05.05.2015 Views

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รายงานวิจัย<br />

การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

Information Technology Project Management<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา<br />

คณะสถิติประยุกต<br />

ตุลาคม ๒๕๕๑<br />

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร


สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร<br />

๑๑๘ ถนนเสรีไทย คลองจั่น บางกะป<br />

กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๔๐<br />

ประเทศไทย<br />

โทร : ๖๖๒-๓๗๕-๘๙๗๒<br />

โทรสาร: ๖๖๒-๓๗๔-๒๗๕๙<br />

E-mail : rcadmin@nida.ac.th<br />

© ๒๕๕๑ โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร<br />

สงวนสิทธิ์ : การคัดลอก การจัดเก็บไวในระบบที่จะเรียกกลับมาใชใหม หรือ<br />

การสงผานในรูปแบบใด หรือวิธีการใด ไมวาทางไฟฟา<br />

เครื่องกล การถายสําเนา การอัดเสียง หรือวิธีการอื่นใด ตองขอ<br />

อนุญาตจาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร<br />

ยกเวน การนําเสนอที่ประชุมทางวิชาการและนําไปตีพิมพเผยแพรใน<br />

วารสารทางวิชาการทั้งในประเทศและตางประเทศ และการ<br />

เผยแพรอื่น ๆ ที่ไมใชการหาผลประโยชนเชิงพาณิชย<br />

ขอความและความคิดเห็นใดในสิ่งพิมพฉบับนี้ เปนของผูเขียน/คณะวิจัย มิใช<br />

ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตรขอสงวน<br />

สิทธิ์ที่จะไมรับผิดชอบตอความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลหรือทรัพยสินอันเปนผล<br />

มาจากสิ่งใดในรายงานฉบับนี้


การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

Information Technology Project Management


อนาคตขององคการขึ้นอยูกับความสามารถในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศที่องคการทวีการ<br />

ลงทุนอยางมากมาย แตจากผลการดําเนินการกลับพบวาสวนใหญโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศไม<br />

ประสบความสําเร็จตามที่องคการคาดหวัง ถึงแมวาสถานการณจะดีขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม การที่สถานการณ<br />

ดีขึ้นเนื่องจากองคการใหความสําคัญกับการบริหารโครงการ ดังนั้น จึงสงผลใหเกิดความตองการ<br />

ผูจัดการโครงการที่มีความสามารถมากขึ้น<br />

สถาบันการศึกษาตางๆ ไดบรรจุวิชา การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ไวในหลักสูตร<br />

ทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ แตตําราการบริหารโครงการสวนใหญจะเนนทางดานบริหาร วิศวกรรม<br />

และเศรษฐศาสตร สวนตําราภาษาไทยสําหรับการบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีนอยมาก<br />

ผูเขียนจึงไดเรียบเรียงตํารา ”การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตามแนวทางการบริหาร<br />

โครงการที่กําหนดโดย Project Management Institute (PMI) สถาบันแหงนี้ไดกําหนดวาคนที่จะเปน<br />

ผูจัดการโครงการที่มีความสามารถตองมีความรู 9 ดานคือ การบริหารการบูรณาการ การบริหาร<br />

ขอบเขต การบริหารเวลา การบริหารคาใชจาย การบริหารคุณภาพ การบริหารทรัพยากรมนุษย การ<br />

บริหารความเสี่ยง การบริหารการสื่อสาร และการบริหารการจัดซื้อจัดจาง ตําราเลมนี้จึงเรียบเรียงตาม<br />

องคความรูดังกลาว<br />

ในการเรียบเรียงตําราเลมนี้ ผูเขียนขอขอบคุณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร ที่<br />

สนับสนุนคาใชจาย คณะกรรมการสงเสริมการวิจัยของสถาบันที่เห็นความสําคัญของตําราและใหความ<br />

เห็นชอบ ผูอานตนฉบับที่ใหขอเสนอแนะที่เปนประโยชน<br />

ผูเขียนหวังวาตํารา “การบริหารโครงการเทคโนลียีสารสนเทศ” เลมนี้จะเปนประโยชน<br />

สําหรับนักศึกษาสาขาการจัดการระบบสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร เทคโนโลยีสารสนเทศ และ<br />

สาขาอื่นที่เกี่ยวของในมหาวิทยาลัยตางๆ รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวของกับการบริหารโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศในองคการทั้งภาครัฐและเอกชน<br />

คณะสถิติประยุกต วราภรณ จิรชีพพัฒนา<br />

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร ตุลาคม 2551


คํานํา<br />

หนา<br />

1 บทนํา<br />

1.1 สาเหตุความลมเหลวของโครงการ 1-1<br />

1.2 ความหมายของโครงการ 1-2<br />

1.3 ความหมายของการบริหารโครงการ 1-4<br />

1.4 บทบาทของผูจัดการโครงการ 1-6<br />

1.5 ซอฟตแวรจัดการโครงการ 1-9<br />

1.6 สรุป 1-10<br />

คําถามทายบท 1-10<br />

2 การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

2.1 บทนํา 2-1<br />

2.2 วิธีการเชิงระบบ 2-1<br />

2.3 ตัวแบบวงกลมสามวงสําหรับการบริหารโครงการ 2-2<br />

2.4 ความเขาใจองคการ 2-3<br />

2.5 การบริหารผูมีสวนไดเสีย 2-10<br />

2.6 ขั้นตอนโครงการและวงจรชีวิตของโครงการ 2-11<br />

2.7 วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร 2-13<br />

2.8 วงจรชีวิตของโครงการกับวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร 2-14<br />

2.9 กลุมกระบวนการบริหารโครงการ 2-14<br />

2.10 บริบทของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ 2-20<br />

2.11 สรุป 2-21<br />

คําถามทายบท 2-22<br />

3 การบริหารการบูรณาการ<br />

3.1 บทนํา 3-1<br />

3.2 การวางแผนเชิงกลยุทธ และการเลือกโครงการ 3-2<br />

3.3 พัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ 3-11<br />

3.4 กําหนดขอบเขตงานเบื้องตน 3-12


หนา<br />

3.5 แผนการบริหารโครงการ 3-12<br />

3.6 การปฏิบัติงานโครงการ 3-18<br />

3.7 การติดตามและการควบคุมงานโครงการ 3-20<br />

3.8 การควบคุมการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ 3-20<br />

3.9 การปดโครงการ 3-26<br />

3.10 สรุป 3-27<br />

คําถามทายบท 3-27<br />

4 การบริหารขอบเขตโครงการ<br />

4.1 บทนํา 4-1<br />

4.2 การวางแผนขอบเขต และแผนการบริหารขอบเขต 4-2<br />

4.3 การกําหนดขอบเขต และขอกําหนดขอบเขตโครงการ 4-5<br />

4.4 การสรางโครงสรางจําแนกงาน 4-8<br />

4.5 การทวนสอบขอบเขต 4-15<br />

4.6 การควบคุมขอบเขต 4-16<br />

4.7 สรุป 4-18<br />

คําถามทายบท 4-18<br />

5 การบริหารเวลาโครงการ<br />

5.1 บทนํา 5-1<br />

5.2 การกําหนดกิจกรรม 5-2<br />

5.3 การเรียงลําดับกิจกรรม 5-3<br />

5.4 การประมาณการทรัพยากรกิจกรรม 5-7<br />

5.5 การประมาณการชวงระยะเวลากิจกรรม 5-8<br />

5.6 การพัฒนาตารางเวลา 5-10<br />

5.6.1 แผนภูมิแกนต 5-10<br />

5.6.2 วิธีเสนทางวิกฤต 5-13<br />

5.6.3 การจัดตารางเวลาหวงโซวิกฤต 5-23<br />

5.6.4 เทคนิคการทบทวนและการประเมินผลการทํางาน: เทคนิค PERT 5-28<br />

5.7 การควบคุมตารางเวลา 5-31<br />

5.8 สรุป 5-33<br />

คําถามทายบท 5-34


หนา<br />

6 การบริหารคาใชจายโครงการ<br />

6.1 บทนํา 6-1<br />

6.2 การบริหารคาใชจายโครงการคืออะไร 6-1<br />

6.3 การประมาณการคาใชจาย 6-2<br />

6.3.1 เทคนิคและเครื่องมือสําหรับการประมาณการคาใชจาย 6-2<br />

6.3.2 การประมาณการขนาดของซอฟตแวรดวยฟงกชันพอยท 6-4<br />

6.3.3 การประมาณการแรงงานดวยวิธีโคโคโม 6-19<br />

6.3.4 ปญหาที่พบโดยทั่วไปของการประมาณการคาใชจายดานเทคโนโลยี 6-40<br />

สารสนเทศ<br />

6.3.5 ตัวอยางการประมาณการคาใชจาย 6-41<br />

6.4 การทํางบประมาณคาใชจาย 6-47<br />

6.5 การควบคุมคาใชจาย 6-48<br />

6.6 สรุป 6-54<br />

คําถามทายบท 6-55<br />

7 การบริหารคุณภาพโครงการ<br />

7.1 บทนํา 7-1<br />

7.2 การบริหารคุณภาพคืออะไร 7-1<br />

7.3 การวางแผนคุณภาพ 7-2<br />

7.4 การประกันคุณภาพ 7-4<br />

7.5 การควบคุมคุณภาพ 7-5<br />

7.6 เครื่องมือ และเทคนิคสําหรับการควบคุมคุณภาพ 7-6<br />

7.6.1 เครื่องมือพื้นฐานสําหรับการควบคุมคุณภาพ 7-6<br />

7.6.2 การสุมตัวอยางเชิงสถิติ 7-11<br />

7.6.3 ซิกสซิกมา 7-11<br />

7.6.4 การทดสอบและการทวนสอบ 7-15<br />

7.7 การบริหารคุณภาพสมัยใหม 7-17<br />

7.7.1 การบริหารคุณภาพของเดมมิง 7-17<br />

7.7.2 การบริหารคุณภาพของจูราน 7-20<br />

7.7.3 ครอสบี และขอบกพรองเปนศูนย 7-21


หนา<br />

7.7.4 อิชิคาวาและวงกลมคุณภาพ 7-23<br />

7.7.5 มาตรฐานไอเอสโอ 7-24<br />

7.8 ตัววัด 7-24<br />

7.9 ตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถแบบบูรณาการ 7-32<br />

7.9.1 ตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอน 7-33<br />

7.9.2 ตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบตอเนื่อง 7-37<br />

7.10 การปรับปรุงคุณภาพโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ 7-41<br />

7.11 สรุป 7-43<br />

คําถามทายบท 7-44<br />

8 การบริหารทรัพยากรมนุษยโครงการ<br />

8.1 บทนํา 8-1<br />

8.2 ทฤษฎีในการบริหารคน 8-2<br />

8.2.1 ทฤษฎีการจูงใจ 8-2<br />

8.2.2 ทฤษฎีอํานาจและอิทธิพลของธรรมเฮียนและไวลมอน 8-6<br />

8.2.3 ทฤษฎีการปรับปรุงประสิทธิผลของโควีย 8-8<br />

8.3 การวางแผนทรัพยากรมนุษย 8-10<br />

8.3.1 ผังโครงสรางโครงการ 8-10<br />

8.3.2 การมอบหมายงานใหกับทีมงานยอย 8-13<br />

8.3.3 ตารางการมอบหมายความรับผิดชอบ 8-15<br />

8.3.4 แผนการบริหารกําลังพลและแผนภูมิแทงทรัพยากร 8-15<br />

8.4 การไดทีมงาน 8-16<br />

8.4.1 การคัดเลือกสมาชิกทีมงาน 8-16<br />

8.4.2 การมอบหมายงานใหกับสมาชิก 8-18<br />

8.4.3 การบรรจุทรัพยากร 8-21<br />

8.4.4 การจัดระดับทรัพยากร 8-22<br />

8.4.5 การกําหนดตารางเวลาการใชทรัพยากรภายใตขอจํากัดดานทรัพยากร 8-24<br />

8.5 การพัฒนาทีมงานโครงการ 8-25<br />

8.6 การบริหารทีมงาน 8-28<br />

8.7 สรุป 8-30


หนา<br />

คําถามทายบท 8-32<br />

9 การบริการการสื่อสารโครงการ<br />

9.1 บทนํา 9-1<br />

9.2 การวางแผนการสื่อสาร 9-2<br />

9.3 การกระจายสารสนเทศ 9-4<br />

9.4 การรายงานการปฏิบัติงาน 9-9<br />

9.5 การบริหารผูมีสวนไดเสีย 9-10<br />

9.6 ขอเสนอแนะสําหรับการปรับปรุงการสื่อสารโครงการใหดีขึ้น 9-11<br />

9.7 สรุป 9-19<br />

คําถามทายบท 9-20<br />

10 การบริหารความเสี่ยงโครงการ<br />

10.1 บทนํา 10-1<br />

10.2 การวางแผนบริหารความเสี่ยง 10-2<br />

10.3 ประเภทของความเสี่ยงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 10-4<br />

10.4 การระบุความเสี่ยง 10-7<br />

10.5 การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพ 10-11<br />

10.6 การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณ 10-17<br />

10.7 การวางแผนตอบสนองความเสี่ยง 10-20<br />

10.8 การควบคุมและติดตามความเสี่ยง 10-22<br />

10.9 สรุป 10-23<br />

คําถามทายบท 10-24<br />

11 การบริหารการจัดซื้อจัดจาง<br />

11.1 บทนํา 11-1<br />

11.2 การวางแผนการซื้อและการไดมา 11-2<br />

11.3 การวางแผนการทําสัญญา 11-8<br />

11.4 การรองขอคําตอบจากผูขาย 11-9<br />

11.5 การเลือกผูขาย 11-9<br />

11.6 การบริหารสัญญา 11-10


หนา<br />

11.7 การปดสัญญา 11-11<br />

11.8 สรุป 11-12<br />

คําถามทายบท 11-13<br />

12 การติดตั้งระบบ การปดโครงการและการประเมิน<br />

12.1 บทนํา 12-1<br />

12.2 การติดตั้งระบบสารสนเทศ 12-1<br />

12.3 การปดโครงการ 12-4<br />

12.4 การประเมินโครงการ 12-10<br />

12.5 สรุป 12-12<br />

คําถามทายบท 12-14<br />

13 การบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

13.1 บทนํา 13-1<br />

13.2 ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง 13-2<br />

13.3 การวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง 13-6<br />

13.4 การจัดการกับความขัดแยงและการตอตาน 13-12<br />

13.5 สรุป 13-15<br />

คําถามทายบท 13-17<br />

บรรณานุกรม<br />

ดัชนี


บทนํา หนา 1-1<br />

1.1 สาเหตุความลมเหลวของโครงการ<br />

แสตนดิสกรุปไดทําการสํารวจความคิดเห็นของผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศจํานวน<br />

365 คน โดยไดทํารายงานผลการสํารวจที่เรียกวา CHAOS ในรายงานไดระบุสาเหตุความลมเหลวที่<br />

สําคัญของโครงการมี 5 สาเหตุคือ<br />

• การมีสวนรวมของผูใช ถาผูใชมีสวนรวม โอกาสที่โครงการจะประสบความสําเร็จมาก<br />

ขึ้น เนื่องจากผูใชจะใหเวลากับทีมงานเพื่อบอกความตองการ ชวยออกแบบสวน<br />

ประสานกับผูใช (user interface) ชวยทดสอบ รวมทั้งชวยทีมงานในชวงการนําระบบ<br />

ไปใชงาน<br />

• การสนับสนุนจากผูบริหาร เนื่องจากการพัฒนาระบบสารสนเทศตองเกี่ยวของกับ<br />

หลาย ๆ หนวยงาน จึงตองมีผูบริหารที่มีตําแหนงสูง คอยแกปญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได<br />

• ความชัดเจนของความตองการ การเขียนความตองการตองกําหนดขอบเขตของงาน<br />

วามีแคไหน เนื่องจากธรรมชาติของผูใชเปลี่ยนความตองการอยูเรื่อย ๆ ความตองการ<br />

เกิดขึ้นใหมอยูเรื่อย ๆ ผูจัดการโครงการตองพิจารณาวาการเปลี ่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรง<br />

นั้นเกินขอบเขตของงานหรือไม ถาความตองการเขียนไมชัดเจนจะทําใหเกิดปญหา<br />

การโตแยง หรือเนื้องานอาจเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลใหโครงการไมสามารถปดได<br />

• การวางแผนโครงการที่เหมาะสม การวางแผนจะทําใหเรารูวางานที่ตองทํามีอะไร<br />

คาใชจาย ทรัพยากรที่ตองการใช เวลาที่ตองเสร็จ ใครรับผิดชอบ งานไหนตองเกิดขึ้น<br />

กอน ถาไมมีการวางแผน จะมีผลทําใหระยะเวลาของโครงการตองขยาย คาใชจาย<br />

สูงขึ้น หรืออาจทําใหโครงการตองยุติกลางคัน<br />

• ความคาดหวังตอโครงการที่สอดคลองกับสภาพความเปนจริง ทีมงานจะตองไมสราง<br />

ความคาดหวังของผูใชที่มีตอโครงการเกินจริง เพราะถาสุดทายแลวผูใชพบวาระบบ<br />

ไมสามารถทําไดอยางที่ทีมงานเคยพูดไว จะทําใหผูใชผิดหวังอยางรุนแรง และเกิด<br />

ความรูสึกตอตาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-2<br />

การบริหารโครงการเปนวิธีการหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสที่โครงการจะประสบความสําเร็จ เพราะ<br />

เปนการนําเอาเครื่องมือตาง ๆ มาชวยในการกําหนดแผนการดําเนินโครงการ ติดตามงานที่ทํา การ<br />

ประมาณคาใชจายและทรัพยากรอยางเหมาะสม การบริหารโครงการมีประโยชนดังนี้<br />

• มีการควบคุมที่ดี ทั้งทางดานการเงิน บุคลากร และทรัพยากรอื่นๆ<br />

• ความสัมพันธกับลูกคาดีขึ้น<br />

• เวลาในการพัฒนานอยลง<br />

• คาใชจายต่ํา<br />

• ระบบงานมีคุณภาพและนาเชื่อถือ<br />

• กําไรเพิ่มขึ้น<br />

• ผลผลิตเพิ่มขึ้น<br />

• การประสานงานภายในทีมดีขึ้น<br />

• ขวัญพนักงานดีขึ้น<br />

1.2 ความหมายของโครงการ<br />

โครงการ หมายถึง ความพยายาม (การกระทํา) ชั่วคราวที่ใชเพื่อสรางผลิตผล บริการหรือ<br />

ผลลัพธที่มีลักษณะพิเศษ ไมเหมือนใคร โครงการมีคุณลักษณะดังนี้<br />

• มีวัตถุประสงค ทุกโครงการควรมีวัตถุประสงคที่ชัดเจน เชน ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร<br />

และซอฟตแวรเพื่อสนองตอบการสอบถามของลูกคาใหเพิ่มขึ้นรอยละ 95<br />

• มีอัตลักษณของตนเอง<br />

• มีระยะเวลา โครงการมีเวลาเริ่มตนและสิ้นสุด<br />

• พัฒนาโดยวิธีการคอยๆ ทํารายละเอียดเพิ่มขึ้น ในชวงแรกโครงการจะถูกกําหนด<br />

อยางกวางๆ เมื่อเวลาผานไปรายละเอียดของโครงการเริ่มชัดเจน<br />

• ใชทรัพยากร ทรัพยากรประกอบดวยคน ฮารดแวร ซอฟตแวร เงิน และทรัพยสินอื่นๆ<br />

หลายโครงการเปนโครงการที่เกี่ยวของกับหลายหนวยงาน ซึ่งตองการคนจาก<br />

หนวยงานที่เกี่ยวของ หรือมาจากหนวยงานภายนอกองคการ<br />

• มีเจาของ หรือมีผูใหการสนับสนุน โครงการที่มีผูเกี่ยวของหลายกลุมควรมีคนที่<br />

รับผิดชอบหลัก เพื่อกําหนดทิศทาง ขอบเขตของงาน และสนับสนุนดานการเงินกับ<br />

โครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-3<br />

• มีความไมแนนอน เนื่องจากแตละโครงการมีลักษณะเฉพาะ ไมเหมือนกัน บางครั้งจึง<br />

เปนการยากที่กําหนดวัตถุประสงคของโครงการใหชัดเจน ประมาณระยะเวลาที่ใชใน<br />

การทําโครงการ การกําหนดคาใชจายทั้งหมด บริษัทผูขายสินคาหรือบริการเลิก<br />

กิจการ สมาชิกขอลางานโดยไมมีแผน สิ่งเหลานี้คือ ความไมแนนอนที่มีอยูในทุก<br />

โครงการ<br />

โครงการมีขอจํากัด 3 เรื่องคือ ขอบเขตของโครงการ เวลา และคาใชจาย ขอจํากัดนี้มี<br />

ผลกระทบตอความสําเร็จของโครงการ<br />

ขอบเขตของโครงการ: งานที่โครงการตองทําคืออะไร อะไรคือสิ่งที่ลูกคาหรือผูสนับสนุน<br />

คาดหวังจากโครงการ<br />

เวลา: เวลาที่ตองการใช ตารางเวลาของโครงการ<br />

คาใชจาย: งบประมาณโครงการ<br />

รูปที่ 1.1 ความสัมพันธระหวางขอจํากัดโครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

รูปที่ 1.1 แสดงความสัมพันธระหวางขอจํากัดโครงการ การบริหารขอจํากัดจึงเปนการแลก<br />

เปลี่ยนระหวางขอบเขต เวลาและคาใชจายของโครงการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขอจํากัดขอใดขอหนึ่ง จะ<br />

สงผลกระทบตอขอจํากัดที่เหลือ เชน ลดขอบเขตงานเพื่อใหสอดคลองกับเวลา และงบประมาณ<br />

โครงการทุกโครงการมีความเสี่ยง ผูจัดการโครงการตองตัดสินใจวาขอจํากัดขอใดที่สําคัญที่สุด ถาเวลา<br />

สําคัญที่สุด ผูจัดการโครงการตองเปลี่ยนขอบเขตของโครงการและคาใชจายเพื่อใหสอดคลองกับ<br />

ตารางเวลา แตถาขอบเขตโครงการสําคัญที่สุด ผูจัดการโครงการอาจตองปรับเวลาและคาใชจาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-4<br />

รูปที่ 1.2 สวนที่เกี่ยวของกับการบริหารโครงการ (ปรับปรุงจาก Schwalbe, 2007)<br />

1.3 บริหารโครงการคืออะไร<br />

การบริหารโครงการคือ การประยุกตความรู ทักษะ เครื่องมือ และเทคนิค เขากับกิจกรรมของ<br />

โครงการเพื่อใหงานออกมาตรงกับความตองการของโครงการ ผูจัดการโครงการตองอํานวยความสะดวก<br />

ใหกระบวนการทั้งหมดทํางานใหตรงกับความตองการและความคาดหวังของผูใชหรือลูกคา รูปที่ 1.2<br />

แสดงสวนที่เกี่ยวของกับการบริหารโครงการซึ่งประกอบดวยผูมีสวนไดสวนเสียกับโครงการ ความรูการ<br />

บริหารโครงการ เครื่องมือและเทคนิคการบริหารโครงการ<br />

• ผูมีสวนไดสวนเสียกับโครงการคือ บุคคลที่เกี ่ยวของ หรือไดรับผลกระทบจากกิจกรรม<br />

ตางๆ ของโครงการ รวมถึงผูสนับสนุนโครงการ ทีมงาน เจาหนาที่สนับสนุนลูกคา ผูใช<br />

ผูคา และแมแตผูที่อยูตรงขามกับโครงการ<br />

• ความรูการบริหารโครงการเปนความรูความสามารถที่สําคัญที่ผูจัดการโครงการตอง<br />

พัฒนา ความรูนี้มี 9 ดาน โดย 4 ดานเปนความรูหลักในการบริหารโครงการ สวนอีก<br />

5 ดานเปนความรูที ่สนับสนุนการบริหารโครงการ ความรูเหลานี้ไดถูกกําหนดโดย<br />

สถาบันการบริหารโครงการ (Project Management Institute (PMI)) ซึ่งเปนสถาบัน<br />

ที่ออกใบรับรองบุคคลที่ผานการทดสอบความรูทั้ง 9 ดาน สถาบันไดออกแนวทางการ<br />

บริหารโครงการที่กําหนดความรูทั้ง 9 ดานในเอกสารที่ชื่อ PMBOK ® Guide 2002<br />

o ความรูหลัก ประกอบดวย<br />

• การบริหารขอบเขตโครงการ (project scope management) เปนการ<br />

กําหนด และบริหารขอบเขตงานทั้งหมดที่ตองการเพื่อใหงานโครงการเสร็จ<br />

สมบูรณ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-5<br />

• การบริหารเวลาโครงการ (project time management) เปนการประมาณ<br />

เวลาที่ตองการใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ พัฒนาตารางเวลาโครงการ<br />

และการควบคุมใหโครงการเสร็จตามเวลา<br />

• การบริหารคาใชจายโครงการ (project cost management) เปนการ<br />

เตรียมและบริหารงบประมาณโครงการ<br />

• การบริหารคุณภาพโครงการ (project quality management) เพื่อให<br />

แนใจวาโครงการมีคุณภาพตามที่ไดกําหนด<br />

o ความรูที่สนับสนุนการบริหารโครงการ<br />

• การบริหารการบูรณาการโครงการ (project integration management)<br />

เปนการประสานความรูการบริหารโครงการทุกดานเพื่อใหงานของ<br />

โครงการสามารถทําออกมาพรอมกัน ในเวลาที่กําหนด<br />

• การบริหารทรัพยากรมนุษยโครงการ (project human resource<br />

management) เปนความรูที่ตระหนักถึงการใชคนที่เกี่ยวกับโครงการ<br />

อยางมีประสิทธิผล<br />

• การบริหารการสื่อสารโครงการ (project communication management)<br />

เกี่ยวกับการสราง การรวบรวม การกระจาย การจัดเก็บขอมูลโครงการ<br />

• การบริหารความเสี่ยงโครงการ (project risk management) เปนการระบุ<br />

การวิเคราะห การตอบสนองตอความเสี่ยงที่เกี่ยวของกับโครงการ<br />

• การบริหารการจัดซื้อจัดจาง (project procurement management) เปน<br />

การจัดหาสินคาและบริการจากนอกองคการ<br />

• เครื่องมือและเทคนิคการบริหารโครงการเปนสิ่งที่ชวยใหผูจัดการโครงการและทีมงาน<br />

ทํางานที่เกี่ยวกับความรู 9 ดาน เครื่องมือและเทคนิคที่นิยมใชในการบริหารเวลาคือ<br />

แผนภูมิแกนต (Gantt chart) ผังเครือขายโครงการ (project network diagram) และ<br />

การวิเคราะหเสนทางวิกฤต (critical path analysis) ตารางที่ 1.1 แสดงเครื่องมือและ<br />

เทคนิคที่ใชในความรูการบริหารโครงการ 9 ดาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-6<br />

ตารางที่ 1.1 เครื่องมือและเทคนิคที่ใชในความรูการบริหารโครงการ 9 ดาน<br />

(Schwalbe, 2007)<br />

ความรู เทคนิคและเครื่องมือ<br />

การบริหารการบูรณาการ วิธีการเลือกโครงการ ระเบียบวิธีการบริหารโครงการ การวิเคราะหผูมีสวนไดเสีย<br />

เอกสารสิทธิ์โครงการ (project charters) แผนการบริหารโครงการ ซอฟตแวรการ<br />

บริหารโครงการ คณะกรรมการควบคุมการเปลี่ยนแปลง การบริหารคอนฟกกรูเรชัน<br />

การประชุมทบทวนโครงการ ระบบการอนุมัติงาน<br />

การบริหารขอบเขต ขอกําหนดขอบเขตโครงการ โครงสรางจําแนกงาน ขอกําหนดของงาน แผนการ<br />

บริหารขอบเขต การวิเคราะหความตองการ การควบคุมการเปลี่ยนขอบเขต<br />

การบริหารเวลา<br />

แผนภูมิแกนต ผังเครือขายโครงการ การวิเคราะหเสนทางวิกฤต เทคนิคการทบทวน<br />

และประเมินผลการทํางาน (PERT) ตารางเวลาโซหวงวิกฤต การเรงรัดเวลา<br />

(crashing) เสนทางลัด (fast track) การทบทวนหลักไมล (milestones)<br />

การบริหารคาใชจาย มูลคาปจจุบัน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน การวิเคราะหการจายคืนทุน แฟม<br />

ธุรกิจ (business case) การบริหารมูลคาที่ไดรับ การบริหารกลุมโครงการ (project<br />

portfolio management) ประมาณการคาใชจาย แผนการบริหารคาใชจาย<br />

ซอฟตแวรดานการเงิน<br />

การบริหารคุณภาพ ซิกสซิกมา (six sigma) ผังควบคุมคุณภาพ ผังพาเรโต ผังกางปลา หรือ ผังอิชิคาวา<br />

การตรวจสอบคุณภาพ (quality audit) ตัวแบบวุฒิภาวะ (maturity models)<br />

วิธีการเชิงสถิติ<br />

การบริหารทรัพยากรมนุษย เทคนิคการจูงใจ การฟงอยางเห็นอกเห็นใจ (empathic listening) สัญญาทีมงาน<br />

ผังการมอบหมายความรับผิดชอบ แผนภูมิแบบแทงทรัพยากร การจัดระดับ<br />

ทรัพยากร การสรางทีม<br />

การบริหารการสื่อสาร แผนการบริหารการสื่อสาร การบริหารความขัดแยง การเลือกสื่อการสื่อสาร<br />

โครงสรางพื้นฐานการสื่อสาร รายงานสถานภาพ แมแบบ เว็บไซตโครงการ<br />

การบริหารการจัดซื้อจัดจาง การวิเคราะหการทําหรือการซื้อ สัญญา คํารองขอขอเสนอโครงการ หรือขอเสนอ<br />

ราคา การเลือกแหลงสินคาหรือบริการ การตอรอง การจัดซื้อจัดจางแบบ<br />

อิเล็กทรอนิกส<br />

การบริหารความเสี่ยง แผนการบริหารความเสี่ยง ผังผลกระทบ/ความเปนไปได การจัดลําดับความเสี่ยง<br />

การจําลองแบบมอนติ คารโล (Monte Carlo simulation) การติดตามความเสี่ยง<br />

สิบอันดับแรก<br />

1.4 บทบาทของผูจัดการโครงการ<br />

บทบาทของผูจัดการโครงการในแตละองคการมีความแตกตางกัน แตบทบาทที่ผูจัดการ<br />

โครงการสวนใหญมี ดังนี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-7<br />

• กําหนดขอบเขตโครงการ<br />

• กําหนดผูมีสวนไดสวนเสีย ผูตัดสินใจและวิธีดําเนินการ<br />

• พัฒนารายละเอียดของงาน<br />

• ประมาณเวลาที่ตองการ<br />

• พัฒนาผังการบริหารโครงการเริ่มแรก<br />

• กําหนดทรัพยากรและงบประมาณที่ตองการ<br />

• ประเมินความตองการ<br />

• ระบุและประเมินความเสี่ยง<br />

• เตรียมแผนฉุกเฉิน<br />

• กําหนดความพึ่งพาระหวางกิจกรรม<br />

• กําหนดและตามรอยหลักไมลที่วิกฤต<br />

• มีสวนรวมในขั้นตอนการทบทวน<br />

• ปกปองรักษาทรัพยากรที่จําเปน<br />

• บริหารกระบวนการควบคุมการเปลี่ยนแปลง<br />

• รายงานสถานภาพโครงการ<br />

PMBOK ® Guide 2002 ไดเสนอแนะวาผูจัดโครงการที่ดีควรมีทักษะที่หลากหลาย โดยเฉพาะ<br />

ในเรื่องตอไปนี้<br />

• ความรูการบริหารโครงการ<br />

• ประยุกตความรู มาตรฐาน และกฎระเบียบ<br />

• ความรูสภาวะแวดลอมโครงการ ผูจัดการโครงการตองเขาใจการเปลี่ยนแปลง และ<br />

การทํางานในองคการ สภาวะแวดลอมทางดานการเมือง และกายภาพ<br />

• ความรูและทักษะทั่วไปดานการบริหาร ผูจัดการโครงการควรเขาใจประเด็นที่สําคัญที่<br />

เกี่ยวของกับการบริหารดานการเงิน บัญชี การจัดซื้อจัดจาง การตลาด สัญญา การ<br />

ผลิต การกระจายสินคา การสงกําลังบํารุง (logistics) หวงโซอุปทาน การวางแผนเชิง<br />

ยุทธศาสตร การวางแผนเชิงกลยุทธ การบริหารการปฏิบัติงาน โครงสรางองคการ<br />

การบริหารพฤติกรรมบุคคล<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-8<br />

• ทักษะทางดานมนุษยสัมพันธ ผูจัดการโครงการควรมีทักษะดานการสื่อสารที่มี<br />

ประสิทธิผล การมีอิทธิพลเพื่อใหงานสําเร็จ การเปนผูนํา การกระตุน การตอรอง การ<br />

จัดการความขัดแยง และการแกปญหา<br />

มีคําถามวา ผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีทักษะอะไรบาง บางคนคิดวา ทักษะ<br />

ที่สําคัญของผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศคือ ความรูความเขาใจเทคโนโลยีที่ตองใชใน<br />

โครงการ แตไมจําเปนตองเปนผูเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีเฉพาะอยาง เพียงแตผูจัดการโครงการตองมี<br />

ความรูพอที่จะสรางทีมงานที่เขมแข็ง ถามคําถามที่ถูกตอง จัดการใหงานเดินไปตามแผนที่วางไว บาง<br />

คนกลับคิดวาทักษะที่สําคัญสําหรับผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศคือ มีความรูทางธุรกิจที่ดี<br />

เพื่อนําทีมงานในสงงานที่ตรงกับความตองการทางธุรกิจ<br />

เปนการยากที่ผูที่มีความรู หรือมีพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงเล็กนอยจะเปน<br />

ผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ เพราะเปนการยากที่จะทํางานรวมกับผูจัดการคนอื่น<br />

และผูขายสินคาหรือบริการ และยากที่จะไดรับการยอมรับจากทีมงาน อยางไรก็ตาม ผูจัดการโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ ไมจําเปนตองเปนผูเชี่ยวชาญดานเทคโนโลยีสารสนเทศ แตควรมี<br />

ประสบการณการทํางานในเทคโนโลยีที่หลากหลาย รวมทั้งควรเขาใจวา โครงการที่กําลังบริหารจะชวย<br />

เสริมหรือขยายธุรกิจไดอยางไร มีหลายบริษัทที ่ผูจัดการดานธุรกิจที่ดีสามารถเปนผูจัดการโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมาก เพราะเขาเหลานั้นจะเนนที่การทําใหโครงการตอบสนองความตองการทาง<br />

ธุรกิจ และไววางใจใหทีมงานจัดการในรายละเอียดทางดานเทคโนโลยี<br />

เปนที่นาเสียใจที่คนหลายคนที่ทํางานดานเทคโนโลยีสารสนเทศไมตองการพัฒนาความรูและ<br />

ทักษะใดๆ นอกจากทักษะทางดานเทคโนโลยี เขาเหลานี้ไมเห็นวา ทักษะดานมนุษยสัมพันธ และธุรกิจ<br />

จะพัฒนาประสิทธิภาพการทํางาน จากการศึกษาพบวา การเปนผูนําที่มีประสิทธิผลควรมีคุณลักษณะที่<br />

ระบุในตารางที่ 1.2 ผูนําที่มีประสิทธิผลตองเปนผูสรางทีม ผูสื่อสาร มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เนนที่<br />

ผลลัพธ กําหนดเปาหมาย<br />

ความเปนผูนํา (leadership) และการบริหาร (management) ใชแทนกัน แตที่จริงแลวมีความ<br />

แตกตางกัน โดยทั่วไป ผูนําเนนเปาหมายระยะยาว และวัตถุประสงคที่กวาง กระตุนบุคคลใหบรรลุ<br />

เปาหมายเหลานี้ สวนผูจัดการเนนจัดการกับรายละเอียดแตละวัน เพื่อใหบรรลุเปาหมายเฉพาะ บางคน<br />

จึงกลาววา “ผูจัดการทําสิ่งใหถูก สวนผูนําทําสิ่งที่ถูก” (Managers do things right, and leaders do<br />

the right things) “ผูนํากําหนดวิสัยทัศน ผูจัดการทําใหบรรลุวิสัยทัศน” (Leaders determine the<br />

vision, and managers achieve the vision) อยางไรก็ตาม ผูจัดการโครงการโดยมากมีบทบาททั้งผูนํา<br />

และผูจัดการ ผูจัดการโครงการที่ดีรูวาคนเปนผูทําและทําลายโครงการ ดังนั้น ผูจัดการโครงการตองเปน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-9<br />

ผูนําใหทีมไปสูความสําเร็จ ตองมีวิสัยทัศนในการชี้นําโครงการ ผูจัดการโครงการตองมีทักษะการบริหาร<br />

เชน จัดการงานของโครงการใหมีประสิทธิผล<br />

ตารางที่ 1.2 คุณลักษณะที่สําคัญสําหรับการเปนผูจัดการโครงการที่มีประสิทธิผลกับผูจัดการ<br />

โครงการที่ไมมีประสิทธิผล (Schwalbe, 2006)<br />

ผูจัดการโครงการที่มีประสิทธิผล ผูจัดการโครงการที่ไมมีประสิทธิผล<br />

ชักนําโดยใชตัวอยาง กําหนดตัวอยางที่ไมดี<br />

มีวิสัยทัศน เปนคนที่ไมแนใจตัวเอง<br />

มีความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ขาดความเชี่ยวชาญทางเทคนิค<br />

เปนคนตัดสินใจ เปนผูสื่อสารที่ไมดี<br />

เปนผูสื่อสารที่ดี เปนผูกระตุนหรือชักจูงที่ไมดี<br />

เปนผูกระตุนหรือชักจูงที่ดี<br />

คัดคานผูบริหารระดับสูงเมื่อจําเปน<br />

สนับสนุนสมาชิกในทีม<br />

กระตุนหรือสงเสริมความคิดใหมๆ<br />

1.5 ซอฟตแวรบริหารโครงการ<br />

ซอฟตแวรบริหารโครงการในตลาดแบงออกเปน 3 กลุมใหญๆ ดังนี้<br />

• เครื่องมือระดับพื้นฐาน (low-end tools) เครื่องมือเหลานี้มีฟงกชันการบริหารงาน<br />

พื้นฐาน เชน สรางแผนภูมิแกนต เหมาะกับโครงการขนาดเล็ก ผูใชคนเดียว เชน<br />

Milestones Simplicity โดย KIDASA Software, Inc.<br />

• เครื่องมือระดับกลาง (midrange tools) เปนเครื่องมือที่พัฒนาจากเครื่องมือ<br />

ระดับพื้นฐาน เหมาะกับโครงการขนาดใหญขึ้น ผูใชหลายคน และหลายโครงการ<br />

เครื่องมือระดับนี้สามารถสรางแผนภูมิแกนต ผังเครือขาย (network diagrams) ชวย<br />

การวิเคราะหเสนทางวิกฤต การจัดสรรทรัพยากร การตามรอยโครงการ (tracking<br />

project) การรายงานสถานภาพโครงการ ตัวอยางของเครื่องมือระดับนี้คือ Microsoft<br />

Project<br />

• เครื่องมือระดับสูง (high-end tools) หรือเครื่องมือจัดการโครงการระดับองคการ<br />

(enterprise project management) สามารถจัดการโครงการขนาดใหญมากๆ<br />

กระจายการทํางานหลายกลุม สรุปรวมแตละโครงการใหเห็นภาพรวมทุกโครงการของ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บทนํา หนา 1-10<br />

องคการ สามารถบูรณาการกับโปรแกรมจัดการฐานขอมูลองคการ สามารถเขาถึง<br />

ผานอินเทอรเน็ต<br />

1.6 สรุป<br />

โครงการหมายถึงความพยายาม (การกระทํา) ชั่วคราวที่ใชเพื่อสรางผลิตผล บริการหรือ<br />

ผลลัพธที่มีลักษณะพิเศษ ไมเหมือนใคร โครงการมีลักษณะที่ไมเหมือนกัน ชั่วคราว และพัฒนาแบบ<br />

คอยๆ เพิ่ม โครงการตองการทรัพยากร มีผูสนับสนุนโครงการ และเกี่ยวของกับความไมแนนอน<br />

ขอจํากัดของการบริหารโครงการคือ การบริหารขอบเขต เวลา และคาใชจายของโครงการ<br />

การบริหารโครงการเปนการประยุกตองคความรู ทักษะ เครื่องมือ และเทคนิคเขากับกิจกรรม<br />

โครงการ เพื่อใหตรงกับความตองการ ผูมีสวนไดเสียคือ คนที่เขารวมหรือไดรับผลกระทบจากกิจกรรม<br />

กรอบงานสําหรับการบริหารโครงการรวมถึงผูมีสวนไดเสีย ความรูการบริหารโครงการดานตางๆ และ<br />

เทคนิคและเครื่องมือการบริหารโครงการ ความรู 9 ดานคือ การบริหารการบูรณาการโครงการ ขอบเขต<br />

เวลา คาใชจาย คุณภาพ ทรัพยากรมนุษย การสื่อสาร ความเสี่ยง และการบริหารการจัดซื้อจัดจาง จาก<br />

การศึกษาแสดงใหเห็นวา การสนับสนุนของผูบริหารระดับสูง การมีสวนรวมของผูใช ผูจัดการโครงการที่<br />

มีประสบการณ และวัตถุประสงคที่ชัดเจนคือ สิ่งสําคัญตอความสําเร็จของโครงการ<br />

ผูจัดการโครงการมีบทบาทสําคัญในการชวยใหโครงการและองคการประสบความสําเร็จ<br />

ผูจัดการโครงการตองทํางานหลายหนาที่ มีทักษะที่หลากหลาย และพัฒนาทักษะในการบริหารโครงการ<br />

อยางตอเนื่อง มีทักษะในการพัฒนาระบบงานตางๆ โดยเฉพาะความเปนผูนํา<br />

คําถามทายบท<br />

1. โครงการคืออะไร และมีคุณลักษณะอะไร<br />

2. ขอจํากัดของโครงการคืออะไร จงอธิบาย<br />

3. การบริหารโครงการคืออะไร<br />

4. จงอธิบายกรอบการบริหารโครงการ<br />

5. ผูจัดการโครงการมีบทบาทอะไร<br />

6. ทักษะอะไรที่ผูจัดการโครงการควรมี<br />

7. เพราะเหตุใดความเปนผูนําจึงมีความสําคัญตอผูจัดการโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-1<br />

2.1 บทนํา<br />

ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารโครงการไมยากแกการเขาใจ แตสิ่งที่ยากคือ การ<br />

ใชทฤษฎีและแนวความคิดในสภาพแวดลอมที่หลากหลาย ผูจัดการโครงการตองตระหนักถึงประเด็น<br />

ตางๆ ที่แตกตางกันในการบริหารโครงการ เนื่องจากแตละโครงการมีเอกลักษณภายใตสภาวะแวดลอม<br />

ของโครงการนั้นๆ เนื้อหาของบทนี้จะครอบคลุมสวนประกอบบางสวนที่เกี่ยวของกับความเขาใจ<br />

สภาพแวดลอมโครงการ เชน วิธีการเชิงระบบ ความเขาใจองคการ การบริหารผูมีสวนไดเสีย ความ<br />

เขาใจความสัมพันธระหวางวงจรชีวิตโครงการกับวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร ความเขาใจบริบทของ<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุมกระบวนการบริหารโครงการ<br />

2.2 วิธีการเชิงระบบ<br />

ถึงแมวาโครงการจะเปนการรวมตัวกลุมคนชั่วคราวเพื่อสรางผลิตผลหรือใหบริการ แตผูจัด<br />

การโครงการไมสามารถดําเนินโครงการแยกออกจากองคการ โครงการจะตองทํางานในสภาวะแวดลอม<br />

ขององคการในระดับกวาง และผูจัดการโครงการจําเปนตองพิจารณาโครงการภายใตบริบทเชิงองคการ<br />

เพื่อจัดการสถานการณที่สลับซับซอนไดอยางมีประสิทธิผล ผูจัดการโครงการจําเปนตองใชมุมมองแบบ<br />

องครวม หรือการคิดเชิงระบบ (systems thinking)<br />

วิธีการเชิงระบบคือ วิธีการเชิงวิเคราะหแบบองครวมเพื่อการแกปญหาที่สลับซับซอน เปน<br />

วิธีการที่รวมการใชปรัชญาระบบ (systems philosophy) การวิเคราะหระบบ (systems analysis) และ<br />

การบริหารระบบ (system management) ปรัชญาระบบคือ ตัวแบบภาพรวมทั้งหมดสําหรับการคิด<br />

เกี่ยวกับสิ่งตางๆ เสมือนระบบ การวิเคราะหระบบคือ วิธีการแกปญหาที่ตองมีการกําหนดขอบเขตของ<br />

ระบบ การแบงระบบเปนสวนๆ การระบุและการประเมินปญหา โอกาส ขอจํากัด และความตองการ<br />

จากนั้น นักวิเคราะหระบบตรวจสอบคําตอบที่เปนทางเลือกสําหรับการปรับปรุงสถานการณปจจุบัน<br />

กําหนดทางเลือกที่ดีที่สุด (optimum) หรืออยางนอยทางเลือกที่พึงพอใจ (satisfactory) หรือแผนการ<br />

ดําเนินการ รวมทั้งตรวจสอบแผนกับระบบทั้งหมด การบริหารระบบหมายถึงประเด็นเชิงธุรกิจ<br />

เทคโนโลยี และองคการที่เกี่ยวกับการสราง การบํารุงรักษา และการทําการเปลี่ยนแปลงใหกับระบบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-2<br />

การใชวิธีการเชิงระบบมีความสําคัญตอความสําเร็จของการบริหารโครงการ ผูบริหารระดับสูง<br />

และผูจัดการโครงการตองทําตามปรัชญาระบบเพื่อใหเขาใจวาโครงการมีความสัมพันธกับองคการ<br />

ทั้งหมดอยางไร ผูจัดการโครงการตองใชการวิเคราะหระบบเพื่อกําหนดความตองการ ตองใชการบริหาร<br />

ระบบเพื่อระบุประเด็นหลักทางดานธุรกิจ เทคโนโลยี และการวิเคราะหความสัมพันธระหวางองคการกับ<br />

แตละโครงการเพื่อกําหนดผูมีสวนไดสวนเสียที่สําคัญ<br />

2.3 ตัวแบบวงกลมสามวงสําหรับการบริหารโครงการ<br />

รูปที่ 2.1 คือ ตัวแบบวงกลมสามวงสําหรับการบริหารโครงการจัดหาคอมพิวเตอรโนตบุค<br />

(notebook computer) วงกลมแตละวงหมายถึง ธุรกิจ (business) องคการ (organization) และ<br />

เทคโนโลยี (technology) ทั้งสามวงมีผลกระทบอยางสูงตอการเลือก และการบริหารโครงการใหสําเร็จ<br />

วิทยาลัยมีคาใชจายอะไร<br />

นักศึกษาตองเสียคาใชจายอะไร<br />

ผลกระทบตอการลงทะเบียนคืออะไร<br />

ธุรกิจ<br />

องคกร<br />

เทคโนโลยี<br />

โครงการจัดหาโนตบุคกระทบตอนักศึกษาทั้งหมดหรือ<br />

เฉพาะนักศึกษาบางสาขา<br />

โครงการนี้กระทบตอนักศึกษาที่มีเครื่องคอมพิวเตอรแลว<br />

อยางไร<br />

ใครเปนคนอบรมใหกับนักศึกษาและพนักงานของคณะ<br />

ใครเปนผูบริหารและสนับสนุนการอบรม<br />

โนตบุคควรจะใชระบบปฏิบัติการแบบใด<br />

ซอฟทแวรอะไรที่ควรจะลงในเครื่องโนตบุค<br />

รายละเอียดขอกําหนดฮารดแวรมีอะไร<br />

ฮารดแวรจะมีผลกระทบตอ LAN<br />

และการเขาถึงอินเตอรเน็ตอยางไร<br />

รูปที่ 2.1 ตัวแบบวงกลมสามวงสําหรับการบริหารโครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

ผูมีวิชาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศชอบวุนวายอยูกับเทคโนโลยี การแกปญหาที่เกิดขึ้นในแต<br />

ละวัน และชอบกังวลกับปญหาของคน หรือการเมืองที่ปรากฎในองคการ ขณะเดียวกัน ผูมีวิชาชีพทาง<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศยังละเลยประเด็นสําคัญทางธุรกิจ เชน ความคุมคาทางดานการเงิน การใชวิธี<br />

แบบองครวมชวยใหผูจัดการโครงการบูรณาการประเด็นทางธุรกิจ และองคการเขามาในการวางแผน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-3<br />

2.4 ความเขาใจองคการ<br />

2.4.1 กรอบขององคการ<br />

องคการสามารถมองดวยกรอบที่แตกตางกันได 4 กรอบคือ กรอบโครงสราง กรอบ<br />

ทรัพยากรมนุษย กรอบการเมือง และกรอบสัญลักษณ ผูจัดการโครงการตองเรียนรูที่จะทํางานกับกรอบ<br />

เหลานี้<br />

• กรอบโครงสราง (structural frame) เปนกรอบที่เนนโครงสรางองคการ ความ<br />

แตกตางของบทบาท และความรับผิดชอบของกลุม เพื่อใหบรรลุเปาหมายและ<br />

นโยบายที่กําหนดโดยผูบริหารสูงสุด รวมทั้งการประสานงานและการควบคุม<br />

ประเด็นสําคัญที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศคือ องคการควรใหบุคลากรทาง<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศรวมศูนยที่แผนกหนึ่ง หรือกระจายไปอยูในแผนกตางๆ เปน<br />

ตน<br />

• กรอบทรัพยากรมนุษย (human resources frame) เปนกรอบที่เนนความ<br />

สอดคลองกันระหวางความตองการขององคการกับความตองการของคน ซึ่งจะไม<br />

คอยสอดคลองกัน เชน โครงการจะมีประสิทธิภาพ ถาบุคลากรทํางานอาทิตยละไม<br />

นอยกวา 80 ชั่วโมง เปนเวลาหลายเดือน ตารางการทํางานนี้ขัดแยงกับชีวิตของ<br />

บุคลากร ประเด็นทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวของกับกรอบทรัพยากรมนุษย<br />

คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองคการ และ<br />

ตารางเวลาที่ไมสอดคลองกับความเปนจริงที่บีบบังคับโครงการ<br />

• กรอบการเมือง (political frame) เปนกรอบที่เนนการเมืองของบุคคลและการเมือง<br />

ขององคการ การเมืองในองคการจะอยูในรูปของการแขงขันระหวางกลุม หรือ<br />

ระหวางบุคคล เพื่ออํานาจและความเปนผูนํา กรอบการเมืองสมมุติวาองคการคือ<br />

การรวมกันของบุคคลตางๆ และกลุมที่สนใจ การตัดสินใจที่สําคัญคือ การจัดสรร<br />

ทรัพยากรที่ขาดแคลน การแขงขันกันเพื่อใหไดทรัพยากรที่ขาดแคลนทําใหเกิด<br />

ความขัดแยง และการใชอํานาจเพื่อใหไดทรัพยากรนั้น ผูจัดการโครงการตองให<br />

ความสนใจในประเด็นการเมืองและอํานาจ ผูจัดการตองรูวาใครเปนฝายตรงขาม<br />

ใครสนับสนุนโครงการ ประเด็นที่สําคัญทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวของกับ<br />

กรอบการเมืองคือ การเคลื่อนยายอํานาจจากการทํางานรวมศูนยไปยังหนวย<br />

ปฏิบัติงาน หรือจากผูจัดการตามหนาที่ (functional manager) เปน ผูจัดการ<br />

โครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-4<br />

• กรอบสัญลักษณ (symbolic frame) เปนกรอบที่เนนสัญลักษณ และความหมาย<br />

สิ่งที่สําคัญในเหตุการณใดๆ ในองคการอาจไมใชสิ่งที่ไดเกิดขึ้นจริงๆ แตตอง<br />

พิจารณาที่ความหมาย เชน การที่ผูบริหารสูงสุดขององคการเปดการประชุม<br />

โครงการเปนสัญญาณที่ดี หรือเปนการคุกคาม กรอบสัญลักษณยังมีความสัมพันธ<br />

กับวัฒนธรรมองคการ เชน การแตงกาย จํานวนชั่วโมงการทํางาน การดําเนินการ<br />

ประชุม โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศหลายๆ โครงการเปนโครงการระหวาง<br />

ประเทศ และมีผูมีสวนไดเสียมาจากวัฒนธรรมที่หลากหลาย ความเขาใจ<br />

วัฒนธรรมเหลานี้เปนสวนที่สําคัญของกรอบสัญลักษณ<br />

2.4.2 โครงสรางองคการ<br />

โครงสรางองคการมี 3 แบบคือ โครงสรางตามหนาที่ (functional structure) โครงสราง<br />

แบบโครงการ (project structure) และโครงสรางแบบแมทริกซ (matrix structure) ดังแสดงในรูปที่ 2.2<br />

โครงสรางองคการมีอิทธิพลตอโครงการสรุปในตารางที่ 2.1<br />

โครงสรางตามหนาที่<br />

โครงสรางตามหนาที่มีลักษณะเปนลําดับขั้น โดยมีผูบริหารสูงสุดอยูระดับบนสุดที่<br />

รองประธาน หรือ ผูจัดการฟงกชันตางๆ ตองรายงาน เชน ผูจัดการโรงงาน ผูจัดการทรัพยากรมนุษย<br />

ผูจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เปนตน พนักงานแตละแผนกจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ โครงสรางตาม<br />

หนาที่เปนโครงสรางที่ยืดหยุนในการใชบุคลากรทํางานใหโครงการ เนื่องจากบุคลากรสามารถกลับไป<br />

ทํางานประจําของตนไดทันทีที่โครงการสิ้นสุด โครงการสามารถใชผูเชี่ยวชาญในแผนกทํางานนอกเวลา<br />

ได ในทางตรงกันขาม โครงสรางองคการแบบนี้สงผลกระทบตอโครงการคือ ผูจัดการโครงการไมมี<br />

อํานาจบังคับบัญชา การขอความรวมมือจากแผนกอื่นๆ อาจทําไดยาก แตละแผนกมุงเนนแตโครงการ<br />

ของตนเอง บุคลากรอาจใหความสนใจนอย เพราะคิดวาเปนการเพิ่มภาระ<br />

โครงสรางแบบโครงการ<br />

โครงสรางแบบโครงการมีโครงสรางเปนลําดับขั้นเชนเดียวกัน แตแทนที่จะเปนรอง<br />

ประธาน หรือผูจัดการที่รายงานตอผูบริหารสูงสุด กลับเปนผูจัดการแผนงาน (program) ที่รายงานตอ<br />

ผูบริหารสูงสุด ผูรวมงานในแผนงานมีทักษะที่หลากหลายเพื่อทํางานโครงการตางๆ ไดสมบูรณ<br />

โครงสรางองคการแบบนี้สามารถทําโครงการไดเสร็จอยางรวดเร็ว ผูจัดการโครงการมีอํานาจเต็มที่ และ<br />

มีผูรวมงานที่อุทิศเวลาใหกับโครงการอยางเต็มที่ โดยมีเปาหมายรวมกัน การสื่อสารกับผูบริหารระดับสูง<br />

ทําไดอยางรวดเร็ว ถึงแมวาผูจัดการโครงการจะมีอํานาจสูงสุดในโครงสรางแบบโครงการ แตการจัดแบบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-5<br />

นี้ไมมีประสิทธิภาพ การมอบหมายพนักงานใหทํางานเต็มเวลา เปนการใชทรัพยากรไมเหมาะสม เชน<br />

ถาคนเขียนเอกสารเชิงเทคนิคถูกมอบหมายใหทํางานเต็มเวลากับโครงการหนึ่ง แตอาจไมมีงานใหทําใน<br />

บางวัน องคการยังตองจายเงินใหพนักงานคนนั้นเต็มเวลา การจัดแบบโครงการอาจทําใหไมเกิดการ<br />

ประหยัด<br />

รูปที่ 2.2 โครงสรางองคการ (Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-6<br />

โครงสรางแบบแมทริกซ<br />

โครงสรางแบบแมทริกซเปนโครงสรางที่ผสมของโครงสรางทั้งสองที่กลาวมาแลว มี<br />

ลักษณะเปนกริด บุคลากรของโครงการรายงานตอผูจัดการตามหนาที่ และผูจัดการโครงการ เชน<br />

บุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศสวนใหญจะทํางานหลายโครงการ แตตองรายงานตอผูจัดการแผนก<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศและผูจัดการจากแผนกตางๆ โครงสรางแบบนี้ยังแบงออกเปน 3 แบบยอยคือ<br />

(ตัวอยางโครงสรางทั้ง 3 แบบ แสดงในรูปที่ 2.3)<br />

• โครงสรางแมทริกซแบบออนๆ (weak matrix) เปนโครงสรางที่ยังคงรักษา<br />

คุณลักษณะหลายอยางของโครงสรางตามหนาที่ ผูจัดการโครงการเปนเพียงผู<br />

ประสานงาน สวนทีมงานคือ บุคลากรที่มาจากแผนกตางๆ ที่เกี่ยวของ ซึ่งยัง<br />

ทํางานประจําของตนแตมีสมรรถภาพเหลือพอที่จะทํางานใหโครงการ โดย<br />

ผูจัดการตามหนาที่จะเปนผูสั่งการใหคนในแผนกของตนทํางานเพิ่มขึ้นจาก<br />

งานประจํา การใหความสําคัญแกงานของโครงการจึงขึ้นอยูกับผูจัดการตาม<br />

หนาที่ โครงสรางองคการลักษณะนี้ ผูจัดการตามหนาที่ยังคงมีอํานาจ สวน<br />

ผูจัดการโครงการจะทําหนาที่ประสานกิจกรรมของโครงการซึ่งกระจายอยูตาม<br />

แผนกตางๆ เขาดวยกัน<br />

• โครงสรางแมทริกซแบบสมดุล (balanced matrix) เปนโครงสรางที่ตระหนักถึง<br />

ความจําเปนตองมีผูจัดการโครงการ โดยเลือกตัวแทนจากแผนกใดแผนกหนึ่ง<br />

มาเปนผูจัดการโครงการ แตไมมีอํานาจเต็มที่ ผูจัดการโครงการมีหนาที่<br />

วางแผนโครงการ กําหนดตารางเวลางาน ความกาวหนาของงาน เปนตน สวน<br />

ผูจัดการตามหนาที่รับผิดชอบจัดคนทํางาน และงบประมาณ ผูจัดการทั้งสอง<br />

ฝายตองทํางานรวมกันอยางใกลชิด และรวมกันใหความเห็นชอบในการ<br />

ตัดสินใจดานเทคนิคและทางดานการปฏิบัติงาน<br />

• โครงสรางแมทริกซแบบเขมขน (strong matrix) เปนโครงสรางที่มีคุณลักษณะ<br />

ของโครงสรางแบบโครงการหลายประการ มีผูจัดการโครงการทําหนาที่เต็ม<br />

เวลาและมีอํานาจเต็มที่ในการควบคุมและสั่งการทีมงาน สวนผูจัดการตาม<br />

หนาที่ควบคุมการจัดคนในฝายหรือแผนกของตนใหโครงการ ซึ่งคนที่ไดรับ<br />

มอบหมายใหไปทําโครงการบางคนอาจจะทํางานเต็มเวลาหรือบางเวลาก็ได<br />

ขึ้นอยูกับความตองการของโครงการในชวงเวลาตางๆ บุคคลในทีมงานตอง<br />

รายงานการทํางานใหผูจัดการโครงการและผูจัดการตามหนาที่<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-7<br />

รูปที่ 2.3 โครงสรางแมทริกซทั้ง 3 แบบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-8<br />

การจัดโครงสรางโครงการแบบแมทริกซสามารถทําใหเกิดความยืดหยุนในการใช<br />

ประโยชนจากทรัพยากรและผูเชี่ยวชาญขององคการ ผูเชี่ยวชาญตางๆ ก็ยังคงอยูในหนวยงานของตน<br />

จึงไมเกิดปญหาการโอนคืนบุคลากร หลังจากโครงการปด ในทางกลับกัน โครงสรางแบบแมทริกซอาจ<br />

ทําใหเกิดความขัดแยงระหวางผูจัดการหนวยงานกับผูจัดการโครงการ รวมทั้งการแยงชิงทรัพยากรที่มี<br />

จํากัดใหกับงานของตน ผูรวมโครงการอาจตองเผชิญกับปญหาที่ตองมีผูบังคับบัญชาอยางนอย 2 คน<br />

ซึ่งผิดหลักการบริหารการจัดการ<br />

ลักษณะโครงการ<br />

ตารางที่ 2.1 อิทธิพลของโครงสรางองคการตอโครงการ (PMBOK ® Guide 2004)<br />

ตามหนาที่<br />

ประเภทโครงสรางองคการ<br />

แมทริกซ<br />

แมทริกซ • •<br />

แบบออนๆ<br />

โครงการ<br />

•<br />

อํานาจของผูจัดการโครงการ นอย หรือ ไม<br />

มี<br />

ผูควบคุมงบประมาณโครงการ ผูจัดการตาม<br />

หนาที่<br />

จํากัด ต่ํา – ปาน<br />

กลาง<br />

ผูจัดการตาม<br />

หนาที่<br />

ปานกลาง –<br />

สูง<br />

ผสม ผูจัดการ<br />

โครงการ<br />

สูง - เกือบ<br />

สมบูรณ<br />

ผูจัดการ<br />

โครงการ<br />

บทบาทของผูจัดการโครงการ ไมเต็มเวลา ไมเต็มเวลา เต็มเวลา เต็มเวลา เต็มเวลา<br />

พนักงานบริหารงานของโครงการ ไมเต็มเวลา ไมเต็มเวลา ไมเต็มเวลา เต็มเวลา เต็มเวลา<br />

2.4.3 วัฒนธรรมองคการ<br />

วัฒนธรรมองคการคือ สมมติฐาน (assumptions) คานิยม (values) และพฤติกรรม<br />

(behaviors) ที่เปนลักษณะพิเศษของการทํางานขององคการหนึ่ง ในองคการเดียวกันสามารถมี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-9<br />

วัฒนธรรมยอยได แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศอาจมีวัฒนธรรมองคการที่ตางจากแผนกการเงิน<br />

วัฒนธรรมองคการมีอํานาจมาก และหลายๆ คนเชื่อวามันเปนสาเหตุของปญหาหลายๆ ปญหาของ<br />

องคการ สตีเฟน พี รอบบินส (Stephen P. Robbins) ไดระบุลักษณะ 10 ประการของวัฒนธรรม<br />

องคการ ดังนี้<br />

• ความเปนสมาชิก (member identity) หมายถึง ระดับความเปนสมาชิกของ<br />

พนักงานขององคการมากกวาความเปนสมาชิกของประเภทของงานหรืออาชีพ<br />

เชน ผูจัดการโครงการหรือสมาชิกในทีมมีความรูสึกวา เขาอุทิศเวลาใหกับองคการ<br />

หรือโครงการมากกวางานของพวกเขา วัฒนธรรมองคการที่พนักงานมีความเปน<br />

สมาชิกตอองคการสามารถชักนําไปสูวัฒนธรรมโครงการที่ดี<br />

• ใหความสําคัญกับกลุม (group emphasis) หมายถึง ระดับที่กิจกรรมถูกจัดตาม<br />

กลุมหรือทีมมากกวาตามบุคคล วัฒนธรรมองคการที่เนนงานกลุมเปนวัฒนธรรมที่<br />

ดีที่สุดสําหรับการบริหารโครงการ<br />

• เนนคน (people focus) หมายถึง ระดับที่การตัดสินใจของผูบริหารที่นําผลกระทบ<br />

ตอบุคคลในองคการมาพิจารณา ผูจัดการโครงการอาจมอบหมายงานใหกับคน<br />

โดยไมไดพิจารณาความตองการสวนบุคคล หรือผูจัดการโครงการอาจรูจักแตละ<br />

คนดีและมอบหมายงานตามความตองการของแตละคน ดังนั้น ผูจัดการโครงการที่<br />

ดีตองทําใหเกิดสมดุลระหวางความตองการสวนบุคคลกับความตองการของ<br />

องคการ<br />

• บูรณาการเปนหนวยเดียว (unit integration) หมายถึง ระดับที่หนวยงาน หรือ<br />

แผนกภายในองคการไดรับการสนับสนุนใหประสานงานกัน วัฒนธรรมองคการที่มี<br />

บูรณาการเปนหนวยเดียวสูงจะทําใหงานของผูจัดการโครงการงาย<br />

• การควบคุม (control) หมายถึง ระดับที่กฎ นโยบาย และการควบคุมโดยตรงถูก<br />

นํามาใชเฝาดูและควบคุมพฤติกรรมพนักงาน ผูจัดการโครงการตองทําใหเกิด<br />

สมดุลในการควบคุม<br />

• ระดับการยอมรับความเสี่ยง (risk tolerance) หมายถึง ระดับที่พนักงานไดรับการ<br />

สนับสนุนใหกาวราว ใหคิดสิ่งใหม และคนหาความเสี่ยง (risk seeking) องคการที่<br />

มีวัฒนธรรมดังกลาว จะทําใหพนักงานมีความสามารถจัดการกับความเสี่ยง<br />

วัฒนธรรมองคการที่มีความทนทานตอความเสี่ยงสูงจะดีที่สุดสําหรับการบริหาร<br />

โครงการ เนื่องจากโครงการเกี่ยวของกับเทคโนโลยีใหมๆ ความคิดใหมๆ และ<br />

กระบวนการใหมๆ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-10<br />

• เกณฑการใหรางวัล (reward criteria) หมายถึง ระดับที่การใหรางวัลเปนไปตาม<br />

ประสิทธิภาพของพนักงานมากกวาอาวุโส ความชื่นชอบ หรือปจจัยอื่นที่ไมใช<br />

ปจจัยทางประสิทธิภาพ ผูจัดการโครงการและสมาชิกในทีมจะทํางานไดดีที่สุดเมื่อ<br />

การใหรางวัลขึ้นกับประสิทธิภาพ<br />

• ระดับการยอมรับความขัดแยง (conflict tolerance) หมายถึง ระดับที่พนักงาน<br />

ไดรับการสนับสนุนใหแสดงความขัดแยง และการวิจารณอยางเปดเผย คนรูสึก<br />

สบายใจกับการโตเถียงความขัดแยงอยางเปดเผย<br />

• มุงเนนวิธีการหรือเปาหมาย (means-ends orientation) หมายถึง ระดับที่การ<br />

บริหารเนนผลลัพธมากกวาเทคนิค และกระบวนการที่ใชเพื่อใหไดผลลัพธ องคการ<br />

ที่ใชวิธีที่สมดุลจะเหมาะกับงานของโครงการ<br />

• เนนระบบเปด (open-system focus) หมายถึง ระดับที่การติดตามและสนองตอบ<br />

การเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดลอมภายนอก<br />

จะเห็นไดวาวัฒนธรรมองคการมีความสัมพันธกับการบริหารโครงการที่ประสบ<br />

ความสําเร็จ งานของโครงการประสบความสําเร็จในวัฒนธรรมองคการที่ความเปนพนักงานขององคการ<br />

กิจกรรมที่เนนกลุม มีการบูรณาการระหวางหนวยงานที่สูง ระดับการยอมรับความเสี่ยงสูง ใหรางวัลตาม<br />

ผลงงาน ระดับการยอมรับความขัดแยงสูง เนนระบบเปด และเนนสมดุลระหวางคนกับองคการ การ<br />

ควบคุม และวิธีการ<br />

2.5 การบริหารผูมีสวนไดเสีย<br />

ผูมีสวนไดเสียโดยทั่วไปจะรวมถึงผูสนับสนุนโครงการทีมงาน พนักงานสนับสนุน และลูกคา<br />

ของโครงการ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผูบริหารระดับสูง ผูจัดการแผนกอื่นๆ และผูจัดการโครงการตางๆ ผูมี<br />

สวนไดเสียยังหมายถึงคนนอกโครงการ เชน ลูกคา คูแขง ผูจัดหาสินคาหรือบริการ (suppliers) หนวย<br />

ราชการ เปนตน<br />

เนื่องจากวัตถุประสงคของการบริหารโครงการคือ เพื่อใหบรรลุความตองการของโครงการ<br />

และเปนที่พอใจของผูมีสวนไดเสีย ดังนั้น จึงเปนสิ่งสําคัญสําหรับผูจัดการโครงการที่ตองใชเวลา เพื่อ<br />

กําหนดผูมีสวนไดเสีย ทําความเขาใจ และบริหารความสัมพันธกับผูมีสวนไดเสียทั้งหมดของโครงการ<br />

การใชกรอบขององคการทั้ง 4 กรอบสามารถชวยใหผูจัดการโครงการบรรลุความคาดหวังของผูมีสวนได<br />

เสีย การบริหารคนกลุมนี้ตองการสิ่งตอไปนี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-11<br />

• คํามั่นของผูบริหารระดับสูง (management commitment) ระดับคํามั่นและการ<br />

สนับสนุนที่ไดรับจากผูบริหารระดับสูงเปนปจจัยที่สําคัญที่ชวยใหผูจัดการโครงการนํา<br />

โครงการไปสูความสําเร็จ ดังไดกลาวมาแลววา โครงการเปนสวนหนึ่งของสภาวะ<br />

แวดลอมเชิงองคการ จึงมีปจจัยหลายตัวที่มีผลกระทบตอโครงการที่ผูจัดการโครงการ<br />

ไมสามารถควบคุมได การสนับสนุนจากผูบริหารจึงเปนปจจัยที่สําคัญตอความสําเร็จ<br />

ของโครงการ คํามั่นของผูบริหารระดับสูงจึงสําคัญตอผูจัดการโครงการเนื่องจาก<br />

ผูจัดการโครงการตองการสิ่งตอไปนี้<br />

• ทรัพยากรที่เพียงพอ<br />

• การอนุมัติความตองการของโครงการ<br />

• ความรวมมือจากสวนตางๆ ขององคการ<br />

• พี่เลี้ยงและโคช<br />

• คํามั่นองคการตอเทคโนโลยีสารสนเทศ (organizational commitment to information<br />

technology) องคการตองเห็นคุณคาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ตองบูรณาการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศเขากับธุรกิจ และแตงตั้งรองประธานเปนผู บริหารระดับสูงของ<br />

หนวยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผูบริหารระดับสูงตองสงเสริมใหมีการใชเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศในองคการ<br />

• มาตรฐานองคการ (organizational standards) มาตรฐาน หรือแนวทาง (guidelines)<br />

สามารถชวยการบริหารโครงการใหงายขึ้น มาตรฐานหรือแนวทาง ไดแก แบบฟอรม<br />

หรือ แมแบบ (template) สําหรับเอกสารโครงการ เชน แผนโครงการ แนวทางการ<br />

รายงานสารสนเทศตอผูบริหารระดับสูง เปนตน<br />

2.6 ขั้นตอนโครงการและวงจรชีวิตของโครงการ<br />

วงจรชีวิตของโครงการคือ ชุดงานของขั้นตอนโครงการ โดยแตละขั้นตอนจะกําหนดงานที่ตอง<br />

ทํา ทําเมื่อไร ใครเปนคนทํา สิ่งที่ไดจากงานคืออะไร (deliverables) การควบคุมและอนุมัติงานจะทํา<br />

อยางไร สิ่งที่ไดจากงานคือ ผลิตผลหรือบริการ (เชน รายงาน การอบรม ชิ้นสวนฮารดแวร หรือโปรแกรม<br />

บางสวน)<br />

ในขั้นตอนแรกของวงจรชีวิตของโครงการมีความตองการใชทรัพยากรนอย และมีระดับความ<br />

ไมแนนอนสูงสุด ผูมีสวนไดเสียของโครงการมีอิทธิพลสูงสุดตอคุณลักษณะของผลิตผลสุดทายของ<br />

โครงการ หรือแมแตผลลัพธที่เกิดขึ้นในชวงแรกของโครงการ ระหวางชวงกลางของวงจรชีวิตของ<br />

โครงการ ความแนนอนจะเพิ่มขึ้น และความตองการใชทรัพยากรเพิ่มขึ้นมากกวาชวงเริ่มตนและชวง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-12<br />

สุดทายของโครงการ ในขั้นตอนสุดทายเปนขั้นตอนที่เนนความตองการของโครงการตรงกับที่ผูสนับสนุน<br />

โครงการอนุมัติหรือไม<br />

ขั้นตอนโครงการของแตละโครงการมีความแตกตางกัน ขึ้นอยูกับลักษณะของโครงการและ<br />

อุตสาหกรรม แตขั้นตอนที่พบในการบริหารโครงการโดยทั่วไปประกอบดวย 2 ขั้นตอนใหญ 4 ขั้นตอน<br />

ยอยคือ ความเปนไปไดของโครงการ (project feasibility) และการไดโครงการ (project acquisition)<br />

ขั้นตอนความเปนไดของโครงการยังประกอบดวย แนวความคิด (concept) และการพัฒนา<br />

(development) สวนขั้นตอนการไดโครงการประกอบดวย การปฏิบัติงาน (implementation) และปด<br />

โครงการ (close-out) ขั้นตอนของโครงการไดแสดงในรูปที่ 2.4<br />

ความเปนไปไดของโครงการ<br />

การไดโครงการ<br />

แนวความคิด การพัฒนา การปฏิบัติงาน การปดโครงการ<br />

แผนการบริหาร แผนโครงการ แพคเกจงานสุดทาย งานเสร็จสมบูรณ<br />

ตัวอยางสิ่งที่ได<br />

จากแตละระยะ<br />

ประมาณการคาใช<br />

จายเบื้องตน<br />

โครงสรางจําแนก<br />

งาน 3 ระดับ<br />

ประมาณการงบ<br />

ประมาณคาใชจาย<br />

โครงสรางจําแนกงาน<br />

มากกวา 6 ระดับ<br />

ประมาณการคาใช<br />

จายแนนอน<br />

รายงานการปฏิบัติงาน<br />

บทเรียนที่ไดรับ<br />

การยอมรับของลูกคา<br />

รูปที่ 2.4 ขั้นตอนของวงจรชีวิตโครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

ในขั้นตอนแนวความคิดของโครงการ ผูจัดการโครงการจะบรรยายโครงการอยางคราวๆ<br />

พัฒนาแผนของโครงการแบบสรุป หรือระดับสูงมากๆ (high-level) ซึ่งแผนจะบรรยายถึงความตองการ<br />

โครงการ และแนวความคิดเบื้องตน ประมาณการคาใชจายอยางหยาบๆ และกําหนดงานที่ตองทํา<br />

โดยรวม งานที่ตองทําจะจําแนกเปนงานยอย กําหนดเอกสารที่ตองผลิต เชน ในโครงการคอมพิวเตอร<br />

โนตบุค ทีมงานเริ่มศึกษาแนวความคิดที่จะเพิ่มการใชเทคโนโลยี พัฒนาแผนการบริหารที่มีโครงการ<br />

ขนาดเล็กเพื่อสํารวจทางเลือกในการเพิ่มการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ ประมาณการคาใชจายสําหรับ<br />

โครงการสํารวจนี้ จําแนกงานโครงการสํารวจ สํารวจขอมูลจากนักเรียนและพนักงานวิทยาลัย ประเมิน<br />

การอยางหยาบวา การใชเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบตอคาใชจายและการขึ้นทะเบียนอยางไร<br />

สุดทายขั้นตอนนี้จะไดรายงานที่นําเสนอผลการศึกษา<br />

ขั้นตอนการพัฒนาเปนขั้นตอนที่ทีมงานสรางแผนโครงการที่ละเอียดมากขึ้น การประมาณ<br />

การคาใชจายถูกตองมากขึ้น และการจําแนกงานลงรายละเอียดมากกวาเดิม สมมุติวาในขั้นตอน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-13<br />

แนวความคิดไดเสนอแนะวา การใหนักเรียนมีคอมพิวเตอรโนตบุคเปนแนวทางที่จะเพิ่มการใชเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ ทีมงานตองขยายแนวความคิดตอในขั้นตอนนี้ ถานักเรียนซื้อหรือเชาคอมพิวเตอรโนตบุค<br />

แลว ทีมงานอาจตองตัดสินใจฮารดแวรและซอฟตแวรที่ตองใชมีอะไร จะคิดเงินกับนักเรียนเทาไร จะ<br />

จัดการอบรมและบํารุงรักษาเครื่องอยางไร จะบูรณาการการใชเทคโนโลยีใหมกับวิชาปจจุบันอยางไร ถา<br />

รายงานจากขั้นตอนแรกเสนอวา คอมพิวเตอรโนตบุคเปนแนวความคิดที่ไมดีสําหรับวิทยาลัย ทีมงานก็<br />

ไมตองทํางานในขั้นตอนที่สอง<br />

ขั้นตอนที่สามของวงจรชีวิตของโครงการคือ การปฏิบัติงาน ในขั้นตอนนี้ ทีมงานประมาณการ<br />

คาใชจายไดอยางถูกตอง และสงงานที่ตองการ มีการทํารายงานผลการทํางานตอผูมีสวนไดเสีย สําหรับ<br />

โครงการคอมพิวเตอรโนตบุคนั้น ทีมงานตองหาฮารดแวรและซอฟตแวร ติดตั้งอุปกรณเครือขาย สงมอบ<br />

คอมพิวเตอรโนตบุคใหนักเรียนและพนักงาน<br />

ขั้นตอนสุดทายคือ ปดโครงการ งานทุกอยางเสร็จสมบรูณ ไดรับการยอมรับจากผูใชทั้ง<br />

โครงการ ทีมงานบันทึกประสบการณที่ไดจากโครงการ ทีมงานอาจสํารวจความคิดเห็นของนักเรียนและ<br />

พนักงานวิทยาลัย ตรวจสอบสัญญากับผูขายสินคาวาเสร็จสิ้นสมบรูณหรือไม จายเงินเรียบรอยหรือไม<br />

สงมอบโครงการใหกับหนวยงานอื่นตอไป<br />

2.7 วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร<br />

วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรโดยปกติประกอบดวยขั้นตอน การวางแผน การวิเคราะห การ<br />

ออกแบบ การสรางและติดตั้ง และการบํารุงรักษา ขั้นตอนดังกลาวไดถูกจัดการหลายรูปแบบ จึงทําให<br />

เกิดวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรรูปแบบตางๆ สวนใหญวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรที่ใชกันมีดังนี้<br />

• วงจรชีวิตแบบน้ําตก (waterfall life cycle model) เปนการพัฒนาที่มีการกําหนด<br />

ขั้นตอนการพัฒนาที่ชัดเจนคือ วิเคราะหระบบ ออกแบบระบบ พัฒนาระบบ ทดสอบ<br />

ระบบ ติดตั้งระบบ และบํารุงรักษาระบบ ขั้นตอนตางๆ ทําแบบเรียงลําดับ วิธีการนี้มี<br />

สมมุติฐานวาความตองการไมเปลี่ยนแปลงหลังจากไดกําหนดแลว<br />

• วงจรชีวิตแบบกนหอย (spiral life cycle model) ไดพัฒนาขึ้นจากประสบการณการใช<br />

วิธีการพัฒนาแบบน้ําตก ในความเปนจริง วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรเปนแบบซ้ําๆ<br />

หรือกนหอยมากกวาแบบเรียงลําดับ โดยแตละงานที่ทําแบงออกเปน 4 สวนคือ<br />

วางแผน วิเคราะหและขจัดความเสี่ยง พัฒนางาน<br />

• วงจรการพัฒนาแบบเพิ่ม (incremental development life cycle model) เปนการ<br />

พัฒนาซอฟตแวรแบบกาวหนา สงมอบซอฟตแวรที่ละสวน แลวคอยๆ เพิ่ม<br />

ความสามารถของระบบไปเรื่อยๆ จนระบบมีความสามารถสมบูรณ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-14<br />

• วงจรชีวิตแบบตนแบบ (prototyping life cycle model) เปนการพัฒนาซอฟตแวรโดย<br />

การใชตนแบบในการทําความเขาใจความตองการของผูใชใหชัดเจน ทีมงานตอง<br />

พัฒนาตนแบบใหผูใชเห็นและทดลองใช ถาผูใชยังไมพอใจ ทีมงานจะทําการแกไข แลว<br />

นํามาใหผูใชพิจารณาใหม ถาผูใชพอใจตนแบบนั้น ทีมงานจะนําตนแบบไปใชในการ<br />

ออกแบบรายละเอียดของระบบที่แทจริง หรืออาจนําตนแบบนั้นไปติดตั้งใหกับผูใชเลย<br />

ก็ได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับโครงการ<br />

• วงจรชีวิตการพัฒนาระบบงานแบบรวดเร็ว (rapid application development life<br />

cycle model) เปนการพัฒนาโดยการใชเครื่องมือที่ชวยใหทีมงานพัฒนาซอฟตแวรได<br />

อยางรวดเร็ว เชน CASE JAD ใชภาษา 4 th GL การพัฒนาซอฟตแวรดวยวิธีการนี้ตอง<br />

แลกเปลี่ยนกับคุณภาพของซอฟตแวร เนื่องจากตองจํากัดกิจกรรมที่ตองดําเนินการให<br />

เหลือนอยที่สุด<br />

• การโปรแกรมแบบเขมขน (extreme programming (XP)) เปนการพัฒนาซอฟตแวรที่<br />

สอดคลองกับความตองการที่สภาวะแวดลอมเปลี่ยนอยางรวดเร็ว การพัฒนาดวยวิธีนี้<br />

จะใชทีมพัฒนาคูเพื่อสงเสริมการทํางานประสานกัน และเพิ่มประสิทธิภาพ ผูพัฒนา<br />

ซอฟตแวรตองเขียนและทดสอบโปรแกรมเอง<br />

• วงจรชีวิตแบบสกรัม (scrum life cycle model) เปนการพัฒนาแบบซ้ําๆ ที่เนนความ<br />

ตองการที่เปลี่ยนแปลง แตละวันทีมงานทั้งหมดจะประชุมกันชวงเวลาสั้นๆ วาวันนี้<br />

จะตองทําอะไรใหสําเร็จ สมาชิกจะระบุอุปสรรค และผูจัดการโครงการจะตองจัดการ<br />

กับอุปสรรคนั้น วิธีการนี้ตองการผูนําที่เขมแข็ง<br />

2.8 วงจรชีวิตของโครงการกับวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร<br />

จากที่กลาวมาแลวขางตน เราจะเห็นไดวาวงจรชีวิตของโครงการและวงจรชีวิตการพัฒนา<br />

ซอฟตแวรดูเหมือนวาจะคลายคลึงกัน แตวงจรชีวิตของโครงการเนนที่กระบวนการการจัดการโครงการ<br />

ขณะที่วงจรการพัฒนาซอฟตแวรเนนที่การสรางและการทําใหเกิดระบบสารสนเทศ จากรูปที่ 2.5 เราจะ<br />

เห็นวาจริงๆ แลว วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรเปนสวนหนึ่งของวงจรชีวิตของโครงการ เพราะหลายๆ<br />

กิจกรรมสําหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศเกิดขึ้นระหวางเฟสการปฏิบัติงาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-15<br />

รูปที่ 2.5 วงจรชีวิตของโครงการกับวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร<br />

(ปรับจาก Marchewka, 2006)<br />

2.9 กลุมกระบวนการบริหารโครงการ<br />

กระบวนการคือ ชุดของกิจกรรมที่เกี่ยวของกันเพื่อสรางหรือทําผลิตภัณฑหรือบริการตาม<br />

ความตองการที่ไดกําหนด กระบวนการบริหารโครงการแบงออกเปน 5 กลุมคือ กลุมกระบวนการริเริ่ม<br />

กลุมกระบวนการวางแผน กลุมกระบวนการปฏิบัติงาน กลุมกระบวนการติดตามและควบคุม และกลุม<br />

กระบวนการปด กลุมกระบวนการเหลานี้มีปฏิกิริยาตอกัน ผลลัพธของกลุมกระบวนการหนึ่งจะ<br />

กลายเปนขอมูลนําเขาของอีกกลุมกระบวนการ เชน กลุมกระบวนการติดตามและควบคุมเปน<br />

กระบวนการที่คอยติดตามและควบคุมงานที่กําลังทําระหวางกลุมกระบวนการหนึ่ง ในขณะเดียวกัน<br />

กลุมกระบวนการติดตามและควบคุมยังตองติดตามและควบคุมงานทั้งโครงการ ผลลัพธจาก<br />

กระบวนการนี้จะนํามาเปนขอมูลยอนกลับไปสูการดําเนินการแกไข หรือปองกัน เพื่อใหสอดคลองกับ<br />

แผนบริหารโครงการ การประยุกตกระบวนการบริหารโครงการเปนการทํางานซ้ําๆ และหลายๆ<br />

กระบวนการถูกทําซ้ําและทบทวน ผูจัดการโครงการและทีมงานรับผิดชอบในการกําหนดวาจะใช<br />

กระบวนการอะไรจากกลุมกระบวนการตางๆ และใครเปนคนทํา<br />

2.9.1 กลุมกระบวนการริเริ่ม<br />

กลุมกระบวนการริเริ่มประกอบดวยกระบวนการที่ชวยใหมีการมอบอํานาจอยาง<br />

เปนทางการเพื่อใหเริ่มโครงการใหมหรือเฟสของโครงการ บอยครั้งที่กระบวนการริเริ่มทําโดยองคการ<br />

หรือโดยกระบวนการจัดทําแผนงาน ซึ่งอาจกําหนดขอบเขตโครงการไมชัดเจน ขอบเขตนี้จะถูกนําไปเปน<br />

ขอมูลเริ่มตนของโครงการ ตัวอยางเชน กอนเริ่มตนกิจกรรมของกลุมกระบวนริเริ่ม องคการตองกําหนด<br />

ความจําเปนทางธุรกิจ หรือความตองการ ความเปนไปไดของโครงการใหมอาจดําเนินการผาน<br />

กระบวนการประเมินทางเลือกเพื่อหยิบทางเลือกที่ดีที่สุด องคการตองสรางความชัดเจนของ<br />

วัตถุประสงคของโครงการ รวมทั้งเหตุผลวาทําไมโครงการนี้จึงเปนทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะตอบสนอง<br />

ความตองการ กรอบการทํางานของโครงการจะชัดเจน ถามีการบันทึกกระบวนการเลือกโครงการ<br />

สําหรับโครงการที่มีหลายเฟส กระบวนการริเริ่มจะถูกดําเนินการระหวางเฟสถัดไป เพื่อตรวจสอบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-16<br />

สมมุติฐานและการตัดสินใจที่ไดทําขึ้นระหวางกระบวนการพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ และ<br />

กระบวนการพัฒนาขอกําหนดโครงการเบื้องตน ในตอนแรก<br />

โครงการขนาดใหญ หรือซับซอนอาจแบงโครงการเปนเฟสๆ การทบทวน<br />

กระบวนการริเริ่มตอนตนของแตละเฟสชวยรักษาจุดเนนความจําเปนทางธุรกิจที่โครงการไดกําหนดไว<br />

เงื่อนไขการเขาสูกระบวนการไดรับการตรวจสอบ รวมทั้งการมีทรัพยากที่ตองการ จากนั้น ผูจัดการ<br />

โครงการจึงตัดสินใจวาโครงการพรอมที่จะเดินตอไปหรือไม หรือโครงการควรยืดเวลาออกไป หรือยุติ<br />

ระหวางเฟสถัดไปของโครงการ การตรวจสอบความถูกตอง และการพัฒนาขอบเขตโครงการยังคง<br />

ดําเนินการตอไป การทํากระบวนการริเริ่มซ้ําในแตละเฟสถัดไปชวยหยุดโครงการ ถาองคการไมตองการ<br />

โครงการนั้นอีกตอไป<br />

โดยทั่วไป การใหลูกคา และผูมีสวนไดเสียอื่นๆ เขามามีสวนรวมในชวงแรกๆ จะทํา<br />

ใหโอกาสของการเปนเจาของโครงการรวมกัน การยอมรับสิ่งที่สงมอบ และความพึงพอใจของลูกคาและ<br />

ผูมีสวนไดเสียอื ่นๆ ดีขึ้น เนื่องจากการยอบรับดังกลาวมีความสําคัญตอโครงการ กลุมกระบวนการริเริ่ม<br />

เปนกระบวนการที่ทําใหโครงการ หรือเฟสโครงการเริ่มตน และผลลัพธของกลุมกระบวนการนี้เปนการ<br />

กําหนดความมุงหมาย วัตถุประสงคโครงการ และใหอํานาจกับผูจัดการโครงการใหเริ่มตนโครงการ<br />

กระบวนการที่จัดอยูในกลุมนี้คือ การพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ และการพัฒนาขอกําหนดขอบเขต<br />

โครงการเบื้องตน<br />

2.9.2 กลุมกระบวนการวางแผน<br />

กลุมกระบวนการวางแผนชวยรวบรวมสารสนเทศจากหลายๆ แหลง เพื่อจัดทําเปน<br />

แผนบริหารโครงการ กลุมกระบวนการนี้ประกอบดวยกระบวนการที่สําคัญคือการระบุ การกําหนด<br />

ขอบเขตโครงการ คาใชจาย และตารางเวลาโครงการ เนื่องจากมีการพบขอมูลใหมๆ การวิเคราะหเพิ่ม<br />

จึงตองทําหลายรอบ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงอยางมีนัยสําคัญที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตโครงการเปนสิ่งที่<br />

ทําใหทีมงานโครงการจําเปนตองกลับไปทํากระบวนการวางแผนใหม หรืออาจตองกลับไปทํากระบวน<br />

การริเริ่มบางกระบวนการ<br />

การย้ํากระบวนการวางแผนบอยๆ มีผลกระทบตอแผนบริหารโครงการ แผนบริหาร<br />

โครงการที่ไดรับการปรับปรุงจะใหขอมูลที่เมนยํามากขึ้น รวมทั้งยังจํากัดกิจกรรมหรือประเด็นที่เกี่ยวของ<br />

กับการดําเนินการของเฟส ขณะที่วางแผนโครงการ ทีมงานโครงการควรใหผูมีสวนไดเสียที่เหมาะสมเขา<br />

มามีสวนรวม เพราะบุคคลเหลานี้มีทักษะและความรูในการพัฒนาแผนบริหารโครงการและแผนยอย<br />

เนื่องจากกระบวนการกลั่นกรองและขอมูลยอนกลับไมสามารถทําไดตลอด องคการจึงควรมีการกําหนด<br />

ขั้นตอนการยุติกระบวนการวางแผน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-17<br />

ปฏิกิริยาระหวางกระบวนการในกลุมกระบวนการวางแผนแตกตางกันขึ้นอยูกับ<br />

ธรรมชาติของโครงการ เชน บางโครงการอาจไมมีการระบุความเสี่ยง เพราะ ณ เวลานั้น เนื่องจาก<br />

ทีมงานโครงการอาจรูวาโครงการที่กําลังจะทํานั้นเปนโครงการที่ทีมงานคุนเคย และผูบริหารใหการสนับ<br />

สนุนงบประมาณ ดังนั้น การวางแผนดานความเสี่ยงจึงยังไมดําเนินการ<br />

2.9.3 กลุมกระบวนการปฏิบัติงาน<br />

กลุมกระบวนการปฏิบัติงานประกอบดวยกระบวนการที่ทําใหงานที่กําหนดในแผน<br />

บริหารโครงการเสร็จสมบูรณตามความตองการของโครงการ ทีมงานโครงการควรกําหนดกระบวนการ<br />

อะไรที่ตองการใชสําหรับโครงการ กลุมกระบวนการนี้เกี่ยวของกับการประสานคนและทรัพยากร รวมทั้ง<br />

การบรูณาการและดําเนินกิจกรรมของโครงการใหเปนไปตามแผนบริหารโครงการ<br />

ความแปรปรวนจากการปฏิบัติงานเปนสาเหตุใหทีมงานโครงการตองทําการวาง<br />

แผนใหม ความแปรปรวนนี้อาจเปน ระยะเวลาของกิจกรรม ทรัพยากรที่มีให หรือความเสี่ยงที่ไม<br />

สามารถคาดการณได ความแปรปรวนเหลานี้อาจกระทบ หรือไมกระทบแผนบริหารโครงการก็ได แต<br />

ทีมงานตองวิเคราะหความแปรปรวน ผลการวิเคราะหสามารถทําใหเกิดคําขอเปลี่ยนแปลงที่อาจปรับ<br />

แผนการบริหารโครงการ และสรางบรรทัดฐานใหม ถึงแมวากลุมกระบวนการปฏิบัติงานเปนสวนหนึ่ง<br />

ของทุกๆ เฟสของโครงการ แตสวนใหญแลว กระบวนการปฏิบัติงานจะเกิดขึ้นระหวางเฟสปฏิบัติงาน<br />

ของวงจรชีวิตโครงการ<br />

2.9.4 กลุมกระบวนการติดตามและควบคุม<br />

กลุมกระบวนการติดตามและควบคุมประกอบดวยกระบวนการที่เฝาดูการปฏิบัติ<br />

งานของโครงการ ดังนั้น ทีมงานโครงการสามารถระบุปญหาที่อาจจะเกิดไดทันเวลา และกําหนดวิธีการ<br />

หรือการกระทําเพื่อแกไข เพื่อควบคุมการดําเนินโครงการ ทีมงานโครงการควรกําหนดกระบวนการอะไร<br />

ที่ตองใชสําหรับโครงการโดยเฉพาะ ประโยชนที่สําคัญที่ไดจากกลุมกระบวนการนี้คือ การดําเนิน<br />

โครงการไดรับการเฝาดู และวัดอยางสม่ําเสมอ เพื่อระบุความแปรปรวนจากแผนบริหารโครงการ กลุม<br />

กระบวนการติดตามและควบคุมยังรวมถึงการควบคุมการเปลี่ยนแปลง และการแนะนําวิธีการปองกัน<br />

ปญหาที่อาจเกิดขึ้น<br />

การติดตามอยางตอเนื่องทําใหทีมงานโครงการไดเขาใจลึกซึ้งถึงสถานของ<br />

โครงการ และชี้ใหเห็นสวนที่ตองการความเอาใจใสเพิ่ม กลุมกระบวนการนี้ไมไดติดตามและควบคุม<br />

เฉพาะงานที่กําลังทําภายในกลุมกระบวนหนึ่งๆ เทานั้น แตยังติดตามและควบคุมการทํางานของทั้ง<br />

โครงการ ในกรณีที่โครงการมีหลายเฟส กลุมกระบวนการติดตามและควบคุมยังใหขอมูลยอนกลับ<br />

ระหวางเฟส เพื่อใหการแกไขและการปองกันสามารถนําโครงการกลับมาใหสอดคลองกับแผนบริหาร<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-18<br />

โครงการ ถาความแปรปรวนทําลายวัตถุประสงคโครงการ ทีมงานโครงการควรกลับไปยังกระบวนการ<br />

วางแผนที่อยูในกลุมกระบวนการวางแผน การทบทวนใหขอเสนอการปรับปรุงแผนบริหารโครงการ<br />

2.9.5 กลุมกระบวนการปด<br />

กลุมกระบวนการปดรวมถึงกระบวนที่ใชเพื่อยุติทุกกิจกรรมอยางเปนทางการของ<br />

โครงการหรือเฟสหนึ่งของโครงการ กลุมกระบวนการนี้สอบทวนวากระบวนการที่กําหนดในทุกกลุม<br />

กระบวนเสร็จสมบูรณ เพื่อปดโครงการ หรือเฟสของโครงการ<br />

2.9.6 ความสัมพันธระหวางกลุมกระบวนการกับวงจรชีวิตโครงการ<br />

จากรูปที่ 2.6 แสดงกลุมกระบวนการและความสัมพันธระหวางในแงของระดับของ<br />

กิจกรรมปกติ กรอบเวลา และการทับซอน ระดับของกิจกรรมและชวงเวลาของแตละกลุมกระบวนการ<br />

แตกตางกันทุกโครงการ โดยปกติ กลุมกระบวนการริเริ่มจะดําเนินการในตอนเริ่มโครงการ ตามดวยกลุม<br />

กระบวนการวางแผน กลุมกระบวนการปฏิบัติงาน กลุมกระบวนการติดตามและควบคุม และกลุม<br />

กระบวนการปด โดยปกติ กระบวนการปฏิบัติงานตองการทรัพยากรและเวลาประมาณรอยละ 50-60<br />

ตามดวยกระบวนการวางแผน ซึ่งใชเวลาประมาณรอยละ 15-25 สวนกระบวนการริเริ่มและกระบวนการ<br />

ปดใชเวลาและทรัพยากรนอยที่สุด ประมาณรอยละ 5-10 การติดตามและควบคุมที่ดําเนินการตลอด<br />

โครงการ โดยทั่วไปใชประมาณรอยละ 5-15 ของเวลาและทรัพยากรทั้งหมด อยางไรก็ตาม ทุกโครงการ<br />

มีเอกลักษณ ดังนั้นจึงอาจมีขอยกเวนไมเปนไปตามที่กลาว<br />

รูปที่ 2.6 ระดับของกิจกรรมและการคาบเกี่ยวกันของกลุมกระบวนการตลอดเวลาโครงการ<br />

(Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-19<br />

กลุมกระบวนการไมใชเฟสของวงจรชีวิตของโครงการ กระบวนการของกลุม<br />

กระบวนการไมตองทําเรียงตามลําดับดังกลาวขางตน เพียงแตโดยสวนใหญแลว กระบวนการของแตละ<br />

กลุมกระบวนการจะปฏิบัติเรียงลําดับ รูปที่ 2.7 แสดงใหเห็นถึงความสัมพันธของกลุมกระบวนการกับ<br />

วงจรชีวิตของโครงการ เชน กระบวนการบางกระบวนของกลุมกระบวนการติดตามและควบคุมจะมีการ<br />

ดําเนินการตั้งแตชวงเวลาตนๆ เชน ในการพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ ผูจัดการโครงการตองติดตามวา<br />

ทีมงานและผู มีสวนไดเสียดําเนินการไปตามแผนบริหารโครงการหรือไม กระบวนการติดตามการพัฒนา<br />

เอกสารสิทธิ์โครงการจึงเกิดขึ้นระหวางเฟสแนวความคิดของวงจรชีวิตโครงการ กระบวนการวางแผนก็<br />

เชนเดียวกันที่อาจตองมีการทบทวน ปรับปรุงแผนใหมในชวงกลางของโครงการ เปนตน ดังนั้น ทุกเฟส<br />

ของวงจรชีวิตของโครงการจะมีทุกกลุมกระบวนการ แตจํานวนกระบวนการของแตละกลุมกระบวนการ<br />

แตกตางกันไปในแตละเฟสของวงจรชีวิตของโครงการ<br />

รูปที่ 2.7 กลุมกระบวนการกับวงจรชีวิตโครงการ<br />

2.9.7 ความสัมพันธระหวางกลุมกระบวนการกับความรูการบริหารโครงการ<br />

เราสามารถจัดกระบวนการของแตละกลุมกระบวนการเขากับความรูการบริหาร<br />

โครงการทั้ง 9 ดาน ตารางที่ 2.2 แสดงภาพรวมของความสัมพันธของกระบวนการบริหารโครงการทั้ง 44<br />

กระบวนการของกลุมกระบวนการที่โดยปกติจะถูกดําเนินการใหเสร็จสมบูรณกับความรู 9 ดาน<br />

กระบวนการที่แสดงในตารางเปนกระบวนการหลักที่ไดกําหนดใน PMBOK ® Guide Third Edition<br />

หลายๆ องคการใชสารสนเทศของสถาบันบริหารโครงการ (Project Management Institute (PMI)) เปน<br />

พื้นฐานสําหรับการพัฒนาระเบียบวิธีการบริหารโครงการของตนเอง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-20<br />

ตารางที่ 2.2 ภาพรวมของความสัมพันธของกระบวนการบริหารโครงการกับความรู 9 ดาน<br />

ความรู<br />

การบริหาร<br />

การบูรณา<br />

การ<br />

การบริหาร<br />

ขอบเขต<br />

โครงการ<br />

การบริหาร<br />

เวลา<br />

การบริหาร<br />

คาใชจาย<br />

การบริหาร<br />

คุณภาพ<br />

การบริหาร<br />

ทรัพยากร<br />

มนุษย<br />

การบริหาร<br />

การสื่อสาร<br />

การบริหาร<br />

ความเสี่ยง<br />

การบริหาร<br />

การจัดซื้อจัด<br />

จาง<br />

กลุมกระบวนการบริหารโครงการ<br />

ริเริ่ม วางแผน ปฎิบัติงาน ติดตามและควบคุม ปด<br />

พัฒนาแผนบริหารโครงการ กํากับและบริหารการ<br />

ปดโครงการ<br />

ปฏิบัติงานโครงการ<br />

พัฒนาเอกสารสิทธิ์<br />

โครงการ<br />

พัฒนาขอกําหนด<br />

ขอบเขตโครงการ<br />

เบื้องตน<br />

วางแผนขอบเขต<br />

กําหนดขอบเขต<br />

สรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

กําหนดกิจกรรม<br />

เรียงลําดับกิจกรรม<br />

ประมาณการทรัพยากรของ<br />

กิจกรรม<br />

ประมาณการระยะเวลาของ<br />

กิจกรรม<br />

พัฒนาตารางเวลา<br />

ประมาณการคาใชจาย<br />

ตั้งงบประมาณคาใชจาย<br />

วางแผนคุณภาพ<br />

วางแผนทรัพยากรมนุษย<br />

ดําเนินการประกัน<br />

คุณภาพ<br />

คนหาทีมงานโครงการ<br />

พัฒนาทีมงานโครงการ<br />

ติดตามและควบคุม<br />

งานของโครงการ<br />

ควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลงแบบ<br />

บูรณาการ<br />

ทวนสอบขอบเขต<br />

ควบคุมขอบเขต<br />

ควบคุมตารางเวลา<br />

ดําเนินการควบคุม<br />

คุณภาพ<br />

บริหารทีมงาน<br />

โครงการ<br />

วางแผนการสื่อสาร กระจายสารสนเทศ รายงานผลการ<br />

ปฏิบัติงาน<br />

บริหารผูมีสวนไดเสีย<br />

วางแผนบริหารความเสี่ยง<br />

ระบุความเสี่ยง<br />

วิเคราะหความเสี่ยงเชิง<br />

คุณภาพ<br />

วิเคราะหความเสี่ยงเชิง<br />

ปริมาณ<br />

วางแผนตอบสนองความเสี่ยง<br />

วางแผนการจัดซื้อและการ<br />

ไดมา<br />

วางแผนการทําสัญญา<br />

ขอคําตอบจากผูขาย<br />

เลือกผูขาย<br />

ควบคุมและติดตาม<br />

ความเสี่ยง<br />

บริหารสัญญา<br />

ควบคุม<br />

คาใชจาย<br />

ปดสัญญา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-21<br />

2.10 บริบทของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ธรรมชาติของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีความหลากหลาย ตั้งแตโครงการที่เนน<br />

ฮารดแวรประเภทคอมพิวเตอรสวนบุคคลไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอรขนาดใหญ รวมทั้งอุปกรณเคลื่อนที่<br />

สวนโครงการพัฒนาซอฟตแวรมีความหลากหลายเชนเดียวกัน ตั้งแตการพัฒนาซอฟตแวรดวย Excel<br />

บนเครื่องคอมพิวเตอรที่ไมเชื่อมตอกับเครือขาย ระบบพาณิชยอิเล็กทรอนิกสที่ใชภาษาที่ทันสมัย<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศยังสนับสนุนทุกอุตสาหกรรม และงานทางธุรกิจ การบริหารโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศแตละอุตสาหกรรมจะไมเหมือนกัน<br />

เนื่องจากธรรมชาติของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลาย จึงสงผลใหคนที่เกี่ยวของ<br />

กับโครงการมีภูมิหลังที่หลากหลาย มีทักษะที่แตกตางกัน สมาชิกในทีมอาจจบดานธุรกิจ คณิตศาสตร<br />

หรือศิลปศาสตร เพื่อใหมุมมองที่ตางกัน ถึงแมจะมีพื้นความรูที่ไมเหมือนกัน แตตําแหนงในโครงการ<br />

เหมือนกัน เชน นักวิเคราะหธุรกิจ โปรแกรมเมอร ผูเชี่ยวชาญเครือขาย นักวิเคราะหฐานขอมูล<br />

ผูเชี่ยวชาญการประกันคุณภาพ ผูเชี่ยวชาญดานความปลอดภัย วิศวกรฮารดแวร วิศวกรซอฟตแวร การ<br />

ที่โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตองการคนที่มีทักษะ แตบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญไมชอบอยูในองคการ<br />

หนึ่งๆ นาน หลายๆ โครงการจึงจางคนที่มีความเชี่ยวชาญจากภายนอกเขามารวมโครงการ<br />

ตําแหนงทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศอาจสะทอนถึงเทคโนโลยีที่ตางกันที่ผูดํารงตําแหนงตอง<br />

มีทักษะในเทคโนโลยีนั้นๆ จึงทําใหสมาชิกแตละคนไมเขาใจซึ่งกันและกัน เพราะแตละคนใชเทคโนโลยีที่<br />

ตางกัน ความหลากหลายในเทคโนโลยีทําใหเกิดปญหาคือ การเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว โครงการกําลัง<br />

จบในขณะที่ทีมคนพบเทคโนโลยีใหมที่ทําใหโครงการตรงกับความตองการทางธุรกิจในระยะยาว<br />

ผูจัดการโครงการ และสมาชิกในทีมจึงเผชิญกับงานที่ทาทาย<br />

2.11 สรุป<br />

ในการทํางานของโครงการ ผูจัดการโครงการจําเปนตองใชวิธีการเชิงระบบ และจําเปนตอง<br />

พิจารณาโครงการที่มากกวาบริบทเชิงองคการ<br />

องคการมี 4 กรอบที่แตกตางกันคือ โครงสราง ทรัพยากรมนุษย การเมือง และสัญลักษณ<br />

ผูจัดการโครงการจําเปนตองเขาใจกรอบองคการเหลานี้ กรอบโครงสรางเนนความแตกตางของบทบาท<br />

และความรับผิดชอบของกลุม เพื่อใหบรรลุเปาหมายและนโยบายที่กําหนดโดยผูบริหารระดับสูง กรอบ<br />

ทรัพยากรมนุษยเนนที่การสรางความกลมกลืนระหวางความตองการขององคการและความตองการของ<br />

คน กรอบการเมืองกลาวถึงการเมืองขององคการและของบุคคล สวนกรอบสัญลักษณเนนที่สัญลักษณ<br />

และความหมาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-22<br />

โครงสรางขององคการหนึ่งๆ มีนัยยะที่สําคัญตอผูจัดการโครงการ โดยเฉพาะในแงของขนาด<br />

ของอํานาจที่ผูจัดการโครงการมี โครงสรางพื้นฐานองคการมี 3 แบบคือ โครงสรางตามหนาที่ แมทริกซ<br />

และโครงการ ผูจัดการโครงการจะมีอํานาจมากที่สุดในโครงสรางแบบโครงการ รองลงมาคือ โครงสราง<br />

แบบแมทริกซ และมีอํานาจนอยที่สุดในโครงสรางตามหนาที่<br />

วัฒนธรรมองคการกระทบตอการบริหารโครงการเชนเดียวกัน วัฒนธรรมที่พนักงานมีความเปน<br />

สมาชิกที่เขมแข็ง วัฒนธรรมที่กิจกรรมงานเนนงานแบบกลุม วัฒนธรรรมที่มีการบูรณาการเปนหนวย<br />

เดียวที่สูง ระดับการยอมรับความเสี่ยงสูง ใหรางวัลตามผลงาน ระดับการยอมรับความขัดแยงสูง เนน<br />

ระบบเปด และเนนสมดุลเกี่ยวกับคน การควบคุม และวิธีการ เปนวัฒนธรรมที่โครงการอยากใหมี<br />

มากกวาวัฒนธรรมองคการแบบอื่นๆ<br />

ผูมีสวนไดเสียของโครงการคือ บุคคลและหนวยงานที่เกี่ยวของกับโครงการ หรือความสนใจของ<br />

เขาเหลานั้นอาจถูกกระทบทั้งทางบวกหรือทางลบ อันเปนผลจากการทําโครงการ หรือความเสร็จ<br />

สมบูรณของโครงการ ผูจัดการโครงการตองกําหนดผูมีสวนไดเสีย และเขาใจความตองการที่แตกตางกัน<br />

ของผูมีสวนไดเสียของโครงการทั้งหมด<br />

คํามั่นสัญญาของผูบริหารระดับสูงมีความสําคัญตอความสําเร็จของโครงการ เนื่องจาก<br />

โครงการกระทบหลายสวนในองคการ ผูบริหารระดับสูงตองชวยเหลือผูจัดการโครงการ คํามั่นองคการ<br />

ตอโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีความสําคัญเชนเดียวกัน การพัฒนามาตรฐานและแนวทางชวย<br />

องคการในการบริหารโครงการ<br />

วงจรชีวิตโครงการคือ ขั้นตอนโครงการ ขั้นตอนโครงการแบบดั้งเดิมประกอบดวย แนวความคิด<br />

การพัฒนา การปฏิบัติงาน และการปดโครงการ วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรประกอบดวย วงจรชีวิต<br />

แบบน้ําตก แบบกนหอย การพัฒนาแบบเพิ่มขึ้น แบบเรงดวน การโปรแกรมอยางเขมขน และการพัฒนา<br />

แบบสกรัม ผูจัดการโครงการตองเขาใจวงจรชีวิตแตละแบบ วงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวรเปนสวนหนึ่ง<br />

ของวงจรชีวิตโครงการ<br />

โครงการควรทํางานแตละขั้นตอนใหสําเร็จเพื่อสงตอไปยังขั้นตอนตอไป การทบทวนการบริหาร<br />

ควรเกิดขึ้นเมื่อจบแตละขั้นตอน เพื่อใหโครงการยังคงเปนไปตามที่วางแผนไว และเพื่อกําหนดวา<br />

โครงการควรทําตอ เปลี่ยนทิศทาง หรือยุติ<br />

การบริหารโครงการประกอบดวยกระบวนการจํานวนหนึ่งที่เชื่อมโยงกัน กระบวนการบริหาร<br />

โครงการจัดเปน 5 กลุมกระบวนการคือ กลุมกระบวนการริเริ่ม กลุมกระบวนการวางแผน กลุม<br />

กระบวนการปฏิบัติงาน กลุมกระบวนการติดตามและควบคุม และกลุมกระบวนการปด ระดับการเกิด<br />

กระบวนการเหลานี้แตกตางกันในแตละเฟสของโครงการ และทุกกลุมกระบวนการจะเกิดในทุกเฟสของ<br />

โครงการ ดังนั้น กลุมกระบวนการจึงไมใชเฟสของวงจรชีวิตของโคงการ โดยปกติ กลุมกระบวนการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารโครงการและบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ หนา 2-23<br />

ปฏิบัติงานตองใชเวลาและทรัพยากรมากที่สุด ตามดวยกลุมกระบวนการวางแผน การจัดกระบวนการ<br />

บริหารโครงการหลักของแตละกลุมกระบวนการเขากับความรู 9 ดานใหภาพรวมวากระบวนการอะไร<br />

เกี่ยวของกับความรูการบริหารโคงการดานใด<br />

ผูจัดการโครงการตองพิจารณาหลายๆ ปจจัย เนื่องจากบริบทโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศไม<br />

ซ้ํากัน ธรรมชาติที่แตกตางกันของโครงการและความหลากหลายในธุรกิจและเทคโนโลยีที่พัวพันกับ<br />

โครงการ โดยเฉพาะการทาทายตอการบริหาร การนําทีมงานที่มีสมาชิกที่มีทักษะเฉพาะ และความ<br />

เขาใจการเปลี ่ยนแปลงเทคโนโลยีอยางรวดเร็ว เปนปจจัยที่สําคัญ<br />

คําถามทายบท<br />

1. จงอธิบายการนํามุมมองแบบระบบมาใชกับการบริหารโครงการ<br />

2. อธิบายกรอบองคการ 4 กรอบ<br />

3. กรอบองคการทําใหผูจัดการโครงการเขาใจบริบทเชิงองคการสําหรับโครงการที่รับผิดชอบ<br />

อยางไร<br />

4. อธิบายความแตกตางระหวางโครงสรางองคการแบบฟงกชัน แมทริกซ และโครงการ<br />

5. อธิบายโครงสรางองคการแตละแบบกระทบตอการบริหารโครงการอยางไร<br />

6. จงอธิบายวัฒนธรรมองคการมีความสัมพันธอยางไรกับการบริหารโครงการ<br />

7. จงอธิบายความสําคัญของคํามั่นสัญญาของผู บริหารระดับสูงตอความสําเร็จของโครงการ<br />

8. อธิบายความแตกตางระหวางวงจรชีวิตโครงการกับวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร<br />

9. จงอธิบายความสัมพันธระหวางกลุมกระบวนการกับวงจรชีวิตของโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-1<br />

3.1 บทนํา<br />

การบริหารการบูรณาการเกี่ยวของกับการประสานองคความรูการบริหารโครงการดานตางๆ<br />

ตลอดวงจรชีวิตของโครงการ การบูรณาการนี้ทําขึ้นเพื่อใหแนใจวาทุกชิ้นสวนของโครงการเกิดขึ้นพรอม<br />

กัน ณ เวลาที่เหมาะสม เพื่อใหโครงการประสบความสําเร็จอยางสมบูรณ การบูรณาการประกอบดวย<br />

กระบวนการหลัก 7 กระบวนการ คือ<br />

• พัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ (develop the project charter) เปนการทํางานกับผูมี<br />

สวนไดเสีย เพื่อจัดทําเอกสารที่อนุมัติโครงการอยางเปนทางการ<br />

• พัฒนาขอบเขตงานเบื้องตน (develop the preliminary project scope statement)<br />

เปนการพัฒนาขอกําหนดขอบเขตโครงการ ซึ่งเปนการเขียนอธิบายขอกําหนดในระดับสูง<br />

• พัฒนาแผนการบริหารโครงการ (develop the project management plan) เปนการ<br />

จัดทําเอกสารเพื่อบันทึกการกระทําที่จําเปนสําหรับ กําหนด เตรียมการ บูรณาการ และ<br />

ประสาน แผนยอยทั้งหมดใหเปนแผนบริหารโครงการ<br />

• กํากับและบริหารการปฏิบัติงานโครงการ (direct and manage project execution)<br />

เปนการปฏิบัติงานตามกิจกรรมของโครงการที่วางแผนไว เพื่อบรรลุความตองการของ<br />

โครงการที่ไดกําหนดในขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

• ติดตามและควบคุมงานโครงการ (monitor and control the project work) เปนการ<br />

ติดตามและควบคุมกระบวนการที่ดําเนินการในระยะตางๆ ของโครงการ เพื่อใหตรงกับ<br />

วัตถุประสงคที่กําหนดในแผนบริหารโครงการ<br />

• ดําเนินการควบคุมการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ (perform integrated change<br />

control) เปนการทบทวนคําขอเปลี่ยนแปลง การอนุมัติการเปลี่ยนแปลง และควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดกับสิ่งที่สงมอบ (deliverables)<br />

• ปดโครงการ (close the project) เปนการสิ้นสุดการกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ เพื่อ<br />

ปดโครงการอยางเปนทางการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-2<br />

กอนที่จะทําการพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการอยางเปนทางการ องคการตองเลือกโครงการที่จะ<br />

ทํา โดยผานกระบวนการตัดสินใจอยางเปนทางการ การเลือกโครงการจะไดกลาวในหัวขอตอไป<br />

ขั้นตอนการวางแผน<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ผลลัพธที่ได<br />

การวางแผน<br />

ยุทธศาสตร<br />

เทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ<br />

การวิเคราะหธุรกิจ<br />

การวางแผนโครงการ<br />

การจัดสรรทรัพยากร<br />

เชื่อมโยงยุทธศาสตรเทคโนโลยีสารสนเทศกับพันธกิจและ<br />

วิสัยทัศนขององคการ<br />

กําหนดสวนธุรกิจหลัก<br />

บันทึกกระบวนการธุรกิจหลักที่สามารถไดประโยชนจาก<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

กําหนดโครงการที่มีศักยภาพ<br />

กําหนดขอบเขตโครงการ ประโยชน และ ขอจํากัด<br />

เลือกโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

มอบหมายทรัพยากร<br />

รูปที่ 3.1 แสดงกระบวนการวางแผนสําหรับการเลือกโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ (Schwalbe, 2007)<br />

3.2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร และการเลือกโครงการ<br />

3.2.1 การกําหนดโครงการที่มีศักยภาพ<br />

รูปที่ 3.1 แสดงกระบวนการวางแผนสําหรับการเลือกโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ใน<br />

ขั้นตอนแรกคือ การเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตรเทคโนโลยีสารสนเทศกับแผนยุทธศาสตรขององคการ การ<br />

วางแผนยุทธศาสตรเปนการกําหนดวัตถุประสงคระยะยาว โดยการวิเคราะหจุดออนจุดแข็งขององคการ<br />

การศึกษาโอกาสและสิ่งคุกคาม การทํานายแนวโนมในอนาคต การคาดการณความตองการสําหรับ<br />

ผลิตภัณฑใหมหรือบริการใหม ดังนั้น ในกระบวนการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจําเปนที่ตองมี<br />

ผูจัดการจากหนวยงานอื่นที่ไมใชหนวยงานเทคโนโลยีสารสนเทศมาชวย เพราะจะชวยคนดาน<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศเขาใจยุทธศาสตรองคการ และกําหนดกลุมธุรกิจที่สามารถสนับสนุนแผน<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

หลังจากกําหนดเปาหมายเชิงยุทธศาสตรแลว ขั้นตอนตอไปสําหรับการวางแผนคือ<br />

การเลือกโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการวิเคราะหเชิงธุรกิจ การวิเคราะหนี้วางโครงราง<br />

กระบวนการธุรกิจที่เกี่ยวของกับการบรรลุเปาหมายเชิงยุทธศาสตร และชวยกําหนดวากระบวนการ<br />

ธุรกิจใดไดประโยชนจากเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุด ขั้นตอนถัดไปคือ เริ่มตนการกําหนดโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-3<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพ พรอมกับขอบเขตโครงการ ประโยชน ขอจํากัด สวนขั้นตอนสุดทาย<br />

คือ การเลือกโครงการที่จะนํามาดําเนินการ และการกําหนดทรัพยากรสําหรับการดําเนินโครงการ<br />

3.2.2 การเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศใหสอดคลองกับยุทธศาสตรทางธุรกิจ<br />

การกําหนดและการเลือกโครงการเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะงายขึ้น ถาองคการทําให<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศสอดคลองกับธุรกิจ แผนยุทธศาสตรขององคการควรชี้นํากระบวนการเลือก<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ องคการตองพัฒนายุทธศาสตรการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อกําหนด<br />

วายุทธศาสตรนี้จะสนับสนุนวัตถุประสงคขององคการอยางไร ยุทธศาสตรเทคโนโลยีสารสนเทศตองทํา<br />

ใหสอดคลองกับแผนยุทธศาสตรทางธุรกิจขององคการ<br />

วิธีการที่ใชในการทําใหโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเปนไปในทิศทางเดียวกับแผน<br />

ยุทธศาสตรทางธุรกิจขององคการคือ แนวความคิดที่เนนการใชเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนแผน<br />

ยุทธศาสตรและทําใหไดเปรียบเชิงการแขงขัน<br />

3.2.3 การเลือกโครงการ<br />

องคการสวนใหญเชื่อในการตัดสินใจเลือกโครงการของผูจัดการโครงการที่มี<br />

ประสบการณ อยางไรก็ตามองคการจําเปนตองกําหนดรายชื่อโครงการที่มีศักยภาพใหแคบลง การเลือก<br />

โครงการมีเทคนิคที่นิยมใชกัน 5 เทคนิคคือ การเนนที่ความตองการขององคการ การจัดกลุมโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะหดานการเงิน การใชตัวแบบใหคะแนนถวงน้ําหนัก และการใชบัตร<br />

คะแนนสมดุล (balanced scorecard)<br />

การเนนที่ความตองการขององคการ<br />

เมื่อตองตัดสินใจวาโครงการใดไดรับการคัดเลือก ผูบริหารระดับสูงตองเนน<br />

โครงการที่ตรงกับความตองการของหนวยงานสวนใหญขององคการ โครงการที่กลาวถึงความตองการ<br />

ขององคการในแนวกวางมีโอกาสที่จะไดรับการคัดเลือก เพราะเปนโครงการที่มีความสําคัญตอองคการ<br />

วิธีการหนึ่งที่จะเลือกโครงการตามเทคนิคนี้คือ พิจารณาวาโครงการตรงกับเงื่อนไขที่สําคัญ 3 ขอหรือไม<br />

เงื่อนไขที่สําคัญคือ ความตองการ เงิน และความตั้งใจ คนในองคการเห็นรวมกันถึงความตองการ<br />

โครงการหรือไม องคการมีความตั้งใจและมีกําลังที่จะสนับสนุนเงินสําหรับการทําโครงการหรือไม คนใน<br />

องคการมีความตั้งใจสูงที่จะทําใหโครงการสําเร็จหรือไม ขณะที่โครงการดําเนินการ องคการตองทําการ<br />

ประเมินความตองการ การเงิน และความตั้งใจของแตละโครงการใหม เพื่อดูวาโครงการควรทําตอ หรือ<br />

ยุติ หรือตองกลับมานิยามความตองการใหม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-4<br />

การจัดกลุมโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

การจัดกลุมโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใชประเมินโครงการอาจจัดกลุม<br />

ออกเปนโครงการประเภทสนองตอบตอปญหา โอกาส หรือ เปนโครงการที่สั่งใหดําเนินการ<br />

ปญหาคือ สถานการณที่ไมนาพอใจที่ขัดขวางไมใหองคการบรรลุเปาหมาย<br />

ปญหาอาจเปนปญหาที่มีในปจจุบันหรือปญหาที่คาดวาอาจจะเกิดในอนาคต เชน ผูใชโครงการอาจ<br />

ประสบปญหาการเขาไปใชระบบสารสนเทศ หรือเขาใชขอมูลที่ทันสมัย เพราะระบบไดถูกใชเต็มกําลัง<br />

แลว การตอบสนองปญหาดังกลาว องคการสามารถริเริ่มโครงการเพื่อขยายระบบปจจุบัน โดยการเพิ่ม<br />

เสนทางการเขาถึง หรือปรับฮารดแวรใหมีความสามารถมากขึ้นดวยการเพิ่มหนวยความจํา หรือที่เก็บ<br />

ขอมูล หรือเปลี่ยนตัวประมวลผลใหเร็วขึ้น<br />

โอกาสคือ โอกาสที่จะปรับปรุงองคการ เชน โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนา<br />

ระบบใหมที่สามารถทํารายไดใหกับองคการอยางมหาศาล<br />

สั่งการคือ ความตองการใหมที่สั่งการจากผูบริหาร รัฐบาล หรือองคการ<br />

ภายนอกที่มีอิทธิพล เชน โครงการเปนจํานวนมากที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีดานการแพทยตองเจอกับ<br />

ความตองการที่รัฐบาลกําหนดอยางกวดขัน<br />

มันเปนการงายที่จะไดรับการอนุมัติและไดรับเงินสําหรับโครงการที่ไดตอบ<br />

ปญหาและตอบสนองสิ่งที่สั่งการจากผูมีอํานาจ เพราะองคการตองการที่จะหลีกเลี่ยงไมใหธุรกิจตอง<br />

บาดเจ็บ ดังนั ้น ปญหาและการสั่งการควรจะไดรับการแกไขโดยเร็ว แตผูจัดการตองใชระบบเพื่อคิดและ<br />

คนหาโอกาสสําหรับปรับปรุงองคการผานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

การจัดกลุมอีกประเภทคือ การจัดกลุมตามเวลาที่โครงการจะเสร็จสมบูรณ หรือ<br />

วันที่โครงการจะตองทํา เชน โครงการที่มีศักยภาพที่จะเสร็จภายในเวลาที่กําหนด โครงการที่มีศักยภาพ<br />

ที่จะเสร็จในวันที่ที่กําหนด บางโครงการสามารถทําเสร็จไดเร็วมาก เชน 2-3 อาทิตย หรือ 2-3 วัน<br />

หลายๆ องคการมีสวนงานที่สนับสนุนผูใชสุดทาย โดยสวนงานสนับสนุนนี้จะจัดการโครงการเล็กๆ ที่<br />

สามารถทําเสร็จไดอยางรวดเร็ว ถึงแมวาโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถทําเสร็จไดอยางรวดเร็ว<br />

โครงการเหลานี้ก็จําเปนตองจัดลําดับความสําคัญของโครงการ<br />

การจัดกลุมประเภทที่ 3 คือ การจัดกลุมตามลําดับความสําคัญโดยรวมของ<br />

โครงการ หลายๆ องคการจัดกลุมโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเปนกลุมที่มีความสําคัญ สูง ปานกลาง<br />

หรือต่ํา ซึ่งโครงการใดจะมีความสําคัญสูง หรือต่ํา ขึ้นกับสภาพแวดลอมของธุรกิจปจจุบัน เชน ถา<br />

องคการมีความจําเปนอยางยิ่งที่จะลดคาใชจายในการดําเนินธุรกิจโดยเร็ว โครงการที่มีศักยภาพที่จะ<br />

ชวยลดคาใชจายก็จะถูกจัดอยูในกลุมที่มีความสําคัญสูง องคการจะเลือกที่จะดําเนินโครงการในกลุมที่<br />

มีความสําคัญสูงกอน ถึงแมวาโครงการที่มีความสําคัญปานกลาง หรือต่ําจะสามารถทําเสร็จไดภายใน<br />

เวลาที่นอยกวาก็ตาม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-5<br />

การวิเคราะหดานการเงิน<br />

การพิจารณาดานการเงินมีความสําคัญตอการเลือกโครงการ โดยเฉพาะ<br />

ชวงเวลาที่เศรษฐกิจไมดี โครงการตางๆ ตองไดรับการพิจารณาอนุมัติกอน และการพยากรณดาน<br />

การเงินเปนสวนที่สําคัญที่ตองระบุในเอกสารธุรกิจ (business case) วิธีการพื้นฐานสําหรับวิเคราะห<br />

การลงทุนประกอบดวย การวิเคราะหมูลคาปจจุบันสุทธิ ((net present value (NPV)) อัตราผลตอบแทน<br />

จากการลงทุน (return on investment (ROI) และการวิเคราะหระยะเวลาการคืนทุน (payback<br />

analysis) ผูจัดการโครงการทํางานเกี ่ยวของกับผูบริหารระดับสูง เพราะฉะนั้นผูจัดการโครงการตอง<br />

เขาใจที่จะสื่อสารภาษาเดียวกัน<br />

• การวิเคราะหมูลคาปจจุบันสุทธิ<br />

มูลคาปจจุบันสุทธิคือ การคํานวณเงินสุทธิที่คาดวาจะไดรับหรือสูญ<br />

เสียจากโครงการ โดยการลด (discounting) กระแสเงินสดเขาและออกในอนาคตที่คาดวาจะเกิดจาก<br />

เวลาหนึ่งยอนกลับมาถึงเวลาปจจุบัน การลดนี้จะลดเปนเปอรเซนตที่เราเรียกวาอัตราสวนลด (discount<br />

rate) ซึ่งเปนอัตราที่องคการคาดวาจะไดรับคืนจากโครงการ โดยปกติผูบริหารจะเปนผูกําหนด อัตรา<br />

สวนลด<br />

องคการควรพิจารณาโครงการที่มีคามูลคาปจจุบันสุทธิเปนบวก<br />

เพราะหมายความวามูลคาที่คืนกลับจากการทําโครงการเกินกวาคาใชจายที่ลงทุน (cost of capital) คา<br />

มูลคาปจจุบันสุทธิที่คํานวณไดถึงแมวาเปนบวกแตถามีคานอยกวาผลตอบแทนการลงทุนดวยวิธีการอื่น<br />

องคการอาจตัดสินใจไมลงทุนโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ สูตรการคํานวณมูลคาปจจุบันสุทธิมีดังนี้<br />

มูลคาปจจุบันสุทธิ = -I 0 + Σ (กระแสเงินสดสุทธิ / (1 + r) t )<br />

โดยที่:<br />

I = คาใชจายทั้งหมด หรือการลงทุนของโครงการ (total cost or investment of the<br />

project)<br />

r = อัตราสวนลด (discount rate)<br />

t = ชวงระยะเวลา (time period)<br />

ถาสมมุติใหอัตราสวนลดคือ รอยละ 8 และเราคาดวาจะมีกระแสเงิน<br />

เขา-ออกในแตละป ทั้งหมด 5 ปดังตารางที่ 3.1 เราสามารถคํานวณหาคากระแสเงินสดที่หักลดแลวใน<br />

แตละปไดดังตารางที่ 3.2 เมื่อรวมกระแสเงินที่หักลดของทุกปแลวเราจะไดมูลคาปจจุบันสุทธิ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-6<br />

ตารางที่ 3.1 กระแสเงินสดที่คาดวาจะไดรับในเวลา 5 ป (Marchewka, 2006)<br />

ปที่ 0 ปที่ 1 ปที่ 2 ปที่ 3 ปที่ 4<br />

กระแสเงินสดไหลเขารวม 0 150,000 200,000 250,000 300,000<br />

กระแสเงินสดไหลออกรวม 200,000 85,000 125,000 150,000 200,000<br />

กระแสเงินสดสุทธิ (200,000) 65,000 75,000 100,000 100,000<br />

ตารางที่ 3.2 การคํานวณคามูลคาปจจุบันสุทธิ (Marchewka, 2006)<br />

เวลา การคํานวณ กระแสเงินสดที่ลดแลว กระแสเงินสดสะสม<br />

ปที่ 0 (200,000) (200,000)<br />

ปที่ 1 65,000/(1 + .08) 1 60,185 (139,815)<br />

ปที่ 2 75,000/(1 + .08) 2 64,300 (755,15)<br />

ปที่ 3 100,000/(1 + .08) 3 79,383 3,868<br />

ปที่ 4 100,000/(1 + .08) 4 73,503 77,371<br />

มูลคาปจจุบันสุทธิ (NPV) 77,371<br />

คามูลคาปจจุบันสุทธิที่คํานวณไดมีคาเปนบวก แสดงวาโครงการนี้ให<br />

ผลตอบแทนที่คุมการลงทุน โปรดจําไววาถาอัตราสวนลดมีคาเพิ่มขึ้น คามูลคาปจจุบันสุทธิมีคาลดลง<br />

• การวิเคราะหอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน<br />

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเปนตัวชี้วัดทางการเงินที่สําคัญตัว<br />

หนึ่งที่บอกถึงมูลคาที่คาดวาจะไดรับจากการลงทุนในโครงการ สูตรการคํานวณมีดังนี้<br />

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = (กําไรที่คาดวาจะไดรับทั้งหมดหลังจากคิดอัตราสวนลดแลว<br />

- คาใชจายทั้งหมดที่ไดคิดอัตราสวนลดแลว) / คาใชจายทั้งหมดที่ไดคิดอัตราสวนลดแลว<br />

