15.01.2018 Views

e book สุวัฒน์ new 5

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

Integration<br />

to<br />

สุวัฒน สุรัตนชัยการ<br />

Success<br />

1


Integration<br />

to<br />

Success<br />

สุวัฒน สุรัตนชัยการ<br />

1


Integration<br />

to สุวัฒน สุรัตนชัยการ<br />

Success<br />

2


สารบัญ<br />

บทนำ<br />

ปรัชญาการทำงาน<br />

ผู้นำกับการบริหาร<br />

ข้อคิดจากการทำงาน<br />

ประสบการณ์ที่ประทับใจในชีวิตการทำงาน<br />

ฝากถึงน้องๆ<br />

3<br />

7<br />

13<br />

21<br />

35<br />

41<br />

<strong>สุวัฒน์</strong> สุรัตนชัยการ<br />

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่<br />

สายงานโครงการ<br />

CAPEX Excellence (TPX)<br />

Senior Vice President,<br />

CAPEX Excellence<br />

พ.ศ. 2560<br />

2


บทนำ<br />

พี่จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า<br />

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2522 และศึกษาต่อที่สถาบัน<br />

บัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนที่เรียนจบมา<br />

ใหม่ๆ อยากที่จะมาทำงานในโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่ใฝ่ฝันของ<br />

เด็กวิศวะที่จบใหม่ทุกคน ซึ่งช่วงนั้นโรงกลั่นน้ำมันใหญ่ๆ ของไทยมีอยู่<br />

2 บริษัท คือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Thaioil) หรือ โรงกลั่น<br />

น้ำมันศรีราชาในสมัยนั้น และ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)<br />

(โรงกลั่นน้ำมันทหารในสมัยนั้น) พี่ก็ไปสมัครงานที่ Thaioil แต่ยังไม่ทัน<br />

จะเข้าทำงานก็มีโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัท Saudi Aramco เสียก่อน<br />

ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศซาอุดิอาระเบียที่ร่วมลงทุนกับบริษัท<br />

น้ำมันเอกชนของสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันประกอบธุรกิจปิโตรเคมีอย่างครบวงจร<br />

ทั้งการสำรวจและผลิตน้ำมันดิบ โรงกลั่นน้ำมัน และบุกเบิกไปจนถึงธุรกิจ<br />

ปลายน้ำอย่างปิโตรเคมี Saudi Aramco ปัจจุบันยังคงเป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่<br />

ที่สุดในโลก ที่นี่ พี่ทำงานเป็นวิศวกรระบบควบคุมซึ่งเป็นสาขาหนึ่งทางด้าน<br />

วิศวกรรมไฟฟ้า ซึ่งพี่ไม่ได้เรียนจบมาโดยตรง แต่ได้มาศึกษาเพิ่มเติมและ<br />

เริ่มทำงานเป็นสายอาชีพหลังจากที่เรียนจบมา ต่อมาตัดสินใจลาออกกลับ<br />

มาทำงานกับบริษัทในประเทศไทย ที่แรกคือ บริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย<br />

ต่อมาย้ายไปทำงานกับ Thaioil ตามที่หวังไว้ เพราะช่วงนั้น Thaioil ทำโครงการ<br />

ขยายโรงกลั่นที่ 3 (TOC-3) จึงได้เข้าทำงาน อยู่ที่นั่นอยู่ประมาณ 7 ปี ช่วงที่<br />

พี่ทำงาน เป็นช่วงที่มีผู้จัดการโรงงาน 2 ท่าน คือ ดร.เอนก สิงหโกสินท์ และ<br />

ดร.ธวัชชัย เฮงรัศมี<br />

2 3


4 5


ต่อมาประเทศไทยได้ขุดค้นพบก๊าซในอ่าวไทย พ.ศ 2524 ซึ่งเรียกช่วงนั้น<br />

ว่าประเทศไทยเข้าสู่ยุคโชติช่วงชัชวาล มีนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนาม<br />

การค้า” รัฐบาลมี นโยบายอนุมัติให้สร้างโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มอีก 2 โรงในเวลา<br />

ใกล้เคียงกันที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด หนึ่งในนั้นคือ โรงกลั่นน้ ำมัน บริษัท<br />

สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน<br />

ระหว่าง Chevron (CALTEX ในสมัยนั้น) กับ ปตท. ช่วงที่พี่ลาออกจาก Thaioil<br />

ย้ายมาทำที่ SPRC เป็นช่วงที่ตัดสินใจลำบากมีหลายคนถามพี่ว่าแน่ใจหรือที่จะ<br />

ไปเริ่มงานกับ SPRC เพราะเป็นบริษัทใหม่ยังไม่มีความมั่นคงเมื่อเทียบกับ Thaioil<br />

แต่พี่ก็ตัดสินใจย้ายมา ตอนนั้นมาเป็นรุ่นบุกเบิก (Pioneer) รุ่นแรก พี่ได้ท ำงานด้าน<br />

วิศวกรรมโครงการ (Project Engineer) ของ SPRC มีโอกาสไปร่วมงานกับบริษัท<br />

CALTEX (Chevron ปัจจุบัน) ร่วมงานออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้น (FEED)<br />

ประมูลหาผู้รับเหมา (ITB) จนได้ผู้รับเหมาก่อสร้าง (EPC) การทำงานช่วงแรก<br />

อยู่ต่างประเทศประมาณสองปี ก่อนจะที่ย้ายเข้ามาทำงานที่มาบตาพุดในช่วง<br />

ก่อสร้างโรงกลั่นฯ จนกระทั่ง Commissioning และได้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม<br />

ในปี 2539 พี่ทำงานในสาย Technical มาโดยตลอดจนถึงปี 2543 พี่จึงได้มี<br />

โอกาสทำงานในตำแหน่งผู้บริหารเบื้องต้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และมีความเจริญ<br />

