09.04.2013 Views

news_file_500

news_file_500

news_file_500

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

การบาดเจ็บที่ทรวงอก<br />

นพ.วรวิทย์ อินทนู<br />

หน่วยศัลยศาสตร์หัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก<br />

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น<br />

การบาดเจ็บที่ทรวงอกถือเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยไม่ว่าจะมี<br />

สาเหตุจากการกระแทกโดยตรง หรือสาเหตุจากวัตถุมีคมทิ่มแทง<br />

เป็นสาเหตุ<br />

การตาย 1 ใน 4 ของผู้ป่วยอุบัติเหตุทั้งหมด<br />

อย่างไรก็ตาม การรักษาการ<br />

บาดเจ็บที่ทรวงอกส่วนใหญ่สามารถทำได้โดยการใส่สายระบายทรวงอก<br />

ในขณะที่มีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาที่ทันท่วงที<br />

การบาดเจ็บที่ทรวงอกที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้แก่<br />

1. การอุดกั้นทางเดินหายใจ<br />

(Airway obstruction)<br />

2. ภาวะปอดถูกกดทับ (Tension pneumothorax)<br />

3. ภาวะเลือดออกในช่องปอดปริมาณมาก (Massive hemothorax)<br />

4. ภาวะการกดทับของหัวใจ (Cardiac tamponade)<br />

5. แผลเปิดที่หน้าอก<br />

(Open chest wound)<br />

6. ภาวะการทำงานล้มเหลวของซี่โครง<br />

(Flail chest)<br />

ในขณะเดียวกันการบาดเจ็บที่ช่องอกอาจมีการบาดเจ็บ<br />

ซับซ้อน<br />

ที่อาจไม่แสดงอาการในช่วงแรก<br />

แต่มีความรุนแรง และอาจเป็นสาเหตุของ<br />

การเสียชีวิตในภายหลังได้แก่<br />

1. การฟกช้ำของปอด (Pulmonary contusion)<br />

2. การฉีกขาดของเส้นเลือดแดงใหญ่ (Aortic disruption)<br />

3. การฉีกขาดของหลอดลม (Tracheobronkchial disruption)<br />

4. การบาดเจ็บของหลอดอาหาร (Esophageal trauma)<br />

5. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ<br />

(Myocardial contusion)<br />

6. การบาดเจ็บของกระบังลม (Traumatic diaphragm rupture)<br />

151


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

การให้การดูแลรักษาเบื้องต้น<br />

(Initial evalution : Primary Survey)<br />

การรักษาการบาดเจ็บที ่ทรวงอกยึดหลักการรักษาตามความสำคัญ<br />

เหมือนกับการรักษาในผู้ป่วยอุบัติเหตุรายอื่นๆ<br />

โดยมุ่งเน้นที่การค้นหาและ<br />

การให้การรักษาภาวะที่คุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยมากที่สุดก่อน<br />

ซึ่งลำดับขั้นตอน<br />

การรักษาได้แก่<br />

1. การป้องกันหลอดลม (clear airway) รวมถึงการใส่ท่อช่วยหายใจ<br />

หรือการทำการเจาะคอถ้าจำเป็น (surgical airway protection)<br />

2. การดูแลการหายใจที่พอเพียง<br />

(adequate ventilation) เป็นการ<br />

ดูแลให้ผู้ป่วยมีการหายใจแลกเปลี่ยนก๊าซที่เหมาะสมและสืบหา<br />

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ได้เช่นภาวะปอดกดทับ<br />

(tension<br />

pneumothorax) รวมถึงการให้การรักษาเบื้องต้นเช่นการใส่ท่อ<br />

ระบายทรวงอก<br />

3. ดูแลการใหลเวียนโลหิตให้พอเพียง ซึ่งสาเหตุของการช็อค<br />

การ<br />

บาดเจ็บที่ทรวงอกที่พบได้บ่อยนอกจากการเสียเลือดปริมาณมาก<br />

แล้วยังอาจมีสาเหตุจากการที ่หัวใจไม่สามารถบีบตัวได้เนื ่องจากถูก<br />

กดทับ ซึ ่งอาจตรวจร่างกายพบว่ามีการขยายของเส้นเลือดดำที ่คอ<br />

(distend neck vein) การกดทับเหล่านี้ได้แก่<br />

1. cardiac<br />

tamponade 2. Tension Pneumothorax หรืออาจมีสาเหตุทำ<br />

ให้หัวใจบีบตัวได้ไม่ดี เช่น coronary air embolism หรือ<br />

myocardial injury<br />

การบาดเจ็บที่ทรวงอกส่วนใหญ่สามารถดูแลเบื้องต้นในขั้นตอน<br />

Primary survey โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือการใส่สายระบายทรวงอก<br />

