01.12.2014 Views

NIMT NEWS - สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

NIMT NEWS - สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

NIMT NEWS - สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

September-October 2012<br />

Vol.14, No.69<br />

ผนึกกำลังสร้างเกณฑ์มาตรฐาน<br />

ผนึกกำลังสร้างเกณฑ์มาตรฐาน<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตทั่วประเทศ<br />

WORLD METROLOGY<br />

OIML : องค์การชั่งตวงวัด<br />

ระหว่างประเทศ<br />

<strong>NIMT</strong> ARTICLE<br />

ประโยชน์จากไกลโคไซด์<br />

<strong>NIMT</strong> <strong>NEWS</strong><br />

งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย<br />

ประจำปี 2555<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ


3<br />

4<br />

6<br />

10 16<br />

20<br />

22<br />

24<br />

สารบัญ<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

WORLD METROLOGY<br />

OIML : องค์การชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ<br />

<strong>NIMT</strong> <strong>NEWS</strong><br />

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555<br />

“มาตรวิทยา...เพื่อความปลอดภัย”<br />

SPECIAL SCOOP<br />

ผนึกกำลังสร้างเกณฑ์มาตรฐาน<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตทั่วประเทศ<br />

<strong>NIMT</strong> ARTICLE<br />

ประโยชน์จากไกลโคไซด์<br />

<strong>NIMT</strong> ARTICLE<br />

ข้อกำหนดด้านมาตรวิทยาเวลาและความถี่<br />

<strong>NIMT</strong> INTERVIEW<br />

สัมภาษณ์นักมาตรวิทยารุ่นใหม่<br />

<strong>NIMT</strong> ACTIVITIES<br />

ประมวลภาพกิจกรรม<br />

<strong>NIMT</strong> <strong>NEWS</strong><br />

งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย<br />

ประจำปี 2555<br />

EDITOR'S<br />

สวัสดีครับ…ท่านสมาชิกชาว Metrology Info ทุกท่าน ฉบับนี้<br />

คณะผู้จัดทำขอเสนอบรรยากาศงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

แห่งชาติ ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 17-31 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์<br />

นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยในวันที่ 22<br />

สิงหาคม 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จ<br />

พระราชดำเนินเปิดงานและเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการภายในงาน<br />

สำหรับปีนี้นิทรรศการของ มว. ได้นำเสนอผลงานภายใต้หัวข้อ<br />

“มาตรวิทยา…เพื่อความปลอดภัย” เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิด<br />

ในวันมาตรวิทยาโลกปี 2012<br />

สำหรับสกู๊ปพิเศษในเล่มนี้ขอนำเสนอโครงการสำคัญที่ช่วย<br />

สร้างหลักประกันในด้านความปลอดภัยให้แก่ประชาชน เรื่อง “โครงการ<br />

สถาปนาขีดความสามารถในการตรวจสอบความถูกต้องของระบบ<br />

เครื่องมือวัดความดันโลหิตในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐาน<br />

สากล” ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมาก<br />

เพราะโครงการนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานเครื่องมือวัดความดันโลหิต<br />

ในสถานประกอบการและโรงพยาบาลต่างๆ ให้มีคุณภาพเชื่อถือได้เพิ่ม<br />

ความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ว่าได้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีมาตรฐาน<br />

และสำหรับคอลัมน์มาตรวิทยาต่างแดนให้ทุกท่านได้รู้จักกับหน่วยงาน<br />

มาตรวิทยาด้านกฎหมายเรียกว่า “องค์การชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ”<br />

และบทความด้านมาตรวิทยาที่ทุกท่านได้ให้การสนใจติดตามอ่านกัน<br />

เพื่อเป็นความรู้ดีๆ ที่อยากนำเสนอมาอย่างเช่นเคยครับ<br />

ท้ายนี้ อยากเชิญชวนท่านสมาชิกทุกท่านได้ไปร่วมงาน<br />

นิทรรศการ “วันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย 2555” ระหว่าง<br />

วันที่ 25-28 ตุลาคม 2555 จัดโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ มว. ของเรา<br />

ได้เข้าร่วมจัดงานครั้งยิ่งใหญ่นี้ด้วย และได้นำเสนอผลงานวิจัยด้าน<br />

มาตรวิทยาที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปและภาคอุตสาหกรรม<br />

แล้วอย่าลืมมาทักทายกันที่บูธในนิทรรศการด้วยนะครับ…สวัสดี<br />

ประสิทธิ์ บุบผาวรรณา<br />

บรรณาธิการ<br />

Advisors Somsak CHARKKIAN, Ajchara CHAROENSOOK, Virat PLANGSANGMAS, Krairerk OBROMSOOK, Gp. Capt. Piya BHUSAKAEW,<br />

Prawet MAHARATTANASAKUL, Flt. Lt. Tawat CHANGPAN, Somchai NUAMSETTEE, Maj. Arkom KRACHANGMOL,<br />

Doungkamol VIROONUDOMPHOL, Anusorn TONMUANWAI, Nattanit PONGJEERAKUMCHORN, Pornthep KITTIPUTPAIBOON<br />

Editor Prasit BUBPAWANNA<br />

Assistant Editors Janwalee DANTANASAKORN, Chanikcha CHANDARASIRI, Watchareeporn KLINKHACHORN, Pachataporn SOOKSUDET<br />

Publisher Public Relations Section, Policy and Strategic Department, National Institute of Metrology (Thailand),<br />

Ministry of Science and Technology, 3/4–5 Moo 3, Klong 5, Klong Luang, Pathumthani 12120, Thailand<br />

Tel : 0 2577 5100 Fax : 0 2577 2877, 0 2577 2859<br />

E-mail: nimt@nimt.or.th Website: http://www.nimt.or.th<br />

Metrology Info จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวสารความรู้ด้านมาตรวิทยา เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของประเทศ และสร้างความตระหนัก<br />

(Awareness) ให้สาธารณชนได้เห็นถึงความสำคัญของมาตรวิทยาต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ความคิดเห็นและข้อความต่างๆ เป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น


OIML<br />

WORLD<br />

ชณิกชา จันทร์ศิริ<br />

ส่วนประชาสัมพันธ์<br />

International Organization of Legal Metrology<br />

องค์การชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ<br />

มีชื่อภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Organisation<br />

Internationale de Métrologie Légale :<br />

OIML และภาษาอังกฤษเรียกว่า International<br />

Organization of Legal Metrology จัดตั้งขึ้นในปี<br />

ค.ศ. 1955 โดยเป็นองค์กรที่มีข้อตกลงร่วมกัน<br />

ระหว่างรัฐ มีสมาชิกสามัญ 57 ประเทศ เข้าร่วม<br />

กิจกรรมด้านเทคนิค และมีสมาชิกสมทบอีก<br />

ประมาณ 62 ประเทศเป็นผู้สังเกตการณ์ ซึ่ง<br />

รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย โดยมีสำนักงาน<br />

ระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายชั่งตวงวัด (Bureau<br />

International de Métrologie Légale :<br />

BIML) ทำหน้าที่เป็นทั้งเลขานุการ และเป็น<br />

สำนักงานใหญ่ของ OIML ด้วย มีสำนักงานตั้งอยู่<br />

ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส<br />

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง OIML คือ<br />

1. จัดทำรายละเอียดอันเป็นที่ยอมรับ<br />

ในเรื่องข้อกำหนดสากล และเอกสารในสาขา<br />

ต่างๆ ด้านการชั่งตวงวัด<br />

2. เผยแพร่ข้อมูลทางเทคนิคในด้าน<br />

การชั่งตวงวัด (ข้อมูลในเรื่องกฎหมายและ<br />

ข้อกำหนด ประสบการณ์ความชำนาญทาง<br />

เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง) ผ่าน<br />

ทางวารสารทุกๆ 3 เดือน หรือทางเว็บไซต์ของ<br />

OIML<br />

3. ขจัดข้อกีดกันทางการค้าอันเกิดจาก<br />

กิจกรรมด้านการชั่งตวงวัด โดยการสนับสนุน<br />

ส่งเสริมให้มีการปรับแก้กฎหมาย และข้อกำหนด<br />

เกี่ยวกับ การวัด สินค้าหีบห่อ และเครื่องมือวัด<br />

ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน<br />

เพื่อให้การประเมินทางการชั่งตวงวัดมีความ<br />

สอดคล้องกัน<br />

4. ส่งเสริมและพัฒนาการชั่งตวงวัดใน<br />

ระดับโลก<br />

สำหรับประเทศไทย สำนักงานกลาง<br />

ชั่งตวงวัด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมการค้า<br />

ภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะสมาชิกสมทบ<br />

เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบการวัดแห่งชาติ<br />

ในเชิงพาณิชย์หรือเชิงกฎหมาย อำนาจหน้าที่<br />

หลักของสำนักงานกลางชั่งตวงวัด คือ การ<br />

กำหนดระดับความถูกต้องของการชั่ง ตวง วัด<br />

ในเชิงพาณิชย์เพื่อความเป็นธรรมในการซื้อขาย<br />

แลกเปลี่ยน รวมไปถึงการควบคุมให้มีการปฏิบัติ<br />

ตามพระราชบัญญัติชั่ง ตวง วัด อย่างเคร่งครัด<br />

อีกด้วย<br />

OIML ได้มีการพัฒนาโครงสร้างทาง<br />

เทคนิคทั่วโลก เพื่อเป็นแนวทางของสมาชิก<br />

รายละเอียดเกี่ยวกับการผลิต และการใช้เครื่องมือ<br />

วัดในการใช้งานทางด้านกฎหมาย ในระดับ<br />

ภูมิภาค และระดับชาติ สำหรับผู้ที่สนใจและ<br />

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปในเว็บไซต์<br />

www.oiml.org ซึ่งจะให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ<br />

โครงสร้าง รวมทั้งโครงการที่สำคัญต่างๆ ของ<br />

OIML อีกด้วย<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

3<br />

ที่มา : www.oiml.org / www.cbwmthai.org


4<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2555<br />

“มาตรวิทยา...เพื่อความปลอดภัย”<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน<br />

เปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2555 พร้อมทั้ง<br />

ทอดพระเนตรการจัดแสดงนิทรรศการภายใต้แนวความคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วย<br />

วิทยาศาสตร์” ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานต่างๆ<br />

มากมายทั้งในและต่างประเทศ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-31 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการ<br />

และการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยในปีนี้ มว. ได้จัดกิจกรรมและนิทรรศการในหัวข้อ<br />

“มาตรวิทยา...เพื่อความปลอดภัย” เพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดในวันมาตรวิทยาโลกปี 2012<br />

คือ “We measure for your safety : เราวัดเพื่อความปลอดภัยของคุณ” โดยแบ่งโซนในการให้<br />

ความรู้เป็น 3 โซนด้วยกันคือ<br />

• มาตรวิทยาในอดีต เป็นการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ<br />

ของงานด้านมาตรวิทยาในประเทศไทยซึ่งมีมาอย่างยาวนาน โดยในสมัยก่อน พ.ศ. 2440 นั้น<br />

