27.02.2017 Views

Inception report 2017-02-25 บทที่ 7 สตอรี่บอร์ด

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

<strong>บทที่</strong> 7<br />

ศึกษาและออกแบบและจัดทํา <strong>สตอรี่บอร์ด</strong> (Storyboard) โดยใช้ตัวการ์ตูนสัญลักษณ์ หรือ<br />

มาสคอต (Mascot) ในข้อ 1.5.2 เป็นตัวละครหลัก เพื่อใช้สําหรับผลิตภาพยนตร์โฆษณาอนิเมชั่น<br />

ความยาวอย่างน้อยตอนละ 30 วินาที จํานวน 4 ตอน สําหรับเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ อาทิเช่น<br />

Youtube Facebook Instagram Line TV เป็นต้น โดยที่ปรึกษาจะต้องเสนอแผนการเผยแพร่<br />

และประเมินประสิทธิภาพการเผยแพร่ของแผนงานดังกล่าวด้วย ใน TOR ข้อ 5.4<br />

เป็นการศึกษาและจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong> เพื่อจัดทําภาพยนตร์โฆษณาอนิเมชั่น 4 ตอน ยาวตอนละไม่น้อย<br />

กว่า 30 วินาที ซึ่งก่อนมาถึงกิจกรรมนี้มีตัวการ์ตูนสัญลักษณ์และมาสคอตที่ออกแบบ และจัดทําเสร็จแล้ว<br />

โดยมีความเข้าใจกิจกรรมงานในบทนี้แล้วกําหนดภารกิจย่อยได้ ดังนี้<br />

เนื่องจากภาพยนตร์ที่ดีนอกจากมีภาพ เสียง และข้อความแล้ว สิ่งเหล่านั้นยังสามารถปรับเปลี่ยน หรือ<br />

ใช้รูปแบบที่ต่างกันให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกได้ด้วย เช่น ถ้าเป็นตอนที่ต้องการนําเสนอเมืองที่มีสภาพแวดล้อม<br />

เป็นพิษ และทําให้ผู้คนเจ็บป่วย การนําเสนอภาพเมือง และผู้คนควรจะใช้ภาพที่สีหม่นไม่สดใส และมีเสียง<br />

ประกอบเศร้า หรือหดหู่ เป็นต้น ดังนั้น <strong>สตอรี่บอร์ด</strong>จะต้องกําหนดรายละเอียดของลักษณะอารมณ์ของตัวละคร<br />

ภาพ น้ําเสียงของผู้พูด ลักษณะอารมณ์เสียงดนตรี และลักษณะอารมณ์เสียงเอฟเฟคด้วย หรือกล่าวได้ว่าจะต้อง<br />

กําหนดอารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการสื่อไปยังผู้ชมไว้ใน<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>ด้วย เพื่อให้ฝ่ายผลิตภาพยนตร์ทําได้ถูกต้อง<br />

<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>เปรียบเสมือนการเขียนบท เทคนิคการเขียน<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>ให้ดี และใช้งานได้มีประสิทธิภาพ<br />

ต้องคํานึงถึงการถ่ายทําเลือกมุมกล้องจัดวางสมดุลของภาพ ผสมเสียง ปรับโทนเสียง ฯลฯ เพื่อให้ภาพออกมาสวยงาม<br />

และเสียงคล้องจองกันได้ ดังนั้น หลักการเขียน<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>สามารถทําได้ด้วยเทคนิค ดังนี้<br />

(1) แสดงด้วยภาพง่ายๆ มุ่งเฉพาะสิ่งที่จะบอกกับผู้ผลิตให้เข้าใจว่าต้องการอะไรไม่ต้องวาดภาพ<br />

ลายเส้น หรือลงสีละเอียดไม่ต้องวาดภาพที่ถูกต้องตามสเกลจริง หรือเหมือนจริงแต่เน้นให้ภาพดูง่ายๆ แล้วเน้น<br />

สิ่งที่จะบอกกับผู้ผลิตให้ชัดเจนจะทําให้เกิดการสื่อสารดีที่สุด<br />

(2) เน้นที่ความคิดหลัก (Big Idea) ในด้านการเดินเรื่องของภาพยนตร์ อารมณ์ สิ่งที่ต้องการให้<br />

เกิดกับผู้ชม โดยไม่ต้องเขียนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไม่ต้องเขียนฉากหลัง เครื่องประดับ ขอบชายเสื้อ สิ่งของ ฯลฯ<br />