จากตารางที่ 3.1 เราสามารถคํานวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน<br />

โดยใชอัตราสวนลดรอยละ 8 ไดโดยการคํานวณหากระแสเงินสดไหลเขารวมที่หักลดแลว และกระแส<br />

เงินสดไหลออกรวมที่หักลดแลวดังแสดงในตารางที่ 3.3 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนจึงคํานวณได<br />

ดังนี้<br />

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน= (731,000 – 653,050) / 653,050 = 11.94%<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-7<br />

ตารางที่ 3.3 ตัวอยางการคํานวณอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Marchewka, 2006)<br />

ปที่ 0 ปที่ 1 ปที่ 2 ปที่ 3 ปที่ 4 รวม<br />

กระแสเงินสดไหลเขา<br />

รวม<br />

กระแสเงินสดไหลเขา<br />

รวมที่หักลดแลว<br />

กระแสเงินสดไหลออก<br />

รวม<br />

กระแสเงินสดไหลออก<br />

รวมที่หักลดแลว<br />

0 150,000 200,000 250,000 300,000 900,000<br />

0<br />

139,500<br />

(150,000*.93)<br />

172,000<br />

(200,000*.86)<br />

197,500<br />

(250,000*.79)<br />

222,000<br />

(300,000*.74)<br />

731,000<br />

200,000 85,000 125,000 150,000 200,000 760,000<br />

200,000<br />

79,050<br />

(85,000*.93)<br />

107,500<br />

(125,000*.86)<br />

118,500<br />

(150,000*.79)<br />

148,000<br />

(200,000*.74)<br />

653,050<br />

• การวิเคราะหระยะเวลาการคืนทุน<br />

วิธีการวิเคราะหระยะเวลาการคืนทุนเปนการพิจารณาวาโครงการตอง<br />

ใชเวลานานเทาไรจึงจะไดรายไดคุมเงินลงทุนเริ่มแรก (Initial Investment) โดยมีสูตรการคํานวณดังนี้<br />

ระยะเวลาการคืนทุน = เงินลงทุนเริ่มตน / กระแสเงินสดสุทธิเฉลี่ยตอป<br />

จากตารางที่ 3.1 เราสามารถคํานวณระยะเวลาที่คุมทุนไดดังนี้<br />

เงินลงทุนเริ่มตน = 200,000<br />

กระแสเงินสดสุทธิเฉลี่ยตอป = ผลรวมของกระแสเงินสดสุทธิ/จํานวนป<br />

= (65,000 + 75,000 + 100,000 + 100,000)/5<br />

= 68,000<br />

ระยะเวลาการคืนทุน =200,000 / 68,000 = 2.94 = 3 ป<br />

การหาระยะเวลาการคืนทุนยังสามารถใชขอมูลจากการคํานวณมูลคา<br />

ปจจุบันสุทธิ โดยการคํานวณกระแสเงินสดสะสมของแตละป ถาปใดมีกระแสเงินสดสะสมเปนบวก<br />

แสดงวาปนั้นคือ ปที่โครงการไดทุนคืน ดังตัวอยางในตารางที่ 3.2 โครงการจะคืนทุนในปที่ 3 เพราะ<br />

กระแสเงินสดสะสมมีคาเปนบวกในปนั้น<br />

ถึงแมวาการวิเคราะหระยะเวลาการคืนทุนจะเปนวิธีตรงไปตรงมา<br />

และงายแกการเขาใจ แตมันไมไดพิจารณามูลคาของเงินตามระยะเวลาที่ผานไป อยางไรก็ตาม วิธีการนี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-8<br />

ก็ยังมีประโยชนสําหรับการพิจารณาความเสี่ยงของการลงทุน เพราะการลงทุนที่มีความเสี่ยงยอมตองใช<br />

เวลานานถึงจะไดรายไดคุมการลงทุน<br />

การใชตัวแบบใหคะแนนถวงน้ําหนัก<br />

ตัวแบบใหคะแนนถวงน้ําหนักเปนวิธีการสําหรับการเปรียบเทียบโครงการโดย<br />

พิจารณาจากผลรวมของคะแนนที่ไดในแตละเงื่อนไข แตเงื่อนไขดังกลาวมีความสําคัญที่แตกตางกัน เรา<br />

จึงควรกําหนดน้ําหนักของแตละเงื่อนไข การถวงน้ําหนักนั้น โดยปกติเราใชเปอรเซ็นต และมีผลรวมของ<br />

น้ําหนักทั้งหมดคือ 100 ดังตัวอยางในตารางที่ 3.4 จากตารางดังกลาว เราจะเห็นวาคะแนนรวมของ<br />

โครงการไดคะแนนสูงสุดคือ 8.5 ดังนั้น เราจึงควรเลือกโครงการ ค สวนสูตรการคํานวณคือ<br />

การเงิน<br />

องคการ<br />

โครงการ<br />

ภายนอก<br />

โดยที่<br />

Total Score =<br />

n<br />

∑<br />

i=<br />

1<br />

W C<br />

Total Score คือ คะแนนรวมทั้งหมด<br />

W i คือ น้ําหนักของเงื่อนไข<br />

C i คือ คะแนนของเงื่อนไข<br />

ตารางที่ 3.4 ตัวอยางการใชตัวแบบการใหคะแนนถวงน้ําหนัก (Marchewka, 2006)<br />

i<br />

เงื่อนไข น้ําหนัก โครงการ ก โครงการ ข โครงการ ค<br />

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 15% 2 4 10<br />

ระยะเวลาการคืนทุน 10% 3 5 10<br />

มูลคาปจจุบันสุทธิ 15% 2 4 10<br />

ความสอดคลองกับวัตถุประสงคเชิงยุทธศาสตร 10% 3 5 8<br />

ความเปนไปไดที่จะบรรลุวัตถุประสงคของ<br />

โครงการ<br />

i<br />

10% 2 6 9<br />

มีสมาชิกในทีมที่มีทักษะ 5% 5 5 4<br />

ความสามารถในการบํารุงรักษา 5% 4 6 7<br />

เวลาที่ใชในการพัฒนา 5% 5 7 6<br />

ความเสี่ยง 5% 3 5 5<br />

ความพึงพอใจของลูกคา 10% 2 4 9<br />

สวนแบงการตลาดที่เพิ่มขึ้น 10% 2 5 8<br />

คะแนนรวม 100% 2.65 4.85 8.50<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-9<br />

การใชบัตรคะแนนสมดุล<br />

องคการที่ใชบัตรคะแนนสมดุลตองสรางชุดตัววัด หรือตัวชี้วัดผลการดําเนินงาน<br />

(key performance indicators (KPI)) สําหรับแตละมุมมอง ซึ่งมี 4 มุมมองคือ มุมมองทางดานการเงิน<br />

ลูกคา กระบวนการภายในองคการ และการเรียนรูและนวัตกรรม ตัววัดของแตละมุมมองจะถูกนํามาใช<br />

ในการสรางรายงาน หรือบัตรคะแนนสําหรับองคการเพื่อใหผูบริหารสามารถติดตามประสิทธิภาพของ<br />

องคการได มุมมองทั้ง 4 ดานทําใหเกิดสมดุลในแงของประโยชนทั้งที่จับตองได หรือประเมินได และ<br />

ประโยชนที่จับตองไมได หรือประเมินไดยาก วัตถุประสงคระยะสั้นและระยะยาว รูปที่ 3.2 แสดง<br />

ตัวอยางการใชบัตรคะแนนสมดุล<br />

รูปที่ 3.2 ตัวอยางของบัตรคะแนนสมดุล (Marchewka, 2006)<br />

• มุมมองดานการเงิน<br />

วิธีการบัตรคะแนนสมดุลกระตุนใหผูบริหารใหพิจารณาตัววัดอื่น<br />

นอกเหนือจากตัววัดทางการเงินแบบดั้งเดิม เพื่อใหประสบความสําเร็จเชิงยุทธศาสตร ตัววัดทางการเงิน<br />

สวนใหญมีประโยชนทําใหเราเขาใจวาองคการทํางานอยางไรในอดีต และบางองคการใชตัววัดนี้ในการ<br />

กํากับองคการโดยการเฝาดูการเปลี่ยนแปลงของตัววัด อยางไรก็ตาม ตัววัดการเงินแบบดั้งเดิมยังคงมี<br />

ความสําคัญและเปนหลักสําหรับการประกันวายุทธศาสตรขององคการไดรับการดําเนินการอยาง<br />

เหมาะสม ที่สําคัญกวานั้นคือ วิธีการนี้เปนสื่อการเชื่อมโยงประสิทธิภาพทางการเงินกับการลูกคา การ<br />

ปฏิบัติงานภายใน และการลงทุนในพนักงานและโครงสรางพื้นฐานที่สนับสนุนการทํางาน ถึงแมวาตัววัด<br />

การเงินดั้งเดิม เชน อัตราผลตอบแทนการลงทุน มูลคาปจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนภายใน จะ<br />

ยังคงมีประโยชน หลายองคการใชตัววัดการเงินแบบใหมคือ มูลคาที่เพิ่มทางเศรษฐศาสตร (economic<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-10<br />

value added (EVA)) ซึ่งเปนเครื่องมือวัดวาองคการไดรับรายไดมากกวาทุนจริงที่ลงไป มูลคาที่เพิ่มทาง<br />

เศรษฐศาสตรคํานวณโดยการพิจารณาคาใชจายของหนี้สิน (เชน อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารคิดจาก<br />

องคการ) และคาใชจายของความยุติธรรม (เชน เงินที่ผูถือหุนอาจไดรับจากที่อื่น ถาเอาเงินไปลงทุน<br />

อยางอื่น) มูลคาที่เพิ่มทางเศรษฐศาสตรที่มีคาเปนบวกหมายถึงผูบริหารสรางความมั่งคั่งใหกับองคการ<br />

• มุมมองดานลูกคา<br />

เปนมุมมองที่สะทอนใหเห็นวา องคการทํางานอยางไรจากความคิดของ<br />

ลูกคา สรางความพึงพอใจใหกับลูกคามากนอยแคไหน ความพึงพอใจของลูกคาเปนสิ่งที่บอกเราวา เรา<br />

สามารถดําเนินธุรกิจแบบเดิม หรือควรหาธุรกิจใหม ดังนั้น ตัววัดความพึงพอใจของลูกคาสามารถ<br />

เชื่อมโยงไปยังรางวัลดานการเงิน การวัดที่ยึดลูกคาเปนหลักอาจกําหนดระดับความพึงพอใจของสินคา<br />

และบริการขององคการ และสินคาและบริการสงมอบไดดีแคไหน<br />

• มุมมองดานกระบวนการภายใน<br />

มุมมองนี้เนนที่กระบวนการทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่องคการตองทํา<br />

ใหดี เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคของลูกคาและดานการเงิน ความพึงพอใจของลูกคาสามารถบรรลุผาน<br />

การปรับปรุงกิจกรรมการทํางานขององคการ ซึ่งนําไปสูการปรับปรุงประสิทธิภาพทางการเงิน ดังนั้นตัว<br />

วัดควรเนนที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการขององคการ<br />

• มุมมองดานการเรียนรูและนวัตกรรม<br />

ความสามารถ สมรรถภาพ และแรงจูงใจของคนในองคการเปน<br />

ตัวกําหนดผลไดจากกิจกรรมการทํางาน ประสิทธิภาพดานการเงิน และระดับความพึงพอใจของลูกคา<br />

ดังนั้น องคการตองเชื่อมั่นอยางมากในคนขององคการ ความสามารถขององคการที่จะคิดสิ่งใหมและ<br />

การเรียนรูระดับบุคคลเปนสิ่งที่วิกฤต บัตรคะแนนสมดุลสนับสนุนการลงทุนสําหรับอนาคต โดยการให<br />

ความสําคัญของการลงทุนในคนและการลงทุนในโครงสรางพื้นฐานสําหรับมนุษยเชนเดียวกับการลงทุน<br />

ในโครงสรางพื้นฐานทางกายภาพและทางเทคนิค ตัววัดสําหรับมุมมองนี้คือ การอบรม การรับรอง และ<br />

การอยูและความพึงพอใจของพนักงาน<br />

การวัดมูลคาของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตาม 4 มุมมองดังกลาว บังคับ<br />

ใหผูบริหารพิจารณาผลกระทบและบริบทของโครงการในมุมกวาง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-11<br />

3.3 พัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ<br />

หลังจากผูบริหารระดับสูงตัดสินใจวาโครงการใดควรดําเนินการแลว สิ่งที่สําคัญที่โครงการ<br />

ตองทําคือ ตองใหคนอื่นๆ ในองคการรับรูเกี่ยวกับโครงการ ซึ่งสามารถทําไดหลายรูปแบบ แตมีรูปแบบที่<br />

นิยมใชกันคือ เอกสารสิทธิ์โครงการซึ่งเปนเอกสารที่แสดงวัตถุประสงคและการบริหารโครงการ เอกสาร<br />

นี้อนุมัติใหผูจัดการโครงการสามารถใชทรัพยากรองคการ เพื่อทําใหโครงการเสร็จสมบูรณ โดยปกติ<br />

ผูจัดการโครงการจะเปนตัวหลักในการพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ บางองคการอาจใชจดหมายตกลง<br />

กัน บางองคการใชเอกสารที่ยาว หรือสัญญาที่เปนทางการ ผูมีสวนไดเสียหลักของโครงการควรเซ็นตใน<br />

เอกสารสิทธิ์โครงการ เพื่อประกาศขอตกลงดานความตองการ และเจนตนาของโครงการ เอกสารสิทธิ์<br />

โครงการเปนผลลัพธหลักของกระบวนการเริ่มแรก ดังนั้น เอกสารนี้จึงเปรียบเสมือนขอตกลงหรือสัญญา<br />

ระหวางผูสนับสนุนโครงการและทีมงาน<br />

ในเอกสารสิทธิ์โครงการประกอบดวยหัวขอตอไปนี้ แตผูจัดการโครงการสามารถปรับให<br />

สอดคลองกับโครงการและองคการได<br />

• ชื่อโครงการ<br />

• ผูมีสวนไดเสียโครงการ ซึ่งประกอบดวย ชื่อ ตําแหนง เบอรโทรศัพท อีเมล โดยระบุ<br />

ถึงการเขามามีสวนรวมอยางไร เมื่อไร<br />

• คําอธิบายโครงการ ซึ่งประกอบดวยภาพรวม หรือเบื้องหลังของโครงการ ปญหา<br />

หรือโอกาส วัตถุประสงคของโครงการ ภาพรวมผลกระทบที่อยากใหเกิด<br />

• ขอบเขตโครงการประกอบดวยสิ่งที่รวมและไมรวมในโครงการ<br />

• ระยะเวลาโครงการที่ระบุวันเริ่มตนและวันสิ้นสุดโครงการ วันที่คาดวางานที่สงมอบ<br />

หลักเสร็จ หลักไมล และระยะโครงการ<br />

• งบประมาณโครงการ<br />

• ประเด็นดานคุณภาพที่ตองการ<br />

• ทรัพยากรที่ประกอบดวยคน เทคโนโลยี หรือสิ่งอํานวยความสะดวกตางๆ เพื่อ<br />

สนับสนุนทีมงาน<br />

• สมมุติฐานและความเสี่ยง เชนสมมติฐานที่ใชประมาณการคาใชจาย ความเสี่ยงที่<br />

สําคัญ ความเปนไปไดที่จะเกิด และผลกระทบ รวมทั้งขอจํากัดตางๆ<br />

• การบริหารโครงการ ซึ่งประกอบดวย การรายงานความกาวหนา การบริหารการ<br />

เปลี่ยนแปลง การบริหารคุณภาพ การไดพนักงาน และการพัฒนาทีม<br />

• การยอมรับและอนุมัติ ประกอบดดวยชื่อ ลายเซ็น และวันที่อนุมัติ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-12<br />

• เอกสารอางอิง<br />

• ความหมายคําศัพทเฉพาะ<br />

• ภาคผนวก<br />

3.4 กําหนดขอบเขตงานเบื้องตน<br />

ขอบเขตงานเบื้องตนคือ เอกสารที่ใชยืนยันความเขาใจขอบเขตโครงการรวมกัน เอกสารนี้จะ<br />

อธิบายในรายละเอียดของงานที่ตองการทําใหสําเร็จ และเปนเครื่องมือสําคัญที่จะปองกันการขยาย<br />

ขอบเขตโครงการ (scope creep – แนวโนมของขอบเขตโครงการที่จะใหญขึ้นๆ) นอกจากนี้เอกสาร<br />

ขอบเขตงานชวยสรางขอกําหนดขอบเขตงานเริ่มแรกระหวางที่โครงการเพิ่งเริ่มตน ดังนั้น ทีมงาน<br />

โครงการทั้งหมดสามารถเริ่มถกเถียงและทํางานที่เกี่ยวกับขอบเขตโครงการ ทีมงานจะเตรียมราย<br />

ละเอียดของขอบเขตโครงการมากขึ้น ขอบเขตโครงการนี้จะมีหลายเวอรชันและแตละเวอรชันจะมี<br />

รายละเอียดมากขึ้นๆ เมื่อโครงการไดเดินหนา พรอมกับมีขอมูลมากขึ้นสําหรับทํารายละเอียดขอบเขต<br />

โครงการ<br />

โครงการที่มีความซับซอนจะมีขอบเขตโครงการที่ยาว สวนโครงการเล็กมีขอบเขตโครงการที่<br />

สั้น โดยสวนใหญเอกสารนี้จะประกอบดวย วัตถุประสงคโครงการ คุณลักษณะและความตองการของ<br />

ผลิตภัณฑหรือบริการ อาณาเขตโครงการ (boundaries) สิ่งที่ตองสงมอบ เงื่อนไขการยอมรับโครงการ<br />

ขอจํากัดและสมมติฐานโครงการ โครงสรางองคการของโครงการ รายการความเสี่ยงเบื้องตน สรุปตาราง<br />

การทํางาน ประมาณการคาใชจายเบื้องตน การบริหารคอนฟกรูเรชั่น (configuration management)<br />

และรายละเอียดของความตองการที่ไดรับอนุมัติ<br />

3.5 แผนการบริหารโครงการ<br />

แผนการบริหารโครงการคือ เอกสารที่ใชในการประสานแผนยอยทั้งหมดของโครงการ และ<br />

เพื่อชี้นําการดําเนินงานและควบคุมโครงการ แผนตางๆ ที่ไดสรางตามองคความรูดานอื่นๆ จะนํามา<br />

พิจารณาเปนสวนยอยของแผนการบริหารโครงการ แผนการบริหารโครงการจะบันทึกสมมติฐานที่ใชใน<br />

การวางแผน และการตัดสินใจเลือกทางเลือก รวมทั้งอํานวยความสะดวกในการสื่อสารระหวางผูมีสวน<br />

ไดเสีย กําหนดเนื้อหาของแผน ระยะเวลาสําหรับการทบทวนการบริหารที่สําคัญ และเปนบรรทัดฐาน<br />

(baseline) สําหรับการวัดความกาวหนาและควบคุมโครงการ แผนการบริหารโครงการควรพลวัต<br />

ยืดหยุนพรอมที่จะเปลี่ยน เมื่อสภาพแวดลอมหรือโครงการเปลี่ยน แผนเหลานี้ควรชวยผูจัดการโครงการ<br />

ในการนําทีมงานและประเมินสถานภาพโครงการ เพื่อสรางแผนการบริหารที่ดี ผูจัดการโครงการตอง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-13<br />

ฝกฝนศิลปการบริหารการบูรณาการโครงการ เนื่องจากขอมูลที่ใชมาจากองคความรูการบริหารโครงการ<br />

ทั้งหมด<br />

3.5.1 เนื้อหาของแผนการบริหารโครงการ<br />

แผนการบริหารโครงการประกอบดวย 1) การแนะนําโครงการหรือภาพรวม<br />

โครงการ 2) การจัดการโครงการ 3) การบริหารและกระบวนทางเทคนิคที่ใชกับโครงการ 4) งานที่ตองทํา<br />

5) ตารางการทํางาน และ 6) คาใชจาย<br />

ในสวนของการแนะนําหรือภาพรวมของโครงการประกอบดวยหัวขอที่ไมนอยกวา<br />

หัวขอตอไปนี้<br />

• ชื่อโครงการ ทุกโครงการตองมีชื่อที่ไมซ้ํา และควรหลีกเลี่ยงความสับสนกับ<br />

โครงการที่สัมพันธกัน<br />

• รายละเอียดโครงการและความตองการอยางสั้นๆ รายละเอียดควรสอดคลอง<br />

กับเปาหมายและชัดเจน รวมทั้งเหตุผล การเขียนควรหลีกเลี่ยงคําศัพททาง<br />

เทคนิค และควรมีการประมาณราคาและเวลาอยางคราวๆ<br />

• ชื่อผูสนับสนุนโครงการ ขอมูลสําหรับติดตอผูสนับสนุน<br />

• ชื่อผูจัดการโครงการ และสมาชิกหลัก<br />

• สิ่งที่ไดจากโครงการคือ ผลผลิตที่โครงการจะทําออกมาเปนสวนหนึ่งของ<br />

โครงการ เชน ซอฟตแวรสําเร็จรูป ฮารดแวร รายงานเชิงเทคนิค เอกสารการ<br />

อบรม เปนตน<br />

• รายชื่อเอกสารอางอิงที่สําคัญ รายชื่อเอกสารที่สําคัญ หรือการประชุม ที่<br />

สัมพันธกับโครงการชวยใหผูมีสวนไดเสียของโครงการเขาใจประวัติความ<br />

เปนมา ในสวนนี้ควรอางถึงแผนที่สรางจากองคความรูอื่นๆ ดังนั้น แผนการ<br />

บริหารโครงการควรอางอิงและสรุปสวนที่สําคัญของแผนการบริหารขอบเขต<br />

โครงการ การบริหารตารางเวลา การบริหารคาใชจาย การบริหารคุณภาพ การ<br />

บริหารความเสี่ยง และการบริหารการจัดซื้อจัดจาง<br />

• รายการนิยามคําและความหมายของตัวยอ หลายๆ โครงการโดยเฉพาะ<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวของกับคําศัพทอุตสาหกรรมเฉพาะ หรือ<br />

คําศัพททางเทคโนโลยี ดังนั้นควรมีคํานิยามและความหมายของตัวยอ เพื่อ<br />

ชวยไมใหเกิดความเขาใจผิด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-14<br />

รายละเอียดของการจัดการโครงการมีดังนี้<br />

• ผังโครงสรางของโครงการ เพื่อแสดงเสนทางของอํานาจการบริหาร ความ<br />

รับผิดชอบ และการสื่อสารของโครงการ<br />

• ความรับผิดชอบ แผนโครงการควรอธิบายงานและกิจกรรมที่สําคัญของ<br />

โครงการ และระบุคนที่รับผิดชอบงานนั้น ผังการมอบหมายความรับผิดชอบ<br />

เปนเครื่องมือที่ใชในการแสดงขอมูลสวนนี้<br />

• ขอมูลที่เกี่ยวกับกระบวนการที่เกี่ยวของหรือขอมูลองคการอื่นๆ โครงการอาจมี<br />

ความจําเปนตองบันทึกกระบวนการหลักของโครงการ เชน ถาโครงการ<br />

เกี่ยวกับการปลอยซอฟตแวรที่ยกระดับ ดังนั้น ไดอะแกรม หรือเสนเวลาของ<br />

ขั้นตอนหลักที่เกี่ยวกับกระบวนการนี้ชวยใหทุกๆ คนที่เกี่ยวของเห็น<br />

กระบวนการที่ชัดเจน<br />

ซึ่งควรมีขอมูลดังนี้<br />

ในสวนของแผนการบริหารโครงการจะอธิบายวิธีการบริหารและวิธีการเชิงเทคนิค<br />

• วัตถุประสงคการบริหาร เปนสวนที่อธิบายมุมมองโครงการของผูบริหาร<br />

ระดับสูง และขอจํากัดหรือสมมุติฐานของโครงการ<br />

• การควบคุมโครงการ สวนนี้อธิบายวาเราจะติดตามความกาวหนาและจัดการ<br />

การเปลี่ยนแปลงอยางไร จะมีการทบทวนสถานภาพรายเดือน และราย 3<br />

เดือนหรือไม มีแบบฟอรมเฉพาะหรือผังการติดตามความกาวหนาโครงการ<br />

หรือไม โครงการจะใชการบริหารมูลคาที่ไดรับในการประเมินและติดตาม<br />

ประสิทธิภาพหรือไม ผูบริหารระดับใดที่เปนผูอนุมัติการเปลี่ยนแปลง<br />

• การบริหารความเสี่ยง สวนนี้จะอธิบายคราวๆ วาทีมงานโครงการจะระบุ<br />

บริหาร และควบคุมความเสี่ยงอยางไร ควรอางถึงแผนการบริหารความเสี่ยง<br />

• การจัดคน สวนนี้อธิบายจํานวนคนและประเภทของคนที่โครงการตองการ ควร<br />

อางถึงแผนการจัดการคน<br />

• กระบวนการทางเทคนิค สวนนี้อธิบายระเบียบวิธีการที่โครงการอาจใช และ<br />

อธิบายวาจะบันทึกขอมูลอยางไร เชน โครงการทางเทคโนโลยีสารสนเทศทํา<br />

ตามระเบียบวิธีการการพัฒนาซอฟตแวรโดยเฉพาะ หรือใช CASE โดยเฉพาะ<br />

หลายๆ บริษัท หรือลูกคามีรูปแบบเฉพาะสําหรับการจัดทําเอกสารทางเทคนิค<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-15<br />

ดังนั้นการทําใหกระบวนการเทคนิคในแผนการบริหารโครงการเกิดความ<br />

ชัดเจนจึงเปนสิ่งสําคัญ<br />

ในสวนถัดไปของแผนการบริหารโครงการควรอธิบายงานที่ทําและอางอิงแผนการ<br />

บริหารขอบเขต โดยมีหัวขอดังนี้<br />

• แพคเกจงานหลัก โดยปกติ ผูจัดการโครงการจะจัดการงานเปนแพคเกจงาน<br />

หลายแพคเกจ โดยการใชโครงสรางจําแนกงาน และเขียนขอกําหนดขอบเขต<br />

งานเพื่ออธิบายงานในรายละเอียด สวนนี้ควรสรุปอยางคราวๆ ถึงแพคเกจงาน<br />

หลักสําหรับโครงการ และอางถึงแผนบริหารขอบเขตโครงการตามความ<br />

เหมาะสม<br />

• สิ่งที่สงมอบหลัก สวนนี้ควรแสดงรายการและอธิบายสิ่งที่สงมอบหลัก พรอม<br />

กับอธิบายคุณภาพที่คาดหวัง<br />

• ขอมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับงาน สวนนี้จะเนนขอมูลสําคัญที่เกี่ยวกับโครงการ<br />

เชน รายการฮารดแวร และซอฟตแวรเฉพาะ เพื่อใชกับโครงการ หรือ<br />

คุณลักษณะเฉพาะที่ตองทําตาม ผูจัดการโครงการควรบันทึกสมมุติฐานที่<br />

สําคัญที่ใชในการกําหนดงานของโครงการ<br />

ในสวนของตารางเวลาโครงการควรมีหัวขอดังนี้<br />

• ตารางเวลาโดยสรุป เปนตารางสรุปเวลาของโครงการในหนึ่งหนากระดาษ ถา<br />

เปนโครงการที่ซับซอน ตารางเวลาสรุปอาจแสดงสิ่งที่สงมอบหลักและวันที่<br />

วางแผนวาจะเสร็จสมบูรณ แตถาเปนโครงการขนาดเล็ก ตารางเวลาสรุปอาจ<br />

• แสดงงานทั้งหมดพรอมเวลาในรูปของผังแกนต (Gantt chart) ตารางเวลา<br />

ละเอียด สวนนี้จะใหขอมูลเกี่ยวกับตารางเวลาโครงการละเอียดมากขึ้น โดย<br />

แสดงความพึงพา (dependencies) กันของกิจกรรมที่สามารถมีผลกระทบตอ<br />

ตารางเวลาโครงการ เชน อาจกลาวถึงงานหลักที่ไมสามารถเริ ่มตนจนกวา<br />

หนวยงานภายนอกจะใหเงิน ผังเครือขาย (network diagram) สามารถแสดง<br />

ความพึงพาของกิจกรรม<br />

• ขอมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับตารางเวลา เชน สมมุติฐานที่ใชในการเตรียม<br />

ตารางเวลาโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-16<br />

ในสวนของงบประมาณโครงการควรประกอบดวยหัวขอตอไปนี้<br />

• งบประมาณโดยสรุป เปนงบประมาณของทั้งโครงการที่คาดวาจะตองใช ซึ่งจะ<br />

แยกเปนงบประมาณรายเดือน หรือรายป และแยกตามกลุมงบประมาณ<br />

พรอมกับมีคําอธิบายความหมายของตัวเลขงบประมาณ เชน เปนงบประมาณ<br />

ประมาณการที่ไมสามารถเปลี่ยนแปลง หรือเปนการประมาณการอยาง<br />

หยาบๆ ขึ้นกับคาใชจายของโครงการอีก 3 ปขางหนา<br />

• งบประมาณอยางละเอียดคือ แผนการบริหารคาใชจาย มีขอมูลงบประมาณ<br />

อยางละเอียด เชน คาใชจายคงที่ และคาใชจายที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ประโยชน<br />

ทางการเงินที่คาดวาจะไดรับ และการคํานวณคาแรงคํานวณ<br />

• ขอมูลที่เกี่ยวกับงบประมาณอื่นๆ สวนนี้จะบันทึกสมมุติฐานสําคัญและเนน<br />

ขอมูลที่สําคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นทางดานการเงินของโครงการ<br />

3.5.2 การใชแนวทางเพื่อสรางแผนการบริหารโครงการ<br />

หลายๆ องคการมีแนวทางสําหรับใชสรางแผนการบริหารโครงการ นอกจากนี้<br />

ซอฟตแวรสําเร็จรูปสําหรับบริหารโครงการมีแฟมตัวแบบหลายๆ แบบสําหรับใหผูใชซอฟตแวรเลือกใช<br />

เปนแนวทางในการสรางแผน อยางไรก็ตาม เราไมควรสับสนระหวางแผนการบริหารโครงการกับผัง<br />

แกนต แผนการบริหารโครงการจะรวมเอกสารการวางแผนทั้งหมด โดยการรวมแผนที่ไดสรางขึ้นจาก<br />

องคความรูดานอื่นๆ สวนผังแกนตเปนผังที่แสดงตารางเวลาการทํางานเทานั้น ตารางที่ 3.5 คือ ตัวอยาง<br />

มาตรฐานของ IEEE 1058-1998 ที่อธิบายเนื้อหาของแผนการบริหารโครงการซอฟตแวร (software<br />

project management Plan (SPMP))<br />

ตารางที่ 3.5 ตัวอยางเนื้อหาของ SPMP (Schwalbe, 2007)<br />

หัวขอใหญ<br />

หัวขอยอย<br />

ภาพรวม • จุดมุงหมายขอบเขตและวัตถุประสงค<br />

การจัดการโครงการ<br />

แผนกระบวนการเชิง<br />

บริหาร<br />

• สมมุติฐานและขอจํากัด<br />

• สิ่งที่ผลิตหรือทํา<br />

• สรุปงบประมาณและเวลาวิวัฒนาการของแผน<br />

• จุดประสานกับภายนอก<br />

• โครงสรางภายในบทบาทและความรับผิดชอบ<br />

• แผนการเริ่มโครงการ (การประมาณการ คณะทํางาน การไดทรัพยากร และการอบรบ<br />

คณะทํางาน)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-17<br />

หัวขอใหญ<br />

แผนกระบวนการทาง<br />

เทคนิค<br />

แผนกระบวนการ<br />

สนับสนุน<br />

หัวขอยอย<br />

• แผนงาน (กิจกรรม เวลา ทรัพยากร และการจัดสรรงบประมาณ)<br />

• แผนการควบคุม<br />

• แผนการบริหารความเสี่ยงแผนการปดโครงการ<br />

• ตัวแบบกระบวนการ<br />

• วิธีการ เทคนิค และเครื่องมือ<br />

• แผนโครงสรางพื้นฐานแผนการยอบรับผลิตภัณฑ<br />

• แผนการบริหารคอนฟกรูเรชัน<br />

• แผนการสอบทวนและตรวจสอบความถูกตอง<br />

• แผนจัดทําเอกสาร<br />

• การประกันคุณภาพ<br />

• การทบทวนและตรวจสอบ<br />

• แผนการแกปญหา<br />

• แผนการบริหารผูรับชวงแผนการปรับปรุงกระบวนการ<br />

3.5.3 การวิเคราะหผูมีสวนไดเสีย<br />

การวิเคราะหผูมีสวนไดเสียคือ การบันทึกขอมูลของผูที่เกี่ยวของหลักของโครงการ<br />

เชน ชื่อ หนวยงานของผูมีสวนไดเสียหลัก บทบาทของคนเหลานี้ในโครงการ ขอเท็จจริงเกี่ยวกับผูมีสวน<br />

ไดเสียแตละคน ระดับความสนใจในโครงการ อิทธิพลตอโครงการ และขอแนะนําสําหรับการจัดการ<br />

ความสัมพันธกับผูมีสวนไดเสียแตละคน เนื่องจากการวิเคราะหผูมีสวนไดเสียมีขอมูลที่ออนไหว จึงไม<br />

ควรรวมในแผนโครงการโดยรวม ในหลายกรณี การวิเคราะหนี้จะมีเฉพาะผูจัดการโครงการและสมาชิก<br />

หลักของโครงการเทานั้นที่เห็นขอมูล ตารางที่ 3.6 คือ ตัวอยางการวิเคราะหผูมีสวนไดเสีย ซึ่งเราจะเห็น<br />

ไดวาผูมีสวนไดเสียแตละคนมีลักษณะอยางไร ผูจัดการโครงการและทีมงานควรเตรียมการอยางไรจึงจะ<br />

ทํางานไดตามที่คนเหลานี้คาดหวัง<br />

ตารางที่ 3.6 ตัวอยางการวิเคราะหผูมีสวนไดเสีย (Schwalbe, 2007)<br />

ประพันธ นุสรา จุมพล ครรชิต สันติ<br />

องคการ ผูบริหารอาวุโส<br />

ภายใน<br />

ทีมงานโครงการ ทีมงานโครงการ ผูขายฮารดแวร ผูจัดการโครงการ<br />

ของโครงการอื่น<br />

ในองคการ<br />

บทบาทใน<br />

โครงการ<br />

ผูสนับสนุนโครงการ<br />

และเปนหนึ่งในผู<br />

กอตั้งบริษัท<br />

ผูเชี่ยวชาญ DNA หัวหนา<br />

โปรแกรมเมอร<br />

จัดหาเครื่องมือ<br />

อุปกรณบางอยาง<br />

เปนผูกอตั้งบริษัท<br />

คูแขงในเรื่อง<br />

ทรัพยากรองคการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-18<br />

ขอเท็จจริง เงียบ สั่ง ชอบ<br />

รายละเอียด เนน<br />

ธุรกิจ จบ MBA จาก<br />

แสตนฟอรด<br />

ประพันธ นุสรา จุมพล ครรชิต สันติ<br />

ปริญญาเอกทาง ฉลาดมาก เปน รูวาเราสามารถ<br />

ชีววิทยา ทํางาน โปรแกรมเมอรที่ดี ทําใหเขารวย ถา<br />

ดวยงาย ที่สุด มีอารมณขัน งานนี้สําเร็จ<br />

ใชเครื่องชวยเดิน<br />

เปนคนดี เปนหนึ่ง<br />

ในคนเกาแกที่สุด<br />

ของบริษัท มีลูก 3<br />

คนเรียนระดับ<br />

วิทยาลัย<br />

ระดับความ สูงมาก สูงมาก สูง สูงมาก ต่ํา - ปานกลาง<br />

สนใจ<br />

ระดับอิทธิพล สูงมาก สามารถ เปนผูเชี่ยวชาญใน สูง ยากที่จะหาคน ต่ํา ต่ํา - ปานกลาง<br />

ลมเลิกโครงการ เรื่องที่สําคัญตอ<br />

ความสําเร็จ<br />

แทน มีผูขายรายอื่น<br />

ขอเสนอแนะ<br />

เพื่อบริหาร<br />

ความสัมพันธ<br />

ใหเวลาที่เพียง<br />

พอที่จะสง<br />

ฮารดแวร<br />

รายงานอยาง<br />

สม่ําเสมอ ใหเปน<br />

ผูนําการสนทนา ทํา<br />

ในสิ่งที่เขาพูดอยาง<br />

รวดเร็ว<br />

ทําใหแนใจวาเธอ<br />

ไดทบทวน<br />

รายละเอียด<br />

ขอกําหนด และนํา<br />

การทดสอบ<br />

สามารถทํางาน<br />

บางอยางจากบาน<br />

พยายามทําใหเขา<br />

มีความสุขเพื่อให<br />

เขาอยูกับบริษัท<br />

ชอบอาหาร<br />

เม็กซิกัน<br />

เขารูวาโครงการ<br />

ของเขามี<br />

ความสําคัญนอย<br />

กวา แตเรา<br />

สามารถเรียนรู<br />

จากเขาได<br />

3.6 การปฎิบัติงานโครงการ<br />

การบริหารและการกํากับการปฏิบัติงานโครงการเกี่ยวของกับการจัดการและการทํางาน<br />

ตามที่ไดอธิบายในแผนการบริหารโครงการ เวลาสวนใหญของโครงการใชในการดําเนินโครงการ และ<br />

เปนงบประมาณสวนใหญของโครงการ ผูจัดการโครงการจําเปนตองเนนที่การนําทีมและบริหาร<br />

ความสัมพันธกับผูมีสวนไดเสีย เพื่อทําใหแผนบริหารโครงการประสบความสําเร็จ การบริหารทรัพยากร<br />

มนุษย และการบริหารการสื่อสารเปนสิ่งสําคัญที่จะทําใหโครงการประสบความสําเร็จดวย ถาโครงการ<br />

เกี่ยวของกับความเสี ่ยงขนาดใหญ หรือตองใชทรัพยากรจากภายนอก ผูจัดการโครงการจําเปนตอง<br />

เชี่ยวชาญในการบริหารความเสี่ยงและการจัดซื้อจัดจาง มีสถานการณที่ไมซ้ํากันหลายแบบเกิดขึ้น<br />

ระหวางการดําเนินโครงการ ดังนั้น ผูจัดการโครงการตองยืดหยุน และสรางสรรคในการจัดการกับ<br />

สถานการณตางๆ<br />

3.6.1 การวางแผนการประสานงานและการปฏิบัติงานตามแผน<br />

การบริหารการบูรณาการโครงการมองการวางแผนโครงการและการปฏิบัติงานเปน<br />

กิจกรรมที่ผูกกันและแยกกันไมออก เมื่อปฏิบัติงานแลว ผูจัดการโครงการอาจตองมีการปรับปรุงแผน<br />

บริหารโครงการ การปรับปรุงแผนควรสะทอนความรูที่ไดจากการทํางานที่เสร็จสมบูรณกอนหนานี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-19<br />

วิธีการแบบสามัญสํานึก (commonsense approach) เปนวิธีการทําใหการประสานงานระหวางการ<br />

พัฒนาแผนและการปฏิบัติงานดีขึ้น กลาวคือ ใครที่ทํางานใด ควรเปนผูวางแผนการทํางานนั้น ดังนั้น<br />

บุคลากรโครงการทั้งหมดจําเปนที่จะพัฒนาทั้งทักษะการวางแผนและการปฏิบัติงานโครงการ และ<br />

ตองการประสบการณในเรื่องเหลานี้<br />

3.6.2 การใหความเปนผูนําที่เขมแข็งและวัฒนธรรมเชิงสนับสนุน<br />

ความเปนผูนําที่เขมแข็ง และวัฒนธรรมองคการเชิงสนับสนุนเปนสิ่งที่สําคัญ<br />

ระหวางการดําเนินโครงการ ผูจัดการโครงการตองชักนําทีมงาน โดยการใชตัวอยางเพื่อแสดงใหเห็น<br />

ความสําคัญของการสรางแผนที่ดี และทําตามแผน ถาผูจัดการโครงการทําตามแผนที่ตนเองไดวางไว<br />

สมาชิกในทีมมีแนวโนมที่จะทําแบบเดียวกัน<br />

การดําเนินโครงการที่ดีตองการวัฒนธรรมองคการเชิงสนับสนุน เชน ถาองคการมี<br />

แนวทางที่มีประโยชนและมีแบบสําหรับการบริหารโครงการที่ทุกคนสามารถทําตาม มันจะเปนการงาย<br />

สําหรับผูจัดการโครงการและทีมงานที่จะวางแผนและทํางานของเขา ถาองคการใชแผนโครงการเปน<br />

ฐานสําหรับการทํางานและติดตามความกาวหนาระหวางการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมองคการแบบนี้จะ<br />

สงเสริมความสัมพันธระหวางการวางแผนและการปฏิบัติงาน ในทางกลับกัน ถาองคการไมวัด<br />

ความกาวหนาของงานกับแผน ผูจัดการโครงการและทีมงานจะผิดหวัง<br />

ถึงแมวาจะมีวัฒนธรรมองคการเชิงสนับสนุน บางครั้งผูจัดการโครงการจําเปนตอง<br />

แหกกฎเพื่อผลิตผลลัพธของโครงการใหทันเวลา เชน ถาโครงการหนึ่งตองใชซอฟตแวรที่ไมตรงกับ<br />

มาตรฐานขององคการ ผูจัดการโครงการตองใชทักษะทางการเมืองเพื่อโนมนาวผูมีสวนไดเสียที่เห็นวา<br />

ตองใชซอฟตแวรที่ไมตรงกับมาตรฐาน การแหกกฎองคการตองใชความเปนผูนําที่เกง การสื่อสาร และ<br />

ทักษะทางการเมือง<br />

3.6.3 การมีตนทุนความรูและประสบการณดานผลิตภัณฑ ธุรกิจ และระบบงาน<br />

ในการปฏิบัติงานตามแผน ผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศควรที่จะมี<br />

ประสบการณเชิงเทคนิคมากอน เชน ถาผูจัดการโครงการเคยเปนผูนําในการออกแบบระบบงานรวม<br />

(joint application design (JAD)) เพื่อกําหนดความตองการ ประสบการณนี้เปนประโยชนสําหรับ<br />

ผูจัดการโครงการที่จะเขาใจภาษาทางธุรกิจ และภาษาของผูเชี่ยวทางเทคนิค<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศหลายโครงการมีขนาดเล็ก ดังนั้น ผูจัดการโครงการ<br />

อาจตองทํางานเชิงเทคนิคบางงาน หรือเปนพี่เลี้ยงสมาชิกทีมงานเพื่อทํางานใหเสร็จ สําหรับโครงการ<br />

ขนาดใหญ ความรับผิดชอบพื้นฐานของผูจัดการโครงการคือ นําทีมและสื่อสารกับผูมีสวนไดเสียหลัก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-20<br />

ผูจัดการโครงการไมมีเวลาที่จะทํางานเชิงเทคนิคใดๆ ในกรณีนี้ ผูจัดการโครงการควรเขาใจธุรกิจและ<br />

ระบบงาน<br />

3.7 การติดตามและการควบคุมงานโครงการ<br />

การติดตามงานโครงการประกอบดวยการเก็บรวบรวมขอมูล การวัด การกระจายขอมูลการ<br />

ทํางาน และยังรวมถึงการประเมินการวัด และการวิเคราะหแนวโนมเพื่อกําหนดวาจะทําการปรับปรุง<br />

กระบวนการอะไร ทีมงานโครงการควรติดตามการทํางานของโครงการเพื่อประเมินสถานภาพโดยรวม<br />

และชี้ใหเห็นถึงสวนที่ตองการไดรับความใสใจเปนพิเศษ<br />

ในการติดตามและควบคุมโครงการตองใชขอมูลจากแผนการบริหารโครงการ ประสิทธิภาพ<br />

การทํางาน รายงานการปฏิบัติงาน และคําขอการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธที่สําคัญของการติดตามและการ<br />

ควบคุมงานคือ คําแนะนําการกระทําเพื่อการแกไข หรือการปองกัน ซึ่งจะชวยปรับปรุงประสิทธิภาพ<br />

โครงการ หรือลดความเสี่ยงที่เกี่ยวของ เชน ถาสมาชิกโครงการไมรายงานชั่วโมงการทํางาน การกระทํา<br />

เพื่อแกไขปญหาอาจเปนการแสดงใหสมาชิกคนนั้นเห็นวิธีการบันทึกขอมูล หรือบอกใหรูถึงเหตุผลวา<br />

ทําไมเขาจําเปนตองทํา สวนตัวอยางการกระทําเพื่อปองกัน เชน การปรับปรุงจอภาพของะบบการ<br />

ติดตามเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงขอผิดพลาดในอดีตที่คนทํากันบอยครั้ง<br />

3.8 การควบคุมการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ<br />

การควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่บูรณาการประกอบดวยการระบุ การประเมิน และการบริหาร<br />

การเปลี่ยนแปลงตลอดวงจรชีวิตโครงการ วัตถุประสงคที่สําคัญของการควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่<br />

บูรณาการ มี 3 ขอ คือ<br />

• สรางอิทธิพลตอปจจัยที่กอใหเกิดความเปลี่ยนแปลง เพื่อใหแนใจวาการเปลี่ยนแปลง<br />

นั้นเปนประโยชนตอโครงการและองคการ การเปลี่ยนแปลงทําใหผูจัดการโครงการและ<br />

ทีมงานตองแลกกับมิติที่สําคัญของโครงการเชน ขอบเขตงาน เวลา คาใชจาย และ<br />

คุณภาพ<br />

• การสื่อสารการเปลี่ยนแปลง ผูจัดการโครงการตองรูสถานภาพของแตละสวนของ<br />

โครงการตลอดเวลา ผูจัดการโครงการตองสื่อสารการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญกับผูบริหาร<br />

ระดับสูงและผูมีสวนไดเสียที่สําคัญ<br />

• การจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งเปนหนาที่ของผูจัดการโครงการและทีมงาน<br />

ผูจัดการโครงการตองดําเนินการอยางมีวินัยในการบริหารโครงการ เพื่อชวยลดจํานวน<br />

การเปลี่ยนแปลงที่เกิด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-21<br />

แผนการบริหารโครงการเปนบรรทัดฐานสําหรับการระบุ และการควบคุมการเปลี่ยนแปลง<br />

โครงการ ดังนั้น แผนบริหารโครงการที่เปนบรรทัดฐานคือ แผนการบริหารโครงการที่อนุมัติรวมกับการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่ไดรับการอนุมัติ ในแผนการบริหารโครงการประกอบดวยสวนที่อธิบายงานที่จะทําของ<br />

โครงการ ในสวนนี้ของแผนจะอธิบายถึงสิ่งสําคัญที่ตองทําออกมา (key deliverables) ผลผลิตของ<br />

โครงการ และความตองการดานคุณภาพ ในสวนของตารางการทํางานจะมีวันที่งานเสร็จตามแผน สวน<br />

แผนงบประมาณเปนคาใชจายที่วางแผนไวสําหรับการทําสิ่งที่สําคัญ สมาชิกในทีมตองเนนที่การสงมอบ<br />

งานตามแผนที่ไดวางไว ถาทีมงานหรือใครบางคนเปนสาเหตุใหเกิดการเปลี่ยนแปลงระหวางการดําเนิน<br />

โครงการ ทีมงานตองทบทวนแผนการบริหารโครงการ และใหผูสนับสนุนโครงการพิจารณาอนุมัติ แผนที่<br />

ไดรับการอนุมัติจะกลายเปนบรรทัดฐานใหมสําหรับการติดตามและควบคุมโครงการตอไป<br />

คํารองขอเปลี่ยนแปลงเปนสิ่งที่พบในโครงการและเกิดในหลายรูปแบบ อาจมาในรูปของการ<br />

พูด การเขียน อยางเปนทางการ หรือไมเปนทางการ เชน การขอเปลี่ยนแปลงการติดตั้งเครื่องบริการอาจ<br />

ไดรับการรองขอระหวางการประชุม เปนตน ถาการเปลี่ยนแปลงไมมีผลกระทบทางลบตอโครงการ<br />

ผูจัดการโครงการอาจตอบตกลง ณ ตอนนั้นก็ได<br />

อยางไรก็ตาม สิ่งสําคัญคือ ผูจัดการโครงการตองบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อหลีกเลี่ยง<br />

ปญหาที่อาจเกิดขึ้นไดในอนาคต สมาชิกทีมควรปรับปรุงแผนการดําเนินโครงการดวย แตการ<br />

เปลี่ยนแปลงหลายๆ เรื่องมีผลกระทบอยางมากตอโครงการ เชน ลูกคาเปลี่ยนใจเกี่ยวกับจํานวน<br />

ฮารดแวร และมีผลกระทบตอขอบเขต และคาใชจายของโครงการ ทีมงานตองนําเสนอการเปลี่ยนแปลง<br />

ที่สําคัญในรูปแบบของเอกสาร และควรมีกระบวนการทบทวนเปนทางการสําหรับการวิเคราะห และการ<br />

ตัดสินใจวาจะอนุมัติการเปลี่ยนแปลงเหลานี้หรือไม<br />

การเปลี่ยนแปลงเปนสิ่งหลีกเลี่ยงไมไดและเกิดกับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เชน การ<br />

เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงบุคลากร การเปลี่ยนแปลงลําดับความสําคัญ การควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลงอยางระมัดระวังจึงเปนปจจัยที่สําคัญตอความสําเร็จของโครงการ<br />

3.8.1 การควบคุมการเปลี่ยนแปลงโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

การบริหารการเปลี่ยนแปลงโครงการเปนกระบวนการสื่อสารและตอรองเกี่ยวของ<br />

กับวัตถุประสงคโครงการ และความคาดหวังของผูมีสวนไดเสียโครงการ การเปลี่ยนแปลงเปนสิ่งที่<br />

เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของโครงการ แตการเปลี่ยนแปลงอาจเปนประโยชนตอบางโครงการ เชน สมาชิก<br />

ทีมงานคนพบวา เทคโนโลยีทางดานฮารดแวรหรือซอฟตแวรใหมที่สามารถตอบสนองความตองการของ<br />

ลูกคาโดยใชเงินและเวลาที่นอยลงกวาเดิม ทีมงานและผูมีสวนไดเสียที่สําคัญควรเปดใหทําการ<br />

เปลี่ยนแปลงในโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-22<br />

ทุกโครงการมีการเปลี่ยนแปลง และการจัดการมันเปนสิ่งที่สําคัญในการบริหาร<br />

โครงการ โดยเฉพาะโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากโครงการประเภทนี้เกี่ยวของกับฮารดแวร<br />

และซอฟตแวรที่มีการปรับปรุงใหทันสมัยบอยๆ ผูจัดการโครงการควรสรางความคุนเคยกับการ<br />

เปลี่ยนแปลง เชน สรางความยืดหยุนใหกับแผนและการดําเนินโครงการ ลูกคาของโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศควรเปดโอกาสใหสามารถทําโครงการใหบรรลุวัตถุประสงคดวยวิธีตางๆ ถึงแมวา ผูจัดการ<br />

โครงการ ทีมงาน และลูกคาจะยืดหยุน แตการเปลี่ยนแปลงควรมีระบบการควบคุมการเปลี่ยนแปลง<br />

อยางเปนทางการ<br />

ระบบการควบคุมการเปลี่ยนแปลงเปนกระบวนการที่ไดกําหนดอยางเปนทางการที่<br />

อธิบายวา เมื่อไร และอยางไร ที่เอกสารโครงการที่เปนทางการอาจถูกเปลี่ยนแปลง และยังอธิบายวา<br />

ใครมีอํานาจที่จะทําการเปลี่ยนแปลง การบริหารคอนฟกรูเรชันเปนวิธีการที่ใชในการควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลง<br />

3.8.2 การบริหารคอนฟกรูเรชัน<br />

การบริหารคอนฟกรูเรชันเปนสวนที่สําคัญสวนหนึ่งของการควบคุมการเปลี่ยน<br />

แปลงที่บูรณาการ เพราะจะทําใหเราแนใจวารายละเอียดของผลิตภัณฑถูกตองและสมบูรณ การบริหาร<br />

คอนฟกรูเรชันประกอบดวยการระบุคอนฟกรูเรชัน (configuration identification) การควบคุมเวอรชัน<br />

(version control) การควบคุมการเปลี่ยนแปลง (change control) การตรวจสอบ (auditing) และการ<br />

รายงาน (reporting) ในกรณีที่เปนโครงการขนาดใหญ ผูจัดการโครงการอาจมอบหมายใหสมาชิกของ<br />

โครงการทําหนาที่บริหารคอนฟกรูเรชัน ซึ่งเรียกวาผูเชี่ยวชาญการบริหารคอนฟกรูเรชัน<br />

การระบุคอนฟกรูเรชัน<br />

คอนฟกรูเรชันคือ สิ่งตางๆ (items) ที่จัดทําขึ้นในชวงเวลาที่ระบบงานยังคง<br />

ถูกใชงาน ตัวอยางของคอนฟกรูเรชัน ไดแก ขอกําหนดเฉพาะของระบบ แผนการบริหารโครงการ<br />

ขอกําหนดความตองการของผูใช คูมือผูใช รายละเอียดการออกแบบระบบสารสนเทศ แผนการทดสอบ<br />

ผลการทดสอบ โปรแกรม คูมือการติดตั้ง รายละเอียดฐานขอมูล ขอมูล รายละเอียดคุณลักษณะของ<br />

ฮารดแวร และอุปกรณตางๆ เปนตน<br />

เพื่อการควบคุมคอนฟกรูเรชัน ทีมงานโครงการตองกําหนดรหัส พรอมกับชื่อ<br />

ของคอนฟกรูเรชันแตละชิ้น ซึ่งจะทําใหทีมงานสามารถอางอิงถึงคอนฟกรูเรชันไดตรงกัน ตัวอยางเชน<br />

714F-RTC-SRS<br />

714-MTEP<br />

โดยที่<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-23<br />

714 หมายถึง หมายเลขโครงการ<br />

RTC หมายถึง Real Time Control<br />

SRS หมายถึง Software Requirement Specification<br />

MTEP หมายถึง Master Test and Evaluation Plan<br />

การควบคุมเวอรชัน<br />

การควบคุมเวอรชันคือ การจัดการเวอรชันที่แตกตางกันของคอนฟกรูเรชันที่<br />

เกิดขึ้นระหวางที่ระบบยังใชงาน การควบคุมเวอรชันทําใหทีมงานสามารถบันทึกและตามรอยสถานภาพ<br />

ของคอนฟกรูเรชันที่สําคัญได วิธีการที่ควบคุมที่ใชกันมานานคือ การใชตัวเลขกํากับ ตัวอยางเชน 714F-<br />

RTC-SRS.2 และ714-MTEP.3 ตัวเลข 2 และ 3 ที่อยูหลังจุดคือ เวอรชันของเอกสาร<br />

ตระหนักถึงความตองการการเปลี่ยนแปลง<br />

ผูใชสงคําขอเปลี่ยนแปลง<br />

ผูพัฒนาประเมินสิ่งที่ผูใชขอเปลี่ยนแปลง<br />

สรางรายงานการเปลี่ยนแปลง<br />

ผูมีอํานาจความคุมการเปลี่ยนแปลงตัดสินใจ<br />

เขาคิวคําขอเปลี่ยนแปลงเพื่อดําเนินการ<br />

มอบหมายพนักงานใหทําการแกไขคอนฟกรูเรชัน<br />

ปฏิเสธคําขอเปลี่ยนแปลง<br />

แจงผูใช<br />

นําคอนฟกรูเรชันออกจากที่เก็บ<br />

ทําการเปลี่ยนแปลง<br />

ทบทวน/ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง<br />

ทําการประกันคุณภาพและกิจกรรมการทดสอบ<br />

นําคอนฟกรูเรชันที่เปลี่ยนแปลงแลวเขาที่เก็บ<br />

สรางซอฟตแวรเวอรชันใหม<br />

ทบทวน/ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง<br />

รูปที่ 3.3 กระบวนการควบคุมการเปลี่ยนแปลง (Pressman, 2005)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-24<br />

การควบคุมการเปลี่ยนแปลง<br />

การเปลี่ยนแปลงเปนสิ่งสําคัญและไมสามารถหลีกเลี่ยงได แตการเปลี่ยน<br />

แปลงเพียงเล็กนอยโดยโปรแกรมเพียงคนเดียวอาจทําใหระบบลมเหลวได สําหรับโครงการขนาดใหญ<br />

ถาปราศจากการควบคุมการเปลี่ยนแปลงจะทําใหเกิดความโกลาหลกับโครงการ การควบการเปลี่ยน<br />

แปลงจะมีคณะกรรมการควบคุมการเปลี่ยนแปลงซึ่งเปนกลุมคนที่แตงตั้งเปนทางการ เพื่อรับผิดชอบ<br />

การอนุมัติ หรือปฎิเสธการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดกับโครงการ หนาที่เบื้องตนของคณะกรรมการนี้คือ ให<br />

แนวทางสําหรับการเตรียมคําขอเปลี่ยนแปลง การประเมินคําขอเปลี่ยนแปลง และการบริหารการ<br />

ดําเนินการของการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับการอนุมัติ องคการควรมีผูมีสวนไดเสียหลักเปนกรรมการ และมี<br />

กรรมการอื่นๆ ที่หมุนเวียนตามความจําเปน ซึ่งแตกตางกันในแตละโครงการ สวนกระบวนการการ<br />

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงไดแสดงในรูปที่ 3.3<br />

กระบวนการควบคุมการเปลี่ยนแปลงเริ่มตนดวยผูใชสงคําขอเปลี่ยนแปลง<br />

และคําขอนั้นจะถูกประเมินทั้งทางดานเทคนิค ผลกระทบที่เกิดขึ้น และคาใชจายสําหรับการ<br />

เปลี่ยนแปลงนั้น ผูประเมินจัดทํารายงานผลการประเมินใหผูมีอํานาจควบคุมการเปลี่ยนแปลงเปนผู<br />

ตัดสินใจ และกําหนดลําดับความสําคัญของการเปลี่ยนแปลง ถาคําขอเปลี่ยนแปลงไดรับอนุมัติ พรอม<br />

ทั้งออกคําสั่งการเปลี่ยนแปลง ผูที่ไดรับมอบหมายจะมีสิทธิ์ที่จะไปนําคอนฟกรูเรชันที่เกี่ยวของออกจาก<br />

ฐานขอมูลโครงการโดยผานกระบวนการควบคุมการเขาถึงคอนฟกรูเรชัน หลังจากผานการตรวจสอบ<br />

ระบบเรียบรอยแลว ทีมงานจึงปลอยระบบเวอรชันใหมใหกับผูใช<br />

คอนฟกรูเรชันอ็อบเจกต<br />

(เวอรชันที่แกไขแลว)<br />

คอนฟกรูเรชัน อ็อบเจกต<br />

(เวอรชันบรรทัดฐาน)<br />

คอนฟกรูเรชันอ็อบเจกต<br />

(เวอรชันที่คัดออกมา)<br />

คอนฟกรูเรชัน อ็อบเจกต<br />

(เวอรชันบรรทัดฐาน)<br />

รูปที่ 3.4 ตัวอยางการควบคุมการเขาถึงคอนฟกรูเรชั่น (Pressman, 2005)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-25<br />

รูปที่ 3.4 เปนตัวอยางกระบวนการควบคุมการเขาถึงคอนฟกรูเรชั่น การนํา<br />

สิ่งที่เปนบรรทัดฐานออกไปทําการแกไขจะสามารถดําเนินการนําออกไปไดเพียงคนเดียว คนอื่นจะ<br />

สามารถนําสิ่งที่เปนบรรทัดฐานนี้ออกไปไดก็ตอเมื่อคนแรกไดนําเอาสิ่งที่เปนบรรทัดฐานที่ผานการตรวจ<br />

สอบแลวเขามาเก็บในฐานขอมูลโครงการ คอนฟกรูเรชันที่เปลี่ยนแปลงและผานการตรวจสอบความ<br />

ถูกตองจะไดรับการกําหนดหมายเลขเวอรชันใหใหม ทั้งนี้เพื่อปองกันไมใหเกิดขอผิดพลาดในคอนฟกรูเร<br />

ชัน<br />

การตรวจสอบคอนฟกรูเรชัน<br />

การระบุ การควบคุมเวอรชัน และการควบคุมการเปลี่ยนแปลงชวยให<br />

ทีมงานสามารถรักษาระเบียบของคอนฟกรูเรชันได มิฉะนั้นแลวโครงการจะเกิดสภาพวุนวาย อยางไรก็<br />

ตาม เราจะแนใจไดอยางไรวาการเปลี่ยนแปลงไดรับดําเนินการอยางเหมาะสม คําตอบคือ เราตอง<br />

ตรวจสอบวาการเปลี่ยนแปลงไดรับการปรับปรุงแกไขถูกตองหรือไม ซึ่งเราตั้งคําถามตอไปนี้<br />

• การเปลี่ยนแปลงที่ระบุในคําสั่งการเปลี่ยนแปลงไดรับการดําเนินการ<br />

หรือไม มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอื่นๆ รวมอยูหรือไม<br />

• มีการใชวิธีการทบทวนแบบเปนทางการเพื่อประเมินความถูกตองทาง<br />

เทคนิคหรือไม<br />

• มีการดําเนินการตามกระบวนการพัฒนาซอฟตแวร หรือตามมาตรฐานที่<br />

กําหนดหรือไม<br />

• มีการเนนสิ่งที่เปลี่ยแปลงในคอนฟกรูเรชันหรือไม มีการระบุวันที่<br />

เปลี่ยนแปลง ชื่อผูเปลี่ยนแปลงหรือไม<br />

• มีการจดบันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงหรือไม<br />

• คอนฟกรูเรชันที่เกี่ยวของไดรับการปรับปรุงอยางเหมาะสมหรือไม<br />

การรายงานสถานภาพของคอนฟกรูเรชัน<br />

การรายงานสถานภาพนี้เปนการรายงานวา เกิดอะไรขึ้น ใครทํา ทําเมื่อไร<br />

และเรื่องอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบตอคอนฟกรูเรชัน เสนทางไหลของสารสนเทศสําหรับการรายงานนี้ได<br />

แสดงในรูปที่ 3.3 แตละครั้งที่คอนฟกรูเรชันที่การกําหนดรหัสใหม แตละครั้งที่มีการอนุมัติการ<br />

เปลี่ยนแปลง หรือแตละครั้งที่มีการดําเนินการตรวจสอบคอนฟกรูเรชัน ตองมีการรายงานการดําเนินการ<br />

ทุกครั้ง รายงานนี้จะจัดเก็บเขาฐานขอมูลเพื่อใหผูเกี่ยวของสามารถเรียกใชขอมูลการเปลี่ยนแปลงได ซึ่ง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-26<br />

จะชวยใหขจัดปญหาที่แตละคนไมรูวาใครทําอะไร และสิ่งนั้นมีการเปลี่ยนไปเปนอะไร เมื่อไร ดังนั้น การ<br />

สื่อสารระหวางบุคคลจะไดรับการปรับปรุงใหดีขึ้น<br />

ผูจัดการโครงการควรใชรายงานการปฎิบัติงานทั้งทางวาจาและเขียน เพื่อ<br />

ชวยกําหนดและจัดการการเปลี่ยนแปลงโครงการ การสื่อสารอยางไมเปนทางการก็เปนการสื่อสารที่<br />

สําคัญเชนเดียวกัน ผูจัดการโครงการอาจจัดใหมีการประชุมแบบยืนอาทิตยละครั้ง เพื่อสื่อสารสิ่งที่<br />

สําคัญที่สุดตอโครงการอยางรวดเร็ว<br />

การสื่อสารเปนสิ่งที่สําคัญสําหรับโครงการเพื่อแจงและประสานขอมูลที่<br />

ทันสมัยที่สุด ผูจัดการโครงการมีหนาที่ที่จะบูรณาการการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของโครงการ เพื่อให<br />

โครงการยังคงอยูกับรองกับรอย ผูจัดการโครงการ และทีมงานตองพัฒนาระบบเพื่อแจงทุกคนที่ไดรับ<br />

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงไดทันเวลา<br />

3.9 การปดโครงการ<br />

กระบวนการสุดทายของการบริหารการบูรณาการโครงการคือ การปดโครงการ เพื่อทําการปด<br />

โครงการ ผูจัดการโครงการตองจบทุกกิจกรรมและสงมอบงานที่สมบูรณหรืองานที่ถูกยกเลิกไปยังบุคคล<br />

ที่เหมาะสม ผลลัพธหลักของการปดโครงการมีดังนี้<br />

• ขั้นตอนการปดเชิงบริหาร ทีมงานและผูมีสวนไดเสียพัฒนากระบวนการปดโครงการ<br />

เปนขั้นเปนตอน โดยเฉพาะอยางยิ่งขั้นตอนการปดโครงการควรกําหนดกระบวนการ<br />

อนุมัติสําหรับสิ่งที่สงมอบทั้งหมด<br />

• ขั้นตอนการปดสัญญา หลายๆ โครงการมีสัญญาซึ่งเปนขอตกลงที่ผูกพันทางกฎหมาย<br />

กระบวนการปดสัญญาอธิบายวิธีการสําหรับทําใหแนใจวาสัญญาสมบูรณ รวมทั้งการ<br />

สงมอบสินคาและบริการและการจายเงิน<br />

• ผลิตภัณฑ หรือบริการสุดทาย ผูสนับสนุนโครงการสนใจวาผลิตภัณฑและบริการที่<br />

ไดรับตรงตามที่คาดไวเมื่อตอนที่อนุมัติโครงการ ผูจัดการโครงการตองดําเนินการให<br />

ไดรับการยอมรับในผลิตภัณฑหรือบริการอยางเปนทางการ<br />

• ปรับปรุงทรัพยสินกระบวนขององคการ ทีมงานควรเตรียมรายการเอกสารโครงการ<br />

ขอมูลในอดีตที่ถูกสรางในรูปแบบที่มีประโยชน สารสนเทศที่ไดจากขอมูลในอดีตนี้ถือ<br />

วา เปนทรัพยสินจากกระบวนการ เชน ทีมงานเขียนรายงานบทเรียนที่ไดเรียนรูเมื่อ<br />

สิ้นสุดโครงการ และสารสนเทศนี้เปนทรัพยสินที่มีประโยชนอยางใหญหลวงสําหรับ<br />

โครงการในอนาคต<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-27<br />

3.10 สรุป<br />

การบริหารการบูรณาการเปนองคความรูที่มีความสําคัญที่สุด เพราะเปนองคความรูที่ผูกองค<br />

ความรูอื่นๆ ทั้งหมดเขาดวยกัน ผูจัดการโครงการควรเนนที่องคความรูสวนนี้<br />

กอนการเลือกโครงการมาดําเนินการ องคการควรทําตามกระบวนการวางแผนเชิงยุทธศาสตร<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรสนับสนุนยุทธศาสตรเชิงธุรกิจโดยรวม เทคนิคที่นิยมใชในการเลือก<br />

โครงการประกอบดวยการมุงเนนความตองการองคการแนวกวาง การจัดกลุมโครงการ การทําการ<br />

วิเคราะหทางการเงิน การพัฒนาตัวแบบการใหคะแนนแบบถวงน้ําหนัก และการใชบัตรคะแนนสมดุล<br />

การบริหารการบูรณาการโครงการประกอบดวยกระบวนการพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ<br />

กระบวนการพัฒนาขอบเขตงานเบื้องตน กระบวนการพัฒนาแผนการบริหารโครงการ กระบวนการ<br />

กํากับและบริหารการดําเนินโครงการ กระบวนการติดตามและควบคุมงานโครงการ กระบวนการ<br />

ดําเนินการควบคุมการเปลี่ยนแปลงแบบบูรณาการ และกระบวนการปด<br />

เพื่อใหการบูรณางานตางๆ ของโครงการราบรื่น ผูจัดการโครงการควรทําการวิเคราะหผูมีสวน<br />

ไดเสียโครงการ เนื่องจากบุคคลเหลานี้มีอิทธิพลทั้งทางบวกและลบตอโครงการ อยางไรก็ตามขอมูลการ<br />

วิเคราะหผูมีสวนไดเสียเปนขอมูลที่ออนไหว ผูจัดการโครงการไมควรรวมอยูในแผนบริหารโครงการ<br />

ระหวางการดําเนินโครงการ ผูจัดการตองกํากับและบริหารการดําเนินโครงการ กระบวนการ<br />

ดังกลาวจําเปนตองมีการวางแผนประสานงานและการดําเนินการตามแผน การใหความเปนผูนําที่<br />

เขมแข็งและวัฒนธรรมเชิงสนับสนุน และการมีตนทุนความรูและประสบการณดานผลิตภัณฑ และดาน<br />

ระบบงาน<br />

สําหรับกระบวนการควบคุมการเปลี ่ยนแปลงแบบบูรณาการควรมีการบริหารคอนฟกรูเรชัน<br />

โดยมีคณะกรรมการเปนกลุมคนที่แตงตั้งเปนทางการ เพื่อรับผิดชอบการอนุมัติการเปลี่ยนแปลง สวน<br />

การบริหารคอนฟกรูเรชันประกอบดวยการระบุคอนฟกรูเรชัน การควบคุมเวอรชัน การควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลง การตรวจสอบ และการรายงาน<br />

คําถามทายบท<br />

1. อธิบายการบริหารการบูรณาการโครงการ<br />

2. การบริหารการบูรณาการโครงการมีความสัมพันธอยางไรกับวงจรชีวิตการพัฒนาโครงการ<br />

3. อธิบายพอสังเขปถึงกระบวนการการวางแผนเชิงยุทธศาสตร<br />

4. จงใชขอมูลที่ใหคํานวณหาคา ROI NPV และระยะเวลาคืนทุน<br />

สมมุติวาโครงการมีคาใชจายและกําไรภายใน 4 ปดังนี้<br />

ปที่ 1 มีคาใชจาย 100,000 บาท ในปที่ 2-4 มีคาใชจายปละ 25,000 บาท<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการบูรณาการโครงการ หนา 3-28<br />

ปที่ 1 ประมาณการวากําไรที่ไดเปนศูนย ปถัดไปคาดวาจะไดกําไรปละ 80,000 บาท<br />

อัตราสวนลดเปน 8%<br />

5. เพราะเหตุใดเอกสารสิทธิ์โครงการและขอบเขตโครงการเบื้องตนจึงทําใหเกิดการบรูณาดาน<br />

ตางๆ ของโครงการ<br />

6. จงอธิบายการบริหารคอนฟกรูเรชัน<br />

7. เพราะเหตุใดการควบคุมการเปลี่ยนแปลงจึงเปนปจจัยที่สงผลถึงความสําเร็จของโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-1<br />

4.1 บทนํา<br />

สิ่งที่ยากที่สุดอยางหนึ่งในการบริหารโครงการคือ การกําหนดขอบเขตโครงการ ขอบเขต<br />

หมายถึงงานทั้งหมดที่เกี่ยวของกับการสรางผลิตผล (product) ของโครงการ และกระบวนการที่นํามาใช<br />

ในการสรางขอบเขต สิ่งที่สงมอบ (deliverable) หมายถึง ผลิตผลที่ไดจัดทําขึ้นเปนสวนหนึ่งของโครงการ<br />

สวนสิ่งที่สงมอบที่เกี่ยวของกับผลิตผลอาจเปนฮารดแวรหรือซอฟตแวร สวนที่สงมอบที่เกี่ยวกับ<br />

กระบวนการ ไดแก เอกสารการวางแผน หรือรายงานการประชุม ผูมีสวนไดเสียโครงการตองตกลงกันวา<br />

ผลิตผลของโครงการคืออะไร<br />

การบริหารขอบเขตโครงการประกอบดวยกระบวนการกําหนดและการควบคุมวาอะไรที่รวม<br />

หรือไมรวมในโครงการ เพื่อใหแนใจวาทีมงานและผูมีสวนไดเสียโครงการมีความเขาใจตรงกันวาโครงการ<br />

จะผลิตผลิตผลอะไร และกระบวนการอะไรที่ทีมงานจะใชในการสรางผลิตผล กระบวนการบริหาร<br />

โครงการมี 5 กระบวนการ คือ<br />

• การวางแผนขอบเขต (scope planning) เกี่ยวของกับการตัดสินใจวาจะกําหนด สอบ<br />

ทวน และควบคุมขอบเขตอยางไร และโครงสรางจําแนกงานจะสรางอยางไร ผลลัพธ<br />

หลักของกระบวนการวางแผนขอบเขตโครงการคือ แผนการบริหารขอบเขต<br />

• การกําหนดขอบเขต (scope definition) เกี่ยวของกับการทบทวนเอกสารสิทธิ์โครงการ<br />

และขอกําหนดขอบเขตเบื้องตนที่ไดสรางขึ้นระหวางกระบวนการริเริ่ม และระหวาง<br />

กระบวนการวางแผน รวมทั้งคําขอเปลี่ยนแปลงที่ไดรับการอนุมัติ ผลลัพธหลักของการ<br />

กําหนดขอบเขตคือ ขอกําหนดขอบเขตโครงการ คําขอการเปลี่ยนแปลง และแผนการ<br />

บริหารโครงการที่ไดปรับปรุง<br />

• การสรางโครงสรางจําแนกงาน (creating the Work Breakdown Structure (WBS))<br />

เกี่ยวของกับการจําแนกสิ่งสงมอบหลักของโครงการใหเล็กลง ใหสามารถจัดการได<br />

ผลลัพธสําคัญของกระบวนการคือ โครงสรางจําแนกงาน<br />

• การทวนสอบขอบเขต (scope verification) เกี่ยวของกับการยอมรับขอบเขตงาน<br />

อยางเปนทางการ ผูมีสวนไดเสียหลักของโครงการ (เชน ลูกคา และผูสนับสนุนโครงการ)<br />

ทําการตรวจตรา และรับสิ่งที่สงมอบของโครงการอยางเปนทางการ ถาสิ่งที่สงมอบไม<br />

สามารถยอมรับได ลูกคาหรือผูมีสวนไดเสียจะขอใหเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะกลายเปน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-2<br />

คําแนะนําสําหรับการแกไข ผลลัพธหลักของกระบวนการคือ สิ่งที่สงมอบที่ไดรับการ<br />

ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงที่รองขอ และการแกไขที่ไดรับจากคําแนะนํา<br />

• การควบคุมขอบเขต (Scope Control) เกี่ยวของกับการควบคุมการเปลี่ยนแปลง<br />

ขอบเขตโครงการ ซึ่งเปนสิ่งที่ทาทายตอโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ การควบคุม<br />

ขอบเขตรวมถึงการกําหนด การประเมิน และการทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงขอบเขต<br />

โครงการตามที่ไดรับอนุมัติในขณะที่โครงการเดินหนา การเปลี่ยนแปลงขอบเขตมักมี<br />

ผลกระทบตอความสามารถของทีมงานที่จะทํางานใหสอดคลองกับเวลาและคาใชจาย<br />

โครงการ ดังนั้น ผูจัดการโครงการตองชั่งน้ําหนักใหดีระหวางคาใชจายกับประโยชนที่ได<br />

จากการเปลี่ยนแปลงขอบเขตโครงการ ผลลัพธหลักของกระบวนการคือ คําขอการ<br />

เปลี่ยนแปลง การแกไขตามคําแนะนํา และขอกําหนดขอบเขตโครงการที่ปรับปรุง<br />

โครงสรางจําแนกงาน และพจนานุกรมโครงสรางจําแนกงาน ขอบเขตงานที่เปนบรรทัด<br />

ฐาน (baseline) แผนการบริหารโครงการ<br />

4.2 การวางแผนขอบเขต และแผนการบริหารขอบเขต<br />

ขั้นตอนแรกของการบริหารขอบเขตโครงการคือ การวางแผนขอบเขต ปจจัยดานขนาด ความ<br />

ซับซอน ความสําคัญและปจจัยอื่นๆ จะกระทบตอความพยายามที่ตองใชในการวางแผนโครงการ เชน<br />

การทํางานของทีมงานเพื่อยกระดับระบบบัญชีองคการทั้งหมดที่มีสาขามากกวา 50 แหง และกระจายไป<br />

ทั่วประเทศ ควรใชเวลาจํานวนที่เหมาะสมในการวางแผนขอบเขต โครงการที่ยกระดับฮารดแวรและ<br />

ซอฟตแวรสําหรับบริษัทบัญชีขนาดเล็กที่มีพนักงานเพียง 5 คนมีความจําเปนตองใชแรงงานที่นอยกวาใน<br />

การวางแผนขอบเขต ไมวาจะเปนกรณีใด ทีมงานตองตัดสินใจวาจะกําหนดขอบเขตอยางไร พัฒนา<br />

ขอกําหนดขอบเขตที่ละเอียด สรางโครงสรางจําแนกงาน ทวนสอบขอบเขต และควบคุมขอบเขต<br />

ผลลัพธที่สําคัญของการวางแผนขอบเขตคือ แผนการบริหารขอบเขต ซึ่งเปนเอกสารที่รวม<br />

คําอธิบายวาทีมควรจะเตรียมขอกําหนดขอบเขตโครงการอยางไร จะสรางโครงสรางจําแนกงานอยางไร<br />

จะทวนสอบความสมบูรณสิ่งที่สงมอบอยางไร และจะควบคุมคําขอการเปลี่ยนแปลงขอบเขตอยางไร<br />

ตารางที่ 4.1 เปนตัวอยางของแผนการบริหารขอบเขตโครงการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ขอมูลที่นํามาใชในการวางแผนการบริหารขอบเขตโครงการคือ เอกสารสิทธิ์โครงการ (project<br />

charter) ขอกําหนดขอบเขตเบื้องตน และแผนการบริหารโครงการ สวนตารางที่ 4.2 แสดงเอกสารสิทธิ์<br />

โครงการ เอกสารนี้ใหขอมูลพื้นฐานสําหรับการตัดสินใจ โดยอธิบายเปาหมายขอบเขตอยางกวางๆ<br />

วิธีการโดยรวมที่จะบรรลุเปาหมายโครงการ และบทบาทความรับผิดชอบหลักของผูมีสวนไดเสียที่สําคัญ<br />

ของโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-3<br />

ตารางที่ 4.1 ตัวอยางของแผนการบริหารขอบเขตโครงการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

(Schwalbe, 2007)<br />

แผนการบริหารขอบเขต<br />

11 มีนาคม 2548<br />

ชื่อโครงการ: โครงการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

บทนํา<br />

จุดมุงหมายของเอกสารนี้คือ เพื่อใหคําแนะนําและแนวทางสําหรับการเตรียมเอกสารการบริหารโครงการที่สําคัญที่<br />

เกี่ยวของกับโครงการ<br />

การเตรียมขอกําหนดขอบเขต<br />

ขอกําหนดขอบเขตเบื้องตนจะเปนพื้นฐานสําหรับการเตรียมขอกําหนดโครงการที่ละเอียดมากขึ้น ขอกําหนดขอบเขต<br />

จําเปนตองไดรับการทบทวนโดยผูมีสวนไดเสียหลัก โดยเฉพาะอยางยิ่ง ผูสนับสนุนโครงการ ผูขายที่มีศักยภาพ และผูใชสิ่ง<br />

ที่โครงการสงมอบ ขอกําหนดขอบเขตจัดทําตามแมแบบที่บริษัทมีให และตองแนใจวามีผูเชี่ยวชาญใสขอมูลในการกําหนด<br />

ขอบเขต เนื่องจากขอกําหนดขอบเขตจะมีรายละเอียดมากขึ้นและยาวขึ้นเมื่อโครงการกาวหนา ดังนั้น จึงควรมีการจํากัด<br />

ความยาว สวนรายละเอียดของขอกําหนดขอบเขตใหใสเปนเอกสารแนบ เชน คําอธิบายผลิตภัณฑ คุณลักษณะ มาตรฐาน<br />

องคการ เปนตน ขอกําหนดขอบเขตแตละเวอรชันตองมีขอความบอกชัดเจน รวมทั้งวันที่ เพื่อใหแนใจวาทุกคนใช<br />

ขอกําหนดขอบเขตเวอรชันลาสุด การเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมจะตองเนนใหเห็นชัดเจน และสื่อสารไปยังบุคคลที่เหมาะสม<br />

ขอกําหนดขอบเขตจะเปดเผยบนเวบไซตของโครงการโดยมีการปองกันดวยรหัสลับ<br />

การสรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

ทีมงานโครงการจะทํางานรวมกันเพื่อสรางโครงสรางจําแนกงาน ผูสนับสนุนโครงการและคณะกรรมการกํากับจะทบทวน<br />

โครงสรางจําแนกงาน เพื่อใหแนใจวางานที่ตองทําใหเสร็จสมบูรณของโครงการถูกรวมในโครงสรางจําแนกงาน ทีมงาน<br />

โครงการจะทบทวนโครงสรางจําแนกงานของโครงการที่มีลักษณะที่คลายกัน ทบทวนแนวทางการจําแนกโครงสรางงาน<br />

ขององคการ และเนนที่การกําหนดสิ่งที่สงมอบทั้งหมดที่ตองการของโครงการ ทีมงานโครงการจะกําหนดงานที่ตองทํา<br />

สําหรับสิ่งสงมอบแตละชิ้น ซึ่งจะไดรับการทบทวนและตกลงโดยผูจัดการโครงการ ผูสนับสนุนโครงการ และคณะกรรมการ<br />

กํากับ แนวทางโดยทั่วไปที่ใชสําหรับการกําหนดระดับรายละเอียดคือ ระดับลางสุดของโครงสรางจําแนกงาน โดยปกติควร<br />

จะใชเวลาไมเกิน 2 อาทิตยในการทํางานใหเสร็จ โครงสรางจําแนกงานสามารถแกไขไดตามความจําเปน และตองไดรับการ<br />

อนุมัติจากผูสนับสนุนโครงการ และคณะกรรมการกํากับ<br />

การทวนสอบความสมบูรณของสิ่งสงมอบของโครงการ<br />

ผูจัดการโครงการจะทํางานรวมกับผูสนับสนุนโครงการ และคณะกรรมการกํากับเพื่อพัฒนากระบวนการสําหรับการทวน<br />

สอบความสมบูรณของสิ่งที่สงมอบ โดยทั่วไป ผูสนับสนุนโครงการจะรับหนาที่การสอบทวนความสมบูรณของสิ่งที่สงมอบ<br />

หลัก ผูบริหารสัญญาจะเขามาเกี่ยวของในการทวนสอบความสมบูรณของสิ่งสงมอบที่มาจากแหลงภายนอก สัญญาจะมี<br />

ขอความที่อธิบายกระบวนการทวนสอบขอบเขตโครงการ<br />

การบริหารคําขอการเปลี่ยนแปลงขอบเขตโครงการ<br />

ทุกคําขอการเปลี่ยนแปลงขอบเขตโครงการที่อาจมีผลกระทบที่มีนัยสําคัญตอความตองการและระยะเวลาของโครงการ<br />

ตองทําตามขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงที่เปนทางการตามที่ระบุในเอกสารแนบ แบบฟอรมคําขอเปลี่ยนแปลงจะไดรับการ<br />

ทบทวน โดยกลุมคนที่ไดรับการมอบหมาย ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเปนสิ่งที่สําคัญเพื่อปองกันไมใหขอบเขตโครงการขยาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-4<br />

ตารางที่ 4.2 ตัวอยางเอกสารสิทธิ์โครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

ชื่อโครงการ: โครงการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

วันที่เริ่มโครงการ: 15 มกราคม 2549 วันที่สิ้นสุดโครงการ: 15 กันยายน 2549<br />

ผูจัดการโครงการ: ศุภชัย รุงโรจน โทร: 02-456-7890 อีเมล: supachai@hotmail.com<br />

วัตถุประสงคโครงการ: เพื่อยกระดับฮารดแวรและซอฟตแวรสําหรับพนักงานประมาณ 2,000 คน ภายใน 8 เดือน ตาม<br />

มาตรฐานใหมของบริษัทดังเอกสารประกอบ การยกระดับอาจสงผลตอเครื่องบริการ (server) รวมทั้งเครื่อขาย ฮารดแวร<br />

และซอฟตแวร งบประมาณสําหรับฮารดแวรและซอฟตแวรคือ 40,000,000 บาท และงบประมาณสําหรับคาแรงคือ<br />

1,000,000 บาท<br />

วิธีการ:<br />

• ปรับปรุงฐานขอมูลรายการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยูใหถูกตอง เพื่อกําหนดความจําเปนที่ตองยกระดับ<br />

• ประมาณการรายละเอียดคาใชจายสําหรับโครงการ และรายงานใหผูบริหารระดับสูงดานเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

• ออกคําขอขอเสนอราคาฮารดแวรและซอฟตแวร<br />

• ใชพนักงานภายในใหมากที่สุดเทาที่จะเปนไปไดสําหรับการวางแผน วิเคราะห และติดตั้ง<br />

บทบาทและความรับผิดชอบ<br />

ชื่อ บทบาท ความรับผิดชอบ<br />

ธนินทร วรประเสริฐ กรรมการผูจัดการ สนับสนุนโครงการ ติดตามโครงการ<br />

ปญญา วารี ผูบริหารระดับสูงดานเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ<br />

ติดตามโครงการ จัดหาพนักงานโครงการ<br />

ศุภชัย รุงโรจน ผูจัดการโครงการ วางแผน และดําเนินการโครงการ<br />

สาธิต กิจจา ผูอํานวยการการปฎิบัติงาน<br />

เทคโนโลยีและสารสนเทศ<br />

นฤมล จันทนหอม<br />

รองประธานดานทรัพยากรมนุษย<br />

พี่เลี้ยงศุภชัย รุงโรจน<br />

จัดพนักงานโครงการ ออกบันทึกความจําถึง<br />

พนักงานทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการ<br />

รัชนี กลิ่นจันทน ผูอํานวยการจัดซื้อ ชวยเหลือในการซื้อฮารดแวรและซอฟตแวร<br />

ลายเซ็นของบุคคลขางตน<br />

ธนินทร วรประเสริฐ ศุภชัย รุงโรจน นฤมล จันทนหอม<br />

ปญญา วารี สาธิต กิจจา รัชนี กลิ่นจันทน<br />

ความคิดเห็น:<br />

“โครงการนี้ตองทําเสร็จภายใน 9 เดือนไมชากวานี้” ปญญา วารี ผูบริหารระดับสูงดานเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

“เรามีสมมุติฐานวามีพนักงานเพียงพอและรับปากวาจะสนับสนุนโครงการนี้ งานตองทําสร็จในเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงการ<br />

ขัดจังหวะ และใหทํางานนอกเวลา ” ปญญา วารี และศุภชัย รุงโรจน ฝายเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-5<br />

เอกสารขนาดสั้นนี้มีสารสนเทศสําคัญจะชวยผูจัดการโครงการและทีมงานในการวางแผนการ<br />

บริหารโครงการ นอกจากนี้ ยังมีขอมูลอื่นที่กระทบตอการบริหารขอบเขตอยางไร เชน ขอมูลทางดาน<br />

นโยบายและขั้นตอนการทํางานที่เกี่ยวของกับการวางแผน ขอมูลในอดีตของโครงการกอนหนานี้ ปจจัย<br />

ทางสภาพแวดลอม เชน โครงสรางขององคการหรือเงื่อนไขการตลาด<br />

เทคนิคและเครื่องมือที่ใชสําหรับการวางแผนขอบเขตคือ แมแบบ (template) และมาตรฐาน<br />

รวมทั้งความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ เชน ถาโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาฐานขอมูล สมาชิกทีมงานตอง<br />

ตัดสินใจวา จะใชการวิเคราะหและออกแบบระบบมาตรฐานวิธีใด เชน การสรางผัง E-R การใชยูสเคส<br />

การใชผังการไหลขอมูล และอื่นๆ เพื่อชวยบันทึกขอบเขต ความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญถูกนํามาใชเพื่อ<br />

ชวยตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการบริหารขอบเขตโครงการ เชน องคการมักจางผูเชี่ยวชาญจากภายนอก<br />

เพื ่อประเมินและแนะนําซอฟตแวรสําเร็จรูป และชวยในการบริหารการซื้อและติดตั้งซอฟตแวรใหม<br />

4.3 การกําหนดขอบเขต และขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

ขั้นตอนตอไปของการบริหารขอบเขตโครงการคือ การกําหนดงานที่โครงการตองทํา การ<br />

กําหนดขอบเขตที่ดีมีความสําคัญตอความสําเร็จของโครงการอยางมาก เพราะมันชวยทําใหเกิดความ<br />

แมนยําในเรื่องเวลา คาใชจาย และการประมาณการทรัพยากร ขอบเขตที่ดีชวยเปนบรรทัดฐาน<br />

(baseline) สําหรับการวัดประสิทธิภาพ และควบคุมโครงการ และยังชวยการสื่อสารงานและความ<br />

รับผิดชอบที่ชัดเจน เครื่องมือและเทคนิคที่ใชในการกําหนดขอบเขตคือ การวิเคราะหผลิตผล การกําหนด<br />

ทางเลือกในการทํางาน ความเขาใจและการวิเคราะหความตองการของผูมีสวนไดเสียโครงการ และการใช<br />

ดุลพินิจของผูเชี่ยวชาญ ผลลัพธของการกําหนดขอบเขตโครงการคือ ขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

ดังที่ไดอธิบายในเรื่องการบริหารการบูรณาการโครงการ ทีมงานโครงการพัฒนาขอกําหนด<br />

ขอบเขตเบื้องตนในขั้นตอนการริเริ่มโครงการ ซึ่งเปนสวนหนึ่งขององคความรูดานการบริหารการบูรณา<br />

การโครงการ เอกสารนี้ พรอมดวยเอกสารสิทธิ์โครงการ นโยบาย ขั้นตอน และคําขอเปลี่ยนแปลงที่อนุมัติ<br />

เปนขอมูลพื้นฐานสําหรับการสรางขอกําหนดขอบเขตโครงการ ตารางที่ 4.3 เปนตัวอยางขอกําหนด<br />

ขอบเขตโครงการเบื้องตน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-6<br />

ตารางที่ 4.3 ตัวอยางขอกําหนดขอบเขตโครงการเบื้องตน (Schwalbe, 2007)<br />

ชื่อโครงการ: โครงการบริหารอินทราเน็ต<br />

วันที่: 15 มิถุนายน 2548 เตรียมโดย: สมคิด ดังประสงค ผูจัดการโครงการ (02-555-78091)<br />

somkid_d@hotmail.com<br />

ความเหมาะสมของโครงการ: นพดล เจริญกิจ กรรมการผูจัดการของบริษัทที่ปรึกษานพดลและเพื่อน ไดรองขอ<br />

โครงการนี้เพื่อชวยใหบริษัทบรรลุเปาหมายเชิงยุทธศาสตรของบริษัท อินทราเน็ตใหมจะชวยใหลูกคาปจจุบันและลูกคา<br />

ในอนาคตไดเห็นความเชี่ยวชาญของบริษัทเพิ่มขึ้น โดยผานสวนตางๆ ของอินทราเน็ต โครงการนี้จะลดคาใชจายภายใน<br />

และเพิ่มความสามารถทํากําไรโดยการใหเครื่องมือมาตรฐาน เทคนิค แมแบบ และความรูการบริหารโครงการกับที่<br />

ปรึกษาภายในทั้งหมดของบริษัท งบประมาณสําหรับโครงการคือ 5,000,000 บาท คาใชจายสําหรับการปฎิบัติงาน<br />

หลังจากโครงการเสร็จสมบูรณปละ 500,000 บาท แตละปคาดวาจะมีกําไร 800,000 บาท สิ่งที่สําคัญคือโครงการ<br />

สามารถเลี้ยงตัวเองไดภายใน 1 ป<br />

คุณลักษณะของผลิตผล และความตองการ<br />

1. แมแบบและเครื่องมือ: อินทราเน็ตจะใหผูใชที่ไดรับอนุญาตใหดาวนโหลดแฟม ผูใชสามารถสรางเอกสารการบริหาร<br />

โครงการ และชวยใหผูใชสามารถใชเครื่องมือบริหารโครงการ แฟมเหลานี้จะเปนไมโครซอฟตเวิรด เอ็กซเซล แอค<br />

เซ็ซ หรือ HTML หรือ PDF<br />

2. การสงงานของผูใช: ผูใชไดรับการสงเสริมใหสงแฟมงานทางอีเมลตามตัวอยางแมแบบและเครื่องมือไปยังผูดูแลเว็บ<br />

ผูดูแลเว็บสงแฟมตอไปยังบุคคลที่เหมาะสมที่จะทบทวน และถาแฟมงานไดรับการพิจารณาวาเหมาะสมถูกตอง<br />

แฟมจะสงไปยังอินทราเน็ต<br />

3. บทความ: บทความจะใสในอินทราเน็ต ถาไดรับอนุญาตจากเจาของลิขสิทธิ์ รูปแบบของบทความคือ PDF ผูจัดการ<br />

โครงการอาจอนุญาตบทความที่อยูในรูปแบบอื่นwfh<br />

4. การขอบทความ: อินทราเน็ตจะมีสวนสําหรับใหผูใชขอใหคนใดคนหนึ่ง ของบริษัทคนหาบทความที่ตองการ<br />

ผูจัดการ PMO ตองอนุมัติคําขอเปนอันดับแรก และกําหนดคาธรรมเนียมการใชบริการ<br />

5. เชื่อมโยง: การเชื่อมโยงภายนอกทั้งหมดจะทดสอบทุกอาทิตย การเชื่อมโยงที่ขาดจะไดรับการซอมหรือเอาออก<br />

ภายใน 5 วันทําการหลังจากที่พบ<br />

6. คุณลักษณะ “ถามผูเชี่ยวชาญ” ตองงายและเชิญชวนใหถาม และแจงกลับวาไดรับคําถามทันที รวมทั้งสามารถสง<br />

คําถามตอไปยังผูเชี่ยวชาญที่เหมาะสม (เพราะมีการบํารุงรักษาฐานขอมูลผูเชี่ยวชาญของระบบ) และสามารถบอก<br />

สถานะภาพของคําถามที่ไดตอบ ระบบตองรับการจากเงินคาคําปรึกษา<br />

7. ความมั่นคง: อินทราเน็ตตองมีระดับความมั่นคงหลายระดับ พนักงานภายในทั้งหมดจะเขาถึงอินทราเน็ตทั้งหมด<br />

เมื่อพนักงานใสขอมูลสวนตัว ขอมูลบางสวนของอินทราเน็ตเปดเผยสูสาธารณะจากเว็บไซตของบริษัท สวนอื่นของ<br />

อินทราเน็ตจะเปดใหลูกคาปจจุบัน โดยสอบทวนกับฐานขอมูลลูกคาปจจุบัน อินทราเน็ตอีกสวนมีใหสําหรับผูที่จาย<br />

คาธรรมเนียมเมื่อเขามาใช<br />

8. การคนหา: อินทราเน็ตตองมีฟงกชันคนหาสําหรับผูใช โดยคนหาตามหัวขอ คําสําคัญ เปนตน<br />

9. อินทราเน็ตตองสามารถเขาถึงไดโดยการใชเบราวเซอรมาตรฐาน ผูใชตองมีซอฟตแวรประยุกตที่เหมาะสมเพื่อเปด<br />

แมแบบและเครื่องมือ<br />

10. อินทราเน็ตตองเปดใหบริการ 24 ชั่วโมง 7 วันตอสัปดาห โดยมี 1 ชั่วโมงสําหรับการบํารุงรักษาระบบ และอื่นๆ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-7<br />

ถึงแมวาเนื้อหาจะเปลี่ยนไปตามโครงการ ขอกําหนดขอบเขตโครงการอยางนอยควรมี<br />

คําอธิบายโครงการ ที่ประกอบดวยวัตถุประสงคโดยรวมของโครงการ และเหตุผลสนับสนุนโครงการ<br />

คําอธิบายรายละเอียดสิ่งที่สงมอบทั้งหมด และคุณลักษณะของผลิตผลและบริการที่ตองการ<br />

ในขอกําหนดขอบเขตโครงการควรบันทึกเงื่อนไขความสําเร็จของโครงการ รวมทั้งสารสนเทศ<br />

อื่นที่เกี่ยวของกับขอบเขต เชน อาณาเขตโครงการ (project boundary) เงื่อนไขการยอมรับผลิตผล<br />

สมมุติฐานและขอจํากัดโครงการ และการจัดโครงสรางโครงการ ความเสี่ยง ประมาณการคาใชจาย การ<br />

บริการคอนฟกรูเรชัน เปนตน นอกจากนี้ขอกําหนดขอบเขตโครงการควรอางอิงถึงเอกสารตางๆ เชน<br />

คุณลักษณะของผลิตภัณฑ หรือเอกสารนโยบาย ซึ่งอาจกระทบตอวิธีการผลิตสินคาหรือบริการ โครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาซอฟตแวรควรมีรายละเอียดฟงกชัน และรายละเอียดการออกแบบ ซึ่งควร<br />

ถูกอางอิงในขอกําหนดขอบเขตที่ละเอียดมากขึ้น<br />

ตารางที่ 4.4 ตัวอยางการกําหนดขอบเขตใหละเอียดมากขึ้น (Schwalbe, 2007)<br />

เอกสารสิทธิ์โครงการ:<br />

การยกระดับอาจกระทบเครื่องบริการ (server) …….<br />

ขอกําหนดขอบเขตเบื้องตน:<br />

เครื่องบริการ: ถาตองการเครื่องบริการเพิ่มเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ เครื่องบริการตองเขากันไดกับเครื่องบริการ<br />

ที่มีอยู ถามันจะคุมคามากกวาที่ขยายเครื่องที่มีอยูเดิม คําอธิบายที่ละเอียดของการขายตองสงใหผูบริหาร<br />

ระดับสูงดานเทคโนโลยีสารสนเทศอนุมัติ ดูขอกําหนดเครื่องบริการในเอกสารแนบ กรรมการผูจัดการตอง<br />

อนุมัติแผนละเอียดที่อธิบายเครื่องบริการและสถานที่ตั้งอยางนอย 2 อาทิตยกอนติดตั้ง<br />

ขอกําหนดขอบเขตโครงการฉบับที่ 1:<br />

เครื่องบริการ: โครงการนี้ตองการซื้อเครื่องบริการเพิ่ม 10 เครื่อง เพื่อสนับสนุนเว็บ เครือขาย ฐานขอมูล<br />

ระบบงาน และการพิมพ โดยกําหนดให 2 เครื่องตอฟงกชันดังกลาว รายละเอียดของเครื่องบริการมีใน<br />

ภาคผนวก 8 พรอมกับแผนการติดตั้งเครื่องบริการ<br />

ขณะที่เวลาผานไป ขอบเขตโครงการจะชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ดังเชนตัวอยางใน<br />

ตารางที่ 4.4 ที่แสดงใหเห็นวาขอบเขตจากตารางที่ 4.2 ไดกลายเปนขอบเขตที่ละเอียดมากขึ้น เมื่อทีมงาน<br />

ไดรับสารสนเทศมากขึ้นและมีการตัดสินใจเกี่ยวกับขอบเขตโครงการ เชน ผลิตผลที่ตองการไดรับการ<br />

อนุมัติใหซื้อหรือมีการเปลี่ยนแปลง ทีมงานควรปรับปรุงขอกําหนดโครงการใหม และควรตั้งชื่อแฟมเก็บ<br />

ขอกําหนดขอบเขตโครงการใหตางกัน การปรับปรุงเหลานี้ตองมีการปรับแผนการบริหารขอบเขต<br />

ขอกําหนดขอบเขตโครงการที่ทันสมัยจะเปนเอกสารสําคัญสําหรับการพัฒนาและยืนยันความ<br />

เขาใจขอบเขตโครงการ เพราะในเอกสารอธิบายรายละเอียดงานที่ตองทําใหสําเร็จ และเปนเครื่องมือที่<br />

สําคัญสําหรับการประกันความพึ่งพอใจของลูกคา และปองกันการขยายขอบเขต<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-8<br />

4.4 การสรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

หลังจากสิ้นสุดการดําเนินการกระบวนการวางแผนและการกําหนดขอบเขต ขั้นตอนตอไปใน<br />

การบริหารขอบเขตคือ การสรางโครงสรางจําแนกงานซึ่งคือ การจัดกลุมสิ่งที่สงมอบของงานที่ไดกําหนด<br />

ในขอกําหนดขอบเขตโครงการ เนื่องจากโครงการสวนใหญเกี่ยวของกับคนและสิ่งที่สงมอบจํานวนมาก<br />

จึงเปนสิ่งสําคัญที่ตองจัดการและแบงงานเปนสวนๆ โครงสรางจําแนกงานเปนเอกสารพื้นฐานในการ<br />

บริหารโครงการ เชนการวางแผนและการจัดการตารางการทํางานของโครงการ คาใชจาย ทรัพยากร และ<br />

การเปลี่ยนแปลง เนื่องจากโครงสรางจําแนกงานกําหนดขอบเขตทั้งหมดของโครงการ ผูเชี่ยวชาญการ<br />

บริหารโครงการบางคนเชื่อวาไมควรทํางานที่ไมปรากฎในโครงสรางจําแนกงาน ดังนั้น จึงเปนสิ่งสําคัญที่<br />

ตองพัฒนาโครงสรางจําแนกงานที่ดี<br />

ขอกําหนดขอบเขตโครงการและแผนการบริหารโครงการคือ ขอมูลพื้นฐานสําหรับการสราง<br />

โครงสรางจําแนกงาน เทคนิคและเครื่องมือหลักคือ แมแบบ โครงสรางจําแนกงาน การแตกงาน หรือการ<br />

แบงสิ่งที่สงมอบเปนชิ้นเล็กๆ ผลลัพธของกระบวนนี้คือ โครงสรางจําแนกงาน พจนานุกรมโครงสราง<br />

จําแนกงาน ขอบเขตงานที่เปนบรรทัดฐาน (scope baseline) และปรับปรุงขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

และแผนการบริหารขอบเขต<br />

อินทราเน็ต<br />

แบบเว็บไซต<br />

แบบโฮมเพจ<br />

เพจของฝายการ<br />

ตลาด<br />

เพจของฝายขาย<br />

แผนที่ไซต ขอความ ขอความ ขอความ<br />

แบบกราฟก<br />

โปรแกรม<br />

ภาพ ภาพ ภาพ<br />

ไฮเปอรลิงค ไฮเปอรลิงค ไฮเปอรลิงค<br />

รูปที่ 4.1 ตัวอยางโครงสรางจําแนกงานตามผลิตภัณฑ (Schwalbe, 2007)<br />

โครงสรางจําแนกงานเปนรูปตนไมของกิจกรรม คลายกับผังโครงสรางองคการ ทีมงานสามารถ<br />

สรางโครงสรางจําแนกงานไดทั้งตามผลิตภัณฑและตามขั้นตอนของโครงการ หลายๆ คนชอบที่จะสราง<br />

โครงสรางจําแนกงานตามผลิตภัณฑในรูปของผังกอน เพื่อใหเห็นภาพทั้งโครงการ ดังรูปที่ 4.1 โครงการ<br />

อินทราเน็ตประกอบดวยผลิตภัณฑหลัก 4 อยางคือ แบบเว็บไซต โฮมเพจสําหรับอินทราเน็ต เพจของฝาย<br />

การตลาด และเพจของฝายขาย ในทางกลับกัน โครงสรางจําแนกงานสําหรับโครงการเดียวกันสามารถจัด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-9<br />

ตามขั้นตอนของโครงการไดดังรูปที่ 4.2 ซึ่งประกอบดวยขั้นตอนแนวความคิด การออกแบบ การพัฒนา<br />

เว็บไซต การสิ้นสุด และการสนับสนุน<br />

รูปที่ 4.2 ตัวอยางการสรางโครงสรางจําแนกงานตามขั้นตอนของโครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

โครงสรางจําแนกงานยังสามารถแสดงในรูปของตารางที่มีรายการงานที่ทําเปนกลุมๆ<br />

และมีการยอหนา ดังตารางที่ 4.5<br />

ตารางที่ 4.5 ตัวอยางการแสดงโครงสรางจําแนกงานในรูปของตาราง (Schwalbe, 2007)<br />

1.0 แนวความคิด<br />

1.1 ประเมินระบบปจจุบัน<br />

1.2 กําหนดความตองการ<br />

1.2.1 กําหนดความตองการของผูใช<br />

1.2.2 กําหนดเนื้อหาความตองการ<br />

1.2.3 กําหนดความตองการระบบ<br />

1.2.4 กําหนดเจาของเครื่องบริการ<br />

1.3 กําหนดฟงกชันเฉพาะ<br />

1.4 กําหนดความเสี่ยง และวิธีการบริหารความเสี่ยง<br />

1.5 การพัฒนาแผนโครงการ<br />

1.6 สรุปความตองการใหทีมพัฒนาเว็บ<br />

2.0 การออกแบบเว็บไซต<br />

3.0 การพัฒนาเว็บไซต<br />

4.0 การสิ้นสุด<br />

5.0 การสนับสนุน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-10<br />

รูปที่ 4.3 แสดงโครงสรางจําแนกงานตามขั้นตอนในรูปแบบของแผนภูมิแกนต โดยใชโครงสราง<br />

จําแนกงานจากตารางที่ 4.5<br />

โครงสรางจําแนกงาน<br />

ตารางเวลา<br />

รูปที่ 4.3 ตัวอยางแผนภูมิแกนต (Schwalbe, 2007)<br />

โครงสรางจําแนกงานในรูปที่ 4.1 4.2 4.3 และ ตารางที่ 4.5 ไดนําเสนอสารสนเทศในรูปแบบ<br />

ของลําดับขั้น (hierarchical form) ระดับ 0 ของโครงสรางจําแนกงานเปนตัวแทนโครงการทั้งหมด และ<br />

เปนระดับบนสุด (แตมีบางแหลงเรียกระดับบนสุดวาระดับ 1 แทนระดับ 0 ) ระดับ 1 เปนตัวแทนผลิตผล<br />

หรือขั้นตอนหลักของโครงการ ระดับ 2 เปนกลุมผลิตผลยอยของผลิตผลระดับที่ 1 หรือขั้นตอนยอยจาก<br />

ระดับที่ 1 เชน ในรูปที่ 4.2 หัวขอ “แนวความคิด” ประกอบดวยขั้นตอนยอยอีก 6 ขั้นตอนคือ ประเมิน<br />

ระบบปจจุบัน กําหนดความตองการ กําหนดฟงกชันงานเฉพาะ กําหนดความเสี่ยงและวิธีการบริหาร<br />

ความเสี่ยง พัฒนาแผนโครงการ และสรุปความตองการใหกับทีมงานเว็บ ภายใตระดับ 2 มีงานยอย ซึ่ง<br />

เรียกวาระดับ 3 ในขั้นตอน “กําหนดความตองการ” ประกอบดวยขั้นตอนยอยอีก 4 ขั้นตอนคือ กําหนด<br />

ความตองการผูใช กําหนดความตองการเนื้อหา กําหนดความตองการเครื่องบริการ และกําหนดความ<br />

ตองการเจาของเครื่องบริการ<br />

ตามรูปที่ 4.2 ระดับต่ําที่สุดคือ ระดับ 3 งานที่อยูในระดับนี้เรียกวา แพ็กเก็จงาน (work<br />

package) ซึ่งผูจัดการโครงการจะใชในการควบคุมและติดตามงาน โดยทั่วไป แตละแพ็กเก็จงานใน<br />

โครงสรางจําแนกงานควรมีขนาดประมาณ 80 ชั่วโมงการทํางาน แพ็กเก็จงานอาจคิดไดในแงของความ<br />

รับผิดชอบและการรายงาน หรืออาจเปนฮารดแวร หรืออุปกรณเฉพาะ เชน เครื่องบริการเฉพาะ (specific<br />

server)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-11<br />

มีหลายคนสับสนระหวางงานโครงสรางจําแนกงานกับงานในรายละเอียดขอกําหนดของงาน<br />

งานในโครงสรางจําแนกงานแทนงานที่จําเปนทําเพื่อใหโครงการเสร็จสมบูรณ แตรายละเอียดขอกําหนด<br />

ของงานเปนคุณลักษณะของผลิตภัณฑที่โครงการจะตองสงมอบ<br />

ขอหวงใยอีกประการหนึ่งคือ เมื่อสรางโครงสรางจําแนกงานเราจะจัดการโครงสรางจําแนกงาน<br />

อยางไร เพราะมันจะเปนพื้นฐานสําหรับการบริหารตารางเวลาโครงการ เราควรมุงไปที่งานอะไรที่<br />

จําเปนตองทําใหสําเร็จ และทําอยางไร ไมใชเมื่อไรงานจะทําเสร็จ อาจกลาวไดอีกอยางคือ งานไม<br />

จําเปนตองพัฒนาแบบเรียงลําดับ เราสามารถสรางโครงสรางจําแนกงานโดยการใชกลุมกระบวนการ<br />

บริหารโครงการของวงจรชีวิตโครงการที่ประกอบดวย การริเริ่มโครงการ การวางแผน การปฏิบัติการ การ<br />

ควบคุมโครงการ และ การปดโครงการ ดังแสดงในระดับที่ 1 รูปที่ 4.2 การทําเชนนี้ ไมเพียงแตทีมงานจะ<br />

ทําตามวิธีการปฎิบัติการบริหารโครงการที่ดีแลว งานในโครงสรางจําแนกงานยังนํามาเชื่อมเขากับเวลาได<br />

งายขึ้น<br />

รูปที่ 4.4 ตัวอยางแผนภูมิแกนตสําหรับโครงการอินทราเน็ตที่จัดตามกลุมกระบวนการบริหาร<br />

โครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

รูปที่ 4.4 แสดงโครงสรางจําแนกงานและแผนภูมิแกนตสําหรับโครงการอินทราเน็ตที่จัดตาม<br />

กลุมกระบวนการบริหารโครงการทั้ง 5 กลุม งานภายใตหัวขอ “การริเริ่มโครงการ” ประกอบดวย การเลือก<br />

ผูจัดการโครงการ การสรางทีม การพัฒนาเอกสารสิทธิ์โครงการ งานภายใตการวางแผนประกอบดวยการ<br />

พัฒนาขอกําหนดขอบเขต การสรางโครงสรางจําแนกงาน การพัฒนาและปรับปรุงแผนอื่นๆ ใหดีขึ้น สวน<br />

งานแนวความคิด การออกแบบเว็บไซต การพัฒนาเว็บไซต การสิ้นสุดโครงการ และการสนับสนุน ซึ่ง<br />

แสดงในโครงสรางจําแนกงานระดับ 1 ในรูปที่ 4.2 ไดกลายเปนหัวขอ โครงสรางจําแนกงานระดับ 2<br />

ภายใตหัวขอ “การดําเนินโครงการ” ของรูปที่ 4.4 งานที่ดําเนินการสวนนี้จะแตกตางไปตามโครงการ แต<br />

หลายงานภายใตกลุมกระบวนการบริหารโครงการอื่นๆ มีความคลายคลึงกันทุกโครงการ ถาเราไมใชกลุม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-12<br />

กระบวนการบริหารโครงการในโครงสรางจําแนกงาน เราสามารถมีกลุมระดับ 1 ที่เรียกวา “การบริหาร<br />

โครงการ” เพื่อใหแนใจวางานที่เกี่ยวกับการบริหารโครงการไดใสไวในบัญชี โปรดจําไววา งานทั้งหมดควร<br />

ระบุไวในโครงสรางจําแนกงาน รวมทั้งการบริหารโครงการ<br />

บางโครงการผูจัดการโครงการชอบที่จะรวมงานที่สงมอบทุกงานไวในโครงสรางจําแนกงาน ซึ่ง<br />

ควรตองสอดคลองกับขอกําหนดโครงการ และเอกสารสิทธิ์โครงการ นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่สําคัญอีกเรื่อง<br />

หนึ่งคือ ควรใหทีมงานทั้งโครงการ และลูกคามีสวนในการสรางและทบทวนโครงสรางจําแนกงาน เพราะ<br />

คนที่จะเปนคนทํางานควรชวยวางแผนงาน การจัดประชุมกลุมเพื่อพัฒนา โครงสรางจําแนกงานจะชวย<br />

ทุกคนเขาใจวา งานอะไรตองทํางานใหเสร็จ และทําอยางไร โดยใคร<br />

4.4.1 วิธีการที่ชวยในการพัฒนาโครงสรางจําแนกงาน<br />

มีหลายวิธีการที่ทีมงานโครงการสามารถใชในการพัฒนาโครงสรางจําแนกงาน วิธีการ<br />

เหลานี้ไดแก การใชแนวทาง วิธีอุปมา วิธีการจากระดับบนสูระดับลางและวิธีการจากระดับลางขึ้นสู<br />

ระดับบน และวิธีการจัดผังความคิด<br />

การใชแนวทาง<br />

องคการหลายองคการมีขอแนะนําและแมแบบสําหรับการพัฒนาโครงสราง<br />

จําแนกงาน พรอมตัวอยางที่ไดจากโครงการกอนหนานี้ เชน สถาบันการบริหารโครงการ (Project<br />

Management Institute) ไดพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติสําหรับชี้แนะการสรางและการประยุกตโครงสราง<br />

จําแนกงานกับการบริหารโครงการ (ดูไดจาก www.pmi.org) เอกสารนี้มีตัวอยางโครงสรางจําแนกงาน<br />

จากโครงการตางๆ<br />

วิธีอุปมา<br />

วิธีอุปมาเปนการใชโครงสรางจําแนกงานของโครงการที่คลายคลึงกับโครงการที่<br />

กําลังทํามาเปนจุดตั้งตน บางองคการจะเก็บโครงสรางจําแนกงาน และเอกสารโครงการอื่นๆ เพื่อชวยการ<br />

ทํางานของทีมงาน ซึ่งจะชวยใหการทํางานมีประสิทธิมากขึ้น<br />

วิธีการจากระดับบนสูระดับลางและวิธีการจากระดับลางขึ้นสูระดับบน<br />

ผูจัดการโครงการสวนใหญรูสึกวาการทําโครงสรางจําแนกงาน ดวยวิธีการจาก<br />

ระดับบนสูระดับลางจะสะดวก วิธีการนี้เริ่มจากงานที่ใหญที่สุดของโครงการและแตกงานนั้นออกเปนงาน<br />

รอง กระบวนการนี้เปนการทําใหงานใหมีรายละเอียดมากขึ้นๆ รูปที่ 4.2 คือ ตัวอยางของงานที่แตกลงถึง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-13<br />

ระดับที่ 3 วิธีการจากระดับบนสูระดับลางเหมาะกับผูจัดการที่มีความรูความเขาใจทางเทคนิคอยาง<br />

มากมาย และมีมุมมองภาพใหญ<br />

ในกรณีของวิธีการจากระดับลางขึ้นสูระดับบน ทีมงานสามารถเริ่มจากการเขียน<br />

งานที่คิดวาจําเปนตองทําทั้งหมดเพื่อสรางระบบงานออกมา หลังจากนั้น จึงจัดงานออกเปนกลุม แลวจัด<br />

กลุมเหลานี้เปนกลุมที่ระดับสูงขึ้น เชน นักวิเคราะหธุรกิจของทีมงานอาจรูวาเขาตองกําหนดความตองการ<br />

ของผูใช และความตองการเนื้อหาสําหรับระบบงานพาณิชยอิเลคทรอนิกส งานเหลานี้เปนสวนหนึ่งของ<br />

เอกสารความตองการที่ตองจัดทําและเปนสิ่งที่สงมอบสิ่งหนึ่งของโครงการ ผูเชี่ยวชาญฮารดแวรอาจรูวา<br />

เขาตองกําหนดความตองการระบบและความตองการเครื่องบริการ ซึ่งเปนสวนหนึ่งของเอกสารความ<br />

ตองการเชนกัน ทีมงานอาจนํางานเหลานี้มาจัดกลุมภายใตหัวขอการกําหนดความตองการ ตอมา<br />

ภายหลัง ทีมงานอาจคิดไดวาการกําหนดความตองการควรอยูภายใตกลุมที่กวางกวาคือ การออกแบบ<br />

แนวความคิดสําหรับระบบงานพาณิชยอิเล็กทรอนิกส<br />

วิธีการจากระดับลางขึ้นสูระดับบนเปนวิธีการที่ใชเวลามาก แตมันเปนวิธีที่มี<br />

ประสิทธิผลมากในการสรางโครงสรางจําแนกงาน ผูจัดการโครงการมักใชวิธีการนี้สําหรับโครงการที่ใหม<br />

จริงๆ<br />

วิธีการจัดผังความคิด<br />

การจัดผังความคิดคือ เทคนิคที่ใชกิ่งกานที่แตกออกเปนรัศมีจากความคิดหลักเพื่อ<br />

จัดโครงสรางความคิด แทนที่จะเขียนงานออกมาเปนรายการ หรือพยายามที่จะสรางโครงสรางจําแนก<br />

งานทันที การจัดผังความคิดยอมใหคนเขียน หรือวาดภาพความคิดในรูปแบบที่ไมใชเปนเสน การทําเชนนี้<br />

ทําใหมองเห็นภาพมากกวา การจัดกลุมงานสามารถเปดใหแตละคนสรางสรรคความคิดใหมๆ และเพิ่ม<br />

การมีสวนรวมของทีมงาน<br />

การบริหารโครงการ<br />

รูปที่ 4.5 ตัวอยางการใชเทคนิคการจัดผังความคิดในการสรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

(Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-14<br />

รูปที่ 4.5 แสดงการนําเทคนิคการจัดผังความคิดเพื่อสรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

ของโครงการยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศ วงกลมตรงกลางแทนโครงการทั้งโครงการ แตละกานที่เปน<br />

รัศมีออกจากวงกลมแทนงานหลัก หรืองานในระดับ 1 ของโครงสรางจําแนกงาน เชน งานปรับปรุงสินคา<br />

คงคลัง เสนกิ่งที่แตกจากกาน หรืองานหลัก 2 งาน เรียกวางานรองคือ งานปรับปรุงฐานขอมูล และงาน<br />

ดําเนินการสินคาคงคลังทางกายภาพ งานรองงานที่ 2 ยังแตกออกเปนแขนง หรืองานยอยอีก 3 งาน<br />

ทีมงานสามารถเพิ่มกิ่งกานและแขนงไปไดเรื่อยๆ จนกวาไมสามารถคิดอะไรตอไดอีก<br />

หลังจากทําผังการจัดความคิดแลว ทีมงานควรแปลงไปเปนผังแบบผังโครงสราง<br />

องคการ หรือตาราง ดังรูปที่ 4.6 การจัดผังความคิดสามารถนํามาใชสําหรับการพัฒนาโครงสรางจําแนก<br />

งานดวยวิธีบนลงลาง หรือลางขึ้นบน นอกจากนี้ เราสามารถใชการจัดผังความคิดเอกสารสําหรับการสง<br />

มอบงานแตละชิ้นไดเชนกัน โดยการใสงานที่ตองสงมอบไวตรงกลาง แลวใสเอกสารที่ตองสงมอบที่<br />

เกี่ยวกับงานชิ้นนั้น<br />

โครงการยกระดับ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

การบริหาร<br />

โครงการ<br />

ปรับปรุงสินคา<br />

คงคลัง<br />

การไดฮารดแวร<br />

และซอฟตแวร<br />

ติดตั้งฮารดแวร<br />

และซอฟตแวร<br />

นับสินคาคงคลัง<br />

ปรับปรุงฐาน<br />

ขอมูล<br />

เครื่องบริการ ฮารดแวรผูใช<br />

อาคาร 1 อาคาร 2 อาคาร 3<br />

แล็ปท็อป<br />

เดสกท็อป<br />

รูปที่ 4.6 ผลจากแปลงการใชผังจัดการความคิดไปเปนแบบผังโครงสราง (Schwalbe, 2007)<br />

4.2.2 พจนานุกรมโครงสรางจําแนกงานและขอบเขตงานที่เปนบรรทัดฐาน<br />

พจนานุกรมโครงสรางจําแนกงานใชอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงานแตละงาน เชน<br />

ความหมายของงาน คาใชจายในการทํางานนั้นใหสําเร็จ ทรัพยากรที่ตองการ ผูรับผิดชอบเปนตน สวน<br />

รูปแบบของพจนานุกรมมีหลายรูปแบบขึ้นกับความตองการของโครงการ บางโครงการเปนการอธิบาย<br />

แพ็กเกจงานอยางสั้นๆ หนึ่งยอหนา แตสําหรับโครงการที่มีความซับซอนอาจตองอธิบายแพ็จเกจงานหนึ่ง<br />

หนากระดาษ ผูจัดการโครงการควรตกลงกับทีมงานและผูสนับสนุนโครงการวาตองการรายละเอียดขนาด<br />

ใด พจนานุกรมนี้จะเปนบรรทัดฐานของงานตอไป<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-15<br />

ดังนี้<br />

4.2.3 คําแนะนําสําหรับการสรางโครงสรางจําแนกงานและพจนานุกรมโครงสรางจําแนก<br />

งาน<br />

การสรางโครงสรางจําแนกงานและพจนานุกรมโครงสรางงานที่ดีควรพิจารณาคําชี้แนะ<br />

• งานควรปรากฎเพียงที่เดียวในโครงสรางงาน<br />

• งานที่ปรากฎในโครงสรางจําแนกงานระดับสูงคือ ผลรวมของงานยอยที่อยู<br />

ภายใตงานนั้น<br />

• งานควรมีผูรับผิดชอบเพียงคนๆ เดียว ถึงแมวาอาจจะมีหลายคนทํางานนั้น<br />

• โครงสรางจําแนกงานตองสอดคลองกับวิธีที่งานนั้นทําจริงๆ<br />

• สมาชิกทีมงานควรเกี่ยวของกับการพัฒนาโครงสรางจําแนกงาน เพื่อใหแนใจ<br />

วามีความสอดคลองและเปนการซื้อสมาชิกเขาโครงการ<br />

• งานแตละงานตองบันทึกในพจนานุกรมโครงสรางจําแนกงาน เพื่อใหแนใจวา<br />

เขาใจขอบเขตของงานถูกตองวาอะไรที่รวมอยูในงาน อะไรไมรวม<br />

• โครงสรางจําแนกงานควรเปนเครื่องมือที่ยืดหยุนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง<br />

4.5 การทวนสอบขอบเขต<br />

การทวนสอบขอบเขตเกี่ยวพันกับการยอมรับความสมบูรณของขอบเขตโครงการอยางเปน<br />

ทางการโดยผูมีสวนไดเสีย การยอมรับนี้จะทําสําเร็จไดดวยการตรวจตราสิ่งสงมอบหลักและการลงนาม<br />

ยอมรับ<br />

การทวนสอบขอบเขตตางจาการควบคุมคุณภาพในแงที่วา การทวนสอบขอบเขตจะเนนที่การ<br />

ยอมรับสิ่งที่สงมอบ ขณะที่การควบคุมคุณภาพจะเนนที่คุณภาพของสิ่งที่สงมอบเปนไปตามที่ระบุไว<br />

หรือไม โดยทั่วไปแลว การควบคุมคุณภาพควรทํากอนการทวนสอบขอบเขต แตทั้ง 2 กระบวนการ<br />

สามารถทําไปพรอมกันได<br />

ทีมงานโครงการตองพัฒนาเอกสารของผลิตผลและขั้นตอน เพื่อประเมินวาผลิตผลถูกตองและ<br />

เปนที่พึงพอใจ และเพื่อใหมีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตใหนอยที่สุด จึงเปนสิ่งจําเปนที่ตองทําการทวนสอบ<br />

ขอบเขตโครงการใหดี<br />

ขอมูลหลักที่นํามาใชในการทวนสอบขอบเขตโครงการคือ ขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

พจนานุกรมโครงสรางจําแนกงาน แผนการบริหารขอบเขตโครงการ และสิ่งที่สงมอบ เครื่องมือที่ใชทําการ<br />

ทวนสอบขอบเขตคือ การตรวจตรา (inspection) ของลูกคา ผูสนับสนุน หรือผูใชตรวจตรางานหลังจาก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-16<br />

ไดรับมอบงาน ผลลัพธหลักของการทวนสอบขอบเขตโครงการคือ สิ่งสงมอบที่ไดรับการยอมรับ คําขอ<br />

เปลี่ยนแปลง วิธีการแกไขที่ไดรับการแนะนํา<br />

4.6 การควบคุมขอบเขต<br />

การควบคุมขอบเขตคือ การควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่มีตอขอบเขตโครงการ การเปลี่ยนแปลง<br />

อาจเกิดจากปจจัยหลายประการ เชน ผูใชมักไมแนใจจริงๆ วาตองการใหจอภาพหนาตาเปนอยางไร หรือ<br />

ฟงกชันอะไรที่จําเปนจริงๆ ที่จะทําใหการทํางานทางธุรกิจดีขึ้น ผูพัฒนาไมแนใจจริงๆ วาจะแปลความ<br />

ตองการของผูใชอยางไร และตองจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีตลอดเวลา เปนตน<br />

เปาหมายของการควบคุมขอบเขตคือ การควบคุมปจจัยที่เปนสาเหตุการเปลี่ยนแปลง การ<br />

ประกันวาการเปลี่ยนแปลงไดรับการดําเนินการตามขั้นตอนที่ไดพัฒนาขึ้นเปนสวนหนึ่งของการควบคุม<br />

การเปลี่ยนแปลงที่บูรณาการ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงเมื่อมันเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงอัน<br />

เนื่องจากขอบเขตที่ควรตระหนักมี 3 สาเหตุคือ<br />

• การคลําหาขอบเขต (scope grope) หมายถึง ทีมงานโครงการไมมีความสามารถในการ<br />

กําหนดขอบเขตโครงการ สถานการณเชนนี้มักเกิดขึ้นในชวงแรกของโครงการ เพราะ<br />

ทีมงานและผูสนับสนุนมีปญหาความเขาใจวาอะไรที่โครงการควรตองทํา การคลําหา<br />

ขอบเขตสามารถทําใหลดนอยลงโดยการกําหนดเปาหมายใหชัดเจน<br />

• การขยายขอบเขต (scope creep) หมายถึง การเพิ่มเติมคุณลักษณะหลังจากขอบเขต<br />

โครงการไดรับการอนุมัติ ทีมงานโครงการอาจสนใจหรือมีความคิดใหมขณะที่โครงการ<br />

กําลังดําเนินการ ความกระตือรือรนในการเพิ่มความคิดเหลานี้สามารถเบี่ยนเบนความ<br />

ตั้งใจ การเพิ่มคุณลักษณะและฟงกชันที่ผูสนับสนุนโครงการไมไดขอและไมจําเปนทําให<br />

ขอบเขตขยายไปโดยไมจําเปน ซึ่งจําเปนตองควบคุมตลอดโครงการเพราะจะทําใหเวลา<br />

งบประมาณเกินกวาที่กําหนด<br />

• การกาวกระโดดของขอบเขต (scope leap) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงอยางมีนัยสําคัญ<br />

ในขอบเขตโครงการ เชน โครงการพาณิชยอิเลคทรอนิกสของธนาคารกําหนดขอบเขตแต<br />

แรกที่จะใหบริการใหมแกลูกคา แตมีการเปลี่ยนแปลงโครงการใหระบบพาณิชย<br />

อิเลคทรอนิกสตองสามารถรองรับเงินทุนในตลาดเปดที่ไมไดกําหนดไวแตแรก ดังนั้น การ<br />

เพิ่มฟงกชันที่เปลี่ยนขอบเขตและจุดเนนของโครงการ การกาวกระโดดของขอบเขต<br />

สามารถเกิดจากการเปลี่ยนสภาพแวดลอม ธุรกิจ การแขงขัน อันสงผลตอเปาหมายของ<br />

โครงการ องคการควรตองคิดคุณคาของโครงการปจจุบันใหม ถาการเปลี่ยนแปลงนี้<br />

สําคัญ องคการอาจจะยุติโครงการปจจุบัน และเริ่มตนโครงการใหม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-17<br />

เพื่อหลีกเลี่ยงความลมเหลวของโครงการ ผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศควรปรับปรุง<br />

การไดขอมูลจากผูใช และลดความไมสมบูรณและการเปลี่ยนแปลงความตองการ โดยมีคําแนะนําดังนี้<br />

4.6.1 คําแนะนําสําหรับการปรับปรุงการไดขอมูลจากผูใช<br />

• พัฒนากระบวนการเลือกโครงการที่ดี ทุกโครงการควรมีผูสนับสนุนจากหนวยงาน<br />

ผูใช ไมใชใครก็ไดจากหนวยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทีมงานควรจัดทําสารสนเทศ<br />

ของโครงการใหพรอม เพื่อหลีกเลี่ยงการทํางานซ้ําซอน และใหแนใจวามีการ<br />

มอบหมายใหคนทํางานที่สําคัญ<br />

• มีผูใชรวมในทีมงาน บางองคการตองการใหผูจัดการโครงการมาจากฝายธุรกิจไมใช<br />

กลุมเทคโนโลยีสารสนเทศ บางองคการอาจกําหนดใหเปนผูจัดการโครงการรวมที่มา<br />

จากทั้งสองฝาย อยางไรก็ตาม ผูใชควรไดรับมอบหมายใหเขารวมโครงการแบบเต็ม<br />

เวลา ในกรณีที่เปนโครงการขนาดใหญ<br />

• มีการประชุมสม่ําเสมอโดยมีกําหนดการ<br />

• สงงานใหผูใชและผูสนับสนุนสม่ําเสมอ<br />

• ไมสัญญาที่จะสงงานที่ไมสามารถทําไดภายในกรอบเวลา<br />

• กําหนดสถานที่ของผูใชใหใกลกับผูพัฒนา<br />

4.6.2 คําแนะนําสําหรับการลดความตองการที่ไมสมบูรณและการเปลี่ยนความตองการ<br />

• พัฒนาและทําตามกระบวนการบริหารความตองการที่ไดกําหนดขั้นตอนการหา<br />

ความตองการ<br />

• ใชเทคนิคตางๆ เชน ตนแบบ (prototype) ยูเคส (Use Case) และการออกแบบ<br />

ระบบงานรวม (joint application design (JAD))<br />

• เขียนความตองการและคอยทําใหเปนปจจุบัน เพื่อพรอมใหใช<br />

• สรางฐานขอมูลการบริหารความตองการสําหรับบันทึกและควบคุมความตองการ<br />

• มีการทดสอบที่เพียงพอ เพื่อทวนสอบวาผลิตผลโครงการทํางานไดตามที่คาดหวัง<br />

• ใชกระบวนการทบทวนการเปลี่ยนแปลงความตองการที่ขอมา<br />

• กําหนดวันที่เสร็จ<br />

• จัดสรรทรัพยากรสําหรับการจัดการคําขอเปลี่ยนแปลง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารขอบเขตโครงการ หนา 4-18<br />

4.7 สรุป<br />

การบริหารขอบเขตโครงการเกี่ยวพันกับกระบวนการที่ตองใหแนใจวาโครงการไดกําหนดงานที่<br />

ตองทําทั้งหมด และเฉพาะงานที่ตองการ เพื่อใหโครงการเสร็จสมบูรณ กระบวนการประกอบดวย การ<br />

วางแผนขอบเขต การกําหนดขอบเขต การสรางโครงสรางจําแนกงาน การทวนสอบขอบเขต และการ<br />

ควบคุมขอบเขต<br />

ขั้นตอนแรกของการบริหารขอบเขตโครงการคือ การวางแผนขอบเขตเพื่อสรางแผนการบริหาร<br />

ขอบเขต แผนนี้มีคําอธิบายวาทีมงานจะเตรียมรายละเอียดขอกําหนดขอบเขต สรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