คนไทยรู้จักและนิยมใช้วิธีชั่งตวงวัดกันแพร่หลายมาแต่โบราณกาล ได้แก่วิธีของไทย จีน และวิธีฝรั่ง<br />

ซึ่งมีพิกัดอัตราไม่เท่ากัน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความเจริญก้าวหน้าในการค้าขาย จึงได้มีการคิดหา<br />

วิธีการวัดที่เป็นสากลและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จนมีผู้เสนอว่าควรรับแบบวิธีเมตริกมาใช้<br />

เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับนานาประเทศ ทำให้ในปี พ.ศ. 2455 ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก<br />

ของสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ และเริ่มใช้การวัดในระบบเมตริกอย่างเป็นทางการ นับว่า<br />

ระบบมาตรวิทยาได้เริ่มเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยซึ่งต่อมาได้มีการดำเนินกิจกรรมทางด้านการวัด<br />

มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงในปี พ.ศ. 2555 นี้ ที่ได้ครบรอบ 100 ปี แห่งการดำเนินกิจกรรมด้าน<br />

มาตรวิทยาอย่างสมบูรณ์


<strong>NIMT</strong><br />

วัชรีพร กลิ่นขจร<br />

ส่วนประชาสัมพันธ์<br />

• มาตรวิทยาในปัจจุบัน กล่าวถึงการดำเนินกิจกรรมด้านการวัดที่สร้างความปลอดภัย<br />

ให้กับชีวิต โดย มว. ได้มีการดำเนินกิจกรรมในโครงการสำคัญที่ช่วยสร้างหลักประกันในด้าน<br />

ความปลอดภัยให้แก่ประชาชน ได้แก่ โครงการสถาปนาขีดความสามารถในการตรวจสอบ<br />

ความถูกต้องของระบบเครื่องมือวัดความดันโลหิตในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล<br />

โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานหลักทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คือ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์<br />

และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการศึกษาคุณภาพเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้กันใน<br />

โรงพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดอบรมวิธีการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิตให้กับ<br />

เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยมีมาตรการควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิต<br />

ให้เป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ว่าได้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน<br />

เชื่อถือได้ และโครงการมาตรวิทยากับความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งสถาบันได้มีการดำเนินกิจกรรม<br />

ต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริโภคอาหารว่ามีความปลอดภัย อาทิ การผลิตวัสดุอ้างอิง<br />

เพื่อตรวจปริมาณแคดเมียมในข้าว การผลิตวัสดุอ้างอิงเพื่อตรวจวัดค่าความหวาน การวิเคราะห์สาร<br />

เมลามีนในนมผง โดยใช้เทคนิค Exact-matching double IDMS เป็นต้น<br />

• มาตรวิทยาในอนาคต ได้กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญที่จะมีผลกระทบกับประเทศ<br />

ในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) จะเป็นปีที่ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน<br />

ซึ่งจะส่งผลเป็นวงกว้างต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัว<br />

โดยเฉพาะภาคธุรกิจและการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศจะเป็นไปอย่างราบรื่นได้<br />

ทุกประเทศต้องใช้ระบบหน่วยวัดเดียวกันที่เป็นสากล สิ่งนี้เองคือที่มาของข้อตกลงระหว่างประเทศ<br />

ว่าด้วยมาตรการวัดปริมาณทางกายภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่าง<br />

ประเทศ นับว่าเป็นหัวใจหลักในการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตที่จะนำไปสู่การเสริมสร้าง<br />

ประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน<br />

ทางการค้าระหว่างประเทศ ระบบมาตรวิทยาจะเป็นหลักประกันและกุญแจสำคัญในเรื่อง “การขจัด<br />

ข้อกีดกันทางการค้าด้านเทคนิค” สู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในการก้าว<br />

เข้าไปสู่เวทีการค้าของอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ พร้อมกันนี้ยังเพิ่มเติมข้อมูลการแนะนำสถาบัน<br />

มาตรวิทยาของประเทศในเขตภูมิภาคอาเซียนให้ได้ทราบกันว่าประเทศใดบ้างในอาเซียนที่มีสถาบัน<br />

มาตรวิทยาและมีชื่อเรียกกันว่าอย่างไรบ้าง<br />

นอกจากนิทรรศการข้างต้นแล้ว สถาบันยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การร่วมเล่น<br />

เกมตอบคำถามเพื่อชิงรางวัล การต่อจิกซอว์มหาสนุก รวมทั้งการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับพี่ <strong>NIMT</strong><br />

Man ตัวหุ่นการ์ตูนของสถาบัน เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากน้องๆ เป็นอย่างมาก โดยการจัด<br />

กิจกรรมในครั้งนี้พวกเราชาวมาตรวิทยาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ ในวัยเรียน<br />

หันมาสนใจงานด้านมาตรวิทยาและงานด้านวิทยาศาสตร์กันให้มากขึ้นต่อไป<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

5


SPECIAL<br />

ประสิทธิ์ บุบผาวรรณา<br />

บรรณาธิการ<br />

ผนึกกำลังสร้างเกณฑ์มาตรฐาน<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตทั่วประเทศ<br />

6<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

มว. มีโครงการดีๆ<br />

ที่ร่วมมือกับหน่วยงาน<br />

หลักทางด้านการแพทย์และ<br />

สาธารณสุขกับ วพ. และ<br />

อย. ในการศึกษาคุณภาพ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตที่<br />

ใช้กันในโรงพยาบาลทั่ว<br />

ประเทศ<br />

มนุษย์เราเกิดมาย่อมต้องมีการเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคประจำตัวจะต้อง<br />

ตระหนักและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ทั้งต้องทานยา นอนหลับพักผ่อน ออกกำลังกาย<br />

และต้องไปพบแพทย์ตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานีอนามัยต่างๆ เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยและ<br />

รักษาโรคอย่างถูกต้อง จนทำให้ร่างกายเป็นปกติ กลับมาทำงานและดำเนินชีวิตได้เหมือนดังเดิม<br />

ทุกครั้งที่ท่านเจ็บป่วยแล้วต้องเข้าโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเคยสังเกตหรือไม่ว่า ท่านต้องถูก<br />

ซักประวัติและตรวจวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตทุกครั้งว่า ท่านมีความดันโลหิต<br />

เป็นอย่างไร มีความดันโลหิตปกติหรือสูงต่ำ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการวินิจฉัยและรักษาโรคของ<br />

แพทย์ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น อุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิตจึงมีความสำคัญอย่างมากที่ต้องมี<br />

ความถูกต้องเที่ยงตรงแม่นยำในการวัดความดันโลหิตของผู้ป่วย เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับ<br />

ความปลอดภัยและได้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่น่าเชื่อถือได้<br />

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโครงการดีๆ ที่<br />

ร่วมมือกับหน่วยงานหลักทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.)<br />

และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ในการศึกษาคุณภาพเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตที่ใช้กันในโรงพยาบาลทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดอบรมวิธีการทดสอบ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตให้กับเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยมีมาตรการ<br />

ควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิตให้เป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ว่าได้ใช้เครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตที่มีคุณภาพมาตรฐานเชื่อถือได้ อันเป็นกิจกรรมการวัดที่สร้างความปลอดภัยให้กับ<br />

ชีวิต โดย มว.ได้มีการดำเนินกิจกรรมในโครงการสำคัญที่ช่วยสร้างหลักประกันในด้านความปลอดภัย<br />

ให้แก่ประชาชน ทางคณะผู้จัดทำจึงอยากมาบอกกล่าวเล่าถึงโครงการดีๆ อย่างนี้ให้ผู้อ่าน<br />

ชาวมาตรวิทยาได้เป็นความรู้และเป็นประโยชน์กันครับ


• มุ่งมั่นการสอบกลับได้ทางการวัดสู่<br />

หน่วยวัดสากล<br />

เมื่อปี พ.ศ. 2549 ห้องปฏิบัติการ<br />

ความดัน ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล มว. ได้สถาปนา<br />

หน่วยวัดความดันและสุญญากาศให้เป็นที่<br />

ยอมรับในระดับนานาชาติที่สามารถสอบกลับได้<br />

ทางการวัดด้านความดันไปสู่หน่วยวัดสากล<br />

หรือหน่วยวัดเอสไอ (SI Units) โดยการสร้าง<br />

การยอมรับในระดับนานาชาติ จะต้องได้รับการ<br />

รับรองขีดความสามารถทางการสอบเทียบและ<br />

การวัด (Calibration Measurement Capability :<br />

CMC) และสาขาความดันประสบผลสำเร็จในการ<br />

สร้างการยอมรับดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และ<br />

ในปีดังกล่าว มว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา<br />

เรื่อง กำหนดมาตรฐานแห่งชาติ เกี่ยวกับหน่วย<br />

การวัดปริมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุ<br />

อ้างอิงที่ใช้ในการวัดปริมาณ เมื่อวันที่ 28<br />

กันยายน พ.ศ. 2549 ที่มีสาขาความดันรวมอยู่<br />

ด้วย เมื่อได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติแล้ว<br />

หน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ สร้างการถ่ายทอด<br />

ความถูกต้องของผลด้านการวัดไปสู่ผู้ที่ดำเนิน<br />

กิจกรรมการวัดต่างๆ ในประเทศ ได้แก่ ห้อง<br />

ปฏิบัติการสอบเทียบ/ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์<br />

ทางเคมีและชีวภาพ (ผู้ใช้บริการมาตรฐานแห่งชาติ<br />

โดยตรง) ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน และ<br />

ผู้ปฏิบัติการวัด (ผู้ใช้บริการมาตรฐานแห่งชาติ<br />

ผ่านห้องปฏิบัติการสอบเทียบ/ห้องปฏิบัติการ<br />

วิเคราะห์ทางเคมีและชีวภาพ และผลิตภัณฑ์)<br />

ห้องปฏิบัติการความดัน มว. ได้<br />

เล็งเห็นถึงความสำคัญในการถ่ายทอดค่าผลการวัด<br />

ทางด้านความดัน จึงได้ดำเนินโครงการ “การ<br />

สถาปนาขีดความสามารถในการตรวจสอบ<br />

ความถูกต้องของระบบเครื่องมือวัดความดัน<br />

โลหิตในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐาน<br />

สากล” ในการผลักดันให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับ<br />

วิธีการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิตตาม<br />

มาตรฐานสากลขึ้นในประเทศเป็นผลสำเร็จ<br />

ในปี 2554 โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานด้าน<br />

สาธารณสุขหลายแห่งที่ได้ตระหนักถึงความ<br />

จำเป็นที่จะให้องค์ความรู้ดังกล่าวเผยแพร่ไปใน<br />

• ความร่วมมือสร้างความเชื่อมั่นเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิต<br />

นำทีมโดย ร.อ.ธวัช ช่างปั้น รักษาการ<br />

หัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล และนักมาตร<br />

วิทยาอีกหลายท่าน ห้องปฏิบัติการความดัน ห้อง<br />

ปฏิบัติการสุญญากาศ และห้องปฏิบัติการอัตรา<br />

การไหล ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล มว. ได้มีความ<br />

