09.12.2019 Views

11

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.


เดือนสิงหาคมเวียนมา หวนให้คนไทยระลึกถึงพระคุณ

ของเเม่ แต่ในสำาหรับนิตยสารออนไลน์ ซึ่งเผยเเพร่ให้ท่าน

ผู้อ่านได้อ่านกับแบบไม่มีค่าใช้จ่ายเล่มนี้นั้น เดือนสิงหาคม

นับเป็นเดือนแห่งการเริ่มต้น

เราเผยเเพร่วนมาจนอายุครบ 1 ปีเต็ม ท่านใดที่สนใจ

แต่ยังไม่เคยได้ติดตามอ่านกัน คงต้องขอฝากทั้ง 7 เล่ม ที่ทาง

เราได้คลอดออกมาให้ได้ติดตาม โดยท่านสามารถเข้าไป

คลิกอ่านได้ที่ www.thethaiact.com โดยเลือกหมวดหมู่

ACTGAZINE สามารถเปิดอ่านได้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์

มือถือ และแท็บเล็ต

และในโอกาสครบรอบ 1 ปี ไทยแอ็ค ฉบับนี้จึงขอพา

กลับไปค้นหาประเด็น “คนพิการ” ชวนไปรู้จักกับบุคคล

ผู้พิการทางปัญญาแต่มีจิตใจกล้าหาญ ลุกขึ้นมาทำางานเพื่อ

ช่วยเหลือสังคม เรื่องราวของเล่มนี้มีชื่อว่า “เรื่องของเจี๊ยบ”





สวัสดีครับ ผมเจี๊ยบ วัชรพล จึงเจริญ แม่เล่าให้ฟังว่า

ตอนคลอดผมเสร็จแล้วเนี่ย พยาบาลอุ้มหลุดมือ ตัวเจี๊ยบหล่น

ลงพื้น จากวันนั้นเจี๊ยบจึงเป็นคนพิการประเภทสมองบางส่วน

ถูกทำาลาย (Cerebral Palsy) เซลล์สมองบางส่วนไม่สามารถ

ทำางานได้ ร่างกายเลยสูญเสียการควบคุมบางส่วนไป

ตั้งแต่วันนั้น บางคนที่รู้จักรวมถึงเพื่อน ๆ เรียกเจ๊ยบว่า

ไอ้ง่อย ไอ้ปัญญาอ่อน ไอ้เอ๋อ พวกคนข้างบ้านแล้วก็ผู้ใหญ่อีก

หลายคน ก็พยายามมาบอกที่บ้านว่า ให้ส่งเด็กคนนี้ไปอยู่ตามโรงเรียนสอน

เด็กพิเศษ หรือพยายามแนะนำาสถานสงเคราะห์เด็กให้ เขาเห็นว่าเจี๊ยบไม่น่า

จะเรียนที่ไหนได้แล้ว ถึงเรียนได้โตมาก็ไม่น่าจะทำามาหากินอะไรได้ แล้วตัว

เจี๊ยบเป็น “ไอ้ปัญญาอ่อน” คนเดียวของหมู่บ้านชาวบ้าน เขาเลยสนใจกัน

เป็นพิเศษ

แม่ถามเจี๊ยบหลายครั้งนะ ว่าอยากไปอยู่แบบนั้นไหม ผมทำาได้แค่

ยิ้มและส่ายหัว



ตอนเรียนชั้นประถมหรือมัธยม นอกจากโดนเพื่อนล้อแล้ว อาจารย์

บางท่านเจตนาดี ก็ช่วยแยกเจี๊ยบออกไปเรียนคนเดียว เหมือนครูไม่อยาก

ให้เด็กคนนี้มาเรียนร่วมกับคนอื่น พอบอกคุณแม่ แล้วแม่ไปคุยกับโรงเรียน

หลายครั้งเข้า เขาก็ปล่อยให้เราเรียนร่วมกับเพื่อน ๆ ได้

ไอ้เรื่องโดนล้อ โดนแกล้งขอให้ใช้คำาว่าเป็นกิจวัตรประจำาวันตอนเด็ก

แต่เจี๊ยบไม่รู้สึกอะไรเพราะนานเข้ามันก็ชินไปเอง แล้วเจี๊ยบไม่เคยคิดว่า มี

อะไรที่คนร่างกายปกติทำาได้ แล้วตัวเองจะทำาไม่ได้ เจี๊ยบเรียนจนจบมัธยม

ปลาย ตอนนั้นจำาเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ เพื่อไปสมัครปริญญาตรี ก็ขอ