ที่ไม่ใช่สิ่งสําคัญในเรื่องราวที่จะนําเสนอ<br />

(3) ให้เขียนภาพมากที่สุดตัวอักษรน้อยที่สุด<br />

ขั้นตอนการจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong><br />

1. สร้าง Timeline ของเรื่องจะเดินเรื่องเป็นลําดับอย่างไร ฉากเริ่ม ฉากสําคัญ ฉากหักมุม<br />

ฉากจบ เป็นต้น โดยเรียงลําดับขั้นตอนของเรื่องไปใน Timeline เดียว ซึ่งเป็นแนวการสร้างภาพยนตร์ทั่วไป<br />

แต่อย่างไรก็ตามมีภาพยนตร์หลายเรื่องที่ใช้หลักการนําเสนอย้อนกลับ เล่าเรื่องย้อนหลังมีมากกว่า 1 Timeline<br />

หรือเดินเรื่องคู่ขนาน และหลายรูปแบบการเดินเรื่องที่เน้นความแตกต่างของแนวภาพยนตร์<br />

[7-1] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

2. กําหนดฉากสําคัญ หรือเรื่องสําคัญในเรื่องราวฉาก หรือตอนที่เป็นหัวใจของการเดิน<br />

เรื่องราวของภาพยนตร์ หรือที่จะสื่อสารข้อมูลหลักที่ต้องการไปยังผู้ชม หรือเป็นฉากที่สร้างความประทับใจ<br />

เป็นที่จดจํา โดยฉากหลักเป็นเพียงตัวแทนของจุดสําคัญของเรื่องราวเพียงให้ทราบว่าเรื่องราวหลักเป็นอย่างไร<br />

3. กําหนดรายละเอียดเนื้อเรื่อง โดยเพิ่มจํานวนฉากรองเข้าไประหว่างฉากหลัก ซึ่งเป็นการ<br />

ใส่ฉากด้วยภาพอย่างง่ายเช่นเดิม แต่จํานวนฉากที่มากขึ้นช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจแนวทางการเดินเรื่องที่ผู้เขียน<br />

<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>มากยิ่งขึ้น<br />

4. กําหนดฉากหลัง บรรยากาศ แสง มุมกล้อง การเคลื่อนภาพ ตัวละคร เสียงพูด และเอฟเฟค<br />

แต่ละฉาก<br />

5. นําสิ่งที่กําหนดในข้อ 4 เขียนเป็นภาพ และใช้สัญลักษณ์ให้เข้าใจมากที่สุด โดยให้เหลือ<br />

ตัวอักษรที่จะต้องอธิบายน้อยที่สุด<br />

6. กําหนดการเคลื่อนไหวภายในฉาก และระหว่างฉาก การเคลื่อนไหวของตัวละครบรรยากาศ และ<br />

สิ่งประกอบฉากต่างๆ เพื่อให้ดูสมจริง และมีอารมณ์ของภาพยนตร์<br />

ในการสร้างภาพยนตร์จะมีการเขียน<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>โดยละเอียดสมบูรณ์ทั้ง 6 ขั้นตอน สําหรับฉากที่<br />

สําคัญเป็นตอนหลัก จุดหักมุม ฉากประทับใจ เป็นต้น แต่ถ้าภาพยนตร์ที่มีความยาวและบางฉากมีความสําคัญ<br />

รองลงไปอาจถูกมากกว่าหนึ่งขั้นตอนไปพร้อมๆ กัน หรือระดับความละเอียดบางส่วนน้อยลงได้ตามระดับ<br />

ความสําคัญของแต่ละฉาก เพราะการผลิตภาพยนตร์โดยให้ความละเอียดสูงต้องใช้ต้นทุนสูงด้วยเช่น กันการลด<br />

ระดับความละเอียดของฉากที่ไม่สําคัญมากเพื่อการลดต้นทุนการผลิตภาพยนตร์แต่ไม่กระทบกับคุณภาพของ<br />

ภาพยนตร์ได้<br />

ตัวอย่าง<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>และการนําไปใช้ในการผลิตภาพยนตร์จริง มีดังนี้<br />

[7-2] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ภาพที่ 7-1 การจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>เพื่อผลิตภาพยนตร์แนะนําการเตรียมตัวก่อนเริ่มออกรถ มีข้อความแทน<br />

บทพากย์เสียง<br />

ภาพที่ 7-2 การจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>เพื่อผลิตภาพยนตร์ฉากต่อสู้<br />

[7-3] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ภาพที่ 7-3 <strong>สตอรี่บอร์ด</strong>ที่เขียนขึ้นและภาพยนตร์ที่ถ่ายทําจริง<br />