ร่วมมือกับสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรม<br />

วิทยาศาสตร์การแพทย์ ในโครงการ “การพัฒนา<br />

ขีดความสามารถการทวนสอบเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตของห้องปฏิบัติการทาง<br />

การแพทย์” เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของ<br />

การวัดความดันโลหิตให้เป็นที่น่ าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น<br />

และความร่วมมือกับกองควบคุมเครื่องมือแพทย์<br />

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนัก<br />

รังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์<br />

การแพทย์ จัดโครงการ “การยกระดับการ<br />

ควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิตเพื่อการ<br />

คุ้มครองผู้บริโภค”เพื่อเป็นการกระตุ้นทุกภาคส่วน<br />

ให้ตระหนักถึงการจัดหา เลือกใช้ และบำรุงรักษา<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน<br />

ตลอดอายุการใช้งาน นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้น<br />

กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ ของการพัฒนาระบบการควบคุมเครื่องวัดความดัน<br />

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกองควบคุม<br />

เครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร<br />

และยา กระทรวงสาธารณสุข<br />

โลหิตในอนาคตให้เหมาะสม และเพิ่มความ<br />

มั่นใจแก่ผู้บริโภคว่า ได้ใช้เครื่องวัดความดัน<br />

โลหิตที่มีคุณภาพมาตรฐานเชื่อถือได้<br />

ร.อ.ธวัช ช่างปั้น<br />

รักษาการหัวหน้าฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

7


8<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน<br />

มาตรฐานวิธีการทำการทวนสอบ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิต<br />

โครงการพัฒนาขีดความสามารถการทวนสอบเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

ในปี 2554 ห้องปฏิบัติการความดัน ฝ่ายมาตรวิทยาเชิงกล<br />

โดยความร่วมมือกับสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์<br />

การแพทย์ ประสบความสำเร็จในการผลักดันให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับ<br />

วิธีการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิตตามมาตรฐานสากล โดยได้<br />

มีการร่วมกันจัดทำเอกสาร “ขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานวิธี<br />

การทำการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิต” ขึ้นและได้ประกาศใช้<br />

โดยสำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2554<br />

โดยอ้างอิงตามเอกสารมาตรฐาน OIML R 16-1 : Non-invasive<br />

mechanical sphygmomanometers, Edition 2002 (E) และ OIML<br />

R 16-2 : Non-invasive automated sphygmomanometers, Edition<br />

2002 (E)<br />

ขอบข่ายขั้นตอนการปฏิบัติงานนี้ใช้เพื่อการทวนสอบเครื่อง<br />

เป็นครั้งแรก (Initial Verification) และการทวนสอบเครื่องที่ใช้งานแล้ว<br />

ตามระยะเวลา (Periodic Verification) รวมถึงการทวนสอบหลังการ<br />

ซ่อมแซม โดยใช้วิธีการ คือ การเปรียบเทียบค่าความดันของเครื่องมือ<br />

ที่ทำการทดสอบกับค่าความดันที่อ่านได้จากเครื่องมือมาตรฐานด้าน<br />

ความดัน ซึ่งมีหัวข้อในการทดสอบ ดังนี้ 1) การหาค่าความผิดพลาด<br />

สูงสุดของการอ่านค่าความดันในคัฟ (Cuff) 2) การหาค่าอัตราการรั่ว<br />

ของความดันในระบบ และ 3) การหาค่าผลต่างของความดันขาขึ้น<br />

กับขาลง (เฉพาะเครื่องวัดความดันโลหิตแบบ Aneroid เท่านั้น)<br />

นอกจากนี้ยังร่วมกันให้การฝึกอบรมบุคลากรในสังกัดของ<br />

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่อยู่ตามศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์<br />

ในจังหวัดต่างๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรดังกล่าว<br />

ในการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิตของวิธีการใหม่นี้<br />

โครงการยกระดับการควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิต<br />

เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค<br />

ปัจจุบันเครื่องวัดความดันโลหิตมี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตแบบเชิงกล และ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ<br />

ซึ่งแสดงผลการวัดความดันโลหิตโดยอัตโนมัติเป็นตัวเลข ทำให้เกิด<br />

ความนิยมและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่ม<br />

ประชาชนที่มีความห่วงใยในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยสามารถ<br />

ที่จะซื้อหาเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติมาใช้ได้เอง ในด้าน<br />

การควบคุมนั้น ปัจจุบันเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีจำหน่ายใน<br />

ประเทศไทยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ทั่วไป กองควบคุมเครื่องมือแพทย์<br />

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เล็งเห็นความสำคัญของการ<br />

ยกระดับการควบคุม จึงทำโดยการร่วมกับ มว. และกรมวิทยาศาสตร์<br />

การแพทย์ ศึกษาประสิทธิภาพหรือคุณภาพของเครื่องวัดความดัน<br />

โลหิตที่จำหน่ายในท้องตลาดว่าให้ค่าความดันโลหิตได้ถูกต้องและ<br />

แม่นยำหรือไม่ รวมถึงการกำหนดแนวทางการประเมินและยกระดับ<br />

มาตรการควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค<br />

ให้ได้รับความปลอดภัยและได้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่เชื่อถือได้<br />

โดยในปี พ.ศ. 2555 คณะทำงานได้อยู่ระหว่างดำเนินการ<br />

ให้มีการศึกษาและรวบรวมรายละเอียดข้อกำหนดคุณภาพมาตรฐาน<br />

รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบหรือวิเคราะห์ที่ใช้ในการ<br />

ประเมินเครื่องวัดความดันโลหิต พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการทวนสอบ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตตามมาตรฐานสากล และร่วมออกสำรวจและ<br />

ทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้ในโรงพยาบาลเป้าหมายทั้งสี่ภาค<br />

รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 500 เครื่อง เพื่อทำการประเมินคุณภาพ<br />

มาตรฐานของเครื่อง และสรุปผลการศึกษาคุณภาพเครื่องวัดความดัน<br />

โลหิต เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับการควบคุม<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตต่อไป<br />

การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน<br />

มาตรวิทยาแห่งประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี (PTB) และบราซิล<br />

(INMETRO)


การตรวจวัดความดัน<br />

เครื่องวัดความดันโลหิต มี 2 ชนิด ได้แก่<br />

1. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล (Non-invasive Mechanical Sphygmomanometers) มีการใช้งานร่วมกับหูฟัง<br />

(Stethoscope) เหมาะกับการใช้งานโดยผู้ที่มีทักษะในการวัดภายในสถานพยาบาล ได้แก่ เครื่องวัดความดันแบบปรอท (Mercurial<br />

Manometer) เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา (Aneroid Manometer) หรือเครื่องวัดความดันโลหิตที่แสดงค่าความดันเป็นดิจิตอล<br />

(Digital Display)<br />

2. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ (Non-invasive Automated Sphygmomanometers) ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันโลหิต<br />

ที่มีระบบตรวจวัดค่าความดันโลหิตในตัว และแสดงค่าความดันโดยอัตโนมัติเป็นดิจิตอล (Digital Display) มีทั้งแบบวัดที่ต้นแขนและ<br />

แบบข้อมือ ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้บริโภค<br />

สามารถเลือกซื้อมาใช้เองภายในบ้าน<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกล เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ<br />

• ความสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับในความ<br />

ร่วมมือ<br />

ในความร่วมมือของหน่วยงานทั้ง 3<br />

หน่วยงานครั้งนี้ คณะทำงานทุกคนมีความเชื่อมั่น<br />

ที่จะสร้างการยอมรับให้เป็นรูปธรรมในการใช้<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ<br />

เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะเป็นการยก<br />

ระดับความถูกต้องแม่นยำของเครื่องวัดความดัน<br />

โลหิตของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้สูงขึ้น<br />

และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ผลการศึกษา<br />

จะช่วยกระตุ้นทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงการ<br />

จัดหา เลือกใช้ และบำรุงรักษาเครื่องวัดความดัน<br />

โลหิตที่มีคุณภาพมาตรฐานตลอดอายุการใช้งาน<br />

และข้อเสนอด้านมาตรการควบคุมเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิต เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา<br />

ระบบการควบคุมเครื่องวัดความดันโลหิตใน<br />

อนาคตให้เหมาะสม และเพิ่มความมั่นใจแก่<br />

ผู้บริโภคว่าได้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่มี<br />

คุณภาพมาตรฐานเชื่อถือได้<br />

โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการ<br />

ดำเนินการอยู่ ทางคณะผู้จัดทำจะมานำเสนอ<br />

บทสรุปของโครงการพร้อมทั้งภาพบรรยากาศ<br />

ของกิจกรรมต่างๆ มาให้ชาวมาตรวิทยาของเรา<br />

ได้ติดตามความคืบหน้าต่อไป พวกเราในฐานะ<br />

ผู้บริโภคจะได้มีความสบายใจและเชื่อมั่นต่อ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้กันในโรงพยาบาล<br />

หรือสถานพยาบาลทั่วประเทศหรือแม้นแต่เราที่<br />

ห่วงใยต่อสุขภาพนำมาเลือกซื้อได้เอง<br />

ที่มา<br />

ตัวอย่างการปฏิบัติการทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิต<br />

ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐานฯ<br />

- โครงการพัฒนาขีดความสามารถ<br />

การทวนสอบเครื่องวัดความดันโลหิตของห้อง<br />

ปฏิบัติการทางการแพทย์<br />

- โครงการยกระดับการควบคุมเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิตเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค<br />

- รายงานประจำปี 2554 สถาบัน<br />

มาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยี<br />

- เอกสารโรคความดันโลหิตสูงและ<br />

เครื่องวัดความดันโลหิต กรมวิทยาศาสตร์การ<br />

แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข<br />

- เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน<br />

มาตรฐานวิธีการทำการทวนสอบเครื่องวัด<br />

ความดันโลหิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์<br />

กระทรวงสาธารณสุข<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

9


<strong>NIMT</strong><br />

พรหทัย กันแก้ว<br />

นักมาตรวิทยา ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ<br />

ประโยชน์จากไกลโคไซด์<br />

10<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

ยา และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ<br />

ที่ใช้บำบัดรักษาอาการหัวใจ<br />

ล้มเหลว จะมีสารสำคัญใน<br />

การออกฤทธิ์คือ คาร์ดิแอค<br />

ไกลโคไซด์<br />

น้ำตาล (glycone)<br />

HO<br />

HO<br />

OH<br />

ไกลโคไซด์ (Glycosides) เป็น<br />

สารประกอบอินทรีย์กลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่ง<br />

สามารถพบได้จากการสกัดพืชชั้นสูง มีโครงสร้าง<br />

ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นน้ำตาล<br />

เรียกว่า ไกลโคน (Glycone) จับกับส่วนที่ไม่ใช่<br />

น้ำตาล เรียกว่า อะไกลโคน (Aglycone) หรือ<br />

จีนิน (Genin) ไกลโคไซด์ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ทาง<br />

