27.02.2017 Views

Inception report 2017-02-25 บทที่ 19 ประเมินผลและแผน

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

<strong>บทที่</strong> <strong>19</strong><br />

ที่ปรึกษาจะต้องวิเคราะห์ ประเมิน และสรุปผลงาน/ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชาสัมพันธ์<br />

ตลอดทั้งโครงการ พร้อมจัดทําแผนส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ พร้อมรายละเอียดที่<br />

สามารถนําไปปฏิบัติในปีต่อไป เพื่อให้เกิดการใช้งานเชื้อเพลิงชีวภาพให้เป็นไปตาม<br />

แผน AEDP ของประเทศ<br />

เนื่องจากข้อกําหนดฯ ได้ระบุเรื่องการวัดประเมินผลสื่อไว้ในหลายข้อของขอบเขต ได้แก่<br />

1) ข้อกําหนดฯที่ 1.5.4 เรื่องการผลิตภาพยนตร์โฆษณาอนิเมชั่น กําหนดให้ต้องเสนอแผนการ<br />

ประเมินประสิทธิภาพการเผยแพร่<br />

2) ข้อกําหนดฯที่ 1.5.5 เรื่องการจัดทําบทวิทยุและผลิตสปอตโฆษณา ต้องเสนอแผนการ<br />

ประเมินประสิทธิภาพการเผยแพร่<br />

3) ข้อกําหนดฯที่ 1.5.6 เรื่องการศึกษาและออกแบบ New Media ต้องเสนอแผนการประเมิน<br />

ประสิทธิภาพการเผยแพร่<br />

4) ข้อกําหนดฯที่ 1.5.16 เรื่องการประเมินผลและจัดทําแผนการประชาสัมพันธ์ต่อไป ต้อง<br />

วิเคราะห์ ประเมิน และสรุปผลงาน ผล/<br />

ลัพธ์ที่ได้จากการประชาสัมพันธ์ตลอดทั้งโครงการ<br />

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทั้งโครงการนี้ แต่ละกิจกรรมและแต่ละสื่อมีความสัมพันธ์เพื่อใช้สนับสนุน<br />

ซึ่งกันและกัน สามารถประเมินประสิทธิภาพทั้งในระดับกิจกรรมเดียว หรือสื่อเดียวได้ในขณะเดียวกันก็ควรจะ<br />

ประเมินประสิทธิภาพในระดับภาพรวมเป็นกลุ่มหรือภาพรวมทั้งโครงการ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย จึงรวมเนื้อหา<br />

ที่จะนําเสนอเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพของการเผยแพร่แต่ละข้อ และประเมินผลภาพรวมทั้งโครงการ<br />

ไว้ในบทนี้บทเดียว ซึ่งเนื้องานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่<br />

1) การประเมินผลโครงการ<br />

(1.1) การประเมินประสิทธิภาพของสื่อแต่ละหัวข้อ<br />

(1.2) การประเมินผลโดยรวมของโครงการ<br />

2) การจัดทําแผนส่งเสริมประชาสัมพันธ์<br />

โดยขอนําเสนอรายละเอียด ดังนี้<br />

<strong>19</strong>.1 การประเมินผลโครงการ<br />

การประเมินโครงการเป็นกระบวนการทํางานด้านการวัดผลและค้นหาผลสะท้อนจากการดําเนิน<br />

โครงการ เพื่อนําผลที่วัดได้ และผลสะท้อนกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ในกระบวนการบริหารโครงการ<br />

ซึ่งต้องดําเนินการด้วยกระบวนวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมจึงจะได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ ในหัวข้อนี้แบ่งออกเป็น<br />

2 กลุ่ม ขอบเขตการประเมินผลโครงการ คือ<br />

[<strong>19</strong>-1] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

1) ขอบเขตระดับประเมินผลสื่อ หมายถึงประเมินผลสําเร็จการใช้สื่อ ทําในระดับสื่อที่ใช้เผยแพร่<br />

แต่ละรายการ เช่น สื่อ Social Media 1 ชนิดที่เผยแพร่ได้ผลเท่าไร กิจกรรมทางออนไลน์ 1 กิจกรรมใน 1 สื่อ<br />

ที่ดําเนินการได้ผลเท่าไร เป็นต้น และระดับกลุ่มสื่อที่คิดเป็นชุด เช่น กิจกรรมร่วมสนุก 1 กิจกรรมแต่ใช้สื่อ<br />

หลายสื่อ (Facebook Youtube และ Event) ได้ผลเท่าไร หรือชุดสื่อออนไลน์ทั้งดครงการรวมกันเข้าถึง<br />

กลุ่มเป้าหมายได้จํานวนเท่าไร เป็นต้น ซึ่งค่าประสิทธิภาพใช้บ่งบอกการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของสื่อ ถ้า<br />

ประสิทธิภาพมีค่าสูงจะยิ่งดีส่วนค่าประสิทธิผลใช้บ่งบอกความคุ้มค่าของสื่อในหน่วยบาทต่อจํานวนคนที่เข้าถึง<br />

ดังนั้น ประสิทธิผล มีค่าต่ําจะยิ่งดี<br />

2) ขอบเขตระดับประเมินผลสําเร็จของโครงการจะวัดผลในระดับภาพรวมของโครงการให้เห็น<br />

ว่าได้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบเท่าไร เช่น เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังดําเนิน<br />

โครงการนี้ เปรียบเทียบอัตราการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพก่อนและหลังดําเนินโครงการ หรือผลสํารวจทัศนคติ<br />

เปรียบเทียบก่อนและหลังดําเนินโครงการ เป็นต้น<br />

โดยแบ่งอธิบายเป็น 2 หัวข้อ คือ<br />

(1) การประเมินผลสื่อ<br />

(2) การประเมินผลโครงการ<br />

มีรายละเอียดดังนี้<br />

<strong>19</strong>.1.1 การประเมินผลสื่อ<br />

จากการศึกษารวบรวมทฤษฎีและแนวคิดการประเมินผลสื่อและการประชาสัมพันธ์ นํามากําหนดเป็น<br />

การประเมินผลที่จะดําเนินการในโครงการนี้ได้ดังนี้<br />

1) การวัดค่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อ<br />

การวัดค่าประสิทธิภาพ (Effectiveness) หมายถึงการวัดผลสําเร็จที่ได้รับในการวางแผนสื่อ<br />

โฆษณา เช่น ในการวางแผนสื่อโฆษณาตามงบประมาณจานวน 16 ล้านบาท ได้ผลสําเร็จ คือสามารถจะเข้าถึง<br />

กลุ่มเป้าหมาย (Reach) คิดเป็นร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายรายการ (TV Audiences) จํานวน 24,066,245<br />

คน แต่ละคนจะเห็นทั้งหมดจํานวน 124 ครั้ง เฉลี่ยคนละ 3.14 ครั้ง (Frequency) เป็นต้น<br />

การวัดค่าประสิทธิผล (Efficiency) หมายถึง การวัดค่าความประหยัดของการวางแผนสื่อ<br />

โฆษณานั้นว่าคุ้มค่ากับเงินงบประมาณหรือไม่ เช่น ในการวางแผนสื่อโฆษณา ตามงบประมาณจานวน16 ล้าน<br />

บาท จะเสียค่าใช้จ่ายต่อ 1 ค่าความนิยม (Cost per Rating) คิดเป็นเงิน 12,304.<strong>02</strong> บาท ค่าใช้จ่ายต่อ 1,000<br />

