประตู<br />

ลงกลอนทั้งหมด เปิดเผื่อเหตุฉุกเฉินเพียงประตูสนามราชกิจ ที่อยู่ติดกับ<br />

พระมหามณเฑียรเท่านั้น ประตูนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประตูย่ำค่ำ<br />

<br />

68


๖<br />

ครกตำหมากทองเหลือง<br />

และเชี่ยนหมากเงินดุนลาย<br />

จัดแสดงอยู่ภายในส่วนพระราชฐานชั้นใน<br />

ธรณีประตูข้ามได้ เหยียบไม่ได้<br />

ประตูพระบรมมหาราชวังฝ่ายในจะมีบานใหญ่ ๒ บาน ซึ่งปิดไว้เสมอ<br />

และในบานใหญ่จะมีประตูเล็กเปิดปิดได้อยู่อีกบานหนึ่ง จึงทำให้ประตูเล็ก<br />

มีธรณีประตู หากเดินเข้า-ออกจะเหยียบธรณีประตูไม่ได้ ถ้าเผลอเหยียบ <br />

ต้องโดนจ่าโขลนดุและให้กราบธรณีประตูนั้น เพราะถือกันว่าธรณีประตู<br />

มีเทวดาสถิตอยู่ ด้วยเหตุนี้ประตูวังจึงต้องมีการสมโภชเป็นการภายใน<br />

ประจำทุกปี<br />

<br />

เหนือกว่าการกินหมาก คือความภูมิใจ<br />

การกินหมากเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทยสมัยโบราณ อุปกรณ์<br />

ในการจีบพลูและกินหมากจัดเป็นงานศิลปะ หีบหมากและพานหมากที่ได้รับ<br />

พระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินจะงามประณีตเป็นพิเศษ เป็นเครื่องยศที่ถือ<br />

เป็นเกียรติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล <br />

การกินหมากของชาววัง มีความพิถีพิถันตั้งแต่วิธีจีบพลู โดยไว้หางยาวแหลม<br />

เรียกว่าพลูต่อยอด การกัดพลูจะค่อยๆ กัด ค่อยๆ เคี้ยว เวลาบ้วนน้ำหมาก<br />

ก็ต้องป้องปากบ้วนทีละน้อย และเช็ดปากด้วยผ้าทอตาหมากรุกสีแดงสลับดำ <br />

เพื่อไม่ให้เห็นคราบเปื้อนน้ำหมากชัดเจน และใช้ตรงมุมผ้าเช็ดแบบซับๆ แตะๆ<br />

ด้วยความละเมียดละไม<br />

ทางขึ้นระหว่างบันได ๒ ข้าง<br />

ใต้พระที่นั่งบุษบกมาลา<br />

มหาจักรพรรดิพิมาน <br />

ภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย<br />

มไหสูรยพิมานทำเป็นช่องเว้าเข้าไป <br />

ภายในช่องทำเป็นรูปปั้นนูนต่ำของ<br />

ท้าวศรีสัจจา (มิ) จ่าบัว และจ่าตี<br />

ซึ่งเป็นจ่าโขลน โดยท้าวศรีสัจจา<br />

นุ่งผ้าลายแบบโจง ห่มผ้าแถบ นั่งบนตั่ง<br />

มีเครื่องประกอบยศ เช่น กระโถนทอง <br />

เชี่ยนหมากทอง เป็นต้น<br />

จ่าบัวนั่งพนมมือและจ่าตีส่งท่อนไม้ <br />

69


การปักผ้าโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สะดึง <br />

ของสาวชาววังในอดีต<br />

แต่งกายแบบไหน ที่ว่าใช่ชาววัง<br />

สาวชาววังได้ชื่อว่าเป็นผู้นำทางด้านความงามและการแต่งกาย<br />

กิตติศัพท์นี้ใช่ว่าจะได้มาง่ายดาย เบื้องหลังคือความอุตสาหะพยายามและ<br />

ความชาญฉลาดในการคิดค้นเครื่องแต่งกายที่เหมาะกับยุคสมัย ใช้ทั้งความคิด<br />

สร้างสรรค์ ใช้ฝีมือ ใช้เวลา และความทุ่มเทในการทำความสะอาดและ<br />

เก็บรักษาผ้าให้เรียบเป็นมัน จีบที่คมสวย และเอกลักษณ์ที่สำคัญที่สุด คือ<br />

กลิ่นหอมที่กำจายไปไกล ถึงขนาดมีคำกล่าวที่ว่า <br />

สาวชาววังเมื่อนั่งลงที่ไหนก็จะหอมติดกระดาน<br />

นอกจากนี้ สาวชาววังยังมีระเบียบในการแต่งกาย<br />

โดยใช้สีผ้านุ่งและผ้าห่มเข้าชุดกันตามวัน <br />

ตลอด ๗ วันอีกด้วย<br />

<br />

70


๖<br />

“สาววังหลวง <br />

หอมเหมือนพวงมาลัย”<br />

เป็นภูมิปัญญาของไทยตั้งแต่<br />

สมัยโบราณที่สืบทอดกันมาจากรุ่น<br />

สู่รุ่น โดยขั้นตอนการทำความสะอาดผ้า<br />

เริ่มจากการล้างผ้าด้วยน้ำมะพร้าว<br />

แล้วนำไปต้มด้วยลูกซัดและเปลือก<br />

ของต้นชะลูด ซึ่งทำให้ผ้าหอมและ<br />

แข็งเหมือนลงแป้ง ตามด้วยการขัด<br />

ด้วยหอยเบี้ยเพื่อให้ผ้าเรียบเป็นมันวาว<br />

แล้วจึงอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องอัดกลีบ<br />

และเครื่องก็อปปี้ผ้า เพื่อให้มีจีบที่<br />

คมสวย<br />

จากนั้นนำผ้าไปนึ่งด้วยเครื่องหอม<br />

และร่ำผ้า โดยนำผ้าลงอบในหีบหรือโถ<br />

ที่ปิดสนิท แล้วจุดเทียนหอมให้เกิดควัน<br />

ทิ้งไว้จนความหอมซึมเข้าเนื้อผ้า จากนั้น<br />

นำดอกไม้หรือน้ำมันหอมชุบผ้าขาว<br />

วางในหีบหรือโถ ปิดทิ้งไว้เพื่อให้ผ้ามี<br />

กลิ่นหอมนาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ<br />

ที่สุด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแบบฉบับ<br />

ของสาวชาววัง ดังร่ำลือกันเป็นสำนวนว่า<br />

พวกวังหลวง หอมเหมือนพวงมาลัย<br />

<br />

<br />

อุปกรณ์ที่สาวชาววังในอดีตใช้สำหรับอบผ้า<br />

หรือเครื่องนุ่งห่มให้มีกลิ่นหอม<br />

71


72<br />

อาหารในวัง สวรรค์ของนักชิม<br />

อาหารการกินเป็นสิ่งที่ชาววังให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้จะเป็น<br />

อาหารเช่นเดียวกับที่คนทั่วไปรับประทาน แต่ล้วนต้องใช้แรงงานและความประณีต<br />

พิถีพิถัน เพื่อให้พร้อมทั้งรสชาติ ความสะอาด และความงดงามในรูปแบบ <br />

การตกแต่ง การให้สีสัน รวมถึงความสะดวกสบายในการรับประทาน<br />

ฝีมือชาววังที่เลื่องลือ คือการแกะสลักผักและผลไม้ เช่น มะปรางริ้ว <br />

การสลักผักเป็นรูปต่างๆ ผลไม้ที่ต้องคว้านเมล็ดและแกะสลักขนาดพอดีคำ<br />

หรือประกบกลับเป็นผลไม้เหมือนเดิมอย่างน่าอัศจรรย์<br />

นอกจากฝีมือในการประกอบอาหารประจำ ๓ มื้อแล้ว ยังมีอาหารว่าง<br />

รับประทานเล่นทั้งคาวหวาน ซึ่งชาววังทำคราวละมากๆ เก็บใส่ขวดโหลไว้พร้อม<br />

รับประทานเสมอ


๖<br />

การประดิษฐ์ดอกไม้<br />

การประดิษฐ์ดอกไม้เป็นศิลปะที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ เพื่อใช้ใน<br />

การประดับตกแต่งอาคาร สถานที่ และสิ่งเคารพบูชา เช่น มาลัย เครื่องแขวน<br />

พุ่มกรวย และตาข่าย รังสรรค์ขึ้นจากการนำดอกไม้เล็กๆ มาเรียงร้อยรวมกัน<br />

ด้วยเส้นด้าย ประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ อย่างประณีต<br />

งานประดิษฐ์ดอกไม้ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีต่างๆ นอกจากนี้ยังมี<br />

เจ้านาย พระญาติ ตลอดจนข้าราชบริพารที่ขอประทานของเนื่องในพิธีมงคล<br />

อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานโกนจุก หรืองานบวช<br />

ข้าราชบริพารฝ่ายในยังคงสืบทอดหน้าที่ในการประดิษฐ์ดอกไม้ในงาน<br />

พระราชพิธีต่างๆ สืบมาจนถึงปัจจุบัน<br />

73


๓<br />

เรืองนาม<br />

มหรสพศิลป์<br />

74


มหรสพ นับเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งได้รับการรังสรรค์<br />

และสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะที่ได้รับการอุปถัมภ์<br />

ทำนุบำรุงจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี จนกลายเป็น<br />

วัฒนธรรมที่งดงามและล้ำค่า ความอ่อนช้อยในท่วงท่าและวิธีการ<br />

ร่ายรำ ประกอบกับทำนองเพลงที่บรรเลงได้อย่างไพเราะและเป็น<br />

เอกลักษณ์ ล้วนแสดงถึงความมีศิลปะและความเป็นศิลปินของชาวสยาม<br />

ถือเป็นความภูมิใจที่ควรรักษาไว้ให้เป็นมรดกศิลป์ประดับแผ่นดินสืบไป<br />

75


76<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช <br />

ทรงคุ้นเคยกับราชสำนักกรุงศรีอยุธยามานานถึง ๑๕ ปี <br />

มีความรู้ความสามารถในสรรพวิชาการ ทั้งด้านราชการ <br />

ด้านวรรณศิลป์ และด้านนาฏศิลป์เป็นอย่างมาก จึงเอื้อต่อ<br />

การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของกรุงรัตนโกสินทร์ในปฐมกาล <br />

เมื่อการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์สำเร็จและ<br />

แผ่อาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง ก็ย่อมมีการประกอบ


ห้องวีดิทัศน์จัดแสดงด้วยเทคนิค<br />

การฉายภาพเคลื่อนไหวประกอบ<br />

อะนิเมชั่นบนจอ ๓๖๐ องศา<br />

พระราชพิธีต่างๆ และเฉลิมฉลองหรือสมโภชตามธรรมเนียม<br />

และเพื่อบำรุงขวัญแก่ราษฎร มหรสพและการละเล่น<br />

นานาชนิดจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง ในโอกาสการสมโภช<br />

การก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการละเล่นมากมาย อาทิ ระเบง<br />

โมงครุ่ม กุลาตีไม้ กระอั้ว หนัง โขน ละคร ระบำ งิ้ว <br />

หุ่น มโหรี ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของนาฏศิลป์ทุกแขนงที่รวม<br />

เรียกว่ามหรสพให้เข้ามาโลดแล่นควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของ<br />

ชาวไทยอีกครั้ง<br />

77


แ ผ น ผั ง ห้องเรืองนามมหรสพศิลป์<br />

๒<br />

๖<br />

วิวัฒนาการมหรสพ<br />

ในอุษาคเนย์<br />

ห้องฉายภาพบนจอ ๓๖๐ องศา<br />

๑<br />

ทางเข้า<br />

การแต่งกายโขน<br />

๒<br />

๖<br />

๑<br />

๗<br />

๗<br />

๘<br />

ภาษาท่าทางโขน<br />

รำ ระบำ ละคร<br />

78


๓<br />

๕<br />

๓<br />

หนังใหญ่<br />

๔<br />

ทางออก<br />

๑๐<br />

โขน<br />

๕<br />

๑๐<br />

๙<br />

ความเป็นมาของมหรสพสมัยรัตนโกสินทร์<br />

และโอกาสในการแสดงมหรสพ<br />

๘<br />

๙<br />

๔<br />

หัวโขน<br />

หุ่น<br />

79


๒<br />

จากระบำ รำ เต้น เป็นมหรสพ<br />

จากพิธีกรรมสู่ความบันเทิง<br />

มหรสพเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยมาช้านาน มีต้นเค้าจาก<br />

การรำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าป่าเจ้าเขา ผี เทพเทวดา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ <br />

และเพื่อวิงวอนขอความผาสุกของชีวิตและขจัดโรคภัยต่างๆ ส่วนอีกทางหนึ่ง<br />

น่าจะมาจากการฟ้อนรำเพื่อพักผ่อนหย่อนใจตามวัฒนธรรมเกษตรกรรม <br />

เริ่มจากการออกท่าทางง่ายๆ วาดวงแขน ม้วนมือ หรือย่ำเท้าตามจังหวะดนตรี<br />

วิวัฒนาการจนมีความละเอียดลออมากยิ่งขึ้น และแตกแขนงแบ่งสายออกไป<br />

หลายชนิด<br />

81


๓<br />

หนังใหญ่<br />

ผืนหนังอลังการ ผสานด้วยเสียงวงปี่พาทย์<br />

ตัวหนังอันอลังการด้วยลวดลายวิจิตรเกิดจากฝีมือของช่างฉลุ<br />

ประกอบกับลีลาการเชิดที่ผู้เชิดต้องขยับร่างกายและตัวหนังให้เคลื่อนไหว<br />

สอดคล้องกับบทบาทและอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งแต่ละตัวละครจะมีท่าเชิด<br />

ที่เป็นแบบแผนเฉพาะของตัวเอง เสียงดนตรีของวงปี่พาทย์ ก็เป็นส่วนประกอบ<br />

ที่ขาดไม่ได้ของหนังใหญ่ การพากย์จะทำให้คนดูเข้าใจและสนุกกับเรื่องราว <br />

ผู้เชิดกับผู้พากย์ต้องทำงานประสานกันให้เข้าจังหวะและสื่ออารมณ์ที่ต้องการ<br />

ผู้พากย์จึงต้องใช้ไหวพริบปฏิภาณและมีทักษะในการเล่าเรื่องเป็นอย่างดี <br />

องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ได้หลอมรวมกันเป็นการแสดงที่มีเอกลักษณ์และ<br />

มนต์เสน่ห์อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน<br />

82 ๕๘


สร้างวัฒนธรรมร่วม<br />

หนังเป็นมหรสพเก่าแก่มีกล่าวไว้ในกฎมณเฑียรบาล<br />

พ.ศ. ๑๙๐๑ ซึ่งคงมีอายุเก่าแก่กว่านั้นมาก เดิมเรียกว่า<br />

“หนัง” ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “หนังใหญ่” เพื่อไม่ให้<br />

สับสนกับหนังเล็ก คือ หนังตะลุง<br />

ราชสำนักโบราณก่อนกรุงศรีอยุธยาได้จัดให้เล่น<br />

หนังใหญ่ในงานสมโภชและงานเทศกาลต่างๆ เพื่อให้<br />

ประชาชนที่อยู่ร่วมกันหลากหลายเชื้อชาติมีสำนึกเป็น<br />

อันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคมและวัฒนธรรม อีกทั้ง<br />

เป็นการส่งเสริมฐานานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน<br />

ครั้นล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๑ หนังยังคงอยู่ในทำเนียบ<br />

มหรสพในการพระราชพิธีและการสมโภชต่างๆ มีทั้งหนัง<br />

กลางคืนและหนังกลางวัน และยังแพร่หลายไปในภูมิภาค<br />

ต่างๆ ของสยามประเทศ<br />

<br />

หนังคู่จอ<br />

สถานที่เล่นหนังต้องมีจอ คือผ้าขาว ทำขอบ ๔ ด้าน<br />

ด้วยผ้าแดง ขึงกับโครงไม้ไผ่ ๔ ลำ ดังบทพากย์หนังว่า<br />

ตัดไม้มาสี่ลำ ปักขึ้นทำเป็นจอ สี่มุมแดงยอ กลางก็ดาด<br />

ด้วยผ้าขาว <br />

ด้านหลังของจอมีกองไฟหรือร้านเพลิงเพื่อสุมไฟ<br />

ให้เกิดแสงเงาจากตัวหนัง ซึ่งมีลวดลายวิจิตรทาบไปที่จอ<br />

เช่นมีบทพากย์ว่า เร่งเร็วเถิดนายไต้ เอาเพลิงใส่เข้าหนหลัง<br />

ส่องแสงอย่าให้บัง จะเล่นให้ท่านทั้งหลายดู<br />

<br />

เล่นเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์<br />

รามเกียรติ์ฉบับสยามมีต้นเรื่องมาจากรามายณะ<br />

ฉบับภาษาทมิฬในอินเดียใต้ ที่มาพร้อมกับการติดต่อ<br />

ค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา<br />

รามเกียรติ์เป็นเรื่องราวปางหนึ่งในสิบปางของ<br />

พระนารายณ์ที่อวตารมาปราบยุคเข็ญ มีชื่อว่า รามาวตาร<br />

ราชสำนักสยามเผยแพร่เรื่องรามเกียรติ์ให้เป็นที่รู้จัก<br />

อย่างกว้างขวาง โดยการเล่นเป็นหนังใหญ่ ชาวสยาม<br />

ทั้งหลาย จึงรู้เรื่องรามเกียรติ์จากการดูหนัง <br />

เรื่องที่ใช้เล่นหนังมีอยู่เรื่องเดียว คือ รามเกียรติ์<br />

แม้จะมีหลักฐานกล่าวถึงในสมุทรโฆษคำฉันท์ ว่าแต่ง<br />

บทหนังใหญ่เรื่องอนิรุทธ์ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานของ<br />

การแสดง<br />

83


จัดแสดงเรื่องย่อ <br />

รามเกียรติ์<br />

ด้วยเทคนิคอะนิเมชั่น<br />

โขน<br />

เรื่องราวคึกคัก สนุกกับยักษ์และลิง<br />

๔<br />

๕๘ 84<br />

โขนเป็นการละเล่นของชายล้วนที่อยู่ในราชสำนัก<br />

มาแต่แรกเริ่ม มีไว้สำหรับเล่นในการพระราชพิธี ผู้ที่ได้รับ<br />

การฝึกหัดให้เป็นโขนคือมหาดเล็กหลวง จึงเรียกว่า “โขน<br />

หลวง” จวบจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว <br />

ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมทุกด้าน สำหรับการแสดงโขนนั้น<br />

พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เจ้านายและขุนนาง<br />

ผู้ใหญ่หัดโขนได้โดยไม่ทรงห้ามปราม เจ้านายและ<br />

ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จึงได้ฝึกหัดโขนเพื่อประดับเกียรติ<br />

ของตน เรียกว่า “โขนบรรดาศักดิ์” จึงเกิดมีโขนขึ้น<br />

หลายโรงเล่นประชันกัน เป็นเหตุให้ศิลปะการแสดงโขน<br />

แพร่หลายเป็นที่นิยมของประชาชนเป็นอย่างมาก<br />

จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง รามเกียรติ์ ที่พระระเบียง <br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ดำเนินเรื่องตามพระราชนิพนธ์<br />

รามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๑


อันเจ้าลงกากรุงไกร นั้นได้แก่ช้างงารี<br />

มารษาอาธรรม์พ้นนัก ไปลอบลักพาเมียเขาหนี<br />

ฝ่ายองค์พระรามสามี คือชีโฉดชั่วสามานย์<br />

เมียรักของตัวผู้เดียว ทิ้งไว้ให้เปลี่ยวในไพรสาณฑ์<br />

ครั้นหายเที่ยวหาไม่พบพาน จนต้องรอนราญวุ่นไป<br />

บทละครและสมุดไทย เรื่องรามเกียรติ์ <br />

พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑<br />

รามเกียรติ์ ยอดวรรณกรรมแห่งยุค<br />

เรื่องที่นิยมนำมาแสดงโขน คือเรื่อง “รามเกียรติ์”<br />

แม้บางครั้งมีการแสดงเรื่องอื่นบ้าง แต่ไม่ได้รับความนิยม <br />

รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีสำคัญของไทยและเป็นที่รู้จักกัน<br />

อย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องมีคติสอนใจและให้แง่คิดในด้าน<br />

ต่างๆ สอดแทรกอยู่เป็นอันมากตามหลักนิยมของอินเดีย<br />

สำนวนกลอนในเรื่องรามเกียรติ์มีความไพเราะตามหลัก<br />

นิยมของไทย คติในรามเกียรติ์มีบทบาทสำคัญต่อ<br />

การพัฒนาของบ้านเมืองในดินแดนสยามที่มีความก้าวหน้า<br />

ขึ้นเป็นแว่นแคว้นหรือ “รัฐ” อันรุ่งเรือง ดังมีร่องรอยอยู่<br />

ตอนต้นเรื่องตามพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑<br />

จากหนังใหญ่มาเป็นโขน<br />

หนังใหญ่เล่นเรื่องรามเกียรติ์เผยแพร่ให้แก่<br />

ประชาชนมาก่อนเป็นเวลาช้านาน แต่หนังใหญ่เป็นเพียง<br />

ภาพนิ่งที่ปรากฏบนจอ ต่อมาจึงมีระบำออกมาเล่นสลับ<br />

หนังใหญ่เพื่อให้น่าชมยิ่งขึ้น เรียกว่า เล่นหนังระบำ หรือ <br />

หนังจับระบำหน้าจอ นานเข้าระบำก็ค่อยๆ ออกมาเล่น<br />

แทนตัวหนัง การเล่นสลับกันแบบนี้ มักเรียกว่า <br />

“หนังติดตัวโขน” นานเข้าก็เล่นแทนหนังใหญ่ทั้งเรื่อง <br />

แล้วเรียกชื่อ “โขน” ที่มาจากรากศัพท์เช่นเดียวกับ<br />

“ละคร”<br />

<br />

เครื่องแต่งกายชักนาคดึกดำบรรพ์ <br />

ผันมาเป็นโขน<br />

ชักนาคดึกดำบรรพ์เป็นการแสดงในพระราชพิธี<br />

อินทราภิเษกที่สืบเนื่องกันมาเพื่อเทิดพระเกียรติ<br />

พระจักรพรรดิราชที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์ จึงมี<br />

ผู้แสดงแต่งกายเป็นอสูร เทวดา พาลี สุครีพ วานรบริวาร<br />

ตลอดจนเทพเจ้าต่างๆ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์<br />

พระอินทร์ และเป็นต้นแบบการแต่งกายของผู้แสดงโขน<br />

ต่อมา<br />

<br />

สรรพยุทธ-สรรพคิลา ปรับท่าเป็นโขน<br />

โขนได้ลอกเลียน “ท่าจับ” ซึ่งเป็นท่าขึ้นรบแบบต่างๆ <br />

ที่ปรากฏในหนัง มาใส่ไว้ในการเล่นโขนให้ได้จริงตามที่ช่าง<br />

ทำเป็นหนังไว้ ซึ่งเป็นท่าที่ฝืนธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ ตัวโขน<br />

จึงต้องฝึกวิชาระบำรำเต้นในกระบวนสรรพยุทธ อันหมายถึง<br />

การต่อสู้ด้วยอาวุธหรือที่เรียกว่า กระบี่กระบองและสรรพคิลา<br />

อันหมายถึง การกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ เพื่อให้<br />

เคลื่อนไหวด้วยลีลาฟ้อนเต้นอันเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของ<br />

ประชาชนในภูมิภาคนี้<br />

85


๕<br />

หัวโขน<br />

หัวโขนที่ผู้เล่นโขนใช้สวมหัว เพื่อแสดงเป็นตัวละคร<br />

ต่างๆ เป็นงานศิลปกรรมประเภทประณีตศิลป์ เป็นงาน<br />

หัตถศิลป์ที่ประดิษฐ์ประดับด้วยลวดลายอันวิจิตร มีการ<br />

ปิดทองประดับแววและเขียนหน้า ปั้นลาย แสดงเส้น<br />

ให้ปรากฏเป็นความรู้สึกทางอารมณ์อย่างชัดเจน และ<br />

ที่สำคัญคือมีกรรมวิธีหลายขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอน<br />

ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและฝีมือเป็นอย่างสูง<br />

ด้วยตัวละครในคู่สงครามที่มีสมัครพรรคพวก<br />

จำนวนมากด้วยกัน ตัวโขนที่ออกแสดงจึงมีจำนวนมาก<br />

และต้องสวมใส่หัวโขนที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะ ลวดลาย<br />

และสีสันวรรณะแตกต่างกัน แต่แม้จะมีการบัญญัติและ<br />

ประดิษฐ์หัวโขนให้มีลักษณะมงกุฎแตกต่างกัน ก็ยังไม่วาย<br />

ที่จะซ้ำกัน โบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติให้ทำปากและ<br />

ตาให้แตกต่างกันออกไปอีก แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะซ้ำกัน<br />

จึงต้องบัญญัติให้มีสีแตกต่างไปอีกชั้นหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ <br />

สีจึงเป็นส่วนสำคัญในลักษณะและความแตกต่างของ<br />

หัวโขน ถ้าระบายสีผิดเพี้ยนไป หัวโขนอาจซ้ำกันและเข้าใจ<br />

ว่าเป็นตัวเดียวกันได้ ถ้าบังเอิญมีสีคล้ายกันหรือบางตัว<br />

อาจมีสีเดียวกัน ผู้ชมต้องสังเกตจากอาวุธที่ถือเป็น<br />

ส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง<br />

๕๘ 86


87 ๕๙


หัวโขนตัวละครฝ่ายกรุงอโยธยา<br />

พระราม<br />

พงศ์ <br />

กษัตริย์ เดิมคือพระนารายณ์อวตาร <br />

ลงมาเกิดเพื่อปราบทศกัณฐ์<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว <br />

เวลาแสดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น ๔ กร<br />

ทรงอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์<br />

อุปนิสัย<br />

มีความรักพี่น้องและซื่อสัตย์ต่อนางสีดา<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

สวมมงกุฎยอดชัย สวมมงกุฎยอดบวช<br />

เวลาทรงพรต ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีเขียวนวล<br />

อาวุธประจำตัว<br />

ศร<br />

<br />

พระลักษมณ์ <br />

พงศ์ <br />

กษัตริย์ เดิมคือบัลลังก์นาคของ<br />

พระนารายณ์ อวตารลงมาช่วยพระราม <br />

อุปนิสัย <br />

มีความรักพี่น้อง ซื่อสัตย์ต่อพระราม<br />

และนางสีดา<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

สวมมงกุฎยอดชัย สวมมงกุฎยอดบวช<br />

เวลาทรงพรต ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีทอง<br />

อาวุธประจำตัว<br />

พระขรรค์<br />

<br />

หนุมาน<br />

พงศ์ <br />

วานร<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว <br />

หาวเป็นดาวเป็นเดือน ไม่มีวันตาย<br />

เพราะเมื่อลมพัดโดนกายก็จะฟื้น <br />

มีกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้ว<br />

เวลาแผลงฤทธิ์จะมี ๔ พักตร์ ๘ กร<br />

อุปนิสัย <br />

ชอบทำหน้าที่เกินคำสั่ง เจ้าชู้<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

ไม่สวมมงกุฎ ตาโพลง ปากอ้า<br />

สีกาย <br />

สีขาว<br />

อาวุธประจำตัว <br />

ตรี<br />

<br />

88 ๕๘


๕<br />

องคต<br />

พงศ์ <br />

วานร<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว <br />

เชี่ยวชาญการรบ แปลงกายได้<br />

อุปนิสัย <br />

เด็ดเดี่ยว อาจหาญ<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

สวมมงกุฎยอดสามกลีบ ตาโพลง<br />

ปากหุบ<br />

สีกาย <br />

สีเขียว<br />

อาวุธประจำตัว <br />

พระขรรค์<br />

<br />

สุครีพ<br />

พงศ์<br />

วานร <br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว<br />

เนรมิตกายได้<br />

อุปนิสัย<br />

มีปัญญาดี มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดี <br />

และเป็นผู้เสียสละ<br />

ลักษณะหัวโขน<br />

สวมมงกุฎยอดบัด ตาโพลง ปากอ้า<br />

สีกาย<br />

สีแดง<br />

อาวุธประจำตัว<br />

พระขรรค์<br />

<br />

<br />

พิเภก<br />

พงศ์<br />

ยักษ์<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว<br />

มีความรู้ทางด้านโหราศาสตร์ <br />

มีกระดานโหรประจำกาย<br />

อุปนิสัย<br />

มีความซื่อตรง จิตใจงาม<br />

ลักษณะหัวโขน<br />

สวมมงกุฎน้ำเต้า ตาจระเข้ ปากแสยะ<br />

เขี้ยวทู่ ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีเขียว<br />

อาวุธประจำตัว<br />

กระบอง<br />

89 ๕๙


หัวโขนตัวละครฝ่ายกรุงลงกา<br />

ทศกัณฐ์<br />

พงศ์<br />

ยักษ์ <br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว<br />

สามารถถอดดวงใจได้<br />

อุปนิสัย<br />

เจ้าชู้ มักมากในกามารมณ์ ใจคอโหดเหี้ยม<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

สวมมงกุฎยอดชัย (ศีรษะทศกัณฐ์<br />

มีทั้งสีเขียวและสีทอง ในการทำสงคราม<br />

ครั้งสุดท้าย ได้แปลงเป็นพระอินทร์ <br />

โดยทำเป็นหน้าพระ ๓ ชั้น สีเขียว มีเขี้ยว<br />

ดอกมะลิ) ปากแสยะ เขี้ยวโง้ง ตาโพลง<br />

๑๐ พักตร์ ๒๐ กร<br />

สีกาย<br />

สีเขียว<br />

อาวุธประจำตัว<br />

ศร<br />

กุมภกรรณ<br />

พงศ์<br />

ยักษ์<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว <br />

มีวาจาคมคายเฉียบแหลม ชาญฉลาด<br />

อุปนิสัย<br />

ตั้งอยู่ในสัจธรรม รักความยุติธรรม <br />

รักความสะอาด<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

สวมกระบังหน้าไม่มีมงกุฎ หัวโล้น <br />

ปากแสยะ ตาโพลง เขี้ยวโง้ง มี ๔ พักตร์<br />

(หน้าปกติ ๑ หน้า และอีก ๓ หน้า<br />

อยู่ด้านหลัง) ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีเขียว<br />

อาวุธประจำตัว<br />

หอกโมกขศักดิ์<br />

<br />

อินทรชิต<br />

พงศ์<br />

ยักษ์<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว <br />

สามารถแปลงกายเป็นพระอินทร์ได้ <br />

และเมื่อตายถ้าศีรษะตกถึงพื้น<br />

จะเกิดไฟไหม้โลก <br />

อุปนิสัย<br />

มีความรับผิดชอบในหน้าที่<br />

ลักษณะหัวโขน <br />

สวมชฎามนุษย์หรือชฎายอดกาบไผ่เดินหน<br />

แบบพระอินทร์ ตาโพลง ปากขบ เขี้ยวคุด<br />

(ดอกมะลิ) มีจอนหู ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีเขียว<br />

อาวุธประจำตัว<br />

ศร<br />

<br />

๕๘ 90


๕<br />

ไมยราพ<br />

พงศ์<br />

ยักษ์<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว<br />

สามารถถอดดวงจิตได้<br />

อุปนิสัย<br />

มีความทะนงในฤทธิ์ตน ดื้อรั้น<br />

ลักษณะหัวโขน<br />

สวมมงกุฎยอดกระหนก<br />

ตาจระเข้ ปากขบ <br />

เขี้ยวทู่ ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีม่วงอ่อน<br />

อาวุธประจำตัว<br />

กล้องเป่ายา<br />

<br />

<br />

วิรุญจำบัง<br />

พงศ์<br />

ยักษ์<br />

คุณสมบัติเฉพาะตัว<br />

หายตัวได้<br />

ลักษณะหัวโขน<br />

สวมมงกุฎยอดหางไก่ ตาจระเข้<br />

ปากขบ ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีมอหมึก<br />

อาวุธประจำตัว<br />

หอก<br />

<br />

แสงอาทิตย์<br />

พงศ์<br />

ยักษ์ <br />

ลักษณะหัวโขน<br />

สวมมงกุฎยอดกระหนก ตาจระเข้ <br />

ปากขบ เขี้ยวทู่ ๑ พักตร์ ๒ กร<br />

สีกาย<br />

สีแดงชาด<br />

อาวุธประจำตัว<br />

ศรและแว่นแก้ววิเศษ<br />

ส่องให้เกิดไฟไหม้ได้<br />

<br />

<br />

<br />

91 ๕๙


92<br />

จัดแสดงด้วยวีดิทัศน์ ซึ่งฉายบนจอภาพรูปวงรี <br />

ประยุกต์เป็นรูปทรงเดียวกับกระจกส่องหน้า<br />

ของโต๊ะเครื่องแป้งโบราณ โดยสามารถ<br />

กดปุ่มเลือกชมการแต่งกายของตัวละคร<br />

ได้ตามอัธยาศัย


๖<br />

การแต่งกายโขน<br />

เนื่องด้วยโขนแสดงเรื่องราวของชนชั้นกษัตริย์ <br />

การแต่งกายจึงมีความวิจิตรใกล้เคียงกับเครื่องทรง<br />

ของกษัตริย์ <br />

<br />

โขน “ทรงเครื่อง”<br />

แต่แรกมีการประดิษฐ์เครื่องแต่งตัวชุดนายโรง<br />

หรือ “ตัวพระ” ขึ้นก่อน และมีตัวละครแต่งกายแบบนี้<br />

อยู่เพียงคนเดียว จึงเรียกว่า “ตัวยืนเครื่อง” และเรียก<br />

เครื่องแต่งกายแบบตัวพระว่า “ยืนเครื่อง” <br />

<br />

เครื่องประดับศีรษะ<br />

ต่อมาไม่ว่าจะเป็นตัวเอกหรือตัวรองก็แต่งยืนเครื่อง<br />

ทั้งนั้น ต่างกันก็แต่เครื่องประดับศีรษะ ซึ่งเป็นแบบฉบับ<br />

ของเครื่องแต่งกายโขนละครที่ใช้สืบมาจนถึงสมัยปัจจุบัน <br />

<br />

สีเสื้อ สีผิว<br />

การสวมเสื้อแขนยาวของตัวโขนนั้น นอกจาก<br />

สวมให้ครบตามแบบของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องพระแล้ว<br />

สีของเสื้อที่สวมยังเป็นการบ่งบอกถึงสีผิวของโขนตัวนั้นๆ<br />

อีกด้วย เช่น ทศกัณฐ์ พระราม กุมภกรรณ อินทรชิต<br />

พระอินทร์ มีผิวกายสีเขียวตามพงศ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ <br />

ก็สวมเสื้อสีเขียว ยักษ์หรือลิงที่มีผิวกายสีใดก็สวมเสื้อสีนั้น<br />

<br />

ผ้านุ่ง<br />

ส่วนผ้านุ่งของผู้แสดงโขน ผู้จัดเครื่องแต่งกายโขน<br />

จะจัดสีของผ้านุ่งให้ตัดกับสีเสื้อ เช่น เสื้อสีเขียวให้นุ่งผ้า<br />

สีแดง เสื้อสีแดงให้นุ่งผ้าสีเขียว เป็นต้น<br />

พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ในฉลองพระองค์เครื่องต้น<br />

เครื่องต้น-เครื่องโขนละคร<br />

มีผู้ศึกษาเปรียบเทียบเครื่องแต่งตัวโขนละคร<br />

และพบว่ามีความใกล้เคียงกับเครื่องต้นของพระมหา<br />

กษัตริย์ เช่น ฉลองพระกรน้อย ฉลองพระองค์สีย่นนอก<br />

รัดพระองค์หนามขนุน รัดพระองค์แครง และพระภูษา<br />

ริ้ววรวะหยี่จีบโจง เป็นต้น จึงมีพระราชกำหนด<br />

ห้ามไม่ให้สร้างเครื่องแต่งตัวโขนละครเลียนแบบ<br />

เครื่องต้น แต่พระราชกำหนดดังกล่าวได้คลาย<br />

ความเข้มงวดลงในเวลาต่อมา ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้มี<br />

การนำเครื่องแต่งตัวละครมาผสมด้วย ดังที่ปรากฏอยู่<br />

ในปัจจุบัน<br />

93


เ ค รื่ อ ง แ ต่ ง ก า ย พ ร ะ<br />

ดอกไม้ทัด (ขวา)<br />

อุบะ หรือพวงดอกไม้ (ขวา)<br />

ชฎา<br />

ดอกไม้เพชร (ซ้าย)<br />

จอนหู หรือกรรเจียก หรือกรรเจียกจร<br />

อินทรธนู<br />

กำไลแผง <br />

หรือทองกร<br />

ทับทรวง<br />

เสื้อ หรือฉลององค์<br />

กรองคอ หรือนวมคอ<br />

ธำมรงค์<br />

ปะวะหล่ำ<br />

แหวนรอบ<br />

สังวาล<br />

เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง<br />

รัดสะเอว<br />

ตาบทิศ<br />

คันศร<br />

สนับเพลา<br />

ผ้านุ่ง หรือภูษา<br />

สุวรรณกระถอบ หรือ<br />

สุวรรณกัญจน์ถอบ<br />

ห้อยข้าง หรือเจียระบาด<br />

หรือชายแครง<br />

ห้อยหน้า หรือชายไหว<br />

กำไลเท้า<br />

94


เ ค รื่ อ ง แ ต่ ง ก า ย น า ง ๖<br />

มงกุฎ<br />

จอนหู หรือกรรเจียก หรือกรรเจียกจร<br />

ธำมรงค์<br />

ดอกไม้ทัด (ซ้าย)<br />

อุบะ หรือพวงดอกไม้ (ซ้าย)<br />

กรองคอ หรือนวมนาง<br />

จี้นาง หรือตาบทับ<br />

เสื้อใน<br />

สะอิ้ง<br />

ผ้าห่มนาง<br />

พาหุรัด<br />

แหวนรอบ<br />

ปะวะหล่ำ<br />

กำไลตะขาบ<br />

กำไลสวม หรือทองกร<br />

เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง<br />

ผ้านุ่ง หรือภูษา<br />

กำไลเท้า<br />

95


เ ค รื่ อ ง แ ต่ ง ก า ย ยั ก ษ์<br />

กรองคอ หรือนวมคอ<br />

หัวทศกัณฐ์<br />

อินทรธนู<br />

ธำมรงค์<br />

รัดอก<br />

สังวาล<br />

ทับทรวง<br />

เสื้อ หรือฉลององค์<br />

แหวนรอบ<br />

กำไลแผง หรือทองกร<br />

พวงประคำคอ<br />

คันศร<br />

รัดสะเอว หรือรัดองค์<br />

เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง<br />

ตาบทิศ<br />

ผ้านุ่ง หรือภูษา<br />

สนับเพลา<br />

กำไลเท้า<br />

ห้อยหน้า หรือชายไหว<br />

ห้อยข้าง หรือเจียระบาด<br />

หรือชายแครง<br />

96


เ ค รื่ อ ง แ ต่ ง ก า ย ลิ ง<br />

๖<br />

หัวหนุมาน<br />

กรองคอ หรือนวมคอ<br />

พาหุรัด<br />

ทับทรวง<br />

เสื้อ ในที่นี้สมมติเป็นขนตามตัวของลิง<br />

สังวาล<br />

ตาบทิศ<br />

ห้อยข้าง หรือเจียระบาด<br />

หรือชายแครง<br />

เข็มขัด หรือปั้นเหน่ง<br />

กำไลแผง หรือทองกร<br />

ปะวะหล่ำ<br />

แหวนรอบ<br />

ผ้านุ่ง หรือภูษา<br />

สนับเพลา<br />

กำไลเท้า<br />

ห้อยหน้า หรือชายไหว<br />

97


แอบดูลิง จัดแสดงด้วยวีดิทัศน์<br />

ฉายท่าทางของโขนตัวลิง <br />

สามารถชมได้โดยมองผ่าน<br />

ช่องเลนส์ขนาดเล็กบนผนัง<br />

ซึ่งเขียนลวดลายคล้ายขนลิง<br />

ตามที่ปรากฏบนเครื่องแต่งกาย<br />

ของตัวโขน<br />

แอบดูลิง<br />

อิริยาบถลิงเป็นสิ่งที่สร้างสีสันในการรับชมโขนได้เป็นอย่างมาก<br />

เนื่องจากผู้ประดิษฐ์ท่าทางได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยพยายามลอกเลียนอากัปกิริยา<br />

ของลิง ประยุกต์กับการเคลื่อนไหวแบบนาฏศิลป์โดยยังคงความเป็นธรรมชาติ<br />

ไว้มากที่สุด จึงทำให้ลิงเป็นตัวละครที่มีเอกลักษณ์ ดูน่ารัก น่าจดจำ แตกต่าง<br />

จากท่าทางของตัวละครอื่นๆ<br />

๕๘ 98


๗<br />

ภาษาท่าทางโขน<br />

การที่เราเห็นผู้เล่นโขนออกมาเต้นและรำอยู่เป็นเวลานานนั้น ก็คือ<br />

ผู้แสดงโขนกำลังพูดอยู่ เพราะท่าเต้นท่ารำนั้นเป็นหัวใจของโขนเสมือนเป็น<br />

ภาษาพูด ถ้าเรารู้ภาษาโขน เราก็ย่อมเข้าใจความหมาย ยิ่งศิลปินผู้เล่นโขน<br />

เป็นผู้ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีและมีฝีไม้ลายมือในการส่งภาษานาฏศิลป์<br />

ด้วยแล้ว รสสนุกในการดูก็จะทวียิ่งขึ้นเช่นเดียวกับเราไปฟังนักพูดคารมดี<br />

ฉะนั้นถ้าเราดูโขนรู้เรื่องแล้ว บางทีเราจะเห็นว่าโขนออกรสสนุกและไม่น่าเบื่อ<br />

และหากผู้เล่นโขนหรือละครรำคนใดสามารถเต้นและรำให้ถูกต้องงดงาม <br />

และสามารถสื่ออารมณ์ของตัวละครออกมาอย่างพอดีได้ ผู้นั้นก็จะได้รับยกย่อง<br />

ว่าเป็นผู้ที่ “ตีบทแตก”<br />

<br />

การเล่นโขนจะต้องแสดงท่าให้<br />

ประสานกลมกลืนกันไปกับ<br />

จั ง ห ว ะ ข อ ง ค ำ พ า ก ย์ <br />

คำเจรจา คำขับร้อง และ<br />

เพลงหน้าพาทย์ ซึ่งเป็น<br />

หลักสำคัญของการเต้น<br />

การรำ ท่าทางที่นำมาแสดง<br />

เหล่านั้นจึงงดงามแตกต่างไปจากกิริยา<br />

ท่าทางสามัญของมนุษย์ ภาษาท่าทาง<br />

เมื่อดึงแผ่นป้ายขึ้น<br />

จะปรากฏภาพตัวละคร<br />

แสดงกิริยาท่าทางโขน<br />

ตามที่เขียนไว้บนป้าย<br />

ที่สามารถสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจได้แบ่งออก<br />

เป็น ๓ ประเภท คือ<br />

๑. ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น<br />

รับ ปฏิเสธ สั่ง เรียก ไป มา ฯลฯ<br />

๒. ท่าแสดงกิริยาอาการหรือ<br />

อิริยาบถ เช่น เดิน นั่ง นอน เคารพ ฯลฯ<br />

๓. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น<br />

รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ ร่าเริง ฯลฯ<br />

<br />

ยักษ์อาย<br />

99


๘<br />

รำ ภาษานาฏศิลป์เพื่อสุนทรียรส<br />

<br />

<br />

รำ หรือการฟ้อนที่มีมาแต่โบราณในเหล่ามนุษย์ทุกชาติทุกภาษา คำเหล่านี้<br />

หมายถึง ลีลาการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน ลำตัว<br />

จนถึงเท้า ให้ประสานกลมกลืนกับจังหวะดนตรี โดยดัดแปลงท่าต่างๆ ให้วิจิตร<br />

พิสดาร งดงามกว่าท่าธรรมชาติโดยทั่วไป นอกจากเพื่อเป็นการส่งภาษา <br />

ให้หมายรู้กันด้วยสายตาแล้ว ในทางนาฏกรรมก็จำเป็นต้องมุ่งให้เต้นและรำ<br />

ได้อย่างงดงามและเป็นสง่าที่เรียกว่าสุนทรียรสอีกด้วย ซึ่งแต่เดิมมีเพียงระบำ<br />

รำฟ้อนเป็นชุดเท่านั้น ต่อมาจึงประกอบเป็นเรื่องราวที่สนุกสนานมากขึ้น<br />

100 ๕๘


รำไทย ต้นเค้าจากอินเดีย<br />

กระบวนรำที่ใช้ในการพิธีตลอดลงมาจนถึงการเล่นระบำและโขนละครนั้น<br />

ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เพราะชาวอินเดียถือว่าการฟ้อนรำเป็นของที่เทพเจ้า<br />

ได้ทรงคิดประดิษฐ์ขึ้น แล้วสั่งสอนให้มนุษย์ได้ฟ้อนรำเป็นสวัสดิมงคล ใครฟ้อน<br />

รำหรือให้มีการฟ้อนรำตามเทวบัญญัติ ก็เชื่อว่าจะได้รับประโยชน์และจะได้ไปสู่<br />

สุคติในเบื้องหน้า ฉะนั้นแต่โบราณ พราหมณ์ที่เข้ามาเป็นครูบาอาจารย์ จึงได้นำ<br />

แบบแผนการรำเข้ามาฝึกหัดให้กับชาวไทย ซึ่งภายหลังคนไทยได้ผสมผสาน<br />

การรำให้สอดรับกับแบบท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น เช่น การย่อก้นเตี้ยๆ <br />

จนกลายเป็นรำไทยที่มีท่วงท่าอันเป็นเอกลักษณ์<br />

รูปแบบการรำไทยนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย โดยปรากฏในศิลาจารึก<br />

หลักที่ ๘ สมัยรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๑ แต่ไม่ได้อธิบายถึงลักษณะ<br />

การร่ายรำ ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏภาพลายเส้นรำไทยขึ้น มีชื่อเรียกว่า<br />

ตำรารำไทย มีการระบุชื่อเรียกท่าต่างๆ ทำนองเดียวกับตำรานาฏยศาสตร์<br />

ของชาวอินเดีย แต่แปลงชื่อเรียกเป็นภาษาไทย<br />

<br />

รำ กับ ระบำ ต่างคำต่างรูป<br />

รำ ใช้เรียกการรำเดี่ยว รำคู่<br />

รำประกอบเพลง รำอาวุธ รำทำบท<br />

ระบำ คือ การรำพร้อมกัน<br />

เป็นหมู่ ถ้าระบำมีศิลปะการรำ<br />

แบบไทยเหนือ ก็เรียกกันว่า ฟ้อน<br />

<br />

101


102<br />

๖๖ ท่ารำ ต้นสาย<br />

นาฏกรรม<br />

<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า<br />

จุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำรารำไทย <br />

โดยเขียนรูปท่ารำเป็นแบบแผนถึง <br />

๖๖ ท่า ระบายสีปิดทองไว้เป็น<br />

หลักฐานในการรักษาและสืบสาน<br />

รูปแบบรำไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

มิให้สูญหาย นับเป็นตำรารำไทย<br />

ที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุด ทำให้<br />

คนรุ่นหลังได้รู้ว่า การรำไทยในอดีต<br />

มีรูปแบบเช่นไร<br />

ตำราท่ารำที่จัดทำขึ้นในสมัย<br />

รัชกาลที่ ๑ นั้น ได้รับการสืบทอด<br />

อย่างต่อเนื่อง และได้รับการบันทึกไว้<br />

ในสื่ออันทันสมัย โดยสมเด็จพระเจ้า<br />

บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชา<br />

นุภาพ โปรดให้มีการบันทึกภาพท่ารำ<br />

โดยน่าจะมีการเทียบเคียงกับตำรา<br />

ท่ารำของรัชกาลที่ ๑ โดยมีนายวงศ์<br />

กาญจนวัฒน์ เป็นตัวพระ และ<br />

นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร (ภายหลัง<br />

ได้รับพระราชทานนามใหม่จาก<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวว่า อนินทิตา) เป็นตัวนาง<br />

โดยใช้เครื่องแต่งกายของกรมมหรสพ<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ และใช้วังวรดิศ<br />

เป็นสถานที่ถ่ายภาพ


๘<br />

“พระรถโยนสาร” ๑ ใน ๖๖ ท่ารำ<br />

ที่ปรากฏในตำรารำไทยสมัยรัชกาลที่ ๑<br />

103


รำและระบำ<br />

รำประเลง<br />

การรำเบิกโรงอย่างหนึ่งของ<br />

ละครในซึ่งมีมาแต่โบราณ ผู้แสดง<br />

แต่งกายยืนเครื่องพระ ๒ คน สวมหัว<br />

เทวดาไม่มียอด เป็นการสมมติว่า<br />

เทวดาลงมารำ เพื่อความเป็นสิริมงคล<br />

และปัดรังควานป้องกันเสนียดจัญไร<br />

ตัวนายโรงทั้ง ๒ คนที่รำประเลง จะต้อง<br />

ถือหางนกยูงทั้งสองมือออกมาร่ายรำ<br />

ตามทำนองเพลง โดยไม่มีบทร้อง<br />

ส่วนเพลงหน้าพาทย์ประกอบการรำ<br />

ประเลง บ้างก็ใช้เพลงกลม บ้างก็ใช้<br />

เพลงโคมเวียน แล้วออกด้วยเพลง<br />

ตะบองกัน<br />

<br />

รำกิ่งไม้เงินทอง<br />

จัดแสดงความเป็นมา<br />

ของรำและระบำ<br />

๕ ชุดการแสดง<br />

ด้วยการฉายวีดิทัศน์ โดยสามารถ<br />

กดปุ่มเลือกชมได้ตามอัธยาศัย<br />

<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้ประดิษฐ์ขึ้นใหม่แทนรำประเลง สำหรับเป็นรำเบิกโรงละครใน ผู้รำ ๒ คน<br />

แต่งกายยืนเครื่องพระ ศีรษะสวมชฎาแทนการสวมหัวเทวดาโล้น สมมติว่าเป็น<br />

เทวดา มือข้างขวาถือกิ่งไม้ทอง ส่วนมือข้างซ้ายถือกิ่งไม้เงิน ลีลาท่ารำ<br />

ดำเนินไปตามบทขับร้องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยมีพระราชประสงค์<br />

ให้เกิดความสวัสดิมงคลแก่การแสดงและผู้แสดง ตลอดจนผู้ชมโดยทั่วกัน<br />

104


๘<br />

ฉุยฉาย<br />

กิ่งไม้เงินทอง<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐ์ท่ารำและพระราชนิพนธ์บทขับร้อง<br />

สำหรับเป็นการรำเบิกโรงละครไทย ผู้รำ ๒ คน แต่งกาย<br />

ยืนเครื่องนาง มือข้างขวากำกิ่งไม้ทอง ส่วนมือข้างซ้ายกำ<br />

กิ่งไม้เงิน รำไปตามบทขับร้องและทำนองเพลงฉุยฉาย <br />

เป็นฉุยฉายพวง คือร้องรวบความจนจบท่อน โดยไม่มี<br />

ปี่เป่ารับ นับเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งซึ่งมีมาตั้งแต่<br />