ชีวภาพ สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้<br />

อย่างกว้างขวาง ฤทธิ์ในทางเภสัชวิทยาของ<br />

ไกลโคไซด์ขึ้นอยู่กับส่วนอะไกลโคนเป็นส่วนใหญ่<br />

เมื่อแบ่งตามลักษณะสูตรโครงสร้างของอะไกลโคน<br />

จะแบ่งไกลโคไซด์ได้เป็น 11 กลุ่มดังนี้ คือ<br />

คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (Cardiac<br />

Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสเตียรอยด์<br />

นิวเคลียส คือมีโครงสร้างเป็นวงแหวนไซโค<br />

เพนทาโนเพอไฮโดรฟีแนนทรีนอยู่ในโมเลกุล<br />

มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด<br />

แอนทราควิโนนไกลโคไซด์<br />

(Anthraquinone Glycosides) มีอะไกลโคน<br />

เป็นอนุพันธ์ของแอนทราซีน (Anthracene) ใช้<br />

ประโยชน์เป็นยาระบายและยาฆ่าเชื้อรา<br />

O<br />

OH<br />

X R<br />

รูปที่ 1 องค์ประกอบของไกลโคไซด์<br />

อะไกลโคน (aglycone)<br />

ซาโปนินไกลโคไซด์ (Saponin<br />

Glycosides) อะไกลโคนเป็นสารจำพวก<br />

สเตียรอยด์ หรือ ไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpeniods)<br />

เป็นสารที่ให้ฟองเมื่อเขย่ากับน้ำ ใช้เป็นสาร<br />

ตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาจำพวกสเตียรอยด์<br />

ฮอร์โมนหลายชนิด<br />

ไซยาโนเจนิกไกลโคไซด์ (Cyanogenic<br />

Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นอนุพันธ์ของ<br />

Mandelonitrile เมื่อถูกย่อยจะให้กรดไฮโดร<br />

ไซยานิก (Hydrocyanic Acid) หรือไซยาไนด์<br />

ซึ่งเป็นพิษ แต่สามารถขจัดไซยาไนด์ก่อน<br />

รับประทานได้โดยผ่านความร้อน<br />

ไอโซไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์<br />

(Isothiocyanate Glycosides) มีอะไกลโคนเป็น<br />

สารประกอบไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate)<br />

มักพบในเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน<br />

ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ (Flavoniod<br />

Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสารจำพวก<br />

ฟลาโวนอยด์ (Flavoniod) พบในส่วนต่างๆ ของพืช<br />

โดยเฉพาะในดอก ทำให้ดอกไม้มีสีสวยงาม<br />

ตัวอย่างของฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ที่นำมา<br />

ใช้ในทางยาได้แก่ รูติน (Rutin) ใช้รักษาโรค<br />

เส้นเลือดฝอยเปราะ ฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ใน<br />

ต้น Buchu ใช้ขับปัสสาวะ เป็นต้น<br />

แอลกอฮอลิกไกลโคไซด์ (Alcoholic<br />

Glycosides) ฟีนอลิกไกลโคไซด์ (Phenolic<br />

Glycosides) และแอลดีไฮด์ไกลโคไซด์<br />

(Aldehyde Glycosides) สามกลุ่มนี้มีอะไกลโคน<br />

เป็นสารประเภทแอลกอฮอล์ ฟีนอล และ<br />

แอลดีไฮด์ ตามลำดับ เป็นสารที่ใช้ประโยชน์เป็น<br />

ยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ และสารแต่งกลิ่นหอม


แลคโทนไกลโคไซด์ (Lactone<br />

Glycosides) หรืออาจเรียกคูมารินไกลโคไซด์<br />

(Coumarin Glycosides) มีอะไกลโคนเป็นสาร<br />

ประเภทแลคโทน (Lactone) ส่วนใหญ่ใช้เป็น<br />

สารแต่งกลิ่น<br />

แทนนินไกลโคไซด์ (Tannin<br />

Glycosides) มีสารจำพวก Polyphenolic เป็น<br />

อะไกลโคน แทนนินไกลโคไซด์เป็นสารกลุ่มใหญ่<br />

ที่พบได้ทั่วไปในพืชเกือบทุกชนิด ใช้ประโยชน์เป็น<br />

ยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาแผลไฟไหม้<br />

และใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังสัตว์อีกด้วย<br />

CH 3<br />

O<br />

O<br />

O<br />

H 3<br />

C<br />

OH<br />

OH<br />

O<br />

O<br />

C<br />

OH<br />

R 1<br />

H<br />

Daunosamine<br />

ไกลโคไซด์ที่นำมาใช้เป็นยารักษา<br />

โรคมะเร็ง<br />

ยากลุ่ม แอนทราซัยคลิน (Anthracycline)<br />

เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สกัดได้<br />

จากเชื้อกลุ่ม Streptomyces โครงสร้างของ<br />

แอนทราซัยคลิน ประกอบด้วยหมู่แอนทราควิโนน<br />

เป็นอะไกลโคน และน้ำตาล Daunosamine<br />

มีกลไกการออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการทำงาน<br />

ของเอนไซม์ Topoisomerases ซึ่งเป็นเอนไซม์<br />

ที่สำคัญ ทำหน้าที่ตัดและเชื่อมสายดีเอ็นเอ<br />

(DNA) เพื่อลดความตึงเครียดของสายดีเอ็นเอ<br />

ขณะที่มีการคลายเกลียวของสายดีเอ็นเอ<br />

ระหว่างกระบวนการถ่ายแบบดีเอ็นเอ (DNA<br />

Replication) และ การถอดรหัสดีเอ็นเอ (DNA<br />

Transcription) ยากลุ่มแอนทราซัยคลินนี้จะไป<br />

แทรกไม่ให้เอนไซม์ Topoisomerases ทำการ<br />

เชื่อมต่อสายคู่ดีเอ็นเอ จึงทำให้เซลล์ถูกทำลาย<br />

ยากลุ่ม แอนทราซัยคลิน (Anthracycline)<br />

ประกอบด้วย 4 อนุพันธ์ ได้แก่<br />

1. เดาโนรูบิซิน (Daunorubicin)<br />

สกัดได้จากเชื้อแบคทีเรีย “Streptomyces<br />

Caeruleorubidis” ใช้ต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว<br />

เท่านั้น<br />

2. ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin)<br />

หรือ อะเดรียมัยซิน (Adriamycin) สกัดได้จาก<br />

แบคทีเรีย Streptomyces Peucetius Var<br />

Caesius มีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งกว้างกว่า<br />

เดาโนรูบิซิน<br />

3. ไอดารูบิซิน (Idarubicin) เป็นตัวยา<br />

ที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีเดาโนรูบิซิน เป็น Lead<br />

Compound ทำให้มีฤทธิ์ต้านมะเร็งสูงขึ้น และ<br />

เป็นพิษต่อหัวใจต่ำกว่าเดาโนรูบิซิน<br />

4. อีพิรูบิซิน (Epirubicin) เป็นอิพิเมอร์<br />

ของด็อกโซรูบิซิน เป็นตัวยาสังเคราะห์โดยมี<br />

ด็อกโซรูบิซิเป็น Lead Compound เพื่อให้ฤทธิ์<br />

ในการต้านมะเร็งเพิ่มขึ้นแต่ความเป็นพิษต่อ<br />

HO NH 2<br />

รูปที่ 2 โครงสร้างของยากลุ่มแอนทราซัยคลิน (Anthracycline)<br />

หัวใจลดลง ขนาดยาของยาอีพิรูบิซิน ขึ้นอยู่กับ<br />

ปัจจัยหลายอย่าง เช่น น้ำหนัก ส่วนสูงของผู้ป่วย<br />

ชนิดและระยะของโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น รวมทั้ง<br />

ผลการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย<br />

โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วิเคราะห์ แนะนำ<br />

และกำหนดเวลา และมีเภสัชกรผู้เตรียมยาเคมี<br />

บำบัด ตรวจสอบขนาดยาที่ท่านได้รับ เพื่อความ<br />

ปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย นอกจากนี้ความถี่ของ<br />

การให้ยาอีพิรูบิซิน อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสูตร<br />

ยาที่ใช้ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย เช่น ทุก<br />

สัปดาห์ หรือทุกเดือน บางครั้งอาจต้องหยุดยา<br />

ชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายมีเวลาพัก และซ่อมแซม<br />

เซลล์ปกติให้แข็งแรงพอที่จะให้ยาในครั้งต่อไปได้<br />

ไกลโคไซด์ที่นำมาใช้เป็นยาบำบัดอาการ<br />

หัวใจเต้นผิดปกติ (Antiarrhythemic<br />

Drugs)<br />

ยา และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ใช้บำบัด<br />

รักษาอาการหัวใจล้มเหลว จะมีสารสำคัญใน<br />

การออกฤทธิ์คือ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (Cardiac<br />

Glycosides) มีข้อมูลว่า คาร์ดิแอคไกลโคไซด์นั้น<br />

มีการนำมาใช้ตั้งแต่ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช<br />

โดยนำมาทำเป็นธนูอาบยาพิษ ยาช่วยอาเจียน<br />

ยาระบาย เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้ใน<br />

ผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย เนื่องจากไกลโคไซด์ชนิดนี้<br />

สามารถออกฤทธิ์เพิ่มแรงบีบของหัวใจเพื่อให้มี<br />

ระยะพักเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดีพิษของสารกลุ่มนี้<br />

ยังคงเป็นปัญหาสืบเนื่องถึงปัจจุบัน การใช้ยา<br />

ของสารกลุ่มนี้จึงต้องมีการควบคุมปริมาณยา<br />

ในเลือดอย่างใกล้ชิด เพราะระดับยาที่ต่ำที่สุดที่<br />

ให้ผลทางการรักษา มีความใกล้เคียงอย่างมาก รูปที่ 3 ดอกดิจิทาลิส (Digitalis purpurea L.)<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

11


12<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

กับระดับยาต่ำที่สุดที่ทำให้เกิดพิษ ซึ่งอาจส่งผล<br />

ต่อการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติหรือทำให้หัวใจ<br />

หยุดเต้นได้<br />

คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (Cardiac<br />

Glycosides) พบได้ในพืชหลายวงศ์ด้วยกัน<br />

โดยเฉพาะ สกุลที่สำคัญคือ ดิจิทาลิส (Digitalis)<br />

เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “Foxglove” หรือ<br />

“ถุงมือจิ้งจอก” เดิมจัดอยู่ในวงศ์มณเฑียรทอง<br />

(Scrophulariaceae) แต่หลังจากพิจารณาทาง<br />

Phylogenetic ก็ได้รับการจัดให้อยู่ในวงศ์ที่ใหญ่<br />

กว่า คือ วงศ์เทียนเกล็ดหอย (Plantaginaceae)<br />

ถุงมือจิ้งจอกนี้บางพันธุ์มีพิษร้ายแรงมากจน<br />

ได้รับสมญาว่า “กระดิ่งคนตาย” หรือ “ถุงมือ<br />

แม่มด” แต่ในงานวิจัยจะเรียกทุกพันธุ์รวมว่า<br />

“ดิจิทาลิส” ตามชื่อสกุล<br />

นอกจากต้นดิจิทาลิสแล้ว ยังมีการ<br />

ศึกษาพืช หรือสมุนไพรอื่นเพิ่มเติม พบว่าพืช<br />

วงศ์นมตำเลีย (Asclepiadaceae) เช่น ยี่โถ<br />

หอมปีนัง รักดอก และรำเพย รวมถึง พืชตระกูล<br />

Strophanthus ก็มีคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ เช่นกัน<br />