คน (Cost per Thousand) คิดเป็นเงิน 4,203.01 บาท เป็นต้น<br />

ค่าประสิทธิภาพหากมีค่าสูงแสดงว่าการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ได้ผลดี แต่ค่าประสิทธิผลจะเป็น<br />

ในทางกลับกัน คือถ้าค่าต่ําแสดงว่าประชาสัมพันธ์ได้คุ้มค่าเงินงบประมาณ<br />

[<strong>19</strong>-2] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

โดยรวมแล้วการประเมินผลสื่อ จะพิจารณา 4 ค่า คือ<br />

- การเข้าถึง หรือได้เห็นสื่อ (Reach)<br />

- ความถี่ที่ได้รับสื่อ (Frequency)<br />

- ผลกระทบจากสื่อ (Impact)<br />

- ต้นทุนต่อหน่วยผู้ที่ได้รับสื่อ (Cost)<br />

ซึ่งสามารถกําหนดเป็นค่าที่สามารถเก็บข้อมูลและคํานวณได้จริงสําหรับสื่อที่ใช้ในโครงการนี้ ได้แก่<br />

2) สื่อวิทยุ นิยมใช้ค่า<br />

(2.1) ความครอบคลุม (Coverage) คือ วัดประสิทธิภาพ จํานวนผู้ได้รับฟังซึ่งคิดเป็น<br />

เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด มีหน่วยเป็น % Coverage = (จํานวนผู้ได้รับฟัง / จํานวน<br />

ทั้งหมดที่ส่งสัญญาณไปถึง) x 100<br />

วิธีการวัดค่า โดยการสุ่มลงพื้นที่สํารวจประมาณ 50% ของพื้นที่เผยแพร่<br />

เช่น การเผยแพร่ 11 จังหวัด ของโครงการนี้ จะเลือก 5 จังหวัดเป็นตัวแทน เพื่อลง<br />

สํารวจด้วยการเดินสํารวจ สอบถามถึงการได้รับฟังสปอตที่เผยแพร่ออกไป โดยใช้<br />

แบบสอบถามและสัมภาษณ์ตัวต่อตัวในพื้นที่ที่คลื่นวิทยุครอบคลุม และสอบถามกับ<br />

กลุ่มเป้าหมายที่คาดหวัง เช่น ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ร้านค้า และพนักงาน ในเขตเมือง<br />

และชานเมือง เป็นต้น จากนั้นนําข้อมูลมาสรุปเป็นค่าความครอบคลุม<br />

3) สื่อดิจิตอล (Digital Media) ในปัจจุบันสร้างเครื่องมือวัดและรายงานค่าการมีปฏิสัมพันธ์ของ<br />

ผู้รับชมกับสื่อไว้อย่างดีแล้ว เช่น การวัดและรายงานจํานวนผู้ที่ คลิก (Click) ชม (View) แสดงความคิดเห็น<br />

(Comment) ชอบ (Like) แบ่งปัน (Share) ติดตาม (Follow, Subscribe) เข้าร่วมกลุ่ม (Enter to Group)<br />

หรือการร่วมกิจกรรมออนไลน์ เป็นต้น โดยผู้ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อไม่ต้องสํารวจข้อมูล ซึ่งมีการวัดและรายงาน<br />

ที่จะนํามาใช้ ดังนี้<br />

(3.1) ค่าความครอบคลุม เนื่องจากสื่อดิจิตอลมี 2 ช่องทาง คือ กลุ่มเว็บไซต์ และ กลุ่ม<br />

Social Media ที่แตกต่างกันดังนี้<br />

- เว็บไซต์ ใช้ค่า Click Rate (CR) จํานวนคลิก วัดประสิทธิภาพ เป็นค่าจํานวนครั้ง<br />

ที่ผู้ชมเข้าไปชมใช้กับหน้าเว็บเพจ<br />

- Social Media ใช้ค่าการมีส่วนร่วม (Engagement Rate) ได้แก่ การวัดผลข้อมูล<br />

จากจํานวน View, Like, Share, Comment, Follow, Add Friend บน Social<br />

Media นั้นๆ เช่น Facebook, Youtube, Line เป็นต้น ซึ่งช่องทางเหล่านี้ล้วน<br />

จัดทําการวัดผลไว้พร้อมบริการให้แล้วโดยผู้ใช้ช่องทางเหล่านี้ไม่ต้องสร้างขึ้นเอง<br />

[<strong>19</strong>-3] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

(3.2) ค่าใช้จ่ายต่อพันคน (Cost Per Thousand : CPM) วัดประสิทธิผล มีหน่วยเป็น<br />

บาทต่อพันคน ใช้สําหรับสื่อดิจิตอลทั้งหมดได้ โดยถ้าเป็นการใช้สื่อดิจิตอลช่องทาง<br />

เดี่ยวและใช้งบประมาณแยกจากสื่ออื่นก็สามารถวัดผลเฉพาะสื่อนั้นเปรียบเทียบ<br />

กับงบประมาณได้ทันที แต่ถ้าใช้สื่อหลายช่องทางจะต้องนําไปคิดรวมทั้งจํานวน<br />

คลิกและค่าใช้จ่าย<br />

ในการนําไปใช้กับสื่อ Social Media ก็จะนับ View, Like, Share, Comment,<br />

Follow, Add Friend เป็นการคลิกของเว็บไซต์ แต่การให้น้ําหนักกับค่าการมีส่วน<br />

ร่วมที่ไม่เท่ากัน เช่น การ Share มีน้ําหนักมากกว่า View เป็นต้น<br />

วิธีการประเมินผลสื่อดิจิตอลที่นําเสนอมาอยู่บนหลักการเดียวกับการ<br />

วัดผลของสื่อ ออฟไลน์ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ เป็นต้น แต่ปรับเครื่องมือในการ<br />

วัดและเก็บข้อมูลมาเป็นเครื่องมือในช่องทางดิจิตอลนั้นๆ ซึ่งผลการที่ผู้ถูกสํารวจ<br />

ตอบรับว่าได้รับสื่อ นั่นคือแสดงถึงการจดจําสื่อนั้นได้ เป็นความสําเร็จระดับแรกของ<br />

การประชาสัมพันธ์<br />

<strong>19</strong>.1.2 การประเมินผลโครงการ<br />

การประเมินผลโครงการโดยรวมเป็นส่วนสําคัญเพื่อค้นหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบ<br />

จากการดําเนินโครงการ เพื่อให้ทราบว่าโครงการนี้ ทําได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกลุ่ม<br />

เป้าหมายรับรู้ และเข้าใจได้ดี จดจําได้ดี คล้อยตามสื่อที่ส่งออกไป และสามารถนําไปสู่ขั้นการเปลี่ยนพฤติกรรม<br />

ได้หรือไม่ การประเมินผลโดยรวมนี้จะไม่ประเมินผลย่อยของสื่อหรือกิจกรรมแต่ละรายการ แต่จะบ่งบอกเป็น<br />

ผลของทั้งโครงการที่มีต่อกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแยกการประเมินสําหรับสื่อออนไลน์ โดยในหัวข้อการประเมินผลสื่อ<br />

ได้วัดผลในระดัการจดจําไปแล้ว ในหัวข้อการประเมินผลโครงการนี้ จึงจะวัดผลในระดับที่สูงขึ้น คือ ระดับ<br />

ความเข้าใจ และระดับทัศนคติ มีดังนี้<br />

1) ประเมินผลด้วยการสอบถามความคิดเห็น<br />

(1.1) ระดับความเข้าใจ<br />

- จํานวนและเปอร์เซ็นต์ ผู้มีความรู้ความเข้าใจเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น (การคิด<br />

