23.04.2015 Views

บทความ¨ พลาสติกเป็นสารประกอบที่มนุษย์สร้างข - สถาบันวิจัยสภาวะ ...

บทความ¨ พลาสติกเป็นสารประกอบที่มนุษย์สร้างข - สถาบันวิจัยสภาวะ ...

บทความ¨ พลาสติกเป็นสารประกอบที่มนุษย์สร้างข - สถาบันวิจัยสภาวะ ...

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพลาสติกที่ถูกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะถูกย่อยสลายได้ภายในระยะเวลาที่เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ<br />

ปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยด้านคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของพลาสติกแต่ละประเภท ยกตัวอย่าง<br />

เช่น หากมีการนำาพลาสติกที่ถูกย่อยสลายได้ทางชีวภาพไปฝังดินหรือทิ้งลงไปในระบบฝังกลบขยะ ปัจจัยภายนอกที่จะส่งผล<br />

ต่ออัตราการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นหรือปริมาณน้ำาในดิน การถ่ายเทอากาศในดิน ปริมาณธาตุ<br />

อาหารในดินที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินบริเวณนั้น ลักษณะของเนื้อดิน<br />

รวมไปถึงชนิดของจุลินทรีย์ในดิน ส่วนปัจจัยด้านคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพที่แตกต่างกันไปในพลาสติกแต่ละประเภท<br />

ก็ส่งผลต่ออัตราการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพ เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น พลาสติกชีวภาพที่มีน้ำาหนักโมเลกุล (Molecular<br />

weight) ของสายโพลิเมอร์ที่แตกต่างกันก็จะใช้เวลาในการย่อยสลายแตกต่างกันไปด้วย (1) ถึงแม้ว่าอัตราการย่อยสลายของ<br />

พลาสติกชีวภาพ จะถูกควบคุมโดยปัจจัยมากมาย แต่พลาสติกกลุ่มนี้ก็มีแนวโน้มที่จะย่อยสลายได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว<br />

เมื่อเปรียบเที่ยบกับพลาสติกสังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้ยากมากโดยอาจจะใช้ระยะเวลายาวนานนับร้อยปีในการย่อยสลาย<br />

หรือพลาสติกสังเคราะห์บางชนิดที่ไม่สามารถูกย่อยสลายได้เลย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพเป็น<br />

พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดการสะสมของขยะพลาสติก รวมถึงวัตถุดิบที่นำามาใช้ผลิตพลาสติก<br />

กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง ข้าวสาลี สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้น<br />

บรรยากาศมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง จึงเป็นตัวช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นผลดีต่อ<br />

โลกของเรา<br />

ในปัจุบันมีการนำาพลาสติกชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน โดยมุ่งไปที่ประโยชน์ 3 ด้านหลักด้วยกัน คือ<br />

นำามาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ ทางด้านการเกษตร และทางด้านบรรจุภัณฑ์<br />

ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ เช่น นำามาใช้ในการผลิตรากฟันเทียม ผลิตวัสดุทางการแพทย์ที่มำามาใช้กับดวงตา<br />

ผลิตไหมเทียมเพื่อนำามาใช้ในการผ่าตัด ผลิตแคปซูลยาที่ควบคุมการปล่อยตัวยาได้อย่างช้าๆในระยะเวลาที่ต้องการให้มีการ<br />

ออกฤทธิ์ ในบางประเทศมีการนำาเอาพลาสติกชีวภาพมาใช้เป็นวัสดุในการตรึงกระดูกซึ่งพบว่ามีความยืดหยุ่นกว่าการใช้โลหะ<br />

ในการตรึงกระดูก นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาพลาสติกชีวภาพเพื่อนำามาใช้ในการผลิตผิวหนังเทียม เช่นในกลุ่มของคลอลาเจน<br />

และ ไคติน เป็นต้น เพื่อนำามาใช้ในการตกแต่งบาดแผลที่เกิดจากไฟไหม้<br />

ประโยชน์ทางด้านการเกษตร เช่น นำาเอาพลาสติกชีวภาพมาใช้เป็นวัสดุคลุมดิน หรือเอามาใช้ในการคลุมผลผลิต<br />

ทางการเกษตรแทนที่การใช้พลาสติกสังเคราะห์ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการเก็บและกำาจัดวัสดุคลุมดินภายหลัง<br />

การเพาะปลูก และมีการนำาเอาพลาสติกชีวภาพมาใช้เป็นตัวควบคุมการปลดปล่อยสารอาหารให้กับพืช บางประเทศมีความ<br />

สนใจในการนำาเอาพลาสติกชีวภาพมาใช้เป็นตัวปรับปรุงคุณภาพของดิน (soil conditioner) ร่วมกับวัสดุที่สามารถย่อยสลาย<br />

ได้ตามธรรมชาติชนิดอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาผลิตเป็นภาชนะปลูกพืชโดย<br />

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการย่อยสลายและเป็นอาหารให้กับพืชในระหว่างการเพาะปลูกด้วย<br />

ในปัจจุบันถุงพลาสติกและฟิล์มพลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์ ก่อให้เกิดปัญหาด้านขยะเพิ่มขึ้นมาก<br />

เนื่องจากภายหลังการใช้งานมีการนำากลับมาใช้ใหม่น้อยมาก รวมถึงขั้นตอนแยกพลาสติกออกจากขยะอื่นทำาได้ยาก และมีค่า<br />

ใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางด้านบรรจุภัณฑ์ โดยนำามาผลิตถุงใส่ของ<br />

และถุงใส่ขยะเพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการคัดแยกขยะ (3)<br />

18<br />

วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16 เล่มที่ 2

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!