สมัยโบราณ<br />

ฉุยฉาย<br />

เบญกายแปลง<br />

ฉุยฉายเบญกายแปลง อยู่ในการแสดงโขนเรื่อง<br />

รามเกียรติ์ ชุดนางลอย เป็นการรำเดี่ยวเพื่ออวดลีลาท่ารำ<br />

ของตัวละครนางเบญกายที่สามารถแปลงกายเป็นสีดา<br />

สำเร็จ และชมโฉมความสวยงามของตัวเองด้วยความพอใจ<br />

บทร้องฉุยฉายเบญกายนี้ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จ<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

<br />

ระบำดาวดึงส์<br />

ระบำดาวดึงส์ เป็นระบำมาตรฐานชุดหนึ่งอยู่ใน<br />

ละครดึกดำบรรพ์เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ซึ่งสมเด็จ<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

ได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องขึ้น พรรณนาถึงความสง่างามของ<br />

เหล่าเทพบุตร เทพธิดา ทิพย์วิมาน อันมโหฬารตระการตา<br />

ขององค์อมรินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงนับเป็นระบำ<br />

มาตรฐานที่สวยงามชุดหนึ่ง<br />

105


ละคร<br />

<br />

ละคร คือ มหรสพที่วิวัฒนาการมาจากระบำ<br />

รำเต้นประกอบเพลงต่างๆ เพื่อความบันเทิงของพื้นถิ่น<br />

ดั้งเดิม ต่อมาได้เล่นเป็นเรื่องราว กลายเป็นละครรำ<br />

และละครร้องแบบต่างๆ ของไทย ทั้งท่าเต้นรำ เนื้อร้อง<br />

ดนตรี และเพลงที่เล่นเป็นละครไทย เป็นผลรวมของ<br />

วัฒนธรรมพื้นถิ่นอุษาคเนย์กับวัฒนธรรมนำเข้า เช่น<br />

อินเดีย เป็นต้น กลายเป็นเอกลักษณ์ของละครไทย<br />

106


ครั้นถึงจึงเห็นนางสุวิญชา ยิ่งโกรธาหุนหันหมั่นไส้<br />

๘<br />

กระทืบบาทกึกก้องทั้งห้องใน ชี้หน้าว่าไปกับนงลักษณ์<br />

เสียแรงเราชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้ ควรหรือมีลูกอ่อนเป็นท่อนสัก<br />

ให้อับอายขายหน้านักหนานัก สิ้นรักใคร่กันแล้ววันนี้<br />

แม้นเลี้ยงไว้ในเมืองจะเลื่องลือ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมียเสียศักดิ์ศรี<br />

ชอบแต่สังหารผลาญชีวี<br />

ภูมีฮึดฮัดขัดแค้นใจ<br />

บทละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์ ตอน นางสุวิญชาถูกขับไล่<br />

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<br />

ละครดั้งเดิม<br />

ละครมักเล่นเพื่อการแก้บนและในงานบุญต่างๆ<br />

เช่น งานวัด งานฉลองพระ ฉลองโบสถ์ เป็นต้น เรื่องที่<br />

นิยมมากที่สุด คือ มโนราห์ เป็นเหตุให้เรียกการละเล่น<br />

อย่างนี้ว่า ละครมโนราห์ แล้วกร่อนเสียงเป็น โนรา<br />

ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เรียกละครนี้ว่า โนราชาตรี <br />

เมื่อราชสำนักเลียนแบบละครชายจริงหญิงแท้ของชาวบ้าน<br />

ไปหัดให้ผู้หญิงในวังเล่นละครแบบชาวบ้าน แต่รำเอง<br />

อย่างเดียว ไม่ได้ร้องเอง ใช้คนร้องกลุ่มหนึ่งโดยนำ<br />

เพลงมโหรีมาร้องแทน เรียกว่า ละครใน (วัง) หรือ ละครใน<br />

(เจ้านาย) ทำให้เรียกละครของชาวบ้านว่า ละครนอก<br />

ละครใน เล่นเพื่อสุนทรียะของการรำกับร้องเป็นหลัก<br />

ไม่นิยมเล่นเพื่อความตลกคะนองให้ขบขัน นิยมแสดงเพียง<br />

๓ เรื่อง คือ เรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา จะไม่เล่น<br />

เรื่องอื่น หากละครผู้หญิงของหลวงเล่นเรื่องอื่น ก็จะเรียกว่า<br />

ละครนอก<br />

ละครนอก เล่นกันแต่เรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องสังข์ทอง<br />

คาวี เป็นต้น ถือเอาการที่จะเล่นเพื่อความสนุกสนานชอบใจ<br />

ของมหาชนเป็นหลัก ไม่เน้นการฟ้อนรำสวยงาม แต่มี<br />

การขับร้องเช่นละครใน<br />

<br />

ละครปรับปรุงใหม่<br />

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา วิถีชีวิตเริ่ม<br />

เปลี่ยนแปลงไปทางตะวันตกทีละน้อย มีผลทำให้รสนิยม<br />

การละครของไทยปรับตัวให้มีลักษณะเป็นตะวันตกมากขึ้น<br />

โดยการนำความคิดมาประยุกต์อย่างไทยๆ จนเกิดละคร<br />

แผนใหม่หลายชนิดด้วยกัน<br />

จัดฉายวีดิทัศน์ตัวอย่างการแสดงละครใน <br />

เรื่องอุณรุท ละครดึกดำบรรพ์ เรื่องอิเหนา <br />

และละครร้อง เรื่องสาวเครือฟ้า โดยสามารถ<br />

กดปุ่มเลือกชมได้ตามอัธยาศัย<br />

<br />

107


ละครพันทาง<br />

เกิดขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๔ <br />

ได้รับการพัฒนาในรัชกาลที่ ๕ โดย<br />

เ จ้ า พ ร ะ ย า ม หิ น ท ร ศั ก ดิ์ ธ ำ ร ง<br />

ดัดแปลงพงศาวดารของชาติต่างๆ<br />

เช่น จีน มอญ มาผูกเรื่องเป็นบทละคร<br />

เพื่อใช้แสดงละครรำแบบแหวกแนว<br />

ผสมผสานเข้ากับละครพูด เพลงและ<br />

ท่ารำออกภาษาตามเนื้อเรื่อง เดินเรื่อง<br />

ตามคำร้อง บางครั้งมีต้นเสียง และลูกคู่<br />

ร้องทั้งหมดตามแบบแผนละครนอก<br />

คือ ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ไม่เคร่งครัด<br />

ในระเบียบประเพณี และแทรกตลก<br />

ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญ<br />

อยู่ที่ถ้อยคำ ทั้งบทร้องและบทเจรจา<br />

ประกอบเพื่อให้การเดินเรื่องสนุกสนาน<br />

ซึ่งส่วนที่เป็นคำพูดตัวละครจะร้องเอง<br />

<br />

ละครดึกดำบรรพ์<br />

เป็นละครรำที่ปรับเปลี่ยน<br />

รูปแบบการแสดงให้คล้ายกับโอเปร่า<br />

(Opera) ผู้แสดงร้องเองรำเอง ไม่มี<br />

การบรรยายกิริยาของตัวละคร และ<br />

พยายามแสดงให้สมจริงสมจัง<br />

มากที่สุด ออกแสดงครั้งแรก พ.ศ.<br />

๒๔๔๒ ที่โรงละครดึกดำบรรพ์ของ<br />

เจ้าพระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์ จึงได้<br />

เรียกชื่อการแสดงแบบใหม่นี้ตามชื่อ<br />

โรงละครว่า ละครดึกดำบรรพ์ มีการ<br />

ตกแต่งฉากและสถานที่ ใช้แสง สี<br />

เสียงประกอบฉาก นับเป็นต้นแบบ<br />

ในการจัดฉากประกอบการแสดงของ<br />

โขนละครต่อมา การแสดงมักแสดง<br />

เป็นตอนเพื่อให้ผู้ชมอยากจะติดตาม<br />

ชมตอนต่อๆ ไปด้วย<br />

<br />

ละครเสภา<br />

สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีผู้คิดเอา<br />

ตัวละครเข้ามารำประกอบคำขับเสภา<br />

และมีปี่พาทย์รับ เรียกว่า เสภารำ<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กวี<br />

ช่วยกันแต่งเสภาเรื่อง นิทราชาคริต<br />

เพื่อใช้ขับเสภาในเวลาทรงเครื่องใหญ่<br />

สมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้า<br />

บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

กับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น<br />

กวีพจน์สุปรีชา ช่วยกันชำระเสภา<br />

ขุนช้างขุนแผน แก้ไขกลอนให้เชื่อม<br />

ติดต่อกันและพิมพ์เป็นฉบับหอสมุด<br />

แห่งชาติขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐<br />

ซึ่งเป็นแบบแผนของการแสดงขับเสภา<br />

และต่อมากลายเป็น ละครเสภา<br />

<br />

108


๘<br />

ละครพูด<br />

มีรากฐานมาจากแนวจำอวด<br />

และละครตลก ครั้งรัชกาลที่ ๕ <br />

ทรงจัดแสดงขึ้นในหมู่พระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เรื่องที่เล่นมักนำมาจากนิทานอาหรับ<br />

ราตรีในภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๖<br />

ทรงแต่งบทให้พวกมหาดเล็กแสดง<br />

ตามแบบละครตะวันตกที่ทรงคุ้นเคย<br />

เมื่อครั้งทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ<br />

<br />

ละครพูดสลับลำ<br />

เกิดขึ้นพร้อมๆ กับละครพูด<br />

คือนำละครพูดมาบรรจุเพลงร้อง<br />

ในตอนเด่นๆ เป็นบทกลอนที่ไพเราะ<br />

ได้อารมณ์ เรื่องที่เล่น เช่น นิทราชาคริต<br />

บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๕<br />

วิวาหพระสมุท บทพระราชนิพนธ์ของ<br />

รัชกาลที่ ๖ เป็นต้น<br />

<br />

ละครร้อง<br />

เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จ<br />

ประพาสเมืองไทรบุรี ชาวมลายูได้แสดง<br />

ละครถวาย เรียกว่า บังสาวัน (Malay<br />

Opera) ต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามา<br />

แสดงในกรุงเทพฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแก้ไข<br />

ปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละคร<br />

ปรีดาลัย ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริง<br />

ตามเนื้อเรื่อง หากเป็นละครร้องล้วนๆ<br />

ตัวละครจะแสดงท่าประกอบตาม<br />

ธรรมชาติมากที่สุด แต่หากเป็นละคร<br />

ร้องสลับพูด ก็อาจมีการรำผสมบ้าง<br />

แต่ไม่จีบมือเต็มที่เหมือนรำไทย<br />

ออกท่าทางเป็นสากล กำมือ แบมือ<br />

ตามเนื้อเรื่องสมัยใหม่ แต่งตัวตาม<br />

สมัยนิยมในท้องเรื่อง<br />

109


๙<br />

หุ่น<br />

<br />

หุ่นเป็นมหรสพเก่าแก่ของไทยใช้เล่นทั้งในงานหลวงและงานราษฎร์<br />

ควบคู่กับมหรสพอื่นๆ เช่น โขน หนัง ละคร ระเบง ระบำ และมีการกล่าวถึงใน<br />

กฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาว่ามีการเล่นหุ่นด้วย เช่น อิเหนา <br />

ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ<br />

หุ่นเป็นศิลปะการแสดงที่ผสานศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน อันได้แก่<br />

หัตถศิลป์ หรือการสร้างองค์ประกอบของหุ่น ประณีตศิลป์ ในการสร้างเครื่อง<br />

แต่งกาย นาฏศิลป์ หรือการใช้ลีลา ท่าเชิด คีตศิลป์ หรือดนตรี มัณฑนศิลป์<br />

หรือการจัดฉาก รวมทั้งวรรณกรรมเรื่องเอก ได้แก่ รามเกียรติ์ พระอภัยมณี<br />

และราชาธิราช เป็นต้น<br />

110


หุ่นไทย<br />

ปรากฏหลักฐานว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย<br />

แต่ไม่เรียกว่า หุ่น เรียกว่า “กทำยนตร” คำว่า “หุ่น”<br />

มาปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยหลักฐานทาง<br />

ประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงการเล่นหุ่น บันทึก<br />

ไว้ในจดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาร์ด และ<br />

จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์<br />

ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเดินทางเข้ามา<br />

กรุงศรีอยุธยา เมื่อรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช<br />

ช่างที่ทำหุ่น เรียกว่า ช่างหุ่น เป็นช่างหนึ่งในช่าง<br />

สิบหมู่ การเชิดหุ่นเริ่มแพร่หลายในสมัยกรุงธนบุรีและ<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ นิยมสร้างโดยจำลองตัวละคร<br />

ในวรรณคดีหรือตัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์ โดยเลียนแบบ<br />

ตั้งแต่เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ ตลอดจน<br />

ลีลาท่ารำ<br />

<br />

การแสดงหุ่นกระบอกสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

การแสดงหุ่นละครเล็ก เรื่องรามเกียรติ์<br />

ของคณะสาครนาฏศิลป์<br />

หุ่นเล็ก ซึ่งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในสมัยรัชกาลที่ ๕<br />

โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ ให้มีลักษณะคล้ายหุ่นหลวงอย่างโบราณ<br />

แต่มีขนาดเล็กลง<br />

111 ๕๙


หน้าหุ่นหลวง <br />

พระยารักน้อย <br />

และพระยารักใหญ่ <br />

ฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๒<br />

112<br />

หุ่นหลวง<br />

ที่เรียกว่า “หุ่นหลวง” เพราะเป็นของเจ้านายหรือเล่นในวังหลวง <br />

ใช้หุ่นแสดงละครแทนคนจริงๆ ตามขนบของละครในแท้ๆ โดยสร้างหุ่นเป็น<br />

รูปคนเต็มตัว มีขนาดใหญ่สูงประมาณ ๑ เมตร หน้าตา แขนขา และลำตัว<br />

เลียนแบบคน การแต่งตัวเหมือนละครทุกส่วน แม้แต่หน้าโขนที่หัวก็สามารถ<br />

ถอดหรือสวมได้เหมือนของจริง ภายในตัวหุ่นทำสายโยงติดกับอวัยวะของ<br />

ตัวหุ่น และปล่อยเชือกลงมารวมกันที่แกนไม้ส่วนล่าง สำหรับคนเชิดจับ <br />

เพื่อใช้ดึงบังคับให้เคลื่อนแขนขา มือยกจีบรำตามต้องการ พยายามทำให้รำ<br />

ได้แนบเนียนเหมือนคนรำให้มากที่สุด กลไกของหุ่นชนิดนี้จึงซับซ้อน<br />

ยุ่งยาก และต้องอาศัยความชำนาญในการเชิดและชักเป็นอย่างมาก <br />

หุ่นรุ่นเก่าที่สุดมีปรากฏหลักฐานว่า อยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนั้นยังเล่ากันสืบต่อมาว่า ทรงฝาก<br />

ฝีพระหัตถ์การทำหน้าหุ่นหลวงไว้ด้วยพระองค์เองคู่หนึ่ง เรียกกันว่า <br />

พระยารักน้อย พระยารักใหญ่<br />

เรื่องที่แสดงก็เป็นเรื่องที่ใช้เล่นละครใน คือเรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท และ<br />

อิเหนา การรำเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ เรื่องจะดำเนินไปตามแบบของละครใน <br />

มีการขับร้องและการบรรเลงดนตรีประกอบ


๙<br />

113


114<br />

ด้านหลังฉาก มีหุ่นจำลอง<br />

แสดงวิธีการเชิดหุ่นกระบอก<br />

ซึ่งเป็นตัวละครจากวรรณคดี<br />

เรื่องพระอภัยมณี<br />

ฝีมือการประพันธ์ของ<br />

พระสุนทรโวหาร (ภู่)<br />

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่


จัดฉายวีดิทัศน์ตัวอย่าง<br />

การแสดงหุ่นกระบอก <br />

เรื่อง พระอภัยมณี<br />

โดยสำนักการสังคีต <br />

กรมศิลปากร<br />

๙<br />

การเล่นหุ่นกระบอก<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวร<br />

วิไชยชาญ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างหุ่น<br />

ขึ้นใหม่ เพื่อใช้แสดงคล้ายหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่อย่าง<br />

โบราณ แต่ทำตัวหุ่นให้มีขนาดเล็กลง แต่ปรากฏว่าหุ่น<br />

เต็มตัวที่สร้างขึ้นใหม่ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ<br />

ก็ยังคงเชิดยาก ทำบทละครนอกซึ่งส่วนใหญ่เป็นบทตลก<br />

ขบขันได้ไม่ทันใจ ม.ร.ว.เถาะ พยัคฆเสนา จึงคิดสร้างหุ่น<br />

ชนิดใหม่ขึ้น คือใช้กระบอกไม้ไผ่ทำตัวหุ่นและทำเสื้อคลุม<br />

ส่วนล่างไว้ เผยให้เห็นอวัยวะที่ทำเหมือนคนจริงเพียงหัว<br />

และมือ จึงมีลักษณะเป็นหุ่นครึ่งตัว เพื่อปรับการเชิด<br />

ให้คล่องขึ้น คนเชิดเพียงจับกระบอกแกนลำตัวของหุ่นมือ<br />

หนึ่ง และจับไม้ตะเกียบที่ต่อกับมือของหุ่นอีกมือหนึ่ง<br />

เพื่อบังคับหุ่นเท่านั้น เรียกหุ่นนี้ว่า “หุ่นกระบอก” นิยม<br />

แสดงเรื่อง พระอภัยมณี เนื่องจากเนื้อเรื่องมีหลายรส <br />

ทั้งรัก โศก ตลก ตื่นเต้น สำนวนกลอนไพเราะ และดำเนิน<br />

เรื่องรวบรัด<br />

นอกจากหุ่นกระบอกจากเรื่อง<br />

พระอภัยมณีแล้ว ยังมีหุ่นแกละ<br />

และหุ่นโก๊ะ สำหรับให้ผู้เข้าชม<br />

ทดลองเชิดเล่น ซึ่งขณะเชิด<br />

จะปรากฏภาพบนจอ<br />

อีกด้านหนึ่งด้วย<br />

115


116<br />

หุ่นละครเล็ก<br />

เสน่ห์ของหุ่นละครเล็กคือลีลาที่ดูมีชีวิตเหมือน<br />

คนจริง ทั้งลีลา ท่ารำ และอารมณ์ต่างๆ ที่แสดงออก<br />

หลากหลายและดูสมจริง แม้จะเป็นท่าที่ละเอียดอ่อน<br />

เพราะโครงสร้างของหุ่นออกแบบให้มีข้อต่อของอวัยวะ<br />

ใกล้เคียงกับคน ทั้งคอ แขน ขา และมีกลไกในการจีบมือ<br />

เพื่อการรำที่อ่อนช้อยแบบนาฏศิลป์ไทยและอากัปกิริยา<br />

ที่เหมือนคนรำ<br />

ผู้เชิดสามคนคือชีวิตของหุ่น แม้จะทำหน้าที่แยกกัน<br />

คนหนึ่งบังคับส่วนขา คนหนึ่งบังคับศีรษะ และอีกคนหนึ่ง<br />

บังคับมือและแขนของหุ่น แต่ก็ต้องผสานกลมเกลียวกัน<br />

ราวกับเป็นคนๆ เดียวกัน<br />

ทั้งสามคนจะต้องเต้นเป็นกระบวนอย่างพร้อมเพรียง<br />

ต้องกระทบเท้าตามลีลาของหุ่น โยกย้ายไปในทิศทาง<br />

ที่สัมพันธ์กันและพอดีกับจังหวะ เข้ากับดนตรีและ<br />

การพากย์ ลีลาสวยงามทั้งหุ่นและคนเชิด กลมกลืนเป็น<br />

หนึ่งเดียว อันเกิดจากการฝึกซ้อมร่วมกันจนชำนาญ<br />

ความโดดเด่นของการแสดงหุ่นละครเล็กอีกอย่างหนึ่ง<br />

คือ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ชมได้ จึงทำให้<br />

หุ่นละครเล็กเป็นที่ชื่นชอบของทุกคน


๙<br />

วีดิทัศน์ฉายประวัติ<br />

ความเป็นมา และวิธีการเชิด<br />

หุ่นละครเล็ก<br />

สมัยรัชกาลที่ ๕ นายแกร<br />

ศัพทวนิช เจ้าของคณะละครที่มีชื่อ<br />

ได้ประดิษฐ์หุ่นขึ้นโดยพยายาม<br />

ทำให้เหมือนหุ่นหลวงมากที่สุด <br />

แต่ดัดแปลงให้มีสายชักน้อยลงและ<br />

นำออกแสดงให้เจ้านายในวังวรดิศ<br />

ทอดพระเนตรเป็นครั้งแรก โดยแสดง<br />

เรื่องพระอภัยมณี เป็นที่ชื่นชอบของ<br />

ผู้ชมมาก บรรดาเจ้านายที่ทอด<br />

พระเนตรต่างเรียกการแสดงนี้ว่า<br />

“ละครเล็ก” ส่วนชาวบ้านพากัน<br />

เรียกว่า “หุ่นครูแกร” ต่อมานายแกร<br />

ก็รับแสดงในงานทั่วไปและตั้งชื่อ<br />

คณะว่า “ละครเล็กครูแกร” จากนั้น<br />

นายแกรยังคงแสดงละครเล็ก<br />

ที่วังวรดิศอีกหลายครั้ง และออกรับ<br />

งานแสดงหารายได้เลี้ยงชีพจนวาระ<br />

สุดท้าย<br />

<br />

117


118<br />

๑๐<br />

วิวัฒนาการมหรสพในยุครัตนโกสินทร์<br />

<br />

รัชกาลที่ ๑ ช่วงฟื้นฟู ปรับรากฐาน สร้างสรรค์ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธี พิธีกรรม และมหรสพอย่างครบถ้วนและ<br />

ยิ่งใหญ่<br />

รัชกาลที่ ๒ ยุคทองแห่งการละคร การจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์<br />

แห่งแรก เกิดที่ “โรงละครต้นสน” บริเวณศาลาโถงข้างประตูพรหมศรีสวัสดิ์<br />

ในพระบรมมหาราชวัง<br />

รัชกาลที่ ๓ ช่วงต่อยอดนอกพระราชวัง มหรสพฉลองวัด เกิดวัดใหม่ขึ้น<br />

ประมาณ ๗๐ วัด จึงมีงานฉลองวัดใหม่และงานเทศกาลต่างๆ เพิ่มขึ้นจาก<br />

กาลก่อนหลายเท่าตัว<br />

รัชกาลที่ ๔ มหรสพแพร่หลาย ร่ำรวยรุ่งเรือง กำเนิด “ละครพันทาง”<br />

ที่เก็บเงินค่าดู เกิดภาษีโขนละคร<br />

รัชกาลที่ ๕ สังคมเปลี่ยนแปลง มหรสพก็เปลี่ยนตามอิทธิพลของ<br />

ตะวันตก เนื้อหาและรูปแบบการแสดงมีความเป็นตะวันตกนิยมมากขึ้น<br />

รัชกาลที่ ๖ ยุคทองแห่งการละคร สมัยที่ ๒ เกิดกรมมหรสพ ทรงตั้ง<br />

กรมมหรสพขึ้นใหม่ มีเจ้ากรมแต่ทรงว่าราชการอย่างใกล้ชิด พระราชทาน<br />

บรรดาศักดิ์แก่เหล่าศิลปิน<br />

รัชกาลที่ ๗-รัชกาลปัจจุบัน สร้างรูปแบบใหม่ สานรูปแบบเดิม “ละคร<br />

เพลง” หรือ “ละครจันทโรภาส” มีการออกอากาศทางวิทยุที่เพิ่งเริ่มในยุคนี้ <br />

ซึ่งทำให้คนสนใจไปดูละครมากขึ้น


โอกาสในการเล่นมหรสพ<br />

<br />

การเล่นมหรสพจัดขึ้นเพื่อให้เกิดความเริงรื่นครื้นเครง เกิดความรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียว<br />

ในความสำเร็จเมื่อมีการเฉลิมฉลองสิ่งที่เป็นมงคล และอีกอย่างหนึ่งก็เพื่อปลอบขวัญปลุกกำลังใจ<br />

ลดความเศร้าโศกจากงานอวมงคลในการสูญเสียบุคคลชั้นสูง สำหรับราษฎรเองก็จัดมหรสพสมโภช<br />

ในงานต่างๆ วิวัฒนาการมหรสพในยุครัตนโกสินทร์<br />

ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นงานรื่นเริงของคนในสังคม<br />

มหรสพในงานหลวง เช่น งานสมโภชต่างๆ สมโภชพระแก้วมรกต สมโภชพระนคร สมโภช<br />

พระอารามหลวง สมโภชการสังคายนาพระไตรปิฎก สมโภชการเสร็จศึกสงคราม สมโภชช้างสำคัญ<br />

สมโภชพระบรมอัฐิ ฉลองสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น วัง ถนน คลอง สะพาน ฯลฯ<br />

งานพระราชพิธีและงานส่วนพระมหากษัตริย์ในโอกาสต่างๆ เช่น การโสกันต์ การผนวช <br />

พระราชพิธีแห่สนานใหญ่และแห่พระกฐิน พระราชพิธีสังเวยพระสยามเทวาธิราช พระราชพิธีลงสรง<br />

งานราตรีสโมสร ทำขวัญและบวงสรวงพระบรมมหาราชวัง งานเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา <br />

งานพระราชทานเลี้ยงและงานรื่นเริง งานรับรองแขกเมือง งานพระบรมศพ งานพระศพ งานพระเมรุ<br />

งานเรี่ยไรมอบให้การกุศล งานฉลองวันประสูติเจ้านายต่างๆ งานรัชตวิวาหสมโภช <br />

สมโภชมหรสพในงานราษฎร์ เช่น งานโกนจุก งานแข่งเรือ งานสงกรานต์ งานบวช เป็นต้น<br />

119


๔<br />

ลือระบิล<br />

พระราชพิธี


พระราชพิธีนับเป็นวัฒนธรรมที่งดงามและล้ำค่า ซึ่งได้รับการสืบทอดมา<br />

อย่างยาวนาน แสดงถึงความเป็นบ้านเมืองที่มีอารยะ เป็นเกียรติยศปรากฏ<br />

สู่สายตานานาประเทศ<br />

การพระราชพิธีไม่ได้เป็นเพียงกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์และ<br />

พระราชวงศ์เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการแสดงถึงความห่วงใยของพระมหากษัตริย์<br />

ที่มีต่อราษฎรและความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับพสกนิกรอย่างลึกซึ้ง <br />

ยากจะหาที่ใดในโลกเสมอเหมือน


122<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนา<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้สืบทอดแบบแผนธรรมเนียมอันดีมาจากกรุงศรีอยุธยา<br />

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

และสมโภชพระนครอย่างครบถ้วนถูกต้องตามตำรา เพื่อความเป็นสิริมงคล<br />

ของราชธานีและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พสกนิกรโดยทั่วกัน<br />

พระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ มา ได้สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จ<br />

พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์โดยทรงฟื้นฟูพระราชพิธีสำคัญ เช่น


พระราชพิธีที่เนื่องในพระมหากษัตริย์ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก <br />

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส พระราชพิธีเฉลิมสิริราชสมบัติ <br />

พระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องในบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีพืชมงคล<br />

จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช <br />

พระราชพิธีเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการธำรงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรม<br />

อันดีงามของไทยให้ปรากฏสู่สายตาชาวโลกและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ยังความภูมิใจ<br />

มาสู่ปวงชนชาวไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน<br />

123


แ ผ น ผั ง ห้องลือระบิลพระราชพิธี<br />

๔<br />

๖<br />

พระสยามเทวาธิราช<br />

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล<br />

ถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตรา<br />

ทางชลมารค<br />

ทางออก<br />

๘<br />

๗<br />

๖<br />

๕<br />

๘<br />

๗<br />

124<br />

เสาหลักเมือง<br />

ช้างต้นและพระราชพิธีที่เกี่ยวข้อง


๓<br />

พระราชพิธี ๑๒ เดือน<br />

๔<br />

๓<br />

๑<br />

๒<br />

๒<br />

พระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับ<br />

พระมหากษัตริย์<br />

ทางเข้า<br />

๑<br />

๕<br />

พระมหากษัตริย์กับพระราชพิธี<br />

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ<br />

125


จอภาพจัดแสดงวีดิทัศน์<br />

เรื่องราวของพระมหากษัตริย์<br />

กับพระราชพิธี เมื่อจบการนำเสนอ <br />

จอภาพจะเลื่อนขึ้น<br />

เพื่อเปิดไปสู่จุดจัดแสดงต่อไป พระราชพิธี<br />

<br />

ชาวไทยผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาช้านาน กล่าวได้ว่าพระมหากษัตริย์เป็น<br />

ศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรและมีบทบาทสำคัญที่ทำให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุขเสมอมา <br />

๑<br />

คติความเชื่อที่ยึดถือกันมาแต่โบราณกาลที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทวราช <br />

เป็นที่มาของพระราชพิธีทั้งปวงที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า<br />

แม้ว่าจะทรงดำรงสถานะเทวราชา แต่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตั้งมั่นอยู่ในราชธรรมทาง<br />

พุทธศาสนาอย่างมั่นคง มีพระราชจริยวัตรในการทำนุบำรุงและปฏิบัติบำเพ็ญพระองค์ตาม<br />

หลักธรรมคำสอนทางศาสนา หลายครั้งที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการ<br />

พระราชพิธี ด้วยพระราชประสงค์เพื่อการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ราษฎร โดยเฉพาะเกษตรกร <br />

ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และเพื่อบังเกิดสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่แผ่นดิน<br />

การพระราชพิธีทั้งปวงล้วนกำหนดไว้ตามจารีตแห่งราชประเพณีอย่างมีระเบียบ มีความวิจิตร<br />

อลังการ แฝงไว้ทั้งความยิ่งใหญ่และความศักดิ์สิทธิ์ บ่งบอกถึงความเจริญทางวัฒนธรรมที่ดีงาม<br />

มานานนับศตวรรษ อันเป็นศรีสง่าแก่พระราชอาณาจักร<br />

ตราบถึงทุกวันนี้ พระราชพิธีที่ยึดถือสืบเนื่องกันมายาวนานยังคงมีความหมายสำคัญ และเป็น<br />

ประจักษ์พยาน แสดงความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทยอย่างแนบแน่น<br />

ไม่เสื่อมคลาย<br />

126


หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน <br />

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ความหมายและความสำคัญของ<br />

พระราชพิธี พระบรมราชาธิบายของ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

<br />

พระราชนิพนธ์คำนำ พระราชพิธีสิบสองเดือน<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรม<br />

ราชาธิบายว่า พระราชพิธีสำหรับพระนครนั้น มีที่มาจากพิธี<br />

ในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ด้วยแต่เดิม<br />

พระมหากษัตริย์และราษฎรนับถือศาสนาพราหมณ์ การพิธี<br />

ที่เป็นสิริมงคลจึงดำเนินตามพิธีอย่างพราหมณ์สืบมา <br />

ภายหลังพระมหากษัตริย์และราษฎรนับถือพระพุทธศาสนา<br />

การพระราชพิธีจึงคละปะปนกัน ทั้งพุทธและพราหมณ์<br />

ซึ่งเดิมพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีพิธีกรรมใดๆ <br />

ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า “...ฤกษ์ดี <br />

ยามดี ครู่ดี ขณะดี การบูชาเซ่นสรวงดี...ก็อาศัยที่<br />

ชนทั้งปวงประพฤติการสุจริตทุจริตเป็นที่ตั้ง...” <br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรม<br />

ราชาธิบายอีกว่า ความกลัวต่อภยันตราย ความปรารถนา<br />

ต่อความเจริญรุ่งเรือง ทำให้เกิดการเซ่นสรวงบูชา ซึ่งถึงแม้<br />

คนไทยจะนับถือพระพุทธศาสนาก็ไม่อาจละทิ้งการบูชา<br />

เซ่นสรวงเพื่อความสบายใจได้ <br />

อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีของไทยนั้นได้รับการ<br />

เลือกสรรแต่ที่สุจริต มาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของ<br />

บ้านเมือง ส่วนการพระราชพิธีใดที่มีแต่พิธีพราหมณ์ ก็มี<br />

การเพิ่มเติมการพิธีที่เป็นพระราชกุศล ประกอบด้วย <br />

ทาน ศีล และภาวนาเข้าไป เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่<br />

พระราชพิธี<br />

ในตอนท้าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำว่า ที่อธิบายมาทั้งหมดก็เพื่อให้<br />

คนทั่วไปเข้าใจแน่ชัดว่า การพระราชพิธีมีขึ้นเพื่อความเป็น<br />

สิริมงคลแก่บ้านเมืองและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่<br />

เหล่าพสกนิกรเป็นสำคัญ<br />

127


128<br />

๒<br />

พระราชพิธี<br />

เนื่องใน<br />

พระมหากษัตริย์<br />

สถาบันพระมหากษัตริย์ คือ<br />

ศูนย์รวมจิตใจของชาติไทย ชาวไทย<br />

เคารพและเทิดทูนพระมหากษัตริย์<br />

เสมอด้วยสมมติเทวราชตามคติ<br />

พราหมณ์ ควบคู่กับคติทางพระพุทธ<br />

ศาสนาว่า พระองค์คือพระโพธิสัตว์<br />

เป็นความเชื่อที่ยึดถืออย่างมั่นคง<br />

มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น<br />

ราชธานี ดังจะเห็นได้จากการขาน<br />

พระนาม การใช้คำราชาศัพท์ และ<br />

การประกอบพระราชพิธี เป็นต้น<br />

<br />

<br />

จอแสดงเรื่องราว<br />

ของพระราชพิธีต่างๆ<br />

พร้อมคำบรรยาย<br />

ภาษาอังกฤษ<br />

ที่วางแขน<br />

ของเก้าอี้นวม<br />

มีปุ่มให้กดเลือกชม<br />

พระราชพิธีต่างๆ<br />

ตามอัธยาศัย <br />

พร้อมปุ่มปรับระดับ<br />

ความดังของเสียง<br />

ของลำโพงซึ่งซ่อนอยู่<br />

ในระดับเดียวกับศีรษะ


พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและ<br />

เฉลิมพระราชมณเฑียร <br />

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

ในรัชกาลปัจจุบัน กำหนดขึ้นเมื่อ<br />

วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓<br />

หลังจากทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้ว<br />

๔ ปี เพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์<br />

ตามคติเทวราชาโดยสมบูรณ์<br />

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการ<br />

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ <br />

พระตำหนักใหญ่ภายในวังสระปทุม<br />

เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.<br />

๒๔๙๓<br />

พระราชพิธีทรงพระผนวช <br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

เป็นพุทธมามกะและมีพระราชศรัทธา<br />

มั่นคงในพระพุทธศาสนา พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช<br />

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.<br />

๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตน<br />

ศาสดาราม ทรงเคร่งครัดในพระธรรม<br />

วินัยตามพุทธบัญญัติ ได้ทรงบำเพ็ญ<br />

พระราชจริยวัตรตามธรรมเนียมปฏิบัติ<br />

ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์<br />

<br />

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด<br />

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา<br />

เป็นประจำทุกปี พระราชพิธีเฉลิม<br />

พระชนมพรรษาเป็นมหามงคลสมัย<br />

ที่พสกนิกรจะได้มีโอกาสร่วมแสดง<br />

ความจงรักภักดีและถวายพระพร<br />

ชัยมงคลแด่พระมหากษัตริย์ ผู้เป็น<br />

มิ่งขวัญของแผ่นดิน<br />

พระราชพิธีเฉลิมสิริราชสมบัติ<br />

เมื่อมหามงคลสมัยที่พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงสิริ<br />

ราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ๕๐ ปี ๖๐ ปี<br />

ตามหลักสากล นับว่าเป็นโอกาส<br />

พิเศษในการจัดพระราชพิธีเฉลิม<br />

ฉลองสมโภชเพื่อความเป็นสวัสดิ<br />

มงคลแก่แผ่นดินและสิริราชสมบัติ<br />

พระเต้าทักษิโณทก คือ หนึ่งในเครื่องราชูปโภค ที่ใช้สำหรับการบำเพ็ญ<br />

พระราชกุศลในพระราชพิธี ด้วยการหลั่งทักษิโณทก<br />

ประกาศพระองค์เป็นพระบรมโพธิสัตว์ธรรมิกราชผู้สั่งสมบุญบารมี<br />

129


๓<br />

130<br />

พระราชพิธีสิบสองเดือน จัดแสดงด้วยระบบจอสัมผัส<br />

นำเสนอเรื่องราวผ่านภาพจิตรกรรมฝาผนัง<br />

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามประกอบอะนิเมชั่น<br />

พระราชพิธีสิบสองเดือน<br />

พระบรมราชาธิบาย<br />

ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราช<br />

นิพนธ์หนังสือเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงอธิบายพระราชพิธี<br />

ในแต่ละเดือนที่สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชทรงปฏิบัติ<br />

เพื่อความเป็นสิริมงคล เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง <br />

และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ราษฎร<br />

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง<br />

พระราชพิธี ๑๒ เดือน ขึ้นภายในวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ<br />

สถิตมหาสีมาราม เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าทางศิลปะ<br />

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ซึ่งแสดงหลักฐานทางวัฒนธรรม<br />

อันเป็นวิถีชีวิตของชาวไทย ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา<br />

ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนลักษณะของศิลปกรรมในสมัยนั้น


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มพิธีสงฆ์ในการ<br />

ประกอบพิธีพราหมณ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลของ<br />

พระราชพิธี เช่น ให้จัดพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธี<br />

แรกนาขวัญ ยกเป็นพิธีหนึ่งต่างหากเรียกว่า พืชมงคล<br />

แล้วเรียกชื่อรวมว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล<br />

แรกนาขวัญ <br />

ในพระราชพิธีจองเปรียงหรือการยกโคม<br />

ตามประทีปบูชาเทพเจ้าตรีมูรติ ทรงพระกรุณา<br />

จิตรกรรมฝาผนัง เรื่องพระราชพิธี ๑๒ เดือน โปรดเกล้าฯ ให้มีพระสงฆ์สวดมนต์เช้าเย็นและเจริญ<br />

ภายในพระวิหารวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระพุทธมนต์นอกเหนือจากพิธีพราหมณ์<br />

<br />

พระราชพิธีสิบสองเดือน<br />

<br />

พระราชพิธี เดือนอ้าย (ธันวาคม - มกราคม) การพระราช<br />

กุศลเลี้ยงขนมเบื้อง เป็นงานพระราชทานเลี้ยงขนมเบื้องแก่<br />

พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยฯ <br />

พระราชพิธี เดือนยี่ (มกราคม - กุมภาพันธ์) พระราชพิธี<br />

ตรียัมปวายตรีปวาย เป็นพิธีพราหมณ์ในการรับ-ส่งพระอิศวรและ<br />

พระนารายณ์ที่เสด็จลงมาเยี่ยมโลก แบ่งพิธีเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรก<br />

จัดขึ้นภายในเทวสถาน อีกส่วนหนึ่งเป็นกระบวนแห่และพิธีโล้ชิงช้า<br />

ประกอบพิธีที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม<br />

พระราชพิธี เดือนสาม (กุมภาพันธ์ - มีนาคม) การพระราช<br />

กุศลเลี้ยงพระตรุษจีน เมื่อต้นรัตนโกสินทร์มีการถวายภัตตาหาร<br />

แก่พระสงฆ์ในเทศกาลตรุษจีน ณ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย<br />

พระราชพิธี เดือนสี่ (มีนาคม - เมษายน) พระราชพิธี<br />

สัมพัจฉรฉินท์หรือพิธีตรุษ เป็นพระราชพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล<br />

แก่พระราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และราษฎร<br />

พระราชพิธี เดือนห้า (เมษายน - พฤษภาคม) พระราชพิธี<br />

สงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย มีการสวดมนต์ สรงน้ำ<br />

พระสงฆ์ในพระบรมมหาราชวัง ทรงบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป<br />

พระบรมอัฐิสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชและพระราชินี<br />

พระราชพิธี เดือนหก (พฤษภาคม - มิถุนายน) พระราชพิธี<br />

ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญ<br />

ทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และ<br />

ปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<br />

<br />

<br />

พระราชพิธี เดือนเจ็ด (มิถุนายน - กรกฎาคม) พระราชพิธี<br />

กุศลสลากภัต เป็นพระราชพิธีเนื่องในพระพุทธศาสนา ถวายภัตตาหาร<br />

แด่พระสงฆ์โดยการจับสลาก<br />

พระราชพิธี เดือนแปด (กรกฎาคม - สิงหาคม) พระราช<br />

กุศลเข้าพรรษา พระราชพิธีเนื่องในพระพุทธศาสนาที่กำหนดเป็น<br />

แบบแผนโบราณราชประเพณีตั้งแต่สมัยสุโขทัยตราบถึงปัจจุบัน<br />

พระราชพิธี เดือนเก้า (สิงหาคม - กันยายน) พระราชพิธี<br />

พิรุณศาสตร์ คือ พระราชพิธีขอฝน ซึ่งเป็นพระราชพิธีสำคัญ<br />

เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองและดินฟ้าอากาศ มีทั้ง<br />

พิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ ในมณฑลพิธีตั้งพระพุทธรูปสำคัญ<br />

ที่บันดาลให้ฝนตก เช่น พระคันธารราษฎร์ เป็นต้น<br />

พระราชพิธี เดือนสิบ (กันยายน - ตุลาคม) พระราชพิธี<br />

สารท มีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวปายาส ข้าวยาคู และขนมกระยาสารท<br />

ถวายพระสงฆ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาและอุทิศส่วนกุศล<br />

แก่บูรพชน<br />

พระราชพิธี เดือนสิบเอ็ด (ตุลาคม - พฤศจิกายน) <br />

พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน <br />

พระราชพิธี เดือนสิบสอง (พฤศจิกายน - ธันวาคม) <br />

พระราชพิธีลอยพระประทีป ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นการเสด็จ<br />

พระราชดำเนินประพาสลำน้ำในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เรือที่ประทับ<br />

ทอดทุ่นที่หน้าท่าราชวรดิฐเพื่อทรงลอยพระประทีป<br />

131


๔<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <br />

ทรงปักธูปหางบนเครื่องสังเวยพระสยาม<br />

เทวาธิราช ที่อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ <br />

มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เนื่องใน<br />

พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช<br />

เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.​ ๒๕๒๕<br />

พระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องในบ้านเมือง<br />

พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช<br />

พระสยามเทวาธิราช เทพยดาปกปักรักษาบ้านเมือง คือ เทพยดาศักดิ์สิทธิ์<br />

ที่อภิบาลรักษาประเทศไทย ประดุจพระภูมิคุ้มบ้าน คุ้มเมือง เมื่อมีเหตุการณ์<br />

ไม่ปกติเกิดขึ้น คนไทยจะวิงวอนขอให้พระสยามเทวาธิราชปัดเป่าให้แคล้วคลาด<br />

ภยันตราย พระสยามเทวาธิราชจึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพระบรมราชวงศ์จักรี<br />

ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อสักการะ ทรงเซ่นไหว้<br />

เป็นประจำวันและโปรดให้มีพระราชพิธีบวงสรวงประจำปี เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่<br />

ประเทศชาติในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติของไทย<br />

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงมหรสพในวันนั้น<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชมาประดิษฐานในพระวิมานไม้จันทน์ลงรักปิดทอง<br />

ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ภายในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง <br />

หน้าพระวิมานตั้งโต๊ะเครื่องบูชาแบบจีนและตั้งการพระราชพิธีบวงสรวงใหญ่<br />

แบบพราหมณ์ พร้อมมีการแสดงมหรสพสมโภชหนึ่งครั้งต่อปี เหมือนในรัชสมัย<br />

สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งได้ถือปฏิบัติมาตราบจนทุกวันนี้<br />

<br />

132


พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ภายในหมู่พระมหามณเฑียร <br />

ที่ประดิษฐานองค์พระสยามเทวาธิราช<br />

พระสยามเทวาธิราชประดิษฐานอยู่ในมุขกลาง<br />

ของพระวิมานไม้แกะสลักปิดทอง ตั้งอยู่เหนือ<br />

ลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลาง<br />

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ<br />

<br />

ประวัติพระสยามเทวาธิราช<br />

เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔ เป็นเวลาที่<br />

บ้านเมืองต้องเผชิญภัยสงคราม ล่อแหลมต่อการพลาดพลั้งเสียอธิปไตย<br />

หลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีพระราช<br />

ปรารภว่า การที่บ้านเมืองแคล้วคลาดเสมอมา ชะรอยคงเป็นเพราะมี<br />

เทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งคอยพิทักษ์รักษาบ้านเมืองไว้ ด้วยเหตุนี้<br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นด้วย<br />

ทองคำบริสุทธิ์ สูง ๘ นิ้ว เพื่อสักการบูชา ลักษณะเป็นเทวรูป<br />

ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์ ทรงยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์<br />

พระหัตถ์ซ้ายจีบเสมอพระอุระ ถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช<br />

<br />

<br />

133


๕<br />

พระราชพิธีพืชมงคล<br />

จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ<br />

134<br />

มงคลแห่งพืชพันธุ์ บำรุงขวัญเกษตรกร<br />

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ <br />

มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ด้วยเชื่อกันว่า เมื่อพระมหากษัตริย์<br />

ทรงไถหว่านเป็นปฐมฤกษ์ ย่อมจะเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์<br />

ธัญญาหารในแผ่นดิน และแม้ภายหลังพระมหากษัตริย์<br />

จะมิได้ทรงไถหว่านด้วยพระองค์เอง แต่ความเชื่อและ<br />

ความศรัทธาของปวงชนที่มีต่อพระราชพิธีนี้ก็ยังคงมีอยู่<br />

อย่างมั่นคงเสมอมา<br />

การพระราชพิธีที่ฟื้นฟูใหม่นี้ ปฏิบัติตามแนว<br />

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

วันแรกเป็นพิธีสงฆ์ จัดภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

เพื่อเสริมสิริมงคลแก่พันธุ์พืชทั้งหลาย รวมทั้งพระยาแรกนา<br />

<br />

และเทพีหาบคู่ เรียกว่าพระราชพิธีพืชมงคล วันรุ่งขึ้น<br />

ประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธี<br />

พราหมณ์ จึงเรียกทั้งสองพระราชพิธีรวมกันว่า พระราชพิธี<br />

พืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ<br />

พ.ศ. ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <br />

ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ<br />

ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยทรงตระหนักว่าประชากรส่วนใหญ่<br />

ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผู้ที่ปลูกข้าวเลี้ยงชีวิตชาวไทย<br />

ทั้งแผ่นดิน เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของชาติ<br />

ในครั้งนี้มีพระราชดำริปรับปรุงการพระราชพิธีให้เหมาะสม<br />

ตามกาลสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นมิ่งขวัญ<br />

ในการพระราชพิธี


พระราชพิธีพืชมงคล<br />

<br />

เป็นพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์แห่งพืชผล พระมหาราชครูประกาศ<br />

พระราชพิธี พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระราชทานน้ำสังข์ ทรงเจิมพระยาแรกนาและเทพี <br />

<br />

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ<br />

<br />

ก่อนประกอบพิธีหว่านไถที่เรียกว่าจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระยาแรกนาจะต้องเสี่ยงทาย<br />

เลือกผ้านุ่งสำหรับแต่งในพิธี จากนั้นจึงทำพิธีไถ พระยาแรกนาถือคันไถเทียมโค ตามด้วยเทพีคู่หาบ <br />

ไถเวียนไปโดยรอบ แล้วหว่านพันธุ์ข้าวลงในแปลงพระราชพิธี ซึ่งปัจจุบันเป็นพันธุ์ข้าวทรงปลูกที่ได้<br />

พระราชทานจากแปลงนาสาธิตสวนจิตรลดาถือเป็นพันธุ์ข้าวมงคล เมื่อไถครบตามพิธี พราหมณ์<br />

จะนำของ ๗ สิ่ง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า มาเสี่ยงให้พระโคกิน ถ้าพระโค<br />

กินสิ่งใด จะมีคำทำนายซึ่งล้วนเป็นสิริมงคล เมื่อเสร็จพระราชพิธี ในรัชกาลปัจจุบันยังมีการ<br />

พระราชทานรางวัลแก่เกษตรกรดีเด่นประจำปีด้วย<br />

135


๕<br />

ด้านหน้าของเสา นำเสนอเรื่องราว<br />

ของพระราชพิธีด้วยการฉายภาพ<br />

เคลื่อนไหวบนเสาอาคารที่ได้รับการ<br />

ตกแต่งด้วยเมล็ดข้าวเปลือกจำนวนมาก<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน<br />

<br />

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีอันเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์<br />

ธัญญาหารเพื่อสนับสนุนส่งเสริมชาวไร่ชาวนาในการประกอบอาชีพ พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัย เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็น<br />

ประธานอธิษฐานขอความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารให้มีแก่ราชอาณาจักร<br />

ได้ทรงปลูกพันธุ์ข้าวทดลองในแปลงนาสาธิตสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต <br />

ซึ่งเป็นพระราชฐานที่ประทับ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วพระราชทานให้นำมาเข้าใน<br />

พระราชพิธีประมาณ ๔๐ - ๕๐ กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระราชทาน<br />

มาเข้าพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์<br />

ได้แบ่งไปหว่านที่ลานประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนหนึ่ง <br />

อีกส่วนหนึ่งจัดบรรจุซองส่งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรสำหรับแจกจ่าย<br />

แก่เกษตรกรเพื่อเป็นสิริมงคลตามพระราชประสงค์ที่ทรงส่งเสริมการเกษตร<br />

136


บานประตูและหน้าต่าง<br />

หอพระคันธารราษฎร์<br />

จำหลักลายเทวดาเหาะ<br />

อยู่เหนือกอข้าว นับเป็น<br />

เครื่องหมายที่แสดงถึง<br />

ความเชื่อของชาวไทย<br />

สมัยโบราณว่าฤดูกาลและ<br />

สภาพภูมิอากาศเกิดจาก<br />

การบันดาลของเทวดา<br />

ด้านหลังของเสา นำเสนอ<br />

เรื่องราวของพระราชพิธี<br />

พิรุณศาสตร์ และประวัติ<br />

พระคันธารราษฎร์<br />

พระคันธารราษฎร์ รัชกาลที่ ๑<br />

โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน<br />

ในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์<br />

พระราชพิธีพิรุณศาสตร์<br />

<br />

พระราชพิธีพิรุณศาสตร์เป็นพิธีขอฝนเพื่อบำรุงขวัญ<br />

เกษตรกร มีมาแต่สมัยโบราณ ไม่ได้จัดเป็นการประจำทุกปี<br />

แต่จะประกอบพระราชพิธีเมื่อฝนแล้ง<br />

รัชกาลปัจจุบัน มีการจัดพระราชพิธีขึ้นครั้งหนึ่ง<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยอนุโลมตามพระราชพิธีของหลวง<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงประกอบ<br />

