11.02.2019 Views

Khazili Ebook

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

كتاب<br />

قواعد العقائد<br />

لحجة اإلسالم اإلمام الغزالي<br />

แปลและอธิบายโดย<br />

อาริฟีน แสงวิมาน<br />

หลักอะกีดะฮ์<br />

อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

อิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์


كتاب قواعد العقائد<br />

لحجة الإسالم الإمام الغزا يل<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

แปลและอธิบาย อาริฟีน แสงวิมาน<br />

พิสูจน์อักษร นัจจวา แสงวิมาน และทีมงาน<br />

แบบปก Haris Jaru<br />

จัดพิมพ์โดย อาริฟีน แสงวิมาน<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2561<br />

จำนวน 2,000 เล่ม<br />

สั่งซื้อได้ที่<br />

สถาบันอัลกุดวะฮ์ เพื่อการศึกษาแนวทางซูฟีย์อิสลามอันบริสุทธิ์<br />

184 ซอย ลาดพร้าว 124 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ<br />

10310<br />

โทรศัพท์ 084-6639644<br />

ร้าน ส.วงศ์เสงี่ยม<br />

8 ซอย โภคี ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบ<br />

กรุงเทพฯ 10100<br />

โทรศัพท์ 02-222-7997 โทรสาร 02-621-7365<br />

Website: www.ransorbookshop.com


َ ك وَ‏ لِ‏ ل<br />

َّ ُ وَ‏ اسْ‏ ت ْ فِ‏ رْ‏ لِ‏ َ ذ نْ‏ بِ‏<br />

فَ‏ اع َ نَّ‏ ه َ إِ‏ ل<br />

ُ ْ وَ‏ مَ‏ ث ‏ْوَ‏ اك<br />

وَ‏ الل ‏َّبَ‏ ك<br />

อัลลอฮฺตะอาลา ทรงตรัสว่า<br />

ْ ُ ؤ َ اتِ‏ ي نَ‏ وَ‏ ال ْ مِ‏ ن<br />

َ غ ْ ُ ْ ؤ مِ‏ نِ‏ <br />

ْ ُ<br />

َّ ل الل<br />

َ َ إِ‏<br />

ْ َ ‏ْل أ ُ ل<br />

َ ُ مُ‏ َ ت َ قل<br />

َّ ُ يَعْ‏ ل<br />

“ฉะนั้นพึ่งรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก<br />

อัลลอฮฺ และจงขออภัยโทษ(ต่ออัลลอฮฺ)เนื่องจาก<br />

ความผิดของเจ้าและ(จงขออภัยโทษให้กับความ<br />

ผิด)ของบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธา<br />

หญิง และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งถึงพฤติกรรมของพวก<br />

เจ้าและที่พำนักของพวกเจ้า”[มุฮัมมัด: 19]


ي ي<br />

ْ ي<br />

ِ<br />

ف<br />

ي<br />

َ<br />

جْ‏<br />

ف<br />

คำนำ<br />

بِسْ‏<br />

ِ هللاِ‏ الرَّ‏ حْ‏ نِ‏ الرَّ‏ حِ‏ <br />

ْ ‏َمْ‏ ُ د هللِ‏ رَ‏ بّ‏<br />

ا<br />

‏َانِك<br />

سُ‏ لْط<br />

وَ‏ الصَّ‏ الَة وَ‏ السَّ‏ ُ<br />

وَ‏ سَ‏ ل ‏َسْ‏ لِ‏<br />

َ َ ك .<br />

ِ ك<br />

َ<br />

َ َ ا يَن ‏ْبَ‏ <br />

ْ ي‏ ك<br />

ُ رَ‏ ِ<br />

ِ ي<br />

َ ل ِ ال ْ نَ‏ َِ ، ل َ ال<br />

ِ با<br />

َ ، حَ‏ ً ‏ْدا طَيّ‏<br />

َ<br />

ال ‏َمُ‏ ع َ ل<br />

‏ْعَ‏ ال ي<br />

‏َهِ‏ را مُ‏ بَ‏ ارَ‏ ً<br />

ً طا<br />

سَ‏ يّ‏<br />

َ<br />

ِ<br />

ِ يْ‏ غ لِ‏ جَ‏ الَلِ‏ وَ‏ وَ‏ لِعَ‏ ظِ‏ يْ‏<br />

ْ ‏َمْ‏ د بّ‏<br />

‏َك<br />

ً اك فِ‏ يْ‏ هِ‏ ، حَ‏ ً ‏ْدا يُوَ‏ ْ ا‏ نِعَ‏ مَ‏ كَ‏ وَ‏ يُكِ‏ ي ءُ‏ مَ‏ زِ‏ يْد<br />

ْ َ بْعُ‏ وْ‏ ثِ‏ رَحْ‏ ‏َةً‏ لِلْعَ‏ الَ‏ ْ نَ‏ وَعَ‏ ل آلِ‏ ِ وَ‏ َ ْ ص بِ‏ هِ‏<br />

ُ َ مَّ‏ دٍ‏ ال<br />

نَ‏ م<br />

ِ<br />

‏ِدِ‏ <br />

ْ ً كَ‏ ثِ‏ ْ ً ا .<br />

นี่คือหนังสือ ก่อวาอิดุลอะกออิด ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ฉบับแปลไทย เป็นตำราที่กล่าวถึงหลักอะกีดะฮ์<br />

อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ที่กลั่นกรองมาจากตัวบทกิตาบุลลอฮฺ<br />

และซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อ<br />

สะดวกในการยึดมั่นที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวไว้ในตำรา<br />

อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน ที่โด่งดังของท่าน และเพื่อมีส่วนร่วมในการ<br />

ฟื้นฟูและเผยแผ่หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์แก่<br />

ประชาชาติอิสลาม<br />

อนึ่ง ตำรา อัลก่อวาอิดุลอะกออิด ฉบับภาษาอาหรับนั้นผู้เขียน<br />

ได้ทำการสอนจบถึงสองครั้งและได้แปลเป็นภาษาไทยเพื่อเป็นของ<br />

กำนัลให้แก่บรรดาผู้เรียนเมื่อได้สอนจบ ผู้เขียนจึงตระหนักว่า<br />

ตำราอะกีดะฮ์เล่มนี้มีบะร่อกะฮ์เพราะให้คุณประโยชน์และความ<br />

เข้าใจแก่ผู้คนที่ร่ำเรียนมากมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงมีกระแสความคิด<br />

วนเวียนเข้ามาตลอดว่า ตำราที่มีความบะร่อกะฮ์ของท่านอิหม่าม<br />

َّ َ ت


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

5<br />

อัลฆ่อซาลีย์เล่มนี้สมควรจัดตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเผยแผ่<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์และยังคุณประโยชน์แก่<br />

พี่น้องมุสลิมทั่วไป<br />

ในบทนำของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอเกี่ยวกับชีวประวัติ<br />

ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์พร้อมทำการวิเคราะห์เพื่อเป็น<br />

บทเรียนสอนใจและปลุกปณิธานในการทำงานศาสนาและสร้าง<br />

ความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺตะอาลา และผู้เขียนจะนำตัวบทภาษา<br />

อาหรับไว้ด้านบนเพื่อสะดวกในการท่องจำพร้อมคำแปลภาษา<br />

ไทยด้านล่าง ส่วนหัวข้อเรื่องนั้นมาจากการเพิ่มของผู้เขียนเอง<br />

และทำการอธิบายในเชิงอรรถแบบพอสังเขปเพื่อให้ผู้อ่านมีความ<br />

เข้าใจมากยิ่งขึ ้น<br />

อัลลอฮฺเท่านั้นที่ผู้เขียนวอนขอต่อพระองค์ให้หนังสือเล่มนี้มี<br />

ประโยชน์แก่ตัวผู้เขียนเองและพี่น้องมุสลิมทั้งหลายในทั้งดุนยา<br />

และอาคิเราะฮ์ด้วยเถิด อามีน ยาร็อบ<br />

อาริฟีน แสงวิมาน<br />

ผู้รับใช้แนวทางอะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์


สารบัญ<br />

คำนำ4<br />

บทนำ: ชีวประวัติของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ 8<br />

ชีวิตช่วงเยาว์วัย8<br />

ความอัจฉริยะในการร่ำเรียนของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์10<br />

สาเหตุที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เข้ามาอยู่ในแนวทางตะเซาวุฟ14<br />

การเดินทางออกจากนครแบกแดด17<br />

วิเคราะห์บทเรียนจากชีวประวัติของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์19<br />

คำยกย่องของปราชญ์เกี่ยวกับอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์26<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์กับการปฏิรูปสังคม28<br />

ความเป็นมาของตำราก่อวาอิดุลอะกออิด42<br />

ตำรา ก่อวาอิดุลอะกออิด47<br />

ศิฟัตอัลวุญูด-อัลลอฮฺทรงมี48<br />

ศิฟัตซัลบียะฮ์51<br />

ศิฟัตอัลวะหฺดานียะฮ์-ทรงหนึ่งเดียว 51<br />

ศิฟัตอัลกิดัม-ทรงเดิม 51<br />

ศิฟัตอัลบะกออฺ-ทรงถาวร52<br />

ศิฟัตอัลกิยามุบินนัฟซิ-ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง52<br />

ศิฟัตอัลมุคอละฟะฮ์ ลิลหะวาดิษ-ทรงแตกต่างกับสิ่งบังเกิดใหม่53<br />

ปฏิเสธการมีสถานที่ให้กับอัลลอฮฺ55<br />

ความหมายการอิสติวาอฺของอัลลอฮฺเหนือบัลลังก์55<br />

ปฏิเสธการเข้าไปอยู่หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอัลลอฮฺ58<br />

การเห็นอัลลอฮฺ60


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

7<br />

ศิฟัตมะอานี61<br />

ศิฟัตอัลหะยาฮ์-ทรงเป็นและอัลกุดเราะฮ์-ทรงเดชานุภาพ61<br />

ศิฟัตอัลอิลมุ้-ทรงรอบรู้63<br />

ศิฟัตอัลอิรอดะฮ์-ทรงเจตนา65<br />

ศิฟัตอัสสัมอุ้-ทรงได้ยินและอัลบะศ็อร-ทรงเห็น68<br />

ศิฟัตอัลกะลาม-การทรงพูด69<br />

มุอฺมินได้เห็นอัลลอฮฺในโลกหน้า71<br />

เตาฮีดอัฟอาล-หนึ่งเดียวในการกระทำของอัลลอฮฺ72<br />

การสร้างทุกสิ่งที่มุมกินหรือไม่สร้างในสิทธิของอัลลอฮฺ74<br />

เรื่องการเป็นนะบีย์และสิ่งที่เกี่ยวข้อง76<br />

การแต่งตั้งท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม77<br />

อัซซัมอีย้าต (บรรดาหลักความเชื่อที่ได้ยินจากตัวบท)78<br />

อะลั่มบัรซักและการลงโทษที่กุบูร78<br />

การอีหม่านต่อตราชั่ง79<br />

สะพานศิร้อฏ80<br />

บ่อน้ำของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในสวรรค์80<br />

การสอบสวน81<br />

ผู้มีเตาฮีดออกจากนรก82<br />

การชะฟาอะฮ์82<br />

เรียบเรียงความประเสริฐของศ่อฮาบะฮ์83<br />

คิดในแง่ดีงามกับศ่อฮาบะฮ์และงดเอ่ยถึงพวกเขาในทางที่ไม่ดี 83<br />

บรรณานุกรม85


บทนำ<br />

ชีวประวัติของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ชีวิตช่วงเยาว์วัย<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ มีนามว่า มุฮัมมัด บุตร มุฮัมมัด บุตร<br />

มุฮัมมัด บุตร อะหฺมัด เกิดที่เมืองฏูส ปี ฮ.ศ. 450 บิดามีฐานะ<br />

ยากจน มีอาชีพปั่นเส้นด้ายที่ทำมาจากขนสัตว์และนำไปขายที่ร้าน<br />

ในเมืองฏูส เขาจะไม่รับประทานและไม่ให้ครอบครัวรับประทาน<br />

อาหารใดนอกจากอาหารที่ได้มาจากการทำงานจากน้ำมือของเขา<br />

เท่านั้น บิดาของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ชอบเรื่องศาสนา ชอบนั่ง<br />

เรียนกับปราชญ์ฟิกฮ์และนักวิชาการศาสนา เขาชอบบริการรับใช้<br />

พวกเขาเหล่านั้น และเขาเอาจริงเอาจังในการบริการสิ่งดีงามให้<br />

แก่พวกเขาสุดความสามารถ เขาจะร้องไห้เมื่อรู้สึกกินใจกับคำพูด<br />

และคำเตือนใจของนักปราชญ์เหล่านั้น หลังจากนั้นเขาก็วิงวอน<br />

ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงประทานบุตรสักคนหนึ่งที่เป็น<br />

ปราชญ์คอยปกป้องศาสนา<br />

อัลลอฮฺตะอาลาให้เขากำเนิดบุตรสองคน คนหนึ่งชื่อมุฮัมมัด<br />

และอีกคนหนึ่งชื่ออะหฺมัด เขาเห็นว่าบุตรทั้งสองนี้เป็นผลสัมฤทธิ์<br />

มาจากความหวังและดุอาอ์ของเขาพร้อมหวังว่าอัลลอฮฺจะทำให้<br />

บุตรทั้งสองเป็นนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) ที่ทรงความ


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

9<br />

รู้แต่เขากลับเสียชีวิตไปก่อนในขณะที่บุตรทั้งสองยังเยาว์วัย ก่อน<br />

ตายผู้เป็นบิดาจึงฝากฝังกับเพื่อนที่เป็นคนตะเซาวุฟที่มีคุณธรรม<br />

เขาได้กล่าวกับเพื่อนของเขาว่า ฉันรู้สึกเสียใจมากที่ฉันไม่ได้รับ<br />

ความรู้ศาสนามากนัก แต่ฉันหวังว่า บุตรสองคนนี้จะเก็บตกในสิ ่ง<br />

ที่ฉันขาดไป... ดังนั้นท่านจงสั่งสอนพวกเขาให้สุดความสามารถ<br />

เถิด และจงให้พวกเขามีความสะดวกในการร่ำเรียนความรู้ และ<br />

ไม่จำเป็นที่ท่านจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูจากทรัพย์สินทั้งหมดที่ฉันได้<br />

ทิ้งเป็นมรดกไว้ให้แก่ทั้งสองก็ได้1<br />

เมื่อเขาได้เสียชีวิต ชายผู้มีคุณธรรมจึงทำการสั่งสอนทั้งสอง<br />

สุดความสามารถที่จะกระทำได้ แต่ทรัพย์สินอันน้อยนิดที่บิดา<br />

ได้ทิ้งไว้ให้ทั้งสองช่างหมดลงอย่างรวดเร็วเหลือเกิน และชายผู้มี<br />

คุณธรรมก็เป็นคนยากจนที่อดมื้อกินมื้อ เขาจึงกล่าวกับทั้งสองว่า<br />

เจ้าทั้งสองจงรู้ว่าฉันได้จ่ายค่าเลี้ยงดูแก่เจ้าทั้งสองจากทรัพย์สินที่<br />

เป็นของเจ้าทั้งสองหมดแล้ว ฉันเป็นคนยากจนตามที่พวกเจ้าได้<br />

เห็น ดังนั้นฉันจึงไม่มีทรัพย์สินหลงเหลืออยู่เพื่อจะจุนเจือเจ้าทั้ง<br />

สองแล้ว...แต่ฉันเห็นว่า เจ้าทั้งสองสมควรเข้าเรียนที่โรงเรียนใน<br />

ฐานะนักศึกษาแล้วเจ้าทั้งสองก็จะมีปัจจัยยังชีพในช่วงเวลาศึกษา<br />

ร่ำเรียน...ดังนั้นทั้งสองจึงน้อมรับสิ ่งดังกล่าว 2<br />

อัลฆ่อซาลีย์ มุ่งหน้าทุ่มเทในการร่ำเรียนเกี่ยวกับวิชาฟิกฮ์<br />

(นิติศาสตร์อิสลาม) ด้วยความอดทนและความฉลาดเฉียบแหลม<br />

1 หมายถึง ให้เขานำมรดกไปเป็นค่าเลี้ยงชีพตนเองและเป็นค่าตอบแทนในการเลี้ยงดู<br />

และอบรมสั่งสอนบุตรทั้งสองได้.<br />

2 อัซซุบกีย์ อับดุลวะฮ์ฮาบ บิน อะลีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, ตะห์กีก:<br />

มะหฺมู้ดอัฏฏ่อนาฮีย์และอับดุลฟัตตาห์ มุฮัมมัด อัลหิลวฺ (ไคโร: ฮิจญฺร์, ฮ.ศ. 1413),<br />

เล่ม 6, หน้า 193-194.


10<br />

قواعد العقائد<br />

และมีความโดดเด่นเหนือเพื่อนคนอื่นอย่างรวดเร็วและกลายเป็น<br />

ที่ชื่นชมของเพื่อนๆ ทั้งหมด<br />

ส่วนอะหฺมัดผู้เป็นน้อง มุ่งเรียนเกี่ยวกับวิชาการขัดเกลาจิตใจ<br />

และมุ่งเน้นปฏิบัติอิบาดะฮ์จนกระทั่งเป็นที่เลื่องลือถึงความมี<br />

คุณธรรมและมีความชำนาญในการบรรยายธรรมและเป็นที่รู้จัก<br />

ถึงความฉะฉานในการพูดและอธิบายอย่างลึกซึ้งน่าประทับใจ 3<br />

ความอัจฉริยะในการร่ำเรียนของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

เรื่องราวของอัลฆ่อซาลีย์ในช่วงแรกนั้น ในปี ฮ.ศ. 465 ท่าน<br />

ได้มุ่งหน้าเดินทางไปยังเมืองญุรญานซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ใกล้กับ<br />

เมืองฏูส เพื่อร่ำเรียนกับท่านอิหม่ามอะบูนัศรฺ อัลอิสมาอีลีย์4<br />

และได้รับวิทยาการและความรู้แขนงต่างๆ มากมายจากผู้เป็น<br />

อาจารย์ ซึ่งอัลฆ่อซาลีย์ได้บันทึกมันเอาไว้ในแผ่นกระดาษบันทึก<br />

3 อิบนุอิม้าด, อับดุลหัยยฺ บิน อะหฺมัด, ชะษะร้อตอัซซะฮับ, ตะห์กีก: มะหฺมู้ด อัลอัรนะอูฏ,<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 (ดิมัช,เบรุต: ดารุอิบนุกะษีร, ค.ศ. 1989/ฮ.ศ.1410), เล่ม 6, หน้า 99,<br />

101.<br />

4 หมายถึง ได้บันทึกความรู้ต่างๆ ของท่านอิหม่ามอะบูนัศรฺ อัลอิสมาอีลีย์ (เสียชีวิตปี<br />

ฮ.ศ. 405) ปราชญ์หะดีษระดับแนวหน้าของเมืองญุรญาณ โดยที่มิได้ท่องจำและได้ยิน<br />

โดยตรง แต่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นลูกศิษย์ของอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม อิสมาอีล บิน<br />

มัสอะดะฮ์ อัลอิสมาอีลีย์ ผู้เป็นหลานของอิหม่ามอะบูนัศรฺอัลอิสมาอีลีย์ เกิดปี ฮ.ศ. 407<br />

เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 477 ซึ่งท่านเป็นนักปราชญ์ฟิกฮ์(มัซฮับชาฟิอีย์) เป็นนักปราชญ์หะดีษ<br />

มีความนอบน้อมถ่อมตน สติปัญญาฉลาดสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่งดงาม ทำการฟัตวา<br />

และสอน และทำการบอกรายงานหะดีษด้วยความเข้าใจในตัวบท ซึ่งบ้านของท่าน<br />

อิหม่ามอะบุลกอเซ็มอิสมาอีล เป็นศูนย์รวมของเหล่าปราชญ์ บรรดาผู้มีคุณธรรม และ<br />

ปราชญ์ที่ได้เดินทางมาร่ำเรียนกับท่านมากมาย. ดู อิบนุนุ้กเฏาะฮ์ มุฮัมมัด บิน อับดุล<br />

ฆ่อนีย์ อัลบัฆดาดีย์, อัตตักยี้ด ลิมะอฺริฟะติ รุวาฮ์อัซซุนันวัลมะซานี้ด, ตะห์กีก: กามาล<br />

ยูซุฟ อัลหู้ต, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์, ปี ค.ศ. 1988 – ฮ.ศ. 1408),<br />

หน้า 205, อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 4, หน้า 294.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

11<br />

ช่วยจำ วันหนึ่งในขณะเดินทางกลับเมืองฏูส มีหมู่โจรดักปล้น<br />

สะดมระหว่างทางได้ออกมา แล้วทำการค้นตัวอัลฆ่อซาลีย์ทั ้งหมด<br />

หลังจากนั้นก็ปล่อยตัวไป แต่อัลฆ่อซาลีย์ได้เล่าว่า “ฉันกลับเดิน<br />

ติดตามพวกเขาไปเพื่อขอตำราจดบันทึกคืน แล้วหัวหน้าโจรก็หัน<br />

มาพูดกับฉันว่า เจ้าเอ๋ย จงกลับไปเถิด มิเช่นนั้น เจ้าจะต้องตาย<br />

น่ะ! ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า ฉันขอให้ท่านส่งบรรดาเล่มสมุดบันทึก<br />

ของฉันคืนเท่านั้น เพราะมันเป็นสิ ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับพวก<br />

ท่านเลย ดังนั้นเขาจึงกล่าวกับฉันว่า อะไรคือสมุดบันทึกของเจ้า?<br />

ฉันตอบว่า มันคือบรรดาตำราที่อยู่ในถุงย่ามนั้นไง ฉันได้เดินทาง<br />

เพื่อจะได้รับฟัง จดบันทึก และได้รับข้อมูลความรู้จากมัน เขาจึง<br />

หัวเราะพร้อมกล่าวว่า เจ้าแอบอ้างได้อย่างไรว่าเจ้ามีความรู้ เมื่อ<br />

พวกเราได้ยึดมันมา เจ้าก็สูญสิ้นซึ่งความรู้และคงอยู่ในสภาพที่<br />

ปราศจากความรู้กระนั้นหรือ?! หลังจากนั้นเขาก็ใช้ให้ลูกน้องส่ง<br />

ถุงย่ามให้แก่ฉัน อัลฆ่อซาลีย์จึงกล่าวว่า นี่คือคำพูดที่อัลลอฮฺทรง<br />

ทำให้เขาพูดออกมาเพื่อชี้นำเกี่ยวกับภารกิจการศึกษาความรู้ของ<br />

ฉัน เมื่อฉันเดินทางถึงเมืองฏูส ฉันก็มุ่งให้ความสนใจอยู่กับมันถึง<br />

สามปี (ฮ.ศ. 470-473) จนกระทั่งท่องจำทั้งหมดในสิ่งที่จดบันทึก<br />

ไว้และหากมีการดักปล้นสะดมระหว่างทาง แน่นอนความรู้ของฉัน<br />

ก็จะไม่หายไป” 5<br />

ต่อมาในปี ฮ.ศ. 473 อัลฆ่อซาลีย์ได้เดินทางไปยังเมือง<br />

นัยซาบูร และอยู่ร่ำเรียนกับท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์ อับดุลมาลิก<br />

อัลญุวัยนีย์ซึ่งเป็นหัวหน้าปราชญ์ฟิกฮ์มัซฮับชาฟิอีย์และเป็น<br />

ผู้อำนวยการสำนักอันนิซอมียะฮ์ในยุคนั้น อัลฆ่อซาลีย์ร่ำเรียน<br />

อย่างขยันหมั่นเพียรจนกระทั่งแตกฉานในวิชาฟิกฮ์ วิชาเกี่ยวกับ<br />

5 อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 6, หน้า 195.


12<br />

قواعد العقائد<br />

การขัดแย้ง หลักวิชาโต้แย้ง วิชาอะกีดะฮ์ และวิชารากฐานของ<br />

ฟิกฮ์และท่านมีความชำนาญในตรรกศาสตร์ และปรัชญาจน<br />

กระทั่งรอบรู้ถึงสำนักคิดต่างๆ ดังนั้นเกียรติศักดิ์ของท่านขจรไป<br />

ไกลในฐานะศิษย์ของอิหม่ามอัลหะรอมัยน์กล่าวกันว่า อิหม่าม<br />

อัลหะร่อมัยน์นั้นมีความภาคภูมิใจในอัลฆ่อซาลีย์เป็นอย่างมาก<br />

และกล่าวว่า อัลฆ่อซาลีย์นั้นคือทะเลที่ไร้ฝั่ง แต่มีบางคนกล่าวว่า<br />

ท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์แสร้งแสดงความภูมิใจทางภายนอกแต่<br />

ภายในนั ้นมีความอึดอัดเนื่องจากความพิเศษของอัลฆ่อซาลีย์<br />

ในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงหัวใจสำคัญที่ความรู้ของอัลฆ่อซาลีย์มี<br />

ความโดดเด่นสูงสุด ท่านจึงทำการประพันธ์ตำราต่างๆ ทั้งในหลัก<br />

วิชาการด้านเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทหลักฐานซึ่งเป็นปัจจัย<br />

สำคัญที่สุดที่ทำให้ดุนยาหันมาสนใจและทำการเรียกร้องผู้คน<br />

ทั้งหลายให้หันเข้ามาศึกษาเรียนรู้จากตำราที่ได้ประพันธ์ขึ้นมา<br />

ซึ่งท่านอิหม่ามอัซซุบกีย์ได้กล่าวว่า มันมาจากความฉลาดปราด<br />

เปรื่องอย่างที่สุด มีมุมมองที่ถูกต้องปลอดภัย รอบรู้ได้อย่าง<br />

กระจ่าง มีความจำเป็นเลิศ มีความคิดที่ลึกซึ้ง ดื่มด่ำในความ<br />

หมายที่ละเอียดอ่อน มีความโดดเด่นในการถกเสวนา และมีความ<br />

ประณีตในการอ้างอิงหลักฐาน 6<br />

เมื่ออิหม่ามอัลหะร่อมัยน์เสียชีวิต (ฮ.ศ. 478) อัลฆ่อซาลีย์จึงเดิน<br />

ทางออกไปที่เมืองนัยซาบูร โดยมุ่งหน้าไปที่อัลมะอัสกัร (สถานที่<br />

อยู่ใกล้กับเมืองนัยซาบูร) เพื่อไปพบนิซอมอัลมุลกฺรัฐมนตรีของ<br />

กษัตริย์ซัลจูกีย์ในขณะนั้น และเข้าไปที่สำนักราชวังที่เป็นศูนย์<br />

รวมของนักวิชาการทั้งหลาย อัลฆ่อซาลีย์จึงทำการถกเสวนา<br />

6 อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 6, หน้า 196.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

13<br />

กับบรรดาผู้รู้มากมายและสามารถเอาชนะพวกเขาได้ และ<br />

นักวิชาการทั้งหมดต่างให้การยอมรับว่า อัลฆ่อซาลีย์มีพลังในการ<br />

โต้แย้ง มีหลักฐานตอบโต้ที่ชัดเจน และมีความลึกซึ้งในข้อมูลความ<br />

รู้ รัฐมนตรีนิซอมอัลมุลกฺจึงแต่งตั้งให้อัลฆ่อซาลีย์ทำการสอนที่<br />

สำนักอันนิซอมียะฮ์ (ปี ฮ.ศ. 484) ที่เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง<br />

แรกของโลกอิสลาม ณ กรุงแบกแดดในยุคนั้น<br />

อัลฆ่อซาลีย์ได้ทำการสอนที่สำนักอันนิซอมียะฮ์ในช่วงระยะ<br />

เวลาหนึ ่ง ปรากฏว่าเกียรติและฐานันดรของท่านมีความยิ่งใหญ่<br />

ในหัวใจของผู้คนทั่วไปและชนชั้นนำ ท่านเป็นตัวอย่างของความ<br />

แตกฉานในด้านความรู้ ผู้คนจากทุกหัวเมืองต่างเดินทางมา<br />

แสวงหาความรู้ และตำราต่างๆ ที่ท่านประพันธ์ได้แพร่หลายทั่ว<br />

ทุกสารทิศ 7<br />

ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ อัลฆ่อซาลีย์ถูกผลักให้ไปอยู่ในการ<br />

ขับเคลื่อนทางวิชาการมากมาย เช่น การประพันธ์ตำรา การโต้ตอบ<br />

เสวนา การสอนและการตรวจสอบสำนักต่างๆ ของพวกปรัชญา<br />

ที่กำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนั้นด้วยแรงผลักดันของอารมณ์ใฝ่ต่ำ<br />

(นัฟซูอัมมาเราะฮ์) ที่ชื่นชอบความโด่งดัง แสวงหาชื่อเสียง และ<br />

ชอบเอาชนะคู่ถกเสวนา ยิ่งกว่านั้นอัลฆ่อซาลีย์มีความรู้สึกลำพอง<br />

ตนเอง เหยียดหยามฝ่ายตรงข้ามและยังดูถูกดูแคลนผู้อื่นอีกด้วย<br />

แต่พร้อมกันนั้น อัลฆ่อซาลีย์ก็เป็นผู้ช่วยเหลือสัจธรรม ปกป้อง<br />

ศาสนาอิสลาม และขจัดบรรดาความคลุมเครือด้วยหลักฐานที่<br />

เด็ดขาดชัดเจน<br />

7 อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 6, หน้า 196.


14<br />

قواعد العقائد<br />

สาเหตุที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เข้ามาอยู่ในแนวทางตะเซาวุฟ<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เห็นว่า การมีวิชาความรู้เพียง<br />

อย่างเดียวนั้นอ่อนแอเกินกว่าที่จะมาพิชิตความมัวหมองของ<br />

จิตใจได้ และท่านได้ประจักษ์แล้วว่า มุสลิมนั้นจะไม่สามารถ<br />

บรรลุถึงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺตะอาลาและเข้าถึงความพึงพอ<br />

พระทัยของพระองค์ด้วยสติปัญญาที่มีข้อมูลความรู้ด้านศาสนา<br />

เพียงอย่างเดียวได้หรอก แต่มุสลิมจะบรรลุถึงเป้าหมายที่ดีงาม<br />

ดังกล่าวก็ด้วยหนทางของการอบรม บ่มเพาะ และขัดเกลาจิตใจ<br />

ให้สะอาดที่สอดคล้องกับความรู้ระดับสูงที่สติปัญญาได้รับมา เพื่อ<br />

ปกป้องสัจธรรมกับความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำที่ชอบแสวงหาชื่อ<br />

เสียงเกียรติยศของดุนยา และความโดดเด่นเหนือผู้อื่น ฉะนั้นท่าน<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงรู้ว่า ไม่มีการเยียวยาใดที่จะทำให้รอดพ้น<br />

จากสิ่งดังกล่าวได้นอกจากการอบรม บ่มเพาะและขัดเกลาจิตใจ<br />

เท่านั้น<br />

ดังนั้นภายในจิตใจของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงมีความรู้สึกไม่<br />

พอใจในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายได้ซึมซับเข้ามาใน<br />

หัวใจทำให้ท่านรังเกียจในการสานต่อภารกิจที่กำลังจะไปถึงจุด<br />

สูงสุดทั้งที่บรรดาหัวใจของคนทั่วไปและกลุ่มชนชั้นนำต่างก็แสดง<br />

ความภาคภูมิใจและยกย่องให้เกียรติ แล้วอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

จึงสละตำแหน่งนักวิชาการระดับแนวหน้าและสลัดความศิวิไลซ์<br />

ทั้งหมดออกไป<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้สารภาพว่า “ฉันคิดใคร่ครวญเกี่ยว<br />

กับเจตนา(เหนียต)ของฉันในการสอนวิชาความรู้ ปรากฏว่าเจตนา<br />

ของฉันนั้นมิได้มีความอิคลาศ(บริสุทธิ์ใจ)เพื่ออัลลอฮฺ แต่แรง


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

15<br />

ผลักดันและตัวขับเคลื่อนของฉันก็เพื ่อต้องการยศตำแหน่งและ<br />

ชื่อเสียง ดังนั้นฉันจึงมั่นใจว่า ฉันกำลังอยู่บนขอบเหวที่จะพังทลาย<br />

ลงมา แล้วฉันก็ใกล้จะตกลงไปในไฟนรกเป็นแน่แท้แล้วหากฉันไม่<br />

ทำการปรับปรุงสภาวะจิตใจของฉัน” 8<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ยังคงคิดใคร่ครวญอยู่เช่นนั้นถึงหก<br />

เดือนด้วยกันโดยเริ่มจากเดือนร่อญับปี ฮ.ศ. 488 จนกระทั่งมี<br />

ความมั่นใจว่าจะต้องเดินทางออกไปจากนครแบกแดดเพื่อให้พ้น<br />

จากสภาวะดังกล่าว แต่บางครั้งความปรารถนาในดุนยา เกียรติยศ<br />

และความมีชื่อเสียงได้ฉุดรั้งเอาไว้เพื่อไม่ให้เดินทางออกไป จน<br />

กระทั่ง “เสียงเรียกของอีหม่าน ได้เรียกฉันว่า ท่านต้องเดินทาง<br />

ท่านต้องเดินทาง อายุไขไม่คงเหลืออยู่แล้วนอกจากเพียงน้อยนิด<br />

เท่านั้น เบื้องหน้าของท่านยังต้องเดินทางอีกยาวไกล ความรู้และ<br />

การปฏิบัติของท่านทั้งหมดนั้นล้วนโอ้อวดและจินตนาการไปเอง<br />

(ว่าดีแล้ว) หากตอนนี้ท่านไม่เตรียมตัวเพื่ออาคิเราะฮ์แล้วเมื่อไหร่<br />

ท่านจะพร้อม และหากท่านไม่ฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านี้ไป แล้วเมื่อ<br />

ไหร่ท่านจะผ่านพ้นไปได้?” 9<br />

แรงผลักดันดังกล่าวจึงทำให้ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความ<br />

มั่นใจว่าจะต้องเดินทางออกไปจากกรุงแบกแดดเพื่อขัดเกลา<br />

ตนเองและฝึกฝนจิตใจให้มีความบริสุทธิ์ ซึ่งก่อนที่อิหม่ามอัล<br />

ฆ่อซาลีย์จะเดินทางนั้น วันหนึ่งท่านได้ทำการสอนผู้คนทั้งหลาย<br />

เพื่อปลอบใจพวกเขา แต่อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์กล่าวว่า “ลิ้นของ<br />

ฉันไม่สามารถที่จะพูดออกมาได้เลยแม้สักคำเดียวและฉันก็ไม่<br />

8 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, ตะห์กีก: ญะมีลศ่อลีบาและกามิลกัยย้าด, พิมพ์<br />

ครั้งที่ 7 (เบรุต: ดารุลอันดะลุส, ปี ค.ศ. 1967), หน้า 103.<br />

9 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 103.


16<br />

قواعد العقائد<br />

สามารถที่จะพูดออกไปได้เลยจนกระทั่งลิ ้นที่ถูกพันธนาการเอาไว้<br />

นี้ทำให้ฉันรู้สึกโศกเศร้าในหัวใจ...” 10<br />

ความโศกเศร้าในหัวใจนี้ทำให้ระบบการย่อยอาหารมีปัญหา<br />

และกินดื่มไม่ได้ แพทย์หมดปัญญาที่จะเยียวยารักษา ร่างกาย<br />

ของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงมีความทรุดโทรมและอ่อนแอ ในขณะ<br />

ที่ท่านมีความรู้สึกอ่อนแอเช่นนั้น ท่านจึงเข้าหาอัลลอฮฺ ทำการ<br />

วิงวอนและขอการพึ ่งพาต่อพระองค์ จนกระทั่งอัลลอฮฺได้ทำให้<br />

หัวใจของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความสะดวกง่ายดายในการ<br />

ผินหลังให้กับเรื่องของเกียรติยศและทรัพย์สินเงินทอง หลังจาก<br />

นั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ จึงตัดสินใจเดินทางออกจากเมือง<br />

แบกแดด เพื่อฝึกฝนและขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งท่าน<br />

ได้ฝึกฝนเช่นนั้นถึงสิบปี แม้ว่าท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นปราชญ์<br />

ที่มีสติปัญญาที่ชาญฉลาดและทรงความรู้แต่ท่านก็ต้องฝากตัว<br />

เป็นศิษย์กับปราชญ์ซูฟีย์นามว่า ชัยค์อะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์11<br />

ศิษย์ของท่านอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม อัลกุชัยรีย์ ซึ่งท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ฉันได้รับฏ่อรีเกาะฮ์(แนวทางตะเซาวุฟ)<br />

จากอะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์12 และฉันได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่าน<br />

10 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 104.<br />

11 ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า อัลฟาร่อมะซีย์ คือ อิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ เป็นบรมครูของเหล่า<br />

ซูฟีย์มีนามว่า อัลฟัฎล์ บุตร มุฮัมมัด อัลฟาร่อมะษีย์ เกิดปี ฮ.ศ. 407 และเสียชีวิตปี<br />

ฮ.ศ. 477. ดู อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, ตะห์กีก: ชุอัยบ์ อัลอัรนะอูฏและ<br />

มุฮัมมัดนุอัยม์, พิมพ์ครั้งที่ 11 (เบรุต: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์, ค.ศ. 1996/ ฮ.ศ. 1417),<br />

เล่ม 18, หน้า 565.<br />

12 ดังนั้นสะนัดฏ่อรีเกาะฮ์ (แนวทางตะเซาวุฟ) ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ก็คือ ท่าน<br />

รับมาจาก ชัยค์อะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์ จากอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม อัลกุชัยรีย์ จาก<br />

อะบิลกอเซ็ม อับดุลลอฮฺ บิน อะลีย์ บิน อับดิลลาฮฺ อัฏฏูซีย์ จากอะบีอุษมาน บิน สะลาม<br />

อัลมัฆริบีย์ จากอะบีอัมรฺ บิน มุฮัมมัด บิน อิบรอฮีม อัซซัจญาญีย์ จากอิหม่ามอัลญุนัยด์


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

17<br />

อะบูอะลีย์ได้ชี้แนะแก่ฉันเกี่ยวกับกิจวัตรต่างๆ ในการทำอิบาดะฮ์<br />

และหมั่นซิกรุลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ<br />

ทางด้านจิตใจ และแบกรับความยากลำบากเหล่านั ้น” 13<br />

การเดินทางออกจากนครแบกแดด<br />

ในปี ฮ.ศ. 488 นั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้เริ่มเดินทางไป<br />

ยังดิมัชก์เพื่อทำอิบาดะฮ์ ฝึกฝนตนเอง และขัดเกลาหัวใจด้วยการ<br />

หมั ่นในการซิกรุลลอฮฺและเริ่มประพันธ์หนังสืออิหฺยาอ์อุลูมิดดีน<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์อยู่ที่นั่นสองปี หลังจากนั้นก็เดินทางไป<br />

ที่อัลกุดซฺเพื่อทำอิบาดะฮ์และฝึกฝนจิตใจและเยี่ยมกุบูรของท่าน<br />

นะบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม จากนั้นก็เดินทางไปทำฮัจญฺเพื่อรับ<br />

บะร่อกะฮ์ต่างๆ จากนครมักกะฮ์และมะดีนะฮ์พร้อมเยี่ยมกุบูร<br />

ท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 14<br />

สุดท้ายท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้สารภาพและยอมรับว่า<br />

“ฉันยังคงอยู่เช่นนั้น(ในการฝึกฝนตนเองให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์)<br />

ถึงสิบปี ในระหว่างที่ฉันอยู่ในบรรดาการค็อลวะฮ์(วิเวกตนเองใน<br />

การทำอิบาดะฮ์และซิกรุลลอฮฺในชั่วระยะเวลาหนึ่ง)นี้ ฉันถูกเปิด<br />

ให้เห็นสิ่งต่างๆ มากมายที่ไม่สามารถคณานับได้” 15<br />

อัลบัฆดาดีย์ จากอิหม่ามอัซซะรีย์ อัซซักฏีย์ จากอิหม่ามมะอฺรูฟ อัลกัรคีย์ จากอิหม่าม<br />

ดาวูดอัฏฏออีย์ จากอิหม่ามหะบีบ อัลอัจญฺมีย์ จากอิหม่ามอัลหะซัน อัลบัศรีย์ จาก<br />

อิหม่ามอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม.<br />

13 อิบนุอัลเญาซีย์, อัลมุนตะซ็อม ฟีตารีคอัลมุลูกวัลอุมัม, ตะห์กีก: อับดุลกอดิร อะฏอ,<br />

พิมพ์ครั้งที่ 2 (เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์, พิมพ์ ค.ศ. 1995/ฮ.ศ 1415), เล่ม 17,<br />

หน้า 125-126.<br />

14 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 115-116. และอิบนุอิม้าด, ชะษะร้อต<br />

อัซซะฮับ,เล่ม 5, หน้า 379.<br />

15 อัลฆ่อซาลีย์, เรื่องเดียวกัน, หน้า 116.


