30.01.2015 Views

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

MU_06June56.pdf - CMMU - Mahidol University

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>Mahidol</strong> <strong>University</strong><br />

on Kanchanaburi Campus<br />

ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๐๖ (๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖) <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Vol.06


Editor’s Note<br />

บก. แถลง<br />

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุกท่านที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ประจ ำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ในวันที่ ๔ กรกฎาคม<br />

๒๕๕๖ ณ อาคารชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หอประชุมกองทัพเรือ ซึ่งมหิดลสารจะน ำภาพบรรยากาศการแสดงความยินดีมา<br />

ฝากกันในฉบับหน้า และนับเป็นข่าวดีที่ในปีหน้าบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหิดลจะได้รับพระราชทานปริญญาบัตร ณ “มหิดล<br />

สิทธาคาร” หอประชุมแห่งแรกของมหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ในระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพร่วมกับส ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา<br />

(สกอ.) จัดประชุมเชิญปฏิบัติการ “การด ำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๒๗” (Workshop<br />

on Uninet Network & Computer Application –WUNCA) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีเรื่องความ<br />

ก้าวหน้าของวงการไอทีที่น่าสนใจอย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานในวันดังกล่าว<br />

ในฉบับยังมีเนื้อหาการวิจัยการประเมินคุณภาพสีเนื้อผลของกีวีฟรุตที่ปลูกในประเทศไทยที่ได้ทุนของมูลนิธิโครงการหลวง<br />

และการประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ที่คัดเลือกผลงานของอาจารย์ นักวิชาการที่เป็น<br />

ประโยชน์ต่อวงการวิชาการและประชาชนทั่วไป ร่วมถึงกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ ...ขอเชิญติดตามได้เลยครับ<br />

๐๓ เรื่องจากปก<br />

• มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายสารสนเทศ<br />

เพื่อการศึกษา WUNCA ครั้งที่ ๒๗ รองรับแผนปรับเปลี่ยน<br />

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสู่เวอร์ชั่น ๖<br />

๐๔ ICT-Based <strong>University</strong><br />

• การจัด E-learning ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี<br />

แต่เป็นเรื่องของการบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

๐๖ Special Article<br />

• เมี่ยงคำ อาหารว่างไทยให้คุณค่าครบห้าหมู่<br />

• AEC ไม่ใช่ประชาคมอาเซียน<br />

• สาระสำคัญของ (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาส<br />

และความเสมอภาคระหว่างเพศฉบับประชาชน<br />

• เทคนิคการประเมินคุณภาพทางด้านสีเนื้อผลของกีวีฟรุต<br />

• คณะศิลปศาสตร์ร่วมจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๕๐ ปี<br />

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า<br />

๑๑ Harmony in Diversity<br />

• วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล ผสานความร่วมมือระหว่างรามาธิบดี<br />

และศิริราช เปิดหลักสูตรใหม่ “การจัดการสุขภาพแบบองค์รวม”<br />

พร้อมจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งใหญ่แห่งปี<br />

• ศิริราชรักษ์สิ่งแวดล้อม<br />

• ม.มหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักสร้างสุของค์กร (นสอ.)”<br />

๑๓ Research Excellence<br />

• คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล เปิดศูนย์ปฏิบัติการ<br />

ซิมมิวเลชั่นที่มีจำนวนยูนิตมากที่สุดในโลก<br />

๑๔ <strong>MU</strong> Society<br />

ใคร อะไร ที่ไหน<br />

2 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

Contents<br />

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระ สิทธิอ ำนวย)<br />

รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย<br />

บรรณาธิการ มหิดลสาร<br />

๑๖ Teaching&Learning Excellence<br />

• เผยผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕<br />

• นศ.มหิดล อินเตอร์คว้ารางวัลออกแบบผลิตภัณฑ์ Kiehl’s<br />

๑๗ Special Scoop<br />

• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนิน<br />

ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ<br />

และทรงเปิดอาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทรฯ และหอพระราชประวัตฯ<br />

• คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณบดี<br />

คณะเภสัชศาสตร์จากสถาบันชั้นนำต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนครั้งแรก<br />

• โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมมือกับสถาบันรับรองมาตรฐาน<br />

การศึกษาจากสหรัฐอเมริกา WASC ยกระดับมาตรฐานโรงเรียนนานาชาติ<br />

ในเมืองไทยเทียบเท่าระดับสากล<br />

• พิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และพิธีไหว้ครู<br />

ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖<br />

• ม.มหิดล ร่วมกับ กองทัพเรือร่วมบันทึกข้อตกลงการประสาน<br />

ความร่วมมือทางวิชาการ<br />

๒๒ Information<br />

• สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน จัดการบรรยายพิเศษ<br />

“ภาวะผู้นำเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”<br />

• เสวนาการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในมิติจิตวิญญาณ<br />

• ม.มหิดลคว้าอันดับ ๑ ของประเทศไทยจากการจัดอันดับ<br />

QS Asian <strong>University</strong> Rankings 2013<br />

๒๕ เพื่อสุขภาพ<br />

• เคล็ดลับหลับสบาย<br />

๒๖ Softnews<br />

๒๗ Activities Agenda<br />

ที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีทุกฝ่าย ผู้อำนวยการทุกกอง บรรณาธิการ รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย ผู้จัดการ กณิศอันน์ มโนพิโมกษ์ กองบรรณาธิการ<br />

เกษรี วุฒิศักดิ์ชัยกุล ฐิติรัตน์ เดชพรหม สาธิดา ศรีชาติ สุพรรณรัช ภูริวัฒนกุล วราภรณ์ น่วมอ่อน ศรัณย์ จุลวงษ์ พรทิพา สุดวิเศษ ออกแบบรูปเล่ม ฐยาน์ ธีรหัตถเศรษฐ์<br />

ประสานงานกลาง ฐิติรัตน์เดชพรหม <strong>MU</strong> Newsletter Internet ศรทัต ขำดำรงเกียรติสมชาย โพธิ ภาพ สวัสดิ์จินเดหวา จัดส่ง ไมตรีบัวศรีจันทร์ สวัสดิ์ จินเดหวา พิมพ์ที่ ่บริษัท<br />

ชุมเอกชูโชค จำกัด ที่อยู่สำนักงาน งานประชาสัมพันธ์ กองบริหารงานทั่วไป อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้น ๔ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธ<br />

มณฑล จังหวัด นครปฐม ๗๓๑๗๐ โทร. ๐-๒๘๔๙-๖๒๐๘-๑๐ โทรสาร ๐-๒๘๔๙-๖๒๑๑, ๐-๒๘๔๙-๖๒๒๒ E-mail: opmupr@mahidol.ac.th Website: www.mahidol.ac.th


เรื่องจากปก<br />

สาธิดา ศรีชาติ<<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเจ้าภาพ<br />

จัดประชุมเครือข่ายสารสนเทศ<br />

เพื่อการศึกษา WUNCA ครั้งที่ ๒๗<br />

รองรับแผนปรับเปลี่ยนเครือข่าย<br />

อินเทอร์เน็ตสู่เวอร์ชั่น ๖<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลรับเป็นเจ้าภาพร่วมกับ<br />

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา<br />

(สกอ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนิน<br />

กิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อ<br />

พัฒนาการศึกษา ครั้งที่ ๒๗” (Workshop on<br />

Uninet Network & Computer Application<br />

– WUNCA) ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗<br />

กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

วิทยาเขตกาญจนบุรี<br />

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อาทิตย์ อังกา<br />

นนท์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดลในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวย<br />

การจัดการประชุมปฏิบัติการ WUNCA ครั้งที่<br />

๒๗ เปิดเผยว่า การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ จัด<br />

ขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้และถ่ายทอด<br />

ประสบการณ์ในการดูแลระบบและบริหาร<br />

จัดการเครือข่ายสารสนเทศที่ต้องใช้งานร่วมกัน<br />

เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการ<br />

เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องให้สถาบัน<br />

การศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนได้มีโอกาสรับรู้<br />

ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ๆ รวมทั้ง<br />

ยังเป็นการให้กลุ่มสมาชิกได้รับทราบข้อมูลของ<br />

เครือข่ายการศึกษาและวิจัยในระดับนานาชาติ<br />

ทั้งในด้านเครือข่ายสารสนเทศ (Information<br />

Network) และเนื้อหา (content) เพื่อประโยชน์<br />

สูงสุดในการนำข้อมูลใหม่ๆ มาใช้สนับสนุนการ<br />

ศึกษา ทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของ<br />

บุคลากรให้สามารถทำงานได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ<br />

อย่างไรก็ตามในขณะนี้การใช้เครือข่าย<br />

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีอัตราการเติบโต<br />

อย่างรวดเร็ว จำนวนหมายเลขไอพี รุ่นที่ ๔<br />

(IPv4) ซึ่งใช้กันอยู่กำลังจะหมดไป ไม่เพียงพอ<br />

ต่อการใช้งานในอนาคตอันใกล้ การเปลี่ยนถ่าย<br />

สู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ ๖ (IPv6) จะช่วย<br />

แก้ปัญหาการขาดแคลนหมายเลขไอพี รวมทั้ง<br />

ยังมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและความ<br />

ปลอดภัย เพื่อรองรับแอพพลิเคชั่นที่จะเกิดขึ้น<br />

ในอนาคต นับเป็นการปรับปรุงระบบ<br />

อินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่สุดในรอบ ๓๐ ปี ดังนั้น<br />

จึงจำเป็นต้องให้สถาบันการศึกษาทุกระดับ<br />

เตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดัง<br />

กล่าว<br />

การจัดประชุมครั้งนี้ มีการบรรยายพิเศษเรื่อง<br />

“UniNet พบมหาวิทยาลัย” โดย ผศ.วิชาญ<br />

เลิศวิภาตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา, การ<br />

บรรยายพิเศษ เรื่อง “Educational Paradigm<br />

Shift in the 21 st Century” โดย<br />

ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภา<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล, การเสวนาเรื่อง “การ<br />

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการ<br />

จัดการภัยพิบัติ” โดย ดร.รอยล จิตรดอน<br />

ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ<br />

และการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีและการเสวนาเรื่อง “การประยุกต์ใช้<br />

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการสัตว์ป่า”<br />

โดย นายสัตวแพทย์ ดร.ปานเทพ รัตนากร<br />

คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล และ ศาสตราจารย์ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์<br />

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยนกเงือก จากคณะ<br />

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการ<br />

บรรยายพิเศษในห้วข้อ “รู้เท่าทันภัยไซเบอร์”<br />

โดย พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรม<br />

สอบสวนคดีพิเศษการประชุมเชิงปฏิบัติการ<br />

“การดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศ<br />

เพื่อพัฒนาการศึกษา” ครั้งที่ ๒๗ (27 th WUN-<br />

CA) จะจัดงาน ๓ วัน ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๗<br />

กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

วิทยาเขตกาญจนบุรี ๑๙๙ หมู่ ๙ ตำบลลุ่มสุ่ม<br />

อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ผู้สนใจ<br />

สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.<br />

wunca.uni.net.th/wunca27/ <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 3


การจัด E-learning ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี<br />

แต่เป็นเรื่องของการบริหารการเปลี่ยนแปลง<br />

เมื่อวันที่ ๒๗ - ๒๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ผม<br />

มีโอกาสได้ไปร่วมงาน Digital Education<br />

Show Asia 2013 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ<br />

มาเลเซีย เป็นการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้<br />

เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งแน่นอนว่าต้องเกี่ยวกับ<br />

ระบบคอมพิวเตอร์และ E-learning มีผู้เข้าร่วม<br />

ประชุม เท่าที่คาดคะเนจากสายตา ประมาณ<br />

๕๐๐ คน จากหลายๆ ประเทศใน Asia และมี<br />

Speaker ที่ทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา<br />

หรือการพัฒนารูปแบบการศึกษาจากหลาย<br />

ประเทศ เช่น New Zealand, Hong Kong และ<br />

USA เป็นต้น<br />

ในงานมีผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้นำด้านการนำ e-<br />

learning มาใช้ในสถาบันการศึกษาของตน หรือ<br />

เป็นผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการ<br />

ศึกษามาบรรยายหลายท่าน ผู้บรรยายท่านแรก<br />

มาจาก Massey <strong>University</strong> ในประเทศ New<br />

Zealand ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มี 3 campuses<br />

ใหญ่ๆ ในประเทศ และยังมี World<br />

Campus ซึ่งมีลักษณะเป็น virtual campus<br />

ด้วย นอกเหนือจากเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่า<br />

เป็นผู้นำ Moodle ซึ่งเป็นระบบ Learning<br />

Management System ที่เรารู้จักกันดีมาใช้ใน<br />

มหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวางแล้วยังมีผลิตภัณฑ์<br />

ด้าน Education technology ที่มีชื่อเสียงของ<br />

มหาวิทยาลัยนี้อีก ได้แก่ Mahara ซึ่งเป็นระบบ<br />

E-portfolio เป็นต้น<br />

สิ่งที่ผู้บรรยายเน้นก็คือ สิ่งที่นักศึกษาใน<br />

ศตวรรษที่ ๒๑ จะต้องเผชิญ หรือต้องสามารถ<br />

ที่จะบรรลุ คือการเรียนรู้ จะต้อง Learning to<br />

be, Learning to know, Learning to do,<br />

Learning to live together และยังต้อง Learning<br />

to change and transform (ศตวรรษที่<br />

๒๑ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ความ<br />

สามารถในการปรับเปลี่ยน change and trans-<br />

4 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

form จะทำให้อยู่รอดในศตวรรษนี้ได้อย่าง<br />

ประสบความสำเร็จ) นักศึกษา หรือผู้ที่เติบโตมา<br />

ในศตวรรษที่ ๒๑ จะต้องมี Digital literacy,<br />

Digital citizenship และ Digital identity<br />

การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาจึง<br />

เป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ในยุคนี้ ใน<br />

การนำ e-learning เข้ามาใช้นั้น เราควรจะก้าว<br />

ข้ามเรื่องความสนใจเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี ไปสู่<br />

การพัฒนาคุณภาพของกระบวนการ e-learning<br />

เพราะแนวทางสำคัญในการทำงานใดๆ ก็ตาม<br />

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบใหม่ ปรับปรุงระบบ<br />

เก่า ใช้เทคโนโลยีหรือไม่ สิ่งสำคัญที่ต้องสร้างขึ้น<br />

คือ วัฒนธรรมคุณภาพ หรือ quality culture<br />

ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่พยายามปรับปรุงสิ่งที่กำลัง<br />

ทำอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมเสมอ<br />

สำหรับการปรับปรุงเทคโนโลยีในสถาบันนั้น<br />

ขอให้เข้าใจว่า ความตื่นเต้นจากการได้เห็นของ<br />

ใหม่ (Hype) เป็นสิ่งที่ต้องรู้จัก เวลาได้พบกับ<br />

เทคโนโลยีใหม่ คนทั่วไปมักจะตื่นเต้น และคิด<br />

ว่าเทคโนโลยีนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้<br />

ทันที ผู้บรรยายได้เสนอแนะให้เรา go beyond<br />

the hype คือรู้จักสิ่งใหม่ๆ ให้ดี รู้จุดแข็งจุด<br />

อ่อนของมัน แล้วใช้มันอย่างมีคุณภาพ ปกติแล้ว<br />

เวลามีเทคโนโลยีใหม่ออกมา เทคโนโลยีนั้นจะ<br />

ต้องผ่านการพิสูจน์ตนเองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง<br />

ก่อน มีผู้อธิบายปรากฏการณ์นี้ไว้หลายท่าน ที่<br />

รู้จักดีได้แก่ Technology Expectation Cycle<br />

โดย Cuban ในปี ๑๙๘๖ หรือ Gartner hype<br />

cycle ที่มีการ update ออกมาทุกปี เป็นต้น<br />

สถาบันการศึกษาส่วนหนึ่งใช้เทคโนโลยีเพียง<br />

แต่เพื่อ reinforce traditional outcome (การ<br />

ใช้วิธีนี้ ผู้บรรยายใช้คำว่า pump, pump,<br />

dump)แต่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือ<br />

ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา<br />

การที่จะเปลี่ยนแปลงนักศึกษาได้นั้น จะต้องใช้<br />

เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ<br />

ผู้บรรยายใช้คุณภาพในการผลิต ice-cream<br />

ในการเปรียบเทียบกับมุมมองเกี่ยวกับคุณภาพ<br />

โดยความคิดแรกคือ<br />

๑. Mass production metaphor คือการ<br />

ทำทุกอย่างออกมาให้เหมือนกันหมด เช่น มี<br />

ice-cream รสเดียว คือ vanilla เพราะการทำ<br />

ซ้ำใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่า เปรียบเสมือนการ<br />

สร้าง standard ขึ้นมาโดยหวังให้เป็น standard<br />

กลาง แต่จุดอ่อนของมุมมองนี้คือ นักเรียนแต่ละ<br />

คนมีความแตกต่างกันออกไป<br />

๒. Boutique craft metaphor มุ่งทำ icecream<br />

ที่มีจุดเด่นเฉพาะของตัวเองแล้วผลักดัน<br />

ให้เป็นที่นิยม ทั้งนี้ เป็นที่เข้าใจว่าไม่ใช่ทุกคนที่<br />

ชอบ ice-cream รสนี้ แต่จะมีลูกค้าบางคนที่<br />

ชอบและเป็นผู้ติดตามประจำ จุดอ่อนของมุม<br />

มองนี้คือ ทุกคนจะพยายามสร้าง standard ของ<br />

ตัวเอง จนมี standards มากมายและทำให้เกิด<br />

ความสับสน<br />

๓. Individual ethos metaphor แนวคิด<br />

นี้สรุปว่า quality เป็น relative concept จะ<br />

ยอมรับว่า ระดับคุณภาพของแต่ละคนไม่เท่ากัน<br />

ผู้บรรยายสรุปว่าลักษณะคุณภาพของ<br />

e-learning อาจมีลักษณะดังต่อไปนี้<br />

• Contestable<br />

• Idiosyncratic<br />

• Context bound<br />

• Discipline Specific<br />

• Is a moving target<br />

• Involve X factor<br />

สำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาคุณภาพ มี resource<br />

ที่สามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของ<br />

e-learning ได้แก่<br />

• Sloan Consortium http://sloanconsortium.org/


• Quality Matters https://www.qualitymatters.org/rubric<br />

ผู้บรรยายกล่าวเพิ่มเติมว่าเราควรต้องพัฒนา<br />

อาจารย์ โดยทำความเข้าใจอาจารย์ ตระหนักถึง<br />

ความรู้สึกของอาจารย์ให้ดี ทำให้เกิด Professional<br />

Trust และทำให้อาจารย์ตระหนักว่าตน<br />

เป็นผู้รับผิดชอบต่อคุณภาพของระบบ<br />

e-learning ที่ตนเองดูแลอยู่ ทั้งนี้ อาจใช้ระบบ<br />

peer review เป็นการประเมินอาจารย์ด้วย<br />

กันเองมาช่วยประเมินคุณภาพของระบบ<br />

e-learning ที่อาจารย์ดูแลอยู่นั้นก็ได้ ตัวอย่าง<br />

ของระบบนี้ได้แก่ระบบที่ใช้ที่ Massey <strong>University</strong><br />

ชื่อ Massey Peer Assistance and Review<br />

of Teaching (PART) ที่ http: //peerreview.<br />

masseay.ac.nz<br />

ผู้บรรยายคนต่อมามาจาก UAE ได้กล่าวว่า<br />

UAE ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องมีและใช้<br />

iPad ตั้งแต่เมษายน ๒๕๕๕ หลังจากได้เริ่ม<br />

มาตรการนี้แล้ว ผลกระทบในเชิงบวกที่เห็นได้ชัด<br />

ได้แก่ นักศึกษามี Engagement, Motivation,<br />

Perception of student creativity เพิ่มขึ้นมี<br />

ความรู้สึกว่า โลกใบนี้เล็กลง และตนเองเป็น<br />

พลเมืองของโลกมากขึ้นและทำให้เกิด<br />

กระบวนการคิดใหม่ทำใหม่ในด้าน methodology,<br />

course content และ assessment ในระบบ<br />

e-learning<br />

ผู้บรรยายคนถัดมามาจาก Hong Kong ใน<br />

เรื่อง Learning through content creation<br />

ในหัวข้อนี้ ผู้บรรยายกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยี<br />