ทวนสอบความสมบูรณสิ่งที่สงมอบ และควบคุมคําขอเปลี่ยนขอบเขตโครงการ ไดอยางไร<br />

ขอกําหนดโครงการถูกสรางในกระบวนการกําหนดขอบเขต เอกสารนี้ประกอบดวยคําอธิบาย<br />

ของผลิตผลโครงการแบบยอ สรุปสิ่งที่ตองสงมอบทั้งหมด สิ่งที่กําหนดความสําเร็จของโครงการ<br />

ขอกําหนดโครงการมักมีหลายเวอรชั่น เพื่อใหสารสนเทศมีความทันสมัย<br />

โครงสรางจําแนกงานคือ การจัดกลุมงานของโครงการที่กําหนดขอบเขตทั้งหมด โครงสราง<br />

จําแนกงานเปนฐานสําหรับการวางแผนและการบริหารตารางเวลา คาใชจาย ทรัพยากร และการ<br />

เปลี่ยนแปลงของโครงการ พจนานุกรมโครงสรางจําแนกงานคือ เอกสารที่อธิบายสารสนเทศอยางละเอียด<br />

เกี่ยวกับหัวขอแตละขอในโครงสรางจําแนกงาน การสรางโครงสรางจําแนกงานที่ดีจะสรางยากเนื่องจาก<br />

ความซับซอนของโครงการ วิธีการสรางโครงสรางจําแนกงานมีหลายวิธี เชนการใชขอแนะนํา วิธีอุปมา วิธี<br />

บนลงลาง วิธีลางขึ้นบน และการจัดผังความคิด<br />

การทวนสอบขอบเขตประกอบดวยการยอมรับขอบเขตโครงการอยางเปนทางการโดยผูมีสวน<br />

ไดเสีย การควบคุมโครงการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขอบเขตโครงการ ซึ่งมีประเด็นที่ทําใหขอบเขต<br />

เปลี่ยนคือ การคลําหาขอบเขต การขยายขอบเขต การกาวกระโดดของขอบเขต การบริหารขอบเขต<br />

โครงการที่ไมดีมีผลใหโครงการลมเหลว<br />

คําถามทายบท<br />

1. เพราะเหตุใดการบริหารขอบเขตจึงสําคัญตอโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

2. จงอธิบายกระบวนการบริหารขอบเขตโครงการ<br />

3. จงอธิบายวิธีการตางๆ ที่ใชในการสรางโครงสรางจําแนกงาน<br />

4. จงอธิบายผลกระทบตอโครงการอันเนื่องจากการขยายขอบเขต สามารถหลีกเลี่ยงไดหรือไม<br />

จงใหเหตุผล<br />

5. จงอธิบายความแตกตางระหวางการขยายขอบเขตกับการกาวกระโดดของขอบเขต<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-1<br />

5.1 บทนํา<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศหลายโครงการลมเหลวในแงของการทํางานใหสอดคลองกับ<br />

ขอบเขต เวลา และคาใชจายโครงการ ผูจัดการโครงการชอบกลาววา การสงมอบโครงการทันเวลาเปน<br />

เรื่องทาทายที่สุดเรื่องหนึ่ง และประเด็นตารางเวลาเปนสาเหตุของความขัดแยงตลอดชวงเวลาของ<br />

โครงการ ความแตกตางของรูปแบบการทํางานของแตละคน และวัฒนธรรมก็เปนสาเหตุอยางหนึ่งของ<br />

ความขัดแยง ซึ่งจะไดเรียนรูในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษยตอไป บางคนชอบตารางเวลาที่ละเอียด<br />

และเนนความสมบูรณของงาน คนอื่นอาจชอบใหตารางเวลายืดหยุนและเปดกวาง วัฒนธรรมที่ตางกัน<br />

ทําใหคนมีทัศนคติเกี่ยวกับตารางเวลาตางกัน เชน บางประเทศปดธุรกิจตอนบายหลายชั่วโมงสําหรับ<br />

การงีบหลับตอนเที่ยง ประเทศอื่นๆ อาจมีศาสนาที่ตางกัน และวันหยุดประจําปที่ตางกัน วัฒนธรรมอาจ<br />

ทําใหคนมีการรับรูหรือความเขาใจคุณธรรมการทํางานที่ตางกันเชนกัน บางวัฒนธรรมใหคุณคากับการ<br />

ทํางานหนักและยึดตารางการทํางาน ขณะที่วัฒนธรรมอื่นอาจใหคุณคากับการผอนคลายและยืดหยุน<br />

เนื่องจากมีความเปนไปไดตางๆ ที่ทําใหเกิดความขัดแยงตารางเวลา จึงเปนสิ่งสําคัญที่<br />

ผูจัดการโครงการจะตองใชการบริหารเวลาโครงการที่ดี เพื่อชวยเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานในเรื่องของ<br />

ตารางเวลา การบริหารเวลาโครงการเกี่ยวของกับกระบวนการตางๆ 6 กระบวนการคือ<br />

• การกําหนดกิจกรรม (activity definition) เปนการกําหนดกิจกรรมเฉพาะที่ทีมงาน<br />

โครงการและผูมีสวนไดเสียตองทําเพื่อจัดทําสิ่งที ่ตองสงมอบของโครงการ กิจกรรมหรือ<br />

งานคือ ชิ้นงานที่ปรากฏในโครงสรางจําแนกงาน ซึ่งมีระยะเวลา คาใชจาย และทรัพยากร<br />

ที่ตองใชในการทํางาน ผลลัพธของกระบวนการนี้คือ รายการกิจกรรม คุณลักษณะของ<br />

กิจกรรม รายการหลักไมล (milestone list) และการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับการรองขอ<br />

• การเรียงลําดับกิจกรรม (activity sequencing) เปนการกําหนดและการบันทึก<br />

ความสัมพันธระหวางกิจกรรมของโครงการ ผลลัพธหลักของกระบวนการคือ ผังเครือขาย<br />

ตารางเวลาโครงการ การเปลี่ยนแปลงที่ไดรับการรองขอ และปรับปรุงรายการกิจกรรมและ<br />

คุณลักษณที่ไดรับการปรับปรุง<br />

• การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม (activity resource estimating) เปนการ<br />

ประมาณการปริมาณทรัพยากร (เชน คน เครื่องมือ และวัตถุดิบ) ที่ทีมงานควรใชเพื่อ<br />

ทํางานกิจกรรมของโครงการ ผลลัพธหลักของกิจกรรมคือ ความตองการทรัพยากรสําหรับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-2<br />

กิจกรรม โครงสรางจําแนกงาน และคุณลักษณะของกิจกรรมและปฏิทินทรัพยากรที่ไดรับ<br />

การปรับปรุง<br />

• การประมาณการระยะเวลากิจกรรม (activity duration estimating) เปนการประมาณ<br />

การเวลาการทํางานสําหรับทํากิจกรรมแตละกิจกรรมใหสมบูรณ ผลลัพธของกระบวนการ<br />

คือ ประมาณการระยะเวลากิจกรรม และคุณลักษณะของกิจกรรมที่ไดรับการปรับปรุง<br />

• การพัฒนาตารางเวลา (schedule development) เปนการวิเคราะหลําดับของกิจกรรม<br />

การประมาณการทรัพยากรกิจกรรม และการประมาณชวงระยะเวลาของกิจกรรม เพื่อ<br />

สรางตารางการทํางาน รวมทั้งปรับปรุงความตองการทรัพยากร คุณลักษณะกิจกรรม<br />

ปฏิทินโครงการ และแผนการบริหารโครงการ ผลลัพธคือ ตารางเวลาโครงการ บรรทัดฐาน<br />

ตารางเวลา (schedule baseline) การเปลี่ยนแปลงที่ไดรองขอ<br />

• การควบคุมตารางเวลา (schedule control) เปนการควบคุม และการจัดการการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่มีผลตอตารางเวลาโครงการ รวมทั้งปรับปรุงบรรทัดฐานโครงการ รายการ<br />

กิจกรรมและคุณลักษณะ และแผนการบริหารโครงการ ผลลัพธคือ การวัดผลการ<br />

ดําเนินงาน การเปลี่ยนแปลงที่รองขอ และคําแนะนําเพื่อแกไขปญหา<br />

5.2 การกําหนดกิจกรรม<br />

เอกสารสิทธิ์โครงการกลาวถึงวันเริ่มตน วันสุดทายของโครงการ และขอบเขตของโครงการ<br />

เบื้องตน เอกสารนี้จึงเปนจุดตั้งตนสําหรับการเพิ่มรายละเอียดใหมากขึ้น ในเอกสารนี้ยังมีการประมาณ<br />

เงินที่จัดสรรใหโครงการ ผูจัดการโครงการและทีมงานเริ่มพัฒนารายการกิจกรรมและคุณลักษณะที่<br />

ละเอียด รวมทั้งรายการหลักไมลได โดยใชขอมูลจากเอกสารสิทธิ์โครงการ ขอกําหนดขอบเขต<br />

โครงสรางจําแนกงาน พจนานุกรมโครงสรางจําแนกงาน และแผนการบริหารโครงการ<br />

รายการกิจกรรมคือ กิจกรรมตางๆ ที่ปรากฎในตารางเวลาโครงการ รายการกิจกรรมควรมีชื่อ<br />

กิจกรรม ตัวชี้วัดกิจกรรม คําอธิบายกิจกรรมอยางยอ สวนคุณลักษณะกิจกรรม (activity attribute) คือ<br />

ขอมูลของแตละกิจกรรมที่เกี่ยวของกับตารางเวลา เพื่อชวยใหเกิดความเขาใจในกิจกรรมนั้นมากขึ้น เชน<br />

กิจกรรมสุดทายกอนหนา (predecessors) กิจกรรมตามหลัง (successors) ความสัมพันธเชิงตรรกะ<br />

ความตองการทรัพยากร ขอจํากัด วันที่ตองการใชทรัพยากร และสมมุติฐานที่เกี่ยวของกับกิจกรรม<br />

หลักไมลของโครงการคือ เหตุการณที่สําคัญที่ไมมีระยะเวลา หลักไมลสมบูรณไดตอง<br />

ประกอบดวยการทํางานหลายกิจกรรม ตัวของหลักไมลเองคลายกับเครื่องหมายที่ชวยในการกําหนดวา<br />

มีกิจกรรมใดบางที่จําเปนที่จะทําใหหลักไมลนั้นเกิดขึ้นอยางสมบูรณ ถาหลักไมลเสร็จสมบูรณจะ<br />

หมายความวางานตางๆ ที่กําหนดสําหรับหลักไมลนั้นเสร็จสมบูรณเชนกัน หลักไมลจึงเปนเครื่องมือที่มี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-3<br />

ประโยชนสําหรับการกําหนดเปาหมาย และการติดตามความกาวหนา หลักไมลของโครงการอาจเปน<br />

ความสมบูรณของเอกสารและลูกคาไดลงชื่อรับรอง เชน เอกสารการออกแบบ และแผนการทดสอบ<br />

ความสมบูรณของสินคา เชน มอดูลซอฟตแวร หรือการติดตั้งฮารดแวรใหม กระบวนการที่สําคัญที่<br />

เกี่ยวของกับความสมบูรณของงาน ไดแก การประชุมทบทวนความตองการ การทดสอบซอฟตแวร เปน<br />

ตน<br />

เปาหมายของกระบวนการกําหนดกิจกรรมคือ เพื่อใหแนใจวาทีมงานโครงการมีความเขาใจ<br />

งานทั้งหมดที่ตองทําอยางสมบูรณ จากนั้น เราจึงสามารถเริ่มตนจัดตารางเวลางานได เชน มีงานที่<br />

เรียกวา “เขียนรายงานผลการศึกษา” ทีมงานควรเขาใจวาหมายความวาอะไร กอนที่ตัดสินใจที่เกี่ยวกับ<br />

ตารางเวลา เชน รายงานควรยาวเทาไร ตองทําสํารวจหรือคนหาอยางหนักเพื่อที่จะเขียนรายงานหรือไม<br />

คนเขียนรายงานตองมีทักษะระดับใด นอกจากนี้ การกําหนดงานจะชวยทีมงานโครงการคิดวางานที่จะ<br />

ทํานั้นตองใชเวลานานเทาไร และใครควรเปนคนทํา<br />

ระหวางการดําเนินกระบวนการกําหนดกิจกรรม ผูจัดการโครงการจะสรางโครงสรางจําแนก<br />

งาน เชน งาน “เขียนรายงานผลการศึกษา” อาจแตกเปนงานยอยที่อธิบายขั้นตอนที่เกี่ยวของในการผลิต<br />

รายงาน เชน การพัฒนาการสํารวจ การบริหารการสํารวจ การวิเคราะหผลการสํารวจ การทําการคนควา<br />

การเขียนรางรายงาน การตรวจแกไขรายงาน และสุดทายคือ การจัดทํารายงาน<br />

ทีมงานโครงการควรทบทวนรายการกิจกรรม และคุณลักษณะของกิจกรรมกับผูมีสวนไดเสีย<br />

กอนยายไปทําขั้นตอนตอไปของการบริหารเวลาโครงการ ถาทีมงานไมทบทวนเวลาของกิจกรรมเหลานี้<br />

เราอาจสรางตารางเวลาที่ไมเปนจริง และสงมอบผลงานที่ไมสามารถรับได เชน ถาผูจัดการโครงการ<br />

ประมาณเวลาในการเขียนรายงานผลการศึกษาเพียง 1 วัน และใหพนักงานฝกหัดเปนผูเขียนรายงานได<br />

เพียง 20 หนา ผลที่ไดคือ ลูกคาไมพอใจอยางมาก เพราะคาดหวังวาทีมงานจะมีการคนควา การสํารวจ<br />

อยางหนัก และรายงานควรประมาณ 200 หนา การกําหนดงานใหชัดเจนจึงเปนสิ่งสําคัญสําหรับทุก<br />

โครงการ ถามีความเขาใจงานของกิจกรรมไมถูกตองแลว การเปลี่ยนแปลงอาจจําเปนตองทํา<br />

5.3 การเรียงลําดับกิจกรรม<br />

หลังจากกําหนดกิจกรรมแลว ขั้นตอนตอไปของการบริหารเวลาโครงการคือ การเรียงลําดับ<br />

กิจกรรม ซึ่งประกอบดวย การทบทวนรายการกิจกรรมและคุณลักษณะ ขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

รายการหลักไมล และการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับการอนุมัติ การเรียงลําดับกิจกรรมยังรวมถึงการกําหนด<br />

ความสัมพันธหรือความพึ่งพิงระหวางกิจกรรม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-4<br />

5.3.1 ความพึ่งพิง<br />

ความพึ่งพิงหรือความสัมพันธ มีความเกี่ยวของกับการเรียงลําดับกิจกรรมหรืองาน<br />

โครงการ เชน กิจกรรมหนึ่งตองเสร็จกอนที่อีกกิจกรรมจะเริ่ม สมาชิกในทีมงานสามารถทํางานไดหลาย<br />

งานพรอมกันหรือไม กิจกรรมสามารถทําซอน (overlap) ไดหรือไม การกําหนดความสัมพันธ หรือความ<br />

พึ่งพิงระหวางกิจกรรมมีผลกระทบอยางมีนัยสําคัญตอการพัฒนาและการบริหารตารางเวลาโครงการ<br />

ความพึ่งพิงของกิจกรรมโครงการเกิดจากเหตุผลพื้นฐาน 3 ประการดังนี้<br />

• ความพึ่งพิงที่ตองมี (mandatory dependencies) เปนความพึ่งพิงที่ซอนอยู<br />

ในธรรมชาติของงานที่กําลังทํา เชน เราไมสามารถทดสอบโปรแกรม<br />

คอมพิวเตอรไดจนกวาโปรแกรมจะเขียนเสร็จ<br />

• ความพึ่งพิงที่กําหนดขึ้นเอง (discretionary dependencies) เปน<br />

ความสัมพันธที่กําหนดโดยทีมงาน เชน ทีมงานไมเริ่มการออกแบบอยาง<br />

ละเอียด จนกวาผูใชเซ็นตรับงาน ซึ่งเปนความสัมพันธที่ทีมงานไดตกลงกัน<br />

• ความพึ่งพิงภายนอก (external dependencies) เปนความสัมพันธระหวาง<br />

กิจกรรมโครงการและกิจกรรมนอกโครงการ เชน การติดตั้งระบบปฏิบัติการ<br />

ใหมและซอฟตแวรอื่นๆ อาจขึ้นกับการสงมอบฮารดแวรใหมจากผูขาย<br />

ถึงแมวาการสงมอบฮารดแวรใหมอาจไมอยูในขอบเขตของโครงการ เราควร<br />

เพิ่มความพึ่งพิงกิจกรรมภายนอกโครงการ เพราะการสงมอบชาอาจจะกระทบ<br />

ตารางเวลา<br />

การกําหนดความพึ่งพิงของกิจกรรมเปนสิ่งสําคัญที่ตองทํารวมกับผูมีสวนไดเสีย บาง<br />

องคการมีแนวทางที่การกําหนดความพึ่งพิงโดยพิจารณาจากโครงการที่มีลักษณะงานคลายคลึงกัน บาง<br />

องคการเชื่อความชํานาญของคนที่ทํางานโครงการนั้นๆ<br />

หลายองคการไมเขาใจความสําคัญของการกําหนดความพึ่งพิงของกิจกรรม และไมใช<br />

มันในการบริหารเวลาโครงการ ลําดับของกิจกรรมสามารถนําไปใชประโยชนกับเครื่องมือที่มีอยู เชน ผัง<br />

เครือขาย การวิเคราะหเสนวิกฤต ผลลัพธของการเรียงลําดับกิจกรรมคือ ผังเครือขายตารางเวลา<br />

5.3.2 ผังเครือขาย<br />

ผังเครือขายเปนเทคนิคที่ใชแสดงความสัมพันธ หรือการจัดลําดับของกิจกรรมโครงการ<br />

บางคนเรียกผังเครือขายวา เปนผังเครือขายตารางเวลา หรือ ผัง PERT รูปที่ 5.1 แสดงตัวอยางผัง<br />

เครือขายอยางงายของโครงการ Z ซึ่งใชวิธีการแบบแสดงกิจกรรมบนลูกศร (activity-on-arrow (AOA))<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-5<br />

จากรูป ตัวอักษร A แทนกิจกรรมที่ไดจากโครงสรางจําแนกงาน และกระบวนการกําหนดกิจกรรม ลูกศร<br />

แทนการเรียงลําดับกิจกรรม หรือความสัมพันธระหวางงาน เชน กิจกรรม A ตองทําใหเสร็จกอนกิจกรรม<br />

D กิจกรรม D ตองทําเสร็จกอนกิจกรรม J เปนตน โหนดคือ จุดเริ่มตนและสิ้นสุดของกิจกรรมหนึ่งๆ โดย<br />

โหนดแรกคือ จุดเริ่มตนของโครงการ และโหนดสุดทายแทนจุดสิ้นสุดของโครงการ<br />

รูปที่ 5.1 ผังเครือขายแสดงกิจกรรมบนลูกศรของโครงการ Z<br />

ถึงแมวา AOA งายแกการเขาใจและการสราง วิธีอื่นที่ใชกันมากอีกวิธีคือ แผนภูมิการ<br />

จัดลําดับกอนหลังของงาน (precedence diagram) หรือ ผังแบบแสดงกิจกรรมบนโหนด (activity-onnode<br />

(AON)) รูปที่ 5.2 เปนตัวอยางของผังเครือขายการจัดลําดับกอนหลังของงาน โดยชื่อกิจกรรม<br />

และระยะเวลาการทํากิจกรรมนั้น แสดงในโหนด เสนลูกศรแสดงความสัมพันธระหวางกิจกรรม<br />

รูปที่ 5.2 ผังเครือขายการจัดลําดับกอนหลังของงาน หรือ AON<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-6<br />

แผนภูมิการจัดลําดับกอนหลังของงานหรือแบบ AON มีการใชมากกวาและมีขอดีมา<br />

กวาแบบ AOA คือ 1) ซอฟตแวรการบริหารโครงการใชวิธีการแบบแผนภูมิการจัดลําดับกอนหลังของ<br />

งาน 2) หลีกเลี่ยงความจําเปนตองใชกิจกรรมดัมมี (dummy activities) ซึ่งเปนกิจกรรมที่ไมมีระยะเวลา<br />

และทรัพยากร แตจําเปนตองใชบางโอกาสบนผังเครือขายแบบ AOA เพื่อแสดงความสัมพันธเชิงตรรกะ<br />

ระหวางกิจกรรม กิจกรรมดัมมี่แทนดวยเสนลูกศรประ และมีระยะเวลาเปนศูนย เชน จากรูปที่ 5.1<br />

กิจกรรม A มากอนกิจกรรม D กิจกรรม B มากอนกิจกรรม E และ F ถามีความพึ่งพิงระหวางกิจกรรม B<br />

และ D ดวย เราตองลากเสนประ ระหวางโหนด 1 และโหนด 2 ดังแสดงในรูปที่ 5.3 3) แผนภูมิการ<br />

จัดลําดับกอนหลังของงานแสดงความพึ่งพิงตางๆ ของงาน ขณะที่ผังเครือขายแบบ AOA ใชเฉพาะ<br />

ความพึ่งพิงแบบสิ้นสุด-เริ่มตน<br />

รูปที่ 5.3 ผังเครือขายที่แสดงความสัมพันธแบบดัมมี<br />

รูปที่ 5.4 แสดงประเภทความพึ่งพิงระหวางกิจกรรมที่สามารถเกิดขึ้นทามกลางกิจกรรม<br />

โครงการ หลังจากที่เรากําหนดเหตุผลสําหรับความพึ่งพิงระหวางกิจกรรม (ความพึ่งพิงที่ตองมี ที่กําหนด<br />

ขึ้นเอง และความพึ่งพิงภายนอก) เราตองกําหนดประเภทความพึ่งพิงซึ่งมี 4 ประเภทคือ<br />

• สิ้นสุด-เริ่มตน (finish-to-start) คือ ความสัมพันธที่กิจกรรม “จาก (from)” ตอง<br />

เสร็จกอน กิจกรรม “ถึง (to)” จึงจะสามารถเริ่มตนทํางานได เชน ทานไมสามารถ<br />

จัดการอบรมผูใช (งาน B) ไดจนกวาซอฟตแวรหรือระบบใหมไดติดตั้ง (งาน A)<br />

ความสัมพันธนี้เปนความสัมพันธที่พบบอย และผังเครือขายแบบ AOA ใช<br />

ความสัมพันธแบบนี้เทานั้น<br />

• เริ่มตน-เริ่มตน (start-to-start) คือ ความสัมพันธที่กิจกรรม “จาก (from)” ไม<br />

สามารถเริ่มไดจนกวากิจกรรม “ถึง (to)” ไดเริ่มแลว ดังนั้น กิจกรรมทั้ง 2 สามารถ<br />

เริ่มพรอมกันได (parallel) ลักษณะความสัมพันธแบบนี้ ทําใหเราสามารถรน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-7<br />

ระยะเวลาโครงการได แตไมจําเปนตองเสร็จพรอมกัน เชน เราอาจเริ่มบันทึกขอมูล<br />

(งาน B) ทันทีที่เราเริ่มเก็บขอมูล (งาน A)<br />

• สิ้นสุด-สิ้นสุด (finish-to-finish) คือ ความสัมพันธที่กิจกรรม “จาก (from)” ตองทํา<br />

ใหเสร็จกอนกิจกรรม “ถึง (to)” จึงจะเสร็จได ดังนั้น งานหนึ่งไมสามารถเสร็จได<br />

กอนที่อีกงานหนึ่งเสร็จ เชน การควบคุมคุณภาพ (งาน B) ไมสามารถเสร็จกอนที่<br />

การผลิต (งาน A) จะเสร็จ ถึงแมวาสองงานสามารถทําไดในเวลาเดียวกัน<br />

• เริ่มตน-สิ้นสุด (start-to-finish) คือ ความสัมพันธที่กิจกรรม “จาก (from)” ตองเริ่ม<br />

กอนกิจกรรม “ถึง (to)” จึงจะเสร็จได ความสัมพันธนี้ไมคอยไดใช แตก็เหมาะกับ<br />

บางกรณี เชน ระบบงานเดิมถูกยกเลิก (งาน B) เมื่อระบบใหมเริ่มใชงาน (งาน A)<br />

ความพึ่งพิงของงาน ตัวอยาง คําอธิบาย<br />

สิ้นสุด-เริ่มตน (finish-to-start)<br />

A<br />

B<br />

งาน (B) ไมสามารถเริ่มได<br />

จนกวางาน (A) จะเสร็จ<br />

เริ่มตน-เริ่มตน (start-to-start)<br />

สิ้นสุด-สิ้นสุด (finish-to-finish)<br />

A<br />

B<br />

A<br />

B<br />

งาน (B) ไมสามารถเริ่มได<br />

จนกวางาน (A) จะเริ่ม<br />

งาน (B) ไมสามารถเสร็จได<br />

จนกวางาน (A) จะเสร็จ<br />

เริ่มตน-สิ้นสุด (start-to-finish)<br />

B<br />

A<br />

งาน (B) ไมสามารถเสร็จได<br />

จนกวางาน (A) จะเริ่ม<br />

รูปที่ 5.4 ประเภทความพึ่งพิงของงาน (Schwalbe, 2007)<br />

5.4 การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม<br />

กอนที่เราจะสามารถประมาณการระยะเวลาของแตละกิจกรรม เราตองรูวาจํานวนและ<br />

ประเภททรัพยากรที่จะกําหนดใหกับแตละกิจกรรม ลักษณะของโครงการและองคการจะกระทบกับการ<br />

ประมาณการทรัพยากร เครื่องมือที่ชวยในการประมาณการทรัพยากรประกอบดวย ความคิดเห็นของ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-8<br />

ผูเชี่ยวชาญ ทางเลือกที่มีให การประมาณการขนาดขอมูลและซอฟตแวร ผูที่จะชวยกําหนดทรัพยากรที่<br />

จําเปนสําหรับโครงการควรเปนคนที่มีประสบการณและความเชี่ยวชาญในโครงการที่คลายกัน<br />

ขอมูลที่สําคัญที่นํามาใชในการประมาณการคือ รายการกิจกรรม คุณลักษณะกิจกรรม<br />

แผนการบริหารโครงการ ปจจัยเชิงสภาพแวดลอม ทรัพยากรที่มีใหใชได นอกจากนี้ ขอมูลจากโครงการ<br />

ในอดีตจะชวยบอกจํานวนคนหรือจํานวนชั่วโมงที่โดยปกติใชในการทํางานกิจกรรม<br />

การระดมสมองและการประเมินทางเลือกที่เกี่ยวของกับทรัพยากรเปนเทคนิคที่สําคัญในการ<br />

ประมาณการทรัพยากร เนื่องจากโครงการสวนใหญเกี่ยวพันกับทรัพยากรมนุษยจํานวนมาก และ<br />

คาใชจายสวนใหญคือ คาจาง โครงการจึงควรไดความคิดที่ชัดเจนจากคนตางๆ เพื่อชวยพัฒนา<br />

ทางเลือก และชี้ประเด็นที่เกี่ยวของกับทรัพยากรตั้งแตเนิ่นๆ การประมาณการทรัพยากรควรไดรับการ<br />

ปรับปรุงเมื่อมีรายละเอียดมากขึ้น เนื่องจากทรัพยากรที่สําคัญในการดําเนินโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศคือ พนักงาน ดังนั้น กิจกรรมการประมาณการทรัพยากรจะกลาวโดยละเอียดในบทบริหาร<br />

ทรัพยากรมนุษย<br />

ผลลัพธของกระบวนการประมาณการทรัพยากรคือ รายการความตองการใชทรัพยากรของ<br />

กิจกรรม โครงสรางจําแนกทรัพยากร (resource breakdown structure) โครงสรางจําแนกทรัพยากรคือ<br />

โครงสรางลําดับขั้นที่ระบุทรัพยากรของโครงการตามกลุมและประเภท กลุมทรัพยากรอาจประกอบดวย<br />

นักวิเคราะห โปรแกรมเมอร และผูทดสอบ ภายใตโปรแกรมเมอรอาจมีประเภทโปรแกรมเมอร เชน จาวา<br />

โปรแกรมเมอร หรือ โคบอลโปรแกรมเมอร ขอมูลเหลานี้มีประโยชนในการกําหนดคาใชจาย การได<br />

ทรัพยากร และอื่นๆ<br />

5.5 การประมาณการระยะเวลากิจกรรม<br />

หลังจากกําหนดกิจกรรม ความพึ่งพิง และประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม ขั้นตอนตอไป<br />

ในการบริหารโครงการคือ การประมาณการระยะเวลาของกิจกรรม (duration) ระยะเวลานี้รวมถึง<br />

ปริมาณเวลาจริงที่ใชกับกิจกรรมบวกกับเวลาที่เผื่อ (elapsed time) เชน ถึงแมวาการทํางานอาจใชเวลา<br />

หนึ่งอาทิตย หรือ หาวันทําการเพื่อทํางานที่แทจริง การประมาณชวงเวลาอาจเปนสองอาทิตยเผื่อเวลา<br />

พิเศษใหสําหรับตองใชเพื่อไดขอมูลจากภายนอก นอกจากนี้ทรัพยากรที่กําหนดใหกับงานจะกระทบการ<br />

ประมาณการระยะเวลา<br />

คนทั่วไปสับสนระหวางระยะเวลากับแรงงาน แรงงานคือ จํานวนวันทํางานหรือชั่วโมงการ<br />

ทํางานที่ตองใชเพื่อทํางานใหสมบูรณ สวนระยะเวลาสัมพันธกับเวลาที่ประมาณการ แตไมใชการ<br />

ประมาณแรงงาน เชน สมมุติวา งานหนึ่งใชเวลา 5 วัน และกําหนดวาใน 1 วัน ทํางานได 8 ชั่วโมง ดังนั้น<br />

แรงงานที่ใชในการทํางานนั้นจึงเทากับ 40 ชั่วโมง สวนระยะเวลาคือ 5 วัน ซึ่งอาจตองเพิ่มเวลาที่ตอง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-9<br />

คอยขอมูลถาจําปน ดังนั้น สมาชิกทีมงานตองบันทึกสมมุติฐานของตนเมื่อกําหนดประมาณการ<br />

ระยะเวลากิจกรรม นอกจากนี้ คนที่ทํางานจริงควรมีสวนในการประมาณการเวลา เพราะเปนคนที่ถูก<br />

ประเมินประสิทธิภาพ ถาการเปลี่ยนแปลงขอบเขตเกิดขึ้นกับโครงการ เวลาที่ประมาณการไวควรไดรับ<br />

การปรับปรุงเพื่อสะทอนการเปลี่ยนแปลงนี้<br />

การประมาณการระยะเวลาของกิจกรรมใชขอมูลหลายอยาง เชน ขอกําหนดขอบเขตโครงการ<br />

รายการกิจกรรม คุณลักษณะกิจกรรม ความตองการทรัพยากรของกิจกรรม ปฎิทินทรัพยากร และ<br />

แผนการบริหารโครงการ รวมทั้งขอมูลจากโครงการที่ผานมา ทีมงานควรทบทวนความถูกตองของการ<br />

ประมาณการระยะเวลา ถาทีมงานพบวาการประมาณการทั้งหมดยาวหรือสั้นเกินไป ทีมงานควร<br />

ปรับปรุงการประมาณการใหสะทอนความจริงที่ไดเรียนรูมา สิ่งที่สําคัญที่สุดในการทําการประมาณการ<br />

ระยะเวลากิจกรรมคือ การมีทรัพยากรใหใช โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย ทักษะเฉพาะอะไรที่คนจําเปน<br />

เพื่อทํางาน ระดับทักษะใดที่คนที่ไดรับมอบหมายใหทํางานในโครงการตองมี จํานวนคนเทาใดที่เราคาด<br />

วาควรมีเพื่อทํางานในโครงการ<br />

ผลลัพธของกิจกรรมการประมาณการระยะเวลาคือ คุณลักษณะกิจกรรมที่ปรับปรุง (ถามี)<br />

และการประมาณการระยะเวลาของแตละกิจกรรม ระยะเวลาที่ประมาณการเปนตัวเลขเต็มจํานวน เชน<br />

4 อาทิตย หรืออาจเปนชวง เชน 3-5 อาทิตย หรือประมาณการโดยใชการประมาณการตัวเลขสามตัว<br />

(three-point estimate) ซึ่งประกอบดวย<br />

• ระยะเวลาที่คาดคะเนในแงดี (optimistic) เปนระยะเวลาที่สั้นที่สุดที่คาดวาจะทํา<br />

กิจกรรมนั้นแลวเสร็จเมื่อทุกสิ่งทุกอยางดําเนินไปดวยดี<br />

• ระยะเวลาที่คาดคะเนวาจะเกิดขึ้นไดมากที่สุด (most likely) เปนระยะเวลาปกติที่คาด<br />

วาจะทํากิจกรรมนั้นแลวเสร็จ เปนระยะเวลาที่มีความนาจะเปนเกิดขึ้นไดมากที่สุด หรือ<br />

เปนระยะเวลาที่เกิดบอย<br />

• ระยะเวลาที่คาดคะเนในแงราย (pessimistic) เปนระยะเวลาที่นานที่สุดที่คาดวาจะทํา<br />

กิจกรรมนั้นแลวเสร็จ เมื่อมีสถานการณที่เลวรายเกิดขึ้น<br />

การประมาณการตัวเลขสามคาจําเปนตองใชในการสรางตารางเวลาดวยเทคนิคการทบทวน<br />

และการประเมินผลการทํางาน หรือ PERT สวนเทคนิคอื่นที่อาจใชในการประมาณการระยะเวลาคือ<br />

การอุปมัย และการประมาณการแบบพาราเมตริก ซึ่งกลาวในเรื่องการบริหารคาใชจายโครงการ รวมทั้ง<br />

ดุลยพินิจของผูเชี่ยวชาญ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-10<br />

5.6 การพัฒนาตารางเวลา<br />

การพัฒนาตารางเวลาใชผลลัพธจากกระบวนการบริหารเวลาทั้งหมดกอนหนานี้ เพื่อกําหนด<br />

วันเริ่มตนและวันสุดทายของโครงการ เปาหมายของการพัฒนาตารางเวลาคือ การสรางตารางโครงการ<br />

ที่เปนจริง ตารางเวลานี้จะเปนพื้นฐานสําหรับการติดตามความกาวหนาของโครงการ ผลลัพธหลักของ<br />

กระบวนการพัฒนาตารางเวลาคือ ตารางเวลาโครงการ ความตองการทรัพยากร คุณลักษณะกิจกรรม<br />

ปฎิทินโครงการ และแผนการบริหารโครงการ เทคนิคและเครื่องมือที่ชวยในกระบวนการพัฒนา<br />

ตารางเวลามีดังนี้<br />

• แผนภูมิแกนต (Gantt chart) เปนเครื่องมือที่ใชในการแสดงขอมูลตารางโครงการ<br />

• การวิเคราะหเสนทางวิกฤต (critical path analysis) เปนเครื่องมือที่สําคัญสําหรับการ<br />

ควบคุมและพัฒนาตารางเวลาโครงการ<br />

• การจัดตารางเวลาโซวิกฤต (critical Chain Scheduling) เปนเทคนิคที่ใชกรณีที่มี<br />

ทรัพยากรจํากัด<br />

• การวิเคราะห PERT เปนเครื่องมือสําหรับการประเมินความเสี่ยงตารางเวลาของ<br />

โครงการ<br />

5.6.1 แผนภูมิแกนต<br />

แผนภูมิแกนตหรือแผนภูมิแทง เปนแผนภูมิที่ใหรูปแบบมาตรฐานสําหรับการแสดง<br />

ขอมูลตารางโครงการ โดยการแสดงรายการกิจกรรมโครงการ และวันเริ่มตนวันสิ้นสุดของกิจกรรมใน<br />

รูปแบบปฎิทิน รูปที่ 5.5 คือ ตัวอยางแผนภูมิแกนตแบบงายๆ สําหรับโครงการ Z สวนรูปที่ 5.6 แสดง<br />

แผนภูมิแกนตที่มีความซับซอนมากขึ้น กิจกรรมที่ในแผนภูมิจะตองสอดคลองกับโครงสรางจําแนกงาน<br />

รูปที่ 5.5 ตัวอยางแผนภูมิแกนตแบบงายๆ<br />

ความหมายของสัญญลักษณตางๆ ในรูปที่ 5.6 มีดังนี้<br />

• สัญญลักษณรูปเพชรสีดําแทนหลักไมล<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-11<br />

• แทงดําหนาพรอมลูกศรที่จุดเริ่มตนและจุดสุดทาย แทนงานสรุป<br />

• แทงแนวนอนสีออน แทนระยะเวลาของงานแตละงาน<br />

• ลูกศรที่เชื่อมสัญญลักษณเหลานี้ แสดงความสัมพันธหรือความพึ่งพิงระหวาง<br />

งาน<br />

รูปที่ 5.6 ตัวอยางแผนภูมิโครงการออกตัวซอฟตแวร<br />

เราสามารถใชแผนภูมิเพื่อประเมินความกาวหนาของโครงการ โดยการแสดงขอมูล<br />

ตารางเวลาที่แทจริง (actual schedule) ซึ่งเรียกแผนภูมิการติดตามผล (Tracking Gantt Charts) ดัง<br />

แสดงในรูปที่ 5.7 แผนภูมินี้จะเปรียบเทียบตารางเวลาที่ไดวางแผนไวกับตารางเวลาที่แทจริง วันที่ของ<br />

เวลาที่วางแผนไว (planned dates) เรียกวาวันที่บรรทัดฐาน (baseline dates) และตารางเวลาทั้งหมด<br />

ที่ไดรับการอนุมัติเราเรียกวา”บรรทัดฐานตารางเวลา” (schedule baseline) แผนภูมิการติดตามผล<br />

ประกอบดวยวันเริ่มตนและสิ้นสุดจริงสําหรับงานแตละงาน พรอมกับวันเริ่มตนและสิ้นสุดตามแผนของ<br />

แตละงาน จากตัวอยางจะเห็นวาโครงการเสร็จสมบูรณ แตมีหลายงานที่คลาดเคลื่อนจากวันที่ที่ได<br />

วางแผนไว<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-12<br />

รูปที่ 5.7 ตัวอยางแผนภูมิการติดตามผล (Schwalbe, 2007)<br />

เพื่อใหแผนภูมิแกนตเปนเครื่องมือในการประเมินความกาวหนาโครงการ แผนภูมิการ<br />

ติดตามผลไดเพิ่มเติมสัญญลักษณดังนี้<br />

• ในแผนภูมิปรากฏแทงแนวนอนสําหรับงานเพิ่มอีก 1 แทง ซอนกัน โดยแทง<br />

แนวนอนที่อยูขางบนจะแทนชวงระยะเวลาของงานตามที่ไดวางแผนไว สวนแทง<br />

แนวนอนแทงลางจะแทนชวงระยะเวลาการทํางานจริง ถาแทงแนวนอนตัวบนสั้น<br />

กวาแทงตัวลาง แสดงวางานใชเวลาที่มากกวาที่กําหนดไวในแผน ดังเชนงานที่ 1.2<br />

ในรูปที่ 5.7 ในทางกลับกัน ถาแทงแนวนอนตัวบนยาวกวาแทงตัวลาง แสดงวางาน<br />

ใชเวลาในการทํานอยกวาที่กําหนดในแผน สวนแทงลายแนวนอนคือ ชวงเวลาที่<br />

วางแผนไวของงานสรุป (summary tasks) สวนแทงสีดําที่มาเชื่อมตอแทงลาย<br />

แนวนอนจะแสดงความกาวหนาของงานสรุป เชน งานหลักที่ 2 แสดงถึงชวงเวลา<br />

จริงที่ใชในการทํางานมากกวาที่วางแผนไว<br />

• สัญญลักษณรูปเพชรสีขาวใชแทนหลักไมลที่ลื่นไถล (slipped milestone) ซึ่ง<br />

หมายถึงกิจกรรมหลักไมลทําเสร็จชากวาที่วางแผนไวตั้งแตแรก เชน งานสุดทาย<br />

เปนตัวอยางของหลักไมลที่ลื่นไถล เพราะรายงานสุดทายและการนําเสนอทําเสร็จ<br />

สมบูรณชากวาที่วางแผน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-13<br />

• รอยละที่อยูทางขวามือของแทงแนวนอนที่แสดงถึงรอยละของงานที่ทําเสร็จของแต<br />

ละงาน เชน รอยละ 100 หมายความวางานเสร็จ รอยละ 50 หมายถึงงานอยู<br />

ระหวางดําเนินการ และเสร็จแลวรอยละ 50<br />

ขอดีของการใชแผนภูมิคือ มีรูปแบบมาตรฐานสําหรับการแสดงขอมูลตารางการทํางาน<br />

ที่แทจริง และที่วางแผน นอกจากนี้มันยังงายแกความเขาใจ และในการสราง แตแผนภูมิมีขอเสียหลักคือ<br />

มันไมไดแสดงความสัมพันธหรือความพึ่งพิงระหวางงาน ถาแผนภูมิถูกสรางโดยซอฟตแวรการบริหาร<br />

โครงการ และงานตางๆ ถูกเชื่อมโยงกัน แลวแผนภูมิจะแสดงความพึ่งพิงระหวางงาน แตจะไมชัดเจน<br />

เหมือนกับที่แสดงในผังเครือขาย<br />

5.6.2 วิธีเสนทางวิกฤต<br />

วิธีเสนทางวิกฤต (CPM) หรือการวิเคราะหเสนทางวิกฤตใชเทคนิคการทําผังเครือขาย<br />

เพื่อใชในการคาดการณชวงระยะเวลาทั้งหมดของโครงการ เสนทางวิกฤตของโครงการคือ ชุดของ<br />

กิจกรรมที่กําหนดเวลาที่เร็วที่สุดที่โครงการสามารถทําไดเสร็จสมบูรณ ซึ่งเปนเสนทางที่ยาวที่สุดในผัง<br />

เครือขาย และกิจกรรมเหลานี้ไมสามารถลาชาได ถากิจกรรมบนเสนทางวิกฤตลาชาจะทําใหวันสิ้นสุด<br />

โครงการตองเลื่อนไป<br />

5.6.2.1 การสรางผังเครือขาย<br />

ดังที่กลาวมาแลววา ผังเครือขายมี 2 แบบคือ ผังเครือขายแบบแสดง<br />

กิจกรรมบนโหนด (AON) และ แบบแสดงกิจกรรมบนเสนลูกศร (AOA) สําหรับเอกสารชุดนี้จะอธิบาย<br />

วิธีการสรางผังเครือขายแบบ AON เนื่องจากซอฟตแวรที่สําคัญหลายตัวใชวิธีการนี้<br />

การเขียนผังเครือขายโครงการจะเริ่มตนดวยโหนดเริ่มตน (start node)<br />

จากนั้นจึงวาดโหนดอื่นตามมาโดยพิจารณาลําดับการตอเนื่องของกิจกรรมดวย เชน จากตารางที่ 5.1 มี<br />

กิจกรรม A และ B ที่ไมมีกิจกรรมกอนหนา ดังนั้นเราจึงวาดโหนด A และ B แยกจากกันจากโหนดเริ่มตน<br />

ซึ่งเปนกิจกรรมกอนหนากิจกรรมทั้งสอง เราเรียกกิจกรรมเริ่มตนวากิจกรรมดัมมี่ (dummy activity)<br />

กิจกรรมนี้เปนกิจกรรมที่ไมมีจริงและไมมีเวลาในการดําเนินการ รวมทั้งไมมีการใชทรัพยากรใดๆ จากนั้น<br />

เราจะลากเสนความสัมพันธกอนหลัง (precedence relationships) ซึ่งเปนเสนลูกศร ระหวางกิจกรรม<br />

เริ่มตนกับกิจกรรม A และ กิจกรรม B เสนลูกศรเปนเสนที่แสดงวากิจกรรมเริ่มตนเปนกิจกรรมเกิดกอน<br />

กิจกรรม A และ B<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-14<br />

ตารางที่ 5.1 กิจกรรมและกิจกรรมสุดทายกอนหนา (predecessors)<br />

(Heizer and Render, 2004)<br />

กิจกรรม กิจกรรมสุดทายกอนหนา ชวงระยะเวลา (อาทิตย)<br />

A - 2<br />

B - 3<br />

C A 2<br />

D A, B 4<br />

E C 4<br />

F C 3<br />

G D, E 5<br />

H F, G 2<br />

จากนั้นเราจึงวาดโหนดสําหรับกิจกรรม C แตกิจกรรม C เปนกิจกรรมที่<br />

เกิดขึ้นหลังจากกิจกรรม A เราจึงวาดเสนลูกศรจากกิจกรรม A ไปยังกิจกรรม C เชนเดียวกัน เราวาด<br />

โหนดสําหรับกิจกรรม D แตมีกิจกรรม A และ B เปนกิจกรรมที่มากอน ดังนั้นเราวาดเสนลูกศรจาก A ไป<br />

D และจาก B ไป D ดังแสดงในรูปที่ 5.8 และเมื่อเราทําแบบเดียวกับกิจกรรมที่เหลือ เราจะไดผัง<br />

เครือขายโครงการที่สมบูรณดังรูปที่ 5.9<br />

กิจกรรม A มากอน กิจกรรม C<br />

A<br />

C<br />

เริ่มตน<br />

B<br />

D<br />

กิจกรรม A และ B มากอนกิจกรรม D<br />

รูปที่ 5.8 ตัวอยางสวนหนึ่งของการวาดผังเครือขายโครงการแบบ AON<br />

(Heizer and Render, 2004)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-15<br />

รูปที่ 5.9 ตัวอยางผังเครือขายโครงการที่สมบูรณ<br />

(Heizer and Render, 2004)<br />

เมื่อเราไดวาดผังเครือขายโครงการเสร็จแลว ขั้นตอนตอไปเราจะ<br />

กําหนดเวลาเริ่มตนและเวลาสิ้นสุดของแตละกิจกรรม จากตารางที่ 5.1 เราสามารถรูวาเวลาในการ<br />

ดําเนินโครงการทั้งหมดคือ 25 อาทิตย แตหลายๆ กิจกรรมสามารถทําไปพรอมๆ กันได ดังนั้นเวลาทั้ง<br />

โครงการอาจนอยกวา 25 อาทิตยได เพื่อใหรูวาโครงการตองใชเวลาเทาไร เราจะตองทําการวิเคราะห<br />

เสนทางวิกฤตของผังเครือขาย<br />

5.6.2.2 การหาเสนทางวิกฤต<br />

เสนทางวิกฤตคือ เสนทางที่ยาวที่สุดของผังเครือขาย เพื่อหาเสนวิกฤต เรา<br />

จะตองคํานวณคาเวลาเริ่มและเวลาสิ้นสุดของแตละกิจกรรม เวลาที่ตองคํานวณหามีดังนี้<br />

เวลาเริ่มตนเร็วที่สุด (Earliest start (ES)) คือ เวลาเร็วที่สุดที่กิจกรรมหนึ่ง<br />

สามารถเริ่มตนทําได โดยสมมติวากิจกรรมกอนหนาทั้งหมดไดทําเสร็จแลว<br />

เวลาเสร็จเร็วที่สุด (Earliest finish (EF)) คือ เวลาที่เร็วที่สุดที่กิจกรรมหนึ่ง<br />

สามารถทําเสร็จได<br />

เวลาเริ่มตนลาชาที่สุด (Latest start (LS)) คือ เวลาที่ชาที่สุดที่กิจกรรม<br />

หนึ่งสามารถเริ่มตนทําได โดยไมมีผลทําใหเกิดความลาชาแกโครงการ<br />

เวลาเสร็จชาที่สุด (Latest finish (LF)) คือ เวลาที่ชาที่สุดที่กิจกรรมหนึ่ง<br />

สามารถทําเสร็จได โดยไมมีผลทําใหเกิดความลาชาแกโครงการ<br />

การจะคํานวณหาเวลาทั้ง 4 คาดังกลาวขางตน เราจะใชวิธีการ 2 วิธีคือ<br />

เสนทางไปขางหนา และเสนทางยอนกลับ (forward and backward passes) วิธีการแรกจะนํามาใชใน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-16<br />

การหา ES และ EF สวนวิธีการหลังใชสําหรับหา LS และ LF รูปที่ 5.10 แสดงสัญญลักษณของเวลาทั้ง<br />

4 คาในโหนด<br />

รูปที่ 5.10 สัญญลักษณที่ใชในโหนด (Heizer and Render, 2004)<br />

เสนทางไปขางหนา (forward pass) เปนการกําหนดตารางเวลาตาม<br />

เสนทางไปขางหนา เพื่อหา ES และ EF รวมทั้งเวลาที่ตองใชในการดําเนินโครงการ การสรางเสนทางไป<br />

ขางหนามีกฏดังนี้<br />

สําหรับกรณี ES มีกฏวา กอนที่กิจกรรมจะสามารถเริ่มได ทุกกิจกรรมที่มา<br />

กอนหนาที่ติดกับกิจกรรมที่ตองการหา ES ตองทําเสร็จ กิจกรรมเริ่มตนมีคา ES และ EF เปน 0 ถา<br />

กิจกรรมมีเพียงกิจกรรมเดียวที่มากอน คา ES ของกิจกรรมมีคาเทากับ EF ของกิจกรรมที่มากอน ถา<br />

กิจกรรมนั้นมีหลายกิจกรรมที่มากอน คา ES ของกิจกรรมคือ คาสูงสุดของคา EF ของกิจกรรมที่มากอน<br />

กิจกรรมที่กําลังพิจารณาทุกกิจกรรม<br />

สวน EF ของกิจกรรมคือ ผลรวมของเวลาของ ES ของกิจกรรม และเวลา<br />

การทํางานของกิจกรรม ดังนั้น<br />

EF = ES + ระยะเวลาของกิจกรรม (duration)<br />

จากรูปที่ 5.11 จะเห็นไดวากิจกรรม Start ไมมีกิจกรรมใดที่มากอน ดังนั้น<br />

เราจึงกําหนดให ES ของกิจกรรม Start เปน 0 EF ของกิจกรรม Start มีคาเปน 0 เชนกัน ตอไปเรา<br />

พิจารณากิจกรรม A และ B กิจกรรมทั้งคูมีกิจกรรม Start เทานั้นที่มากอน เมื่อใชกฎของเวลาเริ่มตนเร็ว<br />

ที่สุด ES ของทั้งกิจกรรม A และ B จึงมีคาเทากับคา EF ของกิจกรรม Start ซึ่งมีคาเปน 0 สวนคา EF<br />

ของกิจกรรม A มีคาเทากับ ES ของกิจกรรม A บวกกับระยะเวลาการทํางานของกิจกรรม A (0+2)<br />

ผลลัพธคือ 2 สวนคา EF ของกิจกรรม B มีคาเทากับ 3<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-17<br />

ES of A<br />

0<br />

Start<br />

0<br />

0<br />

0<br />

EF of A = ES of<br />

A +2<br />

ES<br />

0<br />

A<br />

2<br />

2<br />

Activity<br />

Name<br />

B<br />

3<br />

3<br />

EF<br />

ES of C =<br />

EF of A<br />

2<br />

=Max(2,3)<br />

3<br />

C<br />

2<br />

D<br />

4<br />

4<br />

7<br />

Activity<br />

Duration<br />

4<br />

E<br />

4<br />

8<br />

8<br />

4<br />

G<br />

5<br />

F<br />

3<br />

13<br />

7<br />

ES= Max(EF of D, EF of E)<br />

= Max(8,7) = 8<br />

รูปที่ 5.11 ตัวอยางเสนทางไปขางหนาของโครงการในตารางที่ 5.1 (Heizer and Render, 2004)<br />

13<br />

H<br />

2<br />

15<br />

กิจกรรม C เปนกิจกรรมที่ตามหลังกิจกรรม A คา ES ของกิจกรรม C จึง<br />

เทากับคา EF ของกิจกรรม B (2) และคา EF ของกิจกรรม C เทากับ 4 (2+2)<br />

แตกิจกรรม D เปนกิจกรรมที่ตามหลังกิจกรรม A และ B เพราะฉะนั้น<br />

กิจกรรม D จะเริ่มตนไดเร็วที่สุด ตองหลังจากที่กิจกรรม B ดําเนินการเสร็จแลว ดังนั้น คา ES ของ<br />

กิจกรรม D คือคาที่สูงที่สุดของคา EF ของกิจกรรมที่มากอนกิจกรรม D คา ES ของกิจกรรม D จึงมีคา<br />

เปน 3 และคา EF ของกิจกรรม D เทากับ 7 (3+4)<br />

สวนกิจกรรม E และ F มีคา ES เทากันคือ 4 (เทากับ EF ของกิจกรรม C)<br />

แต EF ของกิจกรรม E เทากับ 8 (4+4) ขณะที่ EF ของกิจกรรม F เทากับ 7 (4+3)<br />

กิจกรรม G มีทั้งกิจกรรม D และ E ที่มากอน โดยการใชกฎการหาเวลาที่<br />

เริ่มตนเร็วที่สุด เราจะไดคา ES ของกิจกรรม G โดยพิจารณาจากคาสูงสุดระหวางคา EF ของกิจกรรม D<br />

และกิจกรรม E ซึ่งคือ 8 และคา EF ของกิจกรรม G เทากับ 13 (8+5)<br />

กิจกรรมสุดทายคือ กิจกรรม H ซึ่งมีกิจกรรม G และ F ที่ตองทําใหเสร็จ<br />

กอน ดังนั้น คา ES ของกิจกรรม H จึงมีคา 13 และคา EF เทากับ 15 (13+2)<br />

เสนทางยอนกลับ (Backward pass) ในการกําหนดตารางเวลาตาม<br />

เสนทางยอนกลับจะทําใหเราสามารถหาเวลาเริ่มตนชาที่สุด (LS) และเวลาที่เสร็จชาที่สุด (LF) ของ<br />

กิจกรรม รวมทั้งเวลายืดหยุน (slack) การสรางเสนทางยอนกลับจะเริ่มจากกิจกรรมสุดทายของผัง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-18<br />

เครือขายโครงการ โดยกําหนดคา LF กอน หลังจากนั้นจึงกําหนด LS กฏสําหรับการหาคาเวลาทั้งสองมี<br />

ดังนี้<br />

กฏสําหรับการหาเวลา LF คือ LF ของกิจกรรมสุดทายเทากับ EF แตถา<br />

กิจกรรมนั้นมีกิจกรรมที่ตามมาเพียงกิจกรรมเดียว คา LF ของกิจกรรมนั้นเทากับคา LS ของกิจกรรมที่<br />

ตามมา แตถากิจกรรมนั้นมีกิจกรรมที่ตามมามากกวาหนึ่งกิจกรรม คา LF ของกิจกรรมนั้นคือ คา LS ที่<br />

นอยที่สุดของกิจกรรมที่ตามมาทั้งหมด<br />

สวนกฏการกําหนดคา LS คือ ความแตกตางระหวางเวลาที่เสร็จชาที่สุด<br />

กับเวลาการทํางานของกิจกรรมนั้น ดังนั้น<br />

LS = LF –ระยะเวลาของกิจกรรม<br />

ผลการเดินถอยหลัง จะได LF และ LS ดังรูปที่ 5.12<br />

0<br />

0<br />

LS<br />

0<br />

ES<br />

Start<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

A<br />

2<br />

2<br />

2<br />

EF<br />

LF = Min(2,4)<br />

= 2<br />

Activity<br />

Name<br />

2<br />

2<br />

C<br />

2<br />

4<br />

4<br />

4<br />

4<br />

E<br />

4<br />

8<br />

8<br />

4<br />

10<br />

F<br />

3<br />

LF = Min(LS of E, LS of F)<br />

= Min(4,10) = 4<br />

7<br />

13<br />

H<br />

13 15<br />

13 15<br />

2<br />

0<br />

1<br />

Activity<br />

Duration<br />

B<br />

3<br />

3<br />

4<br />

3<br />

4<br />

D<br />

4<br />

LS = LF- 4<br />

7<br />

8<br />

8<br />

8<br />

G<br />

5<br />

13<br />

13<br />

LS = EF of<br />

project<br />

รูปที่ 5.12 ตัวอยางเสนทางยอนกลับของโครงการในตารางที่ 5.1 (Heizer and Render, 2004)<br />

จากรูปที่ 5.12 การหา LS และ LF จะเริ่มจากกิจกรรมสุดทาย โดยใหคา<br />

LF ของกิจกรรมสุดทายเทากับ EF ของกิจกรรมสุดทาย ดังนั้น LF ของกิจกรรม H จึงเทากับ 15 โดยใช<br />

กฎการหา LS เราจะได LS ของกิจกรรม H คือ ผลตางระหวางคา LF กับระยะเวลาการทํากิจกรรม ซึ่งมี<br />

คาเทากับ 13 (15-2)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-19<br />

แตเนื่องจากกิจกรรม H ทําตามหลังกิจกรรม G และ F ซึ่งการเริ่มกิจกรรม<br />

H ทําไดก็ตอเมื่อกิจกรรมทั้งสองตองแลวเสร็จ ดังนั้น LF ของกิจกรรม G และ F เทากับ LS ของกิจกรรม<br />

H ซึ่งเทากับ 13 สวน LS ของกิจกรรม G เทากับ 8 (13 – 5) และ LS ของกิจกรรม F เทากับ 10 (13 – 3)<br />

ในทํานองเดียวกัน เราสามารถหาคา LF ของกิจกรรม E ไดเทากับ 8<br />

(เทากับ LS ของกิจกรรม G) และ LS ของกิจกรรม E ไดเทากับ 4 (8-4) เชนเดียวกัน คา LF ของกิจกรรม<br />

D เทากับ 8 (เทากับ LS ของกิจกรรม G) และ LS ของกิจกรรม D ไดเทากับ 4 (8-4)<br />

สวนกิจกรรม C เปนกิจกรรมที่มากอนกิจกรรม E และ F โดยกฎของเวลา<br />

เสร็จที่ชาที่สุด เราจะหา LF ของกิจกรรม C ได 4 ซึ่งพิจารณาจากคาที่นอยที่สุดระหวางคา LS ของ E<br />

และ F (4, 10) จากนั้น เราจะหาคา LS ของกิจกรรม C ไดเทากับ 2 (4 – 2)<br />

ตอไปเราคํานวณหาคา LF และ LS ของกิจกรรม B ไดเทากับ 4 (เทากับ<br />

LS ของกิจกรรม D ) และ 1 (4 – 3) ตามลําดับ<br />

สวนคา LF ของกิจกรรม A คํานวณไดเชนเดียวกับการหาคา LF ของ<br />

กิจกรรม C โดยจะไดคา LF เทากับ 2 (คาที่นอยที่สุดระหวาง 2 และ 4) และคา LS จะได 0<br />

จากนั้นเราตองคํานวณหาเวลายืดหยุน เพื่อกําหนดเสนทางวิกฤต เวลา<br />

ยืดหยุน (slack time) คือ วลาเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กิจกรรมสามารถลาชา โดยไมทําใหโครงการเกิดความ<br />

ลาชาตามไปดวย<br />

เวลายืดหยุน = LS – ES หรือ เวลายืดหยุน = LF – EF<br />

ตารางที่ 5.2 เวลายืดหยุนของโครงการ (Heizer and Render, 2004)<br />

กิจกรรม ES EF LS LF เวลายืดหยุน<br />

LS-ES<br />

อยูบนเสนวิกฤต<br />

หรือไม<br />

A 0 2 0 2 0 Y<br />

B 0 3 1 4 1 N<br />

C 2 4 2 4 0 Y<br />

D 3 7 4 8 1 N<br />

E 4 8 4 8 0 Y<br />

F 4 7 10 13 6 N<br />

G 8 13 8 13 0 Y<br />

H 13 15 13 15 0 Y<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-20<br />

กิจกรรมที่มีคาเวลายืดหยุนเปนศูนย เรียกวากิจกรรมวิกฤต และเปน<br />

กิจกรรมที่อยูบนเสนทางวิกฤต เสนทางวิกฤตเปนเสนที่เริ่มจากกิจกรรมเริ่มตนและจบที่กิจกรรมสุดทาย<br />

ของโครงการ และมีเฉพาะกิจกรรมวิกฤตเทานั้น ตารางที่ 5.2 แสดงเวลายืดหยุนของโครงการ และรูปที่<br />

5.13 แสดงเสนทางวิกฤตของโครงการในตารางที่ 5.1 ซึ่งคือ เสน Start-A-C-E-G-H โดยมีเวลาเทากับ<br />

2+2+4+5+2 =15<br />

Start<br />

0 0<br />

0 0<br />

0<br />

A<br />

C<br />

F<br />

0 2 2 4<br />

4 7<br />

0<br />

2<br />

2 2<br />

2<br />

4<br />

Slack=0 Slack=0<br />

0<br />

B<br />

3 3<br />

D<br />

7<br />

1<br />

3<br />

4 4<br />

4<br />

8<br />

Slack=1 Slack=1<br />

4<br />

E<br />

8<br />

4<br />

4<br />

8<br />

Slack=0<br />

10 13<br />

3<br />

Slack=6<br />

13<br />

13<br />

8<br />

G<br />

13<br />

8<br />

5<br />

13<br />

Slack=0<br />

รูปที่ 5.13 แสดงเสนทางวิกฤต (Heizer and Render, 2004)<br />

H<br />

2<br />

15<br />

15<br />

เสนทางวิกฤตแสดงเวลาที่สั้นที่สุดที่โครงการสามารถทํางานไดเสร็จ<br />

สมบูรณ ถึงแมวาเสนทางวิกฤตคือ เสนทางที่ยาวที่สุด แตเปนเวลาที่นอยที่สุดที่ใชเพื่อทําใหโครงการ<br />

เสร็จสมบูรณ ถามีหนึ่งหรือมากกวาหนึ่งกิจกรรมบนเสนทางวิกฤตใชเวลาที่มากกวาที่วางแผน<br />

ตารางเวลาทั้งโครงการจะลื่นไถล นอกเสียจากวาผูจัดการโครงการจะทําการแกไขความลาชา<br />

ประเด็นหนึ่งของการวิเคราะหเสนทางวิกฤตที่อาจทําใหเกิดความสับสน<br />

คือ เสนทางวิกฤตสามารถมีไดมากกวา 1 เสนหรือไม เสนทางวิกฤตมีการเปลี่ยนหรือไม เสนทางวิกฤต<br />

สามารถมีไดมากกวา 1 เสนทาง ผูจัดการโครงการควรติดตามการทํางานของกิจกรรมบนเสนทางวิกฤต<br />

อยางใกลชิด เพื่อหลีกเลี่ยงความลาชาของโครงการ ถาโครงการมีเสนทางวิกฤตมากกวา 1 เสนทาง<br />

ผูจัดการโครงการตองจับตาดูทุกเสนทาง<br />

เสนทางวิกฤตของโครงการสามารถเปลี่ยนไดขณะที่โครงการเดินหนา เชน<br />

สมมติวา กิจกรรม A C D G และ H ทั้งหมดเริ่มตนและสิ้นสุดตามแผนที่วางไว และสมมติวา กิจกรรม D<br />

ใชเวลามากกวา 4 วัน เปน 6 วัน มันทําใหเสนทาง B-D-G-H ยาวกวาเสนทางอื่น และกลายเปนเสนทาง<br />

วิกฤตใหมอีกเสน ดังนั้นเสนทางวิกฤตสามารถเปลี่ยนได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-21<br />

5.6.2.3 การวิเคราะหเสนทางวิกฤตเพื่อแลกกับเวลาของโครงการ<br />

ถาผูจัดการโครงการรูวางานหนึ่งบนเสนทางวิกฤตชากวาเวลาที่กําหนดใน<br />

ตารางเวลา ผูจัดการโครงการจําเปนตองตัดสินใจที่จะทําอะไรกับงานที่ลาชา โดยพิจารณาวา<br />

ตารางเวลาสามารถตอรองใหมกับผูมีสวนไดเสียของโครงการหรือไม มีทรัพยากรพอที่จะจัดสรรเพิ่ม<br />

ใหกับงานหรือไม จะเปนไปไดหรือไมที่โครงการจะเสร็จชากวาที่กําหนด<br />

เทคนิคที่สามารถชวยผูจัดการโครงการใหสามารถลดระยะเวลาของ<br />

เสนทางวิกฤตใหสั้นลง เราเรียกวาการเรงรัดเวลา (crashing) เนื่องจากวิธีเสนทางวิกฤตมีการใชเวลา 2<br />

ชุดคือ เวลาปกติ หรือ เวลามาตรฐาน (normal or standard time) เพื่อใชในการคํานวณหาเวลาเริ่มตน<br />

และเวลาสิ้นสุดของกิจกรรม ดังนั้นคาใชจายของกิจกรรมจึงเปนตนทุนปกติ (normal cost) เวลาอีกชุด<br />

หนึ่งคือ เวลาที่สั้นที่สุดที่ใชในการทํากิจกรรมนั้นใหเสร็จ เราเรียกวา เวลาเรงรัด (crash time) คาใชจาย<br />

ของเวลาเรงรัดจึงเรียกตนทุนเรงรัด (crash cost) ดังนั้น โดยปกติตนทุนเวลาเรงรัดที่ใชในการทํา<br />

กิจกรรมใหเสร็จจึงสูงกวาตนทุนปกติ<br />

ขั้นตอนในการลดระยะเวลาโครงการ มีดังนี้<br />

ขั้นตอนที่ 1 คํานวณ ตนทุนเรงรัดเวลาตอ 1 ชวงเวลา ของแตละกิจกรรม<br />

ในผังเครือขาย เชน 1 อาทิตย ถาตนทุนเรงรัดเวลาเปนเสนตรงตามเวลา สูตรที่ใชคือ<br />

ตนทุนเรงรัดเวลาตอ 1 ชวงเวลา = (ตนทุนเรงรัดเวลา–ตนทุนปกติ) / (เวลา<br />

ปกติ– เวลาเรงรัด)<br />

ขั้นตอนที่ 2 หาเสนทางวิกฤตในผังเครือขายโครงการ แลวระบุกิจกรรม<br />

วิกฤต<br />

ขั้นตอนที่ 3 ถามีเสนทางวิกฤตเพียง 1 เสน ใหเลือกกิจกรรมบนเสนทาง<br />

วิกฤตที่ (ก) สามารถทําใหสั้นลง และ (ข) ตนทุนเรงรัดเวลาตอ 1 ชวงเวลามีคานอยที่สุด ใหเรงรัดเวลา<br />

ของกิจกรรมนี้ 1 ชวงเวลา ถามีเสนทางวิกฤตมากกวา 1 เสนทาง ใหเลือกกิจกรรมที่ตองการเรงรัดเวลา<br />

จากเสนทางวิกฤตแตละเสนที่มีคุณลักษณะดังนี้ (ก) กิจกรรมที่ถูกเลือกยังสามารถทําใหเวลานอยลงได<br />

และ (ข) ตนทุนเรงรัดเวลาทั้งหมดตอ 1 ชวงเวลาของทุกกิจกรรมที่ถูกเลือกต่ําที่สุด ใหเรงรัดเวลาของแต<br />

ละกิจกรรมครั้งละ 1 ชวงเวลา กิจกรรมหนึ่งอาจอยูบนเสนทางวิกฤตมากกวา 1 เสนทาง<br />

ขั้นตอนที่ 4 ปรับปรุงเวลาของทุกกิจกรรม ถาไดเวลาที่ตองการ ใหหยุด แต<br />

ถายังไมได ใหกลับไปทําขั้นตอนที่ 2<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-22<br />

ตารางที่ 5.3 ขอมูลเวลา-ตนทุนปกติและการเรงรัด (Heizer and Render, 2004)<br />

เวลา (อาทิตย)<br />

ตนทุน (บาท)<br />

ปกติ เรงรัด ปกติ เรงรัด<br />

ตนทุนเรงรัดเวลา<br />

ตอ 1 ชวงเวลา<br />

อยูบนเสน<br />

วิกฤต<br />

หรือไม<br />

A 2 1 22,000 22,750 750 Y<br />

B 3 1 30,000 34,000 2,000 N<br />

C 2 1 26,000 27,000 1,000 Y<br />

D 4 3 48,000 49,000 1,000 N<br />

E 4 2 56,000 58,000 1,000 Y<br />

F 3 2 30,000 30,500 500 N<br />

G 5 2 80,000 84,500 1,500 Y<br />

H 2 1 16,000 19,000 3,000 Y<br />

ตัวอยางการลดระยะเวลาโครงการและการคํานวณคาใชจายในการเรงเวลา<br />

จากตัวอยางโครงการในตารางที่ 5.1 ที่มีระยะเวลาในการดําเนินโครงการ<br />

ทั้งหมด 15 อาทิตย สมมติวาผูบริหารใหเวลาเพียง 13 อาทิตย และตารางที่ 5.3 แสดงเวลาปกติ และ<br />

เวลาเรงรัดในการทํางานแตละกิจกรรม และตนทุนปกติ พรอมตนทุนเรงรัดเวลา<br />

กิจกรรม B มีเวลาปกติ 3 อาทิตย และเวลาเรงรัดคือ 1 อาทิตย ซึ่ง<br />

หมายความวากิจกรรม B สามารถทําเสร็จภายใน 1 อาทิตย ดังนั้น จึงลดเวลาไดถึง 2 อาทิตย ตนทุนที่<br />

เพิ่มขึ้นคือ 4,000 บาท (ความแตกตางระหวางตนทุนเรงรัดเวลากับตนทุนปกติ (34,000 – 30,000))<br />

ดังนั้นตนทุนเรงรัดเวลาคือ อาทิตยละ 2,000 บาท<br />

Start<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

0<br />

Activity A was<br />

crashed by 1 week<br />

0<br />

0<br />

A<br />

1<br />

B<br />

3<br />

1<br />

1<br />

3<br />

3<br />

1<br />

C<br />

1 2<br />

3<br />

3<br />

D<br />

4<br />

3<br />

3<br />

7<br />

7<br />

รูปที่ 5.14 เสนทางวิกฤตใหมหลังจากการรนเวลาการทํางานของกิจกรรม A 1 อาทิตย<br />

(Heizer and Render, 2004)<br />

3<br />

3<br />

E<br />

4<br />

7<br />

7<br />

3<br />

9<br />

7<br />

7<br />

F<br />

3<br />

G<br />

5<br />

6<br />

12<br />

12<br />

12<br />

12<br />

12<br />

H<br />

2<br />

14<br />

14<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-23<br />

เสนทางวิกฤตขณะนี้คือ A-C-E-G-H กิจกรรมวิกฤตที่มีตนทุนเรงรัดเวลาที่<br />

นอยที่สุดคือ กิจกรรม A (750) ดังนั้นถาลดเวลาการทํางานของกิจกรรม A จะทําใหเวลาทั้งโครงการลด<br />

ไป 1 อาทิตย เหลือเปน 14 อาทิตย โดยมีตนทุนเพิ่ม 750 บาท และกิจกรรม A ไมสามารถลดเวลาการ<br />

ทํางานไดตอไปอีก<br />

ถึงตอนนี้ เสนทาง A-C-E-G-H ยังคงเปนเสนทางวิกฤตที่มีเวลาทั้งหมด 14<br />

อาทิตย แตมีเสนทางใหมที่เปนเสนทางวิกฤตอีกคือ B-D-G-H ที่มีระยะเวลา 14 อาทิตยเชนกันดังรูปที่<br />

5.14 แตเรายังจําเปนตองลดเวลาการทํางานของกิจกรรมวิกฤตของเสนทางวิกฤตทั้งสองลงอีก เราตอง<br />

เลือกกิจกรรมจากเสนวิกฤตเสนทางละกิจกรรม โดยยึดหลักการที่วา คาใชจายในการลดเวลาตองนอย<br />

ที่สุด ดังนั้นกิจกรรมวิกฤตที่จะลดเวลาลงคือ กิจกรรม C และ D หรือ D และ E หรือ กิจกรรม G ซึ่ง<br />

คาใชจายทั้งสองทางเลือกแรกคือ 2,000 บาท สวนคาใชจายของกิจกรรม G คือ 1,500 บาท จากการ<br />

วิเคราะหดังกลาว ผูจัดการโครงการควรเลือกลดเวลาการทํางานของกิจกรรม A และ G เพราะตนทุน<br />

นอยที่สุด คือ 750 + 1,500 = 2,250 บาท และเวลาของโครงการลดลงเหลือ 13 อาทิตยตามที่ตองการ<br />

5.6.3 การจัดตารางเวลาโซวิกฤต (Critical Chain Scheduling)<br />

ตารางเวลาโซวิกฤตเปนเทคนิคอีกเทคนิคหนึ่งที่ใชในการจัดการกับตารางเวลาของ<br />

โครงการใหเสร็จตามวันที่กําหนด โดยการประยุกตทฤษฎีขอจํากัด (Theory of Constraint) ทฤษฎี<br />

ขอจํากัดเปนปรัชญาการบริหารที่พัฒนาโดย โกลดแรตต (Goldratt) ซึ่งยึดหลักความจริงที่วา ระบบที่<br />

ซับซอนใดๆ ณ จุดเวลาใดๆ จะมีขอจํากัดที่จํากัดความสามารถของระบบที่จะบรรลุเปาหมายของระบบ<br />

เพื่อใหระบบไดรับการปรับปรุงใหดีขึ้นอยางชัดเจน ขอจํากัดตางๆ ควรระบุออกมา และระบบตองไดรับ<br />

การบริหาร โดยมีขอจํากัดเหลานั้นอยูในใจ การจัดตารางเวลาโซวิกฤตแตกตางจากวิธีการแบบเสนทาง<br />

วิกฤต วิธีการหลังไมไดตระหนักถึงการจัดสรรทรัพยากรที่หายากหรือขาดแคลน (scare resources) ผู<br />

ประมาณการอาจจะสมมติวาทรัพยากรตางๆ ที่ตองการมีพรอมใหสําหรับกิจกรรมของโครงการ<br />

การจัดตารางเวลาโซวิกฤตตระหนักถึงทรัพยากรที่จํากัด และรวมเวลาที่เปนตัวกันชน<br />

(buffer) ทั้งหมดของแตละงานเขาไวดวยกัน เพื่อปองกันวันที่โครงการเสร็จสมบูรณไมใหลาชา<br />

แนวความคิดที่สําคัญที่เกี่ยวของกับการจัดตารางเวลาโซวิกฤตคือ การทํางานหลายงาน การประมาณ<br />

การระยะเวลา (duration estimation) อาการแบบนักเรียน (student syndrome) กฎพารคินสัน<br />

(Parkinson’s law) และกันชนเวลา (time buffers)<br />

การทํางานหลายงาน เกิดขึ้นเมื่อทรัพยากรทํางานมากกวาหนึ่งงาน สถานการณนี้<br />

เกิดขึ้นบอยๆ ในโครงการ พนักงานไดรับหมอบหมายใหทํางานหลายงานในโครงการเดียวกัน หรือตาง<br />

โครงการ จากรูปที่ 5.15 สมมติวาพนักงานทํางานที่แตกตางกัน 3 งาน เรียก งานที่ 1 งานที่ 2 และ งาน<br />

ที่ 3 ถาพนักงานไมทํางานหลายงานพรอมกัน แตทํางานใหเสร็จทีละงานเรียงลําดับ งานที่ 1 ทําเสร็จ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-24<br />

หลังจากเวลาผานไป 10 วัน งานที่ 2 ทําเสร็จหลังจากเวลาผานไป 20 วัน และงานที่ 3 ทําเสร็จหลังจาก<br />

เวลาผานไป 30 วัน ดังนั้นจึงใชเวลาในการทํางาน 3 งาน เปนเวลา 30 วัน อยางไรก็ตาม เพราะหลายๆ<br />

คนที่อยูในสถานการณเชนนี้พยายามทําใหเจาของงานทุกคนพอใจ พนักงานชอบเฉลี่ยเวลาในการ<br />

ทํางานหลายๆ งาน โดยทํางานที่ 1 เปนชวงเวลาหนึ่ง แลวจึงไปทํางานที่ 2 และงานที่ 3 หลังจากนั้นจึง<br />

กลับมาทํางานที่ 1 ใหม เปนดังนี้ไปเรื่อยๆ ดังรูปที่ 5.16 การทํางานแบบหลายงานตามตัวอยางจะพบวา<br />

งานที่ 1 เสร็จหลังจากเวลาผานไป 20 วันแทนที่จะเปน 10 วัน งานที่ 2 เสร็จหลังจากเวลาผานไป 25 วัน<br />

และงานที่ 3 ยังคงเสร็จวันที่ 30 การทํางานหลายงานพรอมกันสามารถทําใหงานลาชาไดเพราะตอง<br />

เสียเวลาในการเริ่มตนงานใหมอีกครั้ง ซึ่งตองเสียเวลาในการทบทวนสิ่งที่ไดทํามากอนหนานี้ ดังนั้น<br />

เวลาที่ตองใชในการทํางานจึงเพิ่มขึ้น<br />

รูปที่ 5.15 การทํางานทีละงาน (Schwalbe, 2007)<br />

รูปที่ 5.16 การทํางานหลายงาน (Schwalbe, 2007)<br />

การจัดตารางโซวิกฤตสมมติวาทรัพยากรไมทํางานหลายงาน หรืออยางนอยตองใหทํา<br />

หลายงานนอยที่สุด พนักงานไมควรถูกมอบหมายงาน 2 งานพรอมกัน ทฤษฎีโซวิกฤตเสนอวา ควรมี<br />

การจัดลําดับความสําคัญของงาน ดังนั้นคนที่ทํางานมากกวา 1 งานในเวลาเดียวกันจะไดรูวางานไหน<br />

สําคัญ การปองกันการทํางานหลายงานพรอมกันเปนการหลีกเลี่ยงความขัดแยงทางทรัพยากร และเวลา<br />

ที่เสียไปในการเริ่มตนงาน เมื่อมีการเปลี่ยนงาน<br />

การประมาณการเวลาทํางาน แนวความคิดที่จําเปนเพื่อการปรับปรุงวันสิ้นสุด<br />

โครงการดวยการจัดตารางเวลาโซวิกฤตคือ การเปลี่ยนวิธีที่เราทําการประมาณการเวลาทํางาน หลายๆ<br />

คนเพิ่มเวลาเผื่อเหลือเผื่อขาด (contingency) หรือเวลาที่ปลอดภัย (safety time) ซึ่งจะเปนชวง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-25<br />

ประมาณ 50 – 90 % ของเวลาที่ไดประมาณการ เชน ถาประมาณการวา งานที่ 1 ทําเสร็จในเวลา 2 วัน<br />

เพื่อความปลอดภัย ผูประมาณการจะเพิ่มเวลาการทํางานอีกประมาณ 50 – 90 % คือ 1 – 2 วัน ดังนั้น<br />

งานที่ 1 จะถูกกําหนดใหใชเวลา 3 – 4 วัน<br />

อาการแบบนักเรียน โกลดแรตตไดกลาววาพฤติกรรมการทํางานของคนมีลักษณะ<br />

คลายกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ทํางานสงครู นักเรียนสวนใหญจะไมรีบทํางานใหเสร็จกอน แตจะคอย<br />

ใหใกลเวลาสงงานจึงจะเริ่มทํางานนั้น ดังนั้น ถาเราใหเวลามากเทาไร คนจะใชเวลาทั้งหมดเทาที่<br />

กําหนดให ซึ่งเปนไปตามกฎพารคินสัน<br />

กันชนเวลา การจัดตารางเวลาโซวิกฤตจะขจัดเวลาที่เผื่อไวของแตละงานออก และ<br />

สรางกันชนโครงการ (project buffer) ไวทายสุดของงานสุดทาย กอนถึงวันสิ้นสุดโครงการ การจัดตาราง<br />

โซวิกฤตยังปกปองงานบนโซวิกฤตไมใหลาชา โดยการใชกันชนการปอน (feeding buffers) ซึ่งเปนเวลา<br />

เพิ่มตองานสุดทายของเสนทางที่ปอนเขาสูโซวิกฤต การประมาณการงานแบบการจัดตารางเวลาโซ<br />

วิกฤตควรจะสั้นกวาวิธีการดั้งเดิม เพราะแตละงานไมมีกันชนของมันเอง การไมมีกันชนงานหมายความ<br />

วาการเกิดกฏพารคินสัน ควรนอยลง<br />

5.6.3.1 ขั้นตอนการพัฒนาตารางเวลาโซวิกฤต<br />

วิธีการจัดการตารางเวลาดวยโซวิกฤตเหมือนกับการจัดการตารางเวลา<br />

ดวยวิธีการดั้งเดิมคือ มีการสรางผังเครือขาย กําหนดเสนทางวิกฤต และกําหนดทรัพยากรใหกับกิจกรรม<br />

บนเสนทางวิกฤต หลังจากจุดนี้การจัดการตารางเวลาดวยโซวิกฤตมีวิธีการมีขั้นตอนการดําเนินการดังนี้<br />

• การสรางผังเครือขายตารางเวลาเริ่มเร็วที่สุด (earliest time)<br />

รูปที่ 5.17 แสดงตารางเวลาการทํางานที่เริ่มเร็วที่สุดของโครงการที่มี<br />

งาน 5 งาน ตารางเวลานี้สรางเหมือนตารางเวลาที่ใชวิธี CPM ระยะเวลาของโครงการคาดวาจะเสร็จใน<br />

80 วัน ในรูปนี้เสนทางวิกฤตคือ A1.1 A1.2 และ A3<br />

รูปที่ 5.17 ตารางเวลาที่เริ่มเร็วที่สุด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-26<br />

• การปรับเปลี่ยนจากตารางเวลาเริ่มเร็วที่สุดเปนตารางเวลาเริ่ม<br />

ชาที่สุด (latest time) และการกําหนดทรัพยากร<br />

ผูจัดการโครงการที่ใชการจัดการตารางเวลาโซวิกฤตจะปรับเปลี่ยน<br />

ตารางเวลาจากรูปที่ 5.17 (ซึ่งเปนตารางเวลาสรางจากแนวความคิดที่วาเริ่มงานเร็วที่สุด) มาเปน<br />

ตารางเวลาที่งานเริ่มชาที่สุด ดังรูปที่ 5.18 การปรับเปลี่ยนนี้ไดขจัดเวลาที่เผื่อของงานทุกงานออก โดย<br />

ปกติจะหักออกประมาณรอยละ 50 (จากการศึกษาของโกลดแรตต) จากนั้นผูจัดการโครงการได<br />

กําหนดใหสมาชิกของทีมงาน 4 คนรับผิดชอบการทํางาน<br />

รูปที่ 5.18 ตารางเวลาที่เริ่มชาที่สุดและการกําหนดทรัพยากร<br />

• การแกปญหาความขัดแยงดานทรัพยากร<br />

จากรูปที่ 15.18 พบวามีปญหาความขัดแยงดานทรัพยากร เนื่องจาก<br />

มีการมอบหมายใหเขียวทํางาน 2 งาน คือ A1.2 และ A2.2 ที่ตองทํางานพรอมกัน ตามหลักการของการ<br />

จัดการตารางเวลาโซวิกฤตที่ไมใหพนักงานทํางานหลายงานในเวลาเดียวกัน ทางแกปญหามีได 2<br />

วิธีการ ดังแสดงในรูปที่ 5.19 วิธีการแรกใหเขียวทํางาน A1.2 เสร็จกอนจึงเริ่มทํางาน A2.2 ดังนั้นเวลา<br />

ของโครงการจะเพิ่มเปน 45 วัน สวนวิธีการที่ 2 กําหนดใหเขียวทํางาน A2.2 กอนแลวจึงทํางาน A1.2<br />

ดวยวิธีการนี้ ระยะเวลาของโครงการเปน 40 วัน เราอาจคิดวาวิธีการที่ 2 นาจะดีกวาวิธีการแรก<br />

เนื่องจากระยะเวลาของโครงการสั้นกวา แตอยาลืมวา ณ ขณะนี้เรายังไมไดเพิ่มกันชนใดเขาไปใน<br />

ตารางเวลา<br />

• กําหนดเสนโซวิกฤต กันชนโครงการ และกันชนการปอน<br />

หลักการของการจัดการตารางเวลาโซวิกฤตคือ การปกปองทรัพยากร<br />

อันจํากัดและวันสิ้นสุดโครงการ โดยการใชกันชน (buffer) กันชนที่สําคัญมี 2 ประเภทคือ กันชน<br />

โครงการ และ กันชนการปอน ขนาดของกันชนทั้งสองนี้ โกลดแรตตไดเสนอแนะวาควรเปนครึ่งหนึ่งของ<br />

ระยะเวลาของงานที่อยูบนเสนทางที่ตองอยูกอนจุดที่ตองใสกันชน โดยไมรวมชองวาง กอนกําหนดกัน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-27<br />

ชนทั้ง 2 ประเภท เราตองหาเสนโซวิกฤตกอน เสนโซวิกฤตเปนเสนทางที่ยาวที่สุดในบรรดาเสนทาง<br />

ทั้งหมดที่ปรากฎในผังเครือขาย<br />

รูปที่ 5.19 ความขัดแยงดานทรัพยากรจุดแรก<br />

สําหรับทางเลือกแรกมีเสนทาง 2 เสนทางคือ A1.1-A1.2-A2.2-A3<br />

และ A2.1-A2.2-A3 แตเสนทางแรกเปนเสนโซวิกฤตเนื่องจากเปนเสนทางที่ยาวที่สุด จากนั้นใหเพิ่มกัน<br />

ชนการปอนขนาด 5 วัน (50% ของเวลาของกิจกรรม A2.1) ระหวางงาน A2.1 กับ A2.2 เนื่องจากงาน<br />

A2.1 เปนงานที่ปอนเขาสูเสนทางวิกฤต สุดทายจึงเพิ่มกันชนโครงการขนาด 22 วัน (50% ของ<br />

(15+10+5+15) ตอจากงาน A 3 ระยะเวลาของโครงการจึงเปน 67 วัน ดังแสดงในรูปที่ 5.20<br />

รูปที่ 5.20 ตารางเวลาโซวิกฤตของทางเลือกแรก<br />

สวนทางเลือกที่สอง มีเสนทาง 2 เสนคือ A1.1-A1.2-A3 และ A2.1-<br />

A2.2-A1.2-A3 ทั้งคูเปนเสนโซวิกฤต เนื่องจากใชเวลา 40 วันเทากันทั้ง 2 เสน เราจึงสามารถหยิบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-28<br />

เสนทางใดมาดําเนินการกําหนดกันชนการปอนและกันชนโครงการก็ได ทั้ง 2 เสนทางใหระยะเวลา<br />

โครงการเทากันคือ 70 วัน ซึ่งมากกวาทางเลือกที่ 1 รูปที่ 5.21 แสดงผลลัพธของการดําเนินการดังกลาว<br />

รูปที่ 5.21 ตารางเวลาโซวิกฤตของทางเลือกที่สอง<br />

สําหรับเสนโซวิกฤตเสนแรกนั้น เราเพิ่มกันชนการปอนขนาด 8 วัน<br />

(ประมาณ 50% ของผลรวมของงาน A2.1 และ A2.2) ระหวางงาน A2.2 กับ A1.2 เนื่องจาก งาน A2.2<br />

เปนงานสุดทายของเสนทางที่ปอนเขาสูเสนโซวิกฤต จากนั้นเราจึงเพิ่มกันชนโครงการขนาด 22 วัน ไว<br />

หลังงานสุดทายของเสนโซวิกฤต สวนเสนโซวิกฤตเสนที่ 2 เราทําทํานองเดียวกันกับเสนแรก<br />

ลีช (Leach) ไดเสนอวิธีการคํานวณขนาดกันชนโครงการและกันชน<br />

การปอนใหคิดจากรากที่สองของผลรวมของความแตกตางระหวางเวลาที่ใชทํางานเดิมกับเวลาที่ลดลง<br />

ยกกําลังสอง สมมุติวา เสนทางวิกฤตมี 4 งาน แตละงานใชเวลา 2 อาทิตย ดังนั้นเสนทางนี้ใชเวลา<br />

ทั้งหมด 8 อาทิตย แตถาเราขจัดเวลาที่เผื่อของแตละงานออก เวลาทั้งหมดจึงเปน 4 อาทิตย (ลดลง 50<br />

%) ผลตางระหวางเวลาเดิมกับเวลาที่ลดลงของแตละงานยกกําลังสองคือ 1 2 เมื่อรวมทุกงานจะไดผล<br />

รวมเปน 4 และรากที่สองของ 4 คือ 2 ดังนั้นขนาดกันชนจึงเปน 2 อาทิตย<br />

5.6.4 เทคนิคการทบทวนและการประเมินผลการทํางาน: เทคนิค PERT<br />

PERT เปนเทคนิการบริหารเวลาโครงการอีกเทคนิคหนึ่ง ที่ใชประมาณการระยะเวลา<br />

โครงการ เมื่อมีความไมแนนอนเกี่ยวกับการประมาณชวงระยะเวลาการทํางานแตละกิจกรรมสูง โดยเริ่ม<br />

จากการจัดทําโครงสรางจําแนกงานออกเปนงานหรือกิจกรรมตางๆ งานสุดทายกอนหนา ระยะเวลาที่<br />

คาดในการดําเนินงานแตละงาน จากนั้นนําขอมูลมาจัดทําผังเครือขายงาน โดยอาศัยเทคนิคแบบ AON<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-29<br />

หรือแบบ AOA ก็ได แตการคาดคะเนระยะเวลาในการดําเนินงานแตละงาน ใชการประมาณการเวลาที่<br />

นาจะเปนไปได (probabilistic time estimate) ที่ประกอบดวยคา 3 คา ดังที่ไดกลาวในหัวขอที่ 5.5<br />

• ระยะเวลาที่คาดคะเนในแงดี (optimistic) กําหนดใหแทนดวย a<br />

• ระยะเวลาที่คาดคะเนวาจะเกิดขึ้นไดมากที่สุด (most likely) กําหนดให<br />

แทนดวย b<br />

• ระยะเวลาที่คาดคะเนในแงราย (pessimistic) กําหนดใหแทนดวย c<br />

ดังนั้น ระยะเวลาของแตละกิจกรรมที่ไดจากการคาดคะเนเราเรียกวาระยะเวลา<br />

คาดหวังที่กิจกรรมจะแลวเสร็จ (expected duration: t e ) หรือคาเฉลี่ยแบบถวงน้ําหนัก (weighted<br />

average) โดยมีสูตรดังนี้<br />

t = a+4b+c<br />

e<br />

6<br />

เราสามารถวัดความแปรปรวนที่ระยะเวลาของกิจกรรมอาจแตกตางไปจากระยะเวลา<br />

คาดหวังที่คํานวณไดจากสูตร สูตรคํานวณหาความแปรปรวนคือ<br />

ความแปรปรวน (variance)<br />

v =<br />

c - a<br />

2<br />

⎛ ⎞<br />

⎜ ⎟<br />

⎝ 6 ⎠<br />

ถาคาความแปรปรวนสูงแสดงวาระยะเวลาที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกตางไปจากระยะเวลา<br />

คาดหวังคอนขางมาก ซึ่งแสดงวากิจกรรมมีโอกาสแลวเสร็จหลังระยะเวลาคาดหวังไดมาก<br />

ตารางที่ 5.4 เปนตัวอยางการคํานวณระยะเวลาคาดหวัง คาความแปรปรวน จาก<br />

ขอมูลในตารางที่ 5.4 เราสามารถเขียนผังเครือขายได โดยใชหลักเดียวกับวิธีการเสนทางวิกฤต แต<br />

เนื่องจากผลที่ไดเปนคาเดียวกับคาในตารางที่ 5.1 ดังนั้นรูปผังเครือขายที่เขียนขึ้นดวยวิธี PERT จึง<br />

เหมือนกับรูปที่ 5.13 และมีคาที่เกี่ยวของดังนี้<br />

ระยะเวลาคาดหวังของโครงการ = 15 =ระยะเวลาของเสนทางวิกฤต<br />

ความแปรปรวนของโครงการ = 0.11+0.11+1.00+1.78+0.11 = 3.11<br />

จากขอมูลดังกลาว ผูจัดการโครงการสามารถหาความนาจะเปนที่โครงการจะเสร็จ<br />

ภายในระยะเวลาตางๆ ได โดยอาศัยวิธีการทางสถิติคํานวณหาคาตัวแปรสุมแบบปกติมาตรฐาน (Z<br />

value) และตารางปกติมาตรฐาน คาความนาจะเปนหาไดดังนี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-30<br />

โดยที่<br />

s e<br />

Z = t-t<br />

v<br />

te<br />

Z คือ คาตัวแปรสุมแบบปกติมาตรฐาน<br />

t s คือ ระยะเวลาที่โครงการแลวเสร็จตามเปาหมายที่กําหนด<br />

t e คือ ระยะเวลาที่คาดวาโครงการจะแลวเสร็จ<br />

v คือ ระยะเวลาแปรปรวนไปจากระยะเวลาที่คาดวาโครงการจะแลวเสร็จ<br />

t e<br />

จากตัวอยางตารางที่ 5.4 ความนาจะเปนที่โครงการจะเสร็จภายใน 16 อาทิตยคือ<br />

0.7157 แสดงวาโอกาสที่โครงการจะเสร็จคือ 71.57 %<br />

Z =<br />

16 -15<br />

3.11<br />

= 0.57<br />

0.7157<br />

เมื่อนําคา Z ที่ไดไปเปดตารางปกติ (normal table) เราจะไดคาความนาจะเปนเทากับ<br />

กิจกรรม<br />

ตารางที่ 5.4 ตัวอยางการคํานวณระยะเวลาคาดหวัง คาความแปรปรวน<br />

(Heizer and Render, 2004)<br />

ระยะเวลาคาดหวัง ความแปรปรวน<br />

ระยะเวลา (อาทิตย)<br />

(อาทิตย) (อาทิตย)<br />

a b c t = (a+4b+c)/6 ((c-a)/6) 2<br />

A 1 2 3 2.00 0.11<br />

B 2 3 4 3.00 0.11<br />

C 1 2 3 2.00 0.11<br />

D 2 4 6 4.00 0.44<br />

E 1 4 7 4.00 1.00<br />

F 1 2 9 3.00 1.78<br />

G 3 4 11 5.00 1.78<br />

H 1 2 3 2.00 0.11<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-31<br />

5.7 การควบคุมตารางเวลา (Schedule Control)<br />

การควบคุมตารางเวลาเปนกระบวนการสุดทายของการบริหารเวลา เปาหมายของการควบคุม<br />

ตารางเวลาคือ เพื่อใหโครงการแลวเสร็จตามกําหนดเวลา ผูจัดการโครงการควรรูสถานภาพของ<br />

ตารางเวลา ปจจัยสาเหตุการเปลี่ยนตารางเวลา และการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น<br />

ขอมูลนําเขาหลักที่ใชในการควบคุมตารางเวลาคือ บรรทัดฐานตารางเวลา (schedule<br />

baseline) รายงานประสิทธิภาพการทํางาน คํารองขอเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอนุมัติ และแผนการบริหาร<br />

ตารางเวลา เครื่องมือและเทคนิคที่นํามาใชในขั้นตอนนี้คือ<br />

• รายงานความกาวหนา<br />

• ระบบควบคุมการเปลี่ยนแปลงตารางเวลา<br />

• ซอฟตแวรการบริหารโครงการ<br />

• ผังเปรียบเทียบตารางเวลา เชน แผนภูมิการติดตามผล<br />

• การวิเคราะหความแปรปรวน<br />

• การบริหารประสิทธิภาพ เชน มูลคาที่ไดรับ (earned value)<br />

ผลลัพธของการควบคุมตารางเวลาคือ การวัดประสิทธิภาพการทํางาน การเปลี่ยนแปลงตามที่<br />

ขอ คําแนะนําสิ่งที่ควรแกไข และการปรับปรุงบรรทัดฐานตารางเวลา รายการกิจกรรม คุณลักษณะ<br />

กิจกรรม แผนการบริหารโครงการ และทรัพยสินทางกระบวนการเชิงองคการ เชน รายงานบทเรียนที่ได<br />

เรียนรูที่เกี่ยวของกับการควบคุมตารางเวลา<br />

มีประเด็นหลายประเด็นเกี่ยวของกับการควบคุมการเปลี่ยนแปลงตารางเวลาโครงการ<br />

ประเด็นที่สําคัญประเด็นแรกคือ ตองแนใจวาตารางโครงการสอดคลองกับความเปนจริง ประเด็นตอมา<br />

คือ การใชระเบียบวินัย และความเปนผูนําเพื่อเนนความสําคัญของการทําตามตารางโครงการ ถึงแมวา<br />

ผูจัดการมีเครื่องมือและเทคนิคหลากหลายชวยในการพัฒนาและบริหารโครงการ แตผูจัดการโครงการ<br />

ตองจัดการกับประเด็นที่เกี่ยวของกับคนเพื่อใหโครงการยังคงเปนไปตามแผน นอกจากนี้ ผูจัดการ<br />

โครงการควรตรวจสอบความจริงที่จะชวยใหผูจัดการโครงการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีตอตาราง<br />

โครงการ<br />

5.7.1 การตรวจสอบความเปนจริงของการกําหนดตารางเวลา<br />

การตรวจสอบความจริงนั้น ประเด็นแรกที่ผูจัดการโครงการควรทําคือ ทบทวนราง<br />

ตารางเวลาที่โดยปกติจะมีในเอกสารสิทธิ์โครงการ ถึงแมวารางนี้จะมีเฉพาะวันเริ่มตนและวันสิ้นสุด<br />

โครงการ แตเอกสารสิทธิ์โครงการนี้ใหขอมูลเริ่มตน ตอไปผูจัดการโครงการและทีมงานควรเตรียม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-32<br />

ตารางเวลาโครงการที่ละเอียด และใหผูมีสวนไดเสียโครงการอนุมัติ เพื่อเปนการใหคํามั่นสัญญา พรอม<br />

ทั้งการมีสวนรวมจากสมาชิกทีมงานทั้งหมด ผูบริหารระดับสูง ลูกคาและผูมีสวนไดเสียคนอื่นๆ<br />

การตรวจสอบเปนความจริงอีกประเด็นคือ การสอบทวนความกาวหนาของตารางเวลา<br />

เพราะเพียงแคสมาชิกทีมงานบอกวางานเสร็จตามเวลา ไมไดหมายความวามันจะเปนเชนนั้น ผูจัดการ<br />

โครงการตองทบทวนงานจริงๆ และพัฒนาความสัมพันธที่ดีกับสมาชิกทีมงานเพื่อใหแนใจวา งานเสร็จ<br />

ตามที่วางแผน หรือมีการรายงานการเปลี่ยนแปลงตามความตองการ<br />

ผูบริหารไมชอบความแปลกใจ ดังนั้น ผูจัดการโครงการตองสื่อสารสถานภาพโครงการ<br />

ใหชัดเจนและซื่อสัตย เมื่อมีความขัดแยงที่รุนแรงเกิดขึ้นที่อาจกระทบตอตารางเวลา ผูจัดการโครงการ<br />

ตองแจงผูบริหารระดับสูงและทํางานรวมกันเพื่อแกปญหาความขัดแยง<br />

5.7.2 การทํางานกับคน<br />

การทํางานรวมกับคนหลายๆ คนนั้น สิ่งที่ยากลําบากไมใชประเด็นทางเทคนิคแตเปน<br />

คน การสรางเครือขายที่ดีและตารางเวลาที่ละเอียดเปนทักษะที่สําคัญของผูจัดการโครงการ ผูจัดการ<br />

โครงการควรมีสมาชิกคนหรือสองคนรับผิดชอบประสานงานเอาขอมูลจากคนตางๆ เพื่อสรางและ<br />

ปรับปรุงตารางเวลา การกระจายรายละเอียดตารางเวลาใหสมาชิกดําเนินการ ทําใหผูจัดการโครงการ<br />

สามารถเนนภาพรวมและนําพาโครงการได ทักษะความเปนผูนําหลายๆ อยางชวยผูจัดการโครงการ<br />

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงตารางเวลา ทักษะเหลานี้คือ ทักษะการใช<br />

• อํานาจอยางเปนทางการ<br />

• สิ่งจูงใจ<br />

• ระเบียบวินัย<br />

• การตอรอง<br />

สิ่งสําคัญสําหรับผูจัดการโครงการคือ ใหอํานาจกับสมาชิกทีมงานใหรับผิดชอบตอ<br />

กิจกรรมของตนเอง การใหสมาชิกทีมงานชวยสรางตารางที่ละเอียดและใหสารสนเทศที่ทันสมัยเปนการ<br />

ใหอํานาจทีมงานรับผิดชอบตอการกระทําของตนเอง ผลลัพธที่ไดคือ สมาชิกทีมงานจะรูสึกผูกมัดตนเอง<br />

กับโครงการ<br />

ผูจัดการโครงการยังสามารถใชสิ่งจูงใจทางดานการเงิน หรือสิ่งจูงใจอื่นๆ เพื่อกระตุน<br />

คนใหทํางานใหตรงกับเวลาที่คาดหมาย บางครั้งผูจัดการโครงการอาจใชอํานาจแบบบังคับ หรือสิ่งจูงใจ<br />

เชิงลบเพื่อหยุดคนที่ไมทําตามเวลาที่กําหนด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-33<br />

ผูจัดการโครงการยังตองใชระเบียบวินัยเพื่อควบคุมตารางเวลา ผูจัดการโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศพบวา การกําหนดวันที่แนนอนสําหรับหลักไมลที่สําคัญ จะชวยลดการเปลี่ยน<br />

ตารางเวลาใหนอยลง การยืนหยัดกับวันที่ตองเสร็จ และการวางแผนการวิเคราะหที่เหมาะสมแตแรกๆ<br />

ชวยใหแตละคนเนนที่จะทําสิ่งที่สําคัญที่สุดตอโครงการ<br />

ผูจัดการโครงการและสมาชิกทีมงานจําเปนตองฝกทักษะการตอรองที่ดี ลูกคาและ<br />

ผูบริหารจะกดดันคนในทีมงานใหโครงการใชเวลานอยที่สุด บางคนโทษวาตารางเวลาโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศนานเกินกวาที่กําหนด เนื่องจากการประมาณการไมดี แตบางคนกลาววาปญหา<br />

คือ ผูพัฒนาซอฟตแวร และคนอื่นๆ ที่มีอาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศไมสามารถปกปองการประมาณ<br />

การของพวกตน เมื่อฝายการตลาด ฝายขาย หรือผูบริหารระดับสูงบอกใหประมาณการเวลาโครงการให<br />

สั้นลง ที่เปนเชนนี้ เนื่องจากคนทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศสวนใหญมีอายุนอยกวาผูมีสวนไดเสียที่<br />

ผลักดันใหเวลาของโครงการสั้นกวาเดิม จึงทําใหเขาเหลานั้นขาดความเหมาะสมที่จะตั้งคําถามตอ<br />

ความคิดเห็นของผูอาวุโส มันจึงเปนสิ่งสําคัญที่ผูจัดการโครงการและสมาชิกทีมงานที่จะปองกันการ<br />

ประมาณการของตน และเรียนรูการตอรองกับความตองการของผูมีสวนไดเสียของโครงการ<br />

5.8 สรุป<br />

การบริหารเวลาโครงการเปนกระบวนการที่สําคัญกระบวนการหนึ่งในการบริหารโครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศสวนใหญดําเนินการเกินเวลาที่กําหนดไว<br />

กระบวนการสําคัญที่เกี่ยวของกับการบริหารเวลาโครงการคือ การกําหนดกิจกรรม การเรียงลําดับ<br />

กิจกรรม การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม การประมาณการระยะเวลาการทํางานของกิจกรรม<br />

การพัฒนาตารางเวลาโครงการ และการควบคุมตารางเวลา<br />

การกําหนดกิจกรรมประกอบดวยการกําหนดกิจกรรมเฉพาะที่ตองทําเพื่อผลิตสิ่งที่สงมอบของ<br />

โครงการ สวนการกําหนดลําดับของกิจกรรมนั้น เปนการกําหนดความสัมพันธหรือความพึ่งพิงกัน<br />

ระหวางกิจกรรม เหตุผลสําคัญ 3 ขอในการสรางความสัมพันธคือ 1) ความสัมพันธโดยธรรมชาติของ<br />

งาน เรียกวาความพึ่งพิงที่ตองมี 2) ความสัมพันธที่กําหนดโดยทีมงาน เรียกวาความพึ่งพิงแบบอิสระ 3)<br />

และความสัมพันธระหวางกิจกรรมโครงการและกิจกรรมนอกโครงการ เรียกวาความพึ่งพิงภายนอก<br />

กิจกรรมตางๆ ตองมีการเรียงลําดับเพื่อใชในการวิเคราะหเสนทางวิกฤต ผังเครือขายเปนเทคนิคที่คน<br />

ชอบใชสําหรับการแสดงการเรียงลําดับกิจกรรม วิธีที่ใชในการสรางผังคือ PERT/CPM และ แผนภูมิ<br />

แสดงการจัดลําดับกอนหลังของงาน หรือ AON ความสัมพันธระหวางกิจกรรมมี 4 ประเภทคือ สิ้นสุด –<br />

เริ่มตน สิ้นสุด – สิ้นสุด เริ่มตน – เริ่มตน และ เริ่มตน – สิ้นสุด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-34<br />

การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรมเปนการกําหนดปริมาณและประเภทของทรัพยากรที่<br />

จะกําหนดใหกับแตละกิจกรรม ธรรมชาติของโครงการและองคการจะกระทบตอการประมาณการ<br />

ทรัพยากร สวนการประมาณการระยะเวลาของกิจกรรมคือ การคาดคะเนเวลาที่กิจกรรมตองใชเพื่อให<br />

กิจกรรมนั้นเสร็จสมบูรณ การประมาณการเวลาจะรวมทั้งเวลาที่ใชในการทํางานจริงและเวลาที่เผื่อ<br />

การพัฒนาตารางเวลาโครงการนั้น ผูจัดการโครงการชอบใชแผนภูมิแบบแกนตในการแสดง<br />

ตารางเวลาโครงการ แผนภูมิติดตามผลแบบแกนตแสดงขอมูลตารางเวลาโครงการที่เกิดขึ้นจริงและที่<br />

วางแผนไว<br />

วิธีการเสนวิกฤตใชคาดการณระยะเวลาทั้งหมดของโครงการ เสนทางวิกฤตของโครงการคือ<br />

ชุดของกิจกรรมที่กําหนดวันที่โครงการเสร็จสมบูรณเร็วที่สุด เสนทางวิกฤตเปนเสนทางที่ยาวที่สุดในผัง<br />

เครือขาย กิจกรรมที่อยูบนเสนทางวิกฤตเปนกิจกรรมที่ไมมีเวลายืดหยุน ถามีกิจกรรมใดบนเสนทาง<br />

วิกฤตลื่นไถล โครงการทั้งโครงการจะลาชาไปดวย นอกเสียจากผูจัดการโครงการจะทําการเรงรัดเวลา<br />

ซึ่งเปนเทคนิคที่ผูจัดการโครงการสามารถรนระยะเวลาโครงการ โดยการเพิ่มทรัพยากรเปนพิเศษ<br />

การจัดตารางเวลาโซวิกฤตเปนการประยุกตทฤษฎีขอจํากัดดานทรัพยากร การทํางานหลาย<br />

งานและกันชนเวลา เพื่อชวยใหโครงการเสร็จตรงกับที่กําหนด<br />

เทคนิคการ PERT คือ เทคนิคที่ใชประมาณการชวงเวลาโครงการ โดยใชเมื่อการประมาณการ<br />

ชวงเวลาของแตละกิจกรรมมีความไมแนนอนสูง วิธีการนี้ใชคา 3 คาคือ เวลาที่สั้นที่สุด เวลาที่เกิดขึ้น<br />

มากที่สุด และเวลาที่ยาวที่สุด<br />

ถึงแมวาเทคนิคการจัดตารางเวลามีความสําคัญมากๆ โครงการสวนใหญลมเหลว เพราะ<br />

เนื่องจากประเด็นทางดานคน ไมใชมาจากผังเครือขายที่ไมดี มันเปนสิ่งสําคัญที่ผูจัดการโครงการตอง<br />

กําหนดตารางเวลาโครงการใหสอดคลองกับความเปนจริง และยอมใหมีความไมแนนอนที่จะเกิดขึ้น<br />

ตลอดวงจรชีวิตโครงการ ผูจัดการโครงการตองมีทักษะดานความเปนผูนําที่จะชวยควบคุมการเปลี่ยน<br />

ตารางเวลาโครงการ<br />

คําถามทายบท<br />

1. เพราะอะไรคนถึงคิดวาประเด็นทางดานตารางเวลาจึงเปนสาเหตุของความขัดแยงของโครงการ<br />

2. เพราะเหตุใดการกําหนดกิจกรรมจึงเปนกระบวนการแรกในกระบวนการบริหารเวลาโครงการ<br />

3. เพราะเหตุใดการเรียงลําดับกิจกรรมของโครงการจึงมีความสําคัญ<br />

4. เพราะเหตุใดปจจัยดานคนจึงมีผลกระทบตอการบริหารโครงการมากกวาปจจัยทางดานเทคเนิค<br />

5. ทําอยางไรจึงจะสามารถลดหรือควบคุมการเปลี่ยนแปลง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารเวลาโครงการ หนา 5-35<br />

6. จากขอมูลในตารางที่กําหนดใหทานเขียนผังเครือขายแบบ AON หาระยะเวลาของโครงการ<br />

และ เสนทางวิกฤต<br />

กิจกรรม กิจกรรมสุดทายกอนหนา ระยะเวลา ผูดําเนินการ<br />

A - 4 เล็ก<br />

B A 7 แมว<br />

C A 8 แมว<br />

D A 14 เล็ก<br />

E B, C 5 แดง<br />

F E 4 แดง<br />

G D, F 6 เล็ก<br />

7. อธิบายแนวความคิดที่เกี่ยวของกับการจัดการตารางเวลาโซวิกฤต<br />

8. อธิบายความแตกตางระหวางการจัดการตารางเวลาแบบเสนทางวิกฤตกับเสนโซวิกฤต<br />

9. จากตารางในขอ 6 ใหสรางตารางโซวิกฤต<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-1<br />

6.1 บทนํา<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีการติดตามการใชจายใหตรงตามเปาหมายงบประมาณไมดี<br />

พอ จากผลการศึกษาในอดีตพบวา สวนใหญคาใชจายของโครงการเกินกวางบประมาณที่ไดรับการ<br />

อนุมัติ โชคดีที่ปริมาณงบประมาณที่เกินกวาแผนไดลดลงอยางตอเนื่อง ถึงแมวาโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศมีการพัฒนาการควบคุมคาใชจายดีขึ้น แตโครงการสวนใหญก็ยังมีคาใชจายที่เกิน<br />

งบประมาณ หรือไมก็ถูกยกเลิกโครงการกอนที่จะเสร็จสมบูรณ<br />

โดยปกติ คาใชจายวัดออกมาในรูปของเงินที่ตองจายเพื่อใหไดสินคาหรือบริการที่สามารถ<br />

นําไปใชในเรื่องอื่น ดังนั้น มันจึงเปนสิ่งที่สําคัญที่ผูจัดการโครงการตองเขาใจการบริหารคาใชจาย<br />

โครงการ ผูมีอาชีพทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศหลายๆ คนมีปฏิกิริยาตอคาใชจายที่เกินดวยการยิ้ม<br />

พวกเขาเหลานี้รูวาคาประมาณการคาใชจายโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีคาต่ําตั้งแตตน เพราะ<br />

โครงการเริ่มพรอมกับความตองการที่ไมชัดเจน จึงเปนธรรมดาที่คาใชจายของโครงการเกินกวาที่<br />

วางแผนไว<br />

การไมใหความสําคัญตอการประมาณการคาใชจายตามความเปนจริงเปนเพียงสวนหนึ่งของ<br />

ปญหา คนดานเทคโนโลยีสารสนเทศสวนใหญชอบคิดวาการเตรียมการประมาณคาใชจายคือ งานของ<br />

นักบัญชี แตในทางตรงกันขาม การเตรียมการประมาณการคาใชจายที่ดีเปนทักษะที่ตองมีในผูที่มีอาชีพ<br />

ทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

เหตุผลหนึ่งที่ถูกยกมาอางถึงการที่คาใชจายเกินงบประมาณบอยครั้งคือ โครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศเกี่ยวของกับเทคโนโลยีใหมๆ หรือกระบวนการธุรกิจใหม ซึ่งยังไมผานการทดสอบ จึงมีความ<br />

เสี่ยงซอนอยู แตจากการศึกษาของสแตนดิสกรุปพบวามีหลายโครงการที่ใชเทคโนโลยีใหมกลับไมมี<br />

ปญหาเรื่องคาใชจายกับเทคโนโลยีที่ยังไมไดรับการทดสอบ แตสิ่งที่จําเปนที่โครงการตองมีคือ การ<br />

บริหารคาใชจายโครงการ<br />

6.2 การบริหารคาใชจายโครงการคืออะไร<br />

การบริหารคาใชจายโครงการคือ กระบวนการที่ทําใหแนใจวาทีมงานโครงการดําเนินโครงการ<br />

เสร็จสมบูรณภายใตวงเงินงบประมาณที่ไดรับการอนุมัติ ผูจัดการโครงการตองแนใจวาโครงการไดรับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-2<br />

การนิยามที่ดี มีการประมาณการเวลาและคาใชจายที่ถูกตอง มีงบประมาณที่สอดคลองกับความจริง<br />

กระบวนการบริหารคาใชจายมี 3 กระบวนการคือ<br />

• การประมาณการคาใชจาย (cost estimating) คือ การประมาณการคาใชจายของ<br />

ทรัพยากรที่จําเปนที่จะทําใหโครงการเสร็จสมบูรณ ผลลัพธหลักที่ไดจากกระบวนการ<br />

นี้คือ ประมาณการคาใชจายของกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงที่รองขอ และการปรับปรุง<br />

แผนการบริหารคาใชจาย ซึ่งเปนสวนหนึ่งของแผนการบริหารโครงการ<br />

• การตั้งงบประมาณคาใชจาย (cost budgeting) เกี่ยวของกับการจัดสรรคาใชจายที่<br />

ประมาณการใหกับงานแตละงาน เพื่อสรางเปนบรรทัดฐาน (baseline) สําหรับการวัด<br />

การดําเนินงาน ผลลัพธของกระบวนการการตั้งงบประมาณคาใชจายคือ บรรทัดฐาน<br />

คาใชจาย การเปลี่ยนแปลงที่รองขอ และการปรับปรุงแผนการบริหารโครงการ<br />

• การควบคุมคาใชจาย (cost control) คือ การควบคุมการเปลี่ยนแปลงงบประมาณ<br />

โครงการ ผลลัพธหลักของกระบวนการนี้คือ การวัดผลการดําเนินงาน การ<br />

เปลี่ยนแปลงที่รองขอ คําแนะนําเพื่อแกไข การปรับปรุงแผนการบริหารโครงการ<br />

รวมทั้งแผนการบริหารคาใชจาย ประมาณการคาใชจาย และบรรทัดฐานคาใชจาย<br />

(cost baseline)<br />

6.3 การประมาณการคาใชจาย<br />

ถาตองการทําใหโครงการเสร็จสมบูรณดวยขอจํากัดทางงบประมาณ ผูจัดการโครงการตองทํา<br />

การประมาณอยางจริงจัง การประมาณการคาใชจายตองมีรายละเอียดสนับสนุน รายละเอียด<br />

ประกอบดวย กฎและสมมุติฐานที่ใชในการประมาณการ คําอธิบายโครงการ (ขอกําหนดขอบเขต และ<br />

โครงสรางจําแนกงานยอย เปนตน) ที่ใชเปนพื้นฐานการประมาณการ และรายละเอียดเทคนิคและ<br />

เครื่องมือการประมาณการคาใชจาย<br />

ในหัวขอนี้จะอธิบายการประมาณการแบบตางๆ เทคนิคและเครื่องมือสําหรับการประมาณ<br />

การ ปญหาที่เกี่ยวของกับการประมาณการคาใชจายเทคโนโลยีสารสนเทศ และตัวอยางรายละเอียด<br />

ของการประมาณการคาใชจายสําหรับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

6.3.1 เทคนิคและเครื่องมือสําหรับการประมาณการคาใชจาย<br />

การพัฒนาการประมาณการคาใชจายที่ดีทําไดยาก แตโชคดีที่มีเทคนิคและเครื่องมือ<br />

หลายอยางใหชวยในการประมาณการ เทคนิคที่นิยมใชกันมี 4 วิธีคือ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-3<br />

• การประมาณการจากความคลายคลึง โดยการใชคาใชจายจริงจากโครงการที่<br />

คลายคลึงกันกอนหนานี้มาเปนฐานสําหรับการประมาณการคาใชจายของ<br />

โครงการปจจุบัน เทคนิคนี้ตองใชการตัดสินใจของผูเชี่ยวชาญ และเปนเทคนิค<br />

ที่เสียคาใชจายนอยกวาวิธีการอื่นๆ ขณะเดียวกันความถูกตองต่ําดวยเชนกัน<br />

วิธีการนี้ใหคําตอบนาเชื่อถือมากที่สุดถาโครงการกอนหนานี้มีขอเท็จจริงที่มี<br />

ความคลายคลึงกับโครงการที่กําลังประมาณการ นอกจากนี้กลุมที่เตรียมการ<br />

ประมาณการคาใชจายตองมีความเชี่ยวชาญเพื่อกําหนดวาแตละสวนของ<br />

โครงการควรมีคาใชจายเพิ่มหรือนอยกวาโครงการที่นํามาใชเปนฐาน อยางไร<br />

ก็ตาม ถาโครงการที่ถูกประมาณการเกี่ยวของกับภาษาการโปรแกรมที่ใหม<br />

หรือทํางานกับฮารดแวรหรือเครือขายที่ใหม เทคนิคการประมาณการโดยการ<br />

เปรียบเทียบอาจจะใหผลการประมาณการที่ต่ํามาก<br />

• การประมาณการจากลางขึ้นบน เปนการประมาณการงานแตละงานเปน<br />

รายการ หรือกิจกรรม และรวมคาประมาณการที่ไดเปนคาใชจายทั้งโครงการ<br />

บางครั้งเรียกวาตนทุนกิจกรรม (activity based costing) ความถูกตองของ<br />

การประมาณการขึ้นอยูกับขนาดของงานแตละงาน และประสบการณของผู<br />

ประมาณการ ถามีโครงสรางจําแนกงานยอยที่ละเอียดให ผูจัดการโครงการ<br />

อาจใหผูรับผิดชอบแตละชุดงานประมาณการคาใชจายของชุดงานที่ตนเอง<br />

รับผิดชอบ หลังจากนั้นผูจัดการโครงการรวมคาใชจายที่ประมาณการเพื่อ<br />

คํานวณเปนคาใชจายในระดับที่สูงขึ้น ในที่สุดผูจัดการโครงการจะไดประมาณ<br />

การคาใชจายทั้งโครงการ การทําใหงานมีขนาดเล็กจะเพิ่มความถูกตองของ<br />

การประมาณการคาใชจาย เพราะคนที่ถูกกําหนดใหทํางานเปนผูประมาณการ<br />

แทนที่จะใหคนที่ไมคุนเคยกับงานเปนผูประมาณการ ขอเสียของการประมาณ<br />

การแบบนี้คือ ใชเวลาในการทํามาก และทําใหเสียคาใชจายสําหรับการ<br />

ประมาณการสูงตามไปดวย<br />

• ตัวแบบพาราเมตริก เปนเทคนิคการประมาณการคาใชจาย โดยการใชตัวแบบ<br />

เชิงคณิตศาสตรเพื่อประมาณการคาใชจาย ตัวแบบพาราเมตริกอาจประมาณ<br />

การตามภาษาการโปรแกรมที่โครงการใช ระดับความเชี่ยวชาญของ<br />

โปรแกรมเมอร ขนาดและความซับซอนของขอมูลที่เกี่ยวของ และอื่นๆ ตัว<br />

แบบพาราเมตริกจะประมาณการไดนาเชื่อถือเมื่อสารสนเทศในอดีตที่ถูก<br />

นํามาใชสรางตัวแบบถูกตอง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-4<br />

ตัวแบบพาราเมตริกที่นิยมใชคือ ตัวแบบโคโคโม (Constructive Cost Model<br />

(COCOMO)) เปนการประมาณการคาใชจายการพัฒนาซอฟตแวรโดย<br />

พิจารณาจากพารามิเตอร เชน จํานวนบรรทัดของโปรแกรม หรือจํานวน<br />

ฟงกชันพอยท (function point) ตัวแบบนี้พัฒนาโดย แบรรี โบแอม (Barry<br />

Boehm) สวนฟงกชันพอยทคือ การประเมินฟงกชันของระบบงานที่อิสระจาก<br />

เทคโนโลยี เชน จํานวนขอมูลนําเขา (input) และจํานวนขอมูลสงออก<br />

(output) จํานวนแฟมขอมูลที่ถูกบํารุงรักษา และใชรวมกับระบบอื่น เปนตน<br />

จํานวนฟงกชันสามารถแปลงเปนจํานวนบรรทัดของโปรแกรมไดโดยการ<br />

พิจารณาจากตารางเปรียบเทียบ สวน COCOMO เปนตัวแบบที่พัฒนาขึ้นมา<br />

ใหม ที่ใหเราประมาณการคาใชจาย ความพยายามในการปฏิบัติงาน (effort)<br />

และระยะเวลาสําหรับโครงการ ตัวแบบพาราเมตริกจึงชวยประมาณการ<br />

คาใชจาย โดยไมตองมีขอจํากัดในเรื่องความสามารถในการตัดสินใจของคน<br />

วิธีการประมาณการดวยพารามิเตอรจะอธิบายพอสังเขปในหัวขอถัดไป<br />

• เครื่องมือที่เปนคอมพิวเตอร เชน สเปรดชีค และซอฟตแวรบริหารโครงการ<br />

สามารถทําการประมาณการคาใชจายตางๆ เครื่องมือนี้ถาใชอยางเหมาะสม<br />

สามารถชวยปรับปรุงความถูกตองของการประมาณการ นอกจากนี้ยังมี<br />

เครื่องมือที่มีความสามารถสูงเพื่อชวยการประมาณการ<br />

6.3.2 การประมาณการขนาดของซอฟตแวรดวยฟงกชันพอยท<br />

ฟงกชันพอยทเปนวิธีการวัดขนาดของซอฟตแวรที่เสนอโดย เอลบรีซ (Albrecth) โดย<br />

พิจารณาจากลักษณะทางฟงกชันงานของระบบงาน ผูจัดการโครงการ/นักวิเคราะหระบบจะตองทําการ<br />

นับคาของพารามิเตอรทั้งหมด 5 พารามิเตอรคือ จํานวนขอมูลที่นําเขาจากภายนอก (external input<br />

(EI)) จํานวนขอมูลที่สงออกไปภายนอก (external output (EO)) จํานวนการสอบถามจากภายนอก<br />

(external inquiry (EQ)) จํานวนแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะ (internal-logical file (ILF)) และจํานวน<br />

แฟมขอมูลเชื่อมประสานกับภายนอก (external interface file (EIF)) ดังแสดงในรูปที่ 6.1 แตละ<br />

พารามิเตอรจะมีน้ําหนักแตกตางกันขึ้นอยูกับความซับซอน หรือความงายของแตละพารามิเตอร<br />

น้ําหนักและวิธีการคํานวณดังรูปที่ 6.2<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-5<br />

รูปที่ 6.1 การวิเคราะหฟงกชันพอยท (Marchewka, 2006)<br />

รูปที่ 6.2 แสดงพารามิเตอรและน้ําหนักที่ใชในการคํานวณขนาดของซอฟตแวร<br />

การคํานวณหาขนาดของซอฟตแวรของะระบบมีขั้นตอนดังนี้<br />

• กําหนดขอบเขตของระบบงาน<br />

• นับจํานวนพารามิเตอร 5 ประเภท<br />

• กําหนดระดับความซับซอน (งาย, ปานกลาง, ซับซอน) ของฟงกชันแตละตัว<br />

• คํานวณหาปจจัยปรับความซับซอนเพื่อใชในการปรับจํานวนฟงกชัน ปจจัยปรับ<br />

ความซับซอนมี ทั้งหมด 14 ตัว<br />

• คํานวณฟงกชันพอยท<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-6<br />

กําหนดขอบเขตของระบบงาน<br />

• ถาระบบงานนั้นมีการวางแผนที่จะพัฒนาเปนหลายระยะ (มีมากกวา 1 โครงการ)<br />

ใหประมาณการแยกแตละโครงการออกจากกัน ดังนั้น แตละโครงการใหนับจํานวน<br />

พารามิเตอรตางๆ อิสระจากกัน<br />

• ถาเปนระบบงานเดี่ยวแตมีขนาดใหญ เปนโครงการเดียว แตโครงการไดแบง<br />

ระบบงานใหญใหเปนระบบงานยอยเพื่อลดความซับซอนดังรูปที่ 6.3 การแบง<br />

ระบบงานนี้เปนการแบงขอบเขตใดๆ ภายในโครงการเพื่อใชในการนับจํานวน<br />

ฟงกชันพอยทเทานั ้น ดังนั้น ขอมูลนําเขาจากภายนอกและขอมูลสงออกไปภายนอก<br />

ระหวางระบบงานยอยนี้จะไมถูกนับ เชนเดียวกัน เราไมนับแฟมขอมูลที่เชื่อม<br />

ประสานระหวางระบบงานยอย สวนแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะใหนับที่ระบบงาน<br />

ยอยที่เปนระบบงานบํารุงรักษาขอมูลนั้น<br />

S1<br />

S2<br />

S3<br />

S4<br />

รูปที่ 6.3 แสดงการแบงระบบงาน<br />

จากรูปที่ 6.3 ระบบงาน S เปนระบบงานที่ใหญ แบงออกเปน 4 ระบบงานยอย (S1,<br />

S2, S3 และ S4) ถามีการสงขอมูลเขา-ออกระหวางระบบงานยอย หรือมีการใช<br />

แฟมขอมูลภายในรวมกัน หรือมีการสงขอความระหวางระบบงานยอย พารามิเตอร<br />

เหลานี้จะไมถูกนับ ดังตัวอยางที่แสดงในรูปที่ 6.4 ในรูปนี้ ระบบงานยอย S1 จะนับ<br />

เฉพาะ A0 และ D1 เทานั ้น สวนระบบงานยอย S2 ไมมีพารามิเตอรใดที่ถูกนับ<br />

ดังนั้นขนาดของระบบงานยอย S2 เปน 0 เมื่อหาขนาดของระบบงานยอยทั้ง<br />

หมดแลว จึงนําคาที่ไดมารวมกันเปนขนาดของระบบงานทั้งหมด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-7<br />

รูปที่ 6.4 การนับพารามิเตอรกรณีโครงการเดียวประกอบดวยระบบงานยอย<br />

การนับพารามิเตอร<br />

ดังที่ไดกลาวมาแลวขางตนวาพารามิเตอรที่ใชสําหรับหาขนาดของระบบงานมี 5<br />

พารามิเตอร แตละตัวมีความหมายและวิธีการนับที่แตกตางกันดังนี้<br />

• ขอมูลนําเขาจากภายนอก (EI)<br />

EI หมายถึง ขอมูลที่มาจากระบบงานภายนอก หรือจากผูใช และขาม<br />

ขอบเขตของระบบงานจากภายนอกเขามาภายใน เพื่อบํารุงรักษาแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะ ดังนั้น<br />

ขอมูลจากภายนอกจะถูกนํามาเพิ่ม หรือลบออก หรือปรับปรุงในแฟมขอมูลภายในระบบงาน ตัวอยาง<br />

ของ EI เชน จอภาพที่ใหผูใชบันทึกขอมูลโดยใชแปมพิมพหรือเมาส หรือขอมูลสถานะการเงินของลูกคา<br />

ที่สงจากระบบบัญชีลูกหนี้มายังระบบงานขายและปรับปรุงแฟมขอมูลลูกคาที่อยูในระบบงานขาย การ<br />

นับจํานวน EI ตองนับขอมูลนําเขาจากภายนอกที่ไมซ้ํา ถารูปแบบจอภาพรับขอมูลตางกัน (ขอมูลที่<br />

นําเขาแตกตางกัน) หรือตรรกะการประมวลผลตางกัน ใหถือวาขอมูลนําเขานั้นไมซ้ํากัน<br />

การจัดกลุมความซับซอนของ EI นั้น กลุมผูใชฟงกชันพอยทนานาชาติ<br />

(International Function Points User Group (IFPUG) ไดกําหนดใหพิจารณาจากจํานวนชนิดสวนยอย<br />

ขอมูล (data element types (DET)) หรือจํานวนฟลด และจํานวนแฟมขอมูลที่ถูกอางอิง (file types<br />

referenced (FTR)) หลังจากนั้น จึงกําหนดระดับความซับซอนโดยใชตารางที่ 6.1<br />

การพิจารณา DET ของขอมูลนําเขาจากภายนอก<br />

• ไมใชฟลดที่เกิดซ้ําๆ กัน (repeated field)<br />

• นับจํานวนขอมูลที่ผูใชบันทึกเขามาในระบบงานในมุมมองของ<br />

ผูใช แทนที่จะนับจํานวนฟลดที่จัดเก็บในแฟมขอมูล เชน ขอมูลที่<br />

อยู ซึ่งในตารางขอมูลอาจเก็บแยกเปนหลายฟลด แตในแงของ<br />

ผูใชแลวขอมูลที่อยูคือ ขอมูลเพียง 1 ตัวเทานั้น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-8<br />

• ขอมูลที่เขาสูระบบงานอาจเขามาดวยวิธีการที่แตกตางกัน เพื่อ<br />

กระตุนการประมวลผลแบบเดียวกัน ใหนับขอมูลที่เขามาเหลานั้น<br />

เพียง 1 ตัวเทานั้น<br />

การพิจารณาแฟมขอมูลที่ถูกอางอิงของขอมูลนําเขา<br />

• นับแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะที่ไดรับการบํารุงรักษาโดยขอมูลที่<br />

เขามาจากภายนอก (EI)<br />

• นับแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะหรือแฟมขอมูลเชื่อมประสานกับ<br />

ภายนอกที่ถูกอานระหวางการประมวลผลขอมูลนําเขาจาก<br />

ภายนอก<br />

• ในกรณีที่แฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะนั้นเปนแฟมที่ถูกอานและ<br />

ถูกเขียนดวยขอมูลนําเขา ใหนับเพียง 1 แฟมเทานั้น<br />

ตารางที่ 6.1 ความซับซอนของขอมูลนําเขา (EI)<br />

จํานวนแฟมขอมูลที่ถูกอางอิง (FTR) จํานวนขอมูลที่เขาถึง (DET)<br />

< 5 5-15 > 15<br />

0 or 1 ต่ํา ต่ํา ปานกลาง<br />

2 ต่ํา ปานกลาง สูง<br />

> 2 ปานกลาง สูง สูง<br />

• ขอมูลสงออกไปภายนอก (EO)<br />

EO คือ ขอมูลที่สงออกนอกขอบเขตของระบบงาน เชน รายงาน ขอความ<br />

ยืนยัน ผลรวมที่ไดจากการคํานวณ กราฟ หรือแผนภูมิ เปนตน ขอมูลสงออกนี้อาจถูกสงไปยังจอภาพ<br />

เครื่องพิมพ หรือระบบงานอื่น การนับจํานวน EO ตองไมนับซ้ํา การพิจารณาวา EO ซ้ําหรือไมนั้น เราจะ<br />

พิจารณาจากรูปแบบและตรรกะการประมวลผลวาแตกตางกันหรือไม เชน ถามีรายงานยอดขายสินคา<br />