ที่โรงพยาบาลตามปกติ เล่าให้แพทย์ฟังว่าเราเรียนในระบบ ใช้ชีวิตมายังไง

แต่ว่าเอกสารที่ได้รับวันนั้น ระบุว่าแม้เจี๊ยบจะเรียนร่วมกับคนอื่นได้ แต่ไม่

น่าจะทำางานร่วมกับใครได้ หมอเรียกผู้ปกครองไปคุย แล้วออกมาพร้อม

เอกสารที่ไม่มีการแก้ไขอะไร มันเหมือนเอามีดมาปักกลางหัวใจเจี๊ยบเลย

ตอนนี้กระดาษแผ่นนั้นถูกปาทิ้งไว้ในถังขยะใบไหนสักใบในโลกแล้ว

ใช่ครับ เจี๊ยบไปสมัครเรียนแบบไม่มีใบรับรองแพทย์แล้วเลือกมหาวิทยาลัย

ใกล้บ้านคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย แม้ใจจะอยากเรียนที่ดัง ๆ เหมือน

วัยรุ่นคนอื่น แต่ไม่กล้าไปสมัคร

เจี๊ยบเรียนตามเกณฑ์จนจบริญญา แม้จะมีอุปสรรคบ้าง

ได้รับการปฏิบัติพิเศษจากคณะบ้าง แต่ต้องบอกตามตรงครับ

คนพิการไม่ได้ต้องการความพิเศษ หรือความช่วยเหลือพิเศษ

แต่ต้องการสิ่งอำานวยความสะดวก ที่เอื้ออำานวยให้คนพิการ

ได้ออกมาใช้ชีวิต แล้วการมีสิ่งอำานวยความสะดวกสำาหรับคน

พิการ จะทำาให้คนอย่างเจี๊ยบรู้สึกภูมิใจในตัวเอง ได้ทำาอะไร

ด้วยตัวเอง



“อุปสรรคสำาคัญในการใช้ชีวิต

สำาหรับคนพิการประเภทเดียวกับผม

คือทัศนคติของคนรอบข้าง

เหมือนเขาเชื่อกันว่า คนแบบเรา

ทำาอะไรไม่ได้

ทำาได้ก็ไม่ดีไปกว่าชาวบ้านหรอก”



เจี๊ยบจบเอกภาษาอังกฤษ ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท จนได้

ทำางานที่ Asia-Pacific Development Center on Disability

งานหลักของเจี๊ยบคือการสร้างสังคมโดยปราศจากอุปสรรค พร้อม

ทั้งสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพให้คนพิการ เหมือนว่า

เจี๊ยบเป็นตัวกลาง ประสานให้คนพิการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมา

เจอกัน ทำาให้เกิดการแลกเปลี่ยน ้เกิดแนวทางและองค์ความรู้ใหม่

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

เหตุผลที่เจี๊ยบสนใจงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพราะ

มองว่า ที่คนพิการไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม

เป็นเพราะเขาไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่ได้รับโอกาสที่จะพัฒนา

ศักยภาพด้านต่าง ๆ มากนัก สำาคัญเลยคืออุปสรรคในชีวิต ที่ต้อง

เผชิญลำาพัง ทั้งอุปสรรคด้านร่างกาย อุปสรรคด้านกฎระเบียบ

นโยบาย อุปสรรคที่เข้าไม่ถึงการสื่อสาร และอุปสรรคด้านทัศนคติ

“หากเราช่วยกันทำาลายอุปสรรคเหล่านี้ได้

จะทำาให้คนพิการได้พิสูจน์ศักยภาพตัวเอง

เจี๊ยบขอเปรียบเทียบว่า มันจะช่วยทำาให้

ซอฟแวร์ของเขาทำางานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

แม้ว่าฮาร์ดแวร์ของเขาจะไม่สมบูรณ์ก็ตาม”



สิ่งที่เจี๊ยบกำาลังทำา ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็น NGOs หรือเป็น

