11.07.2015 Views

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รายงานประจำปี <strong>2553</strong>ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


รายงานประจำปี <strong>2553</strong>ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)ISBN : 978-616-12-0165-4เอกสารเผยแพร่พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2554จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่มสงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2554 ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่อนุญาตให้คัดลอก ทำซ้ำ และดัดแปลง ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้นอกจากได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้นCopyright © 2011 by:<strong>National</strong> <strong>Center</strong> <strong>for</strong> <strong>Genetic</strong> <strong>Engineering</strong> <strong>and</strong> Biotechnology<strong>National</strong> Science <strong>and</strong> Technology Development AgencyMinistry of Science <strong>and</strong> Technology113 Thail<strong>and</strong> Science Park, Phahon Yothin Road, Klong 1,Klong Luang, Pathumthani 12120Tel. 66 2564 6700 Fax. 66 2564 6701-5จัดทำโดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธินตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120โทรศัพท์ 0 2564 6700 โทรสาร 0 2564 6701-5http://www.biotec.or.thรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


สารบัญ4สารจากประธานกรรมการ5สารจากผู้อำนวยการ6บทสรุปสำหรับผู้บริหาร12การวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์และสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยี26การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ30การศึกษาเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ32การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศ36การพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีชีวภาพ40การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชนบทและการเผยแพร่ความรู้สู่สังคม44ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานของไบโอเทค48ภาคผนวก• สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร• บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ• รางวัลที่ได้รับ• คณะกรรมการบริหารไบโอเทค• คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติ• คณะผู้บริหารไบโอเทครายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


สารจากประธานกรรมการไบโอเทคมีภารกิจหลักในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ทั้งในการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยเชิงประยุกต์มุ่งสร้างความสามารถในการวิจัยและพัฒนาที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพ และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการวิจัย และระบบการบริหารงานวิจัยที่มีคุณภาพ มุ ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ให้ความสำคัญในการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายวิจัยทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยสู ่การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง และสร้างผลกระทบในวงกว้างผลการดำเนินงานของไบโอเทคในปี <strong>2553</strong> ด้านการวิจัยและพัฒนาได้รับการยอมรับในระดับสากล มีการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีผลงานวิจัยที่เป็นโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ นักวิจัยของไบโอเทคได้รับทุนวิจัยและรางวัลจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรที่รวมนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำรุ่นเยาว์ทั่วโลก แสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรของไบโอเทค ที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ในการนำความรู้และเทคโนโลยีไปถ่ายทอดสู่ผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย ได้อย่างกว้างขวาง(ศ.ดร. สุจินต์ จินายน)ประธานคณะกรรมการบริหารไบโอเทคผมเชื่อมั่นว่า ความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่ไบโอเทคดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างและพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป4 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


บทสรุป สำาหรับผู้บริหารเป้าหมายวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศให้เกิดผลทั้งในเชิงความเป็นเลิศทางวิชาการ (excellence)และเป็นความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยทั้งในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาสังคมและชุมชน (relevance) เพื่อให้เกิดผลกระทบสูง (impact)บทบาทหลักดำาเนินงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและสร้างความเข้มแข็งทางเทคโนโลยี(โปรแกรมเทคโนโลยีฐาน)นำาเทคโนโลยีแก้ไขปัญหาที่สำาคัญของประเทศ(ตอบโจทย์โปรแกรมภายใต้คลัสเตอร์)ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) มีเป้าหมายในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศให้เกิดผลทั้งในเชิงความเป็นเลิศทางวิชาการ การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์ ชุมชนและสังคม เพื่อสร้างผลกระทบ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับพันธมิตรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสรุปในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ด้านการสร้างความสามารถเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ไบโอเทคมีบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวน 216 บทความ โดยมีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู ่ในฐานข้อมูล Science Citation Index Exp<strong>and</strong>ed จำนวน 198บทความ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า impact factor มากกว่า 4 จำนวน13 บทความ ผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ประสบความสำเร็จในการพัฒนายาต้านมาลาเรียประเภทแอนติโฟเลต จนได้สารต้านมาลาเรียชนิดใหม่ที่มีศักยภาพ1 ชนิดที่ถูกคัดเลือกเพื่อศึกษาระดับ pre-clinical ในมนุษย์ มีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลชีวสารสนเทศความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยด้านมนุษยพันธุศาสตร์พันธุศาสตร์ประชากร ระบาดวิทยาพันธุศาสตร์ พัฒนาเทคโนโลยีไมโครอะเรย์ที่สามารถตรวจเชื้อก่อโรคในอาหารได้หลายๆ ชนิดพร้อมกัน ประหยัดเวลาและต้นทุนต่ำกว่าวิธีอีไลซ่า ประเมินความเสี่ยงของฮีสตามีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในน้ำปลา จนได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการวิชาการโคเด็กซ์ มีผลต่อการลดการ6 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


โครงสร้างพื้นฐานการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วยกีดกันทางการค้าและเพิ่มมูลค่าการส่งออกน้ำปลาได้ พัฒนาพันธุ์ข้าวต่างๆ โดยพันธุ ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลันได้ยื่นจดรับรองสายพันธุ์แล้ว เป็นต้นไบโอเทคยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศ 14 คำขอ ยื่นจดอนุสิทธิบัตร 20 คำขอ และได้รับคู ่มือสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ7 ฉบับ นักวิจัยของไบโอเทคได้รับรางวัลทางวิชาการต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 26 รางวัลด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ มีโครงการร่วมวิจัย รับจ้างวิจัย จากภาคเอกชนและภาครัฐรวม 47 โครงการ เป็นโครงการใหม่ 20 โครงการ แบ่งเป็นโครงการด้านอาหารและการเกษตร 14 โครงการ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 3 โครงการ และด้านสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ รวมทั้งมีโครงการให้บริการปรึกษาอุตสาหกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ภาคอุตสาหกรรมอีกจำนวน 14 โครงการ เป็นโครงการใหม่5 โครงการและมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จำนวน6 โครงการ ให้แก่บริษัท/หน่วยงาน 6 แห่งด้านการวิจัยเชิงนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์ในระดับองค์กรและระดับประเทศ เช่น ร่วมกับนักวิชาการทั่วทุกภูมิภาค เพื่อการขอถอดถอน จีเอ็มโอ ออกจากบัญชีรายการโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67วรรคสอง จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบเกษตรของประเทศไทย จัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับด้าน carbon footprint จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อความหน่วยปฏิบัติการวิจัยเฉพาะทาง ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย• หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ• สถาบันจีโนม• หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร*• หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพอาหาร*• หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์*หน่วยปฏิบัติการวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างไบโอเทคกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานของรัฐ ตั้งอยู ่ในสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ• หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ• หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว• หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีแปรรูปมันสำาปะหลังและแป้ง• หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์• หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลา-บาลาศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย ที่ไบโอเทคเข้าไปร่วมมือหรือสนับสนุนการจัดตั้ง• ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร• ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์• หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง• ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล• ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง* เป็นหน่วยวิจัยที่จัดตั้งใหม่เมื่อเดือนตุลาคม <strong>2553</strong> โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลาง ไบโอเทครายงานประจำาปี <strong>2553</strong>7


ปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุมเพื่อใช้ในระดับโรงงานต้นแบบและอุตสาหกรรมและร่วมมือกับ OECD (Organisation <strong>for</strong> Economic Co-operation<strong>and</strong> Development) ในการเป็นประเทศเจ้าภาพจัดทำเอกสารPapaya Consensus Document เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรมการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศ มีความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ โดยลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อการส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัย จำนวน 7 หน่วยงาน จัดสัมมนาวิชาการร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ จำนวน 5 เรื่อง เข้าร่วมจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ในงาน BIO International Convention 2010 การจัดทำหนังสือLife Sciences in Thail<strong>and</strong> ที่มีข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทยทั้งภาควิจัย ภาคการศึกษา ภาคการลงทุน และธุรกิจ สำหรับประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในระดับนานาชาติการพัฒนาบุคลากรวิจัยในประเทศเพื่อนบ้าน โดยสนับสนุนทุน HRD Program <strong>for</strong> Asia Pacific 2010 จำนวน 12 ทุนInternational Exchange Program กับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ มีนักศึกษาเข้าทำวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยของไบโอเทค จำนวน 50 คน และการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติด้านการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพแบ่งตามการพัฒนาตามกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มบุคลากรวิจัยและวิชาการ โดยสนับสนุนทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอกรวมจำนวน 11 ทุน โดยเป็นทุนใหม่จำนวน 5 ทุนและทุนต่อเนื่องจำนวน 6 ทุน พัฒนาบุคลากรวิจัยระดับปริญญาเอก 9 คนปริญญาโท 21 คน ปริญญาตรี 20 คน ซึ่งนักศึกษาได้รับการฝึกฝนในการวิจัยวิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์จากนักวิจัยไบโอเทคและสนับสนุนการผลิตบุคลากรหลักสูตรชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับปริญญาโท 5 คน ไบโอเทคได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม/ประชุมวิชาการให้แก่นักวิจัย นักวิชาการ จากภาครัฐและเอกชน จำนวน 18 เรื่อง(23 ครั้ง) มีผู ้เข้าร่วมสัมมนาและฝึกอบรมทั้งสิ้น 853 คน หรือ 1,8588 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


้คลัสเตอร์อาหารและการเกษตร• ความปลอดภัยอาหาร จุลินทรีย์ต้นเชื้อบริสุทธิ์ และเคมีอาหาร• เทคโนโลยีแปรรูปมันสำาปะหลังและแป้ง• การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เศรษฐกิจที่สำาคัญคน-วัน 2) กลุ่มอุตสาหกรรมและภาคการผลิต จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแป้งมันสำปะหลังดิบ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดการใช้พลังงานและทรัพยากร และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู ้ประกอบการสินค้าโอทอป 23 แห่ง เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารสู่มาตรฐานสากล 3) กลุ่มชุมชน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เพื่อดำเนินการฝึกอบรมต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2552 ในโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน (โครงการต้นกล้าอาชีพ) โดยจัดฝึกอบรมให้แก่ศูนย์การเรียนรู379 แห่งใน 21 จังหวัด จำนวน 2 รุ่น มีผู้เข้าอบรม 18,568 คนนอกจากนี้ในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ไบโอเทคได้ริเริ่มโครงการ BIOTEC Young Fellow’s Research Grants ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมุ ่งเป้าหมายในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้นักวิจัยรุ่นใหม่ของไบโอเทคมีความเป็นเลิศทั้งด้านการวิจัยวิชาการ มีแนวความคิดวิจัยที่สร้างสรรค์ มีทักษะด้านการบริหารโครงการวิจัย มีความตระหนักต่อวัฒนธรรมการวิจัย รวมทั้งเป็นการสร้างความพร้อมในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ต่อไปโครงการให้การสนับสนุนปีละ 2 ทุนสิ่งแวดล้อม• งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ• เทคโนโลยีฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มพลังงานทดแทน• พลังงานจากก๊าซชีวภาพ บำาบัดของเสียและผลิตก๊าซชีวภาพ• พลังงานจากเอทานอล แปรชีวมวลเป็นพลังงานทดแทนเอทานอลการแพทย์ สาธารณสุข• งานวิจัยโรคมาลาเรีย• งานวิจัยโรคไข้เลือดออก• งานวิจัยโรควัณโรค• งานวิจัยโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก• เทคโนโลยีการแพทย์ระดับพันธุกรรมชุมชนชนบท ผู้ด้อยโอกาส• การพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชน• การอบรมเยาวชนเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจีโนมเทคโนโลยีการใช้เซลล์เป็นแหล่งผลิตเทคโนโลยีฐานรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>9


การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชนบท และการเผยแพร่ความรู ้สู ่สังคม ดำเนินงานโดยสร้างขีดความสามารถด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในโรงเรียนและชุมชน พัฒนาอาชีพโดยยกระดับผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดี เน้นการคัดเลือกและปรับแต่งเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับความพร้อมของชุมชน โดยได้ดำเนินการในด้านหลักๆ คือ การส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาระบบความปลอดภัยและคุณภาพอาหารเพื่อชุมชน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาและตรวจประเมินเบื้องต้นด้านวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารและการดำเนินโครงงานพัฒนาครูแกนนำและนักเรียนให้ได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนและสุขอนามัยของนักเรียนใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ สำหรับการดำเนินงานเพื่อการสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ได้เผยแพร่บทความในเว็บไซต์ www.biotec.or.th จัดทำเนื้อหาสำหรับรายการโทรทัศน์ สารคดีชุดฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทย และชาววิทย์ชิดชาวบ้าน และจัดทำโครงการถอดบทเรียนวิทยาลัยข้าวชุมชนการประเมินผลกระทบจากผลงานที่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณประโยชน์ ไบโอเทคได้ทำการประเมินและรวบรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นจำนวน36 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการที่ไบโอเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการต่างๆ ที่ผ่านมา มีผลกระทบที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณ<strong>2553</strong> โดยสรุปได้คือ เกิดผลกระทบทางตรงต่อหน่วยงานผู ้รับบริการรวม 259 ล้านบาท นอกจากนี้องค์ความรู้/เทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลทางอ้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น ลดการนำเข้า การจ้างงานเพิ่มขึ้น ฯลฯ ซึ่งประเมินเป็นตัวเงินได้ประมาณ 970 ล้านบาทด้านการใช้ทรัพยากร ไบโอเทคได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สวทช. ซึ่งเป็นงบอุดหนุนการวิจัย งบดำเนินงานอื่นๆ และงบเงินเดือนบุคลากร รวม 622 ล้านบาท และได้รับสนับสนุนจากแหล่งภายนอก สวทช. รวม 489 ล้านบาท [แบ่งเป็น1) ทุนวิจัย ร่วมวิจัยและรับจ้างวิจัย รายรับจากการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ การจัดประชุมสัมมนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและอื่นๆ รวม 84 ล้านบาท และ 2) เงินสนับสนุนงบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 งบกลาง และ10 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้หรือการขยายผลงบประมาณจากโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555รวม 405 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานโครงการต้นกล้าอาชีพ]ในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> มีการใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,017 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 92 ของงบประมาณที่ได้รับทั้งหมด โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดแบ่งตามประเภทค่าใช้จ่าย เป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร 298ล้านบาท (29%) ค่าใช้จ่ายด้านครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ 37 ล้านบาท(4%) และงบดำเนินงาน 682 ล้านบาท (67%) หรือค่าใช้จ่ายทั้งหมดแบ่งตามพันธกิจหลักในการดำเนินงานได้เป็น 1) ด้านการวิจัยและพัฒนา 437 ล้านบาท (43%) 2) ด้านการพัฒนากำลังคน 409 ล้านบาท(40%) 3) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี 12 ล้านบาท (1%) 4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 36 ล้านบาท (4%) และ 5) ด้านการบริหารจัดการภายใน 123 ล้านบาท (12%)ด้านบุคลากร ไบโอเทคมีบุคลากร รวม 544 คน (ณ 30กันยายน <strong>2553</strong>) แบ่งเป็นวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก 155 คน(29%) ปริญญาโท 192 คน (35%) ปริญญาตรี 165 คน (30%)ต่ำกว่าปริญญาตรี 32 คน (6%) และแบ่งตามกลุ ่มงาน เป็นกลุ ่มงานบริหาร 8 คน พนักงานปฏิบัติงานวิจัยและวิชาการ 409 คน และพนักงานส่วนปฏิบัติการ 127 คนเพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศได้จริง โดยเน้นการเชื่อมโยงให้มีการส่งต่องานวิจัยไปสู่ผู้ใช้ได้จริง จำานวน 4 หน่วยงาน• ศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งณ อำาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี• หน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้งณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี• โครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจการผลิตโคนมณ สถานีวิจัยและทดสอบพันธุ ์สัตว์ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาและศูนย์วิจัยและบำารุงพันธุ์สัตว์ลำาพญากลาง จังหวัดลพบุรี• โรงงานต้นแบบผลิตไวรัสเอ็นพีวีเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ• การทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรโดยเน้นการใช้ทรัพยากรร่วมในการเอื้อประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างผลงานได้อย่างรวดเร็ว• มีระบบการประเมินคุณภาพของการวิจัยและพัฒนาทั้งในระดับโครงการ ระดับหน่วยปฏิบัติการวิจัย และระดับองค์กรโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก• การพัฒนาบุคลากรวิจัย การเสริมสร้างอาชีพนักวิจัยด้วยกลไกการมีนักวิจัยพี่เลี้ยงเสริมสร้างกลุ่มวิจัยที่เข้มแข็งและส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัย ซึ่งจะนำาไปสู่การพัฒนาความร่วมมือในการวิจัยทั้งในและต่างประเทศรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>11


การวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์และสร้างความสามารถด้านเทคโนโลยีไบโอเทคดำาเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อสร้างความสามารถทางเทคโนโลยีและเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรอุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์และสาธารณสุข พลังงานและสิ่งแวดล้อมด้านการเกษตรและอาหารไบโอเทคดำเนินการวิจัยและพัฒนาใน 3 ด้านหลัก ได้แก่งานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช เทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตว์ เเละเทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมอาหาร โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ปรับปรุงคุณภาพ และเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานระดับสากล หรือได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชไบโอเทคมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทั้งในระดับเซลล์ ระดับโมเลกุล และระดับจีโนม เพื่อศึกษาและเข้าใจกลไกการตอบสนองของพืช หน้าที่ของยีนสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและปัจจัยการเพาะปลูกทำให้มีการแสดงออกของลักษณะ คุณภาพและปริมาณผลผลิตที่แตกต่างกัน โดยไบโอเทคให้ความสำคัญในข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น12 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


์การปรับปรุงพันธุ์ข้าวไบโอเทค โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว มีเป้าหมายในการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวที่มีการรวมคุณลักษณะต้านทานต่อโรค (เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง) ต้านทานศัตรูพืช (เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว) และทนต่อสภาพแวดล้อม (เช่น สภาพดินเค็ม น้ำท่วม แห้งแล้ง) โดยปรับปรุงพันธุ ์ข้าวแนวอณูวิธี ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสายพันธุ ์ข้าว ค้นหาโมเลกุลเครื่องหมายเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุข้าว ศึกษาและเข้าใจหน้าที่ของยีนสำคัญที่มีผลกระทบต่อลักษณะสำคัญต่างๆ ของข้าวในปี <strong>2553</strong> มีสายพันธุ ์ข้าวที่ร่วมดำเนินการวิจัยและพัฒนากับกรมการข้าว และอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ได้ยื่นจดรับรองพันธุ์ ข้าวขาวดอกมะลิ 105ทนน้ำท่วมฉับพลันอยู่ระหว่างการยื่นจดรับรองพันธุ์อยู่ระหว่างการทดสอบในแปลงปลูกที่กรมการข้าวอยู่ระหว่างการทดสอบที่หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวข้าว กข6 ต้านทานโรคไหม้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วม ต้านทานโรคขอบใบแห้งและต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนแล้ง/ทนเค็มข้าวสุรินทร์ 1 ทนแล้งข้าวสายพันธุ์ กข ที่มีการรวมยีนต้านทานโรคไหม้ 30 สายพันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวแสงต้านทานโรคขอบใบแห้งข้าวเจ้าไม่ไวแสงต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพิธีลงนาม MOU ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวระหว่าง กรมการข้าวกับไบโอเทค สวทช.สืบเนื่องจากไบโอเทค สวทช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ ์ข้าวนาน้ำฝน ระยะที่ 1”(พ.ศ. 2549-2552) ร่วมกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยใช้จุดเด่นด้านเทคโนโลยีทางชีวภาพเกี่ยวกับการค้นหายีนและการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอ ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จโดยสามารถพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ได้คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข6 ที่มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ ์ กข6 เดิมโดยบางสายพันธุ์ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าวและในแปลงเกษตรกรแล้ว ซึ่งมีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจเพื่อให้การวิจัยและพัฒนาข้าวเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายใต้กรอบความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาข้าวเชิงบูรณาการที่ชัดเจนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของทั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และไบโอเทค สวทช. จึงเห็นชอบร่วมกันในการจัดทำ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวในระยะที่ 2 ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. <strong>2553</strong>-2558)” เมื่อวันที่10 กุมภาพันธ์ <strong>2553</strong> ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสาระสำคัญของความร่วมมือดังกล่าว ได้แก่ การสนับสนุนด้านบุคลากร ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์และงบประมาณ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย การถ่ายทอดผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงนับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของเครือข่ายวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบ ช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถของการแข่งขันในตลาดโลก และจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลดีต่อทั้งเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และเศรษฐกิจของประเทศรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>13


คลอโรพลาสต์จีโนมของถั่วเขียวที่สมบูรณ์ (ค้นพบเป็นครั้งแรกของโลก)การปรับปรุงพันธุ์ยางพาราการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ ์ยางพาราด้วยเทคโนโลยีด้านชีวโมเลกุลเพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ผลิตน้ำยางได้ดีและทนทานต่อสภาวะแล้ง โดยการสร้างฐานข้อมูลยีนที่มีการแสดงออกในยางพาราสายพันธุ์ที่มีความทนแล้งแตกต่างกัน สร้าง cDNA library ของยางพาราสายพันธุ์ต่างๆ และลำดับเบสของยีนที่มีการแสดงออกซึ่งได้ค้นพบยีน 13 ยีนที่มีความสำคัญ และจะนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล ซึ่งจะได้ปรับปรุงพันธุ ์และการนำไปปลูกทดสอบเพื่อดูกลไกการแสดงออกในระดับฟีโนไทป์ในระยะต่อไปการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ โดยคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันหลากหลายชนิดที่เหมาะกับการปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อเกษตรกร ได้วิธีการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ต้องการก่อนทำการเพาะปลูกจึงเป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยร่นระยะเวลาให้ได้พันธุ ์ปาล์มน้ำมันที่ต้องการ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปีโดยปัจจุบันประเทศไทยสามารถปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย5 ตัน/ไร่/ปี หรือน้อยกว่า และได้ปรับปรุงเทคโนโลยีการเก็บexplants เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยไม่สูญเสียต้นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งวิธีการเดิมนั้นต้องทำลายต้นพันธุ์ความสามารถด้านเทคโนโลยีการหาลำดับเบสเพื่อใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชไบโอเทค ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และกรมวิชาการเกษตร ได้สร้างแผนที่ทางพันธุกรรม และศึกษาความสัมพันธ์กับลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจของมันสำปะหลัง การให้ผลผลิตปริมาณแป้งและไซยาไนด์ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำมาใช้สำหรับการคัดเลือกมันสำปะหลังหลายสายพันธุ์ และในจำนวนนั้นคือพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ห้านาที ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์พ่อและแม่เพื่อการปรับปรุงพันธุ ์มันสำปะหลังต่อไป นอกจากนี้ไบโอเทคยังได้สร้างแผนที่ทางพันธุกรรมของถั่วเขียว ได้คลอโรพลาสต์จีโนมของถั่วเขียวที่สมบูรณ์ และเป็นการค้นพบคลอโรพลาสต์จีโนมของถั่วเขียวเป็นครั้งแรกของโลก โดยค้นพบเครื่องหมายโมเลกุลแบบไมโครแซทเทไลท์มากกว่า 1,800 markers ซึ่งทั่วโลกมีการรายงานไว้เพียง 14 markers จึงทำให้สามารถใช้แบ่งแยกความจำเพาะของพืชทั้งในระดับสปีชีส์เดียวกันและต่างสปีชีส์ ทั้งนี้จะนำองค์ความรู ้ดังกล่าวไปต่อยอดในการศึกษากลไกการควบคุมการแสดงออกของยีนในคลอโรพลาสต์จีโนมของถั่วเขียวต่อไปเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตว์ไบโอเทคมุ ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาสำหรับกุ ้งกุลาดำ เพื่อการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์จากการเพาะเลี้ยง (Domestication) การคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ์กุ้งกุลาดำ ศึกษาการเกิดโรคและระบบภูมิคุ้มกันกุ้ง การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย ด้านโภชนาการของกุ้ง และระบบการเพาะเลี้ยง สำหรับงานวิจัยด้านโค มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ปรับปรุงระบบสืบพันธุ ์โคให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ต้นทุนต่ำ สามารถใช้ได้ง่าย และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังผู้ประกอบการ ฟาร์ม สหกรณ์ต่างๆการวิจัยและพัฒนากุ้งกุลาดำการพัฒนาพ่อแม่พันธุ ์จากการเพาะเลี้ยง ในปีงบประมาณ2547 ไบโอเทคได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ณ อ. ไชยาจ. สุราษฎร์ธานี เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาวิจัยและพัฒนาสายพันธุ ์กุ ้งกุลาดำปลอดเชื้อโรคจำเพาะ ผลิตให้ได้สายพันธุ ์ที่เกษตรกรสามารถนำไปเพาะเลี้ยงได้อย่างมีคุณภาพ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ดำเนินการสะสมกุ้งได้ รุ่น F1จำนวน 23 ครอบครัว รุ่น F2 จำนวน 37 ครอบครัว และรุ่น F3จำนวน 36 ครอบครัว14 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


์เขตปลอดเชื้อภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสก่อโรคในกุ้งโดยใช้เทคนิค LAMP-LFDการคัดเลือกและการปรับปรุงพันธุ ์กุ ้งกุลาดำ เพื่อสร้างองค์ความรู ้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและระบบสืบพันธุกุ ้ง การกระตุ ้นการวางไข่ของแม่กุ ้งโดยไม่ต้องตัดตา การศึกษาหน้าที่ของยีนและใช้เป็นโมเลกุลเครื่องหมายในการคัดเลือกพันธุ ์กุ ้งกุลาดำตัวอย่างผลงานวิจัยและพัฒนา เช่น 1) การศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอัณฑะ และการกระตุ ้นการพัฒนาของรังไข่ของกุ ้งกุลาดำด้วยเทคนิค EST analysis และเทคนิค high throughput DNAmicroarray ซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลลำดับเบสของทั้งจีโนม 2) การศึกษาการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการพัฒนาของรังไข่ และโปรตีนในอัณฑะของพ่อพันธุ์กุ้งกุลาดำด้วยเทคนิควิเคราะห์โปรตีโอมิกส์ ได้แก่ ยีน Pm-p23, RuvBL2 และ ADRP3) การค้นพบ progestin membrane receptor component 1(Pgmrc1) ซึ่งเป็นโปรเจสเตอโรนรีเซ็พเตอร์ชนิดที่อยู่บนเมมเบรนของเซลล์ไข่และสเปิร์มกุ้งกุลาดำ โดยระดับการแสดงออกของยีนดังกล่าวในรังไข่ของกุ ้งเต็มวัยที่ตัดก้านตาสูงกว่ากุ ้งเต็มวัยปกติอย่างมีนัยสำคัญการศึกษาการเกิดโรคและระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง เพื่อศึกษาระบาดวิทยา สาเหตุความรุนแรง การเกิดโรคกุ ้งที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิตในระดับโมเลกุล ระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง และหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดโรค การพัฒนาสารเสริมหรือสารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน การพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคในกุ้งที่มีความไว รวดเร็ว ใช้เวลาสั้น และไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ตัวอย่างผลงานวิจัยและพัฒนา เช่น 1) ได้องค์ความรู้ว่าหลังจากกุ้งกุลาดำได้รับเชื้อแบคทีเรียจะส่งผลให้โปรตีน PmMIPถูกหลั่งจากเนื้อเยื่อต่างๆ ไปสู่น้ำเลือด จากนั้นระดับของโปรตีนPmMIP จะลดลง เพื่อให้สามารถเกิดกระบวนการเมลาไนซ์เซชั่นในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู ่ร่างกายได้ 2) การค้นพบการแสดงออกของยีนควบคุม heat shock protein ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Vibrio harveyi ในกุ้งกุลาดำ ซึ่งยีนhsp90 เป็น potential c<strong>and</strong>idate ที่จะนำไปพัฒนาเป็น biomarkerในการวัดระดับปริมาณความเครียดจากสภาวะแวดล้อมหรือจากการติดเชื้อของกุ้งกุลาดำในบ่อเลี้ยงได้ 3) สามารถเลี้ยงไวรัสก่อโรคเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยสามารถเพิ่มจำนวนไวรัสหัวเหลืองได้ในเซลล์ยุง และนำชิ้นส่วนของยีนมาศึกษาเชิงลึกต่อได้จึงมีประโยชน์ในการใช้เป็น continuous cell lines ของกุ ้งในการเก็บไวรัสหัวเหลือง 4) การพัฒนาวิธี RT-LAMP-LFD สำหรับการตรวจเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตัวขาวในกุ้งก้ามกราม ซึ่งทดสอบง่ายและราคาถูก ทราบผลการตรวจได้ภายใน 60 นาที และให้ความไวในการทดสอบเทียบเท่ากับวิธี RT-PCR 5) การพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัส MrNV ร่วมกับเชื้อไวรัส XSV (Extrasmall virus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตัวขาวหรือโรคหางขาวในกุ ้งก้ามกราม จัดเป็นผลงานแรกที่รายงานถึงความสำเร็จในการตรวจเชื้อไวรัสกุ้ง 2 ชนิดพร้อมกันในขั้นตอนเดียว (One-step detection)การวิจัยด้านโภชนาการของกุ ้ง ได้ศึกษาวิจัยและมีการนำมาทดสอบแล้ว ได้แก่ 1) พัฒนาโปรตีนเพื่อผสมในอาหารกุ้ง จากองค์ความรู ้เกี่ยวกับโปรตีนของกุ ้งกุลาดำ Penaeus monodon Rab7(PmRab7) ที่สามารถจับกับโปรตีน VP28 ซึ่งเป็นส่วนประกอบของไวรัสตัวแดงดวงขาวได้อย่างจำเพาะเจาะจง และได้ทำการขัดขวางรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>15