จําแนกตามชองทางการจําหนายตามเดือน หรือสาขา หรือผูขายสินคา ถาฟลดของรายงานเหมือนเดิม<br />

(ถึงแมวาจะแสดงในรูปแบบที่แตกตางจากเดิม) รวมทั้ง ผลรวมตามสดมภและการคํานวณไมตางกัน เรา<br />

จะนับ 1 EO แตถาผลรวมมีวิธีการรวมที่แตกตาง และการคํานวณไมซ้ํากันในแตละแบบ เราจะนับ EO<br />

นั้นวาเปน EO ใหม<br />

การจัดกลุมความซับซอนของ EO นั้น IFPUG ไดเสนอการจัดกลุมความ<br />

ซับซอนของ EO โดยพิจารณาจากจํานวนขอมูล (DET) และจํานวนแฟมขอมูลที่ถูกอางอิง (FTR)<br />

หลังจากนั้นจึงกําหนดระดับความซับซอนโดยใชตารางที่ 6.2 การพิจารณา DET และ FTR มีดังนี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-9<br />

การพิจารณา DET ของขอมูลสงออก<br />

• ไมนับฟลดที่เกิดซ้ําๆ กัน<br />

• ในกรณีที่เปนขอความที่ตอบกลับไปนอกระบบงานเพื่อแสดง<br />

ขอผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหวางการประมวลผล หรือยืนยันวาการ<br />

ประมวลผลเสร็จสมบูรณ ซึ่งขอความอาจมีมากกวา 1 จุด ใหนับรวม<br />

ทั้งหมดเปนขอมูล 1 ตัว<br />

• ไมนับตัวแปรที่นับจํานวนหนาของรายงาน หรือตําแหนงของขอมูล<br />

หรือคําสั่งการเปลี่ยนหนา หรือวันที่/เวลา ที่สรางโดยระบบ<br />

• ไมนับชื่อรายงาน เลขที่จอภาพ ชื่อสดมภ<br />

• ไมนับฟลดในแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะที่ถูกบํารุงรักษาระหวาง<br />

การประมวลผลผลลัพธภายนอก ถาฟลดเหลานั้นไมสงออกไปนอก<br />

ขอบเขตระบบงาน<br />

• นับขอมูลที่เปนขอความเปน 1 DET โดยที่ขอความนั้นอาจ<br />

ประกอบดวย คําเดียว ประโยคเดียว ยอหนาเดียวหรือหลายยอหนา<br />

การพิจาณาแฟมขอมูลที่ถูกอางอิงของขอมูลสงออกไปภายนอกนั้น ใช<br />

หลักการเดียวกับแฟมขอมูลที่ถูกอางอิงของขอมูลนําเขา<br />

ตารางที่ 6.2 ความซับซอนของขอมูลสงออกภายนอก (EO)<br />

จํานวนแฟมขอมูลที่อางอิง (FTR)<br />

จํานวนขอมูล (DET) ที่เขาถึง<br />

< 6 6-19 > 19<br />

0 or 1 ต่ํา ต่ํา ปานกลาง<br />

2 or 3 ต่ํา ปานกลาง สูง<br />

> 3 ปานกลาง สูง สูง<br />

• แฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะ (ILF)<br />

ILF คือ แฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะที่เก็บขอมูลที่อยูภายในระบบงาน<br />

แฟมขอมูลนี้ถูกบํารุงรักษาโดยระบบงานที่กําลังพิจารณา เชน แฟมใบสั่งซื้อ แฟมสินคา สําหรับ<br />

ระบบงานขายเปนตน แฟมขอมูลนี้อาจประกอบดวยระเบียนหลายประเภท เชน แฟมขอมูลใบสั่งซื้อ<br />

สินคาจะประกอบดวยขอมูลใบสั่งซื้อสวนหัว และขอมูลรายละเอียดการสั่งซื้อ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-10<br />

• แฟมขอมูลเชื่อมประสานกับภายนอก (EIF)<br />

EIF คือ แฟมขอมูลที่ใชรวมกันกับระบบงานอื่น แฟมขอมูลนี้ถูกบํารุงรักษา<br />

โดยระบบงานภายนอก เชน แฟมขอมูลการชําระเงินของลูกคาที่ระบบงานขายเรียกใช แตระบบงาน<br />

บัญชีลูกหนี้เปนระบบที่บํารุงรักษาแฟมขอมูลการชําระเงินเปนตน<br />

IFPUG ไดเสนอการจัดกลุมความซับซอนของแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะ<br />

และแฟมขอมูลเชื่อมประสาน โดยพิจารณาจากจํานวนชนิดสวนยอยขอมูล (DET) และจํานวนประเภท<br />

ระเบียน (record element types (RET)) ในแฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะ หรือแฟมขอมูลเชื่อมประสาน<br />

กับภายนอก หลังจากนั้นจึงกําหนดระดับความซับซอนโดยใชตารางที่ 6.3<br />

การพิจารณาขอมูล (DET)<br />

• ขอมูลหรือแอตทริบิวตที่ถูกบํารุงรักษาโดยที่แอตทริบิวตนั้นตองไมซ้ํา<br />

กัน หรือเปนแอตทริบิวตเรียกออกมาจาก ILF หรือ EIF ขอมูลเหลานี้<br />

เปนขอมูลที่ผูใชเขาใจ เชน เลขที่เช็ค จํานวนเงิน วันที่ ผูจายเงิน<br />

เลขที่บัญชี ที่ถูกบํารุงรักษาในแฟมขอมูลรายการบัญชีเช็ค ใหนับ<br />

ขอมูลแตละตัว<br />

• ถามีระบบงาน 2 ระบบหรือมากกวา ทําการบํารุงรักษา หรืออางอิง<br />

ขอมูลใน ILF หรือ EIF เหมือนกัน แตฟลดตางกัน ใหนับเฉพาะฟลดที่<br />

ใชในแตละระบบงานเพื่อกําหนดขนาดของ ILF หรือ EIF<br />

การพิจารณาประเภทระเบียน (RET)<br />

• ประเภทระเบียน (RET) คือ กลุมยอยของขอมูลที่ผูใชสามารถเขาใจ<br />

ได ซึ่งเก็บอยูใน ILF หรือ EIF กลุมยอยของขอมูลนี้จะปรากฎเปน<br />

เอนทิตียอยในผัง E-R ที่เรียกวาความสัมพันธแบบพอ-ลูก เชน ใน<br />

แฟมขอมูลพนักงาน ผูใชเขาใจวาขอมูลทั่วไปของพนักงานจัดเก็บใน<br />

แฟมนี้ ถามีขอมูลการขึ้นเงินเดือนและขอมูลชั่วโมงการทํางานเปน<br />

ขอมูลสวนหนึ่งของขอมูลพนักงาน และขอมูลดังกลาวเปนเอนทิตี<br />

ยอยของเอนทิตีพนักงาน เราจึงนับวาแฟมขอมูลพนักงานมี 2 RET<br />

• ถาไมมีกลุมยอย ใหนับ ILF หรือ EIF เปน 1 RET<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-11<br />

ตารางที่ 6.3 ระดับความซับซอนของแฟมขอมูล<br />

จํานวนรายการ (RET) จํานวนขอมูล (DET)<br />

< 20 20-50 > 50<br />

1 ต่ํา ต่ํา ปานกลาง<br />

2-5 ต่ํา ปานกลาง สูง<br />

> 5 ปานกลาง สูง สูง<br />

• การสอบถามจากภายนอก (EQ)<br />

EQ ประกอบดวยขอมูลนําเขาจากภายนอกและขอมูลสงออกไปภายนอก<br />

ขอมูลนําเขาจากภายนอกถูกสงเขาสูระบบงานเพื่อดึงขอมูลจาก ILF หรือ EIF แลวแสดงผลลัพธทันที ไม<br />

มีสูตรทางคณิตศาสตร หรือคํานวณ และไมสรางขอมูลโดยการคํานวณ (derived data) นอกจากนี้ ILF<br />

ตองไมถูกบํารุงรักษาระหวางประมวลผล สําหรับการนับจํานวน EQ ใหนับขอมูลนําเขาและขอมูลนํา<br />

ออกรวมกันเปน 1 EQ<br />

สวนการจัดระดับความซับซอนของ EQ ใหแบงการพิจารณาเปน 2 สวนคือ<br />

สวนขอมูลนําเขาจากภายนอกจะพิจารณาระดับความซับซอนตามหลักเกณฑของ EI สวนที่เปนขอมูล<br />

สงออกภายนอกระบบจะพิจารณาระดับความซับซอนตามหลักเกณฑของ EO สําหรับการพิจารณา<br />

ระดับความซับซอนของ EQ นั้นๆ เราจะตองนําระดับที่ไดจากทั้ง 2 สวนมาพิจารณารวมกันแลวเลือก<br />

ระดับความซับซอนที่สูงที่สุด เชน ถาระดับความซับซอนของขอมูลนําเขาจากภายนอกมีคาปานกลาง<br />

และระดับความซับซอนของขอมูลสงออกไปภายนอกมีคาเปนซับซอน เราจะจัดวา EQ นั้นมีคาระดับ<br />

ความซับซอนสูง<br />

กําหนดคาของปจจัยปรับฟงกชันพอยท<br />

การคํานวณหาขนาดของซอฟตแวรโดยการพิจารณาจากฟงกชันงานที่ผูใชจะไดรับหรือ<br />

ใชงานยังไมเพียงพอในการกําหนดขนาดของซอฟตแวรที่แทจริง ดังนั้น ผูจัดการโครงการตองพิจารณา<br />

ประเด็นคุณลักษณะโดยทั่วไปของระบบวามีความซับซอนมากนอยแคไหน คุณลักษณะที่ใชในการ<br />

พิจารณามีทั้งหมด 14 ตัว ขั้นตอนการคํานวณหาคาของปจจัยความซับซอนมี 3 ขั้นตอนดังนี้<br />

• ประมาณการระดับอิทธิพลของแตละปจจัย (14 ปจจัย) ที่มีตอระบบ<br />

• รวมคาระดับอิทธิพลที่ได ( ∑ 14 Fi<br />

) และนํามาคํานวณคาปจจัยปรับคาฟงกชัน<br />

i=<br />

1<br />

พอยท (value adjustment factor (VAF)) ตามสูตรดังนี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-12<br />

VAF = 0.65 + (0.01∑ 14 Fi<br />

)<br />

i=<br />

1<br />

• คูณ VAF กับ จํานวนฟงกชันพอยทที่ไดคํานวณไว<br />

ปจจัยปรับความซับซอน (VAF)<br />

ปจจัยปรับความซับซอนมี 14 ตัว แตละตัวจะมีคาตั้งแต 0 ถึง 5 โดยที่<br />

0 หมายถึง ไมปรากฎ หรือ ไมมีอิทธิพล<br />

1 หมายถึง มีอิทธิพลนอย<br />

2 หมายถึง มีอิทธิพลพอประมาณ<br />

3 หมายถึง มีอิทธิพลปานกลาง<br />

4 หมายถึง มีอิทธิพลอยางมีนัยสําคัญ<br />

5 หมายถึง มีอิทธิพลอยางมาก<br />

ตอไปนี้คือ ปจจัยและความหมายของปจจัยทั้ง 14 ตัว<br />

1. การสื่อสารขอมูล (data communication) หมายถึง ระดับที่ระบบงานสื่อสาร<br />

โดยตรงกับหนวยประมวลผล ขอมูลที่ใชในระบบงานถูกสงและรับผานสิ่งอํานวย<br />

ความสะดวกดานการสื่อสาร (communication facilities) เครื่องปลายทางที่ตอ<br />

เขาหนวยควบคุม (control unit) จัดวาเปนการใชสิ่งอํานวยความสะดวกดานการ<br />

สื่อสาร รวมทั้งโปรโตคอลที่ใชในการสงผานหรือแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางระบบ<br />

หรืออุปกรณ<br />

2. การประมวลผลขอมูลแบบกระจาย (distributed data processing) หมายถึง<br />

ระดับที่ระบบงานสงขอมูลระหวางสวนประกอบ (component) ของระบบงาน<br />

3. สมรรถนะ (performance) หมายถึง ระดับเวลาที่สนองตอบ (response time)<br />

และปริมาณงาน (throughput) มีอิทธิพลตอการพัฒนาระบบงาน ไมวาจะเปนการ<br />

ออกแบบ การพัฒนา การติดตั้ง และการสนับสนุน<br />

4. คอนฟกรูเรชันถูกใชอยางมาก (heavily used configuration) หมายถึง ระดับการ<br />

จํากัดการใชทรัพยากรคอมพิวเตอรมีอิทธิพลตอการพัฒนาระบบงาน เชน ผูใช<br />

ตองการใหระบบงานทํางานบนอุปกรณที่มีอยูและอุปกรณนั้นอาจถูกใชอยางมาก<br />

5. อัตราธุรกรรม (transaction rate) หมายถึง ระดับที่อัตราธุรกรรมทางธุรกิจมี<br />

อิทธิพลตอการพัฒนาระบบงาน อัตราธุรกรรมสูงจะมีอิทธิพลตอการออกแบบ การ<br />

ติดตั้งและการสนับสนุนระบบงาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-13<br />

6. การนําเขาขอมูลออนไลน (online data entry) หมายถึง ระดับที่ขอมูลถูกนําเขา<br />

ผานธุรกรรมแบบเชิงโตตอบ (interactive transaction)<br />

7. ประสิทธิภาพผูใช (end user efficiency) หมายถึง ระดับการคํานึงถึงปจจัยดาน<br />

มนุษย (human factor) และความงายการใชงานของผูใช<br />

8. การปรับปรุงแบบออนไลน (online update) หมายถึง ระดับที่ ILF ถูกปรับปรุงแบบ<br />

ออนไลน<br />

9. การประมวลผลซับซอน (complex processing) ระดับที่ตรรกะการประมวลผลมี<br />

อิทธิพลตอการพัฒนาระบบงาน<br />

10. ความสามารถนํากลับมาใชใหม (reusability) หมายถึง ระดับที่โปรแกรมใน<br />

ระบบงานไดรับการออกแบบ พัฒนาและสนับสนุนเพื่อใหสามารถนํากลับมาใชได<br />

อีก<br />

11. ความงายในการติดตั้ง (installation ease) หมายถึง ระดับความยากงายในการ<br />

แปลงผัน (conversion) และติดตั้ง<br />

12. ความงายเชิงปฏิบัติงาน (operational ease) หมายถึง ระดับที่ระบบงานใหความ<br />

เอาใจใสตอลักษณะเชิงปฏิบัติงาน เชน กระบวนการเริ่มงานเครื่อง (start-up) การ<br />

สํารอง การกูคืน (recovery) ระบบงานควรลดความตองการการกระทําดวยมือให<br />

นอยที่สุด เชน การใสเทป การยกกระดาษ<br />

13. สถานที่ติดตั้งหลายที่ (multiple sites) หมายถึง ระดับที่ระบบงานถูกพัฒนา<br />

สําหรับติดตั้งหลายแหง หรือสําหรับองคกรผูใชหลายแหง<br />

14. การเปลี่ยนแปลงทําไดคลอง (facilitate change) หมายถึง ระดับที่ระบบงานถูก<br />

พัฒนาใหงายแกการปรับปรุงแกไขตรรกะการประมวลผล หรือโครงสรางขอมูล<br />

การเปลี่ยนจากฟงกชันพอยทเปนจํานวนบรรทัดของโปรแกรม<br />

เมื่อทราบจํานวนฟงกชันพอยทแลว เราสามารถเปลี่ยนเปนจํานวนบรรทัดของ<br />

โปรแกรม (lines of code (LOC)) ได ซึ่งจํานวน LOC ที่ไดขึ้นอยูกับภาษาที่เลือกใชในการเขียน<br />

โปรแกรม ตารางที่ 6.4 คือ ตารางเทียบคาระหวางฟงกชันพอยท (FP) และ LOC<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-14<br />

ตารางที่ 6.4 ตารางเทียบคาระหวางฟงกชันพอยทและ LOC (Pressman, 2005)<br />

ภาษาการโปรแกรม LOC/FP (เฉลี่ย) ภาษาการโปรแกรม LOC/FP (เฉลี่ย)<br />

Access 35 Java 63<br />

Ada 154 JavaScripty 58<br />

APS 86 JCL 91<br />

ASP 69 62 Lotus Notes 21<br />

Assembler 337 Oracle 30<br />

C 162 PeopleSoft 33<br />

C++ 66 Perl 60<br />

Clipper 38 PL/1 78<br />

COBOL 77 Powerbuilder 32<br />

Dbase IV 52 RPGII/III 61<br />

Excel47 46 SAS 40<br />

Focus 43 Smalltalk 26<br />

FORTRAN 105 SQL 40<br />

FoxPro 32 VBScript36 34<br />

Informix 42 Visual Basic 47<br />

ตัวอยางการนับพารามิเตอร<br />

จากรูปที่ 6.5 เปนผังการไหลของขอมูลระบบงานพนักงานที่แบงออกเปนระบบงานยอย<br />

4 ระบบคือ ระบบบํารุงรักษาขอมูลพนักงาน (employee maintenance) ระบบมอบหมายงาน (job<br />

assignment) ระบบบํารุงรักษางาน (job maintenance) และระบบการออกรายงานสถานที่ทํางานของ<br />

พนักงาน (location reporting) ผลการนับพารามิเตอรแสดงในตารางที่ 6.5 สวนการพิจารณา<br />

พารามิเตอรตางๆ และคาสมมุติความซับซอนมีดังนี้<br />

• ขอมูลนําเขาจากภายนอก (EI)<br />

• new-employee: ปานกลาง (2 FTR: employee, location; 10 DET)<br />

• delete-employee: งาย (2 FTR: employee, job-assignment; 3 DET)<br />

• modify-info: ปานกลาง (2 FTR: employee, location; 10 DET)<br />

• assign-emp-job : ปานกลาง (3 FTR: employee, job, job-assignment;<br />

6 DET)<br />

• transfer-emp-job : ปานกลาง (3 FTR: employee, job, jobassignment;<br />

6 DET)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-15<br />

• evaluate-emp-job : งาย (1 FTR: job-assignment; 6 DET)<br />

• delete-assignment-job : งาย (1 FTR: job-assignment; 4 DET)<br />

• newjob : งาย (1 FTR: job, 6 DET)<br />

• delete-job: งาย (2 FTR: job, job-assignment; 3 DET)<br />

• mod-des: งาย (1 FTR: job, 6 DET)<br />

รูปที่ 6.5 ผังการไหลของขอมูลระบบงานพนักงาน<br />

• ขอมูลสงออกไปภายนอก (EO)<br />

• employee-report : ปานกลาง (2 RET: employee, location; DET: 6-<br />

19)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-16<br />

• job-assignment-report : ปานกลาง (3 RET: employee, jobassignment,<br />

job; DET: 6-19)<br />

• job-report : งาย (1 RET; DET: 3)<br />

• locat-report : ปานกลาง (2 RET: location, employee; DET: 6)<br />

• แฟมขอมูลภายในเชิงตรรกะ (ILF)<br />

• employee ประกอบดวย 2 RET และ 8 DET (ไมนับเปน RET เพราะมี<br />

กลุมขอมูลยอย) จัดเปนระดับงาย<br />

o employee_name<br />

o social_security_number<br />

o number_dependents<br />

o type_code (salaried or hourly)<br />

o location_name (FK)<br />

o salaried_employee (นับ RET 1)<br />

• supervisory_level<br />

o hourly_employee (นับ RET 2)<br />

• standard_hourly_rate<br />

• collective_bargaining_unit_number<br />

• job-assignment ประกอบดวย 1 RET และ 5 DET จัดเปนระดับงาย<br />

o effective_date<br />

o salary<br />

o performance_rating<br />

o job_number (FK)<br />

o employee_SSN (FK)<br />

• job ประกอบดวย 1 RET และ 4 DET จัดเปนระดับงาย<br />

o job_name<br />

o job_number<br />

o job_description<br />

o pay_grade<br />

• แฟมขอมูลประสานกับภายนอก (EIF)<br />

• Location ประกอบดวย 1 RET และ 3 DET จัดเปนระดับงาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-17<br />

o location_name<br />

o address<br />

o interoffice_code<br />

• การสอบถามจากภายนอก (EQ)<br />

• employee-inquiry และ e-Q-response: งาย (1 RET; 10 DET รวม<br />

ขอความแสดงขอผิดพลาด และ command key)<br />

• job-assign-inquiry และ ja-Q-response: งาย (1 RET; 7 DET รวม<br />

ขอความแสดงขอผิดพลาด และ command key)<br />

• job-inquiry และ j-Q-response: งาย (1 RET; 6 DET รวมขอความแสดง<br />

ขอผิดพลาด และ command key)<br />

• locat-inquiry และ l-Q-response : งาย (1 RET; 5 DET รวมขอความ<br />

แสดงขอผิดพลาด และ command key)<br />

ตารางที่ 6.5 ผลการนับพารามิเตอรของตัวอยางในรูปที่ 6.5<br />

เมื่อคํานวณหาคาของฟงกชันพอยทแลว เราจึงหาคาของปจจัยปรับความซับซอน<br />

(VAF) ทั้ง 14 ตัว ซึ่งสมมติมีคาดังตารางที่ 6.6<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-18<br />

ตารางที่ 6.6 คาของปจจัย 14 ตัว<br />

คุณลักษณะของระบบงาน<br />

ระดับอิทธิพล<br />

การสื่อสารขอมูล (data communication) 3<br />

การกระจายการประมวลผล (distributed data processing) 2<br />

ประสิทธิภาพ (performance) 4<br />

คอนฟกกรูเรชันถูกใชอยางมาก (heavily used configuration) 3<br />

อัตราธุรกรรม (transaction rate) 3<br />

การนําเขาขอมูลออนไลน (online data entry) 4<br />

ประสิทธิภาพผูใช (end user efficiency) 4<br />

การปรับปรุงออนไลน (online update) 3<br />

การประมวลผลซับซอน (complex processing) 3<br />

ความสามารถนํากลับมาใชใหม (reusability) 2<br />

ความงายในการติดตั้ง (installation ease) 3<br />

ความงายเชิงปฏิบัติงาน (operational ease) 3<br />

สถานที่ติดตั้งหลายที่ (multiple sites) 1<br />

การเปลี่ยนแปลงทําไดคลอง (facilitate change) 2<br />

ผลรวม 40<br />

จากนั้นจึงคํานวณหาคาปจจัยปรับคาฟงกชันพอยท (VAF)) ตามสูตรดังนี้<br />

VAF = 0.65 + (0.01∑ 14 Fi<br />

)<br />

i=<br />

1<br />

= 0.65 + (0.01 X 40)<br />

= 1.05<br />

ดังนั้น จํานวนฟงกชันพอยทของระบบพนักงานที่ไดหลังจากพิจารณาคุณลักษณะ<br />

ทั่วไปของระบบคือ 91 X 1.05 = 95.55<br />

เมื่อเราทราบขนาดของซอฟตแวรที่เราจะพัฒนาแลว เราสามารถคําณวนคาใชจายใน<br />

สวนนี้ไดโดยการประมาณการจากขอมูลเดิมที่มีอยู เชน สมมุติวา 1 ฟงกชันพอยท มีคาใชจายเฉลี่ย<br />

10,000 บาท ดังนั้น 95.55 ฟงกชันพอยทจึงคิดเปนคาใชจายเทากับ 955,500 บาท<br />

โดยปกติ การหาคาใชจายเฉลี่ยของการพัฒนาซอฟตแวร เราตองพิจารณาจาก<br />

โครงการที่พัฒนาซอฟตแวรที่มีคุณลักษณะใกลเคียงกัน คาประมาณการควรใชวิธีการตัวเลขสามตัว<br />

(three-point estimate) เชนเดียวกับที่กลาวในเรื่องการบริหารเวลาโครงการ เพื่อลดความเสี่ยงในการ<br />

ประมาณการผิดพลาด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-19<br />

6.3.3 การประมาณการแรงงานดวยวิธีโคโคโม (COCOMO)<br />

COCOMO มีชื่อเต็มคือ COnstruction COst MOdel พัฒนาโดย โบแอม (ค.ศ. 1981)<br />

ซึ่งเรียกวา COCOMO81 หรือ COCOMOI โดยมีวัตถุประสงค เพื่อประมาณการแรงงานและเวลาที่ตอง<br />

ใชในการพัฒนาซอฟตแวร ตอมาปค.ศ. 2000 โบแอม ไดพัฒนาปรับปรุงตัวแบบ COCOMO ใหมให<br />

สอดคลองกับวิธีการพัฒนาซอฟตแวรที่เปลี่ยนไปจากเดิมอยางมากมาย ตัวแบบใหมนี้จึงเรียกวา<br />

COCOMO2000 หรือ COCOMOII<br />

6.3.3.1 COCOMOI<br />

COCOMOI เปนตัวแบบที่ประมาณการแรงงาน (effort) และระยะเวลาที่ใช<br />

จํานวนบรรทัดของโปรแกรม (LOC) ประกอบดวยตัวแบบ 3 แบบ สําหรับในที่นี้จะอธิบายเพียงแค 2 ตัว<br />

แบบแรกเทานั้น<br />

• ตัวแบบระดับพื้นฐาน (basic model) ประมาณการแรงงานโดยไมมีตัว<br />

ปรับคา<br />

• ตัวระดับแบบกลาง (intermediate model) ตัวแบบที่มีการพัฒนาจากตัว<br />

แบบระดับพื้นฐาน แตมีความละเอียดมากขึ้น โดยมีการปรับคาที่ไดจาก<br />

ตัวแบบแรกดวยตัวขับเคลื่อนคาใชจาย (cost driver)<br />

• ตัวแบบระดับสูง (advanced model) มีการประมาณการแบบเดียวกับ<br />

ตัวแบบระดับกลาง แตการคํานวณแรงงานและการประเมินตัวขับเคลื่อน<br />

คาใชจายจะทําในแตละเฟสของการพัฒนาระบบงาน<br />

ขั้นตอนการประมาณการ<br />

1. จัดประเภทของระบบงานที่กําลังพิจารณา ซึ่งมี 3 ประเภท ตอไปนี้<br />

• ประเภทออกานิก (organic mode)<br />

• ทีมงานที่พัฒนามีขนาดเล็ก<br />

• ระบบงานมีขนาดเล็ก ประมาณไมเกิน 50 KLOC<br />

• พัฒนาภายในสภาวะแวดลอมภายในองคการ (in-house<br />

environment)<br />

• ทีมงานมีความคุนเคย หรือมีประสบการณกับระบบงานที่จะ<br />

พัฒนา<br />

• สามารถตอรอง ขอปรับเปลี่ยนรายละเอียดของซอฟตแวรได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-20<br />

• ระบบงานพัฒนาอยูบนสภาวะแวดลอมที่คงที่ (stable<br />

environment)<br />

• อัลกอริทึมของการประมวลผลไมมีความซับซอน<br />

• ระยะเวลาในการพัฒนาไมเปนตัวกดดันตอผูพัฒนามากนัก<br />

• ประเภทเซมิดีเทช (semi-detached mode)<br />

• คนในทีมมีทั้งคนที่มีและไมมีประสบการณในระบบงานที่กําลัง<br />

พัฒนา<br />

• คนในทีมทุกคนมีประสบการณในระบบงานที่เกี่ยวของปานกลาง<br />

• มีแรงกดดันจากระยะเวลาของโครงการบาง<br />

• ระบบงานมีขนาดปานกลาง ประมาณไมเกิน 300 KLOC<br />

• อัลกอริทึมของการประมวลผลมีความซับซอนพอประมาณ<br />

• ประเภทเอมเบนเด็ด (embedded mode)<br />

• ทีมงานไมมีความคุนเคย หรือไมมีประสบการณกับระบบงานที่จะ<br />

พัฒนา<br />

• ขอกําหนดของระบบงานที่พัฒนาไมสามารถเปลี่ยนแปลงได อัน<br />

เนื่องมาจากขอจํากัดตางๆ<br />

• ตองพัฒนาระบบงานที่ทํางานรวมกับอุปกรณเฉพาะ หรือระบบ<br />

พัฒนาขึ้นโดยผูกกับกฎ ระเบียบ หรือขั้นตอนการดําเนินงานอยาง<br />

เครงครัด<br />

• ตองพัฒนาระบบงานภายในเวลาที่กําหนด<br />

• อัลกอริทึมของการประมวลผลมีความซับซอน<br />

• ตองทดสอบความถูกตองอยางมาก<br />

2. คํานวณหาแรงงานปกติและระยะเวลาการพัฒนาระบบงาน โดยมีสูตร<br />

การคํานวณของแตละตัวแบบดังนี้<br />

• ตัวแบบระดับพื้นฐาน<br />

แรงงาน (คน-เดือน) = a x KLOC b<br />

ระยะเวลาการพัฒนา = c x แรงงาน d<br />

โดยที่ a, b, c, d มีคาดังตารางที่ 6.7<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-21<br />

ตารางที่ 6.7 คาพารามิเตอรสําหรับตัวแบบระดับพื้นฐาน<br />

ประเภทระบบงาน a b c d<br />

ออกานิก 2.4 1.05 2.5 0.38<br />

เซมิดีเทช 3.0 1.12 2.5 0.35<br />

เอมเบนเด็ด 3.6 1.20 2.5 0.32<br />

ตัวอยาง : สมมุติวาระบบงานมีขนาด 33.3 KLOC และ ระบบงานเปนแบบเซ-<br />

มิดีเทช จะคํานวณแรงงาน ระยะเวลา และจํานวนคนไดดังนี้<br />

แรงงาน (คน-เดือน) = 3.0 x KLOC 1.12<br />

= 3.0 x 33.3 1.12<br />

= 152 คน-เดือน<br />

ระยะเวลา = 2.5 x152 0.35<br />

= 14.5 เดือน<br />

จํานวนคน = 152 / 14.5<br />

= 11 คน<br />

• ตัวระดับแบบกลาง<br />

แรงงาน (คน-เดือน) = a x KLOC b x ตัวขับเคลื่อนคาใชจาย<br />

ระยะเวลา<br />

= c x แรงงาน d<br />

โดยที่ a, b, c, d มีคาดังตารางที่ 6.8<br />

ตารางที่ 6.8 คาพารามิเตอรสําหรับตัวแบบระดับกลาง<br />

ประเภทระบบงาน a b c d<br />

ออกานิก 3.2 1.05 2.5 0.38<br />

เซมิดีเทช 3.0 1.12 2.5 0.35<br />

เอมเบนเด็ด 2.8 1.20 2.5 0.32<br />

3. คํานวณหาปจจัยปรับแรงงาน (effort adjustment factor)<br />

ถาการคํานวณหาแรงงานโดยใชตัวแบบระดับกลาง ผูจัดการโครงการจะตอง<br />

ปรับคาของแรงงานปกติที่คํานวณไดจากขอ 2 ดวยปจจัยปรับแรงงาน ซึ่งได<br />

จากตัวขับเคลื่อนคาใชจาย (cost driver) ที่มี 15 ตัว แบงเปน 4 กลุม ดัง<br />

ตารางที่ 6.9<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-22<br />

คุณลักษณะดาน<br />

ระบบงาน (product<br />

attributes)<br />

ความตองการดานความ<br />

เชื่อถือของระบบงาน<br />

(reliability requirement)<br />

ขนาดของฐานขอมูล<br />

(database size)<br />

ความซับซอนของ<br />

ระบบงาน (product<br />

complexity)<br />

ตารางที่ 6.9 ตัวขับเคลื่อนคาใชจาย<br />

คุณลักษณะดาน<br />

คอมพิวเตอร (computer<br />

attributes<br />

ขอจํากัดดานเวลาการ<br />

ประมวลผล (execution<br />

time constraints)<br />

ขอจํากัดดานพื้นที่เก็บ<br />

ขอมูล (storage<br />

constraints)<br />

เครื่องจักรที่ใชกับ<br />

ระบบงานเปลี่ยนแปลงงาย<br />

(virtual machine<br />

volatility)<br />

เวลาที่สงงานเขา<br />

ประมวลผลจนกระทั่งไดผล<br />

ลัพธ (computer<br />

turnaround time)<br />

คุณลักษณะดานบุคคล<br />

(personnel attributes)<br />

ความสามารถนักวิเคราะห<br />

ระบบ (analyst<br />

capability)<br />

ประสบการณกับเครื่องจักร<br />

เสมือน (virtual machine<br />

experience)<br />

ความสามารถของ<br />

โปรแกรมเมอร<br />

(programmer capability)<br />

ประสบการณดานภาษา<br />

การโปรแกรมที่จะใชในการ<br />

พัฒนาซอฟตแวร<br />

(programming language<br />

experience)<br />

ประสบการณในระบบงาน<br />

ที่จะพัฒนา (application<br />

experience)<br />

คุณลักษณะดาน<br />

โครงการ (project<br />

attributes)<br />

การเขียนโปรแกรมแบบ<br />

ทันสมัย (modern<br />

programming practices)<br />

เครื่องมือในการพัฒนา<br />

ซอฟตแวร (software<br />

tools)<br />

ระยะเวลาที่ตองการใชใน<br />

การพัฒนาระบบงาน<br />

(required development<br />

schedule)<br />

ตัวขับเคลื่อนคาใชจายแตละตัวจะมีอัตราแตกตางกันตั้งแตต่ํามาก (very<br />

low) จนกระทั่ง สูงเปนพิเศษ (extra high) ซึ่งแตละระดับจะมีคาแตกตางกัน<br />

ดังแสดงในตารางที่ 6.10 ผูจัดการโครงการจะตองระบุใหไดวาตัวขับเคลื่อน<br />

คาใชจายแตละตัวมีคาเทาไร แลวจึงนําคาของตัวขับเคลื่อนคาใชจายทุกตัว<br />

มาคูณกัน จากนั้นจึงนําผลคูณของตัวขับเคลื่อนคาใชจายทั้งหมดไปคูณกับ<br />

แรงงานปกติที่ไดจากขอ 2 ตารางที่ 6.11 และ 6.12 จะชวยใหผูจัดการ<br />

โครงการสามารถกําหนดระดับของตัวขับเคลื่อนคาใชจายแตละตัว เชน<br />

ความเชื่อถือของระบบงาน (RELY) จะไดระดับสูงมาก (1.40) ถาระบบงาน<br />

นั้นมีผลกระทบตอชีวิตมนุษย หรือสถานภาพการเงินขององคการอยางรุนแรง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-23<br />

แตถาระบบงานลมเหลวแลวมีผลเพียงแคทําใหเกิดความไมสะดวกในการ<br />

ทํางานเทานั้น คาระดับของ RELY ในกรณีจะต่ํามาก (0.75)<br />

สําหรับความซับซอนของระบบงาน (CPLX) นั้น ผูจัดการโครงการจะกําหนด<br />

ระดับของตัวขับเคลื่อนคาใชจายไดโดยพิจารณาจากตารางที่ 6.12 ถา<br />

ระบบงานมีการคํานวณที่มีสูตรการคํานวณทางคณิตศาสตรหรือสถิติที่<br />

ซับซอน คาระดับของ CPLX จะสูงมาก (1.30) แตถาเปนการคํานวณงายๆ<br />

คาระดับของ CPLX จะต่ํา (0.70) สวนตารางที่ 6.13 คือ ตัวอยางการกําหนด<br />

ระดับและคาของตัวขับเคลื่อนคาใชจาย<br />

ตารางที่ 6.10 ระดับของตัวขับเคลื่อนคาใชจาย (Boehm 1981)<br />

ตัวขับเคลื่อนคาใชจาย ต่ํา<br />

มาก<br />

คุณลักษณะดานระบบงาน (product attributes)<br />

ระดับ<br />

ต่ํา ปกติ สูง สูง<br />

มาก<br />

RELY (ความตองการดานความเชื่อถือของระบบงาน) 0.75 0.88 1.00 1.15 1.40<br />

DATA (ขนาดของฐานขอมูล) 0.94 1.00 1.08 1.16<br />

สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

CPLX (ความซับซอนของระบบงาน) 0.70 0.85 1.00 1.15 1.30 1.65<br />

คุณลักษณะดานคอมพิวเตอร (computer attributes)<br />

TIME (ขอจํากัดดานเวลาการประมวลผล) 1.00 1.11 1.30 1.66<br />

STOR (ขอจํากัดดานพื้นที่เก็บขอมูล) 1.00 1.06 1.21 1.56<br />

VIRT (เครื่องจักรที่ใชกับระบบงานเปลี่ยนแปลงงาย) 0.87 1.00 1.15 1.30<br />

TURN (เวลาที่สงงานเขาประมวลผลจนกระทั่งไดผลลัพธ) 0.87 1.00 1.07 1.15<br />

คุณลักษณะดานบุคคล (personnel attributes)<br />

ACAP (ความสามารถนักวิเคราะหระบบ) 1.46 1.19 1.00 0.86 0.71<br />

AEXP (ประสบการณในระบบงานที่จะพัฒนา) 1.29 1.13 1.00 0.91 0.82<br />

PCAP (ความสามารถของโปรแกรมเมอร) 1.42 1.17 1.00 0.86<br />

VEXP (ประสบการณกับเครื่องจักรเสมือน) 1.21 1.10 1.00 0.90<br />

LEXP (ประสบการณดานภาษาการโปรแกรมที่จะใชในการ<br />

พัฒนาซอฟตแวร)<br />

คุณลักษณะดานโครงการ (project attributes)<br />

1.14 1.07 1.00 0.95<br />

MODP (การเขียนโปรแกรมแบบทันสมัย) 1.24 1.10 1.00 0.91 0.82<br />

TOOL (การใชเครื่องมือในการพัฒนาซอฟตแวร) 1.24 1.10 1.00 0.91 0.83<br />

SCED (ระยะเวลาที่ตองการใชในการพัฒนาระบบงาน) 1.23 1.08 1.00 1.04 1.10<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-24<br />

ตารางที่ 6.11: การกําหนดระดับใหกับตัวขับเคลื่อนคาใชจาย (Boehm 1981)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-25<br />

ตารางที่ 6.12 การกําหนดระดับใหกับความซับซอนของระบบงาน (product complexity) กับประเภทมอดูล(Boehm 1981)<br />

ระดับ การดําเนินการควบคุม (Control Operations) การดําเนินการคํานวณ (Computational<br />

Operations)<br />

การดําเนินการขึ้นกับอุปกรณ (Devicedependent<br />

Operations)<br />

การดําเนินการจัดการขอมูล (Data<br />

Management Operations)<br />

ต่ํามาก คําสั่งเขียนเรียงลําดับพรอมกับตัวดําเนินการ สมการที่งาย: เชน A = B+C *(D-E) อาน, เขียนขอความสั่งดวยรูปแบบงาย แถวลําดับ (arrays ) งายๆ ในหนวยความจําหลัก<br />

(operator) ที่ไมไดซอนในอีกกระบวนงานหนึ่ง (nonnested)<br />

เพียงเล็กนอย: DOs, CASEs,<br />

IFTHENELSEs. เพรดิเคตงายๆ<br />

ต่ํา การซอนในของตัวกระทําแบบตรงไปตรงมา สวน<br />

ใหญเปนเพรดิเคตงายๆ<br />

สมการระดับกลาง, เชน.<br />

D = SQRT (B**2-4, *A*C*)<br />

ไมจําเปนตองมีความรูความเขาใจคุณ<br />

ลักษณะเฉพาะของอุปกรณรับเขา/สงออก หรือ<br />

หนวยประมวลผล<br />

จัดแฟมขอมูลยอยแฟมเดียว ไมมีการเปลี่ยน<br />

โครงสรางขอมูล ไมมีการแกไข ไมมีแฟมขอมูล<br />

ระหวางกลาง<br />

ปกติ โดยสวนใหญการซอนในงายๆ มีการควบคุมระหวาง<br />

มอดูลบาง ตารางการตัดสินใจ<br />

ใชรูทีนทางคณิตศาสตรและสถิติ การดําเนินการ<br />

เมทริกซ/เวคเตอรพื้นฐาน<br />

การประมวลขอมูลรับเขา/สงออก รวมทั้งการ<br />

เลือกอุปกรณ การตรวจสอบสถาน และการ<br />

ประมวลผลขอผิดพลาด<br />

ขอมูลนําเขาหลายแฟม และมีแฟมขอมูลสงออก<br />

เพียงแฟมเดียว การเปลี่ยนเชิงโครงสรางอยางงาย<br />

การแกไขอยางงาย<br />

สูง ตัวดําเนินการที่ซอนในสูงพรอมกับเพรดิเคตผสม<br />

หลายตัว เชน คิวและการควบคุมแบบเรียงทับซอน<br />

การวิเคราะหเชิงตัวเลขพื้นฐาน เชน การ<br />

ประมาณคาในชวงหลายตัวแปร (multivariate<br />

การดําเนินการรับเขาสงออกระดับกายภาพ<br />

(การแปลที่อยู ที่เก็บระดับกายภาพ เชน คนหา<br />

มีการเรียกใชรูทีนยอยที่มีวัตถุประสงคเฉพาะ เชน<br />

การปรับโครงสรางขอมูลที่ซับซอนระดับระเบียน<br />

(stack) มีการควบคุมความสัมพันธระหวางมอดูล<br />

พอสมควร.<br />

interpolation), สมการเชิงอนุพันธสามัญ. การ<br />

ตัดออก การปดทิ้ง<br />

อาน) การซอนเหลื่อมระหวางรับเขา/สงออก<br />

เหมาะที่สุด<br />

สูงมาก การโปรแกรมแบบเรียกซ้ําและการกลับเขาใหม การ<br />

จัดการการขัดจังหวะที่ไดจัดลําดับตายตัว<br />

ยากแตมีโครงสราง เชน สมการใกลเคียงกับเมท<br />

ริกซเอกฐาน (near-singular matrix), สมการเชิง<br />

รูทีนสําหรับการวินิจฉัยการขัดจังหวะ การบริการ<br />

การพลาง การจัดการเสนทางการสื่อสาร<br />

ทําใหใชไดทั่วไป แฟมแบบพารามิเตอร การสราง<br />

แฟม การประมวลผลคําสั่ง การคนหาที่เหมาะสม<br />

อนุพันธยอย<br />

สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

การจัดตารางเวลาทรัพยากรหลายอยางพรอมกับการ<br />

เปลี่ยนลําดับความสําคัญอยางพลวัต การควบคุม<br />

ระดับไมโครโปรแกรม<br />

ยากและไมมีโครงสรางเชน การวิเคราะหเสียง<br />

รบกวนที่แมนยําสูง ขอมูลสโทแคสติก<br />

การโปรแกรมพึงพิงเวลาอุปกรณ การดําเนินการ<br />

ระดับไมโครโปรแกรม<br />

ผูกกันสูง โครงสรางเชิงสัมพัธพลวัต การจัดการ<br />

ขอมูลดวยภาษาธรรมชาติ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-26<br />

ตารางที่ 6.13 ตัวอยางการกําหนดระดับและคาของตัวขับเคลื่อนคาใชจาย<br />

ตัวขับเคลื่อน<br />

ตัวคูณ<br />

สถานการณ<br />

ระดับ<br />

คาใชจาย<br />

แรงงาน<br />

RELY ซอฟตแวรลมเหลวมีผลดานการเงินที่รุนแรง สูง 1.15<br />

DATA 20,000 ไบต ต่ํา 0.94<br />

CPLX การประมวลผลการสื่อสาร สูงมาก 1.30<br />

TIME จะใช 70% ของเวลที่มีให สูง 1.11<br />

STOR 45Kจาก 64K (70%) สูง 1.06<br />

VIRT ใชไมโครโพเซสเซอรที่ขายทั่วไป ปกติ 1.00<br />

TURN เฉลี่ย 2 ชั่วโมง ปกติ 1.00<br />

ACAP นักวิเคราะหอาวุโสที่เกง สูง 0.86<br />

AEXP 3 ป ปกติ 1.00<br />

PCAP โปรแกรมเมอรอาวุโสที่เกง สูง 0.86<br />

VEXP 6 เดือน ต่ํา 1.10<br />

LEXP 12 เดือน ปกติ 1.00<br />

MODP เทคนิคสวนใหญใชมา 1 ป สูง 0.91<br />

TOOL เครื่องมือระดับมินิคอมพิวเตอรพื้นฐาน ต่ํา 1.10<br />

SCED 9 เดือน ปกติ 1.00<br />

EAF 1.35<br />

6.3.3.2 COCOMOII<br />

โบแอมไดพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาซอฟตแวรหรือระบบงาน<br />

ในปจจุบันที่มีวิธีการพัฒนาที่แตกตางไปจากป ค.ศ. 1981 COCOMO81 มีสมมติฐานวา ซอฟตแวร<br />

พัฒนาตามกระบวนการแบบน้ําตก และซอฟตแวรสวนใหญพัฒนาจากจุดเริ่มตนทั้งหมด เมื่อมีการ<br />

เปลี่ยนวิธีการพัฒนาซอฟตแวรอยางมากมายตั้งแตรุนแรกที่นําเสนอผูใช เชน การพัฒนาใชวิธีการ<br />

พัฒนาตนแบบ (prototyping) การพัฒนาโดยการนําซอฟตแวรแตละสวนมาประกอบเปนระบบงาน<br />

(components composition) หรือการพัฒนาดวยภาษารุนที่ 4 (4 th generation language) ระบบงาน<br />

เดิมที่มีอยูถูกรื้อปรับเพื่อสรางซอฟตแวรใหม ดังนั้น ตัวแบบที่กําหนดใน COCOMOI จึงไมเหมาะสมกับ<br />

วิธีการพัฒนาแบบใหมดังกลาว โบแอมจึงทําการวิจัยและนําเสนอตัวแบบใหมสําหรับการประมาณการ<br />

แรงงาน ตัวแบบใหมจึงเรียก COCOMOII ซึ่งมี 3 ตัวแบบ COCOMOII เปนตัวแบบสําหรับการประมาณ<br />

การเปนระยะๆ ตามรายละเอียดของขอมูลที่ผูจัดการโครงการ/นักวิเคราะหระบบไดรับ ซึ่งจะทําใหการ<br />

ปรับคาแรงงานที่ตองใชใกลเคียงความเปนจริงมากยิ่งขึ้น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-27<br />

ตัวแบบ 3 ระดับของ COCOMOII มีดังนี้<br />

• ระยะการพัฒนาตนแบบชวงตน (The Early Prototyping Level)<br />

เปนตัวแบบที่ใชสําหรับการประมาณแรงงานในชวงเริ่มตนของโครงการที่<br />

ผูจัดการโครงการ/นักวิเคราะหระบบยังไมทราบรายละเอียดของระบบงาน<br />

แตจะทราบฟงกชันงานคราวๆ การประมาณการจึงใชอ็อบเจกตพอยท<br />

(object points) ตัวแบบนี้จึงเหมาะกับการพัฒนาระบบดวยวิธีการใช<br />

ซอฟตแวรตางๆ ที่มีมาประกอบกัน<br />

• ระยะการออกแบบชวงตน (The Early Design Level)<br />

เปนตัวแบบที่ใชสําหรับประมาณแรงงาน เมื่อผูจัดการโครงการ/นักวิเคราะห<br />

ระบบ ทราบความตองการแลว การประมาณนี้จะประมาณการโดยใชฟงกชัน<br />

พอยทแลวปรับเปน LOC และมีชุดของปจจัยที่ไมยุงยากมาใชในการปรับ<br />

คาที่ไดประมาณการ<br />

• ระยะหลังจากการออกแบบสถาปตยกรรม (The Post-architecture<br />

Level)<br />

เปนตัวแบบที่ใชในการประมาณการขนาดของซอฟตแวรใหแมนยํามากขึ้น<br />

หลังจากออกแบบสถาปตยกรรมระบบงานแลว ตัวแบบของระดับนี้มีสูตร<br />

เชนเดียวกับระดับการออกแบบระยะแรก แตมีชุดของปจจัยที่เขมขนมาปรับ<br />

คาอีกชุด<br />

การประมาณการแรงงานสําหรับระยะการพัฒนาตนแบบชวงตน<br />

ตัวแบบการคํานวณแรงงาน คือ<br />

แรงงาน (PM) = (NOP x (1 - %reuse/100))/PROD<br />

โดยที่<br />

PM = แรงงาน (คน-เดือน)<br />

NOP = อ็อบเจกตพอยทใหม (New Object Point)<br />

%reuse = รอยละของซอฟตแวรที่นํากลับมาใชใหม<br />

PROD = ผลผลิตเพิ่ม<br />

ขั้นตอนการคํานวณ<br />

1. นับจํานวนอ็อบเจกตพอยทที่ประกอบเปนระบบงาน อ็อบเจกตไดแก<br />

จอภาพ รายงาน และสวนประกอบที่เปน 3 GL (3 General language)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-28<br />

2. จัดระดับของอ็อบเจกตแตละอ็อบเจกต ซึ่งมี 3 ระดับคือ งาย ปานกลาง<br />

และยาก การจัดวาแตละอ็อบเจกตจะอยูระดับใดนั้น ใหพิจารณาตาม<br />

ประเภทของอ็อบเจกตออกเปน 2 ประเภทคือ จอภาพ และรายงาน ระดับ<br />

ของอ็อบเจกตแตละประเภทไดแสดงในตารางที่ 6.14 กรณีที่อ็อบเจกต<br />

เปนจอภาพจะพิจารณาจํานวนทรรศนะ (view) ที่จอภาพนั้นตองใชในการ<br />

แสดง และจํานวนแหลงของตารางขอมูล สวนกรณีที่อ็อบเจกตเปน<br />

รายงาน จะตองพิจารณาจํานวนสวน (section) ที่รายงานนั้นตองมี และ<br />

จํานวนแหลงของตารางขอมูลเชนเดียวกับกรณีที่อ็อบเจกตเปนจอภาพ<br />

ตารางที่ 6.14 ตารางการจัดระดับความยาก-งายของอ็อบเจกต<br />

จอภาพ<br />

รายงาน<br />

จํานวน # และแหลงของตารางขอมูล จํานวน # และแหลงของตารางขอมูล<br />

ทรรศนะ รวมทั้งหมด<br />

< 4 (


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-29<br />

4. ใหหาผลรวมของอ็อบเจกตพอยทหลังจากถวงน้ําหนักของอ็อบเจกตพอยท<br />

ทุกๆ ตัว<br />

5. ประมาณรอยละของการนําโปรแกรมกลับมาใชใหม แลวคํานวณหาอ็อบ<br />

เจกตพอยทใหมที่ตองพัฒนา (NOP) โดยมีสูตรการคํานวณดังนี้<br />

NOP = (Object-Points) (100 - %reuse)/100<br />

6. กําหนดระดับผลผลิตเพิ่ม (PROD) โดยที่ PROD สามารถหาไดจากตาราง<br />

ที่ 6.16<br />

ตารางที่ 6.16 ตารางแสดงการกําหนดระดับผลผลิตเพิ่ม (PROD)<br />

ประสบการณและความสามารถของผูพัฒนา ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก<br />

วุฒิภาวะและความสามารถของ ICASE ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก<br />

PROD 4 7 13 25 50<br />

7. ประมาณการแรงงานที่ตองใช (PM) = NOP/PROD<br />

การประมาณการแรงงานสําหรับระยะการออกแบบชวงตน<br />

ตัวแบบการประมาณแรงงานสําหรับระดับนี้คือ<br />

แรงงาน (effort) = 2.94 x Size B x M+ PM auto โดยที่<br />

Size คือ ขนาดของระบบงานวัดเปนกิโลบรรทัด (KLOC) ซึ่งคํานวณไดจาก<br />

จํานวนฟงกชันพอยท<br />

M คือ ผลคูณของตัวคูณแรงงาน (effort multipliers) เพื่อปรับคาของ<br />

แรงงานใหสอดคลองกับลักษณะของระบบงานและโครงการ ตัวคูณมี<br />

ทั้งหมด 7 ตัวคือ<br />

• RCPX ความนาเชื่อถือและความซับซอนของระบบงาน<br />

(reliability and complexity)<br />

• RUSE โปรแกรมที่นํากลับมาใชใหม (reuse required)<br />

• PDIF ความยากของแพล็ตฟอรม (platform difficulty)<br />

• PERS ความสามารถของบุคคลากร (personal capability)<br />

• PREX ประสบการณของบุคลากร (personal experience)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-30<br />

• FCIL สิ่งอํานวยความสะดวกในการพัฒนาระบบงาน<br />

(support facilities)<br />

• SCED แรงกดดันจากตารางเวลาการพัฒนา (schedule)<br />

M = PERS x RCPX x RUSE x PDIF x PREX x FCIL x SCED<br />

ตัวคูณแรงงานมีคาดังในตารางที่ 6.17<br />

ตารางที่ 6.17 ระดับของตัวขับเคลื่อนคาใชจายสําหรับระยะการออกแบบชวงตน<br />

ตัวขับเคลื่อนคาใชจาย ต่ําเปน<br />

พิเศษ<br />

ระดับ<br />

ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

RCPX 0.49 0.60 0.83 1.00 1.33 1.91 2.72<br />

RUSE 0.95 1.00 1.07 1.15 1.24<br />

PDIF 1.00 1.00 1.00<br />

PERS 2.12 1.62 1.26 1.00 0.83 0.63 0.50<br />

PREX 1.59 1.33 1.12 1.00 0.87 0.74 0.62<br />

FCIL 1.43 1.30 1.10 1.00 0.87 0.73 0.62<br />

SCED 1.43 1.14 1.00 1.00 1.00<br />

PM auto คือ แรงงานที่ตองใชสําหรับการแปลโปรแกรมอัตโนมัติ (automatic<br />

translation) ซึ่งตองคํานวณดวยสูตรดังนี้<br />

Adapted KLOC x (AT/100)<br />

PM<br />

auto<br />

=<br />

ATPROD<br />

โดยที่<br />

Adapted KLOC คือ จํานวนคําสั่งของโปรแกรมที่นํามาใชใหมและตอง<br />

เปลี่ยนแปลง โดยมีหนวยนับเปนกิโล ดังนั้น Adapted<br />

KLOC นี้จะไมรวมใน Size เพื่อไมใหเกิดการนับซ้ํา<br />

AT (automated translation) คือ รอยละของคําสั่งที่นํามาปรับรื้อ<br />

(reengineering) โดยการแปลอัตโนมัติ คาของ AT แสดง<br />

ในตารางที่ 6.18<br />

ATPROD คือ คาผลผลิตเพิ่มโดยปริยาย (default productivity<br />

value) สําหรับการแปลงโปรแกรมอัตโนมัติ ซึ่งมีคา 2400<br />

คําสั่งตอคน-เดือน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-31<br />

ตารางที่ 6.18 รอยละของโปรแกรมที่นํามาปรับรื้อ<br />

เปาหมายการปรับรื้อ AT (รอยละการแปลอัติโนมัติ)<br />

การประมวลผลแบบกลุม (batch processing) 96%<br />

กลุมพรอมกับ SORT (batch with SORT) 90%<br />

กลุมพรอมกับ DBMS (batch with DBMS) 88%<br />

กลุม SORT, DBMS (batch, SORT, DBMS) 82%<br />

เชิงโตตอบ (Interactive) 50%<br />

B มีคาระหวาง 0.91 – 1.23 ขึ้นอยูกับความใหมของโครงการ ความ<br />

ยืดหยุนของการพัฒนา กระบวนการแกไขความเสี่ยง ความเกาะติดของ<br />

ทีมงาน และระดับวุฒิภาวะของกระบวนการขององคการ การหาคา B<br />

ทําไดดังนี้<br />

B = 0.91 + 0.01 x<br />

5<br />

∑ SFj<br />

โดยที่<br />

j = 1<br />

SF j (scale factors) คือ ปจจัยที่มีผลตอการประหยัดแรงงานจากขนาดของ<br />

ระบบที่มีขนาดแตกตางกัน j มีคาตั้งแต 1 ถึง 5 ความหมายและคาของ<br />

SF ทั้ง 5 ตัวแสดงในตารางที่ 6.19 และ 6.20 ตามลําดับ สวนการ<br />

กําหนดระดับของ SF แตละตัวแสดงในตารางที่ 6.21-6.24<br />

ตารางที่ 6.19 ความหมายของปจจัยที่มีผลตอการประหยัดแรงงาน<br />

ขนาดปจจัย<br />

ความหมาย<br />

PREC (precedentedness) ระดับความคลายคลึงกับโครงการที่ไดพัฒนามาแลว<br />

FLEX (development flexibility) ระดับความยืดหยุนของการพัฒนาซอฟตแวร<br />

RESL (architecture/risk resolution) ขนาดการวิเคราะหความเสี่ยงมากนอยแคไหน<br />

TEAM (team cohesion) ทีมงานพัฒนารูจักและทํางานรวมกันมากนอยแคไหน<br />

PMAT (process maturity) กระบวนการพัฒนามีวุฒิภาวะระดับใด ซึ่งขึ้นอยูกับ CMM<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-32<br />

ตารางที่ 6.20 คาของปจจัยที่มีผลตอการประหยัดแรงงาน<br />

ปจจัย ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปนพิเศษ<br />

PREC ไมคุนเคยเลย<br />

6.20<br />

ไมคุนเคยเปน<br />

สวนใหญ<br />

4.96<br />

คุนเคยบาง<br />

3.72<br />

โดยทั่วไป<br />

คุนเคย<br />

2.48<br />

คุนเคยอยาง<br />

มาก<br />

1.24<br />

คุนเคยอยาง<br />

ทะลุปรุโปรง<br />

0.00<br />

FLEX ไมยืดหยุน<br />

5.07<br />

RESL นอย (20%)<br />

TEAM<br />

7.07<br />

ปฏิสัมพันธกัน<br />

ยากมาก<br />

5.48<br />

PMAT CMM ระดับ 1<br />

ต่ํา<br />

7.80<br />

ยืดหยุนเปนครั้ง<br />

คราว<br />

4.05<br />

บาง (40%)<br />

5.65<br />

ปฏิสัมพันธยาก<br />

บาง<br />

4.38<br />

CMM ระดับ 1<br />

สูง<br />

6.24<br />

ยืดหยุนบาง<br />

3.04<br />

บอย (60%)<br />

4.24<br />

ปฏิสัมพันธกัน<br />

อยางธรรมดา<br />

3.29<br />

CMM ระดับ 2<br />

4.68<br />

โดยทั่วไป<br />

ตรงกัน<br />

2.03<br />

ทั่วๆ ไป (75%)<br />

2.83<br />

รวมมืออยาง<br />

มาก<br />

2.19<br />

CMM ระดับ 3<br />

3.12<br />

ตารางที่ 6.21 การจัดระดับ PREC<br />

ตรงกันบาง<br />

1.01<br />

สวนใหญ<br />

(90%)<br />

1.41<br />

รวมมืออยางสูง<br />

1.10<br />

CMM ระดับ 4<br />

1.56<br />

เปาหมายทั่วไป<br />

0.00<br />

เต็ม (100%)<br />

0.00<br />

ปฏิสัมพันธ<br />

อยางไรรอยตอ<br />

0.00<br />

CMM ระดับ 5<br />

0.00<br />

ต่ํามาก ต่ํามาก ปกติ/สูง สูงเปนพิเศษ<br />

ความเขาใจวัตถุประสงคของระบบงาน ทั่วไป มาก ทะลุปรุโปรง<br />

ประสบการณการทํางานกับระบบที่เกี่ยวของ ปานกลาง มาก ยาวนาน<br />

การพัฒนาพรอมกันของฮารดแวรใหมที่เกี่ยวของและขั้นตอนการ อยางมาก ปานกลาง บาง<br />

ปฏิบัติงาน<br />

ตองการมีสถาปตยกรรมการประมวลผลขอมูล และอัลกอริทึมใหม มาก บาง นอย<br />

ตารางที่ 6.22 การจัดระดับ FLEX<br />

คุณลักษณะ ต่ํามาก ปกติ/สูง สูงเปนพิเศษ<br />

ความตองการใหซอฟตแวรตรงกับความตองการที่กําหนดไวกอน สมบูรณ มาก ธรรมดา<br />

ความตองการใหซอฟตแวรตรงกับขอกําหนดการเชื่อมประสาน<br />

ภายนอก<br />

มีคุณลักษณะไมยืดหยุนทั้ง 2 อยางขางตนพรอมกับเงินที่จายคา<br />

ทําใหสมบูรณเร็วกวาที่กําหนด<br />

สมบูรณ มาก ธรรมดา<br />

สูง กลาง ต่ํา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-33<br />

ตารางที่ 6.23 การจัดระดับ RESL<br />

ลักษณะ ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

แผนจัดการความเสี่ยงระบุประเด็น<br />

ความเสี่ยงที่วิกฤตทั้งหมด กําหนด<br />

หลักไมลสําหรับการแกไขความ<br />

เสี่ยงโดย PDR หรือ LCA<br />

ตารางเวลา งบประมาณ และหลัก<br />

ไมลภายในโดยผาน PDR หรือ<br />

LCA ตรงกับแผนจัดการความเสี่ยง<br />

รอยละของระยะเวลาการพัฒนาที่<br />

อุทิศใหกับการสรางสถาปตยกรรม<br />

ตามวัตถุประสงคทั่วไปของระบบ<br />

รอยละของเวลาที่นัก<br />

สถาปตยกรรมระดับสูงใหกับ<br />

โครงการ<br />

มีเครื่องมือสนับสนุนสําหรับการ<br />

แกไขประเด็นความเสี่ยง การ<br />

พัฒนา และการทวนสอบ<br />

ขอกําหนดสถาปตยกรรม<br />

ระดับของความไมแนนอนของตัว<br />

ขับเคลื่อนสถาปตยกรรมหลัก:<br />

พันธกิจ การเชื่อมประสานกับผูใช,<br />

COTS, ฮารดแวร, เทคโนโลยี,<br />

ประสิทธิภาพ<br />

จํานวนและความวิกฤตของ > 10 5-10 2-4<br />

ประเด็นความเสี่ยง<br />

วิกฤต วิกฤต วิกฤต<br />

PDR = การทบทวนการออกแบบซอฟตแวร (Product Design Review)<br />

LCA = สถาปตยกรรมวงจรชีวิติ (Life Cycle Architecture)<br />

ไมมี เล็กนอย บาง ธรรมดา สวนใหญ สมบูรณ<br />

ไมมี นอย บาง ธรรมดา สวนใหญ สมบูรณ<br />

5 10 17 25 33 40<br />

20 40 60 80 100 120<br />

ไมมี นอย บาง ดี มาก สมบูรณ<br />

อยางมาก มีนัยสําคัญ มาก บาง นอย นอยมาก<br />

ตารางที่ 6.24 การจัดระดับ TEAM<br />

1<br />

วิกฤต<br />

> 5<br />

ไมวิกฤต<br />

< 5<br />

ไมวิกฤต<br />

ลักษณะ ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

ความสอดคลองกับวัตถุประสงคและวัฒนธรรมของ นอย บาง ธรรมดา มาก อยางมาก เต็ม<br />

ผูมีสวนไดเสีย<br />

ความสามารถ ความเต็มใจของผูมีสวนไดเสียเพื่อ นอย บาง ธรรมดา มาก อยางมาก เต็ม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-34<br />

ลักษณะ ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

เอื้อกับวัตถุประสงคของผูมีสวนไดเสียคนอื่น<br />

ประสบการณของผูมีสวนไดเสียในการปฏิบัติงาน<br />

แบบเปนทีม<br />

การสรางทีมผูมีสวนไดเสียเพื่อบรรลุวิสัยทัศนและ<br />

คํามั่นรวมกัน<br />

ไมมี นอย นอย ธรรมดา มาก ยาวนาน<br />

ไมมี นอย นอย ธรรมดา มาก ยาวนาน<br />

การประมาณการแรงงานระยะหลังจากการออกแบบ<br />

ตัวแบบสําหรับการประมาณการแรงงานในระยะนี้นั้น โบแอมใชตัวแบบพื้นฐาน<br />

เชนเดียวกับตัวแบบของระดับการออกแบบชวงตน แตตัวคูณแรงงานแตกตางกัน (17 ตัว) สูตรพื้นฐาน<br />

คือ<br />

แรงงาน (Effort) หรือ PM = A x Size B x M + PM auto<br />

A = 2.94<br />

การประมาณการจํานวนบรรทัดของโปรแกรมทั้งหมด (size) ขึ้นอยูกับปรับปรุง<br />

โปรแกรมเดิมที่มีอยูใหกลับมาใชใหม (reuse) โดยมีสูตรการคํานวณหา KLOC ที่เทียบเทากับการเขียน<br />

โปรแกรมใหมคือ<br />

Equivalent KLOC หรือ Size = Adapted KLOC x (1-AT/100) x AAM โดยที่<br />

AAF = (0.4 x DM) + (0.3 x CM) + (0.3 x IM)<br />

Adapted KLOC คือ จํานวนคําสั่งของโปรแกรมที่นํามาใชใหมที่ตองปลี่ยนแปลง<br />

AT คือ รอยละของคําสั่งที่นํามาปรับรื้อ (reengineering) โดยการแปล<br />

อัตโนมัติ คาของ AT แสดงในตารางที่ 6.18<br />

AAM (adaptation adjustment modifier) คือ แรงงานที่ใชในการทําใหโปรแกรม<br />

ที่ปรับแลวทํางานเขากับซอฟตแวรที่มีอยู ซึ่งขึ้นกับปจจัยอื่นๆ อีก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-35<br />

AAM มีสูตรการคํานวณ 2 สูตร การเลือกใชสูตรใดตองพิจารณาจาก<br />

คา AAF วามีคามากกวา 50 หรือไม<br />

AAF (adaptation adjustment factor) คือ ปริมาณแรงงานที่ใชปรับปรุง<br />

ซอฟตแวรที่มีอยูเดิม ประกอบดวยปจจัย 3 ตัว คือ DM CM และ IM<br />

DM (percent design modified) คือ รอยละของการออกแบบที่ถูกแกไข เพื่อ<br />

ปรับใหสอดคลองกับวัตถุประสงค หรือสภาวะแวดลอมใหม (เปนการ<br />

ประมาณเชิงความคิดเห็น)<br />

CM (percent code modified) คือ รอยละของคําสั่งที่ถูกแกไข เพื่อปรับให<br />

สอดคลองกับวัตถุประสงค หรือสภาวะแวดลอมใหม<br />

IM (percent of integration required for adapted software) คือ รอยละของ<br />

แรงงานที่ตองการเพื่อใชบูรณาการซอฟตแวรที่ถูกปรับใหเขากับ<br />

ซอฟตแวรโดยรวม และเพื่อใชในการทดสอบซอฟตแวร โดยเทียบกับ<br />

ปริมาณแรงงานในการบูรณาการและทดสอบซอฟตแวรขนาดเดียวกัน<br />

ตามปกติ<br />

AA (assessment and assimilation) คือ การประเมินวามอดูลของซอฟตแวรที่<br />

นํากลับมาใชใหมเหมาะสมกับระบบงานหรือไม รวมทั้งการบูรณาการ<br />

คําอธิบายของมอดูลที่นํากลับมาใชใหมรวมเขากับคําอธิบาย<br />

ซอฟตแวรภาพรวม AA ประมาณเปนรอยละ ตารางที่ 6.25 แสดง<br />

อัตราการเพิ่มของ AA<br />

รอยละ<br />

0 ไมมี<br />

ตารางที่ 6.25 อัตราการเพิ่มของ AA<br />

ระดับของแรงงาน<br />

2 การคนหามอดูลพื้นฐาน และเอกสาร<br />

4 การประเมินและทดสอบมอดูลบางมอดูล เอกสาร<br />

6 การประเมินและทดสอบมอดูลพอสมควร เอกสาร<br />

8 การประเมินและทดสอบมอดูลอยางมากมาย เอกสาร<br />

SU (software understanding increment) คือ การพยายามทําความเขาใจ<br />

ซอฟตแวรที่มีอยูเดิม ซึ่งพิจารณาจาก 3 ปจจัยคือ โครงสราง<br />

(structure) ความชัดเจนของระบบงาน (application clarity) และ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-36<br />

โครงสราง การเชื่อมติดของ<br />

คําสั่งในมอดูลต่ํา<br />

มาก การเชื่อมกัน<br />

ระหวางมอดูลสูง<br />

โปรแกรมยุงเหยิง<br />

ความชัดเจน<br />

ของ<br />

ระบบงาน<br />

การอธิบาย<br />

ดวยตนเอง<br />

การอธิบายดวยตัวเอง (self description) คาของ SU หาไดจาก<br />

ตารางที่ 6.26<br />

UNFM (unfamiliarity with the software) คือ ความไมคุนเคยระบบงานของ<br />

โปรแกรมเมอร อัตราของ UNFM แสดงในตารางที่ 6.27<br />

ถา DM หรือ CM มีคา 0 คือ ไมมีการปรับปรุงซอฟตแวร SU จะไมตองใชคือ มีคา<br />

เปน 0 เชนกัน<br />

ตารางที่ 6.26 อัตราความเขาใจซอฟตแวร<br />

ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก<br />

การเชื่อมติดของ โครงสรางดี การเชื่อมติดของ<br />

คําสั่งในมอดูล พอควร มีจุดออน คําสั่งในมอดูลสูง<br />

ปานกลาง-ต่ํา บางที่ การเชื่อมกัน<br />

การเชื่อมกัน<br />

ระหวางมอดูลต่ํา<br />

ระหวางมอดูลสูง<br />

ไมสอดคลอง<br />

ระหวางโปรแกรม<br />

และระบบงานที่<br />

กําลังพัฒนา<br />

โปรแกรมคลุมเครือ<br />

เอกสารไมครบ ไม<br />

ทันสมัย ไมชัดเจน<br />

มีความสัมพันธ<br />

บางระหวาง<br />

โปรแกรมและ<br />

ระบบงานที่กําลัง<br />

พัฒนา<br />

มีคําอธิบาย<br />

โปรแกรมบางสวน<br />

เอกสารมี<br />

ประโยชนบาง<br />

มีความสัมพันธ<br />

ปานกลางระหวาง<br />

โปรแกรมและ<br />

ระบบงานที่กําลัง<br />

พัฒนา<br />

มีคําอธิบาย<br />

โปรแกรมและ<br />

เอกสารปานกลาง<br />

มีความสัมพันธดี<br />

ระหวางโปรแกรม<br />

และระบบงานที่<br />

กําลังพัฒนา<br />

มีคําอธิบาย<br />

โปรแกรมดี เอกสาร<br />

มีประโยชน มี<br />

จุดออนบางสวน<br />

มีความเปนมอดูล<br />

มาก การซอน<br />

สารสนเทศใน<br />

ขอมูล/โครงสราง<br />

ควบคุม<br />

มีความสัมพันธ<br />

ระหวางโปรแกรม<br />

และระบบงานที่<br />

กําลังพัฒนาอยาง<br />

ชัดเจน<br />

โปรแกรมอธิบาย<br />

ตัวเอง เอกสาร<br />

ทันสมัย ไดรับการ<br />

จัดการดี<br />

อัตราของ SU 50 40 30 30 10<br />

ตารางที่ 6.27 อัตราของUNFM<br />

อัคราเพิ่ม UNFM ระดับความไมคุนเคย<br />

0.0 คุนเคยโดยสมบูรณ<br />

0.2 สวนใหญคุนเคย<br />

0.4 คอนขางคุนเคย<br />

0.6 คุนเคย<br />

0.8 สวนใหญใมคุนเคย<br />

1.0 ไมคุนเคยเลย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-37<br />

โบแอมไดเสนอแนวทางการประมาณปจจัยตางๆ สําหรับซอฟตแวรที่ถูกปรับเขาสู<br />

สภาวะแวดลอมใหม COCOMOII ไดแบงโปรแกรมออกเปน 4 กลุม สวนคาของ<br />

พารามิเตอรตางๆ ของแตละกลุมแสดงในตารางที่ 6.28 กลุมของโปรแกรมมี<br />

ดังนี้คือ<br />

• โปรแกรมใหม (new code) คือ ซอฟตแวรที่พัฒนาใหมทั้งหมดตั้งแต<br />

เริ่มตน (scratch)<br />

• โปรแกรมที่ปรับ (adapted code) คือ โปรแกรมที่ปรากฏอยูกอน<br />

(preexisting code) ไดรับการปรับแกเพื่อใชงานกับระบบใหม<br />

• โปรแกรมนํากลับมาใชใหม (reused code) คือ โปรแกรมที่ปรากฏอยู<br />

กอนไมมีการปรับแก หรือโปรแกรมเดิมที่มีอยู (as is) โปรแกรมกลุมนี้<br />

เปรียบเสมือนคําสั่งที่อยูในกลองดํา เพียงแตนําโปรแกรมนั้นมาติดตั้ง<br />

(plug) แลวใชงาน<br />

• โปรแกรมที่มีขาย (off-the-shelf software หรือ COTS) โดยทั่วไป<br />

ซอฟตแวรของกลุมนี้จัดไวเชนเดียวกับกลุมที่ 3 ถาไมมีการปรับแก สิ่ง<br />

ที่แตกตางคือ โปรแกรมกลุมนี ้มีคําสั่งใหมที่นํามาใชรวมกัน<br />

ตารางที่ 6.28 แนวทางการกําหนดพารามิเตอรของซอฟตแวรที่ปรับเขาสูสภาวะแวดลอมใหม<br />

กลุมของโปรแกรม<br />

โปรแกรมใหม<br />

โปรแกรมที่ปรับ<br />

โปรแกรมนํากลับมาใช<br />

ใหม<br />

พารามิเตอร<br />

DM CM IM AA SU UNFM<br />

ไมสามารถ<br />

ใชได<br />

0-100+%<br />

0-100%<br />

0-100%<br />

โดยปกติ IM<br />

ธรรมดาแลว<br />

โดยปกติ ><br />

ปานกลาง<br />

>DM และ<br />

0%<br />

และสามารถ<br />

ตอง > 0%<br />

>100%<br />

0-8% 0-50% 0-1<br />

0-100%<br />

0% 0%<br />

ยากที่จะเปน<br />

0% แตอาจ<br />

0-8% ไมสามารถใชได<br />

นอยมากๆ<br />

โปรแกรมที่มีขาย 0% 0% 0-100% 0-8% ไมสามารถใชได<br />

สวนการหาคา M ของตัวแบบระดับนี้จะประกอบดวยตัวคูณแรงงานที่มากกวา<br />

ของระดับการออกแบบระยะแรก ตัวคูณของระดับหลังจากการออกแบบสถาปตยกรรมนั้น โบแอมได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-38<br />

กําหนดมใหมีทั้งหมด 17 ตัว ความหมายของตัวคูณแรงงานและการกําหนดระดับของตัวคูณแรงงาน<br />

ทั้งหมด แสดงในตารางที่ 6.29 และ 6.30 ตามลําดับ<br />

ตัวคูณแรงงาน<br />

RELY (ความตองการ<br />

ดานความเชื่อถือของ<br />

ระบบงาน)<br />

DATA (ขนาด<br />

ฐานขอมูล)<br />

CPLX (ความซับซอน<br />

ของระบบงาน)<br />

RUSE (พัฒนาขึ้นมา<br />

เพื่อใหสามารถนํา<br />

กลับมาใชใหมได)<br />

DOCU (เอกสารตรงกับ<br />

ความตองการของวงจร<br />

ชีวิต)<br />

TIME (ขอจํากัดดาน<br />

เวลาการประมวลผล)<br />

STOR (ขอจํากัดดาน<br />

เวลาการประมวลผล)<br />

PVOL (การเปลี่ยน<br />

แพลตฟอรม)<br />

ACAP (ความสามารถ<br />

ของนักวิเคราะหระบบ)<br />

PCAP (ความสามารถ<br />

ของโปรแกรมเมอร)<br />

ตารางที่ 6.29 ความหมายของตัวคูณแรงงาน<br />

ความหมาย<br />

ระดับของผลกระทบที่เกิดขึ้น ถาซอฟตแวรทํางานไมไดอยางที่ตั้งใจ ถามีผลกระทบเพียงแค<br />

ทํางานไมสะดวก ระดับของตัวคูณจะต่ํามาก แตถาผลกระทบนั้นทําใหเกิดความเสี่ยงที่เปน<br />

อันตรายตอชีวิตของมนุษย ระดับของตัวคูณจะสูงมาก<br />

เปนตัวคูณที่วัดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทดสอบฐานขอมูลที่มีขนาดใหญ เนื่องจาก<br />

แรงงานที่ตองใชสรางขอมูลทดสอบโปรแกรม โดยพิจารณาจากสัดสวนของขนาดของ<br />

ฐานขอมูลที่กําลังทดสอบ (หนวยเปนไบต) กับขนาดของโปรแกรม (LOC)<br />

ความซับซอนของซอฟตแวรพิจารณาจากการปฏิบัติงาน 5 ดานคือ ดานการควบคุม ดานการ<br />

คํานวณ ดานการอิงกับอุปกรณตอพวงกับคอมพิวเตอร ดานการจัดการขอมูล และดานการ<br />

จัดการการโตตอบกับผูใช การกําหนดระดับพิจารณาจากตารางที่ 6.12<br />

ระดับแรงงานที่ตองใชเพื่อสรางสวนประกอบ สําหรับการนํากลับมาใชใหมของโครงการ<br />

ปจจุบันและอนาคต แรงงานนี้ตองใชเพื่อการออกแบบใหใชไดทั่วไป การเขียนเอกสาร การ<br />

ทดสอบที่ตองมีการทดสอบอยางมากเพื่อใหแนใจวาสามารถนําไปใชกับระบบงานอื่นๆ ได<br />

ความเหมาะสมของเอกสารของโครงการตอความจําเปนของวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟตแวร<br />

ถาวงจรชีวิตการพัฒนาจํานวนมากมีความจําเปนตองมีเอกสาร ระดับของ DOCU จะต่ํามาก<br />

แตถามีความจําเปนอยางยิ่ง ระดับของ DOCU จะสูงมาก ๆ เชนกัน<br />

เวลาของคอมพิวเตอรที่มีใหระบบใชทํางาน ถาเวลานอยกวา 50% TIME จะมีระดับปกติ แต<br />

ถาเวลาของคอมพิวเตอรมีใหถึง 95% TIME จะจัดวาสูงมากๆๆ<br />

รอยละของพื้นที่ของหนวยเก็บหลักที่ใหระบบงานใช<br />

แพลตฟอรมของระบบเปลี่ยนแปลงบอยหรือไม ถาไมคอยเปลี่ยน PVOL จะสูงมาก แตถา<br />

เปลี่ยนบอย คา PVOL จะต่ํามาก แพล็ตฟอรมหมายถึง ฮารดแวร ซอฟตแวร<br />

(ระบบปฏิบัติการ ระบบจัดการฐานขอมูล ฯลฯ)<br />

ระดับความสามารถของทีมนักวิเคราะหระบบ โดยพิจารณาจากความสามารถ ประสิทธิภาพ<br />

ความสามารถในการสื่อสารและประสานงาน ถาระดับอยูที่เปอรเซ็นตไทล 15 ระดับของ<br />

PCAP จะต่ํามาก แตถาอยูที่เปอรเซ็นตไทลที่ 90 ระดับของ PCAP จะจัดวาสูงมาก<br />

ระดับความสามารถของทีมโปรแกรมเมอร โดยพิจารณาจาก ความสามารถ ประสิทธิภาพ<br />

ความสามารถในการสื่อสารและประสานงาน ถาระดับอยูที่เปอรเซ็นตไทล 15 ระดับของ<br />

PCAP จะต่ํามาก แตถาอยูที่เปอรเซ็นตไทลที่ 90 ระดับของ PCAP จะจัดวาสูงมาก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-39<br />

ตัวคูณแรงงาน<br />

PCON (ความตอเนื่อง<br />

ของบุคลากร)<br />

APEX (ประสบการณใน<br />

ระบบงาน)<br />

ความหมาย<br />

รอยละการลาออกจากงานของพนักงานโครงการใน 1 ป ถาประมาณ 3% แสดงวาการ<br />

ทํางานมีความตอเนื่องสูงมาก แตถา 48% แสดงวาความตอเนื่องต่ํามาก<br />

ระดับประสบการณในระบบงานที่จะพัฒนาของทีมงาน ถาทีมงานมีประสบการณต่ํากวา 2<br />

เดือน ระดับของ APEX ต่ํา และจะสูงมาก ถาทีมมีประสบการณ 6 ป หรือมากกวา<br />

PLEX (แพลตฟอรม) ระดับประสบการณในแพลตฟอรมที่ใชในการพัฒนาระบบงาน<br />

LTEX (ประสบการณใน<br />

การเครื่องมือและภาษา)<br />

TOOL (การใชเครื่องมือ<br />

ในการพัฒนาซอฟตแวร)<br />

SITE (พัฒนาสําหรับ<br />

ติดตั้งหลายที่)<br />

SCED (ระยะเวลาที่<br />

ตองการใชในการพัฒนา<br />

ระบบงาน)<br />

ระดับประสบการณในการใชเครื่องมือในการวิเคราะห ออกแบบ และพัฒนาระบบงาน<br />

ความสามารถ อายุและการบูรณาการของเครื่องมือที่ใช<br />

สถานที่ที่ตั้งของทีมงานมีหลายที่ ซึ่งจะพิจารณาจาก 2 ปจจัยคือ ลักษณะของสถานที่ของ<br />

ทีมงานวาเปนระหวางประเทศ ระหวางเมือง ภายในอาคารเดียวกัน หรือสวนอีกปจจัยคือ<br />

การสนับสนุนการสื่อสารระหวางกัน เชน ไปรษณีย โทรศัพท การสื่อสารทางอิเลคโทรนิกส<br />

การปฎิสัมพันธแบบสื่อผสม เปนตน<br />

รอยละการลด-ขยายระยะเวลาการพัฒนาจากระยะเวลาอยางนอยที่สุดที่ตองใชของโครงการ<br />

ตารางที่ 6.30 ระดับของตัวขับเคลื่อนคาใชจาย<br />

ระดับ<br />

ตัวขับเคลื่อนคาใชจาย ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

RELY 0.82 0.92 1.00 1.10 1.26<br />

DATA 0.90 1.00 1.14 1.28<br />

CPLX 0.73 0.87 1.00 1.17 1.34 1.74<br />

RUSE 0.95 1.00 1.07 1.15 1.24<br />

DOCU 0.81 0.91 1.00 1.11 1.23<br />

TIME 1.00 1.11 1.29 1.23<br />

STOR 1.00 1.05 1.17 1.46<br />

PVOL 0.87 1.00 1.15 1.30<br />

ACAP 1.42 1.19 1.00 0.85 0.71<br />

PCAP 1.34 1.15 1.00 0.88 0.76<br />

PCON 1.29 1.12 1.00 0.90 0.81<br />

APEX 1.22 1.10 1.00 0.88 0.81<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-40<br />

ระดับ<br />

ตัวขับเคลื่อนคาใชจาย ต่ํามาก ต่ํา ปกติ สูง สูงมาก สูงเปน<br />

พิเศษ<br />

PLEX 1.19 1.09 1.00 0.91 0.85<br />

LTEX 1.20 1.09 1.00 0.91 0.84<br />

TOOL 1.17 1.09 1.00 0.90 0.78<br />

SITE 1.22 1.09 1.00 0.93 0.86 0.80<br />

SCED 1.43 1.14 1.00 1.00 1.00<br />

การประมาณการเวลาที่ใชในการพัฒนาระบบงาน<br />

ตัวแบบสําหรับการประมาณการเวลาที่ใชในการพัฒนาระบบงานของ<br />

COCOMOII เปนตัวแบบที่ใชทั้งระยะการออกแบบชวงตน และระยะหลังจากการออกแบบ<br />

สถาปตยกรรม ตัวแบบสําหรับการประมาณการเวลาคือ<br />

⎡<br />

⎢⎣<br />

( )<br />

TDEV = 3.67x PM<br />

NS<br />

( 0.48x( B- 0.91)<br />

)<br />

⎤<br />

⎥⎦<br />

SCED%<br />

x<br />

100<br />

โดยที่ TDEV = ระยะเวลาที่ตองใชในการพัฒนาซอฟตแวร<br />

PM NS = ประมาณการแรงงาน (คน-เดือน) โดยไมรวมตัวคูณแรงงาน SCED<br />

และ PM auto<br />

SCED% = เปอรเซ็นตการลด-ขยายเวลาการพัฒนาของตัวคูณแรงงาน SCED<br />

ดังที่กลาวมาแลว<br />

6.3.4 ปญหาที่พบโดยทั่วไปของการประมาณการคาใชจายดานเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ถึงแมวาจะมีเทคนิคและเครื่องมือเพื่อชวยประมาณการคาใชจาย การประมาณการ<br />

คาใชจายยังคงไมถูกตอง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีใหมหรือการพัฒนาซอฟตแวร<br />

ทอม เดอมาโคร (Tom DeMarco) ไดใหเหตุผล 4 ขอที่การประมาณการคาใชจายไมถูกตอง และได<br />

เสนอวิธีการบางวิธีเพื่อแกไขความไมถูกตองเหลานี้<br />

1. การประมาณการคาใชจายสําหรับโครงการซอฟตแวรขนาดใหญเปนงานที่<br />

ซับซอน ตองใชความพยายามมาก การประมาณการหลายๆ โครงการตองทํา<br />

อยางรวดเร็วและกอนที่จะไดความตองการของระบบที่ชัดเจน<br />

2. คนที่ทําการประมาณการคาใชจายไมคอยมีประสบการณในการประมาณการ<br />

โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ ถาองคการใชเทคนิคการบริหารโครงการที่ดี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-41<br />

และพัฒนาระบบการเก็บขอมูลของโครงการและการประมาณการที่นาเชื่อถือ<br />

ขอมูลเหลานี้จะชวยปรับปรุงการประมาณการขององคการ การใหคนดาน<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศไดรับการอบรมและดูแลการประมาณการคาใชจายจะ<br />

ชวยปรับปรุงประมาณการคาใชจายไดดีขึ้น<br />

3. มนุษยมีใจโอนเอียงเขาหาการประมาณต่ํากวาที่ควรจะเปน เชน ผูมีอาชีพทาง<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศอาวุโส หรือผูจัดการโครงการอาจทําการประมาณการ<br />

ตามความสามารถของตน โดยลืมวายังมีคนที่มีประสบการณนอยรวมทีม ซึ่ง<br />

ตองใชเวลามากขึ้น นอกจากนี้ ผูประมาณการอาจลืมวา ถาโครงการขนาด<br />

ใหญ องคการจะมีคาใชจายพิเศษสําหรับการบูรณาการและการทดสอบ<br />

4. ผูบริหารอยากไดคาประมาณการที่ชวยใหองคการชนะการประมูลสัญญา<br />

ขนาดใหญ หรือใหไดรับเงินสนับสนุนจากองคการ ดังนั้น ผูบริหารระดับสูงหรือ<br />

ผูมีสวนไดเสียตองการไดระยะเวลาหรือคาใชจายที่นอยกวาคาประมาณการ<br />

ผูจัดการโครงการตองประมาณการคาใชจายและเวลาที่ถูกตอง แลวใชทักษะ<br />

การตอรองและความเปนผูนําเพื่อยืนยันคาที่ประมาณการได<br />

6.3.5 ตัวอยางการประมาณการคาใชจาย<br />

วิธีการที่ดีที่สุดในการเรียนรูวากระบวนการประมาณการคาใชจายทําอยางไรคือ<br />

การศึกษาจากตัวอยางการประมาณการคาใชจาย การประมาณการทุกโครงการไมเหมือนกัน เพราะแต<br />

ละโครงการมีความแตกตางกัน<br />

กอนเริ่มการประมาณการคาใชจาย เราตองรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับโครงการใหมากที่สุด<br />

เทาที่จะมากได รวมทั้งกฎเกณฑพื้นฐานและสมมุติฐานสําหรับการประมาณการ ขอมูลตัวอยางการ<br />

ประมาณการคาใชจายสําหรับโครงการสํารวจมีขอมูลมีดังนี้ (Schwalbe, 2007)<br />

• โครงการนี้ไดมีการทําการศึกษารายละเอียดและพิสูจนแนวความคิดเพื่อแสดงให<br />

เห็นความเปนไปไดที่จะพัฒนาฮารดแวรและซอฟตแวรที่นักสํารวจตองการ และ<br />

เชื่อมโยงอุปกรณใหมเขากับระบบสารสนเทศ การพิสูจนแนวความคิดของโครงการ<br />

ทําโดยการใชอุปกรณมือถือตนแบบ (prototype) และซอฟตแวรที่มีฟงกชันพื้นฐาน<br />

และเชื่อมโยงกับระบบกําหนดตําแหนงบนโลก (global positioning systems<br />

(GPS)) และระบบฐานขอมูลอื่นๆ ของรัฐบาลที่นักสํารวจใช องคการมีขอมูลเพื่อ<br />

ชวยประมาณการคาแรงงาน โดยเฉพาะขอมูลสําหรับการพัฒนาซอฟตแวร รวมทั้ง<br />

มีขอมูลบางสวนที่ชวยการประมาณการคาใชจายสําหรับอุปกรณมือถือ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-42<br />

• เปาหมายหลักของโครงการคือ เพื่อผลิตอุปกรณมือถือ 100 เครื่อง ตามดวยการ<br />

พัฒนาซอฟตแวร (โดยเฉพาะสวนเชื่อมประสานกับผูใช) ทดสอบระบบใหมใน<br />

ภาคสนาม และอบรมการใชระบบใหมใหกับนักสํารวจจํานวน 100 คนจากเมืองที่<br />

ไดคัดเลือก องคการคาดวาจะมีสัญญาใหผลิตอุปกรณจํานวนมากอันเนื่องจาก<br />

ความสําเร็จของโครงการนี้<br />

• โครงสรางจําแนกงานยอยสําหรับโครงการนี้มีดังนี้<br />

1. การบริหารโครงการ<br />

2. ฮารดแวร<br />

2.1 อุปกรณมือถือ<br />

2.2 เครื่องบริการ (server)<br />

3. ซอฟตแวร<br />

3.1 ซอฟตแวรที่มีใบอนุญาต<br />

3.2 การพัฒนาซอฟตแวร<br />

4. การทดสอบ<br />

5. การอบรมและสนับสนุน<br />

6. การสํารอง<br />

• คาใชจายตองประมาณออกมาตามโครงสรางจําแนกงานยอยและตามเดือน<br />

ผูจัดการโครงการจะรายงานความกาวหนาของโครงการโดยการใชการวิเคราะหมูล<br />

คาที่ไดรับ (earned value)<br />

• คาใชจายตองประมาณการออกเปนตัวเงิน เนื่องจากระยะเวลาโครงการ 1 ป จึงไม<br />

ตองนําอัตราเงินเฟอมารวมในการประมาณการ<br />

• โครงการจะถูกบริหารโดยสํานักงานโครงการรัฐบาล โครงการนี้มีผูจัดการโครงการ<br />

ที่ทํางานครึ่งเวลา สมาชิกอีก 3 คนที่ชวยบริหารสวนตางๆ ของโครงการ และใช<br />

ความเชี่ยวชาญของพวกเขาในการพัฒนาซอฟตแวร การอบรม และการสนับสนุน<br />

• โครงการเกี่ยวของกับการซื้ออุปกรณมือถือจากบริษัทที่ผลิตอุปกรณมือถือตนแบบ<br />

ถาใหผลิต 100 เครื่อง คาใชจายประมาณ 20,000 บาท ตอเครื ่อง โครงการยัง<br />

ตองการเครื่องบริการ (server) เพิ่มเติม 4 เครื่อง เพื่อใชงานซอฟตแวรสําหรับ<br />

อุปกรณมือถือและสําหรับการบริหารโครงการ<br />

• โครงการตองการมีซอฟตแวรที่มีใบอนุญาตสําหรับ GPS และระบบภายนอกอีก 3<br />

ระบบ การพัฒนาซอฟตแวรประกอบดวยการพัฒนาสวนเชื่อมประสานกับผูใชแบบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-43<br />

กราฟกสสําหรับอุปกรณมือถือ ระบบชวยเหลือแบบออน-ไลน และมอดูลใหม<br />

สําหรับการติดตามการดําเนินงานของนักสํารวจ<br />

• อุปกรณและซอฟตแวรตองการการทดสอบอยางยืดยาว<br />

• การอบรมจะเปนการอบรมที่มีผูสอนในสถานที่ตางๆ จํานวน 5 แหง โดยให<br />

หนวยงานภายนอกทําการอบรม รวมถึงการพัฒนาเอกสารการอบรม การจัดเวลา<br />

การอบรม การจัดใหมีความชวยเหลือ (help desk support) เปนเวลา 3 เดือน เมื่อ<br />

นักสํารวจเริ่มการใชอุปกรณในภาคสนาม มีสมาชิกโครงการ 2 คนใหความ<br />

ชวยเหลือการอบรม<br />

• เพราะมีความเสี่ยงหลายประการที่เกี่ยวของกับโครงการ จึงใหมีการสํารอง<br />

งบประมาณคิดเปนรอยละ 20 ของคาประมาณการทั้งหมด<br />

• ผูจัดการโครงการตองพัฒนาตัวแบบที่เปนคอมพิวเตอรสําหรับการประมาณการ<br />

ซึ่งจะทําใหงายในการเปลี่ยนแปลงขอมูลนําเขา เชน จํานวนชั่วโมงการทํางานของ<br />

พนักงานในการทํากิจกรรมตางๆ หรืออัตราคาจาง<br />

เพราะการประมาณการตองคาดการณออกมาตามโครงสรางจําแนกงานยอยและราย<br />

เดือน ลําดับแรกทีมงานควรทบทวนรางตารางเวลาโครงการ และกําหนดสมมุติฐานเพิ่มเติมตามความ<br />

จําเปน จากนั้นทีมงานประมาณการคาใชจายตามรายการในโครงสรางจําแนกงานยอยแตละรายการ<br />

แลวกําหนดวันที่ที่งานนั้นจะเริ่มทํา ตอไปนี้คือ สมมุติฐานและขอมูลเพิ่มเติมสําหรับการประมาณการ<br />

คาใชจายแตละหมวดของโครงสรางจําแนกงานยอย<br />

1. การบริหารโครงการ: การประมาณคิดคาตอบแทนสําหรับผูจัดการโครงการ<br />

รอยละ 50 ของเวลาของสมาชิกทีมงาน จํานวนชั่วโมงของสมาชิกที่เหลือจะถูก<br />

แบงเทาๆ กันระหวางการพัฒนาซอฟตแวร การทดสอบ และกิจกรรมการอบรม<br />

ผูเชี่ยวชาญงบประมาณของโครงการเสนอใหผูจัดการโครงการไดอัตราคาเแรง<br />

ชั่วโมงละ 4,000 บาท สําหรับสมาชิกทีมงานแตละคนที่ทํางานเต็มเวลาได<br />

คาแรงชั่วโมงละ 2,000 บาท และทํางานเฉลี่ยเดือนละ 160 ชั่วโมง ดังนั้น เวลา<br />

ทั้งหมดสําหรับผูจัดการโครงการคือ 960 (160/2 X 12 = 960) คาใชจายของ<br />

การบริหารโครงการยังรวมคาใชจายสําหรับสมาชิก โดยสมมุติวา จํานวน<br />

ชั่วโมงการทํางานของสมาชิกทีมงานทุกคนรวม 160 ชั่วโมงตอเดือน (160 X<br />

12 = 1,920) นอกจากนี้ ยังรวมคาแรงของพนักงานตามสัญญา ซึ่งประมาณ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-44<br />

การโดยคิดรอยละ 10 ของคาใชจายของการพัฒนาซอฟตแวรและการทดสอบ<br />

(10%X(11,940,000+2,600,000))<br />

2. ฮารดแวร<br />

2.1 อุปกรณมือถือ: 100 เครื่อง ประมาณการโดยคูคาที่เครื่องละ<br />

20,000 บาท<br />

2.2 เครื่องบริการ: จํานวน 4 เครื่อง ประมาณการเครื่องละ 150,000<br />

บาท ตามราคาเครื่องที่ไดซื้อลาสุด<br />

3. ซอฟตแวร<br />

3.1 ซอฟตแวรที่มีใบอนุญาต: มีการตอรองราคาซอฟตแวรสําหรับ<br />

อุปกรณมือถือกับผูขายแตละราย เนื่องจากโอกาสที่จะมีสัญญา<br />

มูลคาขนาดใหญคอนขางสูงถาระบบทํางานไดดี คาใชจายจึง<br />

คาดวาจะต่ํากวาปกติ คาซอฟตแวรสําหรับอุปกรณมือถือคาดวา<br />

เปน 6,000 บาท ตอเครื่อง<br />

3.2 การพัฒนาซอฟตแวร: การประมาณการนี้จะใช 2 วิธี การ<br />

ประมาณการคาแรง และฟงกชันพอยท แลวเลือกใชคาประมาณ<br />

การที่สูงสุด แตถาคาประมาณการตางกันมากกวารอยละ 20<br />

ผูจัดการโครงการตองหาวิธีการที ่สามมาทําการประมาณการ<br />

4. การทดสอบ: ผลจากโครงการที่คลายคลึงกัน จึงคาดวาคาใชจายในการ<br />

ทดสอบจะประมาณรอยละ 10 ของคาใชจายซอฟตแวรและฮารดแวร<br />

5. การอบรมและการสนับสนุน: ผลจากโครงการที่คลายคลึงกัน การอบรมจะ<br />

ประมาณตอคนที่เขารับการอบรม บวกคาเดินทาง คาใชจายตอคนที่เขารับการ<br />

อบรม (100 คน) ประมาณ 15,000 บาท/คน สําหรับผูบรรยายและสมาชิก<br />

ทีมงานมีคาเดินทางคือ 1,000 บาท/วัน/คน ซึ่งจะใชวันเดินทางทั้งหมด<br />

ประมาณ 12 วัน คาแรงสําหรับสมาชิกทีมงานจะรวมในการประมาณการนี้<br />

ดวย เพราะใหสมาชิกทีมงานชวยในการอบรมและใหการสนับสนุนหลังจาก<br />

การอบรม ซึ่งประมาณ 300 ชั่วโมง<br />

6. การสํารอง : เงินสํารองจะประมาณรอยละ 20 ของคาประมาณการทั้งหมด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-45<br />

ตารางที่ 6.31 การประมาณการคาใชจายโครงการสํารวจ (ปรับปรุงจาก Schwalbe, 2007)<br />

ผลรวม<br />

# หนวย/ คาใชจาย/<br />

ผลรวม % ของ<br />

รายการโครงสรางงานยอย<br />

ยอย<br />

ชม. บาท/ชม.<br />

(บาท) ผลรวม<br />

(บาท)<br />

1. การบริหารโครงการ 9,025,400 27.06%<br />

1.1 ผูจัดการโครงการ 960 4,000 3,840,000<br />

1.2 สมาชิกทีมงานโครงการ 1,920 2,000 3,840,000<br />

1.3 พนักงานตามสัญญา (10% ของคา<br />

พัฒนาซอฟตแวร และทดสอบ)<br />

1,345,400<br />

2. ฮารดแวร 2,600,000 7.80%<br />

2.1 อุปกรณมือถือ 100 20,000 2,000,000<br />

2.2 เครื่องบริการ 4 150,000 600,000<br />

3. ซอฟตแวร 12,540,000 37.60%<br />

3.1 ใบอนุญาต 100 6,000 600,000<br />

3.2 การพัฒนาซอฟตแวร* 11,940,000<br />

4. การทดสอบ (10% ของคาใชจาย<br />

ทั้งหมดของฮารดแวรและซอฟตแวร)<br />

1,514,000 1,514,000 4.54%<br />

5. การอบรมและสนับสนุน 2,112,000 6.33%<br />

5.1 คาใชจายของผูที่เขาอบรม 100 15,000 1,500,000<br />

5.2 คาเดินทาง 12 1,000 12,000<br />

5.3 สมาชิกทีมงานโครงการ 300 2,000 600,000<br />

6. เงินสํารอง (20% ของคาประมาณ<br />

การทั้งหมด)<br />

5,558,280 5,558,280 16.67%<br />

ประมาณการคาใชจายทั้งหมด 33,349,680<br />

หลังจากนั้น ทีมงานโครงการพัฒนาตัวแบบคาใชจายโดยการใชขอมูลขางตน ตารางที่<br />

6.31 แสดงสรุปคาใชจายตามโครงสรางจําแนกงานยอยจากขอมูลขางตน โครงสรางจําแนกงานยอย<br />

แสดงในสดมภแรก บางรายการมีการจําแนกใหละเอียดมากขึ้น เชน หมวดการบริหารโครงการ<br />

ประกอบดวย 3 รายการ เพื่อคํานวณคาใชจายสําหรับผูจัดการโครงการ สมาชิกทีมงาน และคูสัญญา<br />

เพราะคนเหลานี้จะทํากิจกรรมการบริหารโครงการบางกิจกรรม สวนสดมภอื่นๆ จะมีสดมภสําหรับใส<br />

จํานวนชั่วโมง และคาใชจายตอชั่วโมง<br />

รายการพัฒนาซอฟตแวรมีเครื่องหมาย * คือ รายการที่อางถึงการประมาณการที่<br />

ละเอียดในตารางที่ 6.32 ในตารางดังกลาวไดแสดงรายละเอียดการประมาณการพัฒนาซอฟตแวร ซึ่งมี<br />

2 วิธีตามที่ไดกําหนดไว โดยวิธีการประมาณการคาแรงไดคาใชจายทั้งหมด 11,940,000 บาท สวนวิธี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-46<br />

ฟงกชันพอยทประมาณการคาใชจายได 11,718,000 บาท จากการที่ไดกําหนดไววาคาใชจายการ<br />

พัฒนาซอฟตแวรจะเลือกคาที่สูงสุดจากการประมาณการ 2 วิธี ดังนั้น คาใชจายการพัฒนาของโครงการ<br />

สํารวจจึงมีคา 11,940,000 บาท<br />

ผูจัดการโครงการควรใหหลายๆ คนทบทวนการประมาณการ หลังจากที่ประมาณ<br />

การคาใชจายทั้งหมดไดรับการอนุมัติ ทีมงานสามารถจัดสรรคาใชจายแตละเดือนตามตารางเวลาของ<br />

โครงการและเวลาที่ตองใชคาใชจายที่กําหนด<br />

ตารางที่ 6.32 การประมาณการคาใชจายการพัฒนาซอฟตแวร (ปรับปรุงจาก Schwalbe, 2007)<br />

รายการโครงสรางงานยอย<br />

1. การประมาณการพนักงาน<br />

# ชม.<br />

คาใชจาย/<br />

บาท/ชม.<br />

ผลรวมยอย<br />

(บาท)<br />

การคํานวณ<br />

พนักงานตามสัญญา 3,000 2,700 8,100,000 3,000*2,700<br />

สมาชิกทีมงาน 1,920 2,000 3,840,000 1,920*2,000<br />

รวมประมาณการคาใชจายพนักงาน<br />

11,940,000 ผลรวมของ 2 คาขางบน<br />

2. การประมาณการฟงกชันพอยท จํานวน น้ําหนัก<br />

ฟงกชัน<br />

พอยท<br />

การคํานวณ<br />

ขอมูลนําเขาจากภายนอก 10 6 60 10*4<br />

แฟมขอมูลเชื่อมประสานภายนอก 7 7 49 3*7<br />

ขอมูลสงออกภายนอก 5 5 25 4*5<br />

การสอบถามจากภายนอก 6 4 24 6*4<br />

แฟมขอมูลเชิงตรรกะภายใน 9 10 90 7*10<br />

ผลรวมฟงกชันพอยท 248<br />

ผลรวมของคาฟงกชันพอยท<br />

ขางตน<br />

ปจจัยปรับคาฟงกชันพอยท<br />

ผลรวมฟงกชันพอยททั้งหมด 334.8<br />

1.35 คาสมมุติ<br />

จํานวนชั่วโมงการทํางานทั้งหมด (14 ชม./1<br />

ฟงกชันพอยท)<br />

4,687 334.8*14<br />

คาใชจาย/ชั่วโมง (2,500 บาท/ชั่วโมง) 2,500 คาที่ไดจากผูเชี่ยวชาญ<br />

ผลรวมการประมาณการฟงกชันพอยท 11,718,000 4,687*2,500<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-47<br />

6.4 การทํางบประมาณคาใชจาย<br />

การทํางบประมาณคาใชจายโครงการเปนการจัดสรรประมาณการคาใชจายใหกับงานแตละ<br />

งานตลอดทั้งโครงการ งานเหลานี้ยึดตามโครงสรางจําแนกงานยอยของโครงการ ดังนั้น โครงสราง<br />

จําแนกงานยอยจึงเปนขอมูลนําเขาที่จําเปนสําหรับกระบวนการทํางบประมาณคาใชจาย เชนเดียวกัน<br />

ขอกําหนดขอบเขตโครงการ ปฏิทินทรัพยากร สัญญา และแผนการบริหารคาใชจายใหขอมูลที่เปน<br />

ประโยชนตอการทํางบประมาณคาใชจาย การทํางบประมาณคาใชจายทําใหเกิดบรรทัดฐานคาใชจาย<br />

ซึ่งเปนงบประมาณตามระยะเวลาที่ผูจัดการโครงการสามารถใชเพื่อวัดและติดตามประสิทธิภาพ<br />

คาใชจาย การประมาณการคาใชจายสําหรับแตละกิจกรรมหลักของโครงการเปนการใหขอมูลพื้นฐาน<br />

สําหรับการควบคุมคาใชจายโครงการแกผูจัดการโครงการและผูบริหารระดับสูง<br />

การทํางบประมาณคาใชจาย ผูจัดการโครงการตองพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่รองขอหรือการ<br />

ทําใหความตองการชัดเจนดวย เพราะอาจมีผลใหปรับปรุงแผนการบริหารคาใชจาย การทํางบประมาณ<br />

คาใชจายยังเปนขอมูลแสดงความตองการเงินทุนโครงการ เชน บางโครงการตองมีเงินทุนทั้งหมดให<br />

ตั้งแตเริ่มโครงการ แตโครงการอื่นตองการเงินทุนเปนชวงๆ บรรทัดฐานคาใชจายแสดงถึงความตองการ<br />

เงินทุนในแตละเดือน องคการอาจตองทําการปรับบรรทัดฐานคาใชจายเพื่อหลีกเลี่ยงปญหาดานการเงิน<br />

ถาความตองการเงินทุนนั้นมากกวาที่องคการคาดวาจะสนับสนุนได<br />

รูปที่ 6.6 บรรทัดฐานคาใชจายโครงการสํารวจ (ปรับปรุงจาก Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-48<br />

จากตัวอยางโครงการสํารวจที่ไดกลาวมาแลว ทีมงานโครงการอาจใชประมาณการคาใชจาย<br />

จากตารางที่ 6.31 พรอมกับตารางเวลาโครงการและขอมูลอื่นๆ เพื่อจัดสรรคาใชจายสําหรับแตละเดือน<br />

รูปที่ 6.6 เปนตัวอยางของบรรทัดฐานคาใชจายสําหรับโครงการนี้ ทีมงานควรบันทึกสมมุติฐานที่ไดใชใน<br />

การจัดทําบรรทัดฐานคาใชจาย และใหผูเชี่ยวชาญหลายๆ คนทบทวน<br />

6.5 การควบคุมคาใชจาย<br />

การควบคุมคาใชจายโครงการเกี่ยวของกับการติดตามประสิทธิภาพคาใชจาย การประกันวา<br />

การเปลี่ยนแปลงโครงการที่เหมาะสมเทานั้นที่จะนําเขามาทบทวนบรรทัดฐานคาใชจาย รวมทั้งการแจง<br />

ผูมีสวนไดเสียของโครงการทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอนุมัติและกระทบตอคาใชจาย ขอมูลนําเขา<br />

สําหรับกระบวนการควบคุมคาใชจายประกอบดวย บรรทัดฐานคาใชจาย รายงานผลการดําเนินงาน คํา<br />

ขอเปลี่ยนแปลง และความตองการเงินทุน สวนผลลัพธของกระบวนการนี้คือ แผนบริหารโครงการที่<br />

ปรับปรุงใหทันสมัย และการปรับปรุงทรัพยสินกระบวนการเชิงองคการ เชน เอกสารบทเรียนที่ไดเรียนรู<br />

เทคนิคและเครื่องมือหลายๆ อยางชวยการควบคุมคาใชจายโครงการ เชน ไมโครซอฟตโปร<br />

เจค อยางไรก็ตาม องคการควรมีระบบควบคุมการเปลี่ยนแปลง เพื่อกําหนดขั้นตอนสําหรับการ<br />

เปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานคาใชจาย ระบบควบคุมการเปลี่ยนแปลงคาใชจายเปนสวนหนึ่งของระบบ<br />

ควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่บูรณาการ เนื่องจากงานหลายๆ งานของโครงการไมเดินหนาเหมือนที่กําหนด<br />

ในแผน ดังนั้น ผูจัดการโครงการจึงควรมีการทบทวนคาใชจายที่ประมาณการ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ<br />

ที่ชวยควบคุมคาใชจายโครงการคือ การประชุมทบทวนผลการดําเนินงาน และการวัดผลการดําเนินงาน<br />

คนจะทํางานดีขึ้น เมื่อรูวาตองรายงานความกาวหนา หรือถูกตรวจสอบ ถึงแมวาจะมีวิธีการบัญชี<br />

หลายๆ วิธีใหใชสําหรับการวัดผลการดําเนินงาน วิธีการควบคุมคาใชจายที่มีประสิทธิภาพมากๆ คือ<br />

การบริหารมูลคาที่ไดรับ (earned value management (EVM))<br />

การบริหารมูลคาที่ไดรับคือ เทคนิคการวัดผลการดําเนินโครงการที่ใชขอมูลขอบเขตงาน เวลา<br />

และคาใชจาย ผูจัดการโครงการและทีมงานสามารถทราบวาโครงการทํางานไดตรงกับขอบเขต เวลา<br />

และคาใชจายไดดีอยางไร โดยการใสขอมูลจริงแลวเปรียบเทียบกับบรรทัดฐาน บรรทัดฐานคือ แผน<br />

โครงการตั้งแตแรกรวมกับการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอนุมัติ ขอมูลจริงประกอบดวยรายการของโครงสราง<br />

จําแนกงานยอยทําไดสมบูรณหรือไม หรืองานทําไดสมบูรณประมาณเทาใด งานเริ่มตนและจบจริงๆ<br />

เมื่อไร และคาใชจายจริงในการทําใหงานเสร็จสมบูรณ<br />

ในอดีต การบริหารมูลคาที่ไดรับถูกนํามาใชกับโครงการรัฐบาลขนาดใหญ อยางไรก็ตาม ใน<br />

วันนี้ มีบริษัทจํานวนมากและมากขึ้นไดตระหนักถึงคุณคาของการใชเครื่องมือนี้ในการควบคุมคาใชจาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-49<br />

การบริหารมูลคาที่ไดรับเกี่ยวพันกับการคํานวณพารามิเตอร 3 ตัวสําหรับแตละกิจกรรม หรือกิจกรรม<br />

สรุปจากโครงสรางจําแนกงานยอยของโครงการ พารามิเตอรทั้ง 3 ตัวมีดังนี้<br />

• ผลงานที่ควรทําไดตามแผนคิดจากราคางบประมาณ (budgeted cost of work<br />

scheduled (BCWS)) หรือมูลคาที่ไดวางแผนไว (planned value (PV)) หรือ<br />

งบประมาณของกิจกรรมหนึ่ง เชน สมมติโครงการหนึ่งมีกิจกรรมสรุปของการซื้อ<br />

และการติดตั้งเครื่องบริการเว็บเครื่องใหม ซึ่งใชเวลา 1 อาทิตย และคาแรงทั้งหมด<br />

10,000 บาท ดังนั้น BCWS ของกิจกรรมนี้คือ 10,000<br />

• คาใชจายจริงของงานที่ไดทํา (actual cost of work performed (ACWP))<br />

คาใชจายจริง (actual cost (AC)) คือ คาใชจายทางตรงและทางออมที่เกิดขึ้นเพื่อ<br />

ทํากิจกรรมใหสําเร็จในชวงที่กําหนด เชน สมมุติวาใชเวลา 2 อาทิตยและคาใชจาย<br />

20,000 บาท สําหรับการซื้อและติดตั้งเครื่องบริการเว็บเครื่องใหม สมมุติวาอาทิตย<br />

แรกคาใชจายที่เกิดขึ้นจริงคือ 15,000 บาท และคาใชจายจริงที่เกิดขึ้นอาทิตยที่ 2<br />

คือ 5,000 บาท จํานวนเงินเหลานี้เปนคาใชจายจริงสําหรับกิจกรรมแตละอาทิตย<br />

ตารางที่ 6.33 แสดงการคํานวณมูลคาที่ไดรับจริง (Schwalbe, 2007)<br />

กิจกรรม อาทิตยที่ 1<br />

มูลคาที่ไดรับ (EV) 10,000 x 75% = 7,500<br />

มูลคาที่วางแผน (PV) 10,000<br />

คาใชจายจริง (AC) 15,000<br />

ความผันแปรของคาใชจายจริง จากงบประมาณตามแผน (CV) 7,500 – 15,000 = -7,500<br />

ความผันแปรดานเวลาเทียบกับแผน (SV) 7,500 – 10,000 = -2,500<br />

ดัชนีการดําเนินงานดานคาใชจาย (CPI) 7,500/15,000 = 50%<br />

ดัชนีการดําเนินงานดานเวลา (SPI) 7,500/10,000 = 75%<br />

• ผลงานที่ทําไดคิดจากราคางบประมาณ (budgeted cost of work performed<br />

(BCWP)) หรือ มูลคาที่ไดรับ (earned value (EV)) คือ การประมาณการมูลคาของ<br />

งานที่ไดทํา โดยคํานวณตามงบประมาณคาใชจายของโครงการหรือกิจกรรมที่<br />

วางแผนตั้งแตแรก และอัตราประสิทธิภาพของทีมงานที่กําลังทํางานโครงการหรือ<br />

กิจกรรม อัตราประสิทธิภาพการทํางาน (rate of performance (RP)) คือ สัดสวน<br />

ของงานที่เสร็จจริงกับรอยละของงานที่วางแผนไววาจะทําเสร็จในชวงเวลาที่<br />

กําหนด เชน สมมุติวา เวลาผานไป 1 อาทิตย การติดตั้งเครื่องบริการทําเสร็จไป 3<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-50<br />

ใน 4 อัตราของการทํางานคือ รอยละ 75 (75/100) เพราะภายใน 1 อาทิตย<br />

ตารางเวลาที่วางแผนไวบอกวางานควรเสร็จรอยละ 100 แตงานไดทําเสร็จไปเพียง<br />

รอยละ 75 ตารางที่ 6.33 แสดงการคํานวณมูลคาที่ไดรับจริงหลังจากทํางานไป 1<br />

อาทิตย ซึ่งคือ 7,500 บาท<br />

ตารางที่ 6.34 เปนตารางที่สรุปสูตรที่ใชในการบริหารมูลคาที่ไดรับ ซึ่งประกอบดวยมูลคาที่<br />

ไดรับ ความผันแปรของคาใชจายจริง จากงบประมาณตามแผน (CV) ความผันแปรดานเวลาเทียบกับ<br />

แผน (SV) ดัชนีการดําเนินงานดานคาใชจาย (CPI) ดัชนีการดําเนินงานดานเวลา (SPI) คาใชจายที่คาด<br />

วาตองใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ (estimate at completion (EAC)) และเวลาที่คาดวาตองใชเพื่อให<br />

งานเสร็จสมบูรณ (estimated time to complete)<br />

ตารางที่ 6.34 แสดงสรุปสูตรที่ใชในการบริหารมูลคาที่ไดรับ (Schwalbe, 2007)<br />

Term<br />

สูตร<br />

มูลคาที่ไดรับ (EV) EV = PV to date x RP<br />

ความผันแปรของคาใชจายจริง จากงบประมาณตามแผน (CV) CV = EV - AC<br />

ความผันแปรดานเวลาเทียบกับแผน (SV)<br />

SV = EV - PV<br />

ดัชนีการดําเนินงานดานคาใชจาย (CPI)<br />

CPI = EV/AC<br />

ดัชนีการดําเนินงานดานเวลา (SPI)<br />

SPI = EV/PV<br />

คาใชจายที่คาดวาตองใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ(EAC) EAC = งบประมาณคาใชจายที่ตั้งไวตั้งแตแรก<br />

(BAC)/CPI<br />

เวลาที่คาดวาตองใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ ระยะเวลาที่ตั้งไวตั้งแตแรก/SPI<br />

• ความผันแปรของคาใชจายจริง จากงบประมาณตามแผน (CV)) คือ BCWP –<br />

ACWP หรือ EV – AC ถาคา CV ติดลบหมายความวาการทํางานนั้นคาใชจาย<br />

มากกวาที่วางแผนไว แตถาคา CV เปนคาบวกแสดงวาการทํางานนั้นใชคาใชจาย<br />

นอยกวาที่วางแผนไว<br />

• ความผันแปรดานเวลาเทียบกับแผน (SV) คือ BCWP – BCWS หรือ EV – PV ถาคา<br />

SV ติดลบหมายความวาการทํางานนั้นใชเวลามากกวาที่วางแผนไว แตถาคา SV<br />

เปนคาบวกแสดงวาการทํางานนั้นใชเวลานอยกวาที่วางแผนไว<br />

• ดัชนีการดําเนินงานดานคาใชจาย (CPI) คือ สัดสวนระหวาง BCWP กับ ACWP<br />

หรือ EV กับ AC ถาคา CPI มีคาเทากับ 1 หรือ 100% แสดงวาคาใชจายจริงเทากับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-51<br />

คาใชจายงบประมาณที่ตั้งไว ถาคา CPI นอยกวา 1 หรือ 100% แสดงวาโครงการใช<br />

เงินมากกวางบประมาณ แตถาคา CPI มากกวา 1 หรือ 100% แสดงวาโครงการใช<br />

เงินนอยกวางบประมาณที่ตั้งไว<br />

• ดัชนีการดําเนินงานดานเวลา (SPI) คือ สัดสวนระหวาง BCWP กับ BCWSหรือ EV<br />

กับ PV ถาคา SPI มีคาเทากับ 1 หรือ 100% แสดงวาโครงการทํางานไดตาม<br />

ตารางเวลาที่วางแผนไว ถาคา SPI นอยกวา 1 หรือ 100% แสดงวาโครงการลาชา<br />

กวาตารางเวลา แตถาคา SPI มากกวา 1 หรือ 100% แสดงวาโครงการทํางานไดเร็ว<br />

กวาตารางเวลา<br />

• คาใชจายที่คาดวาตองใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ (EAC) เปนประมาณการ<br />

คาใชจายใหม ภายใตเงื่อนไขที่วาไมมีสิ่งใดที่เลวรายลง ซึ่งไดจากงบประมาณ<br />

ทั้งหมดที่ตั้งไวตั้งแตแรก (original total budget หรือ budget at completion<br />

(BAC)) หารดวย CPI แตถามีสิ่งใดที่เลวรายลงอยางตอเนื่องในอัตราเดิม คา EAC<br />

สามารถคํานวณจาก BAC/(CPI*SPI)<br />

• เวลาที่คาดวาตองใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ คือ ตารางเวลาที่ตั้งไวตั้งแตแรก<br />

(original schedule) หารดวย SPI<br />

การคํานวณมูลคาที่ไดรับตองทําทุกกิจกรรมของโครงการเพื่อประมาณการมูลคาที่ไดรับของ<br />

ทั้งโครงการ บางกิจกรรมอาจใชเงินเกินงบประมาณหรือลาชากวาเวลาที่กําหนด แตกิจกรรมอื่นอาจใช<br />

เงินนอยกวางบประมาณที่ตั้งไวหรือทํางานไดเร็วกวาเวลาที่กําหนด ดังนั้น การรวมมูลคาที่ไดรับของทุก<br />

กิจกรรมทําใหผูจัดการโครงการสามารถวัดการทํางานของโครงการในภาพรวมได<br />

รูปที่ 6.7 คือ ตัวอยางการคํานวณมูลคาที่ไดรับสําหรับโครงการหนึ่งป โครงการนี้ไดวางแผน<br />

คาใชจายทั้งหมด 10,000,000 บาท สเปรดชีตแสดงคาใชจายจริงและขอมูลประสิทธิภาพสําหรับ 5<br />

เดือนแรก หรือจนถึงเดือนพฤษภาคม RP ในสดมภ Q ของสเปรดชีตคือ สัดสวนของรอยละของงานที่<br />

เสร็จจริงกับรอยละของงานที่เสร็จตามที่วางแผน มูลคาที่ไดรับ (EV) สําหรับแตละกิจกรรมคํานวณโดย<br />

การคูณคาอัตราประสิทธิภาพการทํางาน (RP) กับมูลคาที่วางแผน (PV) ตัวอยางเชน งานในแถวที่ 7 มี<br />

คา PV เทากับ 800,000 บาท ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม รอยละของงานที่เสร็จตามที่วางแผนคือ 75 และ<br />

รอยละของงานที่เสร็จจริงคือ 50 คา RP คือ 50 หารดวย 75 หรือรอยละ 66.7 มูลคาที่ไดรับจึงไดจาก<br />

800,000 คูณกับ 66.7% ซึ่งเทากับ 533,000 บาท จากการคํานวณคาใชจายทั้งหมดที่วางแผนไว<br />

คาใชจายจริงทั้งหมด และมูลคาที่ไดรับ เราสามารถหาคาความผันแปรของคาใชจาย ความผันแปรของ<br />

ตารางเวลา ดัชนีประสิทธิภาพคาใชจาย และดัชนีประสิทธิภาพเวลา (แถว A20 ถึง B26) คาความผัน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-52<br />

แปรของคาใชจายและเวลาเปนคาติดลบ ซึ่งหมายความวาโครงการมีการใชเงินมากกวางบประมาณ<br />

และลาชากวาแผนที่วางไว<br />

รูปที่ 6.7 การคํานวณมูลคาที่ไดรับของโครงการหนึ่งป (Schwalbe, 2007)<br />

เพื่อติดตามการดําเนินโครงการ ผูจัดการโครงการควรวาดกราฟที่แสดงคามูลคาที่ไดรับรวมกับ<br />

คาอื่นๆ ดังรูปที่ 6.8 จากรูปดังกลาวจะชวยใหผูจัดการโครงการไดมองเห็นวาโครงการทํางานอยางไร ถา<br />

โครงการทําไปตามแผน โครงการจะเสร็จใน 12 เดือน ดวยคาใชจายทั้งหมด 10,000,000 (BAC) แตจาก<br />

รูปเราจะเห็นวาคาใชจายจริง (AC) อยูเหนือเสน EV ตลอด แสดงวาคาใชจายเปนไปตามแผนหรือ<br />

มากกวาแผน เสน PV คอนขางใกลกับเสน EV เพียงแตสูงเพียงเล็กนอยในเดือนสุดทาย ซึ่งหมายความ<br />

วาโครงการเปนไปตามตารางเวลา จนกระทั่งเดือนสุดทายโครงการชากวาแผน<br />

ผังมูลคาที่ไดรับแสดงใหเราเห็นลักษณะการทํางานของโครงการอยางรวดเร็ว ถามีปญหาดาน<br />

คาใชจายและเวลารุนแรง ผูบริหารระดับสูงอาจตัดสินใจยุติโครงการ หรือกระทําการแกไข คาประมาณ<br />

การคาใชจายที่ตองใชเพื่อใหงานเสร็จสมบูรณ (EAC) เปนขอมูลที่สําคัญเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับ<br />

งบประมาณ โดยเฉพาะถาเงินทุนทั้งหมดมีจํากัด การบริหารมูลคาที่ไดรับจึงเปนเทคนิคที่สําคัญ เพราะ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-53<br />

มันชวยผูบริหารระดับสูงและผูจัดการโครงการประเมินความกาวหนาและตัดสินใจทางบริหารอยางมี<br />

เหตุผล<br />

มูลคา<br />

รูปที่ 6.8 ผังมูลคาที่ไดรับของโครงการหลังจาก 5 เดือน (Schwalbe, 2007)<br />

ถาการบริหารมูลคาที่ไดรับเปนเครื่องมือควบคุมคาใชจายที่ทรงประสิทธิภาพ แตทําไมทุกๆ<br />

องคการถึงไมใชมัน ทําไมโครงการรัฐบาลถึงใช แตโครงการเชิงพาณิชยหลายๆ โครงการกลับไมใช<br />

เครื่องมือนี้ มีเหตุผล 2 ขอที่องคการไมใชการบริหารมูลคาที่ไดรับ คือ<br />

• การบริหารมูลคาที่ไดรับเนนการติดตามผลการดําเนินงานจริงกับผลการ<br />

ดําเนินงานที่วางแผน หลายๆ องคการโดยเฉพาะโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ไมมีขอมูลการวางแผนที่ดี ดังนั้น การติดตามผลการดําเนินงานกับแผนอาจ<br />

สรางขอมูลการชี้นําที่ผิดพลาด นอกจากนั้น การที่ตองคอยติดตามประมาณการ<br />

คาใชจายที่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ และคาใชจายจริงที่เกี่ยวของเปนเรื่องที่ยุงยาก<br />

• การประมาณการรอยละความสมบูรณของงานอาจสรางขอมูลชี้นําที่ผิดพลาด<br />

เพื่อทําใหการบริหารมูลคาที่ไดรับงายแกการใช องคการสามารถปรับปรุงระดับของ<br />

รายละเอียด และยังคงเก็บเกี่ยวประโยชนจากเทคนิคนี้ ตัวอยางเชน เราสามารถกําหนดใหงานที่ยังไม<br />

เริ่มมีคาความสมบูรณของงานเปนรอยละ 0 สวนงานที่มีความกาวหนามีคาเปนรอยละ 50 และสําหรับ<br />

งานที่เสร็จมีคาเปนรอยละ 100 การกําหนดใหรอยละความสมบูรณของงานอยางงายๆ แบบนี้ จะให<br />

ขอมูลสรุปเพียงพอสําหรับผูจัดการเพื่อดูวา ในภาพรวมโครงการทํางานไดดีอยางไร หลายๆ คนแสดง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-54<br />

ความกังวลในการพยายามเก็บขอมูลที่ละเอียด คิวทิน เฟลมมิง (Quentin Fleming) อธิบายวาเราไม<br />

ตองเก็บขอมูลที่ระดับแพคเกจงาน (work package) เพื่อใชบริหารมูลคาที่ไดรับ แตเราควรเก็บขอมูลชุด<br />

งานในโครงสรางจําแนกงานยอยที่เนนงานที่ตองสงมอบ ตัวอยางเชน เราอาจมีโครงสรางจําแนกงาน<br />

ยอยสําหรับบานที่มีรายการตางๆ ของแตละหองในบาน เพียงแคการเก็บมูลคาที่ไดรับสําหรับแตละหอง<br />

อาจใหสารสนเทศที่มีความหมาย แทนที่พยายามเก็บขอมูลละเอียดของแตละองคประกอบของหอง เชน<br />

การปูพื้น การตกแตง การเดินสายไฟ และ อื่นๆ เปนตน<br />

อาจกลาวโดยสรุปวา การบริหารมูลคาที่ไดรับคือ วิธีพื้นฐานที่มีไวเพื่อการบูรณาการผลการ<br />

ดําเนินงาน คาใชจายและตารางเวลา มันสามารถเปนเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสําหรับผูจัดการ<br />

โครงการและผูบริหารระดับสูงใชในการประเมินผลการดําเนินงานโครงการ<br />

6.6 สรุป<br />

การบริหารคาใชจายโครงการคือ จุดออนดั้งเดิมของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ผูจัดการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศตองใหความสําคัญของการบริหารคาใชจาย และรับหนาที่ทําความเขาใจเกี่ยวกับ<br />

แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคาใชจาย การประมาณการคาใชจาย การทํางบประมาณ และการควบคุม<br />

คาใชจาย<br />

การประมาณการคาใชจายเปนสวนที่สําคัญมากๆ ของการบริหารโครงการ ซึ่งมีเครื่องมือและ<br />

เทคนิคหลายอยางที่ชวยการประมาณการคาใชจาย เชน การประมาณการโดยการเปรียบเทียบความ<br />

คลายคลึง การประมาณการจากลางขึ้นบน ตัวแบบพาราเมตริก และเครื่องมือที่เปนคอมพิวเตอร<br />

ตัวอยางตัวแบบพาราเมตริกคือ ฟงกชันพอยท และCOCOMO<br />

การตั้งงบประมาณคาใชจายเกี่ยวของกับการจัดสรรคาใชจายใหกับงานแตละงาน ผูจัดการ<br />

โครงการตองเขาใจวาองคการเตรียมงบประมาณอยางไร เพื่อใหการประมาณการโครงการไปดวยกันได<br />

การควบคุมคาใชจายประกอบดวยการติดตามการใชจายเงิน การทบทวนการเปลี่ยนแปลง<br />

และการแจงผูมีสวนไดเสียโครงการถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลตอคาใชจาย การบริหารมูลคาที่ไดรับเปน<br />

วิธีการสําคัญที่ใชสําหรับการวัดผลการดําเนินโครงการ การบริหารมูลคาที่ไดรับบูรณาการขอมูลขอบเขต<br />

คาใชจาย และตารางเวลา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-55<br />

คําถามทายบท<br />

1. ทําไมผูมีอาชีพทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศอาจมองขามการบริหารคาใชจายโครงการ<br />

และสิ่งนี้อาจมีผลกระทบตอความสําเร็จของโครงการอยางไร<br />

2. อธิบายหลักการพื้นฐานของการบริหารคาใชจาย<br />

3. อธิบายวาการบริหารมูลคาที่ไดรับสามารถนํามาใชวัดผลการดําเนินงานไดอยางไร<br />

4. เพราะเหตุใดการบริหารมูลคาที่ไดรับจึงไมคอยใชในการบริหารคาใชจาย<br />

5. จาก DFD ที่กําหนด ใหหาพารามิเตอรทั้ง 5 ตัว<br />

6. สมมุติวาระบบงานในขอ 5 เขียนดวยภาษา VB พารามิเตอรทั้ง 5 ตัวมีระดับความซับซอน<br />

เปนงาย และ ปจจัยปรับคาฟงกชันพอยท (VAF) มีคาเปน 0.94 ใหทานใชตัวแบบ<br />

COCOMO ระดับกลางในการคํานวณหาแรงงาน เวลา และจํานวนพนักงานที่ตองใชใน<br />

การพัฒนางานชิ้นนี้ โดยกําหนดใหประเภทของโครงการเปนแบบเซมิดีเทช โดยที่มีคาของ<br />

ตัวขับเคลื่อนคาใชจายและลักษณะของโครงการดังตอไปนี้<br />

• ขนาดของฐานขอมูลตอขนาดของโปรแกรม (DB bytes/program SLOC)<br />

ประมาณ 300<br />

• ความนาเชื่อถือของระบบตองสูงกวาปกติเล็กนอยเพราะระบบตองประมวล<br />

เกี่ยวกับคําสั่งซื้อของลูกคา<br />

• ขั้นตอนวิธีการสําหรับการประมวลผลไมมีความยุงยากหรือตองคิดหาวิธีการใหมๆ<br />

มาชวย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคาใชจายโครงการ หนา 6-56<br />

• ระบบที่พัฒนาบนฮารดแวรและซอฟตแวรที่ทุกปจะมีการเปลี่ยนแปลงไมมาก<br />

• ประสบการณของทีมงานในระบบงานประเภทนี้มีประมาณ 3 ป โดยที่สมาชิก<br />

ในทีมคุนเคยกับการพัฒนาระบบงานประเภทนี้<br />

• เริ่มมีการใชเทคนิคทางดานการโปรแกรมในการออกแบบ และเขียนโปรแกรม<br />

• ประสบการณในภาษาที่ใชพัฒนาโปรแกรมประมาณ 8 เดือน<br />

• ระบบจะตองใชเวลาเฉลี่ยในการประมวลผลนับแตสั่งใหทํางานจนกระทั่งไดผล<br />

ลัพธกลับมานอยกวา 5 นาที<br />

7. ขอมูลที่กําหนดใหขางลางนี้เปนขอมูลของโครงการหนึ่งป จงใชขอมูลที่ใหตอบคําถาม<br />