เช่นภาวะ tension pneumothorax<br />

Tension pneumothorax<br />

เกิดจากการบาดเจ็บที่ทำให้มีลมอยู่ใน<br />

pleural space และไม่<br />

สามารถระบายออกมาได้ (Flap valve phenomenon) และตามมาด้วย<br />

Respiratory compromise จากการเพิ่มขึ้นของ<br />

pleural pressure และเกิด<br />

152


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

Hemodynamic compromise จากการลดลงของ venous return ส่วน<br />

ปอดข้างปกติจะทำงานแย่ลงจากการที่<br />

mediastinal shift.<br />

การวินิจฉัย การตรวจร่างกายจะตรวจพบภาวะดังนี้<br />

a) Respiratory distress<br />

b) Absent unilateral breath sounds<br />

c) Asymmetric chest wall motion<br />

d) Hypotension with distended neck veins<br />

e) Shift of the trachea and the PMI<br />

การให้การรักษา<br />

1. มีภาวะ hemodynamic compromise: needle decompression<br />

หลังจากนั้นทำการใส่<br />

chest tube.<br />

2. ไม่มีภาวะ hemodynamic compromise:. ใส่ chest tube<br />

ขนาดใหญ่ (36 Fr ขึ้นไป)<br />

3. ทำการตรวจ chest x-ray หรือ CT scan of chest หลังใส่<br />

chest tube<br />

อย่างไรก็ตามในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเปิดทรวงอก<br />

(emergency Thoracotomy) ซึ่งได้แก่ภาวะดังนี้<br />

1. Cardiac tamponade<br />

2. Massive hemothorax<br />

3. uncontroll air leak<br />

ภาวะเลือดคั่งค้างในช่องเยื่อหุ้มปอด<br />

(Retain hemothorax)<br />

โดยทั่วไปหลังจากใส่สายระบายทรวงอกแล้วหากยังมีเลือดเหลือ<br />

อยู่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในภายหลังได้<br />

ดังนั้นอาจต้องมีการใส่สาย<br />

ระบายเพิ่ม<br />

หรือในบางกรณีอาจต้องมีการส่องกล้องช่วย (Video assist<br />

Thoracoscope) หรือบางครั้งอาจต้องมีการผ่าตัดเพื่อเข้าไประบายเลือดที่<br />

153


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

คั่งค้าง<br />

มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ได้รับการรักษาภาวะเลือดคั่งค้างไม่เหมาะสมทำ<br />

ให้กลายเป็นโพรงหนองอักเสบเรื้อรัง<br />

(Loculated empyema thoracis)<br />

จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเลาะเยื่อหุ้มปอด<br />

(Decortication) ซึ่งเป็นการ<br />

ผ่าตัดที่มีภาวะแทรกซ้อนมากและผลการผ่าตัดมักไม่ดี<br />

ดังนั้นการวินิจฉัย<br />

ภาวะเลือดคั่งค้างในช่องอกจึงมีความสำคัญและมีบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีภาวะ<br />

ปอดฟกช้ำร่วมด้วยทำให้การวินิจฉัยยากยิ่งขึ้น<br />

แนวทางการรักษาภาวะเลือดคั่งในช่องปอด<br />

การผ่าตัดเปิดทรวงอกที่ห้องฉุกเฉิน<br />

(Emergency department<br />

Thoracotomy)<br />

ดังได้กล่าวถึงข้อบ่งชี ้ในการผ่าตัดเปิดทรวงอกแล้ว แต่ในบางกรณี<br />

ไม่สามารถเตรียมผู้ป่วยเข้าไปผ่าตัดในห้องผ่าตัดได้<br />

การผ่าตัดเปิดทรวงอก<br />

ที่ห้องฉุกเฉินสามารถกระทำได้<br />

แต่โดยทั่วไปแล้วควรเลือกผู้ป่วยที่มีโอกาส<br />

รอดชีวิตมาทำหัตถการนี้ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอกที่เกิดจาก<br />

วัตถุมีคมแล้วมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันหลังเกิดเหตุหรือระหว่างการ<br />