ต้นแบบผลิตหัวเชื้อไดอะตอมแบบต่อเนื่อง ชุดนำ้ำยาตรวสอบคุณภาพเนื้อโคการจับกันนี้โดยใช้แอนติบอดี ทำให้กุ ้งที่ได้รับเชื้อไวรัสตายช้าลง จึงได้พัฒนาผลิตโปรตีนทั้งสองชนิดและปรับปรุงกระบวนการผลิตในห้องปฏิบัติการในปริมาณที่มากเพียงพอต่อการนำไปผสมในอาหารกุ้ง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอาหารที่มี PmRab7 ในระดับภาคสนามในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว ร่วมกับหน่วยงานและบริษัทเอกชน 2) พัฒนาต้นแบบเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตหัวเชื้อไดอะตอมแบบต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นอาหารลูกกุ้งวัยอ่อนในโรงเพาะฟัก โดยสามารถผลิตไดอะตอมแบบต่อเนื่องขนาด10 ลิตร ใช้เป็นอาหารลูกกุ ้งวัยอ่อนในโรงเพาะฟัก ผลการทดสอบในสภาพการเลี้ยงจริงร่วมกับโรงเพาะฟักเอกชนเป็นที่น่าพอใจ และได้ต่อยอดการออกแบบและสร้างระบบต้นแบบผลิตไดอะตอมเชิงพาณิชย์ให้เป็นเครื่องมือสำเร็จรูปที่ใช้งานได้ง่าย ทนทาน เหมาะสมต่อการใช้งานในฟาร์มขนาด 50 ลิตร ซึ่งเป็นต้นแบบที่มีต้นทุนในการสร้างและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำ มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์ ดังนั้นจึงช่วยลดต้นทุนการจัดหาและเก็บรักษาหัวเชื้อสาหร่าย และผลผลิตไดอะตอมที่ได้จะมีความสะอาดสูงกว่าระบบที่มีใช้กันทั่วไป และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสาหร่ายชนิดอื่นได้ 3) ไบโอเทคร่วมกับบริษัทเอกชน พัฒนาอาหารกุ้งลูกชิ้นสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเป็นธรรมชาติ มีความดึงดูดต่อการกินของกุ้ง ลดของเสียจากอาหารเหลือในบ่อเลี้ยง และทำให้กุ้งใช้เวลาในการกินได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการพัฒนารังไข่ของกุ้งแม่พันธุ์ โดยกุ้งที่ได้รับอาหารมีการพัฒนารังไข่ที่เร็วขึ้น มีแนวโน้มการตกไข่และความถี่ในการวางไข่ที่สูงขึ้น อาหารลูกชิ้นดังกล่าวถูกออกแบบเพื่อแทนที่อาหารสด 100% สำหรับพ่อแม่พันธุ์กุ้งในบ่อฟัก และเป็นอาหารที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อการเลี้ยงกุ้ง เนื่องจากไม่มีพาหะที่ก่อให้เกิดโรค มีความอยู่ตัวในน้ำ ทำให้เกิดของเสียจากอาหารเหลือลดลงการวิจัยและพัฒนาด้านโคการวิจัยและพัฒนาด้านระบบสืบพันธุ ์ของโค ประสบผลสำเร็จในการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วเพื่อเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลาผสมเทียม เป็นการแก้ไขปัญหาระบบสืบพันธุ์ทั้งโคเนื้อและโคนม มีการสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสหกรณ์โคต่างๆ เช่น สหกรณ์โคนมปากช่อง สหกรณ์โคพิมาย สหกรณ์โคนมหนองโพ เป็นต้นนอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ University of Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาวิเคราะห์กรดไขมันที่มีผลต่อเมตาบอลิซึมของฮอร์โมน 17 β-estradiol และ progesterone เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์โคนมโดยการใช้กรดไขมันเป็นอาหารเสริม ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการใช้ Polyunsaturated fatty acid (PUFA) เป็นอาหารเสริมให้กับโคนมเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในการยับยั้งเมตาบอลิซึมของ 17 β-estradiol และ progesterone ในโคนม และช่วยในการปรับปรุงระบบสืบพันธุ์ของโคนมการวิจัยและพัฒนาชุดตรวจสำหรับสัตว์ ได้นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวสารสนเทศมาประยุกต์ในการพัฒนาเป็นชุดตรวจสำหรับสัตว์ ได้แก่ 1) Azupure : sperm DNA purification kitชุดสกัด DNA จากน้ำอสุจิ โดยตรวจการแสดงออกของยีนโปรตามีนในตัวอสุจิที่มีผลต่อความสมบูรณ์ของตัวอสุจิ 2) iBrew : Bovinemeat quality genotyping kit ชุดน้ำยาตรวจสอบคุณภาพเนื้อโคโดยใช้หลักการการตรวจหาเครื่องหมายทางพันธุกรรม (SNPs)ของยีนที่เกี่ยวข้องกับระดับไขมันแทรกและระดับความนุ่มของเนื้อโคใช้สำหรับคัดเลือกสายพันธุ์โคและทำนายคุณภาพเนื้อโคตั้งแต่แรกคลอด หรือในขณะที่โคมีชีวิตอยู่ 3) iBrew : K9 diagnostic kitMDR1 ชุดตรวจการแพ้ยาสุนัข โดยตรวจหาความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยาได้ในสุนัขทุกสายพันธุ์16 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


ต้นเชื้อบริสุทธิ์สำาหรับผลิตแหนม พิธีลงนาม MOU ความร่วมมือทางวิชาการในการประเมินความปลอดภัยทางอาหารระหว่าง สำานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กับไบโอเทค สวทช.เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมอาหารไบโอเทคมุ ่งเน้นการศึกษาด้านความปลอดภัยอาหาร การศึกษาเคมีเเละจุลชีวอาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อสัตว์การพัฒนาจุลินทรีย์ต้นเชื้อบริสุทธ์และการใช้ประโยชน์แบคทีเรียแลคติก การพัฒนาเทคโนโลยีแปรรูปมันสำปะหลัง และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์จากแป้งการศึกษาด้านความปลอดภัยในอาหาร :การศึกษาฮีสตามีนในน้ำปลาประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำปลามากที่สุดในโลก โดยบริโภคภายในประเทศร้อยละ 95 อีกร้อยละ 5 เพื่อการส่งออก ทั้งนี้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์น้ำปลาถูกกำหนดโดยประเทศคู่ค้า และ CODEX Alimentarius ได้กำหนดค่าฮีสตามีนซึ่งเป็นสารที่อาจก่ออาการแพ้ในน้ำปลาเท่ากับ 200 ppm โดยเป็นค่ามาตรฐานที่ตั้งมาจากข้อมูลการบริโภคอาหารประเภทปลาและผลิตภัณฑ์อาหารจากปลา ซึ่งอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้กับน้ำปลาเนื่องจากน้ำปลาเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสซึ่งมีปริมาณการบริโภคที่น้อยมากต่อมื้อ ดังนั้นปริมาณฮีสตามีนที่ควรมีในน้ำปลาน่าจะสูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ ไบโอเทคจึงร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาการประเมินความเสี่ยงของฮีสตามีนในน้ำปลา และได้นำเสนอผลจากการศึกษาในที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการโคเด็กซ์สาขาสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (CODEX Committee on Fish <strong>and</strong> FisheryProducts; CCFFP) ครั้งที่ 30 ณ ราชอาณาจักรโมรอคโค ระหว่างวันที่ 24 กันยายน - 4 ตุลาคม 2552 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบต่อ (ร่าง) มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำปลาที่มีค่าฮีสตามีนไม่เกิน400 ppm ตามที่ประเทศไทยเสนอ และให้การรับรอง ProposedDraft St<strong>and</strong>ard <strong>for</strong> Fish Sauce และเห็นชอบให้ใช้วิธี AOAC 977.13ในการวิเคราะห์ฮีสตามีนเพียงวิธีเดียว ซึ่งจะมีประโยชน์ในการต่อรองกับประเทศคู่ค้าต่างๆ และเพื่อลดการกีดกันทางการค้าและเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้นอกจากนี้ ไบโอเทค ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาวิธีการลดฮีสตามีนในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเกลือเป็นองค์ประกอบสูงด้วยการใช้จุลินทรีย์อาเคียที่ชอบเกลือ (Halophilic archaea) ที่มีกิจกรรมเอนไซม์ย่อยสลายฮีสตามีน พบว่าจุลินทรีย์ Natrinema gari BCC24369 มีความสามารถในการลดฮีสตามีนได้สูงสุด และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ และจากการนำเซลล์อิสระและเซลล์ตรึงของ N. gari BCC24369 ไปใช้ในการย่อยสลายฮีสตามีนในน้ำปลาในสภาวะที่เหมาะสม สามารถลดปริมาณฮีสตามีนในน้ำปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลา 1-2 วัน จึงเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมน้ำปลาและอาหารหมักที่มีเกลือสูงได้รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>17


การออกแบบกระบวนการผลิตแป้งดัดแปรไบโอเทคได้ศึกษาการดัดแปรแป้งมันสำปะหลังด้วยวิธีทางเคมีด้วยสารออกซิไดซ์ 2 ชนิด ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่าแป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยเปอร์ออกไซด์มีแนวโน้มในการเกิดเจลสูงกว่าและให้เจลที่แข็งแรงกว่าแป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยไฮโปคลอไรท์ และแป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยเปอร์ออกไซด์มีอุณหภูมิในการเกิดเจลาทิไนเซชั่นสูงขึ้น ในขณะที่แป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยไฮโปคลอไรท์มีอุณหภูมิในการเกิดเจลาทิไนเซชั่นต่ำลง ทำให้ได้องค์ความรู้เพื่อช่วยในการออกแบบกระบวนการดัดแปรแป้งเพื่อให้ได้แป้งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมกระดาษการคัดเลือกต้นเชื้อในการผลิตแหนมมาตรฐานผลิตภัณฑ์แหนม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดความปลอดภัยในการบริโภคของแหนมคือ แหนมที่ผ่านการหมักจนมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.6 ซึ่งค่า pH ของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับปริมาณกรดแลคติกที่จุลินทรีย์ผลิตออกมา โดยขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต อุณหภูมิการเก็บ และการสลายตัวของเนื้อหมู ทั้งนี้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แหนมหลายรายอาศัยจำนวนวันหมักเป็นตัวบ่งชี้รสเปรี้ยว ซึ่งมีความไม่แน่นอน ดังนั้น ไบโอเทค ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้คัดเลือกสายพันธุ์เชื้อ Lactobacillus plantarum และพบว่าแหนมที่หมักโดยต้นเชื้อwild type มีการลดลงของค่า pH อย่างรวดเร็วมากกว่าแหนมที่หมักโดยใช้ต้นเชื้อ L. plantarum N750-1 ดังนั้นต้นเชื้อ L. plantarumN750-1 จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาแหนมได้นานกว่า และทำให้รักษาระดับค่า pH คงที่ประมาณ 4.6 ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิด over-fermentationความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง อย. กับไบโอเทคไบโอเทค สวทช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 5เมษายน <strong>2553</strong> เพื่อดำเนินการประเมินความปลอดภัยของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ให้ข้อเสนอแนะทางเทคนิคและวิชาการ การสร้างระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ โดยมีการดำเนินงานในปี <strong>2553</strong> จำนวน 7 โครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขไบโอเทค มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ได้แก่มาลาเรีย ไข้เลือดออก วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โดยมีทิศทางการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านการพัฒนายาและค้นหาเป้าหมายของยาใหม่สำหรับโรคมาลาเรียและวัณโรค การพัฒนาวัคซีนโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งศึกษาด้านองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อทราบสาเหตุกลไกการเกิดโรคไข้เลือดออก และพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวสารสนเทศเพื่อการวิจัยด้านพันธุศาสตร์งานวิจัยโรคมาลาเรียไบโอเทคได้วิจัยและพัฒนา 1) การพัฒนายาต้านมาลาเรียประเภทแอนติโฟเลต ปัจจุบันทราบกันเป็นอย่างดีว่ากลไกการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียต่อยาแอนติโฟเลตคือ การเกิด mutation ของเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลตรีดัคเทส (DHFR) ซึ่งเป็นเป้าหมายของยาเป็นสาเหตุให้ยาไม่สามารถจับกับเอนไซม์ดังกล่าวได้ เชื้อมาลาเรียจึงไม่ตายและเกิดการดื้อต่อยาขึ้น กลุ่มวิจัยด้านมาลาเรียของไบโอเทคได้วิจัยและพัฒนายาต้านมาลาเรียประเภทแอนติโฟเลตมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากการค้นพบโครงสร้างของเป้าหมายยามาลาเรียทั้งในชนิด Plasmodium falciparum และ Plasmodiumvivax และได้มีการออกแบบและสังเคราะห์ยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อที่ดื้อยา ทำการทดสอบสารกับเชื้อที่ดื้อยาในจานเพาะเลี้ยงและในสัตว์ทดลอง และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศในการศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง รวมทั้งการศึกษา pharmacokineticsจนประสบความสำเร็จได้สารต้านมาลาเรียที่มีศักยภาพ 1 ชนิดที่ถูกคัดเลือกในการศึกษา pre-clinical ในมนุษย์ต่อไป2) ไบโอเทค ได้ร่วมมือกับบริษัท Novartis ประเทศสิงคโปร์ พัฒนายาต้านมาลาเรียเพื่อใช้กับเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยา ซึ่งพบว่ายาต้านมาลาเรีย QN254 มีฤทธิ์ยับยั้งเลือกจับเอนไซม์ DHFR ของเชื้อมาลาเรียได้ดี และมีผลดีมากต่อเชื้อมาลาเรีย P. berghei ในหนูmice แต่ได้พบความเป็นพิษของสารดังกล่าวในหนู rat เมื่อใช้สารในปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้ดัชนีความปลอดภัยในการรักษาโรคของสารนี้ไม่สูงเท่าที่ควรจึงไม่เหมาะที่จะพัฒนาเป็นยาสำหรับรักษาโรคมาลาเรีย18 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


โครงสร้างโปรตีนเป้าหมาย (ดีเอ็ชเอ็ฟอาร์) ของเชื้อมาลาเรีย (สีส้มและเขียว) ซึ่งจับกับยาไพริเมทามีน โดยโปรตีนของเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยามีลักษณะคล้ายกับโปรตีนของเชื้อทริปาโนโซม (สีชมพู)งานวิจัยไข้หวัดใหญ่ ไช้หวัดนก : เทคนิคทดสอบปริมาณเชื้อไวรัสงานวิจัยโรคไข้เลือดออกไบโอเทค โดยหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษากลไกของการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่และระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองต่อการติดเชื้อ และการพัฒนาวัคซีน โดยมีความก้าวหน้าในการวิจัยได้แก่ 1) การศึกษาองค์ความรู้ด้านระบบภูมิคุ้มกันที่มีผลต่อการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่และทดสอบการเกิดพยาธิสภาพของโรคไข้เลือดออกในสัตว์ทดลองโดยใช้ลิงวอก พบว่าลักษณะอาการทางคลินิกคล้ายกับที่ตรวจพบได้ในผู้ป่วยไข้เลือดออก จึงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษากลไกการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสในร่างกาย และสามารถใช้ทดสอบกลไกการทำงานของวัคซีนต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่ที่กำลังถูกพัฒนาขึ้น2) ศึกษาบทบาทของเกล็ดเลือดที่มีต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคไข้เลือดออกในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษากลไกในการติดเชื้อไวรัส การเพิ่มจำนวนและการแพร่กระจายเชื้อไวรัสในร่างกาย 3) ศึกษากลไกการตอบสนองของแอนติบอดีในโรคไข้เลือดออกเด็งกี่เมื่อได้รับเชื้อซ้ำ พบว่าภูมิคุ ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ในครั้งก่อนไม่สามารถป้องกันแต่กลับส่งผลทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น กระบวนการนี้เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกในกรณีที่มีการติดเชื้อซ้ำโดยไวรัสเด็งกี่ที่ต่างสายพันธุ์กัน จึงเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก4) พัฒนาวัคซีนต้นแบบของไวรัสเด็งกี่ชนิดเชื้อมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดแรกที่เริ่มมีการพัฒนาและมีความก้าวหน้ามากที่สุดโดยเป็นไวรัสลูกผสมที่มียีนของเชื้อไวรัสต่างสายพันธุ์กัน จากนั้นไวรัสลูกผสมที่ได้จะถูกนำไปทดสอบคุณสมบัติวัคซีนในสัตว์ทดลองซึ่งพบว่ามีหนึ่งรูปแบบที่กระตุ้นการสร้าง neutralizing antibodyต่อไวรัสเด็งกี่งานวิจัยไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนกไบโอเทคได้วิจัยและพัฒนา 1) เทคนิคการสกัดเอนไซม์นิวรามินิเดสซึ่งเป็นเอนไซม์เป้าหมายของยาที่ใช้ในการรักษาไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีรีเวอร์สเจเนติกส์ในการสร้างรีคอมบิแนนท์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู ่ไข่ไก่ฟัก โปรตีนที่สกัดได้นอกจากใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเทคนิคคัดกรองสารออกฤทธิ์ต้านไวรัสแล้ว ยังมีประโยชน์ในการนำไปผลิตแอนติบอดี การนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อการพัฒนาวัคซีน 2) การพัฒนาระบบไวรัสเรืองแสงสีแดงเพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากไวรัสมีความสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2009 ทำให้การเตรียมวัคซีนไม่ทันกับการระบาด ส่วนยาที่ใช้ในการรักษามีเพียง2 กลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกยับยั้งการทำงานของโปรตีนเมตริกซ์ เช่นอะแมนทาดีน และริแมนทาดีน กลุ่มที่สองยับยั้งการทำงานของนิวรามินิเดส เช่น โอเซลทามิเวียร์ และแซนามิเวียร์ พบว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคนมีการดื้อต่อยาเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>19


จะต้องศึกษาค้นคว้ายาตัวใหม่และยาที่สามารถออกฤทธิ์ต่อโปรตีนเป้าหมายใหม่ ดังนั้นไบโอเทค จึงจะทำการคัดกรองสารและเปปไทด์ขนาดเล็กที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการคัดกรองสารที่มีความสามารถในการจับกับโปรตีนเป้าหมายหลายประเภท ได้แก่ ฮีแมกกลูตินินนิวรามินิเดส โปรตีนเมตริกซ์ และอาร์เอ็นเอโพลิเมอเรสคอมเพล็กซ์ก่อนที่จะคัดเลือกสารมาตรวจสอบการต่อต้านการติดเชื้อไวรัส โดยใช้เทคนิค reverse genetics พัฒนาระบบการตรวจสอบการติดเชื้อไวรัส หากสารที่คัดเลือกสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสในเซลล์ได้ ปริมาณแสงสีแดงที่วัดได้จะลดลงตามลำดับ จากการคัดเลือกตามระบบข้างต้นทำให้คัดเลือกได้สารตัวอย่างจำนวนหนึ่งจากการคัดเลือกทั้งหมด 100,000 ข้อมูล และอยู่ในระหว่างการสังเคราะห์สารเพื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเชื่อมเยื่อหุ้มระหว่างเซลล์ต่อเซลล์โดยใช้การวิเคราะห์ cell-cell fusion assayซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการค้นหาสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับนำไปใช้ศึกษาและพัฒนายาต่อไปการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไบโอเทคกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พัฒนาชุดตรวจ AMS-HbE tube คัดกรองพาหะฮีโมโกลบินอีที่เป็นสาเหตุของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถอ่านผลด้วยตาเปล่าได้ทันที มีวิธีการที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อน มีความไว ความจำเพาะค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ ในการตรวจฮีโมโกลบินอี (HbE)ถึง 100% โดยไม่มีผลบวกปลอมหรือผลลบปลอมเลย และสามารถเก็บ hemolysate ไว้ที่ 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และที่-20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยที่ประสิทธิภาพการตรวจHbE โดยชุดตรวจดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตรวจคัดกรองพาหะ HbE ในประชากรทั่วไปได้ เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรค HbE/ β-thalassemia มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยอยู่ระหว่างการดำเนินงานเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจฮีโมโกลบินอย่างง่าย “AMS-HbE Tube”เทคโนโลยีชีวสารสนเทศในการศึกษาความหลากหลายทางชาติพันธุ ์นักวิจัยไบโอเทค มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับกลุ่มนักวิจัยจากภูมิภาคเอเชีย ได้แก่สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน จีน เกาหลี ญี่ปุ่นอินเดีย ศึกษาความหลากหลายทางชาติพันธุ์จากข้อมูลของมนุษย์เช่น ความหลากหลายทางพันธุกรรม พื้นเพ และการใช้ภาษาของแต่ละชนเผ่า ในภูมิภาคเอเชีย 73 กลุ่ม จำนวน 1,928 คน ซึ่งงานวิจัยได้เก็บตัวอย่างเลือดของชนพื้นเมืองของแต่ละประเทศทำจีโนไทป์ด้วยเทคโนโลยี Affymetrix SNPArray 50K และวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างประชากร การย้ายถิ่น ความใกล้ชิดทางชาติพันธุ์ ซึ่งนักวิจัยไบโอเทคได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างฐานข้อมูล http://www4a.biotec.or.th/pasnp การวิจัยได้บ่งชี้ถึงการกระจายของแฮปโปลไทป์ที่หลากหลายในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าการกระจายตัวที่น้อยลงทางตอนเหนือ(East Asian) คือ กลุ่มเกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งหลักฐานนี้ไม่สนับสนุนแนวความคิดตามที่ได้มีการรายงานมาก่อนหน้านี้ว่า การอพยพเข้ามาในฝั่งเอเชียเป็นการเคลื่อนย้ายสองครั้งใหญ่ (two-wavehypothesis) ที่ระบุว่าการอพยพครั้งที่สองเป็นการย้ายถิ่นฐานเริ่มต้นจากแถบตะวันออกกลาง และเคลื่อนออกไปทางตะวันตกและตะวันออก และข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลสนิปที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครโมโซมเพศที่สนับสนุนการเคลื่อนย้ายของประชากรจากด้านใต้ขึ้นไปทางเหนือ ซึ่งแสดงด้วยหลักฐาน20 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


เส้นทางอพยพของบรรพชนชาวเอเชียที่อพยพเข้าสู่ทวีปเอเชียเพียงครั้งเดียว(one wave) ด้วยเส้นทางด้านใต้ของภูมิภาค (อินเดียปัจจุบัน)พื้นที่ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ที่มีชนเผ่าลั๊วะ และชนเผ่ามลาบรีอาศัยอยู่ของความคล้ายคลึงของประชากรในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(กลุ ่มเนกริโต) และเอเชียตะวันออก (กลุ ่มที่ไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับเนกริโต) ที่ไม่มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งกับการวิจัยด้านมนุษยพันธุศาสตร์ พันธุศาสตร์ประชากร ระบาดวิทยาพันธุศาสตร์เช่น การตรวจสอบเชื้อชาติในแง่กฎหมาย การตรวจสอบเอกลักษณ์บุคคล การตรวจสอบความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การตรวจสอบประสิทธิผลของการใช้ยา การตรวจสอบการแพ้ยา เป็นต้นนอกจากนี้ไบโอเทค ได้มีการศึกษาต่อยอดโดยการศึกษาต้นกำเนิดทางพันธุศาสตร์ของชาวผีตองเหลืองหรือมลาบรี(Mlabri) ซึ่งเป็นชาวป่าเผ่าสุดท้ายที่ยังหลงเหลือในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งหลักฐานข้อมูลเกี่ยวกับต้นกำเนิดมีเหลืออยู่น้อยโดยศึกษาตรวจสอบความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์ของชาวมลาบรีและความคงที่กับความสัมพันธ์ทางภาษา ด้วยการทำ genome-wideanalysis จากตัวอย่างมากกว่า 50,000 สนิปส์ (Single nucleotidepolymorphism, SNP) จาก 13 กลุ่มประชากรในประเทศไทย ซึ่งรวมทั้ง มลาบรี ถิ่น (Htin) และกลุ่มประชากรเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบสูงทางเหนือ ที่พูดภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษาไท-กะได และภาษาม้งเมี่ยน โดยตรวจสอบต้นกำเนิดทางพันธุศาสตร์ของชาวผีตองเหลือง ได้อาศัยองค์ความรู้ด้านภาษา(linguistic study) โดยค้นพบว่าชาวผีตองเหลืองมีต้นกำเนิดมาจากชาวถิ่นที่พูดภาษาขมุในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก โดยผลงานดังกล่าวเป็นหลักฐานทางพันธุศาสตร์ครั้งแรกที่สนับสนุนความสัมพันธ์ทางภาษาของมลาบรีและถิ่นการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสการรักษาผู ้ติดเชื้อเอชไอวีและผู ้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสมีจำนวนเพิ่มขึ้น และพบว่าเชื้อเอชไอวีดื้อต่อยาต้านไวรัสมากขึ้นดังนั้นการตรวจเชื้อเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสทางห้องปฏิบัติการจึงมีความสำคัญมากในการตรวจติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพโดยจะสามารถปรับเปลี่ยนสูตรยารักษาได้ทันท่วงทีเมื่อพบการดื้อยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนงบประมาณให้ไบโอเทคดำเนินโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการตรวจเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัส ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับห้องปฏิบัติการที่มีอยู ่ในหน่วยงานของรัฐ 8 แห่งและเอกชน1 แห่งในประเทศไทย ระบบดังกล่าวจะช่วยในการรายงานการตรวจติดตามการรักษาผู้ป่วยเอดส์ได้ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้เกิดการตรวจรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>21


