25.04.2018 Views

The Medical news february 2018

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

Newsletter<br />

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ<br />

<strong>The</strong> <strong>Medical</strong> Association of Thailand<br />

“นายกฯ แถลง”<br />

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์<br />

e-mail: ronnachaikong@gmail.com<br />

สวัสดีสมาชิกแพทยสมาคมฯ ทุกท่านครับ ฉบับที่แล้วเราได้ร่วมรำลึกถึงจาก<br />

ประศาสตร์ และความภาคภูมิใจใน แพทยสมาคมฯ องค์กรของเรา พร้อมกันนี้<br />

ได้นำเรียนสมาชิกทุกท่าน เพื่อทราบถึง วิสัยทัศน์ 2 ปี (3C 2S) ซึ่งกระผมกับ<br />

คณะกรรมการฯ จะร่วมกันทำงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของแพทยสมาคมฯ และ<br />

สมาชิกแพทย์ทุกท่าน ในฉบับนี้กระผมจะขอขยายความ วิสัยทัศน์ ที่ได้แถลงต่อ<br />

ที่ประชุมแพทยสมาคมฯ ประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2561 โดยมีสาระ<br />

สำคัญดังนี้<br />

C ตัวที่หนึ่ง Commitment to Security คือ มุ่งมั่น สร้างเสริม สวัสดิภาพ<br />

และความมั่นคงในวิชาชีพ ของสมาชิกแพทยสมาคมฯ แพทย์มีบทบาทหน้าที่และ<br />

ความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นแพทยสมาคมฯ จะมุ่งมั่น สร้าง<br />

เสริม สวัสดิภาพ รวมทั้งจัดให้มีสวัสดิการที่เหมาะสมต่อการประกอบวิชาชีพ โดย<br />

จะมีการหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที ่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้<br />

เกิดความมั่นคงในวิชาชีพแพทย์<br />

C ตัวที่สอง Continuity คือ มุ่นมั่นสืบสาน แนวทาง จิตวิญญาณ ของ<br />

แพทยสมาคมฯ ดังที่แพทยสมาคมฯ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีการพัฒนา เกิด<br />

ความก้าวหน้า ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ ซึ่งเกิดจากความต่อเนื่องในการท ำงาน<br />

ของทีมผู้บริหารแพทยสมาคมฯ ทุกยุค ทุกสมัย ก่อให้แพทยสมาคมฯ เกิดความ<br />

มั่นคงเป็นหลักในสังคมไทย ดังนี้ทีมบริหารแพทยสมาคมฯ วาระสมัยนี้ จึงมุ่งมั่น<br />

ที่จะสืบสานแนวทาง จิตวิญญาณ รวมทั้งสานต่อในงานต่างๆ ให้เกิดความต่อเนื่อง<br />

C ตัวที่สาม Connectivity คือ สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรทางการแพทย์<br />

ระหว่างประเทศ ข้อนี้ถือเป็น ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของแพทยสมาคมฯ เพื่อจะได้<br />

พัฒนาความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิด อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความร่วมมือ<br />

ทางวิชาการ การศึกษา และร่วมกันทำงานเพื่อสังคมแพทย์ในระดับนานาชาติ<br />

เจ้าของ : แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ที่อยู่ : ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย<br />

ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10310<br />

โทร. 0-2314-4333, 0-2318-8170 โทรสาร. 0-2314-6305<br />

ที่ปรึกษา : ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์,<br />

นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์, พล.ต.ต.นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์<br />

กองบรรณาธิการ : ผศ.ดร.นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร,<br />

ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์, คุณศุภธิดา เพ็งแจ้ง,<br />

คุณเกษร สุวชัย, คุณงามเนตร ศิรเลิศมุกุล, คุณเอกชาคริต บุญเพ็ญ<br />

สนใจติดต่อรับได้ที่แพทยสมาคมฯ<br />

หมายเหตุ : ขอขอบคุณวารสาร <strong>Medical</strong> Times ที่ช่วยแจกจ่าย<br />

จดหมายข่าวให้กับแพทย์ทั่วประเทศโดยไม่คิดมูลค่า<br />

อ่านต่อหน้า 3<br />

“สารจากเลขาธิการฯ”<br />

ศ.ดร.นพ.ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์<br />

Email : ptomtitchong@gmail.com<br />

สวัสดีครับท่านสมาชิกแพทยสมาคมฯ ที ่รักทุกท่าน แพทยสมาคมฯ<br />

โดยการนำของนายกแพทยสมาคมฯ ท่านใหม่ได้เริ่มดำเนินงานตามวิสัยทัศน์<br />

2 ปี (3C 2S) ผ่าน 9 โครงการ ที่ได้แถลงไว้เมื่อปลายเดือนมกราคม 2561<br />

ได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็วครับ โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะมีโครงการ<br />

