11.07.2015 Views

อ่านฉบับเต็ม - กรมประมง

อ่านฉบับเต็ม - กรมประมง

อ่านฉบับเต็ม - กรมประมง

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รายงานประจําปี 25542.โครงการคอมพาร์ทเมนต์การจัดทําระบบคอมพาร์ทเมนต์ในกุ้งทะเลของประเทศไทย เริ่มดําเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 เป็นความร่วมมือระหว่างกรมประมงและสํานักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติจัดทําโครงการนําร่อง เพื่อจัดทําและทดสอบระบบฟาร์มคอมพาร์ทเมนต์กุ้งทะเล สําหรับประเทศไทยระบบคอมพาร์ทเมนต์ของกุ้งทะเล มีเป้าหมายในการควบคุมโรคไวรัสกุ้งตามประกาศของ OIE หรือตามที่ประเทศคู่ค้ากําหนด โดยมีระบบจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพ การควบคุมและเฝ้าระวังโรคเพื่อป้องกันความเสี่ยงการนําโรคไวรัสกุ้งเข้าไปแพร่ภายในฟาร์มคอมพาร์ทเมนต์ ข้อดีของฟาร์มคอมพาร์ทเมนต์ คือ ผลผลิตที่ได้จากคอมพาร์ทเมนต์สามารถส่งออกไปยังประเทศที่ต้องการได้ แม้ว่าจะมีการระบาดของโรคที่มีปัญหาทางการค้าอยู่ในส่วนอื่นของประเทศไทยก็ตาม นอกจากนี้คอมพาร์ทเมนต์แต่ละแห่งจะมีอิสระต่อกัน กล่าวคือ ถ้ามีโรคระบาดเกิดขึ้นในคอมพาร์ทเมนต์หนึ่งเฉพาะผลผลิตที่ได้จากคอมพาร์ทเมนต์นี้เท่านั้นที่ไม่สามารถส่งออกได้ ในขณะที่ผลผลิตจากคอมพาร์ทเมนต์อื่นยังคงส่งออกได้ตามปกติ สําหรับฟาร์มกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์น้ําจีเอพี หรือ มาตรฐานซีโอซี และมีระบบมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และเพื่อให้การการควบคุมโรคกุ้งในฟาร์มและพื้นที่กันชนของคอมพาร์ทเมนต์ มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักปฏิบัติ จะต้องมีมาตรการในการควบคุมโรคไวรัสกุ้งทะเล และกําหนดเป็นนโยบายชัดเจนโดยไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับ ซึ่งผลการจัดทําระบบการจัดการคอมพาร์ทเมนต์ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลนี้ จะทําให้ประเทศไทยได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากประเทศคู่ค้า มีส่วนช่วยให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศทําได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้นการจัดทําระบบคอมพาร์ทเมนต์ในกุ้งทะเลนั้น ฟาร์มหรือกลุ่มฟาร์มจะต้องเลี้ยงกุ้งทะเลชนิดเดียวกัน และมีสถานภาพปลอดจากโรคไวรัสกุ้งที่เป็นเป้าหมายที่กําหนด ภายใต้การจัดการความปลอดภัยทางชีวภาพร่วมกัน โดยคํานึงถึงขอบเขตทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องมีมาตรการการเฝ้าระวังและควบคุมโรค รวมถึงมีมาตรการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยที่ฟาร์มกุ้งจะต้องได้รับมาตรฐานฟาร์มเจเอพีหรือซีโอซี และจะต้องจัดทําคู่มือ 2 ฉบับ คือ คู่มือการเลี้ยงกุ้งประจําฟาร์มตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งที่ดีและคู่มือมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยความปลอดภัยทางชีวภาพ1. คู่มือฟาร์มตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ดี จีเอพี (Good AquaculturePractice, GAP) หรือ ซีโอซี (Code of Conduct, CoC) ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประสงค์จัดทําระบบคอมพาร์ทเมนต์ทุกฟาร์ม ต้องจัดทําคู่มือการเลี้ยงประจําฟาร์ม สําหรับเป็นคู่มือประกอบการเลี้ยงกุ้งของฟาร์มนั้นๆ สาระสําคัญของคู่มือฟาร์มตามมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ดี ประกอบด้วยสถานที่และการขึ้นทะเบียนฟาร์ม การจัดการฟาร์ม การใช้ยาสัตว์ สารเคมีวัตถุอันตรายและผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ํา การจัดการน้ําทิ้งและดินเลน พลังงานและน้ํามันเชื้อเพลิงสุขอนามัยภายในฟาร์ม การเก็บเกี่ยว และการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวก่อนการขนส่งออกจากฟาร์มแรงงานและสวัสดิการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และ การบันทึกข้อมูล2. คู่มือมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นคู่มือที่กล่าวถึงสภาพทั่วไปของฟาร์มและข้อกําหนดมาตรการควบคุมจุดวิกฤตของฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลได้แก่ การจัดการฟาร์ม การจัดการทรัพยากรน้ํา การจัดการบุคลากร การจัดการสุขภาพกุ้งทะเล การจัดการด้านอาหารกุ้ง และการปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในภาวะฉุกเฉิน การเก็บเกี่ยว28

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!