อย่างเหมาะสม ผู้ที่เป็นผู้วางแผนในการนำ<br />

เทคโนโลยีมาใช้ ควรพิจารณา high level criteria<br />

ทั้งในด้านกระบวนการ ผู้ใช้ วิธีการจัดการ<br />

เรียนการสอน และด้านเทคนิค และควรสร้าง<br />

กระบวนการทบทวนและพัฒนา โดยเหนี่ยวนำ<br />

ให้เกิดการรวมกลุ่มของอาจารย์ที่มีความตั้งใจที่<br />

จะพัฒนา e-learning ให้มีคุณภาพและทำ<br />

อาจารย์กลุ่มนี้ให้มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ<br />

กำหนดทิศทางการพัฒนา e-learning ของ<br />

สถาบันและพยายามกำหนดให้มี community<br />

engagement ในทุกระดับของอาจารย์ถ้าเป็น<br />

ไปได้<br />

สำหรับประเด็นของการพัฒนาคุณภาพ ควร<br />

ให้ครอบคลุมทั้ง content, teaching process<br />

และ learning process ควรให้มีการศึกษาถึง<br />

pedagogy ใหม่ ที่เน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพ<br />

ของ e-learning สำหรับทิศทางการพัฒนา ควร<br />

มองไปถึงเป้าหมายของ e-learning ที่เป็น social<br />

learning ที่เน้นลักษณะการมีส่วนร่วมของ<br />

อาจารย์และนักศึกษา มีความยั่งยืน และที่ส ำคัญ<br />

ที่สุด คือต้องมีลักษณะ professor friendly<br />

ผู้บรรยายถัดมาคือ Marc Prensky (marcprensky@gmail.com)<br />

ซึงเป็นผู้แต่งหนังสือ<br />

เรื่อง Brain Gain และอื่นๆ ได้กล่าวถึงนักศึกษา<br />

ในปัจจุบันซึ่งเป็น digital natives และมีความ<br />

สามารถด้านการใช้เทคโนโลยีดีกว่าอาจารย์<br />

สถาบันการศึกษาและอาจารย์ควรปรับปรุง<br />

กระบวนการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความ<br />

คาดหวังของนักศึกษา ซึ่งเติบโตมาในยุคและ<br />

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แตก<br />

ต่างจากในยุคที่อาจารย์เติบโตมามากและจะ<br />

ต้องมีชีวิตและทำงานอยู่ในโลกและสิ่งแวดล้อม<br />

ในอนาคตที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเป็น<br />

อย่างไร นักศึกษาในยุคนี้มีความสามารถด้าน<br />

การใช้เทคโนโลยีที่สูงมาก มีความคล่องตัวและ<br />

พึ่งพาเทคโนโลยีได้ เปรียบเสมือนเทคโนโลยีเป็น<br />

อากาศที่ใช้หายใจ สมองของนักศึกษาในยุคนี้<br />

เป็นสมองที่ถูก enhanced โดยเทคโนโลยี หรือ<br />

extended brain เราควรปรับตัวเพื่อให้สมอง<br />

ของนักศึกษาเหล่านี้ได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการ<br />

ที่ดีที่สุด<br />

นักศึกษาในยุคนี้ควรจะมีความตระหนักว่า<br />

สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นความถูกต้องในปัจจุบัน อาจ<br />

จะถูกพิสูจน์ได้ว่าผิดพลาดในอนาคต เมื่อมีผู้ถาม<br />

ผู้นำด้านวิชาการและการศึกษาท่านหนึ่ง ว่าเรา<br />

ควรจะส่ง message อะไรถึงนักศึกษาใน<br />

ศตวรรษที่ ๒๑ นี้ ท่านกล่าวว่า “Everything I<br />

am about to tell you is wrong.” ดังนั้น<br />

ความสามารถในการหาความรู้ รู้เท่าทัน และ<br />

พัฒนาตนเองจึงเป็นทักษะที่สำคัญของพลเมือง<br />

ในศตวรรษที่ ๒๑<br />

ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีทำให้โลก<br />

สามารถเชื่อมต่อกันได้ในลักษณะที่ไม่เคยเป็นมา<br />

ก่อน เราควรฉวยโอกาสจากความก้าวหน้านี้เพื่อ<br />

สร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ที่ดีกว่าเดิม เพราะ<br />

ถึงแม้ในอดีต การศึกษาก็คือ การ “Connecting<br />

brains to people and resources through<br />

the best available ways possible”เทคโน<br />

โลยีในอนาคตจะทำให้ประชากรในโลกเชื่อมต่อ<br />

กันอย่างรวดเร็วและทั่วถึงเปรียบเสมือนคนหนึ่ง<br />

คนเป็นหนึ่ง node ของ network ดังนั้นเราควร<br />

จะมองการศึกษาเป็น hierarchy ของ network<br />

นั้นการใช้เทคโนโลยี ไม่ควรจะมองเป็นเพียงนำ<br />

มาใช้เพื่อ leverage traditional education<br />

เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นรากฐานที่สำคัญของ<br />

กระบวนการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ ทุกวันนี้<br />

ประชากร ๒ ใน ๓ ของโลกมี mobile phones<br />

เราคงไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเทคโนโลยีการ<br />

เชื่อมต่อจะเป็นอย่างไรในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า แต่<br />

ICT-Based <strong>University</strong><br />

รศ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ<<br />

อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ หรือ device<br />

เปรียบเสมือนเพียงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สิ่งที่<br />

สำคัญกว่า คือ connection ดังนั้น ผู้บรรยาย<br />

กล่าวว่าเราควรปรับเปลี่ยนความสนใจจากจุดมุ่ง<br />

หมายที่เป็นเรื่องเล็กน้อยไปเป็นจุดมุ่งหมายที่ยิ่ง<br />

ใหญ่และกว้างขวางกว่า เช่น ไม่ควรจะมองเพียง<br />

ระบบ e-learning ว่าเป็น repository ของ<br />

digitally converted learning material แต่<br />

ควรใช้ให้เกิดการเปลี่ยน rote thinking ให้เป็น<br />

critical and creative thinking เป็นต้น<br />

สำหรับอาจารย์ บทบาทของอาจารย์ควรเป็น<br />

อะไรที่เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ โดย<br />

เฉพาะอย่างยิ่ง การที่อาจารย์มี empathy ต่อ<br />

นักศึกษา และการกระตุ้นในนักศึกษาเกิด passion<br />

และโดยเฉพาะการทำให้นักศึกษาได้ทราบ<br />

ถึง passion ของตนเอง ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญใน<br />

การประสบความสำเร็จในชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑<br />

อาจารย์หรือสถาบันควรจะให้นักศึกษามีส่วน<br />

สำคัญในการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีทีจะใช้ ใน<br />

เรื่องการเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ควรจะ<br />

approach แบบ bottom up กับนักศึกษาสิ่ง<br />

สำคัญ คือ เป้าหมายของการฝึกให้นักศึกษาคุ้น<br />

เคยกับ technical skill และควรสนใจว่า<br />

นักศึกษาทำอะไรได้ (ในภาพใหญ่) มากกว่า<br />

กำหนดเครื่องมือที่นักศึกษาจะต้องใช้ เนื่องจาก<br />

เครื่องมือมีการพัฒนาตลอด ยกตัวอย่างเช่น<br />

หากต้องการให้นักศึกษา ค้นคว้า เขียน และทำ<br />

รายงานเป็น เดิมอาจจะใช้ห้องสมุด สมุดจด และ<br />

การพูดหน้าชั้น พัฒนามาเป็นการใช้ internet<br />

resource, word processor และ PowerPoint<br />

และต่อมาก็อาจพัฒนาเป็น social research<br />

tools, blogging และการสร้าง video เป็นต้น<br />

ผู้บรรยายเน้นการสร้าง video ว่าเป็น skill พื้น<br />

ฐานที่คนในศตวรรษที่ ๒๑ ควรจะมี เนื่องจาก<br />

เครื่องมือในการสร้าง video มีอยู่หลากหลาย<br />

และการเผยแพร่ทำได้ง่ายมาก ผู้ที่รู้สึกอึดอัด<br />

เวลาถูกถ่าย video ควรเอาชนะความอึดอัดนั้น<br />

และยอมรับเทคโนโลยีนี้ และใช้ให้เป็นผู้บรรยาย<br />

กล่าวว่า “Video is a serious mean of discourse,<br />

replacing text. Make the student<br />

make video than text.”<br />

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง framework ของ 21 st<br />

Century Skills มี resource ที่น่าสนใจที่ International<br />

Society for Technology in<br />

Education https://www.iste.org/<br />

สุดท้าย สิ่งสำคัญที่อาจารย์และผู้บริหารการ<br />

ศึกษาควรถามตัวเองเสมอ คือคำถามที่ว่า “If<br />

we have tech, how can we use it to<br />

enhance learnings” <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 5


Special Article<br />

ศิริพร โกสุม หัวหน้างานสื่อสารองค์กรและสารสนเทศ<br />

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล<<br />

เมี่ยงคำ<br />

ว่าการกินเมี่ยงคำนอกจากทำให้เราได้รับรสชาติ<br />

ครบทุกรสชาติแล้ว ยังเป็นอาหารว่างที่ทำให้เรา<br />

กินอาหารได้ครบ ๕ หมู่ ในคำๆ เดียว นั่นคือ หมู่<br />

เนื้อสัตว์ ซึ่งให้สารอาหารประเภทโปรตีน ที่มีอยู่<br />

ในเมี่ยงคำ ก็ได้แก่ กุ้งแห้งและถั่วลิสง หมู่แป้ง<br />

น้ำตาล ก็ได้แก่ น้ำตาลปี๊บ มะพร้าวคั่ว หมู่ไขมัน<br />

ได้แก่ มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสงคั่ว หมู่ผัก ได้แก่ ขิง<br />

พริกขี้หนู ใบทองหลาง/ใบชะพลู ส่วน มะนาว<br />

อาจจัดอยู่ในหมู่ผักหรือผลไม้ก็ได้<br />

สำหรับคุณค่าทาง<br />

โภชนาการของเมี่ยง<br />

คำนั้น ผศ.ดร.สมศรี<br />

เจริญเกียรติกุล<br />

อาจารย์ประจำ<br />

สถาบันโภชนาการ<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน<br />

คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย ให้ข้อมูล<br />

ว่า สถาบันโภชนาการให้ความสนใจศึกษาคุณค่า<br />

ทางโภชนาการของอาหารไทยหลากหลายชนิด<br />

ทั้งอาหารหลักและอาหารว่างอย่างต่อเนื่องมา<br />

เป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี แล้ว<br />

ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของ<br />

เมี่ยงคำพบว่า ในหนึ่งหน่วยบริโภค (๕ คำ) ให้<br />

โปรตีน ๕ กรัม คาร์โบไฮเดรต ๒๐ กรัม (๗%ของ<br />

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน)ไขมัน ๑๐ กรัม (๑๕%<br />

ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) แล้วยังให้วิตามิน<br />

ซึ่งได้แก่ วิตามินซี ๖%ของปริมาณที่แนะนำต่อ<br />

วัน วิตามินเอ ๔%ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน<br />

ให้แร่ธาตุ เช่น โซเดียม ๑๑%ของปริมาณที่<br />

แนะนำต่อวัน แคลเซี่ยม ๖%ของปริมาณที่<br />

อาหารว่างไทยให้คุณค่าครบห้าหมู่<br />

เมี่ยงคำ เป็นอาหารว่างของไทย ที่เป็นที่นิยมของคนไทยมาแต่โบราณ แต่ปัจจุบัน<br />

เมี่ยงคำนับเป็นอาหารว่างที่หารับประทานยากขึ้นทุกที อาจจะเนื่องมาจากเครื่องเคียง<br />

ที่มีมากมาย และเครื่องเคียงบางอย่างก็ต้องใช้ความพิถีพิถันและเวลาในการท ำ ทำให้<br />

คนรุ่นใหม่ที่มักบอกว่าตนเองมีเวลาน้อยหรือไม่มีเวลาให้ความสนใจเมี่ยงคำลดน้อยลง<br />

ไป กลับไปให้ความสำคัญกับอาหารว่างที่หาซื้อง่าย เช่น ขนมเค้ก โดนัท เป็นต้น ซึ่ง<br />

มีวางขายทั่วไป อีกทั้งบางชนิดบางยี่ห้อก็มีการโฆษณาชักจูงโน้มน้าวให้เกิดความสนใจ<br />

จนต้องซื้อหามากินกัน จนลืมเมี่ยงคำอาหารว่างแบบไทยไทย<br />

เมี่ยงคำ เป็นอาหารที่มีรสชาติ เค็ม หวาน มัน โดยมีส่วนประกอบที่แบ่งเป็น<br />

สองส่วนคือ น้ำเมี่ยงคำ และเครื่องเคียงหรือเครื่องประกอบต่างๆ ที่ใส่ในเมี่ยง<br />

คำ ซึ่งประกอบด้วย มะพร้าวหั่นซอยคั่ว ขิงอ่อน หอมแดง มะนาว กุ้งแห้ง ถั่ว<br />

ลิสงคั่ว พริกขี้หนู ใบทองหลางหรือใบชะพลู สำหรับน้ำเมี่ยงคำประกอบด้วย<br />

น้ำตาลปี๊บ มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งโขลกละเอียด ขิงแก่หั่นละเอียด หอมแดงซอย<br />

กะปิ น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำเปล่า และถั่วลิสงคั่วป่นละเอียด ดังนั้นจะเห็นได้<br />

แนะนำต่อวัน ธาตุเหล็ก ๑๐% ของปริมาณที่<br />

แนะนำต่อวัน นอกจากนี้ยังมีธาตุแมกนีเซียม<br />

ทองแดง สังกะสี และโปแตสเซียม เป็นต้น<br />

นอกจากสารอาหารแล้วยังให้สารที่ไม่ใช้สาร<br />

อาหาร เช่น ใยอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อระบบขับ<br />

ถ่ายของร่างกายคนเรา ๔ กรัม (๑๖% ของ<br />

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน)<br />

ปริมาณที่นักโภชนาการแนะนำให้รับ<br />

ประทานเมี่ยงคำใน ๑ มื้อ (หรือ ๑ ครั้ง) ก็คือ<br />

๕ คำ ซึ่งการรับประทานเมี่ยงคำปริมาณดังกล่าว<br />

จะทำให้ได้พลังงาน ๒๐๐ กิโลแคลอรี่ เท่ากับ<br />

๑๐% ของความต้องการพลังงานของคนเราต่อ<br />

สำหรับ ขิง และหอมแดง นอกจากให้วิตามินและ<br />

แร่ธาตุแล้วยังยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรช่วย<br />

ขับลมในกระเพาะอาหาร ดังนั้น การเลือกรับ<br />

ประทานเมี่ยงคำเป็นอาหารว่างจึงมีประโยชน์<br />

ต่อสุขภาพ ดีกว่าการเลือกรับประทานอาหาร<br />

ว่างประเภทที่มีแป้งและน้ำตาลเป็นส่วน<br />

ประกอบหลัก เช่น ขนมเค้ก โดนัท ข้าวตังทอด<br />

หรือขนมกรุบกรอบ อย่างไรก็ตามผู้ช่วย<br />

ศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล ก็ได้ฝาก<br />

คำเตือนถึงผู้ที่นิยมรับประทานเมี่ยงคำด้วยว่า<br />

ต้องระวังการรับประทานมากเกินไป เนื่องจาก<br />

เมี่ยงคำมีการใส่มะพร้าวคั่วและถั่วลิสงคั่ว ซึ่งให้<br />

ไขมันสูง ซึ่งนอกจากใส่มะพร้าวคั่วและถั่วลิสง<br />

คั่วเป็นส่วนประกอบแล้ว ในน้ำเมี่ยงคำก็มีการ<br />

ใส่มะพร้าวคั่วและถั่วลิสงคั่วด้วยแล้วยังมีการใส่<br />

น้ำตาล น้ำปลาและกะปิด้วย นอกจากจะให้<br />

พลังงานสูงแล้ว การใส่น้ำเมี่ยงคำมากเกินไปก็<br />

ยิ่งทำให้ได้รับพลังงานมากยิ่งขึ้น และอีกเรื่อง<br />

หนึ่งที่ต้องระวังก็คือ การเลือกใส่เครื่องปรุง<br />

เฉพาะที่ตนเองชอบ เช่น การไม่กินขิง หรือ<br />

หอมแดง ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะได้รับ<br />

ประโยชน์อย่างครบถ้วน<br />

คุณอทิตดา บุญประเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านการ<br />

ปรุงอาหารไทย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ได้ให้สูตรในการทำเมี่ยงคำ ทั้งส่วน<br />

ประกอบ ผัก/เครื่องเคียง ส่วนผสมและวิธีทำน้ำ<br />

เมี่ยงคำ ซึ่งการปรุงน้ำเมี่ยงคำจะต้องเตรียมส่วน<br />

ผสมซึ่งได้แก่<br />

1. มะพร้าวคั่ว ๒ ถ้วยตวง (๑๑๗ กรัม)<br />

2. กุ้งแห้งโขลกละเอียด ๑ ๑/๒ ถ้วยตวง (๖๓ กรัม)<br />

3. ขิงแก่หั่นละเอียด ๙ ช้อนโต๊ะ (๙๑ กรัม)<br />

4. หอมแดงซอย ๙ ช้อนโต๊ะ (๗๒ กรัม)<br />

5. กะปิ ๓ ช้อนโต๊ะ (๔๑ กรัม)<br />

6. น้ำตาลปี๊บ ๕ ๑/๔ ถ้วย (๙๔๖ กรัม)<br />

7. น้ำปลา ๓/๔ ถ้วยตวง (๘๒ กรัม)<br />

8. น้ำ ๒ ๑/๒ ถ้วยตวง<br />

9. ถั่วลิสงป่นละเอียด ๓/๔ ถ้วยตวง (๙๔ กรัม)<br />

สำหรับวิธีทำโขลกมะพร้าวคั่ว ขิงแก่<br />

หอมแดง แต่ละอย่างแยกกัน แล้วนำเครื่องปรุง<br />

ทุกอย่างที่โขลกแล้วรวมทั้งกะปิและกุ้งแห้งโขลก<br />

ละเอียดที่เตรียมไว้ใส่ลงในหม้อ ใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำ<br />

เปล่า นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง โดยต้องคอยคนไม่<br />

6 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06


AEC ไม่ใช่ประชาคมอาเซียน<br />

มีคนเข้าใจผิดว่า AEC คือ ประชาคมอาเซียน<br />

ข้อเขียนนี้จึงเกิดขึ้น<br />

Special Article<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิราภรณ์ วรรณดี<br />

วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล<<br />

อาเซียน ASEAN หรือ สมาคมประชาชาติ<br />

แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association<br />

of South East Asian Nations) เป็นองค์กร<br />

ที่เกิดจากการรวมตัวของประเทศในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๑๐ ประเทศ ได้แก่<br />

ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์<br />

บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา โดย<br />

มีไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง จากการรวมมือร่วมใจ<br />