หลากหลายที่ได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกัน เช่น โครงการ<br />

บัตร SCB first ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ<br />

Financial Sustain and Secure ที่มุ่งสร้างฐานะทางการเงินของสมาชิก<br />

ให้มั่นคงและยั่งยืน โครงการ patient supporting group ซึ่งผมได้มี<br />

โอกาสเข้าร่วมประชุมคือ ชมรมกลุ่มโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2561<br />

และได้มีมติจะสนับสนุนโครงการ Blue circle โดยจะผลักดันให้เกิดผล<br />

การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในปีนี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการ Regional<br />

Members Activities ที่ทีมผู้บริหารแพทยสมาคมฯ จะได้มีโอกาสพบปะ<br />

กับพี่น้องเพื่อนแพทย์จากเขตต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างความ<br />

เข้าใจบทบาทของแพทยสมาคมฯต่อสมาชิก ทั้งนี้ในช่วงเดือน กพ. 61-มี.ค.<br />

61 แพทยสมาคมฯ จะได้มีโอกาสพบเพื่อนแพทย์ผ่านทางจัดการประชุม<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนอกสถานที่<br />

(สป.สธ.สัญจร) ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดพิษณุโลก (เขตสุขภาพเพื่อประชาชน<br />

เขตที่ 2) ในวันที่ 26 ก.พ. 2561 ติดตามมาด้วยโครงการแพทยสมาคมฯ<br />

พบเพื่อนแพทย์ตามเขตสุขภาพฯ เช่น เขต 6 ที่จังหวัดชลบุรีในวันที่ 15 มี.ค.<br />

2561 และเขต 9 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ในวันที่ 19 มี.ค. 2561<br />

นอกจากนี้ยังมีโครงการ Health Professional Alliance นำโดย<br />

ท่านอดีตนายกฯ สารเนตร์ที่จะได้พบปะกับคณะทำงานจากที่สมาคมพยาบาล<br />

แห่งประเทศไทยฯ ในวันที่ 21 มี.ค. 2561 อีกทั้งยังมีโครงการแข่งขันฟุตบอล<br />

ระหว่างวิชาชีพ <strong>2018</strong> ที่ทีมแพทย์กำลังเริ่มแข่งนัดเปิดสนามดังรายละเอียด<br />

ใน Hot News ของท่านรองเลขาธิการครับ<br />

นอกจากโครงการ Health care in Danger นำโดยท่านอดีต<br />

นายกฯ ประเสริฐ ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยในการทำงานสร้างภูมิคุ้มกัน<br />

การทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการการแพทย์แล้ว ยังมีโครงการที่เน้น<br />

ด้านคุณภาพชีวิต คือ โครงการ <strong>Medical</strong> Practice Improvement<br />

ที่ดำเนินการโดย นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธานองค์กรแพทย์ รพ.ราชบุรี<br />

ร่วมกับแพทยสมาคมฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการสัมมนา เรื่อง Safe<br />

and Healthy Workplace สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา ใน<br />

วันที่ 30 มี.ค. 2561 เวลา 08.30-15.30 น. ที่ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร<br />

กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ทุกท่านได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้<br />

อย่างเต็มที่<br />

สุดท้ายขอแจ้งเรื ่องการดำเนินการจัดการประชุมวิชาการ ซึ่งในปีนี้<br />

จะจัดที่จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 10-11 ก.ย. 2561 ซึ่งได้เรียนเชิญอดีตนายก<br />

รัฐมนตรีท่านชวน หลีกภัย มาเป็นองค์ปาฐกจึงขอเรียนเชิญเพื่อนสมาชิก<br />

ได้ลงตารางเวลาไว้ล่วงหน้าเพื่อจะได้มาประชุมร่วมกันครับ<br />

http://www.mat-thailand.org<br />

e-mail : math@loxinfo.co.th


2<br />

MAT - ISSUE 2 - FEBRUARY <strong>2018</strong><br />

“ประธานโครงการสมาชิกสัมพันธ์<br />

และประธานฝ่ายพิจารณาทุนต่างๆ”<br />

ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์<br />

โทร. 081-821-4593<br />

สำหรับโครงการแนะแนวนักศึกษาแพทย์ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2547<br />

โดยให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทย์สถาบัน<br />

ต่างๆ ทั่วประเทศได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี สำหรับในปี 2561 ได้รับการ<br />

ประสานงานจากคณะแพทย์ต่างๆ ขอเชิญไปบรรยายให้ความรู้สำหรับนักศึกษา<br />

แพทย์ ดังนี้ 1) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในวันที่ 29 มี.ค.<br />