พระราชพิธี ณ วัดศีลขันธาราม จังหวัดอ่างทอง มีพิธีสงฆ์<br />

และพิธีพราหมณ์ที่สระน้ำหน้าอุโบสถ ตั้งบุษบกปิดทอง<br />

ประดิษฐานเจว็ดรูปพระอินทร์ ๔ มุม ตั้งราชวัตร ฉัตร ธง<br />

ต้นกล้วย ต้นอ้อย ริมสระตั้งโต๊ะประดิษฐานรูปท้าว<br />

จตุโลกบาล ๔ ทิศ ในสระมีสัตว์น้ำ ได้แก่ กุ้ง ปู ปลาหมอ<br />

ปลาช่อน ปลาดุก ปลาตะเพียน กบ เต่า ตะพาบ สำหรับ<br />

นำไปปล่อยในแม่น้ำ <br />

พระคันธารราษฎร์ ประดิษฐาน ณ หอพระคันธารราษฎร์<br />

มุมระเบียงด้านหน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม <br />

ในพระบรมมหาราชวัง<br />

<br />

<br />

พระคันธารราษฎร์<br />

<br />

พระคันธารราษฎร์ หรือ “พระขอฝน” เป็น<br />

พระประธานในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์และ<br />

พระราชพิธีพืชมงคล ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาล<br />

ปัจจุบัน มีพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวา<br />

ท่ากวัก ยกเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบน<br />

พระเพลาเป็นกิริยารับน้ำ พระพักตร์ค่อนข้างกลม<br />

พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ ลงยาสีเหมือนจริง<br />

พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์บางเรียว พระกรรณยาว<br />

เกือบจดพระอังสา พระรัศมีดอกบัวตูม ฐานบัวคว่ำ<br />

บัวหงายรับด้วยฐานสิงห์<br />

137


ขบวนเรือพระราชพิธี จัดแสดงด้วยเทคนิค <br />

โฮโลแกรม (Hologram) หรือภาพสามมิติ<br />

ในรูปแบบเมจิกวิชั่น (Magic Vision) <br />

เพื่อจำลองภาพให้ผู้เข้าชมเห็นเรือพระที่นั่ง<br />

ลอยในน้ำอย่างสวยงาม<br />

๖<br />

พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนิน<br />

โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค<br />

วิถีพุทธผสานพิธีพราหมณ์ งดงาม ยิ่งใหญ่<br />

การเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตรา<br />

ทางชลมารคในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล<br />

ถวายผ้าพระกฐิน เนื่องมาจากเมื่อเวลาบ้านเมืองว่างศึก<br />

สงคราม อันเป็นช่วงเวลาที่ราษฎรหยุดพักรอการเกี่ยวข้าว<br />

ตรงกับเทศกาลกฐินตามประเพณีในพระพุทธศาสนา ซึ่ง<br />

เป็นราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นประจำ ราชการจะเกณฑ์<br />

ผู้คนมาฝึกฝีพายเพื่อให้พร้อมรบในฤดูน้ำหลาก จึงกลาย<br />

เป็นพระราชประเพณีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดย<br />

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคสืบเนื่องต่อมา แม้จะหมดสมัย<br />

ที่จะใช้เรือในราชการแล้วก็ตาม <br />

ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระบรมวงศานุวงศ์<br />

ข้าราชบริพาร และประชาชน จะนำเรือตกแต่งอย่าง<br />

สวยงามเข้าร่วมในขบวนด้วย ขบวนเรือที่มีระเบียบ<br />

สวยงาม แสดงความพร้อมเพรียงของกองทัพ ความวิจิตร<br />

ของเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวน<br />

พยุหยาตรา สะท้อนความมีวัฒนธรรมและการยึดมั่นใน<br />

พระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง เป็นพระราชพิธีที่ยิ่งใหญ่<br />

ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในโลก<br />

138


การเสด็จพระราชดำเนินโดย<br />

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค<br />

มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา <br />

ดังปรากฏภาพเขียน ฝีมือ<br />

ชาวตะวันตก และบันทึก<br />

ที่บรรยายถึงความงดงาม<br />

และยิ่งใหญ่ของขบวน<br />

พยุหยาตราทางชลมารค<br />

ยากจะหาที่ใดเสมอเหมือน<br />

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์<br />

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์<br />

เรือครุฑเหิรเห็จ<br />

เรือพระที่นั่งนารายณ์<br />

ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙<br />

139


140<br />

ตำราคชลักษณ์จัดแสดงด้วยระบบ<br />

จอสัมผัสประกอบอะนิเมชั่น <br />

แสดงลักษณะอันเป็นมงคล<br />

และเป็นโทษของช้างตระกูลต่างๆ


๗<br />

พระราชพิธีรับ<br />

และสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ<br />

<br />

ช้างเผือก พระราชพาหนะคู่พระบารมี <br />

ช้างเป็นสัตว์มงคลคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทย<br />

มาแต่โบราณ ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายประการ<br />

ทั้งในการสงครามปกป้องบ้านเมือง นอกจากนี้ ยังเป็น<br />

สัญลักษณ์แห่งพระบารมี ความศักดิ์สิทธิ์ ความอุดม<br />

สมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองของแผ่นดิน ความร่มเย็น<br />

เป็นสุขของอาณาประชาราษฎร์ ด้วยเหตุนี้ ช้างจึงถูกนำมาใช้<br />

เป็นสัญลักษณ์ปรากฏในสิ่งสำคัญต่างๆ เช่น ธงชาติไทย<br />

(สมัยก่อน) และเครื่องราชอิสริยาภรณ์<br />

เมื่อมีการพบช้างที่มีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า <br />

ช้างเผือก ซึ่งหาได้ยากในพระราชอาณาจักร ถือว่าเป็น<br />

นิมิตอันเป็นมงคลของแผ่นดิน ช้างเผือกจึงเป็นพระราช<br />

พาหนะคู่พระบารมี แสดงพระเกียรติยศและพระบรม<br />

เดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ มีประเพณีนำช้าง<br />

เข้าพระราชพิธีรับและสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญอันเป็น<br />

แบบแผนสืบมา<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

พระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญ<br />

<br />

ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้จัดงาน ดังนี้<br />

พิธีจารึกนามช้างสำคัญลงบนอ้อยแดง <br />

มีขึ้นก่อนพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้าง<br />

สำคัญ เจ้าพนักงานจะจารึกนามพระราชทานลงบน<br />

อ้อยแดง แล้วพระราชครูพราหมณ์ทำพิธีจารึก<br />

เทพมนต์กำกับ<br />

พิธีถวายช้างสำคัญ<br />

นำช้างน้อมเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงรับเป็นช้าง<br />

สำคัญ ซึ่งอาจจัดก่อนวันพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง<br />

ช้างสำคัญหรือจัดในวันเดียวกัน<br />

พิธีสมโภช<br />

มีขบวนแห่ช้างสำคัญเข้าสู่โรงพิธี พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์<br />

อ้อยแดงจารึก และเครื่องคชาภรณ์<br />

วันสุดท้าย มีการนำช้างสำคัญอาบน้ำและ<br />

ตักบาตร จากนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย<br />

ภัตตาหาร พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช <br />

พระราชครูพราหมณ์เจิมและป้อนมะพร้าวอ่อน<br />

เป็นเสร็จพิธี<br />

141


๘<br />

<br />

สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปรับปรุงพระนคร<br />

ครั้งใหญ่ เพื่อสร้างสถานที่ราชการ<br />

และถนน เป็นเหตุให้ต้องรื้อ<br />

ศาลเทพารักษ์ต่างๆ ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง <br />

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้อัญเชิญเทวรูปในศาลเหล่านั้น<br />

มาประดิษฐานไว้ในบริเวณศาลหลักเมือง<br />

แต่เพียงแห่งเดียว เทวรูปที่อัญเชิญมา<br />

ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง <br />

พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ <br />

และเจ้าหอกลอง<br />

เทวรูปเจ้าหอกลอง<br />

พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง<br />

หลักชัยขวัญเมืองเพื่อความ<br />

รุ่งเรืองสถาพร การสร้างหลักเมือง<br />

เป็นคติพราหมณ์ ซึ่งมีความเชื่อว่า เป็นที่<br />

สำหรับเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาเมือง<br />

สิงสถิต เพื่อป้องกันภยันตราย เสริมสร้าง<br />

สิริมงคลและทำให้เชื่อมั่นว่าอานุภาพ<br />

ของพระหลักเมืองคือหลักชัยที่ทำให้<br />

ประชาชนรวมกันอยู่ในเมืองได้อย่าง<br />

ร่มเย็น มีความรุ่งเรืองสถาพร พิธี<br />

ยกเสาหลักเมืองเรียกว่า พระราชพิธี<br />

นครสถาน มักเลือกชัยภูมิที่ตั้ง<br />

เสาหลักเมืองบริเวณใจกลางพระนคร<br />

หลักเมืองกรุงเทพมหานคร มี ๒ หลัก<br />

คือเสาหลักเมืองเดิมและเสาหลักเมือง<br />

ปัจจุบัน<br />

<br />

เสาหลักเมืองเดิม <br />

สร้างขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรง<br />

สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี<br />

เสาทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์สูง ๑๘๗ นิ้ว<br />

ประกับภายนอกด้วยไม้แก่นจันทน์<br />

เสาส่วนที่อยู่บนพื้นดินสูง ๑๐๘ นิ้ว<br />

ส่วนที่ฝังลงดินยาว ๗๙ นิ้ว ลงรัก<br />

ปิดทอง ยอดหัวเม็ดรูปบัวตูม ภายใน<br />

กลวงเป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตา<br />

พระนคร<br />

142


พิธียกเสาหลักเมืองจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล<br />

ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ มีการสร้างศาลเป็นอาคารไม้<br />

ประดิษฐานเสาหลักเมือง หลังคามุงกระเบื้อง ครั้งนั้นได้สร้างรูปเทพารักษ์<br />

สำหรับพระนครประดิษฐานไว้ในศาล ๓ หลัง ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดพระเชตุพน<br />

วิมลมังคลารามเลียบคลองคูเมืองเดิม ได้แก่ ศาลหน้าคุกกรมพระนคร ศาลเจ้า<br />

หอกลองหน้า และหอกลองประจำเมือง ทำหน้าที่รักษาบ้านเมืองคู่กับ<br />

พระหลักเมืองด้วย<br />

<br />

เสาหลักเมืองปัจจุบัน <br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้สร้างแทนหลักเก่าที่ชำรุดมาก อาคารหมดความสง่างาม ทรงบรรจุดวงชะตา<br />

พระนคร ต้องตามดวงพระบรมราชสมภพ เพื่อให้บ้านเมืองและประชาชน<br />

ภายใต้พระบารมีประสบความเจริญวัฒนา เป็นเสาไม้สักมีแกนอยู่ภายใน<br />

ประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น กว้างแผ่นละ ๘ นิ้ว ยอดหัวเม็ดทรงมัณฑ์<br />

เสาสูง ๒๐๑.๔ นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนเสายาว ๑๘.๘ นิ้ว ลำต้นอวบกว่า<br />

เสาหลักเมืองต้นเดิม ปรับปรุงอาคารศาลเป็นจัตุรมุข ยอดปรางค์ก่ออิฐถือปูน<br />

ฉาบสีด่อน (สีเผือก) แบบศาลหลักเมืองที่พระนครศรีอยุธยา ส่วนเสาหลักเมืองเดิม<br />

ได้เชิญขึ้นมาตั้งคู่กันไว้<br />

ศาลหลักเมืองสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๕ <br />

ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงประกอบพิธีสมโภชหลักเมือง<br />

เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.​ ๒๕๒๙<br />

ดวงชะตาพระนคร<br />

ยันต์สุริยาทรงกลด สำหรับจารลงในแผ่นทอง <br />

แผ่นเงิน แผ่นนาก แล้วลงดวงชะตาพระนคร<br />

ไว้ตรงกลาง<br />

143


๕<br />

สง่าศรี<br />

สถาปัตยกรรม<br />

144


พระบรมโพธิสมภารแห่งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลที่ปกแผ่ไพศาล<br />

ไปทั่วทุกทิศ บันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่รุ่งเรืองสมฐานะ<br />

ทัดเทียมนานาอารยประเทศ เป็นมหานครที่งดงามด้วยอาคารสถาน ที่ได้รับ<br />

การประดับประดาด้วยสถาปัตยกรรมอันล้ำค่าหลากสมัย จากสุดยอด<br />

ช่างฝีมือที่ได้รังสรรค์ไว้เป็นมรดกศิลป์สำหรับแผ่นดินสยาม เป็นความภูมิใจ<br />

ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตสถาพรสืบไป<br />

<br />

145


กรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางแห่งแผ่นดินสยาม <br />

นับตั้งแต่ได้รับการสถาปนา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ และรุ่งเรือง<br />

สืบมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ด้วยพระบรมโพธิ<br />

สมภารของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล ที่ทรงทำนุบำรุง<br />

บ้านเมืองให้เฟื่องฟูในทุกด้าน ราชธานีแห่งนี้จึงวิจิตรตระการ<br />

ด้วยสรรพสถาน ที่ได้รับการรังสรรค์ด้วยศิลปกรรมอันล้ำค่า<br />

หลากสมัย ตั้งแต่รูปแบบไทยประเพณีที่สืบเนื่องแบบอย่าง<br />

อันดีมาแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา แล้ววิวัฒนาด้วยการผสาน<br />

146


ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากอารยประเทศ บันดาลให้เป็น<br />

บ้านเมืองที่รุ่งเรืองด้วยสถาปัตยกรรมอันงดงาม ไม่ว่าจะเป็น<br />

พระอาราม พระราชวัง รวมทั้งบ้านเรือนของราษฎร ซึ่งล้วน<br />

สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกและความชำนาญทางการช่าง<br />

ของชาวสยามที่สามารถสรรค์สร้างสถาปัตยกรรมที่งดงามล้ำค่า<br />

ปรากฏเป็นเกียรติประดับแผ่นดิน เป็นมรดกศิลป์ที่แสดง<br />

ภูมิปัญญาของชาวสยามที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขสืบมา <br />

ใต้ร่มพระบารมีแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์<br />

147


แ ผ น ผั ง ห้องสง่าศรีสถาปัตยกรรม<br />

๑<br />

วัดในพระพุทธศาสนา<br />

๓<br />

วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรม<br />

กรุงรัตนโกสินทร์<br />

ทางเข้า<br />

๑<br />

๔<br />

๓<br />

๒<br />

๒<br />

๔<br />

วังเจ้านายสมัยรัตนโกสินทร์<br />

การแบ่งเขตภายในวัด<br />

148


๕<br />

ทางออก<br />

บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

๕<br />

149


๑<br />

วิวัฒนาการของ<br />

สถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์<br />

สถาปัตยกรรมในกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย คือ วัง บ้าน<br />

หรือวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อแรกสร้างยังคงมีรูปแบบไทยประเพณีที่สืบทอด<br />

มาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งประมาณช่วงรัชกาลที่ ๒ ถึงรัชกาลที่ ๓<br />

เกิดความนิยมในการนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้ร่วมกับสถาปัตยกรรมไทย <br />

จากนั้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงเริ่มรับทั้งรูปแบบศิลปะ<br />

และวิทยาการจากตะวันตกเข้ามาผสมผสาน เพื่อให้ดูทัดเทียมกับชาติต่างๆ <br />

ในยุโรป นับเป็นปฐมบทของการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและรูปแบบ<br />

สถาปัตยกรรมให้เป็นแบบสากลสืบมาจนปัจจุบัน<br />

“เรือนต้น” ที่พระราชวังดุสิต เป็นเรือนเครื่องสับ<br />

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สืบทอดรูปแบบ<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณี<br />

มาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา<br />

150


จัดแสดงภาพลายเส้น<br />

ของสถานที่สำคัญต่างๆ<br />

ซึ่งแสดงให้เห็นวิวัฒนาการ<br />

ของสถาปัตยกรรม<br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

หลายรูปแบบ<br />

ทั้งแบบไทยประเพณี<br />

ผสานศิลปะจีน และที่ได้รับ<br />

อิทธิพลจากตะวันตก<br />

จัดฉายวีดิทัศน์แสดงภาพถ่าย<br />

อาคารสถานที่ต่างๆ<br />

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการ<br />

ของสถาปัตยกรรม<br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

พระที่นั่งอนันตสมาคม<br />

หนึ่งในสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตก<br />

ที่ได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕<br />

151 ๕๙


จัดฉายวีดิทัศน์แสดงภาพถ่าย<br />

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม<br />

ของวังเจ้านายในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๓ <br />

ผ่านจอภาพซึ่งติดตั้งอยู่ใน<br />

กรอบหน้าต่างที่จำลองมาจาก<br />

พระตำหนักแดง <br />

ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />

พระนคร <br />

จัดฉายวีดิทัศน์ถ่ายทอดเรื่องราว<br />

ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม<br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๓ <br />

๒<br />

วังเจ้านาย<br />

วัง หมายถึง ที่ประทับของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายหน้า ตั้งแต่ชั้นเจ้าฟ้าลงมาถึง<br />

หม่อมเจ้า เช่น พระราชโอรส พระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าหลานเธอ เมื่อมีพระชันษาประมาณ<br />

๑๓ ปี และผ่านพระราชพิธีโสกันต์หรือโกนจุกแล้ว ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ ต้องเสด็จไปประทับ<br />

นอกวังหลวงและเข้ารับราชการต่อไป<br />

วังเจ้านาย ในสมัยหนึ่งเคยมีอยู่เป็นจำนวนมาก และมีความสำคัญสูงยิ่งในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

เพราะเจ้านายเป็นกำลังสำคัญในการบริหารบ้านเมืองให้มีความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรือง<br />

การดำเนินชีวิตและรูปแบบสถาปัตยกรรมของวังเจ้านายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย<br />

และการเปลี่ยนแปลงของวังนี้เองเป็นต้นแบบที่ทำให้วิถีชีวิตและรูปแบบของบ้านเรือนราษฎรทั่วไป<br />

เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย<br />

152


วังเจ้านายสมัยรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓<br />

การสร้างวังครั้งอดีต สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓<br />

นอกจากพระบรมมหาราชวัง วังเจ้านายล้วนเป็นเรือน<br />

สร้างด้วยไม้ ไม่ต่างจากเรือนคหบดีของคนไทยภาคกลาง<br />

เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีสิ่งที่แสดงถึงฐานานุศักดิ์<br />

หรือฐานะของผู้อยู่อาศัยที่สูงกว่า ได้แก่ กำแพงวัง ประตูวัง<br />

ขนาดของตำหนัก หลังคาซ้อน มีลวดลายประกอบคูหา<br />

และหน้าบัน หน้าต่างแกะสลักลวดลาย และการทาสี<br />

อาคาร<br />

วังในสมัยนั้น เปรียบเสมือน บ้านหลวง ซึ่ง<br />

พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านาย<br />

พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง เสด็จไปประทับและใช้เป็นสถานที่<br />

ทรงงาน ภายในบริเวณวังจึงมีที่พักอาศัยของข้าราชการ<br />

ระดับต่างๆ ที่เจ้านายของวังทรงกำกับอยู่ บางวังมีคนทำงาน<br />

อาศัยอยู่เป็นร้อยๆ คน เมื่อตั้งวังอยู่ที่ไหน ก็จะเป็นแหล่ง<br />

ชุมชนขึ้นที่นั่น และเรียกชื่อตามสถานที่ตั้งนั้น<br />

ตามธรรมเนียมแต่เก่าก่อน วังจะตั้งรายล้อม<br />

พระบรมมหาราชวังในเขตกำแพงเมืองหรือตาม<br />

จุดยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย<br />

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ในเขตพระราชฐานชั้นใน<br />

ของพระบรมมหาราชวัง เริ่มมีการสร้างตำหนักเรือนหมู่<br />

แบบก่ออิฐฉาบปูนแทนการสร้างด้วยไม้ ทำให้อาคาร<br />

มีความแข็งแรงมากขึ้น<br />

พระตำหนักแดง สร้างด้วยไม้สัก ทาสีแดง ยกพื้นสูง ขนาดห้าห้อง<br />

มีเสานางเรียงรับชายคา พระแกลฐานเท้าสิงห์ ปัจจุบันตั้งอยู่<br />

ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร<br />

<br />

วังท่าพระ เดิมเป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์มาตั้งแต่<br />

สมัยรัชกาลที่ ๒ ปัจจุบันมีเพียงกำแพงวังก่ออิฐถือปูน<br />

และท้องพระโรงซึ่งมีรูปแบบเป็นอาคารทรงไทย หลังคาชั้นเดียว<br />

ไม่มีมุขลด หน้าบันเป็นลูกฟักหน้าพรหม<br />

<br />

วังบ้านหม้อ เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ <br />

พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ พระราชโอรส<br />

ในรัชกาลที่ ๒ ปัจจุบันยังมีอาคารท้องพระโรงทำจากไม้สัก <br />

หลังคาชั้นเดียวตกแต่งด้วยช่อฟ้า นาคลำยอง และหางหงส์ <br />

153


จัดฉายวีดิทัศน์ถ่ายทอดเรื่องราว<br />

ความเป็นมาของสถาปัตยกรรม<br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ - ปัจจุบัน <br />

ผ่านจอภาพซึ่งติดตั้งอยู่<br />

ในกรอบหน้าต่างที่จำลองมา<br />

จากพระตำหนักใหญ่<br />

ภายในวังบางขุนพรหม<br />

<br />

วังเจ้านายสมัยรัชกาลที่ ๔ - ปัจจุบัน<br />

วังในสมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนตามอิทธิพล<br />

ตะวันตกจากแบบอย่างที่พบเห็นในหนังสือหรือภาพวาด<br />

วังในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทานเป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

แต่ไม่รวมสถานที่ทำงานไว้เหมือนแต่ก่อน และเริ่มมีการว่าจ้างสถาปนิก<br />

ชาวตะวันตกเป็นผู้ออกแบบ ทำให้รูปแบบของวังเป็นแบบตะวันตกแท้ และใช้<br />

วิทยาการก่อสร้างแบบใหม่ ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความเจริญทัดเทียมอารยประเทศ<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากเป็นยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ อีกทั้งพระองค์<br />

ไม่มีพระราชโอรสธิดา จึงไม่มีการสร้างวังสำหรับพระเจ้าลูกยาเธอ คงมีแต่วัง<br />

ในระดับพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า แต่รูปแบบสถาปัตยกรรมของวังส่วนใหญ่<br />

ล้วนเป็นแบบได้รับอิทธิพลตะวันตกมาจวบจนรัชกาลปัจจุบัน<br />

154


๒<br />

วังบางขุนพรหม ประกอบด้วยอาคาร ๒ หลัง<br />

คือ ตำหนักใหญ่ เคยเป็นที่ประทับของ<br />

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์<br />

กรมพระนครสวรรค์วรพินิต<br />

สถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนสซองส์<br />

และบาโรก ผสมลวดลายแบบโรโกโก และ<br />

ตำหนักสมเด็จ เคยเป็นที่ประทับของ<br />

สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระ<br />

ราชเทวี สถาปัตยกรรมภายนอกเน้นความ<br />

เรียบง่าย รูปแบบคล้ายวิลล่าในเยอรมนี<br />

ภายในตกแต่งด้วยลวดลายแบบบาโรกและ<br />

ศิลปะแบบอาร์ตนูโว<br />

วังวรดิศ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จฯ<br />

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ<br />

สถาปัตยกรรมเป็นแบบบ้านชนบท<br />

ในเยอรมนี หลังคาทรงจั่วหักมุมตอนปลาย<br />

มีชายคายื่นกันแดดฝน ผนังตอนบน<br />

ตกแต่งลวดลายปูนปั้น<br />

เสาอิงเป็นรูปกลีบบัวเรียงซ้อนกัน<br />

วังลดาวัลย์ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จฯ<br />

เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรี<br />

ราเมศวร์ สถาปัตยกรรมคล้ายกับอาคาร<br />

ในยุโรปยุควิคตอเรียและวิลล่าในอิตาลี <br />

มุขทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นหอคอย<br />

ภายในเป็นบันไดเวียน บานหน้าต่าง<br />

ตอนบนเป็นช่องแสงโค้งรูปครึ่งวงกลม<br />

โครงสร้างเป็นแบบผนังรับน้ำหนัก <br />

ภายในจึงไม่มีเสา มีกำแพงสีแดงโอบล้อมวัง<br />

จึงเรียกกันติดปากว่า วังแดง <br />

ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ<br />

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

155


๓<br />

วัดในพระพุทธศาสนา<br />

ศูนย์รวมศรัทธา <br />

ทรงคุณค่าคู่แผ่นดิน<br />

<br />

การสร้างบ้านแปงเมืองเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์<br />

ตอนต้น นอกจากจะสร้างพระบรมมหาราชวังที่เป็น<br />

ศูนย์กลางของบ้านเมืองแล้ว พระมหากษัตริย์ยังทรงทำนุ<br />

บำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์<br />

พระอารามต่างๆ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน<br />

และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง<br />

วัดในพระพุทธศาสนาแสดงให้เห็นถึงความวิจิตร<br />

บรรจงอันเกิดจากศรัทธาที่ชาวไทยมีต่อพระพุทธศาสนา<br />

และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อเกิดเป็นมรดก<br />

ทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า<br />

พระศรีรัตนเจดีย์จำลอง จัดแสดงภายในห้องที่นำเสนอด้วยเทคนิคเปลี่ยนแสงเป็น ๓ ช่วงเวลา <br />

คือเวลาเช้า-แสงสีทอง กลางวัน-แสงสีส้ม และเย็น-แสงสีคราม<br />

156


วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม นอกจากจะแสดงถึงพระราชศรัทธาในการทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ <br />

ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแล้ว ยังเป็นพระอารามที่ได้รับการรังสรรค์ด้วยสถาปัตยกรรมที่งดงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ <br />

เพดานห้องจัดแสดงพระศรีรัตนเจดีย์ ตกแต่งด้วยการจำลองลวดลาย<br />

เพดานภายใน “พระเจดีย์อุโบสถ” วัดอัษฎางคนิมิต ซึ่งรัชกาลที่ ๕ <br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่จุฑาธุชราชฐาน บนเกาะสีชัง<br />

จังหวัดชลบุรี<br />

157


ด้านในสุดของพระระเบียงจำลอง ใช้กระจกเงา<br />

สะท้อนให้เกิดเป็นภาพพระพุทธรูปประดิษฐาน<br />

เรียงรายคล้ายกับที่ปรากฏในพระระเบียง<br />

ของพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม<br />

และจัดแสดงหุ่นจำลองการศึกษาของเด็กไทย<br />

ในอดีตที่เรียนหนังสือกับพระสงฆ์<br />

ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรม<br />

ในพระอารามสำคัญ<br />

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ <br />

นำเสนอด้วยการฉายวีดิทัศน์<br />

ผ่านจอผ้าที่เขียนภาพ<br />

จิตรกรรมฝาผนัง<br />

เป็นรูปอาคารสำคัญ<br />

ของแต่ละพระอาราม <br />

158


๓<br />

วัดสุทัศนเทพวราราม<br />

วัดสมัยรัชกาลที่ ๑<br />

สืบทอดอยุธยา รวมศรัทธาสร้างขวัญกำลังใจ<br />

สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นช่วงเวลาของการสร้างความเป็น<br />

ปึกแผ่นให้แก่บ้านเมือง เรียกขวัญกำลังใจให้แก่ราษฎร<br />

หลังจากทำศึกสงครามกับพม่า รูปแบบทางสถาปัตยกรรม<br />

จึงมีลักษณะเป็นแบบขนบนิยมหรือไทยประเพณีที่สืบทอด<br />

มาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเหมือนเมื่อครั้ง <br />

“บ้านเมืองยังดี”<br />

วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น โดยได้รับอิทธิพลความเชื่อในด้าน<br />

ต่างๆ สืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย <br />

การวางผังวัด ทรงทำตามความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาล<br />

ตามคติไตรภูมิ หน้าบันของพระวิหารหลวงเป็นรูป<br />

พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ สะท้อนถึงการสมมติให้<br />

พระวิหารหลวงเป็นเมือง “สุทัศนนคร” ซึ่งเป็นนครของ<br />

พระอินทร์บนยอดเขาพระสุเมรุ พระประธาน คือ <br />

พระศรีศากยมุนี ซึ่งอัญเชิญมาทางเรือจากสุโขทัย<br />

<br />

<br />

วัดอรุณราชวราราม<br />

วัดสมัยรัชกาลที่ ๒<br />

พระมหาธาตุเจดีย์คู่พระนคร<br />

สมัยรัชกาลที่ ๒ เริ่มมีการติดต่อทางการค้ากับ<br />

ประเทศจีน ศิลปะจีนจึงเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้าง<br />

และปฏิสังขรณ์วัด เช่นเดียวกับวัดอรุณราชวราราม<br />

ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ ๒<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พร้อมทั้ง<br />

สร้างพระปรางค์ ซึ่งมีการประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบ<br />

หลากสี เศษกระเบื้อง และเปลือกหอยจำนวนมหาศาล<br />

การวางผังพระปรางค์ยังดำเนินตามภาพจำลอง<br />

จักรวาลตามคติไตรภูมิ โดยมีพระปรางค์ประธาน<br />

องค์ใหญ่ตั้งอยู่กลาง เปรียบดั่งเขาพระสุเมรุ อันเป็น<br />

ศูนย์กลางจักรวาล ส่วนปรางค์เล็กประจำทิศทั้งสี่องค์<br />

หมายถึงทวีปใหญ่ทั้งสี่ในจักรวาล<br />

ภายในวัดยังมีการตกแต่งด้วยตุ๊กตาศิลาจีนจำนวน<br />

มาก สันนิษฐานว่าติดมากับเรือสำเภาจีนที่มาติดต่อค้าขาย<br />

159


วัดเทพธิดาราม<br />

วัดสมัยรัชกาลที่ ๓<br />

สถาปัตย์รุ่งเรือง คู่เมืองพระพุทธศาสนา<br />

ด้วยมีพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา<br />

รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างและ<br />

ปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เป็นอันมาก รูปแบบทางสถาปัตยกรรม<br />

ของวัดในสมัยนี้มีการพัฒนารูปแบบ เช่น ใช้เครื่องก่ออิฐ<br />

ถือปูน แต่ยังคงเอกลักษณ์รูปทรงอาคารแบบไทย มีการ<br />

สร้างวัดตามอิทธิพลศิลปะแบบจีนหรือที่เรียกว่า “แบบ<br />

พระราชนิยม” มากขึ้น ควบคู่กับการสร้างแบบไทย<br />

ประเพณี ดังเช่นวัดเทพธิดาราม<br />

สมัยรัชกาลที่ ๓ การค้ากับจีนเฟื่องฟู การสร้างวัด<br />

จึงได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งทางสถาปัตยกรรมและศิลปะ<br />

การตกแต่ง หน้าบันเปลี่ยนจากเครื่องไม้เป็นปูนปั้น<br />

ประดับลวดลายด้วยกระเบื้องเคลือบจากจีน พระอุโบสถ<br />

ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ชายคารอบอาคารรองรับด้วย<br />

เสาพาไลเหลี่ยมขนาดใหญ่ ไม่มีคันทวย ทั่วบริเวณวัด<br />

ยังตกแต่งด้วยตุ๊กตาศิลาจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตุ๊กตา<br />

ผู้หญิง ภายในพระวิหารยังมีรูปหล่อหมู่อริยสาวิกา <br />

(ภิกษุณี) ประดิษฐานอยู่หน้าฐานชุกชีพระประธาน<br />

วัดมกุฏกษัตริยาราม<br />

วัดสมัยรัชกาลที่ ๔<br />

พระราชศรัทธา แผ่ไพศาล<br />

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ยังทรงเป็นวชิรญาณภิกขุ ได้เสด็จธุดงค์ทอดพระเนตร<br />

วัดในท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยาและ<br />

สุโขทัย รูปแบบทางสถาปัตยกรรมจึงหวนกลับมา<br />

นิยมแบบไทยอีกครั้ง นิยมสร้างทั้งแบบขนบนิยมหรือ<br />

แบบไทยประเพณี และแบบพระราชนิยมหรือแบบ<br />

อิทธิพลจีนซึ่งหันมาตกแต่งด้วยองค์ประกอบอย่างไทย<br />

เช่น ปั้นปูนเป็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ติดที่หน้าบัน<br />

เป็นต้น<br />

ตัวอย่างวัดสมัยรัชกาลที่ ๔ คือวัดมกุฏกษัตริยาราม<br />

จากการที่ได้ทอดพระเนตรพระอารามตามต่างจังหวัด <br />

จึงทรงนำรูปแบบขนบนิยมหรือไทยประเพณีกลับมาใช้<br />

ในการสร้างวัดนี้ มีการสร้างเจดีย์กลมทรงลังกาทางด้านหลัง<br />

ของพระวิหาร ซึ่งเป็นการวางผังตามอย่างโบราณ ทรงเป็น<br />

ผู้ริเริ่มสร้างสีมา ตั้งอยู่บนกำแพงวัดโดยรอบ เพื่อประกาศ<br />

ความเป็นเขตพุทธาวาส<br />

<br />

160


๓<br />

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

วัดในสมัยรัชกาลที่ ๕<br />

สร้างเอกลักษณ์ ด้วยศิลปะตะวันตก<br />

การสร้างวัดในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ละวัดมีรูปแบบ<br />

เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน บางแห่งสร้างตามแบบศิลปะ<br />

ตะวันตก เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ภายใน<br />

พระอุโบสถจะตกแต่งเป็นศิลปะแบบกอธิค และวัดนิเวศน์<br />

ธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีองค์ประกอบ<br />

ทางสถาปัตยกรรมแบบกอธิคทุกอาคาร โดยเฉพาะ<br />

พระอุโบสถ มีลักษณะเป็นรูปวิหารในวัดศาสนาคริสต์ <br />

ด้วยมีพระราชประสงค์จะทรงบูชาพระพุทธศาสนา<br />

ด้วยของแปลกตาหายากและให้ประชาชนได้ชื่นชม<br />

สำหรับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามนั้น ลักษณะเด่น<br />

อยู่ที่พระวิหารและพระอุโบสถ คือด้านนอกเป็นไทย<br />

ด้านในเป็นฝรั่ง บานประตูทางเข้าวัดทำเป็นรูปทหาร<br />

ต่างไปจากเดิมที่มักทำเป็นรูปเทวดา ผนังภายนอกอาคาร<br />

ประดับตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบเขียนลายสีเบญจรงค์<br />

เป็นเอกลักษณ์อันสวยงาม วัดนี้จึงมีการเรียกขานในอีก<br />

ชื่อหนึ่งว่า วัดเบญจรงค์<br />

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก<br />

วัดในสมัยรัชกาลที่ ๖ - ปัจจุบัน<br />

บูรณะวัดเดิม สร้างเพิ่มสถานศึกษา<br />

สมัยรัชกาลที่ ๖ มีเพียงการบูรณปฏิสังขรณ์<br />

วัดเดิมที่ชำรุดเสียหายหรือสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จมาแต่ใน<br />

รัชกาลก่อน เนื่องจากมีพระราชดำริที่จะทรงสร้างสถาน<br />

ศึกษาแทนการสร้างวัด สมัยรัชกาลที่ ๗ เศรษฐกิจทั่วโลก<br />

ตกต่ำ รวมทั้งประเทศไทย จึงมีเพียงการบูรณปฏิสังขรณ์<br />

วัดบางแห่ง <br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน<br />

ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดทั้งในกรุงเทพมหานครและ<br />

หัวเมือง และมีการสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก<br />

เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างวัดสำหรับชุมชน เป็นวัดที่มี<br />

ขนาดเล็ก เรียบง่าย เน้นการใช้ประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ<br />

มีรูปแบบไทยประยุกต์ที่พัฒนาให้เหมาะแก่ประโยชน์<br />

ใช้สอยแบบใหม่<br />

<br />

<br />

161


๓<br />

จำลองต้นพระศรีมหาโพธิ์<br />

ซึ่งเป็นต้นไม้ที่คนไทย<br />

นิยมปลูกไว้ภายในวัด<br />

ด้วยเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์<br />

แทนสมเด็จพระสัมมา<br />

สัมพุทธเจ้า<br />

พื้นห้องจัดแสดง จำลองพื้นลาน<br />

รอบพระอุโบสถของพระอาราม<br />

ในอดีต ซึ่งปูด้วยอิฐมอญ<br />

วางตะแคงเป็นแนวฟันปลา <br />

<br />

162


ผนังห้องจัดแสดง ฉายภาพจำลองการประกอบ<br />

ศาสนกิจของพุทธศาสนิกชนภายในบริเวณ<br />

ลานรอบพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม<br />

ตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงเย็น เช่น<br />

ช่วงเช้า ทำบุญตักบาตร<br />

กลางวัน ประกอบพิธีอุปสมบท<br />

พระศรีศากยมุนี<br />

<br />

พระศรีศากยมุนี เป็นพระพุทธรูปสำริด <br />

ปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ถือเป็น<br />

พระพุทธรูปสำริดที่สมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ที่สุด<br />

ในประเทศไทยเท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน<br />

พระศรีศากยมุนีมีความเกี่ยวข้องกับการสร้าง<br />

วัดสุทัศนเทพวราราม ด้วยรัชกาลที่ ๑ มีพระราชดำริ<br />

ให้สร้างพระวิหารหลวง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศรี<br />

ศากยมุนีที่ทรงให้อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ จังหวัด<br />

สุโขทัย ในครั้งนั้นรัชกาลที่ ๑ มีพระราชศรัทธา <br />

เสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนแห่พระโดยไม่ทรง<br />

ฉลองพระบาท จนยกพระพุทธรูปขึ้นตั้งบนฐาน<br />

ที่เตรียมไว้แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ <br />

ช่วงเย็น ประกอบพิธีเวียนเทียน<br />

163


การแบ่งเขตภายในวัด นำเสนอด้วยระบบ<br />

จอสัมผัสในรูปแบบมัลติ-ทัช (Multi-touch)<br />

ซึ่งผู้เข้าชมจะได้รับความรู้ควบคู่ไปกับ<br />

ความเพลิดเพลิน จากการเล่นเกมจัดวาง<br />

สิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในเขตพุทธาวาส<br />

และเขตสังฆาวาสให้ถูกต้อง ตรงตาม<br />

แผนผัง<br />

๔<br />

164<br />

การแบ่งเขตภายในวัด<br />

<br />

ภายในวัด มีพื้นที่หลักแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส<br />

สังฆาวาส และเขตสาธารณประโยชน์ ซึ่งจะแบ่งเป็นสัดส่วนแยกออกจากกัน<br />

อย่างชัดเจน เขตพุทธาวาส คือสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา<br />

เสมือนสัญลักษณ์แห่งสถานที่ประทับของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า <br />

มักประกอบด้วยสถาปัตยกรรมหลักสำคัญๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธองค์<br />

และพิธีกรรมต่างๆ เขตสังฆาวาส คือส่วนที่พักอาศัยของพระสงฆ์ เพื่อให้<br />

สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีการทางพระพุทธศาสนา<br />

โดยตรง พื้นที่บริเวณนี้จึงมักมีขอบเขตที่มิดชิด ประกอบด้วยอาคารสถาน<br />

ที่สัมพันธ์เฉพาะกับกิจกรรมและวัตรปฏิบัติที่เป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของ<br />

สมณเพศ เขตสาธารณประโยชน์ คือเขตพื้นที่ที่วัดกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่<br />

สำหรับเอื้อประโยชน์ใช้สอยในเชิงสาธารณประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ของวัด<br />

เช่น ใช้เป็นพื้นที่เปิดโล่งเพื่อสร้างความร่มรื่นให้วัด หรือใช้เป็นสถานที่ก่อสร้าง<br />

อาคารอื่นๆ เช่น เมรุเผาศพ โรงเรียน เป็นต้น<br />

ตุ๊กตาศิลา ประดับอยู่ที่บริเวณประตูทางเข้าพระอุโบสถ<br />

วัดสุทัศนเทพวราราม


เขตพุทธาวาส<br />

พระวิหารหลวง<br />

พระอุโบสถ<br />

เขตสังฆาวาส<br />

ตัวอย่างแผนผังวัดสุทัศนเทพวราราม<br />

แสดงสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น พระวิหารหลวง พระอุโบสถ <br />

หอพระไตรปิฎก พระระเบียง หมู่กุฏิพระสงฆ์ เป็นต้น<br />

หอพระไตรปิฎก<br />

165


๕<br />

บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

บ้านเรือนสมัยรัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓ <br />

อยู่อย่างไทย เหมือนสมัยกรุงเก่า<br />

บ้านเรือนราษฎรมีหลายแบบ มีลักษณะร่วมกันคือ<br />

หลังคาจั่วสูง ยกใต้ถุนสูง ต่างกันแต่ขนาดและวัสดุที่ใช้<br />

ตามแต่ฐานะเจ้าของ แม้จะมีฐานะดี บ้านราษฎรก็ไม่นิยม<br />

ประดับประดา เพราะถือว่า “ทำตัวเทียมเจ้า” เป็นเรื่อง<br />

มิบังควร เชื่อกันว่าจะเป็นอัปมงคลแก่ตน<br />

ลักษณะเรือนเครื่องผูก ซึ่งปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ตามชนบท<br />

166


เรือนเครื่องสับหรือเรือน<br />

ฝากระดาน เป็นเรือนแบบไทยยกพื้นสูง<br />

สร้างขึ้นโดยใช้ไม้เนื้อแข็งที่ถาวร<br />

คงทนเป็นโครงสร้างทั้งหลัง ตั้งแต่<br />

หลังคา ฝา พื้น และเสา มีลักษณะ<br />

พิเศษคือ ตกแต่งหน้าจั่วด้วยปั้นลม<br />

และมีตัวเหงาติดชายปั้นลม<br />

เรือนเครื่องผูก เป็นเรือนของ<br />

คนงานรับจ้าง ไพร่สม และทาส ใช้วัสดุ<br />

ที่ไม่คงทนถาวรมาผูกเป็นเรือน เช่น<br />

ไม้ไผ่ ใบจาก ใบตาล ใบลาน และ<br />

หวาย มีทั้งปลูกเป็นโรง คือ ปลูกติด<br />

พื้นดิน กับปลูกเป็นเรือน คือ มีการ<br />

ตั้งเสายกพื้นเรือนเหนือพื้นดิน<br />

เรือนแพ เป็นเรือนที่ตั้งอยู่บน<br />

แพไม้ไผ่ ผูกเสาจอดลอยอยู่ในน้ำ <br />

ตัวเรือนมีทั้งเรือนเครื่องสับและ<br />

เรือนเครื่องผูก เรือนแพ<br />

167


ผู้เข้าชมจะได้รับความรู้<br />

เกี่ยวกับแบบแผนบ้านเรือน<br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ซึ่งจัดแสดงด้วย<br />

ภาพบ้านเรือนในอดีต<br />

ประกอบอะนิเมชั่น<br />

ซึ่งล้วนเคลื่อนไหวไปตาม<br />

จังหวะการบังคับพาย<br />

การสะบัดบังเหียน และ<br />

การเหยียบคันเร่งรถ<br />

ซึ่งติดตั้งอยู่ที่เสาด้านหน้า<br />

จอภาพรูปช่องหน้าต่าง<br />

บ้านเรือนสมัยรัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕<br />

เปิดโลกกว้าง ได้แบบอย่างจากต่างแดน<br />

สมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ มีการติดต่อกับ<br />

ชาวตะวันตกมากขึ้น และมีผู้เดินทางไปศึกษาการปกครอง<br />

และการทำนุบำรุงบ้านเมืองที่สิงคโปร์ เมื่อกลับมาจึงนำ<br />

แบบอย่างต่างๆ มาดัดแปลงเข้ากับเมืองไทย เมื่อมีการ<br />

ตัดถนนใหม่ก็สร้างตึกแถวสองข้างถนน เพื่อเป็นย่าน<br />

ค้าขาย หรือเป็นที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติ ดังที่พูดกัน<br />

ว่า “ถนนไปถึงไหน ตึกแถวไปถึงนั่น”<br />

เรือนของผู้มีบรรดาศักดิ์ ข้าราชการ รวมถึงราษฎร<br />

ทั่วไป มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวัสดุก่อสร้างมาเป็น<br />

การก่ออิฐถือปูน สร้างเป็นเรือนตึกที่ได้รับแบบอย่าง<br />

จากเมืองชวาและสิงคโปร์ เรียกว่า ตึกกะหลาป๋า มีหน้ามุข<br />

ใช้เป็นห้องรับแขก<br />

ในช่วงสองรัชสมัยนี้เริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่<br />

อาศัยในพระนครมากขึ้น ทางการจึงสร้างตึกหลวงหลังคา<br />

ทรงปั้นหยาเป็นที่รับรอง สร้างสถานกงสุลต่างประเทศ<br />

และเรือนพักอาศัยที่มีเฉลียงโดยรอบ อันเป็นลักษณะ<br />

เฉพาะตัวตามแนวความคิดของชาวตะวันตก<br />

168


๕<br />

บ้านเรือนสมัยรัชกาลที่ ๖ - ปัจจุบัน<br />

รูปแบบตะวันตก ยิ่งมีอิทธิพล<br />

สมัยรัชกาลที่ ๖ มีคฤหาสน์สำหรับขุนนาง<br />

ผู้มีบรรดาศักดิ์สูงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชทาน ออกแบบโดย<br />

ชาวตะวันตก รูปแบบสถาปัตยกรรมจึงเป็นแบบตะวันตก<br />

ที่ทันสมัยในยุคนั้น อาคารที่สร้างเป็นแบบก่ออิฐถือปูน<br />

จะมีขนาดใหญ่ บนพื้นที่กว้างขวาง ตกแต่งด้วยศิลปะ<br />

ที่งดงาม<br />

ผู้มีฐานะปานกลางหรือประชาชนทั่วไป จะสร้าง<br />

เรือนไม้ มีมุขอย่างน้อย ๑ แห่ง ถือกันว่าหน้ามุขเป็นเครื่อง<br />

แสดงฐานะของเจ้าของบ้าน หลังคาจะมุงด้วยกระเบื้อง<br />

ซีเมนต์รูปขนมเปียกปูน เรียกว่า กระเบื้องว่าว<br />

จากนั้นมาผู้คนทั่วไปหันมาให้ความนิยมบ้านไม้<br />

169


๖<br />

ดื่มด่ำย่านชุมชน


กรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่ตั้งของชุมชนหลายแห่งซึ่งราษฎรแต่ละชุมชน<br />

ได้รวมตัวกันประกอบอาชีพที่สุจริต ผลิตผลงานหัตถศิลป์เลี้ยงชีวิต<br />

ตามความเชี่ยวชาญที่ได้สั่งสมและสืบทอดกันต่อมาเป็นเวลายาวนาน จนแต่ละ<br />

ชุมชนมีชื่อเสียงและสามารถสร้างเอกลักษณ์ในด้านการผลิตงานหัตถศิลป์ต่างๆ<br />

ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสมบัติอันล้ำค่า เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวชุมชน และผู้คน<br />

บนเกาะรัตนโกสินทร์


บ้านลาน<br />

ชุมชนช่างทอง<br />

บ้านพานถม<br />

ถนนดินสอ<br />

บ้านธูป<br />

ชุมชนกรงนก<br />

บ้านน้ำอบ<br />

บ้านดอกไม้<br />

บ้านสาย<br />

บ้านบาตร<br />

ย่านสังฆภัณฑ์<br />

ถนนตีทอง<br />

แผนที่กรุงรัตนโกสินทร์<br />

สมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๘<br />

172


นับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

เป็นราชธานีแห่งขอบขัณฑสีมาราชอาณาจักร<br />

สยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ภายใต้ร่มพระมหา<br />

เศวตฉัตรและพระบรมโพธิสมภารของพระมหา<br />

กษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งทรงมุ่งหวัง<br />

ตั้งพระราชหฤทัยปกครองประเทศให้รุ่งเรือง<br />

ด้วยหลักทศพิธราชธรรม ตามครรลองแห่ง<br />

สมเด็จพระบรมศาสดา บ้านเมืองได้บังเกิด<br />

ความก้าวหน้า นำความร่มเย็นผาสุกมาสู่<br />

มหาชน ตลอดจนแผ่นดินสยาม <br />

ราษฎรทั้งหลายยังได้รับอิสระเสรี<br />

ในการประกอบอาชีพ จึงสามารถเนรมิตผลงาน<br />

หัตถศิลป์ด้วยความคิดสร้างสรรค์และฝีมือ<br />

เชิงช่างที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แสดง<br />

ความมีศิลปะในฐานะศิลปินของชาวสยาม<br />

เป็นสมบัติล้ำค่า ซึ่งควรรักษาและสืบทอด<br />

ให้สถาพรสืบไป<br />

173


แ ผ น ผั ง ห้องดื่มด่ำย่านชุมชน<br />

ชุมชนกรงนก<br />

บ้านธูป<br />

บ้านพานถม<br />

๕<br />

๖<br />

บ้านลาน<br />

๔<br />

๓<br />

ชุมชนช่างทอง<br />

๒<br />

จุดเริ่มต้น<br />

ถนนดินสอ<br />

๑<br />

174


บ้านน้ำอบ<br />

บ้านสาย<br />

๗<br />

๘<br />

บ้านดอกไม้<br />

๙<br />

บ้านบาตร<br />

๑๐<br />

๑๑<br />

ย่านสังฆภัณฑ์<br />

ทางเข้า-ออก<br />

๑๒<br />

ถนนตีทอง<br />

175


ชุมชนหัตถศิลป์ ถิ่นเมืองกรุง<br />

<br />

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ <br />

ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี มีกลุ่มคนหลากหลายเชื้อชาติ เข้ามาพำนักลงหลักปักฐาน<br />

พึ่งพระบรมโพธิสมภารเป็นจำนวนมาก กลุ่มคนต่างๆ เหล่านี้ได้เข้ามาร่วมกันเติมเต็มและสรรค์สร้าง<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยเป็นแรงงานสำคัญในการผลิตสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน<br />

ของชาวพระนครจนเกิดเป็นย่านชุมชน ซึ่งผู้คนในท้องถิ่นได้ร่วมกันผลิตงานหัตถศิลป์ตามความถนัดของตน<br />

ซึ่งได้รับการสืบทอดต่อมาเป็นเวลายาวนาน จนขึ้นชื่อเรื่องความเชี่ยวชาญและมีเอกลักษณ์ เป็นที่รู้จัก<br />

อย่างกว้างขวาง <br />

ดังปรากฏชื่อบ้านหรือย่านชุมชน ซึ่งบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าเป็นท้องถิ่นที่ประกอบสัมมาอาชีพ<br />

และมีความชำนาญในด้านใด ไม่ว่าจะเป็นถนนตีทอง ย่านสังฆภัณฑ์ บ้านบาตร บ้านดอกไม้ บ้านสาย <br />

บ้านน้ำอบ บ้านธูป ชุมชนกรงนก บ้านพานถม บ้านลาน ชุมชนช่างทอง ซึ่งยังคงผลิตงานหัตถศิลป์<br />

หรือเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม สืบทอดความภาคภูมิใจของชุมชนต่อมา แต่ก็มีหลายชุมชน <br />

เช่น บ้านหม้อ บ้านปูน บ้านอีเลิ้ง ที่แม้ทุกวันนี้จะเหลือเพียงชื่อให้เรียกขานก็ตาม แต่ก็ทำให้คนรุ่นหลัง<br />