ตอไปนี้<br />

ก. คาความผันแปรของคาใชจาย คาความผันแปรของตารางเวลา ดัชนีผลการ<br />

ดําเนินงานของคาใชจาย และดัชนีผลการดําเนินงานของตารางเวลา มีคาเทาใด<br />

ข. โครงการทํางานเปนอยางไร ชาหรือเร็วกวาตารางเวลา ใชเงินมากกวาหรือนอยกวา<br />

งบประมาณที่กําหนดในแผน<br />

ค. คํานวณหาคา EAC<br />

ง. คํานวณหาระยะเวลาที่ตองใชเพื่อใหโครงการเสร็จสมบูรณ<br />

PV = 2,300,000<br />

EV = 2,000,000<br />

AC = 2,500,000<br />

BAC = 1,200,000<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-1<br />

7.1 บทนํา<br />

คําวา “คุณภาพ” สําหรับแตละคนมีความหมายที่แตกตางกัน แลวแตมุมมองของแตละคน<br />

เชน ถาเราเปรียบเทียบคุณภาพของรถยนต 2 คัน คันแรกเปนรถที่หรูหราราคาแพง ที่นั่งหุมดวยหนังและ<br />

มีสิ่งอํานวยความสะดวกทุกอยาง สวนรถยนตอีกคันเปนรถราคาประหยัดที่สามารถขับพาไปที่ตางๆ ได<br />

ไมมีสิ่งอํานวยความสะดวกในรถยนต หลายๆ คนคิดวารถยนตคันที่ราคาแพงมีคุณภาพสูงกวา ถึงแมวา<br />

รถยนตที่ราคาแพงมีฟงกชันเพิ่มเติมมากกวารถยนตที่ราคาถูกกวา แตคาบํารุงรักษาก็มีราคาแพงดวย<br />

สวนรถยนตราคาถูกกวาอาจมองดูวาดี ถารถยนตนั้นมีความปลอดภัยสูงกวามาตรฐานที่กําหนด<br />

ดังนั้น การจะกําหนดวาสินคาใดมีคุณภาพนั้น ตองพิจารณาจากหลายปจจัย ไมใชเฉพาะ<br />

ฟงกชันการทํางานเทานั้น คุณลักษณะอื่นๆ เชน ความปลอดภัย หรือการบริการหลังการขาย อาจเปน<br />

ปจจัยที่สําคัญตอลูกคา เชนเดียวกันกับการพัฒนาซอฟตแวร เราสามารถสรางระบบที่มีฟงกชันงานที่ดี<br />

มาก แตฟงกชันเหลานั้นทํางานไมดี มีขอผิดพลาดเกิดตลอดเวลา ในทางกลับกัน ถาเราพัฒนา<br />

ระบบงานที่มีฟงกชันการทํางานที่จํากัด แตมีขอผิดพลาดเล็กนอย เราอาจสรุปวาระบบงานหลังมี<br />

คุณภาพมากกวาระบบงานแรก เพราะฉะนั้น เราจึงจําเปนตองกําหนดและบริหารคุณภาพของโครงการ<br />

ใหสอดคลองกับความคาดหวังผูมีสวนไดสวนเสียใหมากที่สุด<br />

แนวคิดและปรัชญาการบริหารคุณภาพไดรับความสนใจมานานหลายป หลายๆ องคการตางๆ<br />

ใหความสนใจในเรื่องนี้อยางมาก และไดริเริ่มโครงการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ เชน ไอเอสโอ (ISO)<br />

ซิกสซิกมา (six sigma) ตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถแบบบูรณาการ (Capability Maturity Model<br />

Integration (CMMI)) นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดการบริหารคุณภาพของผูรูอีกมากมาย เชน เดมมิง<br />

(Deming) จูราน (Juran) อิชิคาวา (Ishikawa) และครอสบี (Crosby) รวมทั้ง โครงการตองมีการกําหนด<br />

ตัววัด (metrics) เพื่อใหเราทราบวาสิ่งที่โครงการดําเนินการไดคุณภาพหรือไม<br />

7.2 การบริหารคุณภาพโครงการคืออะไร<br />

วัตถุประสงคการบริหารคุณภาพคือ เพื่อใหแนใจวาโครงการจะตอบสนองความตองการที่<br />

โครงการไดรับมอบหมาย ทีมงานตองพัฒนาความสัมพันธที่ดีกับผูมีสวนไดเสียที่สําคัญ โดยเฉพาะผูใช<br />

หลัก เพื่อใหเขาใจวาคุณภาพมีความหมายอยางไรกับบุคคลเหลานี้ เนื่องจากในที่สุดแลวผูใชจะเปนผู<br />

ตัดสินวาซอฟตแวรมีคุณภาพที่รับไดหรือไม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-2<br />

ไอเอสโอ (ISO) ไดนิยามวา “คุณภาพ” คือ คุณลักษณะตางๆ ของซอฟตแวรเติมเต็มความ<br />

ตองการของผูใช ผูเชี่ยวชาญบางคนนิยามคุณภาพโดยพิจารณาจากความสอดคลองกับความตองการ<br />

(conformance to requirement) และความเหมาะสมกับการใชประโยชน (fitness to use) ความ<br />

สอดคลองกับความตองการหมายถึง กระบวนการและผลิตภัณฑของโครงการตรงกับที่รายละเอียดที่ได<br />

เขียนไว สวนความเหมาะสมกับการใชประโยชนหมายถึง ผลิตภัณฑสามารถใชไดตามที่ไดตั้งใจไว เชน<br />

ถาโครงการสงมอบเครื่องคอมพิวเตอรที่ปราศจากแปนพิมพ หรือจอภาพ เพราะทิ้งไวในหองเก็บของ<br />

ลูกคายอมไมพอใจเพราะเครื่องคอมพิวเตอรไมเหมาะกับการใชงาน เนื่องจากลูกคามีสมมุติฐานที่การ<br />

สงมอบตองมีอุปกรณครบ<br />

การบริหารคุณภาพโครงการคือ กระบวนการที่ตองทําเพื่อใหแนใจวาโครงการจะตอบสนอง<br />

ความตองการตามที่โครงการไดกําหนดไว กระบวนการบริหารคุณภาพโครงการมี 3 กระบวนการหลักคือ<br />

• การวางแผนคุณภาพ<br />

• การประกันคุณภาพ<br />

• การควบคุมคุณภาพ<br />

การบริหารคุณภาพโครงการจะเนนทั้งกระบวนการและผลิตภัณฑของโครงการ ผลิตภัณฑของ<br />

โครงการที่สําคัญที่สุดคือ ระบบสารสนเทศที่ทีมงานตองสงมอบ ดังนั้น ระบบจะตองสอดคลองกับความ<br />

ตองการ และความเหมาะสมกับการใชประโยชนตามที่กลาวมาแลว สวนกระบวนการหมายถึง กิจกรรม<br />

วิธีการ วัตถุดิบ และการวัด ที่ใชเพื่อผลิตผลิตภัณฑหรือบริการ เราสามารถมองวากระบวนการเหลานี้<br />

เปนสวนหนึ่งของโซคุณภาพ (quality chain) ที่ผลลัพธของกระบวนการหนึ่งเปนสิ่งนําเขาของ<br />

กระบวนการบริหารโครงการอื่น<br />

โดยที่โครงการเนนที่ผลิตภัณฑและโซของกระบวนการ การจัดการโครงการสามารถใช<br />

ทรัพยากรใหมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากกวาเดิม ลดขอผิดพลาด และตรงกับหรือมากกวาที่ผูมี<br />

สวนไดเสียของโครงการคาดหวัง ความลมเหลวดานความตองการคุณภาพจะสงผลเชิงลบกับโครงการ<br />

นอกจากนี้ ยังทําใหเกิดการทํางานเพิ่ม หรือทํางานซ้ํา ทําใหโครงการตองขยายเวลา และเพิ่ม<br />

งบประมาณ<br />

7.3 การวางแผนคุณภาพ<br />

การวางแผนคุณภาพคือ การกําหนดมาตรฐานคุณภาพที่เกี่ยวกับโครงการ และทําอยางไรจึง<br />

จะทําใหไดตามมาตรฐานเหลานั้น ผูจัดการโครงการตองมีความสามารถในการคาดการณสถานการณ<br />

และเตรียมกิจกรรมที่ใหไดผลลัพธที่ตองการ ปจจุบันการบริหารคุณภาพที่ทันสมัยคือ การปองกัน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-3<br />

ขอบกพรอง (defects) โดยการเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสม การอบรม การสอนใหคนซึมทราบในคุณภาพ<br />

และวางแผนกระบวนการที่แนใจวาไดผลลัพธที่เหมาะสม<br />

การออกแบบการทดลองเปนเทคนิคการวางแผนคุณภาพอยางหนึ่งที่ชวยในการกําหนดตัว<br />

แปรที่มีอิทธิพลสูงสุดตอผลลัพธโดยรวมของกระบวนการหนึ่ง การเขาใจตัวแปรที่กระทบตอผลลัพธเปน<br />

เรื่องที่สําคัญมากในการวางแผนคุณภาพ เชน การใชการออกแบบการทดลองกับประเด็นเรื่องการได-<br />

เสียระหวางคาใชจายกับระยะเวลา ถาคาใชจายของโปรเกรมเมอรระดับรองและที่ปรึกษามีมูลคานอย<br />

กวาโปรแกรมเมอรอาวุโสและที่ปรึกษา แตเราไมสามารถคาดไดวาเขาเหลานั้นทํางานสมบูรณในระดับ<br />

เดียวกันในเวลาเทากัน การออกแบบการทดลองเพื่อคํานวณคาใชจายและชวงเวลาที่นอยที่สุด โดยการ<br />

ผสมผสานบุคลากรในรูปแบบตางๆ จะชวยใหเราสามารถวางแผนไดเหมาะสมมากขึ้น<br />

การวางแผนคุณภาพยังรวมถึงการสื่อสารการกระทําที่ถูกตองเพื่อใหแนใจวาคุณภาพอยูใน<br />

รูปแบบที่สมบูรณและเขาใจได ดังนั้น ในแผนจะตองอธิบายปจจัยที่สําคัญที่มีสวนรวมใหผลผลิตที่ได<br />

ตรงกับความตองการของลูกคา กระบวนการวางแผนจําเปนตองใชนโยบายองคการที่เกี่ยวกับคุณภาพ<br />

ขอบเขตของโครงการและรายละเอียกผลิตภัณฑ และมาตรฐานและกฎเกณฑที่เกี่ยวของ ผลลัพธหลักที่<br />

ไดจากกระบวนการวางแผนคือ แผนการบริหารคุณภาพ และรายการตรวจสอบคุณภาพ (checklists)<br />

ตลอดวงจรชีวิตโครงการ<br />

ลักษณะขอบเขตที่สําคัญของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศที่กระทบคุณภาพประกอบดวย<br />

• ฟงกชันงาน (functionality) คือ ระดับที่ระบบทํางานตามภาระงานที่ไดตั้งใจไว<br />

สวนลักษณะ (feature) คือ คุณลักษณะพิเศษของระบบที่ดึงดูดผูใช ดังนั้น มันจึงเปนสิ่งสําคัญที่ตองทํา<br />

ใหเกิดความชัดเจนวา งานและลักษณะอะไรที่ระบบจะตองทํา และอะไรที่เหมาะสมที่สุด เชน งานที่<br />

ระบบตองทําไดคือ ผูใชสามารถติดตามยอดขายของเครื่องมือทางการแพทยจําแนกตามกลุมเครื่องมือ<br />

แพทย สวนลักษณะที่ตองมีคือ สวนเชื่อมประสานกับผูใชตองเปนกราฟก ที่มีไอคอน เมนู และความ<br />

ชวยเหลือแบบออนไลน<br />

• ผลลัพธของระบบ คือ จอภาพและรายงานที่ระบบสรางเปนสิ่งที่สําคัญที่ควรจะ<br />

กําหนดใหชัดเจนวาจอภาพและรายงานควรมีหนาตาอยางไร<br />

• การดําเนินงาน หมายถึง ผลิตภัณฑหรือบริการสามารถทํางานไดตามความตั้งใจ<br />

ใชงานของลูกคาได ดังนั้น เพื่อใหไดการออกแบบระบบที่มีคุณภาพการดําเนินงาน<br />

สูง ผูมีสวนไดเสียโครงการตองพิจารณาประเด็นตอไปนี้<br />

• ขนาดของขอมูลและธุรกรรมที่ระบบตองจัดการ<br />

• จํานวนผูใชระบบพรอมๆ กัน<br />

• อัตราการเพิ่มของผูใช<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-4<br />

• ประเภทของอุปกรณที่ระบบจะตองทํางานดวย<br />

• ชวงเวลาระหวางที่สงคําขอและไดรับขอมูลกลับ (response time)<br />

• ความนาเชื่อถือ คือ ความสามารถที่ผลิตภัณฑหรือบริการทํางานไดตามที่คาดหวัง<br />

ภายใตเงื่อนไขปกติ โดยสวนใหญผลิตภัณฑเทคโนโลยีสารสนเทศไมมีความ<br />

นาเชื่อถือ 100 เปอรเซ็นต แตผูมีสวนไดเสียตองกําหนดระดับที่คาดหวัง เชน<br />

จํานวนชั่วโมงที่ผูใชเต็มใจที ่จะไมสามารถใชระบบได<br />

• ความสามารถบํารุงรักษา คือ ความงายของการบํารุงรักษาผลิตภัณฑ เชน มีการ<br />

สนับสนุนใหความชวยเหลือ<br />

7.4 การประกันคุณภาพ<br />

การประกันคุณภาพจะรวมกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวของกับการตอบสนองมาตรฐานคุณภาพ<br />

สําหรับโครงการ เพื่อสงมอบผลิตภัณฑและบริการที่มีคุณภาพ รวมทั้งเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอยาง<br />

ตอเนื่อง ผูบริหารระดับสูงตองเปนผูนําและใหพนักงานทุกคนมีบทบาทในการประกันคุณภาพ<br />

มีเครื่องมือหลายอยางที่ใชในการวางแผนคุณภาพที่สามารถนํามาใชในการประกันคุณภาพ<br />

เชน การออกแบบการทดลองดังที่ไดกลาวมาแลว การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ (benchmarking) เปน<br />

อีกวิธีการที ่ชวยสรางความคิดสําหรับการปรับปรุงคุณภาพโดยการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานหรือ<br />

คุณลักษณะของผลิตภัณฑของโครงการกับขององคการอื่น เชน ถาคูแขงมีระบบสนับสนุนการบริหาร<br />

สําหรับผูบริหารระดับสูงที่เวลาเฉลี่ยที่ระบบไมทํางานเพียงวันละชั่วโมงตอสัปดาห เวลาเฉลี่ยดังกลาว<br />

อาจเปนเกณฑเปรียบเทียบสมรรถนะ ผังกางปลาหรือผังอิชิคาวาที่จะกลาวตอไปเปนเครื่องมือชวยใน<br />

การปรับปรุงคุณภาพโดยการคนหารากของปญหาคุณภาพ บางองคการมีแมแบบ (template) สําหรับ<br />

การพัฒนาแผนตางๆ ที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพดังตัวอยางในตารางที่ 7.1<br />

ตารางที่ 7.1 ตัวอยางแมแบบของแผนประกันคุณภาพ (Schwalbe, 2007)<br />

1.0 รางแผนประกันคุณภาพ (Draft Quality Assurance Plan)<br />

1.1 บทนํา (Introduction)<br />

1.2 ความมุงหมาย (Purpose)<br />

1.3 นโยบาย (Policy Statement)<br />

1.4 ขอบเขต (Scope)<br />

2.0 การบริหาร (Management)<br />

2.1 โครงสรางองคการ (Organizational Structure)<br />

2.2 บทบาทและความรับผิดชอบ (Roles and Responsibilities)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-5<br />

2.2.1 การติดตามเชิงเทคนิค/ผูบริหารอาวุโส (Technical Monitor/Senior Management)<br />

2.2.2 หัวหนางาน (Task Leader)<br />

2.2.3 ทีมประกันคุณภาพ (Quality Assurance Team)<br />

2.2.4 คณะทํางานเชิงเทคนิค (Technical Staff)<br />

3.0 เอกสารที่ตองการ (Required Documentation)<br />

4.0 ขั้นตอนการประกันคุณภาพ (Quality Assurance Procedures)<br />

4.1 ขั้นตอนการตรวจตลอด (Walkthrough Procedure)<br />

4.2 กระบวนการทบทวน (Review Process)<br />

4.2.1 ขั้นตอนการทบทวน (Review Procedures)<br />

4.3 กระบวนการตรวจสอบ (Audit Process)<br />

4.3.1 ขั้นตอนการตรวจสอบ (Audit Procedures)<br />

4.4 กระบวนการประเมินผล (Evaluation Process)<br />

4.5 การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement)<br />

5.0 ขั้นตอนการรายงานปญหา (Problem Reporting Procedures)<br />

5.1 ขั้นตอนการรายงานความไมสอดคลอง (Noncompliance Reporting Procedures)<br />

6.0 ตัววัดการประกันคุณภาพ (Quality Assurance Metrics)<br />

ภาคผนวก (Appendix)<br />

แบบฟอรมรายการตรวจสอบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance Checklist Forms)<br />

เครื่องมือสําคัญอีกอยางที่ชวยในการประกันคุณภาพคือ การตรวจสอบคุณภาพ (quality<br />

audit) ซึ่งเปนการทบทวนอยางมีโครงสรางที่ชวยระบุบทเรียนที่ไดเรียนรูที่อาจปรับปรุงการทํางานของ<br />

โครงการปจจุบันหรือโครงการอนาคต ผูตรวจสอบคุณภาพอาจจะเปนคนในองคการ หรือองคการอื่นที่มี<br />

ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพ<br />

7.5 การควบคุมคุณภาพ<br />

การควบคุมคุณภาพเปนการติดตามผลของโครงการเพื่อใหแนใจวาผลงานเหลานั้นเปนไปตาม<br />

มาตรฐาน ขณะเดียวกัน การควบคุมคุณภาพชี้ใหเห็นวิธีที่จะปรับปรุงคุณภาพโดยรวม ผลที่ไดจากการ<br />

ควบคุมคุณภาพมี 3 อยางคือ การตัดสินใจยอมรับ การทํางานใหม และการปรับกระบวนการ<br />

• การตัดสินใจยอมรับ คือ การกําหนดวาเราจะยอมรับหรือปฏิเสธผลิตภัณฑหรือบริการ<br />

ที่เปนสวนหนึ่งของโครงการ ถาเรายอมรับผลิตภัณฑหรือบริการ แสดงวาผลิตภัณฑ<br />

หรือบริการที่ไดรับการตรวจสอบวาถูกตอง แตถาผูมีสวนไดเสียของโครงการปฏิเสธ<br />

ผลิตภัณฑหรือบริการ ผูรับผิดชอบตองนําผลิตภัณฑหรือบริการนั้นกลับไปทําใหม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-6<br />

• การทํางานใหม เปนกิจกรรมที่ทําเนื่องจากงานถูกปฏิเสธวาไมสอดคลองการความ<br />

ตองการหรือรายละเอียดที่กําหนดไว การทํางานใหมมีผลอันเนื่องมาจากการ<br />

เปลี่ยนแปลงที่ไดรับการรองขอ การแกไขขอบกพรอง การปองกันขอบกพรอง การ<br />

ทํางานใหมอาจมีคาใชจายที่แพง ดังนั้นผูจัดการโครงการควรหลีกเลี่ยง<br />

• การปรับกระบวนการ คือ การแกไขหรือปองกันปญหาคุณภาพตามตัววัดคุณภาพ ซึ่ง<br />

มีผลตอการปรับบรรทัดฐานคุณภาพ (quality baseline) และแผนการบริหารโครงการ<br />

7.6 เครื่องมือ และเทคนิคสําหรับการควบคุมคุณภาพ<br />

การควบคุมคุณภาพจะใชเครื่องมือและเทคนิคซึ่งจะกลาวในสวนนี้ คือ เครื่องมือพื้นฐาน<br />

สําหรับการควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด การสุมตัวอยางเชิงสถิติ (statistical sampling) ซิกสซิกมา (six<br />

sigma) และ การทดสอบและการทวนสอบ (testing and verification)<br />

7.6.1 เครื่องมือพื้นฐานสําหรับการควบคุมคุณภาพ<br />

เครื่องมือพื้นฐานสําหรับการควบคุมคุณภาพมี 7 ชนิดคือ แผนภูมิแสดงเหตุและผล<br />

(cause and effect diagram) ผังการควบคุม (control chart) ผังการวิ่งของขอมูล (run chart) ผังการ<br />

กระจายขอมูล (scatter diagram) แผนภูมิแบบแทง (histogram) ผังพาเรโต (pareto chart) และผังการ<br />

ไหลของงาน (flowchart)<br />

แผนภูมิแสดงเหตุและผล<br />

แผนภูมิแสดงเหตุและผล หรือผังกางปลา หรือผังอิชิคาวา เปนเครื่องมือที่ชวยให<br />

เรายอนกลับไปหารากของปญหา รูปที่ 7.1 แสดงสาเหตุของปญหาที่ลูกคาไมสามารถเขาระบบได<br />

สาเหตุหลักของปญหาอาจเนื่องมาจาก ระบบฮารดแวร ฮารดแวรของผูใชแตละคน การอบรม หรือ<br />

ซอฟตแวร แผนภูมิแสดงเหตุและผลยังแสดงใหเห็นถึงสาเหตุยอยที่ทําใหเกิดสาเหตุหลักได เชน สาเหตุ<br />

หลักคือ ฮารดแวรของผูใชที่มีผลทําใหลูกคาไมสามารถเขาระบบได สวนสาเหตุยอยคือ หนวยความจํา<br />

ไมพอ หนวยประมวลผลมีความสามารถต่ํา หรือที่เก็บขอมูลไมพอ ถาผูใชสวนใหญไมสามารถเขาใช<br />

ระบบไดเนื่องจากหนวยความจําไมพอ ทางแกอาจเปนการเพิ่มหนวยความจํา แตถาผูใชสวนใหญไม<br />

สามารถเขาระบบไดเพราะลืมรหัสผาน การแกปญหาจะเร็วและเสียคาใชจายนอย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-7<br />

รูปที่ 7.1 ตัวอยางผังกางปลาของอิชิคาวา (Schwalbe, 2007)<br />

ผังการควบคุม<br />

ผังการควบคุมเปนผังที่แสดงผลของกระบวนตามเวลาในรูปแบบกราฟ<br />

วัตถุประสงคหลักของผังการควบคุมคือ เพื่อปองกันขอบกพรองมากกวาตรวจหาขอบกพรองหรือปฏิเสธ<br />

ผลลัพธที่ไดจากกระบวนการ ผังการควบคุมทําใหเราสามารถกําหนดวากระบวนอยูในการควบคุมหรือ<br />

นอกการควบคุม กระบวนการที่อยูในการควบคุมไมจําเปนตองปรับแก แตถากระบวนการอยูนอกการ<br />

ควบคุม เราจําเปนตองหาสาเหตุ และปรับกระบวนการใหถูกตอง หรือขจัดสาเหตุ ผังการควบคุมใชเพื่อ<br />

ติดตามการผลิตสินคา แตเราสามารถนําผังการควบคุมมาใชติดตามปริมาณและความถี่ของคํารองขอ<br />

เปลี่ยนแปลง ขอผิดพลาดในเอกสาร ความแปรปรวนของคาใชจายและเวลา และอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับ<br />

การบริหารโครงการ ผังการควบคุมทําใหเราเห็นพฤติกรรมของกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง ผังการ<br />

ควบคุมทุกผังจะมีเสนกลาง และเสนขอบเขตระดับบนและระดับต่ํา เสนกลางแทนคาเฉลี่ย โดยปกติชวง<br />

ควบคุมจะถูกกําหนดไวที่ ±3σ<br />

รูปที่ 7.2 ตัวอยางผังการควบคุม (Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-8<br />

รูปที่ 7.2 คือ ตัวอยางการผังควบคุมกระบวนการผลิตไมบรรทัดไมขนาด 12 นิ้ว ที่<br />

ผลิตโดยเครื่องจักร แตละจุดในผังแทนการวัดความยาวของไมบรรทัดที่ไดจากสายการผลิต สเกลแนวตั้ง<br />

แสดงขอบเขตสูงสุดและต่ําสุดที่ลูกคาเปนผูกําหนดวาไมบรรทัดที่จะซื้อทั้งหมดตองอยูระหวาง 11.90-<br />

12.10 นิ้ว ผูผลิตไดออกแบบใหกระบวนการผลิตสามารถผลิตไมบรรทัดยาวระหวาง 11.91 และ 12.09<br />

นิ้ว<br />

เสนจุดไขปลาแสดงตําแหนงความเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 1σ 2σ และ 3σ ทั้งที่<br />

สูงและต่ํากวาคาเฉลี่ย ถาบริษัทตองการใหไมบรรทัดผลิตออกมาในชวง 11.91 – 12.09 นิ้ว บริษัทตอง<br />

ควบคุมการผลิตที่ 3σ ผลผลิตที่อยูในชวงนี้มีรอยละ 99.73<br />

การวิเคราะหรูปแบบในขอมูลกระบวนการเปนสิ่งสําคัญของการประกันคุณภาพ<br />

กฎเจ็ดจุดสามารถนํามาใชหารูปแบบของขอมูลได กฎนี้กลาววาถาขอมูลทั้งหมด 7 คา อยูต่ํากวา<br />

คาเฉลี่ย สูงกวาคาเฉลี่ย หรือขอมูลทั้งหมดเพิ่มขึ้นหรือลดลง แสดงวากระบวนการจําเปนตองไดรับการ<br />

ตรวจสอบ ในรูปที่ 7.2 จุดที่ละเมิดกฎนี้ถูกแสดงดวยดาว สําหรับกระบวนการผลิตไมบรรทัด ขอมูลนี้<br />

ชี้ใหเห็นวาควรมีการปรับความแมนยําของอุปกรณ เชน เครื่องตัดไมสําหรับทําไมบรรทัดจําเปนตอง<br />

ปรับแตงใหม หรือใบมีดอาจตองเปลี่ยน<br />

มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค.<br />

ขอบกพรองประเภทที่ 1 ขอบกพรองประเภทที่ 2 ขอบกพรองประเภทที่ 3<br />

รูปที่ 7.3 ตัวอยางผังการวิ่งของขอมูล (Schwalbe, 2007)<br />

ผังการวิ่งของขอมูล<br />

ผังการวิ่งของขอมูลแสดงถึงประวัติและรูปแบบของความแปรปรวนของ<br />

กระบวนการตามเวลา โดยแสดงขอมูลเปนเสนตรงที่มีจุดกําหนดตามลําดับการเกิด เราสามารถใชผัง<br />

การวิ่งของขอมูลเพื่อทําการวิเคราะหแนวโนมสําหรับการพยากรณผลลัพธในอนาคตจากผลลัพธในอดีต<br />

รูปที่ 7.3 เปนตัวอยางที่แสดงขอบกพรอง 3 ประเภท เราจะเห็นวาขอบกพรองประเภทที่ 1 มีขอบกพรอง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-9<br />

เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ สวนขอบกพรองประเภทที่ 2 นั้น มีจํานวนขอบกพรองลดลงในหลายเดือน แลวคงที่ แต<br />

ขอบกพรองประเภทที่ 3 มีจํานวนขอบกพรองแบบขึ้นๆ ลงๆ<br />

ผังการกระจายขอมูล<br />

ผังการกระจายขอมูลแสดงความสัมพันธระหวาง 2 ตัวแปร ถาจุดตางๆ ที่เขาใกล<br />

เสนทแยงมุมมากขึ้น ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธกันมากขึ้น รูปที่ 7.4 เปนตัวอยางของผังการกระจาย<br />

เพื่อศึกษาวาอัตราความพึ่งพอใจของผูใชระบบมีความสัมพันธกับอายุของผูตอบคําถามหรือไม เรา<br />

พบวาผูใชที่อายุนอย มีอัตราความพอใจระบบต่ํา<br />

รูปที่ 7.4 เปนตัวอยางของผังการกระจายขอมูล (Schwalbe, 2007)<br />

แผนภูมิแบบแทง<br />

แผนภูมิแบบแทงแสดงการกระจายของตัวแปร แทงแตละแทงแทนคุณลักษณะของ<br />

ปญหาหรือสถานการณ และความสูงของแทงแสดงความถี่ของคุณลักษณะนั้น รูปที่ 7.5 แสดงจํานวน<br />

การรองเรียนของลูกคาในแตละสัปดาห<br />

รูปที่ 7.5 ตัวอยางแผนภูมิแบบแทง (Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-10<br />

ผังพาเรโต<br />

ผังพาเรโตชวยเราระบุปญหาการผลิตและลําดับความสําคัญ โดยพิจารณาจาก<br />

ความถี่ หรืออาจกลาวไดวาผังพาเรโตนี้เปนเครื่องชวยจําแนกขอบเขตปญหาตามระดับความสําคัญของ<br />

สภาพความเสียหายโดยแสดงเปนแผนภูมิแทง สําหรับในกรณีโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ การ<br />

วิเคราะหแบบพาเรโต เปนวิธีการชวยเรากําหนดปจจัยที่มีสวนรวมที่สําคัญตอปญหาคุณภาพมากที่สุด<br />

ในระบบ บางครั้งการวิเคราะหแบบนี้เรียกวากฎ 80-20 ซึ่งหมายความวา รอยละ 80 ของปญหามาจาก<br />

สาเหตุรอยละ 20 ผังพาเรโตจะชวยชี้สวนที่เปนปญหาและการจัดลําดับความสําคัญ ตัวแปรที่อธิบายใน<br />

แผนภูมิแทงเรียงลําดับตามความถี่ที่เกิดขึ้น ดังตัวอยางในรูปที่ 7.6<br />

จํานวนการรองเรียนของสัปดาหนี้<br />

รูปที่ 7.6 ตัวอยางผังพาเรโต (Schwalbe, 2007)<br />

จากรูปที่ 7.6 จะเห็นวาคํารองเรียนกลุมที่มีจํานวนสูงสุดคือ ปญหาการเขาสูระบบ<br />

(log-in) รองลงมาคือ ปญหาระบบปดขัง (system locks up) ซึ่งปญหาทั้งสองกลุมนี้เมื่อรวมกันแลวคิด<br />

เปนเกือบรอยละ 80 ของจํานวนคํารองเรียนทั้งหมด ถาโครงการตองการลดคํารองเรียนลง ตองเนนที่ทํา<br />

ใหการเขาใชระบบงายขึ้น<br />

อยางไรก็ตาม ผูจัดการโครงการที่ดีตองแบงประเภทคํารองเรียนตามความรุนแรงของ<br />

ปญหา เนื่องจากในการแกไขปญหาที่รุนแรงจะมีคาใชจายสูง บริษัทควรทบทวนคํารองเรียนทั้งหมดกอน<br />

ตัดสินใจดําเนินการ<br />

ผังการไหลของงาน<br />

ผังการไหลของงานแสดงตรรกะและการไหลของกระบวนการที่ชวยใหเราวิเคราะห<br />

ปญหาเกิดขึ้นไดอยางไร และจะปรับปรุงกระบวนการไดอยางไร ผังการไหลของงานแสดงถึงกิจกรรม จุด<br />

การตัดสินใจ และลําดับการประมวลสารสนเทศ ดังแสดงในรูปที่ 7.7<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-11<br />

คํารองที่<br />

ยอมรับ<br />

สงไปยังผูที่<br />

ทําหนาที่ตัด<br />

สินใจ<br />

ยอมรับหรือ<br />

ไม ?<br />

ใช<br />

ลงนามในสวน<br />

ที่อนุมัติ<br />

แจงผูรองเรียน<br />

และลงบันทึก<br />

เขาระบบ<br />

ไม<br />

บันทึกงานที่<br />

ตองการให<br />

ทําเพิ่มเติม<br />

รูปที่ 7.7 ตัวอยางผังการไหลของงาน (Schwalbe, 2007)<br />

7.6.2 การสุมตัวอยางเชิงสถิติ<br />

การสุมตัวอยางเชิงสถิติเปนความคิดหลักในการบริหารคุณภาพโครงการ เนื่องจากใน<br />

การควบคุมคุณภาพจําเปนตองเก็บรวมรวมขอมูลมาใชเพื่อการวิเคราะห แตขอมูลมีจํานวนมาก เราไม<br />

สามารถใชขอมูลทั้งหมดได ดังนั้น เราจึงจําเปนตองสุมตัวอยาง เพื่อเปนตัวแทนของประชากรที่เราสนใจ<br />

สูตรงายๆ สําหรับการสุมตัวอยางคือ<br />

ขนาดของตัวอยาง = 0.25 X (ปจจัยความแนนอน/ขอผิดพลาดที่สามารถรับได) 2<br />

ปจจัยความแนนอนหมายถึง ระดับความแนนอนที่เราไมตองการใหเกิดความแปรปรวน<br />

ในตัวอยาง ซึ่งคํานวณไดจากตารางที่ 7.2<br />

ตารางที่ 7.2 ปจจัยความแนนอนที่นิยมใช<br />

ความแนนอนที่ตองการ ปจจัยความแนนอน<br />

95% 1.960<br />

90% 1.645<br />

80% 1.281<br />

7.6.3 ซิกสซิกมา<br />

ซิกสซิกมาเปนระบบที่เบ็ดเสร็จและยืดหยุน เพื่อการบรรลุความสําเร็จสูงสุดทางธุรกิจ<br />

และความคงอยูของธุรกิจ การขับเคลื่อนซิกสซิกมาตองอาศัยความเขาใจความตองการของลูกคา การใช<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-12<br />

ขอเท็จจริง ขอมูล และการวิเคราะหเชิงสถิติ พรอมกับความตั้งใจอยางแข็งขันในการบริหาร การปรับปรุง<br />

และการสรางกระบวนการทางธุรกิจใหม<br />

เปาหมายความสําเร็จของซิกสซิกมาคือ การทําใหผลิตภัณฑหรือบริการมีขอบกพรอง<br />

ขอผิดพลาด ไมเกิน 3.4 ตอลานโอกาส ซึ่งรายละเอียดจะไดอธิบายตอไป องคการสามารถนําหลักการ<br />

ของซิกสซิกมาไปใชในการออกแบบและการผลิตสินคา การชวยเหลือลูกคา หรือ กระบวนการใหบริการ<br />

ลูกคาอื่นๆ<br />

โดยปกติ โครงการที่ใชหลักการของซิกสซิกมาเพื่อควบคุมคุณภาพจะดําเนินการ 5<br />

กระบวนการที่เรียก ดีเมอิ (DMAIC) ซึ่งมาจากการนิยาม (Define) การวัด (Measure) การวิเคราะห<br />

(Analyze) การปรับปรุง (Improvement) และการควบคุม (Control)<br />

• การนิยาม คือ การกําหนดปญหา/โอกาส กระบวนการ และความตองการของ<br />

ลูกคา (เชน คํารองเรียน ผลการสํารวจ คําแนะนํา และการวิจัยตลาด) เชน ลด<br />

เวลา คาใชจาย หรือขอบกพรอง เปาหมายเหลานี้เปนบรรทัดฐานหรือ<br />

มาตรฐานสําหรับการปรับปรุงกระบวนการ<br />

• การมาตรวัด เปนการวัดวาปญหา/โอกาส กระบวนการ หรือความตองการของ<br />

ลูกคาที่องคการไดกําหนดขึ้นนั้นประสบความสําเร็จหรือไม ทีมงานซิกสซิกมา<br />

มีหนาที่กําหนดมาตรวัดที่เกี่ยวของ ซึ่งกําหนดในรูปของขอบกพรองตอโอกาส<br />

(defects per opportunity) การคํานวณมาตรวัดเริ่มตนจากการนิยามมาตร<br />

วัด แลวรวบรวมขอมูล ประมวลผล และแสดงผล<br />

• การวิเคราะห คือ การนําผลจากการวัดมาใชในการพินิจพิเคราะหรายละเอียด<br />

กระบวนการ เพื่อหาโอกาสปรับปรุง ทีมงานซิกสซิกมาจะตรวจตราและทวน<br />

สอบขอมูลเพื่อพิสูจนสาเหตุที่แทจริงของปญหาที่สงสัย เครื่องมือที่สําคัญคือ<br />

ผังกางปลา<br />

• การปรับปรุง คือ การสรางคําตอบหรือวิธีการปรับปรุงกระบวนการหรือ<br />

แกปญหา คําตอบสุดทายที่ไดจะถูกตรวจสอบหรือเห็นชอบจากผูสนับสนุน<br />

โครงการ จากนั้นทีมงานซิกสซิกมาพัฒนาแผนนํารองเพื่อทดสอบคําตอบ ทีม<br />

ซิกสซิกมาทบทวนผลจากการทดสอบแบบนํารองเพื่อทําใหคําตอบดีขึ้น<br />

หลังจากนั้นจึงดําเนินการตามคําตอบที่ไดปรับปรุงแลว<br />

• การควบคุม คือ การติดตามและควบคุมใหผลการปรับปรุงมีเสถียรภาพ ผัง<br />

การควบคุมเปนเครื่องมือหนึ่งที่ชวยในเฟสควบคุม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-13<br />

การนําซิกสซิกมามาใชมีหลักการดังนี้<br />

• กําหนดใหหลักการซิกสซิกมาเปนพันธกิจขององคการ ผูบริหารระดับสูง และ<br />

พนักงานทุกระดับจะตองเขามามีสวนรวม การอบรมหลักการนี้เปนสิ่งที่ตอง<br />

ลงทุนสูง แตองคการจะไดผลตอบแทนคือ งานหรือบริการที่มีคุณภาพดวย<br />

ตนทุนที่ต่ํา<br />

• การอบรมซิกสซิกมาจะใชระบบเข็มขัด (belt system) แบบการเรียนคาราเต ผู<br />

เขารับการอบรมจะไดเข็มขัดสีตางๆ ถาไดเข็มขัดสีเหลืองหมายถึง ผูเขารับการ<br />

อบรมไดรับการอบรมในระดับที่จําเปนเทานั้น ซึ่งโดยปกติประมาณ 2-3 วัน<br />

เต็มสําหรับทีมงานที่ทํางานกับโครงการซิกสซิกมาแบบไมเต็มเวลา กลุมเข็มขัด<br />

สีเขียวหมายถึง ผูเขารับการอบรมเต็ม 2-3 อาทิตย สวนกลุมเข็มขัดสีดํา<br />

หมายถึง กลุมคนที่ทํางานโครงการซิกสซิกมาแบบเต็มเวลา และเขารับการ<br />

อบรม 4-5 อาทิตยเต็ม นอกจากนี้ ยังมีกลุมเข็มขัดดําที่เปนผูเชี่ยวชาญที่มี<br />

ประสบการณ ทําหนาที่เปนทรัพยากรทางเทคนิค และเปนพี่เลี้ยงใหกลุมระดับ<br />

ที่ต่ํากวา<br />

• องคการที่ใชหลักการซิกสซิกมาไดประสบความสําเร็จตองเต็มใจที่จะยอมรับ<br />

วัตถุประสงคที่แตกตางกันในเวลาเดียวกัน เชน ตองการเปนองคการที่<br />

สรางสรรคและมีเหตุมีผล เนนที่ภาพรวม และรายงานรายละเอียด ลด<br />

ขอผิดพลาดและทําสิ่งตางๆ ใหเสร็จรวดเร็ว และทําใหลูกคามีความสุขและทํา<br />

เงินไดมากๆ ซึ่งมีวัตถุประสงคขัดแยงกัน<br />

• ซิกสซิกมาทํางานภายใตปรัชญาที่เนนที่ลูกคา และพยายามตอสูเพื่อขจัดของ<br />

เสีย ยกระดับคุณภาพ และปรับปรุงประสิทธิภาพการเงิน<br />

รูปที่ 7.8 การกระจายปกติและความเบี่ยนเบนมาตรฐาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-14<br />

เนื่องจากความคิดของซิกสซิกมาคือ การปรับปรุงคุณภาพโดยการลดความแปรปรวน<br />

คําวาซิกมาหมายถึงความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งใชวัดความแปรปรวนที่เกิดขึ้นจากการกระจายของ<br />

ขอมูล คาความเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ําหมายความวากลุมขอมูลใกลชิดกับคาเฉลี่ย และมีความ<br />

แปรปรวนระหวางขอมูลนอย ถาคาความเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงหมายความวาขอมูลหางจากคาเฉลี่ย<br />

และมีความแปรปรวนคอนขางมาก<br />

จากรูปที่ 7.8 แสดงการกระจายขอมูลแบบปกติ การกระจายแบบปกติใดๆ ที่รอยละ<br />

68.3 ของประชากรอยูภายใน 1 คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (1σ ) รอยละ 95.5 ของประชากรอยูภายใน 2<br />

คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2σ ) และรอยละ 99.7 ของประชากรอยูใน 3 คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (3σ ) คา<br />

เบี่ยงเบนมาตรฐานเปนปจจัยหลักในการกําหนดจํานวนขอบกพรองที่พบในประชากรที่จะยอมรับได<br />

ตารางที่ 7.3 ซิกมาและจํานวนขอบกพรอง (Schwalbe, 2007)<br />

ชวง +/- ซิกมา<br />

รอยละของประชากรภายใน<br />

แตละชวง<br />

จํานวนขอบกพรองตอ<br />

พันลาน<br />

1 68.27 317,300,000<br />

2 95.45 45,400,000<br />

3 99.73 2,700,000<br />

4 99.9937 63,000<br />

5 99.999943 57<br />

6 99.9999998 2<br />

ตารางที่ 7.3 แสดงความสัมพันธระหวางคาเบี่ยงเบนมาตรฐานกับรอยละของประชากร<br />

ภายในชวงซิกมา และจํานวนขอบกพรองตอพันลาน ± 6σ หมายความวามีขอบกพรองเพียง 2 หนวย<br />

ตอพันลานหนวย<br />

แทนที่จะวัดจํานวนขอบกพรองตอหนวย (เชน ตอเครื่อง ตอใบ หรือตอโปรแกรม) ซิกส<br />

ซิกมาวัดจํานวนขอบกพรองจากจํานวนของโอกาส เชน อาจมีหลายๆ ขอผิดพลาดในใบเรียกเก็บเงิน<br />

เชน สะกดชื่อผิด ที่อยูผิด วันที่ใหบริการไมถูก และคํานวณผิด ดังนั้น อาจมีโอกาสเกิดขอบกพรองไดถึง<br />

100 จุดในใบเรียกเก็บเงินหนึ่งใบ ตารางที่ 7.4 คือ ตารางปรับคาซิกมา โดยที่อัตราผลตอบแทน (yield)<br />

แทนจํานวนหนวยที่จัดการไดถูกตองตลอดขั้นตอนกระบวนการ จากตารางดังกลาว ณ 6 ซิกมา<br />

หมายความวาขอบกพรองไมเกิน 3.4 จุดตอลานโอกาส<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-15<br />

ซิกมา<br />

ตารางที่ 7.4 ตารางปรับคาซิกมา (Schwalbe, 2007)<br />

อัตราผลตอบแทน (yield)<br />

จํานวนขอบกพรองตอลาน<br />

โอกาส<br />

1 31.0% 690,000<br />

2 69.2 % 308,000<br />

3 93.3% 66,800<br />

4 99.4% 6,210<br />

5 99.97% 230<br />

6 99.99966% 3.4<br />

ถึงแมวาแนวความคิดของซิกสซิกมาเริ่มใชในอุตสาหกรรมการผลิต แตหลายเทคนิค<br />

ของซิกสซิกมาสามารถนํามาใชไดโดยตรงกับโครงการพัฒนาซอฟตแวร เชน จํานวนขอผิดพลาดใน<br />

คําสั่ง ชวงเวลาที่ระบบขัดของ<br />

7.6.4 การทดสอบและการทวนสอบ<br />

การทดสอบเปนงานที่เกือบขั้นตอนสุดทายของกระบวนการพัฒนาระบบ บางองคการ<br />

คิดวาการทดสอบทํากอนการสงระบบงานใหกับลูกคาเพื่อใหระบบงานมีคุณภาพระดับหนึ่ง แตความ<br />

จริงแลวการทดสอบจําเปนตองทําระหวาง หรือเกือบทุกเฟสของวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ สําหรับการ<br />

ทดสอบระบบงานประกอบดวย<br />

• การทดสอบหนวยยอย คือ กระบวนการทดสอบคําสั่งของมอดูลที่โปรแกรมเมอร<br />

เขียนเพื่อใหคอมพิวเตอรทํางานอยางใดอยางหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงคเพื่อคนหา<br />

และแกไขขอผิดพลาดที่เกิดเทาที่จะเปนไปได กอนที่มอดูลนั้นจะถูกนําไปบูรณา<br />

การกับมอดูลอื่นๆ ถาขอผิดพลาดถูกพบหลังจากการรวมหลายมอดูลเขา<br />

ดวยกันแลว ขอผิดพลาดจะแกไขลําบากขึ้นและคาใชจายสูง การทดสอบวิธีการ<br />

นี้เนนที่ตรรกะการประมวลผล และโครงสรางขอมูลภายในขอบเขตของมอดูล<br />

• การทดสอบการบูรณาการ คือ การทดสอบพฤติกรรมของกลุมมอดูล เพื่อหา<br />

ขอผิดพลาดที่ไมอาจตรวจพบจากการทดสอบหนวยยอย เชน การเชื่อมประสาน<br />

ไมเขากัน คาของพารามิเตอรไมใชคาที่คาดหวัง หรือ หนวยความจําไมพอ เมื่อ<br />

พบขอผิดพลาดที่เกิดขึ้น ผูรับผิดชอบตองหาวามอดูลไหนที่เกิดขอผิดพลาด<br />

พรอมกับหาสาเหตุของขอผิดพลาด ในการทดสอบ ผูรับผิดชอบตองสรางกรณี<br />

ทดสอบ (test cases) และขอมูลเพื่อทดสอบเสนทางควบคุม (control paths) ที่<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-16<br />

เปนไปไดทั้งหมด ยิ่งมีการทดสอบเสนทางควบคุมมากเทาไร เราจะมั่นใจที่พบ<br />

ขอผิดพลาดที่สําคัญมากขึ้นเทานั้น<br />

• การทดสอบระบบ คือ การทดสอบการบูรณาการทั้งระบบ หรือระบบงานยอย<br />

เพื่อใหแนใจวาระบบไมทํางานผิดปกติ และระบบทํางานไดตามที่ผูพัฒนาเขาใจ<br />

วาตรงกับความตองการของผูใช การทดสอบระบบที่สําคัญมีดังนี้<br />

• การทดสอบความสามารถใชงานได (usability testing) เปนการ<br />

ทดสอบเพื่อดูวาระบบทํางานไดตรงกับความตองการของผูใชหรือไม<br />

• การทดสอบสมรรถนะ (performance testing) เปนการทดสอบวา<br />

ระบบสามารถทํางานไดตามเกณฑหรือไม เชน เวลาตอบสนองกลับ<br />

(response time) จํานวนการสอบถาม หรือจํานวนธุรกรรมที่ตอง<br />

สามารถประมวลผลไดภายใน 1 นาที<br />

• การทดสอบความมั่นคง (security testing) เปนการทดสอบระบบการ<br />

ปองกันการเจาะทะลุเขาสูระบบงาน<br />

• การทดสอบการกูคืน (recovery testing) เปนการทดสอบวาเมื่อระบบ<br />

ลมเหลวแลว วิธีการกูคืนที่กําหนดไวนั้น สามารถดําเนินการไดถูกตอง<br />

• การทดสอบการยอมรับ เปนการทดสอบวาระบบไดตอบสนองความตองการ<br />

ของผูใชหรือไม โดยปกติ การทดสอบนี้เปนการทดสอบขั้นสุดทายกอนสงมอบ<br />

ระบบงานใหผูใช ผูที่ทําการทดสอบในขั้นนี้จึงเปนผูใชงานจํานวนมาก ซึ่งจะ<br />

ทําใหผูพัฒนาระบบงานไดทราบวาระบบยังขาดฟงกชันงานอะไร หรือฟงกชัน<br />

งานใดที่ยังทํางานไดไมตรงกับที่ผูใชตองการ รวมถึงจอภาพ การไหลของ<br />

จอภาพ และรายงานตางๆ ดวย<br />

สําหรับแนวความคิดของการทวนสอบเกิดขึ้นมากวา 20 ป ในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งให<br />

ความสําคัญกับซอฟตแวรที่ทํางานตามที่ตั้งใจไวทั้งหมดอยางถูกตองและอยางนาเชื่อถือ เพราะ<br />

ขอผิดพลาดใดๆ ในโปรแกรมสามารถสงผลใหเกิดหายนะ และคาใชจายมากมาย การทวนสอบนั้น<br />

มุงเนนที่กิจกรรมกระบวนการที่เกี่ยวของของโครงการ เพื่อใหแนใจวาผลิตภัณฑ หรือสิ่งที่สงมอบตรงกับ<br />

ความตองการที่กําหนดไวกอนการทดสอบขั้นสุดทายจะเริ่มขึ้น การทวนสอบประกอบดวยการทบทวน 3<br />

ประเภทคือ<br />

• การทบทวนทางเทคนิค เพื่อใหแนใจวาผลลัพธสอดคลองกับความตองการที่<br />

กําหนดไว การทบทวนประเภทนี้ยังรวมถึงการทบทวนงานวาสอดคลองกับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-17<br />

ตามมาตรฐานตางๆ ดวย เชน มาตรฐาน GUI มาตรฐานการโปรแกรมและ<br />

เอกสาร การตั้งชื่อ เปนตน วิธีการที่นิยมใชในการทบทวนเชิงเทคนิคคือ การ<br />

ตรวจตลอดและการตรวจตรา การตรวจตลอดคือ กระบวนการทบทวนที่<br />

โปรแกรมเมอร หรือนักออกแบบพากลุมของโปรแกรมเมอรหรือนักออกแบบ<br />

ตรวจตลอดโปรแกรมหรือแบบที่ออกไว เพื่อดูวาโปรแกรม หรือแบบที่ออกนั้น<br />

ถูกตองตามความตองการและมาตรฐานหรือไม สวนการตรวจตราคือ การ<br />

ทบทวนโดยเพื่อนรวมงาน โดยมีรายการคุณลักษณะที่สําคัญใหกับผูตรวจใช<br />

ระบุขอผิดพลาด รายการคุณลักษณะนี้ไดรับการปรับปรุงหลังจากการเก็บ<br />

ขอมูล<br />

• การทบทวนทางธุรกิจ คือ การทบทวนเพื่อใหแนใจวาผลิตภัณฑนั้นมีฟงกชัน<br />

งานที่ตองการตามที่กําหนดในขอบเขตโครงการ อยางไรก็ตาม การทบทวน<br />

ทางธุรกิจมีวัตถุประสงคเพื่อใหผลงานสมบูรณ ใหสารสนเทศที่จําเปนและ<br />

ตองการสําหรับเฟสหรือกระบวนการถัดไป ตรงกับมาตรฐานที่กําหนดไว<br />

ลวงหนา และสอดคลองกับระเบียบวิธีของโครงการ<br />

• การทบทวนเชิงบริหาร เปนการทบทวนโดยการเปรียบเทียบความกาวหนาที่<br />

แทจริงกับแผนที่เปนบรรทัดฐานของโครงการ โดยทั่วๆ ไป ผูจัดการโครงการ<br />

เปนผูรับผิดชอบนําเสนอความกาวหนาของโครงการเพื่อใหเห็นสถานภาพของ<br />

โครงการที่ชัดเจน ประเด็นตางๆ ตองไดรับการแกไข ปรับทรัพยากร หรือ<br />

ตัดสินใจวาจะยังคงโครงการหรือยุติโครงการ นอกจากนี้ ผูบริหารอาจทบทวน<br />

โครงการเพื่อดูวาโครงการทํางานไดตามขอบเขต ระยะเวลา งบประมาณ และ<br />

คุณภาพหรือไม<br />

7.7 การบริหารคุณภาพสมัยใหม<br />

การบริหารคุณภาพสมัยใหมใหความสําคัญตอความพึงพอใจของลูกคา ใชการปองกันแทน<br />

การตรวจตรา และตระหนักถึงความรับผิดชอบเชิงบริหารตอคุณภาพ การบริหารคุณภาพสมัยใหมไดรับ<br />

การพัฒนาจากโครงการของผูเชี่ยวชาญดานคุณภาพหลายโครงการ ดังตัวอยางที่จะกลาวตอไปนี้<br />

7.7.1 การบริหารคุณภาพของเดมมิง<br />

เดมมิงเปนนักสถิติและศาสตราจารยที่มหาวิทยาลัยนิวยอรก เขาเปนที่รูจักจากงาน<br />

เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในประเทศญี่ปุน เดมมิงไปประเทศญี่ปุนตามคําเชิญของรัฐบาลญี่ปุน เพื่อ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-18<br />

ชวยปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิต เดมมิงสอนผูผลิตชาวญี่ปุนวาคุณภาพหมายถึงประ<br />

สิทธิที่เพิ่มขึ้นและคาใชจายที่ต่ําลง อุตสาหกรรมอเมริกาไมตระหนักถึงทฤษฎีของเดมมิง จนกระทั่ง<br />

ผูผลิตชาวญี่ปุนไดเริ่มผลิตสินคาที่ทาทายสินคาอเมริกาอยางมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต<br />

บริษัทฟอรดจึงรับวิธีการของเดมมิง และไดพบวาคุณภาพและยอดขายดีขึ้นอยางมากมาย หลังจากที่<br />

เห็นผลงานที่ดีเยี่ยมในประเทศญี่ปุน บริษัทอเมริกาหลายๆ บริษัทไดเชิญใหเดมมิงชวยสรางโปรแกรม<br />

การปรับปรุงคุณภาพในโรงงานของตน<br />

เดมมิงไดกําหนดขั้นตอนการบริหารคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ 1) วางแผน (plan) สําหรับ<br />

การปรับปรุงคุณภาพ และระบุตัววัดที่เหมาะสม 2) ทํา (do) ตนแบบหรือการทดลองของแผนหรือตัววัด<br />

ขนาดเล็ก 3) ตรวจสอบ (check) ผลกระทบของการดําเนินการของแผนการทดลอง 4) กระทํา (act) ตอ<br />

สารสนเทศที่ไดรับจากการเรียนรู ขั้นตอนนี้มีชื่อเรียกยอวา PDCA และแทนดวยวงกลมเดมมิง<br />

(Demming circle) ดังรูปที่ 7.9<br />

รูปที่ 7.9 PDCA ของเดมมิง<br />

ปรัชญาและงานสอนของเดมมิงไดสรุปออกมา 14 ขอดังนี้<br />

1. สรางความมั่นคงใหกับจุดมุงหมายในการปรับปรุงระบบและบริการ องคการควร<br />

กําหนดวัตถุประสงคใหชัดเจน และควรกลาวถึงทิศทางขององคการทั้งในปจจุบัน<br />

และอนาคต การปรับปรุงควรทําอยางตอเนื่อง ถึงแมวาจะทําไดเพียงเล็กนอยก็<br />

ตาม เพราะในที่สุดแลวองคการจะสามารถสรางการปรับปรุงมากขึ้น ผลลัพธที่ไดนี้<br />

ไดจากการขจัดสิ ่งที่ทําลายคุณภาพ เชน ขอบกพรองในสินคาที่ซื้อมา และเปลี่ยน<br />

พฤติกรรมและทัศนคติของพนักงาน<br />

2. ยอมรับปรัชญาใหมๆ ผูจัดการโครงการตองตื่นตัวกับความทาทาย เรียนรูความ<br />

รับผิดชอบ และรับหนาที่ผูนําการเปลี่ยนแปลง<br />

3. ยุติการตรวจตราเพื่อใหบรรลุคุณภาพ คุณภาพไมไดเกิดจากการคัดผลิตภัณฑที่<br />

บกพรองโดยการใชวิธีการตรวจตราอยางหนัก คุณภาพเกิดจากการปรับปรุง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-19<br />

กระบวนการผลิต เดมมิงเสนอวิธีใหบรรลุคุณภาพดวยการควบคุมกระบวนการ<br />

ดวยวิธีกทางสถิติ<br />

4. หยุดการเลือกผูขายโดยดูจากราคาเพียงอยางเดียว สินคาราคาต่ําไมใชสินคาที่<br />

ราคาถูกสุด ถาสินคานั้นไมมีคุณภาพ และโดยเฉพาะ ถาผูขายไมใหบริการ<br />

บํารุงรักษาที่เหมาะสม เดมมิงเสนอใหทํางานกับผูขายเพียงเจาเดียวที่ขายสินคาที่<br />

มีคุณภาพ และสรางความสัมพันธกับคูคาในระยะยาว ซึ่งจะทําใหคาใชจาย<br />

ทั้งหมดต่ํา<br />

5. ปรับปรุงกระบวนการอยางตอเนื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพควรเปนงานที่ไมมี<br />

ทางสิ้นสุด วัตถุประสงคไมควรเพื่อแกปญหา แตเปนการใหคํามั่นเพื่อการปรับปรุง<br />

ที่ตอเนื่อง<br />

6. จัดใหมีโปรแกรมการอบรมสําหรับการปรับปรุงคุณภาพ ขณะที่การศึกษาและการ<br />

อบรมเปนคาใชจาย แตในระยะยาวแลว การขาดการศึกษาและการอบรมอาจทํา<br />

ใหเสียเงินมากกวา การปรับปรุงประสิทธิภาพบรรลุไดดวยคน ดังนั้น คนเหลานี้จึง<br />

ควรไดรับการศึกษาและอบรมสําหรับงานที่ตองทํา ทุกคนตองไดรับการอบรมอยาง<br />

ดี ความรูเปนสิ่งที่สําคัญตอการปรับปรุงคุณภาพ<br />

7. สรางความเปนผูนํา บทบาทพื้นฐานของผูบริหารคือ การเปนผูนํา และความเปน<br />

ผูนํานี้ควรจะเนนที่การปรับปรุงคุณภาพอยางตอเนื่อง ผูบริหารตองรับหนาที่เปน<br />

ผูนําในการทําใหปรัชญาการบริหารคุณภาพเกิดขึ้น<br />

8. ขับความกลัวออกไป พนักงานอาจหลีกเลี่ยงการแสดงความคิด และยอมรับ<br />

ความผิด เพราะกลัวสูญเสียสถานภาพ ตําแหนงและแมแตงาน ดังนั้นผูบริหารตอง<br />

ทําใหพนักงานรูสึกปลอดภัยในการสื่อสารบทเรียนที่ไดจากความผิดพลาดของตน<br />

เพราะความผิดพลาดอาจใหคุณคาในการทํางานครั้งตอไป<br />

9. ทําลายสิ่งกีดขวางระหวางหนวยงานองคการ คุณภาพจะทําไดดีที ่สุดโดยมีคนใน<br />

แตละหนวยงานในองคการเขาใจหนวยงานอื่นและสื่อสารกันอยางสม่ําเสมอ<br />

สมาชิกตองทํางานเปนทีม<br />

10. ขจัดสโลแกน เนื่องจากไมมีประโยชน สโลแกนปราศจากวิธีการ การควบคุมที่<br />

เหมาะสม และคํามั่นของผูบริหาร การหาและการแกปญหากระบวนการและสินคา<br />

อยางตอเนื่องนําไปสูการปรับปรุงคุณภาพที่ดีขึ้น<br />

11. ขจัดโควตาและเปาหมายเชิงตัวเลข ภาระกิจที่ตองทําตามเปาหมายเชิงปริมาณจะ<br />

ดึงคนที่ทํางานดีที ่สุดใหถอยหลังและเครียดกวาคนที่ที่ทํางานต่ํากวาคาเฉลี่ย ตัว<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-20<br />

วัดตางๆ ไมควรกลายเปนวัตถุประสงคหลักของทั้งองคการและการบริหาร<br />

ผูบริหารควรใชความเปนผูนําแทน<br />

12. ขจัดสิ่งกีดขวางความภาคภูมิใจในทักษะของงาน ประสิทธิภาพงานควรถูกประเมิน<br />

และใหรางวัลในแงของคุณภาพ ไมใชโดยการจัดลําดับประจําป<br />

13. สรางโปรแกรมการศึกษาและการปรับปรุงตัวเอง การศึกษาและการปรับปรุงตัวเอง<br />

เปนสิ่งสําคัญสําหรับทุกคนในองคการ องคการสามารถสงเสริมการศึกษาดวยการ<br />

สนับสนุนคาใชจาย<br />

14. ใหทุกคนมีสวนรวมเพื่อบรรลุการปรับเปลี่ยน การปรับเปลี่ยนเปนหนาที่ของทุกคน<br />

ทุกคนตองมีสวนในการปรับปรุงกระบวนการและสินคาใหมีคุณภาพ<br />

7.7.2 การบริหารคุณภาพของจูราน<br />

จูรานไดสอนผูผลิตชาวญี่ปุนถึงการทําอยางไรจึงจะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เขา<br />

ไดเขียนหนังสือคูมือการควบคุมคุณภาพ โดยเนนที่ความสําคัญของคํามั่นของผูบริหารระดับสูงเพื่อการ<br />

ปรับปรุงคุณภาพอยางตอเนื่อง จูรานไดพัฒนาสามเหลี่ยมคุณภาพ หรือสามเหลี่ยมจูรานที่ประกอบดวย<br />

การวางแผนคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพ และการควบคุมคุณภาพ แตละดานมีขั้นตอนดังนี้<br />

• การวางแผนคุณภาพ<br />

• กําหนดวาใครคือลูกคา<br />

• กําหนดความตองการของลูกคาเหลานี้<br />

• แปลความตองการของลูกคาใหเปนภาษาของเรา<br />

• พัฒนาผลิตภัณฑที่สามารถตอบสนองความตองการเหลานี้<br />

• ทําคุณลักษณะผลิตภัณฑใหดีที่สุดซึ่งจะตรงกับความตองการทั้งของเรา<br />

และลูกคา<br />

• การปรับปรุงคุณภาพ<br />

• พัฒนากระบวนการที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ<br />

• ทําใหกระบวนการดีที่สุด<br />

• การควบคุมคุณภาพ<br />

• พิสูจนวากระบวนการที่ไดพัฒนาสามารถผลิตผลิตภัณฑภายใตเงื่อนไข<br />

การปฎิบัติงาน<br />

• สงผานกระบวนการนั้นเขาสูการดําเนินการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-21<br />

จูรานไดเนนความแตกตางระหวางมุมมองคุณภาพของผูผลิตกับมุมมองของลูกคา<br />

ผูผลิตเนนคุณภาพในแงของความสอดกับความตองการ แตลูกคาเนนคุณภาพในแงของความเหมาะกับ<br />

การใชงาน ไมใชเพียงแคตรงกับความตองการที่กําหนดในรายละเอียด จูรานไดกําหนด 10 ขั้นตอนการ<br />

บริหารคุณภาพดังนี้<br />

• สรางความตระหนักถึงความตองการและโอกาสสําหรับการปรับปรุง<br />

• กําหนดเปาหมายของการปรับปรุง<br />

• จัดการใหถึงเปาหมาย (จัดตั้งหนวยงานคุณภาพ ระบุปญหา เลือกโครงการ<br />

มอบหมายทีมงาน กําหนดผูใหความสะดวก)<br />

• จัดอบรม<br />

• ดําเนินโครงการเพื่อแกปญหา<br />

• รายงานความกาวหนา<br />

• ใหการระลึกถึงผูมีสวนรวม<br />

• สื่อสารผลลัพธ<br />

• รักษาคุณภาพใหคงอยู<br />

• รักษาโมเมนตัมโดยการทําการปรับปรุงรายปใหเปนสวนหนึ่งของระบบปกติ<br />

และเปนสวนหนึ่งของกระบวนการขององคการ<br />

7.7.3 ครอสบี และขอบกพรองเปนศูนย<br />

ครอสบีไดพัฒนาความคิดของเขาหลายเรื่องจากประสบการณการทํางานใน<br />

สายการผลิต เขาทํางานในหลายตําแหนงที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ เขาไดเสนอใหองคการควร<br />

พยายามใหงานไมมีขอบกพรอง หรือขอบกพรองเปนศูนย เขาไดเนนวาคาใชจายของคุณภาพที่ต่ําจะ<br />

รวมคาใชจายทั้งหมดของสิ่งที่ไมทําใหถูกตองตั้งแตแรก เชน การทํางานใหม สูญเสียชั่วโมงการทํางาน<br />

ของคนและเครื่องจักร คาประกัน เปนตน ครอสบีไดพัฒนา 14 ขั้นตอนของการปรับปรุงคุณภาพ<br />

• ทําใหชัดเจนวาผูบริหารใหคํามั่นเกี่ยวกับคุณภาพ<br />

• สรางทีมปรับปรุงคุณภาพโดยมีตัวแทนจากแตละหนวยงาน<br />

• กําหนดปญหาคุณภาพที่เกิดในปจจุบันและที่มีศักยภาพในการปรับปรุง<br />

• ประเมินคาใชจายของคุณภาพ<br />

• ใหทุกคนตระหนักถึงประเด็นคุณภาพ<br />

• ทําการแกไขปญหาที่ไดระบุจากขั้นตอนกอนหนานี้<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-22<br />

• สรางการยอมรับโครงการขอบกพรองเปนศูนย<br />

• อบรมหัวหนางานเพื่อใหทํางานในสวนของตนในโครงการปรับปรุงคุณภาพ<br />

• จัดวันขอบกพรองเปนศูนย เพื่อใหพนักงานทุกคนรูวามีการเปลี่ยนแปลง<br />

• กระตุนใหพนักงานแตละคนสรางเปาหมายการปรับปรุงสําหรับตนเองหรือ<br />

กลุม<br />

• กระตุนพนักงานใหสื่อสารกับผูบริหารถึงอุปสรรคที่ไดเผชิญในการทําใหบรรลุ<br />

เปาหมายการปรับปรุง<br />

• ระลึกและชื่นชมผูมีสวนรวม<br />

• สรางหนวยงานคุณภาพเพื่อสื่อสารไดเปนประจํา<br />

• ทําซ้ําอีกเพื่อเนนวาโครงการปรับปรุงคุณภาพไมมีการยุติ<br />

ครอสบียังไดระบุอาการ 5 อยางที่จําเปนตองมีการบริหารคุณภาพ<br />

• โดยทั่วไปสินคาหรือบริการที่ผลิตมีความแตกตางจากความตองการของลูกคา<br />

และหรือมาตรฐานที่ไดตกลง<br />

• องคการมีการทํางานใหมอยางมากมาย และการทําการแกไขในสินคาที่สง<br />

มอบแลว เพื่อใหคงความพึงพอใจของลูกคา<br />

• ผูบริหารลมเหลวในการเปนผูนําคุณภาพ มาตรฐาน หรือแมแตนิยาม ผลจาก<br />

ความไมเต็มใจนี้ทําใหคนแตละคนพัฒนาคุณภาพตามความคิดของตน<br />

• ผูบริหารไมตระหนักถึงคาใชจายแทจริงของสินคาที่ไมสอดคลองกับคุณภาพ<br />

หรือคาใชจายที่ทําใหสินคามีคุณภาพตามมาตรฐาน และความตองการของ<br />

ลูกคา ผลที่ตามมาคือ ใชเงินทําในสิ่งที่ไมถูกตอง และจําเปนตองทําใหม<br />

• ผูบริหารปฏิเสธสาเหตุหลักของปญหาเกี่ยวกับคุณภาพ<br />

ครอสบีไดพัฒนา 4 ปรัชญาการบริหารคุณภาพดังนี้<br />

• คุณภาพไดรับการนิยามวา คุณภาพคือ ความสอดคลองกับความตองการของ<br />

ลูกคา ไมใชสินคาที่ดี<br />

• คุณภาพจะทําไดสําเร็จโดยการปองกันขอบกพรอง ไมใชการประเมินสินคา<br />

• มาตรฐานคุณภาพคือ ไมมีขอบกพรอง ไมใชระดับคุณภาพต่ําสุดที่ยอมรับได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-23<br />

• คุณภาพถูกวัดดวยราคาที่ตองจายถาไมตรงกับความตองการของลูกคา ไมใช<br />

วัดดวยตัวชี้วัด<br />

7.7.4 อิชิคาวาและวงกลมคุณภาพ<br />

อิชิคาวาเชื่อวาการปรับปรุงคุณภาพคือ กระบวนการตอเนื่องที่ขึ้นอยูกับทุกระดับใน<br />

องคการ จากผูบริหารระดับสูงลงมาถึงคนงานทุกคน ในประเทศญี่ปุน ความเชื่อนี้นําไปสูการใชวงกลม<br />

คุณภาพ (quality circle (QC)) ที่มีสมาชิกทุกคนในองคการเขารวม ในการทํา QC นิยมใชผังกางปลา<br />

สําหรับชวยหารากของสาเหตุของปญหาคุณภาพ อิชิคาวาไดเสนอคุณลักษณะสําคัญ 6 ประการสําหรับ<br />

ทําใหงานมีคุณภาพ<br />

• การควบคุมคุณภาพทั้งองคการหมายถึง ทุกหนวยงานและพนักงานทุกระดับ<br />

เขามารวมในการทํางานอยางเปนระบบที่ชี้นําโดยนโยบายคุณภาพที่เขียนโดย<br />

ผูบริหารระดับสูง ผลที่ตามมาคือ นักพัฒนาซอฟตแวรใหคํามั่นที่จะผลิตงานที่<br />

มีคุณภาพ<br />

• การตรวจสอบการควบคุมคุณภาพโดยผูบริหารระดับสูง ซึ่งจะออกตรวจเยี่ยม<br />

แตละหนวยงานเพื่อหาอุปสรรคและขจัดมัน โดยปกติ การตรวจสอบซอฟตแวร<br />

เปนหนาที่ของผูเชี่ยวชาญดานคุณภาพซอฟตแวร แตทีมงานตรวจสอบของ<br />

ผูบริหารตองประเมินคุณภาพซอฟตแวรเปนระยะๆ การสนทนาโดยตรงกับผูใช<br />

ซอฟตแวร ผูจัดการคุณภาพซอฟตแวร และผูจัดการการพัฒนาซอฟตแวรจะ<br />

ชวยผูบริหารคนพบอุปสรรค<br />

• การอบรมและการศึกษาในเรื่องการควบคุมคุณภาพสําหรับทุกคนในทุก<br />

หนวยงานและทุกระดับ เพราะการควบคุมคุณภาพทั้งองคการตองการใหทุก<br />

คนมีสวนรวม การอบรมเริ่มแรกควรทําที่หนวยงานประกันคุณภาพซอฟตแวร<br />

กอน แลวจึงขยายไปยังหนวยงานอื่นๆ<br />

• กิจกรรมวงกลมคุณภาพเปนกลุมคนกลุมเล็กๆ ที่อาสาที่จะทําการควบคุม<br />

คุณภาพในหนวยงานที่สังกัด ผังกางปลาเปนเครื่องมือที่สําคัญสําหรับทีมงาน<br />

ในการวิเคราะหสาเหตุที่เปนไปไดทั้งหมด ทีมงานจะใหความสนใจกับสาเหตุ<br />

นั้นและหมุนไปหาสาเหตุถัดไปเพื่อขจัดมัน<br />

• การประยุกตใชวิธีเชิงสถิติ เชน การวิเคราะหแบบพาเรโต แผนภูมิสาเหตุและ<br />

ผล แผนภูมิแบบแทง ผังการกระจายขอมูล วิธีการทางสถิติอาจชวยให<br />

นักพัฒนาซอฟตแวรดังไดกลาวมาแลว<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-24<br />

• กิจกรรมสงเสริมการควบคุมคุณภาพใหไดรับรางวัลระดับชาติ ซึ่งจะทําให<br />

ลูกคาเกิดความมั่นใจในคุณภาพสินคา<br />

7.7.5 มาตรฐานไอเอสโอ<br />

องคการไอเอสโอ ไดพัฒนาชุดมาตรฐานไอเอสโอ9001:2000 เปนมาตรฐานประกัน<br />

คุณภาพที่ใชสําหรับวิศวกรรมสวนชุดคําสั่ง ซึ่งครอบคลุมหัวขอ 5 หัวขอดังนี้<br />

• ระบบบริหารคุณภาพ ประกอบดวยขอกําหนดทั่วไป ขอกําหนดการจัดเตรียม<br />

เอกสารทั่วไป คูมือคุณภาพ การควบคุมเอกสาร และการควบคุมบันทึก<br />

คุณภาพ<br />

• ความรับผิดชอบของฝายบริหาร ประกอบดวยความมุงมั่นของฝายบริหาร<br />

มุงเนนที่ลูกคา นโยบายคุณภาพ การวางแผน ความรับผิดชอบ อํานาจหนาที่<br />

และการสื่อสาร การสื่อสารภายใน การทบทวนของฝายบริหาร<br />

• การจัดการทรัพยากร ประกอบดวยการจัดสรรทรัพยากร ทรัพยากรบุคคล<br />

สาธารณูปโภค สภาวะแวดลอมการทํางาน<br />

• การทําใหผลิตภัณฑบรรลุผล ประกอบดวยการวางแผนใหผลิตภัณฑบรรลุผล<br />

กระบวนการที่เกี่ยวของกับลูกคา การออกแบบและการพัฒนา การจัดซื้อ<br />

กระบวนการผลิตและบริการ การควบคุมอุปกรณ การเฝาติดตาม และการ<br />

วัดผล<br />

• การตรวจวัด การวิเคราะหและปรับปรุง ประกอบดวยบททั่วไป การตรวจวัด<br />

และการติดตามผล การควบคุมผลิตภัณฑสิ่งที่ไมเปนไปตามขอกําหนด การ<br />

วิเคราะหขอมูล การปรับปรุง<br />

7.8 ตัววัด<br />

ตัววัด (metric) เปนตัววัดเชิงปริมาณที่บอกถึงคุณลักษณะของระบบ สวนประกอบ หรือ<br />

กระบวนการวามีคุณลักษณะตามที่กําหนดไวหรือไม เชน คุณลักษณะดานความสมบูรณ ความสามารถ<br />

ในการบํารุงรักษาระบบ โดยที่ตัววัดประกอบดวยมาตรวัด (measure) ตั้งแต 2 ตัวมาเปรียบเทียบกัน แต<br />

ตัววัดจะใหสารสนเทศที่สมบูรณกวามาตรวัด เชน มาตรวัดคุณภาพของซอฟตแวรคือ จํานวน<br />

ขอผิดพลาด แตจํานวนขอผิดพลาดอยางเดียวอาจทําใหเขาใจผิดไดวาซอฟตแวรที่มีจํานวนขอผิดพาด<br />

นอยมีคุณภาพดีกวาซอฟตแวรที่มีขอผิดพลาดมาก เนื่องจากถานําจํานวนคําสั่งทั้งหมดของซอฟตแวร<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-25<br />

มาเปรียบเทียบดวย จะทําใหเกิดความเขาใจที่ชัดเจนมากขึ้นวา เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของซอฟตแวร<br />

แลว ซอฟตแวรที่มีจํานวนขอผิดพลาดมากเมื่อเทียบกับขนาดของซอฟตแวรแลว ปรากฎวามีสัดสวนที่<br />

นอยกวาซอฟตแวรที่มีจํานวนขอผิดพลาดนอย ตัววัดอาจเปนตัวชี้วัด (indicator) หรือตัววัดสมรรถนะ<br />

(benchmark) คุณลักษณะของอุตสาหกรรมซอฟตแวร เชน สมมติวาความสามารถในการเขียนคําสั่ง<br />

ของโปรแกรมเมอรโดยเฉลี่ยควรเปน 5 ฟงกชันพอยตตอเดือน ถาโปรแกรมเมอรขององคการของเราโดย<br />

เฉลี่ยเขียนได 4 ฟงกชันพอยต ซึ่งต่ํากวาตัววัดสมรรถนะของอุตสาหกรรม ดังนั้นจะเห็นไดวาการใชมาตร<br />

วัดเพียงตัวเดียวอาจทําใหเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได บางคนจะเรียกตัววัดวามาตรวัด<br />

7.8.1 ประเภทของตัววัด<br />

ตัววัดแบงออกเปน 3 ประเภทคือ ตัววัดกระบวนการ ตัววัดผลิตภัณฑ และตัววัด<br />

โครงการ ตัวอยางและคําอธิบายตัววัดจากมารชูการและซอมเมอรวิว (Marchewka. 2006 และ<br />

Sommerville. 2001) ไดแสดงในตารางที่ 7.5 รายละเอียดของตัววัดสามารถศึกษาเพิ่มเติมไดจาก<br />

หนังสือ “Software Metrics” เขียนโดย เฟนตัน (Fenton) และ ฟลบเจอร (Pfleeger)<br />

• ตัววัดกระบวนการ คือ ตัววัดที่ใชวัดคุณภาพของกระบวนการพัฒนาซอฟตแวร<br />

เชน กระบวนการที่คนหาและขจัดขอบกพรองออกจากซอฟตแวร ซึ่งมีวิธีการ<br />

คํานวณดังนี้<br />

ประสิทธิภาพการขจัดขอบกพรอง = จํานวนขอผิดพลาด/(จํานวนขอผิดพลาด +<br />

จํานวนขอบกพรอง)<br />

ขอผิดพลาดคือ ขอผิดพลาดที่เกิดขึ้นกอนสงมอบผลิตภัณฑ<br />

ขอบกพรองคือ ขอผิดพลาดที่เกิดขึ้นหลังสงมอบผลิตภัณฑ<br />

• ตัววัดผลิตภัณฑ คือ ตัววัดที่เนนคุณภาพของผลิตภัณฑที่ผลิตออกมา และ<br />

ความพึ่งพอใจของลูกคาตอผลิตภัณฑ เชน ความครบถวนของผลิตภัณฑ<br />

ความนาเชื่อถือ (reliability) หรือความซับซอนของการออกแบบ เปนตน<br />

ตัวอยางตัววัดความนาเชื่อถือคือ เวลาขัดของเฉลี่ย (mean time between<br />

failure (MTBF)) ซึ่งมีวิธีการคํานวณดังนี้<br />

MTBF = MTTF + MTTR<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-26<br />

MTTF (mean time to failure) คือ เวลาเฉลี่ยที่ระบบขัดของ<br />

MTTR (mean time to repair) คือ เวลาเฉลี่ยที่ใชในการซอมระบบให<br />

สามารถกลับมาใชงานได<br />

• ตัววัดโครงการ คือ ตัววัดที่ใชควบคุมกระบวนการบริหารโครงการเพื่อใหแนใจ<br />

วาโครงการบรรลุวัตถุประสงค รวมทั้งควบคุมเวลา และงบประมาณ เชน งาน<br />

ที่ลาชา งานที่ใชเงินเกินงบประมาณ การเปลี่ยนแปลงขอบเขตงาน เปนตน<br />

ตัวอยางวิธีการคํานวณตัววัดงานที่ลาชาคือ<br />

งานที่ลาชา = จํานวนงานที่เริ่มดําเนินการแลว แตไมเสร็จตามเวลาที่คาดไว<br />

ตารางที่ 7.5 ตัวอยางตัววัดกระบวนการ ผลิตภัณฑ และ โครงการ<br />

ตัววัด<br />

คําอธิบาย<br />

กระบวนการ<br />

อัตราที่พบขอบกพรอง (defect arrival rate) จํานวนขอบกพรองที่พบในชวงเวลาหนึ่ง<br />

ขอบกพรองตามเฟส (defects by phase) จํานวนขอบกพรองที่พบในแตละเฟสของโครงการ<br />

ขอบกพรองคงคาง (defect backlog) จํานวนขอบกพรองที่รอการแกไข<br />

ชวงเวลาที่ใชในการแกไข (fix response time) เวลาเฉลี่ยที่ใชในการแกไขขอบกพรองหนึ่งขอ<br />

การแกไขที่บกพรอง (defective fixes) จํานวนการแกไขที่สรางขอบกพรองใหม<br />

ผลิตภัณฑ<br />

เวลาขัดของเฉลี่ย (mean time to failure) เวลาเฉลี่ยที่ซอฟตแวรไมสามารถทํางานได<br />

ความหนาแนนของขอบกพรอง (defect density) จํานวนขอบกพรองตอจํานวนคําสั่งในโปรแกรม หรือฟงกชัน<br />

พอยท<br />

ขอบกพรองที่ลูกคาพบ (customer found จํานวนขอบกพรองที่พบโดยลูกคา<br />

defects)<br />

ความเหนียวแนน (cohesion) จํานวนมอดูลที่มีความเหนียวแนนเชิงฟงกชันตอจํานวนมอดูล<br />

ทั้งหมด<br />

การควบคู (coupling) จํานวนการเชื่อมตอกับมอดูล<br />

แฟนอิน/แฟนเอาต (fan-in/fan-out) แฟนอิน คือ มาตรวัดจํานวนฟงกชันที่มาเรียกมอดูล X ที่เรากําลัง<br />

พิจารณา สวนแฟนเอาต คือ จํานวนฟงกชันที่ถูกเรียกโดยมอดูล<br />

X ถาคาของแฟนอินสูง หมายความวา มอดูล X ผูกติดกับฟงกชัน<br />

อื่นๆ การแกไขมอดูล X จะมีผลกระทบอยางมาก ถาคาของแฟน<br />

เอาตสูง แสดงวาโดยภาพรวมแลว มอดูล X มีความซับซอนสูง<br />

อาจเปนเพราะความซับซอนของตรรกะการควบคุมตองประสาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-27<br />

ตัววัด<br />

คําอธิบาย<br />

กับฟงกชันที่มอดูล X เรียกใช<br />

ความยาวของโปรแกรม โดยปกติ โปรแกรมที่ยาวมีความซับซอน<br />

ความพึงพอใจของลูกคา (customer ตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่ใชวัดความพึงพอใจของลูกคา โดยใชสเกลตั้งแต<br />

satisfaction)<br />

1 (ไมพอใจมาก) จนถึง 5 (พอใจมาก)<br />

โครงการ<br />

คํารองขอเปลี่ยนแปลงขอบเขต (scope change<br />

requests)<br />

การอนุมัติการเปลี่ยนขอบเขต (scope change<br />

approvals)<br />

จํานวนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตที่รองขอโดยลูกคาหรือ<br />

ผูสนับสนุน<br />

จํานวนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตที่ไดรับการอนุมัติ<br />

งานที่เกินเวลา (overdue tasks) จํานวนงานที่เริ่มทําแตไมเสร็จตามวันหรือเวลาที่กําหนด.<br />

งานที่ควรเริ่มตนทําแลว (tasks that should have จํานวนงานที่ควรเริ่มแลวแตยังไมไดเริ่ม<br />

started)<br />

งานที่เกินงบประมาณ (over budgeted tasks) จํานวนงานที่มีคาใชจายในการทํางานใหเสร็จมากกวา<br />

งบประมาณที่กําหนด<br />

มูลคาที่ไดรับ (earned value) คาใชจายของงานที่ไดทําคิดตามงบประมาณ (BCWP)<br />

ทรัพยากรที่จัดสรรใหมากเกินไป (over allocated จํานวนทรัพยากรที่ไดรับมอบหมายงานมากกวาหนึ่ง<br />

resources)<br />

อัตราการลาออก (turnover) จํานวนสมาชิกของโครงการที่ลาออกหรือยุติการทํางาน<br />

จํานวนชั่วโมงการอบรม (training hours) จํานวนชั่วโมงการอบรมตอสมาชิกโครงการหนึ่งคน<br />

7.8.2 กระบวนการสรางตัววัด<br />

กระบวนการที่ใชในการสรางตัววัดมีขั้นตอนดังนี้<br />

• การสรางสูตรตัววัดคือ การสรางมาตรวัด (measure) หรือตัววัดคุณลักษณะ<br />

ของซอฟตแวรที่กําลังพิจารณา การสรางสูตรตัววัดมีหลักการดังนี้<br />

• กําหนดวัตถุประสงคการวัดกอนการรวบรวมขอมูล<br />

• นิยามตัววัดใหชัดเจน ไมกํากวม<br />

• ควรสรางตัววัดจากทฤษฎีที่เปนจริงสําหรับโดเมนของระบบงานนั้นๆ<br />

เชน ตัววัดการออกแบบควรสรางจากทฤษฎีการออกแบบ<br />

• ควรตัดแตงตัววัดใหเหมาะสมกับผลิตภัณฑและกระบวนการแตละ<br />

อยางใหดีที่สุด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-28<br />

• การรวบรวมขอมูล เปนการใชกลไกเพื่อรวบรวมขอมูลที่ตองการมาคํานวณหา<br />

คาของมาตรวัด หรือตัววัดที่ไดกําหนดไว การรวบรวมขอมูลควรมีวิธีการที่จะ<br />

ทําอยางไรจึงจะเก็บขอมูลไดโดยอัตโนมัติ<br />

• การวิเคราะหคือ การคํานวณตัววัด และการใชเครื่องมือทางคณิตศาสตรเพื่อ<br />

การวิเคราะหขอมูลที่ไดเก็บรวบรวม<br />

• การแปลผลเปนการประเมินผลผลลัพธของตัววัดที่ได เพื่อใหเขาใจในคุณภาพ<br />

ของคุณลักษณะของซอฟตแวร ทีมงานคุณภาพควรมีแนวทางการแปลผล และ<br />

ขอเสนอแนะสําหรับแตละตัววัด<br />

• การยอนกลับเปนการใหขอเสนอแนะจากการแปลผลตัววัด แลวสงกลับไปยัง<br />

ทีมพัฒนาซอฟตแวร เพื่อดําเนินการปรับปรุงงาน หรือปรับตัววัดใหเหมาะสม<br />

ความสามารถเคลื่อนยาย<br />

ความสามารถนํากลับมาใชใหม<br />

การปรับเปลี่ยน<br />

ซอฟตแวร<br />

ความถูกตอง<br />

การทบทวน<br />

ซอฟตแวร<br />

ความสามารถในการใชงาน<br />

ความสามารถบํารุงรักษา<br />

ความยืดหยุน<br />

รูปที่ 7.10 ปจจัยในการพิจารณาคุณภาพภายนอกของซอฟตแวรของเม็คคอล (1977)<br />

(Pfleeger, 2001)<br />

7.8.3 ตัววัดคุณภาพซอฟตแวรของเม็คคอล<br />

เม็คคอล ไดเสนอปจจัยในการพิจารณาคุณภาพภายนอกของซอฟตแวรมี 3 กลุม 11<br />

ปจจัย ดังแสดงในรูปที่ 7.10 สวนความหมายของปจจัยภายแสดงในตารางที่ 7.6<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-29<br />

ตารางที่ 7.6 ความหมายของปจจัยวัดคุณภาพซอฟตแวร<br />

ปจจัย<br />

ความหมาย<br />

กลุมปจจัยคุณภาพดานการปฏิบัติงานของซอฟตแวร (product operation quality factors)<br />

• ความถูกตอง (correctness) ซอฟตแวรสอดคลองกับขอกําหนดมากนอยแคไหน ตรงกับวัตถุประสงคของลูกคา<br />

หรือไม<br />

• ความนาเชื่อถือ (reliability) ซอฟตแวรสามารถทํางานไดถูกตองตามที่คาดไวแคไหน สามารถใชงานได<br />

ตลอดเวลาหรือไม<br />

• ความสามารถในการใชงาน<br />

(usability)<br />

การเรียนรู การสั่งงาน การเตรียมขอมูลนําเขา และการแปลผลลัพธตองใชความ<br />

เพียรพยายาม (effort) มากนอยแคไหน<br />

• ประสิทธิภาพ (efficiency) ระดับปริมาณทรัพยากรที่ซอฟตแวรตองใชในการทํางาน<br />

• บูรณภาพ (integrity) ระดับความสามารถในการปองกันคนที่ไมมีสิทธิไมใหเขาถึงซอฟตแวรหรือขอมูล<br />

กลุมปจจัยคุณภาพดานการปรับเปลี่ยน (product transition quality factors)<br />

• ความสามารถเคลื่อนยาย ความพยายามที่ตองใชในการยายซอฟตแวรจากฮารดแวรหนึ่งไปยังฮารดแวรหนึ่ง<br />

(portability)<br />

หรือจากซอฟตแวรระบบหนึ่งไปยังซอฟตแวรระบบอีกระบบหนึ่ง<br />

• ความสามารถนํากลับมาใชใหม ระดับที่โปรแกรมสามารถนํากลับมาใชในระบบงานอื่น<br />

(reusability)<br />

• ความสามารถในการทํางาน ความพยายามที่ตองใชในการเชื่อมประสานกับระบบอื่น<br />

ระหวางระบบ (interoperability)<br />

กลุมปจจัยคุณภาพดานการทบทวน (product revision quality factors)<br />

• ความสามารถบํารุงรักษา ระดับความพยายามที่ตองใชในการแกไขขอผิดพลาดในซอฟตแวร<br />

(maintainability)<br />

• ความยืดหยุน (flexibility) ระดับความพยายามที่ตองใชในการดัดแปร หรือแกไขซอฟตแวร<br />

• ความสามารถทดสอบ<br />

(testability)<br />

ความพยายามที่ตองใชในการทดสอบโปรแกรม เพื่อใหแนใจวาซอฟตแวรทํางานได<br />

อยางถูกตองตามที่ลูกคาตองการ<br />

แตละปจจัยดังกลาวขางตนมีตัววัดสําหรับการวัดคุณภาพของปจจัยนั้นๆ ดังแสดงใน<br />

ตารางที่ 7.7 ซึ่งจะเห็นวาตัววัดตัวหนึ่งสามารถใชวัดปจจัยคุณภาพไดมากกวา 1 ปจจัย ความหมายของ<br />

ตัววัดแตละตัวแสดงในตารางที่ 7.8<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-30<br />

ตารางที่ 7.7 ปจจัยคุณภาพ 11 ปจจัย 23 ตัววัด<br />

ความสามารถตามรอย<br />

(traceability)<br />

ความสมบูรณ (completeness)<br />

ความถูกตอง<br />

<br />

<br />

ความนาเชื่อถือ<br />

ความสอดคลอง (consistency) <br />

ความแมนยํา (accuracy)<br />

ความทนทานตอขอผิดพลาด (error<br />

tolerance)<br />

ประสิทธิภาพการปฎิบัติงาน<br />

(execution efficiency)<br />

ประสิทธิภาพที่เก็บขอมูล (storage<br />

efficiency)<br />

การควบคุมการเขาถึง (access<br />

control)<br />

การตรวจสอบการเขาถึง (access<br />

audit)<br />

ความสามารถในการปฏิบัติ<br />

(operability)<br />

การอบรม (training)<br />

ความสามารถสื่อสาร<br />

(communicativeness)<br />

<br />

<br />

ความสามารถในการใชงาน<br />

<br />

<br />

<br />

ประสิทธิภาพ<br />

<br />

<br />

บูรณภาพ<br />

<br />

<br />

ความสามารถเคลื่อนยาย<br />

ความสามารถนํากลับมาใช<br />

ใหม<br />

ความสามารถในการทํางาน<br />

ระหวางระบบ<br />

ความงาย (simplicity) <br />

ความกระทัดรัด (conciseness)<br />

ความเปนเครื่องมือ<br />

(instrumentation)<br />

การอธิบายดวยตัวเอง (selfdescriptiveness)<br />

ความสามารถในการขยาย<br />

(expandability)<br />

ลักษณะทั่วไป (generality) <br />

ความสามารถบํารุงรักษา<br />

<br />

<br />

ความยืดหยุน<br />

<br />

ความสามารถทดสอบ<br />

<br />

<br />

สภาพมอดุลาร (modularity) <br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-31<br />

ความเปนอิสระจากระบบซอฟตแวร<br />

(software system independence)<br />

ความเปนอิสระจากเครื่องจักร<br />

(machine independence)<br />

การรวมกันของการสื่อสาร<br />

(communication commonality)<br />

การรวมกันของขอมูล (data<br />

commonality)<br />

ความถูกตอง<br />

ความนาเชื่อถือ<br />

ความสามารถในการใชงาน<br />

ประสิทธิภาพ<br />

บูรณภาพ<br />

ความสามารถเคลื่อนยาย<br />

<br />

<br />

ความสามารถนํากลับมาใช<br />

ใหม<br />

ความสามารถในการทํางาน<br />

ระหวางระบบ<br />

<br />

<br />

<br />

ความสามารถบํารุงรักษา<br />

ความยืดหยุน<br />

ความสามารถทดสอบ<br />

ตารางที่ 7.8 ความหมายของตัววัดคุณภาพซอฟตแวร<br />

ตัววัด<br />

ความหมาย<br />

ความสามารถตามรอย (traceability) ความสามารถในการตามรอยแบบ หรือสวนโปรแกรมกลับไปยังความ<br />

ตองการ<br />

ความสมบูรณ (completeness) ระดับที่ฟงกชันที่ตองการไดรับการดําเนินการครบถวน<br />

ความสอดคลอง (consistency) มีการใชเทคนิคการออกแบบ และเอกสารหลักฐานในรูปแบบเดียวกัน<br />

ทั้งโครงการ<br />

ความแมนยํา (accuracy)<br />

ความแมนยําของการคํานวณและการควบคุม<br />

ระดับการยอมรับขอผิดพลาด (error ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อซอฟตแวรประสบขอผิดพลาด<br />

tolerance)<br />

ประสิทธิภาพการปฎิบัติงาน (execution ประสิทธิภาพการใชเวลาในการทํางานของโปรแกรม<br />

efficiency)<br />

ประสิทธิภาพที่เก็บขอมูล (storage efficiency) ประสิทธิภาพการใชที่สําหรับจัดเก็บขอมูล<br />

การควบคุมการเขาถึง (access control) ความสามารถในการควบคุมผูไมมีสิทธิ์ไมใหเขาใชซอฟตแวรและขอมูล<br />

การตรวจสอบการเขาถึง (access audit) ความงายในการตรวจสอบความสอดคลองกับมาตรฐาน<br />

ความสามารถในการปฏิบัติ (operability) ความงายในการปฏิบัติการ<br />

การอบรม (training) ระดับที่ชวยใหผูใชใหมสามารถใชระบบ<br />

ความสามารถสื่อสาร (communicativeness) ระดับที่ผูใชสามารถเขาใจการทํางานของระบบ<br />

ความงาย (simplicity)<br />

ระดับความยาก-งายในการทําความเขาใจโปรแกรม<br />

ความกระทัดรัด (conciseness) ความกระชับของคําสั่งที่เขียนในโปรแกรม<br />

ความเปนเครื่องมือ (instrumentation) ระดับที่โปรแกรมติดตามการทํางานของตัวเองและชี้ขอผิดพลาดที่<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-32<br />

ตัววัด<br />

ความหมาย<br />

เกิดขึ้น<br />

การอธิบายดวยตัวเอง (self-descriptiveness) ระดับที่โปรแกรมเปนเอกสารที่มีความหมาย<br />

ความสามารถในการขยาย (expandability) ระดับที่แบบเชิงสถาปตยกรรม โครงสรางขอมูล หรือขั้นตอน สามารถ<br />

ขยายได<br />

ลักษณะทั่วไป (generality) สวนโปรแกรมสามารถประยุกตใชไดกวางแคไหน<br />

สภาพมอดุลาร (modularity)<br />

สวนโปรแกรมแยกอิสระตามฟงกชัน<br />

ความเปนอิสระของระบบซอฟตแวร (software<br />

system independence)<br />

ความเปนอิสระของเครื่องจักร (machine<br />

independence)<br />

การรวมกันของการสื่อสาร (communication<br />

commonality)<br />

ระดับที่เปนอิสระจากคุณลักษณะของภาษาการโปรแกรม ลักษณะ<br />

ระบบปฏิบัติการ หรือเงื่อนไขบังคับอื่นๆ ที่ไมใชมาตรฐาน<br />

ระดับที่ซอฟตแวรเปนอิสระจากเครื่องจักรที่มันตองทํางาน<br />

ระดับการใชมาตรฐานในการเชื่อมตออุปกรณ โปรโตคอล หรือความ<br />

กวางแถบความถี่ (bandwidth)<br />

การรวมกันของขอมูล (data commonality) การใชโครงสรางขอมูลและประเภทขอมูลที่เปนมาตรฐานทั้งซอฟตแวร<br />

เมื่อตองการหาคุณภาพของแตละปจจัย เราตองกําหนดสูตรตัววัดตางๆ ของแตละ<br />

ปจจัย พรอมน้ําหนักของแตละตัววัด หลังจากนั้นจึงนําคาตัววัดคูณกับน้ําหนัก ตัวอยางเชน<br />

F flexibility = a 1 * Complexity + a 2 * Concision + a 3 * Consistency + ….<br />

โดย a 1 , a 2 , a 3 , … คือ น้ําหนักของตัววัด<br />

7.9 ตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถแบบบูรณาการ<br />

ป 1988 สถาบันวิศวกรรมซอฟตแวร (SEI) ไดพัฒนาตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถสําหรับวัด<br />

องคการวามีระดับการพัฒนาซอฟตแวรระดับใดที่เรียกวา CMM (Capability Maturity Model) ซึ่งตัว<br />

แบบดังกลาวมีหลายตัวแบบ เชน ตัวแบบวุฒิภาวะความสามารถสําหรับซอฟตแวร (SW-CMM) ตัวแบบ<br />

วุฒิภาวะความสามารถสําหรับวิศวกรรมระบบ (system engineering CMM) เปนตน<br />

ตอมาในป ค.ศ. 2003 สถาบันวิศวกรรมซอฟตแวรไดพัฒนากระบวนการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อเปน<br />

แนวทางใหองคการบรรลุระดับวุฒิภาวะและความสามารถระดับตางๆ ที่เรียกวา CMMI (Capability<br />

Maturity Model Integration) CMMI มี 2 ตัวแบบคือ ตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอน (staged<br />

representation) และตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบตอเนื่อง (continuous representation) ทั้ง 2 ตัวแบบจะ<br />

ประกอบดวย กลุมกระบวนการ (process area) เปาหมายเฉพาะ วิธีปฏิบัติเฉพาะ (specific goals<br />

and practices) เปาหมายทั่วไปและวิธีปฏิบัติทั่วไป (general goals and practices) แตตัวแบบที่เปน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-33<br />

ตัวแทนแบบตอเนื่องจะเนนที่ความสามารถของกลุมกระบวนการ โดยวัดเปนระดับความสามารถ<br />

(capability level (CL)) ของกลุมกระบวนการแตละกลุม สวนตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอนเนนที่<br />

วุฒิภาวะองคการ โดยวัดเปนระดับวุฒิภาวะ (maturity level (ML)) ของกลุมกระบวนการหลายกลุม<br />

กระบวนการ โครงสรางโดยรวมของตัวแบบทั้งสองจะประกอบดวยสวนประกอบที่สําคัญคือ<br />

• กลุมกระบวนการ ประกอบดวยกลุมวิธีปฏิบัติที่สัมพันธกันในเรื่องที่เมื่อดําเนินการแลวทํา<br />

ใหเกิดการปรับปรุงในเรื่องนั้นอยางมีนัยสําคัญ ตัวแบบทั้งสองของ CMMI มีกลุม<br />

กระบวนการรวมกัน<br />

• เปาหมายเฉพาะ เปนเปาหมายที่ใชกับกลุมกระบวนการและกําหนดคุณลักษณะเฉพาะที่<br />

บรรยายถึงสิ่งที่ตองทําเพื่อตอบสนองกลุมกระบวนการนั้น<br />

• วิธีปฏิบัติเฉพาะ คือ กิจกรรมที่สําคัญเพื่อการบรรลุเปาหมายเฉพาะที่เกี่ยวของ<br />

• เปาหมายทั่วไป คือ เปาหมายเดียวกันที่ปรากฏในหลายกลุมกระบวนการ แตละกลุม<br />

กระบวนการมีเปาหมายทั่วไปเพียง 1 เปาหมาย<br />

• ลักษณะรวม มี 4 ลักษณะคือ<br />

• พันธกิจในการดําเนินงาน (commitment to perform (CO))<br />

• ความสามารถในการดําเนินงาน (ability to perform (AB))<br />

• การกํากับการนําไปใชจริง (directing implementation (DI))<br />

• การทวนสอบการดําเนินการ (verification implementation (VE))<br />

• วิธีปฏิบัติทั่วไป เปนวิธีปฏิบัติที่เปนสวนหนึ่งขององคการเพื่อใหแนใจวา กระบวน การที่<br />

เกี่ยวของกับกลุมกระบวนการจะมีประสิทธิผล สามารถนํามาทําซ้ํา และคงอยู วิธีปฏิบัติ<br />

จัดตามเปาหมายทั่วไป และลักษณะรวม<br />

7.9.1 ตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอน<br />

เปนตัวแบบที่เสนอวิธีการอยางเปนระบบและมีโครงสรางเพื่อปรับปรุงกระบวนครั้งละ<br />

ขั้น การบรรลุแตละขั้นจะเปนฐานสําหรับขั้นตอไป ตัวแทนแบบขั้นตอนกําหนดลําดับการทํากลุม<br />

กระบวนการตามระดับวุฒิภาวะจากระดับเริ่มตนจนถึงระดับที่ดีที่สุด<br />

ตัวแบบนี้ประกอบดวยวิธีปฏิบัติทั่วไปและวิธีปฏิบัติเฉพาะที่สัมพันธกันสําหรับชุดกลุม<br />

กระบวนการที่ไดกําหนดไวแลวเพื่อปรับปรุงการดําเนินงานโดยรวมขององคการ โครงสรางโดยรวมของ<br />

ตัวแบบนี้แสดงในรูปที่ 7.11 ระดับวุฒิภาวะขององคการนี้เปนวิธีทํานายการดําเนินงานขององคการ<br />

ภายใตระเบียบวินัยที่กําหนด จากประสบการณจากหลายๆ องคการแสดงใหเห็นวา องคการทํางานไดดี<br />

ที่สุดเมื่อองคการใชความพยายามในการปรับปรุงกระบวนการแตละครั้งไปที่จํานวนกลุมกระบวนการที่<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-34<br />

สามารถบริหารจัดการได ตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอน CMMI มีระดับวุฒิภาวะ 5 ระดับ ดังแสดง<br />

ในรูปที่ 7.12<br />

ระดับวุฒิภาวะ<br />

กลุมกระบวนการ 1 กลุมกระบวนการ 2 กลุมกระบวนการ n<br />

เปาหมายเฉพาะ เปาหมายทั่วไป<br />

ลักษณะรวม<br />

วิธีปฏิบัติเฉพาะ<br />

พันธกิจในการ<br />

ดําเนินงาน<br />

ความสามารถใน<br />

การดําเนินงาน<br />

การกํากับการ<br />

นําไปใชจริง<br />

การตรวจสอบการ<br />

ดําเนินการ<br />

วิธีปฏิบัติทั่วไป<br />

5<br />

4<br />

3<br />

2<br />

1<br />

รูปที่ 7.11 โครงสรางโดยรวมของตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอน<br />

(Chrissis, et.al. 2007)<br />

เนนที่การปรับปรุงกระบวนการอยางตอเนื่อง<br />

กระบวนการถูกวัดและควบคุม<br />

กระบวนการไดถูกจัดสําหรับองคการ,<br />

และเปนปฏิบัติการเชิงรุก<br />

กระบวนการไดถูกจัดสําหรับโครงการ,<br />

และมักเปนการตอบสนองเหตุการณ<br />

กระบวนการไมสามารถคาดการณได,<br />

ควบคุมไมเพียงพอ<br />

และเปนการตอบสนองเหตุการณ<br />

เริ่มตน<br />

จัดการ<br />

นิยาม<br />

จัดการเชิง<br />

ปริมาณ<br />

ดีที่สุด<br />

รูปที่ 7.12 ระดับวุฒิภาวะของตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบขั้นตอน (Ahern, et.al, 2004)<br />

วุฒิภาวะระดับ 1: ระดับเริ่มแรก (initial level)<br />

เปนระดับที่กระบวนการเปนกระบวนการเฉพาะกิจ และสับสน ไมสามารถคาดการณ<br />

กระบวนการได ขาดการควบคุม โดยปกติ องคการไมจัดหาสภาวะแวดลอมที่คงที่ ความสําเร็จของ<br />

องคการประเภทนี้ขึ้นกับความสามารถและความเกงของคนในองคการ และไมใชการใชกระบวนการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-35<br />

นอกจากความสับสนแลว องคการผลิตผลิตภัณฑและบริการที่ทํางานได แตการผลิตนั้นจะเกิน<br />

งบประมาณและไมตรงกับระยะเวลาของโครงการ<br />

วุฒิภาวะระดับ 1 นั้น องคการสัญญาเกินจริง การยกเลิกกระบวนการในเวลาวิกฤติ และไม<br />

สามารถทําความสําเร็จซ้ําไดอีก<br />

วุฒิภาวะระดับ 2: ระดับจัดการ (managed level)<br />

วุฒิภาวะระดับ 2 นี้ กระบวนการของโครงการไดถูกวางแผนและทําตามนโยบายของ<br />

องคการ โครงการใชคนที่มีทักษะที่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะสรางผลลัพธ และผูมีสวนไดเสียที่เกี่ยวของ<br />

โครงการไดรับการติดตาม ควบคุมและทบทวน และประเมิน เมื่อโครงการกําหนดวิธีปฏิบัติของ<br />

กระบวนการเหลานี้ โครงการดําเนินการและจัดการตามแผนที่ไดบันทึกไว ระเบียบวินัยกระบวนการที่<br />

สะทอนในวุฒิภาวะระดับสองชวยใหแนใจวาวิธีปฏิบัติที่มีอยูจะยังคงอยูในชวงเวลาที่ตรึงเครียด<br />

ณ ระดับนี้ ผูบริหารสามารถเห็นหรือทราบสถานภาพของผลของงาน และการใหบริการตาม<br />

แผนที่กําหนด พันธกิจที่ถูกกําหนดโดยผูมีสวนไดเสียที่เกี่ยวของจะไดรับการทบทวนตามความจําเปน<br />

ผลของงานไดรับการทบทวนกับผูมีสวนไดเสีย และไดรับการควบคุมอยางเหมาะสม งานและบริการ<br />

ตอบสนองรายละเอียดของกระบวนการ มาตรฐานและขั้นตอนที่ไดกําหนด<br />

วุฒิภาวะระดับ 3: ระดับนิยาม (defined level)<br />

กระบวนการมีลักษณะที่ชัดเจนและเขาใจได กระบวนการมีรายละเอียดตามมาตรฐาน<br />

ขั้นตอน และวิธีการ องคการกําหนดชุดกระบวนการมาตรฐาน และปรับปรุงตลอดมา กระบวนการ<br />

มาตรฐานใชสรางความสอดคลองทั้งองคการ โครงการกําหนดกระบวนการของโครงการเอง โดยแกไข<br />

จากกระบวนการมาตรฐานขององคการตามแนวทางการแกไขที่องคการไดกําหนด<br />

ความแตกตางระหวางวุฒิภาวะระดับที่ 2 และ 3 คือ ขอบเขตของมาตรฐาน คําอธิบาย<br />

กระบวนการ และขั้นตอน สําหรับวุฒิภาวะระดับ 2 นั้น มาตรฐาน คําอธิบายกระบวนการ และขั้นตอน<br />

อาจแตกตางกันในแตละโครงการ แตวุฒิภาวะระดับ 3 มาตรฐาน คําอธิบายกระบวนการ และขั้นตอน<br />

จะถูกตบแตงจากกระบวนการมาตรฐานขององคการ เพื่อใหเหมาะกับโครงการนั้นๆ ผลลัพธที่ไดคือ<br />

กระบวนการที่ดําเนินการทั่วทั้งองคการสอดคลองกันมากขึ้น ยกเวนสวนที่แตกตางกันไดตามที่อนุญาต<br />

ในแนวทางการแกไข นอกจากนี้กระบวนการของระดับ 3 ไดอธิบายรายละเอียดและเขมงวดมากกวา<br />

กระบวนการของระดับ 2 กระบวนการในระดับ 3 กลาวชัดเจนถึงวัตถุประสงค ขอมูลนําเขา เงื่อนไขการ<br />

เขา กิจกรรม บทบาท มาตรวัด ขั้นตอนการทวนสอบ ผลลัพธ และเงื่อนไขการออก ระดับนี้ กระบวนการ<br />

ไดรับการบริหารเชิงรุกโดยการใชความเขาใจความสัมพันธของกิจกรรมกระบวนการและมาตรวัดที่<br />

ละเอียดของกระบวนการ ผลงานของกระบวนการและบริการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-36<br />

วุฒิภาวะระดับ 4: ระดับจัดการเชิงปริมาณ (quantitatively managed level)<br />

องคการกําหนดวัตถุประสงคเชิงปริมาณสําหรับคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการ<br />

และใชมันเปนเงื่อนไขในการบริหารกระบวนการ วัตถุประสงคเชิงปริมาณถูกกําหนดตามความตองการ<br />

ของลูกคา ผูใชสุดทาย องคการ และผูดําเนินการทํากระบวนการ คุณภาพและประสิทธิภาพกระบวนการ<br />

ถูกบริหารโดยสถิติและถูกจัดการตลอดชีวิตของกระบวนการ<br />

สําหรับกระบวนการยอยจะมีมาตรวัดประสิทธิภาพของกระบวนการที่ละเอียด และจะถูก<br />

รวบรวมและวิเคราะหเชิงสถิติ มาตรวัดคุณภาพและประสิทธิภาพจะรวมอยูในคลังมาตรวัดขององคการ<br />

เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจตามขอเท็จจริง พรอมทั้งระบุสาเหตุเฉพาะที่ทําใหกระบวนการมีความ<br />

แปรปรวน ตนตอของสาเหตุนี้จะไดรับการแกไขเพื่อปองกันการเกิดความแปรปรวนในอนาคต<br />

ความแตกตางระหวางวุฒิภาวะระดับที่ 3 และ 4 คือ ความสามารถทํานายประสิทธิภาพ<br />

ของกระบวนการ สําหรับวุฒิภาวะระดับที่ 4 นั้น ประสิทธิภาพกระบวนการถูกควบคุมดวยเทคนิคทาง<br />

สถิติ และเทคนิคเชิงปริมาณอื่นๆ และสามารถทํานายอยางเชิงปริมาณได สวนระดับที่ 3 กระบวนการ<br />

สามารถทํานายไดเฉพาะเชิงคุณภาพ<br />

วุฒิภาวะระดับ 5: ระดับดีที่สุด (optimizing)<br />

องคการปรับปรุงกระบวนการอยางตอเนื่องตามสาเหตุของความแปรปรวนที่ซอนใน<br />

กระบวนการ โดยการทํานวัตกรรมกระบวนการและการปรับปรุงเชิงเทคโนโลยี องคการกําหนด<br />

วัตถุประสงคของการปรับปรุงกระบวนการเชิงปริมาณ ทบทวนอยางตอเนื่องเพื่อสะทอนการ<br />

เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงคทางธุรกิจ และใชเปนเกณฑในการจัดการการปรับปรุงกระบวนการ มีการ<br />

วัดผลกระทบของการปรับปรุงกระบวนการ และทําการประเมินเทียบกับวัตถุประสงคการปรับปรุง<br />

กระบวนการตามที่ไดกําหนดไว<br />

ความแตกตางระหวางวุฒิภาวะระดับที่ 4 และ 5 คือ ประเภทความแปรปรวน ณ วุฒิภาวะ<br />

ระดับ 4 องคการจะตระหนักถึงการกําหนดสาเหตุเฉพาะของความแปรปรวนของกระบวนการ และ<br />

ความสามารถทํานายผลเชิงสถิติ ถึงแมวากระบวนการอาจใหผลลัพธที่สามารถคาดการณได แตผลที่ได<br />

นั้นอาจไมเพียงพอที่จะบรรลุวัตถุประสงคที่ไดกําหนดไว สวนระดับที่ 5 นั้น กระบวนการจะไดรับการ<br />

สนใจเกี่ยวกับสาเหตุรวมของการแปรปรวนของกระบวนการ และการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเพื่อทําให<br />

ประสิทธิภาพของกระบวนการดีขึ้น (นั่นคือ การยายคาเฉลี่ยของประสิทธิภาพของกระบวนการใหสูงขึ้น<br />

หรือลดความแปรปรวน)<br />

ตัวแบบที่ตัวแทนเปนแบบขั้นตอนมีกลุมกระบวนการทั้งหมด 25 กลุม ดังแสดงในตารางที่<br />

7.9<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-37<br />

ตารางที่ 7.9 กลุมกระบวนการของตัวแบบที่ตัวแทนเปนแบบขั้นตอน<br />

ระดับ CMMI กลุมกระบวนการ<br />

ระดับจัดการ การจัดการความตองการ (requirements management)<br />

การวางแผนโครงการ (project planning)<br />

การติดตามและควบคุมโครงการ (project monitoring and control)<br />

การบริหารขอตกลงกับผูขาย (supplier agreement management)<br />

การวัดและการวิเคราะห (measurement and analysis)<br />

การประกันคุณภาพผลิตภัณฑและกระบวนการ (process and product quality assurance)<br />

การจัดการคอนฟกรูเรชัน (configuration management)<br />

ระดับนิยาม การพัฒนาความตองการ (requirements development)<br />

คําตอบเชิงเทคนิค (technical solution)<br />

การบูรณาการผลิตภัณฑ (product integration)<br />

การทวนสอบ (verification)<br />

การตรวจสอบวาใชการได (validation)<br />

การมุงเฉพาะสวนกระบวนการเชิงองคการ (organizational process focus)<br />

การนิยามกระบวนการเชิงองคการ (organizational process definition)<br />

การอบรมเชิงองคการ (organizational training)<br />

การจัดการโครงการแบบบูรณาการ (integrated project management)<br />

การจัดการความเสี่ยง (risk management)<br />

การทําทีมแบบบูรณาการ (integrated teaming)<br />

การจัดการผูขายแบบบูรณาการ (integrated supplier management)<br />

การวิเคราะหการตัดสินใจ และการแกไข (decision analysis and resolution)<br />

สภาพแวดลอมเชิงองคการสําหรับการบูรณาการ (organizational environment for<br />

integration)<br />

ระดับจัดการเชิง กระบวนการเชิงองคการสําหรับการดําเนินงาน (organizational process for performance)<br />

ปริมาณ<br />

การบริหารโครงการเชิงปริมาณ (quantitative project management)<br />

ระดับดีที่สุด นวัตกรรมเชิงองคการ และการเตรียมพรอม (organizational innovation and deployment)<br />

การวิเคราะหเชิงเหตุผลและการแกไข (casual analysis and resolution)<br />

7.9.2 ตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบตอเนื่อง<br />

ตัวแบบนี้ยอมใหองคการเลือกวาจะใชความพยายามในการปรับปรุงกลุมกระบวนการ<br />

ใดที่ดีที่สุดสําหรับองคการ กลุมกระบวนการแบงออกเปน 4 หมวด คือ การบริหารกระบวนการ การ<br />

บริหารโครงการ การวิศวกรรม และการสนับสนุน เมื่อเลือกกลุมกระบวนการแลว องคการตองเลือก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-38<br />

ระดับความสามารถที่ตองการ เชน องคการอาจตองการใหกลุมกระบวนการหนึ่งบรรลุระดับ<br />

ความสามารถระดับที่ 2 ขณะที่อีกกลุมกระบวนการหนึ่ง องคการตองการใหบรรลุระดับความสามารถ<br />

ระดับที่ 4<br />

รูปที่ 7.13 โครงสรางโดยรวมของตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบตอเนื่อง<br />

(Chrissis, et.al., 2007)<br />

ระดับความสามารถประกอบดวยเปาหมายทั่วไปและวิธีปฏิบัติทั่วไปที่สัมพันธกัน ซึ่ง<br />

สามารถปรับปรุงกระบวนการขององคการที่เกี่ยวของกับกลุมกระบวนการ กลุมกระบวนการมีวิธีปฏิบัติที่<br />

ไดจัดในลักษณะที่สนับสนุนการเติบโตและการปรับปรุงของกลุมกระบวนการแตละกลุม วิธีปฏิบัติทั่วไป<br />

จัดเปนกลุมเรียกวาระดับความสามารถดังแสดงในรูปที่ 7.13 ตัวแบบนี้ประกอบดวยระดับความสามารถ<br />

6 ระดับ ดังแสดงในรูปที่ 7.14 แตละระดับมีความหมายดังนี้<br />

รูปที่ 7.14 ระดับความสามารถของตัวแบบที่เปนตัวแทนแบบตอเนื่อง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-39<br />

ความสามารถระดับ 0: ระดับไมสมบูรณ (incomplete level)<br />

กระบวนการที่ไมสมบูรณคือ กระบวนการที่ไมไดดําเนินการ หรือไมไดดําเนินการบางสวน<br />

เปาหมายเฉพาะของกลุมกระบวนการอยางนอยหนึ่งเปาหมายไมไดรับการตอบสนอง และสําหรับระดับ<br />

นี้ไมมีเปาหมายทั่วไปเพราะไมมีเหตุผลที่จะจัดใหมีกระบวนการที่ดําเนินการบางสวน<br />

ความสามารถระดับ 1: ระดับดําเนินการ (performed level)<br />

กระบวนที่ไดรับการดําเนินการคือ กระบวนการที่ตอบสนองเปาหมายเฉพาะทั้งหมดของ<br />

กลุมกระบวนการ กระบวนการที่ไดรับการดําเนินการจะสนับสนุนและทําใหงานที่จําเปนเพื่อผลิตงานที่<br />

ไดกําหนดไว<br />

ถึงแมวา ระดับความสามารถระดับนี้มีผลใหมีการปรับปรุงอยางมาก การปรับปรุงนั้นอาจ<br />

สูญหายตามกาลเวลา ถาไมไดเปนการดําเนินงานที่เปนสวนหนึ่งของการดําเนินการขององคการ การทํา<br />

ใหเปนงานขององคการชวยใหแนใจวาการปรับปรุงจะไดรับการบํารุงรักษา<br />

ความสามารถระดับ 2: ระดับจัดการ (managed level)<br />

กระบวนการที่ไดรับการจัดการคือ กระบวนการที่ไดรับการดําเนินการโดยองคการมี<br />

โครงสรางพื้นฐานระดับพื้นฐานสําหรับสนับสนุนกระบวนการ กระบวนการไดรับการวางแผนและทําตาม<br />

นโยบายขององคการ ใชคนที่มีทักษะผูซึ่งมีทรัพยากรพอเพียงเพื่อผลิตสิ่งที่กําหนด มีผูมีสวนไดเสียเขา<br />

รวมในกระบวนการ งานและผลของงานถูกติดตาม ควบคุมและทบทวน และถูกประเมินตาม<br />

รายละเอียดของกระบวนการ<br />

ความแตกตางระหวางความสามารถระดับ 1 กับระดับ 2 คือ กระบวนการที่ไดรับการ<br />

จัดการนั้นอยูในแผน และประสิทธิภาพของกระบวนการถูกจัดการตามแผน การแกไขทําเมื่อผลไดที่<br />

แทจริงและประสิทธิภาพตางจากแผนอยางมีนัยสําคัญ กระบวนการระดับ 2 นี้ บรรลุวัตถุประสงคของ<br />

แผนและทําใหกระบวนการเปนงานสวนหนึ่งขององคการ ระเบียบวินัยของกระบวนการในระดับนี้ชวยให<br />

องคการแนใจวาวิธีปฏิบัติที่มีอยูจะยังคงอยูในชวงเวลาที่ตึงเครียด<br />

ความสามารถระดับ 3: ระดับนิยาม (defined level)<br />

กระบวนการที่ไดรับการนิยามคือ กระบวนการที่ไดรับการจัดการ (ระดับความสามารถ<br />

ระดับที่ 2) ที่ไดรับการตบแตงจากกระบวนการมาตรฐานขององคการตามแนวทางการแกไขที่องคการ<br />

กําหนดใหเหมาะกับโครงการ<br />

ความแตกตางระหวางกระบวนการที่ไดรับการจัดการกับกระบวนการที่ไดรับการนิยาม คือ<br />

ขอบเขตของมาตรฐาน รายละเอียดกระบวนการ และขั้นตอน สําหรับกระบวนการที่ไดรับการจัดการนั้น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-40<br />

คําอธิบาย มาตรฐาน และขั้นตอนของกระบวนการที่ใชกับโครงการเฉพาะโครงการหนึ่งอาจแตกตางกัน<br />

จากโครงการอื่น สวนระดับที่ 3 นั้น มาตรฐาน รายละเอียด และขั้นตอนสําหรับโครงการไดรับการตบ<br />

แตงจากกระบวนการมาตรฐานขององคการใหเขากับโครงการนั้นๆ ดังนั้น กระบวนการจึงมีความ<br />

สอดคลองกันมากขึ้น<br />

ความแตกตางที่สําคัญอีกประการคือ กระบวนการของความสามารถระดับที่ 3 มีการ<br />

อธิบายอยางหนักแนนกวากระบวนการของความสามารถระดับที่ 2 กระบวนการที่ไดรับการนิยามมีการ<br />

กลาวชัดเจนในเรื่องของวัตถุประสงค ขอมูลนําเขา เงื่อนไขการเขา กิจกรรม บทบาท มาตรวัด ขั้นตอน<br />

การทวนสอบ ผลลัพธ และเงื่อนไขการออก กระบวนการไดรับการจัดการแบบเชิงรุกมากกวาโดยการใช<br />

ความเขาใจความสัมพันธของกิจกรรมกระบวนการ และมาตรวัดของกระบวนการ<br />

ความสามารถระดับ 4: ระดับจัดการเชิงปริมาณ (quantitatively managed)<br />

กระบวนการที่ไดรับการจัดการเชิงปริมาณคือ กระบวนการที่ไดรับการนิยามที่ถูกควบคุม<br />

โดยการใชเทคนิคเชิงสถิติและเชิงปริมาณอื่นๆ มีการกําหนดวัตถุประสงคเชิงปริมาณสําหรับคุณภาพ<br />

และประสิทธิภาพของกระบวนการ และถูกใชเปนเกณฑในการจัดการกระบวนการ มีการใชสถิติเพื่อให<br />

เขาใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการนั้น<br />

ความสามารถระดับ 5: ระดับที่ดีที่สุด (optimizing)<br />

กระบวนการที่ดีที่สุดคือ กระบวนการที่ไดรับการจัดการเชิงปริมาณที่ไดรับการปรับปรุงตาม<br />

ความเขาใจในสาเหตุของความแปรปรวนที่ซอนอยูในกระบวนการ จุดเนนของกระบวนการที่ดีที่สุดคือ<br />

การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการอยางตอเนื่อง<br />

ตัวแบบที่ตัวแทนเปนแบบตอเนื่องมีกลุมกระบวนการทั้งหมด 25 กลุม ซึ่งสามารถจัดได 4<br />

หมวด ดังแสดงในตารางที่ 7.10 กลุมกระบวนการนี้จําแนกออกตามหมวดดังนี้<br />

ตารางที่ 7.10 หมวดและกลุมกระบวนการของตัวแบบที่ตัวแทนเปนแบบตอเนื่อง<br />

หมวดกระบวนการ กลุมกระบวนการ<br />

การจัดการกระบวนการ (process<br />

management)<br />

การมุงเฉพาะสวนของกระบวนการเชิงองคการ (organizational process<br />

focus)<br />

การนิยามกระบวนการเชิงองคการ (organizational process definition)<br />

การอบรมเชิงองคการ (organizational training)<br />

กระบวนการเชิงองคการสําหรับการดําเนินงาน (organizational process for<br />

performance)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-41<br />

หมวดกระบวนการ กลุมกระบวนการ<br />

นวัตกรรมเชิงองคการ และการเตรียมพรอม (organizational innovation and<br />

deployment)<br />

การจัดการโครงการ (project<br />

management)<br />

การวิศวกรรม (engineering)<br />

การสนับสนุน (support)<br />

การวางแผนโครงการ (project planning)<br />

การควบคุมและติดตามโครงการ (project monitoring and control)<br />

การบริหารขอตกลงกับผูขาย (supplier agreement management)<br />

การจัดการโครงการแบบบูรณาการ (integrated project management)<br />

การจัดการความเสี่ยง (risk management)<br />

การทําทีมแบบบูรณาการ (integrated teaming)<br />

การจัดการผูขายแบบบูรณาการ (integrated supplier management)<br />

การบริหารโครงการเชิงปริมาณ (quantitative project management)<br />

การพัฒนาความตองการ (requirements development)<br />

การจัดการความตองการ (requirements management)<br />

คําตอบเชิงเทคนิค (technical solution)<br />

การบูรณาการผลิตภัณฑ (product integration)<br />

การทวนสอบ (verification)<br />

การตรวจสอบวาใชการได (validation)<br />

การจัดการคอนฟกรูเรชัน (configuration management)<br />

การประกันคุณภาพผลิตภัณฑและกระบวนการ (process and product<br />

quality assurance)<br />

การวัดและการวิเคราะห (measurement and analysis)<br />

สภาพแวดลอมเชิงองคการสําหรับการบูรณาการ (organizational<br />

environment for integration)<br />

การวิเคราะหการตัดสินใจ และการแกไข (decision analysis and resolution)<br />

การวิเคราะหเชิงเหตุผลและการแกไข (casual analysis and resolution)<br />

7.10 การปรับปรุงคุณภาพโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ในสวนนี้เสนอคําแนะนําสําหรับการวางแผนคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการควบคุม<br />

คุณภาพ ประเด็นที่ควรนํามาพิจารณาสําหรับการปรับปรุงคุณภาพของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมี<br />

ดังนี้<br />

• ความเปนผูนํา ผูบริหารตองประกาศปรัชญาและยอมรับเรื่องคุณภาพของสินคาและ<br />

บริการของบริษัทอยางเปนทางการ ทําโปรแกรมอบรมพนักงานทั้งองคการในเรื่อง<br />

ความคิดและหลักการของคุณภาพ ทําใหโปรแกรมการวัดเกิดขึ้นเพื่อใชติดตามระดับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-42<br />

คุณภาพ และแสดงออกถึงความสําคัญของคุณภาพ เมื่อพนักงานทุกคนเขาใจและ<br />

ยืนยันการผลิตผลิตภัณฑที่มีคุณภาพสูง แสดงวาผูบริหารไดสงเสริมความสําคัญของ<br />

คุณภาพ<br />

• ตนทุนของคุณภาพ คือ คาใชจายที่ทําใหผลิตภัณฑและบริการสอดคลองกับความ<br />

ตองการ และเหมาะสมกับการใชงาน ซึ่งประกอบคาใชจาย 4 กลุมคือ<br />

• คาใชจายในการปองกันเปนคาใชจายในการวางแผน และทํางานตามโครงการเพื่อ<br />

ไมใหเกิดขอบกพรอง หรือมีขอบกพรองในระดับที่ยอมรับได ตัวอยางกิจกรรมการ<br />

ปองกัน เชน การอบรม การศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวกับคุณภาพ การสํารวจ<br />

คุณภาพของผูขาย<br />

• คาใชจายในการประเมินเปนคาใชจายของการประเมินกระบวนการและผลลัพธ<br />

เพื่อใหแนใจวาไมมีขอบกพรอง หรือมีขอบกพรองในชวงที่สามารถยอมรับได<br />

กิจกรรมที่เกี่ยวกับการประเมิน เชน การตรวจตราและการทดสอบผลิตภัณฑ การ<br />

บํารุงรักษา ตรวจตราและทดสอบอุปกรณ และการประมวลขอมูลและการออก<br />

รายงาน<br />

• คาใชจายที่เกิดจากการลมเหลวภายในคือ คาใชจายเพื่อแกไข และชี้ขอผิดพลาด<br />

กอนที่ลูกคาไดรับผลิตภัณฑ กิจกรรมที่จัดอยูในคาใชจายกลุมนี้ เชน ทํางานใหม<br />

คาธรรมเนียมการจายบิลชา คาใชจายคลังสินคาอันเนื่องจากขอบกพรอง<br />

คาใชจายในการแกไขการออกแบบ เปนตน<br />

• คาใชจายที่เกิดจากการลมเหลวภายนอกคือ คาใชจายที่เกี่ยวกับขอผิดพลาด<br />

ทั้งหมดที่ไมถูกพบและแกไขกอนสงใหกับลูกคา เชน คารับประกัน คาอบรม<br />

พนักงานบริการภาคสนาม คาการจัดการกับคํารองเรียน ความสูญเสียทางธุรกิจ<br />

เปนตน<br />

• อิทธิพลเชิงองคการ ปจจัยสถานที่ทํางาน และคุณภาพ จากการศึกษาของเดแมคโคร<br />

และลิสเตอรพบวาประเด็นเชิงองคการมีอิทธิพลตอประสิทธิภาพมากกวาสภาวะ<br />

แวดลอมเชิงเทคนิค หรือภาษาการโปรแกรม การจัดสถานที่ทํางาน และสภาวะ<br />

แวดลอมการทํางานที่เงียบเปนปจจัยสําคัญตอการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทั้งสองจึง<br />

เสนอแนะผูบริหารวาตองมุงเนนที่ปจจัยสถานที่ทํางานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และ<br />

คุณภาพ เขายังกลาวอีกวาปญหาประสิทธิภาพการทํางานและการลมเหลวของ<br />

โครงการไมใชปญหาเชิงเทคนิค แตเปนปญหาเชิงสังคม บริษัทควรลดการเมืองในที่<br />

ทํางาน และใหสถานที่ทํางานแกคนที่เกง ใหความรับผิดชอบทางดานปญญา และให<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-43<br />

ทิศทางเชิงกลยุทธ หลังจากนั้นปลอยใหคนเหลานี้ทํางาน งานของผูจัดการคือ ทําความ<br />

เปนไปไดสําหรับคนเพื่อทํางานโดยการขจัดสิ่งกีดขวางเชิงการเมือง<br />

• ความคาดหวังและความแตกตางทางวัฒนธรรมกับคุณภาพ ผูจัดการโครงการที่มี<br />

ประสบการณทราบดีวาประเด็นที่สําคัญของการบริหารคุณภาพโครงการคือ การ<br />

จัดการความคาดหวัง ผูมีสวนเกี่ยวของแตละคนมีความคาดหวังที่แตกตางกัน มันจึง<br />

เปนสิ่งสําคัญมากที่ตองเขาใจความคาดหวังของคนเหลานี้ และบริหารความขัดแยงที่<br />

อาจเกิดจากความคาดหวังที่แตกตางกันนี้ เชน ลูกคาหลายคนรูสึกเซ็ง เมื่อไมสามารถ<br />

เขาถึงสารสนเทศไดภายใน 2-3 วินาที ในอดีต ชวงเวลาดังกลาวยอมรับได แตผูใช<br />

ปจจุบันคาดหวังวาระบบทํางานไดเร็วกวา ความคาดหวังแตกตางกันตามวัฒนธรรม<br />

องคการ หรือภาคทางภูมิศาสตร ใครที ่เดินทางไปยังสวนตางๆ ขององคการมีความ<br />

คาดหวังที่ไมเหมือนกับคนที่อยูที่เดียวตลอดเวลา<br />

7.11 สรุป<br />

แนวความคิดเกี่ยวกับคุณภาพคือ การตอบสนองความตองการที่ไดระบุไวของผูมีสวนไดเสีย<br />

ความสอดคลองกับความตองการ และการสงมอบสิ่งที่เหมาะกับการใชประโยชน<br />

การบริหารคุณภาพโครงการประกอบดวยการวางแผนคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการ<br />

ควบคุมคุณภาพ การวางแผนคุณภาพกําหนดมาตรฐานคุณภาพที่เกี่ยวของกับโครงการ และทําอยางไร<br />