2561 2) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ (องครักษ์) ใน<br />

วันที่ 9 เม.ย. 2561 3) วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 9<br />

เม.ย. 2561 4) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในวันที่ 9 เม.ย.<br />

2561 5) วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ในวันที่ 10 เม.ย. 2561 6)<br />

ศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ในวันที่ 28 เม.ย. 2561<br />

ถ้าสมาชิกแพทยสมาคมฯ ท่านใดสนใจติดต่อได้ที่ส ำนักงานแพทยสมาคมฯ<br />

ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ<br />

10310 โทร. 02-314-4333 หรือ 02-318-8170, E-mail Address: math@<br />

loxinfo.co.th<br />

“ข่าวจากหัวหน้าบรรณาธิการ จพสท.”<br />

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี<br />

โทร. 081-830-4283<br />

Email : amorn.lee@mahidol.ac.th<br />

จพสท. กำลังถอดล้าง DNA ให้ใหม่เอี่ยมอยู่นะครับ โดยมีประเด็น<br />

สำคัญหลายเรื่องที่จะเป็นเรื่องใหม่หรือเรื่องที่จะอธิบายใช้สมาชิก จพสท.<br />

ฟัง ตัวอย่าง คือ การมี impact factor ของ จพสท. และเรื่องอื่นๆ ซึ่งจะ<br />

กล่าวต่อไป<br />

บางท่านอาจจะเห็นค่า impact factor ของวารสารต่างๆ ปรากฏอยู่ใน<br />

หน้า web ของวารสารบางเล่ม อีกทั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ก็มุ่งเน้นให้<br />

อาจารย์ตีพิมพ์บทความวิจัยของตนในวารสารที่มีค่า impact factor (IF) สูงๆ<br />

ยิ่งตีพิมพ์ได้ในวารสารที่มีค่าสูง มหาวิทยาลัยยิ่งให้เงินรางวัลกลับมายังอาจารย์<br />

ที่ตีพิมพ์มากขึ้นด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ ไม่ทราบว่าในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย<br />

ทั่วโลกผู้จัดอันดับมหาวิทยาลัยนับค่า IF มาใส่ในคะแนนจัดอันดับด้วยหรือไม่<br />

หรือการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ยังเน้นค่า<br />

IF มากกว่าเนื้อหาผลงานวิจัยของอาจารย์ที่ตีพิมพ์หรือไม่?<br />

ต้นตอของค่า impact factor เริ่มมาจากความคิดของ Thomson<br />

Reuters ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่มุ่งหากำไรว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบาง<br />

เล่ม จะถูกอ้างอิงกันบ่อยกว่าในวารสารเล่มอื่นๆ จึงจัดให้มีการคำนวณค่า IF<br />

เกิดขึ้นเพื่อดูความ popularity ของวารสารบางเล่ม หลายคนคิดว่า คุณภาพ<br />

ของบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มี IF สูงจะสูงตามไปด้วย อย่างไร<br />

ก็ตาม ค่านี้เพียงแต่บอก popularity ของวารสารเล่มนั้นเท่านั้น ไม่ได้บ่งชี้<br />

โดยตรงไปที่คุณภาพของบทความของผู้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนั้นแต่อย่างใด<br />

เราเคยเชิญวิทยากรจาก Thomson Reuters มาพูดในการประชุมนานาชาติ<br />

APAME 2016 ที่กรุงเทพ เขาก็บอกว่า ต้องการดูว่า ความนิยมของวารสาร<br />

ความถี่ในการเป็นที่อ้างอิงในเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของนักวิทยาศาสตร์<br />

ก็เท่านั้น แต่พวกเรานำค่า IF ไปใช้ในทางอื่น (ที่ผิดๆ) เอง เขาไม่ได้เกี่ยวข้อง<br />

ด้วย เนื่องจากสถาบันหลายแห่งตั้งเกณฑ์ว่า ต้องตีพิมพ์ในวารสารทีมี impact<br />

factor สูง (ตาม Thomson Reuters) จึงจะให้ค่าตอบแทนหรือออกค่าตี<br />

พิมพ์บทความให้ ทำให้นักวิชาการรุ่นใหม่หรือผู้ทำวิจัยในเรื่องที่ไม่ popular<br />

จะมีโอกาสน้อยที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารที่มี impact factor สูงๆ ทั้งๆ ที่<br />