ได้ย้อนรำลึกถึงถิ่นฐาน ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตกาลเคยเป็นย่านชุมชนของผู้คนซึ่งมีความชำนาญในงานช่าง<br />

สามารถสรรค์สร้างงานหัตถศิลป์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาอันประณีต แสดงถึงอุปนิสัยของชาวสยามว่าเป็นผู้ที่มี<br />

ความอดทน ใจเย็น และเป็นผู้มีศิลปะ เพราะงานหัตถศิลป์แต่ละชิ้น กว่าจะสำเร็จลุล่วงไปได้ ล้วนใช้เวลา แรงกาย<br />

และแรงใจที่ต้องทุ่มเทให้อย่างสุดความสามารถ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่คนรุ่นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์<br />

จะพึงระลึกถึงคุณค่าและภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมไว้<br />

<br />

เรือนแถวริมถนนบำรุงเมือง<br />

บริเวณหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ <br />

เป็นย่านชุมชนการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์


นำเสนอด้วยเทคนิคชาโดว์ อินเทอร์แอคทีฟ<br />

(Shadow Interactive) ผสมกับเทคโนโลยี<br />

การจับสัญญาณเลเซอร์แบบละเอียด <br />

เมื่อผู้ชมยืนอยู่ที่จุดสีเหลือง จะปรากฏ<br />

ลวดลายบนพื้นซึ่งจะฉายไปยังตูู้้ซึ่งจัดแสดง<br />

ผลงานหัตถศิลป์ของชุมชนต่างๆ <br />

พร้อมวีดิทัศน์เล่าประวัติของชุมชน<br />

และวิธีการทำงานหัตถศิลป์ต่างๆ <br />

<br />

177


กูบหนัง ใช้สำหรับ<br />

ตีทองคำให้เป็น<br />

แผ่นบาง<br />

ทองคำหนัก ๑ บาท<br />

(๑๕.๒ กรัม)<br />

สามารถตีเป็น<br />

ทองคำเปลว<br />

ได้ประมาณ ๔,๐๐๐<br />

แผ่น<br />

พระพุทธรูปปางมารวิชัย<br />

ทรงจีวรลายดอก<br />

ลงรักปิดทอง<br />

ศิลปะสมัย<br />

ต้นรัตนโกสินทร์<br />

มีจำหน่ายในย่าน<br />

สังฆภัณฑ์<br />

ถนนบำรุงเมือง<br />

๑. ๑ ถนนตีทอง <br />

แยกคอกวัว ทำทองคำเปลว<br />

การตีทองหรือการทำทองคำเปลว ถือเป็นอาชีพ<br />

สงวนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากช่างทอง<br />

ทุกประเภทถือเป็นข้าน้ำคนหลวงของพระเจ้าแผ่นดิน<br />

เมื่อมีการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานเสรี<br />

ในการทำทอง ช่างตีทองจึงได้ประกอบอาชีพตีทองคำเปลวที่นี่<br />

เป็นแห่งแรก เมื่อถนนตัดผ่านบริเวณนี้ จึงมีชื่อว่าถนนตีทอง<br />

๒. ๒ ย่านสังฆภัณฑ์ ถนนบำรุงเมือง<br />

จำหน่ายสังฆภัณฑ์<br />

เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ได้เกิดการรวมกลุ่มเป็นย่าน<br />

หรือชุมชนเพื่อผลิตเครื่องสังฆภัณฑ์หรือสิ่งของเครื่องใช้<br />

สำหรับพระภิกษุสามเณรและการทำพระพุทธรูป<br />

ตั้งเรียงรายอยู่ริมถนนบำรุงเมือง เริ่มตั้งแต่ประตูผีเรื่อยไป<br />

จนถึงบริเวณเสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม สินค้า<br />

บางชนิดก็รับมาจากย่านอื่น เช่น บาตรจากบ้านบาตร<br />

สายรัดประคดจากบ้านสาย ทองคำเปลวจากถนนตีทอง<br />

ธูปหอมจากย่านถนนมหาไชย ซึ่งมีลูกค้ามาเลือกซื้อ<br />

พระพุทธรูปและเครื่องสังฆภัณฑ์สืบทอดแรงศรัทธาใน<br />

พระพุทธศาสนามาจวบจนปัจจุบัน<br />

ย่านถนนตีทอง สมัยรัชกาลที่ ๕<br />

178


บาตรทรงตะโก<br />

ขนาดเส้นผ่าน<br />

ศูนย์กลาง ๗ นิ้ว<br />

ผลิตโดยช่างจาก<br />

ตระกูลเสือศรีเสริม<br />

พเยียมาศ ดอกไม้พุ่ม หรือ<br />

พวงดอกไม้ เป็นดอกไม้ไฟ<br />

ประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในงาน<br />

พระราชพิธีสำคัญ เมื่อจุด<br />

พุ่มแต่ละชั้นจะดีดตัวแผ่ออก<br />

ดอกไม้ไฟจะสุกสว่าง<br />

ไปตามแรงของดินปืน<br />

๓. ๓ บ้านบาตร <br />

ถนนบริพัตร ทำบาตรพระ<br />

การทำบาตรพระเป็นอาชีพเก่าแก่และมีการรวมตัว<br />

เป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สืบเชื้อสาย<br />

มาจากบรรพบุรุษชาวกรุงศรีอยุธยา ผลิตบาตรถูกต้องตาม<br />

ลักษณะในพุทธบัญญัติด้วยความประณีต มีชื่อเสียงเลื่องลือ<br />

ส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และยังคงเป็นหนึ่ง<br />

ในแหล่งหัตถศิลป์ถิ่นเมืองกรุงที่ได้สืบสานศิลปะการทำ<br />

บาตรโบราณอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน<br />

<br />

๔. ๔ บ้านดอกไม้ <br />

รอบวัดสระเกศ ทำดอกไม้ไฟ<br />

การทำดอกไม้ไฟเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีมาแต่ครั้ง<br />

รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านที่มี<br />

อาชีพทำดอกไม้ไฟ ตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองโอ่งอ่าง <br />

นอกกำแพงพระนครเพื่อความปลอดภัย เมื่อบ้านเมือง<br />

ขยายตัวจนย่านนี้ไม่เหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ผลิตดอกไม้ไฟ<br />

ก็ยังคงมีการรับดอกไม้ไฟจากทั้งในและต่างประเทศ<br />

เข้ามาจำหน่าย ซึ่งสะดวกและปลอดภัย ทำให้บ้านดอกไม้<br />

เป็นเพียงชื่อบ้านนามเมืองให้เล่าขานกันในปัจจุบัน<br />

ชุมชนบ้านบาตรและชุมชนบ้านดอกไม้ <br />

อยู่บริเวณใกล้กับภูเขาทอง วัดสระเกศ<br />

179


สายรัดประคด<br />

เป็นหนึ่งในเครื่อง<br />

อัฐบริขารสำคัญ<br />

ที่ต้องใช้ความประณีต<br />

ในการทำอย่างยิ่ง<br />

น้ำอบไทยเป็นเครื่องหอม<br />

ที่ปรุงจากดอกไม้นานาชนิด<br />

มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์<br />

ด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย<br />

๕<br />

บ้านสาย ถนนมหาไชย <br />

ทำสายรัดประคด<br />

การทำสายรัดประคด (ผ้าคาดเอวสำหรับพระภิกษุ)<br />

เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนเรียกขานว่า<br />

ชุมชนบ้านสาย ตั้งอยู่ริมถนนมหาไชย สายรัดประคดที่นี่<br />

ทำด้วยไหม ฝีมือประณีตสวยงามมาก นอกจากนี้ ยังทำ<br />

ถุงตะเคียวสำหรับหุ้มบาตรพระ ส่งขายที่ย่านสังฆภัณฑ์<br />

อีกด้วย<br />

ปัจจุบันไม่มีการผลิตสายรัดประคดอีกต่อไป จึงเหลือ<br />

เพียงชื่อชุมชนบ้านสายให้ระลึกถึงเท่านั้น<br />

<br />

๖. ๖ บ้านน้ำอบ <br />

ถนนมหาไชย ทำน้ำอบไทย<br />

น้ำอบไทยเป็นเครื่องหอมที่ใช้ประพรมร่างกายของ<br />

ชาวกรุงเมื่อกว่า ๑๐๐ ปี มาแล้ว <br />

ร้านน้ำอบไทยนางลอยตั้งอยู่ริมถนนมหาไชย<br />

บริเวณตลาดนางลอย เยื้องวัดบพิตรพิมุข ต่อมาย้ายมา<br />

อยู่ที่ถนนมหาไชย ตรงข้ามกับวัดเทพธิดาราม แต่ผู้สืบทอด<br />

ยังคงใช้ชื่อว่าน้ำอบไทยนางลอยเช่นเดิม<br />

<br />

180<br />

ย่านถนนมหาไชย ในสมัยรัชกาลที่ ๕


ธูปหอมมีวิวัฒนาการ<br />

ส่วนผสมทั้งไทยและเทศ<br />

จนเกิดเป็นธูปไทยแท้<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ <br />

ซึ่งมีกลิ่นหอมมากกว่า<br />

ธูปชนิดอื่นๆ อันเกิด<br />

จากการผสมผสาน<br />

สมุนไพรหลายชนิด<br />

เข้าด้วยกันอย่างลงตัว<br />

ธูปหอมถนนสนามไชย<br />

เป็นต้นตำรับ<br />

ธูปหอมโบราณ<br />

เพียงแห่งเดียว<br />

ในประเทศ<br />

กรงนกเขา กรงนกปรอดหัวจุก<br />

หัตถกรรมฝีมือชุมชน<br />

เชื้อสายชาวใต้ <br />

เป็นงานที่ละเอียดอ่อนมาก <br />

แต่ละกรงใช้เวลาทำนับเดือน <br />

ยังคงหาซื้อได้ที่ชุมชนกรงนก<br />

หลังป้อมมหากาฬ<br />

๗. ๗ บ้านธูป <br />

ถนนมหาไชย ทำธูปหอม<br />

การทำธูปหอมไทยนั้น มีเอกลักษณ์แตกต่างจากการทำ<br />

ธูปของจีน และมีการผลิตมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์<br />

เนื่องจากธูปเป็นเครื่องบูชาในพิธีกรรมทางศาสนา การทำธูป<br />

เป็นภูมิปัญญาไทยชั้นเลิศที่บรรพบุรุษได้สั่งสมเอาไว้<br />

ในอดีตย่านถนนมหาไชย มีร้านค้าที่มีชื่อเสียงในการทำ<br />

ธูปหอมหลายราย แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว<br />

เท่านั้นที่ยังคงสืบทอดการทำธูปแบบโบราณ<br />

<br />

๘. ๘ ชุมชนกรงนก <br />

ชุมชนหลังป้อมมหากาฬ ทำกรงนก<br />

ชาวใต้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณป้อมมหากาฬ<br />

ส่วนหนึ่งเป็นชาวมุสลิมที่มีฝีมือในการประดิษฐ์กรง<br />

นกเขาชวา มีหลายรูปทรง และได้สืบทอดหัตถกรรม<br />

ทำกรงนกเขาและกรงนกปรอดหัวจุกจากรุ่นปู่ย่าตายาย<br />

ด้วยฝีมืออันประณีต แม้ปัจจุบันเหลือครอบครัวชาวใต้<br />

ผลิตกรงนกเพียง ๒ ราย แต่ยังมีลูกค้ามาอุดหนุนอยู่เสมอ<br />

<br />

ชุมชนกรงนกริมคลองโอ่งอ่างหลังป้อมมหากาฬ<br />

181


เครื่องถมเป็นงาน<br />

ประณีตศิลป์ที่ทำจาก<br />

วัตถุดิบที่มีค่า <br />

ประกอบกับกรรมวิธี<br />

ที่สลับซับซ้อนและต้อง<br />

อาศัยช่างฝีมือชั้นสูง<br />

เครื่องถมเป็นรองเพียง<br />

เครื่องทองคำเท่านั้น<br />

ใบลานได้รับการสร้างสรรค์<br />

ขึ้นเป็นเครื่องใช้<br />

ในชีวิตประจำวัน นับตั้งแต่<br />

ของเล่น เครื่องใช้ เครื่องราง<br />

ของขลัง และสิ่งของ<br />

ในพระพุทธศาสนา <br />

อาทิ คัมภีร์ใบลาน<br />

๙. ๙ บ้านพานถม <br />

หลังวัดปรินายก ทำเครื่องถม<br />

เครื่องถมเป็นเครื่องใช้ในราชสำนัก ด้วยเหตุนี้<br />

ย่านที่ผลิตเครื่องถมจึงตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวัง<br />

เพื่อความสะดวกในการสั่งงานและควบคุมการผลิต <br />

นอกจากชื่อเสียงด้านทำพานถมแล้ว บ้านพานถม<br />

ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องถมหลายรูปแบบทั้งภาชนะและ<br />

เครื่องประดับต่างๆ แต่ปัจจุบันการทำเครื่องถมเหลือเพียง<br />

แห่งเดียว คือ ร้านไทยนคร ซึ่งเปิดกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

<br />

๑๐<br />

บ้านลาน บางขุนพรหม <br />

ทำผลิตภัณฑ์ใบลาน<br />

การทำงานหัตถกรรมประเภทต่างๆ ด้วยใบลานนั้น<br />

เกิดขึ้นบริเวณท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้วังบางขุนพรหม<br />

การค้าใบลานจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นที่นี่ จนเรียกกันติดปากว่า<br />

บ้านลาน แต่ปัจจุบันความนิยมใบลานลดลงอย่างมาก<br />

บ้านลานที่เคยเป็นตลาดใบลานอันคึกคักจึงเหลือร้านลานทอง<br />

เพียงร้านเดียวที่ยังจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากใบลาน<br />

<br />

182<br />

วังบางขุนพรหม


เครื่องทองชุมชนมัสยิด<br />

จักรพงษ์มีวิธีการขึ้นรูป<br />

หลากหลายลักษณะ <br />

เช่น การเคาะขึ้นรูป <br />

การขัด การสาน <br />

หรือขับ เป็นต้น<br />

งานที่โดดเด่นคือ<br />

แหวนนพเก้า<br />

ดินสอพองมีประโยชน์<br />

หลากหลาย ในอดีตนิยมใช้เป็น<br />

เครื่องประทินผิว โดยนำมา<br />

ละลายน้ำหรือน้ำหอม<br />

ประพรมร่างกาย นอกจากนี้<br />

ยังใช้แก้พิษ ผด ผื่นคัน <br />

ใช้ทำความสะอาดเครื่องเงิน<br />

นาก ทองเหลือง <br />

นำไปผสมสีทาไม้ <br />

ผสมสีทาบ้าน ฯลฯ<br />

๑๑ ชุมชนช่างทอง ชุมชนมัสยิด<br />

จักรพงษ์ ทำเครื่องทอง<br />

ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ช่างทำทองถือเป็นช่างฝีมือ<br />

ชั้นสูง ผู้ที่มีฝีมือในการทำเครื่องทองรูปพรรณจะได้รับสิทธิ<br />

พิเศษมากกว่าคนทั่วไป เช่น ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์ <br />

เคยเป็นย่านที่อยู่อาศัยของช่างทองหลวงชาวมุสลิม <br />

ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณและไว้วางพระราชหฤทัย<br />

ให้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนภายในเขตคูเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ <br />

นอกจากนั้น ชาวมุสลิมเหล่านี้ยังมีความรู้เรื่อง<br />

การทำทองเป็นอย่างดี ฝีมือประณีต และมีลวดลาย<br />

เป็นเอกลักษณ์ น่าเสียดายที่ปัจจุบันช่างทองส่วนใหญ่<br />

ได้เลิกอาชีพทำเครื่องทองไปเกือบหมดแล้ว<br />

<br />

๑๒<br />

ถนนดินสอ <br />

เสาชิงช้า ทำดินสอพอง<br />

สันนิษฐานว่า คำว่าดินสอนั้น กร่อนมาจากดินสอขาว<br />

หรือดินสอดำสำหรับใช้เขียนกระดานชนวนหรือสมุดข่อย<br />

บ้างว่าน่าจะเป็นดินสอพองที่ใช้ประทินผิว ช่างทำดินสอพอง<br />

ที่ชุมชนบ้านดินสอจะใช้ดินขาวจากต่างถิ่นที่ลำเลียงมา<br />

ทางเรือเป็นวัตถุดิบ<br />

แม้ว่าการผลิตและจำหน่ายดินสอพองที่บ้านดินสอ<br />

ได้เลิกไปนานแล้ว แต่ชื่อบ้านดินสอยังเป็นที่จดจำสืบมา<br />

<br />

ย่านถนนดินสอ<br />

183


184<br />

๗ เยี่ยมยลถิ่นกรุง


ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่ได้รับ<br />

การทำนุบำรุงให้รุ่งเรืองในทุกด้าน ด้วยพระบรมโพธิสมภารของพระมหา<br />

กษัตริย์ซึ่งทรงมุ่งหวังตั้งพระราชหฤทัยบันดาลความผาสุกให้บังเกิดแก่<br />

พสกนิกร มหานครแห่งนี้จึงบริบูรณ์ด้วยสถาปัตยกรรมอันล้ำค่า มั่งคั่งด้วย<br />

การค้าการพาณิชย์ พรั่งพร้อมด้วยสรรพพิพิธวิทยา ซึ่งล้วนควรได้รับการรักษา<br />

และสืบทอดให้เป็นสมบัติล้ำค่า เป็นมรดกที่คงความงามสง่าสืบไป<br />

<br />

185


186<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่มี<br />

ความเจริญรุ่งเรืองสืบมานับตั้งแต่ได้รับ<br />

การสถาปนาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่ง<br />

พระบรมราชจักรีวงศ์ ที่ทรงตั้งพระราช<br />

หฤทัย “จะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา<br />

จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนแล<br />

มนตรี”<br />

ด้วยพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์<br />

ทุกรัชกาลที่ทรงสืบสานพระราชปณิธาน<br />

อันแน่วแน่ กรุงรัตนโกสินทร์จึงเป็นศูนย์กลาง<br />

ของสยามประเทศที่เปี่ยมด้วยสถานที่อันงดงาม<br />

บริบูรณ์ด้วยสถาปัตยกรรมอันล้ำค่า ควรแก่<br />

การได้ทัศนาและเยี่ยมยล ซึ่งจะยังความภูมิใจ<br />

ให้บังเกิดแก่มหาชนชาวสยาม ว่าได้อาศัยอยู่<br />

บนแผ่นดินที่ประดับด้วยมรดกอันทรงค่า <br />

เป็นราชธานีที่มีความงามสง่าทัดเทียมนานา<br />

อารยประเทศ


187


แ ผ น ผั ง ห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง<br />

๕<br />

สำราญการกิน<br />

๖<br />

๕<br />

รวมสรรพจับจ่าย<br />

๖<br />

๗<br />

๗<br />

๑<br />

๑<br />

เยือนย่ำค่ำคืน<br />

ถ่ายภาพหรรษากับร้านฉายาราชดำเนิน<br />

188


B<br />

B<br />

เยี่ยมยล<br />

กรุงรัตนโกสินทร์<br />

เพียงนิ้วสัมผัส<br />

จุดที่ ๒<br />

๔<br />

๔<br />

พินิจพิพิธภัณฑ์<br />

๓<br />

๓<br />

๒<br />

A<br />

รื่นรมย์ชมสวน<br />

ทางเข้า - ทางออก<br />

A<br />

เยี่ยมยล<br />

กรุงรัตนโกสินทร์<br />

เพียงนิ้วสัมผัส<br />

จุดที่ ๑<br />

๒<br />

สถาปัตย์วัดวัง<br />

189


190 ๕๘<br />

จำลองร้านถ่ายภาพในอดีต <br />

โดยให้ผู้เข้าชมร่วมสนุก<br />

ด้วยการถ่ายภาพ<br />

ผ่านกล้องดิจิทัล<br />

ที่ซ่อนอยู่ในกล้องโบราณ<br />

จำลอง จากนั้นภาพใบหน้าของผู้เข้าชม<br />

จะปรากฏในวีดิทัศน์ประกอบอะนิเมชั่น<br />

นำชมกรุงรัตนโกสินทร์ที่จัดแสดง<br />

ภายในห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง


๑<br />

ระบบจอสัมผัสที่สามารถเลือกชม<br />

รายละเอียดของสถานที่สำคัญต่างๆ <br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

แต่ละช่องหน้าต่างจัดแสดงภาพและชื่อของสถานที่สำคัญต่างๆ <br />

ภายในกรุงรัตนโกสินทร์ โดยแบ่งเป็น ๖ ช่อง ๖ กลุ่ม ได้แก่ <br />

๑. สถาปัตย์วัดวัง (วัด วัง และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์) <br />

๒. รื่นรมย์ชมสวน (สวนสาธารณะ)<br />

๓. พินิจพิพิธภัณฑ์ (พิพิธภัณฑ์) <br />

๔. สำราญการกิน (ย่านที่มีชื่อเสียงเรื่องอาหารรสอร่อย) <br />

๕. รวมสรรพจับจ่าย (แหล่งจำหน่ายสินค้านานาชนิด) <br />

๖. เยือนย่ำค่ำคืน (สถานที่สำคัญยามค่ำคืนที่ควรเยี่ยมยล)<br />

หากผู้เข้าชมอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องความเป็นมา <br />

สถานที่ตั้ง และการเดินทาง สามารถเลือกชมได้จากช่องหน้าต่าง <br />

“เยี่ยมยลกรุงรัตนโกสินทร์เพียงนิ้วสัมผัส”<br />

ภาพใบหน้าของผู้เข้าชมจะปรากฏ<br />

ที่ตัวการ์ตูนอะนิเมชั่น ด้วยเทคนิค<br />

การตัดต่อภาพระบบดิจิทัล <br />

ซึ่งสามารถแยกเพศของผู้เข้าชม<br />

ที่เป็นชายและหญิงให้สอดคล้องกับ<br />

ลักษณะของการ์ตูนอะนิเมชั่น<br />

แต่ละตัว<br />

ผู้เข้าชมสามารถมองลงไปยัง<br />

ห้องที่ ๖ ดื่มด่ำย่านชุมชน <br />

ผ่านกระจกใส ซึ่งจะทำให้เห็น<br />

ลวดลายที่สวยงามซึ่งจัดแสดงอยู่<br />

บนพื้นห้องในอีกหนึ่งมุมมอง<br />

191


๒<br />

สถาปัตย์วัดวัง<br />

<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่พระบวรพุทธ<br />

ศาสนาหยั่งรากและเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู ด้วยการอุปถัมภ์<br />

ค้ำชูจากพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งทรง<br />

ทศพิธราชธรรมและทรงดำเนินกุศโลบายในการปกครอง<br />

ประเทศให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงตามครรลองแห่งสมเด็จ<br />

พระบรมศาสดา ชาวสยามจึงบังเกิดความผาสุกภายใต้<br />

พระบรมโพธิสมภาร ทั้งยังมีพระราชศรัทธาสถาปนา<br />

พระอารามที่งดงามด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมปรากฏ<br />

เป็นเกียรติยศล้ำค่าของแผ่นดิน<br />

ช่องหน้าต่างสถาปัตย์วัดวังจัดแสดง<br />

ภาพพระอารามสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์<br />

รวมทั้งสิ้น ๑๓ แห่ง ได้แก่<br />

๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

๒. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม<br />

๓. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม<br />

๔. วัดบวรนิเวศวิหาร<br />

๕. วัดชนะสงคราม<br />

๖. วัดสุทัศนเทพวราราม<br />

๗. วัดอินทรวิหาร<br />

๘. วัดเทพธิดาราม<br />

๙. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์<br />

๑๐. วัดราชบุรณะ<br />

๑๑. โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม<br />

๑๒. ภูเขาทอง วัดสระเกศ<br />

๑๓. คุรุดวารา สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา<br />

นอกจากนี้ยังมีภาพสถานที่สำคัญต่างๆ<br />

ได้แก่ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ (เสาชิงช้า<br />

เทวสถาน (โบสถ์พราหมณ์) ศาลหลักเมือง<br />

ศาลเจ้าพ่อเสือ โบสถ์กาลหว่าร์) วัง<br />

(พระที่นั่งอนันตสมาคม วังบางขุนพรหม<br />

วังวรดิศ วังจันทรเกษม) อนุสาวรีย์<br />

(พระบรมรูปทรงม้า อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ๑๖ อนุสาวรีย์หมู)<br />

สะพาน (สะพานปีกุน สะพานผ่านฟ้าลีลาศ<br />

สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานมหาดไทย<br />

อุทิศ) ป้อม (ป้อมมหากาฬ ป้อมพระสุเมรุ)<br />

192


พระมหาเจดีย์ ๔ รัชกาล<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

พระอุโบสถ<br />

วัดสระเกศ<br />

พระตำหนักเพ็ชร <br />

วัดบวรนิเวศวิหาร<br />

ผู้เข้าชมสามารถเลือกชมรายละเอียด<br />

ของพระอารามต่างๆ ที่จัดแสดง <br />

ได้จากจอระบบสัมผัส<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

งามตระหง่านพระนอนองค์ใหญ่<br />

แผ่นหินอ่อนบันทึกไว้ ความรู้คู่ทั้งโลก-ธรรม<br />

เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างในรัชกาลพระเพทราชา สมัยกรุงศรีอยุธยา <br />

ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกฐานะขึ้นเป็น<br />

พระอารามหลวงมีพระราชาคณะปกครองตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันคนทั่วไป<br />

นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “วัดโพธิ์” เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ พระมหากษัตริย์<br />

ทุกพระองค์ทรงอุปถัมภ์บำรุงสืบมา มีพระไสยาสงดงามขนาดใหญ่ <br />

ที่ฝ่าพระบาทประดับมุกรูปสัญลักษณ์มงคลและจักรวาล แผ่นหินอ่อนที่ประดับ<br />

ศาลารายจารึกสรรพตำรา ๘ หมวด และยังมีพิพิธภัณฑ์และศิลปกรรม<br />

หลากหลายสาขาให้เรียนรู้ จึงเป็นเสมือนคลังความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม <br />

ที่ถือเป็น “มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก” ของคนไทย<br />

ที่ตั้ง ๒ ถนนสนามไชย <br />

แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

เวลาเปิด ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน<br />

ค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ ๕๐ บาท<br />

การเดินทาง รถประจำทางสาย ๑ ๓ ๙ <br />

๓๒ ๔๔ ๔๗ เป็นต้น<br />

<br />

193


ช่องหน้าต่างรื่นรมย์ชมสวนจัดแสดง<br />

ภาพสวนสาธารณะในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

รวมทั้งสิ้น ๔ แห่ง ได้แก่<br />

๑. สวนสันติชัยปราการ<br />

๒. พระราชอุทยานสราญรมย์<br />

๓. สวนรมณีนาถ<br />

๔. สนามหลวง<br />

<br />

๓<br />

รื่นรมย์ชมสวน<br />

<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่มีความพิเศษ<br />

อย่างหนึ่งนอกเหนือจากความงดงามของสถาปัตยกรรม<br />

คือเป็นราชธานีที่มีสวนสาธารณะตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับ<br />

สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประชาชนจึงสามารถ<br />

พักผ่อนในบรรยากาศอันร่มรื่นของแมกไม้ ผสานกับ<br />

กลิ่นอายของโบราณสถานที่ชวนให้ย้อนรำลึกถึงเรื่องราว<br />

อันเก่าแก่และรุ่งโรจน์ไม่เสื่อมคลาย ไม่ว่าจะเป็นสวนสันติ<br />

ชัยปราการ ซึ่งตั้งอยู่เคียงข้างป้อมพระสุเมรุ สวนรมณีนาถ<br />

ซึ่งเคยเป็นกองมหันตโทษมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ <br />

สนามหลวง ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ตลอดจนพระราชอุทยานสราญรมย์ สวนสาธารณะที่เคยเป็น<br />

พระราชอุทยานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔<br />

194


สนามหลวง<br />

สวนสันติชัยปราการ<br />

สวนรมณีนาถ<br />

ผู้เข้าชมสามารถเลือกชมรายละเอียด<br />

ของสวนสาธารณะต่างๆ ที่จัดแสดง<br />

ได้จากจอระบบสัมผัส<br />

พระราชอุทยานสราญรมย์<br />

สวนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔<br />

เป็นที่ตั้งของพระราชวังสราญรมย์ ที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์<br />

และเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕<br />

และเป็นที่จัดงานฤดูหนาวตลอดรัชกาลที่ ๖ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

รัชกาลที่ ๗ พระราชทานเพื่อให้คณะราษฎรใช้เป็นสถานที่ทำการและเป็นที่ตั้ง<br />

“สโมสรคณะราษฎร” ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบให้เทศบาล<br />

นครกรุงเทพฯ จากนั้นได้มีการปรับปรุงบริเวณพระราชอุทยานให้เป็นสวนรุกขชาติ<br />

และสวนสาธารณะมาจนถึงปัจจุบัน<br />

ที่ตั้ง ระหว่างถนนเจริญกรุง <br />

ตัดกับถนนราชินี <br />

แขวงพระบรมมหาราชวัง<br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

เวลาเปิด ๐๕.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ทุกวัน<br />

การเดินทาง รถประจำทางสาย ๑ ๓ <br />

๖ ๙ ๑๒ ๒๕ ๓๒ ๔๔ <br />

ปอ. ๘ ๒๕ ๔๔ เป็นต้น<br />

195


ช่องหน้าต่างพินิจพิพิธภัณฑ์จัดแสดง<br />

ภาพพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ภายใน<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งสิ้น ๙ แห่ง ได้แก่<br />

๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ<br />

ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์<br />

๒. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ <br />

หอศิลป<br />

๓. พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ<br />

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

๔. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ <br />

พระนคร<br />

๕. พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ<br />

๖. พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย<br />

๗. พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์<br />

๘. พิพิธภัณฑ์รัชกาลที่ ๖<br />

๙. พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ<br />

๔<br />

พินิจพิพิธภัณฑ์<br />

<br />

พิพิธภัณฑ์เป็นคลังความรู้และสถานที่รวบรวม<br />

สมบัติอันล้ำค่าของชาติที่บรรพชนได้สรรค์สร้างและ<br />

มีการสืบทอดต่อมา ราชธานีใดที่พรั่งพร้อมไปด้วย<br />

พิพิธภัณฑ์ย่อมภูมิใจได้ว่าเป็นราชธานีที่มั่งคั่งด้วย<br />

นักปราชญ์และบริบูรณ์ด้วยมรดกประจำชาติ เฉกเช่น<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ ราชธานีที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน<br />

และยืนหยัดอย่างมั่นคงดำรงฐานะศูนย์กลางของประเทศ<br />

เป็นเวลามากกว่า ๒๐๐ ปี มีพิพิธภัณฑ์น่าสนใจ ควรที่<br />

ประชาชนจะได้เยี่ยมยล เพื่อชื่นชมศิลปะและโบราณวัตถุ<br />

อันมีค่า ซึ่งนอกจากจะได้รับสาระอันเป็นประโยชน์ ยังได้รับ<br />

ความเพลิดเพลินจากการเดินชมนวัตกรรมและเทคนิค<br />

การจัดแสดงที่ทันสมัย สร้างความตื่นตาตื่นใจได้เป็นอย่างดี<br />

196


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ <br />

พระนคร<br />

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ <br />

หอศิลป<br />

พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ <br />

หน้ากระทรวงกลาโหม<br />

ผู้เข้าชมสามารถเลือกชมรายละเอียด<br />

ของพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่จัดแสดง<br />

ได้จากจอระบบสัมผัส<br />

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ตลอดพระชนมชีพ<br />

แหล่งรวบรวมข้อมูล ภาพถ่าย เครื่องใช้อันเนื่องด้วยพระบาทสมเด็จ<br />

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดพระชนมชีพ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและเรื่องราว<br />

เหตุการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเพื่อเป็นบริบทในการสร้าง<br />

ความเข้าใจในพระราชดำริและพระราชจริยวัตรของพระองค์<br />

ที่ตั้ง ๒ ถนนหลานหลวง<br />

แขวงโสมนัส <br />

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย <br />

กรุงเทพฯ<br />

เวลาเปิด ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.<br />

วันอังคาร - วันอาทิตย์<br />

ค่าเข้าชม ไม่เสียค่าเข้าชม<br />

การเดินทาง รถประจำทางสาย ๒ ๑๕<br />

๔๔ ๔๗ ๕๙ ๖๐ ๑๖๙ <br />

ปอ. ๖๐ ๗๙ ๕๑๑ เป็นต้น<br />

197


ช่องหน้าต่างสำราญการกินจัดแสดง<br />

ภาพย่านที่มีชื่อเสียงเรื่องอาหารรสชาติ<br />

อร่อย รวมทั้งสิ้น ๑๐ แห่ง ได้แก่<br />

๑. ท่าเตียน<br />

๒. ท่าพระอาทิตย์<br />

๓. ท่าพระจันทร์<br />

๔. ท่าช้าง<br />

๕. แพร่งนรา<br />

๖. แพร่งภูธร<br />

๗. แพร่งสรรพศาสตร์<br />

๘. เยาวราช<br />

๙. สำราญราษฎร์<br />

๑๐. เวิ้งนาครเขษม<br />

198<br />

๕<br />

สำราญการกิน<br />

<br />

กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวม<br />

ของประชาชนหลากเชื้อชาติที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรม<br />

โพธิสมภารของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี <br />

จนก่อเกิดเป็นชุมชนหลายถิ่นที่ซึ่งมีเอกลักษณ์ด้านต่างๆ<br />

เป็นของตน ดังจะเห็นได้จากเครื่องแต่งกาย วิถีการดำเนิน<br />

ชีวิต วัฒนธรรม รวมถึงอาหาร ซึ่งปัจจุบันมีวางจำหน่าย<br />

ให้สามารถเลือกชิมรสชาติที่แปลกลิ้นจากวัตถุดิบที่ได้<br />

เลือกสรรมาเป็นอย่างดี ผ่านกรรมวิธีการปรุงตามตำรับ<br />

ที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ จนเลื่องลือ<br />

เรื่องความอร่อย และหาโอกาสลิ้มลองได้จากหลายแหล่ง<br />

ซึ่งล้วนแต่มีร้านอาหารรสโอชะ ไม่ว่าจะเป็นท่าช้าง ท่าเตียน<br />

ท่าพระอาทิตย์ ท่าพระจันทร์ แพร่งนรา แพร่งภูธร<br />

แพร่งสรรพศาสตร์ เวิ้งนาครเขษม สำราญราษฎร์ และ<br />

เยาวราช


โรตีมะตะบะ ท่าพระอาทิตย์<br />

ขนมเบื้องโบราณ ถนนพระอาทิตย์ หูฉลาม เยาวราช<br />

ผู้เข้าชมสามารถเลือกชมรายละเอียดของ<br />

ย่านอาหารรสชาติดีและมีเอกลักษณ์<br />

ได้จากจอระบบสัมผัส<br />

เยาวราช<br />

ถนนสายทองคำ ที่รวบรวมอาหารสัญชาติจีนแสนอร่อย<br />

นอกจากจะเป็นศูนย์รวมร้านค้าทองคำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้ว<br />

เยาวราชยังเป็นแหล่งอาหารสดและแห้งตามตำรับอาหารจีนที่ใหญ่ที่สุด<br />

ในกรุงเทพฯ ในทุกเทศกาลของจีน ไม่ว่าจะเป็นตรุษจีน สารทจีน สารทขนมจ้าง<br />

หรือไหว้พระจันทร์ ทั้งเครื่องเซ่นไหว้และข้าวของเครื่องใช้ประกอบพิธี<br />

สามารถหาได้จากที่นี่อย่างครบครัน และหากต้องการซื้อตัวยาสมุนไพรในตำราจีน<br />

ก็รับประกันได้ว่าไม่ผิดหวัง เพราะไม่ว่าจะเป็นสูตรยาตัวไหนก็สามารถหาซื้อได้<br />

ในยามค่ำคืน สองฟากฝั่งถนนเยาวราชจะเต็มไปด้วยร้านอาหารริมทาง<br />

นับร้อยที่เลิศรสเทียบชั้นภัตตาคาร ทั้งหูฉลาม แพะตุ๋นยาจีน ซุปรังนก ซึ่งหา<br />

รับประทานได้ไม่ยาก ท่ามกลางบรรยากาศอันหลากหลายและเต็มไปด้วย<br />

ชีวิตชีวา ทำให้เยาวราชเป็นย่านที่มากไปด้วยสีสันอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ <br />

ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด<br />

อาหารขึ้นชื่อ ก๋วยจั๊บ<br />

บะหมี่ลูกชิ้นปลา <br />

เย็นตาโฟแคะ <br />

เนื้อแพะผัดขึ้นฉ่าย<br />

ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่<br />

ข้าวแกงกะหรี่ <br />

เฉลิมบุรีหูฉลาม<br />

เล่าตั้งห่านพะโล้ <br />

ไท้เฮงข้าวมันไก่ไหหลำ<br />

การเดินทาง รถประจำทางสาย ๔๐ <br />

๔๘ ๕๓ ๗๓ <br />

ปอ. ๗๓ ๕๒๙ เป็นต้น<br />

<br />

199


ช่องหน้าต่างรวมสรรพจับจ่าย<br />

จัดแสดงภาพแหล่งจำหน่ายสินค้า<br />

ประเภทต่างๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์ <br />

รวมทั้งสิ้น ๙ แห่ง ได้แก่<br />

๑. ตลาดนางเลิ้ง<br />

๒. บ้านหม้อ<br />

๓. ท่าพระจันทร์<br />

๔. ถนนบำรุงเมือง<br />

๕. พาหุรัด<br />

๖. สำเพ็ง<br />

๗. โบ๊เบ๊<br />

๘. บางลำพู<br />

๙. เยาวราช<br />

200<br />

๖<br />

รวมสรรพจับจ่าย<br />

<br />

ความคึกคักของย่านการค้าในปัจจุบัน ชวนให้ย้อน<br />

รำลึกถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของราชธานีที่มีนามว่า<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางของประเทศและเป็นแหล่งรวม<br />

ผู้คนหลากเชื้อชาติ แต่สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่าง<br />

ร่มเย็นเป็นอิสระภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร ประชาชน<br />

จึงมีความผาสุก สามารถประกอบกิจการงาน ดำเนิน<br />

การค้าขาย ผลิตและจำหน่ายสินค้าได้อย่างเสรี จนเกิด<br />

เป็นย่านที่มีชื่อเสียงเรื่องเอกลักษณ์ คุณภาพ และราคา<br />

สินค้า ไม่ว่าจะเป็นบ้านหม้อ แหล่งรวมเครื่องมือ<br />

อิเล็กทรอนิกส์ ท่าพระจันทร์ แหล่งรวมพระเครื่อง ถนน<br />

บำรุงเมือง ซึ่งเรียงรายด้วยร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ <br />

สำเพ็ง ตลาดขายส่งเครื่องประดับ หรือพาหุรัด แหล่งที่มี<br />

สินค้าประเภทผ้านานาชนิด


พาหุรัด ตลาดผ้านานาประเภท<br />

ท่าพระจันทร์ แหล่งรวม<br />

ผู้รักการสะสมพระเครื่อง<br />

เยาวราช แหล่งรวมร้านขายทอง<br />

คุณภาพดี<br />

ผู้เข้าชมสามารถเลือกชมรายละเอียด<br />

ของแหล่งจำหน่ายสินค้านานาประเภท<br />

ได้จากจอระบบสัมผัส<br />

พาหุรัด<br />

ขายทั้งผ้าซิ่น ผ้าสำเร็จรูปนานาชาติ และนานาของชำร่วย<br />

ถนนพาหุรัดเป็นย่านที่มีสินค้าให้เลือกสรรอย่างหลากหลาย ทั้งผ้าตัด<br />

อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทยในการแสดง<br />

นาฏศิลป์ ชุดจีน และโดยเฉพาะส่าหรีของชาวอินเดีย เนื่องด้วยการขายผ้า<br />

เป็นอาชีพที่สืบทอดมาจากชาวซิกข์รุ่นแรกที่เข้ามาในเมืองไทย นอกจากนี้<br />

พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆ ที่ยังดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จนทำให้หลายๆ คน ขนาน<br />

นามพาหุรัดว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย” เมืองไทย<br />

ที่ตั้ง แขวงวังบูรพาภิรมย์ <br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

การเดินทาง รถประจำทางสาย ๑ ๒๑ <br />

๓๗ ๕๓ เป็นต้น<br />

201


ช่องหน้าต่างเยือนย่ำค่ำคืนจัดแสดง<br />

ภาพบรรยากาศยามค่ำคืนของสถานที่<br />

สำคัญต่างๆ ในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์<br />

รวมทั้งสิ้น ๗ แห่ง ได้แก่<br />

๑. พระบรมมหาราชวัง<br />

๒. ภูเขาทอง<br />

๓. ถนนราชดำเนิน<br />

๔. ท้องแหวน<br />

๕. ถนนข้าวสาร<br />

๖. สะพานพุทธสแควร์<br />

๗. แม่น้ำเจ้าพระยา<br />

๗<br />

เยือนย่ำค่ำคืน<br />

<br />

บรรยากาศยามค่ำคืนของกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอีกหนึ่ง<br />

มนต์เสน่ห์ที่เนรมิตให้มหานครแห่งนี้มีความสวยงาม<br />

แปลกตา น่าหลงใหล ด้วยมีแสงไฟหลายล้านดวง<br />

ส่องกระทบแผ่นฟ้าและพื้นผิวของบรรดาอาคารสถานต่างๆ<br />

ซึ่งล้วนได้รับการตกแต่งด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรม<br />

อันประณีตงดงาม เกิดเป็นทัศนียภาพที่น่าประทับใจ <br />

ไม่ว่าจะเป็นพระบรมมหาราชวัง สถานที่ตั้งของพระมหา<br />

ปราสาทราชมณเฑียรที่สว่างเจิดจ้าดุจรัศมีแห่งพระบารมี<br />

ของพระมหากษัตริย์ และถนนราชดำเนิน ถนนใจกลางกรุง<br />

ซึ่งถูกประดับด้วยแสงไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงวันเฉลิม<br />

พระชนมพรรษาของทุกปี<br />

202


ทัศนียภาพ<br />

ริมสองฝั่งแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา<br />

หลังอาทิตย์อัสดง<br />

พระบรมมหาราชวังยามค่ำคืน<br />

บรรยากาศเมื่อยามเย็นมาเยือน<br />

ที่ถนนข้าวสาร<br />

ผู้เข้าชมสามารถเลือกชมรายละเอียด<br />

และบรรยากาศยามค่ำคืนของสถานที่<br />

สำคัญต่างๆ ตามที่จัดแสดง<br />

ได้จากจอระบบสัมผัส<br />

ถนนข้าวสาร<br />

ถนนสายบันเทิงยามค่ำคืนที่มีสีสันของนักท่องเที่ยวชาวไทย<br />

และชาวต่างชาติ<br />

เดิมบริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ขายข้าวสาร ปัจจุบันได้กลายเป็นอีกหนึ่ง<br />

สถานที่ท่องเที่ยวราคาประหยัด เพราะค่าที่พักและย่านสถานบันเทิงยามราตรีนั้น<br />

ไม่สูงจนเกินไป<br />

ยามค่ำคืนถนนข้าวสารมีสีสันและชีวิตชีวา มีร้านอาหารให้เลือกหลากหลาย<br />

ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารเล็กๆ ริมถนนหรือร้านใหญ่โต ซึ่งล้วนแล้วแต่ราคาไม่แพง<br />

โดยทั่วไปจะมีหนุ่มสาวและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมากอยู่ท่ามกลาง<br />

บรรยากาศยามราตรีที่เต็มไปด้วยแสงสีและเสียงดนตรีบนถนนสายนี้<br />

ที่ตั้ง แขวงตลาดยอด <br />

เขตพระนคร กรุงเทพฯ<br />

การเดินทาง รถประจำทางสาย ๓ ๖ ๙ <br />

๑๕ ๓๐ ๓๒ ๔๓ ๕๓ <br />

๖๕ เป็นต้น<br />

<br />

203


๘<br />

ห้อง<br />

เรืองรุ่ง<br />

วิถีไทย<br />

204


ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี นับจากเมื่อครั้งที่มีการสถาปนาราชธานี<br />

อันมีนาม รัตนโกสินทร์ ชาวสยามได้สืบทอดวิถีความเป็นไทยที่สืบสาย<br />

มาตั้งแต่สมัยโบราณ และสามารถผสมผสานขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม<br />

อันหลากหลายให้กลมกลืนเข้าด้วยกันจนกลายเป็นหนึ่งเดียวด้วยความคิด<br />

สร้างสรรค์ บังเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอันโดดเด่น เป็นแบบแผน<br />

อันดีงาม และเป็นความภูมิใจที่อนุชนควรได้ร่วมกันรักษาให้รุ่งเรือง<br />

ตลอดไป <br />

205


206<br />

สยามประเทศ เป็นพระราชอาณาจักรที่สามารถธำรงรักษา<br />

ความเป็นเอกราชสืบมา ด้วยความวิริยะและความอุตสาหะของเหล่า<br />

บรรพบุรุษ ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจปกป้องผืนแผ่นดินถิ่นมาตุภูมิไว้ให้เป็น<br />

ปึกแผ่นมั่นคง และดำรงวิถีความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น<br />

ให้รุ่งเรืองสืบสานมาเป็นเวลาหลายร้อยปี


ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และด้วยความชาญฉลาด<br />

ที่สามารถสอดประสานแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวันให้เข้ากับ<br />

ลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์อันมีสายน้ำเป็นหลักสำคัญของท้องถิ่น<br />

ก่อบังเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี<br />

อันงามสง่า สะท้อนภูมิปัญญาและความมีอารยะของชาวสยาม <br />

นับเป็นความภูมิใจที่ควรรักษาและสืบทอดต่อไป<br />

<br />

จัดแสดงหุ่นจำลองแบบแผน<br />

บ้านเรือน วิถีชีวิต และประเพณี<br />

ของไทยในอดีต<br />

207


แ ผ น ผั ง ห้องเรืองรุ่งวิถีไทย<br />

วิถีไทย ชีวิตเคียงคู่สายน้ำ<br />

๒<br />

ถนน...เส้นทางสู่พัฒนาการแห่งวิถีไทย<br />

<br />

๓<br />

๑<br />

๒<br />

ประเพณีกับชีวิต<br />

ทางเข้า<br />

๑<br />

A<br />

๓<br />

๔<br />

เส้นทางลัด<br />

ข้ามไปยัง<br />

จุดจัดแสดง<br />

หมายเลข ๔<br />

A<br />

สู่บ้านเมือง<br />

ยุคพัฒนา<br />

เป็นอารยะ<br />

๔<br />

208


๘<br />

ธำรงคุณค่าความเป็นไทย...<br />

ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคน<br />

ภาพยนตร์...สื่อสะท้อนสังคมร่วมสมัย<br />

ทางออก<br />

๕<br />

๖<br />

๘<br />

๗<br />

๗<br />

๖<br />

๕<br />

สงครามโลกครั้งที่ ๒...<br />

คนลำบาก ชาติลำเค็ญ<br />

สังคมไทยสมัยเปลี่ยนผ่าน<br />

วิวัฒนาการสู่ความเป็นสากล<br />

209


๑<br />

ประเพณีกับชีวิต<br />

วิถีชีวิตของคนไทยในอดีตที่เรียบง่าย <br />

และประสานกลมกลืนไปกับกระแสการเปลี่ยนแปลง<br />

ของธรรมชาติ มีส่วนสร้างสรรค์ให้เกิดประเพณี<br />

สำคัญที่สอดคล้องต้องกันกับสภาพความเป็นอยู่<br />

ประเพณีแห่งการเกิด...<br />

เบื้องต้นแห่งความสุขในโลกนี้<br />

ในอดีต การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า การคลอดลูก<br />

มักเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายถึงชีวิต ในการป้องกันเหตุร้าย<br />

ที่อาจเกิดกับหญิงมีครรภ์ อันเป็นช่วงที่ต้องระมัดระวัง<br />

อันตรายต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้คลอดง่าย และเพื่อ<br />

ป้องกันดูแลทารกแรกเกิดที่ร่างกายยังบอบบางอ่อนแออยู่<br />

ข้อปฏิบัติต่างๆ จึงถูกคิดขึ้นและได้รับการถ่ายทอด<br />

จนกลายเป็นธรรมเนียมประเพณี นอกจากจะป้องกันและ<br />

ปัดเป่าสิ่งไม่ดีที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูก ยังถือเป็น<br />

การเสริมสร้างสิริมงคลแก่ชีวิตที่เพิ่งเริ่มต้นของเด็ก<br />

อีกด้วย<br />

งานศพ...ยินดีที่พ้นทุกข์<br />

งานศพเป็นงานที่บรรดาญาติมิตรจะมาร่วมงาน<br />

เพื่อแสดงความเห็นใจ ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือครอบครัว<br />

ของผู้ตาย และมาร่วมแสดงความเคารพ ความอาลัย<br />

ความกตัญญูต่อคนตายเป็นครั้งสุดท้าย ในงานเผาศพ<br />

อาจมีการจัดแสดงมหรสพต่างๆ ให้ผู้มาร่วมงานได้ชม<br />

เป็นที่สนุกสนานครื้นเครง เพื่อแสดงว่าผู้ตายได้พ้นทุกข์<br />

ไปสู่สุคติภพแล้ว<br />

<br />

210


ของคนไทย ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งวาระสุดท้าย<br />

ด้วยในทุกขั้นตอนของแต่ละประเพณี ล้วนมีความหมาย<br />

และแฝงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนไทย<br />

ไว้ด้วยกันได้อย่างเหมาะสม<br />

<br />

การบวช...ครั้งหนึ่งในชีวิตลูกผู้ชาย<br />

ธรรมเนียมไทยแต่โบราณ เมื่อผู้ชายอายุครบ ๒๐ ปี<br />

บริบูรณ์ขึ้นไปจะต้องบวช เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา<br />

ให้ยั่งยืน ทำให้ชายผู้นั้นมีโอกาสได้รับการอบรมศีลธรรม<br />

และจริยธรรม อันจะน้อมนำให้มีจิตใจดีและประพฤติตน<br />

ไปในทางที่ถูกที่ควร เชื่อกันว่าบิดามารดาของชายที่บวชนั้น<br />

จะได้รับอานิสงส์ผลบุญติดตัวไปในชาติภพหน้าด้วย ในพิธีบวช<br />

ผู้ที่บวชหรือ “นาค” จะโกนผม ห่มขาว สวมลอมพอก<br />

หรือรูปนาคบนศีรษะ ให้คนหามหรือขี่ม้าขี่ช้าง แล้วแห่ขบวน<br />

ไปที่วัด มีการเล่นดนตรีและการฟ้อนรำทำเพลงตลอดทาง<br />

<br />

การแต่งงาน…มีเหย้ามีเรือน เป็นฝั่งเป็นฝา<br />

การแต่งงานคือการขยายวงศ์ตระกูลออกไป<br />

เป็นครอบครัวใหม่ ผู้ที่แต่งงานแล้วทั้งผู้หญิงและผู้ชาย <br />

จะแยกครอบครัวออกไปทำมาหากินตามลำพังระหว่างสามี<br />

ภรรยา จึงต้องมีบ้านเรือนเป็นสัดเป็นส่วนของตนเอง <br />

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่แต่งงานแล้วจึงเรียกว่า ออกเรือน มีเหย้า<br />

