06.11.2014 Views

ผลงานเด่นได้ ไม่ยากเลย - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผลงานเด่นได้ ไม่ยากเลย - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผลงานเด่นได้ ไม่ยากเลย - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> <strong>ไม่ยากเลย</strong>”<br />

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕<br />

หัวขอ “ผลงานเดนได ไมยากเลย””<br />

วันอังคารที่ ๒๑ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕<br />

ณ ห้อง MD ๖๐๓ ชั้น ๖ อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา <strong>คณะแพทยศาสตร์</strong> <strong>มหาวิทยาลัยบูรพา</strong><br />

โครงการแกะรอย คนต้นแบบ เกิดขึ้นด้วยความตระหนักว่าในแต่ละปี<strong>คณะแพทยศาสตร์</strong>ได้จัดกิจกรรม<br />

ต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในตัวของบุคลากร และมีบุคลากรหลายๆ คนมีแนวปฏิบัติที่ดีจนได้รับ<br />

การยอมรับทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร แต่การเผยแพร่ผลงานที่ดีที่มีในตัวบุคลากรเหล่านั้นไปสู่<br />

บุคลากรอื่นๆ ไม่ทั่วถึง และผลงานที่สกัดได้จากบุคลากร ยังไม่มีระบบที่ชัดเจน การเข้าถึงข้อมูลยังมีน้อยทําให้<br />

ข้อมูลความรู้ความสามารถ และเคล็ดลับวิธีการการทํางานที่ดี ยังขาดการกลั่นกรองสกัดออกมาแลกเปลี่ยน<br />

ขาดการเชื่อมโยงนําไปต่อยอดสู่การพัฒนางานบนพื้นฐานการจัดการความรู้ที่เป็นรูปธรรม โดยในรอบปีนี้<br />

ทางคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา การบริหารความเสี่ยง และการจัดการความรู้ได้ทําการคัดเลือก<br />

ทีมผู้ที่เข้ามารับการแกะรอย ถอดความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) สู่การนําไปเผยแพร่ (Explicit<br />

Knowledge) ในหัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> ไม่อยากเลย” จากผู้ได้รับรางวัล ๗ ด้าน จากเวทีการประกวดผลงาน<br />

คุณภาพ <strong>คณะแพทยศาสตร์</strong> ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ดังรายชื่อต่อไปนี้<br />

๑. พญ.มยุรี พิทักษ์ศิลป์ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านการเรียนการสอน และด้านบูรณาการพันธกิจ<br />

๒. คุณกาญจนา พิบูลย์ ผู้ได้รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ด้านการวิจัย<br />

๓. คุณขันทอง สุขผ่อง ผู้ได้รางวัลชนะเลิศ ด้านนวัตกรรม<br />

๔. คุณกฤษณา นรนราพันธุ์ ผู้ได้รางวัลชนะเลิศ ด้านบริหารความเสี่ยง<br />

๕. คุณคมกฤช ท้าวฤทธิ์ ผู้ได้รางวัลชนะเลิศ ด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม<br />

๖. คุณชัชชญา วุฒิจิรกาล ผู้ได้รางวัลชนะเลิศ ด้านการบริการ<br />

หน้า ๑ จาก ๖


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> <strong>ไม่ยากเลย</strong>”<br />

กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้น เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ ณ ห้อง MD ๖๐๓<br />

ชั้น ๖ อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา <strong>คณะแพทยศาสตร์</strong> <strong>มหาวิทยาลัยบูรพา</strong> โดยได้รับเกียรติจาก<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ศาสตรี เสาวคนธ์ ที่ปรึกษาคณบดี<strong>คณะแพทยศาสตร์</strong> รวมทั้งคณาจารย์ และ<br />

บุคลากร สังกัด<strong>คณะแพทยศาสตร์</strong>เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการนี้ คุณพวงทอง อินใจ หัวหน้างาน<br />