คุณภาพของบทความจะสูงดีเท่า impact factor ของวารสารนั้น หรือสูงกว่า<br />

ก็ได้ แต่การไปตีพิมพ์แล้ว ไม่ได้หมายความว่า บทความของท่านจะมีการนำไป<br />

อ้างอิงถี่บ่อย เหมือนค่า IF ของวารสาร เลย<br />

“สารจากผู้รั้งตำาแหน่งนายก<br />

แพทยสมาคมฯ”<br />

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี<br />

Email : amorn.lee@mahidol.ac.th<br />

สมาชิกจะสังเกตเห็นว่า แพทยสมาคมฯ ทำกิจกรรมในด้านการดูแล<br />

สวัสดิการของสมาชิก เร่งทำบัตร SCB First เพื่อช่วยแพทย์ให้ได้รับ<br />

ความสะดวกสบาย จนธนาคารทำบัตรให้ไม่ทันสมาชิกบางท่านเริ่มจะหงุดหงิดที่<br />

ยังไม่ได้บัตร ก็ขอให้อดทนคอยอีกนิดเพราะธนาคารกำลังเร่งทำอยู่ ท่านนายกฯ<br />

ก็ตามติดในเรื่องนี้ตลอดเวลา แพทยสมาคมฯ ส่งเสริมการมีสุขภาพดีโดยเชิญ<br />

ชวนสมาชิกของหลาย ๆ สภาวิชาชีพให้มาออกกำลังกายร่วมกัน ตอนนี้กำลัง<br />

เตะฟุตบอลกันอยู่ เท่ากับเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหลายๆ อาชีพ<br />

กับแพทย์ น่าจะเกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันในด้านสาธารณประโยชน์<br />

และสุขภาพของประชากรได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายแพทยสมา<br />

คมฯ กับกลุ่มประชาชนหรือผู้ป่วยในโรคต่างๆ เพื่อช่วยให้เขามีสุขภาพดีนานๆ<br />

ก่อนจะป่วยจริงๆ อาจจะจัดให้มีการสื่อสารให้ความรู้ต่างๆ ในการป้องกันโรค<br />

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปี รวมทั้งนำกีฬาง่ายๆ มาเล่นแข่งขันกันบ้าง<br />

ก็ได้ เช่น นำมาแข่งปิงปองกันบ้าง ก็ได้ ผมเห็นว่า แพทยสมาคมฯ ตอนนี้<br />

ออกตัวแรงขึ้นเรื่อยๆ แพทยสมาคมกับแพทยสภาก็เข้ามาใกล้ชิดมากขึ้น ในปีนี้<br />

ในโอกาสครบ 50 ปีการตั้งแพทยสภา ขอเชิญชวนสมาชิกของแพทยสมาคมฯ<br />

เข้าร่วมประชุมวิชาการครบ 50 ปี แพทยสภา ระหว่างวันที่ 20 ถึง 22 มิถุนายน<br />

ที่ IMPACT FORUM ชั้นที่ 2 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ด้วยนะครับ ไปดู<br />

ไปฟังกันว่า แพทยสภาอายุ 50 ปี ได้ทำอะไรดีๆ เพื่อประชาชน ผู้ป่วย ระบบ<br />

สุขภาพ และเพื่อแพทย์ และ เวชปฏิบัติอะไรมาบ้าง แล้วจะทำอะไรดีๆ ต่อเนื่อง<br />

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในวงการแพทย์และประชาชน<br />

ส่วนแพทยสมาคมฯ มีอายุแก่กว่ามาก ปีนี้ก็ 89 ปีแล้วนะครับ ที่แก่สุด<br />

ในแพทยสมาคมฯ คือ จพสท. อายุไปถึง 100 ปี กำลังถูกยกเครื่อง ถอดล้าง<br />

DNA ให้ดูใหม่อยู่พอดีครับ<br />

“เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ<br />

ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ”<br />

วันที่ 15 มี.ค. 2561 เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ “HA National Forum”<br />

ครั้งที่ 19 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จัดโดยสถาบันรับรองคุณภาพ<br />

สถานพยาบาล (องค์การมหาชน)<br />

วันที่ 22 มี.ค. 2561 เข้าร่วมนำเสนอข้อเสนอโครงการ/แผนงาน ปี 2561-<br />

2563 ต่อคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 1 ณ ห้องประชุม 501 อาคาร<br />

ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซ.งามดูพลี เขตสาทร โดยประธานเครือข่ายฯ นพ.วันชาติ<br />

ศุภจัตุรัส และ รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ไปเข้าร่วมการน ำเสนอข้อเสนอโครงการ<br />

วันที่ 26-28 มี.ค. 2561 เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุข<br />

ภาพฯ และสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ จัดงานประชุม “มหกรรมวิชาการฟ้าใส<br />

2561” ณ ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร และห้องพัชรกิติยาภา ชั้น P3 อาคาร<br />

เฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ<br />

วันที่ 26 มี.ค. 2561 สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติฯ จัดการประชุมใหญ่สามัญ<br />

ประจำปี 2561 ณ ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี<br />

๕๐ ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดยมีการมอบรางวัลบุคคลต้นแบบ<br />

เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ องค์กรต้นแบบเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และ<br />

สถานประกอบการปลอดบุหรี่ดีเด่น<br />

ในช่วงบ่ายมีพิธีมอบรางวัลเพชรนครา ประจำปี 2560 โดยมอบให้แก่<br />

สถานพยาบาลปลอดบุหรี่ดีเด่น ชุมชนต้นแบบ และมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ดีเด่น<br />

คลินิก NCD ฟ้าใสดีเด่น (ด้านการดำเนินงาน นวัตกรรม และบุคลากร)<br />

วันที่ 28 มี.ค. 2561 เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพฯ จัดงานพิธีมอบรางวัล “ศิลปิน<br />

ดารา และสื่อสารมวลชนเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” ครั้งที่ 9ณ ห้องประชุม<br />

สยามมกุฎราชกุมาร และห้องพัชรกิติยาภา ชั้น P3 อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี<br />

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ


MAT - ISSUE 2 - FEBRUARY <strong>2018</strong> 3<br />

“สารจากอดีตนายกฯ”<br />

ศ.นพ.สารเนตร์ ไวคกุล<br />

โทร. 081-406-8201<br />

วันที่ 1 มีนาคม ปีนี้ ตรงกับวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวพุทธ<br />

เถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย “มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมี<br />

บูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน<br />

3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทาง<br />

ศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโค<br />

ตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้ง<br />

ใหญ่ในพระพุทธศาสนา เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมา<br />

ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้<br />

ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่<br />

เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่ง<br />

ความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราช<br />

กุศลมาฆบูชาขึ้น การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการ<br />

บำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ และมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธ<br />

บูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่างๆ เป็นต้น ในช่วงแรก<br />

พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความ<br />

นิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร กราบเรียนเชิญชวนท่าน<br />

สมาชิกฯ ทุกท่าน ปฎิบัติธรรมในกิจที่ทุกท่านดำเนินอยู่เพื่อพัฒนาตนเองและ<br />

ส่งเสริมสังคมที่ดีขอเราครับ<br />

“ข่าวจากฝ่ายทะเบียน”<br />

นพ.คมกริบ ผู้กฤตยาคามี<br />

โทร. 089-761-1440<br />

งานประชุมสัญจรของกระทรวงสาธารณสุขที่พิษณุโลก เมื่อวันที่ 26–27<br />

ก.พ. 2561 แพทยสมาคมฯ ได้รับเกียรติให้นำเสนอบทบาทของแพทยสมาคมฯ<br />

และความร่วมมือแพทยสมาคมฯ กับกระทรวงสาธารณสุข โดยท่าน ศ.เกียรติคุณ<br />

สมศรี เผ่าสวัสดิ์, ท่านนายกแพทยสมาคมฯ (ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์) และ<br />

ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล (รองผู ้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง<br />

เสริมสุขภาพ) ได้พูดในที่ประชุมใหญ่ให้ระดับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุข<br />

หลายร้อยคนฟัง ต่อเนื่องมาถึงการประชุมคณะกรรมการบริหารแพทยสมาคมฯ<br />

เมื่อวันพุธที่ 28 ก.พ 2561 ที ่มีผู้ใหญ่ระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข<br />

(รองปลัดฯ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ) และเลขาธิการแพทยสภา (นพ.สุกิจ<br />

ทัศนสุนทรวงศ์) มาร่วมประชุม เป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของแพทยสมาคมฯ<br />

ในการก่อให้เกิดความร่วมมือด้วยกันทั้ง 3 องค์กร คือ แพทยสมาคมฯ<br />

แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน<br />

ด้านสาธารณสุข และสวัสดิภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสุขภาพของประชาชน<br />

เนื้อหาการประชุมได้พูดคุยกันหลายเรื่อง เช่น เรื่องโครงการ 3 ล้าน 3 ปี<br />

เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน, เรื่องการเปิดตัวทีมฟุตบอลวิชาชีพครั้งแรก<br />

ของประเทศไทย, เรื่อง Junior Doctor Network และอื่นๆ รวมทั้งเรื่อง 9<br />

Projects drive for the Goal ของท่านนายกฯ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ฯลฯ<br />

ที่สมาชิกทุกท่านสามารถหาอ่านได้ในหนังสือแพทยสมาคมฯ ฉบับล่าสุด (ฉบับ<br />

วันที่ 9 ก.พ 2561) ซึ่งสามารถดาวน์โหลด ได้เช่นกัน เป็นเรื่องราวดีๆ ที่เรียน<br />