18<br />

قواعد العقائد<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “แท้จริงฉันรู้อย่างมั่นใจ<br />

แล้วว่า บรรดาซูฟีย์นั้น พวกเขาคือผู้ที่เดินอยู่ในทางของอัลลอฮฺ<br />

ตะอาลาเป็นการเฉพาะ วิถีชีวิตของพวกเขานั้นเป็นวิถีชีวิตที่<br />

งดงามยิ่ง บรรดาแนวทางของพวกเขานั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้อง<br />

ที่สุด จรรยามารยาทของพวกเขาเป็นจรรยามารยาทที่งดงาม ยิ่ง<br />

กว่านั้น หากได้รวมบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาและความฉลาด และรวม<br />

ความรู้ของบรรดาผู้รู้ถึงความเร้นลับต่างๆ ในหลักการของศาสนา<br />

(ได้มาอยู่แนวทางของซูฟีย์) แน่นอนว่าพวกเขาเหล่านั้นก็จะมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างจากวิถีการดำเนินชีวิตและจรรยา<br />

มารยาทของพวกเขา และพวกเขาเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนแปลงใน<br />

ทางที่ดีกว่าเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะบรรดาการหยุดนิ่ง<br />

และเคลื่อนไหวของซูฟีย์นั้น ไม่ว่าภายนอกหรือภายในจิตใจของ<br />

พวกเขา ล้วนได้ถอดแบบมาจากรัศมี(ทางนำ)แห่งนะบีย์และไม่มี<br />

เบื้องหลังจากรัศมีทางนำแห่งนะบีย์บนผืนแผ่นดินนี้ที่จะเป็นรัศมี<br />

เจิดจรัสส่องทางอีกแล้ว” 16<br />

เมื่ออิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้พบว่าตนเองได้หลุดพ้นจากความ<br />

เสียหายต่างๆ ที่มาทำให้ภารกิจในด้านวิชาการที่แบกแดดมีความ<br />

เสียหายแล้วนั้น ท่านก็ได้เดินทางกลับไปยังสำนักอันนิซอมียะฮ์ที่<br />

นัยซาบูรด้วยจิตใจที่สงบมั่นในอัลลอฮฺมิใช่ด้วยจิตอารมณ์ใฝ่ต่ำที่<br />

ท่านเคยทนทุกข์อยู่กับมัน และทำการสอนที่นั่นอีกครั้งในปี ฮ.ศ.<br />

499 หลังจากนั้นไม่กี่เดือนท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้เดินทาง<br />

ไปสู่เมืองฏูส มาตุภูมิของท่านโดยใช้เวลาหมดไปกับการปฏิบัติ<br />

อิบาดะฮ์ อ่านอัลกุรอาน ท่องจำอัลหะดีษ และทำการสอน<br />

สานุศิษย์ในสถาบันที่สร้างขึ้นใกล้บ้านของท่าน<br />

16 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 116.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

19<br />

ในวันจันทร์ที่ 14 เดือนญะมาดุลอาคิร ปี ฮ.ศ. 505 ท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์ได้เสียชีวิตที่เมืองฏูสและฝังที่นั่น ซึ่งก่อนเสียชีวิตนั้น<br />

สานุศิษย์บางส่วนได้ขอให้ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ทำการสั่งเสีย<br />

โดยกล่าวกับท่านว่า ท่านจงสั่งเสียแก่ฉันเถิด ดังนั้นท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์จึงกล่าวว่า “ท่านจงมีความอิคลาศ ท่านจงมีความ<br />

อิคลาศ ท่านจงมีความอิคลาศ” อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวซ้ำไป<br />

ซ้ำมาจากระทั่งลมหายใจสุดท้าย... 17<br />

วิเคราะห์บทเรียนจากชีวประวัติของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

คำสอนที่ได้รับจากประวัติของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ คือ:<br />

1. ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นอัจฉริยะบุคคลที่มีสติปัญญา<br />

ปราดเปรื่อง ประพันธ์หนังสือเก่ง สอนเก่ง เฉียบคมในการโต้แย้ง<br />

แต่หัวใจของท่านไม่มีตะเซาวุฟ ไม่มีความอิคลาศต่ออัลลอฮฺใน<br />

ขณะนั้น เพราะฉะนั้นคนที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง และเก่งกล้า<br />

ในวิชาความรู้แต่ถูกอารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำและไม่มีความบริสุทธิ์ใจ<br />

ต่ออัลลอฮฺ แม้ความรู้จะสร้างประโยชน์ให้แก่ศาสนาอิสลามแต่<br />

อัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับ<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ชัยฏอนมันพยายาม<br />

ชักนำผู้รู้ให้ทำงานเกี่ยวกับการบรรยายสอนผู้คนทั้งหลาย หลัง<br />

จากนั้นมันก็ชักนำให้ผู้รู้นั้นสร้างภาพให้ดูดี พูดถ้อยคำดูดี และ<br />

แสดงให้เห็นซึ่งความดีงาม แล้วชัยฏอนก็พูดกับเขาว่า หากท่าน<br />

ไม่กระทำสิ่งดังกล่าว คำพูดของท่านก็จะไม่เข้าไปอยู่ในหัวใจ<br />

ของผู้คนทั้งหลายและพวกเขาก็จะไม่ได้รับทางนำไปสู่สัจธรรม<br />

17 อิบนุอัลเญาซีย์, อัลมุนตะซ็อม, เล่ม 17, หน้า 127.


ب ي<br />

ّ<br />

20<br />

قواعد العقائد<br />

ดังนั้นในขณะที่เขาได้สอนบรรยาย ชัยฏอนมันพยายามให้เขามี<br />

ความโอ้อวด ต้องการให้ผู้คนทั้งหลายยอมรับ ต้องการเกียรติยศ<br />

ตำแหน่ง มีความภาคภูมิใจที่มีผู้ติดตามมากมาย มองผู้คนทั้งหลาย<br />

ด้วยการดูถูกเหยียดหยาม ชัยฏอนพยายามหว่านล้อมให้เขาไปสู่<br />

ความหายนะ ฉะนั้นเมื่อเขาทำการพูด ก็คิดว่ามีเจตนาดี แต่ใน<br />

ความเป็นจริงแล้วเขามีเจตนาเพื่อมีเกียรติและให้ผู้คนทั้งหลาย<br />

ยอมรับ เขาจึงประสบความหายนะโดยที่เขาคิดว่ามีเกียรติ ณ ที่<br />

อัลลอฮฺตะอาลา และกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งจากบุคคลที่ท่าน<br />

ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า<br />

َ الْفاجِ‏ رِ‏<br />

ِ لرَّ‏ جُ‏ لِ‏<br />

إِنَّ‏ الل ‏َيُ‏ ؤ ِ نَ‏ <br />

َّ َ ل َ ِ يّ‏ ُ د َ هذ َ ا الد<br />

“แท้จริงอัลลอฮฺจะทำการช่วยเหลือศาสนานี้ด้วยชายชั่ว” 18<br />

ดังนั้นการหลอกลวงของชัยฏอนนี้ ยังทำให้เกิดความเสียหาย<br />

กับบรรดาผู้รู้ นักทำอิบาดะฮ์ บรรดาผู้มีสมถะ คนยากจน คน<br />

ร่ำรวย และผู้คนทั้งหลายที่ไม่ชอบเปิดเผยความชั่ว(ที่เป็นเจตนา<br />

ไม่ดีอยู่ในจิตใจ)แต่กลับมีความพอใจในการกระทำของตนเอง 19<br />

2. ผู้รู้หรือผู้ที่ต้องการทำงานศาสนานั้น จำเป็นต้องบ่มเพาะ<br />

อบรม และขัดเกลาหัวใจให้สะอาดเสียก่อน เพื่องานศาสนานั้นจะ<br />

ได้เป็นที่ตอบรับจากอัลลอฮฺตะอาลา เนื่องจากการมีความรู้เพียง<br />

อย่างเดียวนั้นถือว่ายังไม่เพียงพอในการทำงานศาสนา เพราะ<br />

บางครั้งเขาอาจจะทำไปเพื่อต้องการชื่อเสียง ทรัพย์สินเงินทอง<br />

18 รายงานโดยอัลบุคอรีย์, หะดีษเลขที่ 2897, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล อัลบุคอรีย์,<br />

ศ่อฮีหฺอัลบุคอรีย์, ตะห์กีก: มุศฏอฟา ดี้บ อัลบุฆอ, พิมพ์ครั้งที่ 3 (เบรุต: ดารุอิบนิกะษีร,<br />

1987 ค.ศ./1407 ฮ.ศ.), เล่ม 3, หน้า 1114.<br />

19 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์, ค.ศ.<br />

1998/ฮ.ศ. 1419), เล่ม 3, หน้า 28.


َ<br />

ف<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

21<br />

เกียรติยศ ตำแหน่ง และการยอมรับจากผู้คนทั้งหลาย ท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์จึงละทิ้งการสอนโดยออกจากกรุงแบกแดดเพื่อเดิน<br />

ทางไปบ่มเพาะและขัดเกลาหัวใจยังแผ่นดินที่ไม่มีใครรู้จักท่าน<br />

ถึงสิบปีด้วยกัน หลังจากนั้นท่านก็กลับมาสอนต่อไป ซึ่งวิถีชีวิต<br />

และแบบอย่างของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์นี้ ท่านอิหม่ามอิบนุ<br />

อะฏออิลลาฮฺ (ฮ.ศ. 658-709) ได้นำมากล่าวไว้เป็นคำสอนใน<br />

บทหิกัมของท่านว่า<br />

فَ‏ َ ‏ا ن َ ‏َبَت مِ‏ ‏َّا ل ْ ْ يُدف َ تِ‏ ُّ يَ‏ نِتَ‏ اجُ‏ هُ‏ ‏َنْ‏ ل<br />

ِ ي أَرْ‏ ضِ‏ الخُمُ‏ وْلِ‏<br />

إِدْ‏ فِ‏ نْ‏ وُ‏ جُ‏ وْ‏ د َ َ ك <br />

ท่านจงฝังการมีอยู่ของท่านในแผ่นดินที่ไร้ชื่อเสียง เพราะ<br />

สิ่งที่งอกเงยขึ้นมาจากเมล็ดพันธุ์ที่มิได้ถูกฝัง(ในดิน)<br />

ผลผลิตของมันจะไม่สมบูรณ์” 20<br />

ท่านอิบนุอะฏออิลลาฮฺได้เปรียบเทียบกฎแห่งการขัดเกลา<br />

อบรมบ่มจิตใจในตัวของมนุษย์ ด้วยกฎเกณฑ์เดียวกันกับโลกของ<br />

ต้นไม้! เมล็ดพืชที่ท่านต้องการจะนำมันไปเพาะปลูกนั้น หากท่าน<br />

โยนมันไว้บนพื้นดินโดยไม่ได้ฝัง ปล่อยมันทิ้งไว้ท่ามกลางดินและ<br />

กรวดทราย ภายใต้แสงอาทิตย์อันร้อนระอุที่สาดส่องลงมา และ<br />

หมู่เมฆฝนได้แวะเวียนผ่านมาไม่เว้นแต่ละวันแล้วละก็ แน่นอน<br />

เมล็ดพืชนั้นย่อมเน่าเสียและตายไปในที่สุด<br />

แต่หนทางที่จะให้เมล็ดพืชเจริญงอกงามได้นั้น ก็คือการนำไป<br />

ฝังในดินที่ชื้นและปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง มันก็จะเกิดปฏิกิริยา<br />

และเจริญงอกงาม หลังจากนั้นอัลลอฮฺตะอะลาก็ให้มันผลิหน่อ<br />

แตกใบ มีลำต้นชูตระหง่านที่สามารถฝ่าขึ้นมาสู่ภาคพื้นดิน แทรก<br />

20 อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, อัลหิกัมอัลอะฏออียะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุสลาม, 2006<br />

ค.ศ./1427 ฮ.ศ.), หน้า 8.


22<br />

قواعد العقائد<br />

กรวดหินขึ้นมาสัมผัสบรรยากาศและรับอาหารจากแสงอาทิตย์ที่<br />

ส่องแสงเจิดจ้าหลังจากนั้นอัลลอฮฺก็ให้มันออกผลผลิตมากมาย<br />

เป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั้งหลาย<br />

ดังนั้นหากผู้รู้หรือคนทำงานศาสนาไม่บ่มเพาะหัวใจให้สะอาด<br />

และผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺ แต่เขากลับมุ่งหน้าสู่ภารกิจต่างๆ ทาง<br />

สังคมเข้าไปฟันฝ่ากระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าชะตากรรม<br />

ของเขาก็จะไม่ต่างอะไรกับชะตากรรมของเมล็ดพืชที่ถูกโยนลง<br />

บนพื้นดินท่ามกลางกรวดทราย รอวันที่มันจะเน่าเสียเท่านั้นเอง!<br />

ฉะนั้นการที่ผู้รู้คนหนึ ่งได้ปฏิบัติภารกิจของเขาบนเวทีแห่งความ<br />

โด่งดัง อยู่ภายใต้แสงสีแห่งความมีชื่อเสียง บั้นปลายของเขาคือ<br />

ความล้มเหลวและความเสียหาย ถ้าหากเขาพูดก็จะไม่พูดออก<br />

มาด้วยวิชาความรู้ที่ดีมีประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้นอารมณ์ใฝ่ต่ำของ<br />

เขาก็จะเข้ามาเป็นตัวชี้นำในงานศาสนาให้เขามีความอยากโด่งดัง<br />

อยากมียศตำแหน่ง อยากได้ในทรัพย์สิน และอยากให้ผู้คน<br />

ทั้งหลายยอมรับก็จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังกล่าวก็เพราะว่าเขา<br />

ไม่เปิดโอกาสให้ตนเองได้ขัดเกลาจิตใจด้วยการปลีกวิเวกตนเอง<br />

(ค็อลวะฮ์) และไม่บ่มเพาะจิตใจให้บริสุทธิ์ เจริญงอกงามเสมือน<br />

กับเมล็ดพืชที่ถูกฝังอยู่ในดินรอคอยที่จะเจริญงอกงามเขียวชอุ่ม<br />

และออกดอกออกผลอย่างงดงาม ผลสุดท้ายเขากลายเป็นคนชั่ว<br />

ที่ช่วยเหลือศาสนาของอัลลอฮฺตะอาลาและพระองค์ก็ไม่ตอบรับ<br />

งานศาสนาที่กระทำจนเป็นเหตุให้เขาต้องตกลงไปในขุมนรกในวัน<br />

กิยามะฮ์ วัลอิยาซุบิลลาฮฺ<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ความต้องการมีชื่อเสียง<br />

คือ ชอบมีเกียรติและยศตำแหน่งในหัวใจของผู้คนทั้งหลายและการ<br />

ชอบในเกียรติยศและตำแหน่งนั้นเป็นบ่อเกิดของความเสื่อมเสีย


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

23<br />

ทั้งหลาย” 21 แต่หากอัลลอฮฺให้เขามีชื่อเสียงในศาสนาโดยที่เขามิได้<br />

ปรารถนาต้องการ เช่น การมีชื่อเสียงของบรรดานะบีย์ บรรดา<br />

ค่อลีฟะฮ์ทั้งสี่ และบรรดาวะลียุลลอฮฺ ก็ถือว่าไม่เป็นไร 22<br />

3. การเรียนตะเซาวุฟนั้นต้องมีครู เพราะอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

นั้น แม้ท่านจะเป็นปราชญ์ที่อัจฉริยะ แต่ท่านต้องพึ่งพาและมีครู<br />

ผู้ชี้นำ<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการมี<br />

ครูผู้ชี้นำว่า “ผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเดินทางเข้าหาอัลลอฮฺนั้น<br />

หลีกเลี่ยงไม่พ้นว่าเขาจะต้องมีครูที่เขาเจริญรอยตามเพื่อชี้นำเขา<br />

ไปสู่หนทางที่เที่ยงตรง เพราะหนทางในศาสนานั้นลึกลับซับซ้อน<br />

แต่ทางของชัยฏอนนั้นมีมากมายชัดเจน ดังนั ้นผู้ใดที่ไม่มีครูคอย<br />

ชี้นำเขา แน่นอนชัยฏอนก็จะชักนำเขาไปสู่หนทางต่างๆ ของมัน<br />

อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ฉะนั้นผู้ใดที่เดินอยู่ในหุบเขาที่อันตรายโดย<br />

ปราศจากผู้คอยคุ้มกันดูแล แน่นอนตัวเขากำลังตกอยู่ในอันตราย<br />

และกำลังทำลายตัวเอง และผู้เดินทางเข้าหาอัลลอฮฺด้วยตนเอง<br />

อย่างเอกเทศก็เสมือนกับต้นไม้ที่งอกขึ้นมาเอง(โดยไม่มีผู้ใดคอย<br />

ดูแลใส่ปุ๋ยและรดน้ำพรวนดิน) มันก็จะเหี่ยวเฉาในเวลาอันใกล้<br />

หรือหากต้นไม้อยู่ได้ในช่วงเวลาหนึ่งและออกใบแต่ก็ไม่ออกผล” 23<br />

ท่านอิหม่ามอัชชะอฺรอนีย์ (ฮ.ศ. 898-973) ได้กล่าวว่า “ท่าน<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ยังมีครูคอยชี้นำ ทั้งที่ท่านเป็นหุจญตุลอิสลาม<br />

(หลักฐานของศาสนาอิสลามในการตอบโต้พวกนักปรัชญาและ<br />

21 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 3, หน้า 246.<br />

22 อัลฆ่อซาลีย์, อัลอัรบะอีน ฟีอุศูลิดดีน, ตะห์กีก: บูญุมอะฮ์ อับดุลกอดิร, พิมพ์ครั้งที่<br />

1 (เบรุต: ดารุลมันฮาจญฺ, ค.ศ. 2006/ฮ.ศ. 1426), หน้า 173.<br />

23 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 3, หน้า 68-69.


24<br />

قواعد العقائد<br />

พวกกุฟฟาร) 24 และท่านชัยค์อิซซุดดีน อิบนุอับดิสลาม ก็มีครูเฉก<br />

เช่นเดียวกันทั้งที่ท่านได้รับฉายาว่า ซุลฏอนุลอุละมาอฺ(กษัตริย์ของ<br />

เหล่าปราชญ์) 25 ดังนั้นความรู้ของท่านนั้นเหมือนกับปราชญ์ทั้ง<br />

สองนี้หรือไม่? แต่กลุ่มชนยุคแรกนั้นไม่ต้องการครูเพราะโรคของ<br />

พวกเขามีน้อย เมื่อพวกเขาจากไป บรรดาโรคมากมายก็เกิดขึ้น<br />

ดังนั้นนักปราชญ์ฟิกฮ์จึงมีความต้องการครูผู้ชี้นำอย่างหลีกเลี่ยง<br />

ไม่พ้นเพื่อให้สะดวกง่ายดายต่อแนวทางในการปฏิบัติสิ่งที่เขารู้” 26<br />

4. ไม่มีแนวทางใดที่จะทำให้หัวใจมีความอิคลาศอย่างแท้จริง<br />

ทำให้หัวใจมีความใกล้ชิดอัลลอฮฺ และได้รับการเปิดจากพระองค์<br />

นอกจากวิชาตะเซาวุฟหรือหลักอิหฺซาน เพราะมนุษย์เป็นศัตรู<br />

กับสิ่งที่เขาไม่รู้ “ผู้ใดไม่ได้ลิ้มรสเขาย่อมไม่รู้” แต่เมื่ออิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์ได้ลิ้มรสและประจักษ์แล้ว จึงเป็นเหตุให้ท่านยอมรับ<br />

ในสิ่งดังกล่าว<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ผู้คนส่วนใหญ่ขาดการ<br />

รับรู้ถึงความสุขของความรู้27 บางครั้งเพราะไม่เคยลิ้มรส ดังนั้นผู้<br />

ใดไม่เคยลิ้มรส เขาย่อมไม่รู้จักและไม่คะนึงหาเนื่องจากการคะนึง<br />

หานั้นจะเป็นผลมาจากการได้รับการลิ้มรสแล้ว บางทีเพราะ<br />

อุปนิสัยเสื่อมโทรมและหัวใจเป็นโรคเนื่องจากตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ<br />

ซึ่งเหมือนกับคนป่วยที่ไม่สามารถรับรู้ถึงความหวานของน้ำผึ้งและ<br />

24 ครูตะเซาวุฟของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ คือ ชัยค์อะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์.<br />

25 ครูตะเซาวุฟของท่านอิหม่ามอิซซุดดีน อิบนุ อับดิสลาม คือ ท่านอิหม่ามอะบุล<br />

หะซัน อัชาซิลีย์.<br />

26 อัชชะอฺรอนีย์, อัลอันวารอัลกุดซียะฮ์ ฟีบะยานิ ก่อวาอิดอัศศูฟียะฮ์, ตะห์กีก: คณะ<br />

กรรมการของดารุศอดิร, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุศอดิร, ค.ศ. 1999), หน้า 259.<br />

27 เช่น ความรู้เกี่ยวกับวิชาตะเซาวุฟ เป็นต้น.


َّ<br />

ِ<br />

ت َ<br />

نٌ‏ فَ‏<br />

ي<br />

ْ<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

25<br />

เขาเห็นว่ามันมีรสขม” 28<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวเช่นกันว่า “ความหวานชื่น<br />

ของการมะอฺริฟะฮ์(รู้จักอัลลอฮฺอย่างลึกซึ้ง)นั้น รับรู้ได้เฉพาะ<br />

บรรดาบุรุษ(ที่ดุนยาไม่ทำให้พวกเขาลืมอัลลอฮฺ)เท่านั้น<br />

อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า<br />

ْ الل<br />

ِ جَ‏ ارَ‏ ةٌ‏ وَ‏ ل بَ‏ يْ‏ عٌ‏ عَ‏ نْ‏ ذِ‏ ك رِ‏<br />

َ ‏ْهِ‏ ي ِ مْ‏ <br />

رِجَ‏ ٌ ال ل<br />

“บรรดาบุรุษที่การค้าและการขายไม่ทำให้พวกเขาหันห่าง<br />

จากการซิกรุลลอฮฺ” [อันนูร: 37]<br />

และบุคคลอื่นจากพวกเขาจะไม่มีความคะนึงหาความสุขนี้<br />

เพราะความคะนึงหาจะเกิดขึ้นหลังจากได้ลิ้มรสแล้ว ผู้ใดไม่เคย<br />

ลิ้มรส เขาก็จะไม่รู้จัก และผู้ใดไม่รู้จัก เขาก็จะไม่คะนึงหา และผู้<br />

ใดไม่คะนึงหา เขาก็จะไม่แสวงหา และไม่ผู้ใดไม่แสวงหา เขาก็จะ<br />

ไม่ประจักษ์รู้ และผู้ใดไม่เคยประจักษ์รู้ เขาก็จะคงอยู่กับบรรดาผู้<br />

ถูกห้ามจากความดีงามโดยไปอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำสุด<br />

อัลลอฮฺทรงตรัสว่า<br />

‏َرِ‏ <br />

َ ُ ق<br />

تُل<br />

ُ وَ‏ ل<br />

َ ُ ش نً‏ <br />

ِ ض<br />

َ يّ‏<br />

ُ<br />

وَ‏ مَ‏ نْ‏ يَعْ‏ ش<br />

‏ُق<br />

ْ الرَّ‏ حْ‏ ‏َنِ‏ ن<br />

عَ‏ نْ‏ ذِ‏ ك رِ‏<br />

‏َا‏<br />

ل َ يْ‏ ط<br />

“และผู้ใดเหินห่างจากการรำลึกถึง(อัลลอฮฺ)ผู้ทรงเมตตา<br />

เราจะให้ชัยฏอนมาครอบงำเขา แล้วมันก็จะเป็นสหายของ<br />

เขา” [อัซซุครุฟ: 36] 29<br />

ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตในปัจจุบันว่า บรรดาผู้รู้หรือคนทำงาน<br />

28 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 4, หน้า 89.<br />

29 เรื่องเดียวกัน, เล่ม 3, หน้า 175.


26<br />

قواعد العقائد<br />

ศาสนาตามสื่อต่างๆ นั้นเอาศาสนามาแสวงหาประโยชน์เรื่อง<br />

ดุนยาและทรัพย์สินเงินทอง ต้องการความมีเกียรติ ต้องการยศ<br />

ตำแหน่งแม้จะได้มาด้วยวิธีที่ไม่ต้องถูกต้องตามหลักการอิสลาม<br />

ก็ตาม ยิ่งกว่านั้นการทำลายเกียรติและต้องการชนะฝ่ายตรงข้าม<br />

ในเรื่องศาสนาต่างก็มีให้เห็นในสังคมและสื่อต่างๆ มากมาย ซึ่งดัง<br />

กล่าวนี้เป็นโรคร้ายที่กำลังระบาดแพร่หลายในสังคมมุสลิมเว้นแต่<br />

แนวทางตะเซาวุฟที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะคอยเยียวยาสิ่งดังกล่าวได้<br />

คำยกย่องของปราชญ์เกี่ยวกับอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ท่านอิหม่ามอับดุลฆอฟิร บิน อิสมาอีล อัลฟาริซีย์ (ฮ.ศ. 451-<br />

529) ได้กล่าวว่า “อะบูฮามิด อัลฆ่อซาลีย์นั้น เป็นหลักฐานของ<br />

อิสลามและบรรดามุสลิมีน เป็นผู้นำของเหล่าปราชญ์ศาสนา<br />

อิสลาม บรรดาดวงตาไม่เคยเห็นผู้ใดเสมือนท่านเลยในด้านของ<br />

การพูด การอธิบาย ความคิด ความชาญฉลาด และมารยาท” 30<br />

ท่านอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ (ฮ.ศ. 673-748) ได้กล่าวว่า “อิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์ คือบรมครู เป็นผู้นำด้านวิชาการ เป็นทะเลแห่งความรู้<br />

เป็นหลักฐานของอิสลาม เป็นอัจฉริยะแห่งยุคสมัย ท่านคือ<br />

ซัยนุดดีนอะบูฮามิด มุฮัมมัด บุตร มุฮัมมัด บุตร มุฮัมมัด บุตร อะหฺมัด<br />

อัลฆ่อซาลีย์ สังกัดมัซฮับชาฟิอีย์ เป็นเจ้าของตำราประพันธ์<br />

มากมาย และมีความฉลาดอย่างน่ามหัศจรรย์” 31<br />

ท่านอิหม่ามอิบนุกะษีร (ฮ.ศ. 701-774) ได้กล่าวว่า “อิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้มีความฉลาดปราดเปรื่อง<br />

30 อิบนุอะซากิร, ตับยีนกัษบิลมุฟตะรี, ตะห์กีก: มุฮัมมัด ซาฮิด อัลเกาษะรีย์, พิมพ์ครั้ง<br />

ที่ 1 (ไคโร: อัลมักตะบะฮ์อัลอัซฮะรียะฮ์, ค.ศ. 2010), หน้า 223.<br />

31 อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 19, หน้า 322-323.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

27<br />

ของโลกในทุกสิ่งที่เขาพูด และอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นปราชญ์<br />

อยู่ในระดับแนวหน้าตั้งแต่ยังวัยหนุ่มจนกระทั่งได้ทำการสอนที่<br />

สำนักอันนิซอมียะฮ์แห่งนครแบกแดดเมื่อท่านอายุ 34 ปี มีบรรดา<br />

อุลามาอฺมากมายมาร่ำเรียนกับท่าน ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ ท่าน<br />

อะบุลค็อฏฏ้อบและท่านอิบนุอะกีล ซึ่งทั้งสองเป็นแกนนำของ<br />

ปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ พวกเขามีความทึ่งในความฉะฉานและ<br />

ความรอบรู้ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ และท่านอิบนุอัลเญาซีย์<br />

ได้กล่าวว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ทำการบันทึกคำพูดของอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์ไว้ในตำราของพวกเขา” 32<br />

ท่านอิหม่ามอิบนุอันนัจญาร ได้กล่าวว่า “ท่านอะบูฮามิด<br />

อัลฆ่อซาลีย์ เป็นผู้นำของเหล่าปราชญ์ฟิกฮ์โดยไม่มีข้อแม้ เป็น<br />

ปราชญ์ร็อบบานีย์แห่งประชาชาติโดยมติเอกฉันท์ เป็นปราชญ์<br />

นักวินิจฉัยในยุคนั้น เป็นปราชญ์ระดับแนวหน้าในยุคสมัยนั้น<br />

ท่านมีความแตกฉานในฟิกฮ์มัซฮับชาฟิอีย์ แตกฉานเกี่ยวกับวิชา<br />

รากฐานนิติศาสตร์อิสลาม(อุศูลฟิกฮ์) วิชาขัดแย้งระหว่างปวง<br />

ปราชญ์ วิชาหลักการโต้แย้ง วิชาตรรกศาสตร์ และท่านได้อ่าน<br />

เกี่ยวกับปรัชญาพร้อมเข้าใจคำพูดของพวกเขาและทำการตอบโต้<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นบุคคลที่มีความฉลาดอย่างมาก มีพลัง<br />

ในความเข้าใจ มีความฉลาดเฉียบแหลม และลึกซึ้งในบรรดาความ<br />

หมายทางวิชาการ” 33<br />

ท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าว<br />

ถึงท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ว่า “แท้จริงเราขอยืนยันอย่างมั่นใจว่า<br />

32 อิบนุกะษีร, อัลบิดายะฮ์วันนิฮายะฮ์, (เบรุต: มักตะบะฮ์อัลมะอาริฟ, ค.ศ. 1990/<br />

ฮ.ศ. 1410), เล่ม 12, หน้า 173-174.<br />

33 อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 19, หน้า 335.


28<br />

قواعد العقائد<br />

ท่านอิหม่ามฆ่อซาลีย์นั้นอยู่ในตำแหน่ง ซิดดีกียะฮ์อัลอุซมา (การ<br />

เป็นผู้สัจจริงที่ยิ่งใหญ่)” 34<br />

แต่มีอุลามาอฺส่วนน้อยที่ทำการวิจารณ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด เนื่องจากอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

เป็นผู้รู้ที่ยิ ่งใหญ่และผู้รู้นั้นมิได้มีเงื่อนไขว่าต้องปราศจากความ<br />

ผิดพลาด 35 แต่คุณงามความดีของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ที่มีต่อ<br />

ประชาชาติอิสลามนั้นมากมายดังมหาสมุทรย่อมมาลบล้างความ<br />

ผิดพลาดอันเล็กน้อยที่อาจจะเกิดขึ้นกับท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ได้นั่นเอง<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์กับการปฏิรูปสังคม<br />

ต้องยอมรับความจริงว่า สังคมมุสลิมปัจจุบันอยู่ท่ามกลางพหุ<br />

อะกีดะฮ์หรือพหุหลักความเชื่อ และมีองค์กรมุสลิมพยายามปฏิรูป<br />

สังคมมุสลิมโดยใช้สโลแกนต่างๆ มากมายท่ามกลางความหลาก<br />

หลายทางอะกีดะฮ์และไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการบ่มเพาะและ<br />

ขัดเกลาหัวใจที่เป็นเสมือนวิญญาณของศาสนาอิสลาม จึงทำให้ดู<br />

เหมือนว่าเป็นเรือนร่างที่ไร้ชีวิต ดังนั้นผู้เขียนคิดว่าสมควรนำเสนอ<br />

เกี่ยวกับการปฏิรูปสังคมของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์พอสังเขป<br />

เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถมองเห็นโครงสร้างการปฏิรูปสังคมแบบ<br />

องค์รวมและเรียงลำดับความสำคัญ<br />

อนึ่ง ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์นั้นอยู่ในยุคที่สังคมเสื่อมถอย<br />

เพราะเต็มไปด้วยบรรดาแนวคิดบิดเบือนต่างๆ มากมาย ดังนั้น<br />

34 อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, ละฏออิฟุลมินัน, ตะห์กีก: ดร.อับดุลหะลีม มะหฺมู้ด, พิมพ์ครั้งที่<br />

2 (อัลกอฮิเราะฮ์: ดารุลมะอาริฟ, ม.ป.ป), หน้า 97.<br />

35 อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 19, หน้า 339.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

29<br />

ท่านจึงมีความต้องการที่จะแบกรับภารกิจในการฟื้นฟูและปฏิรูป<br />

สังคมในขณะที่พวกครูเสดกำลังวางแผนที่จะโจมตีโลกอิสลาม<br />

เนื่องจากอาณาจักรอับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 750-1517) นั้นกำลัง<br />

อ่อนแอ ดังนั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงต้องการเตรียมพร้อม<br />

ที่จะเยียวยารากเหง้าของปัญหาและบรรดาสาเหตุของโรคที่คืบ<br />

คลานเข้ามาในเรือนร่างของประชาชาติอิสลาม หมายถึง ในขณะ<br />

นั้นบรรดามุสลิมต่างแตกแยกเป็นหลายกลุ่ม จึงต้องหาทางแก้<br />

ปัญหาให้บรรดามุสลิมมีแนวคิดและการเมืองที่เป็นเอกภาพ ซึ่ง<br />

ทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการกลับไปสู่อิสลามฉบับดั้งเดิม<br />

ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวสั่งเสียแก่ไพร่พลทหารของ<br />

ท่านว่า “หากพวกเราไม่ชนะศัตรูด้วยความดีงามของเรา แน่นอน<br />

พวกเราก็ไม่สามารถชนะศัตรูด้วยกำลังของพวกเราได้หรอก และ<br />

พวกท่านอย่าพูดว่า ศัตรูของพวกเรานั้นเลวกว่าพวกเราจึงไม่<br />

สามารถพิชิตพวกเราได้หรอก เพราะบางครั้งชนกลุ่มหนึ่งอาจจะ<br />

ถูกคนชั่วปกครองเหมือนกับพวกบะนีอิสรออีลถูกปกครองในขณะ<br />

ที่พวกเขาได้กระทำการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ” 36<br />

ด้วยมุมมองที่ล้ำลึกและความคิดที่ปราดเปรื่อง ท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์เห็นว่า การปฏิรูปสังคมนั้นต้องอยู่บนรากฐานสี่<br />

ประการ คือ มีอีหม่านหรือหลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง มีความรู้ มีการบ่ม<br />

เพาะขัดเกลาหัวใจให้สะอาด และมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก<br />

ในสังคม เพื่อสามารถนำมาเป็นหลักประกันให้เกิดการปฏิรูป<br />

ในด้านอื่นๆ ของสังคมตามมาได้ และท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ถือว่าหลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้องและหลักตะเซาวุฟที่จะมาขัดเกลา<br />

36 อัสอัด อัลค่อฏีบ, อัลบุฏูละฮ์วัลฟิดาอฺ อินดะอัศศูฟียะฮ์ (ดิมัชก์: ดารุลฟิกร์), หน้า<br />

168.