[7-4] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตัวอย่าง<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>เห็นได้ว่าจะมีการเขียนเป็นภาพเป็นหลัก และมักเขียนแบบร่าง (Sketch) ทั้งตัวละคร<br />

พื้นที่ วัตถุสิ่งของที่สําคัญต่อเนื้อเรื่อง และอาจมีคําอธิบายถ้าภาพยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ซึ่งอาจเปรียบเทียบกับ<br />

การวาดการ์ตูนเพื่อนําเสนอให้แก่ผู้อ่านหรือผู้ชม แต่การวาดใน<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>จะเป็นเพียงการวาดเส้น เพื่อสื่อสาร<br />

ไปยังผู้ผลิตภาพยนตร์ให้เข้าใจ ซึ่งวาดเฉพาะส่วนประกอบที่สําคัญเท่านั้นก็พอ แต่ถ้าเป็นการ์ตูนที่วาดเพื่อ<br />

นําเสนอสู่ผู้อ่านหรือผู้ชมโดยตรงมักต้องระบายสีให้สวยงามใส่รายละเอียดของภาพเพิ่มขึ้น และสมจริงขึ้น มี<br />

ข้อความอักษรอธิบายด้วยคําที่อ่านเข้าใจ และสื่อถึงอารมณ์ได้ง่าย และใช้ภาษาที่ผู้อ่านกลุ่มเป้าหมายจะเข้าใจ<br />

ได้ง่ายดังตัวอย่างในภาพที่ 7-4<br />

ภาพที่ 7-4 ตัวอย่างการ์ตูนที่วาดสวยงามและใช้คําชัดเจน<br />

รูปแบบทั่วไปของ<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>จะแบ่งเป็น Frame ต่างๆ ที่สําคัญเพื่อให้ผู้สร้างภาพยนตร์เข้าใจการ<br />

เดินเรื่องทุกวินาที ทุกจุดเวลาที่เรื่องมีความสําคัญเปลี่ยนฉากใหม่ เนื้อเรื่องหักเห ระดับอารมณ์เพิ่มขึ้น ระดับ<br />

อารมณ์ลดลง มีตัวละครเพิ่มเข้ามาในฉาก และเกิดการสื่อสารระหว่างตัวละครเป็นตําแหน่งเวลาที่ต้องวาด<strong>สตอรี่บอร์ด</strong><br />

เพื่อกํากับเนื้อเรื่องต่อไป ตัวอย่างรูปแบบ<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>แสดงดังภาพที่ 7-5 ซึ่งประกอบด้วยภาพร่างเวลาเริ่มต้น<br />

ของฉากนั้นความยาวของเวลา และคําอธิบาย เป็นต้น<br />

[7-5] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ภาพที่ 7-5 รูปแบบ<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>ทั่วไป<br />

ภาพที่ 7-6 การจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>เพื่อใช้ผลิตภาพยนตร์โฆษณา 4 ตอน ตอนละ 30 วินาที<br />

[7-6] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

7.1 แนวคิดที่ใช้ในการจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong><br />

การจัดทํา<strong>สตอรี่บอร์ด</strong>เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการผลิตภาพยนตร์โฆษณา โครงการนี้เป็นการผลิต<br />

ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นเครื่องมือผลักดันนโยบายภาครัฐ ซึ่งต้อง<br />

บรรจุเนื้อหาตามวัตถุประสงค์เข้าไปไว้ และภาพยนตร์ไม่มุ่งหวังผลกําไรหรือรายได้จากผู้ชม ดังนั้น จึงมี<br />

หลักการที่เพื่อให้เข้าใจภาพรวมจึงแสดงองค์ประกอบ และขั้นตอนรวมทั้งหมดดังนี้<br />

(1) กลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์<br />

(2) เนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร<br />

(3) รูปแบบเรื่องราวที่สร้างความนิยม<br />

(4) โครงเรื่อง<br />

(5) <strong>สตอรี่บอร์ด</strong><br />

(6) การถ่ายทํา (ถ้ามี)<br />

(7) เสียงพากย์และเสียงเอฟเฟค<br />

(8) การแก้ไขขั้นสุดท้าย<br />

7.1.1 กลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์<br />

กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ใช้รถและน้ํามันเชื้อเพลิง ซึ่งที่ปรึกษานําเสนอไว้ในระดับแนวคิดว่าควรจะมุ่งเน้น<br />

