25.04.2018 Views

The Medical news february 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

2<br />

MAT - ISSUE 2 - FEBRUARY <strong>2018</strong><br />

“ประธานโครงการสมาชิกสัมพันธ์<br />

และประธานฝ่ายพิจารณาทุนต่างๆ”<br />

ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์<br />

โทร. 081-821-4593<br />

สำหรับโครงการแนะแนวนักศึกษาแพทย์ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547<br />

โดยให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทย์สถาบัน<br />

ต่างๆ ทั่วประเทศได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับในปี 2561 ได้รับการ<br />

ประสานงานจากคณะแพทย์ต่างๆ ขอเชิญไปบรรยายให้ความรู้สำหรับนักศึกษา<br />

แพทย์ ดังนี้ 1) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในวันที่ 29 มี.ค.<br />

2561 2) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (องครักษ์) ใน<br />

วันที่ 9 เม.ย. 2561 3) วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 9<br />

เม.ย. 2561 4) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในวันที่ 9 เม.ย.<br />

2561 5) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ในวันที่ 10 เม.ย. 2561 6)<br />

ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ในวันที่ 28 เม.ย. 2561<br />

ถ้าสมาชิกแพทยสมาคมฯ ท่านใดสนใจติดต่อได้ที่ส ำนักงานแพทยสมาคมฯ<br />

ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ<br />

10310 โทร. 02-314-4333 หรือ 02-318-8170, E-mail Address: math@<br />

loxinfo.co.th<br />

“ข่าวจากหัวหน้าบรรณาธิการ จพสท.”<br />

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี<br />

โทร. 081-830-4283<br />

Email : amorn.lee@mahidol.ac.th<br />

จพสท. กำลังถอดล้าง DNA ให้ใหม่เอี่ยมอยู่นะครับ โดยมีประเด็น<br />

สำคัญหลายเรื่องที่จะเป็นเรื่องใหม่หรือเรื่องที่จะอธิบายใช้สมาชิก จพสท.<br />

ฟัง ตัวอย่าง คือ การมี impact factor ของ จพสท. และเรื่องอื่นๆ ซึ่งจะ<br />

กล่าวต่อไป<br />

บางท่านอาจจะเห็นค่า impact factor ของวารสารต่างๆ ปรากฏอยู่ใน<br />

หน้า web ของวารสารบางเล่ม อีกทั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ก็มุ่งเน้นให้<br />

อาจารย์ตีพิมพ์บทความวิจัยของตนในวารสารที่มีค่า impact factor (IF) สูงๆ<br />

ยิ่งตีพิมพ์ได้ในวารสารที่มีค่าสูง มหาวิทยาลัยยิ่งให้เงินรางวัลกลับมายังอาจารย์<br />

ที่ตีพิมพ์มากขึ้นด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ ไม่ทราบว่าในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย<br />

ทั่วโลกผู้จัดอันดับมหาวิทยาลัยนับค่า IF มาใส่ในคะแนนจัดอันดับด้วยหรือไม่<br />

หรือการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ยังเน้นค่า<br />

IF มากกว่าเนื้อหาผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ตีพิมพ์หรือไม่?<br />

ต้นตอของค่า impact factor เริ่มมาจากความคิดของ Thomson<br />

Reuters ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่มุ่งหากำไรว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบาง<br />

เล่ม จะถูกอ้างอิงกันบ่อยกว่าในวารสารเล่มอื่นๆ จึงจัดให้มีการคำนวณค่า IF<br />

เกิดขึ้นเพื่อดูความ popularity ของวารสารบางเล่ม หลายคนคิดว่า คุณภาพ<br />

ของบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มี IF สูงจะสูงตามไปด้วย อย่างไร<br />

ก็ตาม ค่านี้เพียงแต่บอก popularity ของวารสารเล่มนั้นเท่านั้น ไม่ได้บ่งชี้<br />

โดยตรงไปที่คุณภาพของบทความของผู้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนั้นแต่อย่างใด<br />

เราเคยเชิญวิทยากรจาก Thomson Reuters มาพูดในการประชุมนานาชาติ<br />

APAME 2016 ที่กรุงเทพ เขาก็บอกว่า ต้องการดูว่า ความนิยมของวารสาร<br />

ความถี่ในการเป็นที่อ้างอิงในเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์<br />

ก็เท่านั้น แต่พวกเรานำค่า IF ไปใช้ในทางอื่น (ที่ผิดๆ) เอง เขาไม่ได้เกี่ยวข้อง<br />

ด้วย เนื่องจากสถาบันหลายแห่งตั้งเกณฑ์ว่า ต้องตีพิมพ์ในวารสารทีมี impact<br />

factor สูง (ตาม Thomson Reuters) จึงจะให้ค่าตอบแทนหรือออกค่าตี<br />

พิมพ์บทความให้ ทำให้นักวิชาการรุ่นใหม่หรือผู้ทำวิจัยในเรื่องที่ไม่ popular<br />

จะมีโอกาสน้อยที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูงๆ ทั้งๆ ที่<br />