จึงจะไดคุณภาพตามที่กําหนด การประกันคุณภาพเกี่ยวของกับการประเมินผลการดําเนินงานใน<br />

ภาพรวมของโครงการเพื่อใหแนใจวาโครงการจะทํางานใหมีคุณภาพตามมาตรฐาน การควบคุมคุณภาพ<br />

เปนการติดตามผลของโครงการเพื่อใหแนใจวาผลนั้นตรงตามมาตรฐานคุณภาพ และการกําหนดวิธีเพื่อ<br />

ปรับปรุงคุณภาพโดยรวม<br />

มีเทคนิคและเครื่องมือหลากหลายที่เกี่ยวของกับการบริหารคุณภาพโครงการ ผังกางปลาชวย<br />

คนหารากสาเหตุของปญหา ผังพาเรโตชวยกําหนดสิ่งที่มีสวนรวมที่สําคัญที่รับผิดชอบปญหาคุณภาพ<br />

มากที่สุด การสุมตัวอยางเชิงสถิติชวยกําหนดตัวเลขที่สอดคลองกับความจริงเพื่อการวิเคราะหประชากร<br />

ซิกสซิกมาชวยบริษัทปรับปรุงคุณภาพโดยการลดความบกพรอง ความเบี่ยงเบนมาตรฐานวัดความ<br />

แปรปรวนในขอมูล ผังการควบคุมแสดงขอมูลเพื่อชวยรักษาใหกระบวนการอยูในการควบคุม การ<br />

ทดสอบเปนเทคนิคที่สําคัญในการพัฒนาและการสงผลิตภัณฑเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง<br />

มีคนหลายๆ คนมีสวนรวมในการพัฒนาการบริหารคุณภาพที่ทันสมัย คนเหลานี้ไดแก เดมมิง<br />

จูราน ครอสบี้ และอิชิคาวา เปนตน ทุกวันนี้ หลายๆ องคการใชแนวความคิดของคนเหลานี้ ซึ่งมีอิทธิผล<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารคุณภาพโครงการ หนา 7-44<br />

ตอหลักการซิกสซิกมา และไอเอสโอ9000:2000 ชวยองคการเนนถึงความสําคัญของการปรับปรุง<br />

คุณภาพ<br />

การปรับปรุงคุณภาพของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีชองทางอีกมาก ความเปนผูนําที่<br />

เขมแข็งชวยเนนความสําคัญของคุณภาพ การเขาใจตนทุนของคุณภาพชวยสงเสริมการปรับปรุง<br />

คุณภาพ การจัดสถานที่ทํางานที่ดีสามารถปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ ความเขาใจความ<br />

คาดหวังและความแตกตางดานวัฒนธรรมสัมพันธกับการบริหารคุณภาพโครงการ การพัฒนาและทํา<br />

ตามตัวแบบวุฒิภาวะสามารถชวยองคการปรับปรุงกระบวนการบริหารโครงการอยางเปนระบบ เพื่อเพิ่ม<br />

คุณภาพและอัตราความสําเร็จของโครงการ<br />

คําถามทายบท<br />

1. อธิบายกระบวนการหลักการบริหารคุณภาพโครงการ<br />

2. ฟงกชันงาน ผลลัพธของระบบ ประสิทธิภาพ ความนาเชื่อถือ และความตองการบํารุงรักษา<br />

ระบบมีผลกระทบตอการวางแผนคุณภาพอยางไร<br />

3. จงอธิบายคุณภาพของซอฟตแวรของเม็คคอล<br />

4. ปญหาที่เกิดขึ้นจากการใชตัววัดมาประเมินคุณภาพของโครงการและผลงาน<br />

5. วิจารณการประยุกตใชวิธีการบริหารคุณภาพของของผูรู เชน เดมมิง จูราน อิชิคาวา และครอส<br />

บี กับโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

6. เพราะเหตุใด CMMI จึงทําใหซอฟตแวรมีคุณภาพ<br />

7. ประโยชนของตัววัดที่มีตอการบริหารโครงการ<br />

8. คาใชจายเกี่ยวกับคุณภาพมีอะไรบาง พรอมทั้งอธิบายและยกตัวอยาง<br />

9. ทานมีความคิดเห็นอยางไรกับขอเสนอแนะของผูรูดานคุณภาพวา ทีมงานโครงการควรเนนที่<br />

การปองกันมากกวาการตรวจตราหาขอบกพรองหลังจากงานทําเสร็จแลว<br />

10. เพราะเหตุใดความเปนผูนําจึงเปนปจจัยสําคัญในการปรับปรุงคุณภาพของสินคาและบริการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-1<br />

8.1 บทนํา<br />

มนุษยคือ ทรัพยสินที่มีคาที่สุดในองคการ เปนผูกําหนดความสําเร็จและลมเหลวขององคการ<br />

และโครงการ ผูจัดการโครงการสวนใหญมีความเห็นตรงกันวาการบริหารทรัพยากรมนุษยใหมีประสิทธิผล<br />

เปนเรื่องที่ยากและทาทาย การบริหารทรัพยากรมนุษยเปนเรื่องที่สําคัญของการบริหารโครงการ โดย<br />

เฉพาะโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากคนที่มีคุณสมบัติยอมหายากและยากแกรักษาไว<br />

การบริหารทรัพยากรมนุษยคือ กระบวนการใชคนที่เกี่ยวของกับโครงการใหมีประสิทธิผลมาก<br />

ที่สุด การบริหารทรัพยากรมนุษยรวมถึงผูมีสวนไดเสียของโครงการทั้งหมด เชน ผูสนับสนุน ลูกคา สมาชิก<br />

ทีมงานโครงการ เจาหนาที่สนับสนุน ผูขาย เปนตน โดยมีกระบวนการบริหารดังนี้<br />

• การวางแผนทรัพยากรมนุษย (human resource planning) คือ กระบวนการกําหนด<br />

บทบาท ความรับผิดชอบ และสายการบังคับบัญชา ผลลัพธของกระบวนการคือ บทบาท<br />

และความรับผิดชอบของทีมงาน ผังโครงสรางองคการของโครงการ และแผนการบริหารคน<br />

• การไดทีมงาน (acquiring the project team) เปนกระบวนการไดคนที่ตองการมาทํางาน<br />

ใหกับโครงการ ผลลัพธของกระบวนการคือ การกําหนดคนทํางาน ขอมูลทรัพยากรบุคคลที่<br />

มีใหใช แผนการบริหารคนที่ไดรับการปรับปรุง<br />

• การพัฒนาทีมงานโครงการ (developing the project team) เปนกระบวนการสราง<br />

ทักษะใหสมาชิกทีมงานแตละคนและทักษะกลุม เพื่อเพิ่มความสามารถการทํางานของ<br />

โครงการ การสรางทีมงานเปนสิ่งที่ทาทายผูจัดการโครงการ ผลลัพธของกระบวนการคือ<br />

การประเมินความสามารถของทีมงาน<br />

• การบริหารทีมงานโครงการ (managing the project team) คือ กระบวนการติดตาม<br />

การดําเนินงานของสมาชิกทีมงาน การสรางแรงจูงใจสมาชิก การใหขอมูลยอนกลับที่ทัน<br />

ตอเวลา การแกความขัดแยง และการประสานการเปลี่ยนแปลง เพื่อชวยเพิ่มความสามารถ<br />

โครงการ ผลลัพธของโครงการคือ การเปลี่ยนแปลงที่รองขอ คําแนะนําใหแกไขหรือปองกัน<br />

แผนการบริหารโครงการที่ปรับปรุง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-2<br />

8.2 หลักในการบริหารคน<br />

นักทฤษฎีดานการบริหาร และจิตวิทยาเชิงองคการ-อุตสาหกรรม ไดอุทิศตัวทําวิจัยและคิดคน<br />

ทฤษฎีตางๆ ใหกับสาขาการบริหารคนที่ทํางาน ประเด็นเชิงจิตวิทยาที่กระทบการทํางานของคน และการ<br />

ทํางานของคนจะดีไดอยางไร ในหัวขอนี้จะทบทวน 1) ทฤษฎีการจูงใจของ อับราฮัม มาสโลว (Abraham<br />

Maslow) เฟรดเดอริก เฮอรซเบอรก (Frederick Herzberg) เดวิด แมคคลิแลนด (David McClelland)<br />

และ ดักกลาส แมคเกรเกอร (Douglas McGregor) 2) ทฤษฎีอิทธิพลตอคนทํางานและการลดความ<br />

ขัดแยง และผลกระทบของอํานาจตอทีมงานโครงการของ ธรรมเฮียนและไวลมอน (Thamhain และ<br />

Wilemon) และ 3) ทฤษฎีทําอยางไรคนและทีมงานสามารถกลายเปนคนทํางานไดมีประสิทธิผลมากขึ้น<br />

ของ สตีเฟน โควีย (Stephen Covey)<br />

8.2.1 ทฤษฎีการจูงใจ (Motivation Theories)<br />

การจูงใจมี 2 ประเภทคือ การจูงใจจากภายใน (intrinsic motivation) และ การจูงใจจาก<br />

ภายนอก (extrinsic motivation) การจูงใจจากภายใน เปนการจูงใจที่เกิดจากความตองการของบุคคลนั้น<br />

บุคคลตองการรวมในกิจกรรมตางๆ ก็เนื่องมาจากความตองการความสนุก หรือความสุขของตนเอง เชน<br />

บางคนรักการอาน เขียน หรือเลนเครื่องดนตรี เพราะกิจกรรมเหลานี้ทําใหพวกเขามีความรูสึกดี ในทาง<br />

ตรงกันขาม การจูงใจจากภายนอก เปนการจูงใจที่เกิดจากปจจัยภายนอก ไมไดเปนความตองการของ<br />

บุคคลนั้น คนบางคนทําบางสิ่งบางอยางเพื่อรางวัล หรือหลีกเลี่ยงการลงโทษ เชน เด็กบางคนอาจไมชอบ<br />

เลนเครื่องดนตรี แตพวกเขาก็เลนเพราะพวกเขาไดรับรางวัลหรือการทําโทษ ทําไมคนบางคนไมตองการ<br />

แรงจูงใจจากภายนอกเพื่อทํางานใหมีคุณภาพสูง ในขณะที่บางคนตองการแรงจูงใจนอกอยางมากเพื่อ<br />

ทํางานประจําวัน ทําไมเราไมสามารถไดคนที่มีประสิทธิภาพสูงๆ มาทํางานที่งายๆ ดังนั้น ความเขาใจ<br />

พื้นฐานของทฤษฎีแรงจูงใจจะชวยใหใครที่ทํางานกับผูอื่นใหเขาใจตัวเองและผูอื่น<br />

รูปที่ 8.1 ลําดับขั้นความตองการของมาสโลว (Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-3<br />

8.2.1.1 ลําดับขั้นความตองการของมาสโลว<br />

รูปที่ 8.1 แสดงลําดับขั้นความตองการของมาสโลว ซึ่งกลาววาพฤติกรรม<br />

ของคนถูกชี้นําหรือจูงใจโดยลําดับความตองการ ความตองการเรียงตามลําดับดังนี้ ความตองการพื้นฐาน<br />

ทางดานรางกาย ความตองการความมั่นคงปลอดภัย ความตองการดานสังคม ความตองการไดรับการยก<br />

ยองจากผูอื่น และความตองการความสําเร็จในชีวิตตามที่ตนเองตั้งไว มาสโลวกลาววา ความตองการ<br />

ระดับลางเปนความตองการที่ตองมีกอนความตองการที่อยูระดับบน ความหมายของความตองการแตละ<br />

ลําดับขั้นมีดังนี้<br />

• ความตองการพื้นฐานทางดานรางกาย (physiological needs) เปน<br />

ความตองการขั้นพื้นฐานเพื่อสนองความสามารถดํารงชีวิตอยูได เชน<br />

อาหาร น้ํา ที่อยู อากาศเครื่องนุงหม เปนตน<br />

• ความตองการความปลอดภัย (safety needs) เปนความตองการให<br />

ตนเองมีความปลอดภัยทางดานรางกาย และความมั่นคงทางดาน<br />

เศรษฐกิจ ความตองการระดับนี้ทําใหคนหลีกเลี่ยงความโรคภัยไขเจ็บ<br />

และแสวงหาความมั่นคง เชน ยา เครื่องปองกันอันตราย อาหารเสริม<br />

อุปกรณบริหารรางกาย การประกันชีวิต และงานที่มั่นคง เปนตน<br />

• ความตองการดานสังคม (social needs) เมื่อความตองการทางดาน<br />

รางกายและความตองการความมั่นคงปลอดภัยไดรับการสนองตอบจน<br />

เปนที่พอใจแลว คนจะเริ่มมีความตองการดานสังคม ซึ่งเปนความ<br />

ตองการความรักความเมตตา ความรูสึกเปนสวนหนึ่งของชุมชน เชนการ<br />

รวมกิจกรรมทางสังคม สิ่งของที่แสดงถึงความสัมพันธภาพที่ดีตอกัน<br />

ระหวางบุคคล (เชน บัตรอวยพร ของขวัญ) การเปนสมาชิกชมรม และ<br />

สโมสรตางๆ<br />

• ความตองการเกียรติยศชื่อเสียง (esteem needs) เปนความตองการการ<br />

ยอมรับและความเชื่อถือจากเพื่อนรวมงานและเจานาย การยกยองชมเชย<br />

เมื่อทํางานสําเร็จ ซึ่งทําใหคนรูสึกวาตนเองมีคุณคา เชน การประกาศ<br />

เกียรติคุณ ถวยรางวัล โลเกียรติยศ ใบปริญญา การทํากิจกรรมเพื่อสังคม<br />

อาสาสมัคร แมแตการใชจายฟุมเฟอย อวดมั่งมีก็จัดวาเปนพฤติกรรมของ<br />

คนที่ตองการใหบุคคลอื่นชื่นชมนับถือ<br />

• ความตองการความสําเร็จในชีวิตตามที่ตนเองตั้งไว (self actualization<br />

needs) เปนความตองการขั้นสูงสุดที่บุคคลพยายามกระทําสิ่งตางๆ เพื่อ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-4<br />

แสดงศักยภาพที่แทจริงของตนเอง เปนการสรางความภาคภูมิใจใหกับ<br />

ตนเอง โดยสิ่งที่ไดรับไมไดเปนทรัพยสินเงินทอง แตเปนความพึงพอใจ<br />

และความภูมิใจที่ไดกระทําในสิ่งที่เติมเต็มความสามารถและเหมาะสม<br />

กับตนเอง เปนการคนพบตนเองและมีความสุขที่แทจริง เชน งานที่ทาทาย<br />

หรือที่บุคคลพอใจ สถานที่หรือสถานการณที่สรางใหบุคคลเกิดความสุข<br />

ทางใจ เปนตน<br />

คนที่ทํางานในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศสวนใหญจะไดรับการสนอง<br />

ตอบความตองการพื้นฐานทางดานรางกายและความมั่นคงปลอดภัย ถาบางคนตองรับอุบัติเหตุ หรือตก<br />

งานทันทีทันใด ความตองการทางกายและความปลอดภัยจะมาเปนอันดับแรก เพื่อจูงใจสมาชิกทีมงาน<br />

ผูจัดการโครงการตองเขาใจแรงจูงใจของแตละคน โดยเฉพาะอยางยิ่งความตองการดานสังคม การไดรับ<br />

การยกยองและการเติบโตของตนเอง สมาชิกทีมงานที่มาใหมอาจจูงใจดวยความตองการดานสังคม บาง<br />

องคการจัดงานสังคมสําหรับพนักงานใหม แตอาจมีสมาชิกทีมงานคนอื่นคิดวา งานดังกลาวเปนการ<br />

ลวงล้ําเวลาสวนตัว พวกเขาตองการใชเวลากับเพื่อนและความครอบครัวหรือทํางานที่ระดับสูงมากกวา<br />

ลําดับขั้นความตองการของมาสโลวกลาวถึงความหวังและความเติบโต<br />

กาวหนา คนตองการทํางานเพื่อควบคุมจุดหมายปลายทางชีวิตของตนเอง และตอสูเพื่อบรรลุความ<br />

ตองการที่สูงขึ้น ผูจัดการโครงการที่ประสบความสําเร็จตองเขาใจความตองการและเปาหมายบุคคล<br />

เพื่อใหการจูงใจที่เหมาะสม และทําใหการทํางานมีประสิทธิภาพสูงสุด<br />

8.2.1.2 ทฤษฎีแรงจูงใจของเฮอรซเบอรก<br />

จากการศึกษาการจูงใจในสภาพการทํางาน เฮอรเบอรกไดพบวามีปจจัยที่<br />

แตกตางกันสองปจจัยที่กระทบตอพฤติกรรมการทํางานของคน ปจจัยที่ทําใหคนพอใจงานเรียกวาสิ่งจูงใจ<br />

(Motivator) เชน ความสําเร็จ การยกยองนับถือ งานที่ทาทาย ความรับผิดชอบ และความกาวหนา สวน<br />

ปจจัยที่ทําใหคนไมพอใจงานเรียกวา ไฮยีน (Hygiene) เชน นโยบายบริษัท ระเบียบการบริหารงาน สภาพ<br />

การทํางาน เงินเดือนและผลประโยชน ความสัมพันธระหวางบุคคลในองคการ และเงื่อนไขการทํางานทาง<br />

กายภาพ หากวาสิ่งตางๆ เหลานี้ไดรับการดูแลเอาใจใสอยางพอเพียง ความไมพอใจก็จะหายไป ดังนั้น ไฮ<br />

ยีนจึงเปนปจจัยที่ใชปองกันการเกิดความไมพอใจ แตไมไดทําหนาที่เปนเครื่องจูงใจบุคคลใหทํางานใหมี<br />

ผลผลิตหรือบริการในระดับที่สูงขึ้นได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-5<br />

8.2.1.3 ทฤษฎีความตองการของแมคคลิแลนด<br />

เดวิด แมคคลิแลนดเสนอวา ความตองการเฉพาะของแตละคนไดมาหรือ<br />

เรียนรูตามเวลาและถูกปรับโดยประสบการณชีวิต ความตองการที่ไดมาแบงเปน 3 ประเภทคือ<br />

ความสําเร็จ (achievement) สัมพันธภาพ (affiliation) และอํานาจ (power)<br />

• ความตองการทํางานใหมีผลสัมฤทธิ์ (need for achievement หรือ<br />

nAch) คนที่มีความตองการความสําเร็จสูงจะคนหาสิ่งที่ดีกวาและมี<br />

แนวโนมที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อเพิ่มโอกาสให<br />

บรรลุบางสิ่งที่มีคาสูง ผูที่ตองการความสําเร็จตองการขอมูลยอนกลับเปน<br />

ประจํา และชอบทํางานคนเดียว หรือทํางานกับคนอื่นที่ไดรับความสําเร็จ<br />

ผูจัดการควรใหผูตองการความสําเร็จสูงทําโครงการที่ทาทายและมี<br />

เปาหมาย เงินไมใชสิ่งจูงใจที่สําคัญสําหรับคนเหลานี้<br />

• ความตองการสัมพันธภาพ (need for affiliation หรือ nAff) คนที่มีความ<br />

ตองการสัมพันธภาพสูงจะพึงพอใจกับความสัมพันธที่สอดประสานกับคน<br />

อื่นๆ และตองการความยอมรับจากผูอื่น คนเหลานี้มีแนวโนมที่จะทําตาม<br />

บรรทัดฐาน (norm) ของกลุม และชอบงานที่เกี่ยวของกับการโตตอบกับ<br />

คน ผูจัดการควรพยายามสรางสภาวแวดลอมการทํางานตรงกับความ<br />

ตองการของคนที่มีความตองการสัมพันธภาพ<br />

• ความตองการอํานาจ (need for power หรือ nPow) คนที่ตองการ<br />

อํานาจชื่นชอบทั้งอํานาจเชิงบุคคลและอํานาจเชิงสถาบัน (personal and<br />

institutional power) คนที่ตองการอํานาจเชิงบุคคลตองการสั่งผูอื่น และ<br />

ตองการเปนนาย คนที่ตองการอํานาจเชิงสถาบันหรืออํานาจเชิงสังคม<br />

ตองการจัดการผูอื่น เพื่อเปาหมายขององคการ ผูบริหารควรใหคนที่<br />

ตองการอํานาจเชิงสถาบันหรือสังคมมีโอกาสทํางาน เพราะจะมุงเนนการ<br />

บรรลุเปาหมายเชิงองคการ<br />

8.2.1.4 ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร<br />

แมคเกรเกอรไดเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของแรงงาน 2 แนวคิดคือ<br />

ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y โดยที่ ทฤษฎี X มีสมมติฐานวา คนโดยเฉลี่ยไมชอบทํางาน เกียจคราน หลีกเลี่ยง<br />

การทํางาน คนจะทํางานก็ตอเมื่อไดรับคําสั่ง และชอบหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-6<br />

นอย และตองการความมั่นคง ปลอดภัยเหนือกวาสิ่งอื่นใด ดังนั้น ผูจัดการโครงการที่เชื่อทฤษฎี X จะใช<br />

การบังคับ ขมขู และการควบคุม เพื่อใหคนใชความพยายามที่ทํางานใหบรรลุวัตถุประสงค<br />

สวนทฤษฎี Y เปนทฤษฎีที่มีแนวความคิดตรงกันขามกับทฤษฎี X กลาวคือ คนไมได<br />

มีนิสัยที่ไมชอบการทํางาน แตเต็มใจที่จะทํางานโดยไมตองมีผูควบคุม คนงานเชื่อวาการใชความพยายาม<br />

ทั้งทางรางกายและสติปญญาในการทํางานนั้นเปนความสุขอยางหนึ่ง รวมทั้งเปนผูที่คอยแสวงหาโอกาส<br />

ที่จะปรับปรุงตนเองใหมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผูจัดการโครงการที่เชื่อทฤษฎี Y จะสนับสนุนการมีสวนรวม<br />

ของคนในทีมงาน และการสรางความสัมพันธทีดีระหวางกัน ไมตองมีการควบคุมคนงานอยางใกลชิด ให<br />

โอกาสพนักงานใชความคิดของตนเอง<br />

8.2.2 ทฤษฎีอํานาจและอิทธิพลของธรรมเฮียนและไวลมอน<br />

ธรรมเฮียนและไวลมอนไดศึกษาวิธีที่ผูจัดการโครงการใชเพื่อจัดการกับคนงาน และวิธี<br />

การเหลานี้สัมพันธกับความสําเร็จของโครงการอยางไร ธรรมเฮียนและไวลมอน ไดระบุอิทธิพล 9 ตัวที่<br />

ผูจัดการโครงการสามารถนํามาใชดังนี้<br />

• อํานาจ (authorities) อํานาจตามลําดับขั้นการบังคับบัญชาที่ถูกตองในการ<br />

ออกคําสั่ง<br />

• การมอบหมาย (assignment) ความสามารถของผูจัดการที่จะมอบหมายงาน<br />

ในอนาคต<br />

• งบประมาณ (budget) ความสามารถของผูจัดการเพื่อใหอํานาจผู อื่นใชเงินที่<br />

ไดจัดใหกับโครงการ<br />

• การสงเสริม (promotion) ความสามารถในการเลื่อนตําแหนงของพนักงาน<br />

• เงิน (money) ความสามารถในการขึ้นคาจางและผลประโยชนตางๆ ของ<br />

พนักงาน<br />

• การลงโทษ (penalty) ความสามารถในการทําโทษ<br />

• งานทาทาย (work challenge) ความสามารถในการใหงานที่ใหความสนุก<br />

และทาทายการทํางานกับพนักงาน ซึ่งตรงกับปจจัยที่เปนแรงจูงใจภายในของ<br />

บุคคล<br />

• ความเชี่ยวชาญ (expertise) ความรูความสามารถพิเศษของผูจัดการ<br />

โครงการที่ผูอื่นเห็นความสําคัญ<br />

• ความเปนเพื่อน (friendship) ความสามารถในการสรางความสัมพันธฉันท<br />

เพื่อนระหวางผูจัดการโครงการกับคนอื่น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-7<br />

ผูบริหารระดับสูงใหอํานาจกับผูจัดการโครงการ สวนปจจัยการมอบหมาย งบประมาณ<br />

การสงเสริม เงิน และการลงโทษอาจใชหรือไมใชอิทธิพลที่มาพรอมกับตําแหนงผูจัดการโครงการ ไม<br />

เหมือนกับปจจัยอํานาจที่มาพรอมกับตําแหนงผูจัดการโครงการ การสรางและการใชประโยชนจาก<br />

ปจจัยพื้นฐานที่เหลือเปนสิ่งสําคัญ เชน ผูจัดการโครงการสามารถชักจูงพนักงานโดยการใหงานที่ทาทาย<br />

นอกจากนี้ ผู จัดการโครงการตองเรียนรูความสามารถเพื่อชักจูงโดยการใชความเชี่ยวชาญและความเปน<br />

เพื่อน<br />

ธรรมเฮียนและไวลมอนพบวา โครงการมีโอกาสที่จะลมเหลวมาก ถาผูจัดการโครงการ<br />

เชื่อถือการใชอํานาจ เงิน หรือการลงโทษ อยางมาก ถาผูจัดการโครงการใชงานที่ทาทายและความ<br />

เชี่ยวชาญเพื่อชักจูงคน โครงการมีโอกาสสําเร็จมากกวา<br />

อิทธิพลมีความสัมพันธกับอํานาจ อํานาจคือ ความสามารถที่จะบังคับพฤติกรรมเพื่อให<br />

คนทําสิ่งที่เขาไมอยากทํา อํานาจมีความหมายที่แรงกวาอิทธิพล โดยเฉพาะเราชอบใชเพื่อบังคับคนให<br />

เปลี่ยนพฤติกรรม อํานาจมี 5 ประเภทคือ<br />

• อํานาจในการขูบังคับ (coercive power) เปนอํานาจที่สามารถใชลงโทษผูอื่น<br />

ได หรือขมขู เพื่อใหคนทําสิ่งที่ไมอยากทํา อํานาจนี้มีฐานมาจากความกลัว<br />

• อํานาจที่ไดมาอยางถูกตองตามทํานองครองธรรม (legitimate power) เปน<br />

อํานาจที่เกิดจากการกําหนดขององคการ ซึ่งเปนอํานาจหนาที่ตามสายการ<br />

บังคับบัญชา อยางไรก็ตาม อํานาจประเภทนี้จะเปนที่ยอมรับก็ตอเมื่อบุคคล<br />

หรือสมาชิกในองคการยอมรับอํานาจนี้ นอกจากนี้ยังขึ้นอยูกับวา คนที่ใช<br />

อํานาจนั้นไดใชอํานาจไปอยางถูกตองตามทํานองครองธรรมหรือไม ถาไม<br />

เปนไปตามเงื่อนไขดังกลาว อํานาจนี้ก็จะไมเปนที่ยอมรับ ถาผูบริหารระดับสูง<br />

ใหอํานาจเชิงองคการแกผูจัดการโครงการ ผูจัดการโครงการสามารถใช<br />

อํานาจนี ้ใหถูกตองเชนเดียวกัน<br />

• อํานาจที่ไดจากการยอมรับในความเชี่ยวชาญ (expert power) เปนการใช<br />

ความรูความเชี่ยวชาญที่บุคคลอื่นยอมรับ เพื่อใหคนเปลี่ยนพฤติกรรมของ<br />

ตนเอง ถาคนรูวาผูจัดการโครงการเปนผูเชี่ยวชาญ คนก็จะเชื่อและทําตาม<br />

ดังนั้น ภายในองคการคนที่มีอํานาจนี้จะมีอิทธิพลอยางมากตอบุคคลอื่นที่<br />

เกี่ยวของ ปริมาณของอํานาจะเพิ่มขึ้นไดโดยการศึกษาเพิ่ม หรือความขาด<br />

แคลนผูรูในเรื่องนั้นๆ ดังนั้น ผูที่มีความเชี่ยวชาญสวนใหญไมคอยถายทอด<br />

หรือฝกอบรมความรอบรูใหกับผูอื่นไปจนหมด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-8<br />

• อํานาจในการใหรางวัล (reward power) เปนการใชสิ่งจูงใจเพื่อชักนําให<br />

คนทํางาน รางวัลเปนไดทั้ง เงิน สถานภาพ การระลึกถึง การสงเสริม การให<br />

งานพิเศษ นักทฤษฎีแรงจูงใจหลายคนแนะนําวารางวัลบางอยาง (เชน งานที่<br />

ทาทาย ความสัมฤทธิ์ผล และการระลึกถึง) ที่ชักจูงใหคนเปลี่ยนพฤติกรรม<br />

หรือทํางานหนักขึ้นจริงๆ<br />

• อํานาจที่ไดมาจากการเปนที่ดึงดูดใจ (referent power) เปนอํานาจที่ขึ้นอยู<br />

กับบารมีของแตละบุคคล คนสามารถยึดคนบางคนดวยอํานาจจากคุณ<br />

ลักษณะของบุคคล และคนเหลานี้จะทําในสิ่งที่คนที่มีอํานาจเชนนี้พูด ดังนั้น<br />

ผูที่มีอํานาจดานนี้จะตองพยายามคงไวซึ่งศรัทธาหรือความคาดหวังจากผูอื่น<br />

หากมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ทําใหศรัทธานั้นหมดไปหรือทําใหความ<br />

คาดหมายจากผูอื่นเปลี่ยนไป อํานาจนี้ก็จะลดลงหรือหมดไป ตัวอยางของ<br />

บุคคลทีมีอํานาจนี้คือ มหาตมะคานธี<br />

ผูจัดการโครงการตองเขาใจประเภทของอิทธิพลและอํานาจที่สามารถใชในสถาน<br />

การณที่แตกตางกัน ผูจัดการโครงการใหมๆ จะเนนที่การใชอํานาจตามตําแหนง โดยเฉพาะการจัดการกับ<br />

สมาชิกทีมงานหรือพนักงานสนับสนุน ผูจัดการโครงการเหลานี้ละทิ้งความสําคัญของอํานาจจากรางวัล<br />

และอิทธิพลจากงานที่ทาทาย คนจะสนองตอบที่ดีกับผูจัดการโครงการที่จูงใจพวกเขาดวยงานที่ทาทาย<br />

และการบังคับเชิงบวก ผูจัดการโครงการจึงควรเขาใจความคิดพื้นฐานของอํานาจและอิทธิพล และควร<br />

ปฏิบัติโดยการใชอํานาจและอิทธิพลเพื่อประโยชนของตนเองและทีมงาน<br />

8.2.3 ทฤษฎีการปรับปรุงประสิทธิผลของโควีย<br />

สตีเฟน โควีย ผูเขียนหนังสือ “The 7 Habits of Highly Effective People” ไดนํางานของ<br />

มาสโลว เฮอรซเบอรก และคนอื่นๆ มาขยาย เพื่อพัฒนาวิธีการสําหรับชวยคนและทีมงานใหกลายเปนคน<br />

ที่ทํางานมีประสิทธิผลมากขึ้น สตีเฟน โควียไดเสนออุปนิสัย 7 อยางที่ทําใหคนมีประสิทธิผลมากขึ้น<br />

อุปนิสัย 7 อยางมีดังนี้<br />

• เปนผูกระทํากอน (be proactive) คนเรานั้น หากไมเปนผูกระทํากอนก็จะเปน<br />

ผูถูกกระทํา (reactive) คนที่เปนคนเฉื่อย ไมยอมคิดไมยอมสรางอะไร ก็จะถูก<br />

สิ่งแวดลอมมากระทบหรือนําพาบังคับใหตองทําอยางนั้นอยางนี้ไปตามสภาพแวด<br />

ลอมแบบนั้นเรียกวาเปนผูที่ถูกกระทํา แตในทางตรงกันขาม คนที่อยูในประเภทที่<br />

เปนผูกระทําจะเปนผูเลือกที่จะทําหรือจะไมทําสิ่งใดๆ ดวยเหตุดวยผลของเขาเองคือ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-9<br />

คิดวาตัวเองเปนผูกําหนดชีวิตของตน ทั้งนี้ดวยการพิจารณาไวกอน ไมใชวาถึงเวลา<br />

แลวคอยคิดจะทํา เพราะสุดทายแลวก็จะกลายเปนผูถูกกระทําและตอบสนองตอ<br />

สิ่งแวดลอมเหมือนเดิม โควียเชื่อวาคนมีความสามารถที่จะเลือกการตอบสนองของ<br />

เขาเองตอสถานการณที่แตกตางกัน ผูจัดการโครงการตองเปนคนกระฉับกระเฉง<br />

วองไว คาดการณ และวางแผนสําหรับปญหา และการเปลี่ยนแปลงตอโครงการ<br />

นอกจากนี้ผูจัดการโครงการยังสามารถกระตุนสมาชิกทีมงานใหเปนคนวองไวในการ<br />

ทํากิจกรรมของโครงการ<br />

• เริ่มตนดวยจุดมุงหมายในใจ (begin with the end in mind) โควียเสนอวา คน<br />

สนใจกับคุณคาของตัวเอง สิ่งที่ตองการทําใหสําเร็จ โควียเสนอใหกําหนดพันธกิจ<br />

เพื่อชวยใหคนเขาถึงอุปนิสัยนี้ หลายองคการและโครงการมีพันธกิจที่ชวยคนเนน<br />

เปาหมายหลักของเขา<br />

• ทําสิ่งที่สําคัญกอน (put first things first) โควียไดพัฒนาระบบการบริหารเวลาและ<br />

เมทริกซ เพื่อชวยคนจัดลําดับเวลาของตนเอง เขาแนะนําวาคนสวนใหญควรใหเวลา<br />

ทําในสิ่งที่สําคัญมาก แตไมใชงานดวน ผูจัดการโครงการจึงควรใหเวลากับการ<br />

พัฒนาแผนโครงการตางๆ การสรางความสัมพันธกับผูมีสวนไดเสียหลักของ<br />

โครงการ และการติดตามการทํางานของสมาชิกทีมงาน<br />

• คิดแบบชนะ-ชนะ (think win-win) โควียไดเสนอวาความคิดแบบชนะ-ชนะเปน<br />

ทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณสวนใหญ เมื่อเราใชวิธีการนี้ ทั้งสองฝายไมมี<br />

ฝายใดพายแพเสียประโยชน แบบนี้เรียกวาคิดและทําแบบชนะ-ชนะ ซึ่งจริงๆ แลว<br />

อาจจะมีคนเขาใจผิดวาเปนการ "ประนีประนอม" แตจริงๆ แลวไมใช เพราะวาการ<br />

ประนีประนอมนั้น คูกรณีอาจจะเสียประโยชนทั้งสองฝายก็เปนได การคิดและทํา<br />

แบบชนะ-ชนะนี้จะตองเกิดอยูบนพื้นฐานของทัศนคติที่ดีและตองการใหไดประโยชน<br />

เทาเทียมกันทั้งสองฝายในระยะยาว ในบางครั้งฝายใดฝายหนึ่งอาจจะตองเสีย<br />

เปรียบกอน แตในที่สุดแลว เมื่อดําเนินการตามแผนทั้งหมดแลว ทั้งสองฝายจะตอง<br />

ไดประโยชนทั้งคูเทาๆ เทียมกัน<br />

• เขาใจผูอื่นกอน แลวจึงใหผูอื่นเขาใจ (seek first to understand then to be<br />

understood) การฟงแบบอารมณรวม (empathic listening) คือ การฟงดวยความ<br />

ตั้งใจเพื่อเขาใจเพราะเราจะเนนการเขาใจผูอื่นจริงๆ โดยลืมความสนใจสวนตัว เพื่อ<br />

ตองการเขาใจผูอื่นจริงๆ เราตองเรียนรูที่จะปรับจุดสนใจไปยังผูอื่นกอน เมื่อเราทํา<br />

การฟงแบบอารมณรวม เราสามารถเริ่มการสื่อสาร 2 ทางได อุปนิสัยนี้สําคัญมาก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-10<br />

สําหรับผูจัดการโครงการเพื่อที่จะไดเขาใจความตองการและความคาดหวังของผูมี<br />

สวนไดเสียโครงการจริงๆ<br />

• ประสานพลัง (synergize) ทีมงานโครงการสามารถประสานพลังโดยการสราง<br />

ผลิตภัณฑรวมกันที่ดีกวาที่คนๆ เดียวทํา โควียยังเนนถึงความสําคัญของคุณคาที่<br />

ตางกันในแตละคนเพื่อใหเกิดการรวมพลัง การประสานพลังเปนสิ่งจําเปนกับ<br />

โครงการเชิงเทคนิคที่สูงๆ โครงการสรางความกาวหนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ใหญๆ เกิดขึ้นจากการประสานพลัง<br />

• ลับเลื่อยใหคมอยูเสมอ (sharpen the saw) เมื่อเราใชเวลาในการฝกฝนหรือชารจ<br />

แบตเตอรี่ แสดงวาเราใหเวลากับการทําใหรางกาย จิตใจ สดชื่น ซึ่งชวยใหคน<br />

หลีกเลี่ยงการทํางานมากเกินไป ผูจัดการโครงการตองแนใจวาพวกเขาและสมาชิก<br />

ทีมงานมีเวลาพักผอน<br />

ดักกลาส รอสส (Douglas Ross) ไดแตงหนังสือ “Applying Covey’s Seven Habits to<br />

a Project Management” รอสสเสนอวาอุปนิสัยที่ 5 (เขาใจผูอื่นกอน แลวจึงใหผูอื่นเขาใจ) เปนอุปนิสัยที่<br />

แยกผูจัดการโครงการที่ดีจากผูจัดการโครงการที่แย หรือปานกลาง เนื่องจากคนมีแนวโนมที่เนนเรื่องของ<br />

ตนเองแทนที่จะพยายามเขาใจมุมมองคนอื่น การฟงแบบอารมณรวมสามารถชวยผูจัดการโครงการและ<br />

สมาชิกทีมงานคนหาวาอะไรคือสิ่งจูงใจคนที่ตางกัน เมื่อผูจัดการโครงการและสมาชิกเริ่มปฎิบัติการฟง<br />

แบบอารมณรวม พวกเขาจะสามารถสื่อสารและทํางานรวมกันเพื่อกระเทาะปญหาไดอยางมีประสิทธิผล<br />

8.3 การวางแผนทรัพยากรมนุษย<br />

การวางแผนทรัพยากรมนุษยสําหรับโครงการประกอบดวย การกําหนดบทบาทโครงการ ความ<br />

รับผิดชอบ และสายการบังคับบัญชา กระบวนการนี้ ผูจัดการโครงการสรางผังโครงสรางเชิงองคการของ<br />

โครงการ แผนการบริหารคน และการกําหนดบทบาทและความรับผิดชอบ ซึ่งแสดงในผังการมอบหมาย<br />

ความรับผิดชอบ (responsibility assignment matrix (RAM)) กอนที่จะสรางผังโครงสรางโครงการ<br />

ผูบริหารระดับสูงและผูจัดการโครงการตองระบุวาบุคคลประเภทใดที่ตองการจริงๆ เพื่อใหแนใจวา<br />

โครงการจะสําเร็จ<br />

8.3.1 ผังโครงสรางโครงการ<br />

คงจํากันไดวาธรรมชาติของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีทีมงานที่มีภูมิหลัง และ<br />

ทักษะที่แตกตางกัน มันเปนการยากที่จะบริหารกลุมคนที่ไมเหมือนกัน ดังนั้น การกําหนดโครงสรางเชิง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-11<br />

องคการสําหรับโครงการเปนสิ่งสําคัญ หลังจากการระบุทักษะที่สําคัญและประเภทของคนที่ตองการ<br />

สําหรับโครงการแลว ผูจัดการโครงการและสมาชิกทีมงานควรสรางผังโครงสรางองคการของโครงการ ซึ่ง<br />

แบงออกเปน 3 ประเภทคือ<br />

• โครงสรางแบบประชาธิปไตยกระจายอํานาจ (democratic decentralized<br />

structure (DD)) โดยมีโครงสรางดังรูปที่ 8.2 โครงสรางแบบนี้ เปนโครงสรางที่<br />

มีการกระจายอํานาจอยางเต็มที่ ไมมีการควบคุม ไมมีชั้นการบังคับบัญชา ทุก<br />

คนมีความเทาเทียมกัน เสมอภาคกัน ถาแตละคนมีขอมูลขาวสารจะสงผาน<br />

ขอมูลใหกันและกันโดยไมตองผานการอนุมัติจากใคร ยังคงมีหัวหนาทีม แต<br />

หัวหนาทีมไมมีอํานาจสั่งการ จะทําหนาที่เปนเพียงผูประสานงานกับ<br />

บุคคลภายนอก หัวหนาทีมจะถูกเลือกจากสมาชิกคนใดคนหนึ่งในทีม ผลงานที่<br />

ไดจะเปนของกลุม การตัดสินใจตองไดรับความเห็นชอบจากสมาชิก โครงสราง<br />

ของทีมงานแบบนี้ จะเหมาะกับงานประเภทนวัตกรรม การสรางผลิตภัณฑใหมๆ<br />

ที่ตองใชความอิสระในการคิดคนและอาศัยความคิดสรางสรรค<br />

รูปที่ 8.2 โครงสรางองคการโครงการแบบประชาธิปไตยกระจายอํานาจ (Mantei, 1981)<br />

• โครงสรางแบบประชาธิปไตยและควบคุม (democratic centralized structure<br />

(DC)) ดังแสดงในรูปที่ 8.3 ลักษณะทีมงานที่มีผูจัดการโครงการเปนผูควบคุม<br />

โครงการทั้งหมด แตมีหัวหนาทีมงานยอย โดยผูจัดการโครงการจะแบงงานให<br />

แตละทีม และหัวหนาทีมงานยอยเปนผูรับผิดชอบงานที่ผูจัดการโครงการ<br />

มอบหมาย มีการกําหนดชัดเจนวาใครคือหัวหนาทีมงานยอย มีอํานาจตาม<br />

ตําแหนง และมีใครที่อยูภายใตการบังคับบัญชาบาง สมาชิกของทีมงานยอย<br />

สามารถทํางานไดอิสระเหมือนกับโครงสรางองคการของโครงการแบบแรก ผูที่<br />

อยูในทีมยอยสามารถสื่อสารกันไดอยางอิสระ แตถาสมาชิกจะสื่อสารนอกทีม<br />

ยอยจะตองผานหัวหนาทีมงานยอยกอน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-12<br />

รูปที่ 8.3 โครงสรางองคการของโครงการแบบประชาธิปไตยและควบคุม (Mantei, 1981)<br />

• โครงสรางแบบควบคุมและรวมศูนย หรือหัวหนาทีมโปรแกรมเมอร (controlled<br />

centralized structure (CC) or chief programmer team) เปนโครงสรางที่มี<br />

การควบคุมอยางเขมงวด คนในทีมไมสามารถสื่อสารกันเองได ตองผาน<br />

ผูจัดการโครงการทุกครั้ง โครงสรางนี้ใชกับโครงการที่มีความตองการที่ชัดเจน<br />

และผูจัดการโครงการมีความชํานาญในระบบงานนั้น รูปแบบโครงสรางประเภท<br />

นี้แสดงในรูปที่ 8.4<br />

รูปที่ 8.4 โครงสรางองคการของโครงการแบบควบคุมและรวมศูนยหรือ<br />

หัวหนาทีมโปรแกรมเมอร (Mantei, 1981)<br />

การเลือกโครงสรางองคการของโครงการสามารถพิจารณาไดจาก 7 ปจจัย โดยในตาราง<br />

ที่ 8.1 แสดงคุณลักษณะของปจจัยที่สอดคลองกับโครงสรางองคการของโครงการ<br />

ตารางที่ 8.1 ปจจัยที่มีผลตอการเลือกโครงสรางองคการของโครงการ (Mantei, 1981)<br />

ประเภทโครงสรางองคการ DD DC CC<br />

ความยากของโครงการ / ปญหา<br />

• สูง<br />

• ต่ํา X X<br />

ขนาดของโปรแกรม<br />

• ใหญ X X<br />

• เล็ก<br />

เวลาที่ทีมงานอยูดวยกัน<br />

• สั้น X X<br />

X<br />

X<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-13<br />

ประเภทโครงสรางองคการ DD DC CC<br />

• ยาว<br />

X<br />

ปญหาสามารถแยกเปนสวน ๆ<br />

• สูง X X<br />

• ต่ํา X<br />

ระบบตองมีความนาเชื่อถือ<br />

• สูง X X<br />

• ต่ํา X<br />

วันสงมอบ<br />

• เลื่อนไมได X<br />

• ยืดหยุน X X<br />

การสื่อสารกับคนอื่น<br />

• สูง<br />

• ต่ํา X X<br />

X<br />

8.3.2 การมอบหมายงานใหกับทีมงานยอย<br />

รูปที่ 8.5 แสดงกรอบงานสําหรับการกําหนดและการมอบหมายงาน กระบวนการ<br />

ประกอบดวย 4 ขั้นตอนคือ<br />

• การกําหนดความตองการของโครงการเปนครั้งสุดทาย<br />

• การกําหนดวางานจะทําอยางไรจึงจะสําเร็จ<br />

• การแตกงานออกเปนชิ้นงานที่สามารถจัดการได<br />

• การมอบหมายความรับผิดชอบงาน<br />

กระบวนการมอบหมายงานใหกับทีมงานยอยและนิยามงานเปนงานที่ทําในระยะการ<br />

เริ่มตนโครงการ เปนกระบวนการที่ทําซ้ําหลายรอบเพื่อใหงานออกมาดี คํารองขอขอเสนอโครงการ หรือ<br />

รางสัญญาเปนขอมูลพื้นฐานสําหรับการนิยามและกําหนดความตองการครั้งสุดทาย ซึ่งตอมาจะถูกบันทึก<br />

เปนเอกสารในสัญญาสุดทาย และเปนบรรทัดฐานสําหรับการอางอิงทางเทคนิค ถาไมมีคํารองขอขอเสนอ<br />

โครงการ ผูจัดการโครงการอาจใชเอกสารสิทธิ์โครงการ และขอกําหนดขอบเขต เปนพื้นฐานสําหรับการ<br />

นิยามและการกําหนดความตองการครั้งสุดทาย ระยะตอไปคือ ผูจัดการโครงการตัดสินใจเลือกวิธีการเชิง<br />

เทคนิคสําหรับการทํางาน เชน การแตกงานควรใชวิธีการแตกผลิตภัณฑหรือ กระบวนการเปนหลัก งาน<br />

บางงานควรใชบริการจากหนวยงานภายนอก หรือทําสัญญายอยแลวใหบริษัทอื่นมาทํา เมื่อทีมงาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-14<br />

ตัดสินใจเลือกวิธีการเชิงเทคนิคแลว ทีมงานจึงแตกโครงสรางจําแนกงาน เพื่อกําหนดชิ้นงานในขนาดที่<br />

สามารถจัดการได (ไดกลาวในบทการบริหารขอบเขตโครงการ) หลังจากนั้นทีมงานพัฒนานิยามกิจกรรม<br />

เพื่อกําหนดงานที่เกี่ยวของในแตละกิจกรรมในโครงสรางจําแนกงาน (ดูในการบริหารเวลาโครงการ)<br />

ขั้นตอนสุดทายคือ การมอบหมายงานใหกับทีมงานยอย<br />

รูปที่ 8.5 กระบวนการมอบหมายและนิยามงาน (Schwalbe, 2007)<br />

เมื่อผูจัดการโครงการและทีมงานไดแตกงานเปนชิ้นงานยอยที่สามารถจัดการได<br />

ผูจัดการโครงการมอบหมายงานใหกับทีมงานยอย ผูจัดการโครงการชอบมอบหมายงานโดยดูวา งาน<br />

เหมาะกับทีมงานใด ซึ่งแสดงในผังโครงสรางองคการโครงการ เชน ทีมวิศวกรรมซอฟตแวร ทีมพัฒนา<br />

ซอฟตแวร และทีมพัฒนางานฮารดแวร เปนตน<br />

รูปที่ 8.6 ตัวอยางของผังการมอบหมายความรับผิดชอบ (RAM) (Schwalbe, 2007)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-15<br />

8.3.3 ผังการมอบหมายความรับผิดชอบ<br />

ผังการมอบหมายความรับผิดชอบ (responsibility assignment matrices (RAM)) คือ<br />

ผังที่แสดงการจับคูระหวางงานของโครงการที่แสดงใน WBS กับทีมที่รับผิดชอบที่จะทํางานนั้น รูปที่ 8.6<br />

คือ ตัวอยางของผังการมอบหมายความรับผิดชอบ ทางที่ดีที่สุดสําหรับกรณีที่เปนโครงการเล็กคือ การ<br />

กําหนดคนแตละคนใหกับกิจกรรมที่แตกยอย แตทางที่มีประสิทธิผลที่สุดสําหรับโครงการขนาดใหญคือ<br />

การกําหนดงานใหกับหนวยงานของโครงการหรือทีมงานยอย<br />

รูปที่ 8.7 การแสดงบทบาทของผูมีสวนไดเสียโดยใช RAM (Schwalbe, 2007)<br />

นอกจากนี้เราสามารถใชผังการมอบหมายความรับผิดชอบ เพื่อกําหนดกิจกรรมงานที่<br />

ละเอียดกับผูมีสวนไดสวนเสียของโครงการดังแสดงในรูปที่ 8.7 ในรูปไดแสดงวา ผูมีสวนไดเสียคนใดตอง<br />

รับผิดชอบ (accountable) หรือเพียงแคมีสวนรวมในสวนหนึ่งของโครงการ (participant) หรือใหขอมูลที่<br />

ตองการ (input) หรือทบทวน (review) หรือลงชื่อรับรอง (sign-off)<br />

8.3.4 แผนการบริหารกําลังพลและแผนภูมิแทงทรัพยากร<br />

ผลลัพธของการวางแผนทรัพยากรมนุษยคือ แผนการบริหารกําลังพล ซึ่งจะอธิบายวาคน<br />

จะถูกเพิ่มเขาและเอาออกจากทีมงานเมื่อไรและอยางไร แผนนี้เปนสวนหนึ่งของแผนบริหารโครงการ แผน<br />

บริหารกําลังพลอาจอธิบายประเภทคนที่ตองการทํางานกับโครงการ เชน จาวาโปรแกรมเมอร<br />

นักวิเคราะหธุรกิจ ผูออกแบบฐานขอมูล เปนตน และระบุจํานวนคนของแตละประเภทที่ตองการแตละ<br />

เดือน นอกจากนี้อาจอธิบายวาทรัพยากรเหลานี้จะไดมาอยางไร การอบรม การใหรางวัล เปนตน<br />

แผนการบริหารกําลังพลรวมแผนภูมิแทงทรัพยากร ซึ่งแสดงจํานวนทรัพยากรที่ไดรับการ<br />

มอบหมายใหกับโครงการ รูปที่ 8.8 แสดงตัวอยางแผนภูมิแทงทรัพยากรที่ใชกับโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศเปนเวลา 6 เดือน สดมภแทนจํานวนคนที่ตองการในแตละประเภทในแตละเดือน หลังจาก<br />

กําหนดคนที่ตองการของโครงการแลว ขั้นตอนตอไปในการบริหารทรัพยากรมนุษยคือ การหาพนักงานที่<br />

จําเปนและพัฒนาทีมงานโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-16<br />

รูปที่ 8.8 ตัวอยางแผนภูมิแทงทรัพยากร (Schwalbe, 2007)<br />

8.4 การไดทีมงาน<br />

การไดคนทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณสมบัติตามตองการเปนเรื่องที่สําคัญ มีการ<br />

กลาวกันวา ผูจัดการโครงการคือ คนที่ฉลาดที่สุดในทีม แตทําการสรรหาพนักงานไมดี ในการสรรหา<br />

พนักงานใหมควรมีการกําหนดประเภทและจํานวนคนที่ตองทํางานกับโครงการ ณ เวลาที่เหมาะสม<br />

8.4.1 การคัดเลือกสมาชิกทีมงาน<br />

หลังจากการพัฒนาแผนการบริหารคน ผูจัดการโครงการตองทํางานรวมกับผูอื่นในองค<br />

การเพื่อคัดเลือกคนเฉพาะใหกับโครงการ หรือหาพนักงานที่ตองการเพิ่ม องคการตองแนใจวา คนที่จัด<br />

ใหกับโครงการนั้นมีทักษะตรงกับที่ตองการมากที่สุด<br />

องคการที่ทําการสรรหาพนักงานไดดีจะมีแผนกําลังพลที่ดี แผนนี้จะบอกจํานวนและ<br />

ประเภทคนที่มีอยูในองคการปจจุบัน และจํานวนคนและประเภทของคนที่คาดวาจําเปนสําหรับโครงการ<br />

ปจจุบันและสําหรับโครงการที่จะมีในเวลาอันใกล ความสําคัญของแผนกําลังพลคือ การบํารุงรักษาความ<br />

สมบูรณและความถูกตองของคลังทักษะของบุคคลากร จากการศึกษาวิจัยพบวา พนักงานออกจากงาน<br />

เนื่องจาก<br />

• ไมมีอะไรที่แตกตาง<br />

• ไมไดรับการระลึกถึงอยางเหมาะสม<br />

• ไมไดเรียนรูอะไรใหม หรือกาวหนา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-17<br />

• ไมชอบเพื่อนรวมงาน<br />

• ตองการไดรับเงินมากขึ้น<br />

การคัดเลือกสมาชิกโครงการนั้น ผูจัดการโครงการควรเลือกสมาชิกทีมงานที่มี<br />

คุณลักษณะดังนี้<br />

• สามารถแกปญหา ผูจัดการโครงการตองคัดเลือกบุคคลที่สามารถทํางาน<br />

ภายใตภาวะความไมแนนอน รูปญหาและวิธีการแกปญหา<br />

• ใหคํามั่นสัญญา ผูจัดการโครงการตองการคนที่ใหความสําคัญกับบทบาท<br />

หนาที่และความรับผิดชอบที่ไดรับ โดยที่ไมจําเปนตองคอยเตือน<br />

• รับผิดชอบรวมกัน สมาชิกทีมงานตองรับทั้งผลสําเร็จและลมเหลวรวมกัน<br />

เมื่อสมาชิกคนใดมีปญหา สมาชิกคนอื่นควรอาสาเขาชวยเหลือ<br />

• ยืดหยุน สมาชิกตองเต็มใจที่จะปรับตัวเขาสถานการณตางๆ<br />

• ใหความสําคัญกับงาน สมาชิกตองสามารถทําใหงานที่ไดรับมอบหมาย<br />

เสร็จตามแผนของโครงการ<br />

• สามารถทํางานกับเวลาที่จํากัด สมาชิกตองเผชิญกับปญหางานที่คนอื่น<br />

รับผิดชอบเกิดความลาชา สมาชิกโครงการตองสามารถหาวิธีการทํางานให<br />

ภายในเวลาที่เหลือ<br />

• ไววางใจและสนับสนุนซึ่งกันและกัน สมาชิกในทีมตองไววางใจและ<br />

สนับสนุนซึ่งกันและกัน สมาชิกตองเห็นใจกันและพรอมที่จะชวยเหลือกัน<br />

เมื่อตองการ<br />

• ใหความสําคัญกับทีม สมาชิกตองตระหนักถึงทีมกอนตนเอง การใชคํา<br />

สนทนาวา “ฉัน” กับ “เรา” จะเปนตัวชี้วาสมาชิกคนนั้นใหความสําคัญกับ<br />

ทีมหรือไม<br />

• เปดเผย สมาชิกที่เปดเผยจะแสดงออกถึงมุมมอง คําตอบของปญหาที่<br />

ตนเองคิดวาดีที่สุดสําหรับทีม และโครงการ<br />

• สามารถทํางานขามหนวยงาน โครงการตองการสมาชิกที่สามารถทํางานกับ<br />

คนที่มาจากฝงธุรกิจ ซึ่งมีความคิดและมุมมองที่ตางไปจากคนดาน<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-18<br />

• สามารถใชเครื่องมือการบริหารโครงการ โครงการมีการวางแผนดวย<br />

ซอฟตแวรที่หลากหลาย สมาชิกควรมีความคุนเคยกับซอฟตแวรเหลานี้<br />

เนื่องจากสมาชิกอาจตองใหขอมูลสถานภาพของงาน ความกาวหนาของ<br />

งานผานซอฟตแวรโดยตรง<br />

8.4.2 การมอบหมายงานใหกับสมาชิก<br />

เมื่อไดคนมาแลว ผูจัดการโครงการจะมอบหมายงานใหกับสมาชิก ผลลัพธของ<br />

กระบวนการนี้คือ การกําหนดพนักงานใหกับงาน ขอมูลทรัพยากรที่มีใหใช และการปรับปรุงแผนการ<br />

บริหารคน กอนที่ผูจัดการโครงการจะทําการมอบหมายงาน ผูจัดการโครงการตองทําการประเมิน<br />

ความสามารถของพนักงานกอนวา ใครมีความสามารถในการทําแตละกิจกรรมเทาใด โดยประเมิน<br />

ออกมาเปนคาใชจาย ดังแสดงในตารางที่ 8.2 จากนั้น จึงมอบหมายงานใหแตละคนโดยคํานึงถึงทักษะ<br />

และเวลา ซึ่งมีขั้นตอนการทําดังนี้<br />

ขั้นตอนที่ 1 นําคาที่นอยที่สุดของแตละแถวลบออกจากทุกคาในแถวนั้น หลังจาก<br />

นั้น นําคาที่นอยที่สุดของแตละสดมภลบออกจากทุกคาในสดมภนั้น<br />

ขั้นตอนที่ 2 ขีดเสนทั้งแนวตั้งและแนวนอนที่ครอบคลุม 0 ทุกตัวในตารางให<br />

จํานวนเสนนอยที่สุด นับจํานวนเสน ถาจํานวนเสนเทากับจํานวนแถว<br />

หรือสดมภคาใดคาหนึ่ง แสดงวาตารางการมอบหมายงานเปนตาราง<br />

ที่เสียคาใชจายนอยที่สุด ใหไปทําขั้นตอนที่ 4<br />

ขั้นตอนที่ 3 ถาจํานวนเสนไมเทากับจํานวนแถวหรือสดมภ ใหนําคาที่นอยที่สุดที่<br />

ไมไดถูกตัดดวยเสนไปลบออกจากทุกคาที่ไมมีเสนตัดผาน บวก<br />

จํานวนเดียวกันนี้กับคาที่เสนมาตัดกัน แลวกลับไปขั้นตอนที่ 2<br />

ขั้นตอนที่ 4 ทําการมอบหมายงานที่มีคา 0 ใหกับบุคคลที่อยูในตําแหนงเดียวกัน<br />

ในตาราง<br />

ตัวอยางการมอบหมายงาน<br />

สมมุติให A, E, H กิจกรรมกลุมที่ 1<br />

B, C กิจกรรมกลุมที่ 2<br />

D, F, G กิจกรรมกลุมที่ 3<br />

I, J กิจกรรมกลุมที่ 4<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-19<br />

โดยที่แตละกลุมกิจกรรมสามารถทําโดยพนักงาน 4 คนดวยคาใชจายที่แตกตางกันดัง<br />

แสดงในตารางที่ 8.2 คาใชจายของแตละคนในการทํากิจกรรมแตละกลุมอาจไดจากการประมาณการของ<br />

ผูจัดการโครงการหรือผูเชี่ยวชาญ หรือใชขอมูลที่เกิดขึ้นในอดีตของโครงการที่มีงานลักษณะที่เหมือนกับ<br />

งานของโครงการที่เรากําลังดําเนินการ<br />

ตารางที่ 8.2 คาใชจายของแตละคนในการทํากิจกรรมแตละกลุม<br />

กลุมกิจกรรม<br />

1 2 3 4<br />

สุชาติ 18 10 15 12<br />

ประวัติ 15 13 10 11<br />

กิตติ 16 8 16 13<br />

สุวรรณี 14 11 12 9<br />

ขั้นตอนที่ 1 นําคาที่นอยที่สุดในแตละแถว ไปลบทุกคาในแตละแถว ผลที่ไดคือ<br />

ตารางที่ 8.3 คาที่นอยที่สุดแตละแถวมีดังนี้<br />

แถวที่ 1 คือ 10<br />

แถวที่ 2 คือ 10<br />

แถวที่ 3 คือ 8<br />

แถวที่ 4 คือ 9<br />

ตารางที่ 8.3 ผลการลบคาที่นอยที่สุดของแตละแถว (ขั้นตอนที่ 1)<br />

กลุมกิจกรรม<br />

1 2 3 4<br />

สุชาติ 8 0 5 2<br />

ประวัติ 5 3 0 1<br />

กิตติ 8 0 8 5<br />

สุวรรณี 5 2 3 0<br />

นําคาที่นอยที่สุดของแตละสดมภลบออกจากทุกคาในสดมภนั้น<br />

ผลที่ไดคือ ตารางที่ 8.4 คาที่นอยที่สุดของแตละสดมภมีดังนี้<br />

สดมภที่ 1 คือ 5<br />

สดมภที่ 2 คือ 0<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-20<br />

สดมภที่ 3 คือ 0<br />

สดมภที่ 4 คือ 0<br />

ตารางที่ 8.4 ผลการลบคาที่นอยที่สุดของแตละสดมภ (ขั้นตอนที่ 1)<br />

กลุมกิจกรรม<br />

1 2 3 4<br />

สุชาติ 3 0 5 2<br />

ประวัติ 0 3 0 1<br />

กิตติ 3 0 8 5<br />

สุวรรณี 0 2 3 0<br />

ขั้นตอนที่ 2 ขีดเสนทั้งแนวตั้งและแนวนอนที่ครอบคลุม 0 ทุกตัวในตารางโดยให<br />

จํานวนเสนนอยที่สุด ผลที่ไดคือ ตารางที่ 8.5<br />

ตารางที่ 8.5 ผลการดําเนินการตามขั้นตอนที่ 2<br />

กลุมกิจกรรม<br />

1 2 3 4<br />

สุชาติ 3 0 5 2<br />

ประวัติ 0 3 0 1<br />

กิตติ 3 0 8 5<br />

สุวรรณี 0 2 3 0<br />

จํานวนแถวคือ 4 จํานวนสดมภคือ 4 สวนจํานวนเสนที่เขียนคือ 3<br />

ดังนั้นตองทําขั้นตอนที่ 3<br />

ขั้นตอนที่ 3 นําคาที่นอยที่สุดที่ไมไดถูกตัดดวยเสน ซึ่งคือ 2 ไปลบออกจากทุก<br />

คาที่ไมมีเสนตัดผาน บวกจํานวนเดียวกันนี้ (2) กับคาที่เสนมาตัด<br />

กัน แลวกลับไปขั้นตอนที่ 2 ผลลัพธจากขั้นตอนนี้คือ ตารางที่ 8.6<br />

ซึ่งไดจํานวนเสนเทากับจํานวนแถวและจํานวนสดมภ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-21<br />

ตารางที่ 8.6 ผลการดําเนินการขั้นตอนที่ 3<br />

กลุมกิจกรรม<br />

1 2 3 4<br />

สุชาติ 1 0 3 0<br />

ประวัติ 0 5 0 1<br />

กิตติ 1 0 6 3<br />

สุวรรณี 0 4 3 0<br />

ขั้นตอนที่ 4 ทําการมอบหมายงานที่มีคา 0 ใหกับบุคคลที่อยูในตําแหนงเดียวกัน<br />

ในตาราง โดยพิจารณาจากแถวหรือสดมภที่มีคา 0 จํานวนนอย<br />

ที่สุด ดังนั้น กิตติที่มีกลุมกิจกรรมที่ 2 เพียงกลุมเดียวที่มีคา 0<br />

ดังนั้น สุชาติจึงเหลืองานกลุมกิจกรรมที่ 4 เทานั้นที่เปน 0 สุชาติจึง<br />

ควรไดงานกลุมนี้ไป สวนสุวรรณีและประวัติมีจํานวน 0 เทากัน แต<br />

สุวรรณีมีคาใชจายกิจกรรมที่ 1 นอยกวาประวัติ จึงไดรับมอบหมาย<br />

ใหทํางานกลุมกิจกรรมที่ 1 ดังนั้น สุวรรณีจึงควรรับผิดชอบกิจกรรม<br />

ที่ 3 คาใชจายมีดังนี้<br />

กิตติ กิจกรรมกลุมที่ 2 8,000 บาท<br />

สุชาติ กิจกรรมกลุมที่ 4 12,000 บาท<br />

สุวรรณี กิจกรรมกลุมที่ 1 14,000 บาท<br />

ประวัติ กิจกรรมกลุ มที่ 3 10,000 บาท<br />

รวมคาใชจายทั้งหมด 44,000 บาท<br />

8.4.3 การบรรจุทรัพยากร<br />

ในบทการบริหารเวลาโครงการไดอธิบายถึงการใชผังเครือขาย เพื่อชวยผูจัดการโครงการ<br />

บริหารตารางเวลาโครงการ ปญหาหนึ่งในกระบวนการจัดตารางเวลาโครงการคือ ประเด็นของการมีและ<br />

การใชทรัพยากร มาตรวัดความสําเร็จที่สําคัญของผูจัดการโครงการคือ ผูจัดการโครงการสามารถสราง<br />

ความสมดุลระหวางการดําเนินงาน เวลา และคาใชจายใหดีไดอยางไร ในระหวางชวงเวลาวิกฤต มันมี<br />

ความเปนไปไดบางที่จะเพิ่มทรัพยากร เชน พนักงาน ใหกับโครงการ โดยมีคาใชจายเล็กนอย หรือไมมี<br />

เปาหมายของผูจัดการโครงการคือ ตองประสบความสําเร็จโดยปราศจากการเพิ่มคาใชจายหรือเวลา<br />

กุญแจสําคัญเพื่อความสําเร็จคือ การบริหารทรัพยากรมนุษยอยางมีประสิทธิผล<br />

เมื่อมีการมอบหมายพนักงานกับโครงการ ผูจัดการโครงการสามารถใชเทคนิคที่จะชวย<br />

ใหการใชพนักงานไดอยางมีประสิทธิผล เทคนิคดังกลาวคือ การบรรจุทรัพยากร และการจัดระดับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-22<br />

ทรัพยากร การบรรจุทรัพยากรคือ ปริมาณของทรัพยากรแตละอยางที่ปรากฎในตารางเวลาชวงระยะเวลา<br />

หนึ่ง การบรรจุทรัพยากรจะชวยผูจัดการโครงการพัฒนาความเขาใจเกี่ยวกับความตองการของโครงการที่<br />

มีตอทรัพยากรองคการพรอมกับตารางเวลาของแตละคน ผูจัดการโครงการนิยมใชแผนภูมิแทงเพื่อแสดง<br />

ความผันแปรในการบรรจุทรัพยากร ซึ่งชวยในการกําหนดความตองการพนักงาน หรือชวยในการระบุ<br />

ปญหาการจัดพนักงาน<br />

รูปที่ 8.9 ตัวอยางแผนภูมิแทงที่แสดงพนักงานที่ไดรับมอบหมายงานมากเกินไป<br />

แผนภูมิแทงที่แสดงการใชทรัพยากรสามารถบอกใหผูจัดการโครงการรูวา มีการใหงาน<br />

กับคนหรือกลุมมากเกินไปหรือไม ดังแสดงในรูปที่ 8.9 จากรูปพบวา วิยะดาไดรับมอบหมายใหทํางานแต<br />

บางวันมากเกินไป ตัวเลขเปอรเซ็นตบนแกนตั้งแทนเปอรเซ็นตของเวลาของวิยะดาที่ถูกจัดสรรใหทํางาน<br />

ใหกับโครงการ แกนนอนดานบนแทนเวลาเปนวัน<br />

8.4.4 การจัดระดับทรัพยากร<br />

การจัดระดับทรัพยากรคือ เทคนิคสําหรับการแกปญหาความขัดแยงดานทรัพยากรโดย<br />

การเลื่อนงาน วัตถุประสงคหลักของการจัดระดับทรัพยากรคือ เพื่อการกระจายการใชทรัพยากรให<br />

สม่ําเสมอ ผูจัดการโครงการตรวจสอบผังเครือขายในสวนที่มีเวลายืดหยุน แลวเลื่อนงานที่ไมวิกฤตซึ่งไมมี<br />

ผลทําใหเกิดความลาชา<br />

การจัดสรรงานใหมากเกินไปคือ ความขัดแยงประเภทหนึ่ง ถาคนใดคนหนึ่งถูกใหงาน<br />

มากเกินไปหรือนอยเกินไป ผูจัดการโครงการควรเปลี่ยนตารางเวลา เพื่อขจัดปญหาดังกลาว ดังนั้นการจัด<br />

ระดับทรัพยากรมีจุดมุงหมายที่ลดความผันแปรในการบรรจุทรัพยากรแตละชวงเวลา โดยการยายงาน<br />

ภายในเวลาที่ยืดหยุนได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-23<br />

ผังเครือขายในรูปที่ 8.10 แสดงกิจกรรม A B และ C ที่สามารถเริ่มพรอมกัน กิจกรรม A<br />

มีระยะเวลาการทํางาน 2 วัน และใชคน 2 คนทํางาน กิจกรรม B ใชเวลาทํางาน 5 วันและใชคน 4 คน<br />

กิจกรรม C ใชเวลา 3 วัน และใชคน 2 คน แผนภูมิแทงดานลางซายแสดงการใชทรัพยากร ถาทุกกิจกรรม<br />

เริ่มตนวันแรก สวนแผนภูมิแทงดานลางขวา แสดงการใชทรัพยากร โดยเปลี่ยนใหกิจกรรม C ทํางานชา 2<br />

วันตามเวลายืดหยุน ที่กิจกรรมนั้นมี ทําใหแผนภูมิแทงดานลางขวาเปนแบบสม่ําเสมอ ดังนั้น กิจกรรมได<br />

ถูกจัดใหมีวันวางนอยที่สุดใหประหยัดเวลาและคนทํางาน เนื่องจากสามารถลดจํานวนคนทํากิจกรรม B<br />

จาก 6 คนเปน 4 คน<br />

ผังเครือขายโครงการที่แสดงกิจกรรม A, B และ C<br />

พรอมระยะเวลา กิจกรรม A มีเวลายืดหยุน 3 วันและ<br />

กิจกรรม C มีเวลายืดหยุน 2 วันสมมุติวากิจกรรม A<br />

มีคนทํางาน 2 คน กิจกรรม B มีคนทํางาน 4 คน<br />

และกิจกรรม C มีตนทํางาน 2 คน<br />

การใชทรัพยากร<br />

ถาทุกกิจกรรมเริ่มวันแรก<br />

การใชทรัพยากร ถากิจกรรม C ลาชาไป 2 วัน<br />

ตามเวลายืดหยุนของกิจกรรม<br />

รูปที่ 8.10 แสดงตัวอยางการจัดระดับทรัพยากร (Schwalbe, 2007)<br />

การจัดระดับทรัพยากรมีประโยชนหลายประการคือ<br />

• การบริหารจัดการนอยลง เมื่อมีการใชทรัพยากรคงที่ เชน ผูจัดการโครงการ<br />

บริหารจัดการคนที่ทํางานแบบไมเต็มเวลาที่ไดกําหนดวาทํางานอาทิตยละ 20<br />

ชั่วโมง ไดงายกวาคนที่จัดเวลาแบบ 10 ชั่วโมง 1 อาทิตย 40 ชั่วโมงอีกอาทิตย<br />

และอาทิตยถัดมาอีก 5 ชั่วโมง<br />

• ผูจัดการโครงการอาจใชนโยบายแบบจัส-อิน-ไทม (Just-in-time) กับผูรับจาง<br />

ตอ เชน ผูจัดการโครงการอาจตองการจัดระดับทรัพยากรที่เกี่ยวพันกับงานที่<br />

ตองทําโดยที่ปรึกษาการทดสอบ การจัดระดับอาจทําใหโครงการใชที่ปรึกษา<br />

ภายนอกเต็มเวลา 4 คน เพื่อทําการทดสอบเปนเวลา 4 เดือน แทนที่จะ<br />

กระจายงานออกไปตามเวลา<br />

• มีปญหากับบุคคลากรโครงการและแผนกบัญชีนอยลง การเพิ่มและการลด<br />

จํานวนพนักงานจะสรางงานเพิ่มและเกิดความสับสน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-24<br />

• ปรับปรุงจิตใจ คนชอบความสม่ําเสมอในงานของตน มันคอนขางเครียด<br />

สําหรับคนที่ไมรูวาแตละอาทิตย หรือแตละวัน ตองทํางานโครงการใด และกับ<br />

ใคร<br />

8.4.5 การกําหนดตารางเวลาการใชทรัพยากรภายใตขอจํากัดดานทรัพยากร<br />

ในกรณีที่แรงงานมีไมเพียงพอที่จะสนองความตองการในชวงเวลาที่มีความตองการ<br />

แรงงานได ผูจัดการโครงการตองจัดลําดับกิจกรรมและจัดสรรคนอยางเหมาะสม เพื่อใหโครงการเกิด<br />

ความลาชานอยที่สุด และไมใชแรงงานเกินกวาจํานวนสูงสุดที่มีอยู ปญหาในการกําหนดเวลาการใช<br />

ทรัพยากรเปนปญหาที่สลับซับซอน ถาโครงการนั้นเปนโครงการขนาดใหญและใชทรัพยากรตางๆ<br />

มากมายหลายชนิด และทรัพยากรที่จํากัดหลายชนิด นักวิชาการบางคนไดนําเสนอใหใชตัวแบบทาง<br />

คณิตศาสตรในการหาคําตอบที่เหมาะสม เชน วิธีโปรแกรมเสนตรง (linear programming) ซึ่งเปนวิธีที่<br />

ตองใชขอมูลคอนขางมากในการสรางตัวแบบ ทําใหวิธีการทางคณิตศาสตรไมสะดวกในทางปฏิบัติ<br />

วิธีการอีกวิธีที่นิยมใชกันคือ วิธีการฮิวริสติก (heuristics) ซึ่งเปนกฎงายๆ ในการ<br />

แกปญหาที่มีความซับซอนมากๆ โดยกําหนดกฎในการตัดสินใจที่จะจัดสรรบุคคลใหกับกิจกรรมใดกอน<br />

หรือหลังกิจกรรมใด ผลที่ไดจากการจัดสรรไมไดเปนคําตอบที่ดีที่สุด แตเปนคําตอบที่นาพึงพอใจ<br />

(satisfaction) วิธีการฮิวริสติกกําหนดกฎในการจัดลําดับ (priority) ของกิจกรรมหากบุคลากรมีไม<br />

เพียงพอ กฎที่สําคัญมีดังนี้<br />

• กําหนดบุคลากรใหกับงานที่มีเวลายืดหยุนนอยที่สุด (minimum slack first)<br />

• กําหนดบุคลากรใหกับงานที่ใชเวลาในการดําเนินการสั้นที่สุด (shortest task first)<br />

• กําหนดบุคลากรใหกับงานที่เริ่มเร็วที่สุด (earliest task first)<br />

• กําหนดบุคลากรใหกับงานที่ใชคนมากที่สุด (most resources first)<br />

• กําหนดบุคลากรใหกับงานที่มีกิจกรรมวิกฤตตามหลังมากที่สุด (most critical<br />

followers) กิจกรรมใดมีกิจกรรมวิกฤตตามหลังมากที่สุดจะไดรับการจัดสรรคนให<br />

กอนกิจกรรมอื่น<br />

• กําหนดบุคลากรใหกับงานที่มีกิจกรรมตามหลังมากที่สุด (most successors)<br />

กิจกรรมใดที่มีกิจกรรมตามหลังมากที่สุดจะไดรับการจัดสรรบุคลากรกอน<br />

ถึงแมวากิจกรรมเหลานั้นจะไมไดเปนกิจกรรมวิกฤตก็ตาม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-25<br />

8.5 การพัฒนาทีมงานโครงการ<br />

ถึงแมวาผูจัดการโครงการประสบความสําเร็จในการคัดสรรคนที่มีทักษะเพื่อมาทํางาน แตเรา<br />

ตองแนใจวาคนเหลานี้สามารถทํางานดวยกันไดเปนทีม เพื่อบรรลุเปาหมายโครงการ เปาหมายหลักของ<br />

การพัฒนาทีมงานโครงการคือ เพื่อชวยคนทํางานดวยกันอยางมีประสิทธิผลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ<br />

โครงการ<br />

บรูซ ทักแมน (Bruce Tuckman) ตีพิมพตัวแบบสี่ขั้นของการพัฒนาทีมงานในปค.ศ. 1965<br />

และปรับปรุงเพิ่มขั้นในปค.ศ. 1970 ตัวแบบทักแมนมี 5 ขั้นดังนี้<br />

• กอรางสรางทีมงาน (forming) เปนขั้นตอนการแนะนําสมาชิกทีม เพื่อใหเกิดความรูจัก<br />

คุนเคยกัน และทําความเขาใจ มีการกําหนดบทบาทหนาที่ของแตละคน ผลงานที่<br />

คาดหวัง และความสัมพันธระหวางสมาชิกทีมงานโครงการ ทีมงานโครงการสามารถ<br />

ผานขั้นตอนนี้ไปสูขั้นตอนตอไปเมื่อสมาชิกโครงการเริ่มเปนสวนหนึ่งของทีม<br />

• เกิดพายุ (storming) เนื่องจากการสรางทีมงานจะมีสมาชิกใหมทําใหสมาชิกทีมมี<br />

ความเห็นที่แตกตางกันวาทีมควรจะทํางานอยางไร แมวาสมาชิกจะยอมรับวาตนเปน<br />

สวนหนึ่งของทีมงานโครงการ แตก็ยังตอตานการบังคับของกลุม สมาชิกทดสอบซึ่งกัน<br />

และกัน และเกิดความขัดแยงภายในทีม เมื่อสมาชิกยอมรับความเปนผูนําของผูจัดการ<br />

โครงการ ทีมงานโครงการจะผานขั้นตอนนี้<br />

• สรางบรรทัดฐาน (norming) การแกปญหาความขัดแยงตองตกลงบรรทัดฐานและการ<br />

ปฏิบัติของกลุมรวมกัน รวมทั้งวิธีการการตัดสินใจ การรวมงาน การประชุมและ<br />

กระบวนการทํางาน เมื่อทีมไดตัดสินใจในบรรทัดฐาน คนใหมที่เขามารวมตองไดรับการ<br />

อธิบายถึงบรรทัดฐาน สมาชิกทีมงานไดพัฒนาความสัมพันธใหมีความใกลชิดมากยิ่งขึ้น<br />

• ปฏิบัติงาน (performing) เมื่อบรรทัดฐานไดรับการยอมรับ กลุมสามารถใชบรรทัดฐาน<br />

เพื่อบรรลุงานของกลุม สมาชิกปฏิบัติงานตามหนาที่ของตนอยางเต็มที่เพื่อใหบรรลุ<br />

วัตถุประสงคของโครงการ<br />

• สลายตัว (adjourning) เมื่อทีมงานโครงการปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ<br />

แลว ทีมงานจะเขาสูขั้นตอนสลายตัว ซึ่งเปนการแยกกันของสมาชิกทีมงานกลับไปยัง<br />

หนวยงานตนสังกัดเดิม<br />

คือ<br />

ตัวแบบการพัฒนาทีมงานโครงการดังกลาวขางตนใหขอแนะนําในการบริหารโครงการที่สําคัญ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-26<br />

• ผูจัดการโครงการตองทุมเทความสนใจใหกับทีมงาน เพื่อชวยใหทีมงานสามารถพัฒนา<br />

มาถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานอยางรวดเร็ว โครงการจึงจะไมเกิดความลาชา<br />

• ตัวแบบนี้ใหกรอบที่ทําใหสมาชิกเขาใจการพัฒนาของทีม ผูรวมทีมมีสวนรวมพัฒนาตาม<br />

ตัวแบบ ซึ่งจะชวยทําใหสมาชิกโครงการยอมรับสภาพความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นในขั้น<br />

เกิดพายุ และพยายามมุงสูขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น<br />

• ผู จัดการโครงการตองมีบทบาทสําคัญในการสรางบรรทัดฐาน ซึ่งเปนขั้นตอนที่มีสวน<br />

สนับสนุนอยางสําคัญตอระดับประสิทธิภาพของขั้นตอนปฏิบัติงาน<br />

8.5.1 การจัดสมดุลของทีมงาน<br />

สมาชิกของทีมประกอบดวยพนักงานหลายคนมารวมตัวกัน เพื่อใหโครงการสําเร็จตาม<br />

วัตถุประสงค การเลือกสมาชิกมารวมทีมนอกจากจะพิจารณาจากคุณลักษณะที่กลาวมากอนหนานี้แลว<br />

ผูจัดการโครงการยังพิจารณาพฤติกรรมเชิงสังคมของสมาชิกดวย การจัดสมดุลของทีมเปนปจจัยความ<br />

สําเร็จที่สําคัญอีกปจจัยหนึ่ง ปจจัยเชิงสังคมทําใหแบงคนออกเปน 4 กลุมดังนี้<br />

• การรับการเปลี่ยนแปลง (assimilating) คนประเภทนี้เกงในการรวบรวม และการ<br />

แทนขอมูลในรูปแบบใหม เนนที่ความคิดและแนวคิดมากกวาบุคคล คนประเภทนี้<br />

ชอบใชขอมูลและตัวแบบอธิบายสถานการณจากมุมมองกวาง ดังนั้น คนพวกนี้ให<br />

ความสนใจในสิ่งที่สมเหตุสมผลมากกวาคานิยมเชิงปฏิบัติใดๆ (practical value)<br />

ไมใชคนที่ใหความสําคัญกับผลลัพธ เราจะพบคนกลุมนี้ในอาชีพทางเทคนิค หรือ<br />

เชี่ยวชาญเฉพาะ เชน นักพัฒนาระบบ ดังนั้นคนประเภทนี้เหมาะกับการเปนผู<br />

กําหนดปญหาและโอกาส<br />

• ความแตกตาง (diverging) คนประเภทนี้ชอบคนหาทางเลือกและมองสถาน<br />

การณจากมุมมองที่หลากหลาย เปนพวกสังเกตการณมากกวาลงมือกระทําเอง<br />

ชอบการระดมสมอง คิดนอกกรอบ และเสนอวิธีการอื่นนอกเหนือจากวิธีการที่ได<br />

กําหนดไวแลว คนกลุมนี้จึงเหมาะกับงานประเภทเสนอความคิดใหมๆ<br />

• การปรับใหเหมาะสม (accommodating) เปนกลุมคนที่ใหความสําคัญกับผลลัพธ<br />

และตองการผลักดันสิ่งตางๆ ไปสูการปฏิบัติ เปนพวกปรับตัวและเปลี่ยนแปลงงาย<br />

ในสถานการณตางๆ เกงในการทําใหงานเกิดขึ้น เปนคนลงมือทํางานดวยตัวเอง<br />

และเปนสมาชิกในทีมที่ดี คนกลุมนี้เปนพวกนักแกปญหา เชื่อถือขอมูลจากบุคคล<br />

มากกวาการวิเคราะหทางเทคนิค ในฐานะเปนสมาชิกของทีม ผูจัดการโครงการ<br />

สามารถไวใจคนประเภทนี้ไดเพราะจะชวยทําใหทีมงานแข็งแกรง เปนผูอํานวย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-27<br />

ความสะดวกและประสานงานที่ดี รวมทั้งเปนผูรักษาสันติภาพดวย ดังนั้น คน<br />

ประเภทนี้เหมาะกับการเปนผูดําเนินงานตามแผน<br />

• การรวมกัน (converging) คนเปนเภทนี้จะรวบรวมสารสนเทศเขาดวยกันเพื่อแก<br />

ปญหา เปนผูหาคําตอบมากกวาเปนคนดําเนินการเอง จุดแข็งของพวกเขาขึ้นอยู<br />

กับความสามารถในการนําแนวคิด ตัวแบบ และความคิดไปสูการปฏิบัติ เปนพวก<br />

ที่ชอบทํางานเชิงเทคนิคและปญหามากกวาจะทํางานที่เกี ่ยวของกับคน เปนคนที่<br />

เกงในการเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุด สําหรับการเปนสมาชิกทีมงาน คนเหลานี้เปนพวก<br />

ที่เนนผลลัพธ คนประเภทนี้ขับเคลื่อนทีมงานใหทํางานโดยการชวยทีมเลือกวิธีการ<br />

ที่ดีที่สุดสําหรับสถานการณ และระดมทีมงานใหทํางาน สรุปแลวคนประเภทนี้จึง<br />

เหมาะกับการประเมินและจัดลําดับความคิด หรือทางเลือก<br />

สมมติวาทีมงานที่มีคนประเภทรวมกัน แตไมมีคนประเภทคิดแตกตางเลย ผลที่เกิดขึ้น<br />

คือจะไมมีใครคอยกระตุนใหทีมงานคนหาทางเลือกอื่นๆ ทําใหเรารีบรอนตัดสินใจตามที่คนประเภท<br />

รวมตัวบอกใหทีมงานทํา หรือการที่ทีมงานไมมีคนประเภทปรับตัวใหเขาหากัน จะทําใหทีมงานขาดคนที่<br />

จะประสานงานกับคนที่เกี่ยวของกับโครงการ เปนตน<br />

8.5.2 การอบรม<br />

ผูจัดการโครงการจะแนะนําใหคนเขารับการอบรมหลักสูตรเฉพาะ เพื่อเปนการพัฒนา<br />

ทีมงานและเปนการพัฒนาความสามารถของแตละคนใหดีขึ้น การใหการอบรมแบบจัส-อิน-ไทม เปนสิ่ง<br />

สําคัญ การอบรมบางครั้งใชเวลามาก หลายองคการจัดใหมีการเรียนรูดวยระบบอิเลคทรอนิกสสําหรับ<br />

พนักงานขององคการ ดังนั้นพนักงานสามารถเรียนทักษะเฉพาะ ณ เวลา และสถานที่ใดก็ได นอกจากนี้ใน<br />

บางครั้ง การอบรมแบบอิเลคทรอนิกส ประหยัดคาใชจายไดมากกวาวิธีการอบรมแบบดั้งเดิม ผูจัดการ<br />

โครงการตองแนใจวาเวลาและวิธีการสงมอบการอบรมเหมาะสมกับสถานการณเฉพาะ องคการพบวา<br />

องคการจะประหยัดถาอบรมพนักงานปจจุบันในเรื่องเฉพาะมากกวาการจางคนใหมที่มีทักษะที่ตองการ<br />

8.5.3 ระบบการยอมรับนับถือและรางวัล<br />

เครื่องมือสําคัญอีกอยางหนึ่งที่ใชในการสงเสริมการพัฒนาทีมคือ ระบบรางวัลและการ<br />

ยอมรับนับถือ ถาผูจัดการโครงการใหรางวัลทีมงาน ผูบริหารไมควรคํานึงถึงผลงานของสมาชิกแตละคน<br />

แตถาผูจัดการโครงการจะใชวิธีการใหรางวัลแกสมาชิกรายบุคคล ผูจัดการโครงการควรนําวิธีการนี้มาใช<br />

กับบุคคลที่สมาชิกทีมงานโครงการสวนใหญตางยอมรับ เพื่อมิใหเกิดปญหาการตอตานหรือเกิดความ<br />

ขัดแยงในกลุมสมาชิกทีมงาน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-28<br />

รางวัลที่ผูจัดการโครงการจะใหกับทีมงาน หรือสมาชิกโครงการ อาจเปนไดทั้งที่เปนตัว<br />

เงิน หรืออาจเปนสิ่งที่ทําใหเกิดความภาคภูมิใจในผูรับ และสามารถจดจําไปไดนานๆ บางองคการเสนอ<br />

ใหรางวัลเปนการเดินทางทองเที่ยว บัตรของขวัญใหไปรับประทานอาหารในภัตตาคาร บัตรชมภาพยนตร<br />

หรือคํายกยองชมเชยในที่ประชุมหรือตอสาธารณะเปนตน<br />

ผูจัดการโครงการตองประเมินผลการดําเนินงานของทีมงานอยางตอเนื่อง เมื่อพบวาสวน<br />

ใดที่แตละคนหรือทั้งทีมสามารถปรับปรุง ผูจัดการโครงการควรคนหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาคนของตนและ<br />

ปรับปรุงการดําเนินงาน<br />

8.6 การบริหารทีมงาน<br />

หลังจากการประเมินผลการดําเนินงานของทีม ผูจัดการโครงการตองตัดสินใจถามีการขอ<br />

เปลี่ยนแปลงโครงการ หรือมีการแนะนําใหแกไขหรือปองกัน หรือใหปรับปรุงแผนบริหารโครงการ ผูจัดการ<br />

โครงการตองใชทักษะทางดานคนเพื่อคนหาวิธีการที่ดีที่สุด และบริหารสมาชิกโครงการแตละคน<br />

8.6.1 เทคนิคและเครื่องมือสําหรับการบริหารทีมงานโครงการ<br />

มีเทคนิคและเครื่องมือหลายอยางที่ชวยการบริหารทีมดังนี้<br />

• การเฝาสังเกตและการสนทนา (observation and conversation) มันเปนการ<br />

ยากที่จะประเมินสมาชิกทีมงานวาทํางานดีหรือไม หรือพวกเขารูสึกกับงาน<br />

อยางไร ถาผูจัดการโครงการไมเคยดู หรือสนทนาประเด็นเหลานี้ ผูจัดการ<br />

โครงการหลายๆ โครงการชอบทําการบริหารโดยการเดินรอบๆ เพื่อใหเห็นกับตา<br />

และไดยินกับหูจริงๆ การสนทนาอยางเปนทางการและไมเปนทางการเกี่ยวกับ<br />

โครงการวาเปนอยางไร เปนไปดวยดีหรือไม จะเปนวิธีการใหขอมูลที่สําคัญ<br />

สําหรับกรณีพนักงานเสมือน (virtual workers) ผูจัดการโครงการควรเฝาสังเกต<br />

และสนทนางานและประเด็นตางๆ ผานไปรษณียอิเลคทรอนิกส โทรศัพท หรือ<br />

สื่อการสื่อสารอื่นๆ<br />

• การประเมินผลการดําเนินโครงการ (project performance appraisals) ความ<br />

จําเปนและประเภทการประเมินผลการดําเนินโครงการจะแตกตางไปตามระยะ<br />

เวลาของโครงการ ความซับซอนของโครงการ นโยบายองคการ สัญญา และการ<br />

สื่อสารที่เกี่ยวของ ถึงแมวาผูจัดการโครงการไมประเมินผลการดําเนินโครงการ<br />

ของสมาชิกอยางเปนทางการ การใหขอมูลยอนกลับกับสมาชิกที่ทันตอเวลายัง<br />

เปนสิ่งสําคัญ ถาสมาชิกสงงานชา ผูจัดการโครงการควรหาเหตุผลสําหรับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-29<br />

พฤติกรรมนี้ และดําเนินการที่เหมาะสมในการแกสิ่งที่เกิดขึ้น ถาความลาชา<br />

เกิดขึ้นเพราะมีคนในครอบครัวมีปญหาและทําใหไมมีสมาธิ หรือสมาชิกวาง<br />

แผนที่จะออกจากโครงการ สาเหตุที่เกิดขึ้นมีผลกระทบอยางแรงตอการเลือก<br />

การกระทําของผูจัดการโครงการตอปญหาที่เกิดขึ้น<br />

• การบริหารความขัดแยง (conflict management) มีโครงการจํานวนไมมากที่<br />

เสร็จสมบูรณ โดยไมมีความขัดแยง ความขัดแยงบางประเภทเปนเรื่องที่ดีตอ<br />

โครงการ บางประเภทก็ไมใช การบริหารการสื ่อสารโครงการไดกลาวถึงวิธีการ<br />

หลายวิธีที่จะจัดการกับความขัดแยง มันเปนเรื่องสําคัญที่ผูจัดการโครงการควร<br />

เขาใจกลยุทธสําหรับจัดการความขัดแยงและควรบริหารความขัดแยงกอนลวง<br />

หนา รายละเอียดของการบริหารความขัดแยงจะไดกลาวในบทตอๆ ไป<br />

• บันทึกประเด็น (issue logs) ผูจัดการโครงการหลายคนเก็บบันทึกประเด็นตางๆ<br />

เพื่อทําเปนเอกสาร และติดตามประเด็นที่จําเปนเพื่อแกปญหาอยางมี<br />

ประสิทธิผล ประเด็นที่บันทึกประกอบดวยหัวขอตอไปนี้<br />

• จุดที่เกิดความคิดเห็นที่แตกตาง<br />

• สถานการณที่จําเปนตองทําใหเกิดความชัดเจน หรือสืบสวน<br />

• ความกังวลโดยทั่วไปที่จําเปนตองบันทึก<br />

ประเด็นที่สามารถทํารายการทํางานของทีมงานควรประกาศใหสมาชิกทราบ<br />

และทําการแกไขประเด็นเหลานั้น ผูจัดการโครงการควรตั้งคนใดคนหนึ่งเพื่อแก<br />

ประเด็นแตละประเด็น และกําหนดวันที่คาดวาจะแกไขเสร็จ<br />

8.6.2 คําแนะนําทั่วไปสําหรับการบริหารทีม<br />

ผูจัดการโครงการที่มีประสิทธิผลตองเปนผูนําทีมที่ดี ขอแนะนําสําหรับผูจัดการเพื่อ<br />

บริหารใหทีมงานมีประสิทธิภาพมีดังนี้<br />

• อดทนและเมตตาตอทีม ใหนึกสิ่งที่ดีที่สุดของสมาชิก ไมคิดวาสมาชิกทีมงาน<br />

ขี้เกียจและไมระมัดระวัง<br />

• แกปญหาแทนการวากลาวและชวยแกปญหา โดยการเนนที่พฤติกรรมไมใช<br />

ตัวบุคคล<br />

• กําหนดการประชุมที่มีประสิทธิผล สม่ําเสมอ ใหเนนที่วัตถุประสงคโครงการ<br />

และสรางผลลัพธทางบวก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-30<br />

• ใหเวลาทีมงานในการผานชวงการสรางทีมงานพื้นฐาน ไมคาดหวังทีมงาน<br />

ทํางานดวยประสิทธิภาพสูงสุด<br />

• จํากัดขนาดของทีมงานไวที่ 3-7 คน<br />

• วางแผนกิจกรรมทางสังคมบาง เพื่อชวยสมาชิกทีมงาน และผูมีสวนไดเสีย<br />

โครงการอื่นๆ ไดรูจักกันไดดีขึ้น<br />

• เนนอัตลักษณทีม สรางธรรมเนียมที่ทําใหสมาชิกทีมสนุกสนาน<br />

• ทะนุถนอมสมาชิกทีมงานและกระตุ นสงเสริมใหพวกเขาชวยเหลือกัน ใหการ<br />

อบรมที่จะชวยแตละคนและทีมงานทั้งทีมใหกลายเปนทีมงานที่ทํางานอยาง<br />

ประสิทธิผล<br />

• ประกาศผลสัมฤทธิ์ของแตละคนและของทีมงาน<br />

• ถาเปนไปไดควรมีกิจกรรมรวมกับสมาชิกเสมือน (virtual team member) มี<br />

การประชุมแบบพบปะ หรือทางโทรศัพทตอนเริ่มตนโครงการเสมือน หรือตอน<br />

แนะนําสมาชิกเสมือน คัดเลือกคนอยางระมัดระวังเพื่อใหแนใจวาพวกเขา<br />

สามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิผลในสภาพแวดลอมเสมือน กําหนดให<br />

ชัดเจนถึงการสื่อสารของสมาชิกเสมือน<br />

การพัฒนาและการบริหารทีมเปนภาระที่สําคัญของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ผูจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตองเนนที่การฟงอยางรวมอารมณกับผูอื่น เพื่อใหรูความกังวลของ<br />

พวกเขา และสรางสภาพแวดลอมที่แตละคนและทีมงานสามารถเติบโตและเจริญรุงเรือง<br />

8.7 สรุป<br />

มนุษยคือ ทรัพยสินที่สําคัญที่สุดในองคการและโครงการ ดังนั้น จึงจําเปนที่ผูจัดการโครงการ<br />

ตองเปนผูบริหารทรัพยากรมนุษยที่ดี กระบวนการสําคัญที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษยคือ การ<br />

วางแผนทรัพยากรมนุษย การไดสมาชิกทีมงาน การพัฒนาทีมงานโครงการ และการบริหารทีมงาน<br />

โครงการ<br />

ประเด็นทางจิตวิทยาที่กระทบตอการทํางานของคนคือ การจูงใจ อิทธิพลและอํานาจ และ<br />

ความมีประสิทธิผล มาสโลวไดพัฒนาลําดับขั้นความตองการที่ประกอบดวย ความตองการพื้นฐาน<br />

ทางดานรางกาย ความตองการความมั่นคงปลอดภัย ความตองการดานสังคม ความตองการเกียรติยศ<br />

ชื่อเสียง และความตองการความสําเร็จในชีวิตตามที่ตนเองตั้งใจไว ความตองการเหลานี้เปนตัวกระตุน<br />

พฤติกรรม เมื่อความตองการไดรับการสนองตอบแลว มันไมใชตัวกระตุนอีกตอไป<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-31<br />

เฮอรซเบอรกไดแสดงความแตกตางระหวางสิ่งจูงใจและปจจัยไฮยีน ตัวอยางปจจัยไฮยีนไดแก<br />

เงินเดือนสูง หรือสภาพแวดลอมการทํางานที่ดึงดูด ถาปจจัยเหลานี้ไมปรากฎ จะทําใหเกิดความไมพอใจ<br />

สวนความสัมฤทธิ์ ความระลึกถึง ความรับผิดชอบ และการเติบโตคือ ปจจัยที่สนับสนุนความพึงพอใจงาน<br />

และจูงใจพนักงาน<br />

แมคคลิแลนดเสนอทฤษฎีความตองการที่ไดจากการเรียนรูตามเวลา และไดรับการปรับโดย<br />

ประสบการณชีวิต ความตองการที่ไดมามี 3 ประเภทคือ ความสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพ และความตองการ<br />

อํานาจ<br />

แมคเกรเกอรไดพัฒนาทฤษฎี X และทฤษฎี Y ที่อธิบายวิธีการที่แตกตางกันเพื่อการบริหาร<br />

พนักงานตามสมมุติฐานของการจูงใจพนักงาน ทฤษฎี Y สมมุติวาคนมองงานเปนเรื่องธรรมชาติ และชี้วา<br />

รางวัลที่มีนัยสําคัญคือ ความพึงพอใจในเรื่องการยอมรับนับถือจากผูอื่น และความตองการความสําเร็จ<br />

ในชีวิตตามที ่ตนเองตั้งใจไว<br />

ธรรมเฮียนและไวลมอนระบุอิทธิพล 9 อยางที่ผูจัดการโครงการสามารถใชในการบริหาร<br />

โครงการ อิทธิพลเหลานี้ประกอบดวย อํานาจ การมอบหมาย งบประมาณ การสงเสริม เงิน การลงโทษ<br />

ความทาทายของงาน ความเชี่ยวชาญ และความเปนเพื่อน ความสําเร็จของโครงการเกี่ยวของกับผูจัดการ<br />

โครงการที่ใชความทาทายของงานและความเชี่ยวชาญเพื่อชักจูงพนักงาน สวนความลมเหลวของ<br />

โครงการเกี่ยวของกับการใชอํานาจ เงิน หรือการลงโทษมากเกินไป<br />

อํานาจคือ ความสามารถที่มีอิทธิพลตอพฤติกรรมเพื่อใหคนมาทําสิ่งที่เขาไมอยากทํา อํานาจมี<br />

5 ประเภทคือ อํานาจในการขูบังคับ อํานาจที่ไดมาอยางถูกตองตามทํานองครองธรรม อํานาจที่ไดจาก<br />

การยอมรับในความเชี่ยวชาญ อํานาจในการใหรางวัล และอํานาจที่ไดจากการเปนที่ดึงดูดใจ<br />

ผูจัดการโครงการสามารถใชอุปนิสัย 7 อยางของสตีเฟน โควีย เพื่อชวยตัวเขาเองและทีมงาน<br />

โครงการใหกลายเปนผูทํางานที่มีประสิทธิผลมากขึ้น อุปนิสัย 7 อยางประกอบดวย เปนผูกระทํากอน<br />

เริ่มตนดวยจุดมุงหมายในใจ ทําสิ่งที่สําคัญกอน คิดแบบชนะ/ชนะ เขาใจผูอื่นกอน แลวจึงใหผูอื่นเขาใจ<br />

ประสานพลัง และลับเลื่อยใหคมเสมอ การใชการฟงแบบอารมณรวมคือ ทักษะที่สําคัญของผูจัดการ<br />

โครงการที่ดี<br />

การวางแผนทรัพยากรมนุษยประกอบดวย การกําหนด การมอบหมาย และการบันทึกหนาที่<br />

โครงการ ความรับผิดชอบ และสายการบังคับบัญชา เครื่องมือสําคัญสําหรับการกําหนดบทบาทและ<br />

ความรับผิดชอบของโครงการคือ ผังการมอบหมายความรับผิดชอบ (RAM) แผนการบริหารพนักงาน และ<br />

แผนภูมิแทงทรัพยากร<br />

การไดทีมงานคือ การไดพนักงานที่เหมาะสมมาทํางานใหกับโครงการ องคการตองใชวิธีใหม<br />

เพื่อหาและรักษาพนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารทรัพยากรมนุษย หนา 8-32<br />

การบรรจุทรัพยากรแสดงปริมาณของทรัพยากรแตละอยางที่ตองการใชในชวงเวลาเฉพาะ<br />

แผนภูมิแทงแสดงการบรรจุทรัพยากรและชี้ใหเห็นการใชทรัพยากรมากเกินไป สวนการจัดระดับทรัพยากร<br />

คือ เทคนิคสําหรับการแกปญหาความขัดแยงทางทรัพยากรโดยการเลื่อนงาน ทรัพยากรที่ไดรับการจัด<br />

ระดับตองไมมีการจัดการมาก คาใชจายต่ํา สรางปญหาทางบัญชีและบุคคลการนอย และทําใหจิตใจดีขึ้น<br />

ทักษะสําคัญ 2 อยางที่ผู จัดการโครงการที่ดีตองมีคือ การพัฒนาทีม และการบริหารทีม การ<br />

ทํางานเปนทีมชวยใหคนทํางานอยางมีประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อบรรลุเปาหมายโครงการ ผูจัดการโครงการ<br />

ควรแนะนําการอบรมใหแตละบุคคล เพื่อปรับปรุงทักษะที่เกี่ยวของกับการทํางานเปนทีม รวมทั้งจัดสมดุล<br />

ของทีมงาน และจัดระบบการยอมรับและรางวัลที่กระตุนการทํางานเปนทีม ผูจัดการโครงการสามารถใช<br />

เทคนิคและเครื่องมือหลายอยาง เชน การสังเกตและสนทนา การประเมินผลการดําเนินโครงการ การ<br />

บริหารความขัดแยง และบันทึกประเด็น เพื่อชวยใหการบริหารทีมงานมีประสิทธิผล<br />

คําถามทายบท<br />

1. จงสรุปกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย<br />

2. จงอธิบายวางานของมาสโลว เฮอรเบอรก แมคคลีแลนด แมคเกรเกอร และโควีย เกี่ยวของกับการ<br />

บริหารโครงการอยางไร<br />

3. จงอธิบายความแตกตางของโครงสรางองคการของโครงการทั้ง 3 ประเภท<br />

4. จงอธิบายลักษณะของโครงการแบบใดจึงเหมาะกับโครงสรางองคการของโครงการทั้ง 3 ประเภท<br />

5. จงอธิบายความแตกตางระหวางการบรรจุทรัพยากรกับการจัดระดับทรัพยากร<br />

6. จงอธิบายความสําคัญของการจัดสมดุลยของทีมงาน<br />

7. จงอธิบายทักษะที่ผูจัดการโครงการตองมีเพื่อการบริหารทัพยากรมนุษย<br />

8. จงอธิบายหลักเกณฑการเลือกสมาชิกทีมงาน<br />

9. จากขอมูลที่กําหนดใหหาวาพนักงานคนใดควรทํางานอะไรจึงเสียคาใชจายนอยที่สุด<br />

กลุมกิจกรรม<br />

1 2 3 4<br />

สมชาย 6 0 0 2<br />

มาลิสา 3 3 0 0<br />

ภรณี 0 4 8 5<br />

สุดา 5 0 3 0<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-1<br />

9.1 บทนํา<br />

ผูเชี่ยวชาญหลายคนเห็นพองกันวา ภัยคุกคามที่ยิ่งใหญตอความสําเร็จของโครงการใดๆ<br />

โดยเฉพาะโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศคือ ความลมเหลวในการสื่อสาร จากการสํารวจของสแตนดิส<br />

กรุปป 2001 พบวา ปจจัยที่มีความสัมพันธกับความสําเร็จของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศคือ การ<br />

สนับสนุนของผูบริหารระดับสูง การมีสวนรวมของผูใช ประสบการณของผูจัดการโครงการ และความ<br />

ชัดเจนของวัตถุประสงคเชิงธุรกิจ ปจจัยทั้งหมดจะสงผลใหโครงการประสบความสําเร็จหรือไมขึ้นอยูกับ<br />

ผูจัดการโครงการและทีมงานมีทักษะการสื่อสารที่ดีหรือไม<br />

งานดานเทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงเหลานี้<br />

นํามาซึ่งศัพทเทคนิคเปนจํานวนมาก เมื่อผูมีอาชีพดานคอมพิวเตอรตองสื่อสารกับผูที่ไมมีอาชีพดาน<br />

คอมพิวเตอร ศัพทเทคนิคทําใหเกิดความยุงยากและซับสน ไมเวนแมแตคนในอาชีพเดียวกัน<br />

ระบบการศึกษาสําหรับผูสําเร็จการศึกษาดานเทคโนโลยีสารสนเทศไดเนนการสงเสริมทักษะ<br />

เชิงเทคนิคมากกวาทักษะเชิงสังคมและการสื่อสาร โปรแกรมที่สอนไมคอยมีวิชาดานการสื่อสาร (เชน<br />

การพูด การเขียน และการฟง) จิตวิทยา สังคมวิทยา และมนุษยวิทยา คนชอบคิดวาเปนการงายที่จะ<br />

สรางทักษะที่ไมใชเทคนิค แตแทที่จริงแลวมันเปนทักษะที่สําคัญ จากการศึกษาวิจัยจํานวนมากไดแสดง<br />

วาผูมีอาชีพดานเทคโนโลยีสารสนเทศมีความจําเปนที่ตองมีทักษะทางดานสังคมศาสตร และการสื่อสาร<br />

มากพอๆ กับทักษะทางดานเทคนิค<br />

เปาหมายการบริหารการสื่อสารโครงการคือ เพื่อใหแนใจวาสารสนเทศของโครงการไดสราง<br />

ขึ้นมาอยางเหมาะสม ทันสมัย ไดรวบรวม จัดเก็บ และไดแพรกระจายไปยังผูตองการใชถูกตอง การ<br />

บริหารการสื่อสารมี 4 กระบวนการคือ<br />

• การวางแผนการสื่อสาร (communications planning) เปนการกําหนด<br />

สารสนเทศ และการสื่อสารที่ผูมีสวนไดเสียตองการ นั่นคือ ใครตองการสารสนเทศ<br />

อะไร เมื่อไร จะใหสารสนเทศนั้นอยางไร<br />

• การกระจายสารสนเทศ (information distribution) เปนการสงสารสนเทศที่<br />

ตองการใหผูมีสวนไดเสียของโครงการทันเวลา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-2<br />

• การรายงานผลการปฎิบัติงาน (performance reporting) เปนการรวบรวม และ<br />

กระจายสารสนเทศการปฎิบัติงาน รวมทั้งรายงานสถานภาพ การวัดความกาวหนา<br />

และการคาดการณ<br />

• การบริหารผูมีสวนไดเสีย (managing stakeholder) เปนการบริหารการสื่อสาร<br />

ใหตอบสนองความตองการ และความคาดหวังของผูมีสวนไดเสียของโครงการ<br />

9.2 การวางแผนการสื่อสาร<br />

เนื่องจากการสื่อสารเปนเรื่องที่สําคัญมากที่ทุกโครงการควรมีการวางแผนการบริหารการ<br />

สื่อสาร แผนนี้เปนเอกสารที่เสนอแนะการสื่อสารของโครงการ และเปนสวนหนึ่งของแผนการบริหาร<br />

โครงการโดยรวม แผนการบริหารการสื่อสารควรมีประเด็นดังนี้<br />

• ความตองการการสื่อสารของผูมีสวนไดเสียของโครงการ<br />

• สารสนเทศที่ตองการสื่อสาร รวมทั้งรูปแบบ เนื้อหา และระดับของรายละเอียด<br />

• ใครเปนผูรับสารสนเทศ และใครที่เปนผูผลิต<br />

• วิธีการหรือเทคโนโลยีที่ควรใชเพื่อสงสารสนเทศ<br />

• ความถี่ของการสื่อสาร<br />

• ขั้นตอนสําหรับการแกไขประเด็นตางๆ<br />

• ขั้นตอนการทบทวนสําหรับการปรับปรุงแผนการบริหารการสื่อสาร<br />

• อภิธานศัพท<br />

การวิเคราะหการสื่อสารของผูมีสวนไดเสียจะชวยใหเราสามารถหลีกเลี่ยงการเสียเวลา หรือ<br />

เงินในการสรางหรือการกระจายสารสนเทศที่ไมจําเปน ผังโครงสรางองคการเปนจุดเริ่มตนสําหรับการ<br />

กําหนดผูมีสวนไดเสียภายในองคการ แตผูจัดการโครงการอาจตองคํานึงถึงผูมีสวนไดเสียภายนอก<br />

องคการดวย เชน ผูบริหารระดับสูงของลูกคา และผูขาย<br />

ตารางที่ 9.1 คือ ตัวอยางการวิเคราะหการสื่อสารของผูมีสวนไดเสียที่แสดงวา ผูมีสวนไดเสีย<br />

คนใดควรไดเอกสารแบบใด ในตารางการวิเคราะหจะแสดงถึงบุคคลที่ผูมีสวนไดเสียจะติดตอเพื่อรับ<br />

สารสนเทศ วันที่ถึงกําหนด รูปแบบของเอกสารที่ตองการ ผูจัดการโครงการสามารถสรางตารางที่<br />

คลายกันเพื่อแสดงวาผูมีสวนไดเสียควรจะเขารวมประชุมวันใด เรื่องอะไร นอกจากนี้ผูจัดการโครงการ<br />

และทีมงานควรมีการบันทึกความคิดเห็น หรือรายละเอียดที่เกี่ยวของกับผูมีสวนไดเสียแตละคน ตาราง<br />

ผลการวิเคราะหการสื่อสารนี้ควรสงใหผูมีสวนไดเสียทบทวน เพื่อใหแนใจวาขอมูลถูกตองและมี<br />

ประโยชน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-3<br />

ตารางที่ 9.1 ตัวอยางการวิเคราะหการสื่อสารสําหรับผูมีสวนไดเสียของโครงการ<br />

(Schwalbe, 2007)<br />

ผูมีสวนไดเสีย ชื่อเอกสาร รูปแบบเอกสาร บุคคลที่ติดตอ วันถึงกําหนด<br />

ลูกคาที่เปนผูบริหาร รายงานสถานภาพ กระดาษ ชนิดา หรือ ดวงตา วันแรกของเดือน<br />

โครงการประจําเดือน<br />

ลูกคาที่เปนพนักงาน<br />

ดานธุรกิจ<br />

รายงานสถานภาพ<br />

โครงการประจําเดือน<br />

กระดาษ นฤมล หรือ แกวตา วันแรกของเดือน<br />

ลูกคาที่เปนพนักงาน<br />

ดานเทคนิค<br />

รายงานสถานภาพ<br />

โครงการประจําเดือน<br />

ผูบริหารภายใน รายงานสถานภาพ<br />

โครงการประจําเดือน<br />

พนักงานภายในดาน<br />

ธุรกิจและเทคนิค<br />

รายงานสถานภาพ<br />

โครงการประจําเดือน<br />

อีเมล ธารทอง หรือ รัศมี วันแรกของเดือน<br />

กระดาษ วิมาดา วันแรกของเดือน<br />

อินทราเน็ต เจษฎา วันแรกของเดือน<br />

ผูรับชวงการอบรม แผนการอบรม กระดาษ สมยศ 11/1/2548<br />

ผูรับชวงทาง แผนการทําให อีเมล กรรณิกา 6/1/2548<br />

ซอฟตแวร ซอฟตแวรเกิดขึ้น<br />

หลายๆ โครงการไมมีสารสนเทศเริ่มตนอยางเพียงพอในการสื่อสาร แตผูจัดการโครงการ<br />

ผูบริหารระดับสูง และทีมงานชอบคิดเอาเองวาชองทางการสื่อสารที่มีอยูนั้นเพียงพอที่จะถายทอด<br />

สารสนเทศ ปญหาการใชชองทางการสื่อสารที่มีอยูเดิมคือ ผูมีสวนไดเสียแตละกลุมมีความตองการ<br />

สื่อสารแตกตางกัน การสรางแผนการบริหารการสื่อสาร และการทบทวนกับผูมีสวนไดเสียแตเนิ่นๆ จะ<br />

ชวยปองกันและลดปญหาการสื่อสารที่จะตามมา ถาองคการมีหลายโครงการ การพัฒนาการจัดการการ<br />

สื่อสารใหสอดคลองกันจะชวยใหองคการทํางานไดราบรื่น เนื่องจากหลายโครงการอาจมีผูมีสวนไดเสีย<br />

บางคนเหมือนกัน การพัฒนาแผนการบริหารการสื่อสารที่ประสานกันจึงเปนสิ่งสําคัญ<br />

การสื่อสารโครงการควรปรากฎในโครงสรางจําแนกงาน เพื่อใหแนใจวาการรายงานสาร<br />

สนเทศที่สําคัญเปนงานที่ทีมงานตองทําสงดวย ถาการรายงานสารสนเทศถูกกําหนดเปนกิจกรรมใน<br />

โครงสรางจําแนกงาน มันจะทําใหการรายงานกลายเปนสิ่งสําคัญที่ทีมงานตองสรางความเขาใจให<br />

ชัดเจนวาสารสนเทศอะไรของโครงการที่ตองรายงาน เมื่อไร รายงานอยางไร และใครรับผิดชอบที่จะ<br />

สรางรายงาน เปนตน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-4<br />

9.3 การกระจายสารสนเทศ<br />

การสงสารสนเทศของโครงการไปยังบุคคลที่ตองการในเวลาที่กําหนดและในรูปแบบที่มี<br />

ประโยชนเปนสิ่งที่สําคัญพอๆ กับการพัฒนาสารสนเทศ นอกจากนี้ ผูจัดการโครงการและทีมงานตอง<br />

ตัดสินใจวาใครรับสารสนเทศอะไร รวมทั้งตองตัดสินใจวา วิธีการใดเปนวิธีการสงสารสนเทศที่ดีที่สุด ซึ่ง<br />

คําตอบจะไดจากการตอบคําถามตอไปนี้<br />

• เพียงพอหรือไมที่จะสงรายงานที่เปนเอกสาร<br />

• การประชุมอยางเดียวเปนวิธีการกระจายสารสนเทศโครงการที่มีประสิทธิผลหรือไม<br />

• การสื่อสารดวยการประชุม และดวยเอกสารเปนที่ตองการหรือไม<br />

• วิธีการอะไรที่ดีที่สุดสําหรับการกระจายสารสนเทศ<br />

หลังจากตอบคําถามเหลานี้ ผูจัดการโครงการ และทีมงานจะไดขอมูลสําหรับการตัดสินใจวิธีที่ดี<br />

ที่สุดเพื่อกระจายสารสนเทศ ในการพิจารณาการกระจายสารสนเทศควรตระหนักถึงการใชเทคโนโลยี<br />

การสื่อสารแบบทางการและไมเปนทางการ และความซับซอนของการสื่อสาร<br />

9.3.1 การใชเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการกระจายสารสนเทศ<br />

เทคโนโลยีสามารถอํานวยความสะดวกใหกับกระบวนการกระจายสารสนเทศ ถามีการ<br />

ใชอยางเหมาะสม การใชระบบสารสนเทศบริหารโครงการสามารถชวยเราจัดการเอกสาร รายงานการ<br />

ประชุม คํารองขอของลูกคา สถานภาพคํารอง และอื่นๆ รวมทั้งการทําใหสารสนเทศอยูในรูป<br />

อิเลคทรอนิกสจะชวยใหการกระจายสารสนเทศสะดวก และรวดเร็ว เราสามารถนําเอาสารสนเทศที่อยู<br />

ในรูปอิเลคทรอนิกสมาจัดเก็บไวใหผูเกี่ยวของเขาถึงไดโดยผานอินเทอรเน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซทรา<br />

เน็ต การใชซอฟตแวรชวยการบริหารการสื่อสารจะกลาวถึงตอไป<br />

9.3.2 วิธีการแบบทางการและไมเปนทางการสําหรับการกระจายสารสนเทศ<br />

วิธีการสื่อสารมี 2 รูปแบบคือ การสื่อสารแบบทางการ (formal) และการสื่อสารแบบไม<br />

เปนทางการ (informal) การสื่อสารแบบทางการอาจเปนการสื่อสารสารสนเทศในรูปแบบเอกสาร เชน<br />

เอกสารขอกําหนดขอบเขตโครงการ เอกสารการออกแบบรายละเอียดของระบบงาน เปนตน หรืออาจ<br />

เปนการประชุมที่มีการนัดหมายและมีวาระการประชุม สวนการสื่อสารอยางไมเปนทางการอยูในรูปของ<br />

การสนทนา หรือประชุมกันโดยไมมีวาระการประชุม การสื่อสารแบบไมเปนทางการอาจอยูในรูปของ<br />

เอกสารก็ไดแตเอกสารนั้นไมใชเอกสารที่เปนทางการ เชน โนต<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-5<br />

การที่สมาชิกทีมงานสงรายงานสถานภาพโครงการที่เปนเอกสารทางการใหกับผูจัดการ<br />

โครงการและผูมีสวนไดเสียคนอื่นๆ โดยคิดเอาเองวาทุกๆ คนที่ตองการสารสนเทศจะอานรายงานนั้น<br />

ความคิดดังกลาวเปนความคิดที่ไมถูกตองเสมอ การสื่อสารโดยการพูดเปนวิธีการที่มีประสิทธิผลพอๆ<br />

กันกับการสื่อสารดวยเอกสาร แตนักวิชาชีพทางเทคนิคชอบละเลยวิธีที่ไมเปนทางการ คนที่ไมใชนัก<br />

วิชาชีพทางเทคนิคอาจใชการสนทนาแลกเปลี่ยนสารสนเทศแทนการอานรายงานที่ละเอียด หรืออีเมล<br />

หรือเว็บเพจ<br />

แทนที่จะเนนการไดสารสนเทศโดยการอานเอกสารเชิงเทคนิค ผูรวมงานและผูบริหาร<br />

ตองการรูจักบุคคลที่ทํางานใหกับโครงการ และพัฒนาความสัมพันธแบบเชื่อใจกับคนเหลานี้ โดยใชการ<br />

อภิปรายแบบไมเปนทางการเกี่ยวกับโครงการ ผูเชี่ยวชาญหลายคนเชื่อวาความแตกตางระหวาง<br />

ผูจัดการที่ดีกับผูจัดการโครงการที่ยอดเยี่ยมคือ ความสามารถในการรักษาความสัมพันธ และใชทักษะ<br />

การฟงอยางตั้งใจ<br />

การกระจายสารสนเทศอยางมีประสิทธิผลขึ้นกับผู จัดการโครงการและสมาชิกในทีมที่มี<br />

ทักษะการสื่อสารที่ดี การสื่อสารมีหลายมิติ เชน การเขียน การพูด และการฟง บุคคลในโครงการ<br />

จําเปนตองใชทุกมิติในการปฏิบัติงานประจําวัน นอกจากนี้ แตละคนจะสนองตอบทางบวกกับประเภท<br />

การสื่อสารที่แตกตางกัน เชน ผูอุปถัมภโครงการอาจตองการที่จะรับรูโดยการอภิปรายแบบไมเปน<br />

ทางการที่จัดอาทิตยละครั้ง ผูอุปถัมภโครงการจะใหขอคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการระหวางการสนทนาแบบ<br />

ไมเปนทางการมากกวาการใหขอคิดเห็นผานการสื่อสารรูปแบบอื่น การพบปะกันชวงสั้นๆ จะมี<br />

ประสิทธิผลมากกวาการสื่อสารทางอิเลคทรอนิกส โดยเฉพาะสารสนเทศที่ออนไหว<br />

9.3.3 การกระจายสารสนเทศที่สําคัญใหมีประสิทธิผลและทันเวลา<br />

รายงานที่เขียนหลายๆ ฉบับละเลยที่จะใหสารสนเทศที่สําคัญ รายงานควรมีสารสนเทศ<br />

เชิงเทคนิคที่ละเอียดที่จะกระทบตอการทํางานของลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ หรือบริการที่องคการ<br />

กําลังผลิต รวมทั้งยังควรบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเชิงเทคนิคที่อาจมีผลกระทบการทํางานของ<br />

ผลิตภัณฑ<br />

คนมีแนวโนมที่จะไมรายงานขาวราย การสื่อสารดวยการพูดผานการประชุม และการ<br />

พูดคุยอยางไมเปนทางการชวยใหสารสนเทศที่สําคัญทั้งทางบวกและลบเปดเผย การสื่อสารดวยการพูด<br />

ยังชวยสรางความสัมพันธระหวางบุคลากรโครงการกับผูมีสวนไดเสียของโครงการใหเขมแข็งขึ้น คนชอบ<br />

ปฏิสัมพันธเพื่อใหไดความรูสึกที่แทจริงวาโครงการเปนอยางไร<br />

เนื่องจากโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตองการการประสานงานมาก จะเปนการดีที ่จะ<br />

มีการประชุมสั้นๆ และบอยๆ เชน ผูจัดการโครงการบางโครงการตองการใหบุคลากรโครงการเขาประชุม<br />

แบบยืนทุกอาทิตย หรือทุกเชา ขึ้นกับความตองการของโครงการ ประชุมแบบยืนจะไมมีเกาอี้ ดังนั้น จึง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-6<br />

เปนการบังคับบุคลากรพบปะกันโดยเนนเฉพาะสารสนเทศที่ตองการสื่อสารจริงๆ ถาบุคลากรไมสามารถ<br />

มาพบกันได คนเหลานี้จะสื่อสารผานโทรศัพท อีเมล การสงขอความ หรือใชเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อสงเสริม<br />

ใหมีการพบปะกัน ซึ่งเปนการสื่อสารแบบไมเปนทางการ<br />

9.3.4 การเลือกสื่อการสื่อสารที่เหมาะสม<br />

สื่อที่ใชในการสื่อสารมีหลายประเภท เชน กระดาษ โทรศัพท ไปรษณียเสียง อีเมล การ<br />

ประชุม เว็บไซต ตารางที่ 9.2 แสดงใหเห็นวาสื่อประเภทตางๆ เหมาะกับความตองการการสื่อสารที่<br />

แตกตางกัน เชน ถาเราตองการประเมินคํามั่นของผูมีสวนไดเสียโครงการ การประชุมอาจเปนสื่อที่<br />

เหมาะสมที่สุด หรือการโทรศัพทเปนสื่อที่เหมาะสมรองลงมา สวนสื่ออื่นๆ ไมควรใช ดังนั้น ผูจัดการ<br />

โครงการตองประเมินความตองการขององคการ โครงการ และแตละบุคคล เพื่อกําหนดสื่อการสื่อสารที่<br />

จะใชและเมื่อไร<br />

ตารางที่ 9.2 การเลือกสื่อสําหรับการสื่อสาร (Schwalbe, 2007)<br />

เหตุการณ เอกสาร โทรศัพท<br />

ไปรษณีย<br />

เสียง<br />

อีเมล ประชุม เว็บไซต<br />

การประเมินคํามั่น 3 2 3 3 1 3<br />

การสรางเอกฉันท 3 2 3 3 1 3<br />

การไกลเกลี่ยความขัดแยง 3 2 3 3 1 3<br />

การแกไขความเขาใจผิด 3 1 3 3 2 3<br />

การกําหนดพฤติกรรมเชิงลบ 3 2 3 2 1 3<br />

การแสดงความสนับสนุนหรือชื่นชม 1 2 2 1 2 3<br />

การสงเสริมการคิดสรางสรรค 2 3 3 1 3 3<br />

การสรางขอกําหนดใหหนักแนน 3 2 2 3 1 3<br />

การสงเอกสารอางอิง 1 3 3 3 3 1<br />

การเสริมอํานาจของบุคคล 1 2 3 3 1 2<br />

การบันทึกถาวร 1 3 3 1 3 1<br />

การคงความลับ 2 1 2 3 1 3<br />

การสงสารสนเทศธรรมดา 3 2 1 1 2 3<br />

การสรางคําขอธรรมดา 3 3 1 1 3 3<br />

การใหคําสั่งที่ซับซอน 3 3 3 2 1 2<br />

1 = เหมาะสมมากที่สุด 2 = ปานกลาง 3 = ไมเหมาะสม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-7<br />

9.3.5 ความตองการการสื่อสารแบบสวนบุคคลและแบบกลุม<br />

เรื่องที่สําคัญมากเรื่องหนึ่งของการกระจายสารสนเทศคือ ผูจัดการโครงการและทีมงาน<br />

ควรเขาใจความตองการการสื่อสารของแตละคน คนมีบุคลิกเฉพาะที่แตกตางกัน ซึ่งจะกระทบ<br />

ความชอบที่แตกตางกัน เชน ถาทานตองการยกยองสมาชิกทีมงานทํางานดี สมาชิกคนนั้นเปนคนไม<br />

ชอบสังสรรค ทานควรยกยองสมาชิกคนนั้นเปนการสวนตัว แตถาสมาชิกเปนคนชอบสมาคม ทานควร<br />

ใหคนอื่นๆ ไดทราบการทํางานที่ดีของสมาชิกคนนั้น คนที่รับรูโดยสัญชาตญาณตองการความเขาใจวา<br />

สิ่งตางๆ นั้น สอดคลองกับภาพใหญอยางไร ขณะที่คนที่ใชเหตุผลจะชอบรายละเอียดอยางเปนขั้นเปน<br />

ตอน นักคิดอาจตองการรูเหตุผลที่มาที่ไปที่ซอนในสารสนเทศ สวนคนที่ใชความรูสึกตองการรูวา<br />

สารสนเทศกระทบเขา และคนอื่นๆ อยางไร<br />

เปนเรื่องที่คอนยากที่ผูรับขอความจะแปลไดตรงกับที่ผูสงตั้งใจจริงๆ ดังนั้น จึงเปนสิ่ง<br />

สําคัญที่โครงการตองจัดหาวิธีการสื่อสารหลายๆ วิธี และสภาพแวดลอมที่สงเสริมใหมีการพูดคุยอยาง<br />

เปดเผย คนที่มีอาชีพทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศมีบุคลิกภาพเฉพาะที่ตางจากคนทั่วไป เชน เปนคน<br />

ไมชอบสังคม ใชสัญชาตญาณ เนนการคิด บุคลิกภาพที่แตกตางนี้สามารถนํามาซึ่งการสื่อสารที่ผิดกับ<br />

คนที่ชอบสังคม และใชความรูสึก เชน การเขียนแนะนําการใชระบบสําหรับผูใชโดยบุคคลทางดาน<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศอาจไมใหขั้นตอนที่ละเอียดที่ผูใชตองการ ผูใชหลายๆ คนชอบการประชุมแบบพบ<br />

หนา เพื่อเรียนรูวาจะใชระบบใหมอยางไร แทนที่จะพยายามทําตามคําแนะนําผูใชที่เขียนไมชัดเจน<br />

สถานที่ทางภูมิศาสตรและภูมิหลังทางวัฒนธรรมกระทบตอการสื่อสารโครงการ ถาผูมี<br />

สวนไดเสียอยูในประเทศตางๆ จะเปนการยากหรือเปนไปไมไดที่จะจัดตารางเวลาการสื่อสารสองทาง<br />

ระหวางชั่วโมงการทํางานปกติ ภาษาเปนสาเหตุทําใหเกิดปญหาการสื่อสาร คําเหมือนกันอาจมี<br />

ความหมายที่ตางกันในภาษาที่ตางกัน คนที่มาจากวัฒนธรรมหนึ่งจะชอบวิธีการสื่อสารที่ไมสะดวก<br />

สําหรับคนอื่น เชน ผูจัดการในบางประเทศยังไมยินยอมใหคนงานที่ตําแหนงต่ํากวา หรือผูหญิงที่จะ<br />

นําเสนองานอยางเปนทางการ เปนตน<br />

9.3.6 กําหนดที่สําหรับการสื่อสารขาวราย<br />

สิ่งสําคัญอีกประการหนึ่งของการสื่อสารคือ การสื่อสารขาวที่ไมดี หรือขาวรายของ<br />

โครงการ เนื่องจากในบางครั้งสมาชิกอาจไมกลาที่จะบอกขาวรายดวยตนเอง การที่โครงการจัดหาที่<br />

สําหรับใหขาวสารดานลบก็จะเปนประโยชน เชน มีกระดานติดขาว หรือมีเว็บสําหรับลงขาวที่ไมดีตอ<br />

โครงการ เปนตน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-8<br />

9.3.7 การกําหนดจํานวนชองทางการสื่อสาร<br />

การกระจายสารสนเทศตองคํานึงถึงจํานวนคนที่ตองสื่อสาร ถาจํานวนคนที่เขามามี<br />

สวนเกี่ยวของกับโครงการมีจํานวนเพิ่มขึ้น การสื่อสารจะเพิ่มความซับซอนมากขึ้น เพราะจํานวนเสนทาง<br />

การสื่อสารไปยังบุคคลตางๆ จะเพิ่มขึ้นดวย สูตรในการคํานวณชองทางการสื่อสารอยางงายๆ คือ<br />

จํานวนชองทางการสื่อสาร = n(n-1)/2<br />

โดยที่ n คือ จํานวนคนที่เกี่ยวของกับโครงการ<br />

จากรูปที่ 9.1 แสดงตัวอยางผลกระทบของจํานวนคนตอชองทางการสื่อสาร สมมุติวา<br />

ถาโครงการมีคนเกี่ยวของ 2 คน จํานวนชองทางการสื่อสารจะมีเพียง 1 ชองทาง (2 (2-1)/2 = 1) ถามี<br />

คนเพิ่มขึ้นเปน 3 คน จํานวนชองทางการสื่อสารจะเปน 3 ชองทาง (3(3-1)/2 = 3) แตถาคนเพิ่มเปน 4<br />

คน จํานวนชองทางจะเพิ่มขึ้นเปน 6 ชองทาง (4(4-1)/2 = 6) เราจะเห็นวา ถาจํานวนคนในโครงการเกิน<br />

3 คน จํานวนชองทางจะเพิ่มอยางรวดเร็ว ผูจัดการโครงการควรจํากัดขนาดของทีมงาน เพื่อหลีกเลี่ยง<br />

ความซับซอนของการสื่อสาร<br />

รูปที่ 9.1 ผลกระทบของจํานวนคนตอชองทางการสื่อสาร (Schwalbe, 2007)<br />

ผูสื่อสารที่ดีควรพิจารณาปจจัยตางๆ กอนตัดสินใจวาจะกระจายสารสนเทศอยางไร<br />

รวมทั้งขนาดของกลุม ประเภทของสารสนเทศ และสื่อสําหรับการสื่อสารที่เหมาะสม คนทั่วไปนิยมใช<br />

อีเมลมาก เพราะใชงาย คาใชจายในการสงสารสนเทศไปยังคนจํานวนมากไมแพง การสื่อสารที่ไมดีจะ<br />