ّ<br />

ي ِ<br />

ّ<br />

ي ِ<br />

30<br />

قواعد العقائد<br />

หัวใจให้สะอาดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อสังคมโดยไม่มีสิ่งใดที่จะมา<br />

แทนที่ได้ เนื่องจากอัลลอฮฺทรงตรัสสัจธรรมดังกล่าวไว้ว่า<br />

ُ مَ‏ ا بِ‏ َ ق وْ‏ مٍ‏ حَ‏ تَّ‏ يُغَ‏ ُ ‏وا مَ‏ ا أَنْفُ‏ سِ‏ ِ مْ‏<br />

‏ِب<br />

َ يُغَ‏ <br />

َّ َ ل<br />

إِنَّ‏ الل<br />

“แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เปลี่ยนแปลงชนกลุ่มหนึ่งจนกว่า<br />

พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที ่อยู่ในจิตใจของพวกเขาเอง”<br />

[อัรเราะอฺดุ้: 11]<br />

ดังนั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้ทำการประพันธ์ตำราอิหฺยาอ์<br />

อุลูมิดดีนขึ้นมาเพื่อปฏิรูปสังคมและประชาชาติอิสลามในยุคนั้น<br />

ด้วยรากฐานสี่ประการด้วยกัน:<br />

1. รากฐานของอีหม่านหรืออะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มองว่า หลักอีหม่านหรือหลักอะกีดะฮ์<br />

คือเป้าหมายแรกในการพัฒนาจิตใจและปฏิรูปสังคม เพราะวิถี<br />

ของจิตใจของคนและสังคมนั้นจะสะท้อนออกมาจากหลักอะกีดะฮ์<br />

ดังนั้นเป้าหมายแรกในการปฏิรูปสังคมก็คือ การสอนและศึกษา<br />

เรียนรู้เกี่ยวกับหลักอะกีดะฮ์และทำการปกป้องหลักอะกีดะฮ์ใน<br />

ขณะเดียวกันด้วย ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ดังกล่าว<br />

ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์และป้องกัน<br />

จากการก่อกวนของพวกอะกีดะฮ์บิดอะฮ์” 37 ดังนั้นหากสังคมถูก<br />

ก่อกวนด้วยหลักอะกีดะฮ์ที่บิดอะฮ์ ก็จะทำให้เกิดความวุ่นวาย<br />

และขาดความเสถียรภาพ ส่งผลให้เกิดความถดถอยในการปฏิบัติ<br />

อิบาดะฮ์ เพราะหลักอะกีดะฮ์เป็นรากฐานของอิบาดะฮ์ เมื่อหลัก<br />

อะกีดะฮ์มีความถูกต้อง ก็จะทำให้อีหม่านมีความเข้มแข็ง ซึ่งจะ<br />

37 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 116.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

31<br />

เป็นสื่อทำให้อิบาดะฮ์มีความเข้มแข็งเช่นเดียวกัน<br />

2. รากฐานวิชาความรู้<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความเห็นว่า ความรู้เป็นรากฐานของ<br />

สังคม และผู้มีความรู้จะเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนรากฐาน<br />

ดังกล่าว ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ท่านอัลหะซัน<br />

อัลบัศรีย์กล่าวว่า หากไม่มีบรรดาผู้รู้ แน่นอนบรรดาผู้คนทั้ง<br />

หลายก็เป็นเสมือนกับปศุสัตว์ หมายถึง บรรดาผู้รู้จะทำการสอน<br />

ผู้คนทั้งหลายเพื่อให้พวกเขาออกจากลักษณะของปศุสัตว์ไปสู่<br />

ความเป็นมนุษย์” 38 ดังนั้นผู้รู้จึงเป็นนายแพทย์ที่คอยทำหน้าที่<br />

เยียวยาผู้คนทั ้งหลายให้อยู่ในหลักการของศาสนา ขจัดโรคของ<br />

การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และโรคหลงดุนยาให้หมดไปจากผู้คนในสังคม<br />

แต่หากบรรดาผู้มีความรู้กลับเป็นโรคเสียเอง ก็จะทำให้เกิดความ<br />

ระส่ำระสายในสังคม ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “บรรดา<br />

นายแพทย์นั้น ก็คือบรรดาผู้รู้ ซึ่งพวกเขาในยุคสมัยนี้มีโรคที่เจ็บ<br />

ป่วยอย่างรุนแรงที่พวกเขาไม่สามารถเยียวยาได้ จนกระทั่งพวกเขา<br />

จำเป็นต้องสร้างความหลงผิดให้แก่ผู้คนทั้งหลายและชี้แนะพวก<br />

เขาด้วยสิ่งที่ทำให้เพิ่มโรค นั่นก็คือโรคหลงดุนยา ซึ่งโรคนี้ได้มา<br />

ครอบงำบรรดานายแพทย์เสียเองจนกระทั่งไม่สามารถตักเตือน<br />

ให้ผู้คนระมัดระวังได้...ด้วยสาเหตุนี้ จึงทำให้โรคได้แผ่คลุมผู้คน<br />

ทั้งหลาย” 39<br />

ดังนั้น สิ่งดังกล่าวจะทำให้เกิดผลที่เป็นอันตรายตามมาสอง<br />

ประการ คือ<br />

38 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 19.<br />

39 เรื่องเดียวกัน, เล่ม 4, หน้า 45.


32<br />

قواعد العقائد<br />

1. บรรดาผู้รู้มีความหวั่นกลัวเกี่ยวกับผลประโยชน์เรื่องดุนยา จึง<br />

จำเป็นต้องประจบประแจงผู้คนทั้งหลายและไม่ยอมกำชับให้<br />

กระทำความดีงามหรือยับยั้งจากการกระทำความชั่ว<br />

2. พวกเขามีความบกพร่องในการทำความดีงามพร้อมกับกระทำ<br />

การฝ่าฝืนและกระทำสิ่งที่น่ารังเกียจเสียเองเนื่องจากมีความ<br />

ลุ่มหลงในเรื่องของดุนยา<br />

ดังนั้น การปฏิรูปและเยียวยาสังคมจึงต้องมีผู้รู้ที่ร็อบบานีย์<br />

(ผู้มีจิตผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺ) มิใช่ผู้รู้ดุนยะวีย์(ผู้ที่หลงดุนยา) ซึ่งใน<br />

ปัจจุบันเราจะเห็นว่า บรรดาผู้รู้หรือผู้เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน<br />

การศึกษาศาสนานั้นจะมีดุนยาเข้ามาเกี่ยวข้อง จนกระทั่งทำให้<br />

ความรู้ศาสนาถดถอยลงไป เราจะสังเกตได้ว่า สถาบันปอเนาะใน<br />

อดีตนั้นสามารถผลิตผู้รู้ได้อย่างมากมายแต่ปัจจุบันกลับน้อยลง<br />

มาก นั่นก็เพราะว่าดุนยามาเปลี่ยนวิถีในการขับเคลื่อนการทำงาน<br />

ศาสนาของพวกเขาและขาดการบ่มเพาะขัดเกลาหัวใจ<br />

3. รากฐานการบ่มเพาะและชำระหัวใจให้มีความสะอาด<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เห็นว่า การขัดเกลาหัวใจให้สะอาดนั้นเป็น<br />

รากฐานหนึ่งในการสร้างสังคม เนื่องจากสังคมที่ดีนั้นจะดำรงอยู่<br />

ไม่ได้นอกจากต้องมีสมาชิกในสังคมที่เป็นคนดีมีคุณธรรม และ<br />

ความมีคุณธรรมจะไม่เกิดขึ้นนอกจากด้วยการมีหัวใจที่ดีและ<br />

ขัดเกลาจิตใจให้สะอาด<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงตัดสินว่า การขัดเกลาหัวใจให้<br />

สะอาดนั้นเป็นฟัรดูอีนที่มีความจำเป็นบนผู้บรรลุศาสนภาวะทุก<br />

คน ท่านได้กล่าวว่า “การเยียวยา(โรคหัวใจ)ประเภทนี้ คือสิ่งที่<br />

จำเป็นสำหรับทุกคนที่มีสติปัญญาที่จะต้องศึกษาร่ำเรียน เนื่องจาก


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

33<br />

หัวใจนั้นจะไม่พ้นจากโรคทั้งหลาย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ ก็จะทำให้<br />

โรคเพิ่มทวีคูณและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื ่องจนกระทั่งแพร่หลาย” 40<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงให้คำนิยาม การขัดเกลาจิตใจ ว่า<br />

“เป็นการขัดเกลาหัวใจให้สะอาดจากสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ทรงรักและ<br />

ประดับประดาหัวใจด้วยกับสิ่งที่พระองค์ทรงรัก” 41 ดังนั้นการ<br />

ขัดเกลาหัวใจนี้จึงเป็นครึ่งหนึ่งของอีหม่าน ที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า<br />

‏ُّهُ‏ وْ‏ رُ‏<br />

ا َ لط<br />

ي َ ‏انِ‏<br />

‏ْرُ‏ ا إلِ‏ ْ<br />

َ شط<br />

“ความสะอาด เป็นครึ่งหนึ่งของอีหม่าน” 42<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มิได้เข้าใจเป้าหมายหะดีษบทนี้<br />

เพียงแค่การทำความสะอาดร่างกายทางภายนอกโดยการรด<br />

ด้วยน้ำพร้อมกับปล่อยให้หัวใจมีความเสื่อมโทรมและคงอยู่กับ<br />

คุณลักษณะที่สกปรกและโสมมทั ้งหลาย แต่อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

เข้าใจว่าเป้าหมายของความสะอาดในหะดีษบทนี้ ครอบคลุมถึงสี่<br />

ระดับด้วยกัน<br />

1. อวัยวะภายนอกสะอาดจากหะดัษ 43 และสิ่งที่สกปรกทั้งหลาย<br />

2. บรรดาอวัยวะสะอาดจากการกระทำบาปต่างๆ<br />

3. หัวใจสะอาดจากคุณลักษณะที่น่าตำหนิ<br />

4. จิตสะอาดจากสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นความสะอาดของ<br />

40 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 3, หน้า 45.<br />

41 อัลฆ่อซาลีย์, อัลอัรบะอีน ฟีอุศูลิดดีน, หน้า 135.<br />

42 รายงานโดยมุสลิม, หะดีษเลขที่ 556.<br />

43 การมีญุนุบและการไม่มีน้ำละหมาด เป็นต้น.


34<br />

قواعد العقائد<br />

บรรดานะบีย์และเหล่าผู้สัจจริง 44<br />

ดังนั้นการละหมาดจึงใช้ไม่ได้เว้นแต่ต้องมีความสะอาดทาง<br />

อวัยวะภายนอก และบรรดาอวัยวะภายนอกจะไม่มีความจำเริญ<br />

ด้วยมารยาทที่ดีงามเว้นแต่บรรดาอวัยวะต้องสะอาดจากการ<br />

กระทำบาปทั้งหลาย และหัวใจจะยังไม่ถูกประดับประดาด้วย<br />

ความตักวาเว้นแต่ต้องขัดเกลาหัวใจให้สะอาดจากลักษณะที่<br />

น่าตำหนิเสียก่อน และความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺจะไม่<br />

เกิดขึ้นที่หัวใจนอกจากจิตใจต้องสะอาดจากสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ<br />

4. รากฐานการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม<br />

การสร้างสังคมที่ดีนั้น ต้องการการปฏิสัมพันธ์ที่มีความหลาก<br />

หลาย เพื่อให้สมาชิกในสังคมนั้นเป็นประภาคารที่ยึดเหนี่ยวซึ่งกัน<br />

และกันอย่างมั่นคง ซึ่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมในสังคมที่ท่าน<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวไว้แบบพอสังเขปนั้น มีดังนี้<br />

• มีการตักเตือนซึ่งกันและกัน<br />

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องมุสลิมนั้น คือการสร้างความ<br />

ผูกพันเนื่องจากความเป็นพี่น้องในศาสนาของอัลลอฮฺ ดังนั้น<br />

การตักเตือนซึ่งกันและกันจึงเป็นปรากฏการณ์แรกในการสร้าง<br />

สัมพันธไมตรีต่อกัน<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวถ่ายทอดคำพูดของท่าน<br />

ซุลนูน อัลมิศรีย์ว่า “ท่านอย่าเป็นมิตรกับอัลลอฮฺนอกจากด้วยการ<br />

ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้ และท่านอย่าเป็นมิตรกับผู้คน<br />

ทั้งหลายนอกจากด้วยการตักเตือนซึ่งกันและกัน และท่านอย่า<br />

44 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 126.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

35<br />

เป็นมิตรกับอารมณ์ใฝ่ต่ำนอกจากด้วยการขัดแย้งกับมันและอย่า<br />

เป็นมิตรกับชัยฏอนเว้นแต่ด้วยการเป็นศัตรูกับมัน” 45<br />

ดังนั้นวิถีทางนี้จึงมิได้เป็นสิ่งที่จะมาสร้างความรังเกียจให้เกิด<br />

ขึ้นในหัวใจ แต่เป็นการแสดงถึงความเมตตาและรักห่วงซึ่งกันและ<br />

กัน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ผู้ที่เตือนให้รู้ถึงข้อตำหนิ<br />

ที่มีอยู่ที่ท่านเพื่อจะให้ท่านบริสุทธิ์จากมันนั้น เขาก็เปรียบเสมือน<br />

กับผู้ที่บอกให้ท่านรู้ว่ามีงูและแมลงป่องอยู่ที่ชายผ้าของท่านซึ่ง<br />

มันกำลังจะทำให้ท่านเกิดอันตราย ดังนั้นหากท่านรังเกียจการ<br />

ตักเตือนดังกล่าว ก็ช่างเป็นความโง่เขลาสำหรับท่านเหลือเกิน” 46<br />

การตักเตือนนั้นไม่สมควรทำการเปิดเผยความลับของคนอื่น<br />

แต่ให้ทำการปกปิดเอาไว้ และหากต้องการตักเตือนอย่างเปิดเผย<br />

ก็จำเป็นต้องตักเตือนอย่างนิ่มนวล ซึ่งบางครั้งอาจจะพูดตักเตือน<br />

แบบอ้อมๆ และบางครั้งพูดตักเตือนแบบชัดเจนโดยให้อยู่ใน<br />

ขอบเขตที่ไม่ทำให้เกิดความรังเกียจและตัดขาดสัมพันธ์ต่อกัน ท่าน<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “การพูดตำหนิติเตือนในที่ลับนั้น<br />

ย่อมดีกว่าการตัดขาดสัมพันธ์ การพูดตักเตือนแบบอ้อมๆ ย่อมดี<br />

กว่าการพูดแบบชัดเจน และการเขียนตักเตือนย่อมดีกว่าการพูด<br />

โดยตรง” 47<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดคำพูดของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์<br />

ความว่า “ผู้ใดพูดตักเตือนพี่น้องของเขาในที่ลับ แท้จริงเขาได้<br />

ตักเตือนด้วยความหวังดีและต้องการให้เขาได้รับความดีงาม และ<br />

ผู้ใดพูดตักเตือนในที่เปิดเผย แท้จริงเขาได้ทำการเปิดโปงและสร้าง<br />

45 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 163.<br />

46 เรื่องเดียวกัน, หน้า 164.<br />

47 เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.


36<br />

قواعد العقائد<br />

ความอับอายแก่พี่น้องของเขา” 48<br />

• สร้างความรักกลมเกลียวต่อกัน<br />

บางครั้งเราต้องพูดตักเตือนพี่น้อง แต่บางครั้งก็สมควรหยุดนิ่ง<br />

หมายถึง หยุดนิ่งจากการกล่าวถึงข้อตำหนิของพี่น้องทั้งต่อหน้า<br />

และลับหลัง โดยให้แกล้งทำเป็นไม่รู้ นิ่งเฉยจากการสืบเสาะหา<br />

ข้อตำหนิของพี่น้องในสิ่งที่เขาไม่ชอบ ปกปิดความลับต่างๆ ที่ได้<br />

ถูกแพร่งพรายมายังเขาและอย่าเปิดเผยให้คนอื่นได้รับรู้ และให้<br />

หยุดนิ่งจากการตำหนิเกี่ยวกับบรรดาเพื่อนรัก ครอบครัว และลูกๆ<br />

ของเขา และหยุดนิ่งจากการบอกเล่าคำพูดของคนอื่นที่มาตำหนิ<br />

เกี่ยวกับพวกเขา 49<br />

พยายามแสวงหาสิ่งที่มาสร้างความรักกลมเกลียวต่อกัน เช่น<br />

การบอกรักกับพี่น้องมุสลิม ดังที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ<br />

อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า<br />

‏ْيُ‏ عْ‏<br />

‏َل<br />

ُ ْ أ لِ‏ ْ ُ ه َّ ي إِ‏ هُ‏ َ ‏َخاهُ‏ ف<br />

‏َحَ‏ بَّ‏ ُ ك<br />

أ ‏َحَ‏ د إِذَ‏ ا أ<br />

“เมื่อคนใดจากพวกท่านรักพี่น้องของเขา ดังนั้นเขาก็จง<br />

บอกให้เขาได้รู้เถิด” 50<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้อธิบายหะดีษนี้ว่า “ท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกให้เราทำการบอกรักผู้อื่น<br />

เพราะสิ่งดังกล่าวนั้นจะทำให้เพิ่มพูนความรัก เพราะเมื่อเขารู้ว่า<br />

48 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 163.<br />

49 ดู เรื่องเดียวกัน, หน้า 158.<br />

50 รายงานโดยอัตติรมีซีย์, หะดีษเลขที่ 2392, อัตติรมีซีย์, อัลญามิอฺอัศศ่อฮีหฺ สุนันอัต<br />

ติรมีซีย์, ตะห์กีก: มุฮัมมัด อะหฺมัด ชากิร (เบรุต: ดารุอิหฺยาอ์ อัตตุร็อษ อัลอะร่อบีย์),<br />

เล่ม 4, หน้า 599.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

37<br />

ท่านรักเขา เขาก็จะรักท่านโดยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น<br />

และเมื่อท่านรู้ว่าเขารักท่าน ท่านก็จะรักเขาเช่นเดียวกัน ดังนั้น<br />

ความรักก็จะยังคงเพิ่มพูนทั้งสองฝ่ายนั่นเอง” 51<br />

นอกจากนี้ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ มีความเห็นว่า ความ<br />

บริสุทธิ์ใจในการเป็นมิตรสหายนั้น ย่อมมีความหมายที ่ครอบคลุม<br />

และสำคัญที่สุด ท่านได้กล่าวว่า “ความบริสุทธิ์ใจนั้น คือลับหลัง<br />

กับต่อหน้านั้นต้องเหมือนกัน ลิ้นกับใจต้องตรงกัน ที่ลับกับที่<br />

แจ้งต้องเท่ากัน และไม่ว่าจะอยู่ตามลำพังหรืออยู่เป็นกลุ่มก็เท่า<br />

กัน...เพราะสิทธิของความเป็นมิตรสหายนั้นเป็นสิ่งที่หนักอึ้ง ไม่มี<br />

ผู้ใดสามารถแบกรับได้หรอกเว้นแต่ผู้ที่จริงใจเท่านั้น ดังนั้นผล<br />

การตอบแทนของเขา(ที่มีความจริงใจนั้น)จะได้รับมากมายอย่าง<br />

แน่นอน ซึ่งจะไม่ได้รับมันนอกจากผู้ที่ได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ<br />

เท่านั้น” 52<br />

ส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายที่บ่งชี้ว่ามีความรักต่อพี่น้องมุสลิม<br />

ก็คือ การขอดุอาอ์ให้แก่เขาในขณะที่มีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไป<br />

แล้ว ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดคำพูดอิหม่ามมุฮัมมัด<br />

อัลอัศบะฮานีย์ เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่สวยงามของมิตรสหายที่<br />

เป็นมุอฺมิน ว่า “คนไหนกันที่จะเหมือนกับพี่น้องที่ศอลิหฺ? ในเมื่อ<br />

ครอบครัวท่านจะทำการแบ่งมรดกของท่านและพวกเขามีความสุข<br />

กับสิ่งที่ท่านได้ทิ้งไว้ข้างหลัง แต่มิตรสหายกลับมีความโศกเศร้า<br />

กับท่านอย่างเดียวดาย เขาจะให้ความสำคัญกับอดีตที่ท่านได้ทำ<br />

มาก่อนหน้าและสิ่งที่ท่านต้องประสบ(หลังความตาย) เขาจึงขอ<br />

51 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 162.<br />

52 เรื่องเดียวกัน, หน้า 163.


38<br />

قواعد العقائد<br />

ดุอาอ์ให้แก่ท่านในยามค่ำคืนในขณะที่ท่านอยู่ภายใต้ผืนดิน” 53<br />

• ผ่อนปรนและอะลุ่มอล่วยต่อกัน<br />

ความเป็นพี่น้องในอีหม่านเดียวกันนั้นจะอยู่ได้ด้วยการตัก<br />

เตือนซึ่งกันและกัน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพี ่น้องนั้น จะทำให้<br />

เกิดความรักและความกลมเกลียวกัน ดังนั้นการคงมั่นไว้ซึ่งความ<br />

เป็นพี่น้องจะทำให้เกิดการผ่อนปรน อะลุ่มอล่วยต่อกัน อภัยให้กัน<br />

และมีความใจกว้างต่อกัน<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้วางสองมาตรฐานไว้เพื่อให้บรรลุ<br />

ถึงความอะลุ่มอล่วยระหว่างพี่น้องมุสลิม คือ<br />

1. การตีความในแง่ดี มีจิตใจกว้าง พยายามหาทางออกที่จะให้<br />

อภัย ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดคำพูดของนักปราชญ์<br />

ตะเซาวุฟบางส่วนไว้ว่า “สมควรให้ท่านทำการวิเคราะห์ความผิด<br />

พลาดของพี่น้องของท่านให้ถึงเจ็ดสิบทางออกเพื่อจะให้อภัย ดังนั้น<br />

หากหัวใจท่านไม่ตอบรับ ก็จงกลับมาตำหนิหัวใจของท่านโดย<br />

กล่าวกับหัวใจของท่านว่า เจ้าช่างแข็งกระด้างเหลือเกินที่พี่น้อง<br />

ของเจ้ามีเจ็ดสิบทางออกที่อภัยกันได้แต่เจ้าไม่ตอบรับ ฉะนั้นท่าน<br />

นั่นแหละคือผู้ถูกตำหนิมิใช่พี่น้องของท่าน” 54<br />

2. ตอบรับการขออภัยจากพี่น้องโดยไม่แสดงความรุนแรง<br />

เพราะหากไม่ตอบรับ แสดงว่าหัวใจยิ่งทวีคูณความแข็งกระด้าง<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ตอกย้ำความหมายของการปฏิรูป<br />

สังคมด้วยการผ่อนปรนและอะลุ่มอล่วยว่า คนกระทำชั ่วนั้นเมื่อ<br />

53 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 167.<br />

54 เรื่องเดียวกัน, หน้า 166.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

39<br />

ได้อยู่ร่วมกับคนที่มีความยำเกรง(ตักวา)นั้น คนกระทำชั่วก็จะ<br />

พิจารณามองไปยังความกลัวของเขาที่มีต่ออัลลอฮฺและมองไปยัง<br />

การปฏิบัติของเขา ดังกล่าวจะทำให้มีอิทธิพลกับคนกระทำชั่วและ<br />

ทำให้เขามีความละอายต่อการกระทำบาป ด้วยเหตุนี้ อิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์จึงมีความเห็นว่า ไม่ควรห้ามผู้มีความยำเกรงอยู่ร่วม<br />

กับคนกระทำชั่วและไม่ควรสร้างความแตกแยกระหว่างพี่น้อง<br />

มุสลิมด้วยสาเหตุดังกล่าว แต่ให้แสดงความนิ่มนวลอะลุ่มอล่วยแก่<br />

เขาเท่าที่สามารถกระทำได้ ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้อ้างอิง<br />

หลักฐานจากคำพูดของท่านอะบูอัดดัรดาอฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ55<br />

ความว่า “เมื่อพี่น้องของท่านเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เขาเคยเป็นอยู่<br />

ดังนั้นท่านก็อย่าละทิ้งเขาเพราะสาเหตุดังกล่าว เนื ่องจากพี่น้อง<br />

ของท่านนั้นบางครั้งเขาอาจจะงอแต่บางครั้งเขาจะตรง” 56<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ยังหยิบยกอายะฮ์อัลกุรอานเพื่อมา<br />

สนับสนุนทัศนะของท่านว่า ความรังเกียจที่อัลลอฮฺสั่งใช้นั้น<br />

เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนชั่วไม่ใช่ตัวตนของคนชั่ว เนื่องจาก<br />

55 แต่ท่านอะบูซัรริน อัลฆิฟารีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ มีทัศนะว่า ให้ตัดขาดจากคนที่ฝ่าฝืน<br />

โดยท่านอะบูซัรริน ได้กล่าวว่า “เมื่อพี่น้องของท่านเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เขาเคยเป็นอยู่<br />

ท่านก็จงโกรธเขาเหมือนกับที่ท่านเคยรักเขา” หมายถึง รักเพื่ออัลลอฮฺและโกรธเพื่อ<br />

อัลลอฮฺ, ดู อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 164. ส่วนตัวผู้เขียนมีความเห็นว่า<br />

การอยู่ร่วมเป็นมิตรสหายของพวกอะกีดะฮ์บิดอะฮ์ที่ไม่สามารถเยียวยาได้นั้น การหลีก<br />

ห่างย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่า เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เรา ซึ่งท่านอัลบัรบะฮารีย์<br />

ได้กล่าวว่า “อุปมาพวกอะกีดะฮ์บิดอะฮ์นั้นอุปมัยดังแมลงป่องที่หัวและร่างกายของมัน<br />

ฝังอยู่ในดิน เมื่อพวกมันมีความสามารถ พวกมันก็จะต่อย เช่นเดียวกันกับพวกบิดอะฮ์<br />

ซึ่งพวกเขาซ่อนอำพรางตนเองท่ามกลางผู้คนทั้งหลาย เมื่อพวกเขามีความศักยภาพ<br />

พวกเขาก็ลงมือทำให้ลุล่วงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ” อิบนุอะบียะอฺลา, ฏ่อบะก้อตอัล<br />

หะนาบิละฮ์, ตะห์กีก: มุฮัมมัด ฮามิด อัลฟิกกีย์, พิมพ์ครั้งที่ 2 (เบรุต: ดารุลมะอฺริฟะฮ์),<br />

เล่ม 2, หน้า 44.<br />

56 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 164.


نّ‏<br />

40<br />

قواعد العقائد<br />

อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า<br />

‏َعْ‏ مَ‏ لُونَ‏<br />

ب ‏ِيءٌ‏ مِ‏ ‏َّا ت<br />

َ صَ‏ وْ‏ َ ف ُ ْ ل إِ‏ ِ ي َ<br />

فَإِ‏ ن ْ ع<br />

“หากพวกเขาฝ่าฝืนเจ้า ก็จงกล่าวเถิดแท้จริงฉันขอปลีกตัว<br />

ให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันอยู่”[อัชชุอะรออฺ: 216]<br />

อัลลอฮฺมิทรงใช้ให้กล่าวว่า แท้จริงขอปลีกตัวให้พ้นจากพวก<br />

ท่าน นั่นก็เพื่อรักษาเอาไว้ซึ่งสิทธิของเครือญาติและวงศ์ตระกูล 57<br />

• การอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน<br />

การอุปถัมภ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น เป็นข้อพิสูจน์ถึง<br />

ความจริงใจในความเป็นพี่น้องมุสลิม ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

มิได้จำกัดเพียงแค่การอุปถัมภ์ในด้านทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยัง<br />

รวมไปถึงจิตสำนึกในภาระหน้าที่และความรับผิดชอบในการ<br />

ปลดเปลื้องความทุกข์ร้อนของพี่น้องมุสลิม ไม่ว่าความทุกข์ร้อน<br />

นั้นจะมากหรือน้อยก็ตาม<br />

อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดแบบอย่างของสะลัฟศอลิหฺบาง<br />

ส่วนไว้ว่า “สะลัฟนั้น มีผู้ที่คอยสอดส่องดูแลครอบครัวและลูกๆ<br />

ของพี่น้องของเขาที่เสียชีวิตไปแล้วถึงสี่สิบปี เขาได้ปลดเปลื้อง<br />

ความทุกข์ร้อนของพวกเขา ในทุกวันเขาจะคอยแวะเวียนไปหา<br />

พวกเขาและให้ค่าเลี้ยงดูจากทรัพย์สินของเขา ดังนั้นพวกเขาจึง<br />

ไม่เคยขาด(ผู้ทำหน้าที่แทน)พ่อเว้นแต่ขาดตัวตนของพ่อ(ที่เสียชีวิต<br />

ไปแล้ว)เท่านั้นเอง...และมีสะลัฟบางส่วนได้เดินแวะเวียนไปมาที่<br />

ประตูบ้านพี่น้องของเขาและถามว่า ท่านยังมีน้ำมันพอไหม ท่าน<br />

ยังมีเกลือพอไหม และท่านมีความเดือดร้อนอะไรให้ช่วยไหม? 58<br />

57 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 165.<br />

58 เรื่องเดียวกัน, หน้า 157.<br />

‏َق ك


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

41<br />

บทสรุปคือ สมควรให้ความทุกข์ร้อนของพี่น้องมุสลิมนั้น<br />

เหมือนกับความทุกข์ร้อนของท่านหรือสำคัญยิ่งกว่าความทุกข์<br />

ร้อนของท่านนั่นเอง<br />

• การเชื่อมสัมพันธไมตรี<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความเห็นว่า การเชื่อมสัมพันธไมตรี<br />

ระหว่างพี่น้องมุสลิมและการอยู่ร่วมเป็นมิตรสหายที่ดีงามกับ<br />

พวกเขานั้น ถือว่าเป็นรุกุ่น(องค์ประกอบหลัก)ของศาสนาที่จะขาด<br />

เสียมิได้ เพราะศาสนาคือการเดินทางไปสู่อัลลอฮฺ และองค์ประกอบ<br />

หลักของการเดินทางนั้นต้องอยู่ร่วมเป็นมิตรสหายที่ดีงามกับ<br />

บรรดามิตรสหายผู้ร่วมเดินทาง 59<br />

การอยู่ร่วมกันนั้น ศาสนาได้แบ่งเอาไว้หลายระดับด้วยกันใน<br />

ด้านของการแสดงถึงความรักและการปฏิบัติ อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์<br />

ได้กล่าวว่า “ผู้คนทั้งหมดจะอยู่ร่วมปะปนกับคนอื่น ดังนั้นการ<br />

อยู่ร่วมกันนั้นต้องมีมารยาท และมารยาทต้องอยู่ตามระดับสิทธิ<br />

ของเขาที่พึงได้รับ และสิทธิของเขาที่พึงได้รับนั้นก็จะได้รับตาม<br />

ระดับของความผูกพัน” 60 ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิของเครือญาติ<br />

สิทธิของพ่อแม่ที่มีต่อลูก สิทธิของลูกที่มีต่อพ่อแม่ สิทธิของสามี<br />

ภรรยา สิทธิของเพื่อนบ้าน และสิทธิต่อพี่น้องมุสลิมทั่วไป การ<br />

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาเหล่านี้จะทำให้ความเป็นพี่น้องมุสลิม<br />

มีความมั่นคง และทำให้สังคมอิสลามมีความสมบูรณ์ เข้มแข็ง และ<br />

เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน<br />

นี่ก็คือบรรดารากฐานในการปฏิรูปและสร้างสังคมที่ดี ซึ่งเป็น<br />

รากฐานที่ต้องเริ่มจากคนคนเดียวก่อนเหมือนกับอิฐก้อนหนึ่งที่วาง<br />

59 อัลฆ่อซาลีย์, อัลบัรบะอีน ฟิอุศูลิดดีน, หน้า 104.<br />

60 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 173.


42<br />

قواعد العقائد<br />

รากฐานในสังคม หลังจากนั้นก็จะสรรสร้างผู้คนทั้งหลายให้มีความ<br />

เข้มแข็งและมีคุณธรรมให้อยู่ในสังคมที่ดีและมีคุณธรรม<br />

ความเป็นมาของตำราก่อวาอิดุลอะกออิด<br />

ตำรา “ก่อวาอิดุลอะกออิด” อะกีดะฮ์ของท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์คือบรรดาหลักความเชื่อต่างๆ ของอะกีดะฮ์อะฮฺลิซ<br />

ซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ประพันธ์ไว้ และ<br />

ท่านก็นำตำราเล่มนี้เข้าไปบรรจุไว้ในตำรา “อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน” ที่<br />

โด่งดังของท่าน 61 ท่านอิบนุอิม้าดได้กล่าวว่า “ในปี ฮ.ศ. 488 นั้น<br />

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้เริ่มเดินทางไปยังดิมัชก์เพื่อทำอิบาดะฮ์<br />

ฝึกฝนตนเอง และขัดเกลาหัวใจด้วยการหมั่นในการซิกรุลลอฮฺและ<br />

เริ่มประพันธ์หนังสืออิหฺยาอ์อุลูมิดดีน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์อยู่<br />

ที่นั่นสองปี” 62<br />

ตำราอะกีดะฮ์ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เล่มนี้ ท่านได้<br />

ประพันธ์ในขณะที่ออกเดินทางไปเพื่อบ่มเพาะ ฝึกฝน และขัดเกลา<br />

จิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักอะกีดะฮ์พื้นฐานในการเดินทาง<br />

เข้าหาอัลลอฮฺตะอาลา ดังนั้นหลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้องจึงเป็นผล<br />

ทำให้แนวทางของตะเซาวุฟมีความถูกต้องเช่นเดียวกัน<br />

ท่านอิหม่ามอิบนุอะซากิร ได้กล่าวรายงานไว้ในตำรา ตับยีน<br />

กัษบิลมุฟตะรี อะลา อะบิลหะซันอัลอัชอะรีย์ ความว่า “ฉันได้ยิน<br />

ท่านอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม สะอัด บิน อะลีย์ บิน อะบิลก่อซัม บิน<br />

อะบีฮุร็อยเราะฮ์ อัลอิสฟิรอยินีย์ อัชชาฟิอีย์ ณ เมืองดิมัชก์ เขา<br />

ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินอิหม่ามอะบุลฟัตหฺ บิน นะหฺฮาม บิน อามิร<br />

61 ดู อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 88-91.<br />

62 อิบนุอิม้าด, ชะษะร้อตอัซซะฮับ, เล่ม 5, หน้า 371.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

43<br />

อัลอะร่อบีย์ อัซซาวีย์ ณ นครมักกะฮ์ ได้กล่าวว่า ฉันได้เข้าไปที่<br />

มัสยิดอัลหะรอมในวันอาทิตย์ช่วงเวลาระหว่างซุฮ์ริกับอัสริในวันที่<br />

14 เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ. 545 ฉันมีอาการเจ็บขาและเวียนศีรษะ<br />

โดยไม่สามารถที ่จะยืนหรือนั่งได้... และฉันก็หาสถานที่เพื่อนอน<br />

พักสักครู่หนึ่ง แล้วฉันจึงเห็นประตูบ้านของกลุ่มคนที่ใช้เป็นที่พัก<br />

ของคนเดินทาง ณ ประตูอัลหะซูเราะฮ์(ที่มัสยิดอัลหะรอม)เปิด<br />

อยู่ ฉันจึงมุ่งเดินไปและผ่านเข้าไปทางประตูนั้น และฉันก็นอน<br />

ตะแคงขวาอยู่ข้างหน้ากะอฺบะฮ์โดยมือของฉันเท้าแก้มเอาไว้เพื่อ<br />

ไม่ให้นอนหลับเพราะเกรงว่าจะเสียน้ำละหมาด จึงมีชายคนหนึ่ง<br />

ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามาจากพวกบิดอะฮ์ได้เข้ามาและทำการปูสถานที่<br />

ละหมาดของเขาบนประตูบ้านดังกล่าวและเขาก็นำแผ่นหินออก<br />

มาจากกระเป๋าเสื้อซึ่งบนแผ่นหินนั้นจะมีรอยเขียนอยู่ด้วย แล้วเขา<br />

ทำการจูบมันและเอาไปวางข้างหน้า แล้วทำการละหมาดใช้เวลา<br />

นานโดยปล่อยมือทั้งสองข้างตามธรรมเนียมของพวกเขา เขาจะ<br />

ทำการสุญูดบนแผ่นหินนั้นทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นจากละหมาด เขาก็<br />

ทำการสุญูดบนแผ่นหินนั้น เขาสุญูดนาน และเขาก็ให้แก้มของเขา<br />

ทั้งสองข้างถูบนแผ่นหินนั้น แล้วเขาก็วิงวอนขอดุอาอ์ หลังจากนั้น<br />

เขาก็เงยศีรษะขึ้นมา แล้วทำการจูบแผ่นหินนั้นและนำมันมาวาง<br />

ประกบไว้บนสองตา หลังจากนั้นเขาก็จูบแผ่นหินเป็นครั้งที่สอง<br />

และนำเข้าไว้ในกระเป๋าเสื้อดังเดิม ดังนั้นทุกครั้งที่ฉันเห็นเขาฉัน<br />

จะรังเกียจการกระทำดังกล่าว ฉันจึงพูดในใจว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

น่าจะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเขาเพื่อจะได้บอกพวกเขาถึงการ<br />

กระทำที่ไม่ดีและสิ่งบิดอะฮ์ที่พวกเขาดำเนินอยู่ ในขณะที่กำลังคิด<br />

ในใจอยู่นี้ ฉันก็พยายามฝืนไม่ให้หลับเพื่อไม่ให้เสียน้ำละหมาด ใน<br />

ขณะนั้นฉันรู้สึกง่วงนอนมากเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น แล้วฉันก็เห็น


44<br />

قواعد العقائد<br />

ลานกว้างซึ่งมีผู้คนยืนอยู่มากมายและในมือทุกคนจะมีตำราเล่ม<br />

หนึ่งโดยที่พวกเขาทั้งหมดได้ยืนล้อมบุรุษคนหนึ ่ง ฉันจึงถามเกี่ยว<br />

กับพวกเขาและผู้ที่อยู่ในวง พวกเขากล่าวว่า เขาคือร่อซูลุลลอฮฺ<br />

ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และพวกเขาเหล่านั้นก็คือบรรดา<br />

เจ้าของมัซฮับต่างๆ พวกเขาต้องการที่จะอ่านแนวทางและ<br />

อะกีดะฮ์ของพวกเขาให้ท่านร่อซูลุลลอฮฺฟังและให้ท่าน<br />

ร่อซูลุลลอฮฺแก้ไขให้ถูกต้อง ขณะดังกล่าวนั้นฉันจึงมองไปยังกลุ่ม<br />

ชนดังกล่าว ทันใดนั้นก็มีชายคนหนึ่งที่ยืนล้อมวงอยู่ได้เดินออกมา<br />

โดยในมือถือตำราอยู่เล่มหนึ่ง จึงถูกกล่าวขึ้นว่า นี่คืออัชชาฟิอีย์<br />

(ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ) แล้วก็เดินเข้ามากลางวงและให้สะลามกับท่าน<br />

ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ฉันเห็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

มีความงดงามและสมบูรณ์โดยสวมเสื้อผ้าสีขาวสะอาดทั้งผ้าโพก<br />

สาระบั่น เสื้อข้างใน และเสื้ออื่นๆ ในชุดของชาวตะเซาวุฟ แล้วท่าน<br />

ร่อซูลุลลอฮฺก็รับสะลามและกล่าวต้อนรับ แล้วอิหม่ามอัชชาฟิอีย์<br />

ก็นั่งลงข้างหน้าท่านร่อซูลุลลอฮฺและทำการอ่านตำราเกี่ยวกับ<br />

มัซฮับและหลักอะกีดะฮ์ของท่าน หลังจากนั้นก็มีชายอีกคนหนึ่ง<br />

เข้ามา ถูกเรียกชื่อว่า อะบูหะนีฟะฮ์ (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งในมือ<br />

ของเขามีตำราเล่มหนึ่ง แล้วก็ทำการให้สะลามและนั่งข้างอิหม่าม<br />

อัชชาฟิอีย์และทำการอ่านตำราเกี่ยวกับมัซฮับและหลักอะกีดะฮ์<br />

ของเขา หลังจากนั้นเจ้าของทุกมัซฮับเข้ามาทีละคนจนกระทั่งไม่<br />

เหลือผู้ใดเว้นแต่ส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งทุกคนจะทำการอ่านตำราและ<br />