ด้านพลังงานทดแทนและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพไบโอเทคมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีการบำบัดของเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตไบโอเอทานอล และการพัฒนาเอนไซม์เพื่อการประยุกต์ใช้ในการแปรชีวมวลเป็นพลังงานและสิ่งแวดล้อมและสารเคมีเพิ่มมูลค่าพลังงานทดแทนเทคโนโลยีการบำบัดของเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพไบโอเทค โดยศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดของเสีย และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ และไบโอเอทานอล โดยมีความก้าวหน้าในการวิจัย ได้แก่ 1) การบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์สูง (NaCl) โดยใช้ถังปฏิกรณ์บำบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบลูกผสม พบว่าค่าความเข้มข้น NaCl ที่ระดับ 5 g/l (0.5%) ไม่มีผลยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปร ซึ่งมีค่าความเข้มข้น NaCl 2-10 g/l(0.2-1.0%) ซึ่งอยู ่ระหว่างศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้น NaCl สูงกว่า 5 g/l เนื่องจากน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานมักมีความเข้มข้น NaCl ไม่คงที่ 2) การพัฒนาชุดตรวจวัดมลพิษสำหรับน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม (COD sensor) โดยได้พัฒนาหัววัดค่า COD สำหรับน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบออนไลน์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและส่งข้อมูลได้ทุกๆ 30 นาที ซึ่งค่าที่วัดได้ของกระแสไฟฟ้าจะแปรผันตามค่า COD ของตัวอย่างน้ำที่ทำการตรวจวัด หัววัด CODที่พัฒนาขึ้นใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย จึงเพิ่มมูลค่าให้กับการพัฒนาระบบฝังตัวที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลสัญญาณและคำนวณค่า COD จากเซนเซอร์พื้นฐานต่างๆ สามารถลดการนำเข้าเครื่องมือ แก้ปัญหาน้ำทิ้งในโรงงานอย่างยั่งยืน และช่วยให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ต้นแบบดังกล่าวได้ติดตั้งเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่งสิ่งทอการพัฒนาเอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อแปรชีวมวลเป็นพลังงานทดแทน และสารเคมีเพิ่มมูลค่าพัฒนาเอนไซม์เพื่อแปรชีวมวลในกระบวนการผลิตไบโอเอทานอลจากชานอ้อย ด้วยเชื้อรา 2 ชนิดคือ Penicilliumchrysogenum BCC4504 และ Aspergillus flavus BCC7179 ในกระบวนการย่อยแป้งเป็นน้ำตาล และใช้ยีสต์ในกระบวนการหมักเพื่อผลิตเอทานอล โดยในกระบวนการผลิตแบบ 2 ขั้นตอนจะได้ปริมาณไบโอเอทานอล 0.35 กรัมเอทานอล/ลิตร/ชั่วโมง และกระบวนการผลิตแบบการย่อยและหมักแบบต่อเนื่องในขั้นตอนเดียวกันจะได้ 0.11 กรัมเอทานอล/ลิตร/ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับการผลิตเอทานอลด้วยเอนไซม์ทางการค้า ซึ่งผลิตได้ในช่วง 0.03-0.57กรัมเอทานอล/ลิตร/ชั่วโมงพัฒนามัลติเอนไซม์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมของเอนไซม์กลุ่มย่อยโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง และเอนไซม์ย่อยแป้งดิบ จากสายพันธุ์ราในกลุ่ม Aspergillus ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวสามารถย่อยมันสำปะหลังเป็นน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้ความร้อน การศึกษาการใช้เอนไซม์เพื่อลดความหนืดและปริมาณของแข็งในกระบวนการหมักมันสำปะหลังแบบความเข้มข้นสูงในการผลิตเอทานอล และการศึกษาประสิทธิภาพในการใช้มัลติเอนไซม์บำบัดของเสียประเภทกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอัตราการผลิตก๊าชชีวภาพโดยกระบวนการย่อยแบบไม่ใช้อากาศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เอนไซม์ต้นแบบที่มีศักยภาพสำหรับการประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพต่อไป22 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


การเก็บรักษาจุลินทรีย์โดยวิธีระเหิดแห้ง “Lyophilization” เพลี้ยแป้งเข้าทำาลายพืชผลทางการเกษตรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพไบโอเทคมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา ที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่การค้นหาทรัพยากรชีวภาพ การจัดจำแนกทางด้านอนุกรมวิธานการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ การสังเคราะห์สาร การดัดแปรโมเลกุลทางเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ รวมทั้งการขยายขนาดการผลิตเพื่อทดสอบได้ในระดับ pre-pilot scale โดยมีเป้าหมายเพื่อการค้นพบสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพชนิดใหม่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยา เอนไซม์สารมูลค่าสูง เพื่อการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม และการใช้เป็นสารชีวภัณฑ์ ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่รองรับการวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ คือ คลังเก็บรักษาจุลินทรีย์ของไบโอเทค (BIOTEC Culture Collection) ที่มีการบริหารจัดการและระบบการจัดเก็บรักษาและฐานข้อมูลจุลินทรีย์ที่เป็นมาตรฐานสากล ได้รับการรับรองตามระบบ ISO 9001:2000 มีจุลินทรีย์ที่เก็บรวบรวมแล้วจำนวน 42,863 ตัวอย่าง ได้แก่ เชื้อรา 29,121 ตัวอย่าง(68%) แบคทีเรีย 10,253 ตัวอย่าง (23%) ยีสต์ 3,281 ตัวอย่าง (8%)และสาหร่าย 208 ตัวอย่าง (1%) ทั้งนี้ ในจำนวนจุลินทรีย์ที่รับฝากเก็บเป็นเชื้อที่ฝากแบบ patent และ safe deposit จากต่างประเทศ9 ตัวอย่าง และในประเทศ จำนวน 51 ตัวอย่าง นอกจากนี้มีการเก็บรักษาวัสดุชีวโมเลกุลจำนวน 93 ตัวอย่าง ได้แก่ Vector 35 ตัวอย่างHost 14 ตัวอย่าง และ Recombinant 44 ตัวอย่างการใช้จุลินทรีย์ในการควบคุมศัตรูพืช แมลงพาหะด้วยชีววิธีการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชและแมลงพาหะนำโรค โดยพบเชื้อรา Beauveria bassianaBCC2660 สามารถเข้าทำลายเพลี้ยอ่อนได้โดยใช้ปริมาณสปอร์น้อย และใช้ระยะเวลาในการทำลายสั้น เมื่อนำมาทดสอบเปรียบเทียบกับสายพันธุ ์ทางการค้า พบว่าสามารถควบคุมประชากรเพลี้ยอ่อนภายในโรงเรือนปลูกคะน้าได้ดีกว่าสายพันธุ ์ทางการค้าถึง 4 เท่าปัจจุบันอยู ่ระหว่างการพัฒนาสูตรที่เหมาะสมในการฉีดพ่นในแปลงและการทดสอบการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ร่วมกับกรมการข้าว) การควบคุมเพลี้ยอ่อน (ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร) และควบคุมเพลี้ยแป้งในแปลงทดสอบการค้นพบโปรตีน Vip3Aa จากเชื้อ Bacillus thuringiensis(Bt) ที่มีความเป็นพิษสูงต่อหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะสมอฝ้าย และเป็นพิษมากกว่าโปรตีน ซึ่งสกัดจาก Bt สายพันธุ ์การค้าของบริษัทจากต่างประเทศ ปัจจุบันมีแผนการดำเนินงานในการทดสอบประสิทธิภาพของ Vip3Aa ในแปลงทดสอบภาคสนามศึกษาคุณลักษณะของโปรตีนฆ่าลูกน้ำยุงจากแบคทีเรียBacillus sphaericus (Bs) ชนิด Mosquitocidal toxin 2 (Mtx2)ทำให้ทราบบริเวณตำแหน่งกรดอะมิโนที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างและการออกฤทธิ์ของโปรตีน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำยุงต่อไปรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>23


การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จากความสามารถด้านเอนไซม์เทคโนโลยีของไบโอเทคทำให้บริษัทเอกชนให้ความสนใจร่วมวิจัยในการค้นหาเอนไซม์ที่มีศักยภาพจากจุลินทรีย์ และพัฒนาสูตรเอนไซม์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโภชนะในอาหารสัตว์ เพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ และทดแทนการนำเข้าเอนไซม์จากต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีเอนไซม์หลายชนิดที่มีศักยภาพทั้งในระดับทดลองห้องปฏิบัติการ และในระดับภาคสนาม เช่นเอนไซม์แมนนาเนส อยู่ระหว่างพัฒนาระบบการผลิตในระดับ pre-pilot scale ให้ได้เอนไซม์ที่เพียงพอสำหรับการทดสอบในฟาร์มไก่ทดลอง เพื่อดูศักยภาพในการนำไปใช้เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์รีคอมบิแนนท์เอนไซม์ไฟเตสทนร้อน มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเอนไซม์ทางการค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถผลิตได้ในระดับ 50 ลิตร และจะทดสอบขยายการผลิตในระดับ 200 ลิตรเอนไซม์ไซแลนเนสและเซลลูเลส เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยได้ของโภชนะในอาหารสัตว์เมื่อทดสอบในฟาร์มไก่ และจะร่วมกับเอกชนเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในสุกรพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์เอนไซม์โดยใช้แผ่นฟิล์มซับสเตรทติดสีชนิดไม่ละลายน้ำ (Enzstrips) ในการตรวจวัดกิจกรรมของเอนไซม์ในกลุ่มเซลลูเลส เฮมิเซลลูเลส เบต้ากลูคาเนส และอะไมเลส โดยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบซึ่งมีการยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว และอยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพในระดับภาคสนามโดยหน่วยงานอื่นการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ความหนาแน่นสูงของจุลินทรีย์ทะเล Schizochytrium โดยสามารถพัฒนากระบวนการผลิตในระดับถังหมักขนาด 300 ลิตรให้ได้เซลล์ 120-200 g/L และDHA 15-24 g/L โดยมีกรดไขมันรวม 60-70% และมี DHA 25-40%ของกรดไขมันทั้งหมด โดยมีต้นทุนการผลิต 470 บาท/กิโลกรัมพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยมีบริษัทเอกชนสนใจร่วมวิจัยเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารเสริมปลา เพื่อปรับสมดุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวในเนื้อปลาน้ำจืดการพัฒนากระบวนการผลิตมวลเซลล์ความหนาแน่นสูงของจุลินทรีย์ทะเลSchizochytrium ในระดับถังหมัก 300 ลิตรการพัฒนากระบวนการผลิตโพลิเมอร์ชีวภาพเพื่อการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอางไบโอเทคได้พัฒนากระบวนการผลิต exobiopolymerจากเชื้อรา Ophiocordyceps dipterigena BCC2073 ในถังหมักขนาด 5 ลิตร โดยมีปริมาณการผลิตสูงสุด คือ 41.2 กรัม/ลิตร และโพลิเมอร์จากเชื้อราดังกล่าว สามารถกระตุ้นการผลิตสารไซโตไคน์interleukin-8 ได้สูง และมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นวัสดุปิดแผลรวมถึงมีความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เป็นสารเพิ่มความเหนียวในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้ต่อไป นอกจากนี้ยังมีศักยภาพที่จะนำโพลิเมอร์ชีวภาพ ไปประยุกต์ใช้ในหลายๆ ด้าน เช่น การใช้เป็นprebiotics เพื่อเป็นสารอาหารให้ probiotics และเป็นสารจับใบเพื่อใช้ร่วมกับสารชีวภัณฑ์ เป็นต้นการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์ยาสามัญที่หมดสิทธิบัตรในระดับห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรมการผลิตยาส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นการนำเข้าสารสำคัญทางยา Active pharmaceutical ingredient (API)เพื่อนำมาเตรียมเป็นสูตรตำรับยาร่วมกับสารอื่น ดังนั้นการสร้างความสามารถในการผลิต API ในประเทศ จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ รวมทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงเพื่อการพึ่งตนเองได้ของประเทศในระยะยาว ไบโอเทคจึงได้วิจัยและพัฒนากระบวนการสังเคราะห์ยาลดความดันโลหิตที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงและเป็นยาที่หมดสิทธิบัตร คือ Felodipine และ Amlodipine ในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์ปริมาณมากต่อไป24 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพไบโอเทคมีนโยบายมุ่งผลักดันงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ใช้ โดยให้ความสำาคัญสูงกับโจทย์วิจัยจากภาคอุตสาหกรรมและผู้ใช้ เพื่อพัฒนาโครงการร่วมกันและเพื่อให้แน่ใจว่าผลจากการวิจัยและพัฒนาจะนำาไปสู่การใช้ประโยชน์ ขยายการผลิตได้จริง ทำาให้สามารถสร้างผลกระทบได้ในวงกว้างการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพของไบโอเทค มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อผลักดันและส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานการผลิต รวมทั้งการกระตุ ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชนมากขึ้น โดยไบโอเทคมีกลไกในการสนับสนุนให้แก่ภาคเอกชนนำเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ ได้แก่การถ่ายทอดเทคโนโลยี การร่วมและรับจ้างวิจัย การให้คำปรึกษาด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาต้นแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพสู่เชิงพาณิชย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นการนำผลงานวิจัยที่ดำเนินการโดยไบโอเทคและหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดให้กับบริษัทเอกชนที่พร้อมจะผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์26 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


ในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ไบโอเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและอนุญาตให้ใช้สิทธิจากผลงานวิจัยและพัฒนา สำหรับนำไปใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ ให้แก่ 2 หน่วยงาน/บริษัท และเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ให้แก่ 4 หน่วยงาน/บริษัทบริษัท ที เอฟไอ กรีนไบโอเทค จำกัดวัสดุชีวภาพควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว(ทดสอบประสิทธิภาพ)เป็นผลิตภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megateriumที่ได้พัฒนาสูตรตำรับให้อยู ่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถใช้ได้ง่าย มีความคงตัว และมีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราRhizoctonia solani ที่เป็นสาเหตุของโรคกาบใบแห้งของข้าว ทำให้ช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราบริษัท อินโนวา ไบโอเทคโนโลยี จำกัดกรรมวิธีการตรวจหาเชื้อไฟโตพลาสมาที่ก่อให้เกิดโรคใบขาวในอ้อย(ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์)สำหรับการผลิตชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อย ซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อไฟโตพลาสมาได้โดยตรงจากน้ำอ้อย โดยเจาะน้ำอ้อยหยดลงตลับตรวจและอ่านค่าแถบสีที่ปรากฏขึ้น ใช้งานง่าย เกษตรกรสามารถใช้ตรวจได้เองในแปลงปลูก จึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่ใช้ตรวจสอบคัดกรองท่อนพันธุ ์อ้อยก่อนนำไปขยายพันธุ์และปลูกในแปลง ช่วยลดความเสียหายและป้องกันการระบาดของโรคใบขาวหน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ้งชุดตรวจวินิจฉัยไวรัสโรคทอร่า (TSV) และไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV)(ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์)ใช้เทคนิค LAMP-LFD ซึ่งสามารถทดแทนวิธีพีซีอาร์ที่มีราคาสูงได้ ลดเวลาในการตรวจ มีความไวและแม่นยำในการตรวจและมีรูปแบบที่สะดวกใช้สำหรับเกษตรกรบริษัท นิวเวิลด์ไบโอเทค จำกัดกรรมวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัส IMNV(Infectious Myonecrosis Virus) ในกุ้ง(ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์)สำหรับการผลิตชุดตรวจไวรัส IMNV โดยใช้เทคนิค LAMP(Loop mediated DNA amplification) ซึ่งได้พัฒนาให้สามารถตรวจหาการติดเชื้อไวรัสในเบื้องต้นได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมีประโยชน์สำหรับเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคในบ่อเลี้ยงกุ้งจึงช่วยลดระยะเวลาในการตรวจหาเชื้อและลดอัตราการสูญเสียในเชิงอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างมากบริษัท MBSAsia จำกัดโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน(ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์)สำหรับการตรวจวัดระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อใช้ยืนยันการเป็นสัดของแม่โคในวันผสมเทียม ช่วยลดความผิดพลาดและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น และใช้ในการตรวจการตั้งท้องของแม่โคหลังการผสมเทียมบริษัท ดรูไบโอ (ไทยแลนด์) จำกัดต้นแบบอุปกรณ์ช่วยแปลผลการวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย(ทดสอบประสิทธิภาพ)พัฒนาอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อแปลผลชนิดของธาลัสซีเมียพาหะธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินผิดปกติ จากการใช้เครื่องตรวจยืนยันระบบลูกสูบความดันต่ำ ร่วมกับข้อมูลค่าดัชนีเม็ดเลือดแดงและร้อยละของปริมาณฮีโมโกลบิน โดยการนำเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานเพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ผ่านระบบอัตโนมัติ ซึ่งทำให้การตรวจวินิจฉัยของแพทย์/ผู้เชี่ยวชาญเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>27


โครงการร่วมและรับจ้างวิจัยด้านอาหารและการเกษตร(โครงการใหม่ 14 โครงการ ร่วมกับ 12 บริษัท/หน่วยงาน)• การคัดพันธุ์และทดสอบสายพันธุ์อ้อยเศรษฐกิจทนเค็ม• การผลิตไวรัสกำจัดหนอนม้วนใบชา• การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารแต่งรสอร่อยจากจุลินทรีย์• การผลิตกรดไขมันไม่อิ่มตัวจากเชื้อรา• เอนไซม์จากเชื้อราเพื่อใช้ผลิตอาหารสัตว์• การผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปรในระดับกึ่งอุตสาหกรรม• การใช้จุลินทรีย์เพื่อกำจัดสารอินทรีย์และยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคกุ้งในการเลี้ยงกุ้ง• การเพิ่มภูมิต้านทานในกุ้ง• การพัฒนาเทคนิค LAMP-LFD เพื่อการตรวจหาเชื้อไวรัสหัวเหลืองในกุ้งและแมลงพาหะ• การคัดพันธุ์พืชทนต่อสภาวะแวดล้อม• การศึกษาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับผลผลิตเนื้อไม้ของพืช• การศึกษาเครื่องหมายทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับความต้านทานโรคของพืช• การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุศาสตร์ของมันสำปะหลัง• การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเชิงการค้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข(โครงการใหม่ 3 โครงการ ร่วมกับ 2 บริษัท/หน่วยงาน)• การหาลำดับเบสของ Influenza Viruses• การสังเคราะห์สาร ในระดับ pre-pilot scale• การเตรียมสารให้ความหวานในระดับห้องปฏิบัติการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม(โครงการใหม่ 3 โครงการ ร่วมกับ 2 บริษัท/หน่วยงาน)• การพัฒนากระบวนการลอกแป้งและการกำจัดไขมันและสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้าย• การสำรวจการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์โดยกระบวนการตรึงทางชีวภาพ• ระบบนำร่องเพื่อการเพาะเลี้ยงจุลสาหร่ายกลางแจ้งการร่วมวิจัยและรับจ้างวิจัยเป็นการประสานงานกับภาคเอกชนและทีมนักวิจัย เพื่อพัฒนา และ/หรือ ทดสอบงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพตามความต้องการของภาคเอกชนในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ไบโอเทค มีการดำเนินงานโครงการร่วมวิจัยและรับจ้างวิจัย กับภาคเอกชน/ภาครัฐ รวม 47 โครงการเป็นโครงการต่อเนื่อง 27 โครงการ และโครงการใหม่ 20 โครงการสำหรับโครงการใหม่ 20 โครงการ เป็นการดำเนินงานเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ ด้านอาหารและการเกษตร14 โครงการ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 3 โครงการ และด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ โดยดำเนินงานวิจัยร่วมกับ16 บริษัท/หน่วยงานการปรึกษาอุตสาหกรรมเป็นการดำเนินกิจกรรมการให้คำปรึกษาอุตสาหกรรมแก่บริษัทและหน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ไบโอเทค ให้คำปรึกษาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวม 14 โครงการ (โครงการต่อเนื่อง9 โครงการ และโครงการใหม่ 5 โครงการ) สำหรับโครงการใหม่5 โครงการ ที่ให้บริการปรึกษาอุตสาหกรรมให้แก่บริษัท/หน่วยงานรวม 5 แห่ง แบ่งตามอุตสาหกรรม ได้แก่ด้านอาหารและการเกษตร จำนวน 1 โครงการ โดยให้คำปรึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตเซลล์จุลินทรีย์สำหรับเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์เพื่อรองรับมาตรฐาน GMP ของกรมปศุสัตว์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 โครงการ โดยให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทนด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 1 โครงการ โดยให้คำปรึกษาการใช้ประโยชน์จากพืชเพื่อการดูแลผิวการพัฒนาต้นแบบด้านเทคโนโลยีชีวภาพสู ่เชิงพาณิชย์ไบโอเทค ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี หรือองค์ความรู้จากห้องปฏิบัติการ ให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน และพัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีพร้อมใช้ประโยชน์ เพื่อให้ภาคเอกชน28 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


ชุดตรวจความสมบูรณ์ของตัวอสุจิโคหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจในเทคโนโลยีและพร้อมที่จะลงทุนและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ไบโอเทคจึงส่งเสริมให้ดำเนินการพัฒนาต้นแบบผลงานวิจัย รวม 10 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่อง 4 โครงการ และโครงการใหม่ 6 โครงการ โดยมีตัวอย่างของโครงการต้นแบบที่พัฒนาแล้วเสร็จและได้มีการนำไปทดลองตลาด และรวมทั้งการศึกษา/วิเคราะห์ความเป็นไปได้เชิงการตลาดเพิ่มเติม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนต่อไป ได้แก่น้ำยาสำหรับสกัดโปรตีนจากแบคทีเรีย ยีสต์ และเชื้อรา• น้ำยาสกัดโปรตีนที่พัฒนาขึ้น (Enzhance Lysis buffer)มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีเทียบเท่ากับน้ำยาสกัดโปรตีนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าราคาขายของสินค้าประเภทเดียวกันถึง 10 เท่า• อยู่ระหว่างสรรหาบริษัทรับถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อไประบบอัตโนมัติสำหรับแปลผลในการวินิจฉัยThalassemia• การพัฒนาต้นแบบชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการแปลงสัญญาณการพิมพ์จากเครื่องตรวจชนิดฮีโมโกลบินให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถนำไปประมวลผลในระบบอัตโนมัติได้• ได้ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งผลการทดสอบในเบื้องต้น แสดงให้เห็นถึงการทำงานของอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องAzupure: sperm DNA purification kit• การพัฒนาชุดต้นแบบสกัดดีเอ็นเอจากน้ำอสุจิ Azupureโดยพัฒนาสูตรสารเคมีที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของตัวอสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ กลายเป็นชุดสกัดดีเอ็นเอจากน้ำอสุจิสดและอสุจิแช่แข็ง และสามารถใช้ได้กับสิ่งส่งตรวจจำพวกเลือดได้เป็นอย่างดี ชุดต้นแบบนี้ ไม่มีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ใช้งานง่ายสามารถใช้ได้ในฟาร์มหรือห้องปฏิบัติการทั่วไป ทราบผลภายใน2 ชั่วโมง มีราคาถูก และยังสามารถนำไปใช้กับงานด้านนิติเวชศาสตร์และด้านการแพทย์ได้อีกด้วย• อยู่ระหว่างเสาะหาภาคเอกชนที่ประสงค์รับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ไปผลิตหรือจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์โครงการพัฒนาชุดน้ำยาตรวจหา SNPsสำหรับบ่งชี้คุณภาพเนื้อโค• พัฒนาชุดน้ำยาตรวจเครื่องหมายทางพันธุกรรม (SNPs)ที่เกี่ยวข้องกับระดับความนุ ่มและไขมันแทรกในเนื้อโค ทำให้ทราบได้ว่าโคมีลักษณะทางพันธุกรรมที่จะให้คุณภาพเนื้อที่ดีหรือไม่ ชุดตรวจมีขั้นตอนการใช้งานง่าย ใช้เวลาในการตรวจน้อยเพียง 3 ชั่วโมง และประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ราคาแพง• มีการศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์• อยู่ระหว่างเสาะหาภาคเอกชนที่ประสงค์รับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ไปผลิตหรือจัดจำหน่ายในเชิงพาณิชย์รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>29


การศึกษาเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไบโอเทคดำาเนินงานศึกษาเชิงนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อตอบโจทย์ในระดับองค์กรและระดับประเทศไบโอเทคได้ร่วมกับนักวิชาการทั่วทุกภูมิภาคในการจัดทำข้อมูล แถลงการณ์ของนักวิชาการ ประกอบการประชุมรับฟังความเห็นของประชาชนใน 4 ภูมิภาค เพื่อการขอถอดถอน จีเอ็มโอออกจากบัญชีรายการโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง ส่งผลให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (คณะกรรมการสี่ฝ่าย) มีมติถอดจีเอ็มโอออกจากบัญชีรายการโครงการที่อาจมีผลกระทบรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม <strong>2553</strong> คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อ ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. <strong>2553</strong> โดยไม่มีประเด็นจีเอ็มโอในรายชื่อดังกล่าว30 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


โรงงานต้นแบบสำาหรับผลิตขยายจุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบเกษตรของประเทศไทยซึ่งจัดทำขึ้นและได้นำไปต่อยอดหลายประการ ได้แก่ กำหนดทิศทางคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร ภายใต้แผนกลยุทธ์ สวทช. ระยะที่ 2(ปี 2554-2559) การจัดทำเอกสารข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์รายสินค้าได้แก่ 1) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย 2) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งและรับมือกับภาวะโลกร้อน: อุตสาหกรรมข้าวไทย รวมถึงจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรไทย” เพื่อเผยแพร่ไปสู่วงกว้าง โดยหนังสือนี้มีการประมวลสถานภาพด้านเกษตรของประเทศไทยทั้งด้านความสามารถทางเทคโนโลยี ความสามารถเชิงการแข่งขันของภาคเกษตรของประเทศไทย บริบทการเปลี่ยนแปลงของภาคเกษตรในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้าระหว่างประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการรับมือและสร้างโอกาสให้กับภาคเกษตรไทยข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับด้าน carbon footprint เพื่อเตรียมรับมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีอันเป็นผลมาจาก Post Kyoto Protocol ผลการศึกษาได้นำไปสู่การกำหนดทิศทางการสนับสนุนทุนวิจัยของคลัสเตอร์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ภายใต้แผนกลยุทธ์ สวทช. ระยะที่ 2 (ปี2554-2559) รวมทั้งได้เผยแพร่สู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการตระหนักและให้ความสนใจต่อการทำ carbon footprintเพิ่มขึ้นการจัดทำแนวทางปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุมเพื่อใช้ในระดับโรงงานต้นแบบและอุตสาหกรรมไบโอเทคได้จัดทำแนวทางปฏิบัตินี้ด้วยความร่วมมือจากคณะผู้เชี่ยวชาญและคณะอนุกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพด้านจุลินทรีย์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการและผู้ตรวจประเมินมีความเข้าใจถึงขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยและสภาพควบคุมที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานที่มีการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมในสภาพควบคุมสำหรับการผลิตในระดับโรงงานต้นแบบและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ได้นำไปสู ่ความร่วมมือระหว่างไบโอเทคกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในรูปแบบของคณะทำงานร่วมเพื่อการกำหนดกรอบแนวทางกำกับดูแลโรงงานที่มีการใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมความร่วมมือกับ OECD (Organisation <strong>for</strong> EconomicCo-operation <strong>and</strong> Development) ในการเป็นประเทศเจ้าภาพจัดทำเอกสาร Papaya Consensus Document เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารของมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิก OECD แต่ได้รับเกียรติมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศสหรัฐอเมริกาในการจัดทำเอกสาร ConsensusDocument โดยไบโอเทคร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จัดทำเนื้อหาประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานมะละกอ สารสำคัญทางโภชนาการ องค์ประกอบหลักอื่นๆ ข้อแนะนำในการใช้เป็นอาหารสัตว์และใช้เป็นอาหารมนุษย์ ทั้งนี้เอกสารได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ (declassified) และเผยแพร่บนเว็บไซต์ http://www.oecd.org/dataoecd/16/28/46815336.pdfรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>31


การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศการดำาเนินงานเพื่อสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศของไบโอเทคมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านงานวิจัย การแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาในต่างประเทศการสร้างความประจักษ์ของไบโอเทคในเวทีนานาชาติ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติไบโอเทคได้จัดประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติประจำปี <strong>2553</strong> เมื่อวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ <strong>2553</strong> ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย การประชุมในปีนี้ นอกจากคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ จะประชุมร่วมกับผู้บริหารไบโอเทคแล้วยังได้มีการจัดสัมมนานักวิจัยรุ่นใหม่ของไบโอเทค ประมาณ 150คน เพื่อเปิดโอกาสให้คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้รับทราบความก้าวหน้างานวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่ของไบโอเทค ศักยภาพ และความพร้อมของนักวิจัยรุ่นใหม่ คณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ได้เสนอแนะให้ไบโอเทคดำเนินการในหลายเรื่อง เช่น การพัฒนาอาชีพเพื่อรองรับการเติบโตในสายงานนักวิจัย การพัฒนาและสร้างให้นักวิจัยเป็นผู ้ประกอบการ กิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนความรู ้ระหว่างห้องปฏิบัติการ การสร้างความเชื่อมโยงงานวิจัยและส่งเสริมความเป็นสหสาขา32 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


