07.04.2015 Views

BIOTEC Newsletter - National Center for Genetic Engineering and ...

BIOTEC Newsletter - National Center for Genetic Engineering and ...

BIOTEC Newsletter - National Center for Genetic Engineering and ...

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การประชุมวิชาการนานาชาติด้านชีวสารสนเทศศาสตร์ (InCoB) จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านชีวสารสนเทศศาสตร์ และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยด้านวิทยาการ<br />

คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และนักชีวสารสนเทศศาสตร์ ผ่านการนําเสนอผลงานทั้งในรูปแบบการบรรยาย และโปสเตอร์ใน<br />

ระดับนานาชาติ พร้อมเผยแพร่ความรู้ด้าน วิทยาการที่ทันสมัย และก้าวหน้าให้กับนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักศึกษาที่กําลังศึกษา<br />

ในศาสตร์แขนงดังกล่าว และผู้สนใจทั่วไป<br />

รศ. รศ. นพ. นพ. นพพร นพพร สิทธิสมบัติ สิทธิสมบัติ ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจําปี 2555<br />

2555<br />

รศ. นพ. นพพร สิทธิสมบัติ อาจารย์ประจําภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลนัก<br />

เทคโนโลยีดีเด่นประจําปี 2555 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้วยความสําเร็จในผลงาน<br />

“การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการสร้างวัคซีนลูกผสม 4 ชนิดเพื่อป้องกันไข้เลือดออก” ซึ่งงานวิจัยนี้ รศ. นพ. นพพร และคณะ สามารถ<br />

สร้างและทดสอบวัคซีนไข้เลือดออกตัวเลือกชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ลูกผสม ได้ครบทั้ง 4 ชนิด เป็นผลสําเร็จ และได้มีการอนุญาตให้<br />

สิทธิบริษัทเอกชนไทยไปพัฒนาต่อเป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก<br />

รศ. นพ. นพพร ดํารงตําแหน่งเป็นรองผู้อํานวยการหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยร่วม<br />

ระหว่างไบโอเทค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นการทําวิจัยด้านไวรัสเด็งกี่<br />

และโรคไข้เลือดออก<br />

สําหรับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภททีม ได้มอบให้ คณะนักวิจัยและวิศวกรห้องปฏิบัติการวิศวกรรมการหล่อ หน่วยวิจัยการ<br />

ออกแบบและวิศวกรรม เอ็มเทค ด้วยผลงานเทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพของอะลูมิเนียมเหลวสําหรับการผลิตงานหล่อคุณภาพสูง<br />

และรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เป็นของ ผศ. ดร. ชินวัชร์ สุรัสวดี คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์<br />

วิทยาเขตภูเก็ต ด้วยผลงานการพัฒนาอัลกอริทึม AMP สําหรับประมาณค่าหยาดน้ําฟ้าทั่วโลกจากข้อมูลที่สังเกตจากดาวเทียมมิลลิ<br />

มิเตอร์เวฟแบบพาสซีฟ การพัฒนาเทคโนโลยีระบบพยากรณ์อากาศเชิงเลขความละเอียดสูงสําหรับประเทศไทย และ การพัฒนา<br />

อุปกรณ์รับรู้คลื่นความถี่มิลลิมิเตอร์เวฟแบบพาสซีฟสําหรับใช้บนดาวเทียมเพื่อตรวจวัดหยาดน้ําทั่วโลก<br />

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดให้มีโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และรางวัลนักเทคโนโลยี<br />

รุ่นใหม่ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมุ่งหวังเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานดีเด่น ไม่ว่าจะเป็นนักเทคโนโลยีในภาครัฐ หรือ<br />

ภาคเอกชน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถจํานวนมากในประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนา<br />

เทคโนโลยีของไทยให้สามารถแข่งขันในเชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว<br />

2

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!