ก้าวหน้าในสายงาน Technical Management มาโดยตลอด<br />

6 7


ในช่วงที่ธุรกิจโรงกลั่นอยู่ในช่วงขาลง ผลประกอบการของทั้งสอง<br />

โรงกลั่นที่มาบตาพุด คือ SPRC และบริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด หรือ<br />

RRC ขาดทุนติดต่อกันหลายปีทำให้ทั้งสองโรงกลั่นตกลงร่วมดำเนินงานในรูป<br />

แบบพันธมิตร (Operating Alliance) เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น<br />

(Synergy) และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Operating Cost) ได้โอน<br />

ย้ายพนักงานทั้งสองบริษัท มาสังกัดบริษัทใหม่คือ บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง<br />

จำกัด (ARC) บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้มีผลประกอบการ<br />

ที่ดีขึ้น จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งเมื่อ Shell ตัดสินใจขายธุรกิจ<br />

โรงกลั่น RRC ให้ ปตท. ทำให้มีการยกเลิกสัญญาการร่วมด ำเนินการกลั่นในรูปแบบ<br />

พันธมิตร (ARC) และให้สิทธิ์พนักงานที่จะเลือกท ำงานในบริษัท SPRC หรือ RRC<br />

ก็ใด้หลังจากยกเลิกบริษ้ท ARC แล้ว พี่เลือกบริษัทคนไทย ปตท. จึงย้ายมา<br />

ทำงานที่ RRC และต่อมาในปี พ.ศ 2550 ก็ควบรวมกับบริษัท อะโรเมติกส์<br />

(ประเทศไทย) จำกัด (ATC) กลายมาเป็น บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และ<br />

การกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ 2556 PTTAR ก็ควบรวม<br />

กับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) จนมาเป็น บริษัท พีทีที<br />

โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) ในที่สุด<br />

8 9<br />

ปรัชญาการทำงาน


พี่เป็นลูกคนจีน คุณพ่ออพยพมาจากเมืองจีนและมาแต่งงานกับคุณแม่<br />

ที่เมืองไทยเหมือนครอบครัวคนจีน ทั่วๆ ไปสมัยนั้น ในช่วงแรกเข้ามาค้าขาย<br />

แถวห้าแยกพลับพลาไชย เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ต่อมาได้ย้ายครอบครัวมา<br />

อยู่จังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นบ้านเกิดคุณแม่ ในวัยเด็กพี่ได้รับอิทธิพลจากคำสั่ง<br />

สอนของ พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ ทั้งปู่ย่า และ ตายาย โดยท่านจะสอนพี่เสมอ<br />

ว่า “คนจะเก่งได้นั้นต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานมาจากการเป็นคนดีก่อน” คนดีใน<br />

ความหมายของท่านนั้นคือ<br />

• เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต เป็นคนไม่คดโกง ไม่เบียดบังเอาผลประโยชน์<br />

ของส่วนรวมมาเป็นของตน ไม่เอาผลประโยชน์มาให้พวกพ้องเพื่อตอบสนอง<br />

หรือแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์อื่นๆ ที่ตนเองอยากได้ คุณสมบัติข้อนี้เกิดจาก<br />

การเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนในวัยเด็กให้มีความละอายต่อบาป (หิริ โอตัปปะ)<br />

• เป็นคนกตัญญู รู้คุณคน สำนึกคุณผู้ที่ทำดีต่อเราโดยบริสุทธิ์ใจ<br />

ข้อนี้ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษว่าบุญคุณที่ว่านี้ต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง<br />

ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผล หรือคดโกงใครมาไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นผลประโยชน์<br />

ต่างตอบแทน เอื้อซึ่งกันและกัน<br />

• เป็นคนมีความเมตตากรุณา มีจิตใจที่รับรู้และสัมผัสได้ถึงปัญหา<br />

และความทุกข์ร้อนของผู้ที่เราร่วมงานด้วย มีจิตสาธารณะที่อยากช่วยเหลือ<br />

ให้เขาพ้นทุกข์ ให้เขาได้รับความสุขมีจิตกุศลให้อภัยต่อผู้ที่ล่วงเกินเรา<br />

ทั้งที่โดยเจตนา และไม่เจตนา<br />

• ข้อสุดท้ายนี้พี่มาเรียนรู้ในภายหลัง ว่า คนดีควรจะทำดีทั้ง<br />

คิดดี พูดดี และทำดี ไว้ใจผู้อื่นมีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีความ<br />

รู้สึกชื่นชมเห็นคุณค่าของคนที่ทำงานให้เรา เห็นสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความเป็น<br />

จริง เปิดใจกว้างรับสิ่งที่แตกต่างได้ถึงแม้นจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราคาดหวัง หรือ<br />

คุ้นเคย ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ ท่านสอนเสมอว่า<br />

ให้เป็นคนดีรักษาความดีเพราะความดีจะเป็นเกราะป้องกันตัวเราให้พ้นภัยเมื่อ<br />

มีเหตุใดๆ เกิดขึ้น พี่ก็ยึดคำสอนและปฏิบัติตนเรื่อยมาในการดำเนินชีวิตไม่ว่า<br />

จะเป็น ชีวิตในการทำงาน ในครอบครัว หรือในสังคมต่างๆ<br />

10 11


ซึ่งกันและกัน การให้ความช่วยเหลือคนที่รู้จักหรือเพื่อนเป็นเรื่องปกติแต่<br />

ต้องอยู่บนพื้นฐานที่คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ไม่เบียดบังผลประโยชน์<br />

ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทุจริตเอื้อพวกพ้องผลประโยชน์ต่างตอบแทน ต้องแยกให้<br />