Active Citizens อะไรทั้งนั้น แต่เจี๊ยบเชื่อว่า เราทุกคนนั่นแหละ

ควรลุกขึ้นมาพัฒนาสังคม ส่วนตัวเจี๊ยบเป็นแค่คนพิการที่ต่อสู้เพื่อ

ตัวเอง แต่การลุกขึ้นมาทำางานพัฒนาสังคม ไม่ต้องไปสนใจว่า

สถานะตัวเองจะถูกจัดให้อยู่ประเภทไหนด้วยซำาครับเพราะว่า

งานภาคประชาสังคมบางงาน เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงโดย

ออกไปประท้วง ซึ่งเจี๊ยบคงไม่ไหว

งานภาคประชาสังคมบางงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการ

ทำาให้เกิดพื้นที่ตัวอย่างเจี๊ยบก็ไม่มีกำาลังพอ

งานภาคประชาสังคมบางงาน สร้างการเปลี่ยนแปลงโดยให้

การช่วยเหลือรายกรณี แต่เจี๊ยบสนใจเรื่องนโยบายเป็นหลัก

งานภาคประชาสังคมบางงาน ช่วยเหลือสังคมโดยใช้ข้อมูล

ที่มีนำาหนัก เพื่อไปเจรจากับรัฐบาลเจี๊ยบก็พยายามทำาอยู่

นี่เป็นความหลากหลาย ของการทำางานภาคประชาสังคม

ซึ่งเจี๊ยบมองว่า เป็นความสวยงาม แต่ที่สำาคัญงานแบบนี้ทำาคน

เดียวไม่ได้ เจี๊ยบจะยกตัวอย่างเช่นงานคนพิการที่เจี๊ยบทำา

เราต้องรวมกลุ่มกัน เพราะว่าแต่ละคนแม้จะมี

ความพิการประเภทเดียวกัน แต่ก็มีความรู้ มีทักษะ

ประสบการณ์ต่างกัน พอได้มีการรวมกลุ่ม มันจะทำา

ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เราเรียกว่า New Knowedge

Creation ไม่ใช่มีแค่วิทยากรผู้สอน กับผู้เรียนเท่านั้น

ที่สำาคัญเวลาคนเราเมื่อมาอยู่รวมกันแล้ว เห็นว่าตน

ยังมีที่ยืน มีคุณค่า จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้

ชีวิต คนพิการอย่างเรา จะไม่ยึดติดตีตราตัวเองว่า

เป็นแค่คนพิการไม่สามารถทำาอะไรได้



แต่การทำางานเพื่อสังคม

ต้องเกิดขึ้นมาจิตสำานึก เราไม่สามารถไปชี้นิ้วสั่งให้ใคร

ลุกขึ้นมาทำางานเพื่อสังคม แบบนั้นไม่ได้ส่งผลดีในระยะยาว

การลุกขึ้นมาทำางานด้านสังคมจะเริ่มจาก ABC คือ

Attitude, Believe, Commitment ไม่ว่าใครจะปลุกตัวเอง

จากอะไร แต่ขอให้แน่ใจว่าคุณกำาลังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ

สร้างสรรค์สังคมที่ดี และทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้

นี่เป็นเรื่องของเจี๊ยบ แล้วคุณล่ะ

มีเรื่องราวของตัวเอง กับสังคมนี้หรือยัง





มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย ทำางานกับเด็ก

พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้ต้องการอุปกรณ์ในการใช้ชีวิต

ดำาเนินการจัดทำาวีลแชร์ให้แก่เด็กพิการ จัดหาวีลแชร์ให้

คนพิการ และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิการ ตลอดระยะ

เวลาที่ดำาเนินงานในประเทศไทย ได้มีการส่งมอบวีลแชร์

ไปแล้ว 3,500 คัน



คุณภัคธดา สุวรรณนวล ผู้จัดการมูลนิธิ เล่าว่า การมอบวีลแชร์

ให้เด็กพิการ จะช่วยให้เขาดำาเนินชีวิตได้ แต่มันเหมือนกับเรา

เลือกเสื้อผ้า เพราะวีลแชร์จำาเป็นต้องตรงกับขนาด ความต้องการ

ประเภทการใช้งานด้วย ถ้าบอกว่าการมอบวีลแชร์ให้คนพิการ

เป็นเรื่องการทำากุศล อาจถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะบางทีการใช้