กัน ๕ ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย<br />

ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่ง<br />

เสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศ<br />

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธำรงไว้ซึ่ง<br />

สันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการ<br />

เมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทั้งด้าน<br />

เศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม การ<br />

กินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผล<br />

ประโยชน์ร่วมกัน<br />

การรวมตัวกันนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง<br />

ครั้งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ประเทศสมาชิกทั้งสิบประเทศต่างพากันปรับ<br />

ตัวในหลายๆ ด้าน กระตือรือร้นทำความเข้าใจ<br />

หาวิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพื่อจะ<br />

พัฒนาไปสู่ความเป็นประชาคมเดียวกันอย่าง<br />

สมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม<br />

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ การปรับตัวของประเทศ<br />

ให้ติดก้นหม้อ รอจนเดือด จึงค่อยๆ โรยถั่วลิสง<br />

ป่นที่เตรียมไว้ลงไป ระยะเวลาตั้งแต่ตั้งหม้อจน<br />

กระทั่งเดือดใช้เวลา ประมาณ ๑๕ นาที จาก<br />

นั้นจึงใส่น้ำปลา คนต่อไปอีกประมาณ ๕ นาที<br />

จึงยกลง ลักษณะของน้ำเมี่ยงคำที่ดี จะต้องข้น<br />

หนืด<br />

เมื่อเตรียมน้ำเมี่ยงคำเสร็จแล้ว ก็มาเตรียม<br />

ในส่วนของส่วนประกอบและผัก/เครื่องเคียง<br />

ของเมี่ยงคำ ส่วนประกอบของเมี่ยงคำประกอบ<br />

ด้วย<br />

1. มะพร้าวซอยคั่ว ๘ ๑/๒ ถ้วยตวง<br />

(ครึ่งกิโลกรัม)<br />

2. ขิงอ่อนหั่นขนาด ๐.๕ ซม. ๑ ๑/๓ ถ้วยตวง<br />

(๑๔๐ กรัม)<br />

3. หอมแดงหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนาด ๑ ซม.<br />

(๑๗๐ กรัม) ๑ ๑/๒ ถ้วยตวง<br />

4. มะนาวหั่นสี่เหลี่ยม ขนาด ๐.๕ X ๑ ซม.<br />

(๒๒๕ กรัม) ๑ ๑/๒ ถ้วยตวง<br />

5. กุ้งแห้งอย่างดีไม่มีเปลือก ๑ ถ้วยตวง<br />

(๙๐ กรัม)<br />

6. ถั่วลิสงคั่ว ๑ ๑/๓ ถ้วยตวง<br />

(๒๐๑ กรัม)<br />

เมื่อเตรียมทุกอย่างข้างต้นเสร็จแล้ว มา<br />

เตรียมผักและเครื่องเคียงซึ่งได้แก่ ใบทองหลาง<br />

๑๓๖ ใบ ใบชะพลู ๑๓๖ ใบ พริกขี้หนูสวน<br />

เม็ดเล็กหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ๑/๔ ถ้วย (๒๗ กรัม)<br />

ในการรับประทาน นำผักที่เตรียมไว้ซึ่งล้าง<br />

สะอาดแล้วมาตัดส่วนที่โคนใบที่แข็งออก จัด<br />

วางในถาดนำเครื่องเมี่ยงคำใส่วางบนผัก แล้ว<br />

จึงโรยด้วยมะพร้าวคั่ว เวลารับประทานก็จับใบ<br />

ผักที่มีเครื่องเมี่ยงมาจีบหรือห่อเป็นกระทงแล้ว<br />

ตักน้ำเมี่ยงใส่เล็กน้อยแล้วรับประทาน<br />

สำหรับสูตรที่นำเสนอนี้ เป็นสูตรที่รับ<br />

ประทานได้ ๕๔ คน (คนละ ๕ คำ)<br />

เมื่อทราบถึงประโยชน์ของเมี่ยงคำแล้ว ก็<br />

สมาชิกอาเซียนที่สำคัญ คือ การสร้างประชาคม<br />

อาเซียน (ASEAN Community) เพื่อให้องค์กร<br />

มีความแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น จนมีกฎบัตร<br />

อาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งเป็นธรรมนูญ<br />

ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นชอบร่วมกัน ให้<br />

สัตยาบันร่วมกันว่าจะปฏิบัติตามและมีผล<br />

ผูกพันทางกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามก็จะ<br />

มีความผิด ประเทศที่เสียประโยชน์สามารถ<br />

ดำเนินการผ่านช่องทางที่จัดไว้ในการฟ้องร้อง<br />

เรียกค่าเสียหายได้<br />

กฎบัตรอาเซียนนี้ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กร<br />

ที่มีกฎ มีเกณฑ์ มีกฎหมายรองรับ และกลาย<br />

เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือต่าง ๆ ที่จะเกิด<br />

ขึ้นในเอเชีย (ASEAN Centrality) เป็นตัวเชื่อม<br />

ให้คนในภูมิภาคอื่นได้ และถือเป็นเครื่องมือ<br />

สำคัญอย่างหนึ่งในการดำเนินนโยบายระหว่าง<br />

ประเทศ ในกฎบัตรนี้ มีบันทึกหลักสำคัญ<br />

ว่า การสร้างประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์<br />

ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก ได้แก่ ๑) ประชาคม<br />

การเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ APSC<br />

(ASEAN Political-Security Community)<br />

๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC<br />

(ASEAN Economic Community) และ ๓)<br />

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือ<br />

ASCC (ASEAN Socio-Cultural Community)<br />

ในรายละเอียด ๓ เสาหลักนี้ ประเทศ<br />

สมาชิกอาเซียนจะต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้<br />

ปัญหาในเรื่องการเมืองด้วยการเจรจา ไม่ใช้<br />

กำลังทหารและความรุนแรง ในเรื่องเศรษฐกิจ<br />

จะต้องได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย ผู้คนอยู่ดีกินดี<br />

มากขึ้น ประเทศที่มีความสามารถแข่งขันด้าน<br />

เศรษฐกิจน้อยก็จะได้รับการดูแล ไม่ถูกเอารัด<br />

เอาเปรียบ และในด้านสังคมวัฒนธรรม แต่ละ<br />

ประเทศต้องส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ด้านสังคม<br />

และวัฒนธรรมของกันและกันด้วย ไม่ว่าจะเป็น<br />

คนชาติใด นับถือศาสนาใด พูดภาษาใด จะได้<br />

รับสิทธิเท่ากับคนอื่นๆ ทุกประเทศสมาชิกมี<br />

ความแตกต่างกัน แต่ต้องยอมรับความแตกต่าง<br />

นั้นๆ ได้ ดังคำขวัญของอาเซียนว่า “หนึ่งวิสัย<br />

ทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One<br />

Vision, One Identity, One Community)<br />

อาเซียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ชาวไทย<br />

ในฐานะเป็นประเทศร่วมผู้ก่อตั้งองค์กรแห่งนี้<br />

จะต้องรู้จัก ทำความเข้าใจ และเรียนรู้ในเรื่อง<br />

ประชาคมอาเซียนให้ลึกซึ้ง เพื่อเตรียมรับมือ<br />

กับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีก ๒ ปีข้าง<br />

หน้า โดยเฉพาะควรเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนว่า<br />

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย APSC AEC<br />

และ ASCC ไม่ใช่แค่ AEC <strong>MU</strong><br />

อยากเชิญชวนให้เลือกรับประทานเมี่ยงคำเป็น<br />

อาหารว่าง แต่ปัจจุบันเมี่ยงคำอาจหาซื้อยาก<br />

ขึ้น เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากไม่รู้จักหรือไม่เคย<br />

ลองลิ้มชิมรสเมี่ยงคำ จึงอยากเชิญชวนให้มา<br />

ร่วมอนุรักษ์อาหารว่างไทย “เมี่ยงคำ” ด้วยการ<br />

ทำรับประทานเองที่บ้าน หลายๆ ท่านอาจจะ<br />

เห็นว่าเมี่ยงคำ มีเครื่องปรุงและส่วนประกอบที่<br />

มากมายหลากหลายดูยุ่งยาก แต่จริงๆ แล้วทำ<br />

ไม่ยากเลย เราสามารถเตรียมน้ำเมี่ยงคำเก็บ<br />

ไว้ในตู้เย็น ส่วนมะพร้าวคั่วหากไม่สะดวกที่จะ<br />

ทำเอง ก็สามารถหาซื้อชนิดสำเร็จรูปได้ไม่ยาก<br />

เมื่ออยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาลูกหลานก็นั่ง<br />

ล้อมวงหั่นเครื่องเมี่ยงคำและกินเมี่ยงคำร่วมกัน<br />

ได้ทั้งความอร่อย สุขภาพ และความอบอุ่นใน<br />

ครอบครัว <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 7


Special Article<br />

ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ suchada.tha@mahidol.ac.th<<br />

สาระสำคัญของ (ร่าง)<br />

พระราชบัญญัติส่งเสริมโอกาส<br />

และความเสมอภาคระหว่างเพศ<br />

“เพศ” เป็นสาเหตุ<br />

หนึ่งของความไม่เท่า<br />

เทียมและเป็นที่มาของ<br />

การกระทำความรุนแรงที่<br />

ส่งผลกระทบทางกาย<br />

จิตใจ สังคม และเศรษฐา<br />

ผศ.ดร.สุชาดา นะของบุคคล อคติทาง<br />

เพศที่ดำรงอยู่ในวัฒนธรรมเป็นความรุนแรงเชิง<br />

โครงสร้างที่สร้างปัญหารูปธรรมมากมาย เช่น<br />

การกีดกันด้านการศึกษา อาชีพ ค่าจ้าง โอกาส<br />

ก้าวหน้าในตำแหน่งงาน การเข้าถึงบริการ<br />

สาธารณะ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความ<br />

รุนแรงทางเพศ รวมทั้งการคุกคามทางเพศ<br />

เป็นต้น ถ้าหากการผลักดัน (ร่าง) พระราช<br />

บัญญัติส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค<br />

ระหว่างเพศประสบความสำเร็จ ย่อมชี้ว่าสังคม<br />

ไทยได้พัฒนาไปสู่ความศิวิไลซ์เชิงเนื้อหาสาระ<br />

จริงๆ ไม่ใช่ศิวิไลซ์แค่ในเชิงวัตถุเท่านั้น ที่กล่าว<br />

เช่นนั้น เพราะว่ากฎหมายนี้หยิบยกเอาอคติทาง<br />

เพศที่มองไม่เห็นหรือมองข้ามกันมานานมา<br />

แก้ไข โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ผู้เขียนจึง<br />

อยากเก็บเอาสาระใน (ร่าง) กฎหมายนี้มานำ<br />

เสนอ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้อย่างถูกต้อง<br />

เกี่ยวกับกฎหมายนี้ โดยแบ่งเป็น ๓ ประเด็น<br />

ดังนี้<br />

ความครอบคลุมของการคุ้มครอง หลายคน<br />

เข้าใจผิดว่าร่างกฎหมายนี้คุ้มครองแต่เฉพาะผู้<br />

หญิง จึงรู้สึกต่อต้านและอาจไม่สนับสนุนให้<br />

กฎหมายนี้ผ่านรัฐสภาออกมาบังคับใช้ ความ<br />

จริงที่ควรทราบก็คือ กฎหมายนี้หากคลอดออก<br />

มา จะคุ้มครองคนทุกเพศ (หญิง ชาย และ เพ<br />

ศอื่นๆ) เพราะกฎหมายนี้เน้นว่า การกระทำหรือ<br />

ไม่กระทำการใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน ไม่<br />

ยอมรับ และจำกัดสิทธิ หรือทำให้เสียสิทธิประ<br />

โยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพราะเหตุ<br />

แห่งเพศ ตลอดจนการทำความรุนแรงและการ<br />

คุกคามทางเพศ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย<br />

นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้หน่วยงานของรัฐ หรือ<br />

องค์กรเอกชนใดๆ กำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ<br />

มาตรการ โครงการ หรือ วิธีปฏิบัติ ในลักษณะ<br />

ที่เป็นการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศไว้อีก<br />

ด้วย หน่วยงานและองค์กรจึงต้องแก้ไขระเบียบ<br />

8 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

ฉบับประชาชน<br />

ภายในที่มีอยู่เดิมซึ่งก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ<br />

เพราะเหตุแห่งเพศ<br />

กลไกของการคุ้มครอง คณะกรรมการวินิจฉัย<br />

การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ (วลพ.) เป็น<br />

กลไกอิสระหลักที่กฎหมายนี้บัญญัติให้มีขึ้น เพื่อ<br />

ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน และ<br />

ตรวจสอบว่ามีการละเมิดสิทธิจริงหรือไม่ ผู้เสีย<br />

หายจากการถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ<br />

หรือ ผู้เสียหายจากการถูกกระทำความรุนแรง<br />

เพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งอาจเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือ<br />

เพศอื่นๆ สามารถใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือ<br />

ปกป้องสิทธิของตนเองได้ตามระบอบ<br />

ประชาธิปไตย โดยสามารถยื่นคำร้องต่อ วลพ.<br />

ถ้าหาก วลพ. ตรวจสอบและวินิจฉัยแล้วพบว่า<br />

มีการละเมิดสิทธิหรือเลือกปฏิบัติจริง ก็มีคำสั่ง<br />

ให้ปฏิบัติตามมาตรการช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิ<br />

บรรเทาทุกข์ และชดเชยในฐานะผู้เสียหาย<br />

ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด<br />

กฎหมายนี้ไม่ได้มีจุดยืนเพื่อลงโทษ แต่เป็น<br />

กฎหมายที่มีข้อบัญญัติเพื่อให้เกิดการส่งเสริม<br />

โอกาสและความเสมอภาค อีกทั้งไม่ได้ถูก<br />

ออกแบบมาเพื่อลงโทษผู้ชายเป็นหลัก แต่<br />

ออกแบบมาโดยเอาคนที่ถูกละเมิดสิทธิหรือถูก<br />

เลือกปฏิบัติเป็นศูนย์กลาง และเพื่อป้องกันไม่ให้<br />

มีการกระทำผิด กฎหมายนี้จึงได้บัญญัติบท<br />

ลงโทษเอาไว้ด้วย คนที่กระทำผิดคือละเมิดสิทธิ<br />

หรือเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจ ำคุกไม่<br />

เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๓๖๐,๐๐๐ บาท หรือ<br />

ทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นการกระทำแก่ผู้สืบ<br />

สันดาน ศิษย์ ลูกจ้าง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้อยู่<br />

ในความปกครอง ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษ<br />

หนักกว่าที่กล่าวมา ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มี<br />

อำนาจเหนือกว่าใช้อำนาจของตนกระทำกับผู้ที่<br />

ด้อยอำนาจกว่า<br />

กลไกของการส่งเสริมโอกาส กฎหมายนี้<br />

บัญญัติให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า<br />

กองทุนส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาค<br />

ระหว่างเพศ โดยให้นำเงินร้อยละ ๑ ของงบ<br />

ประมาณแผ่นดินในปีหนึ่งๆ มาเข้ากองทุนฯ<br />

ทั้งนี้เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริม<br />

โอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ประกอบ<br />

ด้วย (๑) เพื่อกิจกรรมหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับ<br />

การพัฒนาศักยภาพสตรี รวมทั้งการส่งเสริม<br />

โอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ (๒) เพื่อ<br />

คุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติ<br />

เพราะเหตุแห่งเพศและความรุนแรงเพราะเหตุ<br />

แห่งเพศ (๓) เพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาทุกข์แก่<br />

บุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติ<br />

เพราะเหตุแห่งเพศ (๔) เพื่อการสอดส่องดูแล<br />

และให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาเกี่ยวกับการ<br />

ดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงาน<br />

ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (๕)<br />

เพื่อส่งเสริมการศึกษา การวิจัย ประเมินผล และ<br />

การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน มิให้เกิด<br />

การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศและความ<br />

รุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ (๖) เพื่อการติดต่อ<br />

ประสานงาน สนับสนุนให้หน่วยงาน หรือองค์กร<br />

ต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชา<br />

สังคม มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริม<br />

โอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศ ตลอด<br />

จนขจัดการเลือกปฏิบัติและการกระทำความ<br />

รุนแรงเพราะเหตุแห่งเพศ<br />

คงต้องช่วยกันลุ้นให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์<br />

ชินวัตร หยิบเอา (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริม<br />

โอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศฉบับที่<br />

ประชาชน และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย<br />

(คปก.) เสนอไปเมื่อหลายเดือนที่แล้ว เข้าสู่วาระ<br />

การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเสียที อย่าให้ต้อง<br />

กลายเป็นกฎหมาย ‘ชายขอบ’ที่รัฐบาลไม่ให้<br />

ความสำคัญเหมือนที่ผ่านๆ มาเลย <strong>MU</strong><br />

ที่มา: www.ipsr.mahidol.ac.th/newsletter


Special Article<br />

ธนาโชค ตติเจริญ<<br />

เทคนิคการประเมินคุณภาพ<br />

ทางด้านสีเนื้อผลของกีวีฟรุต<br />

โดยทั่วไปกีวีฟรุตที่นิยมวางจำหน่ายมี ๒<br />

กลุ่ม คือ พันธุ์เนื้อเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า<br />

Actinidia deliciosa และพันธุ์เนื้อเหลือง<br />

(Actinidia chinensis) ผลกีวีฟรุตที่พบเห็นใน<br />

ท้องตลาดนั้นนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น<br />

นิวซีแลนด์ และจีน ปัจจุบันประเทศไทย<br />

สามารถปลูกกีวีฟรุต และให้ผลผลิตได้แล้วภาย<br />

ใต้การบริหารจัดการของมูลนิธิโครงการหลวง<br />

แต่ปัญหาที่พบเสมอของกีวีฟรุตที่ผลิตใน<br />

ประเทศไทย คือ ความไม่สม่ำเสมอของสีเนื้อ<br />

ผลเมื่อเวลารับประทาน ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระ<br />

ทบต่อความมั่นใจ และความประทับใจของผู้<br />

บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อในครั้งต่อไป ถึงแม้ว่าจะ<br />

มีการสุ่มตรวจคุณภาพก่อนวางจำหน่ายตามวิธี<br />

ปกติ แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะในขั้น<br />

ตอนการตรวจจำเป็นต้องผ่าทำลายเพื่อ<br />

ประเมินดูสีเนื้อภายใน ส่งผลให้เกิดการสูญเสีย<br />

ผลผลิตโดยเฉพาะกลุ่มคุณภาพสูงที่สามารถวาง<br />

จำหน่ายในท้องตลาดได้ นอกจากนี้ในการตรวจ<br />

ประเมินคุณภาพแต่ละครั้งจะต้องทำลายผลทิ้ง<br />

เป็นจำนวนมากนำไปสู่การสูญเสียรายได้ ดังนั้น<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย<br />