พิธีลงนาม MOU ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไบโอเทคกับ Korea ResearchInstitute <strong>for</strong> Bioscience <strong>and</strong> Biotechnology (KRIBB) ประเทศเกาหลีความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการมีการลงนามสัญญาความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อการส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัย จำนวน 7 หน่วยงานคือKorea Research Institute <strong>for</strong> Bioscience <strong>and</strong> Biotechnology(KRIBB) ประเทศเกาหลี ระยะเวลา 3 ปี (16 ตุลาคม2552 - 15 ตุลาคม 2555) ซึ่งเป็นการต่อสัญญาความร่วมมือที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2547 และสิ้นสุดลงเมื่อปี 2552 โดยที่ผ่านมาได้มีการร่วมจัดสัมมนาวิชาการ 4 ครั้ง และมีการส่งเสริมความร่วมมือวิจัยด้านเซ็นเซอร์ และเอนไซม์ ตลอดจนการเจรจาธุรกิจ (Business-to-Business meeting) ซึ่งเป็นการนำบริษัทธุรกิจชีวภาพจาก 2 ประเทศมาร่วมประชุม)Temasek Polytechnic ประเทศสิงคโปร์ ระยะเวลา5 ปี (1 พฤศจิกายน 2552 - 31 ตุลาคม 2557) เพื่อส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัย ซึ่งความร่วมมือนี้เริ่มจากการที่สถาบันฯ ส่งนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพเข้าฝึกงานในห้องปฏิบัติการวิจัยของไบโอเทค ระยะเวลา 4 เดือน เป็นประจำทุกปีปีละ 4-7 คน ตั้งแต่ปี 2551Generation Challenge Programme (GCP) เป็นองค์กรนานาชาติสนับสนุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืช โดยเป็นการลงนามสัญญาให้ทุนการวิจัยในโครงการ Community ofPractices “Strengthening rice breeding program using genotypingbuilding strategy <strong>and</strong> improving phenotyping capacity <strong>for</strong> biotic<strong>and</strong> abiotic stresses in the Mekhong region” แก่ ดร. ธีรยุทธตู ้จินดา นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ระยะเวลา 3 ปี (1 พฤศจิกายน 2552 - 31 ตุลาคม 2555) งบประมาณสนับสนุนประมาณ 7 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่คณะผู้วิจัย ได้ดำเนินการต่อเนื่องและต่อยอดงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 2547โดยได้รับทุนจากมูลนิธิรอคกี้เฟล์เลอร์ (ระหว่างปี 2547 - 2549)และ GCP (ระหว่างปี 2550 - 2552)Queen’s University of Belfast ประเทศไอร์แลนด์เหนือระยะเวลา 2 ปี (15 กุมภาพันธ์ <strong>2553</strong> - 14 กุมภาพันธ์ 2555)ในด้านส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยAtma Jaya Catholic University of Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย ระยะเวลา 3 ปี (1 พฤษภาคม <strong>2553</strong> - 30 เมษายน2556) ในด้านส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยUniversity of North Texas Health Science <strong>Center</strong>at Fort Worth ประเทศสหรัฐอเมริกา ระยะเวลา 4 ปี (เมษายน<strong>2553</strong> - เมษายน 2558) ในการส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยInstitute of Biotechnology ประเทศเวียดนาม ระยะเวลา 3 ปี (11 กรกฎาคม <strong>2553</strong> - 10 กรกฎาคม 2556) ในการส่งเสริมการร่วมวิจัย และแลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>33


การจัดประชุม UK-Thail<strong>and</strong> Partners in Scienceจัดสัมมนาวิชาการ UK-Brazil-Thail<strong>and</strong> Joint Seminar on Food <strong>and</strong> Agricultureนิทรรศการ Thail<strong>and</strong> Pavilion ในงาน BIO 2010 เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกาการจัดสัมมนาวิชาการร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศการประชุมเรื่อง Malaria R&D Financing, PolicyInnovation <strong>and</strong> Emerging Drug Resistance in SoutheastAsia – Perspectives from the Local <strong>and</strong> Global ร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร (9-10 พฤศจิกายน 2552)การประชุม The 5th BIOTEC <strong>and</strong> KRIBB JointSymposium on Bioresources Utilization <strong>and</strong> Management(16 ตุลาคม 2552)การจัด UK-Thail<strong>and</strong> Partners in Science ประเทศอังกฤษ โดยไบโอเทคร่วมกับ British High Commission และBiotechnology <strong>and</strong> Biological Sciences Research Council(BBSRC) จัดสัมมนาวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรUK-Brazil-Thail<strong>and</strong> Joint Seminar on Food <strong>and</strong> Agriculture(22-24 กุมภาพันธ์ <strong>2553</strong>)การประชุมความร่วมมือไทย-เวียดนาม เรื่องจีโนมกุ้งร่วมกับ Ministry of Science <strong>and</strong> Technology, Institute ofBiotechnology, Vinh University (10-12 มีนาคม <strong>2553</strong>)การประชุมความร่วมมือไทย-เวียดนาม เรื่องจีโนมกุ ้ง ครั้งที่ 2 ร่วมกับ Ministry of Science <strong>and</strong> Technology, Institute ofBiotechnology / ประเทศเวียดนาม (29 กันยายน – 1 ตุลาคม <strong>2553</strong>)การจัดกิจกรรมและนิทรรศการThail<strong>and</strong> Pavilion งาน BIO 2010ประเทศสหรัฐอเมริกาไบโอเทค ร่วมกับศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช.และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เข้าร่วมแสดงนิทรรศการประเทศไทย (Thail<strong>and</strong> Pavilion) ในงาน BIOInternational Convention 2010 (BIO 2010) ระหว่างวันที่ 4-6พฤษภาคม <strong>2553</strong> ณ เมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นานาชาติเห็นถึงศักยภาพงานวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงด้านธุรกิจและผลตอบแทนที่จะได้รับในการลงทุนทางเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย โดยนำเสนอนิทรรศการใน 2 ส่วนหลักคือ การแสดงผลงานวิจัยและพัฒนาในหัวข้อ “Thail<strong>and</strong>: Toward Green Countrywith Green Technology” เพื่อนำเสนอจุดเด่นของประเทศไทยด้านความหลากหลายของพืชพลังงาน ความก้าวหน้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนความพร้อมในการเป็นฐานการทำงานวิจัย และการแสดงข้อมูลด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งตัวอย่างผลงานวิจัยที่ได้ถ่ายทอดสู่ภาคเอกชนแล้ว ทั้งนี้ในงานดังกล่าว ไบโอเทคเป็น1 ใน 22 ประเทศ (และเป็น 1 ใน 5 ของประเทศในแถบเอเชีย) ที่ได้รับเลือกจากผู้จัด ให้จัดสัมมนา เรื่อง “A Thai-U.S. Joint Venture:Antibody Array - The Future Screening Method <strong>for</strong> Food Safety”เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ความหลากหลายของรูปแบบความร่วมมือที่ไบโอเทค สามารถดำเนินความร่วมมือได้ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน โดยนำเสนอตัวอย่างโครงการความร่วมมือกับบริษัทอเมริกัน เรื่องการตรวจเชื้อในอาหารโดยอะเรย์ชิพ เป็นต้น34 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


หนังสือ Life Sciences in Thail<strong>and</strong> นักศึกษาและนักวิจัยต่างชาติที่เข้าทำาวิจัยในห้องปฏิบัติการของไบโอเทคการจัดทำหนังสือLife Sciences in Thail<strong>and</strong>ไบโอเทคร่วมมือกับสำนักพิมพ์ The Scientist จัดทำหนังสือ Life Sciences in Thail<strong>and</strong> (supplement)โดยมีไบโอเทค และหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนอีก 10หน่วยงานให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหนังสือดังกล่าว มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่นโยบาย โครงสร้างพื้นฐานการวิจัย และภาคธุรกิจของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่ดีด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศไทย โดยได้แจกหนังสือฯ ให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน BIO 2010 ประมาณ 20,000ฉบับ และ subscriber ที่ได้ส่งไปพร้อมกับวารสาร The Scientistฉบับเดือนพฤษภาคม <strong>2553</strong> จำนวน 57,000 รายชื่อทั่วโลกด้วยนอกจากนี้ยังมี link ผ่านเว็บไซต์ www.the-scientist.com เป็นเวลา1 ปี (ผู้อ่านทางเว็บไซต์ประมาณ 1 ล้านคน)โครงการ InternationalExchange Programกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศไบโอเทครับนักศึกษาเข้าทำวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยของไบโอเทค เพื่อให้ได้ประสบการณ์ในการวิจัยจริง รวมถึงนักวิจัยต่างชาติที่ต้องการได้รับการฝึกอบรมในสาขาเฉพาะเจาะจง จำนวน50 คน ตัวอย่างสถาบันการศึกษาที่มีความร่วมมือ เช่น NanyangPolytechnic (สิงคโปร์) Temasek Polytechnic (สิงคโปร์) AtmaJaya Catholic University of Indonesia (อินโดนีเซีย) UniversityKebangsaan Malaysia (มาเลเซีย) University of Kent (อังกฤษ)AgroSup Dijon-ENSBANA (ฝรั่งเศส) University of Montpellier(ฝรั่งเศส) เป็นต้นการพัฒนาบุคลากรวิจัยประเทศเพื่อนบ้านไบโอเทคสนับสนุนทุนให้แก่นักวิจัยจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำวิจัยในหน่วยวิจัยของไบโอเทคภายใต้โครงการ HRDProgram <strong>for</strong> Asia Pacific 2010 จำนวน 12 ทุน ได้แก่ ประเทศพม่า1 ทุน ลาว 1 ทุน อินโดนีเซีย 2 ทุน เวียดนาม 2 ทุน ฟิลิปปินส์ 5ทุน และมองโกเลีย 1 ทุนรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>35


การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีชีวภาพการสนับสนุนบุคลากรวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาไบโอเทคร่วมกับศูนย์พัฒนากำลังคน สวทช. สนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพระดับบัณฑิตศึกษาภายใต้โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย โดยนักศึกษาดังกล่าวจะได้รับการฝึกฝนการวิจัยวิทยานิพนธ์ในห้องปฏิบัติการของไบโอเทค ภายใต้การดูแลร่วมกันของนักวิจัยไบโอเทคและอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งในปีงบประมาณ<strong>2553</strong> มีนักศึกษาใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนระดับปริญญาเอก9 คน ปริญญาโท 21 คน และไบโอเทคได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการผลิตบุคลากรด้านชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ ซึ่งในปีงบประมาณ <strong>2553</strong>มีนักศึกษาใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนระดับปริญญาโท 5 คนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและการประชุมสัมมนาวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพไบโอเทคได้ดำเนินการจัดฝึกอบรม/ประชุมวิชาการให้แก่นักวิจัย นักวิชาการ จากภาครัฐและเอกชน จำนวน 18 เรื่อง(23 ครั้ง) มีผู้เข้าร่วมประชุม/ฝึกอบรมทั้งสิ้น 853 คน หรือ 1,858คน-วัน ตัวอย่างหัวข้อฝึกอบรม เช่น การใช้เทคนิคเมตาจีโนมิคไลบรารีย์เพื่อค้นหายีนใหม่จากจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไม่ได้ การสร้างสายพันธุ์ดับเบิลแฮพลอยด์ของแตงกวาและพริกโดยวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม การประเมินความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์อาหารการกระตุ้นการตกไข่ในโคการสนับสนุนบุคลากรวิจัยระดับปริญญาตรีไบโอเทคร่วมกับศูนย์พัฒนากำลังคน สวทช. สนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพระดับปริญญาตรีภายใต้โครงการสร้างปัญญาวิทย์ผลิตนักเทคโน โดยนักศึกษาดังกล่าวจะได้รับการฝึกฝนการวิจัยปริญญานิพนธ์ ในห้องปฏิบัติการของไบโอเทค ภายใต้การดูแลร่วมกันของนักวิจัยไบโอเทคและอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> มีนักศึกษาใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจำนวน 20 คนรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>37


การอบรมเชิงปฏิบัติการครูแกนนำาและนักเรียน เพื่อยกระดับสุขอนามัยในโรงเรียน ภายใต้โครงการความร่วมมือนำาร่องโครงงาน(เชิง)วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าการยกระดับมาตรฐานคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชนไบโอเทคร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดของวิทยากรท้องถิ่น GHP จำนวน 13แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น ได้ดำเนินโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารสู่มาตรฐานสากล [Good Hygiene Practice (GHP) / GoodManufacturing Practice (GMP)] โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ประกอบการสินค้าโอทอป จำนวน 23 แห่ง ติดตามและให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในการปรับปรุงอาคารผลิตและกระบวนการผลิตการตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาฉลากบรรจุภัณฑ์อาหาร ตัวอย่างเช่น กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ชาข้าวสาลีบ้านผาคับ (จ.น่าน) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านบ่อเหมืองน้อย (จ.เลย) วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรบ้านโนนทรัพย์ (จ.อุบลราชธานี) เป็นต้นการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน(โครงการต้นกล้าอาชีพ)ในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> คณะกรรมการบริหารโครงการเพิ่มศักยภาพผู ้ว่างงานเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนอนุมัติสนับสนุนงบประมาณโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 225.216 ล้านบาท ให้กับ ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (สสวช.) เพื่อดำเนินการจัดฝึกอบรมให้แก่ผู้จบการศึกษาใหม่และผู้ว่างงาน หลักสูตรการทำวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 รุ่น (รุ่นที่ 5-6) มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น18,568 คน ให้แก่ศูนย์การเรียนรู้ 379 แห่งใน 21 จังหวัดโดยสรุป การดำเนินงานของโครงการฯ ระหว่างปีงบประมาณ 2552-<strong>2553</strong> มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมรวม 6 รุ่น มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 53,799 คน ให้แก่ศูนย์การเรียนรู้ 1,101 แห่งใน 53 จังหวัด ได้รับงบประมาณดำเนินการรวม 645.696 ล้านบาทรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>39


การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชนบท และการเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไบโอเทค ให้ความสำาคัญในการนำาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนชนบทอย่างต่อเนื่องและเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพสู่สังคมการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชนบทไบโอเทคให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทโดยมุ่งเน้นการเสริมสรางความเขมแข็งของชุมชน สร้างขีดความสามารถของคนในชุมชนในด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในโรงเรียนและชุมชน พัฒนาอาชีพโดยยกระดับผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดี โดยเน้นการคัดเลือกและปรับแต่งเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับความพร้อมของชุมชน ดังนี้40 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


้เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนชนบท (Science in RuralSchools : SiRS)ไบโอเทคได้สนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน สกลนคร เลย พังงา และนราธิวาส มีโรงเรียนในโครงการมากกว่า 200 โรงเรียน โดยในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> มีกิจกรรมที่ดำเนินงานผ่านโครงการต่างๆได้แก่ โครงการโรงเรียนท้องถิ่นฐานวิทยาศาสตร์ มีการจัดอบรมให้กับคณะครูโรงเรียนแกนนำ 4 โรงเรียนใน จ.แม่ฮ่องสอน น่านและ สกลนคร โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในถิ่นทุรกันดาร มีการจัดฝึกอบรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและการสอนให้กับโรงเรียนพระปริยัติธรรม จ.น่าน เชียงราย และแพร่ โครงการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากโครงการเกษตรอาหารกลางวัน มีการจัดฝึกอบรมครู 28 โรงเรียนในโครงการเกษตรอาหารกลางวัน จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ สกลนคร และพังงา โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มีการจัดอบรมวิทยากรให้กับโรงเรียนนำร่อง 19 โรงเรียนใน จ.ปทุมธานี และขยายผลการอบรมให้กับคณะครูกลุ่มเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา จ.นราธิวาส โครงการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการอยู่ดีมีสุขสำหรับโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการจัดทำหนังสือประกอบการเรียนชุดความสุขของฉันในวันสุขภาพดีจำนวน 11 เรื่องจำนวน 5,000 ชุด มอบให้กับโรงเรียนใน จ.นราธิวาส และ ปัตตานีรวม 24 โรงเรียน โครงการพัฒนาศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไบโอเทคได้เข้าร่วมกับโครงการพัฒนาศูนย์ภูฟ้าพัฒนาฯ โดยสนับสนุนด้านการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทำให้เกิดการจัดระบบห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนและศูนย์ภูฟ้าพัฒนา การจดลิขสิทธิ์การค้าของศูนย์ภูฟ้าพัฒนา การพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับบุคลากรของศูนย์ภูฟ้าพัฒนากิจกรรมอื่นๆ ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น การพัฒนาเยาวชนแกนนำด้านวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมค่ายเรียนรูวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตคนในชุมชนในเรื่องต่างๆ เช่น ค่ายเรียนรู ้วิทยาศาสตร์วิถีพุทธ ค่ายเรียนรู ้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ค่ายวิทยาศาสตร์จากข้าว ค่ายวิทยาศาสตร์เรื่องกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการสนับสนุนกลุ ่มโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู ้ของโรงเรียนในเครือข่าย เช่น การจัดงานวันเด็ก การจัดงานวิทยาศาสตร์ การจัดทัศนศึกษาที่ไบโอเทคและบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร เป็นต้นรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>41


การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไบโอเทคดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างอาชีพให้กับชุมชนชนบท โดยผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่โครงการวิสาหกิจชุมชน – โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ได้สนับสนุนให้ชุมชนใน อ.เต่างอย จ.สกลนคร รวมกลุ ่มในการประกอบอาชีพ โดยถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี บริหารจัดการกลุ่มรวมทั้งการดูงาน เพื่อยกระดับการผลิตให้สูงขึ้นและได้รับมาตรฐานที่ผู้บริโภคยอมรับ ทำให้มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีระดับชุมชน (เกิดรายได้เข้ากลุ่ม 100,000 บาท/ปี) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดสารพิษ (เกิดรายได้เข้ากลุ่ม470,000 บาท/ปี) และกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (เกิดรายได้เข้ากลุ่ม 400,000 บาท/ปี) โครงการคลินิกเทคโนโลยี ดำเนินกิจกรรมอบรมหลักสูตร “นักพัฒนาชุมชน” จำนวน 9 รุ่น มีผู้เข้าร่วมจากทุกภูมิภาค 554 คน นอกจากนี้ได้มีการจัดคลินิกเทคโนโลยีสัญจร และถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น การใช้เชื้อบริสุทธิ์ของไบโอเทคในการผลิตแหนมให้แก่กลุ่มแม่บ้านในจ.ฉะเชิงเทรา การพัฒนาคุณภาพมะม่วงเพื่อการส่งออกให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จ.อ่างทอง วิธีการปลูกสบู่ดำที่เหมาะสมในพื้นที่จ.ลำพูน เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสำหรับไม้ป่าและพืชสมุนไพรให้แก่เกษตรกร จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์สู่เกษตรกรมีการดำเนินงานในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และชัยนาทเพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีพันธุ์ “หอมชลสิทธิ์” ในระดับจำหน่าย (Certified seed) และขยายผลพันธุ์ดังกล่าวสู ่เกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อนำไปใช้ปลูกในพื้นที่สำหรับฤดูการผลิตต่อไปการพัฒนาระบบความปลอดภัยและคุณภาพอาหารเพื่อชุมชนมีการดำเนินงาน 2 แผนงานย่อย ได้แก่ งานบริการด้านความปลอดภัยของอาหารได้ดำเนินงาน โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารสู่มาตรฐานสากล เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาและตรวจประเมินเบื้องต้นด้านวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP)โดยในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> โครงการฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายวิทยากรท้องถิ่นจำนวน 13 สถาบัน ใน 14 จังหวัดทุกภูมิภาค ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ แก่ผู้ประกอบการจำนวน 23 แห่ง ทำให้มีสถานที่ผลิตของผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน GMPปัญหาและความต้องการในพื้นที่การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนชนบทChange Agentชมรมครูวิทยาศาสตร์กลุ่มแกนนำเยาวชนวิสาหกิจชุมชนหน่วยงานพันธมิตรแล้วจำนวน 20 แห่ง และมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับหมายเลขสารบบอาหารจำนวน 44 รายการ ผลกระทบจากการดำเนินงานพบว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมก่อนเข้าโครงการ เฉลี่ย 25,000 บาท/กลุ่ม/เดือนนอกจากนี้ไบโอเทคยังมีการดำเนินงานด้านการยกระดับสุขอนามัยในโรงเรียน โดยได้ดำเนินโครงการความร่วมมือนำร่องโครงงาน(เชิง)วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มาตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าจำนวน 8 รุ่น โดยมีครูเข้าร่วม 450 คนจาก 143 โรงเรียนนอกจากนี้ยังมีการอบรมหลักสูตรการใช้เครื่องมือ ICT ในการบริหารจัดการความรู้ จำนวน 6 รุ่น โดยมีครูและนักเรียนเข้าร่วมรวม 380 คน จาก 98 โรงเรียน โครงการฯ ทำให้เกิดเครือข่ายครูแกนนำและนักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู ้ซึ่งกันและกัน และได้มีการนำความรู ้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ผ่านกระบวนการโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการสร้างเสริมสุขภาพ42 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


์เกษตรกร อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์การเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไบโอเทค ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้าใจและการเรียนรู ้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีชีวภาพโดยมีการดำเนินการดังนี้เผยแพร่บทความในเว็บไซต์www.biotec.or.thประกอบด้วยเทคโนโลยีชีวภาพอัพเดท บทความพิเศษผลงานเด่นไบโอเทค และหนังสือ โดยเน้นความรู ้ด้านกรีนเทคโนโลยีจัดทำเนื้อหาสำหรับรายการโทรทัศน์ที่สนับสนุนโดย สวทช.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ให้ประชาชน จำนวน 2 รายการ ได้แก่1) สารคดีชุด ฉลาดล้ำกับงานวิจัยไทยโดย สวทช.ความยาว 3 นาที ในรายการฉลาดสุดสุด ได้แก่ ตอน BIOTEC กับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่2) ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ออกอากาศทางสถานี โทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) ทุกวันศุกร์ เวลา 11.05-11.55 น. ผู้เข้าชมรายการโทรทัศน์ 218,000 คน/ตอน และออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี ในวันนักขัตฤกษ์เวลา 11.00 - 11.30 น. ได้แก่ ตอนสร้างแหล่งอาหารอนุบาลลูกกุ้ง ตอนกล้วยไม้เทคโนโลยีการเป็นหมัน ตอนก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ และตอนเทคโนโลยีการผลิตพันธุปทุมมาและหงษ์เหินเพื่อการส่งออกหนังสือประกอบการเรียนชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี”โครงการถอดบทเรียนวิทยาลัยข้าวชุมชนโครงการถอดบทเรียนวิทยาลัยข้าวชุมชน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) เพื่อให้ไบโอเทคทำการถอดบทเรียนกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชาวนาในพื้นที่ ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ที่เข้าร่วม โครงการวิทยาลัยข้าวไทย ที่ปตท. สผ. ให้การสนับสนุนและร่วมกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยโครงการฯ ได้จัดอบรมหลักสูตรก้าวหน้าในการทำนา ซึ่งชาวนาในโครงการฯ ได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น สามารถพึ่งพาตนเอง มีรายได้และความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งเกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วมรวมกลุ่มในรูปวิสาหกิจชุมชน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาวนานำร่อง กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด กลุ่มการผลิตเมล็ดพันธุ์ กลุ่มกองทุนสินเชื่อเพื่อการกู้ยืม และกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำนา ให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพการทำนา และขยายองค์ความรู้ไปสู่สาธารณชน การดำเนินงานโครงการฯ ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ มีชาวนานอกโครงการและผู้สนใจอื่นๆ มาศึกษาดูงาน และนำแบบอย่างไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่นาของตนเอง ดังนั้นเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ ปตท.สผ. จึงให้ไบโอเทคทำการถอดบทเรียนโครงการฯ รวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้ของกลุ ่มชาวนานำร่องและผู ้เกี่ยวข้องในโครงการฯ วิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จและความต่อเนื่องยั่งยืนของโครงการฯ และจัดทำเป็นสื่อเผยแพร่องค์ความรู ้ด้านการทำนา ในรูปแบบของหนังสือและสื่อมัลติมีเดีย จำนวน 3,500 ชุด เพื่อเผยแพร่ยังกลุ่มผู้สนใจเช่น มหาวิทยาลัยชีวิต สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเกษตรกรในเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนของมูลนิธิข้าวไทยฯ เป็นต้นรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>43


ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานของไบโอเทคไบโอเทคให้ความสำาคัญต่อการนำาผลงานจากการดำาเนินงานไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลสำาเร็จที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยและพัฒนาโดยผ่านกระบวนการต่อยอดองค์ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น การอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยให้กับภาคเอกชนภาครัฐ และชุมชน การร่วมวิจัย/รับจ้างวิจัยกับภาคเอกชน การให้บริการและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> ไบโอเทค ทำการประเมินและรวบรวมผลกระทบที่เกิดขึ้น 36 โครงการ พบว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้บริการต่างๆ ของไบโอเทค ก่อให้เกิดผลกระทบรวม 1,229 ล้านบาท โดยเป็นผลกระทบทางตรงต่อหน่วยงานผู้รับบริการซึ่งทำให้เกิดรายได้รวม 259 ล้านบาท นอกจากนี้ยังส่งผลทางอ้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น ลดการนำเข้า การลงทุนเพิ่มขึ้นฯลฯ ประเมินเป็นมูลค่าได้ประมาณ 970 ล้านบาทด้านการเกษตรและอาหารจากการประเมิน 26 โครงการ เกิดผลกระทบรวม 1,094ล้านบาท แบ่งเป็น44 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


ด้านพืชการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี สายพันธุ ์ข้าว 3 สายพันธุ ์ ได้แก่ สายพันธุ ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน และสายพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งได้จากการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวที่ได้ร่วมทดสอบสายพันธุ์กับกรมการข้าว ได้รับการต่อยอดนำไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยไบโอเทคมหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดอบรมและถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูก ดูแลรักษา การตรวจคัดพันธุ์ปนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 8 จังหวัด ส่งผลกระทบในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวรวม 12 ล้านบาทการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตพืช การดำเนินงานวิจัยด้านพืชที่ผ่านมาของไบโอเทคร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ โครงการขยายกำลังการผลิตอ้อยปลอดโรคโครงการประเมินพันธุ ์อ้อยดีเด่น โครงการอ้อยอาหารสัตว์ โครงการปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีพันธุ์ข้าวโพดไร่ลูกผสม และโครงการผลิตแผ่นผ้ากรองอากาศสำหรับใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการทั้งที่ไบโอเทคได้ดำเนินการเอง ให้การสนับสนุนด้านวิชาการทุนวิจัย ประสานงานให้เกิดเครือข่ายระหว่างภาครัฐและเอกชน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชน ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการขยายการผลิตของอุตสาหกรรมการเกษตรและเมล็ดพันธุ ์ ตลอดจนสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ อ้อย กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดไร่ลูกผสมและพืชอื่นๆ เป็นมูลค่าโดยรวมประมาณ 517 ล้านบาทการตรวจวินิจฉัยและการผลิตชุดตรวจโรคพืช ไบโอเทคโดยห้องปฏิบัติการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโมโนโคลนอลแอนติบอดีสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสในพืชต่างๆ และพัฒนาชุดตรวจแบบง่ายสำหรับการตรวจแบคทีเรียโรคผลเน่าในแตง นอกจากนี้ไบโอเทคได้ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อย ซึ่งชุดตรวจและน้ำยาตรวจโรคพืชเหล่านี้มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์โดยมีการสั่งซื้อไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลในการสร้างรายได้จากการจำหน่ายชุดตรวจ และผลกระทบทำให้ได้เมล็ดพันธุ ์และท่อนพันธุ ์ที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานการส่งออก และลดความเสียหายของผลผลิตเป็นมูลค่ารวมประมาณ 90 ล้านบาทชุดตรวจโรคใบขาวในอ้อยด้านสัตว์ด้านโคนม จากการดำเนินงานโครงการวิจัยการย้ายฝากตัวอ่อนแช่แข็งโคนม และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมตามระยะเวลาที่กำหนดโดยการใช้ฮอร์โมนเพื่อควบคุมการตกไข่ โดยผ่านการฝึกอบรมและให้บริการปรึกษาด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถแก้ปัญหาในโคนมให้สามารถกลับมาตั้งท้องได้มากกว่า 3,000 ตัว/ปี การวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านโคนมทั้ง 2 โครงการดังกล่าว ส่งผลในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรจากมูลค่าตัวโคและผลผลิตน้ำนมที่เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าประมาณ 275 ล้านบาทด้านกุ้ง ไบโอเทคโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งมีพันธกิจในการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำและมีเครือข่ายการวิจัยและการทดสอบประสิทธิภาพกุ้งกุลาดำ ได้มีการสนับสนุนพ่อแม่พันธุ์กุ้งและลูกกุ้งให้กับเกษตรกรในเครือข่ายเป็นการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งประมาณ 3.4 ล้านบาท นอกจากนี้ในด้านการพัฒนาธุรกิจไบโอเทคได้มีการนำผลงานวิจัยมาพัฒนาให้เกิดศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยหน่วยธุรกิจโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกุ ้ง ได้ให้บริการวิเคราะห์และการผลิตชุดตรวจโรคกุ้งเพื่อจำหน่าย ซึ่งสามารถทดแทนการนำเข้าได้ประมาณ 4.6 ล้านบาทรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>45