นำส่งโรงพยาบาล<br />

154


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

การให้การดูแลเฉพาะ (Secondary survey and definite treatment)<br />

1.กระดูกซี่โครงหัก<br />

(Ribs fracture)<br />

กระดูกซี ่โครงหักมักพบในการบาดเจ็บจากการกระแทกที ่ทรวงอก<br />

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บและหายใจสะดุด<br />

จากการตรวจร่างกายอาจพบการกด<br />

เจ็บ โดยทั่วไปสามารถมองเห็นซี่โครงที่หักได้จากการฉายรังสีเอ็กซเรย์ปอด<br />

ธรรมดา ยกเว้นในภาวะที่มีการหลุดของกระดูกอ่อน<br />

(Costochondral or<br />

costosternal separation)ที่มักจะทราบจากการตรวจร่างกายโดยการกด<br />

การรักษา โดยทั่วไปการให้ยาแก้ปวดให้เพียงพอก็บรรเทาอาการ<br />

ได้มาก รวมทั้งการให้ผู้ป่วยสามารถไอได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ช่วยลดภาวะ<br />

แทรกซ้อนได้เป็นอย่างดีไม่แนะนำให้ใช้การพันหน้าอกเพราะทำให้การขยาย<br />

ของปอดไม่ดีเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ง่ายมากขึ้น<br />

ภาพที่<br />

1 แสดงการหักของกระดูกซี่โครง<br />

(costoxchondral separation)<br />

155


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

2. กระดูกหน้าอกหัก (Sternal fracture)<br />

กระดูกหน้าอกมักจะหักหากมีการกระแทกทางด้านหน้าโดยตรง<br />

อย่างรุนแรง หรือการบาดเจ็บจากการคาดเข็มขัดนิรภัยโดยตำแหน่งที่มีการ<br />

หักบ่อยที่สุดคือตำแหน่งของ<br />

sternomanubrium junction ซึ่งผู้ป่วยจะ<br />

มีการปวดมากและสามารถคลำได้การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกระดูกหน้า<br />

อกจากการตรวจร่างกาย โดยทั่วไปมักจะมีการบาดเจ็บของหัวใจ<br />

หรือเส้น<br />

เลือดแดงใหญ่ร่วมด้วย จึงควรมีการสืบค้นโดยการตรวจ echocardiogram<br />

และหรือ CT scan ช่องอกเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บดังกล่าวเสมอ<br />

การรักษา ในผู้ป่วยที่มีการหักเพียงตำแหน่งเดียวและรอยแยกไม่<br />

ห่างเกิน 1 เซนติเมตร อาจให้การรักษาด้วยการ reduction โดยให้ผู้ป่วย<br />

นอนราบกับเตียงยกศีรษะ และยกขาพร้อมกันและแพทย์ทำการกดกลาง<br />

หน้าอกลง (ALBEIT Method) แต่ในผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ไม้เท้า<br />

ค้ำยัน หรือมีรอยแยกที่ห่างควรต้องทำการ<br />

open reduction และทำการ<br />

fixation ด้วยลวดหรือ plate เพื่อลดปัญหาอาการปวดเรื้อรัง<br />

3. ภาวะการทำงานล้มเหลวของกระดูกซี่โครง<br />

(Flail Chest)<br />

ภาวะ Flail chest เป็นการบาดเจ็บต่อกระดูกทรวงอกที่รุนแรง<br />

ที่สุดเนื่องจากมีผลเกี่ยวข้องกับทั้งระบบการหายใจ<br />

และการเคลื่อนไหวของ<br />

หน้าอกอย่างรุนแรง การบาดเจ็บประกอบด้วยการหักของซี่โครงที่ติดกัน<br />

และในซี่โครงแต่ละซี่มีการหักมากกว่า<br />

2 ตำแหน่งขึ้นไป<br />

ในบางครั้งมีการหัก<br />

ที่ตำแหน่งของ<br />

Costosternal segment เรียกกรณีนี้ว่า<br />

sternal flail chest<br />

กลไกการบาดเจ็บที่ทำให้<br />

Flail chest มีความรุนแรงได้แก่ 1.การหายใจแบบ<br />

paradoxical respiration ทำให้ปอดขยายได้ไม่เต็มที่<br />

2.การฟกซ้ำของ<br />

ปอดทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่เหมาะสม<br />

3. อาการปวดที่ทำให้การไอ<br />

และการหายใจไม่เต็มที่<br />

การวินิจฉัยภาวะดังกล่าวจะยิ่งทำได้ยากมากยิ่งขึ้น<br />

หากผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจเนื่องจากไม่มีการหายใจแบบ<br />