ประกันคุณภาพการศึกษา และบริหารความเสี่ยง ทําหน้าที่เป็นผู้ดําเนินรายการ<br />

สรุปกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> ไม่อยากเลย”<br />

- ประเด็นที่ ๑ -<br />

ก่อนการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด มีการตัดสินใจ หรือ มีที่มาที่ไปอย่างไรในการสร้างผลงาน<br />

พญ.มยุรี พิทักษ์ศิลป์ : ที่มาที่ไปเริ่มจากได้รับการชักชวนจากเพื่อน<br />

ร่วมงานว่ามีผลงานอะไรจะส่งเข้าประกวดบ้าง ซึ่งตอนแรกก็ตอบไป<br />

ว่าไม่มี แต่พอได้ดูหัวข้อและได้รับคําแนะนํา จึงหันกลับที่ทบทวน<br />

การทํางานที่ผ่านมา ก็เลยรู้ว่าเราได้ทํา ซึ่งก็ดีใจที่สิ ่งที่ทําได้ตอบ<br />

โจทย์การประกันคุณภาพ “จุดเริ่มมาจากที่ไม่ทราบเลยว่างานของ<br />

เราเองมีความเกี่ยวข้องกับการสร้างงานคุณภาพ แต่เมื่อเปิดใจรับ<br />

ฟังข้อเสนอแนะก็จะทําให้ทราบ”<br />

คุณชัชชญา วุฒิจิรกาล : ทํางานเป็นอาสาสมัครคลินิกตะวัน ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเริ่มทํางานมาตั้งแต่ปี<br />

พ.ศ. ๒๕๔๖ ตั้งแต่ทีมงานมีไม่กี่คน คนไข้ไม่มาก จนตอนนี้มีสมาชิกกว่า ๑๕๐ คน เราทํางานแบบเพื่อนช่วย<br />

เพื่อน รู้สึกดีที่คนไข้ได้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ทําให้เขามีกําลังใจที่จะต่อสู้ชีวิตต่อไปได้ ก็ทําให้เราผู้ให้บริการมี<br />

กําลังใจที่จะทํางานต่อไป<br />

คุณขันทอง สุขผ่อง : แต่แรกไม่ได้ตั้งใจจะเขียนผลงานส่งเข้าประกวด แต่มีคนแนะนําให้เขียน เพราะ<br />

หน่วยงานของเราทํางานอยู่หลายโครงการหลายกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง และมีการต่อยอดกิจกรรมจากการ<br />

ประเมินผลงานที่ผ่านมา<br />

คุณคมกฤช ท้าวฤทธิ์ : ได้มีโอกาสดูแลโครงการสานรักครอบครัวด้วยศิลปะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นการทํา<br />

กิจกรรมร่วมกันของครอบครัว<br />

คุณกาญจนา พิบูลย์ : พอดีตนเองสนใจงานวิจัยด้านผู้สูงอายุอยู่แล้ว ซึ่งก็มีความเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อของการ<br />

ประกวดผลงานคุณภาพ โดยงานวิจัยที่เกิดขึ้นเกิดจากความชอบและสนใจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพราะจากที่เห็น<br />

พ่อตนเองป่วย จึงเริ่มสนใจทํางานวิจัยทางด้านนี้ ประกอบกับสภาพสังคมของบ้านเราที่เริ่มจะเข้าสู่สังคม<br />

หน้า ๒ จาก ๖


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> <strong>ไม่ยากเลย</strong>”<br />

ผู้สูงอายุด้วย ที่ลงมือทํางานวิจัยด้านนี้ เพราะเราชอบ คนไม่ค่อยทํากันเพราะคิดว่ายาก จึงตัดสินใจทํา และ<br />

เมื่อมีการประกวดผลงานครั้งนี้ ก็เน้นเรื่องผู้สูงอายุพอดี ผลงานจึงได้รับรางวัลผลงานคุณภาพ<br />

คุณกฤษณา นรนราพันธุ์ : เนื่องจากเราเป็นเจ้าของโครงการ และดูแลงานเรื่องการประกันคุณภาพ<br />

โรงพยาบาลอยู่ เราจึงคิดว่าเราควรจะเขียนผลงานเพื่อเป็นตัวอย่างและกระตุ้นให้เพื่อนสมาชิกในองค์กร<br />