แต่มักมีปัญหาในเรื่องการหาขนาดรับประทาน<br />

ยาที่เหมาะสมไม่ได้<br />

คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ (Cardiac<br />

Glycosides) เป็นไกลโคไซด์ที่มีอะไกลโคนเป็น<br />

สเตียรอยด์ ซึ่งบางตำราจะเรียกว่า “Steroidal<br />

Cardioactive Glycosides” เมื่อพิจารณาจาก<br />

โครงสร้างของอะไกลโคน ทำให้แบ่งคาร์ดิแอค<br />

ไกลโคไซด์ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ<br />

1. กลุ่มคาร์ดิโนไลด์ (Cardinolide<br />

Aglycone) เป็นสเตียรอยด์ที่มี คาร์บอน 23<br />

อะตอม และมี α-β Unsaturated Lactone เป็น<br />

ส่วนประกอบ<br />

2. กลุ่มบูฟาโนไลด์ (Bufanolide)<br />

เป็นสเตียรอยด์ที่มีคาร์บอน 24 อะตอม และ<br />

มี Unsaturated-6-Membered Lactone เป็น<br />

ส่วนประกอบ<br />

ส่วนน้ำตาลที่พบใน คาร์ดิแอคไกลโคไซด์<br />

ส่วนใหญ่เป็นชนิด 2-Deoxy Sugar (Rare<br />

Sugar)<br />

คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ชนิดคาร์ดิโนไลด์<br />

เท่านั้นที่นำมาใช้และปรุงแต่งเป็นยาบำบัดอาการ<br />

หัวใจเต้นผิดปกติ สำหรับคาร์ดิแอคไกลโคไซด์<br />

ชนิดบูฟาโนไลด์ ให้คุณในการรักษาต่ำ และ<br />

พบอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง เช่น คาร์ดิแอค<br />

ไกลโคไซด์ชนิดบูฟาโนไลด์ ที่สกัดได้จากต้นหอม<br />

ทะเล (Squill) มีฤทธิ์สั้น การดูดซึมในระบบทาง<br />

เดินอาหารไม่ดี แม้ใช้ขนาดน้อยๆ ก็สามารถก่อ<br />

ให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่<br />

จะมี Reflex Secretion ที่หลอดลม จึงนำมาใช้<br />

เป็นยาขับเสมหะ พบได้ในตำรับยาแก้ไอ และยา<br />

ขับเสมหะ เช่น Mix. Ammon et Sciliae


ตัวอย่างยารักษาโรคหัวใจที่เป็นคาร์ดิแอคไกลโคไซด์<br />

Powdered Digitalis USP ได้จากใบแห้งของดิจิทาลิส “Digitalis purpurea L.”<br />

องค์ประกอบที่สำคัญของ Digitalis คือ Digitoxin และ Gitoxin รูปแบบยาที่ใช้จะเป็น แคปซูล 60<br />

และ 100 มิลลิกรัม หรือ เป็นยาเม็ดแบน 30 50 55 60 และ 100 มิลลิกรัม<br />

Digitoxin USP ได้จากการสกัดต้นดิจิทาลิส “Digitalis purpurea L.” โครงสร้างโมเลกุล<br />

จะมีน้ำตาล Digitoxose 3 โมเลกุล และมีอะไกลโคนเป็น Digitoxigenin ราคาของ Digitoxin จะ<br />

แพงกว่า Powdered Digitalis เล็กน้อย แต่เนื่องจาก Digitoxin เป็นสารบริสุทธิ์ จึงมีความแม่นยำ<br />

เที่ยงตรงในเรื่องขนาดที่ใช้มากกว่า ขนาดที่ใช้รับประทาน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าเส้นเลือด<br />

200-400 ไมโครกรัม ทุก 3 ถึง 6 ชั่วโมง แต่ต้องไม่เกิน 1.6 มิลลิกรัม ในเวลา 1 วัน<br />

Gitalin เป็นยาที่ได้จากใบของดิจิทาลิส ซึ่งมีส่วนผสมของไกลโคไซด์แต่ละชนิด ได้แก่<br />

Gitoxin 13-19% Gitaloxin (16-Formylgitoxin) Digitoxin 14-20% และไกลโคไซด์อื่นๆ อีกเล็กน้อย<br />

เตรียมโดยใช้น้ำเย็นสกัดจากใบ Digitalis แล้วทำให้บริสุทธิ์ ระเหยให้แห้ง Residue ที่ได้จะเรียกว่า<br />

“Gitalin” ซึ่งฤทธิ์ของ Gitalin ก็เหมือนฤทธิ์ของ Digitalis แต่ระยะเวลาในการเริ่มออกฤทธิ์จะเร็วกว่า<br />

และสลายตัวได้เร็วกว่า ยานี้ดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้ดี จึงใช้รับประทาน ขนาดรับประทาน<br />

คือ ในระยะเริ่มแรกให้ 2.5 มิลลิกรัม ตามด้วย 0.75 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง จนกระทั่งได้ผลการรักษา<br />

Peruvoside เป็นคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ ที่แยกได้จากส่วนเมล็ดของรำเพย Thevetia<br />

Peruviana K. Schum วงศ์ Apocynaceae ที่ประเทศเยอรมันเตรียมเป็นเภสัชภัณฑ์ชื่อ Encordin ®<br />

ใช้รับประทาน มีฤทธิ์ในการรักษาเทียบเท่า Digoxin<br />

Ouabain USP เป็นไกลโคไซด์ที่ได้จากส่วนเมล็ดของ Strophantus Gratus และจากส่วน<br />

เนื้อไม้ของ Acokanthera schimperi (A. DC.) Schwf. มีโครงสร้างประกอบด้วย น้ำตาลแรมโนส<br />

(Rhamnose) และอะไกลโคน คือ Ouabagenin<br />

Ouabain ให้โดยการรับประทานไม่ปลอดภัย เพราะการดูดซึมในระบบทางเดินอาหารไม่<br />

สม่ำเสมอและช้า จึงใช้ฉีดกรณีฉุกเฉินในรายที่หัวใจล้มเหลว เพราะเป็นสารที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

13<br />

H 3<br />

C<br />

O<br />

H 3<br />

C<br />

O<br />

O<br />

O<br />

OH<br />

OH<br />

OH<br />

CH 3<br />

O<br />

O<br />

CH 3<br />

CH 3<br />

HO<br />

O<br />

H<br />

OH<br />

Digitoxin<br />

รูปที่ 4 โครงสร้างของดิจิทอกซิน (Digitoxin)


14<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

OH<br />

OH<br />

HO O<br />

HO<br />

O<br />

OH<br />

รูปที่ 5 โครงสร้างของอาร์บูติน (Arbutin)<br />

ไกลโคไซด์ที่นำมาใช้เป็นยาระบาย<br />

สมุนไพรที่นำมาใช้เป็น ยาระบายที่<br />

เป็นที่นิยม คือ มะขามแขก (Senna) โกฐน้ำเต้า<br />

(Rhubard) ยาดำ (Aloe) เป็นต้น สมุนไพรเหล่านี้<br />

มีสารออกฤทิ์จำพวกเดียวกัน คือ แอนทราควิโนน<br />

ไกลโคไซด์ (Anthraquinone Glycosides)<br />

เมื่อเรารับประทานสมุนไพร หรือยา<br />

ที่มีส่วนผสมของ แอนทราควิโนนไกลโคไซด์<br />

(Anthraquinone Glycosides) เข้าไป แบคทีเรีย<br />

ในลำไส้จะเปลี่ยนให้ แอนทราควิโนนไกลโคไซด์<br />

(Anthraquinone Glycosides) เป็น Free<br />

Anthranol ซึ่งเป็นสารที่สามารถออกฤทธิ์เป็น<br />

Stimulant Cathartics ไปกระตุ้นผนังลำไส้<br />

ให้บีบตัว ตัวอย่างของไกลโคไซด์ที่นำมาใช้<br />

ประโยชน์เป็นยาถ่าย-ยาระบาย เช่น บาบาโลอีน<br />

(Barbaloin) พบได้ในใบของว่านหางจระเข้<br />

ใช้เป็นองค์ประกอบในยาดำ ซึ่งใช้เป็นยาถ่าย<br />

หรือ Sennoside A และ Sennoside B เป็น<br />

แอนทราควิโนนไกลโคไซด์ ที่พบในใบและฝักของ<br />

มะขามแขกใช้เป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูก<br />

เป็นประจำ โดยฤทธิ์ในการระบายจะเกิดขึ้นใน<br />

เวลา 6-12 ชั่วโมงหลังรับประทาน<br />

ไกลโคไซด์ที่นำมาใช้ในเครื่องสำอาง<br />

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ อาร์บูติน<br />

(Arbutin) มีชื่อทางเคมีว่า “Hydroquinonebeta-D-Glucoside”<br />

สามารถพบได้ในพืชจำพวก<br />

Berry ต่างๆ และผิวของลูกแพร์ (Pear) เป็นต้น<br />

ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องสำอางราคาแพง<br />

มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว หรือ<br />

เมลานิน โดยกลไกการออกฤทธิ์ คือ ไปยับยั้ง<br />

เอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญที่<br />

ทำให้เกิดกระบวนการผลิตเม็ดสี แต่อาร์บูติน<br />

จะไม่ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี จึงไม่ทำให้ผิวบาง<br />

โครงสร้างของ อาร์บูติน ประกอบด้วย ไกลโคน<br />

คือ กลูโคส และ อะไกลโคน คือ ไฮโดรควิโนน ซึ่ง<br />

ก็เป็นส่วนผสมหลักในยาทารักษาฝ้า แต่ไฮโดร<br />

ควิโนนมีการออกฤทธิ์ที่รุนแรง และทำลายเซลล์<br />

เม็ดสี จึงเป็นเครื่องสำอางควบคุม<br />

นอกจากนี้ยังมี อะโลอิน (Aloin)<br />

ซึ่งเป็น แอนทราควิโนนไกลโคไซด์ ที่แยกได้<br />

จากว่านหางจระเข้ มีคุณสมบัติในการดูดรังสี<br />

อุลตราไวโอเลต จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสม<br />

ในโลชั่นป้องกันแสงแดด หรือ กลีเซอไรซิน<br />

(Glycyrrhizin) ซึ่งเป็นซาโปนินไกลโคไซด์ที่ได้<br />

จากรากของชะเอมเทศ (Licorice Root) สารนี้<br />

เมื่อถูกย่อยจะให้ส่วนอะไกลโคนคือ กรด<br />

กลีเซอเรติก (Glycyrrhetic Acid) และ กรดโครูนิก<br />

2 โมเลกุล ชะเอมเทศมีคุณสมบัติในการทำให้<br />

ชุ่มชื้น ส่วนกรดกลีเซอเรติกนั้นมีคุญสมบัติ<br />

ในการลดการอักเสบ ส่วนแอสซิน (Aescin)<br />

ซึ่งเป็นซาโปนินไกลโคไซด์จากเมล็ดของต้น<br />

Horsechestnut นั้นมีการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์<br />