ให้สมาชิกเพื่อนแพทย์ทราบ และถือโอกาสนี้ ขอเรียนเชิญ เพื่อนแพทย์ที่ยัง<br />

ไม่เป็นสมาชิก สมัครเป็นสมาชิกแพทยสมาคมฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mat.<br />

or.th หรือ www.mat-thailand.org หรือติดต่อโดยตรงที่ฝ่ายทะเบียน<br />

ของแพทยสมาคมฯ หมายเลขโทรศัพท์ o2-314-4333 ยินดีต้อนรับทุกท่าน<br />

สวัสดีครับ<br />

“คุยกับหมอชุมศักดิ์”<br />

พล.ต.ต.นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์<br />

โทร. 085-188-8173<br />

สุขภาพคือหน้าที่ สุขภาพดีชาติแข็งแรง<br />

หลังการทำรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 รัฐบาลได้จัดตั้ง<br />

สภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อพิจารณาปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ รวมทั้งระบบ<br />

สาธารณสุข เพื่อประมวลความเห็น หรือข้อเสนอแนะ แล้วเสนอต่อ<br />

คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ<br />

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในขณะนั้นมีกรรมการบริหารที่ได้รับ<br />

การแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือ นายแพทย์ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์<br />

และ นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นายแพทย์ไพศาล จันทรพิทักษ์ ซึ่งต่างก็ได้รับ<br />

การแต่งตั้งได้เป็นกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข ทั้งสองท่านได้พยายาม<br />

ผลักดันประเด็นสำคัญด้านสุขภาพเพื่อให้เป็นนโยบายสาธารณะระดับชาติ<br />

ให้ได้กล่าวคือกำหนดให้พลเมือง (บุคคล) มีหน้าที่ในการดูแลและส่งเสริม<br />

สุขภาพส่วนตนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและสังคม โดยขณะเดียวกัน<br />

ให้รัฐทำหน้าที ่ส่งเสริมศักยภาพรวมทั้งการให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องและ<br />

ทันสมัยแก่ประชาชน<br />

เป็นที่น่าเสียดายที่กรรมาธิการบริหารร่างรัฐธรรมนูญทั้งสองชุดไม่ได้<br />

บรรจุประเด็นหน้าที่ด้านสุขภาพที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เห็นว่า<br />

สำคัญยิ่งไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งถ้าหากท่านสมาชิกมองทบทวนทั้งอดีต<br />

และปัจจุบันแล้วจะเห็นว่าขณะนี้บริการสุขภาพภาครัฐโดยรวมมีปัญหา<br />

ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนแบบมีการใช้บริการซ่อมสุขภาพมากกว่า<br />

สร้างเสริมสุขภาพ ถ้าประชาชนทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว<br />

ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ก็จะลดการเจ็บป่วยได้มาก ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สุด<br />

คือ สุราและบุหรี่ ที่คร่าชีวิตคนไทยปีละหลายหมื่นคน และมีผลทำให้ผลิตภาพ<br />

ของประเทศไม่ได้สูงอย่างที่ควร<br />

“สุขภาพควรจะเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน เพราะว่าถ้าทุกคนสุขภาพดี<br />

ชาติก็จะแข็งแรง” เป็นสมการที่พิสูจน์ยืนยันได้ถ้าลงมือปฏิบัติกันจริงจัง<br />

“มติการประชุมที่ควรทราบ”<br />

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ปีที่ 97 ครั้งที่ 1/2561<br />

วันพุธที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 12.00 น.<br />

1. โครงการวารสารจดหมายเหตุทางแพทย์ “จพสท.” โดย (ศ.นพ.อมร):<br />

การดำเนินงานเดือน ม.ค.61 เป็นไปตามเป้าหมาย มีหน่วยงานขอจัดทำฉบับ<br />

Supplement จำนวน 13 หน่วยงาน<br />

2. โครงการวิเทศสัมพันธ์ โดย (พล.ต.ผศ.นพ.กิฎาพล) ได้รับจดหมาย<br />

จาก 1.) แพทยสมาคมแห่งประเทศญี่ปุ่น เชิญนายกแพทยสมาคม<br />

แห่งประเทศไทยฯ เข้าร่วมการประชุม JMA Harvard Taro Takemi<br />

Memorial Interactional Symposium ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น<br />

ระหว่างวันที่ 17–18 ก.พ. 61


4<br />

MAT - ISSUE 2 - FEBRUARY <strong>2018</strong><br />

“Hot News จากรองเลขาธิการฯ” “ประธานฝ่ายสื่อสารองค์กร”<br />

พ.ต.นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์<br />

โทร. 083-9669-969<br />

Email : dr.chanrit969@gmail.com<br />

ผศ.ดร.นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร<br />

Email : dr.sakda@gmail.com<br />

การแถลงข่าวศึกฟุตบอลระหว่างวิชาชีพครั้งแรกในประเทศไทย!!!<br />

สวัสดีครับท่านสมาชิกแพทยสมาคมฯที่เคารพและน้องๆแพทย์ไทย<br />

ที่รักทุกท่าน<br />

Hot News 28 ก.พ. 2561 ท่านนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศ<br />