มองเห็นการทํางานประจําที่สามารถเขียนออกมานําเสนอเป็นผลงานคุณภาพของงานตัวเองได้ รวมถึงเป็นส่วน<br />

หนึ่งของสีสันการทําเสนอผลงานคุณภาพของ<strong>คณะแพทยศาสตร์</strong><br />

คุณพวงทอง อินใจ : สรุป “ที่มาของผลงานที่ส่งเข้าประกวดมา<br />

จากงานประจําซึ่งเราทําอยู่ปกติอยู่แล้ว แม้บางครั้งเราอาจจะมอง<br />

ไม่เห็นว่าสามารถที่จะทํามาสร้างผลงานที่ดีเด่นได้ แต่เมื่อมีโอกาส<br />

ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขจากการประกวด กําลังใจจากคนรอบข้าง<br />

ผู้ร่วมงานของเรา หัวหน้างานของเรา ล้วนเกิดจากความตั้งใจดีที่<br />

เราจะทําให้เกิดขึ้น”<br />

- ประเด็นที่ ๒ -<br />

ในการสร้างผลงานมีความยากง่าย หรือ ต้องใช้เวลาอย่างไรบ้างจึงจะสร้างผลงานของเราให้เด่นได้<br />

คุณกฤษณา นรนราพันธุ์ : ผลงานที่นําเสนอไม่ได้ยากหรือง่าย หรือ ใช้เวลามากน้อย เพราะมันอยู่ในงาน<br />

ประจําอยู่แล้ว แต่สิ่งสําคัญอยู่ที่การตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดข้อในระบบของการทํางาน จะทําให้เรา<br />

สามารถเลือกประเด็นในการนําเสนอผลงานที่มาจากงานประจําได้<br />

พญ.รมร แย้มประทุม : ถามเพิ่มเติมคุณกฤษณา จากประสบการณ์การทํางานและการมองเห็นภาพรวมระบบ<br />

การทํางานคุณภาพ ทําอย่างคนที่เป็นหน่วยงานกลางจะไม่ต้องเป็นผู้ปรับข้อมูลการนําเสนอผลงานเอง แต่ให้<br />

ผู้เขียนสามารถเขียนเองได้ด้วยตัวเองได้<br />

คุณกฤษณา นรนราพันธุ์ : เราจะแนะนําให้ดูคําอธิบายตามขั้นตอนการประกันคุณภาพโรงพยาบาลตามระบบ<br />

ของ สรพ. แต่ด้วยระยะเวลากระชั้นชิดของการส่งผลงาน หน่วยงานกลางจึงมีการเนื้อหาให้เหมาะสม โดย<br />

เขียนข้อเสนอแนะไว้ในเนื้อหาให้ส่งมาก่อนได้รับการปรับปรุง ให้เจ้าของผลงานกลับไปอ่าน<br />

คุณกาญจนา พิบูลย์ : งานวิจัยไม่ได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากจนทําไม่ได้<br />

ปัญหาของคนไม่เคยทําวิจัยอยู่ที่คิดว่าอะไรยากไปหมด เพราะไม่เคย<br />

ทําวิจัยและมาเคยเรียนรู้มาก่อน แต่ก็มีงานวิจัยไม่น้อยที่สร้างขึ้นมา<br />

โดยคนที่ไม่ได้เรียนปริญญาโทมาก่อนเลย เพราะว่างานวิจัยที่พัฒนา<br />

มาจากงานประจํา ทํางานทุกวันให้เหมือนงานวิจัย ดังนั้น “เรา<br />

สามารถหยิบยกปัญหาที่พบจากการทํางานมาทําวิจัยได้ เพราะ<br />

งานวิจัย คือ การแก้ปัญหา ถ้าเรามองว่ามันง่ายมันก็จะง่ายซึ่ง<br />

หากเรามองว่ายากมันก็จะยากไปหมด” สําหรับตัวเองตั้งต้นที่เรา<br />

หน้า ๓ จาก ๖


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> <strong>ไม่ยากเลย</strong>”<br />