เกษตรศาสตร์ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยของ<br />

มูลนิธิโครงการหลวงดำเนินโครงการวิจัยที่จะ<br />

นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อ<br />

หาวิธีการประเมินคุณภาพสีเนื้อผลแบบไม่<br />

ทำลายตัวอย่าง<br />

เทคโนโลยีชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ใน<br />

การประเมินลักษณะสีเนื้อผลโดยไม่จำเป็นต้อง<br />

ทำลายผลได้ก็คือ Near Infrared spectroscopy<br />

(NIRs) ซึ่งมีหลักการทำงาน คือเครื่อง NIRs จะ<br />

ปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 700-1100<br />

nm ไปยังวัตถุ ซึ่งวัตถุแต่ละชนิดนั้นจะมีองค์<br />

ประกอบทางเคมีอินทรีย์ที่แตกต่างกัน และจะ<br />

ดูดกลืนความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างตามแต่<br />

ชนิดขององค์ประกอบสารเคมีอินทรีย์ภายใน<br />

วัตถุนั้นๆ หลังจากนั้นแสงจะสะท้อนกลับไปยัง<br />

จุดรับของตัวเครื่อง NIRs ก็จะได้ค่าสเปคตรัมที่<br />

แสดงการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นแตกต่าง<br />

กันไปตามชนิดขององค์ประกอบสารเคมีอินทรีย์<br />

แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าสเปคตรัมขององค์<br />

ประกอบทางเคมีอินทรีย์มาตรฐาน<br />

จากการใช้เครื่อง NIRs ประเมินสีเนื้อกับกลุ่ม<br />

ผลกีวีฟรุตทั้งกลุ่มเนื้อเขียว และเนื้อเหลืองใน<br />

ระยะเก็บเกี่ยวปกติที่ผลิตได้จากสถานีเกษตร<br />

หลวงอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เปรียบเทียบ<br />

กับค่าการประเมินสีเนื้อผลจากเครื่อง Chroma<br />

meter แล้วนำค่าที่ได้จากทั้งสองมาเทียบเพื่อ<br />

สร้างสมการในการประเมินลักษณะสี สมการ<br />

การประเมินสีเนื้อผลที่ได้จากผลกีวีฟรุตกลุ่มนี้ที่<br />

เรียกว่า Calibration set จะถูกนำไปทดสอบ<br />

ความแม่นยำของสมการด้วยลักษณะสีเนื้อของ<br />

ผลในกลุ่ม validation set ก่อนที่จะนำสมการ<br />

ที่ได้ไปใช้จริง ต่อจากนี้ไปจะสามารถทำนายสี<br />

เนื้อผลกีวีฟรุตในเวลารวดเร็วด้วยเครื่อง NIRs<br />

โดยการอ่านค่าจากเครื่องที่ทราบผลทันทีใน<br />

เวลาไม่กี่วินาที และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องผ่า<br />

ทำลายผลทิ้ง ทำให้ลดความสูญเสียผลผลิตกีวี<br />

ฟรุตได้อีกด้วย <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 9


Special Article<br />

ดรณ์ แก้วนัย ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา<br />

คณะศิลปศาสตร์<<br />

คณบดีคณะศิลปศาสตร์กราบบังคมทูลรายงานนิทรรศการและรับพระราชทานเกียรติบัตร<br />

คณะศิลปศาสตร์ร่วมจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ๑๕๐ ปี<br />

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า<br />

ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอด<br />

พระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน<br />

โอกาสการจัดงาน “เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี<br />

พระราชสมภพแห่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา<br />

บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” ระหว่าง<br />

วันที่ ๑๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ โรงพยาบาล<br />

สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัด<br />

ชลบุรี โดยความร่วมมือระหว่างคณะ<br />

ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับโรง<br />

พยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา<br />

จังหวัดชลบุรี และคณะกรรมการจัดนิทรรศการ<br />

เฉลิมพระเกียรติ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระศรีสวรินทิ<br />

รา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จาก<br />

หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะ<br />

ศิลปศาสตร์จึงดำริที่จะจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก<br />

เนื่องในโอกาสสำคัญดังกล่าว<br />

คณะศิลปศาสตร์ดำริว่า สมเด็จพระศรีสวริ<br />

นทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า<br />

ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงบำเพ็ญพระราช<br />

กรณียกิจเพื่อพสกนิกรมาตลอดวาระแห่งพระ<br />

ชนมชีพ แม้ในวาระที่เสด็จ พระราชดำเนินมา<br />

ประทับ ณ ตำหนักศรีราชา เมืองชลบุรี เพียง<br />

ชั่วระยะหนึ่งก็มีพระราชอุตสาหะสงเคราะห์<br />

ราษฎรอยู่เป็นนิตย์ สมควรจะได้รวบรวมและ<br />

เรียบเรียงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่<br />

10 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

คณะกรรมการศูนย์สยามทรรศน์ศึกษาทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “บรมราชเทวีชลบุรีสถิต”<br />

เกี่ยวข้องเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งน้ำพระราชหฤทัย<br />

ให้เป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ คณะศิลปศาสตร์ได้รับ<br />

ความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์<br />

ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ประธานฝ่าย<br />

วิชาการมูลนิธิสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า<br />

และประธานคณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่<br />

ระลึกการจัดงานเฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระ<br />

ราชสมภพแห่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรม<br />

ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ให้ชื่อหนังสือ<br />

นี้ว่า “บรมราชเทวีชลบุรีสถิต”<br />

หนังสือเล่มนี้ได้แสดงพระประวัติและ<br />

บทความอันเนื่องด้วยพระราชกรณียกิจของ<br />

สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพัน<br />

วัสสาอัยยิกาเจ้า ได้แก่ ปฐมกถาสมเด็จพระพัน<br />

วัสสาราชการุณย์สู่ภูมิภาคตะวันออก บรมชนก<br />

นาถราชสถาน รัชกาลที่ ๔ กับเมืองชลบุรี: จาก<br />

พระบรมชนกนาถสู่พระราชธิดา ศาสนการราช<br />

ศุภกิจ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากับการ<br />

พระศาสนาในเมืองชลบุรีและพิพิธอาชีวการ<br />

กรณีย์ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ากับการ<br />

สงเคราะห์อาชีพในเมืองชลบุรีและบูรพาสมัยวิถี<br />

บรมราชเทวีสมัย วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชลบุรี<br />

ในสมัยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ดังนั้น จึง<br />

เป็นหนังสือที่สำแดงเกียรติประวัติของเมือง<br />

ชลบุรีและเผยแพร่พระราชประวัติสมเด็จพระศรี<br />

สวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า<br />

ผู้ทรงมีพระมหากรุณาต่อราษฎรในด้านการ<br />

สาธารณสุข การสงเคราะห์อาชีพ และการพระ<br />

ศาสนา จนเป็นผลสืบเนื่องให้เมืองชลบุรีเจริญ<br />

รุ่งเรือง ให้ปรากฏแพร่หลายสืบไป<br />

ในงานดังกล่าวนอกจากจะมีนิทรรศการอัน<br />

เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี<br />

พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แล้วยังมีกิจกรรมอื่นๆ<br />

เช่น การประกวดภาพถ่ายมหามงคลแห่ง<br />

แผ่นดิน ณ ศรีราชา ภาพเก่าเล่าเรื่องเมือง<br />

ศรีราชา และการสัมมนาวิชาการ “งานเฉลิม<br />

ฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระ<br />

ศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา<br />

อัยยิกาเจ้า” เป็นต้น<br />

ในการนี้ อาจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล<br />

คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

เฝ้ารับเสด็จและกราบบังคมทูลรายงาน<br />

นิทรรศการ “บรมราชเทวีชลบุรีสถิต” และเข้า<br />

รับพระราชทานเกียรติบัตรในฐานะคณะ<br />

กรรมการจัดงาน นอกจากนี้ คณะกรรมการศูนย์<br />

สยามทรรศน์ศึกษาและคณะศิลปศาสตร์ยังได้<br />

ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ “บรมราชเทวีชลบุรี<br />

สถิต” แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม<br />

บรมราชกุมารี ในวโรกาสที่พระองค์เสด็จ<br />

พระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิม<br />

พระเกียรติฯ ดังกล่าว <strong>MU</strong>


วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล ผสานความร่วมมือระหว่างรามาธิบดี<br />

และศิริราช เปิดหลักสูตรใหม่“การจัดการสุขภาพแบบองค์รวม”<br />

พร้อมจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งใหญ่แห่งปี<br />

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ วิทยาลัย<br />

การจัดการ (CM<strong>MU</strong>) จัดแถลงข่าวพิธีลงนาม<br />

ความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่างคณะ<br />

แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นำโดย<br />

ศาสตราจารย์นายแพทย์วินิต พัวประดิษฐ์<br />

คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี<br />

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำโดย<br />

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา<br />

รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล<br />

และ วิทยาลัยการจัดการ นำโดย รอง<br />

ศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ ตันละมัย คณบดี<br />

วิทยาลัยการจัดการ ในการพัฒนาหลักสูตรใหม่<br />

“การจัดการมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)<br />

สาขาวิชาการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม หรือ<br />

Master of Management in Healthcare<br />

and Wellness Management” เพื่อผลิตนัก<br />

บริหารจัดการรองรับตลาดธุรกิจสุขภาพที่<br />

สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และ<br />

บริหารองค์กรให้มีประสิทธิผล ณ โรงแรม<br />

เชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท โดยมี ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน<br />

ในงานยังจัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ<br />

เรื่อง “Healthcare in Turbulent times.<br />

What is the new role of the healthcare<br />

professionals” โดยได้รับเกียรติจาก นาย<br />

แพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมการสัมมนา และมี<br />

ผู้ทรงคุณวุฒิในวงการสุขภาพของเมืองไทย มา<br />

ร่วมอภิปรายในประเด็นที่แตกต่างอย่างน่า<br />

สนใจ ได้แก่ นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รอง<br />

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ศาสตราจารย์นาย<br />

แพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดีคณะ<br />

แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และผู้อำนวยการ<br />

Harmony in Diversity<br />

งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยการจัดการ<<br />

โรงเรียนแพทย์ศิริราช พร้อมด้วย นาย<br />

แพทย์ชาตรี ดวงเนตร ประธานคณะผู้<br />

บริหารศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาล<br />

กรุงเทพ และ Mr.Paul Tan จาก บริษัท<br />

ไอบีเอ็มฯ โดยมีผู้สนใจในแวดวงการแพทย์และ<br />

สุขภาพเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก<br />

สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร “การจัดสุขภาพ<br />

แบบองค์รวม” (Master of Management in<br />

Healthcare and Wellness Management)<br />

สามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่<br />

http://inside.cm.mahidol.ac.th/<br />

healthcare/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่<br />

วิทยาลัยการจัดการ ถนนวิภาวดีรังสิต โทรศัพท์<br />

๐-๒๒๐๖-๒๐๐๐ <strong>MU</strong><br />

ศิริราชรักษ์สิ่งแวดล้อม<br />

งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล<<br />

เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ รศ.นพ.ปรีชา<br />

สุนทรานันท์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและ<br />

กิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราช<br />

พยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานเปิดงาน<br />

“ศิริราชรักษ์สิ่งแวดล้อม”ประจำปี ๒๕๕๖ ณ<br />

โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์<br />

จากนั้นนำเดินรณรงค์ภายในโรงพยาบาลและ<br />

ตลาดวังหลัง พร้อมด้วยผู้บริหาร ชาวศิริราช<br />

ชุมชนบางกอกน้อย และเหล่าศิลปิน มยุรา<br />

เศวตศิลา โบว์ AF 5 เนสท์-เอิร์ท AF 9<br />

งานศิริราชรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดเป็นประจำ<br />

ทุกปี ในปีนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓ – ๗<br />

มิถุนายน ๒๕๕๖ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความ<br />

เข้าใจ และรณรงค์ปลุกจิตสำนึกให้กับบุคลากร<br />

ศิริราชและชุมชนรอบโรงพยาบาลศิริราชร่วม<br />

กันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและ<br />

ทรัพยากรธรรมชาติ<br />

ภายในงาน มีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการ “๑๐<br />

นโยบาย มุ่งสู่การเป็นศิริราชสีเขียว”ที่เชื่อมต่อ<br />

ระหว่างระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาล<br />

กับระบบสุขภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่าง<br />

ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม<br />

สุขภาพของประชาชน<br />

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมรณรงค์ใช้ปิ่นโต<br />

ภาชนะส่วนตัวเพื่อช่วยลดปริมาณขยะ การ<br />

ออกร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ<br />

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประกวดจัดสวน<br />

หย่อมจากวัสดุเหลือใช้ ประกวดวาดภาพแต่ง<br />

แต้มสีสัน เสวนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการ<br />

เยียวยา การแสดงดนตรีในสวน อาทิ โดม กวาง<br />

จูเนียร์ จากเดอะ สตาร์ ณ รพ.ศิริราช <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 11


12 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06


Research Excellence<br />

สาธิดา ศรีชาติ<<br />

คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล เปิดศูนย์ปฏิบัติการ<br />

ซิมมิวเลชั่นที่มีจำนวนยูนิตมากที่สุดในโลก<br />

เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติ<br />

การซิมมิวเลชั่นซึ่งเป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติงานจริง<br />

สำหรับทันตแพทย์ที่มีจำนวนยูนิตมากที่สุดใน<br />

โลก ณ อาคาร ๔ ชั้น ๑ คณะทันตแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

รองศาสตราจารย์ทันตแพทย์พาสน์ศิริ นิสา<br />

ลักษณ์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยว่าปัจจุบันการเรียน<br />

การสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ ต้องจัดให้<br />

นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน แต่ยังไม่ครบวงจร เพราะ<br />

ขาดการจำลองสภาวการณ์ทางคลินิกในสภาพที่<br />

ใกล้เคียงกับการปฏิบัติงานจริงในผู้ป่วย ดังนั้น<br />

การจัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับการปฏิบัติ<br />

ม.มหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ<br />

หลักสูตร “นักสร้างสุของค์กร (นสอ.)”<br />

ตามที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนด<br />

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๕๖ –<br />

๒๕๕๙ ด้าน Human Resource Excellence<br />

โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อขับเคลื่อน<br />

มหาวิทยาลัยโดยเน้นการพัฒนาบุคลากร และมี<br />

การกำหนด Corporate KPI ในด้านที่ ๙ Human<br />

Resource Index โดยมีเป้าหมายคะแนน<br />

เฉลี่ย Happiness ในระดับ ๗ ใน ๑๐ คะแนน<br />

ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ นั้น ในการ<br />

ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านดัง<br />

กล่าว คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล<br />

คราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๘<br />

กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ได้ให้ความเห็นชอบให้<br />

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และกอง<br />

ทรัพยากรบุคคลร่วมดำเนินการสำรวจความสุข<br />

ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยแบบ<br />

สำรวจความสุขด้วยตนเอง Happinometer<br />

(Online) และได้มีการดำเนินการสำรวจไปแล้ว<br />

งานจริงในคลินิกจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วย<br />

พัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ของนักศึกษาทันตแพทย์<br />

ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการเตรี<br />

ยมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงาน<br />

จริงในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างมั่นใจ คณะทันต<br />

แพทยศาสตร์ ม.มหิดล จึงดำเนินการจัดตั้งศูนย์<br />

ณชัยริทธิ์ หลงสมบูรณ์<<br />

๒ รอบ คือ รอบ ๑ ช่วงเดือนเมษายน –<br />

พฤษภาคม ๒๕๕๕ และ รอบ ๒ ช่วงเดือน<br />

กันยายน ๒๕๕๕ และได้แจ้งผลการสำรวจให้<br />

ส่วนงานรับทราบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการ<br />

เสริมสร้างความสุขให้แก่บุคลากรในส่วนงาน<br />

และเพื่อเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อน<br />

ยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้แก่ส่วนงานต่างๆ<br />

มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดจัดโครงการอบรมเชิง<br />

ปฏิบัติการ หลักสูตร “นักสร้างสุของค์กร<br />

(นสอ.)” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานัก<br />

สร้างสุของค์กรให้เกิดขึ้นในทุกส่วนงานและร่วม<br />

เป็นพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้เป็นไป<br />

ตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมี<br />

กิจกรรมการอบรมและสัมมนาฯ ดังนี้<br />

ครั้งที่ ๑ กิจกรรม “โครงการอบรมเชิง<br />

ปฏิบัติการ นักสร้างสุของค์กร (นสอ.)” วันที่<br />

๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐<br />

น. ณ ห้องประชุม ประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น<br />

ปฏิบัติการซิมมิวเลชั่น (Simulation lab) โดย<br />

การใช้หุ่นจำลองในการเรียนการสอนใน<br />

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นการ<br />

จำลองสภาวะเสมือนจริงของผู้ป่วยให้นักศึกษา<br />

ได้เรียนรู้และปฏิบัติงานจริงในผู้ป่วย เพื่อให้<br />

นักศึกษาเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างมี<br />

ประสิทธิภาพ และพร้อมให้การรักษาผู้ป่วยได้<br />

อย่างมั่นใจ อีกทั้งศูนย์ปฏิบัติการซิมมิวเลชั่น<br />

(Simulation lab) แห่งนี้ยังใช้เป็นศูนย์สอ<br />

บการฎิบัติงานในภาวะจำลองและศูนย์ศึกษาต่อ<br />

เนื่องในระดับชาติและนานาชาติอีกด้วย ซึ่ง<br />

เป็นการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจ<br />

อาเซียน และมุ่งหวังในการยกระดับเป็นสถาบัน<br />

การศึกษาชั้นนำระดับโลก <strong>MU</strong><br />

Harmony in Diversity<br />

๑ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล<br />

ครั้งที่ ๒ กิจกรรม “โครงการพัฒนานัก<br />

สร้างสุของค์กรด้วย MapHR” รุ่นที่ ๑ วันที่<br />

๑๔ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ และ รุ่นที่ ๒ วันที่<br />

๓ - ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ณ เทวมันต์ทรา<br />

รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดกาญจนบุรี<br />

ครั้งที่ ๓ กิจกรรม “การสัมมนาเชิงปฏิบัติ<br />

การเพื่อถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงานสร้าง<br />

สุของค์กร” รุ่นที่ ๑ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖<br />

และรุ่นที่ ๒ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๗ ณ<br />

โรงแรม เอสดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร <strong>MU</strong><br />

หมายเหตุ: กำหนดการดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้<br />

ตามความเหมาะสม<br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 13


<strong>MU</strong> Society<br />

ฐิติรัตน์ เดชพรหม<<br />

ปฐมนิเทศรับสมาชิกใหม่ครอบครัว<br />

ราชพฤกษ์ (๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

งานบริหารการศึกษาและกิจการนักศึกษา<br />

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

จัดพิธีปฐมนิเทศ “รับสมาชิกใหม่ครอบครัว<br />

ราชพฤกษ์” ปีการศึกษา ๒๕๕๖ โดยมีพิธีถวาย<br />

ราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระ<br />

มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราช<br />

ชนก โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พิทยา<br />

จารุพูนผล คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็น<br />

ประธานในพิธี<br />

พัฒนาอุตสาหกรรมยาสมุนไพร<br />

(๕ มิถุนายน ๒๕๕๖)<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์<br />

คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าว<br />

เปิดกิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขา<br />

การแพทย์แผนไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยา<br />

สมุนไพร ณ ห้องประชุม ๖๐๖ อาคารราชรัตน์<br />

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

เวทีวิจัยชุมชน (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการ<br />

พิมพ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดเวทีสรุปนำเสนอ<br />

งานวิจัยของนักวิจัยชุมชน อำเภอพุทธมณฑล<br />

จังหวัดนครปฐม จัดโดย กลุ่มภารกิจวิจัยและ<br />

พัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้อง<br />

บุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน<br />

ICT แถลงข่าวหลักสูตร(๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖)<br />

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร<br />

(ICT) ม.มหิดล ร่วมกับพันธมิตร ๔ องค์กร<br />

หลัก ได้แก่ สวทช. SIPA Microsoft และ DELL<br />

จัดงานแถลงข่าวอบรมหลักสูตร Certificate<br />

for cloud Specialists ภาคภาษาอังกฤษเพื่อ<br />

รองรับ AEC นับเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตร<br />

เดียวของประเทศไทยในขณะนี้ ณ โรงแรม<br />

แกรนด์ มิลลิเนียม สุขุมวิท กรุงเทพฯ<br />

รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ (๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ รองอธิการบดี และทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิด<br />

โครงการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เน้นให้<br />

บุคลากร นิสิต นักศึกษา ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ โดยจัดนิทรรศการให้ความรู้ และเปิดคลินิก<br />

“ฟ้าใส” เพื่อให้การบำบัด รักษาแก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เพื่อให้มหิดลเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่<br />