ไทยฯ และ อ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ร่วมกันแถลงข่าวศึกฟุตบอลระหว่างวิชาชีพ<br />

ครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้แนวคิด “เสริมสร้างศักยภาพผู้นำในกลุ่ม<br />

วิชาชีพหลักของประเทศให้เป็นคนต้นแบบในการใส่ใจออกกำลังกายอย่าง<br />

จริงจัง เพื่อให้เยาวชนไทยได้นำไปเป็นแบบอย่าง และเพื่อรณรงค์ให้สังคม<br />

ไทยได้ตระหนักและเรียนรู้ที่จะดูแลป้องกันตัวเองให้ห่างไกลความเสี่ยง<br />

จากโรคร้ายทั้งปวง” โดยมีแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯเป็นผู้สนับสนุน<br />

ในการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ พร้อมเปิดตัวทีมฟุตบอลจากวิชาชีพชั้น<br />

นำ 8 วิชาชีพของประเทศ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นจำนวนมากเข้าร่วมงาน<br />

แถลงข่าวและจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน ดังนี้ สาย A: ทีมอัยการสูงสุด,<br />

ทีมผู้พิพากษา, ทีมสมาคมทนายความ และทีมทันตแพทยสภา สาย B:<br />

ทีม VIP ทหารบก, ทีมสมาคมนักบินไทย, ทีมสมาคมสถาปนิก และ<br />

ทีมแพทยสมาคมฯ นำโดย อ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ กรรมการที่ปรึกษาเป็น<br />

หัวหน้าทีมและรองเลขาธิการร่วมเป็นผู้รักษาประตู ส่วนการรับสมัครสมาชิก<br />

แพทย์จากทั่วประเทศยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีแพทย์ในทีม<br />

ฟุตบอลแพทยสมาคมฯ แล้วเกือบ 40 ท่าน<br />

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างวิชาชีพครั้งแรกในประเทศไทย<br />

จะจัดในระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. โดยแข่งขันแบบพบกันหมดทุกสาย<br />

ทุกเช้าวันอาทิตย์ เริ่มแข่งขันพร้อมกันวันละ 4 คู่ ในเวลา 08.00 น. โดยจะใช้<br />

สนามฝึกซ้อมของทีม เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด เป็นสนามกลางสำหรับ<br />

การแข่งขันของทุกทีม จึงขอเรียนเชิญท่านสมาชิกแพทยสมาคมฯ และ<br />

ครอบครัว รวมทั้งแฟนๆ กีฬาและแฟนๆ ของบุคลากรในแต่ละวิชาชีพมา<br />

ร่วมกันชมและร่วมกันเชียร์เป็นก ำลังใจให้นักฟุตบอลทั้ง 8 ทีม เพื่อสนับสนุน<br />

การแสดงออกถึงกิจกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของสังคมไทยร่วมกัน<br />

แพทยสมาคมฯ...เพื่อแพทย์และประชาชน<br />

#ฉบับบนี้ท่านนายกฯ ได้มาขยายความในเรื ่องแนวทางและนโยบาย<br />

วิสัยทัศน์ 2 ปี (3C 2S) ให้ชัดเจนพร้อมเป็นแนวทางปฏิบัติให้ทุกฝ่าย<br />

ทำงานสอดคล้องกัน #อีกเรื่องที่สำคัญ คือ เนื่องด้วยแพทยสมาคม<br />

แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดตั้งบูทที่งานปฐมนิเทศ<br />

แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ผู้ให้สัญญาชดใช้ทุนของกระทรวง<br />

สาธารณสุข ประจำปี 2561 ในวันที่ 16 พ.ค. 2561 นี้ ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์<br />

บอลลูม<br />

ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี<br />

เพื่อให้เกิดการทำงานในเชิงรุกมากขึ้น แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องการให้เกิดบรรยากาศการช่วยเหลือในรูปแบบ<br />

รุ่นพี่พบรุ่นน้อง ในการนี้อยากเชิญชวนให้น้องแพทย์ที่จบใหม่ ผู้ให้สัญญา<br />

ชดใช้ทุนแวะมาเยี่ยมเยือนที่บูทแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดยทาง<br />

ทีมแพทยสมาคมฯ<br />

1. เตรียมข้อมูลที่มีประโยชน์ที่จะช่วยให้น้องแพทย์ที่จบใหม่<br />

ผู้ให้สัญญาชดใช้ทุน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ และช่วยในการปรับตัว<br />