คุณภาพของบทความจะสูงดีเท่า impact factor ของวารสารนั้น หรือสูงกว่า<br />

ก็ได้ แต่การไปตีพิมพ์แล้ว ไม่ได้หมายความว่า บทความของท่านจะมีการนำไป<br />

อ้างอิงถี่บ่อย เหมือนค่า IF ของวารสาร เลย<br />

“สารจากผู้รั้งตำาแหน่งนายก<br />

แพทยสมาคมฯ”<br />

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี<br />

Email : amorn.lee@mahidol.ac.th<br />

สมาชิกจะสังเกตเห็นว่า แพทยสมาคมฯ ทำกิจกรรมในด้านการดูแล<br />

สวัสดิการของสมาชิก เร่งทำบัตร SCB First เพื่อช่วยแพทย์ให้ได้รับ<br />

ความสะดวกสบาย จนธนาคารทำบัตรให้ไม่ทันสมาชิกบางท่านเริ่มจะหงุดหงิดที่<br />

ยังไม่ได้บัตร ก็ขอให้อดทนคอยอีกนิดเพราะธนาคารกำลังเร่งทำอยู่ ท่านนายกฯ<br />

ก็ตามติดในเรื่องนี้ตลอดเวลา แพทยสมาคมฯ ส่งเสริมการมีสุขภาพดีโดยเชิญ<br />

ชวนสมาชิกของหลาย ๆ สภาวิชาชีพให้มาออกกำลังกายร่วมกัน ตอนนี้กำลัง<br />

เตะฟุตบอลกันอยู่ เท่ากับเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหลายๆ อาชีพ<br />

กับแพทย์ น่าจะเกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันในด้านสาธารณประโยชน์<br />

และสุขภาพของประชากรได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายแพทยสมา<br />

คมฯ กับกลุ่มประชาชนหรือผู้ป่วยในโรคต่างๆ เพื่อช่วยให้เขามีสุขภาพดีนานๆ<br />

ก่อนจะป่วยจริงๆ อาจจะจัดให้มีการสื่อสารให้ความรู้ต่างๆ ในการป้องกันโรค<br />

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปี รวมทั้งนำกีฬาง่ายๆ มาเล่นแข่งขันกันบ้าง<br />

ก็ได้ เช่น นำมาแข่งปิงปองกันบ้าง ก็ได้ ผมเห็นว่า แพทยสมาคมฯ ตอนนี้<br />

ออกตัวแรงขึ้นเรื่อยๆ แพทยสมาคมกับแพทยสภาก็เข้ามาใกล้ชิดมากขึ้น ในปีนี้<br />

ในโอกาสครบ 50 ปีการตั้งแพทยสภา ขอเชิญชวนสมาชิกของแพทยสมาคมฯ<br />

เข้าร่วมประชุมวิชาการครบ 50 ปี แพทยสภา ระหว่างวันที่ 20 ถึง 22 มิถุนายน<br />

ที่ IMPACT FORUM ชั้นที่ 2 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ด้วยนะครับ ไปดู<br />

ไปฟังกันว่า แพทยสภาอายุ 50 ปี ได้ทำอะไรดีๆ เพื่อประชาชน ผู้ป่วย ระบบ<br />

สุขภาพ และเพื่อแพทย์ และ เวชปฏิบัติอะไรมาบ้าง แล้วจะทำอะไรดีๆ ต่อเนื่อง<br />

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์และประชาชน<br />

ส่วนแพทยสมาคมฯ มีอายุแก่กว่ามาก ปีนี้ก็ 89 ปีแล้วนะครับ ที่แก่สุด<br />

ในแพทยสมาคมฯ คือ จพสท. อายุไปถึง 100 ปี กำลังถูกยกเครื่อง ถอดล้าง<br />

DNA ให้ดูใหม่อยู่พอดีครับ<br />

“เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ<br />

ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ”<br />

วันที่ 15 มี.ค. 2561 เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ “HA National Forum”<br />

ครั้งที่ 19 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จัดโดยสถาบันรับรองคุณภาพ<br />

สถานพยาบาล (องค์การมหาชน)<br />

วันที่ 22 มี.ค. 2561 เข้าร่วมนำเสนอข้อเสนอโครงการ/แผนงาน ปี 2561-<br />

2563 ต่อคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 1 ณ ห้องประชุม 501 อาคาร<br />

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซ.งามดูพลี เขตสาทร โดยประธานเครือข่ายฯ นพ.วันชาติ<br />

ศุภจัตุรัส และ รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ไปเข้าร่วมการน ำเสนอข้อเสนอโครงการ<br />

วันที่ 26-28 มี.ค. 2561 เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุข<br />

ภาพฯ และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ จัดงานประชุม “มหกรรมวิชาการฟ้าใส<br />

2561” ณ ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร และห้องพัชรกิติยาภา ชั้น P3 อาคาร<br />

เฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ<br />

วันที่ 26 มี.ค. 2561 สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ จัดการประชุมใหญ่สามัญ<br />

ประจำปี 2561 ณ ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี<br />

๕๐ ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดยมีการมอบรางวัลบุคคลต้นแบบ<br />

เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ องค์กรต้นแบบเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และ<br />

สถานประกอบการปลอดบุหรี่ดีเด่น<br />

ในช่วงบ่ายมีพิธีมอบรางวัลเพชรนครา ประจำปี 2560 โดยมอบให้แก่<br />

สถานพยาบาลปลอดบุหรี่ดีเด่น ชุมชนต้นแบบ และมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ดีเด่น<br />

คลินิก NCD ฟ้าใสดีเด่น (ด้านการดำเนินงาน นวัตกรรม และบุคลากร)<br />

วันที่ 28 มี.ค. 2561 เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพฯ จัดงานพิธีมอบรางวัล “ศิลปิน<br />

ดารา และสื่อสารมวลชนเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” ครั้งที่ 9ณ ห้องประชุม<br />

สยามมกุฎราชกุมาร และห้องพัชรกิติยาภา ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี<br />

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!