กลุ่ม Gen-Y เป็นหลักเพราะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงในการใช้น้ํามันเชื้อเพลิงมีความก้าวหน้าทันสมัย และยังมี<br />

อิทธิพลเป็นแบบอย่างกับกลุ่มอื่นในสังคม แต่ในขณะเดียวกัน Gen-Z มีพฤติกรรมและ Life Style การใช้<br />

Social Network คล้ายกันจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง<br />

วัตถุประสงค์ของการจัดทําภาพยนตร์โฆษณาอนิเมชั่น คือ การนําเสนอเนื้อหาเชื้อเพลิงชีวภาพเชิงกลยุทธ์<br />

ให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ จดจํา เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และเป็นแรงขับดันให้เกิดการตัดสินใจเลือกเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

มากยิ่งขึ้น<br />

7.1.2 เนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร<br />

เนื่องจากเนื้อหาที่จะนํามาเสนอมีหลากหลายด้านของเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น คุณสมบัติ การผลิต ความ<br />

นิยมของผู้ใช้ การยอมรับในต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งล้วนมีประโยชน์และมีมาก แต่การนําเสนอที่ชัดเจนเข้าถึงผู้ชม<br />

ทําให้คล้อยตามได้ไม่สามารถนําเสนอหลายเรื่องมากจนต้องนําเสนอแบบอัดแน่นเข้าไปในเวลาสื่อเพียงสั้นๆ ไม่<br />

สามารถอธิบายรายละเอียด สร้างอารมณ์ร่วม หรือออกแบบภาพยนตร์ให้ตอบสนองต่อกระบวนการรับรู้และ<br />

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคตามหลักการตลาดได้เลย ทําให้การอัดแน่นเนื้อหามากเกินไปกลับเป็นการ<br />

ทําให้ภาพยนตร์นั้นไม่น่าความสนใจ ไม่มีผู้ชม หรือชมแล้วไม่เกิดผลตามวัตถุประสงค์ ก็จะกลายเป็นการสูญ<br />

เปล่า ดังนั้น การนําเสนอเนื้อหาจะเน้นเป้าประสงค์สําคัญของการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพนี้ โดย<br />

ภาพยนตร์โฆษณาอนิเมชั่น 4 ตอน จึงกําหนดให้แต่ละตอนนําเสนอเพียงเป้าประสงค์เดียว และเป็น<br />

[7-7] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

เป้าประสงค์สําคัญ หรือเรียกว่าเกิดจากการออกแบบเชิงกลยุทธ์ ให้เกิดผลกระทบต่อความเข้าใจ ทัศนคติ และ<br />

พฤติกรรมการใช้เชื้อเพลิง ตามส่วนประกอบภายใต้แนวคิด SAME+ 4 ส่วนประกอบดังที่กล่าวแล้ว คือ<br />

- Save/Safe us trust sure<br />

- Advice beside you<br />

- Massive motivation<br />

- Enhanced energy<br />

ให้ตอบสนองต่อ 4 เป้าประสงค์ คือ<br />

เป้าประสงค์ที่ 1 สร้างภาพลักษณ์ ให้เกิดการจดจํา เทคโนโลยีน้ํามันเชื้อเพลิงแห่งอนาคต<br />

คุณภาพสูง ทั่วโลกใช้งาน<br />

เป้าประสงค์ที่ 2 สร้างภาพลักษณ์การจดจํา เชื้อเพลิงสะอาด ยั่งยืนอยู่คู่กับมนุษย์ ธรรมชาติ โลก<br />

และสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ตกอยู่กับประชาชนในประเทศ<br />

เป้าประสงค์ที่ 3 แก้ไขการจดจําเชิงคุณสมบัติเทคนิคที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง<br />

เป้าประสงค์ที่ 4 ประโยชน์ต่อการเกษตร เศรษฐกิจ และประชาชน<br />

7.1.3 เลือกรูปแบบ หรือเรื่องราวที่จะนํามาเป็นการเดินเรื่องของภาพยนตร์โฆษณาอนิเมชั่น<br />

โดยนําแนวคิด SAME+ มาใช้ ได้แก่<br />

Save/Safe us trust sure แนวคิดนี้จะเสริมสร้างให้กลุ่มเป้าหมาย ไว้ใจ เชื่อมั่นในเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

ว่าปลอดภัยเชื่อถือได้ มั่นใจในเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

Advice beside you แนวคิดนี้จะทําให้สื่อของเราเปรียบเสมือนคําแนะนําจากเพื่อนที่คอยอยู่เคียง<br />