เครื่องสำอางที่ใช้กับผิว หนังศีรษะ และเส้นผม<br />

เนื่องจากสามารถลดการสูญเสียน้ำได้ และ<br />

ยังมี เอเชียทิโคไซด์ (Asiaticiside) และ มาเด


รูปที่ 6 ดอกหอมหมื่นลี้ (Osmanthus fragrans)<br />

คาสโซไซด์ (Madecassoside) จากใบบัวบก<br />

(Centella asiatica (L) Urban) มีสรรพคุณ<br />

เป็นยาฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว รักษาแผล<br />

ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ทำให้แผลไม่ปูด ปัจจุบัน<br />

นำออกมาจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น ผง ครีม<br />

ขี้ผึ้ง เป็นต้น<br />

นอกจากประโยชน์ดังที่กล่าวมา นัก<br />

วิทยาศาสตร์ส่วนมากยังคงพยายามศึกษาการ<br />

ออกฤทธิ์ของไกลโคไซด์ที่มีต่อโรคต่างๆ ดังเช่น<br />

Nam-In Baek และคณะนักวิทยาศาสตร์<br />

ชาวเกาหลีเหนือ ได้ทำการสกัดดอกหอมหมื่นลี้<br />

(Osmanthus fragrans) พบว่าในส่วนที่สกัดได้<br />

จากตัวทำละลาย Ethyl Acetate พบ Glycoside<br />

และเรียกว่า “(8E)-Listroside” เมื่อนำมาศึกษา<br />

การออกฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าสามารถนำมา<br />

พัฒนาเป็นยารักษา หรือบรรเทาอาการของ<br />

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) ได้<br />

ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนศึกษาผลข้างเคียงต่อ<br />

ประสิทธิภาพ เพื่อที่จะพัฒนาเป็นยาต่อไป<br />

อ้างอิง<br />

1. วันดี กฤษณพันธ์. เภสัชวินิจฉัย :<br />

ยาและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ. กรุงเทพฯ :<br />

ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536<br />

2. ตรีเพชร กาญจนภูมิ. เคมีของ<br />

สมุนไพร : การหาโครงสร้างเคมีของสาร<br />

แอโรแมติกไกลโคไซด์ด้วยนิวเคลียร์แมกเนติก<br />

เรโซแนนซ์สเปกโตรสโกปี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์<br />

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.<br />

3. โอภา วัชระคุปต์. เคมีของยา.<br />

พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : พี.เอส.พริ้นท์, 2551<br />

4. รัตนา อินทรานุปกรณ์. การตรวจ<br />

สอบผลและการสกัดแยกสารสำคัญจาก<br />

สมุนไพร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย, 2547<br />

5. Do-Gyeong Lee, Jin-Sung Choi,<br />

Seung-Woo Yeon, En-Ji Cui1, Hee-Jung<br />

Park, Jong-Su Yoo, In-Sik Chung, and<br />

Nam-In Baek, Secoiridoid Glycoside from<br />

the Flowers of Osmanthus fragrans var.<br />

aurantiacus Makino Inhibited the Activity<br />

of β-Secretase. J. Korean Soc. Appl. Biol.<br />

Chem., 2010. 53(3), 371-374<br />

6. http://www.oknation.net/blog/<br />

print.php?id=615123 เรียกดูวันที่ 20 มิถุนายน<br />

2555<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

15


<strong>NIMT</strong><br />

เทพบดินทร์ บริรักษ์อราวินท์, ทยาทิพย์ ทองตัน และ ปิยพัฒน์ พูลทอง<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า<br />

ข้อกำหนดด้านมาตรวิทยา<br />

เวลาและความถี่<br />

16<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

ในการทำงานด้านเวลาและ<br />

ความถี่ ถ้าหากเราพิจารณา<br />

ถึงข้อกำหนดสำหรับการ<br />

สอบเทียบ เราจะพบว่า ข้อ<br />

กำหนดหลักๆ ประกอบด้วย<br />

Accuracy และ Stability<br />

บทความนี้ทางห้องปฏิบัติการเวลา<br />

และความถี่ของ มว. ได้รวบรวมนิยามของคำที่<br />

พบบ่อยครั้งในการทำงานทางด้านมาตรวิทยา<br />

เวลาและความถี่ ซึ่งในบางครั้งมักจะเกิดความ<br />

สับสนในการใช้งาน ดังนั้นทางคณะผู้เขียนจึงได้<br />

อ้างอิงนิยามจากบทความต่างๆ เพื่อที่จะอธิบาย<br />

นิยามของคำดังกล่าวให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง<br />

และเป็นไปในทางเดียวกัน<br />

ในการทำงานด้านเวลาและความถี่<br />

ถ้าหากเราพิจารณาถึงข้อกำหนดสำหรับการ<br />

สอบเทียบ เราจะพบว่า ข้อกำหนดหลักๆ<br />

ประกอบด้วย Accuracy และ Stability ซึ่งค่า<br />

ดังกล่าวใช้ในการอธิบาย ผลการวัดความถี่ของ<br />

ออสซิเลเตอร์ชนิดต่างๆ<br />

Accuracy<br />

ค่า Accuracy ใช้ในการอ้างถึงค่า<br />

ความต่างของเวลาหรือค่าความต่างของความถี่<br />

ของอุปกรณ์ใดๆ กับค่าในอุดมคติ ยกตัวอย่าง<br />

เช่น ความถูกต้องของเวลา 1 วินาที คือผลต่าง<br />

ของการวัดความแตกต่างระหว่างลูกคลื่นพัลส์<br />

(1PPS : Pulse Per Second) และเทียบกับลูก<br />

คลื่นพัลส์ (1PPS of UTC) อ้างอิง ซึ่งเป็นค่าใน<br />

อุดมคติได้มาจากการคำนวณ หาค่าเฉลี่ยของ<br />

นาฬิกาอะตอมมาตรฐานจากสถาบันมาตรวิทยา<br />

แห่งชาติของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเรียกอีก<br />

อย่างหนึ่งว่า เวลา UTC นั่นเอง ในเชิงความถี่<br />

การวัดค่า Frequency Offset และ Fractional<br />

Frequency Offset สามารถบ่งบอกถึงค่า<br />

Accuracy ของออสซิเลเตอร์นั้นๆ ได้<br />

ในการสอบเทียบออสซิเลเตอร์ ค่า<br />

Frequency Offset เป็นค่าที่แสดงให้เห็นถึง<br />

ความแตกต่างของความถี่ระหว่างความถี่ที่วัด<br />

ได้จากเครื่องมือ กับ Nominal Frequency ค่า<br />

ดังกล่าวอาจบอกมาในรูปของค่า Fractional<br />

Frequency Offset ซึ่งเป็นค่าสัมพัทธ์ของค่า<br />

Frequency Offset โดยสามารถคำนวนได้จาก<br />

สมการต่อไปนี้<br />

ƒ (offset) = ƒ measured - ƒ nominal<br />

ƒ nominal<br />

โดยที่ ƒ measured<br />

คือ ค่าความถี่ที่<br />

อ่านได้จากเครื่องนับความถี่ หรือความถี่ของ<br />

เครื่องมือที่นำมาสอบเทียบและ ƒ nominal<br />

คือ ค่า<br />

ความถี่ในอุดมคติ หรือความถี่ของเครื่องมือที่<br />

เป็นมาตรฐาน


ค่า Frequency Offset และ<br />

Fractional Frequency Offset สามารถวัดได้<br />

ทั้งใน Frequency Domain หรือ Time Domain<br />

โดยการวัดใน Frequency Domain นั้นทำได้โดย<br />

ใช้วิธีนับความถี่โดยตรงด้วยเครื่องนับความถี่<br />

(Frequency Counter) ส่วนการวัดค่าใน Time<br />

Domain โดยใช้วิธีการวัดเทียบค่าความแตกต่าง<br />

ของเวลาระหว่างเครื่องที่นำมาสอบเทียบ (UUC :<br />

Unit Under Calibration) และค่าของเครื่อง<br />

ที่ใช้เป็นมาตรฐาน (Primary Standard หรือ<br />

Reference Standard) การวัดช่วงเวลา (Time<br />

Interval Measurement) นั้น ทำได้โดยการใช้<br />

เครื่องออสซิโลสโคป หรือ เครื่องนับช่วงเวลา<br />

เสถียรภาพ (Stability)<br />

เสถียรภาพ เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่<br />

ในออสซิเลเตอร์ที่กำหนดความสามารถในการ<br />

จ่ายความถี่ให้ได้ความถี่ซึ่งคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง<br />

ภายในช่วงเวลาที่กำหนด เสถียรภาพของตัว<br />

กำเนิดความถี่หรือออสซิเลเตอร์นั้นไม่ได้แสดงว่า<br />

ค่าความถี่ที่สร้างขึ้นเป็นค่าที่ถูกต้องหรือไม่ หาก<br />

แต่เป็นเพียงสิ่งที่ใช้แสดงว่าความถี่ที่สร้างขึ้นนั้น<br />

มีค่าคงที่เช่นเดิมภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น<br />

เสถียรภาพของออสซิเลเตอร์นั้น อาจ<br />

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่า Frequency<br />

Offset จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม เราสามารถ<br />

ปรับแก้ค่าความถี่ของออสซิเลเตอร์ให้ห่างออก<br />

ไปหรือเข้าใกล้ค่า Nominal Frequency โดยที่<br />

ไม่กระทบต่อเสถียรภาพของตัวออสซิเลเตอร์<br />

รูปด้านล่างแสดงการทำงานที่กล่าว<br />

ข้างต้น โดยแสดงสัญญาณสองสัญญาณที่<br />

ความถี่เดียวกันระหว่างช่วงเวลา t 1<br />

และ t 2<br />

ภาพนี้<br />

แสดงให้รู้ว่าสัญญาณ 1 ไม่เสถียร และ มีการ<br />

เปลี่ยนแปลงค่าความถี่ระหว่าง t 2<br />

และ t 3<br />

Unstable Frequency<br />

+1<br />

V<br />

-1<br />

t 1<br />

t 2<br />

t<br />

1<br />

3<br />

Linear Time<br />

Stable Frequency<br />

+1<br />

V<br />

-1<br />

t 1<br />

t 2<br />

t<br />

2<br />

3<br />

Linear Time<br />

17<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69


18<br />

ในการคำนวนหาค่าเสถียรภาพของ<br />

ออสซิเลเตอร์ เราสามารถใช้ Allan Deviation<br />

ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติ ในบางครั้งมักถูกเรียกว่า<br />