อย่างจริงจัง โดยถือเอาที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ วันงดสูบุหรี่โลก เป็นวันเริ่มต้นของการรณรงค์<br />

อย่างเต็มรูปแบบ<br />

ลงนามอินโดนีเซีย<br />

(๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบัน<br />

โภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ลง<br />

นามความร่วมมือทางวิชาการ ( Memorandum<br />

of Co-operation) ด้าน food science และ<br />

technology กับ Ms . Ita Sulistyawati<br />

คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย<br />

Soegijapranata Catholic ประเทศอินโดนีเซีย<br />

14 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

ต้อนรับอินโดนีเซียดูงาน<br />

(๕ มิถุนายน ๒๕๕๖)<br />

รศ.ดร.สุรีย์พร พันพึ่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย<br />

ประชากรและสังคม พร้อมด้วย รศ.ดร.อมรา<br />

สุนทรธาดา และ รศ.ดร.อรพินทร์ พิทักษ์มหา<br />

เกตุ ให้การต้อนรับ National Population and<br />

Family Planning Board (NPFPB/BKKBN)<br />

จากประเทศอินโดนีเซียในโอกาสมาอบรมและ<br />

ศึกษาดูงานด้าน “Population and Family<br />

Planning in Thailand” ณ ห้องประชุมราชาวดี<br />

ชั้น ๓ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล<br />

ศาลายา<br />

ราชสุดาสู่อัมพวา (๑๓ – ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรวิทยาลัยราชสุดา<br />

เดินทางไปพัฒนาบุคลากรประจำปี ๒๕๕๖ ณ<br />

บ้านปลาทับทิมรีสอร์ท จ.สมุทรสงคราม เพื่อ<br />

เป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมี<br />

กิจกรรมการปลูกป่าชายเลนคลองโคน ล่องเรือ<br />

ทำบุญไหว้พระ เดินชม เที่ยวตลาดน้ำอัมพวา<br />

ร่วมทำกิจกรรมสันทนาการเชื่อมสัมพันธ์กัน<br />

ระหว่างผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากรของ<br />

วิทยาลัยให้เกิดความรักและสามัคคีกัน และยัง<br />

สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนา<br />

องค์กรต่อไป


สานสัมพันธ์พุทธ-อิสลาม<br />

(๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

วิทยาลัยศาสนศึกษาได้จัดประชุมคณะกรรมการ<br />

นโยบายโครงการสานสัมพันธ์พุทธ-อิสลาม<br />

ระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๑ ณ ห้องประชุม<br />

๒๐๖ วิทยาลัยศาสนศึกษา ม.มหิดล โดยมี<br />

รศ.ดร.วาทินี บุญชะลักษี (คณบดีวิทยาลัย<br />

ศาสนศึกษา) เป็นประธานในการประชุมและ<br />

ได้รับเกียรติจากท่านจุฬาราชมนตรี (นายอาศิส<br />

พิทักษ์คุมพล) เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย<br />

การดำเนินงานของศูนย์ฯ ตั้งอยู่ในรูปของคณะ<br />

กรรมการ ๒ คณะ คือ คณะกรรมการนโยบาย<br />

และคณะกรรมการดำเนินการ ประกอบกับ<br />

ความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งระดับ<br />

ชาติและนานาชาติ<br />

วันสิ่งแวดล้อมโลก (๕ มิถุนายน ๒๕๕๖)<br />

รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่ง<br />

แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล<br />

เป็นประธานเปิดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก<br />

ประจำปี ๒๕๕๖ ภายใต้ Concept “THINK.<br />

EAT.SAVE กิน อยู่ รู้ คิด เป็นมิตรกับสิ่ง<br />

แวดล้อม” เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของ<br />

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในงาน<br />

มีกิจกรรมที่ให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่<br />

รวมทั้งนักเรียนในชมรมรักษ์สิ่งแวดล้อม จาก<br />

โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ชาวบ้านและผู้ร่วม<br />

งานร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณโดยรอบคณะสิ่ง<br />

แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และปล่อยปลา<br />

บริเวณท่าน้ำวัดสุวรรณาราม จ.นครปฐม พร้อม<br />

ทั้งเยี่ยมชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย<br />

มหาสังฆทาน<br />

(๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

คณะเทคนิคการแพทย์ นำโดย ศาสตราจารย์<br />

ดร.วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล คณบดีฯ จัดงาน<br />

พิธีถวายมหาสังฆทาน แด่พระสงฆ์ ๔๕ รูป จาก<br />

๙ วัด ได้แก่ วัดปุรณาวาส วัดสาลวัน วัดหทัย<br />

นเรศวร์ วัดมะเกลือ วัดสุวรรณาราม วัดพุทธ<br />

บารมี (ม.ร่วมเกื้อ) วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม<br />

วัดมงคลประชาราม และวัดโกมุทพุทธรังสี โดย<br />

เป็นการทำบุญร่วมกับส่วนงานและหน่วยงาน<br />

ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดลและชุมชนรอบข้าง<br />

เพื่อเป็นการจัดงานบุญใหญ่เสริมสร้างความ<br />

เป็นสิริมงคลรวมทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลแด่<br />

เจ้าบ้าน เจ้าที่และดวงวิญญาณต่างๆ ที่สถิต<br />

อยู่ ณ พื้นที่ศาลายา<br />

ศิริราชมอบเนคไท–โบว์ไทต้อนรับ นศ. (๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖)<br />

ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธาน<br />

มอบเนคไท – โบว์ไท ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖ ให้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ ๒ หลักสูตร<br />

กายอุปกรณศาสตรบัณฑิตและนักศึกษาหลักสูตรกายอุปกรณศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร<br />

นานาชาติ) โดยมี รศ.พญ. นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล ผอ.รร.กายอุปกรณ์สิรินธร ร่วมใน<br />

พิธี ณ อาคาร รร.กายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล<br />

ลงนามบิ๊กซี (๖ มิถุนายน ๒๕๕๖)<br />

ศาสตราจารย์ ดร.มาลียา เครือตราชู คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์สุมาลี วิเศษรัตน์ รอง<br />

คณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง<br />

โครงการอบรมหลักสูตร “Executive Degree in Leadership Program” (EDLP) ระหว่าง<br />

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)<br />

โดยมีนาย Stephen Camilleri รองประธานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และนาย Philippe Prejent<br />

รองประธานฝ่ายการดำเนินงาน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมใน<br />

พิธี ณ ห้องสัมมนา พินนาเคิล ๓ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ<br />

อบรมเครื่องมือแพทย์ รุ่นที่ ๒๗ (๒๗ พฤษภาคม – ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖)<br />

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล นำโดย ผศ.ยง<br />

ยุทธ ขจรปรีดานนท์ จัดอบรมหลักสูตร การใช้และการดูแลเครื่องมือแพทย์ในหอผู้ป่วยวิกฤติ<br />

สำหรับพยาบาล รุ่นที่ ๒๗ โดยมีพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤติจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ<br />

เข้ารับการอบรม จำนวน ๑๘๑ คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจด้านหลัก<br />

การของเครื่องมือแพทย์ที่มีความสำคัญสูง การใช้งานที่ถูกวิธีและเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจน<br />

การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ ทั้งภายในหอผู้ป่วยวิกฤติและในภาพรวมของโรงพยาบาล<br />

โดยแบ่งออกเป็นภาคทฤษฎี และภาคการสอนแสดงด้วยเครื่องมือแพทย์จริง<br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 15


Teaching&Learning Excellence<br />

ฐิติรัตน์ เดชพรหม<<br />

เผยผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล<br />

เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุม<br />

อาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์<br />

พญาไท ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัช<br />

ตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็น<br />

ประธานแถลงข่าวผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลคัดเลือกผลงานของ<br />

อาจารย์ นักวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อ<br />

วงการวิชาการและประชาชน ให้ได้รับรางวัล<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผู้ได้รับการคัดเลือก<br />

จะเข้ารับพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระ<br />

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธี<br />

พระราชทานปริญญาบัตร ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖<br />

ณ หอประชุมกองทัพเรือ<br />

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งขึ้นเมื่อปี<br />

พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติ<br />

และเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรที่มีความวิริยะ<br />

อุตสาหะและปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพจน<br />

มีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ ซึ่งผู้ได้รับรางวัล<br />

นอกจากจะได้เข้ารับพระราชทานรางวัลในพิธี<br />

พระราชทานปริญญาบัตรแล้ว จะได้รับเงินสด<br />

รางวัลละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับปีการศึกษา<br />

๒๕๕๕ นี้ มีผู้ได้รับรางวัลประเภทดีเด่นเฉพาะ<br />

ทางทั้งหมด ๕ สาขา ได้แก่ สาขาความเป็นครู<br />

สาขาการวิจัย สาขาการประดิษฐ์ สาขาการแต่ง<br />

ตำรา และ สาขาการบริการ ดังนี้<br />

รางวัลมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล สาขาความเป็น<br />

ครู<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์<br />

ดร.อทิตยา ศิริภิญญา<br />

นนท์ ภาควิชาเคมี<br />

คณะวิทยาศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัลนัก<br />

วิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จากมูลนิธิส่งเสริม<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ รางวัลนักวิทยาศาสตรรุนเยาว<br />

(2011 TWAS Prize for Young Scientists<br />

in Thailand) สาขาเคมี และทุนวิจัยลอรีอัล<br />

ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์”<br />

เป็นอาจารย์ที่พยายามสอนโดยกระตุ้นให้<br />

นักศึกษามีส่วนร่วมในการถามคำถาม ตอบ<br />

16 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕<br />

คำถาม และแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ยัง<br />

ได้พัฒนาวิธีการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี<br />

ทางการวิเคราะห์ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการ<br />

รองศาสตราจารย์<br />

ดร.นายแพทย์<br />

ภัทรชัย กีรติสิน ภาค<br />

วิชาจุลชีววิทยา คณะ<br />

แพทยศาสตร์ศิริราช<br />

พยาบาล มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล อดีตนายกสโมสร<br />

นักศึกษาแพทย์ศิริราชและผู้รับรางวัลนักศึกษา<br />

แพทย์ผู้ทำคุณประโยชน์ของคณะฯ เป็นคนไทย<br />

คนแรกที่ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นเยาว์จากสมาคม<br />

จุลชีววิทยาของประเทศสหรัฐอเมริกา เคยดำรง<br />

ตำแหน่งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และ<br />

ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นทางปรีคลินิก ทุน<br />

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี รวมถึงได้<br />

รับรางวัลจากผลงานการแต่งตำราและผลงาน<br />

วิจัย อาจารย์มีความมุ่งมั่นสอนลูกศิษย์ให้เป็น<br />

แพทย์ ไม่ใช่ด้วยใบปริญญา แต่เป็นแพทย์ที่มีจิต<br />

วิญญาณความเป็นมนุษย์ ดังปณิธานของ สมเด็จ<br />

พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรม<br />

ราชชนก<br />

รางวัลมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล สาขาวิจัย<br />

รองศาสตราจารย์<br />

ดร. มธุรส พงษ์ลิขิต<br />

มงคล ภาควิชาชีวเคมี<br />

คณะวิทยาศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ผล<br />

งานการวิจัย เรื่อง “โปรตีน E6* จากฮิวแมน<br />

พาพิวโลมาไวรัสชนิด ๑๖ ส่งเสริมการดื้อยาใน<br />

เซลล์มะเร็งปากมดลูก” เป็นการค้นพบหน้าที่<br />

ใหม่ของโปรตีนจากเชื้อฮิวแมนพาพิวโลมาไวรัส<br />

หรือ HPV ชนิด ๑๖ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ<br />

มะเร็งปากมดลูก โดยพบว่าโปรตีนนี้สามารถ<br />

รบกวนการทำงานของยีนมนุษย์ มีผลทำให้<br />

เซลล์มะเร็งปากมดลูกสร้างเอนไซม์ Aldo-keto<br />

reductase เพิ่มขึ้น และมีความสามารถใน<br />

การดื้อต่อยาบางชนิดสูงขึ้น ซึ่งความรู้นี้จะเป็น<br />

ประโยชน์ต่อแนวทางการรักษามะเร็งปากมดลูก<br />

ด้วยเคมีบำบัด<br />

รางวัลมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล สาขาการ<br />

ประดิษฐ์<br />

รองศาสตราจารย์<br />

ดร.สิริจิต วงศ์กำชัย<br />

ภาควิชาปรสิตวิทยา<br />

คณะแพทยศาสตร์ศิริราช<br />

พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานการ<br />

ประดิษฐ์ “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างแบบ<br />

รวดเร็ว” ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรจากกรม<br />

ทรัพย์สินทางปัญญา และได้รางวัล”นวัตกรรม<br />

แห่งชาติ” โดยสามารถทดแทนการนำเข้าชุด<br />

ตรวจจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง วิธีใช้งาน<br />

ง่าย อ่านผลง่าย รู้ผลการตรวจภายใน ๑๕ นาที<br />

สามารถควบคุมและกำจัดโรคเท้าช้างแบบ one<br />

stop service เจ้าหน้าที่สามารถจ่ายยาได้ทันที<br />

หากพบการติดเชื้อ<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์<br />

ดร.เซง เลิศมโนรัตน์<br />

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า<br />

คณะวิศวกรรมศาสตร์<br />

ผลงานการประดิษฐ์<br />

“เดินดี เครื่องกระตุ้น<br />

ไฟฟ้าแก้ปลายเท้าตก”


สำหรับช่วยผู้ป่วยทางระบบประสาทที่มีอาการ<br />

อัมพฤกษ์ไม่สามารถสั่งยกปลายเท้าตนเองได้<br />

เครื่องจะตรวจจับการยกรอยของส้นเท้า และ<br />

จะกระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อช่วยยกปลายเท้าขึ้น<br />

ขณะก้าวเดินทำให้เดินได้ง่ายขึ้น สิ่งประดิษฐ์<br />

มีขนาดกระทัดรัดมากเพียงกล่องไม้ขีดทำให้ใช้<br />

สะดวก และราคาถูกกว่าของต่างประเทศกว่า<br />

๑๐ เท่า สามารถช่วยผู้ป่วยไทยในวงกว้างให้มี<br />

คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น<br />

รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา<br />

รองศาสตราจารย์<br />

น า ย แ พ ท ย ์<br />

ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์<br />

ภาควิชารังสีวิทยา คณะ<br />

แพทยศาสตร์ศิริราช<br />

พยาบาล มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ผลงานการแต่ง<br />

ตำรา “เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหัวใจและ<br />

หลอดเลือด” ซึ่งแต่งขึ้นสำหรับประกอบการ<br />

เรียนการสอนในหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรม<br />

แพทย์ประจำบ้าน อายุรแพทย์ และแพทย์ที่<br />

สนใจ ให้เข้าใจเทคนิคในการตรวจ การแปลผล<br />

และเพื่อให้ส่งตรวจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม<br />

รวมทั้งรังสีเทคนิคให้เข้าใจขั้นตอนและเทคนิค<br />

ในการตรวจ เพื่อการตรวจเป็นไปอย่างถูกต้อง<br />

เหมาะสมให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีที่สุด<br />

รางวัลมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล สาขาการบริการ<br />

ศาสตราจารย์คลินิก<br />

นายแพทย์พรชัย มูล<br />

พฤกษ์ ภาควิชาออร์โธ<br />

ปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์<br />

โรงพยาบาลรามาธิบดี<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหน่วย<br />

ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล<br />

รามาธิบดี ริเริ่มนำเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่<br />

สูงมาช่วยในการตรวจคัดกรองโรคข้อสะโพก<br />

หลุดในเด็กแรกเกิดซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ได้รับ<br />

รับคำชมเชยจากผู้ป่วยและญาติอย่างสม่ำเสมอ<br />

จนได้รับรางวัล “คนดีศรีรามา” ในปี ๒๕๕๔<br />

นศ.มหิดล อินเตอร์<br />

คว้ารางวัลออกแบบผลิตภัณฑ์ Kiehl’s<br />

งานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ<<br />

และในช่วงวิกฤตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ใน<br />

ปี ๒๕๕๔ ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นด้านการดูแล<br />

สุขภาพการจัดเตรียมยาที่จำเป็น และข้อมูล<br />

ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือประชาชน<br />

รองศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์ประดิษฐ์<br />

สมประกิจ รองคณบดี<br />

ฝ่ายการคลัง คณะ<br />

แพทยศาสตร์ศิริราช<br />

พยาบาล มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล เป็นผู้นำการ<br />

พัฒนากระบวนการเชื่อมโยงระหว่างระบบ<br />

การเงินและระบบการบริหารจัดยา, ผู้นำพัฒนา<br />

ระบบการรับ-ส่งใบสั่งยาและการส่งยาผู้ป่วยใน,<br />

ผู้ร่วมนำการเปลี่ยนแปลงระบบบัญชีของคณะฯ<br />

จากเกณฑ์เงินสด เป็นเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย โดย<br />

ใช้ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร (ERP) และ<br />

ระบบคลังข้อมูลการบริหารจัดการ ทำให้คณะฯ<br />

มีข้อมูลในการกำหนดนโยบายด้านการเงินและ<br />

การคลังที่เหมาะสม <strong>MU</strong><br />

น.ส.กีรดา ส่งวัฒนา นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด และ น.ส.ณัฏฐ์ธิดา ทิพยรัตน์<br />

นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัล<br />

ชนะเลิศการแข่งขันออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์คีลส์ “You can Change the World<br />

with Kiehl’s 2013” ภายใต้แนวคิดรักษ์โลก (Save the World) ออกแบบฉลาก<br />

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการแข่งขันดังกล่าวจัดขึ้นเป็นปีที่ ๓ มีสถาบัน<br />

การศึกษาชั้นนำในประเทศไทยกว่า ๔๐ สถาบันส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันออกแบบ<br />

ฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก<br />

ในการรักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับผลงานการออกแบบของนักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะ<br />

เลิศจะถูกนำไปใช้เป็น ฉลากของผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงผิวหน้าของคีลส์ต่อไป <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 17


Special Scoop<br />

สุพรรณรัช ภูริวัฒนกุล<<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา<br />

สิรีรุกขชาติ และทรงเปิดอาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร หอพระราชประวัติศรี<br />

สวรินทิราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ<br />

เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๕.๓๐<br />

น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช<br />

กุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวาง<br />

ศิลาฤกษ์อาคารโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา<br />

สิรีรุกขชาติ และทรงเปิดอาคารมหิดลอดุลย<br />

เดช-พระศรีนครินทร และหอพระราชประวัติ<br />

ศรีสวรินทิราราชภักดี-หอพระราชประวัติบรม<br />

ราชบุพการีกิตติประกาศ ณ คณะพยาบาล<br />

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมี<br />

ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ฟอง<br />

คำ ติลกสกุลชัย คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ผู้<br />

บริหาร และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เฝ้า<br />

ทูลละอองพระบาทรับเสด็จ<br />

จากนั้น เสด็จเข้าสู่พลับพลาพิธี ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลกราบบังคมทูลรายงาน รอง<br />