เพิ่มความเปนไปไดที่ทําใหเกิดขอผิดพลาดสูง โครงการขนาดใหญมีสารสนเทศที่เคลื่อนไหวจํานวนมาก<br />

ซึ่งทําใหการสื่อสารเสียหายไดงาย การสื่อสารจึงเปรียบเสมือนน้ํามันหลอลื่นที่ทําใหทุกอยางทํางาน<br />

ดวยกันอยางเหมาะสม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-9<br />

อยางไรก็ตาม มีสถานการณที่เราไมสามารถประชุมพบหนากันได เราตองสงอีเมลให<br />

กลุมคนกลุมใหญ เชน โครงการเสมือน (virtual project) ผูมีอาชีพดานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทํางานบน<br />

โครงการเสมือน ไมคอยมีโอกาสพบหนาผูสนับสนุนโครงการ หรือสมาชิกคนอื่นๆ หรือผูมีสวนไดเสียของ<br />

โครงการ ในสภาพแวดลอมแบบโครงการเสมือน ผูจัดการโครงการจําเปนอยางยิ่งที่จะตองพัฒนา<br />

วิธีการสื่อสารใหชัดเจน ซึ่งอาจใชอีเมล การสงขอความผานเว็บไซตของโครงการ หรืออาจใชการ<br />

โทรศัพท แตโดยทั่วไปแลวสมาชิกโครงการตองวางใจกับการสื่อสารแบบเขียน<br />

9.4 การรายงานการปฏิบัติงาน<br />

การรายงานการปฏิบัติงานเปนการแจงผูมีสวนไดเสียใหทราบถึงทรัพยากรที่กําลังถูกใช<br />

เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคโครงการ รายงานการปฏิบัติงานตองใชขอมูลที่สําคัญคือ สารสนเทศเกี่ยวกับ<br />

การปฏิบัติงานและการวัดผลการปฏิบัติงาน วันที่คาดวาจะเสร็จ การวัดและการควบคุมคุณภาพ<br />

โครงการ แผนการบริหารโครงการ คําขอเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอนุมัติ และผลงานที่สงมอบ การรายงาน<br />

การปฏิบัติงานที่สําคัญคือ รายงานการปฏิบัติงานที่ไดดําเนินการไปแลว และการคาดการณสิ่งที่ตองทํา<br />

ตอไป รายงานการปฏิบัติงานปกติจะมีการรายงานสถานภาพ หรือรายงานความกาวหนา<br />

• รายงานสถานภาพ (status reports) จะอธิบายวา ณ เวลาหนึ่ง โครงการอยู ณ จุดใด<br />

ในแงของงาน เวลา และคาใชจาย เชน จนถึงวันนี้โครงการใชเงินไปเทาไร เวลาที่ใชใน<br />

การทํางานหนึ่งๆ งานที่กําลังทําอยูจะทําเสร็จตามแผนหรือไม รายงานสถานภาพมี<br />

หลายรูปแบบขึ้นอยูกับความตองการของผูมีสวนไดเสีย<br />

• รายงานความกาวหนา (progress reports) อธิบายวา อะไรที่ทีมงานทําสําเร็จ ณ<br />

ชวงเวลาหนึ่ง หลายๆ โครงการใหสมาชิกแตละคนเตรียมรายงานความกาวหนา<br />

ประจําเดือน หรือประจําอาทิตย ผูนําทีมจะรายงานความกาวจากสารสนเทศที่ไดจาก<br />

รายงานความกาวหนาของสมาชิก<br />

สวนการคาดการณเปนการทํานายสถานภาพและความกาวหนาในอนาคตของโครงการ โดย<br />

ใชขอมูลในอดีต และแนวโนม เชน การคาดการณเวลา และเงินที่ใชเพื่อใหโครงการเสร็จ ผูจัดการ<br />

โครงการควรใชการบริหารมูลคาที่ไดรับ (earned value) ในการคาดการณดังกลาว<br />

เทคนิคอื่นที่สําคัญสําหรับการรายงานการปฏิบัติงานคือ การประชุมทบทวนสถานภาพ การ<br />

อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นที่สําคัญแบบพบปะ ผูจัดการโครงการหลายโครงการใชการประชุมทบทวน<br />

สถานภาพประจําเพื่อแลกเปลี่ยนขอมูลที่สําคัญ และกระตุนใหพนักงานทํางานใหกาวหนา การประชุม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-10<br />

แบบนี้บางที่กลายเปนสนามตอสูเมื่อเกิดความขัดแยงระหวางกลุม ผูจัดการโครงการควรกําหนดกฎการ<br />

ประชุมเพื่อควบคุมความขัดแยง และควรทํางานเพื่อแกปญหาที่อาจเกิดขึ้น<br />

9.5 การบริหารผูมีสวนไดเสีย<br />

ผูจัดการโครงการตองเขาใจและทํางานกับผูมีสวนไดเสียที่หลากหลาย ดังนั้น ผูจัดการ<br />

โครงการควรเนนวาทําอยางไรจึงสามารถใชการสื่อสารเพื่อสนองตอบความตองการและความคาดหวัง<br />

ของผูมีสวนไดเสีย นอกจากนี้ ผูจัดการโครงการจําเปนตองวางวิธีการเพื่อกําหนดและแกปญหา<br />

เครื่องมือที่ชวยไดคือ การใชผังบริหารความคาดหวัง (expectations management matrix) และบันทึก<br />

ประเด็น (issue log)<br />

ผังการบริหารความคาดหวังจะชวยใหความคาดหวังชัดเจน ผังนี้ประกอบดวยรายการตัววัด<br />

ความสําเร็จพรอมลําดับ ความคาดหวัง และแนวทางการดําเนินการที่เกี่ยวกับตัววัดแตละตัว ดัง<br />

ตัวอยางที่แสดงในตารางที่ 9.3 เราอาจเพิ่มตัววัดความสําเร็จ เชน การบรรลุความคาดหวังดานคุณภาพ<br />

การบรรลุระดับความพึงพอใจของลูกคา การทําไดตรงกับ ROI ที่คาดการณไวหลังจากโครงการเสร็จ<br />

สมบูรณ<br />

ตารางที่ 9.3 ตัวอยางผังบริหารความคาดหวัง (Schwalbe, 2007)<br />

มาตรวัด<br />

ความสําเร็จ<br />

ลําดับ<br />

ความสําคัญ<br />

ความคาดหวัง<br />

ขอบเขต 2 ขอกําหนดขอบเขตความตองการที่<br />

จําเปนตองมีและความตองการที่ไม<br />

จําเปนตองชัดเจน<br />

เวลา 1 โครงการตองเสร็จสมบูรณในวันที่<br />

กําหนด ทุกๆ งานที่สําคัญตองเสร็จ<br />

ตามที่กําหนด และตารางเวลา<br />

สอดคลองกับความเปนจริง<br />

คาใชจาย 3 โครงการนี้สําคัญตอองคการ ถาทาน<br />

สามารถใหเหตุผลความจําเปนถึง<br />

ความตองการเงินเพิ่มไดอยางชัดเจน<br />

ผูบริหารสามารถอนุมัติได<br />

อื่นๆ<br />

แนวทาง<br />

เนนที่ความตองการที่จําเปนตองมีกอน<br />

พิจารณาความตองการที่ไมจําเปน<br />

ผูอุปถัมภโครงการและผูจัดการแผนงาน<br />

ตองไดรับแจง เมื่อมีประเด็นใดๆ ที่อาจ<br />

กระทบตอเปาหมายตารางเวลา<br />

มีกฎเขมงวดเกี่ยวกับคาใชจายโครงการ<br />

และมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น คาใชจายเปนสิ่ง<br />

สําคัญมากๆ แตมันเปนสิ่งที่ทําให<br />

ตารางเวลาตรงตามเวลาที่กําหนด<br />

รวมทั้งเปาหมาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-11<br />

เครื่องมืออีกตัวหนึ่งที่ชวยบริหารผูมีสวนไดเสียคือ บันทึกประเด็น (issue log) ประเด็นคือ<br />

เนื้อหาสาระ (matter) ของคําถามหรือขอโตเถียงที่อาจขัดขวางความสําเร็จของโครงการ บันทึกประเด็น<br />

คือ เครื่องมือสําหรับบันทึกและติดตามการแกไขประเด็นของโครงการ ตารางที่ 9.4 ไดแสดงบันทึก<br />

ประเด็นที่ผูจัดการโครงการอาจนําไปใชได ในบันทึกประเด็นประกอบดวย เลขที่ประเด็น รายละเอียด<br />

ของประเด็น ผลกระทบของประเด็นนั้นตอโครงการ วันที่รายงานประเด็น ผูรายงาน ผูไดรับมอบหมายให<br />

แกไข ลําดับความสําคัญของประเด็น วันที่กําหนดใหรายงานกลับ ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับประเด็น<br />

ผูจัดการโครงการควรแกประเด็นตางๆ ใหเร็วที่สุดเทาที่จะเร็วได กิจกรรมของโครงการจึงสามารถ<br />

เดินหนาไปได สิ่งที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือ ผูจัดการโครงการตองไมจมปลักอยูกับประเด็นมากเกินไป<br />

ผูจัดการโครงการบางคนอาจเลือกไมบันทึกประเด็นที่มีความสําคัญต่ํา หรือประเด็นเล็กๆ ที่สามารถ<br />

แกไขไดโดยไมตองบันทึกไว<br />

ความเขาใจความคาดหวังของผูมีสวนไดเสียสามารถชวยการบริหารประเด็น เนื่องจาก<br />

ประเด็นใดที่เกี่ยวของกับความคาดหวัง ประเด็นนั้นควรไดรับความสนใจเปนพิเศษจากผูจัดการโครงการ<br />

อยางไรก็ตาม ประเด็นที่ไมไดรับการแกไขสามารถกลายเปนแหลงของความขัดแยง<br />

ประ<br />

เด็นที่<br />

คําอธิบาย<br />

ประเด็น<br />

1 คาใชจาย<br />

เครื่องบริการ<br />

เพิ่มขึ้นจากที่<br />

วางแผน 10%<br />

2 สมาชิก 2 คน<br />

ลาออกจาก<br />

โครงการ<br />

อื่นๆ<br />

ตารางที่ 9.4 ตัวอยางบันทึกประเด็น (Schwalbe, 2007)<br />

ผลกระทบ<br />

ตอโครงการ<br />

คาใขจาย<br />

โครงการ<br />

เพิ่มขึ้น<br />

เล็กนอย<br />

จําเปนตอง<br />

มอบหมาย<br />

พนักงานใหม<br />

วันที่<br />

รายงาน<br />

ผูรายงาน ผูรับ<br />

มอบหมาย<br />

ลําดับ<br />

ความ<br />

สําคัญ<br />

10 มิย สถาพร ทวีศักดิ์ ปาน<br />

กลาง<br />

วันที่ถึง<br />

กําหนด<br />

สถาน<br />

ภาพ<br />

หมายเหตุ<br />

30 มิย. ปด ผูอุปถัมภโครงการ<br />

ตกลงที่จะเพิ่มเงิน<br />

เพื่อใหโครงการ<br />

เสร็จตามกําหนด<br />

25 กค. เจนตา ปยะวัฒน สูง 31 กค. เปด ถาปยะวัฒนไม<br />

สามารถมอบหมาย<br />

พนักงานใหมได<br />

ภายใน 1 อาทิตย<br />

เขาควรคุยกับทนง<br />

ศักดิ์โดยตรง<br />

9.6 ขอเสนอแนะสําหรับการปรับปรุงการสื่อสารโครงการใหดีขึ้น<br />

ดังที่ไดทราบกันดีแลววา การสื่อสารที่ดีมีความสําคัญตอการบริหารและความสําเร็จของ<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริการสื่อสารเปนการทําใหแนใจวา 1) สารสนเทศที่จําเปนสงไปยัง<br />

คนที่ควรไดในเวลาที่ตองการ 2) ไดรายงานและขอมูลยอนกลับเหมาะสม และมีประโยชน 3) มี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-12<br />

กระบวนการบริหารที่เปนทางการในการบริหารผูมีสวนไดเสียของโครงการ ในสวนนี้จะใหขอเสนอแนะ<br />

สําหรับการทําใหการสื่อสารดีขึ้น ซึ่งประกอบดวย แนวทางการบริหารความขัดแยง การพัฒนาทักษะ<br />

การสื่อสารใหดีขึ้น การจัดการประชุมใหมีประสิทธิผล การใชอีเมลใหมีประสิทธิผล การใชแมแบบ<br />

สําหรับการสื่อสารโครงการ และการพัฒนาโครงสรางการสื่อสาร<br />

9.6.1 การใชทักษะการสื่อสารเพื่อการบริหารความขัดแยง<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญตองใชความพยายามสูง ราคาแพง ตองการ<br />

ทรัพยากรมาก และมีผลกระทบอยางรุนแรงตอวิธีการทํางานของคนในองคการ เมื่อมีผูมีสวนไดเสียมาก<br />

โครงการยอมหนีความขัดแยงไมได เมื่อโอกาสความขัดแยงสูง การสื่อสารที่ดีเปนสิ่งจําเปน<br />

ความขัดแยงที่มีมากที่สุดจะเกี่ยวกับตารางเวลาของโครงการ สวนความขัดแยงอื่น<br />

ประกอบดวย การกําหนดคนทํางาน ประเด็นทางเทคนิค วิธีการจัดการ บุคลิกลักษณะ และคาใชจาย<br />

ผูจัดการโครงการจําเปนตองพัฒนาและใชทรัพยากรบุคคลและทักษะการสื่อสาร เพื่อชวยกําหนดและ<br />

บริหารความขัดแยงของโครงการ ผูจัดการโครงการควรชี้นําทีมงานของตนในการพัฒนาบรรทัดฐาน<br />

สําหรับการจัดการความขัดแยงตางๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ เชน ทีมงานควรรูวาพฤติกรรมที่ไมให<br />

ความเคารพตอผูมีสวนไดเสียเปนพฤติกรรมที่ไมเหมาะสม หรือสมาชิกของทีมงานไดรับการคาดหวังวา<br />

ตองพยายามแกไขความขัดแยงเล็กๆ ดวยตนเองกอนที่จะสงไประดับที่สูง เบลกค และ เมาตัน (Blake<br />

และ Mouton (1964)) ไดกําหนดวิธี พื้นฐานในการจัดการความขัดแยงดังนี้<br />

• การเผชิญหนา (confrontation) ผูจัดการโครงการใชวิธีการเผชิญหนาหรือ<br />

วิธีการการแกปญหา (problem solving approach) เมื่อพบกับความขัดแยง<br />

ในกรณีที่มีความคิดเห็นแตกตางกัน โดยใหกลุมคนที่ไดรับผลกระทบทํางาน<br />

ดวยกันเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุดในการแกความขัดแยง จากการวิจัยพบวา<br />

ผูจัดการโครงการชอบวิธีการเผชิญหนาเพื่อแกไขความขัดแยงมากที่สุด<br />

• การประนีประนอม (compromise) วิธีการนี้ ผูจัดการโครงการใชการใหและ<br />

การรับ (give and take approach) เพื่อการแกความขัดแยง โดยการตอรอง<br />

และคนหาคําตอบที่จะนํามาซึ่งความพอใจของทุกฝายที่โตเถียง คูกรณีแตละ<br />

ฝายตางก็ไดประโยชน และตองเสียประโยชนบาง มิใชฝายหนึ่งไดหรือเสียแต<br />

ฝายเดียว<br />

• การไกลเกลี่ย (smoothing) ผูจัดการโครงการลดความสําคัญ หรือหลีกเลี่ยง<br />

ความแตกตาง แตใหความสําคัญกับสวนที่ทุกฝายเห็นตรงกัน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-13<br />

• การบังคับ (forcing) เปนวิธีการที่เหมือนกับวิธีการชนะ-แพ (win-lose<br />

approach) ผูจัดการโครงการใชอํานาจที่เปนทางการของตนจัดการกับความ<br />

ขัดแยง โดยอาศัยกฎเกณฑและระเบียบตางๆ<br />

• การถอนตัว (withdrawal) ผูจัดการโครงการลาถอย หรือถอนจากความขัดแยง<br />

เปนวิธีการที่เหมาะสมนอยที่สุดในการจัดการความขัดแยง<br />

ผูจัดการโครงการควรรูวา ความขัดแยงไมใชสิ่งเลวรายทั้งหมด ในความจริงแลว ความ<br />

ขัดแยงอาจเปนเรื่องดี ความขัดแยงสรางผลลัพธที่สําคัญ เชน ความคิดใหม ทางเลือกที่ดีขึ้น และการ<br />

กระตุนใหทํางานหนักขึ้น แตความขัดแยงเชิงอารมณอันมีผลจากบุคลิกภาพไมตรงกัน และความเขาใจ<br />

ผิด จะทําใหประสิทธิภาพการทํางานต่ําลง ผูจัดการโครงการควรสรางสภาพแวดลอมที่สงเสริม และ<br />

รักษาความขัดแยงที่เปนบวก<br />

9.6.2 การพัฒนาทักษะการสื่อสารใหดีขึ้น<br />

บางคนเกิดมามีทักษะการสื่อสารที่ดี บางคนมีทักษะทางดานเทคนิค เปนการยากที่จะ<br />

หาคนที่มีทักษะทั้งสองอยาง คนที่มีอาชีพทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีทักษะทางดานการสื่อสารจะ<br />

ทําใหกาวหนาในอาชีพ โดยเฉพาะถาตองการเปนผูจัดการโครงการที่ดี<br />

องคการสวนใหญใชเงินจํานวนมากในการฝกอบรมทางดานเทคนิคใหกับพนักงานของ<br />

องคการ พนักงานแตละคนสนใจที่จะเขาเรียนวิชาที่เปนเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกวาวิชาที่พัฒนาทักษะ<br />

ทางดานการสื่อสาร การอบรมทักษะทางดานการสื่อสารมีกิจกรรมการแสดงบทบาท (role-playing)<br />

ระหวางการอบรมผูเขารวมมีโอกาสไดสรางทักษะเฉพาะในกลุมเล็กๆ การอบรมจะบันทึกการนําเสนอ<br />

ของผูเขารวมเปนดิวิทัศน เพื่อนํามาเปดใหเจาตัวไดดู การลงทุนการฝกอบรมและการนําเสนอจะให<br />

ผลตอบแทนอยางมากมายตอบุคคลนั้น ตอโครงการ และตอองคการ ทักษะเหลานี้จะอยูอยางยาวนาน<br />

มากกวาทักษะทางเทคนิคหลายอยาง<br />

ขณะที่องคการไดกลายเปนองคการระดับโลก องคการตองลงทุนในดานการปรับปรุง<br />

การสื่อสารกับคนจากตางประเทศ และตางวัฒนธรรม การไมเขาใจวาจะสื่อสารอยางไรใหมีประสิทธิผล<br />

กับคนที่มีวัฒนธรรมและภูมิหลังตางกันสามารถทํารายโครงการและธุรกิจได มีการอบรมหลายวิชาที่<br />

อบรมเกี่ยวกับใหการตระหนักทางวัฒนธรรม ธุรกิจระดับนานาชาติของตนเอง และการสรางทีมงาน<br />

ระดับนานาชาติ<br />

ถาผูจัดการโครงการยอมใหพนักงานนําเสนองานไมดี เขียนรายงานเลอะเทอะ ตอตาน<br />

คนที่มาจากตางวัฒนธรรม หรือประพฤติไมดีในการประชุม พนักงานจะไมยอมรับการปรับปรุงทักษะ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-14<br />

การสื่อสารของตนเอง ดังนั้น องคการที่ประสบความสําเร็จจะใหเวลากับการเตรียมรางรายงานและการ<br />

นําเสนอ และใหความคิดเห็นกับรางนั้น นอกจากนี้ การใหเวลาสําหรับการประชุมที่ไมเปนทางการกับ<br />

ลูกคาจะเปนวิธีการปฏิบัติที่ดี เพื่อชวยพัฒนาความสัมพันธ การปรับปรุงการสื่อสารใหดีขึ้นสามารถทํา<br />

ไดดวยการวางแผนที่เหมาะสม ความเปนผูนําจากผูบริหารระดับสูง<br />

9.6.3 การจัดการประชุมใหมีประสิทธิผล<br />

การจัดประชุมไมดีสามารถมีผลกระทบที่เสียหายแกโครงการ เชน การประชุมเปด<br />

โครงการ (kickoff meeting) ที่แยมากๆ อาจเปนสาเหตุใหผูมีสวนไดเสียที่สําคัญตัดสินใจไมสนับสนุน<br />

โครงการตอไป หลายๆ คนบนวา เสียเวลาไปโดยไมจําเปน เนื่องจากการประชุมที่วางแผนไมดี หรือ<br />

จัดการประชุมไมกระชับ ตอไปนี้คือแนวทางที่จะชวยใหเวลาที่ใชในการประชุมดีขึ้น<br />

• หลีกเลี่ยงการประชุม ผูจัดการโครงการไมควรใชการประชุม ถาผูจัดการ<br />

โครงการมีวิธีการอื่นที่สามารถทําใหบรรลุวัตถุประสงคได เชน ผูจัดการ<br />

โครงการรูวาการจางคนตองไดรับการอนุมัติจากผูบริหารระดับสูง ซึ่งอาจใช<br />

เวลาเปนอาทิตย หรือมากกวานั้น เพื่อที่จะนัดเวลาประชุมที่ใชเวลาเพียงสิบ<br />

นาที แตเนื่องจากเปนการจางที่จําเปนเรงดวน ผูจัดการโครงการอาจใช<br />

โทรศัพทอธิบายสถานการณ และตัดสินใจในคําขอจางพนักงาน ซึ่งจะเร็วและ<br />

มีประสิทธิผลกวาการประชุม<br />

• กําหนดวัตถุประสงคและผลที่ตองการไดจากการประชุม ในการประชุมควร<br />

ระบุใหชัดเจนวา ผลลัพธจากการประชุมคืออะไร กําหนดวัตถุประสงคให<br />

ชัดเจนสําหรับผูเขารวมประชุม เพราะไมเชนนั้นทุกคนจะคิดแตเรื่องของตนเอง<br />

• กําหนดผูที่ควรเขาประชุม การประชุมจะมีประสิทธิผลที่สุดถาจํานวนคน<br />

ผูเขารวมนอยที่สุด โดยเฉพาะถาตองตัดสินใจ แตการประชุมแบบอื่นอาจตอง<br />

มีผูเขารวมจํานวนมาก ดังนั้น จึงเปนสิ่งจําเปนที่ตองกําหนดวาใครควรเขารวม<br />

ประชุมโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค และสิ่งที่อยากไดจากการประชุม<br />

• สงระเบียบวาระการประชุมใหกับผูเขาประชุมรวมลวงหนา การประชุมจะ<br />

ไดผลมากที่สุด ถาผูเขารวมประชุมไดเตรียมตัว โดยการอานรายงาน รวบรวม<br />

ขอมูล พวกมืออาชีพบางคนปฏิเสธการเขารวมประชุมถาไมไดรับระเบียบวาระ<br />

การประชุมลวงหนา ความตองการระเบียบวาระการประชุมบังคับใหผูจัดการ<br />

ประชุมตองวางแผนการประชุม และใหผูที่จะเขารวมประชุมมีโอกาสตัดสินใจ<br />

วาตองการเขาประชุมจริงๆ หรือไม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-15<br />

• เตรียมเอกสารประกอบการประชุม อุปกรณ และอื่นๆ ลวงหนา การจัดทํา<br />

เอกสารประกอบการประชุมทําใหผูจัดการประชุมจัดการความคิดตางๆ ของ<br />

ตนเอง ซึ่งจะชวยการประชุมมีประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้ผูจัดการประชุม<br />

จําเปนที่จะตองจัดเตรียมหองประชุม อุปกรณที่จําเปน อาหาร และเครื่องดื่ม<br />

• จัดการประชุมอยางมืออาชีพ ในการจัดประชุม ผูจัดประชุมควรมีการแนะนํา<br />

คน รวมทั้งกลาวถึงวัตถุประสงคการประชุม และกฎที่ผูเขาประชุมตองปฏิบัติ<br />

ผูจัดการโครงการควรเตรียมคนสําหรับควบคุมเวลา สงเสริมใหเกิดการมีสวน<br />

รวม สรุปประเด็นสําคัญ และทําใหเกิดการตัดสินใจที่ชัดเจน รวมทั้งมอบหมาย<br />

ใหคนใดคนหนึ่งจดรายงานการประชุม และสงรายงานการประชุมใหเร็วที่สุด<br />

รายงานการประชุมควรสั้นและเนนประเด็นการตัดสินใจ และการกระทําที่<br />

สําคัญที่ไดจากการประชุม<br />

• สรางความสัมพันธ การสรางความสัมพันธระหวางผูเขารวมประชุมขึ้นกับ<br />

วัฒนธรรมขององคการ<br />

9.6.4 การใชอีเมลใหมีประสิทธิผล<br />

เนื่องจากคนสวนมากใชอีเมล แตไมใชวาอีเมลจะชวยใหการสื่อสารดีขึ้น อีเมลไมใชสื่อ<br />

ที่เหมาะสําหรับการสื่อสารหลายๆ อยาง ในตารางที่ 9.2 ไดแสดงใหเห็นวา อีเมลไมเหมาะกับการ<br />

ประเมินคํามั่น การสรางเอกฉันท การไกลเกลี่ยความขัดแยง การแกไขความเขาใจผิด การสรางขอ<br />

กําหนดใหหนักแนน การเสริมอํานาจของคน หรือการคงความลับ<br />

ถึงแมวาคนจะรูวาเมื่อไรจึงจะใชอีเมลสําหรับการสื่อสาร แตผูใชไมตระหนักถึง<br />

ความสามารถใหมๆ ของอีเมล และไมไดรับการอบรมวาจะใชความสามารถใหมเหลานี้ไดอยางไร เชน<br />

การใชสมุดที่อยู การสรางชุดผูรับอีเมล การจัดเรียงอีเมล การคนหาขอความ การใชซอฟตแวรเพื่อ<br />

ปองกันการสงขอความอิเลคทรอนิกสที ่ไรสาระ การสงตอขอความไปยังบุคคลอื่น เปนตน<br />

นอกจากการใชฟงกชันตางๆ แลว เราก็ยังตองรูวาควรจะใชถอยคําอะไร จึงจะทําใหเกิด<br />

ความชัดเจน เชน ชื่อเรื่อง ควรเขียนใหชัดเจนและสื่อถึงเนื้อหาในอีเมล การเขียนไมชัดเจนอาจทําใหเกิด<br />

ความเขาใจผิด หรือสับสน ผูรับอาจลบทิ้งโดยไมอาน<br />

ระบบอีเมลควรปองกันอีเมลโฆษณา หรือขอความอิเลคทรอนิกสที่ไรสาระ แตผูใชนอย<br />

คนจะรูวิธีการทํา ผูจัดการโครงการสามารถชวยใหผูมีสวนไดเสียของโครงการใชอีเมลไดอยางมี<br />

ประสิทธิผล และไมเสียเวลากับอีเมลที่ไมตองการ ตอไปนี้คือ แนวทางการใชอีเมลใหมีประสิทธิผล<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-16<br />

• สารสนเทศที่ถูกสงทางอีเมลควรเหมาะกับสื่อประเภทนี้ ถาสามารถสื่อสาร<br />

สารสนเทศดวยการโทรศัพท หรือการประชุม ใหใชวิธีเหลานั้น<br />

• ใหแนใจวาสงอีเมลไปยังคนที่ตองการ ไมควรใชการสงถึงทุกคนอยางอัตโนมัติ<br />

• ใชชื่อเรื่องใหมีความหมาย ผูอานสามารถรูวาอีเมลมีเนื้อหาอะไรไดอยาง<br />

รวดเร็ว ไมควรตอบกลับอีเมลอยางตอเนื่อง โดยไมเปลี่ยนชื่อเรื่อง<br />

• จํากัดเนื้อหาของอีเมลไวเรื่องเดียว ถามีเรื่องที่แตกตางกันใหสงอีเมลใหม<br />

• เนื้อหาของอีเมลควรชัดเจนและกระชับ ควรอานอีเมลอีกครั้งกอนสงออก ตรวจ<br />

คําสะกดโดยการใชฟงกชันตรวจคําสะกด ถาตองตอบคําถามหลายขอ ควรใส<br />

ตัวเลขหนาคําตอบ<br />

• จํากัดจํานวนและขนาดของเอกสารแนบ แตถาเปนเอกสารขนาดใหญใหใช<br />

การเชื่อมโยงไปยังเอกสารแทนการแนบไฟล<br />

• ใหลบอีเมลที่ไมจําเปนตองเก็บหรือตอบกลับ ไมเปดอีเมลที่ไมสําคัญ ใช<br />

ความสามารถของซอฟตแวรในการกั้นขอความเพื่อปองกันเมลที่เปนขยะ<br />

• ใหแนใจวาซอฟตแวรปองกันไวรัสไดรับการปรับปรุงใหทันสมัย ไมเปดไฟลที่<br />

แนบมา ถาไมรูแหลงที่มา<br />

• ตอบกลับอีเมลอยางรวดเร็ว ถาเปนไปได<br />

• ถาตองการเก็บอีเมล ใหสรางโฟลเดอร ตั้งชื่อใหมีความหมายสําหรับเก็บอีเมล<br />

ที่ตองการ<br />

• เรียนรูการใชความสามารถที่สําคัญของซอฟตแวรอีเมล<br />

9.6.5 การใชแมแบบสําหรับการสื่อสารโครงการ<br />

เพื่อใหการทําการสื่อสารงายขึ้น ผูจัดการโครงการจําเปนตองมีตัวอยางและแมแบบ<br />

สําหรับการสื่อสารที่รวมกัน เชน คําอธิบายโครงการ เอกสารสิทธิ์โครงการ รายงานการปฏิบัติงานราย<br />

เดือน การนําเสนอรายงานสถานภาพ เอกสารที่ดีจากโครงการในอดีตเปนแหลงตัวอยางที่ดี และชวยผูที่<br />

ไมเคยเขียนหรือไมเคยนําเสนอโครงการมากอน ผูจัดการโครงการควรหาและพัฒนาตัวอยางและ<br />

แมแบบ เพื่อใหมีการใชเอกสารและแมแบบรวมกัน ตัวอยางของเอกสารที่ควรมีแมแบบไดแก แฟมธุรกิจ<br />

เอกสารสิทธิ์โครงการ ขอบเขตโครงการ การวิเคราะหผูมีสวนไดเสีย โครงสรางจําแนกงาน แผนภูมิแกนต<br />

และการประมาณคาใชจาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-17<br />

รูปที่ 9.2 ตัวอยางแมแบบสําหรับคําอธิบายโครงการ (Schwalbe, 2007)<br />

รูปที่ 9.2 คือ ตัวอยางแมแบบสําหรับคําอธิบายโครงการยาว 1 หนากระดาษ<br />

แบบฟอรมนี้สามารถใชแสดงขอมูลโดยสรุปทั้งหมดของโครงการ ซึ่งอาจนํามาใชในการประชุมรายงาน<br />

ผูบริหารราย 3 เดือน คําอธิบายโครงการควรประกอบดวย วัตถุประสงคโครงการ ขอบเขต สมมุติฐาน<br />

คาใชจาย และระยะเวลา รวมทั้งผลลัพธหลัก และหลักไมลของโครงการ ตารางที่ 9.5 เปนแมแบบ<br />

สําหรับรายงานความกาวหนารายเดือน ในรายงานประกอบดวย งานที่ทําสําเร็จในเดือนนั้น แผนสําหรับ<br />

เดือนถัดไป ประเด็นที่สําคัญ และการเปลี่ยนแปลง<br />

ตารางที่ 9.5 ตัวอยางแมแบบสําหรับรายงานความกาวหนารายเดือน (Schwalbe, 2007)<br />

1. สิ่งที่ทําสําเร็จสําหรับเดือนมกราคม:<br />

• อธิบายสิ่งที่ทําสําเร็จที่สําคัญที่สุด ใหสัมพันธกับแผนภูมิแกนตของโครงการ<br />

• อธิบายสิ่งที่ทําเสร็จอื่นๆ ที่สําคัญ ถามีประเด็นใดไดรับการแกไขจากเดือนที่แลว ใหแสดงดวย<br />

2 วางแผนสําหรับเดือนกุมภาพันธ:<br />

• อธิบายหัวขอที่สําคัญที่สุดที่จะทําใหสําเร็จในเดือนถัดไป ใหสัมพันธกับแผนภูมิแกนตของโครงการ<br />

• อธิบายหัวขออื่นๆ ที่สําคัญที่จะทําใหสําเร็จ<br />

3 ประเด็น: แสดงประเด็นที่สําคัญที่พบหรือที่ยังคงสําคัญอยางสรุป<br />

4. การเปลี่ยนโครงการ (คําอธิบายและวันที่): แสดงคํารองขอเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอนุมัติ รวมทั้งวันที่เปลี่ยนแปลง<br />

และคําอธิบายอยางสรุป<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-18<br />

เอกสารทั้งหมดของโครงการจะประกอบดวยรายงานจํานวนมากดังนี้<br />

• คําอธิบายโครงการ<br />

• ขอเสนอ<br />

• สัญญาที่ไดรับการแกไข และของเดิม และเอกสารการยอมรับของลูกคา<br />

• แผนและตารางเวลาที่ไดแกไขรวมทั้งของเดิม (โครงสรางจําแนกงาน แผนภูมิ<br />

แกนต และผังเครือขาย ประมาณการคาใชจาย แผนการบริหารการสื่อสาร)<br />

• เอกสารการออกแบบ<br />

• รายงานโครงการฉบับสุดทาย<br />

• สิ่งที่สงมอบ (deliverables)<br />

• รายงานการตรวจสอบ (audit report)<br />

• รายงานบทเรียนที่ไดเรียนรู<br />

• สําเนารายงานสถานภาพทั้งหมด รายงานการประชุม การแจงการ<br />

เปลี่ยนแปลง และเอกสารที่เขียนขึ้น หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกสอื่นๆ<br />

ผูจัดการโครงการและสมาชิกทีมงานควรเตรียมรายงานบทเรียนที่ไดเรียนรูทั้งหมด<br />

รายงานบทเรียนที่ไดเรียนรูคือ การบันทึกสิ่งสําคัญที่ไดจาการทํางานโครงการ สมาชิกทีมงานทุกคนตอง<br />

เขียนบทเรียนที่ไดอยางสั้นๆ บางโครงการใหหัวหนาทีม หรือผูบริหารโครงการเขียนรายงานคนเดียว<br />

รายงานเหลานี้เปนการสะทอนที่มีคาเพื่อใหรูวางานอะไรที่ทําจริง หรืองานอะไรที่ไมไดทํา เนื่องจากแต<br />

ละคนเรียนรูดวยวิธีที่ตางกัน และมีความเขาใจลึกซึ้งตางกัน ดังนั้น การไดขอมูลมากกวาหนึ่งคนจะได<br />

ประโยชนมากกวาขอมูลจากคนคนเดียว รายงานบทเรียนที่เรียนรูเปนแหลงขอมูลที่ดีเยี่ยมสําหรับ<br />

โครงการในอนาคต<br />

ผูจัดการโครงการจะรวบรวมสารสนเทศทั ้งหมดที่ไดจากรายงานบทเรียนที่เรียนรูมาทํา<br />

เปนรายงานสรุปของโครงการ หัวขอที่ไดอภิปรายในรายงานบทเรียนที่ไดเรียนรูจะสะทอนวาเปาหมาย<br />

ของโครงการบรรลุหรือไม โครงการประสบความสําเร็จหรือไม สาเหตุของความแปรปรวนของโครงการ<br />

เหตุผลที่เลือกการกระทําเพื่อแกไขปญหา และการใชเครื่องมือและเทคนิคการบริหารโครงการตางๆ บาง<br />

โครงการ<br />

9.6.6 การพัฒนาโครงสรางพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร<br />

โครงสรางพื้นฐานเพื่อการสื่อสารคือ ชุดของเครื่องมือ เทคนิค และหลักการที่เปน<br />

พื้นฐานสําหรับการถายทอดสารสนเทศระหวางคน เครื่องมือรวมถึงอีเมล ซอฟตแวรการบริหารโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-19<br />

กรุปแวร เครื่องสงแฟกซ โทรศัพท ระบบประชุมทางไกล ระบบจัดการเอกสาร และซอฟตแวรประมวลผล<br />

คํา (word processing software) ตัวอยางเทคนิค เชน แนวทางการรายงานและแมแบบ กฎและ<br />

ขั้นตอนการประชุม กระบวนการตัดสินใจ วิธีการแกปญหา การแกความขัดแยง เทคนิคการตอรอง สวน<br />

ตัวอยางของหลักการคือ การจัดสภาพแวดลอมสําหรับการสนทนาแบบเปด โดยการใชวิธีการพูดแบบ<br />

ตรง และการทําตามหลักจริยธรรมที่ตกลง<br />

9.7 สรุป<br />

ความลมเหลวของการสื่อสารเปนภัยคุกคามความสําเร็จของโครงการอยางยิ่ง โดยเฉพาะ<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารคือ น้ํามันหลอลื่นที่ทําใหโครงการดําเนินไปอยางราบรื่น การ<br />

บริหารการสื่อสารโครงการประกอบดวย การวางแผนการสื่อสาร การกระจายสารสนเทศ การรายงาน<br />

การปฏิบัติงาน และการบริหารผูมีสวนไดเสีย แผนการบริหารการสื่อสารควรทําขึ้นสําหรับทุกโครงการ<br />

การวิเคราะหผูมีสวนไดเสียสําหรับการสื่อสารโครงการชวยกําหนดการสื่อสารที่จําเปนสําหรับบุคคลที่<br />

ตางกัน<br />

วิธีการกระจายสารสนเทศโครงการมีหลากหลายทั้งที่เปนทางการและไมเปนทางการ ทั้งการ<br />

เขียนและการพูด การกําหนดสื่อที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการกระจายสารสนเทศของโครงการเปนสิ่งที่<br />

สําคัญมาก ผูจัดการโครงการและทีมงานควรใหความสําคัญกับการสรางความสัมพันธ ขณะเดียวกัน<br />

จํานวนชองทางการสื่อสารเพิ่มขึ้นอยางมากมาย ถามีจํานวนคนที่ตองการสื่อสารมาก<br />

การรายงานการปฏิบัติงานเกี่ยวของกับการรวบรวม การกระจายสารสนเทศเกี่ยวกับการ<br />

ดําเนินงานของโครงการวาสอดคลองเปาหมายของโครงการแคไหน ทีมงานโครงการสามารถใชตัววัดที่<br />

เรียกวา มูลคาที่ไดรับ (earned value) และขอมูลความกาวหนารูปแบบอื่นๆ สําหรับการสื่อสารและการ<br />

ประเมินการปฏิบัติงานโครงการ การประชุมทบทวนสถานภาพโครงการเปนสวนสําคัญของการสื่อสาร<br />

การติดตามและการควบคุมโครงการ<br />

การบริหารผูมีสวนไดเสียประกอบดวย การบริหารการสื่อสารเพื่อใหสนองความตองการและ<br />

ความคาดหวังของผูมีสวนไดเสียโครงการ และยังรวมถึงการกําหนดและบริหารประเด็นตางๆ<br />

เพื่อปรับปรุงการสื่อสารใหดีขึ้น ผูจัดการโครงการและทีมงานตองพัฒนาทักษะในการบริหาร<br />

ความขัดแยงรวมทั้งทักษะการสื่อสาร การแกไขความขัดแยงเปนสิ่งสําคัญของการบริหารการสื่อสาร<br />

สาเหตุสําคัญของความขัดแยงสวนใหญมาจากตารางเวลา ลําดับความสําคัญ การจัดพนักงาน ความ<br />

คิดเห็นเชิงเทคนิค ขั้นตอนวิธีการ คาใชจาย และบุคลิกภาพ วิธีการที่ดีที่สุดในการบริหารความขัดแยง<br />

คือ ใชวิธีการแกปญหา (problem-solving approach) ขอแนะนําอื่นๆ สําหรับการปรับปรุงการสื่อสาร<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการสื่อสารโครงการ หนา 9-20<br />

ประกอบดวย การเรียนรูที่จะจัดประชุมใหมีประสิทธิผล การใชอีเมลใหมีประสิทธิผล การใชแมแบบ<br />

สําหรับการสื่อสารสารสนเทศโครงการ และการพัฒนาโครงสรางพื้นฐานสําหรับการสื่อสาร<br />

คําถามทายบท<br />

1. แผนการบริหารการสื่อสารควรระบุเรื่องอะไร<br />

2. การวิเคราะหผูมีสวนไดเสียชวยในการเตรียมและทําแผนการบริหารการสื่อสารอยางไร<br />

3. อภิปรายขอดีขอเสียของวิธีการกระจายสารสนเทศของโครงการ<br />

4. เพราะเหตุใดการเพิ่มคนในโครงการจึงมีผลกระทบตอการบริหารการสื่อสาร<br />

5. วิธีการบริหารความขัดแยงมีอะไร จงอธิบาย<br />

6. เพราะเหตุใดการใชอีเมลจึงมีผลกระทบทางลบกับการสื่อสาร ทั้งๆ ที่เปนสื่อที่ราคาถูกที่สุด<br />

7. อภิปรายการใชบันทึกประเด็นเพื่อชวยการบริหารผูมีสวนไดเสีย<br />

8. ทานเห็นดวยหรือไมกับขอเสนอแนะการปรับปรุงการสื่อสารใหดีขึ้น ใหทานเสนอแนะ<br />

เพิ่มเติม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-1<br />

10.1 บทนํา<br />

ความเสี่ยงโดยนิยามทั่วไปคือ ความเปนไปไดของการสูญเสียหรือบาดเจ็บ ซึ่งเปนนิยามดาน<br />

ลบที่มีความไมแนนอนมาเกี่ยวของ อยางไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่เปนบวกดวย ความเสี่ยงที่เปนบวก<br />

เปนสิ่งที่ดีที่เกิดกับโครงการ ดังนั้น ความเสี่ยงคือ ความไมแนนอนที่สามารถมีผลทั้งดานบวกและดาน<br />

ลบตอการบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ ความเสี่ยงที่มีผลดานลบเปรียบเหมือนการประกันภัย สวน<br />

ความเสี่ยงที่มีผลดานบวกเปรียบเหมือนการลงทุนในโอกาส<br />

การบริหารความเสี่ยงโครงการเปนการระบุ การวิเคราะห และการสนองตอบตอความเสี่ยง<br />

ตลอดชีวิตของโครงการ การบริหารความเสี่ยงมีผลตอความสําเร็จของโครงการอยางมีนัยสําคัญ รวมทั้ง<br />

มีผลตอการเลือกโครงการ การกําหนดขอบเขตของโครงการ การพัฒนาตารางเวลาและประมาณ<br />

คาใชจายที่สอดคลองกับความจริง การบริหารความเสี่ยงยังชวยผูมีสวนไดเสียเขาใจธรรมชาติของ<br />

โครงการ โดยการนําสมาชิกของทีมมารวมกันกําหนดจุดแข็งและจุดออน และชวยบูรณาการองคความรู<br />

ดานตางๆ ของการบริหารโครงการ<br />

องคการหรือบุคลากรมีการบริหารความเสี่ยงที่แตกตางกัน ซึ่งขึ้นอยูวาองคการหรือบุคคลนั้น<br />

มีระดับการยอมรับความเสี่ยง (risk tolerance) หรืออรรถประโยชนความเสี่ยง (risk utility) ระดับใด<br />

ระดับการยอมรับความเสี่ยงคือ ปริมาณความพอใจที่ไดรับจากผลลัพธของการตัดสินใจ ซึ่งทําใหเรา<br />

สามารถจัดบุคคลากรหรือองคการเปน 3 ประเภทคือ<br />

• หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk averse) คือ องคการหรือบุคคลที่ไมชอบความเสี่ยง<br />

เมื่อองคการหรือบุคคลตองเผชิญความเสี่ยงที่ใหผลตอบแทนไมเทากัน องคการ<br />

หรือบุคคลจะเลือกทําสิ่งที่มีความเสี่ยงนอยที่สุด ถึงแมวาผลตอบแทนจะนอยกวา<br />

การทําอีกสิ่งหนึ่ง องคการหรือบุคคลจะทําประกันเพื่อไมตองแบกรับความเสี่ยง<br />

• เปนกลางกับความเสี่ยง (risk neutral) คือ องคการหรือบุคคล ที่พยายามทําใหเกิด<br />

ภาวะสมดุลระหวางความเสี่ยงกับเงินที่ตองจาย<br />

• คนหาความเสี่ยง (risk seeking) คือ องคการหรือบุคคลที่ชอบทําในสิ่งที่ให<br />

ผลตอบแทนสูง ถึงแมวาความเสี่ยงจะสูงก็ตาม และพรอมที่จะจายคาความเสี่ยง<br />

นั้น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-2<br />

เปาหมายของการบริหารความเสี่ยงคือ ความพยายามที่จะใหมีความเสี่ยงดานลบใหไดนอย<br />

ที่สุด และพยายามเพิ่มความเสี่ยงดานบวกใหไดมากที่สุด ความเสี่ยงที่เรารูเปนความเสี่ยงที่เราสามารถ<br />

จัดการไดกอน ซึ่งตางจากความเสี่ยงที่เราไมรู ดังนั้น ผูจัดการโครงการจึงจําเปนที่จะตองพยายามหา<br />

ความเสี่ยงใหไดมากที่สุด เพื่อจะไดจัดการกับความเสี่ยงไดกอน หรือรับมือกับความเสี่ยงไดอยางถูกตอง<br />

การบริหารความเสี่ยงมีทั้งหมด 6 ขั้นตอนคือ<br />

• การวางแผนบริหารความเสี่ยง (risk management planning) เปนการตัดสินใจ<br />

วาเราจะทําอยางไรกับความเสี่ยงโครงการ กิจกรรมการบริหารความเสี่ยงมีอะไร<br />

โดยการทบทวนขอกําหนดขอบเขตโครงการ แผนการบริหารโครงการ และปจจัย<br />

เชิงสภาพแวดลอมองคการ<br />

• การระบุความเสี่ยง (risk identification) เปนการกําหนดความเสี่ยงอะไรที่มี<br />

ความเปนไปไดที่จะมีผลตอโครงการ และบันทึกคุณลักษณะของความเสี่ยงแตละ<br />

เรื่อง<br />

• การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณ (quantitative risk analysis) เปนการ<br />

ประมาณการผลความเสี่ยงในเชิงปริมาณ<br />

• การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (qualitative risk analysis) เปนการ<br />

จัดลําดับความสําคัญตามความเปนไปไดและผลกระทบของการเกิดความเสี่ยง<br />

• การวางแผนตอบสนองความเสี่ยง (risk response planning) เปนการกําหนด<br />

ขั้นตอนในการลดภัยคุกคาม<br />

• การควบคุมและติดตามความเสี่ยง (risk monitoring and control) เปนการ<br />

ติดตามความเสี่ยงที่ไดระบุไว การระบุความเสี่ยงใหม การดําเนินการตามแผน<br />

ตอบสนองความเสี่ยง และประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ ตลอดชีวิตโครงการ<br />

10.2 การวางแผนบริหารความเสี่ยง<br />

การวางแผนบริหารความเสี่ยงคือ กระบวนการของการตัดสินใจวาจะทําอยางไรกับความ<br />

เสี่ยง และวางแผนกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงสําหรับโครงการ ผลลัพธของกระบวนการนี้คือ แผนการ<br />

บริหารความเสี่ยง ซึ่งบันทึกขั้นตอนสําหรับบริหารความเสี่ยงตลอดทั้งโครงการ ทีมงานควรจัดประชุม<br />

การวางแผนตั้งแตเนิ่นๆ เพื่อชวยกันพัฒนาแผนบริหารความเสี่ยง การพัฒนาแผนนี้ ทีมงานควรนํา<br />

นโยบายการบริหารความเสี่ยง และรายงานบทเรียนที่ไดรับจากโครงการกอนมารวมในการวางแผนดวย<br />

รวมทั้งตองทบทวนระดับการยอมรับความเสี่ยงของผูมีสวนไดเสียวาเปนบุคคลที่จัดอยูในกลุมความ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-3<br />

เสี่ยงประเภทใด เชน ถาผูสนับสนุนโครงการเปนคนที่กลัวความเสี่ยง ทีมงานตองใชวิธีการบริหารความ<br />

เสี่ยงที่แตกตางจากผูสนับสนุนโครงการที่ชอบความเสี่ยง<br />

แผนบริหารความเสี่ยงจะบอกวาการบริหารความเสี่ยงสําหรับแตละโครงการจะทําอยางไร<br />

แผนนี้จะเปนแผนยอยแผนหนึ่งในแผนบริหารโครงการ หัวขอที่ควรจะปรากฎในแผนการบริหารความ<br />

เสี่ยงมีดังนี้<br />

• ระเบียบวิธี: โครงการนี้จะทําอยางไรกับการบริหารความเสี่ยง ใชเครื่องมืออะไร<br />

แหลงขอมูลใดที่มีขอมูลให<br />

• บทบาทและความรับผิดชอบ: ใครรับผิดชอบงานอะไรที่เกี่ยวกับการบริหารความ<br />

เสี่ยง สิ่งที่ไดจากงานที่ทําคืออะไร<br />

• งบประมาณและตารางเวลา: งบประมาณและเวลาที่ใชในการทํางานที่เกี่ยวกับ<br />

ความเสี่ยง<br />

• กลุมความเสี่ยง: กลุมความเสี่ยงที่สําคัญที่ควรกลาวถึงสําหรับโครงการนี้มีอะไร<br />

โครงสรางจําแนกความเสี่ยง<br />

• ผลกระทบและความนาจะเปนของความเสี่ยง: ประเมินผลกระทบและความนาจะ<br />

เปนของความเสี่ยงแตละเรื่องไดอยางไร ใชวิธีการอะไรในการใหคะแนนและแปล<br />

ความหมาย วิธีการอะไรที่ใชในการวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณและเชิง<br />

คุณภาพ<br />

• เอกสารความเสี่ยง: รูปแบบของรายงานและกระบวนการรายงานที่จะนํามาใชกับ<br />

กิจกรรมการบริหารความเสี่ยง<br />

นอกจากแผนการบริหารความเสี่ยงแลว ควรมีแผนสํารอง (contingency plan) แผนทางถอย<br />

(fallback plan) และเงินทุนสํารอง (contingency reserves)<br />

• แผนสํารอง (contingency plan) คือ แผนทางเลือกที่จะนํามาใชในกรณีที่<br />

เหตุการณเสี่ยงที่ไมพึงปารถนาเกิดขึ้น เชน ทีมงานรูวาซอฟตแวรรุนใหมอาจออก<br />

ไมทันที่จะใชสําหรับโครงการ ทีมงานอาจมีแผนสํารองใหใชซอฟตแวรรุนเกาที่มีอยู<br />

แผนสํารองจึงเปนแผนที่จะปองกันหรือลดผลเสียของเหตุการณเสี่ยงที่เกิดขึ้น แผน<br />

สํารองจะจัดทําเหมือนแผนทั่วๆ ไป คือ จะตองตอบคําถามวา จะทําอะไร ทําที่ไหน<br />

ทําอยางไร ใครทํา และมีคาใชจายเทาใด ถาผูจัดการโครงการไมมีแผนสํารอง ก็จะ<br />

ทําใหเกิดความลาชา หรือสับสนวุนวาย เมื่อมีเหตุการณเสี่ยงเกิดขึ้น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-4<br />

• แผนทางถอย (fallback plan) เปนแผนที่ไดพัฒนาสําหรับความเสี่ยงที่มีผลกระทบ<br />

สูงตอวัตถุประสงคของโครงการ และความพยายามที่จะลดความเสี่ยงไมมี<br />

ประสิทธิผล เชน นักศึกษาใหมอาจมีแผนหลักและแผนสํารองหลายแผนวาจะอยูที่<br />

ไหนเมื่อจบการศึกษา แตถาไมมีแผนไหนเลยที่ใชได แผนทางถอยอาจคืออาศัยอยู<br />

ที่บานชั่วระยะเวลาหนึ่ง บางครั้งแผนสํารองกับแผนทางถอยใชเรียกแทนกันได<br />

• เงินทุนสํารอง (contingency reserves) เปนเงินทุนที่จัดตั ้งขึ้นเพื่อนําออกมาใช<br />

จายในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากการประมาณรายรับ ประมาณการรายจาย<br />

หรือเกิดความผิดพลาดที่ไมไดประมาณการรายจายสําหรับบางกิจกรรมไว หรือ<br />

เกิดเหตุการณเสี่ยงตางๆ ที่ทําใหตองมีคาใชจายเพิ่ม เชน ถาโครงการหนึ่งเกิด<br />

เหตุการณที่ตองใชความรูใหมที่สมาชิกไมมีประสบการณ และทีมงานไมไดระบุไว<br />

วาเปนความเสี่ยง ผูสนับสนุนโครงการอาจจัดงบเพิ่มจากเงินสํารองเพื่อจางที่<br />

ปรึกษาขางนอกมาอบรมและใหคําปรึกษาแกสมาชิกในทีมเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม<br />

เงินทุนสํารองนี้แบงเปน 2 สวนคือ เงินทุนสํารองงบประมาณของโครงการ<br />

(budget reserves) เพื่อใชจายในกรณีที่เกิดเหตุการณเสี่ยงกับกิจกรรมของ<br />

โครงการ อีกสวนหนึ่งคือ เงินทุนสํารองดานการบริหาร (management reserves)<br />

เพื่อใชจายในกรณีที่เกิดเหตุการณเสี่ยงที่กระทบตอโครงการโดยรวม<br />

10.3 ประเภทของความเสี่ยงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ<br />

ชวอบี (Schwalbe, 2007) ไดกลาวถึงประเภทความเสี่ยงที่องคการนิยมตั้งคําถามแบง<br />

ออกเปน 5 กลุมคือ<br />

• ความเสี่ยงดานตลาด (market risk)<br />

• ถาโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเปนโครงการที่สรางผลิตภัณฑหรือ<br />

บริการใหม โครงการนี้จะมีประโยชนตอองคการหรือไม หรือสามารถทํา<br />

ตลาดใหกับผลิตภัณฑอื่นหรือไม<br />

• ผูใชจะยอมรับและใชผลิตภัณฑหรือบริการหรือไม<br />

• มีใครอื่นที่สรางผลิตภัณฑหรือบริการที่ดีกวาหรือเร็วกวาหรือไม ซึ่งจะทํา<br />

ใหโครงการเสียเวลาและเงิน<br />

• ความเสี่ยงดานการเงิน (financial risk)<br />

• องคการสามารถสนับสนุนโครงการใหดําเนินการไดหรือไม<br />

• ผูมีสวนไดเสียจะมั่นใจในการคาดการณทางการเงินไดอยางไร<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-5<br />

• โครงการจะทําไดตามคามูลคาปจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากการ<br />

ลงทุน และระยะเวลาการคืนทุนที่ไดประมาณการณหรือไม ถาทําไมได<br />

องคการสามารถสนับสนุนโครงการใหดําเนินการตอไปไดหรือไม<br />

• โครงการนี้เปนทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะใชทรัพยากรการเงินขององคการ<br />

หรือไม<br />

• ความเสี่ยงดานเทคโนโลยี (technology risk)<br />

• โครงการนี้มีความเปนไปไดเชิงเทคนิคหรือไม<br />

• โครงการจะใชเทคโนโลยีที่มีวุฒิภาวะ หรือใชเทคโนโลยีที่ล้ําหนาหรือไม<br />

• เมื่อไรจึงตัดสินใจวาจะใชเทคโนโลยีอะไร<br />

• ฮารดแวร ซอฟตแวรและเครือขายทํางานไดอยางเหมาะสมหรือไม<br />

• เทคโนโลยีนี้จะมีใหใชทันเวลาหรือไม<br />

• เทคโนโลยีนี้อาจลาสมัยกอนผลิตภัณฑจะผลิตออกมาหรือไม<br />

• ความเสี่ยงดานคน (people risk)<br />

• องคการมีหรือสามารถหาบุคคลากรที่มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อทําให<br />

โครงการเสร็จสมบูรณหรือไม<br />

• บุคคลากรมีทักษะเชิงเทคนิคและเชิงบริหารหรือไม<br />

• บุคคลากรมีประสบการณเพียงพอหรือไม<br />

• ผูบริหารอาวุโสสนับสนุนโครงการหรือไม<br />

• มีผูสนับสนุนโครงการหรือไม<br />

• องคการมีความคุนเคยกับลูกคาหรือผูสนับสนุนหรือไม<br />

• ความสัมพันธกับลูกคาหรือผูสนับสนุนโครงการดีแคไหน<br />

• ความเสี่ยงดานโครงสราง/กระบวนการ (structure/process risk)<br />

• โครงการจะเสนอการเปลี่ยนแปลงระดับใดกับขั้นตอนทางธุรกิจและสวนที่<br />

เกี่ยวกับผูใช<br />

• มีกลุมผูใชที่แตกตางจํานวนมากแคไหนที่โครงการจําเปนตองตอบสนอง<br />

ความตองการ<br />

• ระบบอื่นที่โครงการตองทํางานรวมมีมากแคไหน<br />

• องคการมีกระบวนการอยูแลวที่จะทําใหโครงการเสร็จสมบูรณหรือไม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-6<br />

โครงสรางจําแนกความเสี่ยงเปนเครื่องมือที่เปนประโยชนสําหรับผูจัดการโครงการที่จะ<br />

พิจารณาความเสี่ยงที่มีศักยภาพในกลุมที่แตกตางกัน รูปที่ 10.1 คือ ตัวอยางการจําแนกความเสี่ยง โดย<br />

การใชผังโครงสรางองคการ ความเสี่ยงไดจัดเปน 4 กลุมคือ ความเสี่ยงเชิงธุรกิจ ความเสี่ยงเชิงเทคนิค<br />

ความเสี่ยงเชิงองคการ และความเสี่ยงเชิงการบริหารโครงการ ภายใตความเสี่ยงเชิงธุรกิจจะมีความ<br />

เสี่ยงทางดานคูแขง ความเสี่ยงดานผูขาย ความเสี่ยงดานกระแสเงินสด สวนความเสี่ยงเชิงเทคนิค<br />

ประกอบดวยความเสี่ยงทางฮารดแวร ซอฟตแวร และเครือขาย ความเสี่ยงเชิงองคการจะมีความเสี่ยง<br />

ดานการสนับสนุนของผูบริหารระดับสูง การสนับสนุนของผูใช การสนับสนุนของทีมงาน และความเสี่ยง<br />

ดานการบริหารโครงการจะรวมถึงความเสี่ยงการประมาณการ ความเสี่ยงดานการสื่อสาร และความ<br />

เสี่ยงดานทรัพยากร<br />

รูปที่ 10.1 ตัวอยางโครงสรางจําแนกความเสี่ยง (Schwalbe, 2007)<br />

การจําแนกความเสี่ยงอาจใชเทคนิคอื่นที่ไมใชผังโครงสรางองคการก็ได เชน การจําแนก<br />

โครงสรางความเสี่ยงในลักษณะเดียวกับสารบัญหนังสือ ซึ่งเหมาะกับกรณีที่ความเสี่ยงมีความซับซอน<br />

ความเสี่ยงที่ถูกจําแนกสามารถนําเสนอใหอยูในหนาเดียว ทําใหผูจัดการโครงการสามารถวิเคราะห<br />

ความเสี่ยงไดสะดวก<br />

ความเสี่ยงยังสามารถจําแนกตามองคความรูเกี่ยวกับการบริหารโครงการ 9 ดาน เชน ความ<br />

เสี่ยงทางดานขอบเขตโครงการ ความเสี่ยงทางดานเวลา ความเสี่ยงทางดานคาใชจาย และความเสี่ยง<br />

ทางดานคุณภาพ ดังตัวอยางในตารางที่ 10.1<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-7<br />

ตารางที่ 10.1 ตัวอยางการจัดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับความรูการบริหารโครงการ<br />

(Schwalbe, 2007)<br />

กลุมความรู ความเสี่ยง<br />

การบูรณาการ การวางแผนไมเพียงพอ การจัดสรรทรัพยากรไมดี การบริหารการบูรณาการไมดี ขาดการ<br />

ทบทวนโครงการ<br />

ขอบเขต การนิยามขอบเขตโครงการหรือกลุมงานไมดี นิยามไมสมบูรณ<br />

เวลา ความผิดพลาดในการประมาณเวลา หรือทรัพยากรที่มีใหใช ความผิดพลาดในการกําหนด<br />

เสนทางวิกฤต การจัดการและการจัดสรรเวลาลอยตัว (floating time) ไมดี ปลอยผลิตภัณฑที่<br />

ไดเปรียบเชิงการแขงขันเร็วไป<br />

คาใชจาย ความผิดพลาดในการประมาณการ ประสิทธิภาพ คาใชจาย หรือเงินสํารองไมพอเพียง<br />

คุณภาพ ทัศนคติตอคุณภาพไมดี การออกแบบ/วัตถุดิบต่ํากวามาตรฐาน โปรแกรมประกันคุณภาพไม<br />

เพียงพอ<br />

ทรัพยากรมนุษย การจัดการความขัดแยงไมดี โครงสรางองคการของโครงการและการนิยามความรับผิดชอบไม<br />

ดี ขาดผูนํา<br />

การสื่อสาร ขาดความระมัดระวังในการวางแผน หรือการสื่อสาร ขาดการปรึกษากับผูมีสวนไดเสียหลัก<br />

ความเสี่ยง ละเลยความเสี่ยง ขาดความชัดเจนในการวิเคราะหความเสี่ยง การบริหารการประกันคุณภาพ<br />

ไมดี<br />

การจัดซื้อจัดจาง ไมสามารถบังคับตามเงื่อนไขของสัญญา ความสัมพันธเชิงปรปกษกับผูขาย/ผูใหบริการ<br />

10.4 การระบุความเสี่ยง<br />

การระบุความเสี่ยงคือ กระบวนการของความเขาใจวาเหตุการณใดที่มีศักยภาพที่จะทําราย<br />

โครงการ หรือสงเสริมใหโครงการดีขึ้น การระบุความเสี่ยงที่มีศักยภาพเปนเรื่องที่จําเปน เราตองระบุ<br />

ความเสี่ยงอยางตอเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดลอม เราไมสามารถบริหารโครงการได ถา<br />

เราไมทราบวาสิ่งใดคือความเสี่ยง<br />

ทีมงานเริ่มกระบวนการระบุความเสี่ยงโดยการทบทวนเอกสารโครงการ สารสนเทศปจจุบัน<br />

และในอดีตที่เกี่ยวของกับองคการ และสมมุติฐานที่อาจมีผลตอโครงการ เครื่องมือและเทคนิคที ่ชวยใน<br />

การระบุความเสี่ยงที่ใชกันมี 7 ชนิดคือ การระดมความคิด เทคนิคการประชุมกลุมแบบนอมินอล<br />

(nominal group technique) เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) การสัมภาษณ การวิเคราะหสาเหตุ<br />

ของปญหา การวิเคราะห SWOT และบทเรียนจากโครงการในอดีต<br />

10.4.1 การระดมความคิด<br />

เปนเทคนิคที่กลุมพยายามที่จะสรางความคิด หรือหาคําตอบสําหรับปญหา<br />

เฉพาะ โดยการรวบรวมความคิดจากคนหลายคนพรอมๆ กัน วิธีการนี้ทําใหกลุมสามารถสรางรายการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-8<br />

ความเสี่ยงที่สมบูรณครบถวน และนําไปวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณและคุณภาพตอไป เมื่อได<br />

รายการความเสี่ยงแลว ความเสี่ยงควรนํามาจัดกลุมและหมวด เพื่อใหสามารถจัดการไดสะดวกขึ้น แต<br />

อยางไรก็ตาม ผูจัดการโครงการควรระวังการใชเทคนิคนี้มากเกินไป หรือใชไปในทางที่ไมถูก ถึงแมวา<br />

องคการตางๆ จะใชเทคนิคการระดมความคิดอยางแพรหลายเพื่อสรางความคิดใหมๆ แตวรรณกรรม<br />

ดานจิตวิทยาไดแสดงวาบุคคลแตละคน หรือการทํางานคนเดียวผลิตความคิดไดมากกวาการที่บุคคล<br />

นั้นแสดงความคิดผานการระดมความคิดในกลุมเล็ก หรือกลุมแบบเผชิญหนา เนื่องจากมีผลดานลบ<br />

จากกลุม เชน กลัวการไมเห็นดวย ผลกระทบจากอํานาจตามสายการบังคับบัญชา และการครอบงําโดย<br />

คนไมกี่คน<br />

10.4.2 เทคนิคการประชุมกลุมแบบนอมินอล<br />

เปนเทคนิคสําหรับการระบุความเสี่ยงที่พยายามใหเกิดสมดุล และเพิ่มการมีสวน<br />

รวมของผูเขารวมประชุม โดยมีหลักการดังนี้<br />

• สมาชิกแตละคนจะเขียนความคิดของตนลงในกระดาษ โดยไมมีการ<br />

พูดคุยหรือปรึกษา<br />

• แตละความคิดของแตละคนจะนํามาเขียนบนบอรดหรือกระดาษ<br />

• กลุมอภิปรายและทําความชัดเจนแตละความคิด<br />

• แตละคนจะจัดลําดับและความสําคัญของความคิดที่ไดเสนออยาง<br />

เงียบๆ<br />

• กลุมจะเริ่มอภิปรายการจัดลําดับและความสําคัญของความคิด<br />

• แตละคนจัดลําดับและความสําคัญของความคิดอีกครั้ง<br />

• สรุปลําดับความสําคัญของความคิด<br />

10.4.3 เทคนิคเดลฟาย<br />

เปนวิธีการที่ชวยหลีกเลี่ยงผลดานลบจากกลุมที่ใชเทคนิคการระดมความคิด<br />

แนวคิดพื้นฐานของเทคนิคเดลฟายคือ เพื่อใหไดความคิดเห็นเปนเอกฉันทจากคณะผูเชี่ยวชาญผูทําการ<br />

คาดการณเกี่ยวกับการพัฒนาในอนาคต เทคนิคนี้เปนเทคนิคที่เปนระบบ ขั้นตอนการพยากรณขึ้นกับ<br />

ขอมูลนําเขาจากบุคคลอิสระและไมทราบวาเปนขอมูลของใคร เทคนิคเดลฟายจะเปนการตั้งคําถามแลว<br />

ใหผูเชี่ยวชาญแตละคนตอบคําถามนั้น คําตอบจะนํามาประมวลผล ผลที่ไดจะสงกลับไปยังคณะ<br />

ผูเชี่ยวชาญอีกครั้ง ดังนั้น ผูเชี่ยวชาญจะไมทราบวาผลที่ไดนั้นเปนของผูเชี่ยวชาญคนใด เมื่อผูเชี่ยวชาญ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-9<br />

พิจารณาผลแลว จะใหผลปอนกลับเพื่อกลับไปประมวลผลใหม และนําไปใชในรอบตอไป กระบวนการ<br />

จะเปนเชนนี้จนกระทั่งไดความเห็นเปนเอกฉันท<br />

10.4.4 การสัมภาษณ<br />

เปนเทคนิคที่ใชเก็บรวบรวมขอเท็จ-จริงจากผูมีสวนไดเสียของโครงการ โดยการ<br />

เผชิญหนา โทรศัพท หรือไปรษณียอิเล็กทรอนิกส การสัมภาษณคนที่มีประสบการณจากโครงการที่มี<br />

ลักษณะคลายคลึงกับโครงการที่เรากําลังจะดําเนินการ วิธีการนี้เปนวิธีการที่สําคัญสําหรับการระบุ<br />

ความเสี่ยงที่มีศักยภาพ การเตรียมการสัมภาษณเปนสิ่งที่สําคัญ ทีมงานควรสรางคําถามเพื่อใชเปนแนว<br />

ทางการสัมภาษณ แตคุณภาพของสารสนเทศที่ไดมาขึ้นอยูกับทักษะของผูสัมภาษณและผูถูกสัมภาษณ<br />

คอนขางสูง รวมทั้งกระบวนการการสัมภาษณดวย<br />

10.4.5 การวิเคราะหสาเหตุของปญหา<br />

เปนเทคนิคที่ใชผังกางปลาของอิชิคาวาที่ใชในการวิเคราะหคุณภาพของ<br />

ผลิตภัณฑ ผังกางปลาสามารถนํามาใชเพื่อทําความเขาใจสาเหตุหรือปจจัยของความเสี่ยงใดความเสี่ยง<br />

หนึ่ง ดังรูปที่ 10.2 ที่แสดงสาเหตุของการลาออกของสมาชิกหลักของทีม โดยมีปจจัยหลักประกอบดวย<br />

โอกาสที่ดีกวา ประสิทธิภาพการทํางานต่ํา สภาพแวดลอมของทีมงานไมดี การทํางานที่มากเกินไป ซึ่ง<br />

แตละปจจัยหลักยังมีสาเหตุที่ทําใหเกิดปจจัยอีก เชน สาเหตุที่ทําใหเกิดโอกาสที่ดีกวาประกอบดวย<br />

คาจางที่สูงกวา ความกาวหนา สิ่งทาทายใหมๆ เปนตน<br />

รูปที่ 10.2 ผังกางปลาสําหรับการวิเคราะหสาเหตุของความเสี่ยง (Marchewka, 2006)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-10<br />

ขั้นตอนการวิเคราะหสาเหตุของความเสี่ยงดวยผังกางปลามีดังนี้<br />

• ระบุความเสี่ยงในแงของภัยคุกคามและโอกาส<br />

• ระบุปจจัยหลักที่สามารถเปนสาเหตุที่ทําใหเกิดความเสี่ยง<br />

• ระบุปจจัยยอยหรือสาเหตุของแตละปจจัยหลัก<br />

• ตรวจสอบแกไขทําผังจนกระทั่งไดผังที่สมบูรณ<br />

10.4.6 การวิเคราะห SWOT<br />

เปนเทคนิคที่ใชในการวางแผนเชิงกลยุทธ การวิเคราะห SWOT สามารถใชใน<br />

การระบุความเสี ่ยงได โดยทีมงานจะเนนความเสี่ยงในมุมมองระดับสูงหรือกวาง ทีมงานจะพิจารณาใน<br />

รายละเอียดวาจุดแข็งขององคการคืออะไร จุดออนที่เกี่ยวของกับโครงการคืออะไร และอะไรคือโอกาส<br />

และภัยคุกคามโครงการ ทีมงานจะระบุประเด็นที่ไดลงในตาราง 4 ชอง ดังรูปที่ 10.3<br />

รูปที่ 10.3 การวิเคราะห SWOT<br />

10.4.7 บทเรียนจากโครงการในอดีต<br />

เปนการวิเคราะหความเสี่ยงโดยการพิจารณาบทเรียนที่โครงการอื่นที่ได<br />

ดําเนินการมาแลว และไดทําการบันทึกความเสี่ยงที่แตละโครงการไดประสบ พรอมทั้งวิธีการที่ใชในการ<br />

แกไขความเสี่ยงนั้น การเลือกบทเรียนนมาใชนั้นตองเลือกจากโครงการที่มีลักษณะใกลเคียงกัน<br />

ตารางที่ 10.2 ทะเบียนความเสี่ยง (Schwalbe, 2007)<br />

เลขที่<br />

ลําดับที่<br />

ความเสี่ยง<br />

คําอธิบาย<br />

กลุมความเสี่ยง<br />

สาเหตุของ<br />

ความเสี่ยง<br />

ตัวกระตุน<br />

การตอบสนอง<br />

ที่มีศักยภาพ<br />

เจาของความ<br />

เสี่ยง<br />

ความนาจะเปน<br />

ผลกระทบ<br />

สถานภาพ<br />

R44 1<br />

R21 2<br />

R7 3<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-11<br />

ผลลัพธหลักของกระบวนการระบุความเสี่ยงคือ รายการความเสี่ยงและขอมูลอื่นๆ ที่จําเปน<br />

ในการสรางทะเบียนความเสี่ยง (risk register) ทะเบียนความเสี่ยงคือ เอกสารที่เปนผลลัพธของ<br />

กระบวนการบริหารความเสี่ยงตางๆ ซึ่งแสดงในรูปของตาราง (ตารางที่ 10.2) ทะเบียนความเสี่ยงใช<br />

บันทึกเหตุการณเสี่ยงที่มีศักยภาพทั้งในแงลบและแงบวกตอโครงการ เชน ความลมเหลวของ<br />

ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ เวลาที่งานเสร็จไดเลื่อนไป ขาดแคลนพนักงาน หรือการไดรับความรวมมือ<br />

ที่ดีจากบริษัทที่ผลิตสินคาที่มีคุณภาพ เปนตน เนื้อหาที่ปรากฎในทะเบียนความเสี่ยงประกอบดวย<br />

• เลขที่ความเสี่ยง<br />

• ลําดับที่ของความเสี่ยง<br />

• ชื่อของเหตุการณเสี่ยง<br />

• คําอธิบายเหตุการณเสี่ยง<br />

• กลุมความเสี่ยง<br />

• สาเหตุของความเสี่ยง<br />

• ตัวกระตุนความเสี่ยง<br />

• การตอบสนองความเสี่ยง<br />

• เจาของความเสี่ยง<br />

• ความนาจะเปนที่จะเกิดความเสี่ยง<br />

• ผลกระทบตอโครงการ<br />

• สถานภาพความเสี่ยง เชน ความเสี่ยงเกิดหรือยัง กลยุทธที่ตอบสนอง<br />

ความเสี่ยงสมบูรณหรือไม ความเสี่ยงยังคงเกี่ยวของกับโครงการอีกหรือไม<br />

10.5 การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพ<br />

การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพประกอบดวย การประเมินโอกาสและผลกระทบของ<br />

ความเสี่ยงที่ไดระบุ การกําหนดขนาดและลําดับความสําคัญ ตัวอยางวิธีการที่ใชวิเคราะหความเสี่ยง<br />

เชน การใชผังความนาจะเปน/ผลกระทบ (probability/impact chart) ตารางผลกระทบความเสี่ยง (risk<br />

impact table) กรอบการจัดกลุมความเสี่ยงของทูสเลอร (Tusler’s risk classification schema) ตนไม<br />

การตัดสินใจ (decision trees) มูลคาทางการเงินที่คาดหวัง (expected monetary value) และดุลย<br />

พินิจของผูเชี่ยวชาญ (expert judgment)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-12<br />

10.5.1 การใชผังความนาจะเปน/ผลกระทบ<br />

ผูจัดการโครงการสามารถกําหนดความนาจะเปนและผลกระทบบนผังความ<br />

นาจะเปน/ผลกระทบ บนผังนี้จะแสดงความเปนไปไดสัมพัทธของการเกิดความเสี่ยงบนแกนหนึ่ง และ<br />

แสดงผลกระทบสัมพัทธของการเกิดความเสี่ยงบนอีกแกนหนึ่ง ซึ่งจะชวยผูจัดการโครงการสามารถให<br />

ความสนใจกับความเสี่ยงที่สําคัญได โดยแกนแตละดานจะกําหนดมาตรวัดเปน 3 ระดับ คือ ต่ํา ปาน<br />

กลาง และสูง ดังแสดงในรูปที่ 10.4<br />

จากรูปที่ 10.4 จะเห็นวาความเสี่ยงที่ผูจัดการโครงการควรใหความสําคัญมาก<br />

ที่สุดคือ ความเสี่ยงที่ตกอยูในกลุมที่ 7 เนื่องจากโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงสูงและเมื่อเกิดแลวจะมี<br />

ผลกระทบตอโครงการสูงเชนกัน สวนความเสี่ยงที่ตกอยูในกลุมที่ 3 ผูจัดการโครงการอาจจะไมตองให<br />

ความสนใจในขณะนี้ ถึงแมวากลุมที่ 6 และ 9 ความนาจะเปนที่จะเกิดความเสี่ยงนี้จะต่ํา แตถาเกิดแลว<br />

จะมีผลกระทบที่รุนแรงตอโครงการ<br />

รูปที่ 10.4 ผังความนาจะเปน/ผลกระทบ (Schwalbe, 2007)<br />

บางโครงการ ทีมงานจะใชเทคนิคที่เรียกวาปจจัยความเสี่ยง (risk factor) ซึ่งเปน<br />

ตัวเลขที่แสดงภาพรวมของความเสี่ยงของเหตุการณนั้นตามความนาจะเปนของการเกิดความเสี่ยงกับ<br />

ผลกระทบหรือผลที่ตามมาของความเสี่ยงนั้น ความนาจะเปนของการเกิดความเสี่ยงสามารถประมาณ<br />

การไดโดยขึ้นอยูปจจัยหลายปจจัยตามธรรมชาติที่เปนเอกลักษณของแตละโครงการ เชน ปจจัยที่<br />

นํามาใชประเมินความเสี่ยงทางดานฮารดแวรและซอฟตแวรอาจมี วุฒิภาวะของเทคโนโลยี ความ<br />

ซับซอนของเทคโนโลยี และการใหความสนับสนุน เปนตน ผลกระทบของการเกิดความเสี่ยงอาจเปนผล<br />

การดําเนินงานไมไดตามเปาหมาย รวมทั้งเวลาและคาใชจาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-13<br />

ความเสี่ยง<br />

ต่ํา<br />

ความเสี่ยง<br />

ปานกลาง<br />

ความเสี่ยงสูง<br />

ผลที่ตามมาของความลมเหลว<br />

รูปที่ 10.5 ตัวอยางของการใชปจจัยความเสี่ยง (Schwalbe, 2007)<br />

รูปที่ 10.5 เปนตัวอยางของการใชปจจัยความเสี่ยง โดยแสดงถึงความนาจะเปน<br />

ของความลมเหลวและผลที่ตามมาของความลมเหลวสําหรับเทคโนโลยีที่นําเสนอ จุดแตละจุดแสดงถึง<br />

เทคโนโลยีที่มีศักยภาพสําหรับโครงการ เทคโนโลยีตางๆ ไดจัดออกเปน 3 กลุมคือ กลุมที่ความเสี่ยงสูง<br />

กลุมที่มีความเสี่ยงปานกลาง และกลุมที่มีความเสี่ยงต่ํา โดยพิจารณาจากความนาจะเปนของความ<br />

ลมเหลวและผลที่ตามมาของความลมเหลว จากรูปดังกลาว ผูจัดการโครงการควรที่จะลงทุนใน<br />

เทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงต่ําหรือความเสี่ยงปานกลาง ไมควรลงทุนในเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงสูง เราจะ<br />

เห็นไดวาการใชปจจัยความเสี่ยงเปนการนําเสนอภาพที่หนักแนนกวาการแคระบุวาความนาจะเปนหรือ<br />

ผลที่ตามมาของความเสี่ยงคือ สูง ปานกลาง หรือต่ํา<br />

10.5.2 ตารางผลกระทบความเสี่ยง<br />

เปนเทคนิคที่ผูจัดการโครงการสามารถนํามาใชในการวิเคราะหและจัดลําดับ<br />

ความสําคัญของความเสี่ยง ผลกระทบความเสี่ยงไดจากผลคูณของความนาจะเปนของการเกิดความ<br />

เสี่ยงกับระดับผลกระทบของความเสี่ยงนั้นที่เกิดขึ้นกับโครงการ ดังตัวอยางในตารางที่ 10.3 ในสดมภ<br />

แรกจะแสดงความเสี่ยงที่เราไดจากขั้นตอนแรกของกระบวนการบริหารความเสี่ยง สดมภที่ 2 แสดง<br />

ความนาจะเปนที่ความเสี่ยงนั้นจะเกิด สดมภที่ 3 คือ ระดับผลกระทบของความเสี่ยง ซึ่งกําหนดตั้งแต<br />

1–10 โดยที่ 1 หมายถึงผลกระทบเล็กนอย หรือแทบไมมีผลกระทบตอโครงการ สวน 10 หมายถึง ความ<br />

เสี่ยงมีผลกระทบรุนแรงที่สุดตอโครงการ สดมภที่ 4 เปนคะแนนความเสี่ยงที่ไดจากการนําคาในสดมภที่<br />

2 คูณกับคาในสดมภที่ 3 การคํานวณหาคะแนนความเสี่ยงจะชวยใหการจัดลําดับความสําคัญของ<br />

ความเสี่ยงงายขึ้น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-14<br />

ตารางที่ 10.3 ตัวอยางตารางผลกระทบความเสี่ยง (Marchewka, 2006)<br />

ความเสี่ยง (ภัยคุกคาม) ความนาจะ<br />

เปน (P)<br />

0-1<br />

ผลกระทบ<br />

(I)<br />

0-10<br />

คะแนน<br />

P*I<br />

สมาชิกหลักของทีมงานออกจากโครงการ 0.40 4 1.6<br />

ลูกคาไมสามารถกําหนดขอบเขตและความตองการ 0.50 6 3.0<br />

ลูกคามีประสบการณปญหาการเงิน 0.10 9 0.9<br />

ลูกคา/ผูใชยอมรับเวลาสนองตอบ 0.80 6 4.8<br />

เทคโนโลยีไมบูรณาการกับระบบงานที่มี 0.60 7 4.2<br />

ผูจัดการดานฟงกชันนําทรัพยากรของโครงการออกไป 0.20 3 0.6<br />

ลูกคาไมสามารถไดรับใบอนุญาต 0.05 7 0.4<br />

10.5.3 กรอบการจัดกลุมความเสี่ยงของทูสเลอร<br />

ทูสเลอรไดเสนอวาความเสี่ยงสามารถจัดได 4 ประเภท ดังรูปที่ 10.6 โดยแตละ<br />

ประเภทมีความหมายดังนี้คือ<br />

• กลุมลูกแมว (kittens) เปนกลุมที่มีความนาจะเปนที่จะเกิดความเสี่ยงต่ํา<br />

และมีผลกระทบตอโครงการต่ําดวย ความเสี่ยงกลุมนี้ไมคอยเปนแหลง<br />

ของปญหา ดังนั้น เวลาและทรัพยากรไมควรอุทิศเพื่อตอบสนองภัย<br />

คุกคามเหลานี้<br />

• กลุมลูกหมา (puppies) กลุมนี้คลายกับความเสี่ยงกลุมลูกแมว แตความ<br />

เสี่ยงกลุมนี้จะกลายเปนแหลงของความยุงยากไดรวดเร็ว เนื่องจากเปน<br />

กลุมที่มีความนาจะเปนที่จะเกิดความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงกลุมนี้ตองไดรับ<br />

การเฝาดู เพื่อที่เราจะไดจัดการกับมันกอนที่มันจะกลายเปนความเสี่ยงที่มี<br />

ความซับซอนที่ยากแกการจัดการ<br />

• กลุมเสือ (tigers) เปนกลุมความเสี่ยงที่มีความนาจะเปนที่จะเกิดสูง และ<br />

มีผลกระทบสูง คลายกับชื่อของเสือที่เปนสัตวที่อันตราย จึงเปนกลุมความ<br />

เสี่ยงที่ตองทําใหเกิดความเปนกลางใหเร็วที่สุด<br />

• กลุมจระเข (alligators) จระเขเปนสัตวที่ไมอันตราย ถาเรารูวามันอยูที่<br />

ไหน เราสามารถหลีกเลี่ยงได ความเสี่ยงกลุมนี้ก็เชนเดียวกัน เราสามารถ<br />

หลีกเลี่ยงไดถาเรารูวาความเสี่ยงคืออะไร ความเสี่ยงกลุมนี้มีความนาจะ<br />

เปนที ่จะเกิดต่ํา แตผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงจะสูง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-15<br />

รูปที่ 10.6 การจัดกลุมความเสี่ยงของทูสเลอร (Marchewka, 2006)<br />

10.5.4 มูลคาทางการเงินที่คาดหวัง<br />

การใชวิธีการนี้จะมีการคํานวณมูลคาทางการเงินที่คาดหวัง ซึ่งเปนผลคูณของ<br />

ความนาจะเปนของการเกิดเหตุการณเสี่ยงและมูลคาทางการเงินของเหตุการณนั้น ดังตัวอยางตารางที่<br />

10.4 จากตารางดังกลาว ผูจัดการโครงการเชื่อวาโครงการมีโอกาสนอยที่จะเสร็จกอน 20 วัน หรือชาไป<br />

20 วัน ถาโครงการเสร็จกอน หรือภายในกําหนดจะไดผลตอบแทนที่สูง ถาโครงการเสร็จชาจะตองเสีย<br />

คาใชจายเพิ่ม ผลตอบแทนที่คาดวาจะไดรับโดยรวม คือ 87,000 บาท<br />

ตารางที่ 10.4 ตารางมูลคาทางการเงินที่คาดหวัง (Marchewka, 2006)<br />

ตารางเวลาความเสี่ยง<br />

A<br />

ความนาจะ<br />

เปน<br />

B<br />

คาใชจาย<br />

(พันบาท)<br />

A*B<br />

(พันบาท)<br />

โครงการเสร็จสมบูรณเร็ว 20 วัน 0.05 200 10<br />

โครงการเสร็จสมบูรณเร็ว 10 วัน 0.20 150 30<br />

โครงการเสร็จสมบูรณตามเวลาที่กําหนด 0.50 100 50<br />

โครงการเสร็จสมบูรณชา 10 วัน 0.20 - -<br />

โครงการเสร็จสมบูรณชา 20 วัน 0.05 (50) (3)<br />

1.00 87<br />

มูลคาทางการเงิน<br />

ที่คาดหวัง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-16<br />

10.5.5 ตนไมการตัดสินใจ<br />

ตนไมการตัดสินใจเปนเทคนิคการวิเคราะหที่ชวยเลือกการกระทําในสถานการณ<br />

ที่ซึ่งผลลัพธในอนาคตไมแนนอน โดยการคํานวณหามูลคาทางการเงินที่คาดหวัง รูปที่ 10.7 แสดง<br />

ตัวอยางตนไมการตัดสินใจ จากรูป สมมติวาโครงการกําลังเผชิญกับปญหาคาใชจายและระยะเวลา<br />

ดําเนินโครงการเกินกวาที่กําหนดในแผนบริหารโครงการ ผูจัดการโครงการพยายามที่จะลดเวลาที่ใชใน<br />

การทดสอบระบบงาน เพื่อทําใหสถานภาพโครงการกลับมาใหไดตามแผนที่ไดกําหนดไวเดิม ผูจัดการ<br />

โครงการตองตัดสินใจวาทีมงานโครงการควรทําการทดสอบระบบงานแบบสมบูรณตามแผน หรือจะลด<br />

เวลาการทดสอบใหสั้นลงโดยการทดสอบแบบจํากัด คาใชจายในการทดสอบแบบสมบูรณคือ 100,000<br />

บาท แตผูจัดการโครงการเชื่อวามีโอกาสรอยละ 95 ที่โครงการจะผลิตงานไดตามมาตรฐานคุณภาพที่<br />

ลูกคากําหนด โดยไมมีการทํางานใหมหรือมีคาใชจายเพิ่ม ขณะเดียวกัน โอกาสที่ระบบงานจะไมไดตาม<br />

มาตรฐานคุณภาพเพียงรอยละ 5 ซึ่งผูจัดการโครงการเชื่อวามีงานเพียงเล็กนอยที่ตองทําใหมเพื่อใหได<br />

มาตรฐาน ในกรณีนี้ โครงการตองมีคาใชจายเพิ่ม 20,000 บาท<br />

ถาผูจัดการโครงการเลือกที่จะลดระยะเวลาการทดสอบโดยการจํากัดการ<br />

ทดสอบ จะทําใหโอกาสที่ระบบงานมีคุณภาพตามมาตรฐานต่ําลง ระบบงานที่ไมไดมาตรฐานจะทําให<br />

เกิดคาใชจายในการทํางานใหม หรือตองแกไขขอผิดพลาด ถาคาใชจายในการทดสอบระบบงานแบบ<br />

จํากัดจะลดลงเหลือ 80,000 บาท แตโอกาสที่ระบบงานจะทดสอบผานมาตรฐานคุณภาพมีเพียงรอยละ<br />

30 ในขณะที่โอกาสที่ระบบงานไมผานมาตรฐานมีถึงรอยละ 70 ซึ่งทําใหเกิดคาใชจาย 80,000 บาท<br />

และอาจทําใหเสียเวลาอีกดวย<br />

เมื่อคํานวณหามูลคาทางการเงินที่คาดหวังของแตละทางเลือกแลว ผูจัดการ<br />

โครงการจะตัดสินใจทางเลือกใดขึ้นอยูกับปจจัยอื่นอีก เชน ผูจัดการโครงการเปนกลุมคนประเภทใดดังที่<br />

กลาวในบทนํา ลักษณะของโครงการ หรือความสามารถในการตอรองกับลูกคา เปนตน<br />

รูปที่ 10.7 ตัวอยางตนไมการตัดสินใจ (ปรับปรุงจาก Marchewka, 2006)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-17<br />

10.5.6 ความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ<br />

หลายๆ องคการเชื่อในความรูสึก และประสบการณของผูเชี่ยวชาญในการ<br />

วิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพ ผูเชี่ยวชาญสามารถจัดกลุมความเสี่ยงโดยปราศจากเทคนิคที่ยุงยาก<br />

แตทีมงานควรบันทึกความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญดวย การประเมินความเสี่ยงดวยวิธีนี้จะใชการ<br />

สอบถามผูเชี่ยวชาญวาในการดําเนินโครงการนั้น จะมีเหตุการณที่ไมพึงปรารถนาเหตุการณใดเกิดขึ้น<br />

บาง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณนั้นมีมากนอยเทาใด และผลกระทบจะรุนแรงมากนอยอยางไร<br />

ผูเชี่ยวชาญจะประเมินความเสี่ยงหรือผลกระทบออกมาเปนระดับคือ สูง ปานกลาง หรือต่ํา อยางไรก็<br />

ตาม ผูเชี่ยวชาญแตละคนอาจประเมินเหตุการณเสี่ยงเหตุการณเดียวกันแตกตางกัน ทั้งนี้เนื่องมากจาก<br />

ระดับการยอมรับความเสี่ยงของแตละบุคคลอาจแตกตางกัน<br />

10.6 การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณ<br />

การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณเปนการวิเคราะหที่ใชเทคนิคเชิงคณิตศาสตร หรือสถิติ ที่<br />

ชวยใหผูจัดการโครงการสามารถสรางตัวแบบของสถานการณความเสี่ยงที่สนใจ เทคนิคที่นิยมนํามาใช<br />

ในการวิเคราะหดวยแนวทางนี้คือ การกระจายความนาจะเปนแบบตอเนื่อง (continuous probability<br />

distribution) การจําลอง (simulation) การวิเคราะหความไว (sensitivity analysis)<br />

10.6.1 การกระจายความนาจะเปนแบบตอเนื่อง<br />

การกระจายความนาจะเปนแบบตอเนื่องที่นิยมใชคือ การกระจายแบบปกติ<br />

(normal distribution) และการกระจายแบบ PERT (PERT distribution) รูปที่ 10.8 เปนการกระจาย<br />

แบบปกติและสมมาตร ซึ่งมีกฎความนาจะเปนดังนี้<br />

• ประมาณ 68% ของคาทั้งหมดจะตกในชวงระหวาง ±1σ ของคาเฉลี่ย<br />

• ประมาณ 95% ของคาทั้งหมดจะตกในชวงระหวาง ±2σ ของคาเฉลี่ย<br />

• ประมาณ 99% ของคาทั้งหมดจะตกในชวงระหวาง ±3σ ของคาเฉลี่ย<br />

ดังนั้น ถาเรารูวาความนาจะเปนของเหตุการณเสี่ยงเปนแบบปกติ เราสามารถ<br />

คาดการณผลที่จะเกิดดวยความเชื่อมั่นระดับหนึ่ง เชน ถางานของโครงการมีเวลาการทํางานเฉลี่ย 10<br />

วัน มีคาเบี่ยนเบนมาตรฐาน 2 วัน จากกฎดังกลาว เราสามารถประมาณการณไดวา งานของโครงการจะ<br />

เสร็จภายใน 6-14 วัน ดวยความเชื่อมั่น 95 เปอรเซ็นต (μ±2σ = 10±2×2) และเรายังสามารถกลาวไดวา<br />

งานสามารถเสร็จภายใน 4-16 ดวยความเชื่อมั่น 99 เปอรเซ็นต (μ±3σ = 10±3×2)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-18<br />

รูปที่ 10.8 การกระจายแบบปกติ (Marchewka, 2006)<br />

สวนการกระจายแบบ PERT นั้นตองมีคาประมาณการ 3 คาคือ<br />

a = คาที่คาดคะเนในแงดี (optimistic estimate)<br />

m = คาที่เปนไปไดมากที่สุด (most likely estimate)<br />

b = คาที่คาดคะเนในแงราย (pessimistic estimate)<br />

คาเฉลี่ย PERT = (a+4m+b)/6<br />

คาเบี่ยนเบนมาตรฐาน PERT = (b-a)/6<br />

รูปที่ 10.9 การกระจายแบบ PERT (Marchewka, 2006)<br />

การกระจายแบบ PERT นํามาใชในการคํานวณระยะเวลาที่คาดหวังวากิจกรรมจะแลว<br />

เสร็จ สมมติวารูปที่ 10.9 เปนตัวอยางของการกระจายของกิจกรรมหนึ่ง โดยมีคา a = 2, m = 4 และ b<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-19<br />

= 8 ดังนั้น คาเฉลี่ยระยะเวลาของกิจกรรมนั้นเทากับ 4.33 วัน คาเบี่ยนเบนมีคาเทากับ 1 วัน ซึ่ง<br />

หมายความวา มีโอกาสรอยละ 50 ที่กิจกรรมนั้นจะเสร็จกอน 4.33 วัน และมีโอกาสรอยละ 50 ที่<br />

กิจกรรมนั้นจะเสร็จชากวา 4.33 วัน<br />

นอกจากนี้ การกระจายแบบ PERT ยังชวยใหผูจัดการโครงการทราบวาความนาจะเปน<br />

ที่โครงการจะเสร็จตามเปาหมายที่กําหนดมีมากนอยเพียงใด ดังที่ไดกลาวมาแลวในบทที่ 5<br />

10.6.2 การจําลอง<br />

การจําลองเปนวิธีการวิเคราะหความเสี่ยงที่สลับซับซอนมาก แบบจําลองที่<br />

นํามาใชในการวิเคราะหพฤติกรรมของระบบคือ การวิเคราะหแบบมอนติ คารโล (Monte Carlo<br />

analysis) ตัวแบบนี้จะจําลองผลลัพธของตัวแบบหลายครั้ง เพื่อการกระจายเชิงสถิติของผลลัพธที่<br />

คํานวณได การวิเคราะหแบบมอนติ คารโล สามารถคาดการณวาความนาจะเปนของโครงการที่จะเสร็จ<br />

ภายในวันที่กําหนด หรือความนาจะเปนที่คาใชจายจะเทากับหรือนอยกวาคาที่กําหนด<br />

ตัวอยางในรูปที่ 10.10 คือ ผลจากการจําลองแบบมอนติ คารโลของตารางเวลา<br />

โครงการ ทางซายมือของรูปที่ 10.10 คือ ผังแสดงสมดมภและเสนโคงรูป S ความสูงของแตละสดมภ<br />

หมายถึงจํานวนครั้งที่ (จํานวนตัวอยาง) โครงการเสร็จภายในชวงเวลาที่กําหนดระหวางที่ทําการจําลอง<br />

ในตัวอยางนี้ ชวงเวลาที่กําหนดคือ 2 วันทําการ และการจําลองทํางาน 250 ครั้ง สดมภแรกแสดงวา<br />

โครงการทําเสร็จใน 1/29/02 เพียง 2 ครั้งระหวางการจําลอง เสนโคงรูป S แสดงความนาจะเปนสะสม<br />

ของโครงการที่เสร็จตามวันหรือกอนวันที่กําหนด ขางขวาของรูปแสดงขอมูลในแบบตาราง ตัวอยางเชน<br />

มีความนาจะเปนรอยละ 10 ที่โครงการจะทําเสร็จใน 2/8/02 โอกาสที่โครงการทําเสร็จใน 2/17/02 มี<br />

ร อยละ 50 และ โอกาสรอยละ 90 ที่โครงการทําเสร็จใน 2/25/02<br />

รูปที่ 10.10 ตัวอยางการวิเคราะหแบบมอนติ คารโล<br />

สําหรับการจําลองผลลัพธของตารางเวลาโครงการ (Schwalbe, 2006)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-20<br />

10.6.3 การวิเคราะหความไว<br />

การวิเคราะหความไวคือ การดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผลได เมื่อมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงตัวแปรหนึ่งหรือมากกวาหนึ่ง เชน การจายเงินกูแตละเดือนจะเปนอยางไร ถาอัตราดอกเบี้ย<br />

ที่กําหนดแตกตางกัน หรือระยะเวลาการชําระเงินกูเปลี่ยนไป<br />

รูปที่ 10.11 ตัวอยางการวิเคราะหความไวสําหรับการกําหนดจุดคุมทุน (Schwalbe, 2007)<br />

เราสามารถนําการวิเคราะหความไวมาชวยในการตัดสินใจ เชน นํามาใชในการ<br />

วิเคราะหจุดคุมทุนตามสมมุติฐานที่แตกตางกันวาเราควรจะดําเนินงานนั้นตอไปหรือไม หรือควรจะใช<br />

เวลาในการดําเนินการเทาไรจึงจะไมขาดทุนเปนตน รูปที่ 10.11 เปนตัวอยางของการใช Excel ในการ<br />

แสดงจุดคุมทุนของสินคา ซึ่งขึ้นอยูกับราคาขายตอชิ้น คาใชจายในการผลิตตอชิ้น และคาใชจายคงที่<br />

รายเดือน จากขอมูลปจจุบัน จุดคุมทุนอยูที่ยอดขาย 6,250 ชิ้น ผูใชสามารถเปลี่ยนขอมูลนําเขา และดู<br />

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับจุดคุมทุนที่อยูในผัง<br />

ทีมงานโครงการสามารถสรางตัวแบบที่คลายคลึงกันนี้ เพื่อกําหนดความไวของ<br />

ตัวแปรตางๆ ของโครงการ เชน ทีมงานอาจสรางตัวแบบการวิเคระหความไว เพื่อประมาณการณกําไร<br />

ของงาน โดยการพิจารณาจากจํานวนชั่วโมงในการทํางานงานนั้น คาใชจายตอชั่วโมง เปนตน<br />

10.7 การวางแผนตอบสนองความเสี่ยง<br />

หลังจากที่องคการไดระบุและประมาณความเสี่ยงแลว เราตองพัฒนาวิธีการตอบสนองความ<br />

เสี่ยงที่เหมาะสม กลยุทธตอบสนองความเสี่ยงดานลบมี 4 กลยุทธคือ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-21<br />

• การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk avoiding) โดยการขจัดสาเหตุของความเสี่ยง เชน<br />

ทีมงานไมคุนเคยกับฮารดแวรหรือซอฟตแวร ซึ่งทําใหเกิดความเสี่ยงที่มีนัยสําคัญ<br />

ดังนั้น การใชฮารดแวรหรือซอฟตแวรที่คุนเคยเปนการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง<br />

• การยอมรับความเสี่ยง (risk acceptance) เนื่องจากโอกาสหรือความนาจะเปนที่จะ<br />

เกิดเหตุการณเสี่ยงนั้นมีนอยมาก ในทางกลับกัน ในกรณีที่ความนาจะเปนของการเกิด<br />

เหตุการณเสี่ยงอาจจะคอนขางสูง แตสงผลกระทบนอยมากตอเวลาและงบประมาณ<br />

โครงการ ซึ่งไมคุมกับคาใชจายที่ตองเสียไปในการลดความเสี่ยง จึงเปนเหตุผลที่<br />

ผูจัดการโครงการตัดสินใจยอมรับความเสี่ยงนั้นไวโดยไมทําอะไร ดังนั้น เพื่อจัดการกับ<br />

ความเสี่ยงในกรณีนี้ ผูจัดการโครงการควรตั้งเงินทุนสํารอง และจัดทําแผนสํารอง<br />

• การโอนความเสี่ยง (risk transfer) หรือยายผลของความเสี่ยงและความรับผิดชอบไป<br />

ยังบุคคลที่สาม เชน การซื้อประกันฮารดแวร ถาเครื่องเสียหาย บริษัทรับประกันตองหา<br />

เครื่องมาทดแทนตามที่กําหนดในสัญญา<br />

• การบรรเทาความเสี่ยง (risk mitigation) หรือลดผลกระทบของความเสี่ยงโดยการลด<br />

ความนาจะเปนของเหตุการณ เชน ใชพนักงานที่มีความชํานาญ การใชเทคนิคการ<br />

วิเคราะหและทดสอบที่หลากหลาย จัดระบบควบคุมและตรวจสอบความกาวหนาของ<br />

งานเปนระยะ ตารางที่ 10.5 แสดงตัวอยางการบรรเทาความเสี่ยงดานเทคนิค<br />

คาใชจาย และตารางการปฏิบัติงาน<br />

ตารางที่ 10.5 ตัวอยางวิธีการบรรเทาความเสี่ยง (Schwalbe, 2007)<br />

ความเสี่ยงทางเทคนิค ความเสี่ยงดานคาใชจาย ความเสี่ยงดานตารางเวลา<br />

เนนการสนับสนุนทีมงานและ<br />

หลีกเลี่ยงโครงสรางโครงการแบบโดด<br />

เดี่ยว<br />

เพิ่มความถี่การติดตามโครงการ เพิ่มความถี่การติดตามโครงการ<br />

เพิ่มอํานาจผูจัดการโครงการ ใชโครงสรางจําแนกงาน และการ<br />

บริหารเสนทางวิกฤต<br />

ปรับปรุงการจัดการปญหาและการ<br />

สื่อสาร<br />

ปรับปรุงการสื่อสาร ความเขาใจ<br />

เปาหมายโครงการ และการสนับสนุน<br />

ทีมงาน<br />

เพิ่มความถี่การติดตามโครงการ เพิ่มอํานาจผูจัดการโครงการ<br />

ใชโครงสรางจําแนกงาน และการ<br />

บริหารเสนทางวิกฤต<br />

ใชโครงสรางจําแนกงาน และการ<br />

บริหารเสนทางวิกฤต<br />

เลือกผูจัดการโครงการที่มี<br />

ประสบการณมากที่สุด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-22<br />

ทันทีที่มีการระบุความเสี่ยงของโครงการและกลยุทธแลว ทีมงานควรจัดทําแผนการ<br />

ตอบสนองความเสี่ยง ซึ่งประกอบดวยหัวขอตอไปนี้<br />

• ชื่อความเสี่ยง<br />

• ตัวจุดชนวนความเสี่ยงที่แสดงวาความเสี่ยงนั้นไดเกิดขึ้นหรือยัง<br />

• เจาของความเสี่ยง<br />

• การตอบสนองความเสี่ยง<br />

10.8 การควบคุมและติดตามความเสี่ยง<br />

การควบคุมและติดตามความเสี่ยงเปนการดําเนินการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงและ<br />

แผนบริหารความเสี่ยง เพื่อสนองตอบเหตุการณเสี่ยง การดําเนินตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงคือ<br />

การทําใหแนใจวาความเสี่ยงที่ไดระบุไวไดรับการดําเนินการจากทีมงานตลอดโครงการ ความเสี่ยงที่ถูก<br />

ระบุอาจไมมีเนื้อหาสาระ หรือความนาจะเปนของการเกิดความเสี่ยงอาจลดลงได ความเสี่ยงใหมอาจ<br />

เกิดขึ้นขณะที่โครงการดําเนินการ การกําหนดทรัพยากรใหมอาจมีความจําเปนอันเปนผลจากการ<br />

เปลี่ยนแปลงในขนาดของผลกระทบของความเสี่ยง<br />

การดําเนินการตามแผนการบริหารความเสี่ยงประกอบดวยการติดตามความเสี่ยงตามหลัก<br />

ไมลที่ไดกําหนดไวและการตัดสินใจโดยคํานึงถึงความเสี่ยง และกลยุทธการตอบสนองของความเสี่ยง<br />

เหลานี้ มันอาจจําเปนที่ตองปรับเปลี่ยนกลยุทธ ถาความเสี่ยงนั้นกลับกลายเปนไมมีผล หรือไมปรากฎ<br />

ทีมงานตองนําความเสี่ยงนั้นออกจากรายการความเสี่ยงที่มีศักยภาพ<br />

ตารางที่ 10.6 ตัวอยางการตามรอยความเสี่ยง 10 อันดับแรก (Schwalbe, 2007)<br />

การจัดลําดับรายเดือน<br />

หัวขอความเสี่ยง เดือนนี้ เดือนที่<br />

แลว<br />

จํานวน<br />

เดือน<br />

ความกาวหนาในการแกความ<br />

เสี่ยง<br />

การวางแผนไมเพียงพอ 1 2 4 กําลังทําการทบทวนแผนทั้งโครงการ<br />

การนิยามขอบเขตของโครงการ<br />

ไมดี<br />

2 3 3 จัดประชุมกับลูกคาของโครงการและ<br />

ผูสนับสนุนเพื่อทําใหขอบเขตของ<br />

โครงการชัดเจน<br />

ขาดผูนํา 3 1 2 เพิ่งกําหนดผูจัดการโครงการคนใหม<br />

หลังจากผูจัดการคนกอนลาออก<br />

การประมาณการคาใชจายไมดี 4 4 3 กําลังทบทวนการประมาณการ<br />

คาใชจาย<br />

การประมาณการเวลาไมดี 5 5 3 กําลังทบทวนการประมาณระยะเวลา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-23<br />

การติดตามความเสี่ยงที่อยูใน10 อันดับแรก (top ten risk tracking) เปนเทคนิคที่ใชในการ<br />

ติดตามความเสี่ยงตลอดโครงการ โดยการกําหนดการทบทวนความเสี่ยงที่สําคัญเปนประจํา ซึ่งอาจจะ<br />

เปนทุกเดือน หรือทุก 2 อาทิตย การทบทวนจะเริ่มจากการสรุปสถานภาพของความเสี่ยง 10 อันดับแรก<br />

ของโครงการ การสรุปประกอบดวยลําดับที่ปจจุบันของความเสี่ยง ลําดับที่กอนหนานี้ จํานวนครั้งที่<br />

ความเสี่ยงนี้ปรากฎ และสรุปความกาวหนาการแกความเสี่ยงตั้งแตครั้งกอน ดังตัวอยางในตารางที่ 10.6<br />

จากตัวอยางจะเห็นวาความเสี่ยงมีการเปลี่ยนแปลงลําดับที่ทุกเดือน เชน ความเสี่ยงการ<br />

วางแผนไมเพียงพอ เมื่อเดือนที่แลวจัดอยูอันดับที่ 2 แตในเดือนปจจุบันความเสี่ยงนี้ไดเลื่อนเปนอันดับ<br />

แรก และปรากฎมาแลวถึง 4 เดือน สวนความเสี่ยงเรื่องการขาดผูนํา เมื่อเดือนที่ผานมาอยูอันดับ 1 แต<br />

เมื่อมีการมอบหมายใหผูจัดการโครงการคนใหม ความเสี่ยงนี้เปลี่ยนอันดับเปน 3<br />

10.9 สรุป<br />

ความเสี่ยงคือ ความไมแนนอนที่มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบตอการบรรลุวัตถุประสงค<br />

ของโครงการ โดยธรรมชาติ โครงการมีความเสี่ยง องคการที่ประสบความสําเร็จตองตระหนักถึงคุณคา<br />

ของการบริหารความเสี่ยงโครงการ การบริหารความเสี่ยงเปนการลงทุน ดังนั้น จึงมีคาใชจายในการระบุ<br />

ความเสี่ยง การวิเคราะหความเสี่ยง การกําหนดแผนที่จะจัดการความเสี่ยงเหลานั้น คาใชจายรวมถึง<br />

เวลา และการวางแผนทรัพยากร<br />

ระดับการยอมความเสี ่ยงหรืออรรถประโยชนความเสี่ยงคือ ขนาดความพึงพอใจที่ไดรับจาก<br />

การจายคืน (payoff) เราจึงแบงคนออกเปนคนที่คนหาความเสี่ยง คนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง และคนที่<br />

เปนกลาง<br />

การบริหารความเสี่ยงคือ กระบวนการที่ทีมงานประเมินผลกระทบความเสี่ยงอยางตอเนื่อง<br />

กําหนดความนาจะเปนของเหตุการณเสี่ยง และกําหนดผลกระทบ รวมทั้งการวิเคราะหและกําหนดกล<br />

ยุทธเพื่อจัดการความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยงมี 6 กระบวนการคือ การวางแผนการบริหาร<br />

ความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณ การวิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพ<br />

การวางแผนตอบสนองความเสี่ยง และการควบคุมติดตามความเสี่ยง<br />

การวางแผนจัดการความเสี่ยงคือ กระบวนการการตัดสินใจวาจะจัดการความเสี่ยงดวยวิธีใด<br />

และวางแผนกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง แผนการบริหารความเสี่ยงคือ ผลลัพธหลักที่ไดจาก<br />

กระบวนการการวางแผนจัดการความเสี่ยง แผนสํารองเปนการกําหนดการกระทําไวลวงหนาที่ทีมงาน<br />

โครงการจะทํา ถาเหตุการณเสี่ยงที่ไดระบุไวเกิดขึ้น แผนทางถอยเปนแผนสําหรับความเสี่ยงที่มี<br />

ผลกระทบตอการบรรลุวัตถุประสงคของโครงการสูง และจะถูกดําเนินการถาความพยายามลดความ<br />

เสี่ยงไมมีประสิทธิผล เงินทุนสํารองคือ เงินที่ผูสนับสนุนโครงการหรือองคการมีอํานาจใชเพื่อใชแกไข<br />

ปญหาโครงการใหลดระยะเวลาที่เกินไปจากแผนบริหารโครงการใหกลับไปสูระดับที่ยอมรับได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-24<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเสี่ยงในเรื่องขาดการมีสวนรวมของผูใช ขาดการ<br />

สนับสนุนของผูบริหารระดับสูง ความตองการไมชัดเจน การวางแผนไมดี เปนตน การจําแนกโครงสราง<br />

ความเสี่ยงเปนเครื่องมือที่เปนประโยชนที่จะชวยผูจัดการโครงการพิจารณาความเสี่ยงที่มีศักยภาพใน<br />

กลุมที่แตกตางกัน รายการความเสี่ยงที่พบในโครงการตางๆ สามารถชวยในการระบุความเสี่ยง ดังเชน<br />

เทคนิคการรวบรวมความเสี่ยงอื่น เชน การระดมสมอง เทคนิคเดลฟาย การสัมภาษณ และการวิเคราะห<br />

SWOT ทะเบียนความเสี่ยงคือ เอกสารที่เก็บเหตุการณเสี่ยงที่มีศักยภาพและขอมูลที่เกี่ยวของ ซึ่งแสดง<br />

ในรูปของตาราง เหตุการณเสี่ยงหมายถึงเหตุการณไมแนนอน ที่อาจเกิดขึ้นและทําใหโครงการเสียหาย<br />

หรือทําใหโครงการดีขึ้น<br />

ความเสี่ยงสามารถประเมินไดทั้งแบบเชิงคุณภาพ และแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือสําหรับ<br />

วิเคราะหความเสี่ยงคุณภาพประกอบดวย การใชผังความนาจะเปน/ผลกระทบ ตารางผลกระทบความ<br />

เสี่ยง กรอบการจัดกลุมความเสี่ยงของทูสเลอร ตนไมการตัดสินใจ มูลคาทางการเงินที่คาดหวัง และดุลย<br />

พินิจของผูเชี่ยวชาญ เครื่องมือสําหรับการวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณประกอบดวย การกระจาย<br />

ความนาจะเปนตอเนื่อง การจําลอง การวิเคราะหความไว<br />

กลยุทธการตอบสนองความเสี่ยงมี 4 อยางคือ การหลีกเลี่ยง การยอมรับ การโอน และการ<br />

บรรเทา การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงคือ การขจัดความเสี่ยง การยอมรับความเสี่ยงหมายถึงการยอมรับผลที่<br />

ตามมาของความเสี่ยง ถาเกิดความเสี่ยงนั้น การโอนความเสี่ยงคือ การยายผลที่ตามมาของความเสี่ยง<br />

และความนาจะเปนไปยังบุคคลที่สาม การบรรเทาความเสี่ยงคือ การลดผลกระทบของเหตุการณเสี่ยง<br />

โดยการลดความนาจะเปนของการเกิด<br />

การควบคุมและติดตามความเสี่ยงประกอบดวยการดําเนินการตามกระบวนการบริหารความ<br />

เสี่ยงและแผนการบริหารความเสี่ยง เพื่อตอบสนองความเสี่ยง โดยการใชการติดตามความเสี่ยงที่อยู 10<br />

อันดับแรก ผลของกระบวนการนี้คือ คําขอเปลี่ยนแปลง ขอเสนอแนะใหแกไข การกระทําเพื่อการปองกัน<br />

และปรับปรุงทะเบียนความเสี่ยง แผนการบริหารความเสี ่ยง<br />

คําถามทายบท<br />

1. พิจารณาความเสี่ยงที่พบในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ แลวเสนอแนะการบริหารจัดการ<br />

ความเสี่ยงเหลานั้น ความเสี่ยงใดที่ทานคิดวาไมเขากับองคการทานมากที่สุด และทําไม<br />

2. จงเปรียบเทียบความแตกตางของวิธีการระบุความเสี่ยงระหวางการระดมสมองกับเทคนิค<br />

เดลไฟ ขอดีขอเสียของแตละวิธี<br />

3. อธิบายเนื้อหาของทะเบียนความเสี่ยง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารความเสี่ยงโครงการ หนา 10-25<br />

4. อธิบายการวิเคราะหความเสี่ยงเชิงคุณภาพดวยการใชผังความนาจะเปน/ผลกระทบ ตาราง<br />

ผลกระทบความเสี่ยง และกรอบการจัดแยกความเสี่ยงของทูสเลอร<br />

5. อธิบายการวิเคราะหความเสี่ยงเชิงปริมาณดวยการใชการกระจายความนาจะเปนตอเนื่อง<br />

6. จงอธิบายกลยุทธการตอบสนองความเสี่ยงแตละอยาง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-1<br />

11.1 บทนํา<br />

การจัดซื้อจัดจางหรือการสั่งซื้อหมายถึง การไดมาซึ่งสินคาหรือบริการจากแหลงภายนอก<br />

องคการ ซึ่งชุมชนดานเทคโนโลยีสารสนเทศเรียกวาการจัดซื้อจากแหลงภายนอก (outsourcing)<br />

หลายๆ องคการใชบริการจากแหลงภายนอกเพื่อลดคาใชจายทั้งคาใชจายคงที่และที่เกิดขึ้นใหม มีเวลา<br />

กับธุรกิจหลักขององคการ สามารถเขาถึงเทคโนโลยีและทักษะเฉพาะ และทําใหเกิดความยืดหยุน<br />

องคการหรือทีมงานโครงการสามารถใชบริการจากแหลงภายนอกได 3 วิธีใหญคือ<br />

• เลือกใชบริการเฉพาะสวนที่ขาด องคการหรือทีมงานขาดคนที่มีทักษะเฉพาะ จึงใช<br />

บริการผูเชี่ยวชาญจากแหลงภายนอกโดยใหเขามาเปนสมาชิกในทีม การบริหาร<br />

จัดการยังคงเปนขององคการที่ใชบริการ<br />

• เลือกตัดเฉพาะบางสวนของโครงการใหผูใหบริการรับผิดชอบดําเนินการ เนื่องจาก<br />

โครงการที่องคการหรือทีมงานกําลังดําเนินการมีขนาดใหญ จึงแบงงานบางสวนของ<br />

โครงการใหผูใหบริการรับไปดําเนินการ โดยผูใหบริการรับผิดชอบในงานสวนนั้น<br />

• ใชบริการจากแหลงภายนอกองคการทั้งหมด องคการไมดําเนินโครงการเองแตจางให<br />

บริษัทอื่นรับผิดชอบไปดําเนินทั้งหมด<br />

ความสําเร็จของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศหลายโครงการที่ใชการจัดซื้อจากแหลงภาย<br />

นอกขึ้นกับการบริหารการจัดซื้อจัดจางที่ดี การบริหารการจัดซื้อจัดจางประกอบดวยกระบวนการ 6<br />

กระบวนการคือ<br />

• การวางแผนการซื้อและการไดมา (planning purchases and acquisitions) เปน<br />

การกําหนดวาอะไรที่ตองจัดซื้อ ซื้อเมื่อไร และจะจัดซื ้ออยางไร ในการวางแผนการ<br />

จัดซื้อจัดจาง ผูจัดการโครงการตองตัดสินใจวาอะไรที่ตองใชบริการจากแหลง<br />

ภายนอก กําหนดประเภทของสัญญา และอธิบายงานสําหรับผูขายที่มีศักยภาพ ผล<br />

ที่ไดจากกระบวนการนี้คือ แผนการบริหารการจัดซื้อจัดจาง งานที่กําหนดในสัญญา<br />

การตัดสินใจวาจะทําเองหรือไม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-2<br />

• การวางแผนการทําสัญญา (planning contracting) เปนกระบวนการที่อธิบายถึง<br />

ความตองการของสินคาหรือบริการจากการจัดซื้อจัดจาง และการระบุผูขายที่มี<br />

ศักยภาพ ผลลัพธจากกระบวนการคือ เอกสารการจัดซื้อจัดจาง เชน คํารองขอ<br />

ขอเสนอโครงการ หลักเกณฑการประเมิน และการปรับปรุงงานในสัญญา<br />

• การขอคําตอบจากผูขาย (requesting seller responses) เปนกระบวนการรับ<br />

ขอมูลขาวสาร ขอเสนอราคา การประมูล ขอเสนอโครงการจากผูขาย ผลจาก<br />

กระบวนการนี้คือ รายชื่อผูขายที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ชุดเอกสารการจัดซื้อจัดจาง<br />

และขอเสนอโครงการหรือขอเสนอราคา<br />

• การเลือกผูขาย (selecting sellers) เปนการเลือกผูขายที่มีศักยภาพจากรายชื่อ<br />

โดยกระบวนการการประเมิน การตอรองสัญญา ผลที่ไดคือ ผูขายที่ไดรับการคัดเลือก<br />

สัญญา แผนการบริหารสัญญา<br />

• การบริหารสัญญา (administrating the contract) เปนการบริหารความสัมพันธกับ<br />

ผูขายที่ไดรับการคัดเลือก ผลที่ไดคือ เอกสารสัญญา<br />

• การปดสัญญา (closing the contract) เมื่องานไดดําเนินการเสร็จสมบูรณ ประเด็น<br />

ตางๆ ที่ไดมีการกลาวถึงไดรับการแกไข สัญญาจึงถูกปด<br />

11.2 การวางแผนการซื้อและการไดมา<br />

การวางแผนการซื้อและการไดมาประกอบดวยการระบุวาโครงการตองการอะไร ตองการ<br />

จัดซื้อหรือไม จัดซื้ออยางไร อะไรที่ตองจัดซื้อ จํานวนเทาไร และเมื่อไรจึงจัดซื้อ ผลลัพธสําคัญของ<br />

กระบวนการนี้คือ การตัดสินใจวาจะทําเองหรือจะซื้อ การตัดสินใจวาจะจัดซื้อจากแหลงภายนอกขึ้นกับ<br />

ปจจัยหลายประการ ผูจัดการโครงการและทีมงานตองพิจารณาปจจัยหลายๆ ปจจัย เชน สินคาและ<br />

บริการมีในตลาดหรือไม คาใชจาย คุณภาพ เงื่อนไข งบประมาณ ทรัพยากร ผูเชี่ยวชาญ ระยะเวลา และ<br />

ขอจํากัดดานเทคโนโลยี จากปจจัยดังกลาว กลุมบุคคลนอกองคการอาจใหบริการที่ดีกวา<br />

ขอมูลที่จําเปนของการวางแผนการซื้อและการไดมาคือ ขอบเขตของโครงการ พจนานุกรม<br />

โครงสรางจําแนกงาน แผนการบริหารโครงการ และสารสนเทศที่เกี่ยวของ สวนเทคนิคและเครื่องมือที่จะ<br />

ชวยใหผูจัดการโครงการและทีมงานในการวางแผนการซื้อและการไดมาคือ การวิเคราะหวาจะทําเอง<br />

หรือซื้อ ดุลยพินิจของผูเชี่ยวชาญ และประเภทของสัญญา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-3<br />

11.2.1 การวิเคราะหวาจะทําเองหรือซื้อ<br />

การวิเคราะหวาจะทําเองหรือซื้อเปนเทคนิคการบริหารที่ใชในการกําหนดวา<br />

องคการควรทําสินคาหรือบริการภายในองคการหรือควรซื้อจากที่อื่น รูปแบบการวิเคราะหประกอบดวย<br />

การประมาณการคาใชจายที่เกิดขึ้นจากการใหแหลงภายในทําสินคาหรือบริการนั้น และการ<br />

เปรียบเทียบระหวางคาใชจายที่แหลงภายใชในการทําสินคาหรือบริการกับคาใชจายจากการใชบริการ<br />

จากแหลงภายนอก ถาผูใหบริการคิดราคานอยกวาคาใชจายที่เกิดขึ้นจากการที่องคการดําเนินการเอง<br />

องคการควรเลือกใชบริการภายนอก<br />

หลายๆ องคการยังใชวิธีการนี้ในการตัดสินใจวาองคการควรซื้อหรือเชาสินคา<br />

เชน ถาโครงการจําเปนตองใชอุปกรณ ซึ่งถาซื้อจะตองใชเงิน 120,000 บาท และมีคาใชจายการ<br />

ปฎิบัติงาน อีกวันละ 2,000 บาท แตถาเชาอุปกรณนี้จะตองจายวันละ 8,000 บาท โดยรวมคาใชจาย<br />

การปฎิบัติงานแลว เราสามารถสรางสมการไดดังนี้<br />

8000d = 120,000 + 2000d<br />

6000d = 120,000<br />

d = 20<br />

ถาโครงการตองการใชอุปกรณนอยกวา 20 วัน องคการควรตัดสินใจเชาอุปกรณ<br />

11.2.2 ดุลยพินิจของผูเชี่ยวชาญ<br />

ผูเชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกองคการสามารถใหคําแนะนําที่ดีในการวาง<br />

แผนการซื้อและการไดมา ทีมงานของโครงการอาจปรึกษาผูเชี่ยวชาญภายในองคการ เนื่องจาก<br />

ผูเชี่ยวชาญจะรูวางานหรือสินคาแบบนี้คูแขงสวนใหญใชบริการจากแหลงภายนอกหรือไม สมควรจะใช<br />

บริการจากแหลงภายนอกหรือไม ผูใหบริการรายใดที่มีคุณสมบัติเหมาะสม นอกจากนี้ ทีมงานควร<br />

ปรึกษาผูเชี่ยวชาญดานกฎหมายในการทําสัญญากับผูใหบริการ<br />

11.2.3 ประเภทของสัญญา<br />

ประเภทของสัญญาเปนสิ่งสําคัญที่ตองพิจารณา ประเภทของสัญญาที่แตกตาง<br />

กันสามารถนํามาใชในสถานการณที่แตกตางกัน สัญญาแบงออกเปน 4 ประเภทคือ สัญญาแบบราคา<br />

คงที่ (fixed-price) หรือเปนเงินกอน (lump sum) สัญญาแบบเบิกตามคาใชจาย (cost reimbursable)<br />

สัญญาที่จายตามเวลาและวัสดุ (time and material) และสัญญาแบบราคาตอหนวย ในสัญญาหนึ่ง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-4<br />

อาจประกอบดวยการคิดคาใชจายหลายประเภท เชน ในสัญญาอาจมีการซื้อฮารดแวรเปนแบบราคา<br />

คงที่ มีบางบริการที่เบิกตามคาใชจาย และมีบริการที่คิดคาใชจายตามเวลาและวัสดุ<br />

สัญญาแบบราคาคงที่ หรือเปนเงินกอน<br />

เปนสัญญาที่ใชกับสินคาหรือบริการที่ไดกําหนดขอบเขตงานที่ชัดเจน ผูซื้อ<br />

จะมีความเสี่ยงเล็กนอย เนื่องจากราคาไดถูกกําหนดกอน เชน โครงการจําเปนตองใชเครื่องพิมพจํานวน<br />

100 เครื่อง โดยมีคุณสมบัติที่ชัดเจน ผูขายหลายเจาสามารถคํานวณราคาคงที่ได สัญญาแบบราคาคงที่<br />

อาจมีเงินจูงใจใหผูขายดําเนินการไดตรงหรือมากกวาวัตถุประสงคของโครงการ เชน สัญญาอาจมีการ<br />

จายคาธรรมเนียมจูงใจ ถาเครื่องพิมพสามารถสงมอบไดภายใน 1 เดือน ลักษณะของสัญญาแบบนี้<br />

เรียกวาสัญญาแบบราคาคงที่และคาธรรมเนียมจูงใจ (fixed –price incentive contract (FPI))<br />

สัญญาแบบเบิกตามคาใชจาย<br />

เปนสัญญาที่จายคาใชจายจริงทั้งทางตรงและทางออมใหกับผูขายหรือผู<br />

ใหบริการ ตัวอยางคาใชจายทางตรง เชน คาจางพนักงานที่ทํางานใหกับโครงการโดยตรง คาวัสดุ และ<br />

คาอุปกรณ เปนตน สวนตัวอยางคาใชจายทางออม เชน คาจางพนักงานบริหารงานทั่วไป คาเชา คา<br />

สาธารณูปโภค และคาประกันภัย เปนตน นอกจากนี้ สัญญาประเภทนี้ยังรวมคาธรรมเนียม เชน<br />

ผลตอบแทนคิดเปนรอยละของคาใชจายทั้งหมด หรือเงินจูงใจเพื่อใหผูขายหรือผูใหบริการทํางานใหตรง<br />

กับวัตถุประสงคของโครงการ คาธรรมเนียมอาจเปนคาปรับ ถาทํางานไดไมสอดคลองกับที่กําหนด<br />

สัญญาแบบนี้ ผูซื้อเปนฝายรับความเสี่ยงมากกวาสัญญาแบบราคาคงที่ สัญญาแบบเบิกตามคาใชจาย<br />

ยังมีอีก 3 แบบยอย ดังตอไปนี้โดยเรียงจากแบบที่มีความเสี่ยงต่ําสุดไปสูงสุดจากมุมมองของผูซื้อ<br />

• สัญญาแบบเบิกตามคาใชจายรวมกับคาธรรมเนียมจูงใจ (Cost Plus<br />

Incentive Fee Contract (CPIF)) ภายใตสัญญานี้ ผูขายเบิก<br />

คาใชจายตามที่เกิดขึ้นจริงระหวางการปฏิบัติงาน และไดรับ<br />

คาธรรมเนียมตามที่ไดตกลงลวงหนา พรอมโบนัสจูงใจในกรณีที่<br />

คาใชจายจริงนอยกวาคาใชจายที่คาดไว ทั้งผูซื้อและผูขายตางได<br />

ประโยชนจากการประหยัดคาใชจาย ตัวอยางเชน ถาคาดวาคาใชจาย<br />

ทั้งโครงการประมาณ 1,000,000 บาท คาธรรมเนียมของผูขายคือ<br />

100,000 บาท และมีขอตกลงวาผูซื้อรับ 85% ของสวนที่ตางระหวาง<br />

คาใชจายจริงกับคาใชจายที่คาดวาจะเกิด สวนผูขายรับอีก 15% ที่<br />

เหลือ ถาคาใชจายจริงคือ 800,000 บาท คาใชจายสวนตางจากที่คาด<br />

คือ 200,000 บาท ผูขายจะไดรับคือ 100,000 + 30,000 (15% ของ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-5<br />

200,000) ดังนั้นคาใชจายทั้งหมดที่ผูซื้อตองจายคือ 930,000 บาท ซึ่ง<br />

ประหยัดไป 70,000 บาท สวนผูขายไดรับเพิ่มอีก 30,000 บาท<br />

• สัญญาแบบเบิกตามคาใชจายรวมกับคาธรรมเนียมคงที่ (Cost Plus<br />

Fixed Fee Contract (CPFF)) ในกรณีนี้ ผูซื้อจายเงินใหกับผูขาย<br />

ตามคาใชจายที่เกิดขึ้นทั้งหมดรวมกับคาธรรมเนียมคงที่ โดยกําหนด<br />

เปนรอยละของคาใชจายทั้งหมด คาธรรมเนียมนี้จะไมเปลี่ยน ยกเวน<br />

กรณีที ่ขอบเขตของงานมีการเปลี่ยนแปลง เชน สมมติวาคาใชจายของ<br />

โครงการคือ 1,000,000 บาท และคาธรรมเนียมอีก 10% เปนเงิน<br />

100,000 บาท ถาคาใชจายของโครงการเพิ่มเปน 1,200,000 บาท<br />

โดยขอบเขตงานไมมีการเปลี่ยนแปลง ผูขายยังคงไดรับคาธรรมเนียม<br />

การทํางาน 100,000 บาทเทาเดิม<br />

• สัญญาแบบเบิกคาใชจายรวมกับคาธรรมเนียมที่คิดจากรอยละของ<br />

คาใชจายทั้งหมด (Cost Plus Percentage of Costs Contract<br />

(CPPC)) ผูซื้อจายคาใชจายในการทํางานพรอมกับคาธรรมเนียมที่<br />

คิดจากรอยละของคาใชจายทั้งหมด โดยรอยละนี้จะกําหนดไว<br />

ลวงหนา เชน ถาสัญญากําหนดวาจะจายคาธรรมเนียมรอยละ 15<br />

ของคาใชจายทั้งหมด เมื่อจบโครงการแลวคาใชจายจริงเปน<br />

1,000,000 บาท ผูซื้อตองจายคาใชจายจริงรวมกับคาธรรมเนียมอีก<br />

150,000 บาท สัญญาแบบนี้จะไมเกิดแรงจูงใจใหผูขายพยายามลด<br />

คาใชจายจริง ผูซึ้อจึงตองรับความเสี่ยงทั้งหมด<br />

สัญญาแบบจายตามเวลาและวัสดุ<br />

เปนสัญญาที่ผสมผสานระหวางสัญญาแบบราคาคงที่กับสัญญาแบบเบิก<br />

ตามคาใชจาย ภายใตสัญญานี้ ผูซื้อจายเงินใหกับผูขายตามเวลาและวัสดุที่ตองใชในการทําใหงานเสร็จ<br />

สมบูรณ เชน บริษัทแหงหนึ่งมีสัญญากับบริษัทใหคําปรึกษาทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศชั่วโมงละ<br />

1,000 บาท และคาวัสดุเฉพาะสําหรับโครงการอีก 100,000 บาท การเบิกคาวัสดุตองมีใบเสร็จรับเงินที่<br />

ผานการอนุมัติ และเบิกไดไมเกิน 100,000 บาท ที่ปรึกษาอาจสงใบแจงหนี้เปนรายอาทิตยหรือรายเดือน<br />

โดยระบุรายการคาวัสดุ จํานวนชั่วโมงที่ใชในการทํางาน และงานที่ไดทํา สัญญาประเภทนี้ใชกับงาน<br />

บริการที่งานไมสามารถระบุไดชัดเจน และไมสามารถประมาณการคาใชจายทั้งหมดได<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-6<br />

สัญญาแบบราคาตอหนวย<br />

เปนสัญญาที่ผูซื้อจายเงินใหผูขายตามราคาตอหนวยของสินคาหรือ<br />

บริการที่ไดกําหนดไวลวงหนา สวนใหญสัญญาประเภทนี้จะคิดราคาตามปริมาณ เชน ถาซื้อ 10 หนวย<br />