ข้างคุณเสมอ เหมือนกับเวลาที่เรามีปัญหา อย่างแรกที่เราทําก็คือปรึกษาเพื่อน เราจึงทําให้สื่อของเรา<br />

กลายเป็นเพื่อนที่ให้คําแนะนําได้ตลอด<br />

Massive motivation จะทําให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกว่าสื่อของเราเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับ<br />

เป้าหมายอย่างยิ่งใหญ่ ทําให้รู้สึกว่าต้องเปลี่ยน ต้องขับเคลื่อน ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า<br />

Enhanced energy แนวคิดนี้จะทําให้กลุ่มเป้าหมาย มองสื่อมองพลังงานชีวภาพเป็นสิ่งที่น่าสนใจ<br />

และดึงดูด เย้ายวนให้หลงใหล น่าปรับเปลี่ยนหันมาใช่พลังงานชีวภาพอันน่าหลงใหลนี้<br />

โดยกําหนดแนวคิดของแต่ละตอน ซึ่งออกแบบและกําหนดไว้แล้ว 3 ตอนจาก 4 ตอน ดังนี้<br />

ตอนที่ 1 Keyword : The Hero<br />

Concept : สิ่งที่เราเห็นว่าอ่อนแอหรือไม่ดี แต่จริงๆ แล้วสิ่งนั้นอาจจะมีสิ่งที่ไม่ธรรมดาแฝงอยู่<br />

Story : โลกของน้ํามัน โดยมี E20 เป็นตัวดําเนินเรื่อง E20 เป็นเด็กที่ดูธรรมดา<br />

อ่อนแอ โดนดูถูก ทุกคนมองข้าม แต่ภายในแฝงไว้ด้วยความพิเศษ จนวัน<br />

หนึ่งความพิเศษเหล่านั้นปรากฎขึ้นและได้รับการยอมรับ<br />

ตอนที่ 2 Keyword : World Grand Prix Racers<br />

[7-8] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

Concept : น้ํามันเชื้อเพลิงที่ใช้เปรียบเสมือนการแข่งรถที่มีการแข่งขัน เปรียบเทียบ<br />

และอุปสรรคขัดขวางเสมอ อยู่ที่ใครจะฝ่าฟันผ่านไปได้<br />

Story : โลกของน้ํามัน โดยมี E20 เป็นตัวดําเนินเรื่อง<br />

รถที่เป็นตัวแทนของน้ํามันประเภทต่างๆ ที่ดูดุดัน รวมถึงรถของ E20 ที่ดู<br />

น่ารัก สบายๆ กวนๆ มาแข่งรถกัน โดยมีอุปสรรคที่จะช่วยเสริมให้เห็นถึง<br />

คุณสมบัติของ E20 ที่โดดเด่นกว่ารถคันอื่นๆ<br />

ตอนที่ 3 Keyword : True friend with your ways<br />

Concept : สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต บางครั้งมาจากสิ่งเล็กๆ ที่เรามองข้าม<br />

Story : โลกของคน โดยมีคนเป็นตัวดําเนินเรื่อง มี E20 เป็นผู้ช่วย<br />

ผู้ชายที่กระฉับกระเฉง ทําอะไรก็ดูดี คล่องแคล่ว ว่องไว โดยมีตัว E20 เป็น<br />

คู่หูบินไปข้างๆ คอยช่วยเหลือดังเพื่อนที่รู้ใจ ก่อนจบลงด้วยผู้ชายเดินขึ้นรถ<br />

และ E20 ลอยเข้าไปในถังน้ํามัน<br />

ซึ่งจะดําเนินการกําหนดครบถ้วนทั้ง 4 ตอนและนําเสนอให้พิจารณาในขั้นตอนต่อไป<br />

ซึ่งในการออกแบบในรายงานเบื้องต้นนี้ ออกแบบตามหลักการตลาด การประชาสัมพันธ์ และ<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่นําเสนอกับผลที่จะเกิดกับผู้รับชม แต่การจะได้ผลอย่างสูงสุดจะต้องนําไป<br />

ประกอบกับ ความคิดสร้างสรรค์ (Creative) และการสรรหาเนื้อเรื่องที่ตรงกับความชอบของกลุ่มเป้าหมายให้<br />

ได้มากที่สุด ดังนั้นหลักการเหล่านี้จะนําไปใช้กับความคิดสร้างสรรค์เมื่อออกแบบจริงซึ่งอาจปรับเปลี่ยน<br />

รายละเอียดได้ภายใต้กรอบแนวคิดที่นําเสนอนี้<br />

[7-9] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!