เปอร์เซ็นต์เปรียบเทียบกับจํานวนทั้งหมดได้ 2 ฐาน คือ จํานวนประชากรทั้งหมด<br />

ในช่วงอายุ Gen-Y หรือ จํานวนประชากรทั้งหมดที่ใช้ Social Network ซึ่งมีสถิติ<br />

เผยแพร่อย่างเป็นทางการจากศูนย์ข้อมูลต่างๆ)<br />

- ค่าใช้จ่ายต่อพันคน (บาทต่อพันคน) ที่มีความรู้ความเข้าใจเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มมากขึ้น<br />

[<strong>19</strong>-4] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

(1.2) ระดับทัศนคติ เป็นการประเมินผลสําเร็จของโครงการในระดับสูงขึ้น จากความ<br />

เข้าใจเป็นทัศนคติ โดยใช้วิธีการ ช่องทาง และชุดสํารวจไปพร้อมกับระดับความ<br />

เข้าใจ แต่เพิ่มช่องข้อมูลในระดับทัศนคติเข้าไป แบ่งเป็น 2 ค่าเช่นเดียวกัน ได้แก่<br />

- จํานวนและเปอร์เซ็นต์ผู้มีทัศนคติต่อเชื้อเพลิงชีวภาพดีขึ้น<br />

- ค่าใช้จ่ายต่อพันคน (บาทต่อพันคน) ที่มีทัศนคติต่อเชื้อเพลิงชีวภาพดีขึ้น<br />

2) ประเมินผลด้วยแบบทดสอบ โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจและทัศนคติทําการ<br />

ทดสอบก่อนและหลังการรณรงค์ โดยใช้การทดสอบออนไลน์ทั้งหมด 2 ช่วง ดังนี้<br />

(2.1) ก่อนเริ่มรณรงค์ เป็นช่วงตั้งแต่กลุ่มเป้าหมายเริ่ม Add Line กด Like บน Facebook<br />

หรือติดตามบน Youtube ซึ่งเป็นเวลาที่ยังไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้หรือการ<br />

เชิญชวนรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ จึงเป็นการทดสอบก่อนเริ่มการณรงค์<br />

(2.2) หลังรณรงค์ เป็นช่วงที่การรณรงค์ใกล้จะสิ้นสุดกําหนดเวลา หรือสิ้นสุดกําหนดเวลา<br />

แล้วได้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและเชิญชวนให้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามที่<br />

กําหนดไว้ครบถ้วนแล้ว จะทดสอบอีกครั้งเพื่อนําไปเปรียบเทียบกับก่อนรณรงค์สิ่ง<br />

ที่จะทดสอบคือข้อมูลความรู้ความเข้าใจและทัศนคติว่ากลุ่มเป้าหมายมีความรู้<br />

ความเข้าใจและทัศนคติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพื่อเป็นบทสรุปของ<br />

โครงการนี้<br />

วิธีการประเมินผลในหัวข้อนี้ สําหรับสื่อวิทยุ การจัดกิจกรรมเปิดตัว และการจัดแสดง New Media<br />

จะไม่ประเมินผลเจาะจงไปยัง 3 ช่องทางนี้ เพราะไม่ได้กําหนดวัตถุประสงค์หลักไว้เป็นการสร้างความรู้ความ<br />

เข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่เป็นเพียงการประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรม และ Line เป็น<br />

หลัก จึงประเมินผลในหัวข้อนี้เฉพาะสื่อดิจิตอลทั้งหมด คือ Facebook, Youtube, Line และอื่นๆ ซึ่งเป็น<br />

แหล่งเผยแพร่เนื้อหาและสร้างภาพลักษณ์เชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งผู้รับสื่ออยู่ในช่องทางดิจิตอลทั้งหมด จึงจะ<br />

สํารวจด้วยช่องทางดิจิตอลเช่นกัน คือ แบบสอบถามออนไลน์<br />

<strong>19</strong>.2 การจัดทําแผนส่งเสริมประชาสัมพันธ์<br />

จากการดําเนินโครงการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>58 ได้มีการจัดทําแผน<br />

ส่งเสริมประชาสัมพันธ์เชื้อเพลิงชีวภาพระหว่างปี <strong>25</strong>58 – <strong>25</strong>62 แล้ว โดยใช้ 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย<br />

ขั้นตอนการสร้างการรับรู้ ขั้นตอนการสร้างความรู้ความเข้าใจ ขั้นตอนการเปลี่ยนและปรับทัศนคติที่ดี ขั้นตอน<br />

การกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ และขั้นตอนการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงสังคม สามารถสรุปได้โดยสังเขป ดังนี้<br />

[<strong>19</strong>-5] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

1) การประชาสัมพันธ์ 5 ขั้นตอน<br />

1.1) เพื่อสร้างการรับรู้ (Creating Awareness) โดยการนําเสนอข้อมูลโดยเลือกใช้สื่อ<br />

และกิจกรรมที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และการ<br />

ปรับแต่งเครื่องยนต์โดยใช้ FFV Conversion Kit ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มเป้าหมาย<br />

1.2) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดี (Creating Knowledge and Understanding) โดย<br />

การใช้เนื้อหาที่โน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจ เกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และ<br />

การปรับแต่งเครื่องยนต์โดยใช้ FFV Conversion Kit<br />

1.3) เพื่อสร้างและปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดี (Creating and Attitude Change) โดยการใช้<br />

เนื้อหาที่โน้มน้าวให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจเกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

และการปรับแต่งเครื่องยนต์โดยใช้ FFV Conversion Kit ของกลุ่มเป้าหมาย<br />

1.4) เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ (Reinforcing Decision) ของกลุ่มเป้าหมายที่มีรถยนต์<br />

ใช้งานอยู่แล้วเกี่ยวกับการทดลองใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและการปรับแต่งเครื่องยนต์โดย<br />

ใช้ FFV Conversion Kit และกลุ่มเป้าหมายที่กําลังจะซื้อรถยนต์คันใหม่เกี่ยวกับ<br />

การเลือกซื้อรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์รองรับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

1.5) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมเชิงสังคม (Promoting Behavior) การยอมรับการใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเป้าหมายที่มีรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์รองรับการใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพ หลังจากที่ได้ตัดสินใจทดลองใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในครั้งแรกไปแล้ว<br />

2) ประเภทสื่อ<br />

2.1) สื่อออนไลน์<br />

(1) Facebook Fan Page หลักของโครงการ มีการนําเสนอเนื้อหา ข่าวสาร ข้อมูล<br />

กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ เรื่องราว ฯลฯ ไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง มีคนกดไลค์ไม่<br />

น้อยกว่า 80,000 คนต่อปี มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี<br />

(2) เว็บไซต์ (Website) จัดทําเป็น Responsive web design สามารถเข้าถึง<br />

ข้อมูลสารสนเทศได้ทุกอุปกรณ์ (Device) โดยมีคนเข้าเยี่ยมชมปีละไม่ต่ํากว่า<br />

80,000 คน มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี<br />

(3) YouTube Channel หลักของโครงการ มีการเพิ่มเนื้อหาเชื้อเพลิงชีวภาพไม่<br />

ต่ํากว่าปีละ 20 เรื่อง และคนกดติดตาม (Subscriptions) ปีละไม่ต่ํากว่า<br />

10,000 คน<br />

(4) สร้าง Touch Point โดยการซื้อโฆษณาในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสินใจ<br />