นั่งข้างคนอื่นๆ เมื่อพวกเขาได้เสร็จสิ้นเรียบร้อย ก็มีชายคนหนึ่ง<br />

จากพวกบิดอะฮ์ที่มีฉายาว่า อัรรอฟิเฎาะฮ์ ได้เข้ามาโดยในมือมี<br />

แผ่นกระดาษ ในนั้นได้กล่าวถึงอะกีดะฮ์ของพวกเขาที่เสียหาย<br />

และเขาก็ตั้งใจจะเข้ามาในวงและทำการอ่านให้ร่อซูลุลลอฮฺฟัง จึง


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

45<br />

มีชายคนหนึ่งที่อยู่พร้อมกับท่านร่อซูลลอฮฺได้ออกมาขัดขวางเขา<br />

ไว้และเอาแผ่นกระดาษในมือของเขาโยนทิ้งไปนอกวงและขับไล่<br />

เขาออกไป<br />

เมื่อฉันเห็นกลุ่มชนเหล่านั้นได้อ่านเสร็จเรียบร้อยโดยไม่หลง<br />

เหลือคนใดอยู่เลย ฉันจึงก้าวมาข้างหน้าเล็กน้อยโดยในมือของ<br />

ฉันมีตำราเล่มหนึ่ง แล้วฉันก็กล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ตำรา<br />

เล่มนี้คือหลักยึดมั่นของฉันและเป็นหลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์<br />

หากท่านอนุญาตให้ฉันอ่าน ฉันก็จะอ่านให้ท่านฟัง ดังนั้นท่าน<br />

ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า ตำรานี้คือ<br />

ตำราอะไร? ฉันตอบว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ มันคือตำราก่อวาอิดุล<br />

อะกออิดที่อัลฆ่อซาลีย์ได้ประพันธ์ไว้ ดังนั้นท่านร่อซูลุลลอฮฺจึง<br />

อนุญาตให้ฉันอ่าน ฉันจึงนั่งและเริ่มอ่าน: “บิสมิลลาฮิรเราะหฺมา<br />

นิรร่อฮีม นี่คือตำรา ก่อวาอิดุลอะกออิดในการอธิบายถึงอะกีดะฮ์<br />

อะฮฺลิซซุนนะฮ์เกี่ยวกับสองกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์ที่เป็นหนึ่งใน<br />

โครงสร้างของศาสนาอิสลาม...จนกระทั่งถึง...แท้จริงอัลลอฮฺทรง<br />

แต่งตั้งท่านนะบีย์ ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นคนในตระกูลกุเรช<br />

นามว่ามุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม พร้อมกับสารจาก<br />

อัลลอฮฺสู่ชาวอาหรับ ผู้ไม่ใช่อาหรับ ญิน และมนุษย์ทั้งหมด...” เมื่อ<br />

ฉันอ่านถึงตรงนี้ ฉันจึงเห็นใบหน้าที่ยิ้มแย้มและรอยยิ้มบนใบหน้า<br />

ของท่าน ขณะที่ฉันได้อ่านไปถึงคุณลักษณะของท่านนั้น ท่าน<br />

ร่อซูลุลลอฮฺจึงหันมายังฉันและกล่าวว่า อัลฆ่อซาลีย์อยู่ไหน ทัน<br />

ใดนั้นอัลฆ่อซาลีย์ก็ถูกเชิญมายืนอยู่ในวงต่อหน้าท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันนี่แหละคืออัลฆ่อซาลีย์ และ<br />

ก้าวเท้าเข้ามาและสะลามกับท่านร่อซูลุลลอฮฺ แล้วท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

ก็ตอบรับสะลาม และเขาก็จับมืออันมีเกียรติของท่านร่อซูลุลลอฮฺ


46<br />

قواعد العقائد<br />

พร้อมจูบมือและเอาสองแก้มาวางบนมือของท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

เพื่อเอาบะร่อกะฮ์จากท่านร่อซูลุลลอฮฺและจากมืออันมีเกียรตินั้น<br />

ต่อมาอัลฆ่อซาลีย์ก็นั่งลง ดังนั้นฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ<br />

ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะมีความเบิกบานแจ่มใสกับการ<br />

อ่านของคนหนึ่งคนใดที่จะมากไปกว่าฉันได้อ่านตำราก่อวาอิดุล<br />

อะกออิดให้ท่านร่อซูลุลลอฮฺฟัง<br />

หลังจากนั้นฉันก็ตื่นในสภาพที่สองตาของฉันมีร่องรอยของ<br />

น้ำตาจากสิ่งที่ฉันได้ฝันเห็น ซึ่งมันเป็นนิอฺมัตที่ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺ<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสุดท้ายที่มีแนวทางที่ตามอารมณ์มากมาย<br />

ดังนั้นเราวอนขอต่ออัลลอฮฺตะอาลาโปรดประทานให้เรามีความ<br />

มั่นคงบนหลักอะกีดะฮ์ของผู้อยู่ในสัจธรรมด้วยเถิด ขอให้พระองค์<br />

ทรงทำให้เรามีชีวิตและให้เราตายบนหลักอะกีดะฮ์ดังกล่าว และ<br />

ทรงทำให้เราฟื้นคืนชีพมาพร้อมกับพวกเขา พร้อมกับบรรดานะบีย์<br />

บรรดาร่อซูล บรรดาผู้สัจจริง บรรดาคนตายชะฮีด และเหล่าผู้<br />

มีคุณธรรม และพวกเขาได้อยู่ร่วมอย่างสวยงาม (ในสวรรค์ชั้น<br />

สูงสุด) ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคู่ควรยิ่งในการประทานความ<br />

โปรดปรานและผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ ่ง 63<br />

ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “ฝัน<br />

ดีมาจากอัลลอฮฺ” 64 ดังนั้นความฝันที่ดีข้างต้นบ่งชี้ว่า ตำราก่อวา<br />

อิดุลอะกออิด เป็นตำราที่อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ทำการอธิบายอะ<br />

กีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ซึ่งเป็นหลักอะกีดะฮ์แนวทาง<br />

ผู้อยู่ในสัจธรรมนั่นเอง<br />

63 อิบนุอะซากิร, ตับยีนกัษบิลมุฟตะรี, หน้า 226-231.<br />

64 รายงานโดยอัลบุคอรีย์, หะดีษเลขที่ 6594. อัลบุคอรีย์, ศ่อฮีหฺอัลบุคอรีย์, เล่ม 6,<br />

หน้า 2568.


كتاب<br />

قواعد العقائد<br />

لحجة اإلسالم اإلمام الغزايل<br />

ตำรา ก่อวาอิดุลอะกออิด


ْ<br />

ي ِ<br />

‏َت<br />

ي<br />

َ<br />

ن ت<br />

ف<br />

ب<br />

48<br />

ِ َ ك‏ السشَّ‏ َ َ اد ةِ‏<br />

‏َّةِ‏ ْ ِ<br />

: ُ<br />

قواعد العقائد<br />

ِ هللاِ‏ الرَّ‏ حْ‏ نِ‏ الرَّ‏ حِ‏ <br />

بِسْ‏<br />

‏َوَاعِ‏ دِ‏ ال ‏ْعَ‏ ق تَ‏ ‏ْحجَ‏ ‏َةِ‏ عَ‏ قِ‏ يْ‏ َ د ةِ‏ أ ْ ‏َه لِ‏ السُّ‏ ن<br />

كِ‏ تَابُ‏ ق<br />

‏َن ِ هللِ‏ التَّ‏ وْ‏ فِ‏ يْ‏ ق<br />

َ أَحَ‏ ُ د مَ‏ بَ‏ ِ ي ا‏ ا إلِ‏ سْ‏ الَمِ‏ ، ف<br />

ِ يْ‏ الَّ‏ هِ‏ ي<br />

ْ ُ عِ‏ يْ‏ دِ‏ ، ال َ ‏ْف عَّ‏ الِ‏ لِ‏ َ ا <br />

ْ ُ بْ‏ دِ‏ ىءِ‏ ال<br />

ْ ‏َمْ‏ ُ د هللِ‏ ال<br />

ا<br />

ف<br />

ِ ي<br />

ِ ُ يْد ...،<br />

ُ<br />

ي<br />

ْ<br />

َ ائِدِ‏ ِ ي<br />

َ ُ ق ُ وْل وَ‏ <br />

َ ل<br />

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ<br />

นี่คือตำรา ก่อวาอิดุลอะกออิด ในการอธิบายถึงอะกีดะฮ์อะฮฺลิซ<br />

ซุนนะฮ์เกี่ยวกับสองกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์ที่เป็นหนึ่งในโครงสร้าง<br />

ของศาสนาอิสลาม ดังนั้น ด้วยอัลลอฮฺเท่านั้นผู้ทรงชี้นำ เรา 1 ขอ<br />

กล่าวว่า:<br />

[ศิฟัตอัลวุญูด-อัลลอฮฺทรงมี]<br />

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺผู้ทรงทำให้<br />

สรรพสิ่งทั้งหลายปรากฏมีขึ ้นมา 2 ผู้ทรงทำให้ทุกสิ่งหวนกลับไป 3<br />

ผู้ทรงกระทำอย่างลุล่วงกับสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์4<br />

1 คือท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์.<br />

2 เนื่องจากอัลลอฮฺทรงมี ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายให้ปรากฏมีขึ้นมา<br />

เพื่อบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างนั่นเอง.<br />

3 หมายถึง สิ่งถูกสร้างทั้งหลายจะหวนกลับไปพึ่งพาพระองค์เพื่อให้มันดำรงอยู่ได้ต่อ<br />

ไปหรือพระองค์ทรงทำให้หวนกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกในวันกิยามะฮ์. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺ<br />

อะกีดะฮ์อัลอิมามอัลฆ่อซาลีย์, ตะห์กีก: มุฮัมมัด อับดุลกอดิร อันนัศศ้อร, พิมพ์ครั้งที่ 1<br />

(ไคโร: ดาร่อตุลกุรซฺ, ค.ศ. 2007/ฮ.ศ. 1427), หน้า 33-34.<br />

4 โดยพระองค์ไม่ถูกกีดกัน ไม่มีการลังเล ไม่มีการหยุดกระทำเพื่อขอความช่วยเหลือ<br />

จากผู้อื่น และไม่มีความอ่อนแอ ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์ทำให้<br />

บังเกิดขึ้นมาทันที. เรื่องเดียวกัน, หน้า 34.


َ<br />

يْ‏<br />

ب<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ<br />

َ ال ‏ْعَ‏ بِ‏ يْ‏ دِ‏ إِل<br />

49<br />

ْ َ ادِ‏ يْ‏ صَ‏ ْ ف وَ‏ ة<br />

َّ الش دِ‏ يْدِ‏ ، ال<br />

‏ْشِ‏<br />

ْ َ جِ‏ يْ‏ دِ‏ وَ‏ الْبَ‏ ط<br />

... ذِ‏ ي الْعَ‏ رْ‏ شِ‏ ال<br />

َّ الت وْ‏ حِ‏ يْ‏ دِ‏<br />

‏َكِ‏ السَّ‏ دِ‏ يْدِ‏ ، ال ْ عِ‏ مِ‏ ع ِ مْ‏ بَ‏ عْ‏ َ د شَ‏ َ ‏ادَ‏ ةِ‏<br />

ِ نْ‏ ‏َج الرَّ‏ شِ‏ يْ‏ دِ‏ وَ‏ ال<br />

ال<br />

ِ ِ ب‏ رَ‏ اسَ‏ ةِ‏ عَ‏ َ قائِدِ‏ هِ‏ ْ َ ع نْ‏ ظ ْ ‏َّش كِ‏ يْ‏ كِ‏ وَ‏ تَّ‏ ْ ال‏ دِ‏ يْدِ‏ ، السَّ‏ الِكِ‏ <br />

ِ ِ مْ‏ إِل<br />

َ<br />

ْ ُ ن َ ل<br />

ُ َ اتِ‏ الت<br />

ُ ل<br />

ْ َ سْ‏ ل<br />

َ ْ<br />

ผู้ทรงสร้างอะรัช(บัลลังก์)ที่มีเกียรติ5 ผู้ทรงจัดการอย่างเฉียบขาด 6<br />

ผู้ทรงชี้นำบรรดาปวงบ่าว 7 ที่ถูกเลือกเฟ้น 8 ให้ไปสู่แนวทางที่เที่ยง<br />

ตรงและหนทางที่ถูกต้อง 9 ผู้ทรงประทานนิอฺมัตแก่พวกเขาหลัง<br />

จาก(กล่าวถ้อยคำ)ชะฮาดะฮ์เตาฮีดแล้ว 10 ด้วยการ(ประทานอีก<br />

นิอฺมัตหนึ่งในการ)ปกปักษ์รักษาหลักอะกีดะฮ์ของพวกเขาให้พ้น<br />

จากความมืดมน 11 ของการสร้างความสงสัยและลังเล ผู้ทรงชักนำ<br />

พวกเขาไปสู่...<br />

5 อะรัชหรือบัลลังก์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ใหญ่ที่สุดครอบจักรวาล ถูกสร้างจากนูรรัศมี ซึ่ง<br />

ไม่มีผู้ใดรู้ถึงแก่นแท้ของมันได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น. อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุลมุรี้ด,<br />

ตะห์กีก: อะลีย์ญุมุอะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุสลาม, ค.ศ. 2002/ฮ.ศ. 1422), หน้า<br />

296. และพระองค์ทรงสร้างบัลลังก์เพื ่อแสดงถึงความเดชานุภาพและความยิ่งใหญ่ของ<br />

พระองค์ มิใช่สร้างเพื่อมานั่ง ประทับ สถิต และอาศัยอยู่แต่อย่างใด.<br />

6 ด้วยการลงโทษผู้อธรรมทั้งหลาย.<br />

7 ชี้นำปวงบ่าวด้วยการประทานคำสั่งใช้ที่เป็นความดีงามให้พวกเขานำไปปฏิบัติและ<br />

สร้างพลังอีหม่านให้เกิดขึ้นแก่พวกเขา. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์,<br />

หน้า 36.<br />

8 หมายถึงพวกเราถูกอัลลอฮฺทรงเลือกให้เป็นผู้ที่มีอีหม่านต่อพระองค์เพราะยังมีมนุษย์<br />

อีกมากมายที่ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ.<br />

9 ด้วยการทำให้มีความแน่นแฟ้นในการรู้จักอย่างลึกซึ้ง ผูกพัน และมั่นคงอยู่กับอัลลอฮฺ<br />

หลังจากที่เขาได้มีอีหม่านต่อพระองค์เป็นเบื้องต้นแล้ว.<br />

10 หมายถึง ทรงประทานนิอฺมัตให้พวกเขาได้รับอิสลามและยอมรับในกะลิมะฮ์เตาฮีด<br />

“อัชฮะดุ อัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะ อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัรร่อซูลุลลอฮฺ”<br />

11 หมายถึง ความคลุมเครือ. มุรตะฎออัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน<br />

(เบรุต: มุอัซซะซะฮ์อัตตารีคอัลอะร่อบีย์, ค.ศ. 1994/ฮ.ศ. 1414), เล่ม 2, หน้า 18.


‏َق<br />

ف<br />

شَ‏<br />

بِ‏<br />

ي<br />

ت<br />

ب ي<br />

50<br />

ْ نَ‏ ِ ‏لتَّأ<br />

‏ْرَمِ‏<br />

ْ ُ ك<br />

ُ َ ا<br />

َّ ْ رِ‏ ك<br />

َ ْ بِهِ‏ ال ْ رَمِ‏ <br />

قواعد العقائد<br />

‏ْيِيْدِ‏<br />

‏َاءِ‏ آ‏ ‏َرِ‏ ث ص أَ‏ ك ْ نَ‏ ال<br />

ْ ُ صْ‏ طفَ‏ َ وَاقْتِف<br />

رَسُ‏ وْلِ‏ ِ ال<br />

َ لَ‏ يُد<br />

ي ل ِ ي ذَ‏ اتِهِ‏ وَ‏ أ َ حَ‏ اسِ‏ نِ‏ أ وْ‏ صَ‏ افِ‏ هِ‏ الِ‏ ي<br />

وَ‏ الت ‏َّسْ‏ دِ‏ يْدِ‏ ، ال َ جَ‏ لِّ‏<br />

‏َل السَّ‏ مْ‏ عَ‏ وَ‏ هُ‏ وَ‏ ِ يْ‏ د<br />

إِلَّ‏ مَ‏ نْ‏ أ<br />

َ ف ‏ْعَ‏ الِ‏ ِ <br />

. ٌ<br />

َ ُ مْ‏ <br />

<br />

ْ ُ ت<br />

ْ<br />

إِتْبَاع<br />

ِ<br />

...การเจริญรอยตามร่อซูลของพระองค์ที่ถูกคัดเลือก [ศ็อลลัลลอฮุ<br />

อะลัยฮิวะซัลลัม] และตามร่องรอยต่างๆ ของศ่อฮาบะฮ์ผู้ที่มี<br />

เกียรติที่สุด 12 ทั้งยังได้รับเกียรติด้วยการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺและ<br />

ได้รับการชี้นำจากพระองค์ ผู้ทรงสำแดงให้ปรากฏเกิดขึ้นแก่(หัวใจ<br />

ของ)พวกเขา(ในการอีหม่านอย่างมั่นคงและรู้จัก)เกี่ยวกับซาตของ<br />

พระองค์13 และบรรดาการกระทำ 14 ของพระองค์ด้วย(การบ่งชี้<br />

และรู้จักถึง)ความงดงามของบรรดาคุณลักษณะ(คือบรรดาศิฟัต)<br />

ของพระองค์ที่ไม่มีผู้ใดตระหนักรู้มันได้นอกจากผู้ที่สดับฟังโดยที่<br />

เขานั้นมีหัวใจประจักษ์อย่างชัดแจ้ง 15<br />

12 ศ่อฮาบะฮ์มีเกียรติที่สุดหลังจากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เนื่องจาก<br />

อัลลอฮฺตะอาลาทรงประทานนิอฺมัตให้พวกเขาอยู่ร่วม เป็นมิตรสหาย ทำการช่วยเหลือ<br />

ศาสนาของอัลลอฮฺ ปกปักษ์รักษาศาสนาของพระองค์ และส่งต่อคำสอนต่างๆ ไปยัง<br />

ประชาชาติของท่านนะบีย์ พร้อมกับมีความเคร่งครัดในการฏออัตภักดีต่ออัลลอฮฺและ<br />

เสียสละทุ่มเทชีวิตเพื่อสิ่งดังกล่าวทั้งหมด. ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิมามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า<br />

40.<br />

13 หมายถึง รู้จักว่าซาตของอัลลอฮฺนั้นมีคุณลักษณะต่างๆ ที่วิจิตรงดงามและยิ่งใหญ่<br />

ส่วนคำว่าซาตนั้น หมายถึง แก่นแท้(การมีอยู่)ของอัลลอฮฺ.<br />

14 หมายถึงการสรรสร้างของพระองค์ในจักรวาลแห่งนี้.<br />

15 ประจักษ์แจ้งในหัวใจของพวกเขาโดยปราศจากความลังเลและสงสัย.


َ<br />

ي<br />

شَ‏<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ ُ ، ص َ َ د ٌ لَ‏<br />

ل<br />

َ َ<br />

‏َرْ‏ ٌ د ل مَ‏ ثِيْ‏ ل<br />

َ ُ ، ف<br />

َ يْك ل<br />

ٌ ل ِ<br />

... ، ُ َ<br />

ُ وَ‏ احِ‏ ٌ د َ ق دِ‏ يْ‏ ٌ لَ‏ َ أ وَّ‏ َ ل ل<br />

ศิฟัตซัลบียะฮ์16<br />

51<br />

ف ْ ذَ‏ اتِهِ‏ وَ‏ احِ‏ د<br />

‏َّه ِ ي<br />

‏َن<br />

‏ِفِ‏ إِ‏<br />

ْ ُ عَ‏ رّ‏<br />

‏َل<br />

ا<br />

‏َّه<br />

َ د َ نِ‏ د<br />

ضِ‏ د رِ‏<br />

ُ ْ أ ُ <br />

َّ ه<br />

َ ُ . وَ‏ َ أن<br />

َ ُ ، مُ‏ ْ نف ٌ ل َّ ل<br />

َّ ل<br />

[ศิฟัตอัลวะหฺดานียะฮ์-ทรงหนึ ่งเดียว]<br />

(อัลลอฮฺ)ผู้ทรงทำให้พวกเขารู้จักเกี่ยวกับซาตของพระองค์ว่า<br />

แท้จริงพระองค์นั้นหนึ่งเดียวไม่มีภาคีใดๆ ให้กับพระองค์ อีกทั้ง<br />

พระองค์ทรงหนึ่งเดียวไม่มีผู้ใดมาเสมอเหมือนพระองค์17 ทรงเป็น<br />

ที่พึ่งพาไม่มีผู้เป็นปรปักษ์ให้กับพระองค์18 ทรงหนึ่งเดียวไม่มีผู้ใด<br />

มาเสมอเหมือนเทียบเท่ากับพระองค์<br />

[ศิฟัตอัลกิดัม-ทรงเดิม]<br />

แท้จริงอัลลอฮฺทรงหนึ่งเดียวที่ทรงมีมาตั้งแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มต้น<br />

16 ศิฟัตซัลบียะฮ์ คือ ศิฟัตเชิงปฏิเสธ หมายถึง ปฏิเสธคุณลักษณะที่ไม่บังควรสำหรับ<br />

อัลลอฮฺ เช่น ปฏิเสธการมีจุดเริ่มต้นของพระองค์ ปฏิเสธการดับสูญของพระองค์<br />

ปฏิเสธการคล้ายเหมือนระหว่างอัลลอฮฺกับสิ่งถูกสร้าง ปฏิเสธการที่อัลลอฮฺไปพึ่งพา<br />

อาศัยสิ่งอื่น และปฏิเสธการที่อัลลอฮฺมีจำนวนมากกว่าหนึ่ง.<br />

17 หมายถึง อัลลอฮฺทรงมีซาตเดียว ไม่ถูกประกอบขึ้นจากอวัยวะหลายส่วนแล้วมา<br />

ประกอบรวมกันเป็นซาต และไม่มีสิ่งใดจะมาเหมือนกับซาตพระองค์, อัลลอฮฺทรงหนึ่ง<br />

เดียวในด้านของศิฟัต คือ แต่ละศิฟัตของอัลลอฮฺนั้นมีหนึ่งเดียว เช่น อัลลอฮฺมีศิฟัต<br />

กุดเราะฮ์เดียวที่สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย พระองค์มีศิฟัตอิลมุ้เดียวที่รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง<br />

และไม่มีศิฟัตของผู้อื่นมาเหมือนกับศิฟัตของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงหนึ่งเดียวใน<br />

การกระทำหรือสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มีผู้ใดมาช่วยเหลือในการบันดาลหรือสรรสร้าง<br />

สิ่งใดให้บังเกิดขึ้นมานอกจากอัลลอฮฺหนึ่งเดียวเท่านั้นผู้ทรงกระทำและบันดาลให้<br />

บังเกิดขึ้นมา. ดู อัลบาญูรีย์, ตะหฺกีกอัลมะกอม อะลากิฟายะตุลเอาวาม, พิมพ์ครั้งที่ 1<br />

(ไคโร: ดารุลบะศออิร, ค.ศ. 2015/ฮ.ศ. 1436), หน้า 95-100.<br />

18 หมายถึง อัลลอฮฺทรงเป็นที่พึ่งพาและทุกคนต้องมุ่งไปขอการพึ่งพาจากพระองค์<br />

โดยไม่มีผู้อื่นใดจากอัลลอฮฺมาเป็นคู่ปรปักษ์ที่ผู้คนทั้งหลายมุ่งขอการพึ่งพา. ดู ซัรรู้ก,<br />

ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 42.


ي ي<br />

ئ<br />

ن<br />

<br />

52<br />

َ ُ . قَيُّ‏ وْ‏ مٌ‏<br />

َ ِ َ ايَةَ‏ ل<br />

قواعد العقائد<br />

‏ْوُ‏ جُ‏ وْ‏ دِ‏ َ ل آخِ‏ رَ‏ ل<br />

َ ُ . مُ‏ سْ‏ َ ت مِ‏ رُّ‏ ال<br />

ي لَ‏ بِ‏ َ د َ ايَة ل<br />

َ لِ‏ ٌّ<br />

‏ْصِ‏ َ امَ‏ ل<br />

‏َع<br />

‏ْقِ‏ طا<br />

لَ‏ ان<br />

ل ْ وَ‏ ل مَ‏ وْ‏ صُ‏ وْ‏ ُ ً فا بِ‏ نُ‏ عُ‏ وْ‏ تِ‏ الْ‏<br />

َ ُ ، أ ‏َبَ‏ دِ‏ يٌّ‏ ل<br />

جَالَلِ‏ ،...<br />

. ُ َ<br />

... أَز<br />

َ ُ ، َ د ِ ٌ ا‏ لَ‏ ان<br />

َ ل<br />

َ ْ َ زَل َ َ زَال<br />

ผู้ทรงคงมีอยู่ตั้งแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มให้แก่พระองค์19<br />

[ศิฟัตอัลบะกออฺ-ทรงถาวร]<br />

พระองค์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไปโดยไม่มีการสิ้นสุด ผู้ทรง<br />

มีตลอดไปโดยไม่มีจุดจบให้กับพระองค์20<br />

[ศิฟัตอัลกิยามุบินนัฟซิ-ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง]<br />

พระองค์ทรงดำรงอยู่21 โดยไม่มีการขาดตอน ผู้ทรงมีเสมอไม่มีการ<br />

สิ้นสุด<br />

พระองค์ยังคงมี(บรรดาคุณลักษณะมาตั้งแต่เดิม)แล้ว และ<br />

ปัจจุบันยังคงมีคุณลักษณะ(ดำรงอยู่ที่พระองค์ตลอดไป)ด้วย<br />

บรรดาคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่22<br />

19 ดังนั้นโลกและจักรวาลแห่งนี้มิได้มีมาตั้งแต่เดิม แต่ล้วนมีจุดเริ่มต้นทั้งสิ้นด้วยการ<br />

สร้างของอัลลอฮฺให้บังเกิดขึ้นมา.<br />

20 เพราะสิ่งที่มีการสิ้นสุดและดับสูญสลายนั้น เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างหรือ<br />

สิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ แต่อัลลอฮฺทรงมีมาตั้งแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มต้น ดังนั้นจึงเป็นไป<br />

ไม่ได้ที่พระองค์จะทรงดับสูญ.<br />

21 หมายถึง อัลลอฮฺทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ ่งพาอาศัยสิ่งใด ไม่พึ่งพาอาศัยฟากฟ้ามาเป็น<br />

สถานที่อยู่ ไม่ทรงพึ่งพาบัลลังก์มาเป็นสถานที่อาศัยอยู่ และพระองค์ทรงดำรงบริหาร<br />

จัดการสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย.<br />

22 หมายถึง อัลลอฮฺนั้นทรงมีคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือทรงมีมาตั้งแต่เดิมโดยไม่มี<br />

จุดเริ่มต้นและไม่ดับสูญสลาย ไม่ทรงคล้ายเหมือนสิ่งใด ทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง<br />

โดยไม่พึ่งพาสิ่งใด และทรงหนึ่งเดียว ดังนั้นหากอัลลอฮฺเป็นสิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่ มีการ<br />

ดับสูญสลาย มีลักษณะเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง พึ่งพาสิ่งอื่น และมีมากกว่าหนึ่ง แน่นอน<br />

ย่อมมิได้บ่งชี้ถึงความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง. ดู มุรตะฎอ อัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์<br />

อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 23.


ب<br />

ب<br />

ب<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

53<br />

‏ْقِ‏ رَ‏ اضِ‏<br />

‏ْفِ‏ صَ‏ الِ‏ بِ‏ َ ت صَ‏ ُّ مِ‏ آ ال َ دِ‏ وَ‏ ان<br />

... ل يُق ضَ‏ عَ‏ ل ‏َيْ‏ هِ‏ ِ لِ‏ نْقِ‏ َ ضاءِ‏ وَ‏ الِ‏ ن<br />

ءٍ‏ ع<br />

ال جَ‏ الِ‏ ، بَ‏ ل ُ وَ‏ ال أَوَّ‏ ُ ل وَ‏ آ ال خِ‏ رُ‏ وَ‏ َّ الظ اهِ‏ رُ‏ وَ‏ الْبَ‏ اطِ‏ نُ‏ وَ‏ ُ ه وَ‏ بِ‏ ك يْ‏ شَ‏<br />

آ<br />

َ لِ‏ يْ‏ ٌ<br />

ِّ ُ<br />

ٍ مُ‏ صَ‏ وَّ‏ رٍ‏ ، وَ‏ لَ‏ جَ‏ وْ‏ َ ه رٍ‏ م ُ وْ‏ دٍ‏ مَ‏ ق َ د َّ رٍ‏ ،...<br />

َ ْ د<br />

‏َيْسَ‏ ِ ‏ِج سْ‏<br />

ُ ل<br />

ْ<br />

ه ْ<br />

‏)الديد:‏ 3(.<br />

‏َّه ا َ َّ لت‏<br />

‏َن<br />

ِ نْ‏ ز يْهُ‏ : وَ‏ أ<br />

พระองค์ไม่ถูกตัดสินให้มีการสิ้นสุดและดับสูญด้วยการสิ้นสุด<br />

ของกาลเวลา 23 แต่ “พระองค์ทรงแรกสุด(ไม่มีจุดเริ่มต้น) ทรง<br />

ท้ายสุด(ไม่ดับสูญ) ทรงปรากฏ 24 ทรงลี้ลับ 25 และพระองค์ทรงรอบรู้<br />

ทุกๆ สิ่ง” [อัลหะดีด: 3]<br />

[ศิฟัตอัลมุคอละฟะฮ์ ลิลหะวาดิษ-ทรงแตกต่างกับสิ่งบังเกิดใหม่]<br />

การยึดมั่นในความบริสุทธิ์26 ของอัลลอฮฺ: คือแท้จริงพระองค์ไม่<br />

เป็นรูปร่าง ไม่เป็นรูปทรง ไม่เป็นสสาร 27 ไม่มีขอบเขตและขนาด 28<br />

23 แต่มนุษย์ถูกอัลลอฮฺตะอาลากำหนดให้มีการสิ้นสุด ก็คือเวลาตายนั่นเอง.<br />

24 หมายถึง ทรงปรากฏให้เราได้รู้จักพระองค์ผ่านทางบรรดาศิฟัตและพระนามของ<br />

พระองค์ที่สำแดงผ่านทางบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย.<br />

25 ลี้ลับโดยไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของอัลลอฮฺและศิฟัตของพระองค์ได้.<br />

26 หมายถึง อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากการมีสิ่งที่ไม่บังควรสำหรับความเป็นพระเจ้า<br />

บริสุทธิ์จากการไปเหมือนหรือคล้ายกับสิ่งถูกสร้าง ทรงบริสุทธิ์จากการเป็นรูปทรง<br />

เป็นรูปร่าง มีขอบเขต และมีขนาด เป็นต้น เพราะสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของสิ่งถูก<br />

สร้างที่เป็นรูปร่าง และผลคล้อยตามจากการเป็นรูปร่างก็คือเป็นรูปทรง ดังนั้นอัลลอฮฺ<br />

ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าว. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 48, 52.<br />

27 สสาร คือ สิ่งที่ต้องการอาศัยอยู่ในที่ว่าง ผลคล้อยตามจากการอาศัยอยู่ในที่ว่าง คือ<br />

ถูกจำกัดขอบเขตและขนาด และเมื่อสสารมากกว่าหนึ่งขึ้นไปได้ประกอบกันขึ้นก็จะ<br />

เป็นรูปร่าง ซึ่งผลคล้อยตามจากการเป็นรูปร่างก็คือ การเป็นรูปทรง ดังนั้นอัลลอฮฺทรง<br />

บริสุทธิ์จากคุณลักษณะดังกล่าว. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 52.<br />

28 หมายถึง อัลลอฮฺมิได้เป็นรูปร่าง ไม่เป็นรูปทรงสัณฐาน จึงไม่มีลักษณะของขนาด<br />

เล็กและใหญ่ กว้างและยาว สูงและต่ำ เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นลักษณะของสิ่งถูกสร้าง<br />

ไม่ใช่ลักษณะของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง.


ُ<br />

ي<br />

ف ْ<br />

ُ<br />

ب<br />

ي<br />

شَ‏<br />

ي<br />

َ<br />

شَ‏<br />

ي<br />

ي<br />

ُ<br />

54<br />

قواعد العقائد<br />

ف<br />

ِ ي<br />

ْ قَبُوْلِ‏ الِ‏ نْقِ‏ سَ‏ امِ‏ ، وَأَنَّهُ‏<br />

ْ<br />

تَ‏ ‏ْرَ‏ ُ اض ، بَل<br />

أَع<br />

‏ُل<br />

َ<br />

ل<br />

ْ دِ‏ ِ وَلَ‏ <br />

ُّ ُ ال<br />

َ<br />

‏ِثْلِ‏ ِ ْ ‏ءٌ‏ ‏)الشورى:‏ )11<br />

ْ أَجْ‏ سَ‏ امَ‏ ، وَل َ <br />

ال<br />

‏َّه ... وَأَن ُ َ ل ُ َ ‏اثِل ِ ي التَّق<br />

جَوَاهِ‏ رُ‏ ، وَلَ‏ بِعَ‏ رَضٍ‏ وَل<br />

‏َيْسَ‏ ك<br />

ُ ُ مَ‏ وْجُ‏ وْد<br />

ٌ: ل<br />

تَ‏ ُّ ُ الْ‏<br />

َ ‏ُل<br />

ً َ وَل ُ َ ‏اثِل<br />

ِ جَوْ‏ هَرٍ‏ وَل<br />

مَ‏ وْجُ‏ وْدا<br />

‏ْل<br />

ُ ه وَ‏ مِ‏ ث<br />

ُ ْ ءٍ‏ ،<br />

لَيْسَ‏ <br />

ُ َ اثِل<br />

และแท้จริงพระองค์ไม่เหมือนกับรูปร่างทั้งหลาย ไม่มีขนาดและ<br />

ไม่รับการแบ่งส่วน 29 และแท้จริงพระองค์ไม่ใช่สสาร 30 และไม่มี<br />

บรรดาสสารใดเข้ามาอยู่กับอัลลอฮฺ และพระองค์ไม่ใช่คุณลักษณะ<br />

อุบัติ31 และไม่มีคุณลักษณะอุบัติใดเข้ามาอยู่ที่พระองค์32 ยิ่งกว่า<br />

นั้นพระองค์ทรงไม่เหมือนกับสิ่งที่มีและไม่มีสิ่งที ่มีใดนั้นเหมือน<br />

กับพระองค์ “ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์” [อัชชูรอ: 11]<br />

และพระองค์ไม่เหมือนสิ่งใด 33 และไม่มีขนาดมาจำกัดพระองค์34<br />

29 หมายถึงการเป็นรูปร่างนั้นจะรับการมีสัดส่วนและถูกกำหนดให้มีขนาด เพราะการ<br />

ประกอบจากสัดส่วนต่างๆ และถูกกำหนดให้เป็นขนาดนั้น เป็นคุณลักษณะของสิ่ง<br />

ที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮฺตะอาลา. ซัรรู้ก,<br />

ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 52.<br />

30 เพราะสสารคือ สิ่งที่ต้องการที่ว่างเพื่ออาศัยอยู่ และหลายสสารรวมกันนั้นจะเป็น<br />

รูปร่าง.<br />

31 คุณลักษณะอุบัติ [ ‏[ال َ “อะร็อฎ” คือลักษณะที่ต้องการอาศัยอยู่ที่สสารหรือรูปร่าง<br />

เช่น ลักษณะความใหญ่ เล็ก สูง ต่ำ กว้าง ยาว อ้วน ผอม หนา บาง การหยุดนิ่ง การ<br />

เคลื่อนไหว การง่วงนอน การหลับ การเคลื่อนย้าย การมีสีต่างๆ เป็นต้น ที่ต้องอาศัยอยู่<br />

ที่สสารหรือสิ่งที่เป็นรูปร่าง ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่มีคุณลักษณะเช่นนั้น.<br />

32 ดังนั้นอัลลอฮฺทรงมีแน่นอนโดยไม่มีลักษณะใหญ่ ไม่เล็ก ไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่สั้น ไม่ยาว<br />

ไม่หยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนย้าย ไม่ง่วงนอน ไม่หลับ และไม่มีสี ณ ที่อัลลอฮฺ<br />

เพราะพระองค์มิใช่เป็นรูปร่าง และเราไม่สามารถรู้ถึงแก่นแท้ของอัลลอฮฺตะอาลาได้.<br />

33 อัลวาซิฏีย์กล่าวว่า “เว้นแต่สอดคล้องในด้านถ้อยคำเท่านั้น (เช่น อัลลอฮฺทรงรู้ เราก็<br />

รู้ อัลลอฮฺทรงเห็น เราก็เห็น และอัลลอฮฺทรงได้ยิน เราก็ได้ยิน ซึ่งเหมือนเพียงแค่ถ้อยคำ<br />

แปลแต่ไม่เหมือนในด้านความหมาย)” ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 55.<br />

34 เพราะอัลลอฮฺมิใช่เป็นรูปร่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะมีขนาด.<br />

ي‏<br />

وَ‏ لَ‏<br />

‏ْعَ‏ رَ‏ ض


ُ<br />

ي<br />

‏ُت<br />

ج<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ<br />

وَل<br />

َ<br />

‏ِق ْ َ د ارُ‏ . َ وَل <br />

َ ُ ُّ د هُ‏ الْ‏<br />

ُ َ ل <br />

55<br />

‏َّه<br />

وَ‏ أَن<br />

‏ْط ‏َارُ‏ ، وَل<br />

أَق<br />

تَ‏ ْ وِ‏ يْهِ‏ ال<br />

َ<br />

‏َل<br />

السَّ‏ موَات ُ . وَأَنَّهُ‏ مُسْ‏ تَوٍ‏ ع<br />

ِ هَ‏ ات<br />

ِ يْ‏ ُ ط بِهِ‏ الْ‏<br />

َ<br />

‏َل<br />

الْعَرْشِ‏ ع<br />

الْوَجْ‏ هِ‏<br />

َ<br />

وَل<br />

‏َكْتَنِفُهُ‏<br />

ت<br />

ال أَرْضُ‏ وْنَ‏<br />

[ปฏิเสธการมีสถานที่ให้กับอัลลอฮฺ]<br />

ไม่มีอาณาเขตมาห้อมล้อมอัลลอฮฺ และไม่มีบรรดาทิศ(ทั้งหก)<br />

มาห้อมล้อมพระองค์35 และไม่มีบรรดาแผ่นฟ้าและแผ่นดินมา<br />

ครอบล้อมพระองค์36<br />

[ความหมายการอิสติวาอฺของอัลลอฮฺเหนือบัลลังก์]<br />

แท้จริงอัลลอฮฺทรงอิสติวาอฺ37 เหนือบัลลังก์ตามหนทางที่พระองค์<br />

35 ทิศทั้งหกคือ บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า และหลัง เพราะทิศเหล่านี้เป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้น<br />

มาใหม่ ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่อยู่ในบรรดาสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่.<br />

36 แม้กระทั ่งอะรัช(บัลลังก์)ก็มิได้มาครอบล้อมอัลลอฮฺไว้ ดังนั้นหากมีบางกลุ่มกล่าว<br />

ว่า อัลลอฮฺลงมาจากบัลลังก์สู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งแบบเคลื่อนย้ายลงมานั้น ก็แสดงว่าอัลลอฮฺ<br />

เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ใต้บัลลังก์และอยู่ในฟ้าชั้นเจ็ด ชั้นหก ชั้นห้า ชั้นสี่ ชั้นสาม ชั้นสอง<br />

และชั้นที่หนึ่ง –ขอต่ออัลลอฮฺให้เราพ้นจากหลักความเชื่อหลงทางเช่นนี้ด้วยเถิด- ซึ่ง<br />

เป็นสิ่งที่มุสตะหี้ล(เป็นไปไม่ได้)สำหรับอัลลอฮฺตะอาลาผู้ทรงสูงส่ง เพราะบัลลังก์และ<br />

บรรดาชั้นฟ้าทั้งหมดนั้นเป็นสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นมา และพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงสร้าง<br />

สถานที่และกำหนดกาลเวลา ฉะนั้นพระองค์จึงไม่มาอยู่ในสิ่งถูกสร้างที ่เป็นสถานที่และ<br />

กาลเวลา.<br />

37 อัลอิสติวาอฺ นั้นเป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮฺที่มีความหมายหลายนัยตามหลัก<br />

ภาษาอาหรับ เช่น สูงส่ง ปกครอง ประทับนั่ง สถิตอาศัยอยู่ เป็นต้น ซึ่งท่านอิหม่าม<br />

อัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า แนวทางของสะลัฟศอลิหฺนั้น “ให้พูดทับศัพท์ภาษาอาหรับตาม<br />

ที่ระบุไว้ในตัวบทโดยไม่แปลเป็นภาษาอื่นพร้อมทำการมอบหมายการรู้ความหมาย<br />

ที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา” ดู อัลฆ่อซาลีย์, อิลญามุลเอาวาม อันอิลมิลกะลาม,<br />

ตะห์กีก: ศ่อฟะวัต ญูดะฮ์ อะหฺมัด, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุลหะร็อม, ฮ.ศ. 1423),<br />

หน้า 41. แต่มีปราชญ์สะลัฟบางส่วน เช่น ท่านอิหม่ามอิบนุญะรีร อัฏฏ่อบะรีย์ (ฮ.ศ.<br />

224-310) ได้กล่าวว่า อิสติวาอฺหมายถึง อัลลอฮฺทรงสูงส่งในอำนาจและการปกครอง<br />

เหนือบัลลังก์. ดู อัฏฏ่อบะรีย์, ตัฟซีรอัฏฏ่อบะรีย์, ตะห์กีก: อะหฺมัด มุฮัมมัด ชากิร,<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์, ฮ.ศ. 1420), เล่ม 1, หน้า 192.