มีเรือน หรือเป็นฝั่งเป็นฝาไปแล้ว<br />

211


ประเพณีการเกิด การแต่งงาน <br />

และการทำศพของคนไทย<br />

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จัดแสดง<br />

ด้วยระบบจอสัมผัส<br />

212 ๕๘<br />

ภาพการคลอดบุตรของคนไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ <br />

จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๓<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความรู้ควบคู่ความเพลิดเพลิน<br />

จากการเล่นเกมต่างๆ ระหว่างเลือกชมข้อมูล<br />

เช่น เกมเลือกทรงผมสำหรับเด็ก


การลงอู่สู่เปล<br />

การส่งตัว<br />

การสวดศพ<br />

การเกิด...จุดเริ่มต้นแห่งชีวิต <br />

การเกิดถือเป็นเรื่องสำคัญ จึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ<br />

หลายขั้นตอน ซึ่งผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้ประเพณีการเกิดของ<br />

คนไทยผ่านเกมต่างๆ เช่น เกมร่อนกระด้ง เกมเลือกทรงผม <br />

เกมลงอู่สู่เปล และเกมโกนจุก<br />

เก มเหล่านี้ นอกจากจะสร้างความเพลิดเพลินแล้ว <br />

ยังสอดแทรกความรู้ คติความเชื่อ ตลอดจนภูมิปัญญาของ<br />

คนไทยที่แฝงไว้ในแต่ละขั้นตอน เพื่อการดูแลมารดาและ<br />

ทารกให้ดีที่สุด<br />

การแต่งงาน...ลงหลักปักฐานแห่งชีวิต<br />

เมื่อหญิงชายตกลงปลงใจสร้างครอบครัว จะต้อง<br />

ประกอบพิธีแต่งงานที่ถูกต้องตามประเพณี ผู้เข้าชมจะได้<br />

สัมผัสและเรียนรู้ประเพณีการแต่งงานของคนไทยสมัยอดีต<br />

ในแต่ละขั้นตอนผ่านเกมต่างๆ ได้แก่ เกมทาบทามสู่ขอ<br />

เกมสร้างเรือนหอ เกมยกขบวนขันหมาก เกมซัดน้ำ และ<br />

เกมเกี่ยวก้อยส่งตัว<br />

นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการเล่น<br />

เกมต่างๆ แล้ว ผู้เข้าชมยังได้ความรู้เกี่ยวกับประเพณี<br />

การแต่งงานของคนไทยในอดีต ซึ่งแต่ละขั้นตอนได้แฝง<br />

ความหมายอันดีงาม สะท้อนถึงภูมิปัญญาของคนไทย<br />

ที่มุ่งหมายให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาว<br />

การทำศพ...พิธีสุดท้ายแห่งชีวิต<br />

การทำศพในอดีตมีวิธีการปฏิบัติหลายอย่าง<br />

เพียงผู้เข้าชมสัมผัสที่จอภาพจะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ<br />

ประเพณีการทำศพของคนไทยในแต่ละขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น<br />

การอาบน้ำศพ การแต่งตัวศพ การมัดตราสัง การบรรจุศพ <br />

การสวดศพ และการเก็บอัฐิ<br />

ขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ นอกจากเป็นการแสดง<br />

ความเคารพและรำลึกถึงผู้ตายแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึง<br />

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการทำศพของคนไทยที่ยังสืบทอดต่อมา<br />

จนถึงปัจจุบัน<br />

๑<br />

213


จัดแสดงด้วยเทคนิคการฉายภาพ<br />

อะนิเมชั่นประกอบเพลงฉ่อย <br />

ซึ่งมีเนื้อร้องเกี่ยวกับชีวิตริมน้ำ<br />

ของคนไทยในอดีต<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความเพลิดเพลิน<br />

จากการนั่งชมอะนิเมชั่น<br />

ประกอบเพลงฉ่อย บนเรือจำลอง <br />

ที่มีระบบไฮโดรลิก ที่ให้ความรู้สึก<br />

เสมือนลอยอยู่เหนือสายน้ำ<br />

214


๒<br />

วิถีไทย ชีวิตเคียงคู่สายน้ำ<br />

คนไทยในอดีตส่วนใหญ่ดำเนินชีวิตอยู่ตามริมฝั่ง<br />

ของสายน้ำต่างๆ ตามสภาพภูมิประเทศ วัฒนธรรม<br />

และประเพณีอันหลากหลายจึงผูกพันกับน้ำทั้งสิ้น <br />

อาจกล่าวได้ว่า สายน้ำคือวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย<br />

ก่อนเรือจำลองล่องออกจากท่า <br />

ผู้เข้าชมจะได้รับชมภาพบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำ<br />

ลำคลองสายสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีต<br />

ซึ่งฉายบนฉากที่สามารถเลื่อนเก็บได้อัตโนมัติ<br />

<br />

ตลอดการรับชมอะนิเมชั่น<br />

ประกอบเพลงฉ่อย ผู้เข้าชมจะได้รับ<br />

ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตริมน้ำ<br />

จากนายท้ายเรือซึ่งรับหน้าที่นำผู้เข้าชม<br />

ย้อนกลับไปสู่กรุงรัตนโกสินทร์<br />

สมัยอดีต ที่ผู้คนมีวิถีชีวิตผูกพัน<br />

กับสายน้ำ<br />

215


ลูกคู่ (เอ่อเอิงเอิ้งเอย...............)<br />

สาว เรือนไทยแต่ก่อนเก่า ใต้ถุนสูง<br />

ถึงน้ำท่วมก็ไม่ยุ่ง ไม่ยากใจ<br />

หนุ่ม บ้านฉันเป็นเรือนแพ แน่นอนกว่า<br />

น้ำนองน้ำบ่า ก็ไม่เป็นไร<br />

สาว เออแกว่าบ้านแก แน่นอนกว่า<br />

น้ำนองน้ำบ่า ไม่กลุ้มใจ<br />

แต่บ้านของแก มันอยู่บนแพลูกบวบ<br />

พอน้ำพะเยิบแพก็พะยวบ น่าคลื่นไส้<br />

หนุ่ม ฮึ......ไม่คลื่นไส้<br />

มาอยู่แพกับพี่มั่ง แล้วแม่ร้อยชั่งจะทราบ<br />

มันพะเยิบพะยาบ ซิถึงใจ เอย<br />

(รับ เอ่ชา เอ้ช้า ชาฉัดฉ่าชา หน่อยแม่)<br />

<br />

หญิง เออ เอิง เอย ชะเออเอิงเอ๊ย<br />

บ้านเราร้อนเหลือ เหงื่อไหลไคลย้อย<br />

ได้อาบน้ำเสียหน่อย มันถึงจะชื่นใจ<br />

อยากจะอาบน้ำ ก็ลงไปอาบที่ท่า<br />

เขาจึงเรียกอาบน้ำอาบท่า นั่นยังไง<br />

ชาย (โผล่ขึ้นจากน้ำพูด) อ๋อ.....เข้าใจละ<br />

หญิง ว้าย..........ผีทะเล<br />

ชาย (ร้องต่อ)<br />

แม่น้ำคลองนี้ ไม่มีหรอกผีทะเล<br />

ระวังแต่ไอ้เข้ มันจะคาบไป<br />

หญิง อ๋อให้ระวังไอ้เข้ มันคาบไป<br />

ไอ้เข้ไอ้โขง ไม่เคยเห็นมานัวเนีย<br />

มีแต่ไอ้ตัวเห้เนี่ย ลายๆ<br />

(ลูกคู่รับเอ่ชา...............................)<br />

<br />

(เด็กๆ ร้องเล่นกัน)<br />

ไอ้เข้ไอ้โขงมะโรงไม้สัก<br />

อ้ายเข้ฟันหัก กัดคนไม่เข้า<br />

(ไอ้เข้กระโจน เด็กๆ ร้องกรี๊ดว่ายน้ำหนี)<br />

<br />

เรือนไทย บ้านริมสายน้ำ<br />

เนื่องด้วยชาวไทยมักอาศัยอยู่ตามริมน้ำ จึงสร้าง<br />

บ้านเรือนให้สอดคล้องกับระดับน้ำขึ้นน้ำลง ด้วยการยก<br />

ใต้ถุนบ้านให้สูงพ้นผิวน้ำ หรือสร้างบ้านบนแพลอยอยู่<br />

เหนือน้ำซึ่งสามารถเดินทางหรือเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่<br />

ต่างๆ ที่แม่น้ำไหลผ่านได้อีกด้วย<br />

<br />

ชีวิตชาวไทยคู่สายน้ำ<br />

ชาวไทยนิยมสร้างบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ เพราะการ<br />

คมนาคมในอดีตมีเรือเป็นพาหนะสำคัญ ทั้งยังสะดวก<br />

ต่อการใช้น้ำในการบริโภคและอุปโภค สายน้ำจึงเป็น<br />

ส่วนหนึ่งของชีวิตชาวไทยตลอดมา <br />

216


ทำมาหากินกับสายน้ำ<br />

ด้วยในอดีตสัตว์น้ำสำหรับการบริโภคยังชุกชุม<br />

แม่น้ำลำคลองต่างๆ จึงเป็นแหล่งทำมาหาเลี้ยงชีพ<br />

และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคนไทย ซึ่งนิยมนำปลา<br />

และกุ้งมาประกอบอาหารหลากหลายประเภท<br />

บันเทิงเริงใจบนสายน้ำ<br />

เนื่องจากชีวิตของชาวไทยผูกพันอยู่กับสายน้ำ<br />

ประเพณีตลอดจนการละเล่นต่างๆ จึงเกี่ยวกับน้ำหรือ<br />

จัดขึ้นในลำน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการลอยกระทงหรือการเล่น<br />

เพลงเรือ ที่หนุ่มสาวจะพายเรือแล้วร้องเพลงตอบโต้กัน<br />

ไปมาหรือเกี้ยวพาราสีกันอย่างสนุกสนาน<br />

ลูกคู่ (เอ่อเอิงเอิ้งเอย...............)<br />

สนุกสนาน สำราญกันทั่วหน้า<br />

จะซักผ่อนซักผ้า ล้างถ้วยล้างไห<br />

น้ำกินน้ำใช้ ก็ไม่เคยขัดสน<br />

เอาสารส้มคนๆ แล้วก็ใช้ได้<br />

จะไปวัดไปไหว้<br />

ก็ไปทางน้ำทางเรือ<br />

บ้านใต้บ้านเหนือ<br />

ซะเป็นส่วนใหญ่<br />

๒<br />

กุ้งหอยปูปลา มีอยู่ในน้ำพร้อมเสร็จ<br />

ทอดแหตกเบ็ด เดี๋ยวก็ได้เดี๋ยวก็ได้<br />

ข้าวปลาอาหารเหลือเฟือ ไม่มีอด<br />

กินกันไม่หมดก็ขายไป เอย<br />

(ลูกคู่รับ เอ่ชา เอ้ช้า ชาฉ่าชา หน่อยแม่)<br />

ลูกคู่ (เอ่อเอิงเอิ้งเอย...............)<br />

(นอละนอ.................................ฮ้าไฮ้ เชี้ยบๆ)<br />

พอถึงหน้าน้ำ ก็สนุกหนักหนา<br />

การละเล่นนานา (ฮ้า) ถมถืดไป<br />

พวกหนุ่มสาวชาวบ้าน เบิกบานกระดี๊กระด๊า<br />

ได้โอกาสแล้วหวา (ฮ้า) อย่าช้าไย<br />

พวกหนุ่มๆ สาวๆ พายเรือมาประจัน<br />

แล้วร้องเพลงเรือเกี้ยวกัน (ฮ้า) เป็นคู่ไป<br />

ตอบกันไปโต้กันมา ส่งสายตามาประสาน<br />

ผลสุดท้ายก็แต่งงาน (ฮ้า) กันสมใจ<br />

ลูกคู่ (เอ่อเอิงเอิ้งเอย...............)<br />

เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง<br />

เราก็ลอยกระทง (ฮ้า) ลงน้ำไป<br />

เพื่อจะขอขมา พระแม่คงคาเป็นพิธี<br />

ที่เราได้ย่ำยี (ฮ้า) หาน้อยไม่<br />

ทั้งอาบกินใช้สอย ทั้งลอยเรือขึ้นล่อง<br />

ทั้งหนักเบาชิ้งฉ่อง (ฮ้า) ต้องขออภัย<br />

นี่แหละคือวิถี ที่เราใช้ชีวิต<br />

สายน้ำคือวิถี ที่เราใช้ชีวิต<br />

เขายกให้เป็นเวนิส ตะวันออกไกล<br />

(ดนตรี/ลูกคู่รับ นอละนอ...............ฮ้าไฮ้ เชี้ยบๆ)<br />

217


หลังจากรับชมอะนิเมชั่น<br />

ประกอบเพลงฉ่อย<br />

เรือจำลองจะนำผู้ชม<br />

เข้าจอดเทียบตู้โดยสาร<br />

ภายในรถรางซึ่งเป็น<br />

ยานพาหนะในสมัยแรกมีถนน<br />

แบบตะวันตกเกิดขึ้น<br />

ในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

๓<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความรู้เรื่องถนนตามแบบอย่างตะวันตกในบรรยากาศ<br />

จำลองการนั่งรถรางชมทัศนียภาพสองฝั่งถนนในกรุงรัตนโกสินทร์สมัยอดีต<br />

218


ถนน…เส้นทาง<br />

สู่พัฒนาการแห่งวิถีไทย<br />

<br />

ในอดีต สยามยังไม่มีถนนหนทางสัญจร ส่วนใหญ่<br />

เป็นทางที่ถางไว้พอให้คนเดินหรือเกวียนผ่านได้เท่านั้น<br />

เนื่องจากผู้คนนิยมเดินทางทางน้ำมากกว่าทางบก<br />

จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระองค์มีพระราชดำริว่า สยามควรมีถนนดีๆ ไว้ใช้<br />

เพื่อเป็นหน้าเป็นตาแก่ประเทศ จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนขึ้น ผู้คนเรียกกันติดปากว่า ถนนใหม่<br />

ภายหลังพระราชทานชื่อให้ว่า ถนนเจริญกรุง หลังจากนั้น<br />

จึงมีการตัดและปรับปรุงถนนสายอื่นๆ เรื่อยมา อาทิ ถนน<br />

บำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร เป็นต้น เมื่อมีการตัดถนน<br />

ความเจริญด้านการคมนาคมและสาธารณูปโภคต่างๆ <br />

ก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาสู่วิถีชีวิตของชาวสยามมากขึ้น<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความรู้เรื่องการคมนาคม<br />

และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อันทันสมัย <br />

เมื่อแรกมีขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ผ่านการถ่ายทอด<br />

จากวีดิทัศน์โดยสองสาวพี่น้อง และการจัดแสดงด้วย<br />

เทคนิคโฮโลแกรม (Hologram) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง<br />

ที่สามารถแสดงภาพแบบ ๓ มิติ<br />

219


ก่อนผู้เข้าชมจะก้าวลงจาก<br />

รถรางจำลอง จะได้ยินเสียงเพลง<br />

ที่มีเนื้อร้องกล่าวถึงรถราง<br />

ซึ่งเป็นเพลงที่แพร่หลาย<br />

ในช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๑๑ <br />

อันเป็นปีสิ้นสุดการเดินรถราง<br />

โดยสารในสยาม<br />

ปิ๊ด ปี้ ปิ๊ด เสียงนกหวีดสั่งให้รถจอด<br />

จอดจ้าจอด ถึงสามยอดรถจอดทันที<br />

อาเฮียอย่าเพิ่งขึ้นมา อาเฮียอย่าเพิ่งขึ้นมา<br />

ขอให้คุณป้าแกลงก่อนซี<br />

ขึ้นแล้วกระเถิบเข้าใน สตางค์เตรียมไว้อย่าได้รอรี<br />

หลักเมืองถึงเอสเอบี หลักเมืองถึงเอสเอบี<br />

ราคาเขามี สามสิบสตางค์<br />

ไวจ้าไว ขึ้นแล้วเดินในอย่าได้หยุดยั้ง<br />

เบียดกันโปรดจงระวัง เบียดกันโปรดจงระวัง<br />

กระเป๋าสตางค์ท่านจะหายไป<br />

ท่านหญิงโปรดเดินข้างใน ท่านชายจะลุกให้นั่ง<br />

ว่ายังไงกันเล่าอาบัง ว่ายังไงกันเล่าอาบัง<br />

มีตั๋วหรือยังโปรดบอกไวไว<br />

220


๓<br />

ไฟฟ้า...เหนือกว่าแสงไต้แสงตะเกียง<br />

ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ <br />

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ริเริ่ม<br />

โดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ซึ่งได้รับ<br />

การสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว และมีการก่อตั้งโรงไฟฟ้าถาวรแห่งแรกขึ้นที่<br />

วัดเลียบหรือวัดราชบุรณะ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า <br />

สยามถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ที่มีไฟฟ้าใช้<br />

<br />

โรงไฟฟ้าวัดเลียบ สถานที่ตั้งโรงงานผลิตและบริษัท<br />

จำหน่ายกระแสไฟฟ้าแห่งแรกในสยาม โดยเปิดดำเนินการ<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐<br />

221


น้ำประปา…น้ำกินน้ำใช้ไร้มลพิษ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีพระราชดำริว่า ประชาชนควรมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้<br />

แทนน้ำจากแม่น้ำลำคลองที่นับวันจะสกปรกมากขึ้น <br />

จึงทรงว่าจ้างช่างผู้ชำนาญการประปาชาวฝรั่งเศสมาจัดทำ<br />

แผนงานเรื่องวิธีการทำน้ำประปา และได้ประกาศพระบรมราช<br />

โองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศุขาภิบาล<br />

จัดการที่จะนำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควร<br />

แก่ภูมิประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า ประปา<br />

การประปากรุงเทพฯ จุดกำเนิดหน่วยงานผลิตน้ำประปา<br />

ที่ได้มาตรฐานเดียวกับอารยประเทศ เปิดดำเนินการ <br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗<br />

222


๓<br />

รถลาก...ใกล้ไกลเรียกใช้ได้<br />

รถลากถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเหล่าพ่อค้า<br />

สำเภานำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายพระองค์ ชาวบ้านเรียก<br />

ติดปากว่า “รถเจ๊ก” เนื่องจากคนลากมักเป็นคนจีน ต่อมา<br />

ในต้นรัชกาลที่ ๕ ผู้คนนิยมใช้กันมาก จึงมีการตั้งโรงงาน<br />

สร้างรถลากไว้ใช้เองในประเทศ<br />

<br />

รถม้า...จะไปไหนให้ม้าพาไป<br />

รถม้าถูกนำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกจาก<br />

ประเทศอังกฤษและอินเดียในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมา<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการนำรถม้ามาใช้มากขึ้น จึงตั้ง<br />

กรมอัศวการขึ้นดูแล เมื่อเริ่มมีรถลากและรถรางเข้ามาใช้ <br />

การใช้รถม้าจึงค่อยๆ คลายความนิยมลง<br />

รถราง...พาหนะบนรางเหล็ก<br />

รถรางมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดย<br />

ชาวเดนมาร์ก ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต<br />

เปิดกิจการรถรางในสยาม ช่วงแรกๆ ใช้ม้าลาก ภายหลัง<br />

เมื่อสยามมีไฟฟ้าจึงเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าแทน ต่อมา<br />

ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ มีกลุ่มคนไทย ประกอบด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์<br />

และเหล่าขุนนางในราชสำนักจำนวนหนึ่ง เข้าหุ้นกันจัดตั้ง<br />

บริษัทรถรางที่ดำเนินกิจการโดยคนไทยแห่งแรกขึ้น ชื่อว่า<br />

บริษัท รถรางไทย ทุนจำกัด หรือเรียกกันว่า รถรางสายแดง<br />

<br />

223


จำลองบรรยากาศร้านค้าซึ่งเป็นตึกแถว<br />

ริมถนนเจริญกรุง อันเป็นถนนสายแรก<br />

ของสยามที่สร้างตามแบบอย่างตะวันตก<br />

๔<br />

สู่บ้านเมืองยุคพัฒนาเป็นอารยะ<br />

<br />

การติดต่อค้าขายเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับชาติตะวันตกในสมัย<br />

รัตนโกสินทร์เริ่มเฟื่องฟูขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่คณะมิชชันนารีเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาเป็นต้นมา <br />

จึงเกิดความพยายามในการปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าไม่แพ้<br />

นานาอารยประเทศอันนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนศิลปวิทยาการต่างๆ ระหว่างกัน<br />

มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษา รวมทั้งส่งนักเรียนไทย<br />

ไปศึกษาต่างประเทศ นำวิชาความรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย<br />

ส่งผลให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน<br />

224


เปลี่ยนจากเปิบเป็นช้อนส้อม<br />

แต่เดิมคนไทยรับประทานอาหารด้วยการเปิบ<br />

ด้วยมือ แต่เมื่อเริ่มรับวัฒนธรรมตะวันตกซึ่งรับประทาน<br />

อาหารด้วยมีด ช้อน และส้อมมาประยุกต์ใช้ จึงเริ่มเปลี่ยน<br />

มาใช้ช้อนส้อมเป็นเครื่องมือในการรับประทานอาหาร <br />

โดยตัดมีดสำหรับหั่นออกไป เพราะเนื้อสัตว์และผักต่างๆ<br />

ในอาหารไทยจะถูกหั่นและปรุงมาพร้อมแล้ว<br />

<br />

สนุกอย่างฝรั่ง<br />

กีฬาและกิจกรรมนันทนาการแบบตะวันตก<br />

ที่แพร่หลายเข้ามาในสยามระยะแรกๆ ได้แก่ การขี่ม้าและ<br />

ยิงปืน และเพิ่มมากขึ้นเมื่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ ฟุตบอล รักบี้ เทนนิส<br />

แบดมินตัน แข่งม้า จักรยาน กรีฑา ยิมนาสติก ฟันดาบ<br />

ส่วนในราชสำนักก็นิยมการเล่นโครเกต์<br />

<br />

จากนุ่งห่มสู่สวมใส่<br />

การแต่งกายของคนไทยในอดีต นิยมใช้วิธีนุ่งและ<br />

ห่มเป็นหลัก จนเมื่ออิทธิพลการแต่งกายแบบตะวันตก<br />

เข้ามาเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของผู้คนในสยามประเทศ<br />

ให้เป็นสากลขึ้น โดยเริ่มต้นจากกลุ่มเจ้านายและขุนนาง<br />

ในราชสำนัก แล้วจึงแพร่หลายมาสู่ราษฎรทั่วไป เช่น<br />

ผู้ชายสวมเสื้อและใส่กางเกงขายาว ผู้หญิงสวมเสื้อแล้วห่ม<br />

สไบทับ<br />

<br />

สร้างบ้านแต่งเรือนเหมือนตะวันตก<br />

เมื่อสยามประเทศเริ่มรู้จักกับสถาปัตยกรรมและ<br />

การตกแต่งภายในแบบตะวันตก ราชสำนักและชนชั้นสูง<br />

ก็เริ่มปรับวิถีชีวิตตามแบบวัฒนธรรมดังกล่าว จากที่เคย<br />

ปลูกสร้างและตกแต่งอาคารบ้านเรือนแบบไทยและแบบ<br />

ที่มีอิทธิพลจากจีน ก็เริ่มเปลี่ยนไปเป็นแบบตะวันตก<br />

มากขึ้น มีการตกแต่งภายในด้วยเครื่องเรือนแบบตะวันตก<br />

เช่น ตู้ โต๊ะ นาฬิกา ภาพประดับ<br />

<br />

การจัดโต๊ะอาหารตามแบบตะวันตก<br />

ภายในพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ สมัยรัชกาลที่ ๕<br />

เจ้านายสตรี สมัยรัชกาลที่ ๕ นิยมเล่นกีฬา<br />

แบบตะวันตกที่เรียกว่า โครเกต์<br />

วังของเจ้านายหรือบ้านเรือนของผู้มีฐานะ ที่เริ่ม<br />

เปลี่ยนจากเรือนไทยใต้ถุนสูงมาเป็นอาคารสองชั้น<br />

ตามสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก<br />

225


จัดแสดงภาพถ่ายบรรยากาศกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ และ รัชกาลที่ ๕ ที่หาชม<br />

ได้ยาก<br />

ตึกแถว...ที่ทำการค้าผสานการพักอาศัย<br />

นับจากมีการตัดถนนตามแบบตะวันตกสายแรก<br />

เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้มีการสร้างตึกแถวสองชั้นขึ้น<br />

สองฟากถนน โดยผู้เป็นเจ้าของส่วนใหญ่ได้แก่คนจีน<br />

และชาวต่างชาติ ซึ่งนิยมใช้ชั้นล่างเป็นสถานที่ประกอบ<br />

กิจการค้าและชั้นบนเป็นสถานที่พักอาศัย เมื่อชาวสยาม<br />

ใช้ถนนในการเดินทางสัญจรมากขึ้น การค้าเจริญรุ่งเรือง<br />

การสร้างตึกแถวจึงได้รับความนิยม จึงปรากฏตึกแถว<br />

ตั้งเรียงรายไปตามริมถนนสายสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะ<br />

ในบริเวณใจกลางกรุงรัตนโกสินทร์<br />

<br />

226


๔<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความเพลิดเพลิน<br />

จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ซึ่งเมื่อหมุน<br />

จะมีเสียงดนตรีแสนไพเราะดังออกมา<br />

ห้างร้านฝรั่ง...ตื่นตาสินค้านอก<br />

นับตั้งแต่มีการตัดถนนแบบตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ ๔<br />

เป็นต้นมา ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนเปิดห้างร้านต่างๆ<br />

ขึ้นที่ตึกแถวริมถนน ซึ่งทางราชการได้สร้างไว้ให้เช่าเอาเงิน<br />

เข้าท้องพระคลัง เพื่อขายสินค้าของชาติตะวันตก ซึ่งเป็น<br />

ของแปลกใหม่สำหรับชาวสยามในสมัยนั้น อาทิ สบู่<br />

ยาสีฟัน น้ำหอม เครื่องเรือน เครื่องจักรกล รถยนต์ ห้าง<br />

ร้านของชาวตะวันตก ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยนั้น ได้แก่<br />

ห้างแบดแมน <br />

<br />

<br />

227


จัดแสดงวีดิทัศน์ถ่ายทอด<br />

เรื่องราวความเป็นมา<br />

ของการแพทย์แผนใหม่<br />

ในสยาม<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความเพลิดเพลิน<br />

จากการทดลองใช้เครื่องบดยาในอดีต <br />

ซึ่งทุกครั้งที่โยกจะมีกลิ่นยาไทยหอมฟุ้งไปทั่ว<br />

ร้านขายยาจำลอง<br />

กรุ่นกลิ่นยาไทย<br />

ในอดีต คนไทยนำส่วนต่างๆ ของพืชและสัตว์ รวมทั้ง<br />

แร่ธาตุสารพัดชนิดมาใช้เป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ <br />

ซึ่งต้องผ่านการสังเกต จดจำ และลองผิดลองถูกมาเป็น<br />

ระยะเวลานาน ถือเป็นภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทยที่อยู่<br />

คู่กับคนไทยมาช้านาน เมื่อการแพทย์แผนตะวันตก<br />

เริ่มแพร่หลายในสยามประเทศและมีการรณรงค์ให้<br />

ประชาชนรักษาพยาบาลด้วยแพทย์แผนตะวันตกมากขึ้น<br />

แพทย์แผนไทยจึงปรับปรุงวิธีการรักษาให้มีมาตรฐาน<br />

เป็นสากล เพื่อมิให้การแพทย์แผนไทยถูกกลืนหายไปกับ<br />

กระแสความเปลี่ยนแปลงจากชาติตะวันตก<br />

<br />

228


๔<br />

จัดแสดงเครื่องมือนับเหรียญซึ่งจำลองมาจากของจริง<br />

ที่เคยใช้ในธนาคารในอดีต<br />

จากบุคคลัภย์ถึงไทยพาณิชย์<br />

ธนาคารแห่งแรกของไทยก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕<br />

ด้วยทรงเล็งเห็นความสำคัญของสถาบันการเงินที่มีต่อ<br />

เศรษฐกิจและผลประโยชน์ของประเทศ จึงมีการทดลอง<br />

จัดตั้งธนาคารขนาดเล็กรับฝากเงิน โดยใช้ชื่อว่า บุคคลัภย์<br />

เลียนเสียง คำว่า Book Club ในภาษาอังกฤษ เพื่ออำพราง<br />

การดำเนินกิจการธนาคาร เนื่องจากยังไม่แน่นอนว่า<br />

ชาวสยามจะตอบรับแนวคิดระบบธนาคารพาณิชย์หรือไม่ <br />

เมื่อประชาชนยอมรับการดำเนินงานของธนาคาร จึงใช้<br />

ชื่อว่า บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด ต่อมาเมื่อ<br />

เปลี่ยนชื่อประเทศจากสยามเป็นไทย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น<br />

ธนาคารไทยพาณิชย์ <br />

<br />

229


ผู้เข้าชมสามารถเลือกซื้อ<br />

โปสการ์ดที่ระลึกสีสันสวยงาม<br />

หลากหลายรูปแบบ<br />

ผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ<br />

ได้ด้วยตนเอง<br />

ผู้เข้าชมสามารถ<br />

ส่งโปสการ์ดถึงทุกจุดหมาย<br />

ปลายทางในประเทศไทย<br />

ผ่านตู้ไปรษณีย์ซึ่งจำลอง<br />

จากของจริงที่เคยใช้<br />

ในอดีต<br />

230


๔<br />

ส่งสาส์น...สู่สื่อสาร<br />

<br />

ไปรษณีย์...จุดเริ่มต้นแห่งการสื่อสารในสยาม<br />

การส่งข่าวสารของคนไทยในอดีตมักฝากสาส์นกับ<br />

พ่อค้าหรือคนเดินทางที่จะผ่านไปยังสถานที่ที่จะส่งข่าวไป<br />

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีบริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนิน<br />

กิจการในสยามมากขึ้น สถานกงสุลจึงเป็นที่รวบรวมข่าวสาร<br />

ส่งลงเรือไปสิงคโปร์ เพื่อส่งไปยังปลายทางอีกทอดหนึ่ง<br />

เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง<br />

กรมไปรษณีย์ไทยหรือไปรษณียาคาร เพื่อดำเนินงาน<br />

ด้านการสื่อสารในกรุงเทพฯ ปรากฏว่าประชาชนมาใช้<br />

บริการกันมาก จึงมีการขยายงานออกไปตามหัวเมืองในเวลา<br />

ต่อมา<br />

<br />

โทรเลข...เคาะส่งข่าว<br />

ประเทศสยามเริ่มรู้จักโทรเลข ซึ่งเป็นเครื่องเคาะ<br />

รหัสมอร์สสำหรับส่งข่าวสาร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ <br />

โดยคณะทูตปรัสเซียนำเครื่องส่งโทรเลขมาถวาย แต่ระบบ<br />

โทรเลขถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๕<br />

ส่วนใหญ่ประชาชนจะใช้โทรเลขส่งข่าวสารที่เร่งด่วน<br />

และสำคัญ เนื่องจากการส่งโทรเลขมีราคาแพง<br />

เพราะคิดค่าส่งตามจำนวนคำ ผู้ส่งจึงต้องคิด<br />

ข้อความข่าวสารให้สั้น กระชับ และได้ใจความที่สุด<br />

<br />

โทรศัพท์...ส่งเสียงตามสาย<br />

โทรศัพท์ถูกนำมาใช้ในสยามเป็นครั้งแรก<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายใต้การดูแลของกระทรวง<br />

กลาโหม เพื่อใช้ในกิจการสร้างความมั่นคงแห่งชาติ<br />

เมื่อจำนวนหมายเลขโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น<br />

กระทรวงกลาโหมจึงโอนกิจการโทรศัพท์ไปอยู่ใน<br />

ความดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งได้ขยาย<br />

ขอบเขตการให้บริการจากภาครัฐไปสู่เอกชนและ<br />

ประชาชนทั่วไปในเวลาต่อมา<br />

<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับ<br />

ความรู้เรื่อง<br />

ไปรษณีย์<br />

ผ่านเจ้าหน้าที่<br />

ซึ่งแต่งกาย<br />

ด้วยเครื่องแบบ<br />

บุรุษไปรษณีย์<br />

ในอดีต<br />

231


232<br />

จัดแสดงโปสเตอร์ที่เขียนภาพโฆษณาเชิญชวน<br />

ให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งรัฐบาล<br />

ได้กำหนดขึ้นในช่วงสมัยรัฐนิยม


๕<br />

อีกด้านหนึ่งของจุดจัดแสดงหลุมหลบภัย<br />

สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการจัดแสดง<br />

เสาธงขนาดย่อม พร้อมเนื้อเพลงชาติไทย<br />

สมัยรัฐนิยม<br />

สงครามโลกครั้งที่ ๒…<br />

คนลำบาก ชาติลำเค็ญ<br />

<br />

วิถีชีวิตของผู้คนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.<br />

๒๔๘๒ - พ.ศ. ๒๔๘๘) เรียกได้ว่าเป็นยุค “ข้าวยาก<br />

หมากแพง” เนื่องจากสินค้าอุปโภคบริโภคถูกกว้านซื้อไป<br />

เพื่อใช้ในการสงครามจำนวนมาก และมีการทิ้งระเบิด<br />

ในจุดยุทธศาสตร์ อาทิ หัวลำโพง โรงไฟฟ้าวัดเลียบ<br />

สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานพระราม ๖ โดยเฉพาะ<br />

ในเวลากลางคืน เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดมาถึง ทางการ<br />

จะเปิดเสียงสัญญาณหวอ เตือนให้ประชาชนระวังตัว <br />

ผู้คนจะ “พรางไฟ” โดยใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าขาวม้าบังแสงไฟ<br />

ในบ้านให้สลัวลง เพื่อป้องกันมิให้เครื่องบินของฝ่ายข้าศึกเห็น<br />

และมาทิ้งระเบิดลงได้ มีการสร้างหลุมหลบภัยไว้ตาม<br />

สถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้คนเข้าไปหลบในช่วงเวลาที่มีการทิ้ง<br />

ระเบิด และกระทรวงกลาโหมได้ออกคู่มือการป้องกันภัย<br />

ทางอากาศให้แก่ประชาชน เพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์<br />

ฉุกเฉินระหว่างสงคราม<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

233


สมัยรัฐนิยม มีการกำหนดข้อควร<br />

ปฏิบัติหลายประการ เช่น การเลิกใช้<br />

พยัญชนะและสระที่มีเสียงซ้ำกัน <br />

การรณรงค์ให้เลิกห่มผ้าแถบ <br />

เลิกนุ่งโจงกระเบน และเปลี่ยนมา<br />

สวมกางเกง กระโปรง และหมวก <br />

อันเป็นเครื่องแต่งกายตามแบบ<br />

สากลนิยม<br />

รัฐนิยม...จุดพลิกผันครั้งใหญ่แห่งไทยวิถี<br />

รัฐนิยมหรือการปฏิวัติวัฒนธรรมไทยเป็นนโยบายของรัฐบาลในช่วงที่<br />

จอมพล แปลก พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อปลุกระดม<br />

ความรู้สึกของประชาชนให้มีความภาคภูมิใจในชาติ และต้องรักษาวัฒนธรรม<br />

เพื่อความเจริญของชาติ แม้แนวคิดรัฐนิยมนี้คงอยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ <br />

แต่ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของ<br />

คนไทย อาทิ การเปลี่ยนชื่อประเทศและเชื้อชาติจาก สยาม เป็น ไทย<br />

การแต่งเนื้อร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ การรณรงค์ให้ประชาชนแต่งกาย<br />

แบบสากล การให้เลิกกินหมาก การเคารพธงชาติ เป็นต้น<br />

<br />

234


๕<br />

เพลงชาติไทย<br />

เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย<br />

ประพันธ์ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลัง<br />

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำร้องฉบับแรกสุด<br />

โดยขุนวิจิตรมาตรา มีดังนี้<br />

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง<br />

ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า<br />

สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา<br />

ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย<br />

บางสมัยศัตรูจู่มารบ<br />

ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่<br />

ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท<br />

สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา<br />

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย<br />

น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า<br />

เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา<br />

เราจะสามัคคีร่วมมีใจ<br />

ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี<br />

ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้<br />

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย<br />

สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย<br />

ผู้เข้าชมสามารถกดปุ่มด้านข้าง<br />

เพื่อชมการเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา<br />

ด้วยระบบไฟฟ้า ประกอบเพลง<br />

รณรงค์ให้ประชาชนยืนตรง<br />

เคารพธงชาติซึ่งแต่งขึ้นสมัยรัฐนิยม<br />

235


๖<br />

สังคมไทยสมัยเปลี่ยนผ่าน<br />

วิวัฒนาการสู่ความเป็นสากล<br />

กระแสธารทางวัฒนธรรมของต่างชาติ โดยเฉพาะ<br />

จากประเทศทางตะวันตกอย่างอเมริกา ที่หลั่งไหล<br />

เข้ามาสู่สังคมไทยตั้งแต่ปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ <br />

ได้สร้างปรากฏการณ์แปลกใหม่ ที่บันดาลบรรยากาศ<br />

ในกรุงเทพฯ ให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้วยเกิดความนิยม<br />

236


นำวัฒนธรรมของอเมริกามาผสานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต<br />

ของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นทรงผม เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย<br />

หรือรูปแบบการเต้นรำ ทำให้กรุงเทพฯ สมัยนั้น เป็นหนึ่ง<br />

ในมหานครที่ก้าวข้ามสู่ความเป็น “สากล” อันเป็นนิยาม<br />

ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

237


จากรำวงมาตรฐาน<br />

ถึงการเต้นแบบตะวันตก<br />

รำวงมาตรฐานมีที่มาจากรำโทนของชาวบ้าน <br />

ซึ่งชายหญิงจะจับคู่รำเป็นวงกลม ท่ารำและการร้อง<br />

แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน มีโทนเป็นเครื่องดนตรี<br />

ประกอบจังหวะ การรำโทนถูกปรับปรุงให้มีระเบียบ<br />

แบบแผนในช่วงรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม<br />

เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ<br />

กิจกรรมนันทนาการอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยม<br />

อย่างแพร่หลายในหมู่คนทั่วไป คือ การเต้นรำหรือลีลาศ<br />

ซึ่งต่อมาเมื่อวัฒนธรรมตะวันตกจากสื่อประเภทภาพยนตร์<br />

และดนตรีเข้ามามีอิทธิพลมากในสังคมไทย จึงเกิดกระแส<br />

นิยมการเต้นตามจังหวะเพลงหรือเลียนแบบภาพยนตร์<br />

เช่น จังหวะทวิสต์ จังหวะบั๊มพ์<br />

<br />

<br />

238


๖<br />

ผู้เข้าชมด้านนอกสามารถมองผ่าน<br />

กระจกบานใหญ่ โดยผู้เข้าชม<br />

ด้านในไม่ทันรู้ตัว เพราะเป็นกระจก<br />

ที่มองเห็นได้เพียงด้านเดียว<br />

จัดแสดงท่ารำวงมาตรฐาน การเต้นบอลรูม และการเต้นดิสโก้ประกอบเพลง ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ เป็นต้นมา<br />

ผ่านการนำเสนอด้วยระบบจอสัมผัส<br />

239


240


๖<br />

วันวาน...ร้านตัดผม<br />

ในอดีต ประเทศไทยยังไม่มี<br />

ร้านตัดผม จะมีก็แต่ช่างตัดผมที่เป็นฝ่าย<br />

เตรียมอุปกรณ์และเดินทางไปหา<br />

ลูกค้าเอง ต่อมาเมื่อคนไทยเริ่มนิยม<br />

ไว้ทรงผมตามแบบตะวันตก จึงเกิด<br />

ร้านตัดผมเป็นหลักแหล่งขึ้นมาในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหา<br />

อานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร<br />

และมักใช้คำว่า “เกศา” ประกอบอยู่ใน<br />

ชื่อร้าน<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความเพลิดเพลินจากการถ่ายภาพผ่านจอซึ่งจำลองกระจก<br />

ในร้านตัดผมในอดีต โดยสามารถเลือกทรงผมที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก<br />

และได้รับความนิยมจากคนไทยในอดีต ทั้งทรงผมบุรุษและทรงผมสตรี<br />

241


242


๖<br />

ร้านตัดเสื้อเมื่อแรกมี<br />

ในอดีต ยังไม่มีเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผู้คนต้องตัดเย็บ<br />

เสื้อผ้าสวมใส่เอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๘ จึงเริ่มมีการตั้ง<br />

ร้านตัดเสื้อหรือห้องเสื้อขึ้นในประเทศไทย สำหรับร้าน<br />

ตัดเสื้อที่มีชื่อเสียงมากในช่วงนั้น ได้แก่ ร้านเฟมิน่า <br />

ร้านกรแก้ว<br />

<br />

<br />

<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความเพลิดเพลิน<br />

จากการถ่ายภาพผ่านจอซึ่งจำลองตู้จัดแสดง<br />

เครื่องแต่งกายของร้านตัดเสื้อในอดีต <br />

โดยสามารถเลือกแบบเครื่องแต่งกาย<br />

ให้เหมาะสำหรับบุรุษและสตรีได้ตามอัธยาศัย<br />

243


244


๖<br />

นิตยสาร…ความรู้ความบันเทิงผ่านตัวอักษร<br />

กำเนิดของนิตยสารเริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มักจะนำเสนอเนื้อหา<br />

เกี่ยวกับความคิดเห็นด้านการเมืองหรือนวัตกรรมต่างๆ<br />

เช่น การแพทย์และสาธารณสุข กิจการลูกเสือ กาชาด<br />

เท่านั้น จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารจึงมี<br />

ความหลากหลายมากขึ้น เช่น นวนิยาย ละคร สถานที่<br />

ท่องเที่ยว แฟชั่น ความรู้ทางวิชาการ<br />

ผู้เข้าชมจะได้รับความเพลิดเพลินจากการเป็นแบบถ่ายภาพลงปกนิตยสารซึ่งจัดแสดงอยู่บนแผงหน้าร้านจำหน่ายนิตยสารจำลอง <br />

โดยสามารถเลือกปกนิตยสารในอดีตได้หลายแบบ<br />

245


246


๖<br />

ห้องภาพราชดำเนิน<br />

เมื่อผู้เข้าชมเพลิดเพลินไปกับ<br />

การถ่ายภาพจากร้านตัดผม ร้านตัดเสื้อ<br />

และร้านจำหน่ายนิตยสาร สามารถเลือก<br />

กดปุ่มเพื่อสั่งพิมพ์ภาพ โดยสามารถรับ<br />

ภาพที่น่าประทับใจได้ที่มุมรับภาพ <br />

เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก<br />

247


248<br />

ผู้เข้าชมสามารถกดเลือกรับฟัง<br />

เพลงภาษาอังกฤษและเพลงไทย<br />

ที่ได้รับความนิยมในหมู่คนไทย<br />

ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๖๐ <br />

เป็นต้นมา


๖<br />

สภากาแฟ…<br />

แหล่งชุมนุมคนช่างคิด<br />

การดื่มกาแฟแพร่หลายในสังคมไทยช่วงรัชกาลที่ ๗<br />

เป็นต้นมา และเป็นยุคสมัยที่เริ่มปรากฏว่าร้านกาแฟซึ่งได้ถูก<br />

เรียกขานในหมู่ผู้นิยมดื่มกาแฟว่า “สภากาแฟ” อันเป็น<br />

สถานที่ซึ่งผู้คนมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน<br />

และกลายเป็นคำที่ติดอยู่ในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน <br />

<br />

249


โรงภาพยนตร์ “เฉลิมรัตน์”<br />

จำลองบรรยากาศโรงภาพยนตร์<br />

ที่ถือว่าทันสมัยในอดีต<br />

จอวีดิทัศน์ จัดแสดงตัวอย่าง<br />

โปสเตอร์โฆษณาภาพยนตร์ไทย<br />

ที่ได้รับความนิยมในอดีต<br />

โรงภาพยนตร์...มหรสพบนจอเงิน<br />

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ภาพยนตร์จัดเป็นมหรสพรูปแบบใหม่<br />

ที่ได้รับความนิยมในหมู่คนไทย จึงมีโรงภาพยนตร์กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ <br />

มากกว่า ๒๐ โรง <br />

อย่างไรก็ตาม โรงภาพยนตร์สมัยแรกมักมีขนาดเล็ก เป็นอาคารไม้ หลังคา<br />

มุงสังกะสี ไม่มีโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานและสวยงามเป็นศรีสง่า<br />

แก่บ้านเมือง เมื่อจะมีการฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มี<br />

การหารือกันในคณะรัฐบาลเพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถอำนวย<br />

สาธารณประโยชน์<br />

รัชกาลที่ ๗ มีพระราชดำริว่าสิ่งบันเทิงที่เฟื่องฟูมากที่สุดในโลก<br />

ยุคนั้นคือภาพยนตร์ จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์กว่า ๙ ล้านบาท<br />

เพื่อสร้างโรงภาพยนตร์ที่มีลักษณะภูมิฐาน เป็นที่เชิดหน้าชูตาของประเทศได้ <br />

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร สถาปนิกผู้สำเร็จ<br />

การศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง <br />

และพระราชทานนามโรงมหรสพเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบและเป็นอนุสรณ์<br />

แห่งงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี ว่า ศาลาเฉลิมกรุง<br />

250


๖<br />

บรรยากาศภายนอกศาลาเฉลิมกรุงเมื่อสมัยแรกมีการฉายภาพยนตร์<br />

ศาลาเฉลิมกรุงเป็นอาคาร<br />

รูปสี่เหลี่ยมสูงตระหง่านมั่นคง ภูมิฐาน<br />

ตามแบบตะวันตก โครงสร้างแข็งแรง<br />

สามารถรับน้ำหนักได้ดี ด้วยการใช้<br />

เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยไม่มีเสาบังตา<br />

การออกแบบตกแต่งภายในงดงามด้วย<br />

ศิลปะไทยสอดผสานกับศิลปะตะวันตก<br />

มีระบบปิด - เปิดม่านอัตโนมัติ และเป็น<br />

โรงมหรสพแห่งแรกของไทยที่มีการใช้<br />

เครื่องปรับอากาศ นอกจากนั้นยังจัดฉาย<br />

ภาพยนตร์ชั้นดี โดยเฉพาะภาพยนตร์<br />

ต่างประเทศเสียงในฟิล์ม<br />

ศาลาเฉลิมกรุงสมัยแรกเริ่มจึงเป็น<br />

ที่ชุมนุมของคนมีการศึกษาดีและผู้ที่จบ<br />

การศึกษามาจากต่างประเทศ<br />

251


๗<br />

ภาพยนตร์...สื่อสะท้อนสังคมร่วมสมัย<br />

ปัจจุบัน วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย ที่สอด<br />

ประสานอย่างเหมาะสมและกลมกลืนกับธรรมชาติ<br />

ดังเช่นอดีตที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงระลอกใหญ่ <br />

ด้วยความเร่งรีบและการแข่งขันกลายเป็นปัจจัยสำคัญ<br />

ที่ถาโถมผลักดันให้คนไทยพยายามดิ้นรนแหวกว่ายไปสู่<br />

นิยามของความสำเร็จสมัยใหม่ ซึ่งมีปลายทางอยู่ที่<br />

ความพรั่งพร้อมบริบูรณ์ทางวัตถุ ซึ่งสังคมโลกไร้พรมแดน<br />

ทุกวันนี้ถือเป็นแกนหลักของชีวิต<br />

252


วันที่ความเร่งรีบวิ่งแซงไฟเขียว วันที่วัตถุบอกความฉลาดเฉลียว อยากให้เหลียวย้อนมองผู้คน<br />

ความเร่งรีบสอนให้เราไม่เป็นผู้เป็นคน<br />

วันที่โลกใหญ่เท่าเดิมแต่มันแคบลง วันที่การเขียนรายงานไม่ต้องคัดตัวบรรจง สมมติว่า<br />

อยากชวนสาวดูอาทิตย์อัสดง ยกไอโฟนขึ้นถ่ายคลิปแล้วโหลดลง วีมิโอ เฟสบุ๊ค จนกระทั่งยูทูบ<br />

หนังสือพิมพ์อ่านไม่ได้ยกมือถืออ่านสกู๊ป สนุกสนานทุกทีด้วยเทคโนโลยี<br />

คิดถึงกันเมื่อไหร่ลงรถเมล์ต่อเอ็มอาร์ที เพราะโลกรวดเร็วด้วยระบบต่างๆ นานา<br />

แม้อยู่กันไกลแค่ไหน ก็ยังสามารถสบตา ส่งข่าวสารบ้านเมืองผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ <br />

ผ่านปัจจัยผ่านเม็ดเงินจนผ่านวิกฤต เป็นข้อคิดแม้โลกหมุนเร็วเท่าเดิมตลอดมา แต่ความรวดเร็ว<br />

เพิ่มขึ้นทุกการขยับเข็มนาฬิกา มีท้องฟ้า มีพื้นดิน ที่ยังเป็นปึกแผ่น เพราะเมื่อก่อนไม่มีใครเชื่อว่ามนุษย์<br />

จะบินได้เหมือนนางแอ่น<br />

เมื่อเข้าสู่โรงภาพยนตร์ จะได้รับชมวีดิทัศน์สะท้อนสภาพสังคมปัจจุบัน<br />

ประกอบเพลงที่ขับร้องโดยณัฐวุฒิ ศรีหมอก หรือ กอล์ฟ สิงห์เหนือ<br />

นักร้องแนวฮิปฮอปที่มีชื่อเสียงของเมืองไทย<br />

253


จำลองบรรยากาศภายใน<br />

ห้องโดยสารของขบวนรถไฟฟ้า<br />

พร้อมฉายวีดิทัศน์ปลูกจิตสำนึก<br />

ให้คนไทยปัจจุบันรำลึก<br />

ถึงความเสียสละของบรรพชน<br />

และร่วมมือร่วมใจสร้างสรรค์<br />

ความเจริญก้าวหน้าให้แก่<br />

บ้านเมืองสืบเนื่องต่อไป<br />

๘<br />

ธำรงคุณค่าความเป็นไทย...<br />

ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคน<br />

ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตย<br />

ได้อย่างยั่งยืนสืบต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ด้วยมีความร่วมแรงร่วมใจ<br />

จากเหล่าบรรพบุรุษผู้เสียสละ อุทิศกำลังกายและพลังปัญญา เพื่อปกป้องและ<br />

สร้างสรรค์บ้านเมืองให้ดำรงความรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ ทั้งสืบสานศิลปะ<br />

วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตอันดีงาม และสามารถปรับประยุกต์<br />

และพัฒนาให้ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลาเพื่อให้มี<br />

ความก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ<br />

ทุกวันนี้ชาวไทยจึงอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข<br />

และพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพยากรและสมบัติอันล้ำค่า ซึ่งจะธำรงอยู่ได้<br />

อย่างมั่นคงด้วยความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชาวไทย<br />

ในปัจจุบัน เพื่อให้ชาติไทยมีความวัฒนาสถาพรสืบไป<br />

254


๙<br />

ดวงใจ<br />

ปวงประชา<br />

256


สยามประเทศดำรงเอกราชสืบมา ด้วยพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์<br />

ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยหลักทศพิธราชธรรมตามคำสอน<br />