ซื้อรถยนต์ จํานวน 5 เว็บไซต์ ระยะเวลาตลอด 12 เดือนในแต่ละปี<br />

(5) การประกวดเว็บไซต์ Top biofuel online : ให้บุคคลทั่วไปร่วมพัฒนาเว็บไซต์<br />

ความรู้ความเข้าใจ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์<br />

[<strong>19</strong>-6] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

แบ่งปันประสบการณ์ ตอบข้อสงสัย แก้ข่าวแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดีเด่น ปี<br />

ละ 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมการประกวดไม่น้อยกว่าปีละ 100 เว็บไซต์ หรือเพจ หรือ<br />

บล็อก ซึ่งมุ่งเน้นการพิจารณาการเข้าถึง และความนิยมของกลุ่มเป้าหมาย<br />

(6) การจัดทําแอพพลิเคชั่น หรือสติ๊กเกอร์ หรือสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพออนไลน์ โดยจัดให้มีกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม เช่น ประกวด<br />

แข่งขัน ชิงรางวัล แคมปิ้ง แสดงผลงาน ฯลฯ<br />

(7) การจัดทําและประกวดสื่อไวรัลวีดิโอ (Viral Video) เพื่อเสริมสร้างความรู้<br />

และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเชิญชวนเยาวชน องค์กร และ<br />

ประชาชนทั่วไปร่วมส่งเข้าประกวด ไม่น้อยกว่า 30 ชุด พร้อมกับคัดเลือก และ<br />

นําออกเผยแพร่<br />

2.2) สื่อออฟไลน์ เน้นสื่อใหม่ (New Media) ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่น Gen-Y และ<br />

Gen-Z<br />

(1) ป้ายโฆษณาประเภทภาพนิ่งและดิจิตอลในพื้นที่ตาม Life Style ของ Gen-X<br />

และ Gen-Y เช่น แหล่งช๊อปปิ้ง โรงภาพยนตร์ รถไฟฟ้า เป็นต้น<br />

(2) การจัดนิทรรศการ สร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่<br />

สําคัญของจังหวัด โดยให้กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ และในจังหวัดที่มีการใช้<br />

น้ํามันเชื้อเพลิงมาก<br />

(3) จัดกิจกรรม Biofuel Camp / Young Biofuel Talent / Biofuel Ambassador<br />

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าไม่ต่ํา<br />

กว่า 200 คน จาก 20 สถาบัน<br />

(4) การสร้างเครือข่ายสื่อสารมวลชน ข่าว และเผยแพร่นโยบายด้วยการจัดทํา<br />

Press Release เผยแพร่ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน<br />

(5) การประกวด Biofuel Smart ร่วมกับผู้ใช้ เช่น ประกวดแต่งรถ สโลแกน<br />

ภาพยนตร์สั้น และภาพหรือเรื่องราวประทับใจเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

(6) การสนับสนุนและประกวดโครงงานส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเป็น<br />

โครงงานของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา เยาวชน องค์กร และประชาชนทั่วไปให้<br />

เกิดการคิด นําเสนอ และเผยแพร่การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

(7) การจัดประกวดสื่อสร้างสรรค์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยร่วมมือกับหน่วยงาน<br />

ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา ออกจัดกิจกรรม<br />

เผยแพร่ความรู้โดยการนําเสนอข้อมูลความรู้ความเข้าใจ และเชิญชวนให้จัดทํา<br />

โครงการเผยแพร่ในองค์กรเข้าร่วมประกวดชิงรางวัล<br />

[<strong>19</strong>-7] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

(8) ร่วมกับผู้จําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด โดยจัดใน<br />

รูปแบบส่งเสริมภาพลักษณ์ กิจกรรมเครือข่ายผู้ใช้แก๊สโซฮอล์<br />

(9) ร่วมงานแสดงรถยนต์และงานแสดงสินค้าเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการจดจําความ<br />

เป็นเทคโนโลยีก้าวหน้าของเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

(10) การจัดทํา Logo / Key Message / Identity Design / Mascot ทีมีเอกลักษณ์<br />

เฉพาะตัวของโครงการ เพื่อสร้างความโดดเด่น ชัดเจนและเป็นหนึ่งเดียวกัน<br />

3) กลุ่มเป้าหมาย<br />

3.1) กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ที่ใช้รถยนต์โดยเฉาะพกลุ่ม Gen-Y ที่มีศักยภาพสูงทั่งใน<br />

ปัจจุบันและในระยะเวลา 10 ปีจากนี้และจะเป็นกลุ่มเปลี่ยนแปลงค่านิยมหลักของ<br />

ประชาชนทั่วไปทุกกลุ่ม<br />

3.2) กลุ่มเป้าหมายรอง คือ กลุ่ม Gen-Z ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรม ค่านิยม และ Life Style<br />

คล้ายกับ Gen-X หลายอย่าง และจะเป็นกลุ่มที่เติบโตขึ้นในอนาคต<br />

4) กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อ หรือกิจกรรม<br />

[<strong>19</strong>-8] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

1 เพื่อสร้างการรับรู้<br />

โดยการนําเสนอ<br />

ข้อมูลโดยเลือกใช้<br />

สื่อและกิจกรรมที่<br />

สามารถเข้าถึง<br />

กลุ่มเป้าหมาย<br />

เกี่ยวกับการใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

ให้เป็นที่รู้จักของ<br />

กลุ่มเป้าหมาย<br />

การสร้างเอกลักษณ์ของโครงการผ่าน<br />

Logo / Key Message / Identity<br />

Design / Mascot<br />

ทีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโครงการ<br />

เพื่อสร้างความโดดเด่น ชัดเจนและเป็น<br />

หนึ่งเดียวกัน ซึ่งก่อนการนําเสนอข้อมูล<br />

ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในสื่อออนไลน์และ<br />

ออฟไลน์มีความจําเป็นในการออกแบบ<br />

เพื่อสร้างการจดจํา<br />

1. Facebook Fan Page<br />

2. Website<br />

3.YouTube Channel<br />

4. สร้าง Touch Point โดยการซื้อโฆษณาใน<br />

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ท่องเที่ยว กีฬา<br />

หรือข่าว<br />

5. การสร้างกิจกรรม<br />

1. ป้ายโฆษณา จํานวน 8 ป้าย ระยะเวลาเผยแพร่ 5 เดือน<br />

2. กิจกรรมนิทรรศการ จํานวน 5 ครั้ง<br />

4. ป้ายบนรถโดยสาร รวม 10 เส้นทาง เป็นเวลา 6 เดือน จํานวน<br />

400 คัน ต่อเดือน<br />

5. แรลลี่ 1 ครั้ง จํานวนไม่น้อยกว่า 65 คัน<br />

6. สร้างเครือข่ายที่ดีกับสื่อมวลชนและสัมภาษณ์ผู้บริหาร<br />

ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือปีละ 4 ครั้ง<br />

7. การจัดทํา Logo / Key Message / Identity Design /<br />

Mascot ทีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของโครงการ เพื่อสร้างความ<br />

โดดเด่น ชัดเจนและเป็นหนึ่งเดียวกัน<br />

8. ประกวดสื่อสร้างสรรค์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม<br />

ส่งผลงานเข้าประกวดไม่น้อยกว่า 50 ชุด<br />

9. ร่วมเผยแพร่กับรายการโทรทัศน์ 1 ครั้ง ความยาว 30 นาที<br />

10. ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดกิจกรรมเผยแพร่การปรับแต่ง<br />

