11.07.2015 Views

ไล่ตามฝันที่ปลายฟ้า • Private Pilot License - มหาวิทยาลัยรังสิต

ไล่ตามฝันที่ปลายฟ้า • Private Pilot License - มหาวิทยาลัยรังสิต

ไล่ตามฝันที่ปลายฟ้า • Private Pilot License - มหาวิทยาลัยรังสิต

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ditor’s talkEอิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์ปีเก่าไป ปีใหม่มา...นาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเวลาหนึ่งปีผ่านไปอย่างรวดเร็วนะคะโดยเฉพาะช่วงเวลาดีๆ มักจะผ่านไปเร็วเสมอ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่เข้าร่วมพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา ปีนี้บัณฑิตของเราจบกันมากกว่าทุกๆ ปี ญาติพี่น้องต่างร่วมแสดงความยินดีกันเกือบเต็มพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และนี่ก็ถือเป็นของขวัญรับปีใหม่แก่บัณฑิตทุกๆ คนเลยทีเดียวปีใหม่นี้หลายๆ คน มีกิจกรรมที่แตกต่างกัน บ้างก็ไปเคาน์ดาวน์กับครอบครัว เพื่อนฝูง คนสำคัญ บ้างก็ไปทำบุญเสริมดวงชะตาตามวัดต่างๆ บ้างก็ออกไปเที่ยวต่างจังหวัด ฯลฯ หลังจากฉลองปีใหม่กันแล้วก็อย่าลืมกลับมาอ่านสารรังสิตของเรานะคะ เล่มนี้ยังคงมีเรื่องราวดีๆ มาฝากกันเช่นเคย ท้ายนี้ขอกล่าวคำว่า “สวัสดีปีใหม่นะคะ” ขอให้ผู้อ่านทุกท่านร่ำรวย ทั้งเงินทอง ความสุข และสุขภาพดีกันถ้วนหน้าค่ะ6 POINT OF VIEWเด็ก ม.รังสิต ทำอะไรรับปีใหม่9 แนะนำหนังสือน่าอ่านตำรา 10113 คุยกับศิษย์เก่านิเทศฯ10 ปี กับชีวิตบนเส้นทางสายข่าว14 บันทึกการเดินทางนายกสโมฯ เปิดโลกทัศน์ที่แดนอิเหนา17 นักกีฬาเชียร์ลีดดิ้งทีมชาติไทย คว้ารางวัลรองแชมป์โลกที่เยอรมนีditorialEstaffCheck themout!ที่ปรึกษา : ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์, ดร.มานิต บุญประเสริฐ,ดำรงค์ อินทรมีทรัพย์, ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร, ผศ.ดร.วิวรรธน์ปาณะสิทธิพันธ์, อำนวยวุฒิ สาระศาลิน, อนุสรณ์ ศรีแก้วบรรณาธิการบริหาร : สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะบรรณาธิการ : อิสราภรณ์ ทองเพียรพงษ์ กองบรรณาธิการ : นิจวรรณ นาวารัตน์, จิราภรณ์ ตุลาผล,กวิตา เรืองไทยรีไรเตอร์ : สุรางศรี วิเศษช่างภาพ : อรรถยา สุนทรายน, บัญหาร กาศนอกเลขากองบรรณาธิการ : ภัสณี บำรุงถิ่นคอมพิวเตอร์กราฟิก : อรรถยา สุนทรายน, เกวภร สังขมาศที่ทำการสารรังสิต : สำนักงานประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต ซอยพหลโยธิน 87 ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 0-2791-5555 โทรสาร 0-2791-5577 หรือ e-mail : info@rsu.ac.thScoop[นิจวรรณ นาวารัตน]สกู๊ปหากความฝันของเด็กสาวยุคใหม่คืออาชีพแอร์โฮสเตส ความฝันของเด็กหนุ่มยุคนี้ก็คงหนีไม่พ้นอาชีพนักบิน หรือกัปตัน ด้วยเครื่องแบบอันภูมิฐาน ค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว และประสบการณ์ชีวิตที่เกิดจากโอกาสในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ล้วนเป็นเหตุผลเย้ายวนใจให้คนรุ่นใหม่วาดฝันจะก้าวไปสู่การเป็นผู้ควบคุมนกยักษ์บนฟากฟ้า ขณะเดียวกัน ความพ ย า ย า ม ข อ ง ภ า ค รั ฐ ที่ จ ะ ผ ลั ก ดั น ใ ห้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบินแห่งใหม่ของภูมิภาคเอเชีย ยิ่งตอกย้ำว่าประเทศไทยต้องการนักบินอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการบิน“ปัจจุบันมีการเปิดสายการบินต้นทุนต่ำเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือการขาดแคลนนักบิน ขาดแคลนผู้ที่รู้เรื่องระบบการบำรุงรักษาเครื่องบินอย่างครบวงจร