ออกระหว่างความกตัญญูรู้คุณกับการทุจริต ตอนที่พี่อยู่ในตำแหน่งที่เป็นสาย<br />

อาชีพไม่มีปัญหาพราะไม่ค่อยได้พบเรื่องราวเหล่านี้ แต่เมื่อมาเป็นผู้บริหาร<br />

แล้วจะต้องระมัดระวังให้มาก พบว่าบางครั้งมันเปรียบเสมือนเส้นผมบางๆ<br />

ระหว่างถูกกับผิด ซึ่งพี่ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ<br />

ค่อนข้างมาก<br />

จากประสบการณ์การพบว่ามีความแตกต่างระหว่างทำงานในบริษัทต่าง<br />

ชาติทางตะวันตก กับบริษัทคนไทย จึงอยากฝากน้องๆ ที่อาจจะได้ทำงานใน<br />

วัฒนธรรมทั้งสองรูปแบบเป็นข้อคิดของการทำงาน บริษัทต่างชาติตะวันตกนั้น<br />

จะเน้นเรื่องงานเป็นหลักสำคัญ ให้โอกาสแสดงศักยภาพในการทำงานอย่างเต็ม<br />

ที่ ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างแม้ว่าจะมีการโต้แย้งในการทำงานแต่ก็ยัง<br />

ให้เกียรติไม่ว่าจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานโดยไม่มีอคติแอบแฝงใดๆ<br />

ตรงไปตรงมาไม่ผูกใจเจ็บหรือเคียดแค้น ไม่เอาเรื่องส่วนตัวหรือความ<br />

รู้สึกมามีอิทธิพลกับการทำงานร่วมกันต่อไป ไม่ยึดติดรูปแบบและแบ่ง<br />

ขั้นการทำงานทำให้มีขั้นตอน หรือ Hierarchy ต้องบริหารจัดการไม่ให้<br />

เกิดความซ้ำซ้อนหรือการมีระดับชั้นมากเกินไป มีความซื่อสัตย์ละอาย<br />

ต่อเรื่องทุจริตคดโกง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทำงานเพื่อองค์กรและ<br />

ส่วนรวมเป็นหลัก เป็นสังคมที่หลากหลายและยอมรับในความแตกต่าง<br />

(Diversity & Respect) เพราะเชื่อว่าสิ่งที่ดีเกิดจากการคิดใหม่ทำใหม่<br />

วัฒนธรรมหรือสังคมไทยจะเป็นสังคมที่มีความเกื้อหนุนมีเครือข่ายช่วยเหลือ<br />

12 13


ผู้นำกับการบริหาร<br />

ช่วงแรกเรียกว่า “Culture Shock” ก็ว่าได้ หลายครั้งเราอาจเจอเรื่อง<br />

ที่ทำให้เราต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง<br />

การฝากคนเข้าทำงาน ซึ่งตรงนั้นเราต้องทำอย่างยุติธรรม เป็นไปตามเกณฑ์<br />

และกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ พี่เชื่อว่าผู้บริหาร<br />

ทุกคนต้องเจอเรื่องราวเหล่านี้ พี่อยากจะย้ำว่าไม่ว่าเราจะพบกับเรื่องที่ไม่คาด<br />

คิดใดๆ ก็ตาม จะทำถูกใจใครหรือไม่แต่ความดีที่เรายึดถือเป็นหลักในการ<br />

ทำงานจะเป็นเกราะป้องกันตัวเรา ให้เราทำงานได้อย่างมีความสุข<br />

14 15


ผู้นำต้องทำให้องค์กรมีทั้งคนเก่งและคนดี หากเป็นด้านสายอาชีพ<br />

“คนเก่ง” ก็คงหนีไม่พ้นคนที ่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญมี<br />

ประสบการณ์ในงานสาขาอาชีพนั้นๆ ถ้าหากเป็นสายบริหารแล้ว จะต้องมี<br />

คุณลักษณะเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ กำหนดทิศทางและสร้างแรงบันดาลใจให้กับ<br />

ทีมงานได้<br />

พี่เป็นคนที่โชคดีที่มีโอกาสได้ทำงานกับผู้นำที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี<br />

นอกจากจะสอนงานแล้วยังเปิดโอกาสให้พี่ได้ใช้ศักยภาพในการทำงานอย่าง<br />

เต็มที่ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน<br />

ได้อย่างเต็มศักยภาพ พี่มองว่าผู้นำบริษัทส่วนมากจะมุ่งเน้นเพียงทำธุรกิจให้<br />

เจริญเติบโตก้าวหน้า แต่กลับไม่ให้ความสำคัญในการสร้างผู้นำในรุ่นต่อๆ<br />

ไป ซึ่งจุดนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับ<br />

องค์กรอย่างแท้จริง<br />

16 17


ยุคแรกๆ การทำโครงการซึ่งเป็นลักษณะงานแบบชั่วคราวไม่มีโครงสร้าง<br />

ที่ชัดเจน เป็นการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา ถึงเวลาก็มอบหมายพนักงาน<br />

ที่เราดึงออกจาก Operation มาทำงานจึงมีมาตรฐานแตกต่างกันในแต่ละ<br />

โครงการไม่มีมาตรฐานหรือกระบวนการตัดสินใจทำโครงการที่แน่นอน หลัง<br />

อนุมัติงบประมาณโครงการ ก็มีการบริหารโครงงานแตกต่างกันตามผู้จัดการ<br />

โครงการนั้นๆ ทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องเวลา ค่าใช้จ่ายและคุณภาพโครงการ<br />

ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ จึงได้วางโครงสร้างของโครงการให้เป็นโครงสร้างถาวร<br />