ُ<br />

ب<br />

ي<br />

ف<br />

شَ‏ َ<br />

ي<br />

56<br />

قواعد العقائد<br />

زَّها َ نِ‏ الُ‏ مَ‏ اسَّ‏ ةِ‏ وَ‏ الِ‏ سْ‏ تِ‏ ْ ق رَ‏ ارِ‏<br />

‏َال نَ‏ الَّذِ‏ يْ‏ أ ‏َرَ‏ َ اد هُ‏ ، اِ‏ سْ‏ تِ‏ وَ‏ اءً‏ مُ‏ نَ‏<br />

الَّذِ‏ يْ‏ ق<br />

‏َتُهُ‏<br />

‏َالِ‏ ، لَ‏ ‏َْمِل بَلِ‏ الْعَرْش وَحَ‏ ‏َل<br />

‏ْتِق<br />

‏ُوْلِ‏ وَالِن<br />

‏ُْل<br />

‏ُّنِ‏ وَال<br />

وَالتَّمَك<br />

َ الْعَ‏ رْ‏ شِ‏ وَالسَّ‏ مَ‏ اءِ‏<br />

‏َوْق<br />

‏ْفِ‏ ق ْ ‏ُد رَ‏ تِهِ‏ وَمَ‏ قْ‏ ُ وْ‏ رُ‏ وْ‏ ن َ تِهِ‏ وَ‏ ُ ه وَ‏ ف<br />

‏ُط<br />

َ ‏ْمُ‏ وْ‏ ل ‏ُوْ‏ ن<br />

م<br />

ال‏ ‏َى،...‏<br />

تُ‏ خُ‏ وْ‏ مِ‏ ثَّ‏<br />

وَ‏ فَوْ‏ ق ْ ءٍ‏ إِل<br />

ً ع<br />

ُ<br />

‏ْعَرْش<br />

ُُ ال<br />

<br />

ْ قَبْض<br />

َ ِ ي<br />

<br />

ْ َ عْ‏ <br />

َ ُ وَ‏ ‏ِل<br />

َ بِل<br />

ّ ُ<br />

َ ك <br />

ِ<br />

ได้ทรงตรัสไว้(ในอัลกุรอาน)และด้วยความหมายที่พระองค์ทรง<br />

ประสงค์38 ซึ่งเป็นการอิสติวาอฺที่บริสุทธิ์จากการ(ที่อัลลอฮฺ)<br />

ไปสัมผัส(กับบัลลังก์) ปราศจากการสถิต(อาศัยอยู่บนบัลลังก์)<br />

ปราศจากการแนบติด(โดยนั่งประทับบนบัลลังก์) ปราศจากการ<br />

เข้าไปอยู่(ที่บัลลังก์) และปราศจากการเคลื่อนย้าย(จากสถานที่<br />

หนึ่งไปสู่บัลลังก์หรือจากบัลลังก์ไปสู่อีกสถานที่หนึ่ง) บัลลังก์ไม่<br />

ได้แบกพระองค์ไว้ แต่บัลลังก์และบรรดามะลาอิกะฮ์ที่ทำหน้าที่<br />

แบกบัลลังก์ของพระองค์นั้น 39 พวกเขาถูกแบกด้วยความเมตตา<br />

ของความเดชานุภาพของพระองค์ และพวกเขาถูกควบคุมอยู่ใน<br />

อำนาจของพระองค์ และพระองค์ทรงเหนือบัลลังก์40 ทรงเหนือ<br />

ฟากฟ้า และทรงเหนือทุกสิ่งจนกระทั่งไปถึงใต้ผืนดินต่ำสุด<br />

38 หมายถึง ตามแนวทางของสะลัฟศอลิหฺนั้นไม่เจาะจงความหมายของอิสติวาอฺและ<br />

ไม่ยึดมั่นในความหมายที่ไม่บังควรสำหรับอัลลอฮฺ เช่น ความหมายนั่งประทับ สถิต<br />

และอาศัยอยู่ เป็นต้น แต่ให้มอบหมายการรู้ความหมายที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา.<br />

ดู อัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 25.<br />

39 ปัจจุบันมีมะลาอิกะฮ์ทำหน้าที่แบกบัลลังก์ 4 ท่าน แต่ในวันกิยามะฮ์จะเป็น 8 ท่าน.<br />

40 ทรงเหนือ ณ ที่นี้ คือในด้านของนามธรรม ที่หมายถึงการทรงเหนือในด้านอำนาจ<br />

และการปกครอง เช่น กษัตริย์อยู่เหนือรัฐมนตรีและเจ้านายอยู่เหนือทาส เป็นต้น มิใช่<br />

เหนือแบบรูปธรรมที่มีสถานที่อยู่ข้างบนที่เรียกว่าบัลลังก์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่บังควรสำหรับ<br />

อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 66.


شَ‏<br />

ي<br />

شَ‏<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

ً ع<br />

57<br />

ُ رْ‏ َ ال بً‏ إِ‏ ل زِ‏ تَ‏ يْ‏ ُ د هُ‏ ق<br />

َّ رَجَ‏<br />

‏َوْ‏ قِ‏ يَّ‏ ة ... ف ً َ ل <br />

ُ ه وَ‏ رَ‏<br />

ال‏ ‏َى،‏ بَ‏ ْ ل<br />

وَ‏ ثَّ‏<br />

عَنِ‏ ال<br />

فِ‏ يْ‏ عُ‏ الد اتِ‏ ع<br />

وَال‏ ‏َى.‏ وَهُوَ‏ مَ‏ عْ‏ ذَلِكَ‏<br />

ثَّ‏<br />

أَرْضِ‏<br />

َ<br />

‏َل<br />

الْعَ‏ بْدِ‏ مِ‏ نْ‏ حَ‏ بْلِ‏ ال ‏ْوَ‏ رِ‏ يْدِ‏ وَ‏ ه ‏ُوَ‏ ع<br />

َ َ ا َ ل زِ‏ تَ‏ يْ‏ ُ د هُ‏ بُ‏ عْ‏<br />

‏ْعَ‏ رْ‏ شِ‏ وَ‏ السَّ‏ ‏َءِ‏ ك<br />

َ نِ‏ ال ‏ْعَ‏ رْ‏ شِ‏ وَ‏ السَّ‏ مَ‏ اءِ‏ ك<br />

َ َ ا أ<br />

ّ ُ<br />

دا َ نِ‏ ال أَرْ‏ ضِ‏<br />

‏َن ُ ‏َّه رَ‏ فِ‏ يْ‏ عُ‏ َّ الد رَجَ‏ اتِ‏<br />

‏ْرَبُ‏<br />

‏َق<br />

ِ ك مَ‏ وْجُ‏ وْدٍ‏ وَهُوَ‏ أ<br />

قَرِ‏ يْبٌ‏ مِ‏ نْ‏<br />

ك<br />

ْ ءٍ‏ ِ ٌ يْد ‏)سبأ:‏ ،)47<br />

ّ ُ<br />

ِ<br />

َ<br />

إِل<br />

ซึ่งเป็นการทรงเหนือ 41 ที่ไม่ทำให้พระองค์เพิ่มความใกล้ชิดกับ<br />

บัลลังก์และฟากฟ้าแต่อย่างใด 42 เสมือนกับการทรงเหนือที่ไม่<br />

ทำให้พระองค์เพิ่มความห่างไกลจากแผ่นดินและผืนดินต่ำสุด แต่<br />

พระองค์ทรงสูงส่งในเกียรติฐานันดร(โดยบริสุทธิ์จากการไปสัมผัส<br />

ไปอยู่บนและอยู่ใกล้)จากบัลลังก์และฟากฟ้าเสมือนกับที่พระองค์<br />

ทรงสูงส่งในเกียรติฐานันดร(โดยปราศจากการมีระยะทางและอยู่<br />

ใกล้)จากแผ่นดินและผืนดินชั้นต่ำสุด<br />

[ความหมายความใกล้ชิดของอัลลอฮฺกับบ่าวของพระองค์]<br />

พร้อมกับ(ที่อัลลอฮฺทรงเหนือบัลลังก์)ดังกล่าวนั้น อัลลอฮฺทรงใกล้<br />

ชิดทุกสิ่งที่มี43 โดยที่พระองค์ทรงใกล้ชิดยังบ่าวยิ่งกว่าเส้นโลหิต<br />

ที่ต้นคอ “และพระองค์ทรงประจักษ์เห็นทุกๆ สิ่ง” [สะบะอฺ: 47]<br />

41 หมายถึง ทรงเหนือในด้านของอำนาจและการปกครอง.<br />

42 เนื่องจากอัลลอฮฺทรงเหนือฟากฟ้าและบัลลังก์ในด้านอำนาจและการปกครองและ<br />

พระองค์มิใช่เป็นรูปร่าง.<br />

43 หมายถึง ใกล้ชิดอย่างครอบคลุมด้วยการทรงรอบรู้แจ้ง ทรงเห็นแจ้ง ทรงได้ยินแจ้ง<br />

ทุกสิ่งทุกอย่างที่มี และใกล้ชิดด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชาสามารถ)ของพระองค์ในการ<br />

ขับเคลื่อนสรรพสิ่งทั้งหลายให้หยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหวและทำให้สรรพสิ่งทั้งหลายดำรง<br />

อยู่ เป็นต้น.


َ<br />

َ<br />

ي<br />

ي<br />

ف<br />

ي<br />

شَ‏<br />

ي ي<br />

ب ئ<br />

شَ‏<br />

ي<br />

ِ<br />

58<br />

امِ‏ .<br />

قواعد العقائد<br />

‏ُه<br />

أَجْ‏ سَ‏ امِ‏ ك تُ‏ َ اثِل<br />

‏ُرْ‏ بَ‏ ال<br />

‏ُرْ‏ بُ‏ ه<br />

إِذْ‏ ل<br />

‏َّه ْ ءٍ‏ وَ‏ لَ‏ ُّ فِ‏ يْ‏ هِ‏ ْ ءٌ‏ ، تَعَ‏ ال عَ‏ نْ‏<br />

وَ‏ أَن<br />

‏َق<br />

‏َن<br />

‏َن َ ز مَ‏ ان ‏َبْ‏ ل<br />

‏َق َّ سَ‏ َ ع نْ‏ أ<br />

ك<br />

‏ْقِ‏ هِ‏ ...<br />

‏َّه نٌ‏ عَ‏ نْ‏ َ خل<br />

‏َن<br />

َ مَ‏ ا عَ‏ ل ‏َيْ‏ هِ‏ اك<br />

وَ‏ هُ‏ وَ‏ آ ال َ ن َ عل<br />

أَجْ‏ سَ‏<br />

َ ْ وِ‏ يَهُ‏ مَ‏ كَ‏ نٌ‏<br />

أ ْ ‏َن ي <br />

ْ َ ك َ ن َ ،<br />

الز ‏َّمَ‏ ان َ وَ‏ ال<br />

َ َ ا َ ل ُ َ ذات ُ َ ذ َ ات ال<br />

َ ُ َ ُ اثِل ق ُ ق<br />

َ ُ ل<br />

ْ<br />

َ ُ ُّ ل ِ ي<br />

ُ َ ل <br />

َ ُ َّ د هُ‏ ٌ ، بَ‏ ْ ل َ اك َ ن ق َ أ ْ َ خل<br />

َ َ ا ت َ د ْ <br />

َ َ ن . وَ‏ أ ُ َ <br />

เนื่องจากการใกล้ชิดของพระองค์นั้นไม่เหมือนการใกล้ชิดของ<br />

บรรดาสิ่งที่เป็นรูปร่าง 44 ดังเช่นที่ซาตของอัลลอฮฺก็ไม่เสมือนกับ<br />

ซาตของสิ่งที่เป็นรูปร่างทั้งหลาย<br />

[ปฏิเสธการเข้าไปอยู่หรือเป็นอันหนึ ่งอันเดียวกับอัลลอฮฺ]<br />

แท้จริงอัลลอฮฺไม่เข้าไปอยู่ในสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดอยู่ใน<br />

พระองค์45 อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากการมีสถานที่มาห้อมล้อม<br />

พระองค์ไว้46 เสมือนกับที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากการมีกาลเวลา<br />

มาจำกัดพระองค์47 ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ทรงมีก่อนที่พระองค์<br />

จะสร้างกาลเวลาและสถานที่เสียอีก 48 โดยปัจจุบันนี้พระองค์อยู่<br />

บนคุณลักษณะที่พระองค์ทรงเคยเป็นอยู่ และแท้จริงพระองค์<br />

ทรงแตกต่างจากบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย(ซึ่งเป็นการแตกต่าง)<br />

44 เพราะการใกล้ชิดของสิ่งที่เป็นรูปร่างนั้น คือ ใกล้แบบมีระยะทางและใกล้ชิดแบบ<br />

รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน.<br />

45 หมายถึง พระองค์ไม่เข้าไปสิงสถิตอยู่ในสิ่งใดและพระองค์ไม่เป็นสถานที่ให้สิ่งใดมา<br />

อยู่เพราะพระองค์ไม่ใช่รูปร่าง.<br />

46 เพราะหากอัลลอฮฺถูกห้อมล้อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีขนาดที่ถูกจำกัด ซึ่งเป็นไปไม่<br />

ได้เนื่องจากพระองค์มิใช่เป็นรูปร่าง<br />

47 เพราะอัลลอฮฺทรงสร้างสถานที่และกาลเวลา ดังนั้นพระองค์ทรงมีอย่างเอกเทศน์ไม่<br />

ไปผูกพันอยู่กับสถานที่และกาลเวลา.<br />

48 กล่าวคือ อัลลอฮฺทรงมีมาก่อนที่พระองค์จะสร้างบัลลังก์ เก้าอี้(กุรซีย์) บรรดาชั้นฟ้า<br />

และแผ่นดินเสียอีก. ดู อัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 25.


ف<br />

تَ‏<br />

ي<br />

ف<br />

ُّ<br />

ي<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

ُ، وَأ<br />

ُ ، بَ‏ ْ ل َ ل َ ُ زَال ِ يْ‏ <br />

َ ِ ي <br />

َ ت ‏َعْ‏ <br />

ف<br />

ِ ي<br />

ْ ذَاتِهِ‏ سِ‏ وَاهُ،‏ وَل<br />

ْ ‏َوَ‏ ادِ‏ ُ ث وَ‏ ل<br />

تَ‏ ُ ل<br />

‏َنِ‏<br />

‏َن ُ ‏َّه مُ‏ ق َّ ‏َد سٌ‏ ع<br />

‏ُه<br />

ْ سِ‏ وَاهُ‏ ذَات<br />

َ ض<br />

ِ يْهِ‏ ال ‏ْعَ‏ وا رِ‏<br />

الِ‏ ، ...<br />

‏َيْسَ‏ <br />

ُّ ُ ال<br />

َ الِ‏ ، َ ل <br />

59<br />

... بِصِ‏ فَاتِهِ،‏ ل<br />

‏ْتِ‏ ق<br />

الت ِ وَ‏ الِ‏ ن<br />

نُعُ‏ وْ‏<br />

َّ َ غ‏<br />

َّ وَ‏<br />

‏َلِ‏ ِ مُ‏ نَ‏ زَّهاً‏ ع َ نِ‏ الز<br />

تِ‏ جَ‏ ال<br />

ด้วยบรรดาคุณลักษณะของพระองค์49 คือ ในซาตของอัลลอฮฺ<br />

นั้นไม่มีสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺและในสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺนั้นไม่มีซาต<br />

ของพระองค์อาศัยอยู่50 และแท้จริงอัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จาก<br />

การเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนย้าย 51 ไม่มีบรรดาสิ่งบังเกิดใหม่<br />

อยู่ที่อัลลอฮฺ และไม่มีคุณลักษณะที่บกพร่องทั้งหลายเกิดขึ้นที่<br />

พระองค์52 แต่พระองค์ยังคงอยู่ในบรรดาคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่53<br />

ทรงบริสุทธิ์จากการดับสูญหายไป 54<br />

49 เพราะคุณลักษณะ(ศิฟัต)ของพระองค์นั้นทรงก่อดีมมีมาตั้งแต่เดิมส่วนคุณลักษณะ<br />

ของสิ่งที่ถูกสร้างนั้น บังเกิดขึ้นมาใหม่.<br />

50 หมายถึง ในซาตของอัลลอฮฺนั้นไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่และในสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นไม่มี<br />

ซาตของอัลลอฮฺอาศัยอยู่เช่นกัน.<br />

51 หมายถึง อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง<br />

และทรงบริสุทธิ์จากการเคลื่อนย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง. ดู อัซซะบีดีย์,<br />

อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 25.<br />

52 เช่น ความอ่อนแอ การง่วงนอน การนอนหลับ การดับสูญ และการตาย เป็นต้น.<br />

53 หมายถึง พระองค์ทรงมีคุณลักษณะยิ่งใหญ่ที่มีมาตั้งแต่เดิม(ก่อดีม)โดยปราศจาก<br />

คุณลักษณะที่บกพร่องและเพิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่เพราะคุณลักษณะที่บกพร่องและ<br />

บังเกิดขึ้นมาใหม่นั้นถือว่าไม่ยิ่งใหญ่.<br />

54 เนื่องจากอัลลอฮฺทรงมีตลอดไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา.


ف<br />

ب<br />

ئ<br />

ب ي<br />

ب<br />

ي<br />

يْ‏<br />

ب<br />

ْ<br />

<br />

60<br />

قواعد العقائد<br />

ف<br />

ِ ‏لأَ‏ ‏َالِ‏ ، وَأَنَّهُ‏ ْ ْ ذَاتِهِ‏ ِ ي<br />

ً<br />

. ِ<br />

َ<br />

رِ‏<br />

َ مُسْ‏ ت<br />

ْ صِ‏ فَاتِ‏ ك ‏َالِ‏ ِ<br />

مَ‏ عْ‏ لُوْ‏ مُ‏ ال ‏ْوُجُ‏ وْدِ‏ ِ لْعُ‏ ق<br />

ف ْ دَ‏ ارِ‏ ال َ ‏ْق رَ‏ ارِ‏ . وَ‏ تْ‏ َ إِ‏ ً اما مِ‏ ن<br />

ِ ي<br />

ً<br />

‏ْنِيا<br />

‏َغ<br />

عَنْ‏ َ زِ‏ دَةِ‏ الِسْ‏ تِك<br />

‏ْفا<br />

‏ُط<br />

ِ لأَبْصَ‏ ارِ‏ نِعْ‏ مَ‏ ً ة مِ‏ ن ُ ‏ْه وَ‏ ل<br />

ِ لنَّ‏ ظ ِ هِ‏ الْك<br />

ْ ‏َارِ‏<br />

ب<br />

َ وَ‏ ْ ج‏<br />

َ إِل<br />

رِ‏<br />

ٌّ ي‏ َّ الذ اتِ‏ <br />

ِ<br />

ُ وْلِ‏ . مَ‏ رْ‏<br />

ْ ُ ه َّ لِلن عِ‏ ِ <br />

... وَ‏ ِ ي‏<br />

และในบรรดาคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระองค์นั้น ไม่ต้องการ<br />

เพิ่มความสมบูรณ์อีกแล้ว 55 และในซาตของพระองค์เป็นสิ่งที่รู้กัน<br />

อย่างดีว่ามีด้วย(การพิจารณาของ)สติปัญญา<br />

[การเห็นอัลลอฮฺ]<br />

ซาตของอัลลอฮฺจะถูกเห็นได้ด้วยตา 56 เพื่อเป็นความอำนวยสุข<br />

และความเมตตาจากอัลลอฮฺแก่บรรดาคนดี57 ใน(สวรรค์)ที่พำนัก<br />

อันนิรันดร์และเพื่อทำให้สมบูรณ์ซึ่งความสุขด้วยการมองซาตของ<br />

พระองค์ที่ทรงเกียรติ58<br />

55 เพราะหากเพิ่มความสมบูรณ์ แสดงว่าก่อนหน้านั้นมีความบกพร่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่<br />

มุสตะหี้ลเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นความรู้ของอัลลอฮฺจึงสมบูรณ์และความเดชานุภาพของ<br />

พระองค์นั้นสมบูรณ์ ไม่มีเพิ่มและไม่มีลด และพระองค์ไม่ต้องการเพิ่มความสมบูรณ์<br />

ด้วยการฏออัตภักดีของปวงบ่าว และการที่พวกเขาฝ่าฝืนพระองค์ก็ไม่ทำให้พระองค์<br />

ทรงถูกลดเกียรติแต่อย่างใด.<br />

56 ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงสร้างพลังการเห็นไว้<br />

ในปวงบ่าวเพื่อจะได้เห็นพระองค์ และไม่ถูกวางเงื่อนไขในการเห็นว่าจะต้องเกี่ยวพัน<br />

กับแสงที่สะท้อนกลับมาที่ตา และไม่มีเงื่อนไขว่าต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่ถูกเห็นและอื่นๆ<br />

ที่เป็นกฎเกณฑ์การเห็นของสิ่งที่ถูกสร้าง...และไม่จำเป็นว่าการเห็นอัลลอฮฺนั้นจะต้องมี<br />

ทิศแต่บรรดาผู้ศรัทธาจะเห็นอัลลอฮฺโดยปราศจากทิศเสมือนกับที่พวกเขารู้ว่าอัลลอฮฺ<br />

มิได้อยู่ในทิศใด วัลลอฮุอะลัม. อันนะวาวีย์, ชัรหฺศ่อฮีหฺมุสลิม, เล่ม 3, หน้า 15-16.<br />

57 เนื่องจากการเห็นอัลลอฮฺนั้นเป็นเกียรติ(กะรอมะฮ์)ที่คู่ควรแก่เหล่าผู้มีคุณธรรม<br />

ส่วนกาเฟรนั้นถูกทำให้ห่างไกลจากเกียรตินั้น. ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัล<br />

ฆ่อซาลีย์, หน้า 82.<br />

58 ถูกกล่าวว่า มีสามสิ่งในสวรรค์ดีกว่าสวรรค์ คือ ความสุขในสวรรค์ การเห็นอัลลอฮฺ<br />

และความพึงพอพระทัยของพระองค์ที่มีต่อชาวสวรรค์ตลอดไป, เรื่องเดียวกัน, หน้า 84.


َ<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

ِ يْ‏ هِ‏ ق صُ‏ وْ‏ رٌ‏ وَ‏ لَ‏ ُ تَ‏<br />

<br />

َ عَ‏ ال َ حَ‏<br />

َ يَ‏ عْ‏<br />

يٌّ‏ ق َ ادِ‏ رٌ‏ جَ‏ بَّ‏ ارٌ‏ ق َ اهِ‏ رٌ‏ ل<br />

ศิฟัตมะอานี59<br />

ُ : وَ‏ َ أ َّ ن ُ ه ت<br />

َ ٌ ة ...<br />

61<br />

َ ل<br />

َ<br />

‏ْق ْ رَ‏ ة<br />

ا ْ ‏َيَ‏ ُ اة وَ‏ ال<br />

جع ٌ ‏ْز وَ‏ ل تَ‏ أْخ ُ هُ‏ سِ‏ ن<br />

[ศิฟัตอัลหะยาฮ์-ทรงเป็น 60 และอัลกุดเราะฮ์-ทรงเดชานุภาพ] 61<br />

การทรงเป็นและทรงเดชานุภาพ: แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลาทรง<br />

เป็น ทรงเดชานุภาพ ทรงควบคุมบังคับ ผู้ทรงอำนาจ ไม่มีความ<br />

บกพร่องและความอ่อนแอเกิดขึ้นกับพระองค์62 ไม่มีการง่วงนอน<br />

59 ศิฟัตมะอานี คือ ศิฟัตแห่งการมีอยู่(วุญูดียะฮ์) หมายถึง ศิฟัตที่มีอยู่ที่ซาตของ<br />

อัลลอฮฺ เช่น อัลลอฮฺทรงเดชาสามารถ, ทรงเจตนา, ทรงรอบรู้, ทรงเป็น, ทรงได้ยิน,<br />

ทรงเห็น, และทรงพูด ดังนั้นหากพระองค์ทรงเปิดให้เรา ก็อนุญาตให้เห็นได้ เช่น<br />

อัลลอฮฺทรงเปิดศิฟัตการทรงเห็นให้แก่เรา แน่นอนเราก็จะเห็นทุกสิ่ง หากพระองค์ทรง<br />

เปิดศิฟัตการได้ยินให้แก่เรา แน่นอนเราก็จะได้ยินทุกสิ่ง หากพระองค์ทรงเปิดศิฟัตการ<br />

รอบรู้ให้แก่เรา แน่นอนเราก็จะรอบรู้ทุกสิ่ง และหากพระองค์ทรงเปิดศิฟัตทรงพูดให้<br />

แก่เรา แน่นอนเราก็จะได้ยินการพูดของอัลลอฮฺโดยไม่มีเสียงและอักษร เป็นต้น.<br />

60 ศิฟัตอัลหะยาฮ์ คือ “คุณลักษณะที่มีมาตั้งแต่เดิม ดำรงหรือประจำอยู่ที่ซาตของ<br />

อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ทำให้จำเป็นต้องมีบรรดาคุณลักษณะของการรอบรู้ การ<br />

เจตนา ความเดชานุภาพ และคุณลักษณะอื่นๆ. ดู อัลบาญูรีย์, ฮาชียะฮ์อัลบาญูรีย์ อะลา<br />

อัซซะนูซียะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: มักตะบะฮ์ อัลมุญัลลัด อัลอะร่อบีย์, ฮ.ศ. 1436),<br />

หน้า 142.<br />

61 ศิฟัตอัลกุดเราะฮ์ คือ “คุณลักษณะหนึ่งที่มีมาตั้งแต่เดิม ดำรงหรือประจำอยู่ที่ซาต<br />

ของอัลลอฮฺ ที่ทำให้ง่ายดายในการสร้างให้มีขึ้นหรือไม่ให้มีก็ได้กับทุกสิ่งที่มุมกิน(สิ่งที่<br />

สติปัญญายอมรับว่ามีก็ได้หรือไม่มีก็ได้)เท่านั้นโดยสอดคล้องกับอิรอดะฮ์(เจตนาของ<br />

อัลลอฮฺที่ทรงเลือกให้สิ่งหนึ่งมีขึ้นมาหรือไม่)” (ดู อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุลมุรี้ด, หน้า 120)<br />

เช่น สร้างคนหนึ่งให้เกิดเป็นชายหรือเป็นหญิงก็ได้ ให้เกิดมาสูงหรือเตี้ยก็ได้ ให้เกิดมา<br />

ในสถานที่นั้นหรือสถานที่นี้ก็ได้ ให้เกิดขึ ้นมาในช่วงเวลานั ้นหรือช่วงเวลานี้ก็ได้ เป็นต้น.<br />

62 หมายถึง ความบกพร่องและความอ่อนแอนั้น เป็นคุณลักษณะที่เป็นไปไม่ได้และไม่<br />

บังควรสำหรับอัลลอฮฺผู้ทรงเดชานุภาพ ดังนั้นเมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะสร้างสิ่งใด<br />

พระองค์ก็ทรงสามารถทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นมาได้โดยไม่มีการลังเล ไม่หยุดชะงัก ไม่ถูก<br />

กีดกัน และไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใด.<br />

ُ د<br />

ُ ذ


ْ<br />

ب<br />

َ<br />

ف<br />

ب<br />

ت<br />

ي<br />

قواعد العقائد<br />

‏ْكِ‏ وَ‏ ال<br />

‏َّه ُ و ال<br />

َ َ ‏َن اءٌ‏ وَ‏ ل مَ‏ وْ‏ َ ٌ ت وَ‏ أ<br />

‏َوْ‏ مٌ‏ وَ‏ ل يُ‏ عَ‏ ارِ‏ ض<br />

... وَ‏ َ ل ن<br />

‏ْط ُ ‏َان وَ‏ ال قَ‏ ْ رُ‏ وَ‏ ال ُ ‏ْق وَ‏ ال أَمْ‏ رُ‏ وَ‏ السَّ‏ موَ‏ ُ ات مَ‏ ط<br />

وَ‏ الْ‏ ُ جَ‏ وْ‏ تِ‏ ل<br />

‏ْقِ‏ وَ‏ الِخ<br />

‏َرِ‏ د ِ لْ‏ خَل<br />

‏ْف<br />

‏َّه<br />

‏َن<br />

وَ‏ الْ‏ خَال قْ‏ ُ وْ‏ رُ‏ وْ‏ ن َ تِهِ‏ ، وَ‏ أ<br />

‏َق َ ‏ْق وَ‏ أ<br />

ب‏ جَ‏ ادِ‏ وا إلِ‏ بْ‏ د<br />

62<br />

ْ َ ل<br />

‏ْوِ‏ َّ ‏ت<br />

ْ ُ تَوَحّ‏<br />

ِ َ اع ال<br />

ِ<br />

ْ<br />

ْ ُ ل<br />

ُ ُ ه ف َ ن ُ ذ<br />

ْ<br />

َ ُ السُّ‏ ل<br />

ْ قَبْض<br />

مَ‏ َ ِ ي<br />

ْ<br />

َ اع . َ خل َ ال خَل<br />

ِ<br />

‏ْعِ‏ َّ ز ةِ‏<br />

ُ ‏َك وْ‏ تِ‏ وَ‏ ال<br />

ٌ بِ‏ يَ‏ مِ‏ يْ‏ نِ‏ هِ‏<br />

ُ<br />

ِ د<br />

ُ<br />

ْ<br />

خَل<br />

ْ ُ ن<br />

ُ ال<br />

ْ َ ُ مْ‏ ...<br />

‏َع ‏َال<br />

ُ ‏َئِق<br />

ْ<br />

ِ إلِ‏ ي‏<br />

หรือการหลับเข้ามาครอบงำพระองค์ได้63 ไม่มีการดับสูญและการ<br />

ตายมาเผชิญกับพระองค์64 และแท้จริงพระองค์ทรงเป็นเจ้าของ<br />

แห่งการปกครองโลกที่เห็นด้วยตา ทรงปกครองโลกเร้นลับ 65 ทรง<br />

แข็งแกร่งเและทรงยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงพลัง ทรงพิชิต ทรงสิทธิ์<br />

ในการสรรสร้างและบัญชา 66 และบรรดาชั้นฟ้านั้นจะถูกม้วน<br />

ด้วยความเดชานุภาพของพระองค์ และบรรดาสิ่งถูกสร้างนั้นถูก<br />

ควบคุมอยู่ในอำนาจของอัลลอฮฺ และแท้จริงพระองค์คือผู้ทรง<br />

หนึ่งเดียวในการสร้างและการประดิษฐ์ขึ ้นมา ผู้ทรงหนึ่งเดียวใน<br />

การบันดาลและสรรสร้างโดยไม่มีแบบมาก่อน พระองค์ทรงสร้าง<br />

บรรดามัคโลคทั้งหลายและทรงสร้างการกระทำของพวกเขา 67<br />

63 หมายถึง การง่วงและการหลับนอน เป็นคุณลักษณะที่เป็นไปไม่ได้และไม่บังควร<br />

สำหรับอัลลอฮฺผู้มีคุณลักษณะทรงเป็น.<br />

64 หมายถึง การดับสูญและการตายนั้น เป็นคุณลักษณะที่บกพร่อง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่<br />

ได้และไม่บังควรสำหรับอัลลอฮฺผู้ทรงมีอยู่จริง.<br />

65 คือโลกที่เรายังไม่เคยเห็นด้วยตา เช่น โลกของบรรดาวิญญาณ เป็นต้น.<br />

66 หมายถึง อัลลอฮฺทรงบริหารจัดการบรรดาสิ ่งที่ถูกสร้างอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีผู้ใดมา<br />

คัดค้านและไม่มีผู้ใดมาช่วยเหลือ เพราะสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺเพียง<br />

ผู้เดียว คำบัญชาให้เป็นไปนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ อำนาจการปกครองก็เป็นของ<br />

พระองค์เพียงผู้เดียว และทุกสิ่งดำเนินไปตามประสงค์ของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว<br />

เท่านั้น.<br />

67 หมายถึง อัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์มา ทรงสร้างการหยุดนิ่งหรือการเคลื่อนไหวในการ<br />

กระทำดีหรือกระทำชั่วของมนุษย์ แต่พระองค์ได้เปิดโอกาสให้พวกเขาเลือกเฟ้นและ


ُ<br />

‏َق<br />

ب<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

‏ُبُ‏ عَنْ‏<br />

ُّ َ ‏َبْض تِهِ‏ مَ‏ ق ُ ‏ْد وْ‏ رٌ‏ َ وَل يَعْ‏ ز<br />

َ ‏ُمْ‏ َ ل ي ُ ‏َشذ عَنْ‏ ق<br />

َّ رَ‏ أ ‏َرْ‏ ز ‏ُمْ‏ وَآجَ‏ ال<br />

‏ُوْ‏ مَ‏<br />

‏َت َ ‏َناهِ‏ ي مَ‏ عْ‏ ل<br />

ُ د وْ‏ رَ‏ ات ُ ‏ُه وَ‏ ل<br />

تُ‏ ْ صَ‏ مَ‏ ْ ق<br />

الأُمُ‏ وْ‏ رِ‏ ، ل<br />

‏ُوْ‏ مَ‏ اتِ‏ م جْ‏ رِ‏ يْ‏ مِ‏ نْ‏ ...<br />

ْ َ عْ‏ ل<br />

‏َّه ِ جَ‏ مِ‏ ِ يْ‏ ع ال<br />

‏َن<br />

‏ْعِ‏ ل<br />

ا<br />

‏ُه ُ .<br />

َ ت ات<br />

َ<br />

‏ِب َ ‏ا ي <br />

ِ يْ‏ طٌ‏<br />

َ<br />

َ ا‏<br />

ْ ُ : وَ‏ أ ُ َ عالِ‏ ٌ <br />

63<br />

... وَقَد<br />

ُ<br />

قُد ْ رَ‏ تِهِ‏ ت ‏َصَ‏ ارِ‏ يْف<br />

พระองค์ทรงกำหนดริสกีและเวลาตายของพวกเขา สิ่งถูกสร้างใดที่<br />

ถูกกำหนดให้บังเกิดขึ้นมานั้นจะไม่สามารถออกพ้นไปจากอำนาจ<br />

ของพระองค์ได้หรอก และไม่มีการบริหารกิจการใด(ในจักรวาล<br />

แห่งนี้)ที่จะหายไปจากความเดชานุภาพของพระองค์ได้ บรรดาสิ่ง<br />

ที่ถูกสร้างให้เกิดขึ้นมาด้วยกุดเราะฮ์(ความสามารถ)ของพระองค์<br />

นั้นมีมากมายคณานับไม่ได้68 และสิ่งต่างๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้นั้น<br />

ก็ไม่สิ้นสุด(เช่นเดียวกัน)<br />

[ศิฟัตอัลอิลมุ้-ทรงรอบรู้] 69<br />

อัลลอฮฺทรงรอบรู้: แท้จริงพระองค์ทรงรอบรู้ทั้งหมดจากสิ่งที่<br />

ถูกรอบรู้ได้70 (ความรอบรู้ของ)พระองค์ครอบคลุมสิ่งที่ดำเนินอยู่<br />

เจตนาตัดสินใจได้ ดังนั้นพระองค์จะให้ผลบุญหรือลงโทษโดยตัดสินที่เจตนาหรือความ<br />

ตั้งใจของพวกเขา หากคนหนึ่งทำการละหมาดโดยมีเจตนาที่บริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺก็จะให้<br />