เครื่องยนต์และใช้อุปกรณ์ FFV Conversion Kit กับรถยนต์<br />

เก่า จํานวน 10 สถาบัน<br />

[<strong>19</strong>-9] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

2 เพื่อสร้างความรู้<br />

ความเข้าใจที่ดี<br />

โดยการใช้เนื้อหาที่<br />

โน้มน้าวให้กลุ่ม<br />

เป้าหมายเกิดความ<br />

สนใจ เกี่ยวกับการ<br />

ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

1. การให้ข้อเท็จจริงทางกายภาพ<br />

(ผลกระทบทางตรงต่อรถยนต์ การขับ<br />

ขี่ ค่าใช้จ่ายของตัวผู้ใช้เอง)<br />

2. ชี้นําข้อด้อยของการใช้น้ํามัน<br />

ปิโตรเลียมต่อตนเอง ด้านค่าใช้จ่าย<br />

และการปล่อยมลพิษ พร้อมนําเสนอ<br />

ข้อดีของเชื้อเพลิงชีวภาพที่ประหยัด<br />

ค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยมลพิษ<br />

3. นําเสนอคุณสมบัติ มาตรฐาน ผลการ<br />

ทดสอบ และการยืนยันจากผู้ผลิต<br />

รถยนต์และองค์กรที่น่าเชื่อถือถึง<br />

สมรรถนะ การกัดกร่อนเครื่องยนต์<br />

และการระเหยของเชื้อเพลิงที่ไม่<br />

แตกต่างกัน<br />

1. Facebook Fan Page มีสมาชิก หรือ<br />

ผู้ติดตาม (Follower) ไม่น้อยกว่า 10,000<br />

คน มีผู้กดชอบ (Like) แบ่งปัน (Share) แสดง<br />

ความคิดเห็น (Comment) รวมกันไม่น้อย<br />

กว่า 80,000 คน และมีกิจกรรมร่วมสนุก<br />

ไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง<br />

2. Website มีคนเข้าเยี่ยมชมปีละไม่ต่ํากว่า<br />

80,000 คน มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อยกว่า<br />

6 ครั้งต่อปี<br />

3. YouTube Channel มีการเพิ่มเนื้อหา<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพไม่ต่ํากว่าปีละ 20 เรื่อง มี<br />

ผู้เข้าชม (View) ไม่ต่ํากว่า 50,000 คน และ<br />

คนกดติดตาม (Subscriptions) ชอบ และ<br />

แบ่งปันรวมกันปีละไม่ต่ํากว่า 5,000 คน<br />

4. สร้าง Touch Point โดยการซื้อโฆษณาใน<br />

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ท่องเที่ยว กีฬา<br />

หรือข่าวจํานวน 5 เว็บไซต์ ระยะเวลาตลอด<br />

8 เดือนในแต่ละปี<br />

5. ประกวดเว็บไซต์ Top biofuel online 1<br />

ครั้ง มีเว็บไซต์เข้าร่วมการประกวดไม่น้อยกว่า<br />

50 เว็บไซต์ หรือเพจ หรือบล๊อก<br />

1. ป้ายโฆษณา จํานวน 8 ป้าย ระยะเวลาเผยแพร่ 5 เดือน<br />

2. นิทรรศการ จํานวน 10 ครั้ง<br />

3. แรลลี่ 1 ครั้ง จํานวนไม่น้อยกว่า 65 คัน<br />

4. กิจกรรม Biofuel Camp หรือ Young Biofuel Talent หรือ<br />

Biofuel Ambassador มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก<br />

สถาบันการศึกษาระดับไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า<br />

ไม่ต่ํากว่า 200 คน จาก 20 สถาบัน<br />

5. สร้างเครือข่ายที่ดีกับสื่อมวลชนและสัมภาษณ์ผู้บริหาร<br />

ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือปีละ 4 ครั้ง<br />

6. การประกวด Biofuel Smart Car 1 ครั้ง มีรถเข้าร่วมการ<br />

ประกวดไม่น้อยกว่า 50 คัน<br />

7. ประกวดโครงงานส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ จํานวน 5<br />

ครั้ง/ปี เป็นระดับภูมิภาค 4 ครั้ง คือ ภาคกลาง เหนือ อีสาน<br />

และใต้ และระดับประเทศในกรุงเทพมหานคร 1 ครั้งร่วม<br />

กิจกรรม ไม่ต่ํากว่า 20 ทีม โดยมีเป้าหมายให้ทดลองใช้และ<br />

ตรวจวัดประสิทธิภาพจริงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ค้นหา<br />

ความจริง ค้นหาข้อเปรียบเทียบระหว่างเชื้อเพลิงชีวภาพและ<br />

ปิโตรเลียม ปีละ 1 รอบ โครงงานส่งเข้าร่วมประกวดไม่น้อย<br />

กว่า 30 โครงงาน<br />

8. ประกวดสื่อสร้างสรรค์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม<br />

ส่งผลงานเข้าประกวดไม่น้อยกว่า 50 ชุด<br />

[<strong>19</strong>-10] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

6. การจัดประกวดแอพพลิเคชั่นหรือสติ๊กเกอร์<br />

หรือสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม<br />

การประกวดไม่น้อยกว่า 50 คน และสามารถ<br />

นําสื่อที่ชนะการประกวดไปใช้งานได้จริง<br />

7. ประกวดสื่อไวรัลวีดิโอ (Viral Video) 1 ครั้ง<br />

ร่วมส่งเข้าประกวดไม่น้อยกว่า 30 ชุด และ<br />

สามารถนําสื่อที่ชนะการประกวดไปใช้งาน<br />

ได้จริง<br />

9. การจัดประกวดสื่อสร้างสรรค์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยร่วมมือ<br />

กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน<br />

สถาบันการศึกษา ออกจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้โดยการ<br />

นําเสนอข้อมูลความรู้ความเข้าใจ ภาพพจน์ที่ดี และเชิญชวน<br />

ให้จัดทําโครงการเผยแพร่ในองค์กรเข้าร่วมประกวดชิงรางวัล<br />

ปีละ 1 ครั้ง<br />

10. จัดทําชุดสื่อการเรียนการสอนเชื้อเพลิงชีวภาพระดับ<br />

มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยจัดทําชุดสื่อ ตํารา<br />

และคู่มือการสอนสําหรับอาจารย์ ร่วมกับหน่วยงานที่<br />

รับผิดชอบด้านการศึกษา เพื่อทําชุดการเรียนการสอนระดับ<br />

มัธยมศึกษาตอนต้น 1 ชุด ตอนปลาย 1 ชุด และทําข้อตกลง<br />

แจกจ่าย ไปใช้งานยังโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ<br />

11. ร่วมกับรายการทางโทรทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบรายการสนุกสนาน<br />

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ และเปิดโอกาส<br />

ให้ผู้ชมได้ร่วมสนุกในรายการ 3 รายการ<br />

12. จัดทําภาพยนตร์สั้นหรือสารคดีเฉลิมพระเกียรติ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชดํารัสและ<br />

พระราชกรณียกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับเชื้อเพลิงชีวภาพ เนื่องใน<br />

มหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี (29 มิ.ย.<strong>25</strong>59)<br />

โดยเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์<br />

[<strong>19</strong>-11] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

13. ร่วมกับผู้จําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงจัดกิจกรรมส่งเสริม<br />

การตลาด โดยจัดในรูปแบบส่งเสริมภาพลักษณ์ กิจกรรม<br />

เครือข่ายผู้ใช้ แก๊สโซฮอล์ 100 สถานี<br />

14. แจกสื่อแนะนําเชื้อเพลิงชีวภาพฉบับมินิให้กับโชว์รูมจําหน่าย<br />

รถยนต์เพื่อส่งต่อให้ลูกค้าที่กําลังจะตัดสินใจซื้อรถยนต์จํานวน<br />

300 โชว์รูม โชว์รูมละ 500 ชุด/ปี<br />

15. ร่วมสนับสนุนการจัดสื่อส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ใน<br />