ซึ่งตอนนั้นเราก็ไปดูโมเดลของแต่ละบริษัท เช่น Foster Wheeler, Technip<br />

และ UHDE เป็นต้น ก็พบว่าเค้ามีการจัดการโครงสร้างที่เป็นรูปแบบ Project<br />

Management Office (PMO) ที่จะคอยกำกับดูแลตลอดจนสร้างมาตรฐาน<br />

การทำโครงการ เราจึงเสนอฝ่ายบริหารขอตั้งสายงาน CAPEX Excellence<br />

โดยมีโครงสร้าง PMO ในสายงานใหม่นี้ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม<br />

ในสายงานเรามีพนักงานที่มีอายุการทำงานห่างกันมาก แบ่งเป็นสองกลุ่ม<br />

ใหญ่ๆ จะเรียกว่าเป็นช่องว่างระหว่างวัยก็ได้ (Generation gap) คือกลุ่ม<br />

พี่ๆ ที่ทำงานตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท NPC & TOC (PTT Chemical) และที่ทำงาน<br />

ตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท ATC&RRC (PTT Aromatics & Refinery) พนักงานกลุ่มนี้<br />

จะมีอายุประมาณ 45-60 (Baby boomer) และช่วงหลังจากปรับโครงสร้างมี<br />

น้องๆ เข้ามาร่วมงานมากขึ้นโดยส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 25-35 (Gen X<br />

และ Gen Y) และบางส่วนจะมีเด็กจบใหม่ๆ เข้ามาทำงานด้วย พี่พบว่าการ<br />

ที่ทั้งสาม generation ต้องมาทำงานร่วมกัน น้องๆ ที่เป็น PMO ก็ต้องคอย<br />

มาประสานต้องมานั่งคุยกับพี่ๆ และบางครั้งอาจต้องแนะนำพี่ๆ ว่ายังทำ<br />

อะไรที่ไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่ง PMO ก็ต้องทำงานด้าน<br />

Governance ส่วนหนึ่งด้วยจึงมีประเด็นว่า PMO เด็กๆ จะกล้าบอกพี่ๆ<br />

ที่เป็นผู้ใหญ่อย่างไรว่า คุณทำไม่ครบถ้วน ทำผิด บกพร่องไม่เป็นตามมาตรฐาน<br />

ในทีมงานโครงการก็จะมีพี่ๆ ที่อายุมากหน่อยและค่อนข้างดุเสียงดัง น้องๆ<br />

ก็จะถูก bluff ให้กลัว ช่วงแรกน้องๆ ก็จะไม่ค่อยกล้าเข้าหา แต่พี่ก็ให้<br />

ผู้จัดการ PMO ที่มีอายุมากหน่อยคอยสอนน้องๆ ให้ใช้ความอ่อนน้อม<br />

เข้าหาและให้อธิบายความรู้ เรื่องจริงที่เกิดขึ้นเพื่อให้พี่ๆ ในโครงการยอมรับ<br />

ผู้จัดการ PMO จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้ค ำปรึกษา ทำให้ช่วงหลังๆ การประสานงาน<br />

การทำงานได้ผลดีขึ้น พี่ๆ ก็เมตตากับน้องๆ การทำงานก็มีเสียงหัวเราะและ<br />

มีความสุขกันมากขึ้น เรื่องของช่องว่างระหว่างวัย Generation gap ก็น้อยลง<br />

18 19


20 21<br />

ข้อคิดจากการทำงาน


พี่มองว่าการบริหารกับการเป็นผู้นำเป็นคนละมิติกัน ซึ ่งองค์กร<br />

ต้องการบุคลากรที่มีคุณลักษณะทั้งสองประการ ผู้บริหารที่ดีจะต้องทำให้<br />

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจและให้ความร่วมมือในการทำงาน<br />

ตามแผนงานที่กำหนดไว้ และให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ต้องการ ส่วนผู้นำ<br />

เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ผู้นำจะทำให้องค์กรเจริญเติบโต<br />

ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งความเข้าใจ<br />

ความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่ทำ การทำงานโดยใช้วิธีการใหม่ๆ ที่ง่ายและมี<br />

ประสิทธิภาพ การสร้างคนให้มีพลังบวกและสุดท้ายมีประสิทธิผลในการ<br />

ทำงาน ผู้นำที่ดีควรมีคุณลักษณะดังนี้<br />

1. เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ พี่มีโอกาส<br />

ได้ทำงานในช่วงสั้นๆ ที่บริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย แต่ไม่ใช่ธุรกิจซีเมนต์<br />

เป็นธุรกิจทางด้านเฟอร์นิเจอร์ไม้ หัวหน้างานเป็นผู้ที ่มีความเมตตา เป็น<br />

รุ่นพี่ที่คอยดูแลสอนงาน และให้คำแนะนำข้อคิด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้<br />

ทดลองทำงานในแบบที่คิดว่าใช่ ให้โอกาสแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่<br />

ให้ความจริงใจจากความช่วยเหลือ และคำชมเชยเมื่อทำงานสำเร็จก่อให้เกิด<br />

แรงจูงใจการทำงานอย่างมีความสุข แต่ช่วงนั้น Thaioil เปิดรับสมัครพนักงาน<br />

ซึ่งเป็นงานเดิมที่เราเคยใฝ่ฝัน พี่จึงไปสมัครทำงานที่ Thaioil การย้ายงาน<br />

มาในครั้งนี้ ช่วงแรกมาแบบใจไม่ค่อยเต็มร้อยนัก เพราะพี่รู้สึกกังวลใจว่า<br />

รุ่นพี่บริษัทเดิมดีกับพี่มาก ให้โอกาสเราทำงานและส่งเสริมเราเป็นอย่างดีแต่เรา<br />

กลับหนีไปทำงานที่อื่น แล้วเขาจะคิดยังไง แต่ช่วงที่ตัดสินใจลาออกรุ่นพี่ก็พูดให้<br />