ผลบุญ แต่หากเขาละหมาดโดยมีเจตนาเพื่อโอ้อวด อัลลอฮฺก็จะลงโทษ หรือบุคคลหนึ่ง<br />

ดื่มเหล้าโดยไม่มีเจตนาเนื่องจากถูกบังคับ แน่นอนอัลลอฮฺก็จะไม่เอาโทษ เป็นต้น.<br />

68 ดังนั้นนรกและสวรรค์ยังคงมีอยู่ตลอดไปด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชาสามารถ)ของ<br />

อัลลอฮฺมิใช่ด้วยตัวของมันเอง และสิ่งอำนวยสุขในสวรรค์ก็ยังเกิดขึ้นมาใหม่อยู่ตลอด<br />

เวลาด้วยกุดเราะฮ์ของพระองค์.<br />

69 ศิฟัตอัลอิลมุ้ คือ “คุณลักษณะที่มีมาตั้งแต่เดิม ดำรงหรือประจำอยู่ที่ซาตของ<br />

อัลลอฮฺทำหน้าที่แจ้งประจักษ์รู้ทุกสิ่งอย่างครอบคลุม” (อัลบาญูรีย์, ฮาชียะฮ์อัลอิมาม<br />

อัลบาญูรีย์, หน้า 134) เช่น ทรงรอบรู้ถึงแก่นแท้ของซาตและบรรดาศิฟัตของอัลลอฮฺ<br />

ทรงรอบรู้ว่าภรรยา บุตร และพระเจ้าอีกองค์หนึ่งนั้นไม่มี และทรงรอบรู้สิ่งที่ถูกสร้าง<br />

ทั้งหลาย.<br />

70 สิ่งที่ถูกรอบรู้ได้ เช่น อัลลอฮฺทรงรอบรู้ถึงแก่นแท้ของพระองค์และแก่นแท้ของ<br />

َ ل


ف<br />

ئ<br />

ي<br />

فَ‏<br />

ف<br />

ْ<br />

َ<br />

َ<br />

ف<br />

ّ<br />

ي يْ‏ ْ<br />

ئ<br />

ف<br />

ف<br />

قواعد العقائد<br />

<br />

64<br />

‏َنْ‏ عِل ‏ِهِ‏<br />

‏ُبُ‏ ع<br />

‏َالِ‏ ٌ َ ل يَعْ‏ ز<br />

‏َّه<br />

‏ْل السَّ‏ موَاتِ‏ وَأَن<br />

تُ‏ خُوْ‏ مِ‏ ال ْ نَ‏ إِل أَع<br />

َ السَّ‏ وْ‏ د<br />

‏ْق ِ ي الأَرْ‏ ضِ‏ وَ‏ ل ِ ي السَّ‏ مَ‏ اءِ‏ بَ‏ ْ ل يَعْ‏ ل َ بِ‏ يْبَ‏ الن ةِل<br />

مِ‏ ث<br />

ُ ك حَ‏ رَ‏ ك ْ جَ‏ وّ‏<br />

َ ْ َ اءِ‏ وَ‏ ْ يُد رِ‏<br />

الصَّ‏ ْ خ رَ‏ ةِ‏ الصَّ‏ مَّ‏ اءِ‏ ِ ي اللَّيْ‏ ةِل الظ<br />

‏ْخَوَاطِرِ‏<br />

‏َتِ‏ ال<br />

‏َخ وَيَطَّلِعُ‏ ع هَوَاجِ‏ سِ‏ ال‏<br />

وَيَعْل<br />

َ لِ‏ آ ال َ زا لِ‏ ...<br />

ْ<br />

ِ ِ ا‏ بِ‏ عِ‏ ل َ لِ‏ ي مَ‏ وْ‏ صُ‏ وْ‏ فا<br />

وَ‏ َ خ فِ‏ يَّ‏ اتِ‏ السَّ‏ َ<br />

َ<br />

َ اءِ‏ ع َ ل<br />

ْ َ وَ‏ اءِ‏<br />

ِ ال<br />

ُ ع<br />

َّ مْ‏<br />

َ ُ د<br />

ِ ِ ي <br />

َ َ ة َّ الذ رّ‏<br />

ضَّ‏ َ وَحَرَاك<br />

ِِ<br />

ْ أَز<br />

ً بِ‏ هِ‏ ِ ي<br />

َّ ل<br />

َ<br />

‏َل<br />

َ<br />

َ ْ َ زَل<br />

ٍ ل<br />

ٍ قَدِ‏ ٍ أَز<br />

أَرْضِ‏ <br />

...<br />

َ ُ ال َ ذ رَّ‏ ةٍ‏ <br />

َُ السِّ‏ َّ وَأ ْ <br />

จากบรรดาแผ่นดินชั้นต่ำสุดจนถึงบรรดาชั้นฟ้าสูงสุด แท้จริง<br />

อัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงรอบรู้ โดยไม่มีสิ่งใดเลยแม้จะมีน้ำหนักเท่าธุลี<br />

ในผืนแผ่นดินและฟากฟ้าที่จะหายไปจากการรอบรู้ของพระองค์<br />

ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงรอบรู้การเคลื่อนไหวของมดสีดำบนหินแข็ง<br />

ในยามค่ำคืนที่มืดมิด<br />

และพระองค์ทรงรอบรู้ถึงการเคลื่อนไหวของธุลีในลมอากาศและ<br />

ทรงรอบรู้เสียงกระซิบและสิ่งที่ค่อยกว่านั้น และพระองค์ทรง<br />

รอบรู้ถึงบรรดาความนึกคิดที่เข้ามาในจิตใจ 71 และรอบรู้ถึงกระแส<br />

ความคิดต่างๆ ที่วนเวียนอยู่ในจิตใจ(ไม่หายไปไหน) และทรงรู้<br />

ถึงบรรดาสิ่งซ่อนเร้นต่างๆ ในหัวใจทั ้งหลาย ด้วยความรอบรู้ที่มี<br />

มาตั้งแต่เดิมไม่มีจุดเริ่มต้น พระองค์ยังคงมีคุณลักษณะการรอบรู้<br />

ตั้งแต่บรรพกาลมาแล้วโดยไม่มีจุดเริ่มต้น<br />

บรรดาคุณลักษณะของพระองค์ ทรงรอบรู้สรรพสิ่งทั้งหลายและทรงรอบรู้ว่าไม่มีภาคี<br />

ใดๆ สำหรับพระองค์ เป็นต้น.<br />

71 หมายถึง ความนึกคิดที่มิได้มั่นคงอยู่ในจิตใจ คือ เข้ามาแล้วหายไป.


َ<br />

ب<br />

ي<br />

ّ<br />

ِ<br />

ي ي<br />

ب<br />

ي ي<br />

ي<br />

شَ‏<br />

ٌ<br />

َ<br />

ّ<br />

ْ<br />

ي<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

ْ ذَ‏ اتِهِ‏ <br />

َ ئِن َ َ جْرِيْ‏ <br />

ْ ٌ أَوْ‏ ك ْ ،ٌ َ خْ‏ ٌ أَوْ‏ ٌّ ، نَفْعٌ‏ أَوْ‏<br />

ْ ٌ، صَ‏ غِ‏<br />

ٌ أ ٌ أ ُ سْ‏ َ ٌ ان ، زِ‏ ٌ أ ٌ ،<br />

‏ْتِ‏ َ قالِ‏ .<br />

‏ُوْلِ‏ وَ‏ الِ‏ ن<br />

ِ لْ‏ ‏ُل<br />

‏َاتِ‏ مُ‏ د ٌ لِلْحَ‏ ثَ‏ ادِ‏ تِ‏ فَال<br />

لِلْك<br />

‏َبِ‏<br />

‏ُق<br />

‏َكِ‏ رٌ‏ ، ف ‏َوْ‏ ز ‏َوْ‏ خ َ دَ‏ ة ‏َوْ‏ ن<br />

ف<br />

ِ ي<br />

ْ صَ‏ ان<br />

ُ ت<br />

ُ ف<br />

ُ: وَأ<br />

65<br />

ف<br />

... لَ‏ بِ‏ عِ‏ ‏ٍل مُ‏ تَ‏ جَ‏ ‏ِد دٍ‏ حَ‏ اصِ‏ لٍ‏ ِ ي <br />

‏َّه ‏َعَ‏ ال مُ‏ رِ‏ يْد<br />

‏َن<br />

إلِرَ‏ ادَة<br />

ٌ<br />

‏َثِ‏<br />

‏َلِيْل أَوْ‏ ك<br />

‏ُوْتِ‏ ق<br />

‏َك<br />

‏ْكِ‏ وَال<br />

ال<br />

‏َان ‏َوْ‏ ن<br />

‏َوْ‏ ك ْ رٌ‏ ، عِ‏ رْ‏ ف<br />

َ طَاع ٌ ة أ ‏َوْ‏ عِ‏ صْ‏ يَ‏ ٌ ان ، ...<br />

َ<br />

ا<br />

ْ َ ل<br />

ْ ُ ل<br />

ضَ‏ ٌّ ، ْ َ إِ‏ انٌ‏ أ<br />

มิใช่เป็นความรอบรู้ที่เพิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่ในซาตของอัลลอฮฺด้วย<br />

(การที่มีความรู้ใหม่ๆ)เข้ามาอยู่และเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่72<br />

[ศิฟัตอัลอิรอดะฮ์-ทรงเจตนา] 73<br />

อัลลอฮฺทรงเจตนา(หรือทรงประสงค์): แท้จริงพระองค์นั ้น<br />

ผู้ทรงเจตนา(ผู้ทรงประสงค์ในการสร้าง)บรรดาสิ่งที่มีทั้งหลายให้<br />

บังเกิดขึ้นมา เป็นผู้ทรงบริหารบรรดาสิ่งบังเกิดใหม่(ในจักรวาล<br />

แห่งนี้) ดังนั้นในอาณาจักรการปกครองของอัลลอฮฺนั้น จึงไม่มีสิ่ง<br />

ใดที่น้อยหรือมาก ไม่มีสิ่งที่เล็กหรือใหญ่ ไม่มีความดีหรือความ<br />

ชั่วใด ไม่มีคุณประโยชน์หรือโทษใด ไม่มีอีหม่านหรือกุฟุรใด ไม่มี<br />

ความรู้หรือความโง่เขลาใด ไม่มีความสำเร็จหรือการขาดทุน<br />

ใด ไม่มีการเพิ่มหรือการลดใด ไม่มีการฏออัตหรือการฝ่าฝืนใด<br />

72 เพราะการมีความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น และมีความรู้เพิ่มเข้ามานั้น เป็นคุณลักษณะของ<br />

สิ่งถูกสร้าง มิใช่คุณลักษณะของอัลลอฮฺ.<br />

73 ศิฟัตอัลอิรอดะฮ์ คือ “คุณลักษณะหนึ่งที่มีมาตั้งแต่เดิม ดำรงหรือประจำอยู่ที่ซาต<br />

ของอัลลอฮฺ ที่ทำการให้น้ำหนักกับทุกสิ่งที่มุมกิน(สิ่งที่สติปัญญายอมรับว่ามีก็ได้ ไม่มี<br />

ก็ได้)เท่านั้นโดยสอดคล้องกับอิลมุ้(การรอบรู้ของอัลลอฮฺ)” (ดู อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุล<br />

มุรี้ด, หน้า 122) เช่น เจตนา(ให้น้ำหนักเจาะจง)ให้บุคคลหนึ่งเป็นชายหรือเป็นหญิง<br />

ก็ได้ เจตนาให้บุคคลหนึ่งเกิดมาสูงหรือเตี้ยก็ได้ เจตนาให้บุคคลหนึ่งเกิดมาในสถานที่<br />

นั้นหรือสถานที่นี้ก็ได้ สร้างให้บุคคลหนึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้นหรือช่วงเวลานี้ก็ได้<br />

เป็นต้น.


ي<br />

ُ<br />

ّ<br />

ُ<br />

ي<br />

قواعد العقائد<br />

66<br />

َ َ أْ‏ ل َ ْ يَ‏ ُ ك نْ‏ ،<br />

َّ ل بِ‏ َ ق َ ض ائِ‏ هِ‏ وَ‏ قَ‏ ْ د رِ‏ هِ‏ وَ‏ حِ‏ ْ َ ك تِ‏ هِ‏ وَ‏ مَ‏ شِ‏ يْ‏ ئَ‏ تِ‏ هِ‏ ، فَ‏ َ ‏ا َ ش اءَ‏ َ اكن وَ‏ مَ‏ ا ل<br />

... إِ‏<br />

ْ ُ عِ‏ يْ‏ د<br />

ْ ُ بْ‏ دِ‏ ىءُ‏ ال<br />

‏ْت َ اطِ‏ رٍ‏ بَ‏ ل ُ وَ‏ ال<br />

‏َل<br />

‏ْت نَ‏ ظِ‏ رٍ‏ وَ‏ لَ‏ ف<br />

‏َف<br />

َ خْ‏ رُ‏ جُ‏ َ ع نْ‏ مَ‏ شِ‏ َ يْئ تِهِ‏ ل<br />

أَمْ‏ هِ‏ وَل مُ‏ عَ‏ ‏ِق بَ‏ َ َ لِق ضاَئِهِ،‏ وَلَ‏ مَ‏ ‏ْرَ‏ بَ‏ لِعَ‏ بْدٍ‏ عَ‏ نْ‏<br />

ُ ُ َ ل رَ‏ َّ آد لِ‏ رِ‏<br />

الْف ‏َعَّ‏ ال<br />

مَ‏ عْ‏ صِ‏ يَ‏ تِ‏ هِ‏ إِ‏ لَّ‏ بِ‏ َ ت وْ‏ فِ‏ يْ‏ قِ‏ هِ‏ وَ‏ رَ‏ حْ‏ َ تِ‏ هِ‏ ، وَ‏ ل ُ وَّ‏ ة َ تِ‏ هِ‏ إِ‏ ل بِ‏ َ شِ‏ َ يْئ تِ‏ هِ‏ وَ‏ إِ‏ رَ‏ َ اد تِ‏ هِ‏ ،<br />

َ ْ يَش<br />

َّ<br />

َ ُ ة خ ْ ه<br />

َ ُ َ ع َ ل َ طاع<br />

َ ق َ ل<br />

َ ُ ة <br />

لِ‏ َ ا ِ يْد<br />

لَ‏ <br />

เว้นแต่ด้วยการกำหนด การทำให้บังเกิดขึ้น การบัญชา และด้วย<br />

พระประสงค์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งใดที่พระองค์ทรงประสงค์<br />

สิ่งนั้นก็มีขึ้นมา และสิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงประสงค์สิ่งนั้นก็จะไม่<br />

เกิดขึ้น<br />

ดังนั้นการเหลือบมองของผู้ที่มองและกระแสความคิดกระทันด่วน<br />

ที่เข้ามาก็ไม่ออกไปจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺตะอาลาเลย ยิ่ง<br />

กว่านั้นพระองค์คือผู้ทรงทำให้ปรากฏ(สรรพสิ่งทั้งหลาย) ผู้ทรง<br />

ทำให้(สรรพสิ่งทั้งหลาย)หวนกลับไป(พึ่งพาต่อพระองค์) ผู้ทรง<br />

กระทำอย่างลุล่วงในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ ไม่มีผู้ใดมายับยั้ง<br />

คำบัญชาของพระองค์ได้ และไม่มีผู้ใดมาคัดค้านการกำหนดของ<br />

พระองค์ได้ และไม่มีบ่าวคนใดหลีกหนีจากการฝ่าฝืนได้เว้นแต่ด้วย<br />

การชี้นำ(เตาฟี้ก) 74 และความเมตตาของพระองค์ และไม่มีพลังใด<br />

แก่บ่าวในการฏออัตได้เว้นแต่ด้วยพระประสงค์ของพระองค์<br />

74 เตาฟี้ก คือ อัลลอฮฺสร้างพลังการฏออัตให้เกิดขึ้นแก่บ่าวและพระองค์ได้ทำให้บ่าวมี<br />

ความสะดวกง่ายดายในการทำความดีงามที่อัลลอฮฺทรงรักและทรงพึงพอพระทัย ดังนั้น<br />

หากอัลลอฮฺทรงปล่อยให้บ่าวตัดสินใจกระทำโดยไม่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ<br />

ด้วยเตาฟี้กจากพระองค์ แน่นอนเราอาจจะอ่อนแอและมีความบกพร่องในการทำ<br />

อิบาดะฮ์และพ่ายแพ้นัฟซูจนกระทั่งตกไปอยู่ในการฝ่าฝืน. ดู อัลญุรญานีย์, อัตตะรีฟ้าต,<br />

ตะห์กีก: อิบรอฮีมอัลอับยารีย์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลกิตาบอัลอะร่อบีย์,<br />

ฮ.ศ. 1405), หน้า 97; และอัชชัรกอวีย์, ฮาชียะฮ์อัชชัรกอวีย์ อะลัลฮุดฮุดีย์ (ไคโร:<br />

มุศฏอฟาอัลหะละบีย์, ฮ.ศ. 1338), หน้า 144.


ف ئ<br />

ت ت ف<br />

ي<br />

ْ<br />

ْ<br />

ف ت ف<br />

ي<br />

ْ<br />

ِ<br />

ْ<br />

ْ<br />

ي<br />

ُّ<br />

ي<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ<br />

ِ<br />

67<br />

ف ‏ْعَ‏ ال<br />

ي نُ‏ عَ‏ ل أ يُ‏ َ رِّ‏ ك ِ ي ال<br />

‏َل ‏َوْ‏ اِ‏ جْ‏ َ ت مَ‏ عَ‏ ا إلِ‏ نْسُ‏ وَ‏ ‏ْجِ‏ ال نُّ‏ وَ‏ ال ُ وَ‏ الش ْ<br />

ف<br />

‏َعَ‏ جَ‏ ُ ز وْا عَنْ‏ ذَلِكَ‏ . وَأَنَّ‏ إِرَ‏ ادَتَهُ‏<br />

‏َتِهِ‏ ل<br />

‏َتِهِ‏ وَمَ‏ شِ‏ يْئ<br />

‏َا د َ ‏ُوْن إِرَ‏ اد<br />

‏َرَّ‏ ةً‏ أَوْ‏ يُسَ‏ كّ‏ ‏ِنُوْ‏ ه<br />

ذ<br />

ف<br />

َ كَذ لِكَ‏ مَوْصُ‏ وْفا ‏َا مُرِ‏ يْدا ِ ي<br />

َ<br />

‏َاتِهِ‏ ل<br />

قَا‏ ْ حجُ‏ ةِ‏ ‏ْل صِ‏ ف<br />

َ ‏َرَ‏ اد<br />

‏َا‏ ‏َا ك ‏َا أ<br />

‏َوُجِ‏ د ْ أَوْ‏ ق ِ<br />

‏َا ف<br />

‏َا‏ ‏َا ِ يْ‏ الَّ‏ قَد ه<br />

لِوُجُ‏ وْدِ‏ الأَش ْ أَوْ‏ ق ِ<br />

َ وَ‏ فْقِ‏ عِ‏ ‏ِل هِ‏ وَ‏ إِرَ‏ ادَ‏ تِهِ‏ مِ‏ نْ‏ غ<br />

ْ وَ‏ ق ‏َعَ‏ تْ‏ عَ‏ ل<br />

أَخ رٍ‏ ُّ بَ‏ ل<br />

<br />

َ أَز لِ‏ ِ مِ‏ نْ‏ غ ُّ مٍ‏ وَ‏ َ ل تَ‏<br />

ب َ الأُمُ‏ وْ‏ رَ‏ ...<br />

‏َغ َّ<br />

تَبَ‏ ُّ د لٍ‏ وَ‏ ل<br />

ُ وْ‏ ا <br />

‏َلِ‏ ِ<br />

ً ْ أَز<br />

‏َهُ‏ ِ ي <br />

َ<br />

َ ن ْ<br />

‏ِب <br />

ً<br />

َ<br />

ِ ي <br />

َّ<br />

يَ‏ اطِ‏ <br />

َ تْ‏<br />

ْ َ َ ال َ ئِكة<br />

َ ْ َ زَل<br />

َّ رَ‏<br />

ِ َ ةٌ‏ َ بِذ اتِهِ‏ ِ ي <br />

ْ يَاءِ‏ ِ ي <br />

َ َ تَقد<br />

ِ<br />

َ ، دَ‏ <br />

َ ت ٍ<br />

ดังนั้นหากมนุษย์ ญิน บรรดามะลาอิกะฮ์ และชัยฏอนทั้งหลาย<br />

ต่างรวมตัวกันทำให้เคลื่อนไหวหรือทำให้หยุดนิ่งกับธุลีหนึ ่งในโลก<br />

นี้โดยมิได้มาจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ แน่นอนพวกเขาก็ไม่มี<br />

ความสามารถที่จะกระทำสิ่งดังกล่าวได้หรอก<br />

แท้จริงคุณลักษณะอิรอดะฮ์(พระประสงค์)ของอัลลอฮฺนั้น ดำรง<br />

อยู่ที่ซาตของพระองค์ อยู่ในหมวดของบรรดาศิฟัตของพระองค์75<br />

ดังนั้นเฉกเช่นดังกล่าว 76 พระองค์ยังคงมีคุณลักษณะทรงเจตนา<br />

มาตั้งแต่เดิม พระองค์เป็นผู้ทรงเจตนามาตั้งแต่เดิมแล้วที่จะให้มี<br />

สรรพสิ่งต่างๆ ขึ้นมาในช่วงเวลาต่างๆ ของมันที่พระองค์ได้ทรง<br />

กำหนดไว้ แล้วมันก็มีขึ้นมาในช่วงเวลาต่างๆ ของมันตามที่พระองค์<br />

ทรงประสงค์มาตั้งแต่เดิมแล้วโดยไม่เกิดขึ้นล่วงหน้าก่อนเวลา ไม่<br />

ได้เกิดขึ้นแบบล่าช้า แต่สรรพสิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้นมาตรงกับการ<br />

รอบรู้และพระประสงค์(เจตนา)ของพระองค์โดยไม่มีการเปลี่ยน<br />

ผันและไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงบริหารกิจการต่างๆ<br />

75 หมายถึง เราจะปฏิเสธว่า อิรอดะฮ์ นั้น มิใช่ศิฟัตของอัลลอฮฺย่อมไม่ได้ เพราะอิรอดะฮ์<br />

(ทรงเจตนา)เป็นคุณลักษณะของอัลลอฮฺเหมือนกับคุณลักษณะการทรงรอบรู้ ทรง<br />

เดชานุภาพ ทรงได้ยิน ทรงเห็น และทรงพูดของพระองค์.<br />

76 เฉกเช่นที่อิรอดะฮ์ของอัลลอฮฺทรงดำรงที่ซาตของพระองค์นั้น.


ي ي<br />

ئ<br />

َ<br />

َ<br />

َ<br />

ْ ف<br />

68<br />

‏ْنٍ‏ .<br />

َ أ<br />

دَق َّ . وَلَ‏<br />

ْ ُ َ شأ ٌ ع<br />

َ ْ ي ْ َ غل<br />

َ َ لِك ل<br />

ِ ي‏<br />

ْ يَتِهِ‏ مَرْ‏<br />

ِ يْعٌ‏ بَصِ‏ <br />

َ<br />

‏ْبَصَ‏ ُ : وَأ ُ ت<br />

َ ، وَل<br />

َ ِ ي<br />

َ ْ يَدف<br />

قواعد العقائد<br />

‏ْن َ نْ‏ ش<br />

‏َش<br />

‏َلِذ<br />

َ وَ‏ ل تَ‏ َ بُّ‏ صِ‏ َ ز مَ‏ انٍ‏ ف<br />

‏ْك رٍ‏<br />

‏َف<br />

أ<br />

‏ُبُ‏ عَنْ‏ ‏ْتِيْبِ‏ تَ‏<br />

‏َّه ‏َعَ‏ ال س ْ ٌ يَسْ‏ مَ‏ عُ‏ وَ‏ َ ‏َى وَلَ‏ يَعْ‏ ز<br />

‏َن<br />

‏َلسَّ‏ مْ‏ عُ‏ وَال<br />

ا<br />

َ مَسْ‏ مُوْعٌ‏ وَ‏ إِن خ يَغِيْبُ‏ عَنْ‏ رُ‏ ؤ ٌّ وَ‏ إِنْ‏<br />

س ‏ْعِهِ‏<br />

‏َعُ‏ رُ‏ ْ ؤ َ يَت ُ ه َ ظال ‏َمٌ‏ ...<br />

َ ْ جُ‏ بُ‏ َ ْ س عَ‏ ُ ه بُ‏ عْ‏ ٌ د وَ‏ ل<br />

ي‏<br />

... لَ‏ بِ‏ <br />

โดยไม่ต้องวางแผนเรียบเรียงความคิด และไม่ต้องรอคอยเวลา 77<br />

ดังนั้นด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงไม่มีภารกิจใดที่ทำให้พระองค์ทรง<br />

สับสนกับอีกภารกิจหนึ่ง<br />

[ศิฟัตอัสสัมอุ้-ทรงได้ยินและอัลบะศ็อร-ทรงเห็น] 78<br />

ศิฟัตการทรงได้ยินและทรงเห็น: แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลา<br />

เป็นผู้ทรงได้ยินยิ่ง เป็นผู้ทรงเห็นยิ่ง อัลลอฮฺทรงได้ยินและทรง<br />

เห็น โดยไม่มีสิ่งใดที่ถูกได้ยินหายไปจากการได้ยินของอัลลอฮฺ<br />

เลย หากแม้ว่ามันจะค่อยสักเพียงใดก็ตาม และสิ่งที่ถูกเห็นได้นั้น<br />

ไม่หายไปจากการเห็นของอัลลอฮฺเลยแม้ว่าสิ่งนั้นจะละเอียดสัก<br />

เพียงใดก็ตาม และความห่างไกลไม่สามารถมาปิดกั้นการได้ยิน<br />

ของพระองค์ได้ และความมืดไม่สามารถมากั้นขวางการเห็นของ<br />

พระองค์ได้<br />

77 เพราะการเรียบเรียงวางแผนและรอคอยเวลาในการกระทำสิ่งที่ตั้งใจไว้นั้น เป็น<br />

ลักษณะของมนุษย์มิใช่ลักษณะของอัลลอฮฺ.<br />

78 ศิฟัตอัสสัมอุ้และอัลบะศ็อร คือ “คุณลักษณะที่มีมาตั้งแต่เดิม ทำหน้าที่ในการแจ้ง<br />

ประจักษ์ได้ยินและแจ้งประจักษ์เห็นให้กับอัลลอฮฺในทุกสิ่งที่มีอย่างครอบคลุม” (ดู อัล<br />

บาญูรีย์, ฮาชียะฮ์อัลอิมามอัลบาญูรีย์, หน้า 142) ซึ่งการแจ้งประจักษ์ของการทรง<br />

ได้ยินและการทรงเห็นนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ถึงแก่นแท้ของข้อแตกต่าง<br />

นี้ได้นอกจากอัลลอฮฺตะอาลาเท่านั้น ดังนั้นอัลลอฮฺทรงได้ยินและทรงเห็นทุกๆ สิ่งที่มี<br />

พระองค์ทรงได้ยินและเห็นซาตและศิฟัตของพระองค์ ทรงได้ยินและทรงเห็นสรรพสิ่ง<br />

ทั้งหลายที่ถูกสร้างให้มีขึ้นมา.


ْ<br />

ي<br />

ْ<br />

ُ<br />

ي<br />

ي<br />

ي<br />

ْ<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ ‏َا<br />

‏َانٍ‏ ك<br />

َ ‏ِخةٍ‏ وَآذ<br />

َ ْ إِذ َ ل ت ْ ‏ُش بِ‏ هُ‏ صِ‏ فَاتُهُ‏<br />

ةٍ‏<br />

َ أَص<br />

ِ<br />

ْ آل<br />

بِغَ‏ ي ِ<br />

ْ<br />

‏ْقِ‏ .<br />

خَل<br />

ِ د ٌ ...<br />

‏َانٍ‏ وَ‏ ي ‏َسْ‏ مَعُ‏ مِنْ‏ غ<br />

‏َةٍ‏ وَأ ‏َجْ‏ ف<br />

‏ُق<br />

َ خْ‏ ل<br />

ِ جَ‏ ارِحَ‏ ةٍ‏ وَ‏<br />

‏ُه َ وَ‏ اتِ‏ ال<br />

ْ ‏ُش بِ‏ ه<br />

ٌ د مُ‏ تَ‏ وَعّ‏<br />

مُ‏ تَ‏ ك نَ‏ هٍ‏ وَ‏ اعِ‏<br />

ي‏<br />

بِغَ‏ ْ<br />

َ ات ُ ذ ُ ذ<br />

َ ّ ٌ آمِ‏ رٌ‏ <br />

ِ<br />

ِ َ حَدق<br />

ْ<br />

َ ‏َى مِنْ‏ غَ‏ ي<br />

ُ<br />

‏ْبٍ‏ وَ‏ يَبْطِ‏ ش<br />

َ َ ا َ ل ت<br />

69<br />

...<br />

َ قَل<br />

َ ُ بِغ ِ<br />

ْ<br />

خَل<br />

َ ل<br />

يَعْ‏ ل<br />

‏ْقِ‏ ك<br />

صِ‏ فَ‏ اتِ‏ ال<br />

‏َّه<br />

‏َن<br />

ا َ ‏ْك ‏َمُ‏ : وَ‏ أ<br />

َ<br />

ُ ت ‏َعَ‏ ال<br />

อัลลอฮฺทรงเห็นโดยไม่มีลูกตาและเปลือกตา 79 พระองค์ทรงได้ยิน<br />

โดยไม่มีรูหูและหู เช่นเดียวกับพระองค์ทรงรอบรู้โดยไม่มีหัวใจ 80<br />

พระองค์ทรงยึดกุมโดยไม่ใช้อวัยวะ 81 และพระองค์ทรงสร้างโดย<br />

ไม่ใช้เครื่องมือ 82 เนื่องจากบรรดาคุณลักษณะ(ศิฟัต)ของอัลลอฮฺ<br />

นั้น ไม่คล้ายเหมือนกับบรรดาคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง เช่น<br />

เดียวกันกับซาตของพระองค์นั้นไม่คล้ายเหมือนกับตัวตนของสิ่ง<br />

ที่ถูกสร้างทั้งหลาย<br />

[ศิฟัตอัลกะลาม-การทรงพูด] 83<br />

การทรงพูด: แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลานั้นพระองค์ทรงพูด<br />

ทรงบัญชาใช้ ทรงสัญญาให้ผลบุญ และทรงสัญญาจะลงโทษ<br />

79 เพราะการเห็นด้วยลูกตาและเปลือกตานั้น เป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างและเป็น<br />

รูปแบบการเห็นของสิ่งที่เป็นรูปร่าง ซึ่งอัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าว.<br />

80 และทรงรอบรู้โดยไม่ใช้สมอง. ดู อัซซะบีดีย์, เล่ม 2, หน้า 29.<br />

81 แต่อัลลอฮฺทรงยึดกุมฟากฟ้าและแผ่นดินไว้มั่นคงอยู่ด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชา<br />

สามารถ)ของพระองค์มิใช่ด้วยอวัยวะมือ.<br />

82 เพราะการใช้เครื่องมือมาช่วยในการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เป็นลักษณะความอ่อนแอ<br />

ของมนุษย์ที่ต้องการเครื่องทุ่นแรง.<br />

83 ศิฟัตอัลกะลาม คือ “คุณลักษณะที่มีตั้งแต่เดิมดำรงอยู่ที่ซาตของอัลลอฮฺ โดย<br />

ปราศจากเสียงและอักษร ซึ่งด้วยคุณลักษณะนี้พระองค์จึงเป็นผู้ทรงบัญชาใช้ ผู้บัญชา<br />

ห้าม และผู้บอกเล่า” (ดู อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุลมุรี้ด, หน้า 129) เช่น อัลลอฮฺทรงพูดบัญชา<br />

ใช้ให้ทำละหมาด ทรงบัญชาห้ามทำซินา และทรงบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบรรดา<br />

นะบีย์ในอัลกุรอานเป็นต้น.


يْ‏<br />

ئ يْ‏ ّ<br />

ب<br />

نْ‏<br />

ج<br />

ب<br />

ي<br />

قواعد العقائد<br />

<br />

70<br />

َ ْ ُ د ثُ‏<br />

‏َيْسَ‏ بِ‏ صَ‏ وْ‏ تٍ‏ <br />

‏َل<br />

‏ْقِ‏ ف<br />

َ اتِهِ‏ ل ْ ‏ُش بِ‏ ه َ ‏َمَ‏ ال<br />

... بِ‏ َ ك ‏َمٍ‏ أ َ ‏َز لِ‏ ي<br />

‏َوْ‏ اصْ‏ طِ‏ َ ك كِ‏ أ ‏َجْ‏ رَ‏ امٍ‏ وَ‏ ل َ رْ‏ فٍ‏ يَنْ‏ ق ِ طْبَ‏ اقِ‏ َ ش فَةٍ‏ أَوْ‏<br />

َ ه وَ‏ اهُ‏ أ<br />

‏َلِ‏<br />

مِ‏ نْ‏ انْسِ‏ ال<br />

َ ةُ‏ ع<br />

‏َن ُ ‏ْق رْ‏ َ آن وَ‏ َّ الت وْ‏ رَ‏ َ اة وَ‏ ا إلِ‏ ِ يْ‏ َ ل وَ‏ َّ الز بُ‏ وْ‏ رَ‏ ك ُ بُ‏ ه نَ‏ زَّل<br />

تَ‏ ْ رِ‏ يْكِ‏ لِسَ‏ انٍ‏ ، وَ‏ أ<br />

‏ْسِ‏ َ ن ةِ‏ ...<br />

‏َن ُ ‏ْق رْ‏ َ آن مَ‏ ق ِ لأَ‏ ل<br />

رُ‏ سُ‏ لِ‏ ِ عَ‏ ل ِ مُ‏ السَّ‏ الَمُ‏ . وَ‏ أ<br />

َ<br />

َ ل<br />

ُ ْ<br />

ُ ال<br />

َ طِ‏ عُ‏ ِ إ <br />

ُ ت<br />

ْ خَل<br />

ُ ك<br />

َ ‏ِب <br />

ْ رُ‏ وْءٌ‏ <br />

‏َدِ‏ ٍ ِ ٍ قَا‏ بِ‏ ذ َ ي<br />

ٍ ق<br />

َّ ال<br />

َّ ال<br />

َ<br />

<br />

ด้วยการพูดของพระองค์ที่มีมาตั้งแต่เดิม(โดยไม่มีจุดเริ่มต้น) ซึ่ง<br />

เป็นการพูดที่ดำรงอยู่ที่ซาตของอัลลอฮฺที่ไม่คล้ายเหมือนกับการ<br />

พูดของสิ่งที่ถูกสร้าง ดังนั้นการพูดของอัลลอฮฺจึงไม่เป็นเสียงที่เกิด<br />

ขึ้นจากการออกลมเบาๆ 84 หรือไม่ได้มาจากการกระทบของบรรดา<br />

วัตถุ(เช่นลิ้นกระทบกับเพดาน) และ(การพูดของอัลลอฮฺนั ้น)ไม่เป็น<br />

อักษรที่มีการขาดตอนด้วยการปิด(เม้ม)ริมฝีปาก 85 หรือกระดิกลิ้น<br />

(เช่น อักษรรออฺ)<br />

แท้จริงคัมภีร์อัลกุรอาน อัตเตารอฮฺ อัลอินญีล และอัซซะบูรนั้น<br />

เป็นคัมภีร์86 ที่ถูกประทานลงมาแก่บรรดาร่อซูลของอัลลอฮฺ –ขอ<br />

อัลลอฮฺทรงประทานความสันติแก่พวกเขา- และแท้จริงอัลกุรอาน<br />

ถูกอ่านด้วยลิ้น<br />

84 เพราะเมื่อมนุษย์พูด จะมีลมเบาๆ ออกมาจากปาก ซึ ่งนั่นไม่ใช่คุณลักษณะการพูด<br />

ของอัลลอฮฺ.<br />

85 คือ الضاد،‏ الطاء،‏ الظاء]‏ ‏[الصاد،‏ เมื่ออ่านอักษรนี้แล้วจะต้องปิดปากหรือเม้มริมฝีปาก<br />

ซึ่งหากอ้าปากก็จะอ่านไม่ได้.<br />

86 บรรดาถ้อยคำต่างๆ จากบรรดาคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมานั้น บ่งชี้ถึงศิฟัตกะลามของ<br />

อัลลอฮฺที่มีมาตั้งแต่เดิมที่ดำรงอยู่ที่ซาตซึ่งไม่มีภาษาและอักษร ด้วยเหตุนี้ถ้อยคำ<br />

ต่างๆ ในเล่มของบรรดาคัมภีร์นั้นจึงมีภาษาที่แตกต่างกันไปตามภาษาที่ประชาชาติ<br />

ของนะบีย์แต่ละท่านพูดและเข้าใจกัน ดังนั้นถ้อยคำของคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาเป็น<br />

ภาษาอาหรับคืออัลกุรอาน และเป็นภาษาอัลอิบรอนีย์คือคัมภีร์อัตเตารอฮฺ และเป็น<br />

ภาษาอัซซุรยานีย์คือคัมภีร์อินญีลและซะบูร.