อุปกรณ์ช่วยเหล่านี้ในแบบที่ไม่เหมาะกับสภาพร่างกายตัวเอง

เป็นการเพิ่มความเจ็บปวดให้ร่างกายของคนพิการโดยไม่จำาเป็น

ก่อนจะให้วีลแชร์หนึ่งคัน มูลนิธิฯจึงต้องมีการตรวจวัดร่างกาย

ก่อน ถ้าเอาไปทดลองใช้แล้วปรากฏว่าไม่ดีก็ต้องเปลี่ยน รวมทั้งมี

การติดตามพัฒนาการด้วยว่า ได้รับไปแล้วการใช้ชีวิตดีขึ้นหรือไม่

รวมทั้งคอยติดตามเรื่องการศึกษา สนับสนุนให้เด็กพิการได้เข้า

ถึงระบบการศึกษาตามช่องทางของสถานศึกษาที่มีรองรับ



การขาดสังคมทำาให้คนพิการขาดโอกาส

ปัจจุบันโรงเรียนเฉพาะทางสำาหรับคนพิการ มีแค่แห่งเดียว

ในแต่ละภาค ถ้าถามว่าทำาไมคนพิการเรียนรวมกับเพื่อนไม่ได้

ก็คงต้องบอกอย่างตรงไปตรงมาว่า แต่ละที่มีข้อจำากัด มีเหตุผล

ต่างกัน เช่นว่า ฉันเป็นครูประจำาชั้นเพียงคนเดียว มีเด็กปกติ

ที่ต้องดูแลอยู่แล้ว 35 คน แค่นั้นก็มากพอแล้ว หากมีเด็กพิการ

เข้ามาก็จะเพิ่มภาระ เพิ่มความลำาบาก

มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย เลยทดลองให้ทุนเพื่อ

สนับสนุนผู้ดูแลไป แต่ยังคงพบเจอปัญหาใหญ่คือการถูกล้อเลียน

กลั่นแกล้งในโรงเรียน รวมทั้งบางกรณีจะพบว่าตัวเด็กเองไม่

สามารถปรับตัวร่วมกับเพื่อนได้ เรื่องเหล่านี้ทำาให้การเรียนร่วม

ระหว่างเด็กพิการกับเด็กปกติ เป็นไปได้ยากลำาบากในปัจจุบัน

งานที่มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย จึงเป็นงานในทาง

สงเคราะห์และพัฒนา โดยตลอดเวลามีการเก็บรวบรวมข้อมูลว่า

ถ้ากลุ่มไหนสามารถพัฒนาต่อได้ จะดำาเนินกิจกรรมรวมกลุ่มของ

ผู้ปกครอง หากเขาขัดสนเรื่องรายได้ ต้องส่งเสริมทักษะการ

ประกอบอาชีพ รวมทั้งดูแลเรื่องการจ้างคนพิการ

ปัญหาที่เกิดขึ้นมากในปัจจุบัน ไม่ใช่ขาดการดูแลในกลุ่ม

คนพิการ แต่การขาดสังคม ขาดการรวมกลุ่มกันต่อยอดพัฒนา

ทำาให้ทั้งคนพิการและครอบครัวผู้ดูแลขาดโอกาส



แม้มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย จะถูกมองเป็นเหมือน

งานสร้างภาพลักษณ์องค์กรของบริษัทเอกชน แต่ภัคธดาบอกว่า

“งานภาคประชาสังคมไทยมันกลายเป็นมีหลายประเภท โดยส่วน

ตัว ต้องบอกว่าไม่ใช่ทุกคนที่เกิดมาจากความเป็นนักเคลื่อนไหว

ทางสังคม เพราะฉะนั้นการจัดประเภทให้คนที่ลุกขึ้นมาทำางาน

เพื่อประโยชน์ของสังคม ไม่ควรนำามาเป็นประเด็นหลักว่า คุณจะ

นับญาติกับใครไหม กลุ่มไหนทำางานได้ดีกว่ากัน เพราะงานสังคม

ประเภทนี้ ผู้ได้รับประโยชน์สำาคัญที่สุด จึงแทบไม่จำาเป็นต้องไป

กำาหนดนิยามอะไร แค่ต้องแน่ใจว่าเราจะสามารถสนับสนุนให้

ทุกคนลุกขึ้นมาทำางานเพื่อสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงได้โดย

ไม่ต้องยึดติดกับนิยาม



Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!