26.08.2020 Views

60sCNT_RRC_4.0

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

Chai Nat Rice Research Center

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นอกจากนี้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็น

อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคข้าว

ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น อุณหภูมิ ปริมาณน้้าฝน และความชื้น

มีผลต่อการเจริญเติบโต และการแพร่พันธุ์ของโรคและ

แมลงพาหะเป็นอย่างมาก ประกอบกับพันธุ์ข้าวที่เกษตรกร

นิยมปลูกในพื้นที่บางพันธุ์มีความอ่อนแอต่อโรคข้าว

ที่ส้าคัญบางชนิด และการปฏิบัติของเกษตรกรในบางกิจกรรม

เช่น การหว่านข้าวแน่น การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูง

และการพ่นฮอร์โมนหรือน้าหมักชีวภาพเมื่อพบการระบาด

ของโรคและแมลงพาหะ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ล้วนแต่

ช่วยส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคข้าวที่รุนแรง

และสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวในพื้นที่เป็นอย่างมาก

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2550-2559) กลุ่มงาน

อารักขาข้าว ของศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ได้ลงพื้นที่ส้ารวจ

แปลงนาเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ และ

อุทัยธานี พบว่าโรคข้าวที่มีการระบาดมาเป็นอันดับแรก

คือ โรคขอบใบแห้ง ซึ่งมีการเข้าท้าลายข้าวพันธุ์อ่อนแอที่

เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ ชัยนาท 1 กข41 กข47 กข49

กข61 และขาวดอกมะลิ 105 ได้อย่างรุนแรง มีการระบาด

เป็นพื้นที่กว้างขวางอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูนาปีของทุกปี

ส่วนโรคข้าวอันดับรองลงมาที่พบ ได้แก่ โรคไหม้ ซึ่งเริ่มมี

การระบาดรุนแรงเป็นพื้นที่กว้าง เมื่อปลาย ปี พ.ศ. 2557

จนถึงปัจจุบัน เกิดมากในช่วงปลายฤดูฝนช่วงเดือนตุลาคม

ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม

มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมาก การเกิดน้้าค้างยาวนาน

และหมอกจัดในช่วงเช้า โดยมักเข้าท้าลายพันธุ์ข้าว

อ่อนแอที่เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่ ได้แก่ ปทุมธานี 1

กข41 และขาวดอกมะลิ 105 ส่วนโรคที่มีแนวโน้ม

การระบาดในพื้นที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคใบขีดสีน้้าตาล

โรคใบจุดสีน้้าตาล และโรคเมล็ดด่าง ซึ่งโรคต่างๆ ดังกล่าวนี้

หากมีการระบาดรุนแรงก็จะท้าให้ผลผลิตข้าวลดลงด้วย

เช่นเดียวกัน

/ 62 / 60 ปี ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!