13.07.2015 Views

“อนุสรณ์สถาน”: ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ - Pioneer.chula.ac.th ...

“อนุสรณ์สถาน”: ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ - Pioneer.chula.ac.th ...

“อนุสรณ์สถาน”: ภูมิทัศน์แห่งความทรงจำ - Pioneer.chula.ac.th ...

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อริยา อรุณินท์รบกวน และเสมือนธรรมชาติได้ทิ้งบทเรียนไว้เตือนใจว่าการยอมอ่อนโอนต่อธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งเดียวที่รอดพ้นอันตรายมาได้ อย่างไรก็ตามทางสภาสถาปนิกร่วมกับรัฐบาลไทย โดยความรับผิดชอบของนายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ได้เชื ้อเชิญให้บุคคลทั ่วไปได้เข้าร่วมประกวด การประกวดมีสองขั้น ในขั้นแรกนั้นไม่จำกัดว่าผู้นั้นจะเป็นสถาปนิกหรือไม่สามารถเข้าร่วมเสนอแนวคิดในการประกวดแบบได้โครงการเริ่มต้นตามที่ระบุเป็นชื่อโครงการอย่างเป็นทางการ ‘อนุสรณ์สถาน’ จึงจะเป็นอื่นไปไม่ได้ หากจะดูจากวัตถุประสงค์ของการจัดประกวดแบบนานาชาติจะพบว่ามีวัตถุประสงค์เชิงสัญลักษณ์ ที่ชัดเจนว่าเน้นถึงการรำลึกถึงและตระหนักถึงความสูญเสียที ่เกิดขึ ้นจากเหตุการณ์ ในวันที ่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โครงการนี ้ผู ้เขียนได้ร่วมเป็นผู้ร่วมร่างข้อกำหนดของการประกวดแบบนี้มาตั้งแต่ต้น (แต่ได้ขอลาออกหลังจากพบความไม่ชอบมาพากลตั้งแต่มีการประกาศข้อกำหนดออกมา)วัตถุประสงค์ของการจัดประกวดแบบนี้ก็คงเป็นไปตามที่ผู้เขียนได้ร่วมร่างพร้อมกับส่วนอื่นๆคือมีสาระสำคัญก็เพื่อมุ่งเน้นในแง่ “ความรู้สึกแห่งการรำลึก” ของทุกๆ คนที่ร่วมและไม่ร่วมในเหตุการณ์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนของความพยายามของหน่วยงานที่จัดประกวดแบบที่จะพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติขึ้นเป็นสถาปัตยกรรมประเภทพิพิธภัณฑสถาน ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์เตือนภัย ภัตตาคาร สุขา ครัว ห้องเก็บของ และอนุสาวรีย์เอง รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 10,000 ตารางเมตร และเรียกพื้นที่นี้ว่า อนุสรณ์สถานความพยายามบรรจุเอาพื้นที่ใช้สอยของอาคารพิพิธภัณฑ์ลงไปในโครงการอนุสรณ์สถานด้วยนั้นได้ย้อนสวนกระแสอนุรักษ์นิยม และไม่สอดคล้องกับภารกิจของโครงการที่มีเจตนาที่จะรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ตั้งที่อยู่ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ ที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญในตัวของตัวเองอยู่แล้ว รวมทั้งดูเสมือนจะส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปออกแบบสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ (8,000-10,000 ตารางเมตร) ในทางอ้อม ทั ้งที ่เป็นวิชาชีพควบคุมรูปแบบแนวคิดแห่ง “ความถ่อมตัว” ปรากฏให้เห็นในผลงานที่ผู้สมัครส่งเข้าประกวดในครั้งนี้ ในการประกวดขั้นที่หนึ่ง มีผลงานหลายชิ้นที่ดูเหมือนเป็นการขบถต่อข้อกำหนดขอบเขตของงาน (TOR-Term of Reference) หรือคล้ายมีเจตนาที่จะละเลยข้อกำหนดด้านพื้นที่พิพิธภัณฑ์ที่ผู้จัดประกวดกำหนดมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ผลงานชมเชยหนึ่งใน 10 ผลงานของทีมผู้ออกแบบจากประเทศไทย 55Designer/potter: Pim Sudhikam, Architect/lighting designer:Vannapa Pimviriyakul , Sculptor : Be TakerngPattanopas - Thailand97

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!