Allan Variance ซึ่งเป็นค่ายกกำลังสองของ<br />

Allan Deviation โดยสมการของ Allan Deviation<br />

ในกรณีที่ทำการวัด Fractional Frequency<br />

Offset คือ<br />

σ y<br />

(τ) =<br />

1 M-1<br />

∑ (y<br />

2 (M-1) i+1<br />

-y i<br />

) 2<br />

i=1<br />

โดยที่ y i<br />

คือ ชุดของการวัด Fractional<br />

Frequency Offset ที่ประกอบด้วยผลการวัด<br />

แต่ละครั้ง คือ y 1<br />

, y 2 , y 3<br />

เรื่อยไป M คือจำนวน<br />

ค่าอนุกรม y i<br />

และข้อมูลมีการแบ่งช่วงเวลา<br />

ที่ทำการวัดเท่ากัน<br />

ขณะที่ในการวัดเฟสของพัลส์ หรือ<br />

สัญญาณเวลา จะทำการหาค่า Allan Deviation<br />

โดยการใช้สมการ<br />

σ y<br />

(τ) =<br />

1 N-2<br />

∑ [x<br />

2 (N-2)τ 2 i+2<br />

-2x i+1<br />

+x i<br />

] 2<br />

i=1<br />

โดยที่ x i<br />

คือชุดของการวัดเฟสใน<br />

หน่วยของเวลา ซึ่งประกอบด้วย การวัดในแต่ละ<br />

ครั้งเป็น x 1<br />

, x 2<br />

, x 3<br />

ค่า N คือจำนวนค่าอนุกรม<br />

x i<br />

โดยที่ข้อมูลมีการแบ่งช่วงที่เท่ากันในคาบ<br />

เวลา τ วินาที<br />

รูปด้านล่างแสดงกราฟของ Allan<br />

Deviation โดยมีค่าลดลงเมื่อระยะเวลาเฉลี่ย τ<br />

ที่นานขึ้น แสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพของอุปกรณ์<br />

ที่เพิ่มขึ้น โดยจุดต่ำสุดของกราฟเรียกว่า Noise<br />

Floor หรือจุดที่สัญญาณรบกวนยังเหลืออยู่<br />

อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น Aging Rate หรือ<br />

Random Walk<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

Frequency Stability<br />

Allan Deviation, σ y<br />

(τ)<br />

10 -10 10 -9 10 -8<br />

Tau 1<br />

2<br />

4<br />

8<br />

16<br />

32<br />

64<br />

128<br />

256<br />

512<br />

1024<br />

2048<br />

Sigma<br />

1.39e-09<br />

9.41e-10<br />

6.76e-10<br />

3.82e-10<br />

2.27e-10<br />

1.20e-10<br />

7.06e-11<br />

4.94e-11<br />

4.87e-11<br />

5.90e-11<br />

8.07e-11<br />

1.04e-10<br />

10 -11<br />

10 0 10 1 10 2 10 3 10 4<br />

Averaging Time, τ, Seconds


การกำหนดค่าเสถียรภาพสามารถ<br />

แบ่งได้เป็นสองระยะ คือ เสถียรภาพระยะสั้น<br />

ซึ่งช่วงเวลาของการวัดน้อยกว่า 100 วินาที และ<br />

เสถียรภาพระยะยาวซึ่งช่วงระยะเวลาการวัด<br />

มากกว่า 100 วินาที<br />

ในการสอบเทียบมักพบว่าอุปกรณ์<br />

กำเนิดความถี่บางประเภท เช่น Oven Controlled<br />

Crystal Oscillator (OCXO) เป็นออสซิเลเตอร์<br />

ซึ่งมีเสถียรภาพที่ดีในระยะสั้น แต่อุปกรณ์<br />

ประเภท GPS Discipline Oscillator (GPSDO)<br />

มีเสถียรภาพระยะยาวที่ดี โดยค่าเสถียรภาพ<br />

มักจะถูกระบุไว้ในข้อมูลจำเพาะของเครื่องมือ<br />

ประเภทนั้นๆ<br />

กราฟด้านล่างเป็นการสรุปความ<br />

สัมพันธ์ระหว่าง Accuracy และ Stability โดยที่<br />

f 0<br />

คือ Nominal Frequency และ f คือความถี่ที่<br />

วัดได้<br />

นอกจากค่า Accuracy และ Stability<br />

ยังมีค่าอื่นๆ ซึ่งมักจะถูกระบุไว้ในข้อมูลจำเพาะ<br />

ของเครื่องมือ เช่น Aging Rate, Temperature<br />

Variation และ Line Voltage โดยค่าเหล่านี้มี<br />

ผลกระทบต่อ Accuracy และ Stability ของ<br />

เครื่องมือ<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

National Institute of Science and<br />

Technology (NIST). 6 Jul. 2012. http://tf.nist.<br />

gov/general/glossary.htm<br />

Alliance for Telecommunications<br />

Industry Solutions (ATIS). 12 Jul. 2012.<br />

http://www.atis.org/glossary/using.aspx<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

19<br />

f f f f<br />

f 0<br />

Time Time Time<br />

Time<br />

Stable but<br />

not accurate<br />

Not stable and<br />

not accurate<br />

Accurate but<br />

not stable<br />

Stable and<br />

accurate


20<br />

<strong>NIMT</strong><br />

Profile<br />

ชื่อ : ดร.ชัชวาล คุรุภากรณ์ (ต่วย)<br />

การศึกษา : Doctor of Engineering, Nagoya University (Japan)<br />

Master of Engineering, Nagoya University (Japan)<br />

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ผลงาน :<br />

- พัฒนามาตรฐานแห่งชาติในสาขาการวัดความต้านทาน<br />

(มาตรฐานปฐมภูมิควอนตัมฮอลล์)<br />

- พัฒนามาตรฐานแห่งชาติในสาขาการวัดไฟฟ้าแรงดันสูงกระแสสลับ<br />

- นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ CPEM2010<br />

คติพจน์ในการทำงาน : ทำในสิ่งที่ต้องทำ<br />

ด<br />

ร.ชัชวาล<br />

คุรุภากรณ์<br />

หนุ่มน้อยหน้าใสดีกรีระดับ<br />

ดอกเตอร์ท่านนี้ นอกจากเก่งในด้าน<br />

วิชาการแล้ว ยังหน้าตาละม้ายคล้าย<br />

ชาวญี่ปุ่น แถมยังพูดภาษาญี่ปุ่นได้<br />

อย่างคล่องแคล่วอีกด้วย “ดร.ชัชวาล<br />

คุรุภากรณ์” และด้วยความสามารถหลาก<br />

หลายด้านเช่นนี้ หนุ่มท่านนี้จึงได้รับการ<br />

คัดเลือกให้เป็น “นักมาตรวิทยารุ่นใหม่”<br />

ลองเข้าไปอ่านประวัติของหนุ่มท่านนี้ดู<br />

นะคะ<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

บทบาท หน้าที่และแผนพัฒนาห้อง<br />

ปฏิบัติการความต้านทาน และห้องปฏิบัติการ<br />

ไฟฟ้าแรงดันสูง ฝ่ายมาตรวิทยาไฟฟ้า<br />

รับผิดชอบงานใน 2 ห้องปฏิบัติการ<br />

ได้แก่ ห้องปฏิบัติการความต้านทาน (มาตรฐาน<br />

ปฐมภูมิควอนตัมฮอลล์) และห้องปฏิบัติการ<br />

ไฟฟ้าแรงดันสูง โดยเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อ<br />

ให้การวัดมีความถูกต้องมากขึ้น เพื่อตอบสนอง<br />

ให้เพียงพอต่อความต้องการด้านมาตรวิทยาใน<br />

ปัจจุบัน และอนาคต นอกจากนี้ยังพยายาม<br />

ส่งเสริมให้เกิดการออกแบบ และสร้างอุปกรณ์<br />

เครื่องมือวัดต่างๆ เพื่อทดแทนการนำเข้าอุปกรณ์<br />

เครื่องมือวัดจากต่างประเทศ<br />

งานมาตรวิทยาไทยสามารถก้าวไปสู่<br />

ระดับแนวหน้าของโลกได้หรือไม่ อย่างไร<br />

งานมาตรวิทยาไทยสามารถก้าวไป<br />

สู่ระดับแนวหน้าได้ หากมีการวางแผนและ<br />

กำหนดเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจน เป็น<br />

ระบบ ระหว่างภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม<br />

และภาครัฐ นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการตาม<br />

แผนงาน มีการติดตามประเมินผล รวมถึง<br />

การปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับความ<br />

เปลี่ยนแปลงต่างๆ ร่วมกันอย่างเหมาะสม<br />

การเป็นนักมาตรวิทยาต้องมีวิสัยทัศน์<br />

อย่างไรบ้าง<br />

ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />

มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น เทคนิคการวัด<br />

ใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งนิยามของ SI ที่อาจจะ<br />

เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นนักมาตรวิทยาจึงจำเป็น<br />

ต้องมีความยืดหยุ่น และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ<br />

เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง<br />

ดังกล่าวได้


Profile<br />

ชื่อ : ธสร สิงหะเนติ (น้ำ)<br />

การศึกษา : ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า<br />

พระนครเหนือ<br />

ผลงาน :<br />

- สอบเทียบเครื่องมือวัดความชื้นตั้งแต่ช่วงการวัด 20% rh ถึง 95% rh ที่อุณหภูมิ<br />

ตั้งแต่ 20°C ถึง 30°C<br />

- เป็นวิทยากรให้กับสถาบันฯ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัด<br />

ความชื้น<br />

- งานวิจัยในหัวข้อ “โครงการพัฒนาท่อปรับความชื้นคงที่เพื่อใช้ร่วมกับเครื่อง<br />

กำเนิดความชื้นคงที่มาตรฐาน” และ “Comparison of Calibration method of<br />

Climatic Chamber”<br />

- อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อสถาปนาการสอบเทียบเครื่องมือวัดความชื้นในผลิตภัณฑ์<br />

การเกษตร<br />

คติพจน์ในการทำงาน : การพิจารณาตัดสินผู้อื่น มีแต่จะเพิ่มความหยิ่งทะนงตน<br />

จงเฝ้าดูและพิจารณาตนเอง<br />

<strong>NIMT</strong><br />

อีกหนึ่งสาวมาก<br />

ความสามารถที่ได้รับคัดเลือก<br />

ในฐานะ “นักมาตรวิทยารุ่นใหม่”<br />

ฉบับนี้ขอแนะนำ “ธสร สิงหะเนติ”<br />

นักมาตรวิทยาสาว หน้าสวย<br />

ประจำห้องปฏิบัติการความชื้น<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิ ลอง<br />

มาฟังความคิดเห็นของเธอกัน<br />

นะคะ<br />

ธสร<br />

สิงหะเนติ<br />

21<br />

มาตรวิทยาเกี่ยวข้องกับประชาชนใน<br />

ปัจจุบันอย่างไร<br />

ทุกอย่างในชีวิตและสุขภาพเกี่ยวข้อง<br />

กับมาตรวิทยาทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น เวลาเข้า<br />