ด้านอาหารการวิจัยและพัฒนาด้านอาหารและอาหารสัตว์ไบโอเทคได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารและอาหารสัตว์มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการที่ดำเนินการเอง สนับสนุนทุนวิจัย และดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ทั้งนี้มีผลงานที่ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนและได้นำไปผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เช่น โครงการพัฒนาสูตรการผลิตแหนม โครงการพัฒนาสูตรเชื้อจุลินทรีย์ในการผลิตต้นเชื้อแหนมโครงการพัฒนากระบวนการหมักน้ำปลาโดยใช้เอนไซม์ โครงการประเมินความเสี่ยงสารฮีสตามีนในผลิตภัณฑ์น้ำปลา โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตต้นเชื้ออาหารหมักสัตว์ โครงการผลิตเอนไซม์เพนโตซาเนสเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โครงการดังกล่าวสร้างผลกระทบในด้านการลดต้นทุน สร้างรายได้ เพิ่มการส่งออกและลดการนำเข้า และประโยชน์ต่อสุขภาพ ประเมินได้รวมประมาณ 112 ล้านบาทการผลิตบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ไบโอเทค สวทช. ได้สนับสนุนโครงการผลิตบัณฑิตหลักสูตรทักษะวิศวกรรมอาหาร ให้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสนับสนุนโครงการทักษะอุตสาหกรรมเกษตร ให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยทั้ง 2 โครงการจัดให้มีการเรียนการสอนเน้นการทำวิจัยที่ใช้แก้ปัญหาจริงของอุตสาหกรรม งานวิจัยที่นักศึกษาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสามารถสร้างผลกระทบให้เกิดการประหยัดและลดต้นทุนการผลิตของโรงงานต่างๆได้รวม 56 ล้านบาท นอกจากนี้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วรวม94 คน สามารถเข้าทำงานในสายอาชีพเป็นมูลค่าการจ้างงานในปี <strong>2553</strong> รวม 18 ล้านบาทด้านการพัฒนาชุมชนชนบทสวทช. ไบโอเทค โดยหน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท หน่วยงานพันธมิตรและหน่วยงานในท้องถิ่นเข้าร่วมสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต่างๆ จากการประเมินผลกระทบในปี <strong>2553</strong> จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพในชุมชนอ.นาแห้ว จ.เลย ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายสตรอเบอรี่การแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวม4 ล้านบาท และการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนอ.เต่างอย จ.สกลนคร ทำให้เกิดการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี กลุ่มผู้ปลูกข้าวปลอดสารพิษ กลุ่มผู้ผลิตข้าวกล้องงอก สามารถจำหน่ายผลผลิตได้รวม 3 ล้านบาทด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากการประเมิน 3 โครงการ เกิดผลกระทบรวม9 ล้านบาท ดังนี้ชุดตรวจทางการแพทย์จากการดำเนินงานของไบโอเทคที่ผ่านมา ซึ่งมีโครงการที่ได้ร่วมกับภาคเอกชนทำการวิจัยและพัฒนาชุดตรวจไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ มีการสนับสนุนศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์พัฒนาชุดน้ำยาตรวจนับเม็ดเลือดขาวที่ใช้กับเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ รวมทั้งได้มีการสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นพัฒนาชุดตรวจแอนติเจน-แอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดง ผลงานเหล่านี้ได้ถูกนำไปถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการผลิตและจำหน่ายแก่ภาคเอกชน ชุดตรวจที่พัฒนาได้ในประเทศสามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทผู้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งผลกระทบทางอ้อมในการลดการนำเข้า และประโยชน์ต่อการป้องกันโรคและสุขภาพ ประเมินได้รวมประมาณ 9 ล้านบาท46 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


แสดงผลกระทบจากการดำเนินงานของไบโอเทคในปีงบประมาณ <strong>2553</strong> แยกตามสาขาต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมจากการประเมิน 7 โครงการ เกิดผลกระทบรวม126 ล้านบาท ดังนี้การพัฒนาวิธีทดสอบมาตรฐานสีไบโอเทคได้สนับสนุนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดำเนินการวิจัยการกำหนดวิธีทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์สีอิมัลชันทาภายนอกที่ทนทานต่อสาหร่ายสำหรับประเทศไทย โดยผลการวิจัยได้ถูกนำมาใช้ประกอบในการกำหนดวิธีทดสอบมาตรฐานสี มอก. 2321 – 2549 ทั้งนี้ การให้บริการทดสอบมาตรฐานสี สามารถสร้างรายได้ให้แก่ วว. อีกทั้งยังเป็นการทดแทนการส่งทดสอบมาตรฐานในต่างประเทศรวมมูลค่าผลกระทบประมาณ 6 ล้านบาทด้านการแพทย์และสาธารณสุข9 ล้านบาท(1%)ด้านการเกษตรและอาหาร1,094 ล้านบาท(89%)ด้านสิ่งแวดล้อม126 ล้านบาท(10%)การวิจัยและพัฒนาเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มไบโอเทคได้ร่วมวิจัยกับบริษัทเกลือพิมาย จำกัด ดำเนินโครงการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ของบริษัทฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 ผลที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันการแพร่กระจายความเค็มป้องกันความสูญเสียของผลผลิตข้าวในพื้นที่ข้างเคียงได้เป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท นอกจากนี้ ไบโอเทคได้ร่วมมือกับบริษัทเอสซีจี เปเปอร์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูดินเค็ม โดยในปี <strong>2553</strong> มีเกษตรกรในพื้นที่จ.สกลนคร และ จ.อุดรธานี เข้าร่วมโครงการกว่า 700 ครัวเรือนการดำเนินงานส่งผลให้พื้นที่ดินเค็มที่ไม่สามารถปลูกข้าวได้สามารถกลับมาปลูกข้าวได้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน มูลค่าของผลผลิตประมาณ 10 ล้านบาทการใช้ประโยชน์จากของเสียในการผลิตก๊าซชีวภาพไบโอเทคร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนาเทคโนโลยีการบำบัดนำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรต่างๆ ส่งผลเชิงเศรษฐกิจในการลงทุนด้านการบำบัดน้ำเสีย ลดต้นทุนการบำบัดน้ำเสีย ลดต้นทุนด้านพลังงานจากการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน จากการประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง 3 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร 2 แห่ง และโรงงานอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม 1 แห่ง พบว่าสร้างผลกระทบได้รวม 108 ล้านบาทรายงานประจำาปี <strong>2553</strong>47


ภาคผนวก• สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร• บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ• รางวัลที่ได้รับ• คณะกรรมการบริหารไบโอเทค• คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติ• คณะผู้บริหารไบโอเทค48 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


สิทธิบัตร และอนุสิทธิบัตร1. ผลงานที่ได้รับคู่มือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จำนวน 9 ฉบับ1.1 ผลงานที่ได้รับคู่มือสิทธิบัตรในประเทศ จำนวน 4 ฉบับวันที่ได้รับสิทธิบัตร เลขที่สิทธิบัตร ชื่อการประดิษฐ์ ชื่อผู้ประดิษฐ์8 มกราคม <strong>2553</strong> 27265 ชุดตรวจสอบเชื้อวัณโรคจากสิ่งส่งตรวจในระดับห้องปฏิบัติการโดยวิธี one-tube nested PCR29 เมษายน <strong>2553</strong> 27848 กรรมวิธีการเก็บรักษาเซลล์ของจุลชีพให้มีชีวิตอยู่ได้นาน1 กรกฎาคม <strong>2553</strong> 28129 การตรวจหา DNA ของเชื้อ M.marinum และ M. <strong>for</strong>tuitumcomplex1 กรกฎาคม <strong>2553</strong> 28130 การจำแนกชนิดเชื้อMycobacterium tuberculosisและ nontuberculousmycobacteria โดยวิธีone-tube multiplex PCR1.2 ผลงานที่ได้รับคู่มือสิทธิบัตรในต่างประเทศ จำนวน 3 ฉบับนางอังคณา ฉายประเสริฐ, นางนิภา ติ่งต้อยนายเทอดศักดิ์ พราหมณะนันทน์, นายกิตติพันธ์ เสมอพิทักษ์นายสง่า พัฒนากิจสกุล, นายเพทาย เย็นจิตโสมนัสนายสุชัย เจริญรัตนกุล, นายนิธิพัฒน์ เจียรกุลนางสาววิยะดา อาจรัตนกูล, นางสาวสมบุญ ศรีม่วงนายวิทยา มีวุฒิสมนางอังคณา ฉายประเสริฐ, นางนิภา ติ่งต้อยนางสาวสมบุญ ศรีม่วง, นายอภิชาติ ศิวยาธรนางพรรณแข มไหสวริยะนางอังคณา ฉายประเสริฐ, นางนิภา ติ่งต้อยนางสาวสมบุญ ศรีม่วง, นายเทอดศักดิ์ พราหมณะนันทน์นางสาววิยะดา อาจรัตนกูล, นางสาวปรียวิศว์ ณ อุบลนายกิตติพันธ์ เสมอพิทักษ์, นางสาววัชรินทร์ รังสีภานุรัตน์นายสง่า พัฒนากิจสกุล, นายเพทาย เย็นจิตโสมนัสวันที่ได้รับสิทธิบัตร ประเทศทื่ยื่นจด เลขที่สิทธิบัตร ชื่อการประดิษฐ์ ชื่อผู้ประดิษฐ์8 ธันวาคม 2552 สหรัฐอเมริกา US 7629117 Determination of risk of developingdengue hemorrhagic fever/dengueshock syndrome, methods <strong>and</strong>composition there<strong>for</strong>12 มกราคม <strong>2553</strong> เวียดนาม VN 8180 Nucleic acids that enhance thesynthesis of 2-acetyl-1-pyrroline inplants <strong>and</strong> fungi25 พฤษภาคม <strong>2553</strong> สหรัฐอเมริกา US 7722885 Dengue virus mutant strain,MBU 01-2002นางสาวปนิษฎี อวิรุทธ์นัน, นายปรีดา มาลาสิทธิ์นายสุจริต บุญรัตพันธ์, นายวัชระ กษิณฤกษ์นางสาวชัญญา พุทธิขันธ์นายอภิชาติ วรรณวิจิตร, นายสมวงษ์ ตระกูลรุ่งนายธีรยุทธ ตู้จินดา, นายสามารถ วันชะนะนายวินธัย กมลสุขยืนยงนางสาวพูนสุข กีฬาแปง, นายนพพร สิทธิสมบัตินายวัชระ กสินฤกษ์ , นายปรีดา มาลาสิทธิ์1.3 ผลงานที่ได้รับคู่มืออนุสิทธิบัตรในประเทศ จำนวน 2 ฉบับวันที่ได้รับอนุสิทธิบัตร เลขที่อนุสิทธิบัตร ชื่อการประดิษฐ์ ชื่อผู้ประดิษฐ์22 เมษายน <strong>2553</strong> 5341 อุปกรณ์ดักละอองเกสร นายอภิชาติ สีทาแกนางสาวพัชร ประเสริฐกุล25 พฤษภาคม <strong>2553</strong> 5396 อุปกรณ์เจาะกระดาษดีบีเอสสำหรับใช้ในขบวนการสกัดสารพันธุกรรมนายเอกชัย เจนวิถีสุขนายอรรถพงษ์ เรืองฤทธิ์รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>49


2. ผลงานที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร จำนวน 34 คำขอ2.1 ผลงานที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศ จำนวน 14 คำขอวันที่ยื่นคำขอ เลขที่คำขอ ชื่อการประดิษฐ์16 ตุลาคม 2552 0901004650 แซนโทนที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อเริม13 พฤศจิกายน 2552 0901005076 วิธีการคำนวณปริมาณไขมันแทรกในเนื้อสัตว์ เพื่อการวัดคุณภาพของเนื้อสัตว์ ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพแบบสุ่มภาพย่อย20 พฤศจิกายน 2552 0901005189 กรรมวิธีการลดฮิสตามีน (Histamine) ในผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเกลือเป็นองค์ประกอบสูงโดยกระบวนการทางชีวภาพด้วยเซลล์จุลินทรีย์อาเคียที่ชอบเกลือ (Halophilic archaea) ที่มีกิจกรรมของเอนไซม์ฮีสตามีนดีไฮโดรจีเนส (Histamine dehydrogenase)18 ธันวาคม 2552 0901005713 กรรมวิธีการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่กำหนดไอโซไทป์ที่ต้องการ19 กุมภาพันธ์ <strong>2553</strong> 1001000265 กรรมวิธีการตรวจวินิจฉัยทางอิมมูโนวิทยาเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. Citrulli ในพืชตระกูลแตง ด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว26 กุมภาพันธ์ <strong>2553</strong> 1001000304 ชุดตรวจฮีโมโกลบินอีแบบหลอด และกรรมวิธีการตรวจ1 เมษายน <strong>2553</strong> 1001000566 สารประกอบไพโรนที่ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง29 เมษายน <strong>2553</strong> 1001000686 กรรมวิธีการออกแบบตัวยับยั้งชนิดเปปไตด์ (PEPTIDE INHIBITOR)10 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1001000856 กรรมวิธีการตรวจหาไวรัส Infectious Hypodermal <strong>and</strong> Hematopoietic Necrosis Virus (IHHNV)ในกุ้งกุลาดำด้วยไพรเมอร์ที่มีลำดับเบสครอบคลุมจีโนมของไวรัส28 กรกฎาคม <strong>2553</strong> 1001001146 กรรมวิธีการจำแนกเชื้อกลุ่มแลคติกแอซิดแบคทีเรียด้วยดีเอ็นเอไมโครอะเรย์20 สิงหาคม <strong>2553</strong> 1001001267 กรรมวิธีการเพิ่มผลผลิตเอนไซม์นิวรามินิเดสของไวรัสอินฟลูเอนซา เอ จากเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยการนำส่งยีนนอนสตรัคเชอแรล-127 กันยายน <strong>2553</strong> 1001001479 กรรมวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมัน เพื่อเพิ่มจำนวนยอดใหม่แบบยอดเดี่ยวคุณภาพดีในปริมาณมาก และพัฒนาเป็นต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่สมบูรณ์30 กันยายน <strong>2553</strong> 1001001519 กรรมวิธีการชักนำดอกและติดเมล็ดข้าวภายใต้ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช30 กันยายน <strong>2553</strong> 1001001520 ดีเอ็นเอพลาสมิด สำหรับการผลิตโปรตีน Vegetative insecticidal proteins (Vips) ในระบบเซลล์เจ้าบ้าน Bacillus spp.และการใช้ประโยชน์ดีเอ็นเอพลาสมิดและเซลล์เจ้าบ้านดังกล่าว2.2 ผลงานที่ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรในประเทศ จำนวน 20 คำขอวันที่ยื่นคำขอ เลขที่คำขอ ชื่อการประดิษฐ์16 ตุลาคม 2552 0903001233 สารอนาลอกของแซนโทนที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อเริม15 มกราคม <strong>2553</strong> 1003000039 เซลล์ยีสต์ที่ผลิตเอนไซม์ไฟเตสแบบยึดติดบนผนังเซลล์ร่วมกับเอนไซม์อีก 1 ชนิดในกลุ่มย่อยโพลีแซคคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบของพืชเพื่อเพิ่มคุณค่าในอาหารสัตว์22 มกราคม <strong>2553</strong> 1003000062 ดีเอ็นเอพาหะสำหรับการแสดงออกของยีนเพื่อการผลิตโปรตีนและสารเมตาโบไลต์ในเชื้อราเส้นใย25 มีนาคม <strong>2553</strong> 1003000265 พลาสมิดลูกผสมที่ใช้ในการผลิตเอนไซม์อย่างน้อย 2 ชนิด แบบร่วมกันและหลั่งออกนอกเซลล์ในระบบเซลล์เจ้าบ้านยีสต์และวิธีการผลิตเอนไซม์ดังกล่าว29 เมษายน <strong>2553</strong> 1003000366 กรรมวิธีการตรวจหาออโตแอนติบอดี (AUTOANTIBODY) ที่ตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งโดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลการแสดงออกของยีนร่วมกับเทคนิคทางอิมมูโนวิทยา27 พฤษภาคม <strong>2553</strong> 1003000451 เครื่องผลิตก๊าซชีวภาพขนาดเล็กแบบต่อเนื่อง24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000546 กรรมวิธีการตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิโคด้วยการวัดระดับอาร์เอ็นเอของยีนโปรตามีน24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000547 กรรมวิธีการตรวจหาสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเจริญเติบโตของสุกรด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสโดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะกับอัลลีล24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000548 กรรมวิธีการตรวจหาสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิตสุกรและจำนวนลูกต่อครอกของแม่พันธุ์สุกรด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสโดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะกับอัลลีล24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000549 กรรมวิธีการตรวจหาสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับระดับความนุ่มและคุณภาพของเนื้อสุกรด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสแบบใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะกับอัลลีล24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000550 กรรมวิธีการตรวจหาสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเจริญเติบโตของสุกร24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000551 กรรมวิธีการตรวจหาสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการผลิตสุกรและจำนวนลูกต่อครอกของแม่พันธุ์สุกร24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000552 กรรมวิธีการตรวจหาสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของเนื้อสุกร24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000553 กรรมวิธีการตรวจหาความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยาในสุนัข24 มิถุนายน <strong>2553</strong> 1003000554 การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทป์เดี่ยวหรือสนิปส์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับไขมันแทรกและระดับความนุ่มของเนื้อโคด้วยวิธี Loop-mediated isothermal DNA amplification2 สิงหาคม <strong>2553</strong> 1003000692 ระบบตรวจวัดน้ำตาลซูโครสด้วยเทคนิคการวัดแบบพัลส์แอมเพอโรเมตรีสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล11 สิงหาคม <strong>2553</strong> 1003000726 กรรมวิธีการตรวจหาไวรัสเด็งกี่ที่สามารถแยกซีโรทัยป์ได้ทันทีโดยโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่เฉพาะต่อโปรตีนเอ็นเอส 12 กันยายน <strong>2553</strong> 1003000806 กรรมวิธีการตรวจคัดกรองแบบรวดเร็วเพื่อหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งการมีชีวิตของเชื้อราแอนแทรกโนสในพริกได้สองชนิดพร้อมกัน2 กันยายน <strong>2553</strong> 1003000807 เชื้อรา Colletotrichum capsici สายพันธุ์กลายที่มียีนเรืองแสงฟลูโอเรสเซนต์สีแดง และการใช้ประโยชน์จากเชื้อราสายพันธุ์กลาย16 กันยายน <strong>2553</strong> 1003000884 เครื่องเก็บเกี่ยวแม่เพรียงทราย50 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 216 บทความ1. Abdel-Wahab, M.A., Pang, K.-L., Nagahama, T., Abdel-Aziz, F.A.<strong>and</strong> Jones, E.B.G. (2010). Phylogenetic evaluation ofanamorphic species of Cirrenalia <strong>and</strong> Cumulospora with thedescription of eight new genera <strong>and</strong> four new species.Mycological Progress, doi:10.1007/s11557-010-0661-x.2. Abdulla, M.A., Ahmed, I., Assawamakin, A., Bhak, J., Brahmachari,S.K., Calacal, G.C., Chaurasia, A., Chen, C.H., Chen, J.,Chen, Y.T., Chu, J., Cutiongco-de la Paz, E.M.C., De Ungria,M.C.A., Delfin, F.C., Edo, J., Fuchareon, S., Ghang, H.,Gojobori, T., Han, J., Ho, S.F., Hoh, B.P., Huang, W., Inoko, H.,Jha, P., Jinam, T.A., Jin, L., Jung, J., Kangwanpong, D.,Kampuansai, J., Kennedy, G.C., Khurana, P., Kim, H.L.,Kim, K., Kim, S., Kim, W.Y., Kimm, K., Kimura, R., Koike, T.,Kulawonganunchai, S., Kumar, V., Lai, P.S., Lee, J.Y., Lee, S.,Liu, E.T., Majumder, P.P., M<strong>and</strong>apati, K.K., Marzuki, S.,Mitchell, W., Mukerji, M., Naritomi, K., Ngamphiw, C.,Niikawa, N., Nishida, N., Oh, B., Oh, S., Ohashi, J., Oka, A.,Ong, R., Padilla, C.D., Palittapongarnpim, P., Perdigon, H.B.,Phipps, M.E., Png, E., Sakaki, Y., Salvador, J.M., S<strong>and</strong>raling, Y.,Scaria, V., Seielstad, M., Sidek, M.R., Sinha, A.,Srikummool, M., Sudoyo, H., Sugano, P., Suryadi, H., Suzuki, Y.,Tabbada, K.A., Tan, A., Tokunaga, K., Tongsima, S.,Villamor, L.P., Wang, E., Wang, Y., Wang, H., Wu, J.Y., Xiao, H.,Xu, S., Yang, J.O., Shugart, Y.Y., Yoo, H.S., Yuan, W., Zhao, G.,Zilfalil, B.A. <strong>and</strong> Indian Genome Variation Consortium.(2009). Mapping Human <strong>Genetic</strong> Diversity in Asia. Science,326(5959), 1541-1545.3. Aewsiri, T., Benjakul, S., Visessanguan, W., Wierenga, P.A. <strong>and</strong>Gruppen, H. (2010). Antioxidative activity <strong>and</strong> emulsifyingproperties of cuttlefish skin gelatin-tannic acid complex asinfluenced by types of interaction. Innovative Food Science<strong>and</strong> Emerging Technologies, doi:10.1016/j.ifset.2010.04.001.4. Am-In, S., Limtong, S., Yongmanitchai, W. <strong>and</strong> Jindamorakot,S. (2010). C<strong>and</strong>ida <strong>and</strong>amanensis sp. nov., C<strong>and</strong>idalaemsonensis sp. nov., <strong>and</strong> C<strong>and</strong>ida ranongensis sp. nov.,three anamorphic yeast species isolated from estuarinewaters in a mangrove <strong>for</strong>est in Ranong Province, Thail<strong>and</strong>.International Journal of Systematic <strong>and</strong> EvolutionaryMicrobiology, doi:10.1099/ijs.0.022038-0.5. Amparyup, P., Wiriyaukaradecha, K., Charoensapsri, W. <strong>and</strong>Tassanakajon, A. (2010). A clip domain serine proteinaseplays a role in antibacterial defense but is not required <strong>for</strong>prophenoloxidase activation in shrimp. Developmental <strong>and</strong>Comparative Immunology, 34(2), 168-176.6. Angthong, P., Watthanasurorot, A., Klinbunga, S., Ruangdej, U.,Söderhäll, I. <strong>and</strong> Jiravanichpaisal, P. (2010). Cloning <strong>and</strong>characterization of a melanization inhibition protein (PmMIP)of the black tiger shrimp, Penaeus monodon. Fish <strong>and</strong>Shellfish Immunology, 29(3), 464-468.7. Anuchapreeda, S., Tima, S., Duangrat, C. <strong>and</strong> Limtrakul, P.(2008). Effect of pure curcumin, demethoxycurcumin, <strong>and</strong>bisdemethoxycurcumin on WT1 gene expression in leukemiccell lines. Cancer Chemotherapy <strong>and</strong> Pharmacology, 62(4),585-594.8. Arunpanichlert, J., Rukachaisirikul, V., Sukpondma, Y.,Phongpaichit, S., Tewtrakul, S., Rungjindamai, N. <strong>and</strong> Sakayaroj,J. (2010). Azaphilone <strong>and</strong> isocoumarin derivatives from theendophytic fungus Penicillium sclerotiorum PSU-A13.Chemical <strong>and</strong> Pharmaceutical Bulletin, 58(8), 1033-1036.9. Banyai, W., Kirdmanee, C., Mii, M. <strong>and</strong> Supaibulwatana, K. (2010).Overexpression of farnesyl pyrophosphate synthase(FPS) gene affected artemisinin content <strong>and</strong> growth ofArtemisia annua L. Plant Cell Tissue <strong>and</strong> Organ Culture,doi:10.1007/s11240-010-9775-8.10. Benjakul, S., Thiansilakul, Y., Visessanguan, W., Roytrakul, S.,Kishimura, H., Prodpran, T. <strong>and</strong> Meesane, J. (2010).Extraction <strong>and</strong> characterisation of pepsin-solubilised collagensfrom the skin of bigeye snapper (Priacanthus tayenus <strong>and</strong>Priacanthus macracanthus). Journal of the Science of Food<strong>and</strong> Agriculture, 90(1), 132-138.11. Benjakul, S., Yarnpakdee, S., Visessanguan, W. <strong>and</strong> Phatcharat, S.(2010). Combination effects of whey protein concentrate<strong>and</strong> calcium chloride on the properties of goatfish surimi gel.Journal of Texture Studies, 41(3), 341-357.12. Bertoft, E., Laohaphatanalert, K., Piyachomkwan, K. <strong>and</strong> Sriroth, K.(2010). The fine structure of cassava starch amylopectin. Part2: Building block structure of clusters. International Journal ofBiological Macromolecules, 47(3), 325-335.13. Boondaeng, A., Suriyachadkun, C., Ishida, Y., Tamura, T.,Tokuyama, S. <strong>and</strong> Kitpreechavanich, V. (2010). Herbidosporasakaeratensis sp. nov., isolated from Thail<strong>and</strong> <strong>and</strong> reclassificationof Streptosporangium clavi<strong>for</strong>me as a later synonym ofHerbidospora cretacea. International Journal of Systematic<strong>and</strong> Evolutionary Microbiology, doi:10.1099/ijs.0.024315-0.14. Boonmak, C., Limtong, S., Jindamorakot, S., Am-In, S., Yongmanitchai,W., Suzuki, K.I., Nakase, T. <strong>and</strong> Kawasaki, H. (2010).C<strong>and</strong>ida xylanilytica sp. nov., a xylan degrading yeast speciesisolated from Thail<strong>and</strong>. International Journal of Systematic<strong>and</strong> Evolutionary Microbiology, doi:10.1099/ijs.0.021873-0.15. Boonyos, P., Soonsanga, S., Boonserm, P. <strong>and</strong> Promdonkoy, B.(2010). Role of cysteine at positions 67, 161 <strong>and</strong> 241 of aBacillus sphaericus binary toxin BinB. Journal of Biochemistry<strong>and</strong> Molecular Biology, 43(1), 23-28.16. Buaban, B., Inoue, H., Yano, S., Tanapongpipat, S., Ruanglek,V., Champreda, V., Pichyangkura, R., Rengpipat, S. <strong>and</strong>Eurwilaichitr, L. (2010). Bioethanol production from ball milledbagasse using an on-site produced fungal enzyme cocktail<strong>and</strong> xylose-fermenting Pichia stipitis. Journal of Bioscience<strong>and</strong> Bioengineering, doi: 10.1016/j.jbiosc.2009.12.003.รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>51