เราสบายใจว่าไม่ต้องเป็นห่วงเพราะก่อนที่พี่จะลาออกไปนั้น ทาง Thaioil ก็ได้<br />

ติดต่อมาหารือกับรุ่นพี่ก่อนหน้าเรียบร้อยแล้วและรุ่นพี่ก็เต็มใจที่จะให้เราได้มี<br />

โอกาสที่จะไปทำงานในสายอาชีพที่ใฝ่ฝัน หลังจากนั้นพี่จึงได้น ำหลักการทำงาน<br />

ที่เราได้เห็นมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานเรื่อยมา พี่คิดเสมอว่าพนักงานที่<br />

ทำงานมีผลงานดีมีประสิทธิภาพคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร เราควรจะ<br />

รักษาไว้ พนักงานจะต้องทำงานอย่างมีความสุข และรักองค์กรพร้อมจะทุ่มเท<br />

เราต้องสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้รู้สึกว่าปลอดภัยในการแสดงความคิด<br />

22 23


เราต้องสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้รู้สึกว่า<br />

ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น เปิดโอกาสให้<br />

คิดใหม่ทำใหม่ ให้ความไว้วางใจด้วยการกระจาย<br />

อำนาจให้เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ<br />

และเขาจะทุ่มเททำหน้าที่เต็มกำลังความสามารถ<br />

การมีพนักงานที่เก่งและดีถือเป็น Critical Success<br />

Factor ตัวหนึ่งที่จะนำพาองค์กรให้มีความสามารถใน<br />

การแข่งขันในโลกธุรกิจได้อย่างยั่งยืน<br />

เห็นเปิดโอกาสให้คิดใหม่ทำใหม่ ให้ความไว้วางใจด้วยการกระจายอำนาจให้<br />

เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและเขาจะทุ่มเททำหน้าที่เต็ม<br />

กำลังความสามารถ การทำงานเป็นทีมมีความรับผิดชอบและการตัดสินใจที่<br />

ดีในที่สุดซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน การมีพนักงานที่เก่งและดีถือ<br />

เป็น Critical Success Factor ตัวหนึ่งที่จะนำพาองค์กรให้มีความสามารถใน<br />

การแข่งขันในโลกธุรกิจได้อย่างยั่งยืน<br />

2. ต้องปรับตัวให้รวดเร็ว ในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันการ<br />

แข่งขันในโลกธุรกิจสูง เราจะต้องปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ที่มีการ<br />

เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ผู้ประกอบการในธุรกิจปิโตรเคมีหลายราย<br />

เข้าไปใช้วัตถุดิบราคาถูก Shale gas ในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีความได้เปรียบ<br />

ของต้นทุน การตัดสินใจการลงทุนที่จะนำวัตถุดิบราคาถูกมาใช้อย่างไรต้อง<br />

มีความรวดเร็วและหวังผลได้ ผู้แข่งขันรายใหญ่เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น<br />

ผู้ประกอบการในจีนที่มีนโยบาย Self Sufficient หรือในซาอุดิอาระเบีย บริษัท<br />

Saudi Aramco ซึ่งเดิมทำธุรกิจการขุดเจาะและกลั่นแก๊สและน้ำมันเท่านั้น<br />

ได้เปลี่ยนกลยุทธ์ที่จะมาเป็นผู้ผลิตปิโตรเคมี และมีความร่วมมือกับประเทศ<br />

ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ แบบรัฐต่อรัฐมากขึ้นไม่ว่า จีน อินเดีย หรือ รัสเซีย<br />

บริษัทเหล่านี ้มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี สามารถสร้าง<br />

นวัตกรรมใหม่ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ High Specialty เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ในระยะ<br />

เวลา 3-5 ปีจากนี้ไป สำหรับ PTTGC เทคโนโลยีที่เราจะคิดและพัฒนาเป็น<br />

ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้น ยังไม่ทัดเทียมกับคู่แข่ง เราเปรียบเสมือนคนมีเงินพร้อม<br />

ที่จะลงทุนเพียงแต่ขาดเทคโนโลยี นวัตกรรมที่สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์<br />

specialty ปัจจุบันสายงานวิจัยของ PTTGC ได้ก่อตั้งและทำเป็นรูปแบบสากล<br />

มากขึ้น มีการวัดและประเมินผลงานของนวัตกรรม เช่น งบประมาณที่ใช้ใน<br />

การพัฒนานวัตกรรม การร่วมสนับสนุนหรือลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มที่จะ<br />

ต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของ PTTGC มีการวัดจำนวนผลิตภัณฑ์ HVS specialty<br />

ที่พัฒนาขึ้น การปรับตัวให้รวดเร็ว Economy of Speed คือการประหยัดจาก<br />

ความเร็ว หมายความว่า ความเร็วทำให้ต้นทุนต่ำลงได้ และทำให้ลูกค้าเกิด<br />

ความพึงพอใจซึ่งถือเป็นหลักสำคัญในการนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จใน<br />

สิ่งท้าทายใหม่ๆ ในอนาคตถือเป็น Critical Success Factor ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง<br />

24 25


26 27


3. หาสมดุลของงานและชีวิต พี่อาจจะมองต่างจากหลายๆคนใน<br />

เรื่องการทุ่มเท การทำงานต่อเนื่องถึงหัวค่ำหรือดึกๆ อาจจะมีบ้างถ้าหาก<br />

ช่วงนั้นเป็นงานเร่งด่วน แต่ไม่ต้องการให้พนักงานในสายงานทำงานดึกๆ<br />

ทุกวันเพราะชีวิตคนเราต้องมีสมดุลจัดเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวที่จะทำ<br />

กิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะสังคมหรือครอบครัวให้สมดุล Work Life Balanced<br />