ศึกษาปัญหาจากการทํางานของเรา นํามาเป็นข้อคําถามงานวิจัย หลังจากนั้นนํามาทําวัตถุประสงค์ว่าเรา<br />

ต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องนั้นได้อย่างไร และวิธีการของเดิมมีแบบนี้แล้วเราจะทําแบบนั้นได้ไหม และเราจะลอง<br />

นําวิธีที่เคยทําที่อื่นแล้วเราจะนํามาทดลองทําที่เราได้รึป่าว หลังจากนั้นผลเป็นอย่างไรเราก็เอามาอธิบาย หาก<br />

เราต้องการทําวิจัยที่ใหญ่ เราก็ต้องไปทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาพิจารณางานวิจัยที่เราต้องการจะ<br />

ศึกษา และหากเราจะทํางานวิจัย เราก็ต้องให้เวลาในการทําด้วย ส่วนการจะหาทุนวิจัย ก็จําเป็นที่จะต้องดู<br />

แผน นโยบาย ของเจ้าของแหล่งทุนวิจัยด้วย<br />

คุณคมกฤช ท้าวฤทธิ์ : การกิจกรรมสานรักครอบครัวด้วยศิลปะ<br />

ใช้เวลาเตรียมงานไม่มาก แต่ความยุ่งยากจะอยู่ที่การเตรียม<br />

อุปกรณ์ต่างๆ และการเชิญวิทยากรมาสอน เพื่อให้ตรงกับลักษณะ<br />

กิจกรรม ค่อนข้างลําบาก ดังนั้น ตัวเองที่พอมีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง<br />

ศิลปะ จึงต้องพยายามหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม และการออกแบบ<br />

กิจกรรมร่วมกับวิทยากร หลังการจัดกิจกรรม ผลงานที่ออกมา<br />

ได้รับการตอบรับอย่างมากว่าต้องการให้จัดกิจกรรมทุกๆ เดือน<br />

คุณขันทอง สุขผ่อง : การทํางานคลินิกเพื่อใจวัยใส หากพูดถึงความยากต้องบอกว่ายากที่สุด หากต้องทําคน<br />

เดียว แต่เราทํางานเป็นทีม ทั้งส่วนที่เป็นทีมงานของกล่มงานเวชศาสตร์ชุมชนผู้รับผิดชอบหลัก และทีมงาน<br />

ของคลินิกเพื่อในวัยใส ได้ดําเนินงานมาตั้งแต่ มกราคม 2554 จุดเริ่มต้นมาจากนโยบายของกรมอนามัย ที่ให้มี<br />

การดูแลวัยรุ่น ให้วัยรุ่นเข้าถึงคําปรึกษา โดยมีผู้ให้คําปรึกษาที่เป็นมิตรกับวันรุ่น การประชาสัมพันธ์ และการ<br />

เข้าถึงวัยรุ่น เราต้องไปถึงที่เพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย อุปสรรคในเรื่องของเวลา สถานที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ<br />

ระยะเวลาตั้งแต่ตั้งคลินิกมาประมาณปีกว่า สมาชิกเกือบหนึ่งพันคนผู้รับบริการไม่ได้จํากัดเพื่อนิสิต แต่มีใน<br />

ลักษณะของครอบครัวด้วย<br />

คุณชัชชญา วุฒิจิรกาล : งานการบริการ เป็นการทํางานที่<br />

มากกว่าการบริการ ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เพราะมีเรื่องต่างๆ ที่<br />

มีผลต่อความรู้สึกได้ง่าย เราได้เรียนรู้จากการบริการว่า ต้องมีจิต<br />

อาสา ทํางานด้วยเทคนิคใช้อัธยาศัยที่ดี เวลาทํากลุ่มพูดคุยกับ<br />

คนไข้ เราก็ต้องใช้ตัวตนเราพูดคุยกับคนไข้ เราไม่ได้ให้บริการ<br />

เฉพาะที่โรงพยาบาล และเรายังลงไปถึงบ้านของคนไข้ เพื่อพูดคุย<br />

ติดตามอาการ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเรากับคนไข้ เรา<br />