17. Bunterngsook, B., Kanokratana, P., Thongaram, T.,Tanapongpipat, S., Uengwetwanit, T., Rachdawong,S., Vichitsoonthonkul, T. <strong>and</strong> Eurwilaichitr, L. (2010).Identification <strong>and</strong> Characterization of Lipolytic Enzymesfrom a Peat-Swamp Forest Soil Metagenome. BioscienceBiotechnology <strong>and</strong> Biochemistry, 74(9), 1848-1854.18. Bunyapaiboonsri, T., Yoiprommarat, S., Srikitikulchai, P.,Srichomthong, K. <strong>and</strong> Lumyong, S. (2010). Oblongolides fromthe Endophytic Fungus Phomopsis sp. BCC 9789. Journal ofNatural Products, 73(1), 55-59.19. Cerenius, L., Babu, R., Söderhäll, K. <strong>and</strong> Jiravanichpaisal, P.(2010). In vitro effects on bacterial growth of phenoloxidasereaction products. Journal of Invertebrate Pathology, 103(1),21-23.20. Chaiklahan, R., Chirasuwan, N., Siangdung, W.,Paithoonrangsarid, K. <strong>and</strong> Bunnag, B. (2010). Cultivation ofSpirulina platensis using pig wastewater in a semi-continuousprocess. Journal of Microbiology <strong>and</strong> Biotechnology, 20(3),609-614.21. Chaiprasert, A., Krajaejun, T., Pannanusorn, S., Prariyachatigul, C.,Wanachiwanawin, W., Sathapatayavongs, B., Juthayothin, T.,Smittipat, N., Vanittanakom, N. <strong>and</strong> Chindamporn, A. (2010).Pythium insidiosum Thai isolates: molecular phylogeneticanalysis. Asian Biomedicine, 3(6), 623-633.22. Chaivisuthangkura, P., Longyant, S., Hajimasalaeh, W.,Sridulyakul, P., Rukpratanporn, S. <strong>and</strong> Sithigorngul, P.(2010). Improved sensitivity of Taura syndrome virusimmunodetection with a monoclonal antibody against therecombinant VP2 capsid protein. Journal of VirologicalMethods, 163(2), 433-439.23. Chaivisuthangkura, P., Longyant, S., Rukpratanporn, S., Srisuk, C.,Sridulyakul, P. <strong>and</strong> Sithigorngul, P. (2010). Enhanced whitespot syndrome virus (WSSV) detection sensitivity usingmonoclonal antibody specific to heterologously expressedVP19 envelope protein. Aquaculture, 299(1-4), 15-20.24. Chaivisuthangkura, P., Srisuk, C., Rukpratanporn, S., Longyant,S., Sridulyakul, P. <strong>and</strong> Sithigorngul, P. (2010).Rapid <strong>and</strong> sensitive detection of Penaeus monodonnucleopolyhedrovirus by loop-mediated isothermalamplification. Journal of Virological Methods, 162(1-2), 188-193.25. Chamroensaksri, N., Tanasupawat, S., Akaracharanya, A.,Visessanguan, W., Kudo, T. <strong>and</strong> Itoh, T. (2009). Salinivibriosiamensis sp. nov., from fermented fish (pla-ra) in Thail<strong>and</strong>.International Journal of Systematic <strong>and</strong> EvolutionaryMicrobiology, 59(4), 880-885.26. Chamroensaksri, N., Tanasupawat, S., Akaracharanya, A.,Visessanguan, W., Kudo, T. <strong>and</strong> Itoh, T. (2010). Gracilibacillusthail<strong>and</strong>ensis sp. nov., from fermented fish (pla-ra). InternationalJournal of Systematic <strong>and</strong> Evolutionary Microbiology, 60(4),944-948.27. Chanama, M., Chanama, S., Shaw, P.J., Chitnumsub, P.,Leartsakulpanich, U. <strong>and</strong> Yuthavong, Y. (2010). Formation ofcatalytically active cross-species heterodimers of thymidylatesynthase from Plasmodium falciparum <strong>and</strong> Plasmodiumvivax. Molecular Biology Reports, doi:10.1007/s11033-010-0199-7.28. Chareonlimkun, A., Champreda, V., Shotipruk, A. <strong>and</strong> Laosiripojana,N. (2010). Catalytic conversion of sugarcanebagasse, rice husk <strong>and</strong> corncob in the presence of TiO 2,ZrO 2<strong>and</strong> mixed-oxide TiO 2-ZrO 2under hot compressed water(HCW) condition. Bioresource Technology, 101(11), 4179-4186.29. Chareonlimkun, A., Champreda, V., Shotipruk, A. <strong>and</strong> Laosiripojana,N. (2010). Reactions of C 5<strong>and</strong> C 6-sugars, cellulose,<strong>and</strong> lignocellulose under hot compressed water (HCW) inthe presence of heterogeneous acid catalysts. Fuel, 89(10),2873-2880.30. Charerntantanakul, W. <strong>and</strong> Kasinrerk, W. (2010). Interleukin-10antisense oligodeoxynucleotide suppresses IL-10 expression<strong>and</strong> effects on proinflammatory cytokine responses to porcinereproductive <strong>and</strong> respiratory syndrome virus. Viral Immunology,23(4), 425-435.31. Charlermroj, R., Gajan<strong>and</strong>ana, O., Barnett, C., Kirtikara, K. <strong>and</strong>Karoonuthaisiri, N. (2010). A chemiluminescent antibodyarray system <strong>for</strong> detection of foodborne pathogens in milk.Analytical Letters, doi:10.1080/00032719.2010.511736.32. Charoensapsri, W., Amparyup, P., Hirono, I., Aoki, T. <strong>and</strong>Tassanakajon, A. (2010). PmPPAE2, a new class ofcrustacean prophenoloxidase (proPO)-activating enzyme <strong>and</strong>its role in PO activation. Developmental <strong>and</strong> ComparativeImmunology, doi:10.1016/j.dci.2010.09.002.33. Charoenthaikij, P., Jangchud, K., Jangchud, A., Piyachomkwan, K.,Tungtrakul, P. <strong>and</strong> Prinyawiwatkul, W. (2009). Germinationconditions affect physicochemical properties of germinatedbrown rice flour. Journal of Food Science, 74(9), c658-c665.34. Cha-um S. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2010). Salt tolerance screening insix maize (Zea mays L.) genotypes using multivariate clusteranalysis. Philippine Agricultural Scientist, 93(2), 156-164.35. Cha-um S., Ashraf, M. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2010). Screeningupl<strong>and</strong> rice (Oryza sativa L. ssp. indica) genotypes <strong>for</strong> salttoleranceusing multivariate cluster analysis. African Journalof Biotechnology, 9(30), 4731-4740.36. Cha-um, S. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2009). Proline Accumulation,Photosynthetic Abilities <strong>and</strong> Growth Characters of Sugarcane(Saccharum officinarum L.) Plantlets in Response to Iso-Osmotic Salt <strong>and</strong> Water-Deficit Stress. Agricultural Science inChina, 8(1), 51-58.37. Cha-um, S. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2010). Effect of glycinebetaine onproline, water use <strong>and</strong> photosynthetic efficiencies <strong>and</strong> growthof rice seedlings under salt stress. Turkish Journal of Agriculture<strong>and</strong> Forestry, doi:10.3906/tar-0906-34.52 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


38. Cha-um, S. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2010). Effects of water stressinduced by sodium chloride <strong>and</strong> mannitol on prolineaccumulation, photosynthetic abilities <strong>and</strong> growth charactersof eucalyptus (Eucalyptus camaldulensis Dehnh.).New Forests, doi:10.1007/s11056-010-9204-1.39. Cha-um, S., Boriboonkaset, T., Pichakum, A. <strong>and</strong> Kirdmanee, C.(2009). Multivariate physiological indices <strong>for</strong> salt tolerantclassification in indica rice (Oryza sativa L. spp. indica).General <strong>and</strong> Applied Plant Physiology, 35(1-2), 75-87.40. Cha-Um, S., Nhung, N.T.H. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2010). Effect ofmannitol- <strong>and</strong> salt-induced iso-osmotic stress on prolineaccumulation, photosynthetic abilities <strong>and</strong> growth charactersof rice cultivars (Oryza sativa L. spp. Indica). PakistanJournal of Botany, 42(2), 927-941.41. Cha-Um, S., Siringam, K., Juntawong, N. <strong>and</strong> Kirdmanee, C.(2010). Water relations, pigment stabilization, photosyntheticabilities <strong>and</strong> growth improvement in salt stressed rice plantstreated with exogenous potassium nitrate application.International Journal of Plant Production, 4(3), 187-198.42. Cha-um, S., Supaibulwatana, K. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2009).Comparative Effects of Salt Stress <strong>and</strong> Extreme pH StressCombined on Glycinebetaine Accumulation, PhotosyntheticAbilities <strong>and</strong> Growth Characters of Two Rice Genotypes. RiceScience, 16(4), 274-282.43. Cha-Um, S., Takabe, T. <strong>and</strong> Kirdmanee, C. (2010). Ion contents,relative electrolyte leakage, proline accumulation, photosyntheticabilities <strong>and</strong> growth characters of oil palm seedlingsin response to salt stress. Pakistan Journal of Botany, 42(3),2191-2020.44. Cha-um, S., Thadavong, S. <strong>and</strong> Kirdmanee C. (2009). Effects ofmannitol induced osmotic stress on proline accumulation,pigment degradation, photosynthetic abilities <strong>and</strong> growthcharacters in C3 rice <strong>and</strong> C4 sorghum. Frontiers ofAgriculture in China, 3(3), 266-273.45. Cha-um, S., Trakulyingcharoen, T., Smitamana, P. <strong>and</strong> Kirdmanee, C.(2009). Salt tolerance in two rice cultivars differing salttolerant abilities in responses to iso-osmotic stress. AustralianJournal of Crop Science, 3(4), 221-230.46. Chiampanichayakul, S., Anuchapreeda, S., Chruewkamlow,N., Mahasongkram, K., Thanaratanakorn, P. <strong>and</strong> Kasinrerk,W. (2010). Production of monoclonal antibodies toP-glycoprotein: its application in detection of soluble <strong>and</strong>surface P-glycoprotein of leukemia patients. InternationalJournal of Hematology, 92(2), 326-333.47. Chiaraphongphon, S., Suriyachadkun, C., Tamura, T. <strong>and</strong>Thawai, C. (2010). Dactylosporangium maewongense sp. nov.,isolated from soil. International Journal of Systematic <strong>and</strong>Evolutionary Microbiology, 60(2010), 1200-1205.48. Chitnumsub, P., Yuvaniyama, J., Chahomchuen, T., Vilaivan, T.<strong>and</strong> Yuthavong,Y. (2009). Crystallization <strong>and</strong> preliminarycrystallographic studies of dihydrofolate reductase-thymidylatesynthase from Trypanosoma cruzi, the Chagas diseasepathogen. Acta Crystallographica Section F: Structural Biology<strong>and</strong> Crystallization Communications, 65(11), 1175-1178.49. Chokpaiboon, S., Sommit, D., Teerawatananond, T., Muangsin, N.,Bunyapaiboonsri, T. <strong>and</strong> Pudhom, K. (2010). CytotoxicNor-chamigrane <strong>and</strong> Chamigrane Endoperoxides from aBasidiomycetous Fungus. Journal of Natural Products, 73(5),1005-1007.50. Chu, C., Woods, N., Sawasdee, N., Guizouarn, H., Pellissier, B.,Borgese, F., Yenchitsomanus, P.T., Gowrishankar, M. <strong>and</strong>Cordat, E. (2010). B<strong>and</strong> 3 Edmonton I, a novel mutant of theanion exchanger 1 causing spherocytosis <strong>and</strong> distal renaltubular acidosis. Biochemical Journal, 426, 379-388.51. Chusattayanond, A.D.-a., Boonsilp, S., Kasisit, J., Boonmee, A.<strong>and</strong> Warit, S. (2010). Thai Acanthamoeba isolate (T4)induced apoptotic death in neuroblastoma cells via theBax-mediated pathway. Parasitology International, doi:10.1016/j.parint.2010.06.007.52. Chutipaijit, S., Cha-um, S. <strong>and</strong> Sompornpailin, K. (2009).Differential accumulations of proline <strong>and</strong> flavonoids in indicarice varieties against salinity. Pakistan Journal of Botany,41(5), 2497-2506.53. Chutipaijit, S., Cha-um, S. <strong>and</strong> Sompornpailin, K. (2010). Prolineaccumulation <strong>and</strong> physiological responses of indica ricegenotypes differ in tolerance to salt <strong>and</strong> drought stress.Philippine Agricultural Scientist, 93, 165-169.54. Costin, J.M., Jenwitheesuk, E., Lok, S.M., Hunsperger, E.,Conrads, K.A., Fontaine, K.A., Rees, C.R., Rossmann, M.G.,Isern, S., Samudrala, R. <strong>and</strong> Michael, S.F. (2010). StructuralOptimization <strong>and</strong> De Novo Design of Dengue Virus EntryInhibitory Peptides. PLoS Neglected Tropical Diseases,doi:10.1371/journal.pntd.0000721.55. Dejnirattisai, W., Jumnainsong, A., Onsirisakul, N., Fitton, P.,Vasanawathana, S., Limpitikul, W., Puttikhunt, C., Edwards,C., Duangchinda, T., Supasa, S., Chawansuntati, K., Malasit,P., Mongkolsapaya, J. <strong>and</strong> Screaton, G. (2010). Cross-Reacting Antibodies Enhance Dengue Virus Infection inHumans. Science, 328(5979), 745-748.56. Dikit, P., Methacanon, P., Visessanguan, W., H-kittikun, A. <strong>and</strong>Maneerat, S. (2010). Characterization of an unexpectedbioemulsifier from spent yeast obtained from Thai traditionalliquor distillation. International Journal of BiologicalMacromolecules, 47(4), 465-470.57. Dupont, J., Magnin, S., Rousseau, F., Zbinden, M., Frebourg, G.,Samadi, S., Richer de Forges, B. <strong>and</strong> Jones, E.B.G. (2009).Molecular <strong>and</strong> ultrastructural characterization of two ascomycetesfound on sunken wood off Vanuatu Isl<strong>and</strong>s in the deepPacific Ocean. Mycological Research, 113(12), 1351-1364.รายงานประจำาปี <strong>2553</strong> 53


58. Flegel, T.W. <strong>and</strong> Sritunyalucksana, K. (2010). Shrimp MolecularResponses to Viral Pathogens. Marine Biotechnology,doi:10.1007/s10126-010-9287-x.59. Fugthong, A., Boonyapakron, K., Sornlek, W., Tanapongpipat, S.,Eurwilaichitr, L. <strong>and</strong> Pootanakit, K. (2010). Biochemicalcharacterization <strong>and</strong> in vitro digestibility assay of Eupenicilliumparvum (BCC17694) phytase expressed in Pichia pastoris.Protein Expression <strong>and</strong> Purification, 70(1), 60-67.60. Fusuwankaya, K., Chaiprasert, P. <strong>and</strong> Suraraksa, B. (2009).Treatment of modified starch wastewater with high sodiumchloride (NaCl) concentration using an anaerobic hybridreactor. Desalination <strong>and</strong> Water Treatment, 4, 224-228.61. Gangnonngiw, W., Kanthong, N. <strong>and</strong> Flegel, T.W. (2010). Successfulpropagation of shrimp yellow head virus in immortal mosquitocells. Diseases of Aquatic Organisms, 90(1), 77-83.62. Gangnonngiw, W., Laisutisan, K., Sriurairatana, S., Senapin, S.,Chuchird, N., Limsuwan, C., Chaivisuthangkura, P. <strong>and</strong>Flegel, T.W. (2010). Monodon baculovirus (MBV) infects thefreshwater prawn Macrobrachium rosenbergii cultivated inThail<strong>and</strong>. Virus Research, 148(1-2), 24-30.63. Haritakun, R., Sappan, M., Suvannakad, R., Tasanathai, K. <strong>and</strong>Isaka, M. (2010). An Antimycobacterial Cyclodepsipeptidefrom the Entomopathogenic Fungus Ophiocordyceps communisBCC 16475. Journal of Natural Products, 73(1), 75-78.64. Harnpicharnchai, P., Sornlake, W., Tang, K., Eurwilaichitr, L. <strong>and</strong>Tanapongpipat, S. (2010). Cell-surface phytase on Pichiapastoris cell wall offers great potential as a feed supplement.FEMS Microbiology Letters. 302(1), 8-14.65. Hongkachern, T., Champreda, V., Srikhirin, T., Wangkam, T.<strong>and</strong> Osotchan, T. (2010). Effect of pH on the Formation ofa Bovine Serum Albumin Layer on a Poly(stryren-co-maleicAcid) Surface. Advanced Materials Research, 93-94(2010),583-586.66. Imanishi, Y., Jindamorakot, S., Limtong, S. <strong>and</strong> Nakase, T. (2010).Endospore <strong>for</strong>mation in Hanseniaspora pseudoguilliermondii:A key characteristics of the species. Mycoscience, 51(5),373-378.67. Imjongjirak, C., Amparyup, P. <strong>and</strong> Tassanakajon, A. (2010).Molecular cloning, genomic organization <strong>and</strong> antibacterialactivity of a second iso<strong>for</strong>m of antilipopolysaccharide factor(ALF) from the mud crab, Scylla paramamosain. Fish <strong>and</strong>Shellfish Immunology, doi:10.1016/j.fsi.2010.09.011.68. Intarapanich, A., Shaw, P.J., Assawamakin, A., Wangkumhang, P.,Ngamphiw, C., Chaichoompu, K., Piriyapongsa, J. <strong>and</strong>Tongsima, S. (2009). Iterative pruning PCA improvesresolution of highly structured populations. BMCBioin<strong>for</strong>matics, 10, 382.69. Isaka, M., Chinthanom, P., Boonruangprapa, T., Rungjindamai, N.<strong>and</strong> Pinruan, U. (2010). Eremophilane-Type Sesquiterpenesfrom the Fungus Xylaria sp. BCC 21097. Journal of NaturalProducts, 73(4), 683-687.70. Isaka, M., Chinthanom, P., Kongthong, S., Supothina, S. <strong>and</strong>Ittiworapong, P. (2010). Hamigeromycins C-G, 14-memberedmacrolides from the fungus Hamigera avellanea BCC 17816.Tetrahedron, 66(4), 955-961.71. Isaka, M., Sappan, M., Auncharoen, P. <strong>and</strong> Srikitikulchai, P.(2010). Chromone derivatives from the wood-decay fungusRhizina sp. BCC 12292. Phytochemistry Letters, 3(3), 152-155.72. Isaka, M., Yangchum, A., Rachtawee, P., Khoyaiklang, P.,Boonyuen, N. <strong>and</strong> Lumyong, S. (2009). Dihydronaphthalenonesfrom the endophytic fungus Botryosphaeria sp. BCC 8200.Phytochemistry Letters, 2(4), 207-210.73. Isaka, M., Yangchum, A., Rachtawee, P., Komwijit, S. <strong>and</strong>Lutthisungneon, A. (2010). Hopane-Type Triterpenes <strong>and</strong>Binaphthopyrones from the Scale Insect Pathogenic FungusAschersonia paraphysata BCC 11964. Journal of NaturalProducts, 73(4), 688-692.74. Jaichumjai, P., Valyasevi, R., Assavanig, A. <strong>and</strong> Kurdi, P. (2010).Isolation <strong>and</strong> characterization of acid-sensitive Lactobacillusplantarum with application as starter culture <strong>for</strong> Nhamproduction. Food Microbiology, 27(6), 741-748.75. Jariyapan, N., Baimai, V., Poovorawan, Y., Roytrakul, S., Saeung, A.,Thongsahuan, S., Suwannamit, S., Otsuka, Y. <strong>and</strong>Choochote, W. (2010). Analysis of female salivary gl<strong>and</strong>proteins of the Anopheles barbirostris complex (Diptera:Culicidae) in Thail<strong>and</strong>. Parasitology Research, doi:10.1007/s00436-010-1883-1.76. Jeamton, W., Dulsawat, S., Laoteng, K., Tanticharoen, M. <strong>and</strong>Cheevadhanarak, S. (2010). Phycocyanin promoter ofSpirulina platensis controlling heterologous expression incyanobacteria. Journal of Applied Phycology, doi:10.1007/s10811-010-9540-8.77. Jongkon, N., Mokmak, W., Chuakheaw, D., Shaw, P.J., Tongsima, S.<strong>and</strong> Sangma, C. (2009). Prediction of avian influenza Abinding preference to human receptor using con<strong>for</strong>mationalanalysis of receptor bound to hemagglutinin. BMC Genomics,10(Suppl 3), S24.78. Junjhon, J., Edwards, T.J., Utaipat, U., Bowman, V.D., Holdaway, H.A.,Zhang, W., Keelapang, P., Puttikhunt, C., Perera, R.,Chipman, P.R., Kasinrerk, W., Malasit, P., Kuhn, R.J. <strong>and</strong>Sittisombut, N. (2010). Influence of pr-M Cleavage on theHeterogeneity of Extracellular Dengue Virus Particles. Journalof Virology, 84(16), 8353-8358.54 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


79. Kaewmanee, T., Benjakul, S. <strong>and</strong> Visessanguan, W. (2009).Protein Hydrolysate of Salted Duck Egg White as a Substituteof Phosphate <strong>and</strong> Its Effect on Quality of Pacific WhiteShrimp (Litopenaeus vannamei). Journal of Food Science,74(8), s351-s361.80. Kammarnjesadakul, P., Palaga, T., Sritunyalucksana, K.,Mendoza, L., Krajaejun, T., Vanittanakom, N., Tongchusak, S.,Denduangboripant, J. <strong>and</strong> Chindamporn, A. (2010).Phylogenetic analysis of Pythium insidiosum Thai strainsusing cytochrome oxidase II (COX II) DNA coding sequences<strong>and</strong> internal transcribed spacer regions (ITS). MedicalMycology, doi:10.3109/13693786.2010.511282.81. Kanthong, N., Khemnu, N., Pattanakitsakul, S.-N., Malasit, P. <strong>and</strong>Flegel, T.W. (2010). Persistent, triple-virus co-infections inmosquito cells. BMC Microbiology, 10(art. no. 14).82. Khongto, B., Laoteng, K. <strong>and</strong> Tongta, A. (2010). Fermentationprocess development of recombinant Hansenula polymorpha<strong>for</strong> gamma-linolenic acid production. Journal of Microbiology<strong>and</strong> Biotechnology, doi:10.4014/jmb.1003.03004.83. Khouangvichit, S., Songkasiri, W., Stefan, C., Commins, T. <strong>and</strong>Touch, V. (2009). Survey on Participation of Nongtha TaiVillagers (Lao PDR) in Household Waste Management. AsianJournal of Energy <strong>and</strong> Environment, 10(2), 53-61.84. Kittiphattanabawon, P., Benjakul, S., Visessanguan, W. <strong>and</strong>Shahidi, F. (2009). Isolation <strong>and</strong> properties of acid- <strong>and</strong>pepsin-soluble collagen from the skin of blacktip shark(Carcharhinus limbatus). European Food Research <strong>and</strong>Technology, 230(3), 475-483.85. Kittiphattanabawon, P., Benjakul, S., Visessanguan, W. <strong>and</strong>Shahidi, F. (2010). Comparative study on characteristics ofgelatin from the skins of brownb<strong>and</strong>ed bamboo shark <strong>and</strong>blacktip shark as affected by extraction conditions. FoodHydrocolloids, 24(2-3), 164-171.86. Kittiphattanabawon, P., Benjakul, S., Visessanguan, W. <strong>and</strong>Shahidi, F. (2010). Effect of Extraction Temperature onFunctional Properties <strong>and</strong> Antioxidative Activities of Gelatinfrom Shark Skin. Food <strong>and</strong> Bioprocess Technology,doi:10.1007/s11947-010-0427-0.87. Kittiphattanabawon, P., Benjakul, S., Visessanguan, W. <strong>and</strong>Shahidi, F. (2010). Isolation <strong>and</strong> characterization ofcollagen from the cartilages of brownb<strong>and</strong>ed bamboo shark(Chiloscyllium punctatum) <strong>and</strong> blacktip shark (Carcharhinuslimbatus). Lwt-Food Science <strong>and</strong> Technology, 43(5), 792-800.88. Kittiphattanabawon, P., Benjakul, S., Visessanguan, W.,Kishimura, H. <strong>and</strong> Shahidi, F. (2010). Isolation <strong>and</strong>characterisation of collagen from the skin of brownb<strong>and</strong>edbamboo shark (Chiloscyllium punctatum). Food Chemistry,119(4), 1519-1526.89. Klinbunga, S., Sittikankaew, K., Yuvanatemiya, V., Preechaphol, R.,Prasertlux, S., Yamano, K. <strong>and</strong> Menasveta, P. (2009).Molecular cloning <strong>and</strong> expression analysis of ovary-specifictranscript 1 (Pm-OST1) of the giant tiger shrimp, Penaeusmonodon. Zoological Science, 26(11), 783-790.90. Klinbunga, S., Thamniemdee, N., Yuvanatemiya, V., Khetpu, K.,Khamnamtong, B. <strong>and</strong> Menasveta, P. (2010). Speciesidentification of the blue swimming crab Portunus pelagicus inThai waters using mtDNA <strong>and</strong> RAPD-derived SCAR markers.Aquaculture, 308(Suppl.1), S39-S46.91. Klinchid, J., Chewaskulyoung, B., Saeteng, S., Lertprasertsuke, N.,Kasinrerk, W. <strong>and</strong> Cressey, R. (2009). Effect of combinedgenetic polymorphisms on lung cancer risk in northern Thaiwomen. Cancer <strong>Genetic</strong>s <strong>and</strong> Cytogenetics, 195(2), 143-149.92. Kocharin, K., Rachathewee, P., Sanglier, J.-J. <strong>and</strong> Prathumpai, W.(2010). Exobiopolymer production of Ophiocordycepsdipterigena BCC 2073: Optimization, production in bioreactor<strong>and</strong> characterization. BMC Biotechnology, 10, 51.93. Kommanee, J., Tanasupawat, S., Yukphan, P., Malimas, T.,Muramatsu, Y., Nakagawa, Y. <strong>and</strong> Yamada, Y. (2010).Asaia spathodeae sp. nov., an acetic acid bacterium inthe α-Proteobacteria. Journal of General <strong>and</strong> AppliedMicrobiology, 56(1), 81-87.94. Kongprakhon, P., Cuesta-Marcos, A., Hayes, P.M., Hongtrakul, V.,Sirithunya, P., Toojinda, T. <strong>and</strong> Sangduen, N. (2010).Four QTL in Rice associated with broad spectrumresistance to blast isolates from Rice <strong>and</strong> Barley. Journal ofPhytopathology, 158(2), 125-131.95. Kongprakhon, P., Cuesta-Marcos, A., Hayes, P.M., Richardson, K.L.,Sirithunya, P., Sato, K., Steffenson, B. <strong>and</strong> Toojinda, T.(2009). Validation of rice blast resistance genes in barleyusing a QTL mapping population <strong>and</strong> near-isolines. BreedingScience, 59(4), 341-349.96. Kornsakulkarn, J., Thongpanchang, C., Chainoy, R., Choowong, W.,Nithithanasilp, S. <strong>and</strong> Thongpanchang, T. (2010). BioactiveMetabolites from Cultures of Basidiomycete Favolaschiatonkinensis. Journal of Natural Products, 73(4), 759-762.97. Krajaejun, T., Keeratijarut, A., Sriwanichrak, K., Lowhnoo, T.,Rujirawat, T., Petchthong, T., Yingyong, W., Kalambaheti, T.,Smittipat, N., Juthayothin, T. <strong>and</strong> Sullivan, T.D. (2010).74-kiloDalton Immunodominant Antigen of the PathogenicOomycete Pythium insidiosum is a Putative Exo-1,3-βGlucanase. Clinical <strong>and</strong> Vaccine Immunology, 17(8), 1203-1210.98. Kunkeaw, S., Yoocha, T., Sraphet, S., Boonchanawiwat, A.,Boonseng, O., Lightfoot, D.A., Triwitayakorn, K. <strong>and</strong>Tangphatsornruang, S. (2010). Construction of a geneticlinkage map using simple sequence repeat markers fromexpressed sequence tags <strong>for</strong> cassava (Manihot esculentaCrantz). Molecular Breeding, doi:10.1007/s11032-010-9414-4.รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>55