ศาสตราจารย์ ฟองคำ ติลกสกุลชัย คณบดีคณะ<br />

พยาบาลศาสตร์ กราบบังคมทูลเบิก ผู้มีอุปการ<br />

คุณเข้ารับพระราชทานของที่ระลึก จากนั้น<br />

เสด็จไปยังมณฑลพิธี ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม<br />

แผ่นศิลาฤกษ์ ทอดพระเนตรแบบจำลองอาคาร<br />

โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ทรง<br />

กดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่ออาคาร “มหิดล<br />

อดุลยเดช-พระศรีนครินทร” และ “หอพระ<br />

ราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี -หอพระราช<br />

ประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ” และ<br />

ทรงปลูกต้นพิกุล เสด็จเข้าภายในอาคาร ทอด<br />

พระเนตรนิทรรศการและหอพระราชประวัติฯ<br />

18 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

จากนั้น ทรงเป็นองค์ปาฐกเกียรติยศในปาฐกถา<br />

คุณหญิงพิณพากย์ พิทยาเภท ครั้งที่ ๑๓ เพื่อ<br />

เฉลิมพระเกียรติ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จ<br />

พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา<br />

อัยยิกาเจ้า<br />

โครงการอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ<br />

ตั้งอยู่บนพื้นที่ ๑๔๐ ไร่ ภายในมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ศาลายา เป็นพื้นที่ส่วนขยายของ<br />

สวนสมุนไพรเดิม เพื่อยกระดับพื้นที่อนุรักษ์<br />

ธรรมชาติในลักษณะ Botanical Garden ให้<br />

เป็นต้นแบบ การเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา<br />

แหล่งรวบรวม ผลิต และทดลองพืชสมุนไพรที่<br />

มีสรรพคุณทางยา โดยเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน<br />

๒๕๕๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม<br />

ราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชานุญาตให้<br />

เปลี่ยนชื่อสวน “สมุนไพรสิรีรุกขชาติ” เป็น<br />

“อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ” ซึ่ง<br />

ประกอบด้วยอาคาร ๗ หลังภายในศูนย์การ<br />

เรียนรู้ ๔ ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้และ<br />

อนุรักษ์เชิงประจักษ์ ศูนย์อนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ<br />

และระบบนิเวศ ศูนย์วิจัยพันธุ์พืชสมุนไพร และ<br />

ศูนย์การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง<br />

“อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร”<br />

เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติและ<br />

สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระมหิ<br />

ตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก<br />

และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ใน<br />

การสนับสนุนส่งเสริมวิชาชีพการพยาบาลให้<br />

ความรู้ ความก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติ โดย<br />

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ<br />

เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราช<br />

นครินทร์ ในการพระราชทานเงินจากบัญชี<br />

“สมเด็จพระศรีฯ โดยสำนักพระราชวัง” จำนวน<br />

ทั้งสิ้น ๖๑๓,๒๕๘,๙๐๐ บาท (หกร้อยสิบสาม<br />

ล้านสองแสนห้าหมื่นแปดพันเก้าร้อยบาทถ้วน)<br />

ให้แก่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ในการก่อสร้างอาคารสำหรับจัดการเรียนการ<br />

สอน การศึกษาค้นคว้า วิจัย และการสร้าง<br />

องค์ความรู้ใหม่ ทางการพยาบาลแก่นักเรียน<br />

ในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสามารถ<br />

ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนได้อย่าง<br />

กว้างขวาง โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรง<br />

วางศิลาฤกษ์อาคาร เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน<br />

๒๕๕๑ อาคารสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช<br />

๒๕๕๕ ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมพระเกียรติ<br />

๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิ<br />

รา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และ<br />

๑๒๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระมหิตลาธิ<br />

เบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงได้<br />

มีการจัดสร้าง “หอพระราชประวัติ ศรีสวรินทิ<br />

ราราชภักดี และหอพระราชประวัติบรมราช<br />

บุพการีกิตติประกาศ” ณ บริเวณชั้น ๑ ภายใน<br />

อาคารแห่งนี้ ด้วยสานึกในพระมหากรุณาธิคุณ<br />

ที่ทั้งสามพระองค์ทรงมีต่อคณะพยาบาลศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล และวิชาชีพ การพยาบาล<br />

ไทย <strong>MU</strong>


Special Scoop<br />

ชญานุตม์ นิรมร<<br />

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณบดี<br />

คณะเภสัชศาสตร์จากสถาบันชั้นนำต่างๆ<br />

ในกลุ่มอาเซียนครั้งแรก<br />

เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้อง<br />

ประชุม ๖๐๖ ชั้น ๖ อาคารราชรัตน์ คณะ<br />

เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนศรีอยุธยา<br />

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม รองอธิการบดีฝ่าย<br />

นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น<br />

ประธานในพิธีเปิดการประชุม The 1 st <strong>MU</strong>-<br />

ASEAN Pharmacy Education Network<br />

ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น<br />

เจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว โดย รศ.ดร.<br />

จุฑามณี สุทธิสีสังข์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์<br />

มหาลัยวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงวัตถุประสงค์<br />

ของการจัดประชุมเพื่อสนับสนุนให้เกิดเวทีใน<br />

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบยารวมทั้งระบบ<br />

การศึกษาและการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ ตลอด<br />

จนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะ<br />

เภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อเตรียม<br />

ความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคม<br />

อาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และในการประชุม<br />

ครั้งนี้ได้เชิญคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จาก<br />

มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งหมด ๑๒ สถาบัน ในกลุ่ม<br />

ประเทศอาเซียนเข้าร่วมด้วย<br />

จากการที่ผู้นำทั้ง ๑๐ ประเทศในภูมิภาค<br />

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตกลงร่วมกันที่จะ<br />

รวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘<br />

เพื่อให้อาเซียนสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น<br />

และทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย<br />

ใหม่ๆ ในอนาคต พัฒนาการที่สำคัญดังกล่าวส่ง<br />

ผลให้ทุกประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย<br />

เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทำให้มีผล<br />

กระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม<br />

วัฒนธรรม รวมทั้งด้านการศึกษาและวิชาชีพ<br />

ด้วย ในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการ<br />

ศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อรองรับการก้าวสู่<br />

ประชาคมอาเซียน และการเปิดเสรีการศึกษา<br />

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัด<br />

ทำยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเพื่อการ<br />

รองรับการเป็นประชาคมอาเซียนและส่งเสริม<br />

บทบาทการเป็นผู้นำในการประสานงานด้าน<br />

การศึกษาในอาเซียนและการเตรียมตัวเพื่อ<br />

รองรับการเปิดเสรีการบริการสาขาการศึกษา<br />

โดยสถาบันอุดมศึกษาของไทยต้องเร่งพัฒนา<br />

ตัวเอง ปรับมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับ<br />

สากล นำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์<br />

สูงสุด พัฒนาคุณภาพงานวิจัย ส่งเสริมการแลก<br />

เปลี่ยนระหว่างสถาบัน สร้างเครือข่ายระหว่าง<br />

สถาบันอุดมศึกษา และสร้างภาพลักษณ์ใน<br />

ความเป็นสากลให้แก่สถาบัน<br />

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็ง<br />

เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้วางยุทธศาสตร์<br />

ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย<br />

มหิดลในด้านการสร้างความเป็นสากล (Internationalization)<br />

โดยเป็นผู้ริเริ่มในการจัด<br />

ประชุม ASEAN Pharmacy Education Network<br />

เป็นครั้งแรก การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่ม<br />

ต้นของการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทั้งทาง<br />

ด้านการศึกษาและการวิจัยด้านเภสัชศาสตร์<br />

กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศโดยเน้นกลุ่ม<br />

ประเทศอาเซียนเป็นหลัก ภายในการประชุม<br />

ดังกล่าวจึงมีการเปิดโอกาสให้คณบดีและผู้<br />

บริหารจากคณะเภสัชศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน<br />

ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานด้าน<br />

เภสัชกรรม รวมทั้งระบบการศึกษาและการวิจัย<br />

ด้านเภสัชศาสตร์ในแต่ละประเทศ เพื่อสร้าง<br />

ความเข้าใจและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไป<br />

พร้อมกัน ก่อนที่ในช่วงท้ายของการประชุมจะ<br />

มีการร่วมกันระดมสมองเพื่อหารือถึงแนวทาง<br />

การพัฒนาแผนงานและกิจกรรมที่สามารถ<br />

ปฏิบัติร่วมกันจากการสร้างเครือข่ายความร่วม<br />

มือระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ในกลุ่มประเทศ<br />

อาเซียนต่อไปใน จากกรอบแนวคิดดังกล่าว ใน<br />

ที่ประชุมจึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความ<br />

ร่วมมือ Letter of Intent to Collaborate<br />

ระหว่าง ๑๒ มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศ<br />

ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพ<br />

การศึกษาและการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ส่งเสริม<br />

การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาระหว่าง<br />

สถาบัน ตลอดจนสร้างเครือข่ายและภาพลักษณ์<br />

ในความเป็นสากลต่อไปในอนาคต <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 19


Special Scoop<br />

งานประชาสัมพันธ์<<br />

โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมมือกับสถาบัน<br />

รับรองมาตรฐานการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา WASC ยกระดับ<br />

มาตรฐานโรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยเทียบเท่าระดับสากล<br />

เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต โรงเรียนสาธิต<br />

นานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล (<strong>Mahidol</strong><br />

<strong>University</strong> International Demonstration<br />

School – <strong>MU</strong>IDS) จัดงานแถลงข่าวความ<br />

ร่วมมือกับสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษา<br />

จากสหรัฐอเมริกา Western Association of<br />

Schools and Colleges (WASC) ในการขอรับ<br />

การตรวจสอบมาตรฐานโรงเรียนสู่มาตรฐาน<br />

สากล โดยมีรองศาสตราจารย์นายแพทย์<br />

วิชาญ โชคธนะศิริ ประธานกรรมการบริหาร<br />

โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ให้<br />

สัมภาษณ์ร่วมกับ Dr.Marilyn S. George Associate<br />

Executive Director Western Association<br />

of Schools and Colleges (WASC)<br />

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วิชาญ โชค<br />

ธนะศิริ ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนสาธิต<br />

นานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวถึงแผนการ<br />

ดำเนินงานของโรงเรียนฯ ที่ก่อตั้งขึ้นจากแนว<br />

ความคิดใน ๔ มิติ คือ การเรียนรู้โดยเน้นการ<br />

สร้างปัญญาจากประสบการณ์ ความเป็นเลิศ<br />

ทางวิชาการมุ่งเน้นการศึกษาและการเรียนการ<br />

สอนที่เหนือมาตรฐาน การเสริมสร้างคุณธรรม<br />

และจริยธรรมควบคู่ไปกับการสร้างศักยภาพทาง<br />

ปัญญา และมิติด้านเครือข่ายเพื่อเป็นรากฐานสู่<br />

อนาคต ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การสร้างสิ่งสำคัญ คือ<br />

“ทักษะชีวิต” หรือ LIFE Skill แก่ผู้เรียน<br />

“หลักสูตรของที่นี่เป็นนวัตกรรมทางการ<br />

ศึกษาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อิงมาตรฐานการ<br />

ศึกษาที่กำหนดโดยองค์กรทางการศึกษาที่มีชื่อ<br />

เสียงในสหรัฐอเมริกา ผนวกกับมาตรฐานการ<br />

ศึกษาที่กำหนดโดยสำนักงานการศึกษาขั้นพื้น<br />

ฐานกระทรวงศึกษาธิการ ถือเป็นมิติใหม่และเป็น<br />

ครั้งแรกของประเทศไทย ที่นักเรียนจากโรงเรียน<br />

นี้สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ในทุก<br />

ระบบการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่มี<br />

ข้อจำกัดในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา<br />

ภาคภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคณะหรือ<br />

20 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

สาขาวิชาเฉพาะที่ในประเทศไทยยังไม่มีการเปิด<br />

เป็นภาคภาษาอังกฤษ เช่น แพทยศาสตร์ ทันต<br />

แพทยศาสตร์ เป็นโอกาสที่เปิดกว่าผู้เรียนในระบบ<br />

โรงเรียนนานาชาติ ที่ผ่านมาของเมืองไทย”<br />

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเรียนการสอนใช้ภาษา<br />

อังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่สิ่งที่ต่างจากโรงเรียน<br />

นานาชาติอื่นๆ คือ การปลูกฝังความเป็นไทย<br />

ให้แก่เด็กนักเรียนได้มีพื้นฐานและรากฐานแห่ง<br />

วัฒนธรรมไทย พร้อมมุ่งเน้นให้เกิดการวิจัย<br />

ทางการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน การ<br />

ออกแบบหลักสูตร และการประเมิน ที่ก่อให้เกิด<br />

การเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่นักเรียน รวมทั้งมีการนำ<br />

ทักษะชีวิตในด้านต่างๆ เข้าไปสอนในทุกวิชา อาทิ<br />

ยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้,การคิดและการประดิษฐ์<br />

สิ่งใหม่ๆ, การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ,<br />

คุณธรรมและจริยธรรม, การมีจิตใจเสียสละเพื่อ<br />

ส่วนรวม และการเป็นผู้นำอนาคต โดยให้นักเรียน<br />

ประยุกต์ใช้ทักษะเหล่านี้จากการทำโครงงานและ<br />

การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ<br />

โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ได้ดำเนินการขอรับการตรวจสอบมาตรฐาน<br />

โรงเรียนสู่มาตรฐานสากลจาก WASC ซึ่ง<br />

เป็นสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาจาก<br />

สหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะของ<br />

สถาบันการศึกษาของโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา<br />

และประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก<br />

Dr. Marilyn S. George, Associate Executive<br />

Director Western Association<br />

of Schools and Colleges (WASC) ผู้แทน<br />

จากสถาบันที่ให้การรับรองสถานศึกษาระดับ<br />

ภูมิภาคในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหน้าที่<br />

สร้างมาตรฐานและให้การรับรองการพัฒนาของ<br />

โรงเรียนโดยการให้ความสนับสนุนโรงเรียนทั้ง<br />

เอกชนและรัฐบาลในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ประถม<br />

ศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาได้เปิดเผยราย<br />

ละเอียดเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานโรงเรียน<br />

ระดับสากล เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานให้แก่<br />

โรงเรียนในชั้นมัธยมศึกษา ตลอดจนให้สถาบัน<br />

การศึกษามุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง โดยคำนึง<br />

ถึงการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ<br />

“เรามีความเชื่อว่าเป้าหมายของทุกโรงเรียน<br />

ควรเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อความสำเร็จ<br />

ของนักเรียน โดยแต่ละโรงเรียนต้องพัฒนา<br />

นักเรียนให้เป็นสมาชิกที่ดีของทั้งโรงเรียนและของ<br />

สังคม โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือสร้างความเป็นเลิศ<br />

ให้แก่การศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับ<br />

ผู้ใหญ่ในทุกหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง และช่วย<br />

ให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้เพื่อ<br />

นักเรียนทุกคน หน้าที่ของ WASC คือให้ความ<br />

ช่วยเหลืออย่างมืออาชีพให้โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่<br />

ชัดเจนว่าตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนไว้ว่า<br />

อย่างไร และให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพในการพา<br />

นักเรียนทุกคนไปสู่จุดหมายนั้นได้”<br />

ด้วยมุ่งหวังที่จะผลิตนักเรียนที่มีทัศนคติต่อ<br />

การเรียนรู้อย่างถูกต้อง เรียนเพื่อจะเข้าใจใน<br />

ศาสตร์ได้ลึกซึ้ง และเชื่อมโยงให้เข้ากับความ<br />

คิดตัวเองได้ ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ที่เป็นพระราชดำรัส ของสมเด็จพระมหิ<br />

ตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก<br />

ที่พระราชทานไว้ว่า “ความสำเร็จที่สูงสุด มิใช่<br />

อยู่ที่การเรียนรู้ แต่อยู่ที่การประยุกต์ใช้ความรู้<br />

นั้นให้เกิดประโยชน์ของมนุษยชาติ”<br />

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยว<br />

กับ โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ได้ที่โทร. ๐-๒๔๔๑-๕๒๒๒-๓ โทรสาร<br />

๐-๒๔๔๑-๙๖๔๖ www.muids.mahidol.<br />

ac.th <strong>MU</strong>


เข้าสู่เดือนมิถุนายน ๒๕๕๖ เริ่มต้นปีการ<br />

ศึกษาใหม่ ๒๕๕๖ เพื่อร่วมต้อนรับนักศึกษาใหม่<br />

สู่รั้วมหาวิทยาลัยมหิดล มหิดลสารฉบับนี้ขอนำ<br />

บรรยายกาศภาพพิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล และพิธีไหว้ครู ประจำปีการ<br />

ศึกษา ๒๕๕๖ มาให้ชมกัน..<br />

พิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา<br />

๒๕๕๖ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต้อนรับนักศึกษาใหม่<br />

ของมหาวิทยาลัยมหิดลทุกคน โดยมีพิธีถวาย<br />

ราชสักการะสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดช<br />

วิกรมพระบรมราชชนก เป็นพิธีที่ให้นักศึกษาชั้น<br />

ปีที่ ๑ จำนวนกว่าสามพันคนซึ่งเป็นนักศึกษา<br />

น้องใหม่ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้ถวายราชสัก<br />

การะ และปฏิญาณตนต่อหน้าพระราชานุสาว<br />

รีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม<br />

พระบรมราชชนก เพื่อความเป็นสิริมงคล และ<br />

ความภาคภูมิใจในการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย<br />

มหิดล โดยในปี้นี้พิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่จัด<br />

พิธีปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล และพิธีไหว้ครู<br />

ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๖<br />

ม.มหิดล ร่วมกับ กองทัพเรือ ร่วมบันทึกข้อตกลง<br />

การประสานความร่วมมือทางวิชาการ<br />

เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ ศาสตราจารย์<br />

นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล และ พลเรือโทบงสุช สิงห์<br />

ณรงค์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ร่วมประชุม<br />

บันทึกข้อตกลงการประสานความร่วมมือทาง<br />

วิชาการ เพื่อกำหนดขอบข่ายการประสาน<br />

ความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากร<br />

การพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน กิจกรรมทางด้าน<br />

การศึกษาและวิชาการร่วมกัน การใช้ทรัพยากร<br />

ทางการศึกษาและวิชาการร่วมกัน และการจัด<br />

กิจกรรมพิเศษต่างๆ ตามที่สถาบันทั้งสองเห็น<br />

สมควร ที่ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงกันไป<br />

เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐ ซึ่งทั้งสอง<br />

สถาบันจะได้ทำวิจัยร่วมกันในเนื้อหาวิชาการที่<br />

เกี่ยวข้อง เช่น ด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลด้าน<br />

วิศวกรรมเครื่องกล สมุทรศาสตร์ สังคมศาสตร์<br />

ฯลฯ นอกจากนี้ ในด้านการจัดวิชาเรียนร่วมกัน<br />

ในส่วนของบุคลากรอาจมีการแลกเปลี่ยน กรณี<br />

มีการอบรมโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ของ<br />

ตรงกับวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ โดยมีคณะ<br />

ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์<br />

รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ให้เกียรติกล่าวต้อนรับพร้อมทั้งให้โอวาท<br />

แก่นักศึกษาใหม่ทุกคน โดยเน้นย้ำถึงพระราช<br />

ปณิธานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดช<br />

วิกรม พระบรมราชชนก วัฒนธรรมองค์กรของ<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณสมบัติอันพึงประสงค์<br />

ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ว่า “เป็นคนดี<br />

มีปัญญา นำพาสุข”<br />

และเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ อาคาร<br />

ทั้ง ๒ ฝ่าย ในส่วนของนักศึกษา ด้านการเรียน<br />

การสอนอาจมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์ หรือให้<br />

นักศึกษาไปศึกษาดูงานบางวิชาที่ทหารเรือมี<br />

หลักสูตรอยู่ นอกจากนี้จะมีแลกเปลี่ยนบทความ<br />

ทางวิชาการ โดย ยศ.ทร.ขอรับการสนับสนุนผู้<br />

เชี่ยวชาญ (Peer Review) จากมหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ในด้านความร่วมมือทางการแพทย์การ<br />