ประสบการณ์การทำงานกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมตะวันตกมีส่วนน้อยที่ต้องนั่ง<br />

ทำงานจนดึกดื ่นหรือนำงานกลับไปทำที่บ้าน ซึ่งในส่วนนี้อยู่ที่เราบริหารจัด<br />

การจริงๆ มีตัวอย่างที่น่าสนใจในช่วงทำงานกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมตะวัน<br />

ตกของหน่วยงานทางด้าน Finance ซึ่งทำงานต่อเนื่องตอนเย็นจนเลิกสองทุ่ม<br />

ทุกวัน ฝรั่งที่เป็นหัวหน้าสายงานมาใหม่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพนักงานถึงยอมรับ<br />

การทำงานในรูปแบบนี้จนเป็นปกติ หลังจากวิเคราะห์ปัญหาก็พบว่า งานสามารถ<br />

จัดลำดับเวลาและลดขั้นตอนบางอย่างที่ไม่จำเป็น ทำให้ปริมาณงานที่ต้องทำ<br />

เฉลี่ยแต่ละวันน้อยลงยอมรับได้ถ้าเป็นช่วงปิดงบประมาณหรือรอบบัญชี แต่ช่วง<br />

ปกติจะไม่ยอมให้พนักงานทำงานดึกๆ ถึงสองสามทุ่ม จึงเสนอให้ตั้ง KPI ใน<br />

สายงานของตัวเองว่าทุกคนต้องบริหารจัดการเวลาทำงานให้กลับบ้านก่อนหก<br />

โมงเย็น พยายามให้พนักงานเห็นว่าทิศทางของบริษัทเป็นแบบนี้ หลังจากนั้นก็<br />

พบว่าพนักงานมีความสุขมากขึ้น รู้สึกมีเวลาให้กับสังคมมากขึ้นสภาพแวดล้อม<br />

บรรยากาศในการทำงานก็ดีขึ้น<br />

28 29


นอกจากสมดุลของชีวิตแล้วพี่อยากจะฝากเรื่องของคำว่ายุติธรรม<br />

การได้รับความเท่าเทียมในการปฏิบัติ การทำงานอาจจะโดยตั้งใจหรือไม่<br />

ตั้งใจก็ตาม ถ้าเกิดขึ้นทำให้พนักงานเกิดความไม่พอใจซึ่งส่งผลถึงขวัญและ<br />

กำลังใจในการทำงาน พนักงานคิดว่ามีเส้นมีสายมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก<br />

บางครั้งเราตัดสินใจอยู่บนเงื่อนไขนี้ในสถานการณ์หนึ่งแต่พอมีอีกสถานการณ์<br />

หนึ่งเรากลับตัดสินใจอีกแบบ ซึ่งหากพนักงานไม่ได้รับคำอธิบายอาจเข้าใจผิด<br />

ว่าเราทำงานแบบ 2 มาตรฐาน หากพนักงานรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม<br />

ขึ้นเมื่อใดนั้นมันจะกัดกร่อนความทุ่มเทที่เขามีให้กับงาน ซึ่งเรื่องเหล่านี้<br />

พี่จะไม่ปล่อยผ่าน เราต้องมี Integrity แสดงให้เห็นว่าเรามีความยุติธรรม<br />

ยกตัวอย่างงานโครงการเราต้องบริหารจัดการเรื่องของ Man power ที่<br />

จัดสรรให้โครงการอย่างเท่าเทียมกัน ช่วงนั้นมีพนักงานกลุ่มหนึ่งที่ไม่ถูก<br />

มอบหมายงานหลังโครงการแล้วเสร็จเป็นช่วงเวลาเกินสี่เดือนที่อยู่ว่างๆ<br />

ทำให้พนักงานกลุ่มอื ่นๆ ไม่เข้าใจคิดว่ากลุ่มนี้ได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้อง<br />

ทำงานในขณะที่กลุ่มอื่นต้องทำงานกันอย่างหนัก ซึ่งจุดนี้อาจเกิดจากการ<br />

ที่เราไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจว่าจะมีโครงการใหม่เกิดขึ้นในอีกสองสาม<br />

เดือนข้างหน้านี้จึงมีความจำเป็นต้องเก็บพนักงานกลุ่มนี้ที่มีความรู้ความ<br />

สามารถเหมาะสมกับโครงการใหม่นี้ เราจำเป็นต้องบริหารจัดการคนให้<br />

เหมาะสมกับจำนวนงานอย่างดีที่สุดคือ เรื่องการบริหารความคาดหวังและ<br />

ไม่เป็นไปตามคาดหวังจำเป็นต้องให้พนักงานรับรู้ถึงเหตุผลในการตัดสินใจใน<br />

บางครั้ง<br />

หากพนักงานรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมขึ ้น<br />

เมื่อใดนั้นมันจะกัดกร่อนความทุ่มเทที่เขามีให้กับ<br />

งาน ซึ่งเรื่องเหล่านี้พี่จะไม่ปล่อยผ่าน<br />

4. สร้างวัฒนธรรมองค์กร พี่พบว่าเมื่อผู้นำของเราพูดหรือให้ความ<br />

เห็นใดๆ ทีมงานจะเห็นด้วย คล้อยตามหมดไม่ค่อยมีใครกล้าขัด หรือมี<br />

ความคิดที่แตกต่างออกไป ซึ่งอาจจะเป็นวัฒนธรรมแบบไทยๆ ที่ยังติดกัน<br />

อยู่ วัฒนธรรมทางตะวันตกนั้นประธานในที่ประชุมจะให้เกียรติเรื่องของ<br />

การแสดงความคิดเห็นโดยจะเปิดโอกาสให้ทีมได้มีส่วนร่วมแสดงความ<br />

คิดเห็นก่อน แล้วประธานจะรับฟังอย่างตั้งใจแสดงถึงการให้ความสำคัญ<br />

ไม่ด่วนสรุป ส่วนภายหลังจากเปิดโอกาสให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็น<br />