paradoxical<br />

respiration<br />

156


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

ภาพที่<br />

2 กลไกการหายใจแบบ paradoxical movement<br />

การรักษา การรักษาภาวะ Flail chest มีเป้าหมายเ<br />

พื่อลดอาการปวดให้มากที่สุดและให้ผู้ป่วยสามารถขับเสมหะให้ได้มากที่สุด<br />

การ ควบคุมอาการปวดทำได้โดยการให้ยาแก้ปวดกลุ่ม<br />

opioid หรือการให้ยา<br />

แบบผู้ป่วยควบคุมเอง<br />

(PCA) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงไอได้<br />

เพียงพอควรมีการให้ยาทางช่องประสาทไขสันหลัง (Epidural anesthesia)<br />

โดยยาที่ได้ผลมากที่สุดคือ<br />

Morphine sulfate ผสมกับ Bupivacain<br />

หากให้ยาระงับปวดเต็มที่แล้วผู้ป่วยควรสามารถไอขับเสมหะได้อย่างดี<br />

การ ดูแลให้ผู ้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเป้าหมายหลักของการรักษา<br />

ผู ้ป่วย Flail chest หากผู้ป่วยไม่สามารถไอได้<br />

อาจมีการกระตุ้นการไอโดย<br />

การเคาะปอด ใช้ยาละลายเสมหะหรือการดูดเสมหะ โดยทั่วไปสามารถ<br />

หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย<br />

Flail chest ได้ แต่ในกรณีที่<br />

ผู้ป่วยมีภาวะ<br />

Hypoxemia หรือ Hypercarbia อาจต้องใส่เครื่องช่วย<br />

หายใจเพื่อให้แน่ใจว่า<br />

Tidal volume และ respiratory rate ที่เพียงพอ<br />

ในผู ้ป่วยที ่มีอาการ รุนแรงอาจต้องใส่ positive pressure จนกว่า pulmonary<br />

157


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

contusion จะดีขึ้น<br />

มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่จำเป็นต้องทำการ<br />

Fixation ของ<br />

กระดูกส่วนที่หักซึ่งหัตถการนี้ได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ<br />

ในปัจจุบัน<br />

4.บาดแผลเปิดที่หน้าอก<br />

(Open chest wound)<br />

บาดแผลเปิดที่หน้าอกที่พบหลังจากการบาดเจ็บสามารถวินิจฉัย<br />

ได้ไม่ยากแต่การให้การรักษามีความยุ่งยากเนื่องจากมักมีการบาดเจ็บของ<br />

ปอด หรืออวัยวะภายในอื่นที่ค่อนข้างรุนแรงร่วมด้วย<br />

ในผู้ป่วยที่มีบาดแผล<br />

เปิดขนาดเล็กอาจให้การดูแลเบื้องต้นโดยการปิดแผล<br />

3 ด้าน (3 sides<br />

occlusive dressing) ร่วมกับการใส่สายระบายทรวงอกเพื ่อป้องกัน tension<br />

pneumothorax ในกรณีที่มีบาดแผลขนาดใหญ่ที่มักเกิดจากการบาดเจ็บ<br />

จากวัคถุระเบิดอาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ<br />

ร่วมกับให้การรักษาการบาดเจ็บ<br />

ของอวัยวะภายใน หลังจากนั้นก็ปิดบาดแผลโดยการใช้<br />

myocutaneous<br />

หรือ myofascial flap ของกล้ามเนื้อ<br />

Pectoralis, Latissimus dorsi<br />

หรือ Rectus abdominis โดยคำนึงถึงกลไกการหายใจเป็นหลัก<br />

ภาพที่<br />

3 การทำแผล 3 sides dressing<br />

158


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

5.การบาดเจ็บของปอด (Pulmonary injuries)<br />

เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่จึงได้รับบาดเจ็บได้<br />

ง่าย<br />

การประเมินการบาดเจ็บว่ามีความจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่พิจารณาจากปริมาตร<br />

เลือดที่ออก<br />

หากพบว่ามีเลือดออกมากกว่า 1<strong>500</strong> ซีซี ควรพิจารณาทำการ<br />

ผ่าตัด ในกรณีที่มีการฉีกขาดของเนื้อปอด<br />

สามารถให้การ รักษาด้วยการเย็บ<br />

การตัดเนื้อปอดทิ้ง<br />

(Wedge resection or Lobectomy) หรือการทำ<br />

Pulmonary Tractotomy เพื ่อหยุดเลือดที ่ออกในระดับที ่ลึกและลดปัญหา<br />

การเกิดเลือดคั่ง<br />

(pulmonary hematoma) ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในกรณี<br />