ไม่ได้กําหนดเอง แต่จะเป็นการสรุปจากการแลกเปลี่ยนความ<br />

คิดเห็นระหว่างการทํากลุ่มด้วย ถือเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งการการทํางานที่คนไข้มาตรวจตามนัดอย่างต่อเนื่อง<br />

“เรามีความสุข ที่เราได้ทํางานบริการเป็นอาสาสมัคร แม้จะไม่ได้รับค่าตอบแทนมากมายอะไร และการ<br />

ทํางานร่วมกันกับทีมงาน เราก็เกิดการผูกพันกันของคนในทีม”<br />

พญ.มยุรี พิทักษ์ศิลป์ : การจัดการเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทําเอง เพราะจะเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด<br />

ไม่ใช่แค่การบรรยาย ประเด็นสําคัญของการทําโครงการ คือ นิสิต และชุมชน นิสิตไปเรียนรู้ปัญหาจากชุมชน<br />

หน้า ๔ จาก ๖


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> <strong>ไม่ยากเลย</strong>”<br />

เพื่อนํามาออกแบบโครงการและกิจกรรม รวมถึงการฝึกประสบการณ์การทํางานกับชุมชน เช่น ประสานงาน<br />

การเข้าหาคนในชุมชน<br />

คุณพวงทอง อินใจ : สรุป “ในการตั้งใจทํางานความยากง่ายไม่ใช่เรื่องสําคัญ แต่การตั้งใจทํางานสามารถตอบ<br />

ปัญหาการทํางาน ทําประโยชน์อะไรให้แก่ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ทําด้วยใจรักด้วยความตั้งใจ ร่วมกับการ<br />

เรียนรู้ตลอดเวลาและได้รับความร่วมมือจากทีม ที่ทําให้มีความสุขต่อการทํางาน”<br />

- ประเด็นที่ ๓ -<br />

อยากบอกอะไรแก่คนอื่นๆ ว่า “การสร้างผลงานให้เด่นได้ ไม่อยากเลย”<br />

พญ.มยุรี พิทักษ์ศิลป์ : ไม่ต้องคิดจะทํางานให้เด่น ทําไปเถอะ ตั้งใจอยากจําทําอะไรก็ทํา สิ่งที่เรารักและตั้งใจ<br />

จะทํา ใครไม่เห็นก็ไม่เป็นไร<br />

คุณชัชชญา วุฒิจิรกาล : ตั้งใจที่จะทําอะไรก็ต้องทําให้ได้ อย่างที่ได้รางวัลนี้ ทํางานมา 7-8 ปี ไม่คิดว่าจะได้<br />

รางวัล เพราะ การทํางานอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หวังให้เด่น<br />

คุณขันทอง สุขผ่อง : ทําอะไรก็ต้องทําให้ดีที่สุด แต่ก็ความต้อง<br />

มองกลับไปว่าสิ่งที่เราทํามา มีอะไรที่เราต้องทําเพิ่มบ้าง แต่ “เชื่อ<br />

ว่ายังมีผลงานคุณภาพต่างๆ อีกมาก ผลงานจากการทํางาน<br />

หลายๆ อย่างควรได้รับการกระตุ้นจากรุ่นพี่ผู้มีประสบการณ์<br />

หรือผู้บังคับบัญชา และเราต้องทํางานอย่างตั้งใจ ทําอย่าง<br />

ต่อเนื่อง จากนั้นนํามาปรับปรุงมาพัฒนาให้ดีมากขึ้น”<br />

คุณคมกฤช ท้าวฤทธิ์ : งานทุกอย่างทําด้วยใจ ผลงานที่ออกมาแล้วผู้ที่ร่วมกันมีความสุข เราก็มีความสุข<br />

การทํางานอย่างตั้งใจเมื่อทําออกมา และผู้มีส่วนร่วมมีความสุข คนทํางานก็มีความสุขจากผลงานที่ได้ทํา<br />

คุณกาญจนา พิบูลย์ : การทํางานต้องตั้งต้นที่ตัวเรา ทํางานที่เราชอบ และเราเชื่อว่าทําได้ทําอย่างตั้งใจ อย่าง<br />