99. Kuntaruk, S., Tatu, T., Keowkarnkah, T. <strong>and</strong> Kasinrerk, W.(2010). S<strong>and</strong>wich ELISA <strong>for</strong> hemoglobin A 2quantification <strong>and</strong>identification of β-thalassemia carriers. International Journalof Hematology, 91(2), 219-228.100. Kurdrid, P., Phuengcharoen, P., Cheevadhanarak, S.,Tanticharoen, M. <strong>and</strong> Hongsthong, A. (2009). Identificationof a heat shock-responsive cis-acting DNA sequence <strong>and</strong>its transcriptional regulator: Their roles in the expressionof the Spirulina-desD gene in response to heat stress.Journal of Bioscience <strong>and</strong> Bioengineering, doi:10.1016/j.jbiosc.2009.09.002.101. Læssøe, T., Srikitikulchai, P., Fournier, J., Köpcke, B. <strong>and</strong> Stadler, M.(2010). Lepraric acid derivatives as chemotaxonomic markersin Hypoxylon aeruginosum, Chlorostroma subcubisporum <strong>and</strong>C. cyaninum, sp. nov.. Fungal Biology, 114(5-6), 481-489.102. Laohaphatanaleart, K., Piyachomkwan, K., Sriroth, K.,Santisopasri, V. <strong>and</strong> Bertoft, E. (2009). A study of the internalstructure in cassava <strong>and</strong> rice amylopectin. Starch-Starke,61(10), 557-569.103. Laohaphatanalert, K., Piyachomkwan, K., Sriroth, K. <strong>and</strong> Bertoft, E.(2010). The fine structure of cassava starch amylopectin Part1: Organization of clusters. International Journal of BiologicalMacromolecules, 47(3), 317-324.104. Laoprom, N., Sithithaworn, P., Ando, K., Sithithaworn, J.,Wongkham, S., Laha, T., Klinbunga, S., Webster, J.P. <strong>and</strong>Andrews, R.H. (2010). Microsatellite loci in the carcinogenicliver fluke, Opisthorchis viverrini <strong>and</strong> their application aspopulation genetic markers. Infection <strong>Genetic</strong>s <strong>and</strong> Evolution,10(1), 146-153.105. Lee, V.S., Tue-ngeun, P., Nangola, S., Kitidee, K., Jitonnom, J.,Nimmanpipug, P., Jiranusornkul, S. <strong>and</strong> Tayapiwatana,C. (2010). Pairwise decomposition of residue interactionenergies of single chain Fv with HIV-1 p17 epitope variants.Molecular Immunology, 47(5), 982-990.106. Limkhuansuwan, V. <strong>and</strong> Chaiprasert, P. (2010). Decolorizationof molasses melanoidins <strong>and</strong> palm oil mill effluent phenoliccompounds by fermentative lactic acid bacteria. Journal ofEnvironmental Sciences-China, 22(8), 1209-1217.107. Limtong, S., Kaewwichian, R., Am-In, S., Nakase, T., Lee, C.-F.<strong>and</strong> Yongmanitchai, W. (2010). C<strong>and</strong>ida asiatica sp. nov.,an anamorphic ascomycetous yeast species isolated fromnatural samples from Thail<strong>and</strong>, Taiwan, <strong>and</strong> Japan. AntonieVan Leeuwenhoek International Journal of General <strong>and</strong>Molecular Microbiology, doi:10.1007/s10482-010-9463-z.108. Luangsa-ard, J.J., Ridkaew, R., Mongkolsamrit, S., Tasanathai, K.<strong>and</strong> Hywel-Jones, N.L. (2010). Ophiocordyceps barnesii <strong>and</strong>its relationship to other melolonthid pathogens with darkstromata. Fungal Biology, 114(9), 739-745.109. Maczey, N., Dhendup, K., Cannon, P., Hywel-Jones, N. <strong>and</strong> Rai, T.B.(2010). Thitarodes namnai sp. nov. <strong>and</strong> T. caligophilus sp.nov. (Lepidoptera: Hepialidae), hosts of the economicallyimportant entomopathogenic fungus Ophiocordyceps sinensisin Bhutan. Zootaxa, 2412, 42-52.110. Makarasara, W., Kumasaka, N., Assawamakin, A., Takahashi, A.,Intarapanich, A., Ngamphiw, C., Kulawonganunchai, S.,Ruangrit, U., Fucharoen, S., Kamatani, N. <strong>and</strong> Tongsima, S.(2009). pHCR: a Parallel Haplotype Configuration Reductionalgorithm <strong>for</strong> haplotype interaction analysis. Journal of Human<strong>Genetic</strong>s, 54(11), 634-641.111. Malimas, T., Yukphan, P., Lundaa, T., Muramatsu, Y., Takahashi, M.,Kaneyasu, M., Potacharoen, W., Tanasupawat, S.,Nakagawa, Y., Suzuki, K., Tanticharoen, M. <strong>and</strong> Yamada, Y.(2009). Gluconobacter kanchanaburiensis sp. nov., a brownpigment-producing acetic acid bacterium <strong>for</strong> Thai isolatesin the Alphaproteobacteria. Journal of General <strong>and</strong> AppliedMicrobiology, 55(3), 247-254.112. Meunpol, O., Duangjai, E., Yoonpun, R. <strong>and</strong> Piyatiratitivorakul, S.(2010). Detection of prostagl<strong>and</strong>in E 2in polychaete Perinereissp. <strong>and</strong> its effect on Penaeus monodon oocyte developmentin vitro. Fisheries Science, 76(2), 281-286.113. Mongkolbovornkij, P., Champreda, V., Sutthisripok, W. <strong>and</strong>Laosiripojana, N. (2010). Esterification of industrial-gradepalm fatty acid distillate over modified ZrO 2(with WO 3–, SO 4–<strong>and</strong> TiO 2–): Effects of co-solvent adding <strong>and</strong> water removal.Fuel Processing Technology, 91(11), 1510-1516.114. Moonsom, S., Tayapiwatana, C., Wongkham, S., Kongtawelert, P.<strong>and</strong> Kasinrerk, W. (2010). A Competitive ELISA <strong>for</strong>Quantifying Serum CD147: Reduction of Soluble CD147Levels in Cancer Patient Sera. Hybridoma, 29(1), 45-52.115. Nakase, T., Jindamorakot, S., Am-In, S., Ninomiya, S. <strong>and</strong>Kawasaki, H. (2010). C<strong>and</strong>ida tanticharoeniae sp. nov., anovel anamorphic yeast species found in Thail<strong>and</strong>. Journal ofGeneral <strong>and</strong> Applied Microbiology, 56(1), 89-92.116. Nakase, T., Jindamorakot, S., Tanaka, K., Ninomiya, S.,Kawasaki, H., Limtong, S. <strong>and</strong> Lee, C.-F. (2010).V<strong>and</strong>erwaltozyma tropicalis sp. nov., a novel ascomycetousyeast species found in Thail<strong>and</strong>. Journal of General <strong>and</strong>Applied Microbiology, 56(1), 31-36.117. Nangola, S., Minard, P. <strong>and</strong> Tayapiwatana, C. (2010). Appraisal oftranslocation pathways <strong>for</strong> displaying ankyrin repeat proteinon phage particles. Protein Expression <strong>and</strong> Purification,doi:10.1016/j.pep.2010.08.010.118. Nasomphan, W., Tangboriboonrat, P. <strong>and</strong> Smanmoo, S.(2010). Selective Fluorescence Sensing ofDeoxycytidine 5′-Monophosphate (dCMP) Employinga Bis(diphenylphosphate)diimine Lig<strong>and</strong>. Journal ofFluorescence, doi:10.1007/s10895-010-0703-4.56 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


119. Netsawang, J., Noisakran, S., Puttikhunt, C., Kasinrerk, W.,Wongwiwat, W., Malasit, P., Yenchitsomanus, P.T. <strong>and</strong>Limjindaporn, T. (2010). Nuclear localization of dengue viruscapsid protein is required <strong>for</strong> DAXX interaction <strong>and</strong> apoptosis.Virus Research, 147(2), 275-283.120. Nettuwakul, C., Sawasdee, N. <strong>and</strong> Yenchitsomanus, P. (2010).Rapid detection of solute carrier family 4, member 1(SLC4A1) mutations <strong>and</strong> polymorphisms by high-resolutionmelting analysis. Clinical Biochemistry, 43(5), 497-504.121. Nimitphak, T., Meemetta, W., Arunrut, N., Senapin, S. <strong>and</strong>Kiatpathomchai, W. (2010). Rapid <strong>and</strong> sensitive detectionof Penaeus monodon nucleopolyhedrovirus (PemoNPV)by loop-mediated isothermal amplification combined with alateral-flow dipstick. Molecular <strong>and</strong> Cellular Probes, 24(1), 1-5.122. Nitiyon, S., Boonmak, C., Am-In, S., Jindamorakot, S., Kawasaki, H.,Yongmanitchai, W. <strong>and</strong> Limtong, S. (2010). C<strong>and</strong>idasaraburiensis sp. nov. <strong>and</strong> C<strong>and</strong>ida prachuapensis sp.nov., two xylose-utilizing yeast species isolated in Thail<strong>and</strong>.International Journal of Systematic <strong>and</strong> EvolutionaryMicrobiology, doi:10.1099/ijs.0.023317-0.123. Noisakran, S., Onlamoon, N., Songprakhon, P., Hsiao, H.M.,Chokephaibulkit, K. <strong>and</strong> Perng, G.C. (2010). Cells inDengue Virus Infection In Vivo. Advances in Virology,doi:10.1155/2010/164878.124. Noophan, P., Paopuree, P., Kanlayaras, K., Sirivithayapakorn, S.<strong>and</strong> Techkarnjanaruk. S. (2009). Nitrogen Removal Efficiencyat Centralized Domestic Wastewater Treatment Plants inBangkok, Thail<strong>and</strong>. Environment Asia, 2(2), 30-35.125. Nuclear, P., Sommit, D., Boonyuen, N. <strong>and</strong> Pudhom, K. (2010).Butenolide <strong>and</strong> fur<strong>and</strong>ione from an endophytic Aspergillusterreus. Chemical <strong>and</strong> Pharmaceutical Bulletin, 58(9), 1221-1223.126. Nzila, A., Rottmann, M., Chitnumsub, P., Kiara, S.M.,Kamchonwongpaisan, S., Maneeruttanarungroj, C.,Taweechai, S., Yeung, B.K.S., Goh, A., Lakshminarayana,S.B., Zou, B., Wong, J., Ma, N.L., Weaver, M., Keller, T.H.,Dartois, V., Wittlin, S., Brun, R., Yuthavong, Y. <strong>and</strong> Diagana, T.T.(2010). Preclinical Evaluation of the Antifolate QN254,5-Chloro-N'6'-(2,5-Dimethoxy-Benzyl)-Quinazoline-2,4,6-Triamine, as an Antimalarial Drug C<strong>and</strong>idate. AntimicrobialAgents <strong>and</strong> Chemotherapy, 54(6), 2603-2610.127. Onlamoon, N., Noisakran, S., Hsiao, H.M., Duncan, A., Villinger, F.,Ansari, A.A. <strong>and</strong> Perng, G.C. (2010). Dengue virus-inducedhemorrhage in a nonhuman primate model. Blood, 115(9),1823-1824.128. Paepatung, N., Nopharatana, A. <strong>and</strong> Songkasiri, W. (2009).Bio-methane potential of biological solid materials<strong>and</strong> agricultural wastes. Asian Journal of Energy <strong>and</strong>Environment, 10(1), 19-27.129. Panichnumsin, P., Nopharatana, A., Ahring, B. <strong>and</strong> Chaiprasert, P.(2010). Production of methane by co-digestion of cassavapulp with various concentrations of pig manure. Biomass <strong>and</strong>Bioenergy, 34(8), 1117-1124.130. Pengsuk, C., Longyant, S., Rukpratanporn, S., Chaivisuthangkura, P.,Sridulyakul, P. <strong>and</strong> Sithigorngul, P. (2010). Development ofmonoclonal antibodies <strong>for</strong> simple detection <strong>and</strong> differentiationof Vibrio mimicus from V. cholerae <strong>and</strong> Vibrio spp. by dotblotting. Aquaculture, 300(1-4), 17-24.131. Phannachet, K., Raksat, P., Limvuttegrijeerat, T. <strong>and</strong> Promdonkoy, B.(2010). Production <strong>and</strong> Characterization of N- <strong>and</strong>C-terminally Truncated Mtx2: a Mosquitocidal Toxin fromBacillus sphaericus. Current Microbiology, doi:10.1007/s00284-010-9651-0.132. Piccinato, C.A., Sartori, R., Sangsritavong, S., Souza, A.H.,Grummer, R.R., Luchini, D. <strong>and</strong> Wiltbank, M.C. (2010). Invitro <strong>and</strong> in vivo analysis of fatty acid effects on metabolismof 17β-estradiol <strong>and</strong> progesterone in dairy cows. Journal ofDairy Science, 93(5), 1934-1943.133. Pinruan, U., Rungjindamai, N., Choeyklin, R., Lumyong, S., Hyde, K.D.<strong>and</strong> Jones, E.B.G. (2010). Occurrence <strong>and</strong> diversity ofbasidiomycetous endophytes from the oil palm, Elaeisguineensis in Thail<strong>and</strong>. Fungal Diversity, 41(1), 71-88.134. Pinruan, U., Rungjindamai, N., Sakayaroj, J., Lumyong, S., Hyde, K.D.<strong>and</strong> Jones, E.B.G. (2010). Baipadisphaeria gen. nov., afreshwater ascomycete (Hypocreales, Sordariomycetes) fromdecaying palm leaves in Thail<strong>and</strong>. Mycosphere, 1, 6.135. Piriyapongsa, J., Ngamphiw, C., Assawamakin, A., Wangkumhang, P.,Suwannasri, P., Ruangrit, U., Agavatpanitch, G. <strong>and</strong>Tongsima, S. (2009). RExPrimer: an integrated primerdesigning tool increases PCR effectiveness by avoiding 3'SNP-in-primer <strong>and</strong> mis-priming from structural variation. BMCGenomics, 10(Suppl 3), S4.136. Pittayakhajonwut, P., Dramae, A., Intaraudom, C., Boonyuen, N.,Nithithanasilp, S., Rachtawee, P. <strong>and</strong> Laksanacharoen, P.(2010). Two New Drimane Sesquiterpenes, FudecadionesA <strong>and</strong> B, from the Soil Fungus Penicillium sp. BCC 17468.Planta Medica, PMID: 20577947.137. Pongtippatee, P., Luppanakane, R., Thaweethamsewee, P.,Kirirat, P., Weerachatyanukul, W. <strong>and</strong> Withyachumnarnkul, B.(2010). Delay of the egg activation process in the Black TigerShrimp Penaeus monodon by manipulation of magnesiumlevels in spawning water. Aquaculture Research, 41(2), 227-232.138. Praipue, P., Klinbunga, S. <strong>and</strong> Jarayabh<strong>and</strong>, P. (2010). <strong>Genetic</strong>diversity of wild <strong>and</strong> domesticated stocks of Thai abalone,Haliotis asinina (Haliotidae), analyzed by single-str<strong>and</strong>con<strong>for</strong>mational polymorphism of AFLP-derived markers.<strong>Genetic</strong>s <strong>and</strong> Molecular Research, 9(2), 1136-1152.รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>57


139. Prasertlux, S., Khamnamtong, B., Chumtong, P., Klinbunga, S.<strong>and</strong> Menasveta, P. (2010). Expression levels of RuvBL2during ovarian development <strong>and</strong> association betweenits single nucleotide polymorphism (SNP) <strong>and</strong> growth ofthe giant tiger shrimp Penaeus monodon. Aquaculture,308(Suppl.1), S83-S90.140. Preechaphol, R., Klinbunga, S., Ponza, P. <strong>and</strong> Menasveta, P.(2010). Isolation <strong>and</strong> characterization of progesteronereceptor-related protein p23 (Pm-p23) differentially expressedduring ovarian development of the giant tiger shrimp Penaeusmonodon. Aquaculture, 308(Suppl.1), S75-S82.141. Preechaphol, R., Klinbunga, S., Yamano, K. <strong>and</strong> Menasveta, P.(2010). Molecular cloning <strong>and</strong> expression of progestinmembrane receptor component 1 (Pgmrc1) of the gianttiger shrimp Penaeus monodon. General <strong>and</strong> ComparativeEndocrinology, 168(3), 440-449.142. Puthawibool, T., Senapin, S., Flegel, T.W. <strong>and</strong> Kiatpathomchai, W.(2010). Rapid <strong>and</strong> sensitive detection of Macrobrachiumrosenbergii nodavirus in giant freshwater prawns by reversetranscription loop-mediated isothermal amplification combinedwith a lateral flow dipstick. Molecular <strong>and</strong> Cellular Probes,24(5), 244-249.143. Raita, M., Champreda, V. <strong>and</strong> Laosiripojana, N. (2010).Biocatalytic ethanolysis of palm oil <strong>for</strong> biodiesel productionusing microcrystalline lipase in tert-butanol system. ProcessBiochemistry, 45(6), 829-834.144. Roongsawang, N., Promdonkoy, P., Wongwanichpokhin, M.,Sornlake, W., Puseenam, A., Eurwilaichitr, L. <strong>and</strong>Tanapongpipat, S. (2010). Coexpression of fungal phytase<strong>and</strong> xylanase utilizing the cis-acting hydrolase element inPichia pastoris. FEMS Yeast Research, doi:10.1111/j.1567-1364.2010.00669.x.145. Rosa, C.A., Jindamorakot, S., Limtong, S., Nakase, T., Pagnocca, F.C.,Lachance, M.-A. (2010). C<strong>and</strong>ida golubevii sp. nov., anasexual yeast related to Metschnikowia lunata. InternationalJournal of Systematic <strong>and</strong> Evolutionary Microbiology, 60(3),704-706.146. Ruenwai, R., Cheevadhanarak, S., Rachdawong, S., Tanticharoen,M. <strong>and</strong> Laoteng, K. (2010). Oxygen-induced expressionof ∆6-, ∆9- <strong>and</strong> ∆12-desaturase genes modulates fattyacid composition in Mucor rouxii. Applied Microbiology <strong>and</strong>Biotechnology, 86(1), 327-334.147. Rukachaisirikul, V., Arunpanichlert, J., Sukpondma, Y.,Phongpaichit, S. <strong>and</strong> Sakayaroj, J. (2009). Metabolites fromthe endophytic fungi Botryosphaeria rhodina PSU-M35 <strong>and</strong>PSU-M114. Tetrahedron, 65(51), 10590-10595.148. Rukachaisirikul, V., Khamthong, N., Sukpondma, Y., Pakawatchai, C.,Phongpaichit, S., Sakayaroj, J. <strong>and</strong> Kirtikara, K. (2009). An[11]cytochalasin derivative from the marine-derived fungusXylaria sp. PSU-F100. Chemical <strong>and</strong> Pharmaceutical Bulletin,57(12), 1409-1411.149. Rukachaisirikul, V., Khamthong, N., Sukpondma, Y., Phongpaichit, S.,Hutadilok-Towatana, N., Graidist, P., Sakayaroj, J. <strong>and</strong>Kirtikara, K. (2010). Cyclohexene, diketopiperazine,lactone <strong>and</strong> phenol derivatives from the sea fan-derivedfungi Nigrospora sp. PSU-F11 <strong>and</strong> PSU-F12. Archives ofPharmacal Research, 33(3), 375-380.150. Rungrassamee, W., Leelatanawit, R., Jiravanichpaisal, P.,Klinbunga, S. <strong>and</strong> Karoonuthaisiri, N. (2010). Expression<strong>and</strong> distribution of three heat shock protein genes underheat shock stress <strong>and</strong> under exposure to Vibrio harveyiin Penaeus monodon. Developmental <strong>and</strong> ComparativeImmunology, 34(10), 1082-1089.151. Sakayaroj, J., Preedanon, S., Supaphon, O., Jones, E.B.G. <strong>and</strong>Phongpaichit, S. (2010). Phylogenetic diversity of endophyteassemblages associated with the tropical seagrass Enhalusacoroides in Thail<strong>and</strong>. Fungal Diversity, doi:10.1007/s13225-009-0013-9.152. Saksmerprome, V., Charoonnart, P., Gangnonngiw, W. <strong>and</strong>Withayachamnankul, B. (2009). A novel <strong>and</strong> inexpensiveapplication of RNAi technology to protect shrimp from viraldisease. Journal of Virological Methods, 162(1-2), 213-217.153. Saksmerprome, V., Puiprom, O., Noonin, C. <strong>and</strong> Flegel, T.W.(2010). Detection of infectious hypodermal <strong>and</strong>haematopoietic necrosis virus (IHHNV) in farmed AustralianPenaeus monodon by PCR analysis <strong>and</strong> DNA sequencing.Aquaculture, 298(3-4), 190-193.154. Sangseethong, K., Termvejsayanon, N. <strong>and</strong> Sriroth, K.(2010). Characterization of physicochemical propertiesof hypochlorite- <strong>and</strong> peroxide-oxidized cassava starches.Carbohydrate Polymers, 82(2), 446-453.155. Sangsuriya, P., Rojtinnakorn, J., Senapin, S. <strong>and</strong> Flegel, T.W.(2010). Identification <strong>and</strong> characterization of Alix/AIP1interacting proteins from the black tiger shrimp Penaeusmonodon. Journal of Fish Diseases, 33(7), 571-581.156. Schoch, C.L., Crous, P.W., Groenewald, J.Z., Boehm, E.W.A.,Burgess, T.I., de Gruyter, J., de Hoog, G.S., Dixon, L.J.,Grube, M., Gueidan, C., Harada, Y., Hatakeyama, S.,Hirayama, K., Hosoya, T., Huhndorf, S.M., Hyde, K.D., Jones,E.B.G., Kohlmeyer, J., Kruys, A., Li, Y.M., Lücking, R.,Lumbsch, H.T., Marvanová, L., Mbatchou, J.S., MaVay, A.H.,Miller, A.N., Mugambi, G.K., Muggia, L., Nelsen, M.P.,Nelson, P., Owensby, C.A., Phillips, A.J.L., Phongpaichit, S.,Pointing, S.B., Pujade-Renaud, V., Raja, H.A., Rivas Plata,E., Robbertse, B., Ruibal, C., Sakayaroj, J., Sano, T.,Selbmann, L., Shearer, C.A., Shirouzu, T., Slippers, B.,Suetrong, S., Tanaka, K., Volkmann-Kohlmeyer, B., Wingfield,M.J., Wood, A.R., Woudenberg, J.H.C., Yonezawa, H.,Zhang, Y. <strong>and</strong> Spata<strong>for</strong>a, J.W. (2009). A class-widephylogenetic assessment of Dothideomycetes. Studies inMycology, 64(1), 1-15.58 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


157. Senapin, S., Molthathong, S., Phiwsaiya, K., Jaengsanong, C.<strong>and</strong> Chuchird, N. (2010). Application of high resolution melt(HRM) analysis <strong>for</strong> duplex detection of Macrobrachiumrosenbergii nodavirus (MrNV) <strong>and</strong> extra small virus (XSV) inshrimp. Molecular <strong>and</strong> Cellular Probes, 24(5), 291-297.158. Senapin, S., Phiwsaiya, K., Anantasomboon, G., Sriphaijit, T.,Browdy, C.L. <strong>and</strong> Flegel, T.W. (2010). Knocking down aTaura syndrome virus (TSV) binding protein Lamr is lethal <strong>for</strong>the whiteleg shrimp Penaeus vannamei. Fish <strong>and</strong> ShellfishImmunology, 29(3), 422-429.159. Senapin, S., Thaowbut, Y., Gangnonngiw, W., Chuchird, N.,Sriurairatana, S. <strong>and</strong> Flegel, T.W. (2010). Impact of yellowhead virus outbreaks in the whiteleg shrimp, Penaeusvannamei (boone), in Thail<strong>and</strong>. Journal of Fish Diseases,33(5), 421-430.160. Shrestha, A., Dhamwichukorn, S. <strong>and</strong> Jenwitheesuk, E. (2010).Modeling of pyruvate decarboxylases from ethanol producingbacteria. Bioin<strong>for</strong>mation, 4(8), 378-384.161. Singboottra, P., Pata, S., Tayapiwatana, C. <strong>and</strong> Kasinrerk, W.(2010). A simultaneously detection of phagocytosis <strong>and</strong>alteration of cell surface molecules by flow cytometry. AsianPacific Journal of Allergy <strong>and</strong> Immunology, 28, 159-164.162. Singkhamanan, K., Promdonkoy, B., Chaisri, U. <strong>and</strong> Boonserm, P.(2010). Identification of amino acids required <strong>for</strong> receptorbinding <strong>and</strong> toxicity of the Bacillus sphaericus binary toxin.FEMS Microbiology Letters, 303(1), 84-91.163. Sinsereekul, N., Wangkam, T., Thamchaipenet, A., Srikhirin, T.,Eurwilaichitr, L. <strong>and</strong> Champreda, V. (2010). Recombinantexpression of BTA hydrolase in Streptomyces rimosus<strong>and</strong> catalytic analysis on polyesters by surface plasmonresonance. Applied Microbiology <strong>and</strong> Biotechnology, 86(6),1775-1784.164. Sirilun, S., Chaiyasut, C., Kantachote, D. <strong>and</strong> Luxananil, P. (2010).Characterisation of non human origin probiotic Lactobacillusplantarum with cholesterol-lowering property. African Journalof Microbiology Research, 4(10), 994-1000.165. Siringam, K., Juntawong, N., Cha-Um, S. <strong>and</strong> Kirdmanee, C.(2009). Relationships between sodium ion accumulation <strong>and</strong>physiological characteristics in rice (Oryza sativa L. spp.indica) seedlings grown under iso-osmotic salinity stress.Pakistan Journal of Botany, 41(4), 1837-1850.166. Sittikankaew, K., Hiransuchalert, R., Yocawibun, P., Yamano, K.<strong>and</strong> Klinbunga, S. (2010). Identification, characterization <strong>and</strong>expression of adipose differentiation-related protein (ADRP)gene <strong>and</strong> protein in ovaries of the giant tiger shrimp Penaeusmonodon. Aquaculture, 308(Suppl.1), S91-S99.167. Sivichai, S. <strong>and</strong> Boonyuen, N. (2010). Jahnula morakotii sp. nov.<strong>and</strong> J. appendicutata from a peat swamp in Thail<strong>and</strong>.Mycotaxon, 112, 475-481.168. Sreethawong, T., Niyamapa, T., Neramitsuk, H., Rangsunvigit, P.,Leethochawalit, M. <strong>and</strong> Chavadej, S. (2010). Hydrogenproduction from glucose-containing wastewater usingan anaerobic sequencing batch reactor: Effects of CODloading rate, nitrogen content, <strong>and</strong> organic acid composition.Chemical <strong>Engineering</strong> Journal, 160(1), 322-332.169. Sreewongchai, T., Toojinda, T., Thanintorn, N., Kosawang, C.,Vanavichit, A., Tharreau, D. <strong>and</strong> Sirithunya, P. (2010).Development of elite indica rice lines with wide spectrumof resistance to Thai blast isolates by pyramiding multipleresistance QTLs. Plant Breeding, 129(2), 176-180.170. Sri-indrasutdhi, V., Boonyuen, N., Suetrong, S.,Chuaseeharonnachai, C., Sivichai, S. <strong>and</strong> Jones, E.B.G.(2010). Wood-inhabiting freshwater fungi from Thail<strong>and</strong>:Ascothail<strong>and</strong>ia grenadoidia gen. et sp. nov., Canalisporiumgrenadoidia sp. nov. with a key to Canalisporium species(Sordariomycetes, Ascomycota). Mycoscience, 51(6), 411-420.171. Sriket, C., Benjakul, S. <strong>and</strong> Visessanguan, W. (2010).Post-mortem changes of muscle from fresh water prawn(Macrobrachium rosenbergii) as influenced by spawningstages. Lwt-Food Science <strong>and</strong> Technology, 43(4), 608-616.172. Sriphairoj, K., Klinbu-nga, S., Kamonrat, W. <strong>and</strong> Na-Nakorn, U.(2010). Species identification of four economically importantPangasiid catfishes <strong>and</strong> closely related species using SSCPmarkers. Aquaculture, 308(Suppl.1), S47-S50.173. Sriroth, K., Piyachomkwan, K., Wanlapatit, S. <strong>and</strong> Nivitchanyong,S. (2010). The promise of a technology revolution in cassavabioethanol: From Thai practice to the world practice. Fuel,doi:10.1016/j.fuel.2009.12.008.174. Srisuk, C., Chaivisuthangkura, P., Sukhumsirichart, W.,Sridulyakul, P., Longyant, S., Rukpratanporn, S. <strong>and</strong>Sithigorngul, P. (2010). Improved immunodetection ofPenaeus monodon densovirus with monoclonal antibodiesraised against recombinant capsid protein. Aquaculture,doi:10.1016/j.aquaculture.2010.08.018.175. Srisuk, C., Chaivisuthangkura, P., Rukpratanporn, S., Longyant, S.,Sridulyakul, P. <strong>and</strong> Sithigorngul, P. (2010). Rapid <strong>and</strong>sensitive detection of Vibrio cholerae by loop-mediatedisothermal amplification targeted to the gene of outermembrane protein ompW. Letters in Applied Microbiology,50(1), 36-42.176. Sritunyalucksana, K., Srisala, J., Wangnai, W. <strong>and</strong> Flegel, T.W.(2010). Yellow head virus (YHV) transmission risk fromcommodity shrimp is reduced to negligible levels by normalprocessing. Aquaculture, 300(1-4), 32-36.รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>59