รวมทั้งเรื่องของการบริหารจัดการที่ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของสายการบินต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าประเทศจะเป็นศูนย์กลางการบินก็จะต้องพัฒนาปัจจัยพื้นฐานรวมทั้งบุคลากรด้านนี้ให้เพียงพอก่อน ขณะนี้ยังขาดแคลนอีกเป็นจำนวนมาก” ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวสร้างนักบินรุ่นใหม่ ในปีการศึกษา 2549 มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้เปิดหลักสูตรนักบินขึ้น โดยทำความร่วมมือกับกองทัพอากาศ และสถาบันการบินพลเรือนผลิตนักบินที่มีคุณภาพ เพื่อสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน และได้เชิญ พล.อ.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา อดีตนักบินพระที่นั่งกองทัพอากาศ ซึ่งมีประสบการณ์ในการบินสายการบินลำเลียง หรือสายการบินพาณิชย์มาตลอดเป็นเวลากว่า 30 ปี มาเป็นที่ปรึกษาสถาบันการบินในช่วงแรก ก่อนที่จะมารับตำแหน่งคณบดีสถาบันการบินเต็มตัวหลังเกษียณอายุราชการ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารและคณาจารย์ที่มาจากกองทัพอากาศกองทัพเรือ และสายการบินพาณิชย์ ซึ่งล้วนแต่เป็นนักบินผู้มีประสบการณ์สูงทั้งสิ้น ดังนั้น ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่าการเปิดหลักสูตรนักบินของมหาวิทยาลัยรังสิต น่าจะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ พล.อ.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา คณบดีสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่าหลักสูตรนักบินของ ม.รังสิต มุ่งที่จะผลิตนักบินที่มีความรู้และความชำนาญทางด้านการบิน สามารถทำการบินได้อย่างมีคุณภาพและเปี่ยมด้วยคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งหลังจากจบการศึกษา นักศึกษาสามารถสอบเป็นนักบินพาณิชย์ตรี หรือเป็นนักบินตามสายการบินและหน่วยราชการต่างๆ ได้ตามความสนใจ สำหรับการเรียนการสอนจะเน้นภาษาอังกฤษ เพราะนักบินจะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี และเมื่อเรียนจบแล้วจะได้รับปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบิน และได้รับประกาศนียบัตรเกี่ยวกับการบิน 2 ใบ คือประกาศนียบัตรอนุญาตนักบินส่วนบุคคล (<strong>Private</strong><strong>Pilot</strong> <strong>License</strong> : PPL) และประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์ (Commercial <strong>Pilot</strong> <strong>License</strong> : CPL) แต่ในปีการศึกษา 2553 จะได้มีการปรับหลักสูตรใหม่เป็นสาขาวิชานักบินพาณิชย์ตรีเพื่อความชัดเจนในการสื่อสารกับสังคม รวมถึงการวางแผนจะเปิดดำเนินการหลักสูตรนานาชาติ เพื่อรองรับความต้องการของนักศึกษาชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักศึกษาที่มาจากประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งคาดว่าพร้อมจะเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่รุ่นแรกได้“รู้สึกภูมิใจมาก เพราะอาชีพนักบินเป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก อนาคตจากนี้ไปจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และสายการบินที่ใฝ่ฝันอยากเข้าทำงานคือการบินไทย” นายอภิภู ช่างปลื้ม“ความมุ่งมั่นและตั้งใจทำให้ผ่านอุปสรรคต่างๆ ในการเรียนมาได้ ไม่ว่าจะยากเพียงใด และวันนี้ผมพร้อมแล้วที่จะก้าวสู่อาชีพนักบินอย่างเต็มตัว” นายเพชร เล็กเฟื่องฟูในปีการศึกษา 2554มาตรฐานระดับสากลการเรียนการสอนในช่วง 2 ปีแรก เป็นการเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปจากนั้นในชั้นปีที่ 3 จะเป็นการเรียนภาคบังคับและการฝึกบินขั้นต้นจำนวน 40 ชั่วโมง เพื่อสอบประกาศนียบัตรอนุญาตนักบินส่วนบุคคล(<strong>Private</strong> <strong>Pilot</strong> <strong>License</strong> : PPL) ที่ศูนย์ฝึกการบิน