พื้นที่สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง เช่น หน้าร้านสะดวกซื้อ<br />

ศาลาหรือลานพักผ่อน หน้าสถานีบริการ หรือที่หัวจ่าย เป็นต้น<br />

เพื่อใช้เป็นจุดให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจริง<br />

300 สถานีทั่วประเทศ และปรับปรุงข้อมูลทุก 6 เดือน<br />

3 เพื่อสร้างและ<br />

ปรับเปลี่ยนทัศน<br />

คติที่ดี โดยการใช้<br />

เนื้อหาที่โน้มน้าว<br />

ให้กลุ่ม เป้าหมาย<br />

เกิดความสนใจ<br />

เกี่ยวกับการใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

และการปรับแต่ง<br />

เครื่องยนต์โดยใช้<br />

การสร้างภาพลักษณ์และค่านิยมทาง<br />

ความรู้สึก (ผลกระทบเชิงการเป็นที่<br />

ยอมรับในกลุ่ม สังคม จิตวิทยา<br />

ความภูมิใจ การเป็นตัวบ่งชี้ไลฟ์สไตล์<br />

การเป็นผู้นําทางความคิดของผู้ใช้ ซึ่ง<br />

ส่งผลมากต่อพฤติกรรม)<br />

1. ชี้นําภาพลักษณ์การใช้น้ํามัน<br />

ปิโตรเลียมให้เป็นไปในทางลบ<br />

• การเสียเงินให้ต่างประเทศโดยไม่<br />

หมุนเวียนกลับสู่คนไทยและตัวเอง<br />

1. Facebook Fan Page นําเนื้อหาออก<br />

เผยแพร่ปีละไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง มีสมาชิก<br />

หรือผู้ติดตาม (Follower) มีผู้กดชอบ (Like)<br />

แบ่งปัน (แชร์) และแสดงความคิดเห็น<br />

(Commend) ปีละไม่น้อยกว่า<br />

80,000 คนต่อปี มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อย<br />

กว่า 6 ครั้งต่อปี<br />

2. Website มีผู้เข้าเยี่ยมชม ปีละไม่ต่ํากว่า<br />

80,000 คน มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อยกว่า<br />

6 ครั้งต่อปี<br />

1. ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ 10 ป้าย ขนาดพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า<br />

1,500 ตารางเมตร ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน<br />

2. การจัดนิทรรศการ 5 จังหวัด ในกรุงเทพและปริมณฑล และอีก<br />

4 ภาคของประเทศ จํานวนรวมไม่น้อยกว่า 10 ห้างสรรพสินค้า<br />

3. จัดกิจกรรม Biofuel Camp และ Young Biofuel Talent<br />

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากสถาบันการศึกษาระดับไม่ต่ํากว่า<br />

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่ต่ํากว่า 200 คน จาก 20 สถาบัน<br />

4. การสร้างเครือข่ายที่ดีกับสื่อมวลชน แถลงข่าว และ<br />

การสัมภาษณ์ผู้บริหาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสําคัญให้แก่<br />

ผู้สื่อข่าว ปีละ 4 ครั้ง<br />

[<strong>19</strong>-12] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

FFV conversion<br />

Kit<br />

• ทําลายสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การขุด<br />

เจาะ การขนส่ง การรั่วไหล<br />

การผลิต การใช้งาน<br />

2. ชี้นําภาพลักษณ์การใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพให้เป็นไปในทางบวก เช่น<br />

การรักษาสิ่งแวดล้อม คุณภาพสูง<br />

เชื้อเพลิงแห่งอนาคต เป็นเชื้อเพลิง<br />

รุ่นใหม่ของคนรุ่นต่อไป การอยู่ร่วมกับ<br />

ธรรมชาติอย่างสมดุล ฯลฯ<br />

3. นําเสนอภาพลักษณ์การผลิตและ<br />

คุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพที่เป็นบวก<br />

• กระบวนการผลิตทันสมัยใช้<br />

เทคโนโลยีสูง กระบวนการ<br />

ควบคุมคุณภาพได้มาตรฐาน<br />

ระดับสากล<br />

4. ลบล้างทัศนคติในแง่ลบด้านคุณภาพ<br />

ด้วยการนําเสนอข้อมูลและ<br />

สภาพแวดล้อมด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

ของประเทศและทั่วโลก เช่น สถิติการ<br />

ใช้งานของในประเทศและทั่วโลกที่<br />

เพิ่มขึ้น<br />

3. YouTube Channel เพิ่มเนื้อหาไม่ต่ํากว่าปี<br />

ละ 20 เรื่อง และผู้กดติดตาม<br />

(Subscriptions) ชอบ และแบ่งปัน ปีละไม่<br />

ต่ํากว่า 50,000 คน<br />

4. Touch Point จํานวน 5 เว็บไซต์ ระยะเวลา<br />

ตลอด 12 เดือนในแต่ละปี<br />

5. ประกวดเว็บไซต์ Top biofuel online<br />

1 ครั้ง มีเว็บไซต์เข้าร่วมการประกวดไม่น้อย<br />

กว่า 50 เว็บไซต์ หรือเพจ หรือบล๊อก<br />

6. การจัดประกวดแอพพลิเคชั่นหรือสติ๊กเกอร์<br />

หรือสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการ<br />

ประกวดไม่น้อยกว่า 50 คน และสามารถนํา<br />

สื่อที่ชนะการประกวดไปใช้งานได้จริง<br />

7. ประกวดสื่อไวรัลวีดิโอ (Viral Video) 1 ครั้ง<br />

ร่วมส่งเข้าประกวดไม่น้อยกว่า 30 ชุด และ<br />

สามารถนําสื่อที่ชนะการประกวดไปใช้งาน<br />

ได้จริง<br />

5. การประกวด Biofuel concept car ประกวดแต่งรถ สโลแกน<br />

เรื่องสั้น เหตุการณ์ ความชื่นชอบ และภาพหรือเรื่องราว<br />

ประทับใจเกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพกับรถยนต์<br />

6. กิจกรรมแรลลี่เชื้อเพลิงชีวภาพ 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า<br />

65 คัน พร้อมนําภาพข่าวกิจกรรมออกเผยแพร่ในสื่อออนไลน์<br />

และสื่อออฟไลน์<br />

7. การจัดประกวดโครงงานส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

จํานวน 5 ครั้ง/ปี เป็นระดับภูมิภาค 4 ครั้ง คือ ภาคกลาง<br />

เหนือ อีสาน และใต้ และระดับประเทศในกรุงเทพมหานคร<br />

1 ครั้งร่วมกิจกรรม ไม่ต่ํากว่า 20 ทีม โดยมีเป้าหมายให้ทดลอง<br />

ใช้และตรวจวัดประสิทธิภาพจริงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์<br />

ค้นหาความจริง ค้นหาข้อเปรียบเทียบระหว่างเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

