11.07.2015 Views

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

รายงานประจำปี 2553 - National Center for Genetic Engineering and ...

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การออกแบบกระบวนการผลิตแป้งดัดแปรไบโอเทคได้ศึกษาการดัดแปรแป้งมันสำปะหลังด้วยวิธีทางเคมีด้วยสารออกซิไดซ์ 2 ชนิด ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่าแป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยเปอร์ออกไซด์มีแนวโน้มในการเกิดเจลสูงกว่าและให้เจลที่แข็งแรงกว่าแป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยไฮโปคลอไรท์ และแป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยเปอร์ออกไซด์มีอุณหภูมิในการเกิดเจลาทิไนเซชั่นสูงขึ้น ในขณะที่แป้งที่ถูกออกซิไดซ์ด้วยไฮโปคลอไรท์มีอุณหภูมิในการเกิดเจลาทิไนเซชั่นต่ำลง ทำให้ได้องค์ความรู้เพื่อช่วยในการออกแบบกระบวนการดัดแปรแป้งเพื่อให้ได้แป้งที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและอุตสาหกรรมกระดาษการคัดเลือกต้นเชื้อในการผลิตแหนมมาตรฐานผลิตภัณฑ์แหนม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดความปลอดภัยในการบริโภคของแหนมคือ แหนมที่ผ่านการหมักจนมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.6 ซึ่งค่า pH ของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับปริมาณกรดแลคติกที่จุลินทรีย์ผลิตออกมา โดยขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต อุณหภูมิการเก็บ และการสลายตัวของเนื้อหมู ทั้งนี้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แหนมหลายรายอาศัยจำนวนวันหมักเป็นตัวบ่งชี้รสเปรี้ยว ซึ่งมีความไม่แน่นอน ดังนั้น ไบโอเทค ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้คัดเลือกสายพันธุ์เชื้อ Lactobacillus plantarum และพบว่าแหนมที่หมักโดยต้นเชื้อwild type มีการลดลงของค่า pH อย่างรวดเร็วมากกว่าแหนมที่หมักโดยใช้ต้นเชื้อ L. plantarum N750-1 ดังนั้นต้นเชื้อ L. plantarumN750-1 จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาแหนมได้นานกว่า และทำให้รักษาระดับค่า pH คงที่ประมาณ 4.6 ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิด over-fermentationความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง อย. กับไบโอเทคไบโอเทค สวทช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เมื่อวันที่ 5เมษายน <strong>2553</strong> เพื่อดำเนินการประเมินความปลอดภัยของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ให้ข้อเสนอแนะทางเทคนิคและวิชาการ การสร้างระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ โดยมีการดำเนินงานในปี <strong>2553</strong> จำนวน 7 โครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุขไบโอเทค มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ได้แก่มาลาเรีย ไข้เลือดออก วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โดยมีทิศทางการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาด้านการพัฒนายาและค้นหาเป้าหมายของยาใหม่สำหรับโรคมาลาเรียและวัณโรค การพัฒนาวัคซีนโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งศึกษาด้านองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อทราบสาเหตุกลไกการเกิดโรคไข้เลือดออก และพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีชีวสารสนเทศเพื่อการวิจัยด้านพันธุศาสตร์งานวิจัยโรคมาลาเรียไบโอเทคได้วิจัยและพัฒนา 1) การพัฒนายาต้านมาลาเรียประเภทแอนติโฟเลต ปัจจุบันทราบกันเป็นอย่างดีว่ากลไกการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียต่อยาแอนติโฟเลตคือ การเกิด mutation ของเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลตรีดัคเทส (DHFR) ซึ่งเป็นเป้าหมายของยาเป็นสาเหตุให้ยาไม่สามารถจับกับเอนไซม์ดังกล่าวได้ เชื้อมาลาเรียจึงไม่ตายและเกิดการดื้อต่อยาขึ้น กลุ่มวิจัยด้านมาลาเรียของไบโอเทคได้วิจัยและพัฒนายาต้านมาลาเรียประเภทแอนติโฟเลตมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากการค้นพบโครงสร้างของเป้าหมายยามาลาเรียทั้งในชนิด Plasmodium falciparum และ Plasmodiumvivax และได้มีการออกแบบและสังเคราะห์ยาใหม่ที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อที่ดื้อยา ทำการทดสอบสารกับเชื้อที่ดื้อยาในจานเพาะเลี้ยงและในสัตว์ทดลอง และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศในการศึกษาความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง รวมทั้งการศึกษา pharmacokineticsจนประสบความสำเร็จได้สารต้านมาลาเรียที่มีศักยภาพ 1 ชนิดที่ถูกคัดเลือกในการศึกษา pre-clinical ในมนุษย์ต่อไป2) ไบโอเทค ได้ร่วมมือกับบริษัท Novartis ประเทศสิงคโปร์ พัฒนายาต้านมาลาเรียเพื่อใช้กับเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยา ซึ่งพบว่ายาต้านมาลาเรีย QN254 มีฤทธิ์ยับยั้งเลือกจับเอนไซม์ DHFR ของเชื้อมาลาเรียได้ดี และมีผลดีมากต่อเชื้อมาลาเรีย P. berghei ในหนูmice แต่ได้พบความเป็นพิษของสารดังกล่าวในหนู rat เมื่อใช้สารในปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้ดัชนีความปลอดภัยในการรักษาโรคของสารนี้ไม่สูงเท่าที่ควรจึงไม่เหมาะที่จะพัฒนาเป็นยาสำหรับรักษาโรคมาลาเรีย18 รายงานประจำาปี <strong>2553</strong>

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!