Bangkok AviationCenter (BAC) ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับความไว้วางใจจากสายการบินชั้นนำระดับประเทศ อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท Thai AirAsia ฯลฯ จัดส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นนักบินที่มีคุณภาพนอกจากนี้ สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ยังได้ทำความร่วมมือกับสถาบัน Gander Flight Training (GFT) Aerospace Technologiesประเทศแคนาดา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สามารถเลือกไปศึกษาหลักสูตรการบินที่ต่างประเทศตามความสมัครใจ“เราเปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีความพร้อมสามารถเลือกเดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบัน GFT ประเทศแคนาดาได้ โดยนักศึกษาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวขณะที่อาศัยในต่างประเทศเอง ซึ่งทางเราพยายามปรับรายละเอียดต่างๆ เพื่อเปิดใจว่าที่บัณฑิตสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต รุ่นที่ 1“พวกเราทั้งหมดมีความฝัน และเมื่อความฝันกลายเป็นความสำเร็จได้ยิ่งทำให้รู้สึกภูมิใจมาก ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยรังสิต คณาจารย์ และพี่ๆ เจ้าหน้าที่ของสถาบันการบินที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือพวกเราจนมีวันนี้” นางสาวจีรรัตน์จันทร์วัฒน์ศิริให้มีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับการเรียนที่เมืองไทยแม้จะสูงกว่าเล็กน้อย แต่สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับคือ ประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างประเทศและการพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นนักบิน และในตอนนี้มีนักศึกษาของเราจำนวน 8 คน ได้ไปทำการฝึกบินและได้รับคำชมกลับมาที่มหาวิทยาลัยว่านักศึกษาของเรามีพื้นฐานการบินที่ดี”คณบดีสถาบันการบิน กล่าวเสริมเส้นทางอาชีพนักบินนอกจากนี้ การรายงานข่าวบทสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ของโลก โบอิง คอมเมอเชียล แอร์เพลนซึ่งได้คาดการณ์ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ตลาดโลกจะมีความต้องการซื้อเครื่องบินใหม่ถึง 29,000 ลำ รวมมูลค่า 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ และจนถึงขณะนี้ สายการบินต่างๆ ได้ซื้อเครื่องบินไปแล้ว 27% ของตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีอัตราการขยายตัวของการจราจรทางอากาศมากกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยการเดินทางทางอากาศจะเติบโต 6.5% ต่อปีในอีก 20 ปีข้างหน้า ย่อมเป็นสัญญาณบอกถึงความต้องการ “นักบินคุณภาพ” เพื่อรองรับการขยายตัวที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น การที่สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนและมาตรฐานต่างๆ อันแสดงถึงจุด มุ่งหมายในการสร้างนักบินคุณภาพ เพื่อต อ บ ส น อ ง ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ งอุตสาหกรรมการบิน เราจึงเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็น “นักบิน” รุ่นใหม่ไฟแรงที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพจากรั้วมหาวิทยาลัยรังสิต ยืนผงาดอย่างสมภาคภูมิในสายการบินคุณภาพอย่างแน่นอนพล.อ.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา คณบดีสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต 0ไล่ตามฝันที่ปลายฟ้าหลักสูตร “นักบิน” ม.รังสิต

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!