โรงพยาบาล เป็นไข้ต้องวัดอุณหภูมิร่างกาย เรา<br />

ก็จะมีข้อสงสัยว่า เครื่องมือวัดตรงตามความเป็น<br />

จริงหรือเปล่า โดนตำรวจจับเพราะขับรถเร็ว ก็มี<br />

ข้อสงสัยอีกว่า เครื่องมือตรวจจับความเร็วเชื่อถือ<br />

ได้หรือไม่ ได้รับการสอบเทียบหรือยัง เข้าไปซื้อ<br />

ผลไม้ในห้างสรรพสินค้า ก็ไม่แน่ใจว่าเครื่องชั่ง<br />

มีสติ๊กเกอร์สอบเทียบเครื่องชั่งหรือไม่ เมื่อมอง<br />

ไปรอบๆ ตัวเรา ก็จะเห็นได้ว่า การวัดเกี่ยวข้อง<br />

กับพวกเราทั้งสิ้น<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

บทบาท หน้าที่และแผนพัฒนาห้อง<br />

ปฏิบัติการ<br />

บทบาทหลักคือ การรักษามาตรฐาน<br />

ปฐมภูมิทางด้านความชื้นให้ถูกต้องและยอมรับ<br />

ได้ในระดับสากล โดยสามารถสอบกลับหน่วยวัด<br />

SI ได้ด้วยตัวเอง ทั้งในส่วนของอุณหภูมิและ<br />

ความดัน หน้าที่รองคือ การสอบเทียบเครื่องมือ<br />

วัดความชื้นในอากาศให้ลูกค้า รวมถึงการทำงาน<br />

เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของสถาบัน เช่น<br />

การเป็นตัวหลักในการทำ International Comparison<br />

ทางด้านความชื้น หรือการทำแนวทางการสอบเทียบ<br />

เครื่องมือวัดความชื้น เป็นต้น<br />

ประชาชนทั่วไปควรรู้เรื่องเกี่ยวกับมาตร<br />

วิทยาหรือไม่ อย่างไร<br />

สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เข้าสมัยกับ<br />

การดำเนินชีวิต แต่จะทำได้หรือไม่นั้น ส่วนหนึ่ง<br />

น่าจะขึ้นอยู่กับความตระหนักในเรื่องของ<br />

วิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศก่อน ตอนนี้<br />

เข้าใจว่าประชาชนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับ<br />

มาตรวิทยามากนัก เพราะแม้แต่นักวิทยาศาสตร์<br />

ในประเทศ หรือแม้แต่งานวิจัยที่วิจัยออกมาก็<br />

ไม่ค่อยได้รับความสนใจ หรือให้ความสำคัญ<br />

กับการวัดที่ถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของผล<br />

การวัดเท่าไหร่ด้วยซ้ำ


<strong>NIMT</strong><br />

แข่งขันฝีมือแรงงาน (27-30 เมษายน 2555)<br />

มว.ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน<br />

บริษัท มิตูโตโย (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท สุมิพล จำกัด ร่วมกันจัดโครงการ<br />

“การแข่งขันทักษะมาตรวิทยาทางด้านมิติ” ในการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 24<br />

ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ<br />

Skill Competition (April 27-30, 2012)<br />

<strong>NIMT</strong>, Office of Vocational Education Commission, Department of Skill<br />

Development, Mitutoyo (Thailand) Co., Ltd. and Sumipol Co., Ltd. arranged<br />

“Dimensional Metrology Skill Competition” at BITEC, Bangna, Bangkok.<br />

22<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

ผู้ช่วย รมว. เยี่ยมชม (10 พฤษภาคม 2555)<br />

ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น ผู้ช่วยรัฐมนตรี<br />

ประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ<br />

คณะ เข้าเยี่ยมชม สถาบันและรับฟังการบรรยาย<br />

โดยมี นายสมศักดิ์ ฉากเขียน รอง ผมว.(1)<br />

ผู้ทำการแทนชั่วคราวในตำแหน่ง ผมว. พร้อม<br />

ด้วยคณะผู้บริหารของสถาบันให้การต้อนรับ ณ<br />

อาคารผดุงมาตร มว. จ.ปทุมธานี<br />

Vice Minister Visit (May 10, 2012)<br />

Mr. Somsak CHARKKIAN, Deputy<br />

Director (1), Acting Director, <strong>NIMT</strong> welcomed<br />

Dr. Wiboon SHAMSHEUN, Vice Minister,<br />

Ministry of Science and Technology together<br />

with his team. On the occasion of visiting<br />

<strong>NIMT</strong> laboratories and listening to the lecture<br />

at Phadungmat building, <strong>NIMT</strong>, Pathum<br />

Thani province.<br />

อบรมเคมี (21-25 พฤษภาคม 2555)<br />

ฝ่ายมาตรวิทยาเคมีและชีวภาพ มว. จัดการฝึกอบรมเรื่อง การประมาณค่าความ<br />

ไม่แน่นอนของการวัดในการวิเคราะห์ทางเคมี ในหัวข้อ “Analytical Method Validation”<br />

(AMV) และ “Estimation of Measurement Uncertainty for Chemists” โดยมีวิทยากรจาก<br />

กรมวิทยาศาสตร์บริการมาบรรยายให้ความรู้ ณ อาคารผดุงมาตร มว. จ.ปทุมธานี<br />

Chemical Training (May 21-25, 2012)<br />

Chemical Metrology and Biometry Department, <strong>NIMT</strong>, arranged a seminar<br />

on Uncertainty of Measurement on Chemical Analysis under the topic “Analytical<br />

Method Validation (AMV)” and “Estimation of Measurement Uncertainty for Chemists”<br />

by the guest speaker from the Department of Science Service helded at Phadungmat<br />

building, <strong>NIMT</strong>, Pathum Thani province.<br />

ทำบุญตักบาตร (1 มิถุนายน 2555)<br />

นายสมศักดิ์ ฉากเขียน รอง ผมว.(1) ผู้ทำการแทนชั่วคราวในตำแหน่ง ผมว. เป็น<br />

ประธานในพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันสถาปนาสถาบันครบรอบ 14 ปี โดยมีคณะ<br />

ผู้บริหารและพนักงาน มว. ร่วมพิธี ณ อาคารสำนักงานกลาง มว. จ.ปทุมธานี<br />

The Buddhist Ritual (June 1, 2012)<br />

Mr. Somsak CHARKKIAN, Deputy Director (1), Acting Director, <strong>NIMT</strong><br />

chaired of the Buddhist Ritual on the occasion of celebrating 14 th <strong>NIMT</strong> Anniversary.<br />

<strong>NIMT</strong> executives and staffs participated in the ceremony at Administration building,<br />

<strong>NIMT</strong>, Pathum Thani province.


ประมวลภาพ<br />

กิจกรรม<br />

บรรยายเรื่องน่ารู้ (14 มิถุนายน 2555)<br />

นายสมศักดิ์ ฉากเขียน รอง ผมว.(1) ผู้ทำการแทนชั่วคราวในตำแหน่ง ผมว. เป็น<br />

ประธานกล่าวเปิดการบรรยายในหัวข้อ “การสร้างความตระหนักในการใช้คอมพิวเตอร์<br />

อย่างปลอดภัย” เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหารและพนักงาน มว. ในโอกาสนี้<br />

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ<br />

ดังกล่าว ณ อาคารสำนักงานกลาง มว. จ.ปทุมธานี<br />

Moral Briefing (June 14, 2012)<br />

Mr. Somsak CHARKKIAN, Deputy Director (1), Acting Director, <strong>NIMT</strong><br />

presided over a lecture on “How to raise awareness of computer security” in order<br />

to give knowledge to <strong>NIMT</strong> executive and staffs. On this occasion, Police Colonel<br />

Yanaphon YOUNGYUEN, Deputy Director of the Department of Special Investigation<br />

gave a lecture at Administration building, <strong>NIMT</strong>, Pathum Thani province.<br />

คาราวานวิทยาศาสตร์ (11-16 มิถุนายน 2555)<br />

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมคาราวาน<br />

วิทยาศาสตร์ ประจำปี 2555 เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ในโอกาสนี้ มว. ร่วมจัด<br />

นิทรรศการและกิจกรรมให้ความรู้ด้านมาตรวิทยาในชีวิตประจำวัน ณ จ.ลำพูน<br />

Caravan Science (June 11-16, 2012)<br />

The National Science Museum (NSM) organized Caravan science activities<br />

for the year 2012 disseminate knowledge to all children. On this occasion, <strong>NIMT</strong><br />

also organized a metrology exhibition at Lamphun province.<br />

เยี่ยมชม (15 มิถุนายน 2555)<br />

นายสมศักดิ์ ฉากเขียน รอง ผมว. (1) ผู้ทำการแทน<br />

ชั่วคราวในตำแหน่ง ผมว. และผู้บริหาร มว. ให้การต้อนรับ<br />

คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ บริษัท ยูนิคอุตสาหกรรม<br />

พลาสติก จำกัด ในโอกาสที่เข้าฟังบรรยายและเยี่ยมชมห้อง<br />

ปฏิบัติการ ณ อาคารผดุงมาตร มว. จ. ปทุมธานี<br />

Unique Plastic Industry Co., Ltd. Visit (June 15, 2012)<br />

Mr. Somsak CHARKKIAN, Deputy Director (1),<br />

Acting Director and <strong>NIMT</strong> executives welcomed<br />

staffs from Unique Plastic Industry Co., Ltd. On the<br />

occasion of visiting <strong>NIMT</strong> laboratory and listening<br />

to the lecture at Phadungmat building, <strong>NIMT</strong>,<br />

Pathum Thani province.<br />

บูรณาการและนิทรรศการ<br />

(6-8 มิถุนายน 2555)<br />

นางสาวเสาวณี มุสิแดง รองปลัด<br />

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น<br />

ประธานกล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง<br />

การบูรณาการงานด้าน วทน : วทน. สัญจรสู่<br />

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัด<br />

ภาคใต้ (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) ในโอกาสนี้<br />

มว. เข้าร่วมการประชุมและจัดแสดงนิทรรศการ<br />

ให้ความรู้ด้านมาตรวิทยา เรื่อง “เวลามาตรฐาน<br />

ของประเทศไทย” และ “วัสดุอ้างอิงทางเคมี”<br />

ณ โรงแรมมารินไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท<br />

จ.กระบี่<br />

Integration and Exhibitions (June 6-8, 2012)<br />

Ms. Saowanee MUSIDANG, Deputy<br />

Permanent Secretary, Ministry of Science<br />

and Technology presided over a workshop<br />

on “The Integration of Science and<br />

Technology in Local Government in the<br />

Southern Province of Thailand (Ranong,<br />

Phang Nga, Phuket, Krabi, Trang)”. On this<br />

occasion, <strong>NIMT</strong> participated in the meeting<br />

and organized a metrology exhibition at<br />

Maritime Park & Spa Resort, Krabi province.<br />

September-October 2012/Vol.14, No.69<br />

23

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!