11.07.2015 Views

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ด้านพลังงานทดแทนและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพไบโอเทคมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีการบำบัดของเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพการพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการผลิตไบโอเอทานอล และการพัฒนาเอนไซม์เพื่อการประยุกต์ใช้ในการแปรชีวมวลเป็นพลังงานและสิ่งแวดล้อมและสารเคมีเพิ่มมูลค่าพลังงานทดแทนเทคโนโลยีการบำบัดของเสียและการผลิตก๊าซชีวภาพไบโอเทค โดยศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีบำบัดของเสีย และการประยุกต์ใช้ประโยชน์ของก๊าซชีวภาพ และไบโอเอทานอล โดยมีความก้าวหน้าในการวิจัย ได้แก่ 1) การบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์สูง (NaCl) โดยใช้ถังปฏิกรณ์บำบัดน้ำเสียไร้อากาศแบบลูกผสม พบว่าค่าความเข้มข้น NaCl ที่ระดับ 5 g/l (0.5%) ไม่มีผลยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปร ซึ่งมีค่าความเข้มข้น NaCl 2-10 g/l(0.2-1.0%) ซึ่งอยู ่ระหว่างศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้น NaCl สูงกว่า 5 g/l เนื่องจากน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานมักมีความเข้มข้น NaCl ไม่คงที่ 2) การพัฒนาชุดตรวจวัดมลพิษสำหรับน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม (COD sensor) โดยได้พัฒนาหัววัดค่า COD สำหรับน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบออนไลน์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมและส่งข้อมูลได้ทุกๆ 30 นาที ซึ่งค่าที่วัดได้ของกระแสไฟฟ้าจะแปรผันตามค่า COD ของตัวอย่างน้ำที่ทำการตรวจวัด หัววัด CODที่พัฒนาขึ้นใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในประเทศไทย จึงเพิ่มมูลค่าให้กับการพัฒนาระบบฝังตัวที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลสัญญาณและคำนวณค่า COD จากเซนเซอร์พื้นฐานต่างๆ สามารถลดการนำเข้าเครื่องมือ แก้ปัญหาน้ำทิ้งในโรงงานอย่างยั่งยืน และช่วยให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ต้นแบบดังกล่าวได้ติดตั้งเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมและตกแต่งสิ่งทอการพัฒนาเอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อแปรชีวมวลเป็นพลังงานทดแทน และสารเคมีเพิ่มมูลค่าพัฒนาเอนไซม์เพื่อแปรชีวมวลในกระบวนการผลิตไบโอเอทานอลจากชานอ้อย ด้วยเชื้อรา 2 ชนิดคือ Penicilliumchrysogenum BCC4504 และ Aspergillus flavus BCC7179 ในกระบวนการย่อยแป้งเป็นน้ำตาล และใช้ยีสต์ในกระบวนการหมักเพื่อผลิตเอทานอล โดยในกระบวนการผลิตแบบ 2 ขั้นตอนจะได้ปริมาณไบโอเอทานอล 0.35 กรัมเอทานอล/ลิตร/ชั่วโมง และกระบวนการผลิตแบบการย่อยและหมักแบบต่อเนื่องในขั้นตอนเดียวกันจะได้ 0.11 กรัมเอทานอล/ลิตร/ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับการผลิตเอทานอลด้วยเอนไซม์ทางการค้า ซึ่งผลิตได้ในช่วง 0.03-0.57กรัมเอทานอล/ลิตร/ชั่วโมงพัฒนามัลติเอนไซม์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมของเอนไซม์กลุ่มย่อยโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง และเอนไซม์ย่อยแป้งดิบ จากสายพันธุ์ราในกลุ่ม Aspergillus ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวสามารถย่อยมันสำปะหลังเป็นน้ำตาลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้ความร้อน การศึกษาการใช้เอนไซม์เพื่อลดความหนืดและปริมาณของแข็งในกระบวนการหมักมันสำปะหลังแบบความเข้มข้นสูงในการผลิตเอทานอล และการศึกษาประสิทธิภาพในการใช้มัลติเอนไซม์บำบัดของเสียประเภทกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอัตราการผลิตก๊าชชีวภาพโดยกระบวนการย่อยแบบไม่ใช้อากาศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้เอนไซม์ต้นแบบที่มีศักยภาพสำหรับการประยุกต์ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพต่อไป22 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!