16.11.2014 Views

1oQKO3

1oQKO3

1oQKO3

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

47<br />

ความสามารถของมัลแวร์ที่จำแนกไว้ในตารางข้างต้นนั้น<br />

แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้<br />

1. ความสามารถในการโจมตีแบบดอส (DoS) ตัวอย่าง<br />

เช่น Pushdo สามารถโจมตีเว็บไซต์ที่ใช้ SSL โดยใช้<br />

วิธีส่งข้อมูลที่ผิดปกติเข้าไปจำนวนมาก ทำให้เครื่อง<br />

บริการเว็บต้องทำงานหนักจนไม่สามารถให้บริการได้<br />

2. ความสามารถในการเป็นเครื่องมือส่งสแปม (Spam)<br />

ตัวอย่างเช่น Kelihos ที่แพร่กระจายในปี 2011 ถูกผู้<br />

ไม่หวังดีใช้เป็นเครื่องมือในการส่งสแปมเกี่ยวกับการ<br />

เคลื่อนไหวทางการเมืองในยุโรป เป็นต้น<br />

3. ความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ (โจรกรรม<br />

ข้อมูล) ที่เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วส่งกลับไป<br />

ให้กับผู้ไม่หวังดี รวมถึงการลักลอบบันทึกประวัติการ<br />

กดแป้นพิมพ์ที่เรียกกันว่า Key Logging ตัวอย่างที่<br />

เป็นที่รู้จัก คือ Zeus ซึ่งถือว่าเป็น Banking Malware<br />

เพราะมีพฤติกรรมขโมยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของ<br />

บริการธนาคารออนไลน์เป็นหลัก<br />

4. ความสามารถในการติดตั้งมัลแวร์อื่น ๆ ซึ่งเรียก<br />

พฤติกรรมนี้ว่า Dropper เช่น Pushdo ที่มีการ<br />

รายงานว่า มีการใช้เป็นเครื่องมือเพื่อติดตั้งมัลแวร์<br />

Cutwail ซึ่งมีพฤติกรรมในการส่งสแปม<br />

5. ความสามารถอื่น ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับ 4 กลุ่มข้างต้น<br />

เช่น การปิด Windows Update หรือรบกวนการ<br />

ทำงานของโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ตัวอย่างของมัลแวร์<br />

ที่มีพฤติกรรม เช่น นี้ได้แก่ Sality ที่สามารถปิดการ<br />

ทำงานของ Windows Firewall เป็นต้น<br />

สำหรับภัยคุกคามประเภท Botnet ซึ่ง 97% ของรายงาน<br />

มีระบุชื่อมัลแวร์นั้น พบว่ามัลแวร์ที่ได้รับแจ้งมากที่สุดคือ<br />

Conficker กว่า 46% รองลงมาคือ Zeus (14%), ZeroAccess<br />

(12%), Sality (12%) และ Pushdo (8%) ซึ่งใน 5 อันดับแรก<br />

นี้นอกจาก ZeroAccess ที่ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2554 แล้ว<br />

มัลแวร์ตัวอื่น ๆ นั้นล้วนเป็นมัลแวร์ที่ถูกค้นพบมาเป็นเวลา<br />

นานมากกว่า 5 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น โดยเฉพาะ Conficker ที่ทาง<br />

Microsoft ได้ออกประกาศแจ้งเตือน รวมถึงออกแพทช์และ<br />

วิธีแก้ไขช่องโหว่ที่มัลแวร์ใช้ในการโจมตีมาตั้งแต่ปี 2551 1 ซึ่ง<br />

1 Microsoft, https://technet.microsoft.com/en-us/library/<br />

security/ms08-067.aspx<br />

เป็นไปได้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์อาจติดมัลแวร์เหล่านี ้มาเป็น<br />

เวลานานแล้ว หรือระบบยังคงมีช่องโหว่เก่า ๆ ที่เคยไม่ได้<br />

รับการแก้ไข จึงเป็นช่องทางให้มัลแวร์ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์<br />

เก่าหรือใหม่ สามารถเข้ามาโจมตีระบบได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า<br />

ประเทศไทยมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ยังขาดการดูแล<br />

รักษาด้านความมั่นคงปลอดภัย<br />

เครื่องคอมพิวเตอร์ยังคงมีช่องโหว่<br />

เก่า ๆ ที่ไม่ได้รับการแก้ไข เปิดโอกาส<br />

ให้มัลแวร์ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เก่า<br />

หรือใหม่สามารถเข้ามาโจมตีระบบได้<br />

แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเครื่อง<br />

คอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ยังขาดการ<br />

ดูแลรักษาด้านความมั่นคงปลอดภัย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!