พยาบาล จะมีการขยายความร่วมมือให้กว้าง<br />

ขวางกว่าที่เป็นอยู่ อีกทั้งจะให้มีความร่วมมือ<br />

รุจิรารัตน์ บรรจง<<br />

Special Scoop<br />

งานประชาสัมพันธ์<<br />

อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา<br />

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานใน<br />

พิธีไหว้ครูนักศึกษาใหม่ ชั้นปีที่ ๑ ประจำปีการ<br />

ศึกษา ๒๕๕๖ โดยได้กล่าวให้โอวาทแก่นักศึกษา<br />

ใหม่ มีใจความสำคัญว่า “ขอให้นักศึกษาทุกคน<br />

ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ยึดมั่นในคุณธรรม เป็นคน<br />

ดีของสังคม ต่อต้านการทุจริตการคอรัปชั่นทุก<br />

รูปแบบ ดำรงไว้ซึ่งความถูกต้อง เพื่อความเจริญ<br />

ก้าวหน้าของประเทศชาติ ให้สมดังปณิธานของ<br />

มหาวิทยาลัยในการเป็น ปัญญาของแผ่นดิน ต่อ<br />

ไปในอนาคต” <strong>MU</strong><br />

ด้านการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เช่น ห้องประชุม<br />

สนามกอล์ฟ สถานีบริการน้ำมัน สถานที่พักตาก<br />

อากาศ หรือ การจัดเลี้ยงบนเรือ<br />

ในการดำเนินการต่อไป มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

จะนำประเด็นต่างๆ มาหารือ โดยอาจจัดเป็น<br />

working group ในแต่ละประเด็น เพื่อกำหนด<br />

เป้าหมาย และนำกลับไปเสนอในเวลาประมาณ<br />

๑ เดือนข้างหน้า <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 21


Information<br />

ศ.ดร.กระแส ชนะวงศ์<<br />

สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน จัดการบรรยายพิเศษ<br />

“ภาวะผู้นำเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”<br />

เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ สถาบันพัฒนา<br />

สุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน<br />

เลี้ยงขอบคุณอดีตผู้อำนวยการ แพทย์หญิง<br />

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และต้อนรับผู้อำนวยกา<br />

รสถาบันฯ ท่านใหม่ ศ.ดร.สุภา เพ่งพิศ และได้<br />

รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์สุวรรณา เรืองกาญ<br />

จนเศรษฐ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ร่วมแสดงความขอบคุณอดีตผู้อำนวยการและ<br />

มอบดอกไม้แสดงความยินดีต้อนรับให้แก่ผู้<br />

อำนวยการท่านใหม่<br />

และในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.<br />

กระแส ชนะวงศ์ แพทย์รางวัลแมกไซไซ คนที่<br />

๖ ของประเทศไทย สาขาผู้นำชุมชน และเป็น<br />

อดีตผู้อำนวยการสถาบันฯท่านแรกให้เกียรติ<br />

เป็นผู้บรรยายพิเศษ เรื่อง “ภาวะผู้นำเพื่อการ<br />

เข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ศ.ดร.กระแสได้ให้<br />

หลักสำคัญในการเป็นผู้นำว่าให้เรารู้ว่าเราเป็น<br />

ใคร ให้เรารู้จุดยืนของตนเอง และเป็นตัวของ<br />

ตัวเอง ภาวะผู้นำนั้นไม่ได้หมายถึงเพียงผู้ที่มี<br />

สถานะเป็นผู้นำแต่หมายรวมถึงผู้ที่สามารถ<br />

แสดงภาวะผู้นำได้ การจะเป็นผู้นำที่ดีนั้น สิ่ง<br />

แรกที่ผู้นำทุกคนต้องมีคือการฟัง และคนที่มี<br />

ภาวะผู้นำนั้นคือคนที่ชอบทำให้ผู้อื่นมีความสุข<br />

และความสุขที่ปฏิบัตินั้นก็จะส่งผลให้ตนเองมี<br />

ความสุขมากกว่า ศ.ดร.กระแส ยังกล่าวอีกว่า<br />

การจะเป็นคนที่มีภาวะผู้นำได้นั้น มีบันได ๓ ขั้น<br />

บันไดขั้นที่หนึ่ง คือ คนที่ต้องรู้จักชื่นชม ยกย่อง<br />

และปรารถนาดีต่อผู้อื่น เชื่อว่าคนรอบข้างมี<br />

ความสามารถ เชื่อว่าเขาทำได้เขาก็จะทำได้<br />

สำหรับองค์กรใดๆ นั้น ต้องรู้จักให้ความใส่ใจ<br />

และพัฒนาเจ้าหน้าที่ พนักงานระดับล่างเพื่อให้<br />

เขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้อย่าง<br />

ภาคภูมิใจ บันไดขั้นที่สองความรู้สึกภาคภูมิใจ<br />

ในงานที่ทำ เพิ่มคุณค่าและความหมายให้กับ<br />

งานที่ทำ หากสามารถปลุกใจให้คนรู้สึกเช่นนั้น<br />

22 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

ได้ เขาก็จะเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ และบันไดขั้น<br />

ที่สามจงเป็นคนที่รู้จักเพิ่มคุณค่าและความ<br />

หมายให้กับตนเอง ไม่ใช่หมายถึงให้ยกย่อง<br />

ตนเอง แต่หมายถึงการทำสิ่งใดๆให้เกิดความ<br />

สำเร็จ และความสำเร็จของเรานั้นยังประโยชน์<br />

ไปให้กับผู้อื่น เป็นแสงสว่างให้กับผู้อื่น การที่เรา<br />

ทำอะไรหรือไปที่ไหนขอให้คิดถึงผู้อื่นก่อนแล้ว<br />

เราจะได้รับความสุขตอบแทนในภายหลัง<br />

สุดท้ายแล้ว ศ.ดร.กระแส ได้ยกเอาพระบรม<br />

ราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้น<br />

มากล่าวว่า การขาดทุนคือกำไร (Our loss is<br />

our gain) หากเราเป็นผู้ให้เสียก่อน สุดท้ายเรา<br />

ก็จะเป็นผู้รับ ที่เชื่อได้ว่าได้รับมากกว่าที่เราให้<br />

ไป ศ.ดร.กระแสได้กล่าวทิ้งไว้ในการบรรยาย<br />

จากนั้น ศ.ดร.สุภา เพ่งพิศ ได้กล่าวถึง<br />

“บทบาทของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน นับ<br />

จากนี้ไป” โดย ศ.ดร.สุภาได้พูดถึงภารกิจหลัก<br />

ที่สถาบันให้ความสำคัญ ด้านการศึกษา<br />

สถาบันฯจะพัฒนาให้มีการศึกษาทางไกล มีการ<br />

เปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก การพัฒนา<br />

หลักสูตร Global Health การทำโครงการ<br />

นักศึกษาแลกเปลี่ยนกับนานาชาติในส่วนงาน<br />

วิจัยจากนี้จะมุ่งทำวิจัยที่สามารถนำไปใช้พัฒนา<br />

รูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริง มุ่งสร้างงานตี<br />

พิมพ์นานาชาติ จัดทำ Workshop การสร้าง<br />

งานตีพิมพ์นานาชาติ และสถาบันฯจะพัฒนาใน<br />

เรื่องของความร่วมมือด้านต่างๆกับหน่วยงาน<br />

ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศ.ดร.สุภาได้<br />

กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า งานทุกงานจะกลายเป็นเรื่อง<br />

ง่ายๆ หากเราร่วมมือกัน<br />

ติดตามดูรายละเอียดการบรรยายเพิ่มเติม<br />

ได้ที่ http://www.aihd.mahidol.ac.th/<br />

rcenter และรู้จัก ศ.ดร.สุภา เพ่งพิศ ผู้อำนวย<br />

การสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียนให้มากขึ้น<br />

จากบทสัมภาษณ์<br />

ศ.ดร.สุภา เพ่งพิศ ผู้อำนวยการสถาบัน<br />

พัฒนาสุขภาพอาเซียน<br />

สภามหาวิทยาลัย<br />

มีมติแต่งตั้ง ศ.ดร.สุภา<br />

เพ่งพิศ ให้ดำรง<br />

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ<br />

สถาบันพัฒนาสุขภาพ<br />

อาเซียน มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล โดยก่อนเข้ารับ<br />

ตำแหน่งผู้อำนวยการ<br />

ศ.ดร.สุภา ดำรง<br />

ตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาบริหารและ<br />

นโยบายสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยลิมโปโป้ วิทยาเขตพริทอเรีย<br />

ประเทศแอฟริกาใต้<br />

ศ.ดร. สุภา เพ่งพิศ มีประสบการณ์การ<br />

ทำงานด้านวิชาการที่หลากหลายในต่าง<br />

ประเทศมากว่า ๑๒ ปี และ ๔๐ กว่าประเทศ<br />

ทั่วโลก มีประสบการณ์ด้านการสอนนักศึกษา<br />

ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ร่วมทำ<br />

วิจัยในระดับนานาชาติ และจัดทำหลักสูตร<br />

อบรมพร้อมทั้งเป็นวิทยากรบรรยายในระดับ<br />

นานาชาติปัจจุบันมีงานวิจัยที่อาจารย์ยังคงทำ<br />

ต่อเนื่องซึ่งเป็นความร่วมมือกับต่างประเทศ อีก<br />

มากกว่า ๓๐ ประเทศในทุกภูมิภาคของโลก<br />

อาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ระดับนานาชาติ<br />

กว่า ๘๐ เรื่อง และผลงานหนังสือ ๕ เล่มในต่าง<br />

ประเทศ<br />

อาจารย์กล่าวว่า ประสบการณ์จากการ<br />

ทำงานที่ผ่านมานั้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ<br />

ประเทศไทย โดยเฉพาะงานในหน้าที่ผู้อำนวย<br />

การสถาบันฯและในฐานะที่อาจารย์เป็นศิษย์<br />

เก่าของมหาวิทยาลัยมหิดล ศ.ดร.สุภา กล่าวว่า<br />

ท่านรู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสกลับมา<br />

ทำงานในสถาบันฯ ที่ท่านรัก


และในฐานะผู้อำนวยการคนใหม่ ศ.ดร.สุภา<br />

เพ่งพิศ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถาบันพัฒนา<br />

สุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมุ่งเน้น<br />

ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทั้ง<br />

สายวิชาการและสายสนับสนุน ให้เห็นถึงความ<br />

สำคัญของงาน และสร้างเสริมทักษะที่จำเป็น<br />

ในการทำงาน เพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ<br />

ของบุคลากร ให้สามารถสร้างผลงานที่ใช้ใน<br />

การนำเสนอเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ โดย<br />

จะใช้หลักในการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของ<br />

เจ้าหน้าที่ และใช้หลักการเป็นผู้นำแบบเพื่อการ<br />

เปลี่ยนแปลง โดยใช้จิตวิญญาณในการบริหาร<br />

งาน<br />

สำหรับภารกิจงานนั้นจะพัฒนางานตาม<br />

ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลทั้ง ๙<br />

ยุทธศาสตร์หลัก โดยพัฒนาคุณภาพงานบริการ<br />

งานวิชาการและงานวิจัยของสถาบัน ฯ ในส่วน<br />

เนื้องาน ศ.ดร.สุภา ได้กล่าวว่าวิสัยทัศน์ที่ท่าน<br />

ตั้งไว้จะมุ่งเน้นถึงนั้น ได้แก่<br />

๑. เรื่องการเพิ่มบทบาทของสถาบันฯในการ<br />

เป็นผู้นำทางด้านสุขภาพในกลุ่มประเทศ<br />

อาเซียนให้มีบทบาทที่ชัดเจนและเข้มแข็งมาก<br />

ขึ้นทั้ง ด้านการศึกษา การบริการวิชาการ และ<br />

การวิจัย ที่ต้องเพิ่มบทบาทให้ชัดเจนในการเป็น<br />

ศูนย์ประสานงานทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน<br />

ขององค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating<br />

Centre for Primary Health Care) ทั้งนี้ ต้อง<br />

มีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ<br />

กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นๆ ที่<br />

เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างต้นแบบในการดำเนินงาน<br />

และศูนย์สาธิตทางด้านสุขภาพและสาธารณสุข<br />

มูลฐานให้แก่ประชาคมอาเซียนและนานาชาติ<br />

ต่อไป<br />

๒. ขยายขอบเขตความร่วมมือแบบสห<br />

วิทยาการในการพัฒนางานและบริการร่วมกับ<br />

คณะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย<br />

และระดับนานาชาติ เช่น หลักสูตรการศึกษา<br />

อบรมที่ประยุกต์ใช้ได้ครอบคลุมทุกสภาวะ<br />

สุขภาพแบบไร้พรมแดนสถาบันฯต้องรับบทบาท<br />

ในการเป็นศูนย์ประสานงาน และการจัดการ<br />

ข้อมูลทางสุขภาพและประสานความร่วมมือใน<br />

ระดับนานาชาติ (Centre for Global Health)<br />

๓. การพิจารณาถึงภาวะความต้องการและ<br />

การเปลี่ยนแปลงของตลาดเพื่อพัฒนาและสร้าง<br />

หลักสูตรใหม่ให้ทันกับภาวะความเปลี่ยนแปลง<br />

ของโลก (Global Changes)<br />

๔. เน้นงานวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบในการแก้<br />

ปัญหาด้านสุขภาพ โดย<br />

เน้นการแก้ปัญหาแบบ<br />

องค์รวมให้ได้ต้นแบบที่<br />

มีประสิทธิภาพและมี<br />

ประสิทธิผล ซึ่งสามารถ<br />

เชื่อมโยงผลงานผลวิจัย<br />

ดังกล่าวไปใช้ในการ<br />

ดำเนินงานได้จริง เพื่อ<br />

ปรับและพัฒนางาน<br />

สาธารณสุข และเครือ<br />

ข่ายงานวิจัย ทำให้มีผล<br />

งานตีพิมพ์และเผยแพร่ในระดับนานาชาติให้<br />

เพิ่มขึ้น<br />

๕. การมีส่วนร่วมกิจกรรมกับชุมชน ภาครัฐ<br />

ภาคธุรกิจ และสื่อสารมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยน<br />

ประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านทฤษฏี<br />

และปฏิบัติ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของ<br />

สถาบันฯทั้งทางตรงโดยใช้สื่อบุคคล และผ่าน<br />

สื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนและส่ง<br />

เสริมศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมภูมิปัญญาไทย<br />

ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ<br />

ศ.ดร.สุภา กล่าวทิ้งท้ายด้วยความเชื่อมั่นว่า<br />

“จากการที่ดิฉันได้มีโอกาสสนทนากับเจ้าหน้าที่<br />

ของสถาบันฯ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมา<br />

หลายปี บวกกับความกระตือรือร้นของเจ้า<br />

หน้าที่ทุกคน ดิฉันเชื่อว่าสถาบันพัฒนาสุขภาพ<br />

อาเซียนจะมีบทบาทและชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ<br />

ในประชาคมอาเซียน และต่อไปในระดับโลกใน<br />

อีกสองปีข้างหน้านี้” <strong>MU</strong><br />

เสวนาการดูแลผู้ป่วย<br />

ระยะท้าย ในมิติจิต<br />

วิญญาณพรทิพา สุดวิเศษ<<br />

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้อง<br />

ประชุมสระบัว ชั้น ๑ อาคารประชาสังคม<br />

อุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา คุณหญิงจำนงศรี<br />

(รัตนิน) หาญเจนลักษณ์ ผู้บริจาคที่ดินในจังหวัด<br />

ประจวบคีรีขันธ์ ให้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อ<br />

สร้างศูนย์พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบ<br />

วงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นวิทยากร<br />

ในการเสวนา “การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ใน<br />

มิติจิตวิญญาณ” จัดโดยศูนย์จิตตปัญญาศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

ภายในงานเสวนาเป็นไปอย่างกันเอง คุณ<br />

หญิงจำนงศรี ได้แนะนำและกล่าวถึงการดูแลผู้<br />

ป่วยระยะท้ายว่า “เราจะต้องเข้าใจพื้นฐานของ<br />

ตัวเองเสียก่อน ต้องทำความเข้าใจในการที่เรา<br />

จะไปดูแลผู้ป่วยระยะท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่<br />

ในจิตใจของเขาเต็มไปด้วยความกลัว ความเจ็บ<br />

ปวด ซึ่งถ้าเราไปดูแลผู้ป่วยในฐานะที่เราเป็นคน<br />

ดูแล นั่นไม่ใช่การดูแลที่มีมิติจิตวิญญาณ เราจะ<br />

ต้องเข้าใจและสามารถยอมรับกับวาระสุดท้าย<br />

ของชีวิต ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์ ที่ไม่มีอะไรเข้ามา<br />

เจือปน เช่น ความกังวล ความโกรธ หรือความ<br />

รู้สึกต่างๆ และไม่ควรคิดในเรื่องความคาดหวัง<br />

เพราะสิ่งที่ต่อยอดของความคาดหวังคือ การ<br />

ผิดหวัง และการสมหวัง ทำให้ชีวิตของเราเต็ม<br />

ไปด้วยความคาดหวัง ซึ่งจะมาปิดบังการที่เรา<br />

จะสามารถสัมผัสกับความจริง”<br />

ในช่วงท้าย ได้มีการถามตอบเกี่ยวกับการ<br />

ดูแลผู้ป่วย โดยผู้ที่เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ ได้ข้อคิด<br />

และวิธีการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งสามารถนำ<br />

ข้อแนะนำของคุณหญิงจำนงศรีไปดูแลผู้ป่วย<br />

ระยะท้ายได้อย่างเข้าใจ และมีความสุขที่สุด <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 23


Information<br />

วราภรณ์ น่วมอ่อน<<br />

ม.มหิดลคว้าอันดับ ๑ ของประเทศไทยจากการจัด<br />

อันดับ QS Asian <strong>University</strong> Rankings 2013<br />

Quacquarelli Symonds หรือ QS ได้<br />

ประกาศผลการจัดอันดับ QS Asian <strong>University</strong><br />

Rankings 2013 ซึ่งในปีนี้ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ ๑ ของ<br />

ประเทศไทยและเป็นอันดับที่ ๔๒ ของเอเชีย<br />

และยังได้รับการจัดอันดับที่ ๑๔ ของเอเชียใน<br />

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีการคิดค่าน้ำ<br />

หนักในการพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้<br />

๑. คุณภาพงานวิจัย (๖๐%) โดยการสำรวจ<br />

ความมีชื่อเสียงด้านวิชาการ จากผู้ร่วมวิชาชีพ<br />

(Peer Review) ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นัก<br />

วิจัยทั่วทั้งเอเชีย สัดส่วนจำนวนผลงานวิจัยที่ได้<br />

รับการตีพิมพ์ต่ออาจารย์ และสัดส่วนการอ้างอิง<br />

ต่อผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์<br />

๒. คุณภาพการสอน (๒๐%) โดยการประเมิน<br />

จากสัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์<br />

๓.คุณภาพบัณฑิตที่ได้งาน (๑๐%) โดยได้รับ<br />

การประเมินจากผู้จ้างงานทั่วเอเชีย<br />

๔. ความเป็นนานาชาติ (๑๐%) โดยประเมิน<br />

จาก สัดส่วนจำนวนอาจารย์ชาวต่างประเทศ<br />

สัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่างชาติ และจำนวน<br />

นักศึกษาแลกเปลี่ยน<br />

นอกจากนี้ QS ยังมีการจัดอันดับในลักษณะ<br />

ที่เป็นสาขาย่อยเฉพาะทาง ซึ่งมหาวิทยาลัย<br />

มหิดลได้รับการจัดอันดับในสาขาต่างๆ ดังราย<br />

ละเอียดต่อไปนี้<br />

๑. แพทยศาสตร์ อันดับที่ ๑๒ ในเอเชียและ<br />

อันดับที่ ๑๑๑ ของโลก<br />

๒. เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา อันดับที่ ๗<br />

ของเอเชีย ๕๔ ของโลก<br />

๓. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ อันดับที่ ๓๐ ของ<br />

เอเชียและอันดับที่ ๑๘๘ ของโลก<br />

ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน<br />

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากผล<br />

การจัดอันดับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ<br />

ประเทศที่มีคุณภาพการเรียนการสอนเทียบเท่า<br />

ระดับสากล และผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง<br />

และได้รับความยอมรับในระดับนานาชาติ มี<br />

ความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล<br />

ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยมหิดลนี้เกิดขึ้น<br />

ได้จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการ<br />

24 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06<br />

สอนอย่างต่อเนื่องและการผลิตผลงานวิจัยที่เป็น<br />

ประโยชน์ต่อสังคมไทยและมนุษยชาติ ตาม<br />

ปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นปัญญา<br />

ของแผ่นดิน<br />

นอกจากนี้ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยยัง<br />

สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัย<br />

มหิดลที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาในระดับ<br />

ภูมิภาค (Regional Education Hub) และ<br />

พร้อมรองรับการเปิดตัวของประชาคมอาเซียน<br />

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้วางนโยบายและ<br />

แผนการปฏิบัติงานพิเศษที่มุ่งเน้นการเตรียม<br />

ความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนหลายส่วน อาทิ<br />

การกระตุ้นและส่งเสริมให้นักศึกษามี<br />

ประสบการณ์ในระดับนานาชาติให้มากที่สุดผ่าน<br />

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัย<br />

ชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศอื่น<br />

ทั่วโลก ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่า จะส่งนักศึกษาของ<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลกว่า ๓,๐๐๐ คน ในโครงการ<br />