คาดหวังให้ใครเห็น เพราะเมื่องานของเราเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ก็จะมีคนเห็น ดังนั้น จึงมีความสุขกับการ<br />

ทํางาน ที่เราได้ทําอย่างตั้งใจ ชอบในสิ่งที่ทํา เชื่อในความสามารถของเราที่เราทํางานได้แล้วงานจะออกมาดี<br />

ไม่จําเป็นต้องคิดจะทํางานให้เด่น แต่คิดจะทําอะไรก็ต้องทําอย่างตั้งใจ ไม่จําเป็นต้องหวังให้ใครเห็น<br />

คุณกฤษณา นรนราพันธุ์ : เปิดใจสักนิดการทํางานเป็นทีมจะ<br />

เกิดขึ้น หากเราไม่เปิดใจ สิ่งดีดีต่างๆ ที่จะมาก็จะปิด<br />

“ความสําเร็จในการทํางานร่วมกันอยู่ที่การเปิดใจในการพูดคุย<br />

เพื่อให้เกิดพัฒนางานร่วมกัน คุณค่าของการทํางานจะเกิดขึ้นก็<br />

ด้วยการเปิดใจยอมรับการทํางานของเราเอง”<br />

หน้า ๕ จาก ๖


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการแกะรอย คนต้นแบบ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ หัวข้อ “<strong>ผลงานเด่นได้</strong> <strong>ไม่ยากเลย</strong>”<br />

- ประเด็นส่งท้าย -<br />

“ความสําเร็จจากประสบการณ์ทํางานที่ผ่านมา” จากคนต้นแบบอาวุโส<br />

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ศาสตรี เสาวคนธ์ : ทําไปเถอะ<br />

ถ้างานนั้นเป็นงานที่เราชอบ ทําแล้วงานนั้นให้ประโยชน์ แก่ผู้ป่วย<br />

แก่ชุมชน แก่เพื่อนร่วมงาน แก่รุ่นน้อง ทําแล้วมีความสุขในการทํา<br />

ทุกวันนี้ยึดคติว่าเป็นผู้ให้ ให้ไม่ได้หมายถึงให้เป็นเงินเป็นทอง แต่<br />

ให้ทุกอย่างที่เราทําได้ เราให้ไปแล้วถ้าเค้าประสบความสําเร็จ เรา<br />

ก็จะภาคภูมิใจ ถ้าทําแล้วหวังว่าจะได้อันนั้นอันนี้ ว่าทําแล้วหวัง<br />

จะได้รางวัลแต่ไม่รางวัล แย่แล้ว ทําแล้วหวังว่าคนนั้นคนนี้จะมา<br />

ทดแทนคุณแต่ไม่ได้ เราแย่ มันย่อมท้อแท้รู้สึกทุกข์ ทางศาสนา<br />

เท่ากับทําแล้วได้บาปเพราะเราไม่มีความสุข แต่ทําแล้วมีความสุข นั่นแหละเราได้บุญ แต่หากทําแล้วไม่ได้<br />

คาดหวังสิ่งตอบแทน เมื่อได้รับกลับมาจะรู้สึกอิ่มเอมใจ หากจะทํางานอะไรต้องทําอย่างมีความสุข ทําอย่าง<br />

ตั้งใจ เมื่อผลงานออกมา สิ่งดีดีจะเข้ามาหาเราอย่างคาดไม่ถึง “งานที่เราทําด้วยความจริงใจ ทําเพื่อให้มี<br />

ประโยชน์ ทําเพื่อพัฒนา ความดีจากการทํางานของเราจะปรากฏให้ได้รับการยอมรับ ชื่นชม ประทับใจ<br />

นับถือ จากผู้อื่นอย่างแน่นอนไม่ว่าช้าหรือเร็ว แต่นั่นไม่ได้มีความหมายเท่ากับผลจากการทํางานของเราได้<br />

สร้างคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น ต่อส่วนรวมได้”<br />

_____________________________________________________<br />

หน้า ๖ จาก ๖

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!