แล้วจึงสรุปและตัดสินใจ ซึ่งการเปิดโอกาสนี้จะต้องทำให้เป็นบรรยากาศ<br />

ที่ปลอดภัย กล้าคิด กล้าทำ ไม่ถูกว่ากล่าวตั้งแต่ยังไม่เริ่มแสดงข้อคิดเห็น<br />

หรืออีกสถานการณ์หนึ่งที่เคยพบ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น แต่หาก<br />

ไม่ตรงใจ ผู้นำกลับตำหนิในทันทีซึ่งจะทำให้ทุกคนเงียบไม่กล้าแสดงความ<br />

คิด ก็เลยคิดว่าอย่างนั้นเงียบดีกว่าถ้าเสนอความคิดเห็นแล้วต้องเจ็บตัว<br />

พี่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ นอกจากนี้ การทำงานเป็นทีมจะให้ผลสัมฤทธิ์<br />

มากกว่าทำงานคนเดียว ตัวพี่เองจะสอนให้ทุกคนเล่นบทบาททั้งเป็นผู้นำ<br />

และผู้ตามในบางสถานการณ์ บางครั้งต้อง Delegate งาน ในการจะทำ<br />

ทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ พยายามสร้างทีมที่เข้มแข็งมาท ำงาน<br />

แล้วจะพบว่างานจะสำเร็จก่อให้เกิดความพึงพอใจการทำงาน<br />

30 31


32 33


34 35<br />

ประสบการณ์ที่ประทับใจ<br />

ในชีวิตการทำงาน


ประสบการณ์ที่ประทับใจมีหลายช่วงเวลา ถ้าสมัยที่ทำงานโครงการ Star<br />

Petroleum Refinery ที่ Chevron USA พี่รับผิดชอบ Instrument & Control<br />

เรื่องการออกแบบระบบ Metering ซื้อขายน้ำมันที่ท่าเรือ มีเพื่อนร่วมงานเป็น<br />

ชาวต่างชาติทั้ง อเมริกัน ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ หัวหน้างานมอบหมายงาน<br />

ให้ตัดสินใจกับผู้รับเหมาเต็มที่ empowerment ทำให้งานออกแบบท่าเรือของ<br />

SPRC ตลอดจนกลับมา commissioning กับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บ<br />

ภาษีประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในปัจจุบัน จากที่พี่เล่าเมื่อกลับมาเมืองไทย<br />

ทำงานกับเครือปูนซิเมนต์ เป็นงานด้านเฟอร์นิเจอร์ไม้อัด หัวหน้างานพยายาม<br />

ให้โจทย์ที่ยากๆ challenge เราเพราะตอนนั้นคู่แข่งมีทั้งไม้อัดไทย ที่เป็นบริษัท<br />

ชั้นนำในอุตสาหกรรมไม้อัด พี่ได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหาเรื่องต้นทุนของ<br />

สินค้าในผลิตภัณฑ์ประตูไม้อัดโจทย์คือต้องทำให้ต้นทุนน้อยกว่าคู่แข่งแต่ยังคง<br />

คุณภาพและความสวยงาม ทีมงานพี่ก็แก้ไขลองผิดลองถูกปรับปรุงอยู่หลายครั้ง<br />

และยอมรับว่าใช้เวลาพอสมควร แต่หัวหน้างานก็ให้กำลังใจทำให้ทีมไม่ท้อถอย<br />

จนงานประสบความสำเร็จสามารถลดต้นทุนเหนือคู่แข่ง10-20%<br />

สำหรับ PTTGC คือการก่อตั้งสายงาน Capex Excellence ซึ่งตอนนั้น<br />

ได้ไปนำเสนอความคิดเห็นให้กับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ<br />

ผู้จัดการใหญ่ขณะนั้นคือพี่บวร วงศ์สินอุดม ท่านก็เห็นด้วยว่าบริษัทมีความจ ำเป็น<br />

ต้องจัดโครงสร้างนี้เพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง งานโครงการ<br />

ควรเป็นหน่วยงานถาวรไม่ใช้งานชั่วคราวซึ่งเดิมการทำโครงการใหญ่สัก<br />

โครงการต้องขอยืมตัวมือหนึ่งของบริษัทมาช่วยเมื่อโครงการแล้วเสร็จคนเหล่า<br />

นั้นกลับไม่มีงานทำ ไม่มีโครงสร้างรองรับเหมือนถูกทิ้งขว้างความเจริญก้าวหน้า<br />

Career path ก็ไม่ต่อเนื่อง โครงสร้างใหม่นี้จะช่วยให้บริษัทมีการเจริญเติบโต<br />

อย่างยั่งยืน Sustain หลังจากตั้งหน่วยงาน TPX ก็ได้ดำเนินการโครงการสำคัญๆ<br />

4 โครงการ ได้แก่<br />

36 37


1. BV Project: เป็นการอัพเกรดผลิตภัณฑ์ C4 เป็น Butadiene (75<br />

KTA) ตอนที่เข้าไปร่วมดำเนินการใกล้ Commissioning แล้ว ซึ่งช่วงแรกกลยุทธ์<br />

คือให้บริหารจัดการแบบ EPCm ภายหลังพบว่างบประมาณจะเกินจากที่ได้<br />

รับอนุมัติจึงปรับเปลี่ยนมาเป็น EPC Lump sum แต่พบปัญหาระหว่างทางคือ<br />

อุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ การกำหนด Specification ถูกตามมาตรฐานแต่<br />

การเลือกชนิดของอุปกรณ์ไม่เหมาะสม พี่จึงได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของหน่วย<br />

งาน Reliability ที่มีเทคนิคอลจาก Shell RRC พบว่าเค้าไม่แนะนำให้ใช้ pump<br />

ชนิดนี้จึงตัดสินใจเปลี่ยนอุปกรณ์เป็นชนิดใหม่ทำให้สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้น<br />

ได้ตั้งแต่ช่วงต้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถ Start up และดำเนินการเชิงพาณิชย์<br />

ได้ แต่เราก็ต้องยอมรับค่าใช้จ่ายบางส่วนเนื่องจากเป็นความผิดพลาดของ<br />

เราด้วย<br />

2. Aromatics II Debottlenecking Project: โครงการขยายกำลัง<br />

การผลิตของโรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 2 เพื่อให้โรงงานเดินเครื่องเพิ่ม<br />

ผลผลิตเต็มประสิทธิภาพตามที่ออกแบบไว้ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรและ<br />

พลังงานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โครงการนี้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น<br />

จากเดิมประมาณ 28% Project Director ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ<br />

ประสิทธิผล เข้มงวดกับผู้รับเหมาแต่ก็มีช่วงที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าพอ<br />

สมควรเนื่องจากโรงงานเดิมมีปัญหาต้องหยุดซ่อมระยะยาว ทำให้ทีมโครงการ<br />

ต้องเร่งให้เสร็จทันการ Start up ของงานซ่อมบำรุงซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม<br />

2 เดือน การเร่งงานที่ด่วนนี้ ผู้รับเหมาไม่มีความสามารถเพียงพอทางโครงการ<br />

ก็ต้องไปช่วยสนับสนุนจนงานสำเร็จด้วยดีทั้งงบประมาณ และเวลาก่อสร้าง<br />

38 39


3. Heavy Gas Project: โครงการนี้มีการลงทุนค่อนข้างสูง<br />

ซึ่งปัจจุบันเริ่มนำเข้ามาผลิตในเชิงพาณิชย์เนื่องจากเหตุผลความคุ้มค่า<br />

ทางเศรษฐกิจ เบื้องต้นโครงการขาดความต่อเนื่องของผู้ดูแลโครงการ มีการ<br />

เปลี่ยนตัวบุคคลหลายครั้งโดยไม่มีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง เช่น<br />

Process และ Equipment ที ่ออกแบบไม่ตรงกับของจริง ภายหลังโครงการ<br />

เสร็จเรียบร้อยและอยู่ในช่วงวางแผนผลิตเชิงพาณิชย์<br />

ฝากถึงน้องๆ<br />

4. LLH Project: โครงการก่อสร้างโรงงงานผลิต LLDPE Plant 2<br />

และ Hexene 1 มีความท้าทายเนื่องจากระยะเวลาจำกัด เราได้ผู้รับเหมาที่<br />

ชำนาญด้านการบริหารงานมีประสบการณ์ก่อสร้างโรงงานที่ 1 จึงคาดว่าจะ<br />

ไม่มีปัญหาในการผลิต และปัจจุบันอยู่ระหว่างการ Commissioning ซึ่งต้อง<br />

ควบคุมดูแลด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวดควบคู่กันไป<br />

40 41


พี่คิดว่าน้องๆ รุ่นใหม่ที่ขึ้นมาบริหารหรือทำงานมีความสามารถที่จะ<br />

นำพาองค์กรให้เติบโตต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม พี่ก็มีข้อแนะนำว่าในช่วง<br />

3-5 ปีจากนี้ไปเราต้องเผชิญกับคู่แข่งที่น่ากลัวทั้งขนาดและเทคโนโลยี ผู้เล่นราย<br />

ใหญ่ของโลกหลายรายเกิดขึ้นและมีแผนขยายกำลังการผลิตและขยายตลาด<br />

เข้ามาในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะมีศักยภาพในการผลิต ผลิตภัณฑ์ specialty ถึง<br />

แม้ว่า PTTGC เองจะเริ่มปรับตัวค่อนข้างมากซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน<br />

ระดับสากลแล้ว องค์กรยังต้องปรับให้รวดเร็วเพราะถ้าเราตามไม่ทันจะสูญเสีย<br />

โอกาสในการแข่งขัน และอีกเรื่องหนึ่งคือการปรับตัวของพนักงานกับวัฒนธรรม<br />

ในการทำงานแบบใหม่ที่เราควรจะพัฒนาไปสู่ความเป็นสากลมากขึ ้น ซึ่งการ<br />

เปลี่ยนแปลงทั้งหลายเหล่านี้ต้องการพลังและการทุ่มเทของพนักงานทุกๆ คน<br />

ที่จะทำให้ PTTGC ทั้งองค์กรเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต<br />

42 43<br />

(ลายเซ็นต์)<br />

จากพี่เอง<br />

<strong>สุวัฒน์</strong> สุรัตนชัยการ


44 45


46 47


48 49


นาย<strong>สุวัฒน์</strong> สุรัตนชัยการ<br />

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารโครงการที่เป็นเลิศ<br />

วันที่ดำรงตำแหน่ง : 1 สิงหาคม 2556 - 31 ธันวาคม 2560<br />

คุณวุฒิการศึกษา / ประวัติการอบรม<br />

• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช<br />

• วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

• ประกาศนียบัตรหลักสูตร Senior Executive Program (SEP)<br />

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

• หลักสูตร PTT Executive Leadership Program<br />

• หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่น 218/2016<br />

สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)<br />

การดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียน<br />

• กรรมการ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด<br />

ประสบการณ์การทำงาน (5 ปีย้อนหลัง)<br />

• 2553 - 2556 ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมตรวจสอบ<br />

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)<br />

• 2551 - 2553 ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมโครงการ<br />

บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)<br />

50 51


52

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!