ที่มีการแทงทะลุ<br />

โดยการเปิดรูที่แทงทะลุด้วย<br />

Stapler หรือ Clamp แล้ว<br />

เย็บ หัตถการนี้ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มีฉีกขาดเนื้อปอดจนถึง<br />

hilum หรือปอด<br />

ฉีกขาดแบบแยกออกจากกัน ควรทำ lobectomy มากกว่า<br />

ในกรณีที ่มีการบาดเจ็บที ่บริเวณขั ้วปอด อาจมีปัญหาเรื ่อง Air<br />

emboli ซึ ่งผู ้ป่วยจะมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังการใส่เครื ่อง<br />

ช่วยหายใจ ผู ้ป่วยกลุ ่มนี ้จำเป็นต้องรีบเปิดช่องอกเพื ่อ clamp hilar และดูด<br />

Air ออกจากหัวใจเพื ่อลดปัญหาเรื ่องกล้ามเนี ้อหัวใจตายจากการที ่มีอากาศอยู ่<br />

ใน coronary artery ในกรณีที ่มีการฉีกขาดและเลือดออกปริมาณมากอาจต้อง<br />

ทำการตัดปอด (Pneumonectomy)<br />

การบาดเจ็บที่เกิดจากการกระแทกสามารถทำให้เกิดการฟกช้ำของ<br />

ปอด (Pulmonary contusion) ตำแหน่งที่มีการฟกช้ำจะมีการแลกเปลี่ยน<br />

ก๊าซได้ไม่ดี (Ventilation perfusion mismatch) ทำให้มีภาวะ Hypoxemia<br />

การรักษาให้การรักษาคล้ายกับใน Flail chest<br />

6.การบาดเจ็บของหลอดลม (Tracheobronchial injury)<br />

การบาดเจ็บของหลอดลมมักพบร่วมกับการบาดเจ็บของช่องอก<br />

ที่รุนแรง<br />

การวินิจฉัยและการรักษาต้องทำอย่างรวดเร็วผู้ป่วยจึงมีโอกาสรอด<br />

ชีวิต หลอดลมเองมีความยาวประมาณ 10-13 เซนติเมตร ประกอบด้วย<br />

tracheal ring ประมาณ 18-22 วงโดยครึ่งหนึ่งของหลอดลมจะอยู่ที่คอ<br />

159


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

โดยปกติเราสามารถตัดหลอดลมออกได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวทั้ง<br />

หมดแต่การเลาะนั้นต้องระวังเส้นเลือดที่มาเลี้ยง<br />

trachea ที่มาจากด้านข้าง<br />

(lateral pedicle)<br />

การให้การวินิจฉัยอาจตรวจพบ Pneumothorax, Pneumomediastinum<br />

การตรวจ CT chest อาจช่วยในการวินิจฉัยแต่อย่างไรก็ตาม<br />

การทำ Bronchoscope ยังคงเป็น Gold standard ในการวินิจฉัยในปัจจุบัน<br />

ไม่ว่าจะเป็นการใช้ rigid หรือ flexible bronchoscope โดยทั่วไปการทำ<br />

bronchoscope จะเลือกาทำในผู้ป่วยรายที่มีปัญหาปอดไม่ขยายหลังจากได้<br />

รับการใส่สายระบายแล้ว<br />

การรักษา การรักษาการบาดเจ็บของหลอดลมนั้นเป็นตัวย่างที่<br />

สำคัญของการรักษาผู ้ป่วยที ่ได้รับอุบัติเหตุ เนื ่องจากการจัดลำดับความสำคัญ<br />

โดยการรักษาทางเดินหายใจให้โล่งก่อนเสมอและดูแลการหายใจให้เพียงพอ<br />

ความยุ่งยากของการรักษาอยู่ที่การใส่ท่อช่วยหายใจเนื่องจากการใส่ท่อช่วย<br />

หายใจโดยการ Blind มีโอกาสที่จะใส่ท่อช่วยหายใจออกนอกหลอดลม<br />

ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการทำใช้<br />

bronchoscope guide intubation แต่อย่าง<br />

ไรก็ตามวิธีนี้มีข้อจำกัดที่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญจึงจะประสพความสำเร็จ<br />

วิธีทางเลือกคือการทำ tracheostomy หรือ Cricothyrodotomy โดยหาก<br />

พบส่วนของหลอดลมด้านล่าง อาจสามารถใส่ท่อช่วยหายใจผ่านลงไปได้<br />

โดยตรง หลังจากให้การดูแลเรื่องทางเดินหายใจแล้วค่อยตรวจเพิ่มเติมไม่<br />

ว่าจะเป็นการทำ Esophagoscope ,laryngoscope หรือ angiogram เพื่อ<br />

หาการบาดเจ็บร่วมต่อไปซึ่งการรักษาจำเพาะโรคขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ<br />

การบาดเจ็บ<br />

160


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

ภาพที่<br />

4 การใส่ท่อช่วยหายใจในภาวะ<br />

ที่มีการบาดเจ็บของหลอดลม<br />

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด (Non operative management)<br />

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เลือกทำในผู้ป่วยดังนี้คือ<br />

1. small lesion < 1/3 circumferencial<br />

2. No tissue loss<br />

3. No associated injury<br />

4. No need to positive ventilation<br />

โดยอาจทำได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจให้ผ่านจุดที่มีการบาดเจ็บ<br />

แล้วรักษาประคับประคองรอให้แผลหาย โดยต้องระวังการติดเชื ้อแทรกซ้อน<br />

และภาวะการอุดกั้นทางเดินหายใจ<br />

การรักษาด้วยการผ่าตัด จำเป็นต้องมีการประสานงานเป็นอย่าง<br />

ดีระหว่างวิสัญญีแพทย์และศัลยแพทย์โดยการใส่ท่อช่วยหายใจไปด้านตรง<br />

ข้ามของปอดที่ได้รับบาดเจ็บ<br />

หรือใส่ double lumen endobronchial tube<br />

การ mobilize ต้องระวัง lateral vessel และไม่มีการตึงของ anastomosis<br />

หลังผ่าตัดต้องพยายามเอาท่อช่วยหายใจออกให้เร็วที่สุด<br />

161


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

บทบาทของ VATS<br />

Video assisted Thoracoscope ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยมี<br />

ข้อบ่งชี้ได้แก่<br />

1. Undrained haemothorax<br />

2. Persistent pneumothorax<br />

3. On-going haemorrhage<br />

4. Suspect diaphragm injury<br />

5. Empyema<br />

ซึ่งพบว่าช่วยให้ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลสั้นลงและการ<br />

ปวดแผลดีขึ้นแต่อย่างไรก็ตามมีข้อห้ามใช้ดังนี้<br />

References<br />

1. Kemmerer WT, Eckert WJ, Gathwright JB, et al;<br />

Patterns of thoracic injuries in fatal traffic accidents. J Trauma<br />

1:595, 1961<br />

2. Boldt J, Zickmann B, Fedderson B, et al; Six different<br />

hemofiltration devices for blood conservation in cardiac surgery.<br />

Ann Thorac Surg 51:747, 1991<br />

162


สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย การอบรมวิชาการระยะสั้น<br />

ครั้งที่<br />

14<br />

3. Luchette FA, Barrie PS, Oswanski MF, et al;<br />

Practice management guidelines for prophylactic antibiotic use in<br />

tube thoracostomy for traumatic hemopneumothorax: the EAST<br />

practice management guidelines work group. J Trauma 48:753,<br />

2000<br />

4. Brasel KJ, Stafford RE, Weigelt JA, et al; Treatment<br />

of occult pneumothoraces from blunt trauma. J Trauma 46:987,<br />

1999<br />

5. Aguilar MM, Battistella FD, Owings JT, et al;<br />

Posttraumatic empyema: risk factor analysis. Arch Surg 132:647,<br />

1997<br />

6. Meyer DM, Jessen ME, Wait MA, et al; Early evacuation<br />

of traumatic retained hemothoraces using thoracoscopy: a prospective,<br />

randomized trial. Ann Thorac Surg 64:1396, 1997<br />

7. Wilson JM, Boren CH Jr, Peterson SR, et al; Traumatic<br />

hemothorax: is decortication necessary? J Thorac Cardiovasc Surg<br />

77:489, 1989<br />

8. Mandal AK, Thadepalli H, Mandal AK, et al;<br />

Posttraumatic empyema thoracis: a 24-year experience at a major<br />

trauma center. J Trauma 43:764, 1997<br />

9. Karmy-JonesR,JurkovichGJ,ShatzD,etal;Management<br />

of traumatic lung injury: a WTA multicenter review. J Trauma<br />

51:1049, 2001<br />

163

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!