แห่งสมเด็จพระบรมศาสดา ราษฎรจึงอาศัยอยู่อย่างผาสุกสืบมาในบ้านเมือง <br />

ที่รุ่งเรืองและงดงามด้วยได้รับการบำรุงและพัฒนาโดยพระราชอุตสาหะ <br />

ปวงประชาทุกหมู่เหล่าจึงเคารพบูชาและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ เป็นดั่งศูนย์รวม<br />

ดวงใจด้วยความภักดีอย่างไม่มีเสื่อมคลาย <br />

257


258<br />

ด้วยพระราชอุตสาหะของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราช<br />

จักรีวงศ์ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ <br />

ด้วยพระราชปณิธานมุ่งหวังตั้งพระราชหฤทัยบันดาลให้บ้านเมือง<br />

เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ราษฎรสามารถประกอบกิจการงานที่สุจริต<br />

ได้อย่างอิสระ สยามประเทศจึงมีความมั่นคง สามารถดำรงเอกราช<br />

และสืบทอดเอกลักษณ์อันดี พรั่งพร้อมด้วยประเพณีและวัฒนธรรม<br />

ที่งดงาม


ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี ปวงประชาทุกกาลสมัย<br />

ล้วนประจักษ์ในพระบารมีและพระบรมโพธิสมภารที่ปกแผ่ไพศาล<br />

ไปทั่วขอบขัณฑสีมาพระราชอาณาจักร จึงน้อมใจภักดิ์ด้วยสำนึก<br />

ในพระมหากรุณาอันหาที่สุดมิได้ พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม<br />

ราชวงศ์จักรีจึงทรงเป็นที่เคารพรัก ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจอย่างไม่มี<br />

เสื่อมคลาย และทรงเป็นเสาหลักอันมั่นคงยิ่งใหญ่ของคนในชาติ<br />

ทุกชนชั้นสืบมา นับตั้งแต่มีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

เป็นราชธานี <br />

259


แ ผ น ผั ง ห้องดวงใจปวงประชา<br />

๕<br />

๔<br />

รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕<br />

มรดกรัชกาลที่ ๓<br />

ทางออก<br />

๑๐<br />

ทางเข้า<br />

๔<br />

๑<br />

๑<br />

๓<br />

๕<br />

บ้านเมืองรุ่งเรือง ด้วยร่มพระบารมี<br />

๒<br />

๒<br />

๓<br />

บำราบราชอริ ธำรงรักษ์เอกราช<br />

รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓<br />

260


๑๐<br />

๙<br />

จากใจ...พสกนิกร<br />

เรื่องเล่าของในหลวง<br />

๖<br />

๗<br />

๙<br />

๘<br />

๘<br />

๗<br />

รัชกาลที่ ๘ - รัชกาลปัจจุบัน<br />

๖<br />

รัชกาลที่ ๖<br />

รัชกาลที่ ๗<br />

261


๑<br />

บ้านเมืองรุ่งเรือง ด้วยร่มพระบารมี<br />

ความรุ่งเรืองของประเทศตราบเท่าทุกวันนี้ บังเกิดขึ้นได้ด้วยพระบารมี<br />

และพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์<br />

ซึ่งทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการสืบเนื่องยาวนาน จึงเป็น<br />

หน้าที่ของราษฎรควรได้ย้อนรำลึกถึงพระราชอุตสาหะที่ทรงทำนุบำรุง<br />

และพัฒนาบ้านเมืองให้เฟื่องฟูในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจการค้า การพระศาสนา<br />

ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสรรพวิทยาทั้งหลาย ซึ่งล้วน<br />

บันดาลให้สยามสามารถดำรงเอกราชสืบมาอย่างมั่นคง ธำรงเอกลักษณ์ที่ดีงาม<br />

มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ<br />

262


จัดแสดงวีดิทัศน์ประกอบอะนิเมชั ่น จำลองสภาพบ้านเมืองและวิถีชีวิตของชาวไทย<br />

ตั้งแต่สมัยแรกสร้างกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนปัจจุบัน โดยผู้เข้าชมจะได้ร่วม<br />

ย้อนอดีตไปกับยายหลานเพื่อรำลึกถึงพระราชอุตสาหะของพระมหากษัตริย์<br />

ผ่านการนำเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ<br />

เพื่อการพัฒนาบ้านเมืองและความสงบสุขร่มเย็นของราษฎร<br />

263


การรับพระราชทานปริญญาบัตร<br />

จากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว<br />

เป็นหนึ่งในภาพที่ประชาชน<br />

ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย<br />

มักแขวนไว้ภายในบ้านเสมอ<br />

ดวงใจปวงประชา<br />

ด้วยพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์<br />

ทุกรัชกาล บันดาลให้ประชาชนทั้งหลายสามารถอาศัยอยู่บน<br />

แผ่นดินสยามด้วยความร่มเย็น พระมหากษัตริย์จึง<br />

เป็นที่รักและเทิดทูนเสมอมา <br />

มีการปรากฏอย่างเป็นรูปธรรมว่า ทุกบ้านในทุก<br />

พื้นที่จะมีพระบรมฉายาลักษณ์ประดิษฐานไว้ในตำแหน่ง<br />

อันเหมาะสมสำหรับสักการะ เป็นศูนย์รวมและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว<br />

จิตใจสมาชิกของทุกครัวเรือน<br />

ด้วยเหตุนี้ จึงเหมือนกับว่าพระมหากษัตริย์<br />

ได้ประทับอยู่ทุกแห่งหน เพื่อทรงเป็นมิ่งขวัญให้ประชาชน<br />

ที่เคารพรักพระองค์ยิ่งเหนือสิ่งอื่นใดได้รำลึกนึกถึง<br />

และดำเนินรอยตามพระราชจริยวัตรอันงดงาม<br />

<br />

<br />

<br />

จุดจัดแสดง จำลองบรรยากาศ<br />

ภายในบ้านเรือนของชาวไทย<br />

ที่ฝาผนังมักแขวนภาพปูชนียบุคคล<br />

และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่<br />

ยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะ<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

264


๑<br />

265


๒<br />

บำราบราชอริ ธำรงรักษ์เอกราช<br />

กว่าที่จะสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีที่มีความเป็นปึกแผ่น<br />

มั่นคง พระมหากษัตริย์ต้องทรงพระราชอุตสาหะปกบ้านป้องเมืองจากเงื้อมมือ <br />

ของอริราชศัตรูที่ยกทัพมารุกรานหลายครั้ง ต้องทรงวางแผนด้านสรรพกำลัง<br />

รวมทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่จะเอาชนะข้าศึก ประกอบกับความฮึกเหิม<br />

ของไพร่พลที่ล้วนอุทิศทั้งแรงกายและแรงใจด้วยความจงรักภักดีและรำลึกถึง <br />

ผืนแผ่นดินถิ่นมาตุภูมิเป็นสำคัญ จึงสามารถเอาชนะข้าศึกและดำรงความเป็น<br />

เอกราชสืบมา ขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ต้องทรงประกอบพระราชกรณียกิจ<br />

หลายด้าน เพื่อพัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองและเพื่อความผาสุกของราษฎร<br />

ด้วยเหตุนี้ นับจากที่พระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาลเสด็จเถลิงถวัลย<br />

ราชสมบัติ ต้องทรงประกอบพระราชกิจมากมาย ซึ่งล้วนแต่เพื่ออำนวย<br />

ประโยชน์สุขให้บังเกิดแก่ราษฎรและประเทศชาติใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร<br />

เป็นสำคัญ<br />

266


สยามประเทศ ประสบแต่ความร่มเย็นตลอด<br />

ระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี ด้วยพระราชกรณียกิจของพระมหา<br />

กษัตริย์ ซึ่งแต่ละพระองค์ล้วนทรงมุ่งหมายที่จะพัฒนา<br />

บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน<br />

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งทรงป้องกันบ้านเมือง<br />

ให้พ้นจากการรุกรานของอริราชศัตรูและทรงฟื้นฟูพระราช<br />

อาณาจักรให้กลับคืนสู่ความรุ่งเรือง<br />

รัชกาลที่ ๒ เป็นช่วงสมัยที่บ้านเมืองเริ่มมั่นคง <br />

จึงทรงรังสรรค์ศิลปวัฒนธรรมให้งดงามเป็นศรีสง่า<br />

รัชกาลที่ ๓ ทรงพระปรีชาด้านการค้า จึงเป็นช่วง<br />

เวลาที่สยามมีความมั่งคั่งจากการพาณิชย์<br />

รัชกาลที่ ๔ เป็นช่วงเวลาที่สยามเริ่มปรับตัว<br />

ให้ก้าวทันกระแสตะวันตก จึงทรงวางรากฐานการพัฒนา<br />

เพื่อให้บ้านเมืองมีความรุ่งเรืองสืบไป<br />

รัชกาลที่ ๕ เป็นช่วงเวลาที่โลกและสยามกำลัง<br />

เผชิญกับการคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก จึงทรง<br />

พยายามนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตด้วยกุศโลบายต่างๆ<br />

และปรับปรุงประเทศให้พัฒนาก้าวทันอารยประเทศ<br />

รัชกาลที่ ๖ ทรงปกครองประเทศด้วยพระราช<br />

ปณิธานที่เน้นการพัฒนาสติปัญญาของราษฎร<br />

การปรับปรุงการศึกษาจึงเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ<br />

ควบคู่กับการปลุกใจให้ราษฎรรักและภูมิใจในชาติ<br />

รัชกาลที่ ๗ ทรงพยายามปรับปรุงวิธีการปกครอง<br />

ให้ทันสมัยตามแบบอย่างตะวันตก จึงทรงพยายามศึกษา<br />

และดำเนินแนวทางบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย<br />

จนในที่สุดทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทาน<br />

รัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ชาวไทย<br />

รัชกาลที่ ๘ แม้จะเป็นพระมหากษัตริย์ที่<br />

ทรงครองราชย์เพียงระยะเวลาอันสั้น แต่ทรงประกอบ<br />

พระราชกรณียกิจสืบสานพระราชปณิธานแห่งสมเด็จ<br />

พระบุรพกษัตริยาธิราชด้วยพระราชอุตสาหะ<br />

รัชกาลที่ ๙ เป็นพระมหากษัตริย์ที่เสด็จ<br />

พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกถิ่นฐาน ทรงเข้าพระราช<br />

หฤทัย ในความเป็นอยู่ของราษฎร จึงมีพระราชดำริ<br />

ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน<br />

และนำมาซึ่งความร่มเย็นแก่ราษฎร ตลอดระยะเวลากว่า<br />

๖๐ ปี ของการเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์<br />

ยาวนานที่สุดในโลก<br />

<br />

267


268<br />

๓<br />

รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๓<br />

สมัยแห่งการฟื้นฟูความมั่นคง<br />

ธำรงศาสน์และศิลป์<br />

<br />

สมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๒ จนถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นช่วงสมัยแห่ง<br />

การสร้างบ้านแปงเมืองและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นศูนย์กลางของ<br />

พระราชอาณาจักร แต่สยามยังมีศึกสงครามกับอริราชศัตรูที่มุ่งหมายจะรุกราน<br />

รายล้อมอยู่รอบด้าน ราษฎรจึงต้องการการบำรุงขวัญให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย<br />

สามารถดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานได้อย่างอิสระและมีความสุข<br />

พระราชกรณียกิจสำคัญที่พระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานั้นจะต้องทรงพระราช<br />

อุตสาหะปฏิบัติให้สำเร็จลุล่วง คือ การบำบัดทุกข์ของราษฎรควบคู่กับ<br />

การบำรุงสุข และฟื้นฟูความเจริญทุกด้าน


ด้านวัตถุ สิ่งก่อสร้างและอาคารสถานที่ต่างๆ ต้องเร่งสร้างให้มี<br />

ความมั่นคง แข็งแรง สวยงาม และเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง<br />

ด้านจิตใจ อันได้แก่ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียม<br />

ประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ต้องเร่งฟื้นฟูให้รุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้ง <br />

“บ้านเมืองยังดี” เฉกเช่นสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อเรียกขวัญกำลังใจของราษฎร<br />

ให้กลับคืนมาโดยเร็ว <br />

269


จัดแสดงวีดิทัศน์พระราชประวัติ<br />

และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๑<br />

บนฉากที่จำลองรูปทรงของประตู<br />

และกำแพงเมือง เมื่อสมัยต้นกรุง<br />

รัตนโกสินทร์ ซึ่งรัชกาลที่ ๑<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างสำหรับป้องกันพระนคร<br />

รัชกาลที่ ๑<br />

๒๘ ปีของรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช<br />

ถือว่าเป็นสมัยของการสร้างบ้านแปงเมืองอย่างแท้จริง ทรงฟื้นฟูศิลป<br />

วัฒนธรรมของประเทศในทุกด้าน พร้อมๆ กับสร้างความเป็นปึกแผ่น ปกป้อง<br />

อธิปไตยของประเทศจากข้าศึกศัตรู ชัยชนะจากการสู้รบป้องกันประเทศ<br />

ในรัชสมัยของพระองค์ ทำให้ราชอาณาจักรสยามแผ่ขยายไปกว้างใหญ่ที่สุด<br />

ในประวัติศาสตร์<br />

ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจถวายคำแสดงเกียรติยศสูงสุด “มหาราช” <br />

ต่อท้ายพระนามเพื่อรำลึกถึงพระราชประวัติอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ <br />

270


พระไตรปิฎก ฉบับทอง ซึ่งรัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและจารลงสมุดไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑<br />

กฎหมายตราสามดวง ซึ่งได้รับการชำระและจารลงสมุดไทย<br />

สมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗<br />

ราชาธิราช หนึ่งในวรรณคดีที่เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต<br />

ร่วมกันแปลและเรียบเรียงถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘<br />

<br />

ป้องกันประเทศ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช <br />

พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงบำบัดทุกข์<br />

แก่ราษฎรในช่วงเริ่มต้นสร้างกรุง โดยป้องกันขอบขันฑสีมาจาก<br />

การรุกรานของข้าศึกศัตรู ตลอดรัชสมัยของพระองค์ สยาม<br />

ต้องทำศึกกับพม่าถึง ๗ ครั้ง ศึกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์<br />

คือสงคราม ๙ ทัพ<br />

ครั้งนั้นพระเจ้าปดุงจัดทัพยกพลแสนสี่หมื่นสี่พันนาย<br />

เข้ามา ๙ ทัพ ๕ ทิศทาง แม้สยามจะมีกำลังพลน้อยกว่าข้าศึก<br />

หนึ่งเท่าตัว แต่ก็ทรงนำทัพตีทัพพม่าจนแตกพ่ายไป<br />

<br />

ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา<br />

ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เป็นหลักในการ<br />

ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้<br />

สังคายนาพระไตรปิฎกซึ่งสูญหายไปมากเมื่อครั้งเสียกรุง<br />

ศรีอยุธยา ชำระให้ถูกต้องตามแก่นของพระศาสนา<br />

<br />

ชำระกฎหมาย<br />

เพื่อจัดระเบียบให้ราษฎรได้อยู่กันอย่างสุขสงบ พระองค์<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตัวบทกฎหมายที่ขาดหายไป<br />

และแก้ไขให้ถูกต้องเป็นธรรม แล้วประทับตราสามดวงไว้บน<br />

กฎหมายทุกเล่ม จึงเรียกขานกันต่อมาว่า กฎหมายตราสามดวง<br />

<br />

ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม<br />

เมื่อทุกข์ของราษฎรได้รับการขจัดปัดเป่าแล้ว จึงทรง<br />

บำรุงสุขโดยฟื้นฟูทั้งธรรมเนียมประเพณีและศิลปศาสตร์<br />

เพื่อธำรงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม ทรงฟื้นฟูวรรณคดีสำคัญ<br />

หลายเรื่องในสมัยอยุธยา และทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์<br />

ขึ้นใหม่ทั้งหมด นอกจากคุณค่าทางวรรณกรรมแล้ว ประชาชน<br />

ยังได้ศึกษาแนวคิดด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับเหตุการณ์บ้านเมือง<br />

เช่น การปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เหมือนเสนาวานร<br />

ที่ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากพระรามอย่างสุดกำลัง<br />

๓<br />

271


จัดฉายวีดิทัศน์พระราชประวัติ<br />

และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที ่ ๒<br />

บนฉากที่จำลองจากเก๋งนารายณ์<br />

ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรัชกาลที่ ๒<br />

โปรดประทับทรงงานช่างต่างๆ<br />

รัชกาลที่ ๒<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา<br />

๑๕ ปี ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่<br />

ราชอาณาจักรสยามไปพร้อมกับทรงจรรโลงงานศิลปะและสร้างสรรค์วรรณคดี<br />

ที่ทรงคุณค่าจำนวนมาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นพระราชพิธี<br />

วิสาขบูชาซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้วยพระราชกรณียกิจ<br />

ที่ยังคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและราษฎรที่มีมาตราบจนปัจจุบัน องค์การ<br />

ยูเนสโก จึงยกย่องพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อวันที่ <br />

๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ <br />

<br />

272


๓<br />

ป้องกันประเทศ<br />

ในช่วงต้นรัชกาลยังมีศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการขึ้นที่สมุทรปราการ<br />

เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามา<br />

ทางทะเล<br />

<br />

เปิดประเทศ<br />

ช่วงเวลานั้นประเทศในยุโรปต่างมีนโยบาย<br />

ล่าอาณานิคมเพื่อขยายเขตการค้าและหาแหล่งวัตถุดิบ<br />

ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สยามก็เป็นหนึ่งในเป้าหมาย<br />

ของมหาอำนาจเหล่านี้<br />

พระองค์ทรงตระหนักว่าสยามเป็นรองด้าน<br />

แสนยานุภาพ จึงทรงใช้วิธีรอมชอมทางการทูต ยอมเปิด<br />

การค้ากับอังกฤษ และให้โปรตุเกสตั้งสถานทูตขึ้นใน<br />

ราชอาณาจักรสยามได้เป็นชาติแรก<br />

<br />

ยุคทองของวรรณกรรมไทย<br />

เมื่อบ้านเมืองสงบจากศึกภายนอก จึงทรงทำนุบำรุง<br />

ศิลปวิทยาการและการช่างของประเทศให้เจริญรุ่งเรือง<br />

ขึ้นในทุกๆ ทาง ทรงเป็นศิลปินเอกในทุกแขนง<br />

ทรงฟื้นฟูการช่างและส่งเสริม<br />

กวี ให้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด<br />

นับเป็นยุคทองด้านศิลป<br />

วัฒนธรรมอย่างแท้จริง<br />

<br />

พัฒนาการค้า<br />

ในด้านการค้า พระองค์<br />

ทรงขยายก า ร ค้ า ส ำ เ ภ า กั บ<br />

ต่างประเทศ นำรายได้เข้าสู่ประเทศเพิ่มขึ้น ในการนี้ <br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรือหลวงที่เดินทางไปค้าขาย<br />

ชักธงช้างเผือกขึ้นเป็นสัญลักษณ์ จึงเป็นมูลเหตุให้ใช้<br />

ธงช้างเผือกเป็นธงประจำชาติ ในเวลาต่อมา<br />

จิตรกรรมฝาผนัง จำลองภาพป้อมปราการ พระสมุทรเจดีย์<br />

และบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่เมืองสมุทรปราการ<br />

ฉากลงรักปิดทอง เขียนเรื่องอิเหนา ฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ ๒<br />

ซอสามสาย เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง<br />

ซึ่งรัชกาลที่ ๒ โปรดเล่นเป็นพิเศษ<br />

273


จุดจัดแสดง จำลองเรือสำเภา<br />

ของหลวง ซึ่งทางราชการใช้บรรทุก<br />

สิ่งของทำการค้าขายกับประเทศ<br />

ที่มีเขตแดนติดทะเล โดยเฉพาะ<br />

การค้ากับจีน ซึ่งเจริญรุ่งเรือง<br />

ถึงขีดสุดสมัยรัชกาลที่ ๓<br />

เรือสำเภา ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้ช่างสร้างจำลองไว้ที่วัดคอกกระบือหรือวัดยานนาวา<br />

ในปัจจุบัน<br />

รัชกาลที่ ๓<br />

ล่วงมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นรัชสมัย<br />

แห่งความมั่งคั่งรุ่งเรืองและมั่นคงทางเศรษฐกิจยุคหนึ่ง<br />

ของราชอาณาจักร<br />

สมัยรัชกาลที่ ๓ แม้การศึกสงครามระหว่างสยาม<br />

กับประเทศใกล้เคียงซึ่งมีมาเนิ่นนานตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา<br />

ได้สิ้นสุดลง แต่การเข้ามาของนักล่าอาณานิคมจากตะวันตก<br />

ทำให้ประเทศตะวันออกต้องหันมาต่อสู้เพื่อป้องกัน<br />

ผืนแผ่นดินของตน<br />

274


๓<br />

ธงช้างเผือกในวงจักรสีขาว สำหรับอัญเชิญ<br />

สู่ยอดเสากระโดง เพื่อประกาศว่าเป็นเรือ<br />

ของทางราชการ<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นพระอารามซึ่งรัชกาลที่ ๓<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ เพื่อเป็นสถานที่<br />

จารึกความรู้เผยแพร่แก่ประชาชน<br />

รักษาความรู้เดิมมิให้สูญหาย<br />

หลังการเปิดประเทศ คณะมิชชันนารีได้เข้ามาเผยแผ่<br />

คริสต์ศาสนาและวิทยาการแผนใหม่ แม้พระองค์<br />

จะทรงเห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาการตะวันตก <br />

แต่ก็ทรงวิตกถึงอันตราย หากประชาชนนับถือเลื่อมใส<br />

และเอาอย่างตะวันตกทั้งหมด และทรงเกรงว่าความรู้เดิม <br />

อันเป็นภูมิปัญญาของแผ่นดินจะสูญหาย จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าให้จารึกความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไว้ในวัดโพธิ์หรือ<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยเปิด<br />

แห่งแรกของราชอาณาจักร<br />

เริ่มการค้าเสรี<br />

พระองค์ทรงตระหนักดีว่าไม่อาจสู้รบกับชาติ<br />

ตะวันตกที่มีอาวุธและยุทธวิธีอันทันสมัยได้ จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ทำสนธิสัญญาการค้ากับอังกฤษเป็นครั้งแรก<br />

นับเป็นการปูพื้นฐานทางเศรษฐกิจการค้า<br />

ในด้านเศรษฐกิจการค้า ทรงส่งเสริมทั้งการค้า<br />

สำเภากับจีนและยุโรป สร้างรายได้ให้แผ่นดินเพิ่มขึ้น<br />

เป็น ๓ เท่า และในปลายรัชกาลมีเงินสะสมที่พระราชทาน<br />

ไว้สำหรับใช้ในราชการแผ่นดินจำนวนมาก เรียกว่า เงินถุงแดง<br />

รับสั่งไว้ว่า “สำหรับไถ่บ้านไถ่เมือง”<br />

<br />

บำรุงพระพุทธศาสนา<br />

ในด้านศาสนา พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาใน<br />

พระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมาก<br />

มีพระราชดำริให้พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่อบรมสั่งสอนกุลบุตร<br />

ให้รู้พระปริยัติถึงเปรียญเอก โท ตรี จัตวา เพื่อจะได้เป็น<br />

ธรรมทายาทช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป<br />

นอกจากนี้ ยังทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์<br />

วัดหลายแห่งให้งดงามอย่างมีเอกลักษณ์ตามพระราชนิยม<br />

นับเป็นสมัยของการระดมช่างฝีมือก่อสร้างซึ่งทำให้<br />

วัดวาอารามทั้งหลายนั้นสวยเด่นเป็นสง่ายิ่งขึ้นด้วย<br />

<br />

<br />

275


จุดจัดแสดง จำลองภาพจิตรกรรม<br />

ฝาผนังและจารึกเรื่องการแพทย์<br />

แผนไทย ในศาลารายด้านหน้า<br />

พระมหาเจดีย์ ๔ รัชกาล<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

จารึกด้านการแพทย์แผนไทย<br />

ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

นับเป็นต้นตำรับการรักษาโรคที่มีชื่อเสียง<br />

และได้รับการยอมรับในหมู่คนไทย<br />

จนถึงปัจจุบัน<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถือเป็นแหล่ง<br />

รวบรวมจารึกด้านวรรณคดี นับตั้งแต่วิธีการ<br />

แต่งบทประพันธ์ เช่น ตำราฉันท์มาตราพฤติ<br />

และวรรณพฤติ สุภาษิตคำสอน เช่น โคลงโลกนิติ<br />

สุภาษิตพระร่วง และตำนานทางพระพุทธศาสนา<br />

เช่น ประวัติพุทธสาวกสาวิกา เป็นต้น<br />

จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ<br />

และวิหารพระพุทธไสยาส<br />

นอกจากมีภาพสวยงาม ยังเป็นแหล่งศึกษา<br />

แบบอย่างของการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ<br />

ของผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า<br />

ในพระพุทธศาสนา <br />

276


๔<br />

บำรุงพระศาสนา<br />

จารึกสรรพวิทยาการ<br />

นับตั้งแต่คณะมิชชันนารีเริ่มเข้ามาเผยแผ่<br />

ศาสนาและถ่ายทอดวิทยาการสมัยใหม่ ชาวสยาม<br />

เริ่มได้รับความรู้ ความเชื่อ และอิทธิพลจาก<br />

ชาติตะวันตกหลายด้าน ด้วยเหตุนี้ เมื่อครั้งที่มี<br />

การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

รัชกาลที่ ๓ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่า<br />

นักปราชญ์ราชกวีรวบรวมและเรียบเรียงสรรพวิชา<br />

จารึกไว้บนแผ่นหิน เพื่อเก็บรักษาภูมิปัญญา<br />

อันล้ำค่าให้คงอยู่สืบไป<br />

สรรพวิชาที่จารึกไว้มีหลายประเภทด้วยกัน<br />

ได้แก่ เวชศาสตร์ มีตำรับยาและการรักษาโรค<br />

ตามแบบแพทย์แผนไทย อักษรศาสตร์ มีทั้งวิธี<br />

การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และตัวบท<br />

วรรณคดีที่ทรงคุณค่า พุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็น<br />

ประวัติพระสาวก อุบาสก และอุบาสิกา<br />

ในพระพุทธศาสนา<br />

277


เบื้องหลังเรือสำเภาจำลอง จัดแสดง<br />

เครื่องกระเบื้องซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้า<br />

ที่สยามนำเข้าจากจีนในช่วงที่มี <br />

การติดต่อซื้อขายสินค้าระหว่าง<br />

ไทยกับจีนสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์<br />

การค้าสำเภา<br />

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเวลาที่<br />

สยามกำลังก่อร่างสร้างพระราชอาณาจักร และยังต้องทำ<br />

ศึกสงครามกับศัตรูรอบด้าน ทำให้ฐานะของสยามไม่มั่นคง<br />

การค้ากับต่างประเทศ โดยเฉพาะการค้าสำเภา จึงได้รับ<br />

การสนับสนุนจากราชสำนัก นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ <br />

ซึ่งทรงฟื้นฟูการค้าระบบบรรณาการกับจีนด้วยวิธีการ<br />

ต่างๆ ซึ่งล้วนเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสยาม<br />

เป็นอย่างมาก<br />

278<br />

เครื่องกระเบื้องหลากสีสัน เป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ไทยนำเข้าจากจีน<br />

ผ่านการค้าสำเภา โดยส่วนใหญ่มักนำมาประดับตกแต่ง<br />

พระอารามและพุทธสถานสำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์


๔<br />

หินแกะสลักและเครื่องสังคโลก<br />

งานฝีมือที่ชาวสยามที่มีฐานะ<br />

นิยมนำเข้ามาจากจีน<br />

เพื่อนำไปตกแต่งสถานที่<br />

หรือตั้งประดับไว้ในบ้านเรือน<br />

ภาพเรือกำปั่นของฝรั่งสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ฝีมือช่างเขียนสมัยรัชกาลที่ ๓<br />

สินค้าที่บรรทุกสำเภาค้าขายกับจีน มีหลายอย่าง<br />

เช่น ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม รวมทั้งสินค้าอื่นๆ <br />

ที่จัดซื้อหาเพิ่มเติมจากประเทศใกล้เคียง เช่น เขมร ญวน<br />

และมลายู แล้วรับซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ภายใน<br />

ประเทศ ผ้า ถ้วยชาม มาจำหน่ายแก่ราษฎรอีกทอดหนึ่ง<br />

การค้าสำเภามีความก้าวหน้าและรุ่งเรืองสืบมา<br />

เป็นลำดับ โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งทรงพัฒนาระบบ<br />

ขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนให้มี<br />

การต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่ง ที่สามารถบรรทุกสินค้าได้<br />

ครั้งละมากๆ และมีความเร็วสูง ผลกำไรจากการค้าสำเภา<br />

นับเป็นรายได้ที่สำคัญยิ่งของแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์<br />

ตอนต้น<br />

279


280


๔<br />

เงินถุงแดง<br />

เงินถุงแดงเป็นเงินที่พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับจากผลกำไร<br />

ของการค้าสำเภาส่วนพระองค์ ตั้งแต่ยังดำรง<br />

พระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎา<br />

บดินทร์ ทรงเก็บสะสมไว้โดยการนำใส่ถุงแดง<br />

แยกเป็นถุง ถุงละ ๑๐ ชั่ง แล้วตีตราปิดปากถุง<br />

เก็บเข้าในหีบกำปั่นข้างพระแท่นบรรทม<br />

เงินถุงแดงที่พระองค์ทรงเก็บสะสมไว้<br />

ภายหลังมีคุณอย่างใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง<br />

ในการนำมา “ไถ่บ้านไถ่เมือง” ในรัชสมัย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเกิด<br />

วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖<br />

ทำให้สยามประเทศรอดพ้นจากการยึดครองของ<br />

ชาวต่างชาติ<br />

เงินอะไรอยู่ในถุงแดง<br />

เงิน​ในถุง​แดงเป็นเงินเหรียญทองคำของ<br />

ประ​เทศ​เม็กซิ​โก ด้วย​เป็นที่ยอมรับ​ใน​การ​แลก​เปลี่ยน<br />

ซื้อขายสินค้าของชาวต่างชาติสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์<br />

​เงินเหรียญเม็กซิโกนี้ ด้านหนึ่งมีรูปนกอินทรี<br />

กางปีกปากคาบอสรพิษ ​อันเป็นสัญลักษณ์ของประ​เทศ​<br />

เม็กซิ​โก อยู่ใต้ข้อความว่า ESTADOS UNIDOS<br />

MEXICANOS ซึ่งแปลว่า สหรัฐเม็กซิโก อีกด้านหนึ่ง<br />

เป็นภาพเทพีแห่งเสรีภาพ มือขวาชูมงกุฎอันเป็น<br />

เครื่องหมายถึงเกียรติยศ ส่วนมือซ้ายถือเศษโซ่ตรวน<br />

ซึ่งหมายถึงอิสรภาพ ฉากหลังเป็นภาพภูเขาไฟโปโปกา<br />

เตเปตล์และอิซตักซีอวตล์ในเม็กซิโก และมีข้อความว่า<br />

50 PESOS หรือ ๕๐ เปโซ ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของ<br />

เม็กซิโก กับ 37.5 Gr. ORO PURO ซึ่งแปลว่า<br />

ทองคำบริสุทธิ์น้ำหนัก ๓๗.๕ กรัม ตามอัตรา​แลก​เปลี่ยน​<br />

ใน​เวลานั้น เงินเม็กซิโก ๓ ​เหรียญ มีค่าเทียบกับเงิน​ไทย<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ประมาณ ๕ บาท<br />

<br />

281


282<br />

จัดแสดงวีดิทัศน์พระราชประวัติ<br />

และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๔<br />

และรัชกาลที่ ๕ บนฉากที่จำลอง<br />

สถาปัตยกรรมตะวันตก<br />

ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น


๕<br />

รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕<br />

สมัยแห่งการฝ่ามรสุม<br />

มหาอำนาจ<br />

นำชาติสู่ศิวิไลซ์<br />

นับแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔<br />

แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี สยามต้องเผชิญกับกระแส<br />

ความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะการแสวงหา<br />

อาณานิคมของชาติตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส<br />

ซึ่งรุกคืบยึดดินแดนเพื่อนบ้านด้วยวิธีการต่างๆ อย่างแยบยล<br />

ส่งผลให้สยามอยู่ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันแย่งชิง<br />

ดินแดนกันระหว่างชาติทั้งสอง แต่ด้วยพระราชวิเทโศบาย<br />

อันแยบคาย สยามจึงสามารถยืนหยัดอย่างมั่นคงดำรง<br />

เอกราชสืบมา<br />

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว มหาอำนาจชาติตะวันตกยิ่งพยายามขยาย<br />

อำนาจเหนือดินแดนต่างๆ เพื่อประโยชน์ทั้งทางการค้า<br />

และการเข้าครอบครองทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ<br />

ที่ตกเป็นเมืองขึ้น<br />

ส ย า ม ต้ อ ง เ ผ ชิ ญ กั บ ม ร สุ ม ก า ร แ ผ่ ลั ท ธิ<br />

จักรวรรดินิยมอย่างเลี่ยงไม่ได้ รัชกาลที่ ๕ จึงต้อง<br />

ทรงดำเนินกุศโลบายโดยเฉพาะทางการทูตและปรับปรุง<br />

ประเทศให้ก้าวทันตะวันตกอย่างรอบด้าน อันนำมาซึ่ง<br />

การเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งยังประโยชน์ให้สยาม<br />

รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียว<br />

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ <br />

283


284<br />

รัชกาลที่ ๔<br />

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ เริ่มต้นขึ้นท่ามกลางกระแส<br />

การล่าอาณานิคมของมหาอำนาจชาติตะวันตกที่แผ่ขยาย<br />

อิทธิพลอย่างมาก แต่สยามสามารถยืนหยัดเป็นประเทศ<br />

เอกราชรอดพ้นวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้ด้วยพระปรีชาสามารถ<br />

และความเข้าพระราชหฤทัยต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง<br />

ของโลกในเวลานั้น<br />

ด้วยก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงศึกษาภาษา<br />

อังกฤษจนสามารถอ่านและรับสั่งได้ดี และทรงคบค้าสมาคม<br />

กับชาวต่างประเทศมากมาย ทำให้ทรงได้รับความรู้และ<br />

วิทยาการทางเทคโนโลยีของโลกตะวันตกหลายแขนง<br />

<br />

รัชกาลที่ ๔ ทรงส่งเสริมและทรงสนับสนุนการศึกษาตามแบบแผนตะวันตก <br />

โดยเริ่มตั้งแต่ระดับเจ้านายด้วยการจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์ ชาวอังกฤษ<br />

เข้ามาถวายพระอักษรสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ พระราชโอรส พระราชธิดา<br />

ตลอดจนเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอมในพระบรมมหาราชวัง


๕<br />

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นช่วงเวลาเดียวกับการแผ่<br />

อาณานิคมของชาติตะวันตก พระองค์ทรงดำเนินพระบรมราโชบาย<br />

เพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและฝรั่งเศสโดยผลักดันให้สยามเป็น<br />

ดินแดนกันชนของทั้งสองประเทศ<br />

ทรงดำเนินนโยบายผ่อนปรนการบีบบังคับทางการเมืองและการทูต<br />

ของชาติตะวันตก โดยปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก ปรับปรุงบ้านเมือง<br />

ให้ก้าวหน้าทันสมัยเยี่ยงอารยประเทศ<br />

ทรงส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อเป็นสื่อในการรับวิทยาการ<br />

และความก้าวหน้าของโลกตะวันตก โดยทรงจ้างครูฝรั่งมาถวายพระอักษรแด่<br />

พระราชโอรส พระราชธิดา ตลอดจนส่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปศึกษางาน<br />

ยังประเทศต่างๆ ในยุโรป<br />

ทรงสนับสนุนการศึกษาของประชาชน พระราชทานพระบรมราชานุญาต<br />

ให้คณะมิชชันนารีคริสเตียนตั้งโรงเรียนราษฎรแบบตะวันตกขึ้นเป็นแห่งแรก<br />

ที่บริเวณหลังวัดอรุณราชวราราม อันเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน<br />

ในปัจจุบัน<br />

พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งคือการทำให้สยามเป็นที่รู้จัก<br />

และเป็นหนึ่งในประชาคมโลกที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมประเทศที่เจริญแล้ว ด้วยการส่ง<br />

ราชทูตให้เดินทางไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศที่มีบทบาทสำคัญ<br />

ในประชาคมโลก<br />

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นสมัยแห่งการวาง<br />

รากฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ<br />

ในเวลาต่อมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงพระราชอุตสาหะบำเพ็ญ<br />

ลายพระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษ<br />

ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงแลกเปลี่ยนกับ<br />

พระสหายชาวต่างชาติ<br />

พระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ เครื่องราชบรรณาการที่รัชกาลที่ ๔<br />

ทรงส่งไปเจริญทรงพระราชไมตรี<br />

กับพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษ<br />

รัชกาลที่ ๔ ทรงส่งคณะราชทูตเดินทางไปเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓<br />

ที่พระราชวังฟงแตนโบล ประเทศฝรั่งเศส<br />

285


286<br />

“เทคโนโลยีตะวันตก” ที่สมเด็จพระนางเจ้า<br />

วิกตอเรียแห่งอังกฤษส่งมาถวายเพื่อเจริญ<br />

ทางพระราชไมตรี<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับหน้าพลับพลาที่ประทับ <br />

เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ อำเภอคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์<br />

ในปัจจุบัน ท่ามกลางชาวตะวันตก คณะทูตานุทูต และข้าราชการที่ได้เดินทาง<br />

ตามเสด็จพระราชดำเนินไปด้วย<br />

ทรงปราดเปรื่องเรื่องดาราศาสตร์<br />

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใฝ่พระราช<br />

หฤทัยศึกษาวิทยาการตะวันตกหลายแขนง โดยเฉพาะ<br />

ดาราศาสตร์ ทรงสามารถคำนวณวันเวลาที่จะเกิด<br />

สุริยุปราคาล่วงหน้าถึง ๒ ปี ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ<br />

ทรงพยากรณ์ว่าการเกิดสุริยุปราคาในวันที่ ๑๘<br />

สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง มองเห็น<br />

ได้ตั้งแต่เมืองปราณบุรีลงไปจนถึงเมืองชุมพร และสามารถ<br />

มองเห็นได้ชัดเจนที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์<br />

ตามพิกัดภูมิศาสตร์ที่ ๙๙ องศา ๔๐ ลิปดา ๒๐ พิลิปดา<br />

ตะวันออก เส้นรุ้ง ๑๑ องศา ๔๑ ลิปดา ๔๐ พิลิปดาเหนือ<br />

โดยจะเห็นดวงจันทร์เข้าบังดวงอาทิตย์จากทาง<br />

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วออกทางทิศตะวันออกเฉียงใต้<br />

ในเวลา ๑๑.๔๒ นาฬิกา


๕<br />

จัดแสดงวีดิทัศน์ถ่ายทอดพระราชประวัติ<br />

และพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ ๔<br />

หลายด้าน อาทิ ด้านดาราศาสตร์<br />

ซึ่งทรงเชี่ยวชาญและทรงได้รับการยอมรับ<br />

ในระดับนานาชาติ<br />

ครั้งนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร<br />

สุริยุปราคาเต็มดวงที่ตำบลหว้ากอ พร้อมด้วยเซอร์แฮร์รี<br />

ออด ผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำเมืองสิงคโปร์ <br />

คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศ<br />

ที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย เหตุการณ์ก็เป็นไป<br />

ตามที่ทรงคำนวณซึ่งแม่นยำกว่านักดาราศาสตร์<br />

ชาวฝรั่งเศสที่ร่วมตามเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อสังเกตการณ์ด้วย<br />

๒ วินาที<br />

ในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากล<br />

ที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวด้วยการเรียกสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ.<br />

๒๔๑๑ ว่าเป็น “King of Siam’s Eclipse”<br />

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ<br />

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม<br />

ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๓ แสดงให้เห็นถึง<br />

ความสนใจของชาวสยามต่อวิทยาการตะวันตก<br />

มาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์<br />

287


จัดแสดงหุ่นจำลองสถานที่สำคัญ<br />

ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างขึ้น ประกอบสื่อผสมทั้งแสง เสียง<br />

และวีดิทัศน์<br />

รัชกาลที่ ๕<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕<br />

เสด็จพระราชสมภพในช่วงเวลาที่ภูมิภาคอุษาคเนย์ต้องเผชิญหน้ากับสภาวะวิกฤต<br />

อันเกิดจากการคุกคามของมหาอำนาจชาติตะวันตก<br />

ด้วยพระปรีชาญาณหยั่งรู้การณ์ไกลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ พระราชโอรสจึงทรงได้รับการศึกษาวิชาความรู้<br />

ที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในตำราภาษาไทย โดยทรงว่าจ้างชาวต่างประเทศ<br />

มาเป็นครูถวายการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องมือ<br />

ในการศึกษาวิชาการอันทันสมัย ยังช่วยเปิดโอกาสให้รับทราบความคิดอ่าน<br />

และรู้เท่าทันชาติตะวันตก ซึ่งต่างพยายามขยายอิทธิพลและเข้าครอบครอง<br />

ดินแดนต่างๆ ทั้งเอเชีย แอฟริกา ตลอดจนอเมริกาใต้<br />

288


๕<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

ทรงได้รับการอบรมเรื่องต่างๆ จากพระบรมชนกนาถ<br />

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงเป็นพระมหากษัตริย์<br />

ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถและทรงนำพาประเทศชาติ<br />

ไปสู่ความเจริญในหลายด้าน <br />

ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงเริ่มเสด็จประพาส<br />

ต่างประเทศ ด้วยทรงเล็งเห็นความสำคัญของ การเปิดโลกทัศน์<br />

และเป็นโอกาสที่จะได้ทอดพระเนตรความเจริญของ<br />

บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งยังจะได้เจริญทางพระราชไมตรีกับ<br />

ต่างประเทศซึ่งในเวลาต่อมาได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา<br />

และปรับปรุงประเทศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อันเป็น<br />

การพยายามยกระดับความเจริญของบ้านเมืองให้เท่าเทียม<br />

อารยประเทศ<br />

อย่างไรก็ตาม สยามไม่สามารถหลีกเลี่ยง<br />

การรุกรานของชาติตะวันตกซึ่งต่างมุ่งหน้าแสวงหา<br />

อาณานิคมในดินแดนส่วนต่างๆ ทั้งอังกฤษ ฮอลันดา<br />

สหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศสจนเกิดเป็น<br />

วิฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒<br />

<br />

<br />

<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

ทรงฉายพระรูปร่วมกับสุลต่าน เมืองยะโฮร์<br />

เมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ใน พ.ศ. ๒๔๓๙<br />

289


วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒<br />

เมื่อล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ ซึ่งตรงกับรัตนโกสินทร์ศกหรือ ร.ศ. ๑๑๒<br />

ฝรั่งเศสได้หาเหตุกระทบกระทั่งตามชายแดนและส่งเรือรบจะรุกเข้าปากแม่น้ำ<br />

เจ้าพระยา สยามต้องต่อสู้จนสุดความสามารถ แต่ไม่เป็นผล ฝรั่งเศส<br />

ยื่นคำขาดให้ชดใช้ค่าเสียหายสามล้านฟรังก์ ร้ายแรงยิ่งกว่านั้นคือสยามต้องยก<br />

ดินแดนบางส่วนให้ฝรั่งเศส นำความโทมนัสมาสู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวอย่างมากถึงกับทรงพระประชวรหนัก แต่ก็ทรงประคับประคอง<br />

สถานการณ์จนผ่านพ้นวิกฤต ทรงชดใช้ค่าปรับด้วยเงินถุงแดงในสมัยรัชกาลที่ ๓<br />

สมทบกับเครื่องประดับของเจ้านายหลายพระองค์ และทรงจำยอมสละดินแดน<br />

บางส่วนเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่และเอกราชของชาติไว้<br />

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ<br />

ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

ซึ่งเป็นสมรภูมิที่ชาวสยาม<br />

ต่อสู้ป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศส<br />

290


๕<br />

<br />

<br />

ฉันขอบอกให้ทราบโดยทั่วกันว่า ถ้าเหตุการณ์จะมีแก่บ้านเมืองประการใด<br />

ตัวฉันไม่ได้ย่อท้อถดถอยอย่างหนึ่งอย่างใด ขอให้ท่านทั้งหลายไว้ใจเถิด<br />

ฉันกับท่านทั้งหลาย คงจะช่วยกันรักษาบ้านเมืองของเรา<br />

จนสุดกำลังและความคิด<br />

พระราชดำรัส พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาท<br />

ณ เรือพระที่นั่งมหาจักรี ซึ่งทอดสมออยู่หน้าเมืองสมุทรปราการ<br />

เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๖<br />

ซึ่งตรงกับรัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ. ๑๑๒<br />

เรือปืนโกแมต (Comete) หนึ่งในเรือรบของฝรั่งเศส<br />

ที่รุกรานสยาม เมื่อ ร.ศ. ๑๑๒<br />

291


ประเทศสยามมีการใช้โทรศัพท์ครั้งแรก<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานการบริหารราชการแผ่นดิน<br />

ด้วยการตั้งสภาที่ปรึกษาแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ โดยมีพระราชประสงค์<br />

เพื่อ “ช่วยคิดราชการแผ่นดิน...ให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข”<br />

พัฒนาประเทศ<br />

วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า เมื่อไม่สามารถเอาชนะมหาอำนาจชาติตะวันตก<br />

ด้วยกำลังได้ ก็ต้องเอาชนะด้วยปัญญา จึงทรงดำเนินพระบรมราโชบาย <br />

๒ ประการ<br />

ประการแรก คือ พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าอย่างตะวันตก <br />

ทรงเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปการปกครองจากแบบจตุสดมภ์มาสู่การตั้ง<br />

กระทรวงขึ้น ๑๒ กระทรวง <br />

ทรงวางรากฐานด้านสาธารณูปโภคและการคมนาคมต่างๆ เช่น<br />

ปฏิรูปการสื่อสาร สร้างโทรเลขสายแรก คือสายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ<br />

และนำโทรศัพท์เข้ามาทดลองใช้เพื่อแจ้งข่าวการเดินเรือผ่านเข้าออก<br />

ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ให้ทางกรุงเทพฯ ทราบได้อย่างทันท่วงที<br />

ศุลกสถาน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นอาคารของทางราชการที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรม<br />

แบบตะวันตก เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นอารยประเทศของสยามได้เป็นอย่างดี<br />

292


๕<br />

เส้นทางรถไฟซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้สร้างขึ้น ช่วยขยายความเจริญและเชื่อมโยงการคมนาคมไปสู่หัวเมืองอย่างกว้างขวาง<br />

ทรงปรับปรุงการคมนาคม โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี<br />

การตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย พร้อมทั้งสร้างอาคารขึ้นสองฟากฝั่งถนน เพื่อส่งเสริม<br />

การพาณิชย์ควบคู่กับการพัฒนาการสัญจรทางบก<br />

ทรงวางรากฐานการรถไฟเพื่อเชื่อมโยงหัวเมืองสำคัญให้เข้าถึงกันได้<br />

อย่างสะดวกรวดเร็ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสาย<br />

กรุงเทพฯ - ปากน้ำ ที่เปิดทำการได้เป็นสายแรก เมื่อมีข้าศึกรุกล้ำเข้ามาทาง<br />

ปากแม่น้ำ ก็จะสามารถลำเลียงกำลังพลป้องกันได้ทันท่วงที<br />

สมัยรัชกาลที่ ๕ นับเป็นช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงสภาพบ้านเมือง<br />

ให้เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ นับเป็นการพลิกโฉมประเทศ<br />

ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติ<br />

<br />

<br />

ทัศนียภาพบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อมองไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม สะท้อนให้เห็น<br />

บรรยากาศของการปรับปรุงบ้านเมืองตามแบบอย่างของอารยประเทศทางตะวันตก<br />

293


ประทับรถม้าพระที่นั่งกับพระราชินีมาร์เกริตาแห่งอิตาลี ทอดพระเนตรริ้วขบวนทหารที่กรุงโรม<br />

เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี พ.ศ. ๒๔๔๐<br />

ทรงฉายพระรูปกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒<br />

เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนรัสเซีย พ.ศ. ๒๔๔๐<br />

<br />

พระบรมราโชบายประการที่ ๒<br />

คือการเจริญทางพระราชไมตรีเป็นมิตร<br />

กับประเทศมหาอำนาจต่างๆ เพื่อให้เกิด<br />

การคานอำนาจกัน โดยได้เสด็จพระราช<br />

ดำเนินไปทรงเยือนทวีปยุโรปถึง ๒ ครั้ง <br />

ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ และ ๒๔๕๐ ทรงแสดง<br />

ให้ประจักษ์ชัดแก่ชาวโลกว่า พระมหา<br />

กษัตริย์ของกรุงสยามนั้นมิได้ล้าหลัง<br />

ไร้ความเจริญ ตรงกันข้าม ทรงรับสั่ง<br />

และเข้าพระราชหฤทัยภาษาอังกฤษ<br />

ได้เป็นอย่างดีโดยมิต้องใช้ล่าม<br />

นอกจากนี้ ทรงส่งพระราชโอรส<br />

และบุตรหลานของขุนนางชั้นผู้ใหญ่<br />

ตลอดจนสามัญชนจำนวนมากออกไป<br />

ศึกษาวิชาการต่างๆ ในยุโรป เพื่อนำ<br />

วิทยาการที่ก้าวหน้ากลับมาพัฒนา<br />

บ้านเมือง<br />

<br />

294


๕<br />

วิชาความรู้ในหนังสือไทยที่มีผู้แต่งไว้นั้น<br />

เป็นแต่ของเก่าๆ มีน้อย <br />

เพราะมิได้สมาคมกับชาติอื่นช้านาน <br />

เหมือนวิชาการในประเทศยุโรป<br />

ที่ได้สอบสวนซึ่งกันและกันจนเจริญรุ่งเรือง<br />

พระบรมราโชวาท รัชกาลที่ ๕ พระราชทานพระเจ้าลูกเธอ<br />

ที่จะไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘<br />

ทรงฉายพระรูปร่วมกับพระราชโอรส ๑๑ พระองค์ที่เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการแขนงต่างๆ ในทวีปยุโรป<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ปราสาทตาโปลวคอร์ต (Taplow Court) ถนนคลิฟเดน (Cliveden Road) <br />

เมืองเมเดนเฮด (Maidenhead) ประเทศอังกฤษ<br />

295


296<br />

ทรงสนับสนุนให้ขยายการศึกษานับตั้งแต่ในพระบรมมหาราชวัง <br />

ไปสู่โรงเรียนของราษฎรในหัวเมืองต่างๆ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงดำเนินพระบรมราโชบายอันชาญฉลาด ยกเลิกระบบ<br />

ไพร่ทาสด้วยวิธีค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลากว่า ๓๐ ปีจึงสามารถ<br />

ปลดพันธนาการทางสังคมที่มีมาหลายร้อยปีได้<br />

โดยปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อเป็นชาติแรกและ<br />

ชาติเดียวในโลก ประกอบกับทรงส่งเสริมการศึกษาของ<br />

ราษฎร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวง<br />

แห่งแรกขึ้นที่วัดมหรรณพาราม จากนั้นก็ได้ขยาย<br />

ให้แพร่หลายออกไปทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ


๕<br />

เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป<br />

ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด<br />

จะได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน <br />

ไม่ว่าเจ้าขุนนางว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกได้ว่า <br />

การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง <br />

ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดให้เจริญให้จงได้<br />

พระราชดำรัส รัชกาลที่ ๕ ในวันพระราชทานประกาศนียบัตร<br />

ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ<br />

ด้วยพระราชอุตสาหะในการบำเพ็ญพระราช<br />

กรณียกิจเป็นอเนกประการ สยามจึงเป็นประเทศเดียว<br />

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชและ<br />

อธิปไตยไว้ได้สืบมา<br />

ตลอดระยะเวลา ๔๒ ปี แห่งรัชสมัย สยามได้รับ<br />

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์<br />

ของชาติ พระองค์จึงทรงเป็นพระปิยมหาราช พระมหา<br />

กษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยตราบจนทุกวันนี้<br />

<br />

<br />

297


จัดฉายวีดิทัศน์ ถ่ายทอดพระราชประวัติ<br />

และพระราชกรณียกิจของพระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

บนผนังที่จำลองสถาปัตยกรรม<br />

ซึ่งได้รับความนิยมในสมัยนั้น<br />

๖<br />

รัชกาลที่ ๖<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์<br />

ได้ทรงดำเนินรอยตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ <br />

ยังทรงสนับสนุนความก้าวหน้าทางด้านความคิดและสติปัญญาของราษฎร <br />

ทั้งโดยขยายการศึกษา ทรงพระราชนิพนธ์บทประพันธ์ประเทืองปัญญา <br />

เปิดโอกาสให้ราษฎรแสดงความเห็นที่ถือเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ<br />

ผ่านกระบวนการต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาคน<br />

เพื่อร่วมกันพัฒนาชาติสืบไป <br />

<br />

298


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูป <br />

เมื่อคราวที่พระราชโอรสเสด็จไปรับที่กรุงเจนีวา<br />

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาจากประเทศอังกฤษตามแนว<br />

พระราชดำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถในการป้องกันรักษา<br />

เอกราชของชาติด้วยการสร้างความเจริญแก่บ้านเมือง<br />

โดยรับวิทยาการจากชาติตะวันตกแล้วนำมาปรับใช้<br />

ในการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยทรงเข้าศึกษา<br />

วิชาการต่างๆ จากสถาบันที่มีชื่อเสียง ทั้งวิชาการทหาร<br />

จากมหาวิทยาลัยแซนด์เฮอร์สต์ วิชาประวัติศาสตร์<br />

และกฎหมายจากวิทยาลัยไครสต์เชิร์ช ซึ่งเป็นสถาบัน<br />

ในเครือมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดแห่งประเทศอังกฤษ<br />

นอกเหนือจากการเอาพระราชหฤทัยใส่<br />

ในการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ ยังมีพระราชประสงค์ที่จะ<br />

เข้าใจแบบแผนทางความคิด วิถีชีวิต และวัฒนธรรม<br />

ของทางตะวันตก อันจะเป็นการปูทางไปสู่การเสริมสร้าง<br />

ความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมและนำพาประเทศไปสู่การยอมรับ<br />

รอดพ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบและการคุกคาม<br />

ของชาติมหาอำนาจทั้งหลาย<br />

หนังสือเรื่อง The War of the Polish Succession หรือสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงศึกษา ณ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถด้านประวัติศาสตร์ การเมือง และอักษรศาสตร์<br />

299


ชาติไทยที่จะหวังมั่นคงอยู่ต่อไปได้<br />

ก็ต้องอาศัยกำลัง<br />

และความรู้สึกรักชาติอันแท้จริง<br />

แห่งบุคคลซึ่งเป็นไทยโดยเฉพาะ<br />

พระราชนิพนธ์ เมืองไทยจงตื่นเถิด<br />

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว<br />

โครงสยามานุสสติ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวมีเนื้อหาเตือนสติและปลูกฝังความรักชาติ<br />

และภูมิใจในเกียรติภูมิของชาติ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองเสือป่า<br />

ปลูกฝังความรักชาติ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพยายามปลุกใจประชาชนให้เกิดความรักชาติอย่างเป็น<br />

รูปธรรมอยู่เป็นนิตย์ โดยทรงปฏิบัติพระองค์เฉกเช่น<br />

สามัญชนที่มีความรักชาติ ทรงเตือนให้ช่วยกันเตรียมพร้อม<br />

ที่จะป้องกันชาติ ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ซึ่งสื่อสาร<br />

สารัตถประโยชน์มุ่งปลุกใจให้ประชาชนมีความรักชาติ <br />

มีความภูมิใจในประเพณีวัฒนธรรมของชาติ<br />

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง <br />

กองเสือป่า โดยทรงมุ่งหมายจะฝึกหัดข้าราชการพลเรือน<br />

ให้ได้เรียนรู้วิชาทหารไว้ เป็นกำลังช่วยชาติบ้านเมือง<br />

ในยามสงคราม และยามสงบก็ยังอาจช่วยเหลือราชการ<br />

ในการปราบปรามโจรผู้ร้ายและการจลาจล และทรงก่อตั้ง<br />

กิจการลูกเสือป่า เพื่อฝึกอบรมเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี <br />

มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ <br />

มีความสามัคคีในหมู่คณะอันเป็นรากฐานความมั่นคง<br />

ของชาติ<br />

<br />

300


มีพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยาย<br />

การศึกษาให้ผู้จะศึกษาขั้นสูงสามารถเข้าเรียน<br />

ได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้ยกโรงเรียนข้าราชการพลเรือน<br />

ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

๖<br />

ขยายโอกาสการศึกษา<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระราชหฤทัยใส่<br />

ในการศึกษาของราษฎรเป็นอย่างยิ่ง ทรงขยายการศึกษาซึ่งสมเด็จ<br />

พระบรมชนกนาถทรงวางไว้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิม และไม่ทรงมุ่งฝึกคน<br />

เพื่อเข้ารับราชการแต่เพียงอย่างเดียว แต่ทรงสอนให้คนมีคุณธรรม<br />

และความรู้ในการประกอบอาชีพโดยควรแก่อัตภาพ และทรงสร้าง<br />

สถานศึกษาระดับต่างๆ อย่างหลากหลายซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎร<br />

ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เช่น<br />

โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น<br />

แทนวัดประจำรัชกาลและทรงชักชวนผู้มีใจบุญทำบุญด้วยการสร้าง<br />

โรงเรียนแทนการสร้างวัดตามประเพณีนิยม<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก<br />

ฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ<br />

โรงเรียนเพาะช่าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น<br />

เพื่ออนุรักษ์และสนับสนุนงานศิลปกรรมไทย ทำให้ประเทศยังมีช่างฝีมือ<br />

ที่สืบทอดและสร้างสรรค์สิ่งสวยงามของชาติมาถึงปัจจุบัน<br />

โรงเรียนเบญจมราชาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น<br />

เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีแห่งแรกของกระทรวงธรรมการ<br />

การศึกษาประชาบาล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น<br />

โรงเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อให้ประชาชนในระดับท้องถิ่นได้รับ<br />

การศึกษาอย่างทั่วถึง<br />

สมัยรัชกาลที่ ๖ การศึกษามิได้อยู่ในวัด<br />

ดังเช่นกาลก่อน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้สร้างโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น <br />

เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาและเป็นเสมือน<br />

พระอารามประจำรัชกาล<br />

จากพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๕ <br />

ที่จะทรงทำนุบำรุงศิลปะการช่างของไทย<br />

ให้พัฒนาถาวรสืบไป <br />

รัชกาลที่ ๖ จึงได้พระราชทานกำเนิด<br />

โรงเรียนเพาะช่าง เพื่อเป็นสถาบัน<br />

สำหรับการศึกษาศิลปกรรมไทยต่อไป<br />

301


ทรงพยายามฟื้นฟูโขน ซึ่งในสมัยนั้นซบเซาอย่างมาก<br />

ทั้งยังทรงแสดงด้วยพระองค์เอง เช่น โขนเรื่องรามเกียรติ์<br />

ทรงรับบทพระรามและทรงฉลองพระองค์<br />

ที่ทรงออกแบบเอง<br />

วัฒนธรรมนำชาติวัฒนา<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำนุ<br />

บำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นนาฏศิลป์ <br />

การละคร จิตรกรรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรมอย่างมาก<br />

โดยเฉพาะงานวรรณกรรมนั้นได้ทรงพระราชนิพนธ์บทประพันธ์<br />

อันทรงคุณค่าทั้งเนื้อหาและวรรณศิลป์ขึ้นถึง ๑,๒๓๖ เรื่อง<br />

ด้วยทรงตระหนักในพระราชหฤทัยดีว่า ชาติที่มีความเจริญ<br />

รุ่งเรืองทางด้านอักษรศาสตร์ย่อมได้รับการนับถือยกย่องจาก<br />

นานาชาติ โดยอาจแบ่งบทพระราชนิพนธ์เป็นหลายประเภท<br />

ด้วยกัน เช่น<br />

บทพระราชนิพนธ์ละครร้อง<br />

บทพระราชนิพนธ์ละครพูด<br />

บทพระราชนิพนธ์สารคดี<br />

บทพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับลัทธิ ประเพณี และศาสนา<br />

บทพระราชนิพนธ์ทางการทหารและการต่างประเทศ<br />

<br />

302


๖<br />

นอกจากนี้ ยังทรงเลือกบทพระราช<br />

นิพนธ์มาจัดแสดงละคร โดยทรงแฝง<br />

แนวพระราชดำริต่างๆ ทั้งการปกครอง<br />

เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งคติธรรม<br />

สำหรับการครองตนอยู่ในสังคมอย่างเป็น<br />

พลเมืองดี มีความจงรักภักดีต่อชาติ<br />

ศาสนา และพระมหากษัตริย์<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ <br />

ให้ตั้งกรมมหรสพ เพื่อบำรุงนาฏศิลป์<br />

และดนตรี และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์<br />

แก่ศิลปิน มีการตั้งโรงเรียนพรานหลวง <br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำหรับสอนอบรม<br />

กุลบุตรให้มีความรู้ทางนาฏศิลป์ดนตรี<br />

พร้อมกับวิชาสามัญ <br />

<br />

อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี ประดุจมโนภิรมย์รตี<br />

ณ แรกรัก<br />

แสงอรุณวิโรจน์นภาประจักษ์ แฉล่มเฉลาและโสภิตนัก<br />

ณ ฉันใด<br />

หญิงและชาย ณ ยามรตีอุทัย สว่าง ณ กลางกมลละไม<br />

ก็ฉันนั้น<br />

บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา พระราชนิพนธ์ของ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการยกย่อง<br />

จากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่าเป็นหนังสือแต่งดี <br />

เพราะมีพระราชดำริใช้คำฉันท์ แต่งเป็นละครพูด <br />

อันเป็นของแปลกในกระบวนวรรณคดีและแต่งได้โดยยาก<br />

ยังไม่เคยมีกวีคนใดได้พยายามแต่งมาก่อน<br />

พระราชวังสราญรมย์ สถานที่ตั้งกรมมหรสพและโรงละครทวีปัญญา<br />

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นเพื่อบำรุงศิลปะการแสดงของชาติ<br />

303


ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ <br />

เพื่อให้เป็นที่บริการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้<br />

ทั้งในยามสงครามและปกติโดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ <br />

ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง<br />

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของบ้านเมือง<br />

ตลอดช่วงระยะเวลา ๑๕ ปีแห่งรัชสมัย พระบาท<br />

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชอุตสาหะ<br />

ที่จะนำสยามไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้านทัดเทียม<br />

อารยประเทศ<br />

ในการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข <br />

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์<br />

วชิรพยาบาล และสถานเสาวภา เพื่อเป็นแหล่งผลิตเซรุ่ม<br />

แก้พิษงู<br />

มีการตั้งโรงปูนซีเมนต์ไทย ด้วยมีพระราชดำริว่า<br />

ปูนคือวัสดุสำคัญที่รองรับกิจการการก่อสร้างสาธารณูปโภค<br />

จำเป็น อันเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ<br />

ทรงตั้งกรมรถไฟหลวงและขยายกิจการรถไฟ <br />

จนมีการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟยาวที่สุดในประเทศไทย<br />

ลอดถ้ำขุนตาล และสร้างทางเดินรถไฟเส้นทางต่างๆ <br />

ทั่วพระราชอาณาจักรสำเร็จลงเป็นลำดับ<br />

<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด<br />

ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้สยามสามารถผลิตปูนซีเมนต์ใช้เอง <br />

ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อจัดสรรการใช้<br />

ทรัพยากรภายในประเทศอย่างคุ้มค่า<br />

อุโมงค์ขุนตาล เป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศ<br />

ช่วยให้การเดินทางไปยังท้องถิ่นทุรกันดารสะดวกมากขึ้น<br />

สะพานพระราม ๖<br />

สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา<br />

สะพานแรกของไทย ที่ช่วยเชื่อมโครงข่าย<br />

รถไฟทั่วประเทศให้ติดต่อถึงกัน<br />

304


๖<br />

<br />

<br />

<br />

<br />

พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้มีการทดลองทำการบินรับ - ส่งไปรษณีย์ระหว่างกรุงเทพฯ กับจันทบุรีด้วยเครื่องบินเบรเกต์ ๑๔<br />

(Breguet XIV) ซึ่งเป็นเครื่องบินทหารที่ได้ดัดแปลงมาใช้งานขนส่งทางอากาศ นับว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่วงการการบิน<br />

ก่อนหน้าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์<br />

ตั้งสถาบันการเงิน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ<br />

ให้สร้างคลังออมสิน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรู้จัก<br />

การออมทรัพย์ ตลอดจนทรงค้ำจุนแบงค์สยามกัมมาจล<br />

ให้มั่นคงจนพัฒนาขึ้นเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด<br />

(มหาชน) ในปัจจุบัน<br />

ริเริ่มงานชลประทานเพื่อการเกษตร มีการสร้าง<br />

เขื่อนพระราม ๖ เป็นเขื่อนทดและส่งน้ำที่จังหวัดพระนคร<br />

ศรีอยุธยาขึ้นเป็นเขื่อนแรกของประเทศ<br />

เริ่มการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ ทรงริเริ่ม<br />

ใช้การบินในการคมนาคมขนส่งทางอากาศ นอกเหนือจาก<br />

จะใช้การบินในการป้องกันประเทศ<br />

สร้างสะพานพระราม ๖ เพื่อเป็นสะพานข้าม<br />

แม่น้ำเจ้าพระยาและเพื่อเชื่อมทางรถไฟทั้งสายเหนือและ<br />

สายใต้โยงเข้าสู่ศูนย์กลางที่สถานีรถไฟหัวลำโพง<br />

สร้างสวนลุมพินี โดยพระราชทานที่ดิน<br />

ให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน<br />

เขื่อนพระราม ๖ เป็นเขื่อนทดน้ำที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรก<br />

ในประเทศไทย กั้นแม่น้ำป่าสักที่คุ้งยางนม<br />

ตำบลไก่ขัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

เพื่อเก็บน้ำไว้ให้ประชาชน<br />

ใช้ในการเกษตร<br />

305


ฉันยังหวังว่าจะมีชีวิตอยู่นานพอ<br />

ที่จะได้เหนประเทศสยาม<br />

ได้ร่วมเข้าในหมู่ชาติต่างๆ <br />

โดยได้รับเกียรติ<br />

แลความเสมอภาคอย่างจริงๆ <br />

ตามความหมายของคำนั้นทุกประการ<br />

พระราชปณิธานในการปกครองประเทศชาติ<br />

ในพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ<br />

ที่มีลายพระหัตถ์มากราบบังคมทูลถวายพระพร<br />

ในวันที่ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก<br />

<br />

<br />

เครื่องอิสริยาภรณ์ Croix de Guerre และ Chevalier de la Légion<br />

d’Honneur ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสมอบให้เป็นบำเหน็จความชอบ<br />

แก่ผู้แทนทหารไทยที่ได้ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑<br />

อย่างเต็มกำลังความสามารถจนประสบชัยชนะในที่สุด<br />

306


๖<br />

เกียรติภูมิสยาม<br />

ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้สยามได้รับ<br />

การยอมรับจากประชาคมโลกอย่างแท้จริง ซึ่งหนึ่งใน<br />

พระราชวิเทโศบายที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถอันสุขุม<br />

คัมภีรภาพคือการตัดสินพระราชหฤทัยประกาศสงคราม<br />

ต่อฝ่ายมหาอำนาจอักษะในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ร่วมกับฝ่าย<br />

สัมพันธมิตร ซึ่งทำให้ประเทศได้รับประโยชน์นานัปการ<br />

นับตั้งแต่การเป็นที่รู้จักของนานาชาติ การยอมรับฐานะ<br />

และสิทธิของสยามเสมอกับอารยประเทศ ที่สำคัญคือ <br />

การได้ยกเลิกและแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ต่างชาติ<br />

ทำไว้ ซึ่งผูกพันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔<br />

อนุสาวรีย์ทหารอาสา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือ<br />

ของท้องสนามหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละ<br />

ของทหารหาญ<br />

กองทหารของสยามได้ร่วมเดินสวนสนามเพื่อฉลองชัยชนะกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง<br />

ทั้งที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ถือเป็นการประกาศ<br />

เกียรติภูมิของทหารหาญและประเทศสยามแก่บรรดาอารยประเทศ<br />

307


เมืองจำลองดุสิตธานี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อใช้ทดลองระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย<br />

308<br />

ดุสิตสมิต หนังสือพิมพ์สำหรับเผยแพร่<br />

ข่าวสารภายในเมืองจำลองดุสิตธานี<br />

<br />

ประชาธิปไตยในเมืองดุสิตธานี<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตพระนคร<br />

จากการศึกษาวิชาการในยุโรป ได้ทรงทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย<br />

โดยทรงจัดสร้าง เมืองมัง ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากคำว่า mango ตามสถานที่ตั้ง<br />

ที่เป็นสวนมะม่วง ด้านหลังพระตำหนักจิตรลดาองค์เดิม (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณ<br />

วังปารุสกวัน) โดยพลเมืองคือมหาดเล็กทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ มีการเลือกตั้ง<br />

การตั้งคณะปกครอง การปฏิบัติตามเสียงข้างมาก ตลอดจนการฝึกเรื่อง<br />

การออมทรัพย์ แต่ภายหลังได้ยกเลิกไป<br />

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลอง<br />

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง โดยทรงจัดตั้งเมืองดุสิตธานี<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ และทรงขยายความรู้เรื่องประชาธิปไตย โดยทรงทดลองกับ<br />

ข้าราชบริพารและข้าราชการกระทรวงมหาดไทย


๖<br />

นอกจากการจัดให้มีการปกครองโดยการเลือกตั้ง <br />

มีธรรมนูญการปกครอง ยังทรงเน้นย้ำถึงความสำคัญอื่นๆ<br />

ในการอยู่ร่วมกัน เช่น มีวัดธรรมาธิปไตย แสดงความจำเป็น<br />

ที่ทุกคนต้องมีธรรมะ โดยทรงเป็นพระรามราชมุนีรับหน้าที่<br />

ในการสั่งสอน รวมถึงมีการออกหนังสือพิมพ์รายวันประจำเมือง<br />

๒ ฉบับ คือ ดุสิตสมัยและดุสิตสักขีหรือดุสิตเรคอร์เดอร์<br />

ส่วนอีกฉบับ คือ ดุสิตสมิต เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์<br />

ทั้ง ๓ ฉบับมีการนำเสนอข่าวสาร สาระบันเทิง และ<br />

บทวิจารณ์ต่างๆ<br />

<br />

๑๕ ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวเป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย เกียรติภูมิของชาติ<br />

ได้รับการยกย่องขึ้นเสมอกับนานาประเทศ บ้านเมืองเจริญ<br />

รุ่งเรืองพร้อมกันทุกด้าน ทรงวางรากฐานสำหรับการปกครอง<br />

แบบประชาธิปไตยที่ทรงตระหนักดีว่า ต้องมาถึงสักวัน<br />

ในอนาคต โดยทรงส่งเสริมการศึกษา ประกาศพระราชนิยม<br />

ที่จะทรงสร้างโรงเรียนแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล<br />

ตามโบราณราชประเพณี เพราะทรงเล็งเห็นว่าระบอบ<br />

ประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้ด้วยดีต้องอาศัยข้อที่ประชาชน<br />

มีการศึกษาดีพอจะปกครองรักษาสิทธิของตนเป็นสำคัญ<br />

<br />

ดุสิตธานี แม้เป็นเมืองที่จำลองการปกครองแบบตะวันตก แต่ยังรักษา<br />

เอกลักษณ์อย่างไทย คือมีวัดในพระพุทธศาสนาอย่างวัดธรรมาธิปไตย<br />

เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชน<br />

ดุสิตธานีสร้างขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย<br />

ซึ่งเป็นการปกครองรูปแบบใหม่ แต่ยังคงมีพระมหากษัตริย์<br />

เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง ดังจะเห็นได้ว่ามีพระราชวัง<br />

อย่างพระวัชรินทร์ราชนิเวศน์เป็นอาณาบริเวณสำคัญของเมือง<br />

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองดุสิตธานี โดยสมมติให้มี<br />

ฐานะเป็นมณฑลหนึ่งในราชอาณาจักร เป็นการปูพื้นฐานทางการเมือง<br />

ในระบอบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน โดยผ่านกระบวนการ<br />

ของการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล โดยทรงดัดแปลง<br />

มาจากธรรมนูญการปกครองเทศบาลของอังกฤษ<br />

บนพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ประกอบด้วยพระราชวัง วัด <br />

สถานที่ราชการ โรงทหาร โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด ร้านค้า<br />

ภัตตาคาร ธนาคาร โรงละคร โรงภาพยนตร์ สโมสร และสำนักงาน<br />

นาครศาลา เป็นสถานที่ประชุมของชาวเมืองดุสิต เพื่อเลือกตั้ง<br />

"เชษฐบุรุษ" และ "นคราภิบาล" อันเป็นการดำเนินงาน<br />

ตามระบอบประชาธิปไตย<br />

309


๗<br />

รัชกาลที่ ๗<br />

นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราช<br />

สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เป็นช่วงเวลา<br />

เดียวกับที่บ้านเมืองกำลังเผชิญหน้ากับปัญหานานาประการ โดยเฉพาะ<br />

สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นต้นมา<br />

ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของราษฎรเป็นอย่างมาก<br />

นอกจากนี้ ความตื่นตัวทางการเมืองของผู้ที่ได้รับการศึกษาทั้งใน<br />

และต่างประเทศ ซึ่งต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองและความคิด <br />

ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เพิ่มมากขึ้น<br />

310


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว <br />

เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๔๖๘<br />

ฉายวีดิทัศน์ถ่ายทอดพระราชประวัติ<br />

และพระราชกรณียกิจของ<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

โดยเบื้องหลังจอฉายภาพ<br />

จำลองอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย<br />

เครื่องหมายแห่งการเปลี่ยนแปลง<br />

การปกครองซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลนี้<br />

แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมิได้<br />

ทรงเตรียมพระองค์เพื่อเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจาก<br />

พระบรมเชษฐาธิราช แต่เมื่อทรงครองราชย์แล้ว ไม่ว่าจะ<br />

ทรงประสบปัญหาวิกฤตอย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์ทรงใช้<br />

พระปรีชาญาณและพระบรมราชวินิจฉัยแก้ไขสถานการณ์<br />

ได้ด้วยดีตลอดมา ทรงเป็นนักปกครองที่มีพระราชหฤทัย<br />

กว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากพระราชประสงค์และพระราช<br />

ปณิธานที่จะทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชน<br />

ในรัชกาลของพระองค์และทรงถือเอาประโยชน์สุขของ<br />

ราษฎรเป็นที่ตั้ง ด้วยทรงตระหนักในพระราชภาระหน้าที่<br />

ในฐานะพระมหากษัตริย์ในการทำนุบำรุงประเทศชาติ <br />

ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจตลอดรัชสมัย <br />

311


เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคา<br />

และทรงเยี่ยมราษฎรที่ตำบลโคกโพธิ์ เมืองปัตตานี<br />

เสด็จประพาสหัวเมืองพายัพ <br />

เพื่อทรงทราบทุกข์สุขของราษฎร<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและมีพระราชปฏิสันถาร<br />

กับราษฎรที่มาเข้าเฝ้าฯ ที่วัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่<br />

เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง <br />

เพื่อไปทรงเยี่ยมราษฎรที่เมืองลำปาง<br />

312


๗<br />

มีพระราชดำรัสตอบในพิธีทูลพระขวัญ ที่เมืองเชียงใหม่ <br />

เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปมณฑลฝ่ายเหนือ<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้ง<br />

พระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการที่จะดำเนินตามรอย <br />

พระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรและ<br />

สร้างสรรค์ความเจริญแก่ประเทศชาติ จึงทรงพยายาม<br />

ใกล้ชิดกับราษฎรให้มากที่สุด เพื่อจะได้ทรงทราบสภาพ<br />

ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร<br />

นอกจากนี้ การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม<br />

ราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ ยังเปิดโอกาสให้พระองค์ได้ทรงศึกษา<br />

และทรงพิจารณาถึงความพร้อมของราษฎรต่อการปกครอง<br />

แบบประเทศทางตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่มีการปกครองระบอบ<br />

ประชาธิปไตย โดยทรงพระราชอุตสาหะที่จะดำเนินการ<br />

บริหารประเทศด้วยแนวทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการวาง<br />

รากฐานที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็น<br />

ระบอบประชาธิปไตย<br />

ตั้งแต่เราได้รับสืบราชสมบัติ ก็ตั้งใจประสงค์ว่า<br />

จะเที่ยวตรวจตราตามหัวเมืองในพระราชอาณาเขต<br />

ในเวลามีโอกาสจะไปได้ให้ทั่วทุกมณฑล<br />

เพื่อจะได้รู้เห็นด้วยตนเอง <br />

ซึ่งกิจการแลภูมิสถานบ้านเมือง <br />

กับทั้งความทุกข์สุขของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน<br />

พระราชดำรัสตอบคณะกรมการเมืองตรัง<br />

เมื่อคราวเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้<br />

313


มีพระราชประสงค์จำนงค์หมาย<br />

จะทรงจำกัดพระราชอำนาจอาชญาสิทธิ์<br />

ของพระองค์ท่าน พระราชทานแก่ราษฎร<br />

ในการปกครองประเทศ<br />

กระแสพระราชดำรัสพระราชทานแก่หนังสือพิมพ์<br />

ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ไปทรงรักษาพระเนตร พ.ศ. ๒๔๗๔<br />

<br />

มีพระราชดำริให้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

เพื่อส่งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประชาชน<br />

วางรากฐานประชาธิปไตย<br />

นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จ<br />

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์แน่วแน่ที่จะมอบ<br />

การปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่พสกนิกร เพื่อสืบทอด<br />

พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จ<br />

ในสมัยของพระองค์<br />

ทรงเริ่มปูพื้นฐานการปกครองระบอบรัฐสภา โดยทรงจัดตั้ง<br />

สภากรรมการองคมนตรีเป็นสภาที่ปรึกษา มีหน้าที่ประชุม<br />

พิจารณากฎหมายหรือเรื่องสำคัญที่เกี่ยวพันกับสวัสดิภาพ <br />

และผลประโยชน์ของบ้านเมืองและประชาชน<br />

สภากรรมการองคมนตรีมีลักษณะดำเนินการประชุม<br />

ลงมติ และหลักการต่างๆ คล้ายกับรัฐสภาในระบอบ<br />

ประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะมีพระราชดำริจะให้สภากรรมการ<br />

องคมนตรีเป็นสภาฝึกหัดของรัฐสภาในระบอบการปกครอง<br />

แบบประชาธิปไตยซึ่งจะมีในอนาคต<br />

นอกจากนี้ ยังมีพระราชดำริที่จะฝึกอบรมให้ราษฎร<br />

รู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นด้วยรูปแบบประชาภิบาล<br />

หรือเทศบาล<br />

<br />

314


๗<br />

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์<br />

เจ้านายพระองค์หนึ่งในคณะองคมนตรีสภา<br />

ผู้มีบทบาทในการวางระเบียบสภา ซึ่งยังคงใช้<br />

อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรจนถึงปัจจุบัน<br />

เพื่อเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนที่จะก้าวไปสู่<br />

การปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยตั้งคณะกรรมการขึ้น<br />

ชุดหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้ร่วมกันร่างพระราชบัญญัติเทศบาล<br />

จนสำเร็จเรียบร้อย แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

ขึ้นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสมัยประชาธิปไตยได้นำ<br />

ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาดัดแปลง จึงเกิดมีเทศบาลขึ้น<br />

สมดังพระราชหฤทัยใน พ.ศ. ๒๔๗๖<br />

พระราชกรณียกิจด้านการวางรากฐานประชาธิปไตย<br />

ที่สำคัญ คือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการร่าง<br />

รัฐธรรมนูญขึ้น ๒ ฉบับ เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกร<br />

ในวันครบรอบวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปี แต่ยัง<br />

ทรงรีรอเพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่เห็นว่า<br />

ยังไม่เหมาะแก่เวลา<br />

<br />

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑ ซึ่งรัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้ร่างถวายใน พ.ศ. ๒๔๖๙<br />

315


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ<br />

แห่งราชอาณาจักรสยาม<br />

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

เปลี่ยนแปลงการปกครอง<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

เสด็จขึ้นครองราชย์ ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง<br />

ของประเทศต่างๆ และแนวคิดสมัยใหม่กำลังแพร่หลาย<br />

ปัญญาชนมีโอกาสได้เห็นแบบอย่างของประเทศตะวันตก<br />

ที่ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับ<br />

มีการเขียนบทความเรียกร้องประชาธิปไตยในหนังสือพิมพ์<br />

อย่างแพร่หลาย ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจกิจการบ้านเมือง<br />

เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

มีพระราชปรารภที่จะให้ประชาชนปกครองตนเอง ดังปรากฏ<br />

ในบทสัมภาษณ์พระราชทานหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง<br />

เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาพระเนตร<br />

ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า พระองค์กำลังทรงเตรียมการ<br />

ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ชาวไทย <br />

อย่างไรก็ตาม ภายหลังงานฉลองพระนคร<br />

ครบ ๑๕๐ ปี มีบุคคลคณะหนึ่งเรียกตนเองว่า คณะราษฎร<br />

เข้ายึดอำนาจการปกครอง และมีหนังสือกราบบังคมทูลเชิญ<br />

ให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงยอมรับ<br />

ตามข้อเสนอของคณะราษฎร เพื่อให้ประเทศชาติมีรัฐธรรมนูญ<br />

เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ และพระราชทานอำนาจ<br />

แก่ปวงชน โดยพระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญ<br />

การปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวในวันที่ ๒๗ มิถุนายน<br />

พ.ศ. ๒๔๗๕ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ต่อจากนั้น<br />

ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรและได้เสด็จพระราชดำเนินไป<br />

พระราชทานรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่<br />

๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับแรก<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม<br />

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

316


๗<br />

317


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำสังข์ ทรงเจิม <br />

และพระราชทานเสมา ปปร. แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

ขณะทรงดำรงพระยศ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช<br />

ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป<br />

แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ <br />

เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร<br />

พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗<br />

เวลา ๑๓ นาฬิกา ๔๕ นาที<br />

318


๗<br />

<br />

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล<br />

<br />

พระอัฐมรามาธิบดินทร<br />

เมื่อแรกทรงครองสิริราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘<br />

แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๘ พรรษา<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒<br />

มีนาคม พ.ศ ๒๔๗๗ และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษอย่างเงียบๆ นับเป็น<br />

พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวของไทยที่เสด็จสวรรคตบนแผ่นดินต่างประเทศ<br />

และมิได้ทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดเป็นรัชทายาท คณะรัฐบาลจึงพร้อมใจกัน<br />

ทูลเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้า<br />

มหิดลอดุลเดชฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ <br />

แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จขึ้น<br />

ครองราชย์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย<br />

<br />

319


๘<br />

รัชกาลที่ ๘ - รัชกาลปัจจุบัน<br />

มิ่งขวัญชาวไทย ดวงใจปวงประชา<br />

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร<br />

เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงครองราชย์ภายหลังการเปลี่ยนแปลง<br />

การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างอันดี<br />

แก่ประชาชนที่รักความเป็นประชาธิปไตย อีกทั้งได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ<br />

เป็นอเนกประการ บันดาลความผาสุกและร่มเย็นแก่บ้านเมืองและราษฎรโดยทั่วกัน<br />

แม้เสวยราชสมบัติเพียงไม่นาน<br />

320


เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชอนุชา เสด็จขึ้น<br />

ครองราชย์สืบต่อมา เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์<br />

ทรงดำเนินรอยตามพระบรมเชษฐา ด้วยพระราชปณิธานที่จะพัฒนาบ้านเมือง<br />

และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน จนเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจาก<br />

พระราชดำริมากมายที่มุ่งหมายความสุขของราษฎรเป็นสำคัญ <br />

321


ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง<br />

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง<br />

ลายพระหัตถ์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร<br />

อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก<br />

เมื่อครั้งดำรงพระยศ<br />

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ<br />

กรมหลวงสงขลานครินทร์<br />

พระราชทานนักเรียนทุนส่วนพระองค์<br />

เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

คล้ายกับเราได้รับการอบรมจากพ่อผ่านทางแม่ <br />

คือกลับเมืองไทยต้องทำงาน ตั้งแต่เล็กเคยได้ยินแม่รับสั่ง<br />

เรื่องต้องทำงานเพื่อเมืองไทยอยู่ตลอดเวลา<br />

พระนิพนธ์ <br />

“เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์”<br />

ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ <br />

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา<br />

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์<br />

322


๘<br />

แม่ไม่เคยชมเราว่าฉลาดหรืองาม จะชมก็ต่อเมื่อ<br />

ประพฤติตนดี ทำอะไรที่น่าสรรเสริญ<br />

พระนิพนธ์ “เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์”<br />

ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา<br />

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์<br />

เมื่อทรงพระเยาว์<br />

<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระโอรส<br />

ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก<br />

และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี<br />

เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคตนั้น <br />

ทั้งสองพระองค์ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระบรมราชชนนี<br />

จึงทรงเป็นทั้งพ่อและแม่ที่ให้ความอบอุ่น ดูแลพระโอรส <br />

พระธิดาด้วยพระองค์เอง ด้วยทรงมุ่งมั่นในพระราชหฤทัย <br />

ว่าการจะทำความดีให้แผ่นดินได้จริง พระองค์จะต้องเลี้ยงดู<br />

พระโอรสและพระธิดาให้เป็นคนดี<br />

ทรงเพียรอบรมพระโอรสและพระธิดาให้รู้จักเหตุผล<br />

มีความรับผิดชอบ รู้จักคิด ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยไร้ค่า<br />

มีเมตตาและรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น<br />

<br />

อันที่จริง...เธอก็ชื่อภูมิพล<br />

ที่แปลว่าพลังของแผ่นดิน<br />

แม่อยากให้เธออยู่กับดิน<br />

เมื่อฟังคำพูดนี้แล้ว<br />

ก็กลับมาคิด <br />

ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา<br />

และมีจุดมุ่งหมายว่า<br />

อยากให้เราติดดิน<br />

และอยากให้ทำงานให้แก่ประชาชน<br />

พระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าทรงคำนึงถึงพระราชดำรัส<br />

ที่พระบรมราชชนนีได้ทรงอบรม<br />

และแนะนำอยู่เสมอ<br />

323


พระราชกรณียกิจสุดท้าย<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปยัง<br />

สถานีเกษตรกลางบางเขน<br />

เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙<br />

พระบรมฉายาลักษณ์หลังเบื้องพระปฤษฎางค์<br />

ขณะมีพระราชดำรัสตอบประชาชนที่เข้าเฝ้าฯ <br />

Coronet Midget กล้องรุ่นแรก<br />

ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ <br />

เมื่อมีพระชนมพรรษา ๘ พรรษา<br />

Elax Lumière กล้องประจำพระองค์<br />

ที่ทรงใช้ถ่ายพระรูปพระบรมเชษฐา<br />

เมื่อตามเสด็จพระราชดำเนินไปในท้องที่ต่างๆ<br />

พระราชกรณียกิจประจำ คือ <br />

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเกษตรกร<br />

ในจังหวัดใกล้เคียง เช่น นนทบุรี ปทุมธานี <br />

324


๘<br />

ทรงพอพระราชหฤทัยทุกครั้ง<br />

ที่ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎร<br />

ที่มาเข้าเฝ้าฯ ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร<br />

เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ สถานที่ต่างๆ <br />

ในฐานะพระราชอนุชา จึงทรงเป็นเสมือนช่างภาพส่วนพระองค์<br />

เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระอนุชาธิราช<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

มักโดยเสด็จพระราชดำเนินพระบรมเชษฐา<br />

ไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องที่ต่างๆ อยู่เสมอ<br />

กล้องของพระราชอนุชา <br />

ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้ง<br />

ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ โดยเสด็จ<br />

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐม<br />

รามาธิบดินทรเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร<br />

ตามที่ต่างๆ อย่างใกล้ชิด พระองค์จะทรงเป็นช่างภาพ<br />

ประจำพระองค์สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ทรงคอยถ่ายภาพ<br />

เก็บไว้เสมอ<br />

กล้องนี้จึงมิใช่เพียงกล้องบันทึกภาพธรรมดา แต่เป็น<br />

กล้องที่บันทึกความทรงจำที่น้องมีต่อพี่<br />

<br />

325


กล้องของพระราชา <br />

กล้องนี้มิใช่เพียงกล้องบันทึกภาพธรรมดา แต่เป็นอุปกรณ์สำคัญ<br />

ในการปฏิบัติพระราชภารกิจ เพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและราษฎร<br />

ทุกรายละเอียดที่ปรากฏบนภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ สะท้อนให้เห็นว่า<br />

ทรงสังเกตและทอดพระเนตรเห็นรายละเอียดที่ถูกมองข้าม<br />

ดังนั้นทุกท้องถิ่นที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชกิจต่างๆ<br />

จึงได้รับการบันทึกภาพตลอดเวลา จึงถือได้ว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์<br />

ที่ทรงรู้จักผืนแผ่นดินและราษฎรยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์องค์ใดในโลก<br />

จึงไม่น่าแปลกใจว่าหากราษฎรท้องที่ใดประสบความเดือดร้อน พระองค์<br />

จะสามารถบรรเทาทุกข์ของราษฎรได้อย่างเหมาะสมและยังพระราชทาน<br />

แนวพระราชดำริในการแก้ปัญหาให้หมดสิ้นไปได้อย่างยั่งยืน <br />

Canon EOS 30D กล้องถ่ายภาพรุ่นล่าสุดที่<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้<br />

เมื่อประทับอยู่ ณ โรงพยาบาลศิริราช<br />

326


๘<br />

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ระหว่างทางที่ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง<br />

ด้วยพระองค์เอง แสดงให้เห็นความสนพระราชหฤทัย<br />

ต่อความเป็นอยู่ของพสกนิกรอย่างทั่วถึง <br />

มิได้ทรงเว้นแม้กระทั่งเด็กชาวบ้านชนบท<br />

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ดอยอ่างขาง<br />

ภายหลังการตั้งสถานีเกษตรหลวง<br />

จากที่เคยเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม<br />

ได้กลับฟื้นคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์<br />

<br />

ระหว่างทรงเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา <br />

ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร<br />

สถานีอวกาศแวนเดนเบิร์ก ขณะที่ประทับอยู่บน<br />

เครื่องบินพระที่นั่ง ทรงบันทึกภาพไว้<br />

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ บริเวณอ่างเก็บน้ำ เขื่อนบ้านวัน<br />

สะท้อนถึงความสนพระราชหฤทัยในการพัฒนาแหล่งน้ำ<br />

เพื่อการกักเก็บรักษาน้ำที่มีตามธรรมชาติ<br />

ไว้ให้ราษฎรมีเพียงพอใช้ตลอดปี<br />

ทรงพอพระราชหฤทัย เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็น<br />

ราษฎรรู้จักใช้วัสดุอุปกรณ์ในท้องที่ให้เป็นประโยชน์ <br />

จึงปรากฏเป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ วงล้อโพงน้ำ<br />

ที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ<br />

อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

<br />

327


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุทิศกำลังพระวรกายให้กับ<br />

การจัดการ น้ำ เป็นอย่างมาก จึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ<br />

ในการเก็บกักน้ำและสร้างแหล่งน้ำใหม่เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้<br />

สำหรับอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง รวมทั้งยังสนพระราชหฤทัย<br />

เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำเสีย ซึ่งนับเป็น<br />

ความเดือดร้อนอย่างสำคัญของราษฎรในปัจจุบัน<br />

ทรงให้ความสำคัญกับการรักษา ป่าไม้ โดยอาศัยความร่วมมือ<br />

ของราษฎรในพื้นที่ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่า และสามารถ<br />

ใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างสมดุลและยั่งยืน<br />

ทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความรู้ในเรื่องการทำ<br />

การเกษตร อย่างมีหลักวิชาและรู้จักใช้เทคโนโลยีการเกษตร<br />

สมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ราษฎรมีความสามารถในการผลิตเพิ่มมากขึ้น <br />

ด้วยเชื้อเพลิงอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นับวันจะหมดไป<br />

และมีราคาสูงขึ้น จึงมีพระราชดำริให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการผลิต<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อเป็น พลังงานทดแทน ในยามเกิดวิกฤตน้ำมัน<br />

ทรงใช้หลักธรรมชาติที่เรียบง่ายในการรักษา ดิน โดยทรงแนะนำ<br />

ให้ปลูกหญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชที่มีรากแตกแขนงยาวและแข็งแรง <br />

เพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน<br />

328


๘<br />

ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น<br />

เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน<br />

ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา<br />

เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว<br />

จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป<br />

หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ<br />

ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว<br />

โดยมิได้คำนึงถึงความสมดุลย์และความสัมพันธ์<br />

อันสอดคล้องในองค์ประกอบต่างๆ อย่างพอเพียง<br />

อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศล้มเหลวได้<br />

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร<br />

ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ <br />

ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

เมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย<br />

เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา<br />

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ<br />

นับแต่ทรงครองสิริราชสมบัติ ไม่มีที่ใดในแผ่นดินนี้<br />

ที่พระองค์ไปไม่ถึง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกแห่งหน <br />

ในพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อศึกษาหาทางช่วยเหลือยกระดับ<br />

ความเป็นอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรที่ยากไร้<br />

ด้อยโอกาสทุกภูมิภาคของประเทศให้ได้มีชีวิตความเป็นอยู่<br />

ที่ดีขึ้นอย่างเต็มกำลัง ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง<br />

เข้มแข็งและยั่งยืน อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่แท้จริง<br />

ทำให้พระราชฐานที่ประทับในสวนจิตรลดาไม่เหมือน<br />

พระราชวังใดในโลก ก่อเกิดโครงการส่วนพระองค์และ<br />

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกว่า ๔,๐๐๐<br />

โครงการ<br />

ทรงตระหนักถึงปัญหาความเน่าเสียของแหล่งน้ำ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้ประดิษฐ์<br />

เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า (กังหันน้ำชัยพัฒนา)<br />

ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เอง<br />

ในประเทศ โดยทรงได้แนวคิดจาก "หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์<br />

วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน<br />

329


ของขวัญพระราชทาน <br />

ตลอดระยะเวลาที่ทรงงานและทรงปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งปวง<br />

เพื่อชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อคิดและบทเรียน<br />

อันมีค่าไม่ว่าในแง่การงานหรือการใช้ชีวิต ทั้งจากพระบรมราโชวาท <br />

พระราชดำรัสที่พระราชทานในวาระต่างๆ รวมทั้งพระราชนิพนธ์ และโครงการ<br />

อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เป็นเสมือนศูนย์ศึกษาสำหรับถ่ายทอดวิชาการ<br />

ซึ่งราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติให้เป็นประโยชน์แก่ทั้งตนเองและสังคม<br />

<br />

<br />

พระราชทานพรปีใหม่<br />

เพื่อให้คนไทยมีสติ<br />

ส.ค.ส. ฝีพระหัตถ์<br />

ที่พระราชทานพรปีใหม่<br />

และเตือนใจให้เกิดความคิด<br />

และการกระทำที่ดีงาม<br />

เทคโนโลยี เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร<br />

ภาพฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานความรู้<br />

เรื่องการทำฝนเทียม กรรมวิธี “ซุปเปอร์แซนด์วิช” ๖ ขั้นตอน


๘<br />

พระราชนิพนธ์ เพื่อพัฒนาประชาชนให้เป็นคนดี<br />

พระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ ล้วนแต่มีคุณค่า<br />

ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความคิด และขัดเกลาสติปัญญา<br />

แสดงให้เห็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติดี<br />

พระราชทานความรู้ เพื่อเพิ่มพลังปัญญา<br />

มีพระราชดำริที่จะให้มีสารานุกรมไทยที่คนไทยทำ <br />

ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน<br />

และส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้หาความรู้ขั้นพื้นฐาน<br />

ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ<br />

ความเจริญของประเทศชาติเป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ<br />

ถือได้ว่า ทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถ<br />

และต่างคนต่างก็ได้เกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง<br />

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย <br />

ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๓<br />

ศูนย์ศึกษา เพื่อการพัฒนา<br />

แบบเบ็ดเสร็จ<br />

ศูนย์ศึกษาการพัฒนา<br />

อันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง ๖ แห่ง<br />

(เขาหินซ้อน ห้วยทราย อ่าวคุ้งกระเบน <br />

ภูพาน ห้วยฮ่องไคร้ และพิกุลทอง) <br />

นับเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า ทดลอง <br />

และแสวงหาแนวทางพัฒนา<br />

ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ<br />

สภาพแวดล้อมและการประกอบอาชีพ<br />

ของราษฎรแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำผลการ<br />

ทดลองวิจัยไปเผยแพร่แก่ราษฎร<br />

ด้วยวิธีการที่เข้าใจง่ายและ<br />

สามารถนำไปปฏิบัติเองได้จริง<br />

331


หยาดพระเสโททุกหยดแห่งความเพียรพยายามของพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว เปรียบประดุจสายฝนที่ตกต้องผืนดินอันแห้งผากให้กลับชุ่มฉ่ำ<br />

อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง นำความผาสุก ความร่มเย็น และคุณภาพชีวิตที่ดี<br />

มาสู่ราษฎรในแผ่นดิน และนำมาซึ่งความสุขในพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน<br />

ผู้อยู่เคียงข้างประชาชน ผู้เลือกที่จะแบกรับทุกข์และปัญหาของราษฎร<br />

ดุจดังทุกข์และปัญหาของพระองค์เอง มาตลอดตั้งแต่ต้นรัชกาลถึงปัจจุบัน <br />

ดังคำสัญญาที่ให้ไว้เมื่อครั้งที่พระองค์ต้องจากพระราชอาณาจักรไทย<br />

ไปทรงศึกษาต่อยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์<br />

จัดแสดงด้วยเทคนิคสื่อผสม ซึ่งผู้เข้าชม<br />

จะสัมผัสได้ถึงสายลมเย็นและความชุ่มฉ่ำ<br />

ของสายน้ำซึ่งเปรียบได้ดังความสุขของคนไทย <br />

ที่ได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมีของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

332


๘<br />

ตามทางที่ผ่านมา<br />

ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า<br />

“อย่าละทิ้งประชาชน”<br />

อยากจะร้องบอกเขาไปว่า<br />

“ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้”<br />

ความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์<br />

“เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์”<br />

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

333


334<br />

ตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ พระมหากษัตริย์ทุกรัชสมัย<br />

ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ด้วยทรงตั้งพระราชปณิธาน<br />

มุ่งหมายที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้บังเกิดแก่ราษฎร บรรเทาความเดือดร้อน<br />

ให้ผ่อนคลาย สามารถอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยได้อย่างร่มเย็น<br />

เป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี ที่แนวพระราชปณิธานยังคงปรากฏให้เห็น<br />

และสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยชาวไทยได้รับความสุขจากโครงการ<br />

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนพระราชกรณียกิจต่างๆ<br />

พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นดั่งดวงใจของปวงประชา อันเป็นที่เคารพรัก<br />

และภักดีอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย


๘<br />

พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจแก่ประชาชนของพระองค์ตลอดมา <br />

ไม่ว่าจะเป็นในด้านวิชาการ ศิลปะ วิทยาศาสตร์<br />

หรือแม้แต่การที่ทรงเป็นแบบอย่างที่เรียบง่าย<br />

ของการเป็นพ่อผู้มีแต่ความรัก และความเสียสละเพื่อลูก<br />

พระราชดำรัส สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลาม<br />

ในฐานะทรงเป็นผู้แทนพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างประเทศ<br />

ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

เนื่องในวโรกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี<br />

๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๙<br />

พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์<br />

แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีที่ผู้เข้าชม<br />

มีโอกาสได้ย้อนรำลึกร่วมไปกับยายหลาน<br />

ย่อมเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนว่า<br />

ล้วนนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของชาติ <br />

และความสงบสุขร่มเย็นของราษฎร<br />

ทุกยุคสมัย ชาวไทยจึงเคารพรักและเทิดทูน<br />

พระมหากษัตริย์เป็นดั่งดวงใจของปวงประชา<br />

<br />

335


ผู้เข้าชมสามารถถ่ายทอดความจงรักภักดี<br />

และร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวผ่านวีดิทัศน์ ซึ่งจะบันทึกภาพ<br />

และเสียงของผู้เข้าชม แล้วคัดเลือกนำออกแสดง<br />

ในจุดจากใจ...พสกนิกร<br />

๙<br />

เรื่องเล่าของในหลวง<br />

ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ซึ่งทุกเรื่องราว<br />

ของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย จะได้รับการรวบรวม<br />

บันทึกและถ่ายทอดสู่ชาวไทย เพื่อจะได้มีโอกาสสัมผัสและซาบซึ้งไปกับ<br />

พระราชจริยวัตรนับตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระราชดำริ พระราชดำรัส<br />

พระบรมราโชวาท และอีกหลากหลายเรื่องราวของ “ในหลวง” ที่ประชาชน<br />

บนผืนแผ่นดินไทยอาจไม่เคยรู้มาก่อน<br />

336


จัดแสดงด้วยระบบจอสัมผัสซึ่งผู้เข้าชม<br />

สามารถเลือกชมและซาบซึ้งกับ<br />

พระราชจริยวัตรและเรื่องราวต่างๆ <br />

เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว <br />

ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย <br />

ภาพที่สุดของความทรงจำ<br />

จัดแสดงภาพอันน่าประทับใจของชาวไทย<br />

ผู้เคยรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทหรือ<br />

มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสต่างๆ ซึ่งยัง<br />

ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของเจ้าของรูป<br />

อย่างไม่เสื่อมคลาย<br />

คำพ่อสอน<br />

จัดแสดงพระราชดำรัสและพระบรม<br />

ราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะบุคคล<br />

และประชาชนในหลายโอกาส ซึ่งชาวไทย<br />

สามารถนำมาเป็นข้อคิด ตลอดจนแนวทาง<br />

ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี<br />

ครั้งหนึ่งในชีวิต<br />

จัดแสดงเรื่องราวอันน่าประทับใจของบุคคล<br />

ที่เคยถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท<br />

และผู้ที่น้อมนำพระราชดำริมาเป็นแนวทาง<br />

ในการดำเนินชีวิตจนประสบความสำเร็จ<br />

และความสุขในที่สุด<br />

เรื่องของในหลวงที่เราไม่อาจรู้<br />

จัดแสดง ๘๐ เรื่องราวที่ชาวไทยหลายล้านคน<br />

ไม่เคยรู้ เกี่ยวกับ “ในหลวง” พระมหา<br />

กษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน <br />

ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว<br />

จัดแสดงวีดิทัศน์ถ่ายทอดความรู้สึกของ<br />

คนไทยหลากหลายสถานะซึ่งเคารพเทิดทูน<br />

และ “รัก” พระเจ้าอยู่หัวอย่างหมดดวงใจ<br />

337


๑๐<br />

จากใจ...พสกนิกร<br />

<br />

พสกนิกรทั่วหน้าล้วนสำนึกและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนก<br />