ในรูปแบบ “พี่บอกน้อง” รวมถึงข้อมูลและแนวทางการจัดการชีวิตใน<br />

อนาคตจากพี่ๆ<br />

2. เตรียมของชำร่วยเล็กน้อยเพื่อแสดงความยินดีกับแพทย์ที่จบใหม่<br />

ผู้ให้สัญญาชดใช้ทุน<br />

3. สมัครสมาชิกแพทยสมาคมฯ ในอัตราเพียง 1,500 บาท จากเดิม<br />

2,000 บาท ในกรณีสมัครสมาชิกตลอดชีพ เฉพาะ 100 ท่านแรกที่แสดง<br />

ความจำนงค์การสมัครสมาชิกในวันงาน<br />

4. นอกจากนั้นสำหรับผู้ที่สมัครสมาชิกแพทยสมาคมฯ 50 ท่านแรก<br />

ในวันงานจะได้รับสิทธิอื่นๆดังรายละเอียด<br />

- โดยครอบคลุมสินธิประโยชน์ของสมาชิกทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่น<br />

เข้าถึงวารสาร จพสท. แบบ Full text สิทธิในการขอสนับสนุน<br />

เงินทุนวิจัย การดูงานต่างประเทศ และสิทธิในการคัดเลือกรางวัล<br />

แพทย์ดีเด่นของแพทยสมาคมฯ เป็นต้น<br />

- สิทธิจะได้รับ Power Bank 5,000 mAh<br />

- สิทธิ์ลุ้นรับ Stethoscope 3M จำนวน 2 รางวัล<br />

- มอบสิทธิ์แจ้งความจ ำนงรับบัตรเอกสิทธิ์ SCB Prime ให้กับแพทย์<br />

จบใหม่ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมบูทของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ<br />

- มอบกาแฟสด หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ให้กับแพทย์ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม<br />

บูทของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ<br />

จึงขอเชิญชวนและประชาสัมพันธ์ให้ทราบกันถ้วนหน้าด้วยครับ//<br />

ต่อจากหน้า 1<br />

S ตัวที่หนึ่ง Social Responsibility คือ สร้างจิตสำนึก วิชาชีพ ยึดมั่นและ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะเราจะได้รับแนะน ำจากประสบการณ์<br />

แพทย์เพื่อสังคม ข้อนี้ถือเป็นภารกิจหนึ่งที ่สำคัญ เพื ่อเป็นส่วนหนึ่งในการ ที่ดีของผู้ใหญ่ การให้คำปรึกษา คำแนะนำ รวมทั้งความเมตตาที่ท่านมีต่อเรา<br />

สนับสนุนให้สังคมมีการพัฒนาไปในทางที่ดี ทั้งสุขภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมั่นใจ ภายใต้การสนับสนุนของผู้อาวุโส จึง<br />

ดีขึ้น โดยแพทยสมาคมฯ จะเน้นการสร้างจิตสำนึกวิชาชีพแพทย์ให้แก่แพทย์ ขอยึดมั่น วัฒนธรรมเคารพยกย่องผู้อาวุโสไว้ ให้กลายเป็น “วัฒนธรรม<br />

ในการช่วยเหลือผู้ป่วย และประการสำคัญ คือ เป็นการน้อมนำและสืบสาน แพทยสมาคมฯ” สืบต่อไป<br />

พระราชปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราช สมาชิกแพทยสมาคมฯ ทุกท่านครับ จากวิสัยทัศน์ที่กล่าวมาข้างต้น<br />

ชนก “พระราชบิดาแห่งการแพทย์ไทย” ดังพระราชดำรัสใจความตอนหนึ่งว่า จะบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยในส่วนแรก คือ การสานต่อโครงการ<br />

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง หรือภารกิจที่สำคัญ ของแพทยสมาคมฯ ที่ได้ดำเนินงานมาและกำลัง<br />

ลาภ ทรัพย์และเกียรติยศจะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ ดำเนินการอยู่ ให้เกิดความต่อเนื่อง และในส่วนที่ 2 คือ การดำเนินโครงการ<br />

ให้บริสุทธิ์” ให้สมกับเกียตริยศ ศักดิ์ศรีวิชาชีพแพทย์<br />

ใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อแพทยสมาคมฯ สมาชิกแพทย์ ประชาชน และ<br />

S ตัวที่สอง Seniority คือ ขอยึดมั่น วัฒนธรรมเคารพยกย่องผู้อาวุโส สังคม ซึ่งในฉบับหน้ากระผมจะได้มานำเรียนให้ทุกท่านทราบถึง…ก้าวต่อไป<br />

ข้อนี้ถือเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย โดยส่วนตัวของกระผมนั้น ของแพทยสมาคมฯ ครับ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!