ْ<br />

َ<br />

ٌ ف<br />

ف<br />

ب<br />

ت َ<br />

ي<br />

َ<br />

َّ<br />

ُ<br />

َ<br />

ي<br />

ف<br />

َ<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

قَدِ‏ يْ‏ ٌ ‏ِئ ٌ قَا‏<br />

71<br />

‏ُوْظ ِ ي ُ الْق لُوْ‏ بِ‏ وَأَنَّهُ‏ مَ‏ عَ‏ ذَلِكَ‏<br />

ْ َ صَ‏ احِ‏ فِ‏ م<br />

ِ ي ال<br />

... مَ‏ كْت ‏ُوْ‏ بٌ‏<br />

َ<br />

‏ُوْبِ‏<br />

‏ُل<br />

‏َالِ‏ إِل الْق<br />

‏ْبَل الِ‏ نْفِصَ‏ ال وَالِ‏ فْ‏ ِ لِ‏ نْتِق<br />

‏َعَال ل يَق<br />

َ بِذ اتِ‏ هللاِ‏ ت<br />

‏َيْهِ‏ وَسَ‏ ل ِ عَ‏ َ كمَ‏ هللاِ‏ بِغ ِ صَ‏ وْتٍ‏<br />

أَوْ‏ رَ‏ اقِ‏ ، وَأَنَّ‏ مُ‏ وْسَ‏ صَ‏ ل هللاُ‏ عَل<br />

وَال<br />

َ ْ آ ال خِ‏ رَ‏ ةِ‏ مِ‏ ِ نْ‏ غَ‏ جَ‏ وْ‏ هَرٍ‏<br />

هللاِ‏ تَعَ‏ ال<br />

ب الأَ‏ ‏َارُ‏ ذَاتَ‏<br />

وَلَ‏ حَ‏ رْ‏ فٍ‏ . ك َ ‏َى ْ<br />

َ<br />

ي<br />

ْ<br />

ِ ‏َاق <br />

َّ َ س<br />

ِ ي <br />

َ ‏ْف <br />

َ َ ا <br />

ถูกบันทึกไว้ในมุศหับ(เล่มอัลกุรอาน) 87 ถูกจดจำในหัวใจ และพร้อม<br />

ดังกล่าวนั้น อัลกุรอาน(ที่เป็นศิฟัตกะลามของอัลลอฮ์)นั้นก่อดีม(มี<br />

มาตั้งแต่เดิมไม่มีจุดเริ่มต้นและมิได้บังเกิดขึ้นมาใหม่)และดำรงอยู่<br />

ที่ซาตของอัลลอฮฺตะอาลาโดย(ศิฟัตการพูดของพระองค์นั้น) ไม่รับ<br />

การแยกออกมาด้วยการเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่หัวใจและกระดาษ<br />

และแท้จริงนะบีย์มูซา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ยินการพูด<br />

ของอัลลอฮฺโดยไม่มีเสียงและอักษร<br />

[มุอฺมินได้เห็นอัลลอฮฺในโลกหน้า]<br />

(แท้จริงการที่นะบีย์มูซาได้ยินการพูดของอัลลอฮฺโดยไม่มีเสียง<br />

และอักษรนั้น)เสมือนกับการที่บรรดาคนดีทั้งหลายได้เห็นซาตของ<br />

อัลลอฮฺในโลกหน้า 88 โดย(ไม่มีรูปแบบวิธีการ)ไม่เป็นสสาร(รูปร่าง)<br />

87 อัลกุรอานที่อยู่ในเล่มที่เป็นกระดาษ มีน้ำหมึกและอักษรภาษาอาหรับนั้น ก็เรียก<br />

ว่ากะลามุลลอฮฺ(พจนารถของอัลลอฮฺ)เช่นกัน โดยพิจารณาในแง่ที่ว่า ความหมายใน<br />

เล่มอัลกุรอานนั้นบ่งชี้ถึงความหมายบางส่วนของศิฟัตกะลามของอัลลอฮฺที่ดำรงอยู่ที่<br />

ซาตมาตั้งแต่เดิม(กะลามนัฟซีย์) ดังนั้นเล่มอัลกุรอานจึงเรียกว่ากะลามุลลอฮฺ เหมือน<br />

กับเจ้าเมืองได้นำคำตรัสของกษัตริย์ที่อยู่ในสารมาอ่านให้ฟังต่อหน้าประชาชน ฉะนั้น<br />

ข้อความในสาร จึงเรียกว่า คำตรัสของกษัตริย์ เช่นกัน.<br />

88 นักปราชญ์ได้กล่าวว่า เคล็ดลับที่ไม่เห็นอัลลอฮฺในโลกดุนยานั้นก็เพราะว่า หากคน<br />

ภักดีได้เห็นอัลลอฮฺในโลกดุนยา แน่นอนคนฝ่าฝืนก็จะพูดได้ว่า หากฉันได้เห็นอัลลอฮฺ<br />

ฉันก็จะอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ และหากคนฝ่าฝืนได้เห็นอัลลอฮฺด้วย แน่นอนเขาก็มีสภาพ<br />

ที่ดีกว่าคนภักดี และหากทั้งสองเห็นอัลลอฮฺพร้อมๆ กัน แน่นอนความพิเศษของการ<br />

เห็นอัลลอฮฺก็หมดไป. ซัรรู้ก, อะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 115.


ِ<br />

ْ<br />

َ<br />

َ<br />

ب ي<br />

قواعد العقائد<br />

72<br />

ً ا<br />

َ نَ‏<br />

ُ د<br />

ً يْد<br />

‏َادِرا مُرِ‏<br />

اك حَيًّا عَالِ‏ ‏ًا ق<br />

‏َاتُ‏<br />

َ ُ هَذِ‏ هِ‏ ِ الصّ‏ ف<br />

‏َا اك ل<br />

وَل عَرَضٍ‏ ، وَ‏ إِذ<br />

‏ْعِ‏ ‏ِل وَ‏ ا إلِ‏ رَ‏ ادَ‏ ةِ‏ ِ وَ‏ السَّ‏ مْ‏ ع وَ‏ ال ‏ْبَ‏ صَ‏<br />

‏ْق ْ رَ‏ ةِ‏ وَ‏ ال<br />

ْ ً ‏ا مُ‏ تَ‏ ك ِ لْ‏ ‏َيَ‏ اةِ‏ وَ‏ ال<br />

‏ِس يْ‏ عً‏ ا بَ‏ صِ‏<br />

وَ‏ َ الْك ‏َمِ‏ ل ُ جَ‏ رَّ‏ دِ‏ الذ<br />

أَ‏ ُ سُ‏ بْ‏ حَ‏ ان ُ وَ‏ َ ت عَ‏ ال مَ‏ وْ‏ جُ‏ وْ‏ َ ٌ د سِ‏ وَ‏ اهُ‏ إِ‏ ل وَ‏ َّ ُ ه وَ‏ حَ‏ ادِ‏ ٌ ث بِ‏ فِ‏ عْ‏ لِ‏ ِ<br />

َ ال فْعَ‏ ال<br />

َ ‏ْوُ‏ جُ‏ وْ‏<br />

فَائِض مِ‏ نْ‏ عَ‏ ْ د لِ‏ ِ َ عل أَحْ‏ سَ‏ نِ‏ ال<br />

وَ‏ ٌ<br />

هِ‏ ...<br />

َ ل<br />

َ نَتْ‏<br />

َ ّ اً‏ <br />

ِ<br />

‏ِب َّ اتِ‏ .<br />

َ<br />

ُ : وَ‏ َ أ َّ نه َ ه<br />

และไม่เป็นคุณลักษณะอุบัติ89 และเมื่ออัลลอฮฺมีบรรดาคุณลักษณะ<br />

เหล่านี้ แน่นอนพระองค์ก็มีกระบวนการของ(ศิฟัตมะอฺนะวียะฮ์<br />

ตามมา คือ)ผู้ทรงเป็น ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงเจตนา<br />

ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น ผู้ทรงพูด เนื่องด้วยการมี(บรรดาศิฟัตมะอานี<br />

คือ)ศิฟัตทรงเป็น ศิฟัตเดชานุภาพ ศิฟัตรู้ ศิฟัตเจตนา ศิฟัตได้ยิน<br />

ศิฟัตเห็น ศิฟัตพูด มิใช่มีเพียงแค่ซาตเท่านั้น 90<br />

[เตาฮีดอัฟอาล-หนึ่งเดียวในการกระทำของอัลลอฮฺ]<br />

บรรดากระทำของอัลลอฮฺ: แท้จริงอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะ<br />

ตะอาลานั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดเว้นแต่สิ่งนั้นบังเกิดขึ้นมาใหม่ด้วยการ<br />

สร้างของพระองค์ทั้งสิ้น และหลั่งไหล(ปรากฏสรรพสิ่งทั้งหลาย<br />

ออกมา)จากความยุติธรรมของพระองค์บนหนทางที่สวยงามที่สุด<br />

89 อัลลอฮฺไม่มีลักษณะอุบัติอยู่ที่พระองค์ เช่น ความใหญ่ เล็ก สูง ต่ำ กว้าง ยาว อ้วน<br />

ผอม หนา บาง การหยุดนิ่ง การเคลื่อนไหว การง่วงนอน การหลับ การเคลื่อนย้าย การ<br />

มีสีต่างๆ เป็นต้น เพราะลักษณะอุบัติเหล่านี้ ต้องอาศัยอยู่ที่สสารหรือสิ่งที่เป็นรูปร่าง<br />

แต่อัลลอฮฺมิใช่เป็นรูปร่าง.<br />

90 อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวเพื ่อตอบโต้พวกมุอฺตะซิละฮ์ที่ปฏิเสธ<br />

การมีศิฟัตเหล่านั้น เนื่องจากพวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺทรงอิลมุ้(ทรงรู้)ด้วยซาตของ<br />

อัลลอฮฺ มิใช่ด้วยศิฟัตทรงรู้ของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงกุดเราะฮ์(เดชาสามารถ)ด้วย<br />

ซาตของอัลลอฮฺมิใช่ด้วยศิฟัตเดชาสามารถของพระองค์ ซึ่งการปฏิเสธการมีศิฟัตของ<br />

อัลลอฮฺนั้นเป็นแนวทางที่บิดอะฮ์ เนื่องจากอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้ยืนยัน<br />

รับรองไว้ว่า อัลลอฮ์ทรงมีศิฟัตอิลมุ้และกุดเราะฮ์ เป็นต้น.


ْ<br />

ي<br />

ي<br />

ف<br />

ف<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

ْ أَف<br />

َ ِ ي<br />

ٌ ْ<br />

َ<br />

تَ‏ ّ<br />

73<br />

ٌ ْ أَقْضِ‏ يَتِهِ‏ لَ‏<br />

‏َادِل<br />

‏َن ُ ‏ّه حَ‏ ك ‏ْعَ‏ الِ‏ ِ ع<br />

َ ‏ْد لِ‏ ‏َا وَأ<br />

ْ<br />

... وَأَ‏ ك ‏َلِهَا وَأ ِ هَا وَأَع<br />

ف ْ مُ‏ لْكِ‏<br />

‏َصَ‏ ‏ُّفِهِ‏ ِ ي <br />

‏ْه<br />

بْد يُتَصَ‏ وَّ‏ رُ‏ مِ‏ ن<br />

‏ْعِ‏ بَادِ‏ إِذِ‏ ال ‏ْعَ‏ ُ<br />

‏َد ْ لِ‏ ال<br />

‏َاسُ‏ ع<br />

يُق<br />

ُ مُ‏ لْك<br />

َ ُ ‏َّه َ ل يُصَ‏ ادِ‏ ف ‏ِهِ‏<br />

ْ ُ مِ‏ نَ‏ هللاِ‏ ت ‏َعَ‏ ال فَإِن<br />

‏ْظ<br />

‏َصَ‏ وَّ‏ رُ‏ ال<br />

غَ‏ ‏ِهِ.‏ وَلَ‏ يُت<br />

يَ‏ كُ‏ وْ‏ ن ُ فِ‏ يْ‏ هِ‏ ظ ا سِ‏ وَ‏ اهُ‏ مِ‏ نْ‏ إِ‏ نْسٍ‏ وَ‏ جِ‏ نٍّ‏ وَ‏ مَ‏ لَكٍ‏ وَ‏ َ ش يْ‏ َ ط انٍ‏ وَ‏ سَ‏ ءٍ‏<br />

‏َدِ‏ ثٌ‏<br />

َ ْ سُ‏ وْ‏ سٍ‏ حا<br />

وَ‏ أَرْ‏ ضٍ‏ وَ‏ حَ‏ يَ‏ وَ‏ انٍ‏ وَ‏ ن ‏َبَ‏ اتٍ‏ وَ‏ حجَ‏ ‏َادٍ‏ وَ‏ جَ‏ وْ‏ َ ه رٍ‏ َ وع رَ‏ ضٍ‏ ومُ‏ ْ د رَ‏ كٍ‏ وَ‏ م<br />

ً حَ‏ ‏َّت‏<br />

ِ ي <br />

ْ ُ بِت<br />

ُ ُّ الظل<br />

ي‏<br />

لِغَ‏ ْ<br />

ُ ل<br />

ُ ْ ل ً ا فَك مَ‏ ُ ُّ<br />

ُ ُ بِعَ‏ د<br />

ْ ل<br />

َ َ ت صَ‏ ُّ فُه<br />

สมบูรณ์ที่สุดและยุติธรรมที่สุด 91 และแท้จริงอัลลอฮฺทรงแยบยล<br />

ในการกระทำของพระองค์ ทรงยุติธรรมในการพิพากษา ซึ่งไม่มี<br />

ความยุติธรรมของปวงบ่าวจะมาเทียบเคียงกับความยุติธรรมของ<br />

พระองค์ได้เลย เนื่องจากบ่าวนั้น (สติปัญญา)คิดไปได้ว่าความ<br />

อธรรมจะเกิดขึ้นจากเขาด้วยเหตุที่เขาได้กระทำ(การละเมิด)ใน<br />

กรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ส่วนความอธรรมจากอัลลอฮฺนั้น(สติปัญญา)<br />

ไม่สามารถคิดขึ้นมาได้เลย เพราะอัลลอฮฺนั้นไม่เผชิญหน้ากับ<br />

สิทธิครอบครองของผู้อื่นจนกระทั่งการกระทำของพระองค์นั้นไป<br />

อธรรมแก่ผู้อื่น<br />

ดังนั้นทุกสิ่งที่อื่นจากอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะมาจากมนุษย์ ญิน มะลาอิกะฮ์<br />

ชัยฏอน ฟากฟ้า แผ่นดิน สัตว์ พืช วัตถุ สสาร คุณลักษณะ<br />

อุบัติที่อยู่ที่สสาร 92 สิ่งที่รับรู้ได้(ด้วยสติปัญญา) และสิ่งที่สัมผัส<br />

ได้(ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า) ล้วนเป็นสิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่<br />

91 หมายถึง การที่อัลลอฮฺทรงสร้างจักรวาลแห่งนี้ สร้างฟากฟ้าและแผ่นดินทั้งเจ็ดชั้น<br />

สร้างบัลลังก์(อะรัช) สร้างสวรรค์ และอื่นๆ นั้น สมบูรณ์และปราณีตแล้วโดยไม่มีข้อ<br />

บกพร่องแต่อย่างใด.<br />

92 เช่น ความใหญ่ เล็ก สูง ต่ำ กว้าง ยาว การหยุดนิ่ง การเคลื่อนไหว การง่วงนอน การ<br />

หลับการเคลื่อนย้าย การมีสีต่างๆ เป็นต้น.


ت<br />

ب<br />

ي<br />

ف<br />

ت<br />

َ<br />

قواعد العقائد<br />

<br />

74<br />

ُ نْ‏ ش َ يْئاً‏<br />

َ<br />

‏َن<br />

‏ْش اءً‏ بَ‏ عْ‏ د<br />

‏ْش ‏َهُ‏ إِن<br />

‏َن<br />

اِ‏ ختَ‏ ‏َع ْ رَ‏ تِهِ‏ بَ‏ عْ‏ د ‏ْعَ‏ َ د مِ‏ اِ‏ خِ‏ َ اعاً‏ وَ‏ أ<br />

‏َلِكَ‏<br />

َ ‏ْق ذ<br />

الْخَل<br />

‏ُنْ‏ مَعَه ْ ‏ُهُ‏ فَأ ‏َحْ‏ َ د ثَ‏<br />

إِذْ‏ َ اك نَ‏ مَوْجُ‏ ً وْدا وَحْ‏ َ دهُ‏ وَ‏ ل<br />

تَ‏ ْ قِ‏ يْ‏ ً قا لِ‏ َ ا سَ‏ بَ‏ َ ق مِ‏ نْ‏ إِرَ‏ َ اد تِهِ‏ وَ‏ لِ‏ َ ا حَ‏ ق ِ ي َ الأَز لِ‏ مِ‏ نْ‏ ك<br />

ظْ‏ َ إِ‏ ارا ْ رَ‏ تِهِ‏ وَ‏ <br />

َ<br />

ل<br />

‏َّكْ‏<br />

ِ وَالت ‏ِيْفِ‏<br />

‏ْقِ‏ وَالِخ<br />

ِ لْ‏ خَل<br />

َ هِ‏ إِلَيْهِ‏ وَحَ‏ اجَ‏ تِهِ.‏ وَأَنَّهُ‏ مُ‏ تَفَضّ‏<br />

‏ْتِق ارِ‏<br />

لَ‏ لِ‏ ِ ف<br />

عَ‏ نْ‏ وُ‏ جُ‏ وْ‏<br />

ِ َ تِهِ‏<br />

َ ْ يَك<br />

َ أ ْ ل<br />

َ<br />

بَعْد<br />

َّ<br />

ْ ِ َ ‏اع<br />

َ أ<br />

َ<br />

ُ غ<br />

<br />

ٌ<br />

ِ ل<br />

ْ<br />

َ ْ يَك<br />

ْ َ ُ ه ُ بِقد َ ال<br />

بٍ‏ ...<br />

ً ُ لِقد<br />

ที่อัลลอฮฺได้ทรงสร้างขึ้นมาหลังจากที่มันไม่เคยมีมาก่อนด้วย<br />

เดชานุภาพของพระองค์ ซึ่งเป็นการสร้างและบันดาลมันขึ้นมา<br />

หลังจากที่มันไม่เคยเป็นสิ่งใด(ที่ถูกเรียกชื่อ)มาก่อนเลย เนื่องจาก<br />

พระองค์ทรงมีหนึ่งเดียวเท่านั้นโดยไม่มีสิ่งอื่นใดอยู่พร้อมกับ<br />

พระองค์ แล้วพระองค์ก็ทรงบันดาลให้สิ่งถูกสร้างทั้งหลายบังเกิด<br />

ขึ้นมาหลังจากนั้น เพื่อสำแดงถึงความเดชานุภาพของพระองค์<br />

และเพื่อทำให้บรรลุถึงเจตนาของพระองค์ที่อยู่ก่อนหน้าและ(เพื่อ<br />

ทำให้บรรลุถึง)สิ่งที่ได้มีอยู่ตั้งแต่เดิมมาแล้วจาก(พจนารถ)คำ<br />

บัญชาของพระองค์ มิใช่เพราะพระองค์ทรงพึ่งพาและต้องการ(ผล<br />

ประโยชน์ใดๆ จาก)สิ่งถูกสร้าง<br />

[การสร้างทุกสิ่งที่มุมกินหรือไม่สร้างในสิทธิของอัลลอฮฺ]<br />

แท้จริงอัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปราน(แก่ปวงบ่าว)ด้วยการ<br />

สร้าง ประดิษฐ์ และวางบทบัญญัตินั้น มิใช่เพราะวาญิบ(จำเป็นบน<br />

พระองค์ แต่เป็นสิ่งที่มุมกินที่อัลลอฮฺจะกระทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้) 93<br />

93 ไม่มีสิ่งใดวาญิบสำหรับอัลลอฮฺเพราะพระองค์มิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขใดที่มาบังคับ<br />

เนื่องจากพระองค์เป็นพระเจ้าผู้ปกครองและทรงสิทธิ์ทุกสรรพสิ่ง ดังนั้นพระองค์จะ<br />

ทรงกระทำสิ่งมุมกินแบบใดก็ได้ตามที่พระองค์ประสงค์ เช่น การเข้านรกและสวรรค์<br />

เป็นสิ่งมุมกิน ดังนั้นพระองค์จะให้ใครเข้าสวรรค์หรือลงนรกก็ได้ พระองค์จะให้คนที่<br />

ฏออัตเข้านรกก็ได้และให้คนชั่วเข้าสวรรค์ก็ได้ โดยไม่วาญิบบนอัลลอฮฺจะต้องให้คน


ب<br />

ِ<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ<br />

ل<br />

<br />

َ ان<br />

75<br />

ٌ<br />

‏ِل<br />

... وَمُتَطَوّ‏<br />

ِ إلِنْعَامِ‏ وَا إلِصْالَح<br />

وَ‏ ِّ الن عْ‏ مَ‏ ُ ة وَ‏ الِ‏ مْ‏ تِ‏ ن ُ إِ‏ ذ َ ادِ‏ را<br />

أَوْ‏ صَ‏<br />

وَ‏ يَبْت يَ‏ ‏ُمْ‏ بِ‏ صضُ‏ ُ وْ‏ بِ‏ آ ال لَمِ‏ وَ‏ ال<br />

‏َبِ‏ يْ‏ ً حا وَ‏ ل<br />

يَكُ‏ نْ‏ مِ‏ ن<br />

‏َل<br />

‏ُوْمٍ‏ ف<br />

‏ُز<br />

عَنْ‏ ل<br />

َ أن يَ‏ صُ‏ بَّ‏ ْ<br />

‏َوْ‏ ف<br />

ُ<br />

ُ إلِحْسَ‏ ان<br />

‏ْل وَا<br />

‏َض<br />

‏ْف<br />

عِ‏ بَ‏ ادِ‏ هِ‏ أ ْ وَ‏ اع ‏ْعَ‏ ذا<br />

‏َك َ مِ‏ ن ً وَ‏ ل<br />

َُ ال<br />

َ َ ن َ ال َ بِ‏<br />

َ عل<br />

ْ َ<br />

َ َ ذ َ لِك ل َ ن ْ ُ ه َ ع ْ دل<br />

َ<br />

ْ َ اك َ ن ق ً َ عل<br />

.ً<br />

َ ُ ظ ْ لا<br />

َ لِ‏<br />

ْ ُ ه ق<br />

‏َعَ‏ ل ابِ‏ ، وَ‏ ل<br />

และพระองค์ทรงประทานความโปรดปรานด้วยการประทาน<br />

ปัจจัยอำนวยสุขและประทานความดีงาม(แก่ปวงบ่าว)นั้น มิใช่มา<br />

จากความจำเป็น(บนพระองค์ที่จำต้องกระทำ) ดังนั้นสำหรับ<br />

พระองค์แล้วทรงโปรดปราน(ด้วยการสร้างเราให้บังเกิดมาและ<br />

ทรงหยิบยื่นปัจจัยอำนวยสุขทั้งหลายแก่เรา) ทรงประทานความ<br />

ดีงาม(โดยไม่ต้องมีสาเหตุ) ทรงประทานปัจจัยอำนวยสุข(ทั้งหมด<br />

ไม่ว่าจะสร้างเราให้บังเกิดขึ้น หยิบยื่นอำนวยสุขทั้งหลาย ป้องกัน<br />

เราให้พ้นจากอันตราย และประทานสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่เรา)<br />

และทรงประทานความโปรดปราน(ให้แก่เราก่อนที่เราจะขอเสีย<br />

อีก) เนื่องจากพระองค์มีความสามารถที่จะประทานการลงโทษ<br />

ประเภทต่างๆ ลงมาบนบ่าว และทรงทำการทดสอบพวกเขาด้วย<br />

การให้มีความเจ็บปวดและความเจ็บป่วยประเภทต่างๆ และหาก<br />

พระองค์ได้กระทำสิ่งดังกล่าว แน่นอนว่าสิ่งดังกล่าวนั้นก็เป็นความ<br />

ยุติธรรมจากพระองค์โดยไม่เคยมีสิ่งใดที่น่ารังเกียจและเป็นความ<br />

อธรรมจากพระองค์เลย 94<br />

ฏออัตเข้าสวรรค์และคนทำชั่วลงนรก แต่พระองค์จะให้คนฏออัตเข้าสวรรค์ด้วยความ<br />

โปรดปรานและเมตตา และจะให้คนชั่วตกนรกด้วยความยุติธรรมของพระองค์.<br />

94 เพราะปวงบ่าวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ จึงไม่มีคำว่าอธรรมให้กับพระองค์<br />

เนื่องจากความอธรรมคือการไปละเมิดสิ่งที ่มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเขา และอัลลอฮฺทรง<br />

ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือเจ็บป่วยแก่ปวงบ่าวนั้น ล้วนมีเคล็ดลับซ่อนเร้นอยู่ เช่น


ي ب<br />

ج<br />

ي<br />

يْ‏<br />

ج<br />

َ<br />

َ<br />

َ<br />

ْ<br />

‏َق<br />

ب<br />

ف<br />

قواعد العقائد<br />

76<br />

‏ْوَع<br />

ْ نَ‏ نِ‏ عَ‏ ل الطَّاع َ رَ‏ مِ‏ وَ‏ ال<br />

‏ْمِ‏<br />

يُثِيْبُ‏ عِ‏ بَادَ‏ هُ‏ ال<br />

‏َيْهِ‏ لِ‏ أَحَ‏ دٍ‏ فِعْ‏ ل وَلَ‏ يُتَصَ‏ وَّ‏ رُ‏ ٌ<br />

‏َقِ‏ وَالل ُ ‏ُّز وْ‏ مِ‏ ل ِ بُ‏ عَ‏ ل<br />

ِ الِسْ‏ تِحْ‏ قا<br />

َّ َ الطَّاع اتِ‏ وَجَ‏ بَ‏ ع<br />

‏َن حَ‏ ق ِ ي<br />

ِ بُ‏ لِ‏ أَحَ‏ دٍ‏ ع ‏َيْ‏ هِ‏ حَ‏ ٌّ ق . وَ‏ أ<br />

‏ْلِ‏ وَ‏ لَكِنَّهُ‏<br />

‏َل ‏ِمُ‏ السَّ‏ الَمُ‏ ل ُ جَ‏ رَّ‏ دِ‏ الْعَ‏ ق<br />

‏ْبِيَائِهِ‏ ع<br />

‏َن<br />

‏َةِ‏ أ<br />

‏ْسِ‏ ن<br />

جَابِهِ‏ عَل أَل<br />

ْ ُ عْ‏ جِ‏ َ زاتِ‏ الظ<br />

ظْ‏ َ رَ‏ صِ‏ د<br />

الرُّ‏ سُ‏ َ ل وَ‏ أ<br />

الْك ْ دِ‏<br />

ْ ُ ؤ َ اتِ‏ ‏ِب ُ ِ كْ‏<br />

َ<br />

َ ُ ْ إِذ َ ل ي <br />

َّ<br />

َّ ز وَجَ‏ ل<br />

ُ َ ع<br />

لَ‏ ‏ِب ُ كْ‏<br />

َ<br />

ْ ٌ َ وَل ي <br />

ُ ُ ظل<br />

‏ْقِ‏ ِ إ ِ<br />

َ<br />

‏َّه<br />

وَ‏ أَن<br />

مِ‏ نْه<br />

الْ‏ خَل<br />

بَ‏ عَ‏ ثَ‏<br />

َ ل<br />

َّ ُ ه <br />

‏ِب <br />

َ<br />

َّ اهِ‏ رَ‏ ةِ‏ ، ...<br />

َ<br />

َ ل<br />

ِ ‏ل<br />

ُ مْ‏<br />

ْ<br />

และแท้จริงพระองค์จะให้ผลบุญแก่ปวงบ่าวผู้มีศรัทธาเนื่องจาก<br />

พวกเขาฏออัตด้วยหลักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสัญญาที่จะให้ผล<br />

บุญ มิใช่ด้วยหลักการที่จำเป็นต้องกระทำสำหรับพระองค์ เพราะ<br />

ไม่มีความจำเป็นใดๆ บนอัลลอฮฺที่จะกระทำให้แก่ผู้ใด และจะไม่<br />

ถูกคิดจินตนาการว่ามีการอธรรมจากพระองค์เลย และไม่มีหน้าที่<br />

ใดๆ ที่จำเป็นบนอัลลอฮฺที่จะต้องกระทำให้แก่ผู้ใด<br />

เรื่องการเป็นนะบีย์และสิ่งที่เกี่ยวข้อง<br />

แท้จริงสิทธิของอัลลอฮฺในเรื่องการฏออัตที่จำเป็นแก่ปวงบ่าวนั้น<br />

ด้วยการกำหนด(บทบัญญัติ)ของพระองค์ขึ้นมาโดยผ่านบนลิ ้น(คำ<br />

พูด)ของบรรดานะบีย์ของพระองค์ -ขออัลลอฮฺทรงประทานความ<br />

สันติแก่พวกเขาด้วยเถิด- มิใช่เพียงแค่มีสติปัญญาเท่านั้น 95 แต่<br />

พระองค์ทรงแต่งตั้งบรรดาร่อซูลและทรงเปิดเผยความสัจจะของ<br />

พวกเขาด้วยอภินิหารที่ชัดเจน<br />

อัลลอฮฺทรงประสงค์จะให้คนป่วยได้รับการลบล้างบาปและยกฐานะของเขาให้สูงด้วย<br />

ความอดทนและยินดีต่อการกำหนดของพระองค์ เป็นต้น.<br />

95 หมายถึง มิใช่มนุษย์มีเพียงแค่สติปัญญาเท่านั้นที่อัลลอฮฺจะเอาโทษ เพราะต้องมี<br />

บทบัญญัติจากอัลลอฮฺมาสั่งใช้และสั่งห้ามก่อน ดังนั้นผู้ที่การเรียกร้องอิสลามยังไม่ไป<br />

ถึงเขา เช่น ผู้ที่อยู่ในยุคสมัยที่ว่างเว้นจากร่อซูล (อะฮฺลุลฟัตเราะฮ์) และชาวป่าชาวเขา<br />

ที่ห่างไกล เป็นต้น พวกเขาก็จะไม่ถูกลงโทษจากอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า "และ<br />

เราจะไม่ลงโทษจนกว่าเราจะส่งศาสนทูตมา" (อัลอิสรออฺ: 15)


ج<br />

ئ<br />

َّ ب<br />

َ<br />

َ<br />

ْ<br />

‏َت<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ<br />

ع َ ل<br />

77<br />

قُ‏ ُ يْ‏ مْ‏ فِ‏ يْ‏ مَ‏ ا<br />

‏ْقِ‏ ت ‏َصْ‏ دِ‏<br />

‏َوَ‏ جَ‏ بَ‏ الْ‏ خَل<br />

َ د هُ‏ وَ‏ وَ‏ عِ‏ يْ‏ َ د هُ‏ ف<br />

... فَبَ‏ ل ُ ‏َّغ وْ‏ ا أ ‏َمْ‏ رَ‏ هُ‏ وَ‏ نَ‏ ْ يَ‏ هُ‏ وَ‏ وَ‏ ْ ع<br />

جاَءُ‏ وْ‏ ا بِ‏ هِ‏ .<br />

ُ ‏َّه بَ‏ عَ‏ ث<br />

‏َن<br />

َ وَ‏ أ<br />

َ السشَّ‏ َ ادَ‏ ُ ة لِلرُّ‏ سُ‏ لِ‏ ‏ِب ‏لرّ‏ ‏ِسَ‏ ةِ‏ ال .<br />

َ َ ةِ‏ الثَّانِيَّ‏ ةِ‏ : وَ‏ هِ‏ ي<br />

ِ الْك<br />

مَ‏ عْ‏ نَ‏<br />

َ ع لَ‏ يْ‏ هِ‏ وَ‏ سَ‏ ل بِ‏ ‏ِسَ‏ الَ‏ تِ‏ هِ‏ إِ‏ ل َ فَّ‏ ةِ‏ الْ‏ عَ‏ رَ‏ بِ‏ وَ‏ الْ‏ عَ‏ جَ‏ مِ‏<br />

ال أَمِّ‏ يَّ‏ الْ‏ ق شِ‏ يَّ‏ م ً صَ‏ ل<br />

‏َل<br />

‏َا.‏ وَ‏ فَض<br />

‏َرَّ‏ رَ‏ هُ‏ مِ‏ نْ‏<br />

ِ يْعَ‏ تِهِ‏ السشَّ‏ َ ائِعَ‏ إِلَّ‏ مَ‏ ا ق<br />

‏ْسِ‏ فَنَسَ‏ خَ‏ بِسشَ‏<br />

وَال ِ وَا إلِ‏ ن<br />

‏َّوْحِ‏ يْدِ‏<br />

‏َةِ‏ الت<br />

‏َد<br />

ا<br />

ي َ انِ‏ بِسشَ‏<br />

‏ْبَسشَ‏ وَمَ‏ نَعَ‏ ك ا إلِ‏ ْ<br />

‏ْبِيَاءِ‏ وَجَ‏ عَ‏ ل ‏ِد ال ِ .<br />

سَ‏ اِ‏<br />

‏َق<br />

َّ مَ‏ ا ل<br />

وَ‏ هُ‏ وَ‏ ق ُ ‏َوْل َ ‏))ل إِلَ‏ إِل هللاُ‏ ((<br />

ِ ي‏<br />

َ َّ الن<br />

َ ُ ع<br />

َّ ل<br />

َ اك<br />

َ<br />

َ ‏َال<br />

َ َّ<br />

‏ِب َ ‏ا ..<br />

َ ْ ت ْ ‏ِنْ‏<br />

َّ هللاُ‏<br />

َ ُ سَ‏ يّ‏<br />

<br />

ُ َ مَّ‏ دا<br />

ُ رَ‏ <br />

ِ نّ‏<br />

ِ الأَن<br />

แล้วพวกเขาก็ทำการเผยแผ่คำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ คำสั่งห้าม สัญญา<br />

ที่จะให้คุณ และสัญญาที่จะลงโทษของพระองค์ ดังนั้นจำเป็นบน<br />

ปวงบ่าวจะต้องเชื่อในสิ่งที่บรรดานะบีย์นำมา<br />

ความหมายถ้อยคำ(ชะฮาดะฮ์)ที่สอง คือ การปฏิญาณยืนยัน<br />

แก่บรรดาศาสนทูตว่าเป็นผู้นำสารจากอัลลอฮฺมาเผยแผ่<br />

[การแต่งตั้งท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม]<br />

แท้จริงอัลลอฮฺทรงแต่งตั้งท่านนะบีย์ ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็น<br />

คนในตระกูลกุเรช นามว่ามุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม<br />

พร้อมกับสารจากอัลลอฮฺสู่ชาวอาหรับ ผู้ไม่ใช่อาหรับ ญินและ<br />

มนุษย์ทั้งหมด ดังนั้นอัลลอฮฺจึงยกเลิกบรรดาบทบัญญัติ(ก่อนหน้า)<br />

ด้วยบทบัญญัติของนะบีย์มุฮัมมัดเว้นแต่สิ ่งที่ท่านนะบีย์ได้ยอมรับ<br />

ไว้จากบทบัญญัติก่อนหน้านั้น และอัลลอฮฺทรงทำให้ท่านนะบีย์<br />

มีความประเสริฐเหนือบรรดานะบีย์ทั้งหลายและทรงทำให้ท่าน<br />

นะบีย์เป็นนาย(หัวหน้า)แห่งมนุษยชาติ และอัลลอฮฺทรงห้ามความ<br />

สมบูรณ์ของอีหม่านด้วยการปฏิญาณตนในเอกภาพของอัลลอฮฺซึ่ง<br />

ก็คือคำกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ตราบใดที่ไม่อยู่พร้อมกับการ


ف<br />

ب<br />

ي<br />

بِ‏<br />

قواعد العقائد<br />

78<br />

ه<br />

ُ<br />

ُ َ مَّ‏ ٌ د رَ‏ سُ‏ ُ وْل هللاِ‏ ((. وَ‏ َ أ َ لْز مَ‏ ال ‏ْخَلْ‏ َ ق تَ‏ صْ‏ دِ‏ يْ‏ َ ق<br />

‏ُك<br />

شَ‏ َ ادَ‏ ُ ة الرَّ‏ سُ‏ وْلِ‏ وَ‏ ُ ه وَ‏ ق ‏َوْ‏ ل<br />

‏ُمُ‏ وْ‏ رِ‏ ُّ الدن ‏ْيَ‏ ا وَ‏ آ ال خِ‏ رَ‏ ةِ‏ .<br />

‏َخ ْ ُ ه مِ‏ نْ‏ أ<br />

ِ ِ يْ‏ ع مَ‏ ا أ<br />

ْ َ وْ‏ تِ‏ وَ‏ َ أ وَّ‏ ل<br />

‏َّه َ بَّ‏ ل َ بْ‏ دٍ‏ حَ‏ تَّ‏ يُؤ َ ا أ بَ‏ َ بِ‏ هِ‏ بَ‏ عْ‏ د<br />

وَ‏ أ<br />

ي‏<br />

فِيْ‏ بِْ‏ قَ‏ هِ‏ سَ‏ وِ‏ ًّ<br />

شَ‏ خْ‏ صَ‏ انِ‏ مُِ‏ يْ‏ بَ‏ انِ‏ هَ‏ ائِ‏ الَنِ‏ يُْ‏ ق عِ‏ َ د انِ‏ الْ‏ عَ‏ بْ‏ د<br />

ُ وَ‏ نَ‏ كِ‏ يٍْ‏ وَ‏ ه<br />

سُ‏ ؤ مُ‏ نْ‏ كَ‏ رٍ‏<br />

َ ُ : مَ‏ نْ‏ رَ‏ َ بُّك ؟<br />

‏َنِ‏ ل<br />

َ وَ‏ ُ يَق وْل<br />

َ وَجَ‏ سَ‏ دٍ‏ ف ‏َيَسْ‏ أ َ ‏َل نِهِ‏ َ ع نِ‏ التَّوْحِ‏ يْ‏ دِ‏ وَ‏ الرّ‏ ‏ِسَ‏ ةِ‏ ال<br />

ذا رُ‏ وْ‏ ٍ ح<br />

وَ‏ مَ‏ ا دِ‏ يْ‏ ن َ ؟ وَ‏ مَ‏ نْ‏ َ ن بِ‏ يُّ‏ َ ك ؟ وَ‏ ه نَ‏ الْقب ِ ، وَ‏ سُ‏ ؤ ُ َ مَ‏ ا َ أ وَّ‏ ُ ل فِ‏ ت َ ةٍ‏ بَ‏ عْ‏ د<br />

: ُ ُ<br />

َ ال ْ َ وْ‏ تِ‏ .<br />

َ ال<br />

َ<br />

ْ ن<br />

َ ْ خ‏<br />

َ ال<br />

ْ مِ‏ نَ‏ <br />

ْ<br />

َ<br />

َ ‏))م<br />

...<br />

ْ حجَ‏ ْ َ َ عَ‏ ن<br />

ِ ي<br />

َ ن ُ َ ل َ يَتق ُ ْ َ إِ‏ َ ان ع<br />

َ ال َُ ا <br />

ُ َ ا َّ فَتا‏<br />

ปฏิญาณตนในความเป็นศาสนทูต คือ คำกล่าวของท่านที่ว่า มุฮัมมัด<br />

ร่อซูลุลลอฮฺ<br />

อัซซัมอีย้าต(บรรดาหลักความเชื่อที่ได้ยินจากตัวบท) 96<br />

[อะลั่มบัรซักและการลงโทษที่กุบูร]<br />

อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้ปวงบ่าวทำการเชื่อนะบีย์ในทั้งหมดจากสิ่ง<br />

ที่ท่านได้นำมาบอกจากเรื่องราวของดุนยาและอาคิเราะฮ์ และ<br />

แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ตอบรับอีหม่านของบ่าวคนหนึ่งจนกว่าเขาจะ<br />

อีหม่านต่อสิ่งที่ท่านนะบีย์ได้นำมาบอกเล่าถึงเรื่องราวหลังจาก<br />

ความตาย ประการแรก คือ การสอบถามของมุงกัรและนะกีร ซึ่ง<br />

ทั้งสองเป็นบุคคลที่น่าเกรงขามและใหญ่โต ทั้งสองจะทำให้บ่าวนั่ง<br />

ตัวตรงในกุบูรโดยมีวิญญาณและร่างกาย ทั้งสองจะถามเขาจาก<br />

เรื่องของเตาฮีดและการเป็นร่อซูล โดยทั้งสองจะกล่าวกับบ่าวว่า<br />

ใครคือพระเจ้าของท่าน? อะไรคือศาสนาของท่าน? และใครคือ<br />

นะบีย์ของท่าน? และทั้งสองนั้นจะทำหน้าที่เป็นผู้คอยสอบถามใน<br />

กุบูรและคำถามของทั้งสองเป็นบททดสอบแรกหลังจากความตาย<br />

ُ ك<br />

96 หมายถึง หลักความเชื่อต่างๆ ที่ต้องได้ยินมาจากตัวบทอัลกุรอานและหะดีษเท่านั้น<br />

โดยไม่มีสติปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องและจินตนาการ.