ประการ เพื่อความเจริญของบ้านเมืองและความร่มเย็นของราษฎร ความรู้สึก<br />

ดังกล่าวปรากฏอยู่ในดวงใจชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดมา ดังจะเห็นได้จาก<br />

ถ้อยคำส่วนหนึ่งที่ได้เลือกสรรมาจัดแสดงไว้ ณ ที่แห่งนี้ <br />

338


ถ้อยคำที่ประชาชนชาวไทยถ่ายทอดออกมาจากใจ<br />

หลายล้านดวงล้วนแสดงให้เห็นถึงความเคารพรัก <br />

ความเทิดทูน และความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวอย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งแสดงให้เห็นเป็นที่<br />

ประจักษ์อย่างชัดเจนว่า คงไม่มีประชาชนพลเมืองของ<br />

ประเทศใดจะรักพระเจ้าแผ่นดินได้มากเท่ากับประชาชน<br />

ชาวไทย<br />

จัดแสดงถ้อยคำความรู้สึกของประชาชน<br />

ที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของชาวไทย<br />

339


340


๓<br />

ต อ น ที่<br />

จรรโลงวัฒนธรรม<br />

ล้ำเลอค่า<br />

ร่วมใจผู้เชี่ยวชาญ ผสานเทคโนโลยี<br />

เนรมิตนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

341


ห้องโถงด้านหน้า ภายในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเปรียบได้กับ<br />

“ห้องรับแขก” ขนาดใหญ่ ได้รับการออกแบบให้มีความโปร่งโล่ง โอ่โถง<br />

ก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและร่วมสมัย<br />

การออกแบบที่คำนึงถึงความโปร่งโล่งยังได้สร้างความต่อเนื่องถึงส่วนอื่นของอาคารอีกด้วย<br />

342


ร้อยเรียงอดีตสมัย <br />

เพื่อคนไทยยุคปัจจุบัน<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ได้ร้อยเรียงเรื่องราว<br />

กว่า ๒๐๐ ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน<br />

หน้าประวัติศาสตร์สำคัญที่คนไทยปัจจุบันอาจจะ<br />

ลืมเลือน และมักคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ผ่านพ้นไปแล้ว<br />

หากทว่าในความเป็นจริง ทุกวันนี้ชาวกรุงเทพฯ ตลอดจน<br />

ชาวไทยหลายล้านคนล้วนยังคงดำรงชีวิตอยู่ในสมัย<br />

รัตนโกสินทร์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕<br />

มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน และจะยืนหยัด<br />

สืบเนื่องต่อไปในอนาคต<br />

เรื่องราวของกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดช่วง<br />

๒๐๐ ปี จึงยังคงผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน<br />

และนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ จะเป็นเสมือน “ประตู”<br />

ที่เปิดโอกาสให้ชาวรัตนโกสินทร์ในช่วงศตวรรษ<br />

ที่ ๒๑ ได้ย้อนกลับสู่อดีต ซึ่งไม่ใช่เพียงเพื่อเรียนรู้อดีต<br />

ผ่านโบราณวัตถุ แต่เป็นการเรียนรู้คุณค่าของอดีต <br />

ผ่านการจัดแสดงในรูปแบบร่วมสมัย เพื่อหวนรำลึก<br />

ตรึกตรอง และพิจารณารากเหง้าและตัวตน ตลอดจน<br />

ภูมิปัญญาอันล้ำค่าที่ได้รังสรรค์และสืบทอดต่อมา<br />

เพื่อจะได้ก้าวต่อไปบนแนวทางของอนาคตอันสดใส<br />

และมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป<br />

ด้วยเหตุนี้ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

จึงได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ<br />

วิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน เพื่อสร้างความสืบเนื่อง<br />

ระหว่างอดีตและปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน<br />

หุ่นจำลองพระบรมมหาราชวัง ที่ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม<br />

เป็นหนึ่งในสื่อการจัดแสดง ทำหน้าที่ถ่ายทอดประวัติความเป็นมา<br />

ของพระบรมมหาราชวัง ศูนย์กลางกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี<br />

มุมอินเทอร์เน็ตในห้องสมุด เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยให้การค้นคว้า<br />

ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นเรื่องง่ายและสามารถตอบสนองความต้องการของ<br />

คนในปัจจุบันซึ่งอยู่ในยุคการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน<br />

“รื่นรมย์รัตนโกสินทร์” หนึ่งในนิทรรศการหมุนเวียนที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี<br />

ในบริเวณห้องโถงอเนกประสงค์ นอกจากช่วยเพิ่มความหลากหลาย<br />

และขยายเรื่องราวที่จัดแสดงภายในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ยังดึงดูดใจผู้เข้าชมให้อยากกลับมาเยี่ยมชม<br />

343


จัดสรรพื้นที่ เพื่อวิถีที่เหมาะสม<br />

การพลิกฟื้นอาคารประวัติศาสตร์ให้กลับมา<br />

โลดแล่นและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน<br />

ต้องคำนึงถึงการจัดสรรพื้นที่การใช้สอยอาคารทุกตารางเมตร<br />

ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเหนือสิ่งอื่นใดจะต้องอนุรักษ์<br />

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีอยู่เดิมไว้ให้ได้มากที่สุด <br />

นับเป็นโจทย์สำคัญที่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ต้องพิจารณา<br />

อย่างถี่ถ้วน<br />

วิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มี<br />

ส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการออกแบบที่จะทำให้<br />

อาคารประวัติศาสตร์แห่งนี้มีประโยชน์ใช้สอย สามารถ<br />

ตอบสนองความต้องการของผู้คนในปัจจุบัน นอกเหนือจาก<br />

การเป็นศูนย์การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม<br />

ของกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงได้รับ<br />

การจัดสรรขึ้นในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ไม่ว่าจะเป็น<br />

พื้นที่สำหรับนิทรรศการหมุนเวียน (Event Hall) ที่บริเวณ<br />

ห้องโถงชั้น ๑ พื้นที่ประมาณ ๓๐๐ ตารางเมตร เพื่อให้บริการ<br />

แก่สถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชนในการจัดกิจกรรม<br />

หรือนิทรรศการด้านศิลปะและวัฒนธรรม การให้บริการ<br />

เครื่องดื่มและอาหารว่างบริเวณชั้น ๑ มีมุมอินเทอร์เน็ต <br />

และสามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง<br />

ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีห้องสมุดอันทันสมัยเพื่อการค้นคว้า<br />

ข้อมูลเพิ่มเติม และร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกอีกด้วย<br />

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ<br />

อีกอย่างหนึ่งคือ ระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากนิทรรศน์<br />

รัตนโกสินทร์ตั้งอยู่ในอาคารที่มีความเก่าแก่และก่อสร้าง<br />

มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่มีเพียงส่วนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่นๆ<br />

ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบปรับอากาศ<br />

ยังไม่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของ<br />

ชาวกรุงเทพฯ และเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ยังไม่แพร่หลาย<br />

การติดตั้งระบบปรับอากาศจึงต้องพิถีพิถันทุกรายละเอียด<br />

ส่วนผนังที่สร้างขึ้นใหม่ นอกจากเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ<br />

โครงสร้างของอาคารเดิม ยังช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติสามารถส่องเข้ามา<br />

เพิ่มความสว่าง และทำให้อาคารมีความโปร่ง <br />

การเจาะพื้นอาคารให้เป็นช่องทะลุถึงกัน นอกจากสร้างความแปลกตา<br />

ยังเป็นการออกแบบที่ช่วยลดความรู้สึกอึดอัด เพิ่มบรรยากาศที่โล่ง<br />

โปร่งสบาย เมื่อเข้ามาภายในอาคาร<br />

จุดบริการอาหารว่างและเครื่องดื่มหลากชนิด<br />

พร้อมมุมอินเทอร์เน็ต<br />

344


ห้องสมุดด้านหน้า ที่เน้นความโปร่ง โล่งสบาย<br />

ชวนให้เพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือ<br />

สกายคาเฟ่ บริเวณชั้น ๓ ติดตั้งกระจกใส เพื่อให้ผู้เข้าชม<br />

ได้สัมผัสทัศนียภาพของบริเวณโดยรอบได้มากกว่า ๑๘๐ องศา<br />

และยังเป็นจุดที่ถือว่าสามารถมองเห็นภูเขาทองและโลหะปราสาท<br />

วัดราชนัดดาได้สวยที่สุดในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

ห้องสมุดด้านในหรือห้องสมุดเงียบ อยู่ในบริเวณอาคารที่ต่อเติมใหม่<br />

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความเงียบสงบในการอ่านหนังสือ<br />

หรือการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ<br />

ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกสำหรับเก็บความประทับใจที่ได้รับจาก<br />

การเข้าชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ห้องโถงอเนกประสงค์ ชั้น ๑ พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมหลากหลาย


สร้างเสริมเติมต่อ ก่อประโยชน์สูงสุด<br />

เ พื่ อ ใ ห้ ส า ม า ร ถ ใ ช้ พื้ น ที่ ทุ ก<br />

ตารางเมตรของอาคารนิทรรศน์รัตน<br />

โกสินทร์ที่มีอยู่อย่างจำกัดในส่วนของ<br />

การจัดแสดง จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง<br />

จัดสรรพื้นที่ให้สามารถรองรับระบบ<br />

สาธารณูปโภคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม <br />

และเนื่องจากบริเวณด้านหลังอาคาร<br />

เป็นพื้นที่ว่าง จึงได้ก่อสร้างอาคารในพื้นที่<br />

ดังกล่าวเพิ่มเติมให้เป็นพื้นที่รองรับ<br />

สาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ<br />

สุขาภิบาล ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า<br />

และระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับควบคุม<br />

การจัดแสดง นอกจากนี้พื้นที่ส่วนต่อเติม<br />

ยังสามารถใช้เป็นสำนักงานบริหารดูแล<br />

อาคารและเป็นห้องสมุดได้อีกด้วย<br />

วัดราชนัดดาราม<br />

ถนนราชดำเนินกลาง<br />

แผนผังพื้นที่ส่วนต่อเติมด้านหลังอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ห้องควบคุมระบบไฟฟ้า <br />

ระบบปรับอากาศ<br />

และระบบโทรศัพท์<br />

ชั้นที่ ๑ <br />

ห้องสุขา<br />

ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก


ชั้นที่ ๒<br />

ฝ่ายประชาสัมพันธ์<br />

สำนักงานนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

สำนักงานนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ตั้งอยู่บริเวณชั้น ๒<br />

ห้องสมุดด้านหลัง<br />

ทางเชื่อมระหว่างสำนักงาน ห้องประชุมใหญ่<br />

และห้องสมุดด้านหลัง<br />

ห้องประชุมใหญ่ ที่สามารถรองรับผู้เข้าประชุม<br />

ได้ ๒๑ คน<br />

ห้องควบคุมระบบการจัดแสดง<br />

345


บรรยากาศย้อนอดีต <br />

เพลินพินิจรัตนโกสินทร์<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ได้เนรมิตเรื่องราว<br />

ในอดีตของกรุงรัตนโกสินทร์ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง<br />

ด้วยการจำลองบรรยากาศและกลิ่นอายของอดีต<br />

เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้มีส่วนร่วมและมีประสบการณ์<br />

อันน่าประทับใจในทุกส่วนของการจัดแสดง สร้างความ<br />

ตื่นตาตื่นใจให้ผู้เข้าชมเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้<br />

เพิ่มเติม<br />

การสร้างบรรยากาศด้วยการตกแต่งห้องจัดแสดง<br />

ให้มีความคล้ายคลึงกับสถานที่จริง ไม่ว่าจะเป็นการจำลอง<br />

สิ่งก่อสร้าง ดังปรากฏในห้องที่ ๕ สง่าศรีสถาปัตยกรรม<br />

พื้นห้องในส่วนจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระอารามหลวง<br />

ประจำรัชกาล ได้ออกแบบให้เหมือนปูด้วยอิฐมอญ<br />

ขนาดใหญ่วางตะแคงซ้อนกันเป็นก้างปลา อันเป็น<br />

การจำลองมาจากพื้นภายในวัดเมื่อสมัยอดีต และยังมี<br />

การจำลองเรือนไทยทั้งเรือนเครื่องสับและเรือนเครื่องผูก<br />

ห้องที่ ๘ เรืองรุ่งวิถีไทย มีการจำลองร้านค้าริมถนน<br />

บำรุงเมืองเมื่อแรกสร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือห้องที่ ๙<br />

ดวงใจปวงประชา มีการจำลองกำแพงเมืองสมัยรัตนโกสินทร์<br />

ตอนต้น สถานที่ทรงงานของรัชกาลที่ ๒ ตลอดจน<br />

เรือสำเภาขนาดใหญ่ที่เคยใช้เป็นพาหนะบรรทุกสินค้า<br />

ไปขายยังต่างประเทศ เป็นต้น<br />

นอกจากนี้ ยังมีการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต<br />

ให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสด้วยตนเอง ดังปรากฏในห้องที่ ๓<br />

เรืองนามมหรสพศิลป์ ที่มีการฉายภาพมหรสพ ๓๖๐ องศา<br />

เพื่อให้ผู้เข้าชมรู้สึกเสมือนอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์<br />

การจัดงานมหรสพสมโภชที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเมื่อมอง<br />

ไปในทิศทางใดจะได้เห็นการแสดงตลอดจนการละเล่น<br />

ในอดีต หรือห้องที่ ๔ ลือระบิลพระราชพิธี ที่มีการจัดแสดง<br />

พระราชพิธีสิบสองเดือน โดยนำภาพจิตรกรรมฝาผนัง<br />

ที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม มาดัดแปลง<br />

ในรูปแบบอะนิเมชั่น ซึ่งทำให้ภาพคนสามารถเคลื่อนไหวได้<br />

ซุ้มพระบัญชรจำลอง จัดแสดงอยู่ในห้องที่ ๒ เกียรติยศแผ่นดินสยาม<br />

หรือห้องที่ ๘ เรืองรุ่งวิถีไทย ที่มีการจำลองเสียง “หวอ”<br />

หรือสัญญาณเตือนภัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒<br />

เป็นต้น<br />

การสร้างบรรยากาศเสมือนจริงทั้งการจำลอง<br />

สถานที่ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

นอกจากเป็นการเร้าความรู้สึกของผู้เข้าชมให้ต้องการ<br />

ติดตามเรื่องราวการจัดแสดงต่างๆ ช่วยเสริมสร้าง<br />

จินตนาการ ยังทำให้ภาพและเรื่องราวในอดีตกลับมีชีวิต<br />

ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยอาศัยเทคโนโลยีอันทันสมัย<br />

เป็นเครื่องมือ เพื่อให้การจัดแสดงมีความสมจริงและ<br />

น่าสนใจ <br />

346


การจำลองแผ่นหินที่ใช้ปูพื้นภายใน<br />

บริเวณพระบรมมหาราชวัง<br />

ห้องที่ ๒ เกียรติยศแผ่นดินสยาม มีการปูพื้นห้องโดยจำลองแผ่นหินให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพื้นภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง<br />

การจำลองการจัดแสดงมหรสพ<br />

โดยรอบอาณาบริเวณท้องสนามหลวง<br />

(ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระระเบียง<br />

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)<br />

จอภาพ ๓๖๐ องศา เพื่อให้ผู้เข้าชมรู้สึกเสมือนอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์การจัดงานมหรสพสมโภชที่ท้องสนามหลวง<br />

347


บรรจงรังสรรค์<br />

เนรมิตอดีตอันรุ่งโรจน์<br />

แต่ละห้องจัดแสดง มีการจัดแสงให้สอดคล้องกับสีของอัญมณีในตำรานพรัตน์<br />

เพื่อให้นิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

เป็นศูนย์การเรียนรู้อันมีเอกลักษณ์<br />

และเป็นที่น่าจดจำ จึงให้ความสำคัญ<br />

กับการรังสรรค์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นมิติของ<br />

สีและแสง ความคงทนของอุปกรณ์<br />

Interactive Self-Learning ตลอดจน<br />

ความละเอียดประณีตของงาน<br />

ศิลปกรรม โดยคำนึงถึงหลักการเลือกใช้<br />

เทคโนโลยีการจัดแสดงที่เหมาะสม<br />

สอดคล้องกับเรื่องราวที่ต้องการ<br />

นำเสนอ และเพิ่มมูลค่าให้กับการ<br />

ออกแบบนิทรรศการ ด้วยระบบ<br />

ควบคุมการจัดแสดงระดับโลกแบบ<br />

World-Class Museum<br />

มิติของสีและแสง - มีการ<br />

จัดแสงที่เป็นเอกลักษณ์ของห้อง<br />

จัดแสดงให้สอดคล้องกับสีของ<br />

อัญมณีต่างๆ ทั้ง ๙ ในสำรับนพรัตน์ <br />

ซึ่งนำมาเป็นสัญลักษณ์ของนิทรรศน์<br />

รัตนโกสินทร์ เช่น ห้องที่ ๒ เกียรติยศ<br />

แผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นห้องที่เป็น<br />

ตัวแทนของอัญมณีบุษราคัม จึงเน้น<br />

การจัดแสงสีเหลืองทองที่เรืองรอง<br />

เพื่อสะท้อนคุณค่าอันสูงส่งของ<br />

พระบรมมหาราชวัง อัครสถานอันเป็น<br />

348


เกียรติยศของแผ่นดิน หรือห้องที่ ๓ เรืองนามมหรสพศิลป์<br />

ที่เน้นการจัดแสงให้สอดคล้องกับสีของโกเมน อัญมณีสีแดง<br />

ซึ่งเชื่อกันว่ามีพลังในการกระตุ้นความรู้สึกและอารมณ์<br />

ด้วยเป็นห้องที่รวบรวมศิลปวิทยาการด้านการแสดง<br />

ที่สวยงาม ตื่นเต้น เร้าใจ กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนาน<br />

จึงใช้โกเมนเป็นตัวแทน อีกทั้งสีแดงเป็นสีที่สื่อถึง<br />

การแสดงในยุคปัจจุบันที่มักใช้ม่าน เก้าอี้ หรือพรมสีแดง<br />

ตกแต่งสถานที่ที่มีการแสดงมหรสพ<br />

ความคงทนของอุปกรณ์ - ปกติสื่ออินเทอร์ <br />

แอ็กทีฟในนิทรรศการทั่วไปมักชำรุดและได้รับความเสียหาย<br />

จากการใช้งานอย่างรวดเร็ว นิทรรศน์รัตนโกสินทร์คำนึงถึง<br />

ปัญหาดังกล่าว จึงได้หาแนวทางแก้ไขจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ<br />

ด้วยการออกแบบไม่ให้ผู้เข้าชมสัมผัสกับสื่ออินเทอร์แอ็กทีฟ<br />

โดยตรง เช่น ลดทอนความซับซ้อนของปุ่มกดด้วยการใช้<br />

ปุ่มสัมผัสที่เป็นแผ่นทองเหลืองที่ใช้ค่าความต่างศักย์ของ<br />

ไฟฟ้าเป็นสื่อควบคุม<br />

เช่นเดียวกับห้องที่ ๖ ดื่มด่ำย่านชุมชน มีการ<br />

ออกแบบการจัดแสดงด้วยระบบเซ็นเซอร์ที่ทำงานสัมพันธ์<br />

กับเครื่องฉายภาพ เมื่อผู้เข้าชมใช้เท้าสัมผัสที่พื้นห้องที่มี<br />

เซ็นเซอร์รับสัญญาณ เครื่องฉายภาพจะฉายลวดลาย<br />

อันสวยงามไปที่พื้นห้องโดยอัตโนมัติ<br />

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทำให้นิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

สามารถนำเสนอเรื่องราวในอดีตได้อย่างน่าสนใจและช่วย<br />

“เนรมิตอดีต” ให้กลับมามีชีวิตชีวา ผู้เข้าชมสามารถสัมผัส<br />

และซาบซึ้งไปกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ ตลอดจนวัฒนธรรม<br />

ด้านต่างๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ยังคงรุ่งโรจน์เรืองรอง<br />

จนถึงปัจจุบันด้วยการผสมผสานและการประยุกต์สื่อ<br />

ตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความหลากหลายเข้าไว้<br />

ด้วยกันเพื่อให้มีความเหมาะสมกับทุกเรื่องราวที่นำเสนอ<br />

ห้องที่ ๖ ดื่มด่ำย่านชุมชน เมื่อผู้เข้าชมใช้เท้าสัมผัสตรงจุด<br />

ที่มีเซ็นเซอร์รับสัญญาณ จะค่อยๆ ปรากฏภาพลวดลายอันสวยงาม<br />

บนพื้นห้อง ซึ่งฉายจากเครื่องฉายภาพที่ซ่อนอยู่ด้านบน<br />

ระบบจอสัมผัสหรือทัชสกรีนที่นำมาใช้เป็นสื่อให้ผู้เข้าชม<br />

ได้ร่วมสนุกกับการเล่นเกม ได้รับการออกแบบ<br />

ให้มีความคงทนเพื่อรองรับการใช้งานจากผู้เข้าชมจำนวนมาก<br />

349


350<br />

ศิลปวัตถุจำลองที่จัดแสดงในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ล้วนได้รับการเอาใจใส่ในทุกรายละเอียด<br />

ของขั้นตอนการประดิษฐ์ที่ต้องอาศัย<br />

ความประณีตละเอียดอ่อน <br />

เพื่อให้มีความสวยงามใกล้เคียง<br />

กับต้นแบบมากที่สุด


ความละเอียดประณีตของงานศิลปกรรม -<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ให้ความสำคัญกับความละเอียด<br />

ประณีตของฉาก ตลอดจนสิ่งของที่จำลองมาจัดแสดง<br />

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของขนาดใหญ่ เช่น บุษบกประดิษฐาน<br />

พระแก้วมรกตไปจนถึงสิ่งของขนาดเล็ก เช่น กระโถน<br />

ปากแตร ผักและผลไม้แกะสลัก ที่จัดแสดงอยู่ในห้องที่ ๒<br />

เกียรติยศแผ่นดินสยาม ซุ้มหน้าต่าง ซุ้มประตู และหน้าบัน<br />

พระที่นั่งองค์สำคัญในเขตพระราชฐานที่ได้รับการจำลอง<br />

ด้วยฝีมืออันประณีตของช่างสิบหมู่ ซึ่งโดยปกติต้องใช้เวลา<br />

ในการรังสรรค์ยาวนานกว่าจะสำเร็จออกมาเป็นผลงาน<br />

ที่ทรงคุณค่า แต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ได้ลดทอนขั้นตอน<br />

บางอย่าง จึงร่นเวลาให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังคง<br />

ความงดงามและทรงคุณค่า<br />

แบบร่างบุษบกประดิษฐานพระแก้วมรกต เพื่อจัดแสดงในห้องที่ ๒ <br />

เกียรติยศแผ่นดินสยาม แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับสัดส่วน<br />

และความประณีตของงานศิลปกรรมไทย<br />

การประดิษฐ์หุ่นยักษ์ เป็นการจำลองจากต้นแบบจริง<br />

ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

ขั้นตอนการรังสรรค์เครื่องมุก ผลงานศิลปกรรมที่จำลองมาจาก<br />

บานประตูประดับมุก ปราสาทพระเทพบิดร จัดแสดงอยู่ภายในห้องที่ ๒<br />

เกียรติยศแผ่นดินสยาม<br />

351


ห้องที่ ๓ เรืองนามมหรสพศิลป์ มีการฉายภาพ ๓๖๐ องศา จากเครื่องฉายภาพ<br />

ทั้งหมด ๙ เครื่อง ไปที่จอขนาดใหญ่ ซึ่งติดตั้งบนผนังของห้องที่มีลักษณะเป็นวงกลม <br />

ช่วยสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าชมรู้สึกเสมือนอยู่ท่ามกลางงานแสดงมหรสพในอดีต<br />

ผสมสื่อสร้างสรรค์ บันดาลความเพลิดเพลิน<br />

สื่อและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดแสดงภายในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ปรากฏโดยทั่วไป แต่นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ได้นำมา<br />

ผสมผสานให้เกิดเป็นสื่อผสมและเทคนิคการนำเสนอที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น<br />

ห้องที่ ๑ รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ ห้องจัดแสดงที่มีระบบไฮโดรลิกที่จะยก<br />

พื้นห้องให้เลื่อนขึ้นจากชั้น ๒ ไปสู่ชั้น ๓ พร้อมกับฉายวีดิทัศน์ถ่ายทอดประวัติ<br />

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์<br />

ห้องที่ ๓ เรืองนามมหรสพศิลป์ มีการใช้เครื่องฉายภาพ จำนวนมากถึง <br />

๙ เครื่อง ฉายภาพซึ่งผู้เข้าชมสามารถมองเห็นได้ ๓๖๐ องศา เพื่อจำลอง<br />

บรรยากาศการสมโภชที่จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวงซึ่งจะมีการแสดงมหรสพ<br />

รอบตัวผู้ชม<br />

ทางเข้าสู่ห้องที่ ๑ รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์<br />

มีการยกระดับให้สูงขึ้นจากพื้นอาคาร<br />

เพื่อรองรับการจัดแสดงด้วยระบบไฮโดรลิก<br />

352


ห้องที่ ๘ เรืองรุ่งวิถีไทย มีการจัดแสดงที่ใช้โปรแกรมพิเศษ<br />

เพื่อให้สามารถฉายภาพลงบนจอที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม<br />

ได้หลายภาพในเวลาเดียวกัน<br />

ห้องที่ ๕ สง่าศรีสถาปัตยกรรม มีการนำเทคโนโลยี<br />

Multi-touch มานำเสนอในรูปแบบเกมที่ให้ผู้เล่นสัมผัส<br />

หน้าจอเพื่อจัดวางสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดให้ถูกต้อง<br />

ตรงตามแผนผัง หรือการนำอุปกรณ์ Interactive<br />

Multimedia มาใช้ในส่วนการนำชมบรรยากาศบ้านเรือน<br />

แต่ละสมัย โดยออกแบบอุปกรณ์ควบคุมที่ช่วยให้ผู้เข้าชม<br />

ได้รับความเพลิดเพลิน ทั้งการสะบัดสายบังเหียนม้า <br />

การพายเรือ และการเหยียบคันเร่งของรถที่สัมพันธ์กับ<br />

การเคลื่อนไหวของภาพบนจอที่ติดตั้งอยู่ในกรอบหน้าต่าง<br />

จำลอง<br />

ห้องที่ ๗ เยี่ยมยลถิ่นกรุง ที่มีการนำเทคโนโลยี<br />

การตัดต่อภาพถ่ายผสมกับภาพอะนิเมชั่น โดยพัฒนา<br />

ซอฟต์แวร์ให้สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว <br />

เพื่อนำเสนอภาพถ่ายใบหน้าของผู้เข้าชมไปเป็นตัวละคร<br />

ของการ์ตูนบนจอขนาดใหญ่<br />

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของ<br />

การออกแบบการจัดแสดงที่ทางนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ตั้งใจและภูมิใจที่ได้นำเสนอและเผยแพร่แก่ประชาชน <br />

ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างสรรค์ให้การจัดแสดงน่าสนใจ<br />

มีความสนุกสนาน และน่าประทับใจ<br />

Interactive Multimedia ในรูปแบบสายบังเหียน <br />

ในห้องที่ ๕ สง่าศรีสถาปัตยกรรม ได้รับการออกแบบ<br />

ให้เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนไหวของภาพที่ปรากฏบนจอ<br />

เทคโนโลยีการตัดต่อภาพถ่ายผสมกับภาพอะนิเมชั่น<br />

จัดแสดงภายในห้องที่ ๗ เยี่ยมยลถิ่นกรุง<br />

353


ระดมผู้เชี่ยวชาญ สืบสานรัตนโกสินทร์<br />

องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งคือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและชุมชนโดยรอบอันจะส่งผลให้เกิด<br />

ความยั่งยืนดังที่ พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ พ.ศ.<br />

๒๕๔๑ ได้กล่าวไว้ว่า “...นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ต้องอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างเกื้อกูลกัน แล้วจะทำให้<br />

อาคารนิทรรศการยั่งยืนได้...”<br />

พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น<br />

ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์)<br />

และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร<br />

ความถูกต้องก็เป็นส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน เช่น ดนตรีประกอบการจัดแสดง ดร. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ<br />

อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวถึงความเหมาะสมของดนตรีประกอบว่า “...เราไม่ได้ปิดกั้นดนตรี<br />

ตะวันตก แต่คำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสม เช่น นำดนตรีฝรั่งมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับ<br />

การรับวัฒนธรรมตะวันตก แต่ในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือในพิธีกรรมใช้เพลงไทย...” <br />

<br />

ดร. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ<br />

อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย<br />

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการผสานการเรียนรู้ในมิติทางวัฒนธรรมเข้ากับความต้องการของคน<br />

ในปัจจุบันอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับยุคสมัย ดังที่อดีตอธิบดีกรมศิลปากร อาจารย์เกรียงไกร<br />

สัมปัชชลิต ได้กล่าวไว้ว่า “...พิพิธภัณฑ์หรือการจัดแสดงนิทรรศการไม่สามารถอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว<br />

ต้องมีองค์ประกอบในด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนและยุคสมัย...”<br />

นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต<br />

อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์<br />

ความละเอียดถี่ถ้วนในขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กลั่นกรองจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านได้ทำให้<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์พร้อมที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ดังที่ <br />

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ได้กล่าวไว้ว่า “...นิทรรศน์<br />

รัตนโกสินทร์ได้แสดงให้เห็นตัวตนของบรรพบุรุษ ผ่านนิทรรศการเคลื่อนไหว สร้างความอิ่มเอมเปรมใจ<br />

แก่คนทุกเพศทุกวัย เก็บเกี่ยวเติมเต็มให้แก่ตนเอง และสะท้อนให้เห็นตัวตนของเราในปัจจุบัน...”<br />

นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร<br />

อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ<br />

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้นิทรรศน์รัตนโกสินทร์เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ครบวงจรที่สุดใน<br />

เกาะรัตนโกสินทร์ดังที่ ดร. ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล ผู้อำนวยการอุทยานการเรียนรู้ได้กล่าวว่า “...นิทรรศน์<br />

รัตนโกสินทร์ มีร้านค้า มีร้านกาแฟ มีร้านขายของที่ระลึก มีรูปแบบเหมือนพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ<br />

และที่เพิ่มเติมมาคือ ห้องสมุด ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่จะมาใช้บริการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม...”<br />

ดร. ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล<br />

ผู้อำนวยการอุทยานการเรียนรู้ (TK Park)<br />

354


นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ<br />

ในระดับประเทศ ในสาขาวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ โบราณคดี อักษรศาสตร์ สถาปัตยกรรม<br />

นิเทศศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ได้ให้ข้อเสนอแนะอันมีประโยชน์เป็นอย่างมาก และได้ทำให้นิทรรศน์<br />

รัตนโกสินทร์ เป็น “นิทรรศการที่มีชีวิต” สมดังเจตนารมณ์<br />

<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี<br />

อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ไม่เพียงเท่านั้นทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอันจะเกื้อหนุนให้เกิด<br />

ความยั่งยืนได้ สมดังที่ ดร. สิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและอดีต<br />

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “...เป็นความรับผิดชอบของพวกเราทุกคน ที่ต้องร่วมมือกัน<br />

คืนสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม...นิทรรศน์รัตนโกสินทร์เป็นของขวัญที่ล้ำค่าที่เราตั้งใจมอบให้แก่คนไทยทุกคน...”<br />

<br />

ดร. สิริกร มณีรินทร์<br />

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ<br />

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข<br />

ประธานกรรมการอุทยานการเรียนรู้ (TK Park)<br />

<br />

ไม่เพียงเท่านั้น กิจกรรมและสื่อประเภทต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังที่ <br />

รศ.ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์ ได้กล่าวไว้ว่า “...จำเป็นมากเลยที่จะต้องทำต่อเนื่องก็คือเรื่องของ<br />

กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กรุ่นใหม่ได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย...ด้วยกิจกรรมพิเศษ<br />

หรือสื่อง่ายๆ เช่น การระบายสี หรือสื่อมัลติมีเดีย ที่จะช่วยให้เขาคิดต่อ ฝันต่อ อยากเที่ยวต่อ <br />

อยากเรียนรู้ต่อ...”<br />

รศ.ดร. ปาริชาต สถาปิตานนท์<br />

รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

การเปิดมิติทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม รศ.ดร. กรรณิการ์ สัจกุล อาจารย์<br />

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการศึกษาไทยมาเป็นเวลานานได้กล่าวว่า<br />

“...นิทรรศน์รัตนโกสินทร์แสดงให้เห็นทั้งกระบวนการเรียนรู้ เพื่อที่ครูบาอาจารย์และเด็กจะได้เรียนรู้<br />

และเข้าใจประวัติศาสตร์วัฒนธรรมได้ตามเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กัน...”<br />

รศ.ดร. กรรณิการ์ สัจกุล<br />

อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ในส่วนของการจัดแสดง นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ใช้วิธีการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย <br />

ทำให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปศึกษาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างสนุกสนาน อาจารย์วัฒนะ บุญจับ ได้กล่าวถึง<br />

ประเด็นนี้ไว้ว่า “...เทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันช่วยให้นิทรรศการเหล่านี้มีชีวิตขึ้นมาได้ <br />

ช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับนิทรรศการ อันนี้เป็นอันหนึ่งที่จะช่วยให้นิทรรศการ<br />

มีชีวิตขึ้นมา เป็นเรื่องค่อนข้างสมัยใหม่ที่เรามาใส่ไว้...”<br />

นายวัฒนะ บุญจับ<br />

นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร<br />

355


บรรณานุกรม<br />

กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ<br />

เจ้าฟ้า. เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ<br />

: <br />

บรรณกิจ, ๒๕๕๐.<br />

กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ<br />

เจ้าฟ้า. แม่เล่าให้ฟัง. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, <br />

๒๕๕๐.<br />

การปกครอง, กรม. กระทรวงมหาดไทย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

พระผู้อยู่ในหัวใจนักปกครอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสา<br />

รักษาดินแดน, ๒๕๔๒.<br />

คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. ๙ แผ่นดินของการปฏิรูป<br />

ระบบราชการ. กรุงเทพฯ : บริษัทวิชั่นพริ้นแอนด์มีเดีย <br />

จำกัด, ๒๕๔๙.<br />

คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, <br />

สำนักงาน. อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. <br />

กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๙.<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ใต้ร่มพระบารมีพระบรมธรรมิกราชา. กรุงเทพฯ <br />

: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐.<br />

ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. วรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. <br />

พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๓๔. <br />

เทพชู ทับทอง. กรุงเทพฯ ในอดีต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, <br />

๒๕๒๕.<br />

นิยะดา เหล่าสุนทร. การฟื้นฟูอักษรศาสตร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ <br />

: แม่คำผาง, ๒๕๓๙.<br />

นิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคม. ๑๐๐ ปี <br />

พระราชสมัญญานาม พระปิยมหาราชกับการศึกษาไทย. <br />

กรุงเทพฯ : บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน), <br />

๒๕๕๑.<br />

บุษยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, คุณหญิง [บรรณาธิการ]. พระมหากษัตริย์<br />

ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เล่ม ๑-๙. กรุงเทพฯ : บริษัท <br />

อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ม.ป.ท.<br />

ผังเมือง, สำนัก. กรุงเทพมหานคร. สองศตวรรษวัดสุทัศนเทพวราราม. <br />

กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด <br />

(มหาชน), ๒๕๔๙.<br />

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงาน. พระมหากษัตริย์<br />

กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงาน<br />

พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ๒๕๓๙.<br />

ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, <br />

๒๕๕๐. <br />

ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : บริษัทเงินทุน<br />

หลักทรัพย์ทิสโก้, ๒๕๓๒.<br />

ยุพร แสงทักษิณ. วรรณคดีการเมืองเรื่องสามกรุง. กรุงเทพฯ : มติชน, <br />

๒๕๓๘.<br />

ราชเลขาธิการ, สำนัก. มรดกสถาปัตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ฯ. กรุงเทพฯ <br />

: โรงพิมพ์กรุงเทพ, ๒๕๓๗.<br />

. สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๑ และ ๒. <br />

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ, ๒๕๓๑.<br />

ราชเวที, พระ และคณะ [เรียบเรียง]. วิหารพระนอนวัดโพธิ์. กรุงเทพฯ <br />

: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, ๒๕๔๙.<br />

วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล. กรุงเทพฯ <br />

: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๒๗.<br />

วิไลเลขา บุรณศิริ และคณะ. ประวัติศาสตร์ไทย ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔. กรุงเทพฯ <br />

: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๓๙.<br />

ศิลปากร, กรม. เครื่องแต่งกายละคร และการพัฒนา : การแต่งกายยืนเครื่อง<br />

ละครในของกรมศิลปากร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๔๗.<br />

. สถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง <br />

แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๘.<br />

. อนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์<br />

พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.<br />

สลากกินแบ่งรัฐบาล, สำนักงาน. จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์. พิมพ์ครั้งที่ <br />

๓. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๓๘.<br />

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว, โครงการ. สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก. <br />

พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๗.<br />

อนุมานราชธน, พระยา. ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : <br />

ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๑.<br />

อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น [เรียบเรียง]. ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตย<br />

ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : โรงพิมพ์<br />

ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๓.<br />

อำนวยการจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, <br />

คณะกรรมการ. การเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จ<br />

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ. ๑๑๖ เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. <br />

กรุงเทพฯ : บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๔๒.<br />

เอนก นาวิกมูล [รวบรวม]. สิ่งพิมพ์สยาม. กรุงเทพฯ : ริเวอร์ บุ๊คส์, ๒๕๔๒.<br />

Beek, Steve Van. Bangkok Then and Now. Bangkok: AB Publications, <br />

2008.<br />

Chandavij, Natthapatra and Promporn Pramualratana. Thai Puppets & <br />

Khon Masks. Bangkok: River Book Ltd., 1998.<br />

Mcquail, Lisa. Treasures of Two Nations. Washington: Asian Cultural <br />

History Program Smithsonian Institution, 1997.<br />

Warren, William and Manit Sriwanichpoom. Treasured Homes of <br />

Thailand. Bangkok: Amarin Printing and Publishing (PCL) <br />

Co., Ltd., 2003. <br />

Wright, Arnold and Oliver T. Breakspear. Twentieth Century <br />

Impression of Siam: Its History, People, Commerce, <br />

Industries, and Resources. Bangkok: White Lotus Co., Ltd., <br />

2003.<br />

<br />

356


ถ.ตะนาว<br />

ไปสนามหลวง<br />

พระบรมมหาราชวัง<br />

วัดสุทัศนเทพวราราม<br />

<br />

ถ.บำรุงเมือง<br />

เสาชิงช้า<br />

ถ.มหรรณพ<br />

ถ.ราชดำเนินกลาง<br />

อนุสาวรีย์<br />

ประชาธิปไตย<br />

วัดบวรนิเวศวิหาร<br />

ถ.ดินสอ<br />

ถ.มหาไชย<br />

ถ.สำราญราษฎร์<br />

วัดเทพธิดาราม<br />

โลหะปราสาท<br />

วัดสระเกศ<br />

ป้อมมหากาฬ<br />

ถ.ราชดำเนินกลาง<br />

ถ.พระสุเมรุ<br />

ถ.ราชดำเนินนอก<br />

ลานพลับพลา<br />

มหาเจษฎาบดินทร์<br />

พิพิธภัณฑ์หอศิลป์<br />

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ<br />

พิพิธภัณฑ์พระบาท<br />

สมเด็จพระปกเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว<br />

ภูเขาทอง<br />

วันและเวลาทำการ เปิดให้บริการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์<br />

อังคาร - ศุกร์ เวลา ๑๑.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.<br />

เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.<br />

เปิดให้เข้าชมเป็นรอบ ทุกๆ ๒๐ นาที<br />

*รอบเข้าชมสุดท้าย เวลา ๑๘.๐๐ น.<br />

อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ราคา ๑๐๐ บาท (ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ)<br />

เข้าชมฟรี สำหรับ<br />

v เด็ก (สูงไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตร)<br />

v นักเรียน นักศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี) ในเครื่องแบบหรือแสดงบัตร<br />

v พระภิกษุ สามเณร และนักบวช<br />

v ผู้สูงอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป)<br />

v ผู้พิการ<br />

การเดินทาง รถประจำทาง : สาย ๒, ๓, ๙, ๑๕, ๓๑, ๓๓, ๔๒, ๔๗, ๕๙, ๖๐, ๖๔, ๖๘, ๗๐, ๗๙<br />

๘๒, ๘๖, ๑๕๗, ๒๐๑, ๕๐๓, ๕๐๙<br />

ข้อแนะนำในการเดินทาง * ควรใช้บริการรถสาธารณะจะสะดวกที่สุด<br />

* รถยนต์ส่วนตัว ให้ใช้บริการที่จอดรถของอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

หรือใช้บริการที่จอดรถเอกชน และบริเวณวัดราชนัดดาราม (อัตราค่าบริการตามที่สถานที่นั้นกำหนด)<br />

*ท่านสามารถชมนิทรรศการแต่ละห้องได้ตามอัธยาศัย โดยไม่จำกัดเวลาภายในวันที่ระบุในบัตรเข้าชม<br />

ยกเว้น ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ ห้องเรืองรุ่งวิถีไทย และห้องดวงใจปวงประชา<br />

ซึ่งทางอาคารจำเป็นต้องขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าชมเฉพาะรอบเวลาที่ระบุไว้ในบัตรเข้าชมเท่านั้น <br />

<br />

ถ.หลานหลวง<br />

ถ.นครสวรรค์<br />

357


358<br />

<br />

คณะกรรมการ<br />

คณะกรรมการวิชาการ เพื่อการจัดตั้งอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

คณะที่ปรึกษา<br />

ดร. สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ<br />

นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต ที่ปรึกษาคณะกรรมการ<br />

นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ที่ปรึกษาคณะกรรมการ<br />

ดร. ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการ<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี ที่ปรึกษาคณะกรรมการ<br />

คณะกรรมการ<br />

พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานกรรมการ<br />

ดร. สิริกร มณีรินทร์<br />

กรรมการ<br />

ดร. ปาริชาติ สถาปิตานนท์<br />

กรรมการ<br />

ดร. กรรณิการ์ สัจกุล<br />

กรรมการ<br />

นายวัฒนะ บุญจับ<br />

กรรมการ<br />

นางวีนา โปรานานนท์<br />

กรรมการและเลขานุการ<br />

นายธนา คชาไพร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ<br />

นางสาววรรณรัตน์ ชัยสงคราม กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ<br />

<br />

ผู้ออกแบบแนวความคิด บูรณะ และปรับปรุงอาคาร <br />

รวมทั้งจัดทำนิทรรศการ “อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์”<br />

บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด<br />

คณะทำงานเพื่อให้ความเห็นและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ<br />

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

นายสมบูรณ์ ชัยเดชสุริยะ<br />

ประธานคณะทำงาน<br />

นางสาวสุภาภรณ์ ตรีแสน<br />

คณะทำงาน<br />

นางพัชรินทร์ วิจิตตนันท์<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวผ่องศรี สันติพันธุ์ คณะทำงาน<br />

นางวีนา โปรานานนท์<br />

คณะทำงาน<br />

นางกุลวดี สถิติรัต<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวชนกณัฐ สิมพะลิก<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวขนิษฐา ดนวาที<br />

คณะทำงาน<br />

นางจุฑามาศ ภิยโยทัย<br />

คณะทำงาน<br />

นางสุนีย์ สะเทือนวงษา<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวหทัยรัตน์ ยุภาศ<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวจิตรลดา พันธุ์เสือ คณะทำงาน<br />

นายธนา คชาไพร<br />

คณะทำงานและเลขานุการ<br />

นางศิริภร สัตยธรา คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ


คณะทำงานชุดย่อย เพื่อให้ความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางและกำกับดูแลการดำเนินงาน<br />

ของผู้รับผิดชอบบริหารจัดการอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ <br />

ด้านการประชาสัมพันธ์<br />

นางสาวสุภาภรณ์ ตรีแสน<br />

ประธานคณะทำงาน<br />

นางวีนา โปรานานนท์<br />

คณะทำงาน<br />

นางกุลวดี สถิติรัต<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวหทัยรัตน์ ยุภาส<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวชนกณัฐ สิมพะลิก<br />

คณะทำงาน<br />

นายธนา คชาไพร<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวจิตรลดา พันธุ์เสือ คณะทำงาน<br />

นายกำธร รัตนคำ<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาววราภรณ์ ทับน้อย<br />

คณะทำงานและเลขานุการ<br />

นายสิทธิพงศ์ จตุพรยิ่งยง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ<br />

ด้านบัญชีการเงิน<br />

นางสาวผ่องศรี สันติพันธุ์ ประธานคณะทำงาน<br />

นางสาวขนิษฐา ดนวาที<br />

คณะทำงาน<br />

นางสุนีย์ สะเทือนวงษา<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวชวิศา สุขวิลัย<br />

คณะทำงาน<br />

นางจันทร คุ้มขนาบ คณะทำงานและเลขานุการ<br />

นางณีรนุช พิภัทรอักษร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ<br />

ด้านการคัดกรองข้อมูลและความคิดเห็น<br />

นางกุลวดี สถิติรัต<br />

ประธานคณะทำงาน<br />

นางจุฑามาศ ภิยโยทัย<br />

คณะทำงาน<br />

นายธนา คชาไพร<br />

คณะทำงาน<br />

นางสาวปภัสสร ชื่นอารมณ์ คณะทำงานและเลขานุการ<br />

นางสาวสุรีนาฐ ด่านพิธพร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ<br />

ด้านการบริหารจัดการทั่วไป<br />

นางวีนา โปรานานนท์<br />

ประธานคณะทำงาน<br />

นายปรเมศร์ ไกรฤกษ์<br />

คณะทำงาน<br />

นายปัทมนิธิ เสนาณรงค์<br />

คณะทำงาน<br />

นายธนา คชาไพร<br />

คณะทำงาน<br />

นางศิริภร สัตยธรา<br />

คณะทำงาน<br />

นายสิทธิพงศ์ จตุพรยิ่งยง คณะทำงาน<br />

นางสาวสุดามาศ ชื่นฤดี คณะทำงานและเลขานุการ<br />

นางสาววรรณนิภา วรวงศ์เธอ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ<br />

<br />

359


อำนวยการผลิต<br />

ISBN<br />

ปีที่พิมพ์<br />

จำนวนพิมพ์<br />

บทอาศิรวาท<br />

กองบรรณาธิการ<br />

ศิลปกรรม<br />

เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพประกอบ<br />

พิมพ์ที่<br />

ดำเนินการผลิต<br />

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์<br />

978-974-8259-51-2<br />

พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕<br />

ปกแข็ง ๓,๐๐๐ เล่ม<br />

ปกอ่อน ๗,๐๐๐ เล่ม<br />

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์<br />

เลิศลักษณา ยอดอาวุธ<br />

เทอดศักดิ์ ร่มจำปา<br />

สุวิชญ์ หาญดำรงค์รักษ์<br />

เอนก มากอนันต์<br />

แก้วขวัญ นวลไม้หอม<br />

อัญเรศ รอดศาสตรา<br />

โสรยา บุนนาค<br />

นันทวรรณ อิทธิโชติ<br />

นันทิยา พูลกระจ่าง<br />

นวัต ดุสิตชยางกูร<br />

จักร์กริต จาตุรนต์รัศมี<br />

บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด<br />

RIGHT MAN CO.,LTD.<br />

บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)<br />

บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (หนึ่งในกลุ่มบริษัททีม)<br />

๑๕๑ ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์<br />

เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐<br />

โทรศัพท์ ๐๒ ๕๐๙ ๙๐๙๑-๒<br />

โทรสาร ๐๒ ๙๔๔ ๖๒๖๐<br />

360


จะกล่าวตำนานแห่งกรุงกวี<br />

เจ้าพระยาธารานทีเลาะรอบขอบโค้งคูคลองสองฝั่ง<br />

ก่อเกิดเป็นเมืองรุ่งเรืองอลัง<br />

มีถนนกำแพงรั้ววังยอดปราสาทสูงอำไพ<br />

ปวงประชาร่มเย็นล้วนเป็นสุขสืบกันมายาวนาน<br />

ใต้บรมโพธิสมภารพระองค์มิ่งขวัญแห่งปวงไทย<br />

ทวยเทวาคุ้มครองซ้องแซ่ประสาทอำนวยพรชัย<br />

ประกาศกรุงไกรยิ่งยศวิไลเลิศฟ้า<br />

ดั่งสวรรค์วิมานแมนแสนพิลาสงามตา<br />

เป็นดังคำสวยงามสง่าดุจมณีล้ำค่าของโลกนี้<br />

เอกลักษณ์ที่เป็นไทยมั่นในประเพณี<br />

สืบทอดกันมาชั่วนาตาปี<br />

ผ่านวิถีหนทางงามอย่างไทย<br />

รัตนโกสินทร์มณีบดินทร์สมัย<br />

ส่องแสงประกายสดใสยั่งยืนคู่กาลเวลา


ตราสัญลักษณ์<br />

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์<br />

ผสานรูปทรงที่แสดงออกถึงความเป็นรัตนโกสินทร์<br />

เข้ากับ นพรัตน์ แก้วสิริมงคลทั้ง ๙ ชนิด<br />

เพื่อสื่อถึงวัตถุประสงค์ของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ <br />

ที่ต้องการสะท้อนศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมอันมีคุณค่า<br />

และการผสมผสานกันของยุคสมัย<br />

ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา<br />

<br />

นพรัตน์<br />

แก้วสิริมงคล ๙ ชนิด ตามคติความเชื่อมาแต่โบราณ <br />

ผ่านกาลสมัยครั้งสถาปนากรุงเทพมหานคร<br />

เมืองอมรรัตนโกสินทร์จวบจนปัจจุบัน<br />

โคลงนพรัตน์<br />

เพชรดี<br />

มณีแดง ทับทิม<br />

เขียวใสแสง มรกต<br />

เหลืองใสสด บุษราคัม<br />

แดงแก่ก่ำ โกเมนเอก<br />

สีหมอกเมฆนิลกาฬ ไพลิน<br />

มุกดาหาร หมอกมัว<br />

แดงสลัว เพทาย<br />

สังวาลย์สาย ไพฑูรย์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!