และปิโตรเลียม ปีละ 1 รอบ<br />

[<strong>19</strong>-13] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

4 เพื่อกระตุ้น<br />

การตัดสินใจซื้อของ<br />

กลุ่มเป้าหมายที่มี<br />

รถยนต์ใช้งานอยู่<br />

แล้ว เกี่ยวกับการ<br />

ทดลองใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพและ<br />

การจัดสารเชิงเปรียบเทียบ<br />

1. เตรียมข้อมูลทางเทคนิคให้ครบถ้วน<br />

ทุกแง่มุม และเป็นข้อมูลเชิง<br />

เปรียบเทียบ<br />

2. จัดทําชุดข้อมูลเผยแพร่ผ่าน<br />

ทางช่องทางที่เข้าถึงและ<br />

เกิดประสิทธิผล<br />

1. Facebook Fan Page นําเนื้อหาออก<br />

เผยแพร่ปีละไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง มีสมาชิก<br />

หรือผู้ติดตาม (Follower) มีผู้กดชอบ (Like)<br />

แบ่งปัน (แชร์) และแสดงความคิดเห็น<br />

(Commend) ปีละไม่น้อยกว่า 80,000 คน<br />

ต่อปี มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อยกว่า<br />

6 ครั้งต่อปี<br />

1. ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ 10 ป้าย ขนาดพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า<br />

1,500 ตารางเมตร ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน<br />

2. ป้ายบนรถโดยสารประจําทาง 5 จังหวัด ในกรุงเทพและ<br />

ปริมณฑล และอีก 4 ภาคของประเทศ เส้นทางรวมไม่น้อยกว่า<br />

10 เส้นทาง แต่ละคันระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือน<br />

รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 400 คันเดือน<br />

3. จัดกิจกรรม Biofuel Ambassador มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก<br />

การปรับแต่ง 3. การสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย 2. Website มีผู้เข้าเยี่ยมชม ปีละไม่ต่ํากว่า สถาบันการศึกษาระดับไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า<br />

เครื่องยนต์โดยใช้<br />

FFV Conversion<br />

Kit<br />

และกลุ่มเป้าหมาย<br />

มีปริมาณ (จํานวนกลุ่มเป้าหมาย)<br />

จํานวนครั้งการส่งซ้ํา ระยะเวลา<br />

และความถี่ เพียงพอตามหลักทฤษฎี<br />

การรับรู้ เปลี่ยนทัศนคติ และ<br />

80,000 คน มีกิจกรรมร่วมสนุกไม่น้อยกว่า<br />

6 ครั้งต่อปี<br />

3. YouTube Channel เพิ่มเนื้อหาไม่ต่ํากว่าปี<br />

ละ 20 เรื่อง และผู้กดติดตาม<br />

ไม่ต่ํากว่า 200 คน จาก 20 สถาบัน<br />

4. การสร้างเครือข่ายที่ดีกับสื่อมวลชน แถลงข่าว และการ<br />

สัมภาษณ์ผู้บริหาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสําคัญให้แก่<br />

ผู้สื่อข่าว ปีละ 4 ครั้ง<br />

ที่กําลังจะซื้อ แสดงออกทางพฤติกรรมของผู้บริโภค (Subscriptions) ชอบ และแบ่งปัน ปีละ 5. การประกวด Biofuel Smart Car หรือ Biofuel concept<br />

รถยนต์คันใหม่<br />

เกี่ยวกับการเลือก<br />

ซื้อรถยนต์ที่มี<br />

เครื่องยนต์รองรับ<br />

การใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพ<br />

4. บ่งชี้ประโยชน์ของผู้บริโภคในการใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อกระตุ้นการ<br />

ตัดสินใจ โดยการสรุปประโยชน์ทาง<br />

กายภาพ ประโยชน์ทางค่านิยมที่<br />

มีมากกว่า<br />

5. เปรียบเทียบกับต้นทุนการเปลี่ยนมา<br />

ทดลองใช้ที่ต้องรับฟังข้อมูลและทํา<br />

ความเข้าใจแค่นั้น<br />

ไม่ต่ํากว่า 50,000 คน<br />

4. Touch Point จํานวน 5 เว็บไซต์ ระยะเวลา<br />

ตลอด 12 เดือนในแต่ละปี<br />

car หรือ Biofuel inner driver ประกวดแต่งรถ สโลแกน เรื่อง<br />

สั้น เหตุการณ์ ความชื่นชอบ และภาพหรือเรื่องราว ประทับใจ<br />

เกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพกับรถยนต์<br />

6. กิจกรรมแรลลี่เชื้อเพลิงชีวภาพ 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า<br />

65 คัน พร้อมนําภาพข่าวกิจกรรมออกเผยแพร่ในสื่อออนไลน์<br />

และสื่อออฟไลน์<br />

[<strong>19</strong>-14] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

6. เลือกใช้สื่อตามความเหมาะสมแต่ละ<br />

เนื้อหา ช่วงเวลา และกลุ่มเป้าหมาย<br />

7. ประเมินผลประสิทธิภาพสื่อ และ<br />

ประสิทธิผลต่อกลุ่มเป้าหมาย พร้อม<br />

วิเคราะห์ข้อบกพร่อง และแนวทาง<br />

ปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมอย่าง<br />

ต่อเนื่อง<br />

7. การจัดประกวดโครงงานส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

จํานวน 5 ครั้ง/ปี เป็นระดับภูมิภาค 4 ครั้ง คือ ภาคกลาง<br />

เหนือ อีสาน และใต้ และระดับประเทศในกรุงเทพมหานคร<br />

1 ครั้ง ร่วมกิจกรรม ไม่ต่ํากว่า 20 ทีม โดยมีเป้าหมายให้<br />

ทดลองใช้ และตรวจวัดประสิทธิภาพจริงด้วยวิธีการทาง<br />

วิทยาศาสตร์ ค้นหาความจริง ค้นหาข้อเปรียบเทียบระหว่าง<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพและปิโตรเลียม ปีละ 1 รอบ<br />

8. การจัดประกวดสื่อสร้างสรรค์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยร่วมมือ<br />

กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน<br />

สถาบันการศึกษา จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้โดยการนําเสนอ<br />

ข้อมูลความรู้ความเข้าใจ ภาพพจน์ที่ดี และเชิญชวนให้จัดทํา<br />

โครงการเผยแพร่ในองค์กรร่วมประกวดชิงรางวัล ปีละ 1 ครั้ง<br />

9. การจัดการแข่งขันตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

ระดับมัธยมศึกษา โดยร่วมมือกับสํานักงานคณะกรรมการ<br />

การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดําเนินการจัดงาน<br />

ศิลปหัตถกรรมนักเรียน มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับจังหวัด<br />

ภูมิภาคและมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต่ํากว่า 400 คน<br />

(ต่อยอดกิจกรรมของเครือข่ายพันธมิตรด้านการประชาสัมพันธ์)<br />

10. ร่วมกับรายการทางโทรทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบรายการสนุกสนาน<br />

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ และเปิดโอกาส<br />

ให้ผู้ชมได้ร่วมสนุกในรายการ<br />

[<strong>19</strong>-15] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

5 เพื่อส่งเสริม<br />

พฤติกรรมเชิงสังคม<br />

Promoting<br />

Behavior) ในการ<br />

ยอมรับการใช้<br />

เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

อย่างต่อเนื่อง ของ<br />

กลุ่มเป้าหมาย<br />

ที่มีรถยนต์ที่มี<br />

เครื่องยนต์รองรับ<br />

การใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพ หลังจากที่<br />

ได้ตัดสินใจทดลอง<br />

ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ<br />

ในครั้งแรกไปแล้ว<br />

1. Facebook Fan Page นําเนื้อหาออก<br />

เผยแพร่ปีละไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง มีสมาชิก<br />