ราคา 900 บาทตอหนวย ถาซื้อมากกวา 50 หนวย ราคาหนวยละ 800 บาท<br />

รูปที่ 10.1 เปรียบเทียบความเสี่ยงตามประเภทสัญญา (Schwalbe, 2007)<br />

รูปที่ 10.1 แสดงภาพสรุปเปรียบเทียบความเสี่ยงสําหรับผูซื้อและผูขาย ตาม<br />

ประเภทของสัญญา ผูซื้อจะรับความเสี่ยงต่ําที่สุดถาสัญญาเปนแบบราคาคงที่ เพราะผูซื้อรูแนชัดวา<br />

ตองการอะไร ผูซื้อจะมีความเสี่ยงสูงที่สุดถาใชสัญญาแบบคาใชจายรวมกับคาธรรมเนียมที่คิดจากรอย<br />

ละของคาใชจาย (CPPC) เพราะผูซื้อไมรูสิ่งที่ตองจาย และไมมีสิ่งจูงใจใหผูขายลดคาใชจาย ในทาง<br />

ตรงกันขาม ถามองในฐานะผูขาย สัญญาแบบคาใชจายรวมกับคาธรรมเนียมที่คิดจากรอยละของ<br />

คาใชจายจะมีความเสี่ยงต่ําสุด และความเสี่ยงสูงสุดถาใชสัญญาแบบราคาคงที่<br />

องคการที่ซื้อบริการควรประเมินงานที่ผูรับจางทําทุกวันหรือทุกอาทิตย เพื่อ<br />

ตัดสินใจวาควรจะใชที่ปรึกษาเจาเดิมหรือไม ในกรณีนี้ สัญญาควรรวมเงื่อนไขการยุติสัญญาทั้งในดาน<br />

ผูซื้อและผูขายดวย ผูซื้อควรระบุอัตราคาใชจายตอชั่วโมงตามระดับการศึกษาและประสบการณของที่<br />

ปรึกษา<br />

จากกระบวนการวางแผนการซื้อและการไดมา ผลที่ไดจากกระบวนการนี้คือ<br />

แผนการบริหารการจัดซื้อจัดจาง และขอกําหนดของงานในสัญญา<br />

11.2.4 แผนการบริหารการจัดซื้อจัดจาง<br />

แผนการบริหารการจัดซื้อจัดจางคือ เอกสารที่อธิบายวากระบวนการจัดซื้อจัด<br />

จางจะบริหารอยางไร ในแผนนี้จะประกอบดวยหัวขอตอไปนี้<br />

• ประเภทสัญญาที่นํามาใช<br />

• ใครเปนผูเตรียมการประเมินผูขาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-7<br />

• เอกสารการจัดซื้อจัดจางที่เปนมาตรฐาน หรือรูปแบบมาตรฐาน<br />

• กําหนดแนวทางสําหรับสรางโครงสรางงานของสัญญา รายการงาน และ<br />

เอกสารการจัดซื้อจัดจางอื่นๆ<br />

• บทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของทีมงาน และหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน<br />

ฝายจัดซื้อจัดจาง และฝายกฎหมาย เปนตน<br />

• ขอแนะนําในการบริหารผูใหบริการหลายราย<br />

• กระบวนการสําหรับการประสานการตัดสินใจการจัดซื้อจัดจาง (เชน ทํา<br />

เองหรือซื้อ) กับสวนอื่น (เชน การจัดตารางเวลา การรายงานผลการ<br />

ดําเนินงาน)<br />

• ขอจํากัดและสมมุติฐานที่เกี่ยวกับการซื้อและการไดมา<br />

• เวลาที่ตองใชในการซื้อและการไดมา<br />

• กําหนดแบบฟอรม และรูปแบบสําหรับขอกําหนดของงานตามสัญญา<br />

• กลยุทธในการบรรเทาความเสี่ยง เชน เงิน สัญญาประกันความเสี่ยง<br />

• แนวทางในการกําหนดผูขายที่มีคุณสมบัติ<br />

• ตัววัดการจัดซื้อจัดจาง เพื่อใชในการประเมินผูขาย และบริหารสัญญา<br />

11.2.5 ขอกําหนดของงานในสัญญา<br />

ขอกําหนดของงานคือ คําอธิบายงานที่ตองการจัดซื้อจัดจาง คําอธิบายงานควรมี<br />

รายละเอียดเพียงพอที่ผูขายสามารถกําหนดราคาที่เหมาะสมกับสินคาหรือบริการที่องคการตองการ<br />

ขอกําหนดของงานควรชัดเจน ถูกตอง และสมบูรณเทาที่เปนไปได รวมทั้งการรายงานการปฏิบัติงาน คํา<br />

ที่ใชในสัญญาตองเหมาะสม เชน “อาจ” กับ “ตอง” คําศัพทที่ใชควรเปนคําศัพทที่คนในวงการใชกัน<br />

รวมทั้งการอางถึงมาตรฐานอุตสาหกรรม หลายองคการใชตัวอยางหรือแบบสําหรับสรางขอกําหนดของ<br />

งาน ซึ่งประกอบดวยหัวขอตอไปนี้<br />

• ขอบเขตของงาน<br />

• สถานที่ทํางาน<br />

• ชวงเวลาปฏิบัติงาน<br />

• ตารางการสงงาน<br />

• มาตรฐานที่สามารถนํามาใช<br />

• เงื่อนไขการยอมรับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-8<br />

• ความตองการพิเศษ<br />

11.3 การวางแผนการทําสัญญา<br />

การวางแผนการทําสัญญาเกี่ยวของกับการเตรียมเอกสารที่จําเปนสําหรับผูขายที่มีศักยภาพ<br />

เพื่อใหผูขายนําไปเตรียมขอเสนอโครงการ ทีมงานนิยมใชแบบฟอรมมาตรฐาน และความคิดเห็นของ<br />

ผูเชี่ยวชาญในการสรางเอกสารการจัดซื้อจัดจางที่เกี่ยวของ รวมทั้งเงื่อนไขสําหรับการประเมินขอเสนอ<br />

โครงการ เอกสารที่จัดทําขึ้นคือ คํารองขอขอเสนอโครงการ (request for proposal (RFP)) และคํารอง<br />

ขอขอเสนอราคา (request for quote (RFQ))<br />

ขอเสนอโครงการคือ เอกสารที่เตรียมโดยผูขาย ซึ่งใชในกรณีที่มีวิธีการหลายวิธีที่สอดคลอง<br />

กับความตองการของผูซื้อ เชน ถาองคการหนึ่งตองการใหการทํางานเปนแบบอัตโนมัติ หรือตองการหา<br />

คําตอบใหกับปญหาทางธุรกิจ องคการสามารถเขียนคํารองขอขอเสนอโครงการ (RFP) ดังนั้น ผูขาย<br />

สามารถตอบสนองขอเสนอโครงการนั้นได ผูขายอาจเสนอฮารดแวรตางๆ ซอฟตแวร และเครือขายที่ตรง<br />

กับความตองการของผูซื้อ การเลือกผูชนะจะใชเงื่อนไขที่หลากหลาย ไมใชเพราะราคาต่ําสุด<br />

สวนคํารองขอขอเสนอราคา (RFQ) คือ เอกสารที่ใหผูขายใชประมาณราคาหรือประมูลราคา<br />

(bid) เพื่อจัดทําเปนขอเสนอราคา ขอเสนอราคาจึงเปนเอกสารที่เสนอราคาสําหรับสินคาหรือบริการที่<br />

เตรียมโดยผูขาย เชน ถาองคการตองการซื้อคอมพิวเตอรสวนบุคคล 100 ตัว โดยมีคุณลักษณะเฉพาะ<br />

องคการอาจออกเอกสารคํารองขอขอเสนอราคาไปยังผูขายที่มีศักยภาพ การเตรียมคํารองขอขอเสนอ<br />

ราคาใชเวลานอยกวาการเตรียมคํารองขอขอเสนอโครงการ สวนการเลือกผูชนะจะเลือกผูเสนอราคา<br />

ต่ําสุด<br />

การเขียนคํารองขอขอเสนอโครงการที่ดีเปนสวนที่สําคัญของการบริหารการจัดซื้อจัดจาง<br />

เพื่อใหแนใจวาคํารองขอขอเสนอโครงการมีขอมูลเพียงพอที่จะทําใหไดขอเสนอโครงการที่ดี ผูซื้อควรคิด<br />

วาตัวเองเปนผูขาย แลวถามตัวเองวาขอมูลที่มีในคํารองขอขอเสนอโครงการนั้นทําใหเราสามารถ<br />

ประมาณราคา เวลาที่ใชสําหรับงานหรือไม รูปแบบของ คํารองขอขอเสนอโครงการประกอบดวยหัวขอ<br />

ตอไปนี้<br />

• วัตถุประสงคของคําขอขอเสนอโครงการ<br />

• ขอมูลขององคการ<br />

• ความตองการพื้นฐาน<br />

• สภาพแวดลอมดานฮารดแวรและซอฟตแวร<br />

• คําอธิบายกระบวนการขอขอเสนอโครงการ<br />

• รายการของงาน และขอมูลเกี่ยวของ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-9<br />

• ภาคผนวก<br />

• ภาพรวมของระบบปจจุบัน<br />

• ความตองการของระบบ<br />

• ขนาดขอมูล<br />

• เนื้อหาที่ตองการใหผูขายระบุในขอเสนอโครงการ<br />

• ตัวอยางสัญญา<br />

11.4 การขอคําตอบจากผูขาย<br />

หลังจากการวางแผนสําหรับการทําสัญญาแลว กระบวนการบริหารการจัดซื้อจัดจางตอไปคือ<br />

การตัดสินใจวาควรใหใครทํางาน การสงเอกสารไปยังผูขายที่มีศักยภาพ และการไดขอเสนอโครงการ<br />

หรือขอเสนอราคา สําหรับการจัดซื้อจัดจางขนาดใหญนั้น องคการนิยมจัดประชุมเพื่อตอบคําถาม<br />

เกี่ยวกับงาน ผลลัพธที่ไดจากกระบวนการนี้คือ ชุดเอกสาร รายชื่อผูขายที่มีคุณสมบัติตามที่ตองการ<br />

และขอเสนอโครงการหรือขอเสนอราคาที่ไดจากผูขายที่มีศักยภาพ<br />

บางครั้งผูขายเฉพาะรายอาจเปนทางเลือกแรกขององคการ ในกรณีนี้ องคการสามารถสง<br />

ขอมูลการจัดซื้อจัดจางไปยังผูขายรายนั้นได ถาผูขายที่เราชื่นชอบตอบสนองความตองการได ทั้งสอง<br />

บริษัทสามารถดําเนินงานไปดวยกันได หลายๆ องคการไดสรางความสัมพันธการทํางานกับผูขาย<br />

จํานวนหนึ่งแลว ดังนั้น บริษัทจึงตองการที่จะทํางานรวมกันตอไป อยางไรก็ตาม ในหลายๆ กรณี อาจมี<br />

ผูขายมากกวา 1 ราย ที่มีคุณสมบัติที่จะจัดหาสินคาหรือบริการที่ดี การใหขอมูลและการรับขอเสนอ<br />

ราคาจากหลายแหลงใหประโยชนในแงของการแขงขัน<br />

11.5 การเลือกผูขาย<br />

เมื่อผูซื้อไดรับขอเสนอโครงการหรือขอเสนอราคาแลว ผูซื้อสามารถตัดสินใจที่จะเลือกผูเสนอ<br />

รายหนึ่ง หรือยกเลิกการจัดซื้อจัดจาง การเลือกผูขายประกอบดวยกระบวนการประเมินขอเสนอ<br />

โครงการหรือขอเสนอราคา การเลือกผูเสนอที่ดีที่สุด การตอรอง และการเสนอผูควรไดรับงาน<br />

กระบวนการเลือกผูขายใชเวลานาน นาเบื่อ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ ผูมีสวนไดสวนเสียควรมีสวน<br />

รวมในกระบวนการคัดเลือกผูขาย ทีมงานประเมินอาจแบงเปนทีมงานประเมินดานเทคนิค ทีมงาน<br />

ประเมินดานบริหาร และทีมงานประเมินดานคาใชจาย เพื่อจะไดมุงเนนการประเมินแตละดาน<br />

นอกจากนี้ ผูซื้อควรเลือกผูขายใหเหลือประมาณ 3-5 ราย เพื่อลดภาระในการประเมิน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-10<br />

ตารางที่ 10.1 ตัวอยางแบบฟอรมการประเมินผูขาย (Schwalbe, 2007)<br />

หลักเกณฑ<br />

น้ําหนัก ขอเสนอที่ 1 ขอเสนอที่ 2 ขอเสนอที่ 3<br />

(%) อัตรา คะแนน อัตรา คะแนน อัตรา คะแนน<br />

วิธีทางเทคนิค 30<br />

วิธีการบริหาร 30<br />

ผลการดําเนินงานที่ผานมา 20<br />

ราคา 20<br />

คะแนนรวม 100<br />

สิ่งที่สําคัญอีกประการหนึ่งที่องคการควรเตรียมการคือ แบบฟอรมการประเมิน และ<br />

หลักเกณฑการประเมิน ซึ่งควรออกกอนที่จะสงคํารองขอขอเสนอหรือคํารองขอขอเสนอราคา องคการใช<br />

หลักเกณฑที่กําหนดในการใหคะแนนขอเสนอโครงการ และโดยปกติหลักเกณฑแตละขอจะใหน้ําหนักที่<br />

แตกตางกันตามความสําคัญตอโครงการ เชน ขอเสนอทางเทคนิคให 30% วิธีการบริหารให 30%<br />

ประสบการณให 20% และราคาอีก 20% เปนตน ดังแสดงในตารางที่ 10.1 ระหวางที่กําลังคัดเลือกผู<br />

ชนะ ผูซื้อควรมีการตอรองผูขาย รวมทั้งใหผูขายเตรียมขอเสนอที่ดีที่สุดและเปนขอเสนอสุดทาย<br />

11.6 การบริหารสัญญา<br />

การบริหารสัญญาเปนการดําเนินการเพื่อใหแนใจวาการทํางานของผูขายตรงกับความ<br />

ตองการในสัญญา การเขียนและการบริหารสัญญาตองทําใหถูกตองตามกฎหมาย ดังนั้น จึงตองใชมือ<br />

อาชีพทางกฎหมายมาดําเนินการ<br />

ผูจัดการโครงการหลายๆ คนมีความรูเล็กนอยเกี่ยวกับการบริหารสัญญา เพื่อใหทุกคนเขาใจ<br />

ความสําคัญของการบริหารการจัดซื้อจัดจางที่ดี ผูจัดการโครงการ สมาชิกทีมงานและผูใชควรเขาไปมี<br />

สวนรวมในการเขียนและบริหารสัญญา ทีมงานควรหาผูเชี่ยวชาญเพื่อใหคําปรึกษาเกี่ยวกับประเด็นใน<br />

สัญญา สมาชิกในทีมตองตระหนักถึงปญหาเชิงกฎหมายที่อาจเกิดจากความไมเขาใจสัญญา เชน<br />

โครงการสวนใหญมีการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนี้ตองจัดการใหเหมาะสมภายใตสัญญา ถา<br />

ผูจัดการโครงการไมเขาใจเงื่อนไขของสัญญา ผูจัดการโครงการอาจไมรูวาไดมอบหมายใหผูรับงาน<br />

ทํางานเพิ่มโดยมีคาใชจายเพิ่มตามดวย ดังนั้น การควบคุมการเปลี่ยนแปลงจึงเปนสิ่งสําคัญของ<br />

กระบวนการบริหารสัญญา<br />

ผูจัดการโครงการและทีมงานควรกําหนดใหการเปลี่ยนแปลงตองเปนแบบทางการ ใบสั่งการ<br />

เปลี่ยนแปลงใดๆ ตองไดรับอนุญาตโดยผูที่มีอํานาจ ถาผูมีอํานาจสั่งเปลี่ยนรายงานที่ไดรับอนุมัติจาก<br />

ผูจัดการโครงการแลว ผูรับจางสามารถดําเนินการตามที่ผูมีอํานาจมอบหมายและสามารถคิดคาใชจาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-11<br />

ได ตอไปนี้เปนขอแนะนําที่ชวยใหแนใจวามีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงเพียงพอ และมีการบริหาร<br />

สัญญาที่ดี<br />

• การเปลี่ยนสวนใดๆ ของโครงการจําเปนตองมีการทบทวน อนุมัติ และบันทึก โดย<br />

คนๆ เดียว และดวยวิธีการเดียวกับที่สวนนั้นเคยไดรับการอนุมัติ<br />

• การประเมินการเปลี่ยนแปลงควรรวมการวิเคราะหผลกระทบ เชน การเปลี่ยนแปลง<br />

จะกระทบขอบเขตโครงการ คาใชจาย เวลา และ คุณภาพของสินคาและบริการ<br />

อยางไร<br />

• การเปลี่ยนแปลงตองมีการบันทึกเปนเอกสาร สมาชิกของทีมควรบันทึกการปรชุม<br />

และการพูดทางโทรศัพทที่สําคัญ ทั้งหมด<br />

• เมื่อมีการซื้อระบบสารสนเทศที่สลับซับซอน ผูจัดการโครงการและทีมงานตองทํางาน<br />

ใกลชิดกับผูรับจาง เพื่อใหแนใจวาระบบใหมสามารถตอบสนองความตองการได<br />

และสามารถทํางานไดในสภาวะแวดลอมของผูปฎิบัติงาน<br />

• มีแผนสํารองในกรณีที่ระบบใหมไมสามารถทํางานไดตามแผน<br />

• มีเครื่องมือ และเทคนิคที่สามารถชวยการบริหารสัญญา เชน ระบบควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลงสัญญาอยางเปนทางการ การตรวจสอบ และการตรวจตราอยาง<br />

ละเอียด การรายงานการปฎิบัติงาน การบริหารเอกสารตางๆ และการใชเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ<br />

11.7 การปดสัญญา<br />

กระบวนการสุดทายของการบริหารการจัดซื้อจัดจางคือ การปดสัญญา ซึ่งจะทําไดก็ตอเมื่อ<br />

งานตามสัญญาเสร็จครบถวนสมบูรณ และปดประเด็นตางๆ ที่ไดมีการเปดไว ทีมงานโครงการควร<br />

พิจารณาวางานที่ตองการสมบูรณ ถูกตอง และเปนที่พอใจ นอกจากนี้ ทีมงานควรปรับปรุงเอกสารตางๆ<br />

ใหทันสมัย และเก็บไวใชในอนาคต<br />

การปดสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผูขายหรือผูรับจางแจงผูซื้อเปนทางการวาไดมีการสงมอบผลงานทั้ง<br />

หมดตามสัญญา และผูซื้อมีหนังสือแจงผูขายเปนทางการวางานทั้งหมดไดรับ และผลงานเปนที่พอใจ<br />

แตสัญญาอาจยุติ เมื่อฝายใดฝายหนึ่งไมทํางานตามที่ไดตกลงกันในสัญญา ฝายที่เสียหายมีสิทธิที่<br />

เรียกรองคาเสียหาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-12<br />

11.8 สรุป<br />

การจัดซื้อจัดจาง การซื้อ หรือการใชบริการภายนอกคือ การไดมาซึ่งสินคาหรือบริการจาก<br />

แหลงภายนอก การจัดซื้อจากแหลงภายนอกของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีจํานวนเพิ่มขึ้น<br />

องคการใชบริการจากแหลงภายนอก เพื่อลดคาใชจาย เพื่อเนนธุรกิจหลักขององคการ เพื่อเขาถึงทักษะ<br />

และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพื่อใหเกิดความยืดหยุน มันเปนสิ่งที่สําคัญที่ผูมีอาชีพดานเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศควรเขาใจการบริหารการจัดซื้อจัดจาง<br />

กระบวนการบริหารการจัดซื้อจัดจางประกอบดวย การวางแผนการซื้อและการไดมา การ<br />

วางแผนสัญญา การรองขอคําตอบจากผูขาย การเลือกผูขาย การบริหารสัญญา และ การปดสัญญา<br />

การวางแผนการซื้อและการไดมาเปนการตัดสินใจวาอะไรที่ตองซื้อ หรือใชบริการจากแหลง<br />

ภายนอก ใชสัญญาประเภทใด ปริมาณงานในสัญญาควรเปนเทาใด ผูจัดการโครงการควรปรึกษา<br />

ผูเชี่ยวชาญทั้งภายในและภายนอกใหชวยวางแผนการจัดซื้อจัดจาง เพราะมีประเด็นทางดานกฎหมาย<br />

การเงิน และองคการเขามายุงเกี่ยว<br />

ประเภทของสัญญาพื้นฐานคือ สัญญาแบบราคาคงที่ สัญญาแบบเบิกคาใชจาย สัญญาแบบ<br />

จายตามเวลาและวัสดุ สัญญาแบบราคาคงที่เปนการกําหนดราคาทั้งหมดคงที่เหมาะสําหรับสินคาที่<br />

กําหนดคุณลักษณะอยางดี เปนสัญญาที่มีความเสี่ยงนอยที่สุดสําหรับผูซื้อ สัญญาแบบเบิกคาใชจาย<br />

เปนการจายเงินคาใชจายจริงทั้งทางตรงและทางออมใหกับผูขาย ผูซื้อตองรับความเสี่ยงบางสวน<br />

สัญญาแบบการจายตามเวลาและวัสดุเปนสัญญาที่ผสมสัญญาแบบกําหนดราคาคงที่และสัญญาแบบ<br />

เบิกคาใชจาย มันเปนสิ่งสําคัญที่ผูจัดการโครงการตองตัดสินใจสัญญาประเภทใดเหมาะกับการจัดซื้อ<br />

จัดจางแบบใด ทุกๆ สัญญาควรมีเงื่อนไขการยุติสัญญาไวดวย<br />

ขอกําหนดของงานคือ การอธิบายงานที่ตองการจัดซื้อจัดจางที่ละเอียดเพียงพอที่จะใหผูขาย<br />

สามารถพิจารณาวาสามารถใหบริการสินคาและบริการไดหรือไม ในราคาเทาไร<br />

การวางแผนการทําสัญญาประกอบดวยการเขียนเอกสารการจัดซื้อจัดจาง เชน คําขอขอเสนอ<br />

โครงการหรือคําขอขอเสนอราคา และการพัฒนาหลักเกณฑการประเมินผูเสนอโครงการหรือผูเสนอ<br />

ราคา<br />

การรองขอคําตอบจากผูขายประกอบดวยการจัดทําเอกสารสุดทาย การโฆษณา การจัด<br />

ประชุมชี้แจง และการรับขอเสนอโครงการหรือขอเสนอราคา<br />

การเลือกผูขายคือ กระบวนการที่ใชเพื่อประเมินผูขายและตอรอง องคการควรใชแบบประเมิน<br />

ขอเสนอที่เปนทางการ หลักเกณฑเชิงเทคนิคไมควรใหน้ําหนักมากกวาการบริการ หรือคาใชจาย<br />

การบริหารสัญญาเปนการสรุปสุดทายวาจะใหผูเสนอรายใดไดรับการคัดเลือกใหไดงาน การ<br />

ติดตามการปฎิบัติงาน และการปรับปรุงสัญญา ผูจัดการโครงการและสมาชิกหลักควรจะเขารวมในการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการจัดซื้อจัดจาง หนา 11-13<br />

เขียนและรวมในการบริหารสัญญา ผูจัดการโครงการตองตระหนักถึงปญหาเชิงกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น<br />

เมื่อผูจัดการโครงการไมเขาใจสัญญา ผูจัดการโครงการและทีมงานควรใชวิธีการควบคุมการ<br />

เปลี่ยนแปลงเมื่อทํางานกับผูใหบริการภายนอก<br />

การปดสัญญาเปนกระบวนการที่งานไดดําเนินการเสร็จสมบูรณ และไดแกไขปญหาที่ไดเปด<br />

ไวระหวางปฏิบัติงาน การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจางจะชวยชี้บทเรียนที่ไดระหวางกระบวนการจัดซื้อจัด<br />

จาง<br />

คําถามทายบท<br />

1. ทําไมองคการถึงตองใชบริการจากแหลงภายนอก และทําไมแนวโนมจึงเพิ่มขึ้น<br />

2. อธิบายกระบวนการตัดสินใจแบบทําเองหรือซื้อ<br />

3. ประเภทของสัญญามีอะไร จงอธิบายสัญญาแตละประเภท<br />

4. จงอธิบายขอดีขอเสียของสัญญาแตละประเภท<br />

5. อธิบายวิธีการคัดเลือกผูขาย<br />

6. ใหเสนอแนะวิธีการควบคุมการเปลี่ยนแปลงโครงการในกรณีที่ใชบริการจากแหลงภายนอก<br />

7. อธิบายวัตถุประสงคของการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจาง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-1<br />

12.1 บทนํา<br />

เมื่อระบบสารสนเทศไดพัฒนาเสร็จเรียบรอยแลว ผูจัดการโครงการจําเปนตองติดตั้งระบบ<br />

ใหกับผูใชไดใชงาน การดําเนินการดังกลาวทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองคการ การเลือกวิธีการ<br />

ติดตั้งระบบที่เหมาะสมจึงเปนการชวยใหการเปลี่ยนแปลงกระทําไดงายขึ้น<br />

หลังจากติดตั้งระบบสารสนเทศแลว ผูจัดการโครงการควรปดโครงการอยางเปนทางการซึ่ง<br />

เปนการถายเทงานกลับคืนไปยังเจาของ ทีมงานตองจัดเตรียมสิ่งตางๆ ใหพรอมที ่จะสงมอบ ใน<br />

ขณะเดียวกันผูจัดการตองบริหารใหงานที่เกี่ยวของกับการปดโครงการและบุคลากร เพื่อใหโครงการ<br />

สามารถปดไดจริงตามเวลาที่กําหนด<br />

เมื่อมีการปดโครงการแลว ผูจัดการโครงการควรประเมินสมาชิกทีมงานแตละคน และใหผล<br />

ตอบกลับแกสมาชิกถึงประสิทธิภาพการดําเนินงาน นอกจากนี้ ผูจัดการโครงการและสมาชิกโครงการ<br />

ควรประชุมรวมกันเพื่อทําการทบทวนโครงการ และรายงานใหองคการไดทราบถึงปญหาตางๆ วิธีการ<br />

แกไข ผลที่เกิดจากการแกไข และเปนองคความรูขององคการตอไป<br />

นอกจากการประเมินโครงการตามที่กลาวขางตนแลว โครงการควรไดรับการทบทวนโดย<br />

บุคคลภายนอก เพราะบุคคลภายนอกจะใหขอมูลที่มีคุณคาวาโครงการไดรับการบริหารดีอยางไร และ<br />

สมาชิกทํางานไดดีเพียงไร ทีมตรวจสอบควรระบุดวยวาผูจัดการโครงการและทีมไดดําเนินงานอยางมือ<br />

อาชีพ และอยางมีจรรยาบรรณหรือไม<br />

12.2 การติดตั้งระบบสารสนเทศ<br />

หลังจากระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นไดรับการทดสอบอยางสมบูรณ ผูจัดการโครงการและ<br />

ทีมงานตองรับผิดชอบในการผองถายระบบจากสภาวะแวดลอมการพัฒนาและการทดสอบ ไปยัง<br />

สภาวะแวดลอมแบบปฏิบัติงานของผูใชใหประสบความสําเร็จ การผองถายตองการวิธีการเชิงกลยุทธ<br />

และตองการเวลาจากผูมีสวนไดเสียทั้งหมด การเลือกวิธีการติดตั้งระบบสารสนเทศที่ไมเหมาะสม<br />

สามารถมีผลกระทบเชิงลบตอเวลาและงบประมาณที่เหลือของโครงการ ทีมงานสามารถเลือกวิธีการ<br />

ติดตั้งระบบดวยกลยุทธใหญ 3 วิธี ซึ่งสรุปในตารางที่ 12.1<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-2<br />

• การติดตั้งแบบตัดถายโดยตรง<br />

รูปที่ 12.1 แสดงถึงวิธีการติดตั้งระบบสารสนเทศแบบตัดถายโดยตรง ซึ่งเปน<br />

วิธีการที่ยุติการใชระบบเดิม และเริ่มใชระบบใหมที่ติดตั้งทันที โดยปกติ องคการและโครงการจะรวมกัน<br />

กําหนดวันที่จะเริ่มใชระบบใหม วิธีการนี้มีประสิทธิผลในกรณีที่ระบบใหมเปนระบบที่สําคัญ หรือระบบที่<br />

มีอยูเดิมทํางานไดไมดีมากๆ จึงจําเปนตองไดรับการเปลี่ยนใหเร็วที่สุดเทาที่เปนไปได วิธีการใชระบบ<br />

ใหมทันทีอาจเหมาะกับระบบที่ไมสําคัญ เพราะเมื่อระบบลมเหลวจะไมมีผลกระทบมากตอองคการ<br />

ดังนั้น ระบบใหมตองมีการทดสอบใหทุกคนเชื่อมั่นวาระบบใหมไมมีปญหา หรือมีปญหานอย<br />

วันที่เปนเปาหมาย<br />

ระบบเดิม<br />

ระบบใหม<br />

รูปที่ 12.1 วิธีการติดตั้งระบบแบบตัดถายโดยตรง (Marchewka, 2006)<br />

ถึงแมวาการใชวิธีการตัดถายโดยตรงมีขอดี แตความเสี่ยงของวิธีการนี้ก็มี<br />

เชนกัน วิธีการนี้ดําเนินการติดตั้งระบบไดเร็วแตเปนวิธีที่สรางความเจ็บปวด การยอนกลับมาใชระบบ<br />

เดิมทําไมไดเพราะไดปดระบบแลว ผลที่เกิดขึ้นคือ ความลาชา ลูกคาและผูใชหมดหวัง รวมทั้งอาจ<br />

สูญเสียรายได<br />

รูปที่ 12.2 การติดตั้งระบบแบบคูขนาน (Marchewka, 2006)<br />

• การติดตั้งแบบคูขนาน<br />

เปนวิธีการที่ยอมใหระบบเกาและระบบใหมทํางานควบคูกันไประยะเวลาหนึ่ง<br />

แลวองคการยายการทํางานจากระบบเกามาเปนการทํางานดวยระบบใหมทั้งหมด ดังแสดงในรูปที่ 12.2<br />

วิธีการแบบคูขนานเหมาะกับสถานการณที่ปญหาหรือความลมเหลวของระบบมีผลกระทบสูงตอ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-3<br />

องคการ เชน ระบบบัญชี กอนที่องคการจะเปลี่ยนมาใชระบบบัญชีใหม องคการอาจใหทั้งสองระบบ<br />

ทํางานควบคูกันไป เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธจากทั้งสองระบบ วิธีการนี้ทําใหองคการมีความเชื่อมั่นวา<br />

ระบบใหมทํางานไดถูกตอง<br />

ถึงแมวาวิธีการนี้อาจทําใหทีมงานไมเครียด แตมันสามารถสรางความเครียด<br />

ใหกับผูใชระบบมากกวา เนื่องจากผูใชตองใสขอมูลทั้งสองระบบ และอาจตองรับผิดชอบผลการ<br />

เปรียบเทียบผลลัพธ ถาระบบใหมทํางานไดตามที่คาดหวัง ผูใชอาจเต็มใจที่จะตองทํางานเพิ่มจนกระทั่ง<br />

เวลาที่ระบบใหมจะยืนไดดวยตัวเอง แตถาเกิดปญหาที่ไมคาดคิด วันที่องคการตั้งใจจะเปลี่ยนไปใช<br />

ระบบใหมอาจตองเลื่อนออกไป<br />

• การติดตั้งระบบแบบเปนระยะ<br />

วิธีการนี้เปนการติดตั้งระบบสารสนเทศเปนมอดูล หรือติดตั้งระบบในสวนตางๆ<br />

ขององคการแบบคอยๆ เปนคอยไป ดังแสดงในรูปที่ 12.3 เชน การติดตั้งระบบบัญชี องคการอาจเลือก<br />

ติดตั้งมอดูลบัญชีทั่วไปเปนมอดูลแรก ตามมาคือ มอดูลบัญชีเจาหนี้ บัญชีลูกหนี้ และเงินเดือน เปนตน<br />

รูปที่ 12.3 การติดตั้งระบบแบบเปนระยะ<br />

วิธีติดตั้งระบบแบบเปนระยะเหมาะกับการแนะนําซอฟตแวรใหกับสวนตางๆ<br />

ขององคการ ตัวอยางเชน เมื่อองคการตองการยกระดับระบบปฏิบัติการใหมีความสามารถสูงขึ้น แผนก<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศอาจทําการยกระดับทีละแผนกตามตารางเวลาที่ประกาศ วิธีการนี้อาจทําให<br />

ทีมงานไดเรียนรูจากประสบการณการติดตั้งระบบระยะแรก ซึ่งจะทําใหการติดตั้งระบบตอมาทําได<br />

ราบรื่น ถึงแมวาวิธีการติดตั ้งระบบแบบเปนระยะอาจใชเวลามากกวาการติดตั้งแบบตัดถายโดยตรง แต<br />

มันเปนวิธีที่มีความเสี่ยงนอย และสามารถจัดการไดงาย<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-4<br />

ตารางที่ 12.1 การเปรียบเทียบวิธีการติดตั้งระบบ (Marchewka, 2006)<br />

วิธีแบบตัดถายโดยตรง วิธีแบบคูขนาน วิธีแบบเปนระยะ<br />

• ติดตั้งเร็ว<br />

• มีความเสี่ยงถาระบบไมไดทดสอบ<br />

เต็มที่<br />

• ทีมงานไดรับแรงกดดัน<br />

• มีความปลอดภัย หรือมีการสํารอง<br />

ในกรณีที่พบปญหาจากการติดตั้ง<br />

ระบบใหม<br />

• สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นในระบบ<br />

ใหม เพราะมีการเปรียบเทียบ<br />

ผลลัพธของระบบใหมกับระบบ<br />

เดิม<br />

• ใชเวลาในการติดตั้งนาน และมี<br />

คาใชจายมากกวาวิธีแบบตัดถาย<br />

โดยตรง<br />

• วางแรงกดดันไวที่ผูใชระบบ<br />

• สามารถจัดการการติดตั้งระบบ<br />

เปนมอดูล หรือติดตั้งระบบ/<br />

ยกระดับระบบในหนวยงาน หรือ<br />

สถานที่ตางๆ<br />

• ประสบการณจากการติดตั้งระบบ<br />

ในครั้งแรกสามารถชี้นําและทําให<br />

การติดตั้งครั้งตอมาราบรื่น<br />

• ใชเวลาในการติดตั้งนาน และมี<br />

คาใชจายมากกวาวิธีแบบตัดถาย<br />

โดยตรง<br />

• ปญหาที่พบระหวางระยะแรก<br />

สามารถกระทบตอตารางเวลา<br />

โดยรวม<br />

12.3 การปดโครงการ<br />

โครงการอาจถูกยุติไดดวยเหตุผลหลายอยาง การสิ้นสุดโครงการมี 5 แบบคือ<br />

• ปกติ โครงการที่จบแบบปกติคือ โครงการที่เสร็จสมบูรณตามแผนที่วางไว ขอบเขต<br />

โครงการเปนไปตามที่กําหนดดวยงบประมาณ คุณภาพ และเวลาที่ตั้งไว ถึงแมวา<br />

จะมีการปรับปรุงตลอดเวลา โครงการจะถูกสงตอไปยังผูสนับสนุนโครงการ<br />

โครงการสิ้นสุดพรอมกับการฉลอง และใหรางวัล<br />

• กอนกําหนด บางครั้งทีมงานโครงการอาจถูกผลักดันใหจบโครงการเร็วขึ้น ถึงแมวา<br />

ระบบงานอาจไมมีลักษณะ หรือฟงกชันครบทั้งหมด เชน ระบบปฏิบัติงานอาจมี<br />

เฉพาะฟงกชันที่เปนงานหลักตามความตองการแตแรกเทานั้น<br />

• ชั่วกัลปาวสาน โครงการที่วิ่งหนี (runaway) หรือโครงการชั่วกัลปาวสานเปน<br />

โครงการที่ดูเหมือนไมมีวันจบ โครงการชั่วกัลปวาสานอาจมีผลจากความลาชา<br />

หรือขอบเขตโครงการไมเคยไดรับการกําหนดใหชัดเจน หรือตกลงรวมกัน หรือ<br />

ผูสนับสนุนโครงการอาจพยายามเพิ่มลักษณะตางๆ ของระบบงาน ซึ่งสงผลใหเพ ิ่ม<br />

เวลาและทรัพยากรใหกับโครงการ โครงการที่วิ่งหนีบางโครงการมีผลจากการที่<br />

องคการไมตัดสินใจที่วาจะยุติโครงการหรือไม เนื่องการตัดสินใจยุติโครงการเปน<br />

การตัดสินใจที่ยาก โดยเฉพาะอยางยิ่ง ถายึดมั่นอยูกับอัตตาหรืองานของตนเอง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-5<br />

ปรากฎการณนี้อาจเกิดขึ้น เมื่อโครงการใหผลตอบแทนสูงแกองคการ และเมื่อการ<br />

ยอมรับความลมเหลวตรงกันขามกับวัฒนธรรมองคการอยางแรง ไมวาดวยสาเหตุ<br />

อะไรก็ตาม ทรัพยากรโครงการถูกระบายออกจนถึงจุดที่โอกาสที่โครงการประสบ<br />

ความสําเร็จมีนอยมาก การกําหนดและการตกลงในขอบเขตโครงการ รวมทั้งการ<br />

ทบทวนโครงการสามารถลดความเสี่ยงของโครงการที่จะประสบเหตุการณประเภท<br />

นี้<br />

• ลมเหลว โดยปกติทั่วไป โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศจะลมเหลว ถาปราศจาก<br />

ความใสใจในประเด็นเรื่องคน กระบวนการ หรือเทคโนโลยี ถึงแมวาวัตถุประสงค<br />

โครงการอาจกําหนดคุณคาของโครงการ คาใชจายและเวลาที่เกินมากไปอาจทําให<br />

คุณคาของโครงการนอยลงจนถึงจุดที่คาใชจายในการทําใหโครงการสําเร็จมี<br />

น้ําหนักมากกวาผลประโยชน<br />

• เปลี่ยนลําดับความสําคัญ ในบางสถานการณ โครงการอาจถูกยุติอันเปนผลมา<br />

จากการเปลี่ยนลําดับความสําคัญ เหตุผลทางดานเศรษฐกิจและการเงินอาจเปน<br />

ตัวชี้วาทรัพยากรตางๆ ที่องคการมีใหในขณะนี้สมควรจะมีไวใหโครงการนี้ใชอีก<br />

ตอไปหรือไม หรือผูบริหารอาจตัดสินใจใหทรัพยากรกับโครงการอื่นที่กลับกลายมา<br />

เปนโครการที่มีความสําคัญสูงกวา การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถเกิดขึ้นได เมื่อ<br />

ความสําคัญ หรือคุณคาแตเดิมของโครงการนั้นเปลี่ยนไปตามเวลาและสภาวะ<br />

แวดลอม<br />

โดยอุดมคติ เมื่อโครงการปดแบบปกติ แสดงวาโครงการบรรลุเปาหมายและวัตถุประสงคที่<br />

ตองการ ผูสนับสนุนโครงการควรยินดีกับผลิตภัณฑของโครงการ และแสดงความยินดีดวยการจายเงิน<br />

ใหกับโครงการตามสัญญา แตวาการปดโครงการไมไดเกิดขึ้นในลักษณะนี้ ผูจัดการโครงการและทีมงาน<br />

ควรเตรียมการเพื่อจัดการกับความจริงตอไปนี้<br />

• สมาชิกทีมงานหวงกังวลกับงานในอนาคต สมาชิกของทีมงานถูกยืมตัวจากแผนก<br />

ตางๆ ขององคการ เมื่อโครงการจบ สมาชิกจะกลับไปทํางานเดิมของพวกเขา<br />

สําหรับบริษัทที่ปรึกษา สมาชิกทีมงานจะยายไปทําโครงการอื่น ขณะที่โครงการ<br />

ใกลจบ สมาชิกทีมงานอาจเริ่มตนกังวลวาพวกเขาจะทําอะไรตอไป การปด<br />

โครงการสําหรับบางคนอาจหมายถึงการมองหางานใหม หลายคนอาจหมายถึง<br />

การทําลายความสัมพันธกับสมาชิกคนอื่นในทีม ดังนั้น สมาชิกอาจกลายเปนคน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-6<br />

ไมวางและโครงการที่กําลังจะปดอาจลดความสําคัญ ผลที่ไดคือ สมาชิกทีมงาน<br />

อาจไมมุงทํางานเพื่อปดโครงการ<br />

• ขอผิดพลาดยังคงมีอยู การทดสอบระบบสารสนเทศคือ กระบวนการที่สําคัญของ<br />

การพัฒนาระบบ อยางไรก็ตาม การทดสอบคุณภาพซอฟตแวรอาจไมพบ<br />

ขอบกพรองทั้งหมด และทีมงานอาจไมรูวามีขอผิดพลาดจนกระทั่งหลังจากระบบ<br />

ไดติดตั้งแลว ปญหานี้สามารถทําใหผูมีสวนไดเสียโครงการทั้งหมดเกิด<br />

ความเครียด ความไมสมหวัง ดังนั้น โครงการอาจยังปดไมได นอกเสียจาก<br />

ขอบกพรองและขอผิดพลาดไดรับการแกไขทันที<br />

• ขาดแคลนทรัพยากร ในตอนจบโครงการ ทั้งทรัพยากรและเวลาไมมีเหลือ ถามี<br />

ประเด็นที่ไมคาดคิด ปญหา หรือความทาทายเกิดขึ้น ผูจัดการโครงการอาจพบวา<br />

ไมมีทรัพยากรเพียงพอสําหรับเหตุการณเหลานี้ ผูจัดการโครงการอาจพบวาตัวเอง<br />

อยูในสถานการณถูกทําใหเลวลง โดยเฉพาะ ถาผูบริหารตัดสินใจตัดหรือควบคุม<br />

งบประมาณของโครงการ<br />

• ใหความสําคัญสูงสุดกับเอกสาร โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศมีความตองการ<br />

เอกสารจํานวนมาก ตัวอยางของเอกสารเหลานี้คือ เอกสารโครงการ เอกสารระบบ<br />

เอกสารการอบรม คูมือผูใช เวลาสําหรับการเขียนเอกสารไดกําหนดในแผน<br />

โครงการ และทําเสร็จในชวงการดําเนินโครงการ อยางไรก็ตาม หลายครั้งเอกสาร<br />

ถูกเลื่อนไปจนกระทั่งปดโครงการ ขณะที่โครงการใกลจบ การทําเอกสารกลายเปน<br />

เรื่องสําคัญ ผลที่ตามมาคือ การทําเอกสารตองใชเวลาและทรัพยากรที่จะทําให<br />

เสร็จ<br />

• วันที่สงมอบตามที่สัญญาอาจทําไมได โครงการสวนใหญมีประสบการณกับ<br />

ตารางเวลาที่ลื่นไถล ซึ่งอาจเนื่องจากการบริหารโครงการที่ไมดี ตองการการแขงขัน<br />

หรือการประมาณการที่ต่ํากวาเปนจริง โครงการจําเปนตองใชทรัพยากรและเวลา<br />

เพื่อทําใหโครงการเสร็จ การตัดสินใจที่ผิดพลาดวาอะไรที่ตองทํา อะไรที่ตองการใช<br />

เพื่อทํางานใหเสร็จ และเวลาที่ตองใช สิ่งเหลานี้มีผลใหเกิดความแตกตางระหวาง<br />

เวลาและงบประมาณที่ไดวางแผน<br />

• ผูมีสวนไดเสียอาจตื่นตระหนก เมื่อตารางเวลาเริ่มลื่นไถล และทรัพยากรหมดไป ผู<br />

มีสวนไดเสียโครงการอาจเริ่มรูสึกถึงการเตือนภัย ผูจัดการอาจกังวลวาโครงการนั้น<br />

จะไมทํากําไร หรือไมสรางความพึงพอใจใหกับลูกคา ผูสนับสนุนหรือลูกคาอาจ<br />

กังวลวาระบบสารสนเทศจะไมถูกสงมอบทันเวลาดวยงบประมาณที่กําหนด หรือมี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-7<br />

คุณคาตามที่องคการคาดหวัง นอกจากนี้ ผูจัดการโครงการและทีมงานอาจกังวล<br />

วาโครงการจะไมประสบความสําเร็จและถูกกลาวโทษ ความรูสึกตื่นตระหนกจะ<br />

เพิ่มขึ้น โอกาสสําหรับการปดอยางมีระเบียบเริ่มริบหรี่<br />

ไมวาการปดโครงการจะเปนรูปแบบใด สิ่งสําคัญคือ การกําหนดกระบวนการปดอยางมี<br />

ระเบียบ กระบวนการปดโครงการที่ดีทําใหทีมงานจบโครงการไดอยางเรียบรอย จากมุมมองการ<br />

บริหารงาน ขั้นตอนการปดนี้ทําใหงานทายๆ ที่ยังหยอนใหกระชับขึ้น<br />

12.3.1 การยอมรับจากผูสนับสนุนโครงการ<br />

ภายใตการปดแบบปกติ สิ่งสําคัญที่สุดที่โครงการตองการคือ การไดรับการยอบ<br />

รับโครงการจากผูสนับสนุน การสงมอบ การติดตั้ง และการทําใหระบบสารสนเทศทํางานได ไมได<br />

หมายความวาผูสนับสนุนหรือลูกคาจะรับผลิตภัณฑโครงการ เพราะการยอบรับขึ้นกับโครงการทํางาน<br />

ไดตามขอบเขตที่กําหนด ผูจัดการโครงการรับผิดชอบในสิ่งที่สงมอบทั้งหมดของโครงการใหสมบูรณตาม<br />

รายละเอียดที่กําหนด นอกจากนี้ สิ่งประกอบอื่นๆ เชน เอกสาร การอบรม และการสนับสนุน ไมควรคิด<br />

ทําทีหลัง และสิ่งเหลานี้ควรรวมอยูในขอบเขตของโครงการดวย ความพยายามตอรองวาอะไรคือสวน<br />

หนึ่งของงานโครงการหรือไมใชในชวงระยะสุดทายสามารถสรางความรูสึกที่ไมดี<br />

กระบวนการยอมรับจากผูสนับสนุนโครงการจะราบรื่นหรือไม สวนหนึ่งขึ้นอยูกับ<br />

ประเภทของผูสนับสนุนโครงการ ซึ่งมี 2 ประเภทคือ ผูสนับสนุนที่มีมุมมองแคบจะมองความสัมพันธของ<br />

ผูซื้อผูขายวาเปนความสัมพันธระยะสั้น ซึ่งคิดวาเงื่อนไขที่สําคัญที่สุดสําหรับการยอมรับโครงการคือเงิน<br />

ภาพแบบนี้นํามาซึ่งความสัมพันธแบบปรปกษ ถาผูสนับสนุนโครงการพยายามตอรองขอบเขตหรือราคา<br />

อีกครั้งเมื่อปลายโครงการ ผูสนับสนุนโครงการอีกประเภทคือ ผูสนับสนุนที่มีความรู ซึ่งตระหนักวาพวก<br />

เขามีสวนสําคัญในผลลัพธของโครงการ พวกเขาจะมีสวนรวมอยางมากตลอดทั้งโครงการในลักษณะเชิง<br />

สรางสรรค ผูสนับสนุนโครงการประเภทนี้อาจถามคําถามยากๆ ระหวางทบทวนโครงการ แต<br />

วัตถุประสงคไมไดตองการทําใหทีมงานหรือผูจัดการโครงการตองอาย แตเพื่อใหแนใจวาโครงการ<br />

ประสบความสําเร็จ แทนที่พยายามใหเกิดสถานการณชนะ-แพ ผูสนับสนุนที่มีความรูจะตอรองอยาง<br />

ฉลาดและจริงใจ<br />

โดยไมคํานึงถึงวาผูสนับสนุนโครงการเปนประเภทใด ผูจัดการโครงการและ<br />

ทีมงานสามารถเพิ่มโอกาสใหโครงการยอมรับ ถามี 1) การกําหนดเงื่อนไขการรับโครงการที่ชัดเจนตั้งแต<br />

ระยะแรกของโครงการ 2) กําหนดความสมบูรณของสิ่งสงมอบและหลักไมลของโครงการทั้งหมด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-8<br />

12.3.2 รายงานโครงการสุดทาย<br />

โดยทั่วไป ผูจัดการและทีมงานควรจัดทํารายงานสุดทายและนําเสนอใหกับ<br />

ผูสนับสนุนและผูมีสวนไดเสียหลักของโครงการ วัตถุประสงคของการรายงานและการนําเสนอคือ เพื่อให<br />

ผูสนับสนุนโครงการมั่นใจวาโครงการไดเสร็จสมบูรณตามที่ไดระบุไวในแฟมธุรกิจ เอกสารสิทธิ์โครงการ<br />

และแผนโครงการ นอกจากนี้ ความมั่นใจทําใหผูสนับสนุนและลูกคาจะยอมรับโครงการไดมากกวา และ<br />

ทําใหโครงการปดอยางราบรื่น<br />

รายงานนี้อาจเวียนใหผูมีสวนไดเสียหลักไดอานกอนการนําเสนอ เพื่อรับ<br />

ขอคิดเห็น รายงานสุดทายประกอบดวยหัวขอตอไปนี้<br />

• สรุปโครงการ<br />

• คําอธิบายโครงการ<br />

• วัตถุประสงคโครงการ<br />

• ขอบเขต เวลา และงบประมาณ<br />

• การเปรียบเทียบแผนกับสิ่งที่เกิดจริง<br />

• ขอบเขตเดิมและประวัติการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอนุมัติ<br />

• วันสุดทายที่กําหนดไวเดิมกับวันที่เสร็จจริง<br />

• งบประมาณเดิมกับคาใชจายจริงของโครงการ<br />

• แผนการทดสอบและผลการทดสอบ<br />

• ประเด็นเดน<br />

• หัวขอและความสมบูรณที่คาดหวัง<br />

• การสนับสนุนตอเนื่องที่ตองมีและชวงระยะเวลา<br />

• รายการเอกสารโครงการ<br />

• เอกสารระบบ<br />

• คูมือผูใช<br />

• เอกสารและวัสดุการอบรม<br />

• เอกสารการบํารุงรักษา<br />

12.3.3 การนําเสนอและการประชุมครั้งสุดทาย<br />

การประชุมครั้งสุดทายมีประโยชนดังนี้<br />

• เปนการสื่อสารวาโครงการยุติแลว โดยการเชิญผูมีสวนไดเสียหลักของ<br />

โครงการเขาประชุม ผูจัดการโครงการประกาศเปนทางการวาโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-9<br />

กําลังจะสิ้นสุด การกระทํานี้ทําใหผูใกลชิดกับโครงการรวมทั้งองคการ<br />

ไดรับรูถึงการปดโครงการ<br />

• เปนการถายโอนระบบสารสนเทศจากทีมงานใหกับองคการ ถึงแมวา<br />

ระบบสารสนเทศไดรับการติดตั้งและกําลังใชงานโดยองคการ การ<br />

ประชุมครั้งสุดทายเปนการสงมอบงานที่ทําสําเร็จอยางเปนทางการ<br />

ใหกับองคการ นอกเสียจากวาในสัญญามีขอตกลงเรื่องการสนับสนุน<br />

ตอเนื่อง การถายโอนสงสัญญาณวาทีมงานโครงการจะไมอยูกับลูกคา<br />

อีกตอไป<br />

• เปนการประกาศการมีสวนรวม การประชุมเปนการเปดเวทีสําหรับ<br />

ผูจัดการโครงการเพื่อประกาศการมีสวนรวมในงานของทีมงานและผูมี<br />

สวนไดเสียหลัก<br />

• เปนการไดรับลายเซ็นการรับโครงการที่เปนทางการ การประชุมเปนการ<br />

ฉลองที่ผูสนับสนุนและลูกคายอมรับระบบสารสนเทศอยางเปนทางการ<br />

โดยการเซ็นตรับโครงการ<br />

12.3.4 การปดโครงการ<br />

เมื่อโครงการไดรับการยอมรับจากผูสนับสนุนโครงการหรือลูกคาแลว กระบวน<br />

การบริหารการปดโครงการยังคงมีอยู งานสุดทายนี้อาจยากเพราะผูจัดการโครงการหรือทีมงานอาจมอง<br />

วางานที่เปนงานเชิงบริหารเหลานี้นาเบื่อ หรือเพราะพวกเขากําลังคิดถึงงานอื่นที่ไดรับมอบหมาย แต<br />

งานปดโครงการจําเปนตองมี เพราะเมื่อผูจัดการและทีมงานออกจากโครงการปจจุบันอยางเปนทางการ<br />

แลว การที่จะใหพวกเขาเก็บรายละเอียดสุดทายจะยาก การปดโครงการเชิงบริหารประกอบดวย<br />

• การตรวจสอบวาสิ่งสงมอบและประเด็นที่เปดไวทั้งหมดไดทําสมบูรณ<br />

• การตรวจสอบการรับโครงการอยางเปนทางการของผูสนับสนุนโครงการ<br />

หรือลูกคา<br />

• การจัดการและการจัดเก็บเอกสารสําคัญรวมทั้งสิ่งที่สงมอบทั้งหมด<br />

• การวางแผนสําหรับการปลอยทรัพยากรโครงการทั้งหมด<br />

• การวางแผนสําหรับการประเมินและการทบทวนสมาชิกทีมงานทั้งหมด<br />

และโครงการเองดวย<br />

• การปดบัญชีโครงการทั้งหมด<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-10<br />

12.4 การประเมินโครงการ<br />

คําถามที่อยูในใจของทุกคนคือ โครงการนี้สําเร็จหรือไม ผูมีสวนไดเสียมีความเห็นเรื่อง<br />

ความสําเร็จแตกตางกัน สําหรับสมาชิกทีมงาน ความสําเร็จอาจคือ การไดประสบการณที่มีคาและการ<br />

รูสึกวางานของพวกเขาจะมีผลกระทบทางบวกกับองคการ สําหรับผูจัดการโครงการ ความสําเร็จอาจ<br />

เปนการดําเนินโครงการที่สามารถทํากําไรใหกับองคการ สวนทางดานลูกคาหรือผูสนับสนุนโครงการ<br />

อาจมองความสําเร็จโครงการในแงของคุณคาเชิงองคการที่ไดรับจากการดําเนินโครงการ<br />

ดังนั้น องคการควรมีการประเมินโครงการ ซึ่งมี 4 ประเภทคือ 1) การทบทวนประสิทธิภาพ<br />

ของแตละคน 2) การประเมินหลังโครงการจบ โดยผูจัดการโครงการและทีมงานโครงการ 3) การ<br />

ตรวจสอบโครงการ โดยคนหรือหนวยงานภายนอกองคการ และ 4) การประเมินความสําเร็จโครงการวา<br />

ตรงกับเปาหมายที่กําหนดหรือไม<br />

12.4.1 การทบทวนประสิทธิภาพของแตละคน<br />

ผูจัดการโครงการควรดําเนินการทบทวนประสิทธิภาพการทํางานของแตละคน<br />

โดยเนนจุดตอไปนี้<br />

• เริ่มดวยการประเมินผลการทํางานของแตละคน การประเมินผลการ<br />

ทํางานอาจมีอารมณความรูสึกเขามาเกี่ยวของ ถึงแมวาผูประเมินจะ<br />

ตั้งใจใหดีที่สุดก็ตาม แทนที่จะเริ่มการประเมินดวยการวิจารณผลการ<br />

ทํางานของแตละคน เราควรเริ่มโดยการถามวาคนๆ นั้น ควร<br />

ประเมินผลงานของเขาอยางไร ซึ่งจะชวยใหขอมูลที่มีประโยชนกลับไป<br />

ยังแตละคน<br />

• หลีกเลี่ยง “ทําไมเธอไมเปนเหมือน ,,,,,,,,,” การเปรียบเทียบการทํางาน<br />

ระหวางสมาชิกสามารถสรางปรปกษ เพราะจะทําใหคนที่ถูกตําหนิเกิด<br />

ความอิจฉา และมองหาทางลดความนาเชื่อถือของคนอื่น นอกจากนี้<br />

คนแตละคนมีความแตกตางกัน การประเมินไมควรเหมือนกัน<br />

• เนนที่พฤติกรรม ไมใชตัวบุคคล เมื่ออภิปรายถึงโอกาสการปรับปรุง<br />

บุคคล การเนนที่พฤติกรรมจึงเปนสิ่งสําคัญ เชน สมาชิกทีมงานมีนิสัย<br />

มาทํางานสายเปนประจําและรบกวนการประชุมของทีม เราไมควรเนน<br />

ที่บุคคล แตเนนที่พฤติกรรมการมาสาย<br />

• ยุติธรรมและเทาเทียมกัน คนที่ทําการประเมินควรระวังวาการตัดสินใจ<br />

เกี่ยวกับคนหนึ่งอาจกระทบทั้งกลุมอยางไร และระวังวาคนชอบ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-11<br />

เปรียบเทียบกัน ถามีการกําหนดนโยบายและขั้นตอนและยึดกับมัน<br />

สามารถบรรเทาโอกาสที่จะผูประเมินทําการประเมินไมเหมือนกัน<br />

• การทบทวนควรมีขอตกลงเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการ<br />

ทํางาน วัตถุประสงคของการประเมินสมาชิกแตละคนคือ การใหขอมูล<br />

เชิงสรางสรรคกลับไปยังคนที่ถูกประเมิน เนื่องจากไมมีใครสมบูรณ<br />

แบบ ดังนั้น การเขาใจจุดที่แตละคนสามารถปรับปรุง และปรับปรุง<br />

อยางไรจึงเปนสิ่งสําคัญ ผูประเมินและคนที่ถูกประเมินควรตกลงกันวา<br />

อะไรที่แตละคนจําเปนตองปรับปรุง และองคการสามารถสนับสนุน<br />

ความพยายามนี้ไดอยางไร<br />

12.4.2 การประเมินหลังโครงการสิ้นสุด<br />

หลังจากรายงานและนําเสนอโครงการครั้งสุดทายเสร็จแลว ผูจัดการโครงการ<br />

และทีมงานควรดําเนินการทบทวนหลังโครงการสิ้นสุด ซึ่งควรทํากอนที่จะปลอยสมาชิกจากโครงการ<br />

ปจจุบัน เพราะมันเปนการยากที่ไดสมาชิกกลับมารวมประเมินโครงการ เนื่องจากสมาชิกทีมงานอาจยุง<br />

กับโครงการอื่น หรือไมไดทํางานใหกับองคการอีกตอไป นอกจากนี้ ความจําของคนจะจางหายไปเมื่อ<br />

เวลาผานไป การประเมินหลังโครงการสิ้นสุดควรมีประเด็นตอไปนี้<br />

• เปาหมายเริ่มแรกของโครงการ<br />

• ขอบเขต เวลา งบประมาณ และคุณภาพของโครงการ<br />

• สิ่งที่สงมอบแตละอยาง<br />

• แผนและองคความรูแตละดาน<br />

• ทีมงานทํางานไดดีเพียงใด<br />

คําแนะนําและสิ่งที่อภิปรายจากการประเมินหลังโครงการสิ้นสุดควรไดรับการ<br />

บันทึก โดยเฉพาะผูจัดการโครงการและทีมควรระบุวาอะไรที่พวกเขาทําถูก และอะไรที่พวกเขาควรทําได<br />

ดีขึ้น บทเรียนที่ไดเรียนรูควรบันทึกเพื่อใหคนอื่นในองคการไดเรียนรูดวย<br />

12.4.3 การตรวจสอบโครงการ<br />

การตรวจสอบโครงการโดยคนหรือหนวยงานภายนอกอาจชวยคนพบปญหา<br />

หรือโอกาสในการปรับปรุง การตรวจสอบจะเนนที่โครงการ หรือการดําเนินการไดดีเพียงใด ประเด็นที่<br />

ควรจะตรวจสอบคือ แผนโครงการ องคความรูการบริหารโครงการ การบริหารโครงการ และ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-12<br />

กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ไดกําหนดไวในระเบียบวิธีขององคการ นอกจากนี้ผูตรวจสอบหรือ<br />

ทีมงานตรวจสอบควรประเมินวาผูจัดการโครงการและทีมไดทํางานแบบมืออาชีพและอยางมี<br />

จรรยาบรรณหรือไม สิ่งที่ผูตรวจสอบหรือหนวยงานตรวจสอบคนพบควรไดรับการจดบันทึก ผูตรวจสอบ<br />

หรือหนวยงานตรวจสอบควรมีลักษณะดังนี้<br />

• ไมมีสวนรวมหรือผลประโยชนโดยตรงกับโครงการ<br />

• เปนที่นาเชื่อถือและมีความยุติธรรม<br />

• เต็มใจฟง<br />

• ไมกลัวการขมขู<br />

• กระทําในสิ่งที่องคการใหความสนใจ<br />

• มีประสบการณอยางกวางขวางในธุรกิจขององคการ<br />

12.4.4 การประเมินความสําเร็จโครงการ<br />

เปาหมายของโครงการที่ไดกําหนดไวแตเริ่มโครงการควรไดรับการประเมิน แต<br />

การประเมินเปาหมายนี้อาจทําไมไดทันทีที่จบโครงการ ประโยชนหลายอยางที่ไดจากการทําใหโครงการ<br />

ทํางานไดตองใชเวลาจึงจะสามารถประเมินได ผลการประเมินความสําเร็จของโครงการควรตอบคําถาม<br />

ตอไปนี้<br />

• โครงการบรรลุเปาหมายหรือไม<br />

• ผูสนับสนุนหรือลูกคาพอใจหรือไม<br />

• โครงการไดรับการบริหารดีหรือไม<br />

• ผูจัดการโครงการและทีมงานทํางานแบบมืออาชีพและมีจริยธรรมหรือไม<br />

• อะไรที่ทําถูกตอง<br />

• อะไรที่สามารถทําไดดีในครั้งตอไป<br />

กอนทําการประเมินนี้ ผูจัดการโครงการตองแนใจวาระบบสารสนเทศที่สงมอบ<br />

ไมมีการเปลี่ยนแปลง ระบบสารสนเทศที่ไดสงใหกับผูสนับสนุนโครงการแลว ผูใชหรือพนักงานอาจทํา<br />

การเปลี่ยนแปลง การประเมินตองระวังวาระบบที่กําลังถูกประเมินคือระบบที่โครงการสงมอบ<br />

12.5 สรุป<br />

เมื่อระบบสารสนเทศไดสรางขึ้นมาหรือซื้อมา ระบบนี้ตองไดรับการทดสอบอยางเพียงพอ<br />

เพื่อใหการติดตั้งเปนไปอยางราบรื่น อยางไรก็ตาม การทําใหระบบใชงานไดตองใชกลยุทธ เพื่อใหแนใจ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-13<br />

วาระบบสารสนเทศถูกถายโอนอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากสภาพแวดลอมเชิงโครงการ<br />

ไปสูการปฏิบัติงานรายวันขององคการ<br />

วิธีการติดตั้งระบบสารสนเทศมี 3 วิธี วิธีแรกเรียกวาวิธีตัดถายโดยตรง เปนวิธีการติดตั้ง<br />

ระบบไดเร็วที่สุด ระบบเดิมถูกปดและเปดระบบใหม วิธีการนี้เปนวิธีที่เสี่ยง ถาระบบไมมีการทดสอบทั้ง<br />

ระบบ ผลที่เกิดขึ้นคือ มีแรงกดดันอยางมากกับทีมงานที่ตองทําใหระบบถูกตองตั้งแตการติดตั้งครั้งแรก<br />

โดยเฉพาะถาเปนระบบสนับสนุนฟงกชันที่สําคัญตอพันธกิจขององคการ<br />

วิธีติดตั้งแบบคูขนานและแบบระยะเปนทางเลือกที่มีความเสี่ยงนอย ถึงแมวาการติดตั้งอาจ<br />

ใชเวลานานกวา วิธีแบบคูขนานตองใชทั้งระบบเดิมและระบบใหมไปพรอมๆ กันไปชวงระยะเวลาหนึ่ง<br />

จนกระทั่งมีความเชื่อมั่นเพียงพอวาระบบใหมทํางานถูกตอง พอถึงเวลาจึงเปลี่ยนมาใชระบบใหมเพียง<br />

ระบบเดียว วิธีแบบคูขนานสรางความเครียดสําหรับผูใชระบบ เพราะผูใชตองใสขอมูลทั้งสองระบบ และ<br />

เปรียบเทียบผลลัพธกัน<br />

วิธีการติดตั้งแบบระยะอาจเหมาะกับการติดตั้งระบบเปนมอดูล หรือยกระดับระบบใหดีขึ้นใน<br />

แผนกตางๆ หรือสถานที่ที่แตกตางกันตามภูมิศาสตร ภายใตวิธีการนี้ ประสบการณที่ไดจากการติดตั้ง<br />

ครั้งแรกสามารถทําใหการติดตั้งครั้งตอมาราบรื่น ในทางกลับกัน ปญหาใดๆ ที่ไมคาดคิดสามารถสราง<br />

ปฏิกริยาตอเนื่องที่ผลักตารางเวลาการติดตั้งระบบทั้งหมดใหเลื่อนออกไป การเลือกวิธีการติดตั้งที่<br />

ถูกตองมีผลกระทบอยางมีนัยสําคัญตองบประมาณและเวลาโครงการ<br />

เมื่อระบบสารสนเทศไดติดตั้ง ผูจัดการโครงการและทีมงานตองวางแผนสําหรับการปด<br />

โครงการอยางมีระเบียบ โครงการสามารถสิ้นสุดดวยหลายเหตุผล แตโครงการตองปดอยางเหมาะสม<br />

ไมวาโครงการจะปดอยางประสบความสําเร็จหรือไมสําเร็จก็ตาม โดยอุดมคติ ถาโครงการถูกปดภายใต<br />

เงื่อนไขปกติ แสดงวาขอบเขตโครงการไดรับการดําเนินการสมบูรณ โดยใชเวลา และงบประมาณตามที่<br />

ไดกําหนด หรือที่ไดแกไขจากเดิมอยางมีเหตุผล การสงหรือการติดตั้งระบบสารสนเทศไมไดหมายความ<br />

วาผูสนับสนุนโครงการและลูกคายอมรับระบบ ดังนั้นการปดโครงการตองเนนที่ใหสองกลุมมั่นใจวา<br />

ทีมงานไดสงทุกอยางตามที่ไดกําหนดในแฟมธุรกิจ เอกสารสิทธิ์โครงการ และแผนโครงการ<br />

วิธีการที่จะไดการยอมรับจากผูสนับสนุนโครงการหรือลูกคาคือ การจัดทํารายงานโครงการ<br />

ขั้นสุดทาย รายงานนี้มีประวัติโครงการ และเคาโครงสิ่งสงมอบแตละชิ้นที่ตรงกับมาตรฐานของลูกคา<br />

หรือผูสนับสนุน รายงานควรกลาวถึงหัวขอหรือประเด็นที่เปดที่องคการควรใหความสนใจ รายงานใช<br />

สําหรับการประชุมและนําเสนอครั้งสุดทายกับผูมีสวนไดเสียหลักของโครงการ การประชุมนี้นอกจาก<br />

เปนการปดโครงการแลวยังเปนเครื่องมือสื่อสารเพื่อแจงใหผูมีสวนไดเสียทราบวาโครงการไดรับการ<br />

ยอมรับอยางเปนทางการและกําลังจะปด กระบวนการปดโครงการประกอบดวย การปดบัญชีโครงการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การติดตั้งระบบ การปดและการประเมินโครงการ หนา 12-14<br />

การปลอยหรือการถายโอนทรัพยากรโครงการ การบันทึกบทเรียนที่ไดเรียนรู และการจัดเก็บเอกสาร<br />

สําคัญและสิ่งสงมอบทั้งหมด<br />

กอนที่โครงการจะปดสมบูรณ การทบทวนหรือการประเมินเปนเรื่องสําคัญที่ตองดําเนินการ<br />

การประเมินนี้ประกอบดวยการทบทวนประสิทธิภาพการดําเนินงานระหวางผูจัดการโครงการและ<br />

ทีมงานแตละคน การทบทวนหลังจากโครงการสิ้นสุดกับผูจัดการโครงการและทีมงานทั้งหมดควรรวมถึง<br />

สิ่งสงมอบ แผนโครงการ และองคความรูการบริหารโครงการ บทเรียนที่ไดเรียนรูจากโครงการควรไดรับ<br />

การบันทึก และกําหนดวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด<br />

การทบทวนประสิทธิภาพการดําเนินงานและการทบทวนหลังจากโครงการสิ้นสุดจะเปนการ<br />

เตรียมการสําหรับการตรวจสอบโดยคนหรือหนวยงานภายนอกองคการ ในกรณีนี้ ผูตรวจสอบควร<br />

ทบทวนสิ่งสงมอบของโครงการทั้งหมด และกระบวนการ เพื่อประเมินวาโครงการไดรับการบริหารดี<br />

เพียงใด พฤติกรรมและจรรยาบรรณของผูจัดการโครงการและทีมงานโครงการควรไดรับการตรวจสอบ<br />

ดวย<br />

การประเมินแบบสุดทายคือ การประเมินความสําเร็จของโครงการ ถึงแมวาผูมีสวนไดเสีย<br />

มองความสําเร็จของโครงการที่แตกตางกัน แตสิ่งหนึ่งที่ใชในการชี้นําวาโครงการประสบความสําเร็จ<br />

หรือไมคือเปาหมายของโครงการ แตนาเสียดายที่คุณคาเชิงองคการที่ไดจากโครงการไมพรอมที่จะให<br />

ประเมินทันทีที่ระบบไดรับการติดตั้ง ถึงแมวาโครงการจะปดไปแลว การประเมินประเภทนี้ยังตอง<br />

ดําเนินการ การประเมินควรใหผูมีสวนไดเสียเขามามีสวนรวม<br />

คําถามทายบท<br />

1. อธิบายวิธีการติดตั้งระบบสารสนเทศทั้ง 3 วิธี<br />

2. จงเปรียบเทียบขอดี-ขอเสียของวิธีการติดตั้งทั้ง 3 วิธี<br />

3. เพราะเหตุใดองคการจึงยุติโครงการกอนกําหนด<br />

4. เพราะเหตุใดจึงเกิดโครงการแบบชั่วกัลปาวสาน<br />

5. เพราะเหตุใดการไดการยอมรับโครงการจากผูสนับสนุนจึงสําคัญตอการปดโครงการ<br />

6. ผูสนับสนุนแบบมุมมองแคบกับแบบมีความรูมีความแตกตางกันอยางไร และเกี่ยวของกับ<br />

การปดโครงการอยางไร<br />

7. วัตถุประสงคของรายงานขั้นสุดทายของโครงการคืออะไร<br />

8. อธิบายวิธีการประเมินทั้ง 4 ประเภท พรอมกับประโยชน<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-1<br />

13.1 บทนํา<br />

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศไดถูกวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงองคการ โครงการ<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบตอองคการ ขณะเดียวกันองคการกระทบตอโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศเชนเดียวกัน องคการประกอบดวยคน ดังนั้น การดําเนินการติดตั้งระบบสารสนเทศสามารถ<br />

เปลี่ยนวิธีการทํางานของคน กระทบตอวิธีการใชขอมูลรวมกัน และเปลี่ยนความสัมพันธของคนใน<br />

องคการ การจัดการกับประเด็นทางดานมนุษยจึงเปนงานที่คนทางดานเทคนิคสวนใหญไมสนุกดวย มัน<br />

เปนธรรมชาติของมนุษยที ่จะเนนในสิ่งที่พวกเขาสามารถทําสําเร็จดวยความขัดแยงนอยที่สุด หรือในสิ่ง<br />

ที่พวกเคาสามารถควบคุมได<br />

การดําเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศเปนสิ่งที่ทาทาย ระบบจะถูกยายจากสภาวะแวดลอม<br />

แบบพัฒนาไปสูสภาวะแวดลอมแบบการใชปฏิบัติงาน และถูกทดสอบกอนนําไปใชงานจริง คนใน<br />

องคการตองไดรับการเตรียมพรอมสําหรับผลกระทบที่ระบบใหมจะมีตอพวกเขา ผูจัดการโครงการและ<br />

คนทางดานเทคนิคเชื่อวาผูใชในองคการจะรับระบบงานใหมดวยความดีใจ ถาระบบนั้นทํางานได<br />

เหมาะสม คนดานเทคนิคและผูจัดการโครงการจึงประมาณการผลกระทบนี้ต่ํา องคการในปจจุบันไม<br />

สามารถรับการบริหารการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่ผิดพลาดได ความกดดันจากการแขงขันไมเปดโอกาส<br />

ใหองคการทําอะไรผิดพลาดได ดังนั้น ในขณะที่การบริหารการพัฒนาโครงการเปนสิ่งสําคัญ เรายังตอง<br />

ใหแนใจวาการผองถายระบบงานประสบความสําเร็จ และเปนที่ยอมรับขององคการดวยผลกระทบนอย<br />

ที่สุด ความรูทางดานการบริหารการเปลี่ยนแปลงจะชวยใหการติดตั้งระบบสารสนเทศใหมราบรื่น<br />

การทเนอรกรุปไดนิยามการบริหารการเปลี่ยนแปลงวาเปนการปรับเปลี่ยนองคการเพื่อให<br />

องคการสอดคลองกับยุทธศาสตรทางธุรกิจที่บริษัทไดเลือก การบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงเปนการ<br />

บริหารประเด็นทางดานมนุษย<br />

เนื้อหาในบทนี้จะเนนที่การเปลี่ยนแปลงอาจมองเปนกระบวนการไดอยางไร ประเด็นทาง<br />

อารมณที่โดยปกติเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลง กรอบงานสําหรับการพัฒนาแผนการบริหารการ<br />

เปลี่ยนแปลง และเทคนิคหลายอยางสําหรับการจัดการการตอตานและความขัดแยง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-2<br />

13.2 ธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง<br />

เพื่อใหการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงองคการมีประสิทธิผล เราจึงจําเปนตองเขาใจ<br />

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงถูกมองวาเปนกระบวนการอยางไร และรูปแบบ<br />

พฤติกรรมเชิงอารมณของการเปลี่ยนแปลง<br />

13.2.1 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง<br />

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงถูกมองวาเปนผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ<br />

ไมวาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจะเปนอยางไร ปริมาณของความเครียดที่มากับการเปลี่ยนแปลง<br />

แตละเรื่องมีปริมาณหนึ่งเทานั้น โดยปกติ คนแตละคนตองจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย<br />

และตองคอยๆ รับการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การรับการเปลี่ยนแปลง (assimilation) คือ<br />

กระบวนการของการปรับตัวเขากับการเปลี่ยนแปลง และกําหนดความสามารถของเราในการจัดการการ<br />

เปลี่ยนแปลงทั้งในปจจุบันและในอนาคต การเปลี่ยนแปลงทําใหเกิดความเครียดและความกังวลสูงใน<br />

ชวงแรก แตเมื่อเวลาผานไประดับความเครียดและความกังวลจะไมใชระดับเดิม การเปลี่ยนแปลงตองใช<br />

เวลาในการรับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงที่ใหญไมวาจะเปนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกหรือเชิงลบ<br />

ตองการเวลามากกวาการเปลี่ยนแปลงเล็กนอย แตเมื่อการเปลี่ยนแปลงไดรับการยอมรับ การ<br />

เปลี่ยนแปลงนั้นจะไมสรางความเครียดและความกังวลอีกตอไป<br />

รูปที่ 13.1 การรับการเปลี่ยนแปลง (Marchewka, 2006)<br />

ปญหาเกิดขึ้นก็ตอเมื่อคนในองคการไมสามารถรับการเปลี่ยนแปลงไดเร็ว<br />

เพียงพอเนื่องจากผลกระทบมีการสะสม และความเร็วในการเปลี่ยนแปลงสามารถทําไดระดับหนึ่ง<br />

เทานั้น คนแตละคนมีความเร็วในการเปลี่ยนแปลงในระดับที่แตกตางกัน ความสามารถที่แตกตางกันนี้<br />

ทําใหเราตองมีความยืดหยุนในการจัดการการเปลี่ยนแปลง รูปที่ 13.1 แสดงผลกระทบสะสมของการรับ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-3<br />

การเปลี่ยนแปลงตามเวลา แทงกราฟแตละแทงแสดงปริมาณการรับการเปลี่ยนแปลงที่ตองการตาม<br />

เวลาที่เปลี่ยนไป ในชวงแรกของการเปลี่ยนแปลง ปริมาณการยอมรับที่ตองการมีปริมาณที่ต่ํา เมื่อเวลา<br />

ผานไป ปริมาณการยอมรับการเปลี่ยนแปลงมีปริมาณสะสมมากขึ้น แตเนื่องจาก คนแตละคนมีระดับ<br />

การรับการเปลี่ยนแปลงสูงสุดระดับหนึ่ง เมื่อคนๆ นั้นผานระดับนี้ไปแลว คนนั้นจะแสดงความเครียด<br />

และพฤติกรรมที่ผิดปกติ ดังนั้น ผูจัดการโครงการตองบริหารการรับการเปลี่ยนแปลงใหเกิดขึ้นภายใต<br />

เสนระดับสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงที่รับได เพื่อรักษาระดับการรับการเปลี่ยนแปลง คนแตละคนอาจใช<br />

กลยุทธหลายอยาง เชน การออกกําลังกายมากกวาปกติ หรือการเลื่อนการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่สําคัญซึ่ง<br />

จะทําใหการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในปจจุบันมีประสิทธิผลมากขึ้น<br />

การเปลี่ยนแปลงที่เสนอโดยองคการจะกระทบตอวิธีการทํางาน และความ<br />

สัมพันธของคนในองคการ ถึงแมวาการเปลี่ยนแปลงเชิงองคการจะถูกซึมซับโดยคนแตละคน แต<br />

องคการเองตองรับการเปลี่ยนแปลงเชนเดียวกับที่คนในองคการตองทํา ไมเชนนั้นองคการจะแสดง<br />

พฤติกรรมการทํางานที่ไมถูกตองเหมือนกัน เชน องคการอาจไมสามารถใชประโยชนของโอกาสใหม<br />

หรือแกปญหาปจจุบัน ในที่สุด ความไมสามารถซึมซับการเปลี่ยนแปลงขององคการจะสะทอนใหเห็นถึง<br />

ความสามารถในการทํากําไร เชนเดียวกัน ถาคนที่ไมสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงและ<br />

ความเครียดได ในระยะยาวจะเกิดคําถามวาคนเหลานี้จะสามารถคงอยูในองคการไดอยางไร<br />

รูปที่ 13.2 ตัวแบบพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงของเลวิน (Stair, et.al, 2003)<br />

13.2.2 การเปลี่ยนแปลงเปนกระบวนการ<br />

ตัวแบบที่ใหความเขาใจถึงการเปลี่ยนแปลงคือ ตัวแบบของเคริท เลวิน (Kurt<br />

Lewin) ที่ไดเสนอทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวของกับแรง (forces) แรงที่อํานวยความสะดวกกับการ<br />

เปลี่ยนแปลงถูกมองวาเปนแรงขับเคลื่อน (driving forces) ขณะที่แรงที่แสดงตัววาเปนแรงกีดขวางการ<br />

เปลี่ยนแปลงเรียกวาแรงตอตาน (resisting forces) ตัวแบบพื้นฐานของเลวินมี 3 ขั้นตอนดังรูปที่ 13.2<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-4<br />

ซึ่งประกอบดวย การละลาย (unfreezing) การเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ (changing or moving)<br />

และ การทําใหคงสภาพใหม (refreezing)<br />

• การละลาย เปนการละลายพฤติกรรมปจจุบัน โดยการสรางแรงจูงใจ เพื่อให<br />

พนักงานมีความพรอมในการเปลี่ยนแปลง องคการตองทําใหบุคคลรูสึกมี<br />

ความมั่นใจ โดยหลีกเลี่ยงการคุกคามและใชวิธีการกระตุนทางบวก เชน<br />

อธิบายถึงขอดี-ขอเสีย ประโยชนที่จะไดรับจากการเปลี่ยนแปลงทั้งของตนเอง<br />

และขององคการ พาไปดูงานในหนวยงานหรือองคการที่มีโครงการเหมือนกับ<br />

โครงการที่เรากําลังจะดําเนินการ เปนตน<br />

• การเปลี่ยนแปลง เปนขั้นตอนการเรียนรูพฤติกรรมใหมตามที่องคการปรารถนา<br />

โดยผานวิธีการตางๆ เชน การสอน การฝกอบรม การสาธิต และการวิจัย เปน<br />

ตน<br />

• การทําใหคงสภาพใหม เปนขั้นตอนที่พฤติกรรมที่เรียนรูใหมอยูตัว องคการจึง<br />

ตองมีการเสริมแรงเพื่อใหพฤติกรรมใหมนั้นเกิดขึ้นถาวรในองคการ โดยการ<br />

กําหนดมาตรฐานตางๆ และแรงจูงใจใหบุคคลปฏิบัติอยางตอเนื่อง<br />

รูปที่ 13.3 กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Marchewka, 2006)<br />

รูปที่ 13.3 แสดงใหเห็นถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอธิบายไดดังนี้ สถานภาพ<br />

ปจจุบันคือ สถานภาพที่สมดุล เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสถานภาพปจจุบันจึงตองมีแรงขับเคลื่อนทั้งที่<br />

เปนแรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงและแรงชักจูงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปนแรงที่ตองการสําหรับการละลายหรือ<br />

การสลายนิสัย มุมมองและเสถียรภาพของสภาวะปจจุบัน ในชวงของการเปลี่ยนถายจากสภาวะปจจุบัน<br />

ไปยังสภาวะที่ตองการบางทีเรียกวาสภาวะที่เปนกลาง (neutral zone) และสําหรับหลายคนแลวสภาวะ<br />

แบบนี้เปนสภาวะที่อยูในนรกทั้งเปน หรืออารมณโกรธ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-5<br />

องคการที่มีผูสนับสนุนแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอาจเรงรีบใหแตละคนผาน<br />

ชวงการเปลี่ยนถายนี้ การเรงรีบนี้มีผลใหเกิดความสับสน และแรงตอตานมีแนวโนมที่จะผลักใหแตละ<br />

คนกลับไปยังสภาวะปจจุบัน คนไมชอบถูกจับใหอยูในสภาวะที่เปนกลาง และจะยอนกลับไปยังสภาพ<br />

เดิม หรือหลบหนี การหลบหนีอาจหมายถึงการละทิ้งองคการหรือการตอตานการริเริ่มเปลี่ยนแปลง<br />

นอกจากนี้ คนที่พบวาตัวเองอยูในสภาวะที่เปนกลางนานเกินไปอาจพยายามสรางความประนีประนอม<br />

ใหมีการเปลี่ยนแปลงเพียงแคบางสวน การประนีประนอมจะมีผลใหพลาดโอกาสในการเปลี่ยนแปลง<br />

ความจริงแลวคนไมไดตองการตอตานการเปลี่ยนแปลง แตคนตอตานความ<br />

สูญเสีย และการสิ้นสุด การละลายหรือการเปลี่ยนแปลงจากสถานภาพปจจุบันหมายถึงการปลอยบาง<br />

สิ่งบางอยางไป ดังนั้น ตัวแบบของเลวินแนะวาการเริ่มตนการเปลี่ยนแปลงใหเริ่มดวยการสิ้นสุดของ<br />

สภาวะปจจุบัน การเคลื่อนผานสภาวะที่เปนกลางหมายถึงความสูญเสียสภาวะสมดุลจนกระทั่งแตละ<br />

คนหรือองคการเคลื่อนไปยังสภาวะที่ตองการ สิ่งที่สําคัญ พฤติกรรม มุมมองและความเขาใจตองถูกทํา<br />

ใหคงสภาพใหม ดังนั้น สภาวะที่ตองการกลายเปนสถานภาพใหม<br />

13.2.3 การเปลี่ยนแปลงเปนความรูสึกทางอารมณ<br />

การเปลี่ยนแปลงสามารถนํามาซึ่งการโตตอบเชิงอารมณ ถาการเปลี่ยนแปลง<br />

เปนการสูญเสียที่มีความสําคัญตอคนที่ตองรับการเปลี่ยนแปลง การโตตอบนี้มี 5 ระยะคือ<br />

• การปฏิเสธ (denial) ระยะแรกนี้เปนระยะของการตกใจและปฏิเสธ ซึ่งเปน<br />

การโตตอบเมื่อคนไดรับแจงการเปลี่ยนแปลงเปนครั้งแรกและมีผลกระทบ<br />

ตอคนนั้นอยางมีนัยสําคัญ ความไมเชื่อในการเปลี่ยนแปลงที่ไดรับอาจ<br />

กลายเปนกลไกปองกันทันที<br />

• ความโกรธ (anger) เมื่อคนตกใจกับการประกาศการเปลี่ยนแปลงแลว คน<br />

ที่ตองเปลี่ยนแปลงจะโกรธผูอื่น แมแตคนสงขาว การโตตอบของพวกเขาคือ<br />

การโทษใครก็ไดที่รับผิดชอบในการสรางการเปลี่ยนแปลง ถึงแมวาความ<br />

โกรธคือการตอบโตเชิงอารมณ แตความโกรธสามารถแสดงออกไดเมื่อไดรับ<br />

อนุญาตใหระบายอารมณ ผูที่มีความรูสึกโกรธจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง<br />

แตผูที่แสดงความโกรธจะไมยอมรับ<br />

• การตอรอง (bargaining) ในระยะที่ 3 คนจะไมโกรธอีกตอไป ในความจริง<br />

คนอาจใหความรวมมือและพยายามทําขอตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงการ<br />

เปลี่ยนแปลง เชน คนที่เสียงานอาจเริ่มสัญญาวาจะทํางานใหมี<br />

ประสิทธิภาพเพิ่มเปนสองเทา หรือยอมใหลดคาจาง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-6<br />

• ความเศราหมอง (depression) เมื่อคนยอมรับวาการเปลี่ยนแปลงเปนเรื่อง<br />

ที่หลีกเลี่ยงไมได พวกเขาอาจเขาใจผลกระทบทั้งหมดของการเปลี่ยนแปลง<br />

และอาจเขาสูระยะที่ 4 คือ ความเศราหมอง ระยะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีความรูสึก<br />

อยางรุนแรงจากการสูญเสียสถานภาพปจจุบัน ถึงแมวาการสูญเสียงานทํา<br />

ใหสูญเสียรายได แตคนสวนใหญรูสึกเศราหมองเพราะพวกเขาสูญเสีย<br />

ชื่อเสียงที่เกี่ยวกับงาน เนื่องจากถูกเปลี่ยนตําแหนง<br />

• การยอมรับ (acceptance) ระยะนี้เปนการทํางานกับความตั้งใจของคนที่<br />

ยอมรับวาการเปลี่ยนแปลงเปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมไดและตองจัดการกับมัน<br />

การยอมรับเปนสวนที่สําคัญของการยุติสภาวะปจจุบัน และเปนการได<br />

สภาวะใหม<br />

การตอบโตทางอารมณเหลานี้สามารถชวยใหเราเขาใจวา ทําไมเมื่อคนเผชิญ<br />

กับการเปลี่ยนแปลงเชิงองคการถึงแสดงการกระทําตอบกลับมาในลักษณะที่เขาทํา เนื่องจากอารมณ<br />

เหลานี้ทําใหคนอาจถูกดึงออกจากองคการ และผลผลิตขององคการจะเสียหาย ผูบริหารและทีมงาน<br />

โครงการควรรูและมีเวลาเตรียมการสําหรับการเปลี่ยนแปลงที่กําลังเกิดขึ้น แทนที่จะพยายามระงับคนที่<br />

ลาหลังและอารมณของพวกเขา ผูนําการเปลี่ยนแปลงควรยอมรับเหตุการณเหลานี้ใหเปนเหตุการณ<br />

ปกติของกระบวนการเปลี่ยนแปลงและกลาวถึงในแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

รูปที่ 13.4 แผนบริหารการเปลี่ยนแปลง (Marchewka, 2006)<br />

13.3 การวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

สิ่งสําคัญของการเปลี่ยนแปลงเชิงองคการใดๆ คือ การวางแผนสําหรับการเปลี่ยนแปลงและ<br />

การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนถายที่เกี่ยวของอยางมีประสิทธิผล แผนการบริหารการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-7<br />

เปลี่ยนแปลงที่กลาวถึงดานมนุษยจะสื่อใหคนทั้งองคการทราบวาผูบริหารดูแลคนในองคการ พรอมที่จะ<br />

ฟงและนําเอาความตองการของพวกเขาไปพิจารณาอยางจริงจัง ผูสนับสนุนโครงการและทีมงานควร<br />

กลาวถึงประเด็นที่สําคัญและใหชัดเจน ประเด็นสําคัญไดสรุปในรูปที่ 13.4<br />

13.3.1 การประเมินความตั้งใจ ความพรอม และความสามารถในการเปลี่ยนแปลง<br />

ขั้นตอนแรกของการพัฒนาแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงคือ การประเมิน<br />

ความตั้งใจ ความพรอม และความสามารถในการเปลี่ยนแปลงขององคการ การประเมินนี้นํามาซึ่งการ<br />

กําหนดผูมีสวนไดเสียคนใดที่เกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลง บทบาท และปฏิกิริยาที่แสดงตอกัน ผูมีสวน<br />

ไดเสียที่เกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงประกอบดวย ผูสนับสนุนโครงการ (sponsor) ผูทําการ<br />

เปลี่ยนแปลง (change agent) และเปาหมายการเปลี่ยนแปลง (target)<br />

ผูสนับสนุนโครงการ<br />

ผูสนับสนุนโครงการสามารถเปนบุคคลหรือกลุมบุคคลที่มีความเต็มใจ<br />

และมีอํานาจบังคับบัญชาและจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนโครงการ ผูสนับสนุนนี้เปนผูสนับสนุนที่<br />

ริเริ่มโครงการ ซึ่งอาจสงโครงการตอใหผูสนับสนุนที่ยั่งยืนของโครงการ (sustaining sponsor) ถา<br />

ปราศจากผูสนับสนุนที่ยั่งยืนของโครงการ ในที่สุดโครงการอาจจะเสียทิศทางได ดังนั้น ผูสนับสนุนที่<br />

ยั่งยืนตองกลายเปนผูสนับสนุนหลักของโครงการ ความตั้งใจและความสามารถขององคการที่จะ<br />

สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสามารถพิจารณาไดจากคํามั่นของผูสนับสนุนที่ใหตอโครงการ คํามั่นนี้เปน<br />

การสื่อสารระหวางผูสนับสนุนโครงการกับคนในองคการวา ผูสนับสนุนโครงการจะจัดการความทาทาย<br />

และประเด็นตางๆ อยางไร และจะสนับสนุนทรัพยากรที่มีใหใชอยางไร ผูสนับสนุนโครงการตองเปนผูนํา<br />

ที่มีประสิทธิผล เพราะถาโครงการลมเหลวอันเนื่องมาจากองคการไมสามารถปรับเขากับการ<br />

เปลี่ยนแปลง คุณคาของโครงการตอองคการ และความเชื่อถือของผูสนับสนุนจะสูญเสียไป<br />

ผูทําการเปลี่ยนแปลง<br />

ผูทําการเปลี่ยนแปลงคือ ผูจัดการโครงการและทีมงาน อยางไรก็ตาม คน<br />

จากสวนอื่นทั้งภายในภายนอกองคการอาจเขามามีสวนเกี่ยวของไดดวย ผูทําการเปลี่ยนแปลงมีหนาที่<br />

ทําใหการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพื่อบรรลุเปาหมายและวัตถุประสงคของโครงการ ผูทําการเปลี่ยนแปลง<br />

รายงานโดยตรงตอผูสนับสนุนโครงการ และตองสามารถวินิจฉัยปญหา วางแผนเพื่อจัดการกับปญหา<br />

และความทาทายไดอยางมีประสิทธิผล นอกจากนี้ยังตองทําตัวเปนชองทางของการสื่อสารระหวาง<br />

ผูสนับสนุนกับเปาหมายของการเปลี่ยนแปลง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-8<br />

เปาหมายของการเปลี่ยนแปลง<br />

เปาหมายของการเปลี่ยนแปลงอาจเปนบุคคลหรือกลุมบุคคลที่ตอง<br />

เปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปคือ ผูใชของระบบใหม หรือใครที่เกี่ยวของโดยตรงกับผลผลิตสุดทายของ<br />

โครงการ หรือคนที่มีบทบาทสําคัญในความสําเร็จของโครงการ ถึงแมวาผูสนับสนุนโครงการและผูทํา<br />

การเปลี่ยนแปลงมีบทบาทที่สําคัญในการสนับสนุนและทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลง แตความตั้งใจ ความ<br />

พรอมและความสามารถของเปาหมายของการเปลี่ยนแปลงเปนเรื่องที่สําคัญ สิ่งเหลานี้จะเกิดไดตอง<br />

อาศัย 1) การทําใหผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงมีความชัดเจน 2) ความเขาใจการเปลี่ยนแปลงทาง<br />

กวาง 3) การกําหนดวาอะไรที่ยกเลิกอะไรที่ยังคงอยู และ 4) การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑการพิจารณา<br />

ความสําเร็จของงาน<br />

ดังที่ไดกลาวมาแลววา การเปลี่ยนแปลงนํามาซึ่งการสิ้นสุดและการสูญเสีย<br />

ควบคุม ผูจัดการโครงการและทีมงานควรใชเวลาเพื่อคิดวาอะไรคือความสูญเสียของแตละคนหรือของ<br />

แตละกลุม เชน อํานาจ ความสัมพันธกับคนอื่น เสถียรภาพ หรือแมแตการควบคุม จากนั้น ผูจัดการ<br />

โครงการและทีมงานจะไดจัดการเปาหมายการเปลี่ยนแปลงแตละคนไดเหมาะสม<br />

รูปที่ 13.5 ตัวแบบของลีวิทท (Marchewka, 2006)<br />

การเปลี่ยนแปลงในองคการสามารถกระทบสิ่งตางๆ ดวยวิธีการที่แตกตางกัน<br />

ตัวแบบของลีวิททดังรูปที่ 13.5 แสดงใหเห็นวาการเปลี่ยนแปลงในคน เทคโนโลยี งาน หรือโครงสรางเชิง<br />

องคการ มีอิทธิพลหรือกระทบซึ่งกันและกัน สวนประกอบทั้งสี่สวนมีความสัมพันธกัน การเปลี่ยนแปลง<br />

ในสวนหนึ่งสามารถมีผลในการเปลี่ยนแปลงสวนอื่น เชน การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีขององคการ<br />

(เชน การติดตั้งระบบสารสนเทศใหม) สามารถกระทบคนในองคการ (เชน บทบาทใหม ความ<br />

รับผิดชอบ) พรอมทั้งงานที่แตละคนทํา และสามารถกระทบโครงสรางขององคการ (เชน โครงสรางแบบ<br />

ทางการ หรือแบบไมเปนทางการ)<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-9<br />

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ไดวางแผนทําใหคนมีอารมณหลายรูปแบบ เริ่มแรก<br />

คนจะตกใจ โกรธ และปฏิเสธ ตอมาพวกเขาพยายามตอรองที่จะรักษาสภาวะปจจุบัน ณ เวลานี้ การ<br />

ประนีประนอม หรือการเอาใจอาจดูเหมือนเปนทางเลือกที่ดีสําหรับการหลีกเลี่ยงการตอตานและความ<br />

ขัดแยง แตโชคไมดีที่กลยุทธนี้กลับเปนกลยุทธที่บอนทําลายประสิทธิผลของการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง<br />

ดังนั้น มันจึงเปนสิ่งสําคัญที่ผูจัดการโครงการและทีมงานตองกําหนดขอบเขตที่ยอมใหการเปลี่ยนแปลง<br />

เกิดขึ้นตามที่ไดวางแผน โดยที่ยังคงยินยอมใหแตละคนไดบางอยางที่เขาคุนเคยยึดถือไป เพื่อใหงายแก<br />

การเปลี่ยนแปลง<br />

คนจะสับสนเมื่อหลักเกณฑสําหรับวัดความสําเร็จไมชัดเจน เชน ถาทานทํางาน<br />

ในองคการหนึ่งเปนเวลาหลายป ตลอดเวลาที่ผานมาทานไดเขาใจการบริหารงานขององคการและทาน<br />

ไดกลายเปนสวนหนึ่งของวัฒนธรรมองคการ จากประสบการณหลายปที่ผานมา ทานรูวาองคการเลื่อน<br />

ตําแหนงโดยพิจารณาจากอาวุโสของการทํางาน เมื่อองคการตัดสินใจที่จะลดขนาดขององคการ<br />

เนื่องจากการติดตั้งระบบงานใหม องคการใหพนักงานออกจากงานโดยพิจารณาจากความอาวุโสของ<br />

ทํางานของพนักงานแตละคน ถาใครทํางานไมนานจะถูกใหออกจากงานแตผูทํางานระดับสูงองคการ<br />

ยังคงใหทํางานอยู หลักเกณฑเชนนี้ยอมทําใหพนักงานไมพอใจ ดังนั้น หลักเกณฑของความสําเร็จควร<br />

เปลี่ยน<br />

13.3.2 การพัฒนาหรือการรับกลยุทธสําหรับการเปลี่ยนแปลง<br />

วิธีการในการบริหารการเปลี่ยนแปลงมี 4 วิธีคือ วิธีเชิงประจักษดวยเหตุผล<br />

(rational-empirical approach) วิธีใหการศึกษา-มาตรฐานใหม (normative-reeducation approach)<br />

วิธีบีบบังคับดวยอํานาจ (power-coercive approach) วิธีปรับตัวตามสภาพแวดลอม (environmentaladaptive<br />

approach) รายละเอียดของแตละวิธีมีดังนี้<br />

วิธีเชิงประจักษดวยเหตุผล<br />

วิธีการนี้ใชในการบริหารการเปลี่ยนแปลงตามความคิดที่วาคนทําตาม<br />

รูปแบบของพฤติกรรมที่สามารถคาดการณได และคนจะทําตามความสนใจของตนเอง ดังนั้น ผูทําการ<br />

เปลี่ยนแปลงตองชักจูง ทําใหเชื่อ อธิบาย และแสดงใหเห็นวาการเปลี่ยนแปลงจะใหประโยชนกับคนหรือ<br />

กลุมคนที่เปนเปาหมายการเปลี่ยนแปลงอยางไร<br />

คนที่ไดรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงควรไดรับสารสนเทศที่ทันสมัย<br />

และสอดคลองกัน สารสนเทศที่สอดคลองกันหมายถึงทีมงานและผูสนับสนุนโครงการสงขอความ<br />

เดียวกันไปยังแตละคนหรือกลุมคนทั ้งองคการ ขอความที่มีการผสมหลายๆ เรื่องสามารถนํามาซึ่งความ<br />

สับสน สงสัย ความนาเชื่อถือลดลง และถูกนํามาใชเปนขออางเพื่อถวงเวลา<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-10<br />

ถาคนไมไดรับสารสนเทศเพียงพอ พวกเขาพยายามคนหาสารสนเทศจาก<br />

แหลงอื่นที่ไดขอมูลจาก ความคิดเห็น การพูดเสียดสี และสารสนเทศที่ไมถูกตอง สารสนเทศเหลานี้จะ<br />

กลายเปนการซุบซิบนินทาที่กระจายผานองคการที่ไมเปนทางการ ซึ่งทําใหระดับความเครียดของคนใน<br />

องคการขึ้นสูงจนกระทั่งถึงจุดที่องคการทํางานผิดปกติ ดังนั้น การซื่อสัตยและการใหสารสนเทศกับคน<br />

ในองคการใหเหมือนกันจะดีกวา การใหสารสนเทศกับบุคคลอยางเพียงพอลวงหนาจะทําใหพวกเขา<br />

สามารถเตรียมการสําหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น<br />

แผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ใชวิธีการนี้ควรใหแตละคนรู<br />

วัตถุประสงค ภาพรวม และบทบาท ซึ่งจะชวยใหคนที่ตองรับการเปลี่ยนแปลงสามารถคาดการณสิ่งที่จะ<br />

เกิดขึ้นในอนาคตได โดยที่วัตถุประสงคคือ เหตุผลที่ตองเปลี่ยนแปลง คนในองคการสวนใหญมีมุมมอง<br />

ของงานและความสัมพันธสวนอื่นในองคการที่แคบ การใหคนในองคการมีโอกาสไดเห็นถึงปญหาหรือ<br />

โอกาสกอนจะชวยใหคนในองคการไดเขาใจในความจําเปนที่ตองมีการเปลี่ยนแปลง การใหภาพรวมคือ<br />

การใหวิสัยทัศนวาองคการจะมีสภาพหรือทํางานงานอยางไรในอนาคต สวนบทบาทคือ หนาที่ของแตละ<br />

คนเมื่อการเปลี่ยนแปลงไดดําเนินการแลว<br />

วิธีใหการศึกษา-มาตรฐานใหม<br />

วิธีการนี้มีมุมมองพื้นฐานวาพฤติกรรมของคนสามารถเปลี่ยนไดโดยการ<br />

เปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางสังคมของกลุม แทนที่องคการจะพยายามเปลี่ยนแตละคน องคการควรมา<br />

มุงเนนที่คานิยมที่เปนแกน (core value) ความเชื่อ และความสัมพันธที่ทําใหเกิดวัฒนธรรมกลุม<br />

วิธีการนี้เปนวิธีการที่ยากและใชเวลานานเพราะผูสนับสนุนโครงการและ<br />

ผูทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงตองศึกษาคานิยมที่มีอยู และความเชื่อของกลุม วิธีการนี ้ตองใชการละลาย<br />

หรือการสลายบรรทัดฐานปจจุบัน แลวการเปลี่ยนแปลงจึงสามารถเขาไปแทนที่ได และทําใหบรรทัดฐาน<br />

ชุดใหมคงอยู<br />

วิธีบีบบังคับดวยอํานาจ<br />

วิธีการนี้เปนวิธีที่พยายามใหคนในองคการเปลี่ยนแปลงโดยการใช<br />

อํานาจ (power) อํานาจตามกฎหมาย (authority) รางวัล หรือการขู การลงโทษ ผูจัดการโครงการหลาย<br />

คนถูกลอใหใชวิธีการนี้ แตเปนวิธีการที่มีความเสี่ยงถาใชวิธีการนี้ผิดสถานการณ คนอาจยินยอมในตอน<br />

แรกๆ จนกระทั่งพวกเขาสามารถหางานใหมได หรือคนอาจมองวาการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเปนการ<br />

เปลี่ยนแปลงชั่วคราว เพียงแตคอยเวลา จากนั้นทุกอยางจะกลับไปสูสถานภาพเดิม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-11<br />

มีบางสถานการณที่การใชวิธีแบบบีบบังคับดวยอํานาจเหมาะสมและมี<br />

ประสิทธิผล เชน ในสถานการณที่องคการตองไดรับความใสใจทันทีทันใด การเสียเวลาที่พยายามใหทุก<br />

คนยอมรับอาจทําใหองคการประสบความหายนะ การใหรางวัลและการขูอาจเปนวิธีการที่สมเหตุสมผล<br />

วิธีปรับตัวตามสภาพแวดลอม<br />

การใชวิธีการนี้เปนการที่ผูทําการเปลี่ยนแปลงพยายามทําใหการ<br />

เปลี่ยนแปลงเกิดถาวร โดยการลบลางวิธีการเกาและจัดการใหมีสภาพแวดลอมใหมใหเร็วที่สุดเทาที่จะ<br />

เร็วได เชน การเปลี่ยนซอฟตแวรประมวลผลคําชวงวันหยุดสุดสัปดาห ดังนั้น เมื่อทุกคนเปดเครื่องในวัน<br />

จันทร พวกเขาไมมีทางเลือก ตองใชซอฟตแวรตัวใหม เปาหมายการเปลี่ยนแปลงควรรับการ<br />

เปลี่ยนแปลงใหเร็วที่สุดเทาที่จะเร็วได<br />

13.3.3 การดําเนินตามแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงและการติดตาม<br />

ความกาวหนา<br />

เมื่อผูจัดการโครงการและทีมงานไดกําหนดผูเกี่ยวของและกลยุทธแลว ขั้นตอน<br />

ตอไปคือ การทําใหแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และติดตามความกาวหนาของแผน หลักไมล<br />

และเหตุการณที่สําคัญควรกําหนดในแผนเพื่อจะไดทราบวาองคการกําลังปรับเขากับการเปลี่ยนแปลง<br />

ไดดีเพียงไร<br />

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่สําคัญที่สุดอีกประเด็นคือ การสรางเสนทางการสื่อสาร<br />

ที่มีประสิทธิผล เพื่อใหแนใจวาการเปลี่ยนแปลงไดดําเนินการตามแผนที่วางไว การเลือกสื่อสําหรับการ<br />

สื่อสารเปนเรื่องที่สําคัญอีกเรื่องหนึ่ง ดังที่ไดกลาวในบทกอนหนานี้ การสื่อสารควรเปนการสื่อสารสอง<br />

ทาง ทีมงานโครงการและผูสนับสนุนตองสื่อสารอยางมีประสิทธิผลกับกลุมตางๆ ภายในองคการ<br />

13.3.4 การประเมินประสบการณและการพัฒนาบทเรียนที่ไดเรียนรู<br />

ประสบการณของทีมงานในการดําเนินการตามแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

ควรมีการบันทึกและใหสมาชิกในทีมหรือโครงการอื่นไดใชประโยชน เมื่อจบโครงการ ความสําเร็จของ<br />

แผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงควรมีการประเมิน ซึ่งอาจชวยกําหนดประสิทธิผลของผูเกี่ยวของกับการ<br />

ดําเนินการเปลี่ยนแปลงและกลยุทธการบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-12<br />

13.4 การจัดการกับความขัดแยงและการตอตาน<br />

13.4.1 การตอตาน<br />

ทีมงานควรคาดการณการตอตานลวงหนา การตอตานมีทั้งเปดเผย (เชน บันทึก<br />

ความจํา การประชุม) หรือปกปด (เชน แกลงทําลาย เทาราน้ํา การเมือง) เมื่อไรก็ตามที่มีการ<br />

ประนีประนอมการเปลี่ยนแปลง ผูจัดการโครงการและทีมงานจะเสียเครดิต การตอตานเกิดขึ้นดวย<br />

เหตุผลหลายอยาง เชน บางคนอาจตอตานระบบสารสนเทศเพราะเวลาตอบกลับชามาก หรือเพราะ<br />

ระบบไมมีลักษณะหรือฟงกชันที่ไดกําหนดไวในรายละเอียดความตองการ นอกจากนี้ การตอตานเกิดขึ้น<br />

เนื่องจากเหตุผลเชิงวัฒนธรรมหรือเชิงพฤติกรรม ซึ่งไมมีความเปนเหตุเปนผล คนอาจตอตานการ<br />

เปลี่ยนแปลงถึงแมวาพวกเขาจะเขาใจวาการเปลี่ยนแปลงจะใหประโยชนก็ตาม เหตุผลที่ตอตาน เชน<br />

• การเปลี่ยนแปลงตองใชเวลาและแรงงานมากกวาการลงทุน<br />

• การเปลี่ยนแปลงหมายถึงการยกเลิกบางอยางที่คุนเคย สะดวกสบาย<br />

• การเปลี่ยนแปลงเปนการรบกวนถึงแมวาจะใหประโยชนในระยะยาว<br />

• การเปลี่ยนแปลงเปนการบังคับ และทนไมไดที่จะถูกสั่งใหทํา<br />

ขั้นตอนแรกของการจัดการกับการตอตานคือ ทําความเขาใจวาอะไรคือสิ่งที่คน<br />

แตละคนหรือกลุมตองสูญเสีย ตอมาผูสนับสนุนโครงการและทีมงานควรฟงวาคนในองคการพูดวา<br />

อยางไร แทนที่จะโตเถียงหรือพยายามใหเหตุผล ทางที่ดียอมใหคนระบายความโกรธและความผิดหวัง<br />

ของเขา การเขาใจความรูสึก เห็นใจ ไมไดหมายความวาเห็นดวยกับสิ่งที่คนระบายออกมา จากนั้น<br />

ทีมงานกําหนดขอบเขตวาอะไรที่ตองเปลี่ยนแปลงและอะไรที่ไมตองเปลี่ยน การทําเชนนี้สามารถชวยลด<br />

สถานการณความเครียด<br />

13.4.2 ความขัดแยง<br />

ความขัดแยงมีความเกี่ยวของกับการตอตาน ความขัดแยงเกิดขึ้นเมื่อคนรูวา<br />

ความสนใจหรือคุณคาของเขาถูกทาทาย การบริหารความขัดแยงเนนที่การปองกัน การจัดการ หรือการ<br />

แกไขความขัดแยง ดังนั้น การระบุความขัดแยงที่เปนไปไดแตเนิ่นๆ จึงเปนเรื่องสําคัญ ถึงแมความ<br />

ขัดแยงที่เปนบวกชวยสรางความคิดใหมๆ แตความขัดแยงที่เปนลบที่ไมไดแกไขสามารถทําให<br />

ความสัมพันธเสียหาย ความไมเชื่อใจ ความเครียด พฤติกรรมที่ผิดปกติ ประสิทธิภาพการทํางานต่ํา<br />

ทัศนะของความขัดแยงมี 3 ทัศนะคือ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-13<br />

• ทัศนะแบบดั้งเดิม (traditional view) เปนการมองความขัดแยงเปนสิ่งไมดี<br />

และควรหลีกเลี่ยง ถาปลอยใหความขัดแยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทําใหการ<br />

ดําเนินงานแยลง ดังนั้น ผูจัดการโครงการจึงควรจัดการความขัดแยงโดย<br />

การกําจัดมันกอนที่มันจะเกิด หรือขจัดมันใหเร็วที่สุดเทาที่จะเร็วได<br />

• ทัศนะแบบรวมสมัย (contemporary view) เปนการมองวาความขัดแยง<br />

เปนสิ่งที่หลีกเลี่ยงไมได มันเปนธรรมชาติ ความขัดแยงที่เปนบวกสามารถ<br />

กระตุนความคิดสรางสรรค อยางไรก็ตาม ความขัดแยงที่เปนลบสามารถ<br />

สรางความเสียหาย ดังนั้น ความขัดแยงที่เปนบวกควรไดรับการสงเสริม<br />

และควรตรวจสอบความขัดแยงที่เปนลบ<br />

• ทัศนะดานปฏิกิริยาตอกัน (interactionist view) เปนการมองวาความ<br />

ขัดแยงเปนสิ่งสําคัญและจําเปนสําหรับการทํางาน ทัศนะแบบรวมสมัย<br />

ยอมรับความขัดแยง ทัศนะดานปฏิกิริยาตอกันรับความขัดแยงเขาไว<br />

เพราะถาปรองดองหรือราบรื่นเกินไป ทีมงานจะเฉื่อยชาและใจเย็น<br />

ผูจัดการโครงการควรกระตุนใหเกิดความขัดแยงในระดับที่เหมาะสม<br />

เพื่อใหคนเขาสูความขัดแยงที่เปนบวก<br />

วิธีการตอไปนี้เปนวิธีการจัดการกับความขัดแยง สมาชิกทีมงานหรือผูจัดการ<br />

โครงการควรเลือกวิธีการที่เหมาะสมสําหรับการบริหารความขัดแยงตามสถานการณ<br />

• การหลีกเลี่ยง (avoidance) เปนการหลบเลี่ยง การถอนหรือการไมเอาใจ<br />

ใสความขัดแยง ซึ่งเหมาะกับสถานการณที่ไมสามารถชนะได ประโยชนที่<br />

จะไดนอย อยางไรก็ตามวิธีนี้ไมเหมาะกับกรณีที่ตองการแกไขความ<br />

ขัดแยงทันที<br />

• การปรับเขาหากัน (accommodate) เปนวิธีที่เอาใจหลายๆ ฝายที่ขัดแยง<br />

กันโดยการลดความแตกตางระหวางบุคคลและมุงที่คลายคลึงกัน วิธีการนี้<br />

มีประโยชนเมื่อตองการบรรลุเปาหมายโดยรวม เมื่อเปาหมายมีความ<br />

สําคัญมากกวาความสนใจของแตละคนที่เกี่ยวของ การปรับเขาหากันอาจ<br />

เหมาะสมถาเปนการจัดการกับประเด็นที่มีความเสี่ยงต่ํา และผลตอบแทน<br />

นอย หรือเมื่ออยูในสถานการณที่ไมชนะ เพราะวาการปรับเขาหากันใชได<br />

ในระยะสั้น ดังนั้น ความขัดแยงอาจปรากฎใหมในรูปอื่น<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-14<br />

• การบังคับ (forcing) เปนการใชอํานาจตามกฎหมายเพื่อแกความขัดแยง<br />

ซึ่งทําใหฝายหนึ่งชนะ อีกฝายแพ วิธีการนี้อาจเปนวิธีการที่มีประสิทธิผลก็<br />

ตอเมื่อทั้ง 2 ฝายไมมีพื้นฐานรวมกัน หรือเมื่อเราแนใจวาเราเปนฝายถูก<br />

หรือเมื่อมีสถานการณฉุกเฉิน หรือเมื่อเวลามีนอย อยางไรก็ตาม วิธีการ<br />

บังคับอาจทําใหเกิดการพัฒนาความขัดแยงขึ้นมาอีกครั้ง เพราะคนไม<br />

ชอบการตัดสินใจที่มาจากความเห็นของผูอื่นและนํามาใชบังคับพวกเขา<br />

• การประนีประนอม (compromise) เปนวิธีการที่รวมทั้งการปรับเขาหากัน<br />

และการบังคับ โดยลดระดับของการบังคับและการปรับเขาหากันลง การ<br />

ประนีประนอมเปนการตอรอง โดยคนหรือกลุมคนกลุมหนึ่งใหบางอยาง<br />

เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไดอยางอื่น ในกรณีนี้ไมมีใครชนะจริงๆ หรือแพ<br />

จริงๆ ดังนั้นความพอใจจากทั้งสองฝายจึงเกิดขึ้น วิธีการนี้อาจมีประโยชน<br />

เมื่อพยายามแกปญหาที่สลับซับซอนที่ตองทําใหเรียบรอยในเวลาอันสั้น<br />

และเมื่อความเสี่ยงหรือรางวัลคอนขางสูง<br />

• การรวมมือกัน (collaboration) เมื่อมีความเสี่ยงและประโยชนสูง การ<br />

รวมมืออาจเปนวิธีการจัดการความขัดแยงที่ดีที่สุด วิธีการนี้ตองการการ<br />

เผชิญหนาและพยายามที่จะแกปญหาโดยการรวมความคิด และมุมมองที่<br />

แตกตางเขาดวยกัน จุดเนนของการรวมมือคือ การเรียนจากกันและกัน<br />

และไดรับคํามั่น ความไววางใจ ความเคารพ และความมั่นใจจากฝาย<br />

ตางๆ ที่เกี่ยวของ การรวมมือใชเวลาและตองการความจริงใจ นอกจากนี้<br />

การแกไขความขัดแยงดวยวิธีนี้ตองการความเต็มใจ เพื่อเขาสูกระบวนการ<br />

แกปญหา<br />

13.4.3 การบริหารความแตกแยก<br />

ผูจัดการโครงการหรือทีมงานเผชิญกับสถานการณความขัดแยงที่ไมปรากฎ<br />

คําตอบ ฝายหนึ่งอุทิศตนเองใหกับการเปลี่ยนแปลงอยางเต็มที่ ขณะที่อีกฝายพยายามรักษาสถานภาพ<br />

เดิม ปญหาคือ ทั้งสองฝายตกอยูในสถานการณสองขั้วที่แตละขางเห็นเฉพาะขอดีของความคิดของฝาย<br />

ตัวเอง และเห็นขอเสียของความคิดของฝายตรงขาม<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-15<br />

รูปที่ 13.6 ตัวอยางการบริหารความแตกแยก (Marchewka, 2006)<br />

การบริหารความแตกแยกเปนเครื่องมือชวยแกไขความขัดแยง โดยเรียกฝายที่<br />

ตองการเปลี่ยนสภาวะปจจุบัน หรือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวานักรบเพื่อศาสนา (Crusader) อีกฝาย<br />

ตองการรักษาสิ่งที่ดีของอดีตและปจจุบันเรียกวาผูยึดกับสิ่งที่มีมาแตเดิม (Tradition Bearers) เครื่องมือ<br />

นี้จะชวยเห็นทั้งดานบนและดานลางของแตละขั้ว รูปที่ 13.6 เปนตัวอยางการติดตั้งโปรแกรมประมวลผล<br />

คําโปรแกรมใหม การใชผังสองขั้วชวยใหคนหลุดออกจากการเห็นคําตอบเดียวสําหรับปญหา และจาก<br />

การตัดสินใจที่ตองเลือกขั้วหนึ่งขั้วใด<br />

สิ่งสําคัญของการบริหารความแตกแยกคือ การตระหนักวาทั้งสองฝายตองถูก<br />

จัดการพรอมๆ กัน เพื่อใหเปาหมายของฝายสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและฝายที่ใหคงสถานภาพเดิมจะ<br />

จบลงที่ขั้วดานบน ตามตัวอยางการติดตั้งโปรแกรมประมวลผลคําที่ดูเหมือนฝายตอตานรูสึกวาการ<br />

เรียนรูระบบใหมอาจทําใหงานชะงัก หรือทําใหวอกแวก ไมมีสมาธิในการทํางาน ทั้งสองกลุมอาจ<br />

พยายามสรางแผนการอบรมที่ยืดหยุน เชน วางแผนการอบรมเปนชวงๆ โดยชวงแรกครอบคลุมเพียง<br />

ลักษณะและฟงกชันพื้นฐาน ดังนั้น ทั้งสองฝายจะไดสิ่งที่ตองการ<br />

13.5 สรุป<br />

การเขาใจการบริหารการเปลี่ยนแปลงเปนเรื่องที่สําคัญของการบริหารโครงการเทคโนโลยี<br />

สารสนเทศ ผูมีอาชีพทางดานเทคโนโลยีสารสนเทศอาจเนนเฉพาะทางดานเทคนิค จุดยืนนี้มีผลใหการ<br />

ติดตั้งระบบสารสนเทศประสบความสําเร็จทางดานเทคนิค แตทําใหเกิดความลมเหลวเชิงองคการ ระบบ<br />

ทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ แตคนหรือผูใชไมยอมรับระบบ ดังนั้น มันจึงเปนสิ่งสําคัญที่ผูสนับสนุน<br />

โครงการ ผูจัดการโครงการ และทีมงานชวยกันเตรียมความพรอมใหกับผูใชหรือเปาหมายของการ<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-16<br />

เปลี่ยนแปลง กอนติดตั้งระบบ การเตรียมการเปลี่ยนแปลงตองการความเขาใจธรรมชาติของการ<br />

เปลี่ยนแปลง<br />

การเปลี่ยนแปลงเปนกระบวนการ เลวินไดเสนอตัวแบบการเปลี่ยนแปลงที่มี 3 ระยะ คือ การ<br />

ละลายสถานภาพปจจุบัน หลังจากนั้นเคลื่อนที่ผานสภาวะการเปลี่ยนถาย จนกระทั่งถึงสภาวะใหมที่<br />

ตองการ พฤติกรรมใหมนี้ตองทําใหคงอยู และกลายเปนสภาวะใหม ผูสนับสนุนโครงการและผูจัดการ<br />

โครงการตองเขาใจสภาวะการเปลี่ยนถายที่บางครั้งเรียกวาสภาวะเปนกลาง สภาวะการเปลี่ยนถายเปน<br />

สภาวะที่คนตกใจ หมดหวัง เปนเวลาที่ลําบากซึ่งคนพยายามหลบหนี หรือพยายามยอนกลับมายัง<br />

สภาวะกอนหนานี้ นอกจากนี้ การริเริ่มการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มตนดวยการยุติความสมดุลปจจุบัน และ<br />

อาจนํามาซึ่งการตอบโตเชิงอารมณอันเนื่องจากการสูญเสีย ทั้งคนและองคการสามารถรับการ<br />

เปลี่ยนแปลงไดระดับหนึ่ง การสะสมผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสงผลใหเกิดความเครียด และ<br />

พฤติกรรมการทํางานที่ผิดปกติ ถาการเปลี่ยนแปลงสะสมเกินระดับที่แตละคนหรือองคการจะรับได<br />

ความเขาใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในองคการทําใหเราพัฒนาแผนการบริหารการ<br />

เปลี่ยนแปลงได แผนนี้เริ่มจากการประเมินความตั้งใจ ความพรอม และความสามารถในการ<br />

เปลี่ยนแปลง การประเมินนี้เนนที่คํามั่นของผูสนับสนุนโครงการ ความสามารถของผูทําการเปลี่ยนแปลง<br />

และกําหนดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงที่มีตอเปาหมาย การประเมินนี้ประกอบดวย การทําใหผลกระทบ<br />

ของการเปลี่ยนแปลงชัดเจน ความเขาใจภาพกวางของการเปลี่ยนแปลง กําหนดวาอะไรที่ตองเปลี่ยน<br />

อะไรที่ไมตอง และกําหนดวาหลักเกณฑความสําเร็จควรเปลี่ยนหรือไม<br />

ขั้นตอนตอไปของแผนการบริหารการเปลี ่ยนแปลงเนนที่การใชกลยุทธสําหรับสนับสนุนการ<br />

เปลี่ยนแปลง ซึ่งมี 4 วิธีคือ วิธีเชิงประจักษดวยเหตุผล วิธีใหการศึกษา-มาตรฐานใหม วิธีบีบบังคับดวย<br />

อํานาจ และวิธีปรับตัวตามสภาพแวดลอม แผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงอาจใชวิธีการใดวิธีการหนึ่ง<br />

หรือหลายวิธี ขึ้นกับสถานการณ<br />

สวนประกอบที่สามของแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงคือ การทําใหไดตามแผน และการ<br />

ติดตามความกาวหนา ถึงแมวามีเครื่องมือหลายอยางสําหรับการติดตามความกาวหนา แตผูจัดการ<br />

โครงการควรกําหนดหลักไมลและเหตุการณที่สําคัญ เพื่อใชในการติดตามการปรับและการรับการ<br />

เปลี่ยนแปลง แผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงควรรวมถึงการประเมินและการบันทึกบทเรียนที่ไดเรียนรู<br />

กลยุทธและประสบการณควรมีการบันทึกเพื่อใหผูอื่นสามารถนํามาประยุกตใชตอไป<br />

ถึงแมวาแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงอาจสื่อขอความที่สําคัญไปยังองคการวาผูบริหารเอา<br />

ใจใสคนขององคการ แตการตอตานและความขัดแยงยังเกิดขึ้น ทั้งการตอตานและความขัดแยงเปน<br />

ธรรมชาติอยางหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลง และควรจะคาดการณไวแตแรก การตอตานเกิดจาก<br />

หลายเหตุผลและหลายรูปแบบ ถึงแมวาทัศนะความขัดแยงแบบดั้งเดิมแนะวาความขัดแยงทั้งหมดไมดี<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


การบริหารการเปลี่ยนแปลง หนา 13-17<br />

และควรหลีกเลี่ยงหรือคลี่คลายใหเร็วที่สุดเทาที่จะเร็วได แตทัศนะแบบรวมสมัยและทัศนะดานปฏิกิริยา<br />

ตอกันสนับสนุนความคิดที่วาความขัดแยงทางบวกสามารถกระตุนความคิดใหม และปรับปรุงความคิด<br />

สรางสรรคใหดียิ่งขึ้น<br />

นอกจากนี้ ยังมีวิธีจัดการความขัดแยงหลายวิธีคือ การหลีกเลี่ยง การปรับเขาหากัน การบังคับ<br />

การประนีประนอม และความรวมมือ แตละวิธีมีขอดีและขอเสีย ผูมีสวนไดเสียโครงการควรเลือกวิธีที่<br />

เหมาะสมกับสถานการณ<br />

การบริหารความแตกแยกเปนเครื่องมือจัดการความขัดแยงแบบความรวมมือ การใชเทคนิคนี้<br />

มีนักรบศาสนาเปนฝายสนับสนุนใหเปลี่ยนแปลง และผูยึดกับสิ่งที่มีมาแตเดิมเปนฝายที่ตองการรักษา<br />

สถานภาพเดิม ผังสองขั้วชวยกําหนดสวนดีและสวนไมดีของแตละขั้วความขัดแยง ชวยใหเห็นภาพรวม<br />

และโตเถียงสิ่งที่แตละฝายกังวล เพื่อที่ทั้งสองฝายจะชวยกันพัฒนาคําตอบ<br />

คําถามทายบท<br />

1. ทําไมประเด็นทางดานมนุษยจึงมีความสําคัญตอการเปลี่ยนแปลง<br />

2. จงอธิบายธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง<br />

3. จะเกิดอะไรเกิดขึ้น ถาแตละคนไมสามารถรับการเปลี่ยนแปลงไดเร็วพอ<br />

4. จงอธิบายตัวแบบการเปลี่ยนแปลงของเลวิน<br />

5. อธิบายการตอบโตเชิงอารมณของมนุษย เมื่อไดรับขาววางานที่ทํากําลังถูกยกเลิกอันเนื่อง<br />

มาจากการติดตั้งระบบสารสนเทศ<br />

6. ใชตัวแบบของเลวิททอธิบายผลกระทบที่เกิดจากการติดตั้งระบบพาณิชยอิเลคทรอนิกส<br />

7. จงอธิบายกลยุทธสําหรับจัดการการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 วิธี<br />

8. ทําไมคนถึงตอตานการเปลี่ยนแปลง ถึงแมการเปลี่ยนแปลงนั้นใหประโยชนกับตนเอง<br />

9. จงอธิบายวิธีการจัดการความขัดแยง<br />

10. จงอธิบายการบริหารความแตกแยก<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บรรณานุกรม<br />

Ahern, et.al. 2004. CMMI Distilled. 2 th edition. MA.:Addison-Wesley<br />

Albrecht, A. 1983. Software Function, Source Lines of Code, and Development Effort<br />

Prediction: A Software Science Validation. IEEE Transactions on Software Engineering<br />

6: 639-648.<br />

Boehm, B. 1981. Software Engineering Economics. New Jersey: Prentice Hall.<br />

Boehm, B. 1991. Software Risk Management: Principles and Practices. IEEE Software 1: 32-<br />

41.<br />

Boehm, et.al. 2000. Software Cost Estimation with COCOMO II. New Jersey: Prentice Hall.<br />

Brooks, F. 1995. The Mythical Man-month: Essays on Software Engineering Anniversary<br />

edition Reading. MA.: Addison-Wesley.<br />

Dinsmore, C. 1984. Human Factors in Project Management. NewYork: American<br />

Management Associations.<br />

Cadle, J. and Yeates, D. 2004. Project Management for Information Systems. 4 th edition. New<br />

Jersey: Prentice Hall.<br />

Chrissis, et.al. 2007. CMMI Guidelines for Process Integration and Production Improvement.<br />

2 th edition. MA.: Addison-Wesley.<br />

Fenton and Pfleeger. 1997. Software Metrics: A Rigorous and Practice Approach. MA.: PWS<br />

Publishing Company.<br />

Garmus, D. and Herron, D. 2001. Function Point Analysis- Measurement Practices for<br />

Successful Software Projects. MA: Addison-Wesley.<br />

Gido and Clements. 2003. Successful Project Management. 2 nd edition. MA.: Thomson.<br />

Gray, C.F. and Larson, E.W. 2000. Project Management: The Managerial Process. New York:<br />

McGraw-Hill.<br />

Heizer, J. and Render, B. 2004. Operations Management. 7 th edition. New Jersey: Prentice<br />

Hall.<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บรรณานุกรม<br />

Herzberg, F. 2003. One More Time: How Do You Motivate Employees? (reprinted). Harvard<br />

Business Review. January.<br />

Humphrey. 1988. Characterizing the Software Process: A Maturity Framework. IEEE<br />

Software. March: 73-79.<br />

Jirachiefpattana, W and Jirachiefpattana, A. (2006). An Investigation of Digital Certificates for<br />

Government Officials: A Thailand Case. Communications of the IIMA , 6 (Number 1):<br />

161-168.<br />

Jirachiefpattana, W. 2005. The Influence of Culture on Executive Information Systems<br />

Development in Thailand. World Multiconference on Systemics, Cybernetics and<br />

Informatics (WMSCI 2005). Orlando, Florida, USA. 10-13 July. 1: 92-97.<br />

Mantei, M. 1981. The Effect of Programming Team Structures on Programming Tasks<br />

Communications of the ACM. 24 (Number 3): 106-113.<br />

Leach, L. 2005. Critical Chain Project Management. 2 nd edition. MA.: Artech House<br />

McClelland, D. and Burnham. 2003. Power Is the Great Motivator (reprinted). Harvard<br />

Business Review. January.<br />

Marchewka. 2006. Information Technology Project Management: Providing Measurable<br />

Organizational Value. 2 nd edition. MA.: Wiley.<br />

Meredith, J. and Mantel, S. 2000. Project Management: A Managerial Approach. 4 th eidition.<br />

MA.: Wiley.<br />

Patrick, F.1999. Critical Chain Scheduling and Buffer Management… Getting Out From<br />

Between Parkinson’s Rock and Murphy’s Hard Place (Online). Available at http://<br />

www.focusedperformance.com/articles/CCPM.htm..<br />

Pfleeger. 2001. Software Engineering: Theory and Practice. 2 nd edition. New Jersey: Prentice-<br />

Hall.<br />

Pressman. 2005. Software Engineering: A Practitioner’s Approach. 6 th edition. MA.: McGraw-<br />

Hill.<br />

Pritchard, C. 2004. The Project Management Communications Toolkit. MA.: Artech House<br />

Inc.<br />

Project Management Institute. 2002. PMBOK ® Guide.<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา


บรรณานุกรม<br />

Render, B.; Stair, R. and Hanna, M. 2003. Quantitative Analysis for Management. 8 th edition.<br />

New Jersey: Prentice Hall.<br />

Sage. 1995. Systems Management for Information Technology and Software Engineering.<br />

MA.: Wiley.<br />

Schulmeyer, and McManus. 1999. Handbook of Software Quality Assurance. 3 rd edition. New<br />

Jersey: Prentice Hall.<br />

Schwalbe. K. 2006. Information Technology Project Management. 4 th edition. MA.: Thomson.<br />

Schwalbe. K. 2007. Information Technology Project Management. 5 th edition. MA.: Thomson.<br />

Sommerville. 2001. Software Engineering. 6 th edition. MA.:Addison-Wesley.<br />

Stair, R and Reynolds, G. 2003 Principles of Information Systems. 6 th edition. MA.: Thomson.<br />

The Standish Group 1995. The CHAOS Report (Online). Available at<br />

http://www.scs.carleton.ca/~beau/PM/Standish-Report.html.<br />

The Standish Group 2003. Latest Standish Group CHAOS Report Shows Project Success<br />

Rates Have Improved by 50% (Online). Available at<br />

http://www.scs.carleton.ca/~beau/PM/Standish-Report.html.<br />

Tuckman, B. 1965. Developmental sequence in small groups. Psychological Bulletin. 63:<br />

384–399.<br />

Tuckman, B., and Jensen, M. 1977. Stages of small group development revisited. Group and<br />

Organization Studies. 2 (Number 4): 419–427.<br />

Wysocki. 2007. Effective Project Management: Traditional, Adaptive Extreme. 4 th edition. MA.:<br />

Wiley.<br />

ผศ.ดร. วราภรณ จิรชีพพัฒนา

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!