177. Sudhadham, M., Gerrits van den Ende, A.H.G., Sihanonth, P.,Sivichai, S., Chaiyarat, R., Menken, S.B.J., van Belkum, A.<strong>and</strong> de Hoog, G.S. (2010). Elucidation of distribution patterns<strong>and</strong> possible infection routes of the neurotropic black yeastExophiala dermatitidis using AFLP. Mycological Research,doi:10.1016/j.funbio.2010.07.004.178. Suetrong, S., Schoch, C.L., Spata<strong>for</strong>a, J.W., Kohlmeyer, J.,Volkmann-Kohlmeyer, B., Sakayaroj, J., Phongpaichit, S.,Tanaka, K., Hirayama, K. <strong>and</strong> Jones, E.B.G. (2009).Molecular systematics of the marine Dothideomycetes.Studies in Mycology, 64(1), 155-173.179. Sungsuwan, S., Ruangsupapichart, N., Prabpai, S., Kongsaeree, P.<strong>and</strong> Thongpanchang, T. (2010). Tetrahydro-1,4-epoxynaphthalene-1-carboxylic acid: a chiral derivatizingagent <strong>for</strong> the determination of the absolute configuration ofsecondary alcohols. Tetrahedron Letters, 51(38), 4965-4967.180. Supungul, P., Rimphanitchayakit, V., Aoki, T., Hirono, I. <strong>and</strong>Tassanakajon, A. (2010). Molecular characterization <strong>and</strong>expression analysis of a c-type <strong>and</strong> two novel muramidasedeficienti-type lysozymes from Penaeus monodon. Fish <strong>and</strong>Shellfish Immunology, 28(3), 490-498.181. Suriyachadkun, C., Chunhametha, S., Thawai, C., Tamura, T.,Potacharoen, W., Kirtikara, K., Sanglier, J.-J.<strong>and</strong> Kitpreechavanich, V. (2010). Planotetrasporakaengkrachanensis sp. nov. <strong>and</strong> Planotetrasporaphitsanulokensis sp. nov., isolated from soil. InternationalJournal of Systematic <strong>and</strong> Evolutionary Microbiology, 60(9),2076-2081.182. Tangphatsornruang, S., Birch-Machin, I., Newell, C.A. <strong>and</strong> Gray, J.C.(2010). The effect of different 3′ untranslated regions on theaccumulation <strong>and</strong> stability of transcripts of a gfp transgenein chloroplasts of transplastomic tobacco. Plant MolecularBiology, doi:10.1007/s11103-010-9689-1.183. Tangphatsornruang, S., Sangsrakru, D., Chanprasert, J.,Uthaipaisanwong, P., Yoocha, T., Jomchai, N. <strong>and</strong>Tragoonrung, S. (2010). The Chloroplast Genome Sequenceof Mungbean (Vigna radiata) Determined by High-throughputPyrosequencing: Structural Organization <strong>and</strong> PhylogeneticRelationships. DNA Research, 17(1), 11-22.184. Tangphatsornruang, S., Somta, P., Uthaipaisanwong, P.,Chanprasert, J., Sangsrakru, D., Seehalak, W., Sommanas, W.,Tragoonrung, S. <strong>and</strong> Srinives, P. (2009). Characterizationof microsatellites <strong>and</strong> gene contents from genome shotgunsequences of mungbean (Vigna radiata (L.) Wilczek). BMCPlant Biology, 9, 137.185. Tantivitayakul, P., Panapruksachat, S., Billamas, P. <strong>and</strong>Palittapongarnpim, P. (2010). Variable number oft<strong>and</strong>em repeat sequences act as regulatory elements inMycobacterium tuberculosis. Tuberculosis, 90(5), 311-318.186. Tapingkae, W., Parkin, K.L., Tanasupawat, S., Kruenate, J.,Benjakul, S. <strong>and</strong> Visessanguan, W. (2010). Whole cellimmobilisation of Natrinema gari BCC 24369 <strong>for</strong> histaminedegradation. Food Chemistry, 120(3), 842-849.187. Tapingkae, W., Tanasupawat, S., Parkin, K.L., Benjakul, S.<strong>and</strong> Visessanguan, W. (2010). Degradation of histamineby extremely halophilic archaea isolated from highsalt-fermented fishery products. Enzyme <strong>and</strong> MicrobialTechnology, 46(2), 92-99.188. Tassanakajon, A., Amparyup, P., Somboonwiwat, K. <strong>and</strong>Supungul, P. (2010). Cationic Antimicrobial Peptides inPenaeid Shrimp. Marine Biotechnology, 12(5), 487-505.189. Techaprasan, J., Klinbunga, S., Ngamriabsakul, C. <strong>and</strong> Jenjittikul, T.(2010). <strong>Genetic</strong> variation of Kaempferia (Zingiberaceae) inThail<strong>and</strong> based on chloroplast DNA (psbA-trnH <strong>and</strong> petApsbJ)sequences. <strong>Genetic</strong>s <strong>and</strong> Molecular Research, 9(4),1957-1973.190. Thammachat, S., Pungtanom, N., Kidsanguan, S.,Pathaichindachote, W., Promdonkoy, B. <strong>and</strong> Krittanai, C.(2010). Amino acid substitution on β1 <strong>and</strong> αF of Cyt2Aa2affects molecular interaction of protoxin. BMB Reports, 43(6),427-431.191. Thammasorn, W., Eadjongdee, K., Hongsthong, A., Porkaew, K.<strong>and</strong> Cheevadhanarak, S. (2009). Probability-Based ScoringFunction as a Software Tool Used in the Genome-BasedIdentification of Proteins from Spirulina platensis. The OpenBioin<strong>for</strong>matics Journal, 3, 59-68.192. Theeraapisakkun, M., Klinbunga, S. <strong>and</strong> Sittipraneed, S. (2010).Development of a species-diagnostic marker <strong>and</strong> itsapplication <strong>for</strong> population genetics studies of the stinglessbee Trigona collina in Thail<strong>and</strong>. <strong>Genetic</strong>s <strong>and</strong> MolecularResearch, 9(2), 919-930.193. Thong-On, A., Smittipat, N., Juthayothin, T., Yanai, H., Yamada, N.,Yorsangsukkamol, J., Chaiprasert, A., Rienthong, D.,Billamas, P. <strong>and</strong> Palittapongarnpim, P. (2010). Variablenumbert<strong>and</strong>em repeats typing of Mycobacterium tuberculosisisolates with low copy numbers of IS6110 in Thail<strong>and</strong>.Tuberculosis, 90(1), 9-15.194. Thummajitsakul, S., Klinbunga, S. <strong>and</strong> Sittipraneed, S. (2010).Development of a Species-Diagnostic Marker <strong>for</strong> Identificationof the Stingless Bee Trigona pagdeni in Thail<strong>and</strong>.Biochemical <strong>Genetic</strong>s, 48(3-4), 181-192.195. Thuzar, M., Vanavichit, A., Tragoonrung, S. <strong>and</strong> Jantasuriyarat, C.(2010). Efficient <strong>and</strong> rapid plant regeneration of oil palmzygotic embryos cv. ‘Tenera’ through somatic embryogenesis.Acta Physiologiae Plantarum, doi:10.1007/s11738-010-0526-6.196. Touch, V., Keo, S., Songkasiri, W., Stefan, C., Commins, T.,Khouangvichit, S. <strong>and</strong> Green, J. (2009). Use of solid waste<strong>for</strong> small-scale biogas production <strong>for</strong> rural household energyconsumption case study in takaev province, cambodia. AsianJournal of Energy <strong>and</strong> Environment, 10(1), 1-10.60 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


197. Trisuwan, K., Rukachaisirikul, V., Sukpondma, Y., Phongpaichit, S.,Preedanon, S. <strong>and</strong> Sakayaroj, J. (2010). Furo[3,2-h]isochroman, furo[3,2-h]isoquinoline, isochroman, phenol,pyranone, <strong>and</strong> pyrone derivatives from the sea fan-derivedfungus Penicillium sp. PSU-F40. Tetrahedron, 66(25), 4484-4489.198. Ungsupravate, D., Sawasdee, N., Khositseth, S.,Udomchaiprasertkul, W., Khoprasert, S., Li, J., Reithmeier,R.A.F. <strong>and</strong> Yenchitsomanus, P.-T. (2010). Impaired trafficking<strong>and</strong> intracellular retention of mutant kidney anion exchanger1 proteins (G701D <strong>and</strong> A858D) associated with distal renaltubular acidosis. Molecular Membrane Biology, 27(2-3), 92-103.199. Visudtiphole, V., Watthanasurorot, A., Klinbunga, S., Menasveta, P.<strong>and</strong> Kirtikara, K. (2010). Molecular characterization ofCalreticulin: A biomarker <strong>for</strong> temperature stress responsesof the giant tiger shrimp Penaeus monodon. Aquaculture,308(Suppl.1), S100-S108.200. Vrydaghs, L., Ball, T., Volkaert, H., Houwe, I.V., Manwaring, J.<strong>and</strong> Langhe, E.D. (2009). Differentiating the Volcani<strong>for</strong>mPhytoliths of Bananas: Musa acuminata. EthnobotanyResearch <strong>and</strong> Applications, 7, 239-246.201. Wadbua, P., Promdonkoy, B., Maensiri, S. <strong>and</strong> Siri, S. (2010).Different properties of electrospun fibrous scaffolds ofseparated heavy-chain <strong>and</strong> light-chain fibroins of Bombyxmori. International Journal of Biological Macromolecules,46(5), 493-501.202. Wang, H.W., Nol<strong>and</strong>, C., Siridechadilok, B., Taylor, D.W., Ma, E.,Felderer, K., Doudna, J.A. <strong>and</strong> Nogales, E. (2009). Structuralinsights into RNA processing by the human RISC-loadingcomplex. Nature Structural <strong>and</strong> Molecular Biology, 16(11),1148-1153.203. Wangchuk, P., Bremner, J.B., Samten, Rattanajak, R. <strong>and</strong>Kamchonwongpaisan, S. (2009). Antiplasmodial agentsfrom the Bhutanese medicinal plant Corydalis calliantha.Phytotherapy Research, doi:10.1002/ptr.2893.204. Wangchuk, P., Bremner, J.B., Samten, Skelton, B.W., White, A.H.,Rattanajak, R. <strong>and</strong> Kamchonwongpaisan, S. (2010).Antiplasmodial activity of atisinium chloride from theBhutanese medicinal plant, Aconitum orochryseum. Journalof Ethnopharmacology, 130(3), 559-562.205. Wanichananan, P., Teerakathiti, T., Roytrakul, S., Kirdmanee, C.<strong>and</strong> Peyachoknagul, S. (2010). A highly efficient method<strong>for</strong> Agrobacterium mediated trans<strong>for</strong>mation in elite ricevarieties (Oryza sativa L. spp. indica). African Journal ofBiotechnology, 9(34), 5488-5495.206. Wanitchang, A., Kramyu, J. <strong>and</strong> Jongkaewwattana, A. (2010).Enhancement of Reverse <strong>Genetic</strong>s-derived Swine-OriginH1N1 Influenza Virus Seed Vaccine Growth by Inclusion ofIndigenous Polymerase PB1 Protein. Virus Research, 147(1),145-148.207. Washio, K., Lim, S.P., Roongsawang, N. <strong>and</strong> Morikawa, M.(2010). Identification <strong>and</strong> Characterization of the GenesResponsible <strong>for</strong> the Production of the Cyclic LipopeptideArthrofactin by Pseudomonas sp. MIS38. BioscienceBiotechnology <strong>and</strong> Biochemistry, 74(5), 992-999.208. Watthanasurorot, A., Jiravanichpaisal, P., Söderhäll, I. <strong>and</strong>Söderhäll, K. (2010). A gC1qR prevents WSSV replication inthe freshwater crayfish Pacifastacus leniusculus. Journal ofVirology, doi:10.1128/JVI.01045-10.209. Wittayacom, K., Uthaipibull, C., Kumpornsin, K., Tinikul, R.,Kochakarn, T., Songprakhon, P. <strong>and</strong> Chookajorn, T. (2010).A nuclear targeting system in Plasmodium falciparum. MalariaJournal, 9, 126.210. Wongsaprom, C., Sirithunya, P., Vanavichit, A., Pantuwan, G.,Jongdee, B., Sidhiwong, N., Lanceras-Siangliw, J. <strong>and</strong>Toojinda, T. (2010). Two introgressed quantitative trait lociconfer a broad-spectrum resistance to blast disease in thegenetic background of the cultivar RD6 a Thai glutinousjasmine rice. Field Crops Research, 119(2-3), 245-251.211. Wongsurawat, T., Leelatanawit, R., Thamniemdee, N.,Uawisetwathana, U., Karoonuthaisiri, N., Menasveta, P. <strong>and</strong>Klinbunga, S. (2010). Identification of testis-relevant genesusing in silico analysis from testis ESTs <strong>and</strong> cDNA microarrayin the black tiger shrimp (Penaeus monodon). BMC MolecularBiology, 11(55).212. Wongwilaiwalin, S., Rattanachomsri, U., Laothanachareon, T.,Eurwilaichitr, L., Igarashi, Y. <strong>and</strong> Champreda, V. (2010).Analysis of a thermophilic lignocellulose degrading microbialconsortium <strong>and</strong> multi-species lignocellulolytic enzyme system.Enzyme <strong>and</strong> Microbial Technology, 47(6), 283-290.213. Xu, S., Kangwanpong, D., Seielstad, M., Srikummool, M.,Kampuansai, J., Jin, L. <strong>and</strong> The HUGO Pan-Asian SNPConsortium. (2010). <strong>Genetic</strong> evidence supports linguisticaffinity of Mlabri - a hunter-gatherer group in Thail<strong>and</strong>. BMC<strong>Genetic</strong>s, 11(1), 18.214. Yukphan, P., Malimas, T., Lundaa, T., Muramatsu, Y., Takahashi, M.,Kaneyasu, M., Tanasupawat, S., Nakagawa, Y., Suzuki, K.-I.,Tanticharoen, M. <strong>and</strong> Yamada, Y. (2010). Gluconobacterwancherniae, sp. nov., an acetic acid bacterium from Thaiisolates in the α-Proteobacteria. Journal of General <strong>and</strong>Applied Microbiology, 56(1), 67-73.215. Yukphan, P., Malimas, T., Muramatsu, Y., Takahashi, M.,Kaneyasu, M., Potacharoen, W., Tanasupawat, S.,Nakagawa, Y., Hamana, K., Tahara, Y., Suzuki, K.,Tanticharoen, M. <strong>and</strong>, Yamada, Y. (2009). Ameyamaeachiangmaiensis gen. nov., sp. nov., an Acetic Acid Bacteriumin the α-Proteobacteria. Bioscience Biotechnology <strong>and</strong>Biochemistry, 73(10), 2156-2162.216. Zhang, Y., Söderhäll, I., Söderhäll, K. <strong>and</strong> Jiravanichpaisal, P.(2010). Expression of immune-related genes in one phase ofembryonic development of freshwater crayfish, Pacifastacusleniusculus. Fish <strong>and</strong> Shellfish Immunology, 28(4), 649-653.รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>61


์รางวัลที่ได้รับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. มรกต ตันติเจริญศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติได้รับรางวัล APBioChEC Award จากงานประชุมวิชาการด้านวิศวกรรมชีวเคมีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (The Asia Pacific Biochemical<strong>Engineering</strong> Conference 2009: APBioChEC'09)ศ.ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2552 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีรศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตรหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวได้รับรางวัลรางวัลรองชนะเลิศ ผลงานนวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2552ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดาหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี <strong>2553</strong> จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สำหรับผลงาน “การศึกษาเอนไซม์ที่มีศักยภาพจากแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ในประเทศ เพื่อการประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ”ดร. วรรณพ วิเศษสงวนหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับรางวัลผู ้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยไปสู ่เชิงพาณิชย์ จากงาน NSTDAInventor’s Day & Technopreneur Prize 2010 จาก สวทช. สำหรับผลงาน “กระบวนการผลิตเอนไซม์เพนโตซาเนสจากเชื้อราสายพันธุAspergillus sp. BCC7178 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์บก”ดร. เฉลิมพล เกิดมณีหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับรางวัลผู ้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยไปสู ่เชิงพาณิชย์ จากงาน NSTDAInventor’s Day & Technopreneur Prize 2010 จาก สวทช. สำหรับผลงาน “การใช้แผ่นผ้ากรองเพื่อการแลกเปลี่ยนอากาศและความชื้นในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ”ดร. เอกชัย เจนวิถีสุขสถาบันจีโนมได้รับรางวัล The NSTDA Idea to Product Competition: FastTrack to Commercialization จากสำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยีศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับผลงาน “ชุดตรวจการแพ้ยาของสุนัข”ดร. นิศรา การุณอุทัยศิริ ดร. อรประไพ คชนันทน์ดร. เพลินพิศ ลักษณะนิล ดร. กัญญวิมว์ กีรติกรนายรัฐพล เฉลิมโรจน์ และ นางสาวอุมาพร เอื้อวิเศษวัฒนาหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปี <strong>2553</strong> (สาขาเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำหรับผลงาน “การตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารหลายๆ ชนิดพร้อมกันด้วยแอนติบอดีอะเรย์”ดร. ฟิลิป ชอว์หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทค• ได้รับทุนวิจัย Gr<strong>and</strong> Challenges Explorations Grant จากมูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์ ประจำปี 2552 สำหรับผลงาน“A new tool <strong>for</strong> anti-malarial target gene validation”• ได้รับทุนวิจัย The Great Gigabase Grant จากบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไบโอจีโนเมด จำกัด และสถาบันจีโนม สำหรับผลงาน “Comprehensive Transcript Mappingof the 5’ ends of P. falciparum mRNA”ดร. นิศรา การุณอุทัยศิริหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์”ปีที่ 7 ประจำปี 2552 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ สำหรับผลงาน “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไมโครอะเรย์ในงานวิจัยและพัฒนาของประเทศไทย”ดร. ชะวะนี ทองพันชั่งหน่วยปฎิบัติการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพได้รับรางวัล CST – Wiley Outst<strong>and</strong>ing Publication Award ประจำปี 2552 จากสมาคมเคมี สำหรับผลงาน “Immobilization of malarial(Plasmodium falciparum) dihydrofolate reductase <strong>for</strong> the selectionof tight-binding inhibitors from combinatorial library”ดร. นิภา โชคสัจจะวาทีหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับทุนการศึกษา Endeavour Executive Awards ประจำปี <strong>2553</strong>จากรัฐบาลออสเตรเลีย สำหรับผลงาน “Principle <strong>and</strong> advancedapplication of predictive modeling <strong>for</strong> construction of quantitativerisk assessment model of Salmonella sp. in chicken”ดร. อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสินหน่วยปฎิบัติการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพได้รับทุนวิจัย ในปี <strong>2553</strong> จาก International Foundation <strong>for</strong> Science(IFS) ประเทศสวีเดน สำหรับผลงาน “Determination of potentialrole of reducing clade III PKS gene in the entomopathogenicfungus Beauveria bassiana on pathogenesis against insect pests”62 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>


ดร. วิรักษ์ วิสุทธิผลหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับทุนวิจัย ในปี <strong>2553</strong> จาก International Foundation <strong>for</strong>Science (IFS) ประเทศสวีเดน สำหรับผลงาน “Characterizationof genes <strong>and</strong> proteins related to Ca2+ homeostasis <strong>and</strong> stressin the black tiger shrimp (Penaeus monodon)”ดร. วรรณวิมล ศักดิ์เสมอพรหมหน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง• ได้รับทุนวิจัย ในปี<strong>2553</strong> จาก International Foundation <strong>for</strong> Science(IFS) ประเทศสวีเดน สำหรับผลงาน “Production <strong>and</strong> delivery ofdouble-str<strong>and</strong>ed RNA to control yellow-head virus disease inshrimp”• ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมแบบบรรยายประจำปี 2552 จากงานประชุมนักวิจัยรุ ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโสจัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำหรับผลงาน “A novel <strong>and</strong> inexpensive application of RNAitechnology to protect shrimp from viral disease”ดร. สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง นางดวงใจ แสงสระคูนางสาวจันทิมา ชาญประเสริฐ นางสาวทิพวัลย์ อยู่ชานางสาวพิชาภัค อุทัยไพศาลวงศ์ นางสาวนุกูล จอมชัยและ ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ ่งสถาบันจีโนมได้รับการคัดเลือกเป็น highlight paper บนเว็บไซต์ของ A-IMBN(Asia-Pacific International Molecular Biology Network)Research สำหรับผลงาน “The Chloroplast Genome Sequenceof Mungbean (Vigna radiata) Determined by High-throughputPyrosequencing: Structural Organization <strong>and</strong> PhylogeneticRelationships”ดร. ปิยนันท์ หาญพิชาญชัย นางสาววราศิรินทร์ สอนเล็กนายกฤตพงศ์ แซ่ตั๊ง ดร. ลิลี่ เอื้อวิไลจิตรและ ดร. สุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพได้รับการคัดเลือกเป็น highlight paper บนเว็บไซต์ของ A-IMBN(Asia-Pacific International Molecular Biology Network)Research สำหรับผลงาน “Cell-surface phytase on Pichiapastoris cell wall offers great potential as a feed supplement”นายอุกฤษฏ์ รัตนโฉมศรี ดร. สุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์ดร. ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร และ ดร. วีระวัฒน์ แช่มปรีดาหน่วยปฎิบัติการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพได้รับรางวัล Excellent Paper Award of the Society <strong>for</strong> Biotechnologyประจำปี <strong>2553</strong> จาก The Society <strong>for</strong> Biotechnology Japanสำหรับผลงาน “Simultaneous non-thermal saccharification ofcassava pulp by multi-enzyme activity <strong>and</strong> ethanol fermentation byC<strong>and</strong>ida tropicalis”นายอัศวิน วานิชชัง ดร. อนันต์ จงแก้ววัฒนา และคณะนักวิจัยห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยีหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับรางวัล Outst<strong>and</strong>ing Poster Presentation Award จากงานประชุมวิชาการนานาชาติ “Thail<strong>and</strong> Conference on Emerging Infectious<strong>and</strong> Neglected Diseases (EID2010)” สำหรับผลงาน “Compatibilityof strain-specific amino acids of PA of p<strong>and</strong>emic H1N1 influenzaA virus influences its polymerase function <strong>and</strong> virus growth”นางสาวปิ่นปัญญา เรียงรุ่งโรจน์หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับรางวัลที่ 3 ประเภทโปสเตอร์ จากงานประชุมวิชาการนานาชาติ “The 5th Annual Symposium of Protein Society ofThail<strong>and</strong> Protein Research: From Basic Approaches to ModernTechnologies” สำหรับผลงาน “การศึกษาสมบัติทางชีวเคมีของอะดีโนซีนดีอะมีเนส ของเชื้อพลาสโมเดียม ฟาลซิปารัม”ดร. จิตติมา พิริยะพงศาสถาบันจีโนมได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเด่น ประจำปี 2552 (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง “จุดกำเนิดและวิวัฒนาการของยีนในยูคาริโอตจากทรานสโปซอน”ดร. สุมาริน ซุนสง่าหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ประจำปี 2552 (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง “กลไกการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของโปรตีน OhrR ในแบคทีเรีย Bacillus subtilis เมื่อทำปฏิกิริยาเคมีกับ organic hydroperoxide”ดร. นันท์ชญา วรรณเสนหน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี ประจำปี 2552 (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง “การกระตุ ้นระบบภูมิคุ ้มกันโดยเชื้อลิชมาเนีย อเมซอนเนนซีสให้ส่งเสริมการเกิดโรคลิชมาเนียเรื้อรัง”นายสุนทร โต๊ะดำ และกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่าบาลาหน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุและป่าดิบชื้นฮาลา-บาลา และโรงเรียนนิคมพัฒนา 10 จ.นราธิวาสได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประเภทกลุ่มเยาวชน ประจำปี 2552 จากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำหรับผลงาน “การอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรต้นน้ำสายบุรี สู่กระบวนการเรียนการสอน”รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>63


คณะกรรมการบริหารไบโอเทคที่ปรึกษากรรมการศ.ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยศ.ดร. สนิท อักษรแก้วสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดร. เสริมพล รัตสุขบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัดรศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีประธานกรรมการศ.ดร. สุจินต์ จินายนมหาวิทยาลัยนเรศวรรองประธานกรรมการรศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตนผู ้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(16 มีนาคม 2552 - 30 มิถุนายน <strong>2553</strong>)ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูลผู ้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(1 กรกฎาคม <strong>2553</strong> - ปัจจุบัน)กรรมการศ.น.สพ. ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศ.ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์มหาวิทยาลัยมหิดลนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุลสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยศ.ดร. พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นพ. วิชัย โชควิวัฒนกระทรวงสาธารณสุขนางวิภาจรีย์ พุทธมิลินประทีปสำนักงบประมาณศ.ดร. สวัสดิ์ ตันตระรัตน์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยนายสมชาย ชาญณรงค์กุลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติศ.ดร. อมเรศ ภูมิรัตนมหาวิทยาลัยมหิดลกรรมการและเลขานุการดร. กัญญวิมว์ กีรติกรผู้อำนวยการไบโอเทคกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการนางสาวดุษฎี เสียมหาญรองผู ้อำนวยการไบโอเทคคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติประธานกรรมการProf. Ken-ichi AraiProfessor Emeritus, The University of Tokyo, JAPANกรรมการDr. Jill ConleyDirector, International <strong>and</strong> Precollege Science Education ProgramsHoward Hughes Medical Institute (HHMI), USAProf. Mauro GiaccaDirector, International <strong>Center</strong> <strong>for</strong> <strong>Genetic</strong> <strong>Engineering</strong> <strong>and</strong>Biotechnology (ICGEB) Trieste, ITALYProf. Paul GreenfieldVice-Chancellor, The University of Queensl<strong>and</strong>, AUSTRALIADr. Ming-Chu HsuChairman & CEO, TaiGen Biotechnology Co., Ltd., TAIWANProf. Lene LangeVice Dean <strong>for</strong> Faculty of <strong>Engineering</strong>, Science <strong>and</strong> Medicine,Aalborg University, DENMARKProf. Anthony TurnerCommercial Director & Distinguished Professor of Biotechnology,Cranfield Health, Cranfield University, UKProf. Dyann WirthChair, Department of Immunology <strong>and</strong> Infectious Diseases,Harvard School of Public Health, USAProf. Albert Cheung Hoi YuVice-director <strong>and</strong> Professor, Neuroscience Research Institute &Department of Neurobiology, Peking University, CHINAคณะผู้บริหารไบโอเทคดร. กัญญวิมว์ กีรติกรผู้อำนวยการรศ.ดร. สุวิทย์ เตียรองผู้อำนวยการนางสาวดุษฎี เสียมหาญรองผู้อำนวยการนางสาวเครือวรรณ โพธิสมบัติผู้ช่วยผู้อำนวยการดร. อ้อมใจ ไทรเมฆผู้ช่วยผู้อำนวยการ (24 สิงหาคม 2549 - 30 กันยายน <strong>2553</strong>)64 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!