หรือผู้ติดตาม (Follower) มีผู้กดชอบ (Like)<br />

แบ่งปัน (แชร์) และแสดงความคิดเห็น<br />

(Commend) ปีละไม่น้อยกว่า 80,000 คน<br />

ต่อปี มีกิจกรรมร่วมสนุก<br />

ไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง ต่อปี<br />

2. Website มีผู้เข้าเยี่ยมชม ปีละ<br />

ไม่ต่ํากว่า 80,000 คน มีกิจกรรมร่วมสนุก<br />

ไม่น้อยกว่า 6 ครั้งต่อปี<br />

3. YouTube Channel เพิ่มเนื้อหา<br />

ไม่ต่ํากว่าปีละ 20 เรื่อง และผู้กดติดตาม<br />

(Subscriptions) ชอบ และแบ่งปันปีละ<br />

ไม่ต่ํากว่า 50,000 คน<br />

4. Touch Point จํานวน 5 เว็บไซต์ ระยะเวลา<br />

ตลอด 12 เดือนในแต่ละปี<br />

การบูรณาการความร่วมมือ กับส่วน<br />

ราชการ รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน<br />

1. การสร้างแรงจูงใจให้องค์กรต่าง ร่วม<br />

รณรงค์และหามาตรการส่งเสริม<br />

พฤติกรรมการยอมรับการใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพอย่างต่อเนื่อง<br />

2. ให้การสนับสนุนและร่วมในโครงการ<br />

เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการยอมรับการ<br />

ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างต่อเนื่อง<br />

3. การสนับสนุนให้ภาคเอกชน<br />

ประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด เพื่อให้<br />

เกิดยอมรับและการใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพอย่างต่อเนื่อง<br />

โดยดําเนินการตามข้อตกลงกับส่วน<br />

ราชการ ดังนี้<br />

1. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา<br />

ขั้นพื้นฐาน<br />

2. สํานักงานคณะกรรมการ<br />

การอาชีวศึกษา<br />

3. สํานักงานคณะกรรมการ<br />

การอุดมศึกษา<br />

1. ประสานงานกับโครงการจัดประกวด Thailand Energy<br />

Awards ในทุกๆ ปี ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ<br />

อนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อเป็นการยก<br />

ย่องและแสดงความชื่นชมแก่ผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์<br />

พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการ<br />

ตื่นตัวในการอนุรักษ์พลังงานและผลักดันให้เกิดการพัฒนา<br />

พลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น และเพื่อคัดเลือกผู้ที่จะเป็นตัวแทน<br />

ของประเทศไทยไปประกวดโครงการดีเด่นด้านอนุรักษ์พลังงาน<br />

และพลังงานทดแทนในระดับอาเซียน เพื่อจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม<br />

ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ยอมรับการใช้เชื้อเพลิง<br />

ชีวภาพ อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง โดยการจูงใจให้องค์กร<br />

ต่างๆ ได้รับรางวัลจากเวที Thailand Energy Awards<br />

2. ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ 10 ป้าย ขนาดพื้นที่รวม<br />

ไม่น้อยกว่า 1,500 ตารางเมตร ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน<br />

3. จัดกิจกรรม Biofuel Camp หรือ Young Biofuel Talent<br />

หรือ Biofuel Ambassador มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจาก<br />

สถาบันการศึกษาระดับไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า<br />

ไม่ต่ํากว่า 200 คน จาก 20 สถาบัน<br />

4. การสร้างเครือข่ายที่ดีกับสื่อมวลชน แถลงข่าว และการ<br />

สัมภาษณ์ผู้บริหาร เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสําคัญให้แก่<br />

ผู้สื่อข่าว ปีละ 4 ครั้ง<br />

[<strong>19</strong>-16] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

ตารางที่ <strong>19</strong>-1 กลยุทธ์และการเลือกใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (ต่อ)<br />

ปีที่ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์การสื่อสาร สื่อออนไลน์ สื่อออฟไลน์<br />

4. กรมการขนส่งทางบก<br />

5. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา<br />

6. สถานีโทรทัศน์ ททบ.5<br />

โดยดําเนินการตามข้อตกลงกับ<br />

หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ<br />

1. การไฟฟ้านครหลวง<br />

2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย<br />

3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

4. สถานีโทรทัศน์ ThaiTBS<br />

โดยดําเนินการตามข้อตกลงกับบริษัท<br />

ภาคเอกชน<br />

1. บริษัทแม่ผู้ให้บริการสถานีปั๊มน้ํามัน<br />

จํานวน 5 ราย<br />

2. สถานีวิทยุต่าง ๆ ได้แก่ จส.100<br />

สวพ.91 Green Wave สถานีวิทยุ<br />

เพื่อการศึกษาของจุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย<br />

5. กิจกรรมแรลลี่เชื้อเพลิงชีวภาพ 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วม<br />

ไม่น้อยกว่า 65 คัน พร้อมนําภาพข่าวกิจกรรมออกเผยแพร่ใน<br />

สื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์<br />

6. การจัดประกวดสื่อสร้างสรรค์ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยร่วมมือ<br />

กับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน<br />

สถาบันการศึกษา ออกจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้โดยการ<br />

นําเสนอข้อมูลความรู้ความเข้าใจ ภาพพจน์ที่ดี และเชิญชวนให้<br />

จัดทําโครงการเผยแพร่ในองค์กรเข้าร่วมประกวดชิงรางวัล<br />

ปีละ 1 ครั้ง<br />

7. ร่วมกับรายการทางโทรทัศน์ ซึ่งมีรูปแบบรายการสนุกสนาน มี<br />

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้<br />

ผู้ชมได้ร่วมสนุกในรายการ<br />

8. ร่วมกับผู้จําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด<br />

โดยจัดในรูปแบบส่งเสริมภาพลักษณ์ กิจกรรมเครือข่ายผู้ใช้<br />

แก๊สโซฮอล์<br />

9. ร่วมสนับสนุนการจัดสื่อส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ในพื้นที่<br />

สถานีบริการน้ํามันเชื้อเพลิง เช่น หน้าร้านสะดวกซื้อ ศาลาหรือ<br />

ลานพักผ่อน หน้าสถานีบริการ หรือที่หัวจ่าย เป็นต้น เพื่อใช้<br />

เป็นจุดให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจริง<br />

โดยขั้นตอนนี้เน้นการส่งเสริมภาพลักษณ์และพฤติกรรมทาง<br />

สังคม 200 สถานีทั่วประเทศ และปรับปรุงข้อมูลทุก 6 เดือน<br />

[<strong>19</strong>-17] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน


รายงานเบื้องต้น โครงการรณรงค์ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีงบประมาณ <strong>25</strong>60<br />

5) การจัดสรรงบประมาณ<br />

5.1) ปี <strong>25</strong>58 รวมทั้งสิ้น 21,050,000 บาท<br />

5.2) ปี <strong>25</strong>59 รวมทั้งสิ้น 58,600,000 บาท<br />

5.3) ปี <strong>25</strong>60 รวมทั้งสิ้น 43,550,000 บาท<br />

5.4) ปี <strong>25</strong>61 รวมทั้งสิ้น 30,000,000 บาท<br />

5.5) ปี <strong>25</strong>62 รวมทั้งสิ้น 32,800,000 บาท<br />

โดยจะนําข้อมูลเบื้องต้นนี้ มาประกอบกับสถานการณ์จริง และผลประเมินของโครงการนี้ แล้วเมื่อถึง<br />

ช่วงเวลาท้ายโครงการจะจัดทําเป็นแผนฉบับใหม่สําหรับปฏิบัติในปีต่อไปตามที่กําหนดไว้<br />

[<strong>19</strong>-18] กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!