แลกเปลี่ยนต่อปีในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นอกจากนี้ก็<br />

มีมาตรการในการเพิ่มจำนวนอาจารย์อาคันตุกะ<br />

จากต่างประเทศเป็นร้อยละ ๑๐ ของจำนวน<br />

อาจารย์ทั้งหมด เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาของ<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโอกาสเรียนรู้ในมุมมอง<br />

ที่แตกต่างและช่วยเสริมสร้างความเป็นสากลให้<br />

กับนักศึกษาตลอดหลักสูตร<br />

อีกมาตรการที่ได้ดำเนินการแล้วและประสบ<br />

ความสำเร็จอย่างสูง คือ การจัดการเรียนการ<br />

สอนร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน<br />

และการจัดกิจกรรมนักศึกษาสัมพันธ์ระหว่าง<br />

นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลกับนักศึกษา<br />

มหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียน และในอนาคต<br />

มหาวิทยาลัยมหิดลยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวน<br />

นักศึกษาชาวต่างชาติโดยเฉพาะที่มาจาก<br />

ประเทศในอาเซียนให้เพิ่มเป็น ๒ เท่า จาก<br />

จำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผ่านการเจรจาความ<br />

ร่วมมือในการพัฒนาอาจารย์รุ่นเยาว์ของสถาบัน<br />

การศึกษาในประเทศอาเซียนที่กำลังพัฒนาโดย<br />

ใช้เงินทุนทั้งภายในมหาวิทยาลัยมหิดลและเงิน<br />

ทุนจากประเทศโลกที่ ๓ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม<br />

ดังกล่าว<br />

ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน<br />

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลยังได้กล่าวเพิ่มเติม<br />

ว่า มีข้อสังเกตที่สำคัญเกี่ยวกับอันดับของ<br />

มหาวิทยาลัยไทยในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับ<br />

มหาวิทยาลัยต่างประเทศ คือ อันดับของ<br />

มหาวิทยาลัยไทยมีแนวโน้มลดลงและมีเพียง ๓<br />

มหาวิทยาลัยจากไทยที่อยู่ใน ๑๐๐ อันดับแรก<br />

ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดลอันดับที่ ๔๒<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันดับที่ ๔๘ และ<br />

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่อันดับที่ ๙๘ ในขณะที่<br />

อันดับของมหาวิทยาลัยจากจีน ฮ่องกง ไต้หวัน<br />

เกาหลี อินเดียและมาเลเซียมีการปรับตัวสูงขึ้น<br />

และมีจำนวนของมหาวิทยาลัยที่อยู่ใน ๑๐๐<br />

อันดับแรกมากกว่าประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจาก<br />

การทุ่มเทงบประมาณของรัฐบาลของประเทศ<br />

เหล่านั้นในการสนับสนุนการวิจัยในสถาบัน<br />

อุดมศึกษาที่สำคัญของรัฐ ในขณะที่ประเทศไทย<br />

งบประมาณด้านการวิจัยมีแนวโน้มลดถอยลงซึ่ง<br />

อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันใน<br />

ระดับสากลของประเทศไทยอีกด้วย <strong>MU</strong>


เพื่อสุขภาพ<br />

เคล็ดลับหลับสบาย<br />

การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สมองและ ความเครียด สภาพแวดล้อม โรคของการนอน<br />

ร่างกายใช้ช่วงเวลาขณะหลับในการบำรุง หลับโดยตรง โรคทางจิตเวช ความเจ็บป่วยทาง<br />

ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ให้ดีขึ้นเพื่อให้ร่างกายมี ร่างกาย การใช้ยา หรือสารบางชนิด<br />

ประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ดังนั้นการนอน เมื่อไรจึงควรจะปรึกษาแพทย์<br />

หลับที่เพียงพอจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิต หากอาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่า ๑<br />

ที่ดี มนุษย์ใช้เวลานอนหลับ ๑ ใน ๓ ของเวลา สัปดาห์ หรือมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานใน<br />

ทั้งหมด ความต้องการในการนอนหลับของ เวลากลางวัน ควรจะมาปรึกษาแพทย์<br />

แต่ละคนไม่เท่ากัน คนส่วนใหญ่ต้องการนอนวัน เมื่อนอนไม่หลับ แพทย์จะมีแนวทางการ<br />

ละ ๘ ชั่วโมง บางคนนอนแค่วันละ ๕ – ๖ ชั่วโมง ดูแลรักษาอย่างไร<br />

เมื่อไรจึงเรียกว่านอนไม่หลับ<br />

การนอนหลับอย่างพอเพียง ทั้งระยะเวลา<br />

การนอนไม่หลับไม่ใช่โรค แต่เป็นปัญหาการ และคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยใน<br />

นอนไม่เพียงพอ เช่น นอนหลับยาก ตื่นบ่อย หรือ การส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับ<br />

หลับไม่สนิท ทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น ซึ่งส่ง ประทานอาหารที่มีคุณภาพและการออกกำลัง<br />

ผลกระทบต่อหน้าที่การทำงานและความ กาย<br />

สัมพันธ์กับผู้อื่น บางคนอาจคิดหมกมุ่นอยู่กับ การรักษาปัญหาการนอนไม่หลับ จะเริ่มต้น<br />

อาการของตน<br />

ด้วยวิธีไม่ใช้ยาก่อน โดยมีหลักการดังนี้<br />

สาเหตุของการนอนไม่หลับ<br />

๑. รักษาตามสาเหตุ โดยขจัดเหตุปัจจัยที่<br />

พบว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ทำให้การนอนไม่เพียงพอ<br />

พญ.กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ<br />

ศูนย์สุขภาพอารมณ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์<br />

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล<br />

๒. ปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนหลับ และ<br />

ฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุก<br />

คนสามารถปฏิบัติได้เอง โดยมีขั้นตอนดังนี้<br />

๑) เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวัน เพื่อ<br />

ให้เกิดความเคยชิน<br />

๒) ลุกจากเตียงนอนทันทีเมื่อตื่น<br />

๓) จัดกิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบ<br />

น้ำอุ่น ดื่มนม อ่านหนังสือ ไม่ทำงานหรือ<br />

กิจกรรมที่ตึงเครียดก่อนเข้านอน<br />

๔) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน แต่<br />

ไม่ควรปฏิบัติช่วงใกล้เข้านอน<br />

๕) ควรใช้เตียงนอนสำหรับนอนตอนกลางคืน<br />

และกิจกรรมทางเพศเท่านั้น ไม่ควรนอนเล่นบน<br />

เตียง หรือทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น ทำงาน ดู<br />

โทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ<br />

๖) จัดห้องนอนให้มืด เงียบ สบาย ปลอดภัย<br />

มีอากาศถ่ายเทสะดวก ปรับอุณหภูมิที่พอดี <strong>MU</strong><br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 25


Softnews<br />

งานประชาสัมพันธ์<<br />

ขอแสดงความยินดี กับผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ จำนวน ๗ ท่าน ที่จะเข้ารับพระราชทาน<br />

ปริญญาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ หอประชุมกองทัพเรือ ..ปริญญาแพทยศาสตร<br />

ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เติมชัย ไชยนุวัติ และ รอง<br />

ศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิญ เศขรฤทธิ์, ปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

สาขาระบาดวิทยา ได้แก่ ดร.เวิ่น-ต้า ฉั่ว และสาขาบริหารงานสาธารณสุข ได้แก่ นายเดวิด<br />

ร็อกกี้เฟลเลอร์ จูเนียร์, ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ศาสตราจารย์<br />

เกียรติคุณ ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (ชีวเคมี) และ ศาสตราจารย์ ดร.ยอดหทัย เทพธรา<br />

นนท์ และปริญญาเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง<br />

ธิดา นิงสานนท์<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา จินดา<br />

วิจักษณ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชกรรม คณะ<br />

เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประ<br />

ทานโล่ห์รางวัลเภสัชกรเกียรติคุณ ประจำ<br />

ปี ๒๕๕๖ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์<br />

เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดย<br />

มติที่ประชุมสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล<br />

(ประเทศไทย) เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม<br />

๒๕๕๖ โดยรางวัลดังกล่าวมอบให้แก่ผู้ทำคุณ<br />

ประโยชน์ให้แก่วิชาชีพ อุทิศตนในการทำงาน<br />

อย่างเข้มแข็งเพื่อพัฒนาวิชาชีพเภสัชกรรม<br />

โรงพยาบาล<br />

ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตร<br />

เฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้<br />

รับรางวัลผลงานทางวิชาการ<br />

ดีเด่น TTF AWARD ด้านสิ่ง<br />

แวดล้อมและวิทยาศาสตร์<br />

เทคโนโลยี ประจำปี ๒๕๕๕<br />

จากผลงานหนังสือ เรื่อง “วิศวกรรมโปรตีน<br />

นวัตกรรมการพัฒนาชีวโมเลกุลแห่งยุค” จัด<br />

โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกมับ<br />

มูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย<br />

มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลฯร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

มหิดล ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ร่วมทำบุญทอดผ้าป่ามหากุศล เพื่อสมทบกองทุนทำนุ<br />

บำรุง “พระมหามณฑป ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) วัด<br />

ไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร” และสมทบกองทุนบำรุงรักษาอาคาร “มหิดลอดุลยเดช-พระศรี<br />

นครินทร” คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันเสาร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา<br />

๑๔.๐๐ น. ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร สนใจร่วมทำบุญติดต่อได้ที่ มูลนิธิคณะพยาบาล<br />

ศาสตร์ โทร. ๐-๒๔๑๒-๔๖๗๐<br />

ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ขอเชิญเข้าร่วม<br />

อบรมเชิงปฏิบัติการ “Authentic Leadership”<br />

รุ่นที่ ๘ โดย อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์<br />

เลขานุการมูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชา<br />

สังคม (CivicNet) หลักสูตรในการอบรม จํา<br />

นวน ๒ หลักสูตร คือ ๑.Authentic Leadership:<br />

Core Competencies Course วันที่<br />

๒๔ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ๒.Authentic<br />

Leadership: Foundation for Leadership<br />

วันที่ ๓๐ ตุลาคม ถึง ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖<br />

ณ คําแสด ริเวอร์แควรีสอร์ท จ.กาญจนบุรี<br />

ค่าลงทะเบียน (ตลอด ๒ หลักสูตร) ๒๕,๐๐๐<br />

บาท (พักคู่), ๒๙,๐๐๐ บาท (พักเดี่ยว) ดู<br />

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ce.mahidol.<br />

ac.th โทร. ๐-๒๔๔๑-๕๐๒๒-๓<br />

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญ<br />

ฟังบรรยายเรื่อง “โรคเนื้องอกในมดลูก” ใน<br />

วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๐๐<br />

– ๑๖.๐๐ น. ณ ศูนย์ฝึกอบรมการผ่าตัด<br />

สหสาขาผ่านกล้องไทย – เยอรมัน ใน<br />

พระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราช<br />

สุดาฯ ตึกสยามบรมราชกุมารี จุฑาธุช<br />

ชั้น ๘ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งจะพบรูป<br />

แบบกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจและ<br />

เตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดผ่านกล้อง<br />

ทางนรีเวชวิทยา โดยเน้นการเตรียมความ<br />

พร้อมของผู้ป่วยก่อนทำการผ่าตัด พร้อมทั้ง<br />

ถามตอบทุกปัญหาโดยตรงกับทีมแพทย์ผู้<br />

เชี่ยวชาญ สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ โทร.<br />

๐-๒๔๑๙-๔๗๗๒, ๐-๒๔๑๙-๔๗๔๔<br />

มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๕๖ วันศุกร์ที่ ๘<br />

พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ วัดเสนหาพระอารามหลวง ตำบลพระปฐมเจดีย์<br />

อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม บริจาคโดยโอนเงินผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)<br />

บัญชีกระแสรายวัน “มหาวิทยาลัยมหิดล” เลขที่ ๐๑๖-๓๐๐๓๒๕-๖ แฟกซ์สลิปโอนเงินที่<br />

๐-๒๘๔๙-๖๑๙๙ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐-๒๘๔๙-๖๑๐๙<br />

ฮิโตชิ มิยาชิตะ นักศึกษาหลักสูตร<br />

ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต ชั้นปีที่ ๓ เครื่องมือ<br />

เอก กีตาร์ สาขาวิชาดนตรีปฏิบัติ วิทยาลัย<br />

ดุริยางคศิลป์ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ<br />

๑ รับเงินรางวัล ๑ แสนเยน ประกาศนียบัตร<br />

เกียรติคุณ และของรางวัลอื่นๆ จากการเข้า<br />

ร่วมการประกวดกีตาร์คลาสสิก ในงาน 44 th<br />

Tokyo Classical Guitar Competition ณ<br />

กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเร็วๆ นี้<br />

ศูนย์ธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลศิริราช ขอเชิญร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูผู้สอน<br />

(Training for the Trainers) เรื่อง “ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อควบคุมป้องกันธาลัส<br />

ซีเมีย รุ่นที่ ๑” ระหว่างวันที่ ๓ – ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องเรียน ๔๔๙ ตึกอานันท<br />

ราช ชั้น ๑ โรงพยาบาลศิริราช สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐-๒๔๑๙-๖๔๘๘,<br />

๐-๒๔๑๙-๙๓๕๗<br />

หน่วยบริการวิชาการและโครงการพิเศษ วิทยาลัยนานาชาติขอเชิญอบรมเรื่อง “ภาษาและ<br />

วัฒนธรรมไทยและจรรยาบรรณของวิชาชีพสำหรับชาวต่างประเทศ” ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๒<br />

กรกฎาคม ๒๕๕๖ ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน วิทยาลัยนานาชาติ สอบถาม<br />

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. ๐-๒๔๔๑-๕๐๙๐ ต่อ ๑๐๒๒, ๑๗๑๒<br />

26 • <strong>MU</strong> Newsletter 2013, Volume 06


ปฏิทินข่าว..<br />

Activities Agenda<br />

วราภรณ์ น่วมอ่อน<<br />

๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ การประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม ๒๕๕๖” ครั้งที่ ๙<br />

เรื่อง ประชากรและสังคมในอาเซียน:ความท้าทายและโอกาส ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๒-๔๔๑-๐๒๐๑-๔<br />

๓ – ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ การประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูผู้สอน (Training for the Trainers) เรื่อง ทักษะการให้คำปรึกษาแนะนำ<br />

เพื่อควบคุมป้องกันธาลัสซีเมีย รุ่นที่ ๑ ณ ห้องเรียน ๔๔๙ ตึกอานันทราช ชั้น ๑ โรงพยาบาลศิริราช<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลศิริราช<br />

โทร. ๐๒-๔๑๙-๖๔๘๘, ๐๒-๔๑๙-๙๓๕๗<br />

๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ การฝึกซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร (ฝึกซ้อมใหญ่)<br />

ณ อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ กรุงเทพฯ<br />

๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕<br />

ณ อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอัมรินทร์ กรุงเทพฯ<br />

๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ทำอย่างไรจะได้เป็นศาสตราจารย์ก่อนอายุ ๔๐ ปี”<br />

ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สภาคณาจารย์ โทร. ๐๒-๘๔๙-๖๓๕๐-๒<br />

๑๐ – ๑๒ กรกฎาคม การอบรมเรื่อง ภาษาและวัฒนธรรมไทยและจรรยาบรรณของวิชาชีพสำหรับชาวต่างประเทศ<br />

๒๕๕๖ ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายา พาวิลเลียน วิทยาลัยนานาชาติ<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หน่วยบริการวิชาการและโครงการพิเศษ<br />

วิทยาลัยนานาชาติ โทร. ๐๒-๔๔๑-๕๐๙๐ ต่อ ๑๐๒๒, ๑๗๑๒<br />

๑๑ – ๑๒ กรกฎาคม เชิญร่วมบริจาคโลหิตเนื่องในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล<br />

๒๕๕๖ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ห้อง ๔๐๘ ชั้น ๔ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย<br />

ม.มหิดล ศาลายา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๒๔๔๑-๔๑๒๕ ต่อ ๒๑๕, ๒๑๖<br />

๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ การปาฐกถาเรื่อง การเตรียมตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๒๕๕๘: ปัญหาทางจริยธรรมในความหลากหลาย<br />

ทางวัฒนธรรม ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๑-๔ ต่อ ๓๒๑ และ ๐๒-๔๔๑-๔๔๐๗<br />

๑๗ – ๑๙ กรกฎาคม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/บาดเจ็บไขสันหลัง” รุ่นที่ ๔<br />

๒๕๕๖ ณ ห้องตรีเพ็ชร์ อาคาร ๑๐๐ ปี อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น ๑๕ โรงพยาบาลศิริราช<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู<br />

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โทร. ๐๒-๔๑๙-๗๕๐๙ ต่อ ๑๐๙<br />

๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖ การประชุมวิชาการระดับชาติ “ภาษาและวัฒนธรรม ๒๕๕๖”เรื่อง อาเซียนในมิติวัฒนธรรม<br />

ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ศาลายา<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. ๐๒-๘๐๐-๒๓๔๔<br />

๒๙ กรกฎาคม- โครงการฝึกอบรมเรื่อง “การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน<br />

๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม<br />

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน โทร. ๐๒–๓๐๖–๙๑๐๐–๑๙ ต่อ ๑๕๖๐, ๑๕๖๔<br />

๒๙ – ๓๑ กรกฎาคม โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์”<br />

๒๕๕๖ ณ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๒–๔๔๑–๙๗๒๒ ต่อ ๑๓๐๓<br />

๒๙ – ๓๑ กรกฎาคม การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เรียนรู้และฝึกทักษะกับ Protein Expression และ Protein Purification” รุ่นที่ ๑<br />

และ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณสิรินทร์ พิบูลนิยมและห้องปฏิบัติการวิจัยชั้น ๔<br />

สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐๒-๔๔๑-๙๐๐๓-๗ ต่อ ๑๓๘๔, ๑๒๕๔<br />

๓๐ กรกฎาคม – โครงการฝึกอบรมการทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างคัดกรอง<br />

๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว<br />

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐๒-๔๔๑-๐๖๐๒ ต่อ ๑๔๑๖<br />

มหิดลสาร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ • 27

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!