ت<br />

ف<br />

ي ي ب<br />

ُ<br />

ُ<br />

ّ<br />

ْ<br />

ف<br />

ف<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ<br />

ْ ُ ُ ه َ ع ْ د ٌ ل ع َ ل<br />

َ ن<br />

ْ<br />

َ<br />

79<br />

َ ن<br />

‏ْقب ِ وَ‏ أ ُ ‏َّه حَ‏ ٌّ ق وَ‏ حُ‏ ك<br />

وَ‏ أ ْ يُ‏ ْ ؤ مِ‏ نَ‏ بِ‏ عَ‏ َ ذ ابِ‏ ال<br />

مَ‏ ا َ يَشاءُ‏ .<br />

‏ْمِ‏ نَ‏ ْ زَ‏ انِ‏ ذِ‏ يْ‏ الْكِ‏ ف ِ وَ‏ الل<br />

وَ‏ أَن<br />

َ<br />

ِ وْ‏ ح َ عل<br />

ِ وَ‏ الرُّ‏<br />

الْجِ‏ سْ‏<br />

ُ<br />

‏ْل<br />

‏َن ُ ‏َّه مِ‏ ث<br />

ف ْ العِ‏ ظَ‏ مِ‏ أ<br />

‏ِسَ‏ انِ‏ وَ‏ صِ‏ فَ‏ ت ِ ي<br />

طَبَ‏ َ قاتِ‏ السَّ‏ موَ‏ اتِ‏ وَ‏ ال أَرْ‏ ضِ‏ ت ‏ُوْ‏ ز أَ‏ ع ُ بِ‏ ق ْ رَ‏ ةِ‏ هللاِ‏ ت ‏َعَ‏ َ ال ، وَ‏ الصَّ‏ نْ‏ جُ‏<br />

‏ْرَ‏ حُ‏ ص<br />

‏ُط<br />

تَ‏ ْ قِ‏ يْ‏ ً قا تَ‏ لِ‏ مَ‏ امِ‏ ال ‏ْعَ‏ ْ د لِ‏ ، وَ‏ ت<br />

يَوْ‏ مَ‏ ئِ‏ ذٍ‏ مَ‏ ثَاقِ‏ يْ‏ ل ِ وَ‏ الْ‏ خَرْ‏ د<br />

ي زَانُ‏ ْ قَد رِ‏<br />

‏ُل ‏َا الْ‏ ْ<br />

‏ْق<br />

‏َيَث<br />

‏ُّوْرِ‏ ف<br />

الَْسَ‏ ن ْ صُ‏ وْرَ‏ ةٍ‏ حَ‏ سَ‏ نَةٍ‏ ْ كِفَّةِ‏ الن<br />

ُ السَّ‏ يّ‏ ْ صُ‏ وْ‏ رَ‏ ةٍ‏ قَبِ‏ يْ‏ حَ‏ ةٍ‏<br />

‏ْرَ‏ حُ‏ َ َ صائِف<br />

‏ُط<br />

دَ‏ رَجَ‏ ِ َ اا عِ‏ َ نْد هللاِ‏ بِف ْ ‏َض لِ‏ هللاِ‏ وَ‏ ت<br />

َ َ ائِف<br />

َ<br />

ِ عَل<br />

ُ ُ ه <br />

‏ِب <br />

‏ِئَاتِ‏ ِ ي <br />

ُ د<br />

َّ َ تْ‏ ن‏<br />

ْ<br />

َ ُ ن ال ‏َال<br />

َ لِ‏ <br />

ِ ي<br />

ِ ل ِ<br />

ُ َّ الذ رّ‏<br />

ْ يُؤ<br />

‏َاتِ‏ ِ ي <br />

และบ่าวต้องอีหม่านเกี่ยวกับการลงโทษในกุบูรและต้องเชื่อว่า<br />

มันเป็นเรื่องจริงและการตัดสินของอัลลอฮฺนั้นยุติธรรม(ในการให้<br />

มีความสุขหรือลงโทษ)ต่อร่างกายและวิญญาณตามสิ่งที่พระองค์<br />

ทรงประสงค์<br />

[การอีหม่านต่อตราชั่ง]<br />

(อัลลอฮฺจะไม่ตอบรับการอีหม่านของบ่าวคนหนึ่งจนกว่า)เขาต้อง<br />

อีหม่านเกี่ยวกับเรื่องของตราชั่ง(ความดีและความชั่ว)ที ่มีสองจาน<br />

รองตราชั่งและมีลิ้น ลักษณะของมันนั้นใหญ่เหมือนกับบรรดาชั้น<br />

แผ่นฟ้าและแผ่นดิน ซึ่งอะมัลจะถูกนำมาชั่งด้วยความเดชานุภาพ<br />

ของอัลลอฮฺตะอาลา และจานรองตราชั่งในวันนั้นมีน้ำหนักเท่า<br />

ธุลีและเมล็ดผักกาดเพื่อให้บรรลุถึงความยุติธรรมที่สมบูรณ์ และ<br />

บรรดาบัญชีบันทึกความดีงามที่อยู่ในรูปที่สวยงามจะถูกวางอยู่ใน<br />

ตราชั่งที่มีรัศมี ดังนั้นตราชั่งก็จะหนักด้วยบรรดาความดีงามตาม<br />

ขนาดของระดับของอะมัล(ที่ถูกตอบรับ)จากอัลลอฮฺด้วยความ<br />

โปรดปรานของพระองค์ และบรรดาบัญชีความชั่วที่อยู่ในรูปที่น่า<br />

รังเกียจนั้นจะถูกวาง...


ف<br />

ب<br />

ب<br />

ِ<br />

ُّ<br />

ي ب<br />

َّ<br />

ُّ<br />

ٌّ<br />

َ<br />

ُّ<br />

َ<br />

ي<br />

ي<br />

ج<br />

قواعد العقائد<br />

80<br />

َ مَ‏ َ َ ‏نَّ‏ َ<br />

‏َل ِ<br />

َ ُ ‏ْد ٌ وْد ع<br />

َ ْ نَ‏ ‏ِب ِ هللاِ‏<br />

فِرِ‏<br />

ْ ُ ؤ<br />

ْ لِ‏ هللاِ‏ .<br />

ِ<br />

ِ َ اط<br />

عْ‏ َّ<br />

<br />

َ ق<br />

‏ِب<br />

. َ<br />

َ را رِ‏<br />

ْ َ ةِ‏ ف<br />

ُ ل<br />

ْ يُؤ<br />

َ<br />

ُ ف<br />

َ<br />

َ إِل<br />

ِ ي‏<br />

ْ كِ‏ فَّ‏ ةِ‏ الظ ‏َيَ‏ خِ‏ ف َ ا الْ‏ ْ زَ‏ انُ‏ بِ‏ عَ‏ د<br />

‏ْمِ‏ نَ‏ أَنَّ‏ الصّ‏ حَ‏ ق وَ‏ هُوَ‏ جِ‏ سْ‏ ٌ م تْ‏ ن<br />

وَأَن<br />

‏ْك ‏ُكْ‏<br />

‏َق َ ‏ْدامُ‏ ال<br />

‏َيْهِ‏ أ<br />

‏َد مِ‏ نَ‏ الش رَ‏ ةِ‏ تَ‏ ز ‏ِل عَل<br />

أَحَ‏ ُّ د مِ‏ نَ‏ السَّ‏ يْفِ‏ وَأ<br />

ْ نَ‏ نِ‏ ْ بِفَض لِ‏ هللاِ‏<br />

‏ْمِ‏<br />

‏ْدا ‏َمُ‏ ال<br />

‏َق<br />

‏َيْهِ‏ أ<br />

عَل<br />

‏َّارِ‏ وَتَثْبُتُ‏<br />

ِ ‏ِمْ‏ إِل الن<br />

سُ‏ بْحَ‏ انَه تَ‏ ‏ْوِىْ‏<br />

‏ْق<br />

فَيُسَ‏ اق ‏ُوْ‏ ن دَ‏ ارِ‏ ال<br />

‏َنْ‏ وَسَ‏ ‏ََّل<br />

‏َيْهِ‏<br />

‏ََمَّدٍ‏ صَل هللاُ‏ عَل<br />

‏َْوْرُوْدِ‏ حَوْضِ‏ م<br />

وَأ يُؤ ِ لَْوْضِ‏ ال<br />

الصّ‏ ‏َِاطِ.‏<br />

َ<br />

جَنَّةِ‏ وَبَعْد جَوَازِ‏<br />

‏ُوْلِ‏ الْ‏<br />

دُخ<br />

‏ْمِنُوْنَ‏<br />

‏ُْؤ<br />

ال<br />

‏َسشَْبُ‏ مِنْهُ‏<br />

ي<br />

َ<br />

قَبْل<br />

‏ْمِنَ‏ <br />

อยู่ในตราชั่งที่มืดมิด ดังนั้นตราชั่งจึงหนักบรรดาความชั่วด้วย<br />

ความยุติธรรมของอัลลอฮฺ<br />

[สะพานศิร้อฏ]<br />

บ่าวจำเป็นต้องศรัทธาว่า สะพานศิร้อฏนั้นเป็นความจริง มัน<br />

คือสะพานที่ทอดยาวผ่านนรกญะฮันนัม คมยิ่งกว่ามีดดาบ เล็กยิ่ง<br />

กว่าเส้นผม บรรดาเท้าของบรรดาผู้ปฏิเสธจะพลาดตกลงไปด้วย<br />

การตัดสินของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้นบรรดาเท้าของ<br />

พวกเขาก็จะตกลงไปพร้อมกับพวกเขาในนรก และบรรดาเท้าของ<br />

ผู้ศรัทธาจะมั่นคงด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั ้นพวกเขา<br />

จะถูกนำไปสู่สถานที่พำนักอันนิรันดร์(คือสวรรค์)<br />

[บ่อน้ำของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในสวรรค์]<br />

บ่าวต้องศรัทธาต่อบ่อน้ำที่ประชาชาติของท่านนะบีย์ มุฮัมมัด<br />

ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องเดินผ่านมาดื่ม(นอกจากผู้<br />

เปลี่ยนแนวทางจะถูกกีดกัน) ซึ่งเป็นบ่อน ้ำของท่านนะบีย์มุฮัมมัด<br />

ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บรรดาผู้ศรัทธาจะดื่มน้ำจากบ่อนั้น<br />

ก่อนที่จะได้เข้าสวรรค์และหลังจากที่ได้ผ่านสะพานศิร้อฏแล้ว


شَ‏<br />

ي<br />

ب<br />

ب<br />

ب<br />

شُ‏<br />

ب<br />

ُ<br />

َ<br />

ثَ‏<br />

ِ<br />

َ<br />

ْ<br />

َ<br />

ْ<br />

َ<br />

َ<br />

ٍ<br />

َ<br />

ي<br />

ف<br />

نُ‏<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

د<br />

ُّ<br />

َ َ ش<br />

َ دِ‏ <br />

ً ع ُ ُ ه مَ‏ سِ‏ ُ <br />

َ َ د<br />

َ ُ أ<br />

‏َشٍ‏ <br />

ْ<br />

ُ ُ ال ‏ُق<br />

ْ<br />

ي<br />

َ وْ‏ .ِ<br />

َ ه<br />

ْ ُ ه <br />

َ ن َّ وَأَحْل<br />

ِ<br />

ِ ل<br />

<br />

<br />

81<br />

ْ َ ا َ أ بَ‏ دا َ رْ‏ ض يْ‏ َ ة شَ‏ ْ رٍ‏ مَ‏ ُ اؤ هُ‏ أ<br />

َ ْ ْ يَظ مَ‏ أ بَ‏ عْ‏ د<br />

مَ‏ نْ‏ ِ بَ‏ مِ‏ ن ْ بَ‏ ةً‏ ل<br />

‏َا بِعَد جُوْ‏ مِ‏<br />

‏ُه<br />

بَيَاضاً‏ مِ‏ نَ‏ الل مِ‏ نَ‏ الْعَسَ‏ لِ‏ حَوْل َ رِ‏ يْق عَد<br />

ْ زَ‏ َ ا‏ نِ‏ يَصُ‏ بَّ‏ انِ‏ فِ‏ يْ‏ هِ‏ مِ‏ نَ‏ الْك<br />

السَّ‏ ‏َءِ‏ . فِ‏ يْ‏ هِ‏ مِ‏<br />

ْ ‏ِسَ‏ ابِ‏<br />

‏َّاسِ‏ فِيْهِ‏ إِل مُ‏ نَاق ِ ي ال<br />

‏َاوُتِ‏ الن<br />

‏َنْ‏ ‏ِسَ‏ ابِ‏ وَ‏ تَف<br />

‏ْمِ‏ نَ‏ <br />

وَأ يُؤ<br />

‏َرَّ‏ بُوْنَ‏<br />

بِغَ‏ حِ‏ سَ‏ ابٍ‏ وَه<br />

ُ ‏َّةَ‏<br />

وَ‏ إِل مُسَ‏ ام فِيْهِ‏ وَ‏ إِل مَنْ‏ ْ يَد ُ خل ال جَن ِ<br />

‏َبْلِيْغ الرّ‏ ‏َةِ‏ ‏ِسَال وَمَنْ‏<br />

‏َنْ‏ ت<br />

‏ْبِيَاءِ‏ ع<br />

‏َاءَ‏ مِنَ‏ أ الن<br />

ُ<br />

‏َل هللاَ‏ تَعَال مَنْ‏ ش<br />

فَيَسْأ<br />

‏َّةِ‏<br />

ْ السُّ‏ ن<br />

عَنِ‏<br />

ْ ‏ُرْسَ‏ ْ نَ‏ لِ‏ وَ‏ يَسْ‏ أ ال ‏ُبْتَدِ‏ عَةَ‏<br />

‏ْذِ‏ يْبِ‏ ال<br />

‏َك<br />

‏َنْ‏ ت<br />

‏َّارِ‏ ع<br />

‏ُف<br />

‏ْك<br />

َ شاءَ‏ مِنَ‏ ال<br />

ُ<br />

‏َل<br />

ดังนั้นผู้ใดที่ดื่มน้ำจากบ่อนั้นหนึ่งครั้ง เขาจะไม่กระหายอีกตลอด<br />

ไป ความกว้างของบ่อน้ำเท่ากับระยะการเดินทางหนึ่งเดือน ซึ่ง<br />

น้ำของบ่อนั้นจะขาวยิ่งกว่าน้ำนม หวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง รอบบ่อน้ำ<br />

จะมีกาน้ำ จำนวนของมันเท่ากับจำนวนของดวงดาวในท้องฟ้า ใน<br />

บ่อน้ำจะมีสองลำคลองไหลลงในบ่อน้ำที่มาจากบ่อน้ำอัลเกาษัร<br />

[การสอบสวน]<br />

บ่าวต้องศรัทธาเรื่องการสอบสวน และศรัทธาว่ามนุษย์จะ<br />

มีความเหลื่อมล้ำกันในการถูกสอบสวน(ซึ่งแบ่งออกเป็น)ผู้ถูก<br />

เข้มงวดในการสอบสวนและผู้ถูกผ่อนปรนในการสอบสวน และ<br />

เหลื่อมล้ำกันในผู้ที่จะเข้าสวรรค์โดยไม่ต้องถูกสอบสวน ซึ่งพวกเขา<br />

เป็นผู้มีความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ ดังนั้นอัลลอฮฺตะอาลาจะทำการ<br />

สอบสวนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากบรรดานะบีย์เกี่ยวกับเรื่อง<br />

การเผยแผ่สารและสอบถามผู้ที่พระองค์ประสงค์จากบรรดาผู้<br />

ปฏิเสธสืบเนื่องจากพวกเขากล่าวหาโกหกกับบรรดาร่อซูล และ<br />

พระองค์จะสอบถามกับพวกบิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องของซุนนะฮ์(ใน


ي<br />

ثُ‏<br />

ي<br />

ف<br />

َ<br />

ثُ‏<br />

ق<br />

ي<br />

ُ<br />

ثُ‏<br />

ف<br />

ئ<br />

ي<br />

ي<br />

قواعد العقائد<br />

82<br />

ْ<br />

أَ‏ الع ‏َالِ‏ .<br />

‏َل ْ نَ‏ عَ‏ نِ‏<br />

وَ‏ يَسْ‏ أ<br />

<br />

‏ْتِ‏ َ ق امِ‏ حَ‏ تَّ‏ لَ‏ يَ‏ بْ‏ قَ‏<br />

ي نَ‏ مِ‏ نَ‏ َّ الن ارِ‏ بَ‏ عْ‏ َ د الِ‏ ن<br />

وَ‏ أ ْ يُ‏ ؤ بِ‏ إِ‏ ْ خ رَ‏ اج ْ<br />

‏َّد ِ ي َّ النارِ‏ مُ‏ وَ‏ حّ‏<br />

َ ُ خَ‏ ل<br />

َ ف ْ ض لِ‏ هللاِ‏ ت ‏َعَ‏ ال فَال<br />

جنَّ‏ َ مُ‏ وَ‏ ِ حّ‏ ٌ د بِ‏<br />

‏ْبِ‏ يَ‏ اءِ‏ ل ا‏<br />

وَ‏ أَن ْ مِ‏ نَ‏ بِش َ ةِ‏ أَ‏ الن<br />

ْ نَ‏ نِ‏ وَ‏ ل<br />

‏ْمِ‏<br />

نْ‏ ز عِ‏ ن هللاِ‏ تَعَ‏ ال وَمَ‏ نْ‏ َ بَ‏ مِ‏ نَ‏ ال<br />

حَ‏ سَ‏ بِ‏ جَ‏ اهِ‏ هِ‏ وَمَ‏ ‏ِلَتِهِ‏<br />

‏ْمِنٌ‏<br />

َّ ‏َالَ‏<br />

‏َّد ِ ي النَّارِ‏ مُؤ<br />

َّ ‏َز وَجَ‏ ل ف<br />

‏ْلِ‏ هللاِ‏ ع<br />

‏َض<br />

يَكُنْ‏ َُ ل َ ش فِيْعٌ‏ أ ْ ‏ُخ رِجَ‏ بِف<br />

ْ ُ سْ‏ لِ‏ ِ <br />

ُ ال<br />

ف<br />

ِ يْ‏ <br />

ْ ُ وَ‏ ِ حّ‏ دِ‏ <br />

ِ ال<br />

َ ن ْ مِ‏ نَ‏ <br />

َ ُ ِ ٌ د .<br />

َ َ<br />

ْ نَ‏<br />

ْ ُ ْ ؤ مِ‏ نِ‏<br />

َّ سَ‏ ِ ِ ال<br />

ْ يُؤ َ َ فاع َّ الْعُ‏ َ َ اءِ‏ َّ السشُّ‏ َ َ دا ءِ‏<br />

ْ َ<br />

ْ ُ ؤ<br />

َ<br />

َ<br />

ِ ي<br />

‏ْد<br />

عَل<br />

ُ<br />

خَل <br />

ด้านอะกีดะฮ์ เป็นต้น) และพระองค์ทรงถามบรรดามุสลิมีนใน<br />

เรื่องของอะมัล<br />

[ผู้มีเตาฮีดออกจากนรก]<br />

บ่าวต้องศรัทธาว่า บรรดาผู้มีเตาฮีดนั้นจะถูกนำออกจากไฟ<br />

นรกหลังจากที่พวกเขาได้รับการลงโทษ จนกระทั่งไม่หลงเหลือผู้<br />

มีเตาฮีดอยู่ในไฟนรกด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั้นผู้มี<br />

เตาฮีดจะไม่ถูกให้อยู่ในนรกตลอดกาล<br />

[การชะฟาอะฮ์]<br />

บ่าวต้องศรัทธาเกี่ยวกับการชะฟาอะฮ์(การช่วยเหลือให้พ้น<br />

จากไฟนรก)ของบรรดานะบีย์ หลังจากนั้นบรรดาอุละมาอฺ หลัง<br />

จากนั้นบรรดาคนตายชะฮีด หลังจากนั้นบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย<br />

ตามเกียรติยศและฐานันดรของพวกเขาตามทัศนะของอัลลอฮฺ<br />

ตะอาลา และผู้ใดจากบรรดาผู้ศรัทธาได้หลงเหลืออยู่(ในนรก)<br />

โดยไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขา แน่นอนเขาก็จะถูกนำออกมาด้วยความ<br />

โปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั้นจึงไม่มีผู้ศรัทธาคนใดถูกอยู่ในนรก<br />

ตลอดกาล


ض<br />

ي<br />

ب<br />

ض َ<br />

ٌّ ثُ‏ ثُ‏ ثُ‏<br />

َّ<br />

ّ<br />

ي<br />

يْ‏<br />

يْ‏ ن<br />

نَ‏<br />

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

َ ُ ال ذ<br />

ِ ي<br />

َّ َ أ<br />

َ َ ن ْ قَل<br />

يَعْتَقِد<br />

َ<br />

َ َّ الن‏<br />

83<br />

ْ<br />

ي َ ‏انِ‏ .<br />

ف َ رَّ‏ ةٍ‏ مِ‏ نَ‏ ا إلِ‏ ْ<br />

‏ْق<br />

‏ْبِ‏ هِ‏ مِ‏ ث<br />

‏َا مَ‏ نْ‏ اك ِ ي<br />

ُ خْ‏ رَ‏ جُ‏ مِ‏ نْ‏<br />

بَ‏ ل<br />

‏َنَّ‏<br />

َ رَ‏ هللاُ‏ عَ‏ نُْمْ‏ وَ‏ تَْتِيْ‏ بَُمْ‏ وَأ<br />

‏َنْ‏<br />

‏ْل الصَّحَابَةِ‏<br />

وَأ فَض<br />

‏َبُ‏ وْ‏ بَ‏ ك ثْ‏ مَ‏ انُ‏<br />

النَّ‏ اسِ‏ ِ بَ‏ عْ‏ د صَ‏ ل هللاُ‏ عَ‏ ل ‏َيْ‏ هِ‏ وَ‏ سَ‏ ل<br />

ُ ْ سِ‏ نَ‏ الظ بِ‏ جَ‏ مِ‏ ِ يْ‏ ع الصَّ‏ حَ‏ ابَ‏ ةِ‏ وَ‏ يُثِ‏ يَ‏ عَ‏ ل ِ مْ‏ ك<br />

‏َن<br />

نْ‏ ‏ُمْ‏ . وَ‏ أ<br />

‏َيْ‏ ه وَ‏ سَ‏ ل ِ مْ‏ أَحجْ‏ ‏َعِ‏ <br />

َّ<br />

هللاَ‏ عَ‏ َّ ز وَ‏ جَ‏ ل وَ‏ رَ‏ سُ‏ وْ‏ هللاُ‏ عَ‏ ل<br />

َ<br />

‏َل<br />

‏ْض<br />

أَف<br />

َ لِ‏ ي<br />

‏َث<br />

َّ ع<br />

ْ<br />

َ َ ا أ<br />

ُ ‏َرُ‏ َّ عُ‏ <br />

ْ َّ ع<br />

رٍ‏<br />

َ<br />

ْ<br />

ْ نَ‏ .<br />

َ ي<br />

َّ َ عل<br />

َّ نَّ‏ <br />

ْ<br />

َّ<br />

َ ُ صَ‏ ل<br />

ل<br />

ِ ي<br />

َ هللاُ‏ عَ‏ <br />

رَ‏ ِ ي<br />

แต่ผู้ที่ในหัวใจของเขามีอีหม่านน้ำหนักเท่าธุลี ก็จะถูกนำออกมา<br />

จากไฟนรก<br />

[เรียบเรียงความประเสริฐของศ่อฮาบะฮ์]<br />

บ่าวต้องเชื่อมั่นถึงความประเสริฐของบรรดาศ่อฮาบะฮ์<br />

ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ้ม และเรียบเรียงความประเสริฐของพวกเขา ดังนั้น<br />

มนุษย์ที่ประเสริฐสุดหลังจากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิ<br />

วะซัลลัม คือท่านอะบูบักร หลังจากนั้นท่านอุมัร หลังจากนั ้นท่าน<br />

อุษมาน และหลังจากนั้นท่านอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม<br />

[คิดในแง่ดีงามกับศ่อฮาบะฮ์และงดเอ่ยถึงพวกเขาในทางที่ไม่ดี]<br />

บ่าวจะต้องมีความคิดในแง่ที่ดีงามกับศ่อฮาบะฮ์ทั้งหมดและ<br />

ทำการยกย่องพวกเขาเสมือนกับที่อัลลอฮฺตะอาลาและร่อซูลของ<br />

พระองค์ได้ยกย่องพวกเขาทั้งหมด


ي<br />

ّ<br />

ّ<br />

ي<br />

ي<br />

َّ<br />

ب ِ<br />

فَ‏<br />

ف<br />

ي<br />

قواعد العقائد<br />

<br />

84<br />

ْ َ ت َ ق َ د حجَ‏<br />

َ الض<br />

ْ ن‏ لَن<br />

ِ ِ<br />

ُ َ مَّ‏ دٍ‏<br />

‏ِدِ‏ <br />

فَ‏ َ نِ‏ اع ِ يْ‏ عَ‏<br />

أَخ بَ‏ ارُ‏ وَ‏ ْ شَ‏ ْ بِ‏ هِ‏ آ ال‏<br />

‏َك َ مِ‏ ‏َّا وَ‏ رَ‏ َ دت بِ‏ هِ‏ ال<br />

ف<br />

‏َلِ‏<br />

‏ْلِ‏ ال ِ وَعِ‏ صَ‏ ابَةِ‏ السُّ‏ نَّةِ‏ وَ‏ ف رَ‏ هْ‏ ط َّ ال<br />

‏َه<br />

ذ مُ‏ وْ‏ ‏َلِكَ‏ ً قِنا بِهِ‏ اك َ مِ‏ نْ‏ أ<br />

‏َا<br />

َ َ وَحُ‏ سْ‏ نَ‏ الثَّبَاتِ‏ ِ ي الد<br />

‏َن ‏َسْ‏ أ هللاَ‏ ك ‏َال ِ الْيَقِ‏<br />

‏َةِ‏ ف<br />

‏ْبِد<br />

‏ْبَ‏ ال<br />

وَحِ‏ ز<br />

‏َرْح ْ نَ‏ وَ‏ صَ‏ ل هللاُ‏ عَ‏ سَ‏ يّ‏ نَ‏ م<br />

‏َّةِ‏ ال ‏َحْ‏ ‏َتِهِ‏ إِنَّه<br />

وَ‏ لِك<br />

وَ‏ عَ‏ ِ ك عَ‏ بْ‏ دٍ‏ مُ‏ صْ‏ ط<br />

ث َ رُ‏ <br />

َ<br />

‏َارَق<br />

َ<br />

ل<br />

ِ َ دت<br />

ْ ن<br />

ْ ‏َق<br />

َ ُ الرَّ‏ احِ‏ ِ <br />

ُ أ<br />

ُ ُّ َ ذ لِك<br />

َ ن<br />

ُ<br />

‏َل<br />

ْ ع<br />

ْ نَ‏ <br />

ْ ُ سْ‏ لِ‏ ِ<br />

َ ف<br />

ّ ُ َ<br />

. َ<br />

ل<br />

ดังนั้น สิ่งดังกล่าวทั้งหมด 97 มาจากบรรดาหะดีษที่ได้รายงาน<br />

มาและมีบรรดาคำกล่าวของปราชญ์สะลัฟมาสนับสนุน ดังนั้นผู้ใด<br />

ยึดมั่นในทั้งหมดที่ผ่านมาโดยมีความมั่นใจในสิ่งดังกล่าว แน่นอน<br />

เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากผู้อยู่ในสัจธรรมและกลุ่มชนของอะฮฺลิซ<br />

ซุนนะฮ์และเขาได้แยกออกมาจากพวกลุ่มหลงและกลุ่มพวก<br />

บิดอะฮ์ ดังนั้นเราวอนขอต่ออัลลอฮฺซึ่งความมั่นใจที่สมบูรณ์และ<br />

ความสวยงามของการยืนหยัดในศาสนาให้แก่พวกเราด้วยเถิดและ<br />

แก่บรรดามุสลิมีนทั้งหมดด้วยความเมตตาของพระองค์ แท้จริง<br />

พระองค์ทรงเมตตายิ่งจากบรรดาผู้เมตตาทั้งหลาย และขออัลลอฮฺ<br />

ทรงประทานความเมตตาแด่นายของเรานะบีย์มุฮัมมัดและแด่บ่าว<br />

ที่ถูกคัดเลือกทุกคน<br />

<br />

97 จากบรรดาหลักอะกีดะฮ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว.


บรรณานุกรม<br />

อัลกุรอานอัลกะรีม<br />

ซัรรู้ก. (ค.ศ. 2007/ฮ.ศ. 1427). ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลอิมาม<br />

อัลฆ่อซาลีย์. ตะห์กีก: มุฮัมมัด อับดุลกอดิร อันนัศศ้อร.<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดาร่อตุลกุรซฺ.<br />

มุรตะฎออัซซะบีดีย์. (ค.ศ. 1994/ฮ.ศ. 1414). อิตห้าฟอัซซาดะฮ์<br />

อัลมุตตะกีน. เบรุต: มุอัซซะซะฮ์อัตตารีคอัลอะร่อบีย์.<br />

มุสลิม บิน อัลหัจญาจญฺ. (ฮ.ศ. 1334). ศ่อฮีหฺมุสลิม. พิมพ์ครั้งที่ 1.<br />

เบรุต: ดารุลญัยล์, ถ่ายสำเนาจาก อิสตัมบูล: อัลมัฏบะอะฮ์<br />

อัตตุรกียะฮ์.<br />

อัชชะอฺรอนีย์, อับดุลวะฮฺฮ้าบ. (ค.ศ. 1999). อัลอันวารอัลกุดซียะฮ์<br />

ฟีบะยานิ ก่อวาอิดอัศศูฟียะฮ์. ตะห์กีก: คณะกรรมการของ<br />

ดารุศอดิร. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุศอดิร.<br />

อัซซะฮะบีย์, ชัมซุดดีน มุฮัมมัด บิน อะหฺมัด. (ฮ.ศ. 1417). ซิยัร<br />

อะลามอันนุบะลาอฺ. ตะห์กีก: ชุอัยบ์อัลอัรนะอูฏและมุฮัมมัด<br />

นุอัยม์. พิมพ์ครั้งที่ 11. เบรุต: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์.<br />

อัซซุบกีย์, อับดุลวะฮ์ฮาบ บิน อะลีย์. (ฮ.ศ. 1413). ฏ่อบะก้อตอัช<br />

ชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ. ตะห์กีก: มะหฺมูด อัฏฏ่อนาฮีย์และ<br />

อับดุลฟัตตาหฺมุฮัมมัด อัลหิลวฺ. ไคโร: ฮิจญฺร์.<br />

อัฏฏ่อบะรีย์, อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร. (ค.ศ. 2000/ฮ.ศ.<br />

1420). ตัฟซีรอัลฏ่อบะรีย์. ตะห์กีก: อะหฺมัดมุฮัมมัดชากิร.<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: มุอัซซะซะฮ์อัรริซาละฮ์.


86<br />

قواعد العقائد<br />

อัตติรมีซีย์, มุฮัมมัด บิน อีซา. (ม.ป.ป.). อัลญามิอฺอัศศ่อฮิห์ สุนัน<br />

อัตติรมีซีย์. ตะห์กีก: มุฮัมมัดอะหฺมัดชากิร. เบรุต: ดารุอิหฺยาอฺ<br />

อัตตุร้อษอัลอะร่อบีย์.<br />

อันนะวาวีย์, ยะหฺยา บิน ชัรฟฺ. (ค.ศ. 2001). ชัรหฺศ่อฮีหฺมุสลิม.<br />

ตะห์กีก: ริฎวานญามิอฺริฎวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: มุอัสสะซะฮ์<br />

อัลมุคต้าร.<br />

อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 1967). อัล<br />

มุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล. ตะห์กีก: ญะมีล ศ่อลีบา และกามิล<br />

กัยย้าด. พิมพ์ครั้งที่ 7. เบรุต: ดารุลอันดะลุส.<br />

อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 1998/ฮ.ศ.<br />

1419). อิหฺยาอฺอุลูมิดดีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุลกุตุบ<br />

อัลอิลมียะฮ์.<br />

อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2006/ฮ.ศ.<br />

1426). อัลอัรบะอีน ฟีอุศูลิดดีน. ตะห์กีก: บูญุมอะฮ์ อับดุล<br />

กอดิร. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุลมันฮาจญฺ.<br />

อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2002/ฮ.ศ.<br />

1423). อิลญามุลเอาวาม อันอิลมิลกะลาม. ตะห์กีก: ศ่อฟะวัต<br />

ญูดะฮ์อะหฺมัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดารุลหะร็อม.<br />

อัลบาญูรีย์. อิบรอฮีม บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2002/ฮ.ศ. 1422).<br />

ตุหฺฟะตุลมุรี้ด. ตะห์กีก: อะลีย์ ญุมุอะฮ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร:<br />

ดารุสลาม.<br />

อัลบาญูรีย์. อิบรอฮีม บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2015/ฮ.ศ. 1436). ตะหฺกีก<br />

อัลมะกอม อะลากิฟายะตุลเอาวาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดารุล<br />

บะศออิร.


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์<br />

87<br />

อัลบุคอรีย์, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล. (ค.ศ. 1987/ฮ.ศ. 1407). ศ่อฮีหฺ<br />

อัลบุคอรีย์. ตะห์กีก: มุศฏอฟา ดี้บ อัลบุฆอ. พิมพ์ครั้งที่ 3.<br />

เบรุต: ดารุอิบนิกะษีร.<br />

อัสอัด อัลค่อฏีบ. (ม.ป.ป.). อัลบุฏูละฮ์วัลฟิดาอฺ อินดะอัศศูฟียะฮ์.<br />

ดิมัชก์: ดารุลฟิกร์.<br />

อิบนุกะษีร, อะบุลฟิดาอฺ อิสมาอีล บิน อุมัร. (ค.ศ. 1990/<br />

ฮ.ศ. 1410). อัลบิดายะฮ์วันนิฮายะฮ์. เบรุต: มักตะบะฮ์<br />

อัลมะอาริฟ.<br />

อิบนุนุ้กเฏาะฮ์, มุฮัมมัด บิน อับดุลฆ่อนีย์ อัลบัฆดาดีย์. (ค.ศ.<br />

1988/ฮ.ศ. 1408). อัตตักยี้ดลิมะอฺริฟะติ รุวาฮ์อัซซุนันวัล<br />

มะซานี้ด. ตะห์กีก: กามาล ยูซุฟ อัลหู้ต. พิมพ์ครั้งที่ 1.<br />

เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์.<br />

อิบนุอะซากิร, อะบุลกอซิม อะลีย์ บิน หะซัน. (ค.ศ. 2010). ตับยีน<br />

กัษบิลมุฟตะรี.ตะห์กีก: มุฮัมมัด ซาฮิด อัลเกาษะรีย์. พิมพ์<br />

ครั้งที่ 1. ไคโร: อัลมักตะบะฮ์อัลอัซฮะรียะฮ์.<br />

อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, อะบุลฟัฎล์ อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2006/<br />

ฮ.ศ. 1427). อัลหิกัมอัลอะฏออียะฮ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร:<br />

ดารุสลาม.<br />

อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, อะบุลฟัฎล์ อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด. (ม.ป.ป.).<br />

ละฏออิฟุลมินัน. ตะห์กีก: ดร. อับดุลหะลีม มะหฺมู้ด. พิมพ์<br />

ครั้งที่ 2. อัลกอฮิเราะฮ์: ดารุลมะอาริฟ.<br />

อิบนุอะบียะอฺลา, อะบุลหุซัยน์ มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ม.ป.ป.).<br />

ฏ่อบะก้อตอัลหะนาบิละฮ์. ตะห์กีก: มุฮัมมัดฮามิดอัลฟิกกีย์.<br />

พิมพ์ครั้งที่ 2. เบรุต: ดารุลมะอฺริฟะฮ์.


88<br />

قواعد العقائد<br />

อิบนุอัลเญาซีย์, อะบุลฟะร็อจญ์. (ค.ศ. 1995/ฮ.ศ 1415). อัล<br />

มุนตะซ็อม ฟีตารีคอัลมุลูกวัลอุมัม. ตะห์กีก: อับดุลกอดิร<br />

อะฏอ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์.<br />

อิบนุอิม้าด, อับดุลหั้ยยฺ บิน อะหฺมัด. (ค.ศ. 1989/ฮ.ศ.1410).<br />

ชะษะร้อตอัซซะฮับ. ตะห์กีก: มะหฺมู้ดอัลอัรนะอูฏ. พิมพ์<br />

ครั้งที่ 1. ดิมัช,เบรุต: ดารุอิบนุกะษีร.


ผลงานของผู้เขียน<br />

วิทยโวหาร ฮิกัม อิบนิอะฏออิลลาฮฺ เล่ม 1<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2552<br />

พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2555<br />

วิทยโวหาร ฮิกัม อิบนิอะฏออิลลาฮฺ เล่ม 2<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2553<br />

พิมพ์ครั้งที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558<br />

อัตเตาบะฮ์ ก้าวแรกของผู้ศรัทธา<br />

ศึกษาเชิงวิเคราะห์<br />

ISBN: 978-974-350-597-3<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2554


จดหมายถึงผู้ป่วย...<br />

ISBN: 978-616-321-150-7<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2555<br />

99 พระนามอันวิจิตรของอัลลอฮฺ<br />

ศึกษาเชิงวิเคราะห์<br />

ISBN: 978-974-365-448-0<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2557<br />

ละหมาดอย่างไรให้คุชูอฺ<br />

ศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามหลักอิหฺซาน<br />

ISBN: 978-616-361-627-2<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2557<br />

พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2560<br />

หลักอะกีดะฮ์แนวทางสะลัฟ<br />

ระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮฺฮาบียะฮ์<br />

ISBN: 